|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
41,0017,001,และด้วยสามารถเพ่งชาติ (คือกำเนิด) ว่า <B>มงฺคลํ</B><SUP>๑</SUP> เหมือนความต่าง
|
|
41,0017,002,กันแห่งวจนะ อันท้าวสักกะทรงกระทำแล้วด้วยสามารถเพ่งประเภท
|
|
41,0017,003,และชาติในกึ่งคาถานี้ว่า :-
|
|
41,0017,004,"<B>""ข้าแต่พระฤษีเจ้า ขอพระองค์จงทรงเลือก"
|
|
41,0017,005,"พรเถิด, หม่อนฉันจะถวายพร ๘ ประการแก่"
|
|
41,0017,006,"พระองค์.<SUP>๒</SUP>""</B> "
|
|
41,0017,007,"ส่วนในอรรถกถา<SUP>๓</SUP>ท่านกล่าวว่า ""พระผู้มีพระภาค แม้อันเทพ-"
|
|
41,0017,008,"บุตรเชื้อเชิญเพื่อให้ตรัสมงคลอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า ""ขอพระองค์"
|
|
41,0017,009,"โปรดตรัสมงคลอันสูงสุด,"" ดังนี้ แต่ตรัสคาถาหนึ่ง ๓ มงคล ดุจ"
|
|
41,0017,010,บุรุษผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง เขาขอน้อย ก็ให้มาก ฉะนั้น.
|
|
41,0017,011,"[๑๔] คาถานี้ ชื่อว่า ปัฐยาวัตร, สมดังที่ท่านกล่าวไว้ใน"
|
|
41,0017,012,คัมภีร์วุตโตทัย<SUP>๔</SUP> ว่า :-
|
|
41,0017,013,"<B>""ปัฐยาวัตร ท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วย ช คณะ"
|
|
41,0017,014,"แต่หน้า ๔ อักษร <SUP>๕</SUP> ในบาทคู่ทั้งหลาย.""</B>"
|
|
41,0017,015,
|
|
41,0017,016,"๑. มฺงคลํ เป็นเอก. เพราะเพ่งชาติ คือกล่าวรวมทุก ๆ อย่าง มงฺคลานิ = วเร, มงฺคลํ = วรํ."
|
|
41,0017,017,๒. มหาชาติ กัณฑ์สักกบรรพ. ๓. ปรมัตถโชติกา ขุททกปาฐวัณณนา ๑๔๕.
|
|
41,0017,018,๔. คัมภีร์นี้ ท่านสังฆรักขิตเป็นผู้แต่ง. ๕. ศัพท์ว่า สินฺธุ โดยปกติแปลว่าแม่น้ำ หรือ
|
|
41,0017,019,แม่น้ำสินธุ แต่ในตำราฉันท์พากย์มคธหรือสํสกฤต ท่านใช้เป็นศัพท์แทนสังขยา ในปกรณ์วชิรสาร
|
|
41,0017,020,เรียกว่า โลกสัญญังกิตสังขยา ในคณิตศาสตร์สํสกฤตเรียกว่าสังขยาสัญญา ท่านอธิบายไว้ว่า
|
|
41,0017,021,โดยธรรมดามหาสมุทรมีสายเดียว แต่โลกสังเกตกำหนดเอาเหลี่ยมเขาสุเมรุ ๔ ด้าน เห็นเป็น
|
|
41,0017,022,๔ สาย เพราะฉะนั้น ศัพท์ที่แปลว่า แม่น้ำ เช่น สมุทฺท อณฺเณว เป็นต้น ในตำราฉันท์ จึง
|
|
41,0017,023,แปลว่า ๔ อักษร. แม้สังขยาอื่น ๆ ก็มีนามศัพท์อย่างอื่น ๆ ใช้แทนเช่นเดียวกัน;
|
|
|