|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0028,001,หลังบ้างก็ได้ เช่น อคฺคิ อาหิโต เยน โส=อคฺยาหิโต พฺราหมฺโณ
|
|
09,0028,002,ไฟอันพราหมณ์ใดบูชาแล้ว พราหมณ์นั้นชื่อว่ามีไฟอันบูชาแล้ว.
|
|
09,0028,003,อุ. นี้ ในบทปลงเป็น อคฺยาหิโต ตามแบบสนธิ ในตติยา-
|
|
09,0028,004,พหุพพิหินี้ ใช้อายตนิบาตคือ อัน เป็นพื้น เพราะวิเสสนะในรูป
|
|
09,0028,005,วิเคราะห์ ใช้กิริยากิตก์ที่เป็นกัมมวาจก.
|
|
09,0028,006,๓. จตุตถีพหุพพิหิ
|
|
09,0028,007,ในสมาสนี้ ย ศัพท์ประกอบด้วยจตุตถีวิภัตติ ส่วนรูปวิเคราะห์
|
|
09,0028,008,นอกนั้นคงอย่างเดิม แต่ในสมาสนี้ มีอายตนิบาตซึ่งแปลว่า แก่ เพื่อ
|
|
09,0028,009,อันเป็นผู้รับจากกิริยาในรูปวิเคราะห์ ไม่ใช่เป็นผู้ทำเอง ฉะนั้นต้องมี
|
|
09,0028,010,อัญญบท คือบทอื่นเข้ามาแปลเป็นผู้ทำ แต่ไม่ต้องเขียนไว้ในรูป
|
|
09,0028,011,วิเคราะห์ พอให้เหมาะกันว่า กิริยาเช่นนั้นใครทำให้ ดัง อุ. ทินฺโน
|
|
09,0028,012,สุงฺโก ยสฺส โส=ทินฺนสุงฺโก ราชา ส่วย (นาคเรหิ อันชาวเมือง
|
|
09,0028,013,ทั้งหลาย) ถวายแล้ว แด่พระราชาใด พระราชานั้น ชื่อว่ามีส่วยอัน
|
|
09,0028,014,ชาวเมืองทั้งหลายถวายแล้ว. ในอุทาหรณ์นี้ เมื่อเห็นศัพท์ว่า ทินฺน-
|
|
09,0028,015,สุงฺโก ถ้าเป็นวิเสสนะของราชา ต้องเป็นจตุตถีพหุพพิหิแน่ เพราะ
|
|
09,0028,016,พระราชาเป็นผู้รับส่วย ไม่ใช่ผู้เสียส่วย ต้องหาศัพท์อื่นซึ่งเป็นผู้เสีย
|
|
09,0028,017,ส่วยเข้ามาแปลด้วย จึงจะได้ความถูกต้อง ถ้าแปลว่า ส่วยอัน
|
|
09,0028,018,พระราชเสียแล้ว ไม่ถูกตามความหมาย เมื่อจะแปลเป็นผู้เสียส่วย
|
|
09,0028,019,ต้องเป็นตติยาพหุพพิหิ อันเป็นคุณบทของผู้ทำ. แม้วิเคราะห์แห่งศัพท์
|
|
09,0028,020,อื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ย ศัพท์ในสมาสนี้เป็นผู้รับเท่านั้น ต้องหาผู้
|
|
09,0028,021,ทำซึ่งประกอบด้วยตติยาวิภัตติมาแปลเพิ่ม ให้เหมาะสมกับกิริยากิตก์
|
|
|