|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
10,0033,001,อ ปัจจัย เอยฺย วิภัตติ เป็นต้น.
|
|
10,0033,002,<B>ธาตุมี ๓ คำ</B> เช่น อุ. ว่า กิลมติ ย่อมลำบาก เป็น กิลมฺ
|
|
10,0033,003,"ธาตุ ในความลำบาก อ ปัจจัย ติ วิภัตติ, ชาคโรติ ย่อมตื่น เป็น"
|
|
10,0033,004,ชาครฺ ธาตุ ในความตื่น โอ ปัจจัย ติ วิภัตติ เป็นต้น.
|
|
10,0033,005,พึงสังเกตในที่นี้ว่า ปัจจัย กับ วิภัตติ ต้องลงในธาตุทุกตัว
|
|
10,0033,006,จะขาดเสียมิได้เลย ส่วนอุปสัค นามศัพท์ หรือ นิบาตบางตัวนั้น ไม่
|
|
10,0033,007,เป็นของจำเป็น ซึ่งจะไม่ใช้นำหน้าเลยก็ได้ นอกจากในที่บางแห่ง
|
|
10,0033,008,ซึ่งต้องการแปลความหมายของธาตุ หรือเพื่อให้เนื้อความแรง หรือ
|
|
10,0033,009,เด่นชัดขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีธาตุบางตัวที่เปลี่ยนแปลงไปผิดรูป
|
|
10,0033,010,เดิมก็มี เช่น อุ. ว่า ติฏฺติ ย่อมยืน า ธาตุ ในความยืน อ ปัจจัย
|
|
10,0033,011,"ติ วิภัตติ แปลง า ธาตุ เป็น ติฏฺ, ปสฺสติ ย่อมเห็น ทิสฺ ธาตุ"
|
|
10,0033,012,ในความเห็น อ ปัจจัย ติ วิภัตติ แปลง ทิสฺ ธาตุ เป็น ปสฺส เป็นต้น.
|
|
10,0033,013,บางคราวธาตุที่เป็น รัสสะ ต้อง ทีฆะ หรือ พฤทธิ บ้างก็มี เช่น ทูเสติ
|
|
10,0033,014,ย่อมประทุษร้าย ทุสฺ ธาตุ ในความประทุษร้าย เร ปัจจัย ติ วิภัตติ
|
|
10,0033,015,"ลบ ณ เสีย คงไว้แต่ เอ ทีฆะ อุ ต้นธาตุ เป็น อุ, เทเสติ ย่อมแสดง"
|
|
10,0033,016,ทิสฺ ธาตุ เณ ปัจจัย ลบ ณ คง เอ ไว้ พฤทธิ อิ ที่ ทิ เป็น เอ เป็นต้น.
|
|
10,0033,017,นอกจากนี้ ยังมีวิธีเปลี่ยนแปลงอีกมากมาย อันจะวางหลักให้แน่นอน
|
|
10,0033,018,หรือตายตัวลงไปหาได้ไม่ ต้องอาศัยที่นักเรียนหมั่นสังเกตและจดจำ
|
|
10,0033,019,เป็นต้น ๆ ไป ซึ่งจะนำมาแสดงไว้ในตอนท้ายที่กล่าวถึงธาตุอาขยาต
|
|
10,0033,020,พอเป็นตัวอย่างเฉพาะที่ใช้อยู่โดยมากเท่านั้น.
|
|
|