|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
11,0049,001,วิเคราะห์ในกิตกิจจปัจจัย
|
|
11,0049,002,อ ปัจจัย
|
|
11,0049,003,ปัจจัยนี้ เมื่อลงประกอบกับธาตุ ย่อมลบเสีย เพราะไม่มีตัว อ
|
|
11,0049,004,ปรากฏ แต่ที่ปรากฏได้ก็คือเสียงสระ ะ ที่ติดอยู่ท้ายธาตุ และปัจจัยนี้
|
|
11,0049,005,มีหลักพึงสังเกตดังต่อไปนี้ คือ :-
|
|
11,0049,006,<B>๑. ถ้ามีศัพท์หน้าเป็นกัมม ให้ลง นุ อาคม.
|
|
11,0049,007,๒. บางศัพท์มีกัมมเป็นบทหน้า แต่ไม่ลง นุ อาคม เช่นนี้
|
|
11,0049,008,ต้องซ้อนพยัญชนะลงต้นธาตุ.
|
|
11,0049,009,๓. ถ้าไม่มีกัมมเป็นบทหน้า ลง นุ อาคมไม่ได้.
|
|
11,0049,010,๔. เฉพาะ ททฺ ธาตุ ซึ่งมี ปุร เป็นบทหน้า ให้แปลง อ
|
|
11,0049,011,แห่ง ปุร เป็น อึ.</B>
|
|
11,0049,012,๑. <B>ถ้ามีศัพท์หน้าเป็นกัมม ให้ลง นุ อาคม</B> หมายความว่า
|
|
11,0049,013,ตัวที่นำหน้าธาตุเป็นตัวกัมม คือ เป็นทุติยาวิภัตติ ให้ลง นุ อาคม
|
|
11,0049,014,อุ. <B>ทีปงฺกโร </B>เป็น ทีป บทหน้า กรฺ ธาตุ ลง นุ อาคมที่ศัพท์อันเป็น
|
|
11,0049,015,ที่สุดแห่งบทหน้า แปล นุ นั้น เป็นนิคคหิต แล้วจึงแปลงนิคคหิตนั้น
|
|
11,0049,016,เป็น งฺ เพราะมี ก อยู่หลัง วิ. ว่า <B>ทีปํ กโรตี-ติ ทีปงฺกโร.</B>
|
|
11,0049,017,(ชนใด) ย่อมทำ ซึ่งที่พึ่ง เหตุนั้น (ชนนั้น ) ชื่อว่า ผู้นำซึ่งที่พึ่ง
|
|
11,0049,018,เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ.
|
|
11,0049,019,<B>เวสฺสนฺตโร</B> เป็น เวสฺส บทหน้า ตฺร ธาตุ ลง นุ อาคมที่ ส
|
|
11,0049,020,อันเป็นที่สุดของศัพท์หน้า แปลง นุ เป็นนิคคหิต แล้วจึงแปลงนิคคหิต
|
|
|