text
stringlengths 0
9.8k
|
---|
พาร์สลีย์ |
พาร์สลีย์ เป็นพืชดอกในวงศ์ผักชี (Apiaceae) มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลางและตะวันออก (ซาร์ดิเนีย เลบานอน อิสราเอล ไซปรัส ตุรกี อิตาลีตอนใต้ กรีซ โปรตุเกส สเปน มอลตา โมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย) แต่ได้มีการทำพืชให้เคยชินกับท้องถิ่นที่อื่นในยุโรปและนิยมปลูกเป็นสมุนไพรและผัก |
พาร์สลีย์ใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารยุโรป ตะวันออกกลาง และอเมริกัน พาร์สลีย์ใบหยิกมักใช้เป็นประดับอาหาร ในยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และยุโรปตอนใต้ รวมทั้งในเอเชียตะวันตก มีอาหารหลายจานที่เสิร์ฟพร้อมกับพาร์สลีย์สับสีเขียวโรยบนอาหาร พาร์สลีย์ใบแบนมีลักษณะคล้ายกัน แต่ปลูกง่ายกว่า บางคนบอกว่ามีรสชาติเข้มข้นกว่า พาร์สลีย์รากสามารถหาพบได้ในอาหารยุโรปกลาง ตะวันออก และใต้ ซึ่งใช้เป็นอาหารว่างหรือผักในซุป สตู และหม้ออบอาหารจำนวนมาก เชื่อกันว่าเดิมเติบโตในซาร์ดิเนีย (แถบเมดิเตอร์เรเนียน) และเพราะปลูกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ลินเนียสระบุว่าแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชคือซาร์ดิเนีย ซึ่งถูกนำเข้ามาในอังกฤษ และมีการเพาะปลูกครั้งแรกในบริเตนในปี ค.ศ. 1548 |
การเพาะปลูก. |
พาร์สลีย์เติบโตได้ดีที่สุดในดินที่มีการระบายน้ำดีและชื้น และมีแสงแดดจัด ในอุณหภูมิระหว่าง และมักจะปลูกจากเมล็ด การงอกใช้เวลานานซึ่งใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ และมักเป็นเรื่องยากเนื่องจาก furanocoumarins ในเปลือกเมล็ด โดยปกติพืชที่ปลูกเพื่อใบจะปลูกห่างกัน 10 ซม. ในขณะที่พืชที่ปลูกเพื่อรากจะปลูกห่างกัน 20 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่ในการพัฒนาราก |
พาร์สลีย์ดึงดูดสัตว์ป่าหลายชนิด ผีเสื้อหางแฉกบางชนิดใช้พาร์สลีย์เป็นพืชอาศัยสำหรับตัวอ่อน หนอนผีเสื้อจะมีลายเป็นสีดำและสีเขียวมีจุดสีเหลือง และจะกินพาร์สลีย์เป็นเวลาสองสัปดาห์ก่อนที่จะกลายเป็นผีเสื้อ ผึ้งและแมลงกินน้ำหวานอื่น ๆ ก็เยี่ยมชมดอกไม้เช่นกัน นกเช่นนกโกลด์ฟินช์กินเมล็ดของพาร์สลีย์ |
พันธุ์. |
ในการเพาะปลูก พาร์สลีย์แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มพันธุ์ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของพืชซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้งาน บ่อยครั้งถือเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกันทางพฤกษศาสตร์ แต่เป็นสายพันธุ์พืชที่มาจากการคัด ไม่ใช่กำเนิดตามธรรมชาติ |
พาร์สลีย์ใบ. |
พาร์สลีย์กลุ่มหลักสองกลุ่มที่ใช้เป็นสมุนไพร ได้แก่ ฝรั่งเศสหรือใบหยิก ("P. crispum" Crispum Group; syn. "P. crispum" var. "crispum"); และอิตาลีหรือใบแบน ("P. crispum" Neapolitanum Group; syn. "P. crispum" var. "neapolitanum") ในจำนวนนี้กลุ่ม Neapolitanum มีความคล้ายคลึงกับพืชตามธรรมชาติมากที่สุด ชาวสวนบางคนนิยมปลูกพาร์สลีย์ใบแบนเนื่องจากปลูกได้ง่ายกว่า ทนต่อฝนและแสงแดดได้มากกว่า และว่ากันว่ามีรสชาติที่เข้มข้นกว่า แม้ว่ายังมีการถกเถียงกันอยู่ ในขณะที่คนอื่นชอบพาร์สลีย์ใบหยิกเพราะมีลักษณะที่ดีกว่าในการตกแต่ง ชนิดที่ 3 ที่บางครั้งปลูกทางตอนใต้ของอิตาลี มีก้านใบหนาคล้ายขึ้นฉ่าย |
พาร์สลีย์ราก. |
พาร์สลีย์อีกประเภทหนึ่งที่ปลูกเพื่อรากคือพาร์สลีย์รากฮัมบวร์ค (อังกฤษ: Hamburg root parsley, "P. crispum" Radicosum Group, syn. "P. crispum" var. "tuberosum") พาร์สลีย์ประเภทนี้มีรากที่หนากว่าพาร์สลีย์ที่ปลูกไว้สำหรับใบ แม้ว่าไม่ค่อยใช้ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ พาร์สลีย์รากยังสามารถพบได้ทั่วไปในอาหารยุโรปกลางและตะวันออก ซึ่งใช้ในซุปและสตู หรือรับประทานดิบ ๆ เป็นอาหารว่าง (คล้ายกับแคร์รอต) |
แม้ว่าพาร์สลีย์รากจะดูคล้ายกับพาร์สนิป ซึ่งเป็นหนึ่งในญาติในวงศ์ Apiaceae แต่รสชาตินั้นแตกต่างกันมาก |
ไจอันตส์คอสเวย์และชายฝั่ง |
วัดลาดเป็ด |
วัดลาดเป็ด เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน 48 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ 3 แปลง เนื้อที่ 16 ไร่ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มมีทุ่งนาและลำรางส่งน้ำโดยรอบบริเวณวัด |
สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่คงถูกทิ้งร้างทรุดโทรมไป ได้มารื้อบูรณะใหม่ ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2335 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2453 ด้านการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 |
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถมีโครงสร้างก่ออิฐถือปูนทรงไทยโบราณ ฐานอาคารหย่อนสำเภาไม่มาก หน้าจั่วไม่มีปูนปั้นแต่ร่องรอยประดับด้วยเครื่องปั้นดินเผา วิหารสร้างขึ้นหลังอุโบสถ ภายในไม่มีโครงสร้างเสา ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499 เป็นอาคารไม้ หอสวดมนต์ กว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นอาคารไม้ และกุฏิสงฆ์ จำนวน 8 หลัง เป็นอาคารไม้ |
ลอรีฌีนดูว์มงด์ |
ลอรีฌีนดูว์มงด์ (; "ต้นกำเนิดของโลก") เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบโดยกุสตาฟว์ กูร์แบ ศิลปินชาวฝรั่งเศส เขียนขึ้นในปี 1866 แสดงภาพใกล้ของสตรีเปลือยส่วนช่องคลอดและท้องขณะนอนถ่างขาบนเตียง |
ประวัติศาสตร์. |
ตัวตนของนางแบบในภาพ. |
ตัวตนของนางแบบในภาพเป็นที่สนใจในหมู่นักประวัติศาสตร์ศิลป์มาโดยตลอด ส่วนใหญ่เชื่อว่านางแบบคือโจแอนนา ฮิฟเฟอร์นัน หรือโจ นางแบบคนโปรดของกูร์แบ ซึ่งเป็นคู่รักของเจมส์ วิสเลอร์ ศิลปินชาวอเมริกันและเพื่อนของกูร์แบ ฮิฟเฟอร์นันเคยปรากฏเป็นนางแบบในชุดภาพเขียนสี่ภาพของกูร์แบ ชื่อ "โจ ลาแบลีร์ล็องแดซ" ("โจ โฉมงามชาวไอริช") เขียนขึ้นในปี 1865–1866 จึงมีความเป็นไปได้มากว่าเธอจะเป็นนางแบบในภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเธออาจมีความสัมพันธ์กับกูร์แบ จนนำไปสู่การตัดขาดระหว่างกูร์แบกับวิสเลอร์ไม่นานจากนั้น อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเธอเป็นสตรีผมแดง จึงไม่น่ามีขนอวัยวะเพศสีดำดังที่เห็นในภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" |
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 "ปารีมัตช์" รายงานว่า ฌ็อง-ฌัก แฟร์นีเย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกูร์แบ ระบุว่าสามารถยืนยันภาพเขียนที่เป็นท่อนบนของภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" บางส่วนระบุว่านี่เคยเป็นภาพเดียวกันมาก่อนที่จะถูกแยกจากกัน แฟร์นีเยสรุปผลการศึกษาดังกล่าวหลังใช้เวลาสองปี และเสนอให้ใส่ภาพส่วนท่อนบนประกอบไปด้วยในกาตาลอกแรซอเนของกูร์แบในฉบับถัดไป ในขณะที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงภาพ ระบุว่า "ลอรีฌีนดูว์มงด์" ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพชิ้นที่ใหญ่กว่า "เดอะเดลีเทลิกราฟ" รายงานว่า "ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยการา (ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยศิลปะและโบราณคดี) สามารถปะติดปะต่อภาพเขียนทั้งสองโดยใช้ร่องที่มาจากกรอบไม้เดิมและเส้นบนผ้าใบ ซึ่งตรงกันทั้งสองภาพ" แต่การาไม่ได้รายงานข้อสรุปอื่นใดเกี่ยวกับภาพเขียนอีก |
มีนักวิจารณ์ศิลปะบางส่วนเชื่อว่าภาพนี้เป็นภาพเขียนจากศพของสตรีมากกว่านางแบบที่ยังมีชีวิตอยู่ |
เจ้าของ. |
เชื่อกันว่าฮาลิล เชริฟ พาชา (ฮาลิลเบย์) ทูตชาวออตโตมันเป็นผู้จ้างกูร์แบให้สร้างภาพเขียนนี้ขึ้นไม่นานหลังพาชาย้ายไปอาศัยในปารีส โดยชาร์ล โอกุสแต็ง แซ็งต์-เบิฟว์ เป็นผู้แนะนำทั้งสองให้รู้จักกัน พาชาตั้งใจจะเก็บภาพเขียนเข้าชุดสะสมภาพเขียนแนวกามวิสัยของเขา ซึ่งมีผลงานชิ้นอื่น ๆ เช่น ("โรงอาบน้ำตุรกี") โดยฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ และ "เลอซอแมย์" ("ผู้หลับใหล") ของกูร์แบเอง |
ภายหลังพาชาสูญเสียเงินจากการพนัน ภาพเขียนได้ถูกส่งต่อเป็นของสะสมส่วนบุคคลเรื่อยมา พาชาขายภาพนี้ครั้งแรกในปี 1868 โดยมีผู้ซื้อคืออ็องตวน เดอ ลา นาร์ด พ่อค้าของโบราณผู้ซึ่งต่อมาได้ขายให้แก่แอดมง เดอ กงกูร์ ในปี 1889 ตามด้วยบารอนแฟแร็นตส์ ฮ็อตว็อญ นักสะสมชาวฮังการี ซื้อภาพเขียนนี้จากหอศิลป์แบร์นายม์-เฌินในปี 1910 และนำกลับไปบูดาเปสต์ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพเขียนถูกกองทัพโซเวียตขโมยไป แต่ฮ็อตว็อญได้จ่ายค่าไถ่ขอภาพคืนมาก่อนจะนำภาพเขียนออกจากประเทศฮังการีในปี 1947 ไปยังปารีส |
ในปี 1955 "ลอรีฌีนดูว์มงด์" ได้รับการประมูลไปด้วยมูลค่า 1.5 ล้านฟรังก์ (4,285 ดอลลาร์สหรัฐในเวลานั้น) โดยฌัก ลาก็อง นักจิตวิเคราะห์ และนำไปแขวนไว้ในบ้านพักที่กีทร็องกูร์ |
หลังลาก็องเสียชีวิตในปี 1981 รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของฝรั่งเศสได้รับภาพเขียนนี้แลกกับภาษีมรดกของลาก็อง (กระบวนการซึ่งเรียกว่า ในกฎหมายฝรั่งเศส) ต่อมาภาพเขียนได้รับการจัดแสดงและเป็นของสะสมของพิพิธภัณฑ์ออร์แซนับตั้งแต่ปี 1995 ถึงปัจจุบัน |
ความปลุกปั่น. |
ในศตวรรษที่ 19 ได้เกิดการปฏิวัติการจัดแสดงภาพเปลือยบุคคล นำโดยกูร์แบและเอดัวร์ มาแน |
ถึงแม้ความตื่นเต้นและปลุกปั่นของภาพเปลือยจะลดลงนับตั้งแต่ยุคของกูร์แบ อันเป็นผลจากวิวัฒนาการของการถ่ายภาพและภาพยนตร์ แต่เมื่อภาพมาถึงที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซก็ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก รายงานการขายโปสต์การ์ดของร้านค้าพิพิธภัณฑ์ออร์แซระบุว่าโปสต์การ์ดภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" มีคนซื้อไปมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาก "การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต" ของปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ |
อิทธิพล. |
ความโจ่งแจ้งของภาพอาจเป็นแรงบันดาลใจของผลงานชิ้นสำคัญสุดท้ายของมาร์แซล ดูว์ช็อง ในชื่อ "เอต็องดอเน" (1946–1966) |
ในปี 1989 ออร์ล็อง ศิลปินชาวฝรั่งเศส สร้างผลงานชีบาโครม "ลอรีฌีนเดอลาแกร์" ("ต้นกำเนิดของสงคราม") ซึ่งเป็นภาพล้อเลียนในรูปแบบผู้ชาย แสดงองคชาตแข็งตัวแทน |
ในปี 2004 อานิช กปูร จัดแสดงผลงานติดตั้งชื่อ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" ซึ่งตั้งตามผลงานของกูร์แบ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด คานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น |
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เฟซบุ๊กเซ็นเซอร์ภาพ "ลอรีฌีนดูว์มงด์" ซึ่ง Frode Steinicke ศิลปินชาวโคเปนเฮเกนโพสต์เพื่อใช้แทนความเห็นของเขาต่อรายการโทรทัศน์ทางช่อง DR2 หลังเกิดเหตุการณ์ได้มีการเคลื่อนไหวออนไลน์โดยมีผู้ใช้จำนวนหนึ่งเปลี่ยนรูปโพรไฟล์ตนเป็นรูปของภาพเขียนนี้เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกับ Steinicke ซึ่งในตอนนั้นถูกเฟซบุ๊กระงับการใช้งานบัญชี ท้ายที่สุดเฟซบุ๊กถอนการระงับบัญชี แต่ยังคงดำเนินการลบหน้าที่มีภาพเขียนนี้ออกต่อไป |
L'Origine du monde |
Aenictus anceps |
Aenictus anceps เป็นชนิดของมดทหารสีเบจแทนที่พบในประเทศเอริเทรียและประเทศซูดาน |
วัดพระบรมธาตุสวี |
วัดพระบรมธาตุสวี เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ส่วนด้านหน้าพระธาตุซึ่งติดกับแม่น้ำสวี มีศาลพระเสื้อเมือง |
วัดพระบรมธาตุสวี หรือ วัดสวี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2325 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2373 วัดมีพระธาตุซึ่งมีตำนานเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เสด็จยกทัพมาถึงเขตอำเภอสวี เกิดเหตุการณ์มีกาฝูงหนึ่งบินมาจับอยู่บนกองอิฐพากันส่งเสียงร้องและกระพือปีกอื้ออึง เมื่อรื้อกองอิฐออกก็พบฐานเจดีย์และพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ขนานนามว่า "พระธาตุกาวีปีก" (วีปีก เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึง กระพือปีก) ภายหลังเรียกเพี้ยนสั้นลงว่า "พระธาตุสวี" ในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยอดพระธาตุได้หักพังลง จึงมีการบูรณะครั้งใหญ่ และมีการทำนุบำรุงรักษาสืบมา วัดได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 127 ง หน้า 10 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2544 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 1 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา |
พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจากพระมหาธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สูง 14.25 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 8.50 เมตร มีซุ้มช้างและยักษ์ยืน มีบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออก ชั้นบนทำเป็นซุ้มพระล้อมรอบ ต่อด้วยเจดีย์ทรงระฆังประดับกระเบื้องโมเสกสีทอง และมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุมทั้งสี่ |
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดงานแห่ผ้าห่มพระธาตุสวีทุกปี |
Aenictus aratus |
Aenictus aratus เป็นชนิดมดทหารสีน้ำตาลเข้มและเบจที่พบในออสเตรเลียตอนบน โดยมีการสังเกตการทำลายปรสิตจากแมลงวันสกุล Phoridae |
วัดดอยทอง |
วัดคีรีชัย |
วัดคีรีชัย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูบรรพตรัตนชัย ปญฺญาวุฑฺโฒ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 3 ไร่ 2 ตารางวา |
วัดคีรีชัยตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2534 ชาวบ้านเรียกว่า วัดริมกรณ์ เพราะอยู่ติดกับแม่น้ำกรณ์ คนทั่วไปรู้จักชื่อ วัดดอยสะเก็น เพราะอยู่ติดกับเขาดอยสะเก็น |
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 สร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นแบบศิลปะล้านนาประยุกต์ คล้ายอุโบสถวัดร่องขุ่น พระพุทธรูปในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 2.7 เมตร สูง 2.93 เมตร นามว่า "พระพุทธสิริมงคล" |
เชลยศึกชาวญี่ปุ่นในสหภาพโซเวียต |
หลังสงครามโลกครั้งที่สองมีกำลังพลชาวญี่ปุ่นจำนวน 560,000 ถึง 760,000 นายในสหภาพโซเวียตและประเทศมองโกเลียที่ถูกกักกันเพื่อใช้งาน ณ ค่ายแรงงานในฐานะเชลยศึก ในจำนวนนี้ คาดว่าระหว่าง 60,000 ถึง 347,000 นายเสียชีวิตในการถูกจองจำ |
กองทัพญี่ปุ่นประมาณ 3.5 ล้านนายนอกประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกปลดอาวุธโดยสหรัฐกับจีนก๊กมินตั๋ง และถูกส่งตัวกลับประเทศใน ค.ศ. 1946 ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้จับเชลยชาวญี่ปุ่น 35,000 นาย ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 กล่าวคือ ก่อนการยอมจำนนของญี่ปุ่น สหภาพโซเวียตควบคุมเชลยศึกของญี่ปุ่นไว้นานกว่ามาก และใช้พวกเขาเป็นกำลังแรงงาน |
ประวัติ. |
ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ถูกคุมขังในสหภาพโซเวียตไม่คิดว่าตนเองเป็น "เชลยศึก" และเรียกตนเองว่า "ผู้ถูกกักกัน" เพราะพวกเขาสมัครใจวางอาวุธหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ หลังจากสิ้นสุดความขัดแย้งทางทหาร จำนวนเชลยชาวญี่ปุ่นที่ถูกจับในการสู้รบมีน้อยมาก |
หลังจากความพ่ายแพ้ของกองทัพคันโตในแมนจูเรีย เชลยศึกชาวญี่ปุ่นได้ถูกส่งจากแมนจูเรีย, เกาหลี, เกาะซาฮาลินใต้ และหมู่เกาะคูริล ไปยังหมู่เกาะคูริล, ดินแดนฮาบารอฟสค์, ดินแดนครัสโนยาสค์, คาซัคสถาน (มณฑลคาซัคสถานใต้ และมณฑลจัมบิล), สาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมบูร์ยัต-มองโกล และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ซึ่งใน ค.ศ. 1946 ค่ายแรงงาน 49 แห่งสำหรับเชลยศึกชาวญี่ปุ่นภายใต้การบริหารขององค์การบริหารหลักสำหรับงานเชลยศึกและผู้ถูกกักกันสามารถรองรับคนได้ประมาณ 500,000 คน นอกจากนี้ ยังมีสองค่ายสำหรับผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาต่าง ๆ เชลยถูกแบ่งออกเป็น 1,000 หน่วยบุคคล ตลอดจนพลเรือนชาวญี่ปุ่นทั้งชายและหญิง รวมทั้งชาวเกาหลีบางคนก็ถูกคุมขังเช่นกัน เมื่อมีทหารไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มหน่วย |
การจัดการเชลยศึกเป็นไปตามกฤษฎีกาของคณะกรรมการกลาโหมสหภาพโซเวียตหมายเลข 9898cc "เกี่ยวกับการรับ, ที่พัก และการใช้แรงงานของเชลยศึกชาวญี่ปุ่น" ("О приеме, размещении, трудовом использовании военнопленных японской армии") ลงวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1945 |
ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากถูกมอบหมายให้ก่อสร้างทางรถไฟสายหลักไบคาล–อามูร์ (กว่า 200,000 นาย) ในแปดค่าย ณ คอมโซมอล์สก-ออน-อามูร์ (สองค่ายสำหรับสองทางแยกรถไฟ), โซเวตสกายากาวัน, สถานีรถไฟเรชิฮา (ดินแดนฮาบารอฟสค์), สถานีรถไฟอิซเวสต์โคเวย์ (ดินแดนฮาบารอฟสค์), กรัสนายาซาร์ยา (แคว้นชิตา), เทย์เชต และโนโว-กริชิโน (แคว้นอีร์คุตสค์) |
ส่วนการส่งเชลยศึกของญี่ปุ่นกลับประเทศได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1946 |
ซึ่งจุดเริ่มต้นใน ค.ศ. 1949 มีรายงานว่าผู้เดินทางกลับไม่ให้ความร่วมมือและเป็นปรปักษ์เมื่อกลับมายังประเทศญี่ปุ่น เนื่องมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของคอมมิวนิสต์ที่พวกเขาได้รับในระหว่างการถูกจองจำ อุบัติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นได้รับการรับรู้เชิงลบมากขึ้นเกี่ยวกับทหารที่กลับมา และเพิ่มความเป็นปรปักษ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรต่อฝ่ายซ้ายในญี่ปุ่น |
Japanese prisoners of war in the Soviet Union |
ดูวอตยูวอนต์ (เพลงเลดี้ กาก้า) |
วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม |
วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลบางกะไห อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน ปัจจุบันมีพระครูประโชติวุฒิคุณเป็นเจ้าอาวาส |
วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม เดิมชื่อ วัดโมทนามันปุญญาราม เดิมตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2442 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2482 โดยมีหลวงนครเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง ต่อมาได้มีการขุดคูลัดข้างวัดไปคลองบางกะไห เพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า วัดนาคู ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม" วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2430 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร |
อาคารและเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถ ซึ่งพระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2434 ศาลาการเปรียญ กุฏิ เจดีย์ 3 องค์ ซึ่งนายเผือก นางอิ่ม สร้าง 1 องค์ นายหรั่ง นางเป้า สร้าง 1 องค์ และ 1 องค์ คงสร้างในสมัยเดียวกัน โรงเรียนพระปริยัติธรรมสร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 และในสมัยพระครูธรรมกิจนิเทศก์ (หลวงพ่อบุญชู นิจเจริญ) เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างโรงเรียนประชาบาล |
Scolopendra cataracta |
วัดเขาถ้ำแรต |
วัดเขาถ้ำแรต เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ ปัจจุบันมีพระครูบรรพตคณานุกูล (วิทยา กตกุสโล) เป็นเจ้าอาวาสวัด |
วัดเขาถ้ำแรตได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ผู้ขออนุญาตให้สร้างวัด คือ นายเคนสุ่ย วงษ์เส ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา |
ภายในวัดเขาถ้ำแรตมีถ้ำขนาดเล็ก มีหินงอกหินย้อย ความลึก 500 เมตร พระสงฆ์จะเข้าไปสวดมนต์ทุกวันพระ ลานข้างในสามารถบรรจุคนได้ประมาณ 50 คน บริเวณถ้ำแรตมีลิงอาศัยอยู่จำนวนมาก อุโบสถของวัดมีพญานาคล้อมอยู่รอบ พระประธานในอุโบสถมีนามว่า "หลวงพ่อพุทธศรีศากยะเมตตามหาภูมินทร์" |
Lampadaria |
Lampadaria เป็นสกุลของพืชดอกที่อยู่ในวงศ์ Gesneriaceae. |
ถิ่นกำเนิดของมันคือ กายอานา |
สปีชีส์ในสกุล ได้แก่: |
Aespa |
สมัยกลางตอนปลาย |
สมัยกลางตอนปลาย คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรปที่กินเวลาระหว่าง ค.ศ. 1250 จนถึง ค.ศ. 1500 โดยเป็นยุคสมัยที่ต่อเนื่องมาจากสมัยกลางตอนกลาง และเป็นยุคสมัยก่อนสมัยใหม่ตอนต้น (ซึ่งในยุโรปส่วนใหญ่นั้นเรียกว่าสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) |
ในราว ค.ศ. 1300 ยุคสมัยความรุ่งเรื่องและเติบโตในยุโรปนั้นดำเนินมาจนถึงจุดหยุดนิ่ง โดยเกิดทั้งเหตุการณ์ขาดแคลนอาหารและโรคระบาดต่าง ๆ รวมถึงทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 และกาฬมรณะ อันเป็นเหตุให้ประชากรในยุโรปนั้นลดลงกว่าครึ่งหนี่งจากสมัยก่อนหน้า ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ และการติดพันในสงครามต่าง ๆ ด้วย |
ฝรั่งเศสและอังกฤษประสบกับเหตุความไม่สงบอย่างรุนแรงจากชาวนา เช่น สงคราวชาวนาฝรั่งเศส สงคราวชาวนาอังกฤษ รวมทั้งความไม่สงบสืบเนื่องจากการสงครามต่าง ๆ กินเวลาต่อเนื่องกว่าศตวรรษ (สงครามร้อยปี) นอกจากนี้แล้วคริสตจักรคาทอลิกยังถูกท้าทายด้วยศาสนเภทตะวันตก โดยมักเรียกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ นี้รวมกันว่าวิกฤติกาลของปลายสมัยกลางของยุโรป |
นอกเหนือจากวิกฤติกาลต่างๆ นั้น ศตวรรษที่ 14 ยังเป็นช่วงเวลาของความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ด้วย อันสืบเนื่องมาจากการกลับมาสนใจในบันทึกโบราณในสมัยกรีกและโรมันโดยมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงสมัยกลางตอนเฟื่องฟู จึงทำให้เกิดสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีขึ้น การเริ่มกลับมาศึกษาบันทึกภาษาลาตินได้เริ่มขึ้นก่อนหน้าในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาในศตรวรรษที่ 12 ผ่านทางการติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับในช่วงสงครามครูเสด ส่วนที่มาของบันทึกกรีกอันสำคัญนั้นมาจากการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยจักรวรรดิออตโตมันซึ่งในเหตุการณ์นี้เหล่านักปราชญ์ชาวไบแซนไทน์ได้ลี้ภัยสงครามมายังตะวันตกโดยเฉพาะในอิตาลีเป็นสำคัญ |
ประกอบกับแนวคิดสมัยคลาสสิกต่างๆ ที่มีอิทธิพลมากขึ้นรวมถึง การคิดค้นเครื่องพิมพ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเผยแพร่แนวคิดด้านประชาธิปไตยผ่านทางงานพิมพ์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในที่สุด และในช่วงปลายสมัยนี้ ยุคแห่งการค้นพบ ก็ได้อุบัติขึ้น โดยการขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันได้ตัดขาดการพาณิชย์ระหว่างยุโรปกับประเทศตะวันออกอย่างสิ้นเชิง ชาวยุโรปจึงต้องแสวงหาเส้นทางการค้าใหม่ๆ ซึ่งทำให้เกิดการสำรวจเส้นทางเดินเรือโดยชาวสเปนภายใต้การนำของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสที่ค้นพบทวีปอเมริกาในปีค.ศ. 1492 และวัชกู ดา กามาที่เดินทางไปยังแอฟริกาและอินเดียในปีค.ศ. 1498 การค้นพบใหม่ๆ นี้ทำให้เศรษฐกิจและอำนาจของชาติต่างๆ ในยุโรปนั้นมีความเข้มแข็งขึ้น |
Late Middle Ages |
รีตูอาเลบิสซาซัฆเล |
รีตูอาเลบิสซาซัฆเล หรือชื่อแปล วังสมรส หรือ วังพิธี เป็นอาคารในทบิลีซี ผลงานออกแบบโดยสถาปนิกวิคตอร์ จอร์เบนัดเซ และวาฌา ออร์เบลัดเซ สร้างขึ้นในปี 1984 เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดงานแต่งงาน |
ประวัติศาสตร์. |
การออกแบบอาคารได้รับอิทธิพลที่หลากหลาย ทั้งจากเอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์แบบทศวรรษ 1920 ไปจนถึงสถาปัตยกรรมโบสถ์แบบจอร์เจียยุคกลาง อาคารได้รับคำวิจารณ์ทั้งที่ชื่นชอบและรังเกียจ |
นอกจากใช้เป็นสถานที่จัดงานแต่งงานแล้ว อาคารยังใช้เป็นสถานที่แสดงและรับรองอาคันตุกะจากต่างประเทศในบางโอกาส เช่นเมื่อมาร์กาเรต แทตเชอร์ เดินทางเยี่ยมจอร์เจียในปี 1987 ก็เดินทางมาที่นี่เพื่อชมการแสดง นอกจากนี้ในปี 1990 เอียน กิลแลน นักร้องนำวงดีปเพอร์เพิล กับภรรยา บรอน (Bron) กล่าวยืนยันคำปฏิญาณแต่งงานกันที่นี่ ระหว่างที่กิลแลนมาแสดงคอนเสิร์ตที่จอร์เจียในปี 1990 |
ในปี 2002 บัดรี ปาตาร์กัทซิชวีลี ซื้ออาคารไปเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล ข้อมูลจากปี 2013 ระบุว่าอาคารได้ถูกปล่อยเช่าให้แก่บริษัทเอกชนสำหรับจัดงานต่าง ๆ |
Wedding Palace (Tbilisi) |
ศูนย์วิทยาศาสตร์วิทยาการหุ่นยนต์และไซเบอร์เนติกส์เชิงเทคนิคแห่งรัฐรัสเซีย |
ศูนย์วิทยาศาสตร์วิทยาการหุ่นยนต์และไซเบอร์เนติกส์เชิงเทคนิคแห่งรัฐรัสเซีย เป็นสถาบันวิจัยด้านไซเบอร์เนติกส์ในประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์, ไซเบอร์เนติกส์ และวิทยาการหุ่นยนต์ |
ศูนย์มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบควบคุมการลงจอดแบบซอฟต์ให้กับยานอวกาศโซยุซ และโพรบหุ่นยนต์ลูนา 16 ในปี 1986–1987 สถาบันได้พัฒนาหุ่นยนต์จิ๋วสำหรับเข้าไปปฏิบัติการในเชอร์โนบิลหลังเกิดภัยพิบัติเตาไฟฟ้านิวเคลียร์ และในทศวรรษ 1990 ศูนย์มีส่วนร่วมในการพัฒนายานอวกาศบูรัน |
Russian State Scientific Center for Robotics and Technical Cybernetics |
เสนาธิปไตย |
เสนาธิปไตย เป็นรูปแบบการปกครองที่มีทหารเป็นผู้นำ อำนาจรัฐแต่ละฝ่าย (บริหาร, นิติบัญญัติ และตุลาการ) อยู่ภายใต้การควบคุมโดยกำลังทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย |
ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของเสนาธิปไตย คือสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ซึ่งเป็นรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศพม่าระหว่างค.ศ. 1997 ถึง 2011 ภายใต้พลเอกอาวุโสต้านชเว ซึ่งเป็นการปกครองที่ทหารมีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องอิงแอบรัฐสภาหรือรัฐธรรมนูญของพลเรือน |