text
stringlengths
0
9.8k
พาร์สลีย์
พาร์สลีย์ เป็นพืชดอกในวงศ์ผักชี (Apiaceae) มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลางและตะวันออก (ซาร์ดิเนีย เลบานอน อิสราเอล ไซปรัส ตุรกี อิตาลีตอนใต้ กรีซ โปรตุเกส สเปน มอลตา โมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย) แต่ได้มีการทำพืชให้เคยชินกับท้องถิ่นที่อื่นในยุโรปและนิยมปลูกเป็นสมุนไพรและผัก
พาร์สลีย์ใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารยุโรป ตะวันออกกลาง และอเมริกัน พาร์สลีย์ใบหยิกมักใช้เป็นประดับอาหาร ในยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และยุโรปตอนใต้ รวมทั้งในเอเชียตะวันตก มีอาหารหลายจานที่เสิร์ฟพร้อมกับพาร์สลีย์สับสีเขียวโรยบนอาหาร พาร์สลีย์ใบแบนมีลักษณะคล้ายกัน แต่ปลูกง่ายกว่า บางคนบอกว่ามีรสชาติเข้มข้นกว่า พาร์สลีย์รากสามารถหาพบได้ในอาหารยุโรปกลาง ตะวันออก และใต้ ซึ่งใช้เป็นอาหารว่างหรือผักในซุป สตู และหม้ออบอาหารจำนวนมาก เชื่อกันว่าเดิมเติบโตในซาร์ดิเนีย (แถบเมดิเตอร์เรเนียน) และเพราะปลูกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ลินเนียสระบุว่าแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชคือซาร์ดิเนีย ซึ่งถูกนำเข้ามาในอังกฤษ และมีการเพาะปลูกครั้งแรกในบริเตนในปี ค.ศ. 1548
การเพาะปลูก.
พาร์สลีย์เติบโตได้ดีที่สุดในดินที่มีการระบายน้ำดีและชื้น และมีแสงแดดจัด ในอุณหภูมิระหว่าง และมักจะปลูกจากเมล็ด การงอกใช้เวลานานซึ่งใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ และมักเป็นเรื่องยากเนื่องจาก furanocoumarins ในเปลือกเมล็ด โดยปกติพืชที่ปลูกเพื่อใบจะปลูกห่างกัน 10 ซม. ในขณะที่พืชที่ปลูกเพื่อรากจะปลูกห่างกัน 20 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่ในการพัฒนาราก
พาร์สลีย์ดึงดูดสัตว์ป่าหลายชนิด ผีเสื้อหางแฉกบางชนิดใช้พาร์สลีย์เป็นพืชอาศัยสำหรับตัวอ่อน หนอนผีเสื้อจะมีลายเป็นสีดำและสีเขียวมีจุดสีเหลือง และจะกินพาร์สลีย์เป็นเวลาสองสัปดาห์ก่อนที่จะกลายเป็นผีเสื้อ ผึ้งและแมลงกินน้ำหวานอื่น ๆ ก็เยี่ยมชมดอกไม้เช่นกัน นกเช่นนกโกลด์ฟินช์กินเมล็ดของพาร์สลีย์
พันธุ์.
ในการเพาะปลูก พาร์สลีย์แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มพันธุ์ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของพืชซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้งาน บ่อยครั้งถือเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกันทางพฤกษศาสตร์ แต่เป็นสายพันธุ์พืชที่มาจากการคัด ไม่ใช่กำเนิดตามธรรมชาติ
พาร์สลีย์ใบ.
พาร์สลีย์กลุ่มหลักสองกลุ่มที่ใช้เป็นสมุนไพร ได้แก่ ฝรั่งเศสหรือใบหยิก ("P. crispum" Crispum Group; syn. "P. crispum" var. "crispum"); และอิตาลีหรือใบแบน ("P. crispum" Neapolitanum Group; syn. "P. crispum" var. "neapolitanum") ในจำนวนนี้กลุ่ม Neapolitanum มีความคล้ายคลึงกับพืชตามธรรมชาติมากที่สุด ชาวสวนบางคนนิยมปลูกพาร์สลีย์ใบแบนเนื่องจากปลูกได้ง่ายกว่า ทนต่อฝนและแสงแดดได้มากกว่า และว่ากันว่ามีรสชาติที่เข้มข้นกว่า แม้ว่ายังมีการถกเถียงกันอยู่ ในขณะที่คนอื่นชอบพาร์สลีย์ใบหยิกเพราะมีลักษณะที่ดีกว่าในการตกแต่ง ชนิดที่ 3 ที่บางครั้งปลูกทางตอนใต้ของอิตาลี มีก้านใบหนาคล้ายขึ้นฉ่าย
พาร์สลีย์ราก.
พาร์สลีย์อีกประเภทหนึ่งที่ปลูกเพื่อรากคือพาร์สลีย์รากฮัมบวร์ค (อังกฤษ: Hamburg root parsley, "P. crispum" Radicosum Group, syn. "P. crispum" var. "tuberosum") พาร์สลีย์ประเภทนี้มีรากที่หนากว่าพาร์สลีย์ที่ปลูกไว้สำหรับใบ แม้ว่าไม่ค่อยใช้ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ พาร์สลีย์รากยังสามารถพบได้ทั่วไปในอาหารยุโรปกลางและตะวันออก ซึ่งใช้ในซุปและสตู หรือรับประทานดิบ ๆ เป็นอาหารว่าง (คล้ายกับแคร์รอต)
แม้ว่าพาร์สลีย์รากจะดูคล้ายกับพาร์สนิป ซึ่งเป็นหนึ่งในญาติในวงศ์ Apiaceae แต่รสชาตินั้นแตกต่างกันมาก
ไจอันตส์คอสเวย์และชายฝั่ง
วัดลาดเป็ด
วัดลาดเป็ด เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน 48 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ 3 แปลง เนื้อที่ 16 ไร่ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มมีทุ่งนาและลำรางส่งน้ำโดยรอบบริเวณวัด
สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่คงถูกทิ้งร้างทรุดโทรมไป ได้มารื้อบูรณะใหม่ ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2335 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2453 ด้านการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถมีโครงสร้างก่ออิฐถือปูนทรงไทยโบราณ ฐานอาคารหย่อนสำเภาไม่มาก หน้าจั่วไม่มีปูนปั้นแต่ร่องรอยประดับด้วยเครื่องปั้นดินเผา วิหารสร้างขึ้นหลังอุโบสถ ภายในไม่มีโครงสร้างเสา ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499 เป็นอาคารไม้ หอสวดมนต์ กว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นอาคารไม้ และกุฏิสงฆ์ จำนวน 8 หลัง เป็นอาคารไม้
ลอรีฌีนดูว์มงด์
ลอรีฌีนดูว์มงด์ (; "ต้นกำเนิดของโลก") เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบโดยกุสตาฟว์ กูร์แบ ศิลปินชาวฝรั่งเศส เขียนขึ้นในปี 1866 แสดงภาพใกล้ของสตรีเปลือยส่วนช่องคลอดและท้องขณะนอนถ่างขาบนเตียง
ประวัติศาสตร์.
ตัวตนของนางแบบในภาพ.
ตัวตนของนางแบบในภาพเป็นที่สนใจในหมู่นักประวัติศาสตร์ศิลป์มาโดยตลอด ส่วนใหญ่เชื่อว่านางแบบคือโจแอนนา ฮิฟเฟอร์นัน หรือโจ นางแบบคนโปรดของกูร์แบ ซึ่งเป็นคู่รักของเจมส์ วิสเลอร์ ศิลปินชาวอเมริกันและเพื่อนของกูร์แบ ฮิฟเฟอร์นันเคยปรากฏเป็นนางแบบในชุดภาพเขียนสี่ภาพของกูร์แบ ชื่อ "โจ ลาแบลีร์ล็องแดซ" ("โจ โฉมงามชาวไอริช") เขียนขึ้นในปี 1865–1866 จึงมีความเป็นไปได้มากว่าเธอจะเป็นนางแบบในภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเธออาจมีความสัมพันธ์กับกูร์แบ จนนำไปสู่การตัดขาดระหว่างกูร์แบกับวิสเลอร์ไม่นานจากนั้น อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเธอเป็นสตรีผมแดง จึงไม่น่ามีขนอวัยวะเพศสีดำดังที่เห็นในภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์"
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 "ปารีมัตช์" รายงานว่า ฌ็อง-ฌัก แฟร์นีเย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกูร์แบ ระบุว่าสามารถยืนยันภาพเขียนที่เป็นท่อนบนของภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" บางส่วนระบุว่านี่เคยเป็นภาพเดียวกันมาก่อนที่จะถูกแยกจากกัน แฟร์นีเยสรุปผลการศึกษาดังกล่าวหลังใช้เวลาสองปี และเสนอให้ใส่ภาพส่วนท่อนบนประกอบไปด้วยในกาตาลอกแรซอเนของกูร์แบในฉบับถัดไป ในขณะที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงภาพ ระบุว่า "ลอรีฌีนดูว์มงด์" ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพชิ้นที่ใหญ่กว่า "เดอะเดลีเทลิกราฟ" รายงานว่า "ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยการา (ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยศิลปะและโบราณคดี) สามารถปะติดปะต่อภาพเขียนทั้งสองโดยใช้ร่องที่มาจากกรอบไม้เดิมและเส้นบนผ้าใบ ซึ่งตรงกันทั้งสองภาพ" แต่การาไม่ได้รายงานข้อสรุปอื่นใดเกี่ยวกับภาพเขียนอีก
มีนักวิจารณ์ศิลปะบางส่วนเชื่อว่าภาพนี้เป็นภาพเขียนจากศพของสตรีมากกว่านางแบบที่ยังมีชีวิตอยู่
เจ้าของ.
เชื่อกันว่าฮาลิล เชริฟ พาชา (ฮาลิลเบย์) ทูตชาวออตโตมันเป็นผู้จ้างกูร์แบให้สร้างภาพเขียนนี้ขึ้นไม่นานหลังพาชาย้ายไปอาศัยในปารีส โดยชาร์ล โอกุสแต็ง แซ็งต์-เบิฟว์ เป็นผู้แนะนำทั้งสองให้รู้จักกัน พาชาตั้งใจจะเก็บภาพเขียนเข้าชุดสะสมภาพเขียนแนวกามวิสัยของเขา ซึ่งมีผลงานชิ้นอื่น ๆ เช่น ("โรงอาบน้ำตุรกี") โดยฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ และ "เลอซอแมย์" ("ผู้หลับใหล") ของกูร์แบเอง
ภายหลังพาชาสูญเสียเงินจากการพนัน ภาพเขียนได้ถูกส่งต่อเป็นของสะสมส่วนบุคคลเรื่อยมา พาชาขายภาพนี้ครั้งแรกในปี 1868 โดยมีผู้ซื้อคืออ็องตวน เดอ ลา นาร์ด พ่อค้าของโบราณผู้ซึ่งต่อมาได้ขายให้แก่แอดมง เดอ กงกูร์ ในปี 1889 ตามด้วยบารอนแฟแร็นตส์ ฮ็อตว็อญ นักสะสมชาวฮังการี ซื้อภาพเขียนนี้จากหอศิลป์แบร์นายม์-เฌินในปี 1910 และนำกลับไปบูดาเปสต์ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพเขียนถูกกองทัพโซเวียตขโมยไป แต่ฮ็อตว็อญได้จ่ายค่าไถ่ขอภาพคืนมาก่อนจะนำภาพเขียนออกจากประเทศฮังการีในปี 1947 ไปยังปารีส
ในปี 1955 "ลอรีฌีนดูว์มงด์" ได้รับการประมูลไปด้วยมูลค่า 1.5 ล้านฟรังก์ (4,285 ดอลลาร์สหรัฐในเวลานั้น) โดยฌัก ลาก็อง นักจิตวิเคราะห์ และนำไปแขวนไว้ในบ้านพักที่กีทร็องกูร์
หลังลาก็องเสียชีวิตในปี 1981 รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของฝรั่งเศสได้รับภาพเขียนนี้แลกกับภาษีมรดกของลาก็อง (กระบวนการซึ่งเรียกว่า ในกฎหมายฝรั่งเศส) ต่อมาภาพเขียนได้รับการจัดแสดงและเป็นของสะสมของพิพิธภัณฑ์ออร์แซนับตั้งแต่ปี 1995 ถึงปัจจุบัน
ความปลุกปั่น.
ในศตวรรษที่ 19 ได้เกิดการปฏิวัติการจัดแสดงภาพเปลือยบุคคล นำโดยกูร์แบและเอดัวร์ มาแน
ถึงแม้ความตื่นเต้นและปลุกปั่นของภาพเปลือยจะลดลงนับตั้งแต่ยุคของกูร์แบ อันเป็นผลจากวิวัฒนาการของการถ่ายภาพและภาพยนตร์ แต่เมื่อภาพมาถึงที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซก็ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก รายงานการขายโปสต์การ์ดของร้านค้าพิพิธภัณฑ์ออร์แซระบุว่าโปสต์การ์ดภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" มีคนซื้อไปมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาก "การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต" ของปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์
อิทธิพล.
ความโจ่งแจ้งของภาพอาจเป็นแรงบันดาลใจของผลงานชิ้นสำคัญสุดท้ายของมาร์แซล ดูว์ช็อง ในชื่อ "เอต็องดอเน" (1946–1966)
ในปี 1989 ออร์ล็อง ศิลปินชาวฝรั่งเศส สร้างผลงานชีบาโครม "ลอรีฌีนเดอลาแกร์" ("ต้นกำเนิดของสงคราม") ซึ่งเป็นภาพล้อเลียนในรูปแบบผู้ชาย แสดงองคชาตแข็งตัวแทน
ในปี 2004 อานิช กปูร จัดแสดงผลงานติดตั้งชื่อ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" ซึ่งตั้งตามผลงานของกูร์แบ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด คานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เฟซบุ๊กเซ็นเซอร์ภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" ซึ่ง Frode Steinicke ศิลปินชาวโคเปนเฮเกนโพสต์เพื่อใช้แทนความเห็นของเขาต่อรายการโทรทัศน์ทางช่อง DR2 หลังเกิดเหตุการณ์ได้มีการเคลื่อนไหวออนไลน์โดยมีผู้ใช้จำนวนหนึ่งเปลี่ยนรูปโพรไฟล์ตนเป็นรูปของภาพเขียนนี้เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกับ Steinicke ซึ่งในตอนนั้นถูกเฟซบุ๊กระงับการใช้งานบัญชี ท้ายที่สุดเฟซบุ๊กถอนการระงับบัญชี แต่ยังคงดำเนินการลบหน้าที่มีภาพเขียนนี้ออกต่อไป
L'Origine du monde
Aenictus anceps
Aenictus anceps เป็นชนิดของมดทหารสีเบจแทนที่พบในประเทศเอริเทรียและประเทศซูดาน
วัดพระบรมธาตุสวี
วัดพระบรมธาตุสวี เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ส่วนด้านหน้าพระธาตุซึ่งติดกับแม่น้ำสวี มีศาลพระเสื้อเมือง
วัดพระบรมธาตุสวี หรือ วัดสวี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2325 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2373 วัดมีพระธาตุซึ่งมีตำนานเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เสด็จยกทัพมาถึงเขตอำเภอสวี เกิดเหตุการณ์มีกาฝูงหนึ่งบินมาจับอยู่บนกองอิฐพากันส่งเสียงร้องและกระพือปีกอื้ออึง เมื่อรื้อกองอิฐออกก็พบฐานเจดีย์และพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ขนานนามว่า "พระธาตุกาวีปีก" (วีปีก เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึง กระพือปีก) ภายหลังเรียกเพี้ยนสั้นลงว่า "พระธาตุสวี" ในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยอดพระธาตุได้หักพังลง จึงมีการบูรณะครั้งใหญ่ และมีการทำนุบำรุงรักษาสืบมา วัดได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 127 ง หน้า 10 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2544 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 1 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา
พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจากพระมหาธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สูง 14.25 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 8.50 เมตร มีซุ้มช้างและยักษ์ยืน มีบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออก ชั้นบนทำเป็นซุ้มพระล้อมรอบ ต่อด้วยเจดีย์ทรงระฆังประดับกระเบื้องโมเสกสีทอง และมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุมทั้งสี่
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดงานแห่ผ้าห่มพระธาตุสวีทุกปี
Aenictus aratus
Aenictus aratus เป็นชนิดมดทหารสีน้ำตาลเข้มและเบจที่พบในออสเตรเลียตอนบน โดยมีการสังเกตการทำลายปรสิตจากแมลงวันสกุล Phoridae
วัดดอยทอง
วัดคีรีชัย
วัดคีรีชัย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูบรรพตรัตนชัย ปญฺญาวุฑฺโฒ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 3 ไร่ 2 ตารางวา
วัดคีรีชัยตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2534 ชาวบ้านเรียกว่า วัดริมกรณ์ เพราะอยู่ติดกับแม่น้ำกรณ์ คนทั่วไปรู้จักชื่อ วัดดอยสะเก็น เพราะอยู่ติดกับเขาดอยสะเก็น
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 สร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นแบบศิลปะล้านนาประยุกต์ คล้ายอุโบสถวัดร่องขุ่น พระพุทธรูปในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 2.7 เมตร สูง 2.93 เมตร นามว่า "พระพุทธสิริมงคล"
เชลยศึกชาวญี่ปุ่นในสหภาพโซเวียต
หลังสงครามโลกครั้งที่สองมีกำลังพลชาวญี่ปุ่นจำนวน 560,000 ถึง 760,000 นายในสหภาพโซเวียตและประเทศมองโกเลียที่ถูกกักกันเพื่อใช้งาน ณ ค่ายแรงงานในฐานะเชลยศึก ในจำนวนนี้ คาดว่าระหว่าง 60,000 ถึง 347,000 นายเสียชีวิตในการถูกจองจำ
กองทัพญี่ปุ่นประมาณ 3.5 ล้านนายนอกประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกปลดอาวุธโดยสหรัฐกับจีนก๊กมินตั๋ง และถูกส่งตัวกลับประเทศใน ค.ศ. 1946 ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้จับเชลยชาวญี่ปุ่น 35,000 นาย ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 กล่าวคือ ก่อนการยอมจำนนของญี่ปุ่น สหภาพโซเวียตควบคุมเชลยศึกของญี่ปุ่นไว้นานกว่ามาก และใช้พวกเขาเป็นกำลังแรงงาน
ประวัติ.
ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ถูกคุมขังในสหภาพโซเวียตไม่คิดว่าตนเองเป็น "เชลยศึก" และเรียกตนเองว่า "ผู้ถูกกักกัน" เพราะพวกเขาสมัครใจวางอาวุธหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ หลังจากสิ้นสุดความขัดแย้งทางทหาร จำนวนเชลยชาวญี่ปุ่นที่ถูกจับในการสู้รบมีน้อยมาก
หลังจากความพ่ายแพ้ของกองทัพคันโตในแมนจูเรีย เชลยศึกชาวญี่ปุ่นได้ถูกส่งจากแมนจูเรีย, เกาหลี, เกาะซาฮาลินใต้ และหมู่เกาะคูริล ไปยังหมู่เกาะคูริล, ดินแดนฮาบารอฟสค์, ดินแดนครัสโนยาสค์, คาซัคสถาน (มณฑลคาซัคสถานใต้ และมณฑลจัมบิล), สาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมบูร์ยัต-มองโกล และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ซึ่งใน ค.ศ. 1946 ค่ายแรงงาน 49 แห่งสำหรับเชลยศึกชาวญี่ปุ่นภายใต้การบริหารขององค์การบริหารหลักสำหรับงานเชลยศึกและผู้ถูกกักกันสามารถรองรับคนได้ประมาณ 500,000 คน นอกจากนี้ ยังมีสองค่ายสำหรับผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาต่าง ๆ เชลยถูกแบ่งออกเป็น 1,000 หน่วยบุคคล ตลอดจนพลเรือนชาวญี่ปุ่นทั้งชายและหญิง รวมทั้งชาวเกาหลีบางคนก็ถูกคุมขังเช่นกัน เมื่อมีทหารไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มหน่วย
การจัดการเชลยศึกเป็นไปตามกฤษฎีกาของคณะกรรมการกลาโหมสหภาพโซเวียตหมายเลข 9898cc "เกี่ยวกับการรับ, ที่พัก และการใช้แรงงานของเชลยศึกชาวญี่ปุ่น" ("О приеме, размещении, трудовом использовании военнопленных японской армии") ลงวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1945
ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากถูกมอบหมายให้ก่อสร้างทางรถไฟสายหลักไบคาล–อามูร์ (กว่า 200,000 นาย) ในแปดค่าย ณ คอมโซมอล์สก-ออน-อามูร์ (สองค่ายสำหรับสองทางแยกรถไฟ), โซเวตสกายากาวัน, สถานีรถไฟเรชิฮา (ดินแดนฮาบารอฟสค์), สถานีรถไฟอิซเวสต์โคเวย์ (ดินแดนฮาบารอฟสค์), กรัสนายาซาร์ยา (แคว้นชิตา), เทย์เชต และโนโว-กริชิโน (แคว้นอีร์คุตสค์)
ส่วนการส่งเชลยศึกของญี่ปุ่นกลับประเทศได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1946
ซึ่งจุดเริ่มต้นใน ค.ศ. 1949 มีรายงานว่าผู้เดินทางกลับไม่ให้ความร่วมมือและเป็นปรปักษ์เมื่อกลับมายังประเทศญี่ปุ่น เนื่องมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของคอมมิวนิสต์ที่พวกเขาได้รับในระหว่างการถูกจองจำ อุบัติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นได้รับการรับรู้เชิงลบมากขึ้นเกี่ยวกับทหารที่กลับมา และเพิ่มความเป็นปรปักษ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรต่อฝ่ายซ้ายในญี่ปุ่น
Japanese prisoners of war in the Soviet Union
ดูวอตยูวอนต์ (เพลงเลดี้ กาก้า)
วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม
วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลบางกะไห อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน ปัจจุบันมีพระครูประโชติวุฒิคุณเป็นเจ้าอาวาส
วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม เดิมชื่อ วัดโมทนามันปุญญาราม เดิมตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2442 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2482 โดยมีหลวงนครเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง ต่อมาได้มีการขุดคูลัดข้างวัดไปคลองบางกะไห เพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า วัดนาคู ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม" วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2430 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
อาคารและเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถ ซึ่งพระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2434 ศาลาการเปรียญ กุฏิ เจดีย์ 3 องค์ ซึ่งนายเผือก นางอิ่ม สร้าง 1 องค์ นายหรั่ง นางเป้า สร้าง 1 องค์ และ 1 องค์ คงสร้างในสมัยเดียวกัน โรงเรียนพระปริยัติธรรมสร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 และในสมัยพระครูธรรมกิจนิเทศก์ (หลวงพ่อบุญชู นิจเจริญ) เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างโรงเรียนประชาบาล
Scolopendra cataracta
วัดเขาถ้ำแรต
วัดเขาถ้ำแรต เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ ปัจจุบันมีพระครูบรรพตคณานุกูล (วิทยา กตกุสโล) เป็นเจ้าอาวาสวัด
วัดเขาถ้ำแรตได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ผู้ขออนุญาตให้สร้างวัด คือ นายเคนสุ่ย วงษ์เส ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ภายในวัดเขาถ้ำแรตมีถ้ำขนาดเล็ก มีหินงอกหินย้อย ความลึก 500 เมตร พระสงฆ์จะเข้าไปสวดมนต์ทุกวันพระ ลานข้างในสามารถบรรจุคนได้ประมาณ 50 คน บริเวณถ้ำแรตมีลิงอาศัยอยู่จำนวนมาก อุโบสถของวัดมีพญานาคล้อมอยู่รอบ พระประธานในอุโบสถมีนามว่า "หลวงพ่อพุทธศรีศากยะเมตตามหาภูมินทร์"
Lampadaria
Lampadaria เป็นสกุลของพืชดอกที่อยู่ในวงศ์ Gesneriaceae.
ถิ่นกำเนิดของมันคือ กายอานา
สปีชีส์ในสกุล ได้แก่:
Aespa
สมัยกลางตอนปลาย
สมัยกลางตอนปลาย คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรปที่กินเวลาระหว่าง ค.ศ. 1250 จนถึง ค.ศ. 1500 โดยเป็นยุคสมัยที่ต่อเนื่องมาจากสมัยกลางตอนกลาง และเป็นยุคสมัยก่อนสมัยใหม่ตอนต้น (ซึ่งในยุโรปส่วนใหญ่นั้นเรียกว่าสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา)
ในราว ค.ศ. 1300 ยุคสมัยความรุ่งเรื่องและเติบโตในยุโรปนั้นดำเนินมาจนถึงจุดหยุดนิ่ง โดยเกิดทั้งเหตุการณ์ขาดแคลนอาหารและโรคระบาดต่าง ๆ รวมถึงทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 และกาฬมรณะ อันเป็นเหตุให้ประชากรในยุโรปนั้นลดลงกว่าครึ่งหนี่งจากสมัยก่อนหน้า ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ และการติดพันในสงครามต่าง ๆ ด้วย
ฝรั่งเศสและอังกฤษประสบกับเหตุความไม่สงบอย่างรุนแรงจากชาวนา เช่น สงคราวชาวนาฝรั่งเศส สงคราวชาวนาอังกฤษ รวมทั้งความไม่สงบสืบเนื่องจากการสงครามต่าง ๆ กินเวลาต่อเนื่องกว่าศตวรรษ (สงครามร้อยปี) นอกจากนี้แล้วคริสตจักรคาทอลิกยังถูกท้าทายด้วยศาสนเภทตะวันตก โดยมักเรียกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ นี้รวมกันว่าวิกฤติกาลของปลายสมัยกลางของยุโรป
นอกเหนือจากวิกฤติกาลต่างๆ นั้น ศตวรรษที่ 14 ยังเป็นช่วงเวลาของความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ด้วย อันสืบเนื่องมาจากการกลับมาสนใจในบันทึกโบราณในสมัยกรีกและโรมันโดยมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงสมัยกลางตอนเฟื่องฟู จึงทำให้เกิดสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีขึ้น การเริ่มกลับมาศึกษาบันทึกภาษาลาตินได้เริ่มขึ้นก่อนหน้าในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาในศตรวรรษที่ 12 ผ่านทางการติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับในช่วงสงครามครูเสด ส่วนที่มาของบันทึกกรีกอันสำคัญนั้นมาจากการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยจักรวรรดิออตโตมันซึ่งในเหตุการณ์นี้เหล่านักปราชญ์ชาวไบแซนไทน์ได้ลี้ภัยสงครามมายังตะวันตกโดยเฉพาะในอิตาลีเป็นสำคัญ
ประกอบกับแนวคิดสมัยคลาสสิกต่างๆ ที่มีอิทธิพลมากขึ้นรวมถึง การคิดค้นเครื่องพิมพ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเผยแพร่แนวคิดด้านประชาธิปไตยผ่านทางงานพิมพ์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในที่สุด และในช่วงปลายสมัยนี้ ยุคแห่งการค้นพบ ก็ได้อุบัติขึ้น โดยการขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันได้ตัดขาดการพาณิชย์ระหว่างยุโรปกับประเทศตะวันออกอย่างสิ้นเชิง ชาวยุโรปจึงต้องแสวงหาเส้นทางการค้าใหม่ๆ ซึ่งทำให้เกิดการสำรวจเส้นทางเดินเรือโดยชาวสเปนภายใต้การนำของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสที่ค้นพบทวีปอเมริกาในปีค.ศ. 1492 และวัชกู ดา กามาที่เดินทางไปยังแอฟริกาและอินเดียในปีค.ศ. 1498 การค้นพบใหม่ๆ นี้ทำให้เศรษฐกิจและอำนาจของชาติต่างๆ ในยุโรปนั้นมีความเข้มแข็งขึ้น
Late Middle Ages
รีตูอาเลบิสซาซัฆเล
รีตูอาเลบิสซาซัฆเล หรือชื่อแปล วังสมรส หรือ วังพิธี เป็นอาคารในทบิลีซี ผลงานออกแบบโดยสถาปนิกวิคตอร์ จอร์เบนัดเซ และวาฌา ออร์เบลัดเซ สร้างขึ้นในปี 1984 เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดงานแต่งงาน
ประวัติศาสตร์.
การออกแบบอาคารได้รับอิทธิพลที่หลากหลาย ทั้งจากเอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์แบบทศวรรษ 1920 ไปจนถึงสถาปัตยกรรมโบสถ์แบบจอร์เจียยุคกลาง อาคารได้รับคำวิจารณ์ทั้งที่ชื่นชอบและรังเกียจ
นอกจากใช้เป็นสถานที่จัดงานแต่งงานแล้ว อาคารยังใช้เป็นสถานที่แสดงและรับรองอาคันตุกะจากต่างประเทศในบางโอกาส เช่นเมื่อมาร์กาเรต แทตเชอร์ เดินทางเยี่ยมจอร์เจียในปี 1987 ก็เดินทางมาที่นี่เพื่อชมการแสดง นอกจากนี้ในปี 1990 เอียน กิลแลน นักร้องนำวงดีปเพอร์เพิล กับภรรยา บรอน (Bron) กล่าวยืนยันคำปฏิญาณแต่งงานกันที่นี่ ระหว่างที่กิลแลนมาแสดงคอนเสิร์ตที่จอร์เจียในปี 1990
ในปี 2002 บัดรี ปาตาร์กัทซิชวีลี ซื้ออาคารไปเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล ข้อมูลจากปี 2013 ระบุว่าอาคารได้ถูกปล่อยเช่าให้แก่บริษัทเอกชนสำหรับจัดงานต่าง ๆ
Wedding Palace (Tbilisi)
ศูนย์วิทยาศาสตร์วิทยาการหุ่นยนต์และไซเบอร์เนติกส์เชิงเทคนิคแห่งรัฐรัสเซีย
ศูนย์วิทยาศาสตร์วิทยาการหุ่นยนต์และไซเบอร์เนติกส์เชิงเทคนิคแห่งรัฐรัสเซีย เป็นสถาบันวิจัยด้านไซเบอร์เนติกส์ในประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์, ไซเบอร์เนติกส์ และวิทยาการหุ่นยนต์
ศูนย์มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบควบคุมการลงจอดแบบซอฟต์ให้กับยานอวกาศโซยุซ และโพรบหุ่นยนต์ลูนา 16 ในปี 1986–1987 สถาบันได้พัฒนาหุ่นยนต์จิ๋วสำหรับเข้าไปปฏิบัติการในเชอร์โนบิลหลังเกิดภัยพิบัติเตาไฟฟ้านิวเคลียร์ และในทศวรรษ 1990 ศูนย์มีส่วนร่วมในการพัฒนายานอวกาศบูรัน
Russian State Scientific Center for Robotics and Technical Cybernetics
เสนาธิปไตย
เสนาธิปไตย เป็นรูปแบบการปกครองที่มีทหารเป็นผู้นำ อำนาจรัฐแต่ละฝ่าย (บริหาร, นิติบัญญัติ และตุลาการ) อยู่ภายใต้การควบคุมโดยกำลังทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของเสนาธิปไตย คือสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ซึ่งเป็นรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศพม่าระหว่างค.ศ. 1997 ถึง 2011 ภายใต้พลเอกอาวุโสต้านชเว ซึ่งเป็นการปกครองที่ทหารมีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องอิงแอบรัฐสภาหรือรัฐธรรมนูญของพลเรือน

Dataset Card for "thai_wikipedia_clean_20230101"

More Information needed

Thai Wikipedia Database dumps to plain text for NLP work.

This dataset was dump on 1 January 2023 from Thai wikipedia.

Downloads last month
5
Edit dataset card