text
stringlengths 0
9.8k
|
---|
ฎีกา คือวรรณกรรมภาษาบาลี ที่แต่งเพื่ออธิบายความในคัมภีร์อรรถกถาของอรรถกถาจารย์ที่ได้ไขความในพระไตรปิฎกไว้ คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์อรรถกถาที่ขยายความในพระไตรปิฎก เรียกว่า คัมภีร์ชั้นสาม คัมภีร์ฎีกามีความแตกต่างกับคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นสอง) ที่วัตถุประสงค์ในการแต่งฎีกานั้นทำเพื่ออธิบายเนื้อความในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา หรือฎีกาด้วยกันเอง |
คัมภีร์ฎีกามีผู้แต่งจำนวนมากและมีหลายคัมภีร์ ส่วนใหญ่ชื่อคัมภีร์ชั้นฎีกาจะมีคำว่า ฎีกา และตามด้วยชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคำ ทีปนี โชติกา ปกาสินี หรือ คัณฐิ ลงท้าย ซึ่งคำลงท้ายเหล่านั้นรวมแปลว่า ให้ความกระจ่าง (อธิบายความในอรรถกถาให้กระจ่าง) คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์ชั้นอรรถกถา |
ประวัติ. |
ฎีกาบางคัมภีร์อาจมีสืบกันมาแต่ครั้งโบราณ และถูกนำมาเรียบเรียงอีกครั้งในยุคราว พ.ศ. 1400 - 1800 ซึ่งเป็นยุคที่มีฎีกาเกิดขึ้นมาก ซึ่งหลายคัมภีร์ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ยังคงได้รับการยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) จะได้แสดงความเห็นไว้ว่า คัมภีร์หลังยุคฎีกามานั้นควรจะจัดอยู่ในประเภทอัตตโนมติ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันที่ประเทศสหภาพพม่ายังพบว่ามีอาจารย์บางท่านจัดคัมภีร์ของตนไว้ในชั้นนี้อยู่ และในยุคหนึ่งประเทศพม่าเคยมีการเขียนฎีกาออกมามากจนมีคำว่า "ฝนฎีกา" เกิดขึ้น และบางคัมภีร์ก็แต่งขึ้นเพื่อค้านมติของพระฎีกาจารย์ ในยุคฎีกา จนมีกระแสต่อต้านเกิดขึ้นมากมาย เช่น คัมภีร์ปรมัตถทีปนีฎีกา ของพระภิกษุชาวเมียนม่า นามว่า แลดี สยาดอ ซึ่งแต่งค้านคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินีของพระสุมังคลมหาสามี เมื่อยุค พ.ศ. 1700 ที่หลักสูตรเปรียญธรรมประโยค 9 ใช้เรียนกันในปัจจุบัน เป็นต้น |
คุณสมบัติของผู้แต่ง. |
ผู้แต่งคัมภีร์ฎีกา เราเรียกว่า พระฎีกาจารย์ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ทรงความรู้ความสามารถมากไม่น้อยไปกว่าพระอรรถกถาจารย์ เพราะนอกจากพระฎีกาจารย์จะต้องสามารถทรงจำ และเข้าใจพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานเพื่อนำมาเขียนอธิบายได้แล้ว ยังจะต้องแตกฉานในคัมภีร์อรรถกถาและคัณฐีต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังจะต้องมีความชำนาญในไวยากรณ์ทั้งบาลีและสันสกฤต ในคัมภีร์สัททาวิเสสต่าง ๆ, รอบรู้ศัพท์และรูปวิเคระห์ต่าง ๆ เป็นอย่างดี, ฉลาดในการแต่งคัมภีร์ให้สละสลวย ไพเราะ มีลำดับกฎเกณฑ์ ตามหลักอลังการะ, ต้องมีความสามารถในการแต่งคัมภีร์ตรงตามหลักฉันท์อินเดียซึ่งมีอยู่นับร้อยแบบ, และเข้าใจกรรมฐานจนถึงพระอรหันต์แตกฉานเชี่ยวชาญในข้อปฏิบัติเป็นอย่างดี |
ฎีกาจารย์บางท่านอาจมีฐานะเป็นอรรถกถาจารย์ด้วย เนื่องจากรจนาทั้งอรรถกถาและฎีกา ซึ่งเท่าที่พบในประวัติศาสนาพุทธมี 2 ท่าน คือ พระธรรมปาลาจารย์ วัดพทรติตถวิหาร และพระโจฬกัสสปเถระ ผู้อยู่ในแคว้นโจฬรัฐ ทางตอนใต้ของชมพูทวีป |
ฎีกาจารย์และคัมภีร์ฎีกาที่มีใช้แพร่หลายในประเทศไทย. |
ฎีกาจารย์และคัมภีร์ฎีกาที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู่นักศึกษาอภิธรรมของประเทศไทย ได้แก่ พระสุมังคลมหาสามี ผู้รจนาอภิธัมมตถวิภาวินีฎีกา อธิบายคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหอรรถกถา และ อภิธัมมัตถวิกาสินีฎีกา อธิบายคัมภีร์อภิธัมมาวตารอรรถกถา นอกจากนี้พระฎีกาจารย์ที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักเปรียญธรรมก็มีอยู่หลายท่านด้วยกัน เช่น พระสิริมังคลาจารย์ ผู้รจนามังคลัตทีปนี อธิบายมงคล 38, พระธรรมปาลาจารย์ ผู้รจนาปรมัตถมัญชูสา วิสุทธิมรรคมหาฎีกา, พระสารีบุตรเถระ ผู้รจนาสารัตถทีปนีฎีกา อธิบายอรรถกถาพระวินัย และสารัตถมัญชูสาฎีกา อธิบายอรรถกถาอังคุตตรนิกาย, พระโจฬกัสสปเถระ ผู้รจนาวิมติวิโนทนีฎีกา อธิบายอรรถกถาพระวินัย และอนาคตวังสอรรถกถา, พระวชิรพุทธิเถระ ผู้รจนาวชิรพุทธิฎีกา เป็นต้น |
เชิงอรรถ. |
คำลงท้ายดังกล่าวบางคำนำมาจากคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งคัมภีร์ชั้นฎีกาใดที่ไม่ได้แต่งชื่อคัมภีร์ขึ้นใหม่ ก็จะใช้คำว่า ฎีกา นำหน้าตามด้วยชื่อคัมภีร์ชั้นอรรถกถาที่นำมาขยายความ เช่น ฎีกาสารัตถทีปนี เป็นต้น |
พระสารีบุตรรูปนี้ มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ. 1700 ไม่ใช่พระสารีบุตรผู้เป็นอัครมหาสาวกในครั้งพุทธกาล |
เซอร์ไวเวอร์ วานูอะตู |
เจ้าชายนิโคลัสแห่งกรีซและเดนมาร์ก |
เจ้าชายนิโคลัสแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ: 22 มกราคม พ.ศ. 2415 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481) พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ และ สมเด็จพระราชินีโอลกาแห่งกรีซ ทรงเข้าอภิเษกสมรสกับแกรนด์ดัชเชสเยเลนา วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย มีพระราชธิดา 3 พระองค์ |
เจซัน |
เจซัน ( แปลว่า "สัญกรณ์วัตถุจาวาสคริปต์") เป็นฟอร์แมตสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฟอร์แมต JSON นั้นอยู่ในรูปข้อความธรรมดา (plain text) ที่ทั้งมนุษย์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้ |
มาตรฐานของฟอร์แมต JSON คือ RFC 4627 มี Internet media type เป็น codice_1 และมีนามสกุลของไฟล์เป็น codice_2 |
ปัจจุบัน JSON นิยมใช้ในเว็บแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะ AJAX โดย JSON เป็นฟอร์แมตทางเลือกในการส่งข้อมูล นอกเหนือไปจาก XML ซึ่งนิยมใช้กันอยู่แต่เดิม สาเหตุที่ JSON เริ่มได้รับความนิยมเป็นเพราะกระชับและเข้าใจง่ายกว่า XML |
โครงสร้างของฟอร์แมต. |
เจสัน เป็นรูปแบบสายอักขระ (String) ชนิดหนึ่งที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบที่สามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย ถ้าจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเจสันเปรียบเสมือนรูปแบบของ อาเรย์ (Array) ชนิดหนึ่งที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านอาแจ็กซ์เพราะซึ่งปกติแล้วถ้าเราต้องการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอาแจ็กซ์ต่าง ๆ นั้น จะต้องรับ-ส่งมาในรูปแบบของสายอักขระทั้งก้อน และเมื่อฝั่งอาแจ็กซ์ทำการรับค่าที่ทำการส่งค่ากลับมาจากเซิร์ฟเวอร์ ก็จะต้องนำสายอักขระ เหล่านั้นมาตัดตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเอาสายอักขระตัวที่ต้องการมาใช้ แต่สำหรับเจสันแล้ว สามารถรับส่งชุดค่าตัวแปรได้ทั้งฝั่งไคลเอนต์ (Client) และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) โดยทั้ง 2 ฝั่งสามารถทำการเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้เจสันเอนโค้ด (Json Encode) และ เจสันดีโค้ด (Json Decode) เพื่ออ่านค่าตัวแปรเหล่านั้น และจะเรียกใช้งานมันได้อย่างไร ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของอาเรย์และสำหรับตัวแปรเจสันนั้นไม่จำกัดแค่รับส่งข้อมูลผ่านเว็บเบราว์เซอร์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำเจสันไปประยุกต์กับการรับส่งข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ ได้ เช่นการจับเก็บข้อมูลในรูปแบบของ สายอักขระในข้อความหรือการรับส่งผ่านตัวให้บริการเว็บไซต์ (Web Service) ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน |
JSON นั้นใช้ความสัมพันธ์ของภาษาจาวาสคริปต์ แต่ไม่ถูกมองว่าเป็นภาษาโปรแกรม กลับถูกมองว่าเป็นภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลมากกว่า ในปัจจุบันมีไลบรารีของภาษาโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้ประมวลผลข้อมูลในรูปแบบ JSON มากมาย |
โค้ดตัวอย่างของ JSON เป็นดังนี้ |
ภาษาที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ. |
ในการส่งข้อมูลและบันทึกข้อมูลระหว่างระบบ มีหลากหลาย รูปแบบ รูปแบบที่เป็นที่นิยมคือ |
ปรมัตถธรรม |
ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่) เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ประสูติและตรัสรู้ สภาพธรรมทั้งหลายก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น ปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ เพราะปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริง ฉะนั้น ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จึงเป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรม ตามลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆ |
ปรมัตถธรรม มี 2 ประเภท คือ รูปธรรม และ นามธรรม (หรือ รูป และ นาม หรือ รูปธาตุ และ นามธาตุ) 1. รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ |
2. นามธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฏ และรู้ได้ เป็นได้ทั้ง รูปธรรม และนามธรรม เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งใด สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมฺมณ หรือ อาลมฺพน) |
ปรมัตถธรรม มี 4 ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน |
แยกประเภท (บางทีเรียกว่า ดวง) ได้ดังนี้ |
โดยจัดเป็นรูป 28 นับเป็นรูปธรรม จัดจิต 89 หรือ 121 โดยพิเศษ เจตสิก 52 นิพพาน 1 เป็นนามธรรม |
สังขารธรรม คือ ธรรมที่เกิดขึ้น มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพาน |
วิสังขารธรรม คือ ธรรมที่ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน |
สังขตธรรม คือ ธรรมที่เกิดดับ ได้แก่ ธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพาน |
อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่เกิดดับ ได้แก่ นิพพาน |
จิต จำแนกโดยการเกิด คือ โดยชาติ มี 4 ชาติ คือ กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต กุศลจิตเป็นจิตที่ดี ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผล คือ กุศลวิบาก อกุศลจิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นโทษ เป็นสภาพธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลที่เป็นทุกข์ ไม่น่าพอใจ คือ อกุศลวิบาก ส่วนกิริยาจิต ซึ่งไม่เป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบาก จึงไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต และไม่ใช่วิบากจิต สำหรับวิบากจิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นผลจากกุศลจิต หรืออกุศลจิต และปรากฏในชีวิตประจำวันของสัตว์ทั้งหลายที่มีขันธ์ห้า เมื่อจิตรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าพอใจ ก็เป็นกุศลวิบาก ถ้าไม่พอใจ ก็เป็นอกุศลวิบาก |
จิต จำแนกโดยภูมิ มี 4 ภูมิ คือ กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตตรจิต ในภูมิที่เป็นกามาวจรจิต จิตมีทั้ง 4 ชาติ รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต จิตมี 3 ชาติ คือยกเว้นอกุศลจิตและโลกุตตรจิต จิตมี 2 ชาติ คือโลกุตตรกุศล และโลกุตตรวิบาก |
ปรมัตถธรรม 3 ประเภทแรกเป็นขันธ์ 5 คือ |
ส่วนนิพพานเป็นขันธวิมุต |
ความหมายของปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม คือธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอนที่ดำรงลักษณะเฉพาะของตนไว้โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง มี ๔ ประการคือ |
๑. จิต |
๒. เจตสิก |
๓. รูป |
๔. นิพพาน |
ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้ |
จิต คือธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น, ได้ยิน, รับกลิ่น, รับรส, รู้สัมผัส ถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติที่ทำให้เกิดการคิด นึก สภาวะของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ อย่าง (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สิ่งต่าง ๆ และเรื่องราวต่างๆ ที่จิตไปรับรู้) |
จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ และ มนายตนะ เป็นต้น |
เจตสิก คือธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความรู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิกเป็นนามธรรมที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต สภาพของจิต เป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธ หรือจิตโลภ เป็นเพราะ มีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่งให้เกิดความโกรธหรือความโลภนั่นเอง จิต เปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยาที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดย ไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกเกิดโดยไม่มีจิตก็ไม่ได้เช่นกัน |
รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและความร้อน ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้นมีรูปประชุมกันอยู่ทั้งหมด ๒๘ ชนิด และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับสลายไปตลอดเวลา หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย |
นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด พ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิด นิพพานโดยปริยายมี ๒ ลักษณะคือ |
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง การที่ประหารกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่) |
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ (ผู้หมดจดจากกิเลส) และสิ้นชีวิตไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ) หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อปรินิพพานแล้ว จิต เจตสิกและรูปจะหยุดการสืบต่อและดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อปรินิพพานไปแล้วก็จะไม่มีการเกิดอีกหรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก) |
นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึงให้จงได้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวก เป็น อริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรมในพุทธศาสนานี้ |