query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
14
176
positive_passages
listlengths
1
9
negative_passages
listlengths
0
14
4
บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเรียกว่าอะไร?
[ { "docid": "9800#4", "text": "บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรคือ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือสามก๊กจี่ หรือซันกั๋วจือ () ซึ่งเป็นผลงานการเขียนในลักษณะพงศาวดารโดยตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว บัณฑิตแห่งราชวงศ์จิ้น อดีตข้าราชการอาลักษณ์คนหนึ่งของจ๊กก๊กที่ถูกกวาดต้อนมายังวุยก๊กหลังจากพ่ายแพ้ศึกสงคราม โดยเขียนขึ้นตามบัญชาของพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้เพื่อเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ต่อมาในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 1873 - พ.ศ. 1943 หลัว กวั้นจงในขณะที่เขากำลังทำงานเป็นกุนซือให้ก๊กต่อต้านราชวงค์หยวนกลุ่มหนึ่ง(ต่อมาถูกจูหยวนจางโจมตี) เขาได้นำซันกั๋วจือมาแต่งใหม่ในรูปแบบนิยายกึ่งประวัติศาสตร์ โดยเนื้อเรื่องทั้งหมดนำมาจากซันกั๋วจือบ้างและแต่งเพิ่มเติมเองบ้าง ซึ่งเมื่อเทียบกับซันกั๋วจือนั้น พบว่ามาจากซันกั๋วจือร้อยละ 70 และแต่งเองร้อยละ 30 โดยประมาณ\nซันกั๋วจื้อ () ซึ่งเป็นจดหมายเหตุของตันซิ่ว ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของจีนในสมัยของยุคสามก๊กชุดแรก ซึ่งถือว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุด มีความยาว 65 เล่ม ประกอบไปด้วย วุยจี่ (จดหมายเหตุก๊กวุย) จำนวน 30 เล่มสมุด จ๊กจี่ (จดหมายเหตุก๊กจ๊ก) จำนวน 15 เล่มสมุด และง่อจี่ (จดหมายเหตุก๊กง่อ) จำนวน 20 เล่มสมุด มีตัวอักษรรวมทั้งหมดประมาณ 360,000 ตัว ซึ่งในตอนแรกนั้นตันซิ่วไม่ได้ตั้งชื่อบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊กว่า \"ซันกั๋วจวื้อ\" ซึ่งชื่อนี้ได้มาจากบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ต้าซ่งผู้หนึ่งเป็นผู้ตั้งให้ แต่เนื่องจากตันซิ่วรับราชการเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นหรือวุยก๊ก ซึ่งทำให้การเขียนจดหมายเหตุสามก๊กนั้นเป็นการเขียนที่ยึดเอาราชวงศ์จิ้นเป็นหลัก ตันซิ่วยกให้วุยก๊กของโจโฉเป็นก๊กที่ปกครองแผ่นดินอย่างถูกต้อง ส่วนจ๊กก๊กของเล่าปี่และง่อก๊กของซุนกวน กลายเป็นเพียงรัฐที่มีการปกครองเพียงบางส่วนของประเทศจีนเท่านั้น และด้วยเหตุนี้ทำให้มุมมองของตันซิ่วที่มีต่อจ๊กก๊กและง่อก๊กแตกต่างจากสามก๊กของหลัว กวั้นจง ซึ่งนำเอาจดหมายเหตุสามก๊กมาดัดแปลงเพิ่มเติมจนกลายเป็นสามก๊กในปัจจุบัน", "title": "สามก๊ก" } ]
[ { "docid": "59039#1", "text": "โครงเรื่องหลักอ้างอิงเนื้อเรื่องจากประวัติศาสตร์วรรณคดีสามก๊ก ฉบับหลอ กว้านจง ซึ่งตัวละครและเหตุการณ์ต่าง ๆ ปรากฏขึ้นตามวรรณกรรมไม่ผิดเพี้ยน หากแต่มีการตีความเหตุการณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบอื่น และแต่งเติมเรื่องราวรายละเอียดเข้าไปใหม่ คล้ายกับเป็นเบื้องลึกเบื้องหลังของวรรณกรรม หรือช่องว่างที่ขาดหายไปจากประวัติศาสตร์ ที่มีความซับซ้อนกว่าการบันทึกดั้งเดิม\nตัวอย่างเช่น การนำ สุมาอี้ หรือ ลกซุน ที่โดดเด่นในช่วงท้ายยุคสามก๊ก แต่กลับไม่ค่อยมีบันทึกประวัติในวัยเยาว์ มาใส่บทบาทในเหตุการณ์ต่าง ๆ การให้บทของ เตียวเสี้ยน เป็นมือสังหารอาชีพที่เชี่ยวชาญการใช้ธนูและการล่อลวงด้วยความงาม หรือการตีความขุนพลที่โด่งดังในความบ้าบิ่น เช่น ลิโป้ และ เตียวหุย ว่าแท้จริงมีปัญญาหลักแหลม การเพิ่มบทบาทของ จูล่ง และ ม้าเฉียว ที่ไร้บทบาทในบันทึกประวัติศาสตร์บ่อยครั้ง ว่าแท้จริงเป็นผู้ที่ไปกระทำการต่าง ๆ เบื้องหลัง เช่นเป็นมือสังหารหรือสายลับ", "title": "หงสาจอมราชันย์" }, { "docid": "59039#3", "text": "หงสาจอมราชันย์ เป็นเรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมสามก๊กของ หลอ กว้านจง เนื่องจากบันทึกสามก๊กหลายส่วนมีความคลุมเครือ จึงเป็นช่องให้มีการเสริมแต่งเรื่องราวได้จากการอ้างอิงประวัติศาสตร์ เช่น การที่สกุลพ่อค้าที่ทรงอิทธิพล จะชุบเลี้ยงกองทหารและมือสังหาร ในเรื่องจึงให้สกุลสุมามีกลุ่มมือสังหารชื่อซากทัพ ซึ่งรับคนพิการให้มาฝึกเป็นสมาชิก และคอยกระทำการเบื้องหลังประวัติศาสตร์ เช่น การลอบสังหารบุคคลสำคัญ", "title": "หงสาจอมราชันย์" }, { "docid": "743196#3", "text": "เนื้อเรื่องเริ่มในตอนปลายของราชวงศ์ฮั่น กษัตริย์อ่อนแอ ขันทีมีอำนาจ บ้านเมืองเต็มไปด้วยความฉ้อฉล พลเมืองถูกกดขี่ กองโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ที่ประกาศความเป็นไทจากอำนาจรัฐ เมื่อมีพระราชโองการให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกกองทัพไปปราบปราม กลียุคจากสงครามจึงเป็นโรงละครใหญ่ให้วีรบุรุษได้ปรากฏตัว", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "165509#3", "text": "อย่างไรก็ตาม ซานกั๋วจื้อ ก็มีอุปสรรคในการเขียนมาก และเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในฐานะของจดหมายเหตุราชสำนัก มีลักษณะเป็นบันทึกชีวประวัติบุคคลต่างๆ ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จนสิ้นสุดยุคสามก๊ก เรื่องราวในซานกั๋วจื้อไม่ได้แพร่หลายมากนักในระยะแรก แต่ก็เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กฉบับแรกที่ถูกนักเขียนในรุ่นหลังนำมาใช้ค้นคว้า อ้างอิง จนกระทั่งในสมัยราชวงศ์หมิง นักประพันธ์คนสำคัญคือ หลอกว้านจง (ล่อกวนตง) ก็ได้นำจดหมายเหตุสามก๊กมาใช้เป็นต้นแบบในการประพันธ์วรรณกรรมสามก๊ก ซึ่งต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง สองพ่อลูกนักประพันธ์คือ เหมาหลุน และ เหมาจงกัง ก็ได้นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้กระชับและสมบูรณ์ขึ้น จนกลายเป็นสามก๊กที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ซึ่งก็คือต้นแบบของ วรรณกรรมสามก๊ก ซานกั๋วเหยี่ยนอี้ นั่นเอง", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "165509#4", "text": "ผู้เขียนบันทึกทางประวัติศาสตร์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรกคือตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว เกิดในปีที่ 11 ศักราชเกี้ยนเฮ็งหรือในปี พ.ศ. 776 ก่อนจะเข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าหอหลวงประจำสำนักของราชวงศ์จิ้น ในวัยเด็กตันซิ่วได้รับการศึกษาจากเจียงจิวผู้เป็นอาจารย์ เนื่องจากตันซิ่วเป็นคนฉลาดจึงเป็นที่ไม่พอใจของขันทีฮุยโฮ คนสนิทของพระเจ้าเล่าเสี้ยน ต่อมาในปี พ.ศ. 806 เตงงายแม่ทัพแห่งวุยก๊กได้ยกทัพเข้าโจมตีจ๊กก๊ก เป็นเหตุให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนต้องยอมสวามิภักดิ์และถูกควบคุมตัวไปยังวุยก๊ก", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "794161#1", "text": "นักคิดและปัญญาชนยุคปัจจุบันตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดของเรื่องราวใน “บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่” เป็นแหล่งข้อมูลหลักตั้งแต่ ซือหม่า เชียน เขียนบันทึกเอาไว้เมื่อศตวรรษที่ 1 หรือหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 100 ปีและยังเป็นเจ้าหน้าที่ในราชสำนักแห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สืบต่อจากราชวงศ์ฉิน และคาดว่าในบันทึกอาจจะแสดงถึงข้อความอันเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ฉิน ในขณะที่เป็นที่ชัดเจนว่าจักรพรรดิจิ๋นซีทรงรวบรวมและทำลายงานเขียนจำนวนมากซึ่งพระองค์ทรงพิจารณาว่าเป็นภัยต่อราชบังลังก์ เอกสารแต่ละฉบับจะทำสำเนาไว้ 2 ฉบับถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของจักรพรรดิซึ่งถูกทำลายจากศึกสงครามที่เกิดขึ้นภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน ปัจจุบันนี้เป็นที่เชื่อกันว่ามีนักคิดและปัญญาชนจำนวนมากถูกฆ่า แต่พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้สังกัดในสำนักวิชาขงจื้อและไม่ได้ถูก “ฝังทั้งเป็น” ในบางกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้และสำนวนที่ว่า “\"เผาตำรา ฝังบัณฑิต\"” ได้กลายเป็นตำนานที่ยังคงอยู่รอดมาได้ในมรดกของขงจื้อ", "title": "เผาตำรา ฝังบัณฑิต" }, { "docid": "172697#7", "text": "\"สามก๊ก\" นวนิยายจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ของหลัว กวั้นจง/ล่อกวนตง (羅貫中) เอาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จีนสมัยสามก๊กไปแต่งเติมเพิ่มอรรถรส โดยพรรณนาว่า หวัง ยฺหวิ่น ใช้เล่ห์เพทุบายต่าง ๆ เพื่อกำจัดทรราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ ซึ่งควบตำแหน่งอุปราช (司徒) และราชครู (太师) เรียกแผนของหวัง ยฺหวิ่น ว่า \"แผนสาวงาม\" (美人計) และ \"แผนห่วงสัมพันธ์\" (連環計) จัดเข้าในสามสิบหกยุทธศาสตร์ (三十六計)", "title": "อ้องอุ้น" }, { "docid": "165509#0", "text": "จดหมายเหตุสามก๊ก (; ) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ บทประพันธ์โดย เฉินโซ่ว (ตันซิ่ว, Chen Shou) บัณฑิตและขุนนางชาวเสฉวน มีตัวตนจริงอยู่ในสมัยยุคสามก๊ก โดยเนื้อหาตามบทประพันธ์เกิดจากจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วฉากสำคัญหลายฉากในจดหมายเหตุสามก๊กเช่น ในปี พ.ศ. 776 ซึ่งเป็นปีเกิดของเฉินโซ่ว ภายหลังพระเจ้าเหี้ยนเต้สละบัลลังก์แล้ว ตระกูลของเฉินโซ่วรับราชการเป็นบริวารแก่จ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าปี่ ซึ่งรวมทั้งเฉินโซ่วด้วย ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเรื่องราวการต่อสู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการบันทึกโดยบิดาของเฉินโซ่ว", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "928787#0", "text": "มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (, \"หมั่นนัน มะห่าหย่าซะหวิ่นด่อจี\") เป็นหนังสือบันทึกเหตุการณ์ฉบับทางการเป็นฉบับแรกของราชวงศ์คองบอง ที่พระเจ้าจักกายแมงโปรดให้คณะกรรมการประวัติศาสตร์หลวงแห่งพม่าเรียบเรียงขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1829 และ ค.ศ. 1832 โดยอาศัยเอกสารบันทึกเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลายฉบับ และจารึกที่รวบรวมได้ในรัชสมัยพระเจ้าปดุง ตลอดจนมหากาพย์พระราชประวัติหลายฉบับ แม้ผู้เรียบเรียงจะแย้งข้อมูลบางส่วนในมหาราชวงศ์ฉบับอูกะลา ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ฉบับมาตรฐานของราชวงศ์ตองอู แต่ยังคงข้อมูลตามมหาราชวงศ์ฉบับนั้น", "title": "มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว" } ]
7
เทียรี่ เมฆวัฒนา สามารถเล่นกีต้าร์ได้ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "56155#7", "text": "จนกระทั่งปี พ.ศ. 2526 เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้มีโอกาสร่วมงานกับวงคาราบาวเป็นครั้งแรก โดยเป็นการออกทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้ม \"วณิพก\" โดยรับหน้าที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าบนเวทีคอนเสิร์ตแทนที่เล็ก - ปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์โซโล่ตัวจริงของทางวง ที่ติดภารกิจต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตกับวงเพรสซิเดนท์ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเทียรี่เคยไปศึกษาที่นั่น", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#11", "text": "หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างยาวนาน เทียรี่ก็ได้เป็นสมาชิกของวงคาราบาวอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2527 ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ โดยเป็นสมาชิกใหม่ในตำแหน่งมือกีตาร์และนักร้องนำ โดยได้ร้องเพลงให้คาราบาวเพลงแรกคือเพลง \"นางงามตู้กระจก\" ซึ่งผลจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของอัลบั้มชุดนี้ที่มียอดจำหน่ายในปีเดียวมากกว่า 5,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทำให้เทียรี่ เมฆวัฒนาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของวงโด่งดังเป็นอย่างมาก และเทียรี่ก็ได้ขึ้นเล่นคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของประเทศไทยและวงคาราบาวที่สนามจักรยานเวโลโดรม ในสนามกีฬาหัวหมาก ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งคอนเสิร์ตดังกล่าวมีผู้ชมมากกว่า 60,000 คน อีกทั้งยังได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาได้เป็นผู้ร้องเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ โดยในเวอร์ชันนี้ทางวงตั้งชื่อเพลงว่า Made in Thailand in USA", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#5", "text": "หลังจากกลับมาเมืองไทยเพียง 2 สัปดาห์ เทียรี่ได้เซ็นสัญญาเป็นนักดนตรีในห้องอัดเสียงของค่ายเพลงอโซน่า รับหน้าที่เล่นกีตาร์เพื่อบันทึกเสียงในอัลบั้มของศิลปินหลายคนทั้งศิรินทรา นิยากร, ไพจิตร อักษรณรงค์และ นัดดา วิยกาญจน์", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#2", "text": "โดยเทียรี่มีความสนใจในการเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยหัดเล่นกีตาร์ตอนอายุ 11 ขวบ ซึ่งเพลงแรกที่หัดเล่นคือเพลง \"Flying Machine\" ของเซอร์ คลิฟฟ์ ริชาร์ด เทียรี่ชื่นชอบและได้รับแรงบันดาลใจทางดนตรีมาจากบทเพลงของบ็อบ ดิลลัน, ดอน แม็กลีน, เดอะ บีทเทิลส์ รวมถึงวงควีนด้วย", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" } ]
[ { "docid": "56155#25", "text": "เทียรี่ เมฆวัฒนา แต่งงานกับ อุทุมพร ศิลาพันธุ์ นักแสดงสาว ทั้งคู่ได้อยู่กินกันมานับสิบปี จนมีลูกด้วยกันทั้งสิ้น 2 คน คือ เจน เมขลา (ลูกสาว) และ เจสซี เมฆ (ลูกชาย) แต่ก็ได้หย่าร้างกันเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 โดยเทียรี่เป็นฝ่ายขอหย่าเอง โดยอ้างว่าไม่มีเวลาให้กับครอบครัวเพียงพอ ปัจจุบัน เทียรี่มีห้องอัดเสียงเป็นของตนเองชื่อ jessie&jane studio มีบริษัทเพลงของตัวเองชื่อ here entertainment และมีบริษัท CRB entertainment จำกัด รับงานโฆษณาและผลิตรายการโทรทัศน์ โดยมีนิตยสารของตนเองชื่อ Coffee Break", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#10", "text": "ความโด่งดังของอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวทั้งวงได้เล่นเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง ปล.ผมรักคุณ และเทียรี่ในฐานะนักดนตรีแบ็กอัพก็ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมกับคาราบาวด้วย โดยในปีดังกล่าว เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งงานเป็นครั้งแรกกับแฟนสาวที่คบหากันมานานถึง 6 ปี แต่กลับใช้ชีวิตคู่อยู่เพียงแค่ 6 เดือนก็ได้หย่าขาดจากกันในปีเดียวกัน", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#12", "text": "ในปีเดียวกัน เทียรี่ เมฆวัฒนาได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพ คู่กับนางเอกสาว จุ๋ม - อุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งสมาชิกวงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันทั้งวง ตลอดจนมีดาราอื่น ๆ เช่น ษา - สุพรรษา เนื่องภิรมย์, หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน มาร่วมแสดงด้วย และในปีดังกล่าว บริษัทการบินไทย ครบรอบ 25 ปี จึงได้มอบหมายให้วงคาราบาวแต่งเพลงให้ ซึ่งแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้แต่งเพลง \"รักคุณเท่าฟ้า\" โดยมอบให้เทียรี่เป็นผู้ขับร้อง และกลายเป็นเพลงฮิตที่ติดหูผู้ฟังอย่างมากจนถึงปัจจุบันและมีการนำกลับมาร้องซ้ำโดยศิลปินอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฟอร์ด - สบชัย ไกรยูรเสน เป็นต้น", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#4", "text": "หลังจากนั้น ด้วยความที่ตัวเทียรี่ได้ออกโทรทัศน์บ่อยจึงได้รับการติดต่อให้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง สตรีหมายเลขศูนย์ คู่กับ ชลธิชา สุวรรณรัต และได้เล่นเป็นพระเอกอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง โอ้กุ๊กไก่ ในปี พ.ศ. 2522 ก่อนจะพักงานในวงการบันเทิงเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อที่ American Business Institute และทำงานเป็นนักดนตรีตอนกลางคืนในร้านอาหาร ที่เมืองแมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยร้องเพลงสากลของเซอร์ คลิฟฟ์ ริชาร์ด และ เอลวิส เพรสลี่ย์", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#3", "text": "เทียรี่เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการถ่ายแบบ แสดงละครและภาพยนตร์ ก่อนจะเริ่มมีผลงานทางดนตรีครั้งแรก เป็นดนตรีแนวโฟล์ก โดยเข้าร่วมวงดนตรี Runspot กับ กิตติคุณ เชียรสงค์ และหมึก ศิลปากร เล่นออกอากาศทางรายการ เสาร์สนุก ทางช่อง 9 อสมท. ในปี พ.ศ. 2521", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#22", "text": "โดยเทียรี่เป็นนักร้องที่มีเสียงแหบเสน่ห์เป็นตัวของตนเอง จึงมีเพลงที่ได้รับความนิยมในแต่ละอัลบั้มอยู่หลายเพลง ซึ่งส่วนมากเพลงที่จะเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นเพลงช้า จึงได้มีโอกาสแต่งและร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และละครหลายเรื่อง เช่น ละครเรื่อง \"สุดแต่ใจจะไขว่คว้า\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2532, \"ไผ่แดง\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2534, \"ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2537, \"แม้เลือกเกิดได้\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้น และเคยร้องเพลงออกอัลบั้มร่วมกับ อิทธิ พลางกูร ด้วย และจุดเด่นอีกประการหนึ่งของเพลงของเทียรี่ อยู่ที่เนื้อร้องที่เล่นกับภาษาได้อย่างลงตัวและสนุก มีความหมาย เช่น เพลง \"พขร.ณ รมต.\" ที่เล่นกับตัวย่อทั้งเพลง, \"ฉำฉาฉ่อยฉุกเฉิน\" ที่เล่นกับอักษร ฉ.ฉิ่ง ทั้งเพลง, \"หัวใจจิ้มจุ่ม\" ที่เล่นกับอักษร จ.จาน, \"ไปไหนไปด้วย\" ที่มีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเปรียบเปรยทั้งเพลง เป็นต้น และเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเดี่ยวมักจะแฝงไว้ด้วยป๊อปเซ้นส์เสมอ ซึ่งทำให้เพลงของเทียรี่ฟังง่ายและเป็นที่นิยม", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" } ]
9
ดิ อะเมซิ่ง เรซ เป็นเรียลลิตี้โชว์จากประเทศอะไร?
[ { "docid": "202175#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอ็น ดิสคัฟเวอรี แชนแนล (; หรือในบางครั้งรู้จักกันในชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ลาติน อเมริกา) เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ในเวอร์ชันของ ลาติน อเมริกา ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ โดย ดิสคัฟเวอรี แชนแนล ลาตินอเมริกา ด้วยความร่วมมือของดิสนีย์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 11 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบ โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 250,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ข้อแตกต่างเล็กน้อยสำหรับเวอร์ชันนี้คือ Routmaker ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสี น้ำเงิน-ดำและซองคำใบ้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสีน้ำงินแทนสีเหลืองดั่งเดิม รวมถึงชื่อทีมที่ขึ้นในรายการจะตามด้วยธงประเทศของตนเองด้วย การเดิทางทั้งหมดผ่าน 1 ทวีปโดยไม่ได้ออกนอกทวีปอเมริกาใต้แต่อย่างใด รวมถึงเป็น ดิ อะเมซิ่ง เรซ เวอร์ชันที่ 3 ถัดจากบราซิลและอิสราเอล ที่เส้นชัยนั้นไม่ได้อยู่ในประเทศแรกที่ออกเดินทาง ปัจจุบันยังคงผลิตฤดูกาลถัดๆ มาอยู่เรื่อยๆ และในฤดูกาลที่ 3 หลังจากเปลี่ยนช่องที่ทำการออกอากาศในฤดูกาลที่ 3 เป็นต้นมารายการจึงได้กลับไปใช้ Routmaker สีมาตรฐานของต้นฉบับ คือ เหลือง-แดงและซองคำใบ้สีเหลือง", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอ็นดิสคัฟเวอรีแชนแนล" }, { "docid": "186328#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย () เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ\nในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สถานีโทรทัศน์ ซีบีเอส ให้โอกาสประเทศอื่นในการทำ \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ\" เป็นของตนเอง และเครือข่ายทีวีของเอเชีย เอเอ็กซ์เอ็น เอเชีย ก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตแรก ๆ ที่ได้สิทธิ์ในการผลิด \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ\" สำหรับประเทศของตนเอง รายการนี้ผลิตโดยบริษัทผลิตรายการของออสเตรเลีย ActiveTV สำหรับเอเอ็กซ์เอ็น โดยความร่วมมือของบัวนาวิสต้า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย-แปซิฟิก (BVITV-AP) พิธีกรของรายการคือนักแสดงชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน-อเมริกัน อลัน วู", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย" }, { "docid": "73009#1", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ ในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา สร้างโดย อลิส ดอร์แกนเลอร์ และ เบ็นตั้น แวนด์ มัสเตอร์ และได้ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 มีพิธีกรชื่อดังระดับรางวัลเอ็มมี ชาวนิวซีแลนด์ ฟิล คีโอแกน เป็นพิธีกรของรายการตั้งแต่ซีซั่นแรก และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ระดับ ฮอลลีวูด เจอร์รี บรัคไฮเมอร์ เป็นผู้อำนวยการสร้างหลักของรายการ นอกจากนี้รายการนี้ยังมีการซื้อลิขสิทธิ์ ไปสร้างในหลาย ๆ ประเทศ โดยยังคงรูปแบบหลัก ๆ ของรายการอยู่ ส่วนเนื้อหาในบทความนี้จะใช้เกณฑ์และเนื้อหาของฉบับอเมริกาเป็นส่วนใหญ่", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ" } ]
[ { "docid": "195991#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 6 () เป็นฤดูกาลที่ 6 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 6" }, { "docid": "195995#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 7 () เป็นฤดูกาลที่ 7 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 7" }, { "docid": "192289#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 4 () เป็นฤดูกาลที่ 4 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส โดยฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแรกที่รางวัลเอ็มมีมีการแจกรางวัลประเภทเรียลลิตี้โชว์การแข่งขันและรายการก็คว้ามาได้แบบผูกขาดอยู่รายการเดียวจนถึงปัจจุบัน", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 4" }, { "docid": "196005#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 9 () เป็นฤดูกาลที่ 9 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีม ๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 9" }, { "docid": "192288#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 3 () เป็นฤดูกาลที่ 3 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 3" }, { "docid": "195155#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 5 () เป็นฤดูกาลที่ 5 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 5" }, { "docid": "498318#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 22 () เป็นฤดูกาลที่ 22 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 9 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 22" }, { "docid": "450114#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 21 () เป็นฤดูกาลที่ 21 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 21" } ]
20
คอเคลียเต็มไปด้วยน้ำที่เรียกว่าอะไร?
[ { "docid": "844976#6", "text": "คอเคลียเต็มไปด้วยน้ำที่เรียกว่า perilymph ซึ่งไหวไปตามแรงสั่นสะเทือนที่มาจากหูชั้นกลางโดยผ่านช่องรูปไข่ (oval window)\nเมื่อน้ำในคอเคลียเคลื่อน ท่อคอเคลีย (cochlear duct/partition) ที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งรวมเยื่อฐาน (basilar membrane) และอวัยวะของคอร์ติ ก็จะเคลื่อนด้วย\nเซลล์ขนนับเป็นพัน ๆ จะรับรู้การเคลื่อนไหวผ่าน stereocilia แล้วแปลงแรงกลนั้นให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สื่อประสาทไปยังเซลล์ประสาทเป็นพัน ๆ\nโดยตัวนิวรอนที่ต่อกับเซลล์ขนจะเป็นตัวแปลงสัญญาณจากเซลล์ขนให้เป็นอิมพัลส์ไฟฟ้าประสาทที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) ซึ่งส่งทางเส้นประสาท auditory nerve ไปยังโครงสร้างในก้านสมองเพื่อการประมวลผลต่อ ๆ ไป", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" } ]
[ { "docid": "860326#6", "text": "กลไกการเสียการได้ยินเกิดจากความบอบช้ำต่อ stereocilia ของคอเคลีย ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักเต็มไปด้วยน้ำของหูชั้นใน\nใบหูบวกกับหูชั้นกลางจะขยายความดันเสียงถึง 20 เท่า จึงเป็นความดันเสียงในระดับสูงที่เข้ามาถึงคอเคลียแม้จะเกิดจากเสียงในอากาศที่ไม่ดังมาก\nเหตุโรคของคอเคลียก็คือ สารมีออกซิเจนที่มีฤทธิ์ (reactive oxygen species) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการตายเฉพาะส่วนกับอะพอพโทซิสที่เกิดจากเสียงของ stereocilia\nการได้รับเสียงดัง ๆ มีผลต่าง ๆ กันต่อบุคคลกลุ่มต่าง ๆ", "title": "ผลต่อสุขภาพจากเสียง" }, { "docid": "844976#3", "text": "เยื่อแบ่งส่วนที่วิ่งไปตามคอเคลียเกือบทั้งหมดตัวเองก็เป็นท่อเต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งเรียกว่าเป็นท่อที่ 3\nเป็นช่องตรงกลางที่เรียกว่า cochlear duct\nน้ำในช่องที่เรียกว่า endolymph แม้จะมีอิเล็กโทรไลต์และโปรตีนเช่นกัน แต่ก็สมบูรณ์ไปด้วยไอออนโพแทสเซียม ซึ่งทำให้มีความต่างทางเคมีจากน้ำในอีก 2 ช่องที่เรียกว่า perilymph\nซึ่งสมบูรณ์ไปด้วยไอออนโซเดียม ความต่างกันนี้ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844976#0", "text": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง\nหรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง\nหรือ คอเคลีย\n(, , จาก , kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน\nเป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus\nและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.\nโครงสร้างหลักของคอเคลียก็คืออวัยวะของคอร์ติ ซึ่งเป็นอวัยวะรับประสาทสัมผัสคือการได้ยินเสียง และอยู่กระจายไปตามผนังที่กั้นโพรงสองโพรงที่เต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งวิ่งไปตามก้นหอยที่ค่อย ๆ แคบลง\nส่วนคำว่าคอเคลียมาจากคำในภาษาละตินซึ่งแปลได้ว่า \"เปลือกหอยทาก\" และก็มาจากคำภาษากรีกว่า κοχλίας, \"kokhlias\" ซึ่งแปลว่า หอยทาก หรือเกลียว ซึ่งมาจากคำว่า κόχλος, kokhlos ซึ่งแปลว่า เปลือกวนเป็นก้นหอย\nคอเคลียในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดยกเว้นของโมโนทรีมมีรูปร่างเช่นนี้\nคอเคลียเป็นโพรงกระดูกรูปกรวยวนเป็นรูปก้นหอย\nที่คลื่นความดันเสียงจะแพร่กระจายไปจากส่วนฐาน (base) ใกล้หูชั้นกลางที่ช่องรูปไข่ (oval window) ไปยังส่วนยอด (apex) คือที่ส่วนปลายหรือตรงกลางของก้นหอย\nโพรงที่วนเป็นก้นหอยเรียกว่า Rosenthal's canal หรือ spiral canal of the cochlea โดยยาวประมาณ 30 มม. และหมุน 2¾ รอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus\nโดยมีโครงสร้างรวมทั้ง", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844976#7", "text": "กระดูกเล็ก (ossicle) ที่เรียกว่ากระดูกโกลน เป็นตัวส่งแรงสั่นสะเทือนจากหูชั้นกลางไปยัง \"fenestra ovalis\" หรือช่องรูปไข่ ที่นอกคอเคลีย ซึ่งก็จะสั่นน้ำ perilymph ใน vestibular duct คือช่องบนของคอเคลีย\nกระดูกเล็ก 3 ชิ้นในหูชั้นกลางจำเป็นเพื่อส่งคลื่นเสียงเข้าไปในคอเคลีย เพราะว่าคอเคลียเป็นระบบน้ำ-เยื่อ และมันจำเป็นต้องได้แรงดันเพื่อส่งเสียงเป็นคลื่นน้ำสูงกว่าที่เป็นคลื่นอากาศโดยต่างจากหูชั้นนอก\nเป็นความดันที่เพิ่มขึ้นอาศัยอัตราพื้นที่ของแก้วหู (tympanic membrane) ต่อของเยื่อช่องรูปไข่ เป็นประมาณ 20 เท่า\nของแรงดันคลื่นเสียงเดิมในอากาศ\nกระบวนการเพิ่มความดันแบบนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของ impedance matching คือเป็นการจับคู่คลื่นเสียงที่วิ่งไปในอากาศให้เข้ากับคลื่นเสียงที่วิ่งไปในระบบน้ำ-เยื่อ", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844976#1", "text": "คอเคลียเป็นส่วนของหูชั้นในที่มีรูปเหมือนกับเปลือกหอยทาก\nเป็นตัวรับเสียงโดยความสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นเหตุให้ stereocilia เคลื่อน\nที่ถ่ายโอนแรงสั่นสะเทือนเป็นอิมพัลส์ประสาทซึ่งส่งไปยังสมองเพื่อตีความ\nมีโพรง 3 โพรงที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยโพรงที่ 3 มีอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งสามารถตรวจจับแรงดันแล้วส่งสัญญาณตามประสาทหู (auditory nerve) ไปยังสมอง\nส่วนโพรงสองโพรงนั้นเรียกว่า vestibular canal และ tympanic canal", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844976#12", "text": "คอเคลียไม่เพียงแต่ \"รับ\" เสียงเท่านั้น แต่ยัง \"สร้าง\" เสียงและขยายเสียงเมื่อยังมีสภาพดี\nเมื่อสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้ยินเสียงที่ค่อย คอเคลียก็จะขยายเสียงโดยการถ่ายโอนความรู้สึกแบบผกผัน (reverse transduction) ที่เซลล์ขนด้านนอก (OHC) คือจะเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็นแรงกลผ่านกระบวนการป้อนกลับเชิงบวก\nโดย OHC มีมอเตอร์โปรตีนที่เรียกว่า prestin ที่เยื่อหุ้มเซลล์ด้านนอก\nซึ่งสร้างความเคลื่อนไหวโดยเพิ่มแรงดันคลื่นน้ำที่มากระทบกับเยื่อหุ้มเซลล์\nการขยายเสียงแบบแอคทีฟเช่นนี้ สำคัญเพื่อให้ได้ยินเสียงค่อย ๆ\nแต่ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่คอเคลียสร้างคลื่นเสียงแล้วส่งย้อนกลับเข้ามาผ่านหูชั้นกลางที่เรียกว่า otoacoustic emissions", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844992#5", "text": "หูชั้นในประกอบด้วยอวัยวะรูปหอยโข่ง/คอเคลีย (cochlea) (ในมนุษย์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.) และโครงสร้างที่ไม่เกี่ยวกับการได้ยินเสียงอื่น ๆ\nอวัยวะรูปหอยโข่งจะมีส่วน 3 ส่วนที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยแรงดันที่เยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ซึ่งแบ่งส่วนของโครงสร้าง จะเป็นตัวขับคลื่นในน้ำ\nสิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ท่อที่เรียกว่า \"cochlear duct/partition\" หรือ \"scala media\" จะมี endolymph ซึ่งเป็นน้ำที่มีสารประกอบคล้ายกับของเหลวในเซลล์\nอวัยวะของคอร์ติอยู่ในท่อนี้บนเยื่อกั้นหูชั้นใน และมีหน้าที่แปลงคลื่นกลไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า\nอีกสองช่องที่เหลือเรียกว่า scala tympani และ scala vestibuli\nซึ่งอยู่ในห้องหูชั้นใน (labyrinth) ที่เป็นกระดูก และเต็มไปด้วยของเหลวที่เรียกว่า perilymph ซึ่งมีสารประกอบคล้ายกับน้ำหล่อสมองไขสันหลัง\nความแตกต่างทางเคมีของ endolymph และ perilymph เป็นเรื่องสำคัญต่อการทำงานของหูชั้นใน ซึ่งอาศัยความแตกต่างทางศักย์ไฟฟ้าของไอออน โพแทสเซียมและแคลเซียม", "title": "ระบบการได้ยิน" }, { "docid": "912564#18", "text": "แรงสั่นในอากาศจะกระตุ้นแก้วหู\nซึ่งรับแรงสั่นเพื่อส่งต่อไปยังเซลล์รับเสียงคือเซลล์ขน\nกระดูกหูซึ่งเชื่อมต่อจากแก้วหูจะส่งแรงสั่นต่อไปยังหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) ที่เต็มไปด้วยน้ำ\nโดยกระดูกโกลนซึ่งเป็นส่วนท้ายของกระดูกหูจะส่งแรงดันไปที่ช่องรูปไข่ที่คอเคลีย\nซึ่งเป็นช่องที่อำนวยให้แรงสั่นดำเนินต่อไปในน้ำภายในคอเคลีย ไปยังอวัยวะรับเสียงที่อยู่ภายใน\nมีลักษณะต่าง ๆ หลายอย่างเกี่ยวกับเสียงที่ได้ยิน รวมทั้งความดัง ระดับเสียง (ความสูงต่ำ) และ timbre\nหูมนุษย์สามารถตรวจจับความต่างระดับเสียง ด้วยเซลล์ขนที่เคลื่อนไหวเมื่อได้ยินซึ่งอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane)\nเสียงความถี่สูงจะเร้าเซลล์ขนที่ฐาน (ส่วนนอกสุด) ของเยื่อกันหูชั้นใน ในขณะที่เสียงความถี่กลางจะทำเซลล์ขนที่อยู่ตรงกลางเยื่อให้สั่น\nสำหรับความถี่เสียงที่ต่ำกว่า 200 เฮิรตซ์ ปลายของเยื่อกั้นหูชั้นในจะสั่นที่ความถี่เดียวกันกับคลื่นเสียง\nโดยนิวรอนก็จะส่งกระแสประสาทในอัตราความถี่เดียวกันกับแรงสั่นด้วย\nสมองสามารถกำหนดอัตราการส่งสัญญาณ จึงสามารถรับรู้เสียงความถี่ต่ำได้", "title": "แบบสิ่งเร้า" }, { "docid": "435651#6", "text": "ในพัฒนาการสัปดาห์ที่ 5 auditory vesicle จะเกิดท่อคอเคลีย (cochlear duct) ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะของคอร์ติและน้ำ endolymph ในเนื้อเยื่อห้องหูชั้นใน\nเยื่อ Reissner's membrane จะกั้นท่อคอเคลียจากช่อง scala vestibuli ที่เต็มไปด้วยน้ำ perilymph\nและเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ก็จะกั้นท่อคอเคลียจากช่อง scala tympani ซึ่งเป็นอีกช่องหนึ่งในห้องหูชั้นใน\nส่วนผนังด้านข้างของท่อคอเคลียเกิดจาก spiral ligament และ stria vascularis ซึ่งจะเป็นตัวผลิตน้ำ endolymph ด้วย\nเซลล์ขนจะพัฒนามาจากสันด้านข้างและตรงกลาง (lateral and medial ridge) ของท่อคอเคลีย ซึ่งเมื่อรวมกับเยื่อคลุม (tectorial membrane) ก็จะเป็นอวัยวะของคอร์ติ", "title": "หูชั้นใน" } ]
24
ตำนานคนตัดไผ่ หรือ ตำนานเจ้าหญิงคะงุยะเป็นตัวอย่างของที่มาของนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "285193#0", "text": "ตำนานคนตัดไผ่ หรือ ตำนานเจ้าหญิงคะงุยะ (, ) เป็นตำนานพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่ถือกันว่าเป็นวรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นตัวอย่างของที่มาของนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" } ]
[ { "docid": "774117#0", "text": "เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่ ( แปล: ตำนานธิดาคะงุยะ) เป็นภาพยนตร์อนิเมะแนวแฟนตาซีดรามา ผลิตโดยสตูดิโอจิบลิ กำกับและร่วมเขียนบทโดยอิซะโอะ ทะกะฮะตะ โดยอาศัยเค้าโครงจากตำนานคนตัดไผ่ ซึ่งเป็นตำนานพื้นเมืองของญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลครั้งที่ 87", "title": "เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่" }, { "docid": "285193#2", "text": "วันหนึ่งขณะที่เดินอยู่กลางป่า ชายแก่ผู้มีอาชีพตัดไผ่ชื่อทะเกะโตริ โนะ โอะกินะ ( \"\"ชายแก่ผู้ตัดไผ่ขาย\"\") มองเห็นปล้องไผ่ที่ส่องแสงเรืองรองเข้า ด้วยความสงสัยก็ไปตัดปล้องไผ่ดู ก็พบว่าภายในมีเด็กทารกผู้หญิงขนาดเท่าหัวแม่มือนอนอยู่ ทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะผู้มีความดีใจที่ได้พบเด็กน้อยน่ารักก็นำทารกกลับไปบ้านไปให้ภรรยาเลี้ยงอย่างลูก และตั้งชื่อให้ว่าคะงุยะฮิเมะ ( \"\"เจ้าหญิงแห่งราตรีอันเรืองรอง\"\")", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#3", "text": "ตั้งแต่นั้นมาทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็พบว่าเมื่อใดที่ตนตัดปล้องไผ่ ก็จะพบก้อนทองก้อนเล็ก ๆ อยู่ภายในปล้องไผ่ที่ตัด ไม่นานนักทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็มีฐานะร่ำรวยขึ้นมา คะงุยะฮิเมะเองก็เติบโตขึ้นมาเป็นสตรีที่มีขนาดปกติและมีความสวยงามเป็นอันมาก ในระยะแรกทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็พยายามกันไม่ให้ลูกสาวได้พบกับคนแปลกหน้า แต่ไม่นานนักความสวยงามของคะงุยะก็เป็นที่เลื่องลือจนเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป จนกระทั่งมีเจ้าชายห้าพระองค์เสด็จมาขอตัวคะงุยะฮิเมะต่อทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะ และทรงพยายามหว่านล้อมให้ทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะไปบอกให้คะงุยะฮิเมะเลือกเจ้าชายองค์ใดองค์หนึ่งจนกระทั่งสำเร็จ เมื่อทราบว่ามีผู้มาหมายปองคะงุยะฮิเมะจึงวางแผนกันตนเอง โดยตั้งข้อทดสอบต่าง ๆ ที่ยากเกินกว่าที่จะทำให้สำเร็จได้ให้เจ้าชายแต่ละองค์ไปทำ คะงุยะฮิเมะประกาศว่าจะยอมแต่งงานกับเจ้าชายองค์ใดที่สามารถนำสิ่งที่ตนขอมากลับมาได้", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#11", "text": "นอกจากนั้นก็ยังมีผู้เสนอว่า “ตำนานคนตัดไผ่” เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ “ทะเลสาบหงส์ขาว” (Swan Lake) ที่เขียนโดยปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกีด้วย ซึ่งอาจจะมาจากการที่คะงุยะ-ฮิเมะสวม “hagoromo” (羽衣 หรือ “เสื้อคลุมขนนก”) เมื่อพร้อมที่จะเดินทางกลับจันทรประเทศ แต่ฮะโกะโระโมะเกี่ยวข้องมากกว่ากับตำนานที่เรียกว่า “hagoromo densetsu” เช่นในเรื่องที่บันทึกใน “Ohmi-no-kuni Fudo ki” ที่เป็นเรื่องของชายผู้ที่สอนสุนัขให้ขโมยเสื้อคลุมขนนกของนางฟ้าแปดองค์ขณะที่กำลังสรงน้ำ ซึ่งทำให้องค์หนึ่งต้องตกไปเป็นภรรยา เรื่องหลังนี้มีความคล้ายคลึงกันมากกับตำนานเยอรมันที่ “โวลันเดอร์ช่างเหล็ก” (Völundr หรือ Wayland the Smith) และน้องชายที่แต่งงานกับนางหงส์ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีความคล้ายคลึงเป็นอันมากกับเรื่อง “พระสุธน-มโนราห์” ที่ตัวเอกของเรื่องเป็นนางกินรีที่ถอดปีกถอดหางลงเล่นน้ำเมื่อถูกจับ จนต้องกลายมาเป็นพระมเหสีของพระสุธน", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#9", "text": "เนื้อหาของตำนานมาจากเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก่อนหน้าที่จะเขียนเป็นเรื่องราวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชื่อตัวเอกของเรื่อง--ตะเกะโตริ โนะ โอะกินะ--ปรากฏในกวีนิพนธ์ชุด () ที่รวบรวมขึ้นราว ค.ศ. 759 (โคลง # 3791) ในสมัยนาระ ในโคลงนี้ตะเกะโตริ โนะ โอะกินะพบกลุ่มสตรีที่ขับกลอนให้ฟัง ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับคนตัดไผ่และสตรีลึกลับเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก่อนหน้านั้น", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#12", "text": "เมื่อหนังสือ “Jinyu Fenghuang” (金玉凤凰) ซึ่งเป็นหนังสือจีนเกี่ยวกับตำนานทิเบตได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1957\nเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 นักค้นคว้าวรรณกรรมญี่ปุ่นพบว่า “Banzhu Guniang” (班竹姑娘) ซึ่งเป็นตำนานเรื่องหนึ่งในหนังสือที่ว่ามีความคล้ายคลึงกับ “ตำนานคนตัดไผ่” แต่นักค้นคว้าบางคนก็ไม่เห็นด้วยว่ามีความละม้ายคล้ายคลึงกันจริง", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#4", "text": "คืนนั้นทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็ทูลเจ้าชายแต่ละพระองค์ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่คะงุยะฮิเมะขอให้แต่ละองค์ต้องทรงนำกลับมา เจ้าชายองค์แรกต้องไปทรงนำบาตรหินของพระโคตมพุทธเจ้ามาจากอินเดียกลับมาให้ องค์ที่สองต้องทรงนำกิ่งไม้ประดับอัญมณีจากเกาะเกาะโฮไรในประเทศจีน องค์ที่สามต้องทรงไปนำเสื้อคลุมของหนูไฟจากเมืองจีนกลับมาให้ องค์ที่สี่ต้องทรงไปถอดอัญมณีจากคอมังกรมาให้ และองค์ที่ห้าต้องทรงไปหาหอยมีค่าของนกนกนางแอ่นกลับมา", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#6", "text": "ระหว่างฤดูร้อนปีนั้น เมื่อใดเห็นพระจันทร์เต็มดวงตาของคะงุยะฮิเมะก็จะคลอไปด้วยน้ำตา ทั้งทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะและภรรยาก็พยายามถามถึงสาเหตุแต่คะงุยะฮิเมะก็ไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีอะไรผิดปกติ พฤติกรรมของคะงุยะฮิเมะยิ่งแปลกขึ้นจนกระทั่งจนในที่สุดก็ยอมเปิดเผยว่านางนั้นมิได้มาจากโลกนี้ และถึงเวลาแล้วจะต้องเดินทางกลับไปยังบ้านเมืองที่อยู่บนจันทรประเทศ บางตำนานก็กล่าวว่าคะงุยะฮิเมะถูกส่งมายังมนุษยโลกชั่วคราวเพื่อเป็นการลงโทษเพราะไปทำความผิดเข้า แต่บางตำนานก็ว่าถูกส่งตัวมาซ่อนไว้ในโลกเพื่อความปลอดภัยระหว่างสงครามที่เกิดขึ้นบนสรวงสวรรค์", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#13", "text": "แต่การศึกษาเรื่องนี้ในคริสต์ทศวรรษ 1980 พบว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่ความสัมพันธ์กันอย่างง่าย ๆ ตามที่เชื่อกันมาแต่เดิม โอะกุสึ (Okutsu) ให้คำอธิบายอย่างยืดยาวถึงการค้นคว้าและให้ความเห็นว่าหนังสือ “Jinyu Fenghuang” เป็นหนังสือที่เขียนสำหรับเด็ก ฉะนั้นบรรณาธิการก็อาจจะถือโอกาสปรับให้เหมาะสมกับผู้อ่าน นอกจากนั้นแล้วหนังสือรวมตำนานทิเบตเล่มอื่นก็ไม่มีเรื่องใดที่คล้ายคลึงกับ “ตำนานคนตัดไผ่”", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" } ]
29
ค.ศ. 1951 ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ?
[ { "docid": "11781#0", "text": "เซอร์วินสตัน เลนเนิร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล () เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ \"วินสตัน\" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล", "title": "วินสตัน เชอร์ชิล" } ]
[ { "docid": "796727#0", "text": "สเปนเซอร์ เพอร์ซิวัล () เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1809 จนกระทั่งถูกลอบสังหารในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1812 เป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์อังกฤษที่ถูกลอบสังหาร ก่อนหน้าที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาเคยเป็นอัยการสูงสุดแห่งอังกฤษและเวลส์", "title": "สเปนเซอร์ เพอร์ซิวัล" }, { "docid": "206982#22", "text": "และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวหลังเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า นายอภิสิทธิ์ มีคุณสมบัติและความ สามารถที่ดีเยี่ยม เพราะเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอีตัน อีกทั้งจบมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ\nพร้อมแสดงความเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลชุดนี้มีภารกิจใหญ่ 4 ประการคือการฟื้นความมั่นใจของนานาชาติในประเทศไทย สร้างความสมานฉันท์ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้ง โดยยึดหลักนิติธรรม รักษาความปลอดภัยของสนามบิน ซึ่งถือเป็นประตูในการท่องเที่ยวของไทย สร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งจะดึงให้มีการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในการเข้าพบครั้งนี้ ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นแฟนฟุตบอลอังกฤษ จึงได้มอบของขวัญเป็นเสื้อยืดนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยด้านหลังมีชื่อ นายอภิสิทธิ์ และหมายเลข 27 ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59" }, { "docid": "133689#1", "text": "จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะบริหารประเทศชั่วคราว เป็นผู้ลงนามในประกาศคณะรัฐมนตรีคณะนี้ไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรคณะรัฐมนตรีชั่วคราวได้แจ้งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ดำเนินการจัดตั้งนายกรัฐมนตรีต่อไป\nและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดิน\nเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 23" }, { "docid": "338356#70", "text": "ในปี พ.ศ. 2540 พรรคแรงงานแห่งอังกฤษได้รับเสียงข้างมากในสภาเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ร่วมกับประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้ร่วมกันแสดงถึง \"แนวทางที่สาม\" ในการอธิบายถึงลัทธิอุดมการณ์กลาง-ซ้ายของพวกเขา ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ชาวอเมริกันและชาวอังกฤษได้แสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันด้วยการแสดงออกถึงความเศร้าโศกและความตกตะลึงต่อการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงแห่งเวลส์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งฮิลลารี คลินตัน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐในขณะนั้นก็ได้เดินทางไปร่วมพิธีศพของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในวันที่ 6 กันยายนด้วย นอกจากนี้ตลอดช่วง พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 ทั้งสหรัฐและสหราชอาณาจักรยังได้ส่งกองทัพของตนร่วมในการรักษาสันติภาพระหว่างสงครามคอซอวอ", "title": "ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ" }, { "docid": "852837#0", "text": "จอห์น โจเซฟ แอมโบรส เคอร์ติน () เป็นนักการเมืองชาวออสเตรเลียจากพรรคแรงงาน และเป็นนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 14 ระหว่างปี ค.ศ. 1935 ถึง 1945 เขาสามารถนำพาประเทศผ่านพ้นภัยคุกคามจากการรุกคืบของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย เขาถึงแก่อสัญกรรมขณะอยู่ในแหน่งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 เพียงหนึ่งเดือนก่อนหน้าที่สงครามจะสิ้นสุดลง", "title": "จอห์น เคอร์ติน" }, { "docid": "863871#0", "text": "อาร์ชิบอลด์ ฟิลิป พริมโรส เอิร์ลที่ 5 แห่งโรสเบรี เอิร์ลที่ 1 แห่งมิดลอเธียน () เป็นรัฐบุรุษและนักการเมืองชาวอังกฤษ เขาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1894 ถึง 22 มิถุนายน ค.ศ. 1895 ก่อนที่ปู่ของเขาจะถึงอนิจกรรมใน ค.ศ. 1868 เขาเป็นที่รู้จักในชื่อ ท่านลอร์ดดัลเมนี", "title": "อาร์ชิบอลด์ พริมโรส เอิร์ลที่ 5 แห่งโรสเบรี" }, { "docid": "891065#3", "text": "ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1942 ถึง ค.ศ. 1945 เขาได้ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ ผู้นำบริหารรัฐนอร์เวย์ร่วมกับผู้บริหารพลเรือนเยอรมัน โยเซฟ เทอร์โบเวน รัฐบาลหุ่นเชิดนิยมนาซีของเขา ได้เป็นที่รู้จักกันในฐานะ\"ระบอบควิสลิง\" ที่ถูกครอบงำโดยคณะรัฐมนตรีจากพรรค Nasjonal Samling รัฐบาลของควิสลิงได้มีส่วนร่วมกับมาตราการสุดท้ายในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเยอรมนี ควิสลิงได้ถูกจับกุมตัวและถูกไต่สวนในระหว่างการกวาดล้างฝ่ายนิยมฟาสซิสต์ในนอร์เวย์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาหลายข้อกล่าวหา รวมทั้งการฉ้อฉล, การฆาตกรรม และเป็นผู้ทรยศอย่างใหญ่หลวงต่อรัฐนอร์เวย์และถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิต เขาได้ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าแบบทีมยิง (firing squad) ที่ป้อมอาร์เคอซัส ในกรุงออสโล เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ด้วยคำว่า ควิสลิง ต่อมาได้กลายเป็นภาษิตสำหรับ \"ผู้สมรู้ร่วมคิด\" หรือ \"คนทรยศ\" ในหลายภาษา ซึ่งได้สะท้อนแสดงให้เห็นถึงความน่าสังเวชในการกระทำของควิสลิง ทั้งในช่วงเวลาที่ยังมีชีวืตและจนกระทั่งที่เขาได้เสียชีวิตลง", "title": "วิดคัน ควิสลิง" }, { "docid": "80055#0", "text": "คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29 (9 กุมภาพันธ์ 2502 - 8 ธันวาคม 2506)\nจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอกสุทธิ์ สุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี\nมีการจัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ จึงมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 29" }, { "docid": "286631#0", "text": "จอร์จ เกรนวิลล์ () เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 8 แห่งบริเตนใหญ่ระหว่าง ค.ศ. 1763 - ค.ศ. 1765 เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1712 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1770 ขณะอายุได้ 58 ปี", "title": "จอร์จ เกรนวิลล์" } ]
34
คู่สมรสของ บรรหาร ศิลปอาชา คือใคร?
[ { "docid": "193882#1", "text": "นายวราวุธ ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นลูกชายคนสุดท้องของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี กับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสุวรรณา ศิลปอาชา (สกุลเดิม ไรวินท์) มีบุตรด้วยกัน 3 คน", "title": "วราวุธ ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#3", "text": "บรรหารสมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร 3 คน", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" } ]
[ { "docid": "125860#1", "text": "สมรสกับนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋ - สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส. กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส. ปาริชาติ ศิลปอาชา", "title": "แจ่มใส ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#0", "text": "บรรหาร ศิลปอาชา (19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 23 เมษายน พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 ประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 11 สมัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อดีตนายกสภาสถาบันการพลศึกษา อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ทั้งเป็นพี่ชายของชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#2", "text": "บรรหารเป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมมีชื่อว่า เต็กเซียง แซ่เบ๊ (馬德祥) บิดาของบรรหาร คือ เซ่งกิม แซ่เบ๊ ส่วนมารดาของบรรหาร คือ สายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นเจ้าของร้านสิ่งทอชื่อ ย่งหยูฮง ทั้งคู่มีบุตร 6 คน ดังนี้ตามลำดับ สมบูรณ์ ศิลปอาชา, สายใจ ศิลปอาชา, อุดม ศิลปอาชา, บรรหาร ศิลปอาชา, ดรุณี วายากุล, และชุมพล ศิลปอาชา", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "207325#1", "text": "นายชุมพล ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของเซ่งกิม และสายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นน้องชายของบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท (M.P.A.) มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับดวงมาลย์ ศิลปอาชา (สกุลเดิม เจียรสวัสดิ์วัฒนา) ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลคดีเด็กสมุทรปราการ มีบุตร 2 คน คือ สลิลดา ศิลปอาชา กับรัฐพล ศิลปอาชา", "title": "ชุมพล ศิลปอาชา" }, { "docid": "56164#5", "text": "ชีวิตส่วนตัว เล็กสมรสกับ ศศิธร ชนะภัย โดยมีบุตรชาย 2 คน ชื่อ ต๊อด และ แฟ้บ (ประกาศิต) โดยบุตรคนแรกเกิดจากภรรยาเก่า และมีกิจการส่วนตัวนอกเหนือจากการเล่นดนตรีคือ ผลิตกีตาร์โปร่งในนามของวงคาราบาว โดยเริ่มผลิตออกมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547 โดยผลิตออกมา 2 ชุด ใช้ชื่อรุ่นว่า \"คนเก็บฟืน\" และ \"มนต์เพลงคาราบาว\" และได้ร่วมแสดงภาพยนตร์อีกครั้งในเรื่อง \"แฟนฉัน\" ในปี พ.ศ. 2546 ที่โด่งดัง โดยรับบทเป็นพ่อของตัวละครเด็กหญิงในเรื่อง และออกหนังสือที่เกี่ยวกับประสบการณ์การแสดงดนตรีในอเมริกา ในปี พ.ศ. 2545 ชื่อ \"135 วัน อเมริกัน อเมริกา\" และอีกเล่มเกี่ยวกับประสบการณ์การเล่นดนตรีตั้งแต่ยุคแรก ๆ ในปี พ.ศ. 2550 ชื่อ ...เบื้องบนเป็นแผ่นฟ้ากว้าง...", "title": "ปรีชา ชนะภัย" }, { "docid": "219626#5", "text": "ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ จุฑามาศ อิสสรานุกฤต หรือ บุ๋ม ปุยฝ้าย แฟนสาวที่คบกันตั้งแต่อัลบั้ม รวมดาว โดยจัดพิธีหมั้นกันเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2532 ที่ห้องวิภาวดีบอลรูม มี เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ อดีตพิธีกรรายการ โลกดนตรี เจ้าของฉายา โฆษกคนยาก ซึ่งทั้งคู่ให้ความเคารพ (ปัจจุบันนี้เสกสรรค์ได้เสียชีวิตลงแล้ว) เป็นพิธีกร โดยมีนักข่าวติดตามทำข่าวจำนวนมากและท่ามกลางความยินดีของแฟนคลับของทั้งสองฝ่ายและได้มีพิธีมงคลสมรสเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2536 ที่ห้องเลิศวนาลัย โรงแรมฮิลตัน (ปัจจุบันคือโรงแรมสวิสโฮเต็ลปาร์คนายเลิศ) มีลูกสาวด้วยกัน 2 คนคือ น้องเพนกวิน และ น้องกีวี", "title": "สุทธิพงษ์ วัฒนจัง" }, { "docid": "106169#8", "text": "ด้านชีวิตครอบครัวของครูรังสี ท่านแต่งงานกับนางสุภาพ คังคะโรจนะ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายมหศักดิ์ กับ สุรศักดิ์ ทัศนพยัคฆ์ ซึ่งยังทำงานอยู่เบื้องหลังในวงการภาพยนตร์ สืบทอดจากครูรังสี ขณะที่ครูรังสีเอง หลังจากห่างหายไปจากวงการแล้ว ก็ได้ไปทำสวนอยู่ที่จันทบุรี ไม่มีใครได้พบเจอ กระทั่งเมื่อปี 2544 ท่านได้ไปทำเซอร์ไพรส์ให้กับลูกศิษย์ คนหนึ่งซึ่งไปจัดเลี้ยงงานวันเกิดกันที่จันทบุรี", "title": "รังสี ทัศนพยัคฆ์" }, { "docid": "39528#3", "text": "นายอาสา สมรสกับ ท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สารสิน (นามสกุลเดิม กิติยากร) ธิดาของหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร กับหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม ชยางกูร มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ\nประสบการณ์ทำงานอื่น ๆ อาทิ\nกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ, รองประธานกรรมการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร่วมเสริมกิจ จำกัด, ประธานกรรมการ บริษัท ไทยเอเชียแปซิฟิคบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย เบียร์ไฮเนเก้น และ ไทเกอร์เบียร์ ของประเทศสิงคโปร์", "title": "อาสา สารสิน" } ]
42
ราชวงศ์หมิงมีประมุของค์แรกคือใคร ?
[ { "docid": "21447#2", "text": "ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนัก, เหล่าพ่อค้าที่คดโกงทางเศรษฐกิจ, ปฏิรูปโดยใช้ระบบศักดินาโดยโอนมอบสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่พระโอรสของพระองค์ทั่วประเทศจีนและพยายามแนะนำให้พระโอรสใช้หลักกระแสรับสั่งที่เผยแพร่โดยราชสำนักหมิงชื่อว่า หวงหมิงซูซุ่น หลักการนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อพระราชนัดดาของพระองค์ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ซึ่งขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 2 ทรงคิดรวบอำนาจและพยายามที่จะกำจัดอำนาจของพระปิตุลาของพระองค์เอง ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือการทัพที่จิงหนานขึ้น หลังจากการทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงองค์ชายหยันได้สืบราชสมบัติต่อเป็นฮ่องเต้ ในปี ค.ศ. 1402 พระนามว่า จักรพรรดิหย่งเล่อ", "title": "ราชวงศ์หมิง" } ]
[ { "docid": "817177#1", "text": "เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี) ทรงเป็นพระโอรสพระองค์แรกในเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมหรือขุนโอกาสผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมลำดับที่ ๒ กับอาชญานางบุษดี อีกทั้งทรงเป็นพระนัดดาในเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมหรือขุนโอกาสผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ กับอาชญานางยอดแก้วศรีบุญมาแห่งจำปาศักดิ์ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี) ทรงเป็นเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ผู้พยายามอ้างสิทธิ์และมีสิทธิ์เป็นลำดับแรกในการขึ้นปกครองธาตุพนมในลำดับที่ ๓ ต่อจากเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ผู้เป็นพระบิดา แต่ความพยายามนั้นไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากตำแหน่งเจ้าเมืองหรือขุนโอกาสตกไปเป็นของพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องและเครือญาติใกล้ชิด อันเนื่องมาจากความยืดเยื้อเกี่ยวปัญหาการเมืองท้องถิ่นของเจ้านายลาวหลายประการ อาทิ ปัญหาการช่วงชิงดินแดนอาณานิคมริมฝั่งแม่น้ำโขงของประเทศฝรั่งเศส ปัญหาการพยายามลดอำนาจทางการปกครองของเจ้านายท้องถิ่นเมืองธาตุพนมจากฝ่ายสยาม ปัญหาการขัดแย้งผลประโยชน์ทางการเมืองของเหล่าเครือญาติเจ้านายท้องถิ่นเมืองธาตุพนมเอง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับกบฏผีบุญหรือกบฏผู้มีบุญของภาคอีสาน", "title": "เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)" }, { "docid": "257422#2", "text": "ประมุขผู้เป็นชายทุกองค์ใช้ชื่อทอเลมี ที่เป็นสตรีบางคนก็เป็นพระขนิษฐาของพระราชสวามีมักจะใช้ชื่อ “คลีโอพัตรา” หรือ “อาร์ซิโนเอ” หรือ “เบเรนิเซ” สมาชิกคนสำคัญที่สุดของราชวงศ์คือ พระราชินีองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 7 ที่เป็นที่รู้จักกันจากการมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และ ปอมเปย์ และต่อมาระหว่าง อ็อคเตเวียน และ มาร์ก แอนโทนี การฆ่าตัวตายคลีโอพัตราเป็นการสิ้นสุดการครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี", "title": "ราชวงศ์ทอเลมี" }, { "docid": "70134#3", "text": "เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีเจ้าจอมพระองค์แรกตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งยังเป็นพระพี่เลี้ยงผู้มีอายุมากกว่าพระองค์ จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกในพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ความว่า", "title": "เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "96335#3", "text": "การแต่งงานดังกล่าวเป็นความพยายามครั้งที่สามของบิดาของจูฟเฟรย์ ฟุลค์ที่ 5 เคานต์แห่งอ็องฌู ในการสร้างสัมพันธไมตรีทางการเมืองกับนอร์ม็องดี ครั้งแรกเขาจับบุตรสาว อลิซ สมรสกับวิลเลียม อาเดลิน ทายาทของพระเจ้าเฮนรีที่ 1 หลังวิลเลียมจมน้ำสิ้นพระชนม์ในการอับปางของเรือขาว ฟุลค์จับบุตรสาวอีกคน ซีบิลลา แต่งงานกับวิลเลียม คลิโต บุตรชายของพระเชษฐาของพระเจ้าเฮนรีที่ 1 โรเบิร์ต เคอร์โธส พระเจ้าเฮนรีที่ 1 ทำให้การแต่งงานดังกล่าวเป็นโมฆะเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้การอ้างสิทธิ์ในนอร์ม็องดีที่เป็นปรปักษ์ต่อพระองค์ของวิลเลียม คลิโตแข็งแกร่งมากขึ้น สุดท้ายฟุลค์ก็บรรลุเป้าหมายด้วยการแต่งงานของจูฟเฟรย์กับมาทิลดา ฟุลค์จึงส่งต่อตำแหน่งให้จูฟเฟรย์แล้วไปเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม", "title": "ราชวงศ์แพลนแทเจเนต" }, { "docid": "865054#2", "text": "เมื่อแรกประสูติพระองค์เจ้าจงกล ทรงได้แม่ช้อย มารดาของสุนทรภู่ เป็นนางนม จึงทรงสนิทสนมกับสุนทรภู่มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน 1 คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกลได้รับอุปการะหนูพัดไว้", "title": "พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล" }, { "docid": "956646#1", "text": "จักรพรรดิถังเกาจงมีโอรสสามองค์ คือเจี้ยนเฉิน, ซื่อหมิง และหยวนจิ๊ ในสามคนนี้ ซื่อหมิง บุตรคนที่สองเฉลียวฉลาดและมีไหวพริบมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยงานบิดามากมาย จนได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์คนต่อไป ซื่อหมิงปลอมตัวเป็นสามัญชนเพื่อเข้าร่วมงานประลองยุทธฮั่นเทียนเหมิน และได้รู้จักกับจอมยุทธน้อยเจียงฟง ทั้งสองคบหากันเป็นสหายสนิท อีกทั้งซื่อหมิงได้ช่วยชีวิตของแม่นางฉิงซิซิ จนบังเกิดเป็นความรัก แต่เหมือนฟ้าดินกลั่นแกล้ง ซิซิตกเป็นที่หมายปองของเจี้ยนเฉิน ซึ่งพยายามทุกวิถีทางที่จะได้ครอบครองตัวเธอ เจี้ยนเฉินร่วมมือกับหยวนจิ๊หาทางขัดขวางไม่ให้ซื่อหมิงได้เป็นองค์รัชทายาท บัดนี้พี่น้องต้องมาห้ำหั่นกันเองและกลายเป็นตำนานศึกสายเลือดที่เล่าขานไม่รู้จบความนิยมของละคร เรื่องนี้ ถูกรีรัน ถึง 3 ครั้งที่ฮ่องกง ในช่อง the Jade Terrace\nในเดือนตุลาคม 2528, เดือนเมษายน 2531 และเดือนตุลาคม 2533", "title": "ยุทธจักรชิงจ้าวบัลลังค์" }, { "docid": "149282#0", "text": "พระเจ้ามยองจง เป็นประมุขราชวงศ์โชซอนองค์ที่ 13 (พ.ศ. 2088 ถึง พ.ศ. 2110) หรือ องค์ชายเคียงวอน เป็นโอรสของพระเจ้าจุงจงกับมเหสีมุนจอง ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 11 พรรษา ต่อจากพระเชษฐาต่างมารดา คือ พระเจ้าอินจง ที่สิ้นพระชนม์ไปด้วยพระสุขภาพไม่สู้จะดีในพ.ศ. 2088 มีพระมารดาคือ พระพันปีมุนจอง สำเร็จราชการแทน", "title": "พระเจ้ามย็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "92658#23", "text": "จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสและเสด็สวรรคตในปี ค.ศ. 1997 และได้ฝังพระบรมศพที่ มกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง จึงได้สืบทอดตำแหน่งพระประมุขแห่งราชวงศ์เหงียนหลังการเสด็จสวรรคตของพระบิดาในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 หลังจากนั้นเจ้าชายบ๋าว ทั้ง ได้ทรงสืบทอดตำแหน่งพระประมุขราชวงศ์เหงียนจนถึงปัจจุบัน", "title": "ราชวงศ์เหงียน" }, { "docid": "32264#43", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นพระประมุขสมัยใหม่พระองค์แรกของประเทศอังกฤษ พระประมุของค์ก่อน ๆ ทรงเป็นผู้เข้าไปมีบทบาทอย่างแท้จริงในกระบวนการปกครองบ้านเมือง ความต่อเนื่องของการปฏิรูปด้านกฎหมายต่าง ๆ ทำให้เห็นถึงอำนาจของสภาสามัญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อสภาขุนนางและสถาบันกษัตริย์ เพราะบทบาทขององค์ประมุขกลายเป็นสัญลักษณ์มากขึ้น นับตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นต้นมา องค์พระประมุข \"ทรงมีสิทธิจะได้รับคำปรึกษา มีสิทธิจะแนะนำ และมีสิทธิจะตักเตือน\" ตามคำกล่าวของวอลเตอร์ เบจฮอต นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "12891#0", "text": "พระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน ( \"หวงตี้\"; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้", "title": "จักรพรรดิจีน" } ]
49
สนุกเกอร์ กำเนิดที่ประเทศใด ?
[ { "docid": "209100#1", "text": "สนุกเกอร์ได้เกิดขึ้นในเมืองจาบาลปุร์ ประเทศอินเดียโดยทหารอังกฤษ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้เล่นที่ใช้ภาษาอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพแห่งชาติ โดยผู้เล่นมืออาชีพมักจะได้รับเงินรางวัลจำนวนมากจากการแข่งขัน ขณะนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นในจีน การเดินทางของผู้เล่นอาชีพเพื่อเข้าการแข่งขันที่จัดขึ้นทั่วทุกมุมโลก รายการทัวร์นาเมนต์ใหญ่คือเวิลด์สนุกเกอร์แชมเปียนชิป จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเมื่องเชฟฟีลด์ ประเทศอังกฤษ", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "209100#2", "text": "สนุกเกอร์เริ่มเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ในยุค 1870 กีฬาบิลเลียดเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในหมู่ทหารอังกฤษที่ประจำการทั่วอินเดีย โดยต้นกำเนิดสนุกเกอร์เริ่มต้นในกรมทหารเดวอนเชอร์ในเมืองจาบาลปุร์ ในช่วงปี 1875 มีรากฐานมาจากพ็อกเก็ตบิลเลียด แล้วรวมเกมปิรามิด (ลูกแดง 15 ลูก) และไลฟ์พูล (ลูกสีต่าง ๆ) เข้าด้วยกัน รูปแบบของเกมในช่วงแรกมี ลูกสีแดง 15 ลูกตั้งเป็นรูปสามเหลี่ยม คู่กับ ลูกดำ 1 ลูก ที่จุดด้านหลังลูกแดงสามเหลี่ยม พร้อมทั้งมีการนำลูกสีต่างๆ ได้แก่ เหลือง เขียว น้ำตาล น้ำเงิน และชมพูเพิ่มเข้ามาอีกในเวลาต่อมา จึงได้พัฒนามาเรี่อยๆ จนกระทั่งปี 1884 กติกาสนุกเกอร์เริ่มใช้ครั้งแรกโดย เซอร์ เนวิลล์ ฟรานซิส ฟิตซ์เจอรัลด์ แชมเบอร์เลน ที่เล่นกันในสโตนเฮาส์ในเมืองอูตี ใช้โต๊ะที่ทำขึ้นโดย เบอร์โรส์แอนด์วัตต์ (Burroughes & Watts) นำมาจากเรือ ที่มาของชื่อ \"สนุกเกอร์\" (snooker) ในภาษาอังกฤษ เป็นสแลงของนักเรียนนายทหารปีแรกหรือบุคลากรที่ไม่มีประสบการณ์ แชมเบอร์เลนได้เอ่ยคำว่าสนุกเกอร์ขึ้นมา เมื่อผู้เล่นแทงไม่ถูกลูกเป้าหลายครั้งจนกลายเป็นที่มาของชื่อสนุกเกอร์ ในปี 1887 สนุกเกอร์ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ \"สปอร์ติงไลฟ์\" (Sporting Life) จนทำให้เป็นที่รู้จัก แชมเบอร์เลนก็เลยกลายเป็นผู้คิดค้นเกมสนุกเกอร์โดยปริยายจากคำบอกเล่าของนิตยสาร \"เดอะฟิลด์\" (The Field) ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1938", "title": "สนุกเกอร์" } ]
[ { "docid": "209100#0", "text": "สนุกเกอร์ (; ออกเสียง: ในสำเนียงบริติช หรือ ในสำเนียงอเมริกัน) เป็นกีฬาที่ใช้ไม้คิวในการเล่น โดยเล่นบนโต๊ะผ้าสักหลาดหนาที่มีหลุมอยู่ 4 มุมโต๊ะ และตรงกลางของด้านยาวอีกด้านละหลุม โต๊ะมีขนาด 12 ฟุต × 6 ฟุต (3.6 ม. x 1.8 ม.) การเล่นใช้ไม้คิวและลูกสนุกเกอร์ มีลูกสีขาว 1 ลูก ลูกสีแดง 15 ลูก มีคะแนนลูกละ 1 คะแนน และมีลูกสีต่าง ๆ คือ สีเหลือง (2 คะแนน), สีเขียว (3), สีน้ำตาล (4), สีน้ำเงิน (5), สีชมพู (6) และสีดำ (7) ผู้เล่น (หรือทีม) ชนะ 1 เฟรม (แต่ละเกม) โดยแต้มที่เหนือกว่าฝั่งตรงข้าม โดยใช้แทงลูกสีแดงและแทงลูกสี ผู้ที่ชนะจำนวนเฟรมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "209100#5", "text": "ความก้าวหน้าที่สำคัญกำลังปรากฏขึ้น ในปี 1969 เมื่อ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ ได้รับหน้าที่จัดการแข่งขันสนุกเกอร์ พอตแบล็ก (Pot Black) เพื่อแสดงศักยภาพของโทรทัศน์สีกับโต๊ะสีเขียวและลูกหลายสีที่ให้ประโยชน์อย่างดีสำหรับการแพร่ภาพสี ขึ้นเรตติงจากความสำเร็จด้วยความยอดนิยมจากการชมมากที่สุดบนช่องบีบีซีทู จนทำให้สนุกเกอร์เป็นที่สนใจมากขึ้น และปี 1978 เวิลด์แชมเปียนชิป ได้ถ่ายทอดสดการแข่งขันอย่างเต็มที่ สนุกเกอร์ได้อยู่ในกระแสหลักอย่างเร็วในกีฬาหลัก ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพจำนวนมากได้ประสบความสำเร็จมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์มากที่สุด ในปี 1985 ได้รวมผู้ชมทั้งหมด 18.5 ล้านจากการแข่งขันเฟรมสุดท้ายระหว่าง เดนนิส เทย์เลอร์ และ สตีฟ เดวิส ในปีที่ผ่านมาได้สูญเสียจากการโฆษณายาสูบ ที่ได้นำไปสู่​​การลดลงจำนวนการแข่งขันระดับอาชีพ แม้จะได้รับแหล่งที่มาจากบางสปอนเซอร์ใหม่ และมีความนิยมในตะวันออกไกลและจีน ที่มีความสามารถใหม่ๆ เช่น เหลียง เหวินปั๋ว ผู้เล่นเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเช่น ติง จวิ้นฮุย และ มาร์โก ฟู ที่ได้เป็นลางบอกเหตุที่ดีสำหรับอนาคตของการเล่นกีฬาในส่วนหนึ่งของโลก", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "209100#3", "text": "ผลดังกล่าวของสนุกเกอร์ในประเทศอังกฤษได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่โดยทั่วไปก็ยังคงเกมชนิดนี้ไว้สำหรับสุภาพบุรุษและหลายชมรมที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ชายซึ่งมีโต๊ะบิลเลียดที่จะไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกได้เล่น เพื่อรองรับความนิยมของเกมขนาดเล็กที่ได้เปิดกว้างมากขึ้นสำหรับชมรมเฉพาะสนุกเกอร์ที่เริ่มจะก่อตัวมากขึ้น", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "98797#0", "text": "ซัมมอนเนอร์มาสเตอร์ () เป็นการ์ดเกมรูปแบบใหม่ที่ผลิตในประเทศไทย โดยทีมงานฟีโนมีน่อนปาร์ตี้ ของบริษัท ซานโตนีโน่ จำกัด ซึ่งคิดค้น และสร้างสรรค์ระบบโดยคนไทยทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์เอกลักษณ์อันแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร โดยให้ผู้เล่นรับบทเป็นเจ้าแห่งมนต์อสูร (Summoner = นักใช้มนต์อสูร, Master = หัวหน้า ผู้เชี่ยวชาญ) และมีเวทมนตร์คอยเป็นตัวเสริมและพลิกสถานการณ์ การเล่นจะมีความหลากหลายมาก เพราะผู้เล่นสามารถจัดกองการ์ดมาเองตามแต่รูปแบบที่ชอบของแต่ละคนได้ เพื่อนำไปใช้ในการเล่นตามความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน", "title": "ซัมมอนเนอร์มาสเตอร์" }, { "docid": "557581#1", "text": "หนึ่งทศวรรษผ่านไป นับตั้งแต่ จอห์น คอนเนอร์ (นิค สธาร์ล) ได้ช่วยปกป้องวันสิ้นโลก และรักษามวลมนุษยชาติเอาไว้ได้ นั่นก็คือวันที่เครือข่ายแห่งเครื่องจักรกล ที่ผ่านการพัฒนาอย่างรวดเร็วของ สกายเน็ต กลายเป็นเครื่องจักรกลที่มีความคิด และเริ่มทำลายมนุษยชาติ แต่วันที่ 29 สิงหาคม ปี 1997 ผ่านมาและผ่านไป โดยมิได้เกิดเหตุการณ์ร้าย แม้ว่าทางสกายเน็ต จะพยายามสังหารคอนเนอร์ถึงสองครั้ง เพื่อก่อสงครามกับมนุษย์ แต่มันเป็นความพยายามที่ล้มเหลวทั้งสองครั้ง", "title": "ฅนเหล็ก 3 กำเนิดใหม่เครื่องจักรสังหาร" }, { "docid": "209100#10", "text": "ในปี 1982 (พ.ศ. 2525) ได้ก่อตั้ง สมาคมสนุกเกอร์แห่งประเทศไทย โดยมอริส เคอร์ ชาวอังกฤษที่เป็นผู้บุกเบิกกีฬาสนุกเกอร์เข้ามาในประเทศไทย โดยเริ่มมีการแข่งขันชิงแชมป์อาเซียน ปี 1983 (พ.ศ. 2526) ในปรเทศสิงคโปร์ การกีฬาแห่งประเทศไทยได้บรรจุสนุกเกอร์ให้อยู่ในพระราชบัญญัติกีฬาตั้งแต่ปี 1984 (พ.ศ. 2527) ในปี 1985 (พ.ศ. 2528) ได้มีการแข่งขันสนุกเกอร์มืออาชีพในประเทศไทยในชื่อว่า ไทยแลนด์ มาสเตอร์ (ชื่ออื่น เอเชียนโอเพน และ ไทยแลนด์โอเพน) โดยมีการเริ่มจัดอันดับโลกตั้งแต่ในฤดูกาล 1989/90 (2532/33) จนถึง 2001/02 (2544/45)", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "882217#1", "text": "ประเทศเจ้าภาพ (มาเลเซีย)", "title": "กีฬาบิลเลียดและสนุกเกอร์ในซีเกมส์ 2017" }, { "docid": "475996#0", "text": "สเปซอินเวเดอร์ส (; ) เป็นวิดีโอเกมอาเขด ที่ได้รับการออกแบบโดยโทะโมะฮิโระ นิชิคะโดะ และได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1978 ซึ่งเดิมผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทไทโทในประเทศญี่ปุ่น และในภายหลังได้รับสิทธิการผลิตในสหรัฐอเมริกาโดยมิดเวย์ของแบลลี \" สเปซอินเวเดอร์ส\" เป็นหนึ่งในเกมยิงปืนที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายคือการปราบฝูงเอเลี่ยนด้วยปืนเลเซอร์เพื่อทำคะแนนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการออกแบบเกม นิชิคะโดะได้รับแรงบันดาลใจจากสื่อที่เป็นที่นิยมอย่าง \"เบรกเอาท์\", \"เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส\" และ \"สตาร์ วอร์ส\" ในการทำให้สำเร็จ เขาได้ออกแบบฮาร์ดแวร์และเครื่องมือในการพัฒนาที่กำหนดขึ้นเอง", "title": "สเปซอินเวเดอส์" } ]
51
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่หลักคืออะไร ?
[ { "docid": "152224#1", "text": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา", "title": "สภาผู้แทนราษฎรไทย" } ]
[ { "docid": "27972#4", "text": "การลาออกของนายแพทย์เปรมศักดิ์ ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เหลือเพียง 99 คน (คาดการณ์ว่า จะไม่มีพรรคใดได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ถึง 5% ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 100 คน จะมาจากพรรคไทยรักไทยทั้งหมด) เมื่อรวมกับ ส.ส.ระบบเขตอีก 400 คน เป็น 499 คน ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญว่า \"สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคนโดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 99 จำนวนหนึ่งร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 102 จำนวนสี่ร้อยคน\" และส่งผลให้จำนวน ส.ส.ไม่ครบที่จะเป็นองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร และไม่สามารถประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อคัดเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีได้\nคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549 ดังนี้\n\"หมายเหตุ\" ข้อมูลส.ส.แบบระบบบัญชีรายชื่อ 399 เขต (ขาด สมุทรสาคร เขต 3) ขณะที่ข้อมูลส.ส.แบบแบ่งเขต 398 เขต (ขาด นนทบุรี เขต 3 และ สมุทรสาคร เขต 3) และการใช้สิทธิเลือกตั้งบัญชีรายชื่อมากกว่าแบบแบ่งเขต เพราะ จ.นนทบุรี เขต 3 มีการเลือกตั้งเฉพาะส.ส.บัญชีรายชื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ใน 17 จังหวัด ประกอบด้วย\nจังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่\n25 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยทรงแสดงความห่วงใยปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่มีผู้สมัครพรรคเดียว ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมซึ่งการเลือกตั้งซ่อมครั้งแรกผ่านพ้นไปก็ปรากฏว่ายังไม่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 500 คน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549" }, { "docid": "464279#5", "text": "อัยการสูงสุด เป็นโจท์ฟ้องร้องนายศุภชัย โพธิ์สุ แกนนำพรรคภูมิใจไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ในขณะนั้น) ว่าจงใจกระทําความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากการที่นายศุภชัย กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมอาสาสมัครหมอดิน ของสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552 แต่ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้อง", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2552" }, { "docid": "458261#2", "text": "ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย ที่มี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่หนึ่ง โดยได้ที่นั่งไปทั้งสิ้น 110 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม ที่มี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรคได้ 99 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค ได้ 56 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 324 เสียง ซึ่งผลการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า พรรคกิจสังคม, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชากรไทยตกลงกันที่จะสนับสนุน พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ขณะที่พรรคชาติไทย รวมกันกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เป็นฝ่ายค้าน", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526" }, { "docid": "162476#1", "text": "สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด", "title": "รัฐสภาสหรัฐ" }, { "docid": "602594#5", "text": "สมชัยกล่าวต่ออีกว่า ส่วนมาตรา 56 ของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. … ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการใด ๆ เพื่อเป็นการให้คุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง กรณีนี้ คสช. ไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ไม่ใช่ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานของรัฐ) แต่ คสช. สามารถใช้อำนาจหน้าที่ผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้อำนาจดังกล่าวที่อาจเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง และมาตรา 169 (4) ของรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า คณะรัฐมนตรีต้องไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดอันอาจมีผลต่อการเลือกตั้ง กรณีนี้เป็นการบังคับในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง ดังนั้น คสช. ที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการดำเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลต่อการเลือกตั้ง", "title": "สมชัย ศรีสุทธิยากร" }, { "docid": "432531#6", "text": "ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคราษฎร ได้รับเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 4 คน คือ พลเอก มานะ รัตนโกเศศ ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ สุรพล เลี้ยงบำรุง และ ร้อยเอก เอนก นาวาพานิช หลังการเลือกตั้งได้เข้าร่วมรัฐบาลของพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งสนับสนุนพลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี โดย ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี", "title": "พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)" }, { "docid": "56036#6", "text": "ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 องอาจ คล้ามไพบูลย์ เป็น ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 12 (บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชัน และทวีวัฒนา) หมายเลข 10 สามารถชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนนเสียง 107,695 เสียง และสามารถนำพาเพื่อนร่วมทีมที่ลงสมัคร ส.ส. เป็นครั้งแรก คือ ชนินทร์ รุ่งแสง อดีต ส.ก.เขตบางกอกน้อย และผศ.ดร. รัชดา ธนาดิเรก อาจารย์จาก ม.มหิดล โดยชนะเลือกตั้งแบบยกทีม", "title": "องอาจ คล้ามไพบูลย์" }, { "docid": "372115#2", "text": "มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 75.03% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน พรรคที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดคือ พรรคเพื่อไทย 15,744,190 คะแนน และรองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน โดยผู้ใช้สิทธิ์เลือกพรรคเพื่อไทย คิดเป็น 44.72% ของจำนวนผู้ที่ออกมาเลือกตั้งในปี 2554 ผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง 265 ที่ นับเป็นครั้งที่สองในรอบทศวรรษที่มีพรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก โดยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎร 159 ที่", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554" }, { "docid": "127751#7", "text": "พรรคสามัคคีธรรมได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยได้รับการสนับสนุนจากอีก 4 พรรค รวมเป็น 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคสามัคคีธรรม (ส.ส. 79 คน) พรรคชาติไทย (ส.ส. 74 คน) พรรคกิจสังคม (ส.ส. 31 คน) พรรคประชากรไทย (ส.ส. 7 คน) และพรรคราษฎร (ส.ส. 4 คน) รวมเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 195 คน", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535" } ]
59
เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร?
[ { "docid": "1773#0", "text": "เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที () คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์ =", "title": "เทคโนโลยีสารสนเทศ" } ]
[ { "docid": "72493#0", "text": "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (; ไอซีที) เป็นศัพท์ที่มักใช้ในความหมายคล้ายกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) แต่ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นโดยเน้นเรื่องบทบาทของการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (ยูซี) กับบูรณาการของสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ โทรคมนาคม (ทั้งสายโทรศัพท์และสัญญาณไร้สาย) คอมพิวเตอร์ตลอดจนถึงซอฟต์แวร์วิสาหกิจ มิดเดิลแวร์ หน่วยเก็บข้อมูล และระบบโสตทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง เก็บบันทึก ส่งผ่าน และจัดดำเนินการสารสนเทศได้", "title": "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" }, { "docid": "938261#0", "text": "ยุคสารสนเทศ หรือยุคคอมพิวเตอร์ ยุคดิจิทัล หรือยุคสื่อใหม่ เป็นยุคสมัยในประวัติศาตร์มนุษย์ซึ่งมีลักษณะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมเดิมตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม มาเป็นเศรษฐกิจที่อิงเทคโนโลยีสารสนเทศ การเริ่มต้นของยุคสารสนเทศสัมพันธ์กับการปฏิวัติดิจิทัล บทนิยามของดิจิทัลหรือสารสนเทศยังเปลี่ยนแปลงตามเวลาเมื่อเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ผู้ใช้ วิธีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์และสิ่งประดิษฐ์อื่นเข้าสู่เขตการวิจัย การพัฒนาและการออกวางจำหน่ายตลาด", "title": "ยุคสารสนเทศ" }, { "docid": "34263#11", "text": "\"วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ไอซีอี คือการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์เชิงวิศวกรรม,ด้านสื่อสารโทร คมนาคมเชิงวิศวกรรม และด้านของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเรียกรวมได้ว่า เป็นศาสตร์วิศวกรรมโทรคมนาคมยุคใหม่ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนรู้ทางด้านนี้จะมีความรู้ครอบคลุมสามารถทำงานในสังคม ยุคใหม่ได้ทั่วโลก ที่สำคัญปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มมีความต้องการ ผู้ที่จบวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นแล้ว\" รศ. ดร.ภัทรพงษ์ เรืองรัมย์ กล่าวทิ้งท้าย", "title": "วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร" }, { "docid": "1773#22", "text": "ในบริบทของธุรกิจ สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (ITAA) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเป็น \"การเรียน การออกแบบ การพัฒนา การประยุกต์ การทำให้เกิดผล การสนับสนุน และการจัดการระบบสารสนเทศที่อาศัยคอมพิวเตอร์\" ความรับผิดชอบของงานเหล่านั้นในขอบข่ายรวมไปถึงการบริหารเครือข่าย การพัฒนาและการติดตั้งซอฟต์แวร์ และการวางแผนและจัดการวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยีขององค์การ อันประกอบด้วยการบำรุงรักษา การยกระดับ และการทดแทนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์", "title": "เทคโนโลยีสารสนเทศ" }, { "docid": "312504#4", "text": "สังคมอุดมปัญญา” ในที่นี้หมายถึงสังคมที่มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างชาญฉลาด โดยใช้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนทุกระดับมีความเฉลียวฉลาด (Smart) และรอบรู้สารสนเทศ (Information literacy) สามารถเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล (Smart Governance) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง", "title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)" }, { "docid": "2931#3", "text": "ระบบสารสนเทศและ MIS (IS) - หรือการประยุกต์ใช้ภูมิทัศน์ - คือการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) และกิจกรรมของผู้คนว่าด้วยการดำเนินการให้ความช่วยเหลือใด ๆ, การทำการจัดการและการตัดสินใจ ในความหมายที่กว้างมาก, ระบบสารสนเทศเป็นคำที่ใช้บ่อยในการอ้างถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน กระบวนการข้อมูลและเทคโนโลยี ในแง่นี้คำที่ใช้ในการอ้างอิงไม่เพียงแต่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่องค์กรจะใช้เท่านั้น, แต่ยังรวมถึงวิธีที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีนี้ในการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ", "title": "ระบบสารสนเทศ" }, { "docid": "203247#7", "text": "ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคนโลยี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการมีส่วนจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรมที่พัฒนาโดยคนไทยจัดทำเป็นซีดี-รอม รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2\nศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ได้ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร วัชราภัย ชักชวนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยเพื่อรวมแหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้นเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน", "title": "ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี" }, { "docid": "312504#5", "text": "(1) ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศ มีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์ และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรม (Information Literacy) ก่อ\nเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน\n(2) ยกระดับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ขึ้นอย่างน้อย 15 อันดับ ใน Networked Readiness Index \n(3) เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20", "title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)" }, { "docid": "72094#1", "text": "สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากการศึกษาวิจัยเชิงนโยบายโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee:NITC) ซึ่งได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network: GINet) จากนั้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้พิจารณาผลการศึกษาของ TDRI ประกอบกับการศึกษาเพิ่มเติม และได้จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐเสนอต่อ NITC เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ซึ่ง NITC เห็นชอบกับการจัดทำโครงการในรูปแบบการจัดตั้งสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เพื่อพัฒนาเครือข่าย GINet และดำเนินกิจกรรมอื่นที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ", "title": "สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ" } ]
README.md exists but content is empty. Use the Edit dataset card button to edit it.
Downloads last month
2
Edit dataset card