query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
14
176
positive_passages
listlengths
1
9
negative_passages
listlengths
0
14
513
เหล็กกล้าไร้สนิม ถูกใช้งานครั้งแรกเมื่อใด?
[ { "docid": "34256#7", "text": "อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้าทนการกัดกร่อน เพื่อการค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีความรุ่งเรื่องอย่างมากในยุคเริ่มต้นอยู่ระหว่าง ปี 1911-1913 เริ่มที่ปี 1911 เอลวูด เฮย์เนส (Elwood Haynes) ชาวอเมริการได้คิดค้นและผลิตมีดโกนหนวดไร้สนิมเป็นผลสำเร็จ โดยมีส่วนผสมของโครเมียม 14-16 % และ คาร์บอน 0.07-0.15 % ในขณะที่ แฮร์รีย์ เบรียรเลย์ (Harry Brearley) ชาวอังกฤษได้คิดค้นและผลิตลำกล้องปืนที่ทนต่อการกัดกร่อนเป็นผลสำเร็จด้วยส่วนผสมโครเมียม 6-15% คาร์บอน ประมาณ 0.2 % นอกจากนี้ แฮร์รีย์ เบรียรเลย์ ยังได้นำโลหะที่ค้นพบนี้ไปผลิตเป็น มีด กรรไกร และเครื่องครัวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เขาได้ตั้งชื่อเหล็กกล้าที่ทนต่อากรกัดกร่อนนี้ว่า “Rustless steel” ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็น คำว่า “stainless steel” ด้วยคำแนะนำของเออร์เนส์ท สะทูอาร์ท (Ernest Stuart) เจ้าของโรงงานผลิตพวกเครื่องใช้คัดเตอร์รีที่คิดว่ามีความไพเราะกว่าในปี 1912 ต่อมาในปี 1913 ในงานแสดงนิทรรศการที่กรุงเวียนนา แม็คซ์ เมียวร์แมนน์ (Max Mauermann) ชาวโปแลนได้นำเสนอผลงานว่าเขาได้ผลิตเหล็กกล้าไร้สนิมสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 1912", "title": "เหล็กกล้าไร้สนิม" } ]
[ { "docid": "34256#4", "text": "โลหะทนต่อการกัดกร่อนมีการพัฒนาอย่างมากในยุคหลังศตวรรษที่ 19 เมื่อ ฮันส์ โกลชมิดท์ (Hans Goldschmidt) ชาวเยอรมัน ได้พัฒนากระบวนการผลิตที่สามารถผลิตโลหะที่มีคาร์บอนต่ำได้ ในปี 1895 และหลังจากนั้นเพียง 10 ปี ก็มีนักวิทยาศาสตร์ขาวฝรั่งเศส ลีอ็อน กิวล์เลด (Leon Guillet) ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยโลหะผสม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่าคือเหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มเฟอร์ริติกบางชนิด และออสเทนนิติกกลุ่ม 300", "title": "เหล็กกล้าไร้สนิม" }, { "docid": "34256#2", "text": "โลหะที่ทนต่อการกัดกร่อนถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักโลหะวิทยาชาวฝรั่งเศส ปิแอร์ เบอร์แทร์ (Pierre Berthier) ในปี ค.ศ. 1821 เขาพบว่าเมื่อโลหะผสมกับโครเมียมจะมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนจากกรดบางชนิด อย่างไรก็ตาม โลหะผสมโครเมียมในยุคนั้นยังมีความเปราะสูง แม้ต่อมาในปี 1875 บรัสท์สเลอิน (Brustlein) ชาวฝรั่งเศส จะได้ค้นพบว่า จุดสำคัญของเหล็กกล้าโครเมียมต้องควบคุมปริมาณคาร์บอนให้ต่ำมากมากที่ประมาณ 0.15 % ก็ตาม แต่ยังไรก็ตามด้วยเทคโนโลยียุคนั้นก็ยังไม่สามารถผลิตโลหะที่มีคาร์บอนต่ำได้", "title": "เหล็กกล้าไร้สนิม" }, { "docid": "34256#5", "text": "การผลิตโลหะทนต่อการกัดกร่อนในเชิงอุตสาหกรรมเริ่มต้นจริงๆ ในปี 1908 เมื่อบริษัท ครุปป์ไอออนเวิร์ค (Krupp Iron Works) ของเยอรมนีได้นำเหล็กกล้าผสมโครเมียม-นิกเกิลมาผลิตเป็นตัวเรือเดินสมุทร นอกจากนั้น บรัษัทยังได้พัฒนาเหล็กกล้าออสเทนนิติกด้วยส่วนผสม คาร์บอน < 1% นิกเกิล < 20% และ โครเมียม 15-40 % ระหว่างปี ค.ศ. 1912-1914", "title": "เหล็กกล้าไร้สนิม" }, { "docid": "34256#6", "text": "ในระหว่างปี 1904-1908 มีการศึกษาและเสนอผลงานวิจัยคิดค้นมากมาย ทั้งในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอมนี โดยผลงานที่โดดเด่นได้แก่การตีพิมพ์ผลงานรายละเอียดของเหล็กกล้าผสมโครเมียม – นิกเกิลของ จิเซน (Giesen) ชาวอังกฤษ ผลงานการพัฒนาเหล็กกล้าผสมโครเมียมของปอร์ตแว็ง (Portevin) ชาวฝรั่งเศส และที่สำคัญที่สุดก็คือ ผลงานของชาวเยอรมันสองท่าน พี มอนนาร์ท และ ดับบิว บอร์เชอร์ส (P. Monnartz and W. Borchers) ที่ได้ค้นพบว่าเหล็กกล้าที่ทนต่อการกัดกร่อนต้องมีโครเมียมผสมอย่างน้อย 1.5 %", "title": "เหล็กกล้าไร้สนิม" }, { "docid": "34256#9", "text": "มีคุณสมบัติที่แม่เหล็กดูดไม่ติด (non – magnetic) มีส่วนผสมของโครเมียม 16% คาร์บอนอย่างมากที่สุด 0.15% มีส่วนผสมของธาตุนิกเกิล 8% เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติในการทำการประกอบ(Fabrication)และเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน\nเกรดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและนิยมเรียก 18/8 คือการที่มีส่วนผสมของโครเมียม 18% และนิกเกิล 8%เหล็กกล้าไร้สนิมตระกูลนี้สามารถปรับความแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว (Quenching)และอบคืนตัว (Tempering) สามารถลดความแข็งได้ คล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน และพบการใช้งานที่สำคัญในการผลิตเครื่องตัด, อุตสาหกรรมเครื่องบินและงานวิศวกรรมทั่วไป", "title": "เหล็กกล้าไร้สนิม" }, { "docid": "363706#52", "text": "รายงานการค้นพบว่ามีเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นทำโดยนักวิทยาแบคทีเรียชาวออสเตรียชื่อแอนตอน ไวเซลบาม ซึ่งได้อธิบายถึง \"เมนิงโกคอคคัส\" ไว้ใน พ.ศ. 2430 ซึ่งในรายงานแรกๆ นั้นผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอัตราตายสูงมาก (มากกว่า 90%) ต่อมา พ.ศ. 2449 เมื่อมีการผลิตแอนตี้ซีรุ่มจากม้า และได้รับการพัฒนาต่อยอดโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาชื่อไซมอน เฟลกซ์เนอร์จนทำให้อัตราตายจากโรคเมนิงโกคอคคัสลดลงอย่างมาก ต่อมา พ.ศ. 2487 ค้นพบว่าเพนิซิลลินใช้ได้ผลกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการนำวัคซีนต่อเชื้อฮีโมฟิลุสมาใช้ก็ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อนี้น้อยลงอย่างมาก จากนั้น พ.ศ. 2545 ก็มีหลักฐานพิสูจน์ว่าการให้สเตียรอยด์สามารถทำให้พยากรณ์โรคของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียดีขึ้นได้", "title": "เยื่อหุ้มสมองอักเสบ" }, { "docid": "293816#29", "text": "คาลเดอร์สร้างประติมากรรมศักยดุลและประติมากรรมจลดุลส่วนใหญ่ในโรงงานบีมองต์ตูร์ในฝรั่งเศส รวมทั้ง “L'Homme” ที่ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมสูง 24 เมตรที่บริษัทนิคเคิลอินเตอร์แนชันนัล (Inco) ของแคนาดาจ้างให้ทำสำหรับงานนิทรรศการสากลแห่งมอนทรีออลในปี ค.ศ. 1967 งานขั้นสุดท้ายสร้างจากหุ่น จำลองที่สร้างโดยคาลเดอร์โดยแผนกค้นคว้าทดลองที่ออกแบบให้ได้ตามสัดส่วน โดยมีคาลเดอร์เป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการหล่อทั้งหมด และถ้าจำเป็นคาลเดอร์ก็จะแก้งานไปด้วย ประติมากรรมศักยดุลทั้งหมดสร้างด้วยเหล็กกล้าคาร์บอนและทาสีส่วนใหญ่เป็นสีดำนอกจากตรงที่เป็นตัวแบบที่เป็นเหล็กกล้าไร้สนิมบริสุทธิ์ จลดุลทำด้วยอะลูมิเนียมและทำด้วยดิวราลูมิน", "title": "อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์" }, { "docid": "34256#10", "text": "No.1- รีดร้อนหรือรีดเย็น / อบอ่อน หรือปรับปรุงด้วยความร้อน คราบออกไซด์ไม่ได้ขจัดออก / ใช้งานในสภาพที่รีดออกมาโดยทั่วไปจะใช้งานที่ทนความร้อน", "title": "เหล็กกล้าไร้สนิม" }, { "docid": "34256#0", "text": "เหล็กกล้าไร้สนิม () นั้น ในทางโลหกรรมถือว่าเป็นโลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% ชื่อในภาษาไทย แปลจากภาษาอังกฤษว่า stainless steel เนื่องจากโลหะผสมดังกล่าวไม่เป็นสนิมที่มีสาเหตุจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนในอากาศกับโครเมียมในเนื้อเหล็กกล้าไร้สนิม เกิดเป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อเหล็กกล้าไร้สนิมได้เป็นอย่างดี ปกป้องการกัดกร่อน และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป สำหรับในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบิน นิยมเรียกโลหะนี้ว่า corrosion resistant steel เมื่อไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นโลหะผสมชนิดใด และคุณภาพระดับใด แต่ในท้องตลาดเราสามารถพบเห็น เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 18-8 มากที่สุด ซึ่งเป็นการระบุถึง ธาตุที่เจือลงในในเนื้อเหล็กคือ โครเมียมและนิเกิล ตามลำดับ สแตนเลสประเภทนี้จัดเป็น Commercial Grade คือมีใช้ทั่วไปหาซื้อได้ง่าย มักใช้ทำเครื่องใช้ทั่วไป ซึ่งเราสามารถจำแนกประเภทของเหล็กกล้าไร้สนิมได้จากเลขรหัสที่กำหนดขึ้นตามมาตรฐาน AISI เช่น 304 304L 316 316L เป็นต้น ซึ่งส่วนผสมจะเป็นตัวกำหนดเกรดของเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งมีความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เหล็กกล้าไร้สนิมกับการเกิดสนิม ปกติ Stainless steel จะไม่เป็นสนิมเพราะที่ผิวของมันจะมีฟิล์มโครเมียมออกไซด์ บางๆเคลือบผิวอยู่อันเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง Cr ใน Stainless steel กับ ออกซิเจนในอากาศ การทำให้ Stainless steel เป็นสนิมคือการถูกทำลายฟิล์มโครเมียมออกไซด์ ที่เคลือบผิวออกไปในสภาวะที่ Stainless steel สามารถเกิดสนิมได้ ก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมาอีกครั้งเช่น ถ้าเหล็กกล้าไร้สนิมถูกทำให้เกิดรอยขีดข่วน แล้วบริเวณรอยนั้นมีความชื้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็กก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมา ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมขึ้นได้", "title": "เหล็กกล้าไร้สนิม" } ]
514
สวนสนุก ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ ที่ญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่จังหวัดใด?
[ { "docid": "630493#0", "text": "ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เจแปน (, ) ตั้งอยู่ที่จังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งใน 4 ของ Universal Studios theme parks บริหารงานโดย USJ Co., Ltd. โดยได้รับลิขสิทธิ์จาก NBCUniversal ซึ่งตัวสวนสนุกจะคล้ายกับ Universal Orlando Resort โดยมีสิ่งดึงดูดใจจาก Universal Orlando Resort และ Universal Studios Hollywood", "title": "ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เจแปน" } ]
[ { "docid": "630493#1", "text": "นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่น และเป็นชาวเอเชีย เช่น ไต้หวัน จีน และเกาหลีใต้ เป็นต้น ในปี ค.ศ. 2005 Goldman Sachs ผู้ถือหุ้นใหญ่ของยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เจแปนได้เปิดตัวสวนสนุกนี้ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2001 ซึ่งตั้งเป้าหมายว่าสวนสนุกจะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้จำนวน 1 ล้านคนให้เร็วกว่าสวนสนุกแห่งอื่นในโลก และหลังจากเปิดให้บริการมาครบ 1 ปี ได้มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจำนวนกว่า 7 ล้านคน", "title": "ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เจแปน" }, { "docid": "947832#0", "text": "โตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต () เป็นสวนสนุกและสถานพักตากอากาศที่อุระยะซุ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เจ้าของและดำเนินการโดยบริษัทเดอะโอเรียนเต็ลแลนด์ ที่มีใบอนุญาตจากบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ เปิดบริการเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1983 มีสวนสนุก 2 แห่ง โรงแรมภายใต้กำกับการดูแลของดิสนีย์ 4 แห่ง โรงแรมภายใต้กำกับการดูแลโดยบุคคลภายนอก 6 แห่ง และศูนย์การค้า โตเกียวดิสนีย์แลนด์เป็นสวนสนุกของดิสนีย์แห่งแรกที่เปิดให้บริการนอกสหรัฐ", "title": "โตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต" }, { "docid": "666451#4", "text": "ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เมืองนี้ได้ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เกาหลีใต้ มีกำหนดที่จะเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งจะกลายเป็นสวนสนุกยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใหญ่กว่ายูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์อีก 4 แห่งรวมกัน ด้วยเงินลงทุนสร้างสวนสนุกกว่า $3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะทำให้เกิดการสร้างงานกว่า 58,000 ตำแหน่ง", "title": "ฮวาซ็อง (จังหวัดคย็องกี)" }, { "docid": "317966#1", "text": "บริษัทก่อตั้งในปี 1 มกราคม 2545 โดยคาร์ล เลียมเมิล สตูดิโอในการผลิตตั้งอยู่ที่ 100 Universal City Plaza Drive ในยูนิเวอร์แซลซิตี รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนสำนักงานจัดจำหน่ายและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งอยู่ที่นิวยอร์กซิตี ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ถือเป็นสตูดิโอฮอลลีวูดที่มีมายาวนานที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากพาราเมาต์พิกเจอส์ของเวียคอม (ห่างกันไม่กี่เดือน)", "title": "ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์" }, { "docid": "315583#2", "text": "วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอได้ทำสัญญาซื้อลิขสิทธิ์กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส และ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ในการสร้างสวนสนุก แฮร์รี่ พอตเตอร์ขึ้นบนพื้นที่ของยูนิเวอร์แซล ออร์แลนโด รีสอร์ต โดยทางสวนสนุกเริ่มเคลียร์พื้นที่ในปลายปี พ.ศ. 2550 และเริ่มก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551", "title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)" }, { "docid": "922425#0", "text": "ยูนิเวอร์แซลพาร์กแอนด์รีสอร์ต (Universal Parks & Resorts) เป็นสวนสนุกและสถานตากอากาศในเครือเอ็นบีซียูนิเวอร์แซล ปัจจุบันมีสวนสนุกและสถานตากอากาศตั้งอยู่ 4 แห่งทั่วโลก", "title": "ยูนิเวอร์แซลพาร์กแอนด์รีสอร์ต" }, { "docid": "317966#0", "text": "ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ () หรือในบางครั้งเรียกว่า ยูนิเวอร์แซลซิตีสตูดิโอ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ยูนิเวอร์แซล เป็นบริษัทในเครือเอ็นบีซียูนิเวอร์แซล เป็นหนึ่งใน 6 สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยมีบริษัทร่วมอย่าง ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ มาร่วมในขึ้นตอนผลิตและจัดจำหน่าย 8 สิงหาคม 2548", "title": "ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์" }, { "docid": "4336#63", "text": "หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์และหมู่บ้านฮอกส์มี้ด เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด ซึ่งโรว์ลิงก็ตอบตกลง สวนสนุกตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ซึ่งเป็นเกาะรวมเครื่องเล่นแนวผจญภัยของยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ท โดยได้ใช้ชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่าโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยมีทั้งนักแสดงจากภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) และทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "962757#1", "text": "เอ็นบีซียูนิเวอร์แซลมีส่วนเกี่ยวข้องหลักในวงการสื่อและความบันเทิงภายใต้หน่วยงานที่สำคัญที่สุดคือบริษัทแพร่สัญญาณแห่งชาติ (เอ็นบีซี) หนึ่งในสามสถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ และสตูดิโอฟิล์มของยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการออกอากาศที่ผ่านคุณสมบัติทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งทางภาคพื้นดินและการจ่ายค่าเช่าผ่านทางโทรทัศน์ และเอ็นบีซียูนิเวอร์แซลยังเป็นผู้ดำเนินธุรกิจสวนสนุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก โดยมียูนิเวอร์แซลพาร์กแอนด์รีสอร์ตเป็นผู้จัดการในส่วนนี้", "title": "เอ็นบีซียูนิเวอร์แซล" } ]
515
ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มีโทษสูงสุดคืออะไร?
[ { "docid": "193582#0", "text": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า \"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี\" ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ คนไทยหรือคนต่างด้าวไม่ว่ากระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ต้องรับโทษ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับเรื่อยมามีข้อที่กล่าวว่า \"องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้\"", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" } ]
[ { "docid": "193582#3", "text": "หลังรัฐประหารเมื่อปี 2549 มีการพิจารณาความผิดดังกล่าวมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทราชวงศ์ซึ่งระวางโทษรุนแรงที่สุดในโลก และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า \"โหดร้ายป่าเถื่อน\" บ่อนทำลายกฎหมายไทย ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ บางฝ่ายออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายนี้ ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสว่า สามารถวิจารณ์พระองค์ได้และไม่เคยตรัสให้เอาผู้วิจารณ์เข้าคุก", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "193582#20", "text": "คดี นางสาว นูรฮายาตี  มะเสาะ จำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ต่อมาศาลมีคำตัดสินว่าจำเลยไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ศาลระบุว่าความผิดตาม มาตรา 112 เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม ไม่ใช้ความผิดอาญาในตัวเองคำตัดสินดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ระบุว่าเป็นคำตัดสินที่แปลกมาก และตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการแทรกแซงคำตัดสินของศาล", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "193582#22", "text": "หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 ธานินทร์ กรัยวิเชียร แก้ไขกฎหมายให้มีโทษสูงขึ้น โดยเพิ่มจากจำคุกสูงสุด 7 ปี เป็นจำคุกต่ำสุด 3 ปี และสูงสุด 15 ปี และขยายขอบเขตของความผิด \"หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ\" เขายังตีความว่า กฎหมายห้ามครอบคลุมถึงการวิจารณ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถาบันพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "193582#45", "text": "จากกรณีโชติศักดิ์ อ่อนสูง กับพวกรวม 2 คน ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 วิศิษฐ์ สุขยุคล อัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 กล่าวถึงกรณีอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ว่า ผู้ต้องหาไม่แสดงอาการอาฆาตมาดร้าย จึงไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นพ้องกับอัยการ คดีจึงเป็นอันยุติ วิศิษฐ์ สุขยุคลกล่าวว่า พฤติการณ์ดังกล่าว หากจะเป็นความผิด ก็ผิดกฎหมายเก่าปี 2485 และคดีมีอายุความ 1 ปี ซึ่งในคดีดังกล่าวพนักงานสอบสวนไม่ได้ตั้งข้อหามาด้วย คดีจึงหมดอายุความไปแล้ว", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "193582#39", "text": "คดีนี้นางสาว นูรฮายาตี  มะเสาะ จำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ต่อมาศาลมีคำตัดสินว่าจำเลยไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ศาลระบุว่าความผิดตาม มาตรา 112 เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม ไม่ใช้ความผิดอาญาในตัวเองคำตัดสินดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ระบุว่าเป็นคำตัดสินที่แปลกมาก และตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการแทรกแซงคำตัดสินของศาล", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "193582#55", "text": "บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์\"เดอะนิวซีแลนด์เฮรัลด์\" วันที่ 12 มกราคม 2558 ว่า \"การวิจารณ์พระบรมวงศานุวงศ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยแน่นอน การห้ามนั้นดูเหมือนมาจากยุคกลาง อันที่จริง การแนะว่า พระบรมวงศานุวงศ์ควรได้รับความคุ้มกันจากการวิจารณ์จะเป็นการเหยียบย่ำหลักการซึ่งเป็นมูลฐานของประชาธิปไตยสมบูรณ์ใด ๆ แต่คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยเพิ่มการฟ้องคดีอาญาความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องสงสัยว่า คณะทหารฯ จะอ้างว่าเป็นการสนองต่อชาวไทยส่วนใหญ่ซึ่งยังเคารพราชวงศ์ ทว่า ส่วนใหญ่มันชี้ไปยังพันธะซึ่งมาจากการสนับสนุนของพระมหากษัตริย์\"", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "193582#12", "text": "หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐประหาร ออก เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร โดยให้ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีชื่อเสียงหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ได้แก่คดีของ นาย สิรภพ กรณ์อุรุษ โดยก่อนที่จมีการรัฐประหาร นาย สิรภพ ได้เขียนบทความหมิ่นประมาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเว็บบล็อก ใช้นามปากกาว่า รุ่งศิลา ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งให้เขาไปรายงานตัว เขาถูกทหารจับกุมขณะกำลังเดินทางโดยรถยนต์และจำคุกถึงปัจจุบัน", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "193582#9", "text": "วันที่ 13 กันยายน นาย ยุทธภูมิ มาตรนอก ถูกพี่ชายแท้ ๆ ฟ้องฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเขาถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน 2555 เนื่องจากศาลเห็นว่าความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ กรณีนี้ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ถูกใช้เป็นเครื่องมือของความขัดแย้งในครอบครัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากฎหมายนี้ถูกใช้ไปในทางที่ผิดได้ง่าย ตำรวจ อัยการและศาลมักเกรงกลัวว่า ตนจะถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี หากพวกเขาไม่ดำเนินคดีในข้อหานี้ต่อมาศาลยกฟ้อง เขาได้ออกจากคุกเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2556", "title": "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย" }, { "docid": "1901#3", "text": "ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่เคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ และผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี พ.ศ. 2548 ว่า \"สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้\"", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" } ]
521
รัญธรรมนูญฉบับแรกของไทยถูกใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "69653#11", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทยก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้หากแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญด้วยการวัดที่ระดับการเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติ จะสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มดังนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก\nมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งในฉบับต่อๆ มานั้นหมายเลขมาตราได้เลื่อนไป แต่ผู้คนก็ยังนิยมกล่าวถึงกรณีการใช้อำนาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรีว่า \"ใช้อำนาจตามมาตรา 17\"", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "109228#1", "text": "พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย ร่างขึ้นโดยแกนนำสำคัญภายในคณะราษฎร โดยในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับพระนคร และในวันเดียวกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าฯ และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาสมาชิกคณะราษฎร นอกจากนี้คณะราษฎรยังถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามด้วย แต่พระองค์ทรงขอตรวจร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก่อน ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันรุ่งขึ้น โดยทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า \"ชั่วคราว\" สืบเนื่องมาจากพระองค์ทรงเห็นว่าหลักการประชาธิปไตยของผู้ก่อการฯ ไม่พ้องกันกับพระประสงค์ของพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น", "title": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" }, { "docid": "109228#0", "text": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเป็นผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งในขณะที่เกิดการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับ ณ พระตำหนักวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์", "title": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" } ]
[ { "docid": "346424#11", "text": "หลังจากรัฐบาลสยามตัดสินใจจัดทำประมวลกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ใน ร.ศ. 127 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2451 ก็ได้กฎหมายลักษณะอาญาเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของประเทศและประกาศใช้ในปีนั้นเอง ครั้นแล้ว ก็เริ่มร่างและประกาศใช้ประมวลกฎหมายฉบับที่สอง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2477 อันเป็นช่วงหลังปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 แล้ว กินระยะเวลาตั้งแต่เริ่มร่างกฎหมายลักษณะอาญาจนถึงใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้พร้อมมูล มากกว่าสามสิบปี", "title": "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)" }, { "docid": "12834#10", "text": "การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงมีขึ้นเป็นครั้งแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2521 ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบแรกที่นำระบบดังกล่าวมาใช้ อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีอยู่เพียงแห่งแรกของไทยในขณะนั้น การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจึงไม่เป็นที่คุ้นเคยนักสำหรับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 มีการประกาศใช้กฎหมายเทศบาลฉบับใหม่ ทำให้เทศบาลซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ได้เริ่มทดลองใช้ระบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง และใช้จริงเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 และเรียกระบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงในเทศบาลว่า เทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี ในขณะที่เทศบาลในรูปแบบเดิมเรียกว่า เทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี ภายหลังต่อมา มีการแก้ไขกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายฉบับ หลายรูปแบบ ในปี พ.ศ. 2546 - 2547 ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดของไทยใช้ระบบการเลือกตั้งบริหารท้องถิ่นโดยตรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา ดังนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา กฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบของไทย กำหนดให้ใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงแล้วทั้งสิ้น", "title": "ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)" }, { "docid": "253633#4", "text": "สำหรับพจนานุกรมกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย คือ พจนานุกรมกฎหมายของ ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) ซึ่งมีคำโฆษณาบนปกว่า \"\"พจนานุกรมกฎหมายเล่มแรกของประเทศไทย บรรจุคำตั้งแต่โบราณกาลถึงปัจจุบันกาล สำหรับความสะดวกในผู้ใคร่ศึกษาและผู้ต้องการทราบ\"\" อย่างไรก็ดี ที่ว่า \"ปัจจุบันกาล\" บนปกนั้นหมายถึงกาลที่พจนานุกรมพิมพ์ขึ้น คือ พ.ศ. 2474 เท่านั้น แม้ว่าจะได้รับการพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่สองใน พ.ศ. 2549 แต่พจนานุกรมฉบับนี้ยังมิได้รับการปรับปรุงนับแต่บัดนั้นจนบัดนี้ อย่างไรก็ดี ยังมีพจนานุกรมกฎหมายอีกหลายเล่มในภาษาไทยที่มีการปรับปรุงเสมอ เช่น พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ", "title": "พจนานุกรมกฎหมาย" }, { "docid": "104828#8", "text": "การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จากไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 (พ.ศ. 2413) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)", "title": "ปฏิทินไทย" }, { "docid": "24448#7", "text": "\"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม\" พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือ เข้าออกในแม่น้ำ เจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ \nในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลัง เร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป", "title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่" }, { "docid": "43311#0", "text": "นิตยสารธรรมจักษุ เป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของไทย โดยออกตีพิมพ์ครั้งแรกสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2437 โดยการบุกเบิกของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองค์ได้ทรงพยายามแปลพระสูตรต่างๆ ในพระไตรปิฎกที่ยังไม่เคยมีผู้ใดแปลมาก่อนมาเป็นภาษาไทย แล้วทยอยนำลงในนิตยสารธรรมจักษุ ในเวลาเดียวกัน ก็มีการอธิบายธรรมให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปด้วย ทำให้นิตยสารธรรมจักษุกลายเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกที่ไม่เพียงแต่จะนำเสนอเนื้อหาสาระทางพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ซึ่งเดิมนั้น มีอยู่ในใบลาน เป็นภาษาบาลีเท่านั้น ยังเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกที่กระตุ้นให้เกิดการประยุกต์หลัก พุทธธรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมร่วมสมัยอย่างกว้างขวางด้วย\nสำนักงานกองบรรณาธิการนิตยสารธรรมจักษุ ตึกแผนกผลประโยชน์ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร", "title": "ธรรมจักษุ" }, { "docid": "11105#6", "text": "กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของประเทศไทย คือ ประกาศหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) เป็นการคุ้มครองเพื่อมิให้ผู้ใดนำความต่าง ๆ ในหนังสือวชิรญาณวิเศษไปตีพิมพ์ เย็บเป็นเล่มหรือเป็นเรื่อง นอกจากได้รับอนุญาตจากกรรมสัมปาทิกสภา แต่ไม่มีการกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน", "title": "ลิขสิทธิ์" }, { "docid": "142983#3", "text": "จากนั้นคณะบริหารประเทศชั่วคราวได้สั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 หันกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกมาใช้แทน ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำที่ประหลาดที่สุดในโลก และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทุกประการ เช่น ไม่ร่วมเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2495 เป็นต้น", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494" } ]
522
โรคฮันติงตัน เกิดขึ้นที่อวัยวะใดของร่างกาย?
[ { "docid": "371909#5", "text": "อาการแรกเริ่มที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ การมีการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบกระตุก เป็นขึ้นโดยฉับพลันไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าและควบคุมไม่ได้ เรียกว่าโคเรีย อาการแรกเริ่มของโคเรียนี้อาจเป็นเพียงความรู้สึกอยู่ไม่สุขที่ไม่มีลักกษณะเฉพาะใดๆ อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีความหมายพิเศษเกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ อาจเป็นการที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวให้แม่นยำได้ หรืออาจมี saccadic eye movement ที่ช้าลง อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อนี้ส่วนใหญ่แล้วจะพบเกิดขึ้นก่อนอาการของความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดเจนอื่นๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี โดยอาการที่ชัดเจนเช่นอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การเคลื่อนไหวบิดงอ หรือมีกล้ามเนื้อแข็งเกร็งในท่าผิดปกติ จะพบได้เมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้น อาการแสดงเหล่านี้เกิดจากการที่สมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวได้รับความเสียหาย การทำงานของระบบควบคุมการเคลื่อนไหวจะค่อยๆ เสื่อมลงเรื่อยๆ จนถึงที่สุดแล้วการเคลื่อนไหวใดๆ ที่ปกติจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ จะได้รับผลกระทบไปทั้งหมด ผลที่มักพบตามมาคืออาการทรงตัวลำบาก แสดงสีหน้าผิดปกติ เคี้ยวลำบาก กลืนลำบาก และพูดลำบาก อาการกินลำบากเหล่านี้มักทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักลดและมีภาวะขาดสารอาหารตามมา อาการอื่นที่พบได้เช่นความผิดปกติของการนอนหลับ โรคฮันติงตันชนิดวัยเด็กจะมีอาการแตกต่างออกไปโดยจะมีการดำเนินโรคที่เร็วกว่ามาก อาจมีอาการโคเรียเพียงแค่ช่วงสั้นๆ หรือไม่มีเลย และเริ่มปรากฏอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็งอย่างรวดเร็ว โรคฮันติงตันชนิดนี้ยังอาจพบอาการชักได้บ่อยอีกด้วย", "title": "โรคฮันติงตัน" }, { "docid": "371909#0", "text": "โรคฮันติงตัน () เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาท ส่งผลต่อการควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย และนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ ส่วนใหญ่ปรากฏอาการในช่วงวัยกลางคน เป็นโรคที่เป็นสาเหตุทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดของภาวะการเคลื่อนไหวผิดปกติที่เรียกว่าโคเรีย และพบในคนเชื้อชาติยุโรปตะวันตกมากกว่าเอเชียหรือแอฟริกา เกิดจากการกลายพันธุ์ในยีนฮันติงตินยีนหนึ่งในสองยีนในร่างกาย ซึ่งมีการถ่ายทอดลักษณะแบบลักษณะเด่น ดังนั้นทายาทของผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสได้รับถ่ายทอดโรคนี้มา 50% ในบางกรณีที่ทั้งบิดาและมารดามียีนที่เป็นโรคคนละหนึ่งในสองยีน ทายาทจะมีโอกาสเป็นโรค 75% และหากมีบิดาหรือมารดามียีนที่เป็นโรคสองยีน ทายาทก็จะมีโอกาสติดโรค 100% อาการทางกายของโรคฮันติงตันอาจเริ่มปรากฏได้ตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยชรา แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏในช่วงอายุ 35-44 ปี ผู้ป่วยประมาณ 6% เริ่มมีอาการตั้งแต่ก่อนอายุ 21 ปี โดยมีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อเกร็งและเริ่มต้นเคลื่อนไหวลำบาก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาการจะทรุดลงรวดเร็วเกือบทุกคน โรคฮันติงตันที่แสดงอาการเช่นนี้เรียกว่าโรคฮันติงตันวัยเด็ก () หรือกล้ามเนื้อเกร็งเคลื่อนไหวลำบาก () หรือชนิดเวสท์ฟาล ()", "title": "โรคฮันติงตัน" }, { "docid": "371909#2", "text": "อาการของโรคในผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้มาก บางครั้งผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกันก็อาจมีอาการแตกต่างกันอย่างมากได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ อาการแรกเริ่มโดยทั่วไปจะเป็นอาการของกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและเดินไม่มั่นคง เมื่อโรคดำเนินไปอาการกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและการเคลื่อนไหวผิดปกติจะเด่นชัดขึ้น พร้อมๆ กับที่มีกรสูญเสียความสามารถทางจิตใจ สติปัญญา และพฤติกรรม รวมทั้งอาจมีอาการทางจิตเวชได้ด้วย ความสามารถทางกายจะค่อยๆ เสื่อมลงจนในที่สุดการเคลื่อนไหวง่ายๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องยาก ความสามารถทางจิตใจอาจเสื่อมลงจนเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม โรคหัวใจ อุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม จนทำให้อายุขัยสั้นลงอยู่ที่ประมาณ 20 ปีหลังเริ่มมีอาการ ปัจจุบันโรคฮันติงตันยังไม่มีวิธีรักษา ผู้ป่วยระยะท้ายของโรคจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา แต่ระยะหลังเริ่มมีการรักษาใหม่ๆ ที่บรรเทาอาการบางอย่างของโรคได้", "title": "โรคฮันติงตัน" } ]
[ { "docid": "371909#4", "text": "ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคฮันติงตันมักเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 35-44 ปี แต่ก็สามารถเริ่มมีอาการได้ในทุกช่วงอายุตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยชรา ในระยะแรกๆ ของโรคผู้ป่วยอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยทางด้านบุคลิกภาพ สติปัญญา และทักษะทางกาย ส่วนใหญ่อาการที่มักได้รับการสังเกตเป็นอันดับแรกๆ คืออาการทางกาย เนื่องจากอาการทางสติปัญญาและทางจิตใจมักไม่เป็นรุนแรงมากจนเป็นที่สังเกตได้ในระยะแรกๆ ของโรค เมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้นผู้ป่วยโรคฮันติงตันเกือบทุกคนจะมีอาการทางกายที่คล้ายคลึงกัน แต่อาการแรกเริ่ม ช่วงเวลาที่เริ่มมีอาการ ความเร็วในการดำเนินโรค และระดับของความบกพร่องในด้านสติปัญญาและจิตใจนั้นแตกต่างกันมากในผู้ป่วยแต่ละคน", "title": "โรคฮันติงตัน" }, { "docid": "371909#16", "text": "การตรวจร่างกายและการตรวจสภาพจิตสามารถช่วยบอกได้ว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการของโรคแล้วหรือยังไม่มี อาการที่มักนำผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุดคือการเคลื่อนไหวผิดปกติของส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากอาการเหล่านี้เป็นขึ้นทันทีทันใด เริ่มเป็นแบบไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์หรืออาการอื่นๆ จะเป็นการชี้ให้ควรสงสัยว่าต้องให้การวินิจฉัยผู้ป่วยเป็นโรคฮันติงตัน อาการทางการรับรู้หรือทางสภาพจิตมักไม่เป็นอาการแรกๆ ที่ทำให้นึกถึงโรคฮันติงตัน ส่วนใหญ่จะเป็นจะนึกถึงอาการเหล่านี้ว่าเป็นจากโรคฮันติงตันก็ต่อเมื่อเป็นการได้ประวัติย้อนหลังของผู้ป่วยโรคฮันติงตันที่วินิจฉัยได้จากสาเหตุอื่น หรืออาการเหล่านี้ปรากฏขึ้นหลังจากได้รับการวินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว แพทย์สามารถวัดการดำเนินโรคออกมาเป็นตัวเลขได้โดยใช้ unified Huntington's disease rating scale (เกณฑ์การให้คะแนนโรคฮันติงตันแบบสากล) โดยคะแนนนี้คิดจากการประเมินผู้ป่วยทั่งด้านการสั่งการ พฤติกรรม การรับรู้ และความสามารถในการดำเนินชีวิต การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์เช่นซีทีสแกนหรือเอ็มอาร์ไออาจแสดงให้เห็นได้เพียงภาวะสมองใหญ่ฝ่อที่จะพบก็ต่อเมื่อโรคดำเนินไปมากแล้วเท่านั้น การถ่ายภาพรังสีของการทำงานของระบบประสาท เช่น fMRI หรือ PET scan อาจแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของสมองก่อนที่จะปรากฏอาการได้ แต่วิธีนี้ยังมีที่ใช้เฉพาะในการศึกษาวิจัย ยังไม่มีการนำมาใช้ทางคลินิก", "title": "โรคฮันติงตัน" }, { "docid": "574997#32", "text": "โรคที่มีน้อยนี้ ซึ่งคนไข้ต้องการจะให้ตัดอวัยวะของตนออก ได้รับการบ่งชี้เป็นครั้งแรกโดยจอหน์ มันนี ในปี ค.ศ. 1977. โดยต่อยอดงานก่อน ๆ ของรามจันทรันซึ่งชี้ถึงแผนภาพร่างกายในสมอง รามจันทรันและคณะได้เสนอว่า โรคนี้เกิดจากภาพร่างกายในสมองที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้มีภาวะนี้จึงเห็นอวัยวะของตนเป็นส่วนเกินที่ไม่คุ้นเคยและอยู่นอกกายของตน \nรามจันทรันได้ขยายของเขตทฤษฎีนี้โดยเสนอว่าโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa) อาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับภาพร่างกายที่มีมูลมาจากระบบประสาท ไม่ใช่เป็นโรคเกี่ยวกับความอยากอาหารที่มีเหตุในไฮโปทาลามัส", "title": "วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน" }, { "docid": "371909#11", "text": "คนปกติจะมีกลูตามีนซ้ำกันใน polyQ region ไม่เกิน 36 ชุด ซึ่งจะทำให้มีการถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนฮันติงตินชนิดปกติ คือ Htt ออกมาอยู่ในซัยโตพลาสซึมเพื่อทำหน้าที่ต่อไป แต่ถ้ามีซ้ำกันตั้งแต่ 36 ชุดขึ้นไปจะทำให้มีการสร้างโปรตีนผิดปกติคือ mHtt ซึ่งทำให้เซลล์ประสาทหรือนิวรอนบางชนิดเสื่อมเร็วผิดปกติ สมองแต่ละบริเวณมีเซลล์ประสาทที่ต้องใช้โปรตีนฮันติงตินเช่นนี้อยู่มากน้อยไม่เท่ากัน ทำให้ได้รับผลกระทบจากความผิดปกติของการสร้างโปรตีนฮันติงตินไม่เท่ากัน โดยทั่วไปแล้วจำนวนชุดซ้ำของ CAG เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการเกิดโรคฮันติงตันในแง่ของอายุที่จะเริ่มมีอาการ ซึ่งถือว่ามีผล 60% ความแปรปรวนที่นอกเหนือจากนี้ขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมและยีนอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินโรคของโรคฮันติงตัน การมีจำนวนชุด CAG ซ้ำ 36-40 ชุดมักทำให้เกิดโรคฮันติงตันที่มีเพเนแทรนซ์ไม่เป็น 100% และเริ่มมีอาการที่อายุมากกว่าชนิดอื่น ดำเนินโรคช้ากว่าชนิดอื่น ผู้ป่วยบางรายเริ่มมีอาการช้ามากจนไม่มีอาการอื่นๆ ปรากฏให้เห็นเลยก็มี ในขณะเดียวกันหากมีจำนวนชุด CAG ซ้ำเยอะมาก จะทำให้โรคฮันติงตันนั้นมีเพเนแทรนซ์ 100% และเริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุน้อยกว่า 20 ปี ซึ่งจะเรียกว่าโรคฮันติงตันชนิดวัยเด็ก หรือชนิด akinetic-rigid หรือชนิดเวสท์ฟาล ซึ่งคิดเป็นประมาณ 7% ของพาหะโรคฮันติงตันทั้งหมด", "title": "โรคฮันติงตัน" }, { "docid": "371909#15", "text": "90% ของการวินิจฉัยโรคฮันติงตันขึ้นกับอาการและประวัติครอบครัวซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ยืนยันได้ด้วยการตรวจทางพันธุศาสตร์พบมีการขยายของลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ซ้ำกันซึ่งเป็นสาเหตุของโรค ยังมีโรคอื่นๆ ที่เรียกว่าโรคซึ่งคล้ายโรคฮันติงตัน (HD-like disorder) โรคเหล่านี้มักถูกเรียกรวมๆ ว่า HDL หรือ HD-like (\"คล้ายโรคฮันติงตัน\") สาเหตุของ HDL ส่วนใหญ่นั้นยังไม่เป็นที่ทราบ บางโรคที่ทราบสาเหตุนั้นพบว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนพรีออนโปรตีน (HDL1) ยีนจังท์โตฟิลลิน 3 (HDL2) ยีน \"HTT\" ชนิดที่ถ่ายทอดแบบลักษณะด้อย (HDL3 พบในรายงานครอบครัวผู้ป่วยเพียงครอบครัวเดียว และยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก) และยีนที่ถอดรหัสเป็น TATA box-binding protein (HDL4/SCA17) โรคที่ถ่ายทอดทางออโตโซมลักษณะเด่นอื่นๆ ที่อาจถูกวินิจฉัยผิดไปเป็นโรคฮันติงตันได้เช่น dentatorubral-pallidoluysian atrophy (การฝ่อของเดนเตโตรูบราล-พาลลิโดลุยเซียน) และ neuroferritinopathy (ความผิดปกติของเฟอร์ไรตินในระบบประสาท) นอกจากนี้ยังมีโรคที่ถ่ายทอดทางออโตโซมลักษณะด้อยอีกจำนวนหนึ่งที่อาจแสดงอาการคล้ายผู้ป่วยฮันติงตันที่ไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดในครอบครัว (sporadic case) เช่น chorea acanthocytosis (เม็ดเลือดแดงอะแคนโธซัยต์มากผิดปกติร่วมกับมีโคเรีย), pantothenate kinase-associated neurodegenartion (การเสื่อมของประสาทซึ่งสัมพันธ์กับแพนโทธีเนท ไคเนส) และ X-linked McLeod syndrome (กลุ่มอาการแม็คลีอ็อดซึ่งสัมพันธ์กับโครโมโซมเอกซ์)", "title": "โรคฮันติงตัน" }, { "docid": "371909#13", "text": "ลำดับซ้ำชุดสามของ CAG ที่ยาวเกินกว่า 28 ชุดจะมีความไม่เสถียรระหว่างการทำซ้ำของสายดีเอ็นเอ โดยยิ่งมีจำนวนชุดซ้ำมากก็ยิ่งมีความไม่เสถียรมาก ความไม่เสถียรนี้มักทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของจำนวนชุดซ้ำจากรุ่นสู่รุ่น (dynamic mutation) แทนที่จะมีการถ่ายทอดจำนวนชุดซ้ำโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้คนรุ่นถัดไปอาจมีจำนวนชุด CAG ซ้ำไม่เท่ากับรุ่นพ่อแม่ ดังนั้นพ่อแม่ที่ไม่เป็นโรคแต่มีจำนวนชุดซ้ำอยู่ในระดับกลาง (28-35 ชุด) หรือเป็นโรคแต่อยู่ในระดับที่มีเพเนแทรนซ์ไม่ถึง 100% (36-40 ชุด) อาจมีทายาทที่มีจำนวนชุด CAG ซ้ำมากกว่าที่รุ่นพ่อแม่มี จนได้รับการถ่ายทอดโรคฮันติงตันที่มีเพเนแทรนซ์เป็น 100% ได้ การมีจำนวนชุด CAG ซ้ำเพิ่มขึ้นจากรุ่นสู่รุ่นเช่นนี้ทำให้โรคอาจมีความรุนแรงมากขึ้น (เช่น เริ่มมีอาการเร็วขึ้น อาการดำเนินไปรวดเร็วมากขึ้น) ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า genetic anticipation โดยความไม่เสถียรของลำดับ CAG นี้จะพบในกระบวนการสร้างอสุจิมากกว่ากระบวนการสร้างไข่ ดังนั้นอัลลีลที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากแม่จะมีความยาวใกล้เคียงกันมากกว่าอัลลีลที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อ ซึ่งมีโอกาสที่จะมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนชุด CAG ซ้ำมากกว่า ส่วนการเกิดการกลายพันธุ์จนเป็นโรคฮันติงตันซึ่งเกิดขึ้นใหม่ในคนที่พ่อแม่มีลำดับ CAG ซ้ำไม่เกิน 36 ชุดนั้นพบได้น้อยมาก", "title": "โรคฮันติงตัน" }, { "docid": "371909#3", "text": "มีการก่อตั้งองค์กรช่วยเหลือตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคฮันติงตันเป็นครั้งแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งองค์กรเหล่านี้จำนวนมากดำเนินการในด้านการให้ข้อมูลและสร้างความตื่นตัวให้กับสังคม ให้ความช่วยเหลือกับผู้ป่วยและครอบครัว และสนับสนุนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม (The Hereditary Disease Foundation) เป็นกลุ่มศึกษาวิจัยกลุ่มหนึ่งที่แตกยอดออกมาจากองค์กรให้ความช่วยเหลือที่ก่อตั้งขึ้นเป็นองค์กรแรกๆ ได้มีบทบาทในการค้นหายีนก่อโรคใน ค.ศ. 1993 ซึ่งหลังจากการค้นพบนี้แล้วก็มีการค้นพบสำคัญๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ 2-3 ปี ทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคฮันติงตันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวทางการศึกษาวิจัยในปัจจุบันส่วนหนึ่งเน้นศึกษาหากลไกที่แท้จริงของการเกิดโรค พัฒนาสัตว์ทดลองที่เหมาะสมกับการศึกษาวิจัย ดำเนินการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกของยาที่รักษาอาการหรือชะลอการดำเนินโรค และศึกษาวิธีการรักษาใหม่ๆ อย่างเช่นการนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในการรักษา โดยมีเป้าหมายเพื่อซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากโรคนี้", "title": "โรคฮันติงตัน" } ]
528
ประเทศแม็กซิโกมีอาณาเขตเท่าไหร่?
[ { "docid": "17294#5", "text": "เม็กซิโกมีเนื้อที่ทั้งหมด 1,972,550 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 14 ของโลก เม็กซิโกมีพรมแดนทางทิศเหนือร่วมกับสหรัฐอเมริกายาว 3,141 กิโลเมตร โดยใช้แม่น้ำบราโบที่คดเคี้ยวเป็นพรมแดนธรรมชาติตั้งแต่เมืองซิวดัดคัวเรซไปทางทิศตะวันออกจนถึงอ่าวเม็กซิโก และตั้งแต่เมืองซิวดัดคัวเรซไปทางทิศตะวันตกจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีทั้งแม่น้ำและสิ่งก่อสร้างเป็นแนวแบ่งเขตสองประเทศไว้ ส่วนทางทิศใต้ เม็กซิโกมีพรมแดนร่วมกับกัวเตมาลายาว 962 กิโลเมตร และมีพรมแดนร่วมกับเบลีซยาว 250 กิโลเมตร", "title": "ประเทศเม็กซิโก" } ]
[ { "docid": "17294#6", "text": "เทือกเขาขนาดใหญ่ในเม็กซิโก ได้แก่ เทือกเขาเซียร์รามาเดรโอเรียนตัล ซึ่งพาดผ่านพื้นที่ประเทศในแนวเหนือ-ใต้ เกือบจะขนานกับชายฝั่งภาคตะวันออก และเทือกเขาเซียร์รามาเดรออกซีเดนตัล ซึ่งขนานไปกับชายฝั่งภาคตะวันตก (เทือกเขานี้เป็นส่วนต่อเนื่องทางด้านใต้ของระบบเทือกเขาร็อกกีจากตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ) นอกจากนี้ ทางภาคกลางตอนล่างของประเทศยังมีแนวภูเขาไฟทรานส์เม็กซิกัน หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า \"เซียร์ราเนบาดา\" พาดผ่านจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ส่วนทางภาคใต้ก็มีเทือกเขาเซียร์รามาเดรเดลซูร์ที่ขนานไปกับชายฝั่งตั้งแต่รัฐมิโชอากังไปจนถึงรัฐโออาซากา ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ดินแดนทางภาคกลางและภาคเหนือของเม็กซิโกจึงตั้งอยู่บนพื้นที่ระดับสูง โดยกลุ่มยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศ ได้แก่ ยอดเขาโอรีซาบา (5,700 เมตร) โปโปกาเตเปตล์ (5,426 เมตร) อิซตักซีอวตล์ (5,230 เมตร) และเนบาโดเดโตลูกา (4,680 เมตร) ล้วนตั้งอยู่บริเวณแนวภูเขาไฟทรานส์เม็กซิกัน และเขตเมืองใหญ่ของเม็กซิโก ได้แก่ เขตมหานครเม็กซิโกซิตี โตลูกา และปวยบลา ต่างก็ตั้งอยู่ในหุบเขาระหว่างยอดเขาเหล่านี้", "title": "ประเทศเม็กซิโก" }, { "docid": "17294#4", "text": "เม็กซิโกตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ นอกจากบนทวีปดังกล่าวแล้ว เม็กซิโกยังมีกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเล็ก ๆ ในอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน อ่าวแคลิฟอร์เนีย และมหาสมุทรแปซิฟิก (ได้แก่เกาะกวาดาลูเปและหมู่เกาะเรบียาคีเคโดที่อยู่ห่างไกลออกไป) อีกด้วย พื้นที่เกือบทั้งหมดของเม็กซิโกแผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ โดยมีบางส่วนของคาบสมุทรบาฮากาลิฟอร์เนียตั้งอยู่บนแผ่นแปซิฟิกและแผ่นโกโกส ในทางธรณีฟิสิกส์ นักภูมิศาสตร์บางกลุ่มจัดให้ดินแดนของประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกของคอคอดเตอวนเตเปกอยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง แต่ในทางภูมิศาสตร์การเมือง เม็กซิโกเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคอเมริกาเหนือร่วมกับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา", "title": "ประเทศเม็กซิโก" }, { "docid": "20722#10", "text": "เทือกเขาริฟทอดตัวยาวตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากตะวันตกเฉียงเหนือไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เทือกเขาแอตลาสที่อยู่กลางคล้ายกระดูกสันหลังของประเทศนั้นทอดตัวตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือไปตะวันตกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงใต้ประเทศมีทะเลทรายซาฮาราซึ่งไม่ค่อยมีประชากรอาศัยและไม่มีการก่อผลทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือบริเวณ 2 เทือกเขานี้ ขณะที่ประชากรทางใต้จะอยู่ในซาฮาราตะวันตกซึ่งเป็นอาณานิคมของสเปนในอดีตที่ถูกผนวกโดยโมร็อกโกเมื่อ พ.ศ. 2518 และอ้างว่าเป็นจังหวัดทางใต้", "title": "ประเทศโมร็อกโก" }, { "docid": "17294#0", "text": "เม็กซิโก (; ) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (; ) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน", "title": "ประเทศเม็กซิโก" }, { "docid": "20722#8", "text": "พื้นที่ส่วนใหญ่ของโมร็อกโกเป็นภูเขา เทือกเขาแอตลาสตั้งอยู่ตรงกลางและทางตอนใต้ของประเทศ เทือกเขาริฟอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เทือกกเขาทั้งสองนี้มีชาวเบอร์เบอร์อาศัยอยู่ หากไม่นับซาฮาราตะวันตกจะมีพื้นที่ 446,550 กิโลเมตรมีขนาดเป็นอันดับที่ 57ของโลก ติดกับแอลจีเรียทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าชายแดนระหว่างสองประเทศถูกปิดตั้งแต่ พ.ศ. 2537", "title": "ประเทศโมร็อกโก" }, { "docid": "17294#7", "text": "ทางน้ำและแม่น้ำต่าง ๆ ในเม็กซิโกจัดอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำ 3 บริเวณ คือ บริเวณลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก และไหลสู่แอ่งภายในแผ่นดิน แม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของประเทศคือ แม่น้ำบราโบ อยู่ในบริเวณลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกา แม่น้ำสายอื่นในบริเวณลุ่มน้ำเดียวกัน ได้แก่ แม่น้ำอูซูมาซินตา (พรมแดนธรรมชาติระหว่างเม็กซิโกกับกัวเตมาลา) แม่น้ำกรีคัลบา แม่น้ำปานูโก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีแม่น้ำหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำน้อยและใช้เดินเรือไม่ได้ โดยทางน้ำในประเทศที่ใช้เดินเรือได้มีระยะทางรวมประมาณ 2,900 กิโลเมตร", "title": "ประเทศเม็กซิโก" }, { "docid": "33329#3", "text": "ประเทศเลโซโท เป็นประเทศที่มีแอฟริกาใต้ล้อมรอบหมดทุกด้าน มีพื้นที่ประมาณ 30,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณสองเท่าของจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย แต่เลโซโทมีพื้นที่ส่วนมากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400-1,800 เมตร จึงทำให้มีหิมะปกคลุม เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีหิมะ แต่ใช้ประโยชน์จากหิมะที่ละลายเป็นน้ำอุปโภคบริโภคใช้ในประเทศ", "title": "ประเทศเลโซโท" }, { "docid": "58156#1", "text": "ประเทศมอริเชียสมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,040 ตารางกิโลเมตรใหญ่เป็นอันดับ 170 ของโลก ประเทศมอริเซียสประกอบด้วยเกาะมอริเซียสและเกาะชั้นนอกอีกหลายเกาะอาทิเกาะรอดรีกส์เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศมีพื้นที่ประมาณ 108 ตารางกิโลเมตรห่างจากเกาะมอริเซียสไปทางตะวันออก 560 กิโลเมตร เกาะแฝดอากาเลกามีพื้นที่ประมาณ 26 ตารางกิโลเมตรและห่างจากเกาะหลักไปทางเหนือ 1000 กิโลเมตร เซนต์แบรนดอนคือกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยดอนทรายใต้น้ำและเกาะเล็กใช้เป็นที่ตั้งการประมงของบริษัท ราฟาเอลฟิชเชอร์ จำกัด (Raphael Fishing Company Limited) ตั้งอยู่ห่างจากเกาะหลักไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 430 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมอริเชียสนั้นครอบคลุมพื้นที่ในมหาสมุทรอินเดียกว่า 2.3 ล้านตารางกิโลเมตรและมีพื้นจัดการร่วมกับประเทศเซเชลส์อีกประมาณ 400,000 ตารางกิโลเมตร", "title": "ประเทศมอริเชียส" }, { "docid": "823#55", "text": "สหรัฐแผ่นดินใหญ่มีพื้นที่ 7,663,940.6 ตารางกิโลเมตร รัฐอะแลสกา ซึ่งมีประเทศแคนาดาคั่นสหรัฐแผ่นดินใหญ่ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีขนาด 1,717,856.2 ตารางกิโลเมตร รัฐฮาวายซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 28,311 ตารางกิโลเมตร ดินแดนที่มีประชากรอาศัยของสหรัฐ ได้แก่ ปวยร์โตรีโก อเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาและหมู่เกาะเวอร์จินรวมมีพื้นที่ 23,789 ตารางกิโลเมตร", "title": "สหรัฐ" }, { "docid": "20722#5", "text": "โมร็อกโกมีชายฝั่งยาวตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกยาวขึ้นไปผ่านช่องแคบยิบรอลตาร์จนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน ทางเหนือติดกับสเปน (เซวตา เมลียาและโขดหินเบเลซเดลาโกเมรา) ทางทิศตะวันออกจรดแอลจีเรีย จรดซาฮาราตะวันตกทางทิศใต้ ตั้งแต่โมร็อกโกควบคุมส่วนใหญ่ของซาฮาราตะวันตกจึงมีพรมแดนด้านใต้ติดกับประเทศมอริเตเนียโดยพฤตินัย", "title": "ประเทศโมร็อกโก" } ]
532
กีฬาวอลเลย์บอล ก่อตั้งโดยใคร ?
[ { "docid": "114542#1", "text": "กีฬาวอลเลย์บอลถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1896 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขามีความคิดที่ต้องการให้มีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้งเพื่อออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก", "title": "วอลเลย์บอล" } ]
[ { "docid": "639922#1", "text": "ค.ศ. 1947 ยุทะกะ มะเอะดะ ได้จัดพิมพ์นิตยสารของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น ครั้งแรกในชื่อ \"VOLLEYBALL (วอลเลย์บอล)\" ซึ่งตรงกับปีที่มีการก่อตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และตั้งแต่ ค.ศ. 1973 นิตยสารนี้ได้เป็นสื่อสิ่งพิมพ์เพียงรายการเดียวที่มีอยู่ของนิฮงบุนกะพับลิชชิง โดยเป็นนิตยสารวอลเลย์บอลที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุด และยังคงดำเนินเคียงคู่ร่วมกับประวัติศาสตร์ของวอลเลย์บอลในประเทศญี่ปุ่น", "title": "เก็กคังวอลเลย์บอล" }, { "docid": "412953#0", "text": "สโมสรวอลเลย์บอลคอสโม เชียงราย หรือชื่อเดิม สโมสรวอลเลย์บอลเชียงราย ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553 โดยมีผู้ก่อตั้ง ประกอบด้วย วิจิตรศักดิ์ มงคลสาร, พีระพงษ์ ดวงสนิท, บดีพล จันทโชติ ซึ่งมี โอภาส สุขเจริญไกรศรี เป็นประธานสโมสร และปราโมทย์ นพวงค์ เป็นผู้จัดการสโมสร", "title": "สโมสรวอลเลย์บอลคอสโม เชียงราย" }, { "docid": "114542#6", "text": "วอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงไหนนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ชาวไทยบางกลุ่มเริ่มเล่นและแข่งขันวอลเลย์บอลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง \nปี 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาเผยแพร่โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณซึ่งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีและบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรกโดยใช้กติกาการเล่นระบบ 9 คน และตั้งแต่นั้นมากีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อปี 2500 ได้มีการประชุมหารือพิจารณาจัดตั้งสมาคมขึ้นมารับผิดชอบ จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (Amateur Volleyball Association of Thailand) อย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเปลี่ยนระบบการแข่งขันเป็น 6 คน และต่อมาได้บรรจุเข้าในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อปี 2521 หลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี 2524", "title": "วอลเลย์บอล" }, { "docid": "655959#1", "text": "ความคิดในการจัดตั้งนอร์เซกาเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันกีฬาอเมริกากลางและแคริบเบียนเกมส์ที่จัดขึ้นในเมืองซานฮวน เปอร์โตริโก เมื่อปี ค.ศ. 1966 ช่วงเวลานั้นเป็นที่รู้จักในชื่อเขตแคริบเบียนและอเมริกากลาง การพัฒนาเป็นองค์กรนอร์เซกามาจากความคิดและวิสัยทัศน์ของประธาน ดร. รูเบน อาโกสตา เอร์นันเดซ ร่วมกับนักกีฬาอีกหลาย ๆ คนจากเปอร์โตริโก, คิวบา, สาธารณรัฐโดมินิกัน และเฮติ นอร์เซกาได้รับการก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยเอฟไอวีบี และประธานนายปอล ลีบ็อง ในปี 1968 เมื่อประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสหพันธ์ การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์นอร์เซกาครั้งแรกจัดขึ้นในประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 4-9 สิงหาคม ค.ศ. 1969 เกมแรกที่จัดขึ้นคือนัดระหว่างเฮติกับปานามา และเฮติเป็นฝ่ายชนะไป 3-0 การแข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชนชิงแชมป์นอร์เซกาจัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1980", "title": "สมาพันธ์วอลเลย์บอลอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และแคริบเบียน" }, { "docid": "626567#12", "text": "บริษัทไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือสหพัฒนพิบูล เริ่มเข้ามาช่วยการแข่งขันในระดับอายุ 12 ปี ไลอ้อนคัพ ซึ่งเป็นการจัดที่ไม่ค่อยมีใครอยากจัด แทบจะไม่ได้ผลตอบแทนจากการประชาสัมพันธ์เลย เพราะไม่ค่อยมีผู้สนใจกับการแข่งขันของเด็กๆ อายุ 12 ปี สักเท่าไร ช่วงหลังเมื่อเครือสหพัฒน์หยุดสนับสนุน บริษัทสยามกว้างไพศาล เข้ามาช่วยจัดการแข่งขันปลายิ้ม มินิวอลเลย์บอล ได้นำทีมที่ชนะเลิศไปแข่งขันและทัศนศึกษาที่สิงคโปร์ หรือฮ่องกงบ้าง แม้ระยะหลังบริษัทสยามกว้างไพศาลจะถอนตัวจากการเป็นผู้สนับสนุนไป สมาคมฯ ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด อย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันได้มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนร่วมกับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นการกลับมาจัดได้ใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยสมาคมฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน", "title": "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "413659#3", "text": "สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1993 ใน ค.ศ. 1996 สโมสรนี้ชนะรายการไนโรบีโพรวินเชียลลีก และได้รับการสนับสนุนเข้าสู่รายการเนชั่นไวด์ลีก และสองปีถัดมาก็ชนะรายการเคนยันพรีเมียร์ลีกในส่วนของ KCB รักบี้ ได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1989 ขึ้นตามที่ทีมเคนยันเบรเวอรีส์ ได้แยกย้ายไปในปีนั้นทีมวอลเลย์บอลของ KCB มีทั้งในส่วนของทีมชายและทีมหญิง ในรายการ 2007 FIVB วีเมนส์เวิลด์คัพ สี่ผู้เล่นของ KCB เล่นให้กับทีมชาติเคนยา", "title": "เคนยาคอมเมอร์เชียลแบงค์ (สโมสรกีฬา)" }, { "docid": "438279#0", "text": "วอลเลย์บอลชายไทยแลนด์ลีก เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลลีกอาชีพ ระดับสูงสุดของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้การบริหารของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และบริษัท ไทยวอลเลย์บอล จำกัด ซึ่งปัจจุบันมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม และมีการแข่งขันแบบพบกันหมดในระบบเหย้าและเยือน", "title": "วอลเลย์บอลชายไทยแลนด์ลีก" }, { "docid": "609933#2", "text": "จากจุดเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2547 ได้มีการก่อตั้งสมาคมกีฬาของชาวเขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ขึ้นมา พร้อมตั้งชื่อว่าสมาคมสโมสรดอนเมืองสัมพันธ์ โดยมีคุณวิสิษฐ กอวรกุล เป็นนายกสมาคม และเป็นประธานสมาคมฟุตบอลดอนเมืองสัมพันธ์ โดยในการบริหารงานยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน คุณวิสิษฐ กอวรกุล ได้มีแนวนโยบายการบริหารงานของสมาคมฯ ในรูปแบบคนรุ่นใหม่ จึงได้บุคคลที่รักวงการฟุตบอลและรักในกีฬาฟุตบอลของชาวเขตดอนเมืองเข้ามาช่วยงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวงการฟุตบอลของชาวเขตดอนเมืองให้เป็นที่รู้จักและถูกกล่าวขานในแวดวงและวงการฟุตบอลของบ้านเราในเรื่องฟุตบอลต่อไป", "title": "สโมสรฟุตบอลเจ ดับบลิว โปลิศ" }, { "docid": "700875#1", "text": "สโมสรวอลเลย์บอล บางกอกกล๊าส ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท บีจีเอฟซี สปอร์ต จำกัด ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 ด้วยปณิธานของคณะผู้บริหารที่ต้องการส่งเสริมอาชีพในสายกีฬาในหลากหลายประเภทให้มีความเป็นมืออาชีพและร่วมพัฒนาวงการกีฬาของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนให้เป็นที่ยอมรับและสามารถเทียบชั้นในระดับสากล เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดนั้น สโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส จึงถูกวางรากฐานอย่างมั่นคง โดยการสร้างทีมอย่างมีกลยุทธ์ ด้วยการรวมทีมงานคุณภาพระดับมืออาชีพ ทั้งทีมบริหาร ทีมผู้ฝึกสอน และตัวผู้เล่น เพื่อความแข็งแกร่งเป็นหนึ่งเดียวพร้อมก้าวสู่ความสำเร็จสูงสุดร่วมกัน", "title": "สโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส" } ]
534
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีขนาดพื้นที่ประเทศเท่าไหร่?
[ { "docid": "2032#1", "text": "ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น", "title": "ประเทศจีน" } ]
[ { "docid": "2032#23", "text": "สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจการปกครองเหนือ 22 มณฑล และถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลที่ 23 ของตน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีอำนาจการปกครองเหนือไต้หวันซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน การอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนถูกคัดค้านโดยสาธารณรัฐจีน นอกจากนี้ยังแบ่งเขตการปกครองเป็นเขตปกครองตนเอง 5 แห่ง แต่ละแห่งมีชื่อตามชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่นั้น เทศบาลนคร 4 แห่ง และเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง ซึ่งมีสิทธิ์ปกครองตนเองอยู่ในระดับหนึ่ง ดินแดนเหล่านี้อาจถูกเรียกรวมกันว่า \"จีนแผ่นดินใหญ่\" ซึ่งมักยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า", "title": "ประเทศจีน" }, { "docid": "2032#4", "text": "ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออก บนฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ดินประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีพื้นที่บนบกมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก และถูกพิจารณาว่ามีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อมูลขนาดนี้เกี่ยวข้องกับ (ก) ความถูกต้องของการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของจีน อย่างเช่น อัคสัยจินและดินแดนทรานส์คอราคอรัม (ซึ่งอินเดียอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งสองด้วยเช่นกัน) และ (ข) วิธีการคำนวณขนาดทั้งหมดโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งหนังสือความจริงของโลกระบุไว้ที่ 9,826,630 กม. และสารานุกรมบริตานิการะบุไว้ที่ 9,522,055 กม. สถิติพื้นที่นี้ยังไม่นับรวมดินแดน 1,000 ตารางกิโลเมตรซึ่งผนวกเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยรัฐสภาทาจิกิสถานเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งยุติข้อพิพาทด้านดินแดนที่ยาวนานนับศตวรรษ", "title": "ประเทศจีน" }, { "docid": "2032#18", "text": "ถึงแม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจีนได้เริ่มวิตกกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้จะมีผลกระทบในด้านลบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความกังวลคือบางภาคส่วนของสังคมไม่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเพียงพอ ตัวอย่างหนึ่งคือช่องว่างใหญ่ระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท ดังนั้น ภายใต้เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดปัจจุบัน ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา และนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เริ่มดำเนินนโยบายเพื่อที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาของการแจกจ่ายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม แต่ผลที่ออกมานั้นยังสามารถพบเห็นได้ ชาวนามากกว่า 40 ล้านคนถูกบังคับให้ย้ายออกจากที่ดินของตน ซึ่งเป็นเหตุปกติธรรมดาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงและการจลาจลกว่า 87,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2548 สำหรับประชากรส่วนใหญ่ของจีนแล้ว มาตรฐานการดำเนินชีวิตมองเห็นได้ว่ามีการพัฒนาอย่างมาก และเริ่มมีเสรีภาพมากขึ้น แต่การควบคุมทางการเมืองยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เช่นเดียวกับความยากจนในชนบท\nประเทศจีนถูกพิจารณาโดยนักรัฐศาสตร์หลายคนว่าเป็นหนึ่งในห้ารัฐคอมมิวนิสต์สุดท้าย (เช่นเดียวกับเวียดนาม เกาหลีเหนือ ลาว และคิวบา) แต่การอธิบายลักษณะอย่างเรียบง่ายของโครงสร้างการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่อาจเป็นไปได้อีกตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนได้ถูกอธิบายอย่างแพร่หลายว่าเป็นคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม แต่ยังรวมไปถึงเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งยังคงเหลือการควบคุมอย่างหนักในหลายพื้นที่ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ อินเทอร์เน็ต สื่อ เสรีภาพในการแสดงออก สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และเสรีภาพในการนับถือศาสนาทำให้ประชาชนบางส่วนไม่เห็นด้วย", "title": "ประเทศจีน" }, { "docid": "2032#0", "text": "ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (; ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1400 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า", "title": "ประเทศจีน" }, { "docid": "109018#0", "text": "แผนพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน ( \"ซีปู้ต้าไคฟา\"; ) คือนโยบายที่เสนอโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน โดยกินพื้นที่ร้อยละ 71.4 ประชากรร้อยละ 28.8 และเศรษฐกิจร้อยละ 16.8 ของประเทศ ปกคลุมอาณาเขตของ 6 มณฑล (กานสู้ กุ้ยโจว ชิงไห่ ฉ่านซี เสฉวน ยูนนาน) 5 เขตปกครองตนเอง (กวางสี มองโกเลียใน หนิงเซี่ย ทิเบต) และ 1 เทศบาลนคร (นครฉงชิ่ง)", "title": "แผนพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน" }, { "docid": "30643#16", "text": "สาธารณรัฐประชาชนจีนมีหน่วยการปกครองย่อยที่ซับซ้อนมาก ทำนองเดียวกับมณฑลเทศาภิบาลซึ่งเคยใช้ในไทย การปกครองแบ่งย่อยออกเป็นมณฑล (อังกฤษ: province; จีน:省; พินอิน:Shěng; คำอ่าน: เสิ่ง) บางมณฑลอาจให้มีอำนาจปกครองตนเอง เรียกว่า เขตปกครองตนเอง (อังกฤษ: autonomous region ;จีน: 自治区; พินอิน:Zìzhìqū; คำอ่าน: จื้อจื้อชวี) นครขนาดใหญ่เช่นเป่ยจิง ฉงชิ่ง ซั่งไห่ และเทียนจิน ก็ถูกจัดให้มีฐานะเท่ามณฑลเช่นกัน เรียกว่า เทศบาลนคร (อังกฤษ: municipality; จีน:直辖市; พินอิน:Zhíxiáshì; คำอ่าน: จื๋อเสียซื่อ)", "title": "เทศมณฑล" }, { "docid": "92399#0", "text": "เทศมณฑลเผิงหู () คือหมู่เกาะชายฝั่งทางด้านตะวันตกของสาธารณรัฐจีน ซึ่งในอดีตปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อจากราชวงศ์ชิง เกาะเล็กครอบคลุมพื้นที่ 141 ตารางกิโลเมตร เทศมณฑลเผิงหูถูกดำเนินการปกครองโดยสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) เมืองหลวง Magong ซิตี้ เนื้อที่ทั้งหมด 141.052 ตารางกิโลเมตร ประชากรทั้งหมด 91,950 (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550) ความหนาแน่นประชากร 724.79 คน/ตารางกิโลเมตร", "title": "เผิงหู" }, { "docid": "610022#4", "text": "ต่อมาในปี 1949 สงครามกลางเมืองส่งผลให้พรรคสังคมนิยม (; Communist Party) ได้เป็นใหญ่ในประเทศจีน พรรคสังคมนิยมเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบสังคมนิยม และเรียกประเทศเสียใหม่ว่า \"สาธารณรัฐประชาชนจีน\" พรรคชาตินิยมจึงหนีไปยังเกาะไต้หวัน และจัดตั้งการปกครองบนพื้นที่ไต้หวันแยกเป็นประเทศต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เรียกว่า \"สาธารณรัฐจีน\" แต่พรรคสังคมนิยมยังคงถือว่า พื้นที่ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับทั้งสาธารณรัฐจีนเองก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนปัจจุบัน", "title": "เขตการปกครองของประเทศไต้หวัน" }, { "docid": "20656#0", "text": "เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (, เรียกสั้น ๆ ว่า มาเก๊า ในภาษาอังกฤษเขียนเป็น Macau และ Macao , อ้าวเหมิน; 馬交 ก็เรียก) เป็นพื้นที่บนชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ปกครองโดยประเทศโปรตุเกสก่อนพ.ศ. 2542 เป็นอาณานิคมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าได้ย้ายไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ. 2542 กลายเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน", "title": "มาเก๊า" } ]
537
การรัดเท้า ถูกยกเลิกไปปีใด ?
[ { "docid": "303432#1", "text": "ในปี 1664 พระเจ้าคังซีทรงพยายามจะห้ามมีการรัดเท้าอีกต่อไป แต่ไม่เป็นผล ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวจีนนักปฏิรูปหลายคนท้าทายจารีตนี้แต่ก็ไร้ผล แม้ซูสีไทเฮามีพระเสาวนีย์ห้ามการรัดเท้าเป็นเด็ดขาด ก็ล้มเหลวเช่นกัน อย่างไรก็ดี กิจกรรมต่อต้านการรัดเท้าที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องสืบ ๆ มาช่วยให้การรัดเท้าสิ้นสูญไปเมื่อต้นศตวรรษที่ 20", "title": "การรัดเท้า" } ]
[ { "docid": "33108#2", "text": "เว็บไซต์ฟ้าเดียวกันถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เคยถูกปิดกั้นให้เข้าถึงไม่ได้เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยเจ้าของระบุว่าเป็นเพราะเอกชนผู้ให้บริการพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตยกเลิกการให้บริการหลังจากผู้ให้บริการรับฝากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพราะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสั่งการ ด้วยเหตุที่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่อมากระทรวงฯ ปฏิเสธว่าไม่ได้มีการปิดกั้นแต่อย่างใด แต่ได้ให้เจ้าหน้าที่หาข้อมูลความเป็นมาและจับตาการให้บริการ เพราะเนื้อหาค่อนข้างรุนแรงและไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น ที่อยู่ระหว่างไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต่อมายุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เว็บไซด์กลับมาใช้ได้อีก จนมาถึงรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ยังคงใช้การได้ แม้จะมีหลายฝ่ายร้องเรียนเนื้อหาที่จาบจ้วงเบื้องสูง และในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีประกาศนโยบายว่าจะปกป้องสถาบัน แต่เว็บไซต์นี้ก็ยังใช้การได้เป็นปกติจนถึงปัจจุบัน และในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 37 พ.ศ. 2552 ฟ้าเดียวกันยังได้ร่วมเปิดบู๊ธนิตยสารและหนังสือด้วย", "title": "ฟ้าเดียวกัน" }, { "docid": "7931#44", "text": "ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าปัญหาทั้งหมดจะถูกแก้ไขเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากการดำเนินการต้องใช้เวลานาน ประกอบกับกำหนดการทดสอบระบบเพื่อเตรียมความพร้อมมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จึงขออภัยผู้โดยสารล่วงหน้าในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น โดยบริษัทฯ วางแผนแก้ไขปัญหาในระยะสั้นคือดำเนินการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณใหม่และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัญญาณรบกวนเพิ่มเติมบริเวณสถานีสยามภายในวันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 และจะดำเนินการแก้ไขระบบและทดสอบระบบที่ส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จเร็วขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก\nในช่วงบ่ายของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ทางเว็บไซต์ของนิตยสาร Positioning Magazine ได้มีการลงบทความทางหน้าเว็บไซต์เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อ \"สถานีพร้อมพงษ์\" เดิม เป็น \"\"เอ็ม ดิสทริค สเตชัน\"\" (Em District Station) ทั้งนี้ภายในเวลาต่อมาภายในวันเดียวกัน ทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาชี้แจงต่อสื่อ ว่าไม่มีนโยบายการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีพร้อมพงษ์ตามที่ได้เป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม การปล่อยข่าวลือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการโฆษณาของห้างสรรพสินค้าเอ็มควอเทียร์ ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่มีกำหนดการเปิดให้บริการในอีกไม่กี่วันหลังจากเหตุการณ์ข่าวลือ", "title": "รถไฟฟ้าบีทีเอส" }, { "docid": "646101#5", "text": "ระบบหมอเท้าเปล่าถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1981 ด้วยการสิ้นสุดของระบบคอมมูนสหกรณ์การเกษตร นโยบายเศรษฐกิจใหม่ในประเทศจีนส่งเสริมการเปลี่ยนจากคติรวมหมู่เป็นการป้องกันปัจเจกโดยหน่วยครอบครัว การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดการโอนระบบการแพทย์เป็นของเอกชน ซึ่งไม่อาจค้ำจุนหมอเท้าเปล่าได้ หมอเท้าเปล่าได้รับทางเลือกให้สอบระดับชาติ หากสอบผ่านจะกลายเป็นหมอหมู่บ้าน และหากไม่ผ่านจะเป็นผู้ช่วยสุขภาพหมู่บ้าน หมอหมู่บ้านเริ่มเก็บค่าบริการจากผู้ป่วย และเนื่องจากแรงจูงในทางเศรษฐกิจใหม่ พวกเขาเริ่มหันความสนใจมายังภาวะเรื้อรังแทนการบริบาลป้องกัน", "title": "หมอเท้าเปล่า" }, { "docid": "303850#4", "text": "การชุมนุมครั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2546 การต่อสู้อันยาวนานดังกล่าวส่งผลให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต้องแก้ไขระเบียบข้อบังคับที่สำคัญ โดยได้ขยายการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็น 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (เดิมจ่ายเพียง 30 เท่า) ในกรณีค่าจ้างค้างจ่าย รวมทั้งในกรณีค่าชดเชยสำหรับคนงานที่มีอายุเกิน 60 ปี (เดิมจ่ายเพียง 30 เท่า ไม่ว่าจะทำงานมากี่ปีก็ตาม) ทำให้อดีตคนงานของบริษัทเบด แอนดฺ บาธ ได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คนละประมาณ 14,800 บาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการอีกคนละ 2,000 บาท", "title": "ดิกนีตี้ รีเทิร์นส์" }, { "docid": "140610#2", "text": "จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ออกแถลงการณ์ที่จะยกเลิกโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 ด้วยเหตุผลหลักคือขาดทุนสะสมปีละกว่า 200 ล้านบาท พ่วงด้วยปัญหาด้านการจราจรที่หนักยิ่งกว่าเดิม อาทิ ระบบไม่สามารถทำเวลาได้เนื่องจากประชาชนลักลอบใช้เส้นทาง และเพิ่มปัญหาการจราจรบนถนนทั้งถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระรามที่ 3 โดยโครงสร้างของสถานีทั้งหมดจะถูกรื้อทิ้ง และทำเป็นรถไฟฟ้าสายสีเทาส่วนใต้ พระโขนง–ช่องนนทรี–ท่าพระ โดยให้รถที่มาจากแยกวิทยุเลี้ยวเข้าถนนสาทร และหักเลี้ยวเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนวิ่งตามเส้นทางเดิมของรถโดยสารบีอาร์ทีต่อไป แต่หลังจากการแถลงกลับเกิดเสียงคัดค้านอย่างหนักเนื่องจากประชาชนยังคงมีความต้องการในการใช้เส้นทาง และบางส่วนมองว่าการยกเลิกโครงการจะทำให้ภาษีที่ถูกนำมาสร้างกลายเป็นเงินก้อนที่เปล่าประโยชน์ไป กรุงเทพมหานครจึงตัดสินใจเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไปก่อน และปรับอัตราค่าโดยสารจากเดิม 5 บาท เป็น 15 บาทตลอดสาย จนกว่าจะได้ความแน่นอนเรื่องการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทา", "title": "รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์" }, { "docid": "206442#12", "text": "ตั้งแต่ 4 มีนาคม 2552 เกมถังแตกได้ถูกยกเลิกเปลี่ยนมาเป็นเกม ลุ้นยิ้มลุ้นโชค แต่กติกายังคงเหมือนกับเกมถังแตกทุกประการ ในเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชคนั้น จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย และจะมีรูปใบหน้าของเหล่าสมาชิกแก๊งสามช่าทั้ง 3 ได้แก่ หม่ำ, เท่ง และ โหน่ง ในอิริยาบถยิ้มและอิริยาบถเศร้าอย่างละ 6 แผ่นป้าย โดยป้ายอิริยาบถยิ้มมีค่าป้ายละ 10,000 บาท และป้ายอิริยาบถเศร้า เป็นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายเป็นรูปสมาชิกแก๊งสามช่าที่เป็นอิริยาบถยิ้ม แล้วแผ่นป้ายต่อไปเป็นรูปสมาชิกแก๊งสามช่าที่เป็นอิริยาบถเศร้า จะถือว่าเกมหยุดทันทีและได้รับเงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายสมาชิกแก๊งสามช่าที่เป็นอิริยาบถเศร้าเป็นแผ่นป้ายแรก ก็จะไม่ได้เงินรางวัลสะสมเลยในเกมนี้ ทั้งนี้ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายสมาชิกแก๊งสามช่าที่เป็นอิริยาบถยิ้มครบทั้ง 6 แผ่นป้ายจะได้รับเงินรางวัลสะสมเป็น 100,000 บาท\nตั้งแต่เริ่มมีเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชคมาเป็นเกมในรอบสะสมเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท แทนเกมถังแตกที่อยู่คู่กับชิงร้อยชิงล้านมานานกว่า 13 ปีนั้น (ตั้งแต่ยุค Super Game) ไม่มีผู้เข้าแข่งขันท่านใดที่สามารถสะสมเงินรางวัลจากเกมนี้ได้เลยเป็นเวลา 1 เดือน 3 สัปดาห์ติดต่อกัน (4 มีนาคม - 14 เมษายน พ.ศ. 2552) โดยสัปดาห์แรกที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถสะสมเงินรางวัลจากรอบนี้ได้ อยู่ในเทปวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552 โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายหน้ายิ้มเป็นรูปโหน่งที่เป็นอิริยาบถยิ้มได้ 1 แผ่นป้าย รับเงินรางวัลสะสม 10,000 บาท จนถึงเทปสุดท้ายของ ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ก็ไม่มีผู้เข้าแข่งขันท่านใดสามารถสะสมเงินรางวัลจากรอบนี้ได้เป็นครั้งที่สอง จนกระทั่งเกมนี้ได้ถูกยกเลิกไปในปีเดียวกัน ในยุค Cha Cha Cha (ครั้งที่ 2)", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก" }, { "docid": "973259#3", "text": "ใน พ.ศ. 2558 รายงานของสื่อต่าง ๆ ส่อให้เห็นว่าโครงการคลองนิการากัวจะล่าช้าและอาจจะถูกยกเลิก หลังจากความมั่งคั่งส่วนตัวของหวังลดลงอย่างมากเนื่องจากความปั่นป่วนในตลาดหุ้นจีน พ.ศ. 2558–2559 \"งานหลัก\" เช่น การขุดลอก มีกำหนดการดำเนินงานหลังจากสร้างท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ด้านมหาสมุทรแปซิฟิกเสร็จ แต่งานก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าวตามแผนต้องเริ่มแล้วตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2559 รัฐบาลนิการากัวไม่สามารถแสดงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่าโครงการมีโอกาสได้รับเงินทุนอุดหนุนหรือไม่ จึงก่อให้เกิดความเคลือบแคลงว่าโครงการจะเสร็จสมบูรณ์หรือไม่ตามไปด้วย เอชเคเอ็นดีระบุว่าการจัดหาเงินทุนจะมาจากการขายหนี้และหุ้น รวมถึงการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกที่อาจเกิดขึ้น", "title": "คลองนิการากัว" }, { "docid": "995785#0", "text": "ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง () เป็นเหตุการณ์เดินขบวนครั้งใหญ่ในรอบสิบปี และเป็นการประท้วงที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี เริ่มขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นการชุมนุมต่อต้านนโยบายขึ้นภาษีน้ำมันที่จะมีผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น รัฐบาลตั้งใจจะใช้มาตรการนี้ลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์และระดมทุนสนับสนุนพลังงานสะอาด จนถึงปัจจุบัน (24 ธันวาคม พ.ศ. 2561) มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 10 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตที่ สทราซบูร์ 4 ราย จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล 1 ราย มีผู้ชุมนุมกว่า 3 แสนราย ผู้ประท้วงบางส่วนเรียกร้องให้ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง ลาออก ผู้ที่ออกมาชุมนุมประท้วงครั้งนี้ได้รับการขนานนามว่า \"กลุ่มเสื้อกั๊กเหลือง\" กลุ่มผู้ประท้วงปิดกั้นถนนสำคัญหลายเส้นทางทั่วประเทศ สกัดการเข้าถึงโรงกลั่นและโกดังเก็บน้ำมัน ทำให้การจราจรติดขัดในหลายเมืองใหญ่ รวมทั้งกรุงปารีส เมืองมาร์แซย์ทางใต้ และเมืองลีลทางเหนือของประเทศ มีการปล้นร้านค้า เผารถยนต์ ทุบกระจก และทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีรายงานการปิดถนนในหลายเมืองทั่วประเทศกว่า 2,000 จุดการประท้วงเกิดขึ้นที่ เมืองบอร์โด (Bordeaux), เมืองตูลูซ (Toulouse), และ เมืองมาร์แซย์ (Marseille)แบลฟอร์ สทราซบูร์ เรอูนียง ลียง นองต์ เบอซ็องซง, น็องซี, แซ็งเตเตียนโดยมีศุนย์กลางการประท้วงที่ ปารีส", "title": "ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง" }, { "docid": "120426#7", "text": "ในวันที่ 15 สิงหาคม รัฐบาลได้ยกเลิกเงินอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาเพิ่มขึ้นจาก 1.40 เหรียญต่อแกลลอนเป็น 2.80 เหรียญต่อแกลลอน ราคาแก๊สธรรมชาติเพิ่มขึ้น 500% ทำให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น มีประชาชนออกมาประท้วง กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกได้ให้คำแนะนำว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นการเปิดโอกาสให้ใช้ตลาดเสรีในการกำหนดราคาเชื้อเพลิง โดยไม่ได้แนะนำให้ยกเลิกเงินอุดหนุนโดยไม่ประกาศ เชื้อเพลิงนี้ขายโดยบริษัทน้ำมันและแก๊สเมียนมาซึ่งเป็นบริษัทของรัฐ", "title": "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์" }, { "docid": "387639#5", "text": "22 เมษายน 2539 มีการชุมนุมของชาวบ้านเรียกร้องให้ยกเลิกโครงการ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ชะลอโครงการไปก่อน และอีกสิบกว่าปีต่อมา ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี มีการผลักดันโครงการดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งก็เผชิญกับเสียงคัดค้านที่ระบุว่าแก่งเสือเต้นเป็นพื้นที่ไม้สักทองผืนสุดท้ายของประเทศ แต่ทางพลตรีสนั่นว่า มีการตัดไม้สักทองไปหมดแล้ว และชี้แจงต่อไปว่า ข้อมูลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลศึกษาการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมในบริเวณดังกล่าว มี 2 ทางเลือก คือ เขื่อนแก่งเสือเต้นและเขื่อนแม่น้ำยม แต่เขื่อนแก่งเสือเต้นเหมาะสมกว่าในแง่วิศวกรรมและเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2545-2551 การศึกษาพบว่า อุทกภัยอันเกิดแก่จังหวัดริมแม่น้ำยมสร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 150,000 ล้านบาท", "title": "เขื่อนแก่งเสือเต้น" } ]
545
เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 มีจำนวนผู้เสียชีวอตทั้งหมดกี่คน?
[ { "docid": "353986#0", "text": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เป็นอุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดขึ้นในคืนวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เมื่อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล สีขาว ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค ขับโดย อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ชื่อเล่นว่า แพรวา อายุ 17 ปี แล่นมาด้วยความเร็ว พุ่งเข้าชนท้ายรถตู้สาธารณะ สีขาว ยี่ห้อโตโยต้า ไฮแอซ บนทางยกระดับอุตราภิมุขเส้นทางระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กับสถานีหมอชิต (สาย ต.118) ซึ่งมีผู้โดยสาร 14 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นเหตุให้รถตู้คันดังกล่าวฟาดกับขอบทางยกระดับอุตราภิมุขอย่างแรง มีผู้โดยสารกระเด็นออกจากรถ เบื้องต้นเสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บอีก 6 คน ต่อมา ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตลงอีก 1 คน รวมจำนวนผู้โดยสารเสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 5 คน ส่วนอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา บาดเจ็บเล็กน้อย", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353986#4", "text": "เวลา 21:41 นาฬิกา พันตำรวจโท ฉัตรชัย เอี่ยมอ่อง สารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลวิภาวดีรังสิต รับรายงานเหตุ จึงนำกำลังไปตรวจสอบ และสั่งปิดการจราจรบนทางยกระดับอุตราภิมุข ตลอดจนบริเวณทางคู่ขนานขาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ตั้งแต่หน้าบริษัทยาคูลท์ ไปจนถึงสี่แยกบางเขน บนทางยกระดับอุตราภิมุข เขาพบรถรรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา จอดอยู่กลางถนน หน้ารถพังยับเยิน และล้อหลุด ส่วนอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา พิงขอบทางยกระดับอุตราภิมุข ใช้แบล็กเบอร์รีอยู่ข้าง ๆ และพบรถตู้ที่ประสบเหตุ กำลังพลิกคว่ำ สภาพท้ายรถพังยับเยิน นอกจากนี้ เขายังพบศพกระจายเกลื่อนอยู่บนทางคู่ขนาน ตั้งแต่หน้าหน้าสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มาถึงประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับได้ทั้งหมด 8 ศพ ส่วนผู้บาดเจ็บมี 7 คน รวมอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ด้วยแล้ว เจ้าหน้าที่และพลเมืองดีได้ช่วยกันนำส่งโรงพยาบาลวิภาวดีที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมา จันจิรา ซิมกระโทก ผู้บาดเจ็บ ตายลงอีก 1 จำนวนผู้ประสบเหตุจึงเปลี่ยนแปลงเป็น เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บ 6 คน", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" } ]
[ { "docid": "353986#17", "text": "เวลา 19:00 นาฬิกาของวันเดียวกัน ชาวเฟซบุ๊กจากโครงการ \"มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจ แพรวา (อรชร) เทพหัสดิน ณ อยุธยา\" ข้างต้น ราวห้าสิบคน นัดรวมตัวกันและเดินเท้าจากหน้าโรงพยาบาลวิภาวดี ไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ใต้ทางยกระดับอุตราภิมุขจุดเกิดเหตุ แล้วจุดเทียนไว้อาลัยแก่ผู้ตาย ทั้งกล่าวด้วยว่าจะจัดกิจกรรมเช่นนี้ต่อไปจนกว่าอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยาจะได้รับการลงโทษตามกฎหมาย มีรายงานข่าวว่า ประชาชนที่ผ่านไปมาหยุดดูด้วยความสนใจ", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353986#2", "text": "วันที่ 27 ธันวาคม 2553 ราว 21:00 นาฬิกา รถตู้สาธารณะคันข้างต้นได้รับผู้โดยสาร 14 คนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่เลิกเรียนและเลิกงานจะกลับบ้านก่อนวันหยุดยาวช่วงขึ้นปีใหม่ ปลายทางของรถตู้คือสถานีหมอชิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353986#3", "text": "ครั้นมาถึงทางยกระดับอุตราภิมุข ซึ่งอยู่สูง 20 เมตรเหนือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดต่อกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และบริษัทยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้วิ่งมาด้วยความเร็ว พุ่งเข้าชนท้ายรถตู้ รถตู้จึงเสียหลัก พลิกคว่ำไปชนขอบกั้นคอนกรีตของทางยกระดับอุตราภิมุข และฟาดกับเสาไฟฟ้า ก่อนคว่ำลงกับพื้นในลักษณะตะแคง กระจกแตก และประตูเปิดออก แรงเหวี่ยงส่งผลให้ผู้โดยสารบางส่วนกระเด็นจากรถ กระแทกพื้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 บางส่วนปลิวตกลงคลองของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี 1 คนกระเด็นไปกระแทกสะพานลอยใต้ทางยกระดับอุตราภิมุขเสียชีวิตและศพเกี่ยวห้อยอยู่ ณ ที่นั้น ขณะที่อีกส่วนคาอยู่ในรถตู้", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353986#32", "text": "วันที่ 29 ธันวาคม 2553 ปิยะพันธ์ จัมปาสุต ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ว่า \"...ได้ตรวจสอบแล้วว่ารถตู้คันดังกล่าวเป็นรถตู้ของบริษัท สยามออโต้เซอร์วิส จัดทำประกันภัยไว้กับบริษัทนำสินประกันภัย ประเภท 1 ระยะเวลาประกันภัยตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553 โดยผู้เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัยรายละสองแสนบาท และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลก่อนไม่เกินหนึ่งแสนบาท...\" วันถัดมา จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย แถลงว่า เงินดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้น และบริษัทประกันภัยได้เริ่มจ่ายให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บแล้ว", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353986#13", "text": "อุบัติเหตุครั้งนี้ กลายเป็นประเด็นสนทนาเป็นอันมากในสังคมออนไลน์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่พยายามค้นหาประวัติของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา และส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นเชิงลบ รุมประณามการที่อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขับรถโดยประมาทและในวัยสิบเจ็ดปีเท่านั้น ตลอดจนกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ดำเนินคดี ต่างก็คาดเดากันว่า เนื่องจากอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นลูกหลานราชสกุลเทพหัสดิน ณ อยุธยา จึงหลุดพ้นคดีได้ มีผู้ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ และตั้งหัวข้อสนทนา เป็นหลายประการ อาทิ ในพันทิปดอตคอม มีหัวข้อว่า \"ขอประณามการกระทำคุณแพรวา และครอบครัว\", \"ตกลงใครเป็นคนขับชนกันแน่...รถตู้โดนซีวิคชนท้าย คนตกทางด่วน ตายเกลื่อน\" และ \"มาดูหลังภาพรถเก๋งและคนขับหลังจากเกิดเหตุการณ์\" เป็นต้น อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาก คือ กรณีที่สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่าคนขับรถตู้ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญานั้น มีผู้แสดงความคิดว่า \"นายสมบัติ วงศ์กำแหง มึงดูภาพจากล้องหรือยัง ถ้ามึงขับมาดี ๆ ไม่เร็ว ขับปรกติ แล้วรถมาชนตูดมึง รถมึงหมุน ลูกมึงกระเด็นมาตายนอกรถ มึงว่ามึงผิดไหม แล้วมึงต้องจ่ายค่าเสียหายรถที่ขับมาชนตูดมึงไหม...\" เป็นอาทิ", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353986#29", "text": "กระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ลัดดาวัลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา มารดาของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา แถลงว่า ที่ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบตั้งแต่แรกเริ่มนั้น เพราะต้องการให้กระแสของอารมณ์ในสังคมคลี่คลายลงเสียก่อน และยืนยันว่าจะไม่หนีไปไหน เธอยังกล่าวด้วยว่า \"...ลูกสาวยอมรับว่าขับรถเร็ว เพราะจะรีบเอารถไปคืนเพื่อน รถไม่ใช่ของเรา ดิฉันไม่เคยอนุญาตให้ลูกขับรถไปข้างนอกแบบนั้น...ลูกสาวผิดแน่ที่อายุสิบเจ็ดไม่มีบัตร [ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์] แพรวารีบกดบีบี [แบล็กเบอร์รี] บอกเพื่อนว่ารถชน และถามเรื่องประกันของรถคันนี้ ไม่ใช่มัวเล่นบีบีตามที่บางท่านเข้าใจ...ถ้าน้องผิดจริง เราก็ยินดีให้น้องเข้ากระบวนการทุกอย่าง\"", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353986#9", "text": "โอกาสเดียวกัน พลตำรวจตรี ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ด้านการจราจร ว่า เขาได้ดูภาพจากกล้องวงจรปิดแล้วเช่นกัน พบว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขับมาชนรถตู้อย่างกระชั้น โดยเขาใช้คำว่า \"สะกิดรถตู้ให้เสียหลัก\" ขณะที่สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความ ว่า \"...คนขับรถตู้มีความผิดชัดเจนอยู่แล้ว แต่คนขับเสียชีวิตด้านอาญาไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ทางแพ่งยังคงต้องรับผิดชอบ โดยผู้เสียหายหรือญาติสามารถฟ้องร้องจากเจ้าของรถตู้ หรือถ้าผู้ตายเป็นเจ้าของก็สามารถฟ้องร้องนำทรัพย์สินมาชดใช้เป็นค่าเสียหาย ได้ ส่วนรถเก๋งก็ต้องรับผิดชอบด้วยเหมือนกัน แต่จะต้องรับผิดชอบทั้งอาญาและแพ่ง...\" เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอันมากในสังคม ออนไลน์", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" }, { "docid": "353986#16", "text": "อย่างไรก็ดี มีสมาชิกอีกกลุ่มในสังคมออนไลน์เชิญชวนให้เพื่อนสมาชิกหมั่นใช้วิจารณญาณ และระงับสติอารมณ์ บางคนแสดงความคิดเห็นว่า \"เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยจำนวนหนึ่ง จะมากน้อยไม่รู้ มีความเก็บกดทางความคิดและอารมณ์ โดยเฉพาะในประเด็นความไม่ทัดเทียมกันในสังคมที่มีให้เห็นอย่างดาษดื่น\" และ \"...คนส่วนใหญ่มีการศึกษาและเข้าถึงข่าวสาร แต่กลับใช้อารมณ์ตัดสินและแต่งเติม\" เป็นต้น", "title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553" } ]
552
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รับราชการเมื่อไหร่?
[ { "docid": "17368#5", "text": "ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#7", "text": "ในปี พ.ศ. 2489 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" } ]
[ { "docid": "17368#20", "text": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน โดยได้รับพระทานโกศไม้สิบสองบรรจุศพ ตั้งศพไว้ที่ศาลาบัณรสภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาเสด็จไปสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2539 หลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ โดยความร่วมมือกันของคณะผู้บริหาร คณาจารย์ สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประดิษฐานที่บริเวณข้างสำนักงานอธิการบดี ลานหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยกราบบังคมทูลพระกรุณา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์และได้ถือเอาวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยจัดให้มีการตักบาตร และจุดธูปเทียน วางพวงมาลัยสักการะรำลึกที่บริเวณลานอนุสาวรีย์เป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งห้องเกียรติยศหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่บริเวณชั้น ๔ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยภายในจัดแสดงหนังสือที่ท่านแต่งขึ้น โต๊ะทำงาน ของสะสม เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และครุยวิทยฐานะตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "54994#3", "text": "หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น \"หลวงไพศาลศิลปศาสตร์\" จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น \"พระมนตรีพจนกิจ\" ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้อภิบาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442", "title": "เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)" }, { "docid": "17368#0", "text": "ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538) บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวิชาการศึกษาและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "64756#8", "text": "นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (บุตรของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ซึ่งเมื่อครั้งท่านยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้เคยเป็นผู้ตรวจการศึกษาและคอยควบคุมดูแลโรงเรียนราชวิทยาลัย และเป็นผู้กราบบังคมทูลรายงานพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น ได้ตระหนักถึงปณิธานอันแรงกล้าของชาวราชวิทย์ที่จักจัดตั้งโรงเรียนที่ตนเองรักและเทิดทูนกลับมาให้ได้ ม.ล.ปิ่น ท่านเลือกที่จะให้สมาคมราชวิทยาลัยเข้ามาใช้พื้นแผ่นดินแห่งนี้เพื่อเป็นโรงเรียนราชวิทยาลัย\nในที่สุดความปรารถนาอันแรงกล้าของบรรดาครู และนักเรียนเก่าราชวิทยาลัย ก็บรรลุจุดหมายปลายทาง โดยได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงศึกษาธิการ (ม.ล.ปิ่น มาลากุล) และประธานกรรมการ ราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษาพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ร่วมกันวางโครงการจัดตั้ง และดำเนินกิจการ โรงเรียนราชวิทยาลัย", "title": "โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์" }, { "docid": "17368#19", "text": "ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม:ไกรฤกษ์) ธิดาเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) และท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร (สกุลเดิม:บางยี่ขัน) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "17368#18", "text": "ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา\nสร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา\nขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มีฯ \"\nมีเงินหยิบโยนให้ก็เสร็จสรรพ์\nแต่งามจิตใจกว้างนั้นต่างกัน\nการอบรมเท่านั้นเป็นปัจจัยฯ \"\nหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้วางระเบียบและข้อปฏิบัติงานไว้อย่างเหมาะสม นับเป็นประโยชน์แก่การศึกษา เป็นอย่างดียิ่ง เช่นหม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแก่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ดังนี้", "title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" }, { "docid": "183093#4", "text": "ในราชการพิเศษที่ได้กล่าวมานี้ ที่สำคัญที่สุดคือ ในปี พ.ศ. 2493 ได้เป็นผู้อำนวยการ งานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ,พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและงานพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าเบญจคัพย รัชกาลที่ 1 สำหรับทรงรับน้ำอภิเษก ( น้ำที่ได้พลีกรรมประกอบการพิธีแล้ว ) ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นด้วย", "title": "หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล" }, { "docid": "12146#6", "text": "ภายหลังได้มีผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาท่านหนึ่งจึงได้พยายามแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อก่อตั้งกิจการวิชาครู ให้เป็นหลักฐานมั่นคงสืบไป คือ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งมีความกังวลต่อสภาพการณ์ดังกล่าว จนสามารถมาได้พื้นที่บริเวณถนนประสานมิตร ริมคลองแสนแสบ ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวนั้นเคยใช้เป็นฟาร์มเลี้ยงโค เพราะในระหว่างสงครามไม่มีนมเนยเข้ามาจากต่างประเทศ ท่านจึงได้ทำหนังสือราชการขอซื้อที่จากกระทรวงเกษตรทันที ในราคาวาละ 38 บาท รวมทั้งขอซื้อจากเจ้าของรายอื่นใกล้เคียงเพิ่มเติม", "title": "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" } ]
557
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายเมื่อใด?
[ { "docid": "248367#3", "text": "เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายลงหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐเยอรมันออสเตรียที่เหลืออยู่ก็อ้างตัวเป็นเจ้าของดินแดนซิสไลท์ทาเนีย (Cisleithania) ทั้งหมด ตามสนธิสัญญาแซงต์แชร์แมงอองเลย์ ออสเตรีย-ฮังการีก็ถูกแบ่งตามแนวเชื้อชาติอย่างกว้างๆ สไตเรียเกือบทั้งหมด (สไตเรียเหนือ ยังคงมีดยุกปกครองโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่กราซ) กลายไปเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐออสเตรียที่หนึ่ง (First Austrian Republic) และหนึ่งในสามทางตอนใต้ (สติเรียใต้ที่มีมาริบอร์เป็นเมืองหลวง) ตกไปเป็นของรัฐสโลวีน, โครแอท และเซิร์บ ที่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสโลวีเนียปัจจุบัน", "title": "ดัชชีสติเรีย" }, { "docid": "108841#0", "text": "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี () เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1", "title": "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี" } ]
[ { "docid": "634489#3", "text": "จักรวรรดิออตโตมัน ออสเตรีย-ฮังการี และเยอรมันได้ล่มสลายลง อาณานิคมของจักรวรรดิเยอรมันและออตโตมันได้รับการจัดสรรใหม่ท่ามกลางฝ่ายสัมพันธมิตร ด้านตะวันตกไกลที่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียได้แตกแยกออกจากกัน: เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ได้กลายเป็นประเทศรัฐเอกราช ในขณะที่เบสซาราเบีย(สาธารณรัฐมอลโดวา)ได้เลือกที่จะรวมเข้ากับโรมาเนีย", "title": "สมัยระหว่างสงคราม" }, { "docid": "170674#9", "text": "ในช่วงของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรีย-ฮังการี ค.ศ. 1867 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนชาวฮังการีก่อการปฏิวัติเพื่อเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิออสเตรีย จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ต้องทรงไปไกล่เกลี่ยการจลาจลด้วยพระองค์เอง โดยทรงเจรจากับผู้นำปฏิวัติของฮังการี ในที่สุด ฮังการียอมจำนน และสลายการจลาจล จากนั้น จักรพรรดิจึงทรงรวมดินแดนออสเตรีย และฮังการีไว้ด้วยกัน ในชื่อจักรวรรดิใหม่ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเจริญรุ่งเรืองจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1…", "title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค" }, { "docid": "108841#38", "text": "การนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดินี้ จักรพรรดิคาร์ล (ใช้พระนามคาร์ลที่ 4 ในฮังการี) ได้ถูกรัฐบาลของออสเตรียและฮังการีขับออกจากราชสมบัติ โดยพระองค์ไม่ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่11 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ในความที่พระองค์ไม่ทรงสละราชสมบัตินั้น ก็ยังมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ยังคงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์และพระราชวงศ์อิมพีเรียลอยู่ ทำให้เกิดกระแสการฟื้นฟูสถาปนาระบอบพระมหากษัตริย์ในฮังการี เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2463 โดยพระองค์ยังคงราชสมบัติอยู่ แต่จะมีผู้สำเร็จราชการแทนคือ มิกโลช โฮร์ตี ดูแลปกครองประเทศแทนพระองค์ ส่วนตัวพระองค์พร้อมด้วยพระราชวงศ์อพยพไปที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเกาะมาไดร่า ประเทศโปรตุเกสและประทับอยู่ที่นั่น จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตด้วยโรคปอดบวม", "title": "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี" }, { "docid": "108841#30", "text": "การบริหารทางการทหารไม่ได้รับการบริหารที่ดีตั้งแต่การประชุมที่เบอร์ลิน (พ.ศ. 2421) ขณะที่เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียได้ประกาศอำนาจในการประชุม โดยหลังจากการประชุมจักรวรรดิได้เสียดินแดนอิตาลีให้กับปิเอดมอนต์ รวมทั้งเสียเปรียบทางความเคลื่อนไหวทางชาตินิยม ซึ่งถูกอิตาลีจับตาดูอยู่ นอกจากนี้ออสเตรีย-ฮังการีได้สูญเสียพื้นที่ทางตอนใต้ซึ่งมีประชากรชาวสลาฟอาศัยอยู่ให้กับเซอร์เบีย ซึ่งเซอร์เบียเพิ่งจะได้รับสิทธิ์และผลประโยชน์เพิ่มเรื่องพื้นที่ หลังจากสงครามบอลข่านครั้งที่สอง เมื่อปีพ.ศ. 2455 จึงส่งผลต่อความยากลำบากภายในรัฐบาลของออสเตรียและฮังการี โดยมีสมาชิกรัฐสภาบางคน เช่น คอนราด วอน เฮิตเซนดอร์ฟ ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับการฟื้นคืนอำนาจของการเมืองเซอร์เบียเป็นเวลาหลายปี โดยผู้นำออสเตรีย-ฮังการี เค้านท์ลีโอโพลด์ วอน เบิร์ชโทลด์ สามารถเอาคืนเซอร์เบียได้โดยมีสัมพันธมิตรอย่างเยอรมนีเข้าช่วยเหลือ โดยตัดสินใจเผชิญหน้ากับกองทัพเซอร์เบีย ก่อนที่จะกระตุ้นก่อให้เกิดการต่อต้านภายในจักรวรรดิ โดยใช้กรณีการลอบปลงพระชนม์เป็นข้ออ้างในการก่อสงครามกับเซอร์เบีย", "title": "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี" }, { "docid": "108841#1", "text": "จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม", "title": "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี" }, { "docid": "108841#5", "text": "หลังจากเกิดเหตุการณ์การเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการีเมื่อปี พ.ศ. 2410 ซึ่งดำเนินการการรวมชาติการเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการสานต่อโครงสร้างของการปกครองที่คงตัวตั้งแต่เมื่อยังคงเป็นจักรวรรดิออสเตรีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2347ถึงพ.ศ. 2410 เพื่อปกป้องและขยายอำนาจของจักรวรรดิ ซึ่งรวมไปถึงคาบสมุทรอิตาลี (ซึ่งนำไปสู่สงครามออสเตรีย-ซาร์ดีเนียเมื่อปีพ.ศ. 2402 ท่ามกลางรัฐต่างๆของสมาพันธรัฐเยอรมัน ซึ่งถูกแทนที่โดยปรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจสูงสุดในกลุ่มประเทศเยอรมันทั้งมวล อันนำไปสู่สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2409 ทำให้ประเทศหลายประเทศต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมทั้งประเทศฮังการี ซึ่งมีการชุมนุมประท้วงที่ไม่พอใจที่ได้อย่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย รวมทั้งการรวมเชื้อชาติต่างๆของจักรวรรดิออสเตรีย ฮังการีไม่พอใจต่อการปราบปรามจลาจลของออสเตรีย ซึ่งมีจักรวรรดิรัสเซียสนับสนุนอีกแรง ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติเสรีนิยมในประเทศฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2391 อย่างไรก็ตาม ความไม่พอใจของฮังการีต่อการปกครองของทางออสเตรียได้เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปี", "title": "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี" }, { "docid": "110167#70", "text": "วันที่ 24 กันยายน อิตาลีเริ่มการผลักดันซึ่งทำให้ได้รับดินแดนที่สูญเสียไปคืนหลังยุทธการคาปอเร็ตโต จนลงเอยในยุทธการวิตโตริโอ เวเนโต อันเป็นจุดจบที่กองทัพออสเตรีย-ฮังการีไม่อาจเป็นกำลังรบที่มีประสิทธิภาพได้อีกต่อไป การรุกนี้ยังกระตุ้นการสลายตัวของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ระหว่างสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม มีการประกาศเอกราชขึ้นในกรุงบูดาเปสต์, ปราก และซาเกร็บ วันที่ 29 ตุลาคม ทางการออสเตรีย-ฮังการีขอสงบศึกกับอิตาลี แต่อิตาลีรุกคืบต่อไป โดยไปถึงเทรนโต, ยูดีนและตรีเอสเต วันที่ 3 พฤศจิกายน ออสเตรีย-ฮังการีส่งธงพักรบขอการสงบศึก เงื่อนไข ซึ่งจัดการโดยโทรเลขกับทางการฝ่ายสัมพันธมิตรในกรุงปารีส มีการสื่อสารไปยังผู้บัญชาการออสเตรียและยอมรับ การสงบศึกกับออสเตรียมีการลงนามในวิลลา กิอุสติ ใกล้กับพาดัว เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ออสเตรียและฮังการีลงนามการสงบศึกแยกกันหลังการล้มล้างราชวงศ์ฮับส์บูร์ก", "title": "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง" }, { "docid": "170674#12", "text": "จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีบุคคลบางกลุ่มได้จัดให้มีการชุมนุมเรียกร้องการฟื้นฟูสถาปนา พระราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการีขึ้น ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ต่อมาเวลา 18 นาฬิกาที่กรุงเวียนนา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสถาปนาพระราชวงศ์ให้กลับมาครองบัลลังก์ และยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในออสเตรีย และฮังการีอีกด้วย การชุมนุมนี้มีขึ้น ณ ใจกลางกรุงเวียนนา โดยมีหัวข้อชุมนุมเรียกร้องเป็นภาษาเยอรมันว่า 89 Jahre Republik Sind Genug! แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า \"89 Years are enough for the Republic\" (แปล: \"\"89 ปี...มากพอแล้วสำหรับการเป็นสาธารณรัฐ\"\") การชุมนุมของบุคคลบางกลุ่มในทั้ง 2 ประเทศนี้ ทำให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนในรัฐสภาทั้งในออสเตรียและฮังการี และประธานาธิบดีของทั้ง 2 ประเทศต่างได้หารือกันอีกด้วย อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏว่าการชุมนุมดังกล่าวส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นรูปธรรมใดๆ ทั้งสิ้น หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 3 ปีเศษภายหลังการชุมนุมดังกล่าว ทั้งสาธารณรัฐออสเตรียและฮังการีต่างยังคงยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสาธารณรัฐไว้ได้อย่างมั่นคง และไม่มีทีท่าว่าประเทศทั้งสองซึ่งต่างก็เป็นรัฐอธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้ว จะหวนกลับมารวมกันเป็นประเทศเดียวกันอีกได้แต่ประการใด แม้จนกระทั่งเมื่อออทโท ฟอน ฮับสบวร์ค สิ้นพระชนม์ไปแล้วในปี พ.ศ. 2554 ก็ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทั้งออสเตรียและฮังการีจะสามารถหวนกลับไปสู่การปกครองระบอบราชาธิปไตยได้อีกเลย", "title": "ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค" }, { "docid": "192295#37", "text": "ด้วยการสนับสนุนการทวงคืนพื้นที่จากออสเตรีย-ฮังการีอย่างเหนียวแน่นจากกลุ่มชาตินิยม อิตาลีจึงเริ่มเจรจากับกลุ่มไตรภาคีจนการเจรจาสำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1915 เมื่อสนธิสัญญาลอนดอน ได้ถูกลงนามกับรัฐบาลอิตาลี สนธิสัญญานี้รับรองสิทธิ์ของอิตาลีในการเรียกคืนดินแดนที่มีชาวอิตาลีอาศัยอยู่จากออสเตรีย-ฮังการีตามความต้องการ แม้แต่ดินแดนบนคาบสมุทรบอลข่านหรือดินแดนอาณานิคมของเยอรมันในแอฟริกา ข้อเสนอนี้ได้เติมเต็มความปรารถนาของนักชาตินิยมและนักจักรวรรดินิยมในอิตาลี รัฐบาลอิตาลีจึงได้เข้าร่วมกลุ่มไตรภาคีและสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีอย่างเต็มตัว", "title": "ราชอาณาจักรอิตาลี" }, { "docid": "108841#17", "text": "สภาพเศรษฐกิจในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้มีการเปลี่ยนแปลงตามการปกครอง ด้วยการที่มีระบอบการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ควบคู่ (Dual Monarchy) ทางด้านเทคโนโลยีนั้นได้ขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงสภาพของเมืองต่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทางด้านการผลิตนั้นได้เติบโต และสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ในช่วงเวลา 50 ปีของการริเริ่มยุคกลางของการผลิตอุตสาหกรรม โดยในช่วงแรกนั้น ระบบเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตเฉพาะในกรุงเวียนนา พื้นที่เขตอัลไพน์ และโบฮีเมีย แต่ต่อมา เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 19 ระบบเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตในเขตพื้นที่ฮังการีตอนกลางและเขตพื้นที่คาร์พาเธียน ดังนั้น ระบเศรษฐกิจได้พัฒนาขึ้นในเขตจักรวรรดิในระยะเริ่มต้น โดยระบบเศรษฐกิจในจักรวรรดิฝั่งตะวันตกจะพัฒนาได้ดีและมากกว่าระบบเศรษฐกิจในฝั่งตะวันออก เมื่อแรกเริ่มศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิหลายจักรวรรดิส่วนใหญ่ได้ริเริ่มพัฒนาระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยีต้อนรับศตวรรษใหม่ มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ (GNP) เจริญเติบโตร้อยละ 1.45% ต่อปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2413ถึงพ.ศ. 2456 ซึ่งการเจริญเติบโตของรายรับและผลผลิตของจักรวรรดินี้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจชาติอื่นๆได้ เช่น อังกฤษ (1.00%), ฝรั่งเศส (1.06%), และเยอรมนี (1.51%) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจของจักรวรรดิยังมีความล้าหลังกว่าชาติอื่นๆอยู่บ้าง เช่น อังกฤษมีรายรับและผลผลิตของประเทศเกือบ 3 เท่า ซึ่งมากกว่าจักรวรรดิถึงแม้ว่ามาตรวัดจะน้อยกว่า ในขณะเดียวกันที่เยอรมนี ได้มีรายรับและผลผลิตของประเทศ 2 เท่าซึ่งมากกว่าออสเตรีย-ฮังการีด้วยซ้ำ ทั้งในด้านGNPและมาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ ถึงแม้ว่าทุกประเทศนั้นจะมียอดพัฒนาระบบเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน", "title": "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี" } ]
558
อุรัสยา เสปอร์บันด์ ชื่อเล่น ญาญ่า เข้าวงการครั้งแรกด้วยผลงานใด ?
[ { "docid": "337778#0", "text": "อุรัสยา เสปอร์บันด์ (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2536) ชื่อเล่น ญาญ่า เป็นนักแสดงและนางแบบลูกครึ่งไทย-นอร์เวย์ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงในปี พ.ศ. 2550 โดยได้รับการติดต่อจากโมเดลลิ่งที่สวนจตุจักร หลังจากนั้นก็ได้เข้าร่วมโครงการค้นหานางแบบหน้าใหม่ในปี พ.ศ. 2551 โดยคำชักชวนของ สมบัษร ถิระสาโรช และมีผลงานเรื่อยมา งานถ่ายแบบและถ่ายมิวสิกวิดีโอของเธอเป็นที่สนใจของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จนเธอได้เซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัด และได้แสดงละครเป็นครั้งแรกในละครซิตคอมเรื่อง \"เพื่อนซี้ล่องหน\" ต่อมาได้รับคำวิจารณ์ที่ดีและส่งผลให้เธอเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในละครโรแมนติกดราม่าเรื่อง \"กุหลาบไร้หนาม\"", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#3", "text": "เมื่ออายุ 12 ปี อุรัสยาได้เจอกับโมเดลลิ่งที่สวนจตุจักร ซึ่งเธอได้รับเลือกให้แสดงโฆษณาระงับกลิ่นกายของจีนี่ ยังแคร์ โคโลญ หลังจากนั้นอุรัสยาก็มีงานเข้ามาเรื่อย ๆ แต่ด้วยความที่บ้านเกิดอยู่ไกลถึงพัทยาจึงลำบากต่อการไปแคสงานในกรุงเทพ จึงหายไปจากวงการระยะหนึ่ง", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" } ]
[ { "docid": "736614#0", "text": "อุรัสยา เสปอร์บันด์ เป็นนักแสดงและนางแบบชาวไทย ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ 2 เรื่อง ละครโทรทัศน์ 19 เรื่อง ร้องเพลงประกอบละครและอื่น ๆ 15 เพลง ปรากฏอยู่ในมิวสิกวิดีโอ 14 เพลง โดยมีผลงานละครโทรทัศน์เรื่องแรกในปี พ.ศ. 2551 คือ \"บ้านก้านมะยม\" แต่ละครเรื่องนี้ไม่ได้ออกอากาศ ในปีเดียวกัน เธอแสดงละครซิตคอมแนวตลกเรื่อง \"เพื่อนซี้ล่องหน\" กำกับโดย ศรัทธา ศรัทธาทิพย์ ในปี พ.ศ. 2553 เธอแสดงละครที่ประสบความสำเร็จถึงสองเรื่องคือ \"กุหลาบไร้หนาม\" และ \"ดวงใจอัคนี\" ในละครเรื่อง \"กุหลาบไร้หนาม\" ได้แสดงร่วมกับเฌอมาลย์ บุญยศักดิ์และอัชชา นามปาน กำกับโดยอดุลย์ บุญบุตร ละครเรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 ในสาขาละครยอดเยี่ยมอีกด้วย ในละครเรื่อง \"ดวงใจอัคนี\" อุรัสยาแสดงร่วมกับณเดชน์ คูกิมิยะโดยเป็นเรื่องราวความรักต้องห้ามระหว่างสองตระกูลที่ไม่ถูกกัน ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จและเป็นบทที่แจ้งเกิดให้กับเธอ สำหรับการแสดงละครเรื่องนี้ อุรัสยาได้รับรางวัลสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2011 และ ท็อปอวอร์ด 2010 ในสาขาดาวรุ่งหญิงยอดเยี่ยม อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 2 ในสาขาทีมนักแสดงยอดเยี่ยม จากการแสดงในละครซีรีส์ชุด \"4 หัวใจแห่งขุนเขา\"", "title": "รายชื่อผลงานของอุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2551 อุรัสยาก็หวนกลับเข้าวงการอีกครั้งหนึ่งในอาชีพนางแบบด้วยการเข้าร่วมในโครงการเซนโมเดลเสิร์ช (Zen Model Search) หลังจากสมบัษร ถิระสาโรชไปพบที่เซ็นทรัลเวิลด์และชักชวนไปเดินแบบ อุรัสยาได้เดินแบบเป็นครั้งแรกในงานเซนแฟชั่นวีค และถ่ายนิตยสารอีกหลายฉบับ รวมถึงมีผลงานถ่ายมิวสิกวิดีโอ เช่น \"เพียบเลย\" ของมิสเตอร์ดี, \"ต่อให้โลกหยุดหมุน\" ของซีควินท์ เป็นต้น ครอบครัวให้การสนับสนุนอาชีพของเธอจึงย้ายไปอยู่ในกรุงเทพ ถึงแม้อุรัสยาจะตัดสินใจเข้าสู่วงการนางแบบ แต่เธอบอกว่าเป็นงานที่ไม่ค่อยถนัดนักเพราะกังวลเรื่องความสูงและรูปร่างของตนเอง เธอยังพูดว่า \"เธอชอบงานถ่ายแบบมากกว่า\" และการทำงานในวงการทำให้เธอเปลี่ยนไปและต้องปรับตัว", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "736614#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2556 อุรัสยาแสดงในละครซีรีส์ชุด \"3 ทหารเสือสาว\" เรื่อง \"มายาตวัน\" แสดงร่วมกับอธิชาติ ชุมนานนท์ หลังจากนั้นเธอแสดงในละครตลกเรื่อง \"ดาวเรือง\" แสดงคู่กับ ทฤษฎี สหวงษ์ กำกับโดย กฤษณ์ ศุกระมงคล ปีถัดมา เธอรับบทเป็นศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่น ในละครฟอร์มยักษ์ \"ไรซิงซัน\" เรื่อง \"รอยฝันตะวันเดือด\" ละครชุดนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งดีและไม่ดี ในปี พ.ศ. 2558 เธอแสดงร่วมกับจิรายุ ตั้งศรีสุข ในละครย้อนยุคเรื่อง \"หนึ่งในทรวง\" ต่อมาเธอรับบทเป็นนักแสดงที่มีปมชีวิตในละครดราม่าปี พ.ศ. 2560 เรื่อง \"คลื่นชีวิต\" ในปี พ.ศ. 2561 อุรัสยาแสดงภาพยนตร์ครั้งแรกในเรื่อง \"น้อง.พี่.ที่รัก\" เข้าฉายในเดือนพฤษภาคม รวมทั้งมีผลงานละครเรื่อง \"ลิขิตรัก\" ออกอากาศทางช่อง 3 ในเดือนเดียวกัน", "title": "รายชื่อผลงานของอุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#1", "text": "อุรัสยาเริ่มมีชื่อเสียงปลายปี พ.ศ. 2553 หลังจากได้แสดงละครเรื่อง \"ดวงใจอัคนี\" ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลท็อปอวอร์ด 2010 และ สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2011 สาขาดาวรุ่งหญิงยอดเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2554 เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากการแสดงในละครเรื่องที่สี่ของเธอ คือ เรื่อง \"ตะวันเดือด\" ในปีเดียวกันนั้น อุรัสยามีผลงานสร้างชื่อจากบทบาทหญิงสาวความจำเสื่อม ในละครเรื่อง \"เกมร้ายเกมรัก\" ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำสาขานักแสดงนำหญิงดีเด่น, สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2012 สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และรางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 สาขาผู้แสดงนำหญิงดีเด่น", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#16", "text": "อุรัสยาแสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง \"น้อง.พี่.ที่รัก\" ออกฉายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นภาพยนตร์ครอบครัวที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของพี่น้องที่ไม่ถูกกัน ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทางรายได้ ทำรายได้ไป 146.14 ล้านบาท กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในประเทศไทยในอันดับที่ 13 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับความนิยมและเธอได้รับคำวิจารณ์ในทางบวก หนังสือพิมพ์\"โพสต์ทูเดย์\" เขียนไว้ว่า \"บทอารมณ์ที่ส่งออกมาไม่ติดขัดอะไรเลย\" และเว็บไซต์เมลโลชมการแสดงของเธอว่า \"ทำได้ดี ไม่ผิดหวัง\" การแสดงจากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์และมายาอวอร์ดส์ในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2554 อุรัสยาแสดงในละครแอกชัน-โรแมนติกเรื่อง \"ตะวันเดือด\" ของผู้จัด ฉัตรชัย เปล่งพานิช กำกับโดย อรรถพร ธีมากร ในละครอุรัสยารับบทเป็นลูกสาวเจ้าของไร่ที่ต้องแบกรับภาระของพ่อเอาไว้ ในการปกป้องสายแร่พลอยจากกลุ่มโจร ละครเรื่องนี้ได้รับความนิยม ส่วนเหตุผลที่ฉัตรชัยเลือกอุรัสยามาแสดงละครเรื่องนี้เพราะฝีมือและความเหมาะสมในบท หลังจากคัดเลือกนักแสดงมาแล้วหลายคน ละครเรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช ถึง 7 สาขา และได้เข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำถึง 4 สาขา และอีก 5 สาขาจากคมชัดลึก อวอร์ด อุรัสยาถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม แต่พ่ายให้กับอารยา เอ ฮาร์เก็ตจากละครเรื่อง \"ดอกส้มสีทอง\"", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#2", "text": "อุรัสยา เสปอร์บันด์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นลูกคนสุดท้องในสองคน พ่อของเธอซีกู๊ด ชาวนอร์เวย์ เป็นที่ปรึกษาการลงทุนและนายหน้าในตลาดหลักทรัพย์ และคุณแม่ชาวไทย อุไร เป็นแม่บ้าน อุรัสยามีพี่สาวชื่อ แคทลียา อายุมากกว่าเธอสามปี และมีพี่ชายชาวนอร์เวย์ต่างมารดาอีกสองคน เธอเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาที่โรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจนท์พัทยาจนถึงเกรด 11 (ม. 5) จึงได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" }, { "docid": "337778#11", "text": "หลังจากเรื่อง \"ธรณีนี่นี้ใครครอง\" ก็ได้แสดงร่วมกับอธิชาติ ชุมนานนท์และศรราม เทพพิทักษ์ ในละครเรื่อง \"มายาตวัน\" หนึ่งในละครซีรีส์ชุด \"3 ทหารเสือสาว\" เธอรับบทเป็นนักข่าวสายบันเทิงที่พยายามขอสัมภาษณ์อดีตดาราชื่อดังที่เกลียดนักข่าว ละครเรื่องนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบ ศรราม เทพพิทักษ์ ก็ชื่นชมเธอในละครเรื่อง \"มายาตวัน\" และพูดถึงอุรัสยาว่า \"มีความเป็นมืออาชีพและเล่นได้เป็นธรรมชาติ\"", "title": "อุรัสยา เสปอร์บันด์" } ]
561
กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล มีสัญลักษณ์เป็นรูปสัตว์อะไร?
[ { "docid": "43391#2", "text": "สัญลักษณ์หมีแพนด้าได้รับแรงบันดาลใจมาจากชิชิ แพนด้ายักษ์เพศเมียที่อยู่ในสวนสัตว์เมืองลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ WWF ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมา เนื่องจากแพนด้าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ รูปร่างสวย ผู้คนต่างให้ความสนใจ รัก และพร้อมที่จะปกป้อง WWF จึงใช้สัญลักษณ์แพนด้าแทนสัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ที่สามารถสร้างการจดจำ ก้าวพ้นกำแพงของภาษา สามารถสื่อสารได้ นอกจากนี้สีดำ-ขาว ยังช่วยประหยัดต้นทุนในการพิมพ์ด้วย\nWWF โดนกล่าวหาโดยผู้รณรงค์ของคอร์ปอเรทวอทช์ (Corporate Watch) ว่าการรณรงค์มีการใกล้ชิดกับธุรกิจต่างๆ มากเกินไป WWF อ้างว่าการเป็นพันธมิตรกับบริษัทอย่างโคคา-โคล่า, ลาฟาร์จ (Lafarge), บริษัทของการ์โลส สลิม และ อิเกีย จะช่วยลดผลกระทบของบริษัทเหล่านี้ ต่อสิ่งแวดล้อม WWF ได้รับเงิน 56 ล้านยูโร (80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2,260 ล้านบาท) จากบริษัทต่างๆ ในพ.ศ. 2553 (เพิ่มขึ้น 8% จากพ.ศ. 2552) นับเป็น 11% ของรายได้ทั้งหมดในหนึ่งปี", "title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล" } ]
[ { "docid": "43391#0", "text": "กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล () เป็นองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้พลังงานทดแทน ปัจจุบันเน้นการทำงานในด้าน ป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยาของพื้นน้ำ มหาสมุทรรวมทั้งชายฝั่งทะเล สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การบำบัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมี องค์การแห่งนี้เป็นองค์กรอนุรักษ์อิสระใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านรายจากทั่วโลก ดำเนินโครงการอนุรักษ์ต่างๆ 12,000 โครงการ ใน 153 ประเทศ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลมีสถานะเป็นมูลนิธิ ใน ค.ศ. 2010 ได้เกิดกองทุนที่มาจากเงินทุนของประชาชนรวมถึงการยกมรดกให้ที่ 57 เปอร์เซ็นต์ และ 17 เปอร์เซ็นต์จากแหล่งรัฐบาล (เช่น ธนาคารโลก, กระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศ, องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา) และ 11 เปอร์เซ็นต์จากสถาบันการเงินต่างๆ", "title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล" }, { "docid": "43391#9", "text": "โดยมีจุดมุ่งหมายในการขยายขอบเขตความร่วมมือและการทำงานด้านอนุรักษ์ให้กว้างไกลครอบคลุมสู่ระดับภูมิภาค โดยให้ความสำคัญต่อ 4 เขต นิเวศภูมิภาคที่ระบุไว้ใน WWF Global 200 อันประกอบด้วย เขตนิเวศภูมิภาคเทือกเขาตะนาวศรี- ถนนธงชัย ป่าดิบแล้งในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ลุ่มน้ำโขง และทะเลอันดามัน ครอบคลุมประเด็นการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Critical species) การอนุรักษ์ระบบนิเวศที่สำคัญและมีความเปราะบาง (Critical places) การลดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Ecological Footprint)", "title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล" }, { "docid": "43391#1", "text": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลก่อตั้งเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2504 ที่เมืองมอร์เกส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในไทยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ซอยพหลโยธิน 5 มีสำนักงานสาขา เพื่อดำเนินการและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เชิงปลุกจิตสำนึก และให้ความรู้อยู่หลายแห่ง", "title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล" }, { "docid": "321223#2", "text": "ชิชิ ยังเป็นผู้สร้างแรงดลบันดลใจแก่เซอร์ปีเตอร์ สกอต จากลักษณะสีขาว-ดำที่เรียบง่ายแต่โดดเด่นในการนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล อย่างไรก็ตาม ตราสัญลักษณ์ที่จัดแสดงในปัจจุบันก็มิได้เป็นแบบที่ปีเตอร์ สกอต ออกแบบโดยตรง หากแต่เป็นแบบที่ดัดแปลงรายละเอียดบางส่วนในภายหลัง ซึ่งได้ออกแบบสำหรับ WWF เมื่อได้เปลี่ยนชื่อจาก World Wildlife Fund มาเป็น World Wide Fund for Nature", "title": "ชิชิ" }, { "docid": "43391#7", "text": "เจ้าชายชาลส์ หัวหน้าของ WWF สหราชอาณาจักร ชอบล่าสัตว์เช่นเดียวกัน", "title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล" }, { "docid": "356915#0", "text": ".wwf เป็นรูปแบบแฟ้มสำหรับแสดงเอกสารที่ดัดแปลงมาจากแบบ PDF ของบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ลดการใช้กระดาษและลดการตัดต้นไม้ ขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) สาขาเยอรมนี ซึ่งมีคำขวัญว่า \"Save as WWF, Save a Tree\"", "title": ".wwf" }, { "docid": "43391#3", "text": "ในพ.ศ. 2531 เจ้าชายแบร์นฮาร์ด อดีตประธานบริษัทคนแรกของ WWF ขายรูปวาดในราคา 700,000 ปอนด์ เพื่อระดมทุนให้ WWF เงินถูกฝากไว้ที่บัญชีธนาคารสวิสของ WWF ในพ.ศ. 2532 Charles de Haes ซึ่งคณะนั้นเป็นอธิบดีของ WWF โอนเงิน 500,000 ปอนด์ กลับไปให้แบร์นฮาร์ด สำหรับสิ่งที่เขาเรียกว่า \"โครงการส่วนตัว\" จากนั้นในพ.ศ. 2534 จึงถูกเปิดเผยว่าเจ้าชายแบร์นฮาร์ดใช้เงินจ้าง KAS International ซึ่งมีสเปเชียลแอร์เซอร์วิส (SAS) เป็นเจ้าของ และเดวิด สเตอร์ลิง (David Stirling) เป็นผู้ก่อตั้ง เพื่อดำเนินโครงการ\"ล็อก\" ที่ทหารรับจ้าง (ส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษ) ต่อสู้กับผู้บุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์ป่า", "title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล" }, { "docid": "356915#2", "text": "แนวคิดนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ใช้งาน ทั้งยังละเมิดสัญญาอนุญาตแบบ BSD ต่อมาผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์กร องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ได้กล่าววิจารณ์การตัดสินใจของสาขาเยอรมนี ว่าดำเนินการรณรงค์โดยไม่ได้ปรึกษาสำนักงานใหญ่", "title": ".wwf" }, { "docid": "43391#6", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนเคยเป็นประธานบริษัทเกียรติคุณของ WWF ในประเทศสเปน และเป็นผู้ที่ชื่นชอบการล่าสัตว์ ในพ.ศ. 2505 ขณะอายุ 24 ปี เขาถูก Baron Werner ชาวเยอรมันเชิญชวนไปล่าสัตว์ที่ประเทศโมซัมบิก ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ได้ร่วมล่าสัตว์ในทวีปแอฟริกาและยุโรปตะวันออก ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เขาเป็นสมาชิกกลุ่มกล่าสัตว์ในประเทศโรมาเนียซึ่งฆ่าหมาป่าหนึ่งตัว และหมีสีน้ำตาลถึงเก้าตัว รวมไปถึงตัวที่กำลังตั้งท้อง ตามรายงานของหนังสือพิมพ์โรมาเนีย (). เขายังถูกกล่าวหาโดยเจ้าหน้าที่ชาวรัซเซียว่าได้ทำการฆ่าหมีที่ชื่อว่า มิโทรฟาน (Mitrofan) หลังจากให้วอดก้ากับมัน เรื่องนี้จุดประเด็นในประเทศสเปนแม้ความจริงจะไม่เคยถูกพิสูจน์ก็ตาม ในปีเดียวกัน \"เดอะการ์เดียน\" ระบุว่ารัฐบาลประเทศโปแลนด์อนุญาตให้เขาฆ่าควายป่ายุโรป (European bison) ในได้ แม้มันจะอยู่ในสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 พระองค์เข้าร่วมล่าช้างในประเทศบอตสวานา ซึ่งตกเป็นข่าวเนื่องจากต้องบินกลับประเทศสเปนฉุกเฉินหลังลื่นล้มจนกระดูกที่เอวแตก กลุ่มนักธรรมชาติวิทยาและพรรคฝ่ายซ้ายวิจารณ์งานอดิเรกของพระมหากษัตริย์ และ WWF ได้ทำการถอนตำแหน่งเกียรติคุณในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยได้รับผลโหวดจากสมาชิกถึง 94%", "title": "องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล" } ]
562
บริษัทรถยนต์อีซูซุ เป็นของประเทศอะไร ?
[ { "docid": "93765#0", "text": "บริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (いすゞ自動車株式会社:\"Isuzu Jidōsha Kabushiki-gaisha\"; Isuzu Motors Ltd.) เป็นผู้ผลิตยานพาหนะส่วนบุคคล ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ และ รถบรรทุกของหนัก มีสำนักงานใหญ่ในโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2548 อีซูซุ คือ ผู้ผลิตรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองฟูจิซะวะ และยังมีที่ จังหวัดโทะจิงิ และ จังหวัดฮกไกโด อีกด้วย 31 ธันวาคม 2543\nอีซูซุมีโรงงานประกอบรถยนต์และรถบรรทุกในประเทศไทย โดย บริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ และ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา", "title": "อีซูซุ" } ]
[ { "docid": "93765#6", "text": "เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517 สำนักงานขายและศูนย์บริการได้รับการบริหารใหม่เป็นบริษัทอิสระ ภายใต้ชื่อ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด โดยการร่วมทุนของ บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท อีซูซุมอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ ในฐานะผู้จัดจำหน่ายรถอีซูซุ ชิ้นส่วนอะไหล่อีซูซุ และซ่อมบำรุงรถอีซูซุ รวมถึงการตลาดในประเทศไทย", "title": "อีซูซุ" }, { "docid": "527228#2", "text": "ในประเทศไทย บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เคยนำอีซูซุ วิซาร์ด รุ่นที่ 1 มาเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2536 เป็นรถประกอบในประเทศ โดยในครั้งแรกใช้ชื่อในการขายว่า อีซูซุ คาเมโอ () เครื่องยนต์ที่ขายในไทยจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซล 2.5 ลิตร เกียร์ธรรมดา 5 สปีด ใช้ชิ้นส่วนร่วมกับ Isuzu TFR หรือที่เป็นที่รู้จักในตลาดมือสองว่า โฉมมังกรทอง นั่นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการ Minorchange ครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น อีซูซุ เวก้า () มีเครื่องยนต์ดีเซล 2.8 และ 3.0 ลิตร ระบบเกียร์จะเป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด แบบ Technomatics ขายไปได้เรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. 2547 จึงเลิกผลิตไป", "title": "อีซูซุ วิซาร์ด" }, { "docid": "525140#0", "text": "อีซูซุ อาสก้า () เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ที่ผลิตโดยอีซูซุ เริ่มการผลิตในปี พ.ศ. 2526 โดยใช้แพลตฟอร์มร่วมกับซูบารุ เลกาซี และฮอนด้า แอคคอร์ดตามลำดับ ออกมาเพื่อทดแทนอีซูซุ ฟลอเรี่ยน () ที่ยุติการผลิตไปเมื่อปี พ.ศ. 2526 และอาสก้าได้เลิกผลิตและวางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยไม่มีรถรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน เนื่องจากอีซูซุเลิกทำตลาดรถยนต์นั่งอย่างถาวรแล้ว โดยเลิกผลิตรถยนต์นั่งด้วยตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากการขาดทุนสะสมต่อเนื่อง และหลังจากนั้นก็มีการพึ่งพาฮอนด้าให้ผลิตรถยนต์นั่งขายมาโดยตลอด และอีซูซุก็ได้ส่งรถเอนกประสงค์และรถกระบะไปให้ฮอนด้าขายเช่นเดียวกัน จนในปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่างอีซูซุกับฮอนด้าได้สิ้นสุดลงแล้ว", "title": "อีซูซุ อาสก้า" }, { "docid": "527228#0", "text": "อีซูซุ วิซาร์ด () เป็นรถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลาง (Mid-Size SUV) ผลิตโดยอีซูซุ เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2532 และเลิกผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยมีอีซูซุ มิว-เซเว่นเข้ามาทดแทน เป็นรถ SUV ขนาดกลางที่ใช้แพลตฟอร์มร่วมกับอีซูซุ ฟาสเตอร์ รถกระบะอีกรุ่นหนึ่งของอีซูซุ มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 2 Generation (รุ่น) ดังนี้", "title": "อีซูซุ วิซาร์ด" }, { "docid": "93765#11", "text": "ในช่วง พ.ศ. 2534-2540 อีซูซุได้ประกอบรถกระบะให้กับค่ายรถยนต์อื่น คือ ฮอนด้า (ตามโครงการแลกเปลี่ยนผลิตภัณท์)และ โอเปิล(ซึ่งจีเอมออกแบบและพัฒนาร่วมกันก่อนแล้วแต่สมัยนั้นรถของจีเอ็มในประเทศไทย ยังเป็น โอเปิล ไม่ใช่ เชฟโรเลต) เนื่องจากฮอนด้า และ จีเอ็ม(สมัยนั้นยังเป็นโอเปิล) ยังไม่มีรถกระบะเป็นแบรนด์ของตัวเอง แต่อยากจะมีส่วนร่วมในรถกระบะบ้าง จึงให้อีซูซุประกอบให้ โดยฮอนด้าใช้ชื่อว่า ฮอนด้า ทัวร์มาสเตอร์ ส่วนโอเปิล(จีเอ็ม)ใช้ชื่อว่า โอเปิล แคมโป้ แต่ยอดขายย่ำแย่มาก", "title": "อีซูซุ" }, { "docid": "936812#0", "text": "อีซุซุ ดีแมคซ์ () เป็นรถกระบะขนาด 1 ตัน ของบริษัทรถยนต์อีซูซุ เป็นรถที่สร้างรายได้ให้กับอีซูซุโดยเฉพาะในประเทศไทย", "title": "อีซูซุ ดีแมคซ์" }, { "docid": "525140#3", "text": "ในประเทศไทย บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เคยนำอาสก้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อเดือนมิถุนายนปี พ.ศ. 2527 โดยเปิดตัวที่เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว (โรงแรมไฮแอท เซ็นทรัลพลาซา ซึ่งปัจจุบันคือ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว) และในภาพยนตร์โฆษณาของอาสก้าในประเทศไทยก็ถ่ายทำที่เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าวเช่นกัน แต่เป็นตึกโรงแรม ไม่ใช่ห้าง มี 2 รุ่นคือ LT 1.8 ลิตร และ LX 2.0 ลิตร และปรับโฉม Minorchange เมื่อปี พ.ศ. 2529 ก่อนจะเลิกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2531 เนื่องจากการแข่งขันในตลาดรถยนต์นั่งสูงขึ้นเรื่อยๆ การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ จากญี่ปุ่นมาจำหน่ายทำให้ต้นทุนสูงขึ้น อีซูซุเองก็ไม่สามารถยืนหยัดในการแข่งขันได้ง่ายๆ โดยรถรุ่นนี้ในสมัยนั้นพอจะขายได้ และมีกลุ่มลูกค้าที่อยากได้อยู่", "title": "อีซูซุ อาสก้า" }, { "docid": "526294#2", "text": "อีซูซุ ทรูเปอร์ รุ่นที่ 2 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2534 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่มีการผลิตไปให้ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นมากขึ้น เช่น ฮอนด้า โอเปิล วอกซ์ฮอลล์ เชฟโรเลต เนื่องจากในขณะนั้น อีซูซุได้ประกาศขยายความร่วมมือกับกลุ่มจีเอ็มและฮอนด้า ในญี่ปุ่น ทรูเปอร์จะใช้ชื่อในการทำตลาดว่า อีซูซุ บิ๊กฮอร์น () มีฐานการประกอบอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ,ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่มีเครื่องยนต์เบนซินแบบ V6 ออกจำหน่าย โดยมีเครื่องยนต์ 3.0 ,3.1 ,3.2 และ 3.5 ลิตร มี V6 ในรุ่น 3.2 และ 3.5 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด", "title": "อีซูซุ ทรูเปอร์" }, { "docid": "93765#4", "text": "เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 บริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด เริ่มต้นการประกอบรถยนต์อีซูซุ ภายในประเทศ", "title": "อีซูซุ" } ]
573
บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคอะไร?
[ { "docid": "168173#0", "text": "อิชิริตโตะรุโนะนะมิดะ (; โรมะจิ: Ichi Rittoru no Namida; แปล: น้ำตาหนึ่งลิตร; “บันทึกแห่งน้ำตา” ก็เรียก) เป็นบันทึกประจำวันของอะยะ คิโต (; โรมะจิ: Aya Kitō) (19 กรกฎาคม 2505—23 เมษายน 2531) ว่าด้วยประสบการณ์การป่วยเป็นโรคสไปโนเซระเบลลาร์อาแท็กเซียของผู้เขียน โดยมารดาของอะยะและแพทย์่ผู้รักษาร่วมเขียนในตอนสุดท้ายด้วยหลังจากอะยะไม่สามารถเขียนหนังสือได้เองแล้ว บันทึกดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์หลังจากที่ผู้เขียนเสียชีวิตไปแล้ว ด้วยแรงบันดาลใจจากหนังสือดังกล่าวได้มีการนำเรื่องไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้แพร่ภาพในหลายประเทศทั่วโลก หลักการออกอากาศดังกล่าวหนังสือจึงได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่งและได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ รวมทั้งภาษาไทยด้วย", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร (หนังสือ)" }, { "docid": "168195#0", "text": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร (ญี่ปุ่น: 1リットルの涙; โรมะจิ: Ichi Rittoru no Namida, อิชิ ริตโตะรุ โนะ นะมิดะ; แปล: น้ำตาหนึ่งลิตร) เป็นละครโทรทัศน์สัญชาติญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากบันทึกประจำวันชื่อ อิชิริตโตะรุโนะนะมิดะ ของอะยะ คิโต (ญี่ปุ่น: 木藤亜也; โรมะจิ: Aya Kitō) (19 กรกฎาคม 2505—23 เมษายน 2531) ผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังและต้องเผชิญชีวิตกระทั่งตายก่อนวัยอันควร", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร" } ]
[ { "docid": "168173#1", "text": "อะยะ คิโตป่วยเป็นสไปโนเซระเบลลาร์อาแท็กเซียเมื่ออายุได้สิบห้าปี โรคดังกล่าวกระทำให้บุคคลสูญเสียความสามารถในการควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตนเองโดยช้า ๆ แต่ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลมิได้สูญเสียไปด้วย อะยะทราบข่าวร้ายนี้หลังจากที่ตนเสียความสามารถดังกล่าวไปมากแล้ว อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีหนทางเยียวยาโรค", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร (หนังสือ)" }, { "docid": "168195#11", "text": "ด้วยเหตุที่ทราบว่าคงไม่อาจใช้ชีวิตอย่างคนทั่วไป ไม่มีอนาคตและไม่อาจแต่งงานได้ วันหนึ่งหลังจากที่กลับจากงานแต่งงานของคุณครูโรงเรียนผู้ทุพพลภาพ อะยะจึงคืนของขวัญที่ฮะรุโตะมอบให้ ตอนจบของเรื่อง อะยะเสียชีวิตลงโดยสงบ เรื่องราวของเธอเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ป่วยจำนวนมากมีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตต่อไป", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร" }, { "docid": "168195#1", "text": "ละครเรื่องนี้สร้างขึ้นจากชีวิตจริงของเด็กสาวชาวญี่ปุ่นวัยสิบห้าปีชื่ออะยะ คิโต ซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง ซึ่งเป็นโรคที่ไร้หนทางเยียวยา กระทั่งตายเมื่อวัยยี่สิบห้า บทละครอ้างอิงบันทึกประจำวันที่อะยะเขียนขึ้นกระทั่งไม่สามารถจับปากกาอีกต่อไปได้", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร" }, { "docid": "168173#3", "text": "ละครโทรทัศน์ของญี่ปุ่นชื่อ “อิชิริตโตะรุโนะนะมิดะ” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ฟูจิใน พ.ศ. 2548 โดยสร้างขึ้นจากบันทึกดังกล่าวของอะยะ ตัวละครหลักได้แก่ อะยะ อิเกะอุชิ (Aya Ikeuchi) แสดงโดยเอะริกะ ซะวะจิริ (Erika Sawajiri) ซึ่งเป็นเด็กหญิงที่ป่วยเป็นโรคสไปโนเซระเบลลาร์อาแท็กเซียและถึงแก่ความตายเช่นเดียวกับอะยะ คิโต", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร (หนังสือ)" }, { "docid": "168195#8", "text": "การป่วยของอะยะส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างทุกคน และสะท้อนให้เห็นถึงความรักความเอาใจใส่ที่ครอบครัวมีให้กับเธอ ครั้งถึงแม่ของอะยะถึงกับกล่าวว่า \"แม่ขอโทษที่เป็นโรคนี้แทนหนูไม่ได้\" และน้องสาวของเธอที่เคยอิจฉาริษยาอายะมาโดยตลอดก็กลับตัวกลับใจตั้งใจเรียนเพื่อสอบเข้าโรงเรียนเดียวกับอะยะให้ได้ เพื่อสานฝันที่อะยะไม่อาจเดินทางไปจนสุดทาง น้องชายคนเดียวของอะยะก็ต้องกล้าหาญที่จะไม่ยอมให้ใครมาดูถูกดูแคลนพี่สาวตัวเองและภูมิใจในพี่อะยะที่แม้จะป่วยพิกลพิการแต่ก็ฝึกสอนเขาเล่นฟุตบอลจนได้รับคัดเลือกให้ไปเล่นยิงประตูได้", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร" }, { "docid": "168195#5", "text": "หลังจากนั้นเมื่อเธอทราบความจริงเกี่ยวกับโรคร้ายและอาการของโรคได้ปรากฏเด่นชัดขึ้น ความรักครั้งแรกกับรุ่นพี่ ยุจิ คะวะโมะโตะ (Yuji Kawamoto) ในโรงเรียนก็ค่อยๆ สิ้นสุดลง เพราะรุ่นพี่หลีกเลี่ยงที่จะคบกับเธอที่ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ในทางตรงข้ามฮะรุโตะที่เคยเป็นคนเฉยเมยไม่ไม่ใส่ใจใครก็กลับมาเอาใจใส่เธอมากขึ้น ครั้งหนึ่งรุ่นพี่คนนี้ทอดทิ้งให้อะยะต้องรอท่ามกลางสายฝนที่สวนสัตว์แต่ฮะรุโตะก็รู้ว่ารุ่นพี่จะไม่มาจึงได้ไปพาอะยะกลับโรงพยาบาล จากนั้นความสัมพันธ์ของทั้งสองก็แนบแน่นขึ้นเป็นลำดับ", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร" }, { "docid": "212307#4", "text": "จากการสืบสวนเหตุการณ์วุ่นวายในครัวเรือน การพยายามฆ่า การขี่จักรยานโดยไม่มีใบอนุญาต และการตัดไม้ทำลายป่า ดูจะบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ เมื่อผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อาจมีส่วนเชื่อมโยงกับคดีจอมโจรขนมหวาน ที่กำลังออกอาละวาดขโมยสูตรขนมหวานของร้านที่มีชื่อเสียง จนจำต้องปิดกิจการไปหลายร้าน สารวัตรฟลิปเปอร์สจึงต้องสืบสวนผู้เกี่ยวข้องทีละคน เพื่อค้นหาความจริง", "title": "เรื่องจริงของหนูน้อยหมวกแดง" }, { "docid": "168173#2", "text": "แม้จะได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวโดยกรรมวิธีทางแพทย์ตลอดจนกรรมวิธีอื่น ๆ แต่ท้ายที่สุด อะยะก็จำนนต่อโรคดังกล่าวและถึงแก่ความตายเมื่ออายุได้ยี่สิบห้าปี", "title": "บันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร (หนังสือ)" } ]
574
ฮาร์ตสฟีลด์เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดในปีพ.ศ.อะไร?
[ { "docid": "80694#1", "text": "ฮาร์ตสฟีลด์เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดในปีพ.ศ. 2549 ทั้งกรณีของจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบิน โดยให้บริการผู้โดยสาร 84.8 ล้านคน และ 976,447 เที่ยวบิน โดยสารเที่ยวบินส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งแอตแลนตารองรับการเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายเส้นทางกับท่าอากาศยานท้องถิ่นทั่วภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ร้อยละ 57 ของผู้โดยสารของฮาร์ทสฟิวด์-แจ็กสันไม่ใช่คนจากแอตแลนตา แต่เป็นคนที่มาเพื่อต่อเครื่องไปยังจุดหมายปลายทางอื่นต่อไป นอกจากนี้ฮาร์ตสฟีลด์-แจ็กสันยังเป็นประตูสู่สหรัฐอเมริกาลำดับที่ 7 โดยอันดับหนึ่งก็คือนิวยอร์ก-เจเอฟเค", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา" }, { "docid": "80366#1", "text": "ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2548 โอแฮร์เคยเป็นท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นที่สุด ในกรณีการขึ้น-ลงของเครื่องบิน เนื่องจากในปีนั้นกรมการบินสหรัฐอเมิรกาได้ลดเที่ยวบินลง เพื่อลดความล่าช้า จึงทำให้ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสัน แอตแลนตากลายมาเป็นท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นที่สุด ส่วนโอแฮร์ตกมาเป็นอันดับที่ 2 และยังเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 76,248,911 คน ในปีพ.ศ. 2549 ลดลง 0.3% จากปีพ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานโอแฮร์ยังให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศกว่า 60 เส้นทางบิน ในปีพ.ศ. 2548 โอแฮร์จัดเป็นประตูสู่สหรัฐอเมริกาลำดับที่ 4 เป็นรองจาก ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในนิวยอร์ก, ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส และท่าอากาศยานนานาชาติไมอามี ซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศมาใช้บริการมากกว่า", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์" } ]
[ { "docid": "80694#0", "text": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ตสฟีลด์-แจ็กสัน แอตแลนตา () หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานแอตแลนตา, ท่าอากาศยานฮาร์ตสฟีลด์ หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮาร์ตสฟีลด์ ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เป็นท่าอากาศยานที่ความหนาแน่นมากที่สุดในกรณีจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินขึ้น-ลง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นผลจากการที่สายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินขนาดใหญ่ที่สุดโลกให้บริการอยู่ที่ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นท่าอากาศยานหลัก", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา" }, { "docid": "80694#9", "text": "ในปีพ.ศ. 2546 สภาเมืองแอตแลนตาได้ลงคะแนนเสียงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ให้เปลี่ยนชื่อจาก ท่าอกาศยานนานาชาติฮาร์ตสฟีลด์แอตแลนตา เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ตสฟีลด์-แจ็กสัน แอตแลนตา เพื่อให้เกีรยติอดีตนายกเทศมนตรีเมย์นาร์ด แจ็กสัน นายกเทศมนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกันคนแรกของแอตแลนตา ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2546 แรกเริ่มเดิมทีสภาเมืองแอตแลนจะเปลี่ยนท่าอากาศยานเป็นชื่อของท่านายกเทศมนตรีแจ็กสันเพียงคนเดียว แต่ประชาชนชาวเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกหลานของอดีตนายกเทศมนตรีฮาร์ตสฟีลด์ ได้เรียกร้องให้คงชื่อของท่านไว้ด้วย", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา" }, { "docid": "80694#5", "text": "หอบังคับการบินหลังแรกของสนามบินแคนด์เลอร์เปิดให้บริการเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2483 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นฐานทัพอากาศ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขยายพื้นที่ออกไปอีกเป็นสองเท่าตัวและทำสถิติมีเที่ยวบินขึ้นลง 1,700 เที่ยวภายในวันเดียว ทำให้กลายเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดในกรณีจำนวนเที่ยวบินของสหรัฐอเมริกาไปทันที", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา" }, { "docid": "80694#8", "text": "การก่อสร้างเริ่มตรงบริเวณพื้นที่ตรงกลางที่เป็นอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานในปัจจุบันในเดือนมกราคน พ.ศ. 2520 ดำเนินงานโดยนายกเทศมนตรีเมย์นาร์ด แจ็ดสัน (Maynard Jackson) ซึ่งเป็นการก่อสร้างที่มีมูลค่าสูงที่สุดในแดนใต้ 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ จากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานตามชื่อของอดีตนายกเทศมนตรีแอตแลนตา วิลเลี่ยม เบอร์รี่ ฮาร์ตสฟีลด์ (William Berry Hartsfield) ผู้ซึ่งผลักดันการเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน ว่า ท่าอากาศยานนานาชาติวิลเลี่ยม บี. ฮาร์ทสฟิวด์ เปิดให้บริการในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2523 ซึ่งท่าอากาศยานใหม่นี้ออกแบบไว้ให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้ถึง 55 ล้านคนต่อปี และครอบคลุมพื้นที่ถึง 230,000 ตารางเมตร (2.5 ล้านตารางฟุต) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ทางวิ่งขนานกันขนาด 2,743 เมตร (9,000 ฟุต) ทั้ง 4 เส้น ก็เสร็จสมบูรณ์ และได้มีการขยายความยาวของทางวิ่งเส้นหนึ่งออกเป็น 3,624 เมตร (11,889 ฟุต) ในปีถัดมา", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา" }, { "docid": "722188#0", "text": "ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล (, ) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติหลักของประเทศเนเธอร์แลนด์ เปิดดำเนินงานตั้งแต่ 16 กันยายน พ.ศ. 2459 ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอัมสเตอร์ดัมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 9.1 กิโลเมตร ในเขตนครบาลฮาร์เลมเมอร์เมร์ เป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดอันดับที่ 5 ของยุโรป ตัวสนามบินมีอาคารผู้โดยสารขนาดใหญ่หลังเดียว ซึ่งแบ่งออกแบ่ง 3 โถงขาออก", "title": "ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล" }, { "docid": "80694#4", "text": "พื้นที่บริเวณฮาร์ตสฟีลด์-แจ็กสันนั้น เริ่มจากต้นจากการทำสัญญาเช่าพื้นที่ 287 เอเคอร์ เป็นเวลา 10 ปี เพื่อสร้างเป็นสนามแข่งม้า โดยมีการออกสัญญาเช่าให้เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2468 โดยนายกเทศมนตรีวอล์เตอร์ ซิมส์ (Walter Sims) ผู้ซึ่งให้คำมั่นกับประชาคมไว้ว่าจะพัฒนาให้เป็นสนามบินให้ได้ และได้ข้อตกลงร่วมกันที่จะเปลี่ยนชื่อที่บริเวณนี้ว่าสนามบินแคนด์เลอร์ (Candler Field) ตามชื่อเจ้าของดั้งเดิม ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโคคา-โคล่า และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองแอตแลนตา Asa Candler เครื่องบินลำแรกที่มาลงจอดที่แคนด์เลอร์ คือในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2469 โดยเครื่องขนส่งไปรษณีย์ฟลอริดาแอร์เวย์ บินมาจากแจ็กสันวิลล์ จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2471 Pitcairn Aviation ได้เริ่มเปิดให้บริการที่แอตแลนตา ตามด้วยเดลต้า แอร์เซอร์วิส ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2473 หลังจากนั้นไม่นานก็มีสายการบินที่รู้จักในชื่อ อีสเทิร์นแอร์ไลน์ และเดลต้า แอร์ไลน์ ซึ่งทั้งสองสายการบินใช้ที่อัลบอร์ก (Aalborg) เป็นสนามบินหลัก", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา" }, { "docid": "80694#7", "text": "ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีมูลค่าถึง 21 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้มากกว่า 6 ล้านคนต่อปี ทำให้จำนวนผู้โดยสารดันทะลุสถิติเป็น 9.5 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2510 เมืองแอตแลนตาและสายการบินต่างๆ ได้ประชุมความเห็นในการวางแผนแม่บทในการพัฒนาท่าอากาศยานแอตแลนตาในอนาคต", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา" }, { "docid": "79422#0", "text": "ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ () หรือมักเรียกโดยย่อว่า ฮีทโธรว์ เป็นท่าอากาศยานที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของประเทศสหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป ในกรณีของจำนวนผู้โดยสาร และเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของโลก ในกรณีของจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ดำเนินการโดย บริษัท ท่าอากาศยานอังกฤษ จำกัด (เดิมคือ องค์การท่าอากาศยานแห่งประเทศอังกฤษ)", "title": "ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์" } ]
580
ประเทศญี่ปุ่นมีกษัตริย์หรือไม่ ?
[ { "docid": "593895#0", "text": "ประเทศญี่ปุ่น มีเนื้อที่ประมาณ 377,930 ตารางกิโลเมตร นับได้ว่าเป็นอันดับที่ 61 ของโลก ประเทศญี่ปุ่นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยใช้รูปแบบรัฐเดี่ยว (Unitary state) \nและยึดหลักการแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการออกจากกัน ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่ผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสามของโลกในปี พ.ศ. 2553 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและถือว่าเป็นประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำ ที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี ประชากรอายุยืนที่สุดในโลก", "title": "การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น" }, { "docid": "594182#0", "text": "ประเทศญี่ปุ่น มีเนื้อที่ประมาณ 377,930 ตารางกิโลเมตร นับได้ว่าเป็นลำดับที่ 61 ของโลก โดยญี่ปุ่นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งมีการใช้รูปแบบรัฐเดี่ยว (Unitary state) ยึดหลักการแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการออกจากกัน ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสามของโลกในปี พ.ศ. 2553 รองจาก สหรัฐอเมริกาและจีน โดยมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำ ที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี โดยรวมญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี ประชากรอายุยืนที่สุดในโลก", "title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "198858#2", "text": "ญี่ปุ่นเรียก \"\"จักรพรรดิ\"\" ว่า เท็นโน () หมายถึง เทพเจ้าที่มาจากสวรรค์ ซึ่งเป็นคำจำกัดความของ \"กษัตริย์ญี่ปุ่น\" ราชวงศ์ญี่ปุ่นเคยได้รับการเคารพในฐานะอวตารเทพ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะมีพระโองการว่า ทรงเป็นคนธรรมดา และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น", "title": "ราชวงศ์ญี่ปุ่น" }, { "docid": "433461#1", "text": "ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันแล้ว พระจักรพรรดิมิได้เป็นประมุขแห่งรัฐ และประเทศญี่ปุ่นไม่มีประมุข รัฐบาลเป็นผู้แทนประเทศในกิจการต่าง ๆ และพระจักรพรรดิมีพระราชอำนาจและพระราชภารกิจเฉพาะที่รัฐธรรมนูญให้ไว้เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชกรณียกิจแต่ทางพิธีการตามอย่างระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อนึ่ง พระองค์ยังทรงเป็นประมุขของราชวงศ์ญี่ปุ่นและประมุขของศาสนาชินโตด้วย", "title": "จักรพรรดิญี่ปุ่น" }, { "docid": "2417#31", "text": "ประเทศญี่ปุ่นมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่จักรพรรดิมีพระราชอำนาจจำกัด ทรงเป็นประมุขในทางพิธีการ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ทรงเป็น \"สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของประชาชน\" นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร ส่วนอำนาจอธิปไตยเป็นของชาวญี่ปุ่น\nสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตั้งอยู่ในชิโยะดะ กรุงโตเกียว สภาฯ ใช้ระบบระบบสองสภา ประกอบด้วย \"สภาผู้แทนราษฎร\" เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และ \"ราชมนตรีสภา\" () เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์เป็นต้นไป พรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น (CDP) ที่เป็นเสรีนิยมสังคม และพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม (LDP) ที่เป็นอนุรักษนิยมครองสภาฯ LDP ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเกือบตลอดมาตั้งแต่ปี 2498 ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างปี 2536 ถึง 2537 และระหว่างปี 2552 ถึง 2555", "title": "ประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "433461#0", "text": "จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本天皇 \"นิฮงเทงโน\") เป็น \"สัญลักษณ์แห่งรัฐและเอกภาพของประชาชน\" ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น ค.ศ. 1947 ในสมัยนายกรัฐมนตรีเทะสึ คะตะยะมะ หรือตรงกับรัชสมัยของพระจักรพรรดิโชวะ ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นหลังสงครามได้รับมาใช้ต่อ", "title": "จักรพรรดิญี่ปุ่น" } ]
[ { "docid": "11437#40", "text": "ห้ามมีกองกำลังป้องกันประเทศและคณะปฏิวัติ เว้นแต่กองกำลังความมั่นคงภายในประเทศ \nญี่ปุ่นต้องชาติแห่งประชาธิปไตยเท่านั้นถ้าไม่พอใจผู้นำคนใด ใช้ประชาธิปไตยในการตัดสิน และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข \nสหประชาชาติและรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสนับสนุนญี่ปุ่น ในด้านการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ของญี่ปุ่นและชาติอื่นๆ ยูเนสโก และรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสนับสนุน ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ การสร้างสรรค์และพัฒนาเปลี่ยนในทางที่ดีให้กับญี่ปุ่นให้รวดเร็วทันต่อโลกาภิวัฒน์ และสนับสนุนอาริยะ \nห้ามชนชาติหรือปถุชนองค์กรใดๆ มาทำการแยกประเทศหรือถือกรรมสิทธิ์ใดๆในญี่ปุ่นเด็ดขาด เว้นแต่ ทางธุรกิจและข้อตกลงในกฎหมายเท่านั้น \nข้าราชการทุกๆกระทรวงในญี่ปุ่นนอกจากได้รับเงินเดือนแล้วยังได้รับ เงินพิเศษ ค่าคอมมิชชั่น และทำธุรกิจอื่นๆได้ ผสานด้วยกฎหมายญี่ป่น \nแต่ห้าม สร้างผลกระทบทางด้าน เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ การสร้างสรรค์และพัฒนา ต่อญี่ปุ่นเด็ดขาด", "title": "ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น" }, { "docid": "97311#3", "text": "อนึ่ง ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้มีกฎหมายระบุลักษณะตราแผ่นดิน พระราชลัญจกรดอกเบญจมาศนี้จึงใช้เป็นตราประจำประเทศโดยธรรมเนียมปฏิบัติ เหมือนกับบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่มีการกำหนดตราประจำประเทศอย่างเป็นทางการ", "title": "ตราแผ่นดินของญี่ปุ่น" }, { "docid": "275157#3", "text": "ในอดีต บ่อยครั้งที่หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับราชสันตติวงศ์มองว่าพระราชพิธีราชาภิเษกกับเทพเจ้าเชื่อมโยงอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ ในอารยธรรมโบราณบางแห่ง พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองมักจะถูกมองว่าเป็นเทพเจ้าหรือมีเชื้อสายมาจากพระเจ้า: ในอียิปต์โบราณ ผู้คนเชื่อกันว่าฟาโรห์คือบุตรแห่งเทพรา เทพแห่งดวงอาทิตย์ ในขณะที่ญี่ปุ่น เชื่อว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงสืบสายพระโลหิตมาจากอะมะเตะระซุ สุริยเทพีของญี่ปุ่น ในโรมโบราณมีการประกาศให้ประชาชนบูชาจักรพรรดิ และในยุคกลาง กษัตริย์ยุโรปทรงถือเอาว่าตนครอบครองเทวสิทธิราชย์ที่จะปกครอง พระราชพิธีราชาภิเษกนี้เองจึงถูกใช้ฉายให้เห็นถึงภาพความเกี่ยวโยงกันระหว่างกษัตริย์และเทพเจ้า แต่ในสมัยปัจจุบันการเป็นประชาธิปไตย (democratization) และการแยกศาสนาออกจากรัฐ (secularization) มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้แนวคิดความเชื่อมโยงกันระหว่างกษัตริย์และเทพเจ้าลดลงไปมาก ดังนั้นพระราชพิธีราชาภิเษก (หรือองค์ประกอบทางศาสนา) มักจะถูกละทิ้งไปโดยสิ้นเชิง หรือถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นพิธีอันสะท้อนแก่นสารของความเป็นรัฐตามรัฐธรรมนูญที่ประชาชนในรัฐนั้นๆ ให้การยึดถือ อย่างไรก็ตามราชาธิปไตยของบางประเทศยังคงดำรงมิติทางด้านศาสนาในกระบวนการขึ้นสู่อำนาจ (การขึ้นครองราชสมบัติ) อย่างเปิดเผย บางแห่งลดทอนความสลับซับซ้อนลงมาเหลือเป็นเพียงพระราชพิธีการเถลิงราชบัลลังก์ (enthronement) หรือพระราชพิธีกล่าวคำพระราชปฏิญาณเป็นพระมหากษัตริย์ (inauguration) หรือไม่กระทำการพระราชพิธีอันใดเลย", "title": "พิธีราชาภิเษก" }, { "docid": "624614#0", "text": "เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก สหรัฐอเมริกา และ ประเทศจีน ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในรัชสมัยโชวะ จักรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก แม้ว่าจะพ่ายแพ้สงครามแต่ญี่ปุ่นก็สามารถไต่เต้าขึ้นมามีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และครองตำแหน่งนี้ยาวนานกว่าสองทศวรรษจนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1990 ญี่ปุ่นก็กลายเป็นชาติเศรษฐกิจอันดับสองของโลกจนถึงปี 2009 จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อำนาจซื้อต่อหัวของญี่ปุ่นในเวทีโลก อยู่ที่ 35,855 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นอันดับ 22 ของโลก การคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีการสำรวจเป็นรายไตรมาสที่เรียกว่า \"ทังกัง\" จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น", "title": "เศรษฐกิจญี่ปุ่น" }, { "docid": "213076#1", "text": "ตามประวัติศาสตร์ ญี่ปุ่นเคยมีจักรพรรดินีขึ้นเสวยราชสมบัติแปดพระองค์ (หากนับจักรพรรดินีจิงงุ จะมีทั้งหมดเก้าพระองค์ ในจำนวนนี้มีสองพระองค์ครองราชย์สองครั้ง) ซึ่งทั้งหมดจะถูกคัดเลือกมาจากผู้ที่สืบสันดานจากพระราชวงศ์เมื่อนับจากฝ่ายบิดา ทั้งนี้นักวิชาการบางส่วนมองว่าการครองราชย์ของจักรพรรดินีของญี่ปุ่นนั้นเป็นการครองราชย์อย่างชั่วคราวเท่านั้น และสงวนพระราชบัลลังก์เอาไว้เฉพาะแก่เจ้านายบุรุษเพศเท่านั้น ครั้นหลายศตวรรษต่อมาได้มีกฎมนเทียรบาล พ.ศ. 2432 ซึ่งออกมาพร้อมกับรัฐธรรมนูญเมจิระบุว่ามิให้เจ้านายเพศหญิงขึ้นครองราชสมบัติ แม้จะเคยมีความพยายามที่แก้ไขกฎมนเทียรบาลเพื่อปูทางให้เจ้านายที่เป็นหญิงขึ้นเสวยราชย์ แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ", "title": "รายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่น" } ]
583
พระวิหารศักดิ์สิทธิ์ เป็นของศาสนาอะไร?
[ { "docid": "232211#0", "text": "พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม () หรือพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ (Holy Temple; (Bet HaMikdash = The Holy House)) หมายถึงพระวิหารที่สร้างต่อเนื่องกันมาบนเนินพระวิหาร (Temple Mount) ในตัวเมืองเก่าเยรูซาเลม ตามประวัติศาสตร์แล้วตำแหน่งนี้มีการก่อสร้างพระวิหารมาแล้วสามครั้ง และพระวิหารที่สาม (The Third Temple) ที่เป็นพระวิหารที่ยังไม่ได้สร้างที่กล่าวถึงใน “Jewish eschatology” ตามความเชื่อโบราณของศาสนายูดาห์ พระวิหารหรือเนินพระวิหารเป็นอุปมาของสถานที่ของพระเจ้า (Shechina) บนโลกมนุษย์ โดยสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมแบบฟินิเชียน", "title": "พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม" } ]
[ { "docid": "56354#5", "text": "ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียวัตถุที่ประชาชนให้ความศรัทธาและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานีเนื่องจากเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระพุทธรูปพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ไปไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรี และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร ของพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11", "title": "วัดสังกัสรัตนคีรี" }, { "docid": "841202#1", "text": "สำนักอภัยคีรีวิหารเป็นแหล่งต้นตอในการสร้างหนังสือปกรณ์วิเศษ ชื่อ วิมุตติมรรค อันเป็นคัมภีร์หนึ่งที่มีความสำคัญของพุทธศาสนาเถรวาท คณาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูของสำนักอภัยคีรีวิหาร ชื่อ พระอุปติสสะเถระ ผู้รจนาคัมภีร์วิมุตติมรรคไว้เป็นแบบ และพระสังฆมิตตเถระผู้โต้วาทีมีชัยชนะเหนือคณะสงฆ์สำนักมหาวิหาร และเหตุการณ์ในสมัยนั้นยังปรากฏว่าพระจักรพรรดิจีนได้จัดราชทูตมาทูลขอภิกษุณีสงฆ์สำนักอภัยคีรีวิหารไปเพื่อประดิษฐานพระศาสนาด้วย พระเถรีผู้เป็นหัวหน้าคณะภิกษุณีในครั้งนี้คือพระเทวสาราเถรี พระภิกษุณีสงฆ์ในสายนี้มีการสืบต่อกันเรื่อยมาในชื่อว่านิกายธรรมคุปต์ และได้มีวัดภิกษุณีแห่งแรกในประเทศจีน ที่พระจักรพรรดิถวายนามว่าวัด วินฟุ (Vinfu Monastery)", "title": "วัดอภัยคีรีวิหาร" }, { "docid": "903227#0", "text": "เนินพระวิหาร (, ) หรือที่ในภาษาอาหรับเรียกว่า อัลฮะเราะมุชชะรีฟ () เป็นเนินเขาในเขตเมืองเก่าของเยรูซาเลมอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปีของสามศาสนาคือ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 740 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สิ่งก่อสร้างในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์บนเนินเขาแห่งนี้ได้แก่ มัสยิดอัลอักซอ, โดมทองแห่งเยรูซาเลมตลอดจนหอสูงทั้งสี่ มีประตูอยู่ 11 ประตูเพื่อเข้าไปภายในอาณาเขตแห่งนี้ โดยสิบประตูสงวนไว้สำหรับชาวมุสลิม และอีกหนึ่งประตูสำหรับผู้ไม่ใช่มุสลิม", "title": "เนินพระวิหาร" }, { "docid": "367369#0", "text": "พระวิสุทธิสังวรเถร (พรหมวํโสภิกฺขุ) หรือ \"พระพรหมวังโส\" หรือตามที่รู้จักในหมู่ลูกศิษย์ว่า \"อาจารย์พรหม\" () เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา นิกายเถรวาท คณะมหานิกาย ชาวอังกฤษ หนึ่งในศิษย์ชาวต่างประเทศของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิญาณ เมืองเซอร์เพนไทน์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นอดีตวัดสาขาของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย", "title": "พระวิสุทธิสังวรเถร (ปีเตอร์ พฺรหฺมวํโส)" }, { "docid": "615594#0", "text": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์ พระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะธรรมยุตินิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามตามสัญญาบัตรว่า พระญาณวิสาลเถร เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และได้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ ทำให้มีการขุดค้น โดยเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย และยังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์สิรินธร บริเวณที่ขุดค้นพบอีกด้วย", "title": "พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)" }, { "docid": "824838#13", "text": "พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2477 พระครูศาสนาภารพินิจ (พลับ) เป็นเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสรูปนี้มาจากวัดสามแก้ว ช่วงนี้พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) เป็นสมุหเทสาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้เป็นประธานทำการบูรณปฏิสังขรณ์รณ์พระวิหาร มีหลวงพินิจทัณฑการ หลวงประธานราษฎร์นิกร เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง เปลี่ยนเครื่องไม้ใหม่ทั้งหมด เอาฝาประจันห้องหน้าพระประธานออก และก่ออิฐระหว่างโค้งเสาระเบียง ขึ้นตั้งกรอบหน้าต่างติดลูกกรงเหล็ก และมีประตูปิดดังปรากฏอยู่ในบัดนี้ ในการบูรณะวิหารครั้งนี้ พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เจ้าอาวสาวัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช-ภูเก็ต ให้ไวยาวัจกร อนุโมทนา 6000 บาท สมทบทุนบริจาคและพระครูศาสนาภารพินิจ ได้ร่วมกับพุทธมามาะกะ รื้อกุฎิแถวคณะตะวันออกด้านใต้ที่เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) สร้างไว้ ทำขึ้นใหม่เป็นกุฎิแถวฝาไม้กระดาน เช่นเดี่ยวกับทางด้านเหนือ ซึ่งสมเด็จฯ อุปราชปักษ์ใต้ทรงเป็นประธานปฏิสังขรณ์ก่อนแล้ว และได้เอาไม้เก่าๆจากกุฎินี้สร้างโรงเลี้ยงหลังยาวด้านตะวันออกวิหารพร้อมโรงสูทธรรม ซึ่งนางเหี้ยง เฑียนสุนทร สร้างถวาย ( บัดนี้รื้อหมดแล้ว)\nพ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จสงขลา มาบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีและพระบรมวงศานุวงส์ ข้าราชบริพาร ที่วิหารวัดมัชฌิมาวาส", "title": "พระธรรมวิโรจนเถร (พลับ ฐิติกโร)" }, { "docid": "405269#4", "text": "คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ถือว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์” คือพระบุคคลที่สามของพระเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ อันประกอบด้วยพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ คริสตชนเชื่อว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์นี้เป็นผู้เปิดเผยพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ว่า “ยาห์เวห์” ต่อประชาชนชาวอิสราเอล และเป็นผู้ส่งพระบุตรคือพระเยซูมาช่วยประชาชนนั้นให้รอดจากพระพิโรธ และส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มาเพื่อชำระและประทานชีวิตแก่คริสตจักร พระเจ้าที่ทรงเป็นตรีเอกภาพนี้มีสาม “พระบุคคล” แต่เป็นภาวะพระเจ้าเดียว ซึ่งเรียกว่าเทวภาพ (Godhood) ซึ่งเป็นพระสารัตถะของพระเจ้า", "title": "พระวิญญาณบริสุทธิ์" }, { "docid": "860574#9", "text": "ท่านเป็นพระนักปฏิบัติพระกรรมฐานที่มีศีลาจารวัตรอันงดงาม เทศนาธรรมอบรมกรรมฐานแก่พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา เช่น รับเป็นธุระเทศนาอบรมที่ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จ.กรุงเทพฯ ศาลาห้าแยกวัชรพล หรือรับกิจนิมนต์ไปเทศนาอบรมตามสถานที่ต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น แม้อายุกาลพรรษาล่วงเข้าสู่วัยชราภาพ หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก ก็ยังเมตตาต่อศิษยานุศิษย์นำปฏิบัติกรรมฐานนั่งสมาธิภาวนาที่วัดป่าวิเวกธรรมเป็นประจำทุกวัน", "title": "พระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก)" }, { "docid": "28453#3", "text": "ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2488 ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระโพธิญาณมุนี (ดำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา ทางพระพุทธศาสนา เป็นมคธว่า \"มหาวีโร\" พรรษาแรก ในชีวิตสมณะผู้ละวาง ท่านได้พำนักศึกษาปฏิบัติธรรม อยู่กับท่านพระอาจารย์คูณ อุตตโม วัดประชาบำรุง มหาสารคาม ปีต่อมา พ.ศ. 2489 ท่านได้จาริกไปจำพรรษ ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีโอกาสศึกษา ปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต", "title": "พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร)" }, { "docid": "400045#1", "text": "เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า รวมทั้ง เป็นเพื่อนสหธรรมิกกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ตั้งแต่ครั้งสมัยที่ท่านทั้งสามยังมีอายุพรรษาไม่มากนัก", "title": "พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)" } ]
592
อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน จบการศึกษาสูงสุดจากที่ไหน ?
[ { "docid": "193765#0", "text": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน () เป็นนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในเรื่อง\"หลักหน่วยสุดท้ายดั้งเดิม\" (Proto-Marginalists) คนหนึ่ง โดยงานหลักของเขาจะเป็นงานเขียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการค้นคว้าใน\"หลักคณิตศาสตร์แห่งความมั่งคั่ง\" (Principle of Wealth) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ยังไม่มีใครสามารถที่จะล้มล้างได้ในขณะนั้น ทั้งนี้ผลงานเขาก็ยังคงมีอิทธิพลในปัจจุบันด้วย\nอ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1801 ในชุมชนเล็ก ๆ นามว่า เกร (Gray) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดโอต-โซนของประเทศฝรั่งเศส จบการศึกษาจากโรงเรียนประจำชุมชนเมื่ออายุได้ 15 ปี สี่ปีต่อมาเขาได้ทำงานเป็นเสมียนในสำนักงานของทนายความ ขณะเดียวกันเขาก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานทางด้านกฎหมายและปรัชญาควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้รับแรงบันดานใจจากการทำงานของเขาที่สำนักทนายความลาปลัส (Laplace) ซึ่งทำให้เขารู้ว่าเขาต้องการที่จะศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จนกระทั่งเขามีอายุได้ 19 ปี เขาได้สมัครเรียนทางด้านคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเบอซ็องซง และต่อจากนั้นได้สอบผ่านเข้าเรียนต่อในสถาบันที่มีชื่อว่า Normale Supérieure ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปารีสในปี 1821\nจากเหตุผลทางการเมือง ทำให้สถานที่ที่เขาได้ศึกษาอยู่ในขณะนั้นต้องปิดลงในปีต่อมา ซึ่งเขาแก้ปัญหาโดยย้ายไปเรียน ณ มหาวิทยาลัยซอร์บอน (Sorbonne) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในฝรั่งเศส โดยเรียนในสาขาคณิตศาสตร์ เขาได้ทุ่มเทฝีมืออย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้เข้าสังคมปัญญาชนและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเขามีความสนใจเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการในชั้นเรียน ตลอดจนในห้องรับแขกของนายโชแซฟ ดรอซ (Joseph Droz) นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นแนวคิดของเขาได้มีอิทธิพลในสถาบันที่เขาเรียนอย่างมาก โดยมีลากร็องฌ์ (Lagrange) และอาแช็ต (Hachette) เพื่อนร่วมชั้นที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ มารี อ็องตวน กงดอร์เซ (Marie Antoine Condorcet) ที่ชักจูงให้เขาเข้าสังคมทางคณิตศาสตร์ และนั่นเป็นการเข้าสังคมที่ทำให้เขาสามารถเชื่อมโยงในเรื่องคณิตศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเขาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอายุน้อยเมื่อเทียบกันกับเพื่อนที่เป็นนักคณิตศาสตร์ด้วยกัน", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" } ]
[ { "docid": "193765#1", "text": "ในปี 1823 เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยเขียนหนังสือให้กับนายมาร์แชล กูววง แซ็ง ซีร์ (Marshal Gouvoin Saint Cyr) และเขายังได้เป็นครูสอนพิเศษให้กับบุตรชายของมาร์แชลด้วย ต่อมาอีกสิบปีเขาก็ยังคงอยู่ที่กรุงปารีส ในยามว่างจากการทำงานเขามักจะศึกษาค้นคว้าตามแนวทางของตนเอง จนกระทั่งปี 1829 เขาก็ได้รับปริญญาเอกในด้านกลศาสตร์และดาราศาสตร์ โดยหลังจากที่อาจารย์มารีได้เสียชีวิตในปี 1830 เขาได้เรียบเรียงและตีพิมพ์ชีวประวัติของอาจารย์ท่านนี้ด้วย\nวิทยานิพนธ์และบทความบางชิ้นของได้รับความสนใจจากนายซีเมอง-เดอนี ปัวซง (Siméon-Denis Poisson) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นและเป็นผู้ชักจูงให้กูร์โนกลับเข้าศึกษาต่อ โดยในระยะแรกเขาได้ปฏิเสธ แต่ภายหลังจากที่ข้อตกลงของครอบครัวของ Saint Cyr หมดลงแล้ว เขาได้มาทำงานในตำแหน่งงานชั่วคราวของสถาบันการศึกษาในปารีส และในระหว่างนั้นเขาได้ทำการแปลบทความเกี่ยวกับดาราศาสตร์ของ John Herschel และบทความเกี่ยวกับกลศาสตร์ของ Dionysus Lardner\nในปี 1834 เขาได้เข้าไปยังสำนักงานของปัวซงที่เมืองลียง (Lyons) ซึ่งเขาคิดว่าเป็นแหล่งการค้นคว้าทางด้านการวิเคราะห์และทางด้านกลศาสตร์ที่ดีเลยทีเดียว ในปีต่อมาเขาได้รับความไว้วางใจจากปัวซงให้เป็นอธิการบดีที่สถาบันแห่งเกรอนอบล์ (Grenoble) ที่นั่นเขาได้ทำงานเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการเป็นส่วนใหญ่\nในปี 1839 เขาถูกเรียกตัวไปตรวจสอบอย่างละเอียด ในปีเดียวกันเขาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินผู้ซื่อสัตย์ตลอดจนผลงานของเขาทางเศรษฐศาสตร์รวมถึงงานวิจัยชิ้นเอกของเขาได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นในปีเดียวกันนี้ด้วยและเขาได้เริ่มให้ข้อคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับบทบาทของการประยุกต์คณิตศาสตร์ในสังคมศาสตร์ โดยการประกาศจุดยืนในการใช้คณิตศาสตร์เป็นเพียงแนวทางความคิดและทำให้เข้าใจในข้อเสนอของเขาได้ดีที่จะนำไปสู่การคำนวณข้อสมมติต่างๆออกมาเป็นตัวเลขซึ่งเขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของนาย N.F. Canard ที่เป็นคนเสนอความคิดมาก่อนเขา\nหนังสือของเขาที่แต่งขึ้นในสามบทแรกพูดได้ถึงคำจำกัดความของความมั่งคั่งความสัมบูรณ์กับความสัมพันธ์ทางด้านราคาในเรื่อง กฎแห่งราคาเดียว (absolute vs. relative prices and the law of one price)\nในบทที่สี่เขาได้อธิบายเกี่ยวกับฟังก์ชันอุปสงค์ของเขาเองโดยให้รูปแบบทั่วไปของฟังก์ชันอุปสงค์เท่ากับฟังก์ชันของราคา D = F (p) เขาสมมติให้ F เป็นฟังก์ชันอุปสงค์โดยเป็นเส้นลาดลง (Downward Sloping) หรือเทียบได้กับกฎอุปสงค์ (Law of Demand) ในปัจจุบัน อีกทั้งได้แนะนำแนวคิดเกี่ยวกับความยืดหยุ่น (Elasticity) แต่ยังไม่ได้เขียนในเชิงคณิตศาสตร์\nมีข้อสำคัญที่ควรสังเกตคือ จากฟังก์ชันอุปสงค์ยังไม่เป็นการกำหนดอุปสงค์ที่อยู่ในยุคปัจจุบัน เส้นโค้งของเขาที่ D = F (p) นั่นเป็นเพียงการสรุปความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณที่มาจาการสังเกตราคาและการซื้อขายโดยทั่วไปที่มองจากฐานะของผู้ซื้อ หรือผู้อุปสงค์กล่าวคือ เมื่อราคาสูงขึ้น ความต้องการสินค้าจะมีในปริมาณที่น้อยลง แปรผกผันกัน กูร์โนปฏิเสธทฤษฎีทั้งหลายที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีอรรถประโยชน์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอุปสงค์เขาได้อีกกล่าวว่า\" แนวความคิดของอรรถประโยชน์ ความขาดแคลนและความเหมาะสมที่จำเป็นและความเพลิดเพลินเกี่ยวกับมนุษยชาติคือตัวแปรและความไม่แน่นอนทางธรรมชาติ\" ผลลัพธ์ที่ได้คือความเหมาะสมอันเลวร้ายสำหรับการสร้างทฤษฎีโดยอาศัยหลักแห่งความเป็นจริง\"the utility of the article, the nature of the services it can render or the enjoyments it can procure, on the habits and customs of the people, on the average wealth, and on the scale on which wealth is distributed.\" เขามั่นใจในความคิดของตัวเขาเอง เขากล่าวว่า \" รูปแบบฟังก์ชันของเขา ขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า และสิ่งที่แสดงออกในการบริการบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์\"\nในบทที่ห้า เขาได้ข้ามไปยังการวิเคราะห์การผลิตแบบผูกขาด (Monopoly) ในที่นี้เขาได้เริ่มแนวคิดการผลิตที่ทำให้เขาได้กำไรสูงที่สุด ขั้นแรกเขาได้นำเข้าสู่ฟังก์ชันต้นทุน F (D) และอธิบายการลดลง การคงที่และการเพิ่มขึ้นของผลได้ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของต้นทุน โดยแสดงทางคณิตศาสตร์ให้เห็นว่าผู้ผลิตจะเลือกผลิตในปริมาณที่รายได้หน่วยสุดท้าย (MR: Marginal Revenue) เท่ากับต้นทุนหน่วยสุดท้าย (MC : Marginal Cost) เขาได้แสดงให้เห็นอีกว่า ฟังก์ชันต้นทุนที่แท้จริงนั้นเป็นฟังก์ชันของราคา f' (D(p)) = y (p))\nในบทที่หก เขาได้ตรวจสอบผลกระทบจากภาษี (Tax) ความเต็มใจจ่ายในราคาที่เกิดขึ้น ปริมาณการผลิตในรูปแบบของตัวแปร ทั้งยังชี้ให้เห็นผลกระทบว่าการเก็บภาษีจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างไร\nในบทที่เจ็ดเขาได้เสนอแบบจำลองของของผู้ขายน้อยราย (Duopoly) ที่มีชื่อเสียงของเขา เขาได้ออกแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตสินค้าของผู้ผลิตเพียง 2 คน ในสินค้าเดียวกัน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ ผู้ผลิตแต่ละคนมีความคิดว่า\"การตัดสินใจในการผลิต ปริมาณสินค้าจะได้รับอิทธิพลจากราคาที่ต้องเผชิญและกำไรที่คาดว่าจะได้รับ\" เพราะฉะนั้นผู้ผลิตแต่ละคนจะเลือกทำการผลิตในปริมาณที่ทำให้ได้กำไรมากที่สุด คณิตศาสตร์ของเขาจึงมาจากการที่ผู้ผลิตทำการผลิตในปริมาณที่คาดคะเนว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะทำการผลิตอีกเท่าไร เพื่อที่จะได้ทำการผลิตให้สอดคล้องกัน (ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป) กูร์โนได้แสดงเส้นโค้ง reaction จากผู้ผลิตทั้งสองที่ทำการผลิต สามารถตัดกันได้ที่จุดดุลยภาย (equilibrium) ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เขาได้อธิบายภายใต้แบบจำลองผู้ผลิตน้อยราย ซึ่งราคาจะต่ำกว่าและปริมาณการผลิตจะสูงกว่าแบบจำลองผู้ผลิตแบบผูกขาดซึ่งการอธิบายของเขาทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า \"การเพิ่มผู้ผลิตจะทำให้ปริมาณสินค้ามากขึ้นและราคาสินค้าจะลดลง\"", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "282119#2", "text": "ขณะที่กูลงยังเยาว์วัย ครอบครัวของกูลงได้ย้ายไปยังกรุงปารีส ต่อมากูลงได้เข้าเรียนในวิทยาลัยมาซาแร็ง (Mazarin College) อันมีชื่อเสียง เขาได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์กับปีแยร์ ชาร์ล มอนีเย (Pierre Charles Monnier) จนในที่สุดกูลงก็หลงใหลวิชาคณิตศาสตร์ ครั้นอายุได้ 21 ปี กูลงจึงกลับไปพักอาศัยกับบิดาและทำงานในวิทยาลัยในเมืองมงเปอลีเย สองปีให้หลัง เขาจึงตัดสินใจกลับกรุงปารีสและสอบเข้าโรงเรียนทหารที่เมืองเมซีแยร์ (Mézières)", "title": "ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง" }, { "docid": "193765#2", "text": "ในบทที่แปด เขาได้อธิบายถึงกรณีของการแข่งขันแบบไม่มีขีดจำกัด นั่นคือที่ปริมาณการผลิตที่สูงจากการที่มีผู้เข้ามาทำการผลิตมาก โดยที่ผู้ผลิตนั้นไม่ได้ใส่ใจผลผลิตที่จะเกิดขึ้น จะทำให้เขาจะได้รับราคาและปริมาณการผลิตที่อยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า การแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (Perfectly Competitive) ในขั้นนี้ราคาจะเท่ากับต้นทุนหน่วยสุดท้าย (P=MC)\nในบทที่เก้า เขาได้เริ่มเรื่องขึ้นมาใหม่ ซึ่งนำเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารทางการค้า (communication of markets) หรือการค้าขายสินค้าชนิดเดียวกันระหว่างภูมิภาค\nในบทที่สิบ เขาได้วิเคราะห์ประเทศที่เป็นอิสระจากกันจำนวนสองประเทศและผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน เขาแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างสองประเทศที่จะนำไปสู่ดุลยภาพของราคา ประเทศใดที่ผลิตสินค้าโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าจะส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ผลิตสินค้าที่ใช้ต้นทุนที่สูงกว่า กูร์โนพยายามพิสูจน์เงื่อนไขที่ว่าการเปิดการค้าเสรีจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณสินค้าส่งออกและรายรับที่ลดลงของประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ซึ่งต่อมาเขาได้อธิบายผลกระทบของภาษีนำเข้าและภาษีส่งออก จากคำอธิบายนี้เขาได้ตั้งข้อสงสัยในบทถัดไปเกี่ยวกับกำไรจากการค้าและการป้องกันกำไรจากภาษีนำเข้าอีกด้วย\nบทส่งท้าย ในการอธิบายดังกล่าวได้นำมาซึ่งทฤษฎีดุลยภาพบางส่วนแต่ยังไม่สมบูรณ์ เขาต้องการแสดงว่า การนำเอาหลายตลาดมาพิจารณาและพยายามจะแก้ไขปัญหาเพื่อหาดุลยภาพโดยทั่วไป แต่มันยากเกินกว่าที่จะอธิบายได้โดยการใช้คณิตศาสตร์ (but 'this would surpass the powers of mathematical analysis')\nผลงานของเขาในปี 1838 ที่ตีพิมพ์ออกมา แทบจะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก ผู้ที่มีอิทธิพลทางวิชาเศรษฐศาสตร์ในฝรั่งเศสในขณะนั้นไม่ได้ให้ความสนใจในความคิดของเขาเลยซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจของกูร์โนยิ่งนัก\nในปี 1839 ปัวซงป่วยด้วยโรคระบาดจึงได้ขอร้องให้กูร์โนเป็นตัวแทนของเขาในการประชุมทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์แทน ณ Conseil Royal หลังจากที่ปัวซงได้เสียชีวิตไปแล้ว กูร์โนก็ได้สานต่อเจตนารมณ์ของปัวซงที่มอบหมายให้เขาทำหน้าที่แทนเขาอีกทั้งให้เป็นตัวแทนผู้สืบทอดมรดก\nในปี 1841 เขาได้ตีพิมพ์บทความการวิเคราะห์จากเมืองลียง เพื่ออุทิศให้กับปัวซง และอีกสองปีต่อมาเขาได้สร้างทฤษฎีความเป็นไปได้โดยมีข้อแตกต่างระหว่างความเป็นไปได้อยู่สามชนิดได้แก่ จุดประสงค์ เงื่อนไขและปรัชญา โดยสองอย่างแรกมาจากความเป็นจริงตามหลักธรรมชาติและอย่างที่สามอ้างอิงจากความเป็นไปได้\" which depend mainly on the idea that we have of the simplicity of the laws of nature.\"\nภายหลังการปฏิวัติในปี 1848 กูร์โนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประจำการ ณ Hautes Études ในระหว่างนั้นเขาได้เขียนตำราเล่มแรกเกี่ยวกับปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นในปี 1854 เขาได้เข้ารับตำแหน่งอธิการบดี ณ เมืองดีฌง อย่างไรก็ตามสายตาของเขาก็เริ่มแย่ลงมากขึ้นทุกวัน เขาจึงออกจากการสอนในปี 1862 และย้ายกลับกรุงปารีส\nในปี 1859 เขาได้เขียนความทรงจำของตังเองในอดีตเพื่อเป็นอนุสรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์และชีวประวัติของตัวเองและตำราทางปรัชญาก็ถูกตีพิมพ์อีกสองเล่มในเวลาต่อมาในปี 1861 และปี 1872 ซึ่งได้รับการกล่าวขานในสังคมปรัชญาของฝรั่งเศสโดยผลงานของเขาไม่ได้เสนอความคิดเห็นทางเศรษฐศาสตร์แต่อย่างใด หลังจากนั้นในปี1863 เขาได้นำเศรษฐศาสตร์มาเป็นหลักในการศึกษาค้นคว้าอีกครั้งแต่ต่อมาความสนใจทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเขาได้จบลงเมื่อการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบทความทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผลงานที่มาจากแนวคิดของริคาร์โด นำมาซึ่งสร้างความขมขื่นให้แก่ตัวเขาเป็นอันมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามการปฏิวัติหลักหน่วยสุดท้ายในขณะนั้นได้เริ่มเกิดขึ้นจากนักเศรษฐศาสตร์ชื่อลีอง วาลราส (Léon Walras) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้อ่านผลงานของกูร์โนมาก่อน ซึ่งต่อมาวาลราสได้โต้แย้งเกี่ยวกับทฤษฎีของเขาและก็ได้ยอมรับลักษณะทั่วไปในการค้าที่ประกอบไปด้วยหลายตลาดตลอดจนทฤษฎีดุลยภาพบางส่วนของกูร์โน แต่ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อย่างเฌอวงยังไม่ได้อ่านบทความของกูร์โนมาก่อน ถึงกระนั้นก็ยังให้การยอมรับกูร์โนว่าเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ในวงการปฏิวัติหน่วยสุดท้ายและต่อมาก็ได้ปรับปรุงพัฒนาทฤษฎีของกูร์โนให้ดียิ่งขึ้น\nในขณะที่เอ็ดเวิร์ด (Francis Ysidro Edgeworth) ได้ไปหากูร์โนเพื่อศึกษาทฤษฎีการแข่งขันสมบูรณ์ และทางด้านมาร์แชล (Alfred Marshall) ได้ร้องขอให้เขากลับมาในปี 1868 อีกสองปีต่อมาหนังสือของเขาก็เป็นที่แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะทฤษฎีการตัดสินใจของหน่วยธุรกิจ\nกูร์โนมีชีวิตยืนยาวพอที่จะได้ชื่นชมกับผลงานของวาลราสและเฌอวงด้วยความรู้สึกรักใคร่สนิทสนมซึ่งปรากฏในหนังสือที่มีชื่อว่า\" Cournot's Revue sommaire\" (1877) อย่างเห็นได้ชัด\nในเวลาต่อมาผลงานของเขาก็ไม่ได้ใส่บทความที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อีกเลย ดูเหมือนว่าเขาจะชื่นชมยินดีในความพยายามของวาลราสที่สามารถเป็นที่ยอมรับของสถาบันการศึกษาของฝรั่งเศสได้ ตลอดจนได้โต้แย้งนักวิชาการทั้งหลายที่มีความคิดเห็นที่ไม่ยุติธรรมต่อตัวเขาและในปี 1877 กูร์โนก็ได้เสียชีวิตลง", "title": "อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน" }, { "docid": "817602#5", "text": "จบการศึกษาประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 จากวัดเขาแก้วเปิดสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดเขาแก้วขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2498 โดยมีพระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถร ป.ธ.8) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นประธานเปิดสำนัก พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ)\nเป็นผู้อำนวยการ พระครูนิสิตคุณากร (กัน คงฺครตโน) เจ้าอาวาสวัดเขาแก้วเป็นผู้อุปถัมภ์", "title": "พระครูนิสิตคุณากร (กัน คงฺครตโน)" }, { "docid": "119077#1", "text": "โอเอะ คินทาโร่ เป็นเด็กหนุ่มอายุ 25 ปี ที่ออกจากมหาวิทยาลัยโตเกียวกลางคัน เหตุเพราะเชี่ยวชาญในหลักสูตรหมดทุกอย่างแล้ว จึงอยากมาศึกษาชีวิตจริงในสังคม ในเนื้อเรื่อง คินทาโร่ จะเป็นผู้ที่เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆในประเทศญี่ปุ่นเพื่อทำงานพิเศษและหาความรู้จากชีวิตจริง โดยเขาจะท่องคติประจำใจว่า เบงเกียว เบงเกียว เบงเกียว (勉強 \"benkyō\" แปลว่า เรียนรู้) อยู่ซ้ำๆไปเรื่อย เพื่อย่ำให้ตัวเองศึกษาหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ", "title": "โกลเด้นบอย" }, { "docid": "282119#3", "text": "ครั้นปี พ.ศ. 2304 กูลงก็สำเร็จการศึกษาและได้เข้าร่วมภารกิจสร้างป้อมบูร์บง (Fort Bourbon) ที่มาร์ตีนิก คราวที่เกิดสงครามเจ็ดปี เขาใช้ชีวิตที่นั่นแปดปีเพื่อควบคุมงานจนติดไข้ป่า ระหว่างนั้น เขาได้ทดลองว่าด้วยความทนทานของปูนก่อสร้างและโครงสร้างค้ำยัน ด้วยความอุตสาหะต่อมาเขาได้ยศเป็นนายพัน จากนั้นกูลงจึงเดินทางกลับกรุงปารีส แล้วทำงานที่เมืองลารอแชล ริมชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ณ ที่นั่นเขาได้ค้นพบกฎกำลังสอง\nผกผันของประจุ ทำนองเดียวกับกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน", "title": "ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง" }, { "docid": "987209#4", "text": "เนทันยาฮูเข้าศึกษาที่เชลเทนแฮมไฮสกูล ในวินโกต รัฐเพนซิลเวเนีย โดยสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1964 ในฐานะเพื่อนร่วมชั้นของเรจจี แจ็กสัน ผู้เป็นสมาชิกหอเกียรติยศเบสบอล เมื่อครั้งที่อยู่ในไฮสกูล เขาเริ่มใคร่ครวญจุดมุ่งหมายในชีวิต เมื่อเขาเขียนหนังสือในปี ค.ศ. 1963 โดยเขียนว่า \"ปัญหาต่อวัยรุ่นที่นี่คือชีวิตของพวกเขาที่ขาดแคลนความพึงพอใจ ฉันควรจะพร้อมในทุกช่วงเวลาของชีวิตที่จะเผชิญหน้ากับตัวเองและพูด—'นี่คือสิ่งที่ฉันได้ทำ'\"", "title": "โยนาทัน เนทันยาฮู" }, { "docid": "77609#3", "text": "นับจากที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้านายช่าง 2 ปี อ็องรีได้ศึกษาการเรืองแสงอย่างช้า (phosphorescence) ในเกลือยูเรเนียม จนเขาได้พบกัมมันตรังสีเข้าโดยบังเอิญ โดยเขาได้วางโพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต ซึ่งตกทอดมาจากพ่อของเขา ไว้บนฟิล์มถ่ายรูปและวัสดุดำ จากนั้นนำไปตั้งไว้กลางแดด โดยเขาได้อธิบาย ณ ที่ประชุมวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส มีใจความดังนี้", "title": "อ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล" }, { "docid": "53885#7", "text": "นอกจากที่อ็องตวนจะศึกษาวิทยาศาสตร์แล้ว เขายังศึกษากฎหมายและการเมืองจนได้เป็นเนติบัณฑิต เมื่ออายุ 26 ปี เขาได้เป็นเจ้าพนักงานเก็บอากร ซึ่งเขาก็ได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรและการคลัง พร้อมกับพัฒนาหน่วยวัดในระบบเมตริก ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศฝรั่งเศส", "title": "อ็องตวน ลาวัวซีเย" } ]
613
บริษัท ปตท. จำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไหน?
[ { "docid": "78603#0", "text": "บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (, ชื่อย่อ: PTT) เป็นบริษัทด้านพลังงานของไทยที่แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งมาจากการรวมกิจการพลังงานของรัฐทั้ง 2 องค์กร คือองค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมครบวงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900", "title": "ปตท." } ]
[ { "docid": "236389#10", "text": "บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งอยู่ที่ อาคารสำนักงานใหญ่ ปณท. ถนนแจ้งวัฒนะ โดยปฏิรูปภาพลักษณ์ใหม่ ปรับปรุงบริการและการให้บริการไปรษณีย์แก่ประชาชนทั่วไปและพัฒนาการให้บริการเชิงธุรกิจ เพื่อให้ ปณท. ก้าวไกล ทันสมัย ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตลอดไป", "title": "การไปรษณีย์ในประเทศไทย" }, { "docid": "78603#7", "text": "บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เริ่มแปรรูปเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2 พันล้านหุ้น โดยมี กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544รายชื่อของบริการในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ ทั้งบริการโดย ปตท. และบริการจากภายนอก", "title": "ปตท." }, { "docid": "39370#1", "text": "ปัจจุบัน ปตท.สผ. มี โครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 36 โครงการ ใน 10 ประเทศ โดยอยู่ในระยะการสำรวจ 13 โครงการ และระยะการผลิต 23 โครงการ ปี พ.ศ. 2530 ปตท.สผ. เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในปัจจุบัน มีทุนจดทะเบียน 3,322 ล้านบาท โดยมีผู้ถือหุ้นหลัก คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)\nปริมาณสำรองพิสูจน์แล้วรวมทุกโครงการของ ปตท.สผ. และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คิดเป็นปริมาณ 631 ล้านบาร์เรลทียบเท่าน้ำมันดิบเว็บไซต์ ปตท.สผ.", "title": "ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม" }, { "docid": "15807#2", "text": "ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เข้ามาเป็นผู้ร่วมทุนในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่สัมปทานเอส 1 โดยที่บริษัท ปตท.สผ. ถือหุ้นร้อยละ 25 และบริษัทไทยเชลล์ถือหุ้นร้อยละ 75 ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 บริษัท ปตท.สผ. ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทไทยเชลล์ ทำให้บริษัท ปตท.สผ. เป็นเจ้าของสัมปทานเอส 1 ทั้งหมด และกลายเป็นผู้ดำเนินการแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ แหล่งน้ำมันอันทรงคุณค่าของประเทศไทย", "title": "อำเภอลานกระบือ" }, { "docid": "78990#4", "text": "หลังจากนั้นมีการ ปรับโครงสร้างปตท. จึงได้นั่งตำแหน่งเป็นผู้จัด การใหญ่ ปตท.น้ำมัน ก่อนจะถูกโยกย้ายให้ดูแล ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ในตำแหน่ง ผู้จัดการใหญ่ ปตท. ก๊าซธรรมชาติ ในปี 2543 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ ยังได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัททรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด", "title": "ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" }, { "docid": "321485#0", "text": "บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทด้านพลังงานของไทยที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) และ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) (RRC) ปัจจุบันยุบเลิกและรวมกิจการกับบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็นบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554บริษัทดำเนินการกลั่นน้ำมันและจัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปซึ่งประกอบด้วย", "title": "ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น" }, { "docid": "344916#4", "text": "และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีการปรับโครงสร้างอีกครั้งตามนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็น บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้ดูแล บริการด้านไปรษณีย์ทั้งหมด มีสำนักงานใหญ่ที่ถนนแจ้งวัฒนะที่ทำการไปรษณีย์เคยมีการให้บริการด้านโทรเลขด้วย ดังนั้นในอดีตจึงใช้คำว่า ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข แทน แต่หลังจากที่งานด้านโทรเลขแยกไปอยู่กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า ที่ทำการไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับหน้าที่และบริการของแต่ละแห่ง ตัวอย่างเช่น", "title": "ไปรษณีย์ไทย (บริษัท)" }, { "docid": "39370#0", "text": "บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ตัวย่อภาษาอังกฤษ PTTEP ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2528 โดยคณะรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดตั้ง \"บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด\" ขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจหลัก คือ สำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ รวมทั้งลดการพึ่งพาการนำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศ", "title": "ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม" }, { "docid": "321485#11", "text": "PTTUT เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง PTTAR ปตท. และปตท.เคมิคอล ในสัดส่วนร้อยละ 20/40/40 เพื่อผลิตและจำหน่ายสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำทุกประเภทที่ ใช้ในอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และสาธารณูปการอื่น ให้กับโครงการต่าง ๆ ของบริษัทในเครือ ปตท. โดยปัจจุบัน PTTUT ได้เริ่มจำหน่ายสาธารณูปโภคให้กับบาง บริษัทแล้ว เช่น โครงการผลิตสาร EO/EG ของ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด นอกจากนี้ PTTUT อยู่ระหว่างการก่อสร้างหน่วยผลิตต่าง ๆ ตามแผนธุรกิจที่วางไว้เพื่อ รองรับโครงการใหม่ ๆ ของบริษัทในกลุ่ม ปตท. เช่น โครงการ PPCL และ CPX II ของ PTTAR เป็นต้น", "title": "ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น" } ]
619
สาธารณรัฐโรมัน เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
[ { "docid": "731856#0", "text": "สาธารณรัฐโรมัน (, ) สถาปนาสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1849, โดยรัฐพระสันตะปาปาได้จัดให้มีการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐภายใต้รัฐบาลของ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 ที่เมือง เกตา. สาธารณรัฐแห่งนี้จัดดตั้งโดย คาร์โล อาร์เมมลินี, กุยเซปเป มาสซินี และ อูเรลิโอ ซาฟฟี โดยนำรูปแบบการปกครองของสาธารณรัฐโรมันยุคก่อนคริสตกาล", "title": "สาธารณรัฐโรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 19)" }, { "docid": "159041#0", "text": "สาธารณรัฐโรมัน () (อังกฤษ: ) เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน ค.ศ. และแทนที่ด้วยรัฐบาลซึ่งนำโดยกงสุลสองคน ซึ่งพลเมืองเลือกตั้งทุกปีและได้รับคำแนะนำจากวุฒิสภา รัฐธรรมนูญที่ซับซ้อนค่อย ๆ ได้รับการพัฒนา โดยมีศูนย์กลางอยู่บนหลักการแบ่งแยกอำนาจและการตรวจสอบและถ่วงดุล ยกเว้นในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงของประเทศ ตำแหน่งราชการถูกจำกัดไว้ที่หนึ่งปี เพื่อที่ในทางทฤษฎีจะไม่มีปัจเจกบุคคลใดสามารถครอบงำพลเมืองได้", "title": "สาธารณรัฐโรมัน" }, { "docid": "278586#9", "text": "รัฐที่เข้าประเด็นอีกอย่างก็คือโรมโบราณ โดยเฉพาะของสาธารณรัฐโรมันเริ่มต้นที่ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช\nโรมได้มีลักษณะต่าง ๆ ของประชาธิปไตยทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เริ่มตั้งแต่ราชอาณาจักรโรมันจนกระทั่งถึงจักรวรรดิโรมันล่ม\nจริง ๆ แล้ว วุฒิสภาโรมันได้ตั้งขึ้นตั้งแต่วันแรก ๆ ของการตั้งเมือง คงอยู่ตลอดยุคราชอาณาจักร สาธารณรัฐ และจักรวรรดิ และยังคงอยู่แม้หลังจากที่โรมตะวันตกเสื่อมลง\nโดยโครงสร้างและข้อบังคับของวุฒิสภาโรมันก็ยังทรงอิทธิพลในสภานิติบัญญัติปัจจุบันต่าง ๆ ทั่วโลก\nสำหรับกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง สาธารณรัฐโรมันโบราณมีระบบการออกกฎหมายโดยประชาชน ซึ่งรวมการร่างกฎหมาย การผ่านกฎหมาย และอำนาจการยับยั้งกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติออก\nนักประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งกำหนดจุดจบของสาธารณรัฐด้วยการผ่านกฎหมายชื่อว่า \"Lex Titia\" ซึ่งล้างบทบัญญัติการควบคุมดูแลของประชาชนและวุฒิสภาโดยมาก", "title": "ประชาธิปไตยโดยตรง" }, { "docid": "246633#0", "text": "ราชอาณาจักรโรมัน (ละติน: Regnum Romanum) เป็นอาณาจักรที่มีผู้ปกครองเป็นกษัตริย์แห่งโรมซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโรมันไม่เป็นที่ทราบแน่นอนเพราะไม่มีหลักฐานใดใดจากสมัยนั้นนอกจากประวัติศาสตร์ที่มาเขียนขึ้นภายหลังระหว่างสมัยสาธารณรัฐโรมันและในสมัยจักรวรรดิโรมันและส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาที่มาจากตำนาน แต่ประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโรมันเริ่มด้วยการก่อตั้งกรุงโรมที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นในปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชและมาสิ้นสุดลงด้วยการโค่นราชบัลลังก์และการก่อตั้งสาธารณรัฐในปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช", "title": "ราชอาณาจักรโรมัน" }, { "docid": "77808#0", "text": "จักรวรรดิโรมัน (; ; ) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก่", "title": "จักรวรรดิโรมัน" } ]
[ { "docid": "159041#1", "text": "ในทางปฏิบัติ สังคมโรมันเป็นแบบลำดับชั้น วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโรมันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการต่อสู้ระหว่างชนชั้นสูงผู้ถือครองที่ดินของโรม (พวกคณะพรรค) ผู้ซึ่งมีบรรพบุรุษย้อนไปตั้งแต่ประวัติศาสตร์ยุคต้นของอาณาจักรโรมัน กับชนชั้นไพร่ฟ้าประชาชน (พวกสามัญ) ที่มีจำนวนมากกว่ามาก เมื่อเวลาผ่านไป กฎหมายซึ่งให้สิทธิ์ขาดตำแหน่งสูงสุดของโรมแก่พวกคณะพรรคถูกยกเลิกหรือหย่อนลง ทำให้พวกสามัญเริ่มเข้ามาเรียกร้องสิทธิในอำนาจ บรรดาผู้นำของกรุงโรมได้พัฒนาประเพณีและศีลธรรมแข็งซึ่งต้องการบริการส่วนรวมและการอุปถัมภ์ในยามสันติและสงคราม หมายความว่า ความสำเร็จทางทหารและการเมืองเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ได้ ระหว่างสองศตวรรษแรก สาธารณรัฐโรมันได้ขยายตัวผ่านการพิชิตและพันธมิตรร่วมกัน จากอิตาลีตอนกลางเป็นทั้งคาบสมุทรอิตาลี เมื่อถึงศตวรรษต่อมา รวมถึงแอฟริกาเหนือ คาบสมุทรไอบีเรีย กรีซ และพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นฝรั่งเศสตอนใต้ อีกสองศตวรรษจากนั้น ใกล้ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล รวมถึงฝรั่งเศสปัจจุบันที่เหลือ และพื้นที่อีกมากในทางตะวันออก ถึงขณะนี้ แม้จะมีข้อจำกัดตามประเพณีและกฎหมายของสาธารณรัฐต่อการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองอย่างถาวรของบุคคล การเมืองโรมันถูกครอบงำโดยผู้นำโรมันไม่กี่คน พันธมิตรที่อึดอัดระหว่างพวกเขาถูกคั่นด้วยสงครามกลางเมืองเป็นระยะ", "title": "สาธารณรัฐโรมัน" }, { "docid": "246628#0", "text": "วุฒิสภาโรมัน () เป็นสถาบันทางการเมืองของโรมันโบราณที่ก่อตั้งก่อนที่พระมหากษัตริย์แห่งโรมพระองค์แรกจะขึ้นครองราชย์ (ที่กล่าวกันว่าเป็นเวลา 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระบบนี้รอดการล่มสลายของราชอาณาจักรโรมันเมื่อ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช, การล่มสลายของสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช และการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 ระหว่างสมัยราชอาณาจักรวุฒิสภาก็เป็นเพียงคณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์แห่งโรมองค์สุดท้ายผู้โหดร้ายลูซิอัส ทาร์ควินิอัส ซูเพอร์บัส (Lucius Tarquinius Superbus) ถูกโค่นอำนาจโดยวุฒิสภาที่นำโดยลูซิอัส จูนิอัส บรูตัส (Lucius Junius Brutus)", "title": "วุฒิสภาโรมัน" }, { "docid": "159041#5", "text": "ด้วยการพยายามปกป้องอาณาเขตของตนจากเพื่อนบ้านและศัตรูผู้รุกราน ชาวโรมันได้ขยายอาณาเขตของสาธารณรัฐโรมันไปจนถึงดินแดนของชาวอีทรัสคันทางตอนเหนือ ตลอดจนดินแดนเกาะซิซิลีทางตอนใต้ซึ่งเคยถูกปกครองโดยกรีก กล่าวได้ว่าสาธารณรัฐโรมันในปี 270 ก่อนค.ศ. ได้ครอบครองดินแดนเกือบทุกส่วนของที่เป็นประเทศอิตาลีในปัจจุบัน เมื่อสาธารณรัฐโรมันเกิดความขัดแย้งกับชาวคาร์เธจในประเด็นเรื่องการค้าในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก็เกิดเป็นสงครามครั้งใหญ่ขึ้นเรียกว่า \"สงครามพิวนิก\" ซึ่งได้กินระยะเวลายาวนานถึง 120 ปีระหว่างปี 264–146 ก่อนค.ศ. ชาวโรมันต้องเผชิญจากการรุกรานโดยกองทัพของฮันนิบาลที่พยายามบุกยึดดินแดนแถบอิตาลีโดยผ่านทางเทือกเขาแอลป์ แต่ต่อมาฮันนิบาลก็ยกทัพกลับแอฟริกาเหนือไป ในขณะเดียวกัน แม่ทัพโรมันนามว่าชิพิโอก็ได้ยกทัพไปตีกรุงคาร์เธจและได้รับชัยชนะ\nในขณะที่โรมันต่อสู้กับคาร์เธจ การค้าที่เติบโตทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นคือพวกพ่อค้าวาณิชย์และผู้รับเหมางานของรัฐ เมื่อพวกนี้มีความมั่งคั้งขึ้นก็กลายเป็นคู่แข่งของสมาชิกวุฒิสภาและบรรดาเจ้าที่ดิน ชนชั้นใหม่นี้ถูกเรียกว่า อัศวิน หรือผู้ขี่ม้า เนื่องจากคนพวกนี้สามารถเข้าทำงานในกองทัพและได้เป็นทหารม้ามากกว่าทหารราบ โดยปกติพวกอัศวินนี้จะไม่สนใจการเมืองยกเว้ยในเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของตนเอง ชัยชนะทางการทหารและการติดต่อค้าขายกับโลกกรีก ทำให้ขุนนาง เจ้าที่ดิน และอัศวินของโรมันมีความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยฟุ่มเฟือย ทำให้ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยกว้างขึ้น จนในที่สุดก็กลายเป็นความไม่สงบซึ่งบั่นทอนเสถียรภาพการปกครองโรมัน", "title": "สาธารณรัฐโรมัน" }, { "docid": "575724#1", "text": "ด้วยการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง, ราชอาณาจักรโรมาเนีย เป็นอดีตสมาชิกของฝ่ายอักษะ ถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต ที่มีบทบาทในฝ่ายสัมพันธมิตร วันที่ 6 มีนาคม 1945 หลังจากถูกสังหารหมู่ โซเวียตได้สนับสนุนและก่อตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้น ในธันวาคม ปี 1947 กษัตริย์มีไฮที่ 1ถูกบังคับให้สละราชสมบัติ และสาธารณรัฐประชาชนโรมาเนียได้ก่อตั้งขึ้น", "title": "สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย" }, { "docid": "61576#6", "text": "แม้ว่าอาณาจักรโรมันจะกลายเป็นสาธารณรัฐที่ไม่ถูกปกครองโดยกษัตริย์แต่สาธารณรัฐโรมันก็ยังอยู่ภายใต้อำนาจของทหารและกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมือง (คือผู้มีฐานะ) เกิดความไม่พอใจของประชาชนทั่วไป ความขัดแย้งของชนทั้งสองชั้นทำให้เกิดประมวลกฎหมายแรกของสาธารณรัฐโรมันคือ กฎหมาย 12 โต๊ะ ซึ่งเป็นหลักฐานอันเป็นลายลักษณ์อักษรชิ้นแรกที่จารึกเกี่ยวกับการปกครอง", "title": "ประวัติศาสตร์โรม" }, { "docid": "159041#7", "text": "การปกครองในตอนต้นของสาธารณรัฐโรมัน อำนาจยังไม่ได้อยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง อำนาจส่วนใหญ่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มขุนนางและชนชั้นปกครอง ต่อมาจึงค่อยๆมีการขยายสิทธิทางการเมืองในโรมันให้กว้างขึ้น ทำให้ราษฎรส่วนใหญ่มีสิทธิมีเสียงในการปกครอง ซึ่งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ พลเมืองโรมันสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือหลังจากชาวโรมันขับไล่ชาวอีทรัสคันออกไปได้แล้ว พวกคณะพรรคก็กลายเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองโดยผูกขาดที่นั่งในวุฒิสภาและคณะกงสุล ในขณะที่พวกสามัญซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่แม้จะถูกจำกัดสิทธิในอำนาจรัฐแต่ก็ยังสามารถสะสมเงินทองได้ ในเวลาต่อมา เมื่อพวกสามัญมีฐานะร่ำรวยขึ้น ก็ได้รณรงค์เรียงร้องสิทธิทางการเมืองที่มากขึ้นในปี 494 ก่อนค.ศ. ซึ่งในระยะแรกนั้น พวกคณะพรรคก็ไม่ยินยอม ส่งผลให้พวกสามัญได้พากันอพยพจากกรุงโรมไปยังเนินเขาศักดิ์สิทธิ์เพื่อสร้างเมืองใหม่ขึ้นมา เมื่อพวกคณะพรรคทราบเรื่องก็ต่างตกใจเพราะต่างต้องพึ่งพาอาศัยกำลังพวกสามัญเป็นแรงงานและทหาร ส่งผลให้พวกคณะพรรคต้องยอมจัดตั้งสภาขึ้นมาอีกคณะหนึ่งสำหรับให้พวกสามัญคัดเลือกผู้แทนของตนมารักษาผลประโยชน์ ผู้แทนเหล่านี้เรียกว่า ทริบุนุส (ละติน: \"Tribunus\")", "title": "สาธารณรัฐโรมัน" } ]
622
จัสติน บีเบอร์มีมารดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "281274#2", "text": "บีเบอร์เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1994 ณ ลอนดอน รัฐออนแทริโอ และโตในเมืองสแตรตฟอร์ด แม่ของเขา แพดตี้ แมลลิที (Pattie Mallette) อายุ 18 ปีตอนที่เธอได้มีลูกชายแมลลิทีได้ทำงานด้านสำนักงานโดยมีเงินเดือนต่ำ โดยเธอเลี้ยงดูบีเบอร์โดยตัวคนเดียว ยังไงก็ตาม บีเบอร์ก็ยังติดต่อกับพ่อของเขา เจเรมี บีเบอร์ (Jeremy Bieber) และเมื่อเขาโตขึ้น บีเบอร์ได้เริ่มเรียนเปียโน, กลองชุด, กีตาร์, และทรัมเป็ต ด้วยตัวเอง จนกระทั่งปี ศ.ศ. 2007 ตอนที่เขาอายุ 12 ปี บีเบอร์ได้ร้องเพลงของ Ne-Yo ชื่อเพลง \"So Sick\" ในการแข่งขันร้องเพลงที่สแตรตฟอร์ด และเขาได้ที่สอง แมลลิที้ได้โพสวีดีโอขึ้นเว็บไซต์ยูทูบเพื่อให้ครอบครัวและเพื่อนๆของเขาได้ชม และเธอก็เริ่มโพสวีดีโอที่เขาได้ร้องเพลงอื่นๆ จนกระทั่งเขาเริ่มมีชื่อเสียงจากเว็บไซต์นี้", "title": "จัสติน บีเบอร์" } ]
[ { "docid": "61445#2", "text": "พ่อแม่ของเขาหย่ากันราวปี ค.ศ. 1985 เมื่อเขาอายุราว 5 ขวบ ทั้งคู่แต่งงานใหม่ โดยแม่ของเขาปัจจุบันเปิดบริษัทเกี่ยวกับแวดวงบันเทิง ชื่อ จัส-อิน ไทม์ เอนเตอร์เทนเมนต์ โดยแต่งงานกับ พอล อาร์เลสส์ นายธนาคาร ส่วนพ่อของเขาเป็นผู้กำกับเสียงประสานในโบสถ์ มีลูก 2 คนคือ โจนาธาน (เกิดปี 1993) และ สตีเฟน (เกิดปี 1998) ทั้งสองคนหลังการแต่งใหม่กับ ลิซา ทิมเบอร์เลกเติบโตมาในเชลบี ฟอร์เรส เมืองเล็ก ๆ ระหว่างเมมฟิสและมิลลิงตัน เขาได้ลงแข่งขันประกวดร้องเพลงครั้งแรกในงานแข่งขันร้องเพลงคันทรีในรายการค้นหาดาราในชื่อ \"จัสติน แรนดัล\"", "title": "จัสติน ทิมเบอร์เลก" }, { "docid": "281274#0", "text": "จัสติน ดรูว์ บีเบอร์ () เกิด 1 มีนาคม ค.ศ. 1994 เป็นชาวแคนาดา โดยเริ่มอาชีพนักร้องจากการโพสวีดีโอ ณ เว็บไซต์ยูทูบ (Youtube) จนผู้จัดการ สกูเตอร์ เบราน์ (Scooter Braun) ได้มาเห็น และนำบีเบอร์ไปแอตแลนตา รัฐจอร์เจียและพบกับอัชเชอร์ จนได้เซ็นสัญญาในนาม Raymond Braun Media Group (RBMG) ค่ายเพลง Island Records", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "61445#1", "text": "จัสติน ทิมเบอร์เลก เกิดในเมมฟิส รัฐเทนเนสซี เป็นบุตรชายของ ลินน์ ฮาร์เลสส์ (นามสกุลเดิม โบมาร์) และแรนดัลล์ ทิมเบอร์เลก เขามีเชื้อสายอังกฤษ ถึงแม้ว่าเขาจะอ้างว่าเขามีเชื้อสายทางอเมริกัน-อินเดียน ซึ่งอาจมาจากเฮนรี ทิมเบอร์เลก นักสำรวจและทำแผนที่อเมริกาในยุคล่าอาณานิคม\nปู่ของเขา ชาลส์ แอล. ทิมเบอร์เลก เป็นผู้สอนศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ และตัวทิมเบอร์เลกเองก็นับถือโปรแตสแตนต์เช่นกัน", "title": "จัสติน ทิมเบอร์เลก" }, { "docid": "322755#1", "text": "ราศรี บาเล็นซิเอก้า จิราธิวัฒน์ เป็นบุตรสาวของ แดเนียล บาเล็นซิเอก้า (เสียชีวิตแล้ว) ส่วนมารดาคือ อรศรี พูลขวัญ อดีตนางแบบ และมิสยูนิเวอร์ซิตี ของค่ายยูแอนด์ ไอ เธอมีน้องสาว 1 คน ชื่อ ศดานันท์ บาเล็นซิเอก้า ชื่อเล่น มารีน่า รองชนะเลิศอันดับที่ 3 จากการประกวด Asian Supermodel Contest 2013 เธอจบระดับอนุบาล-ระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติโมเดิร์น ระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 ด้วยคะแนนเกรดเฉลี่ย 3.00", "title": "ราศรี บาเล็นซิเอก้า จิราธิวัฒน์" }, { "docid": "955424#1", "text": "ปัจจุบันเมื่อวันที่ จัสติน บีเบอร์ เป็นศิลปินที่มี 5 วิดีโอที่ผู้ชมเกินหนึ่งพันล้านครั้ง ในขณะที่เคที เพร์รีและบรูโน มาส์ มีสี่วิดีโอ เทย์เลอร์ สวิฟต์, แคลวิน แฮร์ริส, ชากีรา, อารีอานา กรานเด, นิค คลีมอนส์, อะเดล, เดอะเชนสโมเกอส์, มาลูมา และเอนรีเก อีเกลเซียส มีคนละสามวิดีโอ ฟิฟท์ฮาร์โมนี, ไซ, เอลลี โกลดิง, เดอะวีกเอนด์, เอ็มมิเน็ม, เจ บัลวิน, ริกกี มาร์ติน, เซีย, ลูอิส ฟอนซี, ทเวนตีวันไพล็อตส์, รีแอนนา, ชอว์น เมนเดส และเก็ตมูฟวีส์ มีคนละสองวิดีโอ", "title": "รายชื่อวิดีโอบนยูทูบที่มียอดผู้ชมมากที่สุด" }, { "docid": "281274#8", "text": "บีเบอร์ยังได้มีภาพยนตร์ 3 มิติ \"Never Say Never\" โดยเกี่ยวกับตัวเขาเอง กำกับโดย Jon Chu ผู้กำกับจาก Step Up 3D จะออกฉายครั้งแรกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 เขาได้ออกอัลบั้ม ชื่อว่า มายเวิลด์ อคูสติก (|My Worlds Acoustic) โดยได้ออกจำหน่ายในวัน Black Friday ในสหรัฐอเมริกา โดยเป็นเพลงเก่าในรูปแบบอคูสติก เพลงซิงเกิล และเพลงซิงเกิลใหม่ \"Pray\" ในปี 2010", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "736752#0", "text": "\"ออลอะราวด์เดอะเวิลด์\" () เป็นเพลงของนักร้องชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สาม \"บีลีฟ\" (2012) เพลงเขียนโดยบีเบอร์ เซอร์ โนแลน และนาสรี จากทีมเดอะเมสเซนเจอส์ ร่วมกับลูดาคริส ซึ่งเป็นนักร้องรับเชิญ เพลงนี้เป็นการร่วมมือกันครั้งที่สองระหว่างบีเบอร์และลูดาคริส ก่อนหน้านี้ร่วมมือกันในซิงเกิล \"เบบี\" (2010) เพลงออกจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เป็นซิงเกิลวิทยุจากอัลบั้ม เพลงออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลที่สี่ในต่างประเทศ และเป็นซิงเกิลที่ห้าและซิงเกิลสุดท้ายในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เพลงมีดนตรียูโรแดนซ์ ใช้เครื่องดนตรีคล้าย ๆ กันเพลงของบริตนีย์ สเปียส์ คริส บราวน์ และอัชเชอร์ เนื้อเพลงเกี่ยวกับบบีเบอร์ร้องเพลงให้คนรักว่า \"ทั้งโลก มีแต่คนอยากถูกรัก\" (all around the world, people want to be loved) \"ออลอะราวด์เดอะเวิลด์\" ได้รับคำวิจารณ์ด้านบวกเป็นส่วนใหญ่ นักวิจารณ์ชื่นชอบรูปแบบดนตรียูโรแดนซ์ เพลงประสบความสำเร็จปานกลางทั่วโลก ขึ้นสิบอันดับแรกในหลายประเทศ เช่น เบลเยียม แคนาดา และนอร์เวย์ บีเบอร์ส่งเสริมเพลงผ่านการแสดงสดและมิวสิกวิดีโอ", "title": "ออลอะราวด์เดอะเวิลด์ (เพลงจัสติน บีเบอร์)" }, { "docid": "281274#3", "text": "จนกระทั่ง สกูเตอร์ เบราน์ (Scooter Braun) นักการตลาดของ So So Def ในตอนนั้น ได้เข้าไปดูวีดีโอของบีเบอร์โดยบังเอิญ เบราน์สนใจในตัวบีเบอร์มากและเริ่มตามหาตัวเขา จนกระทั่งสามารถติดต่อแมลลิที้ได้ และเธอได้ตกลงที่จะให้พาตัวบีเบอร์ไป จนอายุ 13 ปี ณ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เขาได้ทดลองอัดเสียง และในสัปดาห์ต่อมานั่นเองเขาก็ได้ลองร้องเพลงให้อัชเชอร์ฟัง ซึ่งต่อมาก็ได้ให้เขาเซ็นสัญญากับ Island Def Jam Music Group และ Island Records ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 ซึ่งมีการกล่าวว่าจัสติน ทิมเบอร์เลค ก็ได้ขอเซ็นสัญญากับบีเบอร์เช่นเดียวกัน แต่เขานั่นเลือกที่จะเซ็นสัญญากับอัชเชอร์ไป และบีเบอร์ก็ได้ย้ายมาอยู่ที่แอตแลนต้า ซึ่งเป็นถิ่นที่อัชเชอร์และเบราน์ทำงาน", "title": "จัสติน บีเบอร์" }, { "docid": "32256#1", "text": "เมื่อแรกเกิด บีเชอร์มีชื่อว่า แฮเรียต เอลิซาเบธ บีเชอร์ เธอเกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2354 ที่เมืองลิชฟิลด์ รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรคนที่เจ็ดของนักเทศน์ ไลแมน บีเชอร์ ซึ่งบุตรอีกคนหนึ่งคือ เฮนรี่ วอร์ด บีเชอร์ เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการเลิกทาสที่มีชื่อเสียง ครอบครัวบีเชอร์มักสนับสนุนต่อสิทธิ์ของชนผิวดำเสมอ แฮเรียตเองก็มีแนวคิดเช่นเดียวกันกับครอบครัวของเธอ เมื่อเติบโตขึ้นแฮเรียตได้ทำงานเป็นครูกับพี่สาวของเธอ คือ แคเทอรีน ซึ่งมีผลงานเขียนทางด้านหนังสือภูมิศาสตร์สำหรับเด็กที่ตีพิมพ์ในชื่อของน้องสาวในปี 2376 ต่อมาในปี พ.ศ. 2379 แฮเรียตแต่งงานกับ แคลวิน เอลลิส สโตว์ พ่อหม้ายผู้เป็นนักสอนศาสนา ทั้งสองย้ายไปยังเมืองบรุนสวิค รัฐเมน เมื่อแคลวินได้รับตำแหน่งที่วิทยาลัยโบว์ดอยน์ แฮเรียตกับแคลวินมีบุตรด้วยกัน 7 คน แต่บางคนเสียชีวิตแต่ยังเด็ก บุตรคนโตเป็นคู่แฝด คือ แฮตตี้กับเอลิซา (ชื่อตัวละครหลักในเรื่อง กระท่อมน้อยของลุงทอม ตั้งชื่อตามเอลิซาผู้นี้) เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2379 สี่ปีต่อมา เฟรดเดอริค วิลเลียม บุตรชายของเธอเกิดในปี พ.ศ. 2383 ต่อมาในปี 2391 ซามูเอล ชาร์ลส เกิด แต่เสียชีวิตในปีต่อมาด้วยอหิวาตกโรคระบาด", "title": "แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์" } ]
648
ฉากแท่นบูชาเมรอดตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ใด?
[ { "docid": "221353#0", "text": "ฉากแท่นบูชาเมรอด () หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ () เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา", "title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด" } ]
[ { "docid": "221353#3", "text": "งานเขียนนี้ตั้งแสดงอยู่ในเดอะคลอยสเตอส์ (The Cloisters) ที่เป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันสำหรับแสดงศิลปะจากยุคกลาง แต่แผงกลางมีอีกฉบับหนึ่งที่อยู่ที่บรัสเซลส์ซึ่งงานจะเป็นงานฉบับดั้งเดิมของกัมปิน เดิมงานเขียนเป็นของตระกูลอาเรินแบร์คและตระกูลเมรอด (เจ้านายชาวเบลเยียม) ก่อนที่จะมาขายในตลาดศิลปะ", "title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด" }, { "docid": "221353#7", "text": "บานพับภาพมีความเกี่ยวข้องกับเมเคอเลินในเบลเยียมอยู่เป็นเวลานาน ชายบนแผงกลางอาจจะมาจากตระกูลอิมแบร็คต์ (Ymbrechts, Imbrechts) หรืออิงเคิลแบร็คตส์ (Inghelbrechts) ของเมเคอเลิน ใน ค.ศ. 1966 เฮลมุต นิกเกิลพบเหตุผลที่สนับสนุนความสัมพันธ์นี้ ชายมีหนวด ที่ยืนอยู่ในฉากหลัง (เขียนเพิ่มภายหลัง) ในบานภาพซ้าย ดูเหมือนจะแต่งตัวแบบนักส่งข่าวของเมือง โดยมีตราบนหน้าอกเสื้อที่เป็นตราประจำเมืองเมเคอเลิน", "title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด" }, { "docid": "148737#4", "text": "\"พระกระยาหารมื้อสุดท้าย\" เป็นแผงกลางของ \"ฉากแท่นบูชาศีลศักดิ์สิทธิ์\" ในโบสถ์นักบุญปีเตอร์ที่เลอเฟิน ที่จ้างโดยสมาคมภราดรภาพแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งเลอเฟินในปี ค.ศ. 1464 เส้นเชิงตั้งฉาก (orthogonal line) ทุกเส้นในห้องกลางมุ่งไปสู่จุดอันตรธานจุดเดียวที่เตาผิงเหนือพระเศียรของพระเยซู แต่ห้องเล็กด้านข้างมีจุดอันตรธานต่างหาก และทั้งห้องเล็กและจุดอันตรธานของห้องหลักตรงกับเส้นขอบฟ้าของภูมิทัศน์ที่มองเห็นจากหน้าต่าง ภาพ \"พระกระยาหารมื้อสุดท้าย\" เป็นงานชิ้นที่สองที่ลงวันที่ (หลังจากภาพ \"พระแม่มารีและพระบุตรบนบัลลังก์กับนักบุญเจอโรมและนักบุญฟรานซิส\" โดยเปตรึส คริสตึส ที่แฟรงก์เฟิร์ต ใน ค.ศ. 1457) ที่แสดงความเข้าใจในการเขียนภาพที่ใช้ทัศนมิติของอิตาลี", "title": "ดีร์ก เบาตส์" }, { "docid": "214899#5", "text": "ภาพที่เป็นภาพที่จินตนาการว่าเป็นภาพทั้งชิ้นเขียนแทนรูปเดิมเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 สำหรับซิตตา ดิ คาสเตลโล ส่วนภาพร่างที่ราฟาเอลเขียนสำหรับงานเดิมอยู่ที่หอวิจิตรศิลป์แห่งลิลล์และที่พิพิธภัณฑ์แอชโมเลียน (Ashmolean Museum) ที่อ็อกฟอร์ด จากภาพที่หลงเหลือทำให้สรุปได้ว่าการออกแบบทั้งหมดของแท่นบูชาทำโดยราฟาเอลแต่การเขียนภาพราฟาเอลเขียนร่วมกับเอวันเจลิสตา ดา เปียน ดี เมเลโต โดยราฟาเอลอาจจะเป็นผู้เขียนตัวฉากแท่นบูชาและเมเลโตเขียนฐานแท่นบูชาข้อมูลจากวิกิเยอรมันที่อ้าง:", "title": "ฉากประดับแท่นบูชาบารอนชี" }, { "docid": "221353#1", "text": "โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย \"โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย\" \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ \"การประกาศของเทพ\" โดยยัน ฟัน ไอก์ \"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง", "title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด" }, { "docid": "148737#3", "text": "งานเขียนชิ้นแรก ๆ ของดีร์ก เบาตส์ ก็ได้แก่งาน \"บานพับภาพพระบุตร\" (Infancy Triptych) ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1445 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ปราโดที่มาดริด ประเทศสเปน, งานฉากแท่นบูชา \"ชะลอร่างจากกางเขน\" ที่กรานาดาก็เขียนในระยะเวลาเดียวกันราวระหว่างปี ค.ศ. 1450 ถึงปี ค.ศ. 1460 และงานฉากแท่นบูชาที่ถูกแบ่งเป็นชิ้น ๆ ที่ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งชาติที่บรัสเซลส์, พิพิธภัณฑ์เจ. พอล เกตตี ที่ลอสแอนเจลิส, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ลอนดอน, พิพิธภัณฑ์นอร์ตันไซมอนที่แพซาดีนา และที่เป็นของเจ้าของส่วนบุคคลซึ่งเป็นงานที่มีขนาดเดียวกับ \"Altarpiece of the Holy Sacrament\" อาจเป็นงานจากยุคนี้ ส่วนภาพ \"ปีเอตา\" อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในปารีส", "title": "ดีร์ก เบาตส์" }, { "docid": "148737#6", "text": "นอกไปจากแผงกลาง \"ฉากแท่นบูชาศีลศักดิ์สิทธิ์\" แล้วฉากแท่นบูชาเดิมก็ยังมีแผงข้างประกบอีกข้างละสองแผง แต่เพราะแผงอื่นเป็นของพิพิธภัณฑ์ในเบอร์ลินและมิวนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฉะนั้นการพยายามสร้างบานพับภาพทั้งแผงตามแบบฉบับเดิมจึงเป็นการยากที่จะทำได้ ในปัจจุบันเชื่อกันว่าแผงที่มีภาพเอบราฮัมและเมลคิเซดิก (Melchizedek) อยู่เหนือภาพการฉลองปัสกา (Passover Feast) ทางด้านซ้าย และแผงการเตรียมอาหารอยู่เหนืออีไลจาห์และเทวดาทางปีกขวา แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น", "title": "ดีร์ก เบาตส์" }, { "docid": "221353#2", "text": "\"ฉากแท่นบูชาเมรอด\" เป็นบานพับภาพที่ประกอบด้วยแผงสามแผงที่อาจจะได้รับจ้างสร้างสำหรับเป็นใช้ส่วนตัวเพราะมีขนาดค่อนข้างเล็ก ภาพเหมือนผู้อุทิศอยู่บนแผงซ้าย ถัดไปเป็นภาพผู้อุทิศสตรีที่มีสาวใช้อยู่ข้างหลังที่สันนิษฐานว่าเป็นส่วนที่มาเขียนเพิ่มภายหลังโดยจิตรกรคนอื่น ซึ่งอาจจะเขียนหลังจากผู้อุทิศแต่งงาน ผู้อุทิศดูเป็นผู้เป็นชนชั้นกลางจากเมเคอเลิน (Mechelen) ที่มีหลักฐานบันทึกในตูร์แน (Tournai) ในปี ค.ศ. 1427 จากตราประจำตระกูลบนหน้าต่างประดับกระจกสีบนแผงกลางของภาพ แผงกลางเป็นภาพการประกาศของเทพ โดยมีร่างเล็ก ๆ ของพระเยซูถือกางเขนลอยลงยังเวอร์จินแมรีซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์โดยการกระทำของพระเจ้า ทางแผงขวาเป็นภาพของนักบุญโยเซฟ ที่กำลังทำงานไม้ง่วนอยู่ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ไคร่เห็นบ่อยนัก และสิ่งที่แปลกอีกอย่างหนึ่งคือตามพระคัมภีร์แล้ว นักบุญโยเซฟและเวอร์จินแมรีไม่ได้แต่งงานกันจนกระทั่งหลังจากการประกาศของเทพ แต่ในภาพนี้ดูราวกับว่าสองคนอยู่ด้วยกันแล้ว", "title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด" }, { "docid": "300644#21", "text": "“ฉากแท่นบูชานอยชตัดท์” ที่ตั้งอยู่ทางตรงปลายช่องทางเดินข้างทางทิศเหนือได้รับการสั่งให้สร้างในปี ค.ศ. 1447 โดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ผู้ที่มีอนุสรณ์พระบรมศพอยู่ตรงกันข้าม บนฐานฉากแท่นบูชา เป็นภาพเครื่องมือสัญลักษณ์ “A.E.I.O.U.” อันมีชื่อเสียงของจักรพรรดิฟรีดริช พระองค์ทรงสั่งให้สร้างสำหรับอารามวิคทริง แต่ตั้งอยู่ที่นั่นมาจนกระทั่งแอบบีถูกปิดในปี ค.ศ. 1786 ที่เป็นผลมาจากนโยบายการปฏิรูปสถาบันนักบวชของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 จากนั้นเครื่องมือสัญลักษณ์ “A.E.I.O.U.” ก็ถูกส่งไปยังอารามคณะซิสเตอร์เชียนของนักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โวที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ที่เมืองวีนเนอร์น็อยชตัดท์ และในที่สุดก็ขายให้แก่มหาวิหารเมื่ออารามถูกปิดหลังจากที่ไปรวมตัวกับอารามไฮลีเกนครอยซ์", "title": "ชเตฟันสโดม" } ]
653
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "33649#2", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ปีโชวะที่ 8 (ค.ศ. 1933, พ.ศ. 2476) ณ พระราชวังหลวง กรุงโตเกียว พระองค์เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 5 ใน 7 พระองค์ ในจักรพรรดิโชวะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีนะงะโกะ แต่เป็นพระราชโอรสพระองค์โต เมื่อแรกประสูติทรงดำรงพระยศเป็น เจ้าสึงุ ()", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ" } ]
[ { "docid": "205953#0", "text": "เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ (, ประสูติ 6 กันยายน พ.ศ. 2549) พระบุตรองค์ที่สามและพระโอรสพระองค์แรกในเจ้าชายฟุมิฮิโตะ เจ้าชายอากิชิโนะ กับเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ ทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่สามในการสืบราชบัลลังก์ญี่ปุ่น โดยพระองค์ถือว่าเป็นพระราชนัดดาชายเพียงพระองค์เดียวใน สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ", "title": "เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ" }, { "docid": "885431#0", "text": "เจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ () (2 ธันวาคม พ.ศ. 2458 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และ สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม และเป็นพระอนุชาในจักรพรรดิโชวะ และเป็นพระปิตุลาของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงคิกุโกะแห่งทะกะมะสึ เจ้ามิกะซะถือเป็นเชื้อพระวงศ์ที่พระชนมายุยืนยาวที่สุดในราชวงศ์ญี่ปุ่น", "title": "เจ้าชายทากาฮิโตะ เจ้ามิกาซะ" }, { "docid": "33649#0", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ () เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น และเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณกาล ในปัจจุบันนี้พระองค์เป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นจักรพรรดิ", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ" }, { "docid": "274239#0", "text": "โยะชิกิ คุโระดะ () เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2508 สามัญชนชาวญี่ปุ่นที่เสกสมรสกับอดีตเจ้าหญิงซายาโกะ เจ้าหญิงโนะริแห่งญี่ปุ่น พระธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ทำให้พระองค์ต้องสละยศเจ้าหญิง และหลุดพ้นความเป็นราชวงศ์ไป ปัจจุบันเจ้าหญิงทรงใช้พระนามว่า ซะยะโกะ คุโรดะ ตามสวามี", "title": "โยชิกิ คูโรดะ" }, { "docid": "33649#15", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำพระองค์หนึ่งของประเทศ ทรงศึกษาวิชามีนวิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกะคุชุอิน กรุงโตเกียว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังประเทศไทย และทรงทูลเกล้าฯ ถวายปลานิลจำนวน 50 ตัว แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งการทดลองเลี้ยงนับว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง จนปัจจุบัน ปลานิลกลายเป็นหนึ่งในปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงนำเสด็จพระราชดำเนิน เจ้าชายอะกิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร และเจ้าหญิงมิชิโกะ มกุฎราชกุมารี (พระราชอิสริยยศในครั้งนั้น) ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรกิจการ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2507", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ" }, { "docid": "213834#0", "text": "อะสึโกะ อิเกะดะ () (ประสูติ 7 มีนาคม พ.ศ. 2474) หรือ อดีตเจ้าหญิงโยริ เป็นภริยาของทะกมะซะ อิเกะดะ และเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สี่ในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง ทั้งยังเป็นหนึ่งในพระภคินีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะที่ยังมีพระชนม์ชีพ", "title": "อัตสึโกะ อิเกดะ" }, { "docid": "151276#1", "text": "เจ้าชายโยะชิฮิโตะ เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังอะโอะยะมะ ใน กรุงโตเกียว เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ที่ประสูติแต่พระสนมนะรุโกะ เนื่องจากเป็นพระราชโอรสองค์เดียวในจักรพรรดิเมจิ ทำให้พระองค์ต้องถูกชุบเลียงโดยสมเด็จพระจักรพรรดินีโชเก็ง ผู้ทรงเป็นพระอัครมเหสี ภายหลังประสูติได้ 6 วัน ทรงได้รับราชทินนามเป็น \"เจ้าฮะรุ\" (明宮 \"ฮะรุ โนะ มิยะ\") เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2422 เจ้าฮะรุ ทรงมีพระวรกายอ่อนแอมาตั้งแต่ประสูติ ด้วยสาเหตุทางพันธุกรรมจากพระราชบิดา ก่อนหน้าที่พระองค์จะประสูติ พระเชษฐาและพระเชษฐภคินีของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนถึง 4 พระองค์ โดย 2 พระองค์แท้งในครรภ์และ 2 พระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทารก", "title": "จักรพรรดิไทโช" }, { "docid": "33649#8", "text": "จักรพรรดิอะกิฮิโตะได้มีพระราชกระแสรับสั่งต่อประชาชนในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งมีความนัยถึงการสละราชบัลลังก์ให้แก่มกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ พระราชโอรสองค์ใหญ่ และในกรณีเมื่อจักรพรรดิอะกิฮิโตะสละราชบัลลังก์แล้ว ก็จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมนเทียรบาล คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า จะสามารถทูลเชิญเจ้าชายนะรุฮิโตะขึ้นสืบราชบัลลังก์ได้ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ล่าสุดที่สละราชสมบัติ คือ จักรพรรดิโคกะกุ เมื่อ พ.ศ. 2360", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ" }, { "docid": "42827#2", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังอะโอะยะมะ ในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 29 เมษายน ปีเมจิที่ 34 (ค.ศ.1901,พ.ศ. 2444) เป็นพระราชโอรสองค์โตในเจ้าชายโยะชิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร (ภายหลังคือจักรพรรดิไทโช) และเจ้าหญิงซะดะโกะ มกุฎราชกุมารี (ภายหลังคือจักรพรรดินีเทเม) โดยทรงราชทินนามขณะทรงพระเยาว์ ว่า เจ้ามิชิ (迪宮) ในปี พ.ศ. 2451 ทรงเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนประถมชูอิง", "title": "จักรพรรดิโชวะ" } ]
663
พ.ศ. 2559 ใครดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ?
[ { "docid": "220726#0", "text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นนายทหารเกษียณอายุราชการชาวไทย ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่ปีนั้น เขายังเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งดังกล่าว 3 เดือน 2 วัน ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่มีรักษาการนายกรัฐมนตรี", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" } ]
[ { "docid": "362890#45", "text": "วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขาธิการรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงต่างประเทศ นายอิทธิพร บุญประคอง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้เดินทางไปพบ ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตกรุงเฮกเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการไต่สวนคดีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในวันที่ 30 และ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยมี ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตกรุงเฮก เป็นประธานฝ่ายไทย", "title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "635687#1", "text": "อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มงคล พฤกษ์วัฒนา ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม\nมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการแต่ละคณะภายใต้คณะกรรมการ ป.ย.ป.จำนวน 39 คน อาทิ ธงทอง จันทรางศุ ศุภชัย พานิชภักดิ์ สมคิด เลิศไพฑูรย์ อุดม คชินทร ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ พงศ์โพยม วาศภูติ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ชาติชาย ณ เชียงใหม่ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย ไชยา ยิ้มวิไล เทียนฉาย กีระนันทน์ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ศักรินทร์ ภูมิรัตน บัณฑูร ล่ำซำ เตช บุนนาค ชาติศิริ โสภณพนิช วิรไท สันติประภพ และมี คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 9/2560 แต่งตั้ง ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง", "title": "ลำดับเวลารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557" }, { "docid": "28000#5", "text": "พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับพระบรมราชโองการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกล่าวว่า \"เสียสัตย์เพื่อชาติ\" ทั้งที่เคยพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ พลเอก สุจินดา ได้แต่งตั้ง พลเอก อิสรพงศ์ หนุนภักดี เลขาธิการ รสช. ซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยาตน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม ร้อยตรี ฉลาด วรฉัตร อดอาหารประท้วง และพลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้นำการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออก เนื่องจากเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ รสช. จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ หรือพฤษภาทมิฬ ขึ้นระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอก สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง", "title": "สุจินดา คราประยูร" }, { "docid": "622642#39", "text": "วันที่ 18 ตุลาคม 2559 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 แต่งตั้ง พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557" }, { "docid": "50621#4", "text": "นายมีชัย ได้รับการดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ในระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย และ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีนานที่สุดของประเทศไทย", "title": "มีชัย ฤชุพันธุ์" }, { "docid": "263349#24", "text": "ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 23 โดยดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ และดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีรวมรักษาการนายกรัฐมนตรีเป็นระยะเวลา 5 ปี 222 วัน รวมระยะเวลาเป็นนายกรัฐมนตรี นานเป็นอันดับที่ 5 จาก 29 อันดับ", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "588515#85", "text": "นาย คณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ถูกคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการในวันที่ 1 ตุลาคม 2557 นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 75/2558 ถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 204/2558 และ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ถูกคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ย้ายมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีมีผลวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 โดยก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีมีมติย้ายให้เป้นที่ปรึกษาปปง. รวมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศรส.ถูกคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ปลดและโยกย้ายหลังรัฐประหาร 3 ราย", "title": "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557" }, { "docid": "644214#68", "text": "ในปี พ.ศ. 2561 รัฐบาลได้แต่งตั้ง อดีตบุคคลสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังชล ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาทิ นาย พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สกลธี ภัททิยกุล สนธยา คุณปลื้ม และ อิทธิพล คุณปลื้ม บุคคลสำคัญของรัฐบาลอาทิ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางไปพบ เนวิน ชิดชอบ อนุทิน ชาญวีรกูล และ เมื่อถามพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่ามีความสนิทส่วนตัวกับนายเสนาะหรือไม่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ออกมาระบุว่าตนเองสนิทสนมกับ เสนาะ เทียนทอง", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61" }, { "docid": "11232#34", "text": "คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 และวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561โดยมีพันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) นาย ดุษฎี พรสุขสวัสดิ์ นาย เมธา ศิลาพันธ์ นาย แสวง บุญมี นาย กฤช เอื้อวงศ์ นาย ณัฏฐ์ เล่าสีห์สวกุล เป็นรองเลขาธิการ กกต.", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "50073#6", "text": "ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการปปง. ถูกย้ายเป็นที่ปรึกษาปปง. ในวันที่ 13 มีนาคม 2559 และ มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 120/2560 เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยย้ายให้มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 และพล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร เลขาธิการปปง.ในขณะนั้น ถูกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2561 ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเท่ากับเขาเป็นเลขาธิการที่ทำงานเพียง 46 วัน", "title": "สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน" } ]
682
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีมีพระบิดานามว่าอะไร?
[ { "docid": "18064#0", "text": "พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#4", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 12 นาฬิกา 52 นาที ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร ภายในพระบรมมหาราชวัง พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี โดยประสูติก่อนการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงวันเดียว นอกจากนี้ เมื่อนับพระญาติทางฝ่ายพระมารดานั้น พระองค์นับเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา และเป็นพระญาติชั้นที่ 4 กับพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#9", "text": "พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 และมีคำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ภาติกา หมายถึง หลานสาวที่เป็นลูกสาวของพี่ชาย) โดยก่อนหน้านี้มีการสมโภชได้มีการคิดพระนามไว้ 3 พระนาม ได้แก่ \n1. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชอรสา สิริโสภาพัณณวดี\n2. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนจุฬิน สิริโสภิณพัณณวดี \n3. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเลือกพระนามสุดท้ายพระราชทาน โดยพระนาม แปลว่า \"เจ้าฟ้าพระราชธิดาผู้มีพระชาติกำเนิดเป็นศรีดั่งดวงแก้ว เป็นพัชรแห่งมหาวชิราวุธ มีพระฉวีพรรณสิริโฉมงามพร้อม\"", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#7", "text": "แต่แล้วเมื่อใกล้มีพระประสูติกาล ความชื่นบานทั้งหลายกลับกลายเป็นความกังวล เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนักด้วยโรคพระอันตะ มีพระอาการรุนแรงขึ้นอย่างมิคาดฝัน ในยามนั้น พระองค์ประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประทับ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ซึ่งติดกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เพื่อทรงรอฟังข่าวพระประสูติการอย่างใกล้ชิด จนกระทั่ง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี มีพระประสูติการเจ้าฟ้าหญิงในวันที่ 24 พฤศจิกายน จากนั้นในเวลาบ่าย เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ \"“สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ”\" เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระราชดำรัสว่า \"“ก็ดีเหมือนกัน”\" จนรุ่งขึ้นในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน เจ้าพระยารามราฆพ เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์น้อยไปเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งกำลังทรงพระประชวรหนักบนพระแท่น เมื่อทอดพระเนตรแล้ว ทรงพยายามยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา แต่ก็ทรงอ่อนพระกำลังมากจนไม่สามารถจะทรงยกพระหัตถ์ได้เนื่องจากขณะนั้นมีพระอาการประชวรอยู่ในขั้นวิกฤต เจ้าพระยารามราฆพจึงเชิญพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา เมื่อจะเชิญเสด็จพระราชกุมารีกลับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโบกพระหัตถ์แสดงพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง จึงเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมาเฝ้าฯ เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้ายแห่งพระชนมชีพจนกลางดึกคืนนั้นเองก็เสด็จสวรรคต", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" } ]
[ { "docid": "18064#1", "text": "พระนาม \"เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#47", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเรียงลำดับตามปีที่ได้รับพระราชทาน ดังนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "4261#27", "text": "ส่วนพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 โดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ทรงพระเมตตาเอาพระราชหฤทัยใส่ดูแลทั้งด้านพระอนามัยและความเป็นอยู่มาโดยตลอด ด้วยเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระประชวรหนักนั้น ได้มีพระราชดำรัสกับสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าว่า \"“ขอฝากลูกด้วย”\" สมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้ายังได้มีพระราชกระแสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า \"“เจ้าฟ้านี่ ฉันตายก็นอนตาไม่หลับ พระมงกุฎฝากฝังเอาไว้”\" ต่อมาเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา พร้อมด้วยพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้เสด็จฯ ไปประทับที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 จนในปี พ.ศ. 2501 ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ นิวัติกลับประเทศไทยเป็นการถาวรและประทับที่วังรื่นฤดีร่วมกัน ท้ายที่สุด สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีได้สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุได้ 85 พรรษา", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "18064#10", "text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จผ่านพิภพขึ้นสืบสนองพระองค์ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#8", "text": "พระนม (แม่นม) ของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 คือ คุณบุปผา พนมวัน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นพระนมโดยตำแหน่ง เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 เสวยพระกษิรธาราจากพระชนนี มีคณะพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถวายอภิบาลในเบื้องต้น จากนั้นจึงมีคณะพระอภิบาลจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นอดีตคุณพนักงานในรัชกาลที่ 6 โดยผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าอภิบาลจนทรงเจริญพระวัยพอสมควร", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#31", "text": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยขึ้นจัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีและความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยกำหนดการพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 8 เมษายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 9 เมษายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 10 เมษายน การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิ ในวันที่ 11 เมษายน การเชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และการเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปบรรจุยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันที่ 12 เมษายน", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "393672#3", "text": "ท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ เป็นทั้งคุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอาจารย์ในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งทรงไว้วางพระทัยมาก ท่านผู้หญิงเคยตามเสด็จ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประพาสสหรัฐอเมริกา", "title": "ศรีนาถ สุริยะ" } ]
686
ก๊กมินตั๋ง คืออะไร?
[ { "docid": "23832#0", "text": "พรรคชาตินิยมจีน (; ) หรือมักเรียกว่า ก๊กมินตั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กั๋วหมินตั่ง ตามสำเนียงกลาง (Kuomintang; ย่อว่า KMT) เป็นพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมของสาธารณรัฐจีน ซึ่งยังคงดำรงอยู่ในไต้หวัน", "title": "ก๊กมินตั๋ง" }, { "docid": "23832#1", "text": "พรรคก่อตั้งขึ้นภายหลังการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิงในประเทศจีน ก๊กมินตั๋งรบกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพื่อชิงอำนาจปกครองประเทศ ก่อนจะพ่ายแพ้และถอยหนีไปไต้หวันในปี พ.ศ. 2492 และตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่นั่น ก๊กมินตั๋งบริหารประเทศโดยเป็นรัฐบาลพรรคเดียวจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างปลายทศวรรษปี พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2533 ก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง ในสมัยแรก ๆ ที่พรรคก๊กมินตั๋งเข้าปกครองไต้หวัน และชื่อก๊กมินตั๋งใช้เรียกราวกับมีความหมายเหมือนกันหมายถึงจีนชาตินิยม\nปีพ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) พรรคจีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน ทำให้ประเทศต่างๆ พากันตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน หันมารับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน(รวมถึงประเทศไทย) ส่งผลให้ไต้หวันถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก ซึ่งทางพรรคได้บทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวัน เช่น การสร้างประเทศด้วยระบอบตลาดเสรีแบบทุนนิยม หันมาเน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจของไต้หวันมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย อาจจะกล่าวได้ว่าทางพรรคได้มีบทบาทในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ แต่การเมืองของไต้หวันก็ถูกมองว่ากึ่งเผด็จการเนื่องจาก ปกครองโดยพรรคการเมืองเดียว\nพ.ศ. 2549 ก๊กมินตั๋งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีที่นั่งในสภามากที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นพรรคการเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ด้วยทรัพย์สินประเมินอยู่ราว 2,600-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทรัพย์สินของพรรคค่อย ๆ ขายออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543", "title": "ก๊กมินตั๋ง" } ]
[ { "docid": "760707#1", "text": "ในอดีต บทบาททางการเมืองของสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) มักจะถูกครอบงำโดยพรรคก๊กมินตั๋ง เนื่องจากพรรคก๊กมินตั๋งมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษาในเกาะไต้หวัน ทำให้ชนะการเลือกตั้งแทบทุกครั้ง พรรคฝ่ายค้านในไต้หวันแทบไม่มีบทบาทใดๆ จนถึงการเลือกตั้งในปี 2529 ประเด็นในเรื่องของอัตลักษณ์ไต้หวันและทวงความเป็นธรรมในเหตุการณ์ 228 ทำให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ที่มีนโยบายเสรีนิยมชูการแยกตัวเป็นอิสระได้มีการสนับสนุนอย่างเป็นวงกว้าง กลายเป็นฝ่ายค้านที่มีบทบาททางการเมืองสามารถแย่งชิงอำนาจกับพรรคก๊กมินตั๋งได้ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวันในปี 2000 ผู้สมัครของพรรคเฉิน ฉุ่ยเปี่ยนได้คะแนนเสียงข้างมากเอาชนะพรรคก๊กมินตั๋งกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากฝ่ายค้าน ในยุคของประธานาธิบดีเฉิน ไต้หวันดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาและดำเนินการจัดซื้ออาวุธจากสหรัฐอเมริกา และดำเนินนโยบายที่สนับสนุนเอกราชของไต้หวัน เช่น สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติโดยใช้ชื่อ \"ประเทศไต้หวัน\" หลีกเลี่ยงใช้คำว่า \"สาธารณรัฐจีน\"ตามแบบพรรคก๊กมินตั๋ง", "title": "พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ไต้หวัน)" }, { "docid": "23832#2", "text": "ภายหลังจากที่พรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวันในปี 2543 พรรคมีนโยบายที่จะผูกมิตรกับทางแผ่นดินใหญ่ และในปี พ.ศ. 2551 พรรคก๊กมินตั๋งชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง นายหม่า อิงจิ่วได้ดำเนินนโยบายร่วมมือทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลปักกิ่ง เปิดเที่ยวบินตรงระหว่าง\n2 จีน ประนีประนอมและสนับสนุนการค้ากับแผ่นดินใหญ่ จากนโยบายดังกล่าวทำให้ถูกพรรคฝ่ายค้านโจมตีว่านำอธิปไตยของไต้หวันไปผูกไว้กับแผ่นดินใหญ่ และก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 นายหม่า อิงจิ่วได้บินไปพบกับนายสี จิ้นผิงที่สิงคโปร์เพื่อชูนโยบายสนับสนุนความร่วมมือกับแผ่นดินใหญ่ นับว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้นำจากจีนยอมมาพบกับผู้นำไต้หวันเพื่อพูดคุยถึงประเด็น 2 จีนเป็นครั้งแรก ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็เลือกที่จะนิยามจีนในรูปแบบของตนเอง โดยนายหม่า ปฏิเสธว่าไม่ได้เล่นเกมการเมืองเพื่อคะแนนเสียงแต่อย่างใด", "title": "ก๊กมินตั๋ง" }, { "docid": "429555#3", "text": "จากการสนับสนุนอย่างแข็งขันของพรรคก๊กมินตั๋ง เขาได้เดินทางออกจากประเทศจีนใน ค.ศ. 1948 และได้ย้ายไปยังโมจีดาสกรูซีส ประเทศบราซิล และหลังจากนั้นได้ย้ายสู่เมืองคาร์เมล รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะไปปักหลักที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวันในท้ายที่สุด", "title": "จาง ต้าเฉียน" }, { "docid": "355423#4", "text": "สงครามยังไม่สิ้นสุดสำหรับทหารก๊กมินตั๋ง หลังจาก \"การเดินทางวิบาก\" ของพวกเขาตั้งแต่ยูนนานจนถึงรัฐฉานของพม่า ฝ่ายพม่าเมื่อค้นพบว่ามีกองทัพต่างชาติเข้ามาตั้งค่ายในแผ่นดินของตนก็ได้ทำการโจมตี การสู้รบยืดเยื้อกว่า 12 ปี และทหารก๊กมินตั๋งหลายพันคนได้อพยพไปยังไต้หวัน เมื่อจีนเข้าร่วมในสงครามเกาหลี หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA) มีความต้องการข่าวกรองเกี่ยวกับจีนอย่างมาก ซีไอเอได้หันไปพึ่งนายพลก๊กมินตั๋งทั้งสอง ผู้ซึ่งตกลงที่จะส่งทหารบางส่วนกลับเข้าไปในจีนสำหรับภารกิจในการแสวงหาข่าวกรอง เพื่อเป็นการตอบแทน ซีไอเอได้เสนออาวุธยุทธภัณฑ์ให้แก่นายพลทั้งสองเพื่อยึดจีนคืนจากฐานในรัฐฉาน กองทัพก๊กมินตั๋งพยายามมากกว่าเจ็ดครั้งระหว่าง พ.ศ. 2493 และ 2495 แต่ก็ถูกขับไล่กลับมายังรัฐฉานครั้งแล้วครั้งเล่า การสิ้นสุดของสงครามเกาหลีใน พ.ศ. 2496 มิใช่จุดสิ้นสุดสำหรับการต่อสู้กองทัพคอมมิวนิสต์จีนและพม่า ซึ่งยังคงมีต่อเนื่องมาเป็นเวลาอีกหลายปี โดยได้รับการสนับสนุนจากวอชิงตันและไต้หวัน ซึ่งเงินทุนนั้นก็ได้รับมาจากการมีส่วนเกี่ยวข้องในการค้ายาเสพติดบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ\nพ.ศ. 2504 นายพลต้วนนำทหารก๊กมินตั๋งที่เหนื่อยล้าจากการทำศึกราว 4,000 นายออกจากพม่าเข้ามายังแถบภูเขาแม่สลองในประเทศไทย ในการแลกเปลี่ยนกับการลี้ภัยครั้งนี้ รัฐบาลไทยกำหนดให้พวกเขาช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่อการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ ผลที่ตามมาคือ ชาวบ้านที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ทุกวันนี้มีเชื้อชาติจีน เป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากทหารก๊กมินตั๋ง ขณะเดียวกัน พลเอกลี แห่งกรมทหารที่ 3 ได้ก่อตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ กองทัพก๊กมินตั๋งได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"กำลังนอกแบบจีน\" (CIF) และได้รับการจัดวางให้อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะทำงานพิเศษ ชื่อรหัส \"04\" โดยอยู่ภายใต้กองบัญชาการทหารสูงสุดในกรุงเทพมหานคร", "title": "หมู่บ้านสันติคีรี" }, { "docid": "740758#7", "text": "เจ้าของร้านอาหารบ้านๆพื้นๆบนเกาะ ภายนอกเป็นคนตลก อารมณ์ดี เป็นมิตร คุยเก่ง แต่กตัญญูในทางผิด กุ๊กชินรู้ว่าหาญเป็นคนฆ่าชิงทรัพย์วดี เพื่อเอาเงินมารักษากุ๊กชินที่ป่วยตอนเด็ก พอรู้ว่าเควินกับพริมามาสืบหาเจ้าของล็อกเกตก็กลัวความจะแตก พยายามทำให้เควินกับพริมากลัวจนหนีกลับกรุงเทพฯ แต่ไม่สำเร็จ จนพลั้งมือทำให้กุ้งที่รู้ความจริงตายเรื่องเลยบานปลาย", "title": "กามเทพจำแลง" }, { "docid": "107297#0", "text": "เมิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน", "title": "เบ้งเฮ็ก" }, { "docid": "868933#3", "text": "เมื่อก๊วยเจ๋งทายาทคนเดียวของสกุลก๊วยเติบโตเป็นหนุ่ม ได้รับการถ่ายทอดวิทยายุทธจากเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ เมื่อครบกำหนดวันประลองกับเอี้ยคัง เขาได้เดินทางออกจากมองโกล ระหว่างทาง เขาได้พบกับอึ้งย้ง ทั้งสองให้คำมั่นสัญญาในการจะเป็นคู่ชีวิต อีกทั้งยังร่วมผจญภัยในยุทธภพ ครั้งหนึ่งก๊วยเจ๋งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอั้งฉิกกง และได้รับคัมภีร์นพเก้าจากจิวแป๊ะทง ทำให้เขามีวิทยายุทธสูงล้ำยิ่งขึ้น ส่วนเอี้ยคัง ทายาทสกุลเอี้ยได้รับการเลี้ยงดูจากประมุขแห่งเมืองกิม ทั้งเอี้ยคังและก๊วยเจ๋งได้รู้จักกัน และสืบรู้ว่าประมุขแห่งเมืองกิมนั้มคือฆาตกรที่สังหารครอบครัวสกุลก๊วยและสกุลเอี้ย แต่ทว่าเอี้ยคังเห็นแก่ลาภยศ ยอมเป็นลูกของศัตรูที่ฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า เอี้ยคังบังเอิญได้รู้ว่า ก๊วยเจ๋งมีคัมภีร์นพเก้าและคัมภีร์เยี่ยมยุทธ จึงร่วมมือกับ อาวเอี๊ยงฮงแย่งชิงคัมภีร์ทั้งสองเล่มจากก๊วยเจ๋ง โดยกำจัดเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ ซึ่งเป็นอาจารย์ของก๊วยเจ๋ง แล้วป้ายความผิดให้อึ้งเอี๊ยะซือ เพื่อก๊วยเจ๋งและอึ้งเอี๊ยะซือจะได้เข่นฆ่ากันเอง จนเป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งเกือบเอาชีวิตไม่รอด ขณะเดียวกัน การประลองยุทธที่เขาหัวซานใกล้มาถึง ทุกคนในยุทธภพต่างวางแผนที่จะแย่งชิงคัมภีร์ล้ำค่าทั้งสองเล่ม เป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งตกเป็นเป้าหมายที่ทุกคนต้องการถึงแม้ว่าวรรณกรรม \"มังกรหยก\" เรื่องนี้จะเคยได้รับการนำมาสร้างเป็น ภาพยนตร์ และ ละครทีวี มาแล้วหลายครั้งก็ตาม แต่ไม่เคยมีครั้งไหนที่จะได้รับความนิยมมากเท่าเวอร์ชัน มังกรหยก 2526 (มากกว่า เวอร์ชันที่นำแสดงโดย ไป่เปียว และ หมีเซียะ) สิ่งที่ทำให้ \"มังกรหยก\" ผลงานการกำกับฯ ของ \"หวังเทียนหลิน\" ฉบับนี้เป็นเวอร์ชันที่ได้รับการกล่าวขานว่า \"ดี\" และ \"โด่งดัง\" มากที่สุด จนกลายมาเป็น \"ความคลาสสิค\" มาจากหลายปัจจัยด้วยกันอาทิ ฉากที่ดูสมจริง (เนื่องจากไม่ได้ถ่ายแต่แค่เพียงอยู่ในสตูดิโอ),เทคนิคการต่อสู้ในแบบกำลังภายในที่ดูแข็งแรง มีชั้นเชิง,เพลงประกอบอันไพเราะจากเสียงร้องของ 2 ศิลปิน \"หลอเหวิน\" และ \"เจินหนี\" (ภรรยาของซูเปอร์สตาร์หนุ่มแห่ง ชอว์ บราเดอร์ส \"ฟู่เซิง\") และ การคัดเลือกตัวผู้แสดงที่มีความลงตัวอย่างแท้จริง โดยเฉพาะ 2 นักแสดงนำอย่างดาราหนุ่ม \"หวงเย่อหัว\" ในบท \"ก๊วยเจ๋ง\" และ นางเอกสาวผู้ล่วงลับ \"องเหม่ยหลิง\" ในบท \"อึ้งย้ง\".จนได้รับการยกย่องจากผู้ชมละครและสื่อต่างๆ มากมายว่า เป็น มังกรหยกภาค1 ที่ดีที่สุดในแง่ของบทหนัง และตัวของนักแสดง และถึงแม้ \"มังกรหยก\" ชุดนี้จะไม่มีเทคนิคในการถ่ายทำเท่าเวอร์ชัน รุ่นต่อมา, แต่การแสดงที่ยอดเยี่ยมของนักแสดงเช่น อง เหม่ยหลิง,หวง เย่อหัว และเหมียว เฉียวเหว่ย ก็สามารถเอาชนะใจผู้ชมจำนวนมากได้ องเหม่ยหลิง เธอสวมจิตวิญญาณในการเล่นเป็นอึ้งย้งออกมาอย่างเต็มที่ อึ้งย้งในแบบฉบับเธอ ดูเผิน ๆ จะเป็นคนเอาแต่ใจและไม่ค่อยมีเหตุผล แต่เธอสามารถตีความในส่วนดี สามส่วนของอึ้งย้งออกมานั่นคือความฉลาด, น่ารักและมีเสน่ห์ และเธอก็ใช้ความสามารถของเธอถ่ายทอด ตัวละครอึ้งย้ง ออกมาในแบบฉบับของตัวเธอเอง ด้วยไม่ได้เลียนแบบการแสดงของ หมีเซียะ เลย และกลายมาเป็นตำนานอึ้งย้งที่โด่งดังที่สุดบนหน้าจอทีวีจนถึงทุกวันนี้. หวง เย่อหัว ตีความบทตัวละคร \"ก๊วยเจ๋ง\" ว่าเป็นคนซื่อสัตย์ และมีความมุ่งมั่น อดทน และหวงเย่อหัว ก็ประสบความสำเร็จมากกับบทนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันเขาก็สามารถเล่นเป็น ก๊วยเจ๋ง ที่น่ารักและน่านับถือในตัวคน ๆ เดียวกันได้อย่างดีเยี่ยม. เอี้ยคัง รับบทโดยเหมียว เฉียวเหว่ย, เขาสามารถเล่นบทนี้ได้เหมือน เอี้ยคังตามบทประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกลักษณะของเอี้ยคังหรือด้านความร้ายกาจและความสับสนในตัวเอง ซึ่งเขาถ่ายทอดอารมณ์ทั้งหมดออกมาได้ดีมาก.", "title": "มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526)" }, { "docid": "259793#0", "text": "ไมเคิ่น ตั๋ง มีชื่อจริงว่า รุ่งโรจน์ นิจรันธ์ เป็นนักลอกเลียนแบบการแสดงของศิลปินดัง ๆ อย่างไมเคิล แจ็กสัน, แอ๊ด คาราบาว, เทียรี่ เมฆวัฒนา, เล็ก คาราบาว, อี๊ด วงฟลาย, ตู้ ดิเรก, เสก โลโซ, อัสนี โชติกุล, อำพล ลำพูน, เหน่ง วายน็อตเซเว่น, นิค นิรนาม, เรวัต พุทธินันทน์, ชรัส เฟื่องอารมย์, สบชัย ไกรยูรเสน, เทพ โพธิ์งาม, สามารถ พยัคฆ์อรุณ, ชาย เมืองสิงห์, ติ๊ก ชีโร่, ควีน, เอลวิส เพรสลี่ย์, สกอร์เปียนส์, ออดี้, โป่ง หิน เหล็ก ไฟ, เนม ปราการ, โจ๊ก โซคูล, สายัณห์ สัญญา และอื่นๆ อีกมากมาย", "title": "ไมเคิ่น ตั๋ง" } ]
690
คู่สมรสของเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี คือใคร?
[ { "docid": "44404#7", "text": "นาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน เคยสมรสกับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีพระธิดา 2 พระองค์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น \"พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า\" ทุกพระองค์ คือ", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "44404#0", "text": "นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) เป็นอดีตพระสวามี ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นอดีตพระชามาดาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นอดีตพระขนิษฐภรรดา (น้องเขย) ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และเป็นผู้อนุรักษ์และฟื้นฟู \"นางสาวสยาม\" เครื่องบินพลเรือนลำแรกของไทยให้กลับมาใช้งานได้", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" } ]
[ { "docid": "14949#0", "text": "ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" }, { "docid": "232835#1", "text": "สัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้ประกาศจัดตั้ง โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ตามด้วยชื่อจังหวัดสถานที่ตั้ง ทั้งหมด 10 แห่ง ประจำเขตการศึกษาต่าง ๆ ทุกเขตการศึกษาของประเทศ ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานตราสัญลักษณ์และนามโรงเรียนใหม่ คือ \"จุฬาภรณราชวิทยาลัย\" ตามด้วยชื่อจังหวัดอันเป็นสถานที่ตั้ง ซึ่งเป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ต่อมาจึงได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเพิ่มอีก 2 แห่งเพื่อให้ครบทุกเขตพื้นที่การศึกษา", "title": "กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย" }, { "docid": "14949#10", "text": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ", "title": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" }, { "docid": "14949#11", "text": "นอกจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทยอีกด้วย", "title": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" }, { "docid": "12150#6", "text": "เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ “จภ” ภายใต้จุลมงกุฎซึ่งเป็นตราพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประดิษฐานที่กึ่งกลาง อักษร “จ” เป็นสีแสด และอักขระ “ภ” เป็นสีขาว มีพื้นสีม่วงรองรับและมีแพรแถบพื้นสีขาวขอบสีทองรองรับอยู่เบื้องล่างพร้อมอักษรสีม่วง คำว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ประดับอยู่ภายในแพรแถบ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์มาเป็นตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536", "title": "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์" }, { "docid": "14949#14", "text": "ต่อจากนั้นทรงมีรับสั่งให้จัดงาน \"วันประมงน้อมเกล้าฯ\" ขึ้นทุกปี และคณะกรรมการจัดงานมีความเห็นพ้องว่าให้นำเงินรายได้จากการจัดงานทุกปี ขึ้นทูลเกล้าฯ สมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์ ซึ่งทรงตั้งขึ้นเพื่อศึกษางานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในการนี้ คณะกรรมการจัดงานได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดงานและจัดตู้ปลาสวยงาม เพื่อพระราชทานแก่ผู้มีจิตศรัทธาถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย และพระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดในกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วยเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ ทรงเผยประชวรด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง พร้อมทั้งรับสั่งจะทรงทำงานเพื่อประชาชนต่อไป ตามเจตนารมณ์ของในหลวง-พระราชินี และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มีประกาศสำนักพระราชวังว่าทรงรับการผ่าตัดติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ฉบับที่ 1 เปิดเผยว่าทรงเป็นตับอ่อนอักเสบ และพบก้อนเนื้องอก ที่พระศอ และจะรับการผ่าตัดก้อนเนื้อที่พระศอในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 \nสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง", "title": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" }, { "docid": "14949#1", "text": "ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ", "title": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" }, { "docid": "12150#7", "text": "“สีแสด” เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี", "title": "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์" }, { "docid": "14949#7", "text": "ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2548", "title": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" } ]
695
แครี ฮันนาห์ มัลลิแกน เกิดที่ไหน ?
[ { "docid": "947523#2", "text": "แครี มัลลิแกน เกิดที่เวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน, เป็นลูกสาวของนาโน มัลลิแกน (สกุลเดิม บูธ) และสตีเฟน มัลลิแกน พ่อของเธอมีเชื้อสายไอริช มาจาก ลิเวอร์พูล แม่ของเธอมาจากเมืองลันเดโล (Llandeilo) เวลส์   แม่ของเธอเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย พ่อเป็นผูจัดการโรงแรม  ตอนเธออายุสามขวบ ครอบครัวย้ายไปเยอรมัน ตอนที่พ่อของเธอต้องไปทำหน้าที่บริหารโรงแรมที่นั่น ขณะอยู่ที่เยอรมัน แครีและน้องชายเรียนหนังสือที่ International School of Düsseldorf (เมืองดึสเซิลดอร์ฟ) ตอนเธออายุแปดขวบเธอและครอบครัวย้ายกลับอังกฤษ ตอนเป็นวัยรุ่นเธอศึกษาต่อที่ Woldingham School ใน Surrey", "title": "แครี มัลลิแกน" } ]
[ { "docid": "947523#0", "text": "แครี ฮันนาห์ มัลลิแกน (; เกิด 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1985) หรือที่รู้จักกันในชื่อ แครี มัลลิแกน  เป็นนักแสดงและนักร้องชาวอังกฤษ มีผลงานละครเวทีเปิดตัวในละคร \"Forty Winks\" ของ Kevin Elyot ในปี 2004 ในด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ มีภาพยนตร์เปิดตัว \" Pride & Prejudice\" (2005) มีบทบาททางโทรทัศน์  รวมถึง Ada Clare ในภาพยนตร์ซีรีส์ \"Bleak House\" (2005) และ Sally Sparrow ใน \"Doctor Who\" (2007). ในปี 2008,เธอแสดงบรอดเวย์เปิดตัวใน \"The Seagull \"", "title": "แครี มัลลิแกน" }, { "docid": "12153#4", "text": "มารายห์ แครีย์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1970 ที่ เมืองฮันติงตัน รัฐนิวยอร์ก เป็นบุตรคนที่สามและคนสุดท้องของนักร้องโอเปราและนักฝึกสอนการขับร้องชาวไอริชอเมริกัน ชื่อ แพทรีเชีย ฮิกกี้ กับ วิศวกรอากาศยานชาวเวเนซูเอล่า-แอฟริกัน ชื่อ อัลเฟรด รอย แครีย์ แครีมีพี่สาวชื่อ แอลิสัน อายุมากกว่าเธอสิบปี และพี่ชายชื่อ มอร์แกน อายุมากกว่าเธอเก้าปี ชื่อของแครีย์นั้นไม่มีชื่อกลาง ส่วนชื่อ \"มารายห์\" มีที่มามาจากเพลง \"(And They Call the Wind) Mariah\" ในละครบรอดเวย์เรื่อง \"Paint Your Wagon\"", "title": "มารายห์ แครี" }, { "docid": "947523#6", "text": "อาชีพการแสดงของ แครี มัลลิแกน ถึงจุดเบรกทรูครั้งใหญ่เมื่อตอนอายุ 22 ปี เธอรับบทผู้แสดงนำครั้งแรก เป็น Jenny ใน \"An Education\" (ปี 2009) ซึ่งเป็นภาพยนตร์อิสระ โดยผู้กำกับหญิงชาวเดนมาร์ก โลน เชอร์ฟิก (Lone Scherfig) และเขียนโดยนิก ฮอร์นบี มีนักแสดงหญิงนับร้อยที่เข้าทำออดิชั่น แต่ออดิชั่นของมัลลิแกนเป็นที่ประทับใจที่สุดกับ Scherfig  ภาพยนตร์และการแสดงของเธอได้รับคำวืจารณ์อย่างท่วมท้น มัลลิแกนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award, Screen Actors Guild, Golden Globe, และชนะรางวั   BAFTA Lisa Schwarzbaum นิตยสาร EW และ Todd McCarthy นิตยสาร Variety ทั้งสองเปรียบเทียบการแสดงของเธอ กับออดรีย์ เฮปเบิร์น  Peter Travers นิตยสาร Rolling Stone อธิบายความสามารถการแสดงของแครี มัลลิแกน ว่าเป็น  \"ดาวที่เร้าใจ ดึงดูดใจยิ่ง\" ขณะที่ Claudia Puig แห่ง USA Today รู้สึกว่ามัลลิแกนมีปีของการแสดงที่ดีที่สุด  The Guardian โดย Peter Bradshaw สรุปว่า เธอแสดง \"ได้ยอดเยี่ยม วิเศษมาก\" มัลลิแกนได้รับรางวัล Shooting Stars Award จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ปี 2009 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA นักแสดงดาวรุ่ง ซึ่งเป็นผลของการโหวตสาธารณะในประเทศอังกฤษ", "title": "แครี มัลลิแกน" }, { "docid": "751094#0", "text": "ฮาร์วี่ย์ เบอร์นาร์ด มิลก์ (; 22 พฤษภาคม 1930 – 27 พฤศจิกายน 1978) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกันคนแรกที่เปิดเผยว่าเป็นเกย์ เขาเกิดและโตที่นิวยอร์กแต่ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ซานฟรานซิสโกเปิดร้านขายกล้องถ่ายรูปในย่านแคสโตร กับแฟนหนุ่มสกอตต์ สมิธ ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 เป็นคดีที่รัฐบาลโดนจับได้ว่าเข้าไปจารกรรมข้อมูลของคู่แข่งฝ่ายตรงข้าม ทำให้ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันต้องลาออก มิลก์จึงลงสมัครชิงเก้าอี้สภาที่ปรึกษาของเมืองและตำแหน่งทางการเมืองอื่นอีกหลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนในปี ค.ศ. 1977 เขาได้รับเลือกให้เข้าไปนั่งในสภาที่ปรึกษาแห่งซานฟรานซิสโก", "title": "ฮาร์วีย์ มิลก์" }, { "docid": "827433#0", "text": "ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส (; 21 กันยายน ค.ศ. 1853 – 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926) เป็นนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ เกิดที่เมืองโกรนิงเงิน เป็นบุตรของฮาร์ม กาเมอร์ลิง โอนเนิส และอันนา แกร์ดีนา กูร์ส มีน้องชายและน้องสาวชื่อแม็นโซและแจ็นนีตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1870 กาเมอร์ลิง โอนเนิสเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโกรนิงเงินและเรียนกับโรแบร์ท บุนเซิน และกุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟที่มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์กระหว่างปี ค.ศ. 1871–1873 ต่อมาเขาเรียนจบปริญญาโทและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโครนิงเงินและเป็นผู้ช่วยโยฮันเนิส โบสส์คา ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างแด็ลฟต์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแด็ลฟต์)", "title": "ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส" }, { "docid": "354677#2", "text": "อเล็กซันดรา คริสตินา มันลีย์ เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ณ ฮ่องกงซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิบริติช เป็นธิดาของริชาร์ด ไนเจล มันลีย์ ชาวเซี่ยงไฮ้ที่มีบิดามีเชื้อสายอังกฤษและจีน (พ.ศ. 2467-2553) ย่าของเขาเป็นชาวจีนกวางตุ้ง กับคริสตา มาเรีย มันลีย์ มีเชื้อสายเช็กและออสเตรีย (สกุลเดิม: โนโวตนี; พ.ศ. 2476) บัพติศมา ณ มหาวิหารเซนต์จอห์น ฮ่องกง บิดาของเธอเป็นผู้บริหารธุรกิจด้านประกันภัย ส่วนมารดาเป็นผู้จัดการขององค์กรสื่อสาร อเล็กซันดราเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนควอร์รีเบย์จูเนียร์ (; ), โรงเรียนเกลเนียลีจูเนียร์ () และโรงเรียนไอแลนด์ (; ) ทั้งหมดตั้งอยู่ในฮ่องกง", "title": "อเล็กซันดรา เคาน์เตสแห่งเฟรเดอริกสบอร์ก" }, { "docid": "98947#0", "text": "มาร์กาลี รูธ \"แมกกี\" จิลเลนฮอล (); เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เธอเป็นลูกสาวของผู้กำกับ สตีเฟน จิลเลนฮอล และนักเขียนบทภาพยนตร์ นาโอมิ โฟเนอร์ และเป็นพี่สาวของเจค จิลเลนฮอล เธอเริ่มอาชีพนักแสดงกับผลงานของพ่อเขา และเป็นที่รู้จักในภาพยนตร์สยองขวัญจิตวิทยาเรื่อง \"Donnie Darko\" (2001) เธอได้รับการยกย่องในบท ลี ฮอลโลเวย์ ในภาพยนตร์เรื่อง \"เปลือยรัก อารมณ์พิลึก\" (2006) ซึ่งเธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลกอีกด้วย สำหรับการแสดงของเธอในภาพยนตร์เรื่อง \"Sherrybaby\" (2006) เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทดรามา นอกจากนี้ เธอยังได้รับการยอมรับในบทแรเชล ดอว์สในภาพยนตร์ \"แบทแมน อัศวินรัตติกาล\" (2008) อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ดรามาเรื่อง \"Crazy Heart\" (2009) หลังจากนั้น เธอก็ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง \"Nanny McPhee and the Big Bang\" (2010), \"Won't Back Down\" (2012) และ \"Frank\" (2014) ซึ่งเธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริติชอินดีเพนเดนต์ฟิล์มอวอร์ดส์", "title": "แมกกี จิลเลนฮอล" }, { "docid": "947523#4", "text": "พ่อแม่ของแครี มัลลิแกน ไม่เห็นด้วยกับเป้าหมายการมีอาชีพการแสดงของเธอ และอยากให้เธอเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนกับน้องชาย เมื่ออายุ 17 ปี เธอยื่นใบสมัครที่โรงเรียนการละครในลอนดอนสามแห่ง (แทนที่จะสมัครมหาวิทยาลัย ตามที่พ่อแม่ของเธอคาดหวัง) แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับในเวลาต่อมา   ในปีสุดท้ายที่ Woldingham นักแสดง/เขียนบท จูเลี่ยน ฟิวโลเวส (Julian Fellowes) ได้สอนบรรยายที่โรงเรียนเกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์ \"Gosford Park\"  มัลลิแกนได้พูดกับ จูเลี่ยน หลังจากการบรรยายและขอคำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพนักแสดง แต่จูเลี่ยนไม่สนับสนุน แนะนำว่า \"แต่งงานกับนักกฎหมายแทนดีกว่า\"  มัลลิแกนไม่ยอมแพ้ หลังจากนั้นเธอได้ส่งจดหมาย ถึงจูเลี่ยน ซึ่งเธอบอกเขาว่า เธอจริงจังเรื่องการแสดง และบอกว่า อาชีพนั้นเป็นจุดประสงค์ของเธอในชีวิต หลายสัปดาห์ต่อมาภรรยาของจูเลี่ยน เอมม่า (Emma Joy Kitchener) ชวนเธอเข้าร่วมงานอาหารค่ำที่เอมม่าและสามีจัดขึ้นเพื่อให้คำแนะนำแก่หนุ่มสาวที่สนใจเป็นนักแสดง ในงานนี้ แครี มัลลิแกน ได้พบกับผู้ช่วยฝ่ายคัดเลือกนักแสดงซึ่งนำไปสู่การออดิชั่นสำหรับบทบาทในภาพยนตร์ \"Pride and Prejudice\" เธอก็ทำออดิชั่นบสามครั้ง และในที่สุดก็ได้รับกบทบาทของ Kitty Bennet  ช่วงวัยรุ่นจนถึง 20 ต้นๆ แครีเคยทำงานบาร์เมดในผับ และรับงานทำธุระ-จัดหาและส่งของให้กับ Ealing Studios ในระหว่างงานแสดง", "title": "แครี มัลลิแกน" }, { "docid": "328732#0", "text": "แดเนียล ฟิลลิป เฮนนีย์ () เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 เป็นนักแสดงชาวเกาหลี-อเมริกัน และเป็นนายแบบ เขาเกิดที่คาร์สันซิตี รัฐมิชิแกน แม่ของเขาเป็นชาวเกาหลี-อเมริกัน ส่วนพ่อของเขาเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ เฮนนีย์เริ่มทำงานเป็นนายแบบในสหรัฐอเมริกาในปี 2001 และทำงานในฝรั่งเศส อิตาลี ฮ่องกง ไต้หวัน ขณะที่เขายังเรียนอยู่ที่วิทยาลัย หลังจากนั้นปรากฏตัวครั้งแรกในเกาหลีใต้กับโฆษณาเครื่องสำอาง", "title": "แดเนียล เฮนนีย์" } ]
697
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด?
[ { "docid": "12512#1", "text": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พัฒนามาจาก \"โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ\" ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2481 และได้รับวิทยฐานะเป็น \"โรงเรียนอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ\" ในปี พ.ศ. 2515 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ย้ายสังกัดมาอยู่ทบวงมหาวิทยาลัยโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น \"วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ) \" หรือ Assumption Business Administration College ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเอแบค (ABAC) และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย และได้ชื่อว่า \"มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ\" โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า มอช. และภาษาอังกฤษว่า \"AU\" ซึ่งทำให้อักษรชื่อย่อของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีความสัมพันธ์ กับสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Au (ทองคำ)", "title": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" } ]
[ { "docid": "12512#0", "text": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ () หรือ เอแบค (ABAC) จัดอยู่ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มี 2 วิทยาเขตหลัก วิทยาเขตหัวหมาก ตั้งอยู่ที่ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และ 2 ศูนย์การศึกษา city campus ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การศึกษา ACC Campus มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ และยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย", "title": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" }, { "docid": "12512#17", "text": "ภารดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ กับ Mr. Zheng Yan Kang () และ Mr. Bai He Lin (China Railways) จัดตั้ง สถาบันวิจัยชิงหัว - เอแบค เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Tsinghua - ABAC AEC Research Institute) ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ วัตถุประสงค์หลักของสถาบันวิจัยชิงหัว - เอแบค เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1. เพื่อการแสวงหาความรู้ ความจริง เพื่อได้มาซึ่งปัญญาทางการตลาด การท่องเที่ยวและบริการ การพัฒนาองค์กร และด้านสังคมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2. เพื่อการสร้างความรู้โดยใช้กระบวนการ วิจัย วินิจฉัย เพื่อเป็นฐานรากแห่งปัญญา 3. เพื่อการนำความรู้ที่ได้ผ่านกระบวนการ กลั่นกรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อสร้างให้เป็นความรู้เชิงลึกและเชิงปฏิบัติการ 4. เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดซึ่งปัญญาทางการตลาดที่เลือกเฟ้นสู่ผู้ประกอบการโดยมุ่งเป้าไปที่วิสาหกิจการขนาดกลางและย่อม และธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาตนเองสู่ความยั่งยืน", "title": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" }, { "docid": "12512#21", "text": "ศูนย์วิจัยทางธุรกิจที่ให้บริการแก่ หน่วยงาน, องกรณ์ธุรกิจ ระหว่างประเทศในไทย โดย จัดทำงานวิจัยทางธุรกิจเป็น วงกว้าง เพื่อ ตอบสนองความต้องการแต่ละหน่วยงาน\nหน่วยงานได้ถูกก่อตั้งในปี 1982 โดย Dr. Federic L. Ayer, อดีตรองประธานกลุ่มงานวิจัย คนแรก.", "title": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" }, { "docid": "12512#2", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีการขยายวิทยาเขตไปที่วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิทยาเขตสุวรรณภูมิเปิดทำการครั้งแรกในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2543 ภายใต้วางรากฐานของ เจษฎาจารย์ ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ ผู้กอบกู้และสถาปนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Cathedral of Learning*", "title": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" }, { "docid": "12512#23", "text": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้รับทราบจากห้องเรียนขงจื่อโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ว่ารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยคณะผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ฮั่นปั้น (The Office of Chinese Language Council International : Hanban)มีนโยบายก่อตั้งสถาบันขงจื่อเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งในประเทศไทย", "title": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" }, { "docid": "23996#62", "text": "จุดเริ่มต้นของสมาคมอัสสัมชัญนั้น สืบเนื่องมาจากการที่คุณพ่อกอลมเบต์ได้กลับจากการรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2446 ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้พากันไปต้อนรับ เมื่อได้พบปะกันก็ได้หารือกัน ในที่สุดสมาคมอัสสัมชัญก็ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นทางการในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 ทำให้สมาคมอัสสัมชัญเป็นหนึ่งในสมาคมศิษย์เก่าแห่งแรกของประเทศไทย เดิมทีต้องย้ายสถานที่ทำการบ่อย ๆ สุดท้ายได้ที่ทำการถาวรอยู่บริเวณกล้วยน้ำไท ถนนพระราม 4", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญ" }, { "docid": "12512#14", "text": "การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อยู่ในอันดับที่ 899 ของโลก อันดับที่ 97 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย", "title": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" }, { "docid": "16498#3", "text": "โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2521 บนเนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 54 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินที่นายประวิทย์ มาลีนนท์ ได้บริจาคให้แก่มูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย พร้อมเงินจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อให้มูลนิธิฯ เป็นผู้จัดดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการขึ้น ซึ่งในขณะนั้น ภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม ดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวงประเทศไทย และท่านได้มอบให้สถาปนิกเขียนแบบแปลนสมบูรณ์ ในเนื้อที่ดังกล่าว", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ" }, { "docid": "12512#6", "text": "2481 Bro. Rogation, ผู้ก่อตั้ง ACC", "title": "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" } ]
703
อัลบั้มชุดแรกของ เลดี้ กาก้า ชื่อว่าอะไร ?
[ { "docid": "355617#0", "text": "เดอะเฟมมอนสเตอร์ () เป็นอีพีลำดับที่สามของศิลปินหญิงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2009 ในตอนแรก 8 แทร็คจากอัลบั้มนี้ตั้งใจที่จะเป็นเพิ่มลงในอัลบั้มชุดแรก The Fame แต่ต่อมาเธอประกาศว่าเพลงใหม่ทั้งหมดนี้จะถูกวางจำหน่ายแบบอัลบั้มเดี่ยว เนื่องจากการทำเพิ่มเพลงลงอัลบั้มเดิมมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และเนื้อหาในอัลบั้มใหม่มีเนื้อหาที่แตกต่างจากอัลบั้ม The Fame และไม่มีความจำเป็นต้องใช้เพลงจากอัลบั้มแรกมาสนับสนุน 5 สัปดาห์ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม 2009 ได้มีการวางจำหน่ายอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ รุ่นดีลักซ์ที่มี 2 ซีดีจากเดอะเฟมมอนสเตอร์และ The Fame ที่มาในรูปแบบโบนัสดิสก์", "title": "เดอะเฟมมอนสเตอร์" }, { "docid": "211529#1", "text": "The Fame อัลบั้มแรกของเธอ ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2008 สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรีย เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ และสามารถติดชาร์ต 1 ใน 10 อันดับแรกในอีกหลายประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถทำสถิติขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในอันดับที่ 2 และขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตอัลบั้มเพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกส์ ของบิลบอร์ด และอีกสองเพลงเปิดตัว คือ Just Dance และ Poker face ที่กาก้าร่วมแต่งและผลิตกับเรดวัน ก็เป็นที่นิยมและติดอันดับหนึ่งในหลายประเทศ รวมถึงอันดับต้น ๆ ของบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้ม The Fame ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่มากถึง 6 สาขารางวัล และได้รับรางวัลในสาขาอัลบั้มเพลงอิเล็กทรอนิกส์/เพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม และรางวัลเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมจากเพลง Poker Face ต้น ค.ศ. 2009 เธอออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกในชื่อ The Fame Ball Tour และในปลายปีเดียวกัน เธอได้ประกาศวางจำหน่ายอัลบั้มเสริม The Fame Monster เป็นอัลบั้มต่อจากอัลบั้มเปิดตัว The Fame อัลบั้มนี้ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 6 สาขารางวัล สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งด้วยซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้ม คือ Bad Romance และได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สอง The Monster Ball Tour ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน", "title": "เลดีกากา" } ]
[ { "docid": "372467#0", "text": "ดิเอดจ์ออฟกลอรี () เป็นซิงเกิ้ลเพลงที่ 3 โดยศิลปินและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้ม ที่สามของเธอบอร์นดิสเวย์ (2011) เขียนและผลิตโดยเลดี้ กาก้า, Fernando Garibay และ DJ White Shadow ดิเอดจ์ออฟกลอรี ถูกปล่อยทั่วโลกวันที่ 9 พฤษภาคม 2011 โดยมีคลาเรนซ์ เคลมอนส์เป็นนักแซ็กโซโฟนมาร่วมเล่นดนตรีประกอบเพลง มิวสิกวิดีโอถูกปล่อยในวันที่16 มิถุนายน พ.ศ. 2012 แต่หลังจากที่มิวสิกวิดีโอเผยแพร่ได้ 2วันคลาเรนซ์ เคลมอนส์นักแซ็กโซโฟนที่ร่วมดนตรีประกอบและแสดงในมิวสิกวิดีโอได้เสียชีวิตลงหลังจากมิวสิกวิดีโอปล่อยได้แค่ 2วัน โดยมิวสิกวิดีโอ ดิเอดจ์ออฟกลอรี เป็นวิดีโอและเพลงสุดท้ายของคลาเรนซ์ เคลมอนส์", "title": "ดิเอดจ์ออฟกลอรี" }, { "docid": "580457#0", "text": "\"ดูวอทยูวอนท์\" () เป็นเพลงของนักร้องอเมริกา เลดี้ กาก้า ที่ได้ศิลปินมาร่วมร้อง อาร์ เคลลี่ ซึ่งเป็นซิงเกิ้ลที่ 2 ของเลดี้ กาก้า เป็นหนึ่งในเพลงของสตูดิโออัลบั้มที่สามของกาก้า ที่มีชื่อว่า อาร์ตป็อป (2013) อยู่ลำดับที่เจ็ดของอัลบั้ม เขียนและแต่งโดย เลดี้ กาก้า, พอล ดีเจ ไวท์แชโด้ แบลร์, อาร์ เคลลี่, มาร์ตินและวิลเลี่ยม เพลงนี้ถูกเผยแพร่ออกมาในรูปแบบเพลงประกอบโฆษณาหูฟังของ ดร.เดร เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2013 ที่ตัดเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และต่อมาก็ถูกขายในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลดผ่านทางไอทูนส์ และ เว็ปไซต์อแมซอน เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2013", "title": "ดูวอตยูวอนต์ (เพลงเลดี้ กาก้า)" }, { "docid": "394155#0", "text": "จัสต์แดนซ์ () เป็นเพลงที่ 1 โดยศิลปินและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้ม เดอะเฟม (2008) เขียนโดย เลดี้ กาก้า, เรดวัน และ เอค่อน, และผลิตโดย เรดวัน ถูกปล่อยทั่วโลกวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2008", "title": "จัสต์แดนซ์" }, { "docid": "392333#0", "text": "อเลฮานโดร () เป็นเพลงที่ 3 โดยศิลปินและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้ม เดอะเฟมมอนสเตอร์ (2009) เขียนโดย เลดี้ กาก้า และ เรดวัน, และผลิตโดย เรดวัน ถูกปล่อยทั่วโลกวันที่ 20 เมษายน 2010", "title": "อเลฮานโดร" }, { "docid": "393758#0", "text": "เลิฟเกม () เป็นเพลงที่ 4 โดยศิลปินและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้ม เดอะเฟม (2008) เขียนโดย เลดี้ กาก้า และ เรดวัน, และผลิตโดย เรดวัน ถูกปล่อยทั่วโลกวันที่ 24 มีนาคม 2009", "title": "เลิฟเกม" }, { "docid": "211529#37", "text": "เมื่อวันที่ 9 กันยายน เลดี้ กาก้าได้ปล่อยซิงเกิ้ลใหม่จากอัลบั้มชุดที่ 5 ที่มีชื่อว่า เพอร์เฟกต์อิลลูชัน (Perfect Illusion) โดยมีโปรดิวเซอร์หลักคือ มาร์ก รอนสัน เคลวิน ปาร์คเกอร์ และบลัดป๊อบ โดยเพลงนี้ได้ติดอันดับ 1 บน iTunes Chart เกือบ 70 ประเทศ รวมถึงอเมริกาและก็ไทยด้วย และได้เปิดตัวในอันดับที่ 15 ใน Billboard Hot 100 และอันดับ 1 ในประเทศฝรั่งเศส,โดยอัลบั้มใหม่ชื่อว่า โจแอนน์ (Joanne) วางขายในวันที่ 21 ตุลาคม 2016 และเปิดตัวขึ้นอันดับ 1 ใน Billboard 200 ทำให้เป็นอัลบั้มที่ 4 ของเธอที่ขึ้นอันดับ 1 ได้ , กาก้าได้แสดงซีรีส์ American Horror Story อีกครั้ง ในซีซั่นที่ 6 โดยเธอเล่นบทเป็น Scathach", "title": "เลดีกากา" }, { "docid": "562173#0", "text": "แอพพลอส เป็นซิงเกิลของนักร้องอเมริกัน เลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้มที่ 3 ของเธอ อาร์ตป็อป(2013) เขียนโดย เลดี้ กาก้า และ DJ White Shadow ซึ่งเป็นเพลงเปิดตัวอัลบั้มอย่างเป็นทางการ ที่ปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการทั่วโลกในวันที่ 12 สิงหาคม 2556 โดยตามจริงแล้วกาก้าได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่า ซิงเกิลจะปล่อยอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 สิงหาคม 2556 โดยค่ายอินเตอร์สโคป แต่เนื่องจากมีผู้เจาะข้อมูลของกาก้า พยายามดึงเพลงนี้ออกมาทีละท่อน จนกาก้าตัดสินใจปล่อยเพลงก่อนกำหนดหนึ่งอาทิตย์เพื่อหลีกเลี่ยงผู้ที่เจาะข้อมูลดังกล่าว", "title": "แอพพลอส (เพลง)" }, { "docid": "394151#0", "text": "โป๊กเกอร์เฟส () เป็นเพลงที่ 2 โดยศิลปินและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้ม เดอะเฟม (2008) เขียนโดย เลดี้ กาก้า และ เรดวัน, และผลิตโดย เรดวัน ถูกปล่อยทั่วโลกวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2008", "title": "โป๊กเกอร์เฟส" }, { "docid": "379180#0", "text": "ยูแอนด์ไอ () เป็นเพลงโดยศิลปินอเมริกันเลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้มบอร์นดิสเวย์ เขียนโดยเลดี้ กาก้า ผลิตโดย เลดี้ กาก้าและโรเบิร์ต จอห์น ถูกเปิดตัวครั้งแรกเดือนเมษายน 2554 มิวสิกวิดีโอปล่อยในวันที่ 17 สิงหาคม 2011 แต่ในความเป็นจริงเลดี้ กาก้ามีกำหนดจะปล่อยมิวสิกวิดีโอในวันที่ 18 สิงหาคม 2011 แต่รูปภาพจากวิดีโอเพลงของเธอถูกเผยแพ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก เธอจึงโกรธมากเลยปล่อยวิดีโอเร็วก่อนกำหนด\nฉากเริ่มที่กาก้าเดินจากนิวยอร์กเพื่อไปเนบราสก้าเป็นการสะท้อนถึงอดีตที่เธอกำลังมองอนาคตของเธอ กาก้าในชุดแบบ bionic อยู่ในทางที่จะไป Nebraska เพื่อจะกลับไปหา Luc ไม่ว่าเธอจะต้องเสี่ยงขนาดไหนเธอก็จะเดินไป ฉากรถไอศครีมและกาก้าล้มลงบนถนนขณะถือตุ๊กตาก็คือ เธอจะไม่ยึดติดกับอดีตสมัยเธอเป็นเด็กที่ถูกรังแกอีกต่อไป เพราะตอนนี้เธอมีความรักที่มันจะอยู่กับเธอตลอดไปและตลอดกาล ต่อมากาก้าในผมสีน้ำตาลนั่นคือกาก้าสมัยช่วงเป็น Stefani ก่อนอัลบั้ม The fame สมัยที่เธอยังอยู่กับ Luc จากนั้นเริ่มความสู่ช่วง The Fame โดย Luc (ในร่างนักวิทยาศาสตร์) พยายามเปลี่ยนกาก้าซึ่งอยู่ในร่างของเงือก เพราะเธอเริ่มอยู่กับครึ่งนึงในโลกแห่งความจริง และอีกครึ่งในโลกจินตนาการ (จาก twitter ที่กาก้าเคยบอกว่า Yüyi is between half reality and half fantasy)\nฉากตัดมาที่โรงนา น่าจะหมายถึง Luc เคยร้องเพลงต่างๆให้เธอฟัง แล้วตอนนี้กาก้ากลับมาร้องเพลงนี้ เพื่อจะขอให้เค้ากลับมาหาเธอ (ในเพลงจะมีท่อนที่บอกว่า On my birthday you sang me a heart of gold with a guitar humming and no clothes) ถึงตอนนี้ Luc พร้อมที่จะยอมรับเธอดั่งที่เธอเป็นนางเงือกที่อยู่ในครึ่งแห่งความจริง ครึ่งแห่งจินตนาการแล้ว โดยให้เห็นเป็นครึ่งมนุษย์ ครึ่งปลา จะเห็นว่า Luc รับเธอได้ก็เพราะในฉากที่นักวิทยาศาสตร์ ที่แทนตัว Luc มีเซ็กส์กับกาก้าที่เป็นเงือก ตอนนี้กาก้ายอมทำทุกอย่างเพื่อ Luc ตราบเท่าที่เธอยังสามารถเป็นตัวเธอเองเวลาอยู่กับเค้าได้อยู่ และเค้ายอมรับตรงนี้ได้ โดยจะเห็นได้จากเธอยอมเดินจาก New York เพื่อมาหา Luc โดยยังคงใส่ชุดแปลกประหลาดที่เป็นตัวเธอนั่นเอง\nฉากต่อมาเป็น Jo กับกาก้าที่ทุ่งข้าวโพดกับเปียโน หมายถึงกาก้าที่อยู่ตัวคนเดียว กำลังค้นหาตัวเอง ทั้งในฉากที่ Jo สูบบุหรี่และดื่มวิสกี้อย่างหนัก กาก้ายอมไปกับ Jo นั่นหมายถึงเธอรักตัวเธอเอง เธอยอมรับตัวเธอเอง และเธอก็เรียนรู้ว่าจะรักใคร และฉากกลับมาที่นักวิทยาศาสตร์ที่มีกาก้าอยู่ในหลอดแก้วพร้อมเทน้ำใส่ในหลอดนั้นหมายถึง Luc พร้อมที่จะสนับสนุนเธอ แม้ว่าตอนนี้เธอจะอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงหรือจินตนาการ Luc อยู่เคียงข้างไม่ว่าเธอจะเป็นเงือก ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขากอดจุบ และมีความสุขดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะต่างยอมรับซึ่งกันและกันแล้ว ซึ่งกาก้าเคยบอกว่า ถ้าจะเป็นแฟนของเธอนั้น จะต้องยอมรับในสิ่งที่ตัวเธอเป็นให้ได้ และในท้ายสุด Luc ก็ทำได้ ที่กาก้ารัก Luc ได้อีกครั้งนั้นก็เพราะความรักที่เธอมีต่อตัวเอง (ในฉาก Jo และกาก้าในทุ่งข้าวโพด) ท้ายสุด กาก้าและ Luc ก็จบแบบมีความสุข พวกเขามีกันและกัน ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงกัน และได้แต่งงานกัน", "title": "ยูแอนด์ไอ (เพลงเลดี้ กาก้า)" } ]
718
บริษัทไมโครซอฟท์ ก่อตั้งขึ้นโดยใคร ?
[ { "docid": "4697#4", "text": "หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิลล์ เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.ในขณะที่ บิลล์ เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา", "title": "ไมโครซอฟท์" } ]
[ { "docid": "617855#0", "text": "ไมโครซอฟท์ โมบาย () เป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเอสโป ประเทศฟินแลนด์ ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกโดยเกิดจากการที่เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการด้านโทรศัพท์ของโนเกียทั้งหมด ในราคา 7.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน 2557 ไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนชื่อโนเกียเป็นไมโครซอฟท์ โมบาย ซึ่งจะเป็นในฐานะบริษัทลูก", "title": "ไมโครซอฟท์ โมบาย" }, { "docid": "4697#0", "text": "ไมโครซอฟท์ ( ; ) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "4697#30", "text": "กลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจของไมโครซอฟท์ที่สำคัญเช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นสายงานหลักของบริษัทในด้านซอฟต์แวร์สำนักงาน โดยประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด , ไมโครซอฟท์ แอคเซส , ไมโครซอฟท์ เอกเซล , ไมโครซอฟท์ เอาต์ลุค , ไมโครซอฟท์ เพาวเวอร์พอยท์ ,ไมโครซอฟท์ พับลิชเชอร์ , ไมโครซอฟท์ วิซโอ , ไมโครซอฟท์ โปรเจกต์ , ไมโครซอฟท์ แมป พอยท์ , ไมโครซอฟท์ อินโฟพาธ และ ไมโครซอฟท์ วันโน้ต", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "386318#0", "text": "ไมโครซอฟท์ เวิร์ด เป็นโปรแกรมประมวลคำเพื่อการค้า ออกแบบโดยไมโครซอฟท์ เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1983 ภายใต้ชื่อ \"มัลติ-ทูล เวิร์ด\" สำหรับระบบปฏิบัติการ Xenix โดยมีเวอร์ชันอื่นๆ ออกมาอีกภายหลังเพื่อทำงานเขียนสำหรับแพลตฟอร์มอื่นๆ อาทิเช่น ไอบีเอ็มพีซีรันบนดอส (1983), แอปเปิล แมคอินทอช (1984), เอที&ที Unix PC (1985), Atari ST (1986), SCO UNIX, โอเอส/2, และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (1989) โดยเป็นองค์ประกอบหนึ่งของซอฟต์แวร์ระบบไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายแยกต่างหาก และรวมอยู่ในไมโครซอฟท์ เวิร์ก สูท เวอร์ชันปัจจุบัน คือ ไมโครซอฟท์ เวิร์ด 2016 สำหรับวินโดว์ และ 2016 สำหรับแมค () นอกจากนี้ยังมีใน Word Mobile ซึ่งเป็น freeware ในกลุ่ม ในระบบปฏิบัติการ Windows 10, Windows Phone, iOS และ Android", "title": "ไมโครซอฟท์ เวิร์ด" }, { "docid": "715815#0", "text": "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2013 เป็นโปรแกรมสำนักงาน ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ โปรแกรมออกแบบมาให้ใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการวินโดว์เพื่อมาทดแทนรุ่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2010 และสนับสนุนการใช้งานแบบออนไลน์กับบัญชีผู้ใช้ทางอีเมลของไมโครซอฟท์ พร้อมทั้งถูกออกแบบมาให้รองรับระบบสัมผัสบนวินโดว์แท็ปเล็ตหรืออุปกรณ์ที่รองรับ ไมโครซอฟท์ออฟฟิต 2013 เหมาะสำหรับหน้าจอ 32 บิต และ 64 บิต และสามารถติดตั้งโปรแกรมในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7, วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 หรือวินโดว์รุ่นใหม่กว่า ไมโครซอฟท์ออฟฟิตถูกติดตั้งร่วมอยู่แล้วในอุปกรณ์ที่ใช้วินโดว์ RT\nไมโครซอฟท์ออฟฟิต 2013 เริ่มพัฒนาในปี 2010 และสิ้นสุดวันที่ 11 ตุลาคม 2012 เมื่อปล่อยตัวโปรแกรมออกมาใช้งาน ไมโครซอฟท์ออกจำหน่ายทั่วไปเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2013 โดยรุ่นนี้ได้ร่วมคุณลักษณะใหม่ๆออกมา เช่น สนับสนุนรูปแบบการบริการแบบออนไลน์ (SkyDrive, Outlook.com, Skype, Yammer and Flickr) การรองรับที่ดีขึ้นบน Office Open XML (OOXML), OpenDocument (ODF) และสนับสนุนรูปแบบมัลติทัช", "title": "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2013" }, { "docid": "4697#31", "text": "การแบ่งส่วนที่เน้นการพัฒนาธุรกิจการเงินและการบริหารจัดการซอฟต์แวร์สำหรับบริษัท โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอยู่ในหมวดธุรกิจ โดยได้ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2001", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "4697#7", "text": "ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีชื่อว่า OS/2 (โอเอสทู) และในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชันแรกของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปแบบกราฟิกรุ่นแรก โดยเป็นส่วนต่อภายนอกของดอส 13 มีนาคม ค.ศ. 1986 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นเริ่มแรกอยู่ที่ 21 ดอลลาร์สหรัฐ และปิดการซื้อขายวันแรกที่ 28 ดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และประมาณการว่า ไมโครซอฟท์มีมูลค่าทรัพย์สินมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1987 ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการจาก โอเอสทู ไปสู่ระบบปฏิบัติการแบบOEMs.", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "4697#3", "text": "อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ได้แถลงว่ายังเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโปรแกรม ไมโครซอฟท์มีประวัติการช่วยเหลือผู้ใช้ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บ และรางวัลไมโครซอฟท์ เอ็มวีพี สำหรับอาสาสมัครที่ช่วยเหลือลูกค้าเป็นประจำ", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "4697#1", "text": "ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี) , เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.บริษัทได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นของไมโครซอฟท์อยู่ในภาวะมั่นคง ไมโครซอฟท์มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท) และมีกำไรประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 420,000 ล้านบาท)", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "4697#19", "text": "27 มิถุนายน ค.ศ. 2008 บิล เกตส์ ได้เลิกทำภารกิจต่างๆ ในบริษัท หลังจากบทบาทของหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ของเขาลดลงเป็นเวลากว่า 2 ปี และตำแหน่งดังกล่าวได้ถูกแทนที่โดย เรย์ โอสซีย์ แต่เขาก็ยังอยู่ในบริษัทในฐานะประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาโครงการจากนั้น วินโดวส์ วิสตา ก็ได้เปิดตัวในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007 โดยมียอดการจำหน่ายวันแรกสูงถึง 140 ล้านชุดและได้เปิดตัวพร้อมกับไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 โดยมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบใหม่คือริบบอน", "title": "ไมโครซอฟท์" } ]
728
สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย สิ้นพระชนม์เมื่อไหร่?
[ { "docid": "427199#0", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (20 เมษายน พ.ศ. 2382 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2457) ประสูติในพระอิศริยยศ เจ้าชายแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น - ซิกมาริงเง็น ทรงครองราชย์เป็นเจ้าผู้ครองนครและสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรโรมาเนียตั้งแต่ พ.ศ. 2409 ถึงพ.ศ. 2457 พระองค์ทรงได้รับการเลือกให้เป็นองค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนียในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2409 หลังจากโดมนิเตอร์ อเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา องค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนียทรงถูกรัฐประหารยึดพระราชอำนาจ จากการที่จักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้ในสงครามรัสเซีย-ตุรกี(1877 - 1878) พระองค์ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนียในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2424 พระองค์เป็นพระประมุขพระองค์แรกแห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น ที่ซึ่งปกครองประเทศจนกระทั่งการประกาศให้โรมาเนียเป็นสาธารณรัฐในปีพ.ศ. 2490", "title": "คาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "436325#10", "text": "ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระราชาธิบดีคาโรลและพระราชินีเอลิซาเบธได้พยายามปรับความสัมพันธ์กันโดยทรงเข้าพระทัยและให้อภัยซึ่งกันและกัน ทั้งสองพระองค์กลายเป็นมิตรที่ดีต่อกันในบั้นปลายพระชนม์ชีพ สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2457 (27 กันยายน พ.ศ. 2457 ตามปฏิทินฉบับเก่า) พระราชนัดดาได้สืบราชสมบัติต่อโดยมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย พระนางเอลิซาเบธได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระพันปีหลวง พระนางทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางการกุศลอย่างมากมายได้แก่ ทรงก่อตั้งองค์การสงเคราะห์คนตาบอดในพระราชินูปถัมภ์ของพระนางและทรงอุปถัมภ์ศิลปะ การดนตรีและวรรณคดีของโรมาเนีย", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" } ]
[ { "docid": "427199#15", "text": "ได้มีการประชุมฉุกเฉินของสมาชิกในรัฐบาลซึ่งพระองค์ทรงเสนอรัฐบาลเกี่ยวกับสนธิสัญญาลับและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน พระองค์ต้องยอมรับกับข้อขัดแย้งของรัฐบาลที่มีน้ำหนักมากกว่า ส่งผลให้พระองค์เสียพระทัยอย่างมากและเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2457 (27 กันยายน พ.ศ. 2457 ตามปฏิทินฉบับเก่า) พระราชนัดดาได้สืบราชสมบัติต่อโดยมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย พระองค์ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระมเหสีซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อังกฤษ พระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์และพระนางมารีทรงรับฟังความเห็นของสาธารณะมากกว่าและทรงนำประเทศเข้าฝ่ายไตรภาคี ซึ่งไม่ตรงตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรล", "title": "คาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "235399#0", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย (15 ตุลาคม/16 ตุลาคม พ.ศ. 2436 - 4 เมษายน พ.ศ. 2496) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรโรมาเนียตั้งแต่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2473 จนกระทั่ง 6 กันยายน พ.ศ. 2483 เป็นโอรสพระองค์โตใน สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย กับพระมเหสี สมเด็จพระราชินีมารีแห่งเอดินบะระ ซึ่งเป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสพระองค์ที่สองของ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์โรมาเนียพระองค์แรกที่ทรงทำพิธีแบ็ปติสท์ตามแบบอีสเติร์นออร์ทอด็อกซ์", "title": "คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#5", "text": "สิ้นปีพ.ศ. 2457 เกิดเหตุการณืครั้งใหญ่ในชีวิตพระองค์ คือการเสด็จสวรรคตของ สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย และพระบิดาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติในพระนาม [[สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย]] ทำให้พระราชวงศ์ต้องย้ายจากซินายอาไปยัง[[บูคาเรสต์]] ที่[[พระราชวังโคโทรเซนิ]] ทำให้เจ้าหญิงต้องเสด็จออกตามที่สาธารณะพร้อมพระบิดาและพระมารดา ทรงต้องทำกิจกรรมต่างๆเพื่อการกุศล เจ้าหญิงทรงชื่นชอบครั้งที่อยู่ที่บูคาเรสต์มาก เนื่องจากสภาพอากาศของบูคาเรสต์เหมาะกับผู้ชื่นชอบศิลปะ พระองค์มีพระสหายเพิ่มมากขึ้นแต่การพำนักที่นี่ต้องทำตามกฎระเบียบเคร่งครัด", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "427199#3", "text": "การที่พระราชาธิบดีคาโรลทรงไร้รัชทายาททำให้พระเชษฐาของพระองค์คือ เจ้าชายลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซลเลิร์นเป็นรัชทายาทลำดับถัดไปแห่งโรมาเนีย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2423 เจ้าชายลีโอโปลด์ทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์แก่พระโอรสองค์โปรดคือ เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งโฮเฮนโซลเลิร์นซึ่งเจ้าชายวิลเฮล์มทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์แก่พระอนุชาองค์โปรดซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย", "title": "คาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "427199#13", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลทรงได้รับการกล่าวถึงพระอุปนิสัยที่เยือกเย็น พระองค์ทรงยึดมั่นอย่างถาวรในเกียรติยศของพระราชวงศ์ที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้น สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ผู้เป็นพระมเหสีของพระองค์ทรงกล่าวว่า \"พระองค์ทรงสวมมงกุฎแม้กระทั่งทรงพระบรรทม\" พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ละเอียดมากและทรงพยายามสงวนท่าทีของพระองค์ต่อหน้าข้าราชบริพารทุกๆคน อย่างไรก็ตามแม้พระองค์จะอุทิศพระองค์แก่พระราชกรณียกิจในฐานะองค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์แห่งโรมาเนียแต่พระองค์ก็ไม่ทรงลืมเลือนเชื้อชาติเยอรมันที่เป็นรากเหง้าของพระองค์", "title": "คาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "427199#14", "text": "ตลอดระยะเวลา 48 ปีของรัชกาล(เป็นพระประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โรมาเนีย)พระองค์ทรงช่วยให้โรมาเนียได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ พระองค์ทรงเพิ่มพูนชื่อเสียงแก่โรมาเนีย ทรงช่วยปรับปรุงเศรษฐกิจของโรมาเนียและสถาปนาพระราชวงศ์ขึ้น บนเทือกเขาคาร์เปเทียน พระองค์ทรงสร้างปราสาทเปเรสซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดในโรมาเนีย ปราสาทสร้างตามสถาปัตยกรรมแบบเยอรมัน เพื่อให้ระลึกถึงสถานที่ที่พระองค์ประสูติ หลังจากสงครามรัสเซีย-ตุรกี พระองค์ทรงรวมแคว้นโดบรูยามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรและมีพระบัญชาให้สร้างสะพานแห่งแรกคือ \"สะพานสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1\" ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำดานูบระหว่างเมืองเฟเตสติและเมืองเซอร์นาโวดา เมื่อสร้างเสร็จเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในยุโรปและยาวเป็นอันดับสามของโลก หลังจากล้มล้างระบอบกษัตริย์โรมาเนียได้มีการเปลี่ยนชื่สะพานแห่งนี้เป็นสะพานแองเจล ซาลิกนี ซึ่งสะพานนี้เป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรมากในการติดต่อกันระหว่างเมือง\nในรัชสมัยที่ยาวนานของสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลได้นำไปสู่การพัฒนารัฐโรมาเนียอย่างรวดเร็ว แต่การสิ้นสุดรัชกาลของพระองค์และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1ในเวลาต่อมา พระองค์ซึ่งเป็นชาวเยอรมันทางสายพระโลหิตมีพระราชประสงค์ให้โรมาเนียเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ในขณะที่ชาวโรมาเนียต้องการเข้าร่วมฝ่ายไตรภาคี พระราชาธิบดีคาโรลทรงลงพระปรมาภิไธยในสนธิสัญญาลับปีพ.ศ. 2426 โดยเชื่อมสัมพันธไมตรีกับฝ่ายไตรพันธมิตร (พ.ศ. 2425) แม้ว่าสนธิสัญญาได้ถูกบังคับใช้ในการป้องกันการรุกรานของจักรวรรดิรัสเซียของหนึ่งในประเทศสมาชิกผู้ลงนาม พระองค์ทรงถูกโน้มน้าวใจที่ซึ่งเป็นเกียรติอย่างมากที่โรมาเนียจะสนับสนุนจักรวรรดิเยอรมัน", "title": "คาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "230486#9", "text": "ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2491 พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นภายในห้องราชบัลลังก์ของพระราชวังหลวง ที่นั้นพิธีกระทำโดยอาร์คบิชอป ดามาสกินอส และสมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซทรงเป็นผู้จัดพิธี สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของพระราชาธิบดีไมเคิล และพระขนิษฐาของสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรล ได้แก่ เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย และ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียทรงได้รับการแจ้งให้ทราบแต่ทรงไม่ได้รับเชิญ หนึ่งในเพื่อนเจ้าสาวในครั้งนั้นคือ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งกรีซ ผู้ซึ่งเป็นเจ้าหญิงออร์โธด็อกซ์ซึ่งในที่สุดทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนซึ่งเป็นโรมันคาทอลิกและต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน", "title": "สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#21", "text": "เหล่าคอมมิวนิสต์มีอำนาตเต็มหลังจากสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] พวกเขาได้พยายามต่อต้านประเทศที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และสาธารณรัฐและพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นคอมมิวนิสต์ และปัญหานี้ยังคงยืดเยื้อในโรมาเนีย [[สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย]]ทรงถูกบังคับให้ลงนามสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2490 พระราชวงศ์ทุกพระองค์ต้องเสด็จออกจากแผ่นดินโรมาเนีย ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 รถไฟพระที่นั่งที่ซึ่งมีพระราชาธิบดีไมเคิล,[[สมเด็จพระราชินีเฮเลนแห่งโรมาเนีย|สมเด็จพระราชชนนีเฮเลน]]และเจ้าหญิงอีเลียนา มุ่งหน้าสู่บันล็อก บนชานชลาไม้ของบันล็อก มีสตรี 3 คนรออยู่ซึ่งก็คือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซ พร้อมทั้งนางสนองโอษฐ์อีก 2 คน ทั้ง 3 ยืนรอด้วยความหนาวเย็นพร้อมสัมภาระส่วนพระองค์ แต่หลังจากทรงขึ้นรถไฟได้ไม่นาน พระองค์ทรงระลึกถึงความทรงจำที่ตรึงในจิตใจอยู่เบื้องหลัง ประเทศนี้เป็นที่ที่พระองค์ทรงเจริญพระชันษา ที่ที่ประทับอยู่ทั้งสุขและทุกข์ พระองค์ทรงรู้สึกว่าจะต้องแยกจากที่แห่งนี้อีกตลอดกาลโดยทรงทราบว่าพระชนม์ชีพจะอยู่ไม่ถึง 10 ปี \n[[ไฟล์:castel banloc.jpg|thumb|left|ปราสาทบันล็อก ที่ประทับที่สุดท้ายของเจ้าหญิงเอลิซาเบธในโรมาเนีย ปัจจุบันทรุดโทรมลงมาก]]\nหลังจากใช้เวลาอันสั้นประทับร่วมกับพระราชวงศ์ใน[[เยอรมนี]] ที่[[ซิกมารินเกน]] เจ้าหญิงเสด็จไปประทับที่เมือง[[คานส์]] ซึ่งทรงเช่าอพาร์ทเมนต์ ทรงใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายด้วยการเล่นเปียโน เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 สิริพระชนมายุ 62 พรรษา พระศพถูกฝังที่เฟรนซ์ รีเวียรา", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" } ]
734
จตุพร พรหมพันธุ์ เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "120486#1", "text": "จตุพร เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ที่ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนสุดท้องของนายชวน พรหมพันธุ์ กับนางน่วม บัวแก้ว เป็นน้องชายต่างมารดากับ พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง", "title": "จตุพร พรหมพันธุ์" } ]
[ { "docid": "120486#2", "text": "จตุพร เป็นอดีตโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีต ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค แจ้งเกิดทางการเมืองจากการเป็นผู้นำนักศึกษาช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เมื่อเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ถนนราชดำเนิน และผู้ชุมนุมย้ายไปปักหลักที่รามคำแหง โดยมีจตุพรขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยร่วมกับเพื่อนๆ นักศึกษาอีกหลายคน เช่น อุสมาน ลูกหยี วัชระ เพชรทอง นายจตุพร ทำงานการเมืองโดยมีกลุ่มนักศึกษารามคำแหง พรรคศรัทธาธรรมที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้ง จึงมีชื่อที่รู้จักกันดีในสมัยเรียนว่า \"ตู่ ศรัทธาธรรม\" เป็นฐานกำลังคอยเคลื่อนไหว เช่น การให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรการมอบดอกไม้ กกต. การเดินขบวนไปหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในสมัยที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไหวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี", "title": "จตุพร พรหมพันธุ์" }, { "docid": "396545#1", "text": "หลวงพ่อสวัสดิ์ ปุณณสโล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2451 ตรงกับปลายแผ่นดินรัชกาลที่ 5 อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 25 ปี ตรงกับวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ณ พัทธสีมา วัดดอกไม้ ตำบลคลองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิสต์ โดมีหลวงพ่อกล่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทได้อยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ 2 พรรษา แล้วออกเดินธุดงค์สั่งสมประสบการณ์ในทางธรรมไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ก่อนข้ามไปศึกษาวิชาในเขมร จนถึงปี พ.ศ. 2479 เข้าจำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพง ก่อนที่จะเป็นเจ้าอาวาสวัดซากนิมิตรวิทยา อำเภอบ้านบึง พอถึงปี พ.ศ. 2528 ได้สร้างสำนักวิปัสสนาเม้าสุขา จากนั้นปี พ.ศ. 2530 ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงบวรสถิตย์และเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านบึงจนถึงปี พ.ศ. 2542 หลวงพ่อท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 ในแผ่นดินรัชกาลปัจจุบัน รวมสิริอายุได้ 96 ปี พรรษา 70", "title": "พระครูพิศาลพรหมจรรย์ (สวัสดิ์ ปฺณณสีโล)" }, { "docid": "120486#14", "text": "วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ทหารจับจตุพร พรหมพันธุ์ก่อนปล่อยในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 \nในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ทหารได้เชิญนายจตุพรเดินทางมายังกองทัพภาคที่ 1 และ 18 กุมภาพันธ์ 2559 ทหารได้เชิญนายจตุพรไปพูดคุยที่มณฑลทหารบกที่ 11วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท โดยตำรวจรับแจ้งความ\nต่อมา วันที่ 11 ตุลาคม 2559 เขาถูกศาลอาญาสั่งถอนประกัน ส่งผลให้เขาต้องเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทันที", "title": "จตุพร พรหมพันธุ์" }, { "docid": "277254#1", "text": "พระธรรมเมธาภรณ์ นามเดิม ระแบบ พรหมพันธุ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2477 ณ ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายชวน-นางกวั้ง พรหมพันธุ์ และเป็นพี่ชายต่างมารดาของนายจตุพร พรหมพันธุ์", "title": "พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)" }, { "docid": "120486#7", "text": "ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 จตุพรเข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย และถูกออกหมายจับเมื่อการชุมนุมสิ้นสุดลง โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกันตัวไป \nต่อมามีการเปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2553 จตุพรเป็นหนึ่งในบรรดา ส.ส.ที่ไม่เคยมาร่วมลงคะแนนผ่านร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎรเลย เช่นเดียวกันกับเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช", "title": "จตุพร พรหมพันธุ์" }, { "docid": "120486#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2551 จตุพรเป็นหนึ่งในพิธีกรรายการ \"ความจริงวันนี้\" ทางเอ็นบีที โดยร่วมกับวีระ มุสิกพงศ์ และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เพื่อตอบโต้และวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ", "title": "จตุพร พรหมพันธุ์" }, { "docid": "481979#1", "text": "พระพรหมจริยาจารย์ มีนามเดิมว่าสมุท รัชฏาวรรณ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ณ บ้านเลขที่ 74 หมู่ที่ 4 ต.บางระกำ อำเภอโพธิ์ทอง [จังหวัดอ่างทอง โยมบิดา-โยมมารดาชื่อนายฟอง และนางแก้ว รัชฏาวรรณ ในช่วงวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมบริบูรณ์ ณ โรงเรียนประชาบาลวัดโบสถ์ราษฎร์ศรัทธา ต.บางระกำ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เมื่อสมัยเป็นเด็ก ได้เข้ามาอยู่วัดเบญจมบพิตรฯ เป็นศิษย์วัดเรียนบาลี ซึ่งเป็นศิษย์วัดรุ่น “ราชปะแตน” คือ นุ่งผ้าโจงกระเบน เสื้อราชปะแตนขาวอย่างชาววัง", "title": "พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ)" }, { "docid": "763203#1", "text": "พระมหาโพธิวงศาจารย์ หรือที่ชาวจังหวัดแพร่เรียก ตุ๊ปู่จี๋ หรือ ครูบาจี๋ นามเดิม สุจี ขรวงค์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2460 ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ณ บ้านทุ่งอ่วน หมู่ที่ 6 ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นบุตรของ นายลาด กับ นางผัน ขรวงค์ ได้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดนาจักร จนสำเร็จชั้นประถมปีที่ 5 อันเป็นชั้นสูงสุด แล้วบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 ณ วัดกาญจนาราม ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พระอุปัชฌาย์คือพระครูมหาญาณสิทธิ์ วัดมิ่งเมือง (ปัจจุบันวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร) อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และอุปสมบทวันที่ 14 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 ณ วัดกาญจนาราม ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พระอุปัชฌาย์คือพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) (ในขณะดำรงสมนศักดิ์ที่ พระปริยัติวงศาจารย์) วัดพระบาท (ปัจจุบันวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร) ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่", "title": "พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร)" }, { "docid": "76963#0", "text": "พระสุพรหมยานเถร หรือ ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก เดิมชื่อ พรหมา พิมสาร เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ณ บ้านป่าแพ่ง อำเภอ ป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของพ่อเป็ง และแม่บัวถา มีพี่น้องทั้งหมด 13 คน บิดามารดาของท่านเป็นผู้มีฐานะ มีอาชีพทำนา ทำสวน ประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีความขยันขันแข็ง มีจิตใจหนักแน่นในกุศลธรรม รักษาอุโบสถศีลทุกวันพระ ในบั้นปลายชีวิตบิดาของท่านได้ออกบวช เป็นที่รู้จักกันในนามของครูบาพ่อเป็ง โพธิโก มารดาของท่านได้นุ่งขาวรักษาอุโบสถศีลจนถึงแก่กรรม สำหรับพี่น้องของท่านที่ได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา จนมีชื่อเสียงได้แก่ พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก) วัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพี่ชาย และพระครูสุนทรคัมภีรญาณ (คำ คมฺภีโร) วัดดอยน้อย จังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งเป็นน้องชาย\nในขณะเยาว์วัยครูบาพรหมาได้รับการศึกษาอักษรล้านนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียนแล้วสึกออกไป เมื่อท่านได้บรรพชาแล้วจึงได้ท่องจำบทสวดมนต์ และเข้าโรงเรียนประชาบาลจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ศึกษานักธรรมด้วยตนเอง ในปี พ.ศ. 2462 ทางการคณะสงฆ์ได้จัดสอบนักธรรมสนามหลวงขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระมหานายกเป็นผู้นำข้อสอบมาสอบยังวัดพระเชตุพน ในครั้งนั้นมีพระภิกษุเข้าสอบจำนวน 100 รูป ผลการสอบปรากฏว่ามีพระภิกษุที่สอบผ่านจำนวน 2 รูป คือ ครูบาพรหมา และพระทองคำ วัดเชตุพน จังหวัดเชียงใหม่ นับว่าครูบาพรหมาเป็นพระรูปแรกของจังหวัดลำพูนที่สอบนักธรรมได้", "title": "พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)" } ]
743
จังหวัดนครราชสีมามีขนาดพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "85986#1", "text": "เทศบาลนครนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 37.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,430 ไร่ 2 งาน หรือประมาณร้อยละ 4.96 ของพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 755.596 ตารางกิโลเมตร) หรือประมาณร้อยละ 0.18 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,493.9 ตารางกิโลเมตร)ตำแหน่งของเทศบาลนครนครราชสีมาอยู่ระหว่างละติจูดที่ 14-16 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101-103 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150-300 เมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ 259 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ 264 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางทางเครื่องบินประมาณ 30 นาที ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลาดเอียงไปทาง ทิศตะวันออกตอนเหนือ ของตัวเมืองเป็นที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ราบสูง", "title": "เทศบาลนครนครราชสีมา" }, { "docid": "5114#52", "text": "จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บนที่ราบสูงโคราช ห่างจากกรุงเทพ 259 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20,493.964 ตารางกิโลเมตร (12,808,728 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 2,297,735 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานร้อยละ 61.4 และเป็นแหล่งน้ำ 280,313 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสระบุรี ชัยภูมิ และลพบุรี", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" } ]
[ { "docid": "122778#5", "text": "ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอเมืองนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งสภาพพื้นที่ดังนี้คือ บริเวณพื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอ มีลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดชัน ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ และบริเวณทางตอนใต้ค่อนไปทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าสงวนห้วยยางครอบคลุมพื้นที่ ในเขตตำบลไชยมงคล ตำบลหนองจะบก ตำบลบ้านใหม่ และตำบลโคกกรวด ส่วนบริเวณพื้นที่ตอนล่างมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองลำตะคอง คลองส่งน้ำชลประทานและเป็นที่ตั้งของเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และส่วนบริเวณทางตอนเหนือมีลักษณะพื้นที่เกือบราบถึงราบ", "title": "อำเภอเมืองนครราชสีมา" }, { "docid": "386369#103", "text": "วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประกาศให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย 18 อำเภอในเบื้องต้น จังหวัดนครราชสีมา ได้รับรายงานว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นในพื้นที่รวม 79 ตำบล 721 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือนร้อนกว่า 19,000 หลังคาเรือน ใน 18 อำเภอของจังหวัด พื้นที่การเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ถูกน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมนับหมื่นไร่ ถนนมากกว่า 70 สายถูกตัดขาด", "title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554" }, { "docid": "122778#4", "text": "เนื้อที่ทั้งหมดของอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 755.60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 468,704 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.69 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดนครราชสีมา\nมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 454,647 คน เป็นชาย 222,724 เป็นหญิง 231,923 คน จำนวนบ้าน 169,878 หลัง ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่เท่ากับ 601.70 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร อำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ", "title": "อำเภอเมืองนครราชสีมา" }, { "docid": "122778#7", "text": "พื้นที่นอกเขตลุ่มน้ำ คือ พื้นที่ตำบลโพธิ์กลาง หนองบัวศาลา ไชยมงคล และสุรนารี ตั้งอยู่ในที่ราบสูง ไม่มีแหล่งน้ำไหลผ่านและไม่สามารถจะจัดเป็นลุ่มน้ำได้ แต่ในแต่ละตำบลและหมู่บ้านดังกล่าวมีหนองน้ำและบึงขนาดใหญ่ รวมถึงอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานอยู่ด้วย การผลิตน้ำประปาเพื่อให้บริการประชาชนในเขตเทศบาล อยู่ในความรับผิดชอบของกองประปาเทศบาลนครนครราชสีมา โดยอาศัยแหล่งน้ำดิบจากเขื่อนลำตะคอง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว", "title": "อำเภอเมืองนครราชสีมา" }, { "docid": "5114#0", "text": "นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2217", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "574504#0", "text": "เทศบาลตำบลขามทะเลสอ เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ 5.18 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,243 ไร่ 50 ตารางวา หรือประมาณร้อยละ 2.59 ของพื้นที่อำเภอขามทะเลสอ (อำเภอขามทะเลสอมีพื้นที่ประมาณ 200 ตารางกิโลเมตร) หรือประมาณร้อยละ 0.025 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,493.9 ตารางกิโลเมตร", "title": "เทศบาลตำบลขามทะเลสอ" }, { "docid": "166419#2", "text": "ตำบลโพธิ์กลางเป็น 1 ใน 25 ตำบลในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของอำเภอเมืองนครราชสีมา มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง 7 แห่งได้แก่ เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม เทศบาลตำบลหัวทะเล เทศบาลตำบลปรุใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจะบก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลาและองค์การบริหารส่วนตำบลไชยมงคล ภูมิประเทศของตำบลโพธิ์กลาง ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเทศบาลนครนครราชสีมา พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกล้อมรอบไปด้วยเขตทหาร ลักษณะรูปร่างของพื้นที่ค่อนข้างเป็นที่ราบสูงกว้าง เป็นแนวยาวลาดลงมาจากทางทิศใต้ พื้นที่จึงเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชไร่", "title": "เทศบาลตำบลโพธิ์กลาง" }, { "docid": "606263#0", "text": "เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา (อังกฤษ: CentralPlaza Nakhon Ratchasima) เป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และคอนโดมิเนียม มีพื้นที่รวมเฉพาะส่วนศูนย์การค้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของศูนย์การค้าโดยกลุ่มเซ็นทรัล รองจากเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 65 ไร่ ติดถนนมิตรภาพขาเข้าเมืองนครราชสีมา โดยมีพื้นที่คาบเกี่ยว 2 ตำบลคือตำบลในเมืองและตำบลบ้านเกาะ ดำเนินการโดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) โดยมีมูลค่าการลงทุนรวม 10,596 ล้านบาท รองรับกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดนครราชสีมากว่า 2.8 ล้านคน และจังหวัดใกล้เคียง", "title": "เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา" } ]
751
ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง มีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน?
[ { "docid": "52669#1", "text": "ซิโก้เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรคนสุดท้องจากทั้งหมดสามคน ของสุริยา (บิดา) และริสม (มารดา) มีพี่สาวสองคน แต่ภายหลังราวปี พ.ศ. 2525 เขาตามบิดามารดาย้ายกลับไปภูมิลำเนาเดิมที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" } ]
[ { "docid": "52669#0", "text": "ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหน้า อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย มีชื่อเล่นที่สื่อมวลชนสายกีฬาตั้งให้ว่า \"ซิโก้\" ตามชื่อของนักฟุตบอลชาวบราซิลที่มีชื่อเสียง อันมีที่มาจากชื่อเล่นของเขาเอง", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "330173#1", "text": "พล.ต.อ.ภาณูพงศ์ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบคนหนึ่ง โดยเมื่อครั้งติดยศ ร้อยตำรวจโท (ร.ต.ท.) ที่ สน.เตาปูน เคยเป็นหัวหน้าสายสืบที่ร่วมปราบจอมโจรชื่อดังแห่งยุค คือ ตี๋ใหญ่ มาแล้ว จากนั้นจึงได้เลื่อนยศและพื้นที่นครบาลเหนือ และโยกย้ายไปสู่ตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เมื่อครั้งที่ติดยศ พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับการตำรวจภูธรภาค 7 ได้เป็นหัวหน้าชุดตำรวจที่วิสามัญฆาตกรรมนักโทษชาวพม่าที่แหกเรือนจำมหาชัยเสียชีวิตทั้งหมด 9 คนมาแล้ว โดยในเหตุการณ์ครั้งนี้ได้เป็นที่กล่าวขานเนื่องจาก ช่อง 9 ได้ทำการถ่ายทอดรายงานข่าวที่เกิดขึ้นอย่างสด ๆ", "title": "ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา" }, { "docid": "16719#11", "text": "นายอภิรักษ์มีปู่คือ พันโทจมื่นศักดิ์สงคราม (นายร้อยเอกนายไกรพลแสน) รับราชการในกรมทหารรักษาวังของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างระบบราชการ เพื่อลดจำนวนคนจากหน่วยงานต่าง ๆ ลง ปู่จึงลาออกจากราชการ มาเก็บค่าเช่าจากที่ดินและตึกแถว", "title": "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" }, { "docid": "127469#11", "text": "ด่านทัพต้นไทร (เนิน 491) หรือ ด่านจำเริญบ่วงราบ เพื่อเป็นเกียรติภูมิตำรวจไทย วีรกรรมของ ร้อยตำรวจตรีจำเริญ บ่วงราบ หัวหน้ากองปราบปราม สถานีตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้ากองกำลังผสมพลเรือนตำรวจทหาร (หน.พตท.) บุกเข้าเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า ในปี พ.ศ. 2493 ขณะที่ พันตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดี รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายปราบปราม ยศขณะนั้น ร้อยตำรวจตรีจำเริญ บ่วงราบ หัวหน้ากองกำลังผสมพลเรือนตำรวจทหาร (หน.พตท.) นำกำลังพลกว่า 100 นาย ข้ามแดนบริเวณ บ้านต้นไทร หรือ ด่านทัพต้นไทร (เนิน 491) เพื่อบุกจับนายแพ้ว อุ้ยนอง ที่ลอบสังหาร นายคุ้ม บ่วงราบ ผู้ปกครองอาณานิคมสยามในเขตตะนาวศรี ผู้เป็นบิดา", "title": "อำเภอท่าแซะ" }, { "docid": "787502#1", "text": "ปี พ.ศ. 2483 หลังปราบเสือกรับ คำทองได้สำเร็จ ร้อยตำรวจโท ขุนพันธรักษ์ราชเดชได้รับภารกิจให้ไปสืบข่าวอัลฮาวียะลู จอมโจรแบ่งแยกดินแดน ผู้ครอบครอง \"ไตรภาคี\" ของหายาก 3 สิ่งที่เชื่อว่ามีพลังวิเศษ ขุนพันธ์แฝงตัวเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านชาวประมงที่มีผู้นำคือ ไข่โถ และทำงานในสโมสรงาช้างของหลวงโอฬาร ข้าราชการผู้ฉ้อฉลที่หลอกใช้อัลฮาวียะลูเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ด้านอัลฮาวียะลูเค้นถามตำรวจสองนายที่รอดชีวิตจากการถูกกองโจรของตนซุ่มโจมตีจนพบว่า ยังมีตำรวจนายหนึ่งแฝงตัวอยู่ในพื้นที่ ขุนพันธ์เดินทางไปพบพ่อของอัลฮาวียะลูและพบว่าในวัยเด็ก อัลฮาวียะลูเคยเทิดทูนพ่อ แต่สูญเสียแม่จากเหตุชุลมุนระหว่างพ่อของเขากับตำรวจ จึงทำให้อัลฮาวียะลูห่างเหินกับพ่อและเกลียดตำรวจมาก เขาตั้งกองโจรขึ้นมาเพื่อปกครองพื้นที่แถบเทือกเขาบูโด เวลาต่อมา ขุนพันธ์ไปพบมาลัย น้องสาวของไข่โถก่อนจะถูกกองโจรของอัลฮาวียะลูซุ่มโจมตี ขุนพันธ์ถูกยิงแต่หนีรอดไปได้", "title": "ขุนพันธ์" }, { "docid": "52669#2", "text": "ซิโก้เริ่มศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองแดง อำเภอกุมภวาปี จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นจึงย้ายมาศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จึงย้ายเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร ในระดับอนุปริญญา สาขาการบัญชี ที่โรงเรียนพาณิชยการกรุงเทพ และจบการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และจบการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "604879#21", "text": "เดือนกันยายน ชนาธิป ถูกเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เรียกตัวติดทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 23 ปี ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ และพาทีมชาติคว้าอันดับสี่มาครอง", "title": "พร้อมพงษ์ กรานสำโรง" }, { "docid": "52669#3", "text": "ชีวิตส่วนตัว ซิโก้สมรสกับอัสราภา (สกุลเดิม: วุฒิเวทย์) เมื่อปี พ.ศ. 2545 มีบุตรสาวทั้งหมด 3 คน คือ อธิชา, มุกตาภา และกฤตยา", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "52669#7", "text": "ซิโก้มีชื่อติดอันดับที่ 10 ของนักเตะที่ยิงประตูสูงสุดในนามทีมชาติ โดยในระหว่างปี 2535-2550 ซิโก้ติดทีมชาติ 131 นัด ยิง 70 ประตู ข้อมูลดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยโดย \"เดอะ มิเรอร์\" สื่อชั้นนำของประเทศอังกฤษ", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" } ]
758
สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีเป็นผู้ริเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "665#13", "text": "เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุด เขาได้ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายทิ้งและเร่งฟื้นฟูแสนยานุภาพของเยอรมันเป็นการใหญ่ ฮิตเลอร์ประกาศลดภาษีรถยนต์เป็นศูนย์และเร่งรัดให้มีการสร้างทางหลวงเอาโทบานทั่วประเทศ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมันเติบโตอย่างมโหฬาร เยอรมนีผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจอีกครั้งและกลายเป็นชาติที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในโลกในทุกด้าน ทั้งด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม การแพทย์ และการทหาร แม้ว่าความรุ่งเรืองเหล่านี้ ส่วนหนึ่งจะเป็นผลมาจากการขูดรีดแรงงานในค่ายกักกันก็ตาม\nในปี 1939 ฮิตเลอร์จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปโดยการบุกครองโปแลนด์ ตามด้วยการรุกรานประเทศอื่นๆในยุโรปและยังทำกติกาสัญญาไตรภาคีเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและญี่ปุ่น เขตอิทธิพลของนาซีเยอรมันได้แผ่ไพศาลที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติเยอรมันในปี 1942 ครอบคลุมส่วนใหญ่ของยุโรปภาคพื้นทวีป ในปี 1943 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีจาก \"ไรช์เยอรมัน\" (\"Deutsches Reich\") เป็น \"ไรช์มหาเยอรมัน\" (\"Großdeutsches Reich\")", "title": "ประเทศเยอรมนี" } ]
[ { "docid": "5333#6", "text": "จักรวรรดิเยอรมันสิ้นสภาพไปจากการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918-1919 และรัฐบาลประชาธิปไตยถูกตั้งขึ้น ซึ่งภายหลังรู้จักกันว่า สาธารณรัฐไวมาร์ ในเยอรมนีระหว่างสงครามโลกได้เกิดความขัดแย้งภายในขึ้นระหว่างผู้สนับสนุนสาธารณรัฐใหม่และผู้คัดค้านที่ยึดมั่นทางฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย พรรคนาซี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เจริญรอยตามการจัดตั้งรัฐบาลฟาสซิสต์ตามอย่างอิตาลีในเยอรมนี ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ทำให้การสนับสนุนพรรคนาซีภายในประเทศเพิ่มขึ้น และใน ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค ฮิตเลอร์สถาปนารัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จพรรคการเมืองเดียวนำโดยพรรคนาซี", "title": "สงครามโลกครั้งที่สอง" }, { "docid": "25751#1", "text": "แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง ค.ศ. 1941 ผู้นำสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งรู้จักกันในชื่อ \"สามผู้ยิ่งใหญ่\" ถือความเป็นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะนั้น จีนเองก็เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรหลักเช่นกัน ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นมีเบลเยียม บราซิล เชโกสโลวาเกีย เอธิโอเปีย กรีซ อินเดีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์และยูโกสลาเวีย", "title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง" }, { "docid": "336696#2", "text": "หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ชาวเยอรมันและรัฐบาลของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) มีจุดประสงค์อย่างชัดเจนที่จะสร้างรัฐเยอรมันอันหนึ่งเดียวที่เป็นประชาธิปไตย และเพื่อบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวและเอกราชสมบูรณ์ พวกเขามีความปรารถนาที่จะยอมรับเงื่อนไขของข้อตกลงพอทสดัมซึ่งมีผลกระทบต่อเยอรมนี จากนั้นจึงเป็นไปได้ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะเจรจาตกลงขั้นสุดท้ายตามที่ระบุในข้อตกลงพอทสดัม", "title": "สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี" }, { "docid": "165970#41", "text": "สาธารณรัฐไวมาร์ได้ขึ้นมาปกครองประเทศเยอรมนีช่วงระหว่างปี 1918 ถึงปี 1933 ชื่อของสาธารณรัฐได้มาจากนครเยอรมัน ชื่อ ไวมาร์ ซึ่งที่ประชุมสภาแห่งชาติได้กำหนดรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมา หลังจากที่จักรวรรดิเยอรมันล่มสลายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปกครองของสาธารณรัฐเป็นแบบประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย เหมือนกับฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา", "title": "สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง" }, { "docid": "1820#15", "text": "ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน", "title": "ประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "11774#12", "text": "ในปี ค.ศ. 1949 โซเวียตได้หันไปควบคุมเยอรมนีตะวันออกเหนือต่อพรรคเอกภาพสังคมนิยม ผู้นำโดย วิลเฮ็ล์ม พีค (ค.ศ. 1876-1960) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และดำรงตำแหน่งจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ในขณะที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ได้สมมุติโดยเลขาธิการใหญ่ วัลเทอร์ อุลบริชท์ ผู้นำสังคมนิยม อ็อทโท โกรเทอโวล (ค.ศ. 1894-1964) เป็นนายกรัฐมนตรีจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม", "title": "ประเทศเยอรมนีตะวันออก" }, { "docid": "336696#0", "text": "สนธิสัญญาการในการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี หรือเรียกว่า สนธิสัญญาสองบวกสี่ () มีการเจรจาขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และอีกมหาอำนาจอีกสี่ชาติซึ่งยึดครองเยอรมนีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา", "title": "สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี" }, { "docid": "11774#0", "text": "เยอรมนีตะวันออก () เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (; ) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม \"ของคนงานและชาวนา\" และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนว Oder-Neisse เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก", "title": "ประเทศเยอรมนีตะวันออก" }, { "docid": "11774#11", "text": "ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกได้ถูกก่อตั้งและได้รับเอกราชจากผู้ยึดคีอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันได้ถูกก่อตั้งในเยอรมนีตะวันออกในปี ค.ศ. 1949 การสร้างทั้งสองรัฐขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ส่วนหนึ่งของเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1952 (ในสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักกันคือ โน้ตสตาลิน) สตาลินได้ยื่นข้อเสนอให้รวมประเทศเยอรมนีด้วยนโยบายความเป็นกลาง, ด้วยปราศจากเงื่อนไขใดๆเกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจและด้วยการรับประกันสำหรับ\"สิทธิมนุษย์และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเสรีภาพในการพูด กดดัน การชักชวนทางศาสนา, ความเชื่อมั่นทางการเมือง และการชุมนุม\" และเคลื่อนไหวอย่างเสรีของพรรคประชาธิปไตยและองค์กร ตอนนี้ได้ถูกปิดลง การรวมประเทศไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นผู้นำของเยอรมนีตะวันตก และอำนาจของนาโต้ได้ปฏิเสธข้อเสนอโดยอ้างว่าเยอรมนีควรที่จะเข้าร่วมนาโต้และการเจรจาต่อรองกับสหภาพโซเวียตจะถูกมองว่าเป็นการยอมจำนน มีการอภิปรายหลายครั้งเกี่ยวกับมีโอกาสที่จะรวมตัวอีกครั้งหรือไม่ซึ่งพลาดในปี ค.ศ. 1952", "title": "ประเทศเยอรมนีตะวันออก" }, { "docid": "23775#4", "text": "ปีต่อมา เยอรมนีภายใต้การปกครองของ 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส รวมกันจัดตั้งเป็นประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ เยอรมนีตะวันตก ในขณะที่เยอรมนีส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ได้จัดตั้งเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี หรือ เยอรมนีตะวันออก ในช่วงแรก ประชาชนของทั้งสองประเทศสามารถเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันได้เป็นปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ความแตกต่างระหว่างการปกครองแบบประชาธิปไตยในเยอรมนีตะวันตก และการปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออก มีความแตกต่างที่เด่นชัดขึ้น ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกได้รับการพัฒนา และฟื้นฟูประเทศ อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ที่พังทลายในช่วงสงครามโลกได้รับการบูรณะ ส่วนเยอรมนีตะวันออกทุกอย่างกลับสวนทางกัน ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจทุกอย่างถูกเปลื่ยนมือไปเป็นของรัฐ เป็นเหตุให้ผู้คนพากันอพยพข้ามถิ่นจากเยอรมนีตะวันออกไปยังเยอรมนีตะวันตกกันมากขึ้น ทำให้เยอรมนีตะวันออกประสบปัญหาการขาดแรงงาน เฉพาะในปี ค.ศ. 1961 เพียงปีเดียว ซึ่งมีข่าวลือว่า ทางเยอรมนีตะวันออกจะปิดกั้นพรมแดนระหว่างสองประเทศ ทำให้ผู้คนกว่า 3 ล้านคน พากันอพยพไปยังเยอรมนีตะวันตก เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออก ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียตได้เร่งสร้างกำแพงกันแนวระหว่างสองประเทศ และรวมไปถึง แนวกำแพงที่ปิดล้อมกรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตกอีกด้วย", "title": "กำแพงเบอร์ลิน" } ]
766
สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นแชมป์กี่สมัยในฟุตบอลพรีเมียลีกของอังกฤษ?
[ { "docid": "22432#0", "text": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด () เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ มีสนามเหย้าคือโอลด์แทรฟฟอร์ดในเมืองแมนเชสเตอร์ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสโมสรหนึ่ง โดยชนะเลิศแชมป์ลีก 20 ครั้ง (เอฟเอ พรีเมียร์ลีก/ดิวิชัน 1) ชนะเอฟเอคัพ 12 ครั้ง ฟุตบอลลีกคัพ 5 ครั้ง ชนะยูโรเปียนคัพ/ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก 3 ครั้ง ชนะเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 21 ครั้ง และชนะยูฟ่า คัพ วินเนอร์สคัพ อินเตอร์เนชันแนลคัพ ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก และ ยูฟ่ายูโรปาลีก อย่างละ 1 ครั้ง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรกีฬาที่ได้รับความนิยม โดยแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีสถิติผู้เข้าชมในสนามมากที่สุดในฟุตบอลอังกฤษตลอด 34 ฤดูกาล ยกเว้นในฤดูกาล 1987–89 ที่มีการปรับปรุงสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" } ]
[ { "docid": "22432#22", "text": "หลังจากคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาล 1999-2000 ถึง 2000-2001 ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการฟุตบอลอังกฤษโดยการแชมป์ลีก 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งเป็นทีมทึ่ 3 ที่ทำได้ (ทีมที่ทำได้ก่อนหน้าคือทีมแรกอาร์เซนอลฤดูกาล 1932-33, 1933-34 และ 1934-35และลิเวอร์พูล) และในช่วงนั้นยูไนเต็ดได้คว้าตัวนักเตะสำคัญคือ กองหน้าชาวดัตช์ รืด ฟัน นิสเติลโรย ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็น 1 ในตำนานสโมสรที่ลงสนาม 220 นัด และยิงได้ถึง 150 ประตู และริโอ เฟอร์ดินานด์ กองหลังที่มีค่าตัวสูงถึง 30 ล้านปอนด์", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" }, { "docid": "644089#25", "text": "และแล้วยูไนเต็ดก็ประสบความสำเร็จ สามารถคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ในปี ค.ศ.1983 ด้วยสกอร์สวยหรู 4-0 ในนัดรีเพลย์กับไบรตัน รวมทั้งยังจบอันดับที่ 3 ในรายการลีก โดยแชมป์ยังคงตกเป็นของลิเวอร์พูลอีกครั้ง ส่วนรองแชมป์เป็นของวัตฟอร์ต ที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมน่าประทับใจในฤดูกาลแรกของการขับเคี่ยวในกลุ่มหัวตาราง ไม่เพียงแค่นั้น ยูไนเต็ดยังสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศรายการฟุตบอลถ้วยลีก คัพ แต่ก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้ต่อลิเวอร์พูลไปด้วยสกอร์ 2-1 นอร์แมน ไวท์ไซด์ ของยูไนเต็ดสามารถทำประตูได้ทั้งสองนัดในรายการชิงชนะเลิศในฤดูกาลเดียว ซึ่งถือเป็นนักเตะอังกฤษคนแรกที่สามารถทำได้", "title": "ประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ค.ศ. 1969–1986)" }, { "docid": "22432#5", "text": "บัสบีเป็นคนที่ดึงนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาหลายคน จนได้แชมป์ลีกในปี 1956 ด้วยอายุเฉลี่ยของนักเตะเพียง 22 ปีเท่านั้น ในปีต่อมา เขาก็ได้พาทีมเป็นแชมป์ลีกอีกครั้ง และยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ แต่ไปไม่ถึงดวงดาวโดยการพ่ายแพ้ต่อแอสตัน วิลลา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นทีมแรกของอังกฤษที่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลยูโรเปียนคัพ และยังได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกด้วย", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" }, { "docid": "536715#3", "text": "ในฐานะที่เป็นหนึ่งในเจ็ดของสโมสรอังกฤษที่มีคุณสมบัติสำหรับการแข่งขันในระดับฟุตบอลสโมสรยุโรปในฤดูกาล 2012-13, ยูไนเต็ดได้สิทธิ์ขอบายเข้าสู่รอบที่สามของฟุตบอลลีกคัพ โดยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2013 โดยที่ยูไนเต็ดได้ถูกจับสลากประกบคู่พบกับคู่อริตลอดกาล,เพื่อนร่วมพรีเมียร์ลีกอย่างลิเวอร์พูล. โดยถือเป็นครั้งที่สี่ที่ทั้งคู่โคจรมาพบกันของคู่แข่งทั้งสองได้พบกันในการแข่งขันและเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2003 ที่ได้เจอกันในฟุตบอลรายการนี้ โดยครั้งสุดท้ายที่ทั้งคู่พบกันเป็นทางด้าน ลิเวอร์พูลเป็นฝ่ายเอาชนะปีศาจแดงในนัดชิงชนะเลิศด้วยสกอร์ 2-0.", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 2013–14" }, { "docid": "22432#30", "text": "ในพรีเมียร์ลีกนัดถัดมา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ชัยชนะนัดแรก เมื่อเป็นฝ่ายชนะคริสตัลพาเลซ ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดของตัวเอง 2-0 แต่ทว่าในนัดต่อมาเมื่อเจอกับเลสเตอร์ซิตี ที่เป็นทีมที่เลื่อนชั้นขึ้นมาจากเดอะแชมเปียนชิป ที่สนาม คิงพาวเวอร์สเตเดียม ถึงแม้จะเป็นฝ่ายขึ้นนำไปก่อน 3-1 แต่ทว่าในครึ่งหลังกลับถูกเลสเตอร์ซิตีแซงจนชนะไป 5-3 ซ้ำไทเลอร์ แบล็คเก็ตต์ กองหลังของทีมก็ถูกใบแดงไล่ออกในนาทีที่ 83 อีกด้วย ทำให้เมื่อผ่านไป 5 นัด อันดับของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่ที่อันดับที่ 12 มีเพียง 5 คะแนนเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบสถิติกับเดวิด มอยส์ เมื่อฤดูกาลที่แล้ว พบว่าฟัน คาล มีสถิติแย่กว่ามอยส์เสียอีก เพราะ 5 นัดแรกในฤดูกาลนี้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดยังไม่พบกับทีมใหญ่เลย ผิดกับฤดูกาลที่แล้วที่พบกับทีมใหญ่ถึง 3 ทีม คือ เชลซี, ลิเวอร์พูล และแมนเชสเตอร์ซิตี ใน 5 นัดแรก และมีรายงานว่าผู้เล่นบางคนถึงกับกล่าววาจาหยาบคายออกมาในห้องพักหลังจากแข่งขัน ซึ่งแสดงออกถึงความไม่พอใจในตัวฟัน คาล", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" }, { "docid": "926747#36", "text": "แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นคู่แข่งของอาร์เซนอลในรอบรองชนะเลิศ จัดที่วิลลาพาร์กเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2004 ทั้งสองทีมเสมอกันในลีกเมื่อวันอาทิตย์ก่อน แต่เนื่องจากนี่เป็นนัดเพื่อตำแหน่งในรอบชิงชนะเลิศ เดิมพันจึงสูงกว่ามาก กองหลังของยูไนเต็ด แกรี เนวิล อธิบายเกมนี้ว่าเป็นเกม \"สำคัญที่สุด\" ของทีมเขาในฤดูกาลนี้หลังตกรอบแชมเปียนลีกและเขามองว่า \"ตามหลังเกินไป\" ในพรีเมียร์ลีก แวงแกร์ให้อ็องรีได้พัก เมื่อพิจารณากำหนดการแข่งขันแน่นของทีมในอนาคต แม้อาร์เซนอลเริ่มเกมได้ดีกว่า แต่กองกลางของยูไนเต็ด พอล สโกลส์ เป็นผู้ทำประตูชัยประตูเดียวของเกมนั้นและทำให้ทีมผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ", "title": "สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลในฤดูกาล 2003–04" }, { "docid": "22432#18", "text": "ฤดูกาล 1994-95 คันโตนาถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษห้ามแข่งถึง 8 เดือน หลังจากที่ไปกระโดดถีบใส่แมทธิว ซิมมอนส์ แฟนบอลคริสตัล พาเลซ ปีนั้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รองแชมป์ทั้งพรีเมียร์ลีกและเอฟเอ คัพ เฟอร์กูสันได้กระทำสิ่งที่ขัดใจแฟนบอลของทีมอีกครั้ง ด้วยการขายนักเตะสำคัญของทีมและดันนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาเล่นแทน แต่ปีนั้นทีมก็สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้อย่างน่ายกย่อง โดยเป็นทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้เป็นสมัยที่สองซึ่งเว้นจากครั้งแรกที่ได้ดับเบิ้ลแชม์ในปี 1994 เพียงปีเดียว และสามารถที่จะลบคำสบประมาทที่ถูกปรามาสเอาไว้ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จใดๆได้ จากการผลักดันเด็กเยาวชนของทีมให้ขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" }, { "docid": "22432#17", "text": "เอริก กองโตนาย้ายจากลีดส์ ยูไนเต็ดมาร่วมทีมเมื่อปี 1992 ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมเป็นอย่างมาก ทำให้ทีมได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนั้นทันที ซึ่งนับเป็นแชมป์ลีกหนแรกในรอบ 26 ปี นับจากที่ได้มาครั้งล่าสุดในปี 1967 ปีต่อมา ทีมได้ดับเบิลแชมป์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร แต่ในปี 1994 นั้นเอง แมตต์ บัสบี ตำนานกุนซือของได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 มกราคม", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" }, { "docid": "22432#20", "text": "ปี 1998-99 ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเป็นทีมแรกของอังกฤษที่คว้าทริปเปิลแชมป์ ซึ่งประกอบด้วยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟาแชมเปียนส์ลีกได้ในฤดูกาลเดียวกันอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยในนาทีสุดท้ายของเกมนั้น ทีมยังตามหลังบาเยิร์นมิวนิกอยู่ 1-0 แต่แล้วในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ 3 นาทีนั้น ทีมสามารถทำได้ถึงสองประตูพลิกกลับมาชนะ 2-1 ได้อย่างเหลือเชื่อจากเท็ดดี เชอริงแฮม และ \"เพชฌฆาตหน้าทารก\" อูเลอ กึนนาร์ ซูลแชร์", "title": "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" } ]
767
พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยาคือใคร?
[ { "docid": "44328#3", "text": "สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยานั้น มีพระนามเดิมว่า \"กรมขุนอนุรักษ์มนตรี\" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พระองค์แรก คือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ผู้ต้องพระราชอาญาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "42761#0", "text": "สมเด็จพระบรมราชา (ที่ 3) หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 33 และเป็นรัชกาลสุดท้ายแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301-2310", "title": "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" } ]
[ { "docid": "21893#2", "text": "เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนครอินทราธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ โปรดเกล้าให้พระราชโอรสของพระองค์ทั้ง 3 พระองค์ได้แก่ เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยาและเจ้าสามพระยา แยกย้ายกันปกครองหัวเมืองต่าง ๆ โดยทรงมอบหมายให้เจ้าอ้ายพระยา พระราชโอรสองค์ใหญ่ปกครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยา พระราชโอรสองค์กลางปกครองเมืองแพรกศรีราชา และเจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์เล็ก ปกครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก)", "title": "วัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)" }, { "docid": "881343#1", "text": "\"พระเจ้าสุทโธทนะ” กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นพระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ อยากมีทายาทมาก จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้พระมเหสีมีประสูติกาล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ก็ทรงมุ่งหวังให้พระโอรสได้เป็นมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ จึงให้เจ้าชายร่ำเรียนวิชาการรบ กวาดต้อนคนเจ็บคนแก่ออกจากเมือง เพื่อสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้เจ้าชายมีแต่ความสุข ไม่พบเจอความทุกข์ใดๆ", "title": "พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก" }, { "docid": "42761#3", "text": "เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2301 พระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ ระหว่างนั้นกรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ราว 2 เดือนต่อมา พระเจ้าอุทุมพรเสด็จไปถวายราชสมบัติแก่กรมขุนอนุรักษ์มนตรีแล้วเสด็จออกผนวช ประทับ ณ วัดประดู่ทรงธรรม กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงเสด็จขึ้นราชาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ทรงพระนามว่า\"สมเด็จพระบรมราชามหาอดิศร บวรสุจริต ทศพิธธรรมธเรศ เชษฐโลกานายกอุดม บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว\"", "title": "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" }, { "docid": "42761#4", "text": "ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์ พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าเอกทัศได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา พระมหากษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมา แต่สวรรคตเสียก่อน\nต่อมาใน พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ โอรสของพระเจ้าอลองพญา ได้เป็นพระมหากษัตริย์พม่า และส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ให้เกณฑ์กองทัพกว่า 70,000 นาย ยกเข้าตีเมืองไทย 2 ทาง ทางทิศใต้เข้าตีเข้าทางเมืองมะริด ส่วนทางตอนเหนือตีลงมาจากแคว้นล้านนา และบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนานกันสองข้างโดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 1 ปี 2 เดือน ก็เข้าพระนครได้ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310", "title": "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" } ]
770
ต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนาอยู่ที่ใด?
[ { "docid": "77973#0", "text": "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน", "title": "ประวัติศาสนาพุทธ" } ]
[ { "docid": "78585#29", "text": "ในปี พ.ศ. 2500 นี้ รัฐบาลได้กำหนดพิธีเฉลิมฉลองทั่วประเทศ มีการจัดสร้างพุทธมณฑล ขึ้น ณ ที่ดิน 2,500 ไร่ ระหว่างกรุงเทพ-นครปฐม แล้วสร้างพระมหาพุทธปฏิมาปางประทับยืนลีลาสูง 2500 นิ้ว ภาย ในบริเวณรอบองค์พระมีภาพจำลองพระพุทธประวัติ และมีพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ได้ปลูกต้นไม้ที่มีชื่อในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น สร้างพระพิมพ์ปางลีลาเป็นเนื้อชินและเนื้อผงจำนวน 4,842,500 องค์ พิมพ์พระไตรปิฎกแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และบูรณะปูชนียสถานวัด วาอารามทั่วพระราชอาณาจักร อุปสมบทพระภิกษุจำนวน 2,500 รูป และนิรโทษกรรมแก่นักโทษ ประกวด วรรณกรรม ศิลปะทางพระพุทธศาสนา โดยเชิญผู้แทนพุทธศาสนิกชนทั่วโลกมาร่วมอนุโมทนา", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" } ]
773
ประเทศอินโดนีเซียมีพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "1969#4", "text": "อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,826,440 ตารางกิโลเมตร มีประมาณ 17,000 เกาะ พื้นที่กว่า 70% ไม่มีผู้คนอาศัย มีภูเขาสูงตามเทือกเขาที่มีความสูงมากอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนองบึงใช้ประโยชน์ไม่ได้", "title": "ประเทศอินโดนีเซีย" } ]
[ { "docid": "992037#0", "text": "เขตพิเศษยกยาการ์ตา (; ; ) เป็นเขตพิเศษมีสถานะเท่าจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย ทางตอนใต้ของเกาะชวา อยู่ติดกับมหาสมุทรอินเดียทางทิศใต้ และมีพื้นที่ติดกับจังหวัดชวากลาง ปกครองโดยรัฐสุลต่านยกยาการ์ตา เขตพิเศษนี้เป็นดินแดนเดียวที่ได้การยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นราชาธิปไตยจากรัฐบาลอินโดนีเซีย มีเมืองหลวงคือ ยกยาการ์ตา ที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ", "title": "เขตพิเศษยกยาการ์ตา" }, { "docid": "892693#1", "text": "หมู่เกาะอินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะมากกว่า 15,000 คน เนเธอร์แลนด์เข้ามาปกครองเป็นอาณานิคมในราวพุทธศตวรรษที่ 24 และจัดตั้งหน่วยการปกครองที่เป็นเอกภาพ แนวชายแดนปัจจุบันของอินโดนีเซียก่อตั้งขึ้นตามอาณานิคมที่ขยายตัวในพุทธศตวรรษที่ 25 หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึง พ.ศ. 2488 ผู้นำขบวนการชาตินิยมบนเกาะชวาประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย แต่ไม่ใช่ทุกพื้นที่และประชาชนทุกคนในพื้นที่ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบันที่ยอมรับสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่เป็นรัฐเดี่ยว ขบวนการต่อต้านสาธารณรัฐอินโดนีเซียกลุ่มแรกๆเกิดที่หมู่เกาะโมลุกกะใต้ซึ่งได้รับความช่วยเหลือด้านการทหารจากเนเธอร์แลนด์ กลุ่มกบฏโมลุกกะใต้เริ่มจากสนธิสัญญาในยุคหลังอาณานิคมที่ต้องการจัดการปกครองในรูปสหพันธ์ ข้อตกลงระหว่างเนเธอร์แลนด์กับอินโดนีเซียในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2492 ถูกยกเลิก และได้ประกาศจัดตั้งรัฐเอกราชสาธารณรัฐโมลุกกะใต้ เพื่อหวังสถานะการปกครองตนเอง ผู้นำโมลุกกะต้องการให้แต่ละรัฐที่ปกครองตนเองมารวมตัวกันเป็นสหพันธ์", "title": "สาธารณรัฐโมลุกกะใต้" }, { "docid": "1969#0", "text": "อินโดนีเซีย () หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย () เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีรียัน () และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ ()", "title": "ประเทศอินโดนีเซีย" }, { "docid": "156277#4", "text": "สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก", "title": "ป่าชายเลน" }, { "docid": "17473#1", "text": "มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เทียบกับประเทศไทยแล้วเล็กกว่ากันถึง 10 เท่า มีจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึงร้อยละ 25 ของประเทศ และถือเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่ออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด และเคยถูกมูลนิธินิวอีโคโนมิค (NEF) ประกาศให้เป็นประเทศที่มีความเขียวชอุ่ม หรือมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกอีกด้วย", "title": "ประเทศคอสตาริกา" }, { "docid": "2074#20", "text": "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ประมาณ 4,000,000 ตารางกิโลเมตร (1.6 ล้านตารางไมล์) มีประชากรมากกว่า 628 ล้านคนในปี พ.ศ. 2558 โดยกว่าหนึ่งในห้า (125 ล้านคน) อยู่บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยความที่ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรถึง 230 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 4 ของโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาที่จะแตกต่างไปในแต่ละประเทศ มีชาวจีนโพ้นทะเล 30 ล้านคน อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยที่เด่นชัดที่สุดคือที่เกาะคริสต์มาส, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และไทย รวมถึงชาวฮั้วในเวียดนาม", "title": "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "1969#1", "text": "อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย", "title": "ประเทศอินโดนีเซีย" }, { "docid": "381562#0", "text": "ซุมบาวา () เป็นเกาะในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในหมู่เกาะซุนดาน้อย ทางตะวันออกของเกาะลมบกและตะวันตกของเกาะโฟลเร็ซ เกาะซุมบาวามีพื้นที่ 5,448 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,965 ตารางไมล์ (ขนาดเป็น 3 เท่าของเกาะลมบก) มีประชากรราว 1.33 ล้านคน เกาะเต็มไปด้วยภูเขา ยอดสูงสุดเป็นภูเขาไฟชื่อ กูนุงตัมโบรา อยู่ที่ปลายสุดของคาบสมุทรทางตอนเหนือ มีดินอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเมืองร้อนได้ดีหลายชนิด", "title": "เกาะซุมบาวา" }, { "docid": "1969#5", "text": "ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะหลัก 5 เกาะคือ นิวกินี, ชวา, กาลีมันตัน, ซูลาเวซี และสุมาตรา เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะสุมาตรา ส่วนเกาะชวาเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะหลักทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรกว่า 200 ล้านคนอาศัยอยู่บนเกาะนี้และเป็นที่ตั้งกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นเมืองหลวง หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์-เลสเต", "title": "ประเทศอินโดนีเซีย" } ]
782
เกมส์ไซเลนต์ฮิลล์ ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "373868#0", "text": "ไซเลนต์ฮิลล์ () เป็นวิดีโอเกมแนวสยองขวัญเอาชีวิตรอดสำหรับเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน จำหน่ายโดยโคนามิ และพัฒนาโดยทีมไซเลนต์ จากโคนามิคอมพิวเตอร์เอนเตอร์เทนเมนต์โตเกียว เกมภาคแรกของเกมชุด\"ไซเลนต์ฮิลล์\"นี้ออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือในเดือนมกราคม ค.ศ. 1999 และในญี่ปุ่นและยุโรปภายหลังในปีเดียวกัน \"ไซเลนต์ฮิลล์\"ใช้มุมมองบุคคลที่สามและสิ่งแวดล้อมสามมิติเรียลไทม์ นักพัฒนาเกมใช้หมอกและความมืดเพื่อทำให้กราฟิกดูหมองมัวเนื่องจากข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์ เกมนี้แตกต่างจากเกมสยองขวัญเอาชีวิตรอดก่อนหน้านี้ที่เน้นตัวเอกที่ต้องฝึกฝนการต่อสู้ แต่ตัวละครผู้เล่นในเกมไซเลนต์ฮิลล์เป็น \"คนธรรมดาทั่วไป\" (everyman)", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์ (วิดีโอเกม)" }, { "docid": "117318#3", "text": "วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1999 บนเครื่องเพลย์สเตชัน เนื้อเรื่องกล่าวถึงชายหนุ่มที่ชื่อแฮรี่ เมสัน ที่ประสบอุบัติเหตุขณะขับรถผ่านเมืองไซเลนต์ฮิลล์ เมื่อตื่นขึ้นมาก็พบว่าเชอริล ลูกสาวบุญธรรมวัยเจ็ดขวบของเขาได้หายตัวไปเสียแล้ว เขาจึงออกตามหาตัวเชอริลท่ามกลางหมอกหนาทึบของเมือง ระหว่างนั้นกลับได้พบกับสัตว์ประหลาดน่าสยดสยอง และต้องเข้าไปพัวพันกับลัทธิบูชาซาตานเก่าแก่ของเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" }, { "docid": "117318#0", "text": "ไซเลนต์ฮิลล์ () เป็นชื่อของซอฟต์แวร์วิดีโอเกมแนวผจญภัย-สยองขวัญ (Survival Horror Adventure) ผลิตโดยบริษัท โคนามิ ประเทศญี่ปุ่น มีเนื้อหาเกี่ยวกับเมืองสมมติในอเมริกาที่ชื่อ ไซเลนต์ฮิลล์ ซึ่งมีอำนาจประหลาดอันจะส่งผลให้จินตนาการและความปรารถนาอันแรงกล้าของบุคคลกลายเป็นความจริง วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1999 บนเครื่องเพลย์สเตชัน และประสบความสำเร็จจนมีภาคต่อตามออกมาอีกหลายภาค รวมทั้งถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์อีกด้วย โดยในฉบับภาพยนตร์นั้นดัดแปลงเนื้อหามาจากเกมภาคแรก ส่วนในฉบับเกม เนื้อหาในแต่ละภาคไม่ต่อเนื่องกัน แต่จะมีความเกี่ยวพันกับสถานที่และบุคคลในเมืองไซเลนต์ฮิลล์ เหมือนกันหมด", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" } ]
[ { "docid": "117318#17", "text": "เกมซีรีส์ไซเลนท์ฮิลล์ภาคล่าสุดที่พัฒนาโดยทีม Vatra Games มีกำหนดวางจำหน่ายบนเครื่อง PS3 , Xbox360 ในเดือนตุลาคม 2011 เคยมีชื่อในการเปิดตัวว่า Silent Hill 8 จากรายละเอียดที่เปิดเผยออกมาแล้วนั้น ระบุว่าตัวเอกของเกมชื่อเมอร์ฟี่ เพนเดิลตัน นักโทษชายซึ่งหลบหนีจากรถขนส่งนักโทษได้ระหว่างที่รถเกิดอุบัติเหตุ ตัวเกมจะดำเนินเรื่องในพื้นที่ทางใต้ของเมืองไซเลนท์ ฮิลล์ (ซึ่งยังไม่เคยปรากฏในเกมภาคก่อนหน้าเลย) ตัวเกมจะเพิ่มองค์ประกอบของความเป็น Open World เข้าไป ผู้เล่นสามารถเดินทางไปไหนมาไหนก็ได้ และจะมีภารกิจย่อยๆให้ทำมากมายนอกจากเนื้อเรื่องหลัก และเกมภาคนี้จะใช้ \"น้ำ\" เป็นสื่อในการเปลี่ยนเข้าสู่มิติแห่งสนิม เช่นเมื่อพวกปิศาจใกล้จะปรากฏตัว ฝนจะเริ่มตกลงมาหนักขึ้น เป็นต้น", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" }, { "docid": "117318#8", "text": "วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2004 บนเครื่องเพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์​และพีซี ภาคนี้ถูกวางสถานที่ไว้ในเมืองเพื่อนบ้านของไซเลนต์ฮิลล์ เกี่ยวกับชายที่ชื่อเฮนรี่ ทาวแซนด์ ซึ่งพบว่าห้องพักของเขาเองถูกปิดตายไว้ไม่ให้ออกไปไหนได้ หลังจากนั้นไม่นานก็มีโพรงประหลาดเกิดขึ้นในห้องน้ำ เมื่อเขาคลานเข้าไปในรูนั้นก็พบว่าตัวเองถูกดึงไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สยองในอดีตของฆาตกรต่อเนื่องนาม วอลเตอร์ ซุลลิแวน ในตอนแรก ผู้สร้างตั้งใจจะให้เกมภาคนี้แยกออกมาเป็นเอกเทศ แต่ก็ตัดสินใจบรรจุเข้าเป็นเกมภาคต่อของไซเลนต์ฮิลล์ ในภายหลัง ซึ่งสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากแฟนๆเกมซีรีส์นี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากตัวเกมมีลักษณะการเล่นที่แตกต่างจากเกมภาคก่อนๆ มากพอสมควร", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" }, { "docid": "381482#0", "text": "ไซเลนต์ฮิลล์: ออริจินส์ (, หรือแผลงการสะกดเป็น Silent Hill: Ørigins) หรือในชื่อ ไซเลนต์ฮิลล์ ซีโร สำหรับวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เป็นเกมแนวสยองขวัญลำดับที่ห้าในชุดไซเลนท์ฮิลล์ (แต่มีเนื้อหาตามลำดับเวลาเป็นอันดับแรก) จัดจำหน่ายโดย โคนามิ ดิจิตอล เอนเตอร์เทนเมนท์ และพัฒนาโดย ไคลแม็กซ์ สตูดิโอส์ สำหรับเครื่อง Play Station Portable ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และภายหลังพอร์ตลงเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์: ออริจินส์" }, { "docid": "381482#18", "text": "วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ตัวเกมเวอร์ชันเดโมถูกปล่อยให้ดาวน์โหลดกันบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งทางไคลแม็กซ์สตูดิโอปฏิเสธว่าเป็นแหล่งของไฟล์ที่หลุดรอดออกมา ตัวเกมจริงออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ในภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรป ส่วนประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลียเป็นลำดับถัดมาในเดือนธันวาคม (ซึ่งในญี่ปุ่นวางจำหน่ายในชื่อ Silent Hill Zero) ในเดือนเดียวกันนั้น เว็บไซต์ Kotaku ได้รายงานข่าวเรื่องเกมนี้จะถูกพอร์ตลงบนเครื่องเพลย์สเตชัน 2 เพื่อเป็นการกระจายตัวเกมให้ถึงผู้เล่นส่วนมากมากขึ้น โดยจะวางจำหน่ายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 เมื่อถึงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เว็บไซต์ แอมะซอน.คอม ก็เริ่มเปิดให้สั่งจองตัวเกมเวอร์ชันเครื่อง PS2 แม้ว่าทางโคนามิและไคลแม็กซ์จะยังไม่ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการในเวลาก็ตาม โดยโคนามิประกาศยืนยันเวอร์ชัน PS2 ในวันที่ 22 มกราคม 2008", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์: ออริจินส์" }, { "docid": "381482#16", "text": "ออริจินส์มีข่าวประกาศเป็นครั้งแรกในงาน E3 ประจำปี พ.ศ. 2549 โดยเปิดเผยรูปแบบการเล่นหลักๆ และเนื้อเรื่องคร่าวๆ นอกจากนี้ยังมีการประกาศเรื่องของทีมสร้างที่จะไม่ใช่ Team Silent ของโคนามิอีกต่อไป แต่เป็น Climax Studio แทน พล็อตเรื่องของเกมเขียนขึ้นโดยแซม บาร์โลว์ ซึ่งตกลงกับทาง Team Silent ให้ชื่อเรื่องเป็นที่ยอมรับ ประกอบเกมภาคนี้ยังคงประพันธ์โดยอากิระ ยามาโอกะเช่นเดิม ตัวอย่างการเล่นแรกของเกมเปิดเผยว่าจะยังคงใช้ระบบหลักๆเช่นการต่อสู้กับศัตรูแบบเดียวกับเกมภาคก่อนๆ แต่เพิ่มรูปแบบมุมกล้องเช่นเดียวกับเกม Resident Evil 4 เข้ามา ทราวิสสามารถใช้อาวุธได้ 6 แบบ ประกอบด้วยอาวุธระยะประชิด 3 แบบ และอาวุธปืนอีก 3 แบบ ระบบอื่นๆของเกมที่เคยมีการวางแผนกันไว้เช่น การติดศูนย์เล็งด้วยเลเซอร์ลงบนอาวุธปืน และการใช้ระบบสิ่งกีดขวาง โดยเอาวัตถุในฉากมาช่วยป้องกันการโจมตีของศัตรูได้ ระบบเกมทั้งหมดนี้ทำให้เกมนี้มีแผนวางจำหน่ายในปลายปี พ.ศ. 2549", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์: ออริจินส์" }, { "docid": "117318#18", "text": "ซอฟต์แวร์เกมของเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ วางจำหน่ายในปี 2001 ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น เป็นเกมแนว Sound Novel ที่ให้ผู้เล่นเลือกดำเนินเรื่องด้วยตนเอง พร้อมกับแก้ปริศนาต่างๆไปด้วย เนื้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ ซีบิล เบนเน็ธ ตัวละครจากเกมภาคแรกได้เจอขณะที่ติดอยู่ในเมืองไซเลนต์ฮิลล์", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" }, { "docid": "117318#5", "text": "วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2001 บนเครื่องเพลย์สเตชัน 2 และต่อมาบนเครื่องเอกซ์บ็อกซ์ และพีซี ในชื่อ Silent Hill 2: Restless Dreams ซึ่งเพิ่มส่วนของเนื้อเรื่องบทเพิ่มเติมเข้าไป ภาคนี้มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชายที่ชื่อเจมส์ ซันเดอร์แลนด์ ผู้ซึ่งสูญเสียภรรยาไปเมื่อสามปีก่อน บัดนี้เขาได้รับจดหมายที่ลงชื่อภรรยาไว้ โดยบอกว่ากำลังรอเขาอยู่ที่ 'ที่พิเศษ' ของเขากับเธอ เจมส์จึงกลับมายังไซเลนต์ฮิลล์ ที่ซึ่งเขาและภรรยาเคยมาพักผ่อนด้วยกันเพื่อค้นหาว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไรกันแน่", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" }, { "docid": "117318#9", "text": "มีกำหนดการวางจำหน่ายในปี 2007 บนเครื่องพีเอสพี ในภาคภาษาญี่ปุ่นรู้จักกันในชื่อ Silent Hill Zero ในภายหลังได้รับการพอร์ตลงเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 ในเดือนมีนาคม 2008 เนื้อหาของภาคนี้ย้อนไปก่อนหน้าเนื้อหาในภาคแรก กล่าวถึงชายหนุ่มชื่อ ทราวิส แกรดี้ อาชีพคนขับรถบรรทุกส่งของ ในการส่งของครั้งหนึ่งเขาตัดสินใจใช้เส้นทางที่ตัดผ่านเมืองไซเลนท์ ฮิลล์ เพื่อเป็นทางลัด ระหว่างนั้นก็ได้พบกับอัลเลสซ่า กิลเลสพี ที่วิ่งตัดหน้ารถและหายตัวไป เขาจึงออกตามหาและพบว่าเธอติดอยู่ในบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้อย่างหนัก เมื่อช่วยเหลืออัลเลสซ่าที่ถูกไฟคลอกออกมาแล้ว เขาจึงนำเธอไปส่งโรงพยาบาล และนั่นคือจุดเริ่มต้นของความหลังเกี่ยวกับพ่อและแม่ของเขาที่กลับมาหลอกหลอนด้วยอำนาจประหลาดของไซเลนท์ ฮิลล์", "title": "ไซเลนต์ฮิลล์" } ]
784
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สวรรคตที่สถานที่ใด?
[ { "docid": "23931#17", "text": "เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี (ท้อง) และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ได้ถวายการตรวจพระวรกายและเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ตรวจพบมะเร็งซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่พระถันที่ทรงเคยได้รับการถวายตรวจรักษาเมื่อ 10 ปีก่อน โดยช่วงเวลาหลังการถวายรักษาครั้งก่อนนั้น ทรงมีสุขภาพดี และในการถวายตรวจติดตามพระสุขภาพจึงได้ตรวจพบมะเร็งเกิดขึ้นใหม่เมื่อ 2 ปีก่อน นอกจากนี้ คณะแพทย์ได้ถวายตรวจพระสมองด้วยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ พบว่า มีเนื้อสมองด้านซ้ายตายเป็นวงกว้าง จากเส้นเลือดสมองอุดตัน คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาพระอาการอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงพระประชวร ต่อเนื่องเรื่อยมา จากแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงฉบับที่ 38 เป็นฉบับสุดท้าย เมื่อวันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02.54 น. รวมพระชนมายุ 84 พรรษา", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" } ]
[ { "docid": "23931#64", "text": "กรมธนารักษ์ออกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวโรกาสต่าง ๆ ดังต่อไปนี้\nการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ไปรษณีย์ไทย) ในปัจจุบัน ออกตราไปรษณียากรที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในวโรกาสต่าง ๆ ดังต่อไปนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "23931#54", "text": "งาน “สถิต ณ ดวงใจ” เป็นงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยเป็นงานนิทรรศการเกี่ยวกับพระประวัติ พระกรณียกิจ และโครงการในพระองค์ ตลอดจนพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมระหว่างวันที่ 7 มกราคม - 11 เมษายน พ.ศ. 2551 ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมกับคณะข้าราชการ ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และประชาชน ร่วมกล่าวน้อมรำลึกและถวายความอาลัยหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดซุ้มเพื่อให้ประชาชนร่วมลงนามถวายสักการะ และจัดพิมพ์หนังสือ “สถิต ณ ดวงใจ” เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาเพื่อแจกในงานนี้ด้วย", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "168370#46", "text": "สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการดำเนิน “โครงการจัดทำเข็มที่ระลึก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” เพื่อให้ประชาชนร่วมกับรัฐบาลน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดี รวมทั้งมีเข็มที่ระลึกเพื่อประดับและเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกแห่งความทรงจำ ตลอดจนเพื่อนำรายได้ภายหลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุน “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "23931#58", "text": "ในคราวประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษา และนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดวันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รวม 6 วัน คือ ระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "168370#47", "text": "โดยได้รับความกรุณาจาก ร้อยเอกจิทัศ ศรสงคราม พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นผู้ออกแบบเข็มที่ระลึก ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงรี ขนาดประมาณ 2.2 x 3 เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นอักษรพระนาม “กว” ใต้จุลมงกุฎ บนพื้นสีขาว ประดับคริสตัลที่ตัวอักษร ส่วนด้านหลังมีข้อความจารึกไว้เป็นวันเดือนปีประสูติ (6.5.2466) และวันเดือนปีสิ้นพระชนม์ (2.1.2551) โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเลือกแบบเป็นพื้นสีขาว", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "168370#37", "text": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยจัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีและอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยกำหนดการพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 15 พฤศจิกายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน การเชิญพระอัฐิประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 18 พฤศจิกายน และการเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันที่ 19 พฤศจิกายน", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "23931#1", "text": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "23931#24", "text": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "168370#27", "text": "ในการจัดสร้างหีบพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสร้างหีบพระศพทรงหลุยส์ผสมบุษบกจากแผ่นไม้สักทองอายุ 100 ปีขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียวไม่มีรอยต่อ ไม้ดังกล่าวนำมาจาก จ.เชียงใหม่ และใช้หมึกจีนพ่นสีโอ๊กม่วง ขนาดความกว้าง 26 นิ้ว ความยาว 2 .29 เมตร น้ำหนักเกือบ 300 กิโลกรัม ทั้งนี้ใช้เวลาเตรียมการประมาณ 30 วัน อย่างไรก็ตาม สีที่พ่นเป็นสีโอ๊กม่วงนั้น นอกจากเป็นสีที่มีเข้มแข็ง น่าเชื่อถือ และเหมาะสมกับงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ ให้ทำหีบพระศพให้คล้ายคลึงกับหีบพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี ซึ่งใช้หมึกจีนสีโอ๊กม่วงเช่นกัน", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "23931#0", "text": "ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ: 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ; สิ้นพระชนม์: 2 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เป็นสมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" } ]
785
โตโยต้า ยาริส ผลิตมาเพื่อทดแทนรถรุ่นใด?
[ { "docid": "186796#1", "text": "โตโยต้า ยาริส ผลิตมาเพื่อทดแทนรถรุ่น โตโยต้า สตาร์เล็ต (Toyota Starlet) ซึ่งได้เลิกผลิตไป เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยก่อนหน้านี้ ในประเทศไทย สตาร์เล็ตเป็นรถรุ่นแรกๆ ที่มีขนาดเล็ก และมีโครงตัวถังแบบ hatchback (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง) ที่เข้ามาขายในประเทศไทย และมีคู่แข่งในสมัยนั้นคือ นิสสัน มาร์ช () ซึ่งก็มีกระแสตอบรับมาบ้างในเรื่องของความประหยัดน้ำมัน และความกะทัดรัดขับง่าย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากคนไทยในช่วงนั้น ไม่ไว้วางใจในความปลอดภัยของรถรุ่นสตาร์เล็ต เพราะเกรงว่าผู้โดยสารที่นั่งหลังจะได้รับอันตรายได้ง่ายหากถูกชนท้าย จนเลิกผลิตไปในที่สุด", "title": "โตโยต้า ยาริส" } ]
[ { "docid": "186796#23", "text": "โตโยต้า ยาริส เอชเอสดี คอนเซ็ปต์ ได้เผยโฉมที่งานเจนีวา มอเตอร์โชว์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยคอนเซ็ปต์นี้มาพร้อมกับระบบขับเคลื่อนไฮบริด ต่อมา โฉมผลิตจริงก็ได้เปิดตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ที่งานเจนีวา มอเตอร์โชว์ ยาริส ไฮบริดนี้ได้ใช้ระบบขับเคลื่อนไฮบริดร่วมกันกับโตโยต้า พริอุส ซี ที่ขายในอเมริกาเหนือและเป็นชื่อโตโยต้า อควา ในประเทศญี่ปุ่น โดยที่ยาริส ไฮบริดจะมาแทนโตโยต้า พริอุส ซี ที่ไม่ได้ขายในทวีปยุโรป", "title": "โตโยต้า ยาริส" }, { "docid": "878770#2", "text": "ด้วยการใช้ชื่อยาริส อีกทั้งโตโยต้ายังออกแบบ เฉพาะห้องโดยสารและลายล้อ ให้คล้ายคลึงกับ โตโยต้า วีออส 2013 (ซึ่งเป็นรถประเภทปกติ ไม่ใช่อีโคคาร์) ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากเข้าใจผิดว่าเป็นรุ่นต่อจากยาริสรุ่นเดิมที่เป็นประเภทปกติ และไปเทียบราคากับคู่แข่งของยาริสเดิม แล้วเข้าใจว่าเป็นยาริสรุ่นใหม่ที่ลดราคาลงถูกกว่าคู่แข่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาที่ปรับถูกลง เนื่องจากตัวรถนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ลงจากเดิม 1.5 ลิตร เป็นอีโคคาร์ที่ 1.2 ลิตร ซึ่งยาริส อีโคคาร์นั้นก็มีจุดเด่นที่ขนาดซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดารถอีโคคาร์ 5 ประตูในตลาดทั้งหมดและเครื่องยนต์ที่มีอัตราเร่งที่ดี การเปิดตัวมีขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้สโลแกนว่า \"That's right\" และได้นักร้องสาวเคที่ เพอร์รี่มาเป็นพรีเซนเตอร์ในโฆษณาด้วย ใช้เครื่องยนต์ 3NR-FE 4 สูบ ขนาด 1200 ซีซี 86 แรงม้า เกียร์ CVT ทุกรุ่น มีให้เลือกทั้งหมด 7 สี คือ สีขาว, สีส้ม, สีเงิน, สีดำ, สีฟ้า, สีเทา และสีแดง", "title": "โตโยต้า ยาริส (รหัส XP150)" }, { "docid": "186796#30", "text": "สำหรับตลาดประเทศอินโดนีเซีย ยาริส รหัส XP150 ได้เปิดตัวในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยที่ยาริสรุ่นประเทศอินโดนีเซียจะคล้ายกับรุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทย แต่มีเครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า โดยใช้เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร รหัส \"1NZ-FE\" มีรุ่นย่อยคือ: E, G, และ TRD Sportivo ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้มีการปรับอุปกรณ์โดยเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร รหัส \"2NR-FE\" และเพิ่มรุ่นย่อยอีกรุ่นที่มีลักษณะคล้ายรถเอสยูสีครอสโอเวอร์ในชื่อว่า ยาริส เฮเกอร์ส (Yaris Heykers)", "title": "โตโยต้า ยาริส" }, { "docid": "161661#4", "text": "โตโยต้า วีออส โฉมแรกนี้ เคยมีการผลิตและจำหน่ายรุ่นพิเศษ คือโตโยต้า วีออส เทอร์โบ () โดยมีการจัดทำรถรุ่นนี้ขึ้นในจำนวน 600 คัน และจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย โดยรุ่นพิเศษนี้ ยังคงเป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรแบบเดิม แต่มีการติดตั้งเทอร์โบ และระบบอินเตอร์คูลเลอร์โดยสำนักแต่งรถ TRD หรือ Toyota Racing Development ซึ่งเป็นสำนักแต่งรถที่ขึ้นกับโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ทำให้มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 143 แรงม้า นอกจากนี้ยังได้เพิ่มอุปกรณ์ตกแต่งตัวรถ ทำให้ดูแตกต่างไปจากรุ่นปกติ", "title": "โตโยต้า วีออส" }, { "docid": "186796#34", "text": "เครื่องยนต์ได้ใช้เครื่องยนต์ 1.2 ลิตร รหัส 3NR-FE เหมือนกับรุ่นแฮทช์แบ็ก ส่วนความปลอดภัยนั้นได้มีถุงลมนิรภัย 7 จุดและระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ระบบกระจายแรงเบรก ระบบเสริมแรงเบรก ระบบควบคุมการทรงตัว ระบบป้องกันการลื่นไหลและระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน (ABS, EBD, BA, VSC, TRC, HAC) ในทุกรุ่นย่อย\nโตโยต้า ยาริสโฉมเอเชียได้มีการปรับโฉมในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 โดยมีหน้าตาคล้ายกับเอทีฟและด้านท้ายได้รับแรงบันดาลใจมาจากโตโยต้า ออริสรุ่นที่สอง ส่วนระบบความปลอดภัยนั้นมีมาให้เหมือนกับเอทีฟทุกประการ มีรุ่นย่อยทั้งหมดดังนี้ : J Eco, J, E, G ซึ่งรุ่นย่อย S มีในเฉพาะรุ่นเอทีฟเท่านั้น", "title": "โตโยต้า ยาริส" }, { "docid": "186796#17", "text": "โตโยต้า ยาริสโฉมนี้จะไม่มีการผลิตและการจำหน่ายในประเทศไทย\nยาริส/วิตซ์ รุ่นที่สามได้เปิดตัวในยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2554 ส่วนรุ่นปรับโฉมได้เปิดตัว พ.ศ. 2557 ทั้งเวอร์ชันก่อนและหลังปรับโฉมใช้เครื่องยนต์และระบบเกียร์เดิม แต่รุ่นปรับโฉมมีการปรับปรุงการขับขี่ให้สะดวกสบายกว่าและปรับปรุงภายในให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น", "title": "โตโยต้า ยาริส" }, { "docid": "878770#1", "text": "ปกติแล้ว โตโยต้า ยาริส ทำตลาดอยู่ในกลุ่มรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภททั่วไป (เช่น ฮอนด้า แจ๊ซ, เชฟโรเลต โซนิค, มาสด้า 2) แต่นับตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาได้เกิดตลาดใหม่ในประเทศไทย คือ ตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภทอีโคคาร์ ซึ่งจะเป็นรถยนต์ระดับต่ำกว่า ใช้เครื่องเล็ก ประหยัดน้ำมันกว่า ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และได้มาตรการสนับสนุนด้านการลดภาษีจากรัฐบาล ทำให้มีราคาถูกกว่ารถประเภททั่วไป โตโยต้าจึงต้องการจะทำตลาดกลุ่มอีโคคาร์บ้าง แต่ไม่ต้องการให้มีรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 5 ประตูขายพร้อมกันสองประเภท จึงตัดสินใจ ยุติการผลิตยาริสเดิมลง พัฒนาอีโคคาร์รุ่นใหม่ขึ้นมาให้ได้ตามเงื่อนไขอีโคคาร์ของรัฐบาล ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับยาริสเดิมแม้แต่น้อย แต่ยืมชื่อยาริสมาใช้ในการทำตลาดเพียงเท่านั้น ดังนั้น รุ่นนี้จึงไม่สามารถนับเป็นยาริสรุ่นที่ 4 ได้ และไม่สามารถเปรียบเทียบราคาได้กับ ฮอนด้า แจ๊ซ, มาสด้า 2, เชฟโรเลต โซนิคได้เหมือนรุ่นเดิม แต่ต้องเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่อยู่ในโครงการอีโคคาร์เช่นเดียวกัน เช่น ฮอนด้า บริโอ้, นิสสัน มาร์ช, ซูซูกิ สวิฟต์, มิตซูบิชิ มิราจ จึงจะถูกต้อง", "title": "โตโยต้า ยาริส (รหัส XP150)" }, { "docid": "161661#0", "text": "โตโยต้า วีออส () เป็นรถรุ่นตระกูลที่โตโยต้า ออกแบบมาเพื่อมาแทนที่รถรุ่นโซลูน่า (Soluna) เริ่มผลิตรุ่นแรกใน พ.ศ. 2545 โดยจัดเป็นรถขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) โดยทั่วไปจะนิยมนำรถวีออสไปใช้งานเป็นรถยนต์ส่วนตัว แต่มีการนำไปใช้เป็นรถแท็กซี่ในบางประเทศ เช่นในอินโดนีเซีย จะมีรถวีออสสำหรับทำเป็นแท็กซี่จำหน่ายในชื่อ \"โตโยต้า ลิโม\" (ต่างจากในประเทศไทย ที่รถโตโยต้า ลิโม คือรุ่นโคโรลล่าที่มีการตัด Option ต่างๆ ออก เพื่อให้รถมีราคาถูก เหมาะกับการซื้อไปเป็นแท็กซี่เช่า) และมีการนำไปปรับแต่งและใช้เป็นรถแข่ง", "title": "โตโยต้า วีออส" }, { "docid": "186796#7", "text": "โฉมนี้ เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ด้วยรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยและใหญ่ขึ้นในหลายมิติ เริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มาจนถึง พ.ศ. 2556 โดยเข้ามาผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน โดยใช้สโลแกนเปิดตัวว่า \"Are you groovy?\" การผลิตระบบเกียร์มี 2 แบบ คือ เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เครื่องยนต์ Toyota 1NZ-FE VVT-i 4 สูบ 1.5 L.\n109 แรงม้า (80 กิโลวัตต์)ที่ 6,000 RPM แรงบิดที่ 141 นิวตัน-เมตร ที่ 4,200 RPM\nประหยัดน้ำมันประมาณ 12.3 กิโลเมตรต่อลิตรในเมือง และ 15.3 กิโลเมตรต่อลิตรในชนบท และมีความแพร่หลายออกไปในหลายประเทศมากขึ้น เช่น ในประเทศไทย สหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศ ที่ไม่มียาริสรุ่นแรกขาย ก็มียาริสรุ่นที่สองออกขาย", "title": "โตโยต้า ยาริส" } ]
802
พาราด็อกซ์ ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "37520#0", "text": "พาราด็อกซ์ () เป็นวงดนตรีชาวไทย เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2537 โดยกลุ่มนิสิตจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวงที่มีเอกลักษณ์ทางการแสดงสด โดยจะมีการแสดงประกอบการเล่นดนตรี เช่น พ่นไฟ, สาดน้ำ, โยนลูกโป่งใส่คนดู ซึ่งแสดงโดยฝ่ายในวงที่เรียกว่า \"โจ๊กเกอร์-ว้ากเกอร์\" รับเชิญหลายคน โดยโจ๊กเกอร์-ว้ากเกอร์หลักของทางวงคือ อ๊อฟและเก่ง จะทำหน้าที่ร้องประสานเสียงบนเวทีให้อีกด้วยพาราด็อกซ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2537 โดย อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา หรือ ต้า (ร้องนำ/กีตาร์) ซึ่งเป็นนิสิตจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความคิดที่จะตั้งวงดนตรีเพื่อร่วมกิจกรรมภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะนักศึกษาปีที่ 1 จึงได้ชวน จักรพงศ์ สิริริน หรือ สอง (เบส) เข้ามาร่วมวง โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากวงโมเดิร์นด็อก ซึ่งเป็นวงดนตรีแนวออลเทอร์นาทิฟที่มีชื่อเสียงอีกวงหนึ่ง ทั้งสองคนได้ร่วมกันแต่งเพลงแนวลูกทุ่งชื่อเพลง \"โรงหนังเก่า\" ขึ้นเป็นเพลงแรก ต่อมาก็ได้ พรภัฏ ชีวีวัฒน์ หรือ โน้ต นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาร่วมวงในตำแหน่งมือกลอง", "title": "พาราด็อกซ์" } ]
[ { "docid": "37520#9", "text": "ในปี 2546 Fat Radio ได้จัดให้มีคอนเสิร์ตใหญ่ของพาราด็อกซ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 28 มิถุนายน 2546 ที่อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก ในชื่อ Fat Live 4 : The Paradox Circus ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างอบอุ่น พร้อมแขกรับเชิญพิเศษคือ ก้อย - Saturday Seiko เล็ก - สุรชัย กิจเกษมสิน ผิง - Club F และ สามสาวจากวง H และในปีเดียวกันนี้ พาราด็อกซ์ก็ได้ออกอัลบัม Freestyle ที่มีเพลงดังอย่าง Sexy ทาส บอลลูน พร้อมทั้งนำเพลงนักมายากล จากอัลบัม Lunatic Planet กลับมาทำใหม่อีกครั้ง", "title": "พาราด็อกซ์" }, { "docid": "37520#2", "text": "หลังจากที่\"หอยจ๊อ\" ส่ง Demo เทปไปยัง อิสเทอร์นสกาย เร็คคอร์ดส ซึ่งเป็นค่ายเพลงเล็ก ๆ พวกเขาก็ได้โอกาสออกอัลบัมแรก Lunatic Planet พร้อมเปลี่ยนชื่อวงเป็น \"พาราด็อกซ์\" (Paradox) ด้วยซาวนด์ดนตรีและเนื้อหาเพลงที่แปลก แตกต่างจากวงดนตรีอื่น ๆ ในสมัยนั้น ทำให้พาราด็อกซ์ได้รับความนิยมพอสมควร โดยมีเพลงดังอย่าง นักมายากล, ไก่ และ โรตีที่รัก โน้ต จึงได้ชักชวนให้ ขจัดภัย กาญจนาภา หรือ บิ๊ก มาช่วยเสริมในฐานะกีตาร์ และได้กลายเป็นสมาชิกวงอย่างเป็นทางการ แต่ต่อมาไม่นาน อิสเทอร์นสกาย เร็คคอร์ดส ก็ได้ปิดตัวลง โน้ตซึ่งสำเร็จการศึกษาก็ได้ตัดสินใจแต่งงาน และเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกา ประจวบกับที่สมาชิกอีก 2 คนกำลังจะสำเร็จการศึกษา พาราดอกซ์จึงว่างเว้นจากงานดนตรีไปกว่า 1 ปีเต็ม", "title": "พาราด็อกซ์" }, { "docid": "643119#3", "text": "โกไดวาก่อตั้งขึ้นในปี 1926 ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม โดยโจเซฟ แดรปส์ เขาเปิดร้านขายเสื้อผ้าและเครื่องประดับ (บูติก) ของเขาครั้งแรกในแกรนด์เพลสที่กรุงบรัสเซลส์ภายใต้ชื่อที่ใช้ในปัจจุบัน ร้านโกไดวาที่เปิดนอกประเทศเบลเยี่ยมร้านแรกคือที่ ปารีส บน fashionable Rue St. Honoré in ในปี 1958 และในปี1966 ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ฯ เข้ามาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาที่ที่มีแต่สินค้าและห้างสรรพสินค้าหรูหรา ในปีต่อมาปีบริษัทถูกซื้อโดย บริษัท Campbel Soup และในปี 1972 ร้านโกไดวาบูติกร้านแรกได้เปิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือในนิวยอร์กฟิฟท์อเวนิว", "title": "โกไดวา ช็อกโกแลตเทียร์" }, { "docid": "336127#0", "text": "พาราไดซ์ พาร์ค (เดิม: เสรีเซ็นเตอร์) และ พาราไดซ์ เพลส (เดิม: ฮ่า ฮ่า) เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เปิดดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ซึ่งเดิมเคยเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าแพรงตองและไทยไดมารู จนเมื่อ พ.ศ. 2551 กลุ่มสยามพิวรรธ์และเอ็มบีเค ดีเวลอปเมนท์ ได้เข้ามาบริหารศูนย์การค้าแทนผู้บริหารเดิม และได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ศูนย์การค้าใหม่ทั้งหมด ชูจุดเด่นเป็นศูนย์การค้าระดับกลางถึงบนในเขตกรุงเทพตะวันออก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์การค้า เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553", "title": "พาราไดซ์ พาร์ค" }, { "docid": "56151#4", "text": "สตาร์บัคส์สโตร์สาขาแรกตั้งขึ้นในซีแอทเทิล ที่ 2000 เวสต์เทิร์นอเวนิล ตั้งแต่ ค.ศ. 1971–1976 และสาขานี้ได้ย้ายไปยัง 1912 ไพก์เพลซ และไม่ได้มีการย้ายอีก ในช่วงนั้น ทางบริษัทได้จำหน่ายเพียงเมล็ดกาแฟคั่วเท่านั้น ยังไม่ได้จำหน่ายกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งกาแฟสำเร็จรูปที่อยู่ในร้านเป็นเพียงแก้วทดลองซึ่งแจกฟรีให้กับลูกค้า โดยปีแรกพวกเขาได้ซื้อเมล็ดกาแฟจากพีท หลังจากนั้นจึงเริ่มซื้อจากชาวสวนโดยตรง", "title": "สตาร์บัคส์" }, { "docid": "258109#21", "text": "การสำรวจของดัตช์เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกจากอัมสเตอร์ดัมเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1595 โดยมีจุดหมายการเดินทางไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กองเรืออีกกองหนึ่งออกเดินทางในปี ค.ศ. 1598 และกลับมาในปีต่อมาพร้อมด้วยเครื่องเทศหนัก 600,000 ปอนด์และสินค้าอื่น ๆ จากอินเดียตะวันออก หลังจากนั้นสหบริษัทอินเดียตะวันออกที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1602 ก็เริ่มผูกขาดการค้าขายกับผู้ผลิตกานพลูและจันทน์เทศหลัก ระหว่างนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษก็ส่งเครื่องเทศเป็นจำนวนมากกลับมายังยุโรปในคริสต์ศักราช 17", "title": "การค้าเครื่องเทศ" }, { "docid": "512172#1", "text": "สถานที่ตั้งของปาร์กเดแพร็งส์ตั้งในภูมิประเทศซึ่งเคยเป็นสถานที่ล่าสัตว์ของเหล่าเชื้อพระวงศ์ของฝรั่งเศส ในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยสนามที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถือเป็นแห่งที่ 3 ที่ก่อสร้างในสถานที่แห่งนี้ โดยครั้งแรกเปิดใช้ ในปี ค.ศ. 1897 ตามด้วยครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1932\nปาร์กเดแพร็งส์เคยใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลยูโรเปียนคัพ นัดชิงชนะเลิศ มาแล้ว 6 ครั้ง รวมถึงฟุตบอลสโมสรชิงแชมป์ยุโรปครั้งแรก ในชื่อยูโรเปียนแชมเปียนคลับคัพ ในปี ค.ศ. 1956 นอกจากนั้น ยังใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1938 (รอบชิงชนะเลิศ) และ 1998 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (รอบชิงชนะเลิศ) ในปี ค.ศ. 1960, 1984 และ 2016\nปาร์กเดแพร็กส์เคยถูกใช้เป็นเส้นชัยของการแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟร็องส์ ในช่วงปี ค.ศ. 1903 ถึง 1967 และยังมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในฐานะสนามจัดการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติของฝรั่งเศส", "title": "ปาร์กเดแพร็งส์" }, { "docid": "37520#14", "text": "เดือนเมษายนในปีเดียวกัน พาราด็อกซ์ได้มีผลงานเขียนออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกชื่อ บันทึกลึกลับ Paradox X ซึ่งต้าได้รวบรวมประสบการณ์ระหว่างการทำงานในอัลบัม X (10 Years After) มาเขียนลงหนังสือเพื่ออธิบายถึงที่มาของแต่ละเพลง รวมถึงขั้นตอนการทำงานเบื้องหลังต่าง ๆ ภายในอัลบัมนี้", "title": "พาราด็อกซ์" }, { "docid": "311474#3", "text": "แฮร์รอดส์ก่อตั้งขึ้นโดย ชาร์ลส์ เฮนรี แฮร์รอด เมื่อ พ.ศ. 2377 โดยตั้งเป็นร้านขายส่งในเขตสเตปนีย์ ย่านอีสต์เอนด์ เนื่องด้วยความสนใจเกี่ยวกับชาเป็นพิเศษ ต่อมาใน พ.ศ. 2392 แฮร์รอดได้ซื้อร้านค้าขนาดเล็กแห่งหนึ่งในเขตไนท์สบริดจ์บนที่ตั้งของห้างในปัจจุบัน เพื่อหนีความวุ่นวายของเมืองชั้นใน และเพื่อโอกาสทำกำไรจากนิทรรศการใหญ่แสดงผลงานทางอุตสาหกรรมจากทุกพื้นทวีป ที่จัดขึ้นใน พ.ศ. 2394 ใกล้กับสวนสาธารณะไฮด์ โดยตอนแรกเริ่มต้นจากร้านค้าห้องเดียว มีผู้ช่วยสองคนและผู้ส่งสารอีกหนึ่งคน ต่อมาชาร์ลส์ ดิกบี แฮร์รอด ผู้เป็นบุตรชาย ได้ดำเนินกิจการจนกลายเป็นธุรกิจขายปลีกที่เฟื่องฟู จำหน่ายยา น้ำหอม เครื่องเขียน ผลไม้ และผัก แฮร์รอดส์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง พ.ศ. 2423 ได้ซื้ออาคารที่อยู่ติดกันและจ้างพนักงานหนึ่งร้อยคน", "title": "แฮร์รอดส์" } ]
803
องคชาตของมนุษย์เกิดการแข็งตัวได้อย่างไร ?
[ { "docid": "810384#15", "text": "การแข็งตัวคือการแข็งและขยายขึ้นขององคชาต ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะมีอารมณ์ทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศได้เช่นกัน กลไกทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวขององคชาตเป็นการกว้างขึ้นอัตโนวัติของหลอดเลือดแดงหล่อเลี้ยงไปยังองคชาต ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลไปมากขึ้นเพื่อเต็มเติมเนื้อเยื้อฟองน้ำของอวัยวะภายในองคชาต ซึ่งทำให้มันยาวขึ้นและแข็ง เนื้อเยื่อของอวัยวะเพศในตอนนี้ขยายขี้นไปกดหลอดเลือดดำที่จะนำเลือดออกจากองคชาต เลือดที่มากขึ้นเมื่อเข้ามาแล้วจะคงอยู่ในองคชาตเมื่อสภาวะสมดุลถึงที่ปริมาตรที่เท่ากันของเลือดไหลเข้าสู่หลอดเลือดแดงที่ขยายตัวและออกไปทางเส้นเลือดดำที่ตืบ ขนาดการแข็งตัวที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นความสำเร็จของดุลยภาพนี้", "title": "องคชาตของมนุษย์" }, { "docid": "810384#1", "text": "การพัฒนาขององคชาตโดยส่วนใหญ่จะมาจากเนื้อเยื่อเดียวกันในตัวอ่อน เช่นเดียวกับคริตอริสของเพศหญิง ผิวหนังโดยรอบขององคชาตและท่อปัสสาวะ ก็มาจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนเดียวกันกับที่จะพัฒนาไปเป็นแคมเล็กของเพศหญิง การแข็งตัวคือการแข็งและสูงขึ้นขององคชาต ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะมีอารมณ์ทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศได้เช่นกัน รูปแบบการเปลี่ยนแปลงส่วนหัวองคชาตที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ โดยเป็นการนำส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดของหนังหุ้มปลายออกไปด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม ศาสนา และไม่บ่อยนักด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งยังมีการถกเถียงกันในเรื่องของการขลิบหนังหุ้มปลายโดยรอบ", "title": "องคชาตของมนุษย์" }, { "docid": "284771#0", "text": "การแข็งตัวขององคชาต (, ศัพย์การแพทย์: penile erection, penile tumescence) เป็นปรากฏการณ์ทางสรีรภาพของอวัยวะเพศชายในสัตว์หลายสปีชีส์\nที่องคชาตแข็งตัวขึ้น คั่งไปด้วยเลือด และขยายใหญ่ขึ้น\nเป็นผลของปฏิกิริยาอันสลับซับซ้อนของจิตใจ ระบบประสาท ระบบหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่อ\n\"มักจะ\"เกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ทางเพศ \nแต่จริง ๆ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้\nรูปร่าง มุมตั้ง และทิศทางขององคชาตที่แข็งตัวมีความแตกต่างกันอย่างมากแม้ในหมู่มนุษย์", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "284771#10", "text": "การแข็งตัวเป็นตัวชี้บอกอารมณ์ทางเพศอย่างหนึ่ง\nและเป็นสิ่งที่จะต้องมีสำหรับผู้ชายในการร่วมเพศ\nถุงอัณฑะอาจจะเกิดการรัดตัว (แต่ไม่แน่นอน) และโดยทั่วไปแล้ว เยื่อหุ้มปลายก็จะค่อย ๆ ร่นลงโดยอัตโนมัติ ทำการเปิดหัวองคชาต แต่ว่าบางคนอาจจะต้องร่นเยื่อหุ้มปลายลงด้วยมือ\nเมื่อถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ (วัยแตกเนื้อหนุ่ม) การแข็งตัวจะเกิดบ่อยขึ้น \nแต่การแข็งตัวขององคชาตเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กและในทารก และเกิดขึ้นก่อนที่จะคลอดด้วยซ้ำ", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "284771#2", "text": "เพราะว่าเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ การแข็งตัวอาจเกิดขึ้นจากสิ่งเร้าหลายอย่างรวมทั้งการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation) และอารมณ์ทางเพศ\nดังนั้น จึงไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจโดยสิ้นเชิง\nการแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับหรือเมื่อตื่นนอนมีศัพท์ทางแพทย์ภาษาอังกฤษว่า nocturnal penile tumescence\nและความปราศจากการแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับสามารถใช้ในการแยกแยะเหตุที่เป็นไปทางกายภาพหรือทางจิตใจของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย (ICD-10 N48.4) หรืออวัยวะเพศไม่ตอบสนอง (เหตุทางใจ ICD-10 F52.2)\nองคชาตที่ไม่แข็งตัวเต็มที่มีศัพท์การแพทย์ภาษาอังกฤษว่า partial tumescence", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" } ]
[ { "docid": "284771#23", "text": "ก่อนที่จะร่วมเพศ องคชาตของสุนัขไม่ได้มี \"การแข็งตัว\"\nแต่สามารถร่วมเพศได้ก็เพราะอวัยวะมีกระดูกแคบ ๆ ที่เรียกว่า baculum\nซึ่งเป็นลักษณะสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก (eutheria) โดยมาก\nหลังจากที่สัตว์ตัวผู้สอดอวัยวะเข้าไปแล้ว ก็มักจะรัดสัตว์ตัวเมียแน่นขึ้นแล้วทำการร่วมเพศเร็วขึ้น และก็จะอยู่ในช่วงระยะเวลานี้ที่องคชาตขยายออก\nโดยไม่เหมือนกับการร่วมเพศในมนุษย์ ที่องคชาตโดยปกติจะแข็งตัวก่อนการสอดเข้าไป\nการร่วมเพศในสุนัขจะมีการสอดเข้าไปก่อน\nแล้วการขยายออกของอวัยวะจนถึง \"ความแข็งตัว\" (erection) ก็จะเกิดขึ้น", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "810384#8", "text": "ความยาวขณะองคชาตอ่อนตัว ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความยาวขององคชาตขณะแข็งตัว นั่นคือ บางองคชาตอาจเล็กมากในขณะอ่อนตัว อาจยาวขึ้นมากในขณะแข็งตัว ขณะที่บางองคชาตอาจใหญ่มากขณะอ่อนตัว แต่อาจขยายตัวได้น้อยกว่าเมื่อแข็งตัว ท่ามกลางบรรดาอันดับวานร องคชาตของมนุษย์นั่นใหญ่ที่สุดโดยการวัด แต่เทียบกับชิมแปนซีและสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ในความยาว", "title": "องคชาตของมนุษย์" }, { "docid": "336438#1", "text": "ผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศใช้การแข็งตัวขององคชาตยามกลางคืน\nเพื่อเช็คดูว่า คนไข้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีสาเหตุมาจากกายหรือจิตใจ\nโดยประกอบอุปกรณ์ที่ยืดหยุ่นได้ที่องคชาตของคนไข้เมื่อนอนหลับ\nอุปกรณ์นั้นจะสามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงความหนาของอวัยวะ และจะส่งข้อมูลไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อการวิเคราะห์ต่อไป\nถ้ามีการแข็งตัวในยามกลางคืน ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศก็จะรับวินิจฉัยว่าเป็นสภาวะทางกายที่มีเหตุจากอารมณ์ความรู้สึกทางใจ เช่นความวิตกกังวลทางเพศ\nและถ้าไม่มี ก็จะวินิจฉัยว่า เกิดจากเหตุทางกายภาพ", "title": "องคชาตแข็งตัวขณะหลับ" }, { "docid": "333905#0", "text": "ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ () เนื่องจาก ปัญหาการแข็งตัวขององคชาต () เป็นอาการที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้แต่ไม่เพียงพอที่จะร่วมกิจกรรมทางเพศกับคู่สัมพันธ์ได้อย่างพึงพอใจ การแข็งตัวขององคชาตเป็นผลมาจากการสูบฉีดของเลือดเข้าไปเก็บไว้ในเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำภายในอวัยวะเพศ กระบวนการนี​​้ส่วนใหญ่มักจะถูกกระตุ้นที่เป็นผลมาจากการเร้าอารมณ์ทางเพศเมื่อสัญญาณถูกส่งจากสมองไปยังเส้นประสาทในอวัยวะเพศชาย สาเหตุความผิดปรกติทางอินทรีย์ที่สำคัญที่สุดคือโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวาน อีกทั้งปัญหาทางระบบประสาท (เช่นการบาดเจ็บจากการผ่าตัดต่อมลูกหมาก) การขาดฮอร์โมน (hypogonadism) แล​​ะผลข้างเคียงของยา", "title": "ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ" }, { "docid": "810384#19", "text": "การหลั่งน้ำอสุจิคือการขับดันของน้ำอสุจิจากองคชาต ซึ่งมักเกิดขึ้นพร้อมกับความเสียวสุดยอดทางเพศ การหดตัวเป็นชุดของกล้ามเนื้อช่วยส่งน้ำอสุจิ ซึ่งบรรทุกเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย ที่รู้จักกันว่า เซลล์อสุจิ หรือสเปิร์มาโตซูน (Spermatozoon) จากองคชาต มักเป็นผลมาจากการการกระตุ้นทางเพศ ซึ่งอาจรวมถึงการกระตุ้นต่อมลูกหมาก และที่หาได้ยากจากอาการโรคต่อมลูกหมากโต การหลั่งน้ำอสุจิอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติในระหว่างการนอน (รู้จักกันว่าฝันเปียก) ส่วน Anejaculation เป็นภาวะเงื่อนไขของการที่ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้", "title": "องคชาตของมนุษย์" } ]
806
อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ มีพี่สาวหรือไม่ ?
[ { "docid": "329228#1", "text": "อรรถพันธ์เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 มีพี่น้อง 2 คน โดยอรรถพันธ์เป็นบุตรชายคนโต มีน้องสาว 1 คน อรรถพันธ์จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนอโศกวิทย์อ่อนนุช จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนศรีวิกรม์ และจบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แผนกทัศนศิลป์ และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปัจจุบันได้ย้ายมาเข้าศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง", "title": "อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์" } ]
[ { "docid": "130586#3", "text": "ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ คนึงนิจ ศิริพงษ์ปรีดา พี่สาวของ นิ้ง [[กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา]] ในปี [[พ.ศ. 2547]] มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน ทางด้านสังคมเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นเจ้าหน้าที่ของ[[มูลนิธิร่วมกตัญญู]]เช่นเดียวกับ [[บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์]] พี่ชายด้วย", "title": "เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์" }, { "docid": "134223#5", "text": "วรพันธุ์มีพี่สาว 3 คนและพี่ชาย 4 คน ที่เป็นที่รู้จักในสังคมคือ องอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคและอดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ที่มีผลงานเขียนหนังสือเป็นที่รู้จักหลายเล่ม เช่น\nถวัต ฤทธิเดช“แรงงานวิจารณ์เจ้า: ประวัติศาสตร์ราษฎรผู้หาญกล้า ท้าทายสมบูรณาญาสิทธิ์ไทย”, ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเรา และมีผลงานแปลที่สำคัญเช่น อัตลักษณ์และความรุนแรง : ภาพลวงของชะตาลิขิต ของ Amartya Sen (อมารตยา เซ็น) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชาวอินเดีย และ รัฐศาสตร์ไม่ฆ่า ของ Glenn D. Paige (เกล็น ดี. เพจ)", "title": "วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์" }, { "docid": "342325#1", "text": "แพทย์หญิงทิพย์ธารา อดิศวร หรือ น้ำ ลูกสาวคนเล็กของตระกูลอดิศวร น้องสาวคนสุดท้องในบรรดาพี่น้องแฝดสี่ คือ \"ปฐพี (ดิน)\", \"วายุภัค (ลม)\" และ\"อัคนี (ไฟ)\" ถูกพี่ชายทั้ง 3 กีดกันไม่ให้มีคู่ครอง แต่โชคชะตาได้พัดพาให้เธอได้พบกับคนไข้หนุ่มที่ถูกทำร้าย เพราะความสงสารเธอจึงให้เขาไปทำงานในไร่ของพี่ชายคนเล็ก ความรักของทั้งสองจึงก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆโดยพี่ชายจอมหวงน้องสาวไม่ระแคะระคาย", "title": "ธาราหิมาลัย" }, { "docid": "213930#3", "text": "สาวิณี มีบุตรกับนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ จำนวน 3 คน หนึ่งในนั้นเป็นบุตรชาย คือ นายกัณฑ์พิทักษ์ ปัจฉิมสวัสดิ์ หรือ \"หมูแฮม\" ที่ขับรถยนต์พุ่งเข้าชนป้ายรถเมล์ จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อปี พ.ศ. 2550 และจำคุกในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นเวลา 2 ปี 1เดือนตามคำสั่งศาลฎีกา อีกหนึ่งคนคือ แบมบี้ สิรินโสพิศ ปัจฉิมสวัสดิ์ 8 คนสุดท้าย เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 9\nปัจจุบันหย่าขาดกันแล้ว", "title": "สาวิณี ปะการะนัง" }, { "docid": "326540#1", "text": "พิชยดนย์เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 2 คน มีน้องสาว 1 คนคือ กรปภา พึ่งพันธ์ (ชื่อเดิม:อรไพลิน พึ่งพันธ์) ซึ่งเป็นผู้รับบทแม่พลอยวัยเด็กในละครเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" ทางช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี เมื่อปีพ.ศ. 2546 บิดาชื่อณัทวัท พึ่งพันธ์ มารดาชื่อศตภัค พึ่งพันธ์ ด้านการศึกษาศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนถนอมพิศวิทยา ระดับมัธยมที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 1 เคยศึกษา ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (อินเตอร์) คณะบริหารธุรกิจ แต่ลาออก เพื่อสำเร็จการศึกษาที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก", "title": "พิชยดนย์ พึ่งพันธ์" }, { "docid": "5133#10", "text": "อภิสิทธิ์เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน", "title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "438963#3", "text": "บ้านสุนทรพันธ์หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าบ้านสาวโสด มีพี่น้องสามสาวคือ ประเทืองทิพย์ (จุรี โอศิริ), หยิบทหัย (ปริม ประภาพร) และวลัยพร (เมตตา รุ่งรัตน์) พากันดีใจเมื่อติ่งหรือยอดชาย อนะกุล (มิตร ชัยบัญชา/ครรชิต ขวัญประชา) ซึ่งเป็นหลานชายจะมาอยู่ด้วยเพื่อเรียนต่อ ทั้งสามสาวพยายามใช้เสน่ห์ยั่วยวนติ่ง แต่ก็ไม่ได้ผล ขณะเดียวกันแต๋วหรือหญิง สุระกานต์ (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกสาวอธิบดีบรรจง สุระกานต์ (เชาว์ แคล่วคล่อง) ก็อ้างตัวว่าชื่อแต๋ว เข้าเป็นคนรับใช้ในบ้านสาวโสด ซึ่งสามสาวไม่ค่อยพอใจที่ติ่งหันไปสนใจแต๋วมากกว่า ประเทืองทิพย์จึงไปบอกพ่อแม่ของติ่งว่า ติ่งจะเอาคนใช้เป็นเมีย ส่วนติ่งเองก็สงสัยในพฤติกรรมของแต๋วจึงแอบไปสมัครเป็นคนสวนบ้านพ่อของแต๋วจนสืบรู้ความจริง แต่แต๋วก็ไม่พอใจที่เห็นติ่งไปสนิทสนมกับพิณ (จอมใจ จรินทร) เมียนายไปล่ (เมือง อพอลโล) คนขับรถในบ้านจนเกิดเรื่องชกต่อยกัน นายไปล่ถูกไล่ออกจากบ้าน จึงได้พาพวกเข้ามาปล้นบ้านอธิบดีเพื่อแก้แค้น แต่ติ่งและเพื่อนๆ ก็มาช่วยไว้ได้ทัน\nภาพยนตร์เรื่องนี้ นำมาสร้างใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2527 กำกับโดย ดริน ดารากร (อนุมาศ บุนนาค) สร้างโดย สยามภาพยนตร์ อำนวยการสร้างโดย เอื้อมเดือน บุนนาค นำแสดงโดย ปิยะมาศ โมนยะกุล, ทูน หิรัญทรัพย์, พิศมัย วิไลศักดิ์, เมตตา รุ่งรัตน์, มยุรา ธนะบุตร, พรพรรณ เกษมมัสสุ, สภา ศรีสวัสดิ์, บู๊ วิบูลย์นันท์, โกร่ง กางเกงแดง เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2527 ที่โรงหนังเพชรรามา-เพชรเอ็มไพร์-สามย่าน-เฉลิมบุรี-เจ้าพระยา", "title": "บ้านสาวโสด" }, { "docid": "329228#2", "text": "อรรถพันธ์มีผลงานในวงการบันเทิงมาแต่เด็ก เขาเข้าวงการครั้งแรกจากเวทีประกวดถ่ายแบบเดอะบอยโมเดล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และด้วยความที่อรรถพันธ์ชื่นชอบการแสดง เขาจึงบอกกับบิดามารดาของเขาว่า เขาอยากจะเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ มารดาของเขาจึงพาไปทดสอบบทที่โรงถ่ายละครลาดหลุมแก้ว บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด และที่แห่งนี้เองที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพการแสดงของเขา อรรถพันธ์ได้แสดงเป็นตัวประกอบเล็กๆ ในละครเรื่อง เบญจา คีตา ความรัก, ไฟในวายุ และ ฟ้าใหม่ โดยละครทั้งหมดนี้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หลังจากนั้นอรรถพันธ์มีโอกาสได้แสดงละครจักร ๆ วงศ์ ๆเรื่อง \"โกมินทร์\" เขารับบทเป็นพระเอกของเรื่องในวัยเด็กที่ชื่อว่าโกมินทร์ เมื่อละครเรื่อง \"โกมินทร์\" ออกอากาศก็ได้กระแสตอบรับที่ดีมาก ทำให้เขาเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงเด็ก หลังจากนั้นเขาได้มีผลงานการแสดงละครหลังข่าวภาคค่ำมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เองถือว่าอรรถพันธ์เจริญรอยตามนักแสดงละครรุ่นพี่ที่เริ่มจากงานแสดงเล็กๆ หรืองานแสดงละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ก่อน แล้วค่อยไปแสดงเป็นตัวละครที่มีบทบาทมากขึ้นในละครหลังข่าวภาคค่ำ อย่างเช่น สุวนันท์ คงยิ่ง, พรชิตา ณ สงขลา, และ กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ เป็นต้น ละครหลังข่าวเรื่องแรกที่เขามีบทบาทในเรื่องมากคือ \"ภูตพิศวาส\" เขาแสดงเป็น แสง ผีเด็กที่เปรียบเสมือนน้องชายของ ดาว (แสดงโดย วรนุช วงษ์สวรรค์) นางเอกของเรื่อง นอกจากนี้เขายังมีงานแสดงอื่นๆ อีกมากมาย เช่น งานพรีเซนเตอร์โฆษณาและงานพิธีกรร่วมในรายการ \"ลูกมดปิ้ง..ปิ้ง\" เป็นต้น", "title": "อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์" }, { "docid": "61366#2", "text": "สรพงษ์ ชาตรี มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ พิมพ์อัปสร (ขวัญ), พิศุทธินี (เอิง), พิศรุตม์ (เอม) และพิทธกฤต เทียมเศวต (อั้ม) ซึ่งพิมพ์อัปสร บุตรคนแรกเกิดแต่ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ส่วนบุตรคนที่สองถึงสี่เกิดแต่พิมพ์จันทร์ ใจวงศ์ (แอ๊ด) ปัจจุบันสมรสกับ ดวงเดือน จิไธสงค์ รองมิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529 และรองนางสาวไทย พ.ศ. 2530", "title": "สรพงศ์ ชาตรี" } ]
822
ฃ เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้วใช่หรือไม่?
[ { "docid": "11296#1", "text": "ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฃ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โดยระบุว่า ฃ เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว รวมถึงมีการพูดถึงการฟื้นฟูการใช้งานอักษร ฃ ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งในแบบเรียนอักษรไทยและบนแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็ยังคงมีอักษร ฃ อยู่", "title": "ฃ" }, { "docid": "11296#12", "text": "จนถึงปัจจุบัน แม้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 จนถึงฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2542 ก็ได้ให้คำอธิบายตัวอักษร 2 ตัวคือ ฃ และ ฅ ว่า \"\"เลิกใช้แล้ว\"\" ทั้งที่ไม่เคยมีการประกาศเลิกใช้อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด ในสมัยหลังมา ปรากฏว่าใช้คำว่า เฃตร ที่ใช้พยัญชนะ ฃ อยู่เพียงคำเดียว จึงได้เรียกชื่ออักษรดังกล่าวว่า \"ฃ เฃตร\" แต่ภายหลังคำว่า \"เฃตร\" ก็เลิกใช้ไปอีก โดยแปลงเป็นเขตแทน ทำให้คำที่ปรากฏว่าใช้ ฃ ขวด ไม่มีอีกแล้วในภาษาไทย", "title": "ฃ" }, { "docid": "11296#13", "text": "ฃ ( \"ข๋ะ\") ในภาษาไทยถิ่นเหนือยังคงมีการใช้กันอยู่ทั่วไป แต่พบว่าในคัมภีร์ใบลาน ไม่ปรากฏอักษร ฃ บ่อยครั้งนัก เพราะตัวอักษร ฃ ยังไม่เด่นชัด คาดว่าน่าจะเป็นเพราะ ฃ สามารถใช้อักษร ข หรือ ขร แทนได้ โดยไม่ทำให้เสียงหรือความหมายต่างกันมากนัก และในการเขียนก็ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวว่าศัพท์ใดจะต้องใช้อักษร ฃ จึงเห็นได้ชัดว่ามีการเขียนที่ใช้อักษร ฃ และ ข สลับกันในศัพท์เดียวกันหรือข้อความที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น ในพจนานุกรมภาษาล้านนาจึงอาจบันทึกได้ว่าเคยปรากฏการใช้อักษร ฃ นี้ในฐานะพยัญชนะต้นของคำในอดีต แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วเหมือนกับภาษาไทยกลาง", "title": "ฃ" }, { "docid": "11296#20", "text": "ล่าสุด ในวันภาษาไทยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ได้มีความพยายามในการรื้อฟื้นการใช้งานตัวอักษร ฃ และ ฅ ขึ้นใหม่ พร้อมกับเสนอให้แก้ข้อความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ใหม่เป็นคำว่า \"\"ปัจจุบันไม่ปรากฏที่ใช้งาน\"\" แทนคำว่า \"\"เลิกใช้แล้ว\"\" เพื่อป้องกันความสับสนด้วย โดยรวมไปถึงการคงอักษร ฃ และ ฅ บนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ตามประกาศของคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อักษร ฃ ตรงกับรหัสฐานสิบหก A3 (หรือ 163 ฐานสิบ) บนชุดอักขระ TIS-620 และตรงกับรหัสยูนิโคด U+0E03", "title": "ฃ" } ]
[ { "docid": "11747#3", "text": "อักษร ฅ นี้เป็นอักษรที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทดั้งเดิม ในชุดอักษรสำหรับภาษาตระกูลอื่นๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ มักจะไม่มีตัวอักษร ฅ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฃ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ ที่ไทยได้เติมเข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย โดยเหตุผลเพื่อต้องการใช้แทนเสียงที่มีอยู่ให้ครบถ้วน โดยมีพัฒนาการควบคู่กันมากับอักษร ฃ (ขวด)", "title": "ฅ" }, { "docid": "11296#6", "text": "ปัจจุบัน นักภาษาศาสตร์ได้นำคำที่ใช้เขียนด้วย ข และ ฃ ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ไปเปรียบเทียบกับภาษาไทถิ่นอื่น ๆ เช่น ไทขาว ก็พบว่าเป็นคำที่ใช้เสียงประเภทเดียวกัน และแยกเสียง ข และ ฃ เหมือนกัน เพราะคำเหล่านี้เป็นคำที่เป็นมรดกตกทอดมาจากภาษาไทโบราณเก่าแก่ตั้งแต่ยังไม่มีอักษรเกิดขึ้น ภาษาไทถิ่นยังใช้คำเหล่านี้อยู่ แต่ว่าเสียงเพี้ยนไป โดยร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถสังเกตได้ชัดเจนจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่าเริ่มมีการใช้ ข และ ฃ อย่างสับสน และใช้แทนที่กันในหลายแห่ง เช่น บ้างก็ใช้ \"ขุน\" บ้างก็ใช้ \"ฃุน\"", "title": "ฃ" }, { "docid": "11296#14", "text": "และที่น่าสังเกตก็คือ การที่มีการเขียน ขร- อยู่บ้างนั้น อาจเป็นร่องรอยของอักษร ฃ เพราะอักษร ร ที่กำกับอยู่นั้น เป็นสัทลักษณ์ให้ออกเสียง ฃ ทำให้ต้องพยายามค้นหาคำที่อักษร ฃ นี้ขึ้น เพื่อให้เห็นอดีตแห่งอักษรศาสตร์ล้านนา และจากการศึกษาของศาสตราจารย์ฟาง เกว่ย ลี ท่านเห็นว่าอักษร ฃ นี้เป็นพยัญชนะสำคัญอันหนึ่งในภาษาไทดั้งเดิม ซึ่งมีเสียงเสียดแทรกและไม่ก้อง และท่านได้สันนิษฐานศัพท์ที่เคยใช้อักษรนี้เป็นพยัญชนะต้นได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจสถาปนารูปศัพท์ให้ตรงกันกับศัพท์สันนิษฐานไว้ดังปรากฏในพจนานุกรม นอกจากนั้น ยังมีผู้สังเกตว่าคำที่เขียนด้วยตัว ข กับ ฃ มีความหมายแตกต่างกัน", "title": "ฃ" }, { "docid": "11747#10", "text": "จากนั้น เครื่องพิมพ์ดีดได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทย และการจัดเรียงอักษรแบบ QWERTY นั้น ไม่สามารถบรรจุอักษรลงไปทั้งหมดได้\nจึงทำการตัดแปลงตัวอักษรที่ใช้ ฅ และ ฃ เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มในแป้นพิมพ์ดีด แต่สำหรับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่\nจะมี ฅ และ ฃ อยู่ แต่จะไว้คนละตำแหน่งกันแล้วแต่ยี่ห้อ เช่น หน้า Backspace บนEnter หลังปุ่มShift บ้าง (ส่วนใหญ่ ทั้งสองอักษรจะวางบนแป้น backslash ซึ่งจะมีเครื่องหมาย \"|\" กับ \"\\\")", "title": "ฅ" }, { "docid": "11296#17", "text": "สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีการเลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไปอย่างสิ้นเชิงทีเดียวเลยนั้น คงเนื่องมาจากว่า เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยยุคแรกในปี พ.ศ. 2434 (ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งนายเอ็ดวิน ฮันเตอร์ แมคฟาร์แลนด์ได้ดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดมาจากแบบของโรงงานสมิทพรีเมียร์นั้น ตัวแป้นพิมพ์มีตัวอักษรไม่เพียงพอที่จะรองรับอักษรไทยทั้งหมด และด้วยเหตุผลที่ว่า \"[ฃ] เป็นพยัญชนะที่ไม่ค่อยได้ใช้ และสามารถทดแทนด้วยพยัญชนะตัวอื่นได้\" จึงมีการตัดพยัญชนะออก 2 ตัว คือ ฃ และ ฅ ซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือ \"ตำนานอักษรไทย\"", "title": "ฃ" }, { "docid": "41691#0", "text": "เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง (voiceless alveolar plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ t เสียงนี้มักจะปรากฏในหลายภาษาโดยทั่วไปในลักษณะธรรมดา คือ แต่ในภาษาไทยจะมีสองแบบคือแบบไม่พ่นลม และแบบพ่นลม ภาษาในอินเดียมักจะแบ่งออกเป็นสองแบบเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นภาษาฮินดี ภาษาที่ไม่มีเสียงนี้คือ ภาษาฮาวาย (นอกเขตนีอิเฮา)", "title": "เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง" } ]
824
มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นปีใด ?
[ { "docid": "307409#0", "text": "คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร () เป็นคณะวิชาแรกของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง (ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร) มีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร", "title": "คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "192231#1", "text": "มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในระยะแรกได้มีการจัดตั้งคณะวิชาทางด้านศิลปะและโบราณคดีรวมทั้งสิ้น 4 คณะ ณ วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อผู้แทนของ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น", "title": "คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "11674#2", "text": "มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เดิมคือ \"โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัด กรมศิลปากร\" เปิดสอนวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาลีซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น และได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศิลปากร\" เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ใน พ.ศ. 2498 จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) และ คณะโบราณคดี หลังจากนั้นได้จัดตั้ง คณะมัณฑนศิลป์ ขึ้นในปีต่อมา", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" } ]
[ { "docid": "86217#1", "text": "\"โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร\" ก่อตั้งขึ้นจากความคิดริเริ่มของ มาลี อติแพทย์ คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ และรักษาการในตำแหน่งรองอธิการบดี เมื่อ พ.ศ. 2516 และเปิดรับนักเรียนเข้าเรียนในปีการศึกษา 2517 โดยใช้อาคารไม้บริเวณโรงเรียนเกษตรกรรมเดิมซึ่งอยู่ทางด้านประตูเพชรเกษมเป็นที่ทำการ ปีแรกรับนักเรียน 2 ชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (มศ.1) ชั้นละ 2 ห้อง หลักสูตรที่ใช้ได้สร้างขึ้นเองโดยคณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์พระพิฆเนศวร ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากรใช้ตราสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระพิฆเนศวร คือเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก โดยด้านล่างมีอักษรว่า \"โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร\"", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "16233#1", "text": "\"คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร\" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และเปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 นับเป็น คณะเภสัชศาสตร์ ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมี ประโชติ เปล่งวิทยา ดำรงตำแหน่งคณบดีในสมัยนั้น นับเป็นคณบดีผู้ประศาสน์การ ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองต่อความต้องการในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในสายงานเภสัชกรรมและสายงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมถึงการพัฒนาให้เกิดภารกิจเชิงรุกในการให้บริการด้านเภสัชศาสตร์", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "11674#25", "text": "วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นวันที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศิลปากร\"\nด้วยคุณูปการที่ ศิลป์ พีระศรี มีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่า \"วันศิลป์ พีระศรี\" โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรีนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศิลป์ พีระศรี พร้อมไปกับการร้องเพลงซานตาลูชีอา และเพลงศิลปากรนิยม เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้\nเป็นบุคคลที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติและเกียรติคุณของท่าน ท่านมีคุณปการด้านการศึกษาที่โดดเด่น จนได้รับการยกย่องจาก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา ในวาระครบ 100 ปีเกิดของท่าน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "180062#1", "text": "มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในปี พ.ศ. 2532 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2534 จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้เสนอให้ปรับโครงสร้างศูนย์ฯ ด้วยการจัดรระบบรูปแบบที่ไม่ต้องขึ้นกับระบบราชการ ระหว่างปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542", "title": "ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)" }, { "docid": "62007#1", "text": "เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยดำริของ ศิลป์ พีระศรี และดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า \"คณะมัณฑนะศิลป์\" แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้องกับภาษาเขียนเป็น \"คณะมัณฑนศิลป์\" และศิลป์ พีระศรี ได้จัดสร้างหลักสูตรสาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และ หลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรม กรมศิลปากร ในเวลานั้น) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่าอธิการบดีมหาวิทยาลัย)", "title": "คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "28483#1", "text": "\"คณะวิทยาศาสตร์\" ได้ก่อตั้งขึ้นในวันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นคณะที่ 7 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากในปีการศึกษา 2515 ซึ่งเป็นปีการศึกษาแรก อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ ณ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ยังสร้างไม่เสร็จ จึงจำเป็นต้องฝากนักศึกษารุ่นแรกเรียนที่แผนกพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี จนในปีการศึกษา 2516 จึงได้ย้ายมาดำเนินการต่อที่อาคารหลังแรกของคณะวิทยาศาสตร์ และได้จัดสร้างอาคารประกอบอื่น ๆ เช่น โรงเลี้ยงสัตว์ทดลองและเรือนต้นไม้ของภาควิชาชีววิทยา", "title": "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "84724#1", "text": "วิทยาลัยนาฏศิลป เดิมมีชื่อว่า \"โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์\" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 นับเป็นสถาบันของชาติแห่งแรกที่ให้การศึกษาทั้งวิชาสามัญและวิชาศิลป ขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้คือ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2478 ทางการมีความประสงค์ที่จะให้วิชาศิลปทางโขน ละคร และดนตรี มารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน จึงได้โอนครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ กับศิลปินประจำราชสำนักของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเครื่องดนตรี เครื่องโขน เครื่องละครของหลวงบางส่วนจากกระทรวงวัง (สำนักพระราชวัง ในปัจจุบัน) ให้มาสังกัดกรมศิลปากร กรมศิลปากรจึงได้แก้ไขปรับปรุงการศึกษาของโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ได้มีคำสั่งตั้งโรงเรียนศิลปากร (มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปัจจุบัน) สอนวิชาช่างปั้น ช่างเขียน และช่างรักขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร และให้โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ไปรวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนศิลปากร เรียกชื่อเฉพาะแผนกนี้ว่า \"โรงเรียนศิลปากรแผนกนาฏดุริยางค์\" ให้การศึกษาวิชาศิลปทางดนตรี ปี่พาทย์ และละคร แต่ยังไม่มีโขน ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ได้ยุบกองโรงเรียนและให้ \"แผนกช่าง\" ของโรงเรียนศิลปากรไปขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยศิลปากร และโอนกรมศิลปากรไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2485 กรมศิลปากรปรับปรุงกองดุริยางคศิลป์ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกองการสังคีต และโอนแผนกนาฏดุริยางค์จากโรงเรียนศิลปากรขึ้นกับกองการสังคีต เปลี่ยนเป็น \"โรงเรียนสังคีตศิลป\" ขึ้นอยู่กับแผนกนาฏศิลป แต่เนื่องจากอุปสรรคและสงครามโลกครั้งที่สอง รวมทั้งราชการได้คืนสถานที่ไปใช้ราชการอย่างอื่น ระหว่าง พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2487 การศึกษาของโรงเรียนสังคีตศิลปจึงหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง", "title": "วิทยาลัยนาฏศิลป" }, { "docid": "307928#1", "text": "\"คณะดุริยางคศาสตร์\" เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ \"โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร\" โดยดำริของ ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีผู้อำนวยการคนแรก คือ แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ", "title": "คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" } ]
826
ซิงเกินแรกของ เกิลส์เจเนอเรชัน คืออะไร?
[ { "docid": "163282#9", "text": "ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 เกิลส์เจเนอเรชันได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการในรายการ เอ็มเน็ต \"สคูลออฟร็อก\" โดยเพลงที่ใช้แสดงคือซิงเกิลชุดแรกของพวกเธอที่ชื่อ \"อินทูเดอะนิวเวิลด์\" (). เกิลส์เจเนอเรชันเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2007 ในรายการอินกีกาโย ทางช่องเอสบีเอส หลังจากนั้นไม่นาน เกิลส์เจเนอเรชันปล่อยสตูดิโออัลบั้มชุดแรกโดยตั้งชื่อกลุ่มให้เป็นชื่ออัลบั้ม ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 โดยมีเพลง \"เกิลส์เจเนอเรชัน\" () ซึ่งรีเมกมาจากเพลงของอี ซึง-ช็อล ปี ค.ศ. 1989 และ \"คิสซิงยู\" \"เกิลส์เจเนอเรชัน\" จึงเป็นอัลบั้มที่ 12 ที่ขายดีที่สุดในปี ค.ศ. 2007 ของเกาหลีใต้ ด้วยยอดขาย 56,804 ชุด และขายได้มากกว่า 120,000 ชุดในปี ค.ศ. 2009 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 เกิลส์เจเนอเรชันออกซิงเกิลที่สี่ \"เบบีเบบี\" เป็นซิงเกิลหลักของอัลบั้มรีแพคเกจในชื่อเดียวกัน, ซึ่งจัดจำหน่ายบนเว็บไซต์เพลงดิจิทัล เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2008", "title": "เกิลส์เจเนอเรชัน" } ]
[ { "docid": "814133#3", "text": "เกิลส์เจเนอเรชันประกาศปล่อยซิงเกิลแรกที่มีสมาชิกเพียงแปดคน หลังจากการออกของเจสสิกาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015—ซิงเกิลชื่อ \"แคชมีอิฟยูแคน\" โดยได้บันทึกเสียงทั้งในภาษาเกาหลีและญี่ปุ่น และออกจำหน่ายพร้อมกันในเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2015 เกิลส์เจเนอเรชัน ปล่อยตัวอย่างมิวสิกวิดีโอซิงเกิลใหม่สามเพลงที่กำลังจะมาถึงได้แก่ \"ปาร์ตี\", \"ไลออนฮาตส์\" และ \"ยูทิงก์\" \"ปาร์ตี\" ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลนำจากสตูดิโออัลบั้มที่ห้า \"ไลออนฮาตส์\" และมีเพลงชื่อ \"เช็ก\" เป็นหน้าบี ออกจำหน่ายเป็นการสั่งซื้อสินค้าดิจิทัลผ่านทางเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 และซีดีซิงเกิลทางกายภาพออกจำหน่ายในวันที่ 8 กรกฎาคม", "title": "ปาร์ตี (เพลงเกิลส์เจเนอเรชัน)" }, { "docid": "163282#10", "text": "ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 เกิลส์เจเนอเรชันเปิดตัวเพลง \"แดนซิงควีน\" ซึ่งเป็นเพลงหลักของซิงเกิลใหม่ในปี ค.ศ. 2013 โดยเป็นการปรับปรุงใหม่จากเพลง \"เมอร์ซีย์\" ของดัฟฟี ที่จำหน่ายในปี ค.ศ. 2008 ในวันขึ้นปีใหม่ของปี ค.ศ. 2013 เกิลส์เจเนอเรชันได้ทำการเปิดตัวอัลบั้มชุดที่สี่คือ \"ไอก็อตอะบอย\" ในวันเดียวกันก็ได้ออกโทรทัศน์ในรายการพิเศษ \"เกิลส์เจเนอเรชันโรแมนติกแฟนตาซี\" ของช่องเอ็มบีซี อัลบั้มชุดดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมากในเกาหลีใต้ โดยอยู่ในอันดับบนสุดของแกออนอัลบั้มชาร์ต อีกทั้งยังขึ้นอันดับหนึ่งของ \"บิลบอดส์\"อัลบั้มชาร์ตทั่วโลก ซึ่งเพลง \"ไอก็อตอะบอย\" ก็ได้ขึ้นสู่อันดับหนึ่งของ\"บิลบอดส์\"โคเรียเคป็อปฮ็อต 100 และแกออนดิจิทัลชาร์ต กลายเป็นซิงเกิลที่ 11 ที่ขายดีที่สุดในเกาหลีใต้ โดยขายได้ทั้งหมด 1,354,672 ยูนิต อีกทั้งมิวสิกวิดีโอยังได้รับรางวัลวิดีโอแห่งปีของยูทูบมิวสิกอะวอดส์ ในปี ค.ศ. 2013 เอาชนะไซ และจัสติน บีเบอร์ ที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อตะวันตกว่าเป็นกลุ่มที่รู้จักกันน้อยเมื่อเทียบกับผู้เข้าชิงคนอื่น ๆ ในเวลานั้น", "title": "เกิลส์เจเนอเรชัน" }, { "docid": "163282#12", "text": "เกิลส์เจเนอเรชันได้ออกจำหน่าย \"Best Selection Non Stop Mix\" ซึ่งเป็นอัลบั้มรีมิกซ์ครั้งแรก ในเดือนมีนาคม และอัลบั้มบันทึกการแสดงสด \"เกิลส์เจเนอเรชันทัวร์ 2011\" ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013. ติดอันดับ 6 ในออริคอนอัลบั้มชาร์ต ในขณะที่ได้ขึ้นสู่อันดับหนึ่งในแกออนชาร์ตระยะหลัง เกิลส์เจเนอเรชันได้ออกจำหน่ายอัลบั้มญี่ปุ่นชุดที่ 3 \"Love & Peace\" และวางจำหน่ายในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2013 เมื่อเปิดตัวอัลบั้มได้เพียงสัปดาห์ ก็สามารถขึ้นสู่อันดับหนึ่งในออริคอนอัลบั้มชาร์ต และขายได้มากกว่า 129,000 ชุดในสัปดาห์แรก สองซิงเกิลในอัลบั้ม \"เลิฟ & เกิลส์\" และ \"แกแล็กซีซูเปอร์โนวา\" ติดอันดับที่สี่และที่สามบนออริคอนชาร์ตตามลำดับ", "title": "เกิลส์เจเนอเรชัน" }, { "docid": "163282#14", "text": "ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 ได้ออกจำหน่าย \"เดอะเบสต์\" เป็นอัลบั้มยอดฮิตของญี่ปุ่นครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วยซิงเกิลที่แล้วของกลุ่มและเพลงใหม่ 4 เพลง คือ \"Indestructible\", \"Divine\", \"Show Girls\", และ \"Chain Reaction\" ติดอันดับสูงสุดบนออริคอนอัลบั้มชาร์ต 2 สัปดาห์ติดต่อกัน และขายได้มากกว่า 175,000 ชุดในญี่ปุ่น ด้วยอัลบั้ม ไ\"The Best\" ติดอันดับสูงสุดบน ออริคอนอัลบั้มชาร์ต เกิลส์เจเนอเรชันจึงกลายเป็นกลุ่มศิลปินหญิงนอกญี่ปุ่นในเอเชียกลุ่มแรกที่ติดอันดับสูงสุดบน 3 อัลบั้มชาร์ต และได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตที่ 3 ในญี่ปุ่นคือ เลิฟ & พีซ ในเดือนเดียวกัน ซึ่งริเริ่มที่ฟุกุโอะกะ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 โดยเกิลส์เจเนอเรชันได้ทำการแสดงทั้งหมด 17 ครั้ง ใน 7 เมืองของญี่ปุ่น รวมถึง โอซะกะ, นะโงะยะ และ โตเกียว ใน 3 ทัวร์คอนเสิร์ตตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 เกิลส์เจเนอเรชันสามารถดึงดูดผู้ชมได้เรื่อย ๆ รวม 550,000 คน สร้างสถิติใหม่สำหรับเกิร์ลกรุปแนวเคป็อป", "title": "เกิลส์เจเนอเรชัน" }, { "docid": "356446#1", "text": "ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ได้มีการประกาศเป็นครั้งแรกว่า เกิลส์เจเนอเรชันจะออกวางจำหน่ายอัลบั้มบันทึกการแสดงสดอัลบั้มแรก โดยเป็นการบันทึกในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ที่โรงกายกรรมการฟันดาบโอลิมปิก ระหว่างเอเชียทัวร์ของเกิลส์เจเนอเรชัน ครั้งที่ 1 โดยอัลบั้มนี้ประกอบไปด้วยเพลงทั้งหมด 38 เพลง ใน 2 ซีดี รวมถึงโบนัสแทร็ก 2 ชิ้น คือ คลิปขณะบันทึกเสียงเพลง \"Singin' in the Rain\" และ \"Beautiful Girls\"", "title": "อินทูเดอะนิวเวิลด์ (อัลบั้ม)" }, { "docid": "311869#2", "text": "เอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ได้ประกาศออกมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ว่าเกิลส์เจเนอเรชันจะกลับมาพร้อมกับสตูดิโออัลบั้ม ในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ดี วันวางจำหน่ายของอัลบั้มชุดที่สองนี้ได้ถูกเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 28 มกราคม โดยอัลบั้มที่สองนี้มีผู้ให้ความสนใจสูงมากในช่วงแรก ๆ เนื่องจากมียอดการสั่งจองอัลบั้มทั้งแบบออนไลน์และแบบซีดีรวมกันมากถึง 150,000 ชุด และในวันแรกของการจำหน่าย อัลบั้มนี้ก็ทำยอดขายได้ถึง 30,000 ชุด ในการจำหน่ายใน 80 ประเทศทั่วโลกรวมถึงสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน และไอร์แลนด์\nอัลบั้ม Repackage ของโอ! นั้นได้ออกวางจำหน่ายในเดือนมีนาคม โดยเน้นแนวคิดของเกิลส์เจเนอเรชันสีดำ หรือที่เรียกกันว่า \"แบล็คโซชิ\" (Black Soshi) โดยก่อนหน้าการรีแพ็กเกจนั้นได้มีการเปิดตัวซิงเกิลใหม่ชื่อ รันเดวิลรัน () ในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553 ทั้งนี้เพลงดังกล่าวเป็นเพลงที่แคชชา เคยบันทึกเสียงมาก่อนเมื่อ พ.ศ. 2551 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 มีนาคม มิวสิกวีดิโอของเพลงดังกล่าวก็ได้ออกมา พร้อมกับการกลับมาแสดงสดของเกิลส์เจเนอเรชันในรายการมิวสิกแบงก์ทางช่อง KBS ต่อมาเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ได้ออกมาแถลงว่ายุนอาคือสมาชิกวงที่อยู่บนหน้าปกของซิงเกิลดังกล่าว\nเกิลส์เจเนอเรชันเริ่มประชาสัมพันธ์อัลบั้มนี้ทางรายการมิวสิกคอร์ช่อง MBC ในวันที่ 30 มกราคม นอกจากนี้ทางกลุ่มได้ร้องเพลง โชว์! โชว์! โชว์! (Show! Show! Show!) เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงการกลับมาร้องเพลงในรายการมิวสิกคอร์ทาง MBC และรายการอินกิกาโย (เดอะมิวสิกเทรนด์) ทางช่อง SBS และเมื่ออัลบั้มดังกล่าวได้วางจำหน่ายอย่างเต็มรูปแบบ อัลบั้มก็ได้ติด 10 อันดับแรกในหลายชาร์ตเพลง", "title": "โอ! (อัลบั้ม)" }, { "docid": "814133#2", "text": "วงเกิร์ลกรุปเกาหลีใต้ เกิลส์เจเนอเรชัน ได้ประสบความสำเร็จในวงการเพลงเอเชียที่มีซิงเกิลฮิตอย่างเช่น \"จี\" และ \"ไอกอตอะบอย\" นับตั้งแต่การเปิดตัวในปี ค.ศ. 2007 เป็นวงเกิร์ลกรุปที่มีสมาชิกถึงเก้าคน ซึ่งประกอบไปด้วย แทย็อน, ซันนี, ทิฟฟานี, ฮโยย็อน, ยูรี, ซูย็อง, ยุนอา, ซอฮย็อน และเจสสิกา ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 เจสสิกาประกาศว่าถูกถอดออกจากวง ภายหลังเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ได้ออกมายืนยันเรื่องดังกล่าวและระบุว่าเจสสิกาได้พ้นสภาพการเป็นสมาชิกเกิลส์เจเนอเรชัน เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างเธอกับตารางงานของกลุ่มและธุรกิจแฟชัน บล็องเอต์เอแกลร์ ของเธอเอง โดยเกิลส์เจเนอเรชันยังคงดำเนินต่อด้วยสมาชิกที่เหลือเพียง 8 คนหลังจากนี้", "title": "ปาร์ตี (เพลงเกิลส์เจเนอเรชัน)" }, { "docid": "163282#2", "text": "เกิลส์เจเนอเรชัน ได้เดบิวต์ที่ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2010 ภายใต้การดูแลของค่ายนะยุตะเวฟ โดยการปล่อยเวอร์ชันญี่ปุ่นจากเพลงฮิตของพวกเธออย่าง \"เทลมียัวร์วิช\" และ \"จี\" อัลบั้มชุดแรกในญี่ปุ่นของพวกเธอ \"เกิลส์เจเนอเรชัน\" ออกจำหน่ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 ซึ่งกลายเป็นอัลบั้มโดยกลุ่มนักร้องเกาหลีที่มียอดขายมากที่สุดในประวัติศาสตร์บนชาร์ตออริคอนอีกด้วย", "title": "เกิลส์เจเนอเรชัน" }, { "docid": "163282#19", "text": "เกิลส์เจเนอเรชันได้เริ่มทำรายการโทรทัศน์ในชื่อ \"แชแนลเกิลส์เจเนอเรชัน\" ในการโปรโมตอัลบั้ม ต่อมาได้ลงมือจัดคอนเสิร์ตที่ 4 เกิลส์เจเนอเรชันแฟนเทเชีย เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ในโซล ทำให้เกิลส์เจเนอเรชันกลายเป็นกลุ่มศิลปินหญิงกลุ่มแรกที่จัดทัวร์คอนเสิร์ตถึง 4 ครั้ง และได้จัดคอนเสิร์ต เจแปนทัวร์ ครั้งที่ 4 เริ่มเมื่อวันที่ 12 ธันนวาคม ค.ศ. 2015 ที่นาโงะยะ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2015 แกออนมิวสิกชาร์ตได้ประกาศว่าเกิลส์เจเนอเรชันเป็นเกิร์ลกรุปที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเกาหลีใต้ โดยมียอดขายมากกว่า 398,000 อัลบั้ม", "title": "เกิลส์เจเนอเรชัน" } ]
829
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3มีพระบิดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "156222#0", "text": "สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (; ; 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1377) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377 พระองค์นับเป็นกษัตริย์อังกฤษผู้ประสบความสำเร็จที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง โดยทรงฟื้นฟูความมั่นคงของราชบัลลังก์ หลังจากที่เสื่อมโทรมลงไปมากในรัชสมัยของพระราชบิดา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นรัฐที่มีอำนาจทางทหารมากที่สุดในยุโรป และเป็นรัชสมัยที่มีการวิวัฒนาการทางการปกครองทางนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา แต่ในสมัยเดียวกันนี้พระองค์ก็ทรงต้องเผชิญกับความหายนะจากกาฬโรคระบาดในยุโรป พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 50 ปีซึ่งไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดที่ครองราชย์นานเช่นนั้นตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 และต่อจากนั้นก็ไม่มีพระองค์ใดจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในฐานะกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" } ]
[ { "docid": "237722#1", "text": "เอ็ดเวิร์ดประสูติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระราชินีฟิลลิปปา และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เอ็ดเวิร์ดทรงเป็นผู้นำทางการทหารผู้มีความสามารถและทรงเป็นผู้ที่เป็นที่นิยมขณะที่ยังทรงมีชีวิตอยู่ เอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์เพียงปีเดียวก่อนที่พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคต ทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์องค์แรกที่ไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของริชาร์ด พระโอรสองค์โตของพระองค์เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เสด็จสวรรคต", "title": "เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ" }, { "docid": "156222#38", "text": "สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่นิยมแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตั้งแต่ยังทรงพระชนม์อยู่ และแม้แต่เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นพระองค์ก็มิได้ทรงถูกประณามว่ามีสาเหตุมาจากพระองค์โดยตรง นักบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัยฌอง ฟรัวส์ซาร์ท (Jean Froissart) บันทึกไว้ใน “บันทึกประวัติศาสตร์ของฟรัวส์ซาร์ท” (Froissart's Chronicles) สรรเสริญพระองค์ว่า “พระมหากษัตริย์เช่นพระองค์ไม่มีมาให้เห็นมาตั้งแต่พระเจ้าอาร์เธอร์” ทัศนคตินี้มีอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแต่ก็มาเปลี่ยนแปลงไป นักประวัติศาสตร์พรรควิกในสมัยต่อมานิยมที่จะเน้นความสนใจในเรื่องการปฏิรูปทางรัฐธรรมนูญมากกว่าที่จะสรรเสริญพระองค์ในความสามารถทางการทหาร กล่าววิจารณ์พระองค์ว่าไม่ทรงสนพระทัยในความรับผิดชอบในการปกครองบ้านเมือง ตามคำกล่าวของบาทหลวงวิลเลียม สตับบ์ส (William Stubbs) ที่ว่า:", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "259730#1", "text": "เอ็ดเวิร์ดเป็นบุตรของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1และภรรยาคนแรกอินแฟนตาอิสซาเบลลาแห่งคาสตีล ปู่และย่าทางพ่อคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1และพระราชินีฟิลลิปปา ปู่และย่าทางแม่คือสมเด็จพระเจ้าเปโดรแห่งคาสตีลและมาเรียเดอปาดิลลา", "title": "เอ็ดเวิร์ดแห่งนอริช ดยุกที่ 2 แห่งยอร์ก" }, { "docid": "228229#1", "text": "เมื่อประสูติบ้านเมืองอยู่ในระหว่างความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าเฮนรีพระราชบิดาและริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์โดยและท้าทายความมีสมรรถภาพในการปกครองบ้านเมืองของพระองค์ พระเจ้าเฮนรีประชวรด้วยพระโรคทางพระสติ นอกจากนั้นก็มีข่าวลือกันโดยทั่วไปว่าพระองค์ทรงเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างพระราชมารดากับผู้สนับสนุนคนหนึ่ง ทั้งเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1และเจมส์ บัตเลอร์ เอิร์ลแห่งออร์มอนด์ที่ 5 ต่างก็ถูกสงสัยว่าเป็นพ่อของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนที่สนับสนุนข่าวลือที่ว่าแต่พระเจ้าเฮนรีเองไม่ทรงมีความสงสัยในตัวพระโอรสและทรงประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นพระบิดาของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ที่พระราชวังวินด์เซอร์ในปีค.ศ. 1454", "title": "เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์" }, { "docid": "156002#8", "text": "เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1483 พระราชโอรสของพระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 เมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษาโดยมีริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์ก พระอนุชาพระชนมายุ 9 พรรษาเป็นรัชทายาท ริชาร์ดทรงสั่งจับแอนโทนี วูดวิลล์ เอิร์ลที่ 2แห่งริเวิร์ส ผู้ดูแลพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 (พระเชษฐาของพระนางเซซิลี เนวิลล์ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4) และที่ปรึกษาประจำพระองค์อีกหลายคนและนำไปกักขังที่ปราสาทพอนทีแฟรก ต่อมาก็ทรงสำเร็จโทษโดยทรงกล่าวหาว่าร่วมกันวางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ต่อมาก็ทรงย้ายพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และพระอนุชาไปประทับที่หอคอยแห่งลอนดอน", "title": "พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#5", "text": "มอร์ติเมอร์ทราบว่าฐานะของตนเองออกจะไม่มั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 และพระนางฟิลิปปามีพระราชโอรสพระองค์แรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 มอร์ติเมอร์จึงใช้อำนาจในการนำมาซึ่งตำแหน่งขุนนางและอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ได้มาเดิมเป็นของเอ็ดมันด์ ฟิทซ์แอแลน เอิร์ลแห่งอารันเดลที่ 9 (Edmund FitzAlan, 9th Earl of Arundel) ฟิทซ์แอแลน ผู้ยังจงรักภักดีต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ขณะที่ทรงมีความขัดแย้งกับพระราชินีอิซาเบลลาและมอร์ติเมอร์ จึงถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1326 ความโลภและความทะนงตัวของมอร์ติเมอร์ทำให้เป็นที่เกลียดชังในหมู่ขุนนางซึ่งทำให้เป็นประโยชน์ต่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#4", "text": "เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1327 เมื่อเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์มีพระชนมายุได้ราว 14 พรรษา พระนางอิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษพระราชมารดาและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์และรัฐสภาก็ปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 จากราชบัลลังก์ และยกเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ โดยทรงเข้าพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1327 โดยมีสมเด็จพระราชินีอิสซาเบลลาและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มอร์ติเมอร์ถือได้ว่าเป็นผู้ปกครองอังกฤษโดยพฤตินัย อีกทั้งยังข่มเหงน้ำพระทัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดโดยไม่ให้ความนับถือต่อพระองค์และทำให้ทรงเสียพระพักตร์โดยตลอด เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1328 ในขณะมีพระชนมายุได้ 15 พรรษา ก็ได้ทรงเสกสมรสกับฟิลิปปาแห่งเฮนอลต์ วัย 16 พรรษา ณ ยอร์กมินสเตอร์", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "157344#9", "text": "พระอนุชาสองพระองค์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดคือจอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ และริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ (ต่อมาคือพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ) เสกสมรสกับอิซาเบลลา เนวิลล์ และแอนน์ เนวิลล์ ทั้งสองคนเป็นธิดาของริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก กับแอนน์ โบแชมป์ ผู้เป็นทายาทของมรดกจำนวนมหาศาลของมารดาผู้ยังมีชีวิตอยู่ ดยุกแห่งแคลเรนซ์และดยุกแห่งกลอสเตอร์มีความขัดแย้งกันตลอดรัชสมัยของเอ็ดเวิร์ด ในที่สุดดยุกแห่งแคลเรนซ์ก็ถูกกล่าวหาว่าวางแผนโค่นราชบัลลังก์ของเอ็ดเวิร์ดและถูกนำไปจำขังไว้ที่หอคอยแห่งลอนดอน และถูก “ประหารชีวิตเป็นการภายใน” (privately executed) (ตำนานเชกสเปียร์กล่าวว่าถูกถ่วงในถังไวน์มาล์มซีย์เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1478", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#45", "text": "สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ทรงเป็นทายาทในราชวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ผ่านทางพระเจ้าจอห์น ส่วนพระมารดาคือพระนางอิสซาเบลลานั้นสืบสายมาจากสมเด็จพระราชินีเอเลียนอร์ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 เช่นกัน", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" } ]
840
วรรณรท สนธิไชยมีชื่อเล่นว่าอะไร?
[ { "docid": "207207#0", "text": "วรรณรท สนธิไชย (ชื่อเล่น: วิว เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2532) เป็นนักแสดงชาวไทย สังกัดเอ็กแซ็กท์ ของ ถกลเกียรติ วีรวรรณ เริ่มเข้าวงการบันเทิงด้วยการถ่ายแบบในสมัยเด็ก ๆ", "title": "วรรณรท สนธิไชย" } ]
[ { "docid": "535869#1", "text": "ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น มีชื่อจริงตามบัตรประจำตัวประชาชน ว่า วิศักดิ์ศิลป์ วังเอก มีชื่อเล่นว่า \"ตั้ม\" แต่เพื่อน ๆ นิยมเรียกว่า \"แหลม\" ตามลักษณะของใบหน้า เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ที่ตำบลแต้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ในครอบครัวนักมวย ที่มีปู่, พ่อ และอา ล้วนแต่เป็นนักมวยทั้งสิ้น โดยเป็นลูกชายคนโตในจำนวนลูกชายทั้งหมด 3 คน ของนายเจียมศักดิ์ และนางหนูรัตน์ วังเอก ซึ่งลูก ๆ ทุกคนก็ล้วนแต่เป็นนักมวยทั้งหมด ศรีสะเกษจบการศึกษาเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา และได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ ในอัตราชั้นยศ สิบตำรวจตรี (ส.ต.ต)", "title": "ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย" }, { "docid": "541482#0", "text": "วฤษฎิ์ ศิริสันธนะ (เกิด 24 กันยายน พ.ศ. 2533) ชื่อเล่น ไม้ เป็นนักแสดงและนายแบบชาวไทย เข้าสู่วงการบันเทิงจากการประกวดเอ็มไทยแลนด์ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ จนได้เซ็นสัญญากับทางช่อง 3 กับละครโทรทัศน์เรื่องแรก \"แม่เปียดื้อ\" ในปี 2556 ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเข้าร่วมประกวดโครงการหนุ่มคลีโอ ปี 2011 แต่สิ้นสุดตำแหน่งที่ 50 ของคนสุดท้ายเท่านั้น เขาจบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "วฤษฎิ์ ศิริสันธนะ" }, { "docid": "516250#0", "text": "ธีรเดช เมธาวรายุทธ (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2532) ชื่อเล่น อาเล็ก เป็นนักแสดงชาวไทย มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง \"คุณนายโฮ\" ปัจจุบันเขาเป็นนักแสดงในสังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มีผลงานที่โดดเด่นคือละครเรื่อง \"สะใภ้จ้าว\" ในบทบาท \"คุณชายเล็ก\" ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำสาขาดาราสนับสนุนชายดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2559", "title": "ธีรเดช เมธาวรายุทธ" }, { "docid": "133592#0", "text": "สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (ชื่อเล่น ติ่ง) เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2505 เป็นนักพากย์ชายชาวไทย ที่มีน้ำเสียงและลีลาการพากย์หาตัวจับยากคนหนึ่งของวงการ สามารถพากย์ได้ดีทั้งบทพระเอก บทขรึม ตัวโกง หรือแม้แต่ ตัวตลก ปัจจุบันพากย์เสียงอยู่กับ ทีมพากย์พันธมิตร รวมทั้งพากย์เสียงให้กับทาง ช่อง 9 อสมท. หรือ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และบริษัทผลิตวีซีดี-ดีวีดีการ์ตูน โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ในอดีตพากย์ให้กับทาง ช่อง 3 และเคยออกรายการตีสิบ ช่วงดันดารา ตอน พันธมิตร ปะทะ อินทรี", "title": "สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล" }, { "docid": "270563#0", "text": "\"เนาวรัตน์ วัชรา\" หรือชื่อจริงคือ สมิรา ลำยาน มีชื่อเล่นว่า แหม่ม นักแสดงอาวุโส ลูกครึ่งไทย-ปาทาน โดยคุณพ่อเป็นปาทาน ส่วนคุณแม่เป็นชาวไทย เนาวรัตน์นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาชั้น ม.ศ. 3 จากโรงเรียนวัดเศวตรฉัตรในปี 2507 เธอได้เข้าประกวดนางงามหลายเวที เริ่มแรกคุณชุลี ใจยงค์ เจ้าของร้านเสริมสวยดาราพรได้ส่งเธอไปประกวดนางงามบพิตรบอลในนามของอรัญญา ดาราพร และได้คว้าตำแหน่งเป็นครั้งแรก ต่อมาเธอได้ตำแหน่งนางงามสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ล่าสุดจึงได้ประกวดนางสาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2507 ในงานวชิราวุธนุสรณ์ และได้รับตำแหน่งรองนางสาวไทย \"อันดับ 4\" ในปีนั้น อาภัสรา หงสกุลได้ตำแหน่งนางสาวไทย พ.ศ. 2507 ไปครอง หลังจากมีชื่อเสียงแล้วเนาวรัตน์เคยได้นำเงินมาบริจาคให้โรงเรียนวัดเศวตรฉัตรอีกด้วย", "title": "เนาวรัตน์ วัชรา" }, { "docid": "197344#0", "text": "วรฤทธิ์ ไวยเจียรนัย (ชื่อเล่น เอส) เกิดวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เป็นนักแสดงชาวไทย จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนโพธิสารพิทยากร จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เข้าสู่วงการบันเทิงจากผลงานโฆษณา มีผลงานโดดเด่น เช่น \"คอฟฟี่เมต\" คู่กับ ครีม เปรมสินี รัตนโสภา จากนั้นเล่นละครกับค่ายยูม่า ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ปัจจุบันเป็นผู้ควบคุมสายงานการผลิตละคร ของช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 ร่วมกับดีเจชื่อดัง พี่ฉอด สายทิพย์ ผู้อำนวยการสร้างสายงานผลิตละคร และพี่เล็ก บุษบา ดาวเรือง ผู้อำนวยการสร้างสายงานผลิตละคร บริหารร่วมกับเอไทม์มีเดีย ร่วมกับพี่ฉอด สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา", "title": "วรฤทธิ์ ไวยเจียรนัย" }, { "docid": "524822#1", "text": "วรภร เลิศเกียรติไพบูลย์ ชื่อเล่น แพร ชื่อเดิม อารดา เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 เป็นนักแสดงวัยเด็ก เรื่องที่เธอเล่น และจดจำมากที่สุดคือ ทายาทอสูร ซึ่งรับบทเป็น คุณยายวรนาฏ (วัยเด็ก) และ อังกอร์ 2 ซึ่งรับบทเป็น อองซาน จากนั้นก็มีละครมาเรื่อยๆ ปัจจุบันแพรจบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จาก Siam Business Administration College (SBAC) และกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรังสิต คณะนิเทศศาสตร์", "title": "วรภร เลิศเกียรติไพบูลย์" }, { "docid": "953500#1", "text": "ธนัตถ์ศรันย์ ซำทองไหล หรือชื่อเดิม วชิรวิชญ์ ซำทองไหล มีชื่อเล่นว่า แฟรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ที่จังหวัดเลย ปัจจุบันกำลังศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ซึ่งในขณะที่ศึกษาอยู่นั้นเขาถือว่าเป็นนักกิจกรรมแข่งขันกีฬาฟุตบอลให้กับสถาบัน แจ้งเกิดจากการเป็นนักแสดงนำในเรื่อง อาตี๋ของผม โดยก่อนหน้านั้นมีผลงานการเล่นมิวสิวิดีโอและการถ่ายแบบ", "title": "ธนัตถ์ศรันย์ ซำทองไหล" }, { "docid": "406240#0", "text": "นิธิศ วารายานนท์ (ชื่อเล่น : โบ๊ท) นักดนตรี วงเดอะเยอร์ส (The Yers) สังกัดค่าย Genie Records โบ๊ท เล่นในตำแหน่งมือเบสของวง ได้เข้าร่วมกับ วงเดอะเยอร์ส ตอนช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 และยังได้เล่นมิวสิกวิดีโอเพลง เทศกาล ผลงานของวงเองด้วย วงเดอะเยอร์ส ได้ออกอัลบั้มเต็มเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จากความที่โบ๊ทมีบุคลิกที่โดดเด่นสะดุดตาผู้กำกับหนัง ได้รับเชิญให้เล่นภาพยนตร์เป็นเรื่องแรกในชีวิตอีกด้วย", "title": "นิธิศ วารายานนท์" } ]
850
หนังสือการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอลมีทั้งหมดกี่เล่ม?
[ { "docid": "11720#0", "text": "ดราก้อนบอล () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของอากิระ โทริยาม่า ลงพิมพ์ในนิตยสารโชเนนจัมป์ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2538 และรวมเป็นฉบับรวมเล่มได้ 42 เล่ม ในประเทศไทยเคยลงตีพิมพ์ใน ทาเล้นท์ และ ซีโร่ ในช่วงก่อนที่มีลิขสิทธิ์การ์ตูน และหลังจากนั้นได้ตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนบูม ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัท เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด", "title": "ดราก้อนบอล" } ]
[ { "docid": "85255#1", "text": "หนังสือชุดเอนเดอร์ได้ถูกตีพิมพ์เป็นภาษาไทยทั้งหมด 4 เล่ม ได้แก่ เกมพลิกโลก วาทกะแด่ผู้ล่วงลับ วิถีล้างพันธุ์ และ จิตาวตาร นอกจากหนังสือภาคต่อเหล่านี้ ยังมีเรื่อง \"A War of Gifts: An Ender Story\" เล่าเรื่องราวโดยละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเอนเดอร์ในโรงเรียนสัประยุทธ์ และล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 \"Ender in Exile\" เป็นภาคก่อนหน้าของเรื่อง วาทกะแด่ผู้ล่วงลับ แต่เล่าเหตุการณ์หลังจากสิ้นสุดเรื่องราวในเกมพลิกโลก", "title": "เกมพลิกโลก" }, { "docid": "158389#0", "text": "ดราก้อนบอล () ภาพยนตร์อนิเมะ ที่มาจากหนังสือการ์ตูนดราก้อนบอล วาดและแต่งเรื่องด้วย อากิระ โทริยามะ ผลิตโดยบริษัทโตเอโดกะ (ปัจจุบันเป็น โตเอแอนิเมชัน) มีทั้งหมด 153 ตอนโดยฉายในญี่ปุ่นตั้งแต่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ถึง 12 เมษายน พ.ศ. 2532", "title": "ดราก้อนบอล (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)" }, { "docid": "14447#13", "text": "การ์ดแค๊ปเตอร์ซากุระภาคหนังสือการ์ตูน วาดโดยนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น แคลมป์ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 12 เล่ม ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ จัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 แบบปกในธรรมดา และยังมีภาคแอนิเมชัน อีกด้วย ในประเทศญี่ปุ่นลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะ จัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 พิมพ์ทั้งหมด 12 เล่มจบ ปกใน รูป เคโระจัง และยังมีของแถม เป็นโคลว์การ์ด และซากุระการ์ด รูปตัวละคร, รูป Pin Up และโฆษณาข่าวสารของ CLAMP อีกด้วย", "title": "ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์" }, { "docid": "47295#0", "text": "ดราก้อนบอล Z () เป็นภาพยนตร์อนิเมะ ภาคต่อของการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอล เริ่มออกอากาศใน ประเทศญี่ปุ่น ทางสถานีฟูจิทีวี ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2532 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2539 รวมความยาวทั้งสิ้น 291 ตอน นอกจากนั้นยังมีภาพยนตร์อีก 13 ตอน และมีตอนพิเศษทางโทรทัศน์อีก 2 ตอน", "title": "ดราก้อนบอล Z" }, { "docid": "290635#0", "text": "พัมพุต (; ) หรือ พันพุทธ, พัน พุทโธ เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอล (ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน เล่ม 10 ตอนที่ 116 และเริ่มมีบทบาทในหนังสือการ์ตูนเล่ม 11 ตอนที่ 122) เป็นนักมวยไทยที่ชนะการแข่งขันประลองยุทธระดับโลกมาแล้ว 2 รายการ และเข้าร่วมศึกชิงจ้าวยุทธภพครั้งที่ 22ด้วยเช่นกัน โดยฉากการต่อสู้ระหว่าง พัมพุต กับซุน โกคู ฉายครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1987 โดยใช้ชื่อตอนว่า : Omatase!! Son Goku Sanjo!! (Goku Enters the Ring)", "title": "พัมพุต" }, { "docid": "338078#0", "text": "ตะขอจำพราก เป็นการ์ตูนภาคหนึ่งของเจ็ดศาสตรา เขียนภาพโดย หม่าหย่งเฉิง และแต่งเรื่องโดยโกวเล้ง ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บุรพัฒน์ การ์ตูนจีนขุดเจ็ดสตรามีทั้งหมด 17 เล่มจบ ที่ดัดแปลงมาจาก นวนิยายกำลังภายใน ของโกวเล้ง ซึ่งชื่อเรีอง ตะขอจำพราก นั้นตรงกับฉบับนวนิยาย แตกต่างตรงที่เป็นในนวนิยาย ตะขอจำพราก จะเป็นตอนที่หก แต่ใน เจ็ดศาสตรา (การ์ตูน) จะเป็นตอนที่หนึ่งและภาคแรกด้วยอีกทั้งยังไปการวางเรื่องราวทั้งหมดด้วยให้กับจ็ดศาสตราทั้งหมดด้วย", "title": "ตะขอจำพราก (การ์ตูน)" }, { "docid": "399770#2", "text": "ขณะนี้มี้หนังสือสองเล่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกของ\"ดราก้อน เอจ\" เล่มแรกคือ\"\"จัดจำหน่ายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 หนังสือเล่มที่สองคือ\"\"จัดจำหน่ายเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552\nหนังสือเล่มที่สามคือ\"\"วางแผนที่จะจัดจำหน่ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2554 หนังสือทั้งหมดเขียนโดย เดวิด ไกด์เดอร์ และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ทอร์", "title": "ดราก้อน เอจ" }, { "docid": "290516#0", "text": "แดร๊กคิวล่าแมน (; ) เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่อง\"ดราก้อนบอล\" (ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน เล่ม 9 ตอนที่ 99 ซึ่งถือเป็นเลขมงคลของไทย) ซึ่งเป็นแวมไพร์ดูดเลือด ที่เป็นนักมวยไทย และมีความสามารถในการแปลงกายเป็นค้างคาว แดร๊กคิวล่าแมนปรากฏตัวในการ์ตูนแอนิเมชันครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ในวันพุธที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1987 โดยใช้ชื่อตอนว่า : Totsugeki! Warera Gonin no Senshi (We are the Five Warriors)", "title": "แดร๊กคิวล่าแมน" }, { "docid": "32338#0", "text": "การ์ตูนเรื่อง ดราก้อนบอล มีตัวละครมากมาย โดยสร้างจากจินตนาการของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่นชื่อ อากิระ โทริยามา (ซึ่งในภาค GT ถือเป็นจักรวาลที่แยกออกไป และในภาค Movie จนถึง \"ดราก้อนบอล Z เดอะมูฟวี่ 13: ฤทธิ์หมัดมังกรถล่มโลก\" นั่นถือไม่รวมอยู่ในไทม์ไลน์หลักของเนื้อเรื่อง Dragonball) โดยรายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของตัวละครที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่องนี้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ ตัวละครจากหมู่บ้านเพนกวิน ได้ที่ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่#ตัวละคร (\"ในหัวข้อ ตัวละครที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอล\")\nปรากฏตัวใน\"ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ # 1\" ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้ :", "title": "รายชื่อตัวละครในดราก้อนบอล" } ]
852
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุงเกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "57369#1", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 บิดาชื่อ ร.ต.ต.แฉล้ม อยู่บำรุง มารดาชื่อนางลั้ง อยู่บำรุง จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเข้ารับราชการตำรวจที่มีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบ นั้นได้เคยเป็นทหารยศสิบโทมาก่อน ได้ขอโอนย้ายตัวเองเข้าสังกัดตำรวจ ในการทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จากสื่อมวลชนว่า \"เหลิม\" หรือ \"เหลิมดาวเทียม\" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเองของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า \"บรรณาธิการเฉลิม\"", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" } ]
[ { "docid": "57369#5", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ปรากฏบทบาททางการเมืองครั้งแรกในฐานะผู้ร่วมการพยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2524 และหลังการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ จึงตกเป็นผู้ต้องหามีคำสั่งย้ายเข้ากรมตำรวจในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 และพลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่นอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้ลงนามในคำสั่งที่ 500/2524 ไล่ออกจากราชการตำรวจในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524และตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ต่อมาจึงได้รับการนิรโทษกรรม", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#24", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#0", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝั่งธนบุรีหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคมวลชน ระหว่างวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ ตามคำสั่งคำสั่งที่ พิเศษ 1/2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ โดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2556", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#2", "text": "สมรสกับลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน เป็นชายล้วนคือ ร้อยตำรวจตรี อาจหาญ อยู่บำรุง, ร้อยตำรวจตรี วัน อยู่บำรุง และ พันตำรวจตรี ดวง อยู่บำรุง ลูกชายทั้งสามก็ถูกเรียกกันทั่วไปว่า \"ลูกเหลิม\" มีน้องชายที่เล่นการเมืองท้องถิ่น เป็น ส.ก.หลายสมัยคือ นวรัตน์ อยู่บำรุง ส.ก.เขตหนองแขม\nและน้องชายที่เป็นตำรวจ พ.ต.ท.จารึก อยู่บำรุง ซึ่งเสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557\nจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ท่ามกลางความสงสัยว่าการจบปริญญาเอกนั้นไม่ได้มาตรฐาน", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#10", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้ง เมื่อลูกชายทั้ง 3 คน คือ ร้อยตำรวจตรีอาจหาญ อยู่บำรุง ร้อยตำรวจตรีวัน อยู่บำรุง และร้อยตำรวจเอกดวง อยู่บำรุง ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนเป็นระยะ ว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อเหตุวิวาททำร้ายร่างกายหลายครั้ง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#17", "text": "แต่ต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายสมัครได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี โดยในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายสมัครได้ให้ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งแทน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#22", "text": "ภายหลังจากมีการยุบพรรค ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้คณะผู้บริหารพรรคพิจารณาแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในพรรคต่อไป โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม กล่าวว่าพรรคได้มอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในสภาผู้แทนราษฎร", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#3", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมือง หลายครั้งมีการใช้คำพูดที่ฟังดูรุนแรง ซึ่ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า \"ไปทะเลเจอฉลาม มาสภาเจอเฉลิม\"", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#15", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และ สมุทรปราการ) และได้รับเลือก", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" } ]
854
ชาวนอร์มันหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "224275#0", "text": "นอร์มัน () คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน", "title": "นอร์มัน" }, { "docid": "224275#2", "text": "ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี", "title": "นอร์มัน" } ]
[ { "docid": "227195#10", "text": "แต่ไม่ว่าจะมีความชิงชังกันอย่างไรหรือเท่าใด ในที่สุดชนสองกลุ่มนี้ก็กลืนกันเป็นชนกลุ่มเดียวกันจากการอยู่ร่วมกันและการแต่งงาน ชาวนอร์มันเริ่มมีความรู้สึกตนว่าเป็นแองโกล-นอร์มัน ความแตกต่างก็มาหายไปแทบหมดสิ้นเมื่อสงครามร้อยปีเกิดขึ้น และภายในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวแองโกล-นอร์มันก็กลืนกับแองโกล-แซกซัน และกลายมาเป็นชาวอังกฤษ", "title": "อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน" }, { "docid": "232257#2", "text": "“นอร์ส” และ “นอร์สเม็น” หมายถึงประชากรสแกนดิเนเวียของปลายคริสต์ศตวรรษ 8 ถึง 11 ส่วนคำว่า “นอร์มัน” ต่อมาหมายถึงผู้ที่ดั้งเดิมคือผู้มาจากทางเหนือที่ตั้งถิ่นฐานในนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส ที่รับวัฒนธรรมและภาษาฝรั่งเศส คำว่า “Norse-Gaels” (เกลลิคต่างประเทศ) เป็นคำที่ใช้เรียก “นอร์ส” ที่มาจากไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ผู้ยอมรับวัฒนธรรมเกลส์", "title": "ชาวนอร์ส" }, { "docid": "227195#12", "text": "การตั้งถิ่นฐานของชาวแองโกล-นอร์มันในอังกฤษเลยไปถึงการตั้งถิ่นฐานในเวลส์ และทำให้เกิดการสร้างป้อมปราการหลายป้อมโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดีเพื่อปราบปรามชาวเวลส์แต่ก็ไม่ทรงประสบความสำเร็จเท่าใดนัก หลังจากนั้นดินแดนที่เป็นพรมแดนระหว่างเวลส์และอังกฤษที่เรียกว่ามาร์ชก็ได้รับอิทธิพลจากนอร์มันมากขึ้น นอกจากการตั้งถิ่นฐานแล้วก็ยังมีการเผยแพร่คริสต์ศาสนาเข้าไปในเวลส์โดยนักบวชในนิกายเช่นซิสเตอร์เชียนที่มาจากฝรั่งเศสและนอร์ม็องดี ที่ไปตั้งสำนักสงฆ์ในบริเวณต่างๆ ทั่วเวลส์ ภายในคริสต์ทศวรรษ 1400 ผู้ดีชาวเวลส์จำนวนมากก็มีเชื้อสายนอร์มัน นอกจากนั้นอัศวินแคมเบอร์-นอร์มันที่ไปรุกรานไอร์แลนด์ก็มาจากที่มั่นในเวลส์", "title": "อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน" }, { "docid": "227195#7", "text": "เจ้านายนอร์มันรุ่นต่อๆ มาที่เติบโตขึ้นในอังกฤษก็เริ่มรับวัฒนธรรมแซ็กซอนบางอย่างเข้ามาใช้เช่นการไว้ผมยาวขึ้นหรือการไว้หนวดซึ่ทำให้เป็นที่ไม่ค่อยพึงพอใจในบรรดาเจ้านายนอร์มันรุ่นเก่า (คำว่า “cniht” (อัศวิน) ในภาษาแองโกล-แซกซัน มิได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “chevalier” (ความเป็นอัศวิน/ความเป็นวีรบุรุษ) ของการใช้คำเดียวกันในฝรั่งเศสมาจนกระทั่งปลายยุคกลาง ในคริสต์ศตวรรษที่ 14, นักปรัชญาจอห์น ไวคลิฟฟ์ (John Wycliffe) ใช้คำว่า “knyytis” (อัศวิน) ในการกล่าวถึงผู้ถืออาวุธเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษ 15 เท่านั้นที่คำว่า “อัศวิน” (knight) เริ่มจะมีความหมายเป็นนัยยะว่าหมายถึงนายทหารม้าผู้เป็นเจ้านายและมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า “ความเป็นอัศวิน” (Chivalry) มากขึ้น)", "title": "อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน" }, { "docid": "224275#1", "text": "ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์", "title": "นอร์มัน" }, { "docid": "224265#0", "text": "นอร์มัน อาจจะหมายถึงใช้เป็นชื่อคนหรือสถานที่", "title": "นอร์มัน (แก้ความกำกวม)" }, { "docid": "158835#0", "text": "ราชวงศ์นอร์มัน () เป็นชื่อของราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษตั้งแต่ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ ในปีค.ศ. 1066 มาจนถึงราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทในปี ค.ศ. 1154 ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นอร์มันคือสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ พระมหากษัตริย์ราชวงศ์นอร์มันพระองค์อื่น ๆ มีดังนี้:", "title": "ราชวงศ์นอร์มัน" }, { "docid": "157774#0", "text": "แองโกล-แซกซัน () เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี ค.ศ. 1066 ปัจจุบันคำว่า \"แองโกล-แซกซัน\" มีความหมายรวมถึงชนพื้นเมืองชาวบริตันโบราณที่รับเอาบางส่วนของวัฒนธรรม และภาษาของพวกแองโกล-แซกซันมาใช้", "title": "ชาวแองโกล-แซกซัน" } ]
856
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "38039#2", "text": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 50 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ 3 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา พระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก เวลา 5 โมงเช้า 40 นาที ซึ่งตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 โดยได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชหัตเลขามีดังนี้", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" }, { "docid": "38039#0", "text": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกพระนามว่า \"สมเด็จพระนางเรือล่ม\" (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423) มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์” เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ประสูติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 เป็นพระเจ้าลูกเธอรุ่นเล็ก ลำดับที่ 50 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระขนิษฐาร่วมพระโสทรทั้ง 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" }, { "docid": "38039#3", "text": "\"\"ศุภมัสดุ สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้บิดา ขอตั้งนามบุตรีหญิงซึ่งประสูติแต่เปี่ยมเป็นมารดา ในวันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก โทศก นั้นว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้า สุนันทากุมารีรัตน์\"\"", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" } ]
[ { "docid": "38039#1", "text": "พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม ณ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (ปัจจุบันนี้คือ วัดกู้) พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี พระราชธิดา และพระราชบุตรในพระครรภ์ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาอีกด้วย ระหว่างการตามเสด็จฯพระบรมราชสวามีแปรพระราชฐานไปประทับยังพระราชวังบางปะอิน ภายหลังการสิ้นพระชนม์ ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ดำรงพระฐานันดรศักดิ์พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" }, { "docid": "155175#0", "text": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี (ประสูติ: 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 — สิ้นพระชนม์: 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี", "title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี" }, { "docid": "38039#17", "text": "ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกของพระองค์ โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้มีพระตำหนิเด่นชัด คือ มีติ่งที่พระกรรณข้างขวามาแต่แรกประสูติ จึงพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนียลักษณ์ อัครวรราชกุมารี ในการประสูติพระราชธิดาครั้งนี้ ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ดังต่อไปนี้", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" }, { "docid": "38039#24", "text": "พระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ ตั้งบำเพ็ญพระราชกุศลที่หอธรรมสังเวชภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันทิวงคต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระโกศทองใหญ่ซึ่งเป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสีและพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ ให้ทรงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ซึ่งถือเป็นการพระราชทานพระเกียรติยศแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ เป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้น ได้มีการจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพทั้ง 2 พระองค์ขึ้น ณ กลางทุ่งพระเมรุ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2424 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2424", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" }, { "docid": "70175#0", "text": "สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เดิมคือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สกุลเดิม: สุจริตกุล; ประสูติ: 5 มีนาคม พ.ศ. 2381 - พิราลัย: 13 เมษายน พ.ศ. 2447) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมารดาของพระอัครมเหสีไทยถึงสามพระองค์คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถือเป็นพระสัสสุ (แม่ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ของพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังเป็นพระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา" }, { "docid": "38039#29", "text": "ต่อมาในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 ให้เปลี่ยนพระนามเป็นจาก “สมเด็จพระนางเธอ” เป็น \"สมเด็จพระนางเจ้า\" (Queen) สุนันทากุมารีรัตน์ หลังจากนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" }, { "docid": "38039#32", "text": "หลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีเสด็จทิวงคตแล้วนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้สร้างพระราชานุสรณ์ขึ้นหลายแห่ง เพื่อเป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ โดยแต่ละแห่งนั้น เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯเคยตามเสด็จฯ และทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ ได้แก่", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" }, { "docid": "12226#2", "text": "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (ภายหลังเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) ประสูติแต่หม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม: สนิทวงศ์) เมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) บ้านเลขที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร อันเป็นบ้านของพระอัยกาฝ่ายพระมารดา มีพระเชษฐาสองคนคือหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์และหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ และมีพระกนิษฐาคนหนึ่งคือท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" } ]
858
สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "521504#0", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย (Zewditu I, Zawditu หรือ Zauditu; อักษรกีเอส:ዘውዲቱ ; 29 เมษายน พ.ศ. 2419 - 2 เมษายน พ.ศ. 2473) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเอธิโอเปียตั้งแต่พ.ศ. 2459 ถึงพ.ศ. 2473 ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐที่เป็นสตรีพระองค์แรกแห่งรัฐที่เป็นที่รู้จักอย่างสากลในทวีปแอฟริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 พระนางเป็นที่จดจำในฐานะทรงเป็นผู้ทำการต่อต้านการปฏิรูปของเจ้าชายตาฟารี มาคอนเนน (ต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย) และพระนางทรงอุทิศเพื่อพระศาสนาอย่างแรงกล้า", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" } ]
[ { "docid": "521504#10", "text": "รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งมีความก้าวหน้าที่แตกต่างในภาพรวมที่ค่อยๆกว้างขึ้นระหว่างพระนางและรัชทายาทที่ทรงแต่งตั้ง เจ้าชาย(ราส)ตาฟารี มาคอนเนน เจ้าชายตาฟารีทรงเป็นนักปฏิรูป ทรงเชื่อว่าเอธิโอเปียจำต้องเปิดประเทศสู่โลกเพื่อให้อยู่รอดได้ ในเรื่องนี้พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางหนุ่มมากมาย อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเป็นนักอนุรักษนิยมทรเชื่อในการปกปักรักษาวัฒนธรรมประเพณีเอธิโอเปีย พระนางทรงได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคริสตจักรในความเชื่อนี้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเริ่มถอนพระองค์จากบทบาททางการเมืองอย่างช้าๆ และทรงปล่อยให้อำนาจของเจ้าชายตาฟารีมีมากขึ้นและมากขึ้น ภายใต้การบริหารราชการของเจ้าชายตาฟารี ทรงนำเอธิโอเปียเข้าร่วมสันนิบาตชาติและทรงประกาศยกเลิกระบบทาส สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเอาพระทัยใส่ในกิจกรรมทางศาสนา ดังเช่น ทรงสร้างโบสถ์มากมาย", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#8", "text": "ในขณะที่ชนชั้นสูงเอธิโอเปียซึ่งเป็นพวกอนุรักษนิยมโดยทั่วไปได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้แสดงความกระตือรือร้นน้อยเกี่ยวกับพระญาติของพระนางซึ่งมีมากมาย สมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวงเตย์ตู เบตุล พระมารดาเลี้ยงของพระนางเซาดีตูและเป็นพระปิตุจฉาในพระสวามีของพระนาง ได้เสด็จออกจากเมืองหลวงหลังการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แต่ยังทรงมีความคลางแคลงพระทัยจากการที่ทรงทำการเล่นพรรคเล่นพวกอย่างเห็นได้ชัดซึ่งพระนางทรงกระทำการเป็นประจำในรัชสมัยของอดีตพระราชสวามี จากความพยายามที่จะขจัดอิทธิพลของสมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวง กลุ่มชนชั้นสูงได้กระทำการแต่งตั้งพระนัดดาของพระนาง(เจ้าชาย[ราส] กักซา เวลเล พระสวามีของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู)ให้ไปเป็นข้าหลวงปกครองในที่ห่างไกลเพื่อขจัดเจ้าชายออกจากอิทธิพลในราชสำนัก การกระทำการครั้งนี้ถือเป็นการต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวงเตย์ตู เบตุลแทนที่จะต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งเชื่อว่าสร้างความขุ่นเคืองพระทัยสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูอย่างมาก สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูยังต้องทรงทนรับความรู้สึกผิดต่อการที่ทรงยึดพระราชบัลลังก์มาจากสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซู ซึ่งขณะนี้คือ เจ้าชายลิจ อิยาซู ผู้ซึ่งพระราชบิดาของพระนางมีพระราชประสงค์ให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ในขณะที่พระนางทรงเชื่อว่าการยึดอำนาจสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูเป็นสิ่งที่จำเป็น พระนางทรงมีความเคารพในพระราชบิดาของพระนางอย่างมาก และไม่ทรงมีความสุขจากการที่ขัดพระราชประสงค์ของพระราชบิดา การที่ทรงต้องแยกจากพระราชสวามีและทรงรู้สึกผิดต่อการยึดราชบัลลังก์สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทำให้พระนางเซาดีตูไม่ทรงมีความสุขในขณะที่ดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ เป็นที่น่าสนใจแม้ว่า อดีตสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงปฏิบัติต่อพระนางอย่างน่ารังเกียจ แต่พระนางทรงให้ความรักและเอ็นดูอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซู พระราชนัดดาองค์นี้ยิ่ง และมีการกล่าวกันว่าทรงร่ำไห้อย่างข่มขื่นพระราชหฤทัยเมื่อมีการกล่าวว่าพระนางได้กลายเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถในขณะที่พระราชนัดดาของพระนางทรงถูกบัพพาชนียกรรมจากการที่ทรงเลิกศรัทธาในศานาคริสต์ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงพยายามละออกจากความรับผิดชอบหลักๆเหล่านี้อย่างมากขึ้นโดยทรงเข้าสู่โลกทางธรรมโดยการถือศีลอดและการสวดมนต์ จากการที่ทรงเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่ทรงได้รับการสืบทอดมา เจ้าชายราสตาฟารี มาคอนเนนจึงสามารถเข้ามามีอำนาจและอิทธิพลในราชสำนักได้", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#5", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2456 เจ้าชายลิจ อิยาซู พระราชโอรสในเจ้าหญิงชีวา เร็กกา พระขนิษฐาต่างมารดาของเจ้าหญิงเซาดีตู ซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2452 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปียแต่ยังไม่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงเกรงว่า เจ้าหญิงเซาดีตูผู้เป็นพระมาตุจฉาทรงทำการคุกคามพระราชอำนาจโดยชอบธรรมของพระองค์ พระองค์จึงมีพระราชโองการให้เนรเทศเจ้าหญิงเซาดีตูและพระสวามีออกไปอยู่ชนบท อีกทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูยังทรงเนรเทศสมเด็จพระจักรพรรดินีเตย์ตู เบตุล ผู้เป็นพระอัยยิกาเลี้ยงออกจากพระราชวังหลวงและให้ไปประทับที่พระราชวังเก่าบนภูเขาเอ็นโตโต", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#3", "text": "จากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสที่ 4 ในสมรภูมิกัลลาบัต (หรือ \"สมรภูมิเมเต็มบา\") จากการที่ทรงสู้รบกับมุสลิมมะห์ดีแห่งซูดาน เนกัสเมเนลิกแห่งชีวาทรงรับพระราชอำนาจและทรงดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปียในปีพ.ศ. 2432 เหตุการณ์ครั้งนี้ถ่อเป็นการฟื้นฟูสายสืบราชสันตติวงศ์บุรุษ ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ผ่านสายสันตติวงศ์สตรี ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 พระนางเซาดีตูจึงทรงสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายซึ่งเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์จากบุรุษแห่งราชวงศ์โซโลมอน เนื่องจากรัชทายาทของพระนางคือ สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย ทรงสืบราชสันตติวงศ์ผ่านทางสตรี", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#7", "text": "ในขั้นต้น สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูไม่มีพระราชอำนาจในการปกครองด้วยพระนางเอง พระราชอำนาจทรงถูกแทนที่ด้วยพระญาติของพระนาง เจ้าชาย(ราส)ตาฟารี มาคอนเนน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนายพลอาวุโสในสมัยพระราชบิดาของพระนาง \"ฟิตาวารี\"(ผู้บัญชาการทัพหน้า) ฮัปเต จิออร์จิส ดินักเด ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้าชายราสตาฟารีได้กลายเป็นองค์รัชทายาทในสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู เนื่องจากพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระนางเซาดีตูสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ทั้งสิ้น ในปีพ.ศ. 2471 หลังจากที่พระนางทรงพยายามถอดถอนเจ้าชายราสตาฟารีออกจากอำนาจแต่แผนการของพระนางล้มเหลว สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงถูกบังคับให้สถาปนาพระญาติองค์นี้ขึ้นเป็น \"เนกัส\" (กษัตริย์)", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#2", "text": "ในปีพ.ศ. 2429 เจ้าหญิงเซาดีตูในพระชนมายุ 10 ชันษา ทรงอภิเษกสมรสกับ \"ราส\" อารายา เซลาสซี โยฮันเนส พระราชโอรสและทรงเป็นองค์รัชทายาทในสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสที่ 4 แห่งเอธิโอเปีย เป็นการอภิเษกสมรสทางการเมืองซึ่งถูกจัดการเมื่อเนกัสเมเนลิกทรงยอมรับในพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนส ในที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสและเนกัสเมเนลิกทรงขัดแย้งกันอีกครั้ง ซึ่งเนกัสเมเนลิกทรงก่อการกบฏต่อต้านพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนส พระชนม์ชีพการอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเซาดีตูไม่มีพระโอรสและพระธิดาร่วมกัน เนื่องจากยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะอภิเษกสมรส ถึงแม้ว่าพระสวามีของพระนางจะมีพระโอรสกับสตรีอื่น เมื่ออารายา เซลาสซีสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2431 พระนางทรงออกจากเมืองเมเคเลและทรงกลับไปยังราชสำนักของพระราชบิดาในชีวา แม้ว่าเนกัสเมเนลิกกับสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสจะทรงเป็นอริต่อกัน เจ้าหญิงเซาดีตูทรงจัดการกับความขัดแย้งให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน\nเจ้าหญิงเซาดีตูทรงอภิเษกสมรสครั้งที่ 2 กับ ราส กักซา เวลเล กักซา เวลเลเป็นพระราชนัดดาในพระนางเตย์ตู พระมารดาเลี้ยงของเจ้าหญิงเซาดีตู เจ้าหญิงเซาดีตูทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระนางเตย์ตู แต่การสร้างความสัมพันธ์ทางตรงกับทั้งสองสามารถทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นขึ้นได้ ไม่มีพระชนม์ชีพในการสมรสของพระนางเมื่อครั้งก่อน การอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเซาดีตูกับกักซา เวลเลคาดว่าเป็นไปอย่างมีความสุข", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#11", "text": "ในปีพ.ศ. 2471 เกิดการลุกฮือเล็กน้อยเพื่อต่อต้านการปฏิรูปของเจ้าชายตาฟารี ในการรัฐประหารเอธิโอเปียปีพ.ศ. 2471โดยฝ่ายสนับสนุนสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู แต่ไม่สำเร็จ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงถูกบังคับให้ยอมรับเจ้าชายตาฟารี ผู้ซึ่งตอนนี้สามารถควบคุมรัฐบาลส่วนใหญ่ได้แล้ว ด้วยตำแหน่ง \"เนกัส\" (กษัตริย์) ในขณะที่เนกัสตาฟารีทรงอยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู (ซึ่งตอนนี้ยังทรงเป็น \"Negiste Negest\", \"ราชินีแห่งปวงราชันย์\" หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ) ตอนนี้เนกัสตาฟารีสามารถปกครองเอธิโอเปียอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพยายามหลายครั้งเพื่อมีอำนาจแทนที่พระองค์ แต่ทั้งหมดไม่ประสบความสำเร็จ ในปีพ.ศ. 2473 พระสวามีของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู เจ้าชาย(ราส)กักซา เวลเลทรงก่อกบฏในกบฏกักซา เวลเลเพื่อต่อต้านเนกัสตาฟารีที่เบเกมเดอร์เพื่อยุติการสำเร็จราชการของเนกัสตาฟารีทั้งๆที่พระมเหสีทรงทั้งอ้อนวอนและมีพระราชโองการให้พระองค์หยุดต่อต้าน แต่เจ้าชายกักซา เวลเลทรงพ่ายแพ้และสิ้นพระชนม์ในสนามรบโดยกองทัพปฏิรูปเอธิโอเปียในสมรภูมิอันเชมในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2473\nในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2473 หลังจากเจ้าชายกักซา เวลเลสิ้นพระชนม์ในสนามรบ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน เป็นที่รู้กันในทุกวันนี้ว่าทรงพระประชวรด้วยโรคเบาหวานและทรงพระประชวนหนักด้วยไข้รากสาดน้อยแต่ในระดับสากลไม่เห็นด้วยกับสาเหตุการเสด็จสวรรคตของพระนาง ตามประวัติศาสตร์ที่เป็นที่นิยมบันทึกว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูเสด็จสวรรคตจากพระอาการช็อกและความเสียพระทัยที่ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชสวามี แต่ตามบันทึกอื่นๆโต้แย้งบันทึกนี้ ซึ่งบันทึกว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูไม่ทรงได้รับทราบผลการสู้รบก่อนที่จะเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน จากหลักฐานของคณะทูตในกรุงแอดดิส อบาบารายงานว่าในช่วงนั้นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งทรงพระประชวรทรงแช่พระองค์ในภาชนะขนาดใหญ่ที่ใส่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เย็นในการรักษาพระอาการประชวรของพระนางแต่พระวรกายของพระนางช็อกและและพระนางเสด็จสวรรคตหลังจากนั้นไม่นาน ช่วงเวลาการเสด็จสวรรคตของพระนางเกิดในทันทีหลังจากข่าวผลการสู้รบได้มาถึงในกรุงแอดดิส อบาบาได้ก่อให้เกิดการพิจารณาว่าเป็นสาเหตุที่พระนางเสด็จสวรรคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์รัชทายาทของพระนางโดยฝ่ายอนุรักษนิยม สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีทรงถูกกล่าวหาว่าเมื่อการจลาจลถูกปราบปรามอย่างเด็ดขาด พระองค์หรือผู้สนับสนุนพระองค์จะรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นในการวางยาพิษปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู การพิจารณาทฤษฎีการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#9", "text": "ช่วงต้นรัชกาลของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูได้มีการทำสงครามต่อต้านเจ้าชายลิจ อิยาซู อดีตจักรพรรดิ ซึ่งทรงหลบหนีออกจากสถานที่คุมขัง ทรงกลับไปพบพระราชบิดาของพระองค์ \"เนกัส\" มิคาเอลแห่งวอลโล อดีตจักรพรรดิอิยาซูทรงเข้าร่วมเพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์คืน แต่ทั้งสองพระองค์ไม่สามารถประสานกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ประสงค์ อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับชัยชนะในขั้นต้น พระราชบิดาของอดีตจักรพรรดิอิยาซูได้พ่ายแพ้และทรงถูกจับกุมในสมรภูมิเซกาเล องค์เนกัสทรงถูกล่ามโซ่ตรวนแห่ประจานรอบกรุงแอดดิส อบาบา ทรงต้องแบกหินสำนักผิดไว้บนพระอังสาก่อนที่จะทรงเข้าท้องพระโรงและทรงต้องจุมพิตพระบาทของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูเพื่อวิงวอนขอพระเมตตา องค์รัชทายาทแห่ราชบัลลังก์ เจ้าชายราสตาฟารี มาคอนเนนไม่ทรงอยู่ทอดพระเนตรเหตุการณ์นี้เพราะทรงเห็นพระทัยพระชายา ผู้ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในองค์เนกัสมิคาเอล หลังจากที่ทรงทราบเรื่องการพ่ายแพ้ของพระราชบิดา อดีตจักรพรรดิอิยาซูทรงหลบหนีไปยังแคว้นอะฟาร์ หลังจากหลายปีของการหลบหนี อดีตจักรพรรดิอิยาซูทรงถูกจับกุมโดย\"เดจาซมาซ\" (ผู้บัญชาการแห่งประตู) กักซา อารายา เซลาสซี พระราชโอรสในพระสวามีพระองค์แรกของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ประสูติแต่พระชายาพระองค์อื่น กักซา อารายาได้รับการแต่งตั้งเป็น \"ราส\" (เจ้าชาย)จากอดีตพระมารดาเลี้ยง และทรงมอบเจ้าหญิงเยชาชีว็อค ยิลมา พระราชนัดดาในเจ้าชายตาฟารี มาคอนเนนให้เป็นพระชายา เมื่ออดีตจักรพรรดิอิยาซูทรงถูกจับกุม สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงหลั่งพระเนตรร้องขอให้คุมขังอดีตจักรพรรดิไว้ในตำหนักพิเศษในบริเวณพระราชวังที่ซึ่งพระนางสามารถเห็นสภาพความเป็นอยู่และอดีตจักรพรรดิควรได้รับข้อเสนอแนะทางศาสนา พระนางต้องพบว่าเจ้าชายราสตาฟารีและ\"ฟิตาวารี\"(ผู้บัญชาการทัพหน้า) ฮัปเต จิออร์จิส ดินักเดยืนยันที่จะไม่รับข้อเสนอของพระนาง พระนางทรงกระทำได้เพียงให้อดีตจักรพรรดิได้รับพระกระยาหารที่พิเศษและทรงโปรดปรานและทรงจัดหาฉลองพระองค์และให้ความหรูหราเล็กๆแก่เจ้าชายลิจ อิยาซู ในสถานที่คุมขังที่เซลลาเล ในวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพของพระนาง ทรงกล่าวถึงพระราชนัดดาที่ถูกถอดถอนพระองค์นี้ว่า \"เกตาเย (องค์พระผู้เป็นเจ้า)อิยาซู\"", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#4", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิก พระราชบิดาของพระนางทรงสถาปนาพระราชอำนาจสูงสุดภายในและพระเกียรติยศสู่ภายนอก โดยพระองค์ทรงทำการขยายอาณาเขตของจักรวรรดิและสถาปนาจักรวรรดิสมัยใหม่ได้สำเร็จในปีพ.ศ. 2441 นอกจากนี้สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรวรรดินิยมอิตาลีภายใต้สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลีที่ทรงต้องการยึดเอธิโอเปียเป็นอาณานิคมซึ่งทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระเกียรติยศขจรขจายไกลจาก ชัยชนะในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 1 ณ สมรภูมิแอดวา ถือเป็นการรับรองอิสรภาพของเอธิโอเปียจากมหาอำนาจภายนอกและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยตัวแทนในราชสำนักสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกและสามารถอธิบายเขตแดนกันชนกับอาณานิคมอื่นๆได้", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" } ]
859
เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ รับบทโดยใคร?
[ { "docid": "25299#4", "text": "ผู้แสดงเป็นเฮอร์ไมโอนี่ในภาพยนตร์ทั้งเจ็ดภาค ได้แก่ นางสาวเอ็มม่า วัตสัน นักแสดงชาวอังกฤษ และเธอยังมีใบหน้าที่งดงามสวย จนทำให้หนุ่มๆในกองถ่ายหันมามองเลยทีเดียว", "title": "เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์" }, { "docid": "137619#0", "text": "เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสัน (; เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2533) เป็นนักแสดงหญิง นางแบบ และนักกิจกรรมหญิงชาวบริติช เกิดในปารีสและเติบโตในออกซฟอร์ดไชร์ วอตสันเข้าเรียนโรงเรียนดรากอนสกูลขณะเป็นเด็ก และเรียนการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์ สาขาออกซฟอร์ด เธอเป็นที่จดจำจากบทบาทการแสดงในบทเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ชุด\"แฮร์รี พอตเตอร์\" ปรากฏตัวในภาพยนตร์\"แฮร์รี พอตเตอร์\"แปดภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2554 โดยก่อนหน้านั้นเธอเคยแสดงเฉพาะละครในชั้นเรียน แฟรนไชส์ \"แฮร์รี พอตเตอร์\" ทำให้วอตสันมีชื่อเสียงทั่วโลก ได้รับคำยกย่อง และรายได้มากกว่า 10 ล้านปอนด์ เธอยังคงรับงานแสดงนอกจากภาพยนตร์\"แฮร์รี พอตเตอร์\" อีก เรื่องแรกคือพากย์เสียงในภาพยนตร์ \"การผจญภัยของเดเปอโร\" และปรากฏในภาพยนตร์โทรทัศน์ฉบับดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง \"รองเท้าบัลเลต์\" ตั้งแต่นั้นมา เธอได้รับบทในภาพยนตร์เรื่อง \"วัยป่วนหัวใจปึ้ก\" และ\"วัยร้าย วัยลัก\" ได้รับบทเป็นตนเองในฉบับ \"เกินจริง\" ปรากฏตัวชั่วครู่ในภาพยนตร์ \"วันเนี๊ย...จบป่ะ\" และรับบทเป็นบุตรบุญธรรมของตัวละครหลักในเรื่อง \"โนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก\"", "title": "เอ็มมา วอตสัน" } ]
[ { "docid": "25299#0", "text": "เฮอร์ไมโอนี่ จีน เกรนเจอร์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2522) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง", "title": "เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์" }, { "docid": "25299#2", "text": "เฮอร์ไมโอนี่เป็นเพื่อนสนิทของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ และรอน วีสลีย์ ที่โรงเรียนพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ เฮอร์ไมโอนี่และแฮร์รี่ พบกันครั้งแรกในหนังสือภาคแรก บนรถด่วนที่จะไปฮอกวอตส์โดยเฮอร์ไมโอนี่เข้ามาถามหาคางคกของเนวิลล์ ลองบัตท่อม", "title": "เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์" }, { "docid": "4336#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และ เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "235873#0", "text": "อเลสเตอร์ โครรี่ ตัวละครในการ์ตูนเรื่อง ดี.เกรย์แมน เคยอาศัยอยู่ที่ปราสาทกับปู่จนปู่ตายไป วันหนึ่งได้มีการติดต่อกับ ครอส มาเรียน และหลังจากนั้นโครรี่ก็ออกล่าอาคุม่า โดยไม่รู้ตัว โครรี่มีแผลในใจคือการฆ่าหญิงที่ตนรักคือเอริอาเด ซึ่งแต่ก่อนเธอเป็นคนรักของโครรี่ ต่อมาพวกอเลนมายังปราสาทของโครรี่และทำให้โครรี่ได้รู้ความจริงว่า เอริอาเดเป็นอาคุม่า โครรี่เลยจำใจฆ่าเอริอาเดตามสัญชาตญาณของอินโนเซ็นส์อินโนเซ็นส์ของโครรี่เป็นชนิดสิงสถิต อยู่ตามกระแสเลือดสามารถทำลายอาคม่าได้โดยใช้ฟันกัดบนตัวอาคม่าเพื่อดื่มเลือดของอาคม่าหรือนำเลือดใส่เข้าไปร่างของอาคุม่าก็ได้ และเลือดของอาคุม่าที่โครรี่กินไปสามารถเพิ่มพลังให้กับตัวโครรี่ได้", "title": "อเลสเตอร์ โครรี่" }, { "docid": "25299#11", "text": "\"เสกคาถาหรือร่ายคาถาได้ดีกว่าใคร\"", "title": "เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์" }, { "docid": "25299#7", "text": "มีใครเห็นคางคกบ้างมั้ยคนที่ชื่อเนวิลล์ทำหายหน่ะ", "title": "เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์" }, { "docid": "825134#2", "text": "คอเนอร์ โอมัลลีย์ (เลวิส แมคดูแกล) เป็นเด็กผู้ชายที่พยายามรักษาอาการป่วยไข้ของแม่ของเขา (เฟลิซิตี โจนส์) และมักถูกแฮร์รี่ (James Melville) เพื่อนที่อยู่โรงเรียนเดียวกับคอเนอร์กลั่นแกล้ง คืนหนึ่ง คอเนอร์พบกับ \"มอนสเตอร์\" (เลียม นีสัน) ซึ่งมีลักษณะเป็นต้นไม้ยิวขนาดยักษ์ที่มีรูปร่างเหมือนคนมาเล่านิทานให้คอเนอร์ฟัง และหลังจากนั้น ก็ได้ช่วยคอเนอร์แก้ไขปัญหาชีวิตต่างๆ ของเขาโฟกัส ฟีเจอร์ได้ซื้อลิขสิทธิ์ของหนังสือนวนิยายที่มีชื่อเหมือนกับภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อเดือนทีนาคม พ.ศ. 2557 แพทริก เนส เจ้าของหนังสือได้ทำหน้าที่เป็นผู้แต่งเนื้อเรื่องพร้อมกับเจ. เอ. บาโยนา ซึ่บทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557 เฟลิซิตี โจนส์ ได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยแสดงเป็นแม่ของคอเนอร์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ปีเดียวกัน เลียม นีสัน ได้ร่วมพากย์เสียงของมอนสเตอร์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ ได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยแสดงเป็นยายของคอเนอร์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม โทบี เคบเบล ก็ได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อวันที่ 3 กันยายน เนส ผู้เขียนเรื่อง ได้โพสต์ข้อความลงในทวิตเตอร์ของเขาว่า จะให้ เลวิส แมคดูแกล แสดงนำในภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน เจรัลดิน แชปลิน ได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้", "title": "มหัศจรรย์เรียกอสูร" }, { "docid": "872007#2", "text": "เนื้อหาของมิวสิกวีดิโอนี้ กำกับโดย ยุทธเลิศ สิปปภาค แสดงโดย กันต์ กันตถาวร ,ไอยวริญร์ ชื่นชอบ และจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี โดยเล่าถึง คู่รักคู่หนึ่งที่รักกันมาก แต่ด้วยเหตุผลอะไรไม่ทราบ ฝ่ายชายอยู่ดีๆก็เดินออกมาจากชีวิตฝ่ายหญิงโดยไม่ได้บอกอะไร และยังคงเป็นคำถามที่ยังค้างคาใจฝ่ายหญิง...จนกระทั่งวันหนึ่งฝ่ายชายได้ติดต่อมาเพื่อขอเจอเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่เขาจะจากโลกนี้ไป ฝ่ายหญิงตอบตกลงทันทีเพราะต้องการคำตอบที่ยังคงติดอยู่ในใจ เพียง 2 วันกับเวลาที่เหลืออยู่ของกันต์ เค้าเลือกที่จะดูแลคนที่เค้ารักเป็นครั้งสุดท้ายคำถามได้ถูกตอบด้วยแพทย์ที่ดูแลกันต์ในฐานะผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่กันต์เลือกที่จะตัดสินใจเดินออกมาจากคนรัก เพราะอยากให้เธอมีความสุข ได้เจอคนที่สามารถดูแลเธอได้ตลอดไป ส่วนเค้าที่กำลังจะตายคงทำได้แค่ส่งเธอให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ หลังจากที่คำถามถูกปลดล็อก เค้าทั้งคู่จึงเลือกที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอีกครั้งกับเวลาที่นับถอยหลังทุกนาที", "title": "โอ้เธอ" }, { "docid": "99132#3", "text": "ในเดือน มี.ค. 2543 เฮย์เดนได้รับคัดเลือกให้รับบท อนาคิน สกายวอล์กเกอร์ จากผู้เข้าคัดเลือก 400 คนรวมถึงลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ หลังจากทีมงานลงมติว่า ฝีมือและรูปร่างหน้าตาขึ้นกล้องเวลาประกบนางเอก นาตาลี พอร์ตแมน หลังจากนั้นเขาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง \"Life As A House\" รับบทเป็นลูกชายที่มีปมปัญหากับพ่อแม่ แสดงร่วมกับ เควิน ไคลน์ รับบทพ่อ คริสเตียน โธมัส สกอต รับบทแม่ ซึ่งจากบทนี้ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ", "title": "เฮย์เดน คริสเตนเซน" } ]
866
โทรศัพท์ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "40391#9", "text": "การสนทนาทางโทรศัพท์ไร้สายครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นในปี 1880 เมื่ออเล็กซานเดอร์ แกรฮ์ม เบลล์และชาร์ลส์ Sumner Tainter ได้คิดค้นและจดสิทธิบัตร photophone หรือโทรศัพท์ที่สนทนาทางเสียงแบบไร้สายผ่านลำแสงที่ถูกมอดูเลท (ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแคบๆ) ในยุคที่ห่างไกลจากสาธารณูปโภคที่ยังไม่มีอยู่สำหรับกระแสไฟฟ้าและแสงเลเซอร์ ที่ไม่ได้รับการยอมรับแม้แต่ในจินตนาการของนิยายวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีการใช้งานจริงสำหรับการประดิษฐ์ซึ่งเป็นข้อจำกัดอย่างมากจากความพร้อมของแสงแดดและสภาพอากาศที่ดี คล้ายกับการสื่อสารแบบแสงในพื้นที่ว่าง, photophone ต้องมีเส้นสายตาที่ชัดเจนระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณ หลังจากนั้นหลายสิบปีก่อนที่จะหลักการ photophone จะถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติเพื่อการสื่อสารทางทหารและต่อมาในการสื่อสารใยแก้วนำแสง", "title": "การสื่อสารไร้สาย" } ]
[ { "docid": "24448#7", "text": "\"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม\" พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือ เข้าออกในแม่น้ำ เจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ \nในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลัง เร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป", "title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่" }, { "docid": "8211#1", "text": "จดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1876 โดย อเล็กซานเดอร์ แกรฮ์ม เบลล์ และพัฒนาต่อ โดยคนอื่นๆมากมาย เครื่องโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ตัวแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้คนได้ใช้ในการพูดคุยกันโดยตรงในระยะทางที่อยู่ห่างกัน ระบบโทรศัพท์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อย่างรวดเร็วสำหรับธุรกิจ, รัฐบาลและ ผู้ประกอบการ และในปัจจุบัน เครื่องโทรศัพท์เป็นบางส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย", "title": "เครื่องโทรศัพท์" }, { "docid": "4817#17", "text": "โทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้งานทั่วโลกในปัจจุบันได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกโดย Alexander Graham Bell ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1876 สิทธิบัตรครั้งแรกอันนั้นของเบลล์เป็นสิทธิบัตรหลักของโทรศัพท์ จากสิทธิบัตรนี้สิทธิบัตรอื่นๆ ทั้งหมดสำหรับอุปกรณ์โทรศัพท์ไฟฟ้าและคุณสมบัติอื่นก็เริ่มไหลออกมา เครดิตสำหรับการประดิษฐ์โทรศัพท์ไฟฟ้าได้รับการโต้แย้งบ่อยๆและการถกเถียงใหม่เกี่ยวกับปัญหาได้เกิดขึ้นตลอดเวลา. เช่นเดียวกับสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่อื่นๆ เช่นวิทยุ,โทรทัศน์, หลอดไฟและดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ที่จะมีหลายนักประดิษฐ์ที่ได้ทำการทดลองบุกเบิกในการส่งผ่านเสียงทางสายที่ และปรับปรุงความคิดของกันและกัน อย่างไรก็ตาม นักประดิษฐ์ที่สำคัญคืออเล็กซานเดอ แกรฮ์ม เบลล์และการ์ดิเนอ กรีน ฮับบาร์ด ผู้ที่จัดตั้งบริษัทโทรศัพท์บริษัทแรกชื่อ Bell Telephone Company ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น American Telephone & Telegraph (AT&T) ณ เวลานั้นเป็นบริษัทโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก", "title": "โทรคมนาคม" }, { "docid": "228315#0", "text": "บัตรโทรศัพท์ทีโอที เป็นบัตรโทรศัพท์เริ่มมีการใช้ ในครั้งแรก เพื่อเพิ่มทางเลือกในการใช้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งในสมัยนั้นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังไม่แพร่หลาย ด้วยราคาและค่าบริการแพง ระบบโทรศัพท์สาธารณนะ จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้บริการ บัตรโทรศัพท์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งสะดวกในการใช้งาน ณ จุดที่ให้บริการ การซื้อขาย มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านค้า และร้านสะดวกซื้อ การออกแบบลักษณะของบัตรจะเป็นภาพต่างๆ เป็นชุดๆ ซึ่งทำให้นักสะสมได้เก็บสะสม จนเวลาผ่านไปบัตรโทรศัพท์ทีโอทีในปัจจุบันมีผู้นิยมใช้น้อยลง", "title": "บัตรโทรศัพท์ทีโอที" }, { "docid": "4817#23", "text": "การพัฒนาของโทรศัพท์ภาพเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีต่างๆที่ เปิดใช้งานการใช้วิดีโอแสดงสดพร้อมกับการสื่อสารโทรคมนาคมของเสียง แนวคิดของ โทรศัพท์ภาพเป็นที่นิยมครั้งแรกในช่วงปลายยุค 1870s ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แม้ว่าวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่จะยอมให้มีการทดลองด่วนที่สุดจะใช้เวลาเกือบครึ่งศตวรรษจึงจะสำเร็จได้ เรื่องนี้เป็นตัวเป็นตนครั้งแรกในอุปกรณ์ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นโทรศัพท์วิดีโอหรือโทรศัพท์ภาพและมันวิวัฒนาการมาจากการวิจัยอย่างเข้มข้นและการทดลองในสาขาการสื่อสารโทรคมนาคมที่หลายหลายเช่น โทรเลขไฟฟ้า, โทรศัพท์, วิทยุและ โทรทัศน์", "title": "โทรคมนาคม" }, { "docid": "18595#1", "text": "สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (เจ้ากรมกลาโหมในขณะนั้น) ได้ทรงดำรินำวิทยาการด้านการสื่อสารด้วย โทรศัพท์เข้ามาใช้ในไทยเป็นครั้งแรก โดยทดลองนำเครื่องโทรศัพท์มาติดตั้งที่กรุงเทพฯ และที่ปากน้ำจังหวัดสมุทรปราการ อาศัยสายโทรเลขที่กรมกลาโหมสร้างขึ้นสายแรก คือ กรุงเทพฯสมุทรปราการ เพื่อแจ้งข่าวเรือเข้าออกระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ", "title": "พ.ศ. 2424" }, { "docid": "24448#2", "text": "โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน", "title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่" }, { "docid": "441180#4", "text": "การพัฒนาของวิดีโอและโทรทัศน์เทคโนโลยีการส่งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเริ่มตั้งแต่ครึ่งหลังของ พ.ศ. 2463 เทคโนโลยีนี้ได้รับการผลักดันโดย AT&T เพื่อที่จะให้บริการเป็นส่วนเสริมจากการใช้โทรศัพท์ โดยมีหลายองค์การที่เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะดีกว่าการสื่อสารด้วยเสียงแบบธรรมดา อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีคล้ายกันนี้ถูกนำไปใช้กระจายเสียงโทรทัศน์สัญญาณแอนะล็อกมานานแล้ว", "title": "การโทรศัพท์ภาพ" }, { "docid": "111531#12", "text": "ต่างจากอาร์พาเน็ต X.25 นั้นมีให้ใช้ทั่วไปเพื่อการใช้งานทางธุรกิจด้วย X.25 ได้ถูกนำไปใช้ในเครือข่ายสาธารณะเข้าถึงได้ (public access network) โดยการหมุนโทรศัพท์ในยุคแรก ๆ เช่นคอมพิวเซิร์ฟและทิมเน็ต ใน ค.ศ. 1979 คอมพิวเซิร์ฟเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งมีบริการสอบถามแก้ไขปัญหาทางเทคนิคด้วย คอมพิวเซิร์ฟยังเป็นรายแรกที่ให้บริการสนทนาแบบเรียลไทม์ด้วยโปรแกรม CB Simulator นอกจากคอมพิวเซิร์ฟ ผู้ให้บริการเครือข่ายแบบหมุนโทรศัพท์รายอื่นมีอาทิ อเมริกาออนไลน์ และโพรดิจี นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (บีบีเอส) อีกหลายเครือข่าย เช่น ไฟโดเน็ต สำหรับไฟโดเน็ตนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นงานอดิเรก ซึ่งหลายคนในนั้นเป็นแฮกเกอร์และนักวิทยุสมัครเล่นตุ", "title": "ประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ต" } ]
867
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ใด ?
[ { "docid": "7078#0", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อักษรย่อ : ส.ก. /S.K.) เป็นโรงเรียนชายล้วนในระดับชั้น มัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง ห้องเรียนทั้งหมด 78 ห้อง นอกจากนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยยังโดดเด่นในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของศิษย์เก่าที่จบไปโดยเฉพาะด้านวิชาการ ภาษา และความเป็นผู้นำ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "216678#2", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านศุภาลัยบุรี ตำบล คลองสี่ อำเภอ คลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี โดยในปี 2534 คุณประทีป ตั้งมติธรรม ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหารบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) มอบที่ดินจำนวน 15 ไร่ ภายในหมู่บ้านศุภาลัยบุรี เพื่อจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในเครือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นโรงเรียนในโครงการจุดสกัดเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามประกาศจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พุทธศักราช 2536 และแต่งตั้งให้ นายวีระ กาญจนะรังสิตา มาปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต" }, { "docid": "216678#0", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1) สหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้ ตั้งอยู่เลขที่ 2/617 หมู่บ้านศุภาลัยบุรี ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และเป็นโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่ 5 ปัจจุบัน มีเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน 86.8 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 4 หลัง อาคารประกอบ 1 หลัง เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา มีการจัดชั้นเรียนแบบ 14-14-14/15-15-15", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต" }, { "docid": "377926#2", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยคุณวิกรม กรมดิษฐ์ เป็นผู้บริจาคพื้นที่ 25 ไร่ และเริ่มวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มอบหมายนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย มาบริหารงานและต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี\nปีการศึกษา 2542 เป็นการเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่โรงเรียนอื่นๆเปิดไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ มีจำนวนนัก เรียนทั้งหมด22คน โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทุกอย่างเหมือน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในปีแรกโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยส่งครูมาช่วสสอน3 วิชา และทางอมตะจ้างครูมาช่วยสอน สภาพโดยทั่วไปของโรงเรียน แห้งแล้ง เป็นป่าหญ้าคา ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงงบประมาณต่างๆก็ไม่มี ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากชุมชนบริเวณนี้ คอยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ\nปีการศึกษา 2543 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 คน ปีการศึกษานี้ได้รับ\nครูอัตราจ้างมาจำนวน 4 คน ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งหมดจึงได้รับความอนุเคราะห์จากทางอมตะ และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรวมถึงชุมชนในบริเวณนี้ ทางอมตะและโรงงานช่วยสร้างโรงอาหารให้ 1 หลังปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 160 คน ในปีการศึกษานี้ ได้ครูอัตราจ้างเพิ่มขึ้นอีก 8 อัตรา และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส่งครู มาช่วยสอน อีก 2 ท่าน และได้รับความร่วมมือจากท่านผู้ปกครองและชุมชนในการจัดทำห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน\nปีการศึกษา 2545 เปิดรับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 4 ห้องเรียน และเป็นปีแรกที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สายการเรียน คือ วิทย์-คณิต และสายศิลป์ – ภาษา ในปีการศึกษาได้มีอาคารชั่วคราวเพิ่มขึ้น อีก 1 หลัง จำนวน 6 ห้องเรียนอาคารห้องสมุด และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 1 หลัง และห้องน้ำหญิง จำนวน 6 ห้องโดยท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ บริจาคพร้อมโต๊ะ เก้าอี้ จากคุณสุรพล เตชะหรูวิจิตร\nปีการศึกษา 2546 ท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มอบให้พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ พลโทเฉลียว อักษรดี พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์ สร้างอาคารเรียน 4 ห้อง พร้อมสนามบาสเกตบอล 1 สนาม ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้น ม.5 จำนวน 2 แผนการเรียน คือ วิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา ม.4 จำนวน 3 แผนการเรียน คือวิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา และอังกฤษ- สังคม รับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 3 ห้องเรียน สร้างห้องดนตรีไทย 1 ห้อง และสนามวอลเลย์ 2 สนาม ในปีการศึกษา นี้มีครูจำนวน 24 คน และนักเรียนจำนวน 564 คน\nปีการศึกษา 2547 นายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้มอบหมายให้ พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ประสานงานกับ พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์และนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย ผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี เรื่องพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคเงินจำนวน 1,000,000 บาทเพื่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง 5 ห้องเรียน และนายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้ให้ชื่ออาคารเรียนนี้ว่า “อาคารศึกษาพัฒนามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ต่อมาคณะผู้ปกครองนักเรียน ได้ให้ความอนุเคราะห์ร่วมจัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 เพื่ออำนวยความสะดวกทำกิจกรรมในร่มของนักเรียน พร้อมกันนี้ ได้จัดสร้างอ่างล้างหน้าจำนวน 24 อ่าง ให้กับนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี อีกด้วย\nปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับความอนุเคราะห์จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยการประสานงานของผู้อำนวยการสมหมาย วัฒนคีรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับนายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเรื่องการสร้างอาคารอเนกประสงค์หลังเก่า ซึ่งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้งบประมาณในการสร้างอาคารใหม่ จึงรื้ออาคารหลังเก่า แต่ด้วยความห่วงใย ที่ทราบว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ยังไม่มีอาคารอเนกประสงค์เพียงพอที่จะรองรับการทำกิจกรรมให้กับนักเรียน จึงได้ขออาคารนี้ กับผู้รับเหมาให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ขายให้กับผู้รับเหมาไปแล้วทั้งนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับความอนุเคราะห์เรื่องการขนย้าย โครงการอเนกประสงค์และอิฐตัวหนอน จากพลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์กับพลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงศ์ ด้วยการนำทหารมาช่วยเหลือ ทำให้ภารกิจนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี\nปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับงบในการสร้างอาคารเรียนถาวรจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 5,900,000 บาท ( ห้าล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ในการสร้างอาคารเรียนถาวร 4 ชั้น 12 ห้องเรียน", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี" }, { "docid": "956302#0", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ หรือมีชื่อเรียกย่อๆ ว่า “สวนเพชร” () (อักษรย่อ: ส.ก.พ., S.K.PB.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสหศึกษา ในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่หก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ รหัสสถานศึกษา 1067380582 ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 13 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67250", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์" }, { "docid": "216678#62", "text": "เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณประตูโรงเรียนด้านทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหอประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อสวนกุหลาบ ก่อสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540-2541 โดยใช้เป็นที่ทำการของกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน แต่ในปัจจุบันกลุมบริหารงานกิจการนักเรียนได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารสิรินธร 3 แล้ว ปัจจุบันใช้เป็นเรือนพักสำหรับอาจารย์เวรที่ต้องประจำอยู่ที่โรงเรียน และเป็นสำนักงานโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จนกว่าการก่อสร้างอาคารโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จะแล้วเสร็จ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต" }, { "docid": "216678#36", "text": "ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง \nมีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต" }, { "docid": "7078#9", "text": "หลังจากออกย้ายจากพระบรมมหาราชวัง โรงเรียนสวนกุหลาบก็ได้เคลื่อนย้ายไปยังศาลา 4 หลัง ของวัดมหาธาตุด้านทิศเหนือเรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวัดมหาธาตุด้านทิศเหนือ เพื่อรอการก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ ซึ่งในช่วงนี้มีโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยอยู่ 2 ที่ ซึ่งอีกที่หนึ่งอยู่ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบไทยในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งโรงเรียนนี้คาดว่าเกิดจากการเคลื่อนย้าย ไปยังวัดมหาธาตุนั้นเคลื่อนย้ายไปไม่หมด ต่อมากระทรวงธรรมการได้งบประมาณในการสร้างที่ว่าการกระทรวงใหม่ และกระทรวงต้องการให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกหัดทดลองวิธีสอนและตำราเรียน จึงยกตึกหลังแรกใน 3 หลัง ให้เป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า ซึ่งจริงๆ กระทรวงต้องการให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษมารวมกันที่นี่ แต่สถานที่คับแคบไป จึงนำมาเฉพาะโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยเพียงฝ่ายเดียว ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 กระทรวงธรรมการ ได้ย้ายสถานที่ใหม่ ดังนั้นโรงเรียนสวนกุหลาบจึงต้องย้ายด้วย ซึ่งได้ย้ายไปอาศัยอยู่ ณ บริเวณศาลาวัดมหาธาตุด้าน ใต้เป็นการชั่วคราว จนกระทั่งย้ายมาอยู่ที่โรงเลี้ยงเด็กริมคลองมหานาค (โรงเรียนสวนกุหลาบโรงเลี้ยงเด็กริมคลอง มหานาค) หลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยได้ย้ายไปตามสถานที่ต่างๆ ถึง 5 แห่ง โรงเรียนสวนกุหลาบก็ได้กลับมารวมอีกครั้งที่ \"ตึกแถวหลังยาววัดราชบูรณะ\" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมโยธาธิการออกแบบ แล้วใช้งบประมาณของวัดราชบูรณะเพื่อเช่าสถานที่ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กำหนดเป็นโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาพิเศษ แล้วให้ชื่อว่า \"โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย\" และการรวมตัวครั้งนี้เป็นการรวม \"สวนกุหลาบ\" ทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษด้วยหลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย ย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังไปแล้ว แต่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษยังคงอยู่ในพระบรมหาราชวัง โดยย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่ตึก 2 หลังริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย เรียกว่า \"โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบริมพระที่นั่งสุทธัยสวรรค์\" ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ วังพระองค์เจ้าภานุมาศ ซึ่ง หมายถึง \"วังหน้า\" เดิมในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า โดยอาศัยเก๋งจีนที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สอน หลังจากอาศัยอยู่ที่นี่ช่วงหนึ่ง ก็ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่สตรีสวนสุนันทาลัย ( ปากคลองตลาด ) เนื่องจากโรงเรียนนี้มีนักเรียนน้อยลงเรื่อยๆ จำต้องปรับปรุง มีการพักการเรียนการสอนไว้ก่อน โรงเรียนสวนกุหลาบซึ่งยังไม่มีสถานที่แน่นอน จึงได้ย้ายมา เปิดการสอนเป็นชั่วคราว เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย จนกระทั่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้มีหนังสือขอพระราชทานที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัยเพื่อปรับปรุงให้เป็น \"โรงเรียนราชินี\" โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัยจึงได้ย้ายมารวมอยู่กับโรงเรียนเทพศิรินทร์ เพราะว่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนครั้งใหญ่ ใช้งบประมาณในการสร้างโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบแห่งใหม่ โดยมีข้อตกลงในการก่อสร้าง \"ตึกแม้นนฤมิตร์\" เป็นตึกเรียนหลังใหม่ และให้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบตึกแม้นนฤมิตร์ ทั้งนี้โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้กรมศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาก่อสร้าง ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์ตึกแม้นนฤมิตร์แทน โดยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าพระองค์ได้ออกเงินเพียงส่วนน้อยเท่านั้น", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" }, { "docid": "370765#1", "text": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ (สวนจิรประวัติ) เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์" }, { "docid": "216678#58", "text": "ตั้งอยู่ระหว่างอาคารสิรินธร 1 และอาคารสิรินธร 3 แต่เดิมเป็นเพียงแค่สนามบาสเก็ตบอล ในปีพ.ศ. 2551 (สมัยผอ.พีระ ชัยศิริ) ได้ทำการสร้างหลังคาคลุมพื้นที่ทั้งหมด และในปีพ.ศ. 2555ได้ทำการปรับปรุงยกระดับพื้นที่ให้เท่ากับพื้นอาคาร ชั้น 1 ของทั้ง 3 อาคาร อาคารโดมเอนกประสงค์ใช้ประโยชน์ในการจัดงานพิธีการสำคัญๆ เช่น งานวันเฉลิมพระเกียรติฯ 12 สิงหาคม และ 5 ธันวาคม , งานวันไหว้ครู , งานเปิดลานวิชาการบ้านสวนฯรังสิต เป็นต้น", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต" } ]
868
พีระมิดคูฟู ถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "100620#0", "text": "พีระมิดคูฟูหรือ พีระมิดคีออปส์ นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า มหาพีระมิดแห่งกีซา () เป็น พีระมิดในประเทศอียิปต์ที่มีความใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุด ในหมู่พีระมิดทั้งสามแห่งกีซา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัย ฟาโรห์คูฟู (Khufu) แห่ง ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งปกครองอียิปต์โบราณ เมื่อประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล หรือกว่า 4,600 ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาพระศพ ไว้รอการกลับคืนชีพ ตามความเชื่อของชาวอียิปต์ในยุคนั้น มหาพีระมิดนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นหนึ่งเดียว ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "พีระมิดคูฟู" } ]
[ { "docid": "100620#18", "text": "เคยมีการกล่าวเอาไว้ว่าการสร้างพีระมิดแห่งเมืองอียิปต์นั้นอาจจะไม่ใช่ฝีมือของมนุษย์ในสมัยของอียิปต์โบราณ แต่อาจจะเป็นฝีมือของชาวแอตแลนติส ที่ได้สร้างเอาไว้ \" (ดูจากบทความ \"แอตแลนติส\") \" ทำให้มีหลายแนวความคิดที่แสดงให้เห็นว่าปิรามิดได้ถูกสร้างขึ้นโดยมีนัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโลก ดังจะเห็นได้จากคำนิยามของคำว่า \"ปิรามิด\" จากนักปราชญ์หลายท่าน เช่น อาร์คิเมดิส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกได้ให้นิยามของ \"ปิรามิด\" ดังนี้หากเปรียบเทียบน้ำหนักของ พีระมิดคูฟู กับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กอย่าง ตึกเอ็มไพร์สเตท (Empire State Building) อดีตตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลก ซึ่งมีน้ำหนักรวม 365,000 ตัน จะพบว่า พีระมิดคูฟู มีน้ำหนักมากกว่า ตึกเอ็มไพร์สเตท ถึงประมาณ 16 เท่าครึ่ง และเมื่อเทียบกับ อาคารไทเป 101 (Taipei 101) อาคารสูงที่สุดในโลก ณ ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ซึ่งมีน้ำหนักรวม 700,000 เมตริกตัน พีระมิดคูฟู ยังคงมีน้ำหนักมากกว่า อาคารไทเป 101 ถึง 8 เท่าครึ่ง", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100620#20", "text": "แต่หากต้องการสร้าง หมู่พีระมิดกีซา ทั้งหมดขึ้นมาใหม่ให้ครบทั้ง 3 หลัง นั่นหมายถึงจะต้องใช้งบประมาณกว่า 120,000 ล้านบาท และเป็นที่แน่นอนว่า หากไม่อาศัยเครื่องจักร และระบบขนส่งสมัยใหม่ การก่อสร้างมหาพีระมิดคูฟูเพียงหลังเดียว ซึ่งเปรียบได้กับการย้ายภูเขาด้วยแรงมนุษย์ ก็ยังยากจะเป็นไปได้ แม้ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะใช้งบประมาณมากมายเพียงใดก็ตาม", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100620#19", "text": "พีระมิดแห่งกีซา ยังจัดเป็นงานระดับอภิมหาโปรเจกต์แม้ในยุคปัจจุบัน มีผู้ประเมินว่าหากทำการก่อสร้างพีระมิดคูฟูขึ้นใหม่เพียงหลังเดียว โดยเลือกพื้นที่ รัฐแอริโซนาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับสถานที่ก่อสร้างพีระมิดเดิม แต่ได้เปรียบที่มีทางรถไฟสะดวกในการขนส่งวัสดุก่อสร้าง และใช้รถโฟค์ลิฟ 400 คัน เครนก่อสร้าง 20 ตัว และเฮลิคอปเตอร์ขนส่งอีก 1 ลำ โดยใช้หินปูนจากเหมืองหินสมัยใหม่รวม 4 แห่ง พร้อมทั้งงบประมาณอีกราว 45,000 ล้านบาท จะสามารถระดมก่อสร้างมหาพีระมิดคีออปส์ขึ้นมาได้ภายในเวลา 5 ปี", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100620#1", "text": "เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยของฟาโรห์คูฟู มหาพีระมิด มีความสูงถึง 147 เมตร (481 ฟุต หรือประมาณเท่ากับอาคารสูง 40 ชั้น เมื่อคิดความสูงที่ชั้นละ 3.5 เมตร) นับจากก่อสร้างแล้วเสร็จ พีระมิดคูฟูนับเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลก เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 43 ศตวรรษ จนกระทั่ง มีการก่อสร้าง มหาวิหารลินคอล์น (Lincoln Cathedral) ที่ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมียอดวิหารสูง 160 เมตร ในปี พ.ศ. 1843 (ค.ศ. 1300) ซึ่งต่อมายอดวิหารนี้ถูกพายุทำลายในปี พ.ศ. 2092 (ค.ศ. 1549) แต่ขณะนั้นส่วนยอดพีระมิดคูฟูก็สึกกร่อนลงจนมีความสูงไม่ถึง 140 เมตร ทำให้ วิหารเซนต์โอลาฟ (St. Olav's Church) ในประเทศเอสโตเนีย ซึ่งเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1519) กลายเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลกด้วยความสูงของยอดวิหาร 159 เมตร ปัจจุบันมหาพีระมิดมีความสูง ประมาณ 137 เมตร ซึ่งต่ำกว่าเมื่อแรกสร้างประมาณ 10 เมตร และรัฐบาลอียิปต์ได้ดำเนินการติดตั้ง โครงโลหะเพื่อแสดงถึงความสูงที่แท้จริง ขณะก่อสร้างแล้วเสร็จ ไว้ที่ส่วนยอดของ มหาพีระมิดคูฟู", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100620#17", "text": "มีเรื่องน่าสังเกตอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับความเชื่อแต่เดิมที่ว่า พีระมิด ก่อสร้างขึ้นด้วยแรงงานทาส โดยมีการบังคับกดขี่ทาสอย่างทารุณ ทั้งหมดเป็นเพียงจินตนาการในวงการบันเทิง เมื่อหลักฐานที่พบในเวลาต่อมาบ่งชี้ว่า แรงงานที่มาก่อสร้างพีระมิดเป็นชาวอียิปต์ที่ทำงานด้วยความสมัครใจในระหว่างว่างเว้นจากงานเกษตรกรรม โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นอาหาร เช่น หัวไชเท้าและกระเทียม และในกรณีที่ทำงานได้มากจะมีการจดบัญชีเพื่อจ่ายค่าตอบแทนให้ในรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งจากหลักฐานที่พบใหม่ๆ คือแรงงานที่มาก่อสร้างมีการจัดตั้งกันแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามลำดับชั้น และมีการกำหนดหน้าที่ให้กับแต่ละกลุ่ม คล้ายกับโครงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งสำหรับเมื่อ 4,600 ปีก่อนนับว่าชาวอียิปต์มีความล้ำหน้าอารยธรรมอื่นๆ ในยุคเดียวกันมาก", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100905#3", "text": "นั่นคือเป็นไปได้ว่า เดิมการก่อสร้าง พีระมิดเมนคูเร อาจมีความตั้งใจสร้างให้มีขนาด เท่ากับพีระมิดแห่งกีซา 2 หลังก่อน แต่ต่อมาตัดสินใจก่อสร้าง เป็นขนาดเล็กอย่างที่เห็นปัจจุบัน\nพีระมิดในประเทศอียิปต์ เป็นหนึ่งในพีระมิดที่เป็นที่รู้จักโดยมีหลายแห่งในประเทศอียิปต์ เป็นสิ่งก่อสร้างของชาวอียิปต์โบราณสมัยก่อนยุคเหล็ก โดยเฉพาะ พีระมิดคูฟู ใน หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า นับเป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ที่สุด ที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่น่าอัศจรรย์ของอียิปต์โบราณ", "title": "พีระมิดเมนคูเร" }, { "docid": "901797#2", "text": "พีระมิดแห่งแรกในดาห์ชูร์ คือ พีระมิดหักงอ (สร้างเมื่อประมาณ 2613 - 2589 ก่อนคริสต์ศักราช) สร้างขึ้นภายใต้การปกครองของฟาโรห์สเนเฟรู เป็นการสร้างพีระมิดด้านเรียบ แต่ไม่ประสบการสำเร็จคือพีระมิดมีลักษณะงองุ้ม จึงใช้เป็นที่ฝังพระศพไม่ได้ หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างพีระมิดแห่งแรก จึงทำให้ฟาโรห์สเนเฟรูทรงให้สร้างพีระมิดในดาห์ชูร์อีกคือ พีระมิดแดง เมื่อสร้างเสร็จพีระมิดได้รับการพิจารณาจะประสบความสำเร็จเพราะมันเป็นพีระมิดที่มีลักษณะเรียบด้านและพีระมิดมีความสูงประมาณ 341 ฟุต (104 เมตร) ทำมุมประมาณ 43 องศา ชื่อพีระมิดแดงของฟาโรห์สเนเฟรูก่อสร้างจากหินปูนสีแดง และมีข้อสันนิษฐานว่าพีระมิดนี้ อาจจะเป็นที่ฝังพระศพของฟาโรห์สเนเฟรู\nหลังจากสิ้นพระชนม์ของฟาโรห์สเนเฟรู พระโอรสของพระองค์ ฟาโรห์คูฟูได้สร้างพีระมิดแห่งที่สามขึ้น ซึ่งฟาโรห์คูฟูต้องการที่จะสร้างพีระมิดตามที่พระราชบิดาของพระองค์ ในการออกแบบและการก่อสร้างพีระมิดแห่งที่สามใช้ระยะเวลาประมาณ 23 ปี (ระหว่าง 2589-2566 ปีก่อนคริสตกาลคริสตศักราช) โดยมีความสูงประมาณ 481 ฟุต (147 เมตร) และทำมุมประมาณ 52 องศา และหลังจากนั้นก็มีฟาโรห์หลายพระองค์จนถึงราชวงศ์ที่ 12 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่สองได้สร้างพีระมิดขาวขึ้นในดาห์ชูร์ และพระราชนัดดาของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่สอง ฟาโรห์เซนุสเรตที่สามก็ได้สร้างพีระมิดสำหรับเป็นที่ฝังพระศพของพระองค์กับพระราชธิดาของพระองค์ ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่สามได้ก่อสร้างพีระมิดดำในดาห์ชูร์", "title": "ดาห์ชูร์" }, { "docid": "239987#1", "text": "การก่อสร้างพีระมิดนี้มอบหมายโดยฟร็องซัว มีแตร็อง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2527 ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป่ย สถาปนิกที่เคยรับผิดชอบการออกแบบ Miho Museum ที่ญี่ปุ่น โครงสร้างพีระมิดนี้สร้างขึ้นจากแผ่นกระจกทั้งหลัง มีความสูง 20.6 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละ 35 เมตร ประกอบขึ้นจากแผ่นกระจกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 603 แผ่น และแผ่นกระจกรูปสามเหลี่ยม 70 แผ่น\nพีระมิดและโถงทางเข้าที่อยู่ข้างใต้ สร้างขึ้นเนื่องจากทางเข้าเดิมของลูฟวร์ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้มาเยือนที่มีมากในแต่ละวันได้อีกแล้ว ผู้มาเยือนที่เข้าจากพีระมิดจะลงไปโถงทางเข้ากว้างขวาง แล้วกลับขึ้นไปยังอาคารหลักของลูฟวร์ พิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ เช่น Museum of Science and Industry ในชิคาโก การก่อสร้างพีระมิดและโถงทางเข้าใต้ดินดำเนินการโดย Dumez", "title": "พีระมิดลูฟวร์" }, { "docid": "100620#5", "text": "นอกจากนี้คนงานก่อสร้างพีระมิดคูฟูยังสามารถทำงานได้อย่างเที่ยงตรงน่าทึ่ง โดยหินตรงส่วนฐานของพีระมิดจัดวางได้เสมอกัน มีความคลาดเคลื่อน เพียงไม่ถึง 2.5 เซนติเมตร และแต่ละด้านของฐานพีระมิด มีความกว้างคลาดเคลื่อนจากกัน เพียงไม่เกิน 8 นิ้ว หรือคิดเป็นเพียง 0.09 % ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดงานก่อสร้าง และระดับเทคโนโลยีในขณะนั้น", "title": "พีระมิดคูฟู" } ]
869
ประเทศไทย ใช้สกุลเงินอะไร?
[ { "docid": "2712#0", "text": "เงินบาท (ตัวละติน: Baht ; สัญลักษณ์: ฿ ; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า \"บาท\" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น \"ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 15,000 บาท\" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 15,000 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน", "title": "บาท (สกุลเงิน)" } ]
[ { "docid": "17218#18", "text": "สกุลเงินที่ใช้คือโครนาไอซ์แลนด์ (króna – ISK) ออกโดยธนาคารกลางไอซ์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินด้วย ค่าเงินโครนามีความผันผวนกับสกุลเงินยูโรสูง จึงทำเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโรโดยไม่เข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพยุโรป จากการสำรวจในปี 2550 พบว่า 53% ของชาวไอซ์แลนด์สนับสนุนการร่วมใช้สกุลเงินยูโร 37% ต่อต้าน และ 10% ไม่ตัดสินใจ ไอซ์แลนด์มีอัตราการใช้จ่ายด้วยเงินสดในประเทศต่ำมาก (น้อยกว่า 1% ของ GDP) และนับได้ว่าเป็นประเทศที่ใช้ปัจจัยอื่นทดแทนเงินสดได้มากที่สุด ประชากรส่วนใหญ่ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแม้จะเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อย\nพลังงานทดแทน ได้แก่พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นส่วนประกอบถึงมากกว่า 70% ของการบริโภคพลังงานของไอซ์แลนด์", "title": "ประเทศไอซ์แลนด์" }, { "docid": "39196#1", "text": "ในหลายประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ฮ่องกง และดอลลาร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่นประเทศปานามา และ ประเทศเอลซัลวาดอร์ ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "196447#0", "text": "วอน คือสกุลเงินที่เกาหลีเหนือใช้เป็นสกุลเงินในปัจจุบัน ซึ่ง 1000 วอน เทียบเป็นเงินไทยประมาณ 35 บาท มีธนบัตรเพียง 9 แบบเท่านั้น คือ ธนบัตรใบละ 5 วอน ธนบัตรใบละ 10 วอน ธนบัตรใบละ 50 วอน ธนบัตรใบละ 100 วอน ธนบัตรใบละ 200 วอน ธนบัตรใบละ 500 วอน ธนบัตรใบละ 1000 วอน ธนบัตรใบละ 2000 วอน และ ธนบัตรใบละ 5000 วอนเกาหลีเหนือ เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธนบัตรแบบใหม่ออกมาใช้ โดย แบงค์ 5000 วอน เริ่มนำออกมาใช้เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2006 ส่วนธนบัตรใบละ 1000 และ 10000 วอน เริ่มออกมาใช้เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2007 นี้โดยธนบัตรแบบใหม่จะมีรูปร่างเล็กกว่าของเดิม", "title": "วอน (สกุลเงินเกาหลีเหนือ)" }, { "docid": "2712#1", "text": "เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ", "title": "บาท (สกุลเงิน)" }, { "docid": "5410#3", "text": "เงินยูโรยังสามารถใช้ในการชำระหนี้ในอาณาเขตนอกสหภาพยุโรปบางแห่ง ได้แก่ ประเทศโมนาโก ประเทศซานมารีโน และนครรัฐวาติกัน ซึ่งเคยใช้ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือลีราอิตาลีเป็นสกุลเงินทางการ ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาใช้สกุลยูโรแทนและได้รับสิทธิ์ในการผลิตเหรียญในสกุลยูโรในจำนวนเงินน้อย ๆ แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปก็ตาม", "title": "ยูโร" }, { "docid": "219194#3", "text": "ราชอาณาจักรสุโขทัย ล้านนา กรุงศรีอยุธยา ได้ผลิตคิดค้นเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ พร้อมกันนั้นก็ยอมรับเงินตราของต่างชาติด้วย เงินตราที่ใช้ในอาณาจักรล้านนา ได้แก่ เงินไซซี เงินกำไล เงินเจียง เงินท้อก เงินดอกไม้ ส่วนราชอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาได้ผลิตเงินพดด้วง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นใช้ และใช้เบี้ยหอยแทนเงินปลีกย่อย บางครั้งเบี้ยหอยขาดแคลนก็ได้ผลิตเบี้ยโลหะและประกับดินเผาขึ้นใช้ร่วมด้วย", "title": "ประวัติศาสตร์หน่วยเงินในประเทศไทย" }, { "docid": "7635#1", "text": "สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป", "title": "ดอลลาร์สหรัฐ" }, { "docid": "219194#13", "text": "นอกจากนี้ ยังพบว่าในสมัยสุโขทัยมีการนำโลหะชนิดอื่นซึ่งไม่ใช่โลหะเงิน เช่น ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี มาหลอมให้มีลักษณะคล้ายพดด้วงแต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกแตกต่างกัน เช่น พดด้วงชิน เงินคุบ เงินชุบ หรือเงินคุก รวมทั้งการใช้เบี้ยเป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำด้วย", "title": "ประวัติศาสตร์หน่วยเงินในประเทศไทย" }, { "docid": "264185#1", "text": "ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 สกุลเงินที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในกว้างขวางในอินเดียตะวันออกคือดอลลาร์​สเปน ซึ่งมาจากทั้งสเปนและอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกา ส่วนสกุลเงินที่ผลิตในท้องถิ่นก็มีอยู่บ้าง ได้แก่ กปิงกลันตัน กปิงตรังกานู และดอลลาร์ปีนัง", "title": "ดอลลาร์ช่องแคบ" } ]
870
ใครเป็นเทพเจ้าสูงสุดในตำนานเทพเจ้ากรีก?
[ { "docid": "74904#2", "text": "วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ \"ความเชื่อกรีกโบราณ\" ว่า \"ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์\"\nชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) \"ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ\" \nเฮซิออด \"กวี ธีโอโกนี\" ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ \"กวีโฮเมอริค\" พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ", "title": "ซูส" } ]
[ { "docid": "730786#2", "text": "เมื่อเจสัน, ไพเพอร์ และลีโอ ถูกนำตัวไปที่ค่ายฮาล์ฟบลัดแล้ว พวกเขาได้รับการยืนยันว่าเป็นมนุษย์กึ่งเทพ ผู้เป็นสายเลือดของเทพเจ้าในปกรณัมกรีก ดูเหมือนว่าเจสันเลือกที่จะนับถือเทพเจ้าในรูปแบบเทพเจ้าโรมันมากกว่าในรูปแบบเทพเจ้ากรีก ลีโอนั้นถูกเทพฮิฟีสตัสรับรองว่าเขาเป็นสายเลือดทันที ค้อนสีแดงที่ส่องแสงเป็นประกอปรากฏอยู่เหนือศีรษะจองเขาทันทีที่เขามาถึงค่ายฮาล์ฟบลัด ในคืนนั้น บริเวณรอบกองไฟ ไพเพอร์ได้รับพรจากเทพีแอโฟรไดที ซึ่งยืนยันว่าเธอเป็นธิดาแห่งแอโฟรไดที เธอเริ่มชิงดีชิงเด่นกับดริว ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าบ้านนิสัยเจ้ากี้เจ้าการ ทุก ๆ คนทราบว่าเจสันเป็นบุตรแห่งซุสหลังจากเขาสามารถเสกสายฟ้าได้ นอกจากนี้ เขสันยังเป็นน้องชายของธาเลีย ตัวละครหลักในวรรณกรรมชุดเพอร์ซีย์ แจ็กสัน เจสันจำธาเลียได้เมื่อเขาเห็นภาพของเธอในบ้านพักของบุตรแห่งซุส และรับรู้ได้ว่าจูโนได้ขโมยความทรงจำของเขาไป ไพเพอร์รู้สึกอิจฉาธาเลียในตอนแรก จนกระทั่งเธอรู้ว่าธาเลียเป็นพี่สาวแท้ ๆ ของเจสัน แอนนาเบ็ธพาเจสันไปพบโคลวิส บุตรแห่งฮิปนอส (เทพเจ้าแห่งการนอนหลับ) เพื่อที่จะค้นหาความทรงจำบางส่วนผ่านการนอนหลับ โคลวิสอธิบายให้เจสันฟังเรื่องความแตกต่างของเทพเจ้าในรูปกรีกและในรูปโรมัน", "title": "วีรบุรุษผู้สาบสูญ" }, { "docid": "741685#3", "text": "เมื่อเจสัน, ไพเพอร์ และลีโอ ถูกนำตัวไปที่ค่ายฮาล์ฟบลัดแล้ว พวกเขาได้รับการยืนยันว่าเป็นมนุษย์กึ่งเทพ ผู้เป็นสายเลือดของเทพเจ้าในปกรณัมกรีก ดูเหมือนว่าเจสันเลือกที่จะนับถือเทพเจ้าในรูปแบบเทพเจ้าโรมันมากกว่าในรูปแบบเทพเจ้ากรีก ลีโอนั้นถูกเทพฮิฟีสตัสรับรองว่าเขาเป็นสายเลือดทันที ค้อนสีแดงที่ส่องแสงเป็นประกอปรากฏอยู่เหนือศีรษะจองเขาทันทีที่เขามาถึงค่ายฮาล์ฟบลัด ในคืนนั้น บริเวณรอบกองไฟ ไพเพอร์ได้รับพรจากเทพีแอโฟรไดที ซึ่งยืนยันว่าเธอเป็นธิดาแห่งแอโฟรไดที เธอเริ่มชิงดีชิงเด่นกับดริว ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าบ้านนิสัยเจ้ากี้เจ้าการ ทุก ๆ คนทราบว่าเจสันเป็นบุตรแห่งซุสหลังจากเขาสามารถเสกสายฟ้าได้ นอกจากนี้ เขสันยังเป็นน้องชายของธาเลีย ตัวละครหลักในวรรณกรรมชุดเพอร์ซีย์ แจ็กสัน เจสันจำธาเลียได้เมื่อเขาเห็นภาพของเธอในบ้านพักของบุตรแห่งซุส และรับรู้ได้ว่าจูโนได้ขโมยความทรงจำของเขาไป ไพเพอร์รู้สึกอิจฉาธาเลียในตอนแรก จนกระทั่งเธอรู้ว่าธาเลียเป็นพี่สาวแท้ ๆ ของเจสัน แอนนาเบ็ธพาเจสันไปพบโคลวิส บุตรแห่งฮิปนอส (เทพเจ้าแห่งการนอนหลับ) เพื่อที่จะค้นหาความทรงจำบางส่วนผ่านการนอนหลับ โคลวิสอธิบายให้เจสันฟังเรื่องความแตกต่างของเทพเจ้าในรูปกรีกและในรูปโรมัน", "title": "วีรบุรุษแห่งโอลิมปัส" }, { "docid": "73220#21", "text": "แม้ว่าเหล่าเทพเจ้ากรีก หรือมนุษย์กึ่งเทพทั้งหลาย จะมีบทบาทอย่างมากในเรื่อง \"อีเลียด\" นักวิชาการสังเกตว่า การปรากฏของเหล่าเทพเจ้าในงานของโฮเมอร์เป็นการแหวกประเพณีดั้งเดิมที่ชาวกรีกมีต่อศรัทธาของตน เทพเจ้าใน \"อีเลียด\" ดำเนินบทบาทไปตามความประสงค์ของผู้ประพันธ์เพื่อช่วยเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น แทนที่จะเป็นองค์อุดมคติอยู่ในปกรณัมเหมือนอย่างที่เคย เฮโรโดทัส นักประวัติศาสตร์คลาสสิกอ้างว่า โฮเมอร์และเฮสิออดเพื่อนของเขา เป็นผู้แรกที่อ้างถึงและบรรยายลักษณะตัวละครแบบเทพเจ้าในงานประพันธ์", "title": "อีเลียด" }, { "docid": "295483#9", "text": "ประติมากรรมส่วนใหญ่ของยุคนี้สร้างขึ้นเพื่อแสดงการสำนึกบุญคุณแด่เทพเจ้าผู้ทรงช่วยนำความสำเร็จมาให้, เพื่อช่วยให้นำโชคลาภที่จะตามมาในอนาคต และ เพื่อให้เทพเจ้าทราบว่ายังคงมีความเคารพอยู่ เทวสถานของกรีกในยุคนี้ต่างก็สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ตั้งของรูปสักการะขนาดใหญ่เหล่านี้ ชาวกรีกเชื่อว่าการตั้งเทวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้ ณ ที่ใดก็จะทำความพึงพอใจให้แก่เทพเจ้า ณ ที่นั้น เทพเจ้ากรีกเป็นเทพเจ้าที่มาจากตำนานอันลึกลับที่มีรากฐานมาจากเรื่องราวของมนุษย์จริงซึ่งทำให้เป็นเรื่องราวผสมผสานระหว่างมนุษย์/เทพที่บางครั้งแทบจะแยกไม่ออก ฉะนั้นการสร้างประติมากรรมที่เหมือนคนจริงจึงเกิดขึ้นได้ ประติมากรรมส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นประติมากรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของตำนานเทพ, ตัวแทน (archetype) หรือ วัตถุประสงค์ของชีวิต\nระหว่างสมัยคลาสสิกประติมากรมิได้จะเพียงแต่จะสร้างงานสำหรับเทวสถานเท่านั้น แต่ยังสร้างงานสำหรับที่เก็บศพเพื่อเป็นการสดุดีผู้ที่เป็นที่รักผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ประติมากรรมประเภทหลังนี้มักจะวางท่าที่สบายๆ นักกีฬาผู้ประสบความสำเร็จ หรือ ครอบครัวผู้มีฐานะมั่งคั่งก็มักจะจ้างให้สร้างประติมากรรมของตนเองสำหรับเทวสถานเพื่อเป็นการแสดงการสักการะต่อเทพเจ้า ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชภาพเหมือนก็เริ่มมีความนิยมกันมากขึ้น รูปปั้นครึ่งตัวของนายพล, นักปรัชญา และ ผู้นำทางการเมืองก็เริ่มปรากฏให้เห็นกันบ้าง", "title": "ประติมากรรมคลาสสิก" }, { "docid": "294820#0", "text": "เทพีมอยเร (, ) เป็นเทพีในตำนานเทพเจ้ากรีก บุตรีแห่งเทพซุสและเทพีเทมิส เป็นเทพีสามองค์ที่เป็นบุคลาธิษฐานของพรหมลิขิต ที่เทียบเท่ากับเทพีพาร์เซ (Parcae) ในตำนานเทพเจ้าโรมัน หรือเทพีนอร์นส์ (Norns) ในในตำนานเทพเจ้าเยอรมัน", "title": "มอยเร" }, { "docid": "643387#1", "text": "อะพอลโล หนึ่งในเทพเจ้าที่มีพลังมากที่สุดและมหานักรบ ทรงล้อเลียนการใช้คันและลูกธนูของเทพเจ้าแห่งความรัก เอียรอส ทรงตรัสว่า “เจ้าเกี่ยวอะไรกับอาวุธสงครามเช่นนี้ ทิ้งให้อยู่ในหัตถ์ที่คู่ควรเสีย จงดูการพิชิตที่ข้าชนะได้ด้วยธนูเหนืออสรพิษมหึมาที่เหยียดกายพิษของมันเหนือที่ราบหลายเอเคอร์! พอใจกับคบไฟของเจ้าเสีย เด็กน้อย แล้วก่อไฟของเจ้า ดังที่เจ้าเรียกพวกมัน ซึ่งเจ้าจะ แต่ไม่ทึกทักเอาการสอดกับอาวุธของข้า\"", "title": "อะพอลโลกับแดฟนี" }, { "docid": "260927#0", "text": "เทพีเวอริทัส () เป็นเทพีในตำนานเทพเจ้าโรมันที่เทียบเท่ากับเทพีอเลเธีย (Aletheia) ในตำนานเทพเจ้ากรีก เทพีเวอริทัสเป็นเทพีแห่งความสัตย์", "title": "เวอริทัส" }, { "docid": "241341#0", "text": "เลออโคออน (; ) เป็นลูกของอะโคทีส (Acoetes) เป็นนักบวชโทรจันของโพไซดอนในตำนานเทพเจ้ากรีก (หรือเทพเนปจูน) แต่เลออโคออนไปละเมิดกฎอาจจะด้วยการแต่งงานและมีลูก หรืออาจจะโดยการปฏิบัติตัวในทางที่ไม่เหมาะสมโดยการไปสมสู่กับภรรยาต่อหน้ารูปเคารพในวัด บทบาทของเลออโคออนในตำนานสงครามเมืองทรอยคือไปพยายามเตือนฝ่ายทรอยไม่ให้รับม้าโทรจันจากฝ่ายกรีก ซึ่งทำความพิโรธให้แก่เทพเจ้าผู้ส่งงูทะเลสองตัวจากเกาะเทเนดอสมาเข่นฆ่า", "title": "เลออโคออน" }, { "docid": "550477#0", "text": "ก็อด ออฟ วอร์ เป็นเกมส์แอ็คชั่นผจญภัยมุมมองบุคคลที่สามที่พัฒนาโดยซานตาโมนิกาสตูดิโอจัดจำหน่ายโดยโซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เท็นเมนต์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 22 มีนาคม 2005 พอร์ตลงเครื่อง PlayStation 2 เป็นภาคแรกในซีรีส์นี้ พื้นฐานจะอยู่บนตำนานเทพเจ้ากรีกในสมัยกรีกโบราณที่มีการล้างแค้นเกิดขึ้น ผู้เล่นควบคุมตัวเอกเครโทส นักรบสปาร์ตันที่ทำหน้าที่รับใช้เทพโอลิมปัส เทพีอธีนา ต้องการให้เครโทสฆ่าเทพเจ้าแห่งสงครามอาเรส ซึ่งเป็นตัวการที่ให้ เครโทส ต้องฆ่าครอบครัวของเขาเองเขาต้องไปที่เอเธนส์ตามคำบอกของอธีนา ในการสืบเสาะเพื่อหาวัตถุหนึ่งที่มีความสามารถในการหยุดยั้งเทพ: กล่องแพนดอร่าในตำนาน หลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจ เครโทส ได้แทนที่แอรีสเป็นเทพเจ้าแห่งสงครามคนใหม่", "title": "ก็อดออฟวอร์" }, { "docid": "3708#16", "text": "นอกเหนือไปจากกลุ่มดาวและดวงอาทิตย์แล้ว บรรดาดวงดาวทั้งหมดก็มีตำนานเป็นของตัวเองด้วย ตามความเชื่อของชาวกรีกโบราณ ดวงดาวบางดวง หรือที่แท้คือ ดาวเคราะห์ (ภาษากรีกโบราณว่า πλανήτης (planētēs) หมายถึง \"ผู้พเนจร\") เป็นตัวแทนของเทพเจ้าองค์สำคัญหลายองค์ ซึ่งชื่อของเทพเจ้าเหล่านั้นก็เป็นที่มาของชื่อดาวด้วย เช่น ดาวพุธ (เมอร์คิวรี) ดาวศุกร์ (วีนัส) ดาวอังคาร (มาร์ส) ดาวพฤหัสบดี (จูปิเตอร์) และดาวเสาร์ (แซทเทิร์น) สำหรับดาวยูเรนัสและเนปจูนก็เป็นชื่อของตำนานเทพเจ้ากรีกและตำนานเทพเจ้าโรมันเช่นเดียวกัน แม้ในอดีตดาวทั้งสองนี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะมันมีความสว่างต่ำมาก แต่นักดาราศาสตร์ในยุคหลังก็ตั้งชื่อดาวทั้งสองตามชื่อของเทพเจ้าด้วยเช่นกัน", "title": "ดาวฤกษ์" } ]
881
อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้ามใครเป็นผู้แต่ง?
[ { "docid": "230646#1", "text": "อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม () เป็นไลท์โนเวลภาษาญี่ปุ่น ซึ่งต่อมามีการนำไปสร้างเป็นหนังสือการ์ตูน และอนิเมะ โดยฉบับไลท์โนเวล ประพันธ์โดย คาซึมะ คามาจิ และภาพประกอบโดย คิโยทากะ ฮาอิมุระ เริ่มตีพิมพ์ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน พิมพ์ออกจำหน่ายแล้วถึง 24 เล่ม (เล่ม 1 ถึงเล่ม 22 และฉบับพิเศษเรื่องสั้น อีกสองเล่ม) จัดพิมพ์โดย ASCII Media Works", "title": "อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม" } ]
[ { "docid": "534313#0", "text": "รายชื่อตัวละครในอินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม และเรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาศาสตร์ เป็นรายชื่อตัวละครจากเรื่อง อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม และ เรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาศาสตร์ ซึ่งสัมพันธ์กันและใช้ตัวละครหลักชุดเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่เรื่องแรกเน้นเวทมนตร์คาถา เรื่องหลังเน้นวิทยาศาสตร์", "title": "รายชื่อตัวละครในอินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม และเรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาศาสตร์" }, { "docid": "230646#4", "text": "วันหนึ่งชีวิตของโทมะก็ต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีแม่ชี (อายุไล่เลี่ยกับเขา) คนหนึ่ง นอนสลบพาดอยู่ที่ระเบียงห้องของเขา เธอชื่อว่าอินเด็กซ์ อินเด็กซ์มีความทรงจำสมบูรณ์แบบ เธอสามารถจดจำ คัมภีร์เวทมนตร์แสนสามพันเล่มไว้ได้ ทำให้เธอต้องถูกตามล่าจากเหล่าผู้มีเวทมนตร์ โทมะได้ช่วยเหลืออินเด็กซ์ไว้ ให้ที่พักพิงกับเธอ และคอยช่วยเหลือเธอจาการถูกตามล่า จากทั้งฝ่ายเวทมนตร์และฝ่ายวิทยาศาสตร์", "title": "อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม" }, { "docid": "230646#3", "text": "โทอารุ มาจุทสึ โนะ อินเด็กซ์ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับโลกอนาคต ในสมัยที่ความสามารถต่างๆของผู้มีพลังพิเศษ (ผู้มีพลังจิต, Psychics, Espers) กลายเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ โคจรมาพบกับ อำนาจเหนือธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง คือ เวทมนตร์ (Magic) เรื่องราวดำเนินไป ณ เมืองแห่งการศึกษา ซึ่งมีเทคโนโลยีสูงมาก อยู่ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น", "title": "อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม" }, { "docid": "534313#1", "text": "เป็นโรงเรียนมัธยมปลายที่ไม่ปรากฏชื่อ ที่โทมะและเพื่อน ๆ ของเขาเรียนอยู่เป็นโรงเรียนที่ แอคเซราเรเตอร์ เรียนอยู่ แลเป็นโรงเรียนหนึ่งใน 5 โรงเรียนที่มีชื่อเสียงในเมืองแห่งการศึกษา และพยายามที่จะเป็นที่ 1 เป็นโรงเรียนคู่แข่งกับ โรงเรียนโทคิวะได และไม่จำกัดว่าผู้ที่เข้ามาเรียนจะต้องมีพลังพิเศษทุกคนโรงเรียนมัธยมต้นโทคิวะได เป็นโรงเรียนที่มิซากะ มิโคโตะ กับ ชิราอิ คุโรโกะ เรียนอยู่ และเป็นโรงเรียนหนึ่งใน 5 ของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในเมืองแห่งการศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมต้นหญิงล้วนในเขตการศึกษาที่ 7 บรรยากาศโรงเรียนแบบลูกคุณหนู และผู้ที่เข้าเรียนจะต้องมีพลังพิเศษตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป และในโรงเรียนแห่งนี้มีผู้ที่มีพลังพิเศษระดับ 5 เรียนอยู่ที่นี่ถึง 2 คน", "title": "รายชื่อตัวละครในอินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม และเรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาศาสตร์" }, { "docid": "483816#0", "text": "อัลบั้มเพลงในอินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม แบ่งออกตาม Season ได้แก่\nอะนิเมะเรื่อง อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม ได้มีซิงเกิลเพลงเปิด - เพลงปิดออกมาแล้ว 4 ชุด\nโดยเป็นเพลงเปิด 2 ชุด และเพลงปิด 2 ชุด\nอัลบั้ม PSI-missing เป็นอัลบั้มเพลงเปิดเพลงแรกของอะนิเมะเรื่อง อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม\nออกวางจำหน่ายวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ใช้ในตอนที่ 1 - 12", "title": "รายชื่ออัลบั้มในอินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม" }, { "docid": "230646#5", "text": "แม้ว่าพลังพิเศษของโทมะ ที่เรียกว่า อิมเมจินเบรกเกอร์ (Imagine Breaker) จะสามารถลบล้างพลังเหนือธรรมชาติได้ทุกชนิด แต่กลับไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ในการจู่โจม หรือป้องกันอันตรายในระยะไกล โทมะและอินเด็กซ์ จึงต้องรับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆในเมืองวิทยาศาสตร์ เช่น มิซากะ มิโคโตะ (Electromaster) คุณครูโคโมเอะอัจฉริยะผู้มีร่างกายน่ารักเหมือนเด็กประถม คุณหมอเทวดาหน้าเหมือนกบ (Heaven Canceler) ตลอดจนสมาชิกในฝ่ายเวทมนตร์ (ผู้เปลี่ยนจากตามล่า มาเป็นช่วยเหลือในภายหลัง) เพื่อนๆของอินเด็กซ์", "title": "อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม" }, { "docid": "230646#0", "text": "\"บทความนี้เป็นมีเนื้อหาเกี่ยวกับ อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม หากต้องการทราบเนื้อเรื่องคู่ขนานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โปรดไปที่ เรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาศาสตร์ แทน\"", "title": "อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม" }, { "docid": "483816#1", "text": "อัลบั้ม () เป็นอัลบั้มเพลงปิดเพลงแรกของอะนิเมะเรื่อง อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม\nออกวางจำหน่ายวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ใช้ในตอนที่ 1 - 14", "title": "รายชื่ออัลบั้มในอินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม" }, { "docid": "534313#5", "text": "ในเมืองแห่งการศึกษา ผู้ใช้พลังจิต Level 5 จะเป็นผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดในเมืองแห่งการศึกษา โดย Level 5 ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 คน แต่ลำดับที่จะจัดเรียงต่อไปนี้ ไม่ได้จัดเรียงตามลำดับความแข็งแกร่ง แต่เป็นการจัดลำดับในแผนของเอสเตอร์", "title": "รายชื่อตัวละครในอินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม และเรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาศาสตร์" } ]
882
รัตนชาติคือเพชรใช่ไหม ?
[ { "docid": "58828#0", "text": "รัตนชาติหรือหินอัญมณี () เป็นกลุ่มประเภทของแร่ประเภทหนึ่ง โดยหมายถึง แร่หรือหินบางชนิด หรืออินทรียวัตถุธรรมชาติที่นำมาเจียระไน ตกแต่ง หรือแกะสลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ มีความงาม ทนทาน และหายาก โดยปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เพชร และพลอย ซึ่งหมายถึง อัญมณีทุกชนิดยกเว้นเพชร หากผ่านการตกแต่งหรือเจียระไนแล้ว เรียกว่า อัญมณี\nนอกจากนี้ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่อาจจัดเป็นรัตนชาติได้แก่ ไข่มุก และปะการังและอำพัน", "title": "รัตนชาติ" } ]
[ { "docid": "58828#22", "text": "จากหลักโหราศาสตร์โบราณของเอเชีย ชีวิตบนโลกล้วนขึ้นอยู่กับนพเคราะห์ หรือ ๙ อิทธิพล ซึ่งตำแหน่งที่สถิตของนพเคราะห์ในแผนภูมิดวงชะตาของแต่ละบุคคล ล้วนส่งอิทธิพล ต่อดวงชีวิตของคนๆนั้น กล่าวกันว่าการสวมใส่ ๙ รัตนชาติ จะช่วยให้ดวงดาวตามโหราศาสตร์สมดุล และมีสิริมงคลต่อผู้สวมใส่ ทางโหราศาสตร์เอเชียโบราณยังกล่าวว่าพลังรัตนชาติเหล่านี้ยังผลดีและผลลบต่อชีวิตมนุษย์เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการสวมใส่ดารารัตนชาติ จึงควรจำเป็นต้องปรึกษาโหรโบราณ ระบบพระเวท ควรเป็นผู้ที่ศึกษาและเชี่ยวชาญทางดารารัตนชาติเพื่อให้ต้องโฉลกต่อพื้นฐานดวงชะตาของแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเป็นเพียงรัตนเดี่ยวๆหรือการแนะนำให้ประดับรัตนที่สมพงษ์ร่วมในเรือนเดียวกัน", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "431802#0", "text": "คณะพระเอกใหญ่ ไหมไทย ใจตะวันเป็นวงดนตรีหมอลำไทย รับงานแสดงแบบสัญจร มีผู้สนับสนุนคือบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) และเครื่องดื่มซูปเปอร์ลูกทุ่ง และอยู่ภายไต้สังกัดแกรมมี่โกลด์ ซึ่งในปี 2549-ปัจจุบัน เป็นปีทองของคณะพระเอกใหญ่ มีงานเพิ่มมากขึ้น มีคนในวงเยอะมากขึ้น รวมแล้วประมาณ 600 คน และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน คณะพระเอกใหญ่ได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบเวทีให้ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยได้ทำหลังคาขนาดใหญ่ โดยขณะซ้อมวงหลังคาจะอยู่ในระดับเดียวกับเวที และพอเริ่มจะแสดงจะมีระบบไฮดรอลิกส์ และล้อขนาดเล็ก ดึงหลักคาให้ยกสูงขึ้น และมีจอสกอร์บอร์ดขนาดใหญ่ไว้ฉายภาพ และมีการปิดฤดูกาล ในช่วงฤดูฝน คือ พักการแสดง ระหว่างเดือน พฤษภาคม - กันยายน และเปิดฤดูกาลในช่วงฤดูหนาว", "title": "พระเอกใหญ่ ไหมไทย ใจตะวัน" }, { "docid": "58828#13", "text": "\"\"ทับทิมบริสุทธิ์ เป็นรัตนของอาทิตย์ ไข่มุกที่ขาวบริสุทธิ์โดยแท้ธรรมชาติ เป็นรัตนของจันทร์ ปะการังแก้วประวาล เป็นรัตนของอังคาร มรกต เป็นรัตนของพุธ บุษราคัม เป็นรัตนของพฤหัสบดี เพชร เป็นรัตนของศุกร์ ไพลิน เป็นรัตนของเสาร์ โกเมนเอก เป็นรัตนของราหู และไพฑูรย์ เป็นรัตนของเกตุฯ\"\"\nกล่าวคือ", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "366925#3", "text": "วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เมื่อเวลา 1.00 น. พ.ต.ท. พงษ์สวัส วงศ์วาน หน.ชุดปฏิบัติการพิเศษ สภ.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ นายเกียรติคุณ ทักษิณนุกูลวงศ์ MP. ของบริษัท อิพาเท้นท์ จำกัด เข้าทำการควบคุมตัวนายมนต์ชัย รักษาชาติ หรือ \"ไหมไทย ใจตะวัน\" นักร้องลูกทุ่งหมอลำชื่อดัง ขณะที่เจ้าตัวกำลังเล่นแสดงคอนเสิร์ต อยู่ที่ลานคอนเสิร์ตถนนพัทยาสาย ก่อนควบคุมตัวไปทำการสอบสวนยัง สภ.เมืองพัทยาเนื่องจากได้นำเพลงไปร้องโดยละเมิดลิขสิทธิ์เนื่องจากตนหมดสัญญาจากแกรมมี่โกลด์แล้ว เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 แต่มีการประกันตัวออกมาแล้วโดยไหมไทยพูดว่า \"ต้องขอโทษด้วยเนื่องจากตนเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์\"ชุดที่ 1 หัวใจยอมให้ตั่ว (2556)\nชุดที่ 2 คนเก่ายังบ่ไป คนใหม่กะมาแทน (2557)", "title": "ไหมไทย หัวใจศิลป์" }, { "docid": "222809#11", "text": "ธรรมเนียมของหลักการจัดเรียงประดับรัตนชาติทั้ง 9 ตามระบุในภาพนี้ กล่าวคือ ทับทิมเพื่อพระอาทิตย์ จะอยู่ที่ศูนย์กลางเสมอ และล้อมรอบ (ตามเข็มนาฬิกา) บนสุดคือ เพชร ไข่มุกแท้ธรรมชาติ ปะการังแดง โกเมนเอก ไพลิน ตาแมว บุษราคัม และ มรกต เป็นตำแหน่งในหลักการเดียวกันของยันต์นพเคราะห์ ตามหลักของกฎธรรมชาติ โดยมีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของการไหลเวียนพลังงานในระบบสุริยจักรวาล และโปรดดูภาพตัวอย่างการประดับเรียง ในลักษณะสร้อยอย่างถูกต้องของ \"สิรินพรัตนมหาราชินี\"", "title": "นพรัตน์" }, { "docid": "549770#4", "text": "ต่อมาในปีค.ศ. 1727 แก้วสีและรัตนชาติต่างๆได้ถูกถอดออกและประดับแทนด้วยเพชรที่เช่ามาซึ่งมีมูลค่าถึง 109,200 ปอนด์ และได้นำมาใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แต่ปรับแต่งด้วยการดึงส่วนโค้งด้านบนซึ่งเคยหุบลงไปอยู่ตรงกลางมงกุฎ ให้ยืดขึ้นมาเหมือนมงกุฎในสมัยนั้น ดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยลูกโลกที่ทำจากอความารีน และกางเขนยังคงอยู่ครบ", "title": "มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1" }, { "docid": "58828#11", "text": "\"และนพรัตนยังเป็นส่วนหนึ่งของนามกรุงเทพฯ\" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานนาม โดยทรงเปรียบเทียบเมืองหลวงของไทยนี้ดั่งเมืองในสรวงสวรรค์แห่งเทพ อันเป็นที่มาของรัตนชาติทั้ง ๙ ประการว่า \"\"กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์\" \"\nซึ่งจากเอกสารในหอสมุดของสยามสมาคมฯระบุว่าครูมนตรี ตราโมท เป็นผู้นำกลอนนพรัตน์มาแต่งท่วงทำนองใช้ร้องเป็นระบำนพรัตน์กล่าวคือ\n\"เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองสวยสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์ฯ\"", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "366925#0", "text": "ไหมไทย หัวใจศิลป์(ใจตะวัน) หรือในอดีตที่อยู่วงหมอลำ เสียงอิสาน คือ ไหมไทย อุไรพร ซึ่งมีคู่หู ลูกแพร อุไรพร วันนี้ไหมไทยแยกตัวออกมาจากวง เสียงอิสาน และเพลงแรกของเขา คือ หยุดเสียใจเถิดน้อง และยังเป็นเพลงที่สร้างชื่อให้เขาด้วย และเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้อีกมากมาย เช่น รักสาวนครสวรรค์, แพ้รบสนามรัก, ลารักกลับแนวรบ, เห็นเธอที่เยอรมัน,บักสิเด๋อ และเป็นเวลา 15 ปีที่ไหมไทย อุไรพรได้อยู่วงเสียงอิสาน และได้ออกมาตั้งวงดนตรีของตัวเอง รับงานแสดงเอง ซึ่งต้องต่อสู้ฝ่าฟันกันพอสมควร และได้เข้ามาออกผลงานอัลบั้มกับค่าย แกรมมี่โกลด์ กับผลงานอัลบั้ม บ่าวพันธุ์พื้นเมือง โดยมีคณะหมอลำของตัวเองชื่อว่า คณะพระเอกใหญ่ ไหมไทย ใจตะวัน", "title": "ไหมไทย หัวใจศิลป์" }, { "docid": "64944#6", "text": "เพชราเคยต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ เมื่อถูกกรมสรรพากรเล่นงานเรื่องภาษีถึงขั้นฟ้องล้มละลาย จนต้องเลหลังขายบ้าน แต่ในตอนนั้นทั้งชรินทร์ นันทนาครทำหนังใหม่เรื่อง \"เพลงรักดอกไม้บาน\" นำแสดงโดยนันทิดา แก้วบัวสาย เมื่อหนังออกฉายก็พอมีเงินใช้หนี้ และได้เข้าเจรจากับกรมสรรพากรขอส่งตามที่มี แต่บางครั้งเมื่อขาดส่งทีไรหนังสือพิมพ์ก็มักลงข่าวว่า \"เพชราโกงภาษี\" ทุกที", "title": "เพชรา เชาวราษฎร์" } ]
887
ใครเป็นผู้ประดิษฐ์เลโก้?
[ { "docid": "67533#1", "text": "ในราวปี ค.ศ. 1932 โอเล เคิร์ก คริสเตียนเสน ชาวเดนมาร์ก เริ่มผลิตและจำหน่ายของเล่นซึ่งทำจากไม้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1949 ก็เปลี่ยนรูปแบบสินค้า เป็นของเล่นประเภทตัวต่อ พร้อมทั้งเปลี่ยนวัสดุการผลิตเป็นพลาสติก เรียกว่า ออโตเมติก ไบน์ดิง บริกส์ (Automatic Binding Bricks) และเมื่อปี ค.ศ. 1954 เปลี่ยนชื่อสินค้ามาเป็นเลโก้ ดังเช่นทุกวันนี้ ต่อมา เลโก้เปลี่ยนมาใช้วัสดุพลาสติกแบบ Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 จนถึงปัจจุบัน", "title": "เลโก้" } ]
[ { "docid": "271880#3", "text": "ผู้คนในเมือง ‘เอกเขนก’ ต่างไม่เคยหวาดระแวง สงสัยคนต่างถิ่นอย่าง ‘พันหนึ่ง’ เลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่เขาพลัดหลงมาจากแดนไกล และจริงๆ ก็มาด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์สักเท่าใดนัก หากแต่ชาวเมืองเอกเขนกต่างให้ความสนใจช่วยกันคนละไม้ละมือซ่อมแซม ‘เฉลียงบ้าน’ ของ ‘พระจันทร์’ ให้กลับคืนมาดังเดิมมากกว่า...ตลอดเวลาที่ ‘พันหนึ่ง’ พำนักอยู่ในเมืองนี้ น้ำใจและมิตรไมตรีที่เขาได้รับ ทำให้หลักการและเหตุผลที่ยึดถืออย่างเคร่งครัดเป็นดั่งสรณะในชีวิต เริ่มคลอนคลาย รู้จักเปิดรับความรู้สึกของคนรอบข้าง ออกตามหา ‘ความฝัน’ และค้นพบ ‘ความงาม’ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจมาเนิ่นนาน จวบจนกระทั่งถึงเวลาต้องเดินทางกลับไปยังเมืองที่จากมา แล้วก็พบว่าผู้นำแห่ง ‘ตรรกะนคร’ กลายเป็นคนกระหายสงคราม ทำให้เขาต้องกลับมาปกป้องดินแดนอันสวยงามนาม ‘เมืองเอกเขนก’ อีกครั้ง", "title": "เดอะ เลเจนด์ ออฟ เร่ขายฝัน เฉลียง เดอะ มิวสิคัล" }, { "docid": "37714#0", "text": "เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา หรือเป็นที่รู้จักในนาม น้าเน็ก (เกิด: 17 มกราคม พ.ศ. 2512) เป็นนักจัดรายการวิทยุ ที่มีบุคลิกเฉพาะตัวด้วยการย้อมผมเป็นสีทองทั้งหัว แต่หนวดเคราสีดำ มีสโลแกนเป็นของตนเองว่า \"ผู้ชายปากหมา หน้าตี๋ ชาติตระกูลดี หัวสี และมีหนวด\" เป็นทั้ง พิธีกร ดีเจ พากย์สปอตโฆษณา เขียนหนังสือ ถ่ายภาพ โดยมีชื่อเสียงในการพากย์เสียงของ \"น้าเหลือม\" ตุ๊กตาหุ่นมือรูปงู ที่ร่วมดำเนินรายการ \"เกมฮอตเพลงฮิต\" กับดีเจไก่-สมพล ปิยะพงศ์สิริ ในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่", "title": "เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา" }, { "docid": "84643#0", "text": "ไลบร้า โดโก () หรือ \"ท่านผู้เฒ่า\" ตัวละครจากการ์ตูนเรื่องเซนต์เซย่า เป็นโกลด์เซนต์ประจำราศีตุล ผู้ดูแลปราสาทตาชั่งฟ้า 1 ใน 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่ เป็นผู้ที่ยังคงมีชีวิตรอดจากสงครามศักดิ์สิทธิ์เมื่อ 243 ปีก่อน พร้อมกับ อาริเอส ชิออน และโดโกยังเป็นอาจารย์ของ ดราก้อน ชิริว อีกด้วย", "title": "ไลบร้า โดโก" }, { "docid": "553891#0", "text": "เดอะ เลโก้ มูฟวี () เป็นภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันแนวตลกผจญภัยอเมริกัน กำกับโดย ฟิล ลอร์ด และคริสโตเฟอร์ มิลเลอร์ และเป็นภาพยนตร์ของค่ายวอร์เนอร์ บรอเธอร์ พิกเจอร์ส โดยสร้างจากเลโก้ โดยมีทีมให้เสียง ได้แก่ คริส แพร็ตต์, วิลล์ เฟอร์เรล, อลิซาเบธ แบงก์ส, วิลล์ อาร์เน็ตต์, นิก ออฟเฟอร์แมน, อลิสัน บรี, ชาร์ลี เดย์, เลียม นีสัน และมอร์แกน ฟรีแมน โดยออกฉายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 ซึ่งประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และได้เสียงตอบรับที่ดีในหลายด้านทั้งความสมจริง, ความตลกขบขัน, การทำเสียง และการแสดงหน้าตา โดยภาพยนตร์เรื่องนี้รับรายได้มากกว่า 257 ล้านดอลลาร์ ในอเมริกาเหนือ และ 210 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าฉายต่างประเทศ รวมแล้วกว่า 467 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้นทางทีมผู้สร้างยังได้วางแผนฉาย เดอะ เลโก้ มูฟวี 2 ในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 และยังให้คริส แมคเคย์ มารับหน้าที่กำกับ รวมไปถึงฟิล ลอร์ด และคริสโตเฟอร์ มิลเลอร์มารับหน้าที่ผลิต", "title": "เดอะ เลโก้ มูฟวี่" }, { "docid": "955384#6", "text": "คณะกรรมการ ได้แก่ พิษณุ อภิราชกมล, สถาพร พานิชรักษาพงศ์, ณัฐพงษ์ มงคลสวัสดิ์, ชยานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ และ ปัฏฐา ทองปาน ได้ทำการคัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบเหลือเพียง 3 คน โดยรอบแรกให้ผู้เข้าประกวดแนะนำตัวและแสดงความสามารถพิเศษ และรอบที่สองให้ผู้เข้าประกวดสวมบทบาทการแสดงแบบสดกับ หฤษฎ์ ชีวการุณ, วชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์ และ กรภัทร์ เกิดพันธุ์ จากนั้นจึงประกาศผลผู้เข้ารอบ 3 คนสุดท้ายทั้ง 3 คน โดยที่ 2 คน มาจากการลงคะแนนตัดสินของคณะกรรมการ และอีก 1 คนจากการมีคะแนนโหวตจากผู้ชมสูงสุด\"ออกอากาศ 1 เมษายน 2561, 4 เมษายน 2561 และ 7 เมษายน 2561\"", "title": "โกออนเกิร์ล สตาร์เสิร์ช" }, { "docid": "732575#0", "text": "จุมภฏ รวยเจริญทรัพย์ หรือ ต้นโก๋แก่ เกิดวันที่ 23 มกราคม 2515 เขามีชีวิต 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือธุรกิจ เขาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริหารโรงงานโก๋แก่ ผู้ผลิตขนมถั่วอบกะทิที่มีชื่อเสียงยาวนานของไทย ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว ชีวิตอีกด้านหนึ่งเขาเป็นศิลปินที่รักการวาดรูปและเป็นผู้กำกับหนัง หลังจบด้านบริหารธุรกิจทั้งปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยชิลเลอร์ ประเทศอังกฤษ และมีโอกาสได้เดินทางท่องเที่ยวหลายประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และเอเชีย เมื่อกลับมาเมืองไทยได้ตั้ง ‘โก๋ฟิล์ม’ ค่ายหนังของตัวเอง เพื่อทำหนังสั้นแนวทดลองเรื่องแรกในโครงการ ‘มันส์ทำเรื่อง’ เมื่อปี 2552 และโครงการ ‘ดู มันส์ ทำ’ ในฐานะผู้อำนวยการสร้างก็ได้สนับสนุนผลักดันนักทำหนังรุ่นใหม่อีก 4 คน ให้ทำหนังและฉายหนังร่วมกับหนังของเขาเอง นอกจากนี้เขายังเป็นผู้อุปถัมภ์นักสร้างภาพยนตร์ไทยนอกกระแสที่มีชื่อเสียง อาทิ อภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล, ลี ชาตะเมธีกุล", "title": "จุมภฏ รวยเจริญทรัพย์" }, { "docid": "157306#2", "text": "เรืองวิทย์ เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเป็นเกษตรกรที่มีชื่อเสียงจากการทำฟาร์มพ่อพันธุ์โคขุนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ\nในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ลงสมัครรับเลือกตั้ง 2 ครั้ง จากการเลือกตั้งทั่วไปทั้งหมด 4 ครั้ง ได้รับการเลือกตั้ง 1 ครั้ง หลังจากนั้นถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ร่วมกับบ้านเลขที่ 111 อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร", "title": "เรืองวิทย์ ลิกค์" }, { "docid": "549469#2", "text": "ดิเรก เจริญผล เป็นผู้ที่มีบทบาทในวงการโทรคมนาคมของไทย เคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลงานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม", "title": "ดิเรก เจริญผล" }, { "docid": "482019#4", "text": "โกรแฟลได้รับการสนับสนุน, เป็นผู้แทนประจำ และเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงของ ทานโฟกลิโอ (ผู้ผลิตปืนพก), ซีมอร์ (ผู้ผลิตอุปกรณ์ช่วยเล็ง), อาร์มสกอร์, โนเบลสปอร์ท, ซีซีไอ, ฟรอนเทียร์, ดิลลอนพรีซิชัน, จีเอสไออินเตอร์เนชันแนลอิงค์, สปรินโกยูเอสเอ, โวล์ฟกันสปริงส์, อาร์เอชที (เรสคอมพ์แฮนด์กันเทคโนโลยี), ซีอาร์สปีด, ดีชอร์ท, โบลเล, อีเอชพี (อิเล็กทรอนิกส์เฮียริงโปรเทคชัน) และการถ่ายภาพอื่นบางรายการที่เกี่ยวข้อง เช่น ไซเบอร์กัน (ผู้นำระดับโลกในแอร์ซอฟท์กัน), กีเบิลส์ (นิตยสารยิงปืนฝรั่งเศส)", "title": "เอริก โกรแฟล" }, { "docid": "561339#0", "text": "เอลีโย ดี รูโป (, ; เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2494) เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม คนที่ 40 และหัวหน้าคณะรัฐมนตรีชุดที่ 68 ดำรงตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสในรอบสามสิบปีหลังจากผู้ดำรงตำแหน่งคนสุดท้ายคือ เปาล์ ฟันเดิน บุยนันตส์ เข้ารับตำแหน่งเมื่อพ.ศ. 2522 และยังเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคสังคมนิยมคนแรกในรอบเกือบสี่สิบปีหลังจากแอดมง เลอบูร์ตง ซึ่งหมดวาระลงในปีพ.ศ. 2517", "title": "เอลีโย ดี รูโป" } ]
891
มาโต้ ซากุระ เป็นน้องสาวของใคร?
[ { "docid": "196170#0", "text": "มาโต้ ซากุระ เป็นตัวละครสมมติจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์\nสาวน้อยนักเรียนปี 1 โรงเรียนเดียวกันกับที่ ชิโร่ เรียนอยู่ เธอเป็นน้องสาวของ มาโต้ ชินจิ หลังจากที่พ่อของชิโร่ เอมิยะ คิริซึงุ เสียชีวิต เธอก็ได้แวะเวียนมาหาชิโร่ที่บ้านบ่อยๆ ทุกเช้าเพื่อนที่จะช่วยเหลืองานบ้านของเขา ภายนอกเธอดูเหมือนคนขี้อาย แต่แท้จริงแล้วเธอมีพลังที่ยิ่งใหญ่ซุกซ่อนอยู่ภายใน นอกจากนั้นเธอยังแอบชอบชิโร่มานานแล้วด้วย\nวันเกิดของเธอคือวันที่ 2 มีนาคม กรุ๊ปเลือด O ในช่วงของ เฟท/ซีโร่ เธอสูง 120 ซม. น้ำหนัก 25 กก. 10 ปีผ่านไป เธอได้โตขึ้นเป็นสูง 156 ซม. น้ำหนัก 46 กก. และสัดส่วน B85/W56/H87", "title": "มาโต้ ซากุระ" } ]
[ { "docid": "196170#2", "text": "เธอคือน้องสาวร่วมสายเลือดของ โทซากะ ริน ที่ได้ถูกตระกูลมาโต้รับไปเป็นบุตรบุญธรรมเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะพ่อของเธอ โทซากะ โทคิโอมิ ซึ่งเป็นจอมเวทย์นั้นจะเลือกแค่เพียงลูกสาวเพียงหนึ่งคนไว้เพื่อเป็นคนสืบทอดตระกูลจอมเวทย์ โดยผู้ที่รับอุปถัมภ์เธอคือ มาโต้ โซเค็น ผู้เป็นพันธมิตรกับตระกูลโทซากะมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เพราะเหตุผลที่จะใช้เธอเป็นเครื่องมือแทน มาโต้ ชินจิ ลูกหลานของตนที่ไม่สามารถใช้เวทมนตร์ได้", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "196170#3", "text": "ใน เฟท/ซีโร่ ได้เปิดเผยว่า มาโต้ คาริยะ ลุงของซากุระในขณะนั้น ได้ทำข้อตกลงกับโซเค็น ไว้ว่าหากเขาชนะในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เธอจะได้เป็นอิสระจากโซเค็น และกลับไปอยู่กับตระกูลโทซากะ ซึ่งตัวเขาเองเป็นสมาชิกในตระกูลมาโต้เพียงคนเดียวที่รักและห่วงใยซากุระ และเขายังเป็นเพื่อนกับ โทซากะ อาโออิ (แม่ของซากุระ) ตั้งแต่เด็กอีกด้วย เขาเข้ากันได้ดีกับซากุระ และพี่สาวของเธอ นอกจากนั้นเขายังเคยรักอาโออิเพียงข้างเดียว และยอมปล่อยเธอมีความสุขกับโทคิโอมิแต่โดยดี แต่เดิมเขาไม่เคยถูกฝึกให้เป็นจอมเวทย์ (ถึงแม้ว่าเขาจะมีความสามารถที่เหนือกว่า มาโต้ เบียคุยะ พ่อของชินจิ ซ่อนเอาไว้อยู่ก็ตามที) แต่เขาก็มีหนอนฝังอยู่ในร่างกายเขาเพื่อใช้ในการกระตุ้นวงจรเวทย์ในตัวเขา ซึ่งมันก็จะทำให้ชีวิตของเขาสั้นลง พร้อมกับทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเนื่องจากถูกกัดกินวงจรเวทย์ไปด้วยนั่นเอง กระนั้นแล้วเขาก็ยังเป็นมาสเตอร์ของข้ารับใช้สายเบอร์เซิร์กเกอร์ ซึ่งเป็นสายที่กินมานามากที่สุด จึงไม่แปลกถ้าเขาจะได้รับความพ่ายแพ้ในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เพราะข้ารับใช้ของเขาเอง", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "71944#1", "text": "พี่ชายของซากุระ และเพื่อนเก่าของชิโร่ เขาเป็นรองประธานชมรมยิงธนูของโรงเรียนที่ออกจะหลงตัวเองและเป็นที่นิยมในหมู่สาวๆ เขาไม่ได้มีความสามารถโดดเด่นในเชิงเวทย์เช่นเดียวกับชิโร่ แม้ว่าตระกูลมาโต้จะเป็นตระกูลผู้ใช้เวทมนตร์ แต่เขากลับไม่มีความสามารถในเชิงเวทย์เลย จึงทำให้เขาไม่พอใจ และพยายามที่จะพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นว่าตนเองก็มีดีด้วยการเข้าร่วมสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 นี้ บวกกับความทะเยอทะยานอยากของเขา จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าเขาจะหักหลังเพื่อนของเขาได้อย่างหน้าตาเฉยเพื่อตัวเขาเอง เขาไม่พอใจที่ซากุระน้องสาวของเขาไปหาชิโร่ที่บ้านทุกวันๆ เขาจึงเสนอข้อตกลงกับรินในการร่วมมือกันในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ แต่รินก็ได้ปฏิเสธไปเพราะรู้ถึงเนื้อแท้ของเขานั่นเอง", "title": "มาโต้ ชินจิ" }, { "docid": "196170#4", "text": "ในช่วงที่อาศัยอยู่กับตระกูลมาโต้ เธอได้ถูกข่มเหงทั้งทางกายและใจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโซเคนได้หาทางที่จะใช้เธอเป็นภาชนะในการรองรับจอกศักดิ์สิทธิ์ในอนาคต โดยใช้พลังของ อังรี มานยุ รวมเข้ากับเศษซากของจอกศักดิ์สิทธิ์ในสงครามครั้งก่อน เขาได้ผสมเลือดสีดำที่เขาได้เก็บสะสมไว้ เข้ากับหนอนที่เขาเพาะไว้ และฝังหนอนเหล่านั้นไว้ในร่างของซากุระ เพื่อที่จะให้มันดูดมานาของเธอ และเพิ่มความต้องการทางเพศอย่างรุนแรงให้กับเธอแทน เพื่อที่จะระงับความรุนแรงนั้น เขาจึงได้สอนให้ชินจิข่มขืนซากุระอยู่เป็นประจำ และด้วยความจงเกลียดจงชังในตัวของซากุระที่ช่วงชิงสิ่งที่เขาควรจะเป็นในนามของตระกูลมาโต้ไป เขาจึงข่มเหงซากุระอย่างทารุณต่อไปด้วยความต้องการของตัวเขาเองเช่นกัน และด้วยตัวหนอนที่โซเคนได้ฝังไว้ในร่างกายของเธอนั้นเอง ทำให้เธอมีสีผมและสีตาเป็นสีม่วงเหมือนสมาชิกคนอื่นๆ ในตระกูลมาโต้ \nถึงแม้ว่าจะถูกกดขี่ข่มเหงทั้งกายและใจอยู่เป็นเนืองนิจ แต่เธอก็จะคอยรับมันไว้และปลงตกกับมันเสมอ เธอได้หลงรักชิโร่เมื่อหลายปีก่อน และได้แอบเฝ้ามองเขาอยู่เสมอในตอนที่เขาพยายามที่จะโหนบาร์ (คล้ายกับการเล่นกรีฑาอย่างหนึ่ง) ซึ่งความพยายามอย่างสุดกำลังของเขานี่เอง ได้เป็นแรงผลักดันให้เธอสู้ทนรับความเจ็บปวดเหล่านั้นไว้ได้ และเธอยังคอยช่วยเหลือชิโร่อยู่เป็นประจำในเวลาที่เขาบาดเจ็บอีกด้วย ในตอนที่ชิโร่ได้สนิทสนมกับริน ก็ได้สร้างความอิจฉาปนน้อยใจให้กับเธออยู่ไม่น้อย เธอจึงคิดว่ารินเป็นต้นเหตุทั้งหมดของสิ่งร้ายๆ ที่เธอต้องแบกรับมาตลอด ตั้งแต่เมื่อ 11 ปีก่อน หลังจากที่เธอได้ถูกตระกูลมาโต้รับมาอุปถัมภ์ เธอได้เติบโตมาพร้อมกับความเกลียดชังในความโหดร้ายทารุณของโซเคน เกลียดชังพ่อของตัวเองที่ผลักไสเธอ รวมถึงริน พี่สาวคนเดียวของเธอที่ไม่ได้รับรู้อะไรเลย กับความเจ็บปวดที่เธอต้องเผซิญ และยังไม่เคยที่จะช่วยเหลือเธออีกด้วย", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "76637#1", "text": "คิโนโมโตะ ซากุระ () \nสาวน้อยอายุ 10 ขวบ เรียนอยู่ชั้นป.4 โรงเรียนประถมโทโมเอดะ อาศัยอยู่กับพ่อและพี่ชาย แม่ของเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่เธออายุได้ 3 ขวบ มีนิสัยร่าเริง มองโลกในแง่ดีเสมอ ความสามารถพิเศษคือการเล่นกีฬา นอกจากนั้นเธอยังเป็นสมาชิกของชมรมเชียร์ลีดเดอร์อีกด้วย เพื่อนสนิทของเธอคือ ไดโดจิ โทโมโยะ สิ่งกลัวมากสุดคือผี แต่แล้ววันหนึ่งเธอได้ปลดปล่อยผนึกโคลว์การ์ดออกโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เธอต้องออกตามหาโคลว์การ์ดแล้วรวบรวมกลับมา และแถมเธอยังความรู้สึกช้า ชอบเหม่อลอยแล้วก็ซุ่มซ่ามนิดๆหน่อยๆและยังไม่รู้ว่าเชาหลางกำลังแอบชอบเธออยู่ ตอนที่เชาหลางสารภาพรักไปเธอมัวแต่สับสนและชักช้าแล้วยังไม่รู้ว่าจะตอบเชาหลางว่าอะไรเพราะความรู้สึกที่มีต่อเชาหลางทำให้ซากุระคิดมากแต่สุดท้ายเธอก็ตัดสินใจบอกรักกลับเชาหลางไปในอะนิเมะภาคเดอะมูฟวี่2 และคบหาดูใจกันอย่างเป็นทางการในภาคเคลียร์การ์ด (CV:ซากุระ ทันเกะ)\"ลี่ เชารัน\" () หรืออ่านตามสำเนียงภาษาจีนว่า หลี่เสี่ยวหลาง (พินอิน:Lǐ Xiǎoláng) นักเรียนแลกเปลี่ยนจากเกาะฮ่องกง เข้ามาเรียนอยู่ห้องเดียวกันกับซากุระและโทโมโยะ เขาเป็นทายาทสืบเชื้อสายฝั่งแม่ของโควล์และสามารถใช้พลังเวทมนตร์ได้ เขามายังเมืองโทโมเอดะเพื่อทำการรวบรวมโคลว์การ์ด แต่ถึงอย่างนั้น คนที่สามารถทำให้การ์ดต่าง ๆ กลับคืนสู่การ์ดได้ก็มีเพียงแค่ซากุระกับโคลวรีด เท่านั้น เนื่องจากการทำให้โควล์การ์ดกลับคืนสู่สภาพเดิมจำเป็นต้องใช้กุญแจผนึก ที่เมืองโทโมเอดะ เขาอาศัยอยู่กับพ่อบ้าน ชื่อ เหว่ย แต่ในตอนกลางลี่ เหม่ยหลิงจะมาอาศัยอยู่กับเขาด้วย เชารันแอบรักซากุระแต่ไม่ยอมแสดงออก แต่ก่อนแอบชอบสึกิชิโระ ยูกิโตะเพราะโดนพลังของจันทราของยูเอะหรือยูกิโตะทำให้หลงรัก ชอบทะเลาะกับโทยะพี่ชายของซากุระเพราะคิดว่าลี เชารันจะรังแกน้องแต่ความจริงแล้วจะชิงโคลวการ์ดแต่ตอนหลังแอบชอบซากุระและยังสารภาพรักไปด้วย คบหาดูใจกับซากุระอย่างเป็นทางการในภาคเคลียร์การ์ด (CV:โมโตโกะ คุมาอิ)ไดโดจิ โทโมโยะ () \nเพื่อนร่วมชั้นเรียนของซากุระ เธอมีงานอดิเรกคือถ่ายวิดีโอต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับซากุระ แม่ของเธอมีชื่อว่า โซโนมิ เป็นเจ้าของบริษัทผลิตของเล่น ดังนั้นจึงจัดได้ว่าครอบครัวของโทโมโยะเป็นครอบครัวที่รวยมากครอบครัวหนึ่ง โทโมโยะอาศัยอยู่ในคฤหาสหลังใหญ่และมีองครักษ์คอยคุ้มกันหลายคน งานอดิเรกอีกอย่างหนึ่งของโทโมโยะคือออกแบบและตัดชุดให้ซากุระสำหรับใส่ต่อสู้กับโคลว์การ์ดและโอกาสพิเศษอื่นๆ โทโมโยะชอบซากุระเอามาก ๆ สิ่งเดียวที่เธอต้องการคือเห็นซากุระมีความสุข ที่สำคัญในตอนท้ายเธอยังช่วยเหลือให้ซากุระได้รับรู้ว่าแท้จริงแล้วคนที่ซากุระรักนั้นคือใคร (CV:จุนโกะ อิวาโอะ)เคลเบรอส () หรือเคโระจัง \nสัตว์อสูรที่ดูหมือนกับตุ๊กตายัดนุ่นทั่วไป แต่แท้จริงแล้วเขาเป็นสัตว์อสูรผู้คอยดูแลโคลว์การ์ด เขาถูกโควล์รีดสร้างขึ้นมาเมื่อนานมาแล้วเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองผนึกโคลว์การ์ด แต่ได้สูญเสียพลัง เพราะซากุระได้ใช้สายลมเวทย์พัดการ์ดกระจัดกระจายไปหมด หลังจากที่ซากุระสามารถจับไพ่อัคคี [[โควล์การ์ด The Fiery] และไพ่ปฐพี [[โคลว์การ์ด The Earthy] ได้แล้วนั้นเขาก็ได้รับพลังทั้งหมดกลับคืนมา \nสัญลักษณ์ของเขาคือ[[ดวงอาทิตย์]] ซึ่งถือว่าเป็นการ์ดหลักของการ์ดธาตุไฟ งานอดิเรกคือกิน นอน หรือ เล่นเกม นอกจากนั้นเขามักชอบบ่นเรื่องที่ซากุระมักจะปฏิบัติกับเขาแตกต่างกับยูเอะเสมอ เคลเบรอสจะทำหน้าที่เป็นผู้เลือกผู้ที่จะมาเป็นเจ้าของโคลว์การ์ดคนต่อไป (CV:[[อายะ ฮิซาคาวะ]] \"ร่างเคโระจัง\" / [[มาซายะ โอโนซากะ]] \"ร่างเคลเบรอส\")[[ไฟล์:Tsukishiroyukito.jpg‎|right|100px|ยูกิโตะ สึกิชิโระ]]\nยูกิโตะ สึกิชิโระ () \nเพื่อนร่วมชั้นเรียนของ [[โทยะ คิโนโมโตะ]] เขาทั้งสองคนเป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่โทยะย้ายเข้ามาอาศัยที่เมืองโทโมเอดะใหม่ๆ ยูกิโตะอาศัยอยู่กับปู่และย่าของเขา แต่ปู่กับย่าของเขาชอบเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่าง ๆ ทำให้เขาต้องอยู่คนเดียวเป็นประจำ เขาเป็นสุภาพบุรุษคนหนึ่ง มีจิตใจที่อ่อนโยน ที่โรงเรียนเขาไม่ได้อยู่ในสังกัตของชมรมอะไรเลย แต่เขาจะคอยช่วยเหลือทุกๆ ชมรมที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชมรมบาสเก็ตบอล เขามีความสามารถทางด้านกีฬาเกือบทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นคนที่ซากุระหลงใหลเอาอย่างมาก ซึ่งไม่ใช่มีแค่ซากุระเท่านั้นเชาหลางก็หลงใหลเขาด้วยเช่นกัน ยูกิโตะเป็นคนที่กินจุเอามากๆ", "title": "รายชื่อตัวละครในซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์" }, { "docid": "196170#8", "text": "บทบาทของเธอในเนื้อเรื่อง ทั้งบทเฟท และบท อันลิมิเต็ด เบลด เวิร์คส เธอจะเป็นเพียงแค่ตัวละครรองเท่านั้น แต่ในเนื้อเรื่องบทที่ 3 หรือบท เฮฟเว่นส์ ฟีล ซึ่งเป็นบทของเธอโดยเฉพาะ จะกล่าวถึงปูมหลังในช่วงที่เธออาศัยอยู่กับตระกูลมาโต้ โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ มาโต้ โซเคน ไม่พอใจที่ชินจิ หลานชายของตนไม่สามารถเป็นมาสเตอร์ได้ จึงได้ทำการล่าล้างข้ารับใช้ทุกตน โดยใช้ซากุระ และ ทรู แอสซาซิน เป็นเครื่องมือ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น เบอร์เซิร์กเกอร์, แลนเซอร์, เซเบอร์ และ อาเชอร์ ได้ตกลงสู่ตรีเอกานุภาพแห่งความมืด และเธอก็ได้เข้าครอบงำ \"เซเบอร์ด้านมืด\" และ \"เบอร์เซิร์กเกอร์ด้านมืด\" ให้เป็นข้ารับใช้ของเธออีกด้วย ในคืนเดียวกัน เธอก็ได้ออกอาละวาดทำลายเมืองฟุยูกิ สังหารผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก เพื่อสะสมมานานั่นเอง ในเหตุการณ์ครั้งนั้น กิลกาเมชก็ได้ปรากฏตัวขึ้น และโจมตีเธอด้วย \"เกท ออฟ บาบิโลน\" ของเขา แต่เมื่อต้องปะทะกับความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายอันเหนือธรรมชาติของเธอ จึงทำให้เธอแทบไม่ได้รับผลอะไรเลย และท้ายสุด เขาก็ได้ถูกกลืนกินเข้าไปอีกคน", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "14447#11", "text": "คิโนโมโตะ ซากุระ () \nสาวน้อยอายุ 10 ขวบ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมโทโมเอดะ อาศัยอยู่กับพ่อและพี่ชาย แม่ของเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่เธออายุได้ 3 ขวบ ความสามารถพิเศษคือการเล่นกีฬา นอกจากนั้นเธอยังเป็นสมาชิกของชมรมเชียร์อีกด้วย เพื่อนสนิทของเธอคือ โทโมโยะ ไดโดจิ สิ่งกลัวมากสุดคือผี แต่แล้ววันหนึ่งเธอได้ปลดผนึกโคลว์การ์ดออกโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เธอต้องออกตามหาโคลว์การ์ดกลับมา (CV:ซากุระ ทันเกะ)", "title": "ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์" }, { "docid": "196170#6", "text": "ถึงเธอจะเติบโตมาในตระกูลมาโต้ แต่แท้จริงแล้วในตัวเธอก็มีพลังเวทย์ปริมาณมหาศาลซุกซ่อนอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาตามสายเลือดของโทซากะ แต่ถึงกระนั้นเธอก็ยังมีความรู้ในเรื่องของการใช้เวทมนตร์ และเรื่องที่มานาของเธอถูกจำกัดโดยหนอนของโซเค็นเพียงนิดหน่อยเท่านั้น แม้ว่าเธอจะมีความรู้ในศาสตร์ของตระกูลมาโต้เพียงแค่เป็นทฤษฎี แต่เธอก็เหมาะสมสำหรับการเป็นจอมเวทย์มากกว่าด้วยสายเลือดของเธอ และตัวของเธอที่ถูกบังคับให้ปรับตัวเข้ากับหนอนของโซเค็น เพื่อให้สามารถให้ใช้เวทมนตร์เฉพาะของตระกูลมาโต้ได้ นอกจากนั้น หนอนของโซเค็นยังสามารถทำให้เธอเป็นเหมือนกับ อังรี มานยุ ในตอนที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือเป็น \"เงา\" นั่นเอง ซึ่งทำให้ซากุระต้องทำเดินตามเส้นทางที่โซเค็นกำหนดเอาไว้ด้วยความกลัว อย่างไรก็ตาม หากซากุระบิดเบือนไม่ยอมทำตามที่โซเค็นควบคุม และควบคุมตัวเธอเอง เธอจะกลายเป็น ซากุระด้านมืด ซึ่งเป็นด้านที่โหดร้ายอย่างที่ผิดกับตัวเธอแต่เดิมมากที่สุด เธอจะกลายเป็นคนไร้เหตุผลและอารมณ์ และจ้องแต่จะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างรอบข้างเธอในที่สุด", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "168840#7", "text": "มาสเตอร์ที่แท้จริงของเธอนั้นคือ มาโต้ ซากุระ แต่ที่เธอมาเป็นข้ารับใช้ของชินจินั้นเป็นเพราะซากุระได้ถูกแย่งคำสั่งมนตราไป ถึงแม้ว่าเธอจะเป็นข้ารับใช้ของชินจิ แต่ในใจเธอก็ไม่ได้ต้องการทำเพื่อคนที่ชั่วช้าอย่างเขาเลยแม้แต่น้อย ที่เธอทำเป็นคอยรับใช้อย่างซื่อสัตย์นั้นเป็นเพราะต้องการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของข้ารับใช้ให้สมบูรณ์เท่านั้น และเพื่อเป็นการปกป้องซากุระ คนที่เหมือนกับเธอในหลายๆ อย่างเท่านั้น และในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 เธอก็ไม่ได้มีจุดประสงค์อะไรในจอกศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกันกับข้ารับใช้ตนอื่นๆ ในสงครามครั้งนี้", "title": "ไรเดอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)" } ]
892
สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนียทรงสมรสกับใคร?
[ { "docid": "252384#3", "text": "พระนางทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ที่เมืองเบลเกรด ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2465 พระนางมีพระโอรส 3 พระองค์ ได้แก่\nแต่เนื่องจากทรงประกอบพระกรณียกิจในเซอร์เบียมากทำให้ทรงถูกพาดพึงว่า ทรงลืมเลือนเรื่องราวในประเทศเกิดคือ โรมาเนีย ดังคำกล่าวว่า \"พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงเป็นกษัตริย์ด้วยการตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองและไม่แสวงหาผลประโยชน์ พระราชินีมารีได้ขึ้นเป็นพระราชินีด้วยความรัก ความทุ่มเทในโรมาเนีย และทรงมีความเฉลียวฉลาด แต่ก็ไม่มีใครสามารถเป็นครูที่ดีแก่ลูกๆได้ ... เกี่ยวกับคาโรล ทายาทที่ไม่มีใครอยากพูดถึง! ลูกคนที่สอง เอลิซาเบธ ไม่สามารถทำหน้าที่พระราชินีแห่งกรีซรวมทั้งเจ้าหญิงแห่งโรมาเนียได้เต็มที่ เธอมักจบวันนั้นในโรงแรมซึ่งทรงเป็นนักผจญภัยที่เดินทางไปทุกที่ มิกนอล ลูกสาวอีกคนกลับได้รับการยอมรับในฐานะพระราชินีแห่งเซอร์เบีย เพราะมือเหล็กของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งเซอร์เบียและสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัดในเซอร์เบีย แต่มิกนอลได้ลืมเลือนว่าตนเป็นชาวโรมาเนีย มีเพียง 2 คนก่อนเมอร์เชียเท่านั้นคือ นิโคลัสและอีเลียนานับเป็นชาวโรมาเนียที่แท้จริง..\"-ที่มาจากเลขาส่วนตัวของเจ้าชายนิโคลัส", "title": "สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย" }, { "docid": "239459#0", "text": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย หรือ เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินเบอระ (มารี อเล็กซานดรา วิกตอเรีย, 27 ตุลาคม ค.ศ. 1875 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1938) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนียพระองค์สุดท้าย โดยเป็นพระมเหสีในพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "239459#13", "text": "ในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1893 เจ้าหญิงมารีและมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์ทรงประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสที่ปราสาทซิกมาริงเงินในสามพิธี ได้แก่ พิธีระดับรัฐ, พิธีคาทอลิก (ศาสนาของมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์) และพิธีแองกลิคัน (ศาสนาของเจ้าหญิงมารี) พิธีระดับรัฐได้ถูกดำเนินการที่ห้องโถงแดงของปราสาทโดยคาร์ล ฟอน เวนเดล องค์จักรพรรดิเยอรมันได้เสด็จมาเป็นพยานองค์แรกในสัญลักษณ์ของพิธีอภิเษกสมรส ในเวลา 4 นาฬิกา พิธีคาทอลิกได้ถูกจัดที่โบสถ์เมือง โดยพระราชบิดาทรงพาเจ้าหญิงมารีมาที่แท่นบูชา พิธีแองกลิคันมีความเรียบง่ายและได้ดำเนินการในห้องหนึ่งของปราสาท แม้ว่าพระเจ้าคาโรลทรงอนุญาตให้ทั้งคู่เสด็จไป \"โฮนิกทัก\" (Honigtag; หนึ่งวันสำหรับการฮันนีมูน) เจ้าหญิงมารีและมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์ทรงใช้เวลาไม่กี่วันที่ปราสาทในเคราเชนวีส์ที่บาวาเรีย จากที่นั่นทรงเดินทางผ่านชนบท และการเดินทางต้องถูกขัดจังหวะและหยุดที่กรุงเวียนนา ที่ซึ่งทรงเข้าเฝ้าจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย เนื่องจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างออสเตรียและโรมาเนีย (การเข้าเฝ้าเกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของบันทึกความเข้าใจทรานซิลเวเนีย) ทั้งสองพระองค์เสด็จเยือนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และทรงมาถึงชายแดนของเมืองพรีดีลจากการเดินทางข้ามคืนผ่านทรานซิลเวเนียด้วยรถไฟ เจ้าหญิงมารีทรงได้รับการต้อนรับจากชาวโรมาเนียอย่างอบอุ่นซึ่งปรารถนาในสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีความเป็นบุคคลมากขึ้น", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" } ]
[ { "docid": "230486#9", "text": "ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2491 พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นภายในห้องราชบัลลังก์ของพระราชวังหลวง ที่นั้นพิธีกระทำโดยอาร์คบิชอป ดามาสกินอส และสมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซทรงเป็นผู้จัดพิธี สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของพระราชาธิบดีไมเคิล และพระขนิษฐาของสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรล ได้แก่ เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย และ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียทรงได้รับการแจ้งให้ทราบแต่ทรงไม่ได้รับเชิญ หนึ่งในเพื่อนเจ้าสาวในครั้งนั้นคือ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งกรีซ ผู้ซึ่งเป็นเจ้าหญิงออร์โธด็อกซ์ซึ่งในที่สุดทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนซึ่งเป็นโรมันคาทอลิกและต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน", "title": "สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "239459#15", "text": "เจ้าหญิงมารีทรงมีพระประสูติกาลบุตรพระองค์แรกคือ เจ้าชายคาโรล ในเวลาเพียงเก้าเดือนหลังจากอภิเษกสมรส ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1893 ถึงแม้ว่าเจ้าหญิงมารีจะทรงขอใช้คลอโรฟอร์มเพื่อระงับอาการเจ็บปวด แต่เหล่าแพทย์ไม่เต็มใจที่จะทำเช่นนั้น แพทย์หลวงโรมาเนียเชื่อว่า \"ผู้หญิงทุกคนจะต้องชดใช้ด้วยความเจ็บปวดจากบาปของอีฟ\" หลังจากที่พระมารดาของเจ้าหญิงมารีและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงยืนยันตามคำขอของเจ้าหญิง ในที่สุดพระเจ้าคาโรลทรงอนุญาตให้พระสุณิสาสามารถใช้ยาได้ เจ้าหญิงมารีไม่ทรงมีความสุขมากนักหลังจากมีพระประสูติกาลพระโอรสองค์แรก ต่อมาทรงเขียนว่า \"รู้สึกเหมือนเอาหัว (ของเจ้าหญิงมารี) หันไปชนผนัง\" ในทำนองเดียวกันแม้ว่าเจ้าหญิงมารีจะทรงได้รับการย้ำเตือนอย่างต่อเนื่องจากพระมเหสีในพระเจ้าคาโรลคือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ที่ทรงเห็นว่าการที่เจ้าหญิงทรงมีบุตรถือว่า \"เป็นช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ที่สุดในชีวิต (ของเจ้าหญิงมารี)\" เจ้าหญิงทรงนึกถึงพระมารดาของพระองค์จากการที่ทรงมีพระประสูติกาลบุตรพระองค์ที่สองคือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ในปีค.ศ. 1894 หลังจากทีทรงคุ้นเคยกับการใช้พระชนม์ชีพในโรมาเนีย เจ้าหญิงมารีทรงเริ่มมีความสุขจากการมีพระประสูติกาลพระโอรสธิดา ซึ่งได้แก่ เจ้าหญิงมาเรีย (ค.ศ. 1900 - 1961) ทรงมีพระนามที่เรียกกันในราชวงศ์ว่า \"มิกนอน\" , เจ้าชายนิโคลัส (ค.ศ. 1903 - 1978) ทรงมีพระนามที่เรียกกันในราชวงศ์ว่า \"นิกกี้\" , เจ้าหญิงอีเลียนา (ค.ศ. 1909 -1991) และ เจ้าชายเมอร์เซีย (ค.ศ. 1913 - 1916)", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "239459#30", "text": "ในปีค.ศ. 1920 เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระธิดาองค์โตของพระนางมารี ทรงหมั้นกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซกับอดีตสมเด็จพระราชินีโซเฟีย พระญาติของพระนางมารี ซึ่งทรงถูกถอดถอนจากราชบัลลังก์กรีซ หลังจากที่พระนางทรงเชิญเจ้าชายจอร์จพร้อมพระขนิษฐาทั้งสองพระองค์คือ เจ้าหญิงเฮเลนและเจ้าหญิงไอรีน มาร่วมประทับพร้อมกับพระนางที่ซินายอา พระนางมารีทรงจัดการกิจกรรมต่างๆมากมายแก่คู่หนุ่มสาวทั้งสองและทรงยินดีอย่างมากที่จะทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระนางตามที่ทรงคาดหมายไว้แล้ว ซึ่งพระธิดาของพระนางเองนั้นมีข้อด่างพร้อยอย่างรุนแรง ในเดือนตุลาคม มีรายงานข่าวจากกรีซเกี่ยวกับการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์แห่งกรีซ ซึ่งเจ้าหญิงกรีซต้องรีบเสด็จกลับไปพบพระบิดาและพระมารดาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในวันถัดมา มีข่าวแจ้งว่า พระมารดาของพระนางมารีได้สิ้นพระชนม์แล้วอย่างสงบที่ซูริก พระนางมารีทรงเตรียมการเดินทางไปยังสวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งพระนางจะทรงพาเจ้าหญิงเฮเลนและเจ้าหญิงไอรีนไปพบพระบิดาและพระมารดาของทั้งสองพระองค์ได้และเข้าร่วมพิธีฝังพระศพพระมารดาของพระนาง ในขณะที่เจ้าชายจอร์จและเจ้าหญิงเอลิซาเบธยังคงประทับอยู่ที่ซินายอา", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "239459#23", "text": "ในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1914 มกุฎราชกุมารีมารีและมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์ได้รับการประกาศสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีในรัฐสภา เจ้าหญิงแอนน์ มารี คัลลิมาชี พระสหายสนิทของพระนางมารี ได้เขียนว่า \"ขณะเป็นมกุฎราชกุมารี [มารี] ทรงเป็นที่นิยม เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระราชินี พระนางทรงเป็นที่รักอย่างมาก\" พระนางทรงมีอิทธิพลเหนือพระสวามีและตลอดทั้งราชสำนัก จากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ เอ.แอล. อีสเตอร์แมน ได้เขียนว่า \"ไม่ใช่ [เฟอร์ดินานด์] แต่มารีต่างหากที่ปกครองโรมาเนีย\" ในช่วงการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ รัฐบาลได้อยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจากพรรคเสรีนิยม คือ นายกรัฐมนตรีเอียน ไอ. ซี. บราเทียนู พระเจ้าเฟอร์ดินานด์และสมเด็จพระราชินีมารีทรงร่วมกันตัดสินพระทัยไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงในราชสำนักมากนักและทรงพยายามให้ผู้คนยอมรับการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยหนึ่งไปอีกยุคสมัยหนึ่งมากกว่าการบังคับพวกเขา ดังนั้นข้าราชบริพารของเจ้าชายคาโรลกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม แม้ว่าจะมีคนที่ไม่โปรดก็ตาม ด้วยการช่วยเหลือของบราเทียนู พระนางมารีทรงเริ่มกดดันให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์เข้าสู่สงคราม พร้อมกันนั้นพระนางทรงติดต่อเหล่าพระญาติที่ครองราชย์ในประเทศต่างๆของยุโรปและทรงพยายามต่อรองเงื่อนไขที่ดีที่สุดแก่โรมาเนีย ในกรณีที่ประเทศจะเข้าสู่สงคราม พระนางมารีทรงสนับสนุนการเป็นพันธมิตรกับพันธมิตรไตรภาคี (รัสเซีย, ฝรั่งเศส และอังกฤษ) ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะทรงมีเชื้อสายชาวอังกฤษ ความเป็นกลางไม่ได้ทำให้ปราศจากภัยอันตรายใดๆและการเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายไตรภาคี นั้นหมายความว่า โรมาเนียจะทำหน้าที่เป็น \"ดินแดนกันชน\" ให้รัสเซียเมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "239459#20", "text": "ในช่วงนี้ มกุฎราชกุมารีมารีทรงพบกับร้อยโท จอร์จี คานตาคูซีเน เป็นสมาชิกที่มมาจากเชื้อสายนอกสมรสของเชื้อพระวงศ์ผู้ครองแคว้นในสมัยโบราณของโรมาเนียและเป็นเชื้อสายของเจ้าชายเซอร์บาน คานตาคูซีโน ถึงแม้รูปโฉมจะไม่หล่อเหลาเท่าไหร่ แต่คานตาคูซีเนเป็นคนที่มีอารมณ์ขันและแต่งตัวดี และมีความสามารถในการขี่ม้า ทั้งคู่ได้เริ่มมีความรักแก่กัน แต่เรื่องอื้อฉาวนี้ได้สิ้นสุดเมื่อสาธารณะได้รับรู้ พระราชมารดาของพระนางมารีทรงประณามพฤติกรรมของพระธิดาและทรงโปรดให้พระธิดาเสด็จมายังโคบูร์กเมื่อพระนางมารีทรงพระครรภ์ในปีค.ศ. 1897 นักประวัติศาสตร์ จูเลีย เกลาร์ดี เชื่อว่าพระนางมารีมีพระประสูติกาลบุตรที่โคบูร์ก และบุตรอาจจะเสียชีวิตตั้งแต่เกิดหรือไม่ก็ถูกส่งไปยังสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าทันที มีการคาดเดากันว่า \"เจ้าหญิงมิกนอน\" พระธิดาองค์ที่สองของพระนางมารี ที่จริงแล้วเป็นบุตรที่ประสูติกับคานตาคูซีเน ไม่ใช่มกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์ ในปีถัดๆมา มีข่าวลือว่าพระนางมารีทรงมีความสัมพันธ์กับแกรนด์ดยุกบอริส วลาดีมีโรวิชแห่งรัสเซีย, วัลดอร์ฟ อัสเตอร์, เจ้าชายบาร์บู สเตอบีย์, และโจ บอยล์ ในปีค.ศ. 1903 มกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์และพระนางมารีทรงเปิดปราสาทเปลีซอร์ เป็นปราสาทในสถาปัตยกรรมแบบนวศิลป์ที่เมืองซินายอา ซึ่งพระเจ้าคาโรลทรงมอบให้กับทั้งสองพระองค์ พระนางมารีทรงได้เรียนรู้ถึงขอบเขตการอดกลั้นซึ่งนำไปสู่การปราบปรามกบฏชาวนาโรมาเนียค.ศ. 1907 ซึ่งสายเกินไปที่จะทรงพยายามไกล่เกลี่ย หลังจากนั้นพระนางได้ทรงฉลองพระองค์ชุดพื้นบ้านโรมาเนียบ่อยๆทั้งในที่ประทับและที่สาธารณะและทรงเริ่มทิศทางแฟชั่นการแต่งกายแบบนี้ในหมู่เด็กสาวชนชั้นสูง", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "239459#31", "text": "ในเวลาต่อมาอย่างรวดเร็ว มกุฎราชกุมารคาโรลได้มีการหมั้นหมายเจ้าหญิงเฮเลนและทั้งสองพระองค์ก็ได้อภิเษกสมรสในปีถัดมา พระนางมารีทรงปลื้มปิติมาก หลังจากที่ไม่ทรงยอมรับความสัมพันธ์ของมกุฎราชกุมารคาโรลกับซิซิ ลามบริโนและทรงกลุ้มพระทัยมากที่เธอได้ให้กำเนิดลูกนอกสมรสกับมกุฎราชกุมารคาโรล คือ คาโรล ลามบริโน ซึ่งสิ่งที่พระนางพอจะบรรเทาได้ก็คือให้เด็กใช้นามสกุลของมารดา ในปีค.ศ. 1922 พระนางมารีทรงให้ \"เจ้าหญิงมิกนอล\" พระธิดาองค์ที่สองอภิเษกสมรสกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย (หลังจากนี้คือ ยูโกสลาเวีย) พระนางมารีทรงปลื้มปิติมากที่พระนัดดาทั้งสองประสูติ ซึ่งก็คือ เจ้าชายไมเคิลแห่งโรมาเนีย (ประสูติ ค.ศ. 1921-2017) และเจ้าชายปีเตอร์แห่งยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1923 - 1970) การประสูติของพระนัดดาทั้งสองพระองค์ที่ถูกกำหนดชะตาให้ครองราชบัลลังก์ในยุโรปดูเหมือนจะประสานความทะเยอทะยานของพระนางได้ ความพยายามในราชวงศ์ของพระนางมารีได้ถูกมองจากนักวิจารณ์ว่าเป็นพระมารดาที่คอยชักจูงควบคุมซึ่งต้องเสียสละความสุขของพระโอรสธิดาของพระนางเองเพื่อตอบสนองความทะเยอทะยานของพระนาง แต่ในความเป็นจริง พระนางมารีไม่ทรงเคยบังคับพระโอรสธิดาอภิเษกสมรสเลย", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "239459#49", "text": "พระนางมารีทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนียพระองค์สุดท้าย โดยเจ้าหญิงเฮเลนทรงได้รับพระอิสริยยศ \"สมเด็จพระราชชนนี\" เท่านั้นในระหว่างปีค.ศ. 1940 ถึงค.ศ. 1947 พระนางทรงเป็นหนึ่งในห้าพระราชนัดดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่ได้สวมมงกุฎและทรงเป็นหนึ่งในสามที่สามารถรักษาพระอิสริยยศในฐานะสมเด็จพระราชินีได้หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยกันกับสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "291062#22", "text": "ภาพนี้เป็นภาพพิธีการเสกสมรสโดยฉันทะของเจ้าหญิงมารี เดอ เมดีซิสกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสพระเจ้าอ็องรีที่ 4 ที่เกิดขึ้นที่มหาวิหารฟลอเรนซ์เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1606 โดยมีคาร์ดินัลปีเอโตร อัลโดบรันดีนีเป็นผู้ทำพิธี โดยมีพระปิตุลาของเจ้าหญิงมารี แฟร์ดีนันโดที่ 1 เด เมดีชีแกรนด์ดุ๊กแห่งทัสกานี เป็นผู้แทนพระองค์ในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 ในภาพนี้แกรนด์ดยุกสวมพระธำมรงค์ให้แก่เจ้าหญิงมารี บุคคลอื่น ๆ ที่ปรากฏในภาพสามารถบอกได้ว่าใครเป็นใครรวมทั้งตัวรือเบินส์เองที่เข้าร่วมพิธีดังว่าที่เกิดขึ้นเมื่อยี่สิบปีก่อนหน้าที่จะเขียนภาพในฐานะของผู้มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลกอนซาการะหว่างที่พำนักอยู่ในอิตาลี รือเบินส์ในภาพที่ดูเป็นหนุ่มยืนถือกางเขนอยู่ข้างหลังเจ้าสาวและหันมองตรงมายังผู้ชมภาพ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็ยากที่จะเป็นไปได้ว่าขณะนั้นรือเบินส์จะมีความสำคัญพอที่ปรากฏตัวอยู่ในภาพในฐานะที่เด่นดังที่วาดในภาพ ผู้ที่ร่วมในงานเสกสมรสก็ได้แก่คริสตีนแห่งลอแรน แกรนด์ดัชเชสแห่งทัสเคนีและพระขนิษฐาเอเลนอรา ดัชเชสแห่งมันโตวา และคณะผู้ร่วมเดินทางของฝรั่งเศสที่รวมทั้งมาร์ควิสเดอซิเลยีผู้เป็นผู้เจรจาข้อตกลงในการเสกสมรส ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับภาพอื่นใน \"ภาพชุดพระราชินีมารี\" ที่รือเบินส์รวมเทพเข้าในภาพด้วย: ไฮเมเนียส เทพแห่งการแต่งงานที่สวมมงกุฎดอกกุหลาบที่ถือชายพระภูษาของเจ้าหญิงมารีในมือหนึ่งและในอีกมือหนึ่งถือคบเพลิงแห่งการสมรส พิธีเกิดขึ้นภายใต้ประติมากรรมของพระเจ้าผู้ทรงโทมนัสกับร่างอันไร้ชีวิตของพระเยซูที่เป็นนัยถึงประติมากรรมปีเอต้าโดยบาร์โทโลเมโอ บันดิเนลลิ", "title": "ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส" } ]
896
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "233418#42", "text": "ในวันถัดมา คำอุทธรณ์ในโทษประหารชีวิตของพระเจ้าหลุยส์ถูกปฏิเสธด้วยคะแนนเสียง 380 ต่อ 310 เสียง ส่งผลให้ต้องมีการสำเร็จโทษด้วยการปลงพระชนม์ในทันที และคำตัดสินดังกล่าวถือว่าเป็นที่สิ้นสุดแล้ว วันจันทร์ที่ 21 มกราคม 1793 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกสำเร็จโทษจากการบั่นพระเศียรด้วยเครื่องกีโยติน ณ ปลัสเดอลาเรวอลูซียง ผู้สำเร็จโทษนามว่า ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง ให้การว่าทรงยอมรับชะตากรรมของพระองค์อย่างกล้าหาญ", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "233418#0", "text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (; 5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ พระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1765 ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระอัยกา (พระเจ้าหลุยส์ที่ 15) ในปี ค.ศ. 1774 โดยในปี ค.ศ. 1791 ทรงสูญเสียราชบัลลังก์แห่งนาวาร์และครองราชย์ต่อไปในฐานะกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ถัดมาในปี ค.ศ. 1792 ทรงถูกขับออกจากราชสมบัติและสำเร็จโทษในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส" } ]
[ { "docid": "233418#28", "text": "การเสียชีวิตของมิราโบและความไม่เด็ดขาดของพระเจ้าหลุยส์ ส่งผลให้การเจรจาระหว่างกษัตริย์และนักการเมืองสายกลางอ่อนลงอย่างรุนแรง แต่ในอีกทางหนึ่ง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังคงมีท่าทีไม่หัวรุนแรงเท่าพระอนุชาทั้งสองอย่าง เคาน์แห่งโพรว็องส์และเคาน์แห่งอาร์ตัวส์ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ส่งราชหัตถเลขาแก่พระอนุชาทั้งสองผ่านผู้ถูกเสนอชื่ออย่างลับๆ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนอย่าง คาร์ดินัลโลเมนี เดอ บรีเยนน์ ร้องขอให้หยุดความพยายามก่อการปฏิวัติต่อต้าน ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง ทรงมีพระราชหฤทัยออกห่างรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากปฏิกิริยาด้านลบของรัฐบาลต่อบทบาทตามประเพณีของกษัตริย์และความเป็นอยู่ของเชื้อพระวงศ์ที่หรูหรา พระเจ้าหลุยส์ทรงรู้สึกระคายเคืองอย่างยิ่งจากการถูกคุมขังราวกับนักโทษในพระราชวังตุยเลอรี และจากการที่รัฐบาลใหม่ไม่อนุญาตให้ทรงมีผู้ไถ่บาปและนักบวชตามพระราชประสงค์", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "12546#13", "text": "ออสการ์และอังเดรเข้าร่วมต่อสู้ในการปฏิวัติของราษฎรตามหน้าที่ แต่ทั้งสองถูกยิงเสียชีวิต พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางมารี อองตัวเนต และเจ้าชายโจเซฟ รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ฝรั่งเศส ถูกจับและนำตัวไปคุมขังเพื่อรอการพิพากษา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกนำตัวไปประหารชีวิตก่อน สร้างความตึงเครียดและความหวาดกลัวแก่พระนางมารี อองตัวเนต ทำให้เส้นพระเกศาสีทองเปลี่ยนเป็นสีขาวโพลนเพียงชั่วข้ามคืน ก่อนทีพระนางจะถูกนำตัวไปประหารชีวิตด้วยกิโยติน เพื่อชดใช้สำหรับประชาชนที่ต้องสูญเสียชีวิตและเงินทองเป็นค่าภาษีให้พระนางใช้จ่ายฟุ่มเฟือย", "title": "กุหลาบแวร์ซายส์" }, { "docid": "247900#66", "text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ไม่ทรงโปรดเจ้าชายสืบสายพระโลหิต เจ้าชายหลุยส์ ฟิลิปป์ ดยุกแห่งออร์เลออง และมักจะทรงหาโอกาสดูถูกเจ้าชายโดยตลอด ทรงปฏิเสธพระอิสริยยศ \"รอยัลไฮเนส\" ของเจ้าชาย ส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่ทรงพอพระทัยบทบาทของพระบิดาในดยุกที่ทรงลงคะแนนเสียงให้ประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ดยุกแห่งแบร์รี พระนัดดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ถูกลอบปลงพระชนม์ที่โรงละครโอเปราปารีสในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1820 พระราชวงศ์โศกเศร้าเสียพระทัยอย่างมาก และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงละทิ้งกฎโบราณราชประเพณีโดยทรงร่วมพระพิธีฝังพระศพพระนัดดา ซึ่งในขณะที่ก่อนหน้านี้พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสไม่สามารถมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตใด ๆ ได้ การสิ้นพระชนม์ของดยุกแห่งแบร์รีทำให้ราชตระกูลออร์เลอองมีแนวโน้มที่จะสืบราชบัลลังก์มากขึ้น", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "247900#13", "text": "ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1774 พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงพระประชวรด้วยโรคฝีดาษและสิ้นพระชนม์ในหลายวันต่อมา วันที่ 10 พฤษภาคม ดอแฟ็ง หลุยส์ ออกุสต์ ทรงสิบราชบัลลังก์ต่อจากพระอัยกาในฐานะ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในฐานะที่เป็นพระอนุชาองค์ใหญ่ของพระมหากษัตริย์ เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงได้รับพระยศเป็นมองซิเออร์ (Monsieur) พระองค์ทรงปรารถนามีอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก พระองค์พยายามขอพระบรมราชานุญาตเข้าร่วมสภาของพระมหากษัตริย์ในปีค.ศ. 1774 แต่ล้มเหลว เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงถูกปล่อยไว้ในสภาวะถูกลืมเลือนทางการเมืองที่พระองค์ทรงเรียกว่า \"เป็นช่องว่าง 12 ปีในชีวิตทางการเมืองของข้าพเจ้า\" พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระราชทานรายได้จากดัชชีแห่งอาล็องซงแก่เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1774 การพระราชทานดัชชีนี้ให้เพื่อเสริมเกียรติภูมิเจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาส แต่ที่ดินดังกล่าวมีรายได้เพียง 300,000 ลีฟเรอ (livre) ต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าที่เคยสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มาก", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "247900#30", "text": "หลุยส์ ชาร์ลสวรรคตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1795 พระเชษฐภคินีพระองค์เดียวที่ยังทรงพระชนม์อยู่คือ เจ้าหญิงมารี-เตแรซ ซึ่งไม่ถูกพิจารณาในฐานะผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์เพราะความยึดมั่นในกฎหมายแซลิกตามโบราณราชประเพณีฝรั่งเศส ดังนั้นในวันที่ 16 มิถุนายน เหล่าเจ้าชายผู้พลัดถิ่นได้ประกาศให้เคานต์แห่งพรอว็องส์เป็น \"พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส\" พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงได้รับการยอมรับหลังจากการประกาศนั้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงร่างแถลงการณ์ตอบสนองต่อการสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แถลงการณ์นี้รู้จักกันในชื่อ \"การประกาศแห่งเวโรนา\" ซึ่งเป็นความพยายามของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของพระองค์ต่อประชาชนชาวฝรั่งเศส การประกาศแห่งเวโรนาได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสกลับเข้าสู่ร่มเงาของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ \"ซึ่งเป็นเวลากว่าสิบสี่ศตวรรษที่รุ่งโรจน์ของฝรั่งเศส\"", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "231726#24", "text": "ดาวีดเสียชีวิตลงในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1825 เนื่องจากตอนที่เขากำลังจะออกจากโรงละครเกิดอุบัติเหตุรถปะทะกัน หลังจากเขาเสียชีวิตภาพวาดของเขาบางส่วนก็ถูกนำมาประมูล ร่างของเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ฝังในฝรั่งเศสด้วยเหตุผลที่ปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ร่างของจิตรกร ฌัก-หลุยส์ ดาวีด จึงถูกฝังอยู่ที่สุสานบรัสเซลส์ ในขณะที่หัวใจของเขาถูกฝังอยู่ที่ปารีส", "title": "ฌัก-หลุยส์ ดาวีด" }, { "docid": "247900#68", "text": "พระพลานามัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรุดลงในฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. 1824 พระองค์ทรงทุกข์ทรมานจากโรคอ้วน, โรคเกาต์และเนื้อตายเน่า ทั้งเปียกและแห้ง ในพระเพลา (ขา) และกระดูกสันหลัง พระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1824 โดยทรงแวดล้อมด้วยเหล่าพระราชวงศ์และข้าราชการบางคน ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อคือ พระอนุชาของพระองค์ เคานต์แห่งอาตัวส์ทรงครองราชย์ในฐานะ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "12914#10", "text": "ปัญหาเรื่องพระพลานามัยที่ทรุดโทรมและปัญหาการหารัชทายาท ทำให้เกิดบรรยากาศเศร้าสลดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ต้องสูญเสียพระโอรส เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส (มกุฎราชกุมาร) ไปในปี พ.ศ. 2254 ในปีถัดมา ดยุคแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นพระราชนัดดา พร้อมด้วยโอรสองค์โตของดยุคพระองค์นี้ก็ได้สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วยโรคฝีดาษ องค์มกุฎราชกุมารมีพระโอรสอีกสององค์ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้เป็นกษัตริย์ของสเปนภายใต้พระนามว่าฟิลลิปเปที่ 5 แห่งสเปน เป็นผู้ซึ่งปฏิเสธสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศสที่สืบเนื่องมาจากสงครามชิงบัลลังก์ในสเปนภายใต้สนธิสัญญาอูเทรชต์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2257 ดยุคแห่งแบรี โอรสอีกพระองค์หนึ่งของมกุฎราชกุมารก็สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วย ราชนิกูลชายผู้สืบเชื้ออย่างถูกต้องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในขณะนั้นจึงได้แก่ดยุคแห่งอองจู พระโอรสองค์รองของเจ้าชายแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นเหลนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2253แต่ก็เป็นเด็กชายผู้มีพลานามัยเปราะบาง นอกเหนือจากดยุคแห่งอองจูผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งมกุฎราชกุมารแล้ว ก็มีเจ้าชายผู้สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระองค์อยู่อีกไม่มากในสายมารดาอื่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ราชวงศ์ด้วยการมอบสิทธิ์การขึ้นครองบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายอีกสองพระองค์ด้วยเช่นกัน ได้แก่เจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ เดอ บูร์บง ดยุคแห่งเมน และเจ้าชายหลุยส์ อเล็กซองเดรอ เคาท์แห่งตูลูส พระโอรสอันชอบธรรมสองพระองค์ที่ประสูติแต่มาดาม เดอ มงต์เตสปอง\nพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2258 ด้วยโรคติดเชื้อจากแผลกดทับ พระองค์ได้ทรงประกาศก่อนสิ้นพระทัยว่า \"\"ข้าจะไปแล้ว แต่รัฐของข้าจะคงอยู่ตลอดไป\"\" รัชสมัยของพระองค์กินเวลา 72 ปี กับ 100 วัน พระศพถูกฝังไว้ที่บาซิลิก ซังต์ เดอนี ซึ่งหลุมพระศพนี้ถูกบุกรุกทำลายในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในกาลต่อมา ดยุคแห่งอองจู เหลนของพระองค์ผู้มีพระชนม์เพียงห้าชันษาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อมา ภายใต้พระนามว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส โดยมีเจ้าชายฟิลิปป์ ดยุคแห่งออร์เลอง พระนัดดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้สำเร็จราชการตลอดช่วงที่กษัตริย์ยังทรงพระเยาว์", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "233418#6", "text": "จากการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาด้วยวัณโรคในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1765 เจ้าชายหลุยส์โอกุสต์ผู้มีพระชนมายุได้เพียง 11 พรรษา ก็ได้เฉลิมพระยศใหม่ขึ้นเป็นโดแฟ็ง พระมารดาของพระองค์ผู้ทรงไม่เคยฟื้นจากความอาดูรในการสูญเสียพระสวามีก็ได้สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1767 ด้วยวัณโรคเช่นเดียวกัน การศึกษาอย่างเข็มงวดในแบบอนุรักษนิยมจากดยุกแห่งโวกียงซึ่งมีฐานะเป็น \"ข้าหลวงแห่งราชโอรสราชธิดาฝรั่งเศส\" () ตั้งแต่ ค.ศ. 1760 จนกระทั่งทรงอภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 1770 ไม่ได้ช่วยเตรียมพระองค์ในการขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ต่อจากพระอัยกาในปี ค.ศ. 1774 เลย การศึกษาที่ทรงได้รับเป็นการผสมปนเปกันของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะศาสนา จริยธรรม และมนุษยศาสตร์ ทั้งนี้พระอาจารย์อาจจะมีส่วนในการปลุกปั้นพระองค์ให้ทรงกลายมาเป็นกษัตริย์ผู้ไร้ซึ่งความหนักแน่นเฉียบขาดอีกด้วย เช่นที่ อับเบ แบร์ตีแยร์ พระอาจารย์ของพระองค์ชี้แนะว่าความขลาดกลัวคือคุณค่าในตัวกษัตริย์ผู้แข็งแกร่ง หรือที่อับเบ โซลดีนี ผู้รับฟังคำสารภาพบาป ได้ชี้แนะไว้ว่าอย่าทรงปล่อยให้ผู้คนอ่านพระราชหฤทัยของพระองค์ได้", "title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส" } ]
899
คิวบา ใช้สกุลเงินอะไร?
[ { "docid": "868473#0", "text": "เปโซคิวบา () คือหน่วยสกุลเงินหนึ่งที่ใช้ในประเทศคิวบาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คิวบาเปโซ (CUP) ถือเป็นสกุลเงินหลักในประเทศ และคอนเวอร์ทิเบิลเปโซ (CUC) หรือสกุลเงินที่ออกมาเพื่อใช้แทนดอลลาร์สหรัฐ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐ มีค่าเท่ากับ 1 CUC และ 1 CUC มีค่าเท่ากับ 24 CUP แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินในประเทศถูกกว่าสกุลเงินที่ใช้ทดแทนเงินภายนอกมาก แต่ทั้ง CUP และ CUC สามารถเรียกรวมกัน ง่ายๆ ว่า เปโซ (Peso) ในคิวบาตามร้านค้าจะไม่ค่อยรับ CUC มากนัก หรือรับก็มีมาตรฐานค่าเงินต่างกัน จึงมักเกิดกรณีที่ชาวต่างชาติจ่ายเงินเกินจำนวนบ่อย", "title": "เปโซคิวบา" } ]
[ { "docid": "974481#16", "text": "กระเป๋าเงินสกุลเงินดิจิทัล ทำหน้าที่จัดเก็บคีย์สาธารณะและคีย์ส่วนตัวที่สามารถนำมาใช้เพื่อรับและใช้จ่ายสกุลเงินดิจิทัลได้ โดยกระเป๋าเงินสามารถจัดเก็บคู่คีย์สาธารณะและส่วนตัวได้หลายคู่ ณ เดือนมกราคม 2018 มีสกุลเงินดิจิทัลมากกว่าหนึ่งพันสามร้อยสกุลเงิน โดยสกุลเงินแรกและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ บิทคอยน์ ในส่วนของสกุลเงินดิจิทัลเองไม่ได้เป็นกระเป๋าเงิน หากบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลมาจากกระเป๋าเงิน ถือว่าสกุลเงินดิจิทัลถูกจัดเก็บและรักษาโดยขึ้นกับส่วนกลางในบัญชีแยกประเภทที่เปิดเป็นสาธารณะ ทุกๆ สกุลเงินดิจิทัลมีคีย์ส่วนตัว ด้วยคีย์แยกประเภท มันสามารถเขียนบัญชีแยกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้บิทคอยน์ที่เกี่ยวข้อง", "title": "คูโนส" }, { "docid": "974481#10", "text": "สกุลเงินดิจิทัล (หรือสกุลเงินคริปโต) คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้แลกเปลี่ยนและทำธุรกรรมทางการเงิน ควบคุมการสร้างหน่วยเงินเพิ่มเติมและตรวจสอบความถูกต้องของการถ่ายโอนทรัพย์สิน สกุลเงินดิจิทัลคือสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่ง หรือสกุลเงินเสมือนหรือสกุลเงินทางเลือก ทั้งนี้ สกุลเงินดิจัลใช้การควบคุมที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลางและต่อต้านเงินอิเล็คทรอนิกที่ขึ้นกับส่วนกลางและระบบการธนาคารกลาง การควบคุมที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลางของแต่ละสกุลเงินดิจิทัลทำงานผ่านเทคโนโลยีการแจกจ่ายหรือที่เรียกว่า บล็อกเชน ที่ทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลธุรกรรมทางการเงินสาธารณะ \nBitcoin ซึ่งเปิดตัวเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สครั้งแรกในปี 2009 โดยทั่วไปถือว่าเป็นสกุลเงินคริปโตแรกที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง นับตั้งแต่\nการปล่อยบิทคอยน์ อัลท์คอยน์กว่า 4,000,000 เหรียญ (อีกประเภทหนึ่งของบิทคอยน์หรือสกุลเงินคริปโตอื่นๆ ) ได้ถูกสร้าง ขึ้น", "title": "คูโนส" }, { "docid": "933967#30", "text": "ยังมีปัญหาทางกฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลต่าง ๆ โดยตรง\nเช่น เงินสกุล Coinye ได้ใช้นักร้องแร็ป คานเย เวสต์ เป็นโลโกโดยไม่ได้รับอนุญาต\nเมื่อได้ยินถึงแผนการวางตลาดเงินสกุล Coinye ซึ่งดั้งเดิมเรียกว่า Coinye West (ฟังคล้ายชื่อนักร้อง) ทนายของคานเยได้ส่งจดหมายเพื่อให้หยุดและงดเว้นแก่ผู้พัฒนา Coinye ในวันที่ 6 มกราคม 2014\nจดหมายอ้างว่า Coinye เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า เป็นการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นการละลายชื่อเสียง และสั่งให้ Coinye หยุดใช้ภาพเหมือนและชื่อของนักร้อง\nต่อมาวันที่ 17 มกราคม Coinye ก็ถึงจุดจบ", "title": "คริปโทเคอร์เรนซี" }, { "docid": "974481#4", "text": "เป็นอีกประเภทหนึ่งของสกุลเงิน CSD โดยมีทั้งหมด 21 ล้านเหรียญที่กำลังได้รับการสกัดขึ้นมาและสามารถใช้ทำธุรกรรมทางการค้าและโอนเงินได้ทั่วโลกในราคา 20 สวิสฟรังค์ต่อเหรียญ นอกจากนี้ตัวบริษัทเองไม่ได้เข้าสู่ตลาดซื้อขายส่งผลให้ราคาของเหรียญไม่ได้รับผลกระทบจากราคาขึ้นหรือลง อีกทั้งยังเป็นสัญญาณรับประกันการโอนเงินและการซื้อขายสินค้า", "title": "คูโนส" }, { "docid": "7913#0", "text": "กีบ () เป็นหน่วยเงินของประเทศลาว (รหัสสากลตาม ISO 4217 อักษรย่อ LAK) หนึ่งกีบมี 100 อัด () ในปี พ.ศ. 2522 เกิดการปฏิรูปค่าเงินขึ้น โดยเปลี่ยน 100 กีบแบบเก่าให้เท่ากับ 1 กีบในปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 คือ 1 ยูโร เท่ากับ 13,636 กีบ และ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 10,500 กีบ ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้", "title": "กีบ (สกุลเงิน)" }, { "docid": "908809#0", "text": "มิสแกรนด์คิวบา () เป็นตำแหน่งในการประกวดนางงามระดับประเทศของคิวบา ผู้ที่ได้รับตำแหน่งจะได้เป็นตัวแทนประเทศบราซิลในการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งจะถูกจัดประกวดขึ้นทุกปีในช่วงปลายปี โดยผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์คิวบาทุกคนที่ผ่านมาแล้วได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถจัดการประกวดนางงามขึ้นในคิวบาได้ตามประกาศสั่งห้ามการดำเนินกิจกรรมประเภทดัวกล่าวของรัฐบาลคิวบาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ปัจจุบัน สิทธิ์การส่งตัวแทนจากคิวบาเข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลนั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรมิสคิวบา (Miss Cuba Organization) ซึ่งดูแลและบริหารงานโดย \"โนเอมิ เมเลนเดซ (Noemi Melendez) \"‎", "title": "มิสแกรนด์คิวบา" }, { "docid": "17218#18", "text": "สกุลเงินที่ใช้คือโครนาไอซ์แลนด์ (króna – ISK) ออกโดยธนาคารกลางไอซ์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินด้วย ค่าเงินโครนามีความผันผวนกับสกุลเงินยูโรสูง จึงทำเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโรโดยไม่เข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพยุโรป จากการสำรวจในปี 2550 พบว่า 53% ของชาวไอซ์แลนด์สนับสนุนการร่วมใช้สกุลเงินยูโร 37% ต่อต้าน และ 10% ไม่ตัดสินใจ ไอซ์แลนด์มีอัตราการใช้จ่ายด้วยเงินสดในประเทศต่ำมาก (น้อยกว่า 1% ของ GDP) และนับได้ว่าเป็นประเทศที่ใช้ปัจจัยอื่นทดแทนเงินสดได้มากที่สุด ประชากรส่วนใหญ่ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแม้จะเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อย\nพลังงานทดแทน ได้แก่พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นส่วนประกอบถึงมากกว่า 70% ของการบริโภคพลังงานของไอซ์แลนด์", "title": "ประเทศไอซ์แลนด์" }, { "docid": "399537#16", "text": "แต่การกระทำใดๆ ไร้ผล ที่สุดแล้วรัฐบาลซิมบับเว ประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลลาร์ซิมบับเวในประเทศและยอมรับการใช้เงินสกุลอื่นในประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยกล่าวว่า จะหยุดใช้เงินสกุลนี้ไปอย่างน้อยหนึ่งปี จนกว่าประเทศจะพร้อมกลับไปใช้เงินสกุลนี้อีกครั้ง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเยียวยาตัวมันเอง นับจากวันนั้น ภาวะเงินเฟ้อในซิมบับเวลดลงสู่ระดับเกือบปกติในทันที และไม่เคยพุ่งสูงอีกเลย และจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเลิกใช้เงินสกุลนี้มีแล้วหลายปี แต่ก็ยังไม่ได้ให้ประเทศกลับไปใช้เงินสกุลนี้แต่อย่างใด", "title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว" }, { "docid": "974481#17", "text": "กระเป๋าเงินทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำธุรกรรมสกุลเงิน Counos ถึงแม้ว่ากระเป๋าเงินจะถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่ใช้จัดเก็บสกุลเงินดิจิทัล Counos ตามการทำงานพื้นฐานของระบบ แต่สกุลเงินดิจิทัล Counos ไม่สามารถแยกออกได้จากการทำธุรกรรมบล็อกเชน แต่หากอธิบายให้ดียิ่งขึ้น กระเป๋าเงิน คือ “สิ่งที่เก็บข้อมูลสำคัญทางดิจิทัลสำหรับเงิน Counos ของคุณ” และช่วยให้คุณสามารถเข้าถึง (และใช้จ่าย) เงินเหล่านั้นได้ กระเป๋าเงิน Counos จะไม่ได้ถูกเก็บไว้ในกระเป๋าเงิน แต่จะจัดเก็บคีย์ส่วนตัว (รหัสดิจิทัลรักษาความปลอดภัยสำหรับคุณและกระเป๋าเงินเท่านั้น) และจะแสดงความเป็นเจ้าของคีย์ดังกล่าว (รหัสดิจิทัลสาธารณะที่เชื่อมต่อกับจำนวนสกุลเงิน) ดังนั้น กระเป๋าเงินของคุณจัดเก็บคีย์ส่วนตัวและสาธารณะเข้าด้วยกัน ทำให้คุณสามารถส่งและรับเหรียญอีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือทำธุรกรรมส่วนบุคคล", "title": "คูโนส" } ]
902
ประเทศฟิลิปินส์มีพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "1990#11", "text": "ฟิลิปปินส์เป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ มีเนื้อที่ทั้งหมด (รวมพื้นผิวแหล่งน้ำภายในแผ่นดิน) ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) ชายฝั่งทะเลยาว 36,289 กิโลเมตร (22,549 ไมล์) ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ฟิลิปปินส์มีที่ตั้งซึ่งกำหนดโดยพิกัดภูมิศาสตร์คือ ระหว่างลองจิจูด 116° 40' ตะวันออก ถึง 126° 34' ตะวันออก กับละติจูด 4° 40' เหนือ ถึง 21° 10' เหนือ มีอาณาเขตจรดทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก จรดทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก และจรดทะเลเซเลบีสทางทิศใต้ เกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยกิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และไต้หวันตั้งอยู่ทางทิศเหนือโดยตรง หมู่เกาะโมลุกกะและเกาะซูลาเวซีตั้งอยู่ทางทิศใต้-ตะวันตกเฉียงใต้ และปาเลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะ", "title": "ประเทศฟิลิปปินส์" }, { "docid": "1990#1", "text": "ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี พ.ศ. 2556 ยังมีชาวฟิลิปปินส์อีกประมาณ 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในต่างประเทศ รวมแล้วถือเป็นกลุ่มคนพลัดถิ่นที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมปรากฏให้เห็นตลอดทั้งหมู่เกาะ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในหมู่เกาะแห่งนี้คือกลุ่มชนนิกรีโต ตามมาด้วยกลุ่มชนออสโตรนีเซียนที่อพยพเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาวจีน มลายู อินเดีย และอาหรับ จากนั้นก็เกิดนครรัฐทางทะเลขึ้นมาหลายแห่งภายใต้การปกครองของดาตู, ลากัน, ราชา หรือสุลต่าน", "title": "ประเทศฟิลิปปินส์" } ]
[ { "docid": "17473#1", "text": "มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เทียบกับประเทศไทยแล้วเล็กกว่ากันถึง 10 เท่า มีจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึงร้อยละ 25 ของประเทศ และถือเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่ออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด และเคยถูกมูลนิธินิวอีโคโนมิค (NEF) ประกาศให้เป็นประเทศที่มีความเขียวชอุ่ม หรือมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกอีกด้วย", "title": "ประเทศคอสตาริกา" }, { "docid": "1990#20", "text": "น่านน้ำอาณาเขตของฟิลิปปินส์ครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวางถึง 2,200,000 ตารางกิโลเมตร (849,425 ตารางไมล์) เป็นแหล่งกำเนิดชีวิตในท้องทะเลที่มีลักษณะเฉพาะและมีความหลากหลายอันเป็นส่วนสำคัญของสามเหลี่ยมปะการัง ประมาณกันว่ามีชนิดปะการังและปลาทะเลทั้งสิ้น 500 และ 2,400 ชนิดตามลำดับ สถิติใหม่ และการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ได้เพิ่มตัวเลขเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะของทรัพยากรทางทะเลในฟิลิปปินส์ได้อย่างชัดเจน พืดหินปะการังตุบบาตาฮาในทะเลซูลูได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1993 นอกจากนี้ น่านน้ำฟิลิปปินส์ยังเอื้อต่อการเจริญเติบโตของปู หอยมุก และสาหร่ายทะเล", "title": "ประเทศฟิลิปปินส์" }, { "docid": "1990#0", "text": "ฟิลิปปินส์ (; ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (; ) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก", "title": "ประเทศฟิลิปปินส์" }, { "docid": "1990#33", "text": "ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศเป็นหนึ่งในบรรดาจุดดึงดูดความสนใจหลัก ๆ ของการท่องเที่ยว โดยมีชายหาด ภูเขา ป่าดิบชื้น เกาะ และจุดดำน้ำอยู่ในบรรดาสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เนื่องจากฟิลิปปินส์มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นกลุ่มของเกาะประมาณ 7,500 เกาะ จึงมีชายหาด ถ้ำ และการก่อตัวของหินรูปทรงแปลกตามากมาย โบราไคซึ่งมีหาดทรายขาวสะอาดได้รับการลงคะแนนจากผู้อ่านนิตยสารแทรเวลแอนด์เลเชอร์ให้เป็นเกาะที่ดีที่สุดในโลกประจำปี ค.ศ. 2012 จุดเด่นด้านการท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ นาขั้นบันไดบานาเวในจังหวัดอีฟูเกา นครประวัติศาสตร์วีกันในจังหวัดตีโมกอีโลโคส เนินเขาช็อกโกแลตในจังหวัดโบโฮล กางเขนของมาเจลลันในจังหวัดเซบู และพืดหินปะการังตุบบาตาฮาในจังหวัดปาลาวัน", "title": "ประเทศฟิลิปปินส์" }, { "docid": "33329#3", "text": "ประเทศเลโซโท เป็นประเทศที่มีแอฟริกาใต้ล้อมรอบหมดทุกด้าน มีพื้นที่ประมาณ 30,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณสองเท่าของจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย แต่เลโซโทมีพื้นที่ส่วนมากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400-1,800 เมตร จึงทำให้มีหิมะปกคลุม เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีหิมะ แต่ใช้ประโยชน์จากหิมะที่ละลายเป็นน้ำอุปโภคบริโภคใช้ในประเทศ", "title": "ประเทศเลโซโท" }, { "docid": "1990#14", "text": "เนื่องจากตั้งอยู่บนขอบตะวันตกของวงแหวนไฟแปซิฟิก ฟิลิปปินส์จึงต้องเผชิญกับกิจกรรมแผ่นดินไหวและภูเขาไฟบ่อยครั้ง เนินใต้สมุทรเบ็นนัมในทะเลฟิลิปปิน (ทางทิศตะวันออกของกลุ่มเกาะ) เป็นภูมิภาคใต้สมุทรที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในเขตมุดตัวของเปลือกโลก มีการตรวจพบแผ่นดินไหวประมาณ 20 ครั้งต่อวัน แต่การสั่นสะเทือนส่วนใหญ่เบาเกินกว่าที่มนุษย์จะรู้สึกได้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นที่เกาะลูซอนเมื่อปี ค.ศ. 1990", "title": "ประเทศฟิลิปปินส์" }, { "docid": "5177#6", "text": "พื้นที่ 1,221,900 ตร.กม. (มีขนาดเป็น 2 เท่าของประเทศไทย) \nเศรษฐกิจเอธิโอเปียยังพึ่งพารายได้จากภาคกสิกรรมเป็นหลัก แม้รัฐบาลจะได้ปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี และการเพาะปลูกยังพึ่งพาแหล่งน้ำฝนตามธรรมชาติอยู่เกือบทั้งหมด มีปัญหาการชลประทานรวมทั้งวิธีการเพาะปลูกที่ล้าสมัย ในขณะเดียวกันภาคบริการของเอธิโอเปียก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ โดยภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่การบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการคมนาคม รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสัตว์ป่า แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเอธิโอเปียยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีเท่าใดนัก และยังล้าหลังเคนยาอยู่มาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเอธิโอเปียประมาณปีละ 2 แสนคน", "title": "ประเทศเอธิโอเปีย" }, { "docid": "1990#16", "text": "เนื่องจากธรรมชาติของเกาะต่าง ๆ เป็นภูเขาไฟ ฟิลิปปินส์จึงมีทรัพยากรแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ มีผู้ประมาณว่าประเทศนี้มีแหล่งแร่ทองคำใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากแอฟริกาใต้ และเป็นแหล่งแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยนิกเกิล โครไมต์ และสังกะสี อย่างไรก็ตาม การจัดการที่ไม่ดี ความหนาแน่นสูงของประชากร และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมทำให้ยังไม่มีการนำทรัพยากรส่วนใหญ่ขึ้นมาใช้ พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นผลผลิตจากกิจกรรมภูเขาไฟที่ฟิลิปปินส์สามารถควบคุมจัดการจนได้ผลสำเร็จมากกว่า โดยในปัจจุบัน ประเทศนี้เป็นผู้ผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 18 ของประเทศ", "title": "ประเทศฟิลิปปินส์" } ]
905
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "37967#0", "text": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (10 กันยายน พ.ศ. 2405 — 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 60 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" } ]
[ { "docid": "37967#38", "text": "ส่วนสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (พระยศขณะนั้น) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2472 และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิท พระราชธิดาบุญธรรมที่มีความใกล้ชิดกับพระองค์มากที่สุด ซึ่งพระองค์ทรงหวังพระราชหฤทัยว่าจะฝากการพระบรมศพของพระองค์เองไว้ด้วยนั้น ก็ประชวรสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2477", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "45667#8", "text": "พระองค์สิ้นพระชนม์ที่วังคันธวาส ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 เวลา 23.15 นาฬิกา ด้วยพระอาการสงบ ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารตลอดจนผู้ใกล้ชิด นับเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้ายของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีที่สิ้นพระชนม์ ในการนี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี เสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนหน้านี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ ไม่เคยเสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชโอรสธิดาพระองค์ใด เนื่องจากคติโบราณที่ห้ามบิดามารดาเผาศพบุตร มิฉะนั้นต้องเผาอีก แต่ครั้งนี้เป็นพระราชธิดาองค์ท้ายสุด พระองค์จึงได้เสด็จมา และมีพระดำรัสที่มีนัยยะความชอกช้ำพระทัย และประชดประชันในพระชะตาชีวิตว่า \"\"...อ๋อ ไปส่งให้หมด พอกันที ไม่เคยไปเลยจนคนเดียว คนนี้ต้องไปหมดกันที\"\" พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ ท้องสนามหลวง", "title": "สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร" }, { "docid": "37967#21", "text": "ในปี พ.ศ. 2453 ทันทีที่ทรงสูญเสียพระบรมราชสวามี พระองค์ก็ทรงประชวรพระวาโย บรรทมบนพระเก้าอี้ปลายพระแท่นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเอง เหล่ามหาดเล็กอยู่งานจึงใช้พระเก้าอี้หามเชิญเสด็จกลับพระตำหนักสวนหงส์ เช่นเดียวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ประชวรพระวาโยและเชิญเสด็จขึ้นพระเก้าอี้หามกลับไปพระตำหนักสวนสี่ฤดูเช่นกัน หลังจากนั้นท่านผู้ใหญ่ฝ่ายในเล่าว่าแต่นั้นมา ทรงวางพระองค์อย่างเรียบง่าย ไม่ทรงแย้มพระสรวล จนถึงกับมีผู้กล่าวว่าถ้าเห็นทรงพระสรวลก็เป็นบุญ หลังสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระองค์จึงเสด็จไปประทับอยู่ร่วมกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่วังพญาไทเป็นเวลาแรมเดือน ภายหลังได้เสด็จกลับพระตำหนักสวนหงส์", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#30", "text": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระชนม์ชีพยาวนาน 6 รัชกาล ก็ทรงพระประชวรหลังตกจากพระที่นั่งสูง 6 ฟุตกระแทกกับพื้นห้องทำให้พระอัฐิที่คอต้นพระเพลาหัก และต้องรักษานานถึงสามเดือน 5 ปีต่อมาก็ประชวรด้วยมีอาการอักเสบที่พระปับผาสะ", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#37", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 พระราชธิดาองค์เล็กของพระองค์ พระราชธิดาพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังไม่ได้รับการพระราชทานพระนามสิ้นพระชนม์ลงขณะที่มีพระชันษาเพียง 3 วัน หลังจากนั้นเพียง 1 ปี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารก็เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันด้วยพระโรคไข้รากสาดน้อย จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้พระองค์ทรงวิปโยคยิ่งนัก อีกทั้งการที่ทรงพระกันแสงอย่างหนักทำให้พระพลานามัยทรุดโทรมลงจนกระทั่งทรงพระประชวรในที่สุด\nพระองค์จึงได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อทรงพักฟื้น จนพระพลานามัยดีขึ้น แต่เมื่อ พ.ศ. 2441 พระองค์ก็ทรงได้รับความทุกข์จนทรงพระประชวรลงอีกครั้ง โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี พระราชธิดาอีกพระองค์ประชวรพระโรคนิวมอเนีย (ปอดบวม) สิ้นพระชนม์ลง เมื่อมีพระชันษาเพียง 10 ปีเท่านั้น คณะแพทย์กราบบังคมทูลให้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เมืองชายทะเลเพื่อรักษาพระองค์ แต่ยังมิได้เสด็จไป สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ก็สิ้นพระชนม์ลงด้วยพระโรคไข้รากสาดน้อย เมื่อพระชันษา 18 ปี ซึ่งการสูญเสียพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างต่อเนื่องทำให้พระองค์ทรงพระประชวรถึงกับทรงพระดำเนินไม่ได้ จนไม่อาจเสด็จฯ ไปในพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณโสภณ พิมลรัตนวดี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศวโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นพระราชพิธีเดียวกันได้", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#26", "text": "เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดา เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระนามสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตามพระราชสัมพันธ์ที่สมเด็จฯ ทรงมีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 คือเป็นพระอัยยิกา (ย่า) และทรงดำรงพระอิสริยยศนี้จนตลอดพระชนมายุ", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#34", "text": "เมื่อเว้นว่างจากพระราชกรณียกิจ พระองค์ทรงใช้ชีวิตอย่างสามัญโดยเฉพาะในการเลี้ยงดูพระราชโอรส-ธิดา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารทรงบันทึกว่าทรงเล่นกับพระราชชนกและพระราชชนนีขณะพระชันษา 8 ปี ไว้ว่า \"\"...แล้วเราเล่นงูกินหางกับทูลกระหม่อม (ทรงเป็นแม่งู) สมเด็จแม่เป็นพ่องู เราออกสนุกมาก...\"\" และเคยบันทึกเกี่ยวกับการลงโทษของพระราชชนนีว่า \"\"...น้องชายโต [พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว] แย่งดอกไม้ เราร้องไห้ แล้วเรากลับออกไปอีก พี่อัจ [พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา] ทำน้ำข้าวตังหกรดผ้าเราเปียก เราร้องไห้ กลับมาข้างใน สมเด็จแม่ทรงหักมือเรา ว่าเราร้องไห้บ่อย ๆ\"\" สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมีความคล่องแคล่วและแข็งแรง ดังปรากฏในเหตุการณ์ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระชันษา 10 ปี ทรงพายเรือเล่นที่บางปะอินแล้วทรงพลัดตกน้ำ พระองค์ที่ขณะนั้นทรงพระครรภ์เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ 5 เดือน ได้กระโจนลงน้ำแล้วคว้าพระราชโอรสขึ้นมาบนเรือได้อย่างปลอดภัย ซึ่งลักษณะส่วนพระองค์ที่ค่อนข้างคล่องแคล่วว่องไวดังกล่าว ได้กลายเป็นลักษณะพิเศษของนางข้าหลวงในพระตำหนักของพระองค์ ที่มักมีอุปนิสัยเคร่งครัด เจ้าระเบียบ แต่งกายเรียบร้อยไม่ฉูดฉาด มารยาทกะทัดรัด หนักแน่น มีความรู้ด้านการงานและธุรกิจ กระเหม็ดกระเหม่ไม่ฟุ้งเฟ้อ นอกจากนี้ยังดำรงพระองค์เป็นเจ้านายฝ่ายในอย่างโบราณ คือไม่โปรดที่จะปรากฏพระองค์อย่างออกหน้า", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#55", "text": "พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 5 สร้างปี พ.ศ. 2424 หล่อด้วยสัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง บาตรหยก องค์พระสูง 21.20 เซนติเมตร ปัจจุบันอัญเชิญพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า คู่กับพระโกศพระอัฐิในงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และการพระราชพิธีสงกรานต์ เป็นต้น เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ซึ่งเป็นปางประจำวันพุธ ตอนกลางวัน", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "85976#0", "text": "พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งอยู่ส่วนหน้าของเขตพระราชฐานชั้นใน ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นตำหนักประธานในเขตพระราชฐานชั้นใน", "title": "พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#46", "text": "พระองค์ทรงสนับสนุนโรงศิริราชพยาบาล ในปี พ.ศ. 2431 ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เรื่อยมาตราบจนพระองค์เสด็จสวรรคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเหตุการณ์การสิ้นพระชนม์ของพระราชโอรสธิดาไปถึงจำนวน 6 พระองค์ ส่งผลให้พระองค์ทรงพระประชวรและเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับรักษาพระองค์ที่พระตำหนักศรีราชา ซึ่งพระองค์ทรงให้จัดสร้างสถานพยาบาลขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลสมเด็จ” ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และพระองค์ยังทรงริเริ่มหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้การรักษาแก่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลอีกด้วย นอกจากนี้ ยังพระราชทานทุนส่งแพทย์พยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศเพื่อพัฒนาวงการแพทย์ไทยอย่างต่อเนื่อง", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#4", "text": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพุธ เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. 1224 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 โดยได้รับพระราชทานพระราชหัตถเลขาตั้งพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2405 ซึ่งเป็นวันทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนว่า \"พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา\" พระราชหัตถเลขามีดังนี้", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#13", "text": "แต่พระองค์เจ้าทักษิณชามีพระสติวิปลาสไปมิอาจรับราชการสนองพระเดชพระคุณต่อไป พระภรรยาเจ้าสี่พระองค์หลังมีพระเกียรติยศเสมอกันทุกพระองค์ พระเกียรติยศที่จะเพิ่มพูนนั้นขึ้นอยู่กับการมีสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเป็นสำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเดิมมีพระราชดำริที่จะสถาปนาพระองค์เจ้าสว่างวัฒนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าด้วยเป็นพระราชชนนีของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 5 แต่ในปี พ.ศ. 2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จสวรรคตพร้อมพระราชธิดาและพระราชโอรสในพระครรภ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่สวรรคตไปแล้ว ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีเสมอกัน ซึ่งสมภพ จันทรประภาสรุปคำบอกเล่าของนางข้าหลวงว่า สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาไม่เต็มพระทัยมีพระอิสริยยศสูงกว่าเพราะเป็นน้อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงสถาปนาพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เป็นพระบรมราชเทวีด้วย", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" }, { "docid": "37967#40", "text": "เมื่อทรงพระเยาว์ในฐานะพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงประทับอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังด้วยพระชนนีและพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่นๆ ครั้งทรงรับราชการในตำแหน่งพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในระยะแรกเสด็จประทับ ณ ตำหนักเดิมภายในพระบรมมหาราชวังร่วมกับพระพี่นาง พระน้องนาง และพระชนนี จนกระทั่งทรงประสูติพระราชโอรสพระองค์แรกแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้สร้างพระตำหนักพระราชทาน คือ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า", "title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" } ]
919
เดอะซิมส์ ภาคแรกวางจำหน่ายเมื่อใด ?
[ { "docid": "246159#3", "text": "เดอะซิมส์ () เป็นเกมแรกในตระกูลเดอะซิมส์ เดิมวางจำหน่ายเฉพาะในรูปแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 มีภาคเสริมทั้งหมด 7 ภาค (รวมกับตัวหลักแล้วมีทั้งหมด 8 ภาค) ซึ่งภาคเสริมเหล่านี้ถูกนำไปจัดรวมเป็นกล่องเดียวกับภาคหลัก หรือภาคเสริมด้วยกันในหลายรูปแบบ รวมทั้งมีการผลิตในรูปแบบอื่นๆอีก เช่น เพลย์สเตชัน 2, เกมบอย แอดวานซ์ ฯลฯ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545 มีรายงานว่าเกมเดอะซิมส์มียอดจำหน่ายไปมากกว่า 6.3 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลก และยังเป็น เกมคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประวัติศาสตร์ แซงหน้าเกมมิสท์ที่มียอดจำหน่ายเท่ากันในเวลานั้นอีกด้วย", "title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)" } ]
[ { "docid": "246159#8", "text": "ภาคเสริมตัวแรกของเดอะซิมส์ 3 มีชื่อว่า เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ซึ่งพัฒนาโดย The Sims Division ได้วางจำหน่ายแล้ว รวมถึงชุดไอเท็มเสริม ไฮ-เอนด์ ลอฟท์ ซึ่งเป็นชุดไอเท็มเสริมที่ครบรอบ 10 ปี เกมเดอะซิมส์ ได้แถมไอเท็มจากเดอะซิมส์ และเดอะซิมส์ 2 ได้วางจำหน่ายแล้ว และภาคเสริมล่าสุดคือ เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์ และนอกจากนี้ยังมีสิ่งของเพิ่มเติมให้ดาวน์โหลดอีกใน The Sims 3 Store", "title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)" }, { "docid": "246159#7", "text": "\"เดอะซิมส์ 3\" นั้นทางอีเอได้ประกาศอย่างเป็นการแล้วเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549. มีวางจำหน่ายไปทั่วโลกและจำหน่ายในรูปแบบดิจิตอล ดาวน์โหลด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 การผลิตของ \"เดอะซิมส์ 3\" นั้นเริ่มต้นหลังจากที่ \"เดอะซิมส์ 2\"จำหน่ายไปได้ 2 ปีกว่า โดยตัวเกมนั้นจะถูกย้อนไปเมื่อ 25 ปีก่อนจากตัวเกมเดอะซิมส์, โดยเกมนี้ได้เปิดโอกาสให้สามารถเดินไปไหนต่อไหนได้โดยที่ไม่รอยต่อ และได้ปรับปรุงหน้าจอผู้ใช้ ซึ่งในภาคสามนี้จะมีภาคเสริมอื่นๆอีกในอนาคต", "title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)" }, { "docid": "116728#0", "text": "เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์ เป็นภาคเสริมตัวที่ 6 ของเกมส์ \"เดอะซิมส์ 2\" เป็น PC games วางจำหน่ายในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550 ใน อเมริกาเหนือ และออกในประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 7 ภาคเสริมนี้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวไปต่างประเทศ เปิดโลกสู่นักท่องเที่ยว ภาคเสริมนี้เปรียบเสมือน \"เดอะซิมส์ วัยรักพักร้อน\" (The Sims: Vacation) เป็นภาคเสริมเกมต้นตำหรับภาคแรกของเกมเดอะซิมส์แต่เดอะซิมส์ 2 มีภาคเสริมนี้ชื่อว่า \"The Sims 2: Bon Voyage\" และมีคุณสมบัติดังนี้", "title": "เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์" }, { "docid": "56147#0", "text": "เดอะซิมส์ 3 () เป็นเกมจำลองวางแผนการใช้ชีวิต ในเกมชุด เดอะซิมส์ โดยแต่เดิมพัฒนาโดย แม็กซิส วางจำหน่ายสำหรับเครื่อง ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ แมคอินทอช วันที่ 2 มิถุนายน 2009 ในอเมริกาเหนือ , 4 มิถุนายน 2009 ในออสเตรเลีย, และ 5 มิถุนายน 2009 ในยุโรป และเดอะซิมส์ 3 เวอร์ชันคอนโซล ได้แก่เครื่องเล่น เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, นินเทนโด วี และ นินเทนโด ดีเอส ซึ่งจะวางจำหน่ายในวันที่ 26 ตุลาคม 2010 และ นินเทนโด ทรีดีเอส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งเกมจะแสดงผลเป็นภาพ 3D", "title": "เดอะซิมส์ 3" }, { "docid": "331966#0", "text": "เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์ เป็น ภาคเสริม ตัวที่ 2 ของเกม เดอะซิมส์ 3 สำหรับประเทศไทยมีการวางจำหน่ายในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2553 \"'เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์\" มาพร้อมกับโหมดใหม่ ซึ่งผู้เล่นสามารถเข้าไปดูและควบคุมการทำงานของชาวซิมส์ในที่ทำงานได้ โดยเป็นสายอาชีพใหม่ที่ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะให้ซิมส์นั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ซึ่งไอเท็มบางอย่างที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถและความก้าวหน้าทางอาชีพของซิมส์สามารถหาซื้อเพิ่มได้จากโหมดซื้อ ผู้เล่นจะสามารถควบคุมซิมส์ในที่ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักที่เกม \"เดอะซิมส์ 3\" ภาคหลักยังไม่มี", "title": "เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์" }, { "docid": "246159#19", "text": "หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2557 ได้มีประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกม โดยประกาศวันจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน 2557 ในงาน E3 2014 เดือนตุลาคมหลังได้มีการจำหน่าย เดอะซิมส์ 4 ทีมงานก็ได้มีการประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพทช์ใหม่ที่สามารถอัปเดตได้ฟรีจาก Origin โดยมีส่วนเสริมพิเศษที่ถูกตัดออกไปในภาคนี้ เช่นระบบการตายของซิมส์ สระน้ำ และอาชีพใหม่ ในเดือนธันวาคม ภายในปีเดียวกันก็ได้ประกาศตัวชุดเกมเสริม (Game Pack) ใหม่สำหรับเดอะซิมส์ 4 ในชื่อ เอาต์ดอร์รีทรีต (Outdoor Retreat) สามารถซื้อได้ในแบบดิจิตอลเท่านั้น และได้จำหน่ายในเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2558", "title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)" }, { "docid": "170203#0", "text": "เดอะซิมส์ 2 สี่ฤดูแสบ () เป็นภาคเสริมตัวที่ 6 ของเกมชุดเดอะซิมส์ 2 วางจำหน่ายในไทยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นภาคที่เกี่ยวกับฤดูกาล 4 ฤดูกาลให้ชาวซิมส์ได้สนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็น ฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูหนาวจะมีหิมะตกทำให้ชาวซิมส์ได้สนุกสนานกับการเล่นหิมะปั้นตุ๊กตาหิมะ ฤดูร้อนจะทำให้ชาวเดอะซิมส์ร้อนจนอยู่ในบ้านไม่ไหวจนต้องออกมาเล่นน้ำอาบแดดกัน ฤดูฝนจะทำให้ชาวซิมส์ออกจากไปจนเป็นหวัดบางทีก็จะมีพายุมาทำให้ชาวซิมส์เดือดร้อน ฤดูใบไม้ผลิจะทำให้ชาวซิมส์มีความสุขกับฤดูใบไม้ผลิ ทั้งยังสามารถจับผีเสื้อใส่กระป๋องมาดูเล่นหรืออาจเก็บหิ่งห้อยใส่ขวดโหลก็ได้", "title": "เดอะซิมส์ 2 สี่ฤดูแสบ" }, { "docid": "185412#0", "text": "เดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วน () ออกจำหน่ายเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เป็นภาคเสริมตัวที่ 4 ของเกมชุดเดอะซิมส์ 2 สำหรับชาวซิมส์เลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข และ แมว ภาคเสริมตัวนี้ไม่มีละแวกเพื่อนบ้านใหม่ แต่มีที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลางใหม่เพิ่มอีกมากมายแทน เดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วน สามารถขายได้มากกว่า 6 ล้านสำเนา ในประเทศออสเตรเลีย เงินดอลล่าร์ออสเตรเลียที่ได้จากการขายเกมนี้ได้ จากอย่างน้อย 50,000 สำเนาของเกม ได้ถูกบริจาคให้กับสมาคมเพื่อการป้องกันทารุณกรรมต่อสัตว์ในออสเตรเลีย (RSPCA: Royal Society for the Prevention of Cruelty to Animals Australia) \nเมื่อผู้เล่นเลือกสร้างซิมส์จะมีการสร้างสัตว์เลี้ยงหลายสายพันธุ์ เช่น สุนัข กับ แมว เป็นต้น", "title": "เดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วน" }, { "docid": "70955#0", "text": "เดอะซิมส์ () เป็นวิดีโอเกม เริ่มออกวางจำหน่ายเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยโลกของเดอะซิมส์เป็นโลกแห่งจินตนาการที่ดำเนินอยู่ภายในเกม เราจะต้องควบคุมซิมส์คนหนึ่งหรือ ครอบครัวซิมส์ครอบครัวหนึ่ง และมีหน้าที่ตัดสินใจ หรือสั่งการให้ตัวละครที่เราควบคุมอยู่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามที่เราต้องการ โดยมีหลักการใหญ่ๆ ว่า คำสั่งที่เราป้อนให้ตัวละครชาวซิมส์นั้น ควรจะเป็นคำสั่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของชาวซิมส์ในขณะนั้นมากที่สุด และเหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด เราจะต้องช่วยให้ตัวละครที่เราควบคุมสามารถดำเนินชีวิตในโลกของพวกเขาได้อย่างปกติสุขที่สุด เกมนี้เป็นของบริษัท Maxis (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Electronic Arts) โดยมีวิล ไรท์ เป็นหัวหน้าทีมผู้พัฒนา", "title": "เดอะซิมส์" } ]
921
คู่สมรสของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรคือใคร?
[ { "docid": "268699#12", "text": "สกุลชินวัตรดองกับสกุลดามาพงศ์ ผ่านทางการสมรสของ พันตำรวจโท ทักษิณ กับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) บุตรสาวของ พลตำรวจโท เสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ โดยพลตำรวจโท เสมอ มีบุตรธิดารวม 4 คนคือ\nและยังมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คนคือ", "title": "สกุลชินวัตร" }, { "docid": "530858#1", "text": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนโตของนายเลิศ ชินวัตร กับนางยินดี ชินวัตร มีน้อง 9 คน ได้แก่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร), นางเยาวเรศ ชินวัตร (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์), นางปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ), นายอุดร ชินวัตร, นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (สมรสกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์), นายพายัพ ชินวัตร (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์), นางมณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล), นางทัศนีย์ ชินวัตร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร)", "title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "263349#8", "text": "ทักษิณ สมรสกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หลังลาออกจากราชการตำรวจ ในปี พ.ศ. 2523 และมีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "63252#7", "text": "ยิ่งลักษณ์สมรสกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็มลิงก์เอเชียคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีมงคลสมรส แต่มิได้จดทะเบียนสมรส โดยมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือ ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ชื่อเล่น: ไปค์)", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "202656#2", "text": "ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย", "title": "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร" }, { "docid": "428764#2", "text": "พล.ต.ท.วินัย ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่มีความสนิทสนมและเกี่ยวพันกับตระกูลชินวัตร เนื่องจากภริยามีศักดิ์เป็นหลานสาวของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะที่เกิดการรัฐประหารเกิดขึ้น พล.ต.ท.วินัย ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองปราบฯ ได้รับคำสั่งทางสายโทรศัพท์จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่นครนิวยอร์ก ให้นำกองกำลังเข้าทำการควบคุมตัว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถึงที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ อันเป็นบ้านพักส่วนตัว แต่ยังมิทันได้ดำเนินการ เนื่องมีกองกำลังทหารและรถถังเข้าอารักขาไว้หมดแล้ว และในคืนวันนั้น พล.ต.ท.วินัย เองก็ถูกควบคุมตัวด้วย", "title": "วินัย ทองสอง" }, { "docid": "386271#2", "text": "อนุสรณ์ กับยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้คบหากันช่วงที่อนุสรณ์ทำงานบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่สุดเขาจึงตัดสินขอเธอแต่งงานด้วยชอบพอในอัธยาศัย พิธีวิวาห์ของทั้งสองจึงเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 แต่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยมีธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีมงคลสมรส", "title": "อนุสรณ์ อมรฉัตร" }, { "docid": "15237#20", "text": "เขาขอโทษ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ลูกพี่ลูกน้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในศาลทีหลังที่ไปกล่าวหาว่า ตระกูล \"ชินวัตร\" และ \"ดามาพงษ์\" ได้ปล้นชาติ ต่อมา พล.อ.ชัยสิทธิ์ถอนฟ้องสนธิ ศาลแถลงว่าโดยการกล่าวหาทั้งตระกูลนั้น สนธิไม่สามารถฟ้องร้องได้ ซึ่งเป็นตัวอย่างของระบบกฎหมายที่แปลกประหลาดของประเทศไทย", "title": "สนธิ ลิ้มทองกุล" }, { "docid": "374060#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ เป็นผู้อ้างในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนฟินแลนด์ หรือปฏิญญาฟินแลนด์ ต่อมา วันที่ 30 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกับธนา เบญจาธิกุล ทนายความจากพรรคไทยรักไทย ได้ยื่นฟ้องสนธิ ลิ้มทองกุล บรรณาธิการ, ขุนทอง ลอเสรีวานิช คอลัมนิสต์, ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ผู้บริหาร, เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรงค์ และเว็บมาสเตอร์ ปัญจภัทร อังคสุวรรณ ในข้อหาหมิ่นประมาท การฟ้องร้องมีเนื้อหากล่าวหาว่าบทความดังกล่าวมีเจตนาทำลายพรรคไทยรักไทยและอนาคตทางการเมืองของทักษิณโดยการทำให้สาธารณชนเชื่อว่าพรรคมีแผนการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การฟ้องร้องดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และอ้างว่า ทักษิณพยายามเซ็นเซอร์สื่อ", "title": "ปราโมทย์ นาครทรรพ" }, { "docid": "136100#1", "text": "ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ สุวิมล มหากิจศิริ มีบุตร 3 คน คือ อุษณีย์ มหากิจศิริ เฉลิมชัย มหากิจศิริ และอุษณา มหากิจศิริ นายประยุทธ มหากิจศิริ มีความสนิทสนมกับทักษิณ ชินวัตร โดยมีลูกชายคือ เฉลิมชัย มหากิจศิริ เป็นเพื่อนสนิทในกลุ่มเดียวกับ พานทองแท้ ชินวัตร", "title": "ประยุทธ มหากิจศิริ" }, { "docid": "632371#1", "text": "พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2493 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นเดียวกันกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมรสกับ ดร.สิริกร มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร", "title": "วงกต มณีรินทร์" } ]
925
ซัคเซิน-โคบวร์ค และ ซัคเซิน-โกทา ไม่ใช่รัฐเดียวกันใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "92488#0", "text": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (; ) เป็นชื่อของดัชชีเยอรมันสองรัฐคือ \"ซัคเซิน-โคบวร์ค\" และ \"ซัคเซิน-โกทา\" ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี บริเวณรัฐบาวาเรียและรัฐเทือริงเงินปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารวมเป็นรัฐเดียวกันในระหว่างปี พ.ศ. 2369 ถึงปี พ.ศ. 2461", "title": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "92488#2", "text": "ดัชชี\"ซัคเซิน-โคบวร์ค\" และ \"ซัคเซิน-โกทา\" เป็นส่วนหนึ่งในดัชชีซัคเซินที่ปกครองโดยราชวงศ์เวตตินเชื้อสายของเจ้าชายเออร์เนส ดัชชีซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาเกิดจากการรวมตัวของทั้งสองรัฐนี้ภายใต้ผู้ปกครองคนเดียวกันเป็นรัฐร่วมประมุขในปี พ.ศ. 2369 หลังจากการสิ้นพระชนม์ของดยุกพระองค์สุดท้ายแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก (Duke of Saxe-Gotha-Altenburg) โดยปราศจากรัชทายาทชาย ญาติในราชวงศ์เวตตินจึงได้แบ่งแยกดินแดนกันอีกครั้ง และดยุกแอร์นส์ที่ 1 แห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ (Duke Ernst I of Saxe-Coburg-Saalfeld) (อดีตพระสวามีในเจ้าหญิงหลุยส์แห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก พระนัดดาหญิงองค์เดียวของดยุกพระองค์สุดท้าย) ได้ปกครองเมืองโกทา จึงเปลี่ยนพระยศเป็น \"ดยุกแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก\" แม้ว่าในทางหลักการทั้งสองรัฐยังคงแยกกันอยู่", "title": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" } ]
[ { "docid": "92488#15", "text": "\"ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา\" ไม่ใช่ \"ราชสกุลส่วนพระองค์\" ของทั้งเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และพระโอรสและธิดา แต่อันที่จริงแล้วทั้งสองพระองค์ไม่ทรงรู้จักราชสกุลจริง (ราชวงศ์ไม่จำเป็นและไม่เคยต้องมีตัวบ่งบอกความเป็นราชวงศ์ทั่วไปเช่นนั้น) จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อพระองค์มีพระประสงค์จะทราบถึงราชสกุลที่แท้จริง หลังจากการค้นหาอันเหน็ดเหนื่อย สภาที่ปรึกษาได้สรุปว่าเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (จากการอภิเษกสมรส) ทรงมีราชสกุลส่วนพระองค์ว่า \"เวตติน (Wettin) \"", "title": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "92488#11", "text": "ในปี พ.ศ. 2463 สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 1 ทรงตัดสินพระทัยที่จะไม่ใช้ชื่อว่า \"ซัคเซิน-โคบวร์คและโกธา\" เป็นชื่อทางการของราชวงศ์เบลเยียมต่อไป การตัดสินพระทัยของพระองค์เป็นแบบลับๆ และไม่ได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นจึงทำให้เกิดความสับสนในบางประเทศและแม้แต่ประเทศเบลเยียมว่าราชวงศ์เบลเยียมยังคงใช้ชื่อ \"ซัคเซิน-โคบวร์คและโกธา\" ชื่อของพระราชวงศ์เปลี่ยนเป็น \"van België\", \"de Belgique\" และ \"von Belgien\" (แห่งเบลเยียม) เนื่องจากว่าประเทศเบลเยียมมีภาษาราชการสามภาษา จึงต้องใช้สามภาษาเป็นชื่อทางการของพระราชวงศ์โดยไม่มีการเลือกใช้อันใดอันหนึ่ง ทำให้เป็นราชวงศ์เดียวในโลกที่มีชื่อราชวงศ์ต่างกันสามชื่อแต่มีผลใช้ได้เท่ากัน ชื่อราชวงศ์นี้ใช้ในบัตรประจำตัวสมาชิกในพระราชวงศ์และเอกสารทางราชการต่างๆ (เช่น ทะเบียนสมรส ฯลฯ)", "title": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "92488#7", "text": "ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาเคยเป็นราชวงศ์ที่ครองราชบัลลังก์ในหลายประเทศของยุโรป และปัจจุบันมีสาขาสืบทอดที่ยังครองราชบัลลังก์เบลเยียม โดยผ่านทางเชื้อสายในสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม และสหราชอาณาจักร รวมถึงเครือจักรภพโดยผ่านทางเชื้อสายในเจ้าชายอัลเบิร์ต ในสหราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากเดิมเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ ในปี พ.ศ. 2460 ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาเป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์ซัคเซิน เชื้อสายเวตติน", "title": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "92488#4", "text": "ดยุกคาร์ล เอดูอาร์ดทรงปกครองอยู่จนกระทั่งถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 เมื่อเหล่าสมัชชาแรงงานและทหารแห่งโกธาถอดถอนพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ในช่วงการปฏิวัติเยอรมัน รัฐดยุกทั้งสองซึ่งสูญสลายโดยผู้ครองรัฐที่กลายเป็นสามัญชน ได้แยกออกจากกัน แต่หลังจากนั้นไม่นาน รัฐซัคเซิน-โคบวร์คก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาวาเรีย ส่วนรัฐซัคเซิน-โกทาก็ได้รวมเข้ากับรัฐเล็กอื่น ๆ เพื่อก่อตั้งเป็นรัฐใหม่คือรัฐเทือริงเงินในสาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic) เมื่อปี พ.ศ. 2463", "title": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "277140#3", "text": "จากนั้นซัคเซิน-อัลเทินบวร์คก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของซัคเซิน-โกทา-อัลเทินบวร์ค จนกระทั่งราชวงศ์มาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1825 เมื่อโกทาและอัลเทินบวร์คแยกจากกัน โกทาตกไปเป็นของดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์ก-ซาลเฟลด์ และอัลเทินบวร์คตกไปเป็นของดยุกแห่งซัคเซิน-ฮิลด์บวร์กเฮาเซ็นผู้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนสละสิทธิฮิลด์บวร์กเฮาเซ็นแก่ดยุกแห่งซัคเซิน-ไมนิงเก็น ผู้ครองอาณาจักรต่อมาจนมีการยุบเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ระหว่างการปฏิวัติเยอรมัน, ค.ศ. 1918-1919 \"รัฐอิสระซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค\" ต่อมารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของทือริงเงินในปี ค.ศ. 1920", "title": "ซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค" }, { "docid": "92488#13", "text": "อย่างไรก็ดี จากเว็บไซต์ทางการของราชสำนักแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่า \"กษัตริย์อังกฤษเพียงพระองค์เดียวแห่งราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกธาคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งทรงอยู่ในราชสมบัติเป็นเวลาเก้าปี...สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ที่ฟังดูเป็นเยอรมันมาเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนชื่อซัคเซิน-โคบวร์คและโกธายังคงมีอยู่ในราชสำนักยุโรปหลายประเทศ รวมถึงโปรตุเกสและบัลแกเรีย และราชวงศ์เบลเยียมจนกระทั่งปี พ.ศ. 2463\"", "title": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "92488#6", "text": "รัฐซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาเป็นประเทศเดียวในทวีปยุโรปที่ได้แต่งตั้งกงสุลประจำสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) ในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา กงสุลท่านนี้มีชื่อว่า แอร์นส์ ราเวน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประจำอยู่ที่มลรัฐเท็กซัส ราเวนขออนุมัติหนังสือรับรองกงสุลจากรัฐบาลของสมาพันธรัฐอเมริกาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 และได้รับการตอบรับ", "title": "ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" }, { "docid": "158553#4", "text": "ในปี ค.ศ. 1260 ดินแดนในรัฐซัคเซินถูกแบ่งอีกครั้งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ซัคเซิน-วิทเทนบูร์กและซัคเซิน-เลาเอนบูร์ก นับแต่นั้นเป็นต้นมา ดินแดนซัคเซิน-เลาเอนบูร์กก็ไม่ถูกนับรวมอยู่ในประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้อีกเลย ส่วนซัคเซิน-วิทเทนบูร์กได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และผู้ครองรัฐนี้ได้รับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร (อีเล็กเตอร์) ในศตวรรษที่ 14 อีกด้วย", "title": "รัฐซัคเซิน" } ]
943
ระบบรู้กลิ่นของมนุษย์อยู่ที่ส่วนใดของร่างกาย?
[ { "docid": "563366#10", "text": "การได้กลิ่นเปิดโอกาสให้ร่างกายรู้จำโมเลกุลสารเคมีในอากาศที่สูดเข้าไป อวัยวะดมกลิ่นที่อยู่ในด้านทั้งสองข้างของผนังกั้นโพรงจมูก ประกอบด้วยเยื่อบุผิวรับกลิ่น (olfactory epithelium) และ เนื้อเยื่อยึดต่อใต้เยื่อบุผิว (lamina propria) เยื่อบุผิวรับกลิ่นมีเซลล์รับกลิ่น (olfactory receptor cell) บุผิวด้านล่างของแผ่นกระดูกพรุน (Cribriform plate), ผิวด้านบนของแผ่นกระดูกตั้งฉากอันเป็นส่วนของกระดูกเพดานปาก (Perpendicular plate of palatine bone), และผิวด้านบนของกระดูกก้นหอยของจมูก (nasal concha) มีสารเคมีประมาณ 2% จากทั้งหมดที่สูดเข้าไปเท่านั้นที่ไปถึงอวัยวะดมกลิ่น เป็นเพียงแต่ตัวอย่างเล็กน้อยของอากาศที่สูดเข้าไป", "title": "ตัวกระตุ้น" }, { "docid": "922748#0", "text": "ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น\nเป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น\nป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น\nแม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง\nแยกแยะกลิ่น,\nเพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น,\nกรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก,\nและอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว์", "title": "ป่องรู้กลิ่น" }, { "docid": "922702#1", "text": "ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์", "title": "ระบบรู้กลิ่น" }, { "docid": "922702#5", "text": "โมเลกุลกลิ่นจะเข้ามาในช่องจมูกผ่านรูจมูกเมื่อหายใจเข้า หรือผ่านคอเมื่อลิ้นดันอากาศไปที่ด้านหลังของช่องจมูกเมื่อกำลังเคี้ยวหรือกลืนอาหาร\nภายในช่องจมูก เมือกบุเยื่อรับกลิ่นจะละลายโมเลกุลกลิ่นเพื่ออำนวยให้ทำปฏิกิริยากับหน่วยรับกลิ่น\nเมือกยังปกคลุมป้องกันเยื่อรับกลิ่น ซึ่งมีต่อมรับกลิ่นที่หลั่งเมือก และมีเซลล์ค้ำจุนที่มีเอนไซม์เพื่อสลายโมเลกุลอินทรีย์และโมเลกุลที่อาจเป็นอันตรายอื่น ๆ\nเซลล์ประสาทรับกลิ่นเป็นเซลล์รับความรู้สึกในเยื่อบุผิวที่ตรวจจับโมเลกุลกลิ่นที่ละลายอยู่ในเมือก แล้วส่งข้อมูลกลิ่นไปยังสมองผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (sensory transduction)\nเซลล์ประสาทรับกลิ่นแต่ละตัว ๆ จะมีซีเลียคือขนเล็ก ๆ จำนวนมากที่มีโปรตีนหน่วยรับกลิ่นโดยเฉพาะ ๆ ซึ่งจะยึดกับโมเลกุลกลิ่นโดยเฉพาะ ๆ แล้วเป็นเหตุให้เกิดการตอบสนองทางไฟฟ้าที่กระจายอย่างแพสซิฟไปตลอดตัวเซลล์ และเซลล์ก็จะสร้างศักยะงานส่งไปทางแอกซอน\nที่รวมตัวเป็นมัดใยประสาทจำนวนมากที่รวม ๆ กันเรียกว่า ฆานประสาท (olfactory nerve, CN I) ซึ่งวิ่งผ่านรูของแผ่นกระดูกพรุน (cribriform plate) ไปยังป่องรับกลิ่นซีกร่างกายเดียวกันในระบบประสาทกลาง", "title": "ระบบรู้กลิ่น" } ]
[ { "docid": "922702#2", "text": "นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง\nโดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล\nและสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ", "title": "ระบบรู้กลิ่น" }, { "docid": "922702#6", "text": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีโปรตีนหน่วยรับกลิ่น (odor receptor) จำนวนมากที่จะยึดกับโมเลกุลกลิ่นโดยเฉพาะ ๆ และช่วยให้สามารถแยกแยะกลิ่นต่าง ๆ ได้ โดยมนุษย์อาจมีถึง 350 ชนิด เทียบกับหนูหริ่งที่มีถึง 1,000 ชนิด\nเพื่อให้แยกแยะกลิ่นได้ สมองต้องได้รับสัญญาณที่ไม่เหมือนกันจากจมูกสำหรับกลิ่นต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากเหตุสองอย่าง คือ เซลล์ประสาทรับกลิ่นแต่ละประเภทจะแสดงออกหน่วยรับกลิ่นเพียงแค่ชนิดเดียว และแต่ละประเภทจะสามารถตอบสนองต่อกลิ่นได้หลายอย่าง ดังนั้น กลิ่นแต่ละกลิ่นจึงได้การตอบสนองจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นหลายประเภทรวมกันเป็นการเข้ารหัสกลิ่นแบบผสม (combinational coding)\nและอาศัยเซลล์ประสาทรับกลิ่นน้อยตัว (sparse coding) ในบรรดาเซลล์รับกลิ่นทั้งหมด", "title": "ระบบรู้กลิ่น" }, { "docid": "936852#16", "text": "ระบบประสาทประกอบด้วยระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) และระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและปมประสาทนอกสมองและไขสันหลัง สมองเป็นอวัยวะแห่งความคิด อารมณ์ ความทรงจำ และการประมวนทางประสาทสัมผัส และทำหน้าที่ในหลายมุมมองของการสื่อสารและควบคุมระบบและหน้าที่ต่าง ๆ ความรู้สึกพิเศษประกอบด้วย การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส และการดมกลิ่น ซึ่ง ตา,หู, ลิ้น, และจมูกรวบรวมข้อมูลจากสิ่งรอบตัว", "title": "ร่างกายมนุษย์" }, { "docid": "922748#1", "text": "ในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก ป่องรับกลิ่นเป็นส่วนหน้าสุด (rostral) ของสมอง ดังที่เห็นในหนู\nแต่ในมนุษย์ ป่องรับกลิ่นอยู่ที่ด้านล่างสุด (inferior) ของสมอง\nป่องรับกลิ่นมีฐานและเครื่องคุ้มกันเป็นส่วนของกระดูกเอทมอยด์คือแผ่นกระดูกพรุน (cribriform plate) ซึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลัง จะเป็นตัวแยกป่องจากเยื่อรับกลิ่น (olfactory epithelium) \nแอกซอนจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุบางส่วนของโพรงจมูก จะรวมตัวเป็นมัด ๆ ซึ่งรวม ๆ กันเรียกว่า ประสาทรับกลิ่น/ฆานประสาท (olfactory nerve) แล้ววิ่งผ่านแผ่นกระดูกพรุนไปยังโครงสร้างนิวโรพิลที่เรียกว่าโกลเมอรูลัสในป่องรับกลิ่น โดยไปสุดเป็นไซแนปส์ที่สื่อประสาทแบบเร้าด้วยกลูตาเมต", "title": "ป่องรู้กลิ่น" }, { "docid": "922702#33", "text": "นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นได้ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง\nโดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ได้ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้กลิ่นสารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ (2-isobutyl-3-methoxypyrazine) ในอากาศที่ความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุล สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล\nและสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น D-carvone และ L-carvone จะมีกลิ่นเหมือนเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ", "title": "ระบบรู้กลิ่น" }, { "docid": "139709#4", "text": "ในมนุษย์ เทเลนเซฟาลอนอยู่ล้อมรอบสมองส่วนที่เก่าแก่กว่า ระบบลิมบิก, ระบบรับรู้กลิ่น, และระบบสั่งการส่งใยประสาทจากบริเวณซับคอร์ติคัล (ชั้นลึก) (subcortical areas) ของซีรีบรัมไปยังส่วนของก้านสมอง ระบบความนึกคิด (cognitive system) และระบบความตั้งใจ (volitive system) ส่งใยประสาทจากบริเวณคอร์ติคัล (cortical area) ของซีรีบรัมไปยังทาลามัสและไปยังบริเวณอื่นๆ ของก้านสมอง เครือข่ายทางประสาทของเทเลนเซฟาลอนช่วยในพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ซับซ้อน เช่น ภาษา ระบบดังกล่าวประกอบด้วยเนื้อขาว (white matter) และ เนื้อเทา (grey matter) ส่วนเนื้อเทามีการพับทบอย่างมากซึ่งน่าจะช่วยในการบรรจุกลุ่มเซลล์จำนวนมากในปริมาตรสมอง โดยการเพิ่มพื้นที่ผิว เทเลนเซฟาลอนยังประกอบด้วยบริเวณที่มีต้นกำเนิดจาก archipallium, paleopallium และ neopallium การเจริญของ neopallium ซึ่งประกอบด้วยส่วนซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์และไพรเมต", "title": "สมองใหญ่" }, { "docid": "936852#15", "text": "ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกประกอบด้วยโครงกระดูกมนุษย์ (รวมถึงกระดูก เอ็นยึด เอ็นกล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อน) และกล้ามเนื้อที่ยึดติด ระบบนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายและเป็นตัวให้ความสามารถในการขยับ นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างแล้ว กระดูกชิ้นใหญ่ในร่างกายยังบรรจุไขกระดูก ซึ่งเป็นที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด นอกจากนี้ กระดูกทุกชิ้นยังเป็นที่เก็บสะสมหลักของแคลเซียมและฟอสเฟต ระบบนี้สามารถแบ่งออกเป็นระบบกล้ามเนื้อและระบบกระดูก", "title": "ร่างกายมนุษย์" }, { "docid": "922702#3", "text": "ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเทียบ", "title": "ระบบรู้กลิ่น" } ]
950
คู่สมรสของ สินจัย เปล่งพานิช คือใคร?
[ { "docid": "135082#7", "text": "ทางด้านชีวิตส่วนตัว เธอแต่งงานกับ ฉัตรชัย เปล่งพานิช (2 เมษายน 2531) มีลูกชายและลูกสาว 3 คนคือ กัน สิทธิโชค เปล่งพานิช, บอม ฑิชากร เปล่งพานิช และ ดอม พีรดนย์ เปล่งพานิช และยังมีหลานสาวที่เป็นนักแสดงด้วยกันคือ รชยา รักกสิกรณ์ (เอ๋) นักแสดงสังกัดช่อง 7 ปัจจุบันมีหลานชาย 1 คนคือ เรย์ ศิรวิชญ์ เปล่งพานิช", "title": "สินจัย เปล่งพานิช" }, { "docid": "56785#0", "text": "ฉัตรชัย เปล่งพานิช นักแสดงชาวไทย มีชื่อเล่นว่า นก เกิดวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2503 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรชายของ พล.ต.อ.ถวิล เปล่งพานิช ชีวิตวัยเด็กต้องย้ายที่อยู่ตามอาชีพราชการของบิดา เข้าเรียนหนังสือในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสตรีวรนารถ แล้วไปต่อที่โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ จนจบมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับปริญญาตรี ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "ฉัตรชัย เปล่งพานิช" } ]
[ { "docid": "56785#2", "text": "ทางด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับสินจัย เปล่งพานิช (หงษ์ไทย) นักแสดงหญิงชื่อดังที่ร่วมงานกันในภาพยนตร์เรื่อง \"สายสวาทยังไม่สิ้น\" เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2531 มีลูกชายและลูกสาว 3 คนคือ กัน สิทธิโชค เปล่งพานิช (เกิด: พ.ศ. 2531), บอม ฑิชากร เปล่งพานิช (เกิด: พ.ศ. 2534) และ ดอม พีรดนย์ เปล่งพานิช (เกิด: พ.ศ. 2535)", "title": "ฉัตรชัย เปล่งพานิช" }, { "docid": "133112#18", "text": "การคัดเลือกตัวแสดงหลักทั้ง 3 คน อย่างสินจัย เปล่งพานิช ผู้กำกับตั้งใจตั้งแต่ตอนที่เขียนบทแล้วว่า คนที่จะมารับบท “สุนีย์” จะต้องเป็น สินจัย เปล่งพานิช เท่านั้น สินจัยตอบรับในบทบาทนี้โดยให้ความเห็นไว้ว่า \"ได้อ่านบทเรื่องนี้ก็รู้สึกสนใจ ชอบที่ตัวบท และก็มะเดี่ยวด้วย ซึ่งเขาเป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ที่มีฝีมือ เขาทำหนังออกมาดีและน่าสนใจมาก\" ส่วนการคัดเลือกตัวละคร “ แตง” และ “ จูน” เดิมทีผู้กำกับไม่ได้มองเฌอมาลย์ไว้ เพราะผู้กำกับมีความเห็นว่าเป็นรุ่นใหญ่ไปแล้ว แต่เมื่อติดต่อไปก็ตอบรับบท เฌอมาลย์เผยว่า \"อยากเล่น เพราะบทของหนังดี อ่านบทแล้วประทับใจ\"", "title": "รักแห่งสยาม" }, { "docid": "288627#1", "text": "นิดา (สินจัย เปล่งพานิช) แม่ค้าขายแผ่นซีดีตามตลาดนัดวัยกลางคน มีลูกชายวัยรุ่นคนหนึ่งชื่อ ต้น มีอาการประหลาดไม่ยอมออกจากห้องนอนตัวเองมาเป็นเวลานานถึง 5 ปี โดยที่ตัวเธอเองก็ไม่ได้รู้ว่ามันเป็นความผิดปกติอะไร จนกระทั่งรุ่นน้องที่เธอรู้จักคนหนึ่งที่ทำงานเบื้องหลังรายการโทรทัศน์ (พงศ์พิชญ์ ปรีชาบริสุทธิ์กุล) ได้รู้เข้า จึงอยากติดต่อไปออกรายการ แต่ต้นไม่ยอมไป แถมยังมีเศษกระดาษสอดออกมาจากใต้ประตูความว่า ห้ามยุ่ง ไม่เช่นนั้นเตรียมมาเก็บศพเขาได้เลย และที่บ้านตรงข้าม ป่าน (กัญญา รัตนเพชร์) เด็กสาววัยรุ่นรุ่นเดียวกับต้น ก็ถูกผู้เป็นแม่เก็บตัวไว้เฉพาะแต่ในห้องนอนเหมือนกัน เนื่องจากเธอเป็นโรคภูมิแพ้อย่างรุนแรง จากการที่จ้องมองไปยังห้องของต้นทุกวัน ป่านสงสัยว่าในบ้านตรงข้ามนั้นมีใครอยู่ในห้องหรือไม่", "title": "ใคร...ในห้อง" }, { "docid": "135082#0", "text": "สินจัย เปล่งพานิช (นก) นามสกุลเดิม หงษ์ไทย เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2508 เป็นนักแสดงที่มีผลงานการแสดงภาพยนตร์และละครมากมาย ทั้งยังเคยออกผลงานอัลบั้มเพลงชุด ทอฝัน (2533) กับค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่", "title": "สินจัย เปล่งพานิช" }, { "docid": "135082#6", "text": "เธอกลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้งในปี 2553 ในบท \"นิดา\" หญิงวัยกลางคนที่มีลูกชายป่วยเป็น \"โรคฮิคิโคโมริ\" กับภาพยนตร์เรื่อง Who are you? ใคร...ในห้อง ในการกำกับของภาคภูมิ วงษ์จินดา และ เขียนบทโดย เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์", "title": "สินจัย เปล่งพานิช" }, { "docid": "57119#46", "text": "นำแสดงโดย สินจัย เปล่งพานิช รับบท \"แม่พลอย\" เกรียงไกร อุณหะนันทน์ ในบท \"คุณเปรม\", นภัทร อินทร์ใจเอื้อ (กัน เดอะสตาร์) คู่ พิมดาว พานิชสมัย เป็น \"คุณเปรม-แม่พลอย\" ในวัยหนุ่มสาว ร่วมด้วย อาณัตพล ศิริชุมแสง (อาร์ เดอะสตาร์), สิงหรัตน์ จันทร์ภักดี (สิงโต เดอะสตาร์), ยุทธนา เปื้องกลาง (ตูมตาม เดอะสตาร์) เป็นบุตรธิดา ส่วน \"แม่ช้อย\" เพื่อนสนิทของแม่พลอย รับบทโดย รัดเกล้า อามระดิษ (\"แม่พลอย\" วัยเด็ก รับบทโดย น้องพินต้า-ณัฐนิช รัตนเสรีเกียรติ)", "title": "สี่แผ่นดิน" }, { "docid": "135082#1", "text": "สินจัย เกิดและโตที่กรุงเทพมหานคร มีพี่น้อง 4 คน เป็นคนที่ 2 พี่สาวต่างมารดาหนึ่งคน และน้องชายสองคน การศึกษา จบระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนศรีอยุธยา", "title": "สินจัย เปล่งพานิช" }, { "docid": "223957#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2559 เสกสรรค์ได้คบหากับ ปภาดา โชติกวณิชย์ (แซนวิช) นักแสดงหญิงสังกัดช่อง 7 สี แต่ไม่ได้สมรสกัน และได้กำเนิดลูกชายที่ชื่อว่า พัฒนศักดิ์ ศุขพิมาย (ชื่อจริงในใบสูติบัตร ชื่อ ด.ช.จอมเก้า โชติกวณิชย์) หรือน้องลีออง เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2560 และได้ประกาศในเพจส่วนตัวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 และต่อมาได้ประกาศคบหาดูใจกับ อภิสยา พัฒนวรทรัพย์ (อีฟ) เป็นรองอันดับ 1 มิสแม็กซิม Miss Maxim 2009 หลังจากอดีตภรรยา วิภากร ศุขพิมาย (กานต์) ได้ออกมาเปิดเผยกับสื่อ\nนอกจากการแต่งคำร้องในผลงานเพลงทั้งหมดของตัวเองแล้ว เสก โลโซ ยังได้แต่งคำร้องให้กับศิลปินคนอื่น ๆ ในสังกัดจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ด้วย โดยใช้นามปากกา อย่างเช่น ส. ศรีวรา, เสฎกานต์, กรกวี, วิภากร เช่น", "title": "เสกสรรค์ ศุขพิมาย" }, { "docid": "298116#3", "text": "ด้านชีวิตครอบครัว ประภัสสร หรือ จิตประภัสสรในปัจจุบัน สมรสกับ พล.ต.ต.เทอดพงษ์ เทียนสุวรรณ มีทายาทด้วยกัน 3 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ กรุณพล เทียนสุวรรณ ดารา นักแสดง พิธีกร ปัจจุบันเปิดร้านอาหารจิตประภัสสร ย่านประชาชื่น เป็นธุรกิจเล็กๆ ที่เธอทำมานานอีกด้วย", "title": "ประภัสสร พานิชกุล" } ]
953
เซลล์แสงอาทิตย์ถูกใช้เมื่อไหร่?
[ { "docid": "57430#9", "text": "อาจจะเป็นเพราะความสำเร็จที่ทำโดยฮอฟแมนอิเล็กทรอนิกส์ เซลล์แสงอาทิตย์ถูกนำออกจากความสับสนโดยข้อเสนอแนะให้นำพวกมันไปใช้กับดาวเทียม Vanguard I ที่เปิดตัวใน ปี 1958 ในแผนเดิม ดาวเทียมจะได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่เท่านั้น และเป็นไปตามแผนในช่วงเวลาสั้นๆก่อนที่แผนนี้จะถูกพับลงไป โดยการเพิ่มเซลล์ที่ด้านนอกของตัวยาน เวลาสำหรับภารกิจอาจจะถูกขยายออกไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญกับตัวยานอวกาศหรือระบบพลังงานของมัน ในปี 1959 ประเทศสหรัฐอเมริกาส่งยาน Explorer 6. มันใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่คล้ายกับปีก ซึ่งกลายเป็นคุณสมบัติทั่วไปในดาวเทียมในอนาคต อาร์เรย์เหล่านี้ประกอบด้วย 9600 ชุดของเซลล์แสงอาทิตย์ของฮอฟแมน มีความสงสัยในทางลบบางอย่างในตอนแรก แต่ในทางปฏิบัติ เซลล์พิสูจน์แล้วว่าเป็นความสำเร็จอย่างมาก และเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับการออกแบบ อย่างรวดเร็วในดาวเทียมใหม่ๆ ที่โดดเด่นก็คือที่เทลสตาร์ของเบลล์", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" }, { "docid": "17490#21", "text": "นอกจากนี้ สถาปนิกยังใช้เซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นโดยใช้เป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ ตัวอย่างเช่น หลังคากระเบื้องหรือหินชนวนติดเซลล์แสงอาทิตย์สามารถใช้แทนวัสดุทำหลังคาที่ใช้กันทั่วไป ฟิล์มแบบบางที่ยืดหยุ่นสามารถนำไปประกอบเข้ากับหลังคารูปโค้งได้ ในขณะที่ฟิล์มกึ่งโปร่งแสงทำให้เกิดการผสมผสานแสงเงาเข้ากับแสงในตอนกลางวัน นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังสามารถผลิตพลังงานสูงสุดให้กับอาคารในวันอากาศร้อนในฤดูร้อนเมื่อระบบปรับอากาศต้องใช้พลังงานมากที่สุด ดังนั้นจึงช่วยลดภาวะไฟฟ้าเพิ่มปริมาณขึ้นสูงสุด", "title": "พลังงานแสงอาทิตย์" }, { "docid": "57430#6", "text": "ปรากฏการณ์ของโฟโตโวลตาอิกถูกแสดงให้เห็นถึงด้วยการทดลองเป็นครั้งแรกโดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ A.E. Becquerel ในปี 1839 ตอนอายุ 19 เขาทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ ของพ่อของเขา เขาได้สร้างเซลล์แสงอาทิตย์เป็นตัวแรกของโลก ต่อมา Willoughby Smith ได้ อธิบาย\"ผลของแสงบนซีลีเนียมระหว่างเดินทางของกระแสไฟฟ้า\"เป็นครั้งแรกในบทความชิ้นหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ในฉบับ 20 กุมภาพันธ์ 1873 เรื่องธรรมชาติ อย่างไรก็ตามมันไม่มีอะไรเกิดขึ้นจนกระทั่งปี 1883 เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำด้วย solid state ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Charles Fritts ผู้เคลือบสารกึ่งตัวนำซีลีเนียมด้วยชั้นที่บางมากๆของทองเพื่อทำให้เป็นทางเชื่อม() อุปกรณ์นี้มีประสิทธิภาพประมาณ 1% เท่านั้น ในปี 1888 นักฟิสิกส์ชาวรัสเซียชื่อ Aleksandr Stoletov สร้างเซลล์แรกที่อยู่บนพื้นฐานของปรากฏการ์ณโฟโตโวลตาอิกด้านนอกที่ถูกค้นพบโดย Heinrich Hertz ก่อนหน้านี้ในปี 1887", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" } ]
[ { "docid": "57430#52", "text": "เซลล์แสงอาทิตย์อินทรีย์เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ ซึ่งอาจจะมีสัญญาณของการลดราคาอย่างมาก เซลล์เหล่านี้สามารถถูกผลิตจากสารละลายของเหลว จึงเป็นไปได้ของกระบวนการพิมพ์ม้วนต่อม้วนที่ง่าย มีศักยภาพที่นำไปสู่การผลิตขนาดใหญ่ที่ราคาไม่แพง นอกจากนี้ เซลล์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการใช้งานบางอย่างที่ความยืดหยุ่นทางกลไกและสามารถทิ้งได้มีความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของเซลล์ในปัจจุบันมีต่ำมากและอุปกรณ์ในทางปฏิบัติยังไม่มีอยู่จริง", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" }, { "docid": "57430#59", "text": "ต่อมาเวเฟอร์จะมีหน้าสัมผัสโลหะเต็มพื้นที่ถูกทำขึ้นบนพื้นผิวด้านหลังและหน้าสัมผ้สที่มีรูปร่างคล้ายตารางโลหะที่ทำขึ้นจาก \"นิ้วมือ\" ดีและ\"บัสบาร์\"ขนาดใหญ่จะถูกพิมพ์ลงบนผิวหน้าโดยใช้ โลหะเงินป้าย หน้าสัมผ้สด้านหลังยังถูกขึ้นรูปโดยการพิมพ์ด้วยโลหะเช่นอะลูมิเนียม ปกติหน้าสัมผ้สนี้จะครอบคลุมตลอดทั้งด้านหลังของเซลล์ แม้ว่าในการออกแบบเซลล์บางครั้งมันจะถูกพิมพ์ในรูปแบบตาราง แล้วการป้ายจะถูกยิงที่หลายร้อยองศาเซลเซียสเพื่อขึ้นรูปให้เป็นขั้วไฟฟ้าโลหะหน้าสำมผ้ส ohmic ด้วยซิลิกอน บางบริษัทใช้ขั้นตอนการชุบไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์ หลังจากหน้าสัมผัสโลหะถูกทำเสร็จแล้ว เซลล์แสงอาทิตย์จะเชื่อมต่อกันกับสายไฟแบนหรือริบบิ้นโลหะและประกอบเป็นโมดูลหรือ\"แผงเซลล์แสงอาทิตย์\" แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะมีแผ่นกระจกด้านหน้าและที่ห่อหุ้มทำจากพอลิเมอร์ที่ด้านหลัง", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" }, { "docid": "57430#54", "text": "ในปี 2011 นักวิจัยที่ Massachusetts Institute of Technology และ มหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน ได้พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์โปร่งใสตัวแรกที่มีประสิทธิภาพสูงที่มีประสิทธิภาพพลังงานใกล้เคียงกับ 2% ด้วยความโปร่งใสให้กับสายตาของคนมากกว่า 65% ประสบความสำเร็จโดยการเลือก การดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตและส่วนใกล้อินฟราเรดของสเปกตรัมด้วยสารโมเลกุลขนาดเล็ก นักวิจัยที่ UCLA เมื่อเร็วๆนี้ได้พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำด้วยวัสดุเหมือนพอลิเมอร์ ต่อด้วยวิธีการเดียวกัน นั่นคือ 70% โปร่งใสและมีประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน 4% เร็ว ๆ นี้ ข้อจำกัดของประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์อินทรีย์ทั้งแบบทึบแสงและโปร่งใสได้ถูกระบุไว้ เซลล์ที่มีความยืดหยุ่นและน้ำหนักเบาเหล่านี้สามารถผลิตได้ในจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำและสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างหน้าต่างพลังงานไฟฟ้า", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" }, { "docid": "57430#48", "text": "เซลล์แสงอาทิตย์ที่ไวต่อสี (DSSC) ทำจากวัสดุราคาถูกและไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนในการผลิต ดังนั้นมันจึงสามารถที่จะทำในรูปแบบ DIY ได้ อาจจะอนุญาตให้ผู้เล่นในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทนี้ได้มากกว่าประเภทอื่นๆ ในการผลิตเป็นจำนวนมาก มันควรจะมีราคาถูกอย่างมีนัยสำคัญหรือแพงน้อยกว่าการออกแบบเซลล์โซลิดสเตทแบบเก่า DSSC สามารถออกแบบให้เป็นแผ่นยืดหยุ่น และถึงแม้จะมีประสิทธิภาพการแปลงน้อยกว่าเซลล์ฟิล์มบางที่ดีที่สุดก็ตาม อัตราส่วนราคา/ประสิทธิภาพของมันควรจะสูงพอที่จะช่วยให้พวกมันสามารถแข่งขันกับการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" }, { "docid": "17490#18", "text": "สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์คือซิลิกอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นมีสารกึ่งตัวนำดังกล่าว 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าก็ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น", "title": "พลังงานแสงอาทิตย์" }, { "docid": "154613#0", "text": "เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง เป็นอุปกรณ์สำหรับการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนให้เป็นกระแสไฟฟ้า ผ่านการถ่ายเทพลังงานของอิเล็กตรอนจากโมเลกุลของสีย้อมไวแสง ซึ่งถูกกระตุ้นจากสถานะพื้นไปที่สถานะกระตุ้นโดยแสงที่มากระทบ แล้วเคลื่อนที่ผ่านสารกึ่งตัวนำที่มีชั้นระดับพลังงานที่สามารถรับอิเล็กตรอนได้ ซึ่งนิยมใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีรูพรุน เป็นทั้งตัวส่งผ่านอิเล็กตรอนและตัวยึดเกาะโมเลกุลสารสี", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง" }, { "docid": "57430#53", "text": "เซลล์แสงอาทิตย์อินทรีย์และเซลล์แสงอาทิตย์พอลิเมอถูกสร้างขึ้นจากฟิล์มบาง (ปกติ 100 นาโนเมตร) ของสารกึ่งตัวนำอินทรีย์รวมทั้งโพลีเมอ เช่น polyphenylene vinylene และสาร โมเลกุลขนาดเล็ก เช่น copper phthalocyanine (เม็ดสีอินทรีย์สีฟ้าหรือสีเขียว) และ คาร์บอน ฟูลเลอรี และอนุพันธ์ fullerene เช่น PCBM การแปลงพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ประสบความสำเร็จในวันนี้จะใช้โพลีเมอร์ที่นำไฟฟ้าต่ำมากเมื่อเทียบกับวัสดุอนินทรีย์ อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงที่ผ่านมาได้นำไปสู่ ​​NREL (ห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทนแห่งชาติ) ที่ประสิทธิภาพ ได้รับการรับรองที่ 8.3% สำหรับ Konarka Power Plastic และเซลล์ แทนเดมอินทรีย์ในปี 2012 ได้ถึง 11.1%\nพื้นที่ที่ใช้งานของอุปกรณ์อินทรีย์ประกอบด้วยสองวัสดุ วัสดุหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บริจาคอิเล็กตรอนและอีกตัวเป็นผู้รับ เมื่อโฟตอนถูกแปลงเป็นคู่อิเล็กตรอนกับโฮล (เช่นในวัสดุผู้บริจาค), ที่แตกต่างจากเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอื่นส่วนใหญ่, ประจุทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะยังคง ผูกพันในรูปแบบของ exciton และถูกแยกออกจากกัน เมื่อ exciton กระจายไปยังอินเตอร์เฟซของผู้บริจาค-ผู้รับ ความยาวการแพร่ exciton ที่สั้นของระบบพอลิเมอร์ส่วนใหญ่มักจะจำกัด ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดังกล่าว อินเตอร์เฟซโครงสร้างนาโน บางครั้งอยู่ในรูปของกลุ่ม heterojunctions ที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพได้", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" }, { "docid": "57430#61", "text": "เซลล์แสงอาทิตย์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตส่วนใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น, เยอรมนี, จีนแผ่นดินใหญ่, ไต้หวัน, มาเลเซียและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ยุโรป, จีน, สหรัฐและ ญี่ปุ่นมีการครอบงำ (94% หรือมากกว่าเมือปี 2013) ในระบบที่ติดตั้งแล้วสำหรับทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในประเทศอื่นๆอีกมากจะมีหรือกำลังจะซื้อกำลังการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่เทคโนโลยีกำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่​​ประสิทธิภาพ ที่สูงขึ้น ในเซลล์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับค่าใช้จ่ายต่ำในการผลิตไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่เป็นผู้ที่มีความสมดุลระหว่างการผลิตต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพสูงพอที่จะลดความสมดุลของพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายของระบบ จริงๆแล้ว บริษัทเหล่านั้นที่มีเทคโนโลยีการผลิตขนาดใหญ่ในการเคลือบผิวพื้นผิวที่มีราคาไม่แพงอาจจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าสุทธิมีค่าใช้จ่ายต่ำสุด แม้จะมีประสิทธิภาพของเซลล์ที่ต่ำกว่าของเทคโนโลยี คริสตัลเดียว", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" } ]
960
ดาร์ธ เวเดอร์ คือใคร?
[ { "docid": "70836#5", "text": "ดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งเป็นศิษย์คนที่สามเท่าที่ปรากฏของจักรพรรดิ มีบทบาทสำคัญในการกวาดล้างเจไดและการสถาปนาจักรวรรดิ ก่อนที่เขาจะหันเข้าสู่ด้านมืดของพลังนั้น ดาร์ธ เวเดอร์เคยเป็นอัศวินเจไดชื่ออนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งเป็นศิษย์พาดาวันของโอบีวัน เคโนบี ดาร์ธ เวเดอร์ได้ตามฆ่าเจไดจนเกือบหมดสิ้น และได้ประลองกระบี่แสงกับโอบีวันบนดาวมุสตาฟาร์จนพ่ายแพ้บาดเจ็บสาหัส ต้องสวมใส่อุปกรณ์ช่วยชีวิตตลอดไปหลังจากนั้น ภรรยาของอนาคินคือแพดเม่ อมิดาลาได้ให้กำเนิดบุตรและธิดารวมสองคนคือลุคและเลอา ซึ่งต่อมาทั้งสองจะได้เป็นผู้นำของพันธมิตรฟื้นฟูสาธารณรัฐและนิกายเจไดใหม่ ลุคถูกโอเวน ลาร์สผู้เป็นลุงรับไปเลี้ยงบนดาวทาทูอีน และเลอาถูกวุฒิสมาชิกเบล ออร์กานา แห่งอัลเดอรานรับไปเลี้ยงร่วมกับเบรฮาภรรยา", "title": "สงครามกลางเมืองกาแลกติก" }, { "docid": "70819#1", "text": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ มีชีวิตตามเวลาในท้องเรื่องอยู่ในช่วงปีที่ 42 ก่อนยุทธการยาวิน ถึงปีที่ 4 หลังยุทธการยาวิน เขาเป็นอัศวินเจไดที่มีชื่อเสียงระดับตำนานในยุคร่วงโรยของนิกายเจไดซึ่งถูกเชื่อว่าเป็น\"ผู้ถูกเลือก\" ก่อนกลายเป็นดาร์ธ เวเดอร์ ไม่นานก่อนที่จักรวรรดิกาแลกติกจะถูกก่อตั้งขึ้น", "title": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์" } ]
[ { "docid": "135804#3", "text": "ดิว (แอน ทองประสม) เป็นโปรแกรมเมอร์ที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพ มีเพื่อนสนิทเพียงคนเดียวคือ เกด (สุพิชญา จุลวัฒฑะกะ) ดิวต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อไปงานศพของยายเล็ก ญาติเพียงคนเดียวที่เหลืออยู่ เธอได้พบกับ ต้น (อรรถพร ธีมากร) นักวิจัยหนุ่มที่ทำงานอยู่ที่โครงการหลวง ดอยอ่างขาง ดิวได้ใช้เวลาสั้นๆ แวะเยี่ยมชมที่ทำงานของต้น เมื่อเธอพลาดรถโดยสารและต้องรอรถเที่ยวถัดไปกลับกรุงเทพ", "title": "เดอะเลตเตอร์ จดหมายรัก" }, { "docid": "70819#123", "text": "ความจริงมากมายที่ว่าดาร์ธ เวเดอร์อาจเป็นซิธอาริ ขณะที่ความจริงอื่นๆ บอกว่าไม่ใช่เขา ซิธอาริถูกกล่าวเอาไว้ว่าเป็น\"ความสมบูรณ์แบบ\" และดาร์ธ เวเดอร์\"สมบูรณ์\"ในเรื่องของพลัง อย่างไรก็ตาม คำทำนายที่ว่า\"อยู่เหนือขอบเขต\"ดูขัดแย้งกับเวเดอร์ที่ต้องพึ่งเครื่องช่วยชีวิต", "title": "อนาคิน สกายวอล์คเกอร์" }, { "docid": "524263#21", "text": "ดาร์ธ เพลกิส หรือรู้จักในนาม ดาร์ธ เพลกิส ผู้ทรงปัญญา มีชีวิตอยู่ในช่วงปีที่ 52 - 46 ก่อนยุทธการยาวิน เป็นลอร์ดมืดแห่งซิธชาวมุน ทายาทของนิกายซิธลอร์ดของดาร์ธ เบน และเป็นปรมาจารย์แห่งการควบคุมมิดิคลอเรียน มีชีวิตในช่วงร้อยปีก่อนเหตุการณ์ยุทธการนาบู เพลกิสผู้หลงใหลในชีวิตอมตะได้ทำการทดลองหาหนทางโกงความตายและสร้างชีวิตใหม่ขึ้นมาจากมิดิคลอเรียน", "title": "รายชื่อตัวละครในสตาร์ วอร์ส" }, { "docid": "524263#27", "text": "ดาร์ธ มอล เป็นลอร์ดมืดแห่งซิธ และเป็นศิษย์คนแรกเท่าที่ทราบของดาร์ธ ซิเดียส ในวัยเด็กนั้น มอลถูกลักพาตัวมาโดยซิเดียส และถูกฝึกสอนในวิถีแห่งด้านมืดของพลังอย่างลับๆ ด้วยความที่เขาเติบโตมาภายใต้การสั่งสอนของดาร์ธ ซิเดียส ทำให้ความรู้สึกเพียงอย่างเดียวที่มอลได้เรียนรู้ก็คือความกระหายเลือดและความโกรธเกรี้ยว", "title": "รายชื่อตัวละครในสตาร์ วอร์ส" }, { "docid": "75843#32", "text": "เมื่อสิ้นสุดสงครามโคลน วุฒิสมาชิกอมิดาล่าเสียชีวิตลงไม่นานหลังจากให้กำเนิดลูกแฝดของเธอ การตายของเธอนั้นบอกว่าเธอตรอมใจหลังจากที่ได้รับรู้ว่าสามีของตน อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ได้เข้าสู่ด้านมืดและกลายมาเป็นซิธลอร์ดที่น่ากลัวนามว่าดาร์ธ เวเดอร์ งานศพของวุฒิสมาชิกจัดขึ้นในเมืองธีด ซึ่งจัดขึ้นโดยไรโอ ธูลยายของนาเบอรี", "title": "นาบู" }, { "docid": "11758#5", "text": "แต่ทว่า ดาร์ธ เวเดอร์ ซิธลอร์ดผู้เป็นมือขวาของจักรพรรดินำกองกำลังของตนตามมาทันจนจับตัวองค์หญิงเอาไว้ องค์หญิงไม่มีทางเลือกจึงเอาแปลนใส่ไปในตัวหุ่น อาร์ทูดีทู(R2-D2) ลงไปบน ทาทูอีน ดาวแห่งทะเลทรายเพื่อขอความช่วยเหลือจาก โอบีวัน เคโนบี นายพลของสาธารณรัฐเดิม และซีทรีพีโอ (C-3P0) (หุ่นล่ามแปลภาษา)ได้ติดตามไปด้วย หลังจากถูกปล่อยจากแคปซูลช่วยชีวิตลงมาบนดาวทาทูอีนแล้วก็ถูก จาวัส ชนเผ่าเร่ร่อนขายของเก่าจับตัวไป", "title": "สตาร์ วอร์ส (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "553911#2", "text": "ในภาพยนตร์ชุดสตาร์ วอร์ส ดิอิมพีเรียลมาร์ช มักใช้บรรเลงพร้อมกับการปรากฏตัวของดาร์ธ เวเดอร์ สื่อแทนความชั่วร้ายของจักรวรรดิกาแลกติก บางครั้งอาจใช้พร้อมกับการปรากฏตัวของจักรพรรดิพัลพาทีน ส่วนใน ใช้กับตัวละครอนาคิน สกายวอล์คเกอร์หลายครั้ง เพื่อสื่อว่าตัวละครนี้จะถูกชักนำเข้าสู่ด้านมืดในอนาคต", "title": "ดิอิมพีเรียลมาร์ช" }, { "docid": "524263#26", "text": "หลังจากได้ \"สังหาร\" ดาร์ธ เรวาน ผู้เป็นอาจารย์ และชิงตำแหน่งมา ในปีที่ 3,957 ก่อนยุทธการยาวิน มาลักบังคับบัญชาการกองกำลังซิธได้อย่างไม่มีใครต้าน เข้ายึดครองดินแดนแล้วดินแดนเล่าอย่างโหดร้าย ในที่สุดก็ได้ฝึกศิษย์ของตนเองคือดาร์ธ แบนดอน อดีตเจได และต่อมาก็ได้ครอบงำพาดาวันเจได บาสติลา ชาน", "title": "รายชื่อตัวละครในสตาร์ วอร์ส" }, { "docid": "187942#19", "text": "มาเรกถูกเลี้ยงมาโดยดาร์ธ เวเดอร์ ผู้ซึ่งไม่มีคุณสมบัติเป็นพ่อที่ดีนัก เวเดอร์ทำให้เกิดมีความคุกรุ่น ความโกรธเกรี้ยว และความเย็นชาขึ้นในใจของมาเรก มาเรกถูกฝึกให้มีความภักดีแต่ก็เป็นมือสังหารอำมหิต เป็นพลังอำนาจอันไม่อาจหยุดยั้ง ในขณะเดียวกันกับที่ทรงพลังและมีความมั่นใจ เขาก็ยังมีบุคลิกด้านอื่นๆ อีก เขาเฝ้าสังเกตจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเองและว่าเขาควรจะเป็นอะไร ทำอะไร แรกเริ่มเขามีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเข้าร่วมหนทางลิขิตแห่งซิธที่เวเดอร์ฝึกเขา อย่างไรก็ดี เมื่อถูกเผยตัวต่อเจได ด้านสว่างของพลัง และความจริงของวิถีซิธทำให้ความตั้งใจของเขาสั่นคลอน ในที่สุดแล้ว ความรู้สึกลึกๆ ของความภักดีของเขาก็อยู่เหนือปรัชญาซิธ และทำให้เขาเลือกหนทางชีวิตไปตามนั้น", "title": "กาเลน มาเรก" } ]
962
รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422 เกิดขึ้นโดยใคร?
[ { "docid": "854541#0", "text": "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422 เป็นเหตุการณ์รัฐประหารในพม่าสมัยราชวงศ์คองบอง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงก่อนการเสด็จสวรรคตของพระเจ้ามินดงและในช่วงต้นรัชกาลของพระเจ้าธีบอ นับตั้งแต่ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 จนถึงวันที่ 13–18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2422 เหตุการณ์นี้มักถูกเรียกว่า เหตุการณ์ ปลงพระชนม์หมู่พระราชวงศ์พม่า ซึ่งดำเนินการโดยพระนางสิ่งผยูมะฉิ่งหรือพระนางอเลนันดอ พระมเหสีตำหนักกลางในพระเจ้ามินดง ร่วมกับเสนาบดีในสภาลุตอที่เป็นพันธมิตรของพระนาง ได้แก่ กินหวุ่นมิงจี้และแตงดาหวุ่นจี้ เหตุการณ์นี้ทำให้เชื้อพระวงศ์พม่าทั้งพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระเจ้ามินดงหลายพระองค์ถูกปลงพระชนม์ และราชบัลลังก์ได้ส่งผ่านต่อไปยังพระเจ้าธีบอ ซึ่งเป็นผู้ที่พระนางสิ่งผยูมะฉิ่งและสภาลุตอต้องการให้สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป แต่ถึงกระนั้นเหตุการณ์นี้ได้ถูกมองว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สถาบันกษัตริย์พม่าล่มสลายต่อภัยจักรวรรดินิยม", "title": "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422" } ]
[ { "docid": "433405#0", "text": "รัฐประหารในประเทศพม่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองแบบสังคมนิยมและการครอบงำการเมืองของกองทัพพม่า เป็นระยะเวลา 26 ปี ระบบการเมืองที่เป็นผลสืบเนื่องดำเนินมากระทั่งวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 เมื่อกองทัพยึดอำนาจในฐานะสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) หลังการก่อการกำเริบ 8888 ทั่วประเทศ รัฐประหาร พ.ศ. 2505 นำโดยพลเอก เนวี่น และสภาปฏิวัติสังคมนิยม ซึ่งมีสมาชิก 24 คน ในระยะเวลา 12 ปีถัดจากนี้ กระทั่ง พ.ศ. 2517 พม่าปกครองด้วยกฎอัยการศึก และมีการขยายบทบาทของทหารอย่างสำคัญในเศรษฐกิจ การเมืองและรัฐการพม่า นโยบายและอุดมการณ์ของรัฐบาลหลังรัฐประหารตั้งอยู่บนแนวคิดวิถีพม่าสู่สังคมนิยม (Burmese Way to Socialism) ซึ่งมีการประกาศต่อสาธารณะหนึ่งเดือนหลังรัฐประหารและเสริมด้วยการจัดตังพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า", "title": "รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2505" }, { "docid": "854541#13", "text": "สภาลุตอมีส่วนสำคัญในการดำเนินแผนการรัฐประหาร ซึ่งในขณะนั้นเสนาบดีในสภาลุต่อที่มีความสามารถล้วนถูกสังหารในคราวกบฎเจ้าชายมินกุนและเจ้าชายมินกุนเดง ดังนั้นเสนาบดีที่ทรงอิทธิพลในสภาลุต่อในช่วงนี้จึงมีแต่เพียง กินหวุ่นมิงจี้และแตงดาหวุ่นจี้ ทั้งสองคนมีบทบาทสำคัญในการก่อรัฐประหารวังหลวงในปี พ.ศ. 2421 - 2422 แตงดาหวุ่นจี้แม้จะไม่เห็นด้วยกับนโยบายของพระเจ้ามินดง แต่ก็คงสนับสนุนพระองค์ แต่เมื่อพระเจ้ามินดงทรงพระประชวร ไต้ง์ดามี่นจี้จึงพยายามแสวงหาอำนาจและอิทธิพล ด้วยอุดมการณ์ชาตินิยม คลั่งชาติ เกลียดชังชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของพวกหัวเก่าที่ยังคงเชื่อมั่นในความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพม่า ดังนั้น การเลือกองค์รัชทายาทที่จะมาเป็นกษัตริย์องค์ต่อไปย่อมสำคัญสำหรับเขา", "title": "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422" }, { "docid": "854541#2", "text": "พระเจ้ามินดงดำเนินการปฏิรูปแผ่นดินโดยรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางที่ราชสำนักกรุงมัณฑะเลย์ ปฏิรูประบบราชการภายใน ริเริ่มใช้ระบบค่าจ้างเงินเดือนในระบบราชการเพื่อลดอำนาจและฐานรายได้ของเหล่าข้าราชการ ปรับโครงสร้างระบบการเงินในท้องพระคลังใหม่ ปฏิรูปกองทัพพม่าให้เป็นสมัยใหม่ และริเริ่มนำระบบตำรวจหรือกองโปลิศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักร", "title": "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422" }, { "docid": "99194#11", "text": "รัฐประหารเกิดขึ้นในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 พล.ท.ประภาส จารุเสถียร แม่ทัพภาคที่ 1 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ใช้รถถัง รถหุ้มเกราะและกำลังพล กระจายกำลังออกยึดจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น หอประชุมกองทัพบก ที่ถนนราชดำเนินนอก เป็นต้น ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจกองปราบ ที่สามยอด ซึ่งเป็นที่บัญชาการของ พล.ต.อ.เผ่า ได้รับคำสั่งให้ยึดให้ได้ภายใน 120 นาที ก็สามารถยึดได้โดยเรียบร้อย โดย ร.ท.เชาว์ ดีสุวรรณ ในขณะที่ พล.จ.กฤษณ์ สีวะรา รองแม่ทัพภาคที่ 1 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) พ.ท.เอิบ แสงฤทธิ์ พ.ต.เรืองศักดิ์ ชุมะสุวรรณ พ.อ.เอื้อม จิรพงษ์ และ ร.อ.ทวิช เปล่งวิทยา นำกำลังตามแผนยุทธศาสตร์ \"\"เข้าตีรังแตน\"\" โดยนำกองกำลังทหารราบที่ 1 พัน 3 บุกเข้าไปยึดวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นกองบัญชาการตำรวจนครบาล จากนั้นจึงติดตามด้วยกองกำลังรถถัง ในขณะที่กองทัพเรือ พล.ร.อ.หลวงชำนาญอรรถยุทธ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้สั่งวิทยุเรียกเรือรบ 2 ลำ ยึดท่าวาสุกรี และส่งกำลังส่วนหนึ่งยึดบริเวณหน้าวัดราชาธิวาส เพื่อประสานงานยึดอำนาจ จนกระทั่งการยึดอำนาจผ่านไปอย่างเรียบร้อย", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500" }, { "docid": "123179#0", "text": "รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เกิดขึ้นในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 อันเนื่องจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงวันนั้นที่เรียกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา รัฐบาลพลเรือนโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ โดยใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519" }, { "docid": "854541#11", "text": "อิทธิพลทางการเมืองของพระนางสิ่งผยูมะฉิ่งเริ่มมีมากขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2419 ซึ่งเป็นปีที่พระนางชเวผยาจี พระอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ และในช่วงปี พ.ศ. 2421 ขณะที่พระเจ้ามินดงทรงพระประชวร หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายกะนอง องค์รัชทายาท ทำให้ปัญหาเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ในปลายรัชกาลของพระเจ้ามินดง พระนางสิ่งผยูมะฉิ่งได้รับการบรรยายว่าเป็น \"สตรีที่มีไหวพริบเป็นเยี่ยม มีความกล้ายิ่ง แน่วแน่ในสิ่งที่นางปรารถนาโดยไม่แยแสต่อสิ่งอื่นใดภายนอกเหนือไปจากนั้น เฉกเช่นวิถีของสตรีโดยทั่วไป\" ทรงเป็นสตรีที่มีความทะเยอทะยาน บางหลักฐานกล่าวหาว่าทรงเป็น \"ราชินีเลือดเย็น\" พระนางสิ่งผยูมะฉิ่งทรงใช้โอกาสในช่วงพระเจ้ามินดงทรงพระประชวรในการสั่งสมอำนาจและสร้างพันธมิตรกับเหล่าเสนาบดีในสภาลุตอ จึงทำให้พระนางทรงอิทธิพลใหญ่หลวงในปลายรัชกาล พระนางสิ่งผยูมะฉิ่งทรงต้องการครองอำนาจหลังบัลลงก์ยิ่งกว่าตัวผู้ครองบัลลังก์เอง ดังนั้นทรงต้องการกำหนดผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้ามินดง และยกพระราชธิดาของพระนางขึ้นเป็นพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่", "title": "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422" }, { "docid": "854541#1", "text": "พระเจ้ามินดงครองราชสมบัติพม่านับตั้งแต่ พ.ศ. 2396 จนถึง พ.ศ. 2421 รัชสมัยของพระองค์อยู๋ในช่วงการเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมอังกฤษ พม่าพ่ายแพ้ในสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2395 ส่งผลให้ต้องสูญเสียดินแดนพม่าตอนล่างแก่อังกฤษ ดังนั้นพระเจ้ามินดงจึงครองราชสมบัติในส่วนของพม่าตอนบนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่พระปรีชาสามารถด้วยพระองค์ได้ปกป้องดินแดนส่วนบนของพม่าจากการรุกรานของอังกฤษและดำเนินการปฏิรูปราชอาณาจักรให้ทันสมัย", "title": "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422" }, { "docid": "665400#5", "text": "รัฐบาลของเน วินประสบความสำเร็จในการทำให้สถานการณ์มั่นคง และเกิดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2503 ซึ่งพรรคสหภาพของอูนุได้เสียงข้างมาก แต่เสถียรภาพไม่ได้เกิดขึ้นนาน เมื่อขบวนการสหพันธ์ฉานนำโดยเจ้าส่วยใต้ เจ้าฟ้าเมืองยองห้วยที่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของพม่า ต้องการสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ที่ขอแยกตัวออกไปได้เมื่อรวมตัวเป็นสหภาพครบสิบปี เน วินพยายามลดตำแหน่งเจ้าฟ้าของไทใหญ่โดยแลกกับสิทธิประโยชน์ต่างๆใน พ.ศ. 2502 ในที่สุด เน วินได้ก่อรัฐประหารในวัที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 อูนุ เจ้าส่วยใต้ และอีกหลายคน ถูกจับกุม เจ้าส่วยใต้ถูกยิงเสียชีวิต เจ้าจาแสง เจ้าฟ้าเมืองสีป้อหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยที่จุดตรวจใกล้ตองจี", "title": "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)" }, { "docid": "854541#9", "text": "การสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายกะนองผู้ทรงเป็นรัชทายาทที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา เพราะพระเจ้ามินดงไม่ทรงเลือกพระราชโอรสองค์หนึ่งองค์ใดเป็นองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการ จึงทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งในราชสำนักในช่วงปีสุดท้ายของรัชกาล", "title": "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422" } ]
968
โคลงกับกลอนเหมือนกันหรือไม่ ?
[ { "docid": "2480#0", "text": "ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ร่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า \"คำประพันธ์\" และได้ให้ความหมายของ \"คำประพันธ์\" คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกัน ไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ โดยแบ่งเป็น 7 ชนิด คือ โคลง ร่าย ลิลิต กลอน กาพย์ ฉันท์ กล ซึ่งก็คือ ร้อยกรองไทย นั่นเอง", "title": "ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)" } ]
[ { "docid": "53848#15", "text": "ทำไมสองหัวข้อนี้ต้องมีความสัมพันธ์กันนัก คำตอบคือเพราะว่าเนื้อเรื่องตั้งแต่ภาคที่หนึ่งจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์กับคลาร์กและความสัมพันธ์กับไลโอเนลนั้นผูกโคลอี้มาตลอด เนื่องจากว่าไลโอเนลรู้ว่าโคลอี้เป็นนักข่าวที่สืบสวนเก่ง และเป็นเพื่อนกับคลาร์ก เค้นท์ เขาจึงต้องการให้เธอนั้นเข้าไปสืบความลับของคลาร์ก เค้นท์ซึ่งเป็นปริศนาที่ไลโอเนลคาใจมาตลอดตั้งแต่ครอบครัวเค้นท์ได้ช่วยเหลือไลโอเนลและเล็กซ์ไว้", "title": "โคลอี้ ซัลลิแวน" }, { "docid": "13435#0", "text": "กาพย์ เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่บังคับจำนวนคำและสัมผัส จัดวรรคต่างจากกลอนและไม่บังคับเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ไม่มีบังคับเอก-โทเหมือนโคลง และไม่มีบังคับครุและลหุเหมือนฉันท์", "title": "กาพย์" }, { "docid": "4054#42", "text": "อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากงานกลอน สุนทรภู่ก็มีงานประพันธ์ในรูปแบบอื่นอีก เช่น \"พระไชยสุริยา\" ที่ประพันธ์เป็นกาพย์ทั้งหมด ประกอบด้วยกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ส่วน \"นิราศสุพรรณ\" เป็นนิราศเพียงเรื่องเดียวที่แต่งเป็นโคลง ชะรอยจะแต่งเพื่อลบคำสบประมาทว่าแต่งได้แต่เพียงกลอน แต่การแต่งโคลงคงจะไม่ถนัด เพราะไม่ปรากฏว่าสุนทรภู่แต่งกวีนิพนธ์เรื่องอื่นใดด้วยโคลงอีก", "title": "พระสุนทรโวหาร (ภู่)" }, { "docid": "166731#19", "text": "โคลงตรีเพชรทัณฑีนี้แสดงไว้แต่ตัวอย่าง แต่อาจสังเกตไว้ว่าเหมือนโคลงสี่สุภาพ แต่เลื่อนสัมผัสในบาทที่สอง จากเดิมคำที่ 5 ไปเป็นคำที่ 3 แทน ดังตัวอย่าง", "title": "โคลง" }, { "docid": "53848#23", "text": "โคลอี้กับไลโอเนลไม่มีความสัมพันธ์อะไรที่เป็นข้อสังเกตในภาคที่สี่นี้ แต่ในภาคที่สี่ โคลอี้ก็ได้รู้ความจริงเกี่ยวกับคลาร์ก เค้นท์บางประการ โดยคลาร์ก เค้นท์ได้แสดงให้โคลอี้เห็นว่า (โดยบังเอิญ) เขาสามารถที่จะวิ่งได้ด้วยความเร็วเหนือเสียงและสามารถเอาตัวบังกระสุนได้โดยไม่มีร่องรอยบาดเจ็บ รวมทั้งแพ้คริปโตไนท์สีเขียว แต่โคลอี้ก็ไม่ได้แพร่งพรายความลับของเขาเองให้ใคร โดยตั้งสมมติฐานของเธอเองว่าคลาร์กก็เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากห่าอุกกาบาตที่ตกลงมายังสมอลวิลล์", "title": "โคลอี้ ซัลลิแวน" }, { "docid": "253975#3", "text": "สัมผัสไม่บังคับ หรือ สัมผัสใน หมายถึงสัมผัสที่มิได้กำหนดไว้ในบังคับของคำประพันธ์ จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีจะเพิ่มให้ไพเราะขึ้นตามความเหมาะสม ในคำประพันธ์ประเภทกลอนก็มีศัพท์ที่ใช้เรียกสัมผัสในลักษณะต่าง ๆ ไว้ ถ้าจะอนุโลมนำมาเทียบเคียงคือสัมผัสในถือเป็นอลังการทางภาษาที่งดงามของวรรณศิลป์ไทยอย่างหนึ่ง คำประพันธ์ที่แพรวพราวด้วยสัมผัสในย่อมฟังรื่นไหล แต่ทั้งนี้คำที่ใช้ต้องดีทั้งเสียงและความหมาย\nสัมผัสในของโคลงสี่สุภาพก็จะมีทั้งในวรรคเดียวกัน และระหว่างวรรคของบาทเดียวกัน ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร\nหากไม่มีสัมผัสอักษรระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลังของแต่ละบาท วรรคหลังควรเป็นคำที่มีสัมผัสอักษร เสียงของโคลงก็จะฟังเลื่อนไหล", "title": "คำคล้องจอง" }, { "docid": "11848#2", "text": "แต่พอรู้พ่อของตนกับคิงชื่อเกลเหมือนกัน ซึ่งทั้งคู่ร่วมก่อตั้งเดม่อน คาร์ดกัน พ่อลูกกลอรี่ร่วมมือกันโค่นคิงลงได้ จนเดม่อน คาร์ดล่มสาย แต่ตอนหนีเกลบอกว่าจะกลับเกาะการาจ แต่ทั้งคู่ก็ตกลงไปจนหอคอยถล่มปิดตาย ทั้งคู่คุยกัน เรื่องชูดะ กับความทรงจำแห่งดาวดวง ตำนานที่สืบทอดต่อกันมาในตระกูลซิมโฟเนีย เกลก็สละชีวิตปกป้องฮารุจากหอคอยถล่มจนเสียชีวิต ฮารุที่พบข้อความก่อนตายก็เสียใจเรื่องพ่อหนักกว่าเดิม แต่ต่อมาก็ทำใจได้", "title": "เรฟ ผจญภัยเหนือโลก" }, { "docid": "166731#13", "text": "บทหนึ่งมี 17 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 2 คำตามลำดับ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสเหมือนโคลงสามสุภาพ ดังตัวอย่าง", "title": "โคลง" }, { "docid": "166731#15", "text": "กวีไม่นิยมใช้โคลงสามแต่งวรรณกรรมตลอดเรื่อง นิยมแต่งสลับกับร่ายและโคลงชนิดอื่น ๆ รวมทั้งนิยมแต่งน้อยกว่าโคลงสองมาก อนึ่ง โคลงสามดั้นเริ่มปรากฏในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง มีหลักฐานอยู่ใน\"มหาชาติคำหลวง กัณฑ์ทานกัณฑ์\" ซึ่งแต่งโดย พระรัตนมุนี วัดราชสิทธาราม ในสมัยรัชกาลที่ 2", "title": "โคลง" }, { "docid": "166731#64", "text": "โคลงที่แต่งโดยใช้สัมผัสอักษรจะให้น้ำเสียงหนักแน่นชัดเจนกว่าโคลงที่ใช้สัมผัสสระ และไพเราะกว่าโคลงที่ไม่ใช้สัมผัสเลย", "title": "โคลง" } ]
970
สีประจำ มหาวิทยาลัยมหิดล คืออะไร?
[ { "docid": "5374#13", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีน้ำเงิน เป็นสีแห่งความเป็นราชขัติยนุกูลแห่งบรมราชวงศ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2512", "title": "มหาวิทยาลัยมหิดล" } ]
[ { "docid": "11674#13", "text": "\"สีเขียวเวอร์ริเดียน\" หรือที่เรียกตามสีไทยโทนว่า \"สีเขียวตั้งแช\" เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุด แต่ในระยะแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้กำหนดใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีพื้นป้ายมหาวิทยาลัยป้ายแรก แต่ช่วงนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ใช้สีเขียวเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความแตกต่าง และเนื่องจากนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ นิยมพารุ่นน้องปี 1 ไปทำกิจกรรมรับน้องที่เกาะเสม็ด จึงได้มีโอกาสชื่นชมสีของน้ำทะเลใส และได้นำมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสีที่บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร\nนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 12 คน ดังรายนามต่อไปนี้", "title": "มหาวิทยาลัยศิลปากร" }, { "docid": "41065#11", "text": "สีขาวนวล (Ivory) หมายถึงความสว่างและความอบอุ่น เปรียบได้กับ “ความรู้” (แสงสว่างทางปัญญา) ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นกิจกรรมนักศึกษาโดยทั่วไปแล้วจัดการ ดูแล และรับผิดชอบโดยสโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณาจารย์และบุคลากรของคณะฯ\nกิจกรรมค่ายรับน้อง 3 วัน 2 คืน ที่จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งทำความรู้จักเพื่อนใหม่ รุ่นพี่ คณะศิลปศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยกิจกรรมสันทนาการ นันทนาการ และกิจกรรมแนะนำคณะและมหาวิทยาลัย รับผิดชอบกิจกรรมโดยนักศึกษาชั้นปีที่สองภายใต้การกำกับของรุ่นพี่ คณาจารย์ และบุคลากร จัดขึ้นในช่วงปักษ์แรกของเดือนสิงหาคม\nกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษารุ่นพี่สอนนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งร้องเพลงประจำคณะศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างความภาคภูมิใจต่อคณะของตน และยังเป็นการฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแสดงแสตนด์ประจำปีในกิจกรรมประชุมเชียร์ที่จัดขึ้นโดยสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล อย่างไรก็ดี หลังจากมีการรณรงค์เรื่องการรับน้องอย่างเท่าเทียมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการตะคอกใส่รุ่นน้องหรือพี่ว้ากไปแล้ว รวมถึงได้ยกเลิกการบังคับนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งให้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย ในปัจจุบันนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ตามความสมัครใจ นอกจากนี้ สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตรยังเล็งที่จะปรับรูปแบบกิจกรรมให้สอดรับกับแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคกัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับนักศึกษาและผู้ปกครองว่ากิจกรรมนักศึกษาของคณะฯ จะปราศจากการรับน้องด้วยความรุนแรงทั้งทางกายภาพและสุขภาพจิตด้วย\nกิจกรรมค่ายแนะแนว 3 วัน 2 คืน แนะนำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจและ/หรือต้องการเข้าศึกษาต่อที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยกิจกรรมแนะนำคณะและมหาวิทยาลัย และหลักสูตรที่เปิดสอนในคณะฯ พร้อมทั้งจัดติววิชาที่จำเป็นในการศึกษาต่อ เช่น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสันทนาการและนันทนาการเพื่อให้นักเรียนมัธยมปลายได้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษาภายในคณะฯ รวมถึงได้ทำความรู้จักกับเพื่อนจากต่างโรงเรียนด้วย รับผิดชอบกิจกรรมโดยนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งภายใต้การกำกับของรุ่นพี่คณาจารย์ และบุคลากร จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงปักษ์แรกของเดือนกุมภาพันธ์\nกิจกรรมประจำปีของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้แนวคิดหลักคือ งานวัด มีกิจกรรมภายในงานมากมาย ได้แก่ คอนเสิร์ตจากศิลปินดังและนักศึกษา การแสดงจากชุมนุมต่างๆ ในคณะศิลปศาสตร์ ร้านค้า ซุ้มเกม (เช่น สาวน้อยตกน้ำ) และบ้านผีสิง ซึ่งมีชื่อเสียงมากในหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล กิจกรรมจัดขึ้นด้วยความร่วมมือของนักศึกษาทุกชั้นปี อาจารย์ และบุคลากรหน่วยต่างๆ ของคณะฯ\nกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม\nกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาชนบทโดยชุมนุมจิตอาสาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นมาแล้วมากกว่า 10 ครั้ง เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และคณะอื่นๆ ได้ใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนพัฒนาโรงเรียนในชนบทห่างไกล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นอนาคตของชาติสืบไป กิจกรรมมีทั้งกิจกรรมสร้าง สอน ซ่อมบำรุง และส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้าน จัดขึ้นในช่วงต้นของทุกช่วงปิดภาคเรียน\nในโครงการ \"เล่าขานตำนานศาลายา ครั้งที่ 9\" นั้น มีการแสดงละครเวทีเรื่อง \"คู่กรรม 'พากษ์' ใหม่\" กำกับการแสดงโดย อาจารย์ ดร.ปวลักขิ์ สุรัสวดี ซึ่งดัดแปลงบทจาก วรรณกรรมเรื่องคู่กรรม ของ ทมยันตี และบทละครคือผู้อภิวัฒน์ ๒๔๗๕ ของ คำรณ คุณะดิลก โดยละครเรื่องนี้ได้เสนอมุมมองของ 'วนัส' ซึ่งเป็นคนรักของอังศุมาลิน ได้ไปเข้าร่วมกับเสรีไทยเพื่อต่อต้านการรุกรามของชาวญี่ปุ่น (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)", "title": "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "6858#7", "text": "มหาวิทยาลัยทักษิณมีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปตำราการศึกษา 3 เล่ม สีเทา (สีประจำมหาวิทยาลัย) สะท้อนปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม และการพัฒนา” ล้อมรอบด้วยอักษรสีฟ้า (สีประจำมหาวิทยาลัย) เป็นภาษาไทย “มหาวิทยาลัยทักษิณ” และภาษาอังกฤษ “THAKSIN UNIVERSITY” ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่งภาคใต้ ด้านบนเหนือรูปตำราการศึกษาเป็นมงกุฎเปล่งรัศมีสีฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศและเกียรติยศ ด้วยในปีพุทธศักราช 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคใต้ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ ตรงกับวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี", "title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ" }, { "docid": "50748#18", "text": "เสื้อครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเป็นเสื้อคลุม ผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน มีแถบสีทองและฟ้าเข้มทาบทับด้วยแถบทองบริเวณอกเสื้อทั้งสองข้างมีวงมีตรามหาวิทยาลัย ปริญญาตรี และเส้นมีการจัดสีพื้นกับสีประจำคณะ สีของเส้นที่แสดงระดับของวุฒิคือ ปริญญาตรี 1 เส้น ปริญญาโทและเอกใช้ 2 และ 3 เส้น ตามลำดับนั้นเนื่องจากมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2548 แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอว่าควรกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นรูปมงกุฎสีทองซึ่งเป็นตราพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ส่วนบนเป็นมงกุฎสีทอง ส่วนกลางมีอักษรย่อพระนาม กว.สีฟ้าน้ำทะเล ส่วนล่างเป็นโบว์สีทองวงซ้อนพับกัน ภายในแถบโบว์มีชื่อ\"มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์\"สีฟ้าน้ำทะเล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัยและพระราชทานอนุญาต เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 และสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการและต่อมาจึงได้ประกาศ \"พระราชกฤษฎีกากำหนดตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2551\" โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายโดยสมบูรณ์", "title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "6858#9", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัยทักษิณ สืบเนื่องมาจากสีประจำวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา คือสีเทา-ฟ้า\nสีเทา - ฟ้า จึงหมายถึง ความคิดที่กว้างไกล หรือคิดอย่างมีวิสัยทัศน์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธศรีศากยมุนินทร์ ศรีนครินทรวิโรฒมงคล” ซึ่งมีความหมายว่า “องค์พระพุทธเจ้า ที่เป็นมิ่งมหามงคล แห่งมหาวิทยาลัย” และมหาวิทยาลัยได้กระทำพิธัอัญเชิญพระพุทธศรีศากยมุนินทร์ศรีนครินทรวิโรฒมงคลมาประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 \nนับแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้,มหาวิทยาลัยทักษิณ มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารมาแล้ว ดังนี้", "title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ" }, { "docid": "49065#2", "text": "เกิดจากความผสมผสานจากสีประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ เขียวขาวเหลือง ทำให้ได้สีที่ไปทางโทน เหลืองอมเขียว อันเป็นสีเดียวกับแป้งมงคลที่ใช้เจิมหน้าผากนักศึกษาใหม่ ในรุ่งเช้าของวัน \"คลอด\" ซึ่งคณาจารย์ และพี่ศิษย์เก่า ต่างก็ใช้แป้งโทนเขียวอมเหลือง หรือ \"สีไพล\" ใช้เจิมหน้าผากของนักศึกษาทุกคน ซึ่งลูกแม่โจ้ถือว่า เป็นศิริมงคลแก่นักศึกษาใหม่ ทั้งยังเป็นการรับน้องใหม่เข้าสู่สังคมของมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์แล้วนั้นเอง", "title": "สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้" }, { "docid": "61536#8", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัย\nสีน้ำตาลทอง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืน เปรียบได้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ตั้งอยู่ในดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นฐานความพร้อมในการเสริมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้สืบไป", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่" }, { "docid": "357195#4", "text": "สีแสด แทน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ซึ่งรังสรรค์เป็นรูปดอกแคแสด อันเป็นดอกไม้ประจำสถาบัน ปลายดอกชูรับแสงแห่งดวงอาทิตย์ หมายถึงความเข้มแข็ง ความสามัคคีและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งต้องการเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตแห่งเทคโนโลยี อันเป็นวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน", "title": "งานฟุตบอลประเพณี ราชภัฏฯ–ราชมงคลอีสาน" }, { "docid": "13034#21", "text": "██ สีขาว แทน ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ได้รับการจัดอันดับสารานุกรมไทย ฉบับ มหาลัยโลกจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สาขาดนตรีสากลเป็นอันดับที่ 96 ของเอเชีย", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม" }, { "docid": "11719#55", "text": "เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสีตามสีประจำ\nมหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีแดงชาด ติดแถบสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 3 เซนติเมตร ทั้งสองข้างโดยติดห่างจากขอบสักหลาดสีแดงชาด 0.5 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง และมีสร้อยทำด้วยโลหะสีทองพร้อมด้วยเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดระหว่างตรามหาวิทยาลัยทั้งสองข้าง ยึดติดกับครุยประมาณร่องหัวไหล\nเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัย แต่ไม่มีสร้อย", "title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" } ]
971
ศาสตราจารย์ ปรีดี เกษมทรัพย์ มีบุตรกี่คน?
[ { "docid": "334927#3", "text": "ศาสตราจารย์ ปรีดี เกษมทรัพย์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ เกิดเมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ในครอบครัวคนจีนแต้จิ๋ว ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรนายกิมฮง และนางบัวทอง เกษมทรัพย์ สมรสกับนางอังคณา เกษมทรัพย์ (สกุลเดิมไตรวิทยาคุณ) มีบุตร 4 คน ได้แก่ นายบรรณ นายปัญญ์ น.พ.ดร.วิชช์ และนายวัตร เกษมทรัพย์ ปัจจุบัน (2560) มีหลาน 9 คน", "title": "ปรีดี เกษมทรัพย์" } ]
[ { "docid": "369295#1", "text": "ดุษฎี บุญทัศนกุล เกิดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ที่ \"บ้านพูนศุข\" ป้อมเพชร์นิคม ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรีคนที่ 5 ในจำนวน 6 คนของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (ณ ป้อมเพชร์) หลังจากเกิดได้เจ็ดวัน นายปรีดีได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มราชการแผ่นดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ จึงตั้งชื่อลูกสาวที่เพิ่งเกิดใหม่ว่า ดุษฎี ต่อมาได้สมรสกับนายชาญ บุญทัศนกุล เมื่อ พ.ศ. 2518", "title": "ดุษฎี พนมยงค์" }, { "docid": "359428#1", "text": "นายศุขปรีดา พนมยงค์ เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย กับ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร์) เกิดที่บ้านพูนศุข \"ป้อมเพชรนิคม\" ถนนสีลม เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2478 มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา รวม 6 คน คือ", "title": "ศุขปรีดา พนมยงค์" }, { "docid": "5133#10", "text": "อภิสิทธิ์เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน", "title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "43467#2", "text": "ศาสตราจารย์ สกล พันธุ์ยิ้ม หรือ ศาสตราจารย์ ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของนายเจริญ และนางสอาด พันธุ์ยิ้ม สมรสกับนางพูนพันธ์ (อัตตะนันทน์) ธิดาของจอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ และคุณหญิงกานดา อัตตะนันทน์ มีบุตร 3 คน คือ นายธีรธร นายก่อพร และ นายธัชทร พันธุ์ยิ้ม", "title": "สกล พันธุ์ยิ้ม" }, { "docid": "334927#0", "text": "ศาสตราจารย์ ปรีดี เกษมทรัพย์ นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแพ่ง และนิติปรัชญา อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตผู้ก่อตั้งและอดีตอธิการวิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก อดีตรองประธานสหพันธ์คีตาอาศรมแห่งโลก และอดีตประธานคีตาอาศรมแห่งประเทศไทย", "title": "ปรีดี เกษมทรัพย์" }, { "docid": "335981#2", "text": "ด้านครอบครัว สมรสกับนายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีบุตรธิดา 2 คน คือ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ" }, { "docid": "94057#5", "text": "ท่านมีบุตร-ธิดา กับนายปรีดี พนมยงค์ รวมทั้งหมด 6 คน คือเมื่อเกิดการรัฐประหารในคืนวันที่ 8 พ.ย. 2490 คณะรัฐประหารได้นำรถถังบุกยิงถล่มใส่ในบ้านทำเนียบท่าช้าง เพื่อที่จะกำจัดนายปรีดี แต่นายปรีดีได้หลบหนีลงเรือไปก่อนที่คณะรัฐประหารจะบุกเข้ามา และเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุขต้องดูแลลูก ๆ เพียงลำพัง โดยต้องรับหน้าที่เป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกัน เพราะสามีต้องหนีภัยการเมืองไปต่างประเทศ", "title": "พูนศุข พนมยงค์" }, { "docid": "7673#2", "text": "มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ สมรส กับ อาจารย์ วณิศรา บุญยะลีพรรณ นายณพล จาตุศรีพิทักษ์ และเด็กชายณฉัตร จาตุศรีพิทักษ์ เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อภิรดี ตันตราภรณ์ อีกด้วย\nดร.สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยมหรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของ ดร.สมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง และได้ชื่อว่าบางครั้งก็ไม่ทำตามนโยบายหรือแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้เสมอไป", "title": "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" }, { "docid": "276010#2", "text": "ภรรยาท่านที่ 1 - นางกิมเอ็ง เติมประยูร มีบุตรธิดา 4 ท่าน\n1 พันโท ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ สี สิริสิงห - สมรสกับ คุณหญิงอัมพร มีบุตรธิดา 3 ท่าน\n2 ท่านผู้หญิงแส สิริสิงห สมรสกับ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ บุญชนะ อัตถากร มีบุตรธิดา 3 ท่าน\n3 นายฉาย สิริสิงห สมรสกับ นางสมร นางสุพัฒนา เทนสิทธิ์ และนางดวงตา มีบุตรธิดา 7 ท่าน\n4 นางสุแสน สิริสิงห สมรสกับ นายเทพ เติมประยูร มีบุตร 1 ท่าน\nหมายเหตุ ณ วันที่ 24 กพ.2558 นางสุพัฒนา และ นางดวงตา ยังมีชีวิตอยู่ นอกนั้นถึงแก่กรรม", "title": "พระสันธิวิทยาพัฒน์ (ไล่เฮียง สิริสิงห)" } ]
978
ใครเป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟดวงแรกของโลก?
[ { "docid": "591595#2", "text": "ปี 2443 มีการคิดค้น หลอดไฟแบบไส้ ครั้งแรกขึ้นในโลกโดย เซอร์ โจเซฟ สวอน ได้นำแนวคิด จากนักวิทยาศาสตร์ มาพัฒนาต่อ จนสร้างหลอดไฟได้สำเร็จ แต่ไม่ได้พัฒนา ระบบไฟฟ้าขึ้นทำให้คนที่ซื้อหลอดไฟ ของ สวอน ต้องหาซื้อเครื่องปั่นไฟ ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการใช้งานมาก ต่อมา ทาง โทมัส เอดิสัน ได้สามารถสร้างหลอดไฟแบบไส้ขึ้นมาได้บ้าง และนอกจากนั้น โทมัส เอดิสัน ยังได้พัฒนาระบบไฟฟ้า ขึ้นมา ควบคู่กับหลอดไฟและแจกจ่ายไฟ ไปยังบ้านเรือนต่างๆ ทำให้ หลอดไฟของเขาได้รับความนิยม มากกว่า หลอดของ ทางสวอน จนในที่สุด คนทั่วไป เกิดความเข้าใจกันว่า เอดิสัน คือผู้คิดค้น หลอดไฟ เป็นคนแรกของโลก หลอดไฟ ของเอดิสัน ทำจากแท่งคาร์บอน มีข้อเสีย คือขาดปี 2453 ได้มีการ คิดค้นไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน ขึ้นในโลก", "title": "หลอดไฟฟ้า" } ]
[ { "docid": "401851#5", "text": "ค.ศ. 1802 ฮัมฟรี เดวี ได้ประดิษฐ์สิ่งที่ในขณะนั้นเป็นแบตเตอรีไฟฟ้าที่ทรงพลังที่สุดในโลกที่ราชสมาคมแห่งบริเตนใหญ่ ซึ่งเขาสร้างหลอดไส้โดยส่งกระแสไฟฟ้าผ่านแพลทินัมแถบบาง ซึ่งโลหะชนิดนี้ถูกเลือกเพราะมีจุดหลอมเหลวสูงอย่างยิ่ง แต่หลอดไส้นี้ไม่สว่างพอหรือทำงานได้นานพอที่จะนำไปใช้ได้จริง แต่ก็มีมาก่อนเบื้องหลังความพยายามการทดลองนับครั้งไม่ถ้วนอีก 75 ปีต่อมา", "title": "หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา" }, { "docid": "3000#15", "text": "ค.ศ. 1879 ประดิษฐ์หลอดไฟไส้คาร์บอนสำเร็จ และเริ่มออกแบบสวิตช์เปิด-ปิดหลอดไฟให้ติดตั้งในบ้านเรือนได้ง่าย นับเป็นจุดเริ่มต้นของหลอดไฟบนโลกใบนี้", "title": "ทอมัส เอดิสัน" }, { "docid": "401851#4", "text": "ในการตอบคำถามว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไส้ นักประวัติศาสตร์โรเบิร์ต ฟรีเดล และพอล อิสราเอล ทำรายการนักประดิษฐ์หลอดไส้ 22 คน ก่อนโจเซฟ สวอน และโทมัส เอดิสัน พวกเขาสรุปว่ารุ่นของเอดิสันนั้นล้ำหน้ากว่าของคนอื่น เพราะองค์ประกอบสามปัจจัย ได้แก่ (1) วัสดุเปล่งแสงที่มีประสิทธิภาพ, (2) สุญญากาศที่สูงกว่าที่คนอื่น ๆ สามารถทำสำเร็จ และ (3) ความต้านทานไฟฟ้าที่สูงซึ่งทำให้การแจกจ่ายพลังงานจากแหล่งกลางทำงานได้อย่างประหยัด", "title": "หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา" }, { "docid": "3000#1", "text": "ทอมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟ และสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย", "title": "ทอมัส เอดิสัน" }, { "docid": "3000#18", "text": "ค.ศ. 1883 เขาประดิษฐ์หลอดไฟรุ่นใหม่ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปได้ ทำให้หลอดไฟแพร่กระจายไปตามจุดต่าง ๆ ของโลกเร็วขึ้น", "title": "ทอมัส เอดิสัน" }, { "docid": "56517#3", "text": "แทมมารีนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในการแข่งขันนัดแรกของ สนามอาร์เธอร์ แอช เซ็นเตอร์คอร์ตที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์เธอร์ แอช นักเทนนิสผิวดำชาวอเมริกันผู้เคยเป็นมือหนึ่งของโลกช่วงทศวรรษ 1970 ในการแข่งขันยูเอสโอเพ่น 1997 นัดเปิดสนามเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2540 ก่อนการแข่งขันมีการแสดงดนตรีโดยวิตนีย์ ฮิวสตัน เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้เล่นในนัดแรกควรจะเป็นนักเทนนิสผิวดำ คือ วีนัส วิลเลียมส์ และชานดา รูบิน (Chanda Rubin) นักเทนนิสดาวรุ่งสหรัฐ แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงตารางผู้เล่นจากวิลเลียมส์เป็นแทมมารีนแทน ผลการแข่งขันปรากฏว่าแทมมารีนเอาชนะรูบินได้ 6-4, 6-0 อย่างพลิกความคาดหมายและกลายเป็นข่าวใหญ่ การแข่งขันครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่แทมมารีนได้เล่นในเซ็นเตอร์คอร์ตของรายการใหญ่และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก", "title": "แทมมารีน ธนสุกาญจน์" }, { "docid": "128112#2", "text": "ไฟแช็กอันแรกของโลกมีชื่อว่า \"ตะเกียงของเดอเบอไรเนอร์\" ประดิษฐ์ขึ้นโดย นักเคมีชาวเยอรมันเมื่อ ค.ศ. 1823 ทำงานโดยการยิงแก๊สไฮโดรเจนไปบนโลหะแพลทินัมที่ห่างกัน 4 เซนติเมตรบนอากาศ โลหะจะร้อนขึ้นและติดไฟได้เองโดยไม่ต้องใช้ประกายไฟ ไฟแช็กชนิดนี้ผลิตจำหน่ายเรื่อยมาจนถึง ค.ศ. 1880 จึงเลิกผลิต", "title": "ไฟแช็ก" }, { "docid": "775692#11", "text": "ร้านอาหารธีมการ์ตูนเน็ทเวิร์คบนชั้นดาดฟ้าแห่งแรกของโลก ที่มีการปรุงอาหารสดๆของเชฟฝีมือดีบนกระทะต่อหน้าลูกค้าด้วยแท่นปรุงอาหารโมลเทนี ผลงานจากผู้เชี่ยวชาญของบริษัทอีเลคโทรลักซ์ ที่ได้รับการปรับแต่งเป็นพิเศษตามความต้องการโดยเฉพาะสำหรับสวนน้ำการ์ตูนเน็ทเวิร์ค อเมโซนจากโรงงานผลิตในประเทศฝรั่งเศส โดยในร้านจะมีตัวละครจาก โลกสุดอัศจรรย์ของกัมบอล ชาวด์เดอร์ แอทเวนเจอร์ ไทม์ เบ็นเท็นและเดอะ พาวเวอร์พัฟเกิร์ลส์ โดยโครงการตูนนาลิเชียซนี้มีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559", "title": "สวนน้ำการ์ตูนเน็ทเวิร์ค อเมโซน" }, { "docid": "256684#3", "text": "บุคคลแรกที่พิชิตยอดเขาแปดพันเมตรทั้งสิบสี่ยอดคือไรน์โฮลด์ เมสเนอร์ ผู้ทำสำเร็จเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1986 ปีต่อมาในปี ค.ศ. 1987 เยชี คูคุชคา (Jerzy Kukuczka) กลายเป็นคนที่สอง ในปี ค.ศ. 2009 มีผู้พิชิตทั้งสิบสี่ยอดทั้งหมดด้วยกัน 16 คน การพิชิตยอดเขาเหล่านี้เป็นการเสี่ยงอันตรายสูงที่มีผู้เสียชีวิตไปสี่คนในการพยายาม ผู้ที่ปีนยอดเขาเหล่านี้บ่อยที่สุดคือ คัวนีโต โอยาร์ซาบัล (Juanito Oiarzabal) ที่ปีนด้วยกันทั้งสิ้น 23 ครั้งระหว่าง ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 2009", "title": "ภูเขาแปดพันเมตร" }, { "docid": "591595#3", "text": "เนื่องจากหลอดไฟ ของ เอดิสัน ทำจาก คาร์บอน จึงมีอายุการใช้สั้น เพียง 13 ช.ม และจากปัญหานี้ ต่อมา วิลเลี่ยม เดวิส ได้คิดค้นไส้หลอด ที่ทำมาจาก ทังสเตน ซึ่งสามารถ ทนความร้อนได้สูงถึง3,419 องศา C´ ในขณะที่ไส้หลอด มีอุณหภูมิสูง 2,456 องศา C´ทำให้ปัญหาไส้หลอด ขาดง่ายหมดไป แต่ปัญหาที่ตามมาอีกก็คือเมื่อไส้ทังสเตนร้อน จะมีอานุภาคบางส่วนหลุดไป เกาะกับผิวหลอดไฟ ทำให้หลังจากใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง หลอดไฟก็จะมีแสงลดลงจนในที่สุด แสงไฟก็จะมัวจนใช้งานต่อไม่ได้ จากปัญหาเรื่องแสงไฟที่ลดลง ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ ต่างก็พยายามค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาหลอดไฟกันต่อไป", "title": "หลอดไฟฟ้า" } ]
985
ใครเป็นผู้ค้นพบหลักความน่าจะเป็น?
[ { "docid": "723346#11", "text": "ส่วนการตีความด้วยหลักความน่าจะเป็นนั้น มีแนวคิดมาจากการเรียนรู้ของเครื่อง เสนอขึ้นครั้งแรกโดยเจฟฟรีย์ ฮินตัน โยชัว เบนโจ ยานน์ เลอคุน และเยอร์เกน ชมิดฮูเบอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกสาขาการเรียนรู้เชิงลึกยุคใหม่ แนวคิดนี้จะเน้นการปรับโครงสร้างการเรียนรู้เชิงลึกด้วยการหาโมเดลค่าที่ดีที่สุด (optimization) ที่ดีทั้งสำหรับข้อมูลการสอน (training) และข้อมูลการทดสอบ (testing) ทั้งนี้ การอนุมานด้วยความน่าจะเป็นนั้นจะมองว่า activation nonlinearity นั้นเป็นฟังก์ชันการกระจายแบบสะสม (Cumulative distribution function) ทำให้เกิดเทคนิคการใช้ dropout เป็นตัวควบคุม (regularizer) สำหรับโครงข่ายประสาทเทียม", "title": "การเรียนรู้เชิงลึก" }, { "docid": "5501#14", "text": "แม้ว่าคณิตศาสตร์ของความน่าจะเป็นจะถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่มานานตั้งแต่ ปิแยร์ แฟร์มาต์ แบลส์ ปาลกาล จนถึง ปิแยร์ ซิมง ลาปลัสก็ตาม นักคณิตศาสตร์เหล่านี้ไม่ได้กำหนดโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ของความน่าจะเป็นอย่างเคร่งครัด คล้ายกับกรณีออกัสติน หลุยส์ โคชี่ได้นิยามแคลคูลัสของไอแซก นิวตัน กับ กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซอย่างเคร่งครัดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั่นเอง", "title": "สัจพจน์ของความน่าจะเป็น" }, { "docid": "4781#0", "text": "อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ (รัสเซีย: Андре́й Никола́евич Колмого́ров; อังกฤษ: Andrey Nikolaevich Kolmogorov), เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1903 เสียชีวิต 20 ตุลาคม ค.ศ. 1987, เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ยักษ์ใหญ่ในวงการคณิตศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีผลงานโดดเด่นมากในงาน ทฤษฎีความน่าจะเป็นและทอพอโลยี. อันที่จริงแล้ว คอลโมโกรอฟมีผลงานในแทบทุกแขนงของคณิตศาสตร์ เช่น ตรรกศาสตร์, อนุกรมฟูรีเย, ความปั่นป่วน (turbulence), กลศาสตร์คลาสสิก นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในผู้คิดค้น ความซับซ้อนแบบคอลโมโกรอฟ ร่วมกับ เกรโกรี ไชตัง และ เรย์ โซโลโมนอฟ ในช่วงช่วงปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970.", "title": "อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ" } ]
[ { "docid": "41933#0", "text": "ความน่าจะเป็น เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลซีไรต์ หนังสือรวม 10 เรื่องสั้นของปราบดา หยุ่น ที่เคยตีพิมพ์ลงใน นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ พร้อม 3 เรื่องสั้นใหม่ ในหนังสือประกอบด้วยเนื้อหาของแง่มุมของคนที่มองโลก ในมุมกลับ เขาคิด กรองตรอง แล้วกล้ายิงคำถาม ด้วยการตั้งคำถามไว้มากมาย ที่คนทั่วไปไม่เคยถาม ซึ่งแต่ละคำถาม เป็นคำถามที่ผู้คน ไม่เคยคิดจะตอบ และเขาเองก็ไม่ต้องการคำตอบ นับเป็นการสร้างสรรค์จินตนาการ ที่แตกต่างไปจากคนอื่น แต่ทุกคำถามล้วนมี \"ความน่าจะเป็น\" ทั้งสิ้น", "title": "ความน่าจะเป็น (เรื่องสั้น)" }, { "docid": "3697#6", "text": "มีการโต้เถียงกันว่านิวตันหรือไลบ์นิซ ที่เป็นผู้ที่ค้นพบแนวคิดหลักของแคลคูลัสก่อน\nความจริงนั้นไม่มีใครรู้ได้\nสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่ไลบ์นิซได้พัฒนาให้กับแคลคูลัส คือ เครื่องหมายของเขา เขามักจะใช้เวลาเป็นวัน ๆ นั่งคิดถึงสัญลักษณ์ที่เหมาะสม ที่จะแทนที่แนวคิดทางคณิตศาสตร์\nอย่างไรก็ตาม การโต้เถียงกันระหว่างไลบ์นิซ และนิวตัน ได้แบ่งแยกนักคณิตศาสตร์ที่พูดภาษาอังกฤษ ออกจากนักคณิตศาสตร์ในยุโรป เป็นเวลานานหลายปี\nซึ่งทำให้คณิตศาสตร์ในอังกฤษล้าหลังกว่ายุโรปเป็นเวลานาน\nเครื่องหมายที่นิวตันใช้นั้น คล่องตัวน้อยกว่าของไลบ์นิซอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังใช้กันในอังกฤษจน Analytical Society ได้ใช้เครื่องหมายของไลบ์นิซในศตวรรษที่ 19 ตอนต้น\nสันนิษฐานกันว่า นิวตันค้นพบแนวคิดเกี่ยวกับแคลคูลัสก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ไลบ์นิซเป็นผู้ที่เผยแพร่ก่อน\nทุกวันนี้เป็นที่เชื่อกันว่า ทั้งนิวตันและไลบ์นิซต่างก็ค้นพบแคลคูลัสด้วยตนเอง", "title": "แคลคูลัส" }, { "docid": "928823#3", "text": "ข่าวการค้นพบชิ้นส่วนศพแขนซ้ายปริศนากลายเป็นสิ่งที่คนกำลังให้ความสนใจ ชิ้นส่วนศพที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ไม่รู้ที่มา ไม่รู้สาเหตุการตาย แต่สำหรับ ปาย (ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์) ตั้งแต่เขาได้พบชิ้นส่วนศพนั้นก็มีเหตุการณ์แปลกๆ เกิดขึ้นกับเขา บางครั้งเขารู้สึกว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียวในห้อง เริ่มเห็นภาพหลอนของชิ้นส่วนศพ รวมไปถึงการเห็นผู้หญิงคนหนึ่งในห้องหายตัวไปต่อหน้าต่อตา เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้เขาเริ่มสงสัยว่าชิ้นส่วนศพปริศนาอาจจะเกี่ยวข้องกับตัวเขา และเมื่อเขาเริ่มค้นหาความจริง เขาก็พบว่าชิ้นส่วนศพนั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับ วิรินทร์ (ชนม์ทิดา อัศวเหม) แฟนเก่าที่เลิกกันไป ซึ่งเป็นผู้หญิงที่เขารักมากที่สุด", "title": "The Collector คนประกอบผี" }, { "docid": "22657#8", "text": "โคลอมโบลงความเห็นว่า \"ตั้งแต่ไม่มีใครได้มองไปถึงการทำงานเหล่านี้ ถ้าอาจจะมีชื่อของสิ่งที่ข้าค้นพบ ขอเรียกว่า ความรักหรือความงามแห่งวีนัส\" คำอ้างนี้ถูกค้านโดยกาเบรียล ฟอลลอพพิโอ ผู้ค้นพบท่อนำไข่ ซึ่งเป็นศิษย์ของโคลัมโบที่พาดัว โดยอ้างว่าเขาเป็นคนแรกที่ค้นพบคลิตอริส", "title": "ปุ่มกระสัน" }, { "docid": "6156#2", "text": "จับความต่อจากภาคที่แล้ว หลังจากเกิดเหตุระเบิดขึ้นกับยานลำอื่นๆ ผู้มีชีวิตรอดคนเดียวที่ค้นพบก็คือเบน แต่ไม่มีใครล่วงรู้เลยว่าภายในตัวเบนนั้นถูกยึดครองอย่างเต็มที่แล้วจากสมิธ ซึ่งต้องการจะตามแก้แค้นนีโอไปทุกที่ ฝ่ายนีโอนั้นหลังจากทราบความจริงอันน่าตกตะลึงจากสถาปนิกผู้ให้กำเนิดเมทริกซ์แล้วก็ยิ่งสงสัยในทางที่ตนควรจะเดินอีก", "title": "เดอะ เมทริกซ์ เรฟโวลูชั่นส์ : ปฏิวัติมนุษย์เหนือโลก" }, { "docid": "169340#0", "text": "การชันสูตรพลิกศพ () คือการตรวจพิสูจน์เพื่อดูสภาพศพแต่เพียงภายนอก ค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่าผู้ตายคือใคร ตายเมื่อใด ถ้าตายโดยคนทำร้าย สงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดที่ทำให้เกิดการตายตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 129 ความว่า \"ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล\" ซึ่งตามกฎหมายมีความมุ่งหมายให้แพทย์และพนักงานสอบสวนดำเนินการตรวจสอบในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการชันสูตรพลิกศพ เพื่อตรวจดูสภาพศพในสถานที่เกิดเหตุนั้น อาจเป็นเหตุทำให้การจราจรติดขัดมาก อาจกลายเป็นสถานที่อุดจาตาจากสภาพศพ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนทั่วไป แพทย์และพนักงานสอบสวนย่อมมีสิทธิ์ที่จะสามารถเคลื่อนย้ายศพ เพื่อนำไปทำการชันสูตรพลิกศพยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้", "title": "การชันสูตรพลิกศพ" }, { "docid": "195663#0", "text": "ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน เป็นผลงานเขียนของ วินทร์ เลียววาริณ และ ปราบดา หยุ่น ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 เล่ม โดยเล่มแรกตีพิมพ์เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2547 โดยในตอนแรกความน่าจะเป็นบนเส้นขนานเป็นคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร LIPS และต่อมาได้ย้ายมาตีพิมพ์ในนิตยสาร open และ GM จนถึงปัจจุบัน ซึ่งคอลัมน์ดังกล่าวเป็นอีเมลโต้ตอบระหว่าง วินทร์ เลียววาริณ และ ปราบดา หยุ่น ซึ่งบุคคลทั้งสองเป็นนักเขียนที่เคยได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน โดยอีเมลดังกล่าวมักจะเป็นการแสดงความเห็นของทั้งสองคนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมในช่วงเวลานั้นๆ นอกจากคอลัมน์ดังกล่าวจะตีพิมพ์ในนิตยสารและพิมพ์รวมเล่มแล้ว ยังตีพิมพ์ในเว็บไซต์อีกด้วย ชื่อความน่าจะเป็นบนเส้นขนานนั้น ได้มากจากชื่อผลงานที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนของทั้งสองคนรวมกัน คือ ความน่าจะเป็น ของปราบดา และ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของวินทร์", "title": "ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน" }, { "docid": "52143#1", "text": "เนื่องจากโฟล์กโซโนมีพัฒนาขึ้นในสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้จึงสามารถค้นพบได้ว่าใครเป็นผู้ติดป้ายโฟล์กโซโนมี และสามารถดูได้ว่าผู้ใช้คนอื่นสร้างป้ายอะไรขึ้นมาบ้าง", "title": "โฟล์กโซโนมี" } ]
989
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "32174#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (; มาร์เกรเธอ อเล็กซานดรีน ธอร์ฮิลดูร์ อิงกริด ; \"พระราชสมภพ\" 16 เมษายน พ.ศ. 2483) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์กกับเจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน พระนางทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2515 จากการสืบราชบัลลังก์ทำให้พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์กพระองค์แรกนับตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก พระประมุขแห่งสแกนดิเนเวียในช่วงปีพ.ศ. 1918 ถึงพ.ศ. 1955 ในยุคสหภาพคาลมาร์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#3", "text": "เจ้าหญิงมาร์เกรเธอประสูติเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2483 ณ พระราชวังอามาเลียนบอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในเจ้าชายเฟรเดอริกและเจ้าหญิงอิงกริด มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาของพระนางเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรีน และพระราชมารดาของพระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในมกุฎราชกุมารกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดนกับมกุฎราชกุมารีมาร์กาเร็ต เจ้าหญิงประสูติเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากกองทัพนาซีเยอรมนีได้ทำการยึดครองเดนมาร์กในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2463", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" } ]
[ { "docid": "289252#0", "text": "เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี ในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (พระนามเต็ม: อ็องรี มารี ฌ็อง อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา; 11 มิถุนายน พ.ศ. 2477 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระองค์ประสูติที่เมืองตาลงซ์ แคว้นกีรงด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นโอรสในเคาต์อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา และเรอเน ดูร์เซโน อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 ในขณะที่มีพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงผู้เป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก", "title": "เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี" }, { "docid": "32174#17", "text": "เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กในฐานะ \"สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก\" และทรงกลายเป็นพระประมุขสตรีพระองค์แรกภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระนางทรงได้รับการประกาศเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ณ มุขเด็จแห่งพระราชวังคริสเตียนบอร์กโดยนายกรัฐมนตรีเจนส์ ออตโต คร้าก ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า \"พระมหากษัตริย์สวรรคต สมเด็จพระราชินีทรงพระเจริญ\" (The King is dead, long live the Queen!) สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงสละพระอิสริยยศทุกตำแหน่งของอดีตพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ยกเว้นพระอิสริยยศในเดนมาร์ก ดังนั้นทรงขนานพระนามว่า ด้วยพระคุณของพระเจ้า, สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก (ภาษาเดนมาร์ก : \"Margrethe den Anden, af Guds Nåde Danmarks Dronning\") สมเด็จพระราชินีนาถทรงเลือกคติพจน์ประจำรัชกาลว่า \nพระนางมีพระราชดำรัสแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการครั้งแรก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 มีพระราชดำรัสว่า", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "519304#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (, , , ; 15 มีนาคม ค.ศ. 1353 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินี (พระมเหสี) แห่งนอร์เวย์ (ค.ศ. 1363 - 1380) และสวีเดน (ค.ศ. 1363 - 1364) และจากนั้นทรงเป็นพระประมุขตามสิทธิในราชบัลลังก์ของเดนมาร์ก นอร์เวย์และสวีเดน ซึ่งในภายหลังนี้เกิดความคลุมเครือและสับสนถึงการเรียกพระอิสริยยศของพระองค์ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงเป็นผู้ก่อตั้งสหภาพคาลมาร์ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมทั่วคาบสมุทรสแกนดิเนเวียเป็นระยะเวลากว่าศตวรรษ พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่ทรงปัญญา ขะมักเขม้นและมีความสามารถ ทรงได้รับพระสมัญญาว่า \"เซมิรามิสแห่งอุดรทิศ\" (Semiramis of the North) หรือ \"เลดี้คิง\" (the Lady King) แม้ว่าพระนามชื่อหลังนี้เป็นพระนามที่เย้ยหยันอันมาจากศัตรูของพระองค์ คือ อัลเบิร์ตแห่งเมคเลินบวร์ค แต่กลับกลายว่าชื่อนี้เป็นที่นิยมใช้เมื่อมีการกล่าวถึงความสามารถของพระองค์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#14", "text": "ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงอภิเษกสมรสกับนักการทูตชาวฝรั่งเศสคือ เคานท์อ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา ณ โบสถ์โฮลเมนในโคเปนเฮเกน อ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซาได้รับพระอิสริยยศว่า \"ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก\" (His Royal Highness Prince Henrik of Denmark) เนื่องจากฐานะใหม่ของพระองค์คือเป็นพระราชสวามีในเจ้าหญิงรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#4", "text": "พระองค์ทรงเข้ารับบัพติศมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ณ โบสถ์โฮลเมน กรุงโคเปนเฮเกน เจ้าหญิงมาร์เกรเธอมีพระราชบิดาและพระราชมารดาทูนหัว คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก, เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก, เจ้าชายแอกเซิลแห่งเดนมาร์ก, พระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน, มกุฎราชกุมารกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดน, แเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟ ดยุกแห่งเวสเตร์บอตเติน และ เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสตราเธิร์น", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#29", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กทรงได้รับแรงสนับสนุนให้ใส่ภาพประกอบในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 พระนางทรงส่งภาพทั้งหมดไปให้เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ซึ่งตกตะลึงเพราะความคล้ายคลึงกันของภาพวาดของพระนางกับแบบของเขาเอง ภาพของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ได้ตีพิมพ์ในฉบับแปลภาษาเดนมาร์ก ซึ่งวาดขึ้นใหม่โดยอีริค ฟราเซอร์ จิตรกรชาวอังกฤษ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "519304#1", "text": "พระองค์เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับพระนางเฮลวิกแห่งชเลสวิช พระองค์ประสูติที่ปราสาทซอบอร์ก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงเป็นผู้ที่โปรดการทรงงาน บริหารราชอาณาจักรด้วยความอดทนและเป็นนักการทูตผู้มีชั้นเชิง ทรงเป็นผู้ที่มีปณิธานอย่างแรงกล้าในการรวมสแกนดิเนเวียให้เป็นรัฐอัตลักษณ์หนึ่งเดียวและมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะแข่งขันทางอำนาจกับสันนิบาตฮันเซอ พระองค์ไม่ทรงมีรัชทายาทตามสายพระโลหิตที่จะมาสืบบัลลังก์ต่อ ด้วยพระโอรสเพียงพระองค์เดียวได้สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อนที่พระองค์จะครองราชย์ แม้ว่านักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระองค์ทรงมีพระราชธิดานอกสมรสอีกพระองค์หนึ่งอันประสูติแต่อับราฮัม บรอเดอร์สัน ที่ปรึกษาชาวสวีเดนคนสนิทของพระนาง อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดในการประคับประคองกษัตริย์พระองค์ต่อไปซึ่งไร้ความสามารถ โดยทรงอบรมและให้ความรู้แก่อีริคแห่งพอเมอเรเนีย และเจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษ พระชายาของพระองค์ อีริคแห่งพอเมอเรเนียเป็นพระนัดดา (หลานยาย) ของพระเชษฐภคินีในพระนางมาร์เกรเธอ โดยพระนางมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงครองราชย์ร่วมกันกับอีริคแห่งพอเมอเรเนีย เป็นพระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ทำให้มีพระประมุขสองพระองค์ สมเด็จพระราชินีฟิลิปปาเป็นนักเรียนที่ยอดเยี่ยมภายใต้การอบรมของพระองค์ แต่สิ้นพระชนม์เร็วเกินไป ในที่สุดสหภาพที่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงพยายามอย่างมากที่จะรักษาไว้สืบไปต้องสลายตัวลงอย่างช้าๆ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "519304#3", "text": "ปัจจุบันพระองค์ทรงถูกเรียกว่า \"มาร์เกรเธอที่ 1\" ในเดนมาร์ก เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับสมเด็จพระราชินีนาถองค์ปัจจุบัน ซึ่งทรงใช้พระนามว่า \"มาร์เกรเธอ\" เหมือนกัน ดังนั้นพระประมุของค์ปัจจุบันจึงทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก\nเจ้าหญิงมาร์เกรเธอประสูติในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1353 ทรงเป็นพระราชบุตรพระองค์ที่หก และเป็นองค์สุดท้องในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับเฮลวิกแห่งชเลสวิช เจ้าหญิงประสูติที่ปราสาทซอบอร์ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระราชบิดาของเจ้าหญิง ทรงกักขังพระราชินีเฮลวิก พระราชมารดา เจ้าหญิงทรงเข้ารับบัพติศมาที่รอสกิลด์ และในปีค.ศ. 1359 ขณะมีพระชนายุ 6 พรรษา ทรงหมั้นหมายกับพระเจ้าโฮกุนที่ 6 แห่งนอร์เวย์ วัย 18 พรรษา พระโอรสองค์สุดท้องในพระเจ้ามักนุสที่ 4 และที่ 6 แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ตามลำดับ ในสนธิสัญญาการอภิเษกสมรสได้มีข้อตกลงให้กษัตริย์วัลเดมาร์แห่งเดนมาร์กทำการช่วยเหลือกษัตริย์มักนุสแห่งสวีเดนในการต่อต้านพระเจ้าอีริคที่ 12 แห่งสวีเดน พระโอรสในกษัตริย์มักนุสซึ่งในปีค.ศ. 1356 ทำการยึดครองดินแดนภาคใต้ของสวีเดน ซึ่งต่อต้านอำนาจพระราชบิดา การอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์กจึงเป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงอำนาจในกลุ่มอาณาจักรนอร์ดิก มีความไม่พอใจถึงเหตุการณ์นี้ในกลุ่มแวดวงการเมืองต่างๆ นักกิจกรรมทางการเมืองอย่าง บริจิตแห่งสวีเดน ได้เขียนบรรยายถึงเหตุการณ์นี้ไปยังสมเด็จพระสันตะปาปาว่าเหมือน \"พวกเด็กๆเล่นตุ๊กตา\" เป้าหมายของกษัตริย์วัลเดมาร์ในการอภิเษกสมรสของพระธิดานี้คือการครอบครองแคว้นสคาเนีย ซึ่งถูกจำนองไปให้กับสวีเดนตั้งแต่ปีค.ศ. 1332 ในรัชสมัยกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 2 ตามแหล่งหลักฐานร่วมสมัยระบุว่า สนธิสัญญาการอภิเษกสมรสมีการระบุถึงข้อตกลงในการคืนปราสาทเฮลซิงบอรย์แก่เดนมาร์ก แต่สิ่งนี้ไม่เพียงพอสำหรับกษัตริย์วัลเดมาร์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1359 ทรงระดมกองทัพขนาดใหญ่กรีฑาทัพข้ามเออเรซุนด์และยึดครองแคว้นสคาเนีย การโจมตีทางตอนใต้ของสวีเดนนี้ถิอเป็นการแสดงให้เห็นว่าเดนมาร์กโจมตีกษัตริย์อีริคที่ 12 และสนับสนุนกษัตริย์มักนุส แต่ในเดือนเดียวกันนั้นกษัตริย์อีริคเสด็จสวรรคต เป็นผลให้สมดุลแห่งอำนาจเปลี่ยน ข้อตกลงระหว่างกษัตริย์วัลเดมาร์และกษัตริย์มักนุสถูกยกเลิกเสียสิ้น รวมถึงการเตรียมอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงมาร์เกรเธอและกษัตริย์โฮกุนแห่งนอร์เวย์ต้องยกเลิกไปด้วย", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก" } ]
995
โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "39490#2", "text": "วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิริธัชสังกาศ, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์, พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฏางค์, พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (เถียร โชติกเสถียร), หลวงสิทธินายเวร (บุศย์ เพ็ญกุล) และดอกเตอร์ ปีเตอร์ เคาแวน ทำหน้าที่จัดการและดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลเพื่อพระราชทานให้เป็นสถานที่รักษาแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลนั้น อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ พระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ วังหลัง ซึ่งเป็นวังเดิมของ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่รกร้าง แต่มีความร่มเย็นเหมาะสมสำหรับเป็นสถานที่รักษาพยาบาลผู้ป่วย", "title": "โรงพยาบาลศิริราช" } ]
[ { "docid": "194511#1", "text": "โรงพยาบาลราชวิถี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2494 โดยใช้ชื่อว่า \"โรงพยาบาลหญิง\" ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เพื่อให้เป็น โรงพยาบาลเฉพาะสตรีและเด็ก เป็นแห่งแรกของประเทศไทย อำนวยการโดยนายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการ และอีกเดือนต่อมา นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และได้รับความไว้วางใจในการเข้าการรักษาจากประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อการผ่าตัดแฝดสยาม วันดี ศรีวัน แยกออกจากกันสำเร็จ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโรงพยาบาลอย่างมาก", "title": "โรงพยาบาลราชวิถี" }, { "docid": "347730#1", "text": "วชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้าง มอบไว้เป็นสาธารณสถานแก่ประชาชนให้เป็นที่พยาบาลผู้ป่วยไข้ต่อไป พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า \"วชิรพยาบาล\"", "title": "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช" }, { "docid": "284963#2", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2423 จังหวัดเพชรบุรีก็ได้มีโรงพยาบาลที่ทำการรักษาแบบแผนปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลมิชชันนารีแห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณวัดไชยสุรินทร์(วัดน้อย) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี โดยมีนายแพทย์ อี.เอ สาติรช เป็นผู้ดูแลคณะแพทย์มิชชันนารี จำนวน 11 คน ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติงาน กิจการของโรงพยาบาลมิชชันนารีแห่งนี้ได้เปิดดำเนินการกระทั่งปี 2477 ก็ได้ปิดกิจการลงโดยไม่ทราบสาเหตุ", "title": "โรงพยาบาลพระจอมเกล้า" }, { "docid": "76392#11", "text": "ต่อมา พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2503 ก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์ กรมการแพทย์ เริ่มต้นที่โรงพยาบาลกลาง โดยอธิบดีกรมการแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย พันโทนิตย์ เวชวิศิษฎ์ (หลวงเวชวิศิษฎ์) ผู้เชิญ มณี สหัสสานนท์ แห่งโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นอาจารย์ผู้ปกครอง กิจการได้เจริญก้าวหน้าเมื่อย้ายโรงเรียนมาอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลหญิง ได้มีการส่งครูพยาบาลไปเรียนต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2497 รัฐบาลออสเตรเลีย โดย Lord Casey ข้าหลวงใหญ่รัฐบาล ออสเตรเลียเชิญไปหารือด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ แล้วจัดรถพยาบาลจำนวน 78 คัน ให้ทุกโรงพยาบาลในประเทศ ใน พ.ศ. 2504\nพ.ศ. 2496 – 2500 กรมการแพทย์ ได้เสนอให้เร่งสร้างโรงพยาบาลหญิงและโรงพยาบาลเด็ก และวิทยาลัยพยาบาลผดุงครรภ์ ทำให้ประชาชนทั่วประเทศมีโรงพยาบาลประจำจังหวัด เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข มีโอกาสได้รับบริการทั่วหน้าได้ เนื่องจากโรงพยาบาลหญิงมีเด็กคลอดวันละ 50 – 70 คน เด็กจำนวน 20,000 คน คลอดที่โรงพยาบาลแห่งนี้ทุกปี เด็กคลอดมีทั้งเด็กมีร่างกายปกติและมีร่างกายพิการ ทางราชการจึงเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงพยาบาลเด็กขึ้นในพื้นที่ 20 ไร่ ติดกับโรงพยาบาลหญิง เพื่อศึกษาและให้บริการแก่ประชาชนวัยเด็กที่มีความสำคัญต่อชาติเมื่อ พ.ศ. 2497 ในปี พ.ศ. 2500 ประชากรเด็กเพิ่มปีละ 3.3 ในร้อยคน รัฐบาลเห็นความสำคัญในการให้บริการแก่เด็กไทย โดยนอกจาการสร้างโรงพยาบาลเด็กแล้วก็สร้างสถานอนุเคราะห์เด็กที่บ้านราชวิถีขึ้นด้วย", "title": "เสม พริ้งพวงแก้ว" }, { "docid": "178036#1", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2403 ที่มีการก่อตั้งมิชชันนารี คณะเพรสไบทีเรียนมิชชั่น ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยในกรุงเทพฯ เริ่มต้นงานทางการแพทย์ ของมิชชันนารี เริ่มมีโรงพยาบาลที่ดำเนินงาน อยู่ภายใต้มูลนิธิเป็นแห่งแรก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น ร่วมกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย จัดซื้อที่ดินบนถนนสีลม มีเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่ พร้อมอาคารไม้หลังเก่า ที่ปลูกสร้างอยู่เดิม และดัดแปลงเป็นโรงพยาบาล เปิดให้รักษาพยาบาล ในชื่อ “โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน” โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2492", "title": "โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน" }, { "docid": "76392#10", "text": "ในปี พ.ศ. 2494 เริ่มจัดตั้งธนาคารเลือดแห่งแรกในพระนครโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การ M.S.A. สหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศไทยมีเลือดให้ผู้ป่วยเป็นชนิดเลือดสดและน้ำเหลืองแห้งทั้งแข็งและเป็นผง ส่งให้โรงพยาบาลทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ได้เปิดการอบรมเจ้าหน้าที่พยาบาลเป็นผู้ชำนาญในการถ่ายเลือด โดยศึกษา 1 ปี ในตำแหน่งชั้นตรี พร้อมกับผลิตตำราเพื่อตั้งและบริหารธนาคารเลือดในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพระนครและชนบท จากนั้นได้จัดตั้งโรงเรียนพยาบาลวิสัญญีทางการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปีนี้ ศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ได้ตำแหน่งชั้นตรี มีการสร้างตำราวิสัญญีพยาบาลเป็นคู่มือในการศึกษาจนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 44 มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนพันกว่ารายทำงานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในปัจจุบัน กิจการการสอนการอบรมทางประสบการณ์ได้เพิ่มความเข้มข้นขึ้นในปี พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา", "title": "เสม พริ้งพวงแก้ว" }, { "docid": "360591#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งศูนย์หัวใจขึ้นเป็นแห่งแรกของโรงพยาบาลเอกชนในภูมิภาคตะวันออก ที่ชั้น 3 อาคารบี ต่อมาได้ย้ายไปที่ชั้น 4 อาคารอีให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มเตียงรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหัวใจจาก 8 เตียง เป็น 29 เตียง พร้อมด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน CCU ปี พ.ศ. 2547 ได้รับมาตรฐานการรับรองกระบวนการคุณภาพ Hospital Accreditation ซึ่งเป็นสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ด้วยมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ จึงได้รับรางวัลการจัดการโรงพยาบาลดีเยี่ยมแห่งเอเชีย 3 ปีซ้อน คือ HMA Award : 2004 ในปี พ.ศ. 2547 HMA Award : 2005 ในปี พ.ศ. 2548 HMA Award : 2006 ในปี พ.ศ. 2549 และในปี พ.ศ. 2552 ได้ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการรักษาพยาบาลระดับนานาชาติ JCI (Joint Commission International)", "title": "โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา" }, { "docid": "455846#2", "text": "โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช ได้เริ่มให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยมีขนาด 10 เตียง มีแพทย์ 2 คน คือ นายแพทย์จำลอง แจ่มไพบูลย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล และแพทย์หญิงองุ่น แจ่มไพบูลย์ มีลูกจ้างประจำ 10 คน หลังการก่อสร้างตึกอำนวยการเสร็จโรงพยาบาลจึงได้เปิดให้บริการเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2496 และขยายเป็น 25 เตียง โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช ได้รับการพัฒนาขยายต่อมาเป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เพื่อรองรับคนไข้ที่มารับบริการเพิ่มขึ้นทุกปี", "title": "โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช" }, { "docid": "363170#1", "text": "โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 เป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่ง มีชื่อเดิมคือคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) และเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยการนับจำนวนเตียง ปี พ.ศ. 2558 และมีความเป็นมาดังนี้", "title": "โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่" }, { "docid": "360591#1", "text": "โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2533 มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลมาตรฐาน ISO 9002 ปัจจุบันยกระดับมาตรฐานเป็น ISO 9001:2000 และในปีเดียวกันยังได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่นประเภทธุรกิจบริการที่มีชาวต่างประเทศเข้ามาใช้บริการมากที่สุด นับเป็นแห่งที่สามของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ปี พ.ศ. 2543 ได้มีการสร้างอาคารศูนย์การแพทย์เฉพาะระบบเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบริการทางการแพทย์ที่เป็นการรักษาโรคเฉพาะสาขามากขึ้น สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้นกว่า 200 เตียง หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างอาคาร 15 ชั้น เพิ่มเติมเพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มอาคารเดิมโดยมีการพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่และภูมิทัศน์บนพื้นที่กว่า 23 ไร่ มีพื้นที่ให้บริการผู้ป่วยได้วันละ 1,500 ถึง 1,800 คน และมีเตียงรองรับผู้ป่วยประมาณ 400 เตียง บนชั้นดาดฟ้าของตึก 15 ชั้น มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับและส่งต่อสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย", "title": "โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา" } ]
999
ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ มีบุตรกี่คน?
[ { "docid": "172496#0", "text": "ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2496 ที่จังหวัดนนทบุรี บิดาชื่อ นายศักดิ์ กรุดพันธ์ มารดาชื่อ นางอุบล กรุดพันธ์ สมรสกับ นางธนกร กรุดพันธ์ (นามสกุลเดิม เกษมกิจวัฒนา) มีธิดา 1 คน คือ นางสาวศุภรา กรุดพันธ์", "title": "เกตุ กรุดพันธ์" } ]
[ { "docid": "43467#2", "text": "ศาสตราจารย์ สกล พันธุ์ยิ้ม หรือ ศาสตราจารย์ ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของนายเจริญ และนางสอาด พันธุ์ยิ้ม สมรสกับนางพูนพันธ์ (อัตตะนันทน์) ธิดาของจอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ และคุณหญิงกานดา อัตตะนันทน์ มีบุตร 3 คน คือ นายธีรธร นายก่อพร และ นายธัชทร พันธุ์ยิ้ม", "title": "สกล พันธุ์ยิ้ม" }, { "docid": "172496#1", "text": "ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ เป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีวิเคราะห์คนแรกของประเทศไทย ปัจจุบันทำงานที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในการพัฒนาเพื่อการลดขนาดในการวิเคราะห์โดยการไหล (กลุ่มวิจัย Flow-based Analysis Research Group)ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ สนใจในวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีและเครื่องมือ ในการการวิเคราะห์ทางเคมีโดยเฉพาะเทคนิคที่อาศัยหลักการไหล ซึ่งจะมุ่งเป้าที่จะเป็นแบบราคาถูก งานวิจัยจะสัมพันธ์กับปัญหาของท้องถิ่นแต่มีผลกระทบในระดับนานาชาติอีกด้วย ไม่นานมานี้ได้ริเริ่มและผลักดันในการพัฒนาการวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการไหลเพื่อการคัดกรองในการตรวจวินิจฉัยโรคบางชนิด (เช่น มะเร็ง, โรคตับ, โรคข้อ และกระดูก และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น) การพัฒนาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลในพื้นที่ธุรกันดานในประเทศไทย และได้ริเริ่มผลักดันเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดโดยการใช้รีเอเจนต์ที่ได้จากธรรมชาติ การพัฒนาการวิจัยจะมีผลเชื่อมโยงกับการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่อีกด้วย ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ ได้บุกเบิกงานทาง flow injection analysis ที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตรภาพรังสี การเตรียมตัวอย่างแบบในท่อที่ใช้ระบบการไหลผนวกเข้ากับเทคนิคทาง โครมาโทกราฟี การลดขนาดของการวิเคราะห์ทางเคมี เช่น “การดำเนินการวิเคราะห์บนชิพ (lab-on-Chip)” และ “การดำเนินการทดลองที่วาล์ว (Lab-at-Valve)” ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการวิเคราะห์ทั้งระบบในระดับไมโคร (micro total analysis system)นอกเหนือจากการดูงานต่างๆ แล้ว มีประสบการณ์หลังปริญญาเอก (Post doctoral experiences) ได้แก่", "title": "เกตุ กรุดพันธ์" }, { "docid": "213930#3", "text": "สาวิณี มีบุตรกับนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ จำนวน 3 คน หนึ่งในนั้นเป็นบุตรชาย คือ นายกัณฑ์พิทักษ์ ปัจฉิมสวัสดิ์ หรือ \"หมูแฮม\" ที่ขับรถยนต์พุ่งเข้าชนป้ายรถเมล์ จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อปี พ.ศ. 2550 และจำคุกในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นเวลา 2 ปี 1เดือนตามคำสั่งศาลฎีกา อีกหนึ่งคนคือ แบมบี้ สิรินโสพิศ ปัจฉิมสวัสดิ์ 8 คนสุดท้าย เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 9\nปัจจุบันหย่าขาดกันแล้ว", "title": "สาวิณี ปะการะนัง" }, { "docid": "5133#10", "text": "อภิสิทธิ์เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน", "title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "7673#2", "text": "มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ สมรส กับ อาจารย์ วณิศรา บุญยะลีพรรณ นายณพล จาตุศรีพิทักษ์ และเด็กชายณฉัตร จาตุศรีพิทักษ์ เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อภิรดี ตันตราภรณ์ อีกด้วย\nดร.สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยมหรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของ ดร.สมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง และได้ชื่อว่าบางครั้งก็ไม่ทำตามนโยบายหรือแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้เสมอไป", "title": "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" }, { "docid": "490434#2", "text": "ศาสตราจารย์ ดุสิต เครืองาม หรือ ศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต เครืองาม บุตรของนายบุญทรง และนางถาวร เครืองาม เป็นน้องคนสุดท้อง มีพี่ชื่อ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิษณุ เครืองาม, นางศิริมา นิลรัตน์ และพลอากาศตรี นายแพทย์เฉลิมชัย เครืองาม เกิดที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สมรสกับ นางนงค์นิตย์ เครืองาม มีบุตรี 2 คน ชื่อ นางสาวประถมาภรณ์ เครืองาม (แก้ม) และ นางสาวพิทิตา เครืองาม (เกศ)\nกรรมการต่างๆ ในอดีต", "title": "ดุสิต เครืองาม" }, { "docid": "321686#1", "text": "ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เกิดเมื่อวันที่ สมรสกับ รศ.สลวย กรุแก้ว (บุตรของพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร)) มีบุตร คือ นางอังสนา กรุแก้ว รศ.ปิยานันต์ ประสารราชกิจ (สมรสกับ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ) และนางวรรณวิภา สุขกนิษฐ (สมรสกับ ดร.จักรพงษ์) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนการศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทย ศึกษาระดับปริญญาโท สาขา Industrial Education จากมหาวิทยาลัย Wayne State รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 22", "title": "อนันต์ กรุแก้ว" }, { "docid": "276010#2", "text": "ภรรยาท่านที่ 1 - นางกิมเอ็ง เติมประยูร มีบุตรธิดา 4 ท่าน\n1 พันโท ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ สี สิริสิงห - สมรสกับ คุณหญิงอัมพร มีบุตรธิดา 3 ท่าน\n2 ท่านผู้หญิงแส สิริสิงห สมรสกับ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ บุญชนะ อัตถากร มีบุตรธิดา 3 ท่าน\n3 นายฉาย สิริสิงห สมรสกับ นางสมร นางสุพัฒนา เทนสิทธิ์ และนางดวงตา มีบุตรธิดา 7 ท่าน\n4 นางสุแสน สิริสิงห สมรสกับ นายเทพ เติมประยูร มีบุตร 1 ท่าน\nหมายเหตุ ณ วันที่ 24 กพ.2558 นางสุพัฒนา และ นางดวงตา ยังมีชีวิตอยู่ นอกนั้นถึงแก่กรรม", "title": "พระสันธิวิทยาพัฒน์ (ไล่เฮียง สิริสิงห)" }, { "docid": "324586#2", "text": "นายปราโมทย์ ไม้กลัด สมรสกับ นางเตือนใจ จันทน์ล้ำเลิศ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายปิตินันท์ ไม้กลัด ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์สินเชื่อบรรษัท บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)และบุตรสาว 2 คน คือ นางสาวสุรังสี ไม้กลัด เป็นอาจารย์อยู่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชไมภัค เตชัสอนันต์ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "ปราโมทย์ ไม้กลัด" } ]
1003
พุ่มพวง ดวงจันทร์ เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "64704#0", "text": "พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง ชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้แก่นักร้องรุ่นหลัง", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" } ]
[ { "docid": "64704#30", "text": "2 มิถุนายน 2552 นายสรภพ ลูกชายพุ่มพวงอุปสมบทให้พุ่มพวง ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก มี นางสุพรรณี สุประการ มารดาบุญธรรม และนางบุญ สุประการ ผู้เป็นยาย ร่วมเป็นเจ้าภาพในพิธีอุปสมบท โดยในงานมีการตั้งโต๊ะรับบริจาคเงินสมทบทุนสร้างหุ่นขี้ผึ้ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” หุ่นที่ 7 โดยประชาชนที่บริจาคเงิน 100 บาท จะได้รับ แผ่นซีดีเพลงที่ นายสรภพ ขับร้องไว้ในชื่ออัลบั้ม “บทเพลงเพื่อแม่ผึ้ง” และมีเพลงที่พุ่มพวงร้องสดเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้สรภพเกิดเรื่องขัดแย้งกับบิดาและญาติฝ่ายพุ่มพวง โดยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552 พระสรภพ พบกับนายไกรสรและญาติพี่น้องของพุ่มพวง ที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และเกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในกรณีการจัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งพุ่มพวง", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#22", "text": "ในปี พ.ศ. 2535 มีภาพยนตร์รำลึกถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์กับเรื่อง \"บันทึกรักพุ่มพวง\" กำกับโดยดอกฟ้า ได้พุ่มพวง แจ่มจันทร์ แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยเป็นภาพยนตร์ที่เล่าชีวิตส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 บริษัท เจเอสแอลจำกัดได้ทำละครโทรทัศน์เรื่อง \"ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์\" ออกอากาศทางช่อง 7 ดัดแปลงจากชีวิตจริง ของพุ่มพวง ดวงจันทร์นำแสดงโดย รชนีกร พันธุ์มณี วรวุฒิ นิยมทรัพย์ ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ โดยต้อม รัชนีกรได้รับการเข้าชื่อเพื่อชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#24", "text": "ส่วนสื่อสิงพิมพ์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เคยนำเสนอแฟชั่นหน้าคู่กลาง ราวปี 2538 เดือนมิถุนายน กับแนวความคิด “ชีวิตพุ่มพวง ดวงจันทร์” ใช้ “งานรำลึกพุ่มพวง ดวงจันทร์” มาเป็นฉากหลังของแฟชั่น มีนางแบบคือ ยุ้ย ญาติเยอะ ที่มีหน้าตาละม้ายพุ่มพวงและยังถือเป็นเงาเสียงของพุ่มพวงในสมัยประกวดคอนเสิร์ตคอนเทสต์ โดยจำลองชีวิตของพุ่มพวงตั้งแต่การออกจากโรงเรียนเพื่อทำงาน การเป็นสาวไร่อ้อย จนถึงนักร้อง โดยมีการใช้ภาพจริงประกอบ", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#18", "text": "ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ไกรสร แสงอนันต์ ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น สรภพ) หรือ \"เพชร\" หรือ \"บ่อยบ๊อย\" ลีละเมฆินทร์ ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี จันทร์จวง ดวงจันทร์ ดวงใจ ดวงจันทร์ และสลักจิต ดวงจันทร์ น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#5", "text": "รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ บ้านหนองนกเขา ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โตที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรีของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย เกิดในครอบครัวยากจน เป็นลูกคนที่ 5 ของบ้านในจำนวน 12 คน", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#17", "text": "แฟนคนแรกของพุ่มพวงคือ ธีระพล แสนสุข ระหว่างที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เทใจทุ่มกับงานอย่างเต็มที่ ธีระพลเริ่มปันใจให้กับสลักจิต ดวงจันทร์ จึงทำให้ความรักของทั้งคู่จบลง แต่ด้านธุรกิจยังคงร่วมงานกันอยู่ แต่ในปี 2530 ธีระพล แสนสุข ก็ถูกน้องชายพุ่มพวง ดวงจันทร์ ยิงตาย", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#16", "text": "ได้สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 ก.ค. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-17 มิถุนายน ของทุกๆปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "376769#0", "text": "พุ่มพวง () เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554 กำกับโดยบัณฑิต ทองดี โดยเป็นเรื่องราวชีวิตของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งของไทย โดยนำเค้าโครงจากชีวิตจริงและหนังสือเรื่อง \"ดวงจันทร์ที่จากไป\" ของ บินหลา สันกาลาคีรี นำแสดงโดย เปาวลี พรพิมล (ผู้ชนะในรายการแชมป์ ออฟ เดอะ แชมป์ ทางช่องแฟนทีวี), ณัฐวุฒิ สกิดใจ, วิทยา เจตะภัย, บุญโทน คนหนุ่ม ภาพยนตร์เรื่องนี้กำหนดเข้าฉายในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์ทำรายได้รวม 43.51 ล้านบาท", "title": "พุ่มพวง (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "64704#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2519 ครูเพลงลูกทุ่งชื่อดัง มนต์ เมืองเหนือ รับเป็นลูกศิษย์ และเปลี่ยนชื่อจากน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณเป็น \"พุ่มพวง ดวงจันทร์\" จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือ และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ \"รักไม่อันตรายและรำพึง\" และตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจากประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้น", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" } ]
1004
เม็กซิโก มีเมืองหลวงชื่ออะไร ?
[ { "docid": "17294#1", "text": "หลังจากได้รับเอกราชจากประเทศสเปน ก็มีการตกลงว่าจะตั้งชื่อประเทศใหม่แห่งนี้ตามชื่อเมืองหลวงคือ กรุงเม็กซิโกซิตี ซึ่งมีชื่อดั้งเดิมในสมัยก่อตั้งว่า \"เม็กซิโก-เตนอชตีตลัน\" (Mexico-Tenochtitlan) มีที่มาจากชื่อของชนเผ่าเม็กซิกา (Mexica) ซึ่งเป็นชนกลุ่มหลักในอารยธรรมแอซเท็กอีกทอดหนึ่ง ส่วนต้นกำเนิดของชื่อเม็กซิกานั้นยังไม่ทราบชัดเจน มีการตีความไปหลาย ๆ ทาง มีข้อสันนิษฐานว่า มาจากคำในภาษานาอวตล์ว่า \"เมชตลี\" (\"Mextli\") หรือ \"เมชิตลี\" (\"Mēxihtli\") ซึ่งเป็นชื่อลับของเทพเจ้าวิตซีโลโปชตลี (Huitzilopochtli) เทพเจ้าแห่งสงครามและผู้คุ้มครองชาวแอซเท็ก (หรือชาวเม็กซิกา) ในกรณีนี้ \"Mēxihco\" [เมชิโก] จึงอาจจะแปลว่า \"สถานที่ซึ่งเมชตลีทรงสถิตอยู่\"", "title": "ประเทศเม็กซิโก" } ]
[ { "docid": "350532#0", "text": "รัฐเมฮีโก ( หรือย่อว่า Edomex; ) เป็นรัฐที่เป็นศูนย์กลางของประเทศเม็กซิโก มีเมืองหลวงของรัฐคือเมืองโตลูกา รัฐเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ครั้งเป็นดินแดนของจักรวรรดิแอซเต็ก และยังคงมีเรื่อยมาจนอยู่ในเขตอุปราชแห่งนิวสเปนในยุคล่าอาณานิคม หลังจากที่ได้รับอิสรภาพ รัฐแบ่งแยกออกเป็นรัฐต่าง ๆ คือ รัฐอีดัลโก รัฐเกร์เรโร และรัฐโมเรโลส ซึ่งเม็กซิโกซิตีได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของชาติใหม่นี้ และดินแดนก็จึงถูกแบ่งแยกออกมา ดินแดนถูกแยกออกมาที่มีรูปร่างหน้าตาดังปัจจุบันนี้ มาจากหุบเขาโตลูกา ทางตะวันตกของเม็กซิโกซิตีและรูปด้ามกะทะมีพื้นที่ทางทิศเหนือและตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์ของรัฐนี้", "title": "รัฐเมฮีโก" }, { "docid": "459378#0", "text": "อากาปุลโก () หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการในชื่อ อากาปุลโกเดคัวเรซ () เป็นเมือง เทศบาล และท่าเรือที่สำคัญในรัฐเกร์เรโร บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของประเทศเม็กซิโก อยู่ห่างออกไป 300 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จากกรุงเม็กซิโกซิตี อากาปุลโกตั้งอยู่บนอ่าวลึกทรงครึ่งวงกลมและได้เป็นท่าเรือตั้งแต่ยุคอาณานิคมในช่วงต้นของประวัติศาสตร์ของเม็กซิโก เป็นท่าเรือสำหรับการขนส่งและล่องเรือระหว่างปานามากับแซนแฟรนซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อากาปุลโกเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเมืองหลวงของรัฐที่ชื่อชิลปันซิงโกเสียอีก อากาปุลโกยังเป็นเมืองชายหาดและรีสอร์ตที่ใหญ่ที่สุดของเม็กซิโกอีกด้วย", "title": "อากาปุลโก" }, { "docid": "393850#0", "text": "โตลูกา () หรือ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ โตลูกาเดเลร์โด () เป็นเมืองหลวงของรัฐเม็กซิโก เป็นเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 5 ของประเทศเม็กซิโก ตั้งอยู่ห่างจากเม็กซิโกซิตี ทางทิศตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ 63 กิโลเมตร จากข้อมูลสำรวจประชากรในปี ค.ศ. 2005 มีประชากร 467,713 คน และเขตเทศบาลมีประชากรรวม 747,512 คน เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 8 ของเม็กซิโกในด้านประชากร", "title": "โตลูกา" }, { "docid": "562397#0", "text": "ปัตซ์กัวโร () เป็นเมืองและเทศบาลในรัฐมิโชอากัง ประเทศเม็กซิโก เมืองก่อตั้งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1320 แรกทีเป็นเมืองหลวงรัฐตารัสกัน หลังจากที่สเปนเข้ายึดครอง บัสโก เด กิโรกา (Vasco de Quiroga) ได้ทำให้เมืองเป็นเมืองหลวงของรัฐมิโชอากังของเขตอุปราชแห่งนิวสเปน หลังจากเสียชีวิต เมืองหลวงได้ย้ายมายังเมืองใกล้เคียงคือเมืองบายาโดลิด (ปัจจุบันคือเมืองมอเรเลีย) เมืองยังคงรักษาเอกลักษณ์ของเมืองอาณานิคมและชนพื้นเมืองได้อย่างดีนับแต่นั้นมา", "title": "ปัตซ์กัวโร" }, { "docid": "151057#7", "text": "อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ และอาร์คดัชเชสชาร์ลอตพระชายา ได้เลือกเม็กซิโกซิตี้เป็นเมืองหลวง โดยทรงเลือกปราสาทชาพัลเทเพ็ค ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา ชานเมืองเม็กซิโก ซิตี้เป็นพระราชฐานหลัก ซึ่งปราสาทนี้เคยเป็นพระราชฐานหลักของหัวหนเชนเผ่าแอซแท็กมาก่อน ทั้ง 2 พระองค์ทรงทำพระราชพิธีเถลิงวัลย์ราชสมบัติที่มหาวิหาร เมโทรโปลิตานา แต่เป็นพระราชพิธีที่ไม่เป็นทางการ เพราะเนื่องจากระบอบการปกครองที่ไม่มั่นคง อีกทั้งไม่มั่นใจในการจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่", "title": "จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโก" }, { "docid": "666801#0", "text": "เอกาเตเปกเดมอเรโลส () หรือชื่อทางการคือ ซานกริสโตบัลเอกาเตเปกเดมอเรโลส (San Cristóbal Ecatepec de Morelos) เป็นนครและเทศบาลในรัฐเม็กซิโก รู้จักในชื่อสั้น ๆ ว่า เอกาเตเปก ซึ่งชื่อมาจากภาษานาวัตล์ (Nahuatl) แปลว่า เนินเขาแห่งสายลม (windy hill) หรือ เนินเขาที่อุทิศให้เอคัตล์ (hill devoted to Ehecatl) ส่วนคำว่ามอเรโลส เป็นนามสกุลของ โฮเซ มารีอา มอเรโลส วีรบุรุษแห่งสงครามประกาศเอกราชเม็กซิโก", "title": "เอกาเตเปก" }, { "docid": "28560#0", "text": "รัฐนิวเม็กซิโก (, ; ) เป็นรัฐทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ ของสหรัฐอเมริกา ติดกับประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงของรัฐคือ ซานตาเฟ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ อัลบูเคอร์คี ถึงแม้ว่าในสหรัฐอเมริกา ภาษาอังกฤษนิยมใช้กันมากที่สุด แต่ในรัฐนิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีการใช้ภาษาสเปนมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โดยประชากรในรัฐประกอบด้วย ชาวอเมริกา ชาวสเปน และชาวเม็กซิโก", "title": "รัฐนิวเม็กซิโก" }, { "docid": "516629#0", "text": "โมเรเลีย () เป็นเมืองและเทศบาลทางตอนเหนือของรัฐมิโชอากัง รัฐทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโก และเป็นเมืองหลวงของรัฐ ชาวสเปนเข้ายึดครองบริเวณแห่งนี้ในคริสต์ทศวรรษ 1520 โดยบีเซรอย อันโตเนียว เด เมนโดซา ก่อตั้งเมืองในปี ค.ศ. 1541 ตั้งชื่อเมืองว่า บายาโดลิด ภายหลังสงครามประกาศเอกราชเม็กซิโก เมืองได้เปลี่ยนชื่อใหม่ตามชื่อผู้นำปฏิวัติชาวท้องถิ่นชื่อ โคเซ มารีอา โมเรโลส อี ปาบอน เมื่อ ค.ศ. 1828 ในปี ค.ศ. 1991 ได้รับประกาศเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก สำหรับอาคารยุคอาณานิคมและกลุ่มอาคารประวัติศาสตร์ใจกลางเมือง", "title": "โมเรเลีย" }, { "docid": "17294#10", "text": "กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของแอซเท็กได้แก่ พระเจ้ามอกเตซูมาที่ 2 เมื่อถึงปี ค.ศ. 1519 เตนอชตีตลัน เมืองหลวงของจักรวรรดิแอซเท็ก (เม็กซิกา) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรถึงประมาณ 350,000 คน ซึ่งกรุงลอนดอนในขณะนั้นมีประชากรเพียง 80,000 คนเท่านั้น เตนอชตีตลันเป็นที่ตั้งของกรุงเม็กซิโกซิตีในปัจจุบัน", "title": "ประเทศเม็กซิโก" } ]
1007
กฎหมายรัฐธรรมนูญหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "670357#3", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยซึ่งอยู่เหนือกว่ากฎหมายที่รัฐสภาออก รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดความชอบต่อรัฐธรรมนูญ (constitutionality) ของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ร่างกฎหมาย การแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการของรัฐ และประเด็นเกี่ยวกับพรรคการเมือง", "title": "กฎหมายไทย" }, { "docid": "28599#0", "text": "กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายกลุ่มหนึ่งที่ว่าด้วยการจัดองค์กรของรัฐและการใช้อำนาจรัฐ", "title": "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" } ]
[ { "docid": "194552#0", "text": "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ คือกฎหมายที่ทำหน้าที่อธิบายขยายความเพื่อประกอบเนื้อความในรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ ละเอียด ชัดเจน ตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมาย และกำหนด โดยถือว่ากฎหมายประเภทนี้มีลักษณะ และหลักเกณฑ์พิเศษแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา ส่วนจะพิเศษอย่างไรไรย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็น ส่วนขยายของรัฐธรรมนูญ ตลอดจนมี ความเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ อยู่ด้วย", "title": "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" }, { "docid": "194552#6", "text": "กฎหมายประกอบรัฐ ธรรมนูญจะทำหน้าที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เป็นการเฉพาะ ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ สามารถปฏิบัติงานตามเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ อันจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์แห่งรัฐธรรมนูญนั้นได้ การที่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นนั้น ย่อมมีผลดีในหลายๆ ด้านด้วยเหตุผลดังนี้คือ", "title": "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" }, { "docid": "82899#10", "text": "ทั้งรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญาได้มีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการออกกฎหมายที่มีย้อนหลังเป็นโทษและบทบัญญัติที่ขัดต่อกระบวนการอันควรแห่งกฎหมาย (due process) นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังให้หลักประกันทางกฎหมายโดยบัญญัติให้มีการออกหมายจับ คุมขัง ค้น หรือยึดทรัพย์ เว้นแต่กรณีที่เป็นความผิดซึ่งหน้า (in flagrante delicto) หรือในกรณีที่ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดอาญาร้ายแรงอาจจะหลบหนีหรือทำลายหลักฐาน และในกรณีดังกล่าวต้องมีการออกหมายในภายหลัง[4]\nนอกจากนี้ห้ามมิให้ทรมานหรือข่มขู่ผู้ต้องสงสัยให้ให้การที่เป็นปรปักษ์ต่อตนเอง[5] และรัฐธรรมนูญยังบัญญัติให้ผู้ที่ถูกจับกุมในคดีอาญาต้องได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษา (โดยการเลือก หรือแต่งตั้ง) แจ้งข้อกล่าวหา และแจ้งสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษา[6] มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล (right to petition) ให้ได้รับการประกันตัว (habeas corpus) และผู้ที่ถูกจับกุมในคดีอาญายังมีสิทธิที่จะแจ้งให้ครอบครัวหรือญาติสนิททราบถึงเหตุผล เวลา และสถานที่ถูกคุมขัง [7]", "title": "กฎหมายเกาหลีใต้" }, { "docid": "587524#4", "text": "กฎหมายหลัก มาตรา 20 อนุมาตรา 3 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญย่อมผูกพันอำนาจทั้งสามแห่งรัฐ คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยตรง ฉะนั้น ไม่ว่าเป็นการกระทำของอำนาจใด และไม่ว่าจะเป็นเพียงการละเมิดแบบพิธี (เช่น ไม่ปฏิบัติตามกระบวนการ หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจ) หรือเป็นความขัดแย้งที่เป็นสาระสำคัญ (เช่น ไม่เคารพสิทธิพลเมือง) ศาลก็สามารถวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ทั้งสิ้น", "title": "ศาลรัฐธรรมนูญกลาง" }, { "docid": "587546#1", "text": "รัฐธรรมนูญอิตาลี มาตรา 134 ว่า ศาลมีอำนาจชำระคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ฝ่ายอาณาจักรหรือฝ่ายศาสนจักรตราขึ้น โดยอยู่ในเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญอิตาลี และเมื่อศาลวินิจฉัยว่า กฎหมายใดไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว กฎหมายนั้นเป็นอันไร้ผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศคำวินิจฉัย นอกจากนี้ ศาลยังมีอำนาจชำระคดีเกี่ยวกับการขัดกันของอำนาจระหว่างฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายศาสนจักร หรือระหว่างฝ่ายศาสนจักรด้วยกัน กับทั้งยังมีอำนาจชำระคดีซึ่งประธานาธิบดีเป็นจำเลย คำวินิจฉัยของศาลเป็นที่สุด ไม่มีอุทธรณ์", "title": "ศาลรัฐธรรมนูญ (อิตาลี)" }, { "docid": "194552#2", "text": "แนวความคิดนี้เห็นว่ากฎหมายทุกอย่างที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ซึ่งหากยึดถือแนวความคิดนี้จะเห็นได้ว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไม่ต่างไปจาก กฎหมายธรรมดา นอกจากเนื้อหาเท่านั้น ส่วนกฎหมายที่รัฐธรรมนูญระบุให้ออกแต่มิได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก็มิใช่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญคงมีฐานะเป็นแต่กฎหมายธรรมดาเท่านั้น แนวคิดนี้เป็นแนวที่เปิดกว้างให้ศาลเป็นผู้ตีความว่ากฎหมายใดเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ", "title": "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" }, { "docid": "28600#10", "text": "อำนาจอธิปไตยในทัศนะของบอแด็งนั้นหมายความถึง อำนาจที่มีถาวรไม่จำกัด และไม่มีเงื่อนไขผูกมัดที่จะออกกฎหมาย ตีความและรักษากฎหมาย อำนาจนี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อรัฐที่มีระเบียบที่ดี อำนาจนี้เองทำให้รัฐแตกต่างไปจากการรวมกลุ่มของบุคคลในสมัยโบราณ อย่างไรก็ตาม บอแด็งเห็นว่า อำนาจอธิปไตยนี้อาจถูกจำกัดโดยกฎหมายธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ อันเป็นบรรดากฎหมายต่าง ๆ ที่กำหนดความถูกต้องหรือความผิดในลักษณะที่มุ่งให้คน รักษาสัญญาและเคารพทรัพย์สินของคนอื่น ส่วนอีกประการหนึ่งที่เป็นสิ่งจำกัดอำนาจอธิปไตยคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึงกฎหมายหลักของประเทศ (โดยเฉพาะหมายถึงรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส)", "title": "อำนาจอธิปไตย" }, { "docid": "194552#3", "text": "แนวคิดนี้มองว่า เฉพาะกฎหมายที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ให้ออกเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่นๆ นอกเหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แม้จะมีเนื้อหาใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ดั่งในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 (ฉบับปัจจุบัน) ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวคิดนี้ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติเรื่องที่ให้ออกเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไว้หลายเรื่อง เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดี การแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนและทหารระดับสูง ตุลาการรัฐธรรมนูญ ฯลฯ หรืออย่างกรณีของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 9 ฉบับ แนวคิดนี้ก็จะมองว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็จะมีเฉพาะที่เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น กฎหมายอื่นแม้จะมีเนื้อหาใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ หรือว่าจะเป็นเรื่องตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ อาทิ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ก็ไม่จัดว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่อย่างใด", "title": "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" }, { "docid": "162476#2", "text": "รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว", "title": "รัฐสภาสหรัฐ" } ]
1011
โรงเรียนเทพศิรินทร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "24076#1", "text": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร ก่อตั้งขึ้นใน 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์" } ]
[ { "docid": "737334#1", "text": "โรงเรียนเทพมงคลรังษี ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 โดยถือจากการริเริ่มของ พระเดชพระคุณ พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ที่ได้เห็นความยากลำบากของผู้ปกครองเมื่อเด็กจบชั้นประถมศึกษาแล้ว เพราะโรงเรียนประจำจังหวัดอยู่ไกลจากชุมชนมาก และโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่มีอยู่ก็รับเด็กเข้าเรียนได้ไม่หมด ท่านจึงมีความคิด ที่จะให้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาในวัดเทวสังฆารามขึ้น จึงได้ดำเนินการจัดหาที่ดินที่ติดกับวัด เพื่อเป็นที่ตั้งโรงเรียน และเนื่องจากโรงเรียนการช่างกาญจนบุรีที่ตั้งอยู่ในวัด มีโครงการจะย้ายออกไปตั้งในสถานที่ใหม่ ดังนั้น จึงได้ที่ดินรวมทั้งอาคารต่างๆ เพื่อเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามเจตนา", "title": "โรงเรียนเทพมงคลรังษี" }, { "docid": "115167#1", "text": "\"โรงเรียนลวะศรี\" จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นชื่อแรกของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ ถนนวิชาเยนทร์ ต.ท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มีนักเรียนรวม 67 คน ครู 8 คน เปิดสอนเป็นสองระดับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 เป็นสหศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รับเฉพาะนักเรียนหญิง อีก 15 ปีต่อมา เริ่มเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปี 2479 รับเฉพาะนักเรียนหญิง เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 และเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 6 ในปีต่อมาตามลำดับ จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2483 โรงเรียนได้ย้ายมาตั้งในพื้นที่ 59 ไร่ 2 งาน ของกระทรวงกลาโหม ถนนนารายณ์มหาราช และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีลพบุรีเทพสตรีวิทยาลัย สังกัดกรมสามัญศึกษา โดยความช่วยเหลือของทางราชการและเงินส่วนตัวของจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2486 เปิดสอนแผนกอนุบาล รับนักเรียนชาย-หญิง ตั้งแต่อายุ 3 ปี เข้าเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จน พ.ศ. 2497 แยกแผนกอนุบาลออกตั้งเป็นโรงเรียนใหม่ พร้อมอาคารที่ใช้ชือ โรงเรียนอนุบาลลพบุรี มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี" }, { "docid": "351675#0", "text": "โรงเรียนเทพสถิตวิทยา ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยการบริจาคที่ดินของ*นางวิไล โก่งเกษร จำนวน 40 ไร่ นายทัน วับสันเทียะ จำนวน 9 ไร่เศษ ในบริเวณบ้านวะตะแบก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิโดยทำการก่อสร้างอาคารเรียน 1 ซึ่งเป็นอาคารเรียน 2 ชั้นหลังแรกแบบอาคารตึกชั้นเดี่ยวทรงหน้าจั่ว แบบ 216ต(อาคารปฐมเทพ ปัจจุบัน)และอาคารเรียนแบบ 216ก และ อาคารเรียนแบบ 216ล ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 จึงจัดตั้งโรงเรียนเทพสถิตวิทยา สาขา2(โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม ปัจจุบัน)โดยมีรักษาการครูใหญ่คนแรกคือ นาย ไสว ตอพล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทพสถิตวิทยา", "title": "โรงเรียนเทพสถิตวิทยา" }, { "docid": "266749#1", "text": "ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ 2521 มีผู้แสดงความจำนงเพื่อบริจาคที่ดินจำนวน 15 ไร่ เพื่อเป็นที่ดินสร้างโรงเรียนเทพศิรินทร์แห่งที่สอง คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู อธิบดีกรมสามัญศึกษาในขณะนั้น ได้ตอบรับที่ดินดังกล่าวตามหนังสือที่ ศธ 0897/33236 ลงวันที่ 21 กันยายน 2521 และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนชื่อว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์อนุสรณ์ มีอักษรย่อว่า ท.ศ.อ. มีรหัสประจำโรงเรียนคือ ศธ. 0807.133", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า" }, { "docid": "266749#3", "text": "ในช่วงแรกของการก่อตั้งโรงเรียน ทางโรงเรียนมีจุดประสงค์ที่จะให้โรงเรียนเทพศิรินทร์อนุสรณ์เป็นโรงเรียนชายล้วน ตามอย่างที่โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็น แต่ว่าทางรัฐบาลสมัยนั้น ต้องการให้สร้างโรงเรียนในลักษณะของสหศึกษา กล่าวคือเป็นโรงเรียนที่เรียนกันระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง จึงทำให้โรงเรียนเทพศิรินทร์อนุสรณ์ จัดตั้งขึ้นมาในรูปแบบของโรงเรียนสหศึกษาในที่สุด", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า" }, { "docid": "144818#0", "text": "โรงเรียนเทพอักษร เป็นโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 11/5 หมู่ 11 ถนนรามคำแหง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510 ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2499 โดย \"พระยาพิทักษ์ เทพอักษร\" (พิทักษ์ สิงห์วัฒน) เป็นผู้อุปการะโรงเรียน ปัจจุบันมี \"นายสำรวย มีสุข\" เป็นผู้รับใบอนุญาต และ\"นางเอมอร มีสุข\" เป็นผู้จัดการและอาจารย์ใหญ่ ปัจจุบันโรงเรียนเทพอักษรมีนักเรียนกว่า 2,400 คน และครูกว่า 80 คน", "title": "โรงเรียนเทพอักษร" }, { "docid": "24076#5", "text": "ต่อมาพระเจ้าน้องยาเธอดิศวรกุมารได้รับกระแสพระราชดำริให้สนอง พระบรมราชโองการ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรตามพระอารามขึ้น ในปี พ.ศ. 2428 ซึ่งในเดือนแรกที่ตั้งโรงเรียนนั้น มีนักเรียน 53 คน สถานที่ตั้งโรงเรียนก็คือศาลาการเปรียญซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ที่ตั้งศาลาการเปรียญเดิมปัจจุบันเป็นหมู่กุฏิ ใกล้ห้องสมุดสามาวดี อาจารย์ที่ 1 อาจารย์ใหญ่คนแรกคือ นายเปลี่ยน แต่จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ 5 ปรากฏนามว่าอาจารย์ใหญ่คนแรกคือ นายรวก คนที่สองคือนายคำแต่ท่านทั้งสอง ดำรงตำแหน่งอยู่ในเวลาอันสั้นมาก ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ฉบับ ร.ศ. 108 (พ.ศ. 2432) ว่าในปี จ.ศ. 1250 พ.ศ. 2431 โรงเรียนวัดเทพ ศิรินทราวาส ได้ส่งนักเรียนสอบไล่ที่หอมิวเซียม ในพระบรมมหาราชวัง ร่วมกับโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และ โรงเรียนหลวงในวัดต่างๆ ซึ่งโรงเรียนเทพศิรินทร์สอบได้เป็นอันดับที่สอง แต่ ได้พระราชทานรางวัลสอบ ไล่ได้มากนักเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน 4 คน และ อาจารย์ที่ 1 (อาจารย์ใหญ่) ได้รับพระราชทานรางวัลที่ 2 เพราะสั่งสอนอบรมดีเป็นเงิน 30 บาท ในปี ร.ศ. 108 (พ.ศ. 2432) การสอบไล่ ย้ายไปกระทำที่โรงเรียนสุนันทาวิทยาลัย (โรงเรียนราชินีล่าง) โรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาสส่งนักเรียนเข้าแข่งขันและสอบได้เช่นกัน วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเทพศิรินทราวาส มีเด็กนักเรียนยืนเฝ้ารับเสด็จที่ซุ้มประตูร้องคำโคลงถวายชัยมงคล พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตร โรงเรียนภาษาไทย และภาษาบาลีในวัดนี้ด้วยทรงพอพระทัยในกิจการของโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์" }, { "docid": "41108#1", "text": "มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 โดยเริ่มการการก่อตั้ง \"โรงเรียนลวะศรี\" ซึ่งเปิดสอนเฉพาะนักเรียนหญิง ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"โรงเรียนเทพสตรีวิทยาลัย\" หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2483 ได้ย้ายโรงเรียนมาที่ถนนนารายณ์มหาราช พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น \"โรงเรียนสตรีลพบุรี\" และได้รับการยกฐานะเป็น \"วิทยาลัยครูเทพสตรี\" ซึ่งนับเป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในส่วนภูมิภาค", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี" }, { "docid": "927928#0", "text": "โรงเรียนเทพมิตรศึกษา เป็นโรงเรียนเอกชนของมูลนิธิคาทอลิก เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสิรมการศึกษาเอกชน\nได้จัดตั้งขึ้นเมื่องวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2502 โดยมี ฯพณฯ มุขนายก คาเร็ตโต เป็นผู้รับใบอนุญาต นายวิเชียร สมานจิต เป็นผู้จัดการและครูใหญ่คนแรก และ ในปัจจุบัน บาทหลวงทรงราชย์ ศรีระหงษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเทพมิตรศึกษา", "title": "โรงเรียนเทพมิตรศึกษา" }, { "docid": "317381#0", "text": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ เดิมชื่อว่า โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยการบริจาคที่ดินจำนวน ๓๕ ไร่ ของผู้สืบสกุลอินทรัมพรรย์ คือ นายจรูญ อินทรัมพรรย์ นายแพทย์ประชุม อินทรัมพรรย์และนายประชิต อินทรัมพรรย์ให้กรมสามัญศึกษา ในขณะนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ \"พระจักราวุธ\" ศึกษา (อินทร์) ต้นตระกูลอินทรัมพรรย์ หลวงสำแดง เดช (เขียน อินทรัมพรรย์) และนางเดชสำแดง (ผ่อง อินทรัมพรรย์) คุณทวด คุณปู่ คุณย่าของผู้บริจาค \nคณะกรรมการบริหารเครือข่ายเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะรรมการบริหารสถานศึกษา ตลอดจนคณะครู นักเรียนโรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ มีฉันทานุมัติ ที่จะเข้าร่วมเครือข่ายเทพศิรินทร์ โดยได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจากรองศาสตราจารย์ ลินจง อินทรัมพรรย์ (ด้วยท่านผู้บริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงเรียนในครั้งแรกเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์)\nโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ ได้รับการประกาศชื่อจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยใช้อักษรย่อว่า ท.ศ.ส. มีการบริหารจัดการตามนโยบาย และปรัชญาของโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์ ตามพุทธสุภาษิตที่ว่า\n\"นสิยา โลกวฑฺฒโน\" แปลว่า ไม่ควรเป็นคนรกโลก\nเป็นสถาบันที่มุ่งมั่นในการหล่อหลอมให้เยาวชนของชาติ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ที่มีความรู้ ความสามารถ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ อย่างยั่งยืน สืบไป\nโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๗๙๙ หมู่ ๖ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ ๑๐๒๗๐ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้ยมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ" } ]
1014
พระอานนท์ บวชโดยใคร ?
[ { "docid": "37852#2", "text": "เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่อนุปิยนิคมของพวกมัลลกษัตริย์ เจ้าอานนท์ได้ตามเสด็จพระเจ้าภัททิยะ เจ้าอนุรุทธะ เจ้าภคุ เจ้ากิมพิละ และเจ้าเทวทัต กับอุบาลีซึ่งเป็นช่างกัลบก ออกบวชพร้อมกัน เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว เจ้าชายทั้ง 6 พระองค์ กราบทูลขอให้บวชอุบาลีก่อน เจ้าชายบวชภายหลัง จะได้ลุกต้อนรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่เขา เพื่อเป็นการลดความถือตัวว่าเป็นเจ้าศากยะ พระพุทธเจ้าทรงจัดการตามพระประสงค์ของเจ้าศากยะ โดยให้พระเวลัฏฐสีสะเป็นอุปัชฌาย์ของพระอานนท์ หลังบวชแล้ว พระอานนท์ก็ได้บรรลุโสดาบันในพรรษาแรกนั้น", "title": "พระอานนท์" }, { "docid": "37852#0", "text": "พระอานนท์ เป็นพระอรหันต์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระภิกษุสาวกทั้งหลาย 5 ประการ คือ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก", "title": "พระอานนท์" } ]
[ { "docid": "58259#1", "text": "เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระอานนท์เศร้าโศกเสียใจมาก จึงแอบไปยืนร้องไห้อยู่เพียงลำพัง พระพุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง จะหาความเที่ยงแท้จากสังขารได้แต่ที่ไหน ทุกสิ่งที่มีเกิดในเบื้องต้น ต้องแปรปรวนในท่ามกลาง และดับสลายลงในที่สุด ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจนั้นเป็นของธรรมดา ให้ละความเศร้าโศรก และตั้งใจปฏิบัติธรรม จากนั้นทรงสรรเสริญความดีของพระอานนท์ และตรัสพยากรณ์ว่า พระอานนท์จักบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก่อนที่คณะสงฆ์จะทำปฐมสังคายนา", "title": "ปางทรงพยากรณ์" }, { "docid": "37852#49", "text": "นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมเกียรติคุณของพระอานนท์เถระ ให้เป็นตัวอย่างของผู้ว่าง่าย เคารพยำเกรงผู้ใหญ่ เป็นปฏิปทาที่ใครๆ พากันอ้างถึงด้วยความนิยมชมชอบในการต่อมา", "title": "พระอานนท์" }, { "docid": "136480#3", "text": "ด้านภาพยนตร์ เขาเริ่มจากเป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง \"สะแด่วแห้ว\" (2535) ของค่ายไฟว์สตาร์ ต่อมาในปี 2538 ได้รับเป็นผู้กำกับเต็มตัว กับภาพยนตร์เรื่อง \"สติแตก สุดขั้วโลก\" เป็นเรื่องแรกได้สร้างชื่อเสียง ผลงานที่ต่อเนื่องมาได้แก่ 18 ฝนคนอันตราย, ปล้นนะยะ, เอ๋อเหรอ, ไฉไล, หอแต๋วแตก, เพื่อน...กูรักมึงว่ะ\nเมื่อ 15 กันยายน 2559 พชร์ อานนท์ได้เข้าอุปสมบทที่วัดสระเกศ เป็นเวลา 7 วันหลังขอพรให้หนัง “หลวงพี่แจ๊ส 4 จี” ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ ถือเป็นการบวชครั้งที่ 2 ครั้งแรกเมื่อปี 2538 เป็นการบวชแทนคุณพ่อแม่ ครั้งที่สองนี้บวชหลังจากได้ขึ้นแทนเป็นผู้กำกับ 100 ล้านตามที่ตั้งใจ และพระอานนท์ได้ฉายาทางธรรมว่า อานนโท แปลว่า \"ผู้ยินดีในธรรม\" อย่างไรก็ตามเขายังคงได้รับคำด่ามากมายจากสังคมออนไลน์ จากการที่พชร์ใช้นามแฝงในการกำกับภาพยนตร์หลวงพี่แจ๊ส 4 จี แล้วหลังจากที่ภาพยนตร์ทำรายได้ขึ้นไปถึงหลักร้อยล้านบาทจึงออกมาเปิดเผยว่าเป็นตนกำกับ ทำให้ผู้คนเกิดความไม่พอใจว่าเป็นการปิดบังข้อเท็จจริงเพื่อผลประโยชน์ทางด้านยอดขาย", "title": "พจน์ อานนท์" }, { "docid": "37852#11", "text": "ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์ไว้ว่าท่านขยันในการอุปัฏฐากมาก ในบรรดาพระภิกษุผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาแล้ว ไม่มีใครทำได้เหมือนท่าน เพราะพระภิกษุเหล่านั้นไม่รู้พระทัยของพระพุทธองค์ดี แต่พระอานนท์ท่านรู้พระทัยของพระบรมศาสดาดี จึงอุปัฏฐากได้นาน ด้วยเหตุนี้ในคราวที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้ตรัสกับท่านว่า", "title": "พระอานนท์" }, { "docid": "732214#1", "text": "พล.อ. อนันตพร เริ่มชีวิตราชการในเหล่าทหารปืนใหญ่ ที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 103 จังหวัดนครราชสีมา ก่อนจะย้ายเข้าสู่สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก และดำรงตำแหน่งปลัดบัญชีทหารบกในปี 2556 ต่อมาหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากนี้ พลเอกประยุทธ์ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แต่งตั้งพลเอกอนันตพรให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการตรวจสอบใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ต่อมาไดัรับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 และในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์", "title": "อนันตพร กาญจนรัตน์" }, { "docid": "306210#25", "text": "วันที่ 10 ธันวาคม 2559 นภัทรได้เข้าพิธีอุปสมบท มีกำหนด 15 วันเพื่อทดแทนคุณบุพการี ที่วัดโพธาราม จ.สุพรรณบุรี โดยก่อนถึงวันบวชยังมีงานที่ต้องรับผิดชอบอยู่หลายอย่าง แต่ก็ได้พยายามหาเวลาท่องบทสวดไปเรื่อยๆ และได้กล่าวขอขมาลาบวช ขออโหสิกรรมทุกๆท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิต โดยตั้งใจจะบวชให้ยาย, ระลึกถึงคุณพ่อแม่และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 วันที่ 10 ธันวาคม 2559 วันบวช มีพระธรรมพุทธิมงคล จากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา 'อินฺทวํโส' (อิน-ทะ-วัง-โส) แปลว่า วงศ์ของพระอินทร์ หรือ เชื้อสายของพระอินทร์ โดยช่วงแรกจะจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธาราม จากนั้นจะเดินทางไปจำพรรษาที่วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี และช่วงท้ายจะไปจำพรรษาที่วัดราชบุรณราชวรวิหาร(วัดเลียบ) เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นวัดที่ได้เคยอาศัยอยู่สมัยเรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และจะลาสิกขาที่วัดเลียบ ในงานแห่นาคจากบ้านไปยังอุโบสถวัดโพธาราม ระยะห่างจากบ้านประมาณ 1 กม.", "title": "นภัทร อินทร์ใจเอื้อ" }, { "docid": "37852#19", "text": "ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้พรรณนาคุณของท่านพระอานนท์ไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ท่านมีรูปงาม น่าเลื่อมใส น่าทัศนายิ่งนัก ยิ่งเป็นพหูสูตด้วย ก็ยิ่งทำให้สังฆมณฑลนี้งดงามยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีบริษัททั้ง 4 นิยมไปหาท่านกันมาก ข้อนี้สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสยกย่องท่านว่า ท่านมีอัพภูตธรรม คือคุณอันน่าอัศจรรย์ 4 ประการ คือ ถ้าภิกษุบริษัทภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท และอุบาสิกาบริษัทเข้าไปหาท่าน พอได้เห็นรูปเท่านั้นก็มีความยินดี พอได้ฟังธรรมเทศนาของท่านก็ยิ่งมีความยินดี แม้เมื่อท่านแสดงธรรมจบลงแล้ว ก็ยังฟังไม่อิ่ม แล้วทรงเปรียบเทียบท่านซึ่งมีคุณอันน่าอัศจรรย์นี้กับพระเจ้าจักรพรรดิ คือว่า พระเจ้าจักรพรรดินั้นเมื่อขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท และสมณบริษัทเข้าเฝ้า พอได้เห็นก็มีความยินดี ครั้นได้ฟังพระราชดำรัส ก็ยิ่งมีความยินดี แม้ตรัสจบแล้วก็ยังไม่อิ่ม", "title": "พระอานนท์" }, { "docid": "395536#0", "text": "หลวงพ่อบุญทา (5 มกราคม พ.ศ. 2439 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2523)พระเถระผู้มีอาคมวิชาอันแก่กล้า มีอานุภาพ ความขลัง อานุภาพของผ้ายันต์ของท่าน จากเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายในปี พ.ศ. 2517 บุกเผาทำลายแคมป์สร้างทางของบริษัทอิตาเลียน ผลจากความเสียหายพบว่า รถน้ำคันหนึ่ง ที่แขวนผ้ายันต์ของท่าน ถูกยิงก็แล้ว ถูกไฟเผาก็แล้ว ถูกระเบิดนิวเคลียร์แล้ว แต่ยังใช้การได้ และเผาไม่ไหม้ นิวเคลียร์เผาไม่ลง ข่าวนี้ดังถึงหนังสือพิมพ์วารสาร ปี พ.ศ. 2517 ส่วนตะกรุดเหรียญและวัตถุมงคลของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์มากเช่นกัน\nหลวงพ่อบุญทา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2439 ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาจุฬาลงกรณ์ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรคนเดียวของนายเขียว และนางคำดี ใจเฉลียว บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 โดยมีพระครูเตวินต๊ะ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อมีอายุครบ 21 ปี ท่านได้อุปสมบทตรงกับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยอุปสมบทที่วัดเดิม พระอุปัชฌาย์คนเดิม มีพระพรหมเทพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุปทะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พุทธวังโส ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าคณะตำบลดอนมูล และเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับ\nท่านเป็นพระเถระที่ชอบความสงบ มักน้อย สันโดษ ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย สมกับที่ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูเนกขัมมาภินันท์ แปลว่า เป็นพระเถระผู้พอใจในเนกขัมมะ คือการพาตนออกจากความวุ่นวายทางโลก มีเมตตาธรรมแก่ผู้มีความทุกข์ร้อนทั้งกาย และทุกข์ใจ ซึ่งท่านจะช่วยดับทุกข์และคลายความกังวลให้แก่ทุกคนด้วยพระบารมีเมตตาของท่าน ทุกคนที่เข้าไปกราบท่านและได้รับน้ำพุทธมนต์ วัตถุมงคล และรับพรจากท่านแล้วต่างก็ผ่อนคลายหายจากทุกข์ได้โดยปริยาย ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "พระครูเนกขัมมาภินันท์ (บุญทา พุทธวังโส)" }, { "docid": "37852#5", "text": "ในครั้งนั้นพระสงฆ์ทั้งหลายนำโดยพระสารีบุตรมหาเถระ ได้กราบทูลขอเป็นพุทธอุปัฎฐาก แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย แม้พระเถระรูปอื่นๆ จะกราบทูลเสนอตัวเป็นพุทธอุปัฏฐาก แต่พระพุทธองค์ก็ทรงห้ามเสียทุกรูป คงเว้นแต่พระอานนท์ที่มิได้กราบทูลด้วยถ้อยคำใด พระภิกษุรูปอื่นได้เตือนให้พระอานนท์ขอโอกาส แต่ท่านพระอานนท์กล่าวว่า", "title": "พระอานนท์" } ]
1015
ประเทศเวียดนามมีเมืองหลวงชื่ออะไร ?
[ { "docid": "22379#0", "text": "ฮานอย (; \"ห่าโหน่ย\") เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากร 6,472,200 คน (พ.ศ. 2552) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร ไม้อัด สิ่งทอ สารเคมี และงานหัตถกรรม ฮานอยตั้งอยู่ที่ 21°2' เหรือ 105°51' ตะวันออก (21.0333, 105.85)", "title": "ฮานอย" }, { "docid": "261754#0", "text": "เวียดนาม เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีเนื้อที่ทั้งหมด 337,912 ตารางกิโลเมตร มีประชากรร่วม 89 ล้านคน (พ.ศ. 2554) เมืองหลวงคือ ฮานอย ประชากรส่วนใหญ่ของชาวเวียดนาม คือ ชาวเวียดนาม มีอยู่ประมาณร้อยละ 86 นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยอีก ได้แก่ โท้ ไต ม้ง เขมร และอื่นๆ ภาษาราชการ คือ ภาษาเวียดนาม ส่วนภาษาอื่นๆที่นิยมใช้ คือ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาของแต่ละชนชาติ", "title": "ประวัติศาสตร์เวียดนาม" } ]
[ { "docid": "261754#9", "text": "หลังจากนั้นอาน เซือง เวือง ได้รวบรวมกองทัพเอาชนะและโค่นล้มราชวงศ์ที่ 18 ของกษัตริย์หุ่งแห่งราชวงศ์ห่งบ่าง ในช่วง 258 ปีก่อนคริสตกาล อาน เซือง เวือง เปลี่ยนชื่อประเทศจากอาณาจักรวันลางมาเป็นเอิวหลักและสถาปนาเมืองหลวงใกล้กับเมืองฟู้เถาะ ทางตอนเหนือของเวียดนาม และได้สร้างป้อมปราการโก๋ลวาหรือป้อมเกลียวยาวประมาณ 10 ไมล์ ทางตอนเหนือของเมืองหลวง\nเจี่ยวด่า ได้ก่อตั้งอาณาจักรอิสระแห่งนามเวียด ขึ้น อันรวมไปถึงดินแดนส่วนใหญ่ทางใต้ของจีนในปัจจุบันนี้ด้วย และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ในปีที่ 208 ก่อนคริสตกาล ทรงตั้งราชวงศ์เตรียวซึ่งมีอายุต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 3 โดยมีเมืองหลวงอยู่ใกล้กับกวางตุ้ง ในปัจจุบัน อิทธิพลของจีน ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เตียวนามเวียด ในช่วงนี้เป็นช่างที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแผนการของจักรพรรดิจีนองค์หนึ่ง ที่ตั้งพระทัยจะยึดครองนามเวียด ไม่ถึงศตวรรษต่อมาพระเจ้าหวูฮี จักพรรดิแห่งฮั่น ได้ทรองยกทัพจำนวนมหาศาลมาเพื่อยึดทรองนามเวียด ในที่สุดเวียดก็ต้องพ่ายแพ้แก่ผู้รุกรายชาวฮั่น ประเทศนี้ตกเป็นเมืองประเทศราชของจีนภายใต้ชื่อใหม่ว่า ยาวจี๋ มีการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงขึ้นมาเป้นผู้ปกครอง และมีความพยายามที่จะเผยแพร่วรรณคดี ศิลปะ และเทคนิคทางการเกษตรของจีน แต่ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชาวเวียดนาม", "title": "ประวัติศาสตร์เวียดนาม" }, { "docid": "1961#0", "text": "เวียดนาม ( \"เหฺวียดนาม\") มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีประชากรประมาณ 94.6 ล้านคนใน พ.ศ. 2559 ทำให้มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลกและมากเป็นอันดับ 9 ของเอเชีย มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย ทางทิศตะวันออกและใต้ มีเมืองหลวงชื่อฮานอยตั้งแต่เวียดนามเหนือและใต้รวมกันใน พ.ศ. 2519 เมืองใหญ่สุดในประเทศคือนครโฮจิมินห์", "title": "ประเทศเวียดนาม" }, { "docid": "75453#0", "text": "นครโฮจิมินห์ (, \"ถั่ญโฟ้โห่จี๊มิญ\") หรือชื่อเดิม ไซ่ง่อน ( \"ส่ายก่อน\") เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นครโฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนาม จากประชากรร้อยละ 7.5 ของประเทศ แต่มีจีดีพีถึงร้อยละ 20.2 และการลงทุนจากต่างประเทศมากถึงร้อยละ 34.9 ของทั้งประเทศ", "title": "นครโฮจิมินห์" }, { "docid": "87644#7", "text": "เว้มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปี พ.ศ. 2488 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนามทรงสละราชสมบัติ และมีการก่อตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ทางตอนเหนือของเวียดนาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงได้รับการช่วยเหลือจากชาวฝรั่งเศสในอาณานิคม และทรงก่อตั้งเมืองหลวงใหม่ คือ ไซ่ง่อน ทางใต้ของประเทศ", "title": "เว้" }, { "docid": "314991#4", "text": "ในนิยายทั้งสองเรื่อง ประเทศสารขัณฑ์ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย ตอนเหนือติดประเทศจีน และมีบางส่วนติดกับประเทศเวียดนาม มีประชากรประมาณ 20 ล้านคน มีเมืองหลวงคือกรุงไฮโด (ไฮโธ) ซึ่งหันหน้าไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก (ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางภูมิศาสตร์) โดยสถานการณ์ภายในประเทศค่อนข้างวุ่นวาย", "title": "อเมริกันอันตราย" }, { "docid": "466044#0", "text": "เกิ่นเทอ () เป็นเมืองใหญ่อันดับสี่ของประเทศเวียดนามและเมืองใหญ่ที่สุดในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง มีชื่อเสียงเรื่องตลาดน้ำ หมู่บ้านทำกระดาษสา และลำคลองท้องถิ่นที่สวยงาม เมืองแห่งนี้มีประชากรประมาณ 1.1 ล้านคนในปี ค.ศ. 2004 ตั้งอยู่ริมฝั่งใต้ของแม่น้ำเหิ่ว ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 169 กิโลเมตร ในปี ค.ศ. 2007 สะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งได้ถล่มลงมาระหว่างการก่อสร้าง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 50 ราย นับเป็นภัยพิบัติทางวิศวกรรมที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศเวียดนาม ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีการเปิดใช้ท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอ ชื่อเมืองเกิ่นเทอเป็นรูปย่อของคำว่า \"เกิ่มทีซาง\" () แปลว่า \"แม่น้ำแห่งบทกวี\" นอกจากนี้ยังได้รับฉายาว่าเป็น \"เมืองหลวงทางตะวันตก\" () สภาพภูมิอากาศของเมืองเป็นแบบเขตร้อนและเขตมรสุม มีสองฤดู คือ ฤดูฝนที่เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน และฤดูแล้งที่เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเมษายน", "title": "เกิ่นเทอ" }, { "docid": "75453#1", "text": "ไซ่ง่อนในอดีตเคยเป็นเมืองในการปกครองของเขมรมาก่อนเรียกว่า ไพรนคร (ตัวอักษรเขมรเขียนว่า ព្រៃនគរ ปรึย~เปรยโนโกร์) ต่อมาเมื่อเวียดนามเข้ามายึดครองดินแดนนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นภาษาเวียดนามว่า ยาดิ่ง (ซาดิ่ง) (ตัวอักษรเขียนว่า Gia Địng) และต่อมาเปลี่ยนชื่อว่า ไซ่ง่อน (Sài gòn ส่ายก่อน) กาลเวลาหลายร้อยปีต่อมาอีก เมื่อแยกประเทศเวียดนาม ออกเป็นสองส่วน ไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ เมื่อเวียดนามเหนือยึดได้จึงเปลี่ยนชื่อเป็น นครโฮจิมินห์ ตามชื่อผู้นำเวียดมินห์ คือ โฮจิมินห์\nชาวเวียดนามในนครโฮจิมินห์ส่วนใหญ่เดินทางโดยรถจักรยานยนต์ มีรถแท็กซี่บริการโดยมีหลายบริษัท และมีรถประจำทางบริการ เรียกว่า ไซ่ง่อนบัส (Saigon Bus)\nท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต () เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามในด้านจำนวนผู้โดยสารตั้งอยู่ใจกลางนครโฮจิมินห์ อย่างไรก็ตาม ท่าอากาศยานนานาชาติล็องถั่ญ () จะสร้างแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2020 และจะกลายเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดแทน", "title": "นครโฮจิมินห์" }, { "docid": "865779#4", "text": "นักประวัติศาสตร์เวียดนามสมัยใหม่บางกลุ่มได้มีความเชื่อกันว่า ถุก ฟ้าน มาถึงดินแดนของชนเผ่าเอิวเหวียต (บริเวณเวียดนามตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกวางตุ้งและจังหวัดภาคใต้ของกว่างซี ซึ่งมีเมืองหลวงในจังหวัดกาวบั่งในปัจจุบัน) มีการวิเคราะห์กันในหมู่นักประวัติศาสตร์เวียดนามว่า ถุก ฟ้านอาจจะเป็นชาวจีนที่นำกองทัพเข้ามาปกครองชาวเวียดนามและตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งเวียดนามเสียเอง หลังจากนั้นได้รวบรวมกองทัพและได้เอาชนะราชวงศ์ที่ 18 ของกษัตริย์หุ่ง แห่งราชวงศ์ห่งบ่าง หรือ วันลาง ประมาณ 257 ปีก่อนคริสตกาล ถุก ฟ้าน ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์มีพระนามว่า อาน เซือง เวือง และได้เปลี่ยนชื่ออาณาจักรจากวันลาง เป็น เอิวหลัก พระองค์ได้สร้างป้อมปราการและเมืองหลวงใหม่ขึ้นเหนือหุบเขาแม่น้ำแดง ที่ เมืองโก๋ลวา (ในปัจจุบันคือเขตด่งอาน บริเวณเมืองฮานอย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์)", "title": "อาน เซือง เวือง" } ]
1018
สไปรูไลนามีโปรตีนอยู่ราวเท่าไหร่?
[ { "docid": "387197#6", "text": "สไปรูไลนามีโปรตีนอยู่ราว 60% (51-71%) ในสไปรูไลนามีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นทุกชนิด แม้ว่าจะมีปริมาณเมไทโอนีน ซีสเตอีนและไลซีนเมื่อเทียบกับโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ ไข่และนม อย่างไรก็ตาม สไปรูไลนาเหนือกว่าโปรตีนพืชตัวอย่าง อย่างเช่นที่ได้จากพืชตระกูลถั่ว (legume) ในภาพรวม ขณะที่สไปรูไลนามักถูกโฆษณาว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ยอดเยี่ยม แต่มันก็ไม่ได้ดีไปกว่านมหรือเนื้อสัตว์ (เว้นเสียแต่มันมีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบ) และเป็นโปรตีนที่ราคาต่อกรัมแพงกว่าโปรตีนแหล่งอื่นอย่างน้อย 30 เท่า", "title": "สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)" } ]
[ { "docid": "387197#8", "text": "สารอาหารลิพิดของสไปรูไลนามีอยู่ราว 7% โดยน้ำหนัก และอุดมไปด้วยกรดแกมมาไลโนเลนิก และยังพบกรดอัลฟาไลโนเลนิก, กรดไลโนเลอิก, กรดสเตียริโดนิก, กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก, กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิกและกรดอะราคิโดนิก สไปรูไลนามีวิตามินบี1 (ไทอามีน), บี2 (ไรโบฟลาวิน), บี3 (ไนโคไทนาไมด์), บี6 (ไพริโดซีน), บี9 (กรดโฟลิก), วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินเอ และวิตามินอี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งโพแทสเซียม, แคลเซียม, โครเมียม, ทองแดง, เหล็ก, แมกนีเซียม, แมงกานีส, ฟอสฟอรัส, เซเลเนียม, โซเดียม และสังกะสี สไปรูไลนามีรงควัตถุหลากหลายซึ่งอาจมีทั้งประโยชน์และชีวประสิทธิผล รวมทั้งบีตา-แคโรทีน, ซีแซนทีน, คลอโรฟิลล์-เอ, แซนโทฟิลล์, เอคินีโนน, ไมโซแซนโทฟิลล์, แคนทาแซนทิน, ไดอาโทแซนทิน, 3'-ไฮดรอกซีเอคินีโนน, บีตา-คริปโตแซนทิน และออสซิลาแซนทิน บวกกับไฟโคบิลิโปรตีน ซี-ไซโคไซยานินและอัลโลไซโคไซยานิน", "title": "สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)" }, { "docid": "387197#9", "text": "สไปรูไลนามีฟีนิลอะลานีน ซึ่งควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีอาการผิดปกติของเมตาโบลิซึม ที่ชื่อ ฟีนิลคีโตนูเรีย โดยร่างกายไม่สามารถเผาผลาญกรดอะมิโนชนิดดังกล่าวได้ ทำให้กรดอะมิโนไปสะสมอยู่ในสมอง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากสไปรูไลนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาจึงไม่ได้วางระเบียบคุ้มครองและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สไปรูไลนาเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแบบหนึ่ง ซึ่งทราบกันว่ามีบางชนิดที่ผลิตพิษ อาทิ ไมโครซิสติน, BMAA และอื่น ๆ ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานใดมาวางระเบียบความปลอดภัยของสไปรูไลนา", "title": "สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)" }, { "docid": "387197#7", "text": "สไปรูไลนาไม่ถูกมองว่าเป็นแหล่งวิตามินบี12 ที่ดีนัก การวิเคราะห์ทางเคมีบี12 มาตรฐาน โดยใช้ \"Lactobacillus leichmannii\" แสดงให้เห็นว่าสไปรูไลนาเป็นแหล่งที่ให้วิตามินบี12 ที่มีชีวประสิทธิผลน้อยมาก อาหารเสริมสไปรูไลนามีวิตามินเทียม บี12 ซึ่งใช้การไม่ได้ทางชีววิทยาในมนุษย์ บริษัทซึ่งปลูกและจัดจำหน่ายสไปรูไลนาอ้างว่า เป็นแหล่งสำคัญของบี12 ตามการวิเคราะห์ทางเคมีอีกชุดหนึ่งและไม่ได้ตีพิมพ์ แม้ว่าการอ้างดังกล่าวจะไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การวิทยาศาสตร์เลยก็ตาม สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา และนักโภชนาการแคนาดา ระบุในเอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยเรื่องอาหารมังสวิรัติ ว่า สไปรูไลนาไม่สามารถถูกนับได้ว่าเป็นแหล่งวิตามินบี12 ที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ งานตีพิมพ์ทางการแพทย์ก็แนะนำคล้ายกันว่าสไปรูไลนาไม่เหมาะสมจะใช้เป็นแหล่งบี12", "title": "สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)" }, { "docid": "494374#2", "text": "ชั้นพลังงานที่ถูกเติมจนเต็มจะมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่เท่ากับเลขมหัศจรรย์ เลขมหัศจรรย์ที่เป็นไปได้สำหรับจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสทรงกลมคือ 114, 120 และ 126 ซึ่งหมายความว่าไอโซโทปทรงกลมที่เสถียรที่สุดจะเป็น ฟลีโรเวียม-298, อูนไบนิลเลียม-304 และ อูนไบเฮกเซียม-310 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Ubh-310 ซึ่งมีเลขมหัศจรรย์คู่ (เนื่องจากเลขโปรตอนของมันเท่ากับ 126 และเลขนิวตรอนของมันเท่ากับ 184 ซึ่งคาดว่าเป็นเลขมหัศจรรย์) จึงน่าจะมีครึ่งชีวิตที่ยาวนานมาก (ไอโซโทปที่มีนิวเคลียสทรงกลมและเลขมหัศจรรย์คู่ที่เบากว่าน่าจะเป็น ตะกั่ว-208 นิวเคลียสเสถียรที่หนักที่สุดและโลหะหนักที่เสถียรที่สุด)", "title": "หมู่เกาะแห่งเสถียรภาพ" }, { "docid": "387197#17", "text": "การศึกษาใน พ.ศ. 2548 พบว่า สไปรูไลนาสามารถป้องกันไข้ละอองฟางได้ การศึกษาใหม่กว่าที่เป็นแบบปิดสองทางและมียาหลอกเป็นตัวควบคุม (double blind, placebo controlled) ใน พ.ศ. 2551 ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูก 150 คน พบว่า \"Spirulina platensis\" สามารถลดการหลั่งอินเตอร์ลิวคิน-4 ที่เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบ ได้ 32% และผู้ป่วยมีอาการบรรเทาลง ยิ่งไปกว่านั้น สไปรูไลนาถูกพบว่าลดการอักเสบที่เกี่ยวกับภาวะข้ออักเสบในผู้ป่วยสูงอายุ โดยกระตุ้นการหลั่งอินเตอร์ลิวติน-2 ซึ่งช่วยควบคุมการตอบสนองการอักเสบ", "title": "สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)" }, { "docid": "387197#13", "text": "การศึกษาเมตาบอลิซึมในหนูชี้ว่า สไปรูไลนามีผลกระทบน้อยมากต่อเมตาบอลิซึมของพวกมัน และดังนั้นจึงอาจมีผลอย่างเดียวกันในมนุษย์ด้วย", "title": "สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)" }, { "docid": "222042#9", "text": "ธอแรกซ์เป็นชุดของปล้องที่เรียงต่อกันอยู่ระหว่างเซฟาลอนกับพายกิเดียม จำนวนปล้องจะแปรผันระหว่าง 2 ถึง 61 โดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 2 ถึง 16 แต่ละปล้องประกอบไปด้วยวงแหวนแกนกลางและพลูรีด้านข้างทั้งสองทำหน้าที่ปกป้องแขนขาและเหงือก ส่วนของพลูรีบางทีอาจถูกย่อให้เล็กลงเพื่อทุ่นน้ำหนัก หรือบางทีอาจขยายออกเป็นหนามยาวยื่นออกไป อะโพเดมีสเป็นกระเปาะที่ยื่นออกมาที่ด้านใต้เป็นที่ซึ่งกล้ามเนื้อขาทั้งหมดยึดเกาะ แม้ว่ากล้ามเนื้อขาบางชุดจะยึดเกาะที่เปลือกกระดองด้านนอกโดยตรง \nการแยกแยะตำแหน่งปลายสุดของธอแรกซ์กับตำแหน่งเริ่มต้นของพายกิเดียมอาจพบว่าเป็นปัญหา และการนับจำนวนปล้องก็อาจพบกับปัญหานี้เช่นกัน \nพบซากดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์บ่อยครั้งที่มีการขดงอลำตัวขึ้นเหมือนกับตัววูดไลซ์ (woodlice) ปัจจุบัน เพื่อเป็นการป้องกันตัว หลักฐานชี้ให้เห็นว่าการขดงอลำตัวช่วยป้องกันตัวเองของพวกอาร์โธพอด \nไทรโลไบต์บางชนิดมีกระดองปกคลุมทั้งลำตัว เช่น “ฟาคอพส์” ขณะที่บางชนิดอื่นๆกลับมีพลูรีเป็นหนามยื่นยาวออกไป เช่น “เซเรโนเปลติส” หรือมีพายกิเดียมเล็ก เช่น “พาราด๊อกซิดีส” ทำให้เกิดช่องว่างด้านข้างหรือระหว่างเซฟาลอนกับพายกิเดียม แม้แต่ในแอกโนสติดที่ส่วนของธอแรกซ์มีเพียงสองปล้อง กระบวนการขดงอลำตัวของไทรโลไบต์นี้ต้องการการขับเคลื่อนของกล้ามเนื้อที่ซับซ้อนในการที่จะขดงอและการคืนกลับสู่สภาพแบนราบดังเดิม ในพวก ”ฟาคอพส์” พลูรีจะเกยแผ่นผิวหน้าเรียบแผ่นหนึ่งเพื่อให้ผนึกชิดกันกับเด้าเบลอร์ บนเด้าเบลอร์มีบากแพนเดอเรียนหรือเป็นปุ่มนูนออกไปบนแต่ละปล้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหมุนเกินจำกัดของแต่ละปล้อง มัดกล้ามเนื้อด้านข้างขนาดยาวถูกยื่นออกไปจากเซฟาลอนออกไปตามแนวตรงแกนกลางลงไปถึงพายกิเดียมโดยยึดติดกับวงแหวนแกนกลางต่างๆทำให้เกิดการขดงอลำตัวขณะที่แยกมัดกล้ามเนื้อบนขาทั้งหลายที่หดพับออกไป", "title": "ไทรโลไบต์" }, { "docid": "605035#15", "text": "มนุษย์ไม่สามารถเห็นแสงอัลตราไวโอเลตได้โดยตรงเพราะว่าเลนส์ตากั้นแสงที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 300-400 nm\nส่วนกระจกตา (cornea) กั้นแสงอัลตราไวโอเลตมีคลื่นความยาวที่สั้นกว่านั้น \nอย่างไรก็ดี เซลล์รับแสง (photoreceptor) ของเรตินาปรากฏว่าไวแสงจนเกือบถึงระดับแสงอัลตราไวโอเลต\nและบุคคลที่ไม่มีเลนส์ตา (เป็นอาการที่เรียกว่า สภาพไร้แก้วตา ICD-10 H27.0, Q12.3) สามารถเห็นแสงใกล้แสงอัลตราไวโอเลตเป็นสีน้ำเงินปนขาวหรือสีม่วงปนขาว\nซึ่งอาจเป็นเพราะเซลล์รูปกรวยทั้งสามประเภทมีความไวใกล้ ๆ กันต่อแสงอัลตราไวโอเลต โดยเซลล์รูปกรวยแบบสีน้ำเงินมีความไวมากที่สุด", "title": "เตตราโครมาซี" }, { "docid": "24465#12", "text": "จีโนมของไวรัสไข้เด็งกีมีขนาดประมาณ 11,000 นิวคลีโอไทด์เบส ถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลโปรตีน 3 ชนิด (C, prM และ E) ซึ่งประกอบกันเป็นตัวไวรัส และโมเลกุลโปรตีนชนิดอื่น ๆ อีก 7 ชนิด (NS1, NS2a, NS2b, NS3, NS4a, NS4b, NS5) ซึ่งจะพบเฉพาะในเซลล์โฮสท์ที่ติดเชื้อ โดยเป็นโปรตีนที่มีความจำเป็นในการสร้างไวรัส ไวรัส DENV มีอยู่ 4 สายพันธุ์หรือซีโรไทป์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 เชื่อกันว่าการติดเชื้อไวรัสซีโรไทป์หนึ่ง ๆ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซีโรไทป์นั้น ๆ ไปตลอดชีวิต และมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซีโรไทป์อื่น ๆ ได้ในช่วงสั้น ๆ", "title": "ไข้เด็งกี" } ]
1024
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีอักษรย่อว่าอะไร?
[ { "docid": "12009#9", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความหมายว่า \"มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร\"\n\"วิโรฒ\"มาจากคำว่า \"วิโรฒ\" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ\nมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ \"(อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด)\" มีชื่อย่อว่า \"มศว\" (ไม่มีจุด) เขียนอักษรโรมันว่า \"Srinakharinwirot University\" มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า SWU \"(อ่านว่า สะ-วู)\"สีเทา-แดง จึงหมายถึง มีความกล้าหาญที่จะคิด และมีความคิดอย่างกล้าหาญ", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#0", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (; อักษรย่อ: มศว – SWU) ถือกำเนิดจาก \"โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง\" ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2492 และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น \"วิทยาลัยวิชาการศึกษา\" เมื่อ พ.ศ. 2497 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ\" เมื่อ พ.ศ. 2517", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" } ]
[ { "docid": "12009#21", "text": "63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 16\nตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120\nโทรศัพท์ 0-2649-5000 ต่อ 21013 โทรสาร 0-2649-5000 ต่อ 21013\nการจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์(Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคมพ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อยู่ในอันดับที่ 1,270 ของโลก อันดับที่ 478 ของทวีปเอเชีย อันดับที่ 33 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย\nการจัดอันดับโดย Qs มีเกณฑ์การจัดอันดับ ดังนี้\nโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 301-350 ของเอเชีย", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#22", "text": "กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่างๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยนเรศวร แม้ว่าวิทยาเขตต่างๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-งามสัมพันธ์” ในปี 2538 \"มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็น เจ้าภาพ\"โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "5353#29", "text": "กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ แม้ว่าวิทยาเขตต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย รวมทั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี \"เทา\" ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า \"งาม\" ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น \"เทา-งามสัมพันธ์\" ซึ่ง \"\" มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ \"\" เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก", "title": "มหาวิทยาลัยนเรศวร" }, { "docid": "39320#6", "text": "ในปีการศึกษา 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน ได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โรงเรียนจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน หรือ โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทบวงมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนใช้อักษรย่อของ โรงเรียนเป็น ส.มศว และเครื่องหมายรูปกราฟ เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน" }, { "docid": "153267#0", "text": "บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เป็นคณาจารย์และผู้บริหารทั้งในอดีต และปัจจุบัน รวมทั้งศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก สมัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก จนกระทั่งถึงสมัยมหาวิทยาลัยนเรศวร มีหลากหลายตั้งแต่บุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครอง นักวิชาการ ศิลปิน ข้าราชการและคณาจารย์ ดังรายนามต่อไปนี้ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์", "title": "รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยนเรศวร" }, { "docid": "476163#11", "text": "ในด้านอาคารสถานที่นั้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จะยังคงตั้งอยู่ ณ ที่เดิม โดยจะเป็นโรงเรียนสาธิตของวิทยาเขตกลาง แต่อาจจะยังคงใช้ชื่อเดิมต่อไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนสาธิตฯ เป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงและเป็นโรงเรียนในเมือง มีนักเรียนเป็นจำนวนมาก หากต้องเคลื่อนย้ายไปตั้งที่อื่นก็จะไม่สะดวกต่อครูบาอาจารย์นักเรียนและผู้ปกครอง ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินก็ได้อนุญาตให้โรงเรียนสาธิตฯ ตั้งอยู่ ณ ที่เดิมไปก่อน จนกว่าโรงเรียนจะสามารถหาทางขยับขยายไปยังที่อื่นได้ สำหรับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน นั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีนโยบายที่จะเข้ามาซ่อมแซมอาคารเรียนทั้งหมด และจะให้นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้ามาใช้อาคารเรียนในปีการศึกษา 2536", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน" }, { "docid": "6858#9", "text": "สีประจำมหาวิทยาลัยทักษิณ สืบเนื่องมาจากสีประจำวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา คือสีเทา-ฟ้า\nสีเทา - ฟ้า จึงหมายถึง ความคิดที่กว้างไกล หรือคิดอย่างมีวิสัยทัศน์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธศรีศากยมุนินทร์ ศรีนครินทรวิโรฒมงคล” ซึ่งมีความหมายว่า “องค์พระพุทธเจ้า ที่เป็นมิ่งมหามงคล แห่งมหาวิทยาลัย” และมหาวิทยาลัยได้กระทำพิธัอัญเชิญพระพุทธศรีศากยมุนินทร์ศรีนครินทรวิโรฒมงคลมาประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 \nนับแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้,มหาวิทยาลัยทักษิณ มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารมาแล้ว ดังนี้", "title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ" }, { "docid": "12009#7", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีรากฐานมาจาก \"โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง\" และพัฒนาเป็น \"วิทยาลัยวิชาการศึกษา\" (Collage of Education อักษรย่อ วศ.) มีพัฒนาการและประวัติความเป็นมาดังนี้", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#14", "text": "วันที่ 29 มิถุนายน 2517 เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 มหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร จึงเรียกวันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันสุดใจ เหล่าสุนทร", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" } ]
1025
พรรคพัฒนาชาติไทย จัดตั้งเมื่อวันที่?
[ { "docid": "98193#0", "text": "พรรคพัฒนาชาติไทย (, อักษรย่อ พ.ช.ท. - P.C.T.) จัดตั้งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2546 นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ เป็นหัวหน้าพรรค นายประพัฒน์ เพชรทอง เป็นเลขาธิการพรรค สมาชิกพรรคที่แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 มีจำนวน 7,568 คน", "title": "พรรคพัฒนาชาติไทย" } ]
[ { "docid": "124970#0", "text": "พรรคชาติพัฒนา หรือในชื่อเดิมว่า รวมชาติพัฒนา และ รวมใจไทยชาติพัฒนา และ ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกจากพรรคการเมืองที่เคยมีอยู่แล้ว อาทิ กลุ่มของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นต้น จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยรวม กลุ่มรวมใจไทย เข้ากับ พรรคชาติพัฒนา มีบุคคลสำคัญทางการเมืองหลายคนเข้าร่วม เช่น นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, ดร.พิจิตต รัตตกุล, รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, นายอุทัย พิมพ์ใจชน, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นต้น", "title": "พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)" }, { "docid": "125982#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการยื่นขอจดทะเบียนพรรคชาติพัฒนาขึ้นมาอีกครั้ง แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้อีก ในส่วนของสมาชิกเดิมของพรรคชาติพัฒนาได้เข้าร่วมกับทางกลุ่มรวมใจไทยของกลุ่มนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน และกลุ่มสมานฉันท์ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ คือ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา", "title": "พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)" }, { "docid": "204496#2", "text": "พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นพรรคการเมืองที่รองรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคชาติไทย ซึ่งถูกตัดสินยุบพรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่ง ณ เวลานั้น เหลือ ส.ส. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 13 คน จึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาทั้งหมด ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 พรรคชาติไทยพัฒนาได้รับเลือกตั้ง 10 คน และปลายเดือนมกราคม ปีเดียวกัน มีสมาชิกจากอดีตพรรคมัชฌิมาธิปไตย ย้ายเข้าพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน รวมทั้งหมด 25 คน", "title": "พรรคชาติไทยพัฒนา" }, { "docid": "204496#4", "text": "คณะกรรมการบริหารชุดที่ได้รับแต่งตั้งตามมติที่ประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และสิ้นสุดลงทั้งคณะในกรณีที่หัวหน้าพรรค (นายชุมพล ศิลปอาชา) ถึงแก่อสัญกรรม การประชุมใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 โดยที่ประชุมใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา มีมติเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่าง ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรค มีจำนวน 11 คน ดังนี้\nการประชุมใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยที่ประชุมใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา มีมติเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ดังนี้", "title": "พรรคชาติไทยพัฒนา" }, { "docid": "124970#3", "text": "ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น \"รวมชาติพัฒนา\" พร้อมกับเปลี่ยนสัญลักษณ์พรรคใหม่ด้วยเป็นรูปรูปหัวช้างจรดปลายงวงช้าง ที่เป็นสัญลักษณ์คู่บ้านเมือง ประกอบขึ้นด้วยแถบสีธงไตรรงค์ ปลายงวงบรรจบด้วยรูปวงกลมสีทอง หมายถึงสุวรรณภูมิอันเป็นศูนย์รวมของชาติไทย\nในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (ในขณะนั้น) ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 9 คน และได้ร่วมกับพรรคพลังประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาลถึง 2 ครั้ง คือ รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยมี วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง", "title": "พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)" }, { "docid": "204496#0", "text": "พรรคชาติไทยพัฒนา () ก่อตั้งเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2551 โดยมีนายกฤต รัตนคามินี เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมานายชุมพล ศิลปอาชา ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค และ นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร เป็นเลขาธิการพรรค", "title": "พรรคชาติไทยพัฒนา" }, { "docid": "125982#3", "text": "หลังจากนั้นในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 อันเป็นวันเดียวกับที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งภายหลังจาก เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทางพรรคปวงชนชาวไทยได้ทำการเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคชาติพัฒนา พร้อมกับตราสัญลักษณ์ของพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยได้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้า พรรคชาติไทย เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกต่อมาพลเอกอาทิตย์ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคและสมาชิกพรรคสามัคคีธรรมกลับมารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา", "title": "พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)" }, { "docid": "125982#1", "text": "พรรคปวงชนชาวไทย () จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2525 เป็นลำดับที่ 2/2525 โดยมีร้อยเอก สมหวัง สารสาส เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยได้ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และอดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรค", "title": "พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)" }, { "docid": "654145#0", "text": "พรรคประชาชน พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2511 มีนาย เลียง ไชยกาล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าพรรคและนาย เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งก่อนหน้านั้นพรรคประชาชนได้เคยก่อตั้งมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2490 โดยนายเลียง ไชยกาล และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีก 16 คน", "title": "พรรคประชาชน (พ.ศ. 2511)" } ]
1035
ใครเป็นผู้จัดละคร ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง ?
[ { "docid": "134806#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิง เป็นรายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกทุกวันอาทิตย์ โดยในระยะแรกมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ อีก 3 เดือนต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่กับเกมโชว์ อันเป็นรูปแบบปัจจุบันของรายการ รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 ตลอดระยะเวลาที่ระเบิดเถิดเทิงออกอากาศจนถึงปัจจุบัน ช่วงซิตคอมระเบิดเถิดเทิงยุคแรกและยุคต่อๆมา (2553-ปัจจุบัน)ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และตัวละครอยู่เรื่อย ๆ นับว่าเป็นซิตคอมที่มีการออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" } ]
[ { "docid": "135794#11", "text": "วิชญ์วิสิฐได้ร่วมเป็นหนึ่งในดารารับเชิญ ของละครซิตคอม\"ระเบิดเถิดเทิง\" ในตอนที่ 631 \"สอบซ่อม\" ซึ่งออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 14:00-16:00 น. ทาง ททบ.5 โดยรับบทเป็น “เอ” ลูกชายคนเดียวของ\"หมออาร์ต\" เจ้าของคลินิกลดความอ้วน ในตลาดเถิดเทิง เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับ\"ลูกเกลี้ยง\" ลูกบุญธรรมของเท่ง เถิดเทิง (แสดงโดย อเล็กซ์ เรนเดลล์) เอเรียนหนังสือเก่งมาก ได้เกรด 4 ทุกวิชา แต่กลับตกในวิชาพลศึกษา จึงต้องสอบซ่อมเดาะตะกร้อ โดยมีเท่งกับโหน่งช่วยฝึกสอน ทั้งนี้ ในรอบถอดสลักระเบิด วิชญ์วิสิฐต้องเข้าไปดึงสลักในโดมถึงสองครั้ง ครั้งแรกเลือกสลักหมายเลข 3 ไม่ระเบิด จึงได้รับรางวัลทองคำมูลค่า 10,000 บาท ครั้งที่สองเลือกสลักหมายเลข 2 ซึ่งเป็นสลักระเบิด เขาจึงโดนระเบิดแป้ง และไม่ได้รับรางวัลเครื่องปรับอากาศ", "title": "วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล" }, { "docid": "237844#34", "text": "นักแสดงชุดปัจจุบันของระเบิดเถิดเทิง มาจาก \"ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ\" โดยมีนักแสดง ดังนี้\nหนุ่มสุดเนิร์ด, พระเอกของซิทคอมเรื่องนี้ และเป็นหลานของเฉื่อย ชอบในการประดิษฐ์สิ่งของสิ่งที่แปลกๆเหมือนเฉื่อย พักอยู่บ้านของพ่อมหากับบัว มีเท่งเป็นแรงบันดาลใจ แอบชอบพะแนง แต่ไม่กล้าบอกเธอ\nสาวสวยนิสัยห้าวก๋ากั่น, นางเอกของซิทคอมเรื่องนี้ และเป็นลานของแก้ว เธอไม่ชอบให้ชายใดมาจีบเธอ เป็นเพื่อนกับบูมทั้งที่ไม่รู้ว่าบูมชอบเธออยู่\nเจ้าของพลาซ่าในซอยเถิดเทิง ผู้ที่มีบุคลิกการแต่งตัวที่ดีแต่ตรงข้ามกับหน้าตาและนิสัยของตนเอง โดยเฉพาะเลม่อน เขาต้องการซื้อที่ดินและบ้านของพ่อมหาเพื่อทำลานจอดรถในพลาซ่าของตน แต่พ่อมหาไม่ยอมขายให้ จึงเกลี้ยกล่อมขอให้เท่งซึ่งเป็นลูกบุญธรรมของพ่อมหาให้ขายที่ดินและบ้านให้ โดยเท่งยอมที่จะขายให้กับเสี่ยหมี แต่บัว เจ้าของบ้านพ่อมหาไม่ยอมขาย จนเกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น\nเจ้าของบ้านของพ่อมหาในปัจจุบัน เป็นพี่น้องของบูม มีบุคลิกขึ้นๆลงๆเพี้ยนๆเสมอ และเป็นคู่กัดไม่ถูกกับเท่ง เนื่องด้วยเท่งต้องที่จะขายที่บ้านของพ่อมหาให้เสี่ยหมี แต่บัวไม่ยอมและไม่เซ็นสัญญาขายบ้านให้\nลูกสาวของเสี่ยหมี มีนิสัยคุณหนู ขี้เหนียวเอาแต่ใจ เป็นเด็กสาวอินเทรนด์ ชอบโซเชียล และยังชอบบูม ถึงขั้นประกาศว่าตนเป็นเพื่อนใหม่ของบูมกับพะแนงพ่อมหา (2540-2555) ใน\"ระเบิดเถิดเทิง, ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3,ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "675148#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง เป็นละครซิทคอมที่เกี่ยวกับชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีนควบคู่กับเกมโชว์ซึ่งเป็นภาคต่อของรายการระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ทางเวิร์คพอยท์ทีวี\nสำหรับเกมในระเบิดเถิดเทิงสิงโตทองนั้นยังคงใช้เกมรูปแบบเดิมจากระเบิดเถิดเทิงปี 2539 - 2545, 2548 - 2552 ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 และ ลั่นทุ่ง กับ ระเบิดเที่ยงแถวตรง ในปี 2553 - 2557 และได้เพิ่มเกมอีก 1 เกม", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "675148#12", "text": "ซึ่งถ้าหากเปิดเจอรูปใบหน้าของใคร คน ๆ นั้น จะต้องเลือกคันโยกระเบิดหมายเลข 1-5 แล้วเข้าหัวสิงโตระเบิด ถ้าหากโดนระเบิด เกมก็จะจบทันที แต่ถ้าหากยังไม่โดนระเบิด ก็จะออกมาเลือกแผ่นป้ายต่อไปอีก 1 แผ่นป้าย จนกว่าจะมีผู้โดนระเบิด แต่ถ้าหากเปิดเจอป้ายอาญาสิทธิ์ ผู้เลือกแผ่นป้ายนี้สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันในทีมที่แพ้ไปเข้าหัวสิงโตระเบิดแทนตนเองได้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายซูเปอร์อาญาสิทธิ์ ผู้เลือกแผ่นป้ายนี้จะสามารถเลือกใครก็ได้ (ทั้งผู้แข่งขันทีมแพ้ ผู้แข่งขันทีมชนะ และพิธีกรหลัก) เข้าไปในหัวสิงโตระเบิดแทนตนเอง", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "237844#96", "text": "\"ดูบทความหลักที่ ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#41", "text": "เสรี (2558 - 2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#19", "text": "อาโหน่ง (2558 - 2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#53", "text": "เฮียฮง (2558-2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิง สิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#8", "text": "อาเท่ง (2558 - 2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#37", "text": "เหลียง (2558-2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" } ]
1049
ขุนช้าง เป็นลูกของใคร?
[ { "docid": "103210#13", "text": "ขุนช้าง ลูกของขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง เกิดมาก็หัวล้าน รูปร่างน่าเกลียด ยิ่งเติบใหญ่ หัวก็ยิ่งล้านกว่านกตะกรุม คางและอกมีขนขึ้นรุงรังดูน่าเกลียดน่ากลัวจนเด็กเล็กต่างร้องไห้ตกใจกลัว นอกจากนี้รับราชการกรมตำรวจภูบาล กรมเดียวกับขุนแผน และยังลวงนางพิมพิลาไลยมาเป็นเมียอีกด้วย", "title": "ตัวละครในขุนช้างขุนแผน" }, { "docid": "476794#1", "text": "ขุนช้างเป็นลูกของขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ขุนศรีวิชัยเป็นเศรษฐีของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกรมช้างนอก ขุนช้างเป็นเพื่อนเล่นกับพลายแก้ว(ขุนแผน)และนางพิมพิลาไลยมาตั้งแต่เด็กแล้ว", "title": "ขุนช้าง" }, { "docid": "476794#2", "text": "แต่แล้วก็เกิดเรื่องเลวร้ายกับครอบครัวขุนช้าง(เช่นเดียวกับครอบครัวพลายแก้วและครอบครัวพิมพิลาไลย)เมื่อมีโจรกลุ่มหนึ่งบุกเข้ามาปล้นเรือน ขุนศรีวิชัยได้ถูกโจรฆ่าตาย โจรก็เอาทรัพย์สมบัติไปจำนวนหนึ่งเพราะทรัพย์สมบัติของขุนศรีวิชัยมีจำนวนมากทำให้พวกโจรขนไปไม่หมด หลังจากนั้นนางเทพทองก็ปกครองดูแลบ้านแทนสามีที่ตายและเลี้ยงดูขุนช้างเป็นอย่างดี", "title": "ขุนช้าง" } ]
[ { "docid": "476794#3", "text": "เวลาผ่านไป ขุนช้างก็ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่และก็ได้เป็นเศรษฐีดูแลกิจการแทนแม่ของตน ขุนช้างก็มีภรรยาหนึ่งคนชื่อนางแก่นแก้ว แต่นางนั่นก็สิ้นใจไปไม่ถึงปี ขุนช้างก็จึงคิดที่จะมีภรรยาคนใหม่โดยคิดจะจีบนางพิมพิลาไลย เพื่อนสมัยเด็ก แต่นางพิมก็ไม่เล่นด้วย\nต่อมาขุนช้างก็ได้ไปเข้าร่วมฟังเทศน์มหาชาติที่วัดป่าเลไลย์ โดยมีเณรพลายแก้ว(เพื่อนสมัยเด็กอีกคนหนึ่ง) เทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมโกรธ", "title": "ขุนช้าง" }, { "docid": "442617#3", "text": "เสมา ลูกชาย มั่น ช่างตีเหล็ก ซึ่งปรารถนาจะใช้วิชาความรู้ในเชิงรบที่ได้ร่ำเรียนมารักษาแผ่นดินเกิดไว้ มั่นเห็นลูกชายมีความตั้งใจจริง และฝีมือในเชิงรบโดยเฉพาะดาบสองมือก็ไม่เป็นสองรองใคร มั่นจึงพาเสมาไปฝากตัวเป็นลูกบุญธรรมของ พันอินทราช เพื่อนสนิทของมั่น พันอินเห็นเสมามีหน่วยก้านดี และเป็นศิษย์เอกของ พระครูขุน ภิกษุแห่งวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งเป็นอดีตแม่ทัพกองอาทมาตที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ เลยพาเสมาไปฝากกับ ขุนรามเดชะ เพื่อนและเจ้านายของพันอิน ซึ่งมีหน้าที่รับและฝึกสอนทหารใหม่", "title": "ขุนศึก (บันเทิงคดี)" }, { "docid": "103210#61", "text": "นางลาวทอง ลูกสาวของแสนคำแมนกับนางศรีเงินยวง เป็นเมียของขุนแผน และเป็นผู้จุดชนวนให้นางพิมพิลาไลยกับขุนแผนต้องแตกหักกันโดยไม่เจตนา ทั้งที่โดยนิสัยแท้จริงเป็นคนอารมณ์ดี ไม่มีจริตหรือพยศ ทั้งยังมีความศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาอีกด้วย แต่ต่อมาถูกกักบริเวณอยู่ในวัง โดยไปอยู่ฝ่ายปักสะดึง เป็นเวลานานมาก เนื่องจากมีฝีมือปักม่านได้สวยงามไม่แพ้นางวันทอง และในที่สุดได้กลับมาใช้ชีวิตคู่กับขุนแผนอีกครั้ง", "title": "ตัวละครในขุนช้างขุนแผน" }, { "docid": "476794#11", "text": "ต่อมาพระไวยต้องการให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงไปลักพานางวันทองมา ขุนช้างเคืองมากไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงมีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามความสมัครใจของนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาหาว่านางเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต แม้พระไวยพยายามอ้อนวอนขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามการประหารไม่ทัน", "title": "ขุนช้าง" }, { "docid": "103210#100", "text": "พระยาสุโขทัย พ่อของนางแก้วกิริยาที่ขาดเงินส่งพินัยหลวงให้พระคลัง จึงต้องนำลูกสาวมาขายขัดดอกให้ขุนช้าง มีเมียชื่อนางเพ็ญจันทร์", "title": "ตัวละครในขุนช้างขุนแผน" }, { "docid": "284540#2", "text": "\"คนเลี้ยงช้าง\" เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ บุญส่ง (สรพงศ์ ชาตรี) เจ้าของช้างแสนรู้ชื่อ แตงอ่อน ที่ถูกความจำเป็นบังคับให้ทำงานรับจ้างเสี่ยฮก (บู๊ วิบูลย์นันท์) ชักลากไม้เถื่อนออกจากป่าห้วยนางนอน อำเภอพนาไพร ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวผ่านคำบอกเล่าของ ชัย (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์) เจ้าหน้าที่ป่าไม้จบใหม่ ที่เพิ่งเข้ามาเป็นผู้ช่วยของ คำรณ (รณ ฤทธิชัย) เจ้าหน้าที่ป่าไม้อาวุโส ที่อุทิศตนเพื่อปกป้องผืนป่า ปราบปรามพวกลักลอบทำไม้เถื่อนอย่างจริงจัง", "title": "คนเลี้ยงช้าง" }, { "docid": "103210#57", "text": "นางพิมพิลาไลย ลูกของพันศรโยธากับนางศรีประจัน ต่อมาล้มป่วยเกือบตาย หลวงตาจูจึงเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “วันทอง” เป็นแม่ของพลายงาม เป็นเมียของขุนแผนก่อน แล้วมาเป็นเมียขุนช้าง ต่อมาถูกประหารชีวิตกลายเป็นเปรตอสุรกายวันทอง", "title": "ตัวละครในขุนช้างขุนแผน" }, { "docid": "103210#109", "text": "พลายแก้ว ลูกของขุนไกรพลพ่ายกับนางทองประศรี เมื่อเติบโตรับราชการได้ความดีความชอบจนได้กินตำแหน่งเป็น “ขุนแผนแสนสะท้าน” ปลัดซ้ายในกรมตำรวจภูบาล ซึ่งอยู่กรมอาทมาต อันเป็นกรมเดียวกับขุนไกรพลพ่ายผู้เป็นบิดาเคยสังกัดอยู่ ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่ง มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุรินทร์ฦๅไชยมไหศูรยภักดี” เจ้าเมืองกาญจนบุรี แต่ทว่าในทำเนียบศักดินาโบราณเป็น “ออกญาพิชัยภักดีศรีมไหศวรรย์”", "title": "ตัวละครในขุนช้างขุนแผน" }, { "docid": "476794#9", "text": "เวลาผ่านขุนแผนก็ได้กลับมาที่เมืองสุพรรณบุรีเพื่อมาแย่งชิงนางวันทองจากขุนช้าง ขุนแผนก็ไปที่บ้านของขุนช้างสะกดคนให้หลับหมดแล้วขึ้นไปบนบ้านก็ไปปลุกนางวันทองพาขึ้นม้าหนีเข้าป่าไป ขุนช้างไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา พระองค์ให้ทหารตามจับขุนแผน แต่ถูกขุนแผนฆ่าตายไปหลายคน ขุนแผนกับนางวันทองหลบซ่อนอยู่ในป่าจนนางตั้งท้องจึงพากันออกมามอบตัวสู้คดีกับขุนช้างจนขุนช้างแพ้คดี เวลาต่อมาขุนแผนก็ถูกจองจำคุก ขุนช้างจึงพาพรรคพวกมาฉุดนางวันทองไปเป็นภรรยาอีกครั้ง ต่อมานางวันทองก็คลอดลูกชาย แล้วตั้งชื่อให้ว่าพลายงาม ขุนช้างก็รู้ว่าไม่ใช่ลูกของตนก็เกลียดชังพลายงาม วันหนึ่งจึงหลอกพาพลายงามเข้าไปในป่าทุบตีจนสลบแล้วเอาท่อนไม้ทับไว้จึงคิดว่าพลายงามตายแล้วจึงกลับบ้านไปด้วยความดีใจ แต่แท้จริงพลายงามก็ไม่ตายเพราะโหงพรายช่วยไว้และหนีไปอยู่กับนางทองประศรีผู้เป็นย่าที่เมืองกาญจนบุรีและร่ำเรียนวิชาอาคมจนแก่กล้าและไปรับราชการในวัง", "title": "ขุนช้าง" } ]