text
stringlengths
1
1.21M
meta
dict
Super Stock ใน 10 ปีข้างหน้า - FINNOMENA เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยในภาวะปัจจุบันและอาจจะต่อเนื่องไปอีกนานนั้น ไม่เอื้ออำนวยที่จะทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นไทยสร้างผลตอบแทนที่ดีเลิศอย่างที่เคยเป็นเมื่อเกือบ 10 หรือ 20 ปีก่อน แล้วอย่างนี้จะมีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่? 21 ก.ย. 2563 เมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่แล้วในตลาดหุ้นไทย มีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าเป็น Value Investor ก่อกำเนิดขึ้น พวกเขาเป็นนักลงทุน “หน้าใหม่” ในตลาดหุ้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นนักลงทุน “รายย่อย” และเป็น “คนกินเงินเดือน” ที่มีรายได้ค่อนข้างดีเนื่องจากจบการศึกษาสูง หลายคนเรียนจบจากต่างประเทศและมีตำแหน่งหน้าที่การงานในบริษัทชั้นนำของประเทศหรือบริษัทข้ามชาติ และก็แน่นอนว่าบางคนก็มีฐานะทางบ้านที่ดีหรือดีมากและเป็นนักธุรกิจอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เหมือนกันหมดก็คือทุกคนมีความมุ่งมั่นในการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นตามแนวทางการลงทุนของ “VI” อย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนั่นก็คือ การมองว่าหุ้นก็คือธุรกิจและเราสามารถประเมินมูลค่าของมันได้ และจะซื้อก็ต่อเมื่อมูลค่านั้นสูงกว่าราคาหุ้นมากพออย่างที่เรียกว่ามี Margin of Safety สูง และจะขายต่อเมื่อราคาหุ้นสูงเกินพื้นฐานหรือ “มูลค่าที่แท้จริง” นั้น ผมคงไม่ต้องพูดว่า VI กลุ่มนั้นต่างก็ทำผลงานการลงทุนได้ดีเยี่ยม หลายคนเป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐี ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ คนที่เคยกินเงินเดือนต่างก็ “เกษียณตัวเอง” ตั้งแต่อายุยังน้อยและกลายเป็นนักลงทุนเต็มตัวจนถึงวันนี้ แต่ VI “รุ่นใหม่” ที่เพิ่งจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่เกิน 6-7 ปีนั้น จำนวนมากก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ หลายคนพยายามเสาะแสวงหาหุ้น “VI” ที่จะทำกำไรได้งดงามและเจริญรอยตาม VI รุ่นก่อนที่เป็น “ไอดอล” แต่ก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่ประสบความสำเร็จนัก และอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเลยก็ได้ ปัญหาที่ผมเห็นก็คือ เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยในภาวะปัจจุบันและอาจจะต่อเนื่องไปอีกนานนั้น ไม่เอื้ออำนวยที่จะทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นไทยสร้างผลตอบแทนที่ดีเลิศอย่างที่เคยเป็นเมื่อเกือบ 10 หรือ 20 ปีก่อน เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เราจะหาหุ้น “VI” หรือหุ้นที่จะเป็น “Super Stock” ในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ยากมาก วิธีหนึ่งที่จะลงทุนระยะยาวแล้วร่ำรวยเหมือน VI รุ่นก่อนนั้น ผมคิดว่าเราจำเป็นที่จะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการลงทุนที่เอื้ออำนวยมาก เพราะแม้ว่าผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ทำผลงานได้ดีเป็นสิบ ๆ ปีจนเปลี่ยนชีวิตได้นั้น ผมก็คิดว่าส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ “โชคดี” ที่ผมลงทุนในประเทศไทยในยุคนั้นซึ่งเป็นยุคที่เศรษฐกิจไทยก้าวหน้าเร็วมากและคนไทยเริ่มต้องเก็บเงินเพื่อรองรับการเกษียณของคนที่กำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้มีบริษัทหรือกิจการที่แข็งแกร่งและโตเร็ว ขณะเดียวกันก็มีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่เข้ามาแย่งซื้อหุ้นที่มีคุณภาพดีเหล่านั้น ทำให้หุ้นเหล่านั้นมีมูลค่าสูงขึ้นมหาศาล ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ผมใช้ซึ่งก็คือ การซื้อหุ้นของกิจการที่ “ดีสุดยอด” นั่นก็คือ บริษัทที่มีความแข็งแกร่งเพราะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนและโตเร็วด้วย ในราคาหุ้นที่ถูกหรือราคายุติธรรม แล้วถือไว้อย่างยาวนานนับ 10 ปี และได้รับผลตอบเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 10 เท่า ซึ่งผมเรียกว่าเป็น “Super Stock” วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องใช้เวลาและความพยายามมาก สิ่งที่ต้องทำก็คือการวิเคราะห์ “ภาพใหญ่” ให้ถูกต้อง เลือกหุ้นที่มีศักยภาพที่จะแข็งแกร่งและเติบโตได้อีกนานในราคาหุ้นที่ถูกหรือยุติธรรมซัก 5- 6 ตัว เสร็จแล้วก็ติดตามดูผลประกอบการและสถานะของกิจการไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มันหมดสภาพของซุปเปอร์สต็อก ถ้าทำได้แบบนี้ ในเวลา 10 ปี เราก็จะ “เห็นหน้าเห็นหลัง” เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยเมื่อ 10-20 ปีก่อน ปัญหาก็คือ แล้วที่ไหนล่ะที่เราจะทำอย่างนั้นได้ในวันนี้ คำตอบของผมก็คือ “เวียตนาม” ข้อแรกก็คือ สภาวะทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นของเวียตนามในวันนี้คล้ายคลึงกับประเทศไทยเมื่อ 10-20 ปี ก่อนมาก ในขณะเดียวกัน ตัวหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นจำนวนไม่น้อยก็มี Business Model หรือวิธีทำธุรกิจที่คล้ายกับตลาดหุ้นไทยในเวลานั้น เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ มีธุรกิจ “ใหม่ ๆ” ที่กำลังเติบโตอย่างแรงตามฐานะทางเศรษฐกิจของเวียตนามที่โตเร็วมาก ซึ่งทำให้คนชั้นกลางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและหันมาใช้สินค้าหรือบริการแบบใหม่ ๆ นั้น ตัวอย่างเช่น ธุรกิจ “Modern Trade” ทั้งหลายไล่ตั้งแต่ห้างที่เป็นช็อปปิ้งมอล Mega Store ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ ธุรกิจขนส่งสินค้า การเดินทางและท่องเที่ยวเช่น ท่าเรือ สนามบินและโรงแรม ธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานทั้งเรื่องของไฟฟ้าและน้ำมัน ธุรกิจธนาคารและการเช่าซื้อรถยนต์รวมถึงการปล่อยกู้บ้านและบัตรเครดิต นอกจากนั้นก็ยังมีธุรกิจเกี่ยวกับสาธารณูปโภคที่ยังขาดแคลนมาก เช่น ทางด่วนและน้ำประปาที่บริษัทเอกชนเข้ามารับสัมปทานกับรัฐ ทั้งหมดนั้น ได้รับการพิสูจน์ในประเทศไทยแล้วว่าเป็นบริษัทที่มีศักยภาพสูงที่จะกลายเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งและเติบโตได้ในระยะยาว ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งกว่าก็คือ บริษัทจดทะเบียนเหล่านั้นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด ยังมีราคาหรือ Market Cap. ต่ำมากเมื่อเทียบกับบริษัทที่กลายเป็นซุปเปอร์สต็อกในตลาดหุ้นไทยแล้ว ตัวอย่างหุ้นตัวที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มที่ผมคิดว่ามีมูลค่าตลาดต่ำจนแทบไม่น่าเชื่อเมื่อเปรียบเทียบกับของไทยก็เช่น หุ้น A ที่ทำสัมปทานทางด่วนที่จะมีระยะเป็นร้อยกม. และยังมีโครงการอื่น ๆ อีกมากและถือว่าเป็นบริษัทที่ทำสัมปทานเกี่ยวกับสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดในเวียตนามนั้น มี Market Cap. เพียง 5-6,000 ล้านบาท ค่า PE 4-5 เท่า PB 1 เท่า เศษ ๆ และราคาหุ้นขณะนี้เท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาสูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อ 3-4 ปีก่อน แน่นอนว่าบริษัทก็มีปัญหามากมายและมีหนี้ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม มูลค่าบริษัทก็ดูเหมือนว่าจะไม่สมศักดิ์ศรีกับความใหญ่โตและสำคัญของบริษัทเลย หุ้น B ที่ขายโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ที่ครองตลาดเวียตนามค่อนข้างเด็ดขาด ซึ่งต่อมาขยายเข้าไปขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่โดดเด่น และช่วงหลังเข้าไปทำซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กภายในชุมชนซึ่งเติบโตเร็วมาก มียอดขายสิ้นปีที่แล้วกว่า 130,000 ล้านบาท มีสาขาทั่วประเทศนับเป็นพัน ๆ สาขา มีการเติบโตปีละ 20-30% ต่อเนื่อง แต่ค่า PE เพียง 9-10 เท่า Market Cap. ประมาณ 47,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดขายและกำไรแล้ว ศักยภาพของบริษัทสามารถเป็นซุปเปอร์สต็อกได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม นี่คือบริษัทที่นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นเต็มเพดานและต้องจ่ายราคาเพิ่มอย่างน้อย 40-50% จากราคาตลาด หุ้น C ที่เป็น “จ้าวพ่อ” ด้านของเทคโนโลยีของเวียตนามในแง่ที่ว่าสามารถขายบริการเขียนโปรแกรมให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ทำคอนเทนต์ทางด้านดิจิตอล นอกจากนั้นยังให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตแก่องค์กรและประชาชนทั่วไป และล่าสุดก็ยังเปิดสถาบันการศึกษาทางด้านดิจิตอลที่มีนักศึกษาเรียนกันจนล้น ส่วนหนึ่งเพื่อป้อนบุคลากรให้บริษัทด้วย ค่า PE ของหุ้นแค่ 11 เท่า Market Cap. 48,000 ล้านบาท พอ ๆ กับบริษัทที่ขายมือถือ และก็มี Premium หรือราคาหุ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติเหมือนกันแม้จะไม่มากเท่าคือประมาณ 20-30% และนี่ก็เป็นบริษัทที่โดดเด่นและมีความแข็งแกร่งที่ไม่เหมือนใครในตลาดหุ้นเวียตนามที่ไม่มีในประเทศไทย หุ้น D ซึ่งเป็นบริษัทสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงนั้น เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าทั้งเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดและโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินและอื่น ๆ จำนวนมาก นอกจากนั้นก็ยังมีธุรกิจเดิมที่ทำระบบปรับอากาศที่น่าจะใหญ่ที่สุดในเวียตนาม รวมถึงยังมีการทำออฟฟิสราคาไม่แพงให้เช่า ที่น่าสนใจก็เพราะว่าทรัพย์สินที่บริษัทถืออยู่โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าทั้งหลายนั้นมีมูลค่ามากและทำกำไรได้สม่ำเสมอ แต่ Market Cap. ของบริษัทมีเพียง 14,000 ล้านบาท ค่า PE 7 เท่า ค่า PB ต่ำกว่า 1 เท่า และปันผลหรือ Dividend Yield ก็มากกว่า 5% ต่อปี ทั้งหมดนี้ก็เป็นแค่ “ตัวอย่าง” หุ้นที่มีศักยภาพเป็น ซุปเปอร์สต็อกในอีก 10 ปีข้างหน้า ความจริงก็คือ ยังมีหุ้นอีกหลาย ๆ ตัวที่มีความแข็งแกร่งเพราะมีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ยั่งยืนและมีการเติบโตเร็วมาก แต่อาจจะมีราคาหุ้นที่สูงขึ้นพอสมควรแล้วและอาจจะไม่สามารถสูงขึ้นต่ออีก 10 เด้งใน 10 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของตลาดหุ้นไทยเมื่อ 10-20 ปีก่อนนั้น ผมพบว่าเรามีหุ้นที่กลายเป็นซุปเปอร์สต็อกกว่า 10 ตัว ดังนั้น ผมคิดว่าตลาดหุ้นเวียตนามในวันนี้ก็น่าจะสามารถสร้างหุ้นที่จะกลายเป็นซุปเปอร์สต็อกใน 10 ปีข้างหน้าไม่น้อยกว่า 10 ตัวเหมือนตลาดหุ้นไทยในอดีต อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ว่าหุ้นตัวไหนจะกลายเป็นซุปเปอร์สต็อกก็อาจจะผิดพลาดได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือการลงทุนเป็น “พอร์ต” ของซุปเปอร์สต็อก ซัก 5-6 ตัวและถือหุ้นไว้ให้นานเป็น 10 ปี โดยที่อาจจะต้องมีการปรับพอร์ตบ้างเป็นระยะเมื่อมีข้อมูลของบริษัทเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ด้วยวิธีนี้ VI รุ่นใหม่ก็อาจจะสามารถร่ำรวยได้เหมือน VI รุ่นก่อน ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/09/21/2386 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content Super Stock แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SCGP หุ้นจ่อ IPO ไฟแรง ผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน - FINNOMENA หากจะเลือกหุ้นเติบโตสักตัวที่มีความน่าเชื่อถือ และมีรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง SCGP ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มองข้ามไม่ได้ ด้วยศักยภาพและความพร้อมต่าง ๆ มากมาย เรามาสำรวจผ่านบทความนี้กันว่าทำไมหุ้นจ่อ IPO ไฟแรงอย่าง SCGP ถึงคู่ควรกับนักลงทุนเช่นคุณ 17 ก.ย. 2563 หากจะเลือกหุ้นเติบโตสักตัวที่มีความน่าเชื่อถือ และมีรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง SCGP ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มองข้ามไม่ได้ ด้วยศักยภาพและความพร้อมต่าง ๆ มากมาย เรามาสำรวจผ่านบทความนี้กันว่าทำไมหุ้นจ่อ IPO ไฟแรงอย่าง SCGP ถึงคู่ควรกับนักลงทุนเช่นคุณ สรุปจุดเด่น SCGP ผู้ให้บริการโซลูชันด้านกระดาษบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน เติบโตอย่างต่อเนื่องตอบรับจากการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจอื่น ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของ Mega trends ที่สำคัญ ผลการดำเนินงานเป็นเลิศ รายได้จากการขาย และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง SCGP ถือเป็นหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock ซึ่งการเข้า IPO จะทำให้ SCGP สามารถไปลงทุนขยายธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งและเต็มรูปแบบทั้งการเพิ่มกำลังการผลิต (Organic) และการควบรวมกิจการ (Inorganic) พร้อมเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืนไปกับ Circular Economy (หลักเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน) ตอบโจทย์แนวคิดคนรุ่นใหม่ไฟแรง อยู่ในหมวดธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจที่เติบโตในภูมิภาคอาเซียน คุณกำลังจะเติบโตไปกับอะไร? บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ”) เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีรายได้จากการขายโตแบบปีต่อปีอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดเด่นอย่างการผสานเทคโนโลยีกับสินค้าบรรจุภัณฑ์ให้มีความลํ้าหน้าและทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุอาหารและผัก หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งในและนอกประเทศ ไปจนถึงกลุ่ม SMEs หรือสรุปแล้วคุณกำลังจะเติบโตไปกับธุรกิจที่มียอดขายเติบโตต่อเนื่อง พร้อมฐานลูกค้าที่มีความแข็งแกร่ง! เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ทุกคนคงอยากจะรู้ตัวอย่างสินค้ากัน เพราะฉะนั้น ผมจึงขอหยิบยกสินค้าบางส่วนของ SCGP มาให้ทุกคนได้รับชมและตัดสินใจในศักยภาพ รวมถึงจะได้เข้าใจธุรกิจกันมากขึ้นนะครับ หลัก ๆ แล้ว SCGP มีธุรกิจอยู่ 2 ธุรกิจ คือ (1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และ (2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ ซึ่งมีสินค้าและจุดเด่นต่าง ๆ ดังนี้… 1) ธุรกิจจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ มีบรรจุภัณฑ์หลากหลาย อาทิ บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง บรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ที่สามารถนำไปอุ่นร้อนเข้าไมโครเวฟหรือจะแช่เย็นก็ยังได้ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาพแสดงบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ของ SCGP ที่มา: scgpackaging.com อีกทั้งยังมีบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุผักและผลไม้สดต่าง ๆ ที่จะช่วยลดการเกิดของเสียในระหว่างขนส่ง หรือจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับอาหารที่ผ่านการอบและสินค้าอื่นที่ไวต่อออกซิเจน ช่วยคงความสดและยืดอายุการเก็บรักษาของสินค้าที่เชื่อมโยงต่อยอดมายังธุรกิจการแพทย์ 2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ คือ จำหน่ายภาชนะบรรจุอาหาร และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์อาหารแบรนด์ “เฟสท์” และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ รวมถึงกระดาษถ่ายเอกสารแบรนด์ไอเดียด้วย ภาพแสดงบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ของ SCGP ที่มา: scgpackaging.com จากที่เล่ามาแล้ว จึงกล่าวได้ว่า SCGP เป็นผู้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย พื้นฐานธุรกิจแข็งแรง ลูกค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศต่างมั่นใจในคุณภาพ ภาพแสดงรายได้จากการขายตามประเทศที่ตั้งของลูกค้าสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ที่มา: แบบแสดงรายการและร่างหนังสือชี้ชวนของ SCGP SCGP มีฐานรายได้ทั้งจากในและนอกประเทศ โดยหลัก ๆ แล้วจะเป็นในประเทศไทย รวมไปถึงกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าที่เป็นบริษัทชั้นนำของประเทศหรือจะเรียกได้ว่ามีพันธมิตรธุรกิจที่มีพื้นฐานแข็งแรง ทำให้ไว้วางใจได้ว่าจะมีการสั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้ที่เติบโตอย่างยั่งยืน ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนกำลังมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง รวดเร็ว 1) ตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ภาพแสดงการเติบโตของตลาดบรรจุภัณฑ์อีคอมเมิร์ซของประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2561–2567E หน่วยเป็นล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา: Frost & Sullivan ณ สิงหาคม 2563 ณ จุด ๆ นี้คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าอีคอมเมิร์ซยังสามารถเติบโตได้อีกมาก และหากว่ากันถึงตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซที่ SCGP กำลังดำเนินธุรกิจอยู่นั้นก็ถือได้ว่ามีอัตราเติบโตที่น่าทึ่งเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคตที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ 2) ยอดการใช้งานบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ กำลังเติบโต ภาพแสดงปริมาณการใช้งานสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่มา: Frost & Sullivan ณ เดือนสิงหาคม 2563 นอกจากการเติบโตในตลาดใหญ่อย่างอีคอมเมิร์ซแล้ว ยอดการใช้งานสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มประเทศที่ SCGP ทำธุรกิจด้วย ก็มีการเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย โดยการเติบโตเฉลี่ยต่อปีในปี 2562-2567 นั้นอยู่ที่ 5.87% และในช่วง COVID-19 ทำให้ผู้คนอยู่บ้านและใช้บริการอีคอมเมิร์ซ ซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่เคยทดลองใช้บริการได้เรียนรู้ และคุ้นชินกับการจับจ่ายออนไลน์ จึงอาจทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโตมากกว่าที่เคยเป็น 3) ยอดผู้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและกระดาษเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากลงรายละเอียดลึกลงมาอีกหน่อย ในส่วนของการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและกระดาษ บรรจุภัณฑ์กระดาษถือเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของ SCGP ยอดการใช้ต่อหัวในไทยนั้นอยู่ที่ 50 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แซงหน้าจีนที่ 35 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในส่วนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกเองศักยภาพการเติบโตของ GDP ที่ 5.1% ณ ปี 2562 รวมกับปริมาณประชากรในอาเซียนที่ 650 ล้านคนแล้ว ก็ถือได้ว่ากลุ่มคนในภูมิภาคอาเซียนขนาดใหญ่กำลังมีการเติบโตทางฐานรายได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการจับจ่ายใช้สอย และนำไปสู่การบริโภคสินค้า ที่จะส่งผลบวกสอดคล้องไปกับกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเหมือนชิ้นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในสินค้าต่าง ๆ ภาพแสดงปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษต่อประชากรของประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ เทียบกับประเทศเทียบเคียงอื่นๆ ในปี 2562 หน่วยเป็นกิโลกรัม/ประชากร/ปี ที่มา: Frost & Sullivan ณ เดือนสิงหาคม 2563 Circular Economy ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ไฟแรง “SCGP ถือว่ามีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน” Circular Economy หรือหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นแนวทางที่เน้นการนำสินค้าและพลังงานกลับมาใช้ใหม่แบบไม่รู้จบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่ SCGP ให้ความสำคัญโดยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ จึงถือได้ว่ามีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน โอกาสลงทุนในหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock เป็นธรรมดาที่หากเราลงทุนในธุรกิจอะไรสักธุรกิจหนึ่ง เราย่อมต้องการโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนและเติบโตไปกับธุรกิจนั้น ซึ่ง SCGP เองก็มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งแบบ Organic คือการเพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และแบบ Inorganic ผ่านกลยุทธ์การควบรวมกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการเข้าระดมทุนในครั้งนี้ จะทำให้ SCGP มีเงินไปลงทุนต่อยอดธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น จึงถือเป็นหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock อีกหนึ่งตัวที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนสายคุณค่าหรือ Value Investor (VI) รายได้จากการขายเติบโตต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด ภาพแสดงรายได้จากการขาย ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ในส่วนของรายได้จากการขายหากย้อนไปดูสัก 4 ปีก่อนหน้าตามภาพด้านบนก็ถือได้ว่าเติบโตต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางธุรกิจที่แข็งแกร่งและความสามารถของผู้บริหาร ที่สามารถผลักดันยอดขายให้เติบโตต่อเนื่องได้แบบปีต่อปีไม่มีถอย โดยสัดส่วนกว่า 69% ของรายได้จากการขายของ SCGP มาจากธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รายได้สามารถไปต่อได้เรื่อย ๆ ไม่ค่อยผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ การเติบโตไม่หยุดยั้งแต่เพียงเท่านี้ SCGP พร้อมขยายธุรกิจเสริมสร้างรายได้ให้แข็งแกร่ง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตทางรายได้ ยอดขายหรือกำไรของบริษัทเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความคาดหวังกันเป็นอันดับแรก ๆ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ราคาหุ้นและเงินปันผลที่ได้รับเติบโตตาม ๆ กันไป การขยายธุรกิจเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมสร้างราคาหุ้นให้เติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังนั้นในส่วนถัดไป เราจะมาดูกันว่าหลัก ๆ แล้ว SCGP กำลังจะขยายโครงการอะไรในอนาคต โครงการขยายกำลังการผลิต หลัก ๆ แล้ว SCGP มีโครงการที่จะเพิ่มฐานการผลิตในอนาคต สอดคล้องกับความต้องการสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในอาเซียน ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้า โดยจะมีการขยายกำลังการผลิต ทั้งในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ โดยจะมีการขยายกำลังการผลิตทั้งในส่วนของกระดาษบรรจุภัณฑ์ลูกฟูก กระดาษกล่องเคลือบขาว (Duplex Paper) และบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว หรือสรุปรวม ๆ ได้ว่าเป็นการต่อยอดการผลิตสินค้าที่ทาง SCGP มีความชำนาญเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเพิ่มความมั่นใจได้ว่า การขยายการผลิตดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในอนาคต ขยายธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น SCGP มาพร้อมศักยภาพในการควบรวมกิจการ หากเป็นธุรกิจทั่ว ๆ ไปหลาย ๆ คนคงอาจนึกถึงการปั้นธุรกิจเองขยายสาขา เพิ่มกำลังการผลิตไปเรื่อย ๆ แต่ SCGP นั้นมีศักยภาพที่เหนือไปกว่านั้น ที่ผ่านมา SCGP ได้ใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการในธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและมีความโดดเด่น เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้า ตัวอย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้นบริษัทผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย รวมไปถึงการเข้าซื้อหุ้นบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารสุดลํ้าระดับโลก แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการขยายกิจการ สร้างการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ความเสี่ยงที่ควรพึงระวัง 1) ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากในช่วงล่าสุดทาง SCGP มีค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤติ COVID-19 อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการคงอัตราดอกเบี้ยและปรับมุมมองเศรษฐกิจเป็นบวกมากขึ้น ทำให้ความผันผวนในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนั้นลดลง 2) ความเสี่ยงทางด้านค่าเงิน ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทมีการแข็งค่าค่อนข้างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการค้ากับต่างประเทศ 3) ต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่กลางปี 2562 ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากการเข้าควบรวมกิจการ แต่การระดมทุนจาก IPO ครั้งนี้ จะทำให้ฐานะการเงินของ SCGP แข็งแกร่งขึ้น เพราะจะมีการนำเงินบางส่วนไปชำระหนี้ ทำให้มีอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง สรุปโดยรวมแล้ว SCGP เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับจองและจับตามอง ด้วยศักยภาพทางพื้นฐานธุรกิจที่มีความมั่นคง และรายได้ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงตอบโจทย์ในระยะยาวต่อคนรุ่นใหม่ด้วยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหรือแนะนำให้ซื้อ ถือหรือขายหุ้นแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน References https://investor.scgpackaging.com/th/financial-information/financial-highlights https://investor.scgpackaging.com/storage/content/downloads/shareholders-meetings/2020/ar2019-th.pdf https://marketeeronline.co/archives/145801 https://scgnewschannel.com/th/scg-news/scgp-packaging-solutions/ แท็ก: Article Basic FINNOMENA REVIEW FINNOMENA STOCK REVIEW Infographic Long Content Product Info SCGP UNLOCK หุ้น แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รวมโพย “กองทุนสุดโดดเด่น” ในแต่ละประเภท I Powered by FINNOMENA Best-in-Class - FINNOMENA ใครกำลังสนใจลงทุนในกองทุนหุ้น Asia ex-Japan หุ้นเทค หุ้นไทย อสังหาฯ หรือ Healthcare บ้าง? มาดูกันว่า 3 กองทุนที่โดดเด่นในแต่ละประเภทคือกองอะไร ? เรานำโพยจากระบบ FINNOMENA Best-in-Class อัปเดตเวอร์ชั่นล่าสุด (กันยายน 2563) มาฝากกัน 4 พ.ย. 2564 ใครกำลังสนใจลงทุนในกองทุนหุ้น Asia ex-Japan หุ้นเทค หุ้นไทย อสังหาฯ หรือ Healthcare บ้าง? มาดูกันว่า 3 กองทุนที่โดดเด่นในแต่ละประเภทคือกองอะไร ? เรานำโพยจากระบบ FINNOMENA Best-in-Class อัปเดตเวอร์ชั่นล่าสุด (กันยายน 2563) มาฝากกัน ซึ่งกองทุนดังกล่าวนั้นผ่านขั้นตอนการคัดกรองด้วยระบบ AI ที่ใช้มากกว่า 200 ปัจจัยในเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อคัดเลือก 3 กองทุนที่ดีที่สุด จาก 19 บลจ. ในประเภทสินทรัพย์เดียวกัน ลองดูข้อมูลโดยคร่าวของแต่ละกองได้ข้างล่างนี้เลย *หมายเหตุ: ข้อมูลในเว็บอาจมีการอัปเดต ทำให้ไม่ตรงกับในรูป หากสนใจกองไหนเป็นพิเศษ อย่าลืมศึกษารายละเอียดกองทุนจากหนังสือชี้ชวนโดยละเอียด หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่อีกทีนะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FINNOMENA Best-in-Class Asia ex-Japan KT-AASIA-A อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 และ Factsheet กองทุนหลัก ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/KT-AASIA-A ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุน และ กองทุนหลัก ได้ที่: https://www.ktam.co.th/etf-fund-detail.aspx?IdF=26&lang=th Fund Shopping Day โปรโมชั่นกองทุนรวม “สุดปัง” ร้อนแรงที่สุด ปี 2563 ซื้อกองทุนรวมตั้งแต่วันนี้ – 30 ก.ย. 2563 รับของรางวัลพิเศษมากถึง 1,300 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 10,000,000 บาท กดรับสิทธิ์โปรโมชั่น >> คลิกเลย << B-ASIA อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2563 และ ข้อมูลกองทุนหลักรายเดือน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/B-ASIA ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุน และ กองทุนหลัก ได้ที่: https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-asia/summary TMBAGLF อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ และ Fund Insight (TH) ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 และ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญกองทุนหลัก ณ วันที่ 30 เมษายน 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/TMBAGLF ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุน และ กองทุนหลัก ได้ที่: https://www.tmbameastspring.com/funds/mutual-funds/funddetails?fundcode=I13 หุ้นเทคโนโลยีโลก B-INNOTECH อ้างอิงจาก ส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Factsheet) ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2563 และ ข้อมูลกองทุนหลักรายเดือน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/B-INNOTECH ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุน และ กองทุนหลัก ได้ที่: https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-innotech/summary SCBDIGI อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fact Sheet) และ เอกสารกองทุนหลักที่ลงทุนในต่างประเทศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/SCBDIGI ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุน และ กองทุนหลัก ได้ที่: https://www.scbam.com/fund/interesting-fund/fund-information/scbdigi TISTECH-A อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 1 กันยายน 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/TISTECH-A ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุน และ กองทุนหลัก ได้ที่: https://www.tiscoasset.com/th/mf/fund_info/fund-info.jsp หุ้นไทย BKIND อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 1 กันยายน 2563 และ Monthly Fund Update ณ วันที่ 31 ก.ค. 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://finnomena.com/fund/BKIND ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุนได้ที่: https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/equity-fund/bkind/summary K-MVEQ อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://finnomena.com/fund/K-MVEQ ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุนได้ที่: https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-MVEQ.aspx LHEQD-A อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://finnomena.com/fund/LHEQD-A ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุนได้ที่: https://www.lhfund.co.th/MutualFund/FundDetail/LHEQD-A อสังหาฯ & REITs LHPROP-I อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://finnomena.com/fund/LHPROP-I ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุนได้ที่: https://www.lhfund.co.th/MutualFund/FundDetail/LHPROP-I T-PropInfraFlex อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 และ รายงานรายเดือน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://finnomena.com/fund/T-PropInfraFlex ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุนได้ที่: https://www.thanachartfundeastspring.com/tfundwebv4/infoid/idp_funddesc.aspx?fundCode=T-PropInfraFlex PRINCIPAL iPROP-A อ้างอิงจาก สรุปสาระสำคัญของกองทุน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://finnomena.com/fund/PRINCIPAL%20iPROP-A ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุนได้ที่: https://www.principal.th/th/principal/iPROP-A Healthcare K-GHEALTH(UH) อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://finnomena.com/fund/K-GHEALTH(UH) ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุนได้ที่: https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-GHEALTH(UH).aspx TGHSTARP อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 1 กันยายน 2563 และ รายงานการลงทุน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/TGHSTARP ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุน และ กองทุนหลัก ได้ที่: https://www.tiscoasset.com/th/mf/fund_info/fund-info.jsp SCBGHC อ้างอิงจาก หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ดูผลการดำเนินงานในปัจจุบันได้ที่: https://www.finnomena.com/fund/SCBGHC ดูเอกสารฉบับล่าสุดของกองทุน และ กองทุนหลัก ได้ที่: https://www.scbam.com/th/fund/interesting-fund/fund-information/scbghc ดูข้อมูลเกี่ยวกับ Best-in-Class (BIC) เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/bic/ หากนักลงทุนสนใจลงทุนในพอร์ต Best-in-Class (BIC) สามารถสร้างแผนการลงทุนได้ตามช่องทางดังนี้ BIC Property Fund & REITs: https://www.finnomena.com/bic-property-create/ BIC Thai Equity Large-Cap: https://www.finnomena.com/bic-thai-eq-create/ BIC Global Healthcare: https://www.finnomena.com/bic-healthcare-create/ BIC Global Technology: https://www.finnomena.com/bic-tech-create/ BIC Asia ex-Japan: https://www.finnomena.com/bic-asia-ex-jap-create/ สำหรับผู้ที่ต้องการทราบเบื้องลึกเบื้องหลังของระบบ Best-in-Class แบบละเอียด สามารถอ่านได้ที่ https://www.finnomena.com/bic-whitepaper Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนกลุ่มนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: B-ASIA B-INNOTECH Basic BIC BIC Asia ex Japan BIC Healthcare BIC Property BIC Tech BIC Thai BKIND K-GHEALTH(UH) K-MVEQ KT-AASIA-A LHEQD-A LHPROP-I Long Content Picture Slide PRINCIPAL iPROP-A Product Info SCBDIGI SCBGHC T-PropInfraFlex TGHSTARP TISTECH-A TMBAGLF แชร์บทความ: ผู้เขียน เพื่อนผู้ใจดี เพื่อนผู้ใจดีที่จดโน้ตในแต่ละคลาสเรียนมาแจกเพื่อนๆ ทั้งห้อง ใครขาดเรียนมาขอโน้ตจากเพื่อนผู้ใจดีได้ ฟรีไม่มีคิดตังค์ แค่พาไปเลี้ยงขนมบ้างก็พอ :3
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เทียบกองทุนสุดยอดหุ้นเติบโต KFHTECH-A และ ONE-UGG-RA - FINNOMENA ในช่วงนี้ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้นใด ๆ ก็ตาม การลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีดูจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากศักยภาพการเติบโตอันเหนือชั้น และความสามารถในการสร้างรายได้กลางวิกฤติ เรามาดูกันว่าสองกองทุนที่เน้นหนักลงทุนในหุ้นเทคอย่าง KFHTECH-A กับ ONE-UGG-RA มีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 1 ก.พ. 2564 ในช่วงนี้ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้นใด ๆ ก็ตาม การลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีดูจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากศักยภาพการเติบโตอันเหนือชั้น และความสามารถในการสร้างรายได้กลางวิกฤติ เรามาดูกันว่าสองกองทุนที่เน้นหนักลงทุนในหุ้นเทคอย่าง KFHTECH-A กับ ONE-UGG-RA มีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง สรุปจุดเด่น KFHTECH-A เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ลงทุนผ่าน BlackRock บริษัทจัดการสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก* มีการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นเทคโนโลยีในจีนที่แข็งแกร่งอย่าง Alibaba และ Tencent เหมาะสำหรับผู้ชื่นชอบและเชื่อมั่นว่าจีนจะก้าวมาเป็นมหาอำนาจในอนาคตได้ เพราะกองทุนกระจายการลงทุนในจีนเป็นสัดส่วนที่มากกว่าปกติ สรุปจุดเด่น ONE-UGG-RA เลือกหุ้นได้แบบไร้ขีดจำกัดทั่วโลก ทำให้ไม่พลาดโอกาสจากหุ้นเติบโตในประเทศต่าง ๆ เลือกหุ้นผ่านผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่มีความเข้าใจธุรกิจอย่างดีเยี่ยม เน้นลงทุนใน “หุ้นเด้ง” หรือ “หุ้นเติบโตหลายเท่า” ที่สร้างผลตอบแทนได้สูง ผลการดำเนินงานย้อนหลังโดดเด่นเหนือดัชนีชี้วัดหุ้นโลก** (MSCI AC World Index) เป็นอย่างมาก *ที่มา: mutualfunddirectory.org วันที่: 30 มิถุนายน 2020 **ที่มา: bailliegifford.com วันที่: 31 สิงหาคม 2020 หากลงทุนใน KFHTECH-A คุณจะเติบโตไปกับอะไร? หากคุณตัดสินใจเลือก KFHTECH-A คุณก็กำลังเลือกที่จะเติบโตไปกับหุ้นเทคโนโลยี หุ้นที่มาพร้อมกับศักยภาพเติบโตสูงในระยะยาว และมีแนวโน้มเป็น “ปรากฎการณ์” ใหม่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแกร่งในด้านพื้นฐานที่ทำให้ทำกำไรได้แม้ยามวิกฤติ หรือจะเป็นพฤติกรรมของผู้คนที่กำลังจะเปลี่ยนไปหลังยุค COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนได้มาทดลองใช้ชีวิตแบบ “ออนไลน์ ปลายนิ้ว” แต่ก่อนเราตั้งชื่อยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงว่า “Globalisation” (โลกาภิวัฒน์) ยุคต่อไปก็คงจะเป็น “Technologicalisation” หรือ เทคโนโลยีภิวัฒน์ นี่แหละครับ โดย KFHTECH-A ลงทุนผ่านกองทุนต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง BlackRock World Technology Fund ที่ได้รับการการันตี 5 ดาวจาก Morningstar เว็บไซต์ค้นหากองทุนชั้นนำสำหรับทุกครัวเรือน “การันตีคุณภาพ 5 ดาวจาก Morningstar” *ข้อมูลการให้ Ratings ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2020 “ผลตอบแทนย้อนหลังล่าสุดโดดเด่น” ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน BGF World Technology Fund ที่มา: blackrock.com วันที่: 31 ธันวาคม 2020 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต หากลงทุนใน ONE-UGG-RA คุณจะเติบโตไปกับอะไร? คงไม่ต้องพูดกันเยอะสำหรับกองทุน ONE-UGG-RA กองทุนผลตอบแทนเหลือเชื่อ ที่มาพร้อมกับสไตล์การลงทุนอันเป็นเอกลักษณ์จาก Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund ที่ปลดตัวเองจากข้อจำกัดในการเลือกหุ้นเฉพาะภูมิภาคชั้นนำ และเลือกที่จะเฟ้นหาหุ้นเติบโตทั่วโลกที่ทางกองทุนเชื่อว่าจะสร้างการเติบโตได้หลายเท่าหรือเป็น “หุ้นเด้ง” แต่ถึงอย่างนั้นกองทุนแบบนี้อาจอาศัยฝีมือในการจัดการค่อนข้างมาก เพราะ หากเลือกหุ้นผิดพื้นฐานเปลี่ยนก็ต้องพร้อมที่จะหาโอกาสใหม่ ๆ เสมอ ๆ แต่ถึงอย่างไร ONE-UGG-RA ก็ได้พิสูจน์ตัวเองมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรว่า ทางกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างยอดเยี่ยมและเหนือดัชนีหุ้นโลกอย่าง (MSCI ACWI Net GBP Index) ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund (เส้นสีนํ้าเงิน) เทียบกับดัชนีหุ้นโลก MSCI ACWI (เส้นสีแดง) ที่มา: morningstar.com วันที่: 31 มกราคม 2021 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต KFHTECH-A กับ ONE-UGG-RA แตกต่างกันอย่างไร? ข้อแตกต่างสำคัญระหว่าง ONE-UGG-RA กับ KFHTECH-A ก็คือ ตัวกองทุน ONE-UGG-RA ไม่ได้จำกัดตัวเองแค่ในหุ้นหมวดเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ตัวกองทุนสามารถเฟ้นหาหุ้นเติบโตได้ทั่วโลกและทุกภูมิภาค เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ซึ่งก็จะแตกต่างกับตัวกองทุน KFHTECH-A ที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นหลัก แต่ถึงอย่างนั้นหากนำผลงานของกองทุนเทคโนโลยี มาเทียบกับกองทุนหุ้นโลกก็คงจะไม่สมเหตุสมผลเท่าไรนัก ดังนั้นเอาเป็นว่าหากใครที่ชอบและสนใจลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก็ให้เป็นหน้าที่ของกองทุน KFHTECH-A ส่วนใครที่ชอบการเฟ้นหาหุ้นเติบโตทั่วโลกและเชื่อมั่นในฝีมือผู้จัดการกองทุนและทีมงานก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกองทุน ONE-UGG-RA ครับ พาไปขุดกองทุน KFHTECH-A สรุปสัดส่วนการลงทุนและแนวโน้มในอนาคต มีสัดส่วนการลงทุนในหมวดธุรกิจฮาร์ดแวร์ค่อนข้างน้อย เน้นหนักการลงทุนในหมวดธุรกิจซอฟต์แวร์ที่เป็นธุรกิจที่เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจฮาร์ดแวร์บางส่วนอาจตกยุคไปบ้างแล้ว เช่น เครื่องสแกนบาร์โค้ด หรือ เครื่องแคชเชียร์คิดเงิน ธุรกิจซอฟต์แวร์ไม่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องการผลิต ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญหลัง COVID-19 สัดส่วนการลงทุนและแนวโน้มในอนาคต ภาพแสดงสัดส่วน Sector การลงทุนของกองทุน BGF World Technology Fund ที่มา: blackrock.com วันที่: 31 ธันวาคม 2020 จุดสังเกตที่เห็นได้ชัดคือทางกองทุนเองถือครอง Sector อย่าง ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ค่อนข้างน้อยหากเทียบกับดัชนีหุ้นเทคโนโลยี ที่เป็นดัชนีเทียบเคียงหลักของกองทุน โดยอาจมีสาเหตุมาจากการที่หมวดอุตสาหกรรมในธุรกิจส่วนนี้ ดูเหมือนจะเป็นอุตสาหกรรมที่ดูรวม ๆ แล้วอาจไม่ได้มีความโดดเด่นเท่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมอุปกรณ์สำหรับการสื่อสาร (Communications Equipment) ที่ผลิต routers อินเทอร์เน็ตหรือระบบโครงข่ายต่าง ๆ หรือจะเป็นอุตสาหกรรมอย่าง เครื่องมือเครื่องใช้อิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Equipment & Instruments) ที่ผลิตเครื่องสแกนบาร์โค้ด หรือ เครื่องคิดเงินต่าง ๆ ที่ดูแล้วอาจจะตกยุคไปในอนาคต ซึ่งข้อแตกต่างของธุรกิจเหล่านี้กับธุรกิจซอฟต์แวร์ก็คือ ธุรกิจดังกล่าวอาจต้องใช้เวลาในการขยายธุรกิจ ต่างจากธุรกิจประเภทซอฟต์แวร์ที่หากทำสำเร็จก็สามารถขยายธุรกิจ ส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด หรืออัปเดตผ่านทางระบบ Cloud ที่เป็นระบบเก็บข้อมูลออนไลน์ นอกจากนั้นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับฐานการผลิตหลัง COVID-19 ก็อาจส่งผลให้ธุรกิจเหล่านี้อาจต้องมีการยกเครื่องปรับเปลี่ยน กลยุทธ์การผลิตกันไปบ้างหลังการ Lockdown ทำให้เห็นชัดแล้วว่าธุรกิจเหล่านี้ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งการปรับเปลี่ยนก็อาจทำให้ต้นทุนของบริษัทเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทไปบ้างในระยะสั้น ๆ ผลตอบแทนย้อนหลัง ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน BGF World Technology Fund ที่มา: blackrock.com วันที่: 31 ธันวาคม 2020 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทางด้านของผลตอบแทนย้อนหลังทางกองทุน BlackRock World Technology Fund ก็ถือว่าทำได้โดดเด่นในระยะกลาง-ยาวช่วงล่าสุดไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี, 6 เดือน, 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี, และ นับตั้งแต่จัดตั้ง หรืออาจจะเรียกได้ว่ากองทุน BlackRock World Technology Fund เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา พาไปขุดกองทุน ONE-UGG-RA สรุปสัดส่วนการลงทุนและแนวโน้มในอนาคต ลงทุนหนักไปทางกลุ่มธุรกิจสินค้าฟุ่มเฟือยที่เติบโตไปพร้อมกับรายได้ของผู้คน เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอาจทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้กลับมาทำกำไร พร้อมดันราคาหุ้นต่อไปได้ สัดส่วนการลงทุนและแนวโน้มในอนาคต ภาพแสดงสัดส่วน Sector การลงทุนของกองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund ที่มา: morningstar.com วันที่: 30 พฤศจิกายน 2020 มีการลงทุนเน้นหนักไปยังกลุ่มสินค้าที่เติบโตตามภาวะเศรษฐกิจหรือ Consumer Cyclical ที่ในตอนนี้มีความเป็นได้ว่า จะเติบโตสอดคล้องไปกับสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นยอดค้าปลีก หรือการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคการบริการ (PMI) โดยสินค้าที่อยู่ในหมวดวัฎจักรนั้นจะมีการใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเติม หลังผู้คนเริ่มกลับมามีรายได้อีกครั้งหนึ่ง ผลตอบแทนย้อนหลัง “ผลตอบแทนย้อนหลังโดดเด่นทุกช่วงเวลา!” ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund (เส้นสีนํ้าเงิน) เทียบกับดัชนีหุ้นโลก MSCI ACWI (เส้นสีแดง) ที่มา: morningstar.com วันที่: 31 มกราคม 2021 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต สำหรับตัวกองทุน ONE-UGG-RA ที่ลงทุนใน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund ก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันมากเพราะ เป็นหนึ่งในกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ที่มีการจัดตั้ง ดังนั้นการเลือกหุ้นแบบไร้กฎเกณฑ์ใด ๆ มาจำกัดของกองทุน ก็ได้พิสูจน์ผ่านผลตอบแทนแล้วว่าช่วงที่ผ่านมา ทางกองทุนทำได้จริง ๆ ทั้ง ONE-UGG-RA และ KFHTECH-A น่าลงทุนแล้วหรือยัง? หากพูดถึงสถานการณ์ในตอนนี้ทั้งสองกองทุนไม่ว่าจะเป็นกองทุนอมตะอย่าง ONE-UGG-RA หรือ KFHTECH-A ก็ถือได้ว่าเป็นกองทุนที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในระยะยาวทั้งสิ้น และยิ่งเป็นสถานการณ์ในตอนนี้ที่ตลาดหุ้น ลงมาพักเก็บแรง ก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย สำหรับการลงทุนเพิ่ม เพื่อเป้าหมายในการสร้างผลตอบระยะยาว แต่จุดสำคัญอาจจะเป็นดังที่กล่าวไปครับ เพราะ หากว่ากันยาว ๆ แล้ว KFHTECH-A อาจต้องจำกัดการลงทุนอยู่ในหมวดหมู่เทคโนโลยี เทียบกับตัว ONE-UGG-RA ที่เปิดโอกาสให้ตัวเองลงทุนได้ทั่วโลก ถึงอย่างนั้นท้ายที่สุดแล้วการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีดู ๆ แล้วก็ยังเป็นแนวโน้มหลักในระยะยาว และในตอนนี้ทั้งสองกองเองก้เน้นหนักไปที่การลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีไม่ต่างกัน ก็จบกันไปนะครับสำหรับการรีวิวกองทุนหุ้นเทคโนโลยี และหากใครที่สนใจลงทุนในสองกองทุนที่ว่าก็อย่ารอช้าครับ เปิดบัญชีกับเราได้เลย เปิดครั้งเดียวซื้อ-ขายได้ถึง 19 บลจ. ชั้นนำ! References https://www.blackrock.com/americas-offshore/literature/fact-sheet/bgf-world-technology-fund-class-d2-usd-factsheet-lu0724618946-lm-es-individual.pdf https://www.blackrock.com/sg/en/literature/key-fact-statement/bgf-world-technology-fund-product-highlights-sheet-sg.pdf https://www.morningstar.co.uk/uk/funds/snapshot/snapshot.aspx?id=F00000YU3W https://www.morningstar.co.uk/uk/funds/snapshot/snapshot.aspx?id=F00000YU3W&tab=13 Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ I สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด I บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW KFHTECH-A Long Content ONE-UGG-RA Product Info แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหุ้นฮ่องกงกำลังกลายเป็นตัวแทนของบริษัทจีน - FINNOMENA ปัจจุบันตลาดหุ้น New York Stock Exchange และ Nasdaq เปรียบเสมือนศูนย์กลางการระดมทุนโลก การตัดไม่ให้บริษัทจีนเข้าจดทะเบียน ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อความก้าวหน้าในอนาคต แต่จีนแก้ปัญหาได้ตรงจุด เลือกฮ่องกงเป็นฐานการระดมทุนหลัก ไม่ต้องง้อสหรัฐฯ อีกต่อไป ! 14 ก.ย. 2563 รอยร้าวของความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน 2 ขั้วมหาอำนาจโลก ได้ถึงจุดแตกหักจนไม่อาจหวนกลับมาสักพักแล้ว เราอาจคุ้นภาพในอดีตที่จีนแบนสหรัฐฯ มาในวันนี้ฝั่งสหรัฐฯ บีบให้บริษัทของจีนทำธุรกิจยากขึ้น จนมาถึงประเด็นที่สหรัฐฯ เตรียมแบนไม่ให้บริษัทสัญชาติจีนเข้าระดมทุน (IPO) ในตลาดหุ้นของตัวเอง ปัจจุบันตลาดหุ้น New York Stock Exchange และ Nasdaq เปรียบเสมือนศูนย์กลางการระดมทุนโลก การตัดไม่ให้บริษัทจีนเข้าจดทะเบียน ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อความก้าวหน้าในอนาคต แต่จีนแก้ปัญหาได้ตรงจุด เลือกฮ่องกงเป็นฐานการระดมทุนหลัก ไม่ต้องง้อสหรัฐฯ อีกต่อไป ! ตั้งแต่ปี 2014 บริษัทยักษ์ใหญ่ e-Commerce ของจีนอย่าง Alibaba และ JD เลือกตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นที่ IPO ในครั้งแรก แต่ความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วมหาอำนาจตะวันตก-ตะวันออก และการที่ทรัมป์ข่มขู่จะถอดถอนบริษัทจีนที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ส่งผลให้ Alibaba, JD และบริษัทจีนอีกหลายแห่งไม่มีทางเลือก ต้องหาตลาดหุ้นเข้าจดทะเบียนสำรองไว้ก่อน ซึ่งตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ยังติดกฎเกณฑ์มากเกินไปไม่เหมาะกับบริษัทใหญ่ที่จะเข้าจดทะเบียน ดังนั้นฮ่องกงจึงกลายเป็นตัวเลือกหลักแทน เหตุการณ์นี้หนุนให้ปีที่แล้วตลาดหุ้นฮ่องกงกลายเป็นสถานที่ที่มีบริษัทเข้ามาทำ IPO มูลค่ารวมสูงสุดในโลก ราว 1.3 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ฮ่องกงยังคงเนื้อหอม มีบริษัทจีนเข้า IPO อีกเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น JD หรือ NetEase (บริษัทสร้างเกมส์) รวมถึงกรณีของ Ant Group บริษัทในเครือ Alibaba และเจ้าของระบบจ่ายเงิน Alipay ที่ประกาศเตรียมทำ IPO ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ทางด้านบริษัท ByteDance (เจ้าของแอพ TikTok) ก็มีแผนเข้า IPO ในฮ่องกงเร็ว ๆ นี้เช่นกัน เหตุการณ์ทั้งหมดชี้ชัดว่าตลาดหุ้นฮ่องกงจะมีสัดส่วนหุ้นจีนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งล่าสุดดัชนี Hang Seng แก้ไขเกณฑ์คัดเลือกหุ้นเข้าดัชนีใหม่ ให้หุ้น Dual-Class (หุ้นที่สิทธิ์โหวตไม่เท่ากัน) และหุ้น Secondary Listing (จดทะเบียนในฮ่องกงเป็นที่สำรอง) เข้ามาอยู่ในดัชนีได้ ซึ่งเป้าหมายชัดเจนคือ การดันให้บริษัทจีนตัวใหญ่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี Hang Seng ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดตัวดัชนีใหม่ชื่อ Hang Seng TECH คัดเลือกหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำเข้ามา ซึ่งก็หนีไม่พ้นบริษัทจีนตัวดัง ๆ เช่น Meituan Dianping, Xiaomi, Alibaba หรือ Tencent หวังดันมาแข่งกับดัชนี Nasdaq ฝั่งเทคสหรัฐฯ !!! ในอนาคตอันใกล้เราจะเห็นบริษัทจีนขึ้นมามีบทบาทในระดับโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลสหรัฐฯ จะทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้ง ซึ่งจะส่งผลให้ความขัดแย้งบานปลายไปมากกว่าเดิม และอาจเลยไปถึงการใช้กำลังทางทหารเข้าทำลายกันก็เป็นไปได้ BottomLiners ถ้าชอบบทความนี้ฝากแชร์ให้เพื่อนของคุณได้อ่านด้วยนะครับ ใครสนใจการลงทุนต่างประเทศ ทั้งหุ้น และกองทุนรวม อย่าลืมเข้ากลุ่ม ห้องคุยนักลงทุนต่างประเทศ: https://web.facebook.com/groups/274064530688518 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content ตลาดหุ้นฮ่องกง บริษัทจีน หุ้นจีน แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Fair Company at Wonderful Price - FINNOMENA “It’s far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price” คือแนวทางการลงทุนของ Warren Buffett มาโดยตลอด แต่ในยุคปัจจุบันนี้ เรายังจะหาบริษัทที่ดีสุดยอดได้อยู่หรือไม่? 14 ก.ย. 2563 เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวว่าบัฟเฟตต์ได้เข้าซื้อหุ้นในตลาดหุ้นของญี่ปุ่นพร้อมกัน 5 ตัวคือ หุ้นอิโตชู มารูเบนนี มิตซูบิชิ มิตซุยและสุมิโตโม ทั้ง 5 บริษัทเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการค้าของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งมานานเฉลี่ยแล้วน่าจะเป็นหลัก 100 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาเป็นประเทศสมัยใหม่จนถึงปัจจุบันที่กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ทั้งหมดนี้ แม้ว่าจะเป็นบริษัท “ยุคเก่า” แต่ก็ยังเป็นบริษัท “ยักษ์ใหญ่” ที่มียอดขายมากกว่าปีละ 1 ล้านล้านบาท และครอบคลุมการค้าขายระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดและก็ยังน่าจะเป็นอย่างนั้นต่อไปตราบที่ญี่ปุ่นยังเป็นเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ของโลกอยู่โดยที่เทคโนโลยีดิจิตอลไม่สามารถที่จะทำลายมันได้ ลักษณะการซื้อของบัฟเฟตต์ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะแตกต่างจากที่เคยทำมาตลอดในชีวิตการลงทุนของเขานั่นก็คือ เป็นการ “กวาดซื้อ” หุ้นหลาย ๆ ตัวที่มีคุณสมบัติเกือบจะเหมือนกันหมดนั่นก็คือมันเป็นหุ้นที่ “ถูกมาก” และเป็น “ตัวแทน” ของบริษัทหรือเศรษฐกิจญี่ปุ่น คือเป็นบริษัท “การค้า” หลัก ๆ ของญี่ปุ่นทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่แนวทางเดิมของบัฟเฟตต์ที่เน้นเลือกลงทุนหุ้น “เฉพาะตัว” ที่มีคุณสมบัติเป็นเอกลักษณ์พิเศษและส่วนใหญ่แล้วเป็นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ตามคำพูดที่โด่งดังของเขาที่ว่า “It’s far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price” ซึ่งแปลว่า “มันดีกว่ามากที่จะซื้อบริษัทที่ดีสุดยอดในราคาที่ยุติธรรมเทียบกับการซื้อบริษัทที่แค่ดีพอใช้ในราคาที่ถูกสุด ๆ” ความคิดของบัฟเฟตต์ในเรื่องของการซื้อหุ้นนั้น ผมคิดว่าเขามีหลักการใหญ่ ๆ ชัดเจนที่เป็นระบบโดยที่น่าจะสามารถแยกแยะดังต่อไปนี้คือ หนึ่ง หุ้นของบริษัทที่ดีสุดยอดหรือที่เรียกว่า “Great Company” ซึ่งก็คือบริษัทที่มีความได้เปรียบที่ยั่งยืนและเติบโตระยะยาวนั้น เป็นกิจการที่น่าลงทุนที่สุด แต่เงื่อนไขที่เขาจะเข้าลงทุนก็คือ หุ้นจะต้องมีราคาถูกหรือไม่แพงหรืออาจจะเรียกว่า “ราคายุติธรรม” ถ้าหุ้นมีราคาแพงเกินไปเขาก็ไม่ซื้อ หุ้นประเภทที่สองที่เขาเคยลงทุนเป็นหลักโดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ของชีวิตการลงทุนก็คือหุ้นที่มีราคา “ถูกมาก” โดยที่ไม่ได้สนใจมากนักว่ามันเป็นกิจการที่ดีหรือไม่ ซึ่งต่อมาเขาเรียกว่าเป็นหุ้น “ก้นบุหรี่” ที่เราสามารถหยิบมาสูบได้แทบจะฟรี นั่นก็คือ เป็นหุ้นที่ซื้อแล้วก็มักจะทำกำไรได้แต่ก็ไม่มากและก็จะถือไว้ยาวมากก็ไม่ได้ เพราะหุ้นก็จะไม่โตขึ้น โดยตัวอย่างที่ชัดเจนของหุ้นในกลุ่มนี้ก็คือหุ้นเบิร์กไชร์แฮทธาเวย์ที่ทำสิ่งทอที่บัฟเฟตต์เทคโอเวอร์มาเนื่องจากราคาที่ถูกมาก แต่ธุรกิจก็ไม่ไปไหนจนต้องปิดไปในที่สุด บัฟเฟตต์เองนั้น ผมคิดว่าเขายังคงลงทุนใน 2 ธีมนี้มาตลอด โดยที่ในช่วงแรกตอนเริ่ม “สร้างเนื้อสร้างตัว” นั้น เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก เบน เกรแฮม บิดาแห่ง Value Investments ที่เน้นเรื่องความถูกของหุ้นเทียบกับพื้นฐานของกิจการ ทำให้บัฟเฟตต์ซื้อหุ้นที่มีราคาถูกมาก ๆ เป็นหลัก จนถึงจุดหนึ่งที่เขาเริ่มเปลี่ยนความคิดมาเป็นแบบของ ฟิลิป ฟิสเชอร์ ที่เน้นหุ้นคุณภาพดีสุดยอดเป็นหลัก หลังจากนั้น บัฟเฟตต์ได้หันมาลงทุนในหุ้นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ซึ่งทำให้เขาร่ำรวยจนกลายเป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก และบัฟเฟตต์กลายเป็นสัญลักษณ์ของการลงทุนในหุ้นที่ดีสุดยอด อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง ๆ โดยเฉพาะที่เบิร์กไชร์มีเงินสดในมือมหาศาลและต้องหาหุ้นที่มีขนาดใหญ่มากเพื่อรองรับกับเงินลงทุน เขาก็เริ่มกลับมาลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้เป็นหุ้นสุดยอดแต่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงแข็งแกร่ง มีผลประกอบการที่ใช้ได้และมีราคา “ถูกมาก” ตัวอย่างเช่นหุ้นสาธารณูปโภคเช่นพลังงาน รถไฟ และหุ้นให้บริการด้านไอทีเช่นหุ้น IBM เป็นต้น โดยที่หุ้นแนวซุปเปอร์สต็อกที่เป็นสัญลักษณ์ของเขานั้นมีสัดส่วนน้อยลง เหตุผลน่าจะอยู่ที่ว่ามันกลายเป็นหุ้นกลุ่มที่มีราคา “แพงเกินไป” และมักเป็นหุ้น “ไฮเท็ค” ที่เขาไม่ค่อยเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการลงทุนในหุ้นแอ็ปเปิลเมื่อเร็ว ๆ นี้น่าจะเป็นตัวที่ทำให้บัฟเฟตต์ยังคงความเป็นเซียนที่เน้นการลงทุนในหุ้นซุปเปอร์สต็อกไว้ได้ สำหรับตลาดหุ้นไทยนั้น ผมคิดว่าช่วงเวลาที่จะหาหุ้นซุปเปอร์สต็อกในราคาถูกนั้นแทบจะหมดไปนานแล้ว ในช่วงอย่างน้อย 10 ปีหลังนี้ดูเหมือนว่าเราแทบจะไม่มีหุ้นตัวใหม่ ๆ ที่โดดเด่นแบบซุปเปอร์สต็อกที่เป็นกิจการที่มีความได้เปรียบที่ยั่งยืน มีการเติบโตดี และมีราคาหุ้นที่ยุติธรรมเลย หุ้นที่แค่ดูดีหน่อยก็มักจะถูกกว้านซื้อเก็งกำไรจนราคาแพงมากเกินพื้นฐาน ตัวอย่างเช่นหุ้นในกลุ่มพลังงานบางตัวและกลุ่มที่ขายสินค้าผู้บริโภค ซึ่งไม่ได้มีศักยภาพที่จะเป็นซุปเปอร์สต็อกในช่วงเวลาแบบนี้ เป็นต้น ว่าที่จริงในตลาดหุ้นที่ก้าวหน้าอย่างตลาดหุ้นสหรัฐนั้นก็ดูเหมือนว่าหุ้นที่อยู่ใน “ธุรกิจยุคเก่า” นั้น แทบจะไม่มีศักยภาพที่จะเป็นซุปเปอร์สต็อกแล้ว ดูเหมือนว่ามีแต่หุ้นไฮเท็คและดิจิตอลเท่านั้นที่จะกลายเป็นหุ้นซุปเปอร์สต็อกได้ใน พศ. นี้ ซึ่งก็น่าเสียดายว่าในตลาดหุ้นไทย เรายังไม่มีแม้แต่หุ้นที่เป็น “ยูนิคอร์น” หรือหุ้นที่โตเร็วและมีมูลค่าตลาดอย่างน้อย 1,000 ล้านเหรียญ ซักตัวเดียว ดังนั้น โอกาสที่เราจะพบหุ้นซุปเปอร์สต็อกในอนาคตก็น่าจะยากยิ่ง โดยส่วนตัวผมเองนั้น ผมมองว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเริ่มถดถอยลงคือเติบโตช้าลงอย่าง “ถาวร” เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่แก่ตัวลงอย่าง “ถาวร” โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะโตเร็วและกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วก็ยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลย ในสถานการณ์แบบนี้ บริษัทรุ่นใหม่ที่ทำธุรกิจไฮเท็คและดิจิตอลซึ่งจะเป็นสินค้าหรือบริการของคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่นั้นก็จะเกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็วได้ยากเพราะจำนวนคนใช้มีไม่พอ ดังนั้น คนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ก็มักจะใช้สินค้าหรือบริการเหล่านั้นจากบริษัทที่มาจากต่างประเทศเป็นหลัก ผลก็คือ ซุปเปอร์คอมปานีและซุปเปอร์สต็อกก็จะไม่เกิดขึ้น บริษัทขนาดใหญ่ในอนาคตอีก 5-10 ปีเป็นอย่างน้อยก็จะยังคงเป็นบริษัทเดิมที่เคยเป็นซุปเปอร์สต็อก และนี่ก็น่าจะคล้าย ๆ กับเศรษฐกิจและบริษัทของญี่ปุ่นที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมานานแล้วเพราะสังคมที่แก่ตัวลงอย่างแรง ในฐานะที่เป็นนักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นหลักนั้น ผมยอมรับว่ายังไม่เห็นบริษัทหรือกลุ่มบริษัทที่จะกลายเป็นซุปเปอร์สต็อกในอีก 5-10 ปีข้างหน้าอย่างที่เคยพบในอดีตย้อนหลังไปกว่า 10 ปี ซึ่งมีการเกิดขึ้นของซุปเปอร์สต็อกอย่างน้อย 10 ตัว ตัวอย่างเช่นหุ้นในกลุ่ม “ค้าปลีกสมัยใหม่” กลุ่มโรงพยาบาล สื่อสาร การท่องเที่ยวเดินทาง และการพัฒนาช็อปปิงมอล เป็นต้น หุ้นทั้งหลายเหล่านั้นสร้างผลตอบแทนมหาศาลต่อเนื่องยาวนานจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็น่าจะถึงหรือใกล้จะถึงจุดอิ่มตัวและด้วยระดับราคาหุ้นที่สูงวัดจากค่า PE และตัวเลขอื่น ๆ ก็น่าจะหมดสภาพที่จะเป็นซุปเปอร์สต็อกไปแล้ว สิ่งที่ผมทำอยู่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะเป็นการพยายามหาหุ้นที่ “ดีพอใช้” นั่นก็คือมีความสามารถในการแข่งขันพอ ๆ กับคู่แข่งและยังสามารถโตได้เท่า ๆ กับอุตสาหกรรมหรืออย่างน้อยก็รักษารายได้และกำไรในระยะยาว และมีราคาหุ้นที่ถูกมากวัดจากค่า PE ปกติที่ไม่เกิน 10 เท่า มีความสามารถในการจ่ายปันผลที่ดีเช่นอย่างน้อย 3-4% ขึ้นไปได้อย่างต่อเนื่องยาวนานและไม่ถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ พูดง่าย ๆ ก็คือ ผมกำลังมองหาหุ้นที่เป็น “Fair Company at Wonderful Price” คล้าย ๆ กับที่บัฟเฟตต์กลับมาทำในช่วงเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากหาหุ้นที่เป็น “Wonderful Company at Fair Price” ไม่ได้ ตัวอย่างของหุ้นถูกที่ยังน่าจะรักษารายได้และกำไรอยู่ได้ในภาวะปกติก็เช่น หุ้นบางตัวในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และสถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/09/14/2384 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content Warren Buffett แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โพยเปรียบเทียบกองทุนยุโรป: KF-HEUROPE V.S. K-EUX แบบดูง่าย ๆ - FINNOMENA เปรียบเทียบกองทุน KF-HEUROPE และ K-EUX ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีนโยบายการลงทุนแบบไหน พร้อมแจกแหล่งเปรียบเทียบข้อมูลแบบดูง่าย ๆ ! 10 ก.ย. 2563 ดูข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนของทั้ง 2 กองนี้ และข้อมูลเปรียบเทียบอื่น ๆ เพิ่มเติม อัปเดตเรื่อย ๆ คลิกเลย! เพื่อนผู้ใจดี ข้อมูลอ้างอิง https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.html?fund=KF-HEUROPE https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-EUX.aspx https://www.blackrock.com/lu/individual/products/251783/ishares-euro-stoxx-50-ucits-etf-de-fund https://nordic.allianzgi.com/en-gb/our-funds/funds/list-se/allianz-europe-equity-growth-at-eur Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในระดับต่ำ เนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: Basic K-EUX KF-HEUROPE Picture Slide Product Info Short Content กองทุนยุโรป แชร์บทความ: ผู้เขียน เพื่อนผู้ใจดี เพื่อนผู้ใจดีที่จดโน้ตในแต่ละคลาสเรียนมาแจกเพื่อนๆ ทั้งห้อง ใครขาดเรียนมาขอโน้ตจากเพื่อนผู้ใจดีได้ ฟรีไม่มีคิดตังค์ แค่พาไปเลี้ยงขนมบ้างก็พอ :3
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: เจาะลึก 3 กองทุนในธุรกิจสำคัญของโลก KFHEALTH, KFHHCARE, และ KFHTECH-A - FINNOMENA สรุป FINNOMENA Review Live หัวข้อ "เจาะลึก 3 กองทุนที่ลงทุนในธุรกิจสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก KFHEALTH, KFHHCARE และ KFHTECH-A" น่าสนใจอย่างไรบ้าง? มาติดตามกันได้เลย! 1 ก.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> อยากลงทุนในหุ้นกลุ่มผู้นำต้องทำอย่างไร? มีกองทุนหุ้นกลุ่ม Healthcare และ Technology กองไหนที่น่าลงทุนบ้าง ติดตามไปได้กับสรุป LIVE ในวันนี้เลยครับ วิเคราะห์เจาะลึกกองทุน Healthcare คุณภาพ JPMorgan – Global Healthcare Fund มุมมองภาพรวมกลุ่ม Healthcare นวัตกรรมทางการแพทย์อาจมีบทบาทมากขึ้น เช่น บริษัทยาที่สามารถรักษาโรคยาก ๆ ได้ในอนาคต อายุประชากร ประชากรผู้สูงอายุเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อาจส่งผลให้กลุ่ม Healthcare มีความสำคัญมากขึ้น เชิงกำไรและมูลค่าของ Healthcare ยังไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ในจุดที่ได้เปรียบ ผู้คนในประเทศกำลังพัฒนามีรายได้มากขึ้น ทำให้อาจมีโรคแทรกซ้อนมากขึ้นได้จากความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน M & A การพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันใช้เวลานานอาจส่งผลให้บริษัท Healthcareที่มีเงินทุนแข็งแกร่งอาจทำการควบกิจการ หรือซื้อกิจการ ทำให้เติบโตได้มากขึ้น Healthcare มีส่วนกับการเมืองมากขึ้น จึงอาจทำให้มีการผลักดันในส่วนนี้ให้เติบโต นักลงทุนเริ่มมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามามากขึ้น บริษัท Telehealth (ให้บริการทางการแพทย์ออนไลน์) กำลังเติบโตในขณะที่ธุรกิจโรงพยาบาลปกติ อาจทำกำไรไม่ได้มาก กลุ่ม Healthcare มีส่วนผสมทั้งการลงทุนในเชิงรุกและเชิงรับ ธุรกิจกลุ่ม Healthcare มีทั้งบริษัทที่เน้นการเติบโตซึ่งให้การเติบโตในแง่ของราคา (Capital Gain) และบริษัทที่มีความมั่นคงขนาดใหญ่ ซึ่งอาจเติบโตไม่ได้มากแต่ ชดเชยด้วยการมีกระแสเงินสดที่มั่นคง สม่ำเสมอ นอกจากนั้นธุรกิจกลุ่ม Healthcare ยังมีการปรับฐานของราคาที่น้อยไม่แพ้กลุ่มเทคโนโลยี และมีการยอมรับระดับโลกว่า Healthcare เป็นภาคส่วนธุรกิจสำคัญที่เราน่าจะลงทุน ธีมการลงทุนหลักของพอร์ต มีการลงทุนในบริษัทจีน ที่ลงทุนทำ R&D และนวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้น นอกเหนือจากยุโรปและอเมริกา ลงทุนในบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ทำการวิจัย ซึ่งได้รับประโยชน์จากกระแส Healthcare เพราะ บริษัทที่เร่งทำการวิจัยจะต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้แน่นอน ลงทุนในบริษัทที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้น หรือ จะเป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกอย่าง Teledoc ที่คล้าย ๆ Uber ทางการแพทย์ คุยกับแพทย์ได้โดยตรงไม่ต้องเสียเวลารอคอย ปรึกษา ตกลงและสามารถไปรับยารักษาได้ทันที ลงทุนใน บริษัทยา สร้างกระแสเงินสดต่อเนื่องแต่การเติบโตต่ำ ผสมกับ Biotech ที่มีการเติบโตสูง Medtech กับ Service sector ทำพวกอุปกรณ์ เซนเซอร์ต่าง ๆ ให้กับแพทย์ Healthcare Innovation อย่างยารักษามะเร็ง และข้อสำคัญที่พลาดไม่ได้ ทางกองทุนทำการวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวจาก Fund Manager ที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการแพทย์ รวมถึงนักวิเคราะห์อีก 19 คน ที่มีพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการเเพทย์ต่าง ๆ ในการวิเคราะห์สำหรับ Sector Healthcare เพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงถือได้ว่าหุ้นทั้งหมดถูกคัดเลือกโดยผู้คนที่รู้และมีความเข้าใจในธุรกิจอย่างแท้จริง ผลตอบแทน ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทางกองทุนเองก็มีผลตอบแทนย้อนหลังในระดับที่ชนะ Benchmark (เกณฑ์เทียบเคียง)ในส่วนของทั้ง 3 เดือนย้อนหลังและ 1 ปีที่ผ่านมาโดยหุ้นในกลุ่ม Healthcare เป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี มีการเติบโต มีนวัตกรรมใหม่ ๆ และความสามารถในการทำกำไร ผลกำไรของ Sector กลุ่ม Healthcare ได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ หุ้นกลุ่ม Healthcare เป็นหุ้นกลุ่มที่ถูกปรับลดประมาณการกำไรน้อยลงที่สุดจากข้อมูลการวิเคราะห์ของ JPMorgan แสดงให้เห็นถึงศักยภาพเชิงพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เจาะลึกกลุ่ม Healthcare ในเชิงมูลค่า ยังต่ำ (ถูกและศักยภาพสูง) กว่าดัชนี S&P 500 ซึ่งถือว่าถูกและ Undervalued (มีมูลค่าต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง) อีกทั้งที่ผ่านมากำไรยังติดลบน้อย ค่อนข้างดี และภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในปีหน้าอาจทำให้หุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวเป็นบวกมากขึ้น Spread (ส่วนต่าง) มูลค่าหุ้นของกลุ่ม Healthcare นั้นอยู่ในระดับถูกที่สุด ซึ่งหากเทียบกับหุ้นกลุ่มที่แพงที่สุด ถือว่ากลุ่ม Healthcare ห่างกันมากถึง 80% และช่องว่างในส่วนนี้อาจจะไล่ตามกลับมาได้ ดังนั้นเราสามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนมายังหุ้นที่ยังมีมูลค่าที่ดีได้ COVID-19 เร่งให้ผู้คนมาสนใจการลงทุนใน Sector Healthcare มากขึ้น หากสนใจลงทุนใน JPMorgan Funds – Global Helathcare Fund สามารถซื้อผ่านกองทุน KFHEALTH และ KFHHCARE ซึ่ง KFHEALTH จะมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ส่วน KFHHCARE จะมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนโดยตลอด หากสนใจลงทุนในกองทุน KFHEALTH และ KFHHCARE สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บลจ. กรุงศรี หรือ FINNOMENA ได้เลยครับ หมายเหตุ : ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก ผู้ลงทุนควรขอคําแนะนําเพิ่มเติมก่อนการลงทุน | KFHEALTH ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกําไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนตํ่ากว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | KFHHCARE จะใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งอาจมีต้นทุนสําหรับการทําธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทําให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น KFHEALTH และ KFHHCARE ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่ต่ำกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมทางด้านสุขภาพ | ระดับความเสี่ยง 7-เสี่ยงสูง นอกจากกองทุนกลุ่ม Healthcare จะมีความน่าสนใจในช่วงนี้ กองทุนเทคโนโลยีก็นับว่าเป็นอีกกลุ่มที่มีศักยภาพน่าสนใจไม่แพ้กัน เจาะลึกกองทุนเทคโนโลยีคุณภาพเยี่ยม BlackRock – World Technology Fund หุ้นเทคแพงไปไหม? หุ้นเทคเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มีกำไรที่เติบโตต่อเนื่อง มีกระแสเงินสดสูง สถานะทางการเงินแข็งแกร่ง และระดับหนี้สินต่ำ และหากนำหุ้นเทคกลุ่มผู้นำอย่าง Apple , Amazon , Google , Microsoft , Facebook มารวมกันแล้ว กระแสเงินสดของหุ้นกลุ่มนี้มีมูลค่าเท่ากับ 6 ล้านล้านบาท หรือเกือบ ครึ่งหนึ่งของ GDP ไทย หุ้นเทคมีบทบาทมากกว่าแต่ก่อนในดัชนีหุ้นโลก จากสัดส่วนในปี 2005 ที่ 6% ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 ของดัชนีหุ้นโลกเป็นที่เรียบร้อยในตอนนี้ ซึ่งเป็นการเน้นย้ำความสำคัญของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เทคโนโลยีอยู่ใกล้ตัวเรา พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีการเรียนรู้และเปิดรับเทคโนโลยีมากขึ้น และมีการซื้อของออนไลน์เพิ่มมากขึ้น 5G จะมีบทบาทสำคัญที่ช่วยต่อยอดและพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆได้แบบก้าวกระโดด เม็ดเงินลงทุนในกลุ่มเทคมีมาอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าเม็ดเงินลงทุนในหุ้นเทค ปี 2022 สูงถึง 4.30 ล้านล้านเหรียญซึ่งมากกว่า GDP ของประเทศไทยที่ราว ๆ 5 แสนล้านเหรียญ Warren Buffett ที่ชื่นชอบการลงทุนในสินค้าประจำวัน ก็เริ่มลงทุนใน Apple หลังเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเราไปเรียบร้อยแล้ว Digital Economy (เศรษฐกิจดิจิทัล) กำลังเติบโต COVID-19 อาจเร่งให้หุ้นกลุ่ม Fintech เติบโตรวดเร็วมากขึ้น อย่างเช่นการทำธุรกรรมออนไลน์ มีการใช้เทคโนโลยีผ่านกลุ่ม Healthcare อย่าง Teledoc อุตสาหกรรมยานยนต์ภายใน 5 ปี รถยนต์ไฟฟ้าและรถใช้น้ำมันจะมีต้นทุนเท่ากัน จึงอาจส่งผลให้บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น Tesla เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง กลุ่ม Semiconductor ที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะเติบโตตามกันไปด้วย จากความต้องการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ธุรกิจ Cloud หรือธุรกิจการจัดเก็บข้อมูล เป็นธุรกิจที่สามารถนำไปต่อยอดกับธุรกิจอื่น ๆ ได้ เช่น Healthcare อย่างการที่โรงพยาบาลใช้ระบบ Cloud สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ และใช้สำหรับการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์หรือจะเป็นธุรกิจเกมส์ที่ในอนาคตอาจไม่ต้องใช้แผ่นซีดีสำหรับเล่นเกมส์อีกต่อไป จีนกำลังลงทุน R&D แซงหน้าสหรัฐฯ จีนกำลังลงทุนในส่วนของ R&D ถึง 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อเมริกาลงทุนอยู่ที่ 4.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และภายในปี 2025 มีการคาดการณ์ว่าจีนจะลงทุนใน R&D มากกว่าอเมริกาถึง 3.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอาจสนับสนุนให้บริษัทเทคโนโลยีในจีนเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และอาจจะมีการตั้งดัชนีเทคโนโลยีของจีนขึ้นมาด้วยในอนาคต กองทุน BGF World Technology Fund กองทุนมีการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีคุณภาพดี เช่น… Apple หลัง ๆ มีการขายอุปกรณ์ (Device) ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น หูฟัง หรือ Apple Watch ซึ่งอาจส่งผลให้ยอดขายเติบโตได้ Microsoft บริษัทที่ได้รับประโยชน์จาก Cloud สามารถทำบริการต่าง ๆ ออนไลน์ได้ทันที เช่น การใช้ Cloud อัปเดตซอฟต์แวร์ได้ทันที Tencent บริษัทเทคโนโลยีชื่อดังจากจีน เจ้าของ Joox ผู้ให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือเกมส์ออนไลน์ชื่อดัง RoV PUBG อีกทั้งยังมีศักยภาพในการขยายธุรกิจ อย่างเช่นการเข้าซื้อบริษัทต่าง ๆ Alphabet บริษัทพื้นฐานดี หนี้สินน้อย เงินสดมาก เติบโตต่อเนื่อง Twilio บริษัท ผลิตซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นแพลทฟอร์ม โดยไตรมาสที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้นกว่า 50% และช่วงสามปีที่ผ่านมามีการเติบโตประมาณ 60% ผลตอบแทนย้อนหลัง ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต เป็นกองทุนระดับ 5 ดาวจาก Morningstar และผู้จัดการกองทุน Tony Kim ได้รับรางวัลผู้จัดการกองทุนยอดเยี่ยม โดยผลตอบแทนของกองทุนอยู่ใน First Quartile มาตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หากสนใจลงทุนในธุรกิจหมวดเทคโนโลยี สามารถลงทุนในกองทุน KFHTECH-A ซึ่งลงทุนผ่าน BGF World Technology โดยตรง โดยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บลจ. กรุงศรี หรือ FINNOMENA ได้เลยครับ หมายเหตุ : ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก ผู้ลงทุนควรขอคําแนะนําเพิ่มเติมก่อนการลงทุน | กองทุนจะใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งอาจมีต้นทุนสําหรับการทําธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทําให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น KFHTECH-A ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ BGF World Technology Fund (Class D2 USD) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่มีธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในหมวดเทคโนโลยี | ระดับความเสี่ยง 7-เสี่ยงสูง Mr. Serotonin แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW KFHEALTH-A KFHHCARE KFHTECH-A Long Content Product Info แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นโรงพยาบาลก็ติดโควิด19 - FINNOMENA ดูเหมือนว่าจะมีหุ้นกลุ่มหนึ่งที่อาจจะทำให้หลายคนคาดผิดคิดว่าน่าจะเป็นกลุ่มที่อาจจะได้ประโยชน์ในตอนที่เริ่มเกิดโควิด19 นั่นก็คือ หุ้นโรงพยาบาล ซึ่งผลประกอบการนั้นลดลงถึงเกือบ 80% เทียบกับไตรมาส 2 ของปีก่อน เกิดอะไรขึ้น? 31 ส.ค. 2563 ผลประกอบการไตรมาส 2 ที่ออกมานั้นได้สะท้อนผลกระทบของโควิด19 อย่างชัดเจนว่า ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมไหนได้รับผลกระทบแรงแค่ไหน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการเดินทางที่ถูกกระทบแรงที่สุดเพราะคนแทบจะเลิกเที่ยวและการเดินทางก็ทำเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ หุ้นในกลุ่มโรงแรมและสันทนาการจำนวน 13 ตัวนั้น มีกำไรแค่ 2 ตัวและกำไรเพียงไม่เกิน 4 ล้านบาท ที่เป็นโรงแรมนั้นขาดทุนกันหมดและขาดทุนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ส่วนหุ้นขนส่งนั้น จากที่กำไรมาตลอดก็กลายเป็นกลุ่มที่ขาดทุนมากที่สุดในตลาดกว่าหมื่นล้านบาทในไตรมาสเดียว อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะมีหุ้นกลุ่มหนึ่งที่อาจจะทำให้หลายคนคาดผิดคิดว่าน่าจะเป็นกลุ่มที่อาจจะได้ประโยชน์ในตอนที่เริ่มเกิดโควิด19 นั่นก็คือ หุ้นโรงพยาบาล เพราะคนคิดว่าเมื่อเกิดโรคระบาดใหญ่ ธุรกิจที่ทำหน้าที่หลักในการรักษาโรคน่าจะมีลูกค้ามากขึ้นและทำกำไรมากขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้นกลับตรงกันข้าม หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลกลับกลายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่ถูกกระทบแรงรอง ๆ จากกลุ่มโรงแรม ผลประกอบการนั้นลดลงถึงเกือบ 80% เทียบกับไตรมาส 2 ของปีก่อน และนั่นทำให้ผมนึกถึงคำพูดเก่าของนักลงทุนในยุคหนึ่งที่เกิดวิกฤติว่า “อย่าเข้าโรงแรมหรือโรงพยาบาล” สิ่งที่ทำให้หุ้นโรงพยาบาลถูกกระทบหนักและทำให้หลายแห่งขาดทุน และหุ้นที่เคยกำไรมากมายนั้น กำไรหดหายไปมากอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อนมีอย่างน้อยสองเรื่องคือ หนึ่ง มีคนติดเชื้อโควิด19 ในประเทศไทยน้อยมาก และที่ติดเชื้อก็มักไปรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ แต่ในทางตรงกันข้าม การระบาดของโควิดนั้นทำให้คนไม่อยากไปโรงพยาบาลถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ เพราะคนเชื่อว่าโรงพยาบาลเป็นแหล่งที่อาจจะมีเชื้อมากกว่าที่อื่น ผลก็คือ คนเข้าไปใช้บริการน้อยลงมาก ข้อสอง สำหรับโรงพยาบาลที่มีลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติมากซึ่งมักเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่และมีรายได้และทำกำไรได้มากนั้น โควิด19 ทำให้เราต้องปิดประเทศซึ่งส่งผลให้ลูกค้าในส่วนนี้ที่อาจจะทำรายได้หลายสิบเปอร์เซ็นต์หรือบางแห่งเกินครึ่งหายหมด ผลก็คือ หุ้นโรงพยาบาลระดับท็อปและเป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” นั้น กำไรแทบจะไม่มีในไตรมาส 2 ผลกระทบจากโควิด19 ต่อจากนี้ผมคิดว่ายังไม่ได้หมดไป จริงอยู่ คนในประเทศไทยเองนั้นก็เริ่มไปโรงพยาบาลกันแล้วเนื่องจากการที่ไม่มีการระบาดในประเทศมานาน แต่ดูเหมือนว่าโรงพยาบาลก็อาจจะกำลังประสบกับปัญหาที่ว่าเศรษฐกิจของไทยเองก็กำลังตกต่ำลงอย่างแรง คนชั้นกลางโดยเฉพาะที่ทำงานทางด้านบริการเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวตกงานกันเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายย่อยที่เคยเป็นลูกค้าของโรงพยาบาลเอกชนต่างก็กำลังลำบากเพราะค้าขายได้น้อยลงมาก ดังนั้น สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ พวกเขาก็จะไปโรงพยาบาลน้อยลงและถ้าจำเป็นก็อาจจะไปใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐแทน นี่จะทำให้ธุรกิจของโรงพยาบาลที่เน้นผู้ป่วยที่เป็นคนไทยยังไม่สดใสต่อไป สำหรับโรงพยาบาลที่เน้นลูกค้าต่างประเทศนั้น ก็ชัดเจนว่าลูกค้าคงไม่กลับมาเร็ว พวกเขาคงกลับมาหลังจากที่ไทยเปิดประเทศเต็มที่แล้วซึ่งคงจะใช้เวลาอีกยาวนานเป็นปี ๆ เหตุผลที่คนไข้ต่างประเทศไม่มาไทยนั้นไม่ใช่เพราะว่าเขากลัวจะติดเชื้อในประเทศไทย แต่เป็นเพราะว่าคนไทยกลัวว่าถ้ามีชาวต่างประเทศเข้ามาโดยไม่ได้ถูกกักกันตัวยาวนานพอ เราจะมีการระบาด “รอบสอง” ดังนั้น เราจึงตั้งเงื่อนไขที่เข้มงวดซึ่งทำให้คนไข้ไม่สามารถเข้ามาได้ในทางปฏิบัติ ผลก็คือ ลูกค้ากลุ่มสำคัญนี้หายไปแทบจะหมดและจะต้องรอจนกว่าโควิดจะหายไปจากโลกหรือมีการค้นพบวัคซีนหรือวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงพอ นอกจากนั้น ยังมีประเด็นว่าเมื่อโรคโควิด19 สงบแล้ว คนไข้เดิมจะกลับมาทั้งหมดหรือไม่ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ชาวต่างชาติที่เป็นโรคเหล่านั้นมักจะเป็นโรคที่ค่อนข้างร้ายแรง พวกเขารอกลับมารักษาในไทยไม่ได้ ดังนั้น เขาก็จะต้องหาหมอในประเทศหรือที่อื่น และถ้าต้องรักษานาน ก็น่าจะมีโอกาสว่าพวกเขาอาจจะไม่กลับมาเมืองไทยอีกแล้วก็เป็นได้ หุ้นโรงพยาบาลที่เคยเป็นหุ้นที่ดี มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ถาวรในแง่ที่ว่าลูกค้ามักจะ “ติด” และกลับมาใช้บริการต่อเนื่องกับ “หมอประจำ” และที่โรงพยาบาลที่สะดวกเพราะอยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน และจะไม่ยอมเปลี่ยนถ้าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายไม่ได้ต่างกันมากพอ นอกจากนั้น โรงพยาบาลยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่น่าจะเติบโตเป็น “เมกาเทรนด์” เนื่องจากสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งต้องการการรักษาดูแลสุขภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเวลานาน นี่ทำให้โรงพยาบาลที่ดำเนินงานมานานและมีกำไรแล้วจึงเป็นธุรกิจที่ดีมากในแง่ของความมั่นคง และโรงพยาบาลบางแห่งโดยเฉพาะที่เน้นลูกค้าต่างประเทศซึ่งทำให้สามารถเติบโตได้ในระยะยาวพร้อมกับการทำกำไรที่สูง กลายเป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” ในช่วงที่ผ่านมากว่า 10 ปี หุ้นเหล่านี้มีค่า PE ที่สูงลิ่ว บางที 40-50 เท่า ในขณะที่หุ้นโรงพยาบาล “ท้องถิ่น” เองนั้น ก็มักจะมีค่า PE ที่สูงไม่ต่างกันมากนัก คำถามสำคัญก็คือ หลังจากโควิด19 แล้ว หุ้นโรงพยาบาลจะกลับมาเหมือนเดิมไหม? และถ้าใช่ จะใช้เวลายาวนานแค่ไหนก่อนที่รายได้และกำไรจะกลับมาเท่าเดิมก่อนการระบาดของโรคโควิด เรื่องแรกที่สำคัญก็คือ การเติบโตของความต้องการโรงพยาบาลหรือการรักษา แน่นอนว่าคนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและจำนวนคนที่ต้องการใช้บริการโรงพยาบาลนั้นจะต้องเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายก็ต้องเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากคนแก่มักจะมีโรครุนแรงที่ต้องใช้การรักษาที่แพงกว่าเด็กและคนหนุ่มสาวมาก ดังนั้น การเติบโตของอุตสาหกรรมนั้นต้องสูงแน่ แต่ประเด็นก็คือ Supply หรือจำนวนโรงพยาบาลหรือเตียงคนไข้เองนั้น ก็มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน และในสภาวะปัจจุบันเองนั้น จำนวนโรงพยาบาลของรัฐมีมากกว่าโรงพยาบาลเอกชนมาก โดยที่โรงพยาบาลเอกชนนั้นมีลูกค้าที่มีรายได้สูงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในภาวะที่เศรษฐกิจของไทยเติบโตดีในอดีตที่ผ่านมาทำให้มีคนรวยหรือมีฐานะดีมากขึ้น และนั่นทำให้โรงพยาบาลเอกชนเติบโตเร็วและมีกำไรดี แต่การเกิดขึ้นของโควิด19 นั้นทำให้เศรษฐกิจถดถอยไปมาก นี่ทำให้คนบางคนที่เคยใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนต้องเปลี่ยนมาใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐมากขึ้น และแม้ว่าในที่สุดโควิด19 จะหายไปแล้ว กว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเท่าเดิมได้ก็ต้องใช้เวลาหลายปี ในช่วงเวลานั้นคนไทยก็แก่ตัวลงไปอีก ซึ่งนั่นก็ทำให้ศักยภาพของคนไทยที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอยลงไปอีก ดังนั้น ในวันที่ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม คนไทยหรือประเทศไทยก็อาจจะ “หมดแรง” แล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจช้าลงจนแทบจะหยุด การเติบโตของ GDP อาจจะเหลือแค่ปีละ 2-3% โดยเฉลี่ย ซึ่งก็จะทำให้มีคนที่รวยพอที่จะใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มน้อยลงมาก นอกจากนั้น ถ้ารัฐสามารถเพิ่มคุณภาพการให้บริการได้ดีขึ้นหรือให้บริการแบบ “พิเศษ” โดยคิดค่าบริการเพิ่มขึ้นบ้างเพื่อแข่งกับโรงพยาบาลเอกชน นั่นก็จะทำให้การเติบโตและการทำกำไรของโรงพยาบาลเอกชนลดน้อยลง ซึ่งก็จะส่งผลให้หุ้นมีความน่าสนใจน้อยลง และค่า PE ของหุ้นโรงพยาบาลก็ไม่อาจจะสูงกว่าปกติอย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้ได้ หุ้นโรงพยาบาลชั้นนำที่เป็น “ซุปเปอร์สต็อก” นั้น คนที่ใช้บริการจำนวนมากเป็นคนในประเทศที่มีความมั่งคั่งสูง ชาวต่างประเทศโดยเฉพาะที่อยู่รอบบ้านเราที่เริ่มจะรวยขึ้นมากแต่ไม่มีโรงพยาบาลที่ดีพอในประเทศ และชาวต่างประเทศของประเทศที่ร่ำรวยเช่นประเทศในตะวันออกกลางที่ยังไม่มีโรงพยาบาลที่ดีพอและได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลให้ไปรักษาในต่างประเทศได้ ความสามารถในการแข่งขันของโรงพยาบาลไทยนั้นค่อนข้างสูงซึ่งทำให้เราสามารถเป็นศูนย์กลางในการรักษาพยาบาลแห่งหนึ่งของโลก หลังจากโควิดแล้ว คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่ลูกค้าจะกลับมาเท่าเดิมก่อนโควิด แต่หลังจากนั้นแล้วจำนวนคนไข้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะยาวหรือไม่? ผมเองคิดว่าเราน่าจะยังมีโอกาสอยู่ ผมคิดว่าประเทศไทยคงจะดำเนินต่อไปในฐานะของการเป็น “ประเทศท่องเที่ยว” ของคนโดยเฉพาะในเอเซียและการบริการโดยเฉพาะทางด้านการรักษาและดูแลสุขภาพที่ดีเลิศคุ้มค่าสำหรับ “คนรวย” จากต่างประเทศที่ยังไม่มีโรงพยาบาลที่ดีพอเช่นประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ว่าที่จริง ในระยะหลังนี้ เราได้เห็นคนกลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ และผมเชื่อว่าหลังจากโควิดแล้วพวกเขาก็จะกลับมาและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่จะยังคงสูงต่อไปอีกนานพอสมควร ดังนั้น โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูง มีชื่อเสียงและบุคลากรที่ยอดเยี่ยมในระดับโลก น่าจะยังคงสามารถเติบโตต่อไปได้ และค่า PE เองก็น่าจะยังคงต้องสูงต่อไปแม้ว่าอาจจะไม่เท่าเดิม ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/08/31/2378 แท็ก: Advance Article COVID-19 Knowledge Short Content หุ้นโรงพยาบาล โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เทียบกองทุนหุ้นจีน เมื่อจีนกำลังรุกฆาตสหรัฐฯ KFACHINA-A หรือ KT-CHINA-A - FINNOMENA สหรัฐฯ กำลังถูกรุกฆาตและแทรงหน้า? นี่เป็นประโยคที่เราได้ยินกันมาเนิ่นนานนับตั้งแต่ “จีน” ได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งคนสำคัญของสหรัฐฯ บทความนี้จะพาทุกคนไปเจาะลึกว่าจีนกำลังรุกฆาตสหรัฐฯในเรื่องใดบ้าง รวมถึงเปรียบเทียบกองทุนหุ้นจีนให้ทุกคนได้ดูกันแบบจัดเต็ม! 1 ก.พ. 2564 สหรัฐฯ กำลังถูกรุกฆาตและแซงหน้า? นี่เป็นประโยคที่เราได้ยินกันมาเนิ่นนานนับตั้งแต่ “จีน” ได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งคนสำคัญของสหรัฐฯ บทความนี้จะพาทุกคนไปเจาะลึกว่าจีนกำลังรุกฆาตสหรัฐฯในเรื่องใดบ้าง รวมถึงเปรียบเทียบกองทุนหุ้นจีนให้ทุกคนได้ดูกันแบบจัดเต็ม จีนกำลังรุ่งโรจน์ สหรัฐฯ กำลังร่วงโรย? ภาพแสดงดัชนีวัดความแข็งแกร่งของประเทศที่สหรัฐฯ (เส้นสีนํ้าเงิน) ค่อย ๆ ลดลงในขณะที่จีน (เส้นสีแดง) ปรับตัวขึ้นมาโดยตลอด ที่มา: principles.com ภาพแสดงดัชนีวัดความแข็งแกร่งในแต่ละด้านของสหรัฐฯ ซึ่งอ่อนแรงลงเรื่อย ๆ ทั้งในด้านการศึกษา (Education), การค้า (Trade), การผลิต (Output), และการแข่งขัน (Competitiveness) ที่มา: principles.com เมื่อได้เห็นภาพข้างต้นซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความแข็งแกร่งของประเทศจากเว็บไซต์ principles.com ของคุณ Ray Dalio เจ้าของกองทุน Hedge Fund ระดับโลกอย่าง Bridgewater Associates เราก็จะสังเกตได้ว่าความแข็งแกร่งของสหรัฐฯ ในหลาย ๆ ด้านค่อย ๆ ลดลง ในขณะที่จีนกลับกันตรงกันข้าม และมีความแข็งแกร่งมากขึ้นเรื่อย ๆ! และนี่ก็คงเป็นเหตุผลว่าการกระจายการลงทุนในจีนอาจเป็นตัวเลือกที่มองข้ามไม่ได้ ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาเปรียบเทียบกองทุนหุ้นจีนคุณภาพอย่างกองทุน KT-CHINA-A และ KFACHINA-A ให้ทุกคนได้รับชมและตัดสินใจไปกับการลงทุนในประเทศว่าที่มหาอำนาจในอนาคตกัน สรุปสถานการณ์หุ้นจีนในตอนนี้ เม็ดเงินลงทุนในหุ้นจีนเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ที่เพิ่งผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน ภาพแสดงเม็ดเงินลงทุนในหุ้นจีน ที่มา: FINANCIAL TIMES วันที่: 15 กรกฎาคม 2020 สืบเนื่องจากข้อความด้านบนสาเหตุหลักของความเชื่อมั่นอาจมาจากการที่จีนควบคุมโรคระบาดได้ดี รวมถึงภาพรวม GDP มีทิศทางที่โดดเด่นและแข็งแกร่งกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ข้อมูลการเติบโตของ GDP ในจีน ที่มา: CNBC.com วันที่: 15 กรกฎาคม 2020 คนจีนอยู่ในจุดที่ “ร่ำรวย” แบบไม่ง้อใคร! PPP (ดัชนีชี้วัดกำลังในการซื้อสินค้าเทียบกับประเทศอื่น ๆ) กำลังแสดงให้เห็นว่าคนจีนมีความร่ำรวยแซงหน้าคนอเมริกันไปตั้งแต่ปี 2014 ภาพแสดง Nominal GDP จีน (เส้นสีแดง), PPP จีน (เส้นสีเขียว), และ Nominal GDP + PPP สหรัฐฯ (เส้นสีน้ำเงิน) การวัดความร่ำรวยผ่าน PPP กับ Nominal GDP ต่างกันอย่างไร? การใช้ Nominal GDP ธรรมดานั้นหากเรานำมูลค่าที่ได้มาเทียบกับประเทศอื่น ๆ เราจะต้องใช้อัตราการแลกเปลี่ยนในการเทียบ ซึ่งอย่างที่เรารู้ ๆ กันว่าอัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีความผันผวนและถูกควบคุมได้จากนโยบายต่าง ๆ แตกต่างกับการใช้ PPP ซึ่งนำราคาของสินค้าชนิดเดียวกันมาแลกกันแบบหมัดต่อหมัด ซึ่งหมายความว่าในตอนนี้คนจีนชีวิตดีกว่าคนอเมริกันอย่างแท้จริง! ภาพแสดงการเปรียบเทียบ Nominal GDP กับ PPP ที่มา: investopedia.com วันที่: 19 สิงหาคม 2020 สหรัฐฯมี FANGMA? จีนมี BATX! ในเมื่อยุคนี้เป็นยุคแห่งหุ้น “ไฮเท็ค” และหุ้นอย่าง Facebook, Netflix, Google, Microsoft, และ Amazon ก็ดูจะเป็นหุ้นที่แข็งแกร่งและเติบโตต่อเนื่องแต่ทางจีนเองก็ไม่ได้น้อยหน้า ซึ่งในอนาคตอันใกล้ก็อาจจะมี “B” เพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งตัวซึ่งก็คือ ByteDance บริษัท เจ้าของแอปพลิเคชันชื่อดังอย่าง TikTok ที่รอจ่อ IPO ในปี 2020 นี้! ที่แค่จ่อเข้าราคาเฉลี่ยทั้งเสนอซื้อและเสนอขาย* ก็ปาเข้าไปที่ $122/หุ้น หรือราว ๆ 3,600 บาท/หุ้น เป็นที่เรียบร้อย ดอลลาร์กำลังเสื่อมมนต์ขลัง? มีการคาดการณ์ของนักกลยุทธ์จาก Goldman Sachs เปิดเผยว่าเงินดอลลาร์อาจตกอยู่ในที่นั่งลำบากและอาจสูญเสียสถานะสกุลเงินสำรองหลักของโลก จากการพิมพ์เงินซื้อสินทรัพย์จำนวนมากในปีนี้ถึง 2.8 ล้านล้านเหรียญ *ราคาเฉลี่ยประมาณการจาก Market Cap ของ ByteDance KFACHINA-A หรือ KT-CHINA-A? KFACHINA-A คุณกำลังจะเติบโตไปกับอะไร? คุณกำลังจะเติบโตไปกับกองทุน UBS (Lux) IS – China A Opportunity กองทุนหุ้นจีนคัดเน้นลงทุนในหุ้นจีน A Shares สุดพิเศษที่เปิดโอกาสให้คนจีนและนักลงทุนสถาบันต่างชาติที่ผ่านเกณฑ์เท่านั้นถึงจะลงทุนได้ พร้อมการจัดการแบบ Active ที่ทำให้ผู้จัดการกองทุนสามารถเลือกหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตสูงที่สุดได้อย่างอิสระ ผลตอบแทนในระยะยาว ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนแม่หลักของ KFACHINA-A ที่มา: krungsriasset.com วันที่: 31 ธันวาคม 2020 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผลตอบแทนในระยะยาวก็ถือได้ว่าเอาชนะเกณฑ์เทียบเคียง (Benchmark) ได้อย่างขาดลอย โดยผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง ของกองทุนนั้นทำได้ถึง 101.18% หรือเฉลี่ยปีละ 20.24% เลยทีเดียว ในขณะที่การเติบโตแบบทบต้นนั้นอยู่ที่ 15.01% ในขณะที่เกณฑ์เทียบเคียงหรือ Benchmark นั้น 5 ปีย้อนหลังยังให้ผลตอบแทนติดลบอยู่ที่ -24.93% เติบโตไปพร้อมกับบริษัทชั้นนำคัดเน้น ภาพแสดงสัดส่วนการลงทุนกองทุนแม่หลักของ KFACHINA-A ที่มา: krungsriasset.com วันที่: 31 ธันวาคม 2020 1) Kweichow Moutai (สัดส่วน 9.58%) บริษัท นักบ่มสุราเกรดพรีเมี่ยมถูกอกถูกใจนักการเมืองและนักธุรกิจต่าง ๆ ในจีน เพราะ เป็นเครื่องดื่มที่แสดงถึงความหรูหรา และทุกช็อตของ Kweichow Moutai นั้นถูกใช้สำหรับสร้างสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างนักธุรกิจด้วยกันเองอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นเครื่องดื่มที่ใช้ต้อนรับอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่าง Richard Nixon ครั้นมาเยือนจีนอีกด้วย หรือจะเรียกได้ว่า Kweichow Mountai เป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าในตัวมันเองอย่างยิ่งยวดสำหรับคนจีน คล้าย ๆ กับเวลาที่เรานึกถึงสมาร์ทโฟนก็ต้อง Iphone ของ Apple ก็ว่าได้ 2) Jiangsu Hengrui Medicine (สัดส่วน 9.05%) บริษัท ยาสัญชาติจีนผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยาหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ยาเม็ด ยาสำหรับฉีด หรือ วัตถุดิบผลิตยาต่าง ๆ โดยสินค้าหลักของบริษัทนั้นก็ถือได้ว่ามีความสำคัญกับการแพทย์มาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นยาต้านมะเร็ง ยาที่ใช้ในการผ่าตัด ยาปฏิชีวนะ ต่าง ๆ และยังส่งออกไปไกลถึงต่างแดนอีกด้วย 3) Yunnan Baiyao (สัดส่วน 7.94%) บริษัทผู้ผลิตยาแผนโบราณต้นตำหรับสัญชาติจีนใช้สำหรับรักษาแผล ลดอาการเจ็บปวดและห้ามเลือด มีสรรพคุณครอบจักรวาลไม่ว่าจะใช้ลดความอ้วน ใช้สำหรับห้ามเลือดหรือใช้ห้ามเลือดในกระบวนการรักษามะเร็ง โดยมีสารสกัดจากสมุนไพรเป็นหลัก KT-CHINA-A คุณกำลังจะเติบโตไปกับอะไร? กองทุน BGF China Fund จาก Blackrock บริษัทจัดการการลงทุนที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก* ที่มีเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนให้สูงที่สุด จากการลงทุนหุ้นจีนเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นการลงทุนไปยังพื้นที่ในจีนที่กิจกรรมหรือระบบเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง *ข้อมูลจากไตรมาสที่ 4 ปี 2019 ผลตอบแทนในระยะยาว ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนแม่หลักของ KT-CHINA-A ที่มา: BLACKROCK’s Fund Fact Sheet วันที่: 31 ธันวาคม 2020 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ในด้านของผลตอบแทนของกองทุน ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับที่เหนือค่าเฉลี่ยและไม่ทำให้ผิดหวังหากเทียบเคียงกับดัชนี MSCI China 10/40 (ดัชนีรวมหุ้นเล็กใหญ่ที่มีรายได้กว่า 50% มาจากผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม) Top Holdings สัดส่วนหลักของกองทุน ภาพแสดงสัดส่วนกองทุนแม่หลักของ KT-CHINA-A ที่มา: BLACKROCK’s Fund Fact Sheet วันที่: 31 ธันวาคม 2020 1) Alibaba (สัดส่วน 9.53%) “Amazon แห่งเมืองจีน” คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณกันมาก บริษัท Alibaba เป็นผู้ให้บริการซื้อสินค้าออนไลน์ชั้นนำของจีน ปลุกปั้นโดยหนึ่งใน CEO ที่มีความมุ่งมั่นและอาจจะดีที่สุดในทศวรรษนี้คนหนึ่ง อย่าง Jack Ma ชายผู้ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตาจนประสบความสำเร็จในที่สุด และถึงแม้ชายผู้นี้จะก้าวลงจากตำแหน่งแล้ว แต่ Alibaba ก็ยังคงเป็นธุรกิจที่มีโมเดลอันแข็งแกร่งและอยู่ในแนวโน้มแห่งอนาคตอย่างธุรกิจ E-commerce 2) Tencent (สัดส่วน 9.52%) สุดยอดบริษัท เทคโนโลยีแห่งเมืองจีนเจ้าของธุรกิจจับฉ่ายหลายรูปแบบที่ล้วนแต่มีความแข็งแกร่งและมีชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกม เช่น Riot Games เจ้าของเกมออนไลน์ชื่อดัง League of Legend ธุรกิจ E-commerce อย่าง JD.com ที่ถูกขนานนามว่าเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Alibaba หรือจะเป็น WeChat แอปพลิเคชัน Line เมืองจีนที่นอกจากจะใช้ติดต่อสื่อสารได้แล้วยังใช้จ่ายเงินทำธุรกรรมออนไลน์ได้อีกด้วย 3) China Merchants Bank (สัดส่วน 4.23%) หนึ่งในธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจีนติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ให้บริการฝากเงินและปล่อยกู้ที่ติดอันดับ 20 ของโลกมาแล้วในหมวดธนาคารระดับ Tier-1 จาก 1,000 ธนาคารทั่วโลกในปี 2018 อีกทั้งยังมีการเติบโตและกำไรที่เหนือชั้น รวมถึงยอดหนี้เสียที่ลดลงต่อเนื่องอีกด้วยในปีเดียวกัน ถึงเวลาตัดสินใจ KFACHINA-A หรือ KT-CHINA-A? สรุปโดยรวมแล้วทั้ง KFACHINA-A’>KFACHINA-A และ KT-CHINA-A’>KT-CHINA-A เป็นสองกองทุนที่มีผลงานที่โดดเด่นด้วยกันทั้งคู่ แต่ถึงอย่างนั้นหากว่ากันตามตรงแล้ว KFACHINA-A ก็ดูจะกินขาดอยู่ไม่น้อย เพราะทำผลตอบแทนเทียบ Benchmark หลักได้อย่างขาดลอย แต่โดยรวมแล้วทั้งสองกองทุนก็เป็นกองทุนที่ดีด้วยกันทั้งคู่ครับ และหากคุณยังเลือกไม่ได้และกำลังตัดสินใจว่าจะลงทุนใน KFACHINA-A’>KFACHINA-A หรือ KT-CHINA-A’>KT-CHINA-A ดี ก็ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนตัดสินใจแต่อย่างใดครับ เพราะ FINNOMENA เปิดโอกาสให้คุณได้ลงทุนได้พร้อม ๆ กัน 19 บลจ.! หมดปัญหาการเปิดบัญชีหลาย ๆ ที่ ครบ จบ ในที่เดียว! นอกจากนั้นคุณยังได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้แนะนำการลงทุนที่พร้อมให้คำปรึกษาคุณและอัปเดตสถานการณ์การลงทุนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมี LIVE สดอัปเดตสถานการณ์การลงทุนพร้อมกองทุนแนะนำอีกด้วย! เห็นขนาดนี้แล้วคุณพร้อมเปิดบัญชีหรือยัง เมื่อทาง FINNOMENA พร้อมที่จะดูแลคุณ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin References http://english.cmbchina.com/CmbInfo/About/ https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/MTF_KFACHINA-A.pdf https://markets.ft.com/data/world/countries/china http://statisticstimes.com/economy/united-states-vs-china-economy.php https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-07-28/goldman-warns-dollar-s-role-as-world-reserve-currency-is-at-risk https://www.cnbc.com/2020/07/16/china-economy-beijing-reports-q2-2020-gdp.html https://www.cnbc.com/2020/08/24/us-dollar-still-unrivaled-as-global-reserve-currency-versus-yuan-euro.html https://www.ig.com/en/shares/ipos/bytedance-tiktok-ipo https://www.investopedia.com/updates/purchasing-power-parity-ppp/ https://www.principles.com/the-changing-world-order/#chapter4 Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW KFACHINA-A KT-CHINA-A Long Content Product Info แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: เจาะลึกกองทุน KFGBRAND-A กับสถานการณ์การลงทุนปัจจุบัน (24 ส.ค. 63) - FINNOMENA เจาะลึกทำไมกองทุน KFGBRAND-A ถึงน่าลงทุนในสถานการณ์ปัจจุบัน แล้วกองนี้โดดเด่นกว่ากองอื่นอย่างไร ติดตามได้ในสรุป LIVE ประจำวันที่ 24 ส.ค. 63 พร้อมอัปเดตตลาดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 24 ส.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> เมื่อผู้บริโภคเริ่มกลับมามีกำลังซื้อ เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ กองทุนอะไรที่จะได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้? คำตอบคงจะหนีไม่พ้นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มข้าวของเครื่องใช้และบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งกอง KFGBRAND-A จาก บลจ.กรุงศรี เป็นกองทุนที่โดดเด่นในกลุ่มนี้ สรุป LIVE ประจำวันที่ 24 ส.ค. 63 จะมาเจาะลึกกันว่าทำไมกองทุน KFGBRAND-A ถึงน่าลงทุนในสถานการณ์ปัจจุบัน ทำไมกองนี้ถึงโดดเด่นกว่ากองอื่น พร้อมอัปเดตตลาดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาให้ฟังกันเหมือนเดิม เชิญติดตามได้ในบทความครับ Market Wrap Up – ยอดขายบ้านมือสองเด้งกลับมาที่ระดับเดียวกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด สะท้อนว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับมาแล้ว เพราะปกติคนจะไม่ซื้อแค่บ้านแน่นอน แต่ต้องมีเงินซื้ออย่างอื่นเข้าบ้านด้วย – นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น สังเกตจากตัวเลขการกู้เงินมาลงทุน (Margin Debt) สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ผลัก S&P 500 ทำ New High – ตัวเลข Real Yield (เส้นสีขาว) ยังคงสูงขึ้น รวมกับค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ราคาทองคำ (เส้นสีเหลือง) เลยได้รับความกดดันในช่วงนี้ – งบหุ้นจีนทั้ง Alibaba และ Meituan (แพลตฟอร์ม Delivery) ประกาศมาดีกว่าคาด แต่ราคาหุ้นไม่ขึ้นตาม ส่วนหนึ่งเพราะยังมีความตึงเครียดในสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งตอนนี้เหมือนจีนจะมียอดซื้อสินค้าและบริการจากสหรัฐฯ ไม่ถึงเป้าตามที่ตกลงในเฟส 1 เจาะลึก KFGBRAND-A กองทุนน่าสนใจในช่วงนี้ กองทุน KFGBRAND-A ย่อมาจาก Global Brand เป็นกองทุนที่ลงทุนในแบรนด์ดังพื้นฐานดีทั่วโลก ซึ่งเป็นแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคโดยตรง เป็นกองทุนที่กำลังจะได้เปรียบกลุ่มอื่นในสถานการณ์ปัจจุบัน ลงทุนในอะไรบ้าง กองทุน KFGBRAND-A ลงทุนในกองแม่ Morgan Stanley Investment Fund – Global Brands Fund ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม Consumer Staples, Information Technology และ Healthcare เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้วิธีการเลือกหุ้นแบบ Bottom Up ทำให้ได้หุ้นที่มีความแข็งแกร่งของงบสูง ครองส่วนแบ่งการตลาด ส่งผลให้ทนทานและฟื้นตัวจากวิกฤติได้เป็นอย่างดี ปัจจัยสนับสนุน 1. มีการใช้นโยบายการคลังมากระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตโควิดเยอะมาก สูงกว่าวิกฤตซับไพร์มตอนปี 2008 หลายเท่าตัว ซึ่งมาตรการตัวนี้ช่วยดึงกำลังซื้อของผู้บริโภคให้กลับมาอีกครั้ง 2. ตลาดแรงงานเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ตัวเลขผู้ติดเชื้อ Wave 2 ของสหรัฐฯ ลดลง และตัวเลขการขอสวัสดิการว่างงานก็ลดลงเช่นกัน 3. P/E ของหุ้นกลุ่ม Consumer Staples ที่กอง KFGBRAND-A ไปลงทุนยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ได้เปรียบในการเข้าซื้อ 4. หุ้นที่ KFGBRAND-A ไปลงทุนทั้งกลุ่ม Consumer Staples, Information Technology และ Healthcare ปรับตัวลงไม่มากและฟื้นตัวได้ไวกว่ากลุ่มผู้แพ้ในช่วงที่ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงในการลงทุนช่วงนี้ยังหนีไม่พ้น 3 เรื่องใหญ่ๆ ที่ยังไม่แน่นอน ได้แก่ Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ, วัคซีนรักษาโควิด และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งทีมงานของ FINNOMENA มีการติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิดและจะมารายงานให้นักลงทุนทราบอย่างแน่นอน สรุป กองทุน KFGBRAND-A เป็นกองที่น่าสนใจในการลงทุนระยะยาว Long Term กองหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะได้รับผลดีจากการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงออกมาจากหุ้นเทคฯ เพราะมี Correlation ระหว่างกันที่ต่ำ ซึ่ง FINNOMENA ก็มีการปรับพอร์ตลดสัดส่วนหุ้นเทคฯ เพื่อล็อคกำไรไว้บางส่วน และเพิ่มสัดส่วนกองนี้เข้าไปเพื่อลดความผันผวนในพอร์ตเช่นกัน เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Picture Slide Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สัญญาณเศรษฐกิจถดถอย - FINNOMENA บทความนี้จาก ดร.นิเวศน์ จะชวนไปสำรวจสัญญาณต่าง ๆ ที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจในประเทศไทยอาจจะกำลังเผชิญสภาวะถดถอย แล้วแบบนี้หุ้นไทยยังน่าสนใจหรือไม่? มุมมองที่นักลงทุนมีต่อหุ้นไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง? 24 ส.ค. 2563 เมื่อสองสามวันก่อนผมได้เริ่มขับรถส่วนตัวไปร่วมสังสรรค์กับเพื่อนกลุ่มนักลงทุน VI ในช่วงเย็นอีกครั้งหลังจากหยุดกิจกรรมที่เคยทำทุกไตรมาสมานานนับสิบปีหลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเมื่อ 5-6 เดือนก่อน ผมเองไม่ได้ขับรถช่วงเย็นที่เป็นช่วงเร่งด่วนแบบนี้มานานแต่ก็จำได้ว่าในอดีตนั้น เส้นทางที่ผมใช้คือทางด่วนที่ลงถนนพระราม 4 แถวคลองเตยแล้ววิ่งตรงไปทางกล้วยน้ำไทยนั้น เป็นช่วงที่รถติดหนักมาก แต่การขับรถครั้งนี้ปรากฏว่ารถกลับไม่ติดเลยแม้ว่าจำนวนรถอาจจะยังมากอยู่ ในความรู้สึกของผมก็คือ หลังจากโควิด19 ในประเทศไทยสงบลงและเราเปิดธุรกิจในประเทศเกือบทั้งหมดแล้ว กิจกรรมของคนที่ต้องเดินทางประจำวันน้อยลงจนเห็นได้ชัดจากการจราจร จริงอยู่ บางคนอาจจะบ่นว่ารถกลับมา “ติดเหมือนเดิมแล้ว” แต่นั่นคงเป็นบางจุดหรือถนนบางสายและก็อาจจะเป็นบางช่วงเวลา ตัวอย่างเช่นในวันหยุดยาวที่คนเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดในบางเส้นทาง หรือในถนนบางสายเช่นแถวศรีนครินทร์ที่มีการสร้างรถไฟฟ้า เป็นต้น แต่เส้นทางที่ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเช่นเส้นทางในศูนย์กลางของกรุงเทพ ผมคิดว่ารถน้อยลงชัดเจน ตัวอย่างที่ผมเห็นทุกวันก็คือถนนรางน้ำหน้าบ้านผมที่เคยเป็นแหล่งพักของนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่ตอนนี้ “โล่งตลอด” นี่ก็เป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังถดถอยลง “อย่างแรง” จำนวนคนเดินห้างก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังซบเซา หลายคนอาจจะเถียงว่าห้างใหญ่หลาย ๆ แห่งโดยเฉพาะที่อยู่ที่ “ขอบของกรุงเทพ” ที่ตนเองเดินประจำนั้น คนก็กลับมา “เหมือนเดิม” แล้ว หาที่จอดรถไม่ได้และ “คนแน่นยังกับแจกฟรี” แต่นั่นก็อาจจะเป็น “ความรู้สึก” ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ห้างเหงามานานและก็อาจจะเป็นเฉพาะในวันหยุด วันธรรมดาที่เขาไม่ได้ไปนั้นคนอาจจะว่างมาก ผมเองเดินและจ่ายตลาดห้างหรูแถวสยามที่เป็นแหล่งสำคัญของนักท่องเที่ยวต่างประเทศแทบทุกสัปดาห์ ผมยืนยันว่าห้างยังเหงามีคนเดินน้อยกว่าเดิมมาก ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ผมจ่ายสินค้าประจำวันนั้น ในอดีตจะมีคิวจ่ายเงินยาว เดี๋ยวนี้บางวันแทบไม่มีคิวเลย นี่ก็เป็นสัญญาณว่าคนไทยน่าจะใช้จ่ายน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในสินค้าที่ไม่จำเป็นและ/หรือสินค้าที่ใช้จ่ายโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ที่น่าประหลาดใจเล็กน้อยที่ผมเห็นก็คือ สินค้าหรูหราและมีราคาสูงมากอย่างเช่น ร้านที่ขายสินค้าเครื่องแต่งกาย “ซุปเปอร์แบรนด์” หลายร้านนั้นมีคน “เข้าคิว” รอเข้าไปชมและซื้อสินค้าอย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงก่อนโควิด19 แล้ว ราคาสินค้าของร้านเหล่านี้ไม่ได้มีการ “ลดราคากระหน่ำ” เพื่อเรียกลูกค้า ว่าที่จริงบางร้าน “ขึ้นราคา” สินค้าที่เคยขายด้วยซ้ำ นี่ทำให้ผมสรุปว่า คนที่มีฐานะมั่งคั่งสูงในสังคมไทยนั้น ไม่ได้ถูกกระทบมากจนต้องลดการใช้จ่ายลงเลย พวกเขาใช้จ่ายเหมือนเดิม และตอนนี้เนื่องจากว่าไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ เขาจึงใช้จ่ายในประเทศไทยแทน และนี่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันในต่างประเทศ ตัวอย่างเช่นในจีนที่ตอนนี้มีข่าวออกมาแล้วว่าสินค้าซุปเปอร์แบรนด์ขายดีขึ้นมากกว่าเดิมก่อนโควิด19 ด้วยซ้ำ นอกจากเรื่องของสินค้าเครื่องแต่งกายหรูแล้ว บ้านหรูในช่วงหลังโควิดก็ดูเหมือนว่าจะขายดีขึ้นโดยเปรียบเทียบกับบ้านที่ขายคนส่วนใหญ่ทั่วไป ว่าที่จริงแม้แต่ในช่วงที่ยังปิดเมืองกันอยู่ก็มีสัญญาณแล้วว่าคนมาดูและซื้อบ้านหรูมากขึ้น นั่นแสดงว่าคน “ซุปเปอร์ริช” หรือคนรวยจัดนั้นไม่ได้ถูกระทบมากจากวิกฤติและยังซื้อสินค้าหรูและมีราคาแพงเหมือนเดิม นี่ก็พอจะเห็นได้จากการที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ขายบ้านหรูทำผลงานในไตรมาส 2ได้ดีกว่าบริษัทที่เน้นบ้านราคาต่ำหรือระดับกลางที่ถูกกระทบอย่างแรง บ้านมวลชนนั้นอาจจะขายได้น้อยลง แต่ธุรกิจพวกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างหลายแห่งอาจจะคุยว่ายอดขายไม่ตกในช่วงปิดโควิด นี่อาจจะเป็นเรื่องจริง แต่ก็ต้องระวังว่าสินค้าเหล่านี้มี Lag Time หรือเป็นสินค้าที่เมื่อเศรษฐกิจวิกฤติทันทีนั้น ความต้องการของสินค้ายังมีอยู่เหมือนเดิมเนื่องจากบ้านที่เริ่มสร้างแล้วก็จะต้องสร้างต่อไปจนจบถ้าเจ้าของยังมีกำลังอยู่ ผมเองก็กำลังสร้างเหมือนกันและพบว่างานก่อสร้างนั้นไม่เคยหยุดเลยในช่วงโควิด19 ดูเหมือนว่ามันจะเร็วขึ้นด้วยซ้ำเพราะคนงานไม่ขาดเหมือนในช่วงปกติ สิ่งที่ต้องระวังก็คือ หลังจากนี้เมื่องานเริ่มเสร็จ และงานใหม่ก็ไม่เข้ามาเนื่องจากความต้องการบ้านหรืออาคารต่าง ๆ น้อยลง ธุรกิจก่อสร้างก็อาจจะเห็นยอดขายหดตัวอย่างแรงได้ การตกต่ำลงของเศรษฐกิจนั้น ผมคิดว่าสาเหตุหลักก็มาจากการที่ธุรกิจท่องเที่ยว การเดินทางและกิจกรรมที่คนต้องเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกันต้องหยุดลงเกือบจะสิ้นเชิง นั่นทำให้คนจำนวนมากนับล้าน ๆ คนต้องตกงานทันที พวกเขาต้องลดการบริโภคลง ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงไตรมาส 2 และเราต่างก็คิดว่าหลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ไตรมาส 2 น่าจะต่ำสุดและช่วงต่อจากนี้ความเจ็บปวดก็น่าจะน้อยลง อย่างไรก็ตาม ผมก็ค่อนข้างประหลาดใจเมื่อได้ข่าวว่าลูกสาวเพื่อนที่ทำงานเป็นแอร์โฮสเตทของสายการบินระดับท็อป ๆ ของโลกแห่งหนึ่งถูกปลดแบบ “ฟ้าผ่า” หลังจากที่หยุดไม่ได้ทำงานมาหลายเดือนแล้วและกำลังหวังว่าจะกลับไปทำงานเนื่องจากสายการบินเริ่มจะกลับมาบินใหม่ในบางเส้นทาง เหตุการณ์นี้ทำให้ผมคิดว่า ในช่วงไตรมาส 2 นั้น บริษัทหรือธุรกิจบางแห่งก็ยังพยายามรักษาคนงานไว้ แต่พอถึงวันนี้เขาก็รับกับค่าใช้จ่ายไม่ไหวและต้องปลดคนออกไป ช่วงเวลาเดียวกันรัฐบาลก็ช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายแก่คนจำนวนมากเดือนละ 5,000 บาทจนสิ้นเดือนสิงหาคม ในอีกด้านหนึ่งแบ้งค์ชาติก็ยอมให้ลูกหนี้จำนวนมากพักการชำระเงินจนถึงเดือนกันยายน ทั้งหมดนี้ถ้าไม่ได้รับการต่ออายุอะไรจะเกิดขึ้น? ผมเองคิดว่าเศรษฐกิจคงไม่เลวร้ายลงกว่าไตรมาส 2 แต่จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วผมก็ยังสงสัย กลับมาเรื่องของการลงทุนบ้าง ในที่ประชุมสังสรรค์เพื่อน VI นั้น ทุกครั้งเราก็จะมีการ “เลือกหุ้น” ที่จะทำผลงานได้ดีใน 3 เดือนข้างหน้า โดยที่ทุกคนจะต้องเลือกหุ้นที่ตนเองชอบ ส่วนใหญ่ก็คนละ 2-3 ตัว พอพบกันอีกในไตรมาสหน้าก็จะมาดูว่าใครได้ผลตอบแทนเท่าไร นี่ก็เป็นกิจกรรมเล่น ๆ ที่ไม่ได้ซีเรียสหรือแข่งขันอะไรกันแต่ทุกคนก็มักจะเลือกในสิ่งที่ตนเองลงทุนจริง ๆ อยู่แล้ว ผลการเลือกในครั้งนี้มีการเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดจากครั้งหลัง ๆ นั่นก็คือ ในช่วงน่าจะ 2-3 ปีมาแล้ว VI กลุ่มนี้มักจะเลือกหุ้นเวียตนามมากกว่าหุ้นไทย หุ้นไทยที่ถูกเลือกนั้นน้อยลงมาก ส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาได้หันไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามมากขึ้น บางคนโดยเฉพาะที่เป็นชาวต่างชาตินั้นไม่ได้ลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกแล้ว แต่ในครั้งนี้ปรากฏว่าจำนวนหุ้นที่ถูกเลือกกลับกลายเป็นหุ้นไทยเป็นส่วนใหญ่ นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าโควิดน่าจะทำให้หุ้นไทยบางกลุ่มหรือบางตัวมีความน่าสนใจมากขึ้นจน VI บางคนที่เคยทิ้งตลาดไปนั้นหันกลับมาลงทุนมากขึ้น ความสนใจในหุ้นของคนไทยเองนั้น ผมคิดว่าเกิดขึ้นกับคนทั่วไปด้วยเห็นได้จากจำนวนนักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดในช่วงโควิด19 นี่ก็เป็นอะไรที่แปลกเหมือนกัน เหตุผลนั้นผมคิดว่า ประการแรก เป็นเพราะคนที่มีฐานะดีและมีเงินสดอยู่มากนั้นไม่ได้ถูกกระทบจากโควิด พวกเขาคิดว่าการลงทุนในตลาดหุ้นที่ตกลงมานั้นเป็นโอกาสงดงามที่จะทำกำไรอย่างง่าย ๆ เมื่อเทียบกับการฝากเงินที่ให้ผลตอบแทนต่ำมาก ประการต่อมาก็คือ พวกเขาคิดว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่จะถูกกระทบนั้น น่าจะเกิดขึ้นครั้งเดียว หลังวิกฤติแล้วทุกอย่างก็จะกลับมาภายใน 1-2 ปีหรืออย่างมากก็อาจจะ 3 ปี เรื่องที่บริษัทจะ “ล่มสลาย” หรือล้มละลายไปนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ สภาพคล่องในระบบการเงินของไทยยังมีเหลือล้น ตราสารหนี้ที่ออกมาก็ยังมีคนต้องการอีกมาก เมื่อโควิดผ่านไปและลูกค้ากลับมา รายได้และกำไรของบริษัทก็จะกลับมา “เหมือนเดิม” และสุดท้ายก็คือ ตลาดหุ้นต่างประเทศเช่นในสหรัฐอเมริกานั้น ดัชนีหุ้นกลับมาที่เดิมและสูงกว่าแล้ว และผลประกอบการของบริษัทโดยเฉพาะในกลุ่มไฮเท็คนั้นก็เพิ่มขึ้นมาก ดังนั้น เขาเชื่อว่าในที่สุดบริษัทและหุ้นไทยก็จะต้องตามกันไป ข้อสรุปทั้งหมดของผมก็คือ ภาวะเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อจากนี้น่าจะยังลำบากอยู่มาก โอกาสฟื้นตัวน่าจะเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่หุ้นที่ตกลงไปแรงมากกลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเม็ดเงินของคนไทยและนักลงทุนไทยซึ่งยังมีเงินมากและไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อความจริงเริ่มจะปรากฏออกมาเรื่อย ๆ ก็อาจจะมีความเสี่ยงว่า นักลงทุนจะเริ่มตระหนักและถอนเงินออก และวันนั้นก็อาจจะเป็นวันที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานที่แท้จริงของตลาดหุ้นไทย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/08/24/2375 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content เศรษฐกิจถดถอย แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สิ่งที่ตลาดหุ้นต้องชดใช้ "การยืมอนาคตมาซื้อราคา" - FINNOMENA ความจริงก็คือความจริงไม่มีวันหลุดพ้น และไม่ว่าเราจะพยายามบิดเบือนความเป็นจริงมากสักเท่าไรสุดท้ายเราก็ต้องเผชิญกับผลลัพธ์ของมันอยู่ดี และในตอนนี้ดูเหมือนว่าการบิดเบือนความเป็นจริงกำลังเกิดกับตลาดหุ้นที่กำลังพยายามยืมอนาคตมาต่อเวลา? 21 ส.ค. 2563 หากใครเคยดูหนังรักสุดคลาสสิคอย่าง About Time ก็คงจะรู้ดีว่าแม้เราจะพยายามย้อนเวลาเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงในอนาคตมากสักเท่าใด สุดท้ายผลลัพธ์ในอนาคตก็ยังเป็นเช่นเดิม เพราะฉะนั้น ความจริงก็คือความจริงไม่มีวันหลุดพ้น และไม่ว่าเราจะพยายามบิดเบือนความเป็นจริงมากสักเพียงใดสุดท้ายเราก็ต้องเผชิญกับผลลัพธ์ของมันอยู่ดี หรือความจริงที่ว่าจะเหมือนกับตลาดหุ้นในตอนนี้กันแน่ ที่กำลังพยายามหลีกหนีความเป็นจริง? เรากำลังมองหาปัจจุบันมากกว่าอนาคต อันดับแรกเลย ผมอยากให้ทุกคนดูภาพข้างต้นและทำความเข้าใจตามกันไปนะครับ ภาพข้างต้นเป็นการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของ “อัตราดอกเบี้ย” กับ “ผลตอบแทนในอนาคต” ซึ่งคล้าย ๆ กับเวลาเราเล่น “ม้ากระดก” ในตอนเราเด็ก ๆ นั่นเอง หรือจะว่าง่าย ๆ เวลาที่มีการลดดอกเบี้ยเมื่อไรผลตอบแทนในอนาคตของหุ้นก็จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันเราจะได้เห็นผลอย่างราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นแบบทันตาเห็น จากการที่เรายืมผลตอบแทนในอนาคตมาใช้นั่นเอง หรือคล้าย ๆ กับการที่เรายืมผลตอบแทนในอนาคตของสิ่งนั้น ๆ มาใช้ สอดคล้องกับภาวะในตอนนี้ที่ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤติจนลงมาอยู่ในระดับที่ตำ่มาก ๆ ที่ 0.00%-0.25% ในสหรัฐฯ ที่ฟังดูแย่ไปกว่านั้นก็คือ ตลาดหุ้นอาจจะอยู่ในภาวะเก็งกำไรจากการที่ดอกเบี้ยตำ่มาก ๆ ก็เป็นได้ เพราะ การที่ดอกเบี้ยตำ่นั้น การฝากเงินหรือการลงทุนในพันธบัตรก็อาจจะไม่สมเหตุสมผล จึงอาจทำให้ผู้คนแห่กันย้ายเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ที่ยังให้ผลตอบแทนได้อยู่ ซึ่งก็คือสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ เช่น หุ้น จุดจบของความสัมพันธ์ที่ว่าจะเป็นเช่นไร? งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา ความสัมพันธ์ย่อมมีวันจบลง ความสัมพันธ์ที่ว่านั้นจะจบลงได้ก็เมื่อสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ ที่ผู้คนต่างกันพาหนีตายจากวลี “เงินสด = ขยะ” ในตอนนี้ ลดลงมาตำ่มาก ๆ ไม่ต่างกับการถือเงินสดเอาไว้เฉย ๆ รวมถึงในวันที่ผู้คนต้องการนำเงินที่เข้าไปลงทุนออกมาจากหุ้นเพื่อจ่ายหนี้สินต่าง ๆ ของตนเอง จนเกิดการเทขายในที่สุด และในตอนนี้ความสัมพันธ์ที่ว่าก็ดูเหมือนจะเริ่มหมดทางไป เมื่อฝั่งซ้ายของม้ากระดกอย่าง “อัตราดอกเบี้ย” อยู่ในระดับที่แทบจะไม่เหลือนํ้าหนักให้ถ่วงอีกต่อไป (0.00%-0.25%) ซึ่งทางเลือกต่อไปก็คือ ต้องกดนํ้าหนักให้จมดินอย่างการใช้ดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งเป็นนโยบายที่หากตัดสินใจผิดพลาด เศรษฐกิจอาจอยู่ในภาวะอิ่มตัว หลังธุรกิจรากฐานของทุนนิยมอย่างธนาคาร อาจไม่สามารถทำกำไรจากการปล่อยกู้เงินเข้าระบบเศรษฐกิจได้เช่นเคย (อาจไม่นำเงินไปปล่อยกู้ เพราะ ได้ผลตอบแทนน้อยและเลือกไปทำอย่างอื่นแทนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า ทำให้เงินไม่ได้ไหลเข้าไปกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ) ดังนั้นภาพสรุปโดยรวมในอนาคตอาจจะเป็นว่าปริมาณหนี้ที่เพิ่มขึ้นเข้าไปในระบบตอนนี้อาจจะกลับมาเล่นงานพวกเราทุกคนเอง ตอนที่เศรษฐกิจกลับมาฝืดเคืองอีกครั้งหนึ่ง รายได้ของผู้คนเริ่มลดลงจ่ายหนี้ไม่ได้ และถอนทุนจากตลาดหุ้นเพื่อจ่ายหนี้ในที่สุด.. และนี่ก็คือสิ่งที่ตลาดหุ้นต้องชดใช้จากการยืมอนาคตมาต่อเวลา ณ ปัจจุบัน หรือหุ้นเทคไม่จำเป็นต้องยืมอนาคต? หุ้นเทคนั้นจะถือได้ว่าเป็นหุ้นที่มองอนาคตออกไปไกลมาก ๆ ก็ว่าได้ จากการที่การเติบโตของมันอยู่ในระดับที่สูง ทุกคนคงได้เห็นภาพกันแล้วว่าหุ้นเทคนั้นมีกำไรเติบโตได้อย่างเหลือเชื่อ ท่ามกลางวิกฤติและเหมือนจะปฏิเสธไปในตัวว่า หุ้นกลุ่มเหล่านั้นไม่ใช่หุ้นกลุ่มวัฎจักรที่คุณภาพขึ้น ๆ ลง ๆ ตามภาวะเศรษฐกิจ (Bond yield + Equity Premium – Growth) หรือ (ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล + ผลตอบแทนเพิ่มเติมชดเชยความเสี่ยงลงทุนในหุ้น – การเติบโต) และหากเราคิดมูลค่าผลตอบแทนของหุ้นโดยสูตรข้างต้นจากข้อมูลดังนี้… อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ 0.69% ผลตอบแทนเพิ่มเติมชดเชยความเสี่ยงลงทุนในหุ้นที่ 3.81% การเติบโต 25.81% (เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี) ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเป็น Amazon ซึ่งหากเราย้อนกลับไปมองการคิดมูลค่าที่ได้บอกมาก่อนหน้านั้น เราก็จะเห็นได้ว่าการเติบโต (Growth) ของหุ้นเทคอย่าง Amazon สามารถเอาชนะผลตอบแทนของหุ้นแบบปกติ (Earning yield) สิ่ง ๆ นี้มันหมายความว่าอะไร? ถ้าหากเราลองเอาอัตราการเติบโตของหุ้นเทคที่ว่าลบกับผลตอบแทนหุ้น หุ้นเทคนั้นจะให้ผลตอบแทนได้แบบ INFINITY หรือว่าไม่มีวันสิ้นสุด!! แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งที่หุ้นเทคยังคงต้องทำต่อไปก็คือรักษาระดับการเติบโตอันเหนือชั้นนี้ไว้ให้ได้ และหากวันใดที่อัตราการเติบโตลดลงจนตำ่กว่าผลตอบแทนของหุ้น (Earning yield) คำว่าไม่สิ้นสุดก็คงไม่มีอยู่จริงอีกต่อไป หรืออีกจุดสิ้นสุดหนึ่งก็คืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลพุ่งสูงขึ้นอย่างเหลือเชื่อจนเอาชนะผลตอบแทนของหุ้น ซึ่งผมมองว่ามีความเป็นไปได้สูงครับ จากผลตอบแทนพันธบัตรในตอนนี้ที่ตำ่มาก ๆ แต่ก็ยังอาจไม่ใช่ในเร็ววันนี้ ยักษ์ใหญ่ก็ล้มเป็นหรือในอนาคตหุ้นเทคจะเป็นดอทคอม (.com) หรือนิฟตี้ฟิฟตี้ (Nifty Fifty) หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับวิกฤติดอทคอมที่หุ้นเทคบางตัว เปิดตัวได้ไม่นานราคาก็พุ่งพรวดอย่างไม่สมเหตุสมผล แต่อาจจะไม่ค่อยคุ้นกับ “Nifty Fifty” สักเท่าไรนัก Nifty Fifty (ชื่อที่ใช้เรียกหุ้นยอดนิยม 50 ตัวในตลาดหุ้น หรือ ที่คุ้นหูกันกว่านั้นว่า “หุ้นบลูชิพ”) คือสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนครั้งหนึ่งเคยตีความว่ามันเป็นสุดยอดหุ้นสุดแกร่ง และมีขนาดใหญ่มั่นคง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่ได้เห็น IBM, Xerox หรือ Eastman Kodak กลับมาเฉิดฉายอีกต่อไป และเรียกได้ว่าแทบจะไม่เหลืออะไรเลยอีกต่อไป ดังนั้นการลงทุนในหุ้นเทคระยะยาวมาก ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำจริง ๆ หรือ? เราคงไม่ได้คำตอบในเร็ววันนี้ ในวันที่หุ้นเทคเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและโดดเด่น แต่ตลาดหุ้นมีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ จุดจบจะเป็นอย่างไรในอนาคต Mr. Market คงจะเฉลยให้เราเห็นเอง… ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin References https://csimarket.com/stocks/growthrates.php?code=AMZN https://www.linkedin.com/pulse/paradigm-shifts-ray-dalio https://www.oaktreecapital.com/insights/howard-marks-memos แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กำไรเวอร์วัง - FINNOMENA การรายงานงบไตรมาส 2 บริษัทต่าง ๆ ทยอยกันประกาศกันจบเกือบครบทั้งตลาด หลายบริษัทมีกำไร ช้ำชอก ช้ำอก ซึ่งก็เป็นผลจากพิษโควิดเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางบริษัทที่มีกำไรผงาดค้ำฟ้า 18 ส.ค. 2563 การรายงานงบไตรมาส 2 บริษัทต่าง ๆ ทยอยกันประกาศกันจบเกือบครบทั้งตลาด หลายบริษัทมีกำไร ช้ำชอก ช้ำอก ซึ่งก็เป็นผลจากพิษโควิดเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางบริษัทที่มีกำไรผงาดค้ำฟ้า บางบริษัทที่พึ่งพากำลังซื้อในประเทศ ดูงบแล้วก็แทบไม่น่าเชื่อว่ารายได้และกำไรโตได้อย่างไรในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แม้ส่วนตัวจะไม่เชื่อและไม่ค่อยให้เครดิตผู้บริหารบริษัทเหล่านี้เท่าไหร่ เพราะดูมีลับลมคมใน แต่ก็ต้องขอปรบมือให้ CFO ว่าเก่งจริง กระนั้นยังมีบางบริษัทที่รายได้และกำไรโตแบบของจริง จากประโยชน์ที่ได้จากสถานการณ์โควิด และกำไรที่ได้มานั้นก็ไม่ใช่แค่โตแบบธรรมดา แต่มันโตเวอร์วังในระดับ 4-500% แน่นอนว่าราคาหุ้นมันก็ขึ้นกระจุย ทะลุเพดานแล้วเพดานเล่า ก็ยังไม่หยุด ทีนี้ มันจึงมีคำถามว่ารายได้และกำไรที่เห็นในวันนี้ จะเป็นไปตามคำโฆษณาว่าในอนาคตมันจะโต ๆๆๆๆ ไปอีกหลาย ๆๆๆ เท่าจริงหรือไม่ ตลาดหุ้นไทยหนอ มันก็แบบนี้แหละ เดจาวูแล้วเดจาวูอีก ความจริงที่แท้จริงคือ บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต แรกเข้าตลาด มักจะมีลักษณะเป็น Growth Stock คือ มี Demand สูงมาก เกินกว่ากำลังการผลิต เข้าตลาดมาเพื่อระดมทุนขยายโรงงาน อีก Story นึงที่มักเล่นก็คือ ระดมทุนครั้งนี้จะทำให้บริษัทใหญ่ และ เกิด Economy of Scale มีอำนาจต่อรอง Supplier และ คู่แข่งรายใหม่เข้ายาก ช่วงแรกพวกนี้ รายได้จะเข้ามหาศาล และ มาร์จิ้นบาน แน่นอนว่าราคาหุ้นจะวิ่งจาก Story แบบนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปแค่ 1-2 ปี ความจริงก็ปรากฎ กำไรที่คาดหวังจะเริ่มไม่เข้าจาก 1. การคาดการณ์ Demand ที่ผิดพลาด 2. เกิด Over Supply จากที่ตัวเองขยายกำลังการผลิต และแน่นอน บรรดาคู่แข่งหน้าใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด อุตสาหกรรมการผลิต ถ้าจะมาบอกว่าคู่แข่งเกิดยาก เป็นเรื่องโคตรตลก เพราะแค่หาที่ตั้งโรงงาน เอาเครื่องจักรมาตั้ง แป๊บ ๆ ผลผลิตก็ออกมาแล้ว ให้นั่ง List รายชื่อหุ้นหลอกขายฝัน ตาม Step ข้างต้นมีจนนับไม่หวั่นไม่ไหว จำได้ว่า หุ้นเคยสวย ครั้งนึงมี Story ยอดขายถล่มทลาย คนจีนแห่มาซื้อ (คนจีนต้องโง่มาซื้อตลอดไป) ROE 60% ดังนั้น PE 50 เท่า โคตรถูก ขยายกำลังการผลิต ขยายสาขา ขยายไปจีน เราจะโคตร ๆๆ รวย กันแล้ว ทุกสำนัก Up ราคาเป้าหมายเป็นว่าเล่น แล้ววันนี้เป็นอย่างไร ยอดขายหด แถมมีของก็อป และจีนผลิตของคุณภาพดีกว่าในราคาที่ถูกกว่า ผุดโธ่ ขนาดสินค้าไฮเทคโนโลยี เค้ายังก็อปยังพัฒนาได้ดีกว่าต้นตำรับมาแล้ว กะอีแค่ครีมธรรมดาทำไมจีนจะทำไม่ได้ ราคาล่ะเป็นอย่างไร ไม่มีอะไรมากแค่จาก 24 บาท ก็มาที่ 1 บาท ถามว่าใครรวย แหม่ก็เจ้าของและเจ้ามือน่ะสิ แล้วใครล่ะที่จนลง หึ หึ แทบไม่ต้องเดา และแทงหมื่นนึงเลยว่า เดี๋ยวภาพแบบนี้ก็ต้องเกิดขึ้นอีก การเล่นหุ้นอุตสาหกรรมการผลิต ไปที่ PE 50 100 เท่า แล้วยังบอกว่ามันถูก เดี๋ยวปีหน้ากำไรเข้าเท่าตัว ปีถัดไปโตอีก ถ้าเชื่อแบบนั้น ก็… ขอให้เม่าทั้งหลายโชคดีมีชัยโห่ฮิ้ว ครับ ประกิต สิริวัฒนเกตุ ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/prakitsiriwattanaket/posts/2841560769406517 แท็ก: Article Basic Knowledge Short Content หุ้นไทย แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: หลังจากงบไตรมาส 2 ประกาศ ตลาดหุ้น ทองคำจะไปทางไหน? (17 ส.ค. 63) - FINNOMENA ช่วงนี้มีเหตุการณ์หวือหวาหลายอย่าง ตลาดหุ้นหลายตลาดทำ New High และทองคำก็ทำ All Time High ตามไป หลังจากนี้ทิศทางตลาดหุ้นจะไปทางไหน ทิศทางทองคำจะไปทางไหน และมีกองทุนไหนที่น่าสนใจลงทุน ติดตามได้ในสรุป LIVE ครับ 17 ส.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ช่วงนี้มีเหตุการณ์หวือหวาหลายอย่าง ตลาดหุ้นหลายตลาดทำ New High และทองคำก็ทำ All Time High ตามไป ผ่านมาครึ่งปีโดยสมบูรณ์แล้วหลังจากงบไตรมาส 2 ทยอยประกาศออกมา หลังจากนี้ทิศทางตลาดหุ้นจะไปทางไหน ทิศทางทองคำจะไปทางไหน และมีกองทุนไหนที่น่าสนใจลงทุน ติดตามได้ในสรุป LIVE ครับ ตลาดหุ้น ทองคำ จะไปทางไหน? ช่วงที่ผ่านมา Yield ของพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ดูภาพประกอบด้านล่าง) เนื่องจากปริมาณ Supply ที่สูงขึ้นกรณีทรัมป์ลงนาม Executive Order ให้สนับสนุนคนว่างงาน เมื่อกระทรวงการคลังต้องใช้เงินเพื่อดำเนินการตามนโยบายนี้จึงต้องออกพันธบัตรเพิ่ม นักลงทุนมองว่ากำลังจะมี Supply ของพันธบัตรเข้ามา จึงทำให้พันธบัตรมีราคาถูกลงและดัน Yield ของพันธบัตรขึ้นมา ตัวเลข Yield ของพันธบัตรนี้สำคัญ เพราะเมื่อ Yield พันธบัตรสูงขึ้นจะทำให้ Real Yield สูงขึ้นตาม ตามสมการ อัตราดอกเบี้ยแท้จริง (Real Yield) = อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Nominal Bond Yield) – Breakeven Inflation และจากความสันพันธ์ระหว่าง Real Yield กับราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา ราคาทองคำทำจุดสูงสุดเมื่อ Real Yield ทำจุดต่ำสุดพอดี และราคาทองปรับตัวลง เมื่อ Real Yield ดีดกลับขึ้นมา (รูปด้านล่างเป็น Real Yield แบบ Invert) อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกับราคาทองคำในช่วงนี้ คือ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า ปกติราคาทองคำจะสูงขึ้นเมื่อดอลลาร์อ่อนค่า แต่ตอนนี้เมื่อ Real Yield สูงขึ้น จึงเป็นการคานกันระหว่าง 2 ปัจจัยที่ตรงข้ามกัน ทำให้ราคาทองคำยังไม่ไปไหน Real Yield ที่สูงขึ้นก็เป็นปัญหาสำหรับ FED เช่นกัน เพราะ FED ต้องการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่งวิธีที่ FED จะกด Real Yield ลงมาได้มีอย่ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 อัดฉีด QE เข้าไปเพิ่ม เพื่อซื้อพันธบัตรและกระตุ้นเงินเฟ้อ วิธีที่ 2 ทำ Yield Curve Control ทำให้ Yield ของพันธบัตรคงที่ แต่วิธีนี้จะไม่มีการพิมพ์เงินออกมา ซึ่งไม่รู้ว่าตลาดจะตอบรับยังไง กลยุทธ์ของ FED เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางทั้งราคาทองคำและตลาดหุ้น เพราะเมื่อ Real Yield ลดลง ความสนใจก็จะกลับมาสู่ทองคำและตลาดหุ้น ทำให้ทองคำและตลาดหุ้นวิ่งต่อ สำหรับมุมมองจากนักวิเคราะห์ Goldman Sachs คาดการณ์ว่าดัชนี S&P 500 จะโตขึ้นกว่า 20% ขึ้นไปที่ 3,800 ในปี 2021 และคาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2020 นี้จะสามารถขึ้นไปถึงระดับ 3,600 (ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2020 ดัชนีอยู่ที่ 3,370) หลังเศรษฐกิจเริ่มทยอยฟื้นตัวได้แล้ว ส่องงบหุ้นจีน สัปดาห์ที่แล้วบริษัทในจีนเริ่มทยอยประกาศงบไตรมาสที่ 2 ออกมา Tencent ถึงแม้ว่ารายได้และกำไรจะมากกว่าคาดการณ์ แต่ราคาหุ้นยังนิ่งอยู่ สำหรับกรณีทรัมป์แบน WeChat ผู้บริหารมองว่ากระทบแค่ธุรกิจนอกประเทศจีนเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียง 4.4% Moutai สุราจีน เป็นหนึ่งใน Consumer Product ที่จะโตได้ระหว่างวิกฤต รายได้ยังคงเติบโตถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าคาดการณ์ ซึ่งหุ้น Moutai มีขนาด Market Cap ใหญ่เป็นอันดับต้นๆใน CSI300 เลยทีเดียว NetEase บริษัทเกมมือถือออนไลน์ รายได้ยังคงเติบโตมากกว่าคาดการณ์ หนุนโดย Mega Trend ของ Gaming Industry ที่สามารถสร้างงานสร้างอาชีพได้จริง บริษัทอื่นๆ เช่น Alibaba, Citic Securities, China Merchants Bank งบจะประกาศตามมาในสัปดาห์นี้ ช่วงแนะนำกองทุน สำหรับการลงทุนระยะสั้น แนะนำเป็นกองทุนจีน TMB-ES-CHINA-A และ TMBCHEQ รายละเอียดทั้งหมดอยู่ในบทความ FINNOMENA Tactical Call : ตลาดหุ้นจีนถูกจุดพลุ จังหวะ Follow Buy ระยะสั้นเกิดขึ้น สำหรับกองทุนเพื่อการลงทุนระยะยาว เป็นกองทุนที่อยู่ใน Mega Trend มีแนวโน้มเติบโตได้ในระยะยาว แนะนำกอง ONE-UGG-RA ลงทุนในหุ้นเติบโตทั่วโลก, กอง K-USA-A(A) ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งมีหุ้นเทคฯ ชั้นนำจำนวนมาก, กอง TMBCOF ลงทุนหุ้นเทคฯ จีน หากสนใจกองทุน สามารถเข้าไปดูข้อมูลทุกแง่มุมของแต่ละกองได้ โดยคลิกที่ชื่อกองทุนนั้นๆ ได้เลยครับ สำหรับสรุป LIVE ก็จบเพียงเท่านี้ อยากดู LIVE เต็มๆ แบบละเอียดๆ กดดูได้ที่ลิงก์วิดิโอบนหัวบทความได้เลยครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Picture Slide Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
อนาคตของหุ้นท่องเที่ยว - FINNOMENA ล่าสุด ข่าววัคซีนโควิด-19 ทำให้หุ้นไทยที่เกี่ยวข้องกับโควิดโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยววิ่งขึ้นไปอย่างแรง หุ้นที่เกี่ยวกับโควิด19โดยเฉพาะการท่องเที่ยวนั้น จะกลับมาเหมือนเดิมก่อนโควิดหรือไม่และเมื่อไร? 17 ส.ค. 2563 สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวเรื่องการประกาศใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ที่รัสเซียซึ่งเป็นประเทศแรกที่เริ่มฉีดป้องกันให้กับประชาชน และแม้ว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับว่าเป็นวัคซีนที่ใช้ได้และปลอดภัยจริงเนื่องจากเป็นวัคซีนที่ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนที่เคร่งครัดพอ แต่ก็ทำให้เกิดความรู้สึกว่าโลกกำลังใกล้ที่จะเอาชนะโควิดได้แล้วโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวงการตลาดหุ้น นั่นคงมีส่วนทำให้หุ้นไทยที่เกี่ยวข้องกับโควิดโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยววิ่งขึ้นไปอย่างแรง หุ้นตัวใหญ่ที่สุดคือหุ้นของสนามบิน AOT วิ่งขึ้นไป 9% ในขณะที่หุ้นโรงแรมใหญ่ที่สุดคือ MINT บวกเพิ่มขึ้น 10% ในวันเดียว ส่วนหุ้นของสายการบินหรือแม้แต่หุ้นค้าปลีกที่อิงอยู่กับการท่องเที่ยวต่างก็ปรับตัวขึ้นกันอย่างน้อย 5-6% โดยรวมแล้ว ภายในช่วง 2-3 วันหุ้นเหล่านี้ปรับตัวขึ้นประมาณ 10% อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสัปดาห์ หุ้นก็ปรับตัวกลับลงมาอย่างมีนัยสำคัญ คำถามคือ หุ้นที่เกี่ยวกับโควิด19โดยเฉพาะการท่องเที่ยวนั้น จะกลับมาเหมือนเดิมก่อนโควิดหรือไม่และเมื่อไร? การที่จะตอบคำถามนี้เราจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ว่าการท่องเที่ยวของไทยจะกลับมาเมื่อไร ใช้เวลากี่ปีจำนวนนักท่องเที่ยวถึงจะกลับมาเท่าเดิม นอกจากนั้นก็จะต้องดูว่าบริษัทหรือหุ้นที่อยู่ในตลาดจะทำกำไรและแข็งแรงเหมือนเดิมหรือไม่ ที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ภาพของหุ้นท่องเที่ยวในสายตาของนักลงทุนนั้นจะกลับมาสดใสเป็นซุปเปอร์สต็อกและมีค่ามากเหมือนเดิมก่อนเกิดโควิด19 หรือไม่ ข้อแรกก็คือ ผมเองคิดว่าสถานะของประเทศไทยในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว “ยอดนิยม” นั้น น่าจะยังคงอยู่ การจัดการเรื่องการติดเชื้อที่ดีมากช่วยให้นักท่องเที่ยวสบายใจถ้าจะมาท่องเที่ยวเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นในโลก การที่ประเทศไทยอยู่ใกล้จีนที่มีคนจำนวนมากและสภาวะทางเศรษฐกิจยังน่าจะดูดีหลังจากโควิด19 ทำให้เราน่าจะรักษาฐานการท่องเที่ยวจากจีนได้ อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เลวร้ายมาก รวมถึงการที่โรคโควิดยังจะอยู่กับเราอีกนานพอสมควรก่อนที่มันจะลดลงจนแทบจะหมดไปนั้น จะทำให้การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะกลับมาเท่าเดิม ผมเองคิดว่าเราอาจจะต้องใช้เวลาถึง 3-4 ปี ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่หนักมากเนื่องจากธุรกิจมีต้นทุนคงที่ที่เป็นค่าเสื่อมและการดูแลอุปกรณ์และสถานที่รวมถึงการต้องมีกำลังคนที่มีต้นทุนสูงในระดับหนึ่งไม่ว่าจะมีรายได้มากน้อยแค่ไหน ผลก็คือ กำไรของกิจการอาจจะย่ำแย่ไปอีกหลายปี ประเด็นสำคัญข้อสองก็คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่ในวงการการท่องเที่ยวนั้น ต่างก็สร้างกำลังการผลิตกันอย่างมากมายในช่วงที่ผ่านมาก่อนเกิดโควิด19 และกำลังการผลิตเหล่านั้นไม่สามารถลดลงมาได้ สนามบินถูกสร้างเพิ่มขึ้นและกำลังเสร็จในขณะที่คนใช้ลดลงมาก จำนวนเครื่องบินที่มีอยู่มากเกินความจำเป็นและต้องจอดอยู่และมีต้นทุนในการดูแลรักษาที่สูงมาก โรงแรมถูกสร้างหรือซื้อเพิ่มขึ้น จำนวนมากก็อยู่ในต่างประเทศที่สถานการณ์เลวร้ายเท่ากันโดยที่ต้นทุนค่าเสื่อมราคาและการดูแลสถานที่สูงและลดไม่ได้มาก ห้างค้าปลีกกำลังสร้างเพิ่มขึ้นอีกมาก หลายแห่งก็เพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากแต่เมื่อเสร็จจริงก็อาจจะพบว่านักท่องเที่ยวกลับมีน้อยลงกว่าเดิม ทั้งหมดนั้น ธุรกิจต่างก็กู้เงินเพิ่มขึ้นมหาศาลอานิสงส์ส่วนหนึ่งมาจากการที่เงินกู้หาได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำมาก นี่ก็เป็นภาระที่หนักมากสำหรับบริษัทเหล่านั้น เพราะแม้ว่ารายได้จะเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่กำไรก็จะยังไม่มาอีกนานพอสมควร ไม่ต้องพูดถึงกระแสเงินสดที่จะมีน้อยเพราะต้องคืนหนี้ก้อนใหญ่ อัตราการจ่ายปันผลคงจะต้องต่ำต่อไปอีกนาน มองไกลออกไปหลังจากที่การท่องเที่ยวกลับมาเท่าเดิมก่อนเกิดโควิด19 แล้ว ก็ยังจะมีคำถามตามมาว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเดินทางจะเติบโตเร็วต่อไปอีกหรือไม่ เพราะนี่จะเป็นตัวกำหนดว่าหุ้นท่องเที่ยวในระยะยาวจะเป็น “หุ้นโตเร็ว” อย่างที่นักลงทุนคิดและเข้าใจกันมาตลอดหรือไม่ ประเด็นนี้มีความสำคัญต่อการประเมินราคาหุ้นมาก เพราะหุ้นท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นไทยนั้น มีค่า PE ที่สูงมานานแล้วจนถึงโควิด19 และต่อมาจนถึงวันนี้ที่ค่า PE ยิ่งสูงขึ้นไปมากเพราะกำไรของบริษัทกำลังลดลงอย่างมาก ว่าที่จริงหุ้นในกลุ่มนี้มีค่า PE ในระดับ “ซุปเปอร์สต็อก” มานานคือมีค่า PE ในระดับ 30-40 เท่าขึ้นไปทั้ง ๆ ที่เป็นธุรกิจที่ไม่มีอำนาจทางการตลาด หรือที่มีก็เป็นธุรกิจที่ถูกควบคุมราคาและมีข้อจำกัดอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเป็นหุ้นซุปเปอร์สต็อกจริง ๆ ได้ การเติบโตของการท่องเที่ยวของไทยนั้น ถ้ามองให้ชัดเจนจริง ๆ ก็คือ ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานั้น มีการเติบโตดีแต่ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณปีละ 6-7% โดยเฉลี่ยเท่านั้น แต่หลังจากปี 2552 ซึ่งเป็นปีหลังจากวิกฤติซับไพร์ม การเติบโตดีขึ้นเป็น 2 เท่าคือประมาณปีละ 12-14% โดยเฉลี่ย จนทำให้เรามีนักท่องเที่ยวปีละประมาณ 40 ล้านคนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการเติบโตใน 2-3 ปีที่ผ่านมาจะชะลอตัวลงและผมคิดว่าอัตราการเติบโตต่อจากฐานที่สูงมากนี้ก็จะช้าลงและกลับมาเป็น “ปกติ” คือไม่น่าจะเกินปีละ 6-7% เหมือนเดิม การเติบโตในช่วงตั้งแต่ปี 2552 นั้นน่าจะมาจากการที่จีน “เปิดประเทศ” ให้คนเดินทางออกไปเที่ยวได้เต็มที่เป็นครั้งแรก การเติบโตจึงสูงผิดปกติ ดังนั้น สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าการท่องเที่ยวไทยหลังจากที่นักท่องเที่ยวจะกลับมาเป็น 40 ล้านคนอานิสงส์จากการฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด19 แล้ว จะไม่ใช่อุตสาหกรรมที่โตเร็วมากอีกต่อไป และดังนั้น หุ้นขนาดใหญ่ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะไม่ใช่หุ้นที่โตเร็วมากอีกต่อไป ค่า PE ของหุ้นก็ไม่ควรจะสูงกว่าค่า PE ของตลาดมากอย่างที่เป็นในขณะนี้ สิ่งที่ผมอยากจะเตือนสำหรับคนที่คาดหวังว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็วหลังจากที่โควิด19 จบเพราะมีการผลิตและกระจายวัคซีนไปอย่างทั่วถึงทั่วโลกและเข้าไปซื้อหุ้นท่องเที่ยวในราคาที่สูงก็คือ นี่อาจจะเป็นการ “เก็งกำไร” ที่มีโอกาสขาดทุนได้เท่า ๆ กับกำไร เหตุผลนั้นมีหลายอย่าง ประการแรกก็คือ เรายังไม่รู้ว่าโควิดจะสงบจริง ๆ ที่จะทำให้คนท่องเที่ยวกันเต็มที่ได้เมื่อไร แม้ว่าจะมีวัคซีนแล้ว ก็ยังใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าที่เราจะมั่นใจได้ว่ามันปกป้องได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือสูงมากจนคนไม่ต้องสนใจอีกต่อไป ประเด็นต่อมาก็คือ ภาวะเศรษฐกิจโลกเองก็มีส่วนต่อการท่องเที่ยวไม่น้อย ถ้าเศรษฐกิจแย่ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศก็จะน้อยลง ดังนั้น จำนวนของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาเที่ยวไทยก็อาจจะไม่มากอย่างที่คิด และก็เช่นเดียวกัน คนที่เดินทางมาเพื่อธุรกิจก็จะน้อยลงเช่นกัน ดังนั้น นี่คือความไม่แน่นอนที่คาดการณ์ได้ยาก ประเด็นที่น่าห่วงยิ่งกว่าก็คือ ถ้าตัวเลขนักท่องเที่ยวต่ำกว่ากำลังการผลิตหรือบริการ หรือในเรื่องของการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เราก็พูดถึง Occupancy Rate เช่น ถ้าเป็นโรงแรมก็คือจำนวนคนพักเทียบกับจำนวนห้องทั้งประเทศ ถ้าเป็นสายการบินก็คือคนที่ขึ้นเครื่องกับที่นั่งที่มี เป็นต้น ตัวเลข Occupancy นี้ เป็นตัวที่จะบอกว่าธุรกิจจะได้กำไรหรือขาดทุน และมักจะมีอัตรามาตรฐานประมาณหนึ่ง เช่น ถ้าเป็นโรงแรมอาจจะต้องมีคนพักอย่างน้อย 50-60% หรือเครื่องบินอาจจะต้องมีคนนั่งอย่างน้อย 65-70% เป็นต้นถึงจะได้กำไร แต่ถ้าต่ำกว่านั้นก็จะขาดทุนไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน และนี่ก็เป็นเหตุผลที่โรงแรมใหม่ส่วนใหญ่ในช่วงเปิดแรก ๆ ก็จะขาดทุนเพราะยังไม่มีลูกค้ามากพอ ต้องรอจนแขกมากพอแล้วถึงจะมีกำไรซึ่งบ่อยครั้งใช้เวลาหลายปี ผมกำลังบอกว่านี่เป็นความเสี่ยงของหุ้นท่องเที่ยวในขณะนี้ เหตุผลสำคัญก็คือ นอกจากการฟื้นตัวจะเร็วแค่ไหนยังไม่แน่นอน และเมื่อฟื้นตัวแล้ว ภาพของอุตสาหกรรมก็อาจจะเปลี่ยนไป เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ มันอาจจะไม่ใช่อุตสาหกรรมที่โตเร็วและกำไรมากอีกต่อไป ดังนั้น ตลาดหุ้นก็จะปรับค่า PE ของอุตสาหกรรมและบริษัทลดลง และในกรณีที่เลวร้ายที่กำลังการผลิตสูงกว่าความต้องการต่อเนื่องยาวนาน กำไรของกิจการก็จะถูกกระทบยาวนาน หุ้นท่องเที่ยวอาจจะกลายเป็นกลุ่มที่มีปัญหายาวนานอย่างที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยย้อนหลังไปเกือบ 20 ปี ที่การท่องเที่ยวไม่ดีต่อเนื่องยาวนาน จนมีคำพูดของนักลงทุนในขณะนั้นว่า มีสถานที่สองแห่งที่นักลงทุนไม่ควรเข้าไปคือ โรงพยาบาลกับโรงแรม ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/08/17/2368 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content หุ้นท่องเที่ยว แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รวมกองทุนขั้นเทพจาก บลจ. ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีดีที่สุด - FINNOMENA เคยสงสัยไหมว่า ในบรรดากองทุนทั้งหมดของแต่ละ บลจ. กองทุนไหนคือ "กองตัวท็อป" มาดูให้ชัดๆ กันเลยว่า กองทุนที่ทำผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีได้ดีที่สุดของแต่ละ บลจ. มีกองทุนอะไรบ้าง 1 ธ.ค. 2565 เคยสงสัยไหมว่า ในบรรดากองทุนทั้งหมดของแต่ละ บลจ. กองทุนไหนคือ “กองตัวท็อป” มาดูให้ชัดๆ กันเลยว่า กองทุนที่ทำผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีได้ดีที่สุดของแต่ละ บลจ. มีกองทุนอะไรบ้าง หมายเหตุ: 1. เปรียบเทียบโดยใช้เครื่องมือบนเว็บไซต์ finnomena.com/fund 2. กองทุนแต่ละประเภทมีความเสี่ยงและผลตอบแทนคาดหวังแตกต่างกัน โปรดระมัดระวังการเปรียบเทียบกองทุนข้ามประเภท 3. เปรียบเทียบจากผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี จึงไม่รวมกองทุนที่เปิดมาต่ำกว่า 3 ปี บลจ. กรุงไทย (KTAM) อันดับ 1 KT-PRECIOUS (ระดับความเสี่ยง: 7) ลงทุนในหุ้นธุรกิจทองคำ/โลหะมีค่า ผลตอบแทนย้อนหลัง 15.96% ต่อปี อันดับ 2 KT-US-A (ระดับความเสี่ยง: 6) ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ผลตอบแทนย้อนหลัง 14.52% ต่อปี อันดับ 3 KT-GOLD (ระดับความเสี่ยง: 8) ลงทุนในทองคำ ผลตอบแทนย้อนหลัง 12.28% ต่อปี บลจ. กรุงศรี (KSAM) อันดับ 1 KF-GTECH (ระดับความเสี่ยง: 7) ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก ผลตอบแทนย้อนหลัง 13.58% ต่อปี อันดับ 2 KF-HGOLD (ระดับความเสี่ยง: 8) ลงทุนในทองคำแบบ Hedge ค่าเงิน ผลตอบแทนย้อนหลัง 12.05% ต่อปี อันดับ 3 KF-ORTFLEX (ระดับความเสี่ยง: 6) ลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผลตอบแทนย้อนหลัง 11.28% ต่อปี บลจ. กสิกรไทย (KAsset) อันดับ 1 K-USA-A(D) (ระดับความเสี่ยง: 6) ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ผลตอบแทนย้อนหลัง 25.23% ต่อปี อันดับ 2 K-USXNDQ-A(D) (ระดับความเสี่ยง: 6) ลงทุนในหุ้นดัชนี NASDAQ-100 ผลตอบแทนย้อนหลัง 21.94% ต่อปี อันดับ 3 K-GOLD-A(D) (ระดับความเสี่ยง: 8) ลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผลตอบแทนย้อนหลัง 13.06% ต่อปี บลจ. ไทยพาณิชย์ (SCBAM) อันดับ 1 SCBBLN (ระดับความเสี่ยง: 6) ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ผลตอบแทนย้อนหลัง 15.13% ต่อปี อันดับ 2 SCBGOLDH (ระดับความเสี่ยง: 8) ลงทุนในทองคำแบบ Hedge ค่าเงิน ผลตอบแทนย้อนหลัง 13.42% ต่อปี อันดับ 3 SCBGOLD (ระดับความเสี่ยง: 8) ลงทุนในทองคำ ผลตอบแทนย้อนหลัง 12.20% ต่อปี บลจ. ทหารไทย (TMBAM) อันดับ 1 TMBUSBLUECHIP (ระดับความเสี่ยง: 6) ลงทุนในหุ้น Blue Chip สหรัฐฯ ผลตอบแทนย้อนหลัง 16.77% ต่อปี อันดับ 2 TMBCOF (ระดับความเสี่ยง: 6) ลงทุนในหุ้นจีน ผลตอบแทนย้อนหลัง 14.75% ต่อปี อันดับ 3 TMBGQG (ระดับความเสี่ยง: 6) ลงทุนในหุ้นเติบโตทั่วโลก ผลตอบแทนย้อนหลัง 12.49% ต่อปี บลจ. บัวหลวง (BBLAM) อันดับ 1 B-INNOTECH (ระดับความเสี่ยง: 7) ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก ผลตอบแทนย้อนหลัง 18.96% ต่อปี อันดับ 2 BGOLD (ระดับความเสี่ยง: 8) ลงทุนในทองคำ ผลตอบแทนย้อนหลัง 11.67% ต่อปี อันดับ 3 BCARE (ระดับความเสี่ยง: 7) ลงทุนในหุ้น Health Care ทั่วโลก ผลตอบแทนย้อนหลัง 8.76% ต่อปี สนใจกองทุนของหลายๆ บลจ. สำหรับนักลงทุนที่ชื่นชอบกองทุนจากหลากหลาย บลจ. ต้องการจัดพอร์ตแบบเป็นกลางไม่ลำเอียง เพราะกองทุนของแต่ละ บลจ. มีดีไม่เหมือนกัน นักลงทุนสามารถเปิดบัญชีลงทุนกับ FINNOMENA ได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้เอกสาร เปิดครั้งเดียวลงทุนได้พร้อมกัน 21 บลจ. สามารถดูขั้นตอนการเปิดบัญชีได้ที่ https://finnomena.force.com/s/article/oa อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลแต่ละกองทุนให้ดี และเลือกลงทุนในความเสี่ยงที่เรารับได้เท่านั้นครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: Article Basic Infographic Picture Slide Product Recommend scb Short Content tmb กรุงศรี กรุงไทย กสิกร กองทุน บัวหลวง แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: FANGMA ดีกว่าคาด หนุนตลาดหุ้นบวกสวน GDP (3 ส.ค. 63) - FINNOMENA งบไตรมาส 2 ออกมาแล้ว หุ้นกลุ่ม FANGMA ตัวเลขออกมาเขียวชอุ่ม ผลักหุ้นพุ่งสวนทาง GDP ที่หดตัวกว่า 32.9% สำหรับใครที่พลาด LIVE รายการ THE OPPORTUNITY เช้านี้ ยังมีสรุป LIVE มาให้อ่านกันเหมือนเดิม ถึงจะพลาด LIVE แต่รับรองว่าไม่พลาดเนื้อหาใน LIVE และกองทุนแนะนำแน่นอน 4 ส.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> พบกับ FINNOMENA Opp Day กันอีกครั้ง LIVE วันนี้ลองเปลี่ยนเวลาออกอากาศจากเวลา 14.00 น. เป็น 10.00 น. เพราะมีคอมเมนต์จากผู้ชมมาว่าดูรายการ THE OPPORTUNITY จบก็เลยเวลา Cut-off ซื้อขายกองทุนพอดี กดซื้อไม่ทัน สำหรับใครที่เพิ่งตามรายการ THE OPPORTUNITY เป็นเทปแรก ความตั้งใจของรายการนี้คือการแชร์กองทุนที่น่าสนใจ ที่ทีมงาน FINNOMENA มองแล้วว่าดี มาแนะนำให้นักลงทุนที่ต้องการลงกองทุนรายกองหรือมีพอร์ตกองทุนอยู่แล้วแต่ยังมีเงินเย็นเหลืออยู่ได้มีโอกาสในลงทุนเพิ่ม อย่างไรก็ตามอำนาจในการตัดสินใจยังอยู่ที่นักลงทุน เพราะคนที่รับความเสี่ยงในการลงทุนก็คือนักลงทุนทุกท่านเอง สำหรับใครที่พลาด LIVE เช้านี้หรือไม่มีเวลานั่งดูยาวๆ ยังมีสรุป LIVE มาให้อ่านกันเหมือนเดิม ถึงจะพลาด LIVE แต่รับรองว่าไม่พลาดเนื้อหาใน LIVE แน่นอน รีวิว Tactical Call ทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาของ FINNOMENA กองทุนที่แนะนำในรายการ THE OPPORTUNITY เป็นกองทุนที่ FINNOMENA มองว่าสามารถลงทุนในระยะยาวได้ สำหรับลงในพอร์ต DIY ซึ่งจะต่างจาก Tactical Call ที่เป็นการจับจังหวะการลงทุนระยะสั้น ระยะเวลาในการถือไม่เกิน 3-6 เดือนเท่านั้น ช่วงที่ผ่านมา FINNOMENA เคยทำ Tactical Call ไป 3 ครั้ง ครั้งนี้เลยถือโอกาสรีวิวให้นักลงทุนฟังกันว่า Performance ของแต่ละครั้งเป็นอย่างไร Tactical Call ครั้งที่ 1: TMBGQG ครั้งแรกช่วง COVID-19 ระบาด ตลาดตกลงมาแรง Tactical Call เข้าลงทุนในกอง TMBGQG เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะเกิด Wave B ตามทฤษฎี Elliott Wave สำหรับทำกำไรระยะสั้น ผลลัพธ์คือทำกำไรได้ถึงเป้าที่ประมาณ 10% อ่านรายละเอียดได้ในบทความ รอบ Bear Market Rally จังหวะทำกำไรระยะสั้นมาแล้ว! และบทความ รอบ Bear Market Rally ใกล้จบ ล็อกกำไรเตรียมเงินไว้รอบหน้า Tactical Call ครั้งที่ 2: ONE-UGG-RA และ KF-GTECH สำหรับ Tactical Call ครั้งที่ 2 ตอนกลางเดือนพฤษภาคม เกิดสัญญาณเทคนิคในกราฟดัชนี S&P 500 กราฟทะลุผ่าน Golden Ratio ขึ้นไปได้ จึงแนะนำเข้าลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มผู้ชนะฝ่าวิกฤต ผลลัพธ์การลงทุนเก็บกำไรได้ประมาณ 13-21% อ่านรายละเอียดได้ในบทความ S&P 500 ทะลุผ่าน Golden Ratio จังหวะทำกำไรระยะสั้นมาอีกครั้ง และบทความ ถึงจังหวะทำกำไร หลังดัชนี S&P500 และ Nasdaq ถึงเป้า Tactical Call ครั้งที่ 3: TMB-ES-CHINA-A และ TMBCHEQ ครั้งที่ 3 FINNOMENA แนะนำเข้าลงทุนในหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ หรือหุ้น A-Share เนื่องจากตลาดหุ้นจีนพุ่งจุดพลุจากการลงทุนของรายย่อย แนะนำให้เข้าลงทุนไปเมื่อวันที่ 9 ก.ค. และปัจจุบันยังไม่มีการแนะนำให้ออกหรือ Stop Loss อ่านรายละเอียดได้ในบทความ ตลาดหุ้นจีนถูกจุดพลุ จังหวะ Follow Buy ระยะสั้นเกิดขึ้น Market Wrap Up หุ้นกลุ่ม FANGMA งบเขียวชอุ่ม หุ้นพุ่งไม่สนใจ GDP ที่หดตัว -32.9% สัปดาห์ที่ผ่านมามีการประกาศงบของบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ ซึ่งหุ้นกลุ่ม FANGMA งบออกมาตัวเลขเขียวเกือบทั้งกระดาน หุ้นหลายตัวทำ New High สวนทาง GDP ที่ประกาศออกมาหดตัว -32.9% กลุ่ม FANGMA ประกอบไปด้วยหุ้น Facebook / Amazon / Netflix / Google / Microsoft / Apple ตัวเลขงบการเงินสรุปดังรูป หุ้น Facebook ทำ All Time High ใหม่ ถึงจะเจอแฮชแท็คคว่ำบาตรก็ผ่านมาได้แถมยังโตขึ้น บริษัท Amazon ขนาดเอากำไรไปช่วยโควิดแล้ว Earnings per Share ก็ยังโตกว่าขึ้นกว่า 97% เทียบกับปีก่อน และ Apple เพิ่งสร้างปรากฏการณ์ใหม่ไปเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ราคาหุ้นทะลุ New High เดิมและทำให้บริษัท Apple กลายเป็นบริษัทที่มี Market Cap ใหญ่ที่สุดในโลก เอาชนะบริษัท Saudi Aramco ไปเรียบร้อย หุ้นเทคฯ สหรัฐฯ กลุ่มนี้นับว่าเติบโตแข็งแรง ซึ่งกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเหล่านี้จะสรุปท้ายบทความ หุ้นสายวัฏจักรอาจต้องรอ เพราะ GDP และ Initial Jobless Claim ไม่สู้ดี GDP ไตรมาส 2 ของสหรัฐฯ ประกาศออกมาติดลบกว่า 32.9% และมีจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 2 สัปดาห์ต่อเนื่อง เป็นครั้งแรกหลังการเปิดเมือง ซึ่งอาจกระทบหุ้นกลุ่มที่เติบโตตามวัฏจักร เพราะจากตัวเลขทั้งสองส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นเร็วๆ นี้ หุ้นเทคฯ สหรัฐฯ ออกมาดูดี แล้วหุ้นเทคฯ จีนเป็นไงบ้าง ฝั่งประเทศจีนยังไม่มีการประกาศงบออกมา ซึ่งจะประกาศภายในเดือนนี้ตามตาราง ซึ่งบริษัทอย่าง Tencent และ Alibaba นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะโตขึ้นกว่าไตรมาสที่แล้ว ส่วนบริษัท Ping An บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในจีน (เป็นหุ้นที่ CP Group ของเจ้าสัวธนินท์ลงทุนอยู่ด้วย) ซึ่งมี Market Cap ใหญ่มากในตลาดหุ้น A-Share ก็ได้รับแรงหนุนจากเบี้ยประกันที่ราคาสูงขึ้น ส่งผลให้น่าจะโตขึ้นในไตรมาสนี้เช่นเดียวกัน แนะนำกองทุนลงทุนระยะยาว กองทุนที่แนะนำในรายการ THE OPPORTUNITY เป็นกองทุนที่เป็น Long-term Call แนะนำให้ลงทุนในระยะยาวซึ่งเลือกตามปัจจัยพื้นฐาน เลือกตลาดที่เป็น Bullish Fundamental ต่างจาก Tactical Call ที่ลงทุนตามสัญญาณเทคนิคอลเป็นหลัก เนื่องจากพื้นฐานของบริษัทเทคโนโลยีตอนนี้ดูดี FINNOMENA จึงแนะนำลงทุนในกองทุนเทคโนโลยีที่ลงทุนในสหรัฐฯ และจีน มีกองทุนแนะนำอยู่ 3 กองด้วยกัน 1. TMBCOF: ถ้าหากชื่นชอบบริษัทเทคฯ จีน แนะนำลงกองทุน TMBCOF เป็นกองฮิตกองหนึ่งที่ลงทุนใน Tencent, Alibaba, Ping An ครบถ้วน Performance ย้อนหลังอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 2. K-USA-A(A) และ K-USA-A(D): กองทุนนี้ลงทุนในหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ เช่น Shopify, Amazon, Spotify, Facebook สำหรับนักลงทุนที่ชอบหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ แนะนำลงกองทุนนี้ ซึ่ง Performance ย้อนหลังก็อยู่ในเกณฑ์ดีมากเช่นกัน ส่วนจะเลือกแบบสะสมมูลค่า (A) หรือจ่ายปันผล (D) ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล 3. ONE-UGG-RA: กองทุนสุดท้าย เป็นกองที่ติดชาร์ตกองทุนที่ทำผลงานยอดเยี่ยมที่สุดในช่วงที่ผ่านมา สำหรับนักลงทุนที่ชอบทั้งหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ และหุ้นเทคฯ จีน แนะนำกองทุนนี้ เพราะเป็นกองทุนที่ลงทุนในทั้งสองภูมิภาค ลงทุนทั้งในหุ้น Tesla, Amazon, Facebook, Tencent, Alibaba และมีการปรับพอร์ตนำหุ้นเทคฯ จีนเข้ามาเพิ่มในพอร์ตเล็กน้อยด้วย สำหรับสรุป LIVE ก็จบเพียงเท่านี้ ถ้าอยากดู LIVE เต็มๆ กดดูได้ที่ลิงก์วิดิโอบนหัวบทความได้เลยครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN เคยไหม? รู้สึกสะดวกกับการใช้บริการธนาคารเพื่อซื้อกองทุน แถมได้เอกสิทธิ์พิเศษ แต่มักได้รับการแนะนำผลิตภัณท์ที่ไม่ตรงกับความต้องการ เราขอนำเสนอ FINNOMENA แพลตฟอร์มที่จะแนะนำกองทุนที่ตรงกับความต้องการของคุณจริง ๆ เปิดบัญชีลงทุนออนไลน์ ซื้อกองทุนได้เร็วสุดภายในวันทำการถัดมา ลองเลย! https://finno.me/oa1327 แท็ก: Advance Article Picture Slide Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: ลงทุนเกาะกระแสโลกอนาคตกับกองทุน LHMEGA (MEGATRENDS) - FINNOMENA หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจมุมมองการลงทุนในโลกแห่งอนาคต และสินทรัพย์อย่าง REITs ในวันนี้ FINNOMENA Live จะพาทุกคนไปสำรวจมุมมองของ REITs โดยผู้อำนวยการจาก บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โดยตรง พร้อมกับจับตาดูเทรนด์การลงทุนยุคใหม่ และกองทุนแนะนำที่พลาดไม่ได้ 24 ก.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจมุมมองการลงทุนในโลกแห่งอนาคต และสินทรัพย์อย่าง REITs ในวันนี้ FINNOMENA Live จะพาทุกคนไปสำรวจมุมมองของ REITs โดยผู้อำนวยการจากบลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โดยตรง พร้อมกับจับตาดูเทรนด์การลงทุนยุคใหม่ และกองทุนแนะนำที่พลาดไม่ได้ Megatrends คืออะไร? Megatrends คือ แนวโน้มระยะยาวที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ความเป็นอยู่ ซึ่งอาจมีผลทำให้พฤติกรรมผู้คนเปลี่ยนไป เช่น พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนที่เปลี่ยนจากการซื้อสินค้าหน้าร้านมาเป็นการใช้จ่ายบนออนไลน์ (E-commerce) โดยเหตุการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ Megatrends แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหลังผู้คนได้ลองใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ในช่วงที่มีการ Lockdown ทำไมเราถึงต้องลงทุนในธุรกิจ Megatrends มีการขยับฐานรายได้ มาที่ชนชั้นกลางมากขึ้น จึงอาจทำให้ผู้คนใช้จ่ายได้มากขึ้น ความเจริญมีการขยายไปสู่ชนบท มีส่วนช่วยในการขยับฐานรายได้ สังคมผู้สูงอายุในไทยกำลังเติบโต ธุรกิจการดูแลสุขภาพอาจตอบโจทย์มากขึ้น ธุรกิจ E-commerce อาจช่วยลดต้นทุนในการขายสินค้า (ข้อได้เปรียบ) ผนวกกับโควิด-19 ที่อาจเร่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ระบบ Software & Cloud จะช่วยลดต้นทุนบริษัท ไม่จำเป็นต้องเช่าพื้นที่เซิฟเวอร์เยอะ ๆ เข้ามา Disrupt การวางระบบข้อมูลแบบเดิม ๆ เทรนด์การใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานร่วมกับมนุษย์กำลังมีมาอย่างต่อเนื่อง เทรนด์เทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมกำลังมีบทบาทมากขึ้น การเกิดขึ้นของ Evolving Economy ที่กำลังมาแทน Old Economy Evolving Economy คือ การค้นหาบริษัทต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงพื้นฐานการใช้ชีวิตของผู้คนในอีกสิบ ๆ ปีข้างหน้า โดยอาจเป็นธุรกิจที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งสร้างผลกระทบไปทั่วโลก โดยไม่จำกัดภูมิภาคหรือ Sector ใด ๆ แตกต่างจากบริษัทและธุรกิจแบบเดิม ๆ (Old Economy) ที่อาจถูก ทดแทน(Disrupt) โดยธุรกิจเหล่านี้ (Evolving Economy) Evolving Economy vs Old Economy จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนของ Evolving Economy มีการเติบโตโดดเด่นกว่ากลุ่มธุรกิจแบบดั้งเดิม โดยให้ผลตอบแทนสูงกว่า กลุ่มเทรนด์เศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่ 27.5% หากพูดถึงการลงทุนใน Evolving Economy หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังว่าเรากำลังจะลงทุนในธุรกิจแบบไหนกันแน่ ในส่วนถัดไปนี้ ผมจะมาขอแจกแจง Theme การลงทุนหลัก ๆ ให้ทุกคนได้รับชมกัน Theme การลงทุน: Transitioning Society ในอีก 10 ปีข้างหน้าคนกว่า 3 พันล้านคนจะขยับฐานรายได้มาอยู่ที่ชนชั้นกลาง โดยอยู่ในเอเชีย 90% ตัวอย่างเช่น ในประเทศอินเดียประชากรมีการเปลี่ยนผ่านฐานรายได้มากขึ้น มีความเข้าใจและให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพมากขึ้น จึงต้องการความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น ตัวอย่างธุรกิจในกลุ่มนี้คือ Dr Lal PathLabs บริษัทให้บริการห้อง Lab ตรวจโรค ที่ให้บริการถึง 50 ล้านTests ต่อปี Theme การลงทุน: Ageing & Lifestyle จากปี 2018 ถึงปี 2030 จะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีเพิ่มขึ้นถึง 400 ล้านคนหรือ 42%ซึ่งพอ ๆ กับคนอเมริกันทั้งประเทศ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของคนกลุ่มนี้มีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัท Dexcom Inc ที่ผลิตเครื่องวัดระดับนํ้าตาลผู้ป่วยเบาหวานผ่านผิวสัมผัส โดยไม่ต้องเจาะนิ้วให้เจ็บตัว และเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน Bluetooth หรือ Wifi Theme การลงทุน: Connected Consumer มีโอกาสเติบโตอีกมากสำหรับธุรกิจ E-commerce ซึ่งในไตรมาสแรกของปี 2020 ที่ผ่านมา เติบโต 18% (YoY) และในไตรมาส 2 หากไม่รวมภาคการท่องเที่ยวจะโตประมาณ 70-80% Sector E-commerce กำลังเติบโตจากพฤติกรรมของคนยุค Milennium ที่อยู่ในวัยที่มีกำลังซื้อและเติบโตมากับการใช้อินเทอร์เน็ต Theme การลงทุน: Automation มีการคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ธุรกิจที่ลงทุนในอุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ จะเติบโตเฉลี่ย 10%-15% ทุกปี ตัวอย่างเช่น KEYENCE บริษัทใหญ่อันดับต้น ๆ ในญี่ปุ่นผู้ผลิตและพัฒนาอุปกรณ์เกี่ยวกับ Sensor ที่มีขนาดที่เป็นรองแค่เพียง SoftBank เท่านั้น Theme การลงทุน: Clean Energy ตัวอย่างเช่น Kingspan บริษัทก่อสร้างและผลิตวัสดุก่อสร้างที่ช่วยลดพลังงานและลดความร้อนภายในตึก และช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเข้าใจถึง Theme การลงทุนและเห็นถึงศักยภาพของธุรกิจแบบ Evolving Economy กันแล้ว ในส่วนถัดไปเราลองมาดูกองทุนแนะนำจาก บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กันบ้าง กองทุนแนะนำ LHMEGA LHMEGA ลงทุนในอะไร? ลงทุนผ่านกองทุน AXA WF Framlington Evolving Trends ที่ได้รับ Morningstar 4 ดาวและมี ผลตอบแทนเฉลี่ยราว ๆ 10% ต่อปี และกองทุน Healthcare Technology อย่าง Baillie Gifford Health Innovation ที่ลงทุนผ่านนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต สัดส่วนการลงทุนของ AXA WF Framlington Evolving Trends ลงทุนใน Theme ต่าง ๆ ข้างต้น ลงทุนในหุ้นขนาดกลางถึงเล็กราว ๆ 30% ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่เน้นการกระจายรายได้ และยึดมั่นกับผลิตภัณฑ์ที่ทำ โดยให้ความสำคัญกับสภาพคล่องของธุรกิจ และมีเงื่อนไขที่ว่าธุรกิจต้องสามารถทำรายได้ผ่านธีม New Economy ในสัดส่วน 70% ขึ้นไป สัดส่วนการลงทุนของกองทุน AXA WF Framlington Evolving Fund อยู่ในอเมริกาและเน้นลงทุน Sector เทคโนโลยีเป็นหลักซึ่งสัดส่วนอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ โดยบริษัทที่ลงทุนล่าสุดเป็นบริษัทชื่อคุ้นหูอย่างเช่น Alphabet (Google) และ Alibaba ผลตอบแทนย้อนหลัง ในช่วงปี 2017 มีการเปลี่ยน Theme การลงทุน Global Equity Fund เป็น Evolving Trend ทำให้ผลตอบแทนย้อนหลังในช่วง 3 ปีมีทิศทางที่ดีขึ้น กองทุน Baillie Gifford Health Innovation ลงทุนในเทคโนโลยีที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษยชาติและลํ้าสมัย (Cutting Edge) ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนสูงแบบก้าวกระโดดในอนาคต โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญอย่างการเลือกบริษัทที่ในอีก 10 ปีข้าง จะสามารถสร้างยอดขายได้ 5 เท่า ตัวอย่างเช่นบริษัท Illumina ที่ศึกษาพื้นฐานโครงสร้างของ Gene เป็นหลักเพื่อให้นำไปใช้ในการวิเคราะห์ความผิดปกติได้อย่างแม่นยำต่อไป ข้อแนะนำก่อนลงทุน ควรตรวจสอบ Maximum Drawdown (การขาดทุนสูงสุด) เช่น AXA Framlington ที่มีMaximum Drawdown อยู่ที่ 30% จึงขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้หรือไม่ *กองทุน LHMEGA คาดว่าจะมีการ IPO ในวันที่ 29 กรกฎาคม – 6 สิงหาคมนี้ ลงทุนขั้นตํ่า 5,000 บาท ติดต่อผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วไป อาทิ LH Bank , FINNOMENA และอื่น ๆ มุมมองการลงทุนใน REITs กลุ่มค้าปลีกอาจได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่ในระยะยาวเศรษฐกิจน่าจะมีจุดตํ่าสุดที่ไตรมาส 2 และจะค่อย ๆ ฟื้นตัวต่อไปหลังเปิดเมือง สังเกตได้จากจำนวนคนเข้าห้างสรรพสินค้าที่เพิ่มขึ้น 70-80% จากระดับ 30% ในช่วงก่อนหน้า ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเช่าที่เก็บจากผู้เช่าค่อย ๆ ปรับเพิ่มขึ้น แต่อาจยังต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรก่อนกลับไปสู่ภาวะปกติ โดยมีเงื่อนไขสำคัญอย่างการพัฒนาวัคซีน ซึ่งอาจจะมีออกมาในราว ๆ กลางปีหน้า REITs กับอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยอาจอยู่ในระดับตํ่าอีกสักพัก แต่หากเทียบกับเงินฝากหรือตราสารหนี้แล้ว REITs มีผลตอบแทน จากเงินปันผล ในระดับที่น่าดึงดูด โดยหากดอกเบี้ยขึ้นจากการปรับตัวขึ้นของเศรษฐกิจใน ช่วงแรก REITs อาจมีการปรับตัวลงบ้าง แต่ REITs มีรายได้หลัก ๆ มาจากค่าเช่า ซึ่งมีเงื่อนไขสัญญาระยะยาว (1-3 ปี) จึงอาจต้องรอครบสัญญาก่อนถึงจะปรับขึ้นค่าเช่าได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคา REITs ปรับตัวขึ้น แต่หากดอกเบี้ยขึ้นจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ราคานํ้ามัน ในขณะที่เศรษฐกิจไม่ดี ก็อาจส่งผลต่อราคา REITs ในเชิงลบแต่การที่ราคานํ้ามันปรับตัวสูงขึ้นอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการบริโภคนํ้ามันที่ลดลงในปัจจุบัน ระยะยาวอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นได้ยากจากกลุ่มประชากรผู้สูงอายุและการเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่สูงมาก ดังนั้นเม็ดเงินลงทุนอาจจะยังไหลเข้าสินทรัพย์อย่าง REITs ได้อยู่ ผลตอบแทนย้อนหลังของ LHTPROP กองทุน LHTPROP มีการจ่ายปันผลสมํ่าเสมอ และกระจายการลงทุนไปในหลายภาคส่วนไม่ใช่แค่ในเฉพาะห้างสรรพสินค้า ในส่วนของโรงแรมทางกองไม่ได้ให้สัดส่วนการลงทุนมาก ผลตอบแทนจึงได้รับผลกระทบน้อยกว่า เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่ไปกับ Megatrend อาจจะเข้ามา Disrupt หรือเปลี่ยนแปลง การใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ ของผู้คนออกไป ซึ่งในเชิงการลงทุนแล้ว ธุรกิจเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว หลังประสบความสำเร็จ หากนักลงทุนท่านใด สนใจลงทุนในธุรกิจที่ว่า แต่ยังไม่มั่นใจหากต้องเลือกหุ้นตัวด้วยตนเอง กองทุน LHMEGA ก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่คู่ควรสำหรับคุณ ซึ่งกองทุน LHMEGA มีแผนจะ IPO ในวันที่ 29 กรกฎาคม – 6 สิงหาคมนี้ เริ่มทุนขั้นตํ่า 5,000 บาท ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วไป อาทิ LH Bank , FINNOMENA และอื่น ๆ ได้เลยครับ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW LHMEGA LHTPROP Long Content Product Info แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Elon Musk กับหุ้น Moonshot ของเขา - FINNOMENA วิกฤติครั้งนี้คงเป็นที่จดจำไปอีกนาน และคงนำไปเป็นเรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่นได้ดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ New Normal อย่างการใส่หน้ากากกันทั่วเมือง พลังอานุภาพของ Fed ที่อัดฉีดเงินได้อย่างเหลือเชื่อ หรือแม้แต่หุ้นเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างโดดเด่นท่ามกลางวิกฤติ และหนึ่งในหุ้นที่ติดตราตึงใจใครหลาย ๆ คนในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นหุ้น Tesla ของ Elon Musk ที่วิ่งราวกับไปแตะดวงจันทร์ บทความนี้จะพาไปสืบค้นธุรกิจ Tesla และเหตุผลว่าทำไมที่ผ่านมาราคาถึงเติบโตแบบไม่เห็นฝุ่น 26 ก.ค. 2563 วิกฤติครั้งนี้คงเป็นที่จดจำไปอีกนาน และคงนำไปเป็นเรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่นได้ดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ New Normal อย่างการใส่หน้ากากกันทั่วเมือง พลังอานุภาพของ Fed ที่อัดฉีดเงินได้อย่างเหลือเชื่อ หรือแม้แต่หุ้นเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างโดดเด่นท่ามกลางวิกฤติ และหนึ่งในหุ้นที่ติดตราตึงใจใครหลาย ๆ คนในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นหุ้น Tesla ของ Elon Musk ที่วิ่งราวกับไปแตะดวงจันทร์ บทความนี้จะพาไปสืบค้นธุรกิจ Tesla และเหตุผลว่าทำไมที่ผ่านมาราคาถึงเติบโตแบบไม่เห็นฝุ่น ภาพแสดง Moonshot ราคาหุ้นของ Tesla ที่มา: Tradingview วันที่ 21 กรกฎาคม 2020 นับจากจุดตํ่าสุดเมื่อปี 2019 หากคุณเข้าซื้อหุ้น Tesla คุณจะทำผลตอบแทนได้เกือบ 1,000%! และหากคุณซื้อช่วงที่เกิดวิกฤติ COVID-19 หุ้น Tesla จะทำผลตอบแทนได้ราว ๆ 300%! หรือจะพูดได้ว่า Elon Musk ประสบความสำเร็จในการสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนกับนวัตกรรมสุดลํ้าของเขา จนพาราคา Tesla ไปแตะดวงจันทร์ได้สำเร็จ ปัจจุบัน Tesla ทำธุรกิจอะไร? “เทคโนโลยีหรือรถยนต์?” หากได้ยินชื่อ Tesla แบบผ่าน ๆ หูหลาย ๆ คนคงคิดกันไปว่า Tesla นั้นคือบริษัท ที่เน้นหนักเทคโนโลยี กันเป็นแน่ เพราะ ทาง Elon Musk เองก็นำไอเดียสุดลํ้ามานำเสนอเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ไร้คนขับ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แผงโซล่าร์เซลล์พลังงานทดแทน หรือแม้แต่แผนการตั้งอนานิคมบนดาวอังคารของ SpaceX ที่ฟังเผิน ๆ แล้วอาจจะดูทับซ้อนกับ Tesla ทั้งที่จริง ๆ เป็นคนละบริษัทกัน แต่แท้จริงแล้ว Tesla อาจดูเหมือนบริษัท ผลิตรถยนต์เสียมากกว่า เพราะ ยังใช้ต้นทุนในการผลิตที่สูง และยังไม่ได้มีส่วนต่างกำไรแบบเหนือชั้น เช่น ธุรกิจซอฟต์แวร์อื่น ๆ รวมถึงข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า รถยนต์นั้นยังเป็นสินค้าตามวัฎจักรเศรษฐกิจ ที่ถึงแม้เราไม่ได้มาครอบครอง ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อีกหนึ่งส่วนคาบเกี่ยวก็คือ… นวัตกรรมรถยนต์ที่อาจจะดูเหนือชั้นกว่ารถยนต์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่พลังงานที่มีอายุยืนยาวกว่ารถยนต์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป หรือระบบความปลอดภัยที่เหนือชั้น ซึ่งหากผู้คนได้ยินดังนี้คงจะสับสนไม่ใช่น้อย ภาพแสดงระยะทางสูงสุดจากแบตเตอรี่รถยนต์ของ Tesla ในรถรุ่น Model S และ Model X ที่มา: tesla.com ภาพแสดงจำนวนเคสอุบัติเหตุที่ลดลงจากระบบไร้คนขับ ที่มา: tesla.com และหากเรามาดูที่ Gross Margin* (TTM**) (อัตราส่วนกำไรขั้นต้น) Tesla ของ Elon Musk ก็ยังทำได้อยู่ที่ 18.20% ภาพแสดง Financial ratios ของ Tesla ที่มา: investing.com ซึ่งถ้าเทียบกับหุ้นเทคให้บริการค้าขายออนไลน์เป็นหลักอย่าง Amazon ที่มี Gross Margin (TTM) ที่ 40.64% ก็อาจจะยังดูห่างไกลเสียเหลือเกินและอาจจะยังดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไร ถ้าจะเอาไปเปรียบเทียบ ภาพแสดง Financial ratios ของ Amazon ที่มา: investing.com *ยอดขายหลังหักต้นทุนการขาย **ย้อนหลัง 4 ไตรมาสหรือ 1 ปีย้อนหลัง หากสรุปรวม ๆ Tesla อาจยังเป็นบริษัทรถยนต์ที่พยายาม Disrupt อุตสาหกรรมนี้โดยใช้เทคโนโลยีเสียมากกว่า หรือจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนผสมระหว่างเทคโนโลยีกับยานยนต์ ช่วงที่ผ่านมานักลงทุนคาดหวังอะไรจาก Tesla เร็ว ๆ นี้ทาง Tesla เองก็ได้มีการประกาศงบออกมา ซึ่งก็ยังออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด แต่เรามาลองดูข้อมูลที่ผมแกะมาจากรายงานการประชุม (Earnings call) ล่าสุดกันว่า ผู้คนนั้นคาดหวังอะไรจาก Tesla หรือยังกังวลเรื่องอะไรกันอยู่บ้าง… ความคาดหวังและความกังวล เรื่องแรกก็คือ เรื่องของต้นทุนต่าง ๆ ที่จะทำให้ Tesla ทำกำไรได้มากขึ้น ซึ่งการตอบคำถามของผู้บริหารต่าง ๆ ดูจะพูดไปในเชิงระยะยาวเสียมากกว่า ถึงแม้จะมีการเน้นยํ้าการลดต้นทุนในช่วงที่ผ่านมา ส่วนในระยะสั้นก็มีการเคลมว่าต้นทุนการผลิตยังลดลงเรื่อย ๆ ระบบ Self-driving หรือรถยนต์ไร้คนขับที่ล่าสุดได้มีการทดสอบ ในพื้นที่แคบ ๆ ซึ่งยังออกมาดีกว่าคาดแต่ยังไม่เพอร์เฟค โดยตั้งเป้าว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปีนี้ แต่ถึงอย่างนั้นทางเจ้าตัว Elon Musk เองก็ยังพูดในที่ประชุมว่า “ผู้คนที่มีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับ AI มากที่สุดคือคนที่ฉลาดมาก ๆ เพราะ พวกเขายังไม่เข้าใจว่า คอมพิวเตอร์นั้นฉลาดกว่าพวกเขามาก ๆ เช่นกัน” – Elon Musk หรือจะสื่อเป็นนัย ๆ ว่าการพัฒนา AI ไม่ได้ทำได้ง่ายขนาดนั้น มันฉลากและลึกลับซับซ้อนกว่าที่เราคิดอีกเยอะ… ดังนั้นหลัก ๆ แล้วสิ่งเราควรจับตามองหลัก ๆ อาจจะเป็นเรื่องของต้นทุนและการพัฒนา Self-driving เป็นหลัก ว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ จริง ๆ แล้วไตรมาสนี้ก็มีเรื่องดี ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตท่ามกลางวิกฤติ, การพัฒนา Self-driving ที่มีความคืบหน้า, สามารถขึ้นราคา Model Y ได้ (คนอาจจะให้ Value มากขึ้น) แต่ในมุมมองผมแล้วเราประเมินไปข้างหน้าน่าจะดีกว่า เพราะ การลงทุนนั้นเราลงกับความคาดหวังในอนาคตไม่ใช่ปัจจุบัน เราคาดหวังกันมากไปหรือเปล่า? สำหรับนักลงทุนสาย VI เชิงมูลค่า อาจจะไม่ค่อยถูกใจกับสิ่งนี้เท่าไรนัก เพราะ ถึงแม้ที่ผ่านมาทาง Tesla จะมีผลประกอบการแบบไหน ความคาดหวังถึงสตอรี่ความสำเร็จของนักลงทุนที่จับตามองก็ดูจะไปไกลแสนไกล หากเทียบกับความสำเร็จของบริษัทในตอนนี้ หากนึกถึงภาพย้อนไว ๆ ที่คล้าย ๆ กันก็คงเป็นช่วงวิกฤติดอทคอมปี 2000 ที่หุ้นเทคโนโลยีเอง ดูจะไร้เหตุผลไปซะหมด โดยบริษัทที่ยังไม่มีพื้นฐานกำไรให้เห็นก็ทำราคาเติบโตไปได้อย่างร้อนแรง อีกหนึ่งความคาดหวังที่พอจะเป็นไปได้ก็คือคาแรคเตอร์ของ Founder อย่าง Elon Musk ที่มีแนวคิดลํ้าสมัย และเป็นคนที่มีสไตล์มากพอจนผู้คนถึงขนาดไหนเอาไปพูดกันว่าคล้ายคลึงกับ Steve Job อดีต CEO ของ Apple ที่สร้างตำนานเปลี่ยนโลก ผลิตสินค้าที่ติดตราตึงใจผู้คน จนถึงขั้นที่ว่าแม้จะขึ้นราคาแค่ไหนคนก็ยอมจ่ายให้กับ Iphone Ipad หรือแม้แต่ Macbook เอง แต่หากผมถามคุณนักลงทุนทุกท่านว่าระหว่าง “ระหว่าง Airpods, Iphone รุ่นใหม่ล่าสุดกับรถรุ่นใหม่ล่าสุดจาก Tesla คุณจะเลือกซื้ออะไร” คำตอบจะเป็นอะไรคงอยู่ที่คุณเลือก แต่ผมเชื่อว่าผู้คนยังศรัทธาใน Apple มากกว่าอยู่ดี ดังนั้น Tesla อาจจะยังไม่อยู่ในจุดที่สินค้ามี Value (เป็นวงกว้าง) จนขึ้นราคาเท่าไรก็ได้ หรือผลิตยังไงก็มีคนซื้อ แต่ในอนาคตยาว ๆ ก็ไม่แน่ครับ หากคิดในระยะสั้น ๆ การที่ราคาหุ้น Tesla พุ่งแรงยิ่งกว่า Apple มันก็อาจจะยังดูไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไร… ดังนั้นจังหวะที่ดีอาจจะเป็นจังหวะที่ Tesla ทำผลงานได้ผิดความคาดหวังจนเกิดเป็นจังหวะย่อซื้อให้เราได้สะสม สำหรับนักลงทุนที่สนใจในธุรกิจที่มีความลํ้าหน้าและมีสตอรี่แห่งอนาคต หากสนใจลงทุนในกองทุนที่มี Tesla มีกองทุนอะไรบ้าง หากใครสนใจที่จะลงทุนระยะยาวในกองทุนคุณภาพเยี่ยมที่ตอนนี้ถือหุ้น Tesla อยู่ หลัก ๆ กองทุนที่ว่าก็จะมีตามนี้ครับ PWIN ONE-UGG-RA ถ้าใครคันมือไม่ไหวแล้วอยากจัดก็ได้ครับ แต่สำหรับผมรอก่อนน่าจะดีกว่านะ ไม่ก็เหลา ๆ เข้าซอย ๆ ลงทุนยาว ๆ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin ฝากติดตามเพจด้วยครับ ปล. ยังไม่ได้ลงคอนเทนต์ https://www.facebook.com/Mr-Serotonin-103877631412948 References https://cleantechnica.com/2020/06/30/does-it-matter-if-tesla-is-a-car-company-or-a-technology-company/ https://www.investing.com/equities/tesla-motors-ratios https://seekingalpha.com/article/4360072-tesla-inc-tsla-ceo-elon-musk-on-q2-2020-results-earnings-call-transcript?part=single https://www.tesla.com/impact-report/2019 ————————————— เคยไหม? ซื้อกองทุนตามคำแนะนำจนมีเต็มพอร์ต สุดท้ายรู้ตัวอีกทีก็ติดดอยขาดทุน เราขอนำเสนอ FINNOMENA แพลตฟอร์มที่จะแนะนำกองทุนที่ตรงกับความต้องการของคุณ มีระบบแจ้งเตือนปรับเปลี่ยนกองทุน และ Tactical Call จับจังหวะซื้อขายระยะสั้น เปิดบัญชีลงทุนออนไลน์ ซื้อกองทุนได้เร็วสุดภายในวันทำการถัดมา ลองเลย! https://finno.me/oa1328 แท็ก: Advance Article Long Content Product Recommend Tesla แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
PlanB หลังวิกฤต โต 1 เด้ง ในเวลาเพียง 2 เดือน - FINNOMENA BNK48 ได้ปล่อย Teaser MV เพลง “Heavy Rotation” ออกมา ทำไมเพลงนี้ถูกคาดหวังไว้เฉกเช่นเพลงคุกกี้เสี่ยงทาย ที่เคยกระเป็นกระแสไวรัลทั่วฟ้าเมืองไทย และเป้าหมายที่ PlanB วางแผนและผลักดันธุรกิจต่อ BNK48 ไปได้ไกลแค่ไหนในยุคที่เริ่มนิยามว่าเป็นยุค "ขาลง" ของวงการ "ไอดอลกรุ๊ป" 23 ก.ค. 2563 หากทุกท่านได้มีโอกาสติดตามหุ้นบริษัท PLANB ในตลาด SET ช่วงเวลาที่ผ่านมา ในวันที่ 3 ก.ค. 63 ทำราคาปิด 6.35 บาท ขึ้นมามากกว่า 1 เด้ง จากวันที่ 26 มี.ค. 63 ที่ราคาเปิด 2.50 บาท มาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่บริษัทได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งธุรกิจโฆษณาและธุรกิจบันเทิงได้รับผลกระทบหนัก ก่อนหน้านี้ ผม Kuma Investo ได้เขียนบทความ เรื่อง “ทิศทาง BNK48 หลัง PLANB เข้าซื้อหุ้น BNK48” ย้อนกลับไปวันที่ 23 พ.ค. 61 ที่ผ่านมา บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) แจ้งกับทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าจะเข้าซื้อหุ้นบริษัท อินดิเพนเด้นท์ อาร์ทิสท์ เมเนจเม้นท์ จำกัด (iAM) หรือชื่อเดิม บีเอ็นเค48 ออฟฟิศ จำกัด ที่รู้จักกันในฐานะต้นสังกัดของศิลปินไอดอลวง “BNK48” ในสัดส่วนร้อยละ 35 ของกิจการ มูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 182 ล้านบาท ในวันนี้จึงกลับมาดูหุ้นตัวนี้อีกครั้งที่ผมสนใจเป็นพิเศษ เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวการลงทุนในกลุ่มศิลปินที่เรียกว่า “ไอดอล” ที่ผมได้ติดตามมุมมองธุรกิจนี้ในฐานะแฟนคลับ และนักลงทุน ซึ่ง ณ ตอนนั้นมีความนิยมอย่างมาก สร้างปรากฏการณ์ในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยถึงความนิยมในธุรกิจศิลปิน “ไอดอลกรุ๊ป” ถามว่าความน่าสนใจของหุ้น PlanB ในปัจจุบันคืออะไร เหตุการณ์ก่อนหน้าวิกฤต COVID-19 บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ VGIซึ่งประกอบธุรกิจสื่อโฆษณาออนไลน์เช่นเดียวกับ PLANB ได้ประกาศลงทุนซื้อหุ้น PLANB ในราคา 4.6 พันล้านบาท จากเดิมที่ VGI และ PLANB มีธุรกิจทับซ้อนกันอยู่ จึงเกิดการแข่งขันมอบส่วนลดให้กับเอเจนซี่โฆษณาหรือผู้ซื้อสื่อ แต่เมื่อรวมตัวเป็นพันธมิตรกันแล้ว อำนาจการต่อรองของบริษัทจึงมากขึ้น ส่วนลดที่เสียน้อยลงกว่าแต่ก่อน นี่คือความน่าสนใจในการต่อรอง และความแข็งแกร่งของธุรกิจที่ PLANB มี เมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มสื่อตัวอื่นๆ แล้วธุรกิจ “ไอดอล” ศิลปินประเภทนี้ยังสร้างคุ้มค่าและกำไรแก่ PLANB มากน้อยแค่ไหน การที่หุ้นกลับมาโต 1 เด้ง เป็นเพียงแค่ขึ้นตามตลาดหรือเปล่า กระแสที่หลายๆ คนนิยามว่าความนิยมของศิลปินในรูปแบบ “ไอดอลกรุ๊ป” ที่ PLANB ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ เริ่มเข้าสู่ช่วง “ขาลง” หรือไม่ ณ ปัจจุบัน PLANB ตัดสินใจขายหุ้นที่ถืออยู่ 36.9% ใน บริษัท แอทมอส สปอร์ต แล็บ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจจัดหา นำเข้า จัดจำหน่ายสินค้าประเภทกีฬาและแฟชั่น คืนแก่บริษัท แอทมอส (แบงคอก) จำกัด หรือร้าน atmos Bangkok ในราคา 12.95 ล้านบาท และได้เปลี่ยนแนวทางเข้าซื้อหุ้น บริษัท กู๊ดธิงแฮพเพ่น จำกัด (GOOD THINGS) 41% เพื่อดำเนินการธุรกิจประกอบสื่อบันเทิง โดยใช้เงินลงทุนราว 3.92 ล้านบาท ผ่านบริษัทลูก MSD และบริษัท iAM นั้นคือคำตอบที่นอกเหนือจากความแข็งแกร่งทางด้านสื่อโฆษณาที่มี การซื้อหุ้น GOOD THINGS ทำให้ PLANB และหุ้น BNK48 มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ทำไม PLANB ถึงยังตัดสินใจลงทุนเพิ่ม และมองเห็นโอกาสใน BNK48 ไอดอลกรุ๊ปวงนี้อยู่ ติดตามได้ในบทความหน้าครับ Kuma Investo แท็ก: Article Basic Knowledge PLANB Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Kuma Investo Kuma Investo ชายคนหนึ่งที่ใครๆ ก็เรียกว่าคุณหมีผู้หลงไหลในการลงทุน ภาพยนตร์ เพลง และวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เรียกว่า "ไอดอล" ผ่านมุมมองการเงินการลงทุน ที่หลายๆ คนอาจไม่เคยรู้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS - FINNOMENA ในช่วงที่ผ่านมาเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งของการลงทุนที่ถือได้ว่ายากลำบาก เพราะ ไม่ว่าจะลงทุนในอะไรก็ถือได้ว่า มีความผันผวนไปมาซะหมด อีกทั้งตลาดหุ้นที่ดีดสวนทางขึ้นมา แบบที่เรียกได้ว่าอาจจะดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไร หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากลงทุนในอะไรสักอย่าง แต่ยังแคลงใจกับความผันผวน กองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS นั้นเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม 22 ก.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ในช่วงนี้เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งของการลงทุนที่ถือได้ว่ายากลำบาก เพราะ ที่ผ่านมาไม่ว่าจะลงทุนในอะไรก็ถือได้ว่า มีความผันผวนไปมาซะหมด อีกทั้งตลาดหุ้นที่ดีดสวนทางขึ้นมา แบบที่เรียกได้ว่าอาจจะดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไร เพราะ สัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจก็ยังไม่ได้ชัดเจนขนาดนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะลงทุนในอะไรสักอย่าง แต่ก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ลงทุนในหุ้น แต่อีกใจนึงก็ไม่อยากให้เงินเฟ้อกัดกินมูลค่าเงินที่คุณลำบากตรากตรำหามาลงทุนเก็บออมไว้ใช้สำหรับยามเกษียณ ผมอยากให้คุณลองพิจารณาสถานที่พักเงินที่ทำผลตอบแทนได้พอ ๆ กับเป้าหมายเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมา และมีความผันผวนตํ่าถึงแม้ตราสารหนี้จะผันผวนอย่างมากตอนเกิดวิกฤติโควิด ซึ่งที่ ๆ ว่าก็คือกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS สรุปจุดเด่นกองทุน ASP-DPLUS 1) ผลตอบแทนเสถียรไม่ผันผวน แม้ช่วงวิกฤติที่ผ่านมาที่ตราสารหนี้นั้นมีการเทขาย แต่ผลตอบแทนของทางกองทุนเองก็ยังไม่ผันผวนมาก หรือเรียกได้ว่า ผ่านร้อนผ่านหนาว ได้ดี แม้จะมีวิกฤติเข้ามาแทรกแซง 2) มีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความผันผวน กองทุน ASP-DPLUS มีการกระจายการลงทุนทั้งในส่วนของพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชนรวมถึงเงินฝาก ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนได้ในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างผลตอบแทนให้ดียิ่งขึ้นได้จากการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่า 3) ลงทุนอย่างมีคุณภาพความน่าเชื่อถือ “เกรดลงทุน” ASP-DPLUS มีเครดิตความน่าเชื่อถือของสินทรัพย์ในพอร์ตเฉลี่ยอยู่ที่ A ถึง A- (TRIS Rating) ซึ่งอยู่ในระดับเกรดลงทุน (Investment grade) ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงในการเบี้ยวหนี้ที่น้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เกรดตํ่า ซึ่งมีความเสี่ยงที่สูงต่อการผิดนัดชำระหนี้ 4) สัดส่วนเงินทุนที่เหมาะสม กองทุน ASP-DPLUS เป็นกองทุนที่ให้ความสำคัญกับขนาดเงินทุนที่บริหารจัดการ เพื่อความคล่องตัวในการจัดการเงินทุน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาทางด้านสภาพคล่องได้ แต่อาจมีการเพิ่มเติมให้เติบโตยิ่งขึ้น หากสถานการณ์เหมาะสม เพื่อให้นักลงทุนมีความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องที่น้อยลง 5) สภาพคล่องสูง ด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดการขนาดเงินทุนข้างต้น จึงทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่ากองทุน ASP-DPLUS จะสามารถดูแลสภาพคล่องเงินทุนได้อย่างทั่วถึงเมื่อการซื้อขายมีความผันผวน 6) รางวัลบอกคุณภาพจาก Morningstar เพิ่มความมั่นใจในการลงทุนด้วยการรับรางวัล Over All Morning Star 4 ดาว ในกลุ่ม Short Term Bond ที่ผ่านการประเมินความเสี่ยงเทียบผลตอบแทน (Risk-adjusted return) กับกองทุนในหมวดหมู่เดียวกัน ทำไมเราถึงต้องลงทุนในตราสารหนี้ 1) หยั่งถึงแต่ไม่อาจหยั่งรู้ เราไม่อาจคาดการณ์ได้ทุกเรื่อง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีใครที่รู้อนาคตได้อย่างแน่นอนและแม่นยำตลอดเวลา และยิ่งเป็นช่วงเวลาที่ภาวะตลาดมีความผันผวน และความไม่แน่นอน อย่างเช่น ปัจจัยเรื่องโรคระบาดที่หากจะให้นักลงทุนหลาย ๆ ท่านมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย เราศึกษาการวิเคราะห์ธุรกิจ เศรษฐกิจรวมถึงปัจจัยทางเทคนิคต่าง ๆ มันคงจะดูแปลกเอามาก ๆ ที่จะบอกว่าเราสามารถรู้ได้ว่าสถานการณ์โรคระบาดในตอนนี้จะออกมาเป็นหน้าไหน จริงอยู่ที่เราอาจจะมีความเห็นส่วนตัวแต่อย่างไรก็ตามมันก็คงไม่อาจเท่ากับผู้เชี่ยวชาญอย่างบุคลากรทางการแพทย์ที่คงทำได้ดีกว่าเรา ในเมื่อเรารู้ว่ามีสิ่งที่เราไม่รู้ สิ่งที่ดีที่สุดก็คือปรับพอร์ตการลงทุนของเราให้เข้ากับสถานการณ์และการลงทุนในตราสารหนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ต ในสถานการณ์ที่น่าแคลงใจเช่นนี้ 2) ทางเลือกในการสร้าง Passive Income เมื่อเรานึกถึงการสร้าง Passive Income ในมุมมองของการลงทุน เราอาจจะนึกถึงหุ้นปันผลที่มีความแข็งแกร่ง พื้นฐานบริษัทดี รายได้เติบโตต่อเนื่อง รวมถึงจ่ายเงินปันผลให้กับเราได้สมํ่าเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อขึ้นชื่อว่า “หุ้น” แล้วคงไม่มีใครปฏิเสธว่า ความผันผวนนั้นมีมากกว่าตราสารหนี้ ดังนั้นตราสารหนี้จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างกระแสเงินสดมาใช้จ่าย ต่อเนื่อง โดยมีความผันผวนที่น้อยกว่า ซึ่งตราสารหนี้เองก็มีสิ่งที่คล้ายกับพี่ ๆ น้อง ๆ ของเงินปันผล ซึ่งก็คือ “การจ่ายดอกเบี้ยตอบแทน” สัดส่วนการลงทุนหลักของ ASP-DPLUS ภาพแสดงสัดส่วนพอร์ตการลงทุนกองทุน ASP-DPLUS ที่มา: Asset Plus Fund Management จากภาพจะเห็นได้ว่าสัดส่วนการลงทุนมีการกระจายขอบเขตอย่างทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในส่วนของตราสารหนี้ภาคเอกชน (หุ้นกู้เอกชน) ในประเทศไทย รวมถึงมีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงและความผันผวนน้อยกว่า เพื่อกระจายความเสี่ยง อีกทั้งยังมีการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศโดยลงทุนในธนาคารชั้นนำต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างผลตอบแทนของพอร์ตให้งอกเงยได้ดียิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นเราอาจจะเรียกได้ว่าพอร์ตการลงทุนของกองทุน ASP-DPLUS มีส่วนผสมที่ลงตัวทั้งตราสารหนี้ที่มีโอกาสเติบโต รวมถึงการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐที่จะช่วยลดความผันผวนยามวิกฤติ เพื่อที่จะเสริมสร้างผลตอบแทนที่คงที่ต่อเนื่องได้ในระยะยาว ผลตอบแทนที่นิ่งดั่งสายนํ้า ไม่ผันผวนมากแม้ตราสารหนี้ถูกเทขาย ในส่วนของผลตอบแทนย้อนหลังก็ถือได้ว่าทำได้อย่างคงที่สมํ่าเสมอ ถึงแม้ช่วงวิกฤติที่ผ่านมาตราสารหนี้ต่าง ๆ จะถูกเทขายออกมาอย่างหนัก ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาหลังตลาดตราสารหนี้นั้นผันผวนเป็นอย่างมาก แต่กองทุน ASP-DPLUS นั้นกลับมีความผันผวนน้อยกว่าแสดงให้เห็นถึงความคงที่ของผลตอบแทน ถึงแม้จะต้องผ่านวิกฤติร้อนหนาวก็ตาม ภาพแสดงผลตอนแทนกองทุน ASP-DPLUS ที่มา: FINNOMENA Fund (วันที่ 22 มิถุนายน 2020) ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ภาพแสดงพันธบัตรรัฐบาล 1 ปีช่วงที่ถูกเทขาย ที่มา: World Government Bond (วันที่ 22 มิถุนายน 2020) นอกจากนั้นหากว่ากันในระยะยาวแล้วกองทุน ASP-DPLUS เองก็ถือได้ว่าทำผลตอบแทนได้เหนือเงินฝากปกติ โดยนับตั้งแต่กองทุนมีการจัดตั้งขึ้นมานั้นสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง *6.42% หรือคิดเฉลี่ยกลม ๆ เป็นปีละเกือบ ๆ 2% นั่นเอง *ข้อมูลผลตอบแทน ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2020 ภาวะดอกเบี้ยตํ่าอาจทำให้เงินฝากของคุณถูกลดมูลค่าโดยไม่รู้ตัว ในช่วงนี้หลาย ๆ ประเทศรวมถึงไทยเราเองได้มีการลดดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจกันชุดใหญ่ ซึ่งการลดดอกเบี้ยก็จะทำให้ ดอกเบี้ยเงินฝากลดลงตามไปด้วยเช่นกัน จึงอาจทำให้การฝากเงินแบบปกติในช่วงนี้ได้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างน้อย ภาพแสดงอัตราดอกเบี้ยประเทศไทยที่ 0.50% ที่มา: Tradingeconomics ภาวะเงินฝืด… โอกาสที่ดีในการหาสินทรัพย์ลงทุน ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ ภาวะเงินฝืดก็คือภาวะที่เงินเฟ้อ (ทำให้มูลค่าของเงินลดลง แต่ทำให้เศรษฐกิจเกิดการซื้อขายสินค้ากัน) อยู่ในระดับตํ่านั่นเอง ซึ่งถ้าจะมองในแง่ร้ายก็คงทำให้เศรษฐกิจฝืดเคืองคนไม่จับจ่ายใช้สอยกัน แต่ถึงอย่างนั้นในทุกวิกฤติก็ย่อมมีโอกาส ข้อดีของภาวะเงินฝืดก็คือหากเราหาจังหวะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้สมํ่าเสมอก็จะทำให้เราสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้นเข้าไปอีก จากการที่เงินเฟ้อนั้นอยู่ในระดับตํ่า จึงทำให้การลงทุนในกองทุน ASP-DPLUS ที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเกือบ 2% ยิ่งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไปอีก ภาพแสดงการประมาณการเงินเฟ้อ Core Inflation ของประเทศไทย ที่มา: BOT จากภาพข้างต้นหากคิดง่าย ๆ ก็คือ นำผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุน ASP-DPLUS ที่เกือบ 2% ลบกับเงินเฟ้อที่ -0.1% จากการประมาณการของแบงก์ชาติในปี 2020 ก็จะเห็นได้ว่าเราสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 2.03% ในการลงทุน! ดังนั้นจะเรียกได้ว่า ASP-DPLUS นั้นเป็นกองทุนที่เป็นเพื่อนคู่ใจ สำหรับการปกป้องมูลค่าเงินเก็บในกระเป๋าของคุณจากเงินเฟ้อ ที่จะลดคุณค่าของเงินที่คุณได้หามาอย่างยากลำบาก ก็คงจะไม่ผิดนัก Credit rating ป้ายบอกคุณภาพตราสารหนี้ หากพูดถึงคุณภาพของสินค้าที่ เครื่องใช้ประจำวัน เราคงนึกถึงเครื่องหมาย อย. หรือ มาตรฐานการผลิตตาม ISO ซึ่งเป็นตัวอย่างง่าย ๆ และถ้าหากทุกคนนึกก็คงจะเห็นภาพตาม ๆ กันว่าเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพของสินค้าได้ในระดับหนึ่ง ในส่วนของตราสารหนี้ต่าง ๆ เองก็มีเครื่องชี้วัดคุณภาพเช่นเดียวกัน ว่าบริษัทหรือรัฐบาลที่ออกพันธบัตรในประเทศนั้น ๆ มีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยให้กับนักลงทุนทุกท่านได้ตรงตามเวลาหรือไม่ กองทุน ASP-DPLUS เองก็มีการลงทุนในตราสารหนี้ที่ดูรวม ๆ แล้วถือว่าอยู่ในเกรดลงทุน (Investment Grade) โดยมี Credit ratings ตามการประเมินของ TRIS Rating อยู่ที่ A หรือ A- หากเฉลี่ยกับตราสารหนี้ทั้งหมดในพอร์ต ซึ่งเรียกได้ว่า “มีคุณภาพดี” ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้นั้นคงคล้าย ๆ กับการที่เราให้คนแปลกหน้านั้นยืมเงินเรา ดังนั้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือในระดับที่เรียกได้ว่า “เกรดลงทุน” นั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการให้เงินคนที่มีเงินและศักยภาพมากพอในอนาคตที่จะจ่ายผลตอบแทนให้กับเราได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยตรงเวลา ต่างกับการที่เราถือตราสารหนี้เกรดตํ่าเป็นหลัก ซึ่งสถานะการเงินกระท่อนกระแท่น สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับเรา เหมือนกับตอนที่เราให้คนอื่นยืมเงินแล้วลีลาไม่ยอมคืน เจาะลึกสถานการณ์ตราสารหนี้รูปแบบต่าง ๆ ในส่วนถัดไปจะเป็นการให้มุมมองสินทรัพย์ต่าง ๆ ว่าตอนนี้สถานการณ์เป็นเช่นไร และมันใช่แล้วหรือยังในตอนนี้ พันธบัตรรัฐบาลกับภาวะดอกเบี้ยตํ่า หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าหากลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลช่วงนี้ เรายังจะสร้างผลตอบแทนได้อีกหรือไม่ เพราะ การลดดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลเติบโต แต่หากเทียบกับเงินเฟ้อในระดับตํ่าตอนนี้เเล้ว ก็มีโอกาสสูงมากที่ในอนาคตทางแบงก์ชาติจะลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม และทำให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวขึ้นมาได้ และกองทุน ASP-DPLUS เองก็มีการลงทุนในส่วนของพันธบัตรรัฐบาลเช่นเดียวกัน ดังนั้นนี่จะเรียกได้ว่าเป็นโอกาสที่มีความเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ก็คงจะไม่ผิดนัก ตราสารหนี้ภาคเอกชนตอนนี้ใช่จังหวะที่จะลงทุนหรือไม่? หากพูดถึงตราสารหนี้ภาคเอกชน (หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัท) ถ้านึกย้อนถึงช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ คนก็คงไม่อยากได้ยินชื่อนี้กันสักเท่าไรนัก เพราะ มีความผันผวนจากการเทขาย แต่ในช่วงนี้หลังมีมาตรการเข้าช่วยต่าง ๆ อาธิ กองทุน BSF ที่จะช่วยเข้าซื้อตราสารหนี้ที่ขาดสภาพคล่องตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. อีกทั้งประเทศไทยนั้นยังควบคุมโรคระบาดได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก จึงอาจทำให้ภาคธุรกิจกลับมาดำเนินการแบบเต็มประสิทธิภาพได้โดยไว ซึ่งจะทำให้ความกังวลของนักลงทุนเรื่องการล้มละลายของบริษัทนั้นมลายหายไป และไม่รีบขายหุ้นกู้ด้วยความตื่นตระหนก อีกทั้งอาจมีการเข้าซื้อเพิ่มด้วยซํ้าไป หากมีความมั่นใจมากขึ้น ดังนั้นจะบอกได้ว่าตราสารหนี้ภาคเอกชนตอนนี้ กำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติก็คงจะไม่ผิดนัก… และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นโอกาสก็ว่าได้ เงินฝาก/ตราสารหนี้ ต่างประเทศดีกว่าในประเทศจริงหรือ? ภาพธนาคารต่างประเทศที่คาดว่าจะลงทุน ที่มา: สไลด์นำเสนอการขาย บลจ. Asset Plus จะเห็นได้ว่าธนาคารที่ทางกองทุนเองมีแนวโน้มที่จะลงทุนนั้นหลัก ๆ อยู่ในประเทศจีนและประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งอาจจะทำให้หลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่าทำไมถึงไม่เป็นธนาคารในยุโรปและอเมริกาเป็นหลัก ในส่วนถัดไปนี้จึงจะเป็นการแจกแจงว่าทำไมการฝากเงินและการซื้อตราสารจากธนาคารในจีนและตะวันออกกลางถึงเป็นโอกาสที่มีความน่าสนใจ ประเทศจีนแข็งแกร่งอย่างไร 1) ฟื้นตัวได้ไวจากวิกฤติโควิด คงไม่มีใครปฏิเสธว่าจีนเป็นประเทศที่สามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่น ๆ อย่างเช่นการใช้มาตรการปิดเมือง จึงอาจทำให้ระบบการเงินของจีนในตอนนี้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ จากการที่ภาคส่วนต่าง ๆ กลับมาทำหน้าที่ได้อีกครั้ง 2) เครดิตประเทศในระดับที่ดี ประเทศจีนนั้นเป็นหนึ่งในประเทศยักษ์ใหญ่ที่หลาย ๆ คนกล่าวขานว่ามีศักยภาพที่จะเติบโตมาเป็นประเทศผู้นำโลกได้ในอนาคต แต่นั้นก็คงจะเป็นคำพูดลอย ๆ หากไม่มีการประเมินอะไรใด ๆ มายืนยันเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งที่ยืนยันความน่าเชื่อถือของประเทศก็คงหนีไม่พ้น Credit ratings เครื่องหมายการวัดความน่าเชื่อถือเช่นเคย จากภาพก็จะเห็นได้ว่าประเทศจีนนั้นมีระดับความน่าเชื่อถือที่ดีกว่าไทยในระดับหนึ่ง โดยประเทศจีนนั้นมีความน่าเชื่อถือของประเทศอยู่ที่ A+* ในขณะที่ประเทศไทยนั้นอยู่ที่BBB+* จึงอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ ASP-DPLUS มีการลงทุนในประเทศจีน 3) อุตสาหกรรมธนาคารที่มีขนาดใหญ่และมั่นคง ธนาคารในประเทศจีนที่ทางกองทุน ASP-DPLUS มีแนวโน้มที่จะเข้าไปลงทุนนั้นล้วนแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าธนาคารในไทยทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น Bank of China ที่มีขนาดสินทรัพย์ที่ใหญ่กว่าธนาคารไทยถึง 5.37 เท่า และมีกำไรสุทธิมากกว่า 4.99 เท่า ของอุตสาหกรรมธนาคารไทย หรือจะเป็น Industrial and Commercial Bank of China ธนาคารพาณิชย์อันดับ 1 ในจีนที่มีกำไรสุทธิมากกว่า 8.5 เท่าของอุตสาหกรรมธนาคารไทย รวมถึงสินทรัพย์ที่มากกว่า 7.11 เท่า เช่นกัน อีกทั้งยังมีความจริงที่ว่าธนาคารของจีนนั้นยังเป็นของรัฐและถูกจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกงอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือและมั่นคงที่มากกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่ว ๆ ไป กลุ่มประเทศตะวันออกกลางมีข้อดีอย่างไร? เมื่อนึกถึงกลุ่มประเทศตะวันออกกลางหลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมถึงแคลงใจถึงสถานะการเงินของประเทศ แต่หากเรามาดูข้อมูลสนับสนุนกันก่อน เราอาจจะมองการลงทุนกลุ่มประเทศนี้เป็นอีกมุมหนึ่งก็เป็นได้ 1) Credit ratings ในระดับที่ดีกว่า ในส่วนของ Credits ความน่าเชื่อถือนั้นกลุ่มประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นอยู่ที่ AA* ซึ่งอยู่ในอันดับที่ดีกว่าไทยที่ BBB+* 2) กองทุนความมั่นคงแห่งชาติที่พร้อมสนับสนุนเงินทุนยามวิกฤติ ในช่วงนี้กลุ่มประเทศตะวันออกกลางอาจประสบปัญหาทางด้านแรงกดดันจากราคานํ้ามัน แต่ถึงอย่างนั้น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีกองทุนความั่นคงแห่งชาติที่มีเงินทุนสนับสนุนสำรองถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ ราว ๆ 34 ล้านล้านบาท (ตามอัตราแลกเปลี่ยนวันที่22 มิถุนายน 2020 เวลา 09.45 นาฬิกา) ซึ่งคิดเป็น 230% ของ GDP ประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงที่มากกว่ายามเกิดวิกฤติ *Credit ratings ใช้เกณฑ์เทียบเคียงของ S&P ทำไมถึงต้องลงทุนในกองทุน ASP-DPLUS 1) ทางเลือกในการสร้างกระแสเงินสดที่มีความมั่นคง สำหรับนักลงทุนที่มีเงินทุนขนาดใหญ่ และต้องการสร้างกระแสเงินสด ในความผันผวนที่น้อยกว่า 2) หนึ่งในตัวช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน พิสูจน์ด้วยช่วงก่อนหน้าที่ราคาตราสารหนี้มีความผันผวน แต่ ASP-DPLUS ก็ยังผันผวนน้อยกว่า ดังนั้นจึงอาจใช้เป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับการจัดการพอร์ตการลงทุน ยามที่ตลาดไม่สมเหตุสมผลและผันผวนรุนแรง 3) ผลตอบแทนอันดับ 1 ในหมวดตราสารหนี้ระยะสั้น กองทุน ASP-DPLUS สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นอันดับ 1 ในหมวดหมู่ตราสารหนี้ระยะสั้น แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่เหนือกว่ากองทุนอื่น ๆ ในหมวดหมู่เดียวกัน ข้อมูลภาพจาก FINNOMENA Fund วันที่ 21 มิถุนายน 2020 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต จากภาพจะเห็นได้ว่าผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีของ ASP-DPLUS นั้นอยู่ที่อันดับ 1 ในหมวดหมู่ตราสารหนี้ระยะสั้นนับ ซึ่งทางกองทุนเองได้จัดตั้งมาเพียง 3 ปีเศษเท่านั้น ข้อควรระวังก่อนลงทุน 1) ภาวะดอกเบี้ยตํ่า ภาวะดอกเบี้ยตํ่าในตอนนี้อาจส่งผลให้ราคาตราสารหนี้ในบางส่วนอาจไม่เติบโต แต่ถึงอย่างนั้นก็จะถูกชดเชยด้วยอัตราผลตอบแทน (Yield) ที่สูงขึ้น (แต่ทำให้ผลตอบแทนในเรื่องของราคาลดลงเช่นกัน) อีกทั้งการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้เอกชนที่ช่วงก่อนหน้านั้นมีอัตราผลตอบแทนที่สูง ก็อาจชดเชยผลตอบแทนที่อาจถูกลดหลั่นจากภาวะดอกเบี้ยตํ่าลงไปได้ 2) การลงทุนในกลุ่มธนาคาร เนื่องมาจากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรอบนี้ยังไม่ชัดเจน จึงอาจทำให้การลงทุนในตราสารรวมถึงเงินฝากในกลุ่มธนาคารมีความเสี่ยงได้ เนื่องมาจากธุรกิจกลุ่มธนาคารต้องการแรงหนุนจากการกู้ยืมของผู้คน และอาศัยการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อที่จะทำส่วนต่างกำไรได้เพิ่มมากขึ้นได้ อีกทั้งยังต้องการดอกเบี้ยที่มากขึ้นจึงจะสามารถดึงดูดปริมาณการฝากเงินจากผู้คน แต่ด้วยภาวะเงินฝืดในตอนนี้อาจทำให้เกิดการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ค่อนข้างยาก และอาจทำให้การลงทุนในกลุ่มธนาคารได้รับผลกระทบ 3) ความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง การลงทุนในเงินฝากธนาคารอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสภาพคล่องได้ เนื่องจากมีระยะเวลากำหนดฝากเงิน รวมถึงเป็นการลงทุนในเงินฝากต่างประเทศซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการไถ่ถอนที่นานกว่า ดังนั้นหากมีการถอนทุนจำนวนมากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในส่วนนี้ Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตและผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย บทความดังกล่าวถูกเขียน และเรียบเรียงโดยใช้ดุลยพินิจ ของบลจ.ฟินโนมีนา และอ้างอิงข้องมูลบางส่วนจากทาง บลจ. แอสเซท พลัส สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซทพลัส จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” References https://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/Pages/BSF.aspx https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx https://tradingeconomics.com/thailand/interest-rate http://www.worldgovernmentbonds.com/bond-historical-data/thailand/1-year/ แท็ก: Advance Article ASP-DPLUS FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW Long Content Product Info แชร์บทความ: ผู้เขียน ฟันด์กำไร สวัสดีครับ ผม ฟันด์กำไร มาเพื่อฟันกองทุน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
พลาดไม่ได้! รีวิวรวมกองทุนหุ้นเอเชียยอดนิยม - FINNOMENA หากว่ากันถึงหุ้นยอดนิยมหลาย ๆ คนอาจจะคิดถึงประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเสมอมา หรือแม้แต่จีนเองที่ช่วงล่าสุดดูเหมือนจะมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนหลาย ๆ ท่าน แต่ใครเล่าจะรู้ว่าหุ้นเอเชียเองก็มีความน่าสนใจเช่นเดียวกัน และมีกองทุนเจ๋ง ๆ ที่ทำผลตอบแทนได้เหนือค่าเฉลี่ยอีกด้วย ส่วนจะเป็นกองทุนอะไรนั้น อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ 10 มี.ค. 2566 หากว่ากันถึงหุ้นยอดนิยมหลาย ๆ คนอาจจะคิดถึงประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเสมอมา หรือแม้แต่จีนเองที่ช่วงล่าสุดดูเหมือนจะมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนหลาย ๆ ท่าน แต่ใครเล่าจะรู้ว่าหุ้นเอเชียเองก็มีความน่าสนใจเช่นเดียวกัน และมีกองทุนเจ๋ง ๆ ที่ทำผลตอบแทนได้เหนือค่าเฉลี่ยอีกด้วย ส่วนจะเป็นกองทุนอะไรนั้น อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ 1) PRINCIPAL APDI เริ่มแรกถ้าพูดถึงกองทุนหุ้นเอเชียแล้ว ถ้าไม่พูดถึง PRINCIPAL APDI ก็คงจะไม่ได้ หนึ่งในกองทุนหุ้นเอเชียคัดเน้น รวมเสือแห่งภูมิภาคเอเชียไม่นับญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เงียบงันมาก่อนหน้าหรือที่เราได้ยินนักลงทุนพูดกันจนติดหูว่า “Lost Decade” หรือทศวรรษที่สูญหาย แต่ความน่าสนใจของ PRINCIPAL APDI นั้นไม่ได้อยู่ที่การคัดประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตเพียงอย่างเดียว จริง ๆ แล้วทางกองทุนยังมีแง่มุมสุดพิเศษที่น่าสนใจอีกมากมาย… พิสูจน์ผ่านข้อมูลด้านล่างได้เลยครับ ส่วนผสมหลักในการลงทุน กองทุน PRINCIPAL APDI มีความโดดเด่นอย่าง “ความไร้ขอบเขตในภูมิภาค” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้จัดการกองทุนสามารถเลือกหุ้นตัวใดก็ได้ในภูมิเอเชีย ที่เข้าตาและเข้าเกณฑ์การวิเคราะห์ว่ามีศักยภาพ ไม่ยึดติดว่าหากนึกถึงเอเชียต้องเป็นเพียง “จีน” ประเทศยักษ์ใหญ่แต่เพียงเท่านั้น ซึ่งกระบวนการเลือกหุ้นแบบตัวต่อตัวนั้นจะถูกอธิบายในโมเดลการคัดเลือกหุ้นต่อไป ภาพแสดงสัดส่วนการลงทุนล่าสุดของกองทุน PRINCIPAL APDI ที่มา: Morningstar วันที่ 30 กันยายน 2020 จากภาพจะเห็นได้ว่ามีการให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นหุ้นกลุ่มผู้นำในตอนนี้อย่างแท้จริง ที่มีศักยภาพอันโดดเด่นอย่างการเติบโตทางรายได้ รวมถึงความยืดหยุ่นในช่วงวิกฤติและยืนหยัดได้เหนือหุ้นกลุ่มอื่น ๆ แต่ถึงอย่างนั้นทางกองทุนเองก็ได้มีการลงทุนเชิงรับอย่างการลงทุนใน REITs ต่าง ๆ เพื่อลดความผันผวนในช่วงขาลง เมื่อเห็นดังนี้แล้วก็คงไม่ต้องอธิบายกันเยอะแล้วว่า ผู้จัดการกองทุนแต่ละท่านเอาใจใส่ในการเลือกสินทรัพย์ขนาดไหน หลังปรับการจัดสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ปรัชญาการลงทุนมีสไตล์และเอกลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจน ใช้การเลือกหุ้นเติบโตผสมผสานไปกับหุ้นปันผลพื้นฐานเยี่ยม สร้างการเติบโตในช่วงตลาดขึ้น พร้อมปกป้องความเสี่ยงขาลงไปกับหุ้นปันผล หรือ แม้แต่ REITs (อสังหาริมทรัพย์) เลือกหุ้นแบบ Bottom-up คัดเน้นตัวต่อตัว หากใครเป็นแฟนคลับคุณ A. Stotz เจ้าของพอร์ต All Weather Strategy อันเลื่องชื่อ การเลือก PRINCIPAL APDI ก็อาจจะเหมาะสมคู่ควรกับคุณเช่นกัน ด้วยการใช้โมเดลการวิเคราะห์แบบ FVM ซึ่งคล้ายคลึงกับโมเดล FVMR ของคุณแอนดรูว์โดย… F = ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) V = ปัจจัยเชิงมูลค่า (Valuation) M = แรงซื้อของเงินลงทุน (Momentum) ซึ่งการเลือกหุ้นแบบพิถีพิถันนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ช่วงเวลาที่ผ่านมา การสูญเสียผลตอบแทนน้อยกว่าดัชนีหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นอย่าง MSCI Asia Ex Japan ผลตอบแทนติดลบแปลว่ากองทุนนั้นแย่จริงหรือ? ความจริงก็คือความจริง คงปฏฺิเสธไม่ได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ทางกองทุนอาจมีผลการดำเนินงานที่ดูเผิน ๆ อาจจะไม่ดีนัก แต่หากเราเทียบกับดัชนีหุ้นเอเชียทั้งภูมิภาคอย่าง (MSCI Asia Ex Japan) แล้ว PRINCIPAL-APDI ไม่ได้เป็นสองรองใครแน่นอน และยังรักษาผลตอบแทนทั้งในช่วงขาขึ้นและขาลงให้เหนือกว่าดัชนีรวมได้ ทั้ง ๆ ที่ทางกองทุนเองไม่ได้ใช้หลักการเทียบเคียงผลตอบแทนกับดัชนีเพียงอย่างเดียว ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีของกองทุน PRINCIPAL APDI (เส้นสีนำ้เงิน) กับ ดัชนี MSCI Asia Pacific Ex Japan (เส้นสีแดง) ที่มา: Morningstar วันที่ 31 มกราคม 2021 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต เมื่อเห็นข้อพิสูจน์ผ่านวิกฤติล่าสุดมากับตาแล้วก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า PRINCIPAL APDI น่าจะเป็นหนึ่งตัวเลือกในการลงทุนที่ยอดเยี่ยม สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้นเอเชียระยะยาว ดังนั้นช่วงเวลานี้จะถือว่าเป็น “โอกาส” ในการเข้าลงทุนก็ว่าได้หลังของดีมีคุณภาพอย่าง PRINCIPAL APDI ได้ลงมาให้เราเข้าซื้อ!! ภาพแสดงการให้คะแนนของ Morningstar ที่มา: Morningstar วันที่ 19 กรกฎาคม 2020 “การันตีคุณภาพ 5 ดาวโดย Morningstar!” 2) MATECH-A มาต่อกันสำหรับกองทุนที่สองถัดมา ที่ถือว่าเป็นน้องใหม่ไฟแรง ทำผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา ที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดูจะเป็นพระเอกหลักฉุดกระชากตลาดหุ้นให้กลับมาได้ ซึ่งกองทุนที่ว่านั้นก็คือ MATECH-A กองทุนหุ้นเทคโนโลยีเอเชียที่มาแรงแซงทางโค้งกองทุนหุ้นเอเชียอื่น ๆ ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา แม้จะมีการเปลี่ยนชื่อกองทำให้ผลตอบแทนในตอนนี้อาจดูไม่ดีนัก ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังนับตั้งแต่จัดตั้งของกองทุน MATECH-A ที่มา: FINNOMENA Fund วันที่ 28 มกราคม 2021 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทำไมหุ้นเทคโนโลยีถึงได้โดดเด่นกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ 1) เติบโตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากหุ้นเทคโนโลยีไม่ต้องมีกระบวนการยุ่งยากมากมายเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นธุรกิจ ซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องรอการผลิต ตั้งหน้าร้านให้วุ่นวายเห็นผลกำไรได้ทันที ทำให้วัดผลสำเร็จและพัฒนาต่อเนื่องได้รวดเร็วยิ่งกว่า 2) หนี้สินที่น้อยกว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีไม่ได้มีส่วนหนี้สินที่มากบานเต่อเหมือนเช่น ธุรกิจอื่น ๆ ที่อาจจะต้องใช้การกู้ยืมเสริมแรง ซึ่งจะส่งผลเสียในช่วงวิกฤติหากขาดรายได้และธนาคารมาไล่เก็บดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเหมือนการตอกยํ้าซํ้าแผลเข้าไปอีก 3) ไม่ยึดติดว่าต้องจ่ายปันผล เนื่องด้วยหุ้นเทคโนโลยีเป็นหุ้นเติบโต จึงไม่จำเป็นต้องเน้นการจ่ายปันผลในอัตราสูง ๆ เพื่อดึงดูดเงินทุน เพราะ เพียงการเติบโตของราคาก็เรียกได้ว่า เอาชนะขาดหุ้นปันผลมั่นคง ได้สบาย ๆ รายละเอียดกองทุนที่ถือครอง ณ ปัจจุบัน ภาพแสดงสัดส่วนการลงทุนของกองทุน MATECH-A ที่มา: M-ATECH-A Fund Fact Sheet วันที่ 14 มกราคม 2021 หลัก ๆ แล้วลงทุนในกองทุนต่างประเทศอย่าง Wellington Asia Technology Fund สไตล์การลงทุน เน้นการเติบโตในระยะยาวผ่านการเลือกหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอันโดดเด่นที่กำลังเติบโตในเอเชีย เช่น บริษัทผลิต Semiconductors ต่าง ๆ บริษัทผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และบริษัทซอฟต์แวร์ ไฮไลท์การจัดการ ไม่จำกัดตัวตนอยู่ภายใต้การลงทุนในหุ้นใหญ่เพียงอย่างเดียว มีการกระจายการลงทุนอย่างทั่วถึงในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขับเคลื่อนการเลือกหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน เฟ้นหาหุ้นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ และเข้าลงทุนในช่วงแรกของการเติบโต เพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่า กองทุนจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในเอเชีย พร้อมด้วยการเข้าถึงบริษัทที่ลงทุนได้อย่างใกล้ชิด ผลตอบแทน เนื่องจากตัวกองแม่เองเพิ่งเปิดได้ไม่นานนัก (ปี 2018) ซึ่งว่ากันตามตรงผลตอบแทนย้อนหลังคงยังบอกอะไรไม่ได้มาก แต่ถึงอย่างนั้นตัวกองทุนเองก็ยังสามารถทำผลตอบแทนเหนือดัชนีเทียบเคียงได้มาโดยตลอด ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนแม่ Welling Asia Technology Fund ที่มา: Wellington วันที่ (หมายถึงสิ้นสุดการคำนวณผลตอบแทน) 2020 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ข้อควรระวัง: ขนาดกองทุนที่อาจจะยังเล็กอยู่ ภาพแสดงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน MA-TECH ที่มา: FINNOMENA Fund วันที่ 28 มกราคม 2021 จากภาพจะเห็นได้ว่ามีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาเป็นจำนวนมากก็จริง แต่ขนาดของกองทุนเองก็ยังไม่ได้มีขนาดใหญ่มากอยู่ที่ราว ๆ 200 ล้านบาท ดังนั้นอาจต้องระวังความเสี่ยงในเรื่องของการปิดกองด้วย ถึงแม้กองทุนขนาดเล็กจะมีความคล่องตัวในการจัดการเงินทุนที่มากกว่า 3) TMBAGLF มาถึงกองทุนยอดนิยมอันดับที่ 3 กันแล้ว และกองทุนนั้นก็คือ TMBAGLF ที่เน้นการลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (Emerging Market) โดยมีเป้าหมายสำคัญอย่างการเอาชนะดัชนีอย่าง MSCI Emerging Markets Asia (ดัชนีผลตอบแทนรวมกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย) ส่วนเบื้องลึกเบื้องหลังจะเป็นเช่นไรติดตามชมข้อมูลด้านล่างได้เลย! รายละเอียดกองทุนที่ถือครอง ณ ปัจจุบัน ภาพแสดงสัดส่วน Sector และ ภูมิภาค การลงทุนหลักของกองทุนแม่ Schroder International Selection Fund: Emerging Asia ที่มา: Schroder วันที่ 31 ธันวาคม 2020 หลัก ๆ แล้วมีการลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพียงกองเดียว โดยลงทุนใน Schroder International Selection Fund Emerging Asia โดยตัวกองแม่นั้นมีการลงทุนในหุ้นจีนกลุ่มเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งเป็น กลุ่มที่พิสูจน์ผ่านช่วงวิกฤติที่ผ่านมาแล้วว่าเติบโตได้อย่างทนทาน ยอดเยี่ยม สไตล์การลงทุน เน้นลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย โดยลงทุนในสัดส่วนอย่างน้อย 2 ใน 3 ขึ้นไปในกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยอาจลงทุนโดยตรงในหุ้นจีน B-shares และ H-shares และอาจมีการลงทุนโดยใช้ตราสารอนุพันธ์* (Derivatives) ในหุ้นจีน A-shares ในสัดส่วนที่น้อยกว่า 30% ของสินทรัพย์ทั้งหมด และอื่น ๆ *พวก Futures หรือใช้ Leverage (อัตราทด) เพื่อเร่งผลตอบแทน ผลตอบแทน ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีของกองทุน Schroder International Selection Fund: Emerging Asia (เส้นสีนำ้เงิน) กับ ดัชนี MSCI EM Asia (เส้นสีม่วง) และ Morningstar Asia Ex Japan Equities Sector ที่มา: Schroder วันที่ 31 ธันวาคม 2020 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลังก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ยอดเยี่ยมโดยสร้างผลตอบแทนไปราว ๆ 60% หรือคิดเฉลี่ยกลม ๆ คร่าว ๆ ที่ 12% ต่อปี ภูมิภาคเอเชียจะกลับมาได้หรือไม่? มาถึงจุดนี้หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าเศรษฐกิจของทางเอเชียจะยังไปต่อได้อีกหรือไม่? ซึ่งเราก็จะมาสืบดูผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังเหลืออยู่และการประเมินมูลค่าคร่าว ๆ กัน 1) การใช้จ่ายภาครัฐ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจขยายตัวได้อีก ภาพแสดงสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP ของประเทศในเอเชีย ที่มา: Nikkei Asian Review วันที่ 19 พฤษภาคม 2020 หากไม่นับอเมริกาประเทศที่พิมพ์เงินได้อย่างอิสระและดูแล้วอาจจะไม่สนใจเรื่องการก่อหนี้ของตัวเองเท่าไรนัก เอเชียจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเนื่องด้วยหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ไม่สูง จึงอาจทำให้ทางรัฐยังสามารถอีดฉีดเงินเข้าระบบให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอย กู้ยืมทำธุรกิจได้มากขึ้น และหากดูจากภาพข้างต้นญี่ปุ่นอาจจะดูเป็นประเทศที่มีหนี้ภาครัฐต่อ GDP ที่สูง แต่หากเทียบกับกองทุนที่แนะนำข้างต้นก็ไม่ได้มีการลงทุนในญี่ปุ่นเป็นหลักแต่อย่างใด 2) ความน่าสนใจในเชิงมูลค่า (Valuation) ภาพแสดงผลตอบแทนของดัชนีหุ้นภูมิภาคเอเชีย (เส้นสีขาว) เทียบกับดัชนีหุ้นภูมิภาคยุโรป STOXX 600 (เส้นสีนำ้เงิน) และดัชนีหุ้นอเมริกา S&P 500 (เส้นสีส้ม) ที่มา: Schroder วันที่ 16 กรกฎาคม 2020 ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต จากภาพจะเห็นได้ว่าผลตอบแทนของหุ้นเอเชีย (เส้นสีขาว) นั้นยังมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งนี้และทั้งนั้นในส่วนของผลตอบแทนหุ้น (Earning yield) ตามภาพข้างต้น หากว่าง่าย ๆ ก็คือส่วนกลับของค่า PE ที่ใช้วัดความถูกแพงของหุ้น จบกันไปนะครับสำหรับรีวิวกองทุนหุ้นเอเชียยอดนิยม ก็คงต้องทิ้งท้ายไว้ว่า ความนิยมนั้นอาจไม่ได้หมายถึงว่ากองทุนนั้นจะเป็นกองทุนที่มีศักยภาพโดดเด่นในอนาคตเสมอไป ดังที่ Warren Buffett ได้กล่าวว่า “จงลงทุนในตัวคุณเอง” ยังไงก็ลองใช้ข้อมูลข้างต้นที่ทางผมได้จัดเตรียมมา ประกอบการตัดสินใจเลือกลงทุนกันดูนะครับ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin *ข้อมูลความนิยมอิงจากการค้นหาใน FINNOMENA Fund Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มเทคโนโลยี ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299 References https://asia.nikkei.com/Spotlight/Asia-Insight/Asia-faces-financial-health-check-after-going-big-on-stimulus https://cdn-api.kurtosys.io/tools/ksys373/viewDocument?clientCode=3969539da54ca1d35b593664099622a0&filename=Wellington%20Asia%20Technology%20Fund_USD%20S%20Accumulating%20Unhedged_Instit_EN_06302020.pdf&isClientHosted=true https://www.morningstarthailand.com/th/funds/snapshot/snapshot.aspx?id=F00000OT55&tab=13 https://www.schroders.com/getfunddocument/?oid=1.9.62137 https://www.wellingtonfunds.com/gb/en/institutional/funds/Asia-Technology-Fund/USD-S-Acc-6Q47/ แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW Long Content MATECH-A PRINCIPAL APDI Product Info TMBAGLF แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เปรียบเทียบกองทุน Healthcare 4 กอง: เหมือนหรือต่างกันอย่างไร แล้วเลือกกองไหนดี? - FINNOMENA เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรม Healthcare หลาย ๆ คนน่าจะรู้สึกว่าเป็น Mega Trend ที่น่าจะเติบโตในระยะยาว ไม่ว่าจะจากเทรนด์รักสุขภาพ สังคมผู้สูงอายุ หรือเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้วงการก้าวหน้า มีกองทุนหลายกองที่ลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ วันนี้เราขอคัด 4 กองมาเปรียบเทียบกันว่าโดดเด่นด้านไหนบ้าง 1 ก.พ. 2564 เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรม Healthcare หลาย ๆ คนน่าจะรู้สึกว่าเป็น Mega Trend ที่น่าจะเติบโตในระยะยาว ไม่ว่าจะจากเทรนด์รักสุขภาพ สังคมผู้สูงอายุ หรือเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้วงการก้าวหน้า มีกองทุนหลายกองที่ลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ วันนี้เราขอคัด 4 กองมาเปรียบเทียบกันว่าโดดเด่นด้านไหนบ้าง ส่วนแรก: พอร์ตกองทุน กองที่ 1: BCARE หน้าพอร์ตของ Wellington Global Health Care Equity Fund ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ที่มา: Wellington Management กองนี้จาก บลจ.บัวหลวง ถือว่าเป็นกองที่ชื่อน่าจะคุ้นหูหลายคนพอสมควร เพราะถือเป็นกองทุน Healthcare แห่งแรกของไทยเลยทีเดียว จดทะเบียนมาตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2550 นับอายุคร่าว ๆ ก็ 10 กว่าปีแล้ว กองทุน BCARE ลงทุนใน Master Fund ชื่อ Wellington Global Health Care Equity Fund โดยจะมุ่งเน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Healthcare ทั่วโลก แม้จะมีนโยบายลงทุนทั่วโลกแต่พอร์ตการลงทุนของ Master Fund นั้นจะกระจุกตัวอยู่ที่สหรัฐฯ เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยสัดส่วนการลงทุนในสหรัฐฯ อยู่ที่ 76.3% รองลงมาคือยุโรปที่ทิ้งห่าง อยู่ที่ 14.6% อุตสาหกรรมที่ Master Fund เน้นเป็นหลักคือ Biopharma (ทั้งหุ้นเล็ก-ใหญ่ รวมกันเป็น 45.5%) และ Medical Tech (28.2%) หุ้น 10 อันดับแรกเป็นหุ้นสหรัฐฯ เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยหุ้นอันดับ 1 คือ UnitedHealth Group (5.9%) บริษัท Healthcare ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขายทั้งเครื่องไม้เครื่องมือและประกัน ในปี 2019 มีรายได้ $2.4 แสนล้าน มีกำไรอยู่ที่ $1.4 หมื่นล้าน โดยปัจจัยที่ช่วยให้บริษัทเติบโตนั้นหลัก ๆ มาจาก Optum ซึ่งเป็นบริการด้านสุขภาพ กองที่ 2: KFHEALTH-A หน้าพอร์ตของ JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ที่มา: J.P.Morgan Asset Management เป็นกองทุนจาก บลจ.กรุงศรี มี 2 Class ให้เลือก หากเลือกเป็น A จะไม่ได้รับปันผล ถ้าอยากได้รับปันผลสามารถเลือกลง KFHEALTH-D แทนได้ ใน Fund Fact Sheet บอกว่ากองนี้ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจ แต่อันที่จริงในเชิงปฏิบัติกองนี้ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน ผู้ลงทุนจึงควรรับความเสี่ยงเรื่องค่าเงินได้ สำหรับใครที่ต้องการอยากให้มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ก็สามารถไปพิจารณากอง KFHHCARE-A (ไม่จ่ายปันผล) และ KFHHCARE-D (จ่ายปันผล) แทนได้ ลงทุนในกองแม่เดียวกัน ลงทุนใน Master Fund ชื่อ JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund, Class C (acc) – USD เน้นลงทุนในบริษัท Healthcare ทั่วโลก และเน้นหนักไปทางธุรกิจยา (Pharmaceutical 31.2%) เป็นหลัก รองลงมาคือเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology 25.2%) และ Medical Tech (22.3%) เนื่องจากลงทุนเน้นไปที่บริษัทยา หลาย ๆ ชื่อบริษัทจึงเป็นที่คุ้นหูอยู่บ้าง เช่น Roche (5.8%) Johnson & Johnson (4.7%) Bristol-Myers Squibb (4.5%) Novartis (3.7%) นอกจากนี้ใน 10 อันดับแรกยังมีบริษัทประกันที่เราคุ้นชื่อกันอย่าง Cigna (3.4%) หลัก ๆ กองทุนจะลงทุนในหุ้นใหญ่ที่มีมูลค่า 1 แสนล้านดอลล่าร์ขึ้นไป (47%) รองลงมาคือระดับหนึ่งหมื่นล้านถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์ (35.35%) ซึ่งหุ้นใหญ่ก็จะมีความมั่นคงสูงกว่า แต่อาจจะเติบโตไม่เท่าหุ้นเล็ก ลงทุนในสหรัฐฯ กว่า 75.9% รองลงมาคือยุโรปและตะวันออกกลาง (ไม่นับรวมสหราชอาณาจักร) ทิ้งห่างอยู่ที่ 15.7% กองที่ 3: UOBSHC หน้าพอร์ตของ United Global Healthcare Fund ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2563 ที่มา: UOB Asset Management กองทุนจาก บลจ.ยูโอบี ลงทุนใน Master Fund ชื่อ United Global Healthcare Fund กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในบริษัท Healthcare หลาย ๆ ประเภท ครอบคลุมหลัก ๆ 4 ด้านคือ 1) เทคโนโลยีทางการแพทย์ 2) การคิดค้นและผลิตยา 3) การให้บริการทางการแพทย์ และ 4) เทคโนโลยีชีวภาพ เห็นชื่อกองทุนแม่เป็นแบบนี้ แต่จริง ๆ แล้วผู้จัดการกองทุนมาจาก บลจ. Wellington ด้วยเหตุนี้อาจจะรู้สึกว่าพอร์ตการลงทุนนั้นคล้าย ๆ กับกอง Wellington Global Health Care Equity Fund หลัก ๆ ในพอร์ตจะลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology 26.48%) อุปกรณ์ Health Care (22.67%) และ ธุรกิจยา (Pharmaceutical 22.29%) ลงทุนกระจุกตัวในสหรัฐฯ (68.30%) รองลงมาคือสหราชอาณาจักร (5.55%) UnitedHealth Group เป็นหุ้นที่ถือน้ำหนักเยอะสุดที่ 5.9% รองลงมาก็จะเป็นบริษัทยาที่คุ้นชื่อกันอย่าง Pfizer กองที่ 4: KT-HEALTHCARE-A หน้าพอร์ตของ Janus Global Life Sciences Fund ข้อมูล ณ 31 พฤษภาคม 2563 ที่มา: Janus Henderson Investors กองทุนจาก บลจ.กรุงไทย ลงทุนใน Master Fund ชื่อ Janus Global Life Sciences Fund เน้นการลงทุนในบริษัททั่วโลกที่ตอบโจทย์ความต้องการทางการแพทย์ มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต (Life Sciences) ที่จะช่วยรักษาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิต ในพอร์ตหลัก ๆ จะลงทุนในธุรกิจยา (Pharmaceutical 35.3%) ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology 29.7%) และอุปกรณ์ Health Care (14%) โดยจะพยายามเกลี่ยกระจายไปทุก ๆ อุตสาหกรรมย่อย มีการทำ Value At Risk ให้หุ้นแต่ละตัว โดยหุ้นตัวหนึ่งจะต้องไม่ทำให้พอร์ตขาดทุนเกิน 1% ตัวอย่างเช่น หากมีการประเมินว่าหุ้นตัวหนึ่งสามารถขาดทุนได้มากสุด 50% แปลว่าสามารถลงทุนในหุ้นได้แค่ 2% ของพอร์ต หลัก ๆ กองทุนจะลงทุนในหุ้นใหญ่ที่มีมูลค่า 1 แสนล้านดอลล่าร์ขึ้นไป (37%) รองลงมาคือระดับหนึ่งหมื่นล้านดอลล่าร์ถึงห้าหมื่นล้านดอลล่าร์ (19.4%) สรุป จุดเด่นพอร์ตของแต่ละกอง ทุกกองทุนลงทุนใน Master Fund ที่บริหารงานแบบ Active มุ่งหวังเอาชนะดัชนีชี้วัด BCARE, KFHEALTH-A และ KT-HEALTHCARE-A มีดัชนีเปรียบเทียบคือ MSCI World Healthcare Index (Total Return Net) สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ปรับเป็นสกุลเงินบาท ส่วน UOBSHC เป็น MSCI AC World Health Care Index สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ปรับเป็นสกุลเงินบาท ทุกกองยกเว้น KFHEALTH-A จะป้องกันความเสี่ยงค่าเงินตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน แม้จะมีนโยบายลงทุนทั่วโลก แต่ทั้ง 4 กองก็เน้นลงทุนในสหรัฐฯ เป็นหลัก ซึ่งก็พอเข้าใจได้เพราะบริษัท Healthcare ส่วนใหญ่ก็อยู่ในสหรัฐฯ ดังนั้นหากใครมีหุ้นสหรัฐฯ อยู่ในพอร์ตค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว อาจจะชะลอการซื้อกองทุน Healthcare นิดนึง พอร์ตของกองแม่ BCARE และ UOBSHC มีความคล้ายกันส่วนหนึ่งเพราะผู้จัดการกองทุนคือ Wellington เหมือนกัน พอร์ตก็จะเน้นลงทุนในกลุ่ม Biotech/Biopharma ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับการคิดค้นและวิจัยยาใหม่ ๆ มีโอกาสเติบโตสูงหากยานั้นถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย บริษัทก็จะประสบความสำเร็จ นั่นเพราะบริษัทเจ้าของยาก็จะจดสิทธิบัตรไว้ ทำให้รายอื่น ๆ ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ แต่ข้อเสียของธุรกิจประเภทนี้คืออาจต้องใช้เงินลงทุนสูงในช่วงแรก ๆ ของการวิจัย มีความเสี่ยงขาดทุนหากยาไม่ประสบผลสำเร็จ หรืออาจจะต้องใช้เวลานานมากกว่าจะขายได้ KFHEALTH-A และ KT-HEALTHCARE-A จะมีสัดส่วนในธุรกิจยาเยอะหน่อย ซึ่งบริษัทเหล่านี้ก็จะมักจะเป็นบริษัทใหญ่ มีความมั่นคง พื้นฐานแกร่ง ฉะนั้นหากเกิดวิกฤตหรือความผันผวนก็จะสามารถทนทานต่อสภาวะไม่แน่นอนได้ แต่โอกาสการเติบโตก็อาจจะไม่สูงเท่าไร ผลการดำเนินงานเปรียบเทียบ 4 กอง เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปี ของทั้ง 4 กองทุน ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิ.ย. 2563 ที่มา: FINNOMENA ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ดูข้อมูลเปรียบเทียบอื่น ๆ ของทั้ง 4 กองทุน ผลการดำเนินงานแบบปักหมุด ไล่ตั้งแต่ผลตอบแทน, Standard Deviation, Sharpe Ratio และ Max Drawdown ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิ.ย. 2563 ที่มา: FINNOMENA ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต หากดูจากกราฟข้างต้น จะเห็นว่า KFHEALTH-A ทำผลงานได้ดีที่สุด แม้กระทั่งตอนที่ตลาดร่วงหนัก ๆ กองนี้ก็ยังร่วงน้อยที่สุด เพราะส่วนหนึ่งได้แรงหนุนจากค่าเงินบาทที่อ่อนด้วย ทำให้ผลการดำเนินงานแซงหน้ากองอื่น ๆ ที่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เพราะหากไปดูการเปรียบเทียบกองแม่ ก็จะเจอว่าช่วงที่ลงหนัก ๆ นั้น ติดลบใกล้เคียงกันทุกกอง แต่พอมาดูช่วงตลาดขึ้นเยอะ ๆ (3 เดือนย้อนหลัง) จะพบว่าอีก 3 กองที่เหลือมีผลตอบแทนที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่า เพราะส่วนหนึ่งกองเหล่านี้ลงเยอะกว่า และกองที่ถือ Biopharma เยอะ ๆ อาจจะได้รับอานิสงส์จากข่าววัคซีนโควิด-19 ทำให้พุ่งขึ้นแรง พอลองมามองในระยะ 1 ปีย้อนหลัง ผลตอบแทนของทั้ง 4 กองถือว่าไม่ต่างกันมาก คร่าว ๆ คืออยู่ระหว่าง 12%-16% แต่เมื่อมาดูความเสี่ยง ตัว Standard Deviation ของ KFHEALTH-A ต่ำกว่ากองอื่น ๆ อย่างมีนัย โดยกองอื่น ๆ จะไปกระจุกที่ 18%-20% ส่วน KFHEALTH-A อยู่ที่ 14.78% นั่นจึงทำให้ Sharpe Ratio หรือผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยงของ KFHEALTH-A สูงกว่ากองอื่น ๆ อยู่ที่ 1.35 เท่า เมื่อหันมามอง Max Drawdown ก็จะพบว่าในช่วง 1 ปี KFHEALTH-A มีจุดขาดทุนสูงสุดน้อยกว่ากองอื่น ๆ ค่าความเสี่ยงของ KFHEALTH-A ที่น้อยกว่ากองอื่น ๆ นั้นเพราะโชคดีเจอค่าเงินอ่อน แต่หากดูกันที่นโยบายจริง ๆ กองนี้เสี่ยงกว่าเพื่อน เพราะเจอทั้งความผันผวนของราคาหุ้น และ การเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน หากมองในระยะยาว ๆ กองเก่าแก่อย่าง BCARE ก็ทำได้ดี เป็นกองเดียวที่มีผลการดำเนินงานย้อนหลังให้ดูถึง 10 ปี ซึ่งถ้าถือมา 10 ปีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ 14.08% ซึ่งถือว่าน่าพอใจ จาก 3D Diagram จะเห็นได้ว่า BCARE มีสามเหลี่ยมที่ใหญ่ที่สุด มีค่าผลตอบแทนที่ค่อนข้างเหนือกว่ากองอื่น ๆ ส่วน KFHEALTH-A ดีกว่ากองอื่น ๆ ในแง่ Max Drawdown ที่ต่ำกว่า 3D Diagram สรุปภาพรวมของกองทุนเมื่อเทียบกับกองทุนในประเภทเดียวกัน ข้อมูล ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ที่มา: FINNOMENA ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ค่าธรรมเนียมและขั้นต่ำการซื้อ ค่าธรรมเนียมและขั้นต่ำการซื้อของ 4 กองทุน ที่มา: หนังสือชี้ชวนข้อมูลส่วนสรุปกองทุน ค่าธรรมเนียมรวมของทั้ง 4 กองอยู่ระหว่าง 0.9%-1.9% โดยกองที่ถูกสุดคือ KFHEALTH-A และที่แพงสุดคือ UOBSHC ในฝั่งของค่าธรรมเนียมขาเข้า มีเพียง BCARE ที่ไม่เรียกเก็บ นอกนั้นเก็บ 1.5% แต่ BCARE ก็เป็นกองเดียวที่มีค่าธรรมเนียมขาออก ซึ่งอยู่ที่ไม่เกิน 1% และขั้นต่ำคือ 50 บาท สำหรับขั้นต่ำการลงทุน ถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถ DCA ได้ โดย KFHEALTH-A สูงสุดที่ 2,000 บาท ลงทุนกองไหนดี? BCARE: เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกองทุนที่มีประวัติยาว ๆ มีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีสัดส่วนบริษัท Biopharma/Biotech ค่อนข้างเยอะ จึงมีโอกาสเติบโตสูง แต่ก็เสี่ยงสูงเช่นกัน KFHEALTH-A: เหมาะสำหรับผู้ที่ Conservative หน่อย เพราะมีการถือหุ้นบริษัทยาที่ใหญ่โตและมั่นคงค่อนข้างเยอะ ที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้มีค่าความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับกองอื่น ๆ แต่ภาพรวมจะไม่มีการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน UOBSHC: เนื่องจากมีสัดส่วนบริษัท Biopharma/Biotech ค่อนข้างเยอะ จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการโอกาสเติบโตสูง แต่ก็เสี่ยงสูงเช่นกัน กองเพิ่งเปิดไม่นานอาจจะต้องดูกันยาว ๆ และโดยรวม BCARE ที่ลงทุนคล้าย ๆ กันยังมีผลการดำเนินงานในอดีตที่ดีกว่า KT-HEALTHCARE-A: เหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนทั้งในหุ้น Growth และหุ้น Defensive จึงค่อนข้างมีความสมดุล ผลการดำเนินงานค่อนข้างเกาะกลุ่มไปกับกองอื่น ๆ ความเสี่ยงที่พึงระวัง ความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน: เนื่องจากทุกกองทุนมีการไปลงทุนในต่างประเทศ และการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในบางช่วงเวลาผู้จัดการกองทุนอาจจะไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงในสัดส่วนที่สูง ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในอุตสาหกรรม/ประเทศ: เนื่องจากทุกกองทุนลงทุนเจาะจงเฉพาะในอุตสาหกรรม Healthcare จึงมีความเสี่ยงเฉพาะของอุตสาหกรรมนี้ นอกจากนี้กองทุนยังลงทุนกระจุกในสหรัฐฯ เสียเป็นส่วนใหญ่ ผู้ลงทุนสามารถพิจารณากระจายการลงทุนในกองทุนเหล่านี้ พร้อมกับกองทุนประเภทอื่น ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง ตัวอย่างความเสี่ยงเฉพาะของอุตสาหกรรมก็อย่างเช่น การเมืองสหรัฐฯ ที่พรรคการเมืองมักจะนำ Healthcare ไปเป็นนโยบายในการหาเสียง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาโรคได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างนโยบายก็เช่นการควบคุมราคายา/ราคาการบริการทางการแพทย์ รวมไปถึงการเข้าไปอุดหนุนการดูแลสุขภาพต่างๆ ซึ่งกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทกลุ่ม Healthcare อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น เราอาจจะเจอว่าผลการดำเนินงานของหุ้น Healthcare สหรัฐฯ นั้นจะผันผวนอย่างมีนัยสำคัญในปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ส่งท้ายด้วยคำอธิบายคำศัพท์เฉพาะ Biopharma นี้แปลเป็นไทยคือยาชีวภาพ ซึ่งผลิตจากสิ่งมีชีวิตและเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ มักจะมาจากการใช้จุลินทรีย์และเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยยาชีวภาพที่น่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดคืออินซูลิน (สำหรับโรคเบาหวาน) และ โกรท ฮอร์โมน ส่วน Medical Technology แปลไทยก็คือเทคนิคการแพทย์ คือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการแพทย์ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น เครื่อง MRI อวัยวะเทียม แขนขาเทียม เป็นต้น Biotechnology หรือเทคโนโลยีชีวภาพนั้นคือกระบวนการนำสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในแง่การแพทย์ก็อย่างเช่นการทำยาชีวภาพ สร้างวัคซีน สร้างชุดเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ เพื่อนผู้ใจดี ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก AKN Blog Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ ข้อมูลอ้างอิง *หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ และ Monthly Fund Update BCARE: วันที่ 31 มีนาคม 2563 Wellington Global Health Care Equity Fund: วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ดูฉบับปัจจุบันได้ที่ BBLAM KFHEALTH-A: วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund: วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ดูฉบับปัจจุบันได้ที่ Krungsri Asset UOBSHC: วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 United Global Healthcare Fund: ประจำเดือนพฤษภาคม 2563 ดูฉบับปัจจุบันได้ที่ UOBAM KT-HEALTHCARE-A: วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 Janus Global Life Sciences Fund: วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ดูฉบับปัจจุบันได้ที่ KTAM ข้อมูลอื่น ๆ https://mktpharma.wordpress.com/tag/biopharmaceutical-products/ http://www.healthcarebusinesstech.com/medical-technology/ https://en.wikipedia.org/wiki/UnitedHealth_Group https://www.forbes.com/sites/brucejapsen/2020/01/15/unitedhealth-medicare-advantage-growth-strongest-ever/#1a940b4a5186 https://www.fiercehealthcare.com/payer/unitedhealth-projects-242b-2019-revenue-offers-2020-guidance-262b-revenue#:~:text=Payer-,UnitedHealth%20projects%20major%20revenue%20boost%20in%202020,back%20of%20continued%20Optum%20growth&text=UnitedHealth%20Group%20projected%20it%20will,top%2Dline%20growth%20in%202020. https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/16803 https://www.ig.com/en/news-and-trade-ideas/biotech-stocks–how-to-invest-and-the-best-companies-to-watch-200415 คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวด Healthcare ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: Advance Article BCARE FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW Healthcare KFHEALTH-A KT-HEALTHCARE-A Long Content Product Info UOBSHC กองทุน Healthcare เปรียบเทียบกองทุน แชร์บทความ: ผู้เขียน เพื่อนผู้ใจดี เพื่อนผู้ใจดีที่จดโน้ตในแต่ละคลาสเรียนมาแจกเพื่อนๆ ทั้งห้อง ใครขาดเรียนมาขอโน้ตจากเพื่อนผู้ใจดีได้ ฟรีไม่มีคิดตังค์ แค่พาไปเลี้ยงขนมบ้างก็พอ :3
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
คุยคริปโต Podcast EP2 : ทำไม Blockchain ถึงมีเสถียรภาพ ถึงขั้นที่ 20 ภาคธุรกิจยังต้องให้ความสำคัญ - FINNOMENA เข้าใจ Blockchain ภายในตอนเดียว กับ "คุยคริปโต" Podcast EP2 : ทำไม Blockchain ถึงมีเสถียรภาพ ถึงขั้นที่ 20 ภาคธุรกิจยังต้องให้ความสำคัญ 22 ก.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> FINNOMENA · คุยคริปโต Podcast EP2 : ทำไม Blockchain ถึงมีเสถียรภาพ ถึงขั้นที่ 20 ภาคธุรกิจยังต้องให้ความสำคัญ คุยคริปโต Podcast EP2 : ทำไม Blockchain ถึงมีเสถียรภาพ ถึงขั้นที่ 20 ภาคธุรกิจยังต้องให้ความสำคัญ Blockchain คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับ Bitcoin ในยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างแพร่หลาย การส่งข้อความหรือข้อมูลต่างๆแทบจะสามารถทำได้ทันที ที่เราเรียกยุคนี้ว่ายุค Information เราสามารถส่งข้อมูลหาใครก็ได้ในโลก โดยที่เรายังมีต้นฉบับหรือ File อยู่กับตัว เพราะสิ่งที่เราส่งหาคนอื่นก็เป็นแค่เพียงสำเนาเท่านั้น แต่ข้อเสียคือ ปลายทางสามารถดัดแปลงแก้ไขข้อมูลนั้นได้ และส่งต่อข้อมูลนั้นไปได้อีกไม่รู้จบ จนทำให้เราตรวจสอบความถูกต้องและลำดับของข้อมูลนั้นได้ยาก อีก 1 ข้อจำกัดคือ เราไม่สามารถส่งสิ่งที่มี Value หรือมูลค่าให้กันได้ผ่านระบบกระจาย เพราะจะเกิดปัญหาที่เรียกว่า Double Spending จึงได้มีตัวกลาง “ที่น่าเชื่อถือ” เข้ามาคั่นตรงกลางมากมายเพื่อทำให้การส่งผ่าน Value ให้กันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น A (ผู้โอนเงิน) ——- ธนาคาร ——- B (ผู้รับเงิน) A (เจ้าของหุ้น) ——- ตลาดหลักทรัพย์ ——- B (ผู้ที่ต้องการซื้อหุ้น) โดยที่ตัวกลางจะมีการคิดค่าบริหารจัดการซึ่งเป็นต้นทุนในการทำธุรกรรม แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือตัวกลางเหล่านี้เป็นสถานที่ที่รวบรวมข้อมูลธุรกรรมต่างๆเอาไว้มากมาย ซึ่ง Data ทั้งหมดกลับมีค่ามากมายสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปแสวงผลประโยชน์ต่อ จนทำให้มีการซื้อขายข้อมูล การขโมยข้อมูล ตามข่าวที่มีมาตลอด จนมีคนหรือกลุ่มคนนามว่า Satoshi Nakamoto ได้ออกแบบ New System โดยมีลักษณะเป็นระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ คล้ายๆเครือข่ายใยแมงมุม โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายนี้ (Node) จะได้ข้อมูลเดียวกันมา แต่ละ Node จะทำการบันทึกข้อมูลชุดเดียวกันนี้และต่างเขียนข้อมูลลงฐานข้อมูลตัวเอง ไม่มีการรอ Node อื่นๆ และข้อมูลที่ Node ส่วนใหญ่มีในการครอบครอง หรือข้อมูลไหนปรากฏตาม Node ต่างๆในเครือข่ายมากที่สุด เราจะถือว่านั่นเป็นข้อมูลต้นแบบ และข้อมูลต่างๆก็จะถูกจัดเก็บไว้ใน Block และก็ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆจนได้ Block ต่อมา ทั้งนี้ธุรกรรมต่างๆนั้นจะมีการเชื่อมต่อกันเป็นสาย (Chain) รวมเรียกว่า Blockchain ซึ่งแก้ปัญหาต่างๆได้ดังนี้ ลดปัญหา Double Spending จนทำให้คนส่วนใหญ่เรียกยุคนี้ว่า Internet of Value คือส่ง Value หากันได้แล้ว ลดปัญหาตัวกลาง ทำให้มีค่าใช้จ่ายธุรกรรมที่ลดลง แต่ยังคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือนั่นก็คือ ระบบ ความน่าเชื่อของข้อมูลที่มี คือสามารถตรวจสอบที่มาและไม่สามารถแก้ไขธุรกรรมได้ เป็นต้น แต่อย่างที่ อดัม สมิธ เคยเขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Wealth of Nations ว่าไม่มีใครที่จะทำงานให้ใครฟรีๆ มันจำเป็นต้องมีแรงจูงใจ หรือ “Incentive” ทุก Node ที่คอย Run ระบบ Blockchain นั้นก็ต้องมีแรงจูงใจเพื่อให้เขาเหล่านั้นทำงานกันอย่างแข็งขัน จึงเป็นที่มาของ Bitcoin กล่าวคือ ในทุก Node นั้นจะต้องแข่งขันกันใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์ และผู้ที่ชนะที่จะได้ Bitcoin เป็นรางวัล ด้วย Bitcoin ที่มีจำนวนจำกัด ผิดกับเงินในปัจจุบันที่พิมพ์แล้วพิมพ์อีกจนกระดาษปึกนั้นแทบจะไร้ค่าในบางประเทศ ถึงแม้จะไม่มีธนาคารกลางหนุนหลัง Bitcoin แต่ผู้คนก็เริ่มเชื่อมั่นกับมันมากขึ้น เพราะมันคือของที่หายาก แปลมแปลงยากและมีจำนวนจำกัด (คุณสมบัติบางส่วนของเงิน) เลยถือว่า Bitcoin นั้นคือเงินสกุลหนึ่ง (Cryptocurrency เงินที่ถูกเข้ารหัส) สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ ด้วยระบบ Blockchain ที่ถือเป็น New System หรือยุคที่ 2 ของอินเตอร์เน็ตทำให้ทั้ง Blockchain และ Bitcoin เป็นที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆในตอนนี้ สรุปง่าย ๆ ก็คือ Blockchain คือที่ ๆ บรรจุธุรกรรมทั้งหมดเอาไว้ รวมถึง Block Data ส่วน Bitcoin คือ Incentive ที่เป็นรางวัลให้กับผู้ที่ต้องการ Verified ธุรกรรมบน Blockchain ครับ ภาพอ้างอิงราคาหุ้นบริษัท Docusign จากเนื้อหาใน Podcast ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี App Spotify https://finno.me/spotify App Google podcasts https://finno.me/googlepodcast Apple podcast https://finno.me/applepodcast App Soundcloud https://finno.me/soundcloud Podbean https://finno.me/podbean Youtube https://finno.me/youtubepodcast แท็ก: Advance Article crypto talks Knowledge Money Velocity podcast Short Content วิกฤติหนี้ เศรษฐกิจฝืดเคือง แชร์บทความ: ผู้เขียน Zipmex ซิปเม็กซ์ เป็นผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มุ่งให้ความรู้กับทุกคนในทุกวัน เพื่อเปิดโอกาสในการลงทุนรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยผ่านการกำกับดูแลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โพยเปรียบเทียบกองทุนจีน TMBCHEQ V.S. TMB-ES-CHINA-A แบบดูง่าย ๆ - FINNOMENA เปรียบเทียบกองทุน TMBCHEQ และ TMB-ES-CHINA-A ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีนโยบายการลงทุนแบบไหน พร้อมแจกแหล่งเปรียบเทียบข้อมูลแบบดูง่าย ๆ ! 31 ส.ค. 2563 ดูข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนของทั้ง 2 กองนี้ และข้อมูลเปรียบเทียบอื่น ๆ เพิ่มเติม อัปเดตเรื่อย ๆ คลิกเลย! เพื่อนผู้ใจดี เคยไหม? ซื้อกองทุนตามคำแนะนำจนมีเต็มพอร์ต สุดท้ายรู้ตัวอีกทีก็ติดดอยขาดทุน เราขอนำเสนอ FINNOMENA แพลตฟอร์มที่จะแนะนำกองทุนที่ตรงกับความต้องการของคุณ มีระบบแจ้งเตือนปรับเปลี่ยนกองทุน และ Tactical Call จับจังหวะซื้อขายระยะสั้น เปิดบัญชีลงทุนออนไลน์ ซื้อกองทุนได้เร็วสุดภายในวันทำการถัดมา ลองเลย! https://finno.me/oa1328 Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: Basic Picture Slide Product Info Short Content TMB-ES-CHINA-A TMBCHEQ กองทุนจีน แชร์บทความ: ผู้เขียน เพื่อนผู้ใจดี เพื่อนผู้ใจดีที่จดโน้ตในแต่ละคลาสเรียนมาแจกเพื่อนๆ ทั้งห้อง ใครขาดเรียนมาขอโน้ตจากเพื่อนผู้ใจดีได้ ฟรีไม่มีคิดตังค์ แค่พาไปเลี้ยงขนมบ้างก็พอ :3
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: คว้าโอกาสท่ามกลางวิกฤติด้วยมาตรการกระตุ้นของ FED (20 ก.ค. 63) - FINNOMENA Balance Sheet ของ FED มีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง วันนี้ FINNOMENA จะมาสรุปให้ฟังว่าสัญญาณครั้งนี้เป็นบวกหรือเป็นลบ นอกจากนั้นจะมาสรุปให้ฟังกันชัดๆ ไปเลยว่า Tactical Call กองทุนจีนควรทำอย่างไรต่อไป ติดตามได้ในสรุป LIVE รายการ THE OPPORTUNITY ประจำวันที่ 20 ก.ค. ครับ 24 พ.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> งบประมาณของ FED หรือ Balance Sheet กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งหลังจากไม่ได้มีการพูดถึงมาหลายสัปดาห์ หลายคนอาจจะสงสัยว่ามาตรการของ FED ยังมีอยู่หรือเปล่าและเป็นอย่างไรบ้าง สรุป LIVE รายการ THE OPPORTUNITY วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า ครั้งนี้ Balance Sheet ของ FED มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เป็นผลดีหรือผลร้ายต่อตลาด นอกจากนั้นจะมาอัปเดตว่ามีคำแนะนำใดบ้างสำหรับนักลงทุนที่เข้าลงทุน Tactical Call กองจีนไป ติดตามได้ในสรุป LIVE ครับ Update: Balance Sheet ของ FED ลดลง ดีหรือไม่ดี? ใน Balance Sheet ของ FED ที่เห็นลดลงไป จริงๆ แล้วมีทั้งส่วนที่ลดลงและส่วนที่เพิ่มขึ้นมา ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ สินเชื่อเพื่อ SME เพื่อกระตุ้นรายย่อย, พันธบัตรรัฐบาล, Mortgage-Backed Securities (MBS) ส่วนที่ลดลงไป ได้แก่ Repurchase Agreements (Repo) ที่ FED เคยเข้าไปช่วยพันธบัตรระยะสั้น, Central Bank Liquidity Swaps (CB Swaps) ที่ FED ให้ธนาคารกลางอื่นยืมเงิน สรุปได้ว่า Balance Sheet ส่วนที่ลดลงไปเป็นผลดี เพราะแสดงให้เห็นว่าสภาพคล่องทั้งในสหรัฐฯ และสภาพคล่องการเงินโลกดีขึ้นแล้ว จึงลดการช่วยเหลือระยะสั้นออกไป ในขณะที่การทำ QE ยังมีอยู่เหมือนเดิม ซึ่งจุดนี้ตรงกับตัวเลข OIS & TED Spread (ตัวเลขที่บ่งบอกสภาพคล่องระยะสั้นของระบบการเงิน) ที่กลับลงมาต่ำอีกครั้ง ดังนั้นนักลงทุนไม่ต้องกังวลกับ Balance Sheet ของ FED ที่ลดลง Update: มาตรการ FED ช่วยหนุนทองให้ขึ้นไปอีก มาตรการที่ FED ทำ QE มีส่วนทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลง (พันธบัตรราคาแพงขึ้นในขณะที่ดอกเบี้ยคงเดิม) เมื่อ Yield ลดลงจนต่ำกว่าเงินเฟ้อ จึงทำให้ Real Yield ติดลบ ตามสมการ “อัตราดอกเบี้ยแท้จริง (Real Yield) = อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Nominal Bond Yield) – Breakeven Inflation” สังเกตจากกราฟ เส้นสีส้มคือราคาทอง มักจะวิ่งสวนทางกับเส้นสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี เหตุผลเป็นเพราะว่าเมื่อ Real Yield ติดลบ คนจะย้ายเงินออกไปลงทุนที่อื่น อย่างเช่นทองคำ ผนวกกับมุมมองของนักลงทุนที่คิดว่าในอนาคตเงินจะยิ่งเฟ้อ เป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาทองคำให้สูงขึ้นไปอีก สำหรับราคาทองไทยเพิ่งทะลุ New High รอบกว่า 20 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลโดยตรงจากราคาทองโลกที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาทอ่อนลง ช่วงแนะนำกองทุน สำหรับกองทุนที่ได้ผลกระทบด้านบวกจากมาตรการของ FED ยังคงเป็นกองทุน PHATRA-GUBOND-H ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนทั่วโลก กองนี้ทางทีม FINNOMENA แนะนำกันไปตั้งแต่รายการ THE OPPORTUNITY เทปแรกตอนวันที่ 25 พ.ค. 63 ตอนนี้วันที่ 20 ก.ค. 63 ราคา NAV ขึ้นมาจาก 10.6852 มาที่ 10.9579 ขึ้นมาประมาณ 2.5% จากเดิม กองนี้ยังถือว่าลงทุนได้ เพราะจากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะยังไม่กลับมาดีเหมือนเดิมอย่างน้อยก็ถึงปี 2022 ระหว่างนี้คาดว่า FED จะยังคงช่วยเหลือกลุ่มตราสารหนี้อย่างแน่นอน กอง PHATRA-GUBOND-H เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดตราสารหนี้โลกได้ และมีเงินเย็นลงทุนสำหรับเป้าหมายใน 12 เดือนข้างหน้าเพื่อผลตอบแทนที่ชนะ Money Market สรุปสถานการณ์ Tactical Call กองทุนจีน สาเหตุจริงๆ ที่ตลาดหุ้นจีนขึ้นมา เพราะ คณะกรรมการกำกับการธนาคารและการประกันภัยของจีน (CBIRC) อนุญาตให้บริษัทประกันชีวิตและธนาคารเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้สูงสุดเป็น 45% จากเดิมที่ 30% ซึ่งเป็นการปลดล็อคเงินเข้าสู่ตลาดหุ้นจีน เพิ่มเงินลงทุนได้กว่า 100,000 ล้านหยวน โดยหุ้นที่นำตลาดขึ้นมาคือกลุ่ม Financial ตลาดสามารถ Rebound ขึ้นมาได้หลังจากเกิด Panic Sell ในอาทิตย์ที่แล้ว มุมมองตอนนี้ ทั้งกอง TMB-ES-CHINA-A และ TMBCHEQ สามารถถือต่อได้ โดย Target อยู่ที่ดัชนี CSI300 เท่ากับ 5,400 ซึ่งอยู่แถวๆ High เดิม และเมื่อถึงระดับ 4,900 แนะนำให้ชะลอการลงทุน สำหรับท่านที่ยังไม่ได้เข้าและสนใจอยากลงทุน แนะนำอ่านบทความ Tactical Call : ตลาดหุ้นจีนถูกจุดพลุ จังหวะ Follow Buy ระยะสั้นเกิดขึ้น อย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนครับ สำหรับสรุป LIVE ก็จบเพียงเท่านี้ ถ้าอยากดู LIVE เต็มๆ กดดูได้ที่ลิงก์วิดิโอบนหัวบทความได้เลยครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แน่ใจได้อย่างไรว่ากองทุนที่ธนาคารของคุณแนะนำเป็นกองทุนที่ดีที่สุด? คุณอาจพลาดกองทุนที่ดีกว่าจากธนาคารอื่น ๆ ได้ เราขอแนะนำ FINNOMENA แพลตฟอร์มที่จะช่วยคัดเลือกกองทุน เปิดบัญชีครั้งเดียวซื้อกองทุนที่ดีที่สุดได้จากทุกธนาคาร เปิดบัญชีลงทุนออนไลน์ ซื้อกองทุนได้เร็วสุดภายในวันทำการถัดมา ลองเลย! https://finno.me/oa1326 แท็ก: Advance Article Picture Slide Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐและหุ้นจีน สุดยอดการลงทุนแห่งปี 2020 - FINNOMENA กฎข้อแรกของตลาดการเงินคือ “อะไรที่ดูดีเกินจริง มักจะไม่ใช่เรื่องจริง” แต่ในช่วงนี้ ถ้าไม่ลงทุนกับอะไรที่ดีผิดปรกติก็ดูจะอยู่ยาก เพราะหันไปทางไหน ก็เห็นแต่หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐและหุ้นจีนที่ปรับตัวขึ้นได้เหนือแรงโน้มถ่วง แต่ยิ่งเจอกับความเคลื่อนไหวแบบนี้ การตั้งคำถามว่าผลตอบแทนเป็นของจริงหรือไม่ ก็ดูจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด 20 ก.ค. 2563 กฎข้อแรกของตลาดการเงินคือ “อะไรที่ดูดีเกินจริง มักจะไม่ใช่เรื่องจริง” แต่ในช่วงนี้ ถ้าไม่ลงทุนกับอะไรที่ดีผิดปรกติก็ดูจะอยู่ยาก เพราะหันไปทางไหน ก็เห็นแต่หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐและหุ้นจีนที่ปรับตัวขึ้นได้เหนือแรงโน้มถ่วง นับตั้งแต่สิ้นปีที่แล้ว ดัชนี NASDAQ และ CSI 300 ปรับตัวบวกถึง 17% และ 12% สวนทางกับทิศของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน แต่ยิ่งเจอกับความเคลื่อนไหวแบบนี้ การตั้งคำถามว่าผลตอบแทนเป็นของจริงหรือไม่ ก็ดูจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เริ่มที่กลุ่มเทคโนโลยี จุดเด่นครั้งนี้เกิดจากการ “อยู่บ้าน” และความเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะ “ยุคสมัยใหม่” แม้เศรษฐกิจจะถดถอย แต่นักวิเคราะห์ใน Bloomberg กลับมองว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตของรายได้ต่อหน่วย (EPS) ของบริษัทบนดัชนี NASDAQ จะสูงขึ้นถึง 28% ต่อปีในช่วงสามปีข้างหน้า เนื่องจากบริษัทผู้นำเทคโนโลยีจะได้รับประโยชน์จากปรากฏการณ์ Work-from-Home ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่หยุด เช่นในฝั่งสหรัฐ ที่ Goldman Sachs ประเมินว่าการใช้แอปพลิเคชั่นในการดำเนินชีวิตออนไลน์เพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 50-60% จากปีก่อน พฤติกรรมเหล่านี้ ถ้ากลายเป็นยุคสมัยใหม่ขึ้นมาจริง ๆ ก็คงไม่ยากที่บริษัทที่มีขีดความสามารถในเชิงเทคโนโลยี จะก้าวขึ้นมาเติบโตได้โดดเด่น และราคาที่เราเห็นอยู่นี้ก็ยังถือว่ามี “โอกาส” อีกมหาศาล ส่วนฝั่งจีน แม้จะใช้เรื่องราวความปรกติใหม่ขับเคลื่อนตลาด แต่แนวโน้มหลักกลับเอียงไปเป็นการ “เปิดทำการ” ภาคธุรกิจรอบใหม่มากกว่า ความเหมือนคือนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีมุมมองเชิงบวกกับดัชนี CSI 300 เป็นอันดับสองรองแค่กลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐด้วยคาดการณ์การเติบโตของ EPS ถึง 14% ต่อปีในช่วงสามปีข้างหน้า แต่มองลึกลงไปในการปรับตัวขึ้นของหุ้นจีนรอบนี้กลับมีเหตุผลหลักจากการควบคุมไวรัสได้ จึงเข้าสู่ช่วง Back-to-Work ก่อให้เกิดนการฟื้นตัวอย่างทั่วถึงแทบทุกอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน ระดับราคาต่อรายได้ (P/E) ของบริษัทในจีนโดยเฉลี่ยก็ไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่น ๆ ถ้าวัคซีนสามารถพัฒนาได้สำเร็จ ประชาชนกล้าออกมาใช้ชีวิตนอกโลกออนไลน์ การปรับตัวขึ้นของตลาดก่อนเศรษฐกิจรอบนี้ ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและถือว่ามี “โอกาส” อีกมากมายเช่นกัน แล้วทั้งสองตลาดนี้กำลังบอกอะไรกับเรา? ผมมองโอกาสและความเสี่ยงจากหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐและหุ้นจีนเป็น “สามเรื่อง” อย่างแรก เมื่อสองสินทรัพย์ซื้อขายด้วยเหตุผลที่ต่างกันก็จะสามารถ “กระจาย” ความเสี่ยงให้กันและกันได้ จากการคำนวณความสัมพันธ์ (OLS R-Square) ของทั้งสองดัชนีในช่วงปีนี้กลับมีความสัมพันธ์กันเพียง 10% ซึ่งถือว่าน้อยมากสำหรับสินทรัพย์ที่ปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่หุ้นจีนก็มีความผันผวน (90-Day Volatility) เพียง 25% น้อยกว่าหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐที่ผันผวนถึง 50% จึงอาจลงทุนไปพร้อมกันได้ ประเด็นต่อมาก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงภาวะดีเกินจริงโดยอาจมององค์ประกอบของ “ฟองสบู่” ควบคู่ไปด้วย แทนที่จะกลัวและเอาแต่หลีกเลี่ยงความผันผวน ทางที่ดีกว่าอาจเป็นการจับตา “ห้าสัญญาณเสี่ยง” ซึ่งคือ (1) ความเชื่อในเทคโนโลยีและ “ยุคสมัยใหม่” (2) การผ่อนคลายกฎระเบียบทางการเงินที่มากกว่าปรกติ (3) การขอเครดิตที่ง่ายและเงื่อนไขทางการเงินน้อยลง (4) การที่ตลาดหาเหตุผลใหม่ ๆ มาประเมินมูลค่า และ (5) เริ่มมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับความผิดปกติทางบัญชี ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดพร้อมกันในตลาดไหนก็ค่อยระวังให้มาก แต่สุดท้าย ความจริงอาจมีได้เพียงหนึ่งเดียว และจังหวะเปลี่ยนผ่านคือจุดที่ต้องระวังมากที่สุด เช่นประเด็นเรื่องการระบาดของไวรัส ถ้าสามารถคิดค้นวัคซีนได้แล้ว ในที่สุดเศรษฐกิจเก่าก็อาจสามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับมา จนกลายมาเป็นการลงทุนแบบฟื้นตัวที่ดีจริงได้ แต่ในทางกลับกัน เพียงแค่มีวัคซีนที่สามารถหยุดไวรัสได้ ก็อาจไม่สามารถยืนยันได้ว่าชาวโลกจะกลับมาใช้ชีวิตปรกติ เหมือนช่วงก่อนวิกฤติได้เต็ม 100% ยิ่งเวลาเนิ่นนานเท่าไหร่ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมก็จะยิ่งกลายเป็น “ความปรกติใหม่” มากขึ้นเป็นเงาตามตัว หมายความว่า ท้ายที่สุดแม้โลกจะเข้าสู่โหมด Back-to-Work ก็อาจไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะกลับมาได้ ซึ่งความจริงว่าเศรษฐกิจหลังวิกฤติครั้งนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไหร่อย่างไรนั้น ตอนนี้คงไม่มีใครบอกเราชัด ๆ ได้ (รวมถึงผมเองด้วย) แต่สำหรับโลกการเงินแล้ว หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐและหุ้นจีนที่ปรับตัวขึ้นอยู่นี้ กำลังสอนเราอีกครั้งว่า “กำไร” คือรางวัลของความ “กล้าเสี่ยง” กับเหตุการณ์ที่เรามองเห็นโอกาสเวลาที่ทุกคนมองไม่เห็น แต่จะยิ่งดีไปกว่านั้น ถ้าเรารู้จักตั้งคำถามว่าผลตอบแทนเหล่านี้เป็นของจริงหรือไม่ เพื่อทำความเข้าใจและหลีกเลี่ยง “สินทรัพย์ที่ดีไม่จริง” ซึ่งในอนาคตอาจย้อนกลับมาทำร้ายพอร์ตการลงทุนของเราได้ ดัชนีหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐ NASDAQ หุ้นจีน CSI 300 และหุ้นไทย SET Index (สิ้นปี 2019 = 100) ที่มา: Bloomberg และ SCB Securities ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content หุ้นจีน หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐ แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ฝรั่งขายหุ้น - FINNOMENA ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานั้น นักลงทุนต่างประเทศหรือที่นักเล่นหุ้นเรียกว่า “ฝรั่ง” เป็นกลุ่มที่มีการขายหุ้นสุทธิมาตลอด มาย้อนรอยดูเหตุการณ์ตั้งแต่ฝรั่งเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นไทย จนกระทั่งเริ่มทยอยขายออกไปกัน 20 ก.ค. 2563 มองย้อนหลังไปประมาณ 8 ปี ตลาดหุ้นไทยนั้นดูเหมือนจะไม่ไปไหน สิ้นปี 2555 ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 1,392 จุด ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ดัชนีอยู่ที่ 1,360 จุดหรือลดต่ำลงประมาณ 2.3% และในช่วง 8 ปีมานี้ ตลาดหุ้นไทยอยู่ในลักษณะ “Sideway” คือไม่ขึ้นหรือลงมาก ปีที่ดีที่สุดคือปี 2559 ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นประมาณ 20% ส่วนปีที่แย่ที่สุดก็คือปี 2558 ที่ดัชนีติดลบ 14% และปีนี้ที่ดัชนีดูผันผวนขึ้นตั้งแต่ต้นปีมาถึงวันนี้ที่ดัชนีตกลงไปแล้วประมาณ 13.9% ถ้านับจำนวนปีที่ขาดทุนหรือกำไร ใน 8 ปีนั้นก็มี 4 ปีที่ดัชนีเป็นบวกและอีก 4 ปีที่ดัชนีติดลบ ดูจากสถิติแล้ว นี่น่าจะเป็น 8 ปีแห่งความผิดหวังและตกต่ำของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย นักลงทุนโดยเฉลี่ยแล้วแทบจะไม่ได้อะไรจากการลงทุนระยะยาว นักลงทุนน่าจะ “ถอดใจ” และลดระดับการซื้อขายลงไปมาก แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานั้น การซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นกลับ “คึกคักเป็นประวัติการณ์” เหตุผลน่าจะเป็นเพราะว่านักลงทุนหันมาเล่นหุ้นระยะสั้นกันมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนส่วนบุคคลและรายย่อยที่เข้ามาเล่นหุ้นเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กและกลางที่มี Free Float ต่ำ ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยดูเหมือนกับจะมีการแยกออกเป็น “2 ตลาด” โดยที่ “ตลาดหลัก” ก็คือหุ้นขนาดใหญ่และ “ตลาดเก็งกำไร” ซึ่งเป็นหุ้นขนาดเล็กและกลางที่มีการเก็งกำไรสูงมาก แน่นอนว่าไม่ได้มีการแยกกันอย่างชัดเจนทั้งตัวหุ้นและนักลงทุนที่เข้าไปเล่น ว่าที่จริงทั้งสองตลาดก็มีการสลับเปลี่ยนกันไปมา โดยที่กลุ่มนักลงทุนส่วนบุคคลในประเทศนั้นก็ชอบที่จะเล่น “หุ้นเก็งกำไร” ส่วนนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนสถาบันนั้นก็เน้นที่หุ้นหลักขนาดใหญ่มากกว่า สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานั้น นักลงทุนต่างประเทศหรือที่นักเล่นหุ้นเรียกว่า “ฝรั่ง” เพราะส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศตะวันตก เป็นกลุ่มที่มีการขายหุ้นสุทธิมาตลอด จำนวนยอดขายสุทธิรวมกันถึง 8 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละแสนล้านบาท เหตุผลที่ฝรั่งขายหุ้นสุทธิมาตลอดหลายปีนั้น ถ้าจะวิเคราะห์ก็คงต้องดูเหตุผลว่าทำไมฝรั่งถึงซื้อหุ้นไทยมาตั้งแต่แรก เพราะนั่นจะทำให้เรารู้ว่าเขาจะขายต่อไหม เพราะถ้าเขายังขายต่อไปเรื่อย ๆ โอกาสที่หุ้นจะขึ้นไปมาก ๆ ก็น่าจะยาก อย่าลืมว่าฝรั่งถือหุ้นไทยโดยรวมประมาณ 36% เมื่อ 8 ปีก่อนและค่อย ๆ ลดลงมาเกือบทุกปี โดยที่ในช่วงหลัง ๆ ที่ขายออกมากนั้น ปริมาณหุ้นที่ถือก็ยังอยู่ในระดับเกือบ 30% หรือคิดเป็นเม็ดเงินถึงกว่า 5 ล้าน ๆ บาท พูดง่าย ๆ ถ้าจะขายก็มีหุ้นขายได้อีกมาก ไม่ต้องห่วงว่าจะขายจนเกือบหมดแล้ว ในอดีตที่ฝรั่งเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหุ้นไทยมากนั้น น่าจะเริ่มประมาณปี 2542-3 หลังจากวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยที่การเติบโตของ GDP หลังจากนั้นจนถึงปี 2551 ที่เกิดวิกฤติซับไพร์ม โตถึงประมาณ 5% ต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น อัตราดอกเบี้ยก็ลดลงมามาก รวมถึงค่าเงินที่มีเสถียรภาพซึ่งทั้งหมดนั้นเอื้ออำนวยต่อการลงทุน ประชากรไทยเองก็กำลังเติบโตเป็นหนุ่มสาวและเข้าสู่แรงงานมากขึ้น การลงทุนสร้างกำลังผลิตในภาคอุตสาหกรรมมีสูง ทั้งหมดนั้นทำให้ความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะในการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยมีความโดดเด่นเหนือประเทศอื่น ๆ ในโลก และที่สำคัญตลาดหุ้นไทยเองนั้น ตกต่ำลงมากเพราะวิกฤติเศรษฐกิจและมีราคาไม่แพง ค่า PE ของตลาดแค่ประมาณไม่เกิน 10 เท่าเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น นักลงทุนจากประเทศพัฒนาแล้วจึง “แห่” กันเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยจน “เพดาน” การลงทุนเช่นในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์เต็ม ตลาดหลักทรัพย์ต้องสร้างเครื่องมือให้ต่างชาติลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นพวก NDVR เป็นต้น หลังปีวิกฤติซับไพร์มปี 2008 และต่อถึงปี 2011 หรือปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหรือ GDP ก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ 2-3 อย่างที่ทำให้ตลาดหุ้นยังดีอยู่ก็คือ ประการแรก กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอานิสงส์ส่วนหนึ่งจากการเติบโตขึ้นของการบริโภคของคนชั้นกลางที่มีเงินเพิ่มขึ้นเร็วเนื่องจากการปรับขึ้นของค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเร็วมากเพราะการขาดแคลนแรงงาน อีกส่วนหนึ่งมาจากการลดภาษีนิติบุคคลของรัฐบาล จาก 30% เป็น 20% และประการที่สองก็คือ ดัชนีหุ้นนั้นตกต่ำลงมาแรงเพราะวิกฤติ ทำให้ค่า PE ของตลาดตกลงมาอยู่ในระดับประมาณ 10 เท่าต้น ๆ ดังนั้น ตลาดจึงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี 2555 หรือประมาณ 8 ปีมาแล้ว และนี่ก็คือช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเติบโตให้กำไรดีที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ ดัชนีปรับตัวขึ้นจาก 450 จุดเป็น 1,392 จุดหรือเป็น 3 เท่าในเวลา 4 ปี หลังจากปี 2555 ประเทศไทยดูเหมือนว่าจะเข้าสู่ “โหมดใหม่” การเมืองที่เคยมีเสถียรภาพและพัฒนาก้าวหน้าตามโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วิกฤติปี 2540 เริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป การรัฐประหารซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่าจะไม่เกิดขึ้นแล้วก็เกิดขึ้นและบ่อยเหมือนที่เคยเป็นมานานในอดีต คนไทยที่เคยเป็นหนุ่มสาวอายุเฉลี่ย 30 กว่าปีเริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและคนรุ่นใหม่เกิดน้อยลงมากทำให้อายุเฉลี่ยในวันนี้สูงเกือบ 40 ปีเข้าไปแล้วกลายเป็นประเทศที่แก่ตัวที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เคยเติบโตเร็วมากนั้นเติบโตช้าลงอย่างเห็นได้ชัดและโตเพียงเฉลี่ยปีละไม่เกิน 5% ตั้งแต่ปี 2555 ถึงสิ้นปี 2562 เศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาเดียวกันก็เริ่มเปลี่ยนเป็นโหมดโตช้าและโตประมาณปีละ 3% และเป็นการโตโดยอาศัยการท่องเที่ยวจากชาวต่างประเทศโดยเฉพาะจีนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้เน้นการลงทุนและการส่งออกอย่างที่เป็นมา และทั้งหมดนั้นก็ยังไม่เท่ากับการที่ประเทศในเอเซียโดยเฉพาะในอาเซียนที่เริ่ม “เปิดประเทศ” เต็มรูปแบบทุกประเทศที่เข้ามาแข่งขันทางการผลิตและการค้ากับประเทศไทยโดยตรง พวกเขามีกำลังแรงงานจำนวนมากที่มีราคาถูกซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตเพื่อการส่งออกและบริโภคภายในประเทศ มีระบบการเมืองและการปกครองที่มีเสถียรภาพซึ่งดึงดูดการลงทุนไปจากประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตช้าเพราะคนกำลังแก่ตัวลง บริษัทจดทะเบียนที่เติบโตช้าเพราะเศรษฐกิจเติบโตช้าและเป็นบริษัท “รุ่นเก่า” ที่ไม่ได้เน้นนวัตกรรมใหม่ แต่ราคาหุ้นนั้นตั้งแต่สิ้นปี 2555 ไม่เคยถูกเลย ค่า PE ส่วนใหญ่เกิน 15 เท่าและใกล้มาทาง 20 เท่า ฝรั่งที่ไหนอยากจะลงทุนระยะยาว? และนั่นน่าจะเป็นเหตุผลที่ฝรั่งขายหุ้นติดต่อกันมาเป็นเวลา 8 ปี แต่ทั้งหมดก็ไม่ทำให้ดัชนีหุ้นตก มันแค่ทรง ๆ หรือ Sideway มานานมาก เหตุผลที่หุ้นไม่ตกนั้นผมคิดว่าเป็นเพราะเม็ดเงินของคนไทยที่มีเพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากคนไทยกำลังแก่ตัวลงและเก็บเงินเพื่อการเกษียณ ทางเลือกในการลงทุนมีจำกัดและทางเลือกอื่นเช่นการฝากเงิน ลงทุนพันธบัตร การซื้อที่และลงทุนทางเลือกเช่น ทองนั้น ก็ไม่ได้ดีไปกว่าหุ้น ดังนั้น คนไทยจึงลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รับกับการขายหุ้นของฝรั่งมาแปดปีแล้ว นักลงทุนไทย ไม่ท้อและไม่เบื่อหรือถอดใจ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ยังมีหุ้นตัวเล็กตัวกลางจำนวนพอสมควรที่สร้างผลตอบแทนหรือทำกำไรให้มหาศาลที่อาจจะทำให้รวยได้แม้ว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะไม่ไปไหนและคนส่วนใหญ่ก็ยังขาดทุน ดูไปแล้วผมก็คิดถึงหวยที่โดยเฉลี่ยแล้วคนเล่นก็ขาดทุนและขาดทุนมาเป็นหลาย ๆ สิบปีแต่ก็ไม่เห็นมีใครเลิกเล่น เพราะคนยังมีความหวังว่าจะรวยหรือถูกรางวัลทุกงวด วิธีที่จะแก้ปัญหาให้หุ้นเติบโตขึ้นก็คือต้องเปลี่ยนโหมดของประเทศและของบริษัทจดทะเบียนซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสถานการณ์และภาวะปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ง่ายกว่ามากสำหรับนักลงทุนที่จะย้ายเงินลงทุนไปสู่ตลาดใหม่ที่มีอนาคตที่สดใสกว่า ผมคิดว่าผมมองออกว่าประเทศหรือตลาดไหนจะดีในระยะยาวต่อจากนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่เป็นนักลงทุนที่มุ่งมั่นแต่ไม่มีแรงอย่างผมที่จะทำ และถึงจะพร้อมทุกอย่างก็ยังมีปัญหาบางอย่างที่สำคัญเช่นเรื่องของค่าเงินที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้มากซึ่งทำให้การลงทุนในต่างประเทศยังไม่สามารถมาแทนการลงทุนในประเทศได้มากพอ สำหรับคนธรรมดาที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจหรือความสามารถพอที่จะไปลงทุนต่างประเทศเองนั้น ผมคิดว่าการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศน่าจะเป็นทางออกที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่วิถีที่จะทำให้รวยได้เร็วเหมือนการลงทุนแบบ “Focus” หรือเลือกลงทุนเป็นรายตัวไม่กี่ตัวอย่างที่นักลงทุนส่วนบุคคลในไทยทำ ผมเองอยากแนะนำว่า เราควรจะต้องเปลี่ยน “โหมด” การลงทุนของเราใหม่ จากการเล่นหุ้นแบบเก็งกำไรเป็นการลงทุนระยะยาวที่เน้นผลตอบแทนระยะยาวที่สมเหตุผลในอัตราปีละเฉลี่ยไม่เกิน 10% โดยที่หากได้ผลตอบแทนปีละ 5-7% แบบทบต้นก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว การตั้งเป้าแบบนี้ผมเชื่อว่าจะทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นและไม่เครียดกับการลงทุน-เกือบทุกวันอย่างที่อาจจะเคยเป็นในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/07/20/2357 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content นักลงทุนต่างชาติ หุ้นไทย แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
การตัดสินใจในวันพุธนี้ของกลุ่มโอเปก จะเป็นตัวกำหนดทิศทางราคาน้ำมัน!? - FINNOMENA การตัดสินใจในวันพุธนี้ของกลุ่มโอเปก ธนาคารกลางแห่งตลาดน้ำมันโลก จะเป็นตัวกำหนดทิศทางราคาน้ำมัน!? 13 ก.ค. 2563 กลุ่มโอเปก = ธนาคารกลางแห่งตลาดน้ำมันโลก ราคาน้ำมันดิบโลกได้ทยอยปรับขึ้นมาเรื่อยๆตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนมาจนถึงช่วงกลางเดือนมิถุนายน โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ได้ดีดตัวขึ้นมาเกือบ 2 เท่า จากราคา 25 เหรียญต่อบาร์เรลมาจนถึงระดับ 40 เหรียญต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตามราคาในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนจนถึงปัจจุบันนั้น ราคาน้ำมันดิบ Brent กลับขยับตัวอยู่ในกรอบแคบๆแค่ที่ 40-44 เหรียญต่อบาร์เรลเท่านั้น #ยังไม่เคยหลุดกรอบนี้ มาตลอดเป็นเวลากว่า 25 วันแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจครับ เพราะทั้งตลาดนั้นกำลังรอผลการประชุมของกลุ่มโอเปกที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 15 กรกฎาคมนี้ ในการประชัม Joint Ministerial Monitoring Committee (JMMC) หรือการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในการลดปริมาณการผลิตน้ำมันของประเทศสมาชิก #ถึงแม้จะไม่ใช่การประชุมใหญ่ แต่ตราบใดที่ธนาคารกลางแห่งตลาดน้ำมันโลกยังไม่ตัดสินใจที่จะประกาศมาตรการต่อไปของทางกลุ่มออกมา #นักลงทุนและเทรดเดอร์น้ำมันในตลาดก็ยังไม่กล้าที่จะดันหรือกดราคาให้หลุดออกจากกรอบนี้ ไปได้ การที่ราคาน้ำมันนิ่งอยู่ในกรอบ 4 เหรียญมาตลอด 1 เดือนก่อนการประชุมโอเปกนั้นแสดงให้เห็นถึง #อิทธิพลของกลุ่มโอเปกต่อตลาดน้ำมัน อย่างชัดเจน ไม่ใช่ว่าจะไม่ได้เกิดเรื่องราวอะไรขึ้นในตลาดเลยนะครับ ราคาจึงไม่ได้ขยับ แต่จริงๆแล้วยังมีความเคลื่อนไหวมากมายในตลาด ไม่ว่าจะเป็น การระบาดของไวรัสโควิดทั่วโลกที่ยังคงลุกลามอยู่ การใช้น้ำมันที่เริ่มทยอยกลับมาในหลายๆภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงของสต็อกน้ำมันในสหรัฐที่ผันผวนในช่วงฤดูการขับรถ (Driving Season) รวมไปถึงปริมาณการผลิตในลิเบียที่เจอปัญหาการเมืองภายในประเทศรบกวนอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในตลาด ก็ยังไม่สามารถมีปัจจัยไหนดันหรือกดราคาน้ำมันออกจากกรอบราคาที่กล่าวไปได้ เพราะการตัดสินใจของโอเปกนั้นมีความสำคัญต่อตลาดมากกว่าปัจจัยเหล่านี้เยอะ OPEC นั้นไม่ใช่กลุ่มที่สามารถกำหนดราคาขายร่วมกันได้ตามใจอยากอีกต่อไปแล้ว แต่บทบาทกำลังจะเปลี่ยนเป็นในแบบของ #ธนาคารกลาง แทน ในสมัยเริ่มต้นของการรวมกลุ่มโอเปกนั้น ประเทศผู้ผลิตน้ำมันต่างๆมีส่วนแบ่งตลาดที่สูงและแทบจะสามารถกำหนดราคาน้ำมันที่เท่าไหร่ก็ได้ (หากต้องการ) การที่ทางกลุ่มสามารถที่จะทำแบบนั้นทำให้ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่ม #Cartel ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามทางกลุ่มไม่ได้ต้องการจะกำหนดราคาน้ำมันที่สูงเกินไป เพราะอาจทำให้ความต้องการใช้หดตัวลงและอาจทำให้มีคนพัฒนาพลังงานทดแทนอื่นๆมาแย่งตลาดได้… และฝันร้ายของกลุ่มโอเปกก็กลายเป็นจริงตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ที่นวัตกรรมเชลออยล์ของสหรัฐนั้นมีต้นทุนการขุดที่ถูกลงเรื่อยๆ และในที่สุดก็สามารถผลิตออกมาแย่งส่วนแบ่งตลาดของโอเปกได้เป็นจำนวนมาก ด้วยส่วนแบ่งตลาดที่ลดลง #กลุ่มโอเปกจึงไม่สามารถกำหนดราคาตลาดได้อีกแล้ว โดยที่ไม่เสียสละการลดกำลังการผลิตของตัวเองมากเกินไปจนประเทศสมาชิกนั้น อาจอยู่ไม่ได้เพราะขาดรายได้จากการขายน้ำมัน บทบาทของกลุ่มโอเปกจึงเปลี่ยนไปเป็นแค่ #ธนาคารกลางของตลาดน้ำมัน ผู้ซึ่งไม่ได้กำหนดราคาน้ำมันแต่เป็นเพียงผู้ควบคุมสภาพคล่องให้ตลาด ว่าจะมีน้ำมันโลกล้นเกินไปหรือตึงตัวเกินไปเท่านั้น บทบาทและความยากของธนาคารกลาง หน้าที่ของธนาคารกลางทั่วโลกคือการกำกับและดูแลนโยบายการเงินของแต่ละประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจนั้นเดินหน้าไปได้อย่างสมดุล ทางธนาคารกลางนั้นไม่ได้เป็นผู้ตั้งว่า อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจะเป็นเท่าไหร่ หรือ GDP ของแต่ละประเทศจะโตที่เท่าไหร่ ? แต่ #ธนาคารกลางนั้นเป็นเพียงผู้ที่รักษาสมดุลย์ของตลาดผ่านการกำหนดสภาพคล่องเท่านั้น ผลลัพท์ต่างๆจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับกลไกของตลาดเอง ทางธนาคารกลางไม่สามารถเข้าไปกำหนดได้ หากเศรษฐกิจโลกนั้นเติบโตเร็วเกินไปและเงินเฟ้อกำลังสูง ทางธนาคารกลางก็จะทำหน้าที่เพิ่มดอกเบี้ยเพื่อดึงสภาพคล่องกลับมาในระบบ ในทางตรงกันข้ามกันหากเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงมากเกินไป เช่นวิกฤตไวรัสโควิดที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ ธนาคารกลางก็จะทำหน้าที่อัดฉีดสภาพคล่องเข้าตลาดแทน และในปีนี้ #ธนาคารกลางทั่วโลกก็อาจทำได้สำเร็จ (ในเบื้องต้น) หลังจากร่วมมือกันลดดอกเบี้ยอย่างน้อยธนาคารกลางทั่วโลกก็สามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มดีดกลับขึ้นไปในไตรมาสที่ 2 #แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่ก้าวแรก เพราะภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real Sector) นั้นจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ดีแค่ไหนนั้นคงต้องติดตามกันต่อไป เช่นเดียวกันกับธนาคารกลางต่างๆ เมื่อการใช้น้ำมันทั่วโลกหดหายไปเกือบ 30% ทั่วโลกในช่วงปลายเดือนมีนาคมและสภาพคล่อง (อุปทาน) น้ำมันนั้นยังล้นตลาดอยู่ ทางกลุ่มโอเปกจึงต้องรีบเข้ามาร่วมกันลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันไว้ และ… พวกเขาก็ทำได้สำเร็จในเบื้องต้น… #แต่ … ความยากของธนาคารกลางไม่ได้อยู่ที่การช่วยรักษาตลาด… #แต่อยู่ที่การถอนการช่วยเหลือออก โดยตลาดไม่ล้มต่างหาก หากถามเหล่าผู้ว่าธนาคารกลางทั่วโลก พวกเขาจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า #การเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากกว่าคือ #การเลือกจังหวะในการที่จะถอนออก โดยไม่ทำให้ตลาดที่กำลังฟื้นขึ้นมานั้นล้มไปอีกครั้ง อย่างที่เราเคยเห็นตัวอย่างจากวิกฤต Subprime หรือ Hamburger Crisis เมื่อปี 2007 ทันทีที่ทาง FED รู้ตัวแล้วว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังจะชะลอตัวลง FED จึงได้เร่งลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากระดับ 5% ลงมาเหลือเกือบ 0% ภายในระยะเวลาปีเดียว แต่กว่าทาง FED จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีกครั้งนั้น ต้องใช้อีกกว่า 6 ปีจึงเริ่มมาขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในปี 2015 และกว่าจะขึ้นมาได้เพียงครึ่งนึงของอัตราที่ลดไป หรือกว่าจะปรับดอกเบี้ยขึ้นมาที่ 2.5% นั้นยังต้องกินเวลาไปอีกถึง 4 ปี ทำให้โดยรวมนั้น ต่อให้ FED ใช้เวลาทั้งหมดอีก 11 ปีแล้ว ก็ยังไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยกลับไปที่เดิมได้ (กราฟแนบในคอมเม้นท์) นี่แสดงให้เห็นถึงความยากกว่าในการถอนการช่วยเหลือ (Support) ของตลาดออกที่ชัดเจนกว่าการให้ความช่วยเหลือเยอะมาก ในวิกฤตไวรัสโควิดนี้ ทางโอเปกจะต้องเผชิญการตัดสินใจที่ยากลำบากนี้ก่อนใคร ในขณะที่ทาง FED นั้นบอกชัดเจนแล้วว่าตลาดการเงินสหรัฐยังต้องการสภาพคล่องไปอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2022 เป็นอย่างน้อย และจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยแน่ๆ ทางกลุ่มโอเปกนั้นกำลังจะต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่เร็วกว่านั้นเยอะ ด้วยการใช้น้ำมันของแต่ละประเทศที่ปลดคลาย Lock Down เริ่มจะกลับมาเป็นปกติแล้ว เหลือแค่เพียงน้ำมันเครื่องบิน (Jet Fuel) เท่านั้นที่ยังไม่กลับมามากนัก แต่การใช้น้ำมันดีเซลและเบนซินนั้นแทบจะกลับมาเป็นปกติแล้ว 100% แล้ว ไม่ว่าจะเป็นที่ ฝรั่งเศส เกาหลี และ รัสเซีย ทางด้านเยอรมันนั้นการใช้กลับมาโตกว่าเก่าด้วยซ้ำ ส่วนทางจีนและสหรัฐนั้นการใช้ก็กลับมาอยู่ที่ระดับ 90% แล้ว #ทำให้ทางกลุ่มโอเปกนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคงการลดกำลังการผลิตน้ำมันครั้งประวัติศาสตร์นี้อีกต่อไป แต่ทางโอเปกจะปรับเพิ่มการผลิตเท่าไหร่ดี ? นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ในวันพุธนี้เราคงรู้กันว่าทางโอเปกจะตัดสินใจอย่างไร โดยหากโอเปกจะคงตามแผนที่คิดไว้ตั้งแต่เดือนเมษายน (ทั้งๆที่ตอนนั้นยังไม่แน่ใจเลยว่าการใช้น้ำมันจะกลับมามากน้อยเช่นไรในอนาคต) นั้นคือการปรับลดการลดการผลิตลงมาจาก 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ให้กลายมาเป็น ลดเพียง 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวันไปจนถึงสิ้นปีนี้ หรือเรียกง่ายๆว่า #จะทำการเพิ่มอุปทานน้ำมันเข้าไปในตลาดอีก 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวันนั้นเอง ความยากนั้นอยู่ที่ว่า การลดกำลังการผลิตครั้งนี้นั้นได้ผลที่ดีมากๆ ! ตอนนี้กำลังมีหลายประเทศในกลุ่มโอเปกที่ต้องการอยากให้ทางกลุ่มขยายนโยบายนี้ต่อไปจะได้สามารถขายน้ำมันได้ที่ราคาแพงไปเรื่อยๆ ในขณะที่บางประเทศกลับมองว่าอยากจะเร่งเพิ่มการผลิต #ให้มากกว่าแผนที่กำหนดไว้เมื่อ3เดือนก่อนอีก เพื่อที่จะได้หารายได้เพิ่มจากปริมาณการผลิตที่ลดไปในช่วงเดือนที่ผ่านมา เพราะประเทศเหล่านี้เชื่อว่าการใช้ที่กลับคืนมาแล้วคงไม่ทำให้ราคาตกลงมาหรอก ตราบใดที่ Demand ยังดีราคาน่าจะยืนได้ ในขณะที่ทางพี่ใหญ่ของกลุ่มโอเปกอย่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียนั้นยังมองว่าโอเปกควรทำตามแผนที่ได้วางไว้เมื่อ 3 เดือนก่อน ถึงแม้ว่าการใช้น้ำมันจะดีดตัวกลับขึ้นมาเร็วกว่าที่คิดไว้ตอนแรกก็ตาม ก็ควรคงแผนเดิมต่อไปก่อน การตัดสินใจครั้งนี้ หากไม่ตัดสินใจให้ถี่ถ้วนนั้น ต่อให้คงการผลิตไว้ตามแผนก็อาจส่งผลให้ราคานั้นลดลงมาได้อยู่ดี #เพราะการถอนการช่วยเหลือออกอย่างไม่ระวัง ตลาดอาจจะมองว่าเป็นผลลบ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของตลาด นั้นจึงเป็นความยากที่โอเปกต้องเผชิญในฐานะธนาคารกลาง ที่สำคัญ ตอนนี้คงยังไม่มีใครทราบว่าผลและมติการประชุมโอเปกจะเป็นเช่นไร ถึงแม้จะเป็นแค่การประชุมย่อย ตราบใดที่ผลประชุมยังไม่ออกมา #ก็ยังไม่มีอะไรแน่นอน เราเคยเห็นทางซาอุและรัสเซียเสียงแตกกันมาก่อนแล้วในช่วงการประชุมเดือนมีนาคม และผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเช่นไร… เกิดสงครามราคาน้ำมันขึ้นอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แม้แต่ทางซาอุผู้เป็นคนเริ่มสงครามเองก็ยังไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้น สงครามราคาประกอบกับไวรัสระบาดทำให้ราคาน้ำมันทั่วโลกหล่นลงไปหนักสุดในรอบเกือบ 20 ปี และราคาในบางแห่งถึงกับติดลบด้วยซ้ำ นี่คือเหตุผลที่ทำไมราคาในตลาดถึงยังนิ่งมาตลอดเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว แต่เชื่อได้เลยว่าหากมีการตัดสินใจอันใดที่เซอร์ไพรส์ตลาด ไม่ว่าจะเป็นการยืดเวลาลดกำลังการผลิตออกไป หรือการเพิ่มปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าที่คาด #ราคาน้ำมันในอาทิตย์หน้านั้นจะไม่นิ่งอยู่อย่างนี้แน่ๆ การประชุมโอเปกในวันพุธนี้จึงมีความสำคัญมากต่อทิศทางราคาน้ำมัน และท่านใดไม่อยากพลาดผลอัพเดทของการประชุมและความเคลื่อนไหวในตลาดต่างๆ ที่ทางทีมเราพยายามนำมาให้คุณให้เป็นที่แรกให้ได้ KP ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/OilTradingkp/photos/a.109714799581872/580197605866920/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน KP เป็นเทรดเดอร์ในตลาดน้ำมันมากว่า 13 ปี ตั้งใจสร้างเพจบน Facebook เพื่อเป็นการสอนและแชร์ความรู้เรื่องตลาดน้ำมันที่มีกลไกการซื้อขายที่ซับซ้อน แต่ก็มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลกและชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนอย่างมาก
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: หุ้นเทคฯจะไปถึงไหน หุ้นจีนยังไหวหรือเปล่า? (13 ก.ค. 63) - FINNOMENA ตลาดช่วงนี้ถือว่าหวือหวา หุ้นเทคฯ สหรัฐก็เด้ง หุ้นจีนก็เด้ง ตลาดเด้งสวนทางโดยไม่สนใจตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดูท่าจะไม่ดีเท่าไร แล้วในจังหวะแบบนี้มีกองทุนอะไรที่น่าลงทุนบ้าง ติดตามได้ในสรุป LIVE ประจำวันที่ 13 ก.ค. ครับ 13 ก.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> หายหน้าหายตากันไป 2 สัปดาห์เนื่องจากติดวันหยุดเข้าพรรษา สัปดาห์นี้รายการ THE OPPORTUNITY กลับมาอัปเดตตลาดและแนะนำกองทุนที่น่าสนใจกันเหมือนเดิม ตลาดช่วงนี้ก็ถือว่าหวือหวา หุ้นเทคฯ สหรัฐเด้ง หุ้นจีนเด้ง ตลาดเด้งสวนทางกับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจที่ดูท่าจะไม่ดีเท่าไร แล้วในจังหวะแบบนี้มีกองทุนอะไรที่น่าลงทุนบ้าง ติดตามได้ในสรุป LIVE ประจำวันที่ 13 ก.ค. ครับ Market Update ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ยอดรวมทะลุ 12 ล้านคน โดยยอดที่เพิ่มขึ้นมานี้เป็นประเทศกลุ่ม Emerging Market เป็นส่วนใหญ่ ส่วนในยุโรปชะลอตัวแล้ว ช่วงเดือนที่ผ่านมาเริ่มเห็นผลกระทบที่เกิดกับภาคธุรกิจชัดเจนขึ้น Muji ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ เพิ่งยื่นแผนฟื้นฟูกิจการ Chapter 11 ไป รวมถึงมีการคาดการณ์ว่าบริษัทน้ำมันในสหรัฐฯ กว่า 240 แห่งจะล้มละลายในปี 2021 ถึงแม้ว่าภาพเศรษฐกิจจะดูไม่ดี IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะติดลบ 3% ในปีนี้ แต่ตลาดหุ้นโลกกลับไม่เป็นเช่นนั้น บวกขึ้นสวนทางเศรษฐกิจจากจุดต่ำสุดขึ้นมาแล้ว 20% ตาม MSCI World หุ้นกลุ่มที่ดันตลาดขึ้นไปในรอบนี้คือกลุ่มหุ้นเทคฯ อย่างที่เคยพูดไว้หลายครั้งที่ผ่านมา สังเกตจาก S&P500 ที่เริ่มชะลอตัว แต่ NASDAQ ยังขึ้นสูงได้เรื่อยๆ ณ ตอนนี้ NASDAQ ถึงราคาเป้าหมายระยะสั้นตอนเข้า Tactical Call แล้ว (จังหวะเข้าอ่านได้ที่บทความนี้ และจังหวะออกอ่านได้ที่บทความนี้) และยังคงอยู่ใน Uptrend Channel ราคาเป้าหมายระยะสั้นถัดไปอยู่ที่ 11,000 จุด ภายในปลายเดือนนี้ สำหรับการทยอยสะสมลงทุนหุ้นกลุ่มเทคฯ ในระยะยาวสามารถทำได้ โดยมีข้อควรระวังตรงที่ตลาดขึ้นมาค่อนข้างแรงและขึ้นไปสูงแล้ว ควรเข้าทยอยสะสมด้วยสัดส่วนตามความเสี่ยงที่รับได้เท่านั้น ส่วนประเด็นร้อนแรงเรื่องกองทุนจีนในสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทุนจีนขึ้นมากว่า 20% ในสัปดาห์เดียว โดยหุ้นกลุ่มหลักที่ดันตลาดก็คือกลุ่ม Financial Service หุ้นกลุ่มที่เติบโตเป็นวัฏจักร (Cyclical) ปัจจัยที่ดันตลาดจีนขึ้นมารอบนี้ส่วนหนึ่งมาจากผลตอบแทนพันธบัตรจีนที่สูงขึ้น คุ้มค่ามากกว่าพันธบัตรสหรัฐฯ มาก (ดอกเบี้ยฝั่งสหรัฐฯ แทบจะแตะศูนย์แล้ว) ทำให้เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาในจีน และไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นด้วยบางส่วน อีกปัจจัยหนึ่งคือปริมาณเงินกู้มาลงทุน (China Margin Trading Debt) สูงขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งสังเกตว่า CSI300 มี Correlation ที่สอดคล้องกับตัวเลขนี้มาก หมายความว่านักลงทุนราย่อยของจีนนี่แหละที่มีส่วนดันตลาดจีนขึ้นไปในรอบนี้ อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ยังถือว่าต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี 2015 อีกเยอะ สะท้อนว่าโอกาส Upside ในตลาดจีนยังมีอีกมาก กองทุนน่าลงทุนในตอนนี้ กองทุนแนะนำในสัปดาห์นี้เป็นไปตามมุมมองจากทีม Investment ของ FINNOMENA ตามบทความนี้ครับ Tactical Call : ตลาดหุ้นจีนถูกจุดพลุ จังหวะ Follow Buy ระยะสั้นเกิดขึ้น ประกอบด้วยกองทุนที่ลงทุนในหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่หรือ A-Share ทั้งหมด 2 กองด้วยกัน คือ TMB-ES-CHINA-A และ TMBCHEQ และนี่คือสัดส่วนไส้ข้างในของกองทุนทั้ง 2 กอง นักลงทุนโปรดอ่านข้อความด้านล่างอย่างละเอียดก่อนลงทุน เราแนะนำเข้าลงทุนเก็งกำไร เน้นรอบระยะสั้นไม่เกิน 3 เดือน ในกองทุน TMB-ES-CHINA-A และ TMBCHEQ ซึ่งมีการลงทุนหลัก ๆ ในตลาดหุ้นจีน A-Share เป็นที่ทราบกันว่า หากจบรอบของตลาดหุ้นขาขึ้นของจีน การปรับฐานที่เกิดขึ้นในอดีตค่อนข้างรุนแรงและรวดเร็วมากกว่าดัชนีตลาดหุ้นภูมิภาคอื่น ๆ ดังนั้นนักลงทุนที่เหมาะกับ Tactical Call นี้ควร… เป็นนักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน และรับความผันผวนได้สูง ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10-15% ของภาพรวมพอร์ตการลงทุนทั้งหมด นักลงทุนที่รับความผันผวนได้ คาดหวังผลกำไร 10%-12% นักลงทุนต้องยอมรับการ Limit Loss หรือ การตัดขาดทุนได้ทันที ในกรณีที่ NAV ลงมา ณ จุด Stop Loss > 7% จากต้นทุน จุดที่เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อภายใต้ Tactical Call คือ ดัชนี CSI300 ยืนเหนือระดับ 4,900 จุด เนื่องจากอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (Risk/Reward Ratio) จะสูงกว่า 50% หรือ 0.5 สำหรับสรุป LIVE ก็จบเพียงเท่านี้ครับ นักลงทุนสามารถดู LIVE เต็มๆ ได้ที่ลิงก์วิดิโอบนหัวบทความได้เลยครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แน่ใจได้อย่างไรว่ากองทุนที่ธนาคารของคุณแนะนำเป็นกองทุนที่ดีที่สุด? คุณอาจพลาดกองทุนที่ดีกว่าจากธนาคารอื่น ๆ ได้ เราขอแนะนำ FINNOMENA แพลตฟอร์มที่จะช่วยคัดเลือกกองทุน เปิดบัญชีครั้งเดียวซื้อกองทุนที่ดีที่สุดได้จากทุกธนาคาร เปิดบัญชีลงทุนออนไลน์ ซื้อกองทุนได้เร็วสุดภายในวันทำการถัดมา ลองเลย! https://finno.me/oa1326 แท็ก: Advance Article Picture Slide Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สัญญาณเก็งกำไรในตลาดหุ้น - FINNOMENA ตลาดหุ้นไทยนั้นเป็นตลาดที่มีการเก็งกำไรสูงมาก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นของประเทศอื่น ๆ ที่จริงการเก็งกำไรแทบไม่เคยหายไปเลยยกเว้นก็แต่ในช่วงหลังวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 แล้วอะไรคือ “สัญญาณ” ที่แสดงว่ามีการเก็งกำไรที่ร้อนแรงอยู่ในตลาดหุ้น? 13 ก.ค. 2563 ผมสังเกตมานานแล้วว่าตลาดหุ้นไทยนั้นเป็นตลาดที่มีการเก็งกำไรสูงมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นของประเทศอื่น ๆ ที่ผมรู้จัก การเก็งกำไรของนักลงทุนส่วนบุคคลของไทยนั้น ว่าที่จริงแทบไม่เคยหายไปเลยยกเว้นก็แต่ในช่วงหลังวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ เศรษฐกิจไทยแทบจะล่มสลายและคนที่บาดเจ็บหนักที่สุดก็คือผู้ประกอบการและนักธุรกิจที่มีเงินมากพอที่จะเล่นหุ้นหรือลงทุนได้ในช่วงเวลานั้น ซึ่งก็ทำให้การ “เก็งกำไร” ในตลาดหุ้นหายไปอย่างสิ้นเชิงเป็นเวลาหลายปีก่อนที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวและเกิด “นักลงทุนรุ่นใหม่” ที่มีความหลากหลายมากขึ้นและรวมถึง คนชั้นกลางที่ “กินเงินเดือน” และเริ่มสะสมเงินหรือความมั่งคั่งเพื่อการเกษียณ นักลงทุนรุ่นใหม่เหล่านั้นมีจำนวนมากขึ้นมากเมื่อเทียบกับนักลงทุนรุ่นเก่า พวกเขานอกจากจะมีเงินแล้วก็ยังมี “ความรู้” ในการลงทุนมากขึ้นมาก พวกเขารู้ว่าในการเลือกหุ้นลงทุน เราจะต้องวิเคราะห์และประเมินหามูลค่าที่แท้จริงและเปรียบเทียบกับราคาหุ้น ถ้าหุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากหรือที่เรียกว่ามี Margin Of Safety สูง เขาก็จะซื้อ ถ้าราคาหุ้นแพงกว่าก็ต้องขาย นี่คือหลักการที่เรียกว่า “Value Investing” ที่กลายเป็น “กระแสหลัก” ของการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมาจนถึงทุกวันนี้ แต่การเก็งกำไรในตลาดหุ้นเองนั้น นอกจากจะไม่หายไปแล้ว มันยังเฟื่องฟูมากและอาจจะมากกว่าการเก็งกำไรในอดีตด้วยซ้ำ เหตุผลนั้นน่าจะมีหลายอย่าง ประการแรกนั้น การเก็งกำไรเป็นเรื่องที่อยู่ใน “ยีน” ของคนตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของมนุษย์ที่เรียกว่า “Homo Sapiens” โดยที่คนที่ไม่กล้าหรือไม่ชอบเสี่ยงนั้นมักจะเอาตัวรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ได้ยากและน้อยกว่าคนที่ชอบเสี่ยง ประการต่อมาก็คือ ระบบที่เอื้ออำนวยให้กับการเล่นเก็งกำไร นั่นก็คือ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นที่ต่ำมากและการที่ไม่เสียภาษีกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ดังนั้น การซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นและ “ทำกำไร” ได้อย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งที่คนอยากทำ และสุดท้ายก็คือ “ทางเลือก” ในการเก็งกำไรอย่างอื่นในประเทศไทยนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้ผลตอบแทนดีเท่ากับการ “เล่นหุ้น” ในภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันโดยเฉพาะสำหรับคนที่มีเงินเหลือเก็บเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อการเกษียณ การเก็งกำไรที่สูงมากนั้น ทำให้หุ้นที่ถูกเก็งกำไรมีราคาปรับตัวสูงกว่าปกติ ยิ่งมีคนเข้ามาซื้อขายมากก็ยิ่งทำให้ราคาปรับตัวสูงเพิ่มขึ้น และนั่นทำให้หุ้นมักจะมีราคาแพงกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก ถ้าเราเข้าไปซื้อหุ้นเหล่านั้นและเก็บไว้ยาวนาน โอกาสที่หุ้นจะปรับตัวลงมาตามพื้นฐานที่ควรจะเป็นก็จะสูง เราก็อาจจะขาดทุนได้มาก ดังนั้น VI ที่มุ่งมั่นและระมัดระวังจึงควรจะรู้ว่าตลาดหุ้นหรือหุ้นกลุ่มไหนหรือหุ้นตัวไหนกำลังมีการเก็งกำไรสูงมากน้อยแค่ไหน อะไรคือ “สัญญาณ” ที่แสดงว่ามีการเก็งกำไรที่ร้อนแรงอยู่ในตลาดหุ้นซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นบางกลุ่มหรือบางตัวแพงผิดปกติและเราควรที่จะหลีกเลี่ยง สัญญาณการเก็งกำไรข้อแรกก็คือ ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันของตลาดหุ้น นับเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีมาแล้วที่ปริมาณการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของไทยสูงลิ่วเทียบกับตลาดในประเทศเพื่อนบ้านที่มีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกัน ล่าสุดในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ทั้ง ๆ ที่มีปัญหาโควิด-19 ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อวันก็ยังสูงถึง 6 ถึง 7 หมื่นล้านบาท สูงที่สุดในอาเซียนและสูงกว่าตลาดหุ้นอย่างเวียตนามถึง 10 เท่า ดังนั้น ถ้าดูจากข้อมูลนี้ก็แสดงว่าตลาดหุ้นไทยโดยรวมมีการเก็งกำไรสูงมาก ซึ่งนั่นมักจะนำไปสู่สัญญาณข้อสองก็คือ ค่า PE ของตลาดโดยรวมนั้นสูงเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณเกือบ 20 เท่าและสูงกว่าของประเทศในอาเซียนที่ประมาณ 15-16 เท่าทั้ง ๆ ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทจดทะเบียนนั้นต่ำเกือบที่สุดที่ประมาณ 3% ต่อปีในระยะหลายปีที่ผ่านมาเทียบกับการเติบโตของประเทศรอบบ้านที่อยู่ที่ประมาณ 5-7% ต่อปี การเก็งกำไรนั้น มักจะทำกับหุ้นขนาดเล็กหรือกลางที่มีหุ้น Free Float หรือหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดน้อย เพราะนั่นมักจะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นได้เร็วและมากในระยะเวลาอันสั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเหล่านี้มักจะสูง บางทีเป็น 10% ในวันเดียวโดยไม่ได้มีข่าวดีเป็นพิเศษ การเปลี่ยนแปลงในระดับวันละ 4-5% กลายเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น การที่เราเห็นหุ้นขนาดเล็กและกลางที่มีหุ้นหมุนเวียนในตลาดน้อย มีราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรง นั่นก็เป็นสัญญาณว่าการเก็งกำไรของนักลงทุนรายย่อยนั้นสูงมาก ราคาของหุ้นตัวเล็กจำนวนมากก็คงแพงกว่าปกติ สัญญาณตัวที่สี่ที่จะชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการเก็งกำไรในหุ้นตัวเล็กหรือกลางที่มี Free Float น้อยก็คือ การที่ปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงที่สุด 10 อันดับประจำวันนั้นประกอบไปด้วยหุ้นดังกล่าวหลายตัวทุกวัน ลองคิดดูว่าคนเข้ามาเล่นเก็งกำไรในหุ้นเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหนถ้าหุ้นเหล่านั้นมีมูลค่าหุ้นหมุนเวียนในตลาดเพียง 2-3 พันล้านบาท แต่เพียงวันเดียวกลับมีคนซื้อขายหุ้น 2-3 พันล้านบาทไปแล้ว ซึ่งนั่นเท่ากับว่าหุ้นทุกหุ้นถูกซื้อและอาจจะขายทันทีภายในวันเดียวกัน และปริมาณการซื้อขายนั้นมีมูลค่าเท่ากับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดหลายแสนล้านบาท และนี่ก็คือหุ้นที่เก็งกำไรกันอย่างสุดเหวี่ยง ถ้าเราไม่ใช่นักเก็งกำไรก็ควรหลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านี้ ช่วงที่ตลาดหุ้นมีการเก็งกำไรสูงมากนั้น บางทีดัชนีตลาดโดยรวมก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นสูง สาเหตุก็เพราะว่าพื้นฐานโดยรวมของเศรษฐกิจและบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะขนาดใหญ่นั้นอาจจะไม่ดีเลย ในสถานการณ์แบบนี้ นักเก็งกำไรที่มีจำนวนมากในตลาดหุ้นไทยก็มักจะต้องมองหาหุ้นบางกลุ่มหรือบางตัวที่จะนำมาเล่นเก็งกำไร หุ้นที่เขามักใช้เป็นเครื่องมือก็คือหุ้นที่ยังดูดีในแง่ผลประกอบการอยู่และมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเก็งกำไรได้นั่นก็คือ มันเป็นหุ้นขนาดเล็กหรือกลางที่มี Free Float ต่ำที่สามารถถูกลากหรือ “ต้อนเข้ามุม” เพื่อดันราคาให้สูงขึ้นไปได้มากได้ ดังนั้น เมื่อเราพบว่าในภาวะที่ตลาดหุ้นไม่ดีอย่างในปัจจุบันแต่กลับมีหุ้นบางกลุ่มหรือบางตัวที่ยังวิ่งเอาวิ่งเอา เหตุผลหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะว่ามีนักเก็งกำไรกลุ่มใหญ่ที่ต้องหาหุ้นมาเล่นเก็งกำไรและเข้ามา “รุมเล่น” ในหุ้นตัวนั้นหรือกลุ่มนั้น สัญญาณที่หกที่มักจะบอกว่าการเก็งกำไรกำลังขึ้นสู่จุดสูงสุดก็คือการที่เราพบว่ามีหุ้นที่มีราคาพุ่งไปสู่จุดที่เรียกว่าเป็นหุ้น “Impossible” เพราะราคาหุ้นขึ้นไปสูงแบบ “เป็นไปไม่ได้” ในระยะยาวต่อไปอีกซัก 2-3 ปี ตัวอย่างเช่น เป็นหุ้นที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์เช่นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกี่ยวข้อง หรือบริการที่เป็นโภคภัณฑ์เช่น การเดินเรือหรือแม้แต่การบิน หุ้นเหล่านี้ ในภาวะที่ตลาดดีสินค้ามีราคาแพงก็จะได้กำไรมาก แต่ในยามตกต่ำ ราคาก็จะร่วงลงมามากจนทำให้ขาดทุนได้ ประเด็นก็คือ ในยามที่ดีนั้น คนก็มักจะเข้ามา “เก็งกำไร” ซื้อหุ้นกันมากจนราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปสูงลิ่วซึ่งจะดึงดูดให้คนเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ โดยไม่ได้สนใจความถูกแพงและไม่คิดว่าอนาคตกำไรจะต้องลดลงมาก แต่ในไม่ช้าราคาโภคภัณฑ์นั้นจะต้องตกต่ำลงเพราะจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นมาก คำว่า “Impossible” ของผมก็คือ ราคาหุ้นอาจจะสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นในภาวะปกติเกิน 4-5 เท่าขึ้นไป สุดท้ายที่เป็นสัญญาณการเก็งกำไรในตลาดหุ้นก็คือเรื่องของปริมาณและจำนวนของหุ้น IPO หรือหุ้นเข้าตลาดใหม่ ถ้ามีจำนวนมากและราคาหุ้นที่เข้าไปซื้อขายในวันแรกวิ่งขึ้นไปสูงมาก บวกไปหลายสิบหรือเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจากราคา IPO นั่นก็แปลว่าการเก็งกำไรในช่วงนั้นของตลาดหรือกลุ่มหุ้นหรือตัวหุ้นนั้นสูง ราคาของหุ้นก็มักจะแพงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น การวิเคราะห์ระดับของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นหรือกลุ่มหุ้นหรือตัวหุ้นนั้น นักลงทุนที่ระมัดระวังควรจะต้องสังเกตและติดตามเป็นระยะ การดูปริมาณและโดยเฉพาะการปรับตัวขึ้นลงของราคาหุ้นเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่มักจะชี้ว่าหุ้นหรือกลุ่มหุ้นนั้นมีการเก็งกำไรสูงมากน้อยแค่ไหน หลังจากนั้น เราก็ต้องดูข้อมูลเชิงคุณภาพว่า กิจการเป็นอย่างไร เป็นสินค้าโภคภัณฑ์หรือเป็นสินค้าที่คนเลือกซื้อเพราะปัจจัยที่ไม่ใช่ราคามากน้อยแค่ไหน บริษัทเป็นผู้นำหรือไม่และโดดเด่นแค่ไหน สุดท้ายก็มาถึง Story หรือเรื่องราวการเติบโตในอนาคตที่ถูกนำมา “ขาย” ให้กับนักลงทุน เราต้องดูว่าสมเหตุผลและเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน อย่าเชื่ออะไรง่าย ๆ โดยเฉพาะที่คนพูดมีผลประโยชน์อยากให้หุ้นวิ่งขึ้นไปมาก ๆ ในหลาย ๆ กรณีผมเองก็มักจะเลี่ยงลงทุนในหุ้นที่ดูแล้วมีสัญญาณของการเก็งกำไรสูงผิดปกติซึ่งทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปสูงผิดปกติ ผมอาจจะเป็น VI รุ่นเก่าที่ไม่ยอมซื้อหุ้นแพงหรือแพงจัดไม่ว่าบริษัทจะดูดีแค่ไหนซึ่งในบางครั้งก็ทำให้พลาดการลงทุนในหุ้นที่ทำกำไรได้เร็วและง่ายไปบ่อย ๆ แต่นี่ก็เป็นเรื่องที่ผมเลือกที่จะเป็น ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/07/13/2353 แท็ก: Article Basic Knowledge Short Content สัญญาณเก็งกำไรในตลาดหุ้น แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
คุยคริปโต Podcast Ep.1 : พ้นจากวิกฤติหนี้ท่วมโลกและเศรษฐกิจฝืดเคือง ด้วย Money Velocity - FINNOMENA คุยคริปโต Ep.1 : พ้นจากวิกฤติหนี้ท่วมโลกและเศรษฐกิจฝืดเคือง ด้วย Money Velocity ปกติแล้วสูตรคำนวณ GDP คือ GDP = C + I + G + (X-M) แต่...มีการคำนวณ GDP ในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเราเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ธนาคารกลางหลายแห่งกำลังโฟกัสเรื่องนี้อยู่นั่นก็คือสูตรนี้ครับ GDP = M * V มันคืออะไร มาติดตามกันครับ 16 ก.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> FINNOMENA · คุยคริปโต Ep.1 : พ้นจากวิกฤติหนี้ท่วมโลกและเศรษฐกิจฝืดเคือง ด้วย Money Velocity คุยคริปโต Podcast Ep.1 : พ้นจากวิกฤติหนี้ท่วมโลกและเศรษฐกิจฝืดเคือง ด้วย Money Velocity เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมาซึ่งดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แล้วยังโชคร้ายคือเกิดการระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะลากยาวไปถึงสิ้นปี ทำให้มีการหยุดชะงักในทุกปัจจัยของการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 1 จากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ออกมาจะค้านสายตาประชาชนไปพอสมควร คือติดลบเพียง 1.8 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เพราะนักวิชาการและนักวิเคราะห์ รวมไปถึงนักธุรกิจส่วนใหญ่ คิดว่าตัวเลขน่าจะออกมาติดลบมากกว่านี้ แต่ในความเป็นจริงไตรมาสที่ 1/2563 นี้ Cover ผลกระทบของพิษเศรษฐกิจจาก COVID-19 เพียงแค่ครึ่งเดียวของช่วงเวลาเท่านั้นเพราะว่าช่วงเดือนมกราคม 2563 ไล่ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทุกภาคส่วนยังสามารถดำเนินกิจกรรมของตัวเองได้อย่างปกติ แต่ตัวเลขไตรมาส 2/2563 นี่สิของจริง ซึ่งทุกท่านไม่ต้องกังวลไปครับเพราะกระทรวงการคลังนั้นประกาศออกมาอย่างชัดเจนแล้วว่าจะงดการแถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 1-2 ชั่วคราว เพื่อลดความแตกตื่นและวุ่นวายที่อาจจะเกิดขึ้น หลายท่านที่ลงทุนมานานจะทราบดีว่ากองทุนขนาดใหญ่สาย Macroeconomic มีหลักการในการวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจมากมายเพื่อเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาเข้าถือครองหรือขายออกของสินทรัพย์ในประเทศนั้น ๆ หลักการเบื้องต้นข้อหนึ่งก็คือหาก GDP ลบ 2 ไตรมาสติดกันเท่ากับเศรษฐกิจที่ประเทศนั้นเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นที่เรียบร้อย ทำให้อาจจะมีการลดน้ำหนักการลงทุนเกิดขึ้นครับ แต่เราไม่ประกาศ เลยรอดตัวไป… ในขณะเดียวกันประเทศมหาอำนาจ 2 แห่งอย่างจีนและสหรัฐฯ ก็เหมือนกับว่ากำลังแข่งกันทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัล จนประชาชนที่เดือดร้อนเริ่มเรียกร้องถึงการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาปากท้องมากกว่าที่จะไปแข่งกันเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี ก่อนหน้านี้ที่ทาง Facebook พยายามจะสร้างเหรียญ “Libra” ขึ้นมาเพื่อเป็น Global Digital Assets หรือสกุลเงินที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก เพื่อทำลายข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศและลดค่าธรรมเนียมจากการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น แต่หลังจากที่คุณ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ได้นำเรื่องนี้เข้าแถลงต่อสภาคองเกรสเพราะต้องการให้สหรัฐฯ ยอมรับเรื่องนี้อย่างทั่วถึงกัน แต่แน่นอนว่า Libra นั้นถูกสับเละไม่มีชิ้นดีเลย อีกด้านหนึ่งก็คือมหาอำนาจอย่างจีนที่ประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่สนับสนุน Crypto Digital Assets แต่ก็ซุ่มทำวิจัยอะไรบางอย่างเป็นเวลานาน จนได้ฤกษ์เปิดตัวสิ่งที่เรียกกันว่า ดิจิทัลหยวน หรือ Digital Assets Electronic Payment (DCEP) ซึ่งสร้างความฮือฮาไปทั่วโลก จนทำให้ทางสหรัฐฯ ทนไม่ไหวหยิบ Libra ขึ้นมาปัดฝุ่นเขียน Whitepaper ใหม่ที่เรียกว่า Libra 2.0 คำถามที่สำคัญก็คือทำไมแต่ละประเทศถึงได้ให้ความสนใจในการสร้าง Central Bank Digital Assets (CBDA) หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ในวันนี้ ZIPMEX จะมาเล่าให้ฟังครับ GDP คืออะไรและทำไมจึงมีความสำคัญ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้ GDP = C + I + G + (X-M) C = Consumption คือ การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชน I = Investment คือ การลงทุนของภาคเอกชน G = Government Spending คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล หรือ การลงทุนภาครัฐ X = Export คือ การส่งออก M = Import คือ การนำเข้า แต่มีการคำนวณ GDP ในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเราเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ธนาคารกลางหลายแห่งกำลังโฟกัสเรื่องนี้อยู่นั่นก็คือสูตรนี้ครับ GDP = M * V M = Money Supply (M1 หรือ M2) V = Velocity of Money (การหมุนของเงิน) ผมขออธิบายง่าย ๆ แบบนี้ครับเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพมากขึ้น สมมติว่าผมเปิดร้านกาแฟสักหนึ่งร้านโดยมีโต๊ะให้ลูกค้านั่ง 10 โต๊ะ นั่งโต๊ะละหนึ่งคนแล้วกันเพราะช่วงนี้ต้อง Social Distancing โดยที่ผมขายกาแฟแก้วละ 100 บาท ถ้าในวันนั้นลูกค้านั่งครบ 10 คน สั่งกาแฟคนละ 1 แก้วแล้วนั่งแช่ไปทั้งวันจนร้านปิด นั่นเท่ากับว่าวันนั้นผมมีรายได้ 1,000 บาทยังไม่หักค่าใช้จ่าย แต่ในทางกลับกัน ลูกค้ามาซื้อกาแฟที่ร้านนั่งเพียง 10 นาทีแล้วออก ๆ แบบนี้จนร้านปิด สมมติขายได้ 100 แก้ว เท่ากับว่าวันนั้นผมมีรายได้ 10,000 บาทยังไม่หักค่าใช้จ่าย สังเกตหรือไม่ครับ ขนาดร้านเท่าเดิม โต๊ะเท่าเดิม แต่อัตราการหมุนหรือ Velocity มีมากกว่า รายได้ของร้านก็มีมากกว่า มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ หากกลับมาที่ประเด็นของเศรษฐกิจโลก นับตั้งแต่เกิดวิกฤติทางการเงินในปี 2551 ธนาคารกลางในแต่ละประเทศก็ได้ทำการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน (เพิ่ม M) เพื่อพยุงเศรษฐกิจและเร่งการเติบโตให้คงอยู่ต่อไปอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว (ดังรูปภาพประกอบ) (ที่มา https://tradingeconomics.com/ ) ปัญหาของการเพิ่มเงินในมาตรการดังกล่าวนั้นได้ก่อให้เกิดปัญหาใหม่คือหนี้ขนาดใหญ่ที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน เช่น หนี้ของภาครัฐ ภาคเอกชน ลงมาถึงภาคครัวเรือน แต่ทุกคนก็ยังคงเฉย ๆ ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับปัญหาหนี้ครั้งนี้หรือ (Big Debt Crisis) เพราะ 2 สาเหตุหลักก็คือ ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากสภาพคล่องที่ล้นระบบ ไม่ว่าหุ้น ทองคำ ที่ดิน สินทรัพย์ดิจิทัล ฯลฯ ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่น่ากลัว ซึ่งสิ่งนี้ขัดกับการคาดการณ์ของหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะการพิมพ์เงินออกอย่างต่อเนื่องทั่วโลก แต่เงินเฟ้อกลับพุ่งขึ้นนิดเดียว นั่นก็เพราะ การหมุนของเงิน (Velocity of Money) มันต่ำนั่นเอง ประกอบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับต่ำด้วย ในช่วง 10 ปีของการอัดฉีดเงินจากธนาคารกลางทั่วโลก จำนวนเงินที่ใส่เข้ามานั้นเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว แต่กลับส่งผลทำให้การเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2551 ตัวเลขโดยเฉลี่ยของ Money Velocity อยู่ที่ 1 รอบโดยประมาณ จีนเองก็มี Money Velocity เพียง 0.5 รอบโดยเฉลี่ย แม้ทางธนาคารกลางจะทราบดีถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ก็คอนโทรล Velocity ได้ยากมาก จึงมาเล่นกับตัวแปรอย่าง M หรือ Money Supply ง่ายกว่า ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐบาลแจกเงินประชาชนเพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หากประชาชนเลือกที่จะเก็บเงินไว้ในกระเป๋าบางส่วน ใช้จ่ายบางส่วนก็แปลว่าประสิทธิผลที่ได้ไม่ 100 % ตามที่คาดหวัง แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย Central Bank Digital Assets (CBDA) แนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ นับตั้งแต่ปี 2551 ที่มีการถือกำเนิดสินทรัพย์ดิจิทัลขึ้นมาตัวแรกนั่นก็คือ Bitcoin อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น Blockchain , Smart Contract ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ทุกคนตื่นตัวเป็นอย่างมาก ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน แต่อีกหนึ่งไอเดียที่บางกลุ่มมองเป็นเรื่องดี บางกลุ่มก็มีความกังวล คือแนวคิดการกระจายอำนาจของส่วนกลางหรือตัวกลาง (Decentralization) อย่างจีนเองมีการกีดกันสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมากตั้งแต่แรก อาจจะเป็นเพราะระบบการปกครองของจีนที่เน้นการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางซึ่งขัดกับแนวคิด Decentralization อย่างสิ้นเชิง แต่จีนนั้นเล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มาคู่กับ Crypto Digital Assets และที่สำคัญคือเล็งเห็นหนทางในการเร่ง Velocity of Money เพื่อที่จะสามารถเร่งการเติบโตของขนาดเศรษฐกิจขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกแทนสหรัฐฯ เพราะหลังจากนี้การจะพิมพ์เงินตรง ๆ เข้าระบบเริ่มจะไปต่อไม่ไหวแล้ว แต่หากเราเปลี่ยนจากเงินกระดาษอย่างเช่นทุกวันนี้เป็นเงินดิจิทัล จีนเชื่อมั่นว่าการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจะเพิ่มขึ้นแน่นอน ยกตัวอย่างในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ครับ เราคิดว่าการทำงานที่บ้าน (Work From Home) จะทำให้เราประหยัดขึ้นใช่หรือไม่…เปล่าเลยครับ เราเสียเงินกับการ Shop Online การสั่งอาหาร Online เยอะกว่าไปทำงานที่ออฟฟิศด้วยซ้ำ ดิจิทัลหยวน ไม่ใช่ Crypto Digital Assets ดิจิทัลหยวนของจีนนั้นไม่ใช่ Crypto Digital Assets อย่าง Bitcoin หรือเหรียญอื่น ๆ เพราะในความเป็นจริง ดิจิทัลหยวนคือเงินหยวนธรรมดานั่นเอง แต่มาในรูปแบบดิจิทัล มีลักษณะเป็น Stablecoin ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ต่างจาก Tether หรือ Rupiah Token ที่ดำเนินการโดยเอกชน โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) มีการสำรองเงินหนุนค่าเงินเหมือนเงินหยวนปกติทั่วไป ด้วยการผูกค่าดิจิทัลหยวนกับ RMB แบบ 1: 1 และใช้ระบบ Blockchain คลุมทั้งหมด การใช้งานเงินดิจิทัลหยวนจะถูกทดลองใช้ใน 4 เมืองแรกของจีน คือ เซินเจิ้น ซูโจว สงอัน และเฉิงตู โดยการทดลองใช้งานนี้จะมีระยะเวลา 6-12 เดือน ซึ่งร้านค้าหลาย ๆ ราย เช่น McDonald’s, Starbucks และ Subway ก็อยู่ในระหว่างการพิจารณาการร่วมทดลองใช้เงินหยวนดิจิทัลนี้ รวมถึงยังมีการนำเข้าไปใช้ในระบบของภาครัฐโดยเงินเดือนพนักงานของรัฐจะถูกจ่ายผ่านทางดิจิทัลหยวน เริ่มในเดือนพฤษภาคมนี้ ลองดู Prototype System ของดิจิทัลหยวนได้ตามรูปภาพด้านล่างนี้ครับ โครงการอินทนนท์ โครงการอินทนนท์เป็นหนึ่งในโครงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มขึ้น ร่วมกับสถาบันการเงินอีก 8 แห่ง และบริษัท R3 (ผู้พัฒนา DLT ใน Corda Platform) ในการทดสอบความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ DLT กับระบบการชำระเงินของประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินมีความเข้าใจเทคโนโลยี โดยผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสถาบันการเงินและธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) รวมทั้งยังให้นักพัฒนาระบบ (System Developer) จากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการร่วมกันพัฒนาระบบการชำระเงินต้นแบบเพื่อเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาระบบการเงินของไทยในอนาคตนั่นเอง ซึ่งขอบเขตของโครงการอินทนนท์จะแบ่งเป็น 3 ระยะ ตามรูปภาพประกอบด้านล่างนี้ครับ ที่มา (https://www.bot.or.th/broadcast/BOTMagazine/2562/BOT3_62/mobile/index.html#p=9) ทุกวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นบนโลกนั้นให้ผลดีกับเราเสมอครับ ไม่ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสกุลเงินดิจิทัลต่อจากนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดก็ตาม ตัวเราเองในฐานะของสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการและมีการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด มีหน้าที่ปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หมดยุคของปลาใหญ่กินปลาเล็ก หรือยุคปลาเร็วกินปลาช้าอีกต่อไป แต่เป็นยุคของปลาที่ใช่เท่านั้น ใช่สำหรับลูกค้าและตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคได้ทันท่วงทีหรือไม่ ฉะนั้น ปลาที่ใช่ต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีนะครับ Zipmex ที่มาบทความ : https://zipmex.co.th/2020/06/01/add-money-velocity-using-digital-currency/ ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี App Spotify https://finno.me/spotify App Google podcasts https://finno.me/googlepodcast Apple podcast https://finno.me/applepodcast App Soundcloud https://finno.me/soundcloud Podbean https://finno.me/podbean Youtube https://finno.me/youtubepodcast แท็ก: Advance Article crypto talks Knowledge Money Velocity podcast Short Content วิกฤติหนี้ เศรษฐกิจฝืดเคือง แชร์บทความ: ผู้เขียน Zipmex ซิปเม็กซ์ เป็นผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มุ่งให้ความรู้กับทุกคนในทุกวัน เพื่อเปิดโอกาสในการลงทุนรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยผ่านการกำกับดูแลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เราควรตามกลิ่นของเงินในตอนนี้จริง ๆ หรือ - FINNOMENA เจ้ามือ เจ้าตลาดอาจเป็นคำที่ใครหลาย ๆ คนใช้นิยามกันในยามวิกฤติ ที่เงินด่วนไหลเข้าสินทรัพย์ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนได้อย่างรวดเร็วก่อนคนอื่น หลังราคาลงมาตำ่กว่าความเป็นจริง เรามาดูกันว่ามุมมอง "เงินด่วน" ในช่วงเวลานี้จะเป็นเช่นไร 12 ก.ค. 2563 ภาพแสดงราคาดัชนี China A50 วันที่ 8 กรกรฎาคม 2020 เห็นภาพข้างต้นแล้วรู้สึกอย่างไรครับ บางคนอาจจะเริ่มแคลงใจคิดกันไปว่าจีนนี่ต้องเป็นหุ้นแห่งอนาคตหรือโมเมนตัมถัดไปเป็นแน่ ถ้าว่ากันทางเทคนิคอลการ Breakout จากกรอบราคาขนาดใหญ่นี้คงเป็นที่ล่อตาล่อใจ นักลงทุนสายเก็งกำไรกันเป็นแน่ แต่คำถามถัดไปก็คือหากว่ากันถึงระยะกลางที่จะถึง ท่ามกลางราคาของตลาดหุ้นที่พุ่งขึ้นแบบไม่สนคำว่ามูลค่านี้มันใช่จังหวะหรือไม่? ในระยะยาวแล้วการเก็บตัวของราคาหุ้นจีนในตอนนี้ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพี่ ๆ ของทองคำช่วงก่อนหน้าเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าหุ้นจีนอาจจะมาได้จริง ๆ หลังเก็บตัวมานานหลายปี (ราว ๆ 5 ปี) จริงอยู่ที่การไหลของเงินไปหาที่ ๆ มีผลตอบแทนเป็นเคสที่มีความเป็นไปได้สูงในช่วงนี้ หลังภาวะดอกเบี้ยตำ่ กดดันให้ผลตอบแทนของพันธบัตรแทบจะไม่มีที่ยืนอีกต่อไป จนอาจทำให้คนโยกย้ายไปหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้สูงขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นนี่อาจจะยังไม่ใช่จุดประสงค์หลักของบทความนี้ หลังหุ้นในหลาย ๆ ตลาดช่วงนี้อาจจะอยู่ในช่วงของ “การเก็งกำไร” ก็ว่าได้ จากเหตุผลในเรื่องของการที่เงินไหลไปหาที่ ๆ มีผลตอบแทนข้างต้น กลิ่นของเงิน (Smart Money) ความคิดของที่มีเหตุผล หากว่ากันในเรื่องของ Smart money หรือโมเมนตัมของเงินที่เข้าหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าได้เป็นพวกแรก ๆ ก็ดูเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล หากมนุษย์ทุกคนเชื่อว่า สินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งกำลังให้ผลตอบแทนที่มากกว่าและจะโยกย้ายไปที่นั้น ๆ แต่ความเป็นจริงก็คือ เราคงเหมารวมไม่ได้ว่า คนทุก ๆ คนจะคิดเช่นนั้น เนื่องด้วยลึก ๆ มนุษย์ทุกคนมีส่วนที่ไร้เหตุผลอย่าง “อารมณ์” ด้วยกันทั้งสิ้น ยังมีคนมากมายเข้าซื้อหลัง Smart Money ด้วยความกลัวว่าพลาดโอกาส หลังราคาวิ่งไปสูงลิบตา จนอาจทำให้ความเสี่ยง ณ จุดที่เข้าซื้อเทียบกับผลตอบแทนอาจจะไม่คุ้มค่าเท่าไรนัก และนั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมตลาดหุ้นถึงไม่วิ่งตามมูลค่าที่แท้จริง ซึ่งหากเรามาดูมูลค่าที่แท้จริงในช่วงนี้แล้ว ผมเองส่วนตัวก็ไม่แน่ใจนักว่าการเล่นกับ Smart money ถึงเวลาแล้วหรือยัง ในช่วงนี้ สภาวะหาผลตอบแทน (Seeking for Yield) อาจกำลังอยู่ในช่วงแห่งความ “เปราะบาง” ภาวะ “Seeking for yield” หรือการหาผลตอบแทนนี้จะวิ่งวนโยกย้ายไปได้อีกนานแค่ไหนคงจะไม่มีใครรู้ แต่คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามูลค่าของตลาดหุ้นตอนนี้อยู่ในระดับที่เรียกได้ว่า “เปราะบาง” จนหากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น ก็อาจจะส่งผลให้ราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรงก็เป็นได้ ภาพแสดงค่า CAPE หรือ P/E ปรับเงินเฟ้อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2020 และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าโลกแห่งการลงทุนเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่คาดคิดเสมอ ๆ และอยู่เหนือความสามารถของพวกเราที่จะประเมินปัจจัยทุกอย่างให้ครบถ้วนได้หมด “ในวันพรุ่งนี้ Fed อาจจะออกท่าใหม่ อัดเงินนับล้านเข้าตลาด หรือ อาจจะเกิดการ Lockdown อย่างไม่คาดฝันขึ้นมาก็เป็นได้” ซึ่งมันก็อาจจะดีหากสถานการณ์ออกมาเป็นในส่วนของเคสที่ 1 และอาจจะแย่หากออกมาเป็นเคสที่ 2 แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งที่เราควรถามกับตัวเองก็คือ ราคาที่ไร้เหตุผลจากความคาดหวังของคนว่า Fed จะพิมพ์เงินเข้าตลาดเรื่อย ๆ จะอยู่กับเราไปได้อีกนานแค่ไหน? เรายืนอยู่บนจุดไหนของตลาด? หากถามถึงจุดยืนของเรา ณ ตอนนี้ อาจจะเรียกได้ว่า มูลค่าได้ปีนป่ายใกล้เคียงกับยุควิกฤติดอทคอมเข้าไปทุกที ซึ่งคำว่า “ระมัดระวัง” หรือ “Stay cautious” อาจเป็นสิ่งที่เราควรทำมากที่สุดในตอนนี้ ภาพแสดงการคาดการณ์ค่า P/E 12 เดือนล่วงหน้าของดัชนีหุ้นโลก (MSCI AC World Index) ที่เข้าใกล้ช่วงวิกฤติดอทคอม ศิลปะแห่งการ “รอคอย” คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การลงทุนที่ดีนั้น คือ “การรอจังหวะที่ใช่” และมีโอกาสที่จะสำเร็จมากที่สุด แต่การรอคอยนั้นจะเรียกได้ว่าเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งของการลงทุนก็ว่าได้ เพราะ นอกจากเราจะต้องใช้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้ว ศิลปะแห่งการบริหารจิตใจหรือ “Mindset” ก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ ในภาวะที่ตลาดหุ้นหลาย ๆ ตลาดปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และอาจจะจำเป็นอย่างมากในช่วงนี้ ว่ากันด้วยเรื่องของ Smart Money ในตอนนี้ ที่ผ่านมา Warren Buffett เองก็เริ่มเปิดเกมเข้าลงทุน หลังกำเงินสดมาสักพักในช่วงวิกฤติ โดยเข้าซื้อทรัพย์สินกักเก็บและลำเลียงก๊าสธรรมชาติของ “Dominion Energy” ซึ่งอยู่ในกลุ่มพลังงาน (ไม่ใช่ซื้อหุ้นซะทีเดียว) ที่ฟังดูแล้วอาจจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากช่วงวิกฤติที่ผ่านมาจากทั้ง COVID-19 และสงครามราคานํ้ามัน แต่ถึงอย่างนั้น Dominion Energy เองก็มีความแตกต่างและไม่ใช่ธุรกิจพลังงานทั่ว ๆ ไปที่พึ่งพาเพียงแต่นํ้ามัน แต่เป็นพลังงานทางเลือกโดยใช้ก๊าสธรรมชาติเป็นหลักถึง 32% และใช้นํ้ามันเพียง 9% ของสัดส่วนในการผลิตพลังงานไฟฟ้า นี่ก็ถือว่าเป็นอีกตัวอย่างของ Smart money ก็ว่าได้หลังหุ้นกลุ่มพลังงานทำผลงานอย่างยํ่าแย่ในช่วงที่ผ่านมา แต่ในความยํ่าแย่นั้นก็หมายถึงการได้ผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน หากวิกฤติผ่านพ้นไป อีกทั้งท่ามกลางความยํ่าแย่ก็ยังอาจมีบางธุรกิจซึ่งอาจมีศักยภาพในการเติบโตและถูกมองข้ามไปเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังพิสูจน์ให้เห็นว่านักลงทุนระดับโลกยังคงให้ความสำคัญกับการประเมินการเชิงมูลค่า อีกทั้งยังวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วยตนเอง ท่ามกลางความไม่แน่นอน และยังเดินหน้าลงทุนต่อไป ท่ามกลางความกังวลของผู้คน คงไม่มีใครบอกได้ว่าวิกฤตินี้จะจบลงเมื่อไร เราจะตกรถหรือไม่หาก Fed ทำ QE ไปเรื่อย ๆ แต่สิ่ง ๆ หนึ่งที่บอกเราได้ก็คือความไม่สมเหตุสมผลของตลาดและมูลค่าที่เกินจริง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมีคนมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่เช่นเดียวกัน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำที่สุดในตอนนี้ อาจเป็นการตัดสินด้วยเสียงของตนเอง หาใช่คนอื่นไม่ แต่สำหรับผมเอง ผมขอเลือกที่จะรอก่อนละกัน… ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin เคยไหม? ซื้อกองทุนตามคำแนะนำจนมีเต็มพอร์ต สุดท้ายรู้ตัวอีกทีก็ติดดอยขาดทุน เราขอนำเสนอ FINNOMENA แพลตฟอร์มที่จะแนะนำกองทุนที่ตรงกับความต้องการของคุณ มีระบบแจ้งเตือนปรับเปลี่ยนกองทุน และ Tactical Call จับจังหวะซื้อขายระยะสั้น เปิดบัญชีลงทุนออนไลน์ ซื้อกองทุนได้เร็วสุดภายในวันทำการถัดมา ลองเลย! คลิกที่นี่เพื่อเปิดบัญชี References https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-06-23/-everything-is-expensive-as-global-stock-valuation-debate-rages แท็ก: Advance Article behavioral finance Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ราคาที่ล่วงเกิน... ในวันที่ตลาดหุ้นไร้เหตุผล - FINNOMENA การมองเห็นความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเสมอ ไม่ว่าจะกับเรื่องอะไรก็ตาม อาจจะเป็นเพราะว่ามันเจ็บปวด ทำใจได้ยากจึงทำให้หลาย ๆ คนอยากจะมองข้ามมันไป หากว่ากันในเรื่องความเป็นจริงของตลาดหุ้นในตอนนี้ สิ่งที่เราน่าจะมองเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของราคาหุ้นที่วิ่งทะลุแบบไม่บันยะบันยัง โดยมีตัวช่วยอย่าง Fed ที่พร้อมจะเข้าช่วยทุก ๆ อย่าง แต่แท้จริงแล้วมันใช่จริง ๆ หรือที่ราคาหุ้นจะวิ่งขึ้นได้โดยการอัดเงินเข้าไปในตลาด? 2 ก.ค. 2563 การมองเห็นความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเสมอ ไม่ว่าจะกับเรื่องอะไรก็ตาม อาจจะเป็นเพราะว่ามันเจ็บปวด ทำใจได้ยาก รวมถึงคนที่รู้ความเป็นจริงก่อนคนอื่นมักจะเป็นคนที่ถูกมองว่าแปลกประหลาดและแตกต่าง กับการลงทุนก็เช่นกัน การมองเห็นความเป็นจริง ความแตกต่างและข้อผิดพลาด เป็นเหมือนของขวัญลํ้าค่าสุดพิเศษสำหรับนักลงทุน แต่การที่จะยืนหยัดอยู่กับความเป็นจริงที่ว่าท่ามกลางเสียงของคนส่วนใหญ่นั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากว่ากันในเรื่องของความเป็นจริงในตอนนี้ สิ่งที่เราน่าจะมองเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของราคาหุ้นที่วิ่งทะลุแบบไม่บันยะบันยัง โดยมีตัวช่วยอย่าง Fed ที่พร้อมจะเข้าช่วยทุก ๆ อย่าง แต่แท้จริงแล้วมันใช่จริง ๆ หรือที่ราคาหุ้นจะวิ่งขึ้นได้โดยการอัดเงินเข้าไปในตลาด? และแท้จริงแล้วเรายืนอยู่บนจุดไหนของคลื่นแห่งความคาดหวังลูกนี้กันแน่? ปกติแล้วราคาหุ้นหนุนนำโดยใคร หลาย ๆ คนจะรู้อยู่แล้วว่าการที่ราคาหุ้นจะวิ่งขึ้นไปได้ ต้องมาจากสิ่งที่เรียกว่า “กำไร” รวมถึงสัญญาณเชิงบวกทาง “เศรษฐกิจ” และมันมักจะถูกสะท้อนไปในราคาก่อนเสมอ ๆ สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะให้ทุกคนคิดก็คือ “ช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นถีบตัวเองขึ้นไปจากความคาดหวังกำไรและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หรือจากการอัดฉีดเงินของ Fed แล้วคุณคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้มัน Make sense หรือไม่?” ภาพแสดงการปรับตัวของ Balance sheet (QE) ของ Fed (เส้นสีฟ้า) เทียบกับราคาดัชนี S&P 500 (เส้นสีขาว) และดัชนี Core CPI (เส้นสีส้ม) ในปี 2008 (ราคาหุ้นมาหลังการอัดฉีดและหลังเศรษฐกิจฟื้นตัว) ภาพแสดงการปรับตัวของ Balance sheet (QE) ของ Fed (เส้นสีนำ้เงิน) เทียบกับราคาดัชนี S&P 500 (เส้นสีขาว) และดัชนี Core CPI (เส้นสีส้ม) ในปัจจุบัน (ราคาหุ้นมาพร้อมการอัดฉีดและก่อนเศรษฐกิจฟื้นตัว) หรือเราอาจจะอยู่ในช่วงที่ตลาดหุ้นดันขึ้นไปจากการเก็งกำไรกันเป็นแน่ เพราะ หากเรามาพูดถึงการทำ QE จริง ๆ แล้วเงินทั้งหมดทุกส่วนคงไม่ได้ไปถึงบริษัทต่าง ๆ อย่างตรงจุดเท่ากับมาตรการกระตุ้นทางการคลัง และเงินที่ว่านั้นอาจกำลังเดินเข้าสู่ตลาดหุ้น สินทรัพย์ที่ปัจจุบันนี้ยังมีพื้นที่เหลืออยู่ก็เป็นได้ ซึ่งหมายความว่า “มันอาจเป็นการเก็งกำไรนำเงินเข้าไปในสินทรัพย์ที่ยังมีผลตอบแทนเหลืออยู่ มากกว่าการเล่นไปตามเกมพื้นฐานจริง ๆ” ภาพแสดงอัตราผลตอบแทน (Earning yields) ของหุ้น (เส้นสีขาว) ที่ 4.5845% เทียบกับ ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (เส้นสีนำ้เงิน) ที่ 0.66% ภาพแสดงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้เอกชนเกรดตำ่ (เส้นสีขาว) ที่ 6.44% เทียบกับตราสารหนี้เอกชนเกรดลงทุน (เส้นสีฟ้า) ที่ 3.55% ซึ่งหากเรามาคิดดูดี ๆ ในตอนนี้แล้วทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชนในบางส่วน หรือแม้แต่เงินฝากเองก็ให้ผลตอบแทนที่น้อยมาก ๆ จากภาวะอัตราดอกเบี้ยตำ่ เพราะฉะนั้นทางเลือกที่เหลืออยู่ก็อาจจะเป็นแค่ “หุ้น” หรือ “ตราสารหนี้เอกชนเกรดตํ่า” (และหากมีการเข้าซื้อตราสารหนี้เอกชนเกรดตํ่าก็ยิ่งหนุนนำราคาหุ้นขึ้นไปอีก เพราะ อาจทำให้บริษัทต่าง ๆ ที่เป็นส่วนนึงของดัชนีหุ้นมีความเสี่ยงลดลง) ตัวเลขเศรษฐกิจฟื้นตัวจริง แต่ราคาหุ้นวิ่งตามสัญญาณนี้จริงหรือ? ในหลาย ๆ บทความที่ผ่านมา ผมเชื่อมาตลอดว่าตัวเลขเศรษฐกิจก็คงจะดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ หากเราไม่ได้หาเหตุผลอะไรที่มันซับซ้อน การเปิดเมืองก็ควรจะทำให้ผู้คนกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันได้ ซึ่งก็น่าจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อไปทีละเล็กทีละน้อยในอนาคต ดังนั้นหากเทียบกับช่วงที่ปิดไปเลย ความแตกต่างมันก็น่าจะเกิดขึ้น แต่นับต่อไปหลังจากนี้ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้ในอนาคต อย่างเช่น ราคาหุ้นที่นำมูลค่าที่แท้จริงไปมาก ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีทีท่าที่ชัดเจนว่าในอนาคต กำไรของบริษัทต่าง ๆ จะออกมาเป็นเช่นไร แต่เราก็กลับให้เหตุผลกันไปต่าง ๆ นา ๆ ว่าหุ้นบางส่วนมีการเติบโตที่เหนือชั้น มีแรงทนทานต่อฟองสบู่มากกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ อย่าง หุ้นเทคเป็นต้น ซึ่งหากมาคิดดูดี ๆ แล้วหากเราจะพูดถึงการเติบโตเราควรจะสื่อมันไปในเชิงระยะยาว มากกว่าระยะสั้นหรือเปล่า? และผมเองก็คงไม่ปฏิเสธกับศักยภาพรวมถึงความคาดหวังของผู้คนที่มีต่อหุ้นเทคโนโลยีในระยะยาว แต่ถึงอย่างนั้นสภาวะตลาดในตอนนี้อาจจะเรียกได้ว่าเปราะบางมาก ๆ ก็ว่าได้ และหากมีอะไรที่มาสะกิดแรงตึงผิวที่ล้นเอ่อของฟองสบู่เก็งกำไร (เชิงมูลค่า) มันก็อาจจะแตกได้โดยง่าย เนื่องจากมันอาจไม่อยู่บนพื้นฐานที่แท้จริง FOMO (Fear of Missing Out)* กำลังกัดกินจิตใจ ในช่วงนี้เราอาจจะได้เห็นหลาย ๆ ที่เริ่มเข้าลงทุนในหุ้นกันบ้าง แต่คำถามก็คือ เหตุผลที่เขาเข้าลงทุนเป็นเพราะอะไร? ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการมองว่า Fed จะเป็นเหมือนแรงหนุนดันตลาดไปเรื่อย ๆ และนับสิ่ง ๆ นี้เป็น Tailwind กันไป ก็คงต้องย้อนกลับไปเรื่องเดิมอีกว่า Tailwind ที่แท้จริงของตลาดหุ้นไม่ใช่การเติบโตทางกำไรของธุรกิจหรือ? คำถามที่อยากจะฝากไว้ก็คือ จริง ๆ แล้วเราเข้าซื้อหุ้น โดยให้เหตุผลตามเป็น QE ของ Fed ซึ่งเหมือนกับ Moral hazard (ความเชื่อมั่นในบางสิ่ง จนลืมนึกถึงความเสี่ยงของมันไป) ที่ว่าไม่ว่าตลาดจะลงซักกี่ครั้ง เดี๋ยวเขาก็จะเข้ามาช่วยใช่หรือไม่? ทั้งที่จริง ๆ แล้วเราควรจะคิดวิเคราะห์หาเหตุผลในเรื่องของกำไร บริษัท รวมถึงปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริง (น่าจะฟื้นตัวขึ้น แต่ราคาน่าจะวิ่งนำจนเกินเลย) *Fear of Missing Out หากพูดง่าย ๆ ก็คือการ “กลัวตกรถ” ราคาที่ล่วงเกิน… ในวันที่ตลาดหุ้นไร้เหตุผล เราอาจจะกำลังเฉลิมฉลองและดื่มดํ่ากับนิยามของ Playbook เล่มใหม่ของตลาดหุ้น ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วมูลค่าที่สะท้อนอยู่เบื้องหลังช่างเปราะบาง ซึ่งหากเรามาดูค่า P/E ของตลาดหุ้นก็อาจจะเห็นได้ว่า อาจจะดูแพงแต่ก็ไม่เท่าไร ภาพแสดงค่า P/E แบบปกติของดัชนี S&P 500 แต่หากเรามาลองใช้ค่า Shiller P/E (P/E ปรับตามเงินเฟ้อ CPI) ที่อาจจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้สมเหตุสมผลกว่า เราก็จะเห็นได้ว่าเรากำลังอยู่ในจุดที่ค่า P/E แพงเป็นอันดับที่ 2 นับตั้งแต่ยุควิกฤติดอทคอม ภาพแสดงค่า Shiller P/E ของดัชนี S&P 500 ภาพแสดงราคาดัชนี S&P500 แบบปรับเงินเฟ้อ จังหวะและจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบอาจจะผ่านพ้นไปแล้ว คนที่ได้ลองศึกษาศาสตร์การลงทุนมาหลาย ๆ รูปแบบ ก็คงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า ช่วงขาลง เป็นช่วงที่ควรจะซื้อ ในเชิงมูลค่าแล้วก็จะสื่อถึงการที่สินทรัพย์ได้สินทรัพย์หนึ่งอาจจะถูกเทขายลงมาจนมูลค่าตํ่ากว่ามูลค่าตามจริงที่มันควรจะเป็น หรือแม้จะเป็นมุมมองทางเทคนิคเอง ที่จังหวะย่อหรือพักตัวของราคาเป็นจังหวะที่ดีและเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ เพราะ นอกจากการที่ราคาจะวิ่งได้ต่อเนื่องมากกว่าการซื้อแบบกลางหรือปลายของแนวโน้มแล้ว อีกทั้งจุดเข้าเทียบความเสี่ยงกับผลตอบแทน (Risk:Reward) ยังถือว่าได้เปรียบกว่าอีกด้วย ในช่วงที่ผ่านมาผมเองก็สนับสนุนการเข้าซื้อหุ้น แต่การเพิ่มขึ้นของราคาที่ร้อนแรงเกินกว่าที่มันควรจะเป็นในตอนนี้ (จากเชิงมูลค่าข้างต้น) เห็นแบบนี้แล้วก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดในตอนนี้ดูเปราะบางมาก ๆ ซึ่งหากเหตุการณ์อันไม่คาดคิดเกิดขึ้นเราอาจจะไม่ต้องการเข็มในการเจาะฟองสบู่ลูกนี้ แต่เพียงแค่สะกิดเบา ๆ มันก็คงจะแตกออก Tendencies (แรงสนับสนุนโน้มเอียง) ที่ไม่ใช่ หากว่ากันในเชิงเทคนิคแล้ว Tendencies ก็คงจะเป็นการเกาะและไหลไปกับแนวโน้มของเทรนด์ พร้อมหาจุดเข้าที่ได้เปรียบ และหากเรามาว่ากันในเชิงพื้นฐานแล้ว Tendency ในตอนนี้ที่ว่าก็คงก็คงจะเป็น Fed ที่ตั้งนิยามอย่างการอัด QE จนกว่าจะฟื้น รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว แต่กลับกันแล้วหากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและ Fed เลิกทำ QE ผมอยากให้ทุกคนลองคิดกันเล่น ๆ ว่า ตลาดที่เสพติดเงินตรานี้จะไปต่อได้อีกหรือ? และหากตัวเลขเศรษฐกิจบางส่วนฟื้นตัวได้จริงแต่ตำ่กว่าคาด กำไรของบริษัทถูกประกาศออกมาตํ่ากว่าที่ควรจะเป็น ตลาดจะผิดหวังและฟองสบู่ที่ว่าจะถูกสกิดออกหรือไม่? “มูลค่าของตลาดหุ้นในตอนนี้อาจจะร้อนแรงและมากที่สุดเป็นอันดับสอง ตั้งแต่ที่เคยมีมาหลังวิกฤติดอทคอม” – David Tepper “ในตอนนี้ผลตอบแทนเทียบความเสี่ยง (Risk:reward) ของหุ้นอาจจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่า “แย่” จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้อยู่ในวงการนี้มา ” – Stanley Druckenmiller “เราอาจจะกำลังภาวนาให้ Fed เพิ่มเงินต่อไป มากกว่ามองสัญญาณเชิงพื้นฐานที่แท้จริง” – Mr. Serotonin ขอให้ทุกคนโชคดีครับและอย่าลืมที่จะมีความสุขกับทุก ๆ วันด้วย Mr. Serotonin References https://www.oaktreecapital.com/docs/default-source/memos/the-anatomy-of-a-rally.pdf https://www.multpl.com/shiller-pe https://www.multpl.com/s-p-500-pe-ratio https://www.spglobal.com/spdji/en/indices/fixed-income/sp-us-high-yield-corporate-bond-index/#overview แท็ก: Advance Article Knowledge Market psychology Short Content stock valuation แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รีวิว 3 กองทุนหุ้นสหรัฐ ฯ ปรับตัวอย่างโดดเด่น - FINNOMENA หลังหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงมาอย่างรุนแรง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดหุ้นอเมริกายังคงเป็นตลาดที่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและโดดเด่นหลังวิกฤติ คำถามถัดมาที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยก็คือหลังช่วงวิกฤติที่ผ่านมามีกองทุนหุ้นสหรัฐฯ กองไหนบ้างที่โดดเด่นวันนี้จึงถือว่าเป็นโอกาสอันดี ที่ผมจะมาทำกันรีวิวกองทุนหุ้นสหรัฐ ฯ ให้ทุกคนได้ดูกัน 2 ก.ค. 2563 หลังหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงมาอย่างรุนแรง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดหุ้นอเมริกายังคงเป็นตลาดที่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและโดดเด่นหลังวิกฤติ รวมถึงเป็นผู้นำในการสร้างผลตอบแทนที่มองข้ามไม่ได้ ในระยะยาวพิสูจน์ผ่านช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำถามถัดมาที่ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยก็คือหลังช่วงวิกฤติที่ผ่านมามีกองทุนที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ กองไหนบ้างที่โดดเด่นวันนี้จึงถือว่าเป็นโอกาสอันดี ที่ผมจะมาทำกันรีวิวกองทุนหุ้นสหรัฐ ฯ ที่ดีดตัวจากวิกฤติที่ผ่านมาได้อย่างโดดเด่น เปิดบัญชีกองทุน FINNOMENA วันนี้ รับฟรี! กองทุนมูลค่า 100 บาท อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/oa1190 1) K-USA-A (A) หรือ K-USA-A (D) กองทุนแรกที่ทำผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นหลังวิกฤติคงหนีไม่พ้นกองทุนอย่าง K-USA-A (A) ผู้ชนะในกองทุนกลุ่มหุ้นอเมริกาที่สร้างผลตอบแทนไปได้ถึง 50.99%! (นับจาก 3 เดือนย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2020 โดยหุ้นเริ่มฟื้นตัวจากจุดตํ่าที่สุดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020) เฉลี่ยเทียบกับกองทุนในกลุ่มเดียวกันที่ 32.13% ซึ่งเรียกได้ว่าถึงแม้จะนับผลตอบแทนย้อนหลังมา 5 วันก็ยังฟื้นตัวกลับมาได้อย่างน่าทึ่งและเหลือเชื่อ ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน K-USA-A (A) ที่มา: www.finnomena.com ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน K-USA-A (D) ที่มา: www.finnomena.com ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ข้อแตกต่างระหว่าง K-USA-A (A) กับ K-USA-A (D) ข้อแตกต่างเพียงหนึ่งเดียวระหว่างสองกองทุนนี้ก็คือ K-USA-A (D) นั้นมีการจ่ายปันผลให้กับนักลงทุนระหว่างที่ถือครองอยู่ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรับกระแสเงินสดระหว่างการลงทุนออกมาบ้าง ในขณะที่ K-USA-A (A) นั้นไม่มีการจ่ายปันผลออกมา เหมาะสำหรับสายสะสมเงินทุนเติบโตแบบเน้น ๆ ส่วนอันไหนดีกว่าอีกอันยังไง ก็คงต้องบอกว่าดีคนละแบบครับ อยู่ที่ความต้องการของแต่ละ คนว่าชอบแบบไหนมากกว่ากัน แต่ก็ต้องบอกก่อนว่า K-USA-A (D) อาจมีผลตอบแทนที่ต่างกันเล็กน้อยจากการที่แบ่งส่วนมาจ่ายปันผล ภาพแสดงประวัติการปันผลย้อนหลังกองทุน K-USA-A (D) ที่มา: www.finnomena.com ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ปันผลมาเรื่อย ๆ สร้างกระแสเงินสดต่อเนื่องหรือจะเรียกเป็นภาษาสุดคูลว่า “Passive Income!!” K-USA-A (A) / K-USA-A (D) ลงทุนในอะไร? ลงทุนใน Morgan Stanley US Advantage Fund ซึ่งเน้นไปที่การลงทุนในหุ้นอเมริกา ที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว โดยมีปรัชญาหลักในการลงทุนอย่างการเฟ้นหาหุ้นหรือบริษัทที่มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งในหมวดหมู่ธุรกิจเดียวกัน มีแบรนด์ที่แข็งเเกร่ง มีกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างเข้มแข็ง แสดงถึงศักยภาพในการขยับขยายธุรกิจเพิ่มเติมรวมถึงสภาพคล่องที่ต่อเนื่อง และมีผลตอบแทนอยู่ในหมวดหมู่หุ้นกลุ่มผู้นำ ผลตอบแทนในระยะยาว ผลตอบแทนย้อนหลังของ Morgan Stanley US Advantage Fund เทียบเคียงดัชนี S&P 500 ที่มา: เอกสารสรุปข้อมูลกองทุน www.morganstanley.com ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ตัวกองทุนเน้นการเทียบเคียง (Benchmark) กับดัชนี S&P 500 เป็นหลัก ซึ่งช่วงล่าสุดเองก็เน้นหนักการลงทุนไปหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่สอดคล้องล้อไปกับปรัชญาการเลือกหุ้นของกองในการเลือกหุ้นที่โดดเด่นและแข็งแกร่งที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีนั้นได้รับผลกระทบในช่วงขาลงที่ค่อนข้างน้อย และสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือหากเทรนด์ธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป (อาจไม่ใช่กลุ่มเทคโนโลยี) ทางกองทุนเองก็ไม่จำเป็นต้องยึดติดและรุกหนักในกลุ่มเทคโนโลยีอย่างเดียว และพร้อมที่จะโยกย้ายไปลงทุนในกลุ่มธุรกิจกระแสใหม่ในอนาคตที่แข็งแกร่งอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการลงทุนในระยะยาว เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหนือชั้น ซึ่งหากจะเปรียบเทียบง่าย ๆ การลงทุนใน K-USA-A ก็คงจะเหมือน… “การที่ผู้จัดการกองทุนเป็นนักชิมที่เลือกและสรรหาการทานอาหารรสเลิศ วัตถุดิบคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการในร้านอาหารดี ๆ แต่ก็ยังมีการเปิดโอกาสให้ร้านอาหารเล็ก ๆ ที่อาจเติบใหญ่ขึ้นมาเป็นร้านอาหารชั้นยอดได้ในอนาคต” (ความเห็นส่วนตัวผู้เขียน) สัดส่วนหมวดธุรกิจหลักที่ลงทุนในปัจจุบัน ที่มา: เอกสารสรุปข้อมูลกองทุน www.morganstanley.com “เน้นหนักกลุ่มเทคโนโลยี หุ้นกลุ่มผู้นำที่แท้จริง” 2) SCBBLN หรือ SCBBLNP มาถึงกองทุนที่สองที่กลับตัวมาได้อย่างยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน ซึ่งกองทุนนั้นก็คือ… SCBBLN หรือ SCBBLNP นั่นเอง ซึ่งที่ผ่านมาก็พลิกโผกลับมาได้ด้วยการสร้างผลตอบแทนแบบไม่ธรรมดาเช่นกัน และสร้างผลงานไว้ที่ 48.03% สำหรับ SCBBLNP ตามมาด้วย SCBBLN ที่สร้างผลตอบแทนได้ 47.59% เทียบเคียงกับกองทุนในกลุ่มเดียวกันที่ทำผลตอบแทนได้อยู่ที่ 30.28% ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน SCBBLN ที่มา: www.finnomena.com ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน SCBBLNP ที่มา: www.finnomena.com ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ข้อแตกต่างระหว่าง SCBBLN กับ SCBBLNP ความจริงหนึ่งเดียวของข้อแตกต่างระหว่างสองกองทุนนี้ก็คือ SCBBLNP เป็นกองทุนที่ขายให้กับ Provident fund หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากเรา ๆ เป็นนักลงทุนรายย่อยจะไม่สามารถซื้อขายได้ เพราะฉะนั้น คำตอบเดียวของเราก็คือ SCBBLN ซึ่งไส้ในกองก็เหมือนกัน เป๊ะ ๆ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงวางใจได้ SCBBLN/SCBBLNP ลงทุนในอะไร? SCBBLN เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นหนักไปที่การลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เช่นกัน แต่ SCBBLN มีจุดพิเศษอย่างการกระจายการลงทุนไปในหลาย ๆ Sector และที่สังเกตุได้ก็คือ Sector หลักของกองทุนตามข้อมูลล่าสุดล้วนเป็นกลุ่มผู้นำทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Healthcare หรือจะเป็นกลุ่ม Software & Services ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งคงไม่เป็นที่น่ากังขาสำหรับผลตอบแทนที่สามารถกลับมาได้อย่างโดดเด่น SCBBLN หรือ SCBBLNP จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่มีการกระจายการลงทุนในหลาย ๆ ภาคส่วนอย่างทั่วถึงเพื่อกระจายความเสี่ยงรวมถึงผลตอบแทน โดยเลือกตัวชูโรงเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง ภาพแสดงสัดส่วนการลงทุนหลักของ SCBBLN ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ที่มา: เอกสารข้อมูลสรุปของกองทุน เว็บไซต์ scbam.com ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้ง เนื่องด้วยการลงทุนแบบยั่งยืนที่แท้จริง อาจจะเป็นการลงทุนในระยะยาว ดังนั้นในส่วนนี้จะขอย้อนผลตอบแทนกลับไปตั้งแต่จัดตั้งกันเลย แต่จะเรียกว่าผลตอบแทนระยะยาว ก็คงจะไม่ใช่ เพราะ ทางกองทุนเองจัดตั้งมาได้ราว ๆ 3 ปีกับอีกนิดหน่อย ดังนั้นใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจกันด้วยนะครับ ภาพแสดงผลการดำเนินงานกองทุน SCBBLN ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ที่มา: เอกสารข้อมูลสรุปของกองทุน เว็บไซต์ scbam.com *เกณฑ์มาตรฐานอิงจากดัชนี Solactive US Top Billionare Investors Index (ดัชนีรวมหุ้น 30 ตัวจากพอร์ตโฟลิโอ ของผู้มีเงินทุนระดับหมื่นล้านขึ้นมาได้จากการลงทุนหรือการจัดการสินทรัพย์) ต่อไปก็มาถึงกองทุนอันดับ 3 ที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้คิดว่าหุ้นในกลุ่มนี้จะมีการพลิกโผติดอันดับของเราขึ้นมาได้ กองทุนนั้นก็คือ! SCBUSSM หรือ SCBUSSMP กองทุนหุ้นกลุ่ม Small cap หรือหุ้นที่มีขนาดเล็กนั่นเอง 3) SCBUSSM หรือ SCBUSSMP ในช่วงที่ผ่านมาทางกองทุนหุ้นจิ๋วแต่แจ๋ว ก็สร้างผลตอบแทนกลับมาได้ไม่แพ้สองกองทุนข้างต้น และติดโผเป็นอันดับที่ 3 โดยทั้ง SCBUSSM/SCBUSSMP ทำผลตอบแทนไว้ที่ 43.25% เทียบกับกองทุนในกลุ่มเดียวกันที่ 25.80% นับจากรอบขาลงเมื่อเดือนมีนาคม ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน SCBUSSM ที่มา: www.finnomena.com ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ข้อแตกต่างระหว่าง SCBUSSM กับ SCBUSSMP เป็นข้อแตกต่างเช่นเดียวกับกองทุน SCBBLN โดยการเติม P เข้าไปสื่อถึงว่า สำหรับกองทุน Provident fund ซึ่งถ้าหากเราเป็นนักลงทุนรายย่อย ก็จะลงทุนใน SCBUSSM แทน เจาะลึก SCBUSSM/SCBUSSMP ลงทุนในอะไร? ในส่วนนี้อาจจะค่อนข้างพิเศษกว่ากองทุนต่าง ๆ ข้างต้นด้วยความที่กองทุนลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก และถ้าถามว่าความพิเศษของหุ้นขนาดเล็กคืออะไร? คำตอบก็คือในบางช่วงเวลาหุ้นขนาดเล็กอาจเป็นหุ้นที่ทุกคนมองข้าม ซึ่งก็หมายความว่าหากถึงช่วงเวลาที่มูลค่าของมันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หุ้นขนาดเล็กจะกลับมาซิ่งเพื่อคืนมูลค่าเดิมของมันนั่นเอง! มาเจาะกันต่อในส่วนของไส้กองทุนที่มีการบริหาร / ลงทุนใน Dimensional funds plc – us small companies fund ซึ่งเป็นกองทุนที่คัดหุ้นสหรัฐฯ ขนาดเล็ก แต่คุณภาพคับแก้ว โดยเน้นการเติบโตในระยะยาว ผลตอบแทนในระยะยาว ในส่วนของผลตอบแทนในระยะยาวหากย้อนหลังนับไปตั้งแต่จัดตั้งราว ๆ 10 ปี ก็อาจจะดูไม่ค่อยสู้ดีนัก แต่ทางกองทุนเองก็ยังจัดการให้ผลตอบแทนยืนหยัดอยู่เหนือ Benchmark (ดัชนี Russell 2000 ได้) โดยทำผลตอบแทนไว้ที่ 9.23% นับตั้งแต่จัดตั้งเทียบกับเกณฑ์ที่ 8.46% ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน Dimensional funds plc – us small companies นับตั้งแต่จัดตั้ง ที่มา: www.us.dimensional.com ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต หากถามความเห็นส่วนตัวผู้เขียนกองทุนกลุ่มนี้เล่นรอบน่าจะดีกว่า ลงทุนแบบระยะยาวนะครับ… ก็จบกันไปนะครับ สำหรับรีวิว 3 กองทุนที่ลงทุนในสหรัฐฯ เป็นหลักและปรับตัวได้โดดเด่น ยังไงก็ลองนำไปปรับใช้ประกอบการตัดสินใจกันดูได้ครับ เปิดบัญชีกองทุน FINNOMENA วันนี้ รับฟรี! กองทุนมูลค่า 100 บาท อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/oa1190 Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ References https://www.morganstanley.com/im/en-ch/intermediary-investor/funds-and-performance/morgan-stanley-investment-funds/equity/us-advantage.shareClass.A.html https://www.scbam.com/medias/fund-doc/fund-summary-aimc/SCBBLN_FUNDSUM.pdf https://solactive.com/downloads/Solactive_US_Top_Billionaire_Investors_Index_Guideline.pdf https://us.dimensional.com/funds/us-small-cap แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW K-USA-A(A) K-USA-A(D) Long Content Product Info SCBBLN SCBUSSM แชร์บทความ: ผู้เขียน ฟันด์กำไร สวัสดีครับ ผม ฟันด์กำไร มาเพื่อฟันกองทุน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: จับตานโยบาย FED อังคารนี้ เมื่อ COVID-19 ระบาดใหญ่ในสหรัฐฯ (29 มิ.ย. 63) - FINNOMENA ไวรัสโคโรน่าทำท่าจะระบาดอีกครั้งในสหรัฐฯ ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มใหม่ทะลุ 40,000 รายต่อวัน ตลาดจะเป็นอย่างไรต่อไป ตัวแปรสำคัญคือการประชุมระหว่าง FED กับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในวันอังคารนี้ ใครพลาด LIVE วันนี้ไป อ่านสั้นๆ ได้ในสรุป LIVE ครับ 29 มิ.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ไวรัสโคโรน่าทำท่าจะระบาดอีกครั้งในสหรัฐฯ ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มใหม่ทะลุ 40,000 รายต่อวัน ตลาดจะเป็นอย่างไรต่อไป ตัวแปรสำคัญคือการประชุมระหว่าง FED กับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในวันอังคารนี้ ใครพลาด LIVE วันนี้ไป อ่านสั้นๆ ได้ในสรุป LIVE ครับ Update ตลาดในช่วงที่ผ่านมา 1. สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ไวรัสโคโรน่าแพร่ระบาดทั่วโลกทะลุหลัก 10 ล้านคนแล้ว ในสหรัฐฯ ทำท่าจะเกิด Wave 2 มียอดผู้ติดเชื้อใหม่ทะลุ 40,000 รายต่อวัน โดยลุกลามไปทางรัฐฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นศูนย์รวม GDP เช่น บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ต่างๆ 2. FED ให้ธนาคารงดจ่ายปันผล (เหมือนกับที่ไทย) ทำให้ดัชนีกลุ่มธนาคารทำ New Low เรียบร้อย 3. หลายๆ ปัจจัยรวมกัน ทำให้ตลาดสหรัฐปรับฐานลงมาอีกครั้งทั้ง S&P500 และ NASDAQ 4. ปรับฐานครั้งก่อนดีดกลับขึ้นมาเพราะ FED บอกว่าจะพยุงตลาดโดยเข้าซื้อ Corporate Bond โดยตรง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ส่วนครั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคือการประชุมระหว่าง FED กับกระทรวงการคลังสหรัฐในหัวข้อ Coronavirus Response ว่าจะทำอย่างไรกับ Wave 2 ที่เหมือนกำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งจะประชุมกันในวันอังคาร (ไทยจะรู้ผลกันเช้าวันพุธ) ถ้าเป็นไปตาม Playbook เล่มใหม่ การกระทำของ FED จะส่งผลต่อตลาดโดยตรง เพราะฉะนั้นต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด 5. สำหรับข่าวใหญ่อื่นๆ ในสัปดาห์ หุ้น Facebook ราคาร่วงจากกระแส #StopHateforProfit ซึ่งเกิดจาก Facebook ปล่อยปละละเลย Hate Speech ที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มเกินไป แบรนด์ต่างๆ จึงรวมตัวกันแบนโฆษณา Facebook สำหรับผลกระทบเรื่อง Revenue อาจจะมีไม่มาก เพราะบริษัทใหญ่ไม่กี่บริษัทยังถือเป็นสัดส่วนที่น้อย แต่สิ่งที่กระทบแน่ๆ คือภาพลักษณ์ของ Facebook Review มุมมองกองทุนที่แนะนำเอาไว้ PHATRA G-UBOND-H —> BUY กลุ่ม High-Yield Bond ยังคงเป็นตัวหลักที่ FED สนับสนุนเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นกองทุนนี้ยังซื้อได้ LHTPROP —> Long term BUY ตัว Yield Gap ในกลุ่ม REIT ของไทยยังถือว่าสูงอยู่ ช่วงนี้กองมีการปรับฐานลงมาบ้าง ใครอย่างได้ Yield Play ลงทุนในระยะยาวสามารถซื้อได้ KT-PROPERTY —> SELL เนื่องจาก COVID-19 เหมือนจะมา Wave 2 สถานการณ์นี้ส่งผลต่อ Sentiment ของตลาด Property สหรัฐฯ โดยตรง ถึงจะ Gain จาก Yield Play ได้ แต่เสียเปรียบเรื่อง Loss จาก Capital Gain ดังนั้น FINNOMENA มีมุมมองให้รักษาวินัย ทำการ Cut Loss ไปก่อนสำหรับกองนี้ KF-GTECH & ONE-UGG-RA —> Long term BUY กองเทคโนโลยี 2 กองนี้ สำหรับ Tactical Call ใครมีกำไร 5-6% ขึ้นไปสามารถ Take Profit ออกมาได้ แต่ถ้ารับความผันผวนได้มากหน่อยก็สามารถรอออกตาม Strategy จาก FINNOMENA ได้เช่นกัน สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีกองนี้แล้วต้องการจะซื้อถือยาว สองกองนี้สามารถซื้อได้ เพราะเป็นกองที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้ชนะที่แข็งแรงในวิกฤตนี้ นักลงทุนที่อยากรู้ข้อมูลอย่างละเอียดสามารถดูได้ใน LIVE เต็มๆ ที่ลิงก์วิดิโอบนหัวบทความได้เลยครับ และอย่าลืมติดตาม LIVE รายการ THE OPPORTUNITY ได้ใหม่ทุกวันจันทร์ เวลา 14.00 น. วันนี้สรุป LIVE สวัสดีครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Picture Slide Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นโลก “แพงหรือไม่” วัดแบบไหนดีที่สุด - FINNOMENA ตลาดตอนนี้ “แพงไปไหม” และควรใช้อะไรเป็นตัววัด คือคำถามที่อยู่ในใจนักลงทุนหลายคน ยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ การใช้ Multiple สุดฮิตอย่าง Price-to-Earning หรือ PE Ratio แบบไหนและอย่างไรก็เป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจให้ดี 29 มิ.ย. 2563 ตลาดตอนนี้ “แพงไปไหม” และควรใช้อะไรเป็นตัววัด คือคำถามที่อยู่ในใจนักลงทุนหลายคน ยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ การใช้ Multiple สุดฮิตอย่าง Price-to-Earning หรือ PE Ratio แบบไหนและอย่างไรก็เป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจให้ดี เพราะตัวหารที่แตกต่างทั้ง PE จากกำไรต่อหุ้น (EPS) ล่าสุด หรือ EPS เฉลี่ยย้อนหลังปรับด้วยเงินเฟ้อ หรือ EPS คาดการณ์อนาคต มันให้คำตอบที่ต่างกันมากในช่วงนี้ ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่แค่ต้องรู้ว่า “ถูกหรือแพง” แต่ต้องมองก้าวต่อไปด้วยว่าความถูกแพงนี้จะกระทบกับผลตอบแทนคาดหวังในอนาคตอย่างไรด้วย เพื่อจะตอบคำถามเหล่านี้ ผมนำข้อมูล PE ทั้งสามแบบของ MSCI All World Index ตั้งแต่ปี 2005 แบ่งระดับ PE เป็นสามช่วงความถูกแพงด้วย Quartile ซึ่งกลุ่มต่ำสุดเรียกว่า “ถูก” และกลุ่มบนสุดเรียกว่า “แพง” จากนั้นก็หาค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับทั้งในระยะ 3 เดือน 1 ปี และ 5 ปีข้างหน้า ของแต่ละระดับ PE ทั้งสามแบบ ซึ่งผลที่ได้ชี้ ข้อดี ข้อเสีย และการตีความผลลัพธ์ของ PE ที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจ เริ่มด้วย PE จาก EPS ล่าสุด ที่มักอยู่ในหัวข้อข่าวอย่าง 12 เดือนย้อนหลัง (Last Twelve Months, LTM) มีข้อดีคือสะดวก ไม่มีการคาดเดามาเจือปน แต่ข้อเสียคือไม่ได้บอกอะไรกับผลตอบแทนในอนาคต เพราะการใช้ PE ลักษณะนี้จะเล่าเรื่องราวได้แค่สองแบบคือ “ถูก” เมื่อราคาลงมาก และ “แพง” เมื่อ EPS ลดลงหนัก ซึ่งแบบแรกตลาดมักตีความว่าพื้นฐานไม่เปลี่ยน ในที่สุดหุ้นจึงบวกกลับได้ ส่วนแบบที่สองมักเกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบันก็มักถูกตลาดตีความว่าจะต้องมีนโยบายการเงินเข้ามาพยุงเสมอ สอดคล้องกับในอดีตที่ผลตอบแทนเฉลี่ยระยะสั้น (3 เดือน) เมื่อซื้อหุ้นในช่วงที่ถูกหรือแพงด้วย PE LTM นี้มักหาข้อสรุปไม่ได้ ส่วนในระยะยาว (5 ปี) ที่ระดับราคาในช่วงราคากลาง ๆ คือช่วงที่จะให้ผลตอบแทนแย่ที่สุดเฉลี่ย 2.2% ต่อปีต่างจาก 6.4% ที่ได้จากช่วงที่หุ้นถูกมากหรือ 8.4% ที่ได้จากช่วงหุ้นแพง สรุปได้ว่าถ้าวัดมูลค่าด้วยตัวแปรนี้ก็ต้อง “ซื้อช่วงที่ตลาดไม่ปรกติ” ถึงจะหวังผลตอบแทนได้มากกว่าปรกติ แต่คงปฏิบัติจริงได้ยาก ส่วนแบบที่สองที่ฮิตไม่แพ้กันคงหนีไม่พ้นคาดการณ์ EPS นิยมที่สุดคือ 12 เดือนข้างหน้า (Next Twelve Months, NTM) PE NTM แน่นอนว่ามีข้อเสียจากการผสมมุมมองของนักวิเคราะห์เข้าไปด้วย แต่กลับกันก็สามารถใช้วัดอารมณ์ของตลาดได้ดี เช่นจากข้อมูลในอดีต พบว่าความเสี่ยงระยะสั้นสูงที่สุด คือติดลบเฉลี่ยถึง 13.6% จะเกิดในช่วงที่ PE NTM “ถูก” ซึ่งเป็นเวลาที่นักวิเคราะห์มองผลตอบแทนในอนาคตดีเกินไป (Overconfident) จึงต้องระวังที่สุดในการลงทุน แต่นักวิเคราะห์ก็ไม่ได้ผิดตลอด เพราะช่วงแพงก็แย่ไม่แพ้กัน เพราะถ้าซื้อในช่วง PE NTM สูง ผลตอบแทนในอนาคตก็จะแกว่งตัวแค่ในช่วง -3.4% ถึง 3.5% ด้วย สรุปว่าถ้าจะใช้ PE NTM เป็นตัวชี้วัด ก็ต้องเลือกจังหวะที่ราคาอยู่ในสภาวะ “ปรกติ” เท่านั้น สุดท้ายก็คือ Cyclically Adjusted PE หรือ CAPE คิดค้นโดย จอน แคมเบลล์ และโรเบิร์ต ชิลเลอร์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่มักเรียกติดปากว่า Shiller’s PE ข้อเสียคือ CAPE ใช้ EPS เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ปรับด้วยเงินเฟ้อ จึงมักได้คำตอบเดิม ๆ ไม่ถูกใจตลาด เพราะคิดให้ดี ต่อให้ EPS ปีนี้ลงมาเหลือศูนย์ CAPE ก็สูงขึ้นไม่เกิน 10% หมายความว่าในภาวะปรกติ เราจะเห็น CAPE ที่เล่าเรื่องซ้ำเดิมอยู่ตลอด แต่ในทางกลับกันมีเพียง CAPE เท่านั้นที่สามารถบอกความ “ถูกหรือแพง” ได้อย่างมีนัย เพราะไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว การซื้อหุ้นในช่วงที่ CAPE “ถูก” มักให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในอนาคตที่เป็นบวก ยิ่งในระยะสั้น ยิ่งสูง โดยในอดีตผลตอบแทนรายปีของการซื้อหุ้นในช่วงที่ CAPE “ถูก” คือ 23.3% 13.3% และ 8.4% ต่อปี สำหรับการลงทุน 3 เดือน 1 ปี และ 5 ปี ในทางกลับกัน การซื้อหุ้นในช่วงที่ CAPE “แพง” ก็ต้องระวังว่าผลตอบแทนในอนาคตอาจต่ำแตะ -9.1% 0.1% และ -2.7% บนระยะเวลาการลงทุนเดียวกันด้วย รู้อย่างนี้แล้วถามว่าจะใช้อะไร ผมเชื่อว่า PE ทั้งสาม บอกคนละเรื่องราวและสามารถใช้ประกอบกันได้ เช่นในปัจจุบันตลาดโดยรวมอยู่ในช่วงที่แพงมากเมื่อวัดด้วย PE LTM หรือ NTM แต่ยังปรกติเมื่อวัดด้วย CAPE หมายความว่าตลาดไม่ได้แพงจนซื้อไม่ได้ แต่อนาคตจำเป็นต้องมีนโยบายเศรษฐกิจเข้ามาช่วยไปจนกว่านักวิเคราะห์จะเริ่มเห็นตรงกันว่ากำไรกลับมาได้ ทุกอย่างจึงจะเข้าสู่ภาวะปรกติ หรือมองให้ลึกไปกว่านั้น นักลงทุนอาจใช้ความถูกแพงเป็นตัวแปรเพิ่มเติมในการวัดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละตลาด เช่นถ้ามองว่าฝั่งอเมริกามี CAPE สูงมากถึง 26x ไม่คุ้มกับการลงทุนระยะยาว ก็อาจกระจายการลงทุนไปที่ตลาดอื่นเช่นยุโรปหรือญี่ปุ่นที่มี CAPE เพียง 25x และ 18x ถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับอดีต แม้ว่าจะไม่ได้ลดความเสี่ยงตลาดลงทั้งหมด แต่ผมเชื่อว่าถ้าเศรษฐกิจกลับมา โอกาสกำไรก็จะสูงกว่าการซื้อของแพงในระยะยาว หวังว่าจะทำให้นักลงทุนทุกคนเข้าใจความถูกแพงของหุ้นมากขึ้นนะครับ ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ แท็ก: Advance Article Knowledge PE Short Content ตลาดหุ้นโลก แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ว่ากันด้วยเวลาที่คู่ควรของ Yield Curve Control - FINNOMENA หลาย ๆ คนอาจจะได้ยินถึงเรื่องการใช้ Yield Curve Control กันบ่อยครั้งในช่วงนี้ หลังช่วงที่ผ่านมาเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันค่อนข้างมาก ถึงความจำเป็นของนโยบาย "สุดพิเศษ 3 พยางค์" ที่ว่า บทความนี้จะพาทุกคนไปโลดแล่นไปกับมุมมองต่าง ๆ ของการใช้ Yield Curve Control รวมถึงขมวดปมว่าหากจะต้องใช้จริง ๆ ต้องเป็นสถานการณ์ไหน และจะเกิดอะไรขึ้น... 25 มิ.ย. 2563 หลาย ๆ คนอาจจะได้ยินถึงเรื่องการใช้ Yield Curve Control กันบ่อยครั้งในช่วงนี้ หลังช่วงที่ผ่านมาเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันค่อนข้างมาก สำหรับความจำเป็นของนโยบาย “สุดพิเศษ 3 พยางค์” นี้ บ้างก็ว่าดีเพราะ Balance sheet ของ Fed ในตอนนี้นั้นถือว่าเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว หลังตัดสินใจใช้มาตรการ Unlimited QE หยุดยื้อขาลงของตลาดหุ้น อีกทั้งเข้าช่วยปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่าง ๆ แบบถึงเนื้อถึงตัว รวมถึงเข้าซื้อตราสารหนี้ต่าง ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือแบบรายตัวรวมถึงผ่าน ETFs ดังนั้นการใช้ Yield curve control จึงอาจทำให้การเข้ากระตุ้นของ Fed นั้นเบาแรงลง เพราะ เป็นการแช่แข็งอัตราดอกเบี้ยในระยะกลางถึงยาวได้อย่างใจหวัง ช่วยลดต้นทุนการกู้ยืมในระยะที่ไกลออกไป ส่งเสริมการกู้ยืมมากขึ้น (ดอกเบี้ยระยะยาวโดยปกติแล้วควบคุมได้ยาก) แต่ถึงอย่างนั้นก็มีบางส่วนที่กล่าวว่า การทำ Yield curve control นั้นอาจส่งผลเสีย หากภาวะเศรษฐกิจไม่สามารถดีดตัวขึ้นมาได้จริง และยกตัวอย่างญี่ปุ่นประเทศที่ใช้นโยบายดังกล่าวแล้วติดล็อค เพราะ การกดดอกเบี้ยให้ตํ่าก็อาจส่งผลให้ภาคส่วนธุรกิจธนาคารที่เป็นฟันเฟืองหลักสำคัญของเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ (เนื่องมาจากธนาคารทำกำไรจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้น) เราจะมาพิสูจน์ผ่านมุมมองส่วนตัวและข้อมูลที่ผมได้จัดเตรียมมาให้ทุกคนกัน… อธิบายคร่าว ๆ Yield Curve Control คืออะไร Yield Curve Control คือการที่ธนาคารกลางตั้งใจจะปักหมุดล็อคอัตราดอกเบี้ยในระยะที่ยาวขึ้น (เนื่องมาจากการลดดอกเบี้ยแบบปกติส่งผลต่อระยะสั้นมากกว่าระยะยาว) ไว้ที่อัตราใดอัตราหนึ่ง โดยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกดอัตราดอกเบี้ยให้ได้ตามเป้า เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมในระยะที่ยาวขึ้น เป็นมาตรการกระตุ้นอีกแรง และเป็นการชะลอหนี้ค้างเต่อใน Balance sheet เพราะ ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อสินทรัพย์เอาเงินเข้าระบบตลอดเวลา (ซื้อแค่ให้อัตราดอกเบี้ยถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้) รวมถึงยังมีเคล็ดลับพิเศษอย่างการใช้เพิ่มงบทางการคลัง* *ในส่วนของเคล็ดลับสุดพิเศษนี้จะถูกอธิบายต่อไปในหัวข้อ “มุมลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ของ Yield Curve Control” ภาพแสดงต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลงของญี่ปุ่น หลังจากการมีทำ Yield Curve Control ในอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว ที่มา: SCB Economic Intelligence Center Fed มีความจำเป็นต้องทำ Yield Curve Control หรือไม่? ในช่วงนี้เราอาจเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจขึ้นมาทีละเล็กละน้อยจากตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เริ่มมีผลออกมาในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งบางตัวก็ออกมาดีมาก ๆ จนน่าตกใจ บางตัวก็เล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วถือว่าส่งสัญญาณเชิงบวกมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ว่าได้ ดังนั้นหากว่ากันตามตรงหากเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้แล้ว ตามหลักธนาคารกลางก็ควรจะลดการอัดฉีดเงิน รวมถึงเข้าซื้อสินทรัพย์ลง ซึ่งหมายความว่า Fed อาจจะไม่ต้องใช้ Yield curve control โดยลดการใช้มาตรการกระตุ้นออกแรงซื้อสินทรัพย์หรือประคองไว้เท่า ๆ เดิม ลึก ๆ ผมจึงเชื่อว่าการที่ Fed ยังจับตามองและลังเลที่จะใช้มาตรการนี้ อาจเป็นเพราะ สัญญาณเศรษฐกิจอาจจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาบ้างก็เป็นได้ (หากฟื้นตัวแล้วอาจไม่ต้องกดดอกเบี้ยหนุนการกู้ยืมกระตุ้นเศรษฐกิจ และปล่อยให้ต้นทุนไหลขึ้นไปตามสภาพ) ภาพแสดงตัวเลข Retail Sales ที่ฟื้นตัวขึ้น ที่มา: Investing.com ภาพแสดงตัวเลข U.S. Manufacturing Purchasing Managers Index (PMI) ที่ฟื้นตัวขึ้น ที่มา: Investing.com แต่ถึงอย่างนั้นลึก ๆ เองก็มีมุมมองที่น่าสนใจอย่างการที่ Fed อาจจะลดการซื้อสินทรัพย์ในส่วนอื่น ๆ ที่ประกาศไปแล้วว่าจะ Unlimited และหันมาใช้ Yield curve control เข้าช่วย เพื่อไม่ให้ขนาด Balance sheet ใหญ่โตบานปลายไปมากกว่านี้ก็เป็นได้ (ตอนนี้ขยายตัวแรงมาก) ซึ่งก็น่าจะเป็นอีกกระบวนท่าเล่นหนึ่งที่น่าสนใจ หากไม่ส่งผลกระทบต่อ “มุมลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ของ Yield Curve Control” ถึงอย่างนั้นหากสรุปรวม ๆ แล้วสถานการณ์ก็อาจจะดีขึ้นจริง ๆ สังเกตุได้จากภาพด้านล่างที่ Fed อาจเริ่มลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ไปบ้าง หลังสถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มอยู่ตัว (ตรงปลาย Balance sheet ล่าสุดหักตัวลงเล็กน้อย) ภาพแสดงขาด Balance sheet ของ Fed ที่มา: Board of Governors of the Federal Reserve System แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นผมอยากให้ทุกคนลองมองถึงผลกระทบของการทำ Yield curve control ที่สำคัญต่อฟันเฟืองหลักของระบบทุนนิยมที่เรากำลังให้คุณค่า นับถือและใช้กันอย่างแพร่หลายกันก่อน Yield Curve Control อาจทำให้ฟันเฟืองหลักของระบบทุนนิยมได้รับผลกระทบ หากเราพูดถึงโลกแห่งทุนนิยม เราคงไม่พูดถึงธนาคารที่เป็นเหมือนตัวตั้งตัวตีปล่อยเงินกู้ให้ทุกคนได้ขยับขยายกันก็คงจะไม่ได้ ซึ่ง Yield curve control นั้นถึงแม้จะส่งผลดีอย่างการลดต้นทุนการกู้ยืม แต่การอาจส่งผลกระทบต่อฟันเฟืองรากฐานส่วนนี้เช่นกัน สาเหตุก็อาจเป็นเพราะ Yield Curve Control ส่งผลกระทบต่อกำไรของธุรกิจธนาคารซึ่งเปรียบเสมือนรากฐานของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ต้องอาศัยการกู้ยืมจากธนาคารไปทำธุรกิจ รวมถึงจับจ่ายใช้สอยให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไป หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ “คนต้องเป็นหนี้ และเอาเงินไปซื้อหรือสร้างผลผลิตให้กับสังคม เศรษฐกิจจึงเติบโต” ดังนั้นหากธุรกิจธนาคารได้รับผลกระทบให้กำไรลดลง ก็คงปล่อยกู้ได้ไม่มากนัก อีกทั้งหากธนาคารแบกหนี้เสียไว้ก่อนหน้าในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็ยิ่งอาจทำให้ถูกกดดันมากขึ้นไปอีก (รายได้ลดลง แล้วยังต้องแบกหนี้เสียไว้ หลังวิกฤติ ยิ่งไม่อยากปล่อยกู้มากขึ้น) Yield Curve Control อาจไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย หากยกตัวอย่างประเทศอย่างญี่ปุ่นที่ได้มีการใช้ Yield curve control ไปเป็นที่เรียบร้อย ทางเจ้าตัวเองก็ดูเหมือนยังจะไม่สามารถดึงอัตราเงินเฟ้ออย่าง Core inflation กลับมาได้ตามเป้า โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็วิ่งอยู่ที่ราว ๆ 0.5% เพียงเท่านั้น ต่างจากเป้ามาตรฐานทั่ว ๆ ไปที่ 2.0% แต่ถึงอย่างนั้นทางญี่ปุ่นเองก็มีปัญหาทางด้านโครงสร้างของประชากรที่วัยแรงงานมีจำนวนลดลง จากอัตราการเกิดที่น้อยลง และผู้สูงอายุจำนวนมาก (อาจเกษียณแล้วหรือทำงานได้น้อยลง แสดงถึงรายได้และความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง) รวมถึงปัญหาที่บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถทำกำไรให้เติบโตไปมากกว่านี้ได้ จากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป มุมลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ของ Yield Curve Control มุมมองที่ซ่อนไว้อีกด้านของ Yield curve control อาจจะเป็นในแง่ของการใช้เป็นตัวช่วยลดการใช้ Balance sheet และเพิ่มงบทางการคลัง นำมาใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ (หรืออาจจะนำมาใช้อัดเข้าระบบตรง ๆ ซึ่งมีผลมากกว่าการเข้าซื้อสินทรัพย์) หากจะปูพื้นเพถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นทางสหรัฐ ฯ เองต้องการเพิ่มงบทางการคลังเพิ่มในช่วงสงครามโลก รวมถึงมีการเข้าซื้อสินทรัพย์อัดเงินแหลกลานเข้าระบบเช่นปัจจุบัน อาทิ ขนาดการเข้าซื้อ Treasury ที่เพิ่มจาก 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์มาที่ 2.76 แสนล้านดอลลาร์! ในตอนนั้นสหรัฐ ฯ เอง จึงมีการตัดสินใจใช้ Yield curve control เพื่อลดการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อกดอัตราผลตอบแทนให้คงที่โดยให้ตัวพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมีผลตอบแทนอยู่ที่ 0.375% ในขณะที่ตัวพันธบัตรระยะยาวอยู่ที่ 2.50% ซึ่งการทำแบบนี้ก็จะทำให้ผู้คนเข้าไปเก็งกำไรในพันธบัตรระยะยาวจากต้นทุนการกู้ยืมในระยะสั้นที่ตํ่า และการเก็งกำไรที่ว่าก็จะทำให้ผู้คนไปซื้อพันธบัตรจาก Fed และ Fed เองก็จะได้เงินจากการที่ออกพันธบัตรเข้าคลังมากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ ภาพแสดงการทำ Yield Curve Control ของ Fed ในช่วงปี 1940s *จุดสังเกตุที่น่าสนใจเล็กน้อยที่การล็อคอัตราผลตอบแทน 2.50% เส้นจะค่อนข้างผันผวน อาจเป็นเพราะ การเก็งกำไรต่อเนื่องทำให้มีแรงซื้อเข้ามาเสมอ ๆ จนเกิดความผันผวน หากจะสรุปทิ้งท้ายไว้สั้น ๆ หากเศรษฐกิจฟื้นตัวได้และไม่ช็อคจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงทาง Fed ก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ Yield curve control แต่หากเศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ไหว Yield curve control อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งของ Fed ที่ใช้ได้ แต่ก็คงต้องคิดให้ดีถี่ถ้วนสักนิดนึงก่อนจะใช้เครื่องมือสุดพิเศษดังกล่าว เพราะ อาจกดดันฟันเฟืองหลักที่สำคัญอย่างกลุ่มธนาคารได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีมุมมองหนึ่งในการใช้ Yield curve control อย่างการล็อคอัตราผลตอบแทนให้ส่วนต่าง เห็นได้ชัดเจนเพื่อทำให้ผู้คนเข้าไปเก็งกำไร ซื้อพันธบัตรทำให้งบสำหรับใช้ทางการคลังเพิ่ม และลดการปรับตัวขึ้นของ Balance sheet จากเดิมที่ต้องซื้ออย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อกระตุ้นไปเรื่อย ๆ หัวใจหลักสำคัญที่สุดก็คือทาง Fed เองจะเลือกปักหมุดแบบไหน? มีส่วนต่างเก็งกำไรที่ชัดเจนหรือลดต้นทุนกระตุ้น อันนี้ก็อาจจะต้องติดตามกันต่อไป… ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin References https://www.clevelandfed.org/en/newsroom-and-events/publications/economic-commentary/2016-economic-commentaries/ec-201615-the-feds-yield-curve-control-policy.aspx https://libertystreeteconomics.newyorkfed.org/2020/04/how-the-fed-managed-the-treasury-yield-curve-in-the-1940s.html https://www.scbeic.com/th/detail/product/3163 แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content Yield curve control แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
การที่ FED เข้าซื้อตราสารหนี้เอกชนรายตัวครั้งนี้อาจเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง - FINNOMENA สัปดาห์ที่ผ่านมา FED ได้สร้างปรากฏการณ์อีกครั้ง หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยดัชนี S&P 500 ได้ปรับฐานรุนแรงถึง 5.89% ในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา สิ่งที่ FED ตัดสินใจประกาศและลงมือทำในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 นับว่ามีนัยสำคัญต่อตลาดทุนมาก ๆ ในอนาคต 24 มิ.ย. 2563 สัปดาห์ที่ผ่านมา FED ได้สร้างปรากฏการณ์อีกครั้ง หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยดัชนี S&P 500 ได้ปรับฐานรุนแรงถึง 5.89% ในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ตลาดมองว่าน่าตามมาด้วยการปรับฐานใหญ่หลังจากตลาดหุ้นปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในรอบ 2 เดือนก่อนหน้า และจากอดีตมีเพียงไม่กี่ครั้งที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะฟื้นตัวได้ทันทีภายหลังจากมีการปรับตัวลดลงกว่า 5% ในวันเดียว สิ่งที่ FED ตัดสินใจประกาศและลงมือทำในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 นับว่ามีนัยสำคัญต่อตลาดทุนมาก ๆ ในอนาคต คือการประกาศเข้าซื้อหุ้นกู้เอกชนเป็นรายตัว โดยจะซื้อหุ้นกู้ในลักษณะกระจายทั้งดัชนี และเลือกมาจากหุ้นกู้ของบริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ Investment Grade ก่อนวันที่ 22 มีนาคม ก็คือก่อนวิกฤต COVID-19 นั่นเอง โดยโปรแกรมในการซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนนั้นมีสูงถึง 7.5 แสนล้านเหรียญ เป็นการซื้อในตลาดรอง 2.5 แสนล้านเหรียญ มีบริษัทจำนวนมากที่กำลังจะเข้าข่ายล้มละลายที่สามารถเข้าถึงโปรแกรมการอุดหนุนของ FED ในครั้งนี้ได้ โดยในปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐฯ มีตราสารหนี้เอกชนประเภท Investment Grade Bond ออกใหม่ถึงสัปดาห์ละประมาณ 7 หมื่นล้านเหรียญ สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนมุมมองว่าเศรษฐกิจคงใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นตัว และ FED ตัดสินใจใช้ยาแรงคือเป็นแหล่งเงินทุนให้กับบริษัทเอกชนโดยตรง ตลาดหุ้น Dow Jones ตอบรับทันทีจากที่ปรับลบลง 760 จุดกลายเป็นปิดบวก 158 จุดในวันนั้น และ Credit Spread กลับมาแคบลงทันที สิ่งที่ FED ทำคือต้องการทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินของบริษัทเอกชนอยู่ในระดับที่ต่ำ นั่นคือการทำให้ Credit Spread แคบลง ซึ่ง Credit Spread นั้นมีความสัมพันธ์ที่ผกผันกับตลาดหุ้น คือถ้า Credit Spread แคบลง เรามักจะได้เห็นหุ้นอยู่ในภาวะขาขึ้น ขณะที่ Credit Spread หรือต้นทุนการกู้ยืมเงินของภาคเอกชนจะสูงขึ้นในยามที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง ตัวอย่างเช่น ในวันที่ 11 มิถุนายน ที่ตลาดหุ้น S&P 500 ปรับฐานรุนแรงนั้นจะเห็นได้ชัดว่านอกจากตลาดมีความกังวลเรื่องการเกิด Wave II ของ COVID-19 แล้ว ผู้เขียนมองว่าตลาดผิดหวังกับผลการประชุม FED ในวันพุธที่ 10 มิถุนายน ที่ไม่ได้มีการออกนโยบายกระตุ้นออกมาเพิ่มรวมถึงการที่คิดจะยังไม่ทำ Yield Curve Control และการเข้าซื้อหุ้นกู้ภาคเอกชนผ่านตลาด ETF ก็ทำไปเพียงไม่กี่พันล้านเหรียญส่งผลให้นักลงทุนผิดหวังและ Credit Spread ปรับเพิ่มขึ้นอย่างแรงหลังจากการประชุมนโยบายการเงินของ FED การที่ FED ได้ออกมาบอกอีกว่าพร้อมทำการเข้าสนับสนุนตลาด Credit เรื่อย ๆ หากต้นทุนการกู้ยืมเงินปรับสูงขึ้น ซึ่งอีกนัยหนึ่งเท่ากับว่า FED จะพยายามกดให้ Credit Spread ลดลงและอยู่ในระดับต่ำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าภาคเศรษฐกิจแท้จริงจะฟื้น หากมองอีกมุมนึงก็เท่ากับว่าเมื่อไหร่ที่ตลาดหุ้นผันผวน และ Credit Spread ดีดขึ้น เราก็อาจจะได้เห็น QE ของ FED ฉีดสภาพคล่องเข้ามาในตลาดตราสารหนี้เหมือนอย่างวันที่ 15 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา และก็เท่ากับเป็นการช่วยพยุงตลาดหุ้นไปในตัว นโยบายการเข้าซื้อตราสารหนี้เอกชนรายตัวครั้งนี้จึงน่าจะเป็นการสร้าง “กันชน” ให้กับตลาดได้เป็นอย่างดีและเป็นการประกาศนัย ๆ ว่า FED พร้อมเสมอที่จะเข้าช่วยอัดฉีดสภาพคล่องพยุงตลาดทุนทุกครั้งที่ตลาดทุนมีปัญหา ซึ่งต้องยอมรับว่าวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ “FED นายแน่มากจริง ๆ” ครับ FundTalk แท็ก: Advance Article FED Knowledge Short Content ตราสารหนี้เอกชน แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: ลงทุนอย่างไรเมื่อ FED ช่วยสร้าง Downside Protection (22 มิ.ย. 63) - FINNOMENA เมื่อ FED เปลี่ยนบทบาทจาก 'กรรมการ' มาเป็น ' ผู้เล่น' นักลงทุนควรตอบสนองอย่างไรต่อ Playbook เล่มใหม่นี้ พร้อมอัปเดตการปรับพอร์ตที่เป็น Active Portfolio ในช่วงครึ่งปีหลังจาก FINNOMENA ทั้งหมดติดตามได้ในสรุป LIVE รายการ THE OPPORTUNITY ประจำวันที่ 22 มิ.ย. 63 ครับ 22 มิ.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> การมาของ COVID-19 คือจุดสิ้นสุดของเศรษฐกิจขาขึ้น 12 ปี นับตั้งแต่วิกฤต Subprime ตอนปี 2008 ก็ไม่ได้พบเห็นการตกลงแรงๆของตลาดอีกเลย จนกระทั่งปี 2020 ที่ COVID-19 มาเยือน เราก็พบกับตลาดขาลงหนักๆอีกครั้ง และคาดว่าขาลงในครั้งนี้จะต้องใช้เวลาฟื้นตัวค่อนข้างนาน เนื่องจากผลกระทบทำให้เกิดอัตราการว่างงานสูงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ตามภาพข้างล่าง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และจะยังไม่กลับมาฟื้นอย่างเต็มที่ในเร็วๆนี้ Old Playbook vs. New Playbook ปกติเวลาเศรษฐกิจแย่ Old Playbook จะต้องใช้นโยบายทางการเงินเข้ามาช่วย โดยการลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่จากที่เห็นสถานการณ์ตอนนี้ที่ธนาคารหลายๆ ประเทศลดดอกเบี้ยลงจนแทบจะไม่เหลือให้ลดแล้ว จึงเป็นที่มาของ New Playbook ครั้งแรกที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2008 ที่ FED คิดท่าใหม่ในการแก้วิกฤตเศรษฐกิจโดยการทำ QE (Quantitative Easing) อัดเงินเข้าไปพยุง นั่นคือ Playbook เล่มใหม่ที่ถูกใช้ครั้งแรกในปี 2008 และถูกงัดกลับมาใช้ใหม่ในปี 2020 สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ การทำ QE ครั้งนี้ดุเดือดกว่ามาก โดยในปี 2008 ต้องใช้เวลาถึง 4 ปี ในการอัดฉีดเงินจนขนาด Balance Sheet เพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่ในปี 2020 ใช้เวลาแค่เดือนเดียวเท่านั้นในการเพิ่มขนาด Balance Sheet ให้เป็น 2 เท่า FED จาก ‘กรรมการ’ สู่การเป็น ‘ผู้เล่น’ เต็มตัว ช่วงที่ผ่านมาการตอบรับของตลาดต่อการกระทำของ FED เป็นสิ่งที่ท่าสนใจมาก ทุกครั้งที่ FED เข้ามาช่วย ตลาดหุ้นจะเด้งขึ้นตามทันที สาเหตุที่เป็ฯชเน่นั้นเพราะตลาดหุ้นกับตลาดเครดิตที่ FED เข้าไปช่วยพยุงมี correlation ที่สอดคล้องกัน เมื่อต้นทุนการกู้เงินถูก ตลาดหุ้นก็จะขึ้น เมื่อต้นทุนการกู้เงินแพง ตลาดหุ้นก็จะลง ตราบใดที่ยังมี correlation แบบนี้ กลยุทธ์ของ FED ก็จะยังคงใช้ได้ จากภาพจะเห็นว่าช่วงที่ผ่านมาทุกครั้งที่ตลาดตกลงมาแรงๆ เมื่อ FED เข้าไปช่วย ตลาดจะดีดกลับขึ้นมาทุกครั้ง นี่เป็นการสร้างความคาดหวังให้กับตลาดว่า FED จะคอย protect downside ไม่ให้เกิดขึ้น ตรงกันข้ามเมื่อ FED ทำท่าจะชะลอการช่วยเหลือ ก็ทำให้ตลาดตกลงมาแรงเช่นกัน จุดนี้สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของ FED ไม่ได้เป็นเพียงแค่กรรมการข้างสนามอีกต่อไป แต่เป็นผู้เล่นที่ลงมาเล่นในสนามด้วย การที่ FED เข้ามาช่วย protect downside ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า FED ต้องการให้เกิด Wealth Effect ในวงกว้าง เนื่องจากคนสหรัฐส่วนใหญ่ลงทุนในตลาดหุ้นอยู่แล้ว โดยจำนวนนักลงทุนรายย่อยคิดเป็น 60% ของตลาด การที่ตลาดหุ้นเติบโตขึ้นไปได้ จะทำให้คนส่วนใหญ่มีเงินในกระเป๋ามากขึ้นด้วย เป็นการช่วยเศรษฐกิจในวงกว้างอีกทางหนึ่ง แล้ว FED จะช่วยอัดฉีดอีกนานไหม? มีหลักฐานซัพพอร์ตมากมายที่บอกว่า FED จะยังคงเข้ามาช่วยพยุงตลาดไปอีกซักพัก ไม่น่าจะลดลงในเร็วๆนี้จนกว่า COVID-19 จะผ่านพ้นไปก่อน หลักฐานที่มาสนับสนุน เช่น FED เพิ่งใช้เงินไปเพียแค่ 35% ของโปรแกรมที่จะกระตุ้นตลาดเครดิต ซึ่งคิดเป็น 18% ของ GDP เมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ เช่น ECB ที่ใช้เงินไปแล้ว 32% และ BOJ ที่ใช้เงินเกิน 100% ของ GDP ไปแล้ว ยังถือว่า FED มีกระสุนในกลยุทธ์นี้เหลือให้ยิงอีกเพียบ ในขณะเดียวกันเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อยังต่ำ FED ยังสามารถฉีดเงินเข้าไปได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของ Hyperinflation แถมนี่เป็นเพียงนโยบายทางการเงินเท่านั้น ยังเหลือนโยบายการคลังให้ใช้อีก ทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักฐานว่า FED จะยังสามารถกระตุ้นตลาดไปได้อีกพักใหญ่ๆ แนะนำโอกาสในการลงทุนจาก FINNOMENA 1. เนื่องจาก FINNOMENA เห็นโอกาสในตลาดหุ้นสหรัฐ จากการที่ตลาดตอบสนองในทางที่ดีต่อกลยุทธ์ของ FED และ FED ก็ยังมีพื้นที่ในการใช้กลยุทธ์นี้ต่อไป FINNOMENA จึงแนะนำกองทุนหุ้นสหรัฐเพิ่มอีก 1 กอง คือ K-USA-A เป็นกองที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐโดยรวมแทบจะทุก Sector แบ่งออกเป็นกอง K-USA-A(A) ที่เป็นชนิดสะสมมูลค่า และ K-USA-A(D) ที่เป็นชนิดจ่ายปันผล กองแม่ของกองนี้คือกอง Morgan Stanley US Advantage Fund เมื่อดูจาก Performance แล้วถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก FINNOMENA 3D Diagram ดีทั้ง 3 ด้าน ผลตอบแทนย้อนหลังดีเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องรับ และช่วงขาลงก็ไม่ได้ขาดทุนหนักเมื่อเทียบกับกองในกลุ่มเดียวกัน เป็นอีกกองหนึ่งที่ FINNOMENA แนะนำในกับนักลงทุนสาย DIY ทุกท่าน 2. นอกจากนี้ การปรับพอร์ตที่เป็น Active Portfolio ในช่วงครึ่งปีหลังของ FINNOMENA หลายแผนการลงทุนก็มีการเพิ่มสัดส่วนกองทุนนี้เข้าไปด้วยเช่นกัน สำหรับบทความปรับพอร์ตสามารถอ่านได้ที่ลิงก์ finnomena.com/finnomena-ic/june2020-liquidity-drive/ หรือเช็ก Notification ที่แนะนำให้นักลงทุนปรับพอร์ตตามแผนที่ได้ลงทุนเอาไว้ ในการปรับพอร์ต แนะนำนักลงทุนอ่านบทความให้เข้าใจก่อนแล้วจึงค่อยทำการปรับพอร์ต 3. สำหรับกองทุนชุดเดิมที่เคยแนะนำไว้ นักลงทุนยังสามารถเข้าลงทุนระยะยาวได้ทั้ง 5 กอง ได้แก่ PHATRA G-UBOND-H, LHTPROP, KT-PROPERTY, KF-GTECH, ONE-UGG-RA โดย 2 กองหลัง ที่ FINNOMENA ได้มีการทำ Tactical Call ระยะสั้นไปเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 63 ถ้านับ NAV จนถึงวันที่ 18 มิ.ย. 63 กอง KF-GTECH ได้กำไรมา 6% ส่วน ONE-UGG-RA ได้กำไรมา 8% ด้วยกัน มุมมองตอนนี้ยังไม่แนะนำให้ขายเนื่องจากยังอยู่ในแนวโน้ม Uptrend แต่ถ้าหากนักลงทุนพอใจแล้วและต้องการจะล็อคกำไรก็สามารถทำได้เช่นกัน หวังว่าสรุป LIVE ประจำวันที่ 22 มิ.ย. 63 นี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนทุกท่านครับ สนใจข้อมูลอย่างละเอียดสามารถดูได้ใน LIVE เต็มๆ ที่ลิงก์วิดิโอบนหัวบทความได้เลยครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Long Content Picture Slide แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ลงทุนในกองทุนรวมยังไง ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงเล่นหุ้นเอง - FINNOMENA หลาย ๆ คนที่เป็นนักลงทุนหรือมีความรู้การลงทุนในระดับนึงแล้ว อาจสงสัยว่าทำไมเราถึงต้องลงทุนในกองทุนรวม ทั้งที่ผ่านมาตัวเราเองก็จัดการได้เป็นอย่างดีทำผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกับหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น แต่จู่ ๆ ก็มีวิกฤติโควิด-19 มากระแทกใส่พอร์ตของคุณอย่างจัง จนคุณเริ่มสงสัยว่าทำไมกันที่ผ่านมาเราก็ทำได้ดีมาโดยตลอด เราจะมาหาคำตอบผ่านบทความนี้ด้วยกันครับ 17 มิ.ย. 2563 หลาย ๆ คนที่อาจจะเป็นนักลงทุนหรือมีความรู้การลงทุนในระดับนึงแล้ว อาจสงสัยว่าทำไมเราถึงต้องลงทุนในกองทุนรวม เลือกหุ้นเองก็ได้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม อีกทั้งที่ผ่านมาตัวเราเองก็จัดการได้เป็นอย่างดีทำผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกับหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น แต่จู่ ๆ ก็มีวิกฤติโควิด-19 มากระแทกใส่พอร์ตของคุณอย่างจัง จนคุณเริ่มสงสัยว่าทำไมกันที่ผ่านมาเราก็ทำได้ดีมาโดยตลอด ซึ่งเหตุผลจริง ๆ อาจจะเป็นเพราะ ที่ผ่านมา “ตลาดมันวิ่งขึ้นมาโดยตลอด” ต่างหาก เราถึงทำผลตอบแทนได้ตามเกณฑ์เป็นกอบเป็นกำ จะหาเหตุผลยังไงก็ถูก ผมเชื่อว่าหลายคนที่เริ่มรู้ความจริงนี้ก็คงจะมาเริ่มสำรวจตัวเองว่าพลาดเพราะอะไร? และจะไปต่อหรือไม่ ถ้าคุณจะไปต่อผมมีสิ่ง ๆ หนึ่งที่คุณอาจเอาไปปรับใช้ได้ เรามาเริ่มกันเลย… ทำไมที่ผ่านมาเราถึงซื้อหุ้นแล้วกำไร? หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าที่ผ่านมาเราวิเคราะห์ทุกอย่างได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ พื้นฐานการเงินของบริษัท หรือจะเป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่าง ๆ ก็ตาม และอาจจะเชื่อว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นน่าจะถูก เพราะ เราก็ได้กำไรมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา จนมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างโควิด-19 เข้ามาแทรกแทรง ซึ่งเหตุผลที่แท้จริงของการทำกำไรได้อย่างพรั่งพรูของเราในช่วงก่อน ๆ อาจจะเป็นการที่เราโชคดีที่อยู่ในยุคที่ตลาดหุ้นวิ่งเดินหน้า ได้อย่างยาวนานก็เป็นได้… ภาพแสดงผลตอบแทนดัชนี S&P 500 ตั้งแต่ช่วงขาขึ้นปี 2009 ที่ผ่านมา เห็นแบบนี้แล้วยิ่งผลตอบแทนสูงก็ยิ่งหนาวหากตีกลม ๆ คร่าว ๆ ตลาดหุ้นทำผลตอบแทนเฉลี่ยไปถึง 47.2% ถือว่าร้อนแรงและค่อนข้างน่ากลัวพอสมควร Bias อคติตัวร้ายที่ผลักเราออกจากโลกความเป็นจริง สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่านักลงทุนหลาย ๆ ท่านอาจจะเจอปัญหาจัดการเรื่องนี้ได้ค่อนข้างยากหรือบางคนอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซํ้าก่อนวิกฤติจะเกิด สิ่งนั้นก็คืออคติ (Bias) ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณยึดมั่นถือมั่นในบางทีจนคนอาจจะไม่รู้ตัวและหลงลืมไปว่า “คุณลืมคิดอย่างเป็นกลางและเป็นเหตุเป็นผล ทั้ง ๆ ที่พื้นฐานของสินทรัพย์นั้น ๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว” พื้นฐานเปลี่ยนแปลงแต่ใจไม่เปลี่ยนไป หากยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็อาจจะเป็นการที่คุณกอดหุ้นสุดรักไว้ตัวหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่มันพื้นฐานมันอาจจะไม่ได้ดีอีกต่อแล้ว ยกตัวอย่างเช่น รายได้ที่ลดหดหาย หรือแม้แต่อัตราหนี้สินต่าง ๆ ที่ไม่สมเหตุสมผล (ส่อแววเจ๊ง) แต่คุณก็ยังจะถือมันต่อไปทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงมันช่างเลือนลาง อีกทั้งคุณยังหาเหตุผลต่าง ๆ มาสนับสนุนหุ้นที่คุณรู้สึกว่า “รัก” ยกตัวอย่างเช่น เดี๋ยวมันก็กลับมาได้ใคร ๆ ก็ซื้อกัน หุ้นอุตสาหกรรมนี้มันจะเจ๊งได้ยังไงไม่มีทาง หรือแม้แต่หุ้นอุตสาหกรรมนี้มันสุดยอดเติบโตมาเป็น 10 ปี ๆ มันจะไปลงได้ยังไงกัน มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะไม่ไหลไปกับอารมณ์ของตลาด ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ลงทุนอยู่คงติดตามข่าวสารการลงทุน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงอ่านวิเคราะห์จากหลาย ๆ สำนักอยู่เป็นแน่ ซึ่งการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ดีครับ และควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง แต่คำถามก็คือตอนที่เราเสพสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เรามีอคติ (Bias) หรือเราเชื่อพวกเขาทั้งที่ยังไม่ได้ไปหาข้อพิสูจน์ด้วยหรือเปล่า ตัวอย่างก็เช่น ตัวเลขผู้ว่างงานขอรับสิทธิ (Initial jobless claims) ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่เราก็ยังถูกปรุงแต่งด้วยประโยคที่ว่า “แย่” หากมาขยายความคำว่าแย่มันขึ้นการที่ “แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาด” แต่ความเป็นจริงแล้วมันค่อย ๆ ลดลงต่อเนื่องต่างหาก หากเราสังเกตุจากข้อมูล หรือแม้แต่ผลการประชุม Fed ช่วงล่าสุดที่ทุก ๆ คนคงตีความกันไปว่า “เศรษฐกิจไม่ไหวแน่ ๆ แล้ว Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยไปอีก 2 ปี” แต่หากคุณไปขุดคุ้ยผล Press release ของ Fed นั้นความเป็นจริงมันไม่ใช่เลย เค้าแค่ประมาณการว่าจะคงไปอีก 2 ปีแต่หากสถานการณ์ดีขึ้นก็พร้อมปรับเปลี่ยนต่างหาก… ความเป็นจริงก็คือข่าวร้ายขายได้ง่ายกว่าข่าวดี ซึ่งหากเราโดนอารมณ์ตลาดที่ว่าถาโถมเข้ามาและขาดสติ การที่เราจะคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลเช่นเดิมก็จะทำได้ยากมาก ๆ ให้จิตใจเรายังไม่แข็งแกร่ง ตั้งมั่น และคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากเพียงพอ ซึ่งผมว่าการที่เรามีความคิดแบบนี้ในการลงทุนอาจทำให้จุดจบของมันไม่สวยงามเท่าไรนัก… หากพูดถึงบุคคลชื่อดังที่เป็นตำนานและเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักลงทุนทุกยุคทุกสมัยอย่าง Warren Buffett ที่ล่าสุดเอง ตัวเขาก็ยอมสลัดหุ้นสายการบินทิ้งในช่วงที่ผ่านมา เพราะ เห็นถึงความไม่แน่นอนของพฤติกรรมคนที่อาจจะเปลี่ยนไปหลังยุคโควิด-19 (ผู้คนอาจไม่เดินทางไปมาเช่นเคยและคุ้นชินกับการอยู่กับตัวเองมากขึ้น) ซึ่งคำถามก็คือ เราทำสิ่ง ๆ นี้ได้หรือไม่? หากเราถือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งที่แต่ก่อนพื้นฐานดีมาอย่างยาวนาน เราได้เห็นมันเติบโต มันสร้างกระแสเงินสดจ่ายปันผลให้กับเราจนเรามีชีวิตได้จนถึงทุกวันนี้… ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลผมก็ยินดีด้วยครับ แต่ถ้าหากคิด ๆ ดูแล้วยังไม่ใช่ ผมมีทางเลือกมานำเสนอให้กับทุกคน ซึ่งก็คือ กองทุนส่วนบุคคล หรือ Private fund นั่นเอง สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมส่วนบุคคลได้ที่นี่ คลิก หากอธิบายคร่าว ๆ กองทุนส่วนบุคคล ก็คือ กองทุนที่ผู้จัดการกองทุนมาสื่อสารกับคุณโดยตรง ว่าคุณต้องการผลตอบแทนประมาณไหน รับความเสี่ยงได้เท่าไร ชอบหรือไม่ชอบสินทรัพย์อะไรบ้าง เพื่อที่จะตอบโจทย์เป้าหมายการลงทุนของคุณให้ได้มากที่สุด โดยที่คุณมีส่วนในการออกแบบการลงทุน หรือจะเรียกได้ว่าเราได้ผู้เชี่ยวชาญที่มีมุมมองต่าง ๆ มาเสนอให้คุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณลดการใช้อารมณ์หรืออคติตัดสิน จากมุมมองที่มีความหลากหลายมากขึ้น ต่างจากการที่คุณลงทุนและคิดเองคนเดียว หากสนใจในกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) สามารถลงชื่อรับข่าวสารได้ที่ https://finno.me/private-fund1278 ซึ่งหากในอนาคต FINNOMENA เปิดให้บริการกองทุนส่วนบุคคล ทางทีมงานจะแจ้งให้ทราบอีกทีครับ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin References https://www.cnbc.com/2019/11/14/the-markets-10-year-run-became-the-best-bull-market-ever-this-month.html แท็ก: Article Basic Private Fund Product Recommend Short Content กองทุนส่วนบุคคล แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: SET และหุ้นเทคฯ ถอยมารอบนี้ควรรับหรือไม่ (15 มิ.ย. 63) - FINNOMENA ตอบคำถาม SET และหุ้นเทคฯ ถอยมารอบนี้ ควรรับหรือไม่? ตลาดพุ่งอยู่ดีๆ ก็ตกลงมาดื้อๆ แถมจีนก็ทำท่าจะชิงเปิด Covid-19 Wave 2 ก่อนเพื่อน สถานการณ์แบบนี้นักลงทุนควรทำอย่างไร ติดตามได้ในสรุป LIVE ประจำวันที่ 15 มิ.ย. นี้ครับ 15 มิ.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ผลการประชุมของ FED เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว (11 มิ.ย. 63) FED คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ศูนย์เหมือนเดิมตามคาด ที่สำคัญคือมีการชะลอการทำ QE จากเดิมที่เคยซื้อไม่อั้น ตอนนี้จำกัดวงเงินการซื้ออยู่ที่ไม่เกิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ตลาดก็ตอบรับไปตามระเบียบโดยการร่วงวูบลงมา VIX (Volatility Index) มีการเหวี่ยงขึ้นชัดเจนภายหลังการประชุม คำถามก็คือ การที่ SET และตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตกลงมาในเวลานี้ ควรรับหรือไม่? รายการ THE OPPORTUNITY จะมาชวนตอบคำถามนี้กันครับ Key Factor ที่อยู่เบื้องหลังในการปรับฐานในครั้งนี้ 1. ความคาดหวังเงินเฟ้อลดลงหลัง FED ชะลอ QE กราฟเส้นสีขาวคือ Forward Inflation Swap ซึ่งแสดงถึงความคาดหวังเงินเฟ้อในอนาคต มีการปรับตัวลงชัดเจนหลังการประชุมของ FED ความคาดหวังเงินเฟ้อที่ลดลงนี้ หมายความว่าคนเริ่มคิดว่าเงินจะฝืด ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง 2. Spread ตราสารหนี้เอกชนกว้างขึ้น Spread ของตราสารหนี้ภาคเอกชนทั้ง Investment Grade และ High Yield เริ่มกลับมากว้างขึ้น Spread ที่มากขึ้น สะท้อนความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่มากขึ้น อาจจะส่งผลให้เกิดการปรับฐานในตลาดตราสารหนี้ได้ 3. ยังไม่มีปัญหา liquidity หดตัวในตลาดเงินเหมือนเดือนมีนาคม FX Basis Swaps คือตัวเลขที่สะท้อนสภาพคล่องตลาดเงินทั่วโลก ถ้าติดลบมากแสดงว่าต้นทุนในการกู้ยืมเงินสูงขึ้น จากกราฟจะสังเกตว่าตัวเลขยังไม่ได้มีการหดตัวมากเท่าตอนเดือนมีนาคม แสดงว่าการที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงในครั้งนี้ สภาพคล่องในตลาดเงินยังอยู่ดีไม่มีปัญหา วิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคในการปรับฐานครั้งนี้ S&P 500 วันพฤหัสบดีที่แล้ว S&P 500 Index เกิด gap ลงมาแล้วก็ rebound ขึ้นมาได้นิดหน่อย ถึงจะหลุด Uptrend Line ลงมา แต่ก็ยังสามารถยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้ มองว่ารอสะสมที่แนวรับ 2,960 และโซน 2,830-2,880 จุด NASDAQ สำหรับ NASDAQ ยังยืนบน Uptrend Line ได้ เนื่องจาก NASDAQ ทะลุ New High ไปได้เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว เป้าใหม่ของ NASDAQ จึงอยู่ที่ 10,340 จุด ซึ่งตรงกับ Fibonacci Retracement 261.8% SET ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วที่ SET ขึ้นไปอยู่ที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน สุดท้ายไม่สามารถผ่านทะลุขึ้นไปได้และมีการปรับฐานทันที แนวรับถัดมามองว่ามี 2 จุด คือ ที่ 1,320 ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน และ 1,270 ซึ่งเป็น Fibonacci Retracement 61.8% กองทุนที่แนะนำ มุมมองของ FINNOMENA ยังคงแนะนำกองทุนชุดเดิม 5 กองที่พูดถึงใน LIVE วันที่ 8 มิ.ย. 63 (อ่านสรุปได้ที่นี่) ได้แก่ 1. PHATRA G-UBOND-H กองนี้เตรียมรับการปรับฐานเนื่องจาก Spread ที่เพิ่มขึ้นของตราสารหนี้ภาคเอกชน 2. LHTPROP กองอสังหาไทยปรับตัวเล็กน้อย แต่ผันผวนน้อยกว่า SET ซึ่งเป็นเรื่องดี 3. KT-PROPERTY Global REIT ปกติจะปรับตัวตามตลาดหุ้นค่อนข้างแรง แต่การลงทุนช่วงนี้เงินจะ seek for yield สามารถทยอยเข้าลงทุนระยะยาวได้ 4. KF-GTECH เตรียมรับการปรับฐานเนื่องจากหุ้นเทคฯ ปรับตัวลง 5. ONE-UGG-RA เตรียมรับการปรับฐานเนื่องจากหุ้นเทคฯ ปรับตัวลง สรุปมุมมองของ FINNOMENA ปัจจัยทางเทคนิคดูแล้วคาดว่าจะมีการปรับฐาน กองทุนหลายกองที่ลงในต่างประเทศต้องเตรียมรับการปรับฐานตามกองแม่ แต่ภาพรวมมองว่าไม่น่าจะทำ New Low สามารถทยอยลงทุนจากการปรับฐานครั้งนี้ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคือ FED จะกลับเข้ามาช่วยพยุงตลาดหรือไม่ ซึ่งถ้ามีอัปเดตทาง FINNOMENA จะรายงานทันทีครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Long Content Picture Slide แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
พื้นฐาน VS ดัชนีตลาดหุ้นไทย - FINNOMENA ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงนี้มีความผันผวนสูงมาก คำถามที่น่าสนใจก็คือ ตลาดหุ้นต่อจากนี้และในระยะยาวเป็นตลาดที่น่าสนใจลงทุนแค่ไหน หรือพูดง่าย ๆ มันถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับพื้นฐานของประเทศและบริษัทจดทะเบียน 15 มิ.ย. 2563 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงนี้มีความผันผวนสูงมาก สองสัปดาห์ก่อนดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ในเวลาสัปดาห์เดียว แต่สัปดาห์ต่อมาคือสัปดาห์ที่แล้วดัชนีกลับปรับตัวลดลงประมาณ 3.7% โดยที่ทั้งสองสัปดาห์นั้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันสูงลิ่วเฉลี่ยเกือบแสนล้านบาทต่อวัน นั่นคงทำให้นักลงทุนจำนวนมากประหลาดใจและอาจจะผิดหวังหลังจากที่รู้สึกดีมากจนครึ้มอกครึ้มใจในช่วงที่ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นมาต่อเนื่องมากมายถึง 40% หลังภาวะวิกฤติในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2563 คำถามที่น่าสนใจก็คือ ตลาดหุ้นต่อจากนี้และในระยะยาวเป็นตลาดที่น่าสนใจลงทุนแค่ไหน หรือพูดง่าย ๆ มันถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับพื้นฐานของประเทศและบริษัทจดทะเบียน ในการวิเคราะห์นั้น ผมจะมองจากภาพใหญ่และประสบการณ์ที่พบเห็นซึ่งก็มักจะยังอิงกับทฤษฎีทางการเงินการลงทุน บางส่วนก็อิงกับเรื่องทางเทคนิคและจิตวิทยาอยู่บ้างแต่นั่นก็จะเป็นเรื่องระยะสั้นประมาณไม่เกิน 1 ปี ที่บ่อยครั้งดัชนีหุ้นไม่ได้สะท้อนเรื่องของพื้นฐานทั้งหมด เริ่มจากภาพใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของขนาดของ Market Cap. ของตลาดหุ้นไทยที่ล่าสุดเท่ากับประมาณ 14.5 ล้านล้านบาท เปรียบเทียบกับขนาดของ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศที่ปีละประมาณ 16 ล้านล้านบาท ก็คือประมาณ 90% ของ GDP ตัวเลขนี้ถ้ามองจากประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปซัก 10-15 ปีขึ้นไปก็ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นจะแพงเกินไป เพราะในสมัยก่อนหน้านั้น Market Cap. หรือมูลค่าหุ้นของบริษัททั้งตลาดมักจะอยู่ในระดับไม่เกิน 60-70% อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณ 10 ปีมานี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐดูเหมือนว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก สัดส่วน Market Cap. ต่อ GDP ที่เกิน 100% ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปของตลาดหุ้นที่นับวันจะมีบทบาทเป็นที่เก็บออมความมั่งคั่งของคนในประเทศที่ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ นับถึงวันนี้แม้แต่ในประเทศไทยที่ยังไม่ได้พัฒนาจนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว บริษัทขนาดใหญ่ของคนไทยเกือบทั้งหมดต่างก็เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และคนไทยที่ร่ำรวยและมีความมั่งคั่งสูงต่างก็มีหุ้นอยู่ในตลาด ดังนั้น มองจากภาพนี้ ดัชนีหุ้นบ้านเราก็น่าจะพูดได้ว่าไม่ได้แพงจนรับไม่ไหวแต่ก็ไม่ได้ถูก ความถูกความแพงของตลาดซึ่งจะบอกว่าดัชนีหุ้นในอนาคตตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปนั้นจะขึ้นหรือลงผมคิดว่าตัวที่น่าจะคาดการณ์ได้ดีที่สุดก็คือค่า PE ของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลบอกว่าค่า PE ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ประมาณเกือบ 20 เท่า นี่เป็นค่าที่ค่อนข้างสูงมากและก็สูงแบบนี้มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6-7 ปี มาแล้ว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวก็เป็นช่วงเวลาที่ดัชนีตลาดหุ้นไม่ไปไหนเลยหรือเป็นหุ้นไซ้ต์เวย์มายาวนาน คนที่ลงทุนระยะยาวในช่วงเวลานี้ได้ผลตอบแทนน้อยมากคืออาจได้เฉพาะปันผล อย่างไรก็ตาม คนที่ซื้อขายหุ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้น บางคนก็อาจจะกำไรได้มากโดยเฉพาะถ้าเป็นผู้นำและมีอิทธิพลต่อราคาหุ้นขนาดเล็ก แต่ส่วนใหญ่แล้วนักเล่นหุ้นรายย่อยก็มักจะขาดทุน ค่า PE ของตลาดหุ้นไทยนั้นนอกจากจะแพงมองจากอดีตของตลาดไทยแล้ว ในปัจจุบันเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในเอเชียและอาเซียนก็ยังแพงกว่าเพื่อนบ้านทั้งหมดและที่มีค่าเฉลี่ยประมาณ 13-14 เท่า ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมารวมถึงปัจจุบันนั้นโตช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ทั้งหมดที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจคล้ายคลึงกันคือเป็นประเทศกำลังพัฒนา ปัญหาใหญ่ของไทยนั้นยังอยู่ที่ว่าในอนาคตนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะยังช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันอยู่ดี เหตุผลเป็นเพราะว่าปัจจัยของการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันนั้นด้อยกว่าประเทศอื่น ๆ นั่นคือ ข้อแรก คนไทยเกิดน้อยลงมากในขณะที่คนแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว กำลังแรงงานของไทยกำลังลดลงเรื่อย ๆ ในขณะที่คู่แข่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ข้อสอง ระดับการพัฒนาความสามารถของคนไทยดูเหมือนว่าจะไม่ดีขึ้น ความสามารถที่จะเพิ่มผลิตภาพในการผลิตนั้นไม่ได้ดีขึ้น ดังนั้น การเติบโตทางด้านนี้ก็เป็นไปได้ยาก และข้อสุดท้ายก็คือเรื่องของระบบการปกครองและเศรษฐกิจที่จะเอื้ออำนวยให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เต็มศักยภาพก็ดูเหมือนว่าประเทศไทยจะไม่ได้เปรียบเพื่อนบ้านอีกต่อไป ดังนั้น โอกาสที่บริษัทจดทะเบียนจะเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นก็น่าจะต่ำลงไม่สามารถรับค่า PE ที่สูงกว่าปกติได้ กำไรของบริษัทจดทะเบียนซึ่งมักจะเป็นตัวที่ขับเคลื่อนราคาหุ้นได้ดีนั้น ถ้ามองถึงแค่สิ้นปีนี้ก็ชัดเจนว่าจะต้องลดลงอย่างแรง เพราะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศรวมถึงสถาบันการเงิน พลังงาน ค้าปลีกและหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและท่องเที่ยว ต่างก็น่าจะมีกำไรลดลงมาก ดังนั้น ราคาหรือดัชนีหุ้นก็น่าจะขึ้นไปได้ยาก คนมักจะพูดว่านักลงทุน “มองข้าม” ไตรมาส 2 และอาจจะทั้งปี 2563 ไปแล้ว แต่นั่นอาจจะไม่จริงก็ได้ เพราะนักลงทุนอาจจะไม่ได้มองยาวขนาดนั้น เขาอาจจะมองแค่ไม่กี่วันข้างหน้าและไม่ได้ตระหนักถึงความรุนแรงของผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ถ้าหุ้นขึ้นไม่ว่าจะมาจากเหตุผลใดรวมถึงดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศ พวกเขาก็เข้ามาเล่นมาซื้อหุ้นเพราะคิดว่าสามารถทำกำไรได้ในเวลาอันสั้น โดยเฉพาะสำหรับคนมีเม็ดเงินจำนวนมากที่ฝากไว้กับธนาคารและได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 1-2% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลงเรื่อย ๆ และใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ต่อปีเมื่อเทียบกับเงินปันผลหรือผลตอบแทนกำไรต่อราคาหุ้นหรือ EP หรือในภาษาหุ้นเรียกว่า Earning Yield Gap นั้น ในช่วงที่ดัชนีหุ้นตกลงมากว่า 30% อยู่ที่ดัชนี 1,000 จุด นั้น อาจจะมากพอที่จะทำให้คนย้ายเงินฝากมาลงทุนในหุ้นซึ่งทำให้ดัชนีหุ้นปรับขึ้นมาอย่างแรงได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่ PE ประมาณ 20 เท่านั้น ดูเหมือนว่าผลตอบแทนต่อราคาหุ้นที่ 5% อาจจะไม่จูงใจนักโดยเฉพาะถ้ามันกำลังลดลงเนื่องจากกำไรของบริษัทจดทะเบียนกำลังลดลงอย่างแรง ดังนั้น มองในแง่พื้นฐานแล้ว หุ้นไทยดูเหมือนว่าจะแพงกว่าที่เคยเป็นและแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ อัตราดอกเบี้ยคงไม่สามารถลงมาได้มากอีกแล้วหลังจากที่ลดลงเหลือเพียง 0.5% ต่อปีในช่วงเร็ว ๆ นี้ การเจริญเติบโตของ GDP ในระยะเวลา 3-4 ปี ข้างหน้าซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้กับการ “มองข้าม” ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปีหรือสองปีข้างหน้าก็ดูเหมือนว่าไม่น่าจะดีนัก ประเด็นก็คือ รัฐบาลและประชาชนอาจจะมีภาระเงินกู้ที่สูงมากจนทำให้ไม่มีกำลังพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตกว่าปกติได้ ผลก็คือ การเติบโตของบริษัทจดทะเบียนก็น่าจะไม่สูงขึ้นมากอีกต่อไปหลังจากที่อาจจะโตขึ้นอย่างแรงเนื่องจากการ “ฟื้นตัว” ของเศรษฐกิจหลังภาวะวิกฤติ ถ้าเป็นอย่างที่กล่าว เราก็อาจจะเห็นดัชนีหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงได้เป็นระยะแต่ไม่สามารถผ่านจุดที่สูงกว่าก่อนวิกฤติเป็นเวลาหลายปี ตลาดหุ้นไทยก็อาจจะ Side Way ต่อไปและกินเวลาเป็น 10 ปีนับจาก 6 ปีที่แล้ว กลายเป็น “Lost Decade” หรือทศวรรษที่หายไปของตลาดหุ้นไทยในที่สุด ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ การปรับตัวขึ้นมาของตลาดหุ้นไทยจนดัชนีขึ้นมาเป็นประมาณ 1,440 จุดเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนนั้นดูเหมือนว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นจะไม่รองรับนัก แต่มาจากภาวะของการเก็งกำไรและสภาพคล่องทางการเงินมากกว่า ดังนั้น การลงทุนในตลาดจะต้องมีความระมัดระวังสูง แน่นอนว่ามีหุ้นจำนวนไม่น้อยที่มีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมากและน่าลงทุนในระยะยาว แต่การวิเคราะห์จะต้องรอบคอบและมั่นใจจริง ๆ และนี่ก็คือ “โอกาส” ที่เราจะฉกฉวย แต่คนที่หวังว่าตลาดหุ้นจะเป็น “กระทิง” และจะช่วยพาให้หุ้นทุกตัวปรับตัวขึ้นนั้นจะต้องระวังเป็นพิเศษ ประวัติศาสตร์วิกฤติตลาดหุ้นหลายครั้งบอกเราอย่างนั้น ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/06/15/2337 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content ตลาดหุ้นไทย หุ้นไทย แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
"จุดตํ่าสุดของตลาด" คิดได้แต่คว้าไม่ได้ - FINNOMENA ช่วงที่ผ่านมาเราได้เห็นผู้คนมากมายหลายสำนัก กำลังมองหาจุดตํ่าสุดของตลาดที่อาจจับต้องไม่ได้ ต่างสำนักก็ว่ากันต่างกันออกไป แต่คำถามที่สำคัญที่สุดคือ “ เรารู้อนาคตได้ขนาดนั้นจริง ๆ หรือ?” และในวันนี้ผมจะมาแชร์ Mindset ที่ผมได้เรียนรู้ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผมมองว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับนักลงทุน มาให้ทุกคนได้ฟังกัน 13 มิ.ย. 2563 ช่วงที่ผ่านมาเราได้เห็นผู้คนมากมายหลายสำนัก กำลังมองหาจุดตํ่าสุดของตลาดที่อาจจับต้องไม่ได้ เศรษฐกิจจะถึงจุดตํ่าสุด (Bottom) ในไตรมาสหน้าหรือไตรมาสถัด ๆ ไปเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ เป็นสิ่งที่ผมเชื่อว่าทุกคนจะได้ยินซํ้าแล้วซํ้าเล่าในช่วงนี้ ต่างสำนักก็ว่ากันต่างกันออกไป แต่คำถามที่สำคัญที่สุดคือ “เรารู้อนาคตได้ขนาดนั้นจริง ๆ หรือ?” และในวันนี้ผมจะมาแชร์ Mindset ที่ผมได้เรียนรู้ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผมมองว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับนักลงทุน มาให้ทุกคนได้ฟังกัน ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ (Economic Indicators) ตัวเลขแสนสำคัญ แต่ “จับต้องไม่ได้” ตอนเกิดวิกฤติผู้คนก็ต่างพากันตีความไปว่าวิกฤติครั้งนี้จะร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และมันก็ร้ายแรงจริง ๆ โดยสะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่างงาน ตัวเลข GDP หรือจะเป็นดัชนี PMI ก็ตาม และสิ่งที่ผู้คนกำลังคลำหากันก็คือ GDP จะกลับมาเมื่อไร? การจ้างงานจะกลับมาตอนนี้! หรือ PMI จะกลับมาในช่วงนี้แน่ ๆ แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอกกับทุกคนก็คือดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจเหล่านี้มีความผันผวน อีกทั้งข้อมูลการประมาณการต่าง ๆ ที่ออกมาเราก็ไม่ได้เห็นวิธีการคาดคะเนของพวกเขาเลยแม้แต่น้อย ว่าเขาใช้วิธีอะไร สมเหตุสมผลหรือไม่? แต่ทำไมเราถึงยังเชื่อพวกเขาอยู่ คำตอบก็อาจจะเป็นเพราะ เวลาที่คนเราตื่นตระหนกหรือเกิดความกลัว เราอยากจะหาที่พักพิงจิตใจ เราอยากมีใครสักคน ที่จะชี้ทางให้เรา ในวันที่เรามืดแปดด้านและยํ่าแย่ แต่นั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนคนหนึ่งควรจะมี เราควรจะคิดวิเคราะห์ให้เป็นเหตุเป็นผลมากที่สุด และปราศจากการอคติ (Bias) และอารมณ์ ผมไม่ได้จะมาบอกว่า ผมเก่งกว่าสถาบันการเงินชื่อดังต่าง ๆ แต่เมื่อเรากำลังจะตามสิ่งได้สิ่งหนึ่ง ผมเชื่อว่าตัวเราต้องรู้วิธีการและเหตุผลที่แน่ชัดของมันเสียก่อนจะเชื่อมัน ซับซ้อนในซับซ้อนตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ออกมาแล้วบอกได้จริงหรือว่า “ดี” หากคนที่เคยติดตามตัวเลขเหล่านี้และลงทุนมาด้วยตัวเองเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จะเรียนรู้ได้ว่า เวลาตัวเลขเหล่านี้ออกมาแล้วยังมีเรื่องที่สำคัญอย่างการที่ “ตัวเลขออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด” หรือ “ตัวเลขออกมาแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาด” ซึ่งทำให้การคาดการณ์ปัจจัยเหล่านี้ทำได้ยากและห่างไกลออกไปอีก หากสมมติง่าย ๆ ก็คงเป็นตัวเลข GDP (QoQ) สหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมาออกมาแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาด แต่ตลาดดันวิ่งสวนใส่หน้าเราซะอย่างนั้น ภาพแสดงข้อมูลตัวเลข GDP (QoQ) สหรัฐฯ ภาพแสดงราคาของดัชนี S&P 500 จากภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่าถึงแม้ตัวเลข GDP จะออกมาติดลบแต่ผลที่แสดงออกมา ณ วันนั้นก็ไม่สอดคล้องกันซะทีเดียว สังเกตได้จากแท่งเทียนวันที่ 29 เมษายน ที่ราคาปิดเป็นบวกถึงแม้ผลจะออกมาแย่ ในขณะที่วันที่ 28 พฤษภาคม ราคาปิดเป็นลบแทน อีกทั้งแนวโน้มในระยะยาวราคาเป็นไปในเชิงบวกต่อเนื่อง ถึงแม้ตัวเลข GDP จะออกมาแย่ขึ้นเรื่อย ๆ กลับมาต่อกันครับ ถ้าถามว่าเป็นเพราะอะไร ก็คงเป็นเรื่องของ “ความคาดหวังของคนส่วนใหญ่” ที่มีต่อตัวเลขนั้นคาดเดาได้ยากมาก ๆ ซึ่งอาจมีผลมาจากการที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในวันนั้นอาจจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่าง Fed เข้ามาซื้อหุ้นเปลี่ยนผลจากหน้ามือเป็นหลังมืออะไรอย่างนั้น เพราะ คนเชื่อในการกระทำที่ Fed ให้มา สิ่งที่ผมจะสื่อก็คือหากเราเล่นกับ ตัวเลขเศรษฐกิจ ถ้าจะพูดง่าย ๆ มันก็เหมือนกับการที่เราเล่นอยู่กับ “อารมณ์” ของคนส่วนใหญ่ (เปลี่ยนไปมาผันผวนไม่แน่นอน เพราะ มีตัวเลขอื่น ๆ ยิบย่อยมากมาย) ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่คาดเดาได้ง่าย ๆ ดังนั้นผมจึงอยากจะแนะนำทุกคนว่าเราอาจไม่ควรรอตัวเลขเศรษฐกิจหรือข่าวดีที่ชัดเจนและลงทุน เพราะ มันอาจจะไม่ต่างอะไรกับการที่เราคิดว่า พรุ่งนี้เราจะกินอะไรดี? อย่างเช่น “พรุ่งนี้เราจะไปกินเนื้อย่าง แล้วจู่ ๆ เปลี่ยนใจไปกินข้าวผัดข้างทางซะอย่างนั้น” แต่กลับกันแล้วเราอาจจะต้องมองไปข้างหน้าด้วยการวิเคราะห์ส่วนตัวมากกว่าก็เป็นได้… ข้อมูลล่าสุดที่ถูกปรุงแต่งด้วย “อารมณ์” Fed คงดอกเบี้ยอีกสองปีจริง ๆ หรือ? ช่วงที่ผ่านมาผมได้โอกาสเจอรุ่นพี่คนหนึ่ง (ไม่แน่ใจว่าเขา run กองทุน Private fund เองหรือเปล่า ผมจำได้ลาง ๆ) เค้าได้พูดประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคงดอกเบี้ยของ Fed ว่าจริง ๆ แล้ว เค้าอาจจะไม่ได้สื่อแบบนั้น ด้วยความที่ผมเป็นคน “ขี้สงสัยมาก ๆ” จึงมาแกะผลการประชุมของ Fed อีกทีและก็พบความจริงที่ว่า… “Fed ไม่ได้บอกว่าจะคงดอกเบี้ยไปอีกสองปีแค่ประมาณการเพียงคร่าว ๆ เฉย ๆ เท่านั้น อีกทั้งยังบอกด้วยว่า จะคงดอกเบี้ยที่อัตรา 0.00%-0.25% จนกว่าจะมั่นใจว่าเศรษฐกิจ การจ้างงาน รวมถึงเงินเฟ้อ มีทิศทางที่ดีขึ้น” ภาพแสดงรายงาน Press release ของการประชุม Fed ล่าสุด หากคุณลองคิดอย่างถี่ถ้วนดี ๆ แล้ว Fed ไม่ได้บอกจะคงดอกเบี้ยไปสองปี แต่แท้จริงแล้วเขาบอกว่าจะคงดอกเบี้ยจนกว่าจะสถานการณ์จะดีขึ้นต่างหาก… นี่คือตัวอย่างของอารมณ์ตลาดที่ถูกคนได้เสพสรรกันขึ้นมา ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้วมันอาจจะไม่ใช่แบบนั้นเลย… ในบทความต่อไปผมอาจจะมาเจาะลึกเรื่องนี้ให้ทุกคนได้รับชมกัน หากสนใจก็คอมเมนต์ไว้ได้ครับ ผมจะมาเจาะลึกข้อความที่แท้จริงจาก Fed ให้กับทุกคน (ไม่คอมเมนต์ผมอาจจะเปลี่ยนใจได้นะ เป็นคนเปลี่ยนไปมาง่าย… หากมีอะไรที่คิดว่าดีกว่า) ตัวเลขเศรษฐกิจที่ผมเชื่อว่าเราอาจใช้มันมองไปข้างหน้าได้… จะบอกว่าตัวเลขเศรษฐกิจมันใช้ไม่ได้เลยก็อาจจะไม่ถูกนัก เพราะ ที่ผ่านมาผมใช้ Initial Jobless Claims เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำหรับการวัดอัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ในช่วงที่ผ่านมา ส่วนตัวผมมองว่าถ้าจำนวนผู้ว่างงานขอรับสิทธิ (Initial jobless claims) ลดลงก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ในอนาคตจะลดลง และการจ้างงานก็เป็นเป้าหมายหลักของธนาคารกลาง ซึ่งผมมองว่ามันใช้คาดการณ์ได้ในระดับนึง และตัวเลขในส่วนนี้ไม่ได้มีความผันผวนมาก ภาพแสดงตัวเลข Initial Jobless Claims ภาพแสดงตัวเลข Unemployment Rate ซึ่งก็โชคดีที่ผลมันก็ออกมาตามที่คาด แต่อย่าลืมนะครับ ในอนาคตผมอาจจะผิดก็ได้ไม่มีอะไรแน่นอนเสมอไป แค่อยากแชร์ไอเดียให้ทุกคนได้ดูกัน เมื่อตัวเลขเหล่านั้นออกมามันก็สายไปเสียแล้ว… ผมเชื่อว่าช่วงที่ผ่านมาที่หลาย ๆ คนอาจจะมีอาการเสียดาย หรือรู้สึกตกรถหลังหุ้นวิ่งสวนหน้า ในช่วงที่ผ่านมา และกำลังรอให้สถานการณ์มันดีขึ้น ซึ่งมันก็อาจจะดูช้าเกินไปเสียแล้ว หลังตลาดหุ้นดีดตัวขึ้นมาอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งคำถามที่ผมอยากจะทิ้งเอาไว้ให้กับทุกคนก็คือ เราพลาด เพราะ เรากำลังรอสัญญาณเชิงบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจอยู่หรือเปล่า? กลับกันแล้วเราอาจจะต้องมองไปข้างหน้าจากข้อมูลที่มีอยู่อย่างเป็นเหตุเป็นผล คนยิ่งขายเราอาจต้องยิ่งซื้อ? หนึ่งในหลักการที่ผมเชื่อมาโดยตลอดก็คือ เวลาที่ผู้คนตื่นตระหนกขายหุ้นออกมา คือเวลาที่หุ้นมีมูลค่าตํ่ากว่าความเป็นจริง และเมื่อทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ กำไรในหุ้นนั้น ๆ ก็จะกลับมาคงเดิม และอาจเติบโตขึ้นหากบริษัทนั้น ๆ ขยายธุรกิจได้ดีมากพอ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราควรทำอาจเป็นการไล่เก็บหุ้นในช่วงขาลง ที่มีโอกาสเติบโตของกำไรหรือมีความสามารถพอที่จะกลับไปสู่จุดเดิมได้ในอนาคต ก่อนที่มันกลับไปได้แล้วค่อยซื้อ เพราะ ตอนนั้นมันก็สายไปเสียแล้ว (ราคามักจะวิ่งไปก่อนตัวเลขและข่าวดีต่าง ๆ จะออกมา) วิกฤติครั้งนี้คงเป็นบทเรียนที่ดีให้กับใครหลาย ๆ คนรวมถึงตัวผมเองด้วย และสิ่งที่ผมอยากให้ทุกคนโฟกัสมากที่สุดในตอนนี้ก็คือการกอบโกยบทเรียนจากวิกฤติครั้งนี้ให้มากที่สุด เพื่อเราจะได้เป็นนักลงทุนที่เก่งยิ่ง ๆ ขึ้นไปในอนาคตด้วยกันนะครับ ทิ้งทายอีกนิดอันนี้เป็นสิ่งที่ผมอยากจะบอกทุกคนมาสักพักแล้ว และเป็นปรัชญาการสื่อสารของผมมาโดยตลอดทุกบทความ “ผมสัญญาว่าผมจะพยายามสื่อสารข้อมูลที่เป็นกลางและจริงใจมากที่สุดภายใต้นามปากกา Mr. Serotonin” ที่ต้องใช้คำว่าพยายามก็คงเป็นเพราะว่า “โลกไม่ได้ออกแบบให้คนเถรตรง อยู่ได้ง่าย ๆ” หวังว่าทุกคนจะเข้าใจนะครับ แต่ผมจะพยายามอย่างดีที่สุดแน่นอน… ขอให้ทุกคนโชคดีครับ และขอบคุณทุกคนที่ติดตามมาก ๆ ครับ Mr. Serotonin References https://www.federalreserve.gov/monetarypolicy/fomccalendars.htm https://www.investing.com/economic-calendar/gdp-375 https://www.investing.com/economic-calendar/initial-jobless-claims-294 https://www.investing.com/economic-calendar/unemployment-rate-300 แท็ก: Advance Article Economic indicators Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รีวิว TMB 50 กองทุนหุ้นไทยจัดเต็ม ค่าธรรมเนียมไม่ถึงหลักหน่วย - FINNOMENA หากพูดกันถึงไทยเราแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าฟื้นตัวได้ยากแต่แท้จริงแล้วใครเล่าจะรู้ว่า ไทยเองก็ฟื้นตัวได้เช่นกัน และเป็นหนึ่งในการลงทุนที่เราไม่ควรมองข้าม เรามาดูกันว่าประเทศไทยจะฟื้นตัวได้ดีขนาดไหน และไหวพอที่จะลงทุนหรือเปล่า 1 ก.พ. 2564 หากพูดกันถึงไทยเราแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าฟื้นตัวได้ยากแต่แท้จริงแล้วใครเล่าจะรู้ว่า ไทยเองก็ฟื้นตัวได้เช่นกัน และเป็นหนึ่งในการลงทุนที่เราไม่ควรมองข้าม เรามาดูกันว่าประเทศไทยจะฟื้นตัวได้ดีขนาดไหน และไหวพอที่จะลงทุนหรือเปล่า ที่ผ่านมาดัชนี SET Index ปรับตัวขึ้นมายกใหญ่พอสมควร ซึ่งหลาย ๆ คนอาจมองว่าหุ้นไทยอาจจะลงไปได้อีกหรือเปล่า แต่ส่วนตัวผมเชื่อว่าหุ้นไทยอาจกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นซึ่งบทความนี้จะพาทุกคนไปพิสูจน์กันว่า หุ้นไทยนั้นจะไปได้อีกไกลแค่ไหนกัน ผ่านการให้มุมมองทั้งเชิงพื้นฐานและเทคนิคอล แต่ถ้าจะถามถึงกองทุนหุ้นไทยสักตัวที่มีค่าธรรมเนียมถูกแสนถูก เงินลงทุนแค่ 1 บาทก็ลงได้ อีกทั้งยังมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากองทุนกลุ่มเดียวกัน กองทุนนั้นคงเป็น TMB50 ที่ให้คุณลงทุนในดัชนีหุ้นไทย ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จุดเด่นกองทุน TMB50 ค่าธรรมเนียมถูกแสนถูก แม้มีเงินบาทเดียวก็ลงได้ ใครจะไปคิดว่าเงินทอนจากการซื้อของในร้านสะดวกซื้อหรือแม้แต่ขึ้นรถไฟฟ้าก็สามารถลงทุนในกองทุนได้! โดยกองทุน TMB50 ใช้เงินลงทุนขั้นตํ่าเพียงแค่ 1 บาทเท่านั้น อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียมที่ถูกแสนถูก ขนาดที่ยังไม่ถึงหลักหน่วยเสียด้วยซํ้า ถูกขนาดนี้มาออมเงินใน TMB50 แทนฝากเงินเฉย ๆ ก็ยังได้ (บาทเดียวก็ลงได้) “ดีที่สุด” 3 ด้านจาก FINNOMENA 3D Diagram หากมาเช็กคุณภาพของกองทุนผ่าน FINNOMENA 3D Diagram ซึ่งเป็นตัวช่วยวิเคราะห์กองทุนในเชิงปริมาณ (Quantitive) โดยรวมแล้วไม่ว่าจะเป็นด้านผลตอบแทนย้อนหลัง (Past Performance), ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (Risk Adjusted Return) รวมถึงการติดลบสูงสุด (Maximum Drawdown) TMB50 ก็ถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ “ดูดี” หากเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ในหมวดเดียวกัน อย่าเพิ่งผ่านเลย… หากคุณยังไม่แน่ใจในหุ้นไทย ลองพิสูจน์ผ่านข้อมูลด้านล่างก่อน! ในส่วนถัดไปจะเป็นข้อมูลเชิงลึก สำหรับนักลงทุนหลาย ๆ ท่านที่ยังอาจแคลงใจในหุ้นไทยพอสมควร ซึ่งหากท่านยังไม่แน่ใจที่จะลงทุนผมอยากให้ลองอ่านข้อมูลในส่วนนี้กันก่อนครับ ข้อได้เปรียบของประเทศไทยในเชิงพื้นฐานภาพรวม 1) หนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับตํ่า หนึ่งในข้อดีที่มองข้ามไม่ได้ของไทยเรา คงไม่พ้นหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับตํ่าซึ่งหลายคนอาจมองว่าทำไมถึงไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านส่วนนี้ แต่ถึงอย่างนั้นข้อดีของการที่หนี้สาธารณะของเราอยู่ในระดับตํ่าก็คือการที่ประเทศเราจะมีเครดิตที่ดีและดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งอาจหนุนนำให้ตลาดทุนไทยเติบโตได้ในอนาคต 2) พื้นที่ว่างที่ยังเหลือสำหรับการลดดอกเบี้ย ทางไทยเองเหลือพื้นที่ว่างสำหรับการลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% และมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคตเนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าในตอนนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางแบงก์ชาติเราเองได้จับตามองอยู่ นอกจากนั้นการลดดอกเบี้ยก็อาจทำให้เม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้าประเทศมากขึ้น จากต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลงสำหรับภาคธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ในอนาคต และอาจส่งผลให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวขึ้น ภาพแสดงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย (วันที่ 9 มิถุนายน 2020) 3) ราคานํ้ามันที่อยู่ในระดับตํ่าและเริ่มฟื้นตัว (ช่วยลดต้นทุนการผลิต และหนุนนำอุตสาหกรรมหลักอย่างนํ้ามัน) เมื่อช่วงที่ผ่านมาราคานํ้ามันโดนกดดันอย่างสาหัสลงมาอยู่ในระดับที่ตํ่ามาก ๆ จากสงครามราคานํ้ามันที่ช่วงหนึ่งแทบจะปรากฎเป็นหัวข้อใหญ่อยู่บนสื่อรายวัน จนมากระทบต่อหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยเราอย่าง “อุตสาหกรรมนํ้ามัน” ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 11.89% ของดัชนี SET Index อย่างไรก็ตามเมื่อช่วงที่ผ่านมาทาง OPEC เองได้บรรลุข้อตกลงลดการผลิตเพื่อแก้เกม (ลดแรงกดดันทางด้านราคาจาก Supply ที่ล้นเกินในช่วงก่อนหน้า) ซึ่งอาจส่งผลให้ราคานํ้ามันปรับตัวสูงขึ้นได้อีกครั้ง อีกทั้งยังมีปัจจัยหนุนอย่างการผ่อนคลาย Lockdown ในประเทศต่าง ๆ รวมถึงในไทยเราเองที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมหลักอย่างนํ้ามันของไทยเรากลับมาฟื้นตัวดังเดิมได้อีกครั้ง นึกภาพง่าย ๆ ก็เช่นเดียวกับการที่ผู้คนกลับมาเดินทางไปมาหาสู่กันได้ดังเดิม ยอดการใช้รถยนต์ก็จะคืนสภาพ หรือคนกลับมาจับจ่ายใช้สอยกัน จนผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ กลับมาผลิตกันได้อีกครั้ง “ภาคการส่งออก” สัดส่วนหลักของ GDP ไทยพร้อมทะยานขึ้น ภาพแสดงสัดส่วนภาคการส่งออกต่อ GDP ไทยซึ่งคิดเป็น 66.82% ในปี 2018 ภาพแสดงสัดส่วนประเทศที่ไทยส่งออกเป็นหลัก (วันที่ 27 พฤษภาคม 2020) หลาย ๆ คนคงรู้กันอยู่แล้วว่าไทยเรานั้นเน้นการส่งออกเป็นหลัก โดยภาพข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประเทศคู่ค้าหลักของทางไทยเป็นทางด้านของสหรัฐฯและจีนเป็นหลัก และหากดูสถานการณ์เศรษฐกิจของสองประเทศดังกล่าวก็จะเห็นได้ว่า กำลังไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจีนที่เรียกได้ว่าฟื้นตัว จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่าแทบจะสมบูรณ์แบบอย่างการที่ตัวภาคการผลิตและภาคบริการกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง หลังควบคุมโรคระบาดได้อยู่หมัดก่อนใคร ภาพแสดงดัชนีตัวเลขภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ของจีนที่ฟื้นตัว (วันที่ 9 มิถุนายน 2020) ภาพแสดงดัชนีตัวเลขภาคการบริการ (Services PMI) ของจีนที่ฟื้นตัว (วันที่ 9 มิถุนายน 2020) ส่วนทางด้านสหรัฐฯ เอง สัญญาณการฟื้นตัวทางด้านตลาดแรงงานก็ไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากช่วงที่ผ่านมายอด Initial Jobless Claims หรือจำนวนผู้ว่างงานขอรับสิทธิในลดลงต่อเนื่องเรื่อยมา และสะท้อนผ่านตัวเลขการว่างงาน (Unemployment rate) ที่ลดลงในช่วงล่าสุด สะท้อนให้เห็นถึงการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้คนกลับมามีรายได้สำหรับการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มเติม เสริมสร้าง Demand สินค้าต่าง ๆ ให้แข็งแกร่งในอนาคต จนอาจทำให้ภาคการผลิตต้องเร่งกลับมาผลิตอีกครั้ง ภาพแสดงจำนวนผู้ว่างงานขอรับสิทธิ (Initial jobless claims) ของสหรัฐฯ (วันที่ 9 มิถุนายน 2020) ภาพแสดงอัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ของสหรัฐฯ (วันที่ 9 มิถุนายน 2020) ซึ่งการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าหลักทั้งหมดทั้งมวลนี้ จะส่งผลบวกต่อไทยที่เป็นผู้ส่งออกหลัก (ประเทศฟื้นตัวกลับมาผลิต บริโภคและนำเข้าสินค้าดังเดิม) Fund Flow (เม็ดเงิน) จากนักลงทุนต่างชาติกำลังวิ่งกลับเข้าไทย ภาพแสดงเม็ดเงินลงทุนของชาวต่างชาติที่มีทิศทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ในช่วงรายวันและรายเดือนที่ผ่านมา ถ้าหากไปไม่รอดจริงต่างชาติคงไม่กลับเข้ามา ช่วงที่ผ่านมาเม็ดเงินลงทุนจากชาวต่างชาติ หวนคืนเข้าสู่หุ้นไทยอีกครั้ง โดยอาจมาจากปัจจัยหลักอย่าง “หนี้ต่อ GDP ที่ไม่สูง” ประกอบกับสัญญาณฟื้นตัวต่าง ๆ ที่จะอธิบายในส่วนถัดไป ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าประเทศไทยเองก็มีจุดแข็งอย่างหนี้ต่อ GDP ที่ไม่สูงมาก อีกทั้งยังเหลือดอกเบี้ยนโยบายสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นในมุมมองของนักลงทุนคงไม่แปลกนักที่จะมีเม็ดเงินลงทุนจากชาวต่างชาติไหลกลับเข้ามาลงทุน ดังนั้นเม็ดเงินในส่วนนี้จะเป็นกำลังหลักที่ช่วยหนุนนำราคาหุ้น และเป็นโอกาสสำหรับทุกคนในตอนนี้ที่จะเข้าลงทุน เพราะ ที่ผ่านมาเม็ดเงินลงทุนของชาวต่างชาติมีส่วนสำคัญค่อนข้างมากต่อตลาดหุ้นและตลาดทุนของไทยเรา สังเกตได้จากเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (Foreign investors) ที่มีมากถึง 2 ล้านล้านบาท ไม่แพ้นักลงทุนในไทย (Local individuals) ที่ 3 ล้านล้านบาท ต่อไปเราจะมาดูในส่วนของสัดส่วนอุตสาหกรรมหลักของดัชนี SET Index ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะฟื้นตัวในอนาคต เจาะลึกสัดส่วนอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อดัชนี SET Index หากเราต้องการวิเคราะห์ภาพรวมของดัชนีก็คงต้องมาเช็กกันที่นํ้าหนักอุตสาหกรรมต่าง ๆ และมองไปข้างหน้าว่าจะสามารถเติบโตหรือฟื้นตัวได้หรือไม่ โดยหลัก ๆ จะเป็นการเจาะลึกมุมมองในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ยํ่าแย่เป็นส่วนใหญ่ว่าจะสามารถพลิกกลับมาได้หรือไม่ อุตสาหกรรมหลัก ๆ ที่จะนำเสนอมุมมองมีดังนี้… อุตสาหกรรมนํ้ามัน สัดส่วน (12.45%) อุตสาหกรรมธนาคาร สัดส่วน (9.69%) อุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงาน สัดส่วน (9.38%) อุตสาหกรรมโครงสร้างการขนส่งพื้นฐาน สัดส่วน (7.30%) อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ สัดส่วน (5.36%) อุตสาหกรรมโรงแรม สัดส่วน (2.74%)* *ในส่วนของอุตสาหกรรมโรงแรม เป็นของแถมที่นำมาให้ทุกคนได้ดู เพราะ เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจกังวลในส่วนนี้ มุมมองอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ ของ SET Index มุมมองอุตสาหกรรมนํ้ามัน (12.45%) ในส่วนของราคานํ้ามันคงต้องอิงกับนโยบายของทางสหรัฐฯ เป็นหลัก เพราะ หลัก ๆ แล้วราคานํ้ามันจะถูกนำมาเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ช่วงที่ผ่านมาราคานํ้ามันได้รับแรงกดดันจากสงครามราคานํ้ามัน จากการที่รัสเซียเพิ่มกำลังการผลิต ส่งผลให้ราคานํ้ามันดิบลงมาแตะที่ระดับ 20$ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่ตํ่ามาก ๆ เช่นเดียวกับช่วง ปี 2000-2004 อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดเมืองจะทำให้ภาคธุรกิจและการผลิตกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง จากการที่ความต้องการสินค้า การเดินทางต่าง ๆ กลับมาเป็นปกติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเสริมสร้างภาคการบริโภคในอนาคต นอกจากนั้นยังมีการลดดอกเบี้ยและการทำ QE แบบ Unlimited ของ Fed ที่จะช่วยเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ และจะช่วยให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงได้ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อราคานํ้ามันในอนาคต และด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลมากมายนี้ก็อาจทำให้ราคานํ้ามันอาจปรับตัวสูงขึ้นได้ อีกทั้งยังมีประเด็นร้อนล่าสุดอย่างการที่ OPEC จะปรับลดการผลิตนํ้ามันให้น้อยลง (Supply ลดลง Demand เพิ่มขึ้นจากการปลดล็อคดาวน์ ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น) ก็จะยิ่งช่วยหนุนนำให้ราคานํ้ามันกลับมาสู่จุดดั้งเดิมได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นจะเรียกว่านี่คือ อุตสาหกรรมที่จะเร่งเครื่องขึ้นมาในอนาคตอันใกล้ก็คงจะไม่ผิดนัก สรุปมุมมอง โดยรวมมุมมองเป็น “เชิงบวก” มุมมองอุตสาหกรรมธนาคาร (9.69%) มาต่อกันที่อุตสาหกรรมอย่างธนาคารกันครับ หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าจะกลับมาได้หรือไม่ เนื่องจากรายได้สำคัญของธุรกิจธนาคารอย่างการเก็บดอกเบี้ยนั้นลดลงไป จากการลดดอกเบี้ยของทางแบงก์ชาติ อีกทั้งเงินเฟ้อของประเทศไทย ณ ปัจจุบันก็อยู่ในระดับที่ตํ่ามาก ๆ จนอาจทำให้การขึ้นดอกเบี้ยนั้นดูห่างไกลออกไปเสียเหลือเกิน อย่างไรก็ตามหากพูดถึงในระยะสั้นแล้ว ธุรกิจธนาคารอาจกลับมาคืนสู่จุดดั้งเดิมได้ ถ้าถามว่าเป็นเพราะอะไร… ก็คงจะหนีไม่พ้นการที่ไทยเราเองควบคุมโรคระบาดได้ดีเยี่ยมไม่แพ้ชาติใดในโลก และทำให้มาตรการ Lockdown ถูกผ่อนคลายลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ภาคธุรกิจกลับมาดำเนินการได้เช่นเดิม ผู้คนกลับมามีรายได้ จ่ายหนี้คืนธนาคารได้นั่นเอง แต่ถ้าพูดกันตามตรงแล้วระยะยาวยังอาจจะดูทรง ๆ อยู่ครับ เนื่องจากประเทศไทยอัตราเงินเฟ้อตํ่ามาก และอาจทำให้ทางแบงก์ชาติเองขึ้นดอกเบี้ยได้ค่อนข้างยาก สังเกตุได้จากภาพด้านล่างเลยครับ ภาพแสดงอัตราเงินเฟ้อประเทศไทยที่ 0.41% จากเป้าที่ 1.80% ซึ่งเป็นระดับที่สอดคล้องกับคู่ค้าของประเทศ สรุปมุมมอง โดยรวมระยะสั้นมองเป็น “เชิงบวก” เพราะ อัตราเงินเฟ้อจะกลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนเกิดโควิด แต่ถ้าหากว่ากันในระยะยาวแล้วอาจเป็นกลาง ๆ เนื่องด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ตํ่าและอาจทำให้ขึ้นดอกเบี้ยได้ค่อนข้างยาก มุมมองอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงาน (9.38%) ถือว่าเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่เป็นสัดส่วนหลักของดัชนี SET Index ไทยเรา ซึ่งยืนบวกอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางวิกฤติ ด้วยความที่ผู้คนอยู่ในบ้านกันมากขึ้นและอาจทำให้ยอดการใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในอนาคต รายได้อาจจะกลับไปสู่ประมาณการดั้งเดิม หลังผู้คนออกจากบ้านมากขึ้น ภาพแสดงหุ้นสัดส่วนหลักของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงานในไทย (GULF และ GPSC) ภาพแสดงรายได้ของ GULF ในไตรมาสล่าสุดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ภาพแสดงรายได้ของ GPSC ในไตรมาสล่าสุดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สรุปมุมมอง ให้เป็น “เชิงบวกปานกลาง” เพราะ ในอนาคตรายได้อาจจะกลับสู่ประมาณการปกติดั้งเดิมก่อนหน้า หลังผู้คนออกมาจากที่พักอาศัยกันมากขึ้น และอาจต้องจับตามองการขยายธุรกิจในอนาคตว่าจะเป็นเช่นไร มุมมองอุตสาหกรรมโครงสร้างการขนส่งพื้นฐาน (7.30%) ภาพแสดงสัดส่วนบริษัทหลักของโครงสร้างการขนส่งพื้นฐานไทย บริษัท โครงสร้างการขนส่งพื้นฐานของไทยที่มีสัดส่วนเป็นหลักที่เห็นได้ชัดเลย ก็คือ AOT (เราจะมาเจาะลึกกันในส่วนถัดไป) ซึ่งได้รับผลกระทบแบบตรง ๆ และค่อนข้างหนักหน่วงจากวิกฤติในครั้งนี้ อีกทั้งล่าสุดเองมาตรการห้ามอากาศยานต่างประเทศเดินทางสู่ประเทศไทยเพื่อควบคุมโรคระบาดได้ขยายเวลาออกไปถึง 30 มิถุนายน ดังนั้นในตอนนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดอาจจะเป็นการตรวจสอบ Balance sheet ว่าบริษัท มีสัดส่วนหนี้สินที่เหมาะสมพอที่จะยืนต่อไปในอนาคตหรือไม่ หลังรายได้อาจลดหดหายลงไป อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นเกี่ยวกับมุมมองสถานการณ์โควิด-19 ธุรกิจการบินนั้นยังอยู่ในสถานการณ์ที่คลุมเครือ เพราะ หลาย ๆ ประเทศอาจยังกังวลเรื่องโรคระบาดจากชาวต่างชาติในอนาคต ลงลึก Balance Sheet ของ AOT ภาพแสดง Balance Sheet ของ AOT ในส่วนของ Assets ภาพแสดง Balance Sheet ของ AOT ในส่วนของหนี้สิน ในส่วนของหนี้สินระยะสั้นเทียบกับเงินสดนั้น ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก ๆ โดย AOT มีหนี้สินระยะสั้นเพียง 151.20 ล้านดอลลาร์ เทียบกับเงินสดที่ 423.80 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเพียงราว ๆ 35.68% เพียงเท่านั้น เรียกได้ว่าในระยะอันสั้นใน 1 ปี AOT ก็ยังปลอดภัยจากเงื้อมมือของการล้มละลายอยู่ ดังนั้นการที่ AOT จะล้มลงในระยะเวลาอันใกล้ก็คงจะเป็นไปได้ยาก… แต่จะบอกว่ามันไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย ผมก็คงจะโกหกผู้อ่านทุกท่าน ดังนั้นผมจึงขอแจกแจงความไม่แน่นอนในส่วนนี้ไว้ด้วยครับ ภาคการท่องเที่ยวมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการเยียวยาว หากล้มลงและมีแผล คงไม่มีใครปฏิเสธว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยเรานั้นมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก และธุรกิจการบินก็มีส่วนเกี่ยวเนื่องที่สำคัญในการรองรับนักท่องเที่ยวจากที่ต่าง ๆ ไม่ต่างอะไรกับรากหลักของต้นไม้ ดังนั้นหากในระยะยาวเกิดปัญหา จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาสนับสนุนเข้าช่วย แต่ถ้าว่ากันตามตรงในส่วนของรายได้แล้ว ในช่วงนี้อาจจะไม่เติบโตและคาดการณ์ได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากหลาย ๆ ประเทศยังกังวลเรื่องการระบาดจากชาวต่างชาติ สรุปมุมมอง โดยรวมมองว่ารายได้อาจยังยํ่าแย่ แต่ไม่ล้มละลายส่งผล “เชิงลบ” ต่อดัชนี เนื่องจากรายได้ที่หดหาย มุมมองอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (5.36%) ด้วยแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดตามที่ได้กล่าวไว้ในส่วนของกลุ่มธนาคาร รวมถึงแรงกดดันจากค่าเงินบาท จึงอาจทำให้ทาง กนง. มีการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคต จึงอาจส่งผลให้สินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) เติบโตมากขึ้น อีกทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ที่อาจทำให้ ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือ แม้แต่โกดังสินค้ากลับมามีบทบาทมากขึ้น จากภาคเศรษฐกิจที่กลับมาดำเนินการได้ดังเดิม ดังนั้นมุมมองในส่วนของ Real Estate จึงมองเป็นเชิงบวก เพราะ มีแรงหนุนจากทั้งการปลดมาตรการ Lockdown รวมถึงการลดดอกเบี้ยของ กนง. ที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากเหตุผลที่ผมได้กล่าวไว้ก่อนหน้า เทียบอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend yield) ของ REITs (อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน) ในไทยเทียบกับภูมิภาคอื่น ภาพแสดงอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend yield) ของ REITs ในภูมิภาคต่าง ๆ (วันที่ 26 พฤษภาคม 2020) *SETPREIT = REITs ไทย, RMZ = REITs สหรัฐฯ, NDURREIT = REITs ยุโรป, และ SPSGDRSP = REITs สิงคโปร์ จากภาพจะเห็นได้ว่าในส่วนของอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend yield) นั้น REITs ไทยเองก็เรียกได้ว่าไม่แพ้ชาติใดในโลก อีกทั้งยังมีมาตรการลดดอกเบี้ย และการผ่อนคลาย Lockdown ที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ กลับมาดำเนินการได้เข้ามาสนับสนุนอีก ดังนั้น ในอนาคตจึงมีความเป็นไปได้สูงที่เงินลงทุนจะไหลเข้า REITs ไทยก่อนที่อื่น ๆ และหากเทียบกับ REITs ในยุโรปที่ Dividend yield สูงลิบตานั้นไทยเองยังเหลือมาตรการและปัจจัยสนับสนุนที่อาจมีมากกว่ายุโรป จากการที่ยุโรปนั้นดอกเบี้ยเหลือน้อยนิดเพียง 0% และเหลือมาตรการอย่างการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น กลับกันกับไทยที่ยังเหลือดอกเบี้ยอีก 0.50% และมีความเป็นไปได้สูงในอนาคตที่จะลดลงมา จากแรงกดดันในด้านค่าเงินและเงินเฟ้อ สรุปมุมมอง โดยรวมมองเป็น “เชิงบวก” มุมมองอุตสาหกรรมโรงแรม (2.74%) ผมมองว่าทุกคนค่อนข้างกังวลในส่วนนี้ แต่หากเราลองมองในความเป็นจริงแล้ว ในส่วนของอุตสาหกรรมโรงแรม มีสัดส่วนไม่มากอย่างที่หลาย ๆ คนคิดกัน ในดัชนี SET Index ของไทยเรา ดังนั้นปัญหาเรื่องการนักท่องเที่ยวหดหาย และการเดินทางลดลงคงจะเรียกได้ว่าตัดออกไปได้ก็คงจะไม่ผิดนัก ส่วนอนาคตของอุตสาหกรรมนี้คงออกมาในเชิงกลาง ๆ เพราะ การท่องเที่ยวในประเทศคงเริ่มกลับมาได้บ้าง แต่ยังติดปัญหาตรงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ผมขอไม่ลงลึกรายละเอียดในส่วนนี้เนื่องจากไม่มีผลต่อดัชนีมากนัก สรุปมุมมอง จะกลับมาได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศ ให้มุมมองเป็นปานกลาง แต่ไม่ได้มีผลต่อดัชนีมากนัก เพราะ มีสัดส่วนที่น้อย มุมมองเชิงเทคนิคอล ภาพแสดงการเคลื่อนไหวของดัชนี SET Index ที่มีลักษณะสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกับดัชนี Dow Jones (วันที่ 8 มิถุนายน 2020) ในเชิงเทคนิคอลแล้วหากสินทรัพย์ได้เคลื่อนที่ในลักษณะที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันเราสามารถนำมาวิเคราะห์คู่กันได้เพื่อดูตัวที่สัญญาณชัดเจนกว่า ในที่นี่ผมจะขอให้มุมมองทางเทคนิคของดัชนี Dow Jones ไว้ด้วยเนื่องด้วยการให้สัญญาณที่ชัดเจนกว่า Dow Jones ภาพแสดงราคาดัชนี Dow Jones (วันที่ 28 พฤษภาคม 2020) จากภาพที่ผมมองว่าเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2020 ว่าดัชนี Dow Jones อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นรวมถึงมีการก่อตัวพักของราคาเล็ก ๆ ก่อนจะมีการ Breakout (สัญญาณยืนยันการไปต่อของราคา) ซึ่ง ณ ปัจจุบันราคาก็ได้พุ่งขึ้นไปต่อเกินแท่ง Breakout ในวันศุกร์ที่ผ่านมา และมีความเป็นไปได้สูงว่าอาจทำจุดสูงสุดใหม่ (New High) ได้ในอนาคต ซึ่งหากดัชนี Dow Jones มีแนวโน้มที่ราคาจะไปต่อ ทาง SET Index ก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกันจากการเคลื่อนที่ของราคาที่สัมพันธ์กัน ในส่วนต่อไปจะมีการให้มุมมองทางเทคนิคของดัขนี SET Index เช่นเดียวกันถึงแม้สัญญาณอาจจะไม่ชัดเจนเท่ากับดัชนี Dow Jones แต่ก็พอมีนัยยะพอสมควร… SET Index ภาพแสดงราคาดัชนี SET Index (วันที่ 8 มิถุนายน 2020) ในส่วนของดัชนี SET Index นั้นราคายังเรียกได้ว่ายืนหยัดได้ไหวอยู่จากเส้น Moving average 200 วัน อีกทั้งยังเป็นจุดเดียวกับแนวรับของเครื่องมืออย่าง Fibonacci retracement ที่ระดับ 0.50 พอดิบพอดี จึงอาจแสดงถึงว่า ดัชนี SET Index ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้และต้องจับตามองก็คือ RSI (เครื่องมือใช้วัดว่าราคาพุ่งสูงเกินไปหรือลงมากเกินไป หรือไม่) ซึ่ง ณ ตอนนี้ตัว RSI เองก็ยังอยู่ในระดับกลาง ๆ จึงถือได้ว่าหากเข้าซื้อตอนนี้ ก็ยังอยู่ในจุดที่ได้เปรียบพอแรงเข้าซื้อไม่ได้เว่อร์วังจนเกินไป โดยอาจมีการพักสั้น ๆ เล็กน้อย (Sideway) ไม่รุนแรง แนวต้านถัดไปที่ SET Index จะไปทดสอบหลัก ๆ ก็คือราว ๆ 1,600 จุด ซึ่งเป็นฐานเก่า (เส้นตรงสีดำ) ของราคาขนาดใหญ่พอประมาณ (ยิ่งใหญ่ยิ่งมีความสำคัญในเชิงเทคนิคอล) ดังนั้นผมมองว่าตอนนี้จึงเป็นโอกาสที่เราจะเข้าสะสมก่อนดัชนีจะแตะ 1,600 จุด และอาจเกิดการพักตัวขึ้นมา สรุปมุมมอง TMB50 (SET Index) อุตสาหกรรมพลังงาน เชิงบวก อุตสาหกรรมธนาคาร เชิงบวกระยะสั้น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงาน เชิงบวกปานกลาง อุตสาหกรรมโครงสร้างการขนส่งพื้นฐาน เชิงลบ อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เชิงบวก มุมมองทางเทคนิคอล เชิงบวกระยะสั้น-กลาง ดังนั้นหากสรุปมุมมองจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ข้างต้น หุ้นไทยในตอนนี้อาจจะเรียกได้ว่าอยู่ในจุด ที่โดยรวมแล้วเป็นเชิงบวก โดยอาจมีปัจจัยลบอย่างอุตสาหกรรมโครงสร้างการขนส่งพื้นฐาน แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการเข้าซื้อในช่วงนี้ก็ยังถือว่าเข้าซื้อได้ ซึ่งหากประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคแล้วดัชนี SET Index อาจจะพักตัวที่แนวต้านราว ๆ 1,600 จุดอีกครั้ง เพราะฉะนั้นตอนนี้จึงอาจเป็นโอกาสเหมาะที่จะเข้าซื้อ ก่อนจะเข้าสะสมอีกทีตอนที่ราคาพักตัวตอนแตะ 1,600 จุด หลาย ๆ คนอาจจะตีความหุ้นไทยไปในเชิงลบ แต่แท้จริงแล้วหุ้นไทยเราอาจกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวตามภูมิภาคอื่น ๆ อยู่ก็เป็นได้ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin References https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyKnowledge/Pages/Target.aspx https://www.investing.com/economic-calendar/unemployment-rate-300 https://www.investing.com/economic-calendar/initial-jobless-claims-294 https://oec.world/en/profile/country/tha/ https://tradingeconomics.com/china/manufacturing-pmi https://tradingeconomics.com/china/services-pmi Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW Long Content Product Info SET Index TMB50 ดัชนีหุ้นไทย แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: เผยผู้ชนะตัวจริงของการรีบาวนด์ V-SHAPE รอบนี้ (8 มิ.ย. 63) - FINNOMENA จากที่เคยนั่งเดากันว่าาการ rebound จะเป็น U-shape หรือ V-shape หรือ L-shape ตอนนี้ค่อนข้างชัวร์แล้วว่าหวยไปตกอยู่ที่ V-shape สำหรับสัปดาห์นี้มีโอกาสการลงทุนอะไรที่น่าสนใจ หาคำตอบได้ในสรุป LIVE รายการ THE OPPORTUNITY ประจำวันที่ 8 มิ.ย. 63 นี้ครับ 8 มิ.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ต้อนรับวันจันทร์ต้นสัปดาห์ด้วย LIVE รายการ THE OPPORTUNITY โดยคุณเจ็ท (FundTalk) และคุณแบงค์ (Mr.Messenger) เหมือนเดิมครับ รายการนี้จัดขึ้นเพื่อเอาใจนักลงทุนสาย DIY โดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนคิดเป็น 50% ของลูกค้าของ FINNOMENA ทั้งหมด นักลงทุน DIY ท่านใดมีเงินก้อนอยู่ตอนนี้แต่ยังไม่รู้จะลงทุนกองทุนไหนดี ติดตามรายการ THE OPPORTUNIY ได้เลยครับ สำหรับสรุป LIVE ทีมงานขอเปลี่ยนรูปแบบการสรุปให้สั้นลง แต่ยังคงประเด็นที่น่าสนใจไว้ เพื่อที่จะได้ประหยัดผู้อ่านที่มีเวลาไม่มาก สำหรับท่านที่อ่านแล้วอยากฟังข้อมูลเพิ่มเติมสามารถฟังได้ใน LIVE ครับ Market Wrap Up: เกิดอะไรขึ้นบ้างในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากที่เคยคาดการณ์ว่าการ rebound จะเป็น U-shape / V-shape / L-shape ตอนนี้ค่อนข้างชัวร์แล้วว่าเป็น V-shape ผู้ชนะที่ตัวจริงที่ฟื้นตัวแบบ V-shape ในรอบนี้คือ NASDAQ ซึ่งก็คือหุ้นเทคฯนั่นเอง โดยดัชนี NASDAQ100 เพิ่งทะลุ all-time-high ไป ส่วน NASDAQ ก็กำลังเทสระดับ all-time-high อยู่ การ Rebound รอบนี้มีหลายคนตกรถ สังเกตจาก Fund Flow ในช่วงที่ผ่านมา ที่เงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ไปกองอยู่ใน Money Market เพื่อความปลอดภัย หลายๆภูมิภาคกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา กราฟสามารถผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันขึ้นมาได้ทั้งตลาด Asia ex Japan, Europe, Emerging Market เช่นเดียวกับ SET ที่ผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันอย่างง่ายดาย แนวต้านที่ควรระมัดระวังถัดไปคือเส้นฟิโบนักชี 61.8% ที่แถวๆ 1,464 ถ้าหากทะลุผ่านไปได้มองว่าให้ตั้งเป้าไว้แถวๆ 1,600 เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้ เนื่องจาก Dollar Index ที่อ่อนลงจากการทำ QE ชุดใหญ่ของ FED โอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่ากลับมาได้ อาจเกิดจากการที่ยุโรปเริ่มอัด QE บ้างเพื่อให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนลง และจากการที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาดีกว่าคาด ถ้าดอลลาร์กลับมาแข็ง เงินบาทก็อาจจะกลับมาอ่อนได้ สำหรับราคาทองมีการปรับฐานลงมา ส่วนหนึ่งมาจากหุ้นที่ตอนนี้โตแรงกว่า และ Dollar Index ที่อ่อน ถ้าดอลลาร์กลับมาแข็งและเม็ดเงินกลับไปที่ทอง ราคาทองอาจจะวิ่ง แนะนำนักลงทุนให้รอดูท่าทีทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ก่อน โพยกองทุนน่าลงทุนในช่วงนี้ OPPORTUNITY 1: World of Yield Seeker จาก research นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่า กว่า FED จะกลับมาขึ้นดอกเบี้ยต้องใช้เวลา 2 ปี (ปี 2022) ดังนั้นนักลงทุนจะเริ่มมองหาการลงทุนที่ให้ yield สูงขึ้น กองทุนที่ FINNOMENA แนะนำในโอกาสนี้ มีอยู่ 3 กองด้วยกัน คือ 1. PHATRA G-UBOND-H (ความเสี่ยง: ต่ำ) เพราะว่า – Spread ของพันธบัตรสหรัฐเริ่มแคบลงมาเรื่อยๆ ส่งผลให้ราคาของ Corporate Bond เริ่มดีขึ้นจากการที่ FED เข้ามาหนุน กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลกอย่างกอง PHATRA G-UBOND-H จึงน่าสนใจ 2. LHTPROP (ความเสี่ยง: ปานกลาง) เพราะว่า – กองอสังหาไทยค่อยๆฟื้นตัว Yield ตอนนี้อยู่ที่ 5.6% ซึ่งยังมองว่าสูงอยู่ ในภาวะ New Normal บางสินทรัพย์ขึ้นไปโดยที่ไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ อาจจะอันตราย แต่การลงทุนในอสังหาอย่างน้อยก็มี Yield เป็นพื้นฐาน จึงลงทุนในระยะยาวได้ 3. KT-PROPERTY (ความเสี่ยง: ปานกลาง) เพราะว่า – ถ้าผลตอบแทนจาก Bond เริ่มไม่พอสำหรับนักลงทุน เงินจะไหลมาที่ Yield ที่สูงขึ้นอย่างเช่น REIT ซึ่งกองนี้ลงอยู่ใน REIT ทั่วโลก นอกจาก Yield ที่ค่อนข้างโอเค ถ้าเกิดตลาดเกิดวกกลับเป็นขาลง กลุ่มอสังหาเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบไม่มาก จึงปลอดภัยพอสมควร ทั้ง LHTPROP และ KT-PROPERTY OPPORTUNITY 2: Pick the winner The Winner ช่วงนี้คงเป็นใครไม่ได้นอกจากหุ้นเทคฯ รายการ THE OPPORTUNITY ก็ยังยืนยันมุมมองเดิมในการแนะนำกองทุนทั้ง 2 กองนี้ โดยเราไม่ได้เลือกกองทุนจากการที่มันขึ้นมาสูง แต่เราเลือกการที่มันจะสามารถขึ้นสูงไปได้อีก โดยกองทุนที่แนะนำคือ 1. KF-GTECH (ความเสี่ยง: สูง) 2. ONE-UGG-RA (ความเสี่ยง: สูง) เพราะว่า – FINNOMENA ได้ทำการ Tactical Call กอง KF-GTECH และ ONE-UGG-RA ไปเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมเนื่องจากเห็นสัญญาณซื้อ และตอนนี้ทั้งสองกองก็ยังสามารถโตได้ต่อเนื่อง สามารถซื้อถือได้ในระยะยาวเพราะพิสูจน์มาแล้วว่าเป็น The Winner ในวิกฤตนี้จริงๆ ส่วนการเทรดสั้นอาจจะต้องรอดูก่อน เพราะราคาถือว่าขึ้นไปสูงมากแล้ว สำหรับนักลงทุนที่ทันเข้า Tactical Call ยังไม่แนะนำให้ออกในตอนนี้ เพราะยังไม่เห็นสัญญาณการย่อตัวครับ หวังว่าสรุป LIVE วันนี้จะเป็นข้อมูลให้นักลงทุนทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Long Content Picture Slide แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ฟิน!... - FINNOMENA นี่น่าจะเป็นการ “ฟื้นตัว” จากวิกฤติที่ “สุดยอด” ที่สุด นักลงทุนจำนวนไม่น้อยในช่วงนี้น่าจะมีความสุขมากขนาดที่เรียกตามภาษาวัยรุ่นว่า “ฟิน” กันไปเลย คำถามสำคัญสำหรับนักลงทุนที่เน้นดู “พื้นฐานที่แท้จริง” ของหุ้นในระยะยาวก็คือ ราคาหรือดัชนีหุ้นในช่วงนี้สูงเกินไปหรือยัง การพุ่งขึ้นของหุ้นอย่างรวดเร็วในช่วงนี้มีพื้นฐานที่รองรับหรือไม่? 8 มิ.ย. 2563 ตลาดหุ้นสัปดาห์ที่แล้วดูสดใสมากจนทำให้นักลงทุนจำนวนมากคิดว่าเราน่าจะกำลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ซึ่งเริ่มขึ้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 1,500 จุด พอถึงกลางเดือนมีนาคม ดัชนีก็ตกลงมาเหลือเพียงประมาณ 1,000 จุดเศษ ๆ หรือเป็นการลดลงประมาณ 33% ภายในเวลาเพียงเดือนเดียว ซึ่งเข้าข่ายเป็น “วิกฤติตลาดหุ้น” ซึ่งมีสาเหตุจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าที่กระจายไปทั่วโลกและทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้อง “ปิดเมือง” ส่งผลให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้น “รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่ง” ในเกือบทุกประเทศ แต่แล้ว ภายในเวลาเพียงแค่ 2-3 เดือนจนถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ดัชนีตลาดหุ้นจำนวนมากในโลกก็ปรับตัวขึ้นอย่างแรง เฉพาะอย่างยิ่งดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยปรับตัวขึ้นเป็น 1,436 จุด หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 40% จากจุดต่ำสุดในช่วงวิกฤติ การปรับตัวขึ้นของหุ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้ มาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่คึกคักมาก เฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4 วันทำการในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้นทุกวัน รวมแล้วประมาณ 7% แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ปริมาณการซื้อขายหุ้นในวันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2563 นั้นสูงถึงกว่าแสนสองหมื่นล้านบาทต่อวันซึ่งแทบไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย ดังนั้น นี่น่าจะเป็นการ “ฟื้นตัว” จากวิกฤติที่ “สุดยอด” ที่สุดเท่าที่ผมจำความได้ คนที่พอร์ตว่าง ไม่มีหุ้นหรือถือหุ้นน้อยมากที่กล้าเข้าไป “ช้อนซื้อหุ้น” ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาและถือจนถึงวันนี้น่าจะทำกำไรได้มหาศาล นักลงทุนจำนวนไม่น้อยในช่วงนี้น่าจะมีความสุขมากขนาดที่เรียกตามภาษาวัยรุ่นว่า “ฟิน” กันไปเลย อย่างไรก็ตาม คนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานานและมักจะอยู่แทบจะตลอดเวลานั้น ถึงวันนี้ก็อาจจะยังขาดทุนอยู่ เพราะดัชนีตลาดหุ้นจนถึงวันนี้ก็ยังต่ำกว่าเมื่อสิ้นปี 2562 ที่ 1,580 จุด หรือต่ำกว่าประมาณ 9% ผมไม่รู้ว่าอารมณ์พวกเขาจะเป็นอย่างไร แต่ความรู้สึกของผมเองนั้นก็คือรู้สึกดีขึ้นมากแม้ว่าจะยังไม่ได้ช้อนซื้อหุ้นที่ตกลงมามากในช่วงวิกฤติ เงินสดที่ถืออยู่ประมาณเกือบ 10% ของพอร์ตตั้งแต่ก่อนวิกฤติถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ซื้อหุ้นทั้ง ๆ ที่ “จดจ้อง” มานานแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ที่คิดว่าปีนี้จะเป็นปีที่แย่มากนั้น ถึงวันนี้ก็แทบจะไม่ขาดทุนแล้ว ความรู้สึกดี ๆ ที่เห็นหุ้นปรับตัวขึ้นแรงเกือบทุกวันและนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนส่วนบุคคลแห่กลับเข้ามาซื้อหุ้นราวกับว่าเราอยู่ในช่วง “กระทิงดุ” นั้น มันเป็นเหมือนการ “สะกดจิต” ให้เรามีความมั่นใจว่าหุ้นจะต้องขึ้นต่อไปอีกอย่างแน่นอน ใครไม่รีบก็จะต้อง “ตกรถ” อาการของตลาดหุ้นบูมนั้นเกิดขึ้นในทุกมิติ การเก็งกำไรของรายย่อย การปั่นหุ้นของขาใหญ่ บทวิเคราะห์หุ้นที่ไม่คำนึงถึงพื้นฐานแต่เน้นสตอรี่ต่าง ๆ กลับคืนมา เวลาพูดถึงหุ้น ทุกคนต่างพูดกันถึงการ Turnaround พูดถึงการเติบโตของกำไรที่จะกลับมาหลังไตรมาส 2 หรือปีหน้า นักวิเคราะห์จำนวนมากพูดถึงเม็ดเงินที่จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเพราะภาวะเงินที่ล้นอยู่ในระบบอานิสงส์จากดอกเบี้ยที่ต่ำลงและการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลก แต่ทั้งหมดนั้นก็ยังไม่เท่ากับความหวังและความเชื่อมั่นว่าภาวะเรื่องของโควิด-19 กำลังจะจบลงในไม่ช้าและทุกประเทศต่างก็ทยอยเปิดเศรษฐกิจแม้ว่าโควิดก็ยังไม่หมดไป ถ้าจะพูดว่าเวลานี้ประเทศส่วนใหญ่กำลัง “มองผ่านโรคโควิด-19 ไปแล้ว” ก็น่าจะได้ สงครามกับเชื้อโรคนั้นกำลังจบลงแล้วด้วย “ชัยชนะ” ของมนุษยชาติ สงครามต่อไปก็คือ “สงครามทางเศรษฐกิจ” ที่ทุกประเทศต่างก็พยายามต่อสู้เพื่อไปสู่ชัยชนะเช่นเดียวกันในที่สุด สัปดาห์ก่อนผมเองไปเที่ยวพักผ่อนที่หัวหิน สิ่งที่พบก็คือ ชายหาดหน้าโรงแรมหรูที่ผมพักอยู่นั้นค่อนข้างคึกคักแม้เป็นวันธรรมดา อัตราการเข้าพักของโรงแรมนั้นต้องถือว่า “เต็ม” อย่างไม่น่าเชื่อ ผมคิดว่าหัวหินนั้นได้เปรียบที่คนกรุงเทพฯ สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวซึ่งทำให้ความเสี่ยงในการติดโควิดไม่มี การพักผ่อนริมชายหาดที่เป็นสถานที่เปิดนั้นความเสี่ยงในการติดเชื้อก็น่าจะน้อย ดังนั้น นี่เป็นทางเลือกแรกของการท่องเที่ยว ผมคิดว่าหากสถานการณ์การติดเชื้อของไทยยังดีแบบนี้อยู่ การท่องเที่ยวในประเทศแม้แต่การเดินทางด้วยเครื่องบินก็น่าจะดีขึ้น เช่นเดียวกับการท่องเที่ยว ผมเองก็เริ่ม “เดินห้าง” เพราะมันเป็นกิจวัตรในยามปกติของผม จำนวนคนในห้างที่ผมเห็นก็ดูเหมือนว่าจะเพิ่มขึ้นพอสมควรแล้ว เช่นเดียวกับภัตตาคารในห้างที่คนเริ่มเข้าไปนั่งกินที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ข้อมูลจากคนในวงการบอกว่าขณะนี้อัตราการใช้บริการประมาณ 50-60% ของอัตราก่อนโควิดไปแล้ว นี่คือสถานการณ์ของภาคธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้เปิดซึ่งผมคิดว่าน่าจะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ จนใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด สนามรบต่อไปที่น่าจะตามมาในไม่ช้าก็คือการเปิด “เต็มที่” ในทุกธุรกิจซึ่งรวมถึงการชุมนุมคนจำนวนมากเช่น การแข่งขันกีฬา งานสัมมนา มหกรรมการแสดงและขายสินค้า การจัดคอนเสิร์ต และที่สำคัญมากที่สุดก็คือ การเปิด “ชีวิตกลางคืน” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใหญ่มากในสังคมไทย ทั้งหมดนี้ ผมคิดว่าจะเกิดขึ้นภายในไม่เกิน 2 เดือน เพราะดูแล้วเหตุผลที่จะไม่เปิดนั้นมีน้อย ว่าที่จริง เป็นเวลากว่า 10 วันติดต่อกันแล้วที่เราไม่มีคนในประเทศติดเชื้อกันเองเลย กิจกรรมสุดท้ายที่สำคัญไม่น้อยกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ที่กล่าวถึงทั้งหมดก็คือ การ “เปิดประเทศ” ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เพราะนี่อาจจะมีผลกับคนไทยหลายล้านคนหรือคิดเป็นประมาณ 10% ของ GDP แต่ผมยังไม่เห็นแผนการที่ชัดเจนเนื่องจากการระบาดของเชื้อโรคในต่างประเทศส่วนใหญ่ก็ยังไม่สงบเพียงพอ การเปิดประเทศอาจจะทำให้เรามีความเสี่ยงที่โรคจะระบาดซ้ำ ผมเองคิดว่าประเด็นนี้อาจจะลากยาวไปอีกหลายเดือนและถ้าจะให้เปิดได้เสรีกับนักท่องเที่ยวเกือบทุกประเทศก็อาจจะใช้เวลาเป็นปีหรือมากกว่านั้น ดังนั้น การท่องเที่ยวจากต่างประเทศก็จะเป็นภาคเศรษฐกิจที่จะเป็น “ลมต้าน” สำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถจะโตกลับมาเท่าเดิมภายในเวลาก่อน 2 ปี คำถามสำคัญสำหรับนักลงทุนที่เน้นดู “พื้นฐานที่แท้จริง” ของหุ้นในระยะยาวก็คือ ราคาหรือดัชนีหุ้นในช่วงนี้สูงเกินไปหรือยัง การพุ่งขึ้นของหุ้นอย่างรวดเร็วในช่วงนี้มีพื้นฐานที่รองรับหรือไม่? ถ้ามองว่าราคาหุ้นไทยก่อนโควิด-19 นั้นมีความเหมาะสมอยู่แล้ว เพราะดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 1,500 จุด ซึ่งมีค่า PE ที่ประมาณ 18 เท่า ซึ่งทำให้ค่า EP เท่ากับ 5.5% ต่อปีเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ประมาณ 1-2% ก็คือมีส่วนต่างประมาณ 3.5-4.5% สำหรับการรับความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นนั้น มองจากประวัติศาสตร์ก็ดูเหมาะสม ไม่แพงหรือถูกเกินไป แต่การเกิดของโควิด-19 นั้น ถ้าเราสมมติว่าจะทำให้เศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนถอยหลังไป 2 ปี คือต้องใช้เวลาอีก 2 ปี เศรษฐกิจและกำไรถึงจะกลับมาที่เดิม นั่นก็แปลว่าดัชนีหุ้นตอนนี้ควรที่จะต่ำกว่า 1,500 จุด ซัก 12% เพื่อที่ว่าตลาดหุ้นจะโตขึ้นปีละ 6% ต่อปีซึ่งเป็นอัตราที่ผมคิดว่าตลาดหุ้นจะทำได้ในระยะยาวนับจากวันนี้ นั่นก็หมายความว่าดัชนีที่เหมาะสมในวันนี้ก็ควรจะเป็นประมาณ 1,320 จุด ซึ่งต่ำกว่า 1,436 จุด และถ้าเราเชื่อตามนี้ก็หมายความว่าดัชนีหุ้นที่เราเห็นในวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ก็ถือว่า “เต็มมูลค่า” แล้ว แน่นอนว่าการคาดการณ์แบบหยาบที่สุดข้างต้นนั้น มีโอกาสผิดพลาดสูงมากทั้งทางบวกและทางลบ แต่การที่หุ้นปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับปริมาณการซื้อขายสูงลิ่วและเกิดขึ้นในยามที่คนจำนวนมากกำลังมีความหวังสูงสุดและสถานการณ์เต็มไปด้วยความสดใสหลังจากความเศร้าหมองหดหู่ซึ่งมักจะก่อให้เกิด “Euphoria” หรือความ “ฟิน” ในตลาดหุ้นนั้น เราในฐานะ VI ก็จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะตลาดหุ้นจะมีเหตุผลซึ่งทำให้ดัชนีหุ้นมีเหตุผลก็ต่อเมื่อคนไม่อยู่ในภาวะที่ฟินหรือหดหู่เกินไป ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/06/08/2335 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content ตลาดหุ้น หุ้น แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เจาะลึก!!! "Holding Foreign Companies Accountable Act" กฏหมายที่อาจเพิกถอนหุ้นจีนในสหรัฐฯ - FINNOMENA "Holding Foreign Companies Accountable Act" มีเนื้อหาสาระสำคัญคือ บริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้นต้องปราศจากการครอบงำจากรัฐบาลต่างชาติ ต้องบอกว่าถือว่ามีทั้งจุดที่น่ากังวลและมีจุดที่ไม่ต้องกังวลมากนักหลายส่วนด้วยกัน 5 มิ.ย. 2563 หนึ่งในข่าวใหญ่ที่นักลงทุนทั้งกองทุนรวมและหุ้นต่างประเทศหลาย ๆ คนอาจจะกังวลในช่วงที่ผ่านมานอกจาก COVID-19 แล้วก็คงหนีไม่พ้นความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกที ซึ่งมีหลากหลายประเด็นที่น่าพูดถึงเสียเหลือเกิน แต่ในวันนี้ จะมาขอพูดถึงหนึ่งประเด็นที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าวันที่ผ่านมา ก็คือการผ่านร่างกฏหมายของวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ชื่อว่า “Holding Foreign Companies Accountable Act” ออกมา ที่มีเนื้อหาสาระสำคัญก็คือ บริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้นต้องปราศจากการครอบงำจากรัฐบาลต่างชาติ ซึ่งแน่นอนว่าการจะเป็นเช่นนั้นได้ บริษัทเหล่านั้น ก็จะต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้และผ่านมาตรฐานของคณะกรรมการดูแลการบัญชีของบริษัทมหาชน (PCAOB) ซึ่งเป็นองค์กรตรวจสอบของสหรัฐฯ ที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2002 และทำการตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีของบริษัทต่าง ๆ อยู่แล้ว 3 ปีต่อเนื่อง หากทำไม่ได้แล้วก็มีสิทธิ์ที่จะถูกเพิกถอนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ได้ ซึ่งตัวกฏหมายฉบับนี้นั้น จริง ๆ แล้วไม่ได้ระบุประเทศไหนเป็นพิเศษแต่อย่างใด แต่ด้วยความขัดแย้งที่เร่งตัวขึ้นหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมานั้น ทำให้นักลงทุน และนักวิเคราะห์อดเชื่อไม่ได้ว่า ท้ายที่สุดแล้วนั้นกฏหมายฉบับนี้ถูกผ่านออกมาเพื่อสร้างแรงกดดันต่อจีนโดยตรง โดยที่ผ่านมานั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของจีน (กลต.) ก็อ้างว่าให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีตลอดมา แต่แน่นอนว่ากฏหมายแต่ละประเทศนั้นมีเนื้อหาสาระที่แตกต่างกันมาก ทำให้ก่อนหน้านี้พระราชบัญญัติ Sarbanes-Oxley ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการตรวจสอบบัญชีและจัดตั้ง PCAOB นั้นยังไม่ครอบคลุมบริษัทในบางประเทศ หากการตรวจสอบของ PCAOB ไปขัดแย้งกับกฏหมายพื้นฐานของประเทศนั้น ๆ เช่น จีน เบลเยี่ยม และฝรั่งเศส ที่ไม่ให้บริษัทสอบบัญชีในประเทศนั้น ๆ ส่งเอกสารทางบัญชีให้กับองค์กรระหว่างประเทศ หรือต่างประเทศอื่น ๆ แต่เมื่อข่าวการผ่านร่าง “Holding Foreign Companies Accountable Act” ของวุฒิสภาออกมานั้นมีการให้อำนาจเพิ่มเติมก็คือ จะต้องผ่านการตรวจสอบของ PCAOB 3 ปี ทำให้นักลงทุนเป็นกังวลกัน ว่าบริษัทจีนทั้งหลายที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่าง Alibaba, Netease, TAL Trip.com และเจ้าอื่น ๆ นั้นจะมีชะตากรรมเช่นไรต่อไป ก็ต้องบอกว่าถือว่ามีทั้งจุดที่น่ากังวลและมีจุดที่ไม่ต้องกังวลมากนักหลายส่วนด้วยกันประกอบไปด้วย จุดที่อาจจะยังไม่ต้องกังวลมากนัก 1. กฏหมายดังกล่าวผ่านเพียงวุฒิสภาซึ่งอยู่ภายใต้การครองคะแนนเสียงข้างมากของรีพับลิกันเท่านั้น และยังไม่มีกำหนดการลงมติต่อในสภาผู้แทนราษฎรที่เดโมแครตครองเสียงข้างมากแต่อย่างใด ทำให้ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ว่า ร่างกฏหมายดังกล่าวจะได้คลอดออกมาบังคับใช้อย่างจริงจังหรือไม่ หรือจะล่าช้าออกไป 2. บริษัทจีนหลาย ๆ บริษัท หากตรวจสอบลงไปแล้วเจ้าของที่แท้จริงไม่ใช่คนจีน เพราะการลงทุนข้ามประเทศนั้นมีกลไกให้เลือกใช้มากมาย และหนึ่งในกลไกที่นักลงทุนมือหนัก หรือเจ้าของบริษัทชาวจีนชอบใช้กันก็คือ การจัดตั้ง Variable Interest Entity (VIE) ขึ้นมาในประเทศที่เปิดกว้างทางการเงินอย่างหมู่เกาะเคย์แมน ซึ่งมีลักษณะคล้าย Holding Company ที่มีสัญญาพิเศษกันเพิ่มเติม เช่น ไม่ต้องมีส่วนร่วมในการกำไรหรือขาดทุนในบริษัที่ไปลงทุนนั้น ๆ แลกกับการไม่มีสิทธิ์ในการลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น ทำให้หากตรวจสอบลงไปแล้ว หลาย ๆ บริษัทที่เรามองผ่าน ๆ ว่ามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่จีน น่าจะเป็นของจีน แต่ผู้ถือหุ้นทางกฏหมายจริง ๆ อาจจะเป็นบริษัทในหมู่เกาะเคย์แมนก็เป็นได้ และเมื่อ PCAOB บังคับให้บริษัทนั้นเปิดเผยงบดุลทั้งหมด ก็จะกลายเป็นว่าได้งบดุลของ VIE ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะเคย์แมนแทน ซึ่งอาจสร้างช่องว่างทางกฏหมาย และกลายเป็นทางรอดของบริษัทนั้น ๆ ไม่ให้ถูกเพิกถอนได้ 3. หากถูกเพิกถอนจริง สุดท้ายแล้วบริษัทเหล่านั้นก็จะไปซื้อขายกันแบบต่อรองราคา (OTC) อยู่ดี ซึ่งทำให้หนึ่งในทางรอดของบริษัทเหล่านั้นระดมทุนที่อื่น มาซื้อหุ้นคืนที่สหรัฐฯ และไป IPO ที่อื่นแทน ทำให้เงินในมือของผู้ถือหุ้นก็ไม่ได้เป็นศูนย์ไปซะทีเดียว เพียงแค่อาจจะต้องลุ้นหน่อยเท่านั้นเอง ว่าจะได้ราคาดีหรือไม่ นอกจากนั้นแล้ว หลาย ๆ บริษัทที่มีความเสี่ยงก็มีการซื้อขายในมากกว่าหนึ่งตลาดอยู่แล้วด้วย เช่น China Eastern Airline ทำให้ง่ายต่อการระดมทุนมาชดเชยส่วนนี้ หรือ แม้กระทั่งบริษัทที่ซื้อขายที่สหรัฐฯ ที่เดียวก็สามารถที่จะโยกย้ายไปยังศูนย์กลางทางการเงินอื่นที่เชื่อมโยงกับจีนมากกว่าเดิม เช่น อังกฤษ หรือ ฮ่องกงก็สามารถทำได้ 4. หากเกิดเหตุการณ์ข้อ 3 ขึ้น ก็จะเป็นการลด Market Cap ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เอง และไปเพิ่ม Market Cap ของประเทศปลายทาง ทำให้ในระยะยาวแล้ว MSCI จะต้องมีการปรับน้ำหนักการคำนวณใหม่ และทำให้มีเม็ดเงินลงทุนของ ETF หรือกองทุน Passive ไหลไปที่นั้น ๆ แทน สหรัฐฯ ก็เสียผลประโยชน์เสียอีก 5. แม้กระทั่งกลุ่มบริษัทในสหรัฐฯ เองก็อาจจะไม่ค่อยเห็นด้วยกับกฏหมายฉบับนี้ เพราะหลาย ๆ บริษัททั้งกลุ่มบริหารหลักทรัย์ และ บริษัททั่ว ๆ ไป ก็มีสัดส่วนการถือครองในบริษัทเหล่านั้น อาทิ Blackrock และ Vanguard บริษัทบริหารหลักทรัย์รายต้น ๆ ของโลก เจ้าพ่อ ETF มีทรัพย์สินภายใต้การบริหาร (AUM) เฉพาะ ETF มากกว่า 2.56 ล้าน ๆ ซึ่งโดยลักษณะของ ETF แล้วนั้น ต้องลงทุนให้ใกล้เคียงกับดัชนีมากที่สุด ยังไม่รวมกลุ่มกองทุนดัชนีต่าง ๆ ที่มีเม็ดเงินมหาศาลไม่แพ้กัน ทำให้บริษัทบริหารหลักทรัย์มีน้ำหนักในบริษัทกลุ่มเสี่ยงถูกเพิกถอนเป็นจำนวนมาก ชนิดที่ว่าเปิดมาต้องเห็น 1 ใน 2 เจ้านี้ติดผู้ถือหุ้นอยู่เสมอ ยังไม่รวมไปถึงบริษัทอื่น ๆ เช่น Walmart และ Google ที่ถือหุ้นอย่าง JD.com บางส่วนด้วย ทำให้แนวโน้มที่บริษัทเหล่านี้จะต่อต้านกฏหมายดังกล่าวมีค่อนข้างมาก เพราะกระทบกับบริษัทเหล่านี้โดยตรง จุดที่อาจจะน่ากังวลพอสมควร 1. Market Cap ของกว่า 150 บริษัทจีนที่ซื้อขายในสหรัฐฯ นั้นคิดเป็นเพียง 3.3% ของทั้งตลาดเท่านั้นเอง ทำให้แม้จะมีการไหลออกของ Fundflow บางส่วนหากการคำนวณของ MSCI เปลี่ยนไปตามที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านั้น ผลกระทบก็จะอยู่ในวงจำกัด 2. หลาย ๆ บริษัทของจีนที่ซื้อขายในสหรัฐฯ นั้น เป็นรัฐวิสาหกิจ (SOEs) โดยตรง เช่น China Life, China Eastern Airlines ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าอยู่ภายใต้การครอบงำของรัฐบาลกลางจีน 3. รัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ภายใต้การนำของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จุดนี้ทำให้ยากเหลือเกินที่จะคาดเดาได้ว่าทรัมป์นั้นจะปรี๊ดแตก และยกระดับความตึงเครียดหรือไม่ และเมื่อไหร่ ทำให้ท้ายที่สุดแล้วนั้น แม้เหตุผลของแนวโน้มที่จะไม่ส่งผลเสียมีมาก แต่ความเป็นไปได้ของการเล่นแรงครั้งนี้ก็ยังมีอยู่… #แอดลุง AKN Blog Source : Marketwatch, Forbes, Investopedia, the motley Fool ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/aknblog/posts/3010627755657482 แท็ก: Advance Article Holding Foreign Companies Accountable Act Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน AKN Blog อ่านข่าวนอกยามว่าง เพื่อเปิดโลกกว้างและสร้างสรรค์มุมมองใหม่ๆ ไม่ว่าข่าวหรือบทความใดๆ ล้วนมีประโยชน์เสมอ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เจาะลึกตลาดน้ำมัน ราคาจะไปในทิศทางไหนต่อ? - FINNOMENA ราคาน้ำมันนั้นได้ค่อย ๆ ทยอยปรับตัวสูงขึ้นมาตลอดเดือนพฤษภาคม โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ได้ไต่ขึ้นมาประมาณ +70% จากระดับ 22 เหรียญช่วงต้นเดือนก่อนที่จะมาปิดเดือนที่ระดับ 37 เหรียญ คำถามที่สำคัญต่อไปนี้คือ ราคาน้ำมันจะยังเป็นขาขึ้นอยู่ต่อไปไหม ? 5 มิ.ย. 2563 ราคาน้ำมันนั้นได้ค่อย ๆ ทยอยปรับตัวสูงขึ้นมาตลอดเดือนพฤษภาคม โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ได้ไต่ขึ้นมาประมาณ +70% จากระดับ 22 เหรียญช่วงต้นเดือนก่อนที่จะมาปิดเดือนที่ระดับ 37 เหรียญ โดยเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ราคาน้ำมันนั้นดีดตัวขึ้นมาก็มีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือ 1. การทยอยกลับมาผ่อนคลายนโยบาย Lockdown ของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกช่วยกระตุ้นให้การใช้น้ำมันดีดกลับขึ้นมาเร็วกว่าที่คาด 2. ทางกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรวมพลังกันลดการผลิตได้สูงและเร็วกว่าที่คาดไว้ ! โดยภายในเพียง 1 เดือนที่เริ่มลดการผลิต อุปทานน้ำมันทั่วโลกได้หายไปแล้วกว่า 15% แต่คำถามที่สำคัญกว่าต่อไปนี้คือ ราคาน้ำมันจะยังเป็นขาขึ้นอยู่ต่อไปไหม ? ต้องบอกก่อนว่าตลาดน้ำมันตอนนี้นั้นคาดเดาทิศทางได้ยากกว่าตลาดหุ้น เพราะตลาดหุ้นหลัก ๆ ตอนนี้นั้นกำลังขึ้นอยู่กับการระบาดของไวรัสว่าจะมีเฟสสองหรือไม่เป็นหลัก (น่าจะประมาณ 75%) ส่วนเรื่องของความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน การประท้วงในสหรัฐต่าง ๆ ที่เกิด หรือนโยบายทางการเงินต่าง ๆ นั้นน่าจะเป็นอีก 25% ที่เหลือ ในขณะที่ราคาน้ำมันนั้นตอนนี้ตัวแปรมีมากกว่าเยอะ เพราะการระบาดของไวรัสนั้นน่าจะมีผลกระทบไม่ถึงครึ่งของตลาดน้ำมันในตอนนี้ เพราะตลาดกำลังจะเปลี่ยนโฟกัสไปที่ด้านอุปทานแทน ซึ่งน่าจะมีผลกระทบต่อราคามากกว่า 50% โดยเฉพาะทางกลุ่มโอเปกและพันธมิตรกำลังจะมีการประชุมใหญ่กันในวันที่ 9 มิถุนายนนี้ ในการวิเคราะห์ว่ากลุ่มโอเปกและพันธมิตรจะมีนโยบายอย่างในการประชุมนั้น ยากกว่าการจะคาดเดาตัวเลขของการระบาดที่เริ่มจะนิ่ง ๆ แล้วอยู่แล้วสูงมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าผู้นำแต่ละประเทศนั้นวางแผนอะไรไว้บ้างและการตัดสินใจของคนเรานั้นเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ต่างจากไวรัสที่หากพยายามควบคุมไว้เราก็พอกำหนดมันได้ โดยเฉพาะในช่วงเดือนหลัง ๆ ที่สมาชิกทางกลุ่มโอเปกแต่ละประเทศนั้นต่างมีมุมมองที่แตกต่างกันไป จนเราเคยเห็นการเดินออกจากการประชุมกลางคันของรัสเซีย และก่อให้เกิดสงครามราคาน้ำมันอย่างคาดไม่ถึง และนี่คือสาเหตุว่าทำไมดัชนีความผันผวนของราคาน้ำมันถึงยังเทรดอยู่สูงกว่า VIX ของตลาดหุ้นอยู่ถึง 3 เท่า ตลาดส่วนใหญ่นั้นมองว่าโอเปกจะยืดเวลาการลดการผลิตออกไปจนถึงสิ้นปี ในปัจจุบันนั้นทางโอเปกและพันธมิตรทั่วโลกตกลงที่จะลดกำลังการผลิตรวมกันที่ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ก่อนที่จะลดปริมาณการผลิตลงมาเป็น 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปจนถึงสิ้นปี เพราะคาดว่าการใช้น้ำมันจะเริ่มทยอยกลับมาแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลดกำลังการผลิตไปมากกว่านี้ แต่ล่าสุดนั้นข่าวเริ่มออกมาหนาหูมาก ๆ ว่า การที่ราคาน้ำมันนั้นกำลังดีดขึ้นกลับมาอย่างรวดเร็วนั้นเป็นที่น่าพอใจสำหรับกลุ่มโอเปกอย่างมาก ทางพี่ใหญ่ของกลุ่มอย่างซาอุดิอาระเบียและหลายประเทศในกลุ่มโอเปกจึงต้องการจะขยายเวลาในการลดกำลังการผลิตที่ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันนี้ออกไปจนถึงสิ้นปี หากเป็นแบบนั้นจริงราคาน้ำมันจะขึ้นอย่างต่อเนื่องแน่ ๆ เราคงไม่สามารถคาดเดาการตัดสินใจของโอเปกได้ แต่ยังมีอย่างอื่นที่เราพอวิเคราะห์ได้ หากกลุ่มโอเปกลดกำลังการผลิตต่อไปถึงสิ้นปีนั้นราคาน้ำมันจะขึ้นแน่ ๆ แต่ถ้าการประชุมมีมติที่จะคงแผนลดการผลิตเหมือนเดิมราคาน้ำมันก็จะโดนเทขายลงมาอย่างแน่นอน แต่ในการวิเคราะห์วันนี้เราจะขอถอดตัวแปรนี้ออกก่อนถึงแม้ว่ามันจะเป็นตัวแปรที่ใหญ่ที่สุดในตลาด แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้การวิเคราะห์น้ำมันนั้นจับต้องได้คือการวิเคราะห์จากมุมการใช้น้ำมันจริง ๆ ตลาดน้ำมันนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน 1. ราคาน้ำมันดิบที่ขึ้นลง 2. ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า 3. ราคาส่วนต่างของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป (ค่าการกลั่น) เราคงต้องทำความเข้าใจความเชื่องโยงของตลาดทั้งสามก่อนถึงจะวิเคราะห์ต่อไปได้ โดยหากจะพูดถึงความรวดเร็วของราคาที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพตลาดที่ดีขึ้นนั้นเราจะไล่เรียงลำดับได้จาก 1. ไป 3. เราจะเห็นได้ว่านับตั้งแต่การใช้เริ่มแสดงสัญญาณว่าจะกลับมา 1. ราคาน้ำมันดิบ เป็นสิ่งแรกที่พุ่งขึ้นมาก่อน เพราะตลาดนี้เป็นตลาดที่เงินทุนเข้าถึงได้เร็วที่สุด กองทุนเก็งกำไรเข้าซื้อสัญญาน้ำมันดิบ Futures ได้ พวกนักลงทุนรายย่อยต่างก็ใส่เงินเข้ามาผ่านกองทุนน้ำมันได้ ทำให้ราคานี้มีความเคลื่อนไหวได้เร็วที่สุด ต่อมา 2. ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า จะเป็นราคาที่สองที่ขยับเพราะเทรดเดอร์น้ำมันดิบทั่วโลกก็จ้องที่จะเก็งกำไรจากตลาดที่กำลังฟื้นกลับมา พอเห็นสัญญาณราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเทรดเดอร์น้ำมันดิบจึงกว้านซื้อเรือที่พร้อมส่งมอบน้ำมันในระยะสั้นเพื่อเก็งกำไร ทำให้ตอนนี้ส่วนต่างราคาล่วงหน้าที่เคยเป็น Contango ที่ลึกมากกำลังปรับตัวกลับไปเป็น Backwardation แล้ว อย่างที่ทางเพจได้วิเคราะห์ไปบ่อย ๆ และแล้วสุดท้าย หากการใช้กลับขึ้นมาจริง ๆ เราจะเห็นว่า 3. ราคาส่วนต่างของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป (ค่าการกลั่น) จะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ทยอยปรับขึ้น เพราะความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปจากปลายทาง เช่นการเดินทาง การขนส่ง การผลิตต่าง ๆ จะทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวสูงขึ้น ไม่ใช่เพราะเงินทุนต่าง ๆ ในตลาดที่ไหลเข้าไป แต่สิ่งที่น่าสนใจในตลาดตอนนี้คือ ค่าการกลั่นไม่ได้ปรับตัวขึ้นมาตามราคาน้ำมันดิบ หรือราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า อันนี้เป็นจุดที่น่าเป็นห่วงว่าเงินที่ไหลเข้ามาในตลาดและการเก็งกำไรของเทรดเดอร์น้ำมันดิบนั้นจะเป็นไปตามจริงไหม? เพราะถ้าสุดท้ายการใช้น้ำมันไม่ได้ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นได้จริง ๆ ราคาน้ำมันดิบก็จะต้องโดนเทขายลงไปใหม่ ผ่านมา 1 เดือนแล้วที่ราคาน้ำมันดิบและราคาซื้อขายล่วงหน้ากำลังปรับตัวสูงขึ้น ตลาดน้ำมันดิบหลายตลาดกำลังจะกลับตัวเป็น Backwardation แล้ว แต่ราคาค่าการกลั่นนั้นปรับตัวขึ้นมาน้อยมาก ๆ ! นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดีเลยครับ เหตุผลอาจจะเป็นไปได้สองทางคือ 1) การใช้ยังไม่ได้กลับมาเท่าที่คาดจริง ๆ หรือ 2) ตลาดอาจมีสต็อกเหลือล้นมากอยู่ แต่ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุผลไหนก็ตามหากค่าการกลั่นยังไม่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โรงกลั่นต่าง ๆ ก็จะต้องหยุดหรือลดการผลิตลงเพราะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างคุ้มค่า และสุดท้ายหากโรงกลั่นไม่ซื้อน้ำมันดิบ ความต้องการใช้น้ำมันดิบก็จะลดลง เทรดเดอร์น้ำมันดิบทั่วโลกก็ต้องขายเรือน้ำมันที่เก็งกำไรนั้นออกมา ตลาดก็จะกลับไป Contango มากขึ้นอีกครั้ง และเงินกองทุนต่าง ๆ ที่เก็งกำไรราคาน้ำมันไว้ก็จะโดนบีบให้เทขายออกมาอีกครั้งเพราะปัจจัยพื้นฐานไม่ได้ดีอย่างที่คาด การที่ราคาน้ำมันจะขึ้นอย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องมากจากการที่ค่าการกลั่นเป็นตัวนำ เราจะเห็นได้ว่าหากราคาน้ำมันดิบจะขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ นั้นราคาจะทรงอยู่ได้ไม่นานเลยเพราะมันเป็นปัจจัยในระยะสั้น แต่หากราคาจะทรงอยู่ได้นาน ๆ นั้นจะต้องเกิดจากค่าการกลั่นหรือการใช้น้ำมันปลายทางเป็นตัวดึง หรือเป็นที่รู้จักกันในคำว่า Demand Pull ถ้าเป็นแบบนี้ราคาน้ำมันก็จะอยู่ในระดับสูงได้นาน สรุป – ราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นจะยังคงขึ้นอยู่กับการประชุมโอเปกเป็นหลัก รองลงมาคือการระบาดของไวรัสและการกลับมาเปิดเมืองหรือการเดินทางระหว่างประเทศ แต่หากเราจะคงปัจจัยต่างๆด้านบนไว้ ค่าการกลั่นจะเป็นตัวแปรที่สำคัญมาก ๆ ต่อการที่ราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงได้นานแค่ไหน หากภายในเดือนนี้ค่าการกลั่นยังไม่ปรับตัวสูงขึ้นอีก เราอาจจะได้เห็นการเทขายอีกครั้งถึงแม้ทางโอเปกจะพยายามพยุงราคาไว้ก็ตาม KP ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/108586193028066/posts/555527898333891/ แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content ตลาดน้ำมัน ทิศทางราคาน้ำมัน น้ำมัน ราคาน้ำมัน แชร์บทความ: ผู้เขียน KP เป็นเทรดเดอร์ในตลาดน้ำมันมากว่า 13 ปี ตั้งใจสร้างเพจบน Facebook เพื่อเป็นการสอนและแชร์ความรู้เรื่องตลาดน้ำมันที่มีกลไกการซื้อขายที่ซับซ้อน แต่ก็มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลกและชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนอย่างมาก
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
"หุ้น tech" โอกาสหรือฟองสบู่แห่งความฝัน - FINNOMENA หุ้นเทคไม่มีคำว่าแพง ประโยคสุดคลาสสิคที่ผมเชื่อว่าอีกไม่ช้าสื่อต่าง ๆ จะประโคมข้อความในส่วนนี้สตอรี่อันยอดเยี่ยมและหอมหวานของหุ้นเทค ณ ตอนนี้ถือว่าเป็นเรื่องสุดร้อนแรงเลยก็ว่าได้ การสเกลที่เหนือชั้น การทำกำไรที่ยอดเยี่ยม แต่คำถามต่อไปคือ ในอนาคตข้างหน้าอันสั้นนี้มันใช่จริง ๆ หรือที่เราจะลงเงินไปกับมัน? 5 มิ.ย. 2563 “หุ้นเทคฯ ไม่มีคำว่าแพง” ประโยคสุดคลาสสิคที่ผมเชื่อว่าอีกไม่ช้าสื่อต่าง ๆ จะประโคมข้อความในส่วนนี้ สตอรี่อันยอดเยี่ยมและหอมหวานของหุ้นเทคฯ ณ ตอนนี้ถือว่าเป็นเรื่องสุดร้อนแรงเลยก็ว่าได้ การสเกลที่เหนือชั้น การทำกำไรที่ยอดเยี่ยม แต่คำถามต่อไปคือ ในอนาคตข้างหน้าอันสั้นนี้มันใช่จริง ๆ หรือที่เราจะลงเงินจำนวนมากไปกับมัน หาคำตอบไปพร้อม ๆ กันกับบทความของ Mr. Seortonin ได้เลยครับ ก่อนอื่นผมอยากให้ทุกคนลองนึกภาพว่าคนอื่น ๆ ก็ได้ยินสตอรี่เดียวกันนี้กับคุณ แล้วคุณคิดว่าคนอื่น ๆ จะทำอะไร? เขาก็คงแห่เข้าไปซื้อตามสตอรี่ให้มูลค่ามันบิดเบือนขึ้นไปอีก ดังนั้นในตอนนี้เราอาจจะเล่นอยู่บนคลื่นแห่งความคาดหวังลูกใหญ่ของหุ้นเทคโนโลยี ที่อาจสูงชันขึ้นไปเรื่อย ๆ และเมื่อใดที่แรงของมันหมดลง คนที่อยู่สูงที่สุดบนคลื่นอาจจะเป็นคนที่เจ็บตัวมากที่สุด… ซึ่งต่อไปนี้ผมจะมาให้มุมมองว่าหุ้นเทคโนโลยี ณ ตอนนี้อาจเล่นอยู่กับความคาดหวังที่อาจมากเกินไปในส่วนใดบ้าง… ความคาดหวังที่ 1 “ราคา” ดัชนีหุ้นเทคฯโนโลยีอย่าง NASDAQ ใกล้ทำ New High ภาพแสดงราคาดัชนี NASDAQ ที่จ่อทำ New High ในอนาคต คลื่นความคาดหวังลูกแรกของหุ้นเทคฯ คงหนีไม่พ้นเรื่องของ “ราคา” ที่ตอนนี้จ่อที่จะทำ New High เข้าไปเต็มแก่ขึ้นทุกทีในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ แต่หากเรามาสำรวจอารมณ์ตลาดกันสักนิดด้วยวิธีที่ง่ายที่สุดอย่างการไถ Facebook และ Twitter เช็คสถานการณ์ข่าวต่าง ๆ (ตลกร้ายคือหนึ่งในหุ้นเทคฯ) ก็จะเห็นได้ว่าอารมณ์ตลาดของผู้คน ณ ตอนนี้เป็นไปในทิศทางที่ค่อนข้างสับสน (แย่และดีสลับกันไป) เราอาจจะได้เห็นข่าวเรื่องตลาดหุ้นปิดบวกขึ้นมาบ้าง ผสมกับข่าวที่ตัวเลขการจ้างงานนั้นออกมาดีขึ้นแต่ผู้คนก็ยังตีความกันในเชิงลบออกไป ตัวเลขผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการในสหรัฐฯ ที่ออกมาในเชิงบวก แต่หากเราไปดูการตีความโดยทั่วไป เราอาจได้เห็นการสื่อสารในเชิงลบ ในไตรมาสหน้าหรืออีกไม่กี่ไตรมาสอันสั้นผมเชื่อว่าเราจะได้เห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางที่ดีขึ้นและผู้คนจะเริ่มแห่กันเข้ามาให้ความสนใจในหุ้น หากไม่มีเรื่องเหนือความคาดหมายอย่างไวรัสกลายพันธุ์หรือปัญหาโรคระบาดที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งผมไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าบอกตรง ๆ ก็คือผมไม่ใช่แพทย์หรือนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ แต่ด้วยปัจจัยในมุมมองของผู้ดำเนินนโยบาย และราคาทางเทคนิค ผมยังเชื่อว่าเราอาจจะอยู่ในช่วงกลับตัวเป็นขาขึ้น แต่ด้วยความสับสนดังกล่าว เราจึงอาจจะมองได้ว่ามุมมองเชิงบวกที่ผู้คนมีต่อหุ้น ณ ตอนนี้อยู่ในระดับเริ่มต้น-ปานกลางหากว่ากันด้วยเรื่องของ จิตวิทยาหมู่ (Crowd psychology) เพราะ คนออกแนวแคลงใจเล็ก ๆ ว่าดีหรือไม่ดีกันแน่ ดังนั้นในอนาคตสิ่งที่ผมเชื่อว่าจะเกิดขึ้นก็คืออารมณ์คนต่อตลาดหุ้นจะออกมาในเชิงบวก โดยหุ้นเทคฯ ก็จะออกมาเป็นเชิงบวกเช่นกัน แต่จะกลายเป็น “บวกเป็นพิเศษ” จากผลงานที่ผ่านมาของมัน ซึ่งอาจทำให้เกิด Fear of missing out และทำให้ผู้คนแห่กันเข้าไปซื้อด้วยความกลัวที่จะพลาดโอกาสที่ใครหลาย ๆ คนบอกว่า “ดีที่สุดแห่งทศวรรษ” นี้ไป ความคาดหวังที่ 2 “กำไร” คงต้องบอกผู้อ่านทุกท่านก่อนว่า ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องการคาดการณ์กำไรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนั้นผมจึงขอใช้ตัวช่วยสูตรลัดอย่างการใช้ตัวการคาดการณ์กำไรจาก Bloomberg โดยเส้นสีแดงแสดงถึงการคาดการณ์กำไรในอนาคต ในขณะที่เส้นสีขาวแสดงถึงราคาของหุ้นตัวนั้น ๆ ที่ได้วิ่งขึ้นไป การคาดการณ์กำไรของกลุ่มผู้นำเทคฯโนโลยี FAANG + M (Microsoft) ภาพแสดงการคาดการณ์กำไร (เส้นสีแดง) กับราคาหุ้น (เส้นสีขาว) ของ Facebook ภาพแสดงการคาดการณ์กำไร (เส้นสีแดง) กับราคาหุ้น (เส้นสีขาว) ของ Amazon ภาพแสดงการคาดการณ์กำไร (เส้นสีแดง) กับราคาหุ้น (เส้นสีขาว) ของ Apple ภาพแสดงการคาดการณ์กำไร (เส้นสีแดง) กับราคาหุ้น (เส้นสีขาว) ของ Netflix ภาพแสดงการคาดการณ์กำไร (เส้นสีแดง) กับราคาหุ้น (เส้นสีขาว) ของ Alphabet ภาพแสดงการคาดการณ์กำไร (เส้นสีแดง) กับราคาหุ้น (เส้นสีขาว) ของ Microsoft หากทุกคนเห็นภาพนี้คงตกอกตกใจกันเป็นแน่ เพราะ ความคาดหวังในเรื่องของกำไร ของหุ้นเทคฯ นั้นไปไกลซะเหลือเกิน แต่สิ่งที่ผมอยากให้ทุกคนทำก็คือ จดจำภาพนี้ไว้ในวันที่สื่อต่าง ๆ กำลังจะประโคมข่าวดีชุดใหญ่ (ไม่ใช่ในตอนนี้) ให้มันเตือนสติทุกคนว่า คิดดี ๆ ก่อนจะลงเงินก้อนใหญ่ของเราลงไป ด้วยความกลัวที่จะพลาดโอกาส (Fear of missing out) ของเราเอง ความคาดหวังที่ 3 “Fed จะทำให้เราแน่ใจว่าตลาดหุ้นขึ้นต่อไปได้เรื่อย ๆ” ที่ผมต้องพูดถึง Fed ก็เป็นเพราะว่า ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นที่ทำกำไรได้ร้อนแรงที่สุด คงหนีไม่พ้นตลาด NASDAQ จากสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาประธาน Fed อย่าง Jerome Powell เอง ก็พยายามจะสร้างความมั่นใจให้กับทุกคนว่า เศรษฐกิจและตลาดหุ้นจะฟื้นตัวได้แบบทันทีทันใดเป็น V-shape สูงเสียดฟ้า ซึ่ง Fed เองก็ไม่ได้ทำให้เราผิดหวังแต่อย่างใดหลังส่งตลาด NASDAQ จ่อทำนิวไฮ รวมถึง S&P 500 และ Dow Jones ที่ฟื้นตัวตาม ๆ กันมา แต่การกระทำที่ว่าอาจทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Moral Hazard (การที่ผู้คนมองว่าสิ่ง ๆ หนึ่งดีมาก ๆ จนลืมนึกถึงความเสี่ยงและเป็นเหตุเป็นผลของมันไป) ในอนาคตผมเชื่อว่าการให้กู้ยืมแบบ Unlimited QE ของ Fed กับบริษัทต่าง ๆ โดยตรงอาจเป็นตัวจุดชนวนวิกฤติครั้งใหม่คล้าย ๆ กับปี 2008 แต่ถามว่าสิ่งที่ Fed ทำมันถูกไหม? มันก็ถูกครับเนื่องจากต้นตอวิกฤติครั้งนี้เกิดจากการที่บริษัทต่าง ๆ ดำเนินกิจการไม่ได้จนต้องการเงินเยียวยา หยุดยื้อไว้ แต่คำถามที่ผมสงสัยมาโดยตลอดคือ มันมากเกินไปไหม ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากจะบอกด้วยความหวังดีกับทุกคนนักลงทุนก็คือ จับตามองให้ดี และหากมีสัญญาณบางอย่างผิดปกติเราก็ควรถอยออกจากตลาด เช่น บริษัทต่าง ๆ เรียกร้องการอัด QE โดยตรงเพิ่มเติม (หากทุกอย่างลงตัว ปรับลดหนี้ได้ทันก็ดีไปครับ) สรุปมุมมองและข้อคิดทิ้งท้าย สัจธรรมหนึ่งในชีวิตมนุษย์อย่างเรา ๆ ที่เรารู้แต่ก็ยากที่จะควบคุมมันได้ให้อยู่หมัด ก็คงเป็น เรื่องของ “ความคาดหวังที่มีมากก็ยิ่งเจ็บมาก” ส่วนตัวผมเชื่อว่าตลาดหุ้นเองก็ไม่ต่างกัน เราทุกคนต่างเล่นกันอยู่บน “ความคาดหวัง” คาดหวังว่ากำไรไตรมาสหน้าจะออกมาดี คาดหวังว่าราคาจะทำนิวไฮ หรือแม้แต่คาดหวังว่าอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งจะร้อนแรงไปเรื่อย ๆ โดยลืมนึกถึงการหยุดพัก เมื่อความคาดหวังต่าง ๆ มันมากเกินความเป็นจริงออกไป และถ้าถามผมถึงมุมมองของหุ้นเทคโนโลยี ณ ตอนนี้ ผมมองว่าราคาอาจขึ้นไปทำนิวไฮที่สูงขึ้นได้อยู่ แต่ในระยะถัด ๆ ไป (กลาง-ยาว ในอีก 2-3 ไตรมาสข้างหน้าหรือมากกว่านั้น) ที่อารมณ์ตลาดเริ่มไปในเชิงบวกมาก ๆ ผมจะมาเขียนกระตุกต่อมทุกคนฉุกคิดอีกทีครับ และผมก็ยังคงเชื่อเช่นเคยว่าตอนนี้ตลาดหุ้นเรากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นเช่นเคย (ผมชอบดัชนี Dow Jones มากกว่า NASDAQ เนื่องด้วยจุดเข้าซื้อช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างได้เปรียบและอาจไม่ใช่ในตอนนี้) จุดมุ่งหมายหลักของบทความนี้คืออยากให้ทุกคนไม่ไหลไปกับอารมณ์ของตลาดที่อาจพลุ่งพล่านมากเกินไปในอนาคต (ผมเชื่อว่าอาจเกิดในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี) ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเราไม่รู้อนาคต สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเรานักลงทุนพึงจะทำได้ คือการประมาณการคร่าว ๆ ว่าเรายืนอยู่บนส่วนไหนของ “คลื่นแห่งความคาดหวัง” ลูกนี้ บนเสียงของคนส่วนใหญ่ มูลค่า และเทคนิคอล (สำหรับผมและอาจจะหลาย ๆ คน) ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin แท็ก: Advance Article Knowledge NASDAQ Short Content technological stocks แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: โอกาสลงทุนรับประเทศไทยเปิดเมือง! (1 มิ.ย. 63) - FINNOMENA ประเทศไทยคลาย Lockdown เฟส 3 แล้ว โอกาสลงทุนต้อนรับการเปิดเมืองอยู่ตรงไหน นอกจากนั้นดอกเบี้ยที่ต่ำลงเรื่อยๆ เราควรย้ายเงินของเราไปที่ไหนดี หาคำตอบได้ในสรุป LIVE รายการ THE OPPORTUNIY ประจำวันที่ 1 มิ.ย. 63 นี้ครับ 1 มิ.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> กลับมาพบกับรายการ THE OPPORTUNIY กันอีกครั้ง รายการที่จะมาแนะนำกันตรงๆ ไปเลยว่าช่วงนี้มีอะไรน่าลงทุนบ้าง สำหรับเนื้อหาใน LIVE เหมือนเดิมคือคุณเจ็ท (FundTalk) และคุณแบงค์ (Mr.Messenger) จะมาอัปเดตว่าสัปดาห์ที่ผ่านมามีปัจจัยอะไรที่มีผลกระทบต่อตลาดบ้าง และมีเพิ่มเติมคือ เนื่องในโอกาสพิเศษหลังจากประเทศไทยคลาย Lockdown เฟสที่ 3 จนใกล้กลับมาเป็นปกติเต็มที ตอนนี้โอกาสในการลงทุนอยู่ที่ไหน และใครที่พลาดไปไม่ได้ดูรายการสด ตามอ่านได้ในสรุป LIVE ครับ Market Wrap Up: เกิดอะไรขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา 1. ยืนยัน ไม่มี Sell-in-May จากสถิติ ประเทศไทย 10 ปี เกิด Sell-in-May 8 ปี แต่ปีนี้ยืนยันแล้วไม่มี Sell-in-May โดยช่วงเดือนพฤษภาที่ผ่านมา S&P500 บวกไป 3.7% ส่วน NASDAQ บวกไป 5.9% ถือว่าเป็นเดือนพฤษภาที่ตลาดพลิกเป็นบวกได้ 2. ตลาดสหรัฐฯ ยังโตต่อได้ กลุ่มหุ้นเทคฯ ขนาดใหญ่ (FANG: Facbook / Amazon / Netflix / Google) ยังโตต่อ มีย่อลงมา test ที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 วันนิดหน่อย แต่ก็ดีดกลับขึ้นไปได้ ในขณะที่หุ้นบริษัทกลุ่มธนาคารยังมี performance ผสมๆ กัน บางธนาคารยังติดลบอยู่ บางธนาคารก็บวกไปถึง 7% ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อย่างเช่นหุ้น Goldman Sachs จุดที่น่าสนใจคือ ตลาดเริ่ม timing ตลาดช่วงวันที่ 13-14 (จุดต่ำสุดในกราฟ) ว่าเป็นจุดสิ้นสุดขาลงของรอบนี้ สังเกตจาก Fund Flow ที่เริ่มไหลไปลงการสินทรัพย์ที่เน้น Value มากขึ้น 3. ดอกเบี้ยกลับมาติดลบอีกครั้ง Jerome Powell ประธานของ FED ออกมาบอกตลอดว่าไม่ต้องการให้ดอกเบี้ยติดลบ แต่ตอนนี้เหมือนจะเอาไม่อยู่ ดอกเบี้ยกลับไปติดลบอีกครั้ง ตอนนี้ธนาคารกลาง BOJ (ญี่ปุ่น), ECB (ยุโรป) ดอกเบี้ยติดลบไปเรียบร้อย และล่าสุด BOE (อังกฤษ) ก็กำลังจะตามไป สรุปว่าตลาดยังคงมองดอกเบี้ยติดลบอยู่ในตอนนี้ 4. ค่าเงินดอลลาร์ร่วงต่อเนื่อง จากกราฟ Dollar Index กราฟทะลุ Flag Pattern ไปเรียบร้อย และยังคงร่วงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เงินบาทที่ช่วงก่อนบอกว่าอ่อนค่า เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น สำหรับค่าเงินดอลลาร์มีมุมมองว่าในเดือนมิถุนายนอาจจะร่วงไปอีกเล็กน้อย แต่ก็มีโอกาสที่จะกลับมาได้ เพราะจากหลายๆ ตลาดที่ตอนนี้เริ่มกลับมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน Fund Flow ที่ค่อยๆ ไหลเข้ามา เมืองที่กำลังค่อยๆ เปิด อาจจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาได้ 5. ระวัง! เงินหยวนอ่อนค่า จากการวิเคระาห์ของ Knowledge Leaders Capital เค้าเอาค่าเงินหยวนมาเปรียบเทียบกับดัชนี S&P500 จากสถิติที่ผ่านมาเมื่อหยวนอ่อนค่าจะพาตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลงไปด้วย จากกราฟตอนนี้เกิด Divergence ขึ้นคือ ถึงหยวนอ่อนค่าแต่ S&P500 ก็ยังโตต่อไปได้ จุดนี้เตือนให้ระวังว่าในอนาคตเงินหยวนที่อ่อนค่าอาจจะกระทบตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้เหมือนกัน 6. ทองคำพุ่งมาถึงแนวต้านปี 2012 แล้ว ก่อนหน้านี้ที่ทองคำทำท่าจะลง ตอนนี้ราคาทองกลับมาแล้ว และกำลังอยู่ที่แนวต้านสำคัญในปี 2012 มุมมองส่วนตัวของ FINNOMENA เรามองเป้าหมายราคาทองไว้ที่ 1,900 ถ้าไม่ไปแตะที่ราคา 1,850-1,900 เรายังไม่ลดสัดส่วนทองคำในพอร์ต ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ 20% 7. กราฟประหลาดจากไวรัส Covid-19 กราฟแปลกๆ เป็นอีกหนึ่ง New Normal ในยุคนี้ กราฟนี้คือกราฟระหว่างการคาดการณ์ GDP สหรัฐฯ กับค่า P/E ของตลาด S&P500 ซึ่งจะเห็นว่า “ไปกันคนละเรื่อง” ทั้งที่ควรจะไปด้วยกัน สาเหตุเกิดจากสภาพคล่อง (liquidity) ของตลาดที่มีมากดันขึ้นไป บวกกับ Financial Engineering จากการที่ FED ช่วยดันตลาดขึ้นไปทั้งๆ ที่พื้นฐานเศรษฐกิจไม่ได้ดี 8. สหรัฐฯ ประท้วง ตำรวจฆ่าคน จากเหตุการณ์ที่ตำรวจพยายามจับกุมชายผิวสีที่ถูกสงสัยว่าใช้ธนบัตรปลอม แต่ตำรวจใช้กำลังเกินกว่าเหตุทำให้ชายคนนั้นเสียชีวิต ทำให้เกิดเหตุการณ์ประท้วงครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ คำถามคือ เหตุการณ์ส่งผลต่อตลาดหรือไม่? คำตอบที่ได้ก็คือ ตลาดหุ้นไม่ได้ตอบสนองต่อข่าวนี้ ตลาดยังคงโตต่อทั้งในสหรัฐฯ เองและตลาดเอเชีย นักลงทุนไม่ต้องกังวลมากนัก 9. จุดสังเกต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โตตาม Spread กราฟนี้จาก Knowledge Leaders Capital เช่นกัน กราฟนี้ให้ข้อสังเกตว่า ดัชนี S&P500 มีการเติบโตสอดคล้องกับ Spread ของพันธบัตรที่แคบลงจากการพยุงของ FED (สเกลของกราฟ Spread ด้านขวาเป็น Invert) เพราะฉะนั้นการลงทุนในช่วง New Normal นี้ หนึ่งคือดู Spread ซึ่งเกิดจากการอัดฉีด FED ไปทางไหน ตลาดไปทางนั้น สองคือ ในเมื่อการวิเคราะห์ fundamental หรือการวิเคราะห์ value ต่างๆ ใช่ไม่ได้ ปัจจัยที่ต้องกลับมาดูดีๆ คือ การวิเคราะห์ Technical และ Momentum ของตลาด 10. New York เริ่มกลับมาสงบ ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มใหม่ต่อวันของเมือง New York ลดลงแล้ว ซึ่งจุดนี้ตรงกับปัจจัย 4 ข้อที่บ่งบอกว่าตลาดควรเริ่มกลับมาลงทุน คือ 1. ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มเป็นระฆังคว่ำ 2. ราคาน้ำมันฟื้นตัว 3. ตัวเลขว่างงานสหรัฐฯ ลดลงจากจุดสูงสุด 4. Valuation ลดลงมาใกล้วิกฤตก่อนๆ สถานการณ์ตอนนี้ ข้อ 1 และ 2 มาแล้ว เป็นสัญญาณว่าตลาดเริ่มกลับมาลงทุนได้ โอกาสลงทุนรับประเทศไทยเปิดเมือง! มุมมองการลงทุนที่ FINNOMENA นำมาฝากกันในรายการ THE OPPORTUNITY วันนี้ มี 3 มุมมองด้วยกัน OPPORTUNITY 1: “ไทยชนะ” ประไทยคลาย Lockdown เข้าสู่เฟส 3 แล้ว แต่ละธุรกิจค่อยๆ กลับมาเปิด ร้านอาหารเริ่มเอาที่กั้นออก โรมแรมที่พัทยา หัวหิน ห้องถูกจองเต็มหมด เป็นโอกาสที่นักลงทุนจะสามารถกลับมาลงทุนได้ สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่อยากรับความเสี่ยงมาก อยากลงทุนแบบ Defensive ให้เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ yield ไปก่อน และเมื่อมาดูสินทรัพย์ที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็ตกไปอยู่ที่ “กลุ่มอสังหาริมทรัพย์” จากกราฟ กราฟเส้นสีขาวด้านบนคือ Yield ของอสังหาฯ อยู่ที่ 5.75% ส่วนเส้นสีส้มคือ Yield ของพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ที่ 1.15% ซึ่งต่างกันถึง 4.6% ในระยะสั้นคาดการณ์ว่าการปันผลในอสังหาฯ น่าจะลดลงบ้าง ถึงแม้ว่า Yield ของอสังหาฯ อาจจะลด แต่เมื่อเทียบกับ Yield ของพันธบัตรแล้วยังถือว่าดูดีกว่ามาก กองทุนที่แนะนำ: LHTPROP กองทุนที่ FINNOMENA แนะนำ และเป็นกองทุนที่ถือในพอร์ตอยู่ด้วยก็คือ กองทุน LHTPROP ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไทย FINNOMENA มองว่ากองอสังหาฯ อาจกลายเป็น Playbook เล่มใหม่ในการลงทุนเพื่อ Yield เพราะจะไปลงในพันธบัตรรัฐบาลผลตอบแทนก็ต่ำ ไปลงในหุ้นกู้เอกชนก็มีโอกาสที่จะ Default อย่างเช่นตัวอย่างจากการบินไทย ดังนั้นลงทุนในประเทศตอนนี้ควรมาอยู่ในอสังหาฯ จากกราฟจะเห็นว่ากองทุน LHTPROP ผ่านจุดต่ำสุดและเริ่มกลับมาอยู่ขาขึ้น แสดงว่า Fund Flow ต่างๆ เช่น บริษัทประกันที่เข้ามาลงทุนตอนที่ราคากองทุนมันถูก เริ่มกลับเข้ามา ประกอบกับการที่ไทยเริ่มคลาย Lockdown ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยหนุนให้กลุ่มอสังหาฯ โตต่อไปได้ OPPORTUNITY 2: “Follow the FED” โอกาสในการลงทุนโอกาสที่ 2 มุมมองนี้ยังคงยืนยันมุมมองเหมือนสัปดาห์ที่แล้ว จากการที่ FED เข้ามาช่วยพยุงตลาดตราสารหนี้และสามารถทำได้ดี เพราะฉะนั้นตอนนี้ FED อยู่ไหน นักลงทุนอยู่นั้น กองทุนที่แนะนำ: PHATRA G-UBOND-H กองทุนที่แนะนำยังเป็นกองเดิม สำหรับกองที่ลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก โดยมีการลงทุนใน High Yield Bond สูงถึง 1 ใน 3 ของพอร์ต อย่างกอง PHATRA G-UBOND-H สำหรับปัจจัยสนับสนุนสามารถอ่านได้ในสรุป LIVE รายการ THE OPPORTUNITY สัปดาห์ที่แล้วครับ ลงทุนอย่างไรในยุค New Normal (25 พ.ค. 63) OPPORTUNITY 3: “Cloud Computing” เช่นเดียวกันกับโอกาสในการลงทุนโอกาสที่ 3 ที่เรายังเห็นโอกาสในหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ที่นอกจากจะรอดจากวิกฤตไวรัสมาอย่างสง่างาม (เทียบกับอุตสาหกรรมอื่น) ตอนนี้ก็ยังโตต่อแบบไม่หยุด กองทุนที่แนะนำ: KF-GTECH กองเทคโนโลยีตอนนี้ยังยืนยันแนะนำเป็นกองเดิม คือ กอง KF-GTECH ที่นอกจากจะเน้นหุ้นเทคฯ ยังเน้นเทคฯ ที่เป็น Cloud Computing ด้วย อย่างกลุ่ม FANG (Facbook / Amazon / Netflix / Google) มีครบทุกตัว สำหรับรายละเอียดสนับสนุน สามารถอ่านได้ในสรุป LIVE ลงทุนอย่างไรในยุค New Normal (25 พ.ค. 63) เช่นกันครับ หรืออ่านจากบทความ 10 เรื่องที่ต้องรู้กับกองทุนหุ้นเทคฯ KF-GTECH หวังว่าสรุป LIVE วันนี้จะเป็นข้อมูลให้นักลงทุนทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Long Content Picture Slide แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
10 เรื่องที่ต้องรู้กับกองทุนหุ้นเทคฯ KF-GTECH - FINNOMENA ถ้าเราอยากหากำไรจากการกลับตัวของ NASDAQ ที่เรียกได้ว่าเอาชนะตลาดหุ้นอื่นแบบถล่มทลาย เราสามารถทำได้ผ่านการลงทุนในกองทุน Active ใน Sector เทคโนโลยี บทความนี้จะมารีวิว กองทุน KF-GTECH จาก บลจ.กรุงศรีครับ มาเป็นกรณีศึกษาว่ากองทุนนี้น่าสนใจอย่างไร สรุปเป็นข้อ ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ กัน 10 ข้อครับ 1 ก.พ. 2564 วิกฤต COVID-19 กำลังจะผ่านไปในไม่ช้า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกโดนผลกระทบอย่างหนัก แต่มีอยู่ตลาดหุ้นหนึ่งที่แม้จะมีการปรับฐานกับเขาบ้างแต่ก็เป็นการปรับฐานที่ไม่แรงเท่าไหร่นัก นอกจากนั้นยังดีดตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว ตอนนี้กำลังจะทำจุดสูงสุดใหม่ในไม่ช้า ตลาดหุ้นนั้นคือตลาด NASDAQ ที่เต็มไปด้วยหุ้นเทคโนโลยีสมัยใหม่นั่นเอง ! V-Shape ที่แท้ทรูต้อง NASDAQ เท่านั้น ! ข้อมูล ณ วันที่: 27 พฤษภาคม 2563 ที่มา: Bloomberg คำถามต่อมาคือถ้าเราอยากหากำไรจากการกลับตัวของ NASDAQ ที่เรียกได้ว่าเอาชนะตลาดหุ้นอื่นแบบถล่มทลาย เราสามารถทำอย่างไรได้บ้างล่ะ? เราสามารถลงทุนหุ้นต่างประเทศโดยตรงได้กับโบรกเกอร์ แต่นั่นหมายความว่าเราจะต้องเปิดบัญชีใหม่ ทำเอกสารใหม่ โอนเงินออกนอกประเทศ เลือกหุ้นต่างประเทศที่ข้อมูลก็ไม่ค่อยรู้ แถมโดนค่าธรรมเนียมการเทรด ไม่ก็ขั้นต่ำในการลงทุนหลักแสน ! ตัวเลือกนี้ดูยากไป เราสามารถลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในดัชนี NASDAQ ได้ อันนี้หลาย ๆ ท่านมีบัญชีกองทุนรวมอยู่แล้ว ขั้นต่ำก็ไม่สูง อันนี้ง่ายขึ้นเยอะ แต่ผมต้องขอบอกว่าแม้ดัชนี NASDAQ จะดีดตัว แต่หุ้นในดัชนีที่ขึ้นมามีความไม่เท่าเทียมกันอยู่ บางตัวขึ้นเยอะ ขึ้นน้อย โดนผลกระทบ COVID-19 มากน้อยไม่เท่ากัน มันคงดีไม่น้อยถ้าเรามีข้อมูลและเลือกเองได้ จึงนำมาสู่ตัวเลือกที่ 3 ครับ เลือกลงทุนในกองทุน Active ใน Sector เทคโนโลยี ที่มีผู้จัดการกองทุนที่รู้ข้อมูลมากกว่านักลงทุนทั่ว ๆ ไป มาเลือกหุ้นให้ ซึ่งตัวเลือกนี้ก็ไม่ยากเพราะตอนนี้เรามีกองทุนเทคโนโลยีในประเทศไทยให้เลือกอยู่เยอะพอสมควรเช่น ONE-UGG-RA, KF-GTECH, TMBGQG, B-INNOTECH, SCBDIGI และอีกมากมายหลายกอง หลากบลจ. ซึ่งแต่ละกองก็มีความแตกต่างของนโยบายการลงทุน สัดส่วนหุ้นเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป ในช่วงเวลาที่ความผันผวนสูง ผนวกกับ Sector ที่ต้องลงทุนมีความซับซ้อนเกินคนธรรมดาเข้าใจ ตัวเลือกที่ 3 น่าจะ Make Sense ที่สุด ซึ่งแต่ละคนก็คงเลือกกองทุนที่แตกต่างกันไป สำหรับตัวผมเองขอเลือกกองทุน Technology กองหนึ่งที่ปิดการซื้อขายไปซักพักใหญ่ ๆ และตอนนี้เริ่มกลับมาเปิดให้นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ตามปกติแล้ว นั่นคือกองทุน KF-GTECH จาก บลจ.กรุงศรีครับ มาเป็นกรณีศึกษาว่ากองทุนนี้น่าสนใจอย่างไร สรุปเป็นข้อ ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ กัน 10 ข้อครับ 1. KF-GTECH คือกองทุนที่มีกองทุนแม่คือ T. Rowe Price Funds Sicav – Global Technology Equity Fund ซึ่งมีนโยบายการลงทุนคือ การมุ่งเน้นเพิ่มคุณค่าของหน่วยลงทุนในระยะยาว ผ่านการเติบโตของการลงทุน กองทุนเน้นลงทุนในหุ้นที่มีธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี หรือบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องโดยตรงกับเทคโนโลยี นโยบายการลงทุนแบบนี้ถือว่าชัดเจนมาก ว่าเน้นเติบโตจากเทคโนโลยีตรง ๆ 2. ตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 2015 กองทุน T. Rowe Price Funds Sicav – Global Technology Equity Fund สามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีได้สูงถึง 14.42% ถ้าดูในมุมของในไทย KF-GTECH ก็จะเห็นว่าทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีระยะสั้น ในช่วงเวลา 1 ปีที่ 21.4% 3 ปีที่ 9.01% และเมื่อมองเปรียบเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ในหมวดอุตสาหกรรมเดียวกันแล้วถือว่ากองทุนทำผลตอบแทนได้ในระดับ “ดีมาก” ผลตอบแทนของ KF-GTECH ข้อมูล ณ วันที่ : 22 พฤษภาคม 2563 ที่มา: FINNOMENA ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต 3. ข้อควรระวังในกองทุนนี้คือความผันผวนครับ ถ้าดูในทางด้านขวาของรูปด้านบนจะเห็นว่า Standard Deviation ของ KF-GTECH ทั้งในระยะ 1 ปีและ 3 ปี สูงกว่าเฉลี่ยของกลุ่ม กล่าวโดยสรุปคือถ้าจะลงทุนในกองทุนก็ต้องเป็นนักลงทุนที่ทนความผันผวนได้ระดับหนึ่งนะครับ 4. การลงทุนในกองทุนจะดูแต่ผลตอบแทนหรือความผันผวนไม่ได้ แต่ควรศึกษาลงลึกไปถึงหุ้นที่กองทุนเข้าลงทุนด้วยครับ ในกรณีของ KF-GTECH จะเห็นว่าหุ้นหลัก 10 ตัวแรกที่ใหญ่ที่สุดที่กองทุนลงทุนมีสัดส่วนรวมกันมากถึง 48.6% ของกองทุน ดังนั้นถ้าเลือกได้ไม่ดี โอกาสที่กองทุนนี้จะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าเพื่อน ๆ ก็ยากมากครับ กองทุนนี้ลงทุนในอะไรบ้างผมขอสรุปให้ฟังแบบสั้น ๆ ตามนี้ครับ (ข้อมูลการถือหุ้นเป็นข้อมูลวันที่ 31 มีนาคม 2563) Alibaba 8.7% ตัวนี้มากที่สุดในพอร์ตการลงทุน เป็นบริษัท E-commerce ที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว ปัจจุบัน Alibaba มี Gross Merchandise Value (GMV) หรือ มูลค่าสินค้าที่บริษัทจัดจำหน่ายไปมากที่สุดในโลก มากกว่า Amazon และ Ebay รวมกัน ผมเพิ่งได้ยินข่าวมาสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อกี้นี้ว่า (วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เวลา 13:28) บริษัทตั้งเป้าจะทำให้ GMV ของบริษัทโตขึ้นไปถึงระดับ 1 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งจะเป็นระดับเดียวกันกับประเทศที่มี GDP ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 22 ของโลก คือใกล้ ๆ กับ Argentina มาถึงจุดนี้คงไม่ต้องอธิบายแล้วว่า Alibaba ยิ่งใหญ่ขนาดไหน นอกจาก E-commerce แล้ว Alibaba ยังมีธุรกิจ Cloud ที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก และธุรกิจ E-Payment ที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Alipay อีกด้วย Salesforce.com 7% บริษัทนี้อาจเป็นบริษัทที่คนไทยไม่รู้จัก คนทั่ว ๆ ไปไม่เคยคุ้นชื่อ ธุรกิจของบริษัทคือการให้บริการ SaaS (Software as a Service) เช่น ระบบ CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูล Big Data และระบบทำการตลาดออนไลน์อัตโนมัติ ให้กับบริษัทใหญ่ ๆ มากมาย พูดง่าย ๆ คือเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจัดการงานหลาย ๆ อย่างของบริษัทนั่นเอง เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทเพิ่ง Takeover บริษัทจัดการข้อมูล Big Data ชื่อดังอย่าง Tableau ไป ว่ากันว่า Marc Benioff ผู้ร่วมก่อตั้งของ Salesforce เคยได้รับคำแนะนำสุดโหด 3 ข้อจาก Steve Jobs จนเขาประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ คำแนะนำนั้นคือ …. รูป Marc Benioff กับ Steve Jobs สมัยที่เขายังมีชีวิตอยู่ ที่มา: Twitter ของ Marc Benioff “หนึ่ง Salesforce ต้องใหญ่กว่านี้ 10 เท่าให้ได้ใน 24 เดือน หรือเลิกธุรกิจไปซะ สองนายต้องมุ่งเป้าไปที่ลูกค้ายักษ์ใหญ่ สาม Salesforce ต้องสร้าง Application Economy ขึ้นมาให้ได้” สุดท้าย Salesforce ใหญ่ขึ้นมาได้และได้สร้าง Application Economy ขึ้นมาจริง ๆ โดยเรียกมันว่า App Store และจดลิขสิทธิ์ไว้ สุดท้าย Marc ให้ชื่อ App Store กับ Steve Jobs เป็นของขวัญที่ Jobs ให้คำแนะนำกับเขาจนเขาประสบความสำเร็จ Amazon.com 6.5% บริษัท E-commerce อีกบริษัทหนึ่งที่คงไม่มีใครไม่รู้จัก ปัจจุบันครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่าแม้คนจะคิดว่าธุรกิจของ Amazon คือร้านขายของออนไลน์ แต่กำไรของบริษัทส่วนใหญ่มาจากธุรกิจ Cloud ซึ่ง Amazon ถือเป็น Pioneer แรก ๆ ในธุรกิจนี้เลย ด้วยวิสัยทัศน์ของ Jeff Bezos เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ในตอนนั้นไม่มีใครคิดว่าธุรกิจ Cloud จะใหญ่อย่างในปัจจุบัน Jeff Bezos ถือเป็น CEO คนหนึ่งที่มีวิสัยทัศน์ที่สุดยอด การได้ลงทุนใน Amazon ที่ Jeff Bezos บริหารและติดตามการเติบโตของบริษัท เป็นความฟินของนักลงทุนแฟนคลับของ Jeff หลาย ๆ คน แม้แต่ Warren Buffett และ Charlie Munger แม้ไม่ได้ลงทุนใน Amazon แต่ก็ชื่นชม Jeff Bezos อย่างมาก Warren Buffett เคยกล่าวไว้ว่า “เขาเป็นคนที่ความสามารถสูงมาก ๆ ผมประเมินเขาต่ำไปหน่อยตอนพบเขาเป็นครั้งแรก … ผมเห็น Amazon มาตั้งแต่ตอนเริ่มธุรกิจ สิ่งที่ Jeff Bezos สร้างขึ้นมาไม่ต่างกับปาฏิหาริย์” Netflix 5.6% บริษัทนี้ไม่พูดทุกคนก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นยังไง ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา นอกจาก Amazon แล้วก็มี Netflix ที่แทบไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แถมยังได้ประโยชน์จากวิกฤตครั้งนี้อีกด้วย จำนวนผู้ใช้รายใหม่ของ Netflix เพิ่มขึ้น 15.8 ล้านราย มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.2 ล้านคน เหตุผลหลักมาจากการ Lockdown ที่ทำให้คนมีเวลาอยู่บ้านและดูหนังมากขึ้น ปัจจุบัน Netflix มีผู้ใช้งานรวมกันทั้งหมด 182 ล้านรายทั่วโลก นับเป็นสัดส่วน 2.6% ของคนทั้งโลก ถ้าเราคิดว่าทุก ๆ คนชอบดูหนัง ดูซีรีส์ ก็อาจจะพอบอกได้ว่าการเติบโตของ Netflix น่าจะไม่จบลงแค่ผู้ใช้ 182 ล้านราย Facebook 4.5% บริษัทโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ที่มีผู้ใช้กว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก บริษัทเป็นเจ้าของ App ชั้นนำอย่าง Facebook, WhatApps, Messenger และ Instagram ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมาจำนวนผู้ใช้งานของแอปฯ ต่าง ๆ ของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากที่เคยทรง ๆ และไม่โตเท่าไหร่นัก รายได้จากการโฆษณาของ Facebook มีโอกาสได้รับผลกระทบจากการปิดของธุรกิจต่าง ๆ อย่างไรก็ตามผลกระทบที่ว่าจะเป็นเรื่องชั่วคราว ณ เวลาที่ผมเขียนบทความนี้เริ่มมีข่าวการเปิดเมืองของประเทศต่าง ๆ เข้ามาเรื่อย ๆ ดังนั้นรายได้การโฆษณาของ Facebook น่าจะกลับมาเติบโตได้ในอนาคต Workday 3.5% บริษัทนี้ทำ SaaS เช่นกันแต่เน้นเรื่องการเงินและทรัพยากรบุคคล (น่าจะคล้าย ๆ HUMAN ที่อยู่ในตลาดหุ้นบ้านเรา) ServiceNow 3.3% เป็นบริษัท Software ประเภท Platform as a Service ดูแลเรื่องการบริหารจัดการปัญหาทางด้าน IT เก็บเงินเป็นจำนวน User Visa 3.2% ผู้ให้บริการเป็นตัวกลางเกี่ยวกับการชำระเงินบัตรเครดิตรายใหญ่ 1 ใน 2 รายคู่กับ Mastercard อันนี้คนไทยน่าจะคุ้นเคยอยู่แล้ว Intuit 3.2% บริษัท Software บริหารจัดการการเงินและภาษี โปรแกรมที่คนไทยที่ทำงานด้านภาษีน่าจะได้ยินชื่อบ้างก็เช่น TurboTax และ Quicken บริษัทนี้ถือเป็นตำนานอีกบริษัทหนึ่ง เพราะเคยเอาชนะ Microsoft มาแล้วในตลาด Software ด้านภาษี Atlassian 3.1% บริษัท SaaS ด้านการบริหารจัดการกระบวนการทำงานของ Software Developer ที่น่าจะได้ยินบ่อย ๆ ก็เช่น Jira และ Trello จะเห็นว่าที่เพื่อน ๆ อ่านบทความใน 5 นาทีที่ผ่านมา ผมเขียนคำว่า Software บ่อยมาก ๆ ซึ่งก็เป็นเพราะกองทุนนี้โฟกัสมาก ๆ เรื่อง Technology และก็ลงทุนหนัก ๆ ในประเภทธุรกิจ Software 5. สิ่งที่ผมไม่ค่อยเห็นในกองทุนนี้คือไม่ค่อยมีบริษัทสายที่เน้นพวก Hardware สักเท่าไหร่ พวก Tesla, Xiaomi, TSMC, ASML แก๊งชิปประมวลผลอย่าง AMD, Nvidia ก็ไม่ได้เห็นใน Top Holding ดังนั้น ถ้าอยากได้สายชิปประมวลผล KF-GTECH อาจจะไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ แต่ถ้าอยากได้สาย SaaS, Tech ที่เน้น Consumer / B2B Software KF-GTECH ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่ง 6. อีกอย่างที่ผมสังเกตได้คือ การลงทุนส่วนใหญ่ของกองทุนอยู่ในสหรัฐอเมริกาเสียเยอะ ประมาณ 72% แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะสหรัฐฯ ถือเป็นแหล่งรวมหุ้น Technology ที่ดีและหลากหลายที่สุดแล้ว จีนก็เริ่มมีหุ้น Technology เยอะแต่ก็ไม่ได้มากเท่าสหรัฐฯ และก็อุตสาหกรรมก็ไม่ได้ใหญ่เท่า นอกจากนั้นกองนี้ยังมี Alibaba อยู่ 8.7% ซึ่งก็ถือว่าเป็นหุ้น Tech จีนที่ดีที่สุดตัวหนึ่งในสัดส่วนที่มีนัยมาก ๆ 7. กองทุนถือหุ้นทั้งสิ้น 46 ตัว 70% ของการลงทุนอยู่ในหุ้น 20 ตัวแรก ตรงนี้ผมชอบเพราะถือว่าผู้จัดการกองทุนขยันดี ถ้าผู้จัดการกองทุนไม่ขยันเราจะเจอกับการกระจายความเสี่ยงแบบถือหุ้นเป็น 100 ตัวซึ่งส่วนตัวผมว่ามันมากเกินความจำเป็น และไม่คุ้มค่า Fee ที่ต้องเสียไป (ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูด้วยนะว่าถือหุ้นน้อย Focus มากกว่ากองอื่น ๆ แล้วผลตอบแทนดีไหม ซึ่งในมุมของ KF-GTECH ถือว่าผลตอบแทนดี ก็นับว่าผ่าน) กองที่มีการถือหุ้น Focus ในระดับนี้ที่ผมเห็นก็จะมี ONE-UGG-RA อีกกองหนึ่งครับ 8. การเปิดเผยข้อมูลใน Factsheet ของ T. Rowe Price Funds Sicav – Global Technology Equity Fund ละเอียดดีผมชอบ มีข้อมูลเช่น P/E ของกองทุนอยู่ที่ 31.7 เท่า เมื่อเทียบกับ Benchmark ที่ 19.9 เท่า ก็ถือว่าสูงกว่าพอสมควร แต่มันก็มีเหตุผลของมันเพราะเมื่อปรายตาลงมาอีกนิดจะเห็นว่าการเติบโตของกำไรจะเติบโตสูงกว่า Benchmark ด้วยเช่นกัน แม้ปัจจุบัน ROE จะต่ำกว่าซึ่งดูไม่ค่อยดี แต่ถ้าหุ้นที่เลือกมาโตได้ตามเป้าก็น่าจะช่วยให้ ROE ดีขึ้นในอนาคตได้ครับ ข้อมูลกองทุนจาก Fund Factsheet ข้อมูล ณ วันที่: 31 มีนาคม 2563 ที่มา: T. Rowe Price 9. เทคโนโลยีเป็นกลุ่มหนึ่งที่ไม่เพียงแต่โดนผลกระทบจาก COVID-19 น้อย นอกจากนั้นหุ้นเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันนี้ยังมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมาก ๆ ถึงแม้โดนผลกระทบก็สามารถประคองตัวเองผ่านไปได้ไม่ยากนัก การเติบโตก็ดี หุ้นตัวใหญ่ ๆ มักจะเป็นบริษัทที่มีรายได้และมีกำไรแล้วแทบจะทั้งหมด ยังมีขาดทุนบ้างประปรายบางครั้งก็เพราะบริษัทยังมีการลงทุนหนักอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่มีกำไร หรือขาดทุน ก็ต้องขอบอกว่าหุ้นเทคโนโลยียุคนี้ ต่างจากยุคปี 2000 Dot-Com Bubble มากมายมหาศาล 10. ความเสี่ยงของเทคโนโลยีที่ผมเห็นอย่างชัดเจนคือ แม้ตัวหุ้นจะแข็งแกร่ง มีการเติบโต แต่หลาย ๆ ครั้งด้วยความซับซ้อนของ Business Model และข้อมูลที่เข้าถึงได้ยากแม้แต่คนในอุตสาหกรรมเอง ทำให้หลาย ๆ ครั้งแม้แต่มืออาชีพยังพลาดพลั้งได้ ดังนั้นการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีเพื่อคาดหวังผลตอบแทนระยะสั้นจึงเป็นเรื่องที่มีความยากมากกว่าการลงทุนในหุ้นทั่ว ๆ ไป ดังนั้นถ้าอยากลงทุนในเทคโนโลยี ผมจึงคิดว่าน่าจะต้องลงทุนแนว ๆ เป็นการเติบโตไปกับเทรนด์ระยะยาว สะสมกองทุนไปเรื่อย ๆ ลักษณะคล้าย ๆ DCA น่าจะช่วยลดความผันผวน และเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะยาวกับการลงทุนแห่งอนาคตอย่างเทคโนโลยีครับ BuffettCode ดูหนังสือชี้ชวนฉบับล่าสุดของกองทุนได้ที่ https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.html?fund=KF-GTECH Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW KF-GTECH Product Info Short Content กองทุนเทคโนโลยี เทคโนโลยี แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ฟองสบู่ซ้อนฟองสบู่ กระทิงรอบนี้ไปได้ไกลสักแค่ไหน? - FINNOMENA มีเงินจะทำอะไรก็ได้ คำนิยามนี้คงเหมาะสมกับ Fed มากที่สุด แต่ใครเล่าจะรู้ว่าการกระทำครั้งนี้ของ Fed อาจเหมือนกับการเฉือนเนื้อตัวเอง เพื่อปกป้องเศรษฐกิจเหมือนกับหนัง Superhero ที่แท้จริงแล้วจุดจบมันอาจจะไม่ได้งดงามเหมือนในหนังเสมอไป ซึ่งในวันนี้ผมจะพาทุกคนมาดูมุมมองตลาดแบบเจาะลึกโดย Mr. Seorotonin กัน 1 มิ.ย. 2563 มีเงินจะทำอะไรก็ได้ คำนิยามนี้คงเหมาะสมกับ Fed มากที่สุด แต่ใครเล่าจะรู้ว่าการกระทำครั้งนี้ของ Fed อาจเหมือนกับการเฉือนเนื้อตัวเอง เพื่อปกป้องเศรษฐกิจเหมือนกับหนัง Superhero ที่แท้จริงแล้วจุดจบมันอาจจะไม่ได้งดงามเหมือนในหนังเสมอไป เรามาดูกันว่าการเข้าไปช่วยแบ่งรับความเจ็บปวดของบริษัทเอกชนจะส่งผลเสียอย่างไร หลายคนอาจมองว่าการกระทำของ Fed เป็นการกระทำที่ห้าวหาญและแปลกใหม่จนอาจลืม ผลเสียไปแล้วว่า ณ ตอนนี้ Fed เข้าไปเป็นเจ้าหนี้บริษัทเอกชนที่ไม่เพียงแต่เกรดลงทุน แต่รวมถึงบริษัทที่มีเครดิตที่แย่ด้วย ในระยะยาวภาพที่อาจจะถูกเปิดเผยออกมาอาจไม่สวยงามดังตลาดหุ้นตอนนี้นัก เพราะ เนื่องจาก Fed อาจเป็นคนจุดชนวนฟองสบู่ลูกถัดไปให้เร็วขึ้น ทั้ง ๆ ที่วิกฤติครั้งนี้เราควรจะมาเริ่มต้นกันใหม่ ในวันนี้พิเศษสักหน่อย ผมขอนำเสนอมุมมองสถานการณ์ตลาดและระบบการเงินของอเมริกาโดย Mr. Serotonin กัน ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ สัญญาณการฟื้นตัวของตลาดที่เริ่มชัดเจน เป้าหมายหลัก ๆ ของการดำเนินนโยบายโดยธนาคารกลาง คือการสร้างอัตราการจ้างงาน อัตราเงินเฟ้อรวมถึงการทำให้ตลาดหุ้นดำเนินขึ้นต่อไปได้ ตลาดแรงงานอาจกำลังกลับมา Initial jobless claims ฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่สะท้อนการว่างงานในอนาคตซึ่งที่ผ่านมาลดลงเรื่อย ๆ ถึงแม้สื่อต่าง ๆ จะตีความไปในเชิงลบก็ตาม แต่แท้จริงแล้วผมมองว่าสิ่ง ๆ นี้อาจสะท้อนอัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ที่อาจลดลงได้ในอนาคต เงินเฟ้อเริ่มกลับมาได้อีกครั้ง อัตราเงินเฟ้อ ณ ปัจจุบันเริ่มดีดตัวขึ้นมาได้ค่อนข้างมาก และอาจใกล้แต่ที่ระดับ 2% ตามเป้าหมายของธนาคารกลางในอนาคต ตลาดหุ้นวิ่งต่อไป ไม่หยุดหย่อน ค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่าตลาดหุ้นหลาย ๆ ตลาดเริ่มมีการฟื้นตัวและมีความเป็นไปได้ที่จะเกิด V-shape (NASDAQ เกิดขึ้นเรียบร้อย) ส่วนตัวผมมองว่าดัชนีอื่น ๆ อย่าง S&P 500 และ Dow Jones จะกลับมาได้ในไม่ช้า และหากเรามองเช่นนี้แล้ว ลองนำตัวเองจินตนาการเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางดู เราคงรู้สึกอุ่นใจไม่ใช่น้อย ดังนั้นสิ่งต่อไปที่ต้องจับตามอง อาจจะเป็นตลาดและเศรษฐกิจที่อาจร้อนแรงเกินควรหลังจากนี้ ซึ่งผมจะพาทุกคนไปเจาะลึกกันครับ… Fed อาจกำลังเอาตัวเองไปเป็น Lehman Brothers คงปฏิเสธไม่ได้หรอกครับ ว่า Fed มองเกมขาดในครั้งนี้จากการที่เข้าช่วยบริษัทเอกชนโดยตรง เพราะ ต้นตอของวิกฤติครั้งนี้ ก็อยู่ที่บริษัทต่าง ๆ อย่างแท้จริง เพราะ เนื่องจากภาคธุรกิจที่ไม่อาจดำเนินการจากการ Lockdown จึงอาจต้องการแรงสนับสนุนให้ตัวเองยืนต่อไปได้จนกว่าจะกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่ Fed ควรทำผมมองว่าอาจจะเป็นการเข้าไปช่วยบริษัท ที่จำเป็นจริง ๆ ไม่ให้เกิดผลกระทบลูกโซ่ขนาดใหญ่ ดังนั้นการเข้าไปช่วยอุ้มตราสารหนี้เอกชนเกรดตํ่าและธุรกิจขนาดเล็ก ผมมองว่าอาจจะดูมากเกินไปสักนิด สำหรับมาตรการกระตุ้นจำนวน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อเข้าช่วยธุรกิจทั้งขนาดเล็ก กลาง รวมถึงตราสารหนี้เกรดตํ่า ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าบริษัท เหล่านี้ในบางส่วนจะจ่ายเงินที่ได้รับความช่วยคืนได้หรือไม่? อาจจะจริงอยู่ที่ข้อแตกต่างระหว่าง Fed กับ Lehman Brothers คือ Fed สามารถพิมพ์เงินมาโปะหนี้ได้ แต่คำถามก็คือ Fed จะทำได้อย่างทันท่วงทีหรือไม่? หลังการอัดฉีดเงินเข้าระบบ รวมถึงบริษัทจำนวนมากได้รับการ Leverage ที่มากเกินไป ซึ่งอาจเร่งอัตราเงินเฟ้อ ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เศรษฐกิจร้อนแรงเกินกว่าที่ควรจะเป็นในคราวนี้ ภาพแสดงการปล่อยกู้ของ Fed ให้กับธนาคารที่เข้ามากู้ยืม (เส้นสีส้ม) อาจมีการไปปล่อยกู้ในระบบอีกต่อนึง ตลาดอาจยังอยู่ในช่วง Late bull cycle ดังเดิม หรือ วัฎจักรตลาด (Market Cycle) ใหม่ที่อาจไม่เสถียร (Sustain) มุมมองส่วนตัววิกฤติครั้งนี้ควรเกิด Debt restructuring หรือการปรับโครงสร้างหนี้ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่ได้มีผลกระทบมากออกไป แต่กลับกันในวิกฤติครั้งนี้ Fed เองกลับเข้าช่วยทุกอย่างไว้กับตัว ในเมื่อบริษัทที่ล้มลงมีจำนวนน้อย แต่มีการอัดฉีดมาตรการ QE มาเยอะมาก จึงอาจทำให้หลาย ๆ บริษัท Leverage ตัวเองเกินตัวไปอีก (โดยเฉพาะมาตรการเข้าช่วยตราสารหนี้เอกชนโดยตรง) จึงอาจทำให้หลาย ๆ บริษัท มีมูลค่าสูงกว่าที่เกินจะเป็น (Overvalued) นอกจากนั้นการที่ Fed เข้าอุ้มบริษัทต่าง ๆ โดยตรงอาจทำให้ Fed เปิดความเสี่ยงทางด้านการกู้ยืม (Credits) ให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ว่าจะจัดการเช่นไรและบริษัทเอกชนที่โดนเข้าช่วยจะจ่ายหนี้ในจำนวนที่เหมาะสมทันท่วงทีก่อน Recession รอบหน้าอีกหรือไม่ (ซึ่งอาจเกิดได้เร็วจากการ Leverage บริษัทและมาตรการอัดฉีดจำนวนมาก) อีกทั้งยังมีราคานํ้ามันที่อยู่ในระดับตํ่าจึงอาจหนุนนำเงินเฟ้อให้ร้อนแรงยิ่งขึ้น ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ภาวะเศรษฐกิจอาจจะร้อนแรงดังเดิมหรือมากกว่าเดิม (จากราคานํ้ามันในระดับตํ่า) และอาจนำไปสู่รอบขาขึ้นของตลาดหุ้นและเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืนในอนาคต โลกไม่ต้องการ Ben Bernanke แต่ต้องการ Alan Greenspan จริงอยู่ว่าช่วงวิกฤติปี 2008 Alan Greenspan อาจจัดการระบบการเงินผิดพลาด อย่างการมองข้ามความเสี่ยงของ MBS ที่เป็นตัวจุดชนวนฟองสบู่คราวที่แล้ว แต่เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงก่อนหน้าที่เขาจะโดนปลดออกจากการเป็นประธาน Fed เขาแสดงผลงานทิ้งท้ายอย่างการเหลืออัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับที่สูง ซึ่งถึงแม้การขึ้นดอกเบี้ยจำนวนมากจะเป็นการแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างตึงตัวและใกล้จบรอบ แต่มันก็เป็นสิ่งที่ต้องเป็นไปอยู่แล้วในวัฎจักรเศรษฐกิจทุก ๆ ครั้ง (ปล่อย Credits จนกว่าจะตึงตัว ขึ้นดอกเบี้ย ไปต่อไม่ได้และจบรอบโดยการลดดอกเบี้ยเพื่อหนุนการกู้ยืมใหม่) ในช่วงนั้นเราอาจได้ Alan Greenspan ควบคุมอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับถึง 5.25% ก่อนเกิดวิกฤติจน Ben Bernanke เหลือเครื่องมือใช้งานอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และอัดการทำ QE ในตอนนั้นผ่านการซื้อ MBS ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ภาพแสดงอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนเกิดวิกฤติปี 2008 เทียบกับปัจจุบัน Jerome Powell ส่วนผสมที่อาจไม่ลงตัวของ Ben Bernanke และ Alan Greenspan ในยุคของ Jerome Powell ก็ถือได้ว่าแก้ปัญหาได้ตรงจุดไม่แพ้กันอย่างการเข้าช่วยภาคเอกชนโดยตรง เพราะ ต้นตอของวิกฤติครั้งนี้มาจากการที่บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติจึงต้องการความช่วยเหลือ แต่สิ่งที่ Jerome Powell ทำอาจจะมากเกินไปดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น (คล้าย ๆ กับการช่วยปล่อยกู้บริษัทโดยตรง) อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาที่ตลาดได้เริ่มแสดงสัญญาณการพักฐานอย่างการเกิด Inverted Yield Curve ทาง Jerome Powell เองก็ยังจัดการเร่งอัตราเงินเฟ้อและรีบเก็บดอกเบี้ยสำหรับการถดถอยครั้งถัดไปได้ไม่มากพอ จนทำให้วิกฤติครั้งนี้มีดอกเบี้ยเหลือใช้จำนวนน้อย จนต้องลามไปพึ่งการทำ QE เข้าซื้อสินทรัพย์ปริมาณมาก อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จะว่าไปแล้ว Jerome Powell อาจกำลังทำแบบ Ben Bernanke โดยขาดส่วนผสมของ Alan Greenspan ไป… ภาพแสดงการเข้าซื้อสินทรัพย์ทำ QE ของ Fed มีจำนวนมากกว่าวิกฤติ 2008 ที่อาจมีผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่เหลือน้อย สิ่งที่ทาง Fed ควรจะทำแต่ไม่ได้ทำ 1) การปรับโครงสร้างหนี้ (Debt restructuring) นี่คือสิ่งที่ Fed ควรทำแต่ไม่ได้ทำในวิกฤติครั้งนี้เนื่องจากเข้ามาอุ้มบริษัทจำนวนมาก และอาจไม่ได้เลือกเฉพาะบริษัทที่จำเป็นจริง ๆ จนทำให้ต้องทำ QE จำนวนมาก 2) ดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสมเก็บกระสุนดอกเบี้ยให้มากพอ (Tightening Policy) ตามเหตุผลข้างต้นและผมมองว่าเป็นข้อผิดพลาดที่น่าเสียดาย… สิ่งที่ทาง Fed จะทำถัดไป ผมเชื่อว่าการลงทุนที่ดีเราควรมองข้ามช็อต ในเมื่อตลาดหุ้นเริ่มฟื้นตัวได้แล้วสิ่งที่เราควรจับตามองต่อไป คือ ตลาดกระทิงครั้งถัดไปที่จะยั่งยืนได้แค่ไหน และผมเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ Fed และรัฐบาลอาจจะทำและควรทำ 1) มาตรการแบบรัดกุม (Austerity) คือการลดค่าใช้จ่ายของทางรัฐเพื่อรักษางบดุลที่ตอนนี้ขาดดุลอยู่ค่อนข้างมาก แต่อาจจะเป็นไปได้ยากหาก Donald Trump ยังดำรงตำแหน่งอยู่ 2) กระจายรายได้ (Wealth Redistributing) อาจทำได้โดยการเก็บภาษีคนที่มีรายได้และสินทรัพย์ที่สูงมาก ๆ ซึ่งมีความจำเป็น เพราะ หากเราลองมาดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว คนที่มีรายได้หลักหลายร้อยล้านจนเหลือใช้ก็คงจะเก็บความมั่งคั่งไว้กับตัว ไม่ได้นำมาใช้ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นอีกต่อไป ดังนั้นการกระจายรายได้ให้คนที่มีฐานรายได้น้อย ที่จะใช้จ่ายแน่ ๆ จะเป็นกำลังหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะการให้กู้ยืมทางด้านการศึกษา เป็นอย่างไรกันบ้างครับ? วันนี้มาแบบเข้มข้นสักนิด และเป็นการวิเคราะห์ไปในอนาคตข้างหน้าจากมุมมองผมเอง ซึ่งผมมองว่าตอนนี้ตลาดหุ้นได้ฟื้นตัวแล้ว แต่สิ่งที่เราควรจับตามองคือ มันจะไปได้อีกแค่ไหน และผมเชื่อการลงทุนที่ดี คือการมองไปข้างหน้าและประมาณการคร่าว ๆ เพื่อเราจะได้รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้อนาคต สำหรับวันนี้ผมฝากไว้เท่านี้ ขอบคุณทุกคนที่ติดตามมาก ๆ นะครับ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin References https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-04-09/fed-unleashes-fresh-steps-for-as-much-as-2-3-trillion-in-aid แท็ก: Advance Article FED Knowledge Long Content Market cycle แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปกำไรบริษัทจดทะเบียน ประจำไตรมาส 1/2563 - FINNOMENA กำไรบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาส 1 ปี 2563 ออกมาแล้ว เราลองมาดูสรุปกันเลยว่าโดยรวมแล้วบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นอย่างไรบ้าง โดนผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวกันไปขนาดไหน 27 พ.ค. 2563 กำไรบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาส 1 ปี 2563 ออกมาแล้ว เราลองมาดูสรุปกันเลยว่าโดยรวมแล้วบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นอย่างไรบ้าง โดนผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวกันไปขนาดไหน ขอบคุณแหล่งข่าวจาก https://www.prachachat.net/finance/news-468211 ดูงบการเงินของแต่ละบริษัทได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/ แท็ก: Basic Knowledge Picture Slide Short Content กำไร บริษัทจดทะเบียน สรุปงบ แชร์บทความ: ผู้เขียน เพื่อนผู้ใจดี เพื่อนผู้ใจดีที่จดโน้ตในแต่ละคลาสเรียนมาแจกเพื่อนๆ ทั้งห้อง ใครขาดเรียนมาขอโน้ตจากเพื่อนผู้ใจดีได้ ฟรีไม่มีคิดตังค์ แค่พาไปเลี้ยงขนมบ้างก็พอ :3
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: วิธีการรักษาใจจากการตกรถ (26 พ.ค. 63) - FINNOMENA ตลาดหุ้นขึ้นไปแล้ว มีนักลงทุนไม่น้อยที่ตกรถไปในรอบนี้ ซึ่งตอนนี้คนที่ตกรถก็อยู่ในสภาวะที่ถูกบีบคั้นให้ตัดสินใจ จะเข้าก็ไม่รู้ว่าสูงไปหรือยัง จะปล่อยก็อาจจะเสียโอกาส รายการ Expert Delivery วันนี้จะมาพูดคุยกับคุณปิง ในหัวข้อที่ว่า คนที่ตกรถไปแล้วควรทำอย่างไรต่อไป อ่านสรุป LIVE ได้ที่นี่ครับ 26 พ.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ช่วงนี้ตลาดหุ้นพุ่งแรง SET ดีดขึ้นมา 30% จากจุดต่ำสุด ส่วน Dow Jones Futures ก็เพิ่งดีดตัวขึ้นมาอีก 500 จุด (ประมาณ 2%) ตอบสนองกับข่าวที่ Novavax บริษัทผลิตวัคซีนต้านไวรัสโคโรน่าเริ่มทดลองวัคซีนเฟสแรกกับคน คุณปิง ประกิต สิริวัฒนเกตุ ให้ข้อสังเกตว่าตอนนี้ตลาดมีสภาพคล่องสูงมาก พร้อมจะเล่นกับข่าวดีตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะเป็นข่าววัคซีนที่มีออกมาบ่อยก็ตาม สถานการณ์ตอนนี้เราอยู่ในตลาดขาขึ้นแล้ว เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเมษา ตลาดมีสภาพคล่องพร้อมจะลงทุน เอื้อต่อการเก็งกำไร ถึงแม้ว่าพื้นฐานเศรษฐกิจจะไม่ดีเลยก็ตาม ซึ่งปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ตลาดโตได้โดยไม่สนเศรษฐกิจและไม่ต้องการเหตุผลใดๆ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นขึ้นไปบางส่วนแล้ว มีนักลงทุนไม่น้อยที่ตกรถไปในรอบนี้ ซึ่งตอนนี้คนที่ตกรถก็อยู่ในสภาวะที่ถูกบีบคั้นให้ตัดสินใจ จะเข้าก็ไม่รู้ว่าสูงไปหรือยัง จะปล่อยก็อาจจะเสียโอกาส รายการ Expert Delivery วันนี้จะมาพูดคุยกับคุณปิง ในหัวข้อที่ว่า คนที่ตกรถไปแล้วควรทำอย่างไรต่อไป อ่านสรุป LIVE ได้ที่นี่ครับ ก่อนอื่น ตลาดยังเป็นขาขึ้นอยู่หรือไม่? เปรียบเทียบการเก็งกำไรฝั่งขาขึ้นเทียบกับฝั่งขาลงในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มาดูที่ตลาดสหรัฐฯ กราฟเส้นสีฟ้า คือกราฟที่นำ Position ของเทรดเดอร์ในฝั่ง Option ที่เก็งขาขึ้น (Buy Call + Sell Put) มาลบกับ Option ที่เก็งขาลง (Sell Call + Buy Put) จะเห็นว่าตอนนี้ตลาดกลับมาเก็งกำไรในขาขึ้นมากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับการที่ตลาดฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมา เปรียบเทียบการเก็งกำไรฝั่งขาขึ้นในตลาดหุ้นไทย เทียบกับ SET แต่กลับกันในบ้านเราจะประหลาดกว่า ยิ่งมีคนเก็งขาขึ้นมากเท่าไร ตลาดยิ่งลง พอกลับมาเก็งกำไรขาลง ตลาดยิ่งขึ้น จุดนี้แสดงให้เห็นว่าคนที่เล่นอยู่ในตลาดบ้านเราเป็นสายชอบดักทาง และจะเห็นว่าตลาดไม่ได้เป็นแบบนี้เฉพาะในตลาดช่วงนี้เท่านั้น กลับไปดู SET ย้อนหลัง 4 ปีเทียบกับปริมาณ Call-Put สัญญาณของ Option ในตลาดบ้านเราก็เล่นสวนทางกันมานานแล้ว ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นชัดเจนแล้วว่ากลุ่มนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นคนชอบดักจริงๆ เปรียบเทียบการเก็งกำไรฝั่งขาขึ้นในตลาดหุ้นไทย เทียบกับ SET ย้อนหลัง 4 ปี จากข้อมูลยืนยันดังกล่าว ทั้งทางด้านตลาดสหรัฐฯ และตลาดไทย ก็บอกได้ว่าตลาดยังมีแนวโน้มที่จะไปต่อในขาขึ้นอยู่ ทีนี้สำหรับคนที่ตกรถไปแล้ว จะทำใจอย่างไร คุณปิงมีคำปลอบใจมาฝากกัน 2 ข้อครับ วิธีรักษาใจจากการตกรถ คำแนะนำข้อที่ 1: ยอมรับความจริง เรื่องมันผ่านไปแล้วให้มันผ่านไป เรื่องที่ควรจะคิดต่อจากนี้ คือ เราจะตัดสินใจอย่างไรต่อจากนี้ต่างหากที่สำคัญ เกมการลงทุนเป็นเกมที่เล่นกันยาวๆ ยังมีโอกาสแก้ตัวเสมอ คำแนะนำข้อที่ 2: โฟกัสในหุ้นกลางหุ้นเล็ก เมื่อยอมรับความจริงที่เราตกรถไปแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนการปรับกลยุทธ์ การลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ คุณปิงแนะนำให้หันมาโฟกัสที่หุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยมีเหตุผลสนับสนุนหลายข้อด้วยกัน 1. เริ่มเห็นการลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก จากภาพ เส้นสีทองคือสัดส่วนการลงทุนในหุ้นนอก SET100 (Non SET100) สีเทาเข้มคือสัดส่วนการลงทุนใน SET100 ส่วนสีเทาอ่อนคือสัดส่วนการลงทุนใน SET50 ถ้าลองไปดูกราฟในช่วงต้นปี 2010 ที่เพิ่งฟื้นจากวิกฤต ในช่วงที่ตลาดเริ่มเป็นขาขึ้นจะเห็นว่าการลงทุนใน SET100 และ Non SET100 จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนใน SET50 ลดลง ซึ่งเหตุการณ์มันคล้ายๆ กับตอนนี้ ถึงแม้ว่าเราจะพลาดการขึ้นของหุ้นใหญ่ไปแล้ว แต่เรายังสามารถจับการขึ้นของหุ้นกลางหุ้นเล็กได้อยู่ ซึ่งก็ยังมีอยู่หลายตัวด้วยกัน 2. SET ยังไม่แพงมาก ยังมีพื้นที่ให้ฟื้น จากกราฟจะนับวันที่ 23 Mar เป็นจุดต่ำสุด ตาม Circuit Breaker ครั้งสุดท้ายของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเห็นว่า SET เราลงไปต่ำสุด 35.2% และตอนนี้ฟื้นมาได้ 27.9% คิดเป็น 83% ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ก็ถือว่าไทยยังมีพื้นที่ให้ฟื้นตัวได้อยู่ ก็ถือว่าเป็นโอกาสสำหรับคนที่ตกรถในการเข้าไปลงทุนอีกครั้ง 3. หุ้น Non-SET50 เริ่มมีสัญญาณ Outperform กราฟนี้คือกราฟที่เอา SET หารด้วย SET50 ถ้าหากกราฟขึ้นก็แสดงว่า หุ้นใน SET ที่ไม่ใช่ SET50 ทำผลงานได้ดีนั่นเอง จะเห็นว่าตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม SET ทำผลงานได้ดีกว่า SET50 ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่ แต่ถ้าหากตลาดเกิดเหตุการณ์ไม่ดีอีก ก็ต้องระวังว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์แบบในช่วงเดือนมีนาคม ที่หุ้นนอก SET50 ก็จะร่วงหนักกว่าเช่นกัน ย้อนดูข้อมูลย้อนหลังไกลกว่านั้นของกราฟ SET หารด้วย SET50 จะเห็นว่าตั้งแต่หลังวิกฤตปี 2008 หุ้น Non SET50 ทำผลงานได้ดีกว่ามาโดยตลอด เรียกว่าเป็นยุคทองของ VI ก็ได้ ส่วนในช่วง 2016 ถือว่าเป็นขาลงยาว 2 ปี พอมาถึงช่วงนี้ก็คล้ายๆ ว่ากราฟจะผงกหัวขึ้นอีกครั้ง สัญญาณครั้งนี้อาจจะเป็นโอกาสของหุ้นกลางและหุ้นเล็กอีกครั้งก็ได้ 4. SET100 Outperform SET50 ชัดเจน มาดูอีกข้อมูลสนับสนุน คราวนี้เป็นกราฟของ SET100 หารด้วย SET50 ข้อนี้จะเห็นว่าเกิดการ Outperform อย่างชัดเจนมาตั้งแต่เดือนเมษายน เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะเข้าลงทุนตอนนี้ก็อาจจะโฟกัสที่หุ้นที่อยู่ใน SET100 แต่อยู่นอก SET50 ไปก่อน ส่วนหุ้นตัวไหนที่น่าสนใจ คุณปิงพูดถึงหุ้นหลายตัวไว้ใน LIVE อาจจะเอามาใส่ในสรุปได้ไม่หมด ท่านที่สนใจตามเข้าไปฟังกันใน LIVE ได้ครับ ข้อควรระวัง การเกาะไปกับรถหุ้นขนาดกลางและหุ้นขนาดเล็กช่วงนี้ เน้นลงทุนเป็นการ Trading ไปก่อน การเก็งกำไรระยะสั้นช่วนี้อาจจะไม่ต้องวิเคราะห์งบของบริษัทมากนัก เพราะบริษัทส่วนใหญ่ตัวเลขก็ไม่ดีอยู่แล้วเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤต แต่เนื่องจากตลาดมีสภาพคล่องค่อนข้างสูง ตลาดมองหาการฟื้นตัวและเข้าตะครุบโอกาสในการลงทุนอยู่แล้ว การเก็งกำไรระยะสั้นจึงน่าสนใจ การซื้อแล้วถือยาวในช่วงนี้อาจจะมองได้ แต่ต้องระมัดระวังว่าวิกฤตในปี 2008 กับในปีนี้ไม่เหมือนกัน ปีนี้เกิดผลกระทบรุนแรงขนาดที่ธนาคารกลางทั่วโลกต้องอัดฉีดเม็ดเงินกันไม่อั้นเลยทีเดียว ถ้าหากจะมองที่พื้นฐานจริงๆ ควรมองหาบริษัทที่ยังคงมี performance ที่ดี รักษาระดับกำไรได้ รักษาการจ่ายปันผลได้ แม้ในสภาวะที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว และในสภาวะที่มีความไม่แน่นอน มีการเปิดๆ ปิดๆ เมืองที่คาดเดาไม่ได้แบบนี้ สรุป ของจะถูกได้เมื่อมีคนตกใจขาย ในช่วงที่ผ่านมาใครซื้อหุ้นได้ที่ SET ระดับ 900-1,000 ยังไม่ต้องรีบขาย ส่วนใครที่ตกรถไปและอยากกลับเข้ามาลงทุน แนะนำลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ตอนนี้เกิดกระแสการเก็งกำไรจากสภาพคล่องในตลาดที่มีมาก อย่างไรก็ตามควรมีการกระจายเงินไว้ในไข่หลายใบด้วย สุดท้ายท่านใดสนใจรายชื่อหุ้นที่คุณปิงแนะนำไว้ ตามไปฟังกันเต็มๆ ได้ใน LIVE ครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Long Content Picture Slide ตกรถ หุ้นไทย แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE: ลงทุนอย่างไรในยุค New Normal (25 พ.ค. 63) - FINNOMENA จากตอนนี้ที่สถานการณ์ทุกอย่างเริ่มผ่อนคลายขึ้น ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนต้องการในตอนนี้ อาจเป็นการเริ่มกลับเข้ามาลงทุน ถึงแม้ว่าความเสี่ยงยังคงมีอยู่ แต่ถ้าหากเรามัวแต่รอให้ทุกอยากกลับมาเป็นปกติ ก็จะทำให้เราพลาดโอกาสในการลงทุนช่วงนี้ไป ใครพลาด LIVE นี้ไป มาฟังสรุปกันครับ 26 พ.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> กลับมาพบกันอีกครั้งทุกวันจันทร์กับรายการ FINNOMENA LIVE Special นะครับ ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อรายการเป็น THE OPPORTUNITY เรียบร้อย คอนเซ็ปต์ของรายการ นอกจากจะมาอัปเดตสถานการณ์ล่าสุดของตลาดในอาทิตย์ที่ผ่านมาแล้ว ก็จะมาแนะนำกันด้วยว่าช่วงนี้โอกาสในการลงทุนอยู่ที่ตรงไหน เรียกได้ว่าชี้ให้ดูกันไปเลยว่าตัวไหนน่าลง น่าลงเพราะอะไร และมีความเสี่ยงอะไรบ้างที่ควรระวัง เราจะแจกของเปรียบเสมือนเป็นวัน Opp Day ของ FINNOMENA เลย (แต่ถ้าสัปดาห์นั้นไม่มีกองไหนที่น่าสนใจ เราก็จะบอกว่าไม่มีครับ) จากตอนนี้ที่สถานการณ์ทุกอย่างเริ่มผ่อนคลายขึ้น ถึงแม้ว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ จะยังคงสูงอยู่ แต่คนเริ่มกลัวน้อยลง มีข่าววัคซีนออกมาบ่อยขึ้น ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนต้องการในตอนนี้ อาจเป็นการเริ่มกลับเข้ามาลงทุน ถึงแม้ว่าความเสี่ยงยังคงมีอยู่ แต่ถ้าหากเรามัวแต่รอให้ทุกอยากกลับมาเป็นปกติ (ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไร และไม่รู้ว่าจะกลับมาเป็น Old Normal รึเปล่า) ก็จะทำให้เราพลาดโอกาสในการลงทุนช่วงนี้ไป จึงเป็นที่มาของ THE OPPORTUNITY ตอน “ลงทุนอย่างไรในยุค New Normal” ก่อนจะไปดูกันว่าช่วงนี้มีกองทุนไหนน่าสนใจ ไปดูอัปเดตตลาดล่าสุดกันก่อนครับ Market Wrap Up 1. ธนาคารกลางเข้ามาชดเชยงบประมาณขาดดุล ยุโรปกับอังกฤษใช้เงินกู้จากธนาคารกลางเน้นๆ 100% ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินที่รัฐบาลแต่ละประเทศใช้พยุงเศรษฐกิจอยู่ในตอนนี้ รัฐบาลใช้เงินที่กู้มาจากธนาคารกลางเป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากเป็นเหตุการณ์ปกตินโยบายการคลังจะสามารถเปิดขายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเรี่ยไรเงินได้ แต่กรณีนี้ภาคเอกชนมีปัญหาด้วย จึงจำเป็นต้องใช้เงินจากธนาคารกลาง จากกราฟที่เห็นเป็นเพียงสัดส่วนเฉยๆ แต่ถ้าเทียบ “ปริมาณเงิน” ที่ใช้มาอุ้มเศรษฐกิจจริงๆ สหรัฐฯ ยังคงเยอะที่สุด 2. เงินเฟ้อญี่ปุ่นติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 เงินเฟ้อของญี่ปุ่นติดลบอีกครั้ง ครั้งจากการติดลบครั้งล่าสุดเมื่อปี 2016 ญี่ปุ่นพยายามไม่ให้เงินเฟ้อติดลบมาโดยตลอดเพราะมันสะท้อนภาวะเงินฝืด ไม่ใช่เฉพาะญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ตอนนี้ประเทศอื่น เช่น ไทยและสหรัฐฯ ก็เจอภาวะเงินเฟ้อติดลบเช่นกัน ซึ่งการที่เงินเฟ้อติดลบยิ่งเป็นการกดดันให้ธนาคารกลางทำดอกเบี้ยเป็นศูนย์หรือติดลบมากขึ้น 3. ผู้เช่าในห้างที่สหรัฐฯ เบี้ยวค่าเช่าจำนวนมาก ที่สหรัฐฯ เกิดการเบี้ยวค่าเช่าเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระแสของ e-commerce ซึ่งทำให้ราคา REITs ร่วงลงมาดังกราฟที่เห็น ส่วนที่ไทยอาจจะเกิดการเบี้ยวค่าเช่าบ้าง แต่คงไม่กระทบรุนแรง เพราะอย่างไรก็ตามคนไทยก็ชอบเดินห้างกันอยู่แล้ว 4. Dow Jones กำลังทดสอบแนวต้านสำคัญ ดัชนี Dow Jones กำลังเดินทางมาถึงระดับแนวต้านสำคัญ แต่ยังไม่ทะลุผ่าน และเมื่อเช็กดูกับ S&P500 จะเห็นว่าอินดิเคเตอร์ MACD ให้สัญญาณซื้อเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นที่มาของ Tactical Call จาก FINNOMENA เมื่อสัปดาห์ที่แล้วด้วย (บทความ Tactical Call) ในภาวะ New Normal นี้ต้องระมัดระวังว่าสภาพเศรษฐกิจกับตลาดทุนอาจจะไปกันคนละทางก็ได้ 5. ตลาดหุ้นฮ่องกงลงแรงสุดในวันเดียวจาก National Security Law จากการที่จีนจะออกกฎหมาย National Security Law ที่จะห้ามไม่ให้มีการแบ่งแยกดินแดน ไม่ให้มีการก่อความไม่สงบ ไม่ให้ต่างชาติแทรกแซง ทำให้ตลาดหุ้นฮ่องกงร่วงแรงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 รอบนี้จีนจะเอาจริงหรือไม่เอาจริงต้องติดตามกันต่อไป 6. Emerging Market เทรดถูกมากเมื่อเทียบกับ Developed Markets สัดส่วนระหว่างดัชนี MSCI Emerging Market กับดัชนี MSCI World ต่ำสุดในรอบ 6 ปี แสดงให้เห็นว่าตลาดประเทศกำลังพัฒนาช่วงนี้สู้ประเทศใหญ่ๆ ไม่ได้เลย การเทียบเคียงนี้ก็ทำให้เราต้องกลับมาคิดว่าหลังจากนี้เราควรจะลงทุนในของที่ราคาถูก หรือลงทุนในผู้ชนะดี 7. ตลาดหุ้นไต้หวันพยายามผ่านเส้น 200 วันเป็นครั้งที่ 3 ดัชนีหุ้นไต้หวันที่ฟื้นตัวกลับขึ้นมาตอนนี้มาอยู่ที่เส้น 200 วันแล้ว แต่พยายามทะลุก็ยังทะลุไม่ได้ จุดนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าตลาดหุ้นไต้หวันจะกลับไปสู่ขาลงอีกครั้งหรือไม่ เพราะไต้หวันก็มีบริษัทผลิต semiconductor ยักษ์ใหญ่อย่าง TSMC อยู่ ซึ่งมีความเป็นหุ้นเติบโตพอสมควร 8. หุ้น Facebook ทำ new high หลังประกาศ Facebook Shop หลัง Facebook เปิดตัวฟังก์ชั่นใหม่อย่าง Facebook Shop (เปิดตัวในต่างประเทศ ไทยยังไม่มีใช้) ก็ทำให้ราคาหุ้นของ Facebook ทำ New High ไปเลย ฟังก์ชั่นนี้จะต่างจาก Marketplace ที่ให้คนมาขายกันเอง แต่ Facebook Shop จะเปิดให้ร้านค้าต่างๆ มาตั้งอยู่บนแพลตฟอร์มของเค้าเลย คล้ายๆ กับ Shopee หรือ Lazada ซึ่งตลาดก็ตอบรับกับ Monetize Model อันใหม่นี้ของ Facebook เป็นอย่างดี กองทุนน่าสนใจในภาวะ New Normal ในสภาวะใหม่ที่กำลังค่อยๆ เกิดขึ้น FINNOMENA มีมุมมองกองทุนที่น่าสนใจทั้งหมด 2 กองมาแนะนำครับ ซึ่งวิเคราะห์มาจากภาวะ New Normal ที่อาจส่งผลดีต่อทั้งสองกองทุนนี้ ตามไปดูกันเลยครับ New Normal อันที่ 1: “ดอกเบี้ย 0% หรือติดลบ” หลายประเทศตอนนี้เกิดภาวะดอกเบี้ยติดลบ ของไทยเองก็เกือบจะติดลบแล้วเช่นกัน ทำให้การไปฝากเงินในธนาคารไม่น่าสนใจอีกต่อไป แล้วโอกาสในการลงทุนก็ตกไปอยู่ที่ “ตราสารหนี้” ด้วยหลักฐาน 3 ข้อด้วยกัน 1. FED อัดฉีดเงินเข้าพยุงตลาดตราสารหนี้จนตอนนี้กลายเป็นเจ้าหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน สังเกตจาก Balance Sheet ที่สูงขึ้นมาก 2. ถึงจะอัดฉีดเงินเข้าไป FED ยังสามารถพยุง Spread ตราสารหนี้เอกชนได้แม้พื้นฐานแย่ จากภาพด้านล่างระดับ Spread ถูกยกขึ้นมาเหมือนจะสร้างฐานใหม่ได้ ทำให้ตอนนี้ตราสารหนี้เอกชนสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล 3. ดัชนีราคาตราสารหนี้มีโอกาสทำ new high ดัชนีรูปด้านล่างเป็นดัชนีที่รวมเอาตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเห็นว่าอยู่ในแนวโน้มดีและมีโอกาสทำ new high ใหม่ได้ จากเดิมในช่วงที่ผันผวนแล้วทาง FINNOMENA แนะนำให้พักเงินใน money market ก่อน แต่จากข้อมูลทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา ตอนนี้สำหรับท่านใดที่ยังมีสัดส่วนการลงทุนที่ไม่ได้ต้องการสภาพคล่องมาก สามารถแบ่งสัดส่วนมาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เพิ่มได้ โดยกองทุนที่เราแนะนำในจังหวะนี้ก็คือ กองทุนที่แนะนำ: PHATRA G-UBOND-H กองทุน PHATRA G-UBOND-H เป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก ลงตามกองแม่คือ Jupiter Dynamic Bond กองนี้เป็นกองที่ลงทุนใน High Yield Bond ค่อนข้างเยอะ ประมาณ 1 ใน 3 ของพอร์ต และมีการลงทุนใน Corporate Bond หรือตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่ากลุ่มพันธบัตรรัฐบาลแน่นอนในตอนนี้ อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนต้องเข้าใจว่ากองนี้เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ ไม่ใช่ money market ดังนั้นราคาจะมีการขึ้นลงบ้าง อาจจะไม่ได้กำไรตลอด สำหรับผู้ลงทุนที่พักเงินใน money market อยู่และสามารถรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ก็สามารถโยกมาลงในกอง PHATRA G-UBOND-H เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ New Normal อันที่ 2: “โลกแห่ง Cloud Computing” จากช่วงพีคของวิกฤตที่ผ่านมาก็น่าจะพิสูจน์กันไปพอสมควรแล้วว่า ในตอนนี้หุ้นเทคโนโลยีถือว่าเป็นหุ้นผู้ชนะจริงๆ โดยเฉพาะบริษัทเทคฯ ที่ใช้ทำงานอยู่บน Cloud และเป็นหุ้นเทคฯ นี่เองที่ช่วยนำตลาดในการฟื้นคืนกลับมาด้วย เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น อีกเหตุผลเป็นเพราะเทรนด์เดิมของเทคโนโลยีที่กำลังจะกลายเป็น New Normal อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่เกิดวิกฤตไวรัสในครั้งนี้ก็ตาม กองทุนที่แนะนำ: KF-GTECH กอง KF-GTECH เป็นกองทุนรวม Sector Fund หรือกองทุนที่โฟกัสในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ สำหรับกองทุนนี้โฟกัสในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก โดยลงตามกองแม่คือ T. Rowe Price Global Technology ซึ่งก็มีความพิเศษ คือ กองนี้เคยพักตัวไปตอน 2017 ไม่ใช่เพราะกองนี้ไม่ดีหรือว่าอะไร แต่เพราะเงินไหลเข้ามาเยอะเกินไป เมื่อไปดูไส้ในของกองทุนนี้ จะพบว่าเป็นหุ้นเทคฯ กลุ่มผู้ชนะที่นำตลาดอยู่ในปัจจุบันทั้งนั้น ขอยกตัวอย่างมา 2 ตัว เช่น Netflix ที่มียอด subscriber โตขึ้นทุกไตรมาส โตเป็นกราฟ exponential สวยงามตามรูปด้านล่าง หรือบริษัท Salesforce บริษัทที่ทำเกี่ยวกับระบบ CRM ถึงแม้ในตลาดจะมีคู่แข่งอยู่ แต่ Salesforce สามารถเติบโตจนทิ้งคู่แข็งไม่เห็นฝุ่น จะเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่า SAP เกือบ 10 เท่า ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเทคโนโลยี Cloud ที่ทำให้สเกลธุรกิจไปได้ทั่วโลก และเป็นเพราะเทคโนโลยี Cloud เหมือนกันที่ทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบน้อยจากวิกฤตไวรัส ต่างจากบริษัท CRM อื่นที่ต้องใช้แรงงานในการติดตั้งระบบนั่นเอง จบแล้วครับสำหรับสรุป LIVE รายการ THE OPPORTUNITY เทปแรก ท่านใดอ่านสรุปแล้วอยากได้ข้อมูลแบบละเอียด สามารถฟังเพิ่มเติมได้ใน LIVE ฉบับเต็ม และสามารถติดตามรายการ THE OPPORTUNITY ได้ใหม่ทุกวันจันทร์ เวลา 14.00 น. เวลาเดิมครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ เขียนโดย TUM SUPHAKORN แท็ก: Advance Article Long Content New Normal Picture Slide แชร์บทความ: ผู้เขียน TUM SUPHAKORN สมาชิกทีม Content Developer ของ FINNOMENA สนใจเรื่องจิตวิทยา ว่าทำไมคนถึงตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Old Normal Investor - FINNOMENA ระยะนี้เรื่องของ “New Normal” นั้นน่าจะเป็นประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดในทุกวงการ การลงทุนเองนั้น ก็มีการพูดถึงการลงทุนที่จะเป็น “New Normal” ด้วยเช่นกันและก็มีผู้พูดถึงกันมากแล้ว แต่สิ่งที่ผมจะพูดถึงในวันนี้นั้นกลับเป็นเรื่องที่ดูย้อนแย้ง นั่นก็คือ ความคิดและวิธีการการลงทุนหรือการเล่นหุ้นของนักลงทุนไทยที่ผมรู้สึกว่าโควิด-19 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย 25 พ.ค. 2563 ระยะนี้เรื่องของ “New Normal” นั้นน่าจะเป็นประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดในทุกวงการ ชีวิตการทำงาน สังคม การเรียน และที่สำคัญการทำธุรกิจและการลงทุนต่างก็ถูกกล่าวถึงว่าจะมี New Normal นั่นก็คือ มีวิถีหรือวิธีใหม่เกิดขึ้นและจะยังอยู่ต่อไปหลังจากวิกฤติโควิด-19 สิ่งที่โดดเด่นก็เช่นการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต การทำงานที่บ้าน การประชุมทางไกล และการเรียนออนไลน์ เป็นต้น เช่นเดียวกัน การลงทุนเองนั้น ก็มีการพูดถึงการลงทุนที่จะเป็น “New Normal” ด้วยเช่นกันและก็มีผู้พูดถึงกันมากแล้ว แต่สิ่งที่ผมจะพูดถึงในวันนี้นั้นกลับเป็นเรื่องที่ดูย้อนแย้ง นั่นก็คือ ความคิดและวิธีการการลงทุนหรือการเล่นหุ้นของนักลงทุนไทยที่ผมรู้สึกว่าโควิด-19 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย นักลงทุนไทยที่รวมถึง VI ส่วนใหญ่นั้น ผมคิดว่ายังคงมีแนวความคิดและวิธีการลงทุนหรือเล่นหุ้น “แบบเดิม” ที่เคยทำมาอย่างน้อยเป็น 10 ปีขึ้นไป ซึ่งในช่วงก่อนที่จะเกิดโควิดเล็กน้อยนั้นผมเคยคิดว่านักลงทุนโดยเฉพาะส่วนบุคคลนั้นกำลังเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่แล้วเมื่อโควิด-19 เกิดขึ้น แทนที่การเปลี่ยนแปลงจะไปเร็วขึ้นเหมือนหลายสิ่ง แต่กลับปรากฏว่าพวกเขาเปลี่ยนกลับไปเป็นแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง ตัวเลขการซื้อขายหุ้นรายวันของนักลงทุนส่วนบุคคลก่อนเกิดโควิดนั้นลดลงมาเรื่อย ๆ จากประมาณ 50% ของการซื้อขายของทุกกลุ่มเหลือ 35% หรือน้อยกว่านั้น กลุ่มผู้เล่นต่างประเทศกลายเป็นผู้ที่ซื้อขายมากที่สุดจาก 30% กลายเป็นประมาณ 45% เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันที่มีบทบาทมากขึ้นและกลายเป็นผู้นำในเรื่องของการชี้นำดัชนีตลาดหุ้นรายวัน ซึ่งผมเองก็มองว่าเป็น “วิวัฒนาการ” ปกติเมื่อตลาดหุ้นพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ ว่าที่จริงตลาดหุ้นที่พัฒนาสูง ๆ นั้น นักลงทุนส่วนบุคคลที่ซื้อขายหุ้นเองนั้นเหลือน้อยมากแทบไม่มีนัยสำคัญ แต่แล้วเมื่อโควิด-19 เกิดขึ้นและต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ การซื้อขายหุ้นของนักลงทุนรายย่อยส่วนบุคคลกลับเพิ่มสัดส่วนกลับขึ้นมาเป็นประมาณ 45-50% และนักลงทุนต่างชาติลดลงเหลือ 30-35% เหมือนช่วงที่ตลาดหุ้นไทยผันผวนและการเก็งกำไรยังร้อนแรงเมื่อหลายปีก่อน ผมคิดว่าเหตุผลที่นักลงทุนส่วนบุคคล “หายไป” ในช่วงก่อนโควิด 1-2 ปีนั้น น่าจะเป็นเพราะว่าตลาดหุ้น “ไม่ดี” ติดต่อกัน 2 ปีคือปี 2561 ที่ดัชนีติดลบ 10% และปี 2562 บวกแค่ 1% และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ดัชนีหุ้นในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นค่อนข้าง “นิ่ง” ดัชนีหุ้นผันผวนค่อนข้างน้อยซึ่งทำให้คนไม่รู้ว่าจะเข้าหรือจะออกจากตลาดเมื่อไร การเก็งกำไรรายวันก็มักจะทำเงินไม่ได้ ขณะที่ใน “ภาพเล็ก” ที่เป็นเรื่องของหุ้นรายตัวหรือรายกลุ่มเองนั้น หุ้นตัวเล็กหรือกลาง-เล็กที่เคยวิ่งเป็นจรวดก่อนหน้านั้นก็ตกลงมากันทั่วหน้าซึ่งทำให้การหาหุ้นเพื่อเก็งกำไรยากขึ้น คนที่ “เจ๊ง” หุ้นนั้นเต็มไปหมด หลายคน “ถอดใจ” ลดการซื้อขายหุ้นลงไปมาก การมาของโควิด-19 ทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนักในช่วงแรก คนอาจจะคิดว่านั่นคือ “ตะปูปิดฝาโลง” สำหรับการเก็งกำไร แต่แล้ว เพียงแค่ 1-2 เดือนทุกอย่างกลับเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ดัชนีหุ้นดีดตัวขึ้นถึง 30% ภายในเวลาอันสั้น หุ้นหลายตัวเพิ่มขึ้น 4-50% หรือมากกว่านั้น หุ้นเก็งกำไรหลายตัวราคากลับไปเป็นนิวไฮเทียบกับเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ค่า PE ของหุ้นจำนวนมากกลับไปสูงเป็น 40-50 เท่า บางตัวเกิน 100 เท่าเพราะกำไรไตรมาส 1 ที่ประกาศออกมานั้นลดลงมากหรือติดลบ แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องความแพงหรือถูก สิ่งที่นักลงทุนรายย่อยสนใจก็คือราคาที่ปรับตัวขึ้นแรงและเร็ว ผลประกอบการจะเป็นอย่างไรในช่วง 1 หรือ 2 ไตรมาสจากนี้จะลดลงก็ไม่เป็นไร ขอให้หุ้นยังมี “สตอรี่” มีโครงการที่จะทำกำไรเพิ่มขึ้นในอนาคตไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ เช่นเดียวกัน ถ้าผลประกอบการออกมาดีคือมีกำไรลดลงเพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำในไตรมาสแรกที่ประกาศไปแล้ว ราคาหุ้นก็จะกระโดดกลับขึ้นไปใกล้เคียงกับราคาเมื่อสิ้นปีที่แล้วหรือสูงกว่าไม่ว่าค่า PE จะเป็นเท่าไร พวกเขาไม่สนใจว่าไตรมาส 2 หรือไตรมาสต่อ ๆ ไปจะเป็นอย่างไรเมื่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตกต่ำลง การมองข่าวหรือผลประกอบการในระยะสั้น ๆ คือพื้นฐานของนักเก็งกำไรในตลาดหุ้นที่เป็นมาเป็นสิบ ๆ ปี ไม่มีอะไรเป็น New Normal VI ทั้งแนว “พันธุ์แท้” ที่ลงทุนแบบถือยาวและอิงกับความแข็งแกร่งและการเติบโตระยะยาวและเน้นราคาหุ้นที่ไม่แพง และแนว “Speculative” ที่มักจะถือหุ้นสั้นกว่าเช่นไม่เกิน 1-2 ปี เน้นในหุ้นที่มักมีคุณภาพปานกลาง มีการเติบโตของผลประกอบการและมีสตอรี่ระยะสั้นที่จะขับเคลื่อนราคาหุ้นได้ มีเจ้าของหรือเจ้ามือที่ดูแลและสนับสนุนราคาหุ้นผ่านกระบวนการและสื่อต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอและเป็น “มิตร” กับนักลงทุน โดยที่ราคาหุ้นนั้นอาจจะไม่ถูกเลย เช่น อาจจะสูงถึง 20-30 เท่าขึ้นไป ทั้งสองกลุ่มนี้เท่าที่ผมสัมผัส ดูเหมือนว่าจะ “ทำเหมือนเดิม” เหตุผลก็คือ พวกเขาคิดว่านี่คือ “หลักการของ VI” ที่ “ไม่ได้ขึ้นกับกาลเวลา” เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ สถานการณ์ของตลาดและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยไม่ได้เปลี่ยนไป และนี่คือหลักการที่ทำให้เขา “รวย” มาแล้ว นอกจากนั้น ผมเองก็คิดว่าถ้าจะเปลี่ยนจริง ๆ เราก็คงทำไม่ได้ เรามีวิธีคิดและปฏิบัติตามหลักการนี้มานานจนมันเปลี่ยนไม่ได้แล้ว นี่ก็คงเป็นไปตามสุภาษิตที่ว่า “You can’t teach an old dog new tricks” นักลงทุนรายใหญ่ซึ่งรวมถึง “เจ้ามือหุ้น” กองทุนรวมที่ลงทุนแนวใกล้เคียงกับเฮดจ์ฟันด์ และเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ที่หันมาลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จำนวนมากที่เคยเป็นคนขับเคลื่อนราคาหุ้นผ่านกระบวนการการซื้อขายและการส่งข้อมูลเชียร์หุ้นผ่านสื่อทั้งหลาย และบางครั้งก็ทำการ Corner หุ้นหรือซื้อหุ้นจำนวนมหาศาลจนสามารถควบคุมราคาหุ้นได้อย่างมีนัยสำคัญนั้น ก่อนหน้าที่จะเกิดโควิด19 พวกเขาต่างก็ชะลอหรือถอยจากการลงทุนในหุ้นที่ร้อนแรงทั้งหลายเพราะหุ้นเหล่านั้นจำนวนมากต่างก็ตกลงมาอย่างหนักจนแทบจะเป็นหายนะ ซึ่งทำให้แม้แต่รายใหญ่หรือ “เซียน” ก็ยังเจ็บตัวไปด้วย พอเกิดโควิดขึ้น บางคนก็เริ่มกลับมา “เล่นหุ้น” แบบเดิมและตัวเดิม ๆ ที่ยังมีศักยภาพอยู่ อาการของหุ้นเหล่านั้นในช่วงนี้ก็แทบจะเหมือนเดิม คือวิ่งขึ้นไปรวดเร็วรุนแรงโดยที่บ่อยครั้งไม่ได้มีเหตุผลเพียงพอเลย ผมคิดว่าเหตุผลที่พฤติกรรมการลงทุนหรือเล่นหุ้นของนักลงทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนที่เน้นการเอาชนะตลาดสูง ๆ นั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากปรากฏการณ์ของโควิด-19 ยังคงเป็นวิธีการเดิม ๆ นั้น ก็เป็นเพราะว่ายีนของคนเราทุกคนไม่ได้เปลี่ยน พฤติกรรมของนักลงทุนไทยนั้นสะท้อนมาจากยีนของคนที่ถูกออกแบบมาให้เป็นคนชอบเสี่ยง ชอบความตื่นเต้นที่ได้ “ลุ้น” และมีความสุขมากจาก “กำไร” ก้อนโตที่ได้รับมา “อย่างง่าย ๆ” เช่นการลงทุนหรือการเล่นหุ้น ในขณะเดียวกัน พวกเราก็ประเมิน “ความเสี่ยง” และต้นทุนของการเล่นหุ้นต่ำกว่าความเป็นจริงอานิสงค์จากกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยให้กับนักเก็งกำไรระยะสั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษี ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น และขนาดของจำนวนหุ้นที่ซื้อขายในตลาดของบริษัทจดทะเบียนจำนวนมากที่เล็กเมื่อเทียบกับเม็ดเงินของนักลงทุน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นของไทยที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และโควิด19 ก็ไม่ได้เปลี่ยนปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้น และถ้าจะให้ผมนิยามภาวะหรือพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนในยามนี้ผมก็จะบอกว่ามันก็คือ “Old Normal Investor” สำหรับนักลงทุน ทุกอย่างเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/05/25/2326 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content นักลงทุน แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE รวมทิศทางหุ้นและทองคำ - FINNOMENA สรุป LIVE ในวันนี้เราจะมาเจาะลึกทิศทางหุ้นและทองคำว่ามาหรือยัง? และไปได้แค่ไหน? รวมถึงอัปเดตสถานการณ์หุ้นกลุ่มการเงินต่าง ๆ ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้ ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ! 19 พ.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE ในวันนี้เราจะมาเจาะลึกทิศทางหุ้นและทองคำว่ามาหรือยัง? และไปได้แค่ไหน? รวมถึงอัปเดตสถานการณ์หุ้นกลุ่มการเงินต่าง ๆ ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้ ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ! ยอดค้าปลีกในอเมริกาตกตํ่าสุดในประวัติศาสตร์ ยอดค้าปลีกซึ่งเป็นตัวสะท้อนการบริโภค (สินค้าของใช้ต่าง ๆ มีคนซื้อไหม) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงเกือบ ๆ 65% ของ GDP อเมริกา ลดลงมาที่ -17.8% JC Penny ห้างสรรพสินค้าในสหรัฐฯ ประกาศยื่นล้มละลาย JC Penny 1 ในธุรกิจค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบและประกาศล้มละลาย จากการที่ยอดค้าปลีกก่อนหน้ายํ่าแย่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน ฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ โดยพลิกบวกขึ้นมาเป็น 3.9% ในเดือน เมษายน ซึ่งจีนเองอาจจะเป็นมุมมองต้นแบบการฟื้นตัวไกล ๆ จึงทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัว อาจคาดหวังว่าอาจเป็นเหมือนจีน และสามารถกลับมาได้ หุ้นใหญ่แซงหุ้นเล็ก ดัชนี NASDAQ ในช่วงที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเหนือกว่าบริษัทเล็ก ๆ โดยมีผลมาจากวิกฤติโควิดที่อาจสร้างผลกระทบให้กับบริษัทเล็ก ๆ มากกว่าบริษัทใหญ่ ๆ (อาจจะด้วยเงินทุนหรือ value ของบริษัทที่น้อยกว่า) สวนทางกระแสก่อนหน้าว่าหากบริษัทเล็ก ๆ สามารถปรับตัวได้เร็วตามยุค Disruption อาจจะแซงหน้าบริษัทใหญ่ได้ Warren Buffett ขายหุ้น Goldman Sachs เกือบทั้งหมด ในปี 2008 ทาง Warren Buffett ได้ลงทุนไป 5,000 ล้านเหรียญกับ Goldman Sachs รวมถึง JPMorgan ออกมาด้วยส่วนนึง จึงอาจสื่อให้เห็นถึงความกังวลทางด้านสถาบันการเงินในอนาคต ดัชนีหุ้นแบงก์สหรัฐฯ ลงหนัก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ S&P 500 ยังไม่ไปมากกว่านี้ เนื่องจากดัชนี S&P 500 เองก็มีหุ้นกลุ่มการเงินใหญ่ ๆ อย่าง Berkshire Hathaway, Visa รวมถึง JPMorgan ที่มีนํ้าหนักเป็นอันดับต้น ๆ ในดัชนี กลุ่มการเงินอยู่ในขาลง MACD ณ ปัจจุบัน ตัดลงตํ่ากว่าเส้น zero line (เส้นศูนย์) หุ้นกลุ่มการเงินจึงอาจอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งการที่ตลาดดีดตัว (Rebound) ในช่วงที่ผ่านมา อาจมาจากหุ้นเทค ในขณะที่หุ้นกลุ่มการเงินยังยํ่าแย่ไม่ชัดเจนอยู่ PNC กลุ่มการเงิน top 10 ในสหรัฐฯ ขาย Blackrock ช่วงที่ผ่านมา PNC เทขาย BlackRock บริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯซึ่งลงทุนใน ETF และกองทุนหุ้นต่าง ๆ อาจสื่อให้เห็นถึงความกังวลที่ยังมีอยู่ในวงตลาดทุนก็เป็นได้ ราคานํ้ามันเริ่มกลับมาเป็นบวก อาจเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สนับสนุนตลาดหุ้นได้ (ราคานํ้ามันกลับมา เงินเฟ้อเริ่มมา) ทิศทางทองคำ ราคาทะลุกรอบ Flag pattern และยืนอยู่เหนือแนวต้านราคาเก่าที่ 1,700 จุด โดยอาจไปแตะที่ 1,900 จุดได้ใน Wave 3 ที่กำลังอยู่นี้ คำถามสุดฮิต ตอนนี้ซื้อทองได้เลยไหม? โดยปกติการ breakout จาก Flag pattern ราคาจะขึ้นไปได้พอ ๆ กับตัวเสาธงเดิมที่ราว ๆ 1,800 ตอนนี้ราคา 1,760 ไป 1,800 อยู่ที่ราว ๆ 3% แต่หากเทียบกับจุด cut loss ที่ราว ๆ 1,720 เดิม ซึ่งหากเทียบผลตอแทนเทียบความเสี่ยงดูไม่คุ้ม เพราะ หากเสีย ๆ 40 ได้ ๆ 30 ดังนั้นอาจจะต้องรอราคาย่อก่อน หากต้องการเล่นระยะสั้น ตลาดเลิกมองดอกเบี้ยติดลบ ที่ผ่านมา Jerome Powell ประธาน Fed ออกมาประกาศว่าจะไม่ใช้ดอกเบี้ยติดลบ จึงทำให้ Fed Fund Futures (การคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต) มาอยู่ในจุดที่ไม่คาดหวัง (ตํ่ากว่า 100) S&P 500 เจอจุดวัดใจ กำลังทดสอบแนวต้านในกรอบ sideway เล็ก ๆ อยู่ โดยหากถ้า break กรอบนี้ขึ้นไปและมีปัจจัยสนับสนุนพื้นฐานอย่าง สถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น รวมถึงนํ้ามันที่เริ่มไปในเชิงบวก รวมถึงเงินทุนไหลเข้า (Fund flow) ที่เพิ่มขึ้น เราอาจจะกลับเข้าไปลงทุนได้ หวังว่าทุกคนจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กันไปนะครับ (หุ้นจะ V-shape หรือเปล่านะ?) ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin แท็ก: Advance Article Foreign Stock Gold Knowledge Long Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หัวเลี้ยวหัวต่อนโยบาย กระตุ้นต่อหรือพอแค่นี้ - FINNOMENA หนึ่งในข่าวลือหนาหูสุดร้อนแรงในช่วงนี้ก็คงจะเป็นเรื่องอะไรไปไม่ได้นอกจาก เรื่องอัตราดอกเบี้ยติดลบที่บางประเทศมีความเป็นไปได้ที่จะต้องใช้มัน เพราะ ดูเหมือนว่าวิกฤติโควิดนี้จะสร้างรอยแผลให้กับเศรษฐกิจค่อนข้างมาก Mr. Serotonin จะพาทุกคนมาพิสูจน์ไปพร้อม ๆ กันว่า หากเราดึงดันทำมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม มันอาจส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นบ้าง 17 พ.ค. 2563 หนึ่งในข่าวลือหนาหูสุดร้อนแรงในช่วงนี้ก็คงจะเป็นเรื่องอะไรไปไม่ได้นอกจาก เรื่องอัตราดอกเบี้ยติดลบที่บางประเทศมีความเป็นไปได้ที่จะต้องใช้มัน เพราะ ดูเหมือนว่าวิกฤติโควิดนี้จะสร้างรอยแผลให้กับเศรษฐกิจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะธุรกิจสายการบินที่ในช่วงนี้ดูจะร่อแร่เต็มที แต่กลับกันตลาดหุ้นในช่วงนี้กลับโดดเด่นขึ้นมาหน้าตาเฉย และราคาอาจไม่ได้สะท้อนตามสภาพเศรษฐกิจอีกต่อไป หากจะให้นึกตัวอย่างก็คงจะเป็นดัชนีอย่าง NASDAQ ที่ราคาพุ่งขึ้นจนอาจจะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ Dow Jones รวม ๆ แล้วยังดูจะไปต่อไม่ค่อยไหว (ส่วนตัวผมเชื่อว่าน่าจะฟื้นตาม ๆ กันครับ แต่อาจจะช้ากว่า) สิ่งเหล่านี้ผมเชื่อว่าจะสร้างความลำบากใจให้กับผู้ดำเนินนโยบายเป็นอย่างมาก เพราะตลาดหุ้นวิ่งขึ้น ในขณะที่สภาพเศรษฐกิจยังกระท่อนกระแท่น ดังนั้น เรามาดูกันว่าเป้าหมายหลัก ๆ ของธนาคารกลาง ณ ปัจจุบัน คืออะไร? เป้าหมายการดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง ณ ปัจจุบัน 1) สร้างเงินเฟ้อให้ตรงตามเป้าหมาย ส่วนใหญ่ที่ราว ๆ ระดับ 2% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสม ไม่มากและไม่น้อยเกินไป (หากมากไปของจะแพงมาก ค่าของเงินลดรุนแรง หรือหากน้อยไปเศรษฐกิจจะฝืดเคือง หนืด ๆ คนไม่จับจ่ายใช้สอย) 2) ทำให้การว่างงานอยู่ในระดับตํ่า ทำให้ผู้คนมีงานทำ 3) ทำให้แน่ใจว่าตลาดหุ้นวิ่งขึ้นไปต่อได้ (เป้าหมายพิเศษ) เมื่อเห็นดังนี้แล้วเราอาจจะมองเห็นได้ว่า ธนาคารกลางอาจจะลุล่วงในส่วนของการกระตุ้นตลาดหุ้นไปเป็นที่เรียบร้อย (ดัชนี NASDAQ) แต่กลับกันการว่างงานในตอนนี้ยังอยู่ในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 14.7% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ที่ราว ๆ 1.5% (แต่เข้าใกล้ 2% แล้ว) ดังนั้นเราอาจจะเห็นได้ว่าข้อ 1 และ ข้อ 2 ยังไม่สำเร็จ นี่จึงเป็นเหตุผลที่อาจจะสร้างความลำบากใจให้กับผู้ดำเนินนโยบาย เพราะตลาดหุ้นกลับร้อนแรง ในขณะที่เศรษฐกิจยังฝืดเคือง แล้วตลาดหุ้นที่ร้อนแรงจะส่งผลอย่างไรในอนาคต ในเมื่อตลาดกำลังร้อนแรงจากสัญญาณเชิงบวกอย่างมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ โดยที่ภาคธุรกิจยังอยู่ในภาวะที่ยํ่าแย่ ผมมองว่าทางรัฐและทางธนาคารกลางเองอาจจำเป็นต้องดำเนินนโยบายกระตุ้นต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจหมายความว่าตลาดอาจจะร้อนแรงไปยิ่งกว่านี้อีก หลังจากที่ขึ้นมาแล้วก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งที่ผมกังวล ณ ตอนนี้ก็คือ หากมาตรการกระตุ้นชุดใหม่ ยังไม่สามารถประคองเศรษฐกิจเอาไว้ได้ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเราค่อย ๆ กระเถิบมาที่ระดับ 2 % เต็มแก่ เราอาจจะกำลังเข้าสู่ยุคที่อัตราเงินเฟ้อถึงเป้าแต่เศรษฐกิจยังไม่กระเตื้องก็เป็นได้ ภาพแสดงความคาดหวังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ 1.46% จากเป้าหมายที่ 2% แล้วมันยํ่าแย่อย่างไรถ้าหุ้นขึ้น เงินเฟ้อถึงเป้า การจ้างงานยังไม่เกิด? หากเงินเฟ้อถึงเป้าแล้วการจ้างงานและภาคธุรกิจยังไม่กลับมา มันอาจจะทำให้ผู้นโยบายตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งผู้ดำเนินนโยบายอาจจะเผชิญกับช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสองทางเลือก ภาพแสดง Debt to GDP โลก (รวมแล้วทั้งหมดเท่ากับ 322% ของ GDP โดยอเมริกาคิดเป็น 102% ของ GDP หรือ 1 ใน 3 ของทั้งหมด) ทางเลือกที่ 1 ทางเลือกแรกคือดำเนินมาตรการกระตุ้นต่อไป แบบไม่สนใจเงินเฟ้อ ซึ่งหากทำมากเกินไป อาจจะทำให้เกิด Hyperinflation ได้ จึงอาจนำไปสู่การขายสินทรัพย์ทิ้งอย่างรุนแรงของต่างประเทศ (ค่าเงินอ่อนหากกระตุ้นไม่เหมาะสม) จนอาจทำให้เกิด Hyperinflation ส่วนเรื่อง Debt to GDP ของอเมริกานั้นผมมองว่าไม่น่ากังวลเท่าไรนัก เนื่องจากอเมริกาสามารถพิมพ์เงินใช้หนี้ได้ แต่ต้องควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม ส่วนที่น่ากังวลคือ ญี่ปุ่นมากกว่าครับ หนี้เยอะแต่เสกเงินแบบอเมริกาไม่ได้ ทางเลือกที่ 2 ส่วนทางเลือกที่สองนั้นคือการปรับขึ้นดอกเบี้ยและดำเนินนโยบายอย่างรัดกุม สวนทางกับการจ้างงานและภาคธุรกิจที่ยังยํ่าแย่ ซึ่งอาจช่วยควบคุมปัญหาเงินเฟ้อในอนาคต และความร้อนแรงของฟองสบู่ตลาดหุ้น แต่ก็อาจทำให้ภาคธุรกิจฝืดเคืองและถดถอยไปมากกว่าเดิม แล้วปัจจุบันประเทศต่าง ๆ เหลือพื้นที่ให้ลดดอกเบี้ยอีกไหม ข้อมูลภาพจากสไลด์กลยุทธ์การลงทุน บลจ. ASIA PLUS วันที่ 11 พฤษภาคม 2563 จากภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่าเอาเข้าจริง ๆ แล้วหากหักกับอัตราเงินเฟ้อ จนกลายเป็นดอกเบี้ยแท้จริง (ดอกเบี้ยรวมหักเงินเฟ้อ) นั้นติดลบไปเรียบร้อยแล้ว จากแรงกดดันที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากมาตรการชุดใหญ่ ในขณะที่ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับตํ่า อย่างไรก็ตามประเทศไทยนี่เหลือพื้นที่สำหรับนโยบายเยอะมาก ๆ ครับ และโดดเด่นมาก ส่วนตัวผมมองว่า “ไทย” นี่แหละมีความเป็นไปได้ที่จะโดดเด่นจากการกลับตัวของหุ้นในรอบนี้หากเทียบกันในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจาก Debt to GDP ที่ไม่สูงและการลดดอกเบี้ยที่มีพื้นที่มากกว่าที่อื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องดูที่ผู้ดำเนินนโยบายด้วยครับ ว่าจะปล่อยของแค่ไหน ถ้าปล่อยไม่เยอะประคอง ๆ มันอาจจะไม่ซิ่ง แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นผมมองว่าตลาดหุ้นไทยจะค่อนข้างเสถียรในระยะยาว (Sustain) เพราะดำเนินนโยบายตามความเป็นจริง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ครับ (ส่วนตัวผมสนับสนุนการใช้นโยบายประคองเศรษฐกิจและสะท้อนราคาในหุ้นอีกที ไม่ใช่นโยบายปั๊มหุ้นให้ร้อนแรงจนเกินไปครับ เดี๋ยวฟองสบู่จะใหญ่ไป) สรุปโดยรวม ดังนั้นผมจึงอยากสรุปไว้ว่าหากโควิด ยังทำให้ภาคธุรกิจกระท่อนกระแท่นต่อไป ผู้ดำเนินนโยบายอาจต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบาก อย่างการดำเนินนโยบายแบบรัดกุมในขณะที่ภาคธุรกิจยังไม่กลับมา หรือการกระตุ้นต่อไปในขณะที่อัตราเงินเฟ้อและตลาดหุ้นร้อนแรง ซึ่งหากว่ากันจากที่ผมศึกษามา (หากคุณศรัทธาใน Ray Dalio) การกระตุ้นเพื่อยื้อเศรษฐกิจในขณะที่เงินเฟ้อร้อนแรงมาก ๆ โดยที่ไม่ยอมล้ม ร้ายแรงกว่ามากครับ ซึ่งตัวอย่างก็คือวิกฤติค่าเงิน Mark ของเยอรมันในช่วงสงครามโลก ที่รัฐดำเนินการกระตุ้นต่อเนื่องจนเงิน Mark ไร้ค่า ผู้คนต่างหลีกหนีการลงทุนในเยอรมัน นำเงินไปหลบในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อรักษามูลค่าสินทรัพย์ของตนไว้ (หนีการถือเงิน Mark) แต่กลับกันหากเราปล่อยให้เศรษฐกิจฝืดเคือง ยอมเจ็บ ผู้ดำเนินนโยบายและรัฐก็อาจจะโดนแรงกดดันจากประชาชนที่เผชิญกับความยากลำบาก ซึ่งรัฐจะต้องทนใจแข็งและทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป (อาจเป็นได้ยากยุคนี้การแข่งขันทางการเมืองสูงมาก) ถึงแม้จะโดนแรงกดดันจากประชาชนและการเมืองก็ตาม ส่วนตัวผมชอบวิธี “รัฐและผู้ดำเนินนโยบายทำสิ่งที่ควรทำ” มากกว่า เพราะ เป็นการปล่อยให้ภาวะเศรษฐกิจเป็นไปอย่างที่มันควรจะเป็น ไม่พยายามฝืนดำเนินนโยบายเกินเหตุจนเกิดฟองสบู่ขนาดใหญ่ในอนาคต แต่ก็อย่างว่าครับ อาจจะเป็นไปได้ยาก เราอยู่ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงได้ง่าย ผู้คนมีความรอบรู้ รักในสิทธิประโยชน์ส่วนตนมากขึ้น ประชาชนอาจจะไม่ยอมกันเป็นแน่ หากพูดกันในเชิงการเมืองของกรีกโบราณแล้วเราอาจจะอยู่ในยุคที่ผู้มีอำนาจต่าง ๆ อาจถูกบังคับให้สวมบทเป็น “Demagogue” ก็เป็นได้ (ลองหากันดูนะครับว่าคืออะไร) สุดท้ายแล้วผมขอจบสวย ๆ ไว้ว่า “History doesn’t repeat itself, but it does rhyme”-Mark Twain ลองไปคิดเล่น ๆ กันดู ขอให้ทุกคนโชคดีครับ Mr. Serotonin References https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-01-13/global-debt-to-gdp-ratio-hit-an-all-time-high-last-year สไลด์นำเสนอกลยุทธ์การลงทุน บลจ. ASIA PLUS วันที่ 11 พฤษภาคม 2563 แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content monetary policy แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE รู้หรือไม่ หุ้นภูมิภาคใด "ถูก" - FINNOMENA สรุป LIVE ในวันนี้ได้พี่วิน CIO ของบริษัทหลักทรัพย์ Principal มาให้มุมมองหุ้นและเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนหุ้นภูมิภาคใดจะมีความน่าสนใจนั้น กดเข้ามาอ่านพร้อม ๆ กันได้เลยครับ 14 พ.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE ในวันนี้ได้พี่วิน CIO ของบริษัทหลักทรัพย์ Principal มาให้มุมมองหุ้นและเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนหุ้นภูมิภาคใดจะมีความน่าสนใจนั้น กดเข้ามาอ่านพร้อม ๆ กันได้เลยครับ สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: Advance Article Asia Equity Knowledge Long Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
บอกอะไรกับเรา? เมื่อ NASDAQ ใหญ่กว่าหุ้นเกือบทุกประเทศในโลกรวมกัน - FINNOMENA การเกิดขึ้นของ COVID-19 กลายเป็นตัวเร่งให้ผู้คนทั่วโลกปรับตัวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีไปแล้ว และหลาย ๆ อย่างจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คือแม้โควิตจะผ่านพ้นไป แต่การที่เราหลายคนได้ลองใช้ชีวิตในแบบใหม่ ๆ ในช่วงที่ผ่านมาจะนำไปสู่การวิวัฒนาการของพฤติกรรมบางอย่างที่จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป ใครคือผู้ชนะและผู้แพ้ในเหตุการณ์นี้? 13 พ.ค. 2563 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจหดตัวครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลกจาก COVID-19 เราได้พบกับอีกปรากฏการณ์หนึ่งคือการที่มูลค่ากิจการของบริษัทในดัชนีหุ้น NASDAQ ใหญ่กว่า MSCI All Country (ex USA) ไปแล้ว นั่นหมายความว่าเหล่าหุ้นเทคโนโลยีที่จดทะเบียนอยู่ในตลาด NASDAQ ที่สหรัฐฯ มีมูลค่ากิจการมากกว่ามูลค่าของหุ้นทุกประเทศหลัก ๆ ทั่วโลกรวมกัน (ไม่รวมสหรัฐฯ) ไปแล้ว ดัชนี MSCI All Country ex USA นั้นประกอบไปด้วยหุ้น 22 ประเทศของประเทศ Developed Market (ยกเว้นสหรัฐฯ ประเทศเดียว) และ 26 ประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งดัชนีนี้ประกอบไปด้วยหุ้นกว่า 2,400 บริษัท และครอบคลุมมากกว่า 85% ของตลาดหุ้นทั่วโลกไม่รวมสหรัฐฯ โดยดัชนีมีมูลค่ากิจการรวมกันกว่า 18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนเม.ย. 63) เทคโนโลยีกลายเป็น New Normal เต็มตัว ท่ามกลางช่วงเวลาที่โลกเข้าสู่การล็อคดาวน์ สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันคือการที่การบริโภคของผู้คนในโลกเข้าสู่การพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว ขณะที่ยอดขายของห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ตกต่ำอย่างรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ยอดการสั่งอาหารผ่าน Uber Eats, Grab Food กลับเพิ่มขึ้นอย่างถล่มทลาย เช่นเดียวกับยอดการสั่งสินค้าผ่าน e Commerce ของ Amazon การประชุมผ่าน Zoom Conference และ Google Meet เกิดขึ้นทดแทนการประชุมกันแบบพบเจอตัว และดูเหมือนจะกลายเป็น New normal ไปแล้วเพราะตอนนี้คนทำงานแทบทุกวันถูกบังคับให้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นโดยอัตโนมัติ หลังจากการล็อคดาวน์ในครั้งนี้ เราจะได้เห็นบริษัทอีกจำนวนมากมายที่ย้ายระบบทั้งหมดขึ้นไปบนคลาวด์ เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าเป็นระบบที่ปลอดภัยและเหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงานทางไกล ซึ่งผู้ให้บริการ Cloud Computing 3 เจ้าหลักในโลกก็หนีไม่พ้น Amazon Microsoft และ Google ตัวเลขผู้ใช้บริการ Facebook ในแต่ละเดือนในช่วงที่ผ่านมาพุ่งทะลุ 2 พันล้านคนหรือประมาณครึ่งโลก และจำนวนผู้ใช้บริการ Netflix แบบจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผู้คนออกไปไหนไม่ได้ (เช่นเดียวกับความนิยมในการกินซุปเต้าหู้อ่อนกิมจิจาก Itaewon Class) การเกิดขึ้นของ COVID-19 กลายเป็นตัวเร่งให้ผู้คนทั่วโลกปรับตัวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีไปแล้ว และหลาย ๆ อย่างจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คือแม้โควิตจะผ่านพ้นไป แต่การที่เราหลายคนได้ลองใช้ชีวิตในแบบใหม่ ๆ ในช่วงที่ผ่านมาจะนำไปสู่การวิวัฒนาการของพฤติกรรมบางอย่างที่จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป ใครคือผู้ชนะและผู้แพ้ ผู้ชนะในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งใหญ่ของชาวโลกครั้งนี้เห็นได้ชัดว่าส่วนใหญ่คือบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ ที่จดทะเบียนอยู่ใน NASDAQ ซึ่งจะไม่น่าแปลกใจเลยถ้าเราจะเห็นมูลค่ากิจการของ NASDAQ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้จากปัจจุบันที่คิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าหุ้นของ S&P 500 ไปแล้ว ขณะที่ประเทศที่ขาดแคลนบริษัทเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จนั้นน่าจะเข้าสู่ช่วงทศวรรษที่ยากลำบาก (ในที่นี้หมายถึงทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2020 ขึ้นไป) หนึ่งในนั้นไม่ต้องไปไหนไกลกลับมาดูที่เมืองไทยบ้านเราครับ ช่วง Work-from-home ปิดเมืองอยู่บ้านที่ผ่านมา ลองถามตัวเองดูครับว่าสั่งอาหารผ่าน Grab Get LINEMAN Food Panda กันไปกี่ครั้ง สั่งสินค้าผ่าน Lazada Shopee ไปกี่รายการ ดูซีรี่ส์ Netflix ไปกี่เรื่อง เล่น Facebook Youtube Tiktok กันไปมากแค่ไหน ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ดูให้ดีว่ามีบริษัทไหนจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยบ้านเราบ้าง คำตอบคือไม่มีเลย การที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนใน SET ถูกลดประมาณการอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเพราะโควิดหรอกครับ แต่เป็นเพราะเรากำลังเสียความสามารถในการแข่งขันในยุค New Normal ที่เทคโนโลยีคือมหาอำนาจทางเศรษฐกิจตัวจริง ก็ขอเอาใจช่วยให้ผู้ประกอบการไทยได้ตระหนักรู้ และกลับมาแข่งขันได้ในยุคหลังโควิดนะครับ FundTalk แท็ก: Advance Article Knowledge NASDAQ Short Content เทคโนโลยี แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE หุ้นกลุ่มเดอะแบกคือใคร? ไปต่อได้อีกไหม - FINNOMENA ใครกำลังแบกตลาด? หลาย ๆ คนอาจสงสัยกันว่าตลาดหุ้นในช่วงนี้ ขึ้นมาได้ยังไง โดยมีตลาดหนึ่งที่โดดเด่นมาก ๆ แบบที่ราคาของมันอาจจะกลายเป็นขาขึ้นไปแล้วหรือเปล่า? สรุป LIVE ในวันนี้เราจะพาทุกคนมาเจาะลึกกันว่า ใครกันนะที่กำลังแบกตลาดหลังหักในช่วงเวลานี้ 11 พ.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ใครกำลังแบกตลาด? หลาย ๆ คนอาจสงสัยกันว่าตลาดหุ้นในช่วงนี้ ขึ้นมาได้ยังไง โดยมีตลาดหนึ่งที่โดดเด่นมาก ๆ แบบที่ราคาของมันอาจจะกลายเป็นขาขึ้นไปแล้วหรือเปล่า? สรุป LIVE ในวันนี้เราจะพาทุกคนมาเจาะลึกกันว่า ใครกันนะที่กำลังแบกตลาดหลังหักในช่วงเวลานี้ สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content NASDAQ technological stocks แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำไมราคาน้ำมันช่วงนี้...ถึงขยับขึ้น - FINNOMENA ราคาน้ำมัน WTI ถือว่าปรับขึ้นกว่า 1 เท่าตัวในรอบเวลาเพียงประมาณกว่า 2 สัปดาห์เท่านั้น สอดคล้องกับการประกาศปริมาณคงคลังน้ำมันดิบจากหน่วยงาน EIA ของสหรัฐ ที่สูงขึ้นเพียง 4.6 ล้านบาร์เรล ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะสูงขึ้น 8.67 ล้านบาร์เรล โดยบทความนี้จะขอวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว 11 พ.ค. 2563 หลายคนน่าจะแปลกใจอยู่บ้างที่เมื่อกลางสัปดาห์ จู่ ๆ ราคาน้ำมันหน้าสถานบริการน้ำมันที่ประกาศในบ้านเราก็ขยับสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่สูงขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมัน WTI ถือว่าปรับขึ้นกว่า 1 เท่าตัวในรอบเวลาเพียงประมาณกว่า 2 สัปดาห์เท่านั้น สอดคล้องกับการประกาศปริมาณคงคลังน้ำมันดิบจากหน่วยงาน EIA ของสหรัฐ ที่สูงขึ้นเพียง 4.6 ล้านบาร์เรล ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะสูงขึ้น 8.67 ล้านบาร์เรล โดยบทความนี้จะขอวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวดังนี้ 1. ปัจจัยฝั่งอุปสงค์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนแรกราคาน้ำมันเบนซินหรือ Gasoline ในสหรัฐที่มีปริมาณการใช้ในตอนนี้สูงขึ้นจากกลางเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา กว่า 9% โดยเพิ่มจาก 49% มาสู่ 58% ของระดับที่ใช้กันสำหรับช่วงเวลาเศรษฐกิจในภาวะปกติ ส่วนที่ 2 การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของบางประเทศในฝั่งยุโรป อาทิ เยอรมนี สเปนและอิตาลี รวมถึงบางรัฐในสหรัฐเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ของน้ำมันในพื้นที่เหล่านี้และของโลกสูงขึ้น ส่วนที่ 3 ความหวังว่าโอกาสที่สถานการณ์โควิด-19 จะรุนแรงขึ้นจาก Second Wave ของโรคระบาดจนก่อให้เกิดการกลับมาขยายเวลาล็อกดาวน์อีกครั้งจะมีน้อยลงในช่วงนี้ ได้ทำให้ประมาณการจีดีพีของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 1-3% 2. การผ่อนคลายลงของปัญหาการจัดเก็บน้ำมัน (Storage Problem) ทั้งนี้แม้ว่าในสหรัฐแหล่งจัดเก็บน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ อย่างเมืองคุชชิง ในโอคลาโฮมา จะมีอัตราการจัดเก็บที่สูงขึ้นกว่า 10% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จนจะแตะระดับ 60 ล้านบาร์เรล เหลืออีกเพียง 25 ล้านบาร์เรลก็จะเต็มความจุทั้งหมดก็ตาม หรือแม้แต่แหล่งจัดเก็บใต้ดิน อย่าง Salt Caverns ที่มีขนาดการจัดเก็บน้ำมันใหญ่ที่สุดก็เริ่มที่จะจัดเก็บน้ำมันใกล้เต็มความจุรวม อย่างไรก็ดี บริษัทน้ำมันได้แก้ปัญหาดังกล่าวแบบชั่วคราวด้วยการใช้แหล่งเก็บน้ำมันแบบที่ลอยเหนือน่านน้ำหรือ Supertanker ที่ทางรอยเตอร์สคาดการณ์ว่าเก็บได้ราว 160 ล้านบาร์เรลในสหรัฐ แต่ที่ดูแล้วถือว่าน่าสนใจได้แก่การจัดเก็บแบบ Frac tank ซึ่งปกติแล้วถังเก็บเหล่านี้จะจัดเก็บสารเคมีที่เป็นของเหลวที่เรียกว่า Frac Fluids โดยในช่วงนี้ได้มีการปรับถังเก็บเหล่านี้มาเก็บน้ำมันแทน โดยข้อดีของวิธีนี้คือมีต้นทุนที่ถูก โดยแต่ละ Frac Tank สามารถจัดเก็บน้ำมันได้ราว 500 บาร์เรล หากมีถังเหล่านี้หลาย ๆ หน่วยก็ถือว่าเป็นแหล่งจัดเก็บน้ำมันขนาดย่อมได้ โดยที่ข้อดีอีกอย่างคือสามารถขนถ่ายไปยังจุดที่เป็นรถขนน้ำมันได้ง่ายอีกด้วย โดยแน่นอนว่าราคาของ Frac Tank ก็สูงขึ้นมาในช่วงนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากข้อดีดังกล่าว 3. ปัจจัยกองทุน USO โดยกองทุนตราสาร ETF แบบ Passive อย่าง United States Oil Fund (USO) ได้เป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้ขยับสูงขึ้น โดยที่ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบอยู่ในช่วงที่ราคาสูงขึ้นนั้นราคา ETF ของน้ำมันดิบจะสูงกว่าราคาน้ำมันที่ใช้เป็น Underlying หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ETF นี้ Overpriced ซึ่งจะทำให้ปริมาณการซื้อขายของ ETF นี้สูงขึ้น นั่นคือจะมีอุปสงค์ต่อน้ำมันในส่วน Underlying เยอะขึ้นดันให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น นอกจากนี้ หน่วยงานที่กำกับ USO อย่าง CME ยังได้ประกาศให้ USO ยกเลิกการใช้ Crude Futures ที่หมดอายุในเดือน พ.ค. นี้ เป็นสินทรัพย์ที่นำมาคำนวณราคา ETF โดยให้ไปเพิ่มสัญญา Futures เดือน เม.ย.2021 แทนซึ่งส่งผลให้ราคาของ USO สูงขึ้นโดยธรรมชาติ อีกทั้ง CME ยังกำหนดลิมิตของจำนวนของสัญญาที่ USO จะสามารถออกได้ในช่วงกลางปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัญญาแบบ Short ทั้งหมดล้วนส่งผลดีต่อราคาน้ำมันดิบในช่วงสั้นจากปัจจัย USO ท้ายสุดปัจจัยด้านอุปทานในช่วงนี้จากการที่อุปสงค์น้ำมันโลกที่ลดลงเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าจะลดลงถึง 30% ในไตรมาสนี้ ได้ส่งผลให้บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของสหรัฐทำการ Shut-ins หรือลดกำลังการผลิตคาดว่ากว่า 4 แสนบาร์เรลต่อวัน รวมถึงโอเปคภายใต้การนำของรัสเซียและซาอุดีอาระเบียที่จะลดกำลังการผลิตลง 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา รวมถึงตลาดยังคาดหวังไปถึงการลดกำลังการผลิตอีกครั้งสำหรับการประชุมโอเปคครั้งต่อไป นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้ได้มีรายงานว่าแหล่งผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐได้ลดกำลังการผลิตในช่วงนี้ลงราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบก็ยังมีโอกาสกลับไปทดสอบระดับที่เป็นจุดต่ำสุดเดิมในช่วงกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา หากความชัดเจนของ Second Wave ของโควิด-19 ปรากฏชัดเจนขึ้นในสหรัฐ ยุโรป และจีน ว่ามาแบบค่อนข้างรุนแรง รวมถึง First Wave ที่น่าจะมาแรงอย่างในบราซิล อินเดีย และแอฟริกา MacroView ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650156 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content น้ำมัน ราคาน้ำมัน แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE หุ้น "ถูก" หรือ "แพง" ซื้อได้หรือยัง - FINNOMENA สรุป LIVE ในวันนี้เรามาเจาะลึก Valuation (การวิเคราะห์เชิงมูลค่า) กันแบบแน่น ๆ กันครับ ไม่ว่าจะเป็นใน ไทย อเมริกา หรือแม้แต่จีนเอง เรามาดูกันว่าสถานการณ์ Valuation ในตอนนี้ "ถูกน่าซัด" หรือ "แพงน่าขาย" กันแน่ อีกทั้งแถมท้ายด้วยบทสรุปว่า Sell in May นั้นมีจริงหรือแค่นิยาย ถ้าพร้อมแล้วก้อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ  8 พ.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE ในวันนี้เรามาเจาะลึก Valuation (การวิเคราะห์เชิงมูลค่า) กันแบบแน่น ๆ กันครับ ไม่ว่าจะเป็นใน ไทย อเมริกา หรือแม้แต่จีนเอง เรามาดูกันว่าสถานการณ์ Valuation ในตอนนี้ “ถูกน่าซัด” หรือ “แพงน่าขาย” กันแน่ อีกทั้งแถมท้ายด้วยบทสรุปว่า Sell in May นั้นมีจริงหรือแค่นิยาย ถ้าพร้อมแล้วก้อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content stock valuation valuation แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Bull Trap หรือ Bull Run หลอกกันเล่นรึเปล่า ? - FINNOMENA ตั้งแต่เดือน มีนาคม ไล่มาจนถึงปัจจุบัน ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเช่น Bitcoin ก็วิ่งกลับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเป็นอย่างมาก สาเหตุคืออะไร? แล้วแต่ละเหรียญเป็นอย่างไรบ้างในเดือนที่ผ่านมา? 19 ม.ค. 2565 การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่กระจายไปทั่วโลก จนถึงขั้นที่นักลงทุนพากันตื่นตระหนกและเทขายสินทรัพย์เสี่ยงทุกชนิดไม่เว้นแม้กระทั่งสินทรัพย์ดิจิทัล ถึงแม้ว่าราคาสินทรัพย์ดิจิทัลจะลดลงอย่างมากในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ก็ไม่สามารถสร้างแรงกดดันให้กับราคาของมันได้นานเท่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้เพราะว่าตั้งแต่เดือน มีนาคม ไล่มาจนถึงปัจจุบัน ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเช่น Bitcoin ก็วิ่งกลับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเป็นอย่างมาก ขณะที่กำลังเขียนบทความนี้อยู่นั้น ราคาอยู่ที่ 8,653 USD ต่อ 1 Bitcoin ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 1,000 USD ภายใน 24 ชั่วโมง และมีทีท่าว่าจะวิ่งขึ้นต่อไป สาเหตุของการปรับตัวขึ้นของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลน่าจะมาจาก 2 เหตุผลหลัก 1. มาจากการเทขายเพราะตื่นตระหนกมากเกินไปหรือความต้องการสภาพคล่องของนักลงทุนในตลาด คือสินทรัพย์ทั่วโลกถูกเทขาย ทั้งหุ้น ทอง น้ำมัน หรือแม้กระทั่งตราสารหนี้ ทำให้สภาพคล่องและสินทรัพย์ของนักลงทุนลดลงอย่างมาก พอเกิดโรคระบาดที่ไม่แน่ใจว่าจะจบลงเมื่อไหร่ ความต้องการถือครองเงินสดจึงมีความจำเป็นอย่างมาก Bitcoin จึงถูกเทขายทันทีทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีปัจจัยอะไรที่กระทบกับมันโดยตรง พูดง่าย ๆ คือยอมขายทุกราคาเพื่อให้ได้เงินสดให้เร็วที่สุด แต่ทุกท่านคงทราบดีว่าวิกฤติของอีกคน อาจจะเป็นโอกาสของอีกคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักลงทุนจำนวนหนึ่งที่รอโอกาสทุนลงใน Bitcoin มานาน พอเห็นราคาปรับลงแรง ก็พากันเข้าซื้อและซื้อต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 2. การ Halving ของ Bitcoin ซึ่งโดยปกติเวลาที่เกิดเหตุการณ์นี้ ราคาของมันมักจะขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อมารอ Event ดังกล่าว สังเกตได้จากการที่ราคาค่อยเพิ่มสูงขึ้นอย่างช้า ๆ แต่พอเข้าใกล้วัน Halving ราคามักจะขึ้นแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ Volatility ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยครับ Bitcoin (BTC) ในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ ราคา Bitcoin แกว่งตัวอยู่ในกรอบประมาณ 6,367 USD และค่อย ๆ เคลื่อนตัวขึ้นไปจนทะลุแนวต้านหลายระดับ เช่น 7,000 , 8,500 ระหว่างทางอาจจะมีการแกว่งตัวบ้างเพียงเล็กน้อย ซึ่งเราคิดว่าแนวต้านที่ใหญ่และมีนัยยะสำคัญจริง ๆ นั้นอยู่ที่ระดับ 9,500-10,000 USD/1 BTC เมื่อถึงระดับนั้นค่อยมาพิจารณาดู Price Action อีกครั้งว่าเป็นอย่างไรครับ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการพูดถึงกันมากเกี่ยวกับ BTC Fear and Greed Index หรือดัชนีที่วัดความกลัวและความโลภใน Bitcoin ด้วยความที่เป็นดัชนีคือมันจะมีค่าที่ 0 ถึง 100 ค่า 0 แปลว่ากลัวสุดขีด ค่า100 แปลว่าโลภอย่างคลุ้มคลั่ง ปัจจุบันค่านี้อยู่ที่ 26 เท่านั้นเอง แปลว่าการซื้อแบบไล่ราคาเพราะความโลภอาจจะยังไม่มากนัก มีนักลงทุนหลายคนที่ยังคงกลัวและยังถือเงินสดรอโอกาสอยู่พอสมควรครับ ช่วงเวลาแบบนี้ไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันเคยเกิดขึ้นและจะยังคงมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นตลอดไป แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องการก็คือ อยากให้นักลงทุนทุกท่านจดจำและเรียนรู้จากเหตุการณ์ประมาณนี้ครับ เพราะตลาดคือครูชั้นดีที่ไม่มีใครสอนเรื่องการลงทุนได้ดีไปกว่า Mr.Market อีกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้ติดตามก็คือการ Halving ของ Bitcoin ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้ คือการลดรางวัลจากการขุดลงครึ่งหนึ่ง ทำให้โหนดต่าง ๆ เริ่มมองว่าการขุด Bitcoin อาจจะไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องเสียไปแล้ว การซื้อเอาเลยในตลาดอาจจะง่ายกว่า เมื่อหลายเหตุผลเกิดขึ้นพร้อมกัน นี่คงเป็นสาเหตุของการวิ่งขึ้นของราคา Bitcoin และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นก็เป็นได้ คุณมาคัส ลิม CEO ของ ZIPMEX ได้มีการเขียนข้อความลงใน Linkedin วันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมาว่า “ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์การค้นหาคำว่า Bitcoin ใน Google นั้นได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 แสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักลงทุนที่มากขึ้นกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโลก ผมเชื่อว่านี่อาจเป็นปีที่ดีของ Bitcoin และผู้คนจะให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นครับ” Ethereum (ETH) ราคา ETH เมื่อต้นเดือนนั้นอยู่ที่ประมาณ 128 USD ภายในสัปดาห์แรกมันก็วิ่งทะลุทุกแนวต้านสำคัญ เช่น ที่ระดับราคา 170 USD จนมาเล่นที่กรอบบนโดยแกว่งอยู่ในระดับ 220 USD หรือขึ้นมาเกือบ 50 % ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเองครับ Ripple (XRP) สำหรับ Ripple นั้นราคาอาจจะไม่โดดเด่นเท่ากับเหรียญอื่น ๆ โดยช่วงต้นเดือนนั้นอยู่ที่ราคา 0.17 USD และแกว่งอยู่ในกรอบ 0.17-0.20 USD ถึงสองสัปดาห์ จนเริ่มทะลุแนวต้านไปได้และวิ่งไปถึง 0.22 USD โดยที่มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ระดับประมาณ 0.19 USD ซึ่งในตอนนี้น่าจะกลายมาเป็นแนวรับสำคัญ ปัจจุบัน XRP อยู่ที่ 0.225 USD และมีแนวโน้มว่าจะสามารถขึ้นต่อไปได้อีกในอนาคตครับ ในเดือนมีนาคมนั้น Ripple ได้ประกาศอย่างเป็นทางการสำหรับการเป็นหุ้นส่วนกับ DeeMoney ที่มีความสามารถด้านการชำระเงินสำหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่ง Intermex ก็บอกว่าไม่ได้ใช้เทคโนโลยี Ripple ในโซนอเมริกาใต้ ซึ่งก็กระทบต่อ Sentiment ของผู้ที่ลงทุนใน Ripple บ้างพอสมควรแต่เรายังเชื่อว่ากระแสของเงินทุนที่ไหลเข้าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลจะสามารถพาให้ XRP สามารถไปต่อได้ในอนาคต Litecoin (LTC) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ราคา Litecoin อยู่ที่ระดับ 38.36 USD และภายใน 1 สัปดาห์ราคาก็วิ่งขึ้นไปแตะระดับ 48-49 USD ในทันที หลังจากนั้นก็มีการลงมาพักฐานโดยการเทสที่ระดับแนวรับเดิมที่ 38-39 USD อีกครั้ง ก่อนจะวิ่งทำ New High ในรอบ 1 เดือนได้สำเร็จ โดยขึ้นมาถึง 24-25 % เรายังคงเชื่อว่าราคาของ LTC จะยังคงเป็นขาขึ้นและสามารถไปต่อได้ อีก 1 ข่าวสารที่สำคัญก็คือ The Litecoin Foundation ยังเป็นผู้อำนวยการสร้างให้กับภาพยนตร์แนวสยองขวัญเรื่อง We Summon the Darkness และด้วยการให้การสนับสนุนในครั้งนี้ของ The Litecoin Foundation อาจจะช่วยทำให้ผู้คนรู้จักรวมถึงให้การยอมรับ Litecoin มากขึ้นอีกด้วยครับ ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกถึงสองตัวเลยนะครับ Bitcoin Cash (BCH) ราคาตลาดของ Bitcoin Cash ในช่วงต้นเดือนนั้นอยู่แถว 217.26 USD และภายใน 10 วันเท่านั้นราคาก็วิ่งขึ้นไปถึง 231.29 USD ซึ่งเป็นระดับแนวต้านที่มีนัยยะสำคัญมากในอดีตที่ผ่านมา หลังจากที่ไม่สามารถผ่านแนวต้านนี้ไปได้ ราคาก็ถอยกลับมาอยู่ที่เดิม เรียกว่าเป็นการแกว่งตัวในกรอบกว้าง (Side way) ภายในเดือนเมษายนนี้เลยครับ โดยจากกรอบล่างถึงกรอบบนนั้นอยู่ที่ประมาณ 15 % เรามาคอยดูกันว่าเมื่อไหร่กันที่มันจะสามารถทำ New High ที่ราคา 508.54 USD ได้สำเร็จ อีกข่าวที่สำคัญก็คือ BCH มีการ Halving ของเงินรางวัลจาก 12.5 กลายเป็น 6.25 อีกด้วยครับ การวิเคราะห์ทิศทางและภาพรวมของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล เหรียญส่วนใหญ่หลังจากที่ถูกเทขายลงมาอย่างรวดเร็ว ก็มีลักษณะกลับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ภาวะขาขึ้นนี้จะไปต่อหรือพอเท่านี้ไม่มีใครสามารถฟันธงได้ 100 % อย่างแน่นอนครับ แต่ทางเรายังคงเชื่อมั่นในหลาย ๆ ปัจจัยที่เคยกล่าวมา ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลจะยังคงเป็นอนาคตและทางเลือกที่พวกเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผมจึงอยากให้ทุกท่านศึกษาและทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีใหม่นี้ ไม่ว่า COVID-19 จะทำลายเศรษฐกิจโลกไปอีกนานเท่าไหร่ หรือปัจจัยเกี่ยวกับการ Halving ของ Bitcoin จะทำให้นักขุดเริ่มถอดใจกับการ Mining กันมากแค่ไหน แต่ที่แน่ ๆ สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมาแล้วและจะอยู่กับเราไปอีกนานครับ ฉะนั้นมองให้ไกลมองให้ขาด หากมีโอกาสดี ๆ เกิดขึ้น คุณจะเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับประโยชน์จากมันครับ Zipmex แท็ก: Advance Article Bitcoin Bitcoin Cash Cryptocurrency Ethereum Knowledge Litecoin Ripple Short Content สินทรัพย์ดิจิทัล แชร์บทความ: ผู้เขียน Zipmex ซิปเม็กซ์ เป็นผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มุ่งให้ความรู้กับทุกคนในทุกวัน เพื่อเปิดโอกาสในการลงทุนรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยผ่านการกำกับดูแลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ส่องอนาคตการฟื้นตัวของตลาดน้ำมัน ที่อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะสำคัญ - FINNOMENA อนาคตการฟื้นตัวของตลาดน้ำมันนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะสำคัญ 1) ระยะหนีตายถังน้ำมันล้น 2) ระยะระบายน้ำมันออกจากถัง 3) ระยะที่โอเปกอาจกลับมารุ่งเรือง วันนี้เราอยากจะมาวิเคราะห์ทิศทางของตลาดน้ำมันในระยะยาว ๆ กันบ้าง 7 พ.ค. 2563 อนาคตการฟื้นตัวของตลาดน้ำมันนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะสำคัญ 1) ระยะหนีตายถังน้ำมันล้น 2) ระยะระบายน้ำมันออกจากถัง 3) ระยะที่โอเปกอาจกลับมารุ่งเรือง นี่เป็นเพียงมุมมองวิเคราะห์ส่วนตัวนะครับ ไม่ได้เป็นการชี้นำในการลงทุนทั้งสิ้นแต่อย่างใด วันนี้เราอยากจะมาวิเคราะห์ทิศทางของตลาดน้ำมันในระยะยาว ๆ กันบ้าง หลังจากที่เราได้วิเคราะห์ในระยะสั้นไปแล้วในบทความก่อน ท่านใดยังไม่ได้อ่านเชิญลองอ่านได้ที่นี่เลยครับ วิเคราะห์ทิศทางราคาน้ำมัน: ถังน้ำมันทั่วโลกจะเต็มหรือไม่? เมื่อไร? เราลองมาดูรายละเอียดของในแต่ละระยะกันเลยครับ 1. ระยะหนีตายถังน้ำมันล้น (May-June 2020) นี่คือช่วงเวลาที่สั้นที่สุดแต่จะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ตลาดน้ำมันกำลังหนีตายจากถังน้ำมันทั่วโลกที่จะล้น ทางเราได้วิเคราะห์อย่างละเอียดในบทความก่อนแล้วว่าการใช้น้ำมันและการผลิตน้ำมันจะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้ถังเต็มและเพื่อที่จะซื้อเวลาไม่ให้ถังน้ำมันทั่วโลกนั้นล้น จากรายงานต่าง ๆ ที่เราได้รับเข้ามานั้นดูเหมือนตลาดกำลังทำได้ดีในระยะแรกแล้ว ทางด้านการใช้น้ำมันสัญญาณจากสหรัฐฯ เริ่มดีขึ้นแล้ว คนเริ่มกลับมาขับรถกันมากขึ้นหลังจากเริ่มมีการเปิดเมืองในบางรัฐ และการบินในภูมิภาคต่าง ๆ ก็จะเริ่มกลับมากันอีกครั้ง ทางด้านการผลิตน้ำมันนั้นเราได้รับรายงานว่าผู้ผลิตในโอเปกกำลังทยอยลดกำลังการผลิตกันแล้ว และอีกรายงานที่สำคัญที่ได้รับคือการผลิตเชลล์ออยล์ของสหรัฐฯ นั้นกำลังจะโดนปิดเพิ่มไปอย่างน้อยอีก 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วง 2 เดือนข้างหน้านี้ หลังจากที่ได้โดนปิดไปประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันแล้วตั้งแต่ราคาปรับตัวลดลงครั้งใหญ่ ทางบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Exxon, Chevron และ Conoco Phillips นั้นได้ยืนยันการลดกำลังการผลิตเพราะราคาไม่คุ้มต่อต้นทุนการผลิตแล้ว โดยตัวเลขการผลิตของสหรัฐฯ นั้นอาจจะลดลงได้อย่างต่อเนื่องเพราะทางรัฐบาลทรัมป์นั้นได้ให้คำสัญญาไว้กับทางซาอุฯ รัสเซีย และโอเปกว่าจะช่วยร่วมลดกำลังการผลิตด้วยที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในภาพรวมของตลาดในระยะแรกนั้น หากไม่เกิดการระบาดของไวรัสอีกรอบ (Wave 2) ทำให้ทางเราเชื่อว่า ตลาดจะสามารถหนีตายจากสภาวะน้ำมันล้นถังได้แล้ว หากต้องประมาณราคาน้ำมันดิบ Brent ในระยะนี้ก็คือระดับราคาที่ 20-30 เหรียญ แต่แน่นอนว่าราคาจะมีความผันผวนสูงตามข่าวและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ 2. ระยะระบายน้ำมันออกจากถัง (Q3’20 – Q2’21) ระยะนี้นั้นจะเป็นระยะที่ยาวนานที่สุด และถึงแม้การใช้น้ำมันจะเริ่มกลับมาเป็นปกติแล้ว อย่าได้คาดหวังว่าราคาน้ำมันในช่วงนี้จะทะยานสูงกลับไปในระดับเดียวกับปีที่แล้วได้ เพราะ 2 เหตุผลหลัก ๆ คือ 1) เรายังมีน้ำมันดิบสำรองในถังอยู่เยอะมาก และ 2) กำลังการผลิตทั่วโลกนั้นต่ำ อาจจะมีหลาย ๆ ฝ่ายกลับมาเปิดก๊อกการผลิตเพิ่มขึ้นได้ระหว่างทางนี้ ประกอบกับเรายังต้องใช้น้ำมันที่ยังลอยลำเรืออยู่ที่กว่า 250 ล้านบาร์เรล และนี่ยังไม่รวมการผลิตของลิเบียที่โดนปิดเพราะปัญหาการเมืองในประเทศ และที่อิหร่าน + เวเนซุเอลาที่โดนสหรัฐฯ คว่ำบาตรอยู่ด้วย ที่อาจกลับมาได้ตลอดเวลา ระยะที่น้ำมันกำลังระบายออกจากถังนี้ เราอาจไม่เห็นราคาดีดขึ้นแรง ๆ แต่ราคาก็ไม่ควรปรับตัวลดลงไปต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในที่ต่าง ๆเพราะการใช้น้ำมันจะมีเพียงพอที่จะซื้อน้ำมันจากหลุมต่าง ๆ เหล่านี้ ทางเรามองว่าในระยะที่ 2 นี้ราคาน้ำมัน Brent น่าจะปรับตัวอยู่ในกรอบที่ 30-50 เหรียญได้ โดยจะปรับตัวขึ้นลงตามสภาพตลาดน้ำมันในระยะสั้นเลยว่ามีปัจจัยใด ๆ เข้ามากระทบบ้าง 3. ระยะที่โอเปกอาจกลับมารุ่งเรือง (Q3’21-Q4’21) ยังอีกนานเลยนะครับสำหรับระยะนี้ แต่ช่วงนี้นั้นจะเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มโอเปกที่ยอมพยายามทุ่มเททุก ๆ แรงกายและทรัพย์ในการรวบรวมกลุ่มพันธมิตรให้กลับมาลดกำลังกันอย่างเป็นปึกแผ่นอีกครั้งอาจได้กลับมารุ่งเรือง โดยหากทุกฝ่ายทำได้ดีในระยะที่ 2 และสต็อกน้ำมันดิบทั่วโลกลดกลับลงไปถึงระดับเฉลี่ยปกติเราถึงจะเรียกได้เต็มปากว่าตลาดกลับมาสมดุลอีกครั้ง และหากเมื่อตลาดกลับมาสมดุลอีกครั้ง ทางโอเปกและพันธมิตรจะมีสิทธิเลือกว่าจะทำอย่างไรต่อไป หากทางกลุ่มพร้อมที่จะลดกำลังการผลิตกันเรื่อย ๆ ต่อไป เชื่อว่าราคาน้ำมันดิบ Brent อาจจะเห็นดีดกลับขึ้นไปเกืน 60 เหรียญอีกแน่ ๆ แต่ถ้ากลับมาแตกแถวและทะเลาะกันราคาก็อาจจะอยู่ในกรอบล่าง ทางเราอยากจะมองภาพกว้าง ๆ ไว้ก่อนและให้กรอบราคาที่ 50-70 เหรียญ (ระดับราคาเฉลี่ยเมื่อปี 2019) แต่ราคานั้นจะอยู่บนกรอบล่างหรือบนนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยระยะสั้นในช่วงนั้นเลย หากจะเกิดสงครามภาษีระหว่างสหรัฐฯ และจีนอีกครั้ง (อย่างที่ทรัมป์ขู่ไว้) หรือการผลิตจากลิเบีย เวเนซุเอลา และ อิหร่านกลับมา หรือทางโอเปก+รัสเซียเร่งแย่งกันผลิตเอง ราคาอาจจะอยู่ติดกรอบแนวล่างได้ แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตอีกครั้งในช่วงนี้ เราก็อาจเห็นราคาดีดทะลุ 70 เหรียญในระยะสั้นก็เป็นไปได้ครับ และนี่ก็คือมุมมองวิเคราะห์ส่วนตัวของตลาดน้ำมันในระยะยาวนะครับ ไม่ได้เป็นการชี้นำในการลงทุนทั้งสิ้นแต่อย่างใดครับ KP ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/108586193028066/posts/539258973294117/ แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content ตลาดน้ำมัน น้ำมัน แชร์บทความ: ผู้เขียน KP เป็นเทรดเดอร์ในตลาดน้ำมันมากว่า 13 ปี ตั้งใจสร้างเพจบน Facebook เพื่อเป็นการสอนและแชร์ความรู้เรื่องตลาดน้ำมันที่มีกลไกการซื้อขายที่ซับซ้อน แต่ก็มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลกและชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนอย่างมาก
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วิเคราะห์ทิศทางราคาน้ำมัน: ถังน้ำมันทั่วโลกจะเต็มหรือไม่? เมื่อไร? - FINNOMENA ถังน้ำมันทั่วโลกจะเต็มไหม ? เรายังเหลือที่เก็บอีกมากน้อยเพียงใด ? นี่เป็นคำถามที่ตลาดพยายามจะหาคำตอบกันมากที่สุดในเวลานี้ เราลองมาวิเคราะห์ตลาดน้ำมันโลกกันครับ 5 พ.ค. 2563 ถังน้ำมันทั่วโลกจะเต็มไหม ? เรายังเหลือที่เก็บอีกมากน้อยเพียงใด ? นี่เป็นคำถามที่ตลาดพยายามจะหาคำตอบกันมากที่สุดในเวลานี้ เราลองมาวิเคราะห์ตลาดน้ำมันโลกกันครับ ราคาน้ำมันดิบได้ทยอยปรับตัวสูงขึ้นมาตลอดอาทิตย์ ราคา Brent ส่งมอบเดือน Jul’20 ซึ่งเพิ่งขยับขึ้นเป็นมาเป็นสัญญาส่งมอบเดือนที่ใกล้สุด ได้ดีดขึ้นมา 20% จากต้นอาทิตย์ที่ 22 เหรียญต่อบาร์เรลขึ้นมาเป็น 26 เหรียญต่อบาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ข่าวด้านอุปสงค์หลัก ๆ ที่เข้ามาช่วยคือการเตรียมกลับมาผ่อนคลายเรื่องการเปิดเมืองมากขึ้นของหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐฯ และการที่ยารักษาโรคไวรัสโควิดอย่าง Remdesivir ของบริษัท Gilead ก็ดูจะได้ผลทดสอบที่ดี แม้แต่ทางนายแพทย์ Anthony Fauci ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำเรื่องโรคระบาดของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับความน่าเชื่อถือสูงยังกล่าวเลยว่า ยา Remdesivir นี้เป็นเสมือนความหวังของชาวอเมริกา ทานด้านอุปทานนั้น นอกจากจะได้แรงหนุนจากทางซาอุฯ ตั้งแต่ก่อนเปิดอาทิตย์ว่า ทางพี่ใหญ่ของโอเปกได้เริ่มลดกำลังการผลิตตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนกำหนดแล้ว ตลาดยังได้รับการยืนยังจากประเทศในกลุ่มโอเปกและพันธมิตรอีกว่าเตรียมจะลดกำลังการผลิต 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันตามสัญญาแน่ ๆ แม้แต่ทางนอร์เวย์ก็ยังเตรียมร่วมลดกำลังการผลิตเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี นั้นก็คือข่าวปัจจัยบวกต่าง ๆ ที่ไหลเข้ามาในตลาดที่ทำให้ราคาน้ำมันพลิกตัวกลับมาจากระดับต่ำสุดในรอบ 20 กว่าปี จากจุดที่ราคาส่งมอบในบางพื้นที่ถึงกลับติดลบ แต่เราต้องอย่าลืมว่าข่าวทั้งหมดนั้นเป็นความหวังหรือแนวโน้มล้วน ๆ ยังไม่ได้มาจากสภาพตลาดที่ดีขึ้นแล้วจริง ๆ จริงอยู่ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆนั้นคงไม่มานั่งรอให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้วค่อยปรับตัวขึ้นเพราะนักลงทุนไม่รอแน่ ๆ ถูกแล้วที่ราคาควรปรับตัวสูงขึ้นในอาทิตย์ที่ผ่านมา ประกอบกับแรงซื้อทางเทคนิคเพราะราคา Brent กลับมาปิดตัวเหนือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 3 อาทิตย์ แต่เรายังต้องจับตามองกันอีกหลายประเด็น เพราะถ้าปัจจัยที่กล่าวไปด้านบนเหล่านี้ไม่สามารถลดอัตราการล้นของถังน้ำมันทั่วโลกลงได้จริงนั้น ราคาก็ยังเสี่ยงต่อการโดนเทขายอีกครั้ง ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความเรื่อง “Flatten The Oil Curve” ขอแนะนำให้ลองอ่านบทวิเคราะห์นั้นดูก่อนนะครับ เพราะจะได้เข้าใจจุดประสงค์ของการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกจริง ๆ ว่าทำไมถึงพยายามลดถึงแม้ว่าจะไม่สามารถหยุกการล้นของน้ำมันต่อไปได้ ท่านใดที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว คงอยากจะหาคำตอบว่าถังน้ำมันทั่วโลกจะเต็มไหม ? เรายังเหลือที่เก็บอีกมากน้อยเพียงใด ? วันนี้จึงอยากนำข้อมูลมาเชร์กันครับ จากรายงานล่าสุดของ Bank of America ที่เพิ่งออกมานั้นเผยว่า ถังน้ำมันของโลก (ไม่รวมเรือน้ำมันที่ลอยอยู่) เหลืออยู่เพียง 730 ล้านบาร์เรลเท่านั้น โดยแยกเป็น 1. ถังน้ำมันบนดินแบบฝาลอย (Floating Top) ในสหรัฐและทั่วโลกรวมกัน 500 ล้านบาร์เรล 2. คลังน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ที่สหรัฐฯ จีน เกาหลี และอินเดีย รวมกัน 150 ล้านบาร์เรล (สหรัฐฯ และทั่วโลกรวมกัน 500 ล้านบาร์เรล 3. ถังน้ำมันบนดินแบบธรรมดาและที่เก็บน้ำมันในถ้ำต่าง ๆ รวมอีก 80 ล้านบาร์เรล ลองมาคำนวนกันว่าถังน้ำมันจะเต็มเมื่อไหร่ ? 1. หากการใช้น้ำมันในปัจจุบันที่ยังมีน้อยกว่าการผลิตอยู่ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน (โลกผลิต 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่มีการใช้เพียง 70 ล้านบาร์เรลต่อวันเวลานี้) แปลว่าถังน้ำมันเหล่านี้จะเต็มภายใน 730/30 = 24 วัน หากทางโอเปกไม่ทำอะไรเลย 2. หากทางกลุ่มโอเปกและพันธมิตรลดกำลังการผลิตได้เกือบ 10 ล้านบาร์เรลต่อวันตามสัญญาได้จริง ๆ ในเดือนนี้ แปลว่าจะช่วยให้อัตราการล้นของน้ำมันลดลงมาเป็น 20 ล้านบาร์เรลต่อวัน แปลว่าถังน้ำมันเหล่านี้จะเต็มภายใน 730/20 = 36 วัน 3. หากทางกลุ่มประเทศผู้ผลิตอื่น ๆ นอกกลุ่มอย่างสหรัฐฯ แคนนาดา บราซิล นอร์เวย์ ที่สัญญาว่าจะช่วยลดให้อีกรวมกว่า 5 ล้านบาร์เรลต่อวันได้จริง ๆ ก็จะช่วยให้อัตราการล้นของน้ำมันลดลงมาเป็น 15 ล้านบาร์เรลต่อวัน แปลว่าถังน้ำมันเหล่านี้จะเต็มภายใน 730/15 = 48 วัน 4. หากการใช้น้ำมันจากการเริ่มเปิดประเทศต่าง ๆ ทยอยเกิดขึ้นจริงภายในเดือนนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าการใช้น้ำมันจะผ่านจุดต่ำสุดในเดือนเมาษยน และทยอยปรับขึ้นมาประมาณ 5%-10% ต่อเดือน จนกลับมากลายเป็นปกติภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ หากการใช้น้ำมันกลับมาเป็นเช่นนั้นจริง ๆ แปลว่าการใช้ในแต่ละเดือนที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดอัตราการล้นของน้ำมันลดลงมาอีก 5 ล้านบาร์เรลต่อวันต่อเดือนโดยเฉลี่ย หากเราลองใช้เลข 3 เดือนข้างหน้าเฉลี่ยที่น้ำมันล้นลดลงไป 10 ล้านบาร์เรลต่อวันมาคำนวน ก็จะช่วยให้อัตราการล้นของน้ำมันลดลงมาเป็น 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน แปลว่าถังน้ำมันเหล่านี้จะเต็มภายใน 730/5 = 146 วัน หรือ โลกยังมีเวลาอีก 5 เดือน ก่อนถังน้ำมันจะเต็มถ้าทุกปัจจัยเป็นไปตามแผน **การคำนวนนี้ยังไม่รวมน้ำมันที่ยังสามารถไปลอบได้บนเรืออีกด้วย ซึ่งมีรายงานว่ามีเรือลอยน้ำมันอยู่ทั่วโลกแล้วที่ 250 ล้านบาร์เรล แต่ยังไม่มีรายงานว่ายังเหลือที่อีกเพียงเท่าไหร่ หากการใช้กลับมาจริงตามนี้และกลุ่มโอเปกยังมีวินัยจนถึงสิ้นปี 5 เดือนนั้น ถือเป็นเวลาเพียงพอที่จะทำให้ถังน้ำมันไม่ล้นจนเต็มและตลาดจะกลับมาสมดุลอีกครั้ง และเราคงเห็นราคา Brent ดีดขึ้นไปยืนเหมือน 40 เหรียญได้ก่อนสิ้นปี เพราะภายใน 3-4 เดือนการผลิตน้ำมันก็จะเริ่มลดลงมาน้อยกว่าการใช้น้ำมันแล้ว ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานนี้จะเป็นตัวกำหนดราคาน้ำมันในอนาคต ไม่ว่าการใช้จะกลับมาช้าหรือเร็วกว่าที่คาด การลดกำลังการผลิตจะเป็นไปได้มากน้อยตามสัญญาเพียงใด แต่ตราบใดที่ถังน้ำมันยังไม่ล้นตลาดก็ยังมีความหวัง เพราะทุกท่านคงทราบกันดีแล้วหากถังน้ำมันนั้นล้นเต็มจริง ๆ ราคาจะโดนเทขายลงมาได้หนักแค่ไหนอย่างที่เราเห็นกับราคาน้ำมัน WTI ในอาทิตย์ที่ผ่านมาครับ KP ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/108586193028066/posts/538767010009980/ แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content ถังน้ำมัน ทิศทางราคาน้ำมัน น้ำมัน ราคาน้ำมัน แชร์บทความ: ผู้เขียน KP เป็นเทรดเดอร์ในตลาดน้ำมันมากว่า 13 ปี ตั้งใจสร้างเพจบน Facebook เพื่อเป็นการสอนและแชร์ความรู้เรื่องตลาดน้ำมันที่มีกลไกการซื้อขายที่ซับซ้อน แต่ก็มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลกและชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนอย่างมาก
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จุดนัดพบนํ้ามันดิบติดลบ - FINNOMENA ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจได้เห็นเราอาจได้เห็นราคานํ้ามันร่วงลงอย่างหนัก จนถึงขั้นติดลบ หรือจะเรียกได้ว่าในวันนี้เป็นวันที่นํ้ามันไม่มีที่ยืนก็คงไม่ผิดนัก บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปพิสูจน์กันว่าอะไรกันที่ทำให้ราคานํ้ามันไปสู่จุดดำดิ่ง รวมทั้งชี้แสงสว่างที่ปลายทางของนํ้ามัน 30 เม.ย. 2563 ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจได้เห็นเราอาจได้เห็นราคานํ้ามันร่วงลงอย่างหนัก จนถึงขั้นติดลบ หรือจะเรียกได้ว่าในวันนี้เป็นวันที่นํ้ามันไม่มีที่ยืนก็คงไม่ผิดนัก เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาราคานํ้ามันดิบ (WTI) ร่วงลงสู่แดนลบที่ -$40 ต่อบาร์เรล ซึ่งราคาที่ติดลบนี้แสดงให้เห็นว่าหากใครกำลังทำธุรกิจนํ้ามันในขณะนี้ คงอยากจะรีบปล่อยๆของใน stock ของตนเองออกไปให้ไว ๆ รีบขายออกให้ได้ราคาที่ดีที่สุดหรือเจ็บน้อยที่สุด หลังจากนี้ผมจะมาอธิบายว่าอะไรกันที่ทำให้นํ้ามันไปสู่จุดดำดิ่ง ซึ่งผมเชื่อว่ามันเกิดจากตัวละคร 3 เศร้าอย่าง ภาคการผลิต ภาคการบริโภคและโควิด-19 อะไรที่ทำให้นํ้ามันดิบติดลบ? ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะรู้สาเหตุกันอยู่แล้ว แต่ผมจะย้อนความให้สักนิด ผมเชื่อว่าสาเหตุที่ราคานํ้ามันติดลบในขณะนี้ผมเชื่อว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ที่มีตัวละครอยู่ 3 ตัวก็คือ ภาคการผลิต ภาคการบริโภคและตัวโควิดเอง 1) สงครามราคานํ้ามัน หลายๆคนอาจจะได้ยินข่าวนี้กันมาบ้างแล้ว แต่ผมขอแปลออกมาให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ นะครับ สงครามที่ว่ามันคือการที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียตกลงเรื่องราคานํ้ามันกันไม่ได้ โดยเบื้องต้นทางซาอุดิอาระเบียต้องการที่จะลดการผลิตเพื่อรักษาราคาของนํ้ามันไว้ เพราะตนเป็นประเทศที่ส่งออกนํ้ามันเป็นหลัก หลังจากเกิดวิกฤติโควิด-19 [ทำให้ภาคการผลิตหยุดชะงัก (Supply shock) จากการปิดเมืองที่ทำให้ภาคธุรกิจทำงานไม่ได้ดังเดิมและเกิด Demand shock จากการที่ผู้คนกักตัวอยู่บ้านไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย ความต้องการนํ้ามันจึงลดลงอย่างหนัก] แต่รัสเซียกลับปฏิเสธ ทางซาอุดิอาระเบียจึงกดดันรัสเซียที่เป็นประเทศส่งออกนํ้ามันรายใหญ่เช่นกัน ด้วยการผลิตให้มากขึ้นเพื่อกดดันราคานํ้ามัน เมื่อเป็นดังนี้แล้วผมขอเปรียบเทียบง่าย ๆ ว่ามันอาจจะเหมือนกับการที่เราทะเลาะกับเพื่อนหรือแฟนแล้วไม่หันหน้าคุยกัน โดยในที่นี่เราอาจสมมติว่ากลุ่มเพื่อน ๆ เราอาจจะเป็นนํ้ามัน (Supply) โดยตัวเราอาจจะเป็นภาคธุรกิจ (Demand) และมีโควิดมาทำให้เกิด long distance relationship ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่อาจมาบรรจบพบเจอกันได้ ภาพแสดงการใช้นํ้ามันที่ลดลงในปี 2020 สื่อให้เห็นถึงความต้องการที่ลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งปัญหานี้มันก็แย่พออยู่แล้วแต่ดันมีมือที่สามมาทะเลาะกันเองในส่วนของ Supply เข้าไปอีกจากการที่ไม่ได้สิ่งที่ตนต้องการและประชดด้วยการผลิตเพิ่มให้อีกฝั่งเจ็บชํ้าจนต้องยอมตามใจตนเอง ดังนั้นปัญหาที่มันแย่อยู่แล้วจึงแย่กว่าเดิม จากการที่ในส่วนของ Supply (เพื่อนกันเอง) ตกลงกันไม่ได้นั่นเอง 2) โควิดตัวร้าย (มือที่สาม) ภาพแสดงการใช้นํ้ามันกับปริมาณการผลิตที่ลดลง ก็อย่างที่ผมเปรียบไว้ข้างต้น โควิดก็เหมือนตัวละครที่ทำให้ภาคธุรกิจและภาคการบริโภคหนีห่างออกจากกัน ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิด Supply shock และ Demand shock นั่นเอง 3) เงินเฟ้อ (เป้าหมายความสัมพันธ์) ที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ผู้บริโภคหรือตัวนํ้ามันเองก็ต่างมีเป้าหมายความสัมพันธ์เดียวกันอย่างเงินเฟ้อ เพราะ ธุรกิจเองก็ต้องการเงินเฟ้อนิด ๆ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าตนรวยขึ้นหน่อย ๆ จากการปรับขึ้นเงินเดือน และจึงซื้อของมากขึ้น ส่วนตัวนํ้ามันเองก็ต้องการเงินเฟ้อเพื่อเพิ่มคุณค่าในตัวเองเช่นกัน เพราะ หากคนใช้จ่ายมากขึ้นจนสินค้าขึ้นราคาได้ ผู้ผลิตก็ย่อมอยากผลิตมากขึ้น (รู้สึกว่าขายได้) นํ้ามันที่เป็นกำลังหลักในภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็จะขึ้นราคาได้ เนื่องจากมีความต้องการมากขึ้นตามไปด้วย จุดนัดพบนํ้ามันดิบติดลบ ตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร? หากติดตาม Mr. Serotonin มาสักพัก ถ้าไม่ได้มุมมองแปลก ๆ ในเวลาแย่ ๆ กลับไปก็คงจะไม่ได้ เช่นเคยครับผมเชื่อว่าในวิกฤติราคานํ้ามันครั้งนี้ก็ส่องให้เห็นแสงของโอกาสเช่นเดียวกับวิกฤติอื่นๆ ผมเชื่อว่าราคานํ้ามันที่ตํ่าขนาดนี้จะส่งผลดีมาก ๆ ต่อภาคการผลิตและธุรกิจในอนาคต หลังจากเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ เพราะ ด้วยราคานํ้ามันที่ตํ่าจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถกลับมาผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนที่ถูกมาก ๆ รวมถึงธุรกิจการบินที่ใช้นํ้ามันและเชื้อเพลิงกันเป็นว่าเล่นก็คงจะไม่ต้องพูดถึงนะครับ ว่าจะกลับมาแรงแค่ไหน (หากยังยืนอยู่ไหวกันอยู่นะ) และแน่นอนครับผมเชื่อมั่นว่าเราจะนำเป้าหมายความสัมพันธ์อย่าง “เงินเฟ้อ” กลับมาได้อย่างแน่นอน แต่คำถามที่สำคัญต่อไปก็คือ เศรษฐกิจมันจะร้อนมากเกินไปหรือเปล่า หากดูจากมาตรการการเงินและการคลังในหลาย ๆ ประเทศที่บ้าคลั่งเอามาก ๆ ในช่วงนี้ รวมถึงราคานํ้ามันที่ติดลบ รอโอกาสที่คนกลับมาใช้ ตัวผมเองกังวลว่าปัจจัยหนุนนำเงินเฟ้อตอนนี้มันมากเกินไป แต่ยังไงก็คงต้องจับตาดูกันต่อไปครับ…. เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับบทความในวันนี้หวังว่าจะได้ไอเดียการลงทุนใหม่ ๆ กลับไปกันเช่นเคยนะครับ ผมจะพยายามหาแสงสว่างในวิกฤติต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมือการลงทุนและมุมมองใหม่ ๆ มาให้ทุกคนเอง จะได้ดึงตัวเองกลับมากันได้และสู้กันต่อไปครับ (ตอนนี้ข่าวร้ายมันเยอะเกินไปแล้ว) ขอให้ทุกคนโชคดีครับ References https://www.eia.gov/outlooks/steo/report/global_oil.php แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content นํ้ามัน แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE ตลาดพร้อมบวกไหม เมื่อเมืองใกล้เปิด - FINNOMENA ประเทศยักษ์ใหญ่หลาย ๆ ที่ใกล้เปิดเมืองกันเข้าไปทุกที เรามาดูบทวิเคราะห์เจาะลึกทั้งเชิง Macro และ Technical กันว่าเมืองเปิดแล้ว ตลาดจะเปิดบวกตามไหม อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ 27 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ประเทศยักษ์ใหญ่หลาย ๆ ที่ใกล้เปิดเมืองกันเข้าไปทุกที เรามาดูบทวิเคราะห์เจาะลึกทั้งเชิง Macro และ Technical กันว่าเมืองเปิดแล้ว ตลาดจะเปิดบวกตามไหม อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: Advance Article Bond Knowledge Long Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ห้าคำถามที่ต้องรู้คำตอบ ก่อนคิดจะลงทุนเกี่ยวกับน้ำมันในอนาคต - FINNOMENA ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันล่าสุดที่ต่ำถึง “ติดลบ” เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายของทุกคน จึงตามด้วยมากมายหลายคำถาม ทั้งในมุมของราคาในอนาคต การเมือง และการลงทุน บทความนี้ได้รวบรวมหลายคำตอบจากผู้รู้ทั่วโลก และนำมาแชร์ให้นักลงทุนได้คิดไปพร้อมกัน 25 เม.ย. 2563 ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันล่าสุดที่ต่ำถึง “ติดลบ” เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายของทุกคน จึงตามด้วยมากมายหลายคำถาม ทั้งในมุมของราคาในอนาคต การเมือง และการลงทุน ผมเองก็ไม่ได้รู้ไปหมด จึงได้รวบรวมหลายคำตอบจากผู้รู้ทั่วโลก และนำมาแชร์ให้นักลงทุนได้คิดไปพร้อมกันในบทความนี้ (1) ตกลงใครกันแน่คือผู้ที่จะกำหนดราคาน้ำมันในอนาคต หนึ่งคำตอบที่ดีที่สุด เป็นของดร.แดเนี่ยล เยอกิ้น (Daniel Yergin) ผู้เขียนหนังสือ The Prize: The Epic Quest for Oil, Money, and Power และกำลังมีหนังสือเล่มใหม่ที่ชื่อ The New Map: Energy, Climate and Clash of Nations ที่บอกว่าในอนาคตจะ “ไม่มี” ผู้ผลิตหรือกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เจ้าไหน ที่สามารถตั้งโต๊ะกำหนดราคาน้ำมันได้ด้วยการปรับกำลังการผลิตอีกต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ชัดเจนที่สุด ต่อไปนี้จึงอาจมีเพียงทิศทางการบริโภคที่จะสามารถบอกเราได้ว่าราคาน้ำมันควรอยู่จุดไหน (2) ถ้าเช่นนั้นบทบาทของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันกับราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไร ประเด็นนี้ เอ็ดเวิร์ด โมส (Edward Morse) นักวิเคราะห์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จาก Citigroup ชวนให้มองปัญหาราคาน้ำมันรอบนี้ออกเป็นสองเรื่อง คือการเมืองระหว่างประเทศที่ไร้ซึ่งการประสานงาน และบทบาทของสหรัฐในฐานะประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก แต่กลับควบคุมกำลังการผลิตของตนเองไม่ได้ ในภาวะเช่นนี้ มองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ เราอาจต้องเห็นข้อตกลงเรื่องการผลิตน้ำมันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการหารือบนเวทีของกลุ่มประเทศทั่วโลกและคงมีบทสรุปในไม่ช้า อย่างไรก็ดี เมื่อวิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไป บรรดาประเทศเหล่านี้ก็จะไม่มีอะไรมากดดันต่อ และบทบาทในการ “เดินออกจากเจรจา” ด้านการควบคุมกำลังการผลิตก็จะกลับมาเหมือนเดิม (3) ถ้าราคาน้ำมันจะต่ำต่อเนื่อง การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าลงกันแน่ ประเด็นนี้ มิเชล เดลลา วิกนา (Michele Della Vigna) นักกลยุทธ์ตลาดเงินใหม่ฝั่งยุโรปของ Goldman Sachs (GS) เชื่อว่า “เร็วขึ้น” วิธีคิดคือให้เราแยกบริษัทน้ำมันรายใหญ่ออกก่อน กลุ่มนี้ปรกติจะพยายามพัฒนาตัวเองไปทางฝั่งพลังงานสะอาด และพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ยิ่งมีเหตุการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำ กระแสการพัฒนาไปสู่ธุรกิจที่ไม่ได้ยึดติดแต่กับราคาและปริมาณของน้ำมันจะยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีก ส่วนธุรกิจทางอ้อม เช่นขนส่ง หรือก่อสร้างนั้น แม้ราคาน้ำมันที่ถูกอาจทำให้ไม่อยากเปลี่ยนแปลง แต่ในทางปฏิบัติ ราคาน้ำมัน แทบไม่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบริษัทเลย และดูจะมีเพียงกฎหมายเท่านั้นที่สามารถกำหนดพฤติกรรมได้ (4) น้ำมันขาลงนี้ส่งผลกับตลาดการเงินและการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างไร แม้ราคาน้ำมันที่ต่ำจะกดดันเงินเฟ้อ แต่ทีมวิเคราะห์ Multi-Asset ของ HSBC มองว่าการตกต่ำของราคาน้ำมันครั้งนี้ “ไม่ส่งผลดี” กับสินทรัพย์ประเภทไหน เนื่องจากระดับราคาต่ำจนสร้างปัญหาด้านเครดิต อย่างไรก็ดี ถ้ามองในเชิงบวก เมื่อทุกประเทศเตรียมใช้นโยบายการเงินและการคลังเข้าอุ้ม ก็อาจเป็นโอกาสของนักลงทุนที่จะซื้อสินทรัพย์ที่ราคาปรับตัวลงแรงกว่าพื้นฐานจากวิกฤติครั้งนี้ โดยสกุลเงิน และหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวของกับน้ำมันในฝั่งยุโรป ดูเป็นกลุ่มสินทรัพย์ที่ราคาปรับตัวลงมากกว่าผลกระทบของราคาน้ำมัน ขณะที่ตราสารหนี้ของประเทศในฝั่งลาตินอเมริกา ก็ดูจะกลายเป็นทวีปที่ได้รับผลลบมากที่สุด จนยีลด์ปัจจุบันเริ่มมีความสนใจมากกว่าที่อื่น (5) และสำหรับนักลงทุนที่หวังปันผลในหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ยังจะปลอดภัยหรือไม่ ประเด็นนี้ งานวิเคราะห์ของ GS เรื่อง Dividend – to cut or not to cut? ให้คำตอบว่ายัง “ปลอดภัย” ด้วยเหตุผลสามอย่าง ทั้งจากพฤติกรรมในอดีต ที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ทั้งในฝั่งสหรัฐและยุโรปเหล่านี้ แทบไม่เคยมีการปรับลดเงินปันผลลงในช่วงวิกฤติราคาน้ำมันตกต่ำครั้งใดมาก่อน ส่วนในปัจจุบัน งบการเงินของบริษัทก็ดีขึ้นมากจนมีความสามารถเพียงพอที่จะจ่ายปันผลได้ต่อเนื่อง ขณะที่ในอนาคต การลงทุนในโปรเจคใหม่ ๆ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น แทบไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง คงระดับเงินสดที่สูงไว้ หรือลดปันผลซึ่งอาจสร้างแรงกดดันให้กับราคาหุ้นอย่างไม่จำเป็น ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าคงคลายหลายข้อสงสัยให้กับนักลงทุนได้ไม่มากก็น้อย โดยสรุป ผมเชื่อว่าความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันครั้งนี้ เป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชัดที่สุดในทศวรรษว่า ตลาดน้ำมันกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างไม่หันหลังกลับ ระยะสั้น เราอาจต้องพบกับราคาที่ตกต่ำตามภาพเศรษฐกิจ แต่ก็อย่าประมาท เพราะหลังจากที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปรกติ น้ำมันก็อาจถูกหยิบขึ้นมาเป็นข้อต่อรองทางการเมืองระหว่างประเทศเมื่อไหร่ก็ได้ ส่วนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน แม้ในช่วงนี้จะเห็นบทบาทที่ลดลง แต่ก็เชื่อว่าจะมีการปรับตัวในอนาคตครั้งใหญ่ และผมคงเป็นคนหนึ่งที่ไม่ตกใจ ถ้าบริษัทขายน้ำมันที่ไหน จะย้ายไปผลิตรถไฟฟ้าแทนที่ธุรกิจเดิม ๆ ในอนาคตครับ ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content น้ำมัน ราคาน้ำมัน แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE เจาะลึกหุ้นเทคยักษ์ใหญ่ ใครเฉิดฉายได้กลางวิกฤติ - FINNOMENA หุ้นเทคไม่มีคำว่าแพง! หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้าง เพราะ ราคาของหุ้นเทคในช่วงที่ผ่านมานั้นจะเรียกว่าวิ่งแบบไม่เหลียวหลังก็คงจะไม่ผิดนัก และในวันนี้ที่ตลาดหุ้นร่วงลงมา หุ้นเทคจะยังสามารถยืนหยัดสู้โควิด-19 ได้หรือไม่? สรุป LIVE ในวันนี้มีคำตอบให้กับทุกคนครับ ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ 25 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> หุ้นเทคไม่มีคำว่าแพง! หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้าง เพราะ ราคาของหุ้นเทคในช่วงที่ผ่านมานั้นจะเรียกว่าวิ่งแบบไม่เหลียวหลังก็คงจะไม่ผิดนัก และในวันนี้ที่ตลาดหุ้นร่วงลงมา หุ้นเทคจะยังสามารถยืนหยัดสู้โควิด-19 ได้หรือไม่? สรุป LIVE ในวันนี้มีคำตอบให้กับทุกคนครับ ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: Advance Article COVID-19 Knowledge Long Content stock valuation แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นขึ้นทองขึ้น หุ้นลงทองลง เกิดอะไรขึ้น? - FINNOMENA “ทอง” คือ สินทรัพย์ปลอดภัยหลาย ๆ คนอาจจะได้ยินประโยคนี้กันมาจนหนาหู และก็สรุปกันขึ้นมาว่า งั้นช่วงเวลาที่ไม่ปลอดภัยอย่างช่วงวิกฤติ ก็คือช่วงเวลาที่ทองจะได้เฉิดฉายงั้นสิ แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป วันนี้ผม Mr. Serotonin จะพาทุกคนไปพิสูจน์กันว่า หัวใจหลักที่แท้จริงในการขับเคลื่อนราคาทองนั้นคืออะไร 24 เม.ย. 2563 บทความนี้เป็นบทความที่ FINNOMENA ทำร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร สามารถติดตามคอนเทนต์การเงินอัปเดตทุกวันจากการเงินธนาคารได้ที่ https://www.moneyandbanking.co.th/ “ทอง” คือ สินทรัพย์ปลอดภัย หลาย ๆ คนอาจจะได้ยินประโยคนี้กันมาจนหนาหู และก็สรุปกันขึ้นมาว่า งั้นช่วงเวลาที่ไม่ปลอดภัยอย่างช่วงวิกฤติ ก็คือช่วงเวลาที่ทองจะได้เฉิดฉายงั้นสิ ซึ่งแต่ก่อนผมเองก็เคยเชื่อเช่นนั้น ตอนสมัยที่ผมเรียนอยู่ ผมเองก็เคยสังสัยว่าทำไมช่วงตอนปี 2008 ทองถึงลงมาได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงวิกฤติ และก็ได้คำตอบมาเพียงว่า “ยามวิกฤติคนจะถือเงินสด” ซึ่งก็ไม่ได้คลี่คลายความสงสัยในหัวผมเลย (งงกว่าเดิม) นอกจากนั้นหากไปศึกษาเพิ่มเติม ปัจจัยที่ส่งผลต่อทองคำมันก็เยอะเหลือเกิน เช่น ความไม่แน่นอน (ไม่ปลอดภัย) ภาวะเศรษฐกิจ ความเสี่ยงค่าเงิน เงินเฟ้อและอื่น ๆ แต่สิ่งที่ผมอยากจะให้ทุกคนโฟกัส ณ จุดนี้ก็คือ “เงินเฟ้อ” ซึ่งผมเชื่อว่ามันเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่มีความสำคัญและส่งผลต่อราคาทองคำ ท่ามกลางปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบทความนี้ผมก็จะพาทุกคนไปพิสูจน์กันว่า ทำไมทองกับเงินเฟ้อถึงไปด้วยกันได้ดี ซึ่งสิ่งนี้ก็จะไปตอบคำถามในส่วนที่ว่าทำไม “หุ้นขึ้นทองขึ้น และหุ้นลงทองลง” เช่นกัน ตัวแปรหลัก ๆ ที่ส่งผลต่อทองล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด “เงินเฟ้อ” ก่อนจะลุยไปถึงพระเอกของบทความนี้ผมขอเกริ่นในส่วนของปัจจัยพื้นฐานหลัก ๆ ที่ส่งผลต่อราคาทองคำก่อนละกันครับ ประกอบไปด้วย ค่าเงินดอลลาร์ เสถียรภาพของธนาคารกลาง อัตราดอกเบี้ย มาตรการต่าง ๆ จากธนาคารกลาง รวมถึงอื่น ๆ หากเราสังเกตตัวอย่างข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าตัวแปรต่าง ๆ ที่ผมได้กล่าวไว้ล้วนมีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ เช่น ค่าเงินดอลลาร์ที่หากเกิดเงินเฟ้อค่าเงินจะอ่อนลง เสถียรภาพของธนาคารกลางที่หากมีเงินสำรองน้อยจนน่าเป็นห่วงอาจทำให้เกิดเงินทุนไหลออก (Capital outflow) ที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่หากลดลงเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น รวมถึงมาตรการต่าง ๆ จากธนาคารกลางอย่าง QE หรือ QT ที่ส่งผลต่อปริมาณเงินในระบบและส่งผลต่อเงินเฟ้อ ดังนั้นผมจึงเชื่อว่า “เงินเฟ้อ” เป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่ใช้ขับเคลื่อนราคาทอง เราจึงอาจใช้ประโยชน์ในส่วนนี้ไปเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ราคาทองคำเพิ่มเติมได้ หุ้นขึ้นทองขึ้น หุ้นลงทองลง เพราะอะไร? เช็กผ่านความคาดหวังเงินเฟ้อ ราคาทองคำที่เป็นมาตรฐานและใช้กันอย่างแพร่หลายจะถูกนำไปจับคู่กับสกุลเงินประเทศมหาอำนาจอย่าง “ดอลลาร์” ดังนั้นเส้นความคาดหวังเงินเฟ้อที่ว่าผมจึงใช้ของอเมริกาเป็นหลักครับ ซึ่งหากดูจากภาพก็จะเห็นได้ว่า ทองคำและเงินเฟ้อ นั้นไปด้วยกันได้ค่อนข้างชัดเจน แต่จะมีบางช่วงที่มีการเหลื่อมลํ้ากันบ้าง โดยทองคำในบางทีอาจจะให้สัญญาณก่อนเงินเฟ้อ หรือบางทีเงินเฟ้ออาจให้สัญญาณก่อนทองคำ มันหมายความว่าอะไร? เราอาจจะใช้ช่วง Gap เวลาที่ว่าเป็นสัญญาณเข้าซื้อหรือขายทองคำได้ เช่น เมื่อความคาดหวังเงินเฟ้อเริ่มขึ้น เราอาจจะลองเข้าซื้อทองคำ หรือเมื่อความคาดหวังเงินเฟ้อเริ่มลง เราอาจจะทยอยขายทองคำ ในขณะเดียวกันในบางช่วงหากทองคำเริ่มปรับตัวลง แต่ความคาดหวังเงินเฟ้อยังไม่ลง เราก็อาจจะคาดเดาได้ว่าเงินเฟ้ออาจจะลดลงในอนาคตเช่นกัน (ขาขึ้นก็กลับกันครับ) ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังเงินเฟ้อ (10 ปี) กับทองคำตั้งแต่ก่อนวิกฤติปี 2008 ถึงปัจจุบัน ผมอยากให้โฟกัสตรงส่วนที่เป็นวงสีแดงสักนิดจะสังเกตได้ว่าความคาดหวังเงินเฟ้อ (เส้นสีขาว) เริ่มเคลื่อนที่แบบไร้ทิศทาง (sideway) ก่อนทองคำ (เส้นสีฟ้า) จะปรับตัวไร้ทิศทาง ณ จุดนี้เราอาจใช้เป็นสัญญาณที่บอกว่าทองคำกำลังจะเข้าสู่ช่วง sideway ในอนาคต ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังเงินเฟ้อ (10 ปี) กับทองคำช่วงล่าสุด ความคาดหวังเงินเฟ้อมีการปรับตัวลงหรืออาจจะสื่อว่าหุ้นกับทองกำลังจะปรับตัวลง? แล้วมันใช้กับหุ้นได้อย่างไร? โดยปกติแล้วเวลาเศรษฐกิจเติบโตจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “เงินเฟ้อ” เกิดขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้คนจับจ่ายใช้สอยต่อไป เช่น ของแพงขึ้นนิด ๆ เงินเดือนปรับขึ้นหน่อย ๆ ทำให้คนพร้อมใช้จ่ายต่อเนื่อง ดังนั้นหากจะสรุปได้ว่า เงินเฟ้อ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หุ้นเติบโตก็คงไม่ผิดนัก เพราะหุ้นเองก็ราคาเติบโตจากการที่บริษัทต่างๆ ขายสินค้าหรือบริการและทำกำไรกันได้ ดังนั้นเราจึงอาจนำเส้นความคาดหวังเงินเฟ้อที่ว่ามาใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าช่วยซื้อหุ้นได้เช่นกัน (หุ้นขึ้นเงินเฟ้อขึ้น หุ้นลงเงินเฟ้อลง) รวมถึงอาจจะใช้หลักเกณฑ์ที่ราว ๆ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทางธนาคารกลางส่วนใหญ่เล็งไว้ (หากตํ่ากว่านั้น ๆ มากหุ้นอาจไม่ไปต่อ) “ทองคำ” กับ “หุ้น” สัมพันธ์กันในเชิงบวก ดังนั้นเราอาจจะสรุปได้ว่า ทองคำและหุ้น จริง ๆ แล้วมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและเข้ากัน เพราะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ต่างก็ส่งผลให้ทองคำและหุ้นปรับตัวขึ้น ซึ่งขาลงก็เช่นเดียวกัน สรุปส่งท้าย ก่อนจากกัน… เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับไอเดียการลงทุนในวันนี้ จริงๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ส่วนตัวผมเองก็สงสัยมานานแล้ว และก็ต้องขอขอบคุณ คุณณัฏฐะ จาก KTAM ต้นไอเดียของเรื่องนี้ ซึ่งผมมองว่าตัวแปรอย่างความคาดหวังเงินเฟ้อนั้นค่อนข้างเมคเซ้นส์และน่าจะนำมาใช้ได้จริง จึงนำมาขยายความเพิ่มเติม เพราะจากที่ผมสังเกตนักลงทุนที่เก่ง ๆ ระดับโลกหลายคนก็ใช้ “เงินเฟ้อ” เป็นหนึ่งในปัจจัยวิเคราะห์การลงทุน เช่นเดียวกัน ผมเลยอยากมาแชร์ให้ทุกคนได้ฟังกันครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ หวังว่าบทความนี้จะช่วยเพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือและอาวุธในการลงทุนให้กับทุกคนได้นะครับ สำหรับวันนี้ผมขอลาไปก่อน ขอให้ทุกคนโชคดีในการลงทุนครับ เขียนโดย Mr.Serotonin finnomena.com/mrserotonin/ แท็ก: Advance Article correlation Gold Knowledge Short Content การเงินธนาคาร แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE รู้หรือไม่? สินทรัพย์อะไรน่าสนใจที่สุดในตอนนี้ - FINNOMENA สรุป LIVE ในวันนี้ได้คุณ ณัฏฐะ จาก KTAM มาให้มุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ และมุมมองกองทุนที่น่าสนใจในช่วงนี้ รวมถึงตัวชี้วัดว่าหุ้นกำลังจะลงซึ่งพลาดไม่ได้เด็ดขาด จะเป็นอย่างไรนั้น อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ 21 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE ในวันนี้ได้คุณ ณัฏฐะ จาก KTAM มาให้มุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ และมุมมองกองทุนที่น่าสนใจในช่วงนี้ รวมถึงตัวชี้วัดว่าหุ้นกำลังจะลงซึ่งพลาดไม่ได้เด็ดขาด จะเป็นอย่างไรนั้น อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE เมื่อตลาดเกิดสัญญาณขัดแย้ง ใช่โอกาสหรือไม่ - FINNOMENA จะเป็นอย่างไรเมื่อสินทรัพย์ต่างๆเถียงกันเอง? สรุป LIVE ในวันนี้เรามาดูกันการที่สินทรัพย์ต่าง ๆ วิ่งสวนทางกันนั้นหมายความว่าอะไร ใช่จังหวะเข้าซื้อหรือไม่ รวมถึงเกาะติดสถานการณ์สินทรัพย์น่าลงทุนอื่น ๆ อย่าง ทองคำ และ REITs เช่นเคย ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ! 20 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> จะเป็นอย่างไรเมื่อสินทรัพย์ต่างๆ เถียงกันเอง? สรุป LIVE ในวันนี้เรามาดูกันการที่สินทรัพย์ต่าง ๆ วิ่งสวนทางกันนั้นหมายความว่าอะไร ใช่จังหวะเข้าซื้อหรือไม่ รวมถึงเกาะติดสถานการณ์สินทรัพย์น่าลงทุนอื่น ๆ อย่าง ทองคำ และ REITs เช่นเคย ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ! สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content technical analysis valuation วิกฤต แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE Say Hello, Sell in May - FINNOMENA มาติดตามสถานการณ์ผ่านสรุป LIVE กันอีกครั้งโดยในวันนี้เรามาดูกันว่า Sell in May นั้นมีจริงหรือแค่ฝันไป รวมถึงอัปเดตการประกาศหุ้นกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ และบทวิเคราะห์ราคาเชิงเทคนิคเช่นเคย เรียกได้ว่าดุเดือดและครบครันเช่นเคย จะเป็นอย่างไรนั้นอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ! 17 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> มาติดตามสถานการณ์ตลาดผ่านสรุป LIVE กันอีกครั้ง โดยในวันนี้เรามาดูกันว่า Sell in May นั้นมีจริงหรือแค่ฝันไป รวมถึงอัปเดตการประกาศหุ้นกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ และบทวิเคราะห์ราคาเชิงเทคนิคเช่นเคย เรียกได้ว่าดุเดือดและครบครันเช่นเคย จะเป็นอย่างไรนั้นอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ! สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: Advance Article earnings release Knowledge Long Content market rebound แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สินทรัพย์ดิจิทัลหลังจบไตรมาส 1 ปี 2020 “ควรไปต่อหรือพอแค่นี้” - FINNOMENA ความกังวลที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในตอนนี้ ทำให้นักลงทุนเลือกที่จะรอดูสถานการณ์อยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ ราคาสินทรัพย์เสี่ยงจึงยังไม่ได้สะท้อนข่าวดีจาก QE เหมือนทุกครั้งในอดีตที่ผ่านมา บทความนี้จาก Zipmex จะพาทุกท่านไปไล่เรียงดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับสินทรัพย์ดิจิทัลตัวหลัก ๆ ที่เป็นที่นิยม 5 ตัวเพื่อจะได้นำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 19 ม.ค. 2565 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลได้พากันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากเกิดความกังวลในเรื่องโรคระบาด COVID-19 ราคาสินทรัพย์แทบทุกชนิดทั่วโลกแม้กระทั่งสินทรัพย์ดิจิทัลก็ถูกแรงเทขายอย่างรวดเร็วจากความกังวลดังกล่าว ช่วงปลายเดือนมีนาคมธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือ US Federal Reserve ก็ได้ประกาศในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเพื่อหวังที่จะเป็นยาแรงในการพลิกสถานการณ์ปัจจุบัน คือการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบแบบไม่มีลิมิต หรือ QE unlimited (Quantitative Easing unlimited) แต่หลังจากที่มีประกาศดังกล่าวนักลงทุนโดยส่วนใหญ่ก็ยังไม่แน่ใจถึงความยืดเยื้อของเหตุการณ์ความกังวลเรื่องโรคระบาดบวกกับเหตุการณ์ความขัดแข้งด้านราคาน้ำมันของประเทศมหาอำนาจบวกกับการถดถอยของเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นอีก 3 ความกังวลที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในตอนนี้ นักลงทุนจึงเลือกที่จะรอดูสถานการณ์อยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ ราคาสินทรัพย์เสี่ยงจึงยังไม่ได้สะท้อนข่าวดีจาก QE เหมือนทุกครั้งในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้น เราจะพาทุกท่านไปไล่เรียงดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับสินทรัพย์ดิจิทัลตัวหลัก ๆ ที่เป็นที่นิยม 5 ตัวเพื่อจะได้นำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตครับ Bitcoin ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ราคา Bitcoin ค่อย ๆ ขยับขึ้นไปอย่างต่อเนื่องประมาณ 500 USD จนเกิดการเทขายอย่างรุนแรงในสัปดาห์ที่สองของเดือนจนราคา Bitcoin ร่วงลงมาถึงประมาณ 3,000-4,000 USD ต่อ 1 BTC แต่ภายในช่วงเวลาไม่นานนักราคาก็ดีดตัวกลับเป็น V Shape ขึ้นมาที่ 4,600 USD ในทันทีและวิ่งต่อเนื่องไปทะลุแนวต้านที่ 6,400 USD ได้สำเร็จ นั่นแปลว่านักลงทุนที่ตกใจขายลงมาคงจะผิดหวังไม่น้อยเพราะราคานั้นดีดขึ้นรุนแรงและรวดเร็วมาก ๆ ในขณะที่นักลงทุนที่เข้าซื้อได้ทันในช่วงเวลาดังกล่าวก็คงจะได้กำไรไปพอสมควร สาเหตุอาจจะเป็นเพราะมาตรการต่าง ๆ จากหน่วยงานทั่วโลกที่ทยอยออกมาเพื่อช่วยเหลือวิกฤติการณ์ไวรัส COVID-19 ครั้งนี้ ในภาวะตลาด ณ ตอนนี้ทางเราเชื่อว่าราคา Bitcoin ยังมี Upside อยู่อีกพอสมควร เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดที่ราคาปรับตัวลงมา Ethereum Ethereum นั้นมีผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์เอาไว้ว่า หากเกิดการแตกเหรียญหรือ Hard Fork ในเดือนมกราคม 2563 ราคา ETH นั้นจะต้องลดลงอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็คือราคา ETH ได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเพิ่งจะมาเจอแรงเทขายพร้อม ๆ กับสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดอื่น ๆ ในเดือนมีนาคมนี่เอง ทำให้ราคาของ ETH ลดลงกว่า 50% ภายในระยะเวลาอันสั้น ปัจจุบันราคา ETH แกว่งอยู่ในกรอบประมาณ 130-135 USD หากย้อนกลับไปในอดีตสักหน่อย ราคาสูงสุดของ ETH เคยวิ่งไปถึง 1,432.88 USD ในเดือนมกราคม ปี 2018 ถ้าพิจารณาจากจุดสูงสุด ราคา ETH จะมี Upside ของราคามากทีเดียวครับ Ripple Ripple นั้นเป็นที่นิยมสูงเป็นอันดับที่ 3 หากดูจาก Coin Market Cap จากช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ราคา XRP วิ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ประมาณ 0.34550 หรือบวกไปกว่า 44 % ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นก็แทบจะเรียกได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมของนักลงทุนเลยก็ว่าได้เพราะราคาไหลลงอย่างรวดเร็วกว่า 60 % มาเล่นแถว ๆ ระดับ 0.140 USD คือทะลุทุกแนวรับทางเทคนิคอลกันเลยทีเดียวครับ แม้ในตอนนี้ราคาจะดีดกลับขึ้นมาเล่นระดับ 0.170 USD ให้นักลงทุนได้หายใจหายคอกันได้บ้างแต่ก็ถือว่ายังห่างไกลเหลือเกินกับจุดสูงสุดของมันที่ 0.34550 USD อีก 1 สิ่งที่น่าจับมองเป็นพิเศษของเหรียญ XRP ก็คือการแกว่งตัวลักษณะเหมือนฟอร์มต้นทุนเฉลี่ยในตอนนี้ คือแกว่งตัวในกรอบแคบ ๆ เพื่อสร้างฐานราคา เราจึงมีความเชื่อที่ว่า การ Rebound ของราคาคงจะไม่ได้จบเพียงเท่านี้แน่นอนครับ Bitcoin Cash ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ Bitcoin Cash หรือ BCH มีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 375 USD ขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงโดยส่วนใหญ่ถูกเทขาย BCH ก็ยังคงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปทำจุดสูงสุดที่เกือบ 500 USD หรือมากกว่า 30 % แต่สุดท้ายก็ทนแรงกดดันจากสภาพตลาดไม่ไหวเพราะความต้องการสภาพคล่องของนักลงทุนทำให้พวกเขาก็เทขาย BCH อย่างหนักหน่วงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่นกัน โดยเทขายติดกันไม่เกิน 1 สัปดาห์ราคาก็ลงอยู่ที่ 375 เหมือนเดิมแล้ว แค่นั้นยังไม่พอ ยังกดขายอย่างต่อเนื่องไปจนทำจุดต่ำสุดที่กรอบ 150 USD หรือลงไปอีกกว่า 50 % จากราคาเฉลี่ยที่ 375 แต่แน่นอนครับว่าการลงเร็วแบบนี้เวลาดีดกลับก็มักจะรุนแรงเช่นกัน โดยที่ราคาดีดกลับจากจุดต่ำสุดที่ 150 USD มาถึง 230 USD หรือกว่า 50% ภายใน 2 สัปดาห์เท่านั่นเองครับ Litecoin อีกหนึ่งเหรียญที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 7 จาก Coin Market Cap ก็คือ Litecoin หรือ LTC ไม่ต้องบอกก็รู้ครับราคาของ LTC เป็นอย่างไร…ก็เหมือนสินทรัพย์ดิจิทัลตัวอื่น ๆ นั่นเอง คือถูกเทขายต่อเนื่องจาก 83 USD ลงมาถึง 30 USD หรือลดลงกว่า 60% แต่ก็ Rebound กลับอย่างรวดเร็วจนไปถึง 40 USD หรือกว่า 35% เราหวังและเชื่อมั่นว่าราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลหลาย ๆ ตัวจะสามารถ Rebound กลับขึ้นมาได้อีกหน่อย จากการที่ราคาลงมาลึกและเร็วเกินไปจนมี Volatility ที่สูงมากนั่นทำให้โอกาสของการสะบัดตัวแบบ V Shape นี้จะไปได้ไกลพอสมควรครับ ราคาสินทรัพย์ดิจิทัล “ควรไปต่อหรือพอแค่นี้” เมื่อคนส่วนใหญ่จำเป็นต้องกักตัวเองอยู่แต่กับบ้านเพราะกังวลไวรัส COVID-19 เศรษฐกิจหลายแห่งหยุดชะงัก สภาพคล่องก็ตึงตัว เงินสดหรือสิ่งที่มีสภาพคล่องใกล้เคียงเงินสดจึงจำเป็นมาก ลองคิดถึงคนที่เก็บความมั่งคั่งในรูปทองคำสิครับ ในสถานการณ์ที่ร้านทองยังจำเป็นต้องปิดชั่วคราว เมื่อเราต้องการจะแปลงทองคำในมือเป็นเงินสด เราจะวิ่งไปขายกับใครล่ะทีนี้ จึงทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลเริ่มมีคนพูดถึงกันเยอะขึ้น เพราะสามารถโอนข้ามโลกได้เลยโดยใช้เวลาเพียงไม่นานไม่ต้องกังวลหากหน่วยงานหรือตัวกลางที่ใดจะต้องปิดลงชั่วคราวจากความกังวลในตอนนี้ สิ่งสุดท้ายที่อยากจะฝากไว้ก็คือ ด้วยความที่ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่ปรับตัวลงเยอะมาก ๆ จากความต้องการสภาพคล่องทั่วโลก เมื่อทุกอย่างเริ่มคลี่คลาย นักลงทุนจะมองสินทรัพย์ที่ปัจจัยพื้นฐานยังคงดีอยู่ คนส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นในมันอยู่และที่สำคัญที่สุดคือ Reward to Risk Ratio คุ้มที่สุดที่จะทำให้นักลงทุนเลือกเข้ามาเสี่ยงซึ่งผมเชื่อว่าสินทรัพย์ดิจิทัลในตอนนี้มี Pay off ที่น่าสนใจมาก ๆ เลยครับ Zipmex แท็ก: Advance Article Bitcoin Bitcoin Cash Cryptocurrency Ethereum Knowledge Litecoin Ripple Short Content สินทรัพย์ดิจิทัล แชร์บทความ: ผู้เขียน Zipmex ซิปเม็กซ์ เป็นผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มุ่งให้ความรู้กับทุกคนในทุกวัน เพื่อเปิดโอกาสในการลงทุนรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยผ่านการกำกับดูแลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE วิกฤติจบไว? พร้อมมุมมองการลงทุนแนะนำพอร์ต TMBAM QUALITY MEGA THEME PORTFOLIO - FINNOMENA สรุป LIVE กลับมาอีกครั้ง วันนี้ได้ คุณ บดินทร์ พุทธอินทร์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน TMBAM Eastspring มาให้มุมมองที่แตกต่างและน่าสนใจเป็นอย่างมากครับ อย่างการที่วิกฤติครั้งนี้จะจบลงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงกองทุนแนะนำที่น่าสนใจไม่แพ้กันในด้านของผลตอบแทนจาก TMB จะเป็นอย่างไรนั้นติดตามกันได้เลยครับ! 15 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE กลับมาอีกครั้ง วันนี้ได้ คุณ บดินทร์ พุทธอินทร์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน TMBAM Eastspring มาให้มุมมองที่แตกต่างและน่าสนใจเป็นอย่างมากครับ อย่างการที่วิกฤติครั้งนี้จะจบลงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงกองทุนแนะนำที่น่าสนใจไม่แพ้กันในด้านของผลตอบแทนจาก TMB จะเป็นอย่างไรนั้นติดตามกันได้เลยครับ! GDP จะเป็นเช่นไร? ผลกระทบจากโควิด-19 ของไตรมาสที่ 1 อาจจะยังไม่ชัดเจน เพราะ การ lockdown อย่างจริงจังนั้นเพิ่งเริ่มในช่วงท้ายของไตรมาสที่ 1 เพียงเท่านั้น ดังนั้นผลกระทบเชิงลบในหลายๆประเทศอาจจะไปชัดเจนตอนไตรมาส 2 แต่กลับกันแล้วในไตรมาสที่ 2 จีนน่าจะเป็นประเทศที่สามารถฟื้นตัวได้ก่อนคนอื่น (สถานการณ์การติดเชื้อควบคุมได้ไว) ดังนั้นโดยรวมแล้วช่วงฟื้นตัวจะอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาสที่ 4 ตลาดหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวในรูปแบบไหน? การฟื้นตัวแบบ V-Shape (รวดเร็ว รุนแรง) นั้นมีโอกาสเป็นไปได้ยาก ซึ่งอาจจะเป็นเคสที่ตัวของวัคซีนรักษาออกมาได้ไว ส่วนการฟื้นตัวแบบ L-shape (ชะลอตัวลากยาว) มีโอกาสเป็นไปได้ เช่นกัน แต่อาจจะไม่เยอะมาก เพราะ มาตรการการเงินและการคลังของหลายๆประเทศออกมาได้รวดเร็วและรุนแรง โดยรวมลักษณะการฟื้นตัวที่อาจเป็นไปได้จะอยู่ในรูปทรง U-shape (ค่อยๆฟื้นตัว) โดยมีลักษณะคือ ในไตรมาส 2 ตลาดอาจจะยังผันผวนอยู่แต่ไม่เท่ากับไตรมาส 1 และจะเริ่มฟื้นตัวเป็นเป็นในลักษณะ U-shape (ค่อยๆฟื้นตัว) ในไตรมาส 3 โดยที่ตลาดจะมีความเชื่อมั่นอย่างเต็มตัวในไตรมาส 4 ของปีนี้ ปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวแบบ Shape of U (U-shape) 1) นโยบายการเงินแบบจัดเต็ม โดยปกติทั่วไปนั้นเวลา Fed จะขึ้นดอกเบี้ยแต่ละทีก็ต้องดูเงินเฟ้อและตัวเลขเศรษฐกิจกันก่อนว่าสมควรขึ้นหรือไม่ แต่รอบนี้กลับไม่ใช่ เพราะ ทาง Fed นั้นออกมาตรการออกมาแบบปูเสื่อรอก่อนหน้า (Proactive) กลับกันกับช่วง 2008 ที่รอสถานการณ์วิกฤติเกิดแล้วจึงตอบสนอง (เชิง Reactive) ดังนั้นถือว่าในรอบนี้ทาง Fed ออกตัวมาได้อย่างรวดเร็วทั้งการลดดอกเบี้ย ทำ QE + QE อีกรอบเป็นแบบ unlimited แถมเพิ่มเติมด้วยการเข้าซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนเพื่อช่วยเหลือโดยตรงแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน รวมถึงมาตรการเข้าไปซื้อตราสารหนี้เกรดตํ่าในตลาดรอง 2) นโยบายการคลังที่เข้มข้นกว่าเดิม หากย้อนกลับไปยังปี 2008 การทำนโยบายการคลังมีงบอยุ่ที่ประมาณ 5.74% ของ GDP ในขณะที่รอบปัจจุบันใช้มากถึง 10% ของ GDP และมีการทำก่อนวิกฤติจะเกิด ซึ่งโดยรวมการอัดมาตรการการเงินและการคลังมีมากกว่าถึงราวๆ 2-3 เท่า ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศร้อนแรงเริ่มลดลง หลังจากมีมาตรการการ lockdown ที่เข้มข้นเราเริ่มได้เห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ลดลง รวมถึงในประเทศที่เป็นประเด็นร้อนแรงอย่าง เยอรมัน สเปน และอิตาลี ผลลัพธ์อาจกลับกันจากพื้นฐานที่แตกต่าง ในวิกฤติปี 2008 ต้นตอหลักเกิดจากการเก็งกำไรในตัวของ MBS (ตราสารการเงินลงทุนในสินเชื่อที่อยู่อาศัย) แต่วิกฤติในครั้งนี้เกิดจากการหยุดชะงักของภาคเศรษฐกิจจึงทำให้รายได้ของผู้คนหดหายตามไปด้วย ซึ่งคุณ บดินทร์ มองว่าอาจเกิดการถดถอยแต่ยังไม่เลวร้ายถึงขั้นวิกฤติ เนื่องด้วยในปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆ มีความรัดกุมในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมถึงมาตรการการเงินและการคลังที่ออกมาเยียวยาผลกระทบมากกว่าในเชิงของการช่วยฟื้นฟูจากวิกฤติ สังเกตจากดัชนีวัดความตื่นตระหนกหรือความกลัวอย่าง VIX index ที่เริ่มลดลง ลงแรงลงเร็วอาจจบไว นอกจากนั้นตลาดขาลงในรอบนี้ลงอย่างรุนแรงในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการขายอย่างตื่นตระหนก (Panic sell) โดยลงมา ที่ -33% ถึง -34% ใน 30 วันทำการ ต่างกับปี 2008 ที่ลดลงมา 50% และใช้เวลาถึง 350 วันทำการ ความผันผวนที่ลดลง แสดงถึงความมั่นคงที่มากขึ้น ในช่วงที่ผ่านมาความผันผวนของตลาดจะอยู่ที่ราวๆ +10% ถึง -10% ถือว่าค่อนข้างเร้าใจเลยทีเดียว แต่ล่าสุดเริ่มลดลงเหลือ +5% ถึง -5% ซึ่งแสดงถึงความมั่นคงที่มากขึ้น Balance Sheet กู้โลกกับ Drawdown จากภาพจะสังเกตได้ว่าหลังจาก Fed มีการขยายในส่วนของ Balance sheet (ทำ QE) และลดดอกเบี้ยซึ่งตอบสนองออกมาไวกว่าปี 2008 Drawdown ในช่วงล่าสุดเริ่มแคบลง แสดงให้เห็นว่าการทำ QE อาจทำให้ Drawdown ในช่วงขาลงลดลง Earning Yield Gap หนึ่งในตัววัดจุดตํ่าสุดของตลาด Earning yield gap (ส่วนกลับ P/E ลบด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวหรือการเทียบผลตอบแทนตลาดหุ้น ณ ปัจจุบันกับพันธบัตรรัฐบาล) โดยเมื่อ Earning yield gap แสดงขึ้นไปสูงในระดับหนึ่งตลาดหุ้นมักจะถึงจุดตํ่าสุด สังเกตได้จากภาพในปี 2008-2009 ที่ดีดขึ้นไปถึง 6% และตลาดหุ้นถึงจุดตํ่าสุดพอดีหรือจะเป็นปี 2011 อย่างวิกฤติการเงินในยุโรปที่แตะ 6% กว่าๆ เช่นกัน ซึ่งสรุปโดยรวมในอดีตหากแตะที่ 6% จะหมายถึงการเกิดวิกฤติ แต่ตอนนี้ได้แตะที่ระดับนี้เรียบร้อยแล้วทั้งๆ ที่ยังไม่เกิดวิกฤติ แปลว่านักลงทุนอาจตีราคาในส่วนนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ธีมการลงทุนแนะนำ TMBAM Quality Mega Theme Portfolio TMBGQG ในช่วงขาลงผลตอบแทนติดลบน้อยกว่าตัว benchmark หลักอย่าง MSCI World ซึ่งช่วงที่ผ่านมา TMBGQG ติดลบที่ราวๆ 10% เท่านั้นหากเทียบกับดัชนี MSCI World ที่ติดลบถึง -16% TMBUSBLUECHIP ในส่วนของ TMBUSBLUECHIP ที่ลงทุนในหุ้น Bluechip (หุ้นใหญ่) ก็มีผลของค่า drawdown ที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยเช่นเดียวกัน สังเกตได้จากภาพที่ -7% เทียบกับตัว Benchmark ที่ -11% TMBCOF จีนมีสัญญาณเชิงบวกที่เห็นได้ชัดอย่าง PMI ที่เริ่ม rebound ร้อนแรงซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มกลับมา รวมถึง drawdown ที่ติดลบที่ -3% ซึ่งทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยที่ 9% จึงถือว่ากองทุนนี้มีความน่าสนใจเช่นเดียวกันครับ TMBGINFRA ตัวนี้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆทั่วโลก โดยปัจจุบันติดลบที่ -15% หากเทียบกับ benchmark -9% อย่างไรก็ตามในตัวกองทุนเองมีการลงทุนในยุโรปเยอะ ซึ่งทางคุณ บดินทร์ มองว่า การล่า yield ในยุโรปจะกลับมาจาก yield ปัจจุบัน 4.8% ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ หากเทียบกับ bond yield ของยุโรปที่ติดลบจากดอกเบี้ยนโยบายแบบติดลบ รวมถึงตัวโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนนั้นค่อนข้างมีความผูกขาดซะส่วนใหญ่ จึงทำให้มีความั่นคง TMBPIPF ลงทุนใน REITs ไทยและสิงคโปร์ โดยเป็นในออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า คลังสินค้า รวมถึงโรงแรมที่ถึงแม้จะได้รับผลกระทบหนักแต่มีสัดส่วนที่น้อย รวมถึงมุมมองเพิ่มเติมว่าเทรนด์ห้างสรรพสินค้าในไทยจะไม่หายไปจากสภาวะอากาศรวมถึงการใช้ชีวิตของคนไทย อย่างเช่น การอยู่การเป็นครอบครัว และรอซึ่งกันและกันอย่างอบอุ่นก็อาจทำให้ห้างสรรพสินค้ายังเป็นตัวเลือกสำคัญในการใช้ชีวิตของคนไทยต่อไป สรุปหัวใจหลักของ LIVE ในวันนี้ 1) เศรษฐกิจอาจฟื้นตัวได้ไวมากกว่าในอดีต 2) เชื่อว่ารอบนี้เป็น recession ที่ฟื้นตัวได้ไว และอยู่กับเราไม่นาน จากมาตรการกระตุ้นจากการเงินและการคลังที่รวดเร็วและรุนแรง 3) มองว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเก็บสะสมและ DCA สำหรับใครที่สนใจอยากเสาะหาและเติบโตไปกับ MEGATREND ทั่วโลก ด้วย TMBAM QUALITY MEGA THEME PORTFOLIO สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพอร์ตนี้ได้ที่ https://www.finnomena.com/tmbam/port-tmbam/ แท็ก: Advance Article Long Content Product Recommend กองทุนแนะนำ วิกฤต แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หรือจีนจะสร้างปาฏิหาริย์? เมื่อเศรษฐกิจจีนอาจจะฟื้นเป็นประเทศแรก? - FINNOMENA ประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วที่สุดก็คือประเทศจีน เพราะ COVID-19 แพร่ระบาดเป็นประเทศแรกซึ่งตอนนี้เศรษฐกิจจีนก็มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่เห็นชัดจริง ๆ การลงทุนในจีน ณ ตอนนี้จึงดูมีเสน่ห์ไม่น้อยไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือกองทุนรวม แต่จะเลือกยังไงให้ได้กองทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตอนนี้ที่สุด? 20 พ.ค. 2565 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> เสี่ยวมี่บอกว่ายอดขายกลับมาแล้ว 90% ตัวเลขเศรษฐกิจแย่แต่หุ้นกลับขึ้น? ล่าสุด Wuhan เมืองที่เรียกได้ว่า “เคย” เป็นจุดศูนย์กลางของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้เปิดให้คนออกนอกเมืองไปใช้ชีวิตตามปกติได้แล้ว (แต่ก็ยังใส่หน้ากาก ทำ Social-distance กันอยู่นะ) วันที่ 2 เมษายน โลกเราก้าวข้ามตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ 1,000,000 คน ขณะนี้เราอยู่กับ COVID-19 มาแล้วราว ๆ 3 เดือนด้วยกันจากผู้ติดเชื้อ 100 คนในวันที่ 19 มกราคม มาเป็น 1 ล้านคนในเดือนเมษายน ในช่วง 1-2 เดือนแรกเรายังไม่เห็นผลกระทบของเศรษฐกิจสักเท่าไหร่นัก แต่ตอนนี้ตัวเลขผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ทยอยออกมาแล้ว หลาย ๆ ตัวเลขหนักกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ช่วงนี้คนไม่ค่อยสนใจตัวเลขแย่ ๆ ที่ออกมาแล้ว เพราะตอนนี้ทั้งหมดมุ่งความสนใจไปที่การฟื้นตัวมากกว่า ซึ่งประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วที่สุดก็คือประเทศจีน เพราะ COVID-19 แพร่ระบาดเป็นประเทศแรกซึ่งตอนนี้เศรษฐกิจจีนก็มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่เห็นชัดจริง ๆ อัตราการจองโรงแรมเริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้นถึง 50% ราคาหุ้นของบริษัทที่รับจองโรงแรมในจีนอย่าง Tongcheng-Elong มีการดีดตัวอย่างชัดเจน แสดงถึงมุมมองของนักลงทุนที่มองในมุมที่ดีขึ้นการจองตั๋วเครื่องบินก็เช่นกันมีวอลุ่มการจองที่สูงขึ้นถึง 50%-70% ในแต่ละช่วงอาทิตย์ของเดือนมีนาคม และการจองตั๋วเครื่องบินสำหรับเดือนมิถุนายนเพิ่มสูงขึ้นถึง 250% โรงแรมเองก็คาดว่าจะกลับมาเปิดให้บริการถึง 90% ของทั้งหมดในเดือนมีนาคม (แต่จะมีคนมาเข้าพักหรือเปล่านี่อีกเรื่องนะ…) ที่เมืองจีนฟื้นเร็วก็อาจจะเป็นเพราะการบริหารประเทศที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ พรรคคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสี จิ้นผิง มีความเด็ดขาด และตัดสินใจเร็วมาก ๆ นอกจากนั้นประเทศจีนยังเป็นประเทศที่มีภาคบริการอย่างร้านอาหารน้อยกว่าประเทศอย่างสหรัฐฯ จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว เสี่ยวมี่ แบรนด์ดังประเทศจีนก็บอกว่าตอนนี้ยอดขายของเสี่ยวมี่ได้กลับมาถึง 80-90% ของช่วงเวลาปกติแล้ว แม้นักวิเคราะห์จะคาดการณ์ GDP ของเศรษฐกิจจีนว่าจะหดตัวถึง 9.6% ในไตรมาส 1 บวก 3% ในไตรมาส 2 และบวก 2.5% ในปี 2020 ซึ่งดูไม่ดีนัก แต่จากการตอบรับของราคาตลาดหุ้นทำให้ประเมินได้ว่า ตลาดรับข่าวร้ายไปมากพอสมควรแล้ว ตัวเลข PMI ที่เคยตกต่ำไปถึง 35.7 ตอนนี้ดีดกลับมาแรงที่ 52 ในเดือนมีนาคม เกินที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 45 จึงทำให้พอสรุปได้ว่า แม้เศรษฐกิจจีนจะเจอกับปัญหาหนัก แต่ก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่อื่น รัฐบาลจีนเองก็ค่อนข้าง Active มากในการอัดฉีดสภาพคล่องและออกมาตรการพิเศษเพื่อช่วยเหลือ SME ในประเทศ ถึงกับมีการออกพันธบัตรพิเศษเพื่อใช้ในการนี้โดยเฉพาะ การลงทุนในจีน ณ ตอนนี้จึงดูมีเสน่ห์ไม่น้อยไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือกองทุนรวม แต่จะเลือกยังไงให้ได้กองทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตอนนี้ที่สุด กองทุนรวมในเมืองจีนก็มีหลายกอง หลายประเภท กองดังก็มีเช่น K-CHINA, SCBCHA, KFACHINA-A และ TMBCOF กองทั้ง 4 ที่พูดมานับว่าเป็นกองที่ดี แต่กองที่ผมชอบที่สุดมีเพียงกองเดียวคือ TMBCOF ด้วยเหตุผลก็คือ 1. กองนี้เป็นกองที่บริหารแบบ Active เลือกหุ้นที่ทำธุรกิจในประเทศจีนและมีการเติบโตสูง ที่ List อยู่ในตลาดทั่วโลก ต่างกับ KFACHINA-A ที่เป็นการไปลงทุนส่วนใหญ่ในหุ้น A-Share หรือหุ้นที่ List อยู่ในตลาดประเทศจีนเท่านั้น ที่สำคัญถ้าเราเลือกลงทุนใน A-Share ของจีนกับ KFACHINA-A หุ้นที่เราจะได้เป็นส่วนใหญ่ของพอร์ตคือกลุ่มการเงินซึ่งไม่ใช่จุดเด่นของประเทศจีนยุคใหม่เลย 2. TMBCOF มีการลงทุนแบบเน้น ๆในหุ้นชั้นนำสัดส่วนสูงเป็นสัดส่วน 8-10% ต่อบริษัทเลยทีเดียว ข้อเสียคือมีความผันผวนสูงตาม แต่ข้อดีคือเวลาหุ้นขึ้นก็ขึ้นเน้นๆเช่นกัน 3. หุ้นที่ลงทุนหนัก ๆ ต่างเป็นหุ้นที่ “เติบโตสูง” “แข็งแกร่ง” และ “จีนยุคใหม่” เช่น Alibaba, Tencent และ TAL Education 4. คงน่าเสียดายถ้าลงทุนในจีนทั้งทีแต่ไม่มีหุ้นชั้นนำเหล่านี้อยู่ในพอร์ตอย่างมีนัย ทำให้ผมตัดตัวเลือก K-CHINA, KFACHINA-A และ SCBCHA ออกไป จากข้อมูลของเว็บไซต์ FINNOMENA กองทุน TMBCOF ยังเป็นกองทุนที่ทำผลตอบแทนย้อนหลังดีที่สุดเมื่อเทียบกับกองทุนในหมวดหมู่เดียวกัน เป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงดีที่สุด และมีการปรับตัวลงหนัก ๆ น้อยกว่าเพื่อน ผลตอบแทนและความเสี่ยงของ TMBCOF ถือว่าดีที่สุดเมื่อเทียบกับกองทุนในหมวดหมู่เดียวกัน ข้อมูล ณ วันที่ 7 เมษายน 2563 ที่มา: FINNOMENA ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การเลือกกองทุนที่ดี ดูแต่ผลตอบแทนอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดูความเสี่ยงที่ได้รับด้วยว่าตัวเราเองรับความเสี่ยงไหวไหม เพราะกองทุนที่ใช่ดูแค่กำไรคงไม่พอ แต่ต้องดูเรื่องหัวใจด้วย ถ้าซื้อแล้วนอนไม่หลับก็คงไม่ใช่การลงทุนที่ดีเช่นกัน BuffettCode [ลูกค้าใหม่] ซื้อกองทุน TMBCOF ได้แล้ววันนี้ เพียงเปิดบัญชีกองทุนกับ FINNOMENA เปิดง่าย เปิดไว ไม่ต้องส่งเอกสาร อ่านวิธีเปิดบัญชีได้ที่นี่ >> คลิกเลย << [ลูกค้าปัจจุบัน FINNOMENA] สามารถซื้อได้ทันทีผ่านแผน DIY >> คลิกเลย << คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Advance Article COVID-19 Product Info Short Content Video กองทุนจีน จีน เศรษฐกิจจีน โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE เกาะติดสถานการณ์ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ - FINNOMENA สรุป LIVE ในวันนี้ขอพาทุกคนไปเจาะลึกตัวเลขเศรษฐกิจหลังผลโควิด-19 ที่จะออกในเร็ววัน รวมถึงจับตํ่าสุดของสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อหาโอกาสในการลงทุนแห่งทศวรรษนี้ ถ้าทุกคนพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ! 14 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE ในวันนี้ขอพาทุกคนไปเจาะลึกตัวเลขเศรษฐกิจหลังผลโควิด-19 ที่จะออกในเร็ววัน รวมถึงจับตํ่าสุดของสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อหาโอกาสในการลงทุนแห่งทศวรรษนี้ ถ้าทุกคนพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ! สมัครสมาชิก FINNOMENA ฟรี! เพื่อดูบทความนี้ และบทความ Premium ลงชื่อเข้าใช้ สมัครสมาชิก สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก FINNOMENA โดยเฉพาะที่คุณจะได้รับ ไม่พลาดข่าวสารหุ้นเด่น สัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิก ห้องเรียนลงทุนออนไลน์ รับโพยกองเเด็ดรายเดือน ดูราคาหุ้นย้อนหลัง 10 ปี รายงานพิเศษเศรษฐกิจ แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content recession วิกฤต สินทรัพย์ต่างๆ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กองทุนพยุงหุ้น(กู้) BSF - FINNOMENA บทความนี้จะชวนมาดูแผนการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นกู้เอกชน BSF หรือ “Corporate Bond Stabilization Fund” ของธนาคารแห่งประเทศไทยวงเงิน 400,000 ล้านบาท ว่ามีจุดประสงค์อย่างไร และจะช่วยบริษัทที่ออกหุ้นกู้ รวมถึงตลาดหุ้นได้อย่างไรบ้าง 15 เม.ย. 2563 แผนการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นกู้เอกชน BSF หรือ “Corporate Bond Stabilization Fund” ของธนาคารแห่งประเทศไทยวงเงิน 400,000 ล้านบาทนั้น ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่กำลังวิกฤติเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าซึ่งทำให้เศรษฐกิจเกือบทุกภาคส่วนโดยเฉพาะที่ขายสินค้าหรือบริการที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนแทบจะหยุดนิ่งและส่งผลให้คนจำนวนมากตกงานและบริษัทบางแห่งก็อาจจะต้องล้มละลายเพราะขายสินค้าไม่ได้ ชื่อของกองทุนถ้าฟังอย่างผิวเผินก็เหมือนกับว่าจะออกมาช่วยซื้อดันราคาหุ้นกู้เอกชนไม่ให้ตกต่ำลง เป็นการช่วยเหลือผู้ลงทุนไม่ให้ขาดทุนรุนแรงซึ่งไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไรนัก เพราะการเป็นนักลงทุนนั้น เขาก็จะต้องรับความเสี่ยงที่จะขาดทุนอยู่แล้ว เหนือสิ่งอื่นใด ทำไมไม่ตั้งกองทุนพยุงหุ้นด้วยเล่า? เพราะนักเล่นหุ้นก็ขาดทุนเหมือนกัน ความเป็นจริงก็คือ กองทุน BSF นี้คงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกู้เอกชนซึ่งในปัจจุบันนั้นมีหุ้นกู้ที่ค้างอยู่ในตลาดถึง 3.6 ล้านล้านบาทแม้ว่าพวกเขาก็คงจะได้ประโยชน์จากการที่ราคาหุ้นกู้จำนวนมากไม่ตกต่ำลงมารุนแรงเพราะวิกฤติโควิดรอบนี้ สิ่งที่แบ้งค์ชาติต้องการจริง ๆ ก็คือการเพิ่ม “สภาพคล่อง” ในระบบการเงินให้แก่บริษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ออกหุ้นกู้จำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา หุ้นกู้จำนวน 3.6 ล้านล้านบาทนั้น ถ้าคิดคร่าว ๆ ว่ามีอายุเฉลี่ยซัก 4 ปี ก็แปลว่าทุกปีจะมีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระ 900,000 ล้านบาท ในช่วงเวลาปกตินั้น บริษัทก็มักจะมีเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานมาใช้คืนผู้ถือหุ้นกู้จำนวนหนึ่งเช่น 100,000 ล้านบาท ส่วนอีก 800,000 ล้านบาทนั้น บริษัทก็มักจะใช้วิธีออกหุ้นกู้ล็อตใหม่มาแทน โดยที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วตามอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้น ผลก็คือ บริษัทก็ดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น แต่เมื่อเกิดปัญหา สินค้าขายได้น้อยลงมากหรือกิจการถูกปิดชั่วคราวในขณะที่ค่าใช้จ่ายก็ยังดำเนินอยู่และบริษัทบางแห่งก็ไม่ได้มีเงินสดในมือเพียงพอ ประกอบกับหุ้นกู้ก้อนโตถึงกำหนดชำระคืน ผลก็คือ บริษัทก็จะ “ขาดสภาพคล่อง” ทางที่อาจจะทำได้ก็คือ การขอกู้ธนาคารหรือเลื่อนการชำระเงินกู้จากสถาบันการเงินที่ให้กู้ แต่ในช่วงเวลาวิกฤติแบบนี้ แบ้งค์ก็มักจะลังเลที่จะปฏิบัติตามที่ขอ ครั้นจะออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ ตลาดหุ้นก็ไม่พร้อมจะจองซื้อหุ้น ยิ่งทำไปหุ้นก็จะยิ่งตกกลายเป็นวิกฤติของบริษัททันที ดังนั้น การออกหุ้นกู้ชุดใหม่ออกมาแทนหุ้นกู้ชุดเก่าจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะถ้าออกได้แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นบ้าง ทุกอย่างก็จะเป็นปกติ บริษัทก็มีเวลารอให้วิกฤติผ่านพ้นไปและธุรกิจฟื้นคืนกลับมา อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่ไม่แน่นอนและคนลงทุนในหุ้นกู้ต่างก็กลัวว่าบริษัทบางแห่งอาจจะเอาตัวไม่รอดเพราะธุรกิจถูกกระทบอย่างแรง ใครจะอยากไปซื้อหุ้นกู้? ถ้าปล่อยให้บริษัทที่ยังดีมีกำไรและมีฐานะทางการเงินที่ใช้ได้ต้องล้มเพราะ “ขาดสภาพคล่องชั่วคราว” เนื่องจาก “ภาวะวิกฤติชั่วคราว” ผลก็คือ นักลงทุนในหุ้นกู้ทั้งตลาดก็จะขาดความเชื่อมั่น ไม่มีใครยอมซื้อหุ้นกู้ที่จะออกใหม่มารองรับหุ้นกู้เดิม ผลก็คือ แม้แต่หุ้นกู้ของบริษัทที่ดีเยี่ยมก็อาจจะขายไม่ได้ บริษัทก็อาจจะล้มละลายเป็นลูกโซ่ และนั่นก็คือหายนะจริง ๆ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งที่บริษัทขนาดใหญ่ของทั้งประเทศแทบจะล่มสลาย ดังนั้น การตั้งกองทุน BSF จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะรับประกันว่ายังมีกองทุนขนาด 400,000 ล้านบาท ที่พร้อมจะเข้ามาซื้อหุ้นกู้ของบริษัทที่ดีมีความสามารถที่จะทำธุรกิจต่อเนื่องหลังจากที่วิกฤติผ่านไป เงิน 400,000 ล้านบาท นี้ ถ้าคำนวณคร่าว ๆ ก็เท่ากับประมาณ 50% ของหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระและต้องออกหุ้นกู้มาทดแทนภายใน 1 ปี และนี่ก็น่าจะเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ถ้าวิกฤติลากยาวต่อไปเกิน 1 ปี กองทุนก็คงไม่พอและถ้าถึงวันนั้น แบ้งค์ชาติก็จะต้องคิดว่าจะเพิ่มขนาดกองทุนขึ้นอีกหรือไม่ ประวัติศาสตร์ของการทำ QE ที่ผ่านมานั้น ดูเหมือนว่าทางการโดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกาจะแสดงความพร้อมที่จะทำอย่าง “ไม่จำกัด” ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะได้ผลในระดับหนึ่งทีเดียวเพราะมันสร้างความมั่นใจและสามารถ “ชี้นำตลาด” ได้จริง ๆ ในฐานะของนักลงทุนในหุ้นแบบ VI ผมเองคิดว่ากองทุนนี้น่าจะช่วย “พยุงหุ้น” ในตลาดด้วย เพราะนอกจากจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าบริษัทจดทะเบียนจะไม่ล้มละลายง่าย ๆ แล้ว มันน่าจะมีผลดีต่อราคาหุ้นบางกลุ่มไม่น้อย ที่เห็นชัดเจนก็หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยวทั้งหลายไล่ตั้งแต่สายการบินและโรงแรม ที่ผมเคยคิดว่าหลายบริษัทอาจจะเอาตัวไม่รอดเพราะโดนกระทบหนักมากเพราะอยู่ใน “ศูนย์กลางของวิกฤติ” และเป็นกลุ่มบริษัทที่มีหนี้มหาศาลและได้ขยายตัวออกไปมากในช่วงที่ผ่านมาหลายปีในยุคบูมของการท่องเที่ยวของไทย ในช่วงเวลานี้ธุรกิจแทบจะหยุดชะงักและยังไม่รู้ว่าจะกลับมาเมื่อไรและหุ้นกู้ก็น่าจะกำลังถึงกำหนดชำระเร็ว ๆ นี้จำนวนมาก การมีกองทุนมารับซื้อหุ้นกู้ที่จะออกมาทดแทนหุ้นกู้ที่กำลังถึงกำหนดชำระคืนน่าจะช่วยได้มาก กลุ่มต่อมาที่ผมเคยมองว่าราคาหุ้นถูกมากสุด ๆ และจ่ายปันผลงามมากก็คือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ขายบ้านและคอนโดเป็นหลัก วิกฤติทำให้ขายบ้านได้น้อยลงมากแต่หลายบริษัทได้ออกหุ้นกู้จำนวนมากเพื่อรองรับกับการดำเนินงานที่ต้องอาศัยเงินจำนวนมากและหุ้นกู้ก็ใกล้ถึงกำหนดชำระคืนในเร็ว ๆ นี้ และกลุ่มสุดท้ายก็คือกลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารและไม่ได้มีฐานเงินฝากจากประชาชน เพราะนี่คือบริษัทที่กู้เงินมหาศาลสูงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นหลาย ๆ เท่าที่มักจะต้อง Rollover หรือออกหุ้นกู้มารองรับหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระตลอดเวลา ถ้าคนขาดความมั่นใจโดยเฉพาะในเรื่องของ NPL ที่อาจจะเพิ่มขึ้นมากของบริษัทเหล่านี้ พวกเขาก็จะลำบากมากเพราะคนจะไม่ซื้อหุ้นกู้ที่จะออกใหม่และบริษัทก็จะขาดสภาพคล่องทันที ถ้าถามว่าผมสนใจหุ้นที่จะได้ประโยชน์เหล่านั้นไหม? คำตอบก็คือ ยังไงผมก็จะต้องดู “บรรทัดสุดท้าย” นั่นก็คือ เวลาจะลงทุนในหุ้นตัวไหน ก็จะต้องดูความแข็งแกร่ง ดูว่าบริษัทจะกลับมาทำรายได้และกำไรเหมือนเดิมก่อนวิกฤติไหม ใช้เวลานานเท่าไร รวมถึงมองระยะยาวออกไปว่าธุรกิจจะถูก Disrupt หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปจนมันไม่เหมือนเดิมหรือเปล่า เสร็จแล้วก็จะต้องดูถึงเรื่องราคาหุ้นว่าถูกและมี Margin Of Safety ไหม ในกรณี 3 อุตสาหกรรมดังกล่าว ผมคิดว่าหุ้นที่น่าจะเข้าข่ายมากกว่ากลุ่มอื่นน่าจะเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และอาจจะเป็นหุ้นโรงแรมบางแห่ง ที่เหลือนอกจากนั้นผมผมเองก็ยังไม่สนใจ เหตุผลก็คือ ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมยังมีความไม่แน่นอนอยู่มากแม้ว่าปัญหาเรื่องความอยู่รอดจะดีขึ้น แต่ปัญหาใหญ่ก็คือราคาหุ้นก็ยังไม่ถูกพอคิดจากค่า PE ที่ยังค่อนข้างสูง ประเด็นของกองทุน BSF ที่จะถูกบริหารโดยคนของแบ้งค์ชาติเองและถูกวิจารณ์ว่าอาจจะไม่เหมาะสมและเกิดความลำเอียงได้ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ จะซื้อหุ้นกู้ของบริษัทไหน? มากน้อยเท่าไร? ด้วยอัตราดอกเบี้ยเท่าไร? นั้น ผมคิดว่าก็เป็นประเด็นสำคัญ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ อะไรที่ทำโดย “คนของรัฐ” และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์จำนวนมากนั้น บ่อยครั้งก็มักจะมีรายการ “คุณขอมา” จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่นักการเมือง ข้าราชการ และผู้มีบารมีทั้งหลาย ทางแก้มีแน่ นั่นก็คือ การมอบหมายให้คนอื่นเช่น สถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารกรุงไทย เป็นคนดำเนินการแทน อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่ค่อนข้างรุนแรงและเร่งด่วนแบบนี้ ผมก็คิดว่าประเด็นนี้น่าจะยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม แบ้งค์ชาติเองก็ควรจะต้องมีเกณฑ์ที่โปร่งใสในการซื้อหุ้นกู้ทุกรายการ และด้วยชื่อเสียงที่ดีของธนาคารแห่งประเทศไทยนับตั้งแต่หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ผมก็คิดว่าการดำเนินการครั้งนี้น่าจะเป็นไปด้วยดีแม้ว่ามันจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยทำเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/04/13/2302 แท็ก: Advance Article BSF Corporate Bond Stabilization Fund Knowledge Short Content ธปท หุ้นกู้ แบงก์ชาติ แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE เจาะลึกตลาดหมีและเกาะติดจังหวะเข้าซื้อ - FINNOMENA สรุป LIVE ในวันนี้ผมจะพาทุกคนไปเจาะลึกการลงทุนในช่วงที่ตลาดหมีเข้าจำศีล (Bear market rally) ว่ามันคืออะไร? เป็นอย่างไร? ซึ่งหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สงสัยว่าช่วงนี้ตลาดดีดตัวขึ้นมาแรงๆเข้าซื้อได้หรือยัง สรุปในวันนี้น่าจะให้คำตอบกับหลายๆคนได้ครับ ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ! 8 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE ในวันนี้ผมจะพาทุกคนไปเจาะลึกการลงทุนในช่วงที่ตลาดหมีเข้าจำศีล (Bear market rally) ว่ามันคืออะไร? เป็นอย่างไร? ซึ่งหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สงสัยว่าช่วงนี้ตลาดดีดตัวขึ้นมาแรงๆเข้าซื้อได้หรือยัง สรุปในวันนี้น่าจะให้คำตอบกับหลายๆคนได้ครับ ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ! สรุปไฮไลท์เหตุการณ์สุดพีคต่างๆ ดัชนี Dow jones -4.4% ในเดือนเมษายน มีผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ในอเมริกา โดยมีการประมาณการจากกรมควบคุมโรคในอนาคตว่าอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้าผู้ติดเชื้ออาจเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ทาง Fed มีการปรับการคำนวณ SLR หรือเกณฑ์เกี่ยวกับการปล่อยกู้ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อได้คล่องตัวและสะดวกมากขึ้น อาธิเช่น สินเชื่อส่วนบุคคล SME การจ้างงานภาคเอกชน หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยตัวจำนวนผู้ว่างงานขอรับสิทธิ์ (Initial Jobless Claim) รวมสองอาจพุ่งสูงขึ้นถึง 10 ล้านตำแหน่ง นอกจากนั้นตัวเลขการว่างงานในสหรัฐฯ (Unemployment rate) อาจปรับขึ้นมาได้ถึง 15% ในสัปดาห์นี้ การบินไทยประกาศให้พนักงานหยุด 2 เดือน และลดเงินเดือน 10-50% มีการเปิดตัว SSF กองทุนประหยัดภาษี ประมาณการแรงซื้อเบื้องต้นอยู่ที่ราวๆ 2.6 หมื่นล้านอาจะช่วยพยุงหุ้นระยะสั้นได้ และอาจทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นราวๆ 2% จากประมาณการของโบรคเกอร์ หัวข้อหลักในวันนี้จะเป็นมุมมองการลงทุนในไตรมาส 2 แต่ก่อนอื่นเรามาย้อนดูไตรมาสแรกกันก่อนครับ ว่าตลาดผ่านอะไรกันมาบ้าง สถานการณ์ผู้ติดเชื้อเป็นอย่างไร? จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังสูงขึ้น ถึงแม้ความรวดเร็วในการแพร่ระบาดจะลดลง แต่จำนวนยังเยอะอยู่ โดยอาจต้องรอแนวโน้มการติดเชื้อเปลี่ยนเป็นทรงระฆังควํ่า (เป็น slope ไหลลงเรื่อยๆ) ถึงเป็นสัญญาณเชิงบวกให้เราเข้าลงทุนได้อีกครั้ง ประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจเขยิบปรับลงเรื่อยๆ ทาง Goldman Sachs ได้มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไตรมาส 2ลงอีกครั้ง โดยอาจติดลบที่ -33% จากก่อนหน้าสองสัปดาห์ที่ประมาณการไว้ที่ -24% ถือว่าปรับมุมมองแย่ลงเรื่อยๆครับ หลายๆบริษัทอาจต้องรื้อโครงสร้างหนี้เพิ่มเติม จำนวนตราสารหนี้หรือบริษัทต่างๆที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงาน ซึ่งโดนแรงกดดันจากราคานํ้ามันที่ลงมาตํ่ามากๆราวๆ 20 เหรียญ สรุปมาตรการออกแรงกระตุ้นของประเทศต่างๆ Fed ได้ทำอะไรลงไปบ้าง? ที่ผ่านมาอย่างที่เรารู้ๆกันว่าทาง Fed ได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยชุดใหญ่ รวมถึงทำ QE จำนวนมหาศาลถึง 700,000 ล้านเหรียญ และ 500,000 ล้านเหรียญตามลำดับ รวมถึงมาตรการการคลังอีก 2 ล้านล้านเหรียญจึงอาจทำให้ตลาดกลับมามีหวังดีดขึ้นมาได้บ้าง จีนเริ่มออกตัว ลงไม้ลงมือกระตุ้น หลังจากที่ทางจีนควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เรียบร้อยแล้ว ดูเหมือนทางจีนจะเริ่มออกมาตรการกระตุ้นออกมากับเค้าบ้าง โดยที่ผ่านมามีการลดอัตราดอกเบี้ย REPO จาก 2.4% ลงมา 2.2% และอัดฉีดเงินเข้าตลาด REPO 50,000 ล้านหยวน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดเงินและธนาคารพาณิชย์ต่างๆให้มีเงินหมุนได้คล่องมือขึ้น ณ ตอนนี้ทั่วโลกลดดอกเบี้ยกันไปเท่าไร? ทั่วโลกมีการปรับลดดอกเบี้ยเฉลี่ยโดยรวมที่ราวๆ 80 basis points หรือ 0.8% โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วลดลงกว่า 100 basis points หรือ 1.00% ถือว่าเยอะมากเลยทีเดียวครับ ใครหนี้ท่วมหัว? ติดตาม Balance sheet ต่อ GDP (หนี้ต่อ GDP) จุดนี้ผมมองว่าค่อนข้างน่าสนใจเลยทีเดียวครับทางแบงก์ชาติญี่ปุ่น (BOJ) มีหนี้เกือบๆ 100% ต่อ GDP อาจจะค่อนข้างตึงตัวเลยทีเดียว แต่ที่น่าสนใจคือทาง Fed ครับซึ่งที่ผ่านมามีการปรับ Balance sheet แบบสุดโต่ง โดยอาจดันจำนวนหนี้เพิ่มขึ้นประมาณเกือบๆ 50% ของ GDP ได้เลยทีเดียว ซึ่งทางตลาดอาจมีการดีดตัวกลับขึ้นมาได้จากการกระตุ้นในส่วนนี้ แต่อาจลงไปต่อในอนาคต เพราะอาจมี บริษัท ที่ประกาศหนี้สูญหรือล้มละลาย รวมถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังพุ่งสูงอยู่หากดูในภาพรวม โดยรวมในช่วงนี้อยากให้นักลงทุนอยู่ในโหมดเซฟๆไปก่อนครับ QE แบบเสกเงินได้ของ Fed (Unlimited QE) เพียงพอไหม? คำตอบคืออาจจะไม่เพียงพอครับ เพราะ นโยบายกระตุ้นทางการเงินต่างๆนั้นออกมาในเชิงกว้างๆเสียมากกว่า ไม่ได้เจาะลึกไปถึงคนที่มีปัญหาจริงๆ ซึ่งอาจทำให้บางบริษัทไม่ได้รับการช่วยเหลือได้ครับ แต่ถึงอย่างนั้นถ้ามีการเข้าไปช่วยเหลือเป็นรายตัวอาจทำให้หลายๆบริษัท เรียกร้องให้ช่วยตามๆกันมาจนอาจทำให้เกิด Moral Hazard หรือการที่คิดว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวรัฐก็ช่วยเองจนไม่ระมัดระวังควบคุมเงินสดในมือในยามวิกฤติก็เป็นได้ กลยุทธ์การลงทุนในช่วงที่ตลาดหมีจำศีล (Bear market rally) การปรับฐานในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมถือว่าลงลึก รวดเร็ว รุนแรงหากเทียบกับ 4 วิกฤติครั้งก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดได้รับรู้ความกังวลของสถานการณ์โควิด-19 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามตลาดหมีอาจวิ่งเข้าถํ้าพักจำศีลชั่วคราวได้หลังจากทาง Fed อัดฉีดมาตรการชุดใหญ่ จึงอาจทำให้กระทิงกลับมาวิ่งชั่วคราว และส่งหมีกลับเข้าถํ้าไปสักพัก ในช่วงนี้ ตลาดหมีจำศีล (Bear market rally) คืออะไร? และเป็นอย่างไรในวิกฤติที่ผ่านมา ตากภาพจะสังเกตได้ว่าช่วงขาลงในวิกฤติปี 2008 มี 4 ครั้งที่ตลาดกลับมาดีดตัวได้ในช่วงขาลงโดยใช้เวลาคร่าวๆแค่ 6 วันทำการ โดยเราอาจสรุปได้ว่าการที่ตลาดดีดตัวขึ้นมาในช่วงนี้ อาจเป็นแค่ความสุขชั่วคราว (หลอกให้เราดีใจและจากไป) เพราะฉะนั้นในช่วงนี้ที่ตลาดกลับมาบวกได้ 10-20% ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะ เป็นการพักเก็บแรงของหมีในตลาดนั่นเอง แนะนำพักเงินหรือรักษาเงินสดไว้ เพื่อรอจังหวะเข้าซื้อไว้ก่อน ในช่วงนี้เราแนะนำให้พักเงินเอาไว้ก่อนและรอจังหวะที่ใช่เพื่อกลับเข้าตลาดอีกครั้งโดยมี 2 เงื่อนไขหลักในการกลับเข้าซื้อ 1) จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตัวเลขเริ่มเป็นทรงระฆังควํ่า หรือ slope ไหลง มีตัวยารักษาออกมา ราคานํ้ามันกลับมาฟื้นตัวได้ราวๆ 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลขึ้นไป 2) เป้าราคาและค่า P/E ลดลงมาใกล้ช่วงวิกฤติครั้งก่อนๆ โดยประมาณการเป้าราคาของ S&P 500 ไว้ที่ราวๆ 1,800 จุด ทาง SET ที่ 500 จุดตํ่าสุด โดยระดับแรกที่ 900 จุด ระยะกลางๆที่ 700 จุด Property fund สะสมได้บ้าง เพราะ กลับตัวก่อนหุ้น ตอนนี้ yield ตัว property fund อยู่ราวๆที่ 7% แล้ว แต่ยังมีแรงกดดันระยะสั้นจากสถานการณ์โควิด อาธิเช่น ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ลดลง และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบิน ห้างสรรพสินค้าที่ต้องหยุดทำการ จำนวนผู้พักในโรงแรมที่ โดย ณ ตอนนี้ราคาได้ลงมาประมาณ 30% เรียบร้อยแล้ว โดยหากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวคนอาจจะเริ่มเข้ามาลงทุน ดังนั้นการมี property fund ในพอร์ตถือว่าพอใช้ได้ในช่วงนี้ ทองคำ ที่ผ่านมาตัว ETF ทองคำทำนิวไฮเรียบร้อย โดยช่วงนี้เราแนะนำการลงทุนในตลาดเงิน ทองคำ และอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก ปิดท้ายกันสักนิด ด้วยการประเมินเป้าราคาน่าช้อน SET Valuation เป้าราคาที่ได้เกิดจากการเทียบระดับ P/E ที่ตํ่าสุดของแต่ละวิกฤติ โดยเป้าแรกจะอยู่ที่วิกฤติปี 2011 ราวๆ 900 จุด และตํ่าสุดที่ราวๆ 500 จุด S&P 500 Valuation อาจอยู่ที่ราวๆ 1,800 จุด CSI 300 Valuation ทางจีนเป้าราคาตอนนี้อาจสูงไปนิด เพราะ ตอนนี้ราคาปัจจุบันเกือบถึงเป้าหมายที่ประเมินแล้ว อย่าลืมรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ… ผมเองก็ลากยาวทุกวันเลย…. ขอให้ทุกคนโชคดีครับ แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไวรัสโคโรน่ากับผลกระทบต่อสินทรัพย์ดิจิทัล - FINNOMENA จากการระบาดของไวรัสชนิดใหม่ที่มีชื่อว่าไวรัสโคโรน่าหรืออีกชื่อก็คือ COVID 19 ทำให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่วโลก ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลก็ถูกเทขายอย่างรวดเร็วพร้อม ๆ กันกับตราสารทางการเงินอื่น ๆ คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ Bitcoin ไม่ใช่หลุมหลบภัยจากวิกฤติเศรษฐกิจอย่างที่หลาย ๆ คนคิดแล้วหรือ ถ้าใช่ แล้วช่วงนี้เกิดอะไรขึ้น ถ้าไม่ใช่ แล้ว Bitcoin คืออะไรกันแน่ 19 ม.ค. 2565 จากการระบาดของไวรัสชนิดใหม่ที่มีชื่อว่าไวรัสโคโรน่าหรืออีกชื่อก็คือ COVID 19 ทำให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่วโลกว่าอาจจะลุกลามไปกระทบธุรกิจทุกภาคส่วน นั่นอาจจะเป็นสาเหตุให้นักลงทุนเกิดความกลัวและขายตราสารทางการเงินแทบทุกชนิดที่มีเพื่อหนีตายจากการร่วงของราคาภายในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วัน สินทรัพย์ดิจิทัลเองอย่างเช่น Bitcoin ที่มีค่า Correlation กับตราสารทุนหรือหุ้นน้อยอยู่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านก็ออกมาบอกว่านักลงทุนเกิดความกลัวจนทำให้เทขายสินทรัพย์ทางการเงินแบบรวดเร็วนี้น่าจะไม่มีผลต่อ Bitcoin เท่าไหร่ เผลอ ๆ ราคา Bitcoin จะวิ่งขึ้นด้วยซ้ำจากปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกัน แต่แล้วปากกาเซียนก็หักจนได้เพราะราคาสินทรัพย์ดิจิทัลก็ถูกเทขายอย่างรวดเร็วพร้อม ๆ กันกับตราสารทางการเงินอื่น ๆ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหรือแม้กระทั่งนักลงทุนทั้งหลายผิดหวังกับการคาดการณ์ของตัวเองเป็นอย่างมาก แม้ในขณะที่เขียนบทความนี้ราคาจะดีดกลับมาบ้างแต่หากนับตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา ราคานั้นได้ร่วงลงถึงกว่า 40% คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ Bitcoin ไม่ใช่หลุมหลบภัยจากวิกฤติเศรษฐกิจอย่างที่หลาย ๆ คนคิดแล้วหรือ ถ้าใช่ แล้วช่วงนี้เกิดอะไรขึ้น ถ้าไม่ใช่ แล้ว Bitcoin คืออะไรกันแน่ ในขณะที่หลายคนยังขาดความเข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้ว Positioning ของ Bitcoin ในโลกของการเงินการลงทุนควรจะอยู่ตรงไหนกันแน่ ผู้ที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ที่ถือเป็นผู้สร้าง bitcoin ขึ้นมา เคยกล่าวไว้ใน Bitcoin white paper ว่าเขาอยากจะนำเสนอการแลกเปลี่ยนในแบบ Peer-to-peer หรือคนกับคนโดยปราศจากตัวกลางต่าง ๆ ซึ่งตัวกลางเหล่านั้นล้วนแล้วแต่สร้างผลกระทบให้ระบบเศรษฐกิจวุ่นวายอย่างในทุกวันนี้ หลังจากนั้น Satoshi Nakamotoได้มีการทิ้งข้อความปริศนาเอาไว้ใน Blockchain กล่องแรกหรือ genesis block ว่า “The Times 03/Jan/2009 Chancellor on the brink of a second bailout for banks.” โดยที่เขาก็ไม่ได้อธิบายความหมายของประโยคดังกล่าวเพิ่มเติมว่าหมายถึงสิ่งใด แต่ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่มีผลกระทบในวงกว้างขึ้นทั่วโลกในปี 2008 ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของระบบเศรษฐกิจ ความมักง่าย รวมถึงการคดโกงของผู้มีอำนาจที่ถือเป็นตัวกลางของระบบเศรษฐกิจในขณะนั้น แม้ Bitcoin จะถูกออกแบบมาเพื่อพยายามทดแทนสกุลเงินในปัจจุบันที่ขาดเสถียรภาพแต่ในทางปฏิบัติ Bitcoin ก็ยังช้าเกินไปในการโอน Value จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งหากเทียบกับการโอนเงินผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคารผ่านระบบดิจิทัล หลายคนจึงมอง Bitcoin เป็นเหมือนกับทองคำดิจิทัลมากกว่า ทองคำนั้นได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานในเรื่องของความน่าเชื่อถือในเรื่องของมูลค่าและเป็นที่พักเงินชั้นดีเมื่อยามเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้นมา ทองคำถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยหรือ Safe haven ที่ไม่ว่ายุคสมัยไหนก็สามารถผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาได้ แถมยังเป็นสินทรัพย์ที่ปกป้องความมั่งคั่งจากเงินเฟ้อหรือการด้อยค่าของสกุลเงินทั่วไปอีกด้วย ยังมีสินค้าโภคภัณฑ์อีกหลายชนิดที่ถูกมองว่ามีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับทองคำแต่อาจไม่ดีเท่า นักลงทุนหลายคนก็มีมุมมองต่อ Bitcoin ไม่ต่างกับทองคำเท่าไร ฉะนั้นในภาวะที่เกิดความกังวลจากการถดถอยของระบบเศรษฐกิจรวมถึงโรคระบาด Bitcoin ก็น่าจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นใช่หรือไม่ ? แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ราคา Bitcoin กลับลดลงอย่างรวดเร็วสวนทางกับการคาดการณ์จากทุกคน Brian Armstrong ซีอีโอของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำในสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า Coinbase ทวีตเมื่อวันที่ 9 มีนาคมปีนี้โดยแสดงความเห็นและคาดการทิศทาง Bitcoin และหลังจากนั้นไม่นานโศกนาฏกรรมในราคา Bitcoin ก็เกิดขึ้นคือราคาลดฮวบลงทันที 40 % มีคำอธิบายออกมามากมายหลังจากเหตุการณ์นี้ จากเดิมที่ Bitcoin นั้นมุ่งหน้าสู่การเป็นระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ลดข้อจำกัดเดิม ๆ ซ้ำยังมีข้อดีกว่าสกุลเงินเดิมอีกมาก คนจึงเลือกที่จะซื้อและถือครอง Bitcoin ไว้ในระยะยาวเพื่อต้องการเติบโตไปกับอนาคตของมัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปมันได้รับการยอมรับจากคนจำนวนมากขึ้น ความต้องการถือครองก็มาจากผู้คนที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าเป็นนักลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบัน บริษัทเอกชน หรือแม้กระทั่งเทรดเดอร์นักเก็งกำไรระยะสั้น เมื่อตราสารทางการเงินในโลกถูกเทขายไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนอสังหาฯ ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ทำให้สภาพคล่องในตลาดหดหายไปจำนวนมาก ก็อาจจะทำให้หลายคนจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ดิจิทัลออกมาอย่างเร็วเพื่อนำเงินสดไปชำระ Margin ต่าง ๆ ที่มีอยู่ หรืออาจจะเกิดจากความตื่นตระหนกจนเทขายทุกอย่างที่มีแล้วไปถือครองเงินสดแทน สังเกตได้จากค่าเงิน USD ที่แข็งค่าขึ้นอย่างมากทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงการทำ QE อย่างต่อเนื่องนั้นควรจะทำให้ค่าเงินของสหรัฐฯ อ่อนค่าลงตามหลักเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น ท่ามกลางความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจก็ดี โรคระบาดก็ดี สินทรัพย์ทางการเงินไหน ๆ ก็ดูเหมือนจะไม่ปลอดภัยแทบทั้งสิ้น แต่ในบริบทอื่น ๆ เช่นในประเทศเวเนซุเอลา Bitcoin ก็ยังถือเป็นสินทรัพย์ชั้นดีที่ปลอดภัยมากสำหรับพวกเขาอยู่ดีเมื่อเทียบกับสกุลเงินในบ้านของพวกเขาเอง แม้ราคา Bitcoin จะลดลงจากความกลัวที่มากมายในขณะนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังดีกว่าหากเปรียบเทียบกับหุ้นก็คือ เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรวมถึงการแพร่ของไวรัสโคโรน่าก็อาจจะทำให้ธุรกิจต่าง ๆ หยุดชะงักไปในทันทีซึ่งนั่นจะสะท้อนกลับเข้ามาสู่กำไรของกิจการในอนาคตที่ลดลงจนถึงขั้นขาดทุนจนไปกดดันราคาหุ้นให้ฟื้นกลับขึ้นมายาก ส่วน Bitcoin นั้นมีความใกล้เคียงกับทองคำ คือราคามักถูกขับเคลื่อนจากความเชื่อมั่น เชื่อมั่นในระบบ เชื่อมั่นในอนาคตและเชื่อมั่นในความโปร่งใสของมันที่หาจากสกุลเงินอื่น ๆ ได้ยาก ยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นก็คือ ในช่วงเวลาที่สินทรัพย์ทางการเงินทุกชนิดถูกเทขายพร้อม ๆ กัน แน่นอนว่าอาจจะเกิดจากความ “จำเป็น” บางอย่างที่ต้องขาย แต่สิ่งที่แยกได้เบื้องต้นว่าสินทรัพย์ชนิดใดถูกมองว่าแข็งแกร่งหรือมีความเชื่อมั่นมากกว่าสินทรัพย์ชนิดอื่น ๆ ราคาของมันจะวิ่งกลับขึ้นมาก่อนสินทรัพย์อื่น หากเปรียบเทียบ Bitcoin กับดัชนีหุ้นไทยหรือ SET Index หุ้นไทยถูกเทขายตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 จนลดลงต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ส่วน Bitcoin ในช่วงเดือนมกราคม 2020 ถึงกุมภาพันธ์ 2020 ราคา Bitcoin ได้บวกไปกว่า 50 % ภายใน 1 เดือน และเพิ่งมาถูกแรงเทขายจริงจังช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์เอง หลังจากนั้นไม่นานราคา Bitcoin ก็ได้วิ่งกลับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดช่วงต้นเดือนมีนาคมมาจนถึงปัจจุบันบวกไปกว่า 70% แต่หุ้นไทยยังไม่คงสร้างฐานราคาอยู่ด้านล่างซึ่งไม่แน่ใจว่าตรงนี้คือจุดต่ำสุดของรอบแล้วหรือยัง นี่ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า Smart Money มั่นใจในอนาคตของสินทรัพย์ใดมากกว่ากัน ฉะนั้นจึงอยากให้นักลงทุนทุกท่านเปิดใจรับโอกาสในการลงทุนกับสินทรัพย์ดิจิทัล อนาคตต่อจากนี้ Bitcoin จะมีลักษณะอย่างไร จะมีความเหมือนหรือต่างกับทองคำและสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ หรือไม่ ใครจะเป็นผู้ที่เข้ามาลงทุนและเหตุใดเขาจึงเชื่อมั่น ในวันหนึ่ง Bitcoin จะได้ชื่อว่าเป็น Safe haven หรือไม่ คงไม่มีใครรู้และตอบคำถามเหล่านี้ได้ชัดเจน 100% ขนาดนั้น แต่สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้ก็คือ เหตุผลในการถือกำเนิดของ Bitcoin คืออะไร ในปัจจุบันเหตุผลนั้นยังเหมาะสมและจำเป็นอยู่ไหม นี่ต่างหากคือปัจจัยที่แฝงอยู่เบื้องลึกในการที่จะขับเคลื่อนราคาของ Bitcoin ให้เติบโตหรือว่าถดถอยในระยะยาว Zipmex ที่มาบทความ: https://zipmex.co.th/2020/04/03/ไวรัสโคโรน่ากับผลกระทบ/ แท็ก: Advance Article Bitcoin COVID-19 Cryptocurrency Knowledge Short Content สินทรัพย์ดิจิทัล โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน Zipmex ซิปเม็กซ์ เป็นผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มุ่งให้ความรู้กับทุกคนในทุกวัน เพื่อเปิดโอกาสในการลงทุนรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยผ่านการกำกับดูแลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE เจ๊งไม่เจ๊ง? เจาะลึกอสังหาฯและบริษัทต่างๆ - FINNOMENA กลับมากันอีกครั้งสำหรับสรุป LIVE ประจำวัน ต้องบอกเลยว่าของวันนี้เป็นอันที่สองที่ผมชอบมากๆ เป็นการส่วนตัว เพราะมีการเจาะลึกพื้นฐานงบการเงินของบริษัท อย่างเข้มข้นรวมถึงเทคนิคอลและมุมมองสินทรัพย์เล็กๆ น้อยๆ แบบจัดเต็มส่งท้ายเช่นเคย หากคุณสงสัยว่าบริษัทอสังหาฯที่คุณถืออยู่ จะรุ่งหรือจะร่วง ผมขอบอกว่าพลาดไม่ได้เลยทีเดียวครับ ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อมๆกันได้เลย! 8 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> กลับมากันอีกครั้งสำหรับสรุป LIVE ประจำวัน ต้องบอกเลยว่าของวันนี้เป็นอันที่สองที่ผมชอบมากๆ เป็นการส่วนตัว เพราะมีการเจาะลึกพื้นฐานงบการเงินของบริษัท อย่างเข้มข้นรวมถึงเทคนิคอลและมุมมองสินทรัพย์เล็กๆ น้อยๆ แบบจัดเต็มส่งท้ายเช่นเคย หากคุณสงสัยว่าบริษัทอสังหาฯที่คุณถืออยู่จะรุ่งหรือจะร่วง ผมขอบอกว่าพลาดไม่ได้เลยทีเดียวครับ ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อมๆ กันได้เลย! เปิดม่านสัญญาณแรกของ QE แบบ Unlimited อย่าง Balance Sheet ถือว่าทะลุขอบฟ้านิวไฮไปเลยทีเดียวสำหรับ Balance sheet หลัง Fed อัด QE เต็มที่ทุ่มสุดตัวเป็นมูลค่าถึง 525 ล้านดอลลาร์ โดยทางตัว Jerome Powell ถึงกับออกมาตกตะลึงและยอมรับว่าไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน อย่างไรก็ตามถึงแม้จะใส่ QE ไปจำนวนมหาศาล แต่การเข้าไปซื้อพันธบัตร หรือ ตัว Mortgage backed securities (MBS) เฉยๆ ดูเหมือนว่าจะไม่ได้เข้าไปกระตุ้นในส่วนภาคธุรกิจโดยตรง เพราะปัญหาหลักนั้นอยู่ที่คนไม่จับจ่ายใช้สอยกันจากผลของโควิด-19 โดยสิ่งที่ทาง Fed เลยออกมาเหมือนกับว่าอาศัยอุ้มแบบหว่านๆ เสียมากกว่า ทำงานในกลุ่มไหนส่อแววตกงาน? เบื้องต้นภาพด้านบนเป็นบทวิเคราะห์จากทาง Moody ที่ออกมาวิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ว่าส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในแต่ละอุตสาหกรรมขนาดไหน โดยอุตสาหกรรมที่หวยออกหนักสุดน่าจะเป็นในส่วนของอุตสาหกรรมค้าปลีกที่อาจมีคนตกงานถึง 15 ล้านคน แต่อาจจะยังพอไหว เพราะ พวกสินค้าบางชนิดอย่างเช่น ของใช้ หรือ อาหารยังมีความจำเป็นอยู่ รองลงมาเป็นธุรกิจร้านอาหารต่างๆ การขนส่ง การศึกษา และพวกธุรกิจบันเทิง เช่น โรงหนังเป็นต้น โดยมีผลมากจาก Demand shock หรือแปลตรงๆ คือความต้องการสินค้าที่ขาดหายไปจากการกักตัวของผู้คนไม่กล้าออกจากบ้าน รวมถึง Supply shock หรือการหยุดชะงักของภาคการผลิตที่ถูกชะลอโดย การกักตัวเช่นเดียวกัน (ข้อมูลข้างต้นเป็นของในอเมริกานะครับ) วัดกันจะจะผ่าน 2 วิกฤติที่ผ่านมา คนตกงานรวมเท่าไร? ตอนวิกฤติดอทคอมมีคนตกงานรวมทั้งสิ้น 3 ล้านคน โดยรวมทั้งในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตอนวิกฤติ subprime มีคนตกงานเกือบๆ 10 ล้าน โดยรวมทั้งในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน สำหรับผมสิ่งที่น่าจับตามอง ก็คือวิกฤติครั้งนี้จะหนักกว่าครั้งอื่นๆ หรือเปล่า เพราะ เป็นการถดถอยจากภาคธุรกิจโดยตรง แตกต่างกับ Subprime ที่ว่าหนักแล้วแต่ทางผู้ดำเนินนโยบายยังแก้ปัญหาได้ตรงจุดกว่า อย่างการเข้าไปอุ้มตลาดเงินโดยตรง ณ จุดนี้เเล้วผมมองว่าการตัดสินใจช่วยเหลือภาคธุรกิจให้ตรงจุด ถูกส่วน และถูกตัวมีความสำคัญมากครับ เพื่อไม่ให้เกิดการล้มเป็นโดมิโน คาดการณ์ตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง เจ๊งแค่ไหน? ในช่วงวิกฤติดอทคอมมีการหนี้สูญ (Default) ไป 9% จากทั้งหมด ในช่วงวิกฤติซัพไพรม์มีการหนี้สูญ (Default) ไป 13% จากทั้งหมด โดยในช่วงปัจจุบันหากนับตั้งแต่ต้นปีมีการหนี้สูญ (Default) ไปเรียบร้อยแล้วที่ 3% จากทั้งหมด ในส่วนนี้ผมมองว่าน่าจับตามองมากๆ ครับ เราผ่านมาแค่ 3 เดือนเท่านั้นจากต้นปีแต่เรามีการหนี้สูญ (Default) ไปถึง 1 ใน 3 ของวิกฤติดอทคอมแล้ว 1 2 3… 3 การผิดนัดชำระหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ ลงลึก ขึ้นเร็ว ลงลึก ขึ้นเร็ว บทสรุปที่ดีที่สุดจากการคาดการณ์ของ Moody คือ อัตราผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้นที่ 6.8% ซึ่งจากการคาดการณ์เคสนี้น่าจะปิดกล่องไปแล้วครับ เหมือน 2008 … จากการคาดการณ์ใน LIVE มีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขน่าจะอยู่ระหว่างเคสปี 2008 กับ ลงลึก ขึ้นเร็ว ฉะนั้นการเกิดหนี้สูญ (Default) น่าจะอยู่ที่ราวๆ 10% ครับ เช็กอัตราการว่างงานกันสักนิด การว่างงานอยู่ที่ 3.5% ณ ตอนนี้โดยทาง Goldman Sachs คาดการณ์ว่าน่าจะอยู่ที่ 12% ซึ่งสูงมากๆ และหากเทียบกับตารางด้านบนแล้วกำลังจะเข้าสู่ยุคถดถอยขั้นรุนแรง เลยทีเดียวครับ จากวิกฤติในครั้งนี้ ปิดท้ายส่วนนี้ด้วยการเช็ค Spread ความเสี่ยงตราสารหนี้เกรดตํ่า ตอนนี้ตัว spread อยู่ที่ราวๆ 900 จากก่อนหน้าเดือนกุมภาพันธ์ที่ 500 โดยรวมแล้วระดับความยํ่าแย่น่าจะมาถึงครั้งปี 2008 ได้ครับ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นอยู่ที่ตัวผู้ดำเนินนโยบายด้วยว่าจะจัดการได้ดีแค่ไหน แถมส่งท้าย (มีข่าวแว่วๆ ว่าทาง Fed อาจเข้าไปซื้อหุ้น S&P 500 เพื่อดึงตลาดขึ้น) เจาะลึกพื้นฐานการเงิน sector กลุ่มอสังหาฯไทย ใครน่าจะรอด ใครน่าจะร่วง Supalai จากภาพจะสังเกตได้ว่ามีเงินสดอยู่ 1,300 ล้านบาท (ในยามวิกฤติเงินสดมีความจำเป็นเพราะมีสภาพคล่องสูงสุด ซึ่งในที่นี้จะแตกต่างกับสินทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์ซึ่งขายออกได้ยากในยามวิกฤติ) หนี้ระยะสั้น (น้อยกว่า 1 ปี) อยู่ที่ 9,200 ล้านบาท ถือว่าเยอะเลยทีเดียวหากเทียบกับเงินสดในมือ สินค้าในคลัง (อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ) อยู่ที่ 50,000 กว่าล้านบาท เมื่อปลายปีที่แล้ว ต่อไปเรามาดูสิ่งที่น่าจับตามองอย่างอัตราส่วนทางการเงินกันครับ… หนี้สินระยาว (Long term debt) ต่อส่วนของเจ้าของ (Equity) ปัจจุบันบริษัทมี equity อยู่ที่ 38,000 ล้านบาท หนี้สินระยะยาวที่ 4,500 ล้านบาทซึ่งถือว่าโดยรวมยังโอเคอยู่ครับคิดเป็นเพียง 10% ของส่วนของเจ้าของเท่านั้น ในส่วนของหนี้สินทั้งหมดต่อส่วนของเจ้าของทั้งหมด มี equity อยู่ที่ 38,000 ล้านบาท และหนี้ทั้งหมดอยู่ที่ 14,000 ราวๆ 40% ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนอัตราหนี้จะอยู่ที่ราวๆ 40% ของ equity ทั้งหมด โดยรวมถือว่าโครงสร้างหนี้ยังดีอยู่ครับ สรุปสำหรับ Supalai ถึงแม้หนี้สินระยะสั้นจะดูเยอะ แต่หากเกิดวิกฤติและขาดสภาพคล่องขึ้นจริง ทางแบงก์จะกลับมาดูตรงอัตราส่วนทางการเงินครับ ว่าควรปล่อยกู้ให้ไหม ซึ่งในส่วนของ บ. ศุภาลัย ถือว่าผ่านครับ เพราะฉะนั้น บริษัทนี้คือตัวอย่างของบริษัทที่แข็งแกร่งผ่านร้อนผ่านหนาวยามวิกฤติได้ดีครับ Sansiri มีเงินสดอยู่ที่ 2,400 ล้านบาท มีหนี้สินระยะสั้นอยู่ที่ 17,000 ล้านบาท มีหนี้สินระยะยาวอยู่ที่ 45,000 ล้านบาท ส่วนที่น่าจับตามองก็คือ Inventories day (เมื่อสร้างโครงการเสร็จแล้วกว่าจะขายได้ใช้เวลากี่วัน) ในที่นี้อยู่ที่ 1,200 วัน หรือราวๆ 4-5 ปีเลยทีเดียวกว่าจะขายได้ ถือว่าไม่ดีครับนานมาก Cash conversion cycle (ได้ทุนมาแล้วผ่านกระบวนการต่างๆ จะได้เงินกลับมาเมื่อไร แสดงถึงความสามารถในการหมุนเงิน) โดยในที่นี้อยู่ที่ 1,000 วันครับกว่าจะได้เงินกลับมาหมุนเข้าบริษัทอีกครั้ง Total equity (ส่วนของเจ้าของทั้งหมด) อยู่ที่ 30,00 ล้านบาท Total debt (หนี้สินทั้งหมด) อยู่ที่ 60,000 ล้าน หากเทียบ equity กับ total debt แล้วบริษัทนี้มีหนี้สินค่อนข้างหนักหนาเลยทีเดียว ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญคือเค้าจะขายสินค้าได้ไหม (เทียบกับระยะเวลาการขายออกข้างต้นนี่นานมากครับ) และนี่เป็นตัวอย่างของบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนที่สูงซึ่งอาจทำให้แบงก์ลังเลในการต่อสินเชื่อ เนื่องจากการที่มีหนี้มากกว่าทุน แบงก์เค้าอาจจะไม่มีอะไรยึดคืนครับถ้าเราล้มละลาย (Default) Origin property มีเงินสดอยู่ที่ 1,300 ล้านบาท มีหนี้สินระยะสั้นอยู่ที่ 4,400 ล้านบาท มีหนี้สินระยะยาวอยู่ที่ 9,600 ล้านบาท หนี้สินรวมทั้งหมด 14,000 ล้านบาท ส่วนของเจ้าของที่ 10,000 ล้านบาท โดยถือว่ายังโอเคมีการใช้หนี้ (Leverage) ระดับนึงไม่ได้สูงมากครับหากเทียบกับส่วนของเจ้าของ Inventory day ดีดขึ้นจาก 800 วันมาเป็น 1,100 วัน กว่าจะขายได้ อีกส่วนที่น่าจับตามองคือส่วนของรายได้ครับ ตัวอสังหาริมทรัพย์ (Property) ต้องมีการถือครองสิทธิ์เป็นเจ้าของรายได้ถึงจะเกิดขึ้น แต่มีการประมาณเกิดขึ้นในอนาคตเป็นบวกซึ่งอาจแปลกไปสักนิดสำหรับภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ANANDA มีเงินสดอยู่ที่ 6,000 ล้านบาท Inventory day จาก 500 ปรับขึ้นมาถึง 1,200 ต้องเน้นยํ้าตรงนี้สักนิดครับ เพิ่มขึ้นเยอะมาก ของขายออกยาก หนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของที่อาจต้องจับตามอง เพราะแบงก์อาจลังเล ในการปล่อยกู้เพิ่มเติม สรุปภาพรวมตลาด Property Fund ของไทยเรา โดยรวมราคาลง ผลตอบแทน (Yield) ขึ้นมา 7% จากการเทขาย ตัวส่วนต่างผลตอบแทนเทียบพันธบัตรรัฐบาล (Yield Gap) ขึ้นมาสูงถึง 5.6% โดยเป็นเรทที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี แต่โดยรวมแล้วสำหรับ property fund ที่มีขนาดใหญ่ยังเจ๊งยากอยุ่ครับ แต่รายได้อาจลดลงได้ เช่น CPN,CP, หรือ เจ้าสัวเจริญ สิ่งที่น่าสนใจคือเวลาจบตลาดจบรอบ cycle ตัว property fund และ ทองคำ จะกลับมาก่อนครับ แต่ตอนนี้ตัว property fund เรายัง หยุดไว้ก่อนอยู่ครับ รอดูจังหวะ เช็กสถานการณ์ บริษัทนอกของอเมริกากันบ้าง… Boeing จุดที่น่าเป็นห่วงและเด่นชัดเลยสำหรับ Boeing ก็คือส่วนของเจ้าของที่ -8,300 ล้านแสดงให้เห็นถึงการขาดสภาพคล่องอย่างหนัก ความน่าเชื่อถือ (Credit) โดนหั่นลง!! โดนหั่นลงมา 2 สเต็ปเลยรวดเดียวครับจากเดือนมกราคมที่ A- ลงมาที่ BBB (จาก A- มา BBB+ มา BBB) FORD ที่น่าจะตามองสำหรับ Ford คือหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของที่สูงกว่าถึง 5 เท่า แต่โดยรวมตัวบริษัทยังมีเงินสดอยู่ อาจจะเพราะหลังจาก default ตอน 2008-2009 เลยมีการระมัดระวัง และปรับโครงสร้างหนี้มาให้ดีขึ้น โดยหากเทียบตัวเงินสดกับหนี้สินระยะสั้นก็ยัง ไม่แย่ครับ โดนหั่นเครดิตเช่นกันแต่ดีกว่า Boeing หน่อยมาสเต็ปเดียวจาก BBB- ตอนตุลาคม เป็น BB+ ตอนมีนาคม ส่งท้ายด้วยมุมมองเทคนิคอลเจาะลึกเช่นเคย S&P 500 กราฟ month น่าปิดสิ้นเดือนนี้ได้น่าผิดหวัง โดยเหมือนจะยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 เดือนไม่ได้ หากเจาะลึกเป็นรายวันเราจะสังเกตเห็น bullish divergence อ่อนๆ (สัญญาณขัดแย้งระหว่าง indicator กับราคาแสดงให้เห็นถึงการกลับตัว) โดยอาจ rebound ขึ้นมาได้ แต่ยังโดนเส้น MA 50 กับ 200 ที่ดูท่าว่าจะตัดกันลงมากดดันอยู่ โดยอาจเกิด dead cross และส่งตลาดเข้าสู่ขาลงในกรอบเวลารายวันอย่างสมบูรณ์ SET ทรงเดียวกับ S&P 500 เลยครับ ราคาตัวรายเดือนน่าจะปิดตํ่ากว่า MA 200 ทองคำ ปัจจุบันอาจอยู่ที่ wave 3 หากนับ Elliot wave สิ่งที่น่าสนใจก็คือทองอาจจะดันไป 1,900 ได้ใน เวฟ 3 ครับ เพราะดูแท่งเทียนแล้วไม่น่าจะลงมาพักตัวจนกลายเป็น wave 4 บวกกับปัจจัยพื้นฐานสนับสนุนอย่างเรื่องการ default ในช่วงนี้ อันนี้เพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆครับ ราคาตัว ETF Gold ดันนิวไฮไปเป็นที่เรียบแล้วแต่ตัวราคา spot ยังครับ จบกันไปแล้วสำหรับสรุป LIVE ในวันนี้เนื้อหาแน่นจัดเต็มมากครับ ตัวผมเองก็ชอบมากๆ และน่าจะถูกใจทั้งนักลงทุนสายพื้นฐานและเทคนิค อย่าลืมรักษาสุขภาพกันด้วยครับ ส่วนตัวผมขอไปพักก่อน… ขอให้ทุกคนโชคดีครับ แท็ก: Advance Article COVID-19 Knowledge Long Content อสังหาริมทรัพย์ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เลือกหุ้นในวิกฤติ Covid19 - FINNOMENA การลงทุนหุ้นในยามวิกฤติจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ถ้าซื้อหุ้นผิดตัว อันตรายก็มหาศาลจนอาจเป็นหายนะ ซื้อหุ้นถูกตัวและไม่รีบขายแบบเก็งกำไร โอกาสร่ำรวยแบบ “เปลี่ยนชีวิต” ก็เป็นไปได้ แล้ววิธีเลือกหุ้นในยามเกิดวิกฤติโดยเฉพาะในรอบนี้ที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่านั้นควรเป็นอย่างไรบ้าง? 30 มี.ค. 2563 วิกฤติตลาดหุ้นนั้นเป็นทั้ง “วิกฤติ” และ “โอกาส” สำหรับนักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นความจริงที่ว่าโอกาสนั้นมีมากและหลาย ๆ คนก็เคยลงทุนและร่ำรวยมาจากการลงทุนในยามวิกฤติที่ราคาหุ้นตกต่ำลงมาก ซื้อหุ้นและถือยาวจนกระทั่งตลาดฟื้นและราคาหุ้นขึ้นไปมากมายจนทำให้คนถือกลายเป็นเศรษฐี แต่ก็มีไม่น้อยที่ลงทุนซื้อหุ้นในยามวิกฤติแล้วก็ “เจ๊ง” ไปอย่างเงียบ ๆ เพราะหุ้นที่ซื้อนั้นล้มละลายหรือกิจการถูกลดทุนและถูกควบรวมกลายเป็นของเจ้าหนี้หรือคนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเดิม ดังนั้น การลงทุนหุ้นในยามวิกฤติจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ถ้าซื้อหุ้นผิดตัว อันตรายก็มหาศาลจนอาจเป็นหายนะ ซื้อหุ้นถูกตัวและไม่รีบขายแบบเก็งกำไร โอกาสร่ำรวยแบบ “เปลี่ยนชีวิต” ก็เป็นไปได้ วิธีเลือกหุ้นในยามเกิดวิกฤติโดยเฉพาะในรอบนี้ที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าซึ่งทำให้ผู้คนต้องหยุดหรือเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างมากในระยะเวลาอันสั้นนั้น ผมคิดว่าเราควรจะแบ่งหุ้นทั้งตลาดออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ที่ถูกไวรัสกระทบและดูว่าเมื่อทุกอย่างสงบลงแล้วมันจะเป็นอย่างไร ประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะเน้นมากก็คือ วิกฤติ Covid19 ครั้งนี้มีความแตกต่างจากวิกฤติครั้งก่อน ๆ ที่มักจะเป็นเรื่องของการเงินอย่างมีนัยสำคัญก็คือ มันเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไปในทิศทางที่บางทีมันก็เปลี่ยนอยู่แล้วเพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยเฉพาะทางดิจิตอล แต่วิกฤติทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นเร็วขึ้นมากเพียงแค่ชั่ว “ข้ามคืน” แทนที่จะใช้เวลาเป็น “ปี ๆ หรือสิบ ๆ ปี” หรือพูดง่าย ๆ Disruption หรือการทำลายล้างธุรกิจนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิดมาก ซึ่งนั่นหมายความว่า ความตกต่ำของธุรกิจบางอย่างในช่วงเวลานี้เนื่องจากผลของวิกฤติโควิด19นั้น เมื่อวิกฤติผ่านพ้นไป ธุรกิจอาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป รายได้และกำไรหลังวิกฤติอาจจะไม่กลับมาเท่าเดิมก่อนวิกฤติ ทุกอย่างอาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และนั่นก็หมายความว่าหุ้นตัวนั้นก็จะไม่ดีเหมือนเดิม หุ้นกลุ่มแรกที่ผมคิดว่าน่าสนใจและถ้าราคาหุ้นลดลงมากจากราคาก่อนวิกฤติก็คือหุ้นที่เป็น “Survivor” หรือ “ผู้อยู่รอด” ที่มีความแข็งแกร่ง เป็นผู้นำ และปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในช่วงวิกฤตินี้ได้ หลังจากวิกฤติผ่านไป กิจการจะแข็งแรงเหมือนเดิมหรือแข็งแรงขึ้น พวกเขาจะเติบโตขึ้นอานิสงส์ส่วนหนึ่งจากการล้มหายตายจากหรือพิการจากผลของโควิด19 ของคู่แข่ง การซื้อหุ้นเหล่านี้ในยามที่หุ้นตกลงมาแรงมากแล้วถือไว้ต่อไปยาวนานจะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องยาวนานเป็นซุปเปอร์สต็อกได้ หุ้นในกลุ่มนี้โดยธรรมชาติไม่ควรเป็นหุ้นที่อยู่ในกลุ่มที่จะถูก Disrupt อย่างง่าย ๆ เนื่องจากเหตุผลที่ว่าผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ของมันเป็นสิ่งที่จำเป็นและเทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้ มันควรจะเป็นผู้ผลิตหรือให้บริการที่มีต้นทุนต่ำที่สุดเนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่มากเทียบกับคู่แข่ง นอกจากนั้น มันจะต้องมีความสามารถและศักยภาพที่จะกระจายสินค้าและบริการด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับราคาของสินค้า หรือพูดง่าย ๆ มันไม่ถูก Disrupt ในแง่ของสินค้าและในด้านของช่องทางการค้าโดยเฉพาะ E-Commerce เพราะมันสามารถปรับตัวเองให้สามารถค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพในยามที่ทุกคนต่างก็จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบนี้อย่างไม่มีทางเลือกในช่วงไวรัสระบาด เหตุผลก็เพราะ เมื่อทุกคนเริ่มคุ้นเคยกับระบบนี้เพราะความจำเป็นแล้ว เขาก็อาจจะไม่อยากกลับไปสู่ระบบเดิมที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า สำหรับผมแล้ว ผมจะมองดูว่าบริษัทหรือหุ้นตัวไหนสามารถปรับตัวได้ดี เพราะนี่จะเป็นหุ้นที่จะกลับมา “ดีเหมือนเดิมหรือดียิ่งขึ้นไปอีกหลังวิกฤติ” หุ้นกลุ่มที่สองก็คือหุ้นที่ยังเอาตัวรอดได้หลังวิกฤติแต่จะไม่กลับมาดีเหมือนเดิมหรือแข็งแกร่งเหมือนเดิม เหตุผลก็คือ มันอาจจะเป็นกิจการที่แข็งแกร่งแต่เนื่องจากภาระเช่นหนี้ที่สูงเกินไปซึ่งทำให้มันอ่อนแอเกินกว่าที่จะสามารถปรับตัวในยามที่ยากลำบากและเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของลูกค้าหรือผู้คนที่ทำให้กิจการหรือผลประกอบการถดถอยอย่างรุนแรง ผลก็คือ ในยามที่คนหยุดหรือเลิกหรือลดการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทในช่วงวิกฤติ เขาอาจจะหันไปหาสิ่งทดแทนที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า และเมื่อเหตุการณ์เรื่องไวรัสผ่านไป เขาก็ติดกับพฤติกรรมนั้นและไม่กลับมาใช้ของเดิมอีกต่อไปหรือใช้น้อยลง ผลก็คือ ยอดขายและกำไรของกิจการลดน้อยลงอย่างถาวรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติ ตัวอย่างที่ผมคิดก็คือเรื่องของร้านค้าปลีกและห้างสรรพสินค้าทั้งหลายที่อาจจะต้องเหนื่อยหนักถ้าคนที่หันไปใช้บริการ E-Commerce กันมากมายที่อาจจะไม่กลับมาซื้อของที่ห้างเหมือนเดิมเมื่อวิกฤติผ่านไป เป็นต้น สุดท้ายก็คือหุ้นที่ “ไม่รอด” จากวิกฤติ มันอาจจะไม่ล้มละลายก็ได้แต่ความสามารถในการดำเนินธุรกิจภายหลังวิกฤติจะถดถอยลงไปมาก ธุรกิจถูก Disrupt ท่ามกลางภาวะวิกฤติ ในที่สุดธุรกิจก็จะค่อย ๆ ตายหรือแทบจะหมดค่ากลายเป็น “ตะวันตกดิน” ในที่สุด วิธีที่จะมองหุ้นในกลุ่มนี้นั้น นอกจากดูว่ามันถูกกระทบมากน้อยแค่ไหน ถ้ามากสุด ๆ เช่น อยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยวและมีการแข่งขันหนักมากในธุรกิจ เช่น การบินและอาจจะรวมถึงโรงแรม แบบนี้ก็ต้องถือว่ามีโอกาสที่จะ “ไม่รอด” ถ้าบริษัทมีหนี้สินมหาศาลและเป็นหนี้ที่จะต้องใช้คืนในเวลาอันสั้น ในกรณีแบบนี้ ถ้าเราซื้อหุ้นแล้วเรื่องของโควิด19ไม่จบลงรวดเร็ว ก็จะเป็นอันตรายมาก นอกจากนั้น ถึงแม้ว่าวิกฤติจะผ่านไปและบริษัทยังอยู่รอดได้แต่ก็เป็นไปได้ว่าธุรกิจอาจจะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกต่อไปเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนที่อาจจะลดการเดินทางหรือใช้บริการที่ Disrupt บริการเดิม เช่น ใช้แอร์บีเอ็นบี หรือใช้วิดีโอคอนเฟอเร้นซ์ผ่านอินเตอร์เน็ตแทนการประชุมเป็นต้น เมื่อแบ่งกลุ่มได้แล้วว่าบริษัทน่าจะอยู่กลุ่มไหนใน 3 กลุ่ม สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อมาก็คือ ราคาหุ้นที่จะสะท้อนคุณภาพของกิจการ โดยราคาหุ้นนั้น นอกจากจะดูโดยเปรียบเทียบกับราคาที่เป็นก่อนวิกฤติแล้ว ควรจะดูด้วยว่ามันถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับคุณสมบัติของหุ้นที่จะเป็นหลังจากวิกฤติด้วย แน่นอนว่าถ้าหุ้นตกลงมามาก โอกาสที่จะซื้อหุ้นถูกก็มีมากขึ้น โอกาสที่จะขาดทุนก็มีน้อยลง และสำหรับคนที่ชอบเล่นเก็งกำไรก็อาจจะทำกำไรได้มากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นนั้น ถ้าตกลงมามากแต่คิดค่า PE หรือตัวเลขอื่น ๆ ก็ยังสูงหรือแพงมาก แบบนี้ก็มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะถ้ามันไม่ใช่หุ้นในกลุ่มที่หนึ่งที่เมื่อวิกฤติผ่านไปมันก็จะกลับมาเหมือนเดิมหรือดีขึ้นไปอีก อย่าลืมว่าหุ้นที่ PE สูงมากนั้น บ่อยครั้งเกิดจากภาวะตลาดหุ้นที่ร้อนแรงซึ่งมักทำให้ “หุ้นเก็งกำไร” มี PE ที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น แต่เมื่อวิกฤติผ่านไป หุ้นก็มักจะเหงาและหุ้นเกือบทั้งตลาดก็มักจะถูก Rerated หรือปรับค่า PE ลงมาสู่ค่าปกติที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับพื้นฐานของกิจการ มองในแง่ของการลงทุนระยะยาวและเป็นแบบ VI แล้ว ผมคิดว่าการลงทุนในภาวะวิกฤตินั้น ผมจะเลือกลงทุนเฉพาะในหุ้นกลุ่มหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ มันจะต้องเป็นหุ้นที่ปลอดภัยในแง่ของสถานะทางการเงินที่จะต้อง “ไม่เจ๊ง” ก่อนที่วิกฤติจะจบ ธุรกิจจะต้องกลับมาได้เท่าเดิมหรือดีกว่าเดิมหลังวิกฤติซึ่งมันก็มักจะเป็นกิจการที่แข็งแรงและโดดเด่นก่อนวิกฤติและมีผู้บริหารที่มีฝีมือและถ้าเคยผ่านวิกฤติมาได้หลายครั้งก็ยิ่งดี นอกจากนั้น มันก็ไม่ควรจะเจ็บหนักเกินไปเช่น “อยู่ในศูนย์กลางของพายุ” ซึ่งอาจจะทำให้ “ตาย” ได้ ไม่ว่าจะแน่แค่ไหน นี่ก็เพราะผมเคยอยู่ในธุรกิจเงินทุนสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งที่บริษัทเงินทุนต้องเจ๊งกันเกือบหมดไม่ว่าจะดีเด่นแค่ไหนก็ตาม สุดท้ายแล้วผมก็ยังคิดว่าการลงทุนไม่ว่าในสถานการณ์ไหน ทุกอย่างก็ต้องมีข้อยกเว้น และก็ต้องเป็นเรื่องของศิลปะที่ต้องมีการประเมินว่าหุ้นตัวไหนคุ้มค่ามี Margin of Safety พอ การกระจายความเสี่ยงถือหุ้นหลาย ๆ ตัวเป็นเรื่องจำเป็นเพราะความผิดพลาดโดยเฉพาะในช่วงภาวะวิกฤตินั้นมีสูงกว่าปกติ หลังจากคิดและวิเคราะห์ทุกอย่างแล้ว สิ่งสุดท้ายที่สำคัญและมักจะแยกแยะระหว่างนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงกับนักลงทุนธรรมดาก็คือ การตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวและมั่นคงในช่วงเวลาที่เหมาะสมและไม่วอกแวกต่อสถานการณ์ที่ตามมาในช่วงสั้น ๆ ที่มักจะทำลายการตัดสินใจนั้น ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/03/30/2295 แท็ก: Advance Article COVID-19 Knowledge Short Content หุ้น โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE สรุปการปิดกองทุนและอัปเดตสถานการณ์โควิด-19 - FINNOMENA สรุป LIVE ประจำวันกลับมาอีกครั้ง โดยในวันนี้เนื้อหาหลักจะเป็นเรื่องการปิดกองทุนอย่าง TMBUSB และ TMBAF รวมถึงอัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจไทย และสถานการณ์โควิด-19 โดยรวม พร้อมแล้วอ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ 8 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE ประจำวันกลับมาอีกครั้ง โดยในวันนี้เนื้อหาหลักจะเป็นเรื่องการปิดกองทุนอย่าง TMBUSB และ TMBABF รวมถึงอัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจไทย และสถานการณ์โควิด-19 โดยรวม พร้อมแล้วอ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ ทำไม TMBUSB และ TMBABF ถึงมีการปิดตัวลง ก่อนอื่นต้องแจกแจงก่อนว่า กองทุนทั้งสองกองนี้ลงทุนในตราสารหนี้ที่เป็นเกรดลงทุนขึ้นไป (Investment grade) เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ธนาคารเกียรตินาคิน หุ้นกู้ทรูมูฟ เอช และมีการลงทุนในเงินฝากต่างประเทศ เช่น ธนาคารรัฐวิสาหกิจจีน ธนาคาร Abu Dhabi (เจ้าของ Manchester City) ซึ่งตัวเงินฝากจะมีวันครบกำหนดอายุฝาก (นึกภาพง่ายๆเหมือนกับเราเปิดบัญชีฝากประจำกับธนาคารในบ้านเรานี่แหละครับ ต้องทำตามเงื่อนไข) ซึ่งจากเงื่อนไขการกำหนดอายุนี่เองทำให้สภาพคล่องตํ่า (จะขายทีก็เสียดอกเบี้ย เพราะ เราละเมิดกฎการฝากของเขา) โดยการลงทุนในส่วนนี้มีสัดส่วนถึง 22.23% ของพอร์ตการลงทุนในกอง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทั้ง TMBUSB และ TMBABF จึงต้องปิดตัวลง เพราะ หากทางผู้จัดการกองทุนรีบขายการลงทุนในส่วนนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ว่าอาจจะหายไป ทำให้ผลตอบแทนกองทุนนั้นยํ่าแย่ยิ่งกว่าเดิม และอาจทำให้นักลงทุนตื่นตระหนกมากกว่าเดิม และเทขายรุนแรงขึ้นไปอีก โดยที่ผ่านมาภายในระยะเวลาเพียง 7 วัน กองทุน TMBUSB ถูกเทขายอย่าวหนักหน่วงจนทำให้มูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทุนจากราวๆ 80,000 ล้านบาท เหลือเพียง 30,000 ราวๆล้านบาท จึงอาจทำให้ผู้จัดการกองทุนจำเป็นต้องขายตราสารหนี้ที่อยู่ในกองเพื่อแลกกับสภาพคล่อง ส่วนตัว TMBABF ก็ถูกเทขายอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยมูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือราวๆ 38,000 ล้านบาท ในส่วนนี้อาจไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องความรวดเร็วในการขาย ต้องขออภัยด้วยครับ เนื่องจากตัวกองทุนได้ปิดตัวไปแล้ว เงินลงทุนของนักลงทุนทุกท่านที่จะได้คืนหายไปเยอะไหม? จากการวิเคราะห์เบื้องต้น เป็นการขาดทุนแต่ไม่เยอะครับ เพราะ ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ตํ่าในทั้งสองกอง (ไม่ได้เป็นการล้มละลายหรือหนี้สูญ) โดยทาง ผจก. กองทุนมีหน้าที่ค่อยๆขายสินทรัพย์ออกไป หลังจาก ผจก. มองว่าการปิดกองทุนนั้นเป็นผลดีมากกว่าการดำเนินการต่อไป เพราะ หากเปิดต่อไปคนอาจจะตกใจแห่เทขายไปเรื่อย จนอาจทำให้ผู้ที่ขายหน่วยลงทุนช้าได้ผลตอบแทนที่ยํ่าแย่มากกว่าเดิม ซึ่งการปิดกองและค่อยๆขายในครั้งนี้ ทาง ผจก. กองทุนอาจมองว่าเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับนักลงทุนทุกท่านครับ แล้วผู้ที่ลงทุนในกองทุนที่ว่าจะได้รับเงินคืนเมื่อไร? อธิบายเงื่อนไขคร่าวๆกันก่อนครับ T คือ วันที่มีการยุติการซื้อขาย โดย T+5 คือระยะเวลาที่ทาง ผจก. กองทุนจะเริ่มทยอยขายตราสารหนี้ต่างๆเท่าที่ทำได้ ในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งหากบวกคร่าวๆจากวันทำการของแบงค์ชาติน่าจะได้รับเงินแถวๆก่อนสงกรานต์ แต่ต้องรอทาง TMB Eastspring ยืนยันอีกทีครับ โดยทาง กลต. มีข้อกำหนดว่าต้องขายและชำระคืนเงินงวดแรกภายใน 10 วันทำการ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของนักลงทุนด้วย เช่น การขายการลงทุนในเงินฝากประจำ ที่อาจทำให้นักลงทุนสูญเสียผลตอบแทนอย่างดอกเบี้ยเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ตามหนังสือชี้ชวนการลงทุนภายใน 90 วันทางกองทุนต้องจัดการขายทรัพย์สินให้หมด แต่อาจมีการขอผ่อนผันได้เพิ่มเติมจาก ผจก. กองทุน คำถามต่อไปก็คือหากมีการยืดเยื้อเกิน 90 วัน จะได้ครบทันทีทั้งหมด 100% หรือไม่ คำตอบก็คืออาจจะไม่ครับ เพราะ ทาง บลจ. สามารถยื่นผ่อนผันเพิ่มเติมได้ ถ้าเกิดเห็นว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของนักลงทุน อาธิเช่น เงินฝากประจำถืออีก 2 เดือนได้ดอกเบี้ยตามกำหนด ก็อาจจะยืดเยื้อได้ มุมมองส่วนตัวของคุณเจ็ทแนะนำว่าอย่าไปปักหมุดว่า 90 วันต้องได้คืนแน่นอน โดยทางเราจะมีการอัปเดตข้อมูลเรื่อยๆให้นักลงทุนทุกท่านทราบครับ หากสงสัยว่าจะคำนวณราคายังไง? ได้คืนเท่าไร? ผมได้เตรียมข้อมูลเบื้องต้นมาให้ทุกคนตามภาพด้านล่างแล้วครับ ข้อมูลภาพจากประกาศกองทุนเว็บไซต์ TMBAMeastspring.com โดยนักลงทุนทุกท่านสามารถนำมูลค่าหน่วยลงทุนข้างต้น มาคูณกับจำนวนหน่วยลงทุนที่คุณมีตอนนี้ ก็จะได้จำนวนเงินคร่าวๆที่คุณจะได้คืนครับ อย่างไรก็ตามรออัพเดทจากทางทีมงาน FINNOMENA อีกทีนะครับ นี่เป็นเพียงสรุป LIVE จากวันพฤหัสกฎเกณฑ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ครับ ขอให้ทุกคนเข้าใจคร่าวๆตามสรุปด้านบนกันไปก่อน ทั้งนี้และทั้งนั้นผมขอแสดงความเสียใจกับนักลงทุนทุกท่านด้วยครับ เจอเรื่องเครียดๆกันไปแล้ว ต่อไปเรามาเสริมความรู้ด้านการลงทุนกันดีกว่าครับ เช่นเคย… เรามาอัปเดตสถานการณ์การลงทุนประจำวันกันก่อน (26 มีนาคม 2563) ทางกนง. ประกาศที่จะไม่ลดดอกเบี้ย และเก็บกระสุนไว้ โดยมุมมองส่วนตัวผมมองว่าค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่อ่อนขึ้น รวมถึงได้มีมาตรการเข้าช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาลลดความผันผวนของราคาแล้วเช่นกัน รวมถึงภาคธุรกิจที่ยังชะลอตัว จึงอาจทำให้ทาง กนง. ยังตัดสินใจไม่ลดดอกเบี้ยและรอดูสถานการณ์ไปก่อน ทางแบงค์ชาติมีการประมาณการ GDP -5.3% ซึ่งมากกว่าครั้งวิกฤติ Subprime Ben Bernanke อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ ได้ออกมาให้มุมมองว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะฟื้นตัวได้ภายในครึ่งปีหลัง แม้จะกำลังเผชิญหน้าการถดถอยจากโควิด-19 โดยอาจมองว่าพอมีวัคซีนออกมา คนก็มีความมั่นใจมากขึ้น และกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันเช่นเดิม ประวัติศาสตร์ตราสารหนี้อเมริกาผลิกโผหลังผลตอบแทนตราสารหนี้อเมริกาติดลบ ซึ่งเกิดจากทำ QE แบบชุดใหญ่ของ Fed นั่นเอง เช็คการเทขายตราสารหนี้ในไทยผ่านดัชนี ThaiBMA Composite Bond Index หลายคนอาจสงสัยว่าดัชนีตัวนี้คืออะไร ดัชนีตัวนี้ก็คือการรวมพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจนถึงยาว และตราสารหนี้ภาคเอกชนทั้งหมดเอาไว้ด้วยกันออกมาเป็นตัวชี้วัดราคาดังภาพ โดยปัจจุบันนั้นติดลบที่ประมาณ -4.5% ซึ่งมีสาเหตุส่วนนึงมาจากการที่กองทุนตราสารหนี้ในประเทศถูกเทขายนั่นเอง ต่อมาเรามาอัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจและมุมมองตลาดในช่วงนี้กันสักหน่อย ประมาณการเศรษฐกิจจากทางแบงค์ชาติของไทยเรา แบงค์ชาติประมาณเศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัว 5.3% ปีโดยมีการประมาณการปีหน้าว่าจะฟื้น 3% เงินเฟ้อปีนี้ติดลบ -0.1% หรือเป็นเงินฝืดนั่นเอง หลักๆมาจากการส่งออก สินค้าบริการ ที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การติด -5.3% เกิดจากอะไร? เกิดจากการที่เศรษฐกิจโลกถดถอยจากโควิด-19 การระบาดในไทยมีการคาดการณ์ว่าจะควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 ซึ่งไทยเรายังเหลือมาตรการทางการคลังที่ยังไม่ได้ใช้ออกมาอยู่ และสมควรอย่างยิ่งที่จะรีบปล่อยของออกมาให้ทันท่วงทีครับ ซึ่งถ้าจะถามว่าตอนนี้มีไหม? ก็มีครับแต่เป็นเชิงเยียวยาเสียมากกว่า ไม่ได้กระตุ้นเท่าที่ควร เช่น การเลื่อนการจ่ายภาษี แต่หากจะมีการทำอย่างจริงจังแล้วไทยเรายังทำได้อีกมาก จากหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงที่ระดับ 50% ของ GDP ถ้าทำออกมาก็ถือว่าไม่เกินตัวครับทำได้และควรทำอย่างยิ่ง จำนวนนักท่องเที่ยวในไทยลดลงเรื่อยๆจากโควิด-19 เส้นสีแดงคือตัวเลขนักท่องเที่ยวในปีนี้ (รายวัน) โดยจะสังเกตได้ว่ามีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่จีนประกาศให้บริษัทท่องเที่ยวหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่มีโควิด-19 เข้ามากดดัน (เริ่มจากเส้นประแนวตั้งนะครับ) ค่าเงินบาท สาเหตุที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงนั้น มีสาเหตุหลักมาจากการที่นักท่องเที่ยวลดลง การส่งออกที่ลดลง รวมถึงการถอนทุนของนักลงทุนออกจากตลาดหุ้นไทย ทำให้เงินบาทอ่อนค่าดังที่เห็นในกราฟข้างต้นครับ แจกแจงกองทุนทองคำที่เราได้แนะนำนักลงทุนทุกท่านไป ถือว่าประสบความสำเร็จเลยทีเดียวสำหรับกองทุน SCBGOLD (เดี๋ยวผมมีปล่อยรีวิวออกมาเร็วๆนี้ด้วยนะครับติดตามกันได้) โดยก่อหน้านั้ทางเราได้มีการแนะนำให้ลงทุนทองแบบไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน จากภาพจะสังเกตได้ว่าผลตอบแทนต่างกันมากๆ ในด้านของราคามีการลดลงมาก่อนหน้าจากการที่นักลงทุนขายสินทรัพย์ เพื่อถือเงินสดมาใช้ก่อนยามวิกฤติ แต่อย่างไรก็ตามตอนนี้ราคากลับมาได้แล้วหลังจาก Fed อัด QE ชุดใหญ่เสริมสภาพคล่อง เพิ่มเงินในมือให้คนในระบบ ดังนั้นราคาทองจึงกลับมาได้ดังที่เห็น ดังนั้นเงินในตอนนี้จึงไหลไปหาสิ่งที่มีความเสี่ยงตํ่าหรือ Safe Heaven อย่างทองคำ อีกเหตุนึงก็คือการส่งทองคำแท่งตอนนี้ทำได้ยาก ด้วยมาตรการ work from home ณ ปัจจุบัน อาจทำให้ไม่มีคนขนส่งทองคำที่เป็นตัวจริงๆ คนเลยอาจเข้ามาไหลลงทุนในตลาดฟิวเจอร์แทนก็เป็นได้ อีกปัจจัยหนึ่งก็คือเหมืองทองขนาดใหญ่ใน Switzerland ได้ทำการปิดเหมืองจึงอาจทำให้ supply ของทองคำลดลงไปอีก แต่ด้วยความต้องการทองคำที่ยังมากอยู่ทำให้ราคาเพิ่มอย่างรุนแรง ดังนั้นสรุปได้ว่า supply น้อยลง demand มากขึ้น ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างมาก อัพเดทสถานการณ์โควิดและวัคซีน จำนวนผู้ติดเชื้อในหลายๆประเทศเริ่มลดลง โดยต้องเริ่มเป็นทรงระฆังควํ่าก่อนถึงเป็นสัญญาณที่ดีครับ ความคืบหน้าล่าสุดในเรื่องของวัคซีน จากภาพจะเห็นได้ว่าขั้นตอนการดำเนินการในเรื่องของวัคซีนจะเป็นดังนี้ 1) ค้นพบ 2) เริ่มทดลองในสัตว์ 3) ทดลองในคนที่เป็นอาสาสมัครสุขภาพดีและผู้ป่วยที่มีอาการหนักประมาณ 100 ราย 4) ทดสอบกับคน 1,000-10,00 ราย ว่ามีอาการแพ้หรือไม่ 5) อนุญาติจดสิทธิบัตร ปัจจุบันการทดลองยารักษาพัฒนาไปถึงไหนแล้ว บริษัทอย่าง Roche Holding AG (Switzerland) และ Gilead Science Inc. ได้เริ่มทำการทดลองยารักษาเบื้องต้น (ยังไม่ได้ถึงขั้นที่เป็นวัคซีน) โดยในส่วนของวัคซีนนั้นอาจจะมีระยะเวลาอีกราวๆ 1 ปีกว่าจะพัฒนาออกมาได้ และคาดว่าทางจีนอาจเป็นที่แรกที่สามารถพัฒนาได้ในอีก 4-6 เดือนข้างหน้าซึ่ง ณ ตอนนี้หลายๆประเทศทั่วโลกอย่างเร่งพัฒนาออกอยู่ อาจจะเป็นในเรื่องของการแข่งขันด้วย เพราะ หากผลิตออกมาได้จะสามารถนำมาขายทำกำไรได้มากมาย อัพเดทสงครามเดือดหั่นราคานํ้ามัน ราคานํ้ามันยังอยู่ในระดับตํ่าอยู่ โดยทำจุดตํ่าสุดในรอบ 30 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผลมาจากการที่ supply การผลิตมากกว่า demand ดังภาพเป็นผลมาจากการผลิตเพิ่ม จึงส่งผลให้ราคาลดลงเนื่องจากว่าปริมาณล้นตลาด โดยมีผลมาจากสงครามหั่นราคานํ้ามันระหว่างรัสเซียและซาอุดิอาระเบียนั่นเองครับ รัสเซียมีไพ่ที่เหนือกว่าซาอุดิอาระเบียอย่างค่าเงิน ทางรัสเซียได้มีการกดค่าเงินตัวเองให้อ่อนลง เพื่อให้ส่งออกนํ้ามันได้มากขึ้น (ราคาถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ) โดยอาจนำกำไรในส่วนนี้มาชดเชยส่วนที่ค่าเงินอ่อน หลักๆก็คือทางรัสเซียใช้ความยืดหยุ่นของค่าเงินเข้าสู้นั่นเอง ผลพวงลูกโซ่กระทบมาถึงตลาดตราสารหนี้พลังงานเกรดตํ่า ส่วนต่างความเสี่ยงตราสารหนี้ภาคเอกชน ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 10% เทียบกับกับ subprime ที่ 16% โดยส่วนต่างที่สูงขึ้นแปลว่ายิ่งเสี่ยงมากขึ้น และหากถึงเลข 10 ที่เรียกได้ว่าเป็น magic number โอกาสเจ๊งจะสูงมากครับ ทั้งหมดก็เป็นสรุปของ LIVE วันพฤหัสครับ หวังว่าทุกคนจะได้คลายข้อสงสัยกันนะครับ รักษาสุขภาพกันด้วย ขอให้ทุกคนโชคดีครับ แท็ก: Advance Article COVID-19 Long Content Product Recommend กองทุนตราสารหนี้ โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป LIVE รวมมุมมองนักวิเคราะห์ต่อตลาดหุ้นในตอนนี้ - FINNOMENA สรุป LIVE ประจำวันกลับมาแล้ว! วันนี้ได้คุณ มาร์ช (ฺBuffettcode) และ คุณเพชร รตะ มาให้ข้อมูลแบบวิเคราะห์เจาะลึกในมุมมองการลงทุนเชิงพื้นฐาน ถึง sector ที่น่าลงทุนในช่วงวิกฤติ รวมถึงสถานการณ์หุ้น ณ ปัจจุบัน ที่เรียกได้ว่า "สายพื้นฐาน" พลาดไม่ได้เลยทีเดียว จะเป็นอย่างไรนั้นคลิกเข้าไปอ่านพร้อมๆกันได้เลยครับ! 26 มี.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุป LIVE ประจำวันกลับมาแล้ว! วันนี้ได้คุณ มาร์ช (ฺBuffettcode) และ คุณเพชร รตะ มาให้ข้อมูลแบบวิเคราะห์เจาะลึกในมุมมองการลงทุนเชิงพื้นฐาน ถึง sector ที่น่าลงทุนในช่วงวิกฤติ รวมถึงสถานการณ์หุ้น ณ ปัจจุบัน ที่เรียกได้ว่า “สายพื้นฐาน” พลาดไม่ได้เลยทีเดียว จะเป็นอย่างไรนั้นคลิกเข้าไปอ่านพร้อมๆกันได้เลยครับ! สรุปมุมมองนักวิเคราะห์ต่อตลาดหุ้นในตอนนี้ ผมไป LIVE ที่ Finnomena เมื่อวันพุธที่ 25 ที่ผ่านมา เนื่องจากเวลาค่อนข้างจำกัดทำให้ผมอาจจะตกหล่นรายละเอียดไป อยากสรุปข้อมูลที่รวบรวมมา ภาพรวมและมุมมอง รวมไปถึงจุดที่ผมคาดว่าน่าจะเป็นจุดที่เหมาะกับการเข้าซื้อหุ้นลงทุนได้ไว้ตรงนี้ครับ มุมมองอาจะเปลี่ยนแปลงได้หากสถานการณ์มากการเปลี่ยนแปลงนะครับ 1.วิกฤตครั้งนี้หนักแค่ไหน? วิกฤตครั้งนี้หนักเท่ากับ Subprime + 9/11 รวมกัน (ขอยืมไอเดีย CEO Marriott หน่อยนะครับ ผมเขียนสรุปสัทภาษณ์ไว้ใน COVID-19 ทำ Marriott รายได้หาย 90% หุ้นตก 55% ลดเงินเดือนผู้บริหาร 50%) ผมว่าเขาก็ไม่ได้พูดหนักเกินไป เพราะรอบนี้วิกฤตกระทบทุก Sector และกระทบตัวเศรษฐกิจจริงๆด้วยไม่ใช่แค่ส่วนของธนาคารและอสังหาแบบในปี 2008 ตอนนี้ธุรกิจเล็กๆในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานกว่า 80% ของประเทศรับผลกระทบไปเต็มๆ ซึ่งนักวิเคราะห์ต่างๆก็ได้สรุปตัวเลข Initial Jobless Claim หรือพูดง่ายๆคือจำนวนคนตกงานนั่นแหละ ในอาทิตย์นี้ตัวเลขจะออกมา 1-2 ล้านคน เป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่ปี 1982 Goldman Sachs คาดคนจะตกงานกว่า 2 ล้านคน ทะลุกราฟและจุดสูงสุดที่เคยทำไว้แถว 650,000 2.หุ้นตอนนี้ถูกหรือยัง? หุ้นตอนนี้ “ถูกกว่า” หลายๆปีที่ผ่านมา ต่างชาติเองก็ขายมาเยอะมาแล้ว ถ้านับวอลุ่มการขาย 3 ปี คือขายไปแล้วประมาณ 460,000 ลบ. ถ้าคนยังไม่มีเงินลงทุนในหุ้น หรือกองทุนเลย เริ่มทยอยลงทุนได้ครับ แต่ถ้าถามว่าตรงนี้ถูกที่สุดหรือยัง? คิดว่า 60-70% น่าจะยัง เพราะ Impact ทางเศรษฐกิจรอบนี้หนักมาก มีข้อดีนิดหน่อยคือ FED ตอบรับเร็วและแรง ทำให้ดูเหมือนยังเอาอยู่ อย่างไรก็ตามกำไรของหุ้นไทยในไตรมาสา 1 และ 2 ของปีนี้ น่าจะออกมาย่ำแย่มาก ทำให้ SET อาจจะยังปรับตัวลดลงไปได้ถึง 600-700 จุดนะครับ อันนี้น่าจะมีโอกาสประมาณ 20-30% Volume การซื้อขายย้อนหลัง 3 ปี หุ้นตอนนี้จะดูแค่ P/E ต่ำ, P/BV ต่ำ, ปันผลสูงไม่ได้ ตามเหตุผลที่บอกไปแล้วคือถ้าถ้ามันกระทบผลกำไรของหุ้นจริง และถ้าขาดทุนจะส่งผลกระทบไปถึงส่วนทุนติดลบ P/E ต่ำในตอนนี้อาจจะสูงขึ้นเมื่อผลกำไรแย่ๆออกมา P/BV ที่ต่ำก็จะสูงเมื่อบริษัทต้องเผชิญภาวะขาดทุน และแน่นอนกำไรน้อยลง ปันผลก็น้อยลง Dividend Yield ที่สูง (จากผลประกอบการในปี 2019) มาปีนี้จะต่ำลงแน่นอน ถ้าข่าวร้ายยังมาไม่หมด คงคาดว่าตลาดถึงจุดต่ำสุดแล้วไม่ได้ครับ แม้แต่ Sector ที่เคยปลอดภัยสุดอย่างโรงไฟฟ้ายังได้รับผลกระทบ (เพราะโรงงานปิดไม่ใช้ไฟ รฟฟ.ที่ขายไปให้รง.อุตสาหกรรมก็โดนไปด้วย) ประมาณการผลกระทบกับกำไรของโรงไฟฟ้า 3.หุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศอันไหนน่าสนใจกว่ากัน หุ้นต่างประเทศน่าสนใจกว่าในระยะยาว เพราะมีบริษัทดีๆ อย่างเทคโนโลยี บริษัทยักษ์ใหญ่ที่แข็งแกร่ง สถานะทางการเงินเข้มแข็ง รัฐบาลมืออาชีพที่รู้งานช่วยเหลืออย่างเต็มที่ (ถ้าอ่านข้อ 1. จะรู้ว่าวิกฤตครั้งนี้ทำให้ธุรกิจเล็ก-กลางเจ็บหนัก อาจจะมีหลายบริษัทไม่ฟื้นกลับมา บริษัทใหญ่ได้เปรียบมากๆ) หุ้นไทย เรามีท่องเที่ยวเป็นสัดส่วน 15-20% ของ GDP ไหนจะโดนเรื่องสงครามน้ำมันของซาอุ ในระยะสั้นลงหนัก หลังจบปัญหา COVID-19 น่าจะมีการดีดตัวแรงในระยะสั้น แต่ระยะยาวถ้าประเทศไทยยังไม่ปรับตัว ยังไม่มีอุตสาหกรรมใหม่ๆมารองรับ ไหนจะกำลังเข้าสังคมผู้สูงอายุด้วย การจะลงทุนระยะยาวในประเทศดูเสี่ยง กว่าต่างประเทศ การจะฟื้นตัวไปถึง 1800 จุดนั้นท้าทายพอสมควรเลยครับ คหสต. จากข้อมูลที่อ่านๆมา ผมคิดว่า Timing ในการซื้อหุ้นไทยน่าจะอยู่ในช่วงเดือนพค.+- 1-2 เดือน เพราะ COVID-19 น่าจะระบาดถึงจุดพีคในเดือนเมย-พค. นอกจากนั้นในช่วงเดือนพค. เราจะเริ่มเห็นผลกระทบของ COVID-19 ในงบการเงินไตรมาส 1 ของบริษัทต่างๆ นักวิเคราะห์จะเริ่มประเมินได้แม่นยำขึ้นว่ากระทบมากน้อยแค่ไหน ถ้ากระทบมากกว่าที่คิดหุ้นอาจจะลงต่ออีกรอบ แต่ถ้ากระทบน้อยกว่าที่คิดหุ้นอาจจะ Sideway ซักระยะ และเข้าสู่ขาขึ้นเต็มตัวหลังประกาศงบไตรมาส 2 ในช่วงเดือนสค.ก็เป็นไปได้ งบไตรมาส 2 น่าจะเป็นงบช่วงปีที่เลวร้ายที่สุดแล้ว ในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ใหม่ๆเข้ามากระทบเพิ่มเช่น ปัญหาในตลาดตราสารหนี้ หรือเกิดการระบาดของ COVID-19 ซ้ำสองในบางประเทศ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่าช่วงครึ่งหลังของปีน่าจะดีครับ 4.หุ้นกลุ่มไหนน่าสนใจ? ตอนนี้หุ้นแทบทุกกลุ่มโดนปรับประมาณการลดลงหมด นักวิเคราะห์หลายท่านสนใจหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลที่มีรายได้จากต่างชาติน้อยๆและมีรายได้ประกันสังคม เช่น CHG หุ้นสื่อสารที่น่าจะกระทบน้อยที่สุดช่วงนี้คือ ADVANC หุ้นกลุ่มค้าปลีกสินค้าจำเป็นเช่น BJC ก็ยังเอาตัวรอดได้ดีกว่าหุ้นอื่นๆ หรือกองทุนอสังหาฯ ที่น่าจะถูกกระทบหนักไม่นาน 1-2 ปีข้างน่าจะกลับมาจ่ายปันผลในระดับใกล้เคียงของเดิมได้ (อาจจะไม่เท่าเดิม เพราะผมคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ไว้มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมนะครับ … ) พยายามหลีกเลี่ยงหุ้นที่โดนผลกระทบโดยตรงจากการระบาดของ COVID-19 เช่น ธนาคาร, การท่องเที่ยว หรือบางกลุ่มที่มีปัญหาเฉพาะกลุ่มอยู่แล้วเช่น อสังหาหรือน้ำมัน หุ้นที่ถูกผลกระทบโดนนักวิเคราะห์หั่นกำไรและราคาเป้าหมาย อย่างไรก็ตามต้องระวังเพราะตอนนี้คือจุดที่ไม่มีใครรู้ว่าปัญหาส่งผลกระทบมากแค่ไหน ถ้าจะซื้อควรแบ่งสัดส่วนซื้อเป็นรอบๆ พยายามกระจายความเสี่ยง อย่าทุ่มสุดตัวเพราะถ้าปัญหาหนักกว่าที่เป็น อาจจะสูญเสียหนักได้ครับ อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่ต้องทำในวิกฤตตลาดหุ้นคือต้อง “ไม่ตาย” ส่วนผลตอบแทนมันหาเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าเรามีหลักการลงทุนที่ดีพอ 5.สินทรัพย์ที่น่าสนใจ ถ้าเอาความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง กองทุนตลาดเงินที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอย่าง TMBTM หรือ PHATRA MP ส่วนคนที่อยากฉกฉวยโอกาสจากช่วงนี้เพื่อลงทุนระยะยาว 3-5 ปี สามารถทยอยซื้อกองทุนอสังหาฯ กองทุนหุ้นปันผลได้ เพราะปัญหารอบนี้คิดว่าไม่ส่งผลกระทบยาวนาน กระทบพื้นฐานการทำกำไรของหุ้นและกองทุนอสังหาในระยะสั้น หลังจากนี้ 1-2 ปี จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย เพราะเราไม่รู้ว่าตลาดจะตกลงไปมากน้อยแค่นั้น ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เอาเงินทั้งหมดมาลงทุนในครั้งเดียวครับ สินทรัพย์เน้นความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล สุดท้ายผมหวังว่าวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้จะผ่านไปอย่างรวดเร็ว และขอให้ประเทศไทยกลับไปเติบโตแข็งแกร่งเช่นเดิม COVID-19 กลัวอากาศร้อน ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นโอกาสสำหรับกลุ่มท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ก็เป็นได้ครับ (คนเน้นเที่ยวประเทศร้อน ไม่เน้นประเทศอากาศหนาว) ในวิกฤตมีโอกาส ทางสว่างมีอยู่เสมอถ้าเรามีความพยายามมากพอ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ แท็ก: Advance Article COVID-19 Long Content Product Recommend โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป Live รวมกลยุทธ์เข้าซื้อและมุมมองตราสารหนี้ - FINNOMENA กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับสรุป FINNOMENA Live ประจำวัน โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกกับกลยุทธ์การเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆเพื่อช้อนโอกาสในยามวิกฤติเช่นนี้ รวมถึงอธิบายภาพรวมของตราสารหนี้เพิ่มเติมเช่นเคย ถ้าพร้อมแล้วก้อ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ 8 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับสรุป FINNOMENA Live ประจำวัน โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกกับกลยุทธ์การเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆเพื่อช้อนโอกาสในยามวิกฤติเช่นนี้ รวมถึงอธิบายภาพรวมของตราสารหนี้เพิ่มเติมเช่นเคย ถ้าพร้อมแล้วก้อ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ เจาะลึก sector กลุ่มธนาคารไปกับ US Libor OIS Spread US Libor OIS Spread คือส่วนต่างระหว่าง LIBOR (อัตราดอกเบี้ยสากลที่ธนาคารใช้สำหรับการปล่อยกู้ระยะสั้น) กับ OIS (สัญญาเเลกเปลี่ยนการจ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่กับแบบแปรผัน) ดังนั้นถ้า OIS เพิ่มขึ้นมากๆแสดงถึงว่าตลาดเงินมีความตรึงตัวในระยะสั้น เพราะ แสดงให้เห็นถึงการที่ผู้ปล่อยกู้อาจกังวลกับการชำระหนี้ของลูกหนี้ ในช่วง 2 วัน ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับขึ้นถึงเกือบๆ 1% ซึ่งหากส่วนต่างนี้เพิ่มมากขึ้นก็แสดงถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น ซึ่งหากเทียบกับช่วง Lehman Brothers ในช่วงวิกฤติ subprime ตอนแรกตัว spread นั้นอยู่ที่ราวๆ 100 ก่อนจะปรับไปถึง 200 ในช่วงจุดสูงสุดของวิกฤติ ดังนั้นนี่จึงอาจเป็นเหตุผลที่ Fed ทำ QE ต่อเนื่อง เพราะ เห็นถึงสัญญาณที่ไม่สู้ดีนักในจุดนี้ สถานการณ์ตราสารหนี้เกรดลงทุน (Credit rating BBB ขึ้นไป) จากภาพจะเห็นได้ว่าขึ้นมาถึงเกือบๆ 4% แสดงให้เห็นถึงการเทขายของตราหนี้อย่างรุนแรง โดยเป็นช่วงเดียวกับที่ Lehman Brothers ยื่นขอล้มละลายในปี 2008 แต่ในครั้งนี้อาจจะไม่รุนแรงเท่าครั้งที่แล้ว เพราะปัจจุบัน ธนาคารมีทุนเยอะขึ้น มีการควบคุมการใช้ตราสารอนุพันธ์มากขึ้น โดยในครั้งนี้ Fed หรือกระทรวงกลางคลัง อาจจะเข้ามาถือและช่วยสถาบันเหล่านี้เองเลย สถานการณ์ตราสารหนี้เกรดตํ่า (High yield) ตัว spread ขึ้นไป 1,000 basis points หรือที่ราวๆ 9.9% แสดงให้เห็นถึงการเทขายอย่างหนักหน่วงเช่นเดียวกัน หลังจากช่วงที่ผ่านมาจะสังเกตุได้ว่าตัว yield มีการลดลงต่อเนื่องซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเข้าซื้อตราสารหนี้ประเภทนี้อย่างต่อเนื่อง แต่ช่วงนี้มีการเทขายทิ้งรวดเร็วมากจึงทำให้ตัว spread เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ดัชนีรวมตราสารหนี้เอกชนติดลบแสดงให้เห็นถึงการเทขายของตราสารหนี้ โดยในเดือนมีนาคม เดือนเดียวได้ติดลบไปถึง -18% จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กองตราสารหนี้ทั่วโลกให้ผลตอบแทนที่ยํ่าแย่ โดยหากเทียบกับตัวอย่างก่อนหน้าบนหัวข้อ “สถานการณ์ตราสารหนี้เกรดลงทุน” ก็จะสังเกตได้ว่าตัว Yield ที่เพิ่มขึ้นมา 3% จะส่งผลกระทบต่อตราสารหนี้ที่เราถือให้มีราคาลดลง ตัวอย่างเช่น หากเราถือตราสารหนี้ระยะเวลา 5 ปี เราจะขาดทุนถึง 15% เลยทีเดียว อัพเดทมาตรการกระตุ้นล่าสุดของไทย (QE?) จากการที่ spread ปรับตัวดังที่อธิบายไว้เมื่อครู่ จึงมีการอนุญาติให้ธนาพาณิชย์เข้าไปช่วยซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม ในตลาดเงิน ตราสารหนี้ ที่มีคุณภาพดี โดยไม่ได้บังคับและอยู่ที่ดุลพินิจของธนาคาร และหลังจากซื้อหน่วยลงทุนสามารถนำหน่วยลงทุนที่ได้ไปวางเป็นหลักทรัพย์คํ้าประกันกับแบงค์ชาติเพื่อนำเงินมาหมุนเพิ่มสภาพคล่องอีกทีได้ แต่ต้องดูเงื่อนไขด้วยว่ากองนั้นทางแบงค์ชาติรับทำไหม จัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่อง โดยมีวงเงินอยู่ที่ 70,000-100,000 ล้านบาท ทางแบงค์ชาติประกาศรับซื้อ ตราสารหนี้ระยาวเพื่อกด Yield ลง เพราะ ปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่เพียง 0.75% แต่กลับกันตัว yield ของพันธบัตรอยู่ที่ราวๆ 1 % ประมาณการ GDP สหรัฐในอนาคตจาก JP Morgan มีการคาดการณ์ว่า… ไตรมาส 1 จะติดลบที่ -2.4% ไตรมาส 2 จะติดลบที่ -30% ไตรมาส 3 จะกลับมาเป็นบบวกที่29.2% โดยหลังจากดีดตัวกลับมาบวกอย่างรวดเร็วแล้วจะสามารถยืนบวกต่อไปได้ โดยจากสถิติเหตุการณ์ที่ GDP กลับมาบวกได้อย่างรวดเร็ว มักจะเกิดก่อนเศรษฐกิจถึงจุดตํ่าสุด เช็คจุดตํ่าสุดของตลาดหุ้นไปกับ Earning Yield Gap Earning yield gap เกิดจากการนำ ดัชนี S&P 500 (เส้นสีฟ้า) มาจับคู่กับส่วนกลับ P/E ลบอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี (เส้นสีขาว) หรือแสดงว่าคนขายหุ้นทิ้งจำนวนมากไปเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งตอนนี้ขึ้นมาราวๆ 6% โดยใกล้ๆจุดสูงสุดรอบ 50 ปี จุดที่น่าสังเกตก็คือหากโซนแดงๆเกิดขึ้นนั้นหมายถึงว่าตลาดได้ถึงจุดตํ่าสุดแล้ว ก่อนจะออกจากภาวะถดถอย โดยอาจใช้เป็นตัวชี้วัดได้ว่าตลาดหุ้นมาถึงจุดตํ่าสุดแล้วและทยอยเข้าซื้อ ซึ่งหากนำมาจับคู่กับกับการประมาณการ GDP ด้านบนก็จะสอดคล้องกัน โดยตลาดหุ้นน่าจะถึงจุดตํ่าสุดในช่วงกลางๆปี ต่อไปเรามาเช็คสถานการณ์ตลาดกองทุนอสังหาริมทรัพย์กันบ้าง จากภาพจะเห็นได้ว่ามีการเทขายอย่างต่อเนื่องสังเกตได้จาก yield ที่เพิ่มขึ้น โดยในจุดนี้ถือว่าพอทยอยสะสมได้หากต้องการลงทุนยาวๆ โดยปัจจุบันตัว yield นั้นอยู่ใกล้ๆกับช่วงปี 2008 ในเชิงพื้นฐานนั้นอสังหาริมทรัพย์ในส่วนของคลังสินค้า ออฟฟิศให้เช่าจริงๆอาจไม่ได้รับผลกระทบ ยกเว้นตัวของห้างสรรพสินค้า การเทขายในรอบนี้จึงอาจเป็นเพียง การขายอย่างตื่นตระหนก (panic sell) ของตลาด มุมมองเชิงเทคนิคอล ดัชนี S&P 500 จากภาพเป็นการลากเส้น Fibonacci retracement จากราคาจุดตํ่าสุดของวิกฤติ subprime โดยมีระดับ 61.8 กับ 50.0 เป็นแนวรับสำคัญ โดย ณ ปัจจุบันแนวรับที่ 61.8 อาจจะหลุดภายในคืนนี้ โดยเราอาจซื้อทยอยสะสมได้แถวๆระดับ 50 ที่ราคาราวๆ 1,980 โดยอาจจะเป็นจุดที่พักฐานและทำให้ราคากลับขึ้นไปหรือ เป็นเวฟ B สำหรับขาลงนั่นเอง โดยหากคุณเป็นผู้กล้าคุณอาจจะลองเข้าไปเก็บในช่วงที่ตลาดขาลงพักตัวในเวฟ B โดยเวฟนี้อาจ rebound ได้เกือบๆ 20% สำหรับ S&P 500 เทียบกับไทยน่าจะได้ราวๆ 18% แต่เป็น rebound สั้นๆ เพราะในเวฟขาลง A.B,C ยังเหลือเวฟ C ให้ลงต่อจาก B ดัชนี SET Index ทางดัชนี SET Index ไม่ควรหลุดที่ระดับ 32.8 หรือแถวๆราคา 900 โดยประมาณการ wave c ว่าน่าจะจบที่แนวรับระดับ 23.6 หรือี่ราคาประมาณ 739 โดยเวฟ B อาจจะเด้งพักตัวอย่างรุนแรงเพราะ RSI ลงไปลึกมาก ค่าเงินบาท การอ่อนตัวของค่าเงินบาท อาจสอดคล้องกับการที่ต่างชาติเทขาย หุ้นและตราสารหนี้ในไทย โดยอาจไปได้ถึงที่ราคาราวๆ 33.1-33.2 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งอาจจะประจวบเหมาะกับช่วงที่ SET Index เกิดการ rebound ใน wave b พอดี ความสัมพันธ์ระหว่าง VIX index กับ ทองคำ ตัวชี้วัดสำคัญ เข้าทอง รอช้อนหุ้น จากภาพจะสังเกตถได้ว่าหากดัชนี VIX ขึ้น ทองจะลง เพราะ ตอนคนกลัวมากๆคนจะหันมาถือเงินสดแทน แต่เมื่อดัชนี VIX ถึงจุดพีค ราคาทองจะกลับดีดขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นในช่วงที่ VIX ถึงจุดพีคทองอาจจะกลับมาขึ้นอีกครั้ง ทองกับหุ้นอะไรกลับมาได้ก่อนกัน? เวลาตลาดหุ้นมีการเทขายอย่างรุนแรง ทองมักจะลงตามเพราะคนตกใจและขายเพื่อนำเงินสดมาใช้ยามวิกฤติ แต่จากภาพหากมีการกลับตัวแล้ว จะสังเกตุได้ว่าก่อนหุ้นจะถึงจุดตํ่าสุดทองจะปรับตัวขึ้นมาก่อน เสริมนิดนึงครับจากมุมมองส่วนตัวผมเห็นด้วยมากๆ และเราอาจจะใช้เทคนิคในส่วนนี้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดก่อนหุ้นเกิด bottom โดยสังเกตุได้จากราคาทองที่เริ่มปรับตัวขึ้นหลังจากลดลงมา หวังว่าทุกคนจะได้กลยุทธ์และความรู้ไปปรับใช้กันนะครับ ขอไปพักผ่อนก่อนเช่นเคย…. ขอให้ทุกคนโชคดีครับ แท็ก: Advance Article COVID-19 Knowledge Long Content ตราสารหนี้ ทองคำ โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ลงทุนหุ้นท่ามกลางวิกฤติ - FINNOMENA เมื่อหุ้นขึ้น คนที่รออยู่ก็รีบเข้ามาเก็บหุ้นตามทำให้ราคาหุ้นโดยเฉพาะหุ้นที่เป็น “หุ้นเก็งกำไร” ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นอย่างน้อย 10-15% ภายในวันเดียว คำถามสำคัญที่ตามมาก็คือ นี่เป็นเวลาที่หุ้นจะกลับตัวหรือยัง? หุ้นกำลังจะฟื้นจากวิกฤติหรือ? คนที่รอซื้อหุ้นกำลังจะ “ตกรถ” หรือเปล่า? 25 มี.ค. 2563 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปรับตัวขึ้นอย่างแรงจาก 1,044.19 จุดเป็น 1,127.24 จุด ปรับเพิ่มขึ้นถึง 83 จุดหรือเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 8% ในวันเดียว หุ้นขนาดใหญ่หลายตัวปรับขึ้นติดซิลลิ่งที่ 15% ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีข่าวสำคัญมากอะไรที่น่าจะเป็นสาเหตุ จริงอยู่ ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นมาบ้างจากราคาที่ต่ำมากอาจจะเป็นจุดที่ทำให้หุ้นในกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันและปิโตรเคมีดูดีขึ้นแต่นั่นก็ไม่น่าที่จะทำให้ตลาดปรับตัวขึ้นแรงขนาดนั้น สถานการณ์ของไวรัสโควิท19 ของไทยและของโลกเองก็ไม่ได้ดูดีขึ้น ว่าที่จริงโดยเฉพาะในกรณีของประเทศไทยเองนั้น ดูเหมือนว่าเราจะ “แย่ลงมาก” โอกาสที่เราจะต้อง “ปิดเมือง” ดูเหมือนจะสูงขึ้นมาก ถ้าถามผมคิดว่า การปรับตัวขึ้นของดัชนีนั้น น่าจะมาจากแรง “เก็งกำไร” ของนักลงทุนไทยที่อาจจะเห็นว่าดัชนีตลาดหุ้นได้ตกลงมามากจนเป็นวิกฤติ เดี๋ยวก็จะ “เด้ง” ขึ้น ดังนั้น พวกเขาจึงเข้ามาช้อนซื้อหุ้นก่อน เมื่อหุ้นขึ้น คนที่รออยู่ก็รีบเข้ามาเก็บหุ้นตามทำให้ราคาหุ้นโดยเฉพาะหุ้นที่เป็น “หุ้นเก็งกำไร” ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นอย่างน้อย 10-15% ภายในวันเดียว คำถามสำคัญที่ตามมาก็คือ นี่เป็นเวลาที่หุ้นจะกลับตัวหรือยัง? หุ้นกำลังจะฟื้นจากวิกฤติหรือ? คนที่รอซื้อหุ้นกำลังจะ “ตกรถ” หรือเปล่า? ผมเองคิดว่าไม่ นี่อาจจะเป็นสถานการณ์ชั่วคราวที่เรียกว่า “Technical Rebound” ที่หุ้นปรับตัวขึ้นแรงมากหลังจากตกลงมาแรงมาก แต่เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนเลวร้ายลงอีก หุ้นที่ขึ้นไปแรงก็จะตกลงมาและจะต่ำลงกว่าจุดต่ำเดิม คนที่เข้าไปซื้อหุ้นในราคาที่สูงก็จะขาดทุนหนัก ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 นั้น คนเรียกการตกของหุ้นในช่วงปีแรกว่าเป็น “ปีเผาหลอก” และการตกลงมาอีกในปีต่อไปว่าเป็นปี “เผาจริง” เหตุผลที่ให้ก็คือ ปีแรกที่เกิดวิกฤตินั้น อาการยังไม่หนักเท่าปีต่อมา หรือบางทีอาจจะเป็นว่า ปีแรกนั้นคนยังไม่ตระหนักว่าเศรษฐกิจมันจะเลวร้ายขนาดนั้น พอเวลาผ่านไปจึงรู้ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจนั้น หนักกว่าที่คิดไว้ ผลก็คือ ดัชนีหุ้นที่ดีดกลับขึ้นไปนั้น ตกกลับลงมาอย่างแรงจนคนหมดกำลังใจจริง ๆ และการตกลงมารอบหลังนี้ คนเลิกเล่นหุ้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันลดลงไปมาก และนั่นก็คือเวลาที่จะซื้อหุ้นอย่างจริงจังแบบ “ช้า ๆ ไม่ต้องรีบ” ลองมาดูประวัติศาสตร์ดัชนีหุ้นของวิกฤติปี 2540 ดู ในวันสิ้นปี 2538 นั้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 1,281 จุด ในช่วงเวลานั้น คนในแวดวงธุรกิจและวงการเงินต่างก็เริ่มจะรู้แล้วว่าเศรษฐกิจไทยมีปัญหา ค่าเงินเม็กซิโกตกต่ำลงอย่างหนักและมากเป็นประวัติการณ์ บริษัทหลักทรัพย์แบริ่งซึ่งเป็นบริษัทเก่าแก่และยิ่งใหญ่ระดับโลกล้มละลายก่อให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดเงินโลก ที่สำคัญ การส่งออกของไทยกำลังถดถอยลงอานิสงค์จากค่าเงินบาทที่แข็งเกินไปและผูกติดกับเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งทำให้ไทยขาดดุลการค้ามหาศาลในระดับเกือบ 10% ของ GDP สถานะเงินสำรองของประเทศลดต่ำลงจนอยู่ในภาวะอันตราย สถาบันการเงินโดยเฉพาะบริษัทเงินทุนเริ่มมีปัญหา ผลก็คือในช่วงเวลาตลอดปี 2539 ดัชนีลดลงจากจุดสูงสุดที่ประมาณ 1,400 จุดในช่วงไตรมาศแรกของปี เหลือเพียง 832 จุดตอนสิ้นปีหรือลดลงประมาณ 40% กลายเป็นภาวะ “วิกฤติตลาดหุ้น” ในปี 2539 แต่นั่นยังไม่พอ ดัชนียังไหลลงต่อในปี 2540 จนถึงเดือนมิถุนายนก่อนที่จะมีการ “ลอยตัวค่าเงินบาท” ที่ดัชนีตกลงมาเหลือ 527 จุด แต่หลังจากประกาศ คนคงคิดว่าทุกอย่างคงจบแล้ว ราคาหุ้นลงมามากพอแล้ว ดัชนีตกลงมา 62% แล้ว ดังนั้นคนจึงเข้ามาซื้อหุ้นอย่างหนัก ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างแรงในเดือนกรกฎาคมเป็น 666 จุดหรือหุ้นขึ้นไปถึง 26% ภายในเวลาเพียงเดือนเดียว และเมื่อมองย้อนหลัง นี่คือ “Technical Rebound” ในท่ามกลางภาวะวิกฤติ เพราะหลังจากการเด้งขึ้นไป 26% มันก็ตกลงมาต่อจนถึงสิ้นปีดัชนีก็ลดลงมาเหลือเพียง 373 จุด หรือตกลงมาจากจุดสูงสุดที่ 1,400 จุด ถึง 73% และนักลงทุนก็คงคิดว่านี่คงจะเป็น Bottom หรือพื้นจริง ๆ แล้ว ได้เวลาช้อนซื้อหุ้นอีกครั้งหนึ่ง ผลก็คือ หุ้นปรับตัวขึ้นไปอย่างแรง ภายในเวลา 2 เดือนของปี 2541 หุ้นก็ดีดตัวขึ้นไปถึง 528 จุด หรือขึ้นไปกว่า 41% คนอาจจะคิดว่าเมื่อวิกฤติ “ผ่านไป” ทุกอย่างก็คงจะกลับมาเหมือนเดิมในเวลาอันรวดเร็ว อาจจะไม่เกินปีสองปี ดังนั้น หุ้นก็ปรับตัวขึ้นไปก่อน เหนือสิ่งอื่นใด 528 จุดก็ต่ำมากและคิดแล้วก็ยังเป็นการตกลงมาจากยอดที่ 1,400 จุดถึง 62% แต่แล้วนักลงทุนก็คาดผิด การปรับตัวขึ้นของหุ้นถึง 41% ไม่ใช่เพราะวิกฤติกำลังจะผ่านไป ที่จริงวิกฤติมันเพิ่งจะเริ่มส่งผลไปที่ตัวหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายที่กำลัง “ปรับโครงสร้าง” กันอย่างยากลำบาก พวกเขากำลังหาผู้เข้ามาเพิ่มทุนกู้กิจการที่เรียกว่า “Technical Bankrupt” หรือ “เจ๊ง” ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อข้อมูลข่าวสารเริ่มทยอยออกมา พื้นฐานที่แท้จริงของกิจการปรากฏออกมาเรื่อย ๆ ดัชนีหุ้นก็ตกลงมาต่อ ดัชนีไหลลงจาก 528 จุด เหลือเพียง 214 จุด เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม 2541 และเป็นจุดต่ำสุดจริง โดยรวมแล้ว วิกฤติรอบต้มยำกุ้งนั้นลดลงจาก 1,400 จุดช่วงไตรมาศแรกของปี 2539 จนถึงสิงหาคม 2541 เป็นเวลาประมาณ 2 ปี 7 เดือน และดัชนีลดลงประมาณ 85% เป็น หายนะครั้งใหญ่ที่ทำให้ตลาดหุ้นเหงาหงอยและคน “สาปส่ง” การเล่นหุ้นและทำให้ปริมาณการซื้อขายหุ้นเหลือวันละเพียง 2-3,000 ล้านบาท การเล่นหุ้นแบบเก็งกำไรและไม่สนใจพื้นฐานของหุ้นหายไป และการลงทุนแบบ VI ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบ ๆ ยุคใหม่ของการลงทุนเริ่มขึ้นและต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปี วิกฤติโควิด19 เกิดขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดในปี 2019 จากประเทศจีนและขยายไปทั่วโลกส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำลง ซึ่งส่งผลให้การส่งออกซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของไทยลดต่ำลง ในอีกด้านหนึ่ง การท่องเที่ยวของไทยที่เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่ทำรายได้เพิ่มมากที่สุดของไทยและก่อให้เกิดผลิตผลไม่ต่ำกว่า 15% ของ GDP และการจ้างงานเป็นล้าน ๆ คนก็ลดต่ำลงในระดับ “หายนะ” อย่างน้อยน่าจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะกลับมา ทั้งสองอย่างนี้ทำให้ GDP ของไทยคงติดลบในปีนี้ โชคไม่ดี ในช่วงเวลาเดียวกัน สงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียกับรัสเซียทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำลงมากถึงต่ำกว่า 20 เหรียญต่อบาร์เรล นี่ทำให้บริษัทน้ำมันและปิโตรเคมีที่เกี่ยวข้องที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมี Market Cap รวมกันถึงเกือบ 30% ในตลาดหุ้นจะมีกำไรที่ลดลงมากหรือขาดทุน ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดวิกฤติตลาดหุ้นที่รุนแรง ดัชนีหุ้นลดลงอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วัน โดยรวมแล้ว ดัชนีตกลงมาจากต้นปีถึงวันพฤหัสฯ ที่ 19 มีนาคม 63 ถึง 33.9% และคนอาจจะคิดว่ามันตกลงมาพอแล้ว วิกฤติโควิด19 กำลังผ่านไป ราคาน้ำมันก็คงไม่ต่ำอยู่อย่างนั้นตลอดไป เมื่อตกลงกันได้ราคาก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น คนก็เข้ามาซื้อหุ้นดันราคาให้ขึ้นไป แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือ? วิกฤติครั้งนี้ทำให้หุ้นตกลงไปเพียง 33.9% เท่านั้นหรือ? ผมไม่แน่ใจ ว่าที่จริงประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มมีมาตรการอย่างจริงจังในการแก้ปัญหาไวรัสหลังจากจำนวนคนป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในยุโรปและอเมริกาเองก็เพิ่งเริ่มตระหนักว่าไวรัสนี้เป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติที่ต้องทุ่มเทสรรพกำลังในการต่อสู้ไม่น้อยกว่าวิกฤติอื่น ๆ แน่นอนว่าในที่สุดสาเหตุของวิกฤติก็จะต้องผ่านไปและเศรษฐกิจก็จะฟื้นและตลาดหุ้นก็จะปรับตัวขึ้นอย่างแรง แต่มันคือเวลานี้หรือผมยังสงสัย ผมคิดว่ามีโอกาสที่การปรับตัวในช่วงนี้น่าจะเป็น Technical Rebound คล้าย ๆ ช่วงวิกฤติปี 2540 จริงอยู่ ในวิกฤติซับไพร์มในปี 2551 ดูเหมือนว่าหุ้นจะลงมา 50% แบบ “ม้วนเดียวจบ” หลังจากนั้นหุ้นก็ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นอย่างช้า ๆ และเร่งตัวขึ้นทางเดียวใช้เวลาประมาณปีครึ่งก็ขึ้นมาถึงดัชนีเดิมที่ประมาณ 800 จุด ส่งผลให้คนที่ “กล้า” เข้าไปช้อนซื้อในยามที่ตลาดวิกฤติที่สุดร่ำรวยไปตาม ๆ กัน ผมเองคิดว่าวิกฤติโควิด19 นั้น สำหรับประเทศไทยมีความรุนแรงกว่าวิกฤติซับไพร์มซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวกับประเทศไทยโดยตรงมากนักยกเว้นการส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างแรงในระยะเวลาสั้น ๆ ดังนั้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์รอบนี้น่าจะลงแรงกว่าและใช้เวลานานกว่าในการที่จะฟื้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวผมจึงรู้สึกว่า ตลาดอาจจะยังไม่ตกลงถึงจุดต่ำสุด การที่หุ้นเด้งขึ้นแรงจึงอาจจะเป็นเรื่องของการเก็งกำไรและดัชนีหุ้นอาจจะไม่ไปต่อหรือตกกลับลงมาอีกและต่ำกว่าเดิมได้ ดังนั้นคนที่เข้าไปเล่นคงต้องระวังเป็นพิเศษ การเก็งกำไรในยามวิกฤตินั้นผมคิดว่ามีความเสี่ยงมาก การลงทุนในยามนี้โดยคำนึงถึงพื้นฐานและต้องมี Margin of Safety เหลือเฟือเท่านั้นจึงจะปลอดภัย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/03/23/2292 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content การลงทุน ต้มยำกุ้ง ภาวะวิกฤต วิกฤต วิกฤตซับไพรม์ หุ้นไทย โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เจาะลึกตราสารหนี้และหาจุดเข้าซื้อไปกับ COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM - FINNOMENA ในวันที่มืดแปดด้านยามวิกฤติเช่นนี้ หากคุณมองไม่เห็นโอกาส จะดีแค่ไหนกันหากมี indicators ชี้วัด พร้อมเสิร์ฟโอกาสให้คุณเข้าซื้อยามตลาดส่งสัญญาณกลับตัว โดยสรุปในวันนี้เราจะมาเผย COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM ที่พัฒนาโดยทีมงาน FINNOMENA พร้อมกับไขข้อสงสัยแบบเจาะลึกว่าทำไมกองตราสารหนี้ถึงลงในช่วงนี้ รวมถึงบทวิเคราะห์เชิงลึกในเรื่องของสงครามราคานํ้ามัน LIVE ในวันนี้ถือว่าเข้มข้น และผมชอบมากๆเป็นการส่วนตัว หากพร้อมแล้วอ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ! 8 เม.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ในวันที่มืดแปดด้านยามวิกฤติเช่นนี้ หากคุณมองไม่เห็นโอกาส จะดีแค่ไหนกันหากมี indicators ชี้วัด พร้อมเสิร์ฟโอกาสให้คุณเข้าซื้อยามตลาดส่งสัญญาณกลับตัว โดยสรุปในวันนี้เราจะมาเผย COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM ที่พัฒนาโดยทีมงาน FINNOMENA พร้อมกับไขข้อสงสัยแบบเจาะลึกว่าทำไมกองตราสารหนี้ถึงลงในช่วงนี้ รวมถึงบทวิเคราะห์เชิงลึกในเรื่องของสงครามราคานํ้ามัน โดย LIVE ในวันนี้ถือว่าเข้มข้น และผมชอบมากๆเป็นการส่วนตัว หากพร้อมแล้วอ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ! เช่นเคยครับ เรามาอัพเดทสถานการณ์ประจำวันกันก่อน…. (ของวันที่ 19 มีนาคม 2563) ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงต่ออีก -5% ราคานํ้ามันติดลบอีกกว่า -20% โดยอาจส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตนํ้ามัน เพราะด้วยราคาที่ลดลงอาจทำให้ทำกำไรได้น้อยลง ทาง CAPA หรือสมาคมรวมผู้ประกอบการสายการบิน ได้ร้องเรียนกับโดนัลด์ ทรัมป์ว่าหากสถานการณ์โควิด 19 ยังเป็นเช่นนี้จนถึงพฤษภา บริษัทสายการบินอาจล้มละลายได้ โดยมีผลมาจาก อุปสงค์ (supply) ที่ล้นจากสถานการณ์ price war (การหั่นราคานํ้ามันทำได้โดยการผลิตออกมาให้เยอะขึ้นและเมื่อสต๊อกนํ้ามันล้นตลาดเกินความต้องการของผู้คนจนขายไม่ออก ทางผู้ผลิตจึงต้องลดราคานํ้ามันลง) นอกจากนั้นยังมีการกดดันในเรื่องของ demand ที่ตํ่ากว่าเดิมเนื่องจากไวรัสโคโรน่าอาจทำให้ผู้คนไม่เดินทาง ไม่จับจ่ายใช้สอย บริษัทผู้ผลิตต่างๆก็ไม่ผลิตของออกมาเนื่องจากไม่มีความต้องการของผู้คนในตลาดและด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลข้างต้น จึงส่งผลให้ราคานํ้ามันถูกเทขายหนักไปกว่าเดิม โดยหากราคานํ้ามันตํ่ากว่า 30 เหรียญ ซัก 3-4 เดือนอาจจะทำให้ผู้ส่งออกนํ้ามันเกิดปัญหาได้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 15 เดือน โดยทะลุ 32.50 บาท/ดอลลาร์ เป็นที่เรียบร้อยด้วยอ่อนตัวขึ้นถึงเกือบๆ 10% เลยทีเดียว โดยอาจทำให้ผู้ส่งออกหายใจหายคอได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการอ่อนค่าของค่าเงินบาท ก็สะท้อนให้เห็นถึงการถอนทุนของนักลงทุนในตลาด (เงินไหลออก) มุมมองการลงทุนจาก Ray Dalio และหลายๆสำนักชื่อดัง หากคุณติดตามชายผู้นี้มาก่อนหน้า คุณคงจะจำได้ว่า Ray Dalio เคยประกาศไว้ว่า “หากเราย้อนไปดูประวัติศาสตร์โรคระบาดไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจเกิดภาวะถดถอย” แต่ครั้งนี้ผลลัพธ์ได้แตกต่างออกไป โดยกองทุนของเขาทำผลตอบแทน -20% ใน 3 เดือน แต่อย่างไรก็ตามเฮียแกได้บอกใบ้ไว้ว่าในตอนนี้ เขาได้เปลี่ยนไป short หุ้นยุโรปไว้ ตัวอย่างเช่น หุ้น SAP และเพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆ JP Morgan และ Goldman Sach ปัจจุบันมีมุมมองตลาดว่ากำลังเป็นช่วงขาลง (Bear market) เจาะลึกตราสารหนี้ ทำไมถึงลงในช่วงนี้? เจาะลึก Credit Spread Duration (CDS) คืออะไร? สำคัญไฉน? ภาพด้านบนเป็นภาพแสดง Credit spread duration หรือหากพูดง่ายๆสั้นๆก็คือตัวที่ใช้วัดส่วนต่างความเสี่ยงในตราสารหนี้ โดยหากเศรษฐกิจดีคนมีความมั่นใจกับหุ้นกู้บริษัท เพราะ มีพื้นฐานธุรกิจที่ดี คนก็จะเข้าไปซื้อส่งผลให้ราคาขึ้น ส่วนต่าง (Spread) ก็จะลดลง จึงทำให้ผลตอบแทน (Yield) ลง แต่หากเศรษฐกิจไม่ดี จนมีการเทขายออกมาจากตราสารหนี้บริษัทดังกล่าวก็จะส่งผลให้ราคาลงส่วนต่างความเสี่ยง (Spread) ก็จะขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทน (Yield) ขึ้น อันเป็นผลมาเนื่องจากการเทขาย โดยสถานการณ์ในปัจจุบันถือว่าไม่สู้ดีนักหลังจากตัว spread ที่ว่าดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรงภายในสัปดาห์เดียวเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงการเทขายอย่างหนักในระยะเวลาสั้นๆ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้ทั้งสั้นและยาวแทบทุกตัวนั้นติดลบ ที่ผ่านมาเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) ดีดตัวขึ้นเพราะอะไร? ใช่การถดถอยไหม? ภาพด้านบนแสดงถึงเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield curve) ของพันธบัตรรัฐบาล ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หลังจากส่งสัญญาณติดลบมาก่อนหน้าช่วงที่ตลาดหุ้นอึมครึม แต่ครั้งนี้แตกต่างจากครั้งอื่นๆตรงที่ การดีดตัวขึ้นของ Yield curve เกิดจากสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ที่ขาดแคลน โดยอาจเกิดจากการที่นักลงทุนนำเงินมาหลบภัยในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นกันมากขึ้น (Yield ตัวระยะสั้นจึงลดลงเป็นผลจากการเข้าซื้อ จึงทำให้ Yield curve กลับตัวขึ้นมาได้) ส่งผลให้เงินที่หมุนในระบบเศรษฐกิจลดลง เพราะ ความกังวลในเรื่องภาวะถดถอย และความเสี่ยง หนี้สูญ (Default) ทำให้นักลงทุนในตราสารหนี้บริษัทต่างๆถอนทุนออกทาง Fed จึงต้องแก้เกมด้วยการอัดเงินเข้ามาอุ้มบริษัทต่างๆเอาไว้ ตราสารหนี้สหรัฐ ช่วงที่ผ่านมา Fed มีการลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่กลับกันตัวตราสารหนี้ yield กลับดีดขึ้น มาจากการที่นักลงทุนเทขาย ส่งผลให้ราคาลงมาซะอย่างนั้นทั้งๆที่ควรจะขึ้นหากมีการลดดอกเบี้ย โดยหากทาง Fed ต้องการจะดึงเงินทุนกลับเข้าตราสารหนี้อาจจะต้องมีการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า? แต่ปัจจุบัน Fed ก็แทบจะเรียกได้ว่าไม่เหลือดอกเบี้ยให้เล่นแล้วโดยเหลือเพียงแค่ 0.25% เท่านั้น น่าเป็นห่วงมากๆครับ ตราสารหนี้ไทย ตัว Yield ก็มีการดีดตัวขึ้นเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงการเทขาย โดยอาจจะเป็นการขายเพื่อหนีไปถือเงินสดของนักลงทุน อีกเรื่องที่น่าจับตามองคือ ตราสารหนี้เกรดลงทุนในเซคเตอร์กลุ่มพลังงาน ที่ผันผวนมากๆในช่วงที่ผ่านมา ในส่วนของ ส่วนต่างผลตอบแทน (Spread) นั้นดีดแรงมาก ถึงแม้จะเป็นตัวที่เป็น Investment grade ก็ตาม (Credit rating มากกว่า BBB) โดย spread อยู่ที่เกือบๆ 500 เลยทีเดียวแสดงให้เห็นถึงแรงเทขายอย่างหนักหน่วง ตัว Junk bond หรือ High yield นี่ก็แทบกุมขมับกันเลยทีเดียว สถานการณ์หนักหน่วงมากๆ โดย spread ดีดขึ้นมากถึง 2,000 เลยทีเดียว สูงกว่าครั้งวิกฤติ subprime ด้วยซํ้า และอีกเรื่องที่น่าเป็นห่วงก็คือ ตราสารหนี้ในส่วนของนํ้ามัน หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มีสัดส่วนอยู่ที่เกือบๆ 20% ของตราสารหนี้ทั่วโลก เกาะติดสถานการณ์สงครามราคานํ้ามันกันบ้าง… ทางด้านของรัสเซีย ค่าเงิน ruble ได้อ่อนตัวลง จึงอาจทำให้รัสเซียได้เปรียบซาอุ ในเรื่องของการขายนํ้ามันได้แพงขึ้นเวลาส่งออก แต่อาจแลกด้วยความเสี่ยงในเรื่องของหนี้ต่างประเทศ ที่มาจากค่าเงินที่อ่อนตัว ทำให้ต้องจ่ายมากกว่าเดิม หาจุดเข้าซื้อไปกับ COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM ส่วนตัวผมขอเรียกผลงานชิ้นนี้ว่าเป็น indicator ชี้นำจุดเข้าซื้อยามวิกฤติ ที่ได้รวบรวมหลายๆ indicators ที่มีความสำคัญเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งผมมองว่ามันเจ๋งมากๆ (ปกติไม่เคยอวยนะครับ ไม่ชอบก็จะเฉยๆหรือบางทีก็หลุดพูดออกมา ฮาๆ) โดยผมจะมาอธิบายการใช้งาน indicators ในส่วนต่างๆให้ทุกคนได้ดูกัน ในส่วนแรกจะเป็น Global cases per day ของยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศสำคัญๆ โดยสถิติหากจำนวนผู้ติดเชื้อทะลุ 200 รายมีความเป็นไปได้ที่จะพุ่งสูงไป 1,000 ราย แต่ถ้ากราฟผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ อาจเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าซื้อหุ้น Valley time ในส่วนนี้จะเป็นการเทียบระยะเวลากับครั้งวิกฤติ subprime ว่าใช้เวลานานแค่ไหนที่ดัชนีสำคัญต่างๆ ลงจากจุดสูงสุดไปจุดตํ่าสุด Drawdown พูดง่ายๆก็คือหากเทียบกับวิกฤติ Subprime แล้ว หุ้นลงได้ถึงไหน โดยหากเส้นส้มชนเทาเราอาจจะเริ่มเข้าซื้อได้ Highlighted Indicator VIX ใช้แสดงความผันผวนของดัชนี S&P 500 ผันผวนมากแสดงถึงความกลัวที่มากของนักลงทุน 2Y10Y Spread หากติดลบจะกลายป็น inverted yield curve แสดงถึงสัญญาณถดถอยในอนาคต CDS Investment Grade ราคาตราสารอนุพันธ์ (Deriative) ที่ใช้สำหรับเปิด hedge ในช่วงตลาดขาลง โดยหากเพิ่มขึ้นแสดงถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น USD/THB โดยหากค่าเงินบาทอ่อนอาจไม่ดีต่อตลาดหุ้น และตราสารหนี้ เพราะ แสดงถึงการถอนทุนออก USD/JPY หากค่าเงินเยนมีการแข็งค่า แสดงถึงการที่คนอยากถือเงินสด และสินทรัพย์ปลอดภัย โดยเฉพาะทองที่มีค่า correlation ใกล้เคียงกับเงินเยน *ในเว็บไซต์ก็มีคำอธิบายเพิ่มเติมด้านล่างอีกทีเหมือนกันนะครับ หากอ่านตรงนี้แล้วยังไม่เข้าใจก็ลองเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ได้เลย เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับสรุป LIVE ในวันนี้ จริงๆมันคือของวันพฤหัสบดีแหละแต่เนื่องจากติดปัญหาว่า LIVE โดนลบออกไปเลยเพิ่งได้ปล่อยสรุปออกมาให้ทุกคนดู หวังว่าจะคลายข้อสงสัยเรื่องตราสารหนี้และสถานการณ์ต่างๆให้ทุกคนได้นะครับ อย่าลืมไปลองเล่น COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM กันล่ะ รักษาสุขภาพกันด้วยครับ อยู่บ้านเหงาๆก็มาอ่านบทความ Mr.Serotonin ก็ได้…. กดที่แบนเนอร์ได้ล่างเพื่อเข้าไปทดลองใช้ COVID-19 INVESTMENT WAR ROOM กันได้เลย! แท็ก: Advance Article COVID-19 Long Content Product Recommend กองทุนตราสารหนี้ นํ้ามัน โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
การลงทุนในช่วงวิกฤต Covid-19 - FINNOMENA "มีวิกฤตย่อมมีโอกาส" แต่โอกาสนั้นจะเป็นของคนที่มีความรู้พร้อมรับมือ และสามารถฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ไม่ปกติได้ หากเกิดวิกฤตแต่เราเองไม่มีความรู้ หรือไม่สามารถนำตัวเองออกมาจากวิกฤตได้ทัน นั่นอาจจะกลายเป็นวิกฤตของเรา 17 เม.ย. 2563 “มีวิกฤตย่อมมีโอกาส“ แต่โอกาสนั้นจะเป็นของคนที่มีความรู้พร้อมรับมือ และสามารถฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ไม่ปกติได้ หากเกิดวิกฤตแต่เราเองไม่มีความรู้ หรือไม่สามารถนำตัวเองออกมาจากศูนย์กลางของวิกฤตได้ทัน นั่นอาจจะกลายเป็นวิกฤตของเราเอง ไวรัส Covid-19 นั้นเป็นโรคระบาดที่สามารถระบาดจากคนสู่คนได้ คาดว่าจุดกำเนิดนั้นเกิดขึ้นจากการติดเชื้อระหว่างสัตว์ป่าสองสายพันธ์ุ ณ ตลาดค้าขายเนื้อสัตว์ป่าในประเทศจีน ความน่ากลัวของ Covid-19 นั้นไม่ใช่ความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตของคน แต่เป็นความสามารถในการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและไร้ร่องรอย ทำให้มันสามารถแพร่ระบาดไปในวงกว้างได้อย่างง่ายดายโดยที่มนุษย์ไม่สามารถตั้งมือรับและควบคุมการระบาดได้ทัน ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2563 ได้มีข่าวการแพร่ระบาดครั้งแรกของไวรัสชนิดนี้ในเมืองหนึ่งของประเทศจีน การระบาดส่วนใหญ่ในช่วงเดือนแรกของปีนั้นอยู่ในประเทศจีนเป็นหลัก ส่วนเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงน่าจะเป็นเทศกาลตรุษจีน และเนื่องจากไวรัสชนิดนี้ใช้เวลา 14 วันในการฟักตัวและทำให้ผู้ติดเชื้อเริ่มแสดงอาการ ทำให้ไม่มีใครระมัดระวังในการป้องกันในช่วงแรก จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื้อง จากวันละหลักร้อยจนกลายเป็นวันละหลายพันเคส ทำให้จีนต้องสั่งปิดเมืองอย่างเด็ดขาดเพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อถูกแพร่ออกไปนอกประเทศ ทุกๆอย่างดูเหมือนจะเริ่มดีขึ้นเมื่อประเทศจีนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้โดยดูจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เริ่มคงที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ความหวังก็ต้องหมดไปเมื่อโรคนี้เริ่มแพร่ระบาดเข้าสู่ต่างประเทศ โดยประเทศที่ได้รับการแพร่ระบาดหนักต่อมาคือญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างดีเยี่ยม ถึงแม้จะมีข้อผิดพลาดในช่วงแรกจากเหตุการณ์ Super Spreader แต่ท้ายที่สุดยอดผู้ติดเชื้อก็เริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ในระหว่างที่จำนวนผู้ติดเชื้อก็มีเกิดขึ้นบ้างในประเทศฝั่ง Europe และ USA ซึ่งจำนวนค่อนข้างน้อยและดูเหมือนจะไม่มีอะไรน่ากลัว เพราะความประมาทเป็นเหตุ ทำให้ประเทศเหล่านี้ไม่ได้มีการรับมืออย่างจริงจังจนจำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดที่ควบคุมไม่ได้ จากเคสผู้ติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มวันละหลักพัน กลายมาเป็นวันละหลักหมื่น และขึ้นไปถึงจุดสูงสุดถึงหลักแสนคน อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อในฝั่ง Europe นั้นสูงกว่าที่จีนอย่างมาก ยิ่งจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น ความสามารถในการรองรับของโรงพยาบาลก็ต่ำลง ผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกคน บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นที่จะต้องเลือกว่าผู้ป่วยระดับไหนมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาพักในโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษา ผู้ป่วยบางคนที่อาการเกินระดับที่จะรักษาได้ก็จะต้องถูกเลือกปล่อยให้เสียชีวิต ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 เป็นช่วงที่มีอัตราการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ทำให้ประเทศต่างๆเริ่มมีการปิดประเทศและปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ถึงแม้ว่าการปิดเมืองจะส่งผลดีต่อการควบคุมการแพร่ระบาด แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจนั้นรุนแรงมหาศาล เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศนั้นหยุดชะงัก ยิ่งการปิดประเทศกินระยะเวลานานมากเท่าไหร่ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเงินที่สะสมไว้ใต้พรมของแต่ละประเทศก็ยิ่งถูกเปิดออกมามากเท่านั้น นี่เป็นความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ เพราะหากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น หลายๆสถาบันอาจจะล้มลงและเกิดผลกระทบแบบโดมิโน ประเทศที่น่าจับตามองคือประเทศ Italy ซึ่งมีการแพร่ระบาดในระดับสูง การที่ Italy มีการแพร่ระบาดสูงจนทำให้ต้องปิดประเทศก็อาจจะเป็นตัวชนวนให้เกิดอะไรอื่นๆตามมาหรือไม่ เพราะ Italy เองก็มีหนี้ภาครัฐสูงเป็นอันดับ 2 ของ EU รองจาก Greece ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2563 เป็นช่วงเวลาที่มีข่าวดีเกิดขึ้น ไม่ใช่การแพร่ระบาดได้หยุดลงแล้ว แต่เป็นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมหาศาลทั่วโลก (พิมพ์เงิน) แน่นอนว่าการอัดฉีดเงินจำนวนมากเท่านี้จะไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่อย่างน้อยก็เป็นการปิดความเสี่ยงเรื่องการล้มลงของสถาบันใหญ่ๆ และทำให้ระบบยังสามารถดำเนินต่อไปได้ พูดภาษาชาวบ้านได้ว่า “ขอไปตายดาบหน้า” ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 เป็นภาวะที่ดูน่ากลัวอย่างมากสำหรับเศรษฐกิจโลก จนหลายๆคนเริ่มมองแง่ร้ายถึงขนาดการล่มสลายของทุนนิยม ผมก็เห็นด้วยนะว่าระบบทุนนิยมนี่มันงูกินหางตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆทุกวัน มันคงไม่แปลกถ้าจะถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ใช่! มันดูน่ากลัว แต่ผมก็กลับมามองบริษัทแต่ละแห่งในตลาดหุ้น ต่อให้ทุนนิยมจะถึงเวลาเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จริงๆ แต่บริษัทเหล่านี้จะหมดมูลค่าหรือไม่? 7-11 ก็ยังเปิดอยู่ทุกวัน และจะต้องมีผู้ผลิตสินค้าเข้ามาขายในร้าน ค้าปลีกประเภทอื่นๆหรือห้างสรรพสินค้าก็ยังต้องเปิดให้คนเข้ามารับความบันเทิงและทำกิจกรรมต่างๆ คนทุกคนยังต้องพยายามทำมาหากิน ไม่ว่าจะทำธุรกิจหรือรับจ้างก็ตาม ร้านอาหารยังต้องเปิด เพราะเราต้องทานอาหาร ธุรกิจอสังหาฯที่ว่าแย่ๆก็ยังต้องสร้างให้คน Real Demand ซื้ออยู่อาศัย โรงพยาบาลก็ยังต้องเปิดรักษาผู้ป่วย โรงเรียนก็ยังต้องเปิดให้เด็กเข้ามาศึกษาหาความรู้ ตึกสำนักงานก็ยังต้องเปิดและมีผู้เช่า เพราะธุรกิจต่างๆต้องดำเนินการต่อไป อีกหลายๆอย่างต้องดำเนินต่อไป เพราะว่ามันเป็นแบบนี้มาตั้งแต่มนุษย์เริ่มกำเนิดขึ้นบนโลก เมื่อตั้งสติได้แบบนี้เราจะเห็นว่า จริงๆแล้วบริษัทต่างๆนั้นมีมูลค่าในตัวมันเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาราคาหุ้นในตลาด ราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าที่นักลงทุนให้ แค่ในช่วงนี้นักลงทุนกลัวจนไม่กล้าให้มูลค่าสินทรัพย์ ขนาดทองที่ว่าแน่ยังไม่กล้าให้ค่าสูงมากเลย กลับเลือกที่จะถือเงินสดแทน เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่นักลงทุนจะกลับมาให้มูลค่าสินทรัพย์ต่างๆอีกครั้งโดยเฉพาะหุ้น นั้นก็เป็นสิ่งที่เราต้องรู้จักรอคอย เพราะอย่างน้อยเราก็รู้ว่าธุรกิจต่างๆมันมีมูลค่าในตัวมันเอง อย่างน้อยปันผลที่ได้รับก็เป็นเครื่องยืนยันว่าเงินลงทุนของเราได้สร้างผลตอบแทนอย่างแท้จริง ตราบเท่าที่บริษัทยังแข็งแกร่งและดำเนินงานต่อไปได้ การรอคอยในครั้งนี้ ผมเชื่อว่าจะให้โอกาสแก่คนที่มองเห็นอย่างมาก ตอนนี้หุ้นถูกเกือบทุกตัวครับเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต แต่ไม่ใช่ทุกตัวจะให้โอกาสที่ดีที่สุด ผมคิดว่ามี 4 Theme ที่เราสามารถเลือกลงทุนได้หลังวิกฤตเริ่มมีสัญญาที่ดีขึ้น หุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อยแต่ราคาลงมาเยอะ หุ้นที่ได้รับผลกระทบชั่วคราวและราคาลงมาเยอะกว่าตลาดอย่างมาก หุ้นใหญ่ SET50 ที่ราคาลงมาเยอะและปันผลสูงกว่า 5% หุ้น Super Stock ที่จะโตได้ 10 เท่าในทศวรรษต่อไป ซึ่งทั้งหมดผมคิดว่าข้อ 4 ดูจะยากสุดครับเพราะต้องอาศัยจินตนาการสูงมาก แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาครับ เพราะเราไม่ควรซื้อหุ้นตัวเดียวเข้าพอร์ทอยู่แล้ว แนวทางที่ดีในสถานการณ์แบบนี้คือการกระจายอย่างน้อย 5-6 หุ้นเข้ามาใน Port ซึ่งหุ้นแต่ละตัวควรจะอยู่ภายใต้ 1 ใน 4 Theme ที่กล่าวไป จะดีที่สุดถ้าเราผสมได้อย่างลงตัวในแต่ละ Theme และจะต้องกระจายอุตสาหกรรมด้วยนะครับ ส่วนงบ Q1 ผมก็คิดว่าน่าจะออกมาไม่ดีตามที่ทุกคนรู้ ก็ลองดูปฏิกิริยาของตลาดหุ้นช่วงนั้นก็ได้ครับว่าจะเป็นอย่างไร ตลาดหุ้นลงมาลึกมากภายในไม่ถึง 1 เดือน และก็คงไม่ได้ขึ้นง่ายๆเป็นตัว V-Shape เนื่องจากยังมีปัญหาใต้พรมอีกมากมายที่ยังไม่ได้ถูกเปิดออกมา แต่แล้วท้ายที่สุด Covid 19 จะผ่านไป เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ไม่เคยยอมแพ้ต่อฟ้าดินครับ ระหว่างรอเราก็รับปันผลไปพลางๆก่อนครับ ช่วงนี้ก็จะต้องติดตาม Covid-19 และผลกระทบอย่างใกล้ชิด และประเมินสถานการณ์เป็นรายวันไปครับ InvestDiary ที่มาบทความ: https://investdiary.co/2020/03/16/186-covid19/ ดูรายละเอียดพอร์ต Equity-Prop Balanced Growth ได้ที่ https://www.finnomena.com/port/investdiary/ แท็ก: Article Basic COVID-19 Product Recommend Short Content ภาวะวิกฤต ลงทุนอย่างไร วิกฤต โควิด-19 แชร์บทความ: ผู้เขียน InvestDiary นักลงทุนรุ่นใหม่ เจ้าของ FB เพจ InvestDiary เน้นการลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัท พร้อมกับความเชื่อที่ว่า "VI ไม่ใช่แนวทางการลงทุน แต่เป็นแนวทางการใช้ชีวิต"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ควรลงทุนอย่างไร? เมื่อสงครามราคาน้ำมันซ้ำเติมตลาด!!! - FINNOMENA เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในการประชุม OPEC และชาติพันธมิตร โดยซาอุดิอาระเบียโน้มน้าวให้ชาติสมาชิก OPEC ลดกำลังการผลิตอีก 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และชาติพันธมิตรนอก OPEC ลดกำลังการผลิตลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากความต้องการน้ำมันดิบ (Demand) มาอ่านคำแนะนำการลงทุนจากสถานการณ์นี้จาก FINNOMENA Investment Team ได้เลยครับ 12 พ.ย. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> รูปที่ 1 กำลังการผลิตของแต่ละประเทศ I Source : https://tradingeconomics.com/ As of 9/3/2020 ย้อนกลับไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในการประชุม OPEC และชาติพันธมิตร โดยซาอุดิอาระเบียโน้มน้าวให้ชาติสมาชิก OPEC ลดกำลังการผลิตอีก 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และชาติพันธมิตรนอก OPEC ลดกำลังการผลิตลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากความต้องการน้ำมันดิบ (Demand) ลดลงด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ท้ายที่สุดการเจรจากลับไม่ประสบผลสำเร็จหลังรัสเซียไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว รูปที่ 2 การผลิตและการบริโภคน้ำมันดิบในอดีตและคาดการณ์ในอนาคต I Source : EIA As of 9/3/2020 เมื่อการเจรจาล้มเหลว ซาอุฯ จึงตัดสินใจกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตจากระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขึ้นมาที่ 10-11 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ Saudi Aramco ได้ส่งจดหมายแจ้งลูกค้าว่าจะลดราคาขายอย่างเป็นทางการ (Official Selling Price) โดยราคาน้ำมันที่ส่งไปยังยุโรป ลดลง 8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สหรัฐฯ ลดลง 7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเอเชีย 6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากต้นทุนการผลิตของซาอุฯ ต่ำกว่าคู่แข่งทั่วโลก โดยอยู่ที่ 8.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (ข้อมูลจาก WSJ ปี 2016) รูปที่ 3 ต้นทุนการผลิตของแต่ละประเทศ I Source : WSJ As of 9/3/2020 ผลที่เกิดขึ้นตามมา คือ สงครามราคาน้ำมัน (Price War) ซึ่งเรียกได้ว่า Surprise Move ที่ตลาดไม่ได้คาดคิดมาก่อนเลย และจากผลที่เคยเกิดขึ้นในอดีต การทำสงครามราคามักไม่สร้างผลดีให้กับใคร เช่น ในช่วงปี 1998 ที่มีวิกฤติต้มยำกุ้งจนกระทบ Demand ส่งให้ราคาน้ำมันดิบลดลงไปต่ำกว่า 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากทางซาอุฯ ไม่ยอมลดกำลังการผลิต หรือเหตุการณ์ล่าสุดในปี 2015 ที่ความต้องการน้ำมันลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งเป็นผลจากการ Soft Landing ของประเทศจีน รูปที่ 4 ลำดับเหตุการณ์ราคาน้ำมันดิบในอดีต I Source : https://www.businessinsider.com/ As of 9/3/2020 อย่างไรก็แล้วแต่ การตัดสินใจของซาอุฯ ในครั้งนี้เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดยุโรปคืนจากรัสเซีย อีกทั้งเป็นการกดดันให้รัสเซียกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาอีกครั้ง ซึ่งหากรัสเซียกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาก็อาจทำให้ราคาน้ำมันฟื้นตัว แต่หากไม่สำเร็จจะส่งผลให้ราคาน้ำมันร่วงลงไปต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งมีผลดีต่อต้นทุนการผลิตทั้งหมด ลดแรงกดดันต่อภาคเศรษฐกิจในช่วงที่การบริโภค (Consumption) ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รูปที่ 5 สัดส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานในแต่ละดัชนี I Source : Bloomberg As of 9/3/2020 ในระยะสั้นตลาดปรับตัวลงด้วยความกลัว (Panic Sell) แต่จากข้อมูลในรูปที่ 5 พบว่าตลาดหุ้นหลักของโลกมีสัดส่วนของหุ้นอุตสาหกรรมน้ำมันไม่มากเมื่อเทียบกับดัชนี Set ของประเทศไทย ดังนั้นในระยะกลาง ปัจจัยจากราคาน้ำมันอาจส่งผลกดดันตลาดหุ้นโลกไม่มากนัก แต่อาจสร้างแรงกดดันต่อดัชนี Set ได้ต่อเนื่อง รูปที่ 6 กราฟราคาน้ำมันดิบ WTI (กราฟสัปดาห์) I Source : Tradingview As of 9/3/2020 สำหรับผลกระทบแบบ domino effect ต่อบริษัทน้ำมันที่มีปัญหาหนี้สินยังไม่สามารถประเมินได้ ดังนั้นด้วยความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น FINNOMENA Investment Team ให้น้ำหนักกับปัจจัยทางเทคนิคมากขึ้นในการติดตามการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงเวลานี้ FINNOMENA Investment Team เชื่อว่าสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตปัจจุบันมีความเหมาะสม เมื่อพิจารณาจากระดับมูลค่า (Valuation) ยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม อีกทั้งเราเชื่อว่า ประชากรโลกกำลังมีความกลัวต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสมากเกินไป (Panic Mode) ประกอบกับตลาดการเงินกำลังอยู่ในช่วง late bull cycle จึงทำให้การปรับฐานมีระดับความรุนแรงที่มากขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้านี้ ด้วยสถานการณ์ที่ตลาดเคลื่อนไหวตามอารมณ์และความกังวลสูง ทำให้ในขณะนี้ใช้การวิเคราะห์ด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียวได้ยาก แต่ในระยะยาว FINNOMENA Investment Team เชื่อว่าจะมีการใช้นโยบายการเงินและการคลังออกมาอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ย ลดภาษีรายได้ หรือแม้กระทั่งการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับบริษัทที่มีปัญหา ทั้งนี้ FINNOMENA Investment Team ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และคำนึงถึงความเสี่ยงของพอร์ตของลูกค้ารายคนในปัจจุบัน ด้วยการมี cut loss policy ในกรณีที่ตลาดผันผวนรุนแรงมากเกินไป เพื่อเป็นการปกป้องเงินลงทุนของลูกค้า รูปที่ 7 กราฟราคาทองคำ (กราฟสัปดาห์) I Source : Tradingview As of 9/3/2020 สำหรับนักลงทุนที่กำลังพิจารณาลงทุนหรือปรับพอร์ตการลงทุน FINNOMENA Investment Team แนะนำให้นักลงทุนพิจารณาทยอยเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นไทย กองทุนหุ้นเอเชีย กองทุนหุ้นโลก และกองทุนอสังหาฯ ได้ ขณะเดียวกันยังแนะนำให้เข้าลงทุนในกองทุนทองคำได้ตามสัดส่วนแนะนำที่ 20% ของพอร์ตการลงทุน รูปที่ 8 ตารางการทำ Overnight และ Term Repo ของ Fed I Source : https://www.newyorkfed.org/ As of 10/3/2020 ล่าสุดเมื่อคืนนี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่าทางทำเนียบข่าวเตรียมการแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งรวมไปถึงการปรับลดภาษีเงินเดือน และกำลังหาทางช่วยพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ขณะเดียวกันธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพิ่มปริมาณเงินที่เสริมสภาพคล่องผ่านตลาด Repo โดย Overnight Repo เพิ่มขึ้นจาก 100,000 ล้านดอลลาร์ มาที่ 150,000 ล้านดอลลาร์ และ 14-day repo เพิ่มขึ้นจาก 20,000 ล้านดอลลาร์ มาที่ 45,000 ล้านดอลลาร์ FINNOMENA Investment Team แท็ก: Advance Article FINNOMENA LIVE Knowledge podcast Short Content การลงทุน ตลาดหุ้น ราคาน้ำมัน สงครามราคาน้ำมัน แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Property Grand Sale - FINNOMENA ราคาหุ้นอสังหาฯ กำลังตกลงมาอย่างหนักทั้ง ๆ ที่กำไรของบริษัทก็ยังดีอยู่ บทความนี้ ดร.นิเวศน์ ได้คัดหุ้นที่ขายคอนโดและบ้านที่เป็นหุ้นหลัก ๆ และเป็นหุ้นที่อยู่มานาน ส่วนใหญ่เคยผ่านวิกฤติมาแล้ว และผู้บริหารเคยผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก สำหรับผู้ที่สนใจ ลองมาดูกันว่าหุ้น 8 ตัวคืออะไรบ้าง? 9 มี.ค. 2563 ในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังถดถอยลงอย่างแรง สิ่งหนึ่งที่คนไม่อยากทำก็คือการกู้เงินเพื่อที่จะซื้อทรัพย์สินขนาดใหญ่ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ในช่วงเร็ว ๆ นี้ ยอดขายของบ้านและคอนโดมิเนียมจึงลดลงอย่างแรง คอนโดที่สร้างเสร็จเหลือขายและเป็นสต็อกก็ยังมีจำนวนมหาศาล การลดลงของราคาโดยเฉพาะคอนโดนั้นกลายเป็นเรื่องปกติและน่าจะลดลงต่อไป คนที่มีหรือซื้อคอนโด “เพื่อการลงทุน” คงจะเหนื่อยโดยเฉพาะที่กู้เงินมาซื้อ อย่างไรก็ตาม คนที่ดูเหมือนว่าจะเจ็บหนักกว่ามากก็คือคนที่ซื้อหุ้นของบริษัทที่ขายบ้านและคอนโด เพราะราคาหุ้นอสังหาฯ กลุ่มนี้กำลังตกลงมาอย่างหนักทั้ง ๆ ที่กำไรของบริษัทก็ยังดีอยู่มาก ราคาหุ้นก็ถูกจนไม่น่าเชื่อ ที่สำคัญก็คือ หุ้นเหล่านี้จ่ายปันผลเป็นกอบเป็นกำ และทั้งหมดนั้นเป็นมานานหลายปีแล้วตั้งแต่ที่เศรษฐกิจยังไม่เลวร้ายแบบนี้และภาวะต่าง ๆ รวมทั้งตลาดหุ้นก็ยังปกติ แต่ราคาหุ้นก็แทบจะไม่เคยขึ้นไปเป็นเรื่องเป็นราวเลย หุ้น Property นั้นเป็นหุ้นที่เหมือนถูกสาป ตอนที่หุ้นอื่นดีก็ไม่ได้ดีด้วย แต่ตอนที่ตลาดหุ้นแย่ มันก็แย่เหมือนกันหรือยิ่งกว่า ผมลองคัดหุ้นที่ขายคอนโดและบ้านที่เป็นหุ้นหลัก ๆ และเป็นหุ้นที่อยู่มานาน ส่วนใหญ่เคยผ่านวิกฤติมาแล้ว บริษัทมีขนาดใหญ่และมีจุดเด่นของตนเอง สามารถแข่งขันในตลาดได้และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค การขายคอนโดและบ้านมักเป็น “อาชีพหลัก” ที่บริษัททำมานานหลายสิบปี ผู้ก่อตั้งซึ่งมักจะเป็นผู้บริหารด้วยก็มักจะยังทำงานอยู่ในบริษัททั้ง ๆ ที่หลายคนอายุใกล้เคียงกับผมและเกินวัยเกษียณมาหลายปีแล้ว พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นมืออาชีพที่ “เก๋า” และผมเชื่อว่าเอาตัวรอดได้ในรอบนี้ หุ้นจำนวน 8 ตัวที่ผมจะยกมาให้ดูว่าน่าสนใจแค่ไหนนั้นต้องบอกเสียก่อนว่าไม่ได้ต้องการเชียร์ให้ซื้อเลยจริง ๆ เพราะธุรกิจอสังหาฯ แนวขายบ้านและคอนโดนั้น ไม่ใช่หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเติบโตแต่เป็นอุตสาหกรรมที่อิ่มตัวเนื่องจากอัตราการเกิดของคนไทยลดต่ำลงมาก ดังนั้น การที่จะหวังให้ได้กำไรจากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นมาก ๆ อาจจะยาก ผลตอบแทนจากการลงทุนอาจจะมาจากปันผลเป็นหลัก ในอีกด้านหนึ่งความเสี่ยงจากการที่บริษัทจะเกิดปัญหาก็มีไม่น้อยโดยเฉพาะในแง่ของสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม นี่อาจจะลดลงได้เมื่อคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้บริหารที่เคย “ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก” และผ่านวิกฤติมาแล้วหลายครั้ง หุ้นตัวแรกก็คือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดและน่าจะเป็น “Legend” หรือตำนานในวงการอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วก็คือหุ้น LH จุดเด่นของหุ้นก็คือเป็นหุ้นที่อยู่ในรายชื่อของนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ สินค้าโดยเฉพาะบ้านของบริษัทได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงจากผู้บริโภคว่าคุณภาพดีและมีความรับผิดชอบต่อลูกบ้านสูง นอกจากบ้านแล้วบริษัทยังมีทรัพย์สินที่ทำรายได้และกำไรที่ดีต่อเนื่องแบบ “ครบเครื่อง” คือเป็นผู้ก่อตั้งและถือหุ้นใหญ่ถึง 30% ในหุ้น HMPRO และ 22% ในหุ้น LHFG นอกจากนั้นยังมีอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ที่สร้างรายได้ต่อเนื่องและค่อนข้างแน่นอนเช่นร้านค้าปลีกให้เช่าอีกมาก ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้และกำไรที่ดีและสม่ำเสมอแต่ก็แทบจะไม่โตเลย เช่นเดียวกับราคาหุ้นที่นิ่งมา 4-5 ปีเช่นเดียวกัน ราคาหุ้นของบริษัทก็ “ถูก” มาตลอด คือมีค่า PE อยู่ในช่วง 10 เท่าบวกลบน้อยมาก ค่า PB ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 2 เท่า อย่างไรก็ตาม ปันผลตอบแทนของบริษัทนั้นสูงตั้งแต่ 6-8% ต่อปีทุกปี ตัวที่สองก็คือบริษัทที่น่าจะเรียกว่า “ลูก” ของ LH แต่จริง ๆ แล้ว LH ถือหุ้นแค่ 24.98% จึงนับเป็นลูกจริง ๆ ไม่ได้นั่นก็คือหุ้น QH ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นดูเหมือนว่าหลายสิ่งหลายอย่างรวมทั้งผู้บริหารก็คล้าย ๆ กับ LH นั่นคือ QH ถือหุ้น HMPRO 20% ถือหุ้น LHFG 14% และก็ยังมีทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างรายได้และกำไรสม่ำเสมออื่น ๆ คล้าย LH เหมือนกัน ว่าที่จริง กำไรที่เกิดจากธุรกิจอื่นของ QH มากกว่ากำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยซ้ำ และก็เช่นเดียวกัน รายได้และกำไรของ QH ก็ค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยลดลงบ้างในช่วงเร็ว ๆ นี้จากปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่า PE ค่า PB และ Dividend Yield ของ QH นั้นถูกกว่าของ LH ที่ต่ำกว่า 10 เท่า 1 เท่า และกว่า 8% ในปีล่าสุด ตัวที่สามคือหุ้น AP ซึ่งน่าจะเรียกว่าเป็นหุ้น “น้องของ LH” เพราะผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นน้องของเจ้าของ LH แต่ดูเหมือนว่าจะมีการบริหารและอื่น ๆ แยกกันอย่างสิ้นเชิง ผลิตภัณฑ์และผลงานของ AP นั้นค่อนข้างมีความสม่ำเสมอ มีรายได้และกำไรดีและสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับราคาหุ้นที่นิ่งมานานและลดลงตามภาวะอุตสาหกรรมและตลาดหุ้นในช่วงนี้ เช่นเดียวกัน หุ้นมีราคาค่อนข้างถูกคือมีค่า PE PB และ D/P อยู่ที่ 6 0.7 เท่า และ 6.5% ต่อปีตามลำดับ ตัวที่สี่คือหุ้น PSH หรือพฤกษาซึ่งเป็น “เจ้าแห่งบ้านราคาถูก” และน่าจะขายบ้านมากกว่าทุกบริษัทในประเทศไทยเพราะใช้วิธีสร้างบ้านแบบกึ่งอุตสาหกรรม รายได้และกำไรของบริษัทดีมาตลอดแต่ราคาหุ้นกลับไม่ไปไหนและลดลงมาจาก 2-3 ปีที่แล้วอย่างแรง อาจจะเป็นเพราะคนเริ่มตระหนักว่ากลุ่มบ้านราคาถูกอาจจะไม่โตต่อไปและบริษัทก็หันไปสนใจลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายได้สม่ำเสมออย่างโรงพยาบาลที่ต้องใช้เวลายาวนานกว่าจะมีกำไร ผลก็คือ ราคาหุ้นนั้นต่ำมากแต่จ่ายปันผลสูงมากคือมีค่า PE PB D/P ที่ 6 0.7 เท่าและ 10.6% ต่อปีตามลำดับ ตัวที่ 5 คือหุ้น SPALI นี่คือหุ้นของ “เซียนอสังหาฯ รุ่นเก๋า” อีกรายหนึ่งที่อยู่มายาวนานคล้าย ๆ LH ผลงานของบริษัทมีให้เห็น “ทั่วเมือง” มีรายได้และกำไรดีและสม่ำเสมอมากจนน่าทึ่งในขณะที่มีหนี้ค่อนข้างน้อยซึ่งอาจจะแสดงว่าสามารถสร้างและขายได้หมดเร็วไม่มีการสต็อกที่ดินมากหรือขายบ้านช้า ราคาหุ้นนั้นถูกแต่ค่อย ๆ ไหลลงอย่างช้า ๆ มาตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา ค่า PE PB D/P อยู่ที่ 6.4 0.94 เท่า และ 6.1% ต่อปีในปีล่าสุดซึ่งดูเหมือนว่าปันผลจะจ่ายในอัตราน้อยกว่ารายอื่นเมื่อเทียบกับกำไรและราคาหุ้น ตัวที่ 6 คือหุ้น SIRI “เจ้าแห่งคอนโดหรู” ที่มีผู้ถือหุ้นกระจายมากจนแทบจะเรียกได้ว่า “ไม่มีเจ้าของ” บริษัทค่อนข้างประสบความสำเร็จในเรื่องของผลิตภัณฑ์แต่รายได้และโดยเฉพาะกำไรนั้นไม่ค่อยดีนัก คือกำไรต่อยอดขายดูเหมือนว่าจะต่ำกว่าบริษัทในระดับเดียวกันอานิสงส์จากต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าคู่แข่ง อาจจะเป็นเพราะขายให้คนรายได้สูงมากจึงต้องมีค่าการตลาดที่สูง แม้ว่ารายได้และกำไรอาจจะดูดีมาตลอดแต่ราคาหุ้นกลับถดถอยลงอย่างต่อเนื่องทำให้หุ้นมีราคาถูกสุด ๆ ในช่วงนี้โดยที่ค่า PE PB และ D/P อยู่ที่ 5 0.39 เท่า และ 9.4% ต่อปีตามลำดับ ตัวที่ 7 คือหุ้น ANAN นี่คือหุ้นของ “คนรุ่นใหม่” ที่เน้นสร้างคอนโดติดรถไฟฟ้า เป็นแนวคอนโดที่มีห้องขนาดเล็กที่สะดวกและจับต้องได้สำหรับผู้บริหารหรือคนมีเงินที่เป็นคนรุ่นใหม่ บริษัทเองก็เพิ่งเข้ามาสู่วงการไม่นานแต่ก็สร้างปรากฏการณ์การขายได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม บริษัทก็เผชิญกับอุปสรรคอยู่เนือง ๆ และทำให้กำไรไม่ค่อยสม่ำเสมอเหมือนผู้เล่นที่อยู่มานานรายอื่น ผลก็คือ ราคาหุ้นไหลลงมาตลอด ภายในเวลา 2-3 ปีหุ้นตกลงมาถึง 70% กลายเป็น “หายนะ” ของผู้ถือหุ้น บริษัทเองนั้นคงเน้นการเติบโตมากจึงมีการก่อหนี้ค่อนข้างมากและนี่ก็อาจจะเป็นจุดที่เสี่ยงเมื่อคำนึงถึงภาวะที่เลวร้ายของอสังหาฯ อย่างไรก็ตาม หุ้นก็มีราคาถูกมาก ค่า PE PB และ D/P เท่ากับ 8 0.34 เท่า และ 6.9% ต่อปีตามลำดับ ตัวสุดท้ายที่ผมพอมีเนื้อที่ที่จะพูดถึงก็คือหุ้น ORI นี่ก็คือหุ้นที่ใหม่ในวงการแต่โตเร็วมาแรงที่สุดในช่วงหลังนี้โดยอาศัยกลยุทธ์ คือ โตจากชานเมืองเข้ามาในเมือง ยอดขายโตขึ้นมาถึง 4-5 เท่าในเวลาเพียง 3-4 ปี เช่นเดียวกับกำไรที่โตในระดับเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นของบริษัทเองนั้น หลังจากที่ปรับตัวขึ้นแบบก้าวกระโดด คือปีเดียวเติบโตขึ้น 6 เท่า อาจจะเพราะคนตื่นเต้นกับการเติบโตในช่วงแรกจนทำให้ค่า PE สูงลิ่วกว่า 20 เท่า หลังจากนั้นหุ้นก็ตกลงมาเรื่อย ๆ จนล่าสุดเหลือเพียง 4.1 เท่า ค่า PB ก็เหลือเพียง 1.3 เท่าจากที่เคยสูงเป็น 10 เท่า และค่า D/P สูงถึงปีละ 9.8% จากที่ไม่ถึง 1% ต่อปี ทั้งหมดนี้ก็คือเมนูให้นักลงทุนได้เลือกซื้อได้อย่างสบายใจในช่วง “Property Grand Sale” ซึ่งเป็นมาหลายปีจนแทบจะเรียกว่า “Low Price Every Year” ในยามที่อัตราดอกเบี้ยลดลงจนแทบไม่เหลือ การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้เพื่อกินปันผลในระดับ 6-7% ผมก็คิดว่าอาจจะไม่เลวนักถ้ามั่นใจว่าบริษัทยังสามารถจ่ายปันผลในระดับเดิมต่อไปเรื่อย ๆ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/03/09/2286 คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไล่เรียงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2020 ตลาดหุ้นจะรุ่ง หรือรูด - FINNOMENA GURU VIEW #12 - FINNOMENA FINNOMENA GURU VIEW ตอนนี้คุณ ประกิต สิริวัฒนเกตุ จะมาไล่เรียงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2020 ว่าแต่ละเรื่องมีผลกระทบอะไรบ้าง? แล้วแนวโน้มในอนาคตจะเป็นเช่นไร? มาฟังกันได้เลยครับ 6 มี.ค. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> Youtube : https://youtu.be/m1StX-4CQrQ ตลาดหุ้น 2020 จะ “รุ่ง” หรือว่าจะ “รูด” – FINNOMENA GURU VIEW #12 FINNOMENA GURU VIEW ตอนนี้คุณ ประกิต สิริวัฒนเกตุ จะมาไล่เรียงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2020 ว่าแต่ละเรื่องมีผลกระทบอะไรบ้าง? แล้วแนวโน้มในอนาคตจะเป็นเช่นไร? มาฟังกันได้เลยครับ ติดตามรายการ FINNOMENA GURU VIEW ตอนอื่นๆ ได้ที่ https://finno.me/GURUVIEW แท็ก: Advance FINNOMENA CHANNEL Gold GURU VIEW Long Content Product Recommend Video แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA CHANNEL อีกหนึ่งช่องทางความรู้ทางการเงิน และการลงทุน จาก FINNOMENA ในรูปแบบ Video Content
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ “ถือทอง 3 เดือนล่าสุด” กำไรเท่า “ถือหุ้น 2 ปี” ไม่อยากพลาดโอกาส ติดตามราคาได้ที่ไหน? - FINNOMENA ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ “ถือทอง 3 เดือนล่าสุด” กำไรเท่า “ถือหุ้น 2 ปี” จากราคาทองพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง หลายคนอาจจะเกิดคำถามที่ว่าทองนั้น "แพง" ไปหรือไม่ บทความนี้จะพาทุกคนไปพิสูจน์กัน รวมถึงเคล็ดลับการเช็คราคาทองที่สะดวก รวดเร็ว ว่องไว อย่างที่คุณคาดไม่ถึงอย่างแน่นอน! 18 มี.ค. 2563 หากเราลงทุนในช่วงนี้เพียงแค่เราเปิด Social media เราก็จะพบกับข่าวร้ายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของไวรัสโคโรน่า สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเมือง เงินบาทที่แข็งค่าเกินไป ตลาดหุ้นที่ร่วงโรยดั่งนํ้า แต่อย่างไรก็ตามในทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ และโอกาสที่ว่าในวิกฤติก็คือ “ทองคำ” สินทรัพย์ที่ผู้คนให้คุณค่ากับมันกันมาอย่างช้านาน โดยผู้คนให้ความสำคัญกับมันในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยชั้นเยี่ยม ทำไมถึงควรมีทองคำติดตัวไว้ตลอดเส้นทางการลงทุน? ด้วยคุณค่าที่ผู้คนให้ความสำคัญกับมัน จึงทำให้ราคาทองคำนั้น “เติบโตต่อเนื่องมาอย่างต่อเนื่อง” หาก Warren Buffett เคยกล่าวไว้ว่า… “การลงทุนหุ้นในดัชนี เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนไม่มีความรู้มาก” การลงทุนทองก็เป็นฉันนั้นเช่นกัน เนื่องด้วยทองเป็นสินทรัพย์ที่มี value (คุณค่า) อยู่เสมอ โดยหลายๆประเทศบนโลก ล้วนแต่สำรองทองคำไว้ทั้งสิ้น เนื่องจากทองเป็นหนึ่งในตัววัดว่า เงิน (Currency) ในประเทศนั้นๆ มีค่าหรือไม่ เนื่องจากการที่แต่ละประเทศจะพิมพ์เงินออกมาใช้กันนั้น จะต้องมีสินทรัพย์ที่มีมูลค่าไปค้ำตัวเงิน หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ “ประเทศที่ไม่มีทอง เงินก็เป็นเพียงเศษกระดาษ ที่มีหน้าคนติดอยู่เท่านั้นเอง” และเนื่องด้วยเหตุนี้เองทองจึงเป็นอีกหนึ่งในการลงทุนที่ดีที่สุด เพราะเป็นสินทรัพย์ที่ผู้คนให้มูลค่ากับมันอยู่เสมอๆ มาอย่างช้านานและเป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญ “ระดับชาติ” ดังนั้นราคาจึงเติบโตต่อเนื่องตามกันไปด้วย ภาพแสดงราคาทองราวๆ 20 ปีย้อนหลัง จากภาพจะสังเกตได้ว่าราคาทองนั้นมีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 16.24% ต่อปี ซึ่งหากคุณลงทุนทองเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ด้วยเงิน 100,000 บาททุกปี ในวันนี้เงินของคุณจะมีมูลค่าเท่ากับ 13,801,394 บาท เรียกได้ว่าเงิน 2,000,000 บาทที่คุณลงทุนไปนั้นเติบโตถึงเกือบ 6 เท่าเลยทีเดียว ทองคำอยู่ในช่วงที่ “ร้อนแรง” สวนทางกับตลาดหุ้นไทยที่ดิ่งลงต่อเนื่อง ราคาทองคำในช่วงนี้นั้นถือว่าวิ่งด้วยความร้อนแรงเป็นอย่างมากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ด้วยราคาที่ขึ้นไปแบบ วันต่อวัน เดือนต่อเดือน ราวกับไม่มีคำว่าแพงเกินไปสำหรับสินทรัพย์ตัวนี้!! ซึ่งถ้าหากสังเกตจากกราฟความสัมพันธ์ จะเห็นได้ว่าทองคำได้ปรับตัวมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่แล้ว ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดหุ้น ที่ล่าสุดเหมือนจะร่วงลงมาเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่อึมครึมมานาน ยิ่งส่งผลให้ทองคำได้ดีดตัวแรงขึ้นไปอีก สังเกตได้จากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรง สวนทางกับทองคำที่ดีดตัวขึ้น เรียกได้ว่าทองคำเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการลงทุนที่ควรมีไว้ประดับพอร์ตโฟลิโอการลงทุนในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนเช่นนี้ ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนี SET index และ Gold spot ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรง หากเราเลือกที่จะไม่ติดตาม ก็เหมือนกับมีหมูอยู่ตรงหน้าแล้วเราไม่ซื้อ ดังนั้นวันนี้เราจึงขอแนะนำ FINNOMENA MONEY ที่ให้ราคาทองแบบ real time นาทีต่อนาที ให้คุณไม่พลาดทุกโอกาส โดยไม่ต้องโหลด ไม่ต้องสมัครให้วุ่นวาย แค่หยิบมือถือแล้วเปิด LINE ก็ใช้ได้เลย ถ้าอยากรู้ว่า ต้องทำอย่างไรนั้น ติดตามวิธีการใช้งานด้านล่างได้เลย!! วิธีใช้งาน FINNOMENA MONEY ผ่าน LINE สะดวก ง่าย รวดเร็ว ดูได้ทั้งหมดเพียง 4 คลิก วิธีดูราคาทองผ่าน FINNOMENA LINE Mini App สรุปสิ่งที่คุณหาไม่ได้จากที่อื่น จากการดูทองผ่าน FINNOMENA MONEY 1.ราคาครบจบในแอปเดียว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ลงทุนในทองเป็นประจำ ปัญหาที่พบเจอได้บ่อยๆ ก็คือ ส่วนใหญ่ราคาทองในเว็บไซต์หนึ่ง จะมาในรูปแบบของสกุลเงินดอลลาร์ (ราคา Spot) เพียงอย่างเดียวหรือ หากเป็นราคาทองไทยก็จะมีแต่เพียงราคาทองไทยเพียงอย่างเดียว แต่หากคุณดูราคาทองผ่าน FINNOMENA MONEY คุณสามารถดูได้ทุกซอกทุกมุมของทองแบบไม่มีกั๊ก! ไม่ว่าจะเป็นราคาทองแบบดอลลาร์ (Spot) ราคาทองคำแท่งไทย ราคาทองรูปพรรณไทย หรือแม้แต่บทวิเคราะห์การลงทุนในทอง เรียกได้ว่า “ง่าย ครบ จบ ในแอปเดียว” 2.ไม่ต้องดาวน์โหลดหรือสมัครให้วุ่นวาย พร้อมดูได้เลย! เชื่อว่าในวันนี้คงไม่มีใครไม่มีแอปพลิเคชั่น LINE บนมือถือ เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นหรือสมัครบริการก่อนเช็คราคาทองจะหมดไป เพราะ FINNOMENA MONEY อยู่ใกล้แค่เพียงเอื้อมนิ้วของคุณทุกครั้งที่คุณเปิด LINE ดังเพื่อนรู้ใจคุณ ที่คุณยังไม่รู้ตัว!! ในจุดนี้ ถ้าพร้อมแล้วก็นับ 3 2 1… แล้วหยิบมือถือขึ้นมากดเข้ากันได้เลย! หรืออีกทางหนึ่งคือ คลิกที่ลิ้งก์ข้างล่าง เพื่อไปสู่ FINNOMENA MONEY ได้เลย https://liff.line.me/1597701222-kKX12QL0/?page=miniapp References: http://www.investerest.co/investment/investing-in-index-funds/ https://www.fxcm.com/uk/insights/safe-haven-assets/ แท็ก: Advance Article Picture Slide Product Recommend Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วิกฤติโคโรน่าต้องลงทุนยังไง สรุปมุมมองการลงทุน 2 เซียน 1 ประธาน จากรายการใน CNBC - FINNOMENA ในช่วงที่ตลาดกำลังตื่นตระหนกจากปัจจัยกดดันรอบด้านไม่ว่าจากตลาดหุ้นที่เคยพุ่งขึ้นไปราวกับไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยจนอาจกลายเป็นฟองสบู่ รวมถึงสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าที่อาจเป็นเหมือนเหตุการณ์ที่ยำ้ ซำ้แผลเดิม เรามาดูกันว่า 2 เซียน guru การเงินกับอีก 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งออกของไทย ที่เพิ่งได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อชื่อดังอย่าง CNBC นั้นมีมุมมองต่อสถานการณ์เหล่านี้ รวมถึงมุมมองต่อการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง 25 มี.ค. 2563 ในช่วงที่ตลาดกำลังตื่นตระหนกจากปัจจัยกดดันรอบด้านไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นที่เคยพุ่งขึ้นไปราวกับไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยจนอาจทำให้เกิดฟองสบู่ รวมถึงสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าที่อาจเป็นเหมือนเหตุการณ์ที่ยำ้ ซำ้แผลเดิม เรามาดูกันว่า 2 เซียน guru การเงินกับอีก 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งออกของไทย ที่เพิ่งได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อชื่อดังอย่าง CNBC ว่ามีมุมมองต่อสถานการณ์เหล่านี้ รวมถึงมุมมองต่อการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นคนแรกก็อุ่นเครื่องด้วยมุมมองภาพรวม จาก ดร. จิติพล พฤกษาเมธานันท์ กันก่อนเลยครับ มุมมองเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยของสหรัฐ สาเหตุที่ตลาดไม่ปรับตัวขึ้นหลังการลดดอกเบี้ยเป็นเพราะ ตลาดรับรู้และได้ปรับตัวมาก่อนหน้าแล้ว แต่ด้วยความเสี่ยงจากหลายด้าน อาทิเช่น ดอกเบี้ยนโยบายที่เหลือน้อย ความกังวลในเรื่องของ Yield curve จึงทำให้ตลาดปรับตัวลงมา Jerome Powell กำลังทำเหมือนผู้ว่าการ Fed คนเก่าอย่าง Ben Bernanke ที่ตอบสนองต่อตลาดขาลงอย่างรวดเร็วในยุค subprime แต่สถานการณ์ในตอนนี้ต่างกันลิบลับ เพราะในยุคของ Bernanke ด้วยการจัดการที่ยอดเยี่ยมเขาเหลือดอกเบี้ยนโยบายสำหรับการกระตุ้นถึง 3-4% ในขณะที่ Powell เหลือเพียง 1% ให้ใช้ Fed อาจลดดอกเบี้ยในครั้งนี้เพื่อช่วยเหลือตลาดหุ้นให้ดำเนินต่อไปได้ ไม่ใช่เพื่อสนับสนุนพื้นฐานเศรษฐกิจ สรุปโดยรวม Fed ยังรับมือกับความเสี่ยงหลายอย่างมากเกินไป หากเทียบกับดอกเบี้ยที่เหลืออยู่น้อยนิด มุมมองเกี่ยวกับตราสารหนี้ ตราสารหนี้โดยเฉพาะตัวระยะยาว อาจต้องพึ่งพา Fed ให้ลดดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 75 basis points ถึงกลับมาได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่น่าเศร้าก็คือ Fed จะเหลือดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25% เท่านั้น 3 เครื่องมือหลักสำคัญสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจโลก การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม การใช้นโยบายการเงินร่วมกับประเทศอื่นๆ การปิดกั้นการเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่า ทิศทางความเป็นไปของไทยหลังจากนี้ อาจปรับประมาณการ การเติบโตของเศรษฐกิจลดลง โดยอาจอยู่ที่ราวๆ 1.5% นโยบายทางการคลังของไทย ณ ตอนนี้มีลูกเล่นเยอะมาก แต่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของแบงค์ชาติ จึงต้องดูการตัดสินใจจากภาครัฐ ถ้าเกิดภาวะถดถอยขึ้นจริง เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจของเราและของโลกอาจไม่เพียงพอ ต่อมาเรามาเจาะลึกแบบเข้มข้นกันซักนิด ด้วยมุมมองการลงทุนแบบพื้นฐาน รวมถึงสินทรัพย์น่าลงทุนจากคุณ เจษฎา สุขทิศ (พี่เจ็ท Fundtalk) มุมมองเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยของสหรัฐ Fed อาจมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะไม่ไหวแล้ว จึงต้องลดดอกเบี้ย อาจมีการกระตุ้นจากการคลังเพิ่ม โดยโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นหัวหอกหลัก เราอาจจะได้เห็น “QE4” หรือการอัดฉีดเงินเพิ่มในอนาคต หลังจากที่ Fed เคยใช้วิธีนี้ดึงตลาดกลับมาในช่วงวิกฤติ subprime มุมมองเกี่ยวกับพื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐ ผลประกอบการไตรมาส 4 ที่ผ่านมาออกมาค่อนข้างดี โดยเฉพาะบริษัทกลุ่มเทคโนโลยี แต่หากผลประกอบการในอนาคตติดลบติดกัน 2 ไตรมาสติดเราอาจเข้าสู่ภาวะตลาดหมี (bear market) โดยตลาดอาจติดลบไม่แรงมากที่ราวๆ 20% และอาจฟื้นตัวกลับมาได้ เราอาจไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้ แต่เราเรียนรู้จากอดีตได้ โดยในอดีตหากเป็นการระบาดของไข้หวัดอาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยในระยะสั้นได้ แต่ระยะยาวอาจไม่ มุมมองหุ้นไทย ตลาดอาจ rebound กลับมาได้ในช่วง 3-6 เดือนที่ราวๆ 1,400 จุด แต่แนะนำให้ขายทำกำไร ณ จุดนั้น เพราะเนื่องจากกำไร (earnings) ของหุ้นไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สู้ดีนัก มุมมองหุ้นโลก โลกยังอาจไม่เข้าสู่ Great depression และเชื่อว่าขาลงของตลาดในครั้งนี้เป็นการปรับฐานและเป็นจังหวะทยอยเข้าสะสม โดยแนะนำหุ้นสหรัฐ และ หุ้นภูมิภาค Asia Ex. Japan (เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น) มุมมองตราสารหนี้ แนะนำตราสารหนี้ระยะยาว กองทุนที่แนะนำคือ PHATRA G-UBOND และแนะนำให้ออกจากกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ไม่แนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้เพื่อ hedge พอร์ตการลงทุน มุมมองเกี่ยวกับ Property Fund and REITs อาจไปได้ต่อจากภาวะดอกเบี้ยตำ่เตี้ยเรี่ยดิน มุมมองเกี่ยวกับทองคำ ทองคำน่าสนใจเป็นอย่างมาก จากปริมาณ ETFs ทองที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเราอาจจะได้เห็นทองคำแตะราคาจุดสูงสุดเก่า สรุปมุมมองการลงทุนจากคุณ เจษฎา สุขทิศ (พี่เจ็ท Fundtalk) แนะนำการลงทุนในหุ้นสหรัฐและกลุ่ม Asia Ex Japan, Property Fund and REITs, และทองคำ (เน้นว่าเยอะๆหน่อย) ตบท้ายด้วยมุมมองการส่งออกของไทยเล็กๆน้อยๆ จากคุณกัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สถานการณ์ไวรัสโคโรน่าของจีนอาจส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยค่อนข้างมาก โดยยอดการส่งออกไปจีนในช่วง เดือน กุมภาพันธ์อาจลดลงไปถึง 75% และ 50% ในเดือนมีนาคม โดยรวมสองเดือนอาจลดลงถึง 60% แต่อย่างไรก็ตามหากจีนพลิกชะตากลับมาได้ สินค้าบางรายการของไทยอาจเกิด spike demand หรือความต้องการเพิ่มขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี สำหรับเกมตลาดทุนแล้ว “Winners take all” คงเป็นคำนิยามที่ผมชอบที่สุด เพราะไม่ว่าคุณจะมีแบคหรือแนวคิดที่สุดยอดขนาดไหน คนที่ตัดสินใจสุดท้ายก็เป็นตัวคุณเองอยู่ดี ฉะนั้นหากคุณอยากเป็น The winner คุณก็ต้องกล้า take decision คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงตัวช่วยในการตัดสินใจเท่านั้น ขอให้ทุกคนโชคดีครับ แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr. Serotonin สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Red Alert : หุ้นไทยปรับฐาน ย่างเข้าวิกฤติ หรือ คือโอกาส? - FINNOMENA นับตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมาจนปิดตลาดภาคเช้าวันนี้ (28 ก.พ. 2020) ตลาดหุ้นไทยปรับฐานไปหนักถึง 8.57% ซึ่งเมื่อมองย้อนไปในอดีต จะพบว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง คำถามคือ การปรับฐานครั้งนี้ มีวิกฤตรออยู่ข้างหน้าเราจริงหรือไม่? 28 ก.พ. 2563 นับตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมาจนปิดตลาดภาคเช้าวันนี้ (28 ก.พ. 2020) ตลาดหุ้นไทยปรับฐานไปหนักถึง 8.57% ซึ่งเมื่อมองย้อนไปในอดีต จะพบว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง โดยต้องย้อนกลับไปถึงปี 2008 ในช่วงเดือนต.ค. ที่ตลาดหุ้นไทยปรับฐานไปถึง -23% ภายในสัปดาห์เดียว ซึ่งในช่วงนั้น Panic Sell เกิดจากวิกฤตครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ที่เรียกกันว่า วิกฤตซับไพรม์ คำถามคือ การปรับฐานครั้งนี้ มีวิกฤตรออยู่ข้างหน้าเราจริงหรือไม่? คำตอบ เราคงต้องกลับไปมองที่ปัจจัยที่ตลาดกังวล นั่นก็คือ การแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 รูปที่ 1 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรค MERS, SARS และ nCov-19 l Source : Reuters ย้อนกลับไปทำความเข้าใจตัวไวรัส COVID-19 กัน จะพบว่าการระบาดของไวรัสตัวนี้ต่างไปจากโรคระบาดครั้งใหญ่ๆ โรคอื่น อาทิ อีโบลา, SARS, และ MERS ทั้งในแง่ของอัตราการตายที่อยู่ที่เพียง 2.80% ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับอีโบลาที่อัตราการตายสูงถึง 90% ด้วยความรุนแรงที่ต่ำนี่เอง เมื่อประกอบกับระยะเวลาการฟักตัวที่ยาวนานสูงสุดถึง 27 วัน ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อ ซึ่งมีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อต่อเนื่องไปยังคนอื่นยังคงใช้ชีวิตในรูปแบบปกติ ซึ่งทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วเหนือโรคร้ายแรงอื่นๆ รูปที่ 2 จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายประเทศทั่วโลก l Source : Bloomberg ทำให้เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บนแผนที่โลก ทางเดียวที่จะหยุดยั้งการระบาดดังกล่าวได้ อาจต้องเป็นการหยุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแพร่กระจายเชื้อ อาทิ การชุมนุม การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และการทำงานรวมกันเป็นเวลานาน ซึ่งหมายถึงกระทบทั้งระบบห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการบริโภค ซึ่งเป็นพระเอกของภูมิภาคที่สำคัญอย่างสหรัฐฯ ยุโรป และจีน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งความสามารถในการควบคุมประชากรจำนวนมากให้หยุดกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เกือบทั้งระบบ มองตามความเป็นจริง ณ ตอนนี้ ต้องยอมรับว่าอาจมีเพียงประเทศจีนเท่านั้นที่สามารถทำได้ ด้วยระบอบการปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาดในการสั่งการอย่างแท้จริง ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อรายวันชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่กลางเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา สวนทางประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่ทะยานขึ้นแทนและอาจจะยังเป็นเช่นนั้นต่อไป ส่งผลให้ในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 50 วันนับจากวันที่พบผู้ติดเชื้อรายแรกนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรก ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานลงเฉลี่ย 8-10% ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงกว่า 15 ซึ่งในกรณีของตลาดหุ้นไทยนั้นถูกกดดันรอบด้าน ทั้งในกรณีของความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่กดดันการใช้จ่ายของภาครัฐให้ล่าช้า และถึงมา ก็มาในเวลาที่ไม่ได้ช่วยเรียกความเชื่อมั่นได้แล้ว และการลงทุนจากต่างประเทศให้ชะลอตัว การบริโภคที่ถูกกดดันอยู่แล้วจากความมั่นใจทางเศรษฐกิจที่ลดลง รวมไปถึงล่าสุดเมื่อการแพร่ะกระจายของไวรัเข้ามา ก็กดดันภาคการท่องเที่ยวเพิ่มเติม และเสมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซ้อนที่ประเทศไทยนั้นพึ่งพานักท่องเที่ยวจากประเทศจีนมากถึง 33% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด แต่ในร้ายย่อมมีดี ในข่าวร้ายข้างต้นคือ โรคระบาดกระจายสู่ผู้ติดเชื้อมากกว่า 80,000 คน มีข่าวดีว่ามีอัตราการตายที่ต่ำเพียง 2.80% เท่านั้น ในข่าวร้ายข้างต้นคือผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นนอกประเทศจีน ก็มีข่าวดีว่าประเทศจีนที่เป็นต้นเรื่องเริ่มลดลง ในข่าวร้ายการปรับตัวลงของตลาดหุ้นอย่างรุนแรง ก็มีข่าวดีว่าราคาตราสารหนี้และทองคำปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง คำถามสำคัญคือ นักลงทุนอย่างเราจะทำเช่นไรต่อไป ในช่วงที่ผ่านมานั้นราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปสู่จุดสูงสุดที่ระดับ 1,689 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งเป็นการเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ Dollar Index ซึ่งเป็นต้นทุนทางตรงของการถือครองทองคำในตลาดโลกทำจุุดสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 99.91 จุด สะท้อนความกังวลของตลาดได้เป็นอย่างดี สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ทำจุดต่ำสุดใหม่อย่างต่อเนื่องที่ระดับ 1.25% ในช่วงอายุ 10 ปี รูปที่ 3 คาดการณ์การนำส่งสินค้าอิเล็คทรอนิคส์ l Source : TrendForce สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับข้อมูลในภาคธุรกิจจริงที่ระบุว่า ผ่านเดือนกุมภาพันธ์มาครึ่งเดือนนั้น ยอดขายรถยนต์ในประเทศจีนลดลงถึง 92% (YoY) และมีการคาดการณ์ไปต่อว่าการขนส่งสินค้ากลุ่ม IT จะหดตัวสูงถึง 16% ในกลุ่ม Smart Warches ในช่วงไตรมาสที่ 1/2020 และที่สำคัญสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับสกุลเงินบาทไทย ที่กลับมาอ่อนค่าอีกครั้งจากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว และการเกินดุลที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดโอกาสในการลงทุนขึ้น ทั้งในส่วนของทองคำ ซึ่งหากปัจจัยความกลัวเร่งตัวขึ้น ประกอบกับเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลให้นักลงทุนหลายๆ ท่านสามารถทำกำไรได้อีกเกือบ 10% จากช่วงเวลานี้ ด้านของตลาดหุ้นนั้นก็เคยอยู่ในจุดที่นักลงทุนหลายๆ คนกังวลกับระดับความแพง ที่มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับ P/E ของตลาดหุ้นใหญ่ๆอย่างสหรัฐฯ ที่ทำจุดสูงสุดประมาณ 23.32 สำหรับดัชนี S&P500 และ 43.70 เท่าสำหรับดัชนี Nasdaq ปรับตัวลดลงมาสู่ระดับ 19.64 เท่า และ 32.98 เท่า ตามลำดับ ยังไม่รวมถึงของตลาดหุ้นจีนที่ลดลงสู่ระดับ 14.01 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี รูปที่ 4 แนวรับ SET Index และ P/E ของ Set Index ย้อนหลัง 5 ปี l Source : Bloomberg มุมมองของเรา เชื่อว่า นี่คือ โอกาสทยอยเข้าทยอยสะสม แต่ในระดับสัดส่วนที่เหมาะสม และเน้นการจัด Asset Allocation ไปยังสินทรัพย์หลากหลายประเภท โดยสำหรับหุ้นไทย เรามองแนวรับทางเทคนิค อยู่ที่ 1,300 และ 1,240 จุด ตามลำดับ ในแง่ของการตั้ง Mindset ในการลงทุน เราอยากให้นักลงทุนได้เห็นมุมมองของคุณวอเรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดังกล่าว ซึ่งเพิ่งกล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ไปเมื่อวานทาง CNBC ว่า “นักลงทุนไม่ควรที่จะตัดสินใจด้านการลงทุนจากพาดหัวข่าว เพราะไม่มีพื้นฐานทางธุรกิจใดที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วข้ามคืน กลับกันหากโอกาสเช่นนี้อาจเป็นเรื่องดีเสียอีกที่ทำให้เราได้ลงทุนในธุรกิจที่ดีที่มีมูลค่าที่ถูกลง เมื่อประกอบกับระดับอัตราดอกเบี้ยและภาษีที่ต่ำ ก็มีแนวโน้มสูงที่หุ้นยังคงสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคงที่ในระยะยาว” ดังนั้นแล้วจังหวะนี้จึงอาจเป็นจังหวะที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนในการฉวยโอกาสสร้างผลตอบแทนตามสถานการณ์ก็เป็นได้ FINNOMENA Investment Team คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ส่องหุ้นต่างประเทศปันผลสูง หลบโควิด-19 - FINNOMENA มาถึงวันนี้ ตลาดหุ้นไทยมาถึงจุดที่ถูกกระทบค่อนข้างหนักจากปัจจัยลบที่หลากหลาย ล่าสุด ได้แก่ โควิด-19 ซึ่งการที่มีข่าวเกี่ยวกับชาวไทยที่กลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงแล้วอาจจะแพร่กระจายไปยังผู้ที่อยู่ข้างเคียง บทความนี้ จะพาท่านผู้อ่านมาลองสำรวจตลาดหุ้นต่างประเทศกันบ้าง โดยจะเน้นไปที่หลักทรัพย์และตลาดหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลสูง 25 มี.ค. 2563 มาถึงวันนี้ ตลาดหุ้นไทยมาถึงจุดที่ถูกกระทบค่อนข้างหนักจากปัจจัยลบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง งบประมาณภาครัฐที่ออกมาช้ากว่ากำหนดเดิม ล่าสุด ได้แก่ โควิด-19 ซึ่งการที่มีข่าวเกี่ยวกับชาวไทยที่กลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงแล้วอาจจะแพร่กระจายไปยังผู้ที่อยู่ข้างเคียง บทความนี้ จะพาท่านผู้อ่านมาลองสำรวจตลาดหุ้นต่างประเทศกันบ้าง โดยจะเน้นไปที่หลักทรัพย์และตลาดหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลสูง ดังนี้ หากพิจารณาไปที่อัตราการจ่ายเงินปันผล แยกตามภูมิภาคต่างๆ ในปีที่แล้ว จะพบว่า ตลาดหุ้นยุโรป (ไม่รวมอังกฤษ) จ่ายเงินปันผลประมาณ 20% ของเงินปันผลทั้งหมดในโลก ในขณะที่ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ จ่ายเงินปันผลประมาณ 42.3% ของเงินปันผลทั้งหมด ด้านตลาดหุ้นเอเชีย นอกญี่ปุ่นและตลาดเกิดใหม่ จ่ายเงินปันผลใกล้เคียงกัน ประมาณ 11% ของเงินปันผลทั้งหมด ส่วนตลาดหุ้นอังกฤษ จ่ายเงินปันผลประมาณ 8% ของเงินปันผลทั้งหมด ทั้งนี้ หากพิจารณาจากข้อมูลดังกล่าว ถือว่าตลาดหุ้นยุโรปและอังกฤษ จ่ายเงินปันผลค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมตามราคาตลาดของตลาดหุ้น โดยส่วนหนึ่งเนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักจะชอบซื้อหุ้นคืนมากกว่าจ่ายเงินปันผล โดยสังเกตได้ จากข้อมูลของ J O Hambro Capital Management ว่าจากดัชนี MSCI WORLD INDEX บรรดาบริษัทสหรัฐฯ 615 แห่ง มีเพียง 20% ที่มีอัตราเงินปันผลมากกว่า 3% ในขณะที่ หากพิจารณานอกสหรัฐฯ 1,031 แห่ง มีถึง 40% ที่มีอัตราเงินปันผลมากกว่า 3% โดยดัชนีตลาดหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลสูง ได้แก่ ดัชนีตลาดหุ้นอังกฤษ หรือ FTSE100 ที่มีอัตราเงินปันผล 4.6% ดัชนี DAX ของเยอรมนีที่มีอัตราเงินปันผล 2.9% และดัชนี TOPIX ของญี่ปุ่นที่ยิลด์เงินปันผลเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการทุ่มเทเงินเข้าสู่ในรูปแบบเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนมากขึ้นกว่าเดิม (ตลาดญี่ปุ่นซื้อหุ้นคืนมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว) จากนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ประโยชน์ทางภาษีหากไม่เก็บเงินสดไว้กับตัวบริษัทเอง ที่มีอัตราเงินปันผล 2.3% และดัชนี Ibovespa ของบราซิล ที่มีอัตราเงินปันผล 2.9% จึงทำให้หากจะพิจารณาลงทุนในหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลสูง หุ้นที่น่าสนใจตามคำแนะนำของนิตยสารด้านการเงินในเครือของดาวน์โจนส์ได้แนะนำไว้ มีดังนี้ ตลาดอังกฤษและยุโรป 1. หุ้นอังกฤษที่ครึ่งหนึ่งของรายได้รวมมาจากฝั่งอเมริกา ที่ชื่อ Compass Group ซึ่งทำธุรกิจอาหารและบริการจัดส่ง โดยเมื่อปีที่แล้ว จ่ายเงินปันผล 40 เพนนี ที่สูงขึ้น 6% จากปีที่แล้ว หรืออัตราเงินปันผลราว 2% โดย ณ สิ้นไตรมาส 3 เมื่อปีที่แล้ว จ่ายเงินปันผลรวม 800 ล้านดอลลาร์ โดยที่มีกระแสเงินสดปฏิบัติการทั้งสิ้น 1.7 พันล้านดอลลาร์ 2. หุ้นบริษัทยาของสวิตเซอร์แลนด์ ที่ชื่อว่า Novartis ที่มีอัตราเงินปันผลราว 3% ที่มียารักษาโรคที่ติด Best-selling อย่าง Tasigna สำหรับรักษามะเร็งและ Cosentyx สำหรับรักษาภูมิแพ้ โดยเมื่อปีที่แล้ว จ่ายเงินปันผล 2.95 ฟรังก์สวิส หรือ เพิ่มขึ้น 4% จากปีที่แล้ว โดยมีอัตราการจ่ายปันผลต่อ Free Cash flow ที่ 50% 3. หุ้นโทรคมนาคมฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Orange ซึ่งหากใครไปเที่ยวฝรั่งเศส น่าจะได้ใช้บริการ Roaming ของค่ายมือถือเจ้านี้ โดยครั้งหนึ่งเมื่อในอดีต เคยมาเป็น Partner กับบริษัทโทรคมนาคมเจ้าใหญ่แห่งหนึ่งของไทย มีอัตราเงินปันผลที่ร้อยละ 5.4 และราคาซื้อขายที่ 13 เท่าของกำไรสุทธิในปีนี้ที่คาดการณ์โดยนักวิเคราะห์ อย่างไรก็ดี หากนักลงทุนท่านไหนไม่ชอบซื้อหุ้นรายตัว จะขอแนะนำตราสาร ETF ที่ชื่อว่า Vanguard International High Dividend Yield Index ซึ่งเน้นถือหุ้นในตลาดที่พัฒนาแล้ว ที่ล่าสุดมีอัตราเงินปันผลที่ 4.12% ตามข้อมูลของมอร์นิ่งสตาร์ ตลาดญี่ปุ่นและไต้หวัน คราวนี้ หันมาตลาดญี่ปุ่นกันบ้าง ลองพิจารณาหุ้น Takeda Pharmaceutical โดยข้อดี คือเป็นบริษัทยาขนาดใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นหากนับจากยอดขายเป็นตัวชี้วัด ที่มีอัตราเงินปันผลราว 4.2% โดยเมื่อมานานมานี้ ได้ซื้อกิจการบริษัทมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ชื่อว่า Shire ซึ่งเชี่ยวชาญการรักษาด้านภูมิคุ้มกันและโรคที่เกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม โดย Takeda ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการจ่ายเงินปันผลปีละ 180 เยนต่อหุ้น กระนั้นก็ดี หุ้น Takeda ในช่วงหลังๆ มีจุดด้อย คือนักลงทุนหลายท่านกังวลว่าจะต้องใช้เงินค่อนข้างมากในการจ่ายบริษัทที่ตนเองซื้อกิจการเข้ามา ท้ายสุด หุ้น Taiwan Semiconductor Manufacturing บริษัทผลิตชิพที่ใช้ในอุตสาหกรรมด้านไฮเทค ที่มีรายได้ราว 2 ใน 3 จากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความเป็นบริษัทที่โปรไฟล์ออกมามีความเป็นตลาดพัฒนาแล้วมากกว่า ที่ให้อัตราเงินปันผลราว 3% โดยหลายฝ่ายมองว่าบริษัทมีการใช้เงินลงทุนอย่างค่อนข้างมีวินัย อย่างไรก็ดี ต้องขอย้ำว่า การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจก่อนการลงทุนครับ MacroView ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649582 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รู้ให้ลึก ตอน ราคาทองทำจุดสูงสุดใหม่ ใครกำลังไล่ซื้อ? - FINNOMENA ราคาทองในตลาดโลกได้ขยับขึ้นไปแตะ $1,662.75 ทำจุดสูงสุดในรอบ 8 ปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สาเหตุหลักก็มาจากการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 บทความนี้ขอพากลับไปดูภาพรวมของอุปสงส์ อุปทาน ของทองคำจากรายงานของ World Gold Council Report กันก่อน เราจะได้เห็นภาพใหญ่และเข้าใจสถานการณ์ในภาพรวมเหมือนๆ กันนะครับ 27 ก.พ. 2563 ณ ตอนที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ ราคาทองในตลาดโลกขยับขึ้นมาอยู่ที่ $1,662.75 ทำจุดสูงสุดในรอบ 8 ปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัจจัยที่อยู่ในหน้าข่าวที่ทุกคนรู้กัน สาเหตุหลักก็มาจากการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 ซึ่งเพียงแค่วันที่ 22 ก.พ. วันเดียว ตัวเลขผู้ติดเชื้อทะยานขึ้นไปสูงถึง 142 ราย จากผู้ติดเชื้อรายที่ 31 ของประเทศ ที่เป็นคุณป้าที่มีอาการป่วย แต่ปฏิเสธไม่ยอมให้หมอตรวจเชื้อตรวจด้วยเหตุผลเพียงว่า เธอไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ จะไปติดไวรัสตัวนี้ได้อย่างไร ซึ่งน่าสนใจนะครับ เพราะจนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่ทราบว่าคุณป้าได้รับเชื้อมาจากใครด้วยวิธีการใด ขณะที่อิตาลีที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาแล้ว 21 ราย อยู่ที่แคว้นลอมบาร์เดียถึง 19 ราย ส่วนอีก 2 รายอยู่ในแคว้นเวเนโต ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ รวมถึง ชายอังกฤษที่ไปร่วมงานสัมมนาที่ประเทศสิงคโปร์ เดินทางเข้าพักในประเทศสวิสเซอร์แลนด์และกลับอังกฤษ แพร่เชื้อให้คนในครอบครัวและเพื่อนร่วมทริปรวม 10 คน ซึ่งเคสทั้งหมดที่ยกมานี้ ความกังวลคือ มันเป็นการกระจายเชื้อจากคนสู่คนในวงกว้าง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจด้วย แต่ผมขอพากลับไปดูภาพรวมของอุปสงส์ อุปทาน ของทองคำจากรายงานของ World Gold Council Report กันก่อน เราจะได้เห็นภาพใหญ่และเข้าใจสถานการณ์ในภาพรวมเหมือนๆ กันนะครับ ประการแรก Demand ของทองคำในปี 2019 ปรับตัวลดลงมาจากปี 2018 เล็กน้อยที่ -1% (YoY) มาที่ 4,355.7 ตัน แต่ที่น่าสนใจคือ เป็นการปรับตัวลดลงใน Q4/2019 -19% ซึ่งพอไปดู Demand รายประเทศจากรายงานของ WGC พบว่า จีนและอินเดีย คิดเป็น 80% ของ Demand ที่ลดลงใน Q4/2019 โดยสาเหตุเกิดจากราคาทองคำที่เพิ่มขึ้น (ค่าเงินท้องถิ่นอ่อนค่า) และเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้คนจีนและอินเดีย ลดการถือครองทองคำ และขายทองทำกำไร เพื่อเพิ่มการถือครองเงินสด หรือ สินทรัพย์เสี่ยงต่ำในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัว แต่ที่น่าสนใจคือ Demand จากฝั่ง Investment ใน Q4/2019 กลับเพิ่มขึ้น +9% (YoY) มาที่ 1,271.7 ตัน หลักๆ มาจาก ETFs Demand ที่พุ่งสูงขึ้นถึง +426% (YoY) 401.1 ตัน ทั้งๆ ที่ Q4/2018 อยู่แค่เพียง 76.2 ตัน เท่านั้น สะท้อนว่า นักลงทุนสะสมทองคำเข้าพอร์ตในรูปแบบของกองทุน ETFs มากขึ้นผิดปกติ ซึ่งพอไปดูว่า ETFs Demand มาจากนักลงทุนชาติใดก็พบว่า มาจากอเมริกาและยุโรปในสัดส่วนเกินกวาครึ่งมาตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2019 จนถึงสิ้นปีเลยทีเดียว พอย้อนกลับไปดูสถานการณ์ตอนนั้น ก็พอเข้าใจได้ เพราะ อยู่ในช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้งติดต่อกัน ขณะที่ประเด็น BREXIT ก็อยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนนำมาสู่การแยกตัวกับสหภาพยุโรปเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยจากที่ผมได้ดูรายงานปริมาณการถือครองทองคำผ่าน ETFs เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า เหล่ากองทุน ETFs ถือครองทองคำแท่งกันแตะระดับสูงสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่ราคาทองยังห่างจากจุดสูงสุดเดิมอยู่ไม่น้อย นี่ก็สนับสนุนเหตุผลว่า นักลงทุนเริ่มลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ และหันกลับมาให้ความสนใจในการถือทองคำเพิ่มขึ้นมาแล้วเป็นปีๆ Demand การถือทองคำจากเหล่าธนาคารกลางในปี 2019 ที่ผ่านมาลดลงจากปี 2018 นิดหน่อยที่ -1% (YoY) มาที่ 650.3 ตัน แต่ที่ลดเยอะจริงๆ มาลดเยอะเอาตอน Q4/2019 ที่ลดลงไปถึง -34% (YoY) ทีเดียว โดยเป็นการชะลอการซื้อจากผู้เล่นหลักของวงการอย่างจีน โดยสาเหตุมาจากการที่จีนพยายามสร้างบรรยากาศการเจรจาการค้าให้ดีขึ้นด้วยการกลับมาซื้อดอลล่าร์เข้าเป็นทุนสำรองบ้าง แต่ถึงอย่างนั้น ธนาคารกลางทั่วโลกก็ซื้อสุทธิทองคำเข้าเป็นเงินทุนสำรองมา 10 ปีติดต่อกันแล้ว เป็นผู้ค้ำยัน และได้ประโยชน์จากราคาทองดีดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอย่างแท้จริง Demand อีกฝั่งที่ถึงจะมีผลต่อราคาทองน้อยหน่อย แต่ไม่พูดถึงก็ไม่ได้ คือ Demand จากอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งปีที่แล้วซบเซา คงต้องไปหวังแรงหนุนจากกลุ่ม 5G ทั้ง Semiconductor และโครงสร้างพื้นฐาน แต่ก็หวังไม่ง่ายแล้วจากเหตุการระบาดของ COVID-19 ในตอนนี้ โดย Demand ทั้งปี 2019 ลดลงจากปี 2018 ไป -2% (YoY) โดยสรุป จากรายงาน พบว่า Demand ของทองคำแท่ง (Physical) จะมาจากเอเชียอย่างอินเดียและจีนเป็นหลัก (ขึ้นตรงกับสภาพทางเศรษฐกิจ) ซึ่ง ณ ปัจจัย บอกเลยว่า Demand ลดลงแน่นอน ส่วน Demand จากฝั่ง ETFs มาจากอเมริกา และยุโรป (ขึ้นตรงกับความเสี่ยงการเงินและการเมือง) และดูเหมือนจะมีแรงจูงใจให้นักลงทุนอเมริกาและยุโรป สนใจถือทองคำเพิ่มในพอร์ตมากขึ้นแทนถือหุ้น เพราะดัชนีหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ก็เดินหน้ามาซักพัก อยากจะเก็บกำไรเข้าพอร์ตบ้างก็คงไม่น่าแปลกใจอะไร ระหว่างแรงขายจากเอเชีย กับแรงซื้อจากอเมริกาและยุโรป คุณว่าใครจะชนะ Mr.Messenger ติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ได้ที่ FINNOMENA MONEY บน LINE https://liff.line.me/1597701222-kKX12QL0/?page=miniapp-market-gold-spot แท็ก: Advance Article Gold Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เฟ้นหาหุ้นเด้งหลังวิกฤต 2020 … “ทำไม GPSC ราคาลงแรง ?” - FINNOMENA หุ้นโรงไฟฟ้าถือเป็นหุ้นกลุ่มขวัญใจนักลงทุน แต่พอถึงจุด ๆ หนึ่งหุ้นก็ต้องมีการปรับขยับพักฐานกันลงมาบ้าง ทำให้หุ้นกลุ่มนี้หลายตัวราคาเริ่มลงค่อนข้างรุนแรง หนึ่งในนั้นก็คือ GPSC หรือ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ราคาลงมาแรงขนาดนี้ มันไม่ดีแล้วหรือ แล้วทำไมราคาลงแรงจัง … มาหาคำตอบกันครับ 20 ก.พ. 2563 หุ้นโรงไฟฟ้า ถือเป็นหุ้นกลุ่มขวัญใจนักลงทุน และราคาหุ้นหลายตัวในกลุ่มนี้แรลลี่จนเรียกได้ว่า ขี่พายุทะลุฟ้าเลยก็คงจะไม่เป็นการกล่าวกันเกินเลยไป โดยเฉพาะหุ้นใหญ่ ๆ สามตัว อันได้แก่ GULF GPSC BGRIM ราคาแรงแซงทุกโค้ง อย่างไรก็ตาม คงไม่มีอะไรที่จะขึ้นไปได้ตลอดกาล พอถึงจุด ๆ หนึ่งก็ต้องมีการปรับขยับพักฐานกันลงมาบ้าง ทำให้หุ้นกลุ่มนี้หลายตัวราคาเริ่มลง และลงค่อนข้างรุนแรงเสียด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ GPSC หรือ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ราคาลงมาแรงขนาดนี้ มันไม่ดีแล้วหรือ แล้วทำไมราคาลงแรงจัง … มาหาคำตอบกันครับ ประการแรก … “ผลการดำเนินงานล่าสุดของ GPSC” ภาพแสดงผลการดำเนินงาน ที่มา: คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2562 ถ้าเรามาดูผลการดำเนินงานล่าสุดก็พบว่า กิจการมีการเติบโตทั้งรายได้และกำไรอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่ทำให้เติบโตคงหนีไม่พ้นการควบรวมกิจการกับ GLOW ซึ่งทำให้มีรายได้รับเข้ามา แม้ยังไม่เต็มปี แต่ก็ทำให้ผลประกอบการในไตรมาสสี่ดีขึ้นมาก โดยรายได้เติบโตกว่า 212% ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว รายได้เฉพาะไตรมาสสี่ทำได้ 18,279 ล้านบาท รายได้ทั้งปีทำได้ 68,635.26 ล้านบาท ผมขอสรุปรายได้ และกำไรดังต่อไปนี้ รายได้ปี 2559 ทำได้ 21,784.83 ล้านบาท กำไร 2,699.90 ล้านบาท รายได้ปี 2560 ทำได้ 21,289.96 ล้านบาท กำไร 3,174.58 ล้านบาท รายได้ปี 2561 ทำได้ 25,895.56 ล้านบาท กำไร 3,359.19 ล้านบาท รายได้ปี 2562 ทำได้ 68,635.26 ล้านบาท กำไร 4,060.80 ล้านบาท รายได้และกำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2562 แล้วทำไมราคาถึงลง … ถ้าลองพิจารณาดูจะพบว่า GPSC มีจำนวนหุ้นเพิ่มจาก 1,321,428,567 หุ้น เมื่อมีการเพิ่มทุนเพื่อซื้อ GLOW ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 2,819,729,367 หุ้น เพิ่มขึ้นราวเท่าตัว แต่นี่เป็นสาเหตุให้ราคาหุ้นลงหรือไม่ ติดตามกันต่อ ประการที่สอง … “สัดส่วนรายได้ และการเติบโต” ภาพแสดงสัดส่วนรายได้ ที่มา: คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2562 หากเรามาดูสัดส่วนรายได้เฉพาะไตรมาสที่สี่หลังการควบรวมแล้ว จะพบว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ SPP รองลงมาคือ โรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ IPP และส่วนที่น้อยที่สุดคือ โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก และอื่น ๆ หรือ VSPP แผนการเติบโต ที่มา: คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2562 หากเรามาดูแผนการเติบโต ก็จะพบว่า กิจการมีแผนที่จะเติบโตจนมีขนาดเมกะวัตต์ที่เป็น Equity Capacity ราว 5,026 MW ในปี 2023 โดยแผนการเติบโตก็ยังมีอย่างต่อเนื่องนะครับ ประการสุดท้าย … “แล้วทำไมราคาหุ้นถึงตกลงแรง” หากเราดูพีอีของหุ้นจะพบว่า พีอีสูงมาก (เกิน 50 เท่า) แบบนี้เท่ากับมีแรงเก็งกำไรที่เข้ามาค่อนข้างมาก แม้ปัจจัยพื้นฐานจะดี แต่ราคาแพง เปรียบเหมือนเราซื้อรถญี่ปุ่นในราคารถยุโรป แล้วอนาคตล่ะจะเป็นอย่างไร ? สำหรับอนาคตผมเข้าใจว่า เมื่อ Glow ที่ควบรวมมาได้มีรายได้เข้ามาเติมปี พีอีของหุ้นจะลดลง และราคาหุ้นอาจจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ ซึ่งอาจเป็นราคาปัจจุบันก็ได้นะครับ แต่อย่างว่า ตลาดหุ้นแสนจะผันผวนคาดเดาได้ยากมาก ๆ ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … หุ้น GPSC ผมเข้าใจว่าเป็นหุ้นพื้นฐานดี และมีอนาคตเติบโต แต่ราคาที่ตกลงมาแรงมาก ถือว่าน่าสนใจมากขึ้นแน่นอน สำหรับราคาที่ควรจะเป็นคิดว่าคาดเดาได้ยาก เพราะตลาดหุ้นเราไม่สามารถทำนายได้ ด้วยราคาหุ้นในตอนนี้ทำให้ผมรู้สึกสนใจหุ้นนี้มากขึ้น และเฝ้าติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิดครับ #นายแว่นลงทุน ที่มาบทความ: http://www.topofliving.com/12932.html ดูข้อมูลหุ้น GPSC เพิ่มเติมได้ที่ FINNOMENA MONEY บนแอปฯ LINE —————————- Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย https://www.finnomena.com/port/naiwaen แท็ก: Article Basic GPSC GURUPORT Product Recommend Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }