text
stringlengths
1
1.21M
meta
dict
จบรอบหุ้นใหญ่แสนล้าน? - FINNOMENA รอบของ “หุ้นใหญ่แสนล้าน” นั้นน่าจะผ่านมาประมาณ 2 ปีแล้วคือตั้งแต่ต้นปี 2561 เป็นต้นมา หุ้นใหญ่เหล่านี้มีลักษณะอะไรที่เหมือนกันบ้าง แล้วจะ "จบรอบ" หรือไม่ ? 17 ก.พ. 2563 วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นวันวาเลนไทน์นั้น สำหรับนักเล่นหุ้นแนวเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยคงเป็น “ช็อก” เล็ก ๆ ที่เตือนให้รู้ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง” ที่ทำให้ขาดทุนโดยไม่ได้คาดคิดได้ เพราะแม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นจะลดลงเพียง 6 จุดหรือลดลงเพียง 0.42% แต่หุ้นที่กำลังร้อนแรงกลุ่มหนึ่งที่วิ่งขึ้นโดดเด่นเกือบทุกวันรวมถึงช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ 14 กลับตกลงมาประมาณ 3-5% ตอนปิดตลาด เพราะสำหรับนักเล่นหุ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้ที่ดัชนีตลาดมักไม่ค่อยไปไหนและมีทิศทางลดลงแต่หุ้นกลุ่มดังกล่าวกลับปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ พร้อมปริมาณการซื้อขายที่สูงลิ่วและนักลงทุนลุ้นกันทุกวันว่ามันจะขึ้นไปถึงจุดไหนในหุ้นแต่ละตัว นี่คือกลุ่มหุ้นที่ “พลาดไม่ได้” เพราะมันเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดีเยี่ยม กิจการมั่นคงเติบโต เป็นหุ้นที่มีขนาดหรือมูลค่าหุ้นเป็นแสนแสนล้านบาท ผมเองติดตามความเคลื่อนไหวและความเป็นไปของตลาดหุ้นเกือบทุกวันเป็นเวลานานมากเท่า ๆ กับที่อยู่ในตลาด ปรากฏการณ์ที่ผมเห็นมาตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมาก็คือ นักเล่นหุ้นส่วนบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการซื้อขายหุ้นมากที่สุดขนาดที่บางคนซื้อขายกันทุกวันนั้น จะหา “หุ้นร้อน” ที่จะเล่น และในบางช่วงเวลาก็จะมีหุ้นร้อนที่มีธีมบางอย่างที่สามารถกระตุ้นให้คนสนใจเข้ามาซื้อขายหุ้นได้ บ่อยครั้งก็เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตหรือกำลังได้ประโยชน์จากกฎเกณฑ์ของรัฐ ทั้งหมดนั้นมักจะดำเนินอยู่ยาวนานพอสมควรอย่างน้อยก็เป็นปี เมื่อเกิดกระแสหรือ “จุดติด” แล้ว หุ้นในกลุ่มนั้นก็จะปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างแรง ราคาของหุ้นขึ้นไปเป็นร้อยหรือหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จนคนทั้งตลาดซึ่งรวมถึงนักวิเคราะห์ต่างก็เข้ามา “ร่วมขบวน” และต่างก็บอกว่าหุ้นก็จะไปต่อไปเนื่องจากพื้นฐานที่ดีของบริษัท วันที่ประชามติออกมาเป็นเอกฉันท์ว่าหุ้นในกลุ่มนั้นทั้งกลุ่มมีราคาที่เหมาะสม ก็มักจะเป็นวันที่ราคาหุ้นขึ้นไปสูงสุด บางครั้งก็เกิดขึ้นทันทีกับหุ้นทั้งกลุ่มเช่น หุ้นตกลงมาทั้งกลุ่มโดยที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน เป็นไปได้ว่ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับหุ้นบางตัว หลังจากนั้นนักลงทุนอาจจะเริ่มตระหนักว่าหุ้นที่อยู่ในกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงกันก็อาจจะเกิดขึ้นได้ คนหนึ่งขายหุ้นอย่างหนักหุ้นก็ตกทำให้คนที่จ้องมองอยู่ขายบ้างทำให้หุ้นตกเพิ่มขึ้นซึ่งก็ทำให้คนต่อไปทำเช่นเดียวกัน ผลก็คือหุ้นตกลงมาเป็นแผงคล้าย ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันวาเลนไทน์ หลาย ๆ ครั้งวันที่เกิดเหตุการณ์แบบนั้นมักจะเป็นวันใกล้วันประกาศงบการเงินประจำไตรมาสหรือประจำปี เหตุผลอาจจะเป็นว่าหุ้นเหล่านั้นมักจะเป็นหุ้นที่เน้นแนวเติบโตสูง การประกาศงบจะเป็นวันที่บอกว่าหุ้นโตจริงหรือเปล่า คนที่มีข้อมูลภายในที่อาจจะรู้ว่างบไม่ดีอย่างที่คาดก็อาจจะขายก่อนและทำให้หุ้นตกมาแรงและทำให้ภาพของหุ้นทั้งกลุ่มเปลี่ยนแปลงไป หลังจากนั้นหุ้นก็อาจจะไม่กลับไปดีมากอย่างที่เคย แบบนี้เราเรียกว่า “จบรอบ” ประมาณปี 2557 นั้น เราได้เห็นหุ้นขนาดเล็กรวมถึงหุ้นในตลาด MAI หลายบริษัทปรับตัวขึ้นไปดีมากเป็นที่กล่าวขวัญของนักลงทุนว่าเป็นกิจการที่โตเร็ว หุ้น IPO ขนาดเล็กเป็นที่ต้องการสูงมากเพราะคนจองได้กำไรเป็นกอบเป็นกำทุกตัว อย่างไรก็ตามรอบของหุ้นเล็กนั้นก็จบลงน่าจะประมาณปลายปี 2557 และหลังจากนั้นก็ไม่ฟื้นเลย เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องราวหรือสตอรี่ของหุ้นตัวเล็กนั้นสร้างไม่ค่อยได้ และเมื่อผลประกอบการทยอยออกมาฟ้องว่ามันไม่ได้โตได้มากอย่างที่คิด นักลงทุนที่ “ชาญฉลาด” หรือคนที่ “ทำหุ้น” ก็รีบถอยโดยการขายหุ้นทิ้งทำกำไรไปก่อนที่ราคาจะไหลลงจนกลับขึ้นไปไม่ได้ ช่วงปี 2559-2560 เป็นเวลาของหุ้นขนาดกลางหรือกลางเล็กที่ผมเรียกว่าเป็นกลุ่ม “หุ้นนางฟ้า” ที่มักเป็นหุ้นสินค้าผู้บริโภคที่มีแบรนด์เนมดี มีกำไรดี มีฐานะการเงินเยี่ยม และที่สำคัญมีสตอรี่ของการเติบโตจากตลาดใหม่ในต่างประเทศ เหตุก็เพราะว่าหุ้นผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นอย่างนั้นในอดีต แต่เหตุที่มันไม่ค่อย Perform หรือหุ้นไม่โตก็เพราะว่าหุ้นเหล่านั้นมักจะมีภาพของธุรกิจที่ค่อนข้างอิ่มตัวในประเทศ การส่งออกหรือขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวจึงกลายเป็นสตอรี่ที่ทำให้กลุ่มหุ้นนางฟ้าวิ่งเป็นจรวด ราคาขึ้นไปหลายเท่าในเวลาเพียง1-2 ปี แต่หลังจากที่งบการเงินออกมาต่อเนื่องและฟ้องว่าไม่ได้เติบโตอย่างที่คาด ราคาหุ้นก็ร่วงทั้งกลุ่ม หุ้นจบรอบลงอย่างน่าเศร้าสำหรับนักลงทุนที่เข้าไปเล่นในยามที่ทุกอย่างดูสดใสและ “ไม่เสี่ยงเลย” เพราะมันเป็นหุ้นที่ทุกคนรวมถึงนักลงทุนสถาบันและต่างประเทศบอกว่ามันดี ล่าสุดก็คือกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาทโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าและอีกหลายตัวที่ผมมองดูมานานพอสมควรและเห็นว่ามีหุ้นอย่างน้อย 5 ตัวที่เป็นขวัญใจของนักเล่นหุ้น รอบของ “หุ้นใหญ่แสนล้าน” นั้นน่าจะผ่านมาประมาณ 2 ปีแล้วคือตั้งแต่ต้นปี 2561 เป็นต้นมา โดยที่คุณลักษณะที่ร่วมกันของหุ้นกลุ่มนี้สามารถอธิบายเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้ 1) เป็นหุ้นที่ขณะนี้มี Market Cap. อย่างน้อย 100,000 ล้านบาทแล้ว ซึ่งกลายเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่เป็นหุ้นขวัญใจของนักเก็งกำไรที่ในอดีตชอบเล่นแต่หุ้นเล็กที่ราคามักวิ่งขึ้นเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม หุ้น 5 ตัวนี้คือหุ้นที่วิ่งขึ้นเร็วมากจนไม่น่าเชื่อ ราคาหุ้นขึ้นไปในเวลา 2 ปีหรือน้อยกว่านั้นโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 110% ซึ่งในอดีตนั้น หุ้นใหญ่ขนาดนี้ขึ้นไปอย่างมากก็ปีละ 20-30% ก็ถือว่ามากแล้ว 2) Market Cap. ของ 5 บริษัทรวมกันจนถึงปัจจุบันประมาณ 900,000 ล้านบาท และในช่วงน้อยกว่า 2 ปีที่ผ่านมาได้สร้าง Market Cap. เพิ่มขึ้นประมาณ 530,000 ล้านบาท นี่เป็นเม็ดเงินมหาศาลที่ทำให้คนที่เข้าไปลงทุนหรือผู้ถือหุ้นเดิมมั่งคั่งขึ้นมหาศาล 3) บริษัททั้ง 5 แห่งนั้นไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่เติบโตเร็ว แต่เป็นอุตสาหกรรม “พื้นฐาน” ที่น่าจะอิ่มตัวในประเทศ แต่กำลังขยายไปต่างประเทศ โดยที่กำไรที่ผ่านมาในอดีตนั้นอยู่ในระดับพอใช้เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้หรือส่วนของผู้ถือหุ้น การเติบโตของกำไรที่ผ่านมานั้นอยู่ในระดับปานกลางถึงดีแต่ก็ไม่ได้โดดเด่นมากนัก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะมีความคาดหวังสูงมากสำหรับการเติบโตของกำไรที่จะมาจากต่างประเทศเนื่องจากโครงการต่าง ๆ “กำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็ว” 4) หุ้นเกือบทั้งหมดนั้นมีค่า PE ที่สูงลิ่วเช่นเดียวกับค่าความแพงอื่น ๆ เฉลี่ยหุ้น 5 ตัวมีค่า PE สูงถึง 53 เท่า 5) หุ้นทุกตัวนั้นแม้ว่าจะมี Market Cap. เป็นแสนหรือหลายแสนล้านบาท แต่ Free Float หรือส่วนที่ถือโดยนักลงทุนที่จะซื้อขายหุ้นในตลาดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่เท่า ๆ กัน เนื่องจากบริษัทมักจะเป็นกิจการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมที่เป็นผู้ก่อตั้งถือหุ้นส่วนใหญ่อยู่ หรือไม่ก็เป็นบริษัทลูกของบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่ไม่มีนโยบายขายหุ้นในตลาด และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้การซื้อขายของนักเก็งกำไรโดยเฉพาะที่เป็นรายใหญ่ซึ่งอาจรวมถึงสถาบันอาจจะสามารถชี้นำราคาหุ้นได้ทั้ง ๆ ที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาท คงต้องดูกันว่าหุ้นกลุ่มที่กล่าวถึงนี้จะมีคำว่า “จบรอบ” เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ในอดีตหรือไม่และจะเกิดขึ้นเมื่อไร ประสบการณ์บอกผมว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยากเมื่อคำนึงถึงระดับราคาของหุ้นและสตอรี่ต่าง ๆ ที่คาดกันว่าจะเกิดขึ้น ผมเองเคยเห็นหุ้นขนาดแสนล้านบาทที่วิ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากบางทีแค่หมื่นหรือสองสามหมื่นล้านบาทมาอยู่เนือง ๆ แต่ในที่สุดก็ตกลงมาแบบ “หายนะ” เมื่อผลประกอบการไม่รองรับและค่า PE ที่สูงลิ่ว ในครั้งนี้ ถ้าจะพูดว่าอาจจะมีบางตัวสามารถรักษาระดับราคาอยู่ได้ตลอดไปผมก็คิดว่ามีความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามองเป็นกลุ่มแล้ว ผมยังคิดว่ารอบนี้ก็น่าจะเหมือนเดิม คือมีวัน “จบรอบ” ที่ราคาหุ้นตกลงมาอย่างน่าใจหาย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/02/17/2277 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหุ้นทั่วโลก...หลังตลาดหุ้นจีนกลับมาเปิด? - FINNOMENA ทางการจีนได้ประกาศเลื่อนการเปิดทำการอีกครั้งของตลาดหุ้นของจีนหลังเทศกาลตรุษจีนมาเป็นสัปดาห์หน้า โดยคาดว่าจะเป็นวันที่ 3 ก.พ. หรืออย่างช้าสุดน่าจะเป็น 7 ก.พ. โดยบทความนี้ จะขอกล่าวถึงว่าคำถามคือในวันนั้น ตลาดหุ้นจีนและตลาดทั่วโลก จะเป็นเช่นไร รวมถึงจุดต่ำสุดของตลาดหุ้นต่างๆ จากโรคไวรัสโคโรน่าในครั้งนี้ น่าจะอยู่ตรงไหน 31 ม.ค. 2563 มนุษยชาติเราได้ห่างหายภาวะการติดเชื้อแบบระดับโลกจริงๆ ไปแล้วกว่า 18 ปี การกลับมาของไวรัสโคโรน่า ในช่วงต้นปี 2020 นับเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้งนี้ ทางการจีนได้ประกาศเลื่อนการเปิดทำการอีกครั้งของตลาดหุ้นของจีนหลังเทศกาลตรุษจีนมาเป็นสัปดาห์หน้า โดยคาดว่าจะเป็นวันที่ 3 ก.พ. หรืออย่างช้าสุดน่าจะเป็น 7 ก.พ. โดยบทความนี้ จะขอกล่าวถึงว่าคำถามคือในวันนั้น ตลาดหุ้นจีนและตลาดทั่วโลก จะเป็นเช่นไร รวมถึงจุดต่ำสุดของตลาดหุ้นต่างๆ จากโรคไวรัสโคโรน่าในครั้งนี้ น่าจะอยู่ตรงไหน แต่ก่อนอื่น จะขอเปรียบเทียบระหว่างโรคซาร์สกับ ไวรัสโคโรน่า ว่าเป็นเช่นไร จากตาราง จะพบว่า การติดต่อของซาร์สน่าจะถือว่าติดต่อกันได้ง่ายกว่าโคโรน่า โดยที่ซาร์สสามารถติดต่อกันด้วยการหายใจ ในขณะที่โคโรน่าต้องมีการสัมผัสเชื้อผ่านส่วนที่เป็นใบหน้า อย่างไรก็ดี ต้องบอกว่าการขนส่งและการเดินทางของคนจีนไปทั่วเมืองจีนและทั่วโลกในวันนี้ ถือว่ามีมากกว่าเมื่อ 18 ปีก่อนหลายเท่าตัว จึงไม่น่าแปลกใจที่จำนวนรายที่พบในครั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะมีจำนวนมากกว่าซาร์ส ทว่าในครั้งนี้ มองทางการจีน ทำได้รวดเร็วและเฉียบขาดกว่าช่วงซาร์ส โดยช่วงเวลาระหว่างการพบคนไข้รายแรกกับการใช้มาตรการเด็ดขาดของทางการจีนในครั้งนี้อยู่ที่ราว 3 สัปดาห์ ในขณะที่ช่วงซาร์สใช้เวลาราว 3 เดือน รวมถึงเปิดเผยข้อมูลต่อภายนอกมากกว่าครั้งที่แล้วเยอะ อย่างไรก็ดี ในครั้งนี้ มีการพบผู้ติดเชื้อในไทยด้วย ทว่าในช่วงซาร์สไม่พบว่ามีผู้ติดเชื้อในบ้านเรา โดยเหตุการณ์ซาร์สกินเวลาทั้งหมด 8 เดือน โดยเข้าสู่ช่วงที่ระบาดสูงสุดหลังผ่านไปราว 4 เดือน สำหรับการการเปิดทำการอีกครั้งของตลาดหุ้นของจีนที่คาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า คำถามคือจะติดลบรุนแรงไหม โดยสถิติที่รุนแรงสุด คือเหตุการณ์ Taper Tantrum ของเบน เบอร์นันเก้และการลดค่าเงินหยวนในช่วง ส.ค. 2015 ตลาดหุ้นจีนติดลบสูงสุดที่ 8.7% โดยที่ในวันนั้น ตลาดหุ้นไทยและญี่ปุ่นติดลบที่ 4.9% ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐติดลบที่ 3.9% ดังรูปที่ 1-3 โดยตอนที่ตลาดหุ้นจีนผันผวนและติดลบหนักๆ ในช่วงดังกล่าว ตลาดหุ้นไทยลงแรงแบบตีหัวเข้าบ้าน โดยที่ลงแบบหนักๆ ใน 2 วันนั้นแล้วก็ขยับลงแบบเล็กน้อยโดยมีปรับขึ้นบ้างสลับกันในเวลาต่อมา ในขณะที่ตอนตลาดหุ้นจีนผันผวนและติดลบหนักๆ ในช่วงดังกล่าว ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ได้ลงแบบหวือหวา ทว่าลงแบบที่ค่อนข้างสัมพันธ์การตกลงของตลาดหุ้นจีนในช่วงนั้นพอสมควรแบบเป็นระยะต่อเนื่องหลายเดือน ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นถือว่าเป็นส่วนผสมของตลาดหุ้นไทยและสหรัฐฯ คือทั้งลงในระดับค่อนข้างหนักและลงแบบที่ค่อนข้างสัมพันธ์การตกลงของตลาดหุ้นจีนในช่วงนั้นพอสมควรด้วย นั่นคือ ในภาพรวม ตลาดญี่ปุ่นน่าจะถือว่าสัมพันธ์กับตลาดหุ้นจีนมากที่สุด ส่วนตลาดหุ้นไทยมีหนักจริงๆ ในวันต้นๆ ของวิกฤต ส่วนตลาดสหรัฐฯ ลงแบบไม่หวือหวาแต่ล้อไปกับตลาดจีนนานพอสมควร มาถึงคำถามสุดท้าย จุดต่ำสุดของตลาดหุ้นต่างๆ จากโรคไวรัสโคโรน่าในครั้งนี้ น่าจะอยู่ตรงไหน? หากใช้ข้อมูลในช่วงโรคซาร์สมาเป็นหลักอ้างอิง โดยใช้สมมติฐานความรุนแรงของไวรัสโคโรน่าเป็นครึ่งหนึ่งของโรคซาร์ส จะพบว่าจาก ณ ระดับดัชนีหุ้นช่วงก่อนทราบข่าวไวรัสโคโรน่า ดัชนีหุ้นจีนน่าจะลดลงราว 9.8% โดยที่ตลาดหุ้นฮ่องกง น่าจะลดลงราว 7.1% ส่วนตลาดหุ้นดาวน์โจนส์และนาสแด็ค น่าจะลดลงราว 7.2% และ 5.5% ตามลำดับ ด้านตลาดหุ้น FTSE100 น่าจะลดลง 4.2% ท้ายสุดตลาดหุ้นญี่ปุ่นน่าจะลดลง 8.1% โดยที่ช่วงเวลาที่เป็นจุดต่ำสุดของดัชนีหุ้นทั่วโลก น่าจะมีโอกาสเป็นช่วงปลายไตรมาสแรกปีนี้มากที่สุด ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ณ ปัจจุบัน การที่เทคโนโลยีการแพทย์ที่ล้ำหน้ากว่าในอดีตเป็นอย่างมาก และการขนส่งและเดินทางทั่วโลกของชาวจีนที่มีมากกว่าในอดีตอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ผลของการคาดการณ์ทั้งหมดนี้ อาจจะดีหรือแย่กว่าความเป็นจริงอยู่ไม่มากก็น้อยครับ MacroView ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649348 แท็ก: Article Basic Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไขความจริง “เมื่อหุ้นอาหาร-ค้าปลีก ไม่ตอบรับเทศกาลตรุษจีน ?” - FINNOMENA เข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน นักลงทุนหลายคนอาจเริ่มมีคำถามว่า “หุ้นกลุ่มไหนที่จะได้รับอานิสงส์จากการจับจ่ายใช้สอยในเทศกาลนี้?” บทความนี้มีคำตอบ ที่รับรองว่าคุณจะต้องสนใจ    24 ม.ค. 2563 เข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน นักลงทุนหลายคนอาจเริ่มมีคำถามว่า “หุ้นกลุ่มไหนที่จะได้รับอานิสงส์จากการจับจ่ายใช้สอยในเทศกาลนี้?” เรามีคำตอบ ที่รับรองว่าคุณจะต้องสนใจ ตามปกติในช่วงตรุษจีนของทุกปีหุ้น “กลุ่มอาหาร” และ “กลุ่มค้าปลีก” มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นการลงทุนในระยะสั้น จากประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จากการศึกษาความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในเชิงประจักษ์ เราไม่พบความสม่ำเสมอหรือการตอบรับเชิงบวกของราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเราเชื่อว่าอาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเทศกาลดังกล่าวเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น หลังตรุษจีนมีโอกาสทำกำไร แม้หุ้น “กลุ่มอาหาร” และ “กลุ่มค้าปลีก” จะไม่ได้โดดเด่นในช่วงตรุษจีนตามที่นักลงทุนหลายคนคาดหวัง แต่เราพบความเคลื่อนไหวของภาวะตลาดโดยรวม (SET Index) ที่มีนัยสำคัญหลังผ่านพ้นช่วงเทศกาลตรุษจีนไปแล้ว1-2 สัปดาห์ โดยจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย +0.8% และมีความน่าจะเป็นสูงถึงเกือบ 70% ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลจากการที่นักลงทุนเริ่มกลับเข้าสู่ตลาด หลังจากที่ผ่านพ้นช่วงหยุดยาวหลายวันติดต่อกัน โดยเฉพาะตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียหลายแห่งที่ปิดทำการในเทศกาลตรุษจีนต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ และหากมองข้ามช็อตต่อไปอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ถึงแม้ความน่าจะเป็นของตลาดที่จะให้ผลตอบแทนเป็นบวกลดลงเหลือประมาณ 60% ต้นๆ แต่ผลตอบแทนที่คาดหวังกลับสูงขึ้นเป็นบวกเฉลี่ย +2.0% ถึง +2.8% โดยเราเชื่อว่ามีสาเหตุจากแรงซื้อหุ้นตามปัจจัยฤดูกาล เพื่อเก็งกำไรผลประกอบการ และคาดหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลจ่ายประจำปี โดยตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 3% ต่อปี ถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ลงทุนหุ้นประเภทไหนดี? จากข้อมูล และปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมด เราจึงอยากแนะนำให้นักลงทุน ทอดระยะเวลาการลงทุนให้นานขึ้น มากกว่าการหวังผลในระยะสั้นช่วงตรุษจีนเท่านั้น เพราะเรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า โดยประเภทหุ้นเด่นที่เราชอบเน้นเป็นหุ้นพื้นฐานดีขนาดกลางถึงใหญ่ที่อิงกับการบริโภคและเศรษฐกิจภายในประเทศ และ หุ้นที่มีเงินปันผลสูง โดย TISCO SECURITIES ที่มาบทความ อ่านฉบับเต็มได้ที่: bit.ly/tisco220120 แท็ก: Article Basic Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อ FED ทำ QE รูปแบบใหม่...นักลงทุนจะติดตามได้อย่างไร? - FINNOMENA ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเลยว่าเมื่อ FED ลดขนาดงบดุลแล้วตลาดหุ้น S&P ก็หยุดวิ่ง คืออยู่ในภาวะ Sideway อย่างในช่วงปี 2018 จนถึงกลางปี 2019 แต่พอ FED กลับมาทำ Repo เพื่อเพิ่มขนาดงบดุลอีกครั้งก็ทำให้ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นไม่หยุดอีกครั้ง คำถามก็คือเราในฐานะนักลงทุนรายย่อยจะสามารถติดตามการกระตุ้นของ FED ในรอบนี้ได้อย่างไร 24 ม.ค. 2563 เปิดทศวรรษใหม่มาในปี 2020 นี้ ตลาดหุ้นโลกก็ปรับตัวขึ้นทำ All time high อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าพลิกความคาดหมายไม่น้อยเลย จากที่นักวิเคราะห์พูดกันติดต่อมาหลายปีว่าตลาดมันขึ้นมานานเกินไปแล้วกว่า 10 ปี และควรถึงเวลาปรับฐานใหญ่ได้แล้ว ตลาดหุ้นนั้นขึ้นหรือลงหลัก ๆ มีอยู่ 4 ปัจจัย คือ 1. พื้นฐาน ซึ่งผมมักใช้แนวโน้มการเติบโตของกำไร ถ้าเติบโตเป็นเลขสองหลักก็ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าติดลบหรือเติบโตน้อย ๆ ต่ำกว่า 5% อันนี้ต้องเริ่มระวัง 2. ราคา หรือมูลค่ายุติธรรม อันนี้ดูง่าย ๆ คือดูที่ระดับ P/E เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาว่ามันสูงหรือต่ำ อีกอันนึงคือดูค่า P/E เทียบกับการเติบโตของกำไรในข้อ 1 ถ้ากำไรโตน้อย แต่ P/E กับแพงเช่นเกิน 15 เท่าให้ระวัง (คล้าย ๆ กับเมืองไทยในช่วงนี้) 3. ความเสี่ยง เช่นเรื่องสงครามการค้า เรื่องสงครามกลางเมือง โรคระบาด Brexit เป็นต้น 4. กระแสเงิน คือการดู fund flow ว่าเงินมันไหลไปหุ้นกลุ่มไหน ภูมิภาคไหน หรือเงินมันกำลังไหลไปสินทรัพย์ไหนระหว่างสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างพันธบัตร ทองคำ หรือสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างหุ้น รูปที่ 1 งบดุลของ FED ที่กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง | ที่มา Yardeni ในเรื่องของกระแสเงินนี้เองที่นวัตกรรมของนโยบายการเงินกลับมามีผลมาก ๆ ในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา นำโดย FED ที่คิดค้นวิธีบิดเบือนสภาพคล่องตามธรรมชาติของระบบ และเข้าแทรกแทรงโดยการอัดฉีดเงินเข้าระบบ หรือดูดเงินออกจากระบบการเงินโลก วลีที่ว่า “Don’t fight the FED” เป็นสิ่งที่พิสูจน์แล้วจริง ๆ ความหมายคืออย่าอยู่สวนทางกับ FED เลย เพราะเมื่อดูสถิติของตลาดหุ้นเมื่อเทียบกับการอัดฉีดเงิน ไม่ว่าจะเป็นการทำ QE หรือล่าสุดเป็นการอัดฉีดเงินผ่านตลาด Repo นั้นดูเหมือนจะมีผลต่อตลาดหุ้นมาก ๆ รูปที่ 2 งบดุลของ FED เมื่อเทียบกับดัชนี S&P 500 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเลยว่าเมื่อ FED ลดขนาดงบดุลแล้วตลาดหุ้น S&P ก็หยุดวิ่ง คืออยู่ในภาวะ Sideway อย่างในช่วงปี 2018 จนถึงกลางปี 2019 แต่พอ FED กลับมาทำ Repo เพื่อเพิ่มขนาดงบดุลอีกครั้งก็ทำให้ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นไม่หยุดอีกครั้ง คำถามก็คือเราในฐานะนักลงทุนรายย่อยจะสามารถติดตามการกระตุ้นของ FED ในรอบนี้ได้อย่างไร ทางทีมลงทุนของ FINNOMENA ได้ช่วยหาช่องทางการติดตามมาให้เรียบร้อยแล้วครับ คือที่ www.newyorkfed.org ซึ่งตารางการทำ Repo ของ FED นั้นมีสัปดาห์ละ 2 ครั้งคือทุกวันอังคารกับวันพฤหัส ซึ่งในปีนี้เราจะทำการอัปเดตสถานะให้ทุกท่านได้ติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนต้องติดตามในปีนี้ เชิญไปกด subscribe กันได้ที่ https://www.youtube.com/finnomena ซึ่งเราจัดรายการ FINNOMENA LIVE สดกันทุกวันพฤหัสบดีเวลา 1 ทุ่มตรงต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 5 แล้ว และก็คงจัดต่อไปเรื่อย ๆ สุดท้ายนี้ภาพความทรงจำเก่า ๆ ในช่วงต้นปี 2018 ก็ทำให้นึกขึ้นได้ว่าทุกครั้งที่ดัชนีหุ้น S&P 500 ปรับเพิ่มขึ้นแรง ๆ ต่อเนื่องมักจะตามมาด้วยการปรับฐานซัก 10% ให้ใจหายจากนั้นค่อยขึ้นต่อ ดังนั้นนักลงทุนที่มีกำไรติดมือมาก ๆ แล้วก็อย่าซื้อจนเพลินไปนะครับ ทยอยขายทำกำไรบ้างก็เป็นความคิดที่ไม่เลยเหมือนกันครับ FundTalk รายงาน ณ วันที่ 21 ม.ค. 63 แท็ก: Advance Article Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มือที่มองไม่เห็น!! อาวุธลับดันตลาดของ FED ตลาดหุ้นดีดขึ้นนิวไฮ!! หลังได้ยาแรงอย่าง QE ลับ - FINNOMENA เมื่อช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอเมริกาได้ปรับตัวทำนิวไฮกันถ้วนหน้า ท่ามกลางความหวาดระแวงในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจถดถอยจึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า ตลาดปรับตัวถึงขนาดดันทำนิวไฮได้อย่างไร? ทาง Finnomena Investment Team ได้ไปขุดคุ้ยถึงปรากฎการณ์การดันตัวอันประหลาดนี้ จนค้นพบว่าจริงๆแล้วทาง FED อาจจะมีการทำ QE อย่างลับๆ!! 24 ม.ค. 2563 มือที่มองไม่เห็น!! อาวุธลับดันตลาดของ Fed ตลาดหุ้นดีดขึ้นนิวไฮ!! หลังได้ยาแรงอย่าง QE ลับ เมื่อช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอเมริกาได้ปรับตัวทำ new high กันถ้วนหน้า ท่ามกลางความกังวลในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจถดถอยจึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า ตลาดปรับตัวถึงขนาดดันทำ new high ได้อย่างไร? ซึ่งหนึ่งในสาเหตุนั้นอาจมาจากการทำ QE อย่างลับๆ ของ Fed ผ่านตลาด Repo แล้วมันคืออะไร ทำไมสิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุ เราลองไปค้นหาและทำความเข้าใจกัน ตลาดหุ้นเสพติด QE? หากย้อนกลับไปในอดีตนับตั้งแต่ปี 2008 ตลาดหุ้นมีการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องหลังการทำ QE ในทุกๆครั้ง โดยหากแบ่งเป็นช่วงดังภาพเป็น QE1,QE2, และ QE3 ผลหลังจากการ QE ก็จะเป็นดังนี้ QE1 ช่วงปี 2009- ต้น 2010 ตลาดปรับตัวขึ้น QE2 ช่วงปลายปี 2010- กลางปี 2011 ตลาดปรับตัวขึ้น QE3 ช่วงเกือบปลายปี 2012- ปลายปี 2014 ตลาดปรับตัวขึ้น จนเมื่อช่วงปลายปี 2017 ถึงปลาย 2018 ตลาดมีการปรับตัวลงหลังจากการทำ QT หรือพูดอย่างง่ายคือ การนำเงินออกจากระบบ ก่อนจะปรับตัวขึ้นหลังทาง Fed กลับมาลดอัตราดอกเบี้ย ก่อนจะมีการดีดตัวปริศนาอย่างรุนแรงและทำ new high ไปในที่สุด จึงมีความเป็นไปได้ว่า QE นั้นเหมือนเป็นยาแรงที่เข้าไปผลักดันตลาดในวันที่ตลาดไม่เป็นใจและในหลายๆครั้งวิธีการนี้ก็ดูเหมือนจะได้ผล จึงเป็นคำถามต่อไปว่าตลาดเสพติดการทำ QE หรือการอัดฉีดเงินหรือไม่? แต่ก่อนอื่นเราไปดูกันว่านอกจากสหรัฐฯ แล้ว ยังมีที่ไหนอีกบ้างที่อัดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจอีกบ้าง ทาง ECB และ BOJ มีการทำ QE ต่อเนื่อง ซึ่งถ้าหากมาดูทางด้านของ ECB และ BOJ ก็มีการทำ QE ต่อเนื่องเช่นเดียวกัน สังเกตได้จาก Balance sheet หรือขนาดสินทรัพย์ที่ธนาคารเหล่านั้นถือครองปรับตัวขึ้น แสดงถึงการเข้าซื้อสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้หรือหุ้น เพื่ออัดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ Balance sheet ของ Fed ก็เพิ่มขึ้น…. หรือว่า Fed เองก็ทำ QE เช่นกัน? หากมาดูทางด้าน Balance sheet ของ Fed เอง ก็จะเห็นได้ว่ามีการดีดตัวขึ้นอย่างน่าสงสัยสอดคล้องกับ คำถามที่ว่า Fed ทำ QE ตอนไหน? หรือใช้อะไรเพื่อเพิ่มขนาด Balance sheet? Overnight repo rate (อัตราดอกเบี้ยข้ามคืน) ดีดตัวขึ้นอย่างน่าฉงน? หากเรามาดูที่ Overnight repo rate ซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงินข้ามคืน (Overnight) ของธนาคารพาณิชย์ จะเห็นได้ว่ามีการดีดตัวขึ้นอย่างมีนัยยะ และเมื่อต้นทุนทางการเงินของสถาบันทางการเงินเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง ก็อาจสร้างความตึงเครียดให้ระบบการเงินทั้งระบบได้ แล้วการดีดตัวขึ้นมาของอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนแสดงถึงอะไร? เหตุที่ Overnight repo rate ดีดตัวขึ้นระบบการเงินของสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการขาดสภาพคล่อง หากพูดอย่างง่ายก็คือการที่ธนาคารมีเงินมาหมุน (Money Supply) ไม่พอกับความต้องการเงิน (Money demand) ที่มีสูงกว่า ด้วยความต้องการเงิน (Demand) ที่มากกว่าปริมาณเงินในระบบ (Supply) จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นตามกลไกตลาด เมื่อ Repo ดีด Fed จึงต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อดึง Repo rate ลง การที่จะลดอัตราดอกเบี้ยแบบข้ามคืน (Overnight) ในสถานการณ์นั้น จะต้องเพิ่มปริมาณเงินเข้าระบบ ทาง Fed จึงเพิ่มปริมาณเงินผ่านตลาด Repo ซึ่งก็คือตลาดปล่อยกู้ในระยะสั้นเพื่อนำเงินเข้าสู่ระบบ โดยเลือกเพิ่มเงินทั้งกับ Repo ข้ามคืน (Overnight) และ เป็นช่วงระยะเวลา (Term) ซึ่งหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ย Repo ก็ลดลงสู่ระดับเดิม จากภาพด้านบนจะสังเกตได้ว่าในส่วนของ Liquidity facilities ที่มี Repo เป็นส่วนหนึ่งในนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ Balance sheet ที่เพิ่มขึ้น หรือถ้าจะเปรียบเทียบอย่างง่ายการทำ Repo ก็ไม่ต่างอะไรกับการ QE หรือการอัดฉีดเงินเข้าระบบนั่นเอง Fed อัด Repo หรือ QE ไปเท่าไหร่? ตอนไหน? ในส่วนของการทำ Repo แบบมี Term กำหนดเงื่อนไขระยะเวลา จะเห็นได้ว่าในช่วงกลางเดือนธันวาคม ทาง FED มีการทำ Repo ในปริมาณที่เพิ่มอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะสังเกตได้จากรูปทางซ้ายมือ ในขณะเดียวกันการทำ Repo แบบ overnight rate ข้ามคืน ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงต้นเดือนมกราคมซึ่งจะสังเกตได้จากรูปทางด้านขวา ตลาดดีดตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาการทำ Repo!! หากเทียบกับข้อมูลก่อนหน้าที่มีการทำ Repo ในช่วงเดือนธันวาคมและต้นเดือนมกราคม จะสังเกตได้ว่าเป็นเวลาเดียวกับที่ดัชนี S&P 500 มีการดีดตัวขึ้น ซึ่งสอดคล้องกันและสื่อเป็นนัยยะว่าการทำ Repo อาจจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ สำหรับการดีดตัวของตลาดรอบนี้ การทำ Repo หรือ QE นั้นมีแนวโน้มในปริมาณที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อการทำ Repo คือการซื้อคืน US Treasuries เพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบ จากภาพได้บนจะเห็นได้ว่า ปริมาณ Repo ในระบบและ US Treasuries เพิ่มขึ้นสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันว่า Fed น่าจะมีการทำ Repo เพิ่มขึ้นจริงๆ Fed ยังไม่หยุดแค่นี้? หรืออยากหยุดแต่หยุดไม่ได้? จากกำหนดการมีความเป็นไปได้ว่า Fed จะมีการทำ Repo ต่ออย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบ term และ overnight เป็นที่น่าสงสัยว่าตลาดหุ้นจะดันขึ้นไปได้อีกไหมหลังทำจุดสูงสุดใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นยังมีอีกข้อสงสัยว่าตลาดได้เสพติดการอัดเงินเข้าระบบโดยการ Repo ไปแล้วหรือเปล่า? ทาง Fed จะหยุดทำ Repo เมื่อไร? ตลาดจะปรับตัวลงมาไหมหลังจากหยุดทำ? ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าจับตามองในช่วงนี้ เพราะทั้งหมดที่ Fed ทำนั้นเหมือนกับว่าทางธนาคารพาณิชย์อาจจะไม่รอดแล้วหรือเปล่าจนถึงขนาดให้ทาง Fed เข้ามาช่วยอุ้ม แท็ก: Advance Article Knowledge Long Content Picture Slide แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วันวานกับวันนี้ - FINNOMENA ประเทศไทยไทยในวันวานกับวันนี้ ต่างกันอย่างไรบ้าง? บทความนี้ ดร.นิเวศน์ จะเจาะไปที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้น ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และในอนาคตอันใกล้นี้สถานการณ์จะเป็นแบบไหน? 23 ม.ค. 2563 บางทีอาจจะเป็นเพราะผมแก่ตัวลงทำให้ชอบมองย้อนหลังและเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบันในทุกเรื่องทุกประเด็นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือเรื่องที่ผมคิดว่าเป็น “แนวโน้ม” ใหญ่ หรือเป็นกระแสที่เป็นการเปลี่ยนแปลงระยะยาวทางเดียว ไม่ใช่เรื่องที่เป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นกลับไปมาหรือขึ้นลงเป็นแฟชั่น ในบทความนี้ผมคงพูดเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเป็นหลักและก็จะเป็นเรื่องที่มาจากความเข้าใจและความรู้สึกที่เก็บสะสมมาต่อเนื่องยาวนานโดยไม่ได้อ้างอิงตัวเลขแบบวิชาการ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าตัวเลขจริงก็คงไม่ผิดไปมากจนทำให้ข้อสรุปนั้นมีความผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญ เรื่องแรกก็คือการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งในอดีตนั้นเราเคยโตเร็วมาก ช่วงเวลาส่วนใหญ่เราเคยโตประมาณ 7% ต่อปี บางช่วงสั้น ๆ เราเคยโตเกิน 10% และช่วงที่เราประสบ “ปัญหา” ทางเศรษฐกิจ เราก็โตประมาณ 5% แต่เดี๋ยวนี้ดูเหมือนว่าเราจะโตแค่ 3% ต่อปี หรือน้อยกว่านั้น นั่นเป็นตัวเลขคร่าว ๆ ผมจำได้ว่าในช่วงที่เศรษฐกิจโตเร็วนั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความคึกคักมาก ในสมัยที่ผมยังเป็นเด็กนั้น แค่เห็นแสงไฟนีออนในยามค่ำคืนที่เยาวราชและต่อมาแถวถนนเพชรบุรีตัดใหม่ที่เป็นแหล่งของ “คนกลางคืน” มันก็บอกได้ถึงความเติบโตของเศรษฐกิจแล้ว ต่อมาก็เป็นเรื่องของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นเต็มถนน การผุดขึ้นของคอนโดมิเนียม การเติบโตของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ และแม้แต่ร้านอาหารจีนหรืออาหารทะเลที่แสนแพงต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าคนรวยขึ้นและมีจำนวนมากขึ้น ตรงกันข้าม ในระยะหลังหรือวันนี้ ผมก็เริ่มเห็นสัญญาณที่บอกว่าเศรษฐกิจกำลังหงอยเหงาลง ภัตตาคารหรูหลาย ๆ แห่งที่ผมเคยไปกินต่อเนื่องมาเป็นสิบ ๆ ปี ค่อย ๆ ทยอยปิดตัวลง จริงอยู่ การเปลี่ยนพฤติกรรมของการกินก็คงมีส่วนบ้าง แต่ผลจากภาวะเศรษฐกิจน่าจะมากกว่า ตลาดหุ้นเมื่อวันวานกับวันนี้นั้น ผมคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร สิ่งที่ชัดเจนก็คือการลดลงของนักลงทุนส่วนบุคคลที่ซื้อขายหุ้นลงทุนเองในตลาดนั้น หลังจากที่ Peak หรือขึ้นถึงจุดสูงสุดในช่วงประมาณ 6-7 ปีมาแล้ว บัดนี้ดูเหมือนว่าจะลดลงไปมาก จากตัวเลขปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันประมาณ 70-75% ในช่วงต้น ๆ ของการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ และสูงเกิน 50% ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมดมานานมาก เดี๋ยวนี้เหลือแค่ประมาณ 30-40% โดยที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงซื้อขายกันประมาณ 25-35% ต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงวันนี้ ผู้เล่นใหม่ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือนักลงทุนสถาบันที่ซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 15% จากที่มีบทบาทน้อยมากในอดีต ปริมาณการซื้อขายของหุ้นตัวเล็กเทียบกับขนาดหรือ Market Cap. นั้นสูงมากในอดีตซึ่งเป็นสัญญาณว่านักลงทุนส่วนบุคคลในตลาดหุ้นที่มักเป็นรายย่อยนั้นเป็น “นักเก็งกำไร” ที่ซื้อขายหุ้นเพราะหวังส่วนต่างของราคาหุ้นในระยะสั้น ในช่วงที่การเก็งกำไรสูงสุดประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมานั้น การเห็นหุ้นตัวเล็กหรือกลาง-เล็ก ติดอันดับ 1 ใน 10 ของหุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุดจำนวนหลายตัวเกือบทุกวันเป็นเรื่องปกติ แต่ในวันนี้หุ้นตัวเล็กหรือกลาง-เล็กแทบไม่เคยติดอันดับเลย นักเก็งกำไรเองนั้นก็ยังคงอยู่ แต่ก็มีน้อยลงอานิสงค์จากการที่หุ้นตัวเล็กมีราคาตกลงไปมากซึ่งทำให้นักเล่นหุ้นหายไปจากตลาดไม่น้อย นักลงทุนส่วนบุคคล “รายใหญ่” หลายคนผันตัวเองไปเล่นเก็งกำไรในหุ้นขนาดใหญ่โดยใช้เครื่องมือหรือตราสารทางการเงินที่สามารถ “ขยายผลของราคาโดยการกู้” เช่น บล็อกเทรด มาเล่นแทนการเล่นหุ้นขนาดเล็ก ในอดีตนั้น หุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงมาก ราคาขึ้นไปเป็นหลายเท่าตัวในเวลาไม่นานมักจะมีแต่หุ้นขนาดเล็กหรือกลาง-เล็ก สาเหตุมักจะมาจากการที่บริษัทมีการเติบโตของผลประกอบการที่โดดเด่นซึ่งทำให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรโดยการเข้ามาซื้อหุ้นจำนวนมากจนหุ้นถูก “Corner” ปริมาณ Free Float ที่มีน้อยทำให้หุ้นสามารถถูกกำหนดโดย “เจ้ามือ” ที่มักเป็นนักลงทุนรายใหญ่เมื่อเทียบกับนักลงทุนรายย่อยอื่น ๆ แต่เดี๋ยวนี้หุ้นขนาดใหญ่บางตัวที่มี Free Float คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของหุ้นทั้งหมดไม่มากก็สามารถถูกต้อนเข้ามุมเหมือนกัน เหตุผลก็คือ นักลงทุนสถาบันที่มีเม็ดเงินจำนวนมากได้เข้ามาเล่นในเกมนี้ด้วย ก่อนหน้านี้อาจจะเล่นในหุ้นขนาดกลางหรือกลาง-เล็ก เวลานี้หุ้นขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการเติบโตเร็วก็วิ่งเร็วได้จนไม่น่าเชื่อเหมือนกัน พูดง่าย ๆ ก็คือ นักลงทุนสถาบันบางแห่งเริ่มเข้ามาทำตัวเหมือนนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ในตลาด ตลาดหุ้นไทยตั้งแต่อดีตนั้น เราไม่เคยขาด “เซียนหุ้นรายใหญ่” ที่เป็นบุคคลธรรมดา ตั้งแต่จำความได้ เรามี “ขาใหญ่” ในตลาดหุ้นตั้งแต่เปิดตลาดใหม่ ๆ ในช่วงแรก ๆ ก็มีไม่กี่คน พวกเขามีบทบาทเข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้นบางตัวในบางเวลามาตลอดและมักจะเป็นที่รู้กันในวงการ บางครั้งมีถึงขนาดจะไปเทคโอเวอร์แบ้งค์ขนาดใหญ่ แน่นอน ในบางช่วงเวลาโดยเฉพาะในยามที่ตลาดประสบกับวิกฤติพวกเขาก็มักจะห่างหายไปบ้าง แต่เมื่อตลาดหุ้นคึกคักขึ้นก็จะกลับมาใหม่ ขาใหญ่นั้น หลายคนก็หายไปจากตลาดเมื่อเวลาผ่านไปแต่หลายคนก็ยังคงอยู่และใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามตลาดหลักทรัพย์ที่โตขึ้น ชื่อของพวกเขานั้นทุกคนในตลาดต่างก็รู้จักดีเพราะอยู่มานานเป็นสิบ ๆ ปี แต่คนอาจจะไม่รู้ว่าในวันนี้ ขาใหญ่หรือเซียนหุ้นรายใหม่นั้นเกิดขึ้นไม่น้อยโดยที่หลายคนนั้นไม่เป็นที่รู้จักของคนในสังคม พวกเขาเพิ่งเติบโตขึ้นมา ส่วนใหญ่อาจจะไม่เกิน 10 ปีด้วยซ้ำ แต่ขนาดของเม็ดเงินและความสามารถที่จะขับเคลื่อนหุ้นนั้นมหาศาล ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกล้าได้กล้าเสียกว่าในการที่จะ Leverage หรือกู้เงินขยายผลการลงทุนเป็นหลาย ๆ เท่าตัว อิทธิพลของนักลงทุนรายใหญ่รุ่นใหม่นั้นน่าจะแซงเซียนหุ้นรุ่นเก่าไปแล้ว ในขณะที่เซียนหุ้นรุ่นเก่านั้นก็กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุและอาจจะค่อย ๆ ถอนตัวออกไปจากตลาดในไม่ช้า สมัยก่อน คือช่วงตั้งแต่เปิดตลาดหุ้นถึงปีวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 เป็นเวลา 22 ปี นั้น คนที่ “ลงทุนในตลาดหุ้น” นั้น แทบจะเรียกว่าไม่มี มีแต่คน “เล่นหุ้น” ที่เป็น “รายใหญ่” หน่อยก็มักเป็นคนทำธุรกิจที่ชอบเก็งกำไรและมีเงินมากหน่อยก็จะเข้ามาเล่นหาเงินจากตลาดหุ้น นักลงทุนที่เหลือก็คือนักลงทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มักจะเป็นแม่บ้านหรือคนที่ชอบเก็งกำไรหรือเล่นการพนัน คนที่เป็นพนักงานบริษัทที่จะเล่นหุ้นนั้นจะมีก็แต่คนที่อยู่ในวงการการเงินและหลักทรัพย์ การเล่นหุ้นนั้นมักจะอาศัยข่าวสารข้อมูลที่เป็นเรื่องของภาพใหญ่และเหตุการณ์และกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเรื่องของ “ข้อมูลภายใน” เกี่ยวกับผลประกอบการและการเข้ามาเล่นของนักลงทุนรายใหญ่ที่มีอิทธิพลขับเคลื่อนราคาหุ้นได้ หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเกิดขึ้นของแนวความคิดการลงทุนแบบ VI มาจนถึงทุกวันนี้เป็นเวลาประมาณ 20 ปี กลุ่มของนักลงทุนเปลี่ยนแปลงไปมาก นักลงทุนส่วนบุคคลกลายเป็นคนกินเงินเดือนหรือคนทำงานส่วนตัวที่มีรายได้และการศึกษาสูง นักลงทุนสถาบันเกิดขึ้นมากมายอานิสงส์จากการส่งเสริมของภาครัฐที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนหุ้นระยะยาว กองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนประกันสังคม และกองทุนต่าง ๆ สารพัด นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์และสังคมที่คนไทยต่างก็มีลูกน้อยลงมากหรือไม่มีเลยทำให้ต้องลงทุนเพื่อการเกษียณของตนเองแทนที่จะหวังพึ่งพาลูก ทั้งหมดนี้ทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น คนรุ่นใหม่จำนวนมากไม่ได้คิดว่าหุ้นเป็นเรื่องของการพนันแต่เป็นการลงทุน “เพื่อชีวิต” การลงทุนในตลาดหุ้นเองนั้นไม่ได้แตกต่างจากการลงทุนในธุรกิจ และดังนั้น การวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลของบริษัทเพื่อที่จะใช้เลือกหุ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งหมดนี้ทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นกิจกรรมที่สำคัญระดับชาติ ตลาดหลักทรัพย์กลายเป็น “เสาหลัก” ที่สำคัญไม่แพ้สถาบันหลักอื่น ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวโดยสรุปทั้งหมดก็คือ เศรษฐกิจในอดีตของเราก้าวหน้าเร็วมากแต่กำลังชะลอลงอย่างแรงในวันนี้ ส่วนตลาดหุ้นของเราก็เช่นกัน มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรงมั่นคงมีมาตรฐานดีขึ้นมากมานาน แต่การเติบโตของหุ้นที่ค่อนข้างนิ่งมานานถึง 6-7 ปี รวมถึงการลดลงของการสนับสนุนจากภาครัฐในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็อาจจะทำให้ตลาดหงอยลงได้เช่นกัน ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/01/20/2266 แท็ก: Article Basic Knowledge Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหุ้นไทย VS ตลาดหุ้นนิวยอร์ก - FINNOMENA คนอาจจะคิดว่าตลาดหุ้นไทย “แย่มาก” อนาคตไม่รู้อยู่ที่ไหน? แต่ถ้ามองย้อนหลังไป 11 ปีหลังวิกฤติซับไพร์มเหมือนกันก็จะพบว่าตลาดหุ้นไทยเองนั้นก็ปรับตัวดีขึ้นมากเหมือนกัน ว่าที่จริงไม่แพ้ตลาดหุ้นอเมริกาหรือดัชนีดาวโจนส์เลย คำถามที่สำคัญก็คือ เวลาต่อจากนี้ล่ะ ตลาดหุ้นไทยหรือตลาดนิวยอร์กหรือตลาดหุ้นอเมริกาจะดีกว่าในระยะยาว? 13 ม.ค. 2563 ในช่วงเร็ว ๆ นี้ดูเหมือนว่าดัชนีดาวโจนส์ของตลาดหุ้นนิวยอร์คจะทำสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ จนล่าสุดคือเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 ดัชนีปิดที่ประมาณ 28,824 จุด ทั้ง ๆ ที่อเมริกากำลังมีปัญหาสงครามการค้ากับจีนรวมถึงการพิพาททางทหารครั้งรุนแรงกับอิหร่าน ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนอ้างว่าทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยถดถอยลง ดัชนีปีที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นไปแค่ 1% และน่าจะย่ำแย่ต่อไปในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นของโลกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายต่างก็ปรับตัวขึ้นดีมากในช่วงหนึ่งปีที่ผ่าน ว่าที่จริงปีที่แล้วนั้นดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นดีที่สุดปีหนึ่ง ดัชนีดาวโจนส์เองก็ปรับตัวขึ้นไปในระดับ 20% นี่ทำให้นักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมากในตลาดหุ้นไทยรู้สึกท้อแท้ผิดหวังกับการลงทุน หลายคนถอนตัวออกจากตลาด ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อย ว่าที่จริงความท้อแท้หมดหวังนั้นเริ่มก่อตัวมานานพอสมควรแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2561 ที่ดัชนีตลาดหุ้นก็ตกลงไปประมาณ 11% โดยที่ “หุ้นยอดนิยม” ที่เป็นหุ้นที่นักลงทุนส่วนบุคคลชอบเล่นกันมากนั้น บางตัวตกลงไปเกินครึ่ง อนาคตของตลาดหุ้นไทยสำหรับนักลงทุนหลายคนดู “มืดมน” ตลาดหุ้นอเมริกาดู “สดใส” ว่าที่จริงตลาดหุ้นอเมริกาตั้งแต่ปี 2009 หลังจากวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 นั้น ปรับตัวดีขึ้นมาตลอดแทบทุกปีเป็นเวลา 11 ปีแล้ว สิ้นปี 2008 ดัชนีดาวโจนส์อยู่ที่ประมาณ 8,000 จุดเศษ ๆ ถึงปัจจุบันดัชนีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3.6 เท่า คิดแล้วเท่ากับผลตอบแทนที่ปีละ 12.3% แบบทบต้นไม่รวมปันผล นี่เป็นผลตอบแทนที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นอเมริกา คือเป็นตลาดกระทิงที่ยาวมากเกิน 10 ปีและให้ผลตอบแทนที่สูงมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะในอดีตนั้นตลาดกระทิงมักจะกินเวลาโดยเฉลี่ยแค่ 5-6 ปี ที่สูงเป็น 10 ปีนั้นมีน้อยมาก นี่เป็นยุคทองของตลาดหุ้นอเมริกาอย่างแท้จริง และเมื่อคำนึงถึงเศรษฐกิจและบริษัทจดทะเบียนของอเมริกาที่ดูเหมือนว่าจะยังดีมากเพราะเป็นเศรษฐกิจที่มีพลวัตรเป็นเศรษฐกิจดิจิตอลที่ก้าวหน้าและยังมีประชากรที่เพิ่มขึ้นและ “ไม่แก่” เมื่อเทียบกับประเทศที่ก้าวหน้าอื่น ๆ ในโลก คนอาจจะคิดว่าตลาดหุ้นไทย “แย่มาก” อนาคตไม่รู้อยู่ที่ไหน? แต่ถ้ามองย้อนหลังไป 11 ปีหลังวิกฤติซับไพร์มเหมือนกันก็จะพบว่าตลาดหุ้นไทยเองนั้นก็ปรับตัวดีขึ้นมากเหมือนกัน ว่าที่จริงไม่แพ้ตลาดหุ้นอเมริกาหรือดัชนีดาวโจนส์เลย สิ้นปี 2008 ดัชนีตลาดอยู่ที่ประมาณ 450 จุด ถึงวันที่ 10 มกราคม 2563 ดัชนีอยู่ที่ 1,581 จุด หรือเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 เท่าเกือบเท่ากับการเติบโตของดัชนีดาวโจนส์ในเวลาเดียวกัน ถ้าคิดรวมปันผลแล้ว ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยดีกว่าตลาดนิวยอร์กด้วยซ้ำ แต่ความแตกต่างของการเติบโตหรือผลตอบแทนจากตลาดทั้งสองในเวลา 11 ปีหลังวิกฤติก็คือ ดัชนีดาวโจนส์นั้นมีการเติบโตค่อนข้างสม่ำเสมอกว่าตลาดหุ้นไทยมาก ดัชนีตลาดหุ้นไทยเติบโตขึ้นแรงมากในช่วง 4 ปีหลังวิกฤติ โดยที่ปี 2552 ดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 63% ปี 53 ขึ้นไปอีก 41% ปี 54 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ -0.7% พอถึงปี 2555 ดัชนีขึ้นไปอีก 36% รวมแล้วในเวลา 4 ปี ดัชนีปรับตัวขึ้นไป 942 จุดหรือเพิ่มขึ้นกว่า 200% คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 33% และนี่คือ “ยุคทอง” ของนักลงทุนส่วนบุคคลโดยเฉพาะที่เป็น VI และนักเก็งกำไรที่มัก “ทุ่มสุดตัว” และทำให้เกิด “เศรษฐี” จากหุ้น และ “เซียนหุ้น” จำนวนมาก พวกเขามักจะ “ลงทุนในหุ้น 100%” หลายคนเกินร้อยโดยการใช้มาร์จินซื้อขายหุ้น นั่นน่าจะก่อให้เกิด “วัฒนธรรมการลงทุนในหุ้น” สำหรับคนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะที่ยังเป็นหนุ่มสาว หุ้นไม่ใช่การเก็งกำไรหรือการพนันอีกต่อไป แต่หุ้นคือ ‘‘ชีวิต” แม้แต่นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการก็ยังเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น บ่อยครั้งก็ผ่านลูกหลานที่ได้สร้างผลตอบแทนเป็นที่ประจักษ์ว่า ลงทุนในหุ้นดีกว่าการทำธุรกิจของตนเอง หลังจาก “สี่ปีทอง” ของตลาดหุ้นจบลงที่ดัชนีประมาณ 1,400 จุดในปี 2555 แล้ว ดัชนีก็แกว่งตัวเป็น Sideway มาตลอดจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 7 ปี ที่ดัชนีปรับตัวขึ้นมาไม่ถึง 200 จุดคิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้นเพียง 2.8% ต่อปี ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ในเวลาเดียวกันนั้นยังคงเติบโตขึ้นโดยเฉลี่ยแบบทบต้นถึงปีละ 10% โดยที่ 4 ปีหลังนี้ในสมัยประธานาธิบดีทรั้มป์ดัชนีดาวโจนส์เติบโตขึ้นถึงปีละ 12.8% โดยที่หุ้นที่นำให้ดัชนีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นมาจากหุ้นดิจิตอลยุคใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็วและประกอบกับการลดภาษีนิติบุคคลที่ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ค่า PE ของหุ้นไม่ได้สูงเกินไปจนทำให้ราคาหุ้นเป็น “ฟองสบู่” และนี่คงเป็นเหตุผลที่ทำให้ดัชนีดาวโจนส์และดัชนีอื่น ๆ ในประเทศสหรัฐไม่ประสบกับปัญหา “วิกฤติตลาดหุ้น” อย่างที่นักวิเคราะห์หลายคนเกรงกลัวกัน มองในฐานะของนักลงทุนระยะยาวที่ลงทุนกันเป็นสิบ ๆ ปีหรือตลอดชีวิต เราคงบอกไม่ได้ว่าตลาดไหนดีกว่าชัดเจนระหว่างตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นสหรัฐ เพราะตัวเลขผลตอบแทนโดยเฉลี่ยระยะยาวของทั้งสองตลาดนั้นใกล้เคียงกันมาก ไม่ใช่แค่ 11 ปีที่ผ่านมาแต่ย้อนหลังไปถึงช่วงเวลาเปิดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อ 45 ปีที่ผ่านมาที่ตลาดหลักทรัพย์สร้างผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนประมาณเกือบ 10% ต่อปีแบบทบต้นซึ่งก็ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นสหรัฐ ประเด็นที่ว่าบางช่วงบางตอนตลาดหุ้นหนึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าอีกตลาดหนึ่งนั้น จริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ในขณะนี้ตลาดหุ้นไทยอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ “เลวร้าย” ตลาดอาจจะไม่ไปไหนเป็นทศวรรษ แต่ในตลาดหุ้นอเมริกาเองก็เคยมีช่วงเวลาแบบนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ผมอยากสรุปว่านับจากวันเปิดตลาดหุ้นหรือนับจากช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติซับไพร์มซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก ตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นสหรัฐนั้น “ดีเสมอกัน” คำถามที่สำคัญก็คือ เวลาต่อจากนี้ล่ะ ตลาดหุ้นไทยหรือตลาดนิวยอร์กหรือตลาดหุ้นอเมริกาจะดีกว่าในระยะยาว ซึ่งนี่ก็จะเป็นคำถามสำคัญโดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนรุ่นใหม่หรือนักลงทุนคนหนุ่มสาวที่จะต้องตัดสินใจลงทุนเพื่อชีวิตอีกหลายสิบปีข้างหน้า เพราะการตัดสินใจผิดก็จะทำให้ชีวิตทางการเงินแตกต่างไปมาก สำหรับผมเองนั้น ผมคิดว่าในระยะยาวแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นโดยรวมก็จะสะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และเศรษฐกิจของประเทศเองนั้นก็มักจะถูกกำหนดโดยปัจจัยสำคัญ 3 ประการนั่นก็คือ 1) ระบบการปกครองและการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ 2) กำลังแรงงานของประเทศว่ามีมากขึ้นหรือน้อยลง และ 3) ก็คือ คุณภาพของคนหรือแรงงานว่ามีความสามารถหรือประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้ามองว่าคนไทยกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและในไม่ช้ากำลังแรงงานก็จะน้อยลงเมื่อเทียบกับอเมริการวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่กล่าวถึงแล้ว ผมก็คิดว่าภาพรวมของเศรษฐกิจอเมริกาก็น่าจะดีกว่าไทยในอนาคต และนี่น่าจะเป็นเหตุผลว่าตลาดหุ้นในอนาคตของอเมริกาน่าจะดีกว่าตลาดหุ้นไทยในระยะยาวนับจากวันนี้ อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นคนไทยและอาศัยอยู่ในประเทศไทย การลงทุนในประเทศไทยก็น่าจะมีความได้เปรียบอยู่พอสมควรในการที่จะรู้จักบริษัทหรือหุ้นรายตัวเป็นอย่างดี ดังนั้น คนที่เป็นนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ก็น่าจะสามารถเลือกหุ้นรายตัวได้ดีรวมถึงอาจจะเห็นโอกาสหรือจังหวะในการลงทุนในหุ้นรายตัวที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าค่าเฉลี่ย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ถ้าเราลงทุนแบบ Focus หรือลงทุนที่เน้นการถือหุ้นไม่กี่ตัว โอกาสที่เราจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าปกติหรือดีกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดก็มีความเป็นไปได้ ดังนั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ ถ้าจะลงทุนแบบอิงดัชนีในกองทุนรวมของประเทศ ผมคิดว่าลงทุนในอเมริกาน่าจะดีกว่า แต่ถ้าจะลงทุนแบบเลือกหุ้นเอง การลงทุนในประเทศไทยก็ยังมีโอกาสที่จะเอาชนะการลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาได้ทั้ง ๆ ที่ภาพรวมโดยเฉลี่ยในระยะยาวตลาดหุ้นไทยอาจจะไม่ดีเท่า โดยที่เหตุผลก็คือ เรารู้จักหุ้นในตลาดไทยดีกว่าโดยเฉพาะในหุ้นตัวเล็กลงมาที่บางตัวสามารถโตได้เร็วมากเทียบกับหุ้นตัวใหญ่ทั้งในตลาดหุ้นไทยและอเมริกา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2020/01/13/2263 แท็ก: Article Basic Short Content Stock Content แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตะวันออกกลางระอุเดือด!! ได้เวลาของกลุ่มพลังงาน - FINNOMENA เปิดปีใหม่ก็ได้เรื่องขึ้นมาทันที ช่วงเช้าวันที่ 3 ม.ค. พลตรี ซูลีมานี วัย 62 ปี ถูกปลิดชีวิตด้วยการถูกโดรนของสหรัฐฯ ยิงจรวดหลายลูกขณะกำลังออกจากสนามบินในกรุงแบกแดก เหตุการณ์นี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และอาจส่งผลอย่างไรกับหุ้นกลุ่มพลังงานบ้าง? 4 ม.ค. 2563 เปิดปีใหม่ก็ได้เรื่องขึ้นมาทันที ช่วงเช้าวันที่ 3 ม.ค. พลตรี ซูลีมานี วัย 62 ปี ถูกปลิดชีวิตด้วยการถูกโดรนของสหรัฐฯ ยิงจรวดหลายลูกขณะกำลังออกจากสนามบินในกรุงแบกแดก พลตรี ซูลีมานี คือใคร เค้าคือผู้ทรงอิทธิพลอันดับสองในอิหร่าน รองจาก อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ปัจจุบันเป็นผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ สังกัดกองกำลังพิทักษ์การปฎิวัติอิหร่าน ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงในกองทัพ และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการทางทหารของอิหร่านในตะวันออกกลาง ไม่ว่าจะเป็น เลบานอน อิรัก ซีเรีย หรือที่อื่นๆ ซึ่งว่ากันตามจริงแล้วเขาคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอิหร่านตัวจริง ที่อิหร่าน นายพล ซูลีมานี ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องที่เขามีจุดยืนตอบโต้แรงกดดันจากต่างชาติและการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เรียกได้ว่า เป็นไม้เบื่อไม้เมา ของสหรัฐฯ มาโดยตลอด และเป็นบุคคลที่สหรัฐฯ หมายหัวมาตลอด ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ถึงขนาดออกมาระบุว่า นายพล ซูลีมานี และหน่วยคุดส์เป็นผู้ก่อการร้ายที่อยู่เบื้องหลังสังหารทหารสหรัฐฯ หลายคน คำถามคือทำไมต้องมาสังหารตอนนี้ นี่ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ๆ สหรัฐฯ อยากจะทำก็ทำ มันมีที่มาที่ไปที่ขมวดเข้าหากัน ทั้งการบุกยึดสถานฑูตสหรัฐฯ ในอิรัก เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 62 ที่สหรัฐฯ จะมองว่า นายพล ซูลีมานี อยู่เบื้องหลัง และก่อนหน้านั้นอีกหลายเหตุการณ์ ทั้งการกล่าวโทษอิหร่านอยู่เบื้องหลังยิงมิสไซล์โจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในอิรัก การที่อิหร่านโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันหลายลำ การที่โดรนของสหรัฐฯ ถูกยิงตก และการโจมตีโรงงานผลิตน้ำมันซาอุดิอาระเบียครั้งใหญ่ เรียกได้ว่ามีต้นสายปลายเหตุมายาวมาก หลังการโจมตี ปธน.ทรัมป์ ได้ทวิตเตอร์โพสรูปธงชาติสหรัฐฯ ขณะที่ ก.กลาโหมสหรัฐฯ แถลงข่าว นายพล ซูลีมานี วางแผนที่จะโจมตีนักการฑูตและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ทั้งในอิรักและในภูมิภาค การโจมตีนี้ก็เพื่อหยุดการโจมตีโดยอิหร่านที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อะไรจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ แทบไม่ต้องเดาเลยว่า การสังหารบุคคลสำคัญของอิหร่าน จะต้องเห็นการตอบโต้กลับ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีสหรัฐฯ โดยตรง หรือการโจมตีเครือข่ายพันธมิตรของสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ซาอุดิอาระเบีย ทั้งหมดจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีก็ตาม กระนั้นผมก็ยังมองว่าความตึงเครียดนี้จะยังไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นสงครามแบบสังครามอ่าวเปอร์เซีย แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นการตอบโต้ไปมาในลักษณะการก่อเหตุเฉพาะจุด ซึ่งแน่นอนว่าภูมิภาคตะวันออกกลางจะอยู่ไม่เป็นสุขกันไปอีกนาน และแน่นอนว่า ราคาน้ำมันจะพุ่งกระฉูด ล่าสุดน้ำมัน WTI ปรับพุ่งขึ้น 3.06% ปิดที่ 63.05 เหรียญต่อบาร์เรล เมื่อย้อนกลับไปดูสถิติ เหตุการณ์เข้ายึดอิรักของสหรัฐฯ ระหว่าง 19 มี.ค.-1 พ.ค. 46 แม้ในช่วงนั้นราคาน้ำมันจะลดลงมา 20% แต่หลังจากการเข้ายึดอิรักได้ ก็เป็นจุดเริ่มต้นของขาขึ้นรอบใหญ่ ราคาน้ำมันปรับพุ่งจาก 25 เหรียญต่อบาร์เรลสู่ 78 เหรียญต่อบาร์เรล หรือขึ้นมากว่า 200% ในอีก 2 ปีถัดมา SET Index ปรับเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่สหรัฐฯ เริ่มเปิดฉากเข้ายึดอิรัก จากระดับ 361 จุด จนปิดสิ้นปี 2546 772 จุด หรือ 113% PTT จากราคา 4.25 บาท (หากเป็นราคา ณ 19 มี.ค. 46 ก่อนแตกพาร์ อยู่ที่ 42.5 บาท) ขึ้นไปปิดสิ้นปี 2546 ที่ 18.50 บาทหรือ 335% ความตึงเครียดกับอิหร่านรอบนี้ แม้อาจไม่ได้ทำให้ PTT PTTEP ขึ้นทะยานแบบเมื่อปี 2546 แต่เชื่อว่าอย่างน้อยก็น่าจะดึงให้ราคาหุ้นฟื้นสภาพจากที่ปรับร่วงเมื่อปี 2562 ได้มากพอสมควร จะเป็นอย่างนั้นไหมโปรดติดตาม ประกิต สิริวัฒนเกตุ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ความเสี่ยง #1 ปี 2563: วิกฤตหนี้เอกชนสหรัฐฯ? - FINNOMENA แม้นาทีนี้ ตลาดหุ้นดาวน์โจนส์ถือว่ากลับเข้าสู่ Bull Market อีกครั้ง อย่างไรก็ดีหลายคนมองว่าวิกฤตเศรษฐกิจรอบต่อไปมีโอกาสสูงที่กำลังรออยู่ตรงหน้า บทความนี้จะขอกล่าวถึงหนึ่งในวิกฤติที่ดูแล้วน่าจะกำลังใกล้มาถึงเราเร็วกว่า แม้จะไม่ใช่วิกฤตที่จะร้ายแรงสุดในรอบใหม่ นั่นคือวิกฤติตราสารหนี้ภาคเอกชนของอเมริกา 3 ม.ค. 2563 แม้นาทีนี้ ตลาดหุ้นดาวน์โจนส์ถือว่ากลับเข้าสู่ Bull Market อีกครั้ง อย่างไรก็ดีหลายคนมองว่าวิกฤตเศรษฐกิจรอบต่อไปมีโอกาสสูงที่กำลังรออยู่ตรงหน้า บทความนี้จะขอกล่าวถึงหนึ่งในวิกฤติที่ดูแล้วน่าจะกำลังใกล้มาถึงเราเร็วกว่า แม้จะไม่ใช่วิกฤตที่จะร้ายแรงสุดในรอบใหม่ นั่นคือวิกฤติตราสารหนี้ภาคเอกชนของอเมริกา ในส่วนที่เป็นตราสารที่มีอันดับเครดิตต่ำกว่าอันดับน่าลงทุนหรือที่เรียกว่าตราสารหนี้เอกชนที่เป็น High-Yield โดยคำศัพท์ที่ติดปากในหมู่นักลงทุนของตราสารหนี้ในส่วนนี้เรียกว่า USEM Debt ที่ในตอนนี้มีหลายเสียงประสานตรงกันว่ากำลังมีความเสี่ยงสูงขึ้นแบบที่ยังมีนักลงทุนหลายๆส่วนกำลังประมาทความเปราะบางตรงจุดนี้มากเกินไป เมื่อจะเปรียบเทียบดัชนีอ้างอิงต้องกล่าวถึงตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่หรือพูดกันอย่างติดปากว่า Emerging Market (EM) โดยหากสังเกตให้ดีผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ในช่วงหลังๆ อยู่ในระดับที่สูงขึ้นมาก จากการที่กระแแสเงินทุนต่างไหลหนีออกมาจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ค่อยๆ ย่ำแย่ลง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในช่วงนี้พบว่าผลตอบแทนของ USEM Debt ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำในช่วงนี้ ในขณะที่ผลตอบแทนของตราสารหนี้ใน EM Market กลับสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถตีความได้ว่า ความเสี่ยงของตลาดเกิดใหม่กำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะตีความได้ว่าตลาดกำลังประเมินความเสี่ยงของหุ้นกู้เอกชนสหรัฐฯในส่วนที่ต่ำกว่าอันดับน่าลงทุนไว้ต่ำเกินไปจากข้อมูล ทั้งฝั่งมหภาคและตลาดการเงินทำให้หลายคนรวมถึงตัวผมเองมองว่าน่าจะเป็นอย่างหลังด้วยเหตุผลเดิมนั่นคือปรากฏการณ์ Search for Yield ด้วยบรรยากาศอัตราดอกเบี้ยที่ยังต่ำอยู่และดูทีท่าจากการถอดถอน หรือ Impeachment ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงแรงกระเพื่อมจาก Trade War ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ ไปไหนไม่ได้ไกล เราคงจะเห็นบรรยากาศอัตราดอกเบี้ยต่ำไปอีกพักใหญ่ ปรากฏการณ์เสาะหาผลตอบแทนคงยังดำเนินต่อไปโดยที่ผ่านมากระทำผ่านการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน High Yield ในบริษัทที่มีอัตราส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์ที่สูงมากหรือที่เรียกติดปากคือ High-Yield Leveraged Debt โดยสัดส่วนสูงขึ้นมากเป็นลำดับและที่มาแรงมากๆ คือ ผ่าน collateralized loan obligations (CLOs) ที่ใช้สินเชื่อเป็นหลักทรัพย์หนุนหลังในส่วนของหนี้ตลาด USEM หากพูดถึง CLO ทำให้นึกถึงตราสารสินเชื่อซับไพร์มหรือตราสาร Mortgage-backed Securities (MBS) โดยทั้งคู่มีความคล้ายคลึงกันมากโดยเป็นการนำสินเชื่อที่แบงก์ปล่อยกู้มาทำการ re-packaged ใหม่เพื่อขายเป็นตราสารการเงินให้กับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงปัญหาคือช่วงเศรษฐกิจเริ่มถดถอยคุณภาพของสินเชื่อที่ต่ำลงจะทำให้ตราสารเหล่านี้มีราคาลดลงเร็วมากเนื่องจากคุณภาพสินเชื่อที่ลดลงแบบรวดเร็ว หากสังเกตให้ดี ณ ขณะนี้มี 2 ปัจจัยที่ถือเป็นตัวเร่งให้หนี้เอกชนในสหรัฐฯ ดูน่าจะเสี่ยงขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ 1. อันดับเครดิตของตราสารหนี้บริษัทเอกชนสหรัฐฯ ได้ลดลงอย่างรวดเร็วโดยมีหุ้นกู้เอกชนระดับ A ถูกลดอันดับเครดิตลงมาที่ BBB อยู่เยอะมากๆ โดย BBB หรือต่ำกว่ากลายเป็นอันดับเครดิตที่มีมูลค่าของหนี้เอกชนสหรัฐฯ กองอยู่เกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าทั้งหมดและ 2. หุ้นกู้ที่ข้อความในเอกสารทางกฎหมายของสัญญากู้เงินที่บ่งบอกถึงความคุ้มครองให้ดำเนินเป็นไปตามสัญญาถูกลดระดับความคุ้มครองดังกล่าวลงหรือที่เรียกว่า Covenant-lite ทำให้โอกาสเป็นหนี้เสียได้ง่ายขึ้น รวมถึงได้ผู้กู้ที่มีคุณภาพลดลงเนื่องจากผู้กู้ที่ดีย่อมมีทางเลือกที่จะไม่ใช้บริการสินเชื่อดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่าตราสารหนี้ที่ใช้สินเชื่อดังกล่าวมาทำเป็น CLO ย่อมมีคุณภาพลดลงโดยหุ้นกู้ประเภทนี้ปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วน 80% ของมูลค่าคงค้างทั้งหมด การไหลบ่าของกระแสเงินทุนมายังหุ้นกู้เอกชน HY Leveraged และ CLO ในสหรัฐฯ ณ ตอนนี้ ถือเป็นสิ่งที่นักวิชาการหลายท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เจเน็ต เยลเลน” อดีตประธานเฟดกังวลอีกครั้ง โดยในส่วนของภาคเอกชนสหรัฐฯ นั้นในขณะนี้ระดับหนี้ของบริษัทสูงขึ้นการลดลงของมูลค่าหลักประกัน ซึ่งตัวอย่างได้แก่ราคาน้ำมันในอุตสาหกรรม Shale Oil สำหรับในสหรัฐฯ และการตกลงของดัชนีหุ้นสหรัฐ ทั้ง 3 ปัจจัยถือเป็นสัญญาณว่าการเบี้ยวหนี้หรือความเสี่ยงด้านเครดิตของบริษัทในสหรัฐกำลังจะเป็นขาขึ้นแบบชัดเจนโดย CLO อาจถือเป็นฟางเส้นสุดท้ายของสำหรับวิกฤตหนี้เอกชนสหรัฐฯ ที่มีการกำกับค่อนข้างหละหลวมเนื่องจากกับสถาบันส่วนใหญ่ที่ออกตราสารนี้ถือว่ามีสถานภาพคล้ายๆ เป็น Shadow Banking โดยการไหลบ่าของปริมาณตราสารทางการเงินที่ออกมาท่วมตลาดอย่างตราสารซับไพร์มเมื่อกว่า 10 ปีก่อนทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มาถึงรอบนี้ถามว่าวิกฤตตราสารหนี้เอกชนสหรัฐฯ จะทำให้เกิดวิกฤตแบบซับไพร์มคำตอบคือน่าจะไม่เพราะสิ่งที่อาจจะ Trigger วิกฤตรอบใหม่เป็นอะไรที่ใหญ่กว่านี้ครับ MacroView ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649133 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สร้างพอร์ตเงินล้านด้วยหุ้นเติบโต ... หาหุ้นสิบเด้ง “BIG DATA” กับการเริ่มต้นของยุคใหม่แห่งอนาคต - FINNOMENA หากเราเป็นนักลงทุนระยะยาวที่อยากลงทุนในหุ้นเติบโตจริง ๆ จัง ๆ และต้องการหาหุ้นสิบเด้ง หรือหลาย ๆ เด้ง ผมคิดว่าโอกาสครั้งใหม่มาถึงแล้วครับ ... โอกาสที่ว่าก็คือการลงทุนในหุ้นประเภท “เทคโนโลยีใหม่” ที่กำลังจะมาเปลี่ยนแปลงโลกใบเดิมให้เป็นโลกแห่งอนาคต จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย 24 ม.ค. 2563 หากเราเป็นนักลงทุนระยะยาวที่อยากลงทุนในหุ้นเติบโตจริง ๆ จัง ๆ และต้องการหาหุ้นสิบเด้ง หรือหลาย ๆ เด้ง ผมคิดว่าโอกาสครั้งใหม่มาถึงแล้วครับ … โอกาสที่ว่าก็คือการลงทุนในหุ้นประเภท “เทคโนโลยีใหม่” ที่กำลังจะมาเปลี่ยนแปลงโลกใบเดิมให้เป็นโลกแห่งอนาคต จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย มองเข้ามาในประเทศไทยกันก่อน หากเรายังคงลงทุนหุ้นไทยเป็นหลักใหญ่ใจความ การมองหาหุ้นในประเทศก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำก่อนเป็นอันดับต้น ๆ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับ BIG DATA ที่กูรูหลายท่านบอกว่ามันคือ “NEW OIL” หรือ บ่อน้ำมันทางข้อมูล ที่ถ้าใครลงมือทำก่อนจะได้เปรียบ แล้วมีหุ้นอะไรบ้างล่ะที่น่าจะเข้าข่าย กลุ่มแรก … “หุ้นกลุ่มสื่อสาร” ถ้าจะบอกกันแบบตรง ๆ คงหนีไม่พ้นหุ้นกลุ่มนี้ ผมจะเรียงลำดับหุ้นตามจำนวนเลขหมาย อันดับหนึ่ง คือ AIS (ADVANC) ที่มีกว่า 40 ล้านเลขหมาย อันดับสอง TRUE มีกว่า 30 ล้านเลขหมาย อันดับสาม DTAC ที่มีราว 20 กว่าล้านเลขหมาย แล้วจำนวนเลขหมายเยอะ ๆ มันดียังไง ? คำตอบก็คือ มันสร้างกระแสเงินสด เพราะหนึ่งเลขหมายหมายถึงค่าบริการที่ต้องจ่าย นอกจากนั้น กิจการเหล่านี้ต้องรู้พฤติกรรมการจ่ายบิลค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ตของเราอย่างแน่นอน ผมคิดว่าสิ่งนี้เป็น BIG DATA แบบนึงที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ผมรู้ข้อมูลการจ่ายบิลกว่า 40 ล้านบิล และนำข้อมูลมาประมวลผล ในอนาคตผมอาจใช้ข้อมูลดังกล่าว “ปล่อยสินเชื่อ” ก็เป็นไปได้ อย่าลืมครับว่า คนไทยกว่า 70 ล้านคน ไม่ได้มีบัญชีธนาคารทุกคน หรือขอสินเชื่อในระบบได้ทุกคน นั่นเป็นเพราะสถาบันการเงินไม่มีข้อมูลมาวิเคราะห์ลูกหนี้ว่าน่าเชื่อถือที่จะปล่อยเงินกู้ให้หรือไม่นั่นเอง กลุ่มที่สอง … “กลุ่มที่ให้บริการด้านข้อมูล” กลุ่มนี้อาจได้สัมปทานรัฐ ได้ข้อมูลลูกค้า เช่น บัญชีทางการเงินลูกค้า SME หรือมีข้อมูลด้านเครดิตบูโร ทำให้สถาบันการเงินจำเป็นต้องใช้บริการข้อมูลจากกลุ่มเหล่านี้ ลองค้นหากันดูนะครับ มองออกไปนอกประเทศ หากเราไม่จำกัดตัวเองแค่ในประเทศไทย … เรามองออกไปนอกประเทศเราจะพบกับหุ้นที่มี BIG DATA มากมายหลายตัว เช่น ALIBABA ต้องมีข้อมูลการซื้อสินค้าออนไลน์ เวลาเราช็อป ฯ LAZADA FACEBOOK ที่มีข้อมูล Lifestyle หรือโพสต์บนแฟลตพอร์มของเขา โดยมีคนเข้าระบบกว่า 2 พันล้านคน ซึ่งเกือบเป็น 20% ของประชากรโลก GOOGLE ที่มี Big Data ของคนใช้เว็บไซค์ทั่วโลก และคนดูยูทูป และที่สำคัญ เขามีควอนตัมคอมพิวเตอร์ ซึ่งการประมวลผล Big Data ก็จำเป็นต้องใช้คอม ฯ ที่เร็วมากพอ จึงจะให้ผลลัพธ์ที่ชนะคนอื่นได้ หรือแม้แต่ GRAB ที่เราใช้เรียกรถ สั่งอาหาร ก็ต้องมีข้อมูล Big Data ของผู้ใช้งานเช่นกัน ลองนึกเล่น ๆ นะครับว่า … หากบริษัทเหล่านี้เอาข้อมูลมาใช้มันจะทำเงินขนาดไหน ปัจจุบันเงินในโลกเราก็เริ่มเปลี่ยนทิศทางการไหลจากระบบ offline ไป online กันมากแล้ว จะเห็นว่าคนขายของจริง ๆ กลับซบเซา แต่การขายสินค้าออนไลน์กลับรุ่งเรือง ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ… ยุคใหม่กำลังจะมาถึง และการมาของ 5G อาจเปลี่ยนโลกแบบพลิกโฉม อยู่ที่เราแล้วล่ะครับว่าจะกลัวการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ หรือจะนำมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับการลงทุนของเรา ผมคิดว่า “หุ้นสิบเด้ง” แห่งอนาคตกำลังฟักตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลก ลองค่อย ๆ หากันดูนะครับ #นายแว่นลงทุน ติดตามนายแว่นลงทุน ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada/ **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย https://www.finnomena.com/port/naiwaen แท็ก: Article Basic Product Recommend Short Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ปีหน้า ปี ยี่สิบ ยี่สิบ จะเป็นไปได้ไหมที่ SET จะขึ้น 20% - FINNOMENA 2 ปีแล้วที่ SET Index ดัชนีปรับลงมาจากจุดสูงสุด 1850 จุด กว่า 15% จะเป็นไปได้ไหมที่ SET จะขึ้น 20% ในปี 2020 มาติดตามกันครับ 31 ธ.ค. 2562 2 ปีแล้วที่ SET Index ดัชนีปรับลงมาจากจุดสูงสุด 1850 จุด กว่า 15% นี่คือการจบรอบขาขึ้น และต้องลงยาวหรือไม่ ผมบอกได้เลยว่าไม่ใช่ ในแง่หลักการความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นเราจะแบ่ง stage การปรับฐานออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับที่ 1 คือการพักฐาน (consolidation) คือการลงจากจุดสูงสุดไม่เกิน 10% ระดับที่ 2 การปรับฐาน (correction) การลงในระดับเกิน 10% แต่ไม่เกิน 20% ระดับที่ 3 เข้าสู่ขาลงเต็มตัว (Bear Market) คือลงมากกว่า 20% ดังนั้นปัจจุบัน SET Index ยังอยู่ในขั้นที่ 2 เท่านั้น ถ้าใช้หลัก Elliott Wave ผมมั่นใจว่า ที่เราเป็นทุกวันนี้ เป็นแค่การปรับฐานของคลื่นย่อยของคลื่น 5 ขยาย (SET จบคลื่น 1 และ 3 ไปตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว) นั่นหมายถึงSET จะต้องดีดกลับมาและขึ้นได้ยาวๆอีกครั้ง ในแง่ของธีมที่จะทำให้ตลาดหุ้นไทยฟื้นได้ ผมมองอยู่ 4 ประเด็น 1. ปีหน้าเป็นปีแห่งการซ่อมแซม เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นจาก การเร่งใช้นโยบายต่างๆของรัฐบาล แม้ปีนี้จะย่ำแย่หนัก แต่ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า มันเป็นผลจากสงครามการค้า และในประเทศเอง รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ ต้นปียุ่งกับการเลือกตั้ง กลางปียุ่งกับการจัดตั้งรัฐบาล ปลายปีดันใช้งบปี 63 ไม่ได้ แต่ปีหน้า สงครามการค้าผ่อนคลาย เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้น ไทยน่าจะได้ใช้งบปี 63 ใน ก.พ. ซึ่งตอนนี้ก็เห็นความพยายาม เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแล้ว โดยเฉพาะ การกระตุ้นภาคอสังหา และมาตรการพักชำระหนี้หรือลดดอกเบี้ย ตรงนี้สะท้อนเจตนาชัดว่า ปีหน้า รัฐบาลจะจัดหนักทุกสรรพอาวุธ ประหนึ่งยัดถังแก๊สเข้ารูทวารก่อนรัวยิง จุดระเบิด ถังอุจจาระไม่ยั้ง ทำขนาดนี้ถ้าเศรษฐกิจยังแย่ต่อก็ให้มันรู้กันไป 2. ปีหน้าสภาพคล่องในตลาดไทยจะดีขึ้นแน่นอน ผลจากการที่ตลาดหุ้นสหรัฐ ตลาดหุ้นยุโรป ตลาดนอร์ทเอเชีย ทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง เงินจะเริ่มระบายลงมายังตลาดที่ยังเคลื่อนไหวต่ำ ปัจจุบันสภาพคล่องใน Developed Market มันกลับมาดีขึ้นมากกว่าก่อนปี 2018 แล้ว (ดีสุดในรอบ 2 ปี) ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย Fed BoJ ECB และ PBOC ตามธรรมชาติสภาพคล่องของ Emerging Market จะดีตาม แม้ธีมการลงทุนปัจจุบันจะเน้นไปที่ New Economy แต่ใช่ว่า เงินจะไม่เข้าหา Old Economy เลย ธีมใหญ่ในปีหน้าจับตาให้ดี คือ การฟื้นตัวของกำลังการผลิตทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจาก สงครามการค้าที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มันทำให้การขยายตัวการผลิตเริ่มชะลอ การเก็บสต็อกสินค้ามีน้อยลง จนปัจจุบันสต็อกสินค้าหลักๆของโลก เช่น รถยนต์ในยุโรป มาทำจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี ในเมื่อภาพรวมเศรษฐกิจกำลังมา แต่สต็อกมีน้อย การผลิตจำเป็นจะต้องเร่งตัว เมื่อนั้น ย่อมต้องมีความต้องการ วัตถุดิบใหม่ ครั้งใหญ่ ความต้องการวัตถุดิบ จะทำให้ราคาสินโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งมันจะดีโดยตรงต่อกลุ่ม Emerging Market และไทย ซึ่งมีโครงสร้าง ตลาดเป็นธุรกิจดั้งเดิม อย่างพลังงาน ปิโตร หรือแม้แต่สินค้าเกษตร 3. ราคาหุ้นไทย ปัจจุบัน เอาตรงๆยังจัดอยู่ในระดับไม่ถูก และโดนกดดันด้วยเรื่องกำไรตลาดที่ย่ำแย่ แต่จะสังเกตุเห็นได้ว่า ไม่มีใครไม่รู้ว่าตลาดหุ้นไทยกำไรเน่า และคนเริ่มไปให้น้ำหนักกับกำไรในปีหน้าฟื้นตัวมากกว่า ซึ่งตอนนี้เริ่มมีการมองแล้วว่า กำไรตลาดในปีหน้าจะฟื้นตัวราว 9-12% อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะพังลงทันทีถ้ากำไรตลาดในไตรมาส 1 ปีหน้าไม่ได้ดั่งใจ หรือต่ำกว่า 2.4 แสนล้านบาท (SET เตรียมดิ่งเหวอีกระลอก) แต่ตลาดหุ้นไทยจะให้ลงมากกว่านี้ก็ไม่ได้แล้ว เพราะอะไร ผมมองมีอยู่ 2 ประเด็นคือ 3.1 Price per Book Value ของไทยตอนนี้อยู่ที่ 1.6 เท่า ถือว่าอยู่ในโซนต่ำในรอบ 10 ปี และถ้าย้อนกลับไปดูในอดีต PBV ที่ ต่ำกว่า 1.8 เท่ามันรองรับปัจจัยลบใหญ่ๆได้ทุกครั้ง ทั้งตอนน้ำท่วมใหญ่ หรือตอนตลาดหุ้นไทยพังเนื่องจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวในปี 2015 3.2 ดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ทำให้ตลาดหุ้นไทยลงมากไม่ได้ ไปดูที่ Earning Yield Gap ปัจจุบัน ตอนนี้ถ่างออกกว้างถึง 5% มันเป็นการห่างในโซนสูงในรอบ 10 ปี ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา มาแถวนี้ทีไร SET จะฟื้นจากหลุมทุกครั้ง ด้วยสภาวะดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่ราคาหุ้นก็ต่ำไปด้วย สังเกตุอะไรไหมตอนนี้มันเริ่มเกิดการประกาศซื้อหุ้นคืนแบบถี่ๆ ของหลายๆบริษัท ถามว่าทำไม เพราะแต่ละบริษัทมีสภาพคล่องที่สูงขึ้น ต้นทุนทางการเงินต่ำลง พอไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร ก็เอามาซื้อหุ้นคืน การซื้อหุ้นคืนจะทำให้จำนวนหุ้นน้อยลง สิ่งที่จะตามมาน่ะเหรอ ก็กำไรต่อหุ้นที่จะโตมากขึ้น เรื่องนี้จะเป็น Big Surprise ของตลาด จับตาไว้ดีๆ 4. ประเด็นสุดท้าย ฝรั่งขายเราไปทั้งหมดตั้งแต่ปี 2013 – 2019 6.64 แสนล้านบาท เฉพาะ 3 ปีหลังสุด 2017-2019 คือขายไป 3.57 แสนล้านบาท เรียกได้ว่าใกล้เคียงช่วงปี 2013-2016 ที่ขายไป 3.84 แสนล้านบาท คุณรู้ไหมฝรั่งไม่เคยขายเกิน 3 ปีติด หลังจากขาย 2013-2015 เค้ากลับมาซื้อใน 2016 7.7 หมื่นล้านบาท รอบนี้ขายไปแล้ว 3 ปีติด 2017-2019 แถมเป็นการขายที่มียอดสะสมอย่างโหด จนทำให้สถานะการถือครองตอนนี้ต่ำสุดในรอบ 30 ปีคือ น้อยกว่า 29% ของ Market Cap คุณว่าเค้าจะขายอีกในปีที่ 4 เหรอ ผมว่าไม่นะ จาก 4 ประเด็นใหญ่ข้างต้น ผมมีความรู้สึกลึกๆว่า ปีหน้า SET Index อาจมี Surprise บวกครั้งใหญ่ เกิน 20% แปลว่าตอนนี้มันคือโอกาส หากท่านใดสนใจกองทุนส่วนบุคคล ลงทุนหุ้นไทยเน้น High Growth และ High Dividend ของ บลจ.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ สามารถติดต่อได้ที่ ผม ปิง ประกิต 0867797892 ฟ้าหลังฝน ย่อมดีเสมอ ประกิต สิริวัฒนเกตุ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กองทุน Principal APDI 'กองทุน Top Pick' สำหรับการลงทุนปี 2020 - FINNOMENA ปีหน้าการลงทุนอะไรที่น่าจะให้ผลตอบแทนดีคือคำถามยอดฮิตในใจนักลงทุนทุกคน Principal APDI อาจเป็นคำตอบนั้น หลัก ๆ เพราะเป็นจังหวะตลาดที่เหมาะสมสำหรับหุ้น Asia Pacific ex Japan และสไตล์การลงทุนของทีมผู้จัดการกองทุนที่ของจริงสุด ๆ ทั้ง Alpha, Unconstrained และ Barbell บทความนี้จะมาสรุปจุดเด่นกองทุนให้รู้กัน 4 พ.ย. 2564 บทความนี้จะทำการสรุปกองทุนเป็นน้ำจิ้มก่อน ใครยังไม่จุใจ เร็วๆ นี้เตรียมติดตามบทความรีวิวกองทุน Principal APDI เวอร์ชั่นเต็ม จาก FundTalk และวิดีโอสัมภาษณ์คุณวิน พรหมแพทย์ ได้เลย ปีหน้าการลงทุนอะไรที่น่าจะให้ผลตอบแทนดีคือคำถามยอดฮิตในใจนักลงทุนทุกคน สำหรับผม Principal APDI เป็นคำตอบนั้น หลัก ๆ เพราะเป็นจังหวะตลาดที่เหมาะสมสำหรับหุ้น Asia Pacific ex Japan และสไตล์การลงทุนของทีมผู้จัดการกองทุนที่ของจริงสุด ๆ ทั้ง Alpha, Unconstrained และ Barbell หากสนใจลงทุนใน Principal APDI สามารถสร้างแผนเพื่อเปิดบัญชีลงทุนได้ที่ https://www.finnomena.com/nter-space-create/ กองทุน Principal APDI Principal APDI มี Universe การลงทุนคือหุ้น และ REITs ในภูมิภาค Asia Pacific ex Japan หลาย ๆ กองทุนหุ้นเอเชียบ้านเราจะมี Universe เป็น Asia ex Japan แต่กองนี้เพิ่มประเทศ Australia และ New Zealand เข้าไปใน Universe การลงทุนด้วย ซึ่งเป็นประเทศ Developed Market ที่ตลาดผันผวนน้อย และมีอัตราปันผลที่สูง เป้าหมาย Absolute return 8% ต่อปี คือผู้จัดการกองทุนไม่ได้เน้นบริหารสู้กับดัชนีหุ้นเป็นหลักเหมือนกองทุนอื่นๆ แต่มีเป้าหมายหลักคือการสร้างผลตอบแทนให้ได้ผลตอบแทน 8% ต่อปี ที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าทำได้จริงโดยผลตอบแทนรวมของกองทุนนับตั้งแต่ตั้งกองทุนแม่ในปี 2011 อยู่ที่ 168% ขณะที่ Absolute Return Benchmark อยู่ที่ 92% (ข้อมูล ณ 31 ต.ค. 62) แปลง่าย ๆ คือถ้าลงทุนกองทุนนี้ 100,000 บาทนับแต่วันตั้งกองทุน เงินลงทุนจะโตเป็น 268,000 บาท ในเวลา 8 ปี เกือบ 3 เด้ง *** แนะนำลงทุน 3-5 ปีขึ้นไป มีมุมเท่ของกองทุนนี้จากการได้ไปสัมภาษณ์กับพี่วิน CIO บลจ.พรินซิเพิล คือกองทุนนี้นั้นกองแม่ก็ได้ Morningstar ดาว 5 ดวง เมื่อเทียบกับกองทุนหุ้นเอเชียในมาเลเซีย ขณะที่ในประเทศไทยก็ได้ 5 ดาวเมื่อเทียบกับกองในไทย เลยขอยกให้ Principal APDI เป็นกองทุนหุ้น 10 ดาวไปเลย ธีมการลงทุนของหุ้นรายตัวในพอร์ต จากการสัมภาษณ์พี่วิน พบว่าทีมผู้จัดการลงทุนชอบ Mega Trend ด้านเทคโนโลยีโดยพระเอกคือ Tencent มี WeChat และ QQ มีจำนวน Active user เกือบ 2 พันล้านคน มีการลงทุนใน SAMSUNG ซึ่งวันนี้ไม่ได้เป็นเพียงมือถือแต่ยังถือครอง Market Share การผลิต Memory เกินกว่า 50% ในตลาดโลก ซึ่งทุกวันนี้ Memory เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยใน IoT และ Cloud computing กองทุนมีการถือครอง Ascendas REITs เป็น Logistics REITs ที่จดทะเบียนในประเทศสิงค์โปร์เน้น Logistiics Warehouse ซึ่งเติบโตตาม trend ของ eCommerce และ Data Center ที่เติบโตตามเทรนด์ของ Cloud Computing นอกจากนี้กองทุนยังให้น้ำหนักกับหุ้นกลุ่มประกันภัยได้แก่ AIA และ PingAn ซึ่งมีรายได้จาก Mega Trend การเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัย และประกันชีวิตในทวีปเอเชียโดยเฉพาะผู้ทำประกันภัยชาวจีน เรียกได้ว่าเป็นการเลือกหุ้นสไตล์ Bottom-up แบบมีธีมที่อิงตาม Mega Trend ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียที่น่าสนใจมาก ๆ ทำไมถึงต้อง Principal APDI จึงน่าลงทุนสำหรับปี 2563 งานนี้พี่วินขอไล่ตาม FMV Model ที่เป็นเครื่องมือหลักของทีม Principal เลยครับ Fundamental: เศรษฐกิจโลกปี 2020 โต 3.4% US 2.1% EM 4.6% ทางทีม Principal มองว่าเศรษฐกิจปีหน้ามีแนวโน้ม Asynchronize คือเศรษฐกิจ EM เริ่มฟื้นแต่เศรษฐกิจ DM โตต่ำกว่า พี่วินมองว่าตลาดหุ้น US ขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่ในปีหน้าเศรษฐกิจเอเชียโตดีขึ้นขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ โตแย่ลงทางทีมจึงมองว่ามีโอกาสที่จะเกิดการ rotation มาที่หุ้นภูมิภาคเอเชีย บวกกับอีกปัจจัยสนับสนุนคือนโยบายการเงินของเอเชียที่มีแนวโน้มผ่อนคลาย การเติบโตของกำไรของ Asia Pac ex Japan ในปี 2020 อยู่ที่ 12% ซึ่งจัดว่าน่าสนใจ Momentum: ปัจจุบันผู้จัดการกองทุนทั่วโลกมีสถานะ Underweight หุ้นเอเชีย ถ้าพื้นฐานของเอเชียมีการฟื้นตัวจริงอย่างที่คาด น่าจะเกิดการ upgrade มุมมองการลงทุนของหุ้นในภูมิภาคนี้จะทำให้มีโอกาสที่จะมี fund flow เข้ามาอีกเยอะเนื่องจากสถานะปัจจุบันเป็น underweight อยู่ “ที่ผ่านมาผู้จัดการกองทุนเกาะรถไฟหุ้นอเมริกา และตอนนี้มีโอกาสที่ดีที่จะมีการ rotate เข้ามาลงทุนในหุ้นเอเชียมากขึ้น” คุณวิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.พรินซิเพิล กล่าว Valuation: MSCI Asia ex Japan มี Forward P/E ปี 2020 อยู่ที่ 12.6 เท่า ขณะที่สหรัฐฯ อยู่ที่ 17.3 เท่า และไทย 15X ที่ Principal ยังมี ทีม Asset Allcation ซึ่งมีการวิเคราะห์เชิงลึกโดยการทำ Composite P/E + P/B ย้อนหลัง 15 ปีเพื่อดูว่ามีโอกาสกี่ % ที่ราคาวันนี้มีโอกาสถูกกว่าราคาในวันนี้ นั่นหมายความว่าตัวเลขออกมา % ต่ำคือถูก และ % สูงคือแพงนั่นเอง ซึ่งปัจจุบัน Asia ex Japan = 44% จัดว่าถูกกว่าอเมริกาอยู่ที่ 85% ส่วนไทยเห็นแล้วน่าตกใจเพราะสูงถึง 91% (แปลว่าปู่เซตแพงง) FundTalk รายงาน ดูข้อมูลกองทุน Principal APDI เพิ่มเติมได้ที่ https://finnomena.com/fund/PRINCIPAL%20APDI ใครยังไม่จุใจ เร็วๆ นี้เตรียมติดตามบทความรีวิวกองทุน Principal APDI เวอร์ชั่นเต็ม จาก FundTalk และวิดีโอสัมภาษณ์คุณวิน พรหมแพทย์ ได้เลย หากอยากลงทุนใน Principal APDI ต้องทำอย่างไร? สามารถลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยแผน Do-It-Yourself (DIY) ที่ https://www.finnomena.com/nter-space-create/ สามารถลงทุนร่วมกับกองทุน Asia ex-Japan กองอื่นๆ ได้ ที่ https://www.finnomena.com/bic-asia-ex-jap/ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Article Basic BIC BIC Asia ex Japan DIY PRINCIPAL APDI Product Info Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
4 ปีในตลาดหุ้นเวียดนาม - FINNOMENA บทความนี้จาก ดร. นิเวศน์ จะมาเล่าประสบการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม 4 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนเวียดนามจะเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตเร็ว ทว่าผลลัพธ์จากการลงทุนกลับไม่ดีเท่าที่ควร สาเหตุนี้เป็นเพราะอะไร? มาหาคำตอบกันเลยครับ 23 ธ.ค. 2562 ผมเพิ่งตระหนักว่าตนเองได้เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามประมาณ 4-5 ปีแล้วด้วยเม็ดเงินกว่า 10% ของพอร์ตทั้งหมด ในตอนนั้นวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือการ Diversify หรือกระจายความเสี่ยงของพอร์ตที่เป็นหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นไทยทั้งหมด ผมคิดว่าการลงทุนในประเทศเดียวนั้นมีความเสี่ยงกว่าการลงทุนในหลายประเทศและหลายตลาด และตลาดหุ้นที่ผมเลือกที่จะไปก็คือเวียตนาม เหตุผลก็คือ ประเทศเวียตนามกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงของการเติบโตสูงอานิสงส์จากการเปลี่ยนและเปิดประเทศจากสังคมนิยมเป็นทุนนิยม เป็นประเทศที่มีประชากรวัยหนุ่มสาวเยอะมาก คนทั้งประเทศมีกว่า 90 ล้านคน ค่าแรงของประเทศต่ำกว่าไทยครึ่งหนึ่งและเป็นประชากรที่มีการศึกษาดีขยันขันแข็ง ผลการทดสอบ PISA Test ของนักเรียนได้คะแนนสูงเท่า ๆ กับคนในประเทศพัฒนาแล้ว เวียดนามกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของการส่งออกอีกแห่งหนึ่งของโลก ปริมาณการส่งออกคิดเป็นกว่า 100% ของ GDP ของประเทศ การเติบโตของ GDP เองนั้นสูงถึง 6-7% ต่อปีติดต่อกันมาหลายปีและล่าสุดกลายเป็นประเทศที่มีการเติบโตสูงที่สุดในอาเซียน ผมตื่นเต้นและมั่นใจว่าเวียดนามกำลังจะเป็น “The Next Thailand And Beyond” คือจะเติบโตเร็วมากเหมือนไทยในสมัยก่อนและอาจจะแซงไทยในอนาคตเนื่องจากมีประชากรมากกว่ามาก การเติบโตของเวียดนามจะยั่งยืนเพราะเป็นการเติบโตจากการลงทุนที่กำลังเพิ่มขึ้นมหาศาลจากเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ซึ่งกำลังย้ายฐานจากไทยและจีนที่มีค่าแรงสูงกว่ามาก และสิ่งที่ทำให้ผมต้องการเข้าไปลงทุนทันทีก็คือการที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นเวียดนามเพิ่งจะผ่านพ้น “วิกฤติ” ค่าเงินและฟองสบู่อสังหาฯ ที่เป็นผลจากการเติบโตเร็วเกินไปซึ่งทำให้มีการลดค่าเงินน่าจะไม่ต่ำกว่า 30% นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินด่องกับเงินดอลลาร์ก็เริ่ม Stable หรือมั่นคงขึ้นอย่างมากมาหลายปีแล้ว ในตอนนั้นผมคิดว่าผมกำลังเจอกับตลาดหุ้น “ในฝัน” ที่ดัชนีตลาดตกจาก 1,000 จุด เหลือเพียง 500-600 จุดหลังจากผ่านไป 7 ปี เพราะวิกฤตเศรษฐกิจ และทุกสิ่งทุกอย่างกำลังฟื้นตัว นี่คือสถานการณ์แบบเดียวกับตลาดหุ้นไทยในช่วงหลังวิกฤติปี 2540 ที่ผมเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเต็มตัว ผมคิดว่าผมกำลังมีโอกาสทองอีกครั้งหนึ่งในตลาดหุ้นเวียดนาม ในตอนนั้นผมไม่รู้จักบริษัท ผมรู้แต่ว่าประเทศกำลังเติบโตเร็วและยั่งยืนซึ่งในที่สุดตลาดหุ้นก็จะโตตาม—เหมือนเมืองไทยในสมัยกว่า 20 ปีก่อน แต่ตลาดหุ้นเวียดนามยังใหม่มาก เพิ่งเปิดมาสิบกว่าปี ยังไม่มีกองทุนอิงดัชนีที่เราจะลงทุนได้สะดวก อย่างไรก็ตาม หุ้นบริษัทจดทะเบียนนั้นมีมากกว่า 700 บริษัท ดังนั้น ผมคิดว่าผมน่าจะซื้อหุ้นลงทุนเป็นพอร์ตที่มีหุ้นจำนวนมากซึ่งก็จะคล้าย ๆ กองทุนกองหนึ่งเหมือนกัน และผมก็ตัดสินใจเลือกลงทุน “แนว VI” ในหุ้นขนาดเล็ก ซึ่งจากการศึกษาของตลาดหุ้นในสหรัฐฯ และตลาดหุ้นไทยพบว่าในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นแบบอื่น วิธีที่ผมใช้ก็คือการ “กรองหุ้น” ด้วยตัวเลขแบบ VI คือเลือกหุ้นราคาถูกจากตัวเลข เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ หุ้นที่ถูกเลือกจะต้องมีค่า PE ไม่เกิน 10 เท่า ค่า PB ไม่เกิน 1 เท่า ค่า Dividend Yield หรืออัตราปันผลไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี และเพื่อที่จะสามารถมีสภาพคล่องซื้อขายได้จะต้องมี Market Cap. ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาทไทย และด้วยเกณฑ์แบบนี้ผมก็ได้หุ้นที่จะซื้อเข้าพอร์ตกว่า 100 ตัว โดยใช้เงินประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ของพอร์ตโดยรวมของผมในขณะนั้นซึ่งผมก็พอใจ ผมคิดว่าในกรณีที่มีปัญหาในประเทศไทย เงินที่เวียดนามก็จะช่วยให้ผมอยู่ได้อย่างสบาย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าผลตอบแทนในระยะยาวของพอร์ตหุ้นที่เวียดนามจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าไทยเนื่องจากมันน่าจะเติบโตได้เร็วในขณะที่ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มอิ่มตัวอานิสงส์จากการที่ประเทศไทยเริ่มจะเป็นสังคมสูงอายุ หลังจากผ่านไปน่าจะซัก 2 ปี โดยที่ไม่ได้ทำอะไร พอร์ตก็เริ่มโตขึ้นแม้จะไม่มาก ประกอบกับเริ่มมีปันผลเข้ามาค่อนข้างมาก ประกอบกับการที่ผมเริ่มรู้จักหุ้นที่น่าจะมีโอกาสโตเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ผมก็เริ่มซื้อหุ้นเป็นรายตัว รวมถึงเพิ่มเงินเข้าไปบางส่วนเพื่อที่จะซื้อหุ้นเหล่านั้น ซึ่งทำให้หุ้นเหล่านี้มีสัดส่วน 20-30% ของพอร์ตแล้วทั้งที่มีหุ้นอยู่ไม่กี่ตัว เหตุผลก็คือ หลังจากเวลาผ่านไป หุ้นตัวเล็กในพอร์ตจำนวนเป็น 100 ตัวนั้นให้ผลตอบแทนน้อยมาก ดูเหมือนมันจะไม่โตเนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ผู้บริหารมักจะมีอายุมากและไม่มีแรงจูงใจที่จะสร้างการเติบโต พวกเขาคงอยู่มานานมากหลังจากที่ประเทศกลายเป็นสังคมนิยมเมื่อ 40 ปีก่อน ถึงวันนี้ดูเหมือนว่ามันยังทำกำไรและจ่ายปันผลได้แต่ไม่โตและอาจจะค่อย ๆ ตายไปก็ได้เมื่อถูกแข่งขันจากบริษัทเอกชนที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน พูดถึงผลตอบแทนของพอร์ตเวียดนามหลังจาก 4 ปีผ่านไปนั้นต้องบอกว่า “น่าผิดหวัง” สองสามปีที่ผ่านมานั้นพอร์ตแทบไม่โตเลยทั้ง ๆ ที่ดัชนีเวียดนามย้อนหลังไป 4-5 ปีนั้นปรับตัวขึ้นอย่างงดงามจากประมาณ 600 จุดเป็นเกือบ 1,000 จุด ณ. ปัจจุบันในขณะที่ดัชนีหุ้นไทยในช่วงเวลาเดียวกันนั้นแทบจะ “คงที่” ในพอร์ตส่วนตัวผมเองที่ตลาดหุ้นไทยนั้น 4-5 ปีที่ผ่านมาถึงแม้จะไม่ค่อยดีนักแต่ก็ยังพอใช้ได้และดีกว่าพอร์ตที่เวียดนามมาก ข้อสรุปของผมก็คือ ผม “Underperform” จากการลงทุนที่เวียดนามมาก แต่เมื่อได้คุยกับเพื่อนนักลงทุน VI ที่ไปลงทุนในเวียดนามในเวลาใกล้เคียงกันก็พบว่าพวกเขาก็ทำได้ไม่ดีเช่นเดียวกัน เกิดอะไรขึ้นกับตลาดเวียดนาม? ทำไม VI ที่มีประสบการณ์สูงในตลาดหุ้นของประเทศไทยในช่วง “ยุคทอง” ซึ่งคล้ายคลึงกับประเทศเวียดนามในช่วงเร็ว ๆ นี้ จึงไม่สามารถทำผลงานที่ดีรวมถึงยังแพ้ผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้นได้? คำตอบของผมก็คือ แม้ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะโตเร็วและแข็งแกร่งอย่างที่เราคาด แต่ตลาดหุ้นหรือตลาดทุนของเวียดนามนั้นยังค่อนข้างจะด้อยมากในหลาย ๆ ด้านเห็นได้จากการที่เวียตนามยังเป็น Frontier Market หรือตลาดหุ้น “ชายขอบ” ที่สถาบันการลงทุนขนาดใหญ่ระดับโลกยังไม่สามารถเข้ามาลงทุนได้ ปัญหาของเวียดนามก็คือ แม้ว่าจะมีบริษัทขนาดใหญ่และโดดเด่นของประเทศเข้ามาจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ อุตสาหกรรม แต่ปริมาณของนักลงทุนในประเทศกลับมีน้อยมาก นักลงทุนส่วนบุคคลรายย่อยของเวียดนามนั้นแม้ว่าจะมีจำนวนมากแต่เม็ดเงินลงทุนแต่ละรายก็น้อยมากและแทบทั้งหมดต่างก็เป็นนักเก็งกำไร ผมแทบไม่เคยเจอนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ไม่ต้องพูดถึงนักลงทุนแบบ VI ซึ่งต้องถือว่า “ไม่มี” ตลาดหุ้นเวียดนามนั้นแทบไม่มีนักลงทุนสถาบันในประเทศที่จะมีเม็ดเงินจำนวนมากที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดอย่างสม่ำเสมอ ผมเข้าใจว่าเขาไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคมอย่างในเมืองไทยหรือประเทศก้าวหน้าอื่น ๆ ที่สมาชิกจะออมเงินเข้ากองทุนตลอดเวลาที่ยังทำงานอยู่ ล่าสุดถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งกองทุนรวมขึ้นบ้าง แต่เม็ดเงินของแต่ละกองก็ยังน้อยมากส่วนใหญ่ระดับเป็นแค่หลักร้อยล้านบาทไทยซึ่งแทบจะไม่มีผลต่อตลาดหลักทรัพย์เลย ดูเหมือนว่าคนที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่รายเดียวของตลาดหุ้นเวียดนามก็คือนักลงทุนต่างประเทศที่เป็นนักลงทุนแนวเฮดจ์ฟันด์ ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และมีผลประกอบการที่ดีหรือไม่ก็หุ้นขนาดกลางที่เป็น “ซุปเปอร์สต็อก” อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดที่ชาวต่างชาติจะไม่สามารถซื้อหุ้นเกินสัดส่วนได้ในหุ้นหลาย ๆ ตัวก็ทำให้หุ้นดี ๆ เหล่านั้นมี Foreign Premium คือราคาหุ้นจะสูงกว่าราคาที่ซื้อขายบนกระดานปกติ บางที 3-40% ทำให้หุ้นไม่สะท้อนราคาที่แท้จริงอย่างที่ควรจะเป็นทั้งหุ้นใหญ่ กลางและเล็ก นักลงทุนแบบ VI ไทยซึ่งรวมถึงผมด้วยนั้น นับถึงวันนี้ประมาณ 4-5 ปีแล้วที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามน่าจะพูดได้ว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักแม้ว่าจะไม่ล้มเหลว หุ้นในตลาดเวียดนามนั้นจำนวนมากยังเข้าข่ายเป็น “หุ้น VI” ที่มีคุณภาพดีและราคาถูก แต่ดูเหมือนว่า “คนอื่น” หรือผู้เล่นในตลาดหุ้นเวียดนามอาจจะยังไม่มองอย่างนั้นหรือไม่มีเงินพอที่จะเข้ามาซื้อซึ่งจะช่วยดันราคาหุ้นให้ขึ้นไปสะท้อนคุณค่าของมันได้ ผมคิดว่าจนกว่าตลาดหุ้นเวียดนามจะพัฒนาขึ้น มีนักลงทุนหรือมีเงินเข้ามาลงทุนหุ้นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีกฎเกณฑ์ที่เข้ามาตรฐานโลก ก็อาจจะเป็นการยากที่หุ้นดี ๆ จะปรับตัวขึ้นไปเร็วและมากอย่างที่เคยเกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทย ผมเองลึก ๆ แล้วก็รอ “ทศวรรษทองของหุ้น VI เวียดนาม” อยู่แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเกิดไหมและเกิดเมื่อไร ผมเชื่อว่าคนที่ไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามนั้นยังไม่หมดหวังเห็นได้จากการสัมมนาเกี่ยวกับตลาดหุ้นเวียดนามก็ยังมีคนเข้าร่วมคับคั่งพอสมควร ผมเองคิดว่าดูจาก Market Cap. ของตลาดและของหุ้นใหญ่ ๆ ที่เป็นเสาหลักของประเทศเวียดนามแล้ว ยังไงหุ้นก็ต้องโต ไม่มีทางเป็นอื่น ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2019/12/23/2255 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปจุดเด่น 3 กองทุนเด็ดจาก บลจ.บัวหลวง BTP, B-SENIOR, B-INNOTECH - FINNOMENA วันนี้เรามีข่าวดีมาบอกครับ เพราะผู้ลงทุนสามารถซื้อ-ขายกองทุนจาก บลจ.บัวหลวง ผ่านระบบของ FINNOMENA ได้แล้ว วันนี้เราเลยขอหยิบกองทุนเด็ดๆ 3 กองจาก บลจ.บัวหลวงมาให้ทุกท่านได้ศึกษากัน ซึ่งแต่ละกองก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปดูกันเลย 13 ม.ค. 2563 วันนี้เรามีข่าวดีมาบอกครับ เพราะผู้ลงทุนสามารถซื้อ-ขายกองทุนจาก บลจ.บัวหลวง ผ่านระบบของ FINNOMENA ได้แล้ว โดย FINNOMENA ถือเป็นบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (บลน.) แห่งแรกที่ขายกองทุนจาก บลจ. บัวหลวงได้ และพิเศษสุดๆ !! ตอนนี้ยังมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับผู้ที่ลงทุนในกองทุน BTP และ B-INNOTECH ภายในเดือนธันวาคมนี้ด้วย วันนี้เราเลยขอหยิบกองทุนเด็ดๆ 3 กองจาก บลจ.บัวหลวงมาให้ทุกท่านได้ศึกษากัน ซึ่งแต่ละกองก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปดูกันเลย หากสนใจลงทุนในกองทุนจาก บลจ.บัวหลวง สามารถสร้างแผนเพื่อเปิดบัญชีลงทุนได้ที่ https://www.finnomena.com/nter-space-create/ BTP กองทุนบัวหลวงทศพล “รับโอกาสการลงทุนกับกองทุนหุ้นไทยในตำนาน” กองทุนบัวหลวงทศพล หรือ BTP เป็นกองทุนที่มีประวัติการลงทุนยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบันนี้ก็รวมเป็น 25 ปีแล้ว BTP เป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหมวดหุ้นไทยขนาดใหญ่ (Thai Equity Large Cap) จากข้อมูล ณ วันที่ 4 ธ.ค. 62 ปัจจุบันมีขนาดกองทุนทะลุ 13,000 ล้านบาทแล้ว BTP ทำผลการดำเนินงานในอดีตได้ดีเยี่ยม ทั้งในช่วงวิกฤติปี 2540 ที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงกว่า 86.0% แต่กองทุนปรับตัวลงเพียง 64.32% เท่านั้น (ปรับตัวลงน้อยกว่าตลาดถึง 24.60%) รูปที่ 1: SET Index & BTP Performance ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม 2537 – 26 ธันวาคม 2548 ที่มา: Morningstar ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต BTP มีนโยบายการลงทุนแบบ High Conviction ที่เน้นการลงทุนในหุ้นไทยที่ผู้จัดการกองทุนคาดหมายว่าจะให้ผลตอบแทนรวมสูงสุด 10 อันดับแรก (ไม่ได้ลงทุนในหุ้น 10 ตัวที่มี Market Cap ใหญ่ที่สุดในตลาดนะ) รูปที่ 2: สินทรัพย์ที่ BTP ถือ ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2562 ที่มา: หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ในฝั่งของผลตอบแทนเทียบหัวปีท้ายปี BTP ชนะ SET Total Return Index ถึง 11 ครั้งใน 16 ปีที่ผ่านมาล่าสุด (2003 – 2018) หรือคิดสัดส่วนที่ชนะเป็น 68.75% รูปที่ 3: SET Total Return Index & BTP Performance ระหว่างปี 2546 – 2561 ที่มา: Morningstar ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต และหากคิดเป็นการซื้อถือยาว (Buy And Hold) นับตั้งแต่มีดัชนี SET Total Return Index ณ ต้นปี 2002 จะพบว่าให้อัตราผลตอบแทนต่างกันถึง 3.13% ต่อปี (ข้อมูล ณ วันที่ 12 ธ.ค. 62) ซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าเงินที่ลงทุนที่ต่างกันถึง 62.76% หมายความว่า เมื่อผ่านไป 17 ปี เงิน 10,000 ที่ลงทุนใน SET Total Return Index จะกลายเป็น 103,941.90 บาท ในขณะที่ถ้าลงทุนใน BTP เงิน 10,000 บาทจะกลายเป็น 167,814.98 บาท) รูปที่ 4: SET Total Return Index & BTP Performance ระหว่างปี 01 มกราคม 2545 – 12 ธันวาคม 2562 ที่มา: Morningstar ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ความเสี่ยงที่สำคัญของกองทุนหลักๆ มาจากความผันผวนของหุ้น และมูลค่าที่ค่อนข้างสูงแล้วสำหรับหุ้นไทย ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาและหาจังหวะเข้าลงทุนดีๆ ก่อนตัดสินใจ ดูข้อมูลเพิ่มเติม และลงทุนใน BTP ได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/BTP/ B-SENIOR กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ “รับโอกาสการลงทุนในกองทุนรวมผสมแบบ Conservative” B-SENIOR คือกองทุนรวมผสมแบบ Conservative ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ด้วยมูลค่ากองทุนกว่า 20,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 30% ของมูลค่ากองทุนหมวดเดียวกันทั้งหมด นโยบายการลงทุนของ B-SENIOR เป็นแบบยืดหยุ่น ทั้งไทยและต่างประเทศ ภายใต้นโยบายการคุมความเสี่ยงแบบเข้มข้น โดยกำหนดไว้ว่าจะสามารถลงทุนในหุ้นได้ไม่เกิน 30% ตราสารหนี้/เงินฝากไม่น้อยกว่า 70% การลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 15% และสินทรัพย์อื่นๆ เช่น REITs, ETF กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมทองคำและอื่นๆ โดยในส่วนของตราสารหนี้นั้นจะลงทุนได้เฉพาะตราสารหนี้ระดับ AAA และพันธบัตรรัฐบาล รูปที่ 5: สัดส่วนการลงทุนของ B-SENIOR ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ที่มา: Monthly Fund Update เมื่อมีพอร์ตการลงทุนที่ออกแบบมาอย่างดีเยี่ยมแล้ว ส่งผลให้มีการปรับพอร์ตยามจำเป็นเท่านั้น เพื่อลดผลเสียจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยกองทุนมีอัตราส่วนการเปลี่ยนหุ้นในพอร์ต (Turnover Ratio) อยู่ที่ 0.37% ซึ่งถือว่าต่ำมาก ค่า Sharpe Ratio และ Max Drawdown ของ B-SENIOR มีความโดดเด่น ซึ่งหมายความว่า เมื่อเทียบกับกองทุนอื่นๆ ในระดับความเสี่ยงเท่าๆ กัน กองทุน B-SENIOR มีความคุ้มค่าของผลตอบแทนที่มากกว่า รูปที่ 6: ข้อมูล Sharpe Ratio และ Max Drawdown ข้อมูล ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2562 ที่มา: FINNOMENA ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต แม้จะเป็นเป็นการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงและค่อนข้างเป็นแบบอนุรักษ์นิยม แต่กองทุนก็ยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนของสินทรัพย์การเงินต่างๆ รวมถึงการลงทุนในต่างประเทศที่จะมีการป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดูข้อมูลเพิ่มเติม และลงทุนใน B-SENIOR ได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/B-SENIOR/ ดูโปรโมชั่นกองทุนประจำเดือนธันวาคม 2562 ได้ที่ https://www.finnomena.com/campaign-promotion-dec2019/ B-INNOTECH กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี “รับโอกาสการลงทุนบริษัทที่มีนวัตกรรมระดับโลก” B-INNOTECH ลงทุนผ่านกองทุน Fidelity Funds – Global Technology Fund (Class Y-ACC-USD)ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทที่จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ในพอร์ตมีการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกทั้งสหรัฐฯ และฝั่งเอเชีย นอกจากนี้ยังมีบริษัทเทคโนโลยีในยุโรป ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีประเภทวางระบบ รูปที่ 7: พอร์ตการลงทุนของกองทุน Fidelity Funds – Global Technology Fund (Class Y-ACC-USD) ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ที่มา: https://www.fidelity.lu/funds/factsheet/LU1560650563/tab-portfolio เมื่อกองทุนหลักมั่นใจในหุ้นตัวไหน ก็จะเน้นลงทุนในหุ้นตัวนั้น ซึ่งกองทุนมี Active Money ที่ 73.9% ซึ่งคือจำนวนเงินลงทุนในหุ้นของกองทุนที่มีสัดส่วนสูงกว่าดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ผลตอบแทนย้อนหลังเหนือกว่าในกลุ่มประมาณ 2 เท่า แต่ความผันผวนก็มากกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อนำผลตอบแทนมาเทียบกับความผันผวน จะได้ Sharpe ratio ซึ่งเหนือกว่าในกลุ่มเดียวกันมาก เรียกได้ว่าผลตอบแทนคุ้มกับความผันผวน ความเสี่ยงที่สำคัญของ B-INNOTECH คือกองทุนมีความมุ่งเน้นในอุตสาหกรรมหนึ่งๆ ซึ่งก็คือเทคโนโลยี ดังนั้นความผันผวนอาจมากกว่ากองทุนหุ้นทั่วไป และอาจเจอความเสี่ยงเฉพาะอุตสาหกรรมได้ รูปที่ 8: ผลตอบแทนย้อนหลัง และความผันผวน ของ B-INNOTECH ข้อมูล ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2562 ที่มา: FINNOMENA ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต รูปที่ 9: Sharpe Ratio และ Max Drawdown ของ B-INNOTECH ข้อมูล ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2562 ที่มา: FINNOMENA ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติม และลงทุนใน B-INNOTECH ได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/B-INNOTECH/ ย้ำกันอีกครั้ง… ท่านสามารถทำรายการซื้อ-ขายกองทุนจาก บลจ. บัวหลวง ผ่านระบบของ FINNOMENA ได้แล้วนะครับ คลิก https://www.finnomena.com/nter-space-create/ พิเศษสุดๆ สำหรับเดือนธันวาคม ทาง FINNOMENA มีโปรโมชั่นสำหรับกองทุน BTP และ B-INNOTECH ทุกยอดลงทุน 1 ล้านบาท รับเพิ่มหน่วยลงทุน TMBUSB มูลค่า 1,000 บาท สูงสุดถึง 1,000,000 บาท ระยะเวลาโปรโมชั่นตั้งแต่ 29 พ.ย. – 30 ธ.ค. 62 ดูรายละเอียดโปรโมชั่น และเริ่มลงทุนได้ที่ https://www.finnomena.com/campaign-promotion-dec2019/ FINNOMENA Admin —————————- Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Article B-INNOTECH B-SENIOR Basic BTP DIY Picture Slide Product Info Short Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เศรษฐกิจไทย-ต่างประเทศแย่ ลงทุนอะไรดี ? - FINNOMENA ถ้าเล่าแบบย่อๆ หลายคนอาจจะพอรู้แล้วว่า สงครามทางการค้า (Trade War) เป็นประเด็นหลักที่ทำให้เศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศได้รับผลกระทบ สำหรับประเทศไทย ก็ยังคงมีอาการเศรษฐกิจชะลอตัว ในสถานการณ์แบบนี้ควรวางกลยุทธ์ลงทุนอย่างไรดี มาดูคำแนะนำจาก TISCO Advisory กันเลยครับ 13 ม.ค. 2563 ถ้าเล่าแบบย่อๆ หลายคนอาจจะพอรู้แล้วว่า สงครามทางการค้า (Trade War) เป็นประเด็นหลักที่ทำให้เศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศได้รับผลกระทบ และแม้ข่าวล่าสุด ทางสหรัฐฯ จะออกมาประกาศรายละเอียดข้อตกลงการค้า ‘Phase One’ เพิ่มเติม โดยระบุว่าสหรัฐฯ จะลดอัตราภาษีลงเป็น 7.5% จากปัจจุบันที่ 15% กับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า US$112bn …แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ประเด็นนี้ จะส่งสัญญานอย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวขึ้นได้อย่างโดดเด่น นั่นก็เป็นเพราะ ในช่วงปลายไตรมาส 1/2020 ความเสี่ยงจะกลับมาเพิ่มขึ้น จากประเด็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยตั้งแต่เดือน มี.ค. เราจะเริ่มเห็นแล้วว่า ใครจะมาเป็นตัวแทนพรรค Democrat ไปแข่งกับ “นายโดนัลด์ ทรัมป์” ในการเลือกตั้งปธน. ในวันที่ 3 พ.ย. 2020 ซึ่งผู้ท้าชิงจากพรรค Democrat ส่วนใหญ่มีนโยบายที่กดดันตลาดหุ้น เช่น การเพิ่มภาษีนิติบุคคล เพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีรายได้สูง และเพิ่มภาษีจากรายได้จากการลงทุน (Capital gain tax) ทำให้ตลาดหุ้นอาจจะเริ่มปรับตัวลงในช่วงนั้น และราคาทองคำน่าจะกลับมาเพิ่มขึ้น ดังนั้นนี่จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป สำหรับประเทศไทย ก็ยังคงมีอาการเศรษฐกิจชะลอตัว โดยจะเห็นได้จากรายงานข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) เดือน ต.ค. ที่ระบุว่า “การท่องเที่ยว” เป็นสิ่งเดียวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นได้จาก ตัวเลขนักท่องเที่ยว ที่เพิ่มขึ้น 12.5% ขณะที่ตัวเลขอื่นๆ ส่วนใหญ่ติดลบ หรือเป็นบวกเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่า → เศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจไทย ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวจริง ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ดังนั้น ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแบบนี้ “ธุรกิจการแพทย์” หรือ Health Care ก็ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก เพราะมีปัจจัยบวก ทั้งในเรื่อง ความสามารถในการเติบโต : ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจแบบใดก็ตาม จะเห็นได้ว่าธุรกิจ Health Care เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ ราคาไม่แพง : หากวิเคราะห์จากกราฟ (ตามภาพ) จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า มูลค่าพื้นฐาน (Valuations) ของธุรกิจ Health Care ในสหรัฐฯ ยังค่อนข้างต่ำกว่าตลาด ซึ่งนั่นสรุปได้ว่า ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ ยังไม่แพงเมื่อเทียบกับหุ้นสหรัฐฯ โดยรวม กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนแบบมีหุ้นน้อยตัว (High conviction) แต่มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนได้ดี ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว นั่นก็เป็นเพราะการบริหารพอร์ตในเชิงรุก (Active Fund) แบบนี้ จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันต่อสถานการณ์ได้ดีขึ้น ดังนั้นกองทุนรวมหุ้นไทยที่จัดพอร์ตแบบ High conviction โดยมีหุ้น 10-15 บริษัท ก็เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวในช่วงนี้อย่างมาก ถ้าคุณสนใจที่จะลงทุนเพื่อเอาชนะภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ตามที่ TISCO Wealth Advisory แนะนำ ควรวางกลยุทธ์ดังนี้ สำหรับการลงทุนระยะสั้น : ระยะเวลา 3-6 เดือน แนะนำนักลงทุนเลือก กองทุนรวมหุ้นไทยที่จัดพอร์ตแบบ High conviction เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดโดยรวมในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว สำหรับการลงทุนระยะยาว : ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แนะนำกองทุนรวม Health Care เพราะจะช่วยสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งธุรกิจประเภทนี้ กำไรโดยรวมมักไม่ค่อยปรับตัวลดลง แม้จะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวก็ตาม TISCO Advisory ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/tiscoadvisory/ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: Article Basic Picture Slide Short Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถิติบอกว่า ... กระทิงจะยังวิ่งต่อถึงสิ้นปี 2020 - FINNOMENA ออกตัวก่อนเลยนะครับว่าสถิติที่บอกว่า ตลาดกระทิงจะยังวิ่งต่อนั้น เป็นสถิติของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ใช่ตลาดหุ้นไทยแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ถ้ากระทิงในสหรัฐฯ ยังอยู่ ก็น่าจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นไทยเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราไปดูเหตุผลกันหน่อยครับ 18 ธ.ค. 2562 ออกตัวก่อนเลยนะครับว่าสถิติที่บอกว่า ตลาดกระทิงจะยังวิ่งต่อนั้น เป็นสถิติของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ใช่ตลาดหุ้นไทยแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ถ้ากระทิงในสหรัฐฯ ยังอยู่ ก็น่าจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นไทยเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราไปดูเหตุผลกันหน่อยครับ ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมและน้องๆ ในทีม Investment ได้นั่งอ่านบทวิเคราะห์ และมีการถกกันในหลายๆ ประเด็นเพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนในปี 2020 ที่เข้าใกล้มาทุกที และได้ข้อสรุปในหลายๆ ประเด็นที่เราเห็นตรงกันว่า ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในโลกเรานี้ ดูเหมือนจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีหลายปัจจัยที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เรามองเห็นว่า ปี 2020 น่าจะยังเป็นปีที่ดีสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ที่เรียกว่า “หุ้น” เราลองดูกันทีละประเด็นนะครับ ข้อแรก หากลองพิจารณาจากสถานะทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยหลัก (เนื่องจากการที่เศรษฐกิจโลกยังคงพึ่งพาทั้งภาคการบริโภคและภาคการผลิตของสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง) โดยหากดูตัวเลข Output Gap ของสหรัฐฯ ณ ระดับปัจจุบัน จะพบว่า เพิ่งเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของปลายวัฏจักรซึ่งมักกินเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี ก่อนที่จะเปลี่ยนสถานะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยในปัจจุบัน เราเพิ่งเข้าสู่ปลายวัฏจักรนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2018 หรือ ผ่านมาเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น เท่ากับว่า ยังพอมีเวลาอยู่อีกอย่างน้อยๆ ก็ 12 เดือนข้างหน้า ข้อสอง อัตราการว่างงานทั้งโลกที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะหากเจาะลงไปดูที่เหล่าประเทศแกนหลักของโลกในกลุ่ม G7 เป็นตัวสะท้อนว่า เศรษฐกิจโลกยังมีความแข็งแกร่งในเกณฑ์ดี ถึงจะมีทฤษฎีที่แย้งว่า เหตุที่การจ้างงานอยู่ในระดับต่ำ เป็นเพราะ จำนวนประชากรแรงงานในระบบลดลง จากการที่ประชากรรุ่น Baby Boomer กำลังเกษียณอายุ และประชากรในกลุ่ม Gen Z ที่ขนาดน้อยกว่ามาก แต่ Investment Team เรามองว่า โลกในอนาคตจะมีความต้องการแรงงานที่เป็นมนุษย์ที่ลดลงอยู่แล้วจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น การที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำลง ก็แสดงให้เห็นว่า ทักษะของแรงงานสูงขึ้น ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี และที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ ในแง่ Business Activity หรือศักยภาพในการเติบโตของยอดขาย และกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งสามารถพิจารณาด้วยการดูที่ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานต่อจำนวนชั่วโมงที่ใส่ลงไป พบว่าตัวเลขนี้ลดลงนับตั้งแต่ช่วงปี 2008 เป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่า แรงงานมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนชั่วโมงการทำงาน น่าสนใจว่าหากเราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานให้กลับไปใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในปี 1975-2007 จะเท่ากับว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยลดลงทันทีนะครับ ข้อที่สาม จากการกลับไปดูสถิติย้อนหลังในอดีตพบว่า ในปีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 1928 จนถึงปัจจุบัน ทั้งหมด 23 ครั้งที่ผ่านมา พบว่า 19 ครั้งที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนเป็นบวกในปีที่จะมีการเลือกตั้ง โดยผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 อยู่ที่ +17% ขณะที่ มี 4 ปีที่ผลตอบแทนในปีนั้นติดลบ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ -16% ซึ่งตรงกับช่วง Great Depression ในปี 1932-1940 และวิกฤตการเงินอีก 2 ครั้งคือ วิกฤตดอตคอม (ปี 2000) และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (ปี 2008) ถ้าเราเชื่อว่า วิกฤตไม่น่าเกิดขึ้นในปี 2020 ก็แปลว่า การเลือกตั้งสหรัฐฯ ไม่ใช่ปัจจัยลบที่จะทำให้ตลาดมีแรงเทขายนะครับ ข้อมูลสถิตินี้ก็เป็นอีกข้อมูลที่ทำให้เราไม่ค่อยให้น้ำหนักว่าตลาดหุ้นโลกจะมีการปรับฐานรุนแรงหรือเปล่า ถ้าถามว่า จากทั้งหมด 3 ข้อ ตลาดกระทิงน่าจะยังมีอยู่ถึงสิ้นปี 2020 แล้วควรลงทุนในอะไร คำตอบ คงจะไม่ใช่ ลงทุนในอะไรก็ได้ที่เป็นหุ้น เพราะพฤติกรรมของตลาดหุ้นในช่วงปลายวัฏจักรในอดีตที่ผ่านมา ไม่ได้พาให้นักลงทุนทุกคนไปถึงกำไรอย่างที่ใจต้องการ หากแต่ความผันผวนมักจะเพิ่มขึ้น และตลาดจะเปลี่ยนธีมการลงทุนไวขึ้น ทั้งนี้ผมได้ลองสรุป ประเภทสินทรัพย์ที่น่าสนใจมาให้ 3 ประเภทด้วยกัน ตามนี้นะครับ ราคาทอง มีโอกาสดีดกลับขึ้นมาเหนือ $1,600 ได้ จากสัญญาณที่เหล่าธนาคารกลางทั่วโลกกลับมาใช้นโยบาย QE อีกครั้ง หุ้นสหรัฐฯ มองผ่านดัชนี S&P 500 มีโอกาสขึ้นไปสร้างจุดสุงสุดใหม่ได้ ข้อมูลจาก Bloomberg Consensus ให้เป้าหมาย S&P 500 ปลายปี 2020 เฉลี่ยไว้ที่ 3,500 จุด หุ้นตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ Underperform มาแล้ว 4 ปีติดต่อกัน มีโอกาสฟื้นตัวขึ้นมาจากการที่ค่าเงินดอลล่าร์กลับมาอ่อนค่า และความตึงเครียดในการเจรจาการค้าลดลง สุดท้ายนี้ อยากจะขอให้นักลงทุนได้กลับไปยังหลักการที่ถูกต้องอีกครั้ง นั่นก็คือ เราควรกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสม อย่างไรก็เป็นกลยุทธ์ที่นักลงทุนควรใช้ในการลงทุนระยะยาวนะครับ Mr.Messenger แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รู้จัก Exchange ที่ใช้ Blockchain แบบ 100% - FINNOMENA ตลาดหุ้นสวิตเซอร์แลนด์ น่าจะเป็นรายแรกที่ใช้ Blockchain เป็นเครื่องมือเพื่อเทรด Digital Asset แบบ 100% ซึ่งมีชื่อเรียกว่า SIX Digital Exchange (SDX) หรือ SDX exchange ที่ได้เริ่มต้นขึ้นในบางส่วนแล้ว โดยจะให้บริการแบบเต็มรูปแบบในปลายปีหน้า บทความนี้ มาทำความรู้จักกับ SDX exchange กันสักนิด 13 ธ.ค. 2562 ถ้าท่านผู้อ่านอยากซื้อหุ้น Nestle 0.0047 หุ้น หรือร่วมเป็นหุ้นส่วนร้อยละ 0.00009 ของภาพ The Old Guitarist ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกของปาโบล ปิกัสโซ่ ผมคิดว่าท่านผู้อ่านคงอยากจะทำธุรกรรมเหล่านี้ คำถามคือท่านผู้อ่านคิดว่า จะทำได้หรือไม่? คำตอบ คือ กำลังจะสามารถทำได้ในเร็ววัน โดยตลาดหุ้นสวิตเซอร์แลนด์ น่าจะเป็นรายแรกที่ใช้ Blockchain เป็นเครื่องมือเพื่อเทรด Digital Asset แบบ 100% เมื่อ SIX Group ที่เป็น Operator ที่ให้บริการด้าน Electronic Platform ให้กับตลาดหุ้นสวิตเซอร์แลนด์ ที่ถือว่าเป็นระดับ World Class ได้สร้างตัว Exchange ใหม่ ที่เรียกว่า SIX Digital Exchange (SDX) หรือ SDX exchange ที่ได้เริ่มต้นขึ้นในบางส่วนแล้ว โดยจะให้บริการแบบเต็มรูปแบบในปลายปีหน้า บทความนี้ มาทำความรู้จักกับ SDX exchange กันสักนิด รูปที่ 1 ประเภทของตลาด Exchange แยกตามประเภทสินทรัพย์และประเภทโมเดลของ Exchange ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับ SDX exchange ว่า เหมือนหรือต่างจากตลาดหุ้นหรือตลาดสินทรัพย์คริปโตอื่นๆ อย่างไร? หากพิจารณารูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นอย่าง SET หรือ NYSE เป็นแบบ Traditional Asset หรือหุ้นสามัญ (ตามแกนตั้ง) และ Traditional Model (ตามแกนนอน) หรือระบบการเทรดดิ้งที่ยังคงเป็นแบบ Centralized System และมีการแม็ทชิ้งระหว่างคำสั่งซื้อและขาย รวมถึงยังมี Counterparty Risk ที่ทำให้ตัวตลาดทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันในทางอ้อม ด้านตลาดคริปโตอย่าง Binance และ Coinbase นั้นเป็นรูปแบบที่เป็นสินทรัพย์สกุลคริปโตที่ไม่มีสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying asset) หรือ Native Token รวมถึงมีระบบการเทรดเป็นแบบ Digital Model หรือเป็นระบบที่ใช้ Blockchain ในการเทรดสินทรัพย์ นับตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อขาย การแม็ทชิ้งคำสั่งซื้อขาย การ Settlement ไปจนกระทั่งการจัดเก็บเอกสารรวมถึงระบบหลังบ้านทั้งหมดหรือ Custody ที่เรียกกันว่า Distributed-Ledger Trading หรือ DLT สำหรับ SDX exchange เป็นส่วนผสมระหว่าง 2 โมเดลข้างต้น โดยในส่วนสินทรัพย์ในการเทรดนั้น เป็นแบบ Traditional Asset (ตามแกนตั้ง) โดยที่สินทรัพย์ทุกชิ้นมีสินทรัพย์หนุนหลังอยู่ (Underlying Asset) นั่นคือ จะไม่มีสินทรัพย์คริปโตเข้ามาเทรดใน SDX โดยที่การเทรดสินทรัพย์ประเภทจับต้องได้ต่างๆ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หรือ ภาพวาดที่มีมูลค่าสูงๆ จะนำมาแปลงเป็นหลักทรัพย์ผ่านกระบวนการ Tokenization ดังจะอธิบายด้านล่าง ด้านแพลตฟอร์มในการเทรด (ตามแกนนอน) เป็นแบบดิจิตัล หรือการใช้ Blockchain ช่วยการทำงานในตลาด Exchange รูปที่ 2 กระบวนการทำงาน Digital Asset ตามรูปแบบ Tokenization ของ SDX platform ที่เป็นโมเดลดิจิตัล คราวนี้ หันมาทำความรู้จักกับ SDX กันมากขึ้น เริ่มจาก SIX Group ซึ่งเป็น operator ด้าน Electronic Platform ของตลาดหุ้นสวิตเซอร์แลนด์ ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องความแน่น ทั้งในแง่ของความปลอดภัยและความล้ำหน้าของผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ได้พัฒนา digital asset platform ที่กระบวนการของทั้งระบบสำหรับการเทรดสินทรัพย์ นับตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อขาย การแม็ทชิ้งคำสั่งซื้อขายซึ่งใช้ระบบ decentralization หรือ Peer to Peer Transaction และไม่มี Counterparty Risk เนื่องจากเป็นการ Instant Settlement หรือ Settlement แบบทันทีทันใดเมื่อมีการคีย์ออร์เดอร์จากลูกค้าทั่วโลก ไปจนกระทั่งการจัดเก็บเอกสารรวมถึงระบบหลังบ้านทั้งหมดหรือ Custody นั้น กระทำโดยระบบ Blockchain ทั้งหมด ซึ่งจะไม่มีคนเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ทั้งนี้ กระบวนการที่ SDX exchange สามารถทำได้ ทว่าตลาดหุ้นอื่นทำไม่ได้ คือสิ่งที่เรียกกันว่า Tokenization หรือ การนำสินทรัพย์ที่จับต้องได้ต่างๆ ในภาษาของ SDX ที่เรียกว่า UnBankable Asset อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หรือ ภาพวาดของศิลปินชื่อดัง มาแปลงเป็นสินทรัพย์ ดังรูปที่ 2 บางท่านอาจจะถามว่าแล้วมันต่างจาก Securitization อย่างไร? คำตอบคือ Tokenization มีดีมากกว่า Securitization ตรงที่สามารถแยกเป็นหน่วยย่อยๆ เป็นทศนิยมไม่รู้จบและเชื่อมโยง SDX กับตลาดอื่นๆ อาทิ อสังหาริมทรัพย์และภาพวาดที่โด่งดัง เพื่อให้เม็ดเงินที่เริ่มเข้ามาซื้อได้ให้มาถึงมือรายย่อยให้เข้าถึงรายเล็กรายน้อยแบบทั่วถึง โดย SDX ใช้ประโยชน์จาก Smart Contract ของ Blockchain ในการตั้งโปรแกรมว่าจะซอยย่อยหุ้น 1 หน่วย ให้เป็นหน่วยย่อยๆเป็นทศนิยมไม่รู้จบ เพื่อให้รายย่อยสามารถซื้อขายได้ ต่อไป เราน่าจะสามารถเทรดหุ้น Facebook Apple Amazon Netflix หรือ Alphabet ได้แบบสนุกมือ เนื่องจากจะสามารถซื้อได้เป็นทศนิยมแบบหลายหลัก อาทิ ซื้อหุ้น Facebook 0.0000007 หุ้น หรือขายหุ้น Apple 0.00009 หุ้น นอกจากนี้ การที่จะเชื่อมโยงมูลค่าของ UnBankable Asset อย่างภาพวาดของปิกัสโซ่ ที่ราคาขึ้นลงตามผลการประมูลของสถาบัน Christie ให้เข้ากับมูลค่าหลักทรัพย์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ Digital Asset ในตลาด SDX สามารถทำได้ผ่านระบบ Overlapping Network of Values ดังรูปที่ 2 ที่มีระบบเชื่อมโยงระหว่างสถาบัน Christie หรือแม้แต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในตลาดต่างๆทั่วโลก กับตลาด SDX ดังนั้น เราอาจจะซื้อความเป็นเจ้าของภาพวาด The Old Guitarist ของปิกัสโซ่ สักร้อยละ 0.00000004 ก็สามารถทำได้ โดยราคาของภาพวาดดังกล่าวจะขึ้นลงตามการประมูลของสถาบัน Christie ล่าสุด ในตอนนี้ SDX exchange ที่ใช้ Blockchain เป็นเครื่องมือในระบบ exchange โดยสมบูรณ์ เริ่มเปิดบริการใช้งานในบางส่วนแล้ว ขอให้ทุกท่านอดใจรอกันอีกนิด โดยอีก 1 ปีข้างหน้า ทาง SDX exchange คาดว่าจะสามารถเปิดใช้งานจริงแบบ 100% ครับ MacroView ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/648949 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทศวรรษที่ (อาจ) หายไป - FINNOMENA พัฒนาการในช่วงประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมาของตลาดหุ้นไทยนั้นกลับค่อนข้าง “น่าผิดหวัง” และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ไม่รู้ว่ามันจะ Turnaround หรือฟื้นกลับขึ้นมาได้อย่างไร แล้วประเทศไทยจะสามารถเอาตัวรอดได้ไหม? 11 ธ.ค. 2562 ในฐานะที่เป็น VI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวและปกติก็จะถือหุ้นแต่ละตัวเกินกว่า 5 ปี หลายตัวถือเกิน 10 ปี ผมจึงสนใจพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และตลาดหุ้นในระยะยาวว่าเป็นอย่างไร ข้อสรุปของผมที่ผ่านมาก็คือ คนไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างโชคดีที่ได้อาศัยและลงทุนในสังคม เศรษฐกิจ และตลาดหุ้น ที่เอื้ออำนวยให้เราเจริญเติบโตขึ้นค่อนข้างจะดีเป็นเวลาน่าจะไม่น้อยกว่า 50-60 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนสำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยระยะยาวก็ค่อนข้างจะโดดเด่นใน “ระดับโลก” ที่ประมาณเกือบ 10% ต่อปีแบบทบต้นเป็นเวลากว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม พัฒนาการในช่วงประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมานั้นกลับค่อนข้าง “น่าผิดหวัง” ตัวเลขและข้อมูลทางด้านคุณภาพของเศรษฐกิจ สังคมการเมืองและตลาดหุ้นที่เคยโดดเด่นนั้นกำลังตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ไม่รู้ว่ามันจะ Turnaround หรือฟื้นกลับขึ้นมาได้อย่างไร พูดตามตรง ผมกำลังกลัวว่าเรากำลังเดินหน้าไปสู่ภาวะที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป” แรกเริ่มนั้น Lost Decade เป็นคำที่ใช้เรียก “วิกฤติเศรษฐกิจ” ของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1990 หลังจากที่ญี่ปุ่นเติบโตขึ้นสุดยอดตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่ GDP ต่อหัวของญี่ปุ่นสูงที่สุดในโลกและเรื่องราวต่าง ๆ ของระบบการบริหารของบริษัทญี่ปุ่นเช่น Just In Time หรือชื่อเสียงของบริษัทอย่างโซนี่และโตโยต้านั้นเป็นแบรนด์เนมที่คนยอมรับกันทั้งโลก แต่หลังจากนั้น ในช่วงตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 แรงเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐก็ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยสูงมากลดลงจนเหลือเพียงประมาณ 1% เศษ ๆ ต่อปีซึ่งต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ มาก เช่นเดียวกับตลาดหุ้นที่ถดถอยลงตกต่ำลงอย่างหนักต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 10 ปีและต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้หรือพูดง่าย ๆ ว่ายังไม่ฟื้นหลังจากผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว ในสหรัฐอเมริกาเองนั้น Lost Decade ก็เคยเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ช่วงปี 2000 ที่เกิดวิกฤติ Dotcom ที่บริษัทไฮเท็คที่จดทะเบียนในตลาดนาสดาคเกิดปรากฎการณ์ “ฟองสบู่แตก” และตามมาด้วยวิกฤติอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นในปี 2008 ทำให้ความมั่งคั่งของคนอเมริกันหดหายไปมากส่งผลให้ต้องลดค่าใช้จ่ายซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศในช่วงทศวรรษนี้เติบโตถดถอยลงไปมากที่สุดในช่วงหลาย ๆ ทศวรรษที่ผ่านมา ผลตอบแทนของตลาดหุ้นนั้นติดลบปีละประมาณเกือบ 10% โดยเฉลี่ยซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าวิกฤติตลาดหุ้นครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1930 คนอเมริกันตกงานกันมากมาย อาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมหายไปกว่า 30% แต่หลังจากนั้นในปี 2013 เศรษฐกิจอเมริกันก็เริ่มฟื้นอานิสงส์จากการอัดฉีดเงินมโหฬารเข้าสู่ระบบผ่านการทำ QE ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวอย่างแรง ถึงสิ้นปี 2013 ดัชนี S & P ก็ทำสถิติสูงสุดใหม่และยังทำสถิติสูงสุดมาเรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้ การจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เฉพาะอย่างยิ่งจากภาคเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นดิจิตอล การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะร้อนแรงและยังมีอนาคตอีกนานแตกต่างจากญี่ปุ่นที่ดูเหมือนว่ากำลังถดถอยลงไปเรื่อย ๆ ในระดับโลก ความแตกต่างอย่างหนึ่งซึ่งเด่นชัดมากน่าจะเป็นเพราะว่าคนญี่ปุ่นนั้นแก่ตัวลงแบบสมบูรณ์ในขณะที่อเมริกายังไม่เป็นแบบนั้นอานิสงค์จากผู้อพยพที่ยังหลั่งไหลเข้าไปอยู่แม้ว่าจะยากขึ้นเนื่องจากนโยบายของประธานาธิบดีทรั้มป์ กลับมาที่เมืองไทย ภาวะเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยมและดีนั้นดูเหมือนว่าจะสิ้นสุดในปี 2555 ที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นถึง 7.2% หลังจากภาวะน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่ทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงอย่างแรงโตเพียง 0.8% หลังจากนั้นคือตั้งแต่ปี 2556 เศรษฐกิจไทยก็ถดถอยลงตามลำดับ โตโดยเฉลี่ยแค่ประมาณ 3% ต่อปี และแทบไม่เคยโตได้เกิน 4% ต่อปีในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา บางคนอาจบอกว่าเศรษฐกิจไทยไม่เลวร้าย คนไทยยังมีเงินมหาศาล เงินล้นและถูกนำไปฝากในระบบธนาคารซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์มานานมาก ฐานะเงินสำรองของประเทศสูงเป็นประวัติการณ์และสูงมากซึ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวอย่างมากในช่วงเร็ว ๆ นี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของไทยไม่มีแน่นอน แต่นี่ก็คือสถานการณ์ของญี่ปุ่นในช่วง Lost Decade หลายสิบปีมาแล้ว คนญี่ปุ่นในช่วงนั้นมีเงินเก็บสูงมากและไม่นำเงินออกมาใช้ทำให้การบริโภคไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้การผลิตและการลงทุนไม่เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก กลายเป็น “Liquidity Trap” บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าคนญี่ปุ่นในช่วงนั้นต้องรีบออมเงินเพื่อการเกษียณก็เป็นได้ เศรษฐกิจที่ไม่ดีต่อเนื่องมาเกือบ 7 ปี อาจจะมีผลต่อตลาดหุ้นไทยที่ดูเหมือนว่าจะไม่ไปไหนมาเกือบ 7 ปีเหมือนกัน ประมาณ เดือนเมษายน ปี 2556 หรือกว่า 6 ปีมาแล้วหลังจากประกาศงบการเงินประจำปีของบริษัทจดทะเบียน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด มาถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ดัชนีอยู่ที่ประมาณ 1,560 จุดหรือลดลง 40 จุดในเวลา 6 ปี และในระหว่างนั้น ส่วนใหญ่แล้วดัชนีก็แกว่งไม่เกิน 100 จุด คนที่ลงทุนระยะยาวอิงกับดัชนีได้แค่ปันผลจากการลงทุนในแต่ละปี คนที่เทรดหุ้นและเสียค่าคอมมิชชั่นส่วนใหญ่น่าจะขาดทุนจากการเล่นหุ้นในตลาด คำถามก็คือ อีก 3-4 ปีก็จะครบ 10 ปีหรือหนึ่งทศวรรษ เป็นไปได้ไหมว่าดัชนีก็อาจจะไม่ไปไหนและนั่นสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนระยะยาวตามดัชนีอาจจะแทบไม่ได้อะไรและจะกลายเป็น Lost Decade หรือทศวรรษที่หายไปในการลงทุนอย่างที่เคยเกิดมาแล้วในญี่ปุ่นหรือในสหรัฐฯ ในช่วงเวลาหนึ่ง การตอบคำถามนี้ก็ต้องดูว่าภาวะทางเศรษฐกิจของไทยนับจากนี้ไปอีก 3-4 ปีและต่อ ๆ ไปจะเป็นอย่างไร คำตอบที่มาจากการศึกษากรณีของญี่ปุ่นและบางส่วนจากสหรัฐนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยดีนัก ย้อนหลังกลับไปถึงตอนสิ้นปี 2545 หรือ 5 ปีหลังภาวะวิกฤติปี 2540 ตัวเลขต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของไทยก็ดูเหมือนว่าจะฟื้นแล้ว เศรษฐกิจในปี 2545 เติบโตขึ้น 6.1% หลังจากที่ติดลบมา 2 ปีต่อเนื่องจากปีวิกฤติและเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ ต่อมาอีก 3 ปี ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เมื่อสิ้นปี 2545 คือ 356 จุดซึ่งก็ยังต่ำกว่าตอนสิ้นปี 2540 ที่เกิดวิกฤติที่ 373 จุด และนี่คือ “โอกาสทอง” ของการลงทุน เพราะหลังจากนั้นอีกหนึ่งทศวรรษคือเดือนเมษายนปี 2555 ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเป็น 1,600 จุด หรือเป็น 4.5 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 16.2 % ไม่รวมปันผล และกลายเป็น “ทศวรรษทอง” ของการลงทุนโดยเฉพาะของนักลงทุนแบบ VI ซึ่งเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างจริงจังในช่วงเวลาเดียวกันนั้น การสิ้นสุดของ “ทศวรรษทอง” และตามมาด้วย “ทศวรรษที่หายไป” นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในกรณีของญี่ปุ่นและสหรัฐ เวลานี้อาจจะมีคำถามว่าจะเป็นในกรณีของไทยด้วยไหมหลังจากที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยหงอยเหงามาเกือบ 7 ปีแล้วและเต็มไปด้วยปัญหาที่คล้าย ๆ กับกรณีของญี่ปุ่นซึ่งรวมถึงประชากรที่แก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว และถ้าเกิดขึ้นจริงคือในอีก 3-4 ปีข้างหน้า หลังจากนั้นเราจะเป็นเหมือนสหรัฐที่ฟื้นตัวหรือเป็นแบบญี่ปุ่นที่ “Lost” ต่อไป นี่เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องคิดและตระหนักและหาทางแก้ไข ขั้นแรกก็คือพยายามอย่าให้มันเกิด ประการต่อมาก็คือ ถ้ามันเกิดขึ้นจะทำอย่างไรต่อไป ผมเองก็ไม่มีคำตอบ ตอนนี้ก็ได้แต่สวดมนต์และคิดว่าโดยส่วนตัวจะต้องทำอะไรหรืออาจจะต้องทำอะไรในอนาคต แต่บางครั้งผมก็คิดว่าเราไม่ควรกังวลเกินไป ยังไงเราก็เอาตัวรอดได้ เรา “ผ่านร้อนผ่านหนาว” มามาก และ “ในวิกฤติก็มีโอกาสเสมอ” ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2019/12/09/2248 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เตรียมพอร์ตรับความผันผวนไปกับกองทุน SCBWIN - FINNOMENA แม้ปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับโลกการเงินมาโดยตลอดมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน ดังนั้นการสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตลงทุนจะไม่ง่ายอย่างที่เคยเป็นมา ขอนำนักลงทุนทุกท่านมาพบกับกองทุน SCBWIN มาดูกันว่ากองทุนนี้ลงทุนในอะไร และจะสู้กับความท้าทายของตลาดครั้งนี้ได้ด้วยกลยุทธ์อะไร? 29 ต.ค. 2563 ตั้งแต่ต้นปี 2019 ตลาดการเงินทั่วโลกอยู่ในภาวะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้มีกระแสเงินทุนเข้าซื้อตราสารหนี้ จนมีบทวิเคราะห์จากหลายสำนักกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า มูลค่าค่อนข้างตึงตัว จนมาถึงเดือนกันยายน ตลาดหุ้นกลับมาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง หลังมุมมองการเจรจาการค้าดีขึ้นอีกครั้ง รูปที่ 1 เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ทางการเงินในปี 2007 และปี 2019 Source: BGF Global Multi Asset Income presentation as of 6/12/2019 แม้ปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับโลกการเงินมาโดยตลอดมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน เช่น การเจรจาประเด็นการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน, Brexit หรือล่าสุดประเด็นการถอดถอนประธานาธิบดีสหรัฐฯ นอกจากนั้นในปีหน้ายังมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีรออยู่อีก มากกว่านั้นจากรูปที่ 1 จะเห็นว่าการหาผลตอบแทนหรืออัตราการปันผล ณ ปัจจุบัน ก็ยากกว่าในอดีตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ดังนั้นทั้งความผันผวนของตลาดการเงินและการสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตลงทุนจะไม่ง่ายอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต ขอนำนักลงทุนทุกท่านมาพบกับ…SCBWIN กองทุน SCBWIN มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุน BGF Global Multi Asset Income เพียงกองทุนเดียว หรือที่เรียกกันว่ากองทุนหลัก ซึ่งมีนโยบายการลงทุนกระจายในหลายสินทรัพย์เพื่อสร้างผลตอบแทนเหนือค่าเฉลี่ยโดยไม่สูญเสียการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาว บริหารพอร์ตการลงทุนโดยทีมจาก BlackRock นำโดยคุณ Michael Fredericks ในตำแหน่ง Lead Portfolio Manager เมื่อดูผลงานจากเวปไซต์ citywireselector.com พบว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้เหนือค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ของผู้จัดการกองทุนในประเภทเดียวกัน (Mixed Assets) รูปที่ 2 ทีมงานบริหารกองทุน BGF Global Multi Asset Income Source: BGF Global Multi Asset Income presentation as of 6/12/2019 ผสมผสานการคัดเลือกหลักทรัพย์ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแบบ Top-Down และ Bottom-up ผ่านการวิเคราะห์ด้านมูลค่า ภาพรวมเศรษฐกิจ มุมมองของตลาด รวมไปถึงปัจจัยเฉพาะ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการสร้างพอร์ตการลงทุนที่กระจายในหลายสินทรัพย์ ควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยงที่คอยวิเคราะห์และทบทวนทั้งด้านปัจจัย มูลค่า และมุมมองการลงทุน กองทุนลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้าง? รูปที่ 3 สัดส่วนการลงทุนของกองทุน BGF Global Multi Asset Income ระหว่างวันที่ 30/11/2011 ถึง 31/07/2019 Source: BGF Global Multi Asset Income presentation as of 6/12/2019 กองทุน BGF Global Multi Asset Income มีสัดส่วนการลงทุนใน Fixed Income ทั้งในและนอกสหรัฐฯ นอกจากนั้นยังลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่น เช่น Global REITs, Mortgage-Backed Securities (MBS) และแน่นอนว่าต้องมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่กระจายทั้งในสหรัฐฯ ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Market) และตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) รูปที่ 4 สัดส่วนการลงทุนใน Covered call ในแต่ละอุตสาหกรรมระหว่างเดือน Source: BGF Global Multi Asset Income presentation as of 6/12/2019 นอกจากนี้กองทุนยังใช้กลยุทธ์ Covered Call ที่เป็นการซื้อหุ้นพร้อมขายสิทธิ์ในการซื้อหุ้น โดยกลยุทธ์นี้มีไว้เพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับที่มีเสถียรภาพให้กับกองทุน ซึ่งสะท้อนผ่านความผันผวนของผลตอบแทนกองทุนที่ค่อนข้างต่ำ ส่วนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการลงทุน ปัจจุบันอยู่ที่ 97% ของสินทรัพย์ทั้งหมด (As of 4/12/2019) หมายเหตุ: คุณสามารถลงทุนใน SCBWINA / SCBWINR ได้ผ่านพอร์ต DIY (Do-It-Yourself) ซึ่งคุณสามารถปรับกลยุทธ์การลงทุนตามความเสี่ยงที่สามารถรับได้ เลือกกองทุนได้เองตามสไตล์ หรือ ออกแบบพอร์ตลงทุนด้วยตัวเอง ซื้อกองทุน SCBWINA / SCBWINR คลิกเลย https://www.finnomena.com/nter-dashboard/ ความโดดเด่นของกองทุน เมื่อกล่าวถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นด้านความผันผวนที่ต่ำ พร้อมสร้างผลตอบแทนออกมาในรูปแบบการปันผล ย่อมมีความเหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการรักษาความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม หรือนักลงทุนต้องการให้พอร์ตการลงทุนสามารถจ่ายกระแสเงินสดออกมา พร้อมไปกับเงินลงทุนตั้งต้นที่เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป รูปที่ 5 สถิติผลตอบแทนของกองทุน BGF Global Multi Asset Income Source: SCBWIN presentation as of 6/12/2019 ความน่าสนใจของกองทุนไม่ใช่ผลตอบแทนที่พุ่งอย่างรวดเร็ว แต่อยู่ที่ความผันผวนของผลตอบแทนที่ต่ำซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน โดยผลตอบแทนรายเดือนกระจายตัวในช่วง -3% ถึง +3% แต่เคลื่อนไหวในช่วง 0-2% มากที่สุด แล้วที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง? จากข้อมูลย้อนหลัง 1 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่ม ขณะที่ความผันผวนต่ำนำไปสู่ค่า sharpe ratio ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม อีกทั้งในช่วงที่ตลาดผันผวน กองทุนก็ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นและกองทุนอื่นที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบเดียวกัน รูปที่ 6 ผลตอบแทนและค่าความผันผวน (SD) ของกองทุน SCBWINR Source : finnomena.com as of 4/12/2019 กองทุนสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี (As of 4/12/2019) อยู่ที่ 7.31% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ 6.03% ส่วนความผันผวน (SD) เคลื่อนไหวในกรอบ 5.12% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ 8.25% ในขณะที่ตลาดการเงินซบเซาหรือปรับตัวลง กองทุน SCBWIN มีค่า Maximum Drawdown ที่ -2.70% น้อยกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ -4.24% รูปที่ 7 ผลตอบแทนและค่า Sharpe ratio ของกองทุน SCBWINR Source : finnomena.com as of 4/12/2019 ท้ายที่สุดนำผลตอบแทนมาปรับด้วยความเสี่ยงได้มาเป็น Sharpe Ratio โดยกองทุนมีอัตราส่วนนี้ย้อนหลัง 1 ปี ที่ 1.14 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มเดียวกันซึ่งอยู่ที่ 0.88 จากข้อมูลทั้งหมดสรุปได้ว่าเป็นกองทุนที่เน้นสร้างผลตอบแทนอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมรักษาเสถียรภาพของเงินลงทุนตั้งต้น ค่าธรรมเนียมของกองทุน กองทุน SCBWIN มีค่าธรรมเนียมการขายที่ 1.605% ขณะที่ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนหรือค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 1.18% ต่อปีของ NAV สำหรับชนิดรับซื้ออัตโนมัติ (Auto Redemption) มีประวัติการรับซื้อคืนอัตโนมัติทั้งหมด 27 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2017 การลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันไป Donald Trump Source: Tom Brenne | Reuters แน่นอนว่าการลงทุนต้องมีความเสี่ยงทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง รวมไปถึงอัตราแลกเปลี่ยน การกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยข้างต้นไปได้บ้าง แต่ความเสี่ยงสูงสุดอาจเกิดขึ้นเมื่อตลาดการเงินมีความกังวลอย่างมาก จนเกือบทุกสินทรัพย์การเงินปรับตัวลงเหมือนกันอย่างที่เคยเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2018 สั้นๆ ได้ใจความไปกับกองทุน SCBWIN กองทุน SCBWIN ที่เน้นลงทุนในกองทุน BGF Global Multi Asset Income ที่มีความโดดเด่นในการสร้างผลตอบแทนแต่มีความผันผวนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกองทุนในกลุ่มเดียวกัน มากกว่านั้นด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจและการเมืองโลก ในเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่สามารถเตรียมตัวได้ กลยุทธ์ลงทุนที่กระจายความเสี่ยงในหลายสินทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อรับผลกระทบของความไม่แน่นอนซึ่งกำลังรอนักลงทุนในปีหน้า กองทุน SCBWIN จึงเป็นอีกกองทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความผันผวนให้กับพอร์ตการลงทุนโดยรวม ส่วนนักลงทุนท่านใดที่ต้องการกระแสเงินสด กองทุน SCBWIN ก็มีชนิดรับซื้อคืนอัตโนมัติ (Auto Redemtion / SCBWINR) ให้เลือกลงทุนด้วยครับ FINNOMENA Investment Team ดูข้อมูล SCBWIN เพิ่มเติม และลงทุนในกองนี้ได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/scbwina/ https://www.finnomena.com/fund/scbwinr/ หมายเหตุ: คุณสามารถลงทุนใน SCBWINA / SCBWINR ได้ผ่านพอร์ต DIY (Do-It-Yourself) ซึ่งคุณสามารถปรับกลยุทธ์การลงทุนตามความเสี่ยงที่สามารถรับได้ เลือกกองทุนได้เองตามสไตล์ หรือ ออกแบบพอร์ตลงทุนด้วยตัวเอง ซื้อกองทุน SCBWINA / SCBWINR คลิกเลย https://www.finnomena.com/nter-dashboard/ —————————- Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” “ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน” – “การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง ซึ่งอาจทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ – “ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องก่อนทำการลงทุน” “ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW Long Content Product Info SCBWIN SCBWINA SCBWINR แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เฟ้นหาโอกาสลงทุนฝ่าวิกฤติ ... “มองหาโอกาสจากสงครามการค้า มีโอกาสซ่อนอยู่หรือไม่ ?” - FINNOMENA “สงครามการค้า” เป็นอะไรที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด แต่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นเป็นเพราะเมื่อสองมหาอำนาจยักษ์ใหญ่บนโลกนี้เริ่มช่วงชิงตำแหน่ง “เจ้าโลก” ย่อมต้องเกิดการปะทะกันเป็นธรรมดา ว่าแต่ในวิกฤติแบบนี้ จะมีโอกาสอะไรแฝงอยู่บ้าง ไปติดตามกันครับ 20 ธ.ค. 2562 “สงครามการค้า” เป็นอะไรที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด แต่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นเป็นเพราะเมื่อสองมหาอำนาจยักษ์ใหญ่บนโลกนี้เริ่มช่วงชิงตำแหน่ง “เจ้าโลก” ย่อมต้องเกิดการปะทะกันเป็นธรรมดา มีอาจารย์ท่านหนึ่งได้ให้ทัศนะเอาไว้ว่า … ปัญหาระหว่างจีน กับอเมริกา แบ่งเป็นสามระดับ ได้แก่ ระดับการค้าขาย ระดับเทคโนโลยี และระดับความมั่นคง ในระดับของการค้าขาย สหรัฐฯ ก็อ้างว่า พี่จีนของเราเกินดุลการค้ากับอเมริกา ทุ่มตลาดด้วยการขายของถูก ๆ ทำให้คนอื่นทำมาค้าขายยาก ที่สำคัญมันทั้งราคาถูก และคุณภาพดี เช่น “หัวเหว่ย” ราคาถูกกว่าไอโฟน แถมถ่ายรูปได้ชัดแจ๋วกว่ามาก และเทคโนโลยี 5G ของพี่จีนก็เริ่มจะล้ำกว่าของอเมริกา สังเกตได้จากการที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ เริ่มมาจากฝั่งจีน เช่น การจดจำใบหน้า หุ่นยนต์ AI อ่านข่าวแทนคน แล้วแบบนี้อเมริกาจะทำอย่างไร ? สาเหตุดังกล่าวมันก้าวล่วงไปถึงความมั่นคง อย่างที่เรารู้ ๆ ว่า อเมริกาเป็น “พี่ใหญ่” คุมทุกอย่างด้วยเงินดอลล่าร์ ไม่ว่าเราจะซื้อน้ำมัน หรือแลกเปลี่ยนสินค้าอะไรก็ตาม ซึ่งใครจะไปยอมล่ะครับ ? และนั่นทำให้เกิด “สงครามการค้า” ที่สักวันมันก็ต้องเกิด จนหลาย ๆ คนเริ่มชิน และเรียกว่าเป็น New Normal … ว่าแต่ในวิกฤติแบบนี้ จะมีโอกาสอะไรแฝงอยู่บ้าง ไปติดตามกันครับ โอกาสแรก … “สงครามการค้าจะยาวนานกว่าที่คิด” ผู้อ่านคงจะคิดในใจว่า … “เอ้ย ! สงครามการค้ายาวนานมันดีตรงไหน ?” … สำหรับผมแล้ว การมีสงครามการค้าก็ยังดีกว่าสงครามสู้รบจริง ๆ ซึ่งขออย่าให้เกิดเลยครับ … โดย แจ็ค หม่า คนดังระดับโลกยังเคยบอกว่าสงครามการค้าอาจยาวนานเป็นสิบ ๆ ปี แม้แต่ “ท่านสี” ผู้นำจีนยังบอกว่า “เราต้องเตรียมตัวเดินทัพทางไกล” การที่สงครามการค้าจะยาวนาน อาจมองว่าเป็นโอกาสก็ได้นะครับ เพราะน่าจะเกิดการกีดกันสินค้าจากจีนนานกว่าที่คิด และอะไรที่ผลิตที่จีนก็ต้องแยกย้ายไปผลิตที่อื่นแทน ซึ่งอาจจะเป็นภูมิภาคอาเซียนของเราเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตยุคใหม่ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เช่น รถยนต์ไฟฟ้า เครื่องบิน ตู้โดยสารรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ซึ่งประเทศที่ยังอ่อนด้านเทคโนโลยียังอาจจะผลิตไม่ได้ หรือมือไม่ถึง โอกาสที่สอง … “เงินบาทแข็งค่าจากสงครามการค้า” อ้าวเอาอีกละ !? เงินบาทแข็งใครว่าดี แต่ข้อเท็จจริงก็คือ มีคนเสียย่อมมีคนได้ หากเงินบาทแข็งค่ามาก ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ส่งออกจะแย่ แต่ผู้นำเข้าจะดีนั่นเอง ถ้าเราเป็นนักลงทุน เราก็ควรกวาดตาไปดูว่ามีธุรกิจไหนที่ได้ประโยชน์ในภาวะแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น หุ้น SABINA ที่เริ่มไปจ้างผลิตสินค้าของตัวเองที่ประเทศจีนที่ค่าเงินหยวนอ่อน และนำเข้ามาขายในไทย แทนที่จะเน้นผลิตในไทย และนั่นทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น มาร์จิ้นดีขึ้น หรือหุ้นที่นำเข้าอุปกรณ์การแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง โรคไต โรคเบาหวาน แม้แต่ผู้นำเข้ายาจากต่างประเทศก็จะได้อานิสงส์ในงานนี้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า การที่จะหวังให้ค่าเงินบาทอ่อนนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ แต่คงไม่ง่ายนัก แทนที่เราจะว่ายทวนน้ำ ก็หันมาว่ายตามน้ำด้วยการลงทุนหุ้นให้ถูกตัวดูบ้างจะเป็นไร ประการสุดท้าย … “โอกาสในการไปซื้อกิจการต่างประเทศ” โอกาสนี้เราอาจต้องกวาดตาไปมองกิจการที่แข็งแกร่ง ที่มีเงินสดหนามือ และมองเห็นว่า ค่าเงินบาทที่แข็งเป็นจังหวะในการซื้อกิจการยังต่างประเทศ ว่าที่จริงแล้ว เราก็ได้เห็นกิจการใหญ่ ๆ เริ่มซื้อกิจการอื่น ๆ เช่น MINT ไปซื้อกิจการโรงแรมของสเปน IVL กวาดซื้อกิจการปิโตร ฯ ในหลายที่ TU ซื้อกิจการปลาทูน่า CPF ซื้อกิจการผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น และหลายกิจการก็อาจไปลงทุนจริง ๆ เลย เช่น GULF ไปสร้างโรงไฟฟ้าที่เวียดนาม BCPG ซื้อโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … ในวิกฤติมีโอกาสซ่อนตัวอยู่เสมออยู่ที่เราจะมองในแง่ไหน หากเราคิดว่าอะไร ๆ ก็วิกฤติจนทำอะไรไม่ได้แล้ว นั่นจะเป็นการปิดตัวเองอย่างน่าเสียดาย ลองมองหาโอกาสกันดูนะครับ ถ้าเจออะไรใหม่ ๆ กระซิบบอกผมมาก็ได้ครับ ใครมีไอเดียดี ๆ ผมยินดีรับฟังเลยละครับ #นายแว่นลงทุน หมายเหตุ: บทความนี้มิได้มีเจตนาส่งเสริมการซื้อหรือขายหุ้น แต่หากสนใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาปัจจัยให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุนครับ —————————- Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย >> https://www.finnomena.com/port/naiwaen แท็ก: Article Basic GURUPORT Product Recommend Short Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถิติบอกว่า ... เดือนธันวา 5 ปีให้หลัง หุ้นไทยไปไหนได้ยาก - FINNOMENA ย่างเข้าเดือนสุดท้ายของปี แต่ตลาดหุ้นไทยเปิดวันทำการแรกของเดือน ก็ดูจะไม่สวยเอาเสียแล้วนะครับ โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา SET Index ปิดตลาดลบไปถึง -21.06 จุด ปิดที่ 1,569.53 จุด ซึ่งนักวิเคราะห์ทางเทคนิคก็มองกันว่า นี่อาจจะเป็นการหลุดแนวรับจิตวิทยา 1,600 จุด แบบถาวร หรือเปล่า? 4 ธ.ค. 2562 ย่างเข้าเดือนสุดท้ายของปี แต่ตลาดหุ้นไทยเปิดวันทำการแรกของเดือน ก็ดูจะไม่สวยเอาเสียแล้วนะครับ โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา SET Index ปิดตลาดลบไปถึง -21.06 จุด ปิดที่ 1,569.53 จุด ซึ่งนักวิเคราะห์ทางเทคนิคก็มองกันว่า นี่อาจจะเป็นการหลุดแนวรับจิตวิทยา 1,600 จุด แบบถาวร หรือเปล่า? ไปดูว่าใครเป็นคนขาย ก็พบว่า นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ – 2,351.52 ล้านบาท และเป็นนักลงทุนรายย่อยนี่เองที่ซื้อสุทธิไปสูงถึง -2,920.80 ล้านบาท อะไรทำให้ต่างชาติเลือกที่จะขายหุ้นไทย ณ ระดับดัชนีตรงนี้ และเวลานี้ เรามาดูพื้นฐานเศรษฐกิจไทยกันหน่อย ก็คงต้องย้อนกลับไปเมื่อกลางเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ที่ทางสภาพัฒน์ แถลงข่าว GDP ของไทยในไตรมาสที่ 3/2562 ขยายตัวได้อยู่ที่ 2.4% ซึ่งทำให้ 3 ไตรมาสรวมกันเฉลี่ยแล้วเศรษฐกิจไทยในปี 2562 เติบโตได้ 2.5% จากตัวเลขก็ต้องบอกว่า เราโตต่ำกว่ากรอบล่างที่นักเศรษฐศาสตร์และฝั่งรัฐบาลเองคาดการณ์กันไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้ว ซึ่งเป็นผลทำให้ประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้าถูกปรับตัวลดลงด้วย ซึ่งข้อมูลชุดนี้ ตอนออกมาในช่วงเวลาดังกล่าว ตลาดหุ้นดูเหมือนจะไม่ได้ตอบรับในเชิงลบอะไร ทำให้เราก็ลืมกันไปเพราะมันมักจะมีข้อมูลชุดใหม่มาให้เราเสพทุกๆ วัน จะบอกว่า เหตุผลที่ต่างชาติเริ่มกลับมาไม่ชอบหุ้นไทยอีกรอบ สาเหตุเป็นเพราะการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ยืดเยื้อ ก็ตอบไม่ได้เต็มปาก เพราะวันจันทร์ ตลาดหุ้นเอเชีย ก็ปิดเขียวกันถ้วนหน้า ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้งโลกไม่มีตลาดไหนปิดทำการต่ำกว่าราคาปิดเมื่อศุกร์เกิน -1% มีเพียงตลาดหุ้นไทยเท่านั้น เป็นเช่นนี้ ก็หมายถึงว่า เราอาจจะมีความเสี่ยงเฉพาะเกิดขึ้นแล้วสิ ส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยดูจะเหนื่อย ก็คือ ค่าเงินบาท ซึ่งยังอยู่ในโซนแข็งค่าต่อเนื่อง อยู่ที่ 30.275 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งหากย้อนกลับไปเทียบค่าเงินบาทกับภูมิภาคในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ จะพบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 7% ถือเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในเอเชียไปเรียบร้อย ทำให้ภาคการส่งออกของไทย น่าจะกดดันไปอีกซักพัก อันเป็นผลมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง (ส่งออกเราหดตัว แต่นำเข้าเราหดตัวมากกว่า) ถ้าจะต้องลุ้นอะไรในระยะสั้น ซึ่งอาจเป็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และฟื้นความเชื่อมั่นได้บ้าง ก็เห็นจะเป็นตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ย. ซึ่งนักวิเคราะห์คาดกันว่าอาจกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เงินเฟ้อซึ่งต่ำและหลุดกรอบล่างของแบงก์ชาติ ก็อาจเปิดโอกาสให้แบงก์ชาติพิจารณาถึงทางเลือกในการลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีก แต่โดยส่วนตัวมองว่า ที่ดอกเบี้ยนโยบายระดับ 1.25% ตรงนี้ น่าจะลงไม่ได้แล้ว เพราะเป็นจุดที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ หากลดลงมากกว่านี้ อาจจะเป็นการส่งสัญญาณไม่ดีต่อตลาดและลดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลงไปมากกว่าจะเป็นผลบวกครับ สรุปคือ เศรษฐกิจไทยตอนนี้ หวังมาตรการกระตุ้นจากนโยบายการเงินลำบาก คงต้องมาจากนโยบายการคลังเป็นหลักครับ ซึ่งหากไปดูฟากการเมือง ปรากฏการณ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝั่งรัฐบาลแพ้โหวตให้กับฝ่ายค้าน ด้วยคะแนนเสียง 236 ต่อ 231 เสียง เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา ก็แสดงให้เห็นถึงภาพรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ ซึ่งการแพ้ในสภาของฝั่งรัฐบาลเคยเกิดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ทำให้นักลงทุนมองว่า ยิ่งใกล้จะโหวตเสียงเรื่องงบประมาณปีหน้า แล้วเจอความอ่อนไหวแบบนี้ เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจมีโอกาสจะสตาร์ทช้ากว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่ เราคงต้องมาตามดูกัน ไปดูสถิติตลาดหุ้นไทยในเดือนธ.ค. 5 ปีย้อนหลังที่ผ่านมากัน ก็พบว่า ไม่ใช่เดือนที่ดีของหุ้นไทยเท่าไหร่นัก เพราะนับตั้งแต่ปี 2014 – 2018 เป็นต้นมา เดือนธ.ค. SET Index ให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้แค่ 2 ปี คือ ปี 2016 และปี 2017 โดยบวกได้ 2.17% และ 3.32% ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2014 (-6.04%), 2015 (-5.27%) และปี 2018 ปีที่แล้ว (-4.75%) ปรับตัวลง และเป็นการปรับตัวลงเฉลี่ยถึง 5.35% ทีเดียว เห็นสถิตินี้ กับบรรยากาศเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงนี้ คุณอาจจะรู้สึกเสียวนะครับ แต่มีมุมดีๆ ให้ดูอีกมุม อย่างแรกเลย ยังไงเสีย จะมีเงินจากการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เข้าไปลงทุนใน LTF & RMF แน่ๆ ในช่วงเดือนธ.ค. นี้ ยิ่ง LTF เชื่อว่า ปีนี้ จะมียอดลงทุนเยอะเป็นพิเศษ เพราะได้รับสิทธิเป็นปีสุดท้ายแล้ว ดังนั้น ขาลง หรือ Downside Risk ของตลาดหุ้นไทย ไม่น่าจะเยอะมาก อย่างที่สอง ลองย้อนกลับไปดูสถิติย้อนหลังกันอีกที พบว่า เดือนม.ค. นับตั้งแต่ปี 2015 จนถึง 2019 ปีนี้ ดัชนี SET Index กลับมาบวกได้แรงๆ ทุกปีเลย ตามนี้ครับ 2015 (+5.58%), 2016 (+1.01%), 2017 (+2.23%), 2018 (+4.17%) และปี 2019 (+4.98%) หรือบวกเฉลี่ย +3.6% ทีเดียว โอกาสซื้อ อาจจะอยู่แถวๆ นี้นะครับ ลองพิจารณากันดูดีๆ Mr.Messenger แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
แนวโน้มราคาทองคำจะเป็นอย่างไร? ติดตามผ่าน Demand - Supply ทองคำทั่วโลก - FINNOMENA หลังราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปแตะระดับ 1,550 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากนั้นกลับตัวลดลงมาที่ระดับ 1,460 ดอลลาร์ต่อออนซ์ คำถามที่เกิดขึ้นในใจใครหลายคนในตอนนี้ นั่นคือ แนวโน้มราคาจะมีทิศทางอย่างไรต่อ? 20 ธ.ค. 2562 หลังราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปแตะระดับ 1,550 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากนั้นกลับตัวลดลงมาที่ระดับ 1,460 ดอลลาร์ต่อออนซ์ คำถามที่เกิดขึ้นในใจใครหลายคนในตอนนี้ นั่นคือ แนวโน้มราคาจะมีทิศทางอย่างไรต่อ? ประจวบเหมาะกับรายงาน Gold Demand Trends ไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 จาก WORLD GOLD COUNCIL ออกมาพอดี (อ่านต้นฉบับได้ ที่นี่) ซึ่งจะนำรายงานดังกล่าวมาเพื่อประกอบการพิจารณาแนวโน้มราคาทองคำในช่วงเวลาต่อจากนี้ รูปที่ 1 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำทั่วโลกแต่ละรูปแบบของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 ภาพรวมพบว่าความต้องการ (Demand) ทั่วโลกในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 1,107.9 ตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ประมาณ 1.34% (QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2018 ที่ 2.66% (YoY) ส่วนการผลิต (Supply) เพิ่มขึ้น 4% (YoY) มาที่ 1,222.3 ตัน และยังเพิ่มขึ้นจาก 1,186.7 ตัน เมื่อไตรมาสที่ 2 รูปที่ 2 ปริมาณการผลิต (Supply) ทองคำแต่ละรูปแบบของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 สิ่งแรกที่เห็นจากภาพรวมนอกจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นแล้ว คือ ตลอดไตรมาสที่ 3 ซึ่งราคาทองคำปรับตัวขึ้นมา 12% ทำให้การผลิตทองคำสูงกว่าความต้องการ จึงไม่แปลกที่ช่วงปลายไตรมาส 3 ราคาทองคำจะเริ่มย่อตัวลง โดยความต้องการ (Demand) สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 4 ส่วนย่อย โดยแต่ละส่วนจะมีปัจจัยที่กระทบและความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันอย่างมาก จุดนี้เป็นจุดที่จะชวนมานั่งดูรายละเอียด ทำความเข้าใจ และสรุปแนวโน้มราคาไปด้วยกันครับ 1. Jewelry รูปที่ 3 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำในรูปแบบ Jewelry ของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019 Source : World Gold Councilas of 24/11/2019 Demand ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 โดยลดลงถึง 16% (YoY) ซึ่งในภาคส่วนนี้ประเทศอินเดียและจีนเป็นผู้บริโภคหลัก แต่การบริโภคจากทั้ง 2 ประเทศนี้กลับลดลงอย่างชัดเจน (จากรูปที่ 3) โดยความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในและทั่วโลก ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อทองคำเพื่อบริโภคสินค้าที่จำเป็นกว่า รูปที่ 4 ความต้องการ (Demand) ทองคำในรูปแบบ Jewelry ลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 อีกส่วนเนื่องจากราคาทองคำโลกที่สูงขึ้นและค่าเงินอ่อนค่า ราคาทองคำจึงยิ่งสูงขึ้นเมื่อคำนวณเป็นราคาทองในสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนนี้มีผลให้ผู้บริโภคขายทองคำที่ถืออยู่ออกมาหรือชะลอการซื้อเพิ่ม นอกจากนี้ผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ในประเทศจีนหันไปเลือกใช้เงินไปกับการซื้อประสบการณ์มากกว่าทองคำ จริงๆ แล้วก็เห็นชัดมากสำหรับแนวโน้มนี้ เช่น วัยรุ่นนิยมซื้อสินค้าเสื้อผ้าแบรนด์เนมมากกว่าสร้อยคอทองคำ 2. Investment ความกังวลและความเสี่ยงการเมืองระดับประเทศเป็นปัจจัยหนุนความต้องการ (Demand) ของภาคส่วนนี้ ไตรมาสที่ 3 ตลาดการเงินโลกเผชิญกับประเด็นการค้าและ Brexit หนุนความต้องการเพิ่มขึ้น 110% (YoY) รูปที่ 5 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำในรูปแบบ Investment ของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 ดูจากรูปที่ 5 แล้วจะพบว่าความต้องการมาจาก ETF เพียงส่วนเดียว มากไปกว่านั้นความต้องการที่เข้ามาทาง ETF มาจากภูมิภาคอเมริกาเหนือประมาณ 70% นอกจากนี้ นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายยังหนุนความต้องการทองคำจากอเมริกาเหนือเช่นกัน ความต้องการอีกส่วนมาจากประเทศอังกฤษและเยอรมนีที่มีประเด็น Brexit และความกังวลภาวะเศรษฐกิจตามลำดับ รูปที่ 6 ปริมาณครองทองคำที่ถือครองโดย ETF ทั่วโลก I Source : Bloomberg as of 26/11/2019 ล่าสุดหลังปริมาณทองคำที่ถือครองโดย ETF ทั่วโลกไปแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม ก็เริ่มปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับราคาทองคำที่ย่อตัวลงมา เนื่องจากความกังวลต่อประเด็นการค้าลดลงตลอดเดือนพฤศจิกายน รูปที่ 7 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำในรูปแบบ Bar and coin ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 ส่วนประเทศจีนและอินเดียจะไม่นิยมถือครองทองคำผ่าน ETF แต่จะซื้อเป็น Bar and coin เพื่อการลงทุน และความต้องการก็ลดลงไปอย่างชัดเจน โดยผู้บริโภคในจีนถูกกดดันด้วยความกังวลด้านเศรษฐกิจ ส่วนราคาทองคำในสกุลเงินรูปีของอินเดียที่สูงขึ้นมามากและตลาดหุ้น (BSE SENSEX) ที่กลับมาคึกคักในปีนี้ เป็น 2 ปัจจัยกดดันความต้องการจากประเทศอินเดีย 3. Central banks รูปที่ 8 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำจากธนาคารกลางของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 แรงซื้อจากธนาคารกลางอยู่ที่ 224.4 ตัน (+47%, YoY) เมื่อไตรมาสที่ 2 ของปี ขณะที่แรงซื้อในไตรมาสที่ 3 กลับมาที่ 156.2 ตัน ลดลง 38% (YoY) ถือว่าเป็นไตรมาสที่มีแรงซื้อจากธนาคารกลางในระดับปานกลาง แต่เนื่องจากไตรมาส 3 เมื่อปี 2018 เป็นไตรมาสที่มีแรงซื้อเข้ามามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 จึงสร้างฐานที่สูงมาก จึงไม่ใช่เรื่องน่าตกใจที่แรงซื้อลดลงถึง 38% (YoY) รูปที่ 9 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำของธนาคารกลางตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 หากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 แรงซื้อสุทธิจากธนาคารกลางทั่วโลกเพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีก่อน โดยธนาคารกลางที่มียอดซื้อสุทธิจะเป็นธนาคารกลางในกลุ่มประเทศที่ต้องการกระจายทุนสำรองระหว่างประเทศออกจากค่าเงินดอลลาร์ อย่าง จีน รัสเซีย และตุรกี อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ธนาคารกลางจีนไม่ได้ซื้อเพิ่มเป็นเดือนแรกหลังซื้อเพิ่มมาตลอด 10 เดือน รูปที่ 10 ปริมาณการถือครองทองคำในทุนสำรองของประเทศจีน I Source : Bloomberg as of 27/11/2019 4. Technology รูปที่ 11 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 ความต้องการ (Demand) จากภาคอุตสาหกรรมลดลงในอัตราใกล้เคียงกับไตรมาส 2 ที่ -4% (YoY) โดยความต้องการเพื่อผลิตหลอดไฟ LED และชิปกลุ่ม Memory ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่ คือ Samsung และ Micron เผชิญกับปีที่ความต้องการชิปลดลง อย่างไรก็ตามความต้องการได้ลดลงในอัตราเท่าเดิม นอกจากนี้เริ่มมีสัญญาณเชิงบวกในอุตสาหกรรม Smartphone และชิป ดังนั้นความต้องการทองคำในส่วนนี้ไม่น่าจะลดลงในอัตราที่สูงขึ้น หรือในแง่ดีก็จะได้เห็นความต้องการมีแนวโน้มฟื้นตัว ในขณะเดียวกัน มีความต้องการทองคำจากอุตสาหกรรมผลิดอุปกรณ์ไร้สายที่ต้องใช้ในอุปกรณ์ 5G ซึ่งความต้องการเพิ่มขึ้น 30-40% (YoY) โดยสอดคล้องกับผลประกอบการบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตชิปกลุ่มนี้ อาทิเช่น Taiwan Semiconductor หากพิจารณาภาพรวมแล้วพบว่าแนวโน้มความต้องการทองคำจากภาคส่วนนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และความต้องการจากกลุ่ม 5G ที่กำลังเพิ่มขึ้นตามเทรนด์เทคโนโลยีในปีหน้า ซึ่งสะท้อนผ่านผลประกอบการบริษัทออกมาแล้ว 5. Supply รูปที่ 12 ปริมาณการผลิต (Supply) ทองคำแต่ละช่องทางของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 ด้วยราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นตามมา โดยไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้น 4% (YoY) อย่างไรก็ตาม การผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่กลับมาจากการ Recycle ที่เพิ่มขึ้นถึง 10% (YoY) ซึ่งเป็นแนวโน้มเช่นเดียวกับไตรมาสก่อน ส่วนการผลิตจากเหมืองกลับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 1% (YoY) ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตจากเหมืองแร่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ในทันทีเหมือนกับโรงงาน Recycle ที่มี Capacity เหลืออยู่ ทำให้เพิ่มกำลังการผลิตได้ในทันที รูปที่ 13 ปริมาณการผลิตทองคำในรูปแบบ Recycle นับตั้งแต่ปี 2014 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2019 Source : World Gold Council as of 24/11/2019 ผ่านมาทั้งหมดสำหรับ 5 ปัจจัย Demand – Supply เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาทองคำแล้ว พบว่าแม้แรงหนุนจากความเสี่ยงการเมืองระหว่างประเทศ ความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ แต่การผ่อนคลายนโยบายการเงินที่พร้อมหนุนความน่าสนใจของทองคำ อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบของการเมืองระหว่างประเทศ ความกังวลด้านเศรษฐกิจ ค่าเงินที่อ่อนค่า อีกทั้งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้เกิดขึ้นและจางหายไปได้รวดเร็วเหมือนความกังวล จึงยังคงแรงกดดันต่อความต้องการทองคำที่เป็นรูปแบบ Physical ผ่านกลุ่ม Jewelry และการลงทุนผ่าน Bar and coin ซึ่งประเทศทางฝั่งเอเชียนิยมครอบครองในรูปแบบนี้ ดังนั้นแนวโน้มราคาทองคำอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่เป็นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาจะลดลงในทันที เพราะตราบใดที่ยังมีชายที่ชื่อว่า ทรัมป์ เมื่อนั้นความไม่แน่นอนยังเกิดขึ้นได้เสมอ นักลงทุนจึงควรมีสัดส่วนลงทุนในทองคำที่ระดับ 10-20% ของพอร์ตการลงทุน CrisisMan ติดตาม CrisisMan ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/MrCrisisman/ ข้อมูลอ้างอิง https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q3-2019 คำเตือน ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน พิเศษ!! คุณสามารถติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ได้แล้ววันนี้ที่ FINNOMENA MONEY ผ่านแอปพลิเคชั่น LINE https://finno.me/money แท็ก: Advance Article Gold Long Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน CrisisMan ไม่ได้เรียนการเงิน แต่มีความเชื่อว่าเรื่องของการเงินต้องใช้เวลา และการจัดพอร์ต ทำให้เริ่มศึกษาและลงทุนด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มทำงาน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เทพนิยายในตลาดหุ้น - FINNOMENA หุ้นที่มีราคาวิ่งขึ้นหวือหวาร้อนแรงมาก ๆ ในช่วงเวลาอันสั้นนั้น เกือบทั้งหมดต่างก็มักจะมีเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น เรื่องราวความเป็นจริงที่ตามมานั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นไปตามสตอรี่ที่สร้างหรือวาดภาพขึ้นมา มันเป็นแค่ “เทพนิยาย” ลองมาดูกันว่าในช่วงเร็ว ๆ นี้เรามี “เทพนิยาย” เรื่องอะไรบ้าง 2 ธ.ค. 2562 หุ้นที่มีราคาวิ่งขึ้นหวือหวาร้อนแรงมาก ๆ ในช่วงเวลาอันสั้นนั้น เกือบทั้งหมดต่างก็มักจะมี “Story” หรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น ฟังแล้วก็จะรู้สึกประทับใจ คนที่ “ไร้เดียงสา” หรือแม้แต่คนที่คิดว่ามีประสบการณ์มาเพียงพอก็อาจจะยัง “เคลิ้ม” จนต้อง “เสพ” หรือดื่มด่ำกับเรื่องราวดังกล่าวและคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง เป็นความฝันที่จะกลายมาเป็นความจริงและชีวิตของตนก็จะมีแต่ความสุข แต่สำหรับผมเองแล้ว ประสบการณ์ที่พานพบมาต่อเนื่องยาวนานบอกผมว่า เรื่องราวความเป็นจริงที่ตามมานั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นไปตามสตอรี่ที่สร้างหรือวาดภาพขึ้นมา มันเป็นแค่ “Fairy Tale” หรือ “เทพนิยาย” ในตลาดหุ้นที่มีการเขียนขึ้นมาอย่างดีสุดยอดที่ทำให้คนอ่านเกิด “จินตนาการ” หรือ “ฝันไป” กับเรื่องราว “สุดวิเศษ” เหล่านั้นชั่วขณะ อาจจะคล้าย ๆ กับผู้หญิงจำนวนมากที่อ่านเทพนิยายเรื่องซินเดอร์เรลล่าแล้วฝันว่าตนเองจะเป็นเหมือนซินเดอร์เรลล่าที่จะได้แต่งงานกับเจ้าชายทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงนั้นแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ลองมาดูกันว่าในช่วงเร็ว ๆ นี้เรามี “เทพนิยาย” เรื่องอะไรบ้าง เทพนิยายเรื่องแรกและน่าจะเป็นเรื่องที่สร้างจินตนาการได้สุดยอดมีคนติดตามกันมากและเคลิบเคลิ้มไปทั้งตลาดก็คือการที่หุ้นขนาดเล็ก-กลางที่อยู่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มียี่ห้อโดดเด่นหรือมีแนวทางการขายแบบใหม่และพุ่งเป้าสู่ “ตลาดโลก” หรือนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเติบโตแบบก้าวกระโดดและอาจจะกลายเป็น “ผู้เล่นระดับโลก” ดังนั้น ราคาหุ้นก็สามารถวิ่งขึ้นไปได้เป็นหลาย ๆ เท่าหรือเป็นสิบเท่าได้ในระยะเวลาไม่กี่ปี Market Cap. ระดับแสนล้านบาทก็ไม่ถือว่าแพง ความเป็นจริงก็คือ หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วไม่เกิน 2-3 ปี กำไรก็เริ่มสะดุด แผนการหรือโครงการที่จะขยายธุรกิจประสบอุปสรรคไม่เป็นไปตามคาด กำไรถดถอยลงเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่พูดไว้ถูกดัดแปลงหรือปรับใหม่ บางกรณี “สตอรี่ใหม่” ก็ตามมา แต่ความน่าเชื่อถือก็หมดไป ราคาหุ้นตกลงมาอย่างหนักเหลือเท่ากับราคาก่อนที่จะขึ้นไปหรือต่ำกว่า หลายคน “ตื่นจากความฝัน” เทพนิยายต่อมาเป็นเรื่อง “ความฝันแห่งภาคตะวันออก” หรือเขตเศรษฐกิจ EEC ของรัฐบาล ว่ามันจะทำให้เกิดการลงทุนและการใช้พื้นที่โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกหลายจังหวัดในระยะเวลาอันสั้นไม่กี่ปี ความเป็นจริงดูเหมือนว่าจะมาช้ากว่าที่คิดมากหรือบางทีมันอาจจะไม่มาเลยก็ได้โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึง Supply หรือคู่แข่งทั้งเก่าและใหม่ที่อาจจะเริ่มสร้างกำลังการผลิตหรือนิคมอุตสาหกรรมเพิ่ม ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ EEC บางตัวก็มีการปรับขึ้นไปบ้างในตอนแรก ๆ ของการรณรงค์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่าหุ้นในกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จาก EEC แทบจะไม่ไปไหน จำนวนมากตกลงมาด้วยซ้ำ ถ้าจะพูดไป เทพนิยายเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมมากเท่าที่คิดตั้งแต่แรก ๆ ด้วยซ้ำ เรื่องของการสร้างสาธารณูปโภคของรัฐนั้นน่าจะเป็น Fairy Tale มานานพอสมควร “เราจะมีโครงการใหม่ ๆ เป็นแสน ๆ ล้านบาท” รถไฟ สนามบิน ท่าเรือ รถไฟฟ้าในเมืองและระหว่างเมือง เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจเช่นรับเหมาก่อสร้างและโครงการที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์มหาศาล อย่างไรเสียรับเหมารายใหญ่ ๆ ก็จะต้องได้งานมากมายจนทำไม่ไหวและจะได้กำไรดีเพราะงานมากไม่ต้องแข่งขันด้านราคามาก ในช่วงแรกก็ดูเหมือนว่าหุ้นบางบริษัทก็ปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปโดยที่โครงการเกิดช้ากว่าที่คิด เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ บริษัทรับเหมาจากต่างชาติเข้ามาแข่ง งานในมือที่คิดว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้นกลับน้อยลง ราคาหุ้นตกต่ำลง และคนที่เคยเล่านิทานเรื่องนี้ก็หายหน้าจากไป เรื่องของเมกาเทรนด์นั้นก็น่าจะเป็น “เทพนิยาย” เหมือนกัน เช่น คนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะโรงพยาบาลจะได้ประโยชน์ ดังนั้น หุ้นของโรงพยาบาลทุกรูปแบบรวมถึงที่เกี่ยวกับฟันก็วิ่งขึ้นไปหรือมีคนสนใจเข้าไปลงทุนกันมาก ค่า PE ดูเหมือนจะสูงลิ่วระดับ 30-40 เท่าขึ้นไปกันเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงวันนี้ดูเหมือนว่าการเติบโตของยอดขายและกำไรของโรงพยาบาลก็ไม่ได้ดูโดดเด่น โรงพยาบาลที่เคยเป็นสุดยอดและแข่งขันได้ในระดับสากลมีลูกค้าต่างชาติจำนวนมากกลับไม่เติบโตหรือโตน้อย คำแก้ตัวนั้นมีหลายอย่างรวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลท้องถิ่นเองก็ไม่ได้ดูดีอะไรนักในแง่ของผลประกอบการ อย่างมากที่เห็นก็คือ โรงพยาบาลก็โตพอ ๆ กับเศรษฐกิจหรือดีกว่าก็เพียงเล็กน้อย หุ้นโรงพยาบาลที่เคยร้อนแรงตอนนี้ก็นิ่งหรือบางตัวก็ลงมาแรงพอสมควร โรงแรมที่เคยเป็นหุ้นกลุ่มยอดนิยมเหมือนกันเนื่องจากมันก็อยู่ใน “เมกาเทรนด์” หลังจากที่คนจีนเริ่มออกมาเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะเมืองไทยเมื่อซัก 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเองก็ดูเหมือนว่าจะโดดเด่นขึ้นกลายเป็นประเทศหรือเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกในระดับสูง “เทพนิยาย” เรื่องการท่องเที่ยวและโรงแรมถูกแต่งขึ้นและนักลงทุนต่างก็เคลิบเคลิ้มว่ามันคือธุรกิจที่สุดยอดและจะเติบโตไปอีกมาก หุ้นโรงแรมวิ่งขึ้นไปแรงและสูงมาก บางตัวกลายเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีมูลค่าตลาดของหุ้นมหาศาล แต่ดูเหมือนว่าการเติบโตที่รวดเร็วนั้นก็ชะลอลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ น่าจะมีโรงแรมใหม่ ๆ เปิดขึ้นมากไม่ต้องพูดถึง “ที่พัก” จากแอร์บีเอ็นบีและอพาร์ตเม้นต์ที่เพิ่มขึ้นมาไม่หยุดหย่อนที่ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนไม่ได้โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หุ้นกลุ่มผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศในยามที่เศรษฐกิจค่อนข้างซบเซาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงในช่วงนี้ต่างก็ได้รับการแนะนำว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและดังนั้นก็เป็นหุ้นกลุ่มที่ควรซื้อลงทุน แต่นี่ก็น่าจะเป็นเทพนิยายอีกเช่นกัน เพราะตัวเลขยอดขายของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มค้าปลีกแทบจะไม่เติบโตเลย เหตุผลก็ชัดเจน ตัวเลขเม็ดเงินที่ใช้นั้นเทียบไม่ได้กับตัวเลขรวมของการใช้จ่ายปกติที่เป็นอยู่ Fairy Tale ไม่ใช่มีเฉพาะตลาดหุ้นไทย ในตลาดหุ้นอเมริกาเองนั้นก็มี และที่เล่ากันเป็นประจำทุกครั้งที่ตลาดร้อนแรงและบริษัทจดทะเบียนขยายตัวโดยการเข้าควบรวมกิจการบริษัทอื่น ๆ เป็นจำนวนมากเพราะคาดหวังว่าจะทำให้บริษัทเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นรวดเร็ว แต่ “เทพนิยาย” เรื่องนี้ก็มักไม่เป็นจริง เพราะหลังจากนั้น ธุรกิจที่ซื้อมาก็มักจะ “เน่า” ผู้บริหารที่เข้ามาใหม่ก็ต้องขายกิจการทิ้ง ซึ่งทำให้วอเร็น บัฟเฟตต์ พูดเปรียบเปรยว่ามันเหมือนเทพนิยายเรื่อง “เจ้าชายกบ” ที่เป็นเรื่องของเจ้าหญิงที่จูบเจ้าชายที่ถูกแม่มดสาบให้เป็นกบแล้วเจ้าชายก็ฟื้นกลับขึ้นมา บัฟเฟตตบอกว่าเจ้าหญิงก็คล้ายกับผู้บริหารที่คิดว่าตนเองสามารถมองหากบหรือกิจการเน่าที่ถูกสาบแล้วฟื้นมันขึ้นมาได้ แต่ในชีวิตจริง มันไม่มี จูบกบกี่ตัวมันก็ยังเป็นกบอยู่นั่นเองไม่เป็นเจ้าชายอย่างที่หวัง ในตลาดหุ้นไทยเองนั้น หุ้นกลุ่มที่ถูกอ้างว่าเป็น “หุ้นโตเร็ว” ที่มักเป็นกลุ่มที่มีรายได้และกำไรโตเร็วในช่วงเร็ว ๆ นี้ ก็มักเป็น “เทพนิยาย” ที่เป็นเรื่องของจินตนาการ เพราะมันมักจะโตเร็วเฉพาะในช่วงเวลานั้นและเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์เอื้ออำนวย ไม่ใช่เรื่องของการโตจากพื้นฐานของบริษัทและเมกาเทรนด์ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การเติบโตเร็วก็หยุดลง กลายเป็นเติบโตธรรมดาหรือโตช้า บางบริษัทลดลงด้วยซ้ำ ดังนั้น ราคาของหุ้นที่วิ่งขึ้นไปมากเพราะคนฟังนิยายเชื่อและแห่กันมาซื้อก็จะตกลงมาอย่างแรงเหมือนกับนางฟ้าตกสวรรค์เพราะคนต่างก็แห่ขายหุ้นทิ้ง ในฐานะที่เป็น Value Investor การฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของบริษัทจดทะเบียนหรือเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในตลาดหุ้น เราจะต้องระมัดระวังว่ามันเป็นเรื่องที่มีความเป็นจริงสูงหรือเป็น “เทพนิยาย” ที่มีเนื้อเรื่องน่าประทับใจแต่เป็นเรื่องของจินตนาการที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย เพราะถ้าเราวิเคราะห์ผิด โอกาสที่จะเสียหายก็จะสูง ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2019/12/02/2245 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นร้าว - FINNOMENA ไตรมาส 3 ปี 2562 นี้ดูเหมือนว่าการประกาศงบการเงินจะมีผลกระทบกับหุ้นโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กหลาย ๆ ตัวที่เคยเป็นหุ้นเด่นและนักเล่นหุ้นนิยมเล่นกันมาก คำถามก็คือ อะไรทำให้หุ้นตกลงมาแรงเป็น 10% บางตัวตกลงมา 2-3 วัน ถึง 20-30% ก็มี? 18 พ.ย. 2562 สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาของการประกาศงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่นักลงทุนต้อง “ลุ้น” กันว่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่นั้นจะประกาศผลงานที่ดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยแค่ไหน เพราะผลงานที่ดีขึ้นโดยเฉพาะที่ดีเกินกว่าที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนคาดจะทำให้หุ้นวิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม ผลงานที่น่าผิดหวังจะทำให้หุ้นตกลง ในกรณีของหุ้นขนาดเล็กหรือหุ้นที่ไม่มีนักวิเคราะห์ติดตาม กำไรที่ดีขึ้นก็มักจะเป็นสัญญาณให้นักเก็งกำไรหรือ “นักปั่นหุ้น” เข้าไปไล่ราคาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหุ้นที่ตนเองถือ สำหรับ VI การติดตามผลประกอบการรายไตรมาศเป็นสิ่งสำคัญที่นอกจากจะช่วยให้เราวิเคราะห์หุ้นที่ตนเองถือต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นเวลาที่จะติดตามดูว่ามีหุ้นตัวไหนที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่น่าลงทุนหรือไม่ ไตรมาส 3 ปี 2562 นี้ดูเหมือนว่าการประกาศงบการเงินจะมีผลกระทบกับหุ้นโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กหลาย ๆ ตัวที่เคยเป็นหุ้นเด่นและนักเล่นหุ้นนิยมเล่นกันมาก หลังจากประกาศ หุ้นเหล่านั้นก็ตกลงมาน่าจะประมาณ 10% บวกลบทั้ง ๆ ที่ตัวเลขกำไรก็ไม่ได้เป็น “หายนะ” บางบริษัทกำไรเพิ่มมากด้วยซ้ำแต่ก็มักจะเป็นกำไรพิเศษในขณะที่ผลประกอบการปกตินั้นแย่ลง อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นกำไรเพียงไตรมาสเดียวและผมเองก็คิดว่าบริษัทไม่ได้แย่ขนาดนั้น ส่วนใหญ่อาจจะเป็นแค่เรื่อง “ชั่วคราว” ถึงไตรมาส 4 ก็อาจจะเปลี่ยนไปโดยเฉพาะถ้าภาวะเศรษฐกิจของไทยดีขึ้นราคาของสินค้าดีขึ้น คำถามก็คือ อะไรทำให้หุ้นตกลงมาแรงเป็น 10% บางตัวตกลงมา 2-3 วัน ถึง 20-30% ก็มี คำตอบของผมก็คือ ช่วงเวลานี้ ตลาดหลักทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงของการปรับมูลค่าหุ้นให้เหมาะสมกับพื้นฐานที่แท้จริงของหุ้นแต่ละตัวที่ในอดีตนั้นมีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือมีราคาที่สูงเกินกว่าพื้นฐานหรือพูดอย่างหยาบ ๆ ก็คือค่า PE สูงเกินกว่าความสามารถในการทำกำไรระยะยาวแต่มี Story และมีกำไรเติบโตโดดเด่นในระยะสั้น หุ้นเหล่านี้มีนักวิเคราะห์และผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากช่วยกันเชียร์และสร้างภาพว่าเป็น กิจการชั้นเยี่ยมและเติบโตดีโดยที่ค่า PE นั้นไม่มีความสำคัญ และที่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดก็คือ แรงซื้อเก็งกำไรของนักเล่นหุ้นทั้งขาเล็กและขาใหญ่นั้น มีมากพอที่จะสนับสนุนและดันราคาหุ้นให้ขึ้นไปได้ตราบใดที่ “กำไรยังโตขึ้นโดดเด่น” ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงช่วงนี้ได้ทำให้กำไรโตขึ้นยาก กำไรที่โตช้าลงหรือน้อยลงมากหรือกำไรที่ลดลงนั้น คงทำให้คนบางคนที่มีหุ้นอยู่ลดความเสี่ยงโดยการเทขายหุ้นที่ยังได้กำไรอยู่พอสมควร การขายหุ้นของพวกเขานั้นทำให้หุ้นตกลงมาเพราะแรงซื้อน้อยลงไปกว่าเดิม นั่น “จุดชนวน” ให้คนอื่นที่มีหุ้นอยู่เทขายตามมาซึ่งทำให้หุ้นตกลงไปอีก จนถึงจุดหนึ่งที่ราคาหุ้นไป “Trigger” หรือจุดชนวนให้คนที่เล่นหุ้นตัวนั้นโดยการใช้ Leverage หรือการกู้เงินมาซื้อหุ้นหรือเล่นอนุพันธ์หรือตราสารการเงินที่มีอัตราทดสูงมาก ๆ เช่น การทำ Block Trade โดยผู้เล่นรายใหญ่และการเล่น DW โดยนักลงทุนรายย่อย ต้องเทขายหุ้นออกมาจำนวน “มโหฬาร” เพราะถูก “บังคับขาย” โดยโบรกเกอร์ ผลก็คือ หุ้นตกลงมาถึง 10% ในวันเดียวสำหรับหุ้นหลาย ๆ ตัว และในบางกรณีที่มีการซื้อหุ้นด้วยการกู้เงินที่สูงมากที่สุด หุ้นก็อาจจะตกถึงฟลอร์หรือต่ำสุดที่ 30% ภายในวันเดียวโดยที่เมื่อพูดถึงพื้นฐานของบริษัทเองก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจาก “เมื่อ 2-3 วันก่อน” ถ้าจะให้เปรียบเทียบ ผมคิดว่าหุ้นจำนวนมากในตลาดทุกวันนี้เป็น “หุ้นร้าว” เหมือนกับแก้วน้ำหรือโครงสร้างคอนกรีตของอาคารที่ร้าว ตราบที่มันยังไม่ “แตก” ทุกอย่างก็เป็นปกติ แต่เมื่อไรที่มีอะไรมากระทบ มันก็อาจจะแตกหรือทรุดลงทันที บางทีก็อาจจะถล่มทลายได้ การ “ร้าว” นั้นบางครั้งก็พอมองเห็นจากภายนอก แต่บางครั้งก็อาจจะร้าวจากภายในจำเป็นต้องอาศัยการ “วิเคราะห์” โดยผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีของหุ้นก็ต้องอาศัยความสามารถและความคิดที่เป็นอิสระมีเหตุผลปราศจากความลำเอียงและไม่สนใจกับ “จิตวิทยาหมู่” ในตลาดหุ้นรวมถึง “ราคาหุ้น” ที่มักจะทำให้เราไขว้เขวได้มากที่สุด หุ้นที่ “ร้าว” นั้น จำนวนมากก็คือหุ้นที่มีราคา “แพงผิดปกติ” ค่า PE อาจจะเป็น 4-50 เท่าหรือบางตัวสูงเป็น 100 เท่า โดยที่สามารถแบ่งได้อีกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ร้อนแรงหรือเคยร้อนแรง มีราคาขึ้นไปมากอาจจะเป็นหลาย ๆ เท่าในเวลาไม่นาน มีปริมาณการซื้อขายคึกคัก มีนักเล่นหุ้นและนักวิเคราะห์ติดตามจำนวนมาก ราคาหุ้นขึ้นลงผันผวนแทบจะตลอดเวลา และบ่อยครั้งมีคนทำหรือดูแลหุ้นที่เป็นขาใหญ่หรือสปอนเซอร์หลัก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งนั้น เป็นหุ้นขนาดเล็กหรือกลางเล็กที่เงียบเหงา บ่อยครั้งก็เป็นหุ้นที่เข้ามาจดทะเบียนซื้อขายหุ้นไม่นาน ผลประกอบการตั้งแต่เข้าตลาดก็ไม่น่าประทับใจ หุ้นมีราคาค่อนข้างนิ่งเพราะไม่มีคนเล่น ปริมาณการซื้อขายหุ้นก็น้อย อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นก็ยังคงอยู่ในระดับที่แพงวัดจากค่า PE ที่ยังอยู่สูงเป็น 40-50 เท่า หุ้นร้าวทั้งสองกลุ่มนี้ ส่วนหนึ่งที่ราคาสูงมากได้นั้นก็เพราะว่ามักจะถูก “Corner” หรือเป็นหุ้นที่มีหุ้น Free Float น้อย อานิสงค์จากการที่เจ้าของยังถือหุ้นอยู่อาจจะเกิน 50% และมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่กวาดซื้อหุ้นไว้มากจนทำให้เหลือหุ้นหมุนเวียนในมือรายย่อยน้อย ซึ่งทำให้การ “ควบคุมราคา” หรือการ “ประคองราคา” สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หุ้นอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะเข้าข่ายเป็นหุ้นร้าวก็คือ หุ้นที่ผลประกอบการดูดีและโตเร็วใช้ได้ซึ่งทำให้ตลาดให้มูลค่าที่สูงกว่าค่า PE เฉลี่ยของตลาดที่ประมาณ 17 เท่ามาก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ทำอยู่นั้น ถ้าดูโดยเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว ก็น่าจะถูก Disrupt หรือถูกทำลายในไม่ช้า บริษัทมีโอกาสสูญเสียทั้งยอดขายและกำไรได้อย่างรุนแรงถ้าสิ่งนั้นเกิดขึ้น ซึ่งก็แน่นอนว่ามันจะทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสตกต่ำลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วได้เมื่อรอยร้าวนั้นแตกออกมา หุ้นร้าวกลุ่มสุดท้ายที่ผมคิดว่าเราต้องระวังด้วยก็คือหุ้นที่ “ดูดีเกินไป” โดยเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ไม่รองรับ เช่น เป็นกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่แข่งขันกันสูงหรือสมบูรณ์แต่บริษัททำกำไรได้เหนือกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมมากโดยไม่สามารถอธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ ในกรณีแบบนี้ก็ต้องระวังว่าวันหนึ่งรอยร้าวก็อาจจะแตกออกมาอย่างไม่ทันตั้งตัวและหุ้นตกลงมาอย่างแรงได้ ในภาวะที่ทุกอย่างดูไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในตลาดหุ้น ราคาหุ้นที่ “แพงมาก” นั้น มักจะเป็นหุ้นที่มีอันตรายสูงที่สุด เพราะความแพงที่ระดับค่า PE เป็น 40 เท่าขึ้นไปหรือบางทีเป็น 100 เท่านั้น หุ้นที่จะรองรับราคาได้ขนาดนั้นในระยะยาวจะต้องเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” เท่านั้น ซึ่งซุปเปอร์สต็อกนั้น ถ้าจะนิยามอย่างง่าย ๆ ก็น่าจะต้องเป็นบริษัทที่จะ “ครองโลก” ในอนาคตหรือในที่สุดเช่นหุ้นกลุ่มไฮเทคของโลกเช่น หุ้นกูเกิล อามะซอน อาลีบาบา หรือเฟซบุค เป็นต้น แต่ถ้าเป็นซุปเปอร์สต็อกระดับประเทศของไทยก็น่าจะต้องเป็นบริษัทที่เป็น “Undisputed Leader” คือเป็นผู้นำที่โดดเด่นและไม่มีทางที่ใครจะมาท้าทายได้รวมถึงสามารถที่จะต่อต้านการทำลายล้างโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างน้อยในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าหุ้นไม่ได้เข้าข่ายดังที่ว่า ก็จะต้องมีการเติบโตมากและสามารถต่อสู้กับคู่แข่งทั้งในปัจจุบันและอนาคตและที่สำคัญ มันจะต้องมีช่องว่างที่จะให้เติบโตอย่างมีกำไรงดงามจนค่า PE ลดลงได้จนเหลือค่า PE ปกติของอุตสาหกรรมที่อาจจะแค่ 10-20 เท่าในเวลา 4-5 ปีข้างหน้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ยากพอสมควรในระบบเศรษฐกิจของไทยที่คนแก่ตัวลงและโตช้าลงมาก ดังนั้น หุ้นที่แพงจัดมาก ๆ นั้น น่าจะมีโอกาสเป็นหุ้นร้าวได้ หุ้นที่ร้าวนั้น บางส่วนได้แตกออกมาแล้ว หุ้นที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกันและมีพฤติกรรมทางด้านการดำเนินงานและราคาหุ้นใกล้เคียงกันในไม่ช้าก็อาจจะ “แตก” ตามกันไป หุ้นบางกลุ่มนั้นถึงร้าวแล้วก็อาจจะยังไม่แตกด้วยเหตุผลบางอย่าง อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะแตกก็น่าจะสูงในอนาคตโดยเฉพาะในภาวะที่สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น นักลงทุนที่ระมัดระวังจึงควรต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะลงทุนในหุ้นเหล่านี้ เพราะโอกาสที่จะได้กำไรสูงอาจจะมีน้อยกว่าโอกาสที่หุ้นจะตกแรงมาก ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2019/11/18/2240 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
การ IPO หุ้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก - FINNOMENA ด้วยมูลค่าตลาดที่ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ หุ้น Aramco ใหญ่กว่าแอปเปิ้ล ไมโครซอฟต์ กูเกิล และอะเมซอน Big 4 ในแง่ของมูลค่าตลาด โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ประกาศแบบเป็นทางการว่า จะทำการ IPO หุ้น Aramco รายละเอียดจะเป็นอย่างไร และมีความเสี่ยงใดๆ ที่ควรระวังหรือไม่? 15 พ.ย. 2562 Aramco เป็น หุ้นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดิอาระเบียที่มีกำไรสุทธิที่มากที่สุดในโลก และมีสำรองน้ำมันมากที่สุดในโลก โดยทิ้งห่างจากอันดับ 2 ถึงเกือบ 10 เท่า และจะเป็นหุ้นที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ดังรูปที่ 1 ด้วยมูลค่าตลาดที่ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ หุ้น Aramco ใหญ่กว่าแอปเปิ้ล ไมโครซอฟต์ กูเกิล และอะเมซอน Big 4 ในแง่ของมูลค่าตลาด รูปที่ 1 มูลค่าการตลาดของหุ้น Big5 ของโลก โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ประกาศแบบเป็นทางการว่า จะทำการ IPO หุ้น Aramco ในตลาดหุ้นทาดาวัล ในกรุงริยาร์ดของซาอุดิอาระเบีย โดยจะมีการเผยแพร่รายละเอียดเอกสารการนำเสนอหุ้นเพื่อการจองหุ้น Aramco ที่จะเข้าตลาด ระหว่าง 17 พ.ย. ถึง 4 ธ.ค.นี้ โดยราคาท้ายสุดของ Aramco จะประกาศ 1 วันหลังจากนั้น ทั้งนี้จำนวนหุ้นของบริษัทมีทั้งหมด 2 แสนล้านหุ้น ตามเอกสารที่ได้ทำ Filing กับกลต.ของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งได้เปิดเผยว่าจะมีการนำเสนอขายต่อสาธารณชนไม่เกิน 0.5% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด หรือ 1 พันล้านหุ้น จะเสนอขายต่อลูกค้ารายย่อย ทว่าไม่ได้ระบุว่าจะขายมากน้อยเท่าใดให้กับนักลงทุนสถาบัน หากอ้างอิงแหล่งข่าววงในเกี่ยวกับกระบวนการ IPO ได้ระบุว่า ทางรัฐบาลซาอุดิอาระเบียมีแผนที่จะขายหุ้นของบริษัทราว 1-3% ของทั้งหมด หรือ ระดมทุนประมาณ 2-6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าทางซาอุดิอาระเบียจะลดมูลค่ารวมหุ้นที่เคยเผยตัวเลขออกมาที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์ ให้เหลือราว 1.2-1.5 ล้านล้านดอลลาร์ รูปที่ 2 เปรียบเทียบตัวเลขทางการเงินของหุ้นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของโลก ทั้งนี้ มูลค่าตลาดที่ใหญ่ดังกล่าวได้รับการหนุนจากสำรองน้ำมันดิบมูลค่า 256.9 พันล้านบาร์เรล ซึ่งมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบใหญ่กว่า Exxon ที่มีสำรองเพียง 24 พันล้านบาร์เรลเท่านั้น นอกจากนี้ สำรองของ Aramco เป็นน้ำมันดิบถึง 88% ของสำรองทั้งหมด ในขณะที่ Exxon มีน้ำมันดิบเพียง 40% ของสำรองทั้งหมด นอกจากนี้ Aramco ยังมีกำไรสุทธิ 1.11 แสนล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว และ 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์ใน 9 เดือนของปีนี้ ถือว่าบริษัทมีกำไรสุทธิเยอะที่สุด เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ ของโลก นอกจากนี้ ตามเอกสาร Filing IPO ของ Aramco ยังให้สัญญาว่าจะจ่ายเงินปันผลต่อนักลงทุนปีละ 37.5 เซนต์ต่อหุ้น (คิดจาก 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์หารด้วย 2 แสนล้านหุ้น) ระหว่างปี 2020 – 2024 โดยอัตราร้อยละผลตอบแทนเงินปันผลที่ 5% ดังรูปที่ 2 ถือว่าสูงกว่าเพื่อนโดยส่วนใหญ่ ทว่าหากราคาน้ำมันดิบลดต่ำลง ราคาหุ้น Aramco ก็จะตกลง เนื่องจากนักลงทุนจะคาดการณ์ว่าเงินปันผลจะลดต่ำลงกว่า 37.5 เซนต์หลังปี 2024 ซึ่งตรงนี้ทำให้หุ้น Aramco คล้ายกับหุ้นบุริมสิทธิ์มากกว่าหุ้นสามัญ หากพิจารณา Aramco ที่ราคา 7.5 ดอลลาร์ต่อหุ้น จะมีค่า P/E เท่ากับ 16 เท่า ด้วยกำไรสุทธิต่อหุ้นในปีนี้ คาดไว้ที่ 46 เซนต์ ซึ่งต่ำกว่า Exxon และ Chevron แต่สูงกว่า BP และ Shell โดยหากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทางนักวิเคราะห์ของเบิร์นสตีน คาดว่ากำไรสุทธิจะเท่ากับ 9.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020 โดยปีนี้ คาดมีกำไรสุทธิ 9.2 หมื่นล้านดอลลาร์ และหากราคาเบรนท์ที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล Aramco จะมีกำไรสุทธิ 1.09 แสนล้านดอลลาร์ในปีหน้า อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงใหม่ที่รัฐบาลซาอุดิอาระเบียต้องเผชิญ ดังนี้ หนึ่ง Shale Oil ได้เปลี่ยนอเมริกาให้เป็นผู้ผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการที่ Opec จะพยายามผลักราคาน้ำมันดิบให้สูงขึ้นไปอย่างมีเสถียรภาพ สอง ซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้แรงงานที่มีอายุน้อยอยู่มาก ทว่าอุตสาหกรรมน้ำมันเน้นความต้องการทางด้านเงินทุนมากกว่าแรงงาน จึงไม่สามารถสร้างการจ้างงานให้กับซาอุดิอาระเบียได้มากนัก สาม ความเสี่ยงจากอุปสงค์ของน้ำมันดิบที่จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ โดยทาง Aramco คาดว่าอุปสงค์ของน้ำมันดิบจะเริ่มอิ่มตัวในปี 2035 นอกจากนี้ ในเอกสารที่เผยแพร่ต่อนักลงทุนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้กล่าวเตือนถึงความเสี่ยงของ Aramco เพิ่มเติมเกี่ยวกับความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ การพึ่งพาต่อผู้บริโภคในเอเชียค่อนข้างมาก และความเสี่ยงด้านการก่อการร้ายและจลาจลเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งได้ทำให้กำลังการผลิตของซาอุดิอาระเบียลดลงถึงครึ่งหนึ่งในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ อัตราค่าภาคหลวง (Royalty Rate) ที่จะนำส่งเงินดังกล่าวให้กับรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย หากพิจารณาที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ต่ำกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อัตราค่าภาคหลวงลดลงเหลือ 15% ในสัญญาใหม่ ทว่าเพิ่มเป็นถึง 45% เมื่อราคาน้ำมันดิบเบรนท์ระหว่าง 70-100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และขึ้นเป็นถึง 80% เมื่อราคาน้ำมันดิบเบรนท์สูงกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นั่นหมายความว่าส่วน upside จะถูกเก็บกินโดยรัฐบาลซาอุฯ ทว่าหากมี downside ทางรัฐบาลซาอุดิอาระเบียก็จะแชร์ร่วมกับนักลงทุน การ IPO ของ Aramco ในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยกระจายแหล่งรายได้อื่นๆ ที่หามาให้กับรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ก็อาจมองได้ว่า หรือนี่จะเป็นจุดไฮไลท์ที่จะบอกว่าจะไม่ใช่ยุคของ Hydrocarbon อีกต่อไป จึงทำให้ทางการซาอุดิอาระเบียหันมาแบ่งผลประโยชน์ให้กับนักลงทุนทั่วโลก? MacroView ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/648737 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
REITs ไทย ยังน่าสนใจหรือไม่ จะลงไปแค่ไหน? - FINNOMENA 3 ไตรมาสแรก REITs ไทยนั้นไม่เป็นไร แต่พอเปิดไตรมาสใหม่ก็เริ่มทยอยปรับตัวลง คำถามยอดนิยมที่ตามมาก็คือ แล้ว REITs ไทย ยังน่าสนใจหรือไม่ จะลงไปแค่ไหน? มาหาคำตอบได้ในบทความนี้เลยครับ 29 พ.ย. 2562 REITs ไทย 3 ไตรมาสแรกไม่เป็นไร เปิดไตรมาสใหม่ ลงเหมือนไฟไหม้ตึก คงเป็นคำกล่าวที่อาจจะไม่เกินจริงเท่าใดนักสำหรับนักลงทุนไทย ที่ช่วงนี้มีการถือครองสินทรัพย์กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ REITs เพิ่มขึ้นถึง 2.31 เท่านับตั้งแต่ต้นปี จากระดับ 22,355 ล้านบาท สู่ระดับ 51,752 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินในส่วนนี้ ยังไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ REITs ที่มีนโยบายการกระจายการลงทุนในไทยและต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีมูลค่ากองทุนรวมทั้งหมดถึง 120,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากต้นปีที่ระดับ 77,199 ล้านบาท หรือ 1.55 เท่าด้วยกัน Property Indirect Global AUA & Growth As of 31/10/2019 l Source : Morningstardirect ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจนัก เมื่ออัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ชนิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยช่างน่าเย้ายวน ทั้งในส่วนของอัตราปันผลที่สูงถึงระดับ 5.70% ต่อปีเมื่อช่วงต้นปี 2019 ซึ่งส่งผลให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในช่วงแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นตอนปลาย ก่อนที่จะกลายเป็นขาลงในเวลาต่อมา ส่งผลให้ REITs ไทยและทั่วโลกนั้น ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดถึง 30.35% ในวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา และ 26.78% ในวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ตามลำดับ MSCI World, Thai, Singapore, Europe, Japan, US REITs Yield As of 13/11/2019 l Source : Bloomberg โดยแน่นอนว่า เมื่อราคาของสินทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ผลที่ตามมาอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ อัตราการปันผลที่ลดลงเมื่อเทียบกับราคา ส่งผลให้อัตราปันผล REITs ไทยโดยเฉลี่ยนั้นลดลงมาแตะระดับต่ำสุดที่ 4.70% และ 3.20% สำหรับ REITs ทั่วโลก ซึ่งเป็นระดับอัตราปันผลที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ของทั้ง 2 ส่วน สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นได้ปรับดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 1.25% ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ SETPREITs Index Performance & Rate of Change Per Day As of 12/11/2019 l Source : Bloomberg เมื่อพิจารณาในเชิงสภาพคล่อง จะพบว่าเพียงแค่ขนาดสินทรัพย์ของกองทุนกลุ่ม Property Fund & REITs ที่ลงทุนในไทยเท่านั้น ณ เดือนตุลาคมคิดเป็นมูลค่าถึงเกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่า Free Float ทั้งหมด สะท้อนสภาพคล่องที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับขนาดของกองทุนที่เข้าลงทุนทั้งหมด ทำให้เกิดความผันผวนได้เป็นครั้งคราวดังที่ได้เคยเกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมาที่กลุ่มดังกล่าวปรับตัวลงถึง 8.63% เวลาเพียง 3 วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป สงครามการค้าที่ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยลบก็กลายเป็นปัจจัยบวก เมื่อทั้งจีนและสหรัฐฯ มีทีท่าที่ประนีประนอมต่อกันเป็นอย่างยิ่ง สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับภาคแรงงานและการบริโภคในภูมิภาคใหญ่ทั่วโลก ที่ยังสื่อให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีความแข็งแกร่ง นำโดยสหรัฐฯ ด้วยอัตราการว่างงานต่ำเป็นประวัติการณ์ อัตราค่าจ้างที่เติบโตต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลโดยตรงไปยังความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้อยู่ในระดับที่สูง และส่งผลไปยังตลาดหุ้นหลักๆ ทั่วโลก ที่ถูกกลับมาประเมินการเติบโตของกำไรในระดับสูงอีกครั้ง Target Rate Probabilities for FED Meeting 11/12/2019 As of 12/11/2019 l Source : Bloomberg เมื่อประกอบกับท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนท่าทีด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ด้วยการส่งสัญญาณว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุด อาจเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้ ยิ่งเป็นการยืนยันถึงแรงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตข้างหน้า ส่งผลไปยังความคาดหวังการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และทั่วโลกลดลง เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสความกลัวอัตราดอกเบี้ยต่ำและผลตอบแทนจากตลาดหุ้นเป็นลบ ก็ลดลง ส่งผลให้แนวการลงทุนแบบ Yield Play ย่อม Underperform ตามมา ทำให้ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานั้นกลุ่ม REITs ทั่วโลก และตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวต่างก็เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ และปรับตัวลงในที่สุด เมื่อย้อนกลับมาดูที่ REITs ไทย เดิมทีนั้น REITs ไทยมีอัตราการขยายตัวของรายได้ สินทรัพย์ และปันผลอยู่ที่ระดับใกล้เคียง 5% โดยเฉลี่ย แต่ในช่วงที่ผ่านมา REITs ไทยปรับตัวขึ้นสูงเพราะแนวการลงทุนแบบ Yield Play ที่กล่าวข้างต้น ประกอบกับความคาดหวังต่อการเคลื่อนย้ายของทุนจีน ที่ส่งสัญญาณย้ายฐานการผลิตมาสู่ประเทศไทยเพื่อลี้ภัยสงครามการค้า ซึ่งถูกคาดหวังว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 50% นั้น ก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ REITs ไทยปรับตัวขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรม ส่งผลให้ การปรับตัวลงในครั้งนี้เกิดขึ้นหนักที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมถึง -11.66% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มนี้เองเป็นกลุ่มที่สร้างผลตอบแทนมากทีสุดนับตั้งแต่ต้นปีเช่นเดียวกันถึง 42.08% (As of 12/11/19) และเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักมากเป็นอันดับ 2 ของดัชนี SET Property & REITs Index จะเห็นได้ว่าอัตราปันผลในช่วงที่สูงและต่ำสุดของ REITs ไทยนั้น ต่างกันถึง 18.69% โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่เหวี่ยงขึ้นและลงแรงเป็นพิเศษถึง 41.14% ก็จะเห็นได้ชัดว่าปัจจัยหลักๆนั้นมาจากการที่อัตราปันผลที่เคยเย้ายวนนั้น ไม่เย้ายวนอีกต่อไป อีกทั้งเมื่อข่าวสงครามการค้าที่คลายความกังวล กระแสการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยหันหน้าเข้าสู่ประเทศไทยก็ลดลง ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมเคยมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่ากลุ่มอื่นก็พังทลายลงมา ทำให้แม้กระทั่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งล่าสุดนั้น ก็ไม่ใช่การเชื้อชวนอะไรแม้แต่น้อย เพราะท้ายที่สุดแล้ว นักลงทุนเริ่มหันไปหาสินทรัพย์ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าในช่วงนี้ นักลงทุนเริ่มลดความกังวลต่อดอกเบี้ยขาลง และนักลงทุนเลิกหวังต่อเรื่องราวการเติบโตที่เกินกว่าค่าเฉลี่ยปกติของกลุ่มอุตสาหกรรม คำถามยอดนิยมที่ตามมาก็คือ แล้ว REITs ไทย ยังน่าสนใจหรือไม่ จะลงไปแค่ไหน สำหรับคำถามข้างต้น อาจขอตอบในเชิงแรกคือ การประเมินมูลค่า ซึ่งทาง FINNOMENA ได้กล่าวถึงอย่างละเอียดแล้วในบทความนี้ https://www.finnomena.com/crisisman/yield-spread-reits/ ซึ่งสรุปโดยง่ายคือ โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนรายใหญ่ มักจะมีการประเมินความน่าสนใจและความถูกแพงของ REITs จากอัตราการปันผลเป็นหลัก ทั้งเทียบกับในอดีต และเทียบกับที่อื่นๆ ทั่วโลก ว่ามีความน่าสนใจเพียงใด ควบคู่ไปกับการเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเทศนั้นๆ (Yield Spread) ว่ามีส่วนต่างมากน้อยเพียงใด ซึ่งในส่วนหลังนี้เปรียบเสมือนส่วนชดเชยความเสี่ยงของสินทรัพย์นั้นๆ MSCI World, Thai, Singapore, Europe, Japan, US REITs Yield As of 12/11/2019 l Source : Bloomberg จากรูปข้างต้นจะเห็นได้ว่า REITs ไทย ยังคงอยู่ในจุดที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับ REITs อื่นๆ ทั่วโลก ด้วยอัตราปันผลระดับ 5.20% ในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งในช่วงที่อัตราปันผลต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4.70% ก็ตามด้วยระดับการปันผลที่สูงเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ Thailand REITs Yield Spread Since 2013 As of 12/11/2019 l Source : Bloomberg เมื่อพิจารณาไปยัง Yield Spread ที่เป็นส่วนชดเชยความเสี่ยง ก็จะพบว่าเรายังอยู่ในจุดที่กลางๆ แพ้เพียงยุโรปและญี่ปุ่นที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบเท่านั้น โดยที่ส่วนชดเชยความเสี่ยงนี้เพิ่มสูงขึ้นมากจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยและการปรับตัวลงของราคาในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ส่วนชดเชยความเสี่ยงดังกล่าวกลับมาอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ยอีกครั้ง ส่งผลให้ในเชิงเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก และเปรียบเทียบกับส่วนชดเชยความเสี่ยงแล้ว ความน่าสนใจของ REITs ไทยยังไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด Thai REITs Yield Since 2013 As of 12/11/2019 l Source : Bloomberg หากแต่ เมื่อเปรียบเทียบกับตนเองในอดีต กลับพบมูลค่าที่แพงขึ้นในเชิงเปรียบเทียบทันที เพราะอัตราปันผลในปัจจุบันนั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังถึง 0.54% ซึ่งสามารถตีความเป็นโอกาสการปรับตัวลง ได้อีกประมาณ 9% ทำให้ในระยะสั้นนั้น อาจเห็นการปรับตัวลงได้ในอีกระดับหนึ่ง ก่อนที่อัตราปันผลจะกลับเข้าใกล้เคียงค่าเฉลี่ยอีกครั้งตามแนวความคิด Mean Reversion และจากแนวโน้มการเจรจาการค้าที่ยังส่งสัญญาณว่าจะคลี่คลายอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามด้วยระดับส่วนชดเชยความเสี่ยงที่สูงเมื่อเทียบกับในอดีต และอัตราปันผลที่สูงเมื่อเทียบกับทั่วโลก (รูปที่ 5) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำอย่างต่อเนื่องจากภาระหนี้ที่สูง ประกอบกับแนวโน้มการเช่าที่ยังอยู่ในระดับที่สูงทั้งในส่วนของธุรกิจค้าปลีกที่อัตราการเช่าเฉลี่ย 97% กลุ่มอุตสาหกรรมที่ประมาณ 93.4% อาคารสำนักงานที่ 95.6% และ เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ 85% จะยังสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนให้ทยอยเข้ามาลงทุนได้ในไม่ช้า หากแต่เพียงภาพการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงดังเช่น 3 ไตรมาสที่ผ่านมาอาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ต่ำ จากภาวะข้างต้นที่ผู้คนต่างผ่อนคลายความกังวล และลดความคาดหวังจากการลดดอกเบี้ยลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นแล้ว หากนักลงทุนท่านใด เป็นผู้ที่รักในอัตราปันผลที่สม่ำเสมอและมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและตราสารหนี้ทั่วไป จังหวะนี้ก็ถือว่าน่าสนใจทยอยสะสมไม่น้อย แต่ก็อาจต้องทำใจระดับหนึ่งที่อาจเกิดความผันผวนขึ้นได้ จากความน่าสนใจที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์เติบโตสูงอย่างหุ้น ในภาวะคลายความกังวลเช่นนี้ AKN Blog ติดตาม AKN Blog ได้ที่ https://www.facebook.com/aknblog คำเตือน “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” “ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” “ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุน โดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน” หมายเหตุ: พอร์ต “Best-in-Class Property & REITs” จาก FINNOMENA จะช่วยให้คุณได้ลงทุนในกองทุนชนิด Fund of Property Fund ที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมจากนับสิบ ๆ กองที่มีเสนอขายในปัจจุบัน ซึ่งจะแนะนำ 3 กองทุนที่ได้รับ FINNOMENA Score สูงที่สุด และมีคำแนะนำ Rebalance ในการปรับพอร์ตไปสู่กองทุน Best-in-class ให้นักลงทุนปีละ 1 ครั้ง ใครสนใจเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ https://www.finnomena.com/bic/ แท็ก: Advance Article Long Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน AKN Blog อ่านข่าวนอกยามว่าง เพื่อเปิดโลกกว้างและสร้างสรรค์มุมมองใหม่ๆ ไม่ว่าข่าวหรือบทความใดๆ ล้วนมีประโยชน์เสมอ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า ... “สรุปหุ้น AWC บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) แบบเข้าใจง่าย ๆ” - FINNOMENA ต้องยอมรับว่า AWC หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) เป็น “หุ้นมหาชน” อีกตัวหนึ่ง ที่เจ้าสัว เจริญ สิริวัฒนภักดี ถือหุ้นอยู่ราว 7,776 ล้านหุ้น หรือ 25.12% ส่วนความน่าสนใจสำหรับหุ้นตัวนี้เป็นอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันครับ 29 พ.ย. 2562 หุ้นอะไรที่จะเติบโตได้ในทศวรรษหน้า หรืออีก 10 ปีข้างหน้า โดยในปัจจุบัน ราคายังไม่แพงจนเกินงาม ? … คำถามนี้เป็นคำถามสำคัญที่ถ้าเราสามารถตอบคำถามได้ เราจะสามารถร่ำรวยจากการลงทุนได้เลยทีเดียว หุ้นที่ผมจะขอนำมาเสนอให้อ่านในวันนี้ ก็คือ AWC หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งหุ้นตัวนี้ต้องยอมรับว่าเป็น “หุ้นมหาชน” อีกตัวหนึ่ง ที่เจ้าสัว เจริญ สิริวัฒนภักดี ถือหุ้นอยู่ราว 7,776 ล้านหุ้น หรือ 25.12% ส่วนความน่าสนใจสำหรับหุ้นตัวนี้เป็นอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันครับ ลักษณะธุรกิจของ AWC บริษัทประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ โดยมีบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักซึ่งก่อให้เกิดกำไรหลัก 12 บริษัท ประเด็นแรก … “สินทรัพย์ของกิจการมีอะไรบ้าง ?” ที่มา: https://investor.assetworldcorp-th.com/th/home ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 สำหรับสินทรัพย์ของกิจการทั้งหมดตีมูลค่าไว้ราว 9.2 หมื่นล้านบาท โดย 52% หรือสัดส่วนใหญ่จะเป็น Hospitality Asset ก็คือ ธุรกิจการบริการ หมายรวมถึง การโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น สัดส่วนอีก 30% เป็น Office หรือสำนักงานให้เช่า ตึกให้เช่า และสุดท้ายเป็นพื้นที่ค้าปลีกอีกราว 18% ที่มา: https://investor.assetworldcorp-th.com/th/home ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ถ้าเรามาแยกสินทรัพย์ออกเป็นส่วน ๆ จะเห็นว่า Hospitality นั้นมีโรงแรมทั้งหมด 15 แห่ง มีห้องชุดราว 4,960 ห้อง และส่วนของค้าปลีกมี 10 แห่ง พื้นที่ค้าปลีกราว 3.4 แสนตารางเมตร สุดท้ายส่วนของสำนักงานให้เช่า มี 4 ตึก พื้นที่รวมราว 2.7 แสนตารางเมตร ประเด็นทีสอง … “การเติบโตของกิจการ” ที่มา: https://investor.assetworldcorp-th.com/th/home ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต สิ่งที่นักลงทุนสนใจใคร่จะรู้อีกประการก็คือ การเติบโตของกิจการที่เราคิดจะลงทุน เมื่อเรามาดูแนวโน้มรายได้ และกำไรของกิจการนี้จะพบว่า ที่มา: https://investor.assetworldcorp-th.com/th/home ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ปี 2559 มีรายได้ 8,256 ล้านบาท ปี 2560 มีรายได้ 9,630 ล้านบาท ปี 2561 มีรายได้ 10,563 ล้านบาท สิ่งที่น่าสนใจก็คือ รายได้ โตเร็วมาก โดยโตจาก 8.2 พันล้านบาท จนทะลุหมื่นล้านภายในสามปี ในส่วนของกำไร ผมหาข้อมูลได้ในปี 2561 ทำกำไรสุทธิได้ 469.58 ล้านบาท และครึ่งปี 2562 ทำกำไรสุทธิไปแล้ว 366.66 ล้านบาท ถือว่ามีการเติบโตให้เราได้เห็นเหมือนกันครับ ประเด็นสุดท้าย … “หุ้นแพงไปหรือไม่อย่างไร ?” สำหรับประเด็นนี้เป็นอะไรที่เราต้องพิจารณากันด้วยตัวเราเอง โดยตัวเลขจากปี 2561 ที่มีกำไรต่อหุ้นราว 0.03 บาทต่อหุ้น ในขณะที่ครึ่งปีแรกของปี 2562 มีกำไรต่อหุ้นราว 0.012 หรือถ้าคิดเต็มปีเอาแบบกำไรเท่ากับครึ่งปีแรก จะมีกำไรต่อหุ้น 0.023 บาทต่อหุ้น โดยสาเหตุที่กำไรต่อหุ้นลดลงน่าจะมาจากจำนวนหุ้นที่เข้า IPO มีปริมาณมากขึ้น เมื่อเราเทียบกับราคาหุ้นที 6.05 บาทต่อหุ้นจะคิดพีอีได้ราว 260 เท่า !! ถ้าเราคิดในแง่ของการทำกำไรคงต้องบอกว่าแพง แต่หากเราคิดในแง่ของสินทรัพย์ที่ทาง AWC ตีมูลค่าไว้เกือบแสนล้าน กับขนาดกิจการ ณ ปี 2562 ที่มีขนาดกิจการราว 187,289.85 ล้านบาท ลองพิจารณากันดูครับว่าเป็นอย่างไร ปัจจัยเสี่ยง…แถมท้าย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เสี่ยงที่สุดของหุ้นตัวนี้คงหนีไม่พ้น PE ที่สูงลิบลิ่ว หากกิจการไม่สามารถสร้างกำไรเติบโตได้ดังความคาดหวังของนักลงทุนในตลาด เราอาจได้เห็นราคาหุ้นขยับปรับลง สิ่งที่สำคัญก็คือ หุ้นดีต้องราคาดีด้วยนะครับ ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … หุ้น AWC ถือเป็นหุ้นขนาดใหญ่ มีกิจการแบ่งออกเป็น 3 แบบชัดเจน คือ โรงแรม สำนักงานให้เช่า และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ว่าที่จริงแล้วทำเลของแต่ละพื้นที่ก็น่าจะเป็นทำเลทอง เช่น ตึกพันทิปพลาซ่า ด้วยมูลค่าสินทรัพย์เกือบแสนล้าน กับขนาดกิจการราว 1.8 แสนล้านบาท คุ้มค่าที่จะซื้อหรือไม่ ต้องคิดกันให้ดี แต่ต้องบอกว่ากิจการมีการเติบโตให้เห็นเหมือนกัน และใครที่เคยบ่น ๆ ว่า เจ้าสัวเป็นเจ้าของที่ดิน (ทำเลดี ๆ) ส่วนใหญ่ในประเทศไทย แต่ในตอนนี้เขาเปิดโอกาสให้เราได้เป็นเจ้าของบ้างแล้วนะครับ หมายเหตุ: อย่างไรก็ดี ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ #AWC #หุ้นอสังหา #หุ้นเติบโต #หุ้นเจ้าสัว #หุ้น #เล่นหุ้น #รวยหุ้น #ร้อยล้าน #พันล้าน #แสนล้าน #สูตรหุ้น #หุ้นออนไลน์ #หุ้นสิบเด้ง #นายแว่นลงทุน ติดตามนายแว่นลงทุน ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada/ ดูข้อมูลหุ้น AWC เพิ่มเติมได้ที่ https://finnomena.com/stock/awc **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย https://www.finnomena.com/port/naiwaen —————————- Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: Article AWC Basic GURUPORT Product Recommend Short Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
คว้าโอกาสลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก ด้วย SCBGIF - FINNOMENA ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาการลงทุนใน REITs และ Infrastucture Fund เป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนที่น่าดึงดูดไม่น้อยไปการกว่าลงทุนในตลาดหุ้น บทความนี้จะมารีวิวกองทุน SCBGIF ซึ่งลงทุนในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก มาดูรายละเอียดกันเลยครับ 20 พ.ย. 2562 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาการลงทุนใน REITs และ Infrastucture Fund เป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนที่น่าดึงดูดไม่น้อยไปการกว่าลงทุนในตลาดหุ้น และเนื่องจากสภาวะดอกเบี้ยต่ำทั่วโลก ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจในการลงทุนในสินทรัพย์นี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ REITs และ Infrastucture Fund นั้นมีความสามารถในการให้กระแสเงินสด ในรูปแบบของการปันผลที่สูงเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ และมีความผันผวนที่ต่ำเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น ทว่าในประเทศไทย การจะเลือกลงทุนในกลุ่ม REITs และ Infrastucture Fund มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก อีกทั้งด้วยสภาพคล่องในตลาดที่ค่อนข้างต่ำ การกระจายความเสี่ยงการลงทุนในกลุ่มดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เทียบกับต่างประเทศที่มีความหลากหลายทางธุรกิจที่มากกว่า อาทิ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการวางโครงข่าย 5G ธุรกิจขนส่งพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซ หรือแม้กระทั่งการบริหารสนามกีฬาในกรุงปารีส ซึ่งมีความหลากหลายอย่างมาก ให้นักลงทุนได้เลือกจัดสรรกระจายความเสี่ยงไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ กองทุน SCBGIF ลงทุนในกองทุน DWS Invest Global Infrastructure (“Master Fund”) IDH (P) EUR shares class มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (fx) ตามดุลยพินิจ โดยกองทุน DWS Invest Global Infrastructure นั้นมีนโยบายการลงทุนในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ระบบขนส่ง พลังงาน ระบบน้ำ และการสื่อสาร จุดเด่นของอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน รายได้และกำไรมีความผันผวนต่ำ ซึ่งในจุดนี้จะโดดเด่นมากในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากการปันผลจะคงที่และสูงกว่าสินทรัพย์อื่น จากรูปแบบธุรกิจมี Barriers สูง (ทำให้เป็นเจ้าตลาด หรือ monopoly) และมีการทำสัญญาระยะยาว ส่งผลให้มีความผันผวนที่ต่ำกว่า sector อื่น อย่างชัดเจน รายได้และกำไรมีแนวโน้มเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ เสมือนเป็นการป้องกันเงินเฟ้อให้กับเงินลงทุน จะเห็นว่าในอุตสาหกรรมยังมีอุตสาหกรรมย่อยหลายรูปแบบธุรกิจและภูมิภาค ช่วยการกระจายความเสี่ยง สิ่งที่น่าสนใจคือ ความผันผวนต่ำทั้งรายได้และราคาหุ้น พร้อมการปันผลที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับหุ้นและสินทรัพย์อื่น รูปที่ 1 ผลการดำเนินงาน และความผันผวนของกองทุน DWS Invest Global Infrastructure และผลตอบแทนดัชนี MSCI World TR (Euro) ปี 2013 – 2019 I Source : DWS as of 8/10/2019 ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต รูปที่ 2 ผลการดำเนินงาน และความผันผวนของกองทุน DWS Invest Global Infrastructure และผลตอบแทนดัชนี MSCI World TR (Euro) ปี 2015 – 2016 และ 2018 I Source : DWS as of 8/10/2019 ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต รูปที่ 3 อัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBITDA) พร้อมค่าเฉลี่ยและความผันผวนของ Global Infrastructure Equities และ Global Equities I Source : DWS as of 8/10/2019 ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย (EBITDA) จะเห็นว่ายังคงเป็นบวกแม้ในช่วงวิกฤต (เช่น ช่วงฟองสบู่แตก ช่วงวิกฤตซับไพรม์) ขณะเดียวกันความผันผวนยังต่ำ โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ Standard Deviation (SD) ต่ำกว่าหุ้นโลก รูปที่ 4 รูปแบบการคัดเลือกหุ้นเพื่อลงทุนของกองทุน I Source : DWS as of 8/10/2019 กองทุน DWS Invest Global Infrastructure ใช้การคัดกรองหุ้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ เชิงปริมาณ (Quantitative): กรองหุ้นกว่า 550 ตัว ทั้งจากดัชนี S&P, MSCI World Infrastructure จากนั้นกรองลงมาเหลือ 200 – 250 ตัว โดยใช้หลักเกณฑ์เลือกบริษัทที่มีกระแสเงินสด (Cash Flow) จากโครงสร้างพื้นฐาน อย่างน้อย 70% ที่บริษัทถือครองหรือบริหารงานให้ เชิงคุณภาพ (Qualitative): คัดเลือกหุ้นลงเหลือ 150 ตัว ด้วยการวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน โดยเน้น free cash flow yield, EV/EBITDA รวมไปถึงคุณภาพการบริหารงาน ต่อจากนั้นวิเคราะห์ผ่านวัฏจักรตลาด ความสัมพันธ์เทียบกับข้อมูลเชิงมหภาค และ Beta เทียบกับ MSCI World เพื่อคัดเลือกหุ้น 40 – 50 ตัว รูปที่ 5 สัดส่วนการลงทุนของกองทุนในแต่ละ Sector และแต่ละประเทศ I Source : DWS Invest Global Infrastructure as of 8/10/2019 Top 10 holdings รูปที่ 6 สินทรัพย์ที่ถือครองมากที่สุด 10 อันดับแรกของกองทุน I Source: DWS Invest Global Infrastructure as of 8/10/2019 การคัดเลือกนี้ส่งผลให้สินทรัพย์อันดับแรกๆ ที่กองทุนถือครองนั้นมีหุ้นใน 3 อุตสาหกรรมย่อยที่น่าสนใจ อันประกอบไปด้วย Specialized REITs, Oil & Gas / Utilities, Construction & Engineering Specialized REITs เป็นธุรกิจเสาสื่อสาร ซึ่งโอกาสที่น่าสนใจของกลุ่มนี้ คือ 5G เริ่มจาก American Tower และ Crown Castle International Corp ซึ่งเป็นผู้ประกอบการให้เช่าเสาสัญญาณ (Tower) แก่ผู้ประกอบการเครือข่ายสัญญาณ ซึ่งหากผู้ประกอบการเครือข่ายสัญญาณต้องการเพิ่มจุดกระจายสัญญาณ จะไม่สร้างเอง แต่จะเช่าเสาสัญญาณแล้วติดตั้งอุปกรณ์แทน เมื่อประกอบกับ ลักษณะของสัญญาณ 5G ที่แม้จะเร็วขึ้นมาก แต่ก็มีความสามารถในกระจายสัญญาณได้ระยะแคบ ดังนั้นจึงเป็นอีกธุรกิจที่น่าสนใจในอนาคต อย่างไรก็ตามทั้ง 2 บริษัทนั้นไม่ถือเป็นคู่แข่งที่ต้องปะทะกันโดยตรงมากเกินไป เนื่องจาก American Tower มีลักษณะเป็น Tower แต่ Crown Castle International Corp มีลักษณะการให้บริการแบบ Small cell ที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงถังขยะตามท้องถนน ซึ่งเป็นการให้บริการที่แตกต่างกันในกลุ่มลูกค้า Oil & Gas / Utilities อย่างที่คุ้นเคยกันว่ากลุ่มธุรกิจนี้จะมีรายได้จากท่อส่งเชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและก๊าซ ซึ่งจะทำสัญญาเพื่อบำรุงรักษา ดูแลด้านความปลอดภัย ส่งผลให้มีรายได้สม่ำเสมอ อีกส่วนพบว่าบริษัทเหล่านี้เข้าไปทำธุรกิจพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม ซึ่งในอนาคตกลุ่มนี้จะมีราคาต่ำลง ผู้บริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น Construction & Engineering เป็นธุรกิจรับบริหารงาน เช่น ทางด่วน สนามบิน มีลักษณะเป็นสัมปทานและสัญญากับภาครัฐ ในต่างประเทศจะมี Hot Lane สำหรับเดินทางเร่งด่วนมากขึ้น ส่งผลให้มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้นตาม นับเป็นอีกช่องทางรายได้ของบริษัท นอกจากนี้บริษัทมักจะทำสัญญาระยะยาวกับภาครัฐเพื่อความมั่นคงของรายได้ เนื่องจากการปันผลเป็นจุดเด่นของกลุ่มนี้อยู่แล้ว จึงขอพาไปดูประวัติการปันผลและ Yield ของสินทรัพย์ที่ถือครองอันดับต้นๆ American Tower (ผู้นำด้านเช่าเสากระจายสัญญาณ) รูปที่ 7 เงินปันผลต่อหุ้น (สีส้ม) และ อัตราการปันผล (สีขาว) I Source : Bloomberg as of 8/11/2019 แม้ราคาจะเพิ่มขึ้นมาจากปรากฏการณ์ 5G แต่อัตราการปันผลยังสามารถยืนในระดับเดิมได้ เพราะเงินปันผลต่อหุ้นเพิ่มขึ้นโดยตลอด ซึ่งหากสังเกตจากรูปแบบธุรกิจทำให้น่าสนใจทั้งแนวโน้มราคาและการปันผล Enbridge Inc (ผู้นำด้านพลังงาน สาธารณูปโภค) รูปที่ 8 เงินปันผลต่อหุ้น (สีส้ม) และอัตราการปันผล (สีขาว) I Source: Bloomberg as of 8/11/2019 เงินปันผลเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดทศวรรษ ขณะเดียวกันอัตราการปันผลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในปี 2017 สู่ระดับประมาณ 6.0% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับอัตราการปันผลของตลาดหุ้นโดยรวม และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่ต่ำมากแล้ว ยิ่งมีความน่าสนใจในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ Crown Castle International Corp (มีการทำ Small cell เพื่อกระจายสัญญาณในพื้นที่เข้าถึงยาก) รูปที่ 9 เงินปันผลต่อหุ้น (สีส้ม) และอัตราการปันผลของ (สีขาว) I Source : Bloomberg as of 8/11/2019 ด้วยเงินปันผลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอัตราการปันผลที่ยืนเหนือระดับ 3% ทำให้มีความน่าสนใจเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่น TC Energy Corp (ยักษ์ใหญ่บริการท่อขนส่งน้ำมัน) รูปที่ 10 เงินปันผลต่อหุ้น (สีส้ม) และอัตราการปันผลของ (สีขาว) I Source : Bloomberg as of 8/11/2019 เช่นเดียวกันสำหรับเงินปันผลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอัตราการปันผลซึ่งยังยืนเหนือระดับ 4% จึงทำให้น่าสนใจสำหรับสภาพเศรษฐกิจในช่วงนี้ ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน ปัจจัยเกี่ยวกับรัฐ เพราะรัฐบาลอาจควบคุมการอนุมัติสัมปทาน การเริ่มโครงการใหม่ และอาจถอนใบอนุญาตหากมองว่าโครงการส่งผลกระทบต่อพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่อีกความเสี่ยงที่แฝงอยู่ในหัวข้อนี้ คือ เกี่ยวกับมาตรการควบคุม เช่น สิ่งแวดล้อม ปัจจัยเรื่องการเงินและค่าใช้จ่ายโครงการ โครงการอาจมีค่าใช้จ่ายบานปลาย ทั้งการสร้างและบริหาร ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และภาษี ปัจจัยเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจาก SCBGIF ไม่ได้วางนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนแบบเต็มจำนวน แต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจผู้จัดการลงทุน อย่างไรก็ดี นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงได้ ความเสี่ยงนั้นมีทั้งส่วนของภาครัฐ มาตรการควบคุม ค่าใช้จ่าย และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังมีความซับซ้อนของรูปแบบธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมนี้ คำแนะนำคือ นักลงทุนควรเลือกบริษัทที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น มีประวัติการทำโครงการเสร็จตรงเวลา ช่วยลดทั้งค่าใช้จ่ายและการเข้ามาแทรกแซงของรัฐ นอกจากนี้การเลือกหุ้นกลุ่มผู้นำยังทำให้คู่แข่งใหม่เข้ามาสู่อุตสาหกรรมได้ยาก อีกด้านการทำสัญญาระยะยาวกับภาครัฐยังช่วยลดความเสี่ยงด้านการแทรกแซง และความผันผวนของรายได้ ดูข้อมูลกองทุน SCBGIF เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/scbgif/ หมายเหตุ: คุณสามารถลงทุนใน SCBGIF ได้ผ่านพอร์ต DIY (Do-It-Yourself) ซึ่งคุณสามารถปรับกลยุทธ์การลงทุนตามความเสี่ยงที่สามารถรับได้ เลือกกองทุนได้เองตามสไตล์ หรือ ออกแบบพอร์ตลงทุนด้วยตัวเอง ซื้อกองทุน SCBGIF คลิกเลย https://www.finnomena.com/nter-dashboard/ —————————- Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: Advance Article FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW Long Content Product Info SCBGIF แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า ... “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้” - FINNOMENA แม้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ ก็ยังมีกิจการที่เจริญงอกงามอยู่นั่นเอง เปรียบเสมือนกับทะเลทรายที่ยังคงมีต้นไม้บางชนิดเจริญเติบโตได้ เรามาดูกันดีกว่าว่า กิจการใดบ้างที่จะโตได้ในยามนี้ เอาแบบ 3-5 ปีต่อจากนี้ นายแว่นลงทุน ขอเล่าให้อ่านดังต่อไปนี้ 29 พ.ย. 2562 การลงทุนในหุ้นนั้น สิ่งที่เราต้องติดตามเป็นอันดับแรก ก็คือ การมองหากิจการที่เติบโต กิจการใดก็ตามที่มีการเติบโต มักจะสะท้อนไปที่ราคาหุ้นที่จะขยับปรับตัวสูงขึ้นเสมอ หากนักลงทุนต้องการมองหากิจการที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้ไป ต้องยอมรับว่า มันไม่ง่ายเลยที่จะประสบพบเจอกับกิจการเหล่านั้น และถ้าเราเจอ ในขณะที่ราคาหุ้นยังไม่แพงจนเกินไป เราก็ควรเก็บสะสมลงทุนเอาไว้ ไม่ใช่เพื่อจะขายทำกำไรวันนี้ พรุ่งนี้ แต่เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า แม้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ ก็ยังมีกิจการที่เจริญงอกงามอยู่นั่นเอง เปรียบเสมือนกับทะเลทรายที่ยังคงมีต้นไม้บางชนิดเจริญเติบโตได้ เรามาดูกันดีกว่าว่า กิจการใดบ้างที่จะโตได้ในยามนี้ เอาแบบ 3-5 ปีต่อจากนี้ นายแว่นลงทุน ขอเล่าให้อ่านดังต่อไปนี้ กิจการแรก … “กิจการเก็บหนี้” แน่นอนที่สุดว่าในยามเศรษฐกิจไม่ดี คนที่มีหนี้สินอาจจะเริ่มผ่อนดอกเบี้ยไม่ไหว และเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดหนี้เสียออกมาเป็นจำนวนมาก โดยสัดส่วนหนี้ NPL หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย (ภาพแสดง NPL ของประเทศไทย) เราจะเห็นว่า การเติบโตของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เติบโตขึ้น สะท้อนจากหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 70-80% ต่อ GDP ประเทศ และนั่นทำให้เกิดธุรกิจซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มาบริหารจัดการต่อ ธุรกิจดังกล่าวเรียกง่าย ๆ ว่า “ธุรกิจเก็บหนี้” จึงเติบโต และน่าติดตามอย่างยิ่ง ด้วยขนาดของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในประเทศไทยที่คาดว่าจะมีมูลค่าเป็นแสนล้าน ประกอบกับธนาคาร สถาบันการเงินใหญ่ ๆ ต้องการจะตัดหนี้ส่วนนี้ออกมาขาย เพราะกลัวว่ามาตรฐานด้านการธนาคารแบบใหม่จะทำให้การตั้งสำรองยากลำบากขึ้น ธุรกิจตามเก็บหนี้จึงน่าสนใจในห้วงเวลา 3-5 ปีข้างหน้าอย่างไม่ต้องสงสัย ธุรกิจที่สอง … “ธุรกิจบริหารจัดการข้อมูลด้วย Big Data และ AI” อีกไม่นานเราก็จะก้าวเข้าสู่ยุค 5G กันแล้ว สำหรับเทคโนโลยี 5G ต้องบอกเลยว่า ใครเริ่มก่อนย่อมได้เปรียบกว่า เนื่องจากเทคโนโลยีนี้จะนำความเปลี่ยนแปลงระดับ “พลิกโลก” และจะสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่กว่ายุค 4G ที่กำลังจะถูกเปลี่ยนผ่านไปเร็ว ๆ นี้ สิ่งที่เห็น ๆ ว่าจะมาสำหรับยุค 5G ก็คือ การบริหารจัดการข้อมูลแบบ Big Data ด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ว่ากันว่า หากยุคใหม่ก้าวเข้ามาเต็มตัว การค้นหาข้อมูลอาจจะลดความสำคัญลง เนื่องจากอุปกรณ์ 5G จะรู้ดีกว่าคนที่ใช้มัน และวัตถุสิ่งของจะฉลาดกว่ามนุษย์ก็เป็นไปได้ ธุรกิจที่ทำข้อมูลด้านนี้ในประเทศไทยแม้จะมีน้อยแต่ก็ยังพอมีนะครับ หนึ่งในตัวอย่างที่ผมอยากจะหยิบยกให้พิจารณาก็คือ เทคโนโลยีการปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ หรือช่องทางมือถือ หรือที่เรียกว่า Peer to peer lending (P2P Lending) ซึ่งหมายถึง การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล โดยผ่านระบบออนไลน์และไม่ผ่านตัวกลาง หากเทคโนโลยีนี้เกิดขึ้น จะทำให้ตัวกลางหายไป และนั่นหมายความว่าต้นทุนการปล่อยกู้จะต่ำลง และถ้ามันแพร่หลายมากขึ้น มันอาจจะทำลายการปล่อยสินเชื่อแบบเก่า ๆ ก็เป็นไปได้ แต่การที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยฐานข้อมูล การประมวลผลลูกค้าที่แม่นยำ เพราะหากปล่อยสินเชื่อไปแล้วกลายเป็นหนี้สูญ ก็คงไม่ดีเป็นแน่แท้ กิจการที่ช่วยบริหารจัดการข้อมูลดังกล่าวย่อมได้รับผลประโยชน์จาก “เมกะเทรนด์” นี้อย่างแน่นอน ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … ตัวอย่างที่ยกมานั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของแนวคิดการมองหาหุ้นเติบโตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า อะไรที่มีแววจะเติบโต นักลงทุนควรเข้าไปศึกษาไว้ก่อนไม่เสียหลาย เพื่อที่จะได้เท่าทันคนอื่น หากเราพบเจอก่อน ก็มีโอกาสที่จะทำกำไรได้ แต่ถ้าเราไม่ตื่นตัวในเรื่องเหล่านี้เราอาจจะ “ตกยุค” เอาแบบไม่รู้ตัวก็ได้นะครับ #นายแว่นลงทุน ติดตามนายแว่นลงทุน ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada/ **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย >> https://www.finnomena.com/port/naiwaen แท็ก: Article Basic GURUPORT Infographic Product Recommend Short Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ถึงเวลาวิ่งแล้ว ตลาดหุ้นที่รัก - FINNOMENA เศรษฐกิจโลกเมื่อจะผ่านจุดต่ำสุด, ผลประกอบการออกมาแข็งแกร่งกว่าคาด, นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพร้อมกันทั้งโลก, ธนาคารกลางสหรัฐฯพร้อมจะเพิ่มสภาพคล่อง, สถิติย้อนหลัง ไตรมาส 4 ก็บวกได้ดีสุด ถึงเวลาแล้วไหมที่ตลาดหุ้นจะต้องวิ่งต่อแล้ว? 12 พ.ย. 2562 ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้เห็นผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 3 ของดัชนี S&P500 ทยอยประกาศกันออกมาแล้ว พบว่า โดยส่วนใหญ่บริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ มีรายได้และกำไรยังขยายตัว และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์สวนทางตัวเลขเศรษฐกิจในภาพรวม อย่างกรณีตัวเลข ISM Manufacturing ประกาศออกมาต่ำกว่า 50 จุด 2 เดือนติดต่อกัน ภาพที่เห็นหลังจากนั้นก็คือ การกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งตัดสินใจลดดอกเบี้ย 3 ครั้งติดต่อกัน ทำให้ Fed Fund Futures ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.50 – 1.75% นับเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน เราไปดูในแถลงการณ์ของเฟด มีการระบุว่า ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายครัวเรือนซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูง ด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังเพิ่มขึ้นในอัตราค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม การลงทุนและการส่งออกยังคงอ่อนแอ ส่วนอัตราเงินเฟ้อตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา อยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% สะท้อนว่า เฟดยังคงมีความกังวลอยู่บ้างในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับแถลงการณ์ในครั้งนี้ คือ การเปลี่ยนประโยคที่ว่า “act as appropriate to sustain the expansion” เป็น “assesses the appropriate path of the target range for the federal funds rate” ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณหยุดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปีเหลือของปี ซึ่งเมื่อหันไปดู Fed Fund Futures ก็พบว่า ตลาดมีมุมมอง หรือ ให้โอกาสที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีในเดือนธ.ค. เหลือเพียงต่ำกว่า 10% เท่านั้นในตอนนี้ ลดดอกเบี้ยแค่ 3 ครั้ง ก็เพียงพอพยุงเศรษฐกิจแล้วหรือ? คำตอบคือ ยังเร็วเกินไปที่จะฟันธงเช่นนั้น แต่ผมเชื่อว่า เฟดเห็นความเสี่ยงที่สูงเพิ่มขึ้นมากกว่า หากยังส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยลงไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้เงินลงทุนวิ่งเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากเกินไปจากการที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ และอีกทั้งยังเป็นการสาดกระสุนให้เหลือน้อย ซึ่งอาจจะต้องใช้กระสุนนี้ในคราวที่จำเป็นในอนาคต ข้อดีอีกข้อคือ การตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ถึงแม้จะส่งสัญญาณไม่ลดดอกเบี้ยอีกแล้ว แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯก็ไม่ได้ดีดขึ้นแรงแต่อย่างใด สะท้อนว่า ณ ระดับดอกเบี้ยตรงนี้ อย่างน้อยก็อยู่กับเราไปอีก 6-12 เดือน กว่าจะกลับขึ้นมาได้ หรือแปลได้อีกความหมายหนึ่งก็คือ นักลงทุนในตลาดไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะดีจนเฟดกลับมาดำเนินนโยบายขึ้นดอกเบี้ยได้ในระยะสั้นๆ อีกเรื่องหนึ่งที่เราเห็นมาตั้งแต่กลางเดือนก.ย.ที่ผ่านมาก็คือ ขนาดงบดุลของเฟดกลับมาขยายเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งเกิดจากการขาดสภาพคล่องในตลาดธุรกรรมซื้อคืน (Repurchase Agreement) หรือ Repo market ทำให้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรประเภทข้ามคืน (Overnight repo rate) พุ่งขึ้นไปแตะระดับ 8% จากเคยอยู่ที่ 2% ในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า งบดุลขยายมีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย ประกอบไปด้วยพันธบัตรจำนวนมากไหลเข้าตลาดในเวลาเดียวกับที่เงินสดถูกดึงออกไปเพื่อชำระภาษีประจำไตรมาสของบริษัท นอกจากนี้ด้วยมาตรการควบคุมที่ระบุให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีสภาพคล่องเพียงพอต่อสถานการณ์เลวร้าย ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องรักษาสภาพคล่องตามเกณฑ์ Basel III ทำให้เฟดต้องอัดฉีดสภาพคล่องเข้าภาคการธนาคารด้วยการเข้าทำธุรกรรมซื้อคืนในตลาด repo หรือกล่าวในอีกด้าน คือการเข้าซื้อพันธบัตรในตลาด repo ที่มีอยู่มาก ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดและกดให้ repo rate ลดลงมาในระดับต่ำอีกครั้งเพื่อลดความตึงตัวในระบบการเงินที่มากเกินไป สัญญาณดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า Fed อาจยังจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงกลไกตลาด ในช่วงที่สภาพคล่องในระบบและภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างว่า การที่งบดุลของเฟดขยายตัวครั้งนี้ จะเรียกว่า เฟด กำลังทำ QE รอบใหม่ใช่หรือไม่? ในความเห็นของผม ไม่ว่าสิ่งนี้จะเรียกว่าอะไร แต่ก็แสดงให้เห็นว่า เฟดจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขยายตัวต่อไปได้ในอนาคต และตลาดก็เหมือนจะตอบรับเชิงบวกกับการกระทำของเฟด ซึ่งออกมาในช่วงประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2019 พอดิบพอดี ยิ่งเมื่อย้อนกลับไปดูสถิติ (นับตั้งแต่ปี 2008) บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 500) และดัชนีหุ้นโลก (MSCI World) สามารถทำผลตอบแทนเป็นบวกได้ทั้งไตรมาสที่ 4 และเดือนธันวาคม (67% และ 82% ตามลำดับ) ก็เข้าทางมากๆ เศรษฐกิจโลกเมื่อจะผ่านจุดต่ำสุด, ผลประกอบการออกมาแข็งแกร่งกว่าคาด, นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพร้อมกันทั้งโลก, ธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมจะเพิ่มสภาพคล่อง, สถิติย้อนหลัง ไตรมาส 4 ก็บวกได้ดีสุด มันถึงเวลาวิ่งต่อได้แล้วนะครับ ตลาดหุ้นที่รักของนักลงทุนทั้งหลาย แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
FINNOMENA PORT Strategy เดือนพฤศจิกายน 2562: The Final Call - FINNOMENA FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าธนาคารกลางและรัฐบาลทั่วโลกจะยังดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะพบสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสินทรัพย์ประเภท Yield Play เช่น ตราสารหนี้, กองทุนอสังหาฯ และ REITs มาติดตามคำแนะนำประจำเดือนนี้กันเลยครับ 11 ก.พ. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> Chart of the month รูปที่ 1 ปริมาณเงินลงทุนสะสมผ่าน ETF ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในหุ้นสหรัฐฯ และตราสารหนี้ I Source: BlackRock as of 30/9/2019 จากตัวเลขทางเศรษฐกิจประกอบกับคาดการณ์ที่ไม่สดใส เป็นผลให้ธนาคารกลางประเทศตลาดเกิดใหม่ต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายพร้อมใช้มาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมผ่านนโยบายการคลัง เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปที่ลดอัตราดอกเบี้ยและดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไปก่อนล่วงหน้า เพื่อรับผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้ารวมไปถึงปัจจัยกดดันอื่น ซึ่งตลาดเริ่มตอบสนองต่อมาตรการกระตุ้นที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนั้นผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ยังคงเติบโตและเริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้น โดยส่วนใหญ่ทั้งรายได้และผลกำไรประกาศออกมาสูงกว่าคาดการณ์ ด้านภูมิภาคอื่นทั้งยุโรปและเอเชีย แม้ตัวเลขผลประกอบการของหลายภาคส่วนจะยังต่ำกว่าคาดการณ์ แต่ตลาดหุ้นตอบสนองในทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าธนาคารกลางและรัฐบาลทั่วโลกจะยังดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะพบสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสินทรัพย์ประเภท Yield Play เช่น ตราสารหนี้, กองทุนอสังหาฯ และ REITs อย่างไรก็ตาม REITs ไทยปรับตัวขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีถึง 24.77% ส่งผลให้อัตราปันผลลดลงสู่ระดับ 4.94% ซึ่งยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ส่งผลให้มีโอกาสปรับตัวขึ้นที่จำกัด FINNOMENA Investment Team จึงมีมุมมองว่าควรชะลอการลงทุน REITs ไทย ในขณะเดียวกันผลของมาตรการกระตุ้นเริ่มส่งผลดีต่อผลประกอบการรวมไปถึงมุมมองของนักลงทุน โดยพบว่ามีเม็ดเงินลงทุน (ETF fund flows) ไหลเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมา อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของหลายปัจจัยที่ยังคงอยู่โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างประเทศจะเป็นปัจจัยหนุนทองคำในระยะต่อจากนี้เช่นเดียวกัน เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี หลังตลาดรับรู้ความเสี่ยงไปแล้ว รูปที่ 2 อัตราการขยายตัวของตัวเลข GDP สหรัฐฯ (US GDP Growth, CQoQ) l Source : Bloomberg as of 31/10/19 ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนประกาศออกมามีแนวโน้มชะลอตัว ด้วยผลของนโยบายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าและความเสี่ยงการเมืองระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศโดยส่วนใหญ่ทั่วโลกเริ่มดำเนินนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อรับผลกระทบจากปัจจัยข้างต้น ซึ่งแม้สหรัฐฯ จะเป็นประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าโดยตรง และตัวเลขเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมและส่งออกจะชะลอตัวชัดเจน แต่หากพิจารณาแล้วพบว่ามีสัดส่วนการบริโภคภายในถึง 60% ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตัวเลข GDP สหรัฐฯ ออกมาเหนือคาดที่ 1.9% ได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่ยังขยายตัว รูปที่ 3 สัดส่วนรายได้ของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 I Source : FactSet.com as of 28/10/2019 สำหรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 3 ของดัชนี S&P500 โดยส่วนใหญ่มีรายได้และกำไรยังขยายตัว และสูงกว่าคาดการณ์สวนทางตัวเลขเศรษฐกิจในภาพรวม นอกจากจะได้รับปัจจัยหนุนจากการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แล้ว ด้วยสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศถึง 38% ของรายได้ทั้งหมด ทำให้ได้รับผลดีจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินจากต่างประเทศด้วย เรียกได้ว่าเป็นอีกปัจจัยหนุนที่ซ่อนอยู่ นอกเหนือจากนั้นยังอาศัยความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุน และประสิทธิภาพการสร้างรายได้โดยใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีที่เหนือกว่า นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทดัชนี S&P500 ในปีนี้ขยายตัวที่ 8% (YoY) และ 10% (YoY) ในปีหน้า ขณะที่ดัชนี Nasdaq คาดว่ากำไรในปีนี้จะขยายตัวที่ 30% (YoY) และสำหรับปีหน้าที่ 17% (YoY) รูปที่ 4 ผลตอบแทนดัชนี MSCI Asia ex. Japan, หุ้น Taiwan Semiconductor และหุ้น Samsung ระหว่างวันที่ 1/11/2018 ถึง 31/10/2019 I Source : Bloomberg.com as of 31/10/2019 ขณะที่ภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น (Asia ex.Japan) นับเป็นอีกภูมิภาคที่มีการผ่อนคลายเชิงนโยบายอย่างมาก เพื่อรับผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้า ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัวซึ่งตลาดการเงินได้รับข่าวในส่วนนี้ไปแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตามในปีหน้าคาดการณ์การขยายตัวเริ่มมีสัญญาณเชิงบวกชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย นอกจากนี้การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ยังช่วยลดแรงกดดันต่อภาคการส่งออกของหลายประเทศในเอเชีย แม้จะมีปัจจัยกดดันเศรษฐกิจมาโดยตลอด แต่ประมาณการผลกำไรของภูมิภาค Asia ex.Japan ในปีนี้ยังขยายตัวที่ 3% (YoY) และปีหน้าที่ 13% (YoY) นอกจากนี้สัญญาณการฟืนตัวของอุตสาหกรรม semiconductor ที่มีผู้นำตลาดอย่าง Taiwan semiconductor อาจเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช่นกัน แนวโน้มตลาดขาลงที่กำลังจางหาย รูปที่ 5 อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) และค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 15 ปี ของ MSCI World index และ MSCI Asia ex. Japan index I Source : Bloomberg.com as of 5/11/2019 ความกังวลการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ปะทุขึ้นเมื่อปีที่แล้ว สร้างแรงกดดันต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและผลประกอบการเป็นอย่างมาก กดดันสินทรัพย์เสี่ยง (Risky Asset) เช่น หุ้น ทำให้มีแรงเทขายในตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างหนักตลอดปี 2018 ผลดังกล่าวทำให้อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) ของดัชนี MSCI World และ MSCI Emerging market ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 15 ปี ทว่าผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโนบายทางการเงิน และสงครามการค้าที่ปรากฏขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ได้แสดงให้แล้วว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกไม่สามารถรักษาระดับเดิมไว้ได้ โดยสะท้อนผ่านตัวเลข GDP ที่ชะลอตัวต่อเนื่องทั่วโลก ส่งผลให้ผู้กำหนดนโยบายมาเปลี่ยนท่าทีจากตึงตัวสู่ผ่อนคลายอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ปลายปี 2018 รูปที่ 6 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ, ยูโรป และญี่ปุ่นอายุ 10 ปี I Source : Bloomberg.com as of 31/10/2019 ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน (Yield) พันธบัตร อายุ 10 ปี ทั่วโลกเริ่มปรับตัวลดลง ลดแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงในทางอ้อม เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์เสี่ยงกับสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตร (Yield gap) ปรับตัวเพิ่มขึ้น สร้างแรงจูงใจให้เข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง รูปที่ 7 ดัชนี MSCI World และอัตราส่วนยอดขายต่อหุ้นเฉลี่ย 12 เดือนย้อนหลัง I Source : Bloomberg.com as of 31/10/2019 แต่ถึงกระนั้นเนื่องด้วยมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่ง FINNOMENA Investment Team เริ่มพบสัญญาณการฟื้นตัวที่เริ่มขึ้นในไตรมาสนี้ เช่น อัตราส่วนยอดขายต่อหุ้นที่ไม่เพิ่มขึ้นตลอดปี กลับมาปรับตัวขึ้นอีกครั้งในการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของปี Fed ลดดอกเบี้ยตามคาด 0.25% ส่งสัญญาณหยุดลดดอกเบี้ย รูปที่ 8 อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ (Fed Fund Rate Mid Range) l Source : Bloomberg as of 31/10/19 เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาดสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อีก 0.25% มาที่ระดับ 1.50 – 1.75% นับเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้นิยามว่า “midcycle adjustment” ในแถลงการณ์ระบุว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายครัวเรือนซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูง ด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังเพิ่มขึ้นในอัตราค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม การลงทุนและการส่งออกยังคงอ่อนแอ ส่วนอัตราเงินเฟ้อตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา อยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% สิ่งที่น่าสนใจสำหรับแถลงการณ์ในครั้งนี้ คือ การเปลี่ยนประโยคที่ว่า “act as appropriate to sustain the expansion” เป็น “assesses the appropriate path of the target range for the federal funds rate” ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณหยุดลดอัตราดอกเบี้ย และจะติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจเพื่อใช้เป็นปัจจัยในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย สอดคล้องกับการตอบคำถามนักข่าวหลังแถลงการณ์ของนาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งเชื่อว่านโยบายการเงิน ณ ปัจจุบัน มีความเหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจ รูปที่ 9 ความน่าจะเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยในการประชุม FOMC เดือนธันวาคม l Source : cmegroup.com as of 31/10/19 หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ตลาดลดโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ลงจาก 30.55% มาเหลือ 17.23% สะท้อนการยอมรับของตลาดต่อแนวโน้มและท่าทีของการตัดสินใจด้านนโยบายการเงิน และแม้ตลาดจะลดโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าจุดต่ำสุดของปีเพียงเล็กน้อย ยิ่งเป็นการสะท้อนว่าตลาดเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะกลางนี้ ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตอบรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยปรับตัวขึ้นแตะระดับ all-time high ในวันทำการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย ส่งออกและบริโภคชะลอ กดดันธปท. ลดอัตราดอกเบี้ย รูปที่ 10 ความมั่นใจผู้บริโภคไทย (Thailand Consumer Confidence), การส่งออกไทย (YoY) และอัตราเงินเฟ้อไทย (CPI, YoY) l Source : Bloomberg as of 31/10/19 การส่งออกที่ลดลง ความไม่แน่นอนกรณีสงครามการค้า รวมถึงการตัดสิทธิ์ GSP สินค้าไทยกว่า 537 รายการมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท และเงินบาทที่ีแข็งค่าอย่างต่อเนื่องกว่า 7.78% นับตั้งแต่ต้นปี สร้างแรงกดดันต่อภาคการส่งออกไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำ และหนี้ครัวเรือนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2 เท่า ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงสู่ระดับ 72.2 จุด ต่ำที่สุดในรอบ 39 เดือน สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับการบริโภคภาคเอกชนในตัวเลข GDP ที่ชะลอตัว สร้างแรงกดดันไปยังการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดและอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 0.32% (YoY) ซึ่งต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ 1-4% FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายทางการเงิน กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พร้อมชะลอการแข็งค่าของเงินบาท และกระตุ้นการใช้จ่ายควบคู่ไปกับออกมาตรการติดตามและควบคุมหนี้ครัวเรือน ความเสี่ยงระหว่างประเทศยังคงหนุนราคาทองคำ รูปที่ 11 ราคาทองคำ (USD/Oz) และปริมาณการถือครองทองคำของกองทุน ETF (Million Oz.) l Source : Bloomberg as of 30/10/19 นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปีเป็นต้นมา มีแรงซื้อสุทธิเข้ามายังทองคำผ่าน ETF หนุนให้ปริมาณทองคำที่ถือครองโดยกองทุน ETF เพิ่มขึ้นมาแตะระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งเป็นแรงซื้อสุทธิจากทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะจากภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรป ขณะเดียวกันการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายยังช่วยหนุนแรงซื้อทองคำ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทางการเงินที่ปลอดภัยลดลง แต่ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าและความต้องการทองคำในฐานะเครื่องประดับของประเทศอินเดียและจีนที่ลดลงเป็นปัจจัยที่ยังกดดันราคาทองคำ รูปที่ 12 อัตราส่วนการส่งออกต่อ GDP โลก และปริมาณการส่งออกทั่วโลก l Source : Bloomberg as of 31/10/19 ด้านความเสี่ยงจากปัจจัยทางด้านการเมืองยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุมนุมประท้วงภายในประเทศต่างๆ อาทิ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ สเปน และรัสเซีย ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคของเอกชน ขณะที่สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ แม้สหรัฐฯ – จีนจะมีท่าทีประนีประนอมมากขึ้น จากกำหนดการเพื่อลงนามข้อตกลงเบื้องต้นในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ด้วยคำยืนยันของสหรัฐฯ ที่จะเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตราเดิมที่เรียกเก็บแล้ว ทำให้ทางการจีนกังขาต่อท่าที สะท้อนความไม่เชื่อใจระหว่างกันและส่งสัญญาณความยืดเยื้อ สอดคล้องกับกรณี Brexit ที่ล่าสุดยืดระยะเวลาการแยกตัวออกไปเป็นวันที่ 31 มกราคม จากกำหนดการเดิม 31 ตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากข้อตกลงระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรปของนาย Boris Johnson นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ฉบับล่าสุดไม่ผ่านการลงมติของรัฐสภา ซึ่งต่อมาญัตติขอจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ ผ่านการลงมติจากรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อย สร้างความไม่แน่นอนอีกครั้ง ซึ่งเป็นผลเสียความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของอังกฤษต่อไป อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาขนาด GDP ของโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศจะลดลงในบางช่วงเวลาก็ตาม เนื่องจากความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นทำให้การบริโภคภายในเข้ามาทดแทนได้ เว้นแต่ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เช่น วิกฤตซับไพร์มปี 2008 และวิกฤติหนี้ในจีนปี 2015 เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าความขัดแย้งทางการค้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดในอดีต และแม้จะกระทบต่อเศรษฐกิจแต่ตลาดการเงินได้รับรู้ความเสี่ยงดังกล่าวอย่างทั่วถึงเป็นที่เรียบร้อย FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงินยังเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนความน่าสนใจของทองคำเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ปลอดภัยประเภทอื่น เช่นเดียวกับปัจจัยเสี่ยงทางด้านการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศที่ยังไร้ข้อยุติและช่วงเวลาที่ชัดเจน โมเดลพอร์ตการลงทุนแนะนำของ FINNOMENA Global Conservative Portfolio (GCP) As of 31/10/2019 พอร์ต GCP ปัจจุบันเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นจาก 20% มาที่ 30% พร้อมกระจายน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางซึ่งมีความผันผวนต่ำ สอดรับกับแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ส่งผลให้โดยรวมแล้วพอร์ต GCP มีความเสี่ยงโดยรวมค่อนข้างต่ำเหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุน จึงแนะนำสามารถลงทุนได้ Global Absolute Return (GAR) As of 31/10/2019 สำหรับพอร์ตการลงทุน GAR ปัจจุบันเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นมาที่ 40% ส่วนที่เหลือกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่ได้รับผลเชิงบวกจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ย อย่างตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว และสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำเพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนลงแล้ว ช่วย รักษาระดับความเสี่ยงโดยรวม จึงแนะนำสามารถลงทุนได้ TOP5 Portfolio As of 31/10/2019 พอร์ต TOP5 ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงสูงสุด ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพิ่มเป็น 60% FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าพอร์ตการลงทุนมีความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และพร้อมรับความผันผวนของตลาด Global Income Focus (GIF) As of 31/10/2019 ขณะที่พอร์ต GIF ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง พร้อมเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้น 10% อย่างไรก็ตาม จากการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตราสารหนี้ และกองทุน Multi Asset ที่มีความผันผวนต่ำ และได้รับผลเชิงบวกจากแนวการลงทุนแบบ Yield Play ส่งผลให้กระแสเงินสดที่สร้างยังคงอยู่ในระดับเป้าหมายที่ 4.30% ต่อปี GOAL Portfolio As of 31/10/2019 1st Million Portfolio As of 31/10/2019 โมเดล Goal และ 1st Million FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำพอร์ตการลงทุนตาม Black Litterman Asset Allocation Model เช่นเดิม โดยแนะนำให้นักลงทุนทำการ DCA การลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยในส่วนของนักลงทุนที่ลงทุนแล้ว แนะนำ Rebalance เพื่อปรับสมดุลพอร์ต ในจังหวะที่ตลาดมีความผันผวน FINNOMENA Investment Team คำเตือน “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” “ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน” “ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุน โดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน” “การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง ซึ่งอาจทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ “ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องก่อนทำการลงทุน” “ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” แท็ก: 1stM Advance Article FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA PORT FINNOMENA PORT Strategy FINNOMENA PORT Strategy Video GAR GCP GIF Goal Long Content PORT Strategy Product Info Top5 แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
บทความปรับพอร์ตประจำเดือนตุลาคม 2019: Prepare for the next rally - FINNOMENA สถานการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงนี้ มีสัญญาณการชะลอตัว ทำให้ทั้งธนาคารกลางและรัฐบาลเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลัง มาดูคำแนะนำการลงทุนล่าสุดจาก FINNOMENA Investment Team กันเลยครับ 1 ธ.ค. 2563 สถานการณ์เศรษฐกิจและตลาดโลก ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศสหรัฐฯ ยุโรป รวมไปถึงภูมิภาคเอเชีย มีสัญญาณการชะลอตัว ทำให้ทั้งธนาคารกลางและรัฐบาลเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลัง เช่น ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย, อัดฉัดสภาพคล่องเข้าระบบการเงิน และลดอัตราภาษีเงินได้ ในระยะหลังตลาดการเงินเริ่มตอบสนองต่อประเด็นการเมืองระหว่างประเทศน้อยลง และเพิ่มความสนใจต่อมาตรการกระตุ้น ซึ่ง FINNOMENA Investment Team มองว่าตลาดจะตอบสนองในเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้น รูปที่ 1 คาดการณ์การขยายตัวของกำไรดัชนี S&P 500 I Source : LPL Research as of 16/10/2019 ในขณะเดียวกันประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น FINNOMENA Investment Team จึงมีมุมมองว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น ประกอบกับสถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% ด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้ FINNOMENA Investment Team แนะนำนักลงทุนปรับสัดส่วนการลงทุนของพอร์ตดังนี้ เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TMBGQG กองทุน TMGGQG จะเน้นลงทุนในกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund เพียงกองทุนเดียว ซึ่งมีนโยบายลงทุนเชิงรุก (Active) ในหุ้นทั่วโลก พร้อมปรับสัดส่วนการลงทุนตามสถานการณ์ การเติบโตและมูลค่าของหุ้น ทำให้มีผลการดำเนินงาน ความผันผวนและ Maximum drawdown ที่โดดเด่นเหนือกองทุนอื่นที่เป็นประเภทเดียวกัน รูปที่ 2 สัดส่วนการลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรมของกองทุน I Source : Wellington funds as of 16/10/2019 โดยการลงทุนเชิงรุกของกองทุนสะท้อนออกมาชัดเจนผ่านการปรับพอร์ตลงทุนของกองทุนในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งลดสัดส่วนหุ้นในกลุ่มอุปโภคบริโภค (Consumer) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Technology เช่น Microsoft, Alphabet, Facebook รวมไปถึงหุ้นผู้นำตลาดในกลุ่ม Semiconductor อย่าง Taiwan Semiconductor รูปที่ 3 TOP 10 Holdings กองทุน Wellington Global Quality Growth Fund I Source : Wellington funds as of 16/10/2019 ซึ่งที่ผ่านมาผลประกอบการของหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังขยายตัวเพียงแต่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง อย่างไรก็ตาม จากคาดการณ์และผลประกอบการที่ออกมาเมื่อไตรมาสก่อน บ่งชี้ไปในทางเดียวกันว่าทั้งรายได้และกำไรกำลังกลับมาขยายตัวอีกครั้ง Microsoft รูปที่ 4 ประมาณการรายได้และกำไร Microsoft I Source : CNN Money as of 16/10/2019 เป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรม Cloud ด้วยรูปแบบ subscriber ซึ่งนำมาปรับใช้กับบริการ Office365 ทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีการเติบโตของรายได้ที่ 64% และ 31% (YoY) เมื่อไตรมาสก่อน นอกจากนี้ LinkedIn อีกหนึ่ง Social media เติบโตขึ้น 25% และยังมีจำนวนผู้ใช้เพียง 645 ล้านผู้ใช้ ทำให้มีโอกาสขยายตัวได้สูง ขณะเดียวกัน Microsoft เริ่มขยายธุรกิจไปสู่ Gaming ที่เน้นไปยัง Mobile gaming อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เริ่มขยายตัวและมีโอกาสอีกมากในอนาคต Alphabet (Google) รูปที่ 5 ประมาณการรายได้และกำไร Alphabet I Source : CNN Money as of 16/10/2019 สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มรายได้ด้วยข้อมูลผู้ใช้ที่มีมหาศาลที่นำมาพัฒนาการโฆษณาออนไลน์ (Social ads) และเพิ่มรายได้จาก Youtube ด้วย YouTube Music and YouTube Premium กว่า 60 ประเทศ จาก 5 ประเทศเมื่อเริ่มต้นปี 2018 Facebook รูปที่ 6 ประมาณการรายได้และกำไร Facebook I Source : CNN Money as of 16/10/2019 ยังเป็นผู้นำในวงการ Digital ads ซึ่งมีลักษณะเป็น duopoly ระหว่าง Facebook และ Google ซึ่งจะเป็นงบประมาณของบริษัทส่วนสุดท้ายที่จะถูกปรับลดในยุคนี้ นอกจากนี้เริ่มเพิ่มรายได้จากแอพพลิเคชั่นอื่น เช่น Instragam, Whatsapp กองทุนยังมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มอุปโภคบริโภคและค้าปลีกซึ่งเป็นภาคส่วนที่ยังแข็งแกร่งอยู่แม้จะเผชิญกับปัญหาสงครามการค้า ที่สะท้อนผ่านรายได้ ตัวเลขการบริโภคภายใน และตัวเลขค้าปลีกซึ่งรักษาระดับการเติบโตได้ตลอดปีที่ผ่านมา เช่น Visa, Nestle ด้วยสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวทำให้ FIINNOMENA Investment Team มองว่าสอดคล้องกับมุมมองเชิงบวกของมาตรการกระตุ้น การปรับเพิ่มประมาณการ อีกทั้งผลประกอบการยังได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนระหว่างประเทศอย่างจำกัดและต่ำกว่าตลาดหุ้นโดยรวม เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน Principal APDI กองทุน Principal APDI มีนโยบายลงทุนเชิงรุก (Active) ในสินทรัพย์ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น (Asia ex. Japan) มีสัดส่วนการลงทุนหลักในสิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย เป็นอีกภูมิภาคที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่องซึ่ง FINNOMENA Investment Team มองว่าจะเป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นด้วยค่าเงินที่อ่อนค่าลงเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยพยุงภาคส่งออก ในอีกแง่ช่วยลดการนำเข้าเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน รูปที่ 7 ข้อมูลเชิงพื้นฐานของ MSCI AC Asia ex Japan I Source : https://www.msci.com/documents/10199/27561c18-c30e-4d12-9321-5c83094e0d65 as of 11/10/2019 ในด้านมูลค่า (Valuation) อยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นทั่วโลก เช่นเดียวกับการขยายตัวของกำไรที่ยังสูงกว่าภูมิภาคอื่น (EPS growth ปี 2020 ที่ 13.9% VS World 9.8%) รูปที่ 8 TOP 10 Holdings กองทุน Principal APDI Fund I Source : Principal as of 16/10/2019 ด้าน Top Holding ของกองทุนมีสัดส่วนในหุ้นกลุ่ม Technology เปรียบเสมือนการลงทุนเชิงรุกของพอร์ต ในขณะเดียวกันยังมีสัดส่วนในกลุ่ม REITs และประกัน ที่เป็นสัดส่วนเชิงรับซึ่งยังได้รับผลดีจากอัตราการปันผลที่สูงกว่าสินทรัพย์อื่นในช่วงที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยสร้างสมดุลให้กับพอร์ตการลงทุน Taiwan Semiconductor รูปที่ 9 ประมาณการรายได้และกำไร Taiwan Semiconductor I Source : CNN Money as of 16/10/2019 ผลประกอบการกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังลงไปแตะระดับต่ำสุดเมื่อไตรมาสแรกของปี เนื่องจากมีความต้องการชิปที่เกี่ยวข้องกับ 5G นอกจากนี้นักวิเคราะห์ยังปรับประมาณการทั้งรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอีก จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มูลค่าและการขยายตัวของกำไร ประกอบกับมุมมองการจัดสัดส่วนการลงทุนของกองทุน ทำให้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองเชิงบวกต่อภูมิภาคดังกล่าว ลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KFAFIX แม้จะยังมีแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแต่ด้วยผลเชิงบวกของนโยบายกระตุ้นต่อสภาพเศรษฐกิจและสถิติผลตอบแทนในอดีต ประกอบกับคำแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวในพอร์ตการลงทุนเมื่อเดือนกันยายน ทำให้ FINNOMENA Investment Team แนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KFAFIX ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ไทย และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นโลกและภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น เพื่อรับผลดีจากมาตรการกระตุ้นและการปรับเพิ่มประมาณการ FINNOMENA Recommended Global Income Focus (GIF) แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX 10%, เพิ่มสัดส่วน TMBGQG 10% ด้วยแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับตลาดการลงทุนเริ่มตอบรับต่อความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ลดลง ประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น ขณะที่สถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% สะท้อนศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBGQG Global Conservative Portfolio (GCP) แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX 10%, เพิ่มสัดส่วน TMBGQG 10% ด้วยแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับตลาดการลงทุนเริ่มตอบรับต่อความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ลดลง ประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น ขณะที่สถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% สะท้อนศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBGQG Global Absolute Return (GAR) แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX 30%, เพิ่มสัดส่วน TMBGQG 20%, เพิ่มสัดส่วน PRINCIPAL APDI 10% ด้วยแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับตลาดการลงทุนเริ่มตอบรับต่อความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ลดลง ประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น ขณะที่สถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% สะท้อนศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBGQG และ PRINCIPAL APDI TOP5 แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX 20%, เพิ่มสัดส่วน TMBGQG 20% ด้วยแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับตลาดการลงทุนเริ่มตอบรับต่อความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ลดลง ประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น ขณะที่สถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% สะท้อนศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBGQG FINNOMENA Investment Team คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Advance Article FINNOMENA PORT FINNOMENA PORT Strategy Long Content PORT Strategy Product Info แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
QE กำลังจะกลับมา "หุ้น" กับ "ทองคำ" จะเป็นอย่างไร - FINNOMENA GURU VIEW #10 - FINNOMENA หาก QE กลับมา "ตลาดหุ้น" และ "ทองคำ" จะเป็นอย่างไร เราในฐานะนักลงทุนต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? มาฟังมุมมองจากคุณเจษฎา สุขทิศ (CEO FINNOMENA) กันได้เลยครับ คลิปนี้มีคำตอบ!! 19 พ.ย. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> หาก QE กลับมา “ตลาดหุ้น”และ “ทองคำ” จะเป็นอย่างไร เราในฐานะนักลงทุนต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? มาฟังมุมมองจากคุณเจษฎา สุขทิศ (CEO FINNOMENA) กันได้เลยครับ คลิปนี้มีคำตอบ!! ติดตามรายการ FINNOMENA GURU VIEW ตอนอื่นๆ ได้ที่ https://finno.me/GURUVIEW แท็ก: Advance FINNOMENA CHANNEL Gold GURU VIEW Long Content Product Recommend Video แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA CHANNEL อีกหนึ่งช่องทางความรู้ทางการเงิน และการลงทุน จาก FINNOMENA ในรูปแบบ Video Content
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เฟ้นหาหุ้นดีลงทุนระยะยาว ... “เล่นหุ้นให้ผ่านวิกฤติปี 2020 ต้องทำอย่างไร ?” - FINNOMENA ในห้วงปี 2562 เรียกว่า แทบจะเกือบทั้งปี ตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนเลย และหุ้นหลายตัวก็ตกลงมาอย่างหนัก แต่อย่าเพิ่งไปคิดล่วงหน้าว่าวิกฤติจะเกิดเลยครับ ...​ หันเอากำลังความคิดมาหาทางรับมือจะดีกว่า ในสภาวะแบบนี้ เราจะลงทุนให้ผ่านวิกฤติไปได้อย่างไร ติดตามได้ที่นี่เลยครับ 29 พ.ย. 2562 ในห้วงปี 2562 เรียกว่า แทบจะเกือบทั้งปี ตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนเลย และหุ้นหลายตัวก็ตกลงมาอย่างหนัก ในขณะที่ผมเขียนบทความนี้อยู่เริ่มเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีแล้ว ทุกอย่างก็ยังดูไม่ดีขึ้นเลย ทั้งกระแสสงครามการค้า การโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน เศรษฐกิจภายในประเทศที่ซึมมานานมาก มูลเหตุเหล่านี้ทำให้หลาย ๆ คนพาลคิดไปว่า … ปี 2020 จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือเปล่า ? และบางคนก็เชื่ออย่างนั้นมากเสียด้วย อย่าเพิ่งไปคิดล่วงหน้าว่าวิกฤติจะเกิดเลยครับ … แต่หันเอากำลังความคิดมาหาทางรับมือจะดีกว่า ในสภาวะแบบนี้ เราจะลงทุนให้ผ่านวิกฤติไปได้อย่างไร ติดตามได้ที่นี่เลยครับ ประการแรก … “สำรวจหุ้นในพอร์ตของเราเสียก่อน” ในห้วงเวลาแบบนี้ เป็นโอกาสอันดีที่เราจะหันมาทบทวนหุ้นในพอร์ตของเรา หันมาทบทวนเหตุผลที่เราซื้อหุ้นแต่ละตัวในพอร์ต เราซื้อเพราะอะไร และสิ่งที่เราคิดมันได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ หากเราซื้อหุ้นด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม และเราคิดว่า สิ่งที่เราคิดยังคงจะเกิดขึ้นแน่ในอนาคต แบบนี้เราก็สามารถถือทนข้ามวิกฤติกันไปเลย แต่ถ้าไม่ใช่เราควรขายทิ้งเก็บเงินสดไว้บ้าง ยกตัวอย่างเช่น ผมถือหุ้นรถไฟฟ้า BEM ผมคิดว่า หุ้นตัวนี้มีอนาคตสดใส เนื่องจากสถานีรถไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต และคนก็จะทยอยมาใช้บริการมากขึ้นเรื่อย ๆ แบบนี้ ผมก็เลือกที่จะถือหุ้นตัวนี้ต่อไปนั่นเอง ประการที่สอง … “ลองสำรวจ PE รวมของพอร์ต” ถ้าเราลงทุนหุ้นที่มี PE สูง คล้าย ๆ เรากำลังเร่งความเร็วในการลงทุนของเรา ยกตัวอย่างเช่น พอร์ตเรามีหุ้น 3 ตัว ตัวแรกมีพีอี 20 เท่า ตัวที่สอง 10 เท่า ตัวที่สาม 5 เท่า หากเราลงทุนหุ้นสามตัวนี้ในสัดส่วนเท่ากัน แบบนี้พีอีเฉลี่ยของพอร์ตเราจะเท่ากับ = (20 + 10 + 5)/3 = 11.66 เท่า หากเราคิดว่า พอร์ตเราควรลดความเร็วลงในภาวะวิกฤติแบบนี้ เราก็อาจจะปรับพอร์ตให้พีอีรวมเฉลี่ยลดต่ำลง แต่เราควรคำนึงถึงสัดส่วนหุ้นในพอร์ตเราด้วยนะครับ กรณีที่ยกตัวอย่างมามีฐานคิดมาจากเราลงทุนหุ้นในสัดส่วนเท่ากันทุกตัว ในส่วนที่ว่าควรปรับพีอีรวมในพอร์ตอย่างไรให้เหมาะสม ผมคิดว่า ขึ้นอยู่กับความรู้ในหุ้น และความเสี่ยงที่เรารับได้ในแต่ละคน ประการที่สาม … “สำรวจคุณภาพของหุ้นในพอร์ต” เมื่อเราสำรวจเหตุผลการเลือกหุ้น และวัดกำลังเร่งในการลงทุนของเราแล้ว ลองหันมาสำรวจคุณภาพหุ้นในพอร์ตของเราดูว่า คุณภาพหุ้นในพอร์ตของเราดี หรือไม่ดีอย่างไร คำว่า “คุณภาพของหุ้น” เป็นการวัดที่ต้องใช้ประสบการณ์เอาเสียหน่อย เพราะหุ้นดีในสายตาของนักลงทุนแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน เช่น บางคนถนัดหุ้นค้าปลีก และเข้าใจมันอย่างดี เขาคนนั้นก็จะว่าหุ้นของเขาดีมีคุณภาพ หรือบางคนถนัดหุ้นปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ เขาก็ว่าของเขาดีเช่นกัน การสำรวจคุณภาพของหุ้น จะช่วยให้นักลงทุนได้ทบทวนแนวคิดการลงทุนอีกครั้ง หากเราพบว่า หุ้นที่เราถือมันคุณภาพดีมากอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเดือนเนื้อร้อนใจอะไร แต่ถ้ามันแย่ลง ไม่ได้ดีดังเดิม เราก็ควรขายทิ้งเก็บเงินสดไว้บ้าง ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … สิ่งที่ผมจะทำยามใกล้จะเกิดวิกฤติ ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามันจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่ผมจะหันมาทบทวนเหตุผลของการซื้อหุ้นแต่ละตัว ลองสำรวจพีอีรวมของพอร์ต และตรวจสอบคุณภาพพอร์ตอีกครั้ง ว่าที่จริงถ้าหุ้นคุณภาพดี ลดราคาลงมา ผมอาจหาโอกาสซื้อสะสมเพิ่มเติมเสียด้วย แต่เราต้องมั่นใจจริง ๆ นะครับที่จะซื้อหุ้นในภาวะแบบนี้ … ขอให้ทุกท่านผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยดีนะครับ #นายแว่นลงทุน ติดตามนายแว่นลงทุน ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada/ **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย >> https://www.finnomena.com/port/naiwaen แท็ก: Article Basic GURUPORT Infographic Product Recommend Short Content ไอเดียสร้างเงินล้าน แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ราคา "ทองคำ" จะไปบาทละ 23,000 เป็นไปได้แค่ไหน!? - FINNOMENA LIVE - FINNOMENA ราคา "ทองคำ" จะไปบาทละ 23,000 เป็นไปได้แค่ไหน!? และคุยกันถึง "หุ้น" ที่ทุกคนจับตา เข้าเทรดวันแรก "AWC" หุ้น "เจ้าสัวเจริญ" IPO ยักษ์ใหญ่ประจำปี ของดีจริงมั้ยนะ! โดย กูรูรับเชิญสุดพิเศษ คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ นักกลยุทธ์การลงทุนชั้นแนวหน้าของไทย 19 พ.ย. 2562 รับชมได้ที่ https://www.facebook.com/finnomena/posts/1044708559208114 ราคา “ทองคำ” จะไปบาทละ 23,000 เป็นไปได้แค่ไหน!? โดย @FundTalk (CEO FINNOMENA) และคุยกันถึง “หุ้น” ที่ทุกคนจับตา เข้าเทรดวันแรก “AWC” หุ้น “เจ้าสัวเจริญ” IPO ยักษ์ใหญ่ประจำปี ของดีจริงมั้ยนะ! โดย กูรูรับเชิญสุดพิเศษ คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ นักกลยุทธ์การลงทุนชั้นแนวหน้าของไทย กับประเด็นอื่นๆ รอบสัปดาห์ที่ไม่อยากให้คุณพลาด!! สหรัฐ-ญี่ปุ่น เตรียมทำ FTA สัญญาณดี? จีนพร้อมทำข้อตกลงกับสหรัฐฯ สัญญาณดีกว่า? “เงินบาท” แข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี เกิดอะไรขึ้น มาฟังกัน!! ติดตาม FINNOMENA LIVE ย้อนหลังตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl แท็ก: FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA LIVE Gold กองทุน ค่าเงิน จัดพอร์ต ตลาด เศรษฐกิจ แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เฟ้นหาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าลงทุนระยะยาว ... “ทำไมหุ้น SABINA ถึงเติบโต ?” - FINNOMENA แนวคิดของการมองหาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงนั้น อาจแบ่งออกได้สองแนวคิด หนึ่งในนั้นคือการมองที่เรามองเห็นมูลค่าเพิ่มในอนาคต แต่ราคาหุ้นในปัจจุบันยังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง สำหรับบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกที่แนวคิดนี้ โดยขอยกตัวอย่างหุ้น SABINA (ซาบีน่า) เราจะมาดูกันว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของหุ้นตัวนี้เป็นอย่างไร ? ไปติดตามกันครับ 7 ต.ค. 2562 แนวคิดของการมองหาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงนั้น สำหรับผมแล้ว แบ่งออกได้สองแนวคิด ได้แก่ การมองที่เรามองเห็นมูลค่าเพิ่มในอนาคต แต่ราคาหุ้นในปัจจุบันยังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง และการที่เราเห็นหุ้นลดราคาลงมาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงในปัจจุบัน แนวคิดแรก … เราจะมองหาหุ้นที่อนาคตมีแววจะเติบโต และโตขึ้นเรื่อย ๆ การเติบโตอาจจะมาจาก รายได้ที่เติบโตขึ้น ส่งผลให้กำไรเติบโตตาม หรือ อาจมาจากการที่รายได้เติบโตไม่มาก แต่กำไรกลับเติบโตมาก เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการทำธุรกิจบางอย่าง แนวคิดที่สองก็คือ … เราจะมองหาหุ้นที่ถูกลดราคาลงมาอย่างเหลือเชื่อ อาจเป็นเพราะผู้คนตื่นกลัวจนเกินเหตุ หรือตลาดไม่เป็นใจ แต่หากเราคิดผิด พื้นฐานกิจการเปลี่ยนแปลงไปจริงจัง แบบนี้ก็จะเป็นการลงทุนที่เลวร้ายได้เลยทีเดียว สำหรับบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกที่แนวคิดแรก โดยผมขอยกตัวอย่างหุ้น SABINA หรือ บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) เราจะมาดูกันว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของหุ้นตัวนี้เป็นอย่างไร ? ไปติดตามกันครับ ประการแรก … “อดีตของซาบีน่า” เหมือนเรากำลังจะคบหาแฟนสักคน บางคนอยากรู้เรื่องอดีตของคนที่สนใจ บางคนอาจจะไม่สนใจ แต่ในเรื่องของการลงทุน เราควรศึกษาอดีตเอาไว้ เพื่อจะได้รู้ว่า เมื่อก่อนเขาทำอะไรผิดพลาด และกลับมาได้อย่างไร สำหรับอดีต กิจการนี้เคยเป็นกิจการประเภท “โรงงานผลิตสินค้า” ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่ดี เข้าข่ายถดถอย แม้แต่ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนวีไอชั้นแนวหน้า ยังเคยกล่าวไว้ว่า กิจการประเภทโรงงานผลิต เป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุน เนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรโรงงาน ค่าเสื่อมราคา ค่าแรงของพนักงานในไลน์การผลิต และยิ่งมีเรื่องการขึ้นค่าแรง ยิ่งกดดันให้ต้นทุนสูงขึ้น ทำให้กำไรน้อยลง เมื่อเจอสภาวะการแข่งขันสูง ยิ่งทำให้กำไรน้อยลงไปอีก หากมีการตัดราคาขายเกิดขึ้น ประการที่สอง … “ปัจจุบันของซาบีน่า” ข้อมูล ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2562 ที่มา: FINNOMENA หากเราดูกราฟราคาหุ้น เราจะเห็นว่า ราคาหุ้นเริ่มทรงตัวในภาวะขาขึ้น นั่นเป็นเพราะกิจการของซาบีน่า เริ่มมีการขยับปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ โดยจากเดิมที่เน้นเป็นโรงงานผลิตสินค้า เปลี่ยนเป็นไปจ้างโรงงานต่างประเทศผลิตสินค้า โดยเฉพาะประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่าค่าเงินบาทไทย และนั่นทำให้การขยายกำลังการผลิตมีต้นทุนต่ำลงอย่างมาก ไม่ต้องไปซื้อเครื่องจักร หรือจ้างคนในไลน์การผลิตเพิ่มเติมแต่อย่างใด ข้อมูล ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2562 ที่มา: FINNOMENA สิ่งนี้มันสะท้อนมาที่ “กำไรขั้นต้น” ของซาบีน่า จากภาพจะเห็นว่า กำไรขั้นต้นเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี 2561 ก็ยังทำ new high ในรูปของกำไรขั้นต้น และรายได้ก็ยังเติบโตได้อย่างน่าสนใจเช่นกันครับ ประการสุดท้าย … “อนาคตของซาบีน่า” เมื่อเราเห็นอดีต และปัจจุบันของกิจการแล้ว อนาคตล่ะจะเป็นอย่างไร ? สำหรับอนาคตนั้น ผมเข้าใจว่าถูกสะท้อนไปในราคาหุ้น ณ ปัจจุบันบ้างแล้วไม่มากก็น้อย เนื่องจากพีอีของกิจการอยู่ราว 25 เท่า ถ้าแปลความหมายง่าย ๆ ก็คือ ซื้อวันนี้ถ้ากำไรไม่เติบโต เราจะใช้เวลา 25 ปี เพื่อคืนต้นทุน อย่างไรก็ตาม หากกิจการสามารถเติบโตได้ปีละ 25% หมายความว่า เราลงทุนวันนี้อาจคืนทุนได้ภายใน 2-3 ปีเท่านั้นเอง และหากมันเติบโตต่อเนื่อง พีอีที่สูงขณะนี้ อาจจะสูงค้างไปอีก 2-3 ปีก็เป็นไปได้เหมือนกันครับ ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … แนวทางการลงทุนหุ้นเติบโต แบบมองไปข้างหน้า เป็นแนวทางที่นักลงทุนควรฝึกฝน และปฏิบัติจริงจัง สำหรับหุ้นซาบีน่า ถ้าใครคิดว่าเขาจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ไม่เกี่ยงราคาหุ้นที่แพงก็สามารถลงทุนได้ แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบหุ้นแพง อยากซื้อหุ้นราคาถูก ๆ คงต้องลุ้นกันละครับว่า มันจะลดราคาลงมาให้เราได้เป็นเจ้าของหรือไม่ #นายแว่นลงทุน หมายเหตุ: บทความนี้มิได้มีเจตนาส่งเสริมการซื้อหรือขายหุ้น แต่หากสนใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาปัจจัยให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุนครับ ดูข้อมูลหุ้น SABINA เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/sabina/ —————————- Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย >> https://www.finnomena.com/port/naiwaen แท็ก: Article Basic GURUPORT Product Recommend SABINA Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2562 : Prepare for the next rally with the return of quantitative easing - FINNOMENA FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าการเพิ่มขนาดงบดุลด้วยการถือหลักทรัพย์ค้ำประกันจากสถาบันการเงินในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเช่นนี้ มีความใกล้เคียงที่จะพอเรียกได้ว่า นี่คือการทำนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายหรือ Quantitative Easing (QE) สถานการณ์จะเป็นอย่างไร และคำแนะนำการลงทุนจะเป็นแบบไหน มาติดตามกันเลยครับ 22 ต.ค. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> Chart of the month รูปที่ 1 งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา I Source : Fed Reserve Bank Credit Factors l Source https://www.Bloomberg.com as of 1/10/2019 เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กลับมาขยายเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งเกิดจากการขาดสภาพคล่องในตลาดธุรกรรมซื้อคืน (Repurchase Agreement) หรือ Repo market ทำให้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรประเภทข้ามคืน (Overnight repo rate) พุ่งขึ้นไปแตะระดับ 8% จากเคยอยู่ที่ 2% ในสัปดาห์ก่อนหน้า รูปที่ 2 งบดุลของ Fed ในส่วนการปล่อยกู้ยืมให้สถาบันการเงินเพิ่มขึ้น I Source : Fed Reserve Bank Credit Factors l Source https://www.Bloomberg.com as of 1/10/2019 โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากรายงานจาก Bloomberg ระบุว่าเกิดจากหลายปัจจัยเข้ามาในเวลาและทิศทางเดียวกัน ประกอบไปด้วยพันธบัตรจำนวนมากไหลเข้าตลาดในเวลาเดียวกับที่เงินสดถูกดึงออกไปเพื่อชำระภาษีประจำไตรมาสของบริษัท นอกจากนี้ด้วยมาตรการควบคุมที่ระบุให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีสภาพคล่องเพียงพอต่อสถานการณ์เลวร้าย ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องรักษาสภาพคล่องตามเกณฑ์ Basel III หลายสาเหตุข้างต้นทำให้ Fed ต้องอัดฉีดสภาพคล่องเข้าภาคการธนาคารเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤติปี 2008 ด้วยการเข้าทำธุรกรรมซื้อคืนในตลาด repo หรือกล่าวในอีกด้าน คือการเข้าซื้อพันธบัตรในตลาด repo ที่มีอยู่มาก ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดและกดให้ repo rate ลดลงมาที่ระดับ 2% อีกครั้งเพื่อลดความตึงตัวในระบบการเงินที่มากเกินไป สัญญาณดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า Fed อาจยังจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงกลไกตลาด ในช่วงที่สภาพคล่องในระบบและภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองยังมีความเปราะบางสูง รูปที่ 3 การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมีผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าในระยะยาวทั้ง 3 ครั้ง I Source : Bloomberg.com as of 1/10/2019 FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าการเพิ่มขนาดงบดุลด้วยการถือหลักทรัพย์ค้ำประกันจากสถาบันการเงินในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเช่นนี้ มีความใกล้เคียงที่จะพอเรียกได้ว่า นี้คือการทำนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายหรือ Quantitative Easing (QE) หรือหมายความว่า Fed ได้กลับมาใช้มาตรการ QE อีกครั้งหลังยุติไปเมื่อปี 2014 ทั้งนี้เมื่อพิจารณาข้อมูลหลักฐานการเกิดขึ้นของมาตรการ QE ในอดีตพบว่าค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าในระยะยาวทุกครั้งที่มีการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย (QE) Fed ลดดอกเบี้ยตามคาด ด้าน ECB ผ่อนคลายทางการเงินเพิ่ม คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ระดับ 1.75 – 2.00% เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องหลังปรับลดไปในการประชุมเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะเดียวกันการประชุมในครั้งนี้มีการเปิดเผย Dot Plot ออกมา พบว่าคณะกรรมการมองว่าจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ ขณะเดียวกันนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เลือกที่จะไม่ส่งสัญญาณว่าจะทำนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อในระหว่างให้สัมภาษณ์หลังการประชุมอย่างที่เคยใช้มาโดยตลอด FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่า สาเหตุที่นายเจอโรม พาวเวลเลือกวิธีนี้ เพื่อต้องการรักษาความเป็นกลางและขีดเส้นให้ชัดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ดำเนินนโยบายเพื่อผลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง นอกจากธนาคารกลางสหรัฐฯ แล้ว ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก 0.1% สู่ระดับ -0.5% ในครั้งนี้ธนาคารกลางยุโรปกลับมาใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรภายใต้วงเงินเดือนละ 20,000 ล้านยูโร นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาสู่ระดับเป้าหมาย เป็นการกลับมาเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มหลังยุติไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว Expansion of Easing Policy รูปที่ 4 ระดับความผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศทั่วโลก (สีฟ้า : ผ่อนคลาย, สีแดง : ตึงตัว) I Source : www.cfr.org as of 1/10/2019 นอกจาก Fed และ ECB ที่ผ่อนคลายนโยบายการเงินแล้ว นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นครั้งแรกที่ Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ พบว่ามีอย่างน้อย 16 ธนาคารกลางทั่วโลกที่ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย อาทิเช่น ธนาคารกลางเกาหลีใต้ ธนาคารกลางรัสเซีย รวมไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% การดำเนินนโยบายดังกล่าวสามารถคาดได้ว่าสภาพคล่องในระบบจะเพิ่มขึ้น FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าจะมีการใช้มาตรการการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องในระยะต่อจากนี้ รูปที่ 5 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศทั่วโลก I Source : www.rediff.com as of 1/10/2019 นอกจากดำเนินนโยบายทางการเงินแล้ว การดำเนินนโยบายการคลังเป็นอีกช่องทางที่รัฐบาลนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเมื่อเดือนที่แล้วประเทศอินเดียปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 25.2% จากเดิมที่ 34.9% ขณะเดียวกันปรับลดอัตราภาษีให้กับบริษัทเปิดใหม่หลังวันที่ 1 ตุลาคม ลงเหลือ 15% จาก 25% โดยนโยบายดังกล่าวเริ่มมีผลในปีงบประมาณนี้ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ด้านธนาคารกลางจีน (PBOC) ลดอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (Required Reserve Ratio: RRR) ลง 0.5% โดยมีผลเมื่อวันที่ 16 กันยายน ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบอีก 900,000 ล้านหยวน (127,120 ล้านดอลลาร์) พร้อมลดอัตราส่วนดังกล่าวอีก 1% สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ผ่านคุณสมบัติ US Economic Slowdown รูปที่ 6 ดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ ต่ำสุดในรอบ 10 ปี I Source : Tradingeconomics.com as of 1/10/2019 FINNOMENA Investment Team มองว่ามีเหตุผลมากขึ้น ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยอีกอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในการประชุมอีก 2 ครั้งที่เหลือของปี 2019 หลักฐานล่าสุดคือ การที่สหรัฐฯประกาศตัวเลข ดัชนี ISM Manufacturing PMI เดือนกันยายน ออกมาที่ 47.8 จุด ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 50.4 จุด เป็นการส่งสัญญาณว่าภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ มีโอกาสเข้าสู่ภาวะหดตัวในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า จากผลกระทบของสงครามการค้า อีกทั้งยังเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี Power of Consumption รูปที่ 7 ตัวเลข GDP สหรัฐฯ ประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 I Source : www.bea.gov as of 30/9/2019 อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) ไตรมาสที่ 2 โดยขยายตัวที่ 2% การขยายตัวในครั้งนี้หนุนด้วยการบริโภคภายในที่ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจาก 2.3% มาที่ 2.7% ในไตรมาสนี้ ด้วยขนาดของเศรษฐกิจสหรัฐฯ พบว่าการบริโภคภายในคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 60% ของ GDP ขณะที่การขยายตัวของ GDP ที่ 2% มาจากภาคส่วนการบริโภคภายในถึง 3.03% สะท้อนว่า ภาคการบริโภค และการบริการของสหรัฐฯ ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รูปที่ 8 เปรียบเทียบการบริโภคภายในของประเทศสหรัฐฯ และจีน I Source : agencychina.com/blog/2019-china-consumption-trends/ as of 30/9/2019 และไม่ใช่แค่เพียงสหรัฐฯ เท่านั้น แต่สงครามการค้ายังมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีนเช่นกัน ดังนั้นประเทศจีนจึงหันมาสนับสนุนการบริโภคภายในเช่นกัน ส่งผลให้การบริโภคภายในของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากรูปแสดงให้เห็นว่าจากปี 2000 ที่การบริโภคภายในของสหรัฐฯ คิดเป็น 13 เท่าของการบริโภคภายในประเทศจีน ลดลงมาเหลือเพียง 2 เท่า เมื่อปี 2018 และคาดว่าช่องว่างจะลดลงอีกในอนาคต รูปที่ 9 อัตราการขยายตัวและขนาดเศรษฐกิจของประเทศอินเดียและจีน I Source : timesofindia.indiatimes.com as of 30/9/2019 อีกประเทศที่มีความน่าสนใจในภูมิภาคเอเชีย คือ ประเทศอินเดีย ด้วยโครงสร้างประชากรในวัยทำงานที่มีสัดส่วนสูง นโยบายสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐฯ ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ การสนับสนุนดังกล่าวจะกระตุ้นความต้องการบริโภคภายในอินเดียเองหลังจากนี้มากขึ้น FINNOMENA Investment team จึงมองว่า โอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ คือ การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับภาคการบริโภค และการบริการ ซึ่งหลักๆอยู่ในแถบเอเชีย นำโดยจีน และ อินเดีย Asia Economic slowdown, but still has good potential รูปที่ 10 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย I Source : asia.nikkei.com as of 1/10/2019 Asian Development Bank (ADB) คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตที่ 6.2% ในปีนี้ และ 6% ในปีหน้า ขณะที่เอเชียตะวันออกโดยรวมคาดการเติบโตไว้ที่ 5.5% ในปี 2019 และ 5.4% ในปี 2020 ด้านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะขยายตัว 4.5% ในปีนี้ และ 4.7% ในปีหน้า เมื่อเปรียบเทียบการขยายตัวกับปีก่อนแล้วพบว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน สาเหตุมาจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่ในปี 2020 ทาง ADB คาดว่า เศรษฐกิจเอเชีย จะกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง รูปที่ 11 ตัวเลขกำไรต่อหุ้นของภูมิภาค Asia ex.Japan และภูมิภาคอื่นทั่วโลก I Source : seekingalpha.com as of 1/10/2019 ด้านความน่าสนใจในเชิงมูลค่า และปัจจัยพื้นฐาน จากผลกระทบจากสงครามการค้าเกิดขึ้นกับทุกภูมิภาคทั่วโลก FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่า มูลค่าทางปัจจัยพื้นฐาน (Valuation) ของตลาดหุ้นภูมิภาคต่างๆ พบว่าอัตราการขยายตัวของกำไรสุทธิต่อหุ้นของภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น (Asia ex.Japan) ในระยะยาวอยู่ที่ 8.4% ถึงแม้ตัวเลขดังกล่าวจะลดลงแต่ยังเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับดัชนี MSCI World รวมถึงตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งอัตราการเติบโตอยู่ที่ 5.4% และ 6.2% ตามลำดับ Bank of Thailand holds rate, downgrade growth outlook รูปที่ 12 กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5% พร้อมคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ I Source : www.bot.or.th as of 20/9/2019 คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% โดยหลังการประชุมได้เปิดเผยคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยปรับลดประมาณการ การขยายตัวลงจาก 3.3% เหลือ 2.8% พร้อมคาดการส่งออกปีนี้หดตัว 1.0% จากขยายตัว 0.0% ซึ่งเป็นผลมาจากภาคท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอตัว การส่งออกที่ลดลง อุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัว การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาด Opportunity in 4th Quarter รูปที่ 13 ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลกในแต่ละไตรมาสนับตั้งแต่ปี 1999 ถึงปัจจุบัน I Source : Bloomberg.com as of 30/9/2019 ย่างเข้าสู่เดือนตุลาคมอันเป็นเดือนเริ่มต้นของไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นไตรมาสที่มีเหตุการณ์ Seasonality ซึ่งนักลงทุนจับตามองอย่าง Santa Cluas Rally ต่อเนื่องด้วย January Effect โดยจากสถิติในอดีต (นับตั้งแต่ปี 1999) ไตรมาส 4 ของทุกปี เป็นไตรมาสที่ตลาดหุ้นมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าไตรมาสอื่น ในขณะที่ไตรมาส 1 ของทุกปี ก็มีโอกาสสูงที่ตลาดหุ้นยังปรับตัวขึ้นต่อจากไตรมาสที่ 4 รูปที่ 14 จำนวน ผลตอบแทน และโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนเป็นบวกของตลาดหุ้นที่สำคัญทั่วโลกในไตรมาสที่ 4 นับตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปัจจุบัน I Source : Bloomberg.com as of 30/9/2019 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างตลาดหุ้นสำคัญทั่วโลก สถิติ (นับตั้งแต่ปี 2008) บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 500) และดัชนีหุ้นโลก (MSCI World) สามารถทำผลตอบแทนเป็นบวกได้ทั้งไตรมาสที่ 4 และเดือนธันวาคม (67% และ 82% ตามลำดับ) แต่สำหรับตลาดหุ้นไทย (SET) และตลาดหุ้นจีน (CSI300) แล้ว กลับพบว่าโอกาสที่ตลาดจะปรับตัวเป็นบวกในไตรมาสที่ 4 ลดลงใกล้เคียง 50% Come Back to Yield Play รูปที่ 15 ดัชนี Global REITs และส่วนต่างระหว่างอัตราการปันผลและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Yield Gap) I Source : Bloomberg.com as of 30/9/2019 ด้วยเหตุนี้ โอกาสที่ทาง FINNOMENA Investment team เล็งเห็น จึงอยู่ภายใต้ธีม “Yield Play” โดยจากการหาข้อมูลของเรา พบว่า ถึงแม้ดัชนี Global REITs ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง หลังตลาดรับรู้ว่าธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในกรณีที่เศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวมากกว่านี้ แต่ด้านส่วนต่างอัตราปันผล หรือ Yield Gap ระหว่างอัตราการปันผลของ REITs และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีค่ามากกว่าระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี โดยอยู่ที่ระดับ 1 SD ซึ่งถือว่า มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับมุมมองที่เราคาดว่า ธนาคารกลางทั่วโลกจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำต่อไป รูปที่ 16 อัตราการใช้ประโยชน์แต่ละประเภทของอสังหาฯ ทั่วโลก I Source : timesofindia.indiatimes.com as of 30/9/2019 พื้นฐานของ REITs ยังสมเหตุสมผลในตอนนี้ หากพิจารณาจากอัตราการใช้ประโยชน์ (Occupacy rate) ของอสังหาฯ ทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเภทสำนักงาน (Office) ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะหลัง ส่งผลดีต่อผลประกอบการและอัตราการปันผลของ REITs ด้วยความน่าสนใจของ Yield Gap และอัตราการใช้ประโยชน์ที่มียังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและมีโอกาสปรับลดลงต่อไปหากธนาคารกลางจำเป็นต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มขึ้นหลังจากนี้ ทำให้ FINNOMENA Investment Team ศึกษาและติดตามสินทรัพย์ในกลุ่ม Global Infrastructure & REITs อย่างใกล้ชิด Risk Factor : US Impeachment & Brexit รูปที่ 17 ขั้นตอนการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีของสหรัฐฯ I Source : statista.com as of 1/10/2019 ความพยายามถอดถอน นายโดนัลด์ ทรัมป์ ของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ฐานติดต่อกับรัฐบาลต่างชาติเพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ซึ่งเข้าสู่กระบวนการรวบรวมหลักฐานเพื่อพิจารณาความผิดต่อไปนั้น มีโอกาสยากที่จะถูกถอดถอนจริง เนื่องจากจำเป็นต้องใช้คะแนนเสียงถึง 2 ใน 3 ของวุฒิสภาทั้งหมด ซึ่งพรรครีพับลีกันของนายโดนัลด์ ทรัมป์ มีคะแนนเสียงข้างมากอยู่ สอดคล้องกับในอดีตที่ผ่านมาที่มีกระแสการถอดถอน 2 ประธานาธิบดีอย่างนายริชาร์ด นิกสันและนายบิล คลินตัน ซึ่งไม่อาจถอดถอนได้จริง และมีผลกระทบต่อการปรับตัวของตลาดหุ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ ขณะที่กรณี Brexit หลังยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (EU) แม้เหลือเวลาอีกเพียง 1 เดือนก่อนถึงกำหนดเส้นตายในการแยกตัววันที่ 31 ต.ค. 2019 ล่าสุด นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยังไม่ได้เรียกร้องให้อียูขยายเวลาเบร็กซิทออกไป แต่รัฐสภาอังกฤษสามารถบังคับให้นายจอห์นสันดำเนินการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามการแยกตัวจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีการทำข้อตกลง จะเป็นสถานการณ์ในแง่ลบสำหรับอังกฤษและภูมิภาคยุโรป ดังนั้นจึงต้องดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ โมเดลพอร์ตการลงทุนแนะนำของ FINNOMENA Global Conservative Portfolio (GCP) พอร์ต GCP ปัจจุบันมีน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นเพียง 20% เท่านั้น ประกอบกับ มีการกระจายน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางซึ่งมีความผันผวนต่ำ และสอดรับกับแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ส่งผลให้โดยรวมแล้วพอร์ต GCP มีความเสี่ยงโดยรวมค่อนข้างต่ำเหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุน จึงแนะนำสามารถลงทุนได้ Global Absolute Return (GAR) สำหรับพอร์ตการลงทุน GAR ปัจจุบันมีน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นเพียง 10% เท่านั้น ส่วนที่เหลือถูกกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่ได้รับผลเชิงบวกจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ย อย่างตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว และสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำเพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนลงแล้ว ส่งผลให้ความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงแนะนำสามารถลงทุนได้ TOP5 Portfolio พอร์ต TOP5 ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงสูงสุด คงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพียง 40% เท่านั้น ซึ่งเป็นการถือครองในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่จัดตั้ง FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าพอร์ตการลงทุนมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือความผันผวนของตลาดเรียบร้อยแล้ว Global Income Focus (GIF) ขณะที่พอร์ต GIF ยังคงน้ำหนักการลงทุนเช่นเดิม จากการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตราสารหนี้ และกองทุน Multi Asset ที่มีความผันผวนต่ำ และได้รับผลเชิงบวกจากแนวการลงทุนแบบ Yield Play ส่งผลให้กระแสเงินสดที่สร้างยังคงอยู่ในระดับเป้าหมายที่ 4.30% ต่อปี GOAL Portfolio 1st Million Portfolio โมเดล Goal และ 1st Million FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำพอร์ตการลงทุนตาม Black Litterman Asset Allocation Model เช่นเดิม โดยแนะนำให้นักลงทุนทำการ DCA การลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยในส่วนของนักลงทุนที่ลงทุนแล้ว แนะนำ Rebalance เพื่อปรับสมดุลพอร์ต ในจังหวะที่ตลาดมีความผันผวน FINNOMENA Investment Team คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: 1stM Advance Article FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA PORT FINNOMENA PORT Strategy FINNOMENA PORT Strategy Video GAR GCP GIF Goal Long Content PORT Strategy Product Info Top5 แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
QE กำลังจะกลับมา!? ทองคำดีดตัวแรงกว่า 10$ หลัง ISM Manufacturing หดตัวต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี - FINNOMENA เมื่อทองคำดีดตัวแรงกว่า 10$ หลัง ISM Manufacturing หดตัวต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี น่าจะทำให้ QE ของสหรัฐฯ กลับมาได้อีกครั้ง (THE RETURN OF QE !) แล้วไตรมาส 4 นี้ภาพการลงทุนเป็นอย่างไร จัดไปเต็ม ๆ 18 ข้อครับ 1 ธ.ค. 2563 ทองคำดีดตัวแรงกว่า 10$ หลัง ISM Manufacturing หดตัวต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี น่าจะทำให้ QE ของสหรัฐฯ กลับมาได้อีกครั้ง (THE RETURN OF QE !) แล้วไตรมาส 4 นี้ภาพการลงทุนเป็นอย่างไร จัดไปเต็ม ๆ 18 ข้อครับ 1. ล่าสุด (1 ต.ค. 62) ดัชนี ISM ของสหรัฐฯ ประกาศออกมาที่ 47.8 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ 50.4 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี รูปที่ 1 : ประกาศตัวเลข ISM ของสหรัฐ (1 oct 19) รูปที่ 2 : ดัชนี ISM ของสหรัฐ และ ดัชนี S&P 500 (1 oct 19) 2. ราคาทองบวกกว่า 10 เหรียญมายืนที่ $1483 ขณะที่ Yield พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีปรับลง 0.05 มาที่ 1.63% (ยังไม่ new low) รูปที่ 3 : ราคา Gold Spot (1 oct 19) 3. ที่แข็งมากคือค่าเงินดอลลาร์แม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะอ่อนแต่ Dollar Index ยังยืนแข็งที่สูงกว่า 99 (อ่อนลงมาเล็กน้อยหลัง ISM ประกาศ) 4. ในอดีตถ้า ISM ต่ำกว่า 45 เมื่อไหร่ อเมริกาเกิดเศรษฐกิจถดถอย (recession) ทุกครั้ง 5. (มุมมอง) THE RETURN OF QE !!! งานนี้ FED หลังชนฝาน่าจะทำการลด FED Fund Rate ต่อเนื่อง และเชื่อว่าจะกลับมากระตุ้นด้วย QE อีกครั้ง 6. จริง ๆ แล้วเดือนกันยาที่ผ่านมา FED ใช้เครื่องมือ Repo ในการฉีดสภาพคล่องเข้าระบบเศรษฐกิจ ซึ่งแม้จะไม่เรียกว่า QE แต่ในทางเทคนิคก็เป็นการฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจคล้าย QE มาก ๆ 7. (มุมมอง) งานนี้สภาพคล่องล้นระบบกลับมาอีกแน่ หลังจากล่าสุดยุโรปเองก็เพิ่งประกาศใช้ QE นำไปก่อนแล้ว ทางญี่ปุ่นก็ยังกระตุ้นต่อเนื่อง ทางอเมริกาเองคงต้องทำบ้างเพื่อไม่ให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งไปกว่านี้และกระทบต่อดุลการค้า 8. (มุมมอง) ทรัมป์ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ถดถอย งานนี้คงทั้งนวดทั้งบีบ FED อย่างหนัก และคงหาวิธีกระตุ้นทางการคลังด้วยเช่นกัน 9. อย่างไรก็ตามการที่ Democrat คุมสภาล่าง และยังมีการยื่นถอดถอน (Impeachment) นายทรัมป์ ทำให้การจะเพิ่มการกระตุ้นทางการคลังไม่น่าจะทำได้ง่าย 10. กองทุนตราสารหนี้ระยะยาวทั้งไทยและโลกน่าจะทำผลงานได้ดีต่อเนื่องจากการลดดอกเบี้ย ยังชอบ KFAFIX และ PHATRA G-UBOND (ชอบกองของ PIMCO น้อยลงเนื่องจาก position การ short Yen ในช่วงหลัง ๆ) 11. (รูปที่ 3) ทองคำควรมีติดพอร์ตเยอะหน่อยต่อไป จากการที่สภาพคล่องล้นระบบ, Yield พันธบัตรปรับตัวลดลงต่อ และปริมาณการถือครองทองคำของเหล่าธนาคารกลางที่ปรับเพิ่มขึ้น มองมีโอกาสรีบาวนด์จากระดับนี้ (หรือถ้าลง แนวรับ 1442 น่าจะเอาอยู่) ชอบ TMBGOLDS เหมือนเดิม คือชอบทองแต่ยังกลัวบาทแข็ง ดังนั้นป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ดีกว่า 12. ความท้าทายของสหรัฐฯ คือความซาดิสม์ของ ECB (แบงค์ชาติยุโรป) พี่แกเล่นกด Yield พันธบัตร 10 ปีของเยอรมันลงไปติดลบสุด ๆ ที่ -0.50% เข้าไปแล้ว ทำให้ส่วนต่าง Yield ของสหรัฐฯ และเยอรมันกว้างทะลุ 2% เงินยูโรก็เลยอ่อนเอา ๆ งานนี้เท่ากับบีบให้สหรัฐฯ ต้องกด Yield ตัวเองให้ต่ำตาม รูปที่ 4 : Yield พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี เทียบกับ Yield พันธบัตรเยอรมนี 10 ปี (1 oct 19) 13. นี่มันคือการทำการแข่งกันอ่อนค่าเงินชัด ๆ (Currency War) ซึ่งผลพลอยได้คือสภาพคล่องล้นโลก QE อาจเกิดขึ้นได้รัว ๆ และ Yield พันธบัตรจะแข่งกันลง โชคดีที่เงินเฟ้อต่ำมากช่วงหลายปีนี้ทำให้เหล่าธนาคารกลางสาดกระสุนกันได้ขนาดนี้ 14. REITs, Property Fund, Infrastructure Fund งานนี้ยิ้มเชื่อว่าน่าจะได้เห็น New high เพราะยิ่งดอกเบี้ยต่ำนักลงทุนก็พร้อมที่จะย้ายเงินไปหาการลงทุนที่ได้ระดับ Yield ที่สูงกว่า แถมเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดี เงินก็จะไม่ค่อยกล้าเข้าหุ้นมาก ก็เลยมาเข้าที่ REITs ยังชอบ LHTPROP เหมือนเดิม และทีมก็กำลังเล็ง ๆ พวก Global Infrastructure Fund มาเสริมทัพ 15. หุ้นไทย ไม่ได้ชอบมากนัก เพราะเศรษฐกิจบ้านเรามันไม่ค่อยโต แต่ก็เชื่อว่าจะไม่ลงแรงมาก มีติดพอร์ตไว้พอได้ แนะนำ Sector ที่ไม่อิงเศรษฐกิจโลก ไม่เป็นหุ้นวัฏจักร อย่างกลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มอุปโภคบริโภค ท่องเที่ยวก็น่าสน (นักท่องเที่ยวจีนกลับมาแล้ว อานิสงส์จากความไม่สงบในฮ่องกง) 16. ความเสี่ยงที่จะทำให้หุ้นลงแรง ๆ ก็มีไม่น้อยทั้งเรื่องการถอดถอนทรัมป์, เรื่อง Brexit และสงครามการค้าที่ยังไม่จบแน่ ๆ แต่พลังของ THE RETURN OF QE ดูจะมีภาษีดีกว่าไม่น้อย 17. สินทรัพย์หุ้นคิดว่ามีในพอร์ตได้ แต่ให้เน้น High Dividend Yield คือหุ้นแนว Value ผมมองว่าเล่นแนว Growth ณ ตอนนี้ได้ไม่คุ้มเสีย ขณะที่ถ้าลงทุนแนวปันผลสูงด้วยหุ้นเชิงรับ REITs ตราสารหนี้ระยะยาว และมีทองคำติดพอร์ตไว้ 18. แถมท้ายคือกองทุนแนว Income Focus อย่าง KFAINCOM ก็น่าสนใจในสถานการณ์นี้ และทีมงานกำลังหากองทุนที่เป็น Global Income มาแนะนำเสริมต่อไป ขอให้ทุกท่านสำเร็จในการลงทุนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีครับ Unlock Your Investment Potential by FundTalk Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Gold แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กลยุทธ์ลงทุนแบบ “เครื่องดื่มอัดลมไร้น้ำตาล” - FINNOMENA เศรษฐกิจตอนนี้เริ่มชะลอตัว หุ้นก็เสี่ยงเกินไป ดอกเบี้ยก็ต่ำติดดิน ...วางกลยุทธ์อย่างไรดี ที่น่าจะเวิร์ค? โจทย์นี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่ความจริงแล้ว ก็มีโอกาสที่จะทำได้ 2 ต.ค. 2562 เศรษฐกิจตอนนี้เริ่มชะลอตัว หุ้นก็เสี่ยงเกินไป ดอกเบี้ยก็ต่ำติดดิน …วางกลยุทธ์อย่างไรดี ที่น่าจะเวิร์ค? โจทย์นี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่ความจริงแล้ว ก็มีโอกาสที่จะทำได้ ภาพรวมการลงทุนตอนนี้ มีปัจจัยลบที่นักลงทุนเป็นห่วงอยู่ 3 ประเด็นหลัก ๆ นั่นก็คือ 1. เศรษฐกิจชะลอตัว : เห็นได้จากเศรษฐกิจไทย ที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยประเมินว่าในปี 2562 นี้ จะเติบโตเพียง 2.9% 2. ผลตอบแทนตราสารหนี้ทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง : โดยพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า 1% และมากกว่า 70% ของพันธบัตรทั้งหมดให้ผลตอบแทนติดลบหากปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ 3. ภาวะดอกเบี้ยต่ำ : ผลจากความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีแนวโน้มอ่อนแอ ทำให้คาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยทั่วโลกจะยังอยู่ในทิศทางขาลงต่อไป ขณะที่ในฝั่งของประเทศไทยเองนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ไปตลอดปี 2562 นี้ จนกว่าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ….ดังนั้นภายใต้ปัจจัยลบที่มีทั้งหมดนี้ จึงทำให้ผลตอบแทนของตราสารความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลฯ รวมถึง อัตราผลตอบแทนจากเงินฝากประจำ อยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก (ดูภาพประกอบ) ที่มา : ThaiBMA , BoT data of Sep 2019 กลยุทธ์ลงทุนแบบ“เครื่องดื่มอัดลมไร้น้ำตาล” หากกลับมาที่โจทย์เดิม ก็คือ….ภายใต้ความเสี่ยงเยอะขนาดนี้ ถ้าไม่กล้าลงทุนหุ้น แต่อยากได้ผลตอบแทนที่มากกว่า “เงินฝาก” และ “ตราสารหนี้” จะทำอย่างไร? ในภาวะแบบนี้ แนะนำให้นักลงทุนบริหารเงินลงทุน ด้วยการจัดสรรเงินสำหรับลงทุนใน “หุ้นกู้เอกชน” ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดี มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ควบคู่ไปกับการลงทุนสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IF) ที่มีความสามารถในการจ่ายเงินปันผลที่ดี มีผลการดำเนินงานดีและสม่ำเสมอ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะทำให้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ ในภาวะดอกเบี้ยโลกที่มีทิศทางเป็นขาลง อีกทั้งหากเป็นกองทุนอสังหาฯในประเทศ ก็จะได้รับอานิสงส์จากนโยบายของรัฐบาลด้วย (แนะนำให้เน้นลงทุนในกองทุนรวมอสังหาฯ ที่ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือ “Freehold” เป็นหลัก) อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น คือ กลยุทธ์แบบนี้ ก็เหมือนกับ “เครื่องดื่มอัดลมไร้น้ำตาล” ซึ่งปรับลดส่วนที่จะส่งผลต่อสุขภาพออก แต่ยังคงมีความสดชื่นแบบที่ต้องการนั่นเอง — ที่มาบทความ : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
4Q19 รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง (ลงทุน) - FINNOMENA เรื่องราววุ่นวายทั้งฝั่งเศรษฐกิจไปจนถึงการเมืองทั่วโลกดูจะไม่ผ่อนคลายลงเลย หลายคนยังกังวลจึงเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นและกองทุนอสังหาฯ ซึ่งเสี่ยงกับการกระจุกตัวของสินทรัพย์ เวลาแบบนี้ เราควรปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน แต่จะให้กลับ “หุ้น” ก็ต้องตอบให้ได้ ว่าทำไมต้องเป็นตอนนี้ และเป็นหุ้นแบบไหน? 30 ก.ย. 2562 แม้ตลาดการเงินกำลังจะเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2019 แต่เรื่องราววุ่นวายทั้งฝั่งเศรษฐกิจไปจนถึงการเมืองทั่วโลกดูจะไม่ผ่อนคลายลงเลย หลายท่านยังอยู่ในภาวะกังวล เพราะกลัวจะเจอเหตุการณ์ “ปรับฐานแรง” เหมือนช่วงท้ายปีก่อน ขณะที่บางส่วนก็ไม่รู้จะหลบไปไหน ส่งผลให้ล่าสุดพอร์ตเต็มไปด้วยตราสารหนี้ระยะสั้นและกองทุนอสังหาฯ เสี่ยงกับการกระจุกตัวของสินทรัพย์ เวลาแบบนี้ เราควรปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน แต่จะให้กลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยง ที่เลี่ยงมาตลอดปีอย่าง “หุ้น” ก็ต้องตอบให้ได้ ว่าทำไมต้องเป็นตอนนี้ และถ้าจะต้องมี ก็ต้องตอบรู้ด้วยว่าหุ้นแบบไหนที่จะพร้อมผจญความเสี่ยงมากมายไปพร้อมกับเรา ตอบว่าทำไมควรมีหุ้นบ้างในตอนนี้ ? เหตุผลอย่างแรก คือช่วงท้ายปี มักเป็นเวลาที่ตลาดอารมณ์ดีที่สุด มองย้อนกลับไปใน 30 ปีที่ผ่านมาของโลกการเงิน ไตรมาสสุดท้ายดูจะเป็นช่วงที่ตลาดทุนให้ผลตอบแทนดีมาก นักลงทุนสถาบันก็อยากทำราคาปิด ขณะเดียวกันนโยบายภาษีก็จะบีบให้นักลงทุนทั่วโลกกลับมาลงทุนตามปีปฏิทิน วัดจาก MSCI World Index หรือหุ้นโลก ไตรมาสสี่เป็นไตรมาสที่มีจำนวนครั้งในการติดลบน้อยที่สุดเพียง 7 ใน 30 ปี แถมด้วยค่าเฉลี่ยการปรับตัวขึ้นถึง 3.5% สูงกว่าไตรมาสอื่นมักเคลื่อนไหวในช่วง -0.8% ถึง 2.0% ไม่เพียงเท่านั้น เหตุการณ์ที่หุ้นปรับตัวลงสิ้นปี “ต่อกันสองปี” ในประวัติศาสตร์ มีเพียงครั้งเดียวคือช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2007-08 ดังนั้นในปีนี้ ถ้าไม่มีอะไรพลิกโผก็ควรจะเป็นช่วงที่นักลงทุนน่าลองเปิดรับความเสี่ยงบ้าง ประเด็นถัดมา คือนโยบายการเงินกลับมาผ่อนคลาย แม้การลดดอกเบี้ยจะไม่ได้ดันให้หุ้นขึ้นเสมอ แต่ผมเชื่อว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงจะทำให้ตลาดฟื้นตัวได้เร็ว สังเกตได้ล่าสุดช่วงปลายปีที่ผ่านมา เราเห็นตลาดปรับฐานแรงถึง -13% แต่เมื่อเฟดหยุดขึ้นดอกเบี้ย ตลาดก็ฟื้นตัวได้ขึ้นทันที 12% ในไตรมาสถัดมาทันที ส่วนไตรมาสสี่ที่จะถึงนี้ ก็จะเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่เราได้เห็นแทบทุกธนาคารกลางในโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ซึ่งก็หมายความว่าความเสี่ยงที่จะเห็นหุ้นปรับตัวลงแบบไม่มีใครกล้ารับเช่นปีก่อนเป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้ยากมาก อย่างไรก็ดี แม้เป็นจังหวะที่ควรกล้าแต่รอบนี้ต้อง “กล้าอย่างมีสไตล์” เพราะสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือเรื่องวุ่นๆ ของโลกการเงินคงไม่จบ แม้ตลาดจะเปิดรับความเสี่ยง หรือนโยบายการเงินจะผ่อนคลาย แต่ความผันผวนสูงก็ยังสามารถเขย่าตลาดได้ทุกเมื่อ เราจึงต้องเลือกให้ดีว่าจะถือหุ้นสไตล์ไหน ให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่เราคิดว่าจะเกิด โดยผมทำการวิเคราะห์ 4 สไตล์หลัก ทั้งมูลค่า (Value) การเติบโต (Growth) ผันผวนต่ำ (Low Volatility) และปันผลสูง (High Dividend) ด้วยดัชนี MSCI เฉพาะกลุ่ม พบว่าแต่ละสไตล์จะให้ผลตอบแทนแตกต่างกันตามระดับความผันผวน (VIX Index) ถ้าเราคิดว่าทุกอย่างจะจบสงบสุข Growth คือสไตล์ที่ต้องมี เพราะเมื่อไหนที่ความผันผวนปรับตัวลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หุ้นเติบโตสูงจะเป็นกลุ่มที่สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยดีที่สุดราว 14.5% ต่อปี ซึ่งดีกว่าตลาด 2.6% โอกาสที่จะเป็นแบบนี้มีอยู่ราว 30% ในทางกลับกัน ถ้าเรายังกลัวความผันผวนพลิกกลับไปสูงมาก ก็ต้องเกาะกลุ่ม Low Volatility เพราะเมื่อ VIX ทะยานขึ้นถึง 25% ไม่ว่าสไตล์ไหนก็จะติดลบ แต่แย่น้อยที่สุดคือกลุ่มผันผวนต่ำ อาจขาดทุนเฉลี่ยเพียง 29.1% ต่อปี ดีกว่าตลาดถึง 24.0% โอกาสที่จะตลาดจะพังน่าจะมีซัก 10% ส่วนตัวเชื่อว่า 60% ตลาดจะผันผวนสูงแต่ไม่ถึงขึ้นระเบิด สำหรับผม High Dividend จึงดูน่าสนใจที่สุด ในเวลาต้องวิเคราะห์อนาคต ผมมักใช้การเฉลี่ยผลตอบแทนตามความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์ ข้อเสียของสไตล์ Low Volatility คือถ้าความผันผวนไม่สูงผิดปรกติ สไตล์นี้จะปรับตัวขึ้นน้อยกว่ากลุ่มอื่น 2-3% ซึ่งถ้าเรามองว่าโอกาสแต่ละเหตุการณ์แบบผม กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังดีที่สุดก็จะเป็นสไตล์ High Dividend ที่มักมีผลตอบแทนดีในภาวะปรกติ และแย่น้อยที่สุดอันดับสองในช่วงความเสี่ยงสูงผิดปรกติ แต่สุดท้าย การตัดสินใจก็แล้วแต่มุมมองแต่ละคน และพวกเราคงทำได้แค่ลุ้นไปพร้อมกันในช่วงท้ายปี สิ่งหนึ่งที่ควรระลึกอยู่เสมอคือ ความเสี่ยงที่เราเจออยู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ จึงไม่ควรปล่อยให้ความกังวลมาเป็นข้อจำกัดในการเลือกสินทรัพย์ ทางที่ดีกว่าในการแก้ความกังวลคือ การเรียนรู้ เพื่อให้เรากล้าปรับตัวตามสถานการณ์อยู่เสมอ เพราะผมเชื่อว่าในระยะยาว โอกาสจะเป็นของนักลงทุนที่ลงทุนต่อเนื่อง และกล้าในจังหวะที่เหมาะสม ที่มา คอลัมน์ คิดเห็น Share หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ปัจจัยกำหนดทิศทางตลาดหุ้นปีหน้า - FINNOMENA บทความนี้ ดร.นิเวศน์ จะมาบอกถึงปัจจัยที่กำหนดผลตอบแทนของตลาดหุ้นในปีหน้าหรือผลตอบแทนของการลงทุนที่เราจะได้รับในอนาคต ซึ่งก็จะเป็นการตอบคำถามที่ว่าตลาดหุ้นไทยน่าลงทุนไหมในภาวะปัจจุบัน ลงทุนแล้วเราจะได้รับผลตอบแทนที่ดีในอีกหนึ่งปีข้างหน้าหรืออาจจะอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือไม่? 23 ก.ย. 2562 ช่วงเวลาใกล้สิ้นปีในแต่ละปี นักลงทุน “มืออาชีพ” ในตลาดหุ้นส่วนใหญ่แล้วก็มักจะพยายามคาดการณ์ทิศทางของตลาดหุ้นในปีหน้าว่าจะเป็นอย่างไรเพื่อที่จะกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของตนเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีในปีหน้า สื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนก็มักจะถาม “กูรู” เพื่อที่จะเป็นแนวทางให้นักลงทุนทั่วไปในตลาดใช้สำหรับการลงทุน ส่วนใหญ่แล้วนักวิเคราะห์ก็จะบอกว่าปีหน้าดัชนีตลาดหุ้นน่าจะขึ้น ขึ้นมากหรือน้อยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะนักวิเคราะห์รวมถึงกูรูทั้งหลายนั้นต่างก็มักจะเป็นคนที่ “มองโลกในแง่ดี” และอาจจะมีแรงจูงใจที่จะชวนให้คนเข้าซื้อหุ้นผ่านบริษัทของตนหรืออยากให้คนมาซื้อหุ้นซึ่งทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นเป็นผลดีต่อทุกคนที่อยู่ในแวดวงตลาดหุ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ถ้ามองยาว ๆ ย้อนไปในประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ และให้ผลตอบแทนซึ่งส่วนใหญ่มาจากราคาหุ้นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึงประมาณ 10% ต่อปีแบบทบต้น ดังนั้น การคาดว่าหุ้นปีหน้าจะขึ้นจึงเป็นการคาดการณ์ที่น่าจะมีโอกาสถูกมากกว่าผิด ผมเองก็เคยถูกถามเสมอ และก็ต้องตอบทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยมั่นใจว่าจะถูก เพราะหลาย ๆ ปัจจัยที่ผมใช้ในการคาดการณ์นั้น อิงกับทฤษฎีพื้นฐานของกิจการ “แนว VI” แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ดูคล้าย ๆ กับ “แนวเทคนิค” เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ มันไม่ได้มาจากการทำวิจัยที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากแต่มาจากการสังเกตในช่วงประมาณ 20 ปีที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย และต่อไปนี้ก็คือ ปัจจัยที่กำหนดผลตอบแทนของตลาดหุ้นในปีหน้าหรือผลตอบแทนของการลงทุนที่เราจะได้รับในอนาคต ซึ่งก็จะเป็นการตอบคำถามที่ว่าตลาดหุ้นไทยน่าลงทุนไหมในภาวะปัจจุบัน ลงทุนแล้วเราจะได้รับผลตอบแทนที่ดีในอีกหนึ่งปีข้างหน้าหรืออาจจะอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือไม่ ปัจจัยแรกที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดที่จะบอกว่าตลาดหุ้นในตอนสิ้นปีน่าลงทุนไหม ปีหน้าหุ้นจะขึ้นดีไหมก็คือ ค่า PE ของตลาด เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ถ้าสิ้นปีค่า PE ของตลาดหุ้นต่ำหรือต่ำมาก เช่น ค่า PE ไม่ถึง 10 เท่า หรือถ้ายิ่งต่ำกว่านั้นเช่นแค่ 6-7 เท่า แบบนี้ผมคิดว่าการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหรือลงทุนในดัชนีตลาดหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมแบบ “ปิดประตูแพ้” ปีหน้าเราจะได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่ถ้าปีหน้ายังไม่ดี ปีต่อไปอีกไม่เกิน 1-2 ปีก็จะต้องดีแน่ ดัชนีจะขึ้นไปมากและทำให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปีที่เราถือหุ้นอยู่สูงจนน่าประทับใจ สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นมักจะเป็นแบบนั้นก็คือ เกิดภาวะวิกฤตตลาดหุ้นที่ทำให้ราคาหรือดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาหนักมาก เช่น 40-50% ซึ่งทำให้ค่า PE ลดลงต่ำมากเช่น จาก 15 เท่าเหลือแค่ 7 เท่าและไม่มีคนต้องการเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อลงทุน อาจจะเพราะไม่มีเงินสดหรือเพราะ “สิ้นหวัง” ในบริษัทจดทะเบียนทั้งหลาย แต่สำหรับคนที่กล้าและยังมีเงินที่จะลงทุน การลงทุนในช่วงเวลาแบบนั้นมักจะกลายเป็น “โอกาสทอง” ที่จะทำให้รวยจากหุ้นได้ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่ PE ตลาดไม่เกิน 10 เท่าหรือ 10 เท่าต้น ๆ นั้นไม่ได้เกิดเฉพาะในช่วงวิกฤต และทุกครั้งที่เกิดขึ้น คนที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาหลังภาวะวิกฤติตลาดหุ้นในปี 2540 ก็มักจะได้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมเสมอ ปัจจัยตัวที่สองก็คือ กำไรโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนทั้งตลาด นี่เป็นปัจจัยสำคัญมากตัวหนึ่ง ทุกปีที่กำไรเติบโตขึ้นแรง ดัชนีตลาดก็มักจะปรับตัวขึ้นดีกว่าปกติมาก ดังนั้น ถ้าเรามั่นใจว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะดีขึ้นมาก การเข้าไปซื้อหุ้นหรือกองทุนอิงดัชนีก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีในปีหน้า ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ บ่อยครั้งเราคาดการณ์ผลประกอบการหรือกำไรของบริษัทจดทะเบียนผิดพลาดทำให้กลยุทธ์นี้ใช้ไม่ค่อยได้ การที่จะใช้ปัจจัยตัวนี้ผมคิดว่าเราควรจะมีประเด็นที่ทำให้มั่นใจว่ากำไรโดยรวมของบริษัทน่าจะดีขึ้นมากอย่างชัดเจนเช่น มีการลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงมาก หรือราคาพลังงานเช่นน้ำมันปรับตัวขึ้นมากซึ่งจะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ทำกำไรเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ หรือบริษัทขนาดใหญ่กำลัง “ฟื้นตัว” จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นต้น ปัจจัยที่สามคือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งก็มักจะอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลดลงอย่างแรงและเร็ว โอกาสที่ปีหน้าหุ้นจะดีก็จะมาก การคาดการณ์ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยปีหน้าทั้งปีนั้น บางทีก็อาจจะไม่แม่นยำนัก อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังก็ดูเหมือนว่าธนาคารกลางของอเมริกาพยายาม “ส่งสัญญาณ” ล่วงหน้าไปไกลพอสมควรซึ่งทำให้เราอาจจะพยากรณ์ทิศทางได้ดีขึ้น ปัจจัยที่สี่ที่มีผลต่อดัชนีตลาดหุ้นปีหน้าก็คืออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยหรือ GDP ผลกระทบของการเติบโตที่ “ไม่แรง” เช่น โตใกล้เคียงกับการเติบโตธรรมชาติเช่น ประมาณ 4% บวกลบ แบบนี้ก็อาจจะไม่ได้มีผลอะไรกับการทำนายของดัชนีหุ้นมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าปีไหน GDP โตเป็นพิเศษ เช่น 5-7% ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องของการ “ฟื้นตัว” จากปีก่อนที่ย่ำแย่ แบบนี้ก็จะทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นแรงได้ การทำนายการเติบโตของ GDPเองนั้น ผมคิดว่าก็อาจจะพอทำได้ใกล้เคียงพอสมควรโดยเฉพาะถ้ามีสถานการณ์พิเศษอย่างเช่น ในยามที่มี “สงครามการค้า” และการส่งออกกำลังถดถอยลง แบบนี้ก็อาจจะพูดได้ว่าปีหน้า GDP ก็คงไม่ดีและจะเป็นปัจจัยลบที่สำคัญที่ทำให้ดัชนีหุ้นขึ้นไปลำบาก ปัจจัยตัวที่ห้าซึ่งเป็นเรื่องที่ผมสังเกตเห็นในระยะ 20 กว่าปีที่ผ่านมาก็คือ ผลตอบแทนของตลาดหุ้นในปีนี้ ถ้าปีนี้ผลตอบแทนจากดัชนีเป็นลบ ปีหน้าก็มีแนวโน้มว่าดัชนีจะดีขึ้นเป็นบวก ถ้าปีนี้ดัชนีตกลงไปมากเป็น “วิกฤต” ปีหน้าหรืออาจจะต่อไปอีกปีหนึ่งดัชนีก็จะปรับตัวขึ้นมาก ตรงกันข้าม ถ้าปีนี้ดีมาก ปีหน้าก็อันตราย ดัชนีอาจจะปรับตัวลง หรือถ้ายังดีขึ้น ปีต่อไปก็เสี่ยงมากขึ้นที่ดัชนีจะปรับตัวลง เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์นั้นไม่ชัดเจน แต่หลักการของสรรพสิ่งที่ว่าอะไรก็ตามขึ้นไปหรือลงมามากก็มักจะปรับตัวกลับสู่ค่าเฉลี่ยนั้นค่อนข้างเป็นจริงในตลาดหุ้นไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยสุดท้ายก็คือเรื่องของวิกฤติตลาดหุ้น นี่เป็นเรื่องที่อาจจะทำให้ตลาดหุ้นตกลงมากได้ มันเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยากมากแต่ก็มักจะเกิดขึ้นเป็นระยะประมาณทุก 10 ปีจะมีครั้งหนึ่ง วิกฤติครั้งสุดท้ายของตลาดหุ้นไทยเกิดขึ้นในปี 2008 หรือประมาณ 11 ปีมาแล้วตามวิกฤติซับไพร์มของอเมริกา แต่นี่ก็ยังไม่สามารถนำมาทำนายได้ว่าจะเกิดอีกครั้งในปีไหน อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดวิกฤติ หุ้นก็ตกลงมาแรงแน่นอน คนที่จะรอดได้ก็คงต้องมีหุ้นที่ปลอดภัยหรือ Defensive Stock และถ้าจะดีก็ควรจะต้องมีเงินสดจำนวนหนึ่งที่จะคอยซื้อหุ้นที่ตกลงมามากและจะฟื้นตัวขึ้นมาแรงและทำกำไรชดเชยกับหุ้นที่ตกลงไปก่อนหน้านั้นได้ ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ผมอธิบายเพียงด้านเดียว เราก็ต้องเข้าใจว่ามันมีสองด้าน นั่นคือ ถ้ามันเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น ถ้าสิ้นปี PE ของตลาดแทนที่จะต่ำมากกลายเป็นสูงมาก แบบนี้ก็จะเป็นเรื่องอันตรายที่จะลงทุนซื้อหุ้น เพราะปีหน้าหุ้นอาจจะตกลงมาแรง เช่นเดียวกัน ถ้ากำไรบริษัทจดทะเบียนลดลงแรง ดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นเร็ว อัตราการเติบโตของ GDP ต่ำและปีนี้ตลาดหุ้นขึ้นมามาก แบบนี้ก็มีโอกาสสูงที่ตลาดหุ้นในปีหน้าจะแย่ ดัชนีอาจจะตกลงมาแรง เป็นต้น ไม่ว่าปัจจัยทั้งหลายจะเป็นอย่างไรในปีนี้ การทำนายดัชนีในปีหน้าก็ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางครั้งเหตุการณ์บางอย่างเช่น วิกฤติเกิดขึ้น หรือมีเหตุการณ์ทางด้านการเมืองหรือการออกกฎเกณฑ์ที่กระทบต่อตลาดรุนแรง ก็อาจจะลบผลกระทบจากปัจจัยทั้งหลายดังกล่าวได้ ดังนั้น สำหรับนักลงทุนแล้ว ไม่มีอะไรมาแทนที่การเลือกหาและลงทุนในหุ้นที่สามารถจะอยู่ได้ตลอดในทุกสถานการณ์ ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2019/09/23/2212 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เกาะกระแสอนาคต กับหุ้นเติบโต ... “สรุปหุ้น CHG น่าลงทุนระยะยาวหรือไม่” - FINNOMENA หากเรามองภาพสั้น ๆ ก็จะพบว่า ... หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลกำลังโดนภาครัฐบีบเรื่องค่ายา ค่ารักษาพยาบาล แต่ถ้าเรามองข้ามไปสู่ภาพใหญ่ ก็น่าจะยังเติบโตอยู่ เราจะมาดูหุ้น CHG หรือ บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) ว่าเขาไปถึงไหนแล้ว ไปดูกันเลยครับ 16 ก.ย. 2562 ลองจินตนาการ วาร์ป … !! ไปยังโลกอนาคต และมองย้อนกลับมาในปัจจุบัน … เราจะพบว่า … ในอนาคตนั้นมีอะไรที่คนจะแห่ไปใช้บริการกันบ้าง แน่นอนที่สุด การรักษาพยาบาลเป็นหนึ่งในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิง แม้ไม่แน่ว่า อนาคตอาจจะมีคุณหมอที่เป็นหุ่นยนต์ AI แต่เชื่อว่า ธุรกิจที่ดีย่อมปรับตัวได้เสมอ เมื่อเราพอมองเห็นอนาคตคร่าว ๆ แล้วอย่างน้อย 5-10 ปี … เราก็ต้องมาวิเคราะห์หาหุ้นลงทุนตั้งแต่ปัจจุบันวันนี้ ของที่ดูเหมือนแพงวันนี้ อาจเป็นของราคาถูกไปเลยในวันข้างหน้า หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “หุ้นโรงพยาบาล” หากเรามองภาพสั้น ๆ ก็จะพบว่า … หุ้นกลุ่มนี้กำลังโดนภาครัฐบีบเรื่องค่ายา ค่ารักษาพยาบาล แต่ถ้าเรามองข้ามไปสู่ภาพใหญ่ ผมเชื่อว่ามันยังเติบโตอยู่ เราจะมาดูหุ้น CHG หรือ บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) ว่าเขาไปถึงไหนแล้ว ไปดูกันเลยครับ ที่มา: รายงานประจำปี 2561 ของ CHG ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 ประการแรก … “สาขาของโรงพยาบาล” ปัจจุบัน CHG มีจำนวนสาขาโรงพยาบาลกว่า 13 แห่ง กระจายกันอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯ สมุทรปราการ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เรียกได้ว่า ครอบคลุมในส่วนพื้นที่ที่เขาถนัด นั่นคือ ในเขตเมืองอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย การกระจายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่ที่เขาถนัด ทำให้การสร้างรายได้ทำได้ดี โดยปัจจุบันรายได้หลักไม่ได้มาจากประกันสังคมแล้ว แต่สัดส่วนรายได้จะมาจากผู้ป่วยเงินสดมากกว่า ประการที่สอง … “โครงสร้างรายได้ของกิจการ” ที่มา: รายงานประจำปี 2561 ของ CHG ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 หากเรามาดูโครงสร้างรายได้ เราจะพบว่า รายได้หลักจะมาจากกลุ่มผู้ป่วยทั่วไป โดยแบ่งไปรายได้จากกลุ่มผู้ป่วยนอกกว่า 32.8% และรายได้จากกลุ่มผู้ป่วยใน 29.7% รวมรายได้ในส่วนนี้กว่า 62.5% ส่วนรายได้รองจะมาจากโครงการสวัสดิการภาครัฐ โดยแยกเป็นส่วนจากโครงการประกันสังคม 32% และโครงการภาครัฐอื่น ๆ 5.5% รวมรายได้ในส่วนนี้กว่า 37.5% จะเห็นว่าสัดส่วนรายได้ภาครัฐกลายเป็นสัดส่วนที่น้อยลง ซึ่งเป็นผลดีต่อการเบิกจ่ายเงินจากภาครัฐที่บางครั้งอาจจะล่าช้า และไม่คุ้มทุน ประการที่สาม … “การเติบโตของโรงพยาบาล” ที่มา: รายงานประจำปี 2561 ของ CHG ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 เมื่อเรามาดูเรื่องราวของการเติบโตในช่วงสามปีที่ผ่านมา เราจะพบว่า กิจการของเขาเติบโตเฉลี่ยราว 10.08% ในแง่ของรายได้ แต่ในเรื่องราวของกำไรยังไม่ได้มีภาพนี้ โดยภาพการเติบโตมีดังต่อไปนี้ รายได้ปี 2558 3,178.83 ล้านบาท กำไร 538.38 ล้านบาท รายได้ปี 2559 3,657.88 ล้านบาท กำไร 564.29 ล้านบาท รายได้ปี 2560 3,896.42 ล้านบาท กำไร 565.44 ล้านบาท รายได้ปี 2561 4,430.84 ล้านบาท กำไร 633.88 ล้านบาท ในส่วนของกำไรนั้นเราเริ่มเห็นกำไรเติบโตลดลงในช่วงไตรมาสสองของปี 2562 สาเหตุจากการเปิดโรงพยาบาลใหม่ ทำให้มีค่าใช้จ่าย และโรงพยาบาลใหม่ยังไม่ถึง “จุดคุ้มทุน” ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า หากถึงจุดคุ้มทุนเมื่อไหร่ กำไรอาจมีแนวโน้มกลับมาเติบโตอีกครั้ง ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ… กิจการโรงพยาบาลในมุมมองของผม มันคือหุ้นเติบโต แต่เราต้องพิจารณาเรื่องราคาหุ้นประกอบการตัดสินใจด้วย และกิจการนี้ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่นักลงทุนระยะยาวควรศึกษาเก็บข้อมูลเอาไว้ เผื่อวันใดที่โอกาสมาถึง หุ้นถูกลดราคาลงมามาก อาจเป็นจังหวะให้เราซื้อก็ได้นะครับ #นายแว่นลงทุน ที่มาบทความ: http://www.topofliving.com/12522.html คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต —————————- Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย >> https://www.finnomena.com/port/naiwaen แท็ก: Article Basic CHG GURUPORT Product Recommend Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
พวกเค้ากำลังทำอะไร - FINNOMENA พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในช่วงนี้ช่างน่าสงสัยยิ่งนัก ยิ่งถ้าไปดูตารางการเคลื่อนไหวของนักลงทุนต่างประเทศในการเข้า Long/Short ใน SET50 Futures และการเข้าซื้อ/ขายใน SET ตั้งแต่ พ.ค. 62 (แบ่งเป็น 4 ระยะ) ก็ยิ่งชวนให้สงสัยว่า .... พวกเค้ากำลังทำอะไร ? 16 ก.ย. 2562 พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในช่วงนี้ช่างน่าสงสัยยิ่งนัก ยิ่งถ้าไปดูตารางการเคลื่อนไหวของนักลงทุนต่างประเทศในการเข้า Long/Short ใน SET50 Futures และการเข้าซื้อ/ขายใน SET ตั้งแต่ พ.ค. 62 (แบ่งเป็น 4 ระยะ) ก็ยิ่งชวนให้สงสัยว่า …. พวกเค้ากำลังทำอะไร ? ระยะที่ 1 21 พ.ค. – 20 มิ.ย. ต่างชาติแอบ Long เข้ามาก่อนในวันที่ 21 พ.ค. 2.2 หมื่นสัญญา ก่อนจะมาลุยซื้อหุ้นตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. (MSCI เพิ่มน้ำหนักการลงทุน) หลังจากนั้นก็ Long รัวๆ 1.36 แสนสัญญา (สถานะคงค้างเพิ่มจากระดับ 3.57 แสนสัญญา เป็น 3.86 แสนสัญญา แสดงว่า Long ส่วนใหญ่เปิดสถานะใหม่) และซื้อหุ้นใน SET 4.6 หมื่นล้านบาท SET Index บวกรวดเดียว 6.6% ระยะที่ 2 21 มิ.ย. – 25 ก.ค. ต่างชาติแอบพลิกมาดัก Short อย่างต่อเนื่อง 7.89 หมื่นสัญญา (สถานะคงคงค้างไม่เปลี่ยนแปลงคงระดับที่ 3.9 แสนสัญญา แสดงว่ามีทั้ง Short เพื่อปิดสถานะ และ Short เพื่อเปิดสถานะ ..ต่างชาติแอบปิด Long และเริ่มเปิด Short) ขณะที่ยังซื้อต่อเนื่องใน SET 21 จาก 24 วัน รวมกว่า 4.3 หมื่นสัญญา แต่ตลาดเริ่มมีอาการผิดปกติ SET Index แทบไม่ขยับ โดยบวกเพียง 0.7% ระยะที่ 3 26 ก.ค. – 28 ส.ค. เรื่องเฉลยทีนี้ต่างชาติถล่มมันทั้ง Short 8.8 หมื่นสัญญา (สถานะคงค้างลดฮวบจาก 3.8 แสนเหลือ 3.2 แสนสัญญา แสดงว่ามีการปิดสถานะ Long ขนานใหญ่ อาจมาจากรายย่อนในประเทศตัดขาดทุน) และจัดขายหุ้นใน SET อย่างหนัก 5.5 หมื่นล้านบาท SET ดิ่งรวดเดียว 6.6% ระยะที่ 4 29 ส.ค. – 13 ก.ย. เกิดภาพตรงกันข้ามกับระยะที่ 2 ต่างชาติแอบพลิกมา Long 12 จาก 13 วัน 1.05 แสนสัญญา (สถานะคงค้างเพิ่มขึ้นจาก 3.2 แสนกลายเป็น 3.6 ก่อนจะหล่นมาที่ 3.3 แสนสัญญา แสดงว่าส่วนใหญ่เป็น Long เพื่อเปิดสถานะใหม่) แต่ต่างชาติยังคงขายสุทธิใน SET เกือบทุนวันกว่า 7.8 พันล้านบาท พฤติกรรมทั้ง 4 ระยะ (3 ระยะเกิดขึ้นไปแล้ว ปัจจุบันอยู่ในระยะ 4) ถ้าดูโดยสรุปดีๆ อีกที ระยะที่ 1 ทั้ง Long TFEX และ ซื้อหุ้น ตลาดบวก ระยะที่ 2 มีขัดแย้ง แอบ Short TFEX แต่ยังซื้อหุ้น (ดันดัชนีไว้พร้อมๆ กับดัก Short) ตลาดเริ่มนิ่ง ระยะที่ 3 เรื่องเฉลย ถล่มมันทั้ง Short TFEX และเทขายหุ้น ตลาดพัง มาตอนนี้ระยะที่ 4 ทำตรงข้ามกับระยะที่ 2 แอบ Long TFEX (อย่างเยอะ) แต่ยังคงขายกดดัชนีเอาไว้ คุณคิดว่า พวกเค้ากำลังทำอะไร ตลาดควรจะเป็นยังไง บอกผมที ประกิต สิริวัฒนเกตุ ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/prakitsiriwattanaket/photos/a.1516796161882991/2540601216169142/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถิติบอกว่า .. ถึงปธน.ทรัมป์จะทวีตขู่อีก ตลาดหุ้นก็อาจไม่ผันผวนมากไปกว่าเดิม - FINNOMENA ความผันผวนของตลาดหุ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าจะเป็นเพราะทวิตของปธน.ทรัมป์อยู่หลายรอบทีเดียว บทความนี้จะลองพากลับไปดูทวิตครั้งสำคัญๆ ที่ทำให้ตลาดหุ้นเริ่มกลับมามีแรงเทขายในปีนี้กันดูสักหน่อย เราจะเห็นภาพมากขึ้น และตอบคำถามสำคัญที่ว่า แล้วแบบนี้ ตลาดหุ้นเอเชีย โดยเฉพาะจีน (อาจจะรวมถึงหุ้นไทย) จะสามารถกลับมาวิ่งได้หรือไม่? 12 ก.ย. 2562 เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมนั่งเล่นทวิตเตอร์แล้วเจอรูปรูปหนึ่งที่ชาวเน็ตนำมาตัดต่อ พอเห็นปั๊บก็อดยิ้มไม่ได้ รูปนั้นคือรูปที่ปธน.ทรัมป์ชูเอกสารลงนามใน Executive Order แต่ในเอกสาร กลับเป็นข้อความเขียนแปลเป็นภาษาไทยว่า “ให้คุณเก่งการวิเคราะห์ด้วยกราฟมากแค่ไหน ก็ไม่ช่วยอะไรถ้าเจอผมทวีต” ใช่ครับ ความผันผวนของตลาดหุ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า จะเป็นเพราะทวิตของปธน.ทรัมป์อยู่หลายรอบทีเดียว จนนักลงทุนหลายคนให้ความเห็นแบบติดตลกว่า ใครก็ได้ช่วยเป็นแอคเค้าท์ของท่านผู้นำที ผมลองพากลับไปดูทวิตครั้งสำคัญๆ ที่ทำให้ตลาดหุ้นเริ่มกลับมามีแรงเทขายในปีนี้กันดูสักหน่อย เราจะเห็นภาพมากขึ้นนะครับ ครั้งแรกของปี 2019 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พ.ค. ปธน.ทรัมป์ ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า ตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯ จะเพิ่มการจัดเก็บภาษีสินค้าเทคโนโลยีจากจีนในอัตรา 10% เป็น 25% ในวันศุกร์นี้ ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่มีมูลค่าประมาณ 325,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ถูกเก็บภาษี สหรัฐฯ ก็จะเริ่มจัดเก็บในอัตรา 25% เช่นเดียวกันครั้งนั้น ทำให้ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ ผันผวนในวันทำการถัดมา -2.4% ขณะที่ดัชนี CSI300 ของประเทศจีนผันผวนมากถึง -6% ภายในวันเดียว ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ปธน. ระบุ จะกลับมาเจรจากกับจีนอีกครั้ง นั่นเท่ากับ จะไม่มีการตั้งกำแพงเพิ่มเติมหลังจากนี้ ซึ่งทำให้ตลาดดูเหมือนจะคลายความกังวลไปได้มาก โดยดัชนี S&P500 ผันผวนในวันทำการถัดมา +2.8% ขณะที่ดัชนี CSI300 ผันผวนมากถึง +2.9% ใกล้เคียงกับดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ มาครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อ 1 ส.ค. ปธน.ทรัมป์ทวีตข้อความว่า การจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะใช้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์นำเข้าจากจีนที่เหลือซึ่งไม่ได้ถูกตั้งกำแพงภาษีก่อนหน้านี้ และยังบอกว่าจีนไม่รักษาสัญญาที่ว่าจะซื้อสินค้าทางการเกษตรจากสหรัฐฯ มากขึ้น พร้อมกันนั้น ปธน.ยังประกาศตั้งกำแพงภาษี 10% กับสินค้าจากจีนชุดใหม่มูลค่ากว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 9.26 ล้านล้านบาท) โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. เป็นต้นไป ซึ่งผ่านไปแล้ว ซึ่งครั้งนั้น ก็ทำให้นักลงทุนปวดขมับกันเป็นแถวๆ ทั้งๆ ที่บรรยากาศการเจรจาดูเหมือนจะชื่นมื่น ราบรื่นด้วยดีก็ตาม และผลก็คือ ทำให้ดัชนี S&P500 ผันผวนในวันทำการถัดมา -0.7% ขณะที่ดัชนี CSI300 ผันผวน -2.1% ภายในวันเดียว ขณะที่ครั้งที่ 4 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ส.ค. ตอนนั้นปธน.ทวีตอีกรอบว่า ต้องการตอบโต้จีนด้วยการปรับเพิ่มเพดานภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในปัจจุบันอีก 5% ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่จีนแถลงรีดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ รอบใหม่ ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่นาน ทางการจีน มีการแถลงว่าจะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมสูงสุด 10% ต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ วงเงิน 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ การทวีตรอบนี้ ทำให้ดัชนี S&P500 ผันผวนในวันสูงถึง -2.5% ขณะที่กลับมามองที่ตลาดจีน ดัชนี CSI300 กลับไม่ตกใจอะไรลบไปเพียง -0.14% เท่านั้น สิ่งนี้บอกอะไรเรา? หากสังเกตตัวเลขความผันผวนของตลาดหลังจากการทวีตของปธน.ทรัมป์ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนทิศทางนโยบายจากหน้ามือเป็นหลังมือใน 4 ครั้งที่ผ่านมา จะพบว่า สำหรับตลาดหุ้นจีนนั้น กลายเป็นว่า ทุกครั้งที่ทวีตสวนทางการดำเนินนโยบาย กลับกลายเป็นว่า ตลาดหุ้นผันผวนลดลง ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ไม่เคยมีวันไหนลบหนักๆ มากกว่า 2.5% ไม่เหมือนปี 2018 ที่เทรดกันยังกับรถไฟเหาะ ด้วยเหตุนี้ จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า ข้อความทวีตของปธน.ทรัมป์ หลังจากนี้ ถึงแม้จะมีการกลับทิศไปมาอีกหลายรอบ แต่เหมือนว่านักลงทุนในตลาดจะเริ่มปรับตัว และรับมือกับทวิตเตอร์ของท่านผู้นำสหรัฐฯ ได้แล้ว คำถามคือ แล้วแบบนี้ ตลาดหุ้นเอเชีย โดยเฉพาะจีน (อาจจะรวมถึงหุ้นไทย) จะสามารถกลับมาวิ่งได้หรือไม่? ความเห็นส่วนตัวมองว่า ตลาดจะกลับมาคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินและการคลังจากประเทศต่างๆ มากขึ้น สนใจทวีตข้อความของปธน.ทรัมป์น้อยลง ซึ่งมันไม่ได้แปลว่า ตลาดจะวิ่งหลังจากนี้นะครับ แค่จะบอกว่า ปัจจัยมันเปลี่ยนไปแล้ว อย่าไปให้ความสำคัญมากจนเกินไปครับ Mr.Messenger ที่มาบทความ: http://inews.bangkokbiznews.com/read/381005 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
FINNOMENA PORT Strategy เดือนกันยายน : Toward Maximum Diversification (Again) - FINNOMENA จากตัวเลขทางเศรษฐกิจและท่าทีของนักลงทุนในตลาด ทำให้เราจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางและรัฐบาล FINNOMENA Investment Team จึงติดตามท่าทีและผลของมาตรการกระตุ้น อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวประกอบกับท่าทีของนักลงทุนในตลาด ยังแนะนำให้นักลงทุนแบ่งสัดส่วนการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงตามแนวทางการลงทุนของปี Toward Maximum Diversification 11 ก.ย. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> Chart of the month รูปที่ 1 ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก, ประเทศพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ I Source : IMF.org as of 2/9/2019 จากตัวเลขทางเศรษฐกิจของหลายประเทศที่ประกาศออกมาในระยะหลังเริ่มบ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่าสภาพเศรษฐกิจโลก ณ ปัจจุบัน มีสัญญาณของการชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักซึ่งกระทบไปยังภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม หากสถานการณ์การค้าโลกยังอยู่ในภาวะซบเซาจากผลของการกีดกันทางการค้าอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังภาคการจ้างงานซึ่งย่อมมีผลต่อรายได้และการบริโภคภายในที่เป็นปัจจัยหนุนสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเวลานี้ เดือนที่ผ่านมาส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และ 2 ปี (2-10 Spread) ติดลบเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ 1-2 ปี สะท้อนความกังวลของนักลงทุนต่อสภาพเศรษฐกิจในอนาคต จากตัวเลขทางเศรษฐกิจและท่าทีของนักลงทุนในตลาด ทำให้เราจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางและรัฐบาล ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ปล่อยเงินกู้ต้นทุนต่ำเข้าระบบ หรือมาตรการด้านการคลัง เช่น การลดภาษีรายได้ลง FINNOMENA Investment Team จึงติดตามท่าทีและผลของมาตรการกระตุ้น อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวประกอบกับท่าทีของนักลงทุนในตลาด FINNOMENA Investment Team จึงยังแนะนำให้นักลงทุนแบ่งสัดส่วนการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงตามแนวทางการลงทุนของปี Toward Maximum Diversification Where we are, What next ? รูปที่ 2 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของประเทศทั่วโลก (สีเขียว = มุมมองขยายตัว, สีเทา = มุมมองทรงตัว, สีแดง = มุมมองหดตัว) I Source : Bloomberg.com as of 1/9/2019 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยแพร่มุมมองเศรษฐกิจโลกล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม ในหัวข้อ “Still Sluggish Global Growth” หรือ “การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว” โดยในรายงานมีการปรับลดประมาณการการขยาตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2019 จาก 3.3% เหลือ 3.2% รูปที่ 3 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเยอรมนี (GDP Growth) I Source : Bloomberg.com as of 31/8/2019 นอกจากนี้แล้วตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ของหลายประเทศทั่วโลก ไตรมาสที่ 2 เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวที่ชัดเจนมากขึ้น โดยภาคอุตสาหกรรมและส่งออกที่หดตัว ขณะที่ภาคบริโภคภายในยังเป็นส่วนที่หนุนการขยายตัวอยู่ เช่น สหรัฐฯ ขยายตัว 2.0% (QoQ) ลดลงจาก 3.1% (QoQ) เมื่อไตรมาสที่ 1 จีน ขยายตัว 6.2% (YoY) ลดลงจาก 6.4% (YoY) เมื่อไตรมาสที่ 1 เยอรมนี หดตัว 0.1% (QoQ) จากขยายตัว 0.4% (QoQ) เมื่อไตรมาสที่ 1 ไทย ขยายตัว 2.3% (YoY) ลดลงจาก 2.8% (YoY) เมื่อไตรมาสที่ 1 ด้านตัวเลขทางเศรษฐกิจที่นับว่าเป็น Leading Indicator อย่าง Purchasing Managers’ Index (PMI) ในส่วนภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) ของประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญลดลงตั้งแต่กลางปีก่อน จนตัวเลขของหลายประเทศต่ำกว่า 50.0 จุด เช่น ประเทศจีน เยอรมนี และภูมิภาคยุโรป บ่งชี้มุมมองหดตัวต่อเศรษฐกิจใน 6-12 เดือนข้างหน้า เช่นเดียวกับภาคบริการ (Services) มีแนวโน้มลดลงแต่ยังอยู่ในมุมมองขยายตัวเป็นไปตามรายงานตัวเลข GDP Central bank and ETF boosted Gold demand รูปที่ 4 เปรียบเทียบอุปสงค์และอุปทานทองคำ ไตรมาสที่ 2 ปี 2018 และ 2019 I Source : gold.org as of 31/8/2019 ย้อนกลับไปเมื่อปี 2018 มีเหตุการณ์กระแสเงินทุนไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน เป็นเหตุให้ปี 2019 มีแรงซื้อสุทธิจากธนาคารกลางเพิ่มขึ้น 47% (YoY) โดยเฉพาะประเทศจีน รัสเซีย โปแลนด์ และอินเดีย เพื่อใช้ทองคำเป็นทุนสำรองเพื่อลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รูปที่ 5 ปริมาณเม็ดเงินลงทุนทองคำสุทธิผ่าน ETF แบ่งตามภูมิภาค I Source : gold.org as of 1/9/2019 ด้านความกังวลต่อเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศเป็นปัจจัยหนุนให้มีแรงซื้อผ่าน ETF สูงขึ้นอีกครั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายน โดยเฉพาะจากอเมริกาเหนือที่มีความกังวลประเด็นการค้า และยุโรปซึ่งประเด็น Brexit ยังไร้ข้อยุติ อีกทั้งมีความกังวลในเรื่องหนี้สินของประเทศอิตาลีเช่นเดียวกัน ในด้านเครื่องประดับได้รับปัจจัยหนุนจากเทศกาลทางศาสนาในอินเดีย อีกทั้งค่านิยมของประชาชนที่ซื้อทองคำเพื่อรักษาความมั่งคั่ง ด้านแรงซื้อจากประเทศจีนที่ลดลงเกิดจากปัจจัยตามฤดูกาลและสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาลง ส่วนความต้องการจากภาคเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นหนุนให้การผลิตทองคำเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยเฉพาะการนำทองคำกลับมาใช้ใหม่ (Recycled gold) ในไตรมาส 2 ที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2016 Economic concern drove gold price by demand for safe havens รูปที่ 6 โอกาสเกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใน 12 เดือนข้างหน้า และราคาทองคำ I Source : Bloomberg.com as of 31/8/2019 โอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก ขึ้นแตะระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2007 โดยในขณะที่ตัวเลขดังกล่าวปรับตัวขึ้นมาตลอดปี ราคาทองคำก็ปรับตัวขึ้นมาเช่นเดียวกัน สาเหตุสามารถอธิบายได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวประกอบกับความไม่แน่นอนของการเมืองระหว่างประเทศ สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนในตลาดจนมีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe havens) แม้ค่าเงินดอลลาร์จะยังอยู่ในแนวโน้มแข็งค่าก็ตาม ด้วยข้อมูลทางเศรษฐกิจ ทิศทางความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ปลอดภัย และโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย FINNOMENA Investment Team ยังแนะนำให้นักลงทุนมีสัดส่วนการลงทุนในทองคำ นอกจากนี้แนะนำให้แบ่งสัดส่วนการลงทุนในหลายสินทรัพย์เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม Recession Signal : Inverted Yield Curve รูปที่ 7 ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และดัชนี S&P 500 I Source : Bloomberg.com as of 31/8/2019 Inverted Yield Curve เกิดขึ้นเมื่อส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 และ 10 ปี ติดลบ ซึ่งหากย้อนไปถึงช่วงทศวรรษที่ 1970 จะเกิดขึ้นทุกครั้งก่อนมีวิกฤตเศรษฐกิจประมาณ 1-2 ปี ดังนั้นหากพิจารณาจากข้อมูลทำให้เห็นว่าการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือตลาดหุ้นร่วงอย่างรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นในทันที แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ ความเคลื่อนไหวหรือผลตอบแทนตลาดหุ้นหลังเกิด Inverted yield curve รูปที่ 8 ระยะเวลาตั้งแต่เกิด Inverted yield curve และอัตราผลตอบแทนดัชนี S&P 500 I Source : summitinvest.com as of 1/9/2019 FINNOMENA Investment Team จึงรวบรวมข้อมูลส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและการเคลื่อนไหวของดัชนี S&P 500 พบว่าการเกิด Inverted yield curve ไปจนถึงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวใช้เวลาต่ำที่สุดประมาณ 11 เดือน และมากที่สุด 35 เดือน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นดัชนี S&P 500 สามารถสร้างผลตอบแทนเป็นบวกโดยผลตอบแทนต่ำที่สุดอยู่ที่ 6.1% ในช่วง dot-com bubble และมากที่สุด 28.5% ช่วงต้นยุค 90 แม้จะเกิด Inverted yield curve ซึ่งมักมาในช่วงที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว แต่ตลาดหุ้นยังสามารถสร้างผลตอบแทนเป็นบวก สาเหตุเกิดจากในช่วงเวลาดังกล่าวนักลงทุนในตลาดต่างคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเมื่อธนาคารกลางเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยหรือเพิ่มมาตรการกระตุ้นตามที่ตลาดคาดหวัง จึงทำให้เกิดมุมมองเชิงบวกและมีแรงซื้อเข้าตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะหดตัวหรือวิกฤตการเงินซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การเกิด Inverted yield curve และมาตรการกระตุ้นที่ออกมาไม่ทันการณ์ ดังนั้น FINNOMENA Investment Team จับตามองสภาพเศรษฐกิจและผลของมาตรการกระตุ้นต่อความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น Global Stimulus Timeline Existing + Hope + What Next Time to cut rate รูปที่ 9 ช่วงเวลาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกปี 2019 I Source : Bloomberg.com as of 31/8/2019 ผลกระทบจากเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ยังไร้สัญญาณการฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่การขยายตัวของ GDP ลดลง อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อยังต่ำกว่าระดับเป้าหมาย ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป และทั่วโลกกลับมาใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย ซึ่งเริ่มจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าในนับตั้งแต่เข้าไตรมาสที่ 2 ของปี มีธนาคารกลางทั่วโลกปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้วกว่า 15 แห่ง โดยมีถึง 8 แห่งที่ลดอัตราดอกเบี้ยหลังสหรัฐฯ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เพื่อคงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและรักษาเสถียรภาพของกระแสเงินทุน China’s stimulation cope with trade war effect รูปที่ 10 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อและการอัดฉีดวงเงินกระตุ้นสินเชื่อภายในประเทศจีน I Source : Bloomberg.com as of 31/8/2019 นับตั้งแต่มีความขัดแย้งประเด็นการค้ากับสหรัฐฯ ทางการจีนได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับผลกระทบในทันที โดยผสมผสานทั้งนโยบายการคลังและการเงิน ในด้านการคลัง รัฐบาลจีนอัดฉีดเงินเพื่อลดการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายใน ซึ่งอัตราภาษีดังกล่าวของภาคก่อสร้างและขนส่งลดลงจาก 10% มาที่ 9% นอกจากนี้ยังลดการเก็บภาษีและผ่อนคลายการควบคุมกระแสเงินในเขตการค้าเสรีที่กรุงเซียงไฮ้ ด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีน (PBOC) เพิ่มปริมาณเงินในระบบโดยปรับลด Reserve requirement ratio (RRR) อีกทั้งเน้นเพิ่มสภาพคล่องผ่านการอุดหนุนวงเงินปล่อยกู้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดยมาตรที่บังคับใช้ไปแล้วมีดังนี้ 04-Jan : ปรับลด RRR 1% โดยธนาคารขนาดใหญ่จาก 14.5% สู่ระดับ 13.5% และธนาคารขนาดเล็กจาก 12.5% สู่ระดับ 11.5% 24-Apr : PBOC เพิ่มเงินอุดหนุน 2.67 แสนล้านหยวน แก่ธนาคารขนาดใหญ่และธนาคารขนาดกลางผ่านมาตรการ Targeted medium-term lending facility (TMLF) 15-Jul : PBOC เพิ่มสภาพคล่อง 1.88 แสนล้านหยวน ผ่าน Medium-term lending facility (MLF) 21-Aug : ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ Loan prime rate (LPR) หรือกลุ่มลูกค้าชั้นดี พร้อมเร่งให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการปล่อยกู้ 30-Aug : เตรียมลดภาษีเขตการค้าเสรี Shanghai free trade zone India monetary easing fail to stimulus รูปที่ 11 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย การขยายตัวสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ของอินเดีย I Source : Bloomberg, CEIC, ING as of 31/8/2019 ธนาคารกลางอินเดียเป็นกลุ่มธนาคารลำดับแรกที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่ช่วงต้นปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่มาตรการดังกล่าวกลับไม่สามารถกระตุ้นการขยายตัวของสินเชื่อภายในประเทศเนื่องจากผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ผลดังกล่าวสะท้อนผ่านตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดีย (GDP Growth) ที่ลดลงจาก 5.8% เมื่อไตรมาสแรก สู่ระดับ 5.0% ในไตรมาสที่ 2 ของปี ในด้านความเชื่อมันภาคธุรกิจ หรือ The Business Expectations Index (BEI) ปรับตัวลงสู่ระดับ 112.8จุด ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเริ่มพิจารณาลดภาษีที่เรียกเก็บจากนักลงทุนในและนอกประเทศซึ่งปรับขึ้นไปเมื่อไม่นานมานี้ เช่นเดียวกับภาษีที่เรียกเก็บกับผู้มีความมั่งคั่งหรือ Super rich TAX หลังสร้างความกังวลต่อนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ได้ประกาศเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในภาคโครงสร้างพื้นฐาน เหมืองถ่านหินและพลังงาน ขณะเดียวกันอนุญาตให้บริษัทค้าปลีกประเภท single-brand เปิดร้านค้าออนไลน์ได้โดยไม่ต้องมีหน้าร้านในอินเดีย Thailand government accelerate to launch stimulus package รูปที่ 12 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศไทย I Source : Bangkokpost.com as of 31/8/2019 เช่นเดียวกับประเทศอื่นทั่วโลกที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัว ประกอบกับการจัดตั้งรัฐบาลที่เสร็จสิ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่จีงออกมาในรูปแบบ ‘แพคเกจ’ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ 3 ภาคส่วน ประกอบด้วย ค่าครองชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจ และวิกฤตภัยแล้ง โดยมุ่งหวังช่วยพยุงการขยายตัวเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 และ 4 สำหรับมาตรการที่เริ่มใช้ไปบางส่วนมีดังนี้ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาทต่อเดือน พักชำระหนี้กองทุนหมูบ้าน เพิ่มค่าลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยวในประเทศ ลดดอกเบี้ยเงินกู้แก่ลูกหนี้ภาคการเกษตร ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฺBOT) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 1.50% ขณะที่รัฐมนตรีคลังเผยว่ายังมีกรอบให้ ฺBOT สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีก แต่ด้วยการเกินดุลการค้าและทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ไม่สามารถผลักดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้ เป็นแรงกดดันหลักต่อภาคการส่งออก Monetary easing also created risks รูปที่ 13 การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของแต่ละประเทศ I Source : imf.org as of 31/8/2019 เป้าหมายของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ การขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ผ่านการปล่อยสินเชื่อและก่อหนี้สิน ทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มเงินอุดหนุนแก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยกู้ แต่ผลที่ตามมา คือการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) มีอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP (Household debt to GDP) เพิ่มขึ้นตลอด 10 ปี นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 จีน เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนมาที่ 52% เกาหลีใต้ อยู่ระดับสูงถึง 97% (อันดับ 1 ของเอเชีย) ไทย อยู่ที่ระดับ 78% (อันดับ 2 ของเอเชีย) Emerging market โดยรวมอยู่ที่ระดับ 37% FINNOMENAInvestment team จึงมีความเห็นว่ามาตรการกระตุ้นยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามผลหรือความสำเร็จ แต่ด้วยระดับหนี้ครัวเรือนในระดับสูงอาจส่งผลต่อการบริโภคภายใน ซึ่งจะสร้างความกังวลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวให้มีความเสี่ยงมากขึ้น มากไปกว่านั้นผลกระทบของการค้าโลกที่มีต่อแต่ละประเทศอาจทำให้รายได้ของแรงงานลดลงแต่ภาระหนี้ยังคงเดิม จึงทำให้ FINNOMENA Investment team ติดตามทั้งผลดีและผลเสียของมาตรการกระตุ้น และคงคำแนะนำให้แบ่งสัดส่วนการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงต่อพอร์ตการลงทุนโดยรวมในระดับสูงสุด Eurozone liquidity addiction sparks TLTRO-III รูปที่ 14 ปริมาณการสินทรัพย์ที่ถือครอง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ละช่วงเวลาของสหภาพยุโรป I Source : Bloomberg.com as of 1/9/2019 เป็นที่แน่ชัดว่ายุโรปและญี่ปุ่นไม่สามารถหยุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเดิมที่ดำเนินอยู่ได้ ทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยระดับ “ต่ำพิเศษ” (Ultra-Low Interest Rate) และมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์จากธนาคารกลาง (QE) จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และระดับอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าระดับเป้าหมาย โดยธนาคารกลางยุโรปทำได้เพียงหยุดลดอัตราดอกเบี้ยและยุติการเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม แต่ยังไม่ลดการถือครองสินทรัพย์ดังกล่าว แต่ในที่สุดแล้วก็กลับมาใช้มาตรการเชิงผ่อนคลายโดยการเพิ่มสภาพคล่องผ่านมาตรการ TLTRO-III ที่เป็นวงเงินกู้เพื่อลดภาระด้านดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์เพื่อการปล่อยกู้เพิ่มเติม ซึ่งหากธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึงระดับเป้าหมาย จะสามารถรับวงเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดถึง -0.30% (MRO+0.10%) โดยจะมีการดำเนินการปล่อยวงเงินกู้อย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจถดถอยจากการส่งออกที่มีแนวโน้มหดตัว และการบริโภคที่อาจชะลอตัวอย่างหนักได้หลังกำหนดการปรับขึ้นภาษีขาย (Sales Tax) ในวันที่ 1 ตุลาคม ส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงเดินหน้าเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นตัวกำหนดต้นทุนทางการเงิน แต่จากปัจจัยเสี่ยงข้างต้นส่งผลให้นักลงทุนเริ่มคาดหวังนโยบายการเงินและการคลังเพิ่มเติม ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงสงวนท่าทีต่อไป เนื่องจากหากลดอัตราดอกเบี้ยรวดเร็วเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจธนาคารและประกันซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ รูปที่ 15 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแต่ละช่วงอายุของประเทศสำคัญทั่วโลก I Source : Factset.com as of 31/8/2019 เมื่อความเสี่ยงและความกังวลในตลาดเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะประเทศที่มีความมั่นคงสูงอย่างสหรัฐฯ เยอรมนี รวมไปถึงไทย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรหลายประเทศลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุโรปที่อัตราผลตอบแทนลดลงจนติดลบ ขณะเดียวกันในการลดลงของอัตราผลตอบแทนทำให้เกิด Inverted Yield Curve ในสหรัฐฯ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีลงไปต่ำกว่า 0% ทุกช่วงอายุเป็นครั้งแรก รูปที่ 16 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ I Source : Bloomberg.com as of 2/9/2019 ความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิเช่น ทองคำ พันธบัตรรัฐบาล และเงินเยน สะท้อนความกังวลของนักลงทุนในตลาดได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนั้นยังส่งสัญญาณว่านักลงทุนคาดหวังการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจากธนาคารกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนเริ่มต้องการเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ ‘แพคเกจ’ มากกว่าการออกทีละมาตรการแบบในอดีต ขณะเดียวกันจากข้อมูลในอดีตผลของมาตรการกระตุ้นมักจะปรากฏผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจ เช่น GDP, อัตราเงินเฟ้อ ในช่วงเวลาประมาณ 12 – 15 เดือน หลังการเริ่มใช้มาตรการ FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำให้นักลงทุนกระจายการลงทุนในระดับสูงสุดต่อไป (Toward Maximum Diversification) ทั้งในส่วนของตราสารหนี้ และอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถให้อัตราผลตอบแทนได้ดีตามแนวการลงทุนแบบ Yield Play เช่นเดียวกับทองคำที่ตอบรับต่อความกังวลอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม FINNOMENA Investment Team ยังคงติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นของภูมิภาคต่างๆ และผลที่จะตามมาในอนาคตอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับคำแนะนำการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์อย่างเหมาะสม โมเดลพอร์ตการลงทุนแนะนำของ FINNOMENA REITs & Infra ยังพอไหว รูปที่ 17 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อัตราการปันผล REITs ทั่วโลก และ ไทย I Source : Bloomberg.com as of 2/9/2019 อัตราการปันผลของ REITs ไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 4.85% เป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากปรับตัวขึ้นมาแล้ว 28% นับตั้งแต่ต้นปี แต่เมื่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหนือคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาด พร้อมส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ลดลง เป็นผลให้ส่วนต่างอัตราการปันผลของ REITs และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี (Yield Spread) เพิ่มขึ้น FINNOMENA Investmet Team จึงแนะนำให้สามารถเข้าลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยได้ 10% ของพอร์ตการลงทุนแนะนำ จากความชัดเจนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยทั้งในและต่างประเทศ Global Conservative Portfolio (GCP) as of 1/9/2019 พอร์ต GCP ปัจจุบันมีน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นเพียง 20% เท่านั้น พร้อมกับมีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ทีปลอดภัยอย่างตราสารหนี้ถึง 65% ส่งผลให้โดยรวมแล้วพอร์ต GCP มีความเสี่ยงโดยรวมค่อนข้างต่ำ จึงนำแนะนำสามารถลงทุนได้ Global Absolute Return (GAR) as of 1/9/2019 สำหรับพอร์ตการลงทุน GAR ปัจจุบันมีน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นไทยเพียง 30% ควบคู่ไปกับสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำ 20% และตราสารหนี้ 30% ส่งผลให้ความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ยังมีโอกาสสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามแนวการลงทุนแบบ Yield Play จึงแนะนำสามารถลงทุนได้ TOP5 Portfolio as of 1/9/2019 พอร์ต TOP5 ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงสูงสุด คงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพียง 40% ซึ่งเป็นการถือครองในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่จัดตั้ง FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าพอร์ตการลงทุนมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือความผันผวนของตลาดเรียบร้อยแล้ว จึงนำแนะนำสามารถลงทุนได้ Global Income Focus (GIF) as of 1/9/2019 ขณะที่พอร์ต GIF ยังคงน้ำหนักการลงทุนเช่นเดิม จากการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตราสารหนี้ และกองทุน Multi Asset ที่มีความผันผวนต่ำ และได้รับผลเชิงบวกจากแนวการลงทุนแบบ Yield Play ส่งผลให้กระแสเงินสดที่สร้างยังคงอยู่ในระดับเป้าหมายที่ 4.30% ต่อปี จึงนำแนะนำสามารถลงทุนได้ GOAL Portfolio as of 1/9/2019 1st Million Portfolio as of 1/9/2019 โมเดล Goal และ 1st Million FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำพอร์ตการลงทุนตาม Black Litterman Asset Allocation Model เช่นเดิม โดยแนะนำให้นักลงทุนทำการ DCA การลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือนเพื่อการเติบโตในระยะยาว FINNOMENA Investment Team คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: 1stM Advance Article FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA PORT FINNOMENA PORT Strategy Video GAR GCP GIF Goal Long Content PORT Strategy Product Info Top5 แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
แนวโน้มทองคำ ซื้อตอนนี้จะดอยมั้ย!? ในยามสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นจะกลับมาหรือยัง!? - FINNOMENA LIVE - FINNOMENA แนวโน้มทองคำ ซื้อตอนนี้จะดอยมั้ย!? ในยามสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นจะกลับมาหรือยัง!? – FINNOMENA LIVE 19 พ.ย. 2562 ดู FINNOMENA LIVE ผ่าน Facebook ได้ที่ : https://www.facebook.com/finnomena/posts/1011736729171964 แนวโน้มทองคำ ซื้อตอนนี้จะดอยมั้ย!? ในยามสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นจะกลับมาหรือยัง!? – FINNOMENA LIVE ข่าวเด่นรอบสัปดาห์ ราคาทองจะขึ้นถึงไหน? No-deal Brexit จะเกิดขึ้นหรือไม่ ปิดฉากลงแล้ว G7 เป็นอย่างไรบ้าง? Google จะย้ายฐานผลิตมาไทย! และช่วง FINNOMENA PORT สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พร้อม Market Factor ตอน “สรุปแนวโน้ม Demand / Supply ทองคำ Q2 และครึ่งปีแรกของปี 2019” มาถาม-ตอบกันในรายการได้เลย แล้วพบกันนะครับ! ติดตาม FINNOMENA LIVE ย้อนหลังตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl แท็ก: FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA LIVE Gold กองทุน ค่าเงิน จัดพอร์ต ตลาด เศรษฐกิจ แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปงบไตรมาส 2 ปี 2562 กลุ่มไหนกำไรโตดีบ้าง? พร้อมเจาะตัวเลข GDP และส่งออกไทย - FINNOMENA LIVE - FINNOMENA สรุปงบไตรมาส 2 ปี 2562 กลุ่มไหนกำไรโตดีบ้าง? พร้อมเจาะตัวเลข GDP และส่งออกไทย - FINNOMENA LIVE 3 ก.ย. 2562 ดู FINNOMENA LIVE ผ่าน Facebook ได้ที่ : https://www.facebook.com/finnomena/posts/1006570829688554/ สรุปงบไตรมาส 2 ปี 2562 กลุ่มไหนกำไรโตดีบ้าง? โดยอาจารย์ภัทรธร ช่อวิชิต InvestIdea พร้อม “เจาะตัวเลข GDP และส่งออกไทย ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกไม่เป็นใจ” โดย FundTalk ในช่วง Market Factor ข่าวเด่นรอบสัปดาห์ – จับตาเฟดจะส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยหรือไม่? – ยังไงต่อ? สหรัฐ ขยายเวลาให้หัวเว่ย! – ญี่ปุ่นแซงจีน! ถือครองพันธบัตรสหรัฐ!? – ทำไงดีเมื่อ GDP ไทยโตต่ำสุดรอบเกือบ 5 ปี!! และช่วง FINNOMENA PORT สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มาติดตามทั้งหมดนี้ และพูดคุยกัน ห้ามพลาดนะครับ! ติดตาม FINNOMENA LIVE ย้อนหลังตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl แท็ก: FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA LIVE กองทุน ค่าเงิน จัดพอร์ต ตลาด เศรษฐกิจ แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วิกฤติกำลังจะมา? - FINNOMENA การเกิด Inverted Yield Curve ครั้งนี้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์กังวลกันมาก  และตลาดหุ้นจึงตกลงมาแรง คำถามก็คือ  วิกฤติกำลังจะมาใช่ไหม?  และเราในฐานะของนักลงทุนจะทำอย่างไร? 19 ส.ค. 2562 สัปดาห์ก่อนตลาดหุ้นโลกและไทยค่อนข้างผันผวน บางวันดัชนีดาวโจนส์ตกลงมาถึง 3% เช่นเดียวกันตลาดหุ้นไทยบางวันก็ตกลงมาเกือบ 2% ทั้ง ๆ ที่ในช่วงหลายปีหลังดัชนีตลาดหลักทรัพย์บ้านเราค่อนข้างมั่นคงไม่ค่อยผันผวนมากนัก ที่สำคัญ หุ้นแบ้งค์ใหญ่ซึ่งโดยปกติไม่ค่อยปรับตัวมากต่างก็ตกลงมาถึงประมาณ 3% ในวันเดียว การตกลงมาอย่างหนักของหุ้นนั้นส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากการปรับตัวของตลาดเงินและพันธบัตรที่มีการปรับลดลงโดยธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทยซึ่งก็ส่งผลไปถึงตลาดการเงินด้วย เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ทำให้อัตราผลตอบแทนหรือที่เรียกว่า Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นอายุ 2 ปีลดลงมาเหลือ 1.63% ต่อปี แต่ที่ลดลงหนักยิ่งกว่าก็คือผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีได้ตกลงมาเหลือเพียง 1.62% ต่อปี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ผิดปกติที่เรียกว่า Inverted Yield Curve (IYC) ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก อาจจะ 10 ปีหนอะไรทำนองนั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เกือบทุกครั้งที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 12 เดือน เศรษฐกิจก็เกิด “วิกฤติ” ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา มีเพียงครั้งเดียวที่เวลาเกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า Inverted Yield Curve นี้แล้วเศรษฐกิจไม่วิกฤติ ส่วนอีก 6 ครั้งนั้น เศรษฐกิจเกิดปัญหาหลังจากนั้นภายใน 7-24 เดือน ดังนั้น การเกิด IYC ครั้งนี้จึงทำให้นักเศรษฐศาสตร์กังวลกันมาก และตลาดหุ้นจึงตกลงมาแรง คำถามก็คือ วิกฤติกำลังจะมาใช่ไหม? และเราในฐานะของนักลงทุนจะทำอย่างไร? ก่อนอื่นคงต้องดูว่า IYC หรือการที่ผลตอบแทนพันธบัตรหรือการลงทุนระยะสั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรหรือการลงทุนระยะยาวนั้นมีความหมายอย่างไร? โดยปกติถ้าเราลงทุนระยะยาว เราต้องการที่จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น ถ้าฝากเงินออมทรัพย์หรือฝากแค่ 3 เดือน ผลตอบแทนก็อาจจะได้แค่ 1-2% ต่อปี แต่ถ้าเราฝากประจำหรือลงทุนในพันธบัตรอายุ 3 ปีที่ไม่มีความเสี่ยงเหมือนกันนั้น เราก็มักจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าเช่น อาจจะ 3% ถ้ายาวกว่านั้นเช่น 10 ปี เราก็มักจะได้ผลตอบแทนสูงขึ้นเช่น 5% ต่อปี นี่เป็นเรื่องปกติ แต่สถานการณ์ IYC ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ในอเมริกานั้นกลับกลายเป็นว่าถ้าเราลงทุนแค่ 2 ปีกลับได้ผลตอบแทนสูงกว่าลงทุน 10 ปี ซึ่งเป็นเหมือนกับสัญญาณว่าในอนาคตอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนระยะสั้นจะลดลงและจะลดลงอยู่ในระดับต่ำไปอีกนานเป็น 10 ปี นักลงทุนจึงยอมที่จะ “ล็อก” อัตราผลตอบแทนไว้ก่อน ว่าที่จริงผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีของอเมริกาในช่วงนี้อยู่ที่เพียง 2.015% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นการส่งสัญญาณโดยตลาดเงินว่าผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยในอีก 30 ปีข้างหน้านั้นจะต่ำมากอย่างน่าตกใจคือเฉลี่ยปีละประมาณ 2% เหตุที่ผลตอบแทนในอนาคตจะต่ำมากนั้นเป็นสัญญาณว่าคนที่จะกู้เงินเพื่อลงทุนซึ่งต้องอาศัยเงินระยะยาวนั้นมีน้อยและคนที่จะปล่อยกู้หรือลงทุนมีมาก ซึ่งก็เป็นสัญญาณต่อไปว่าเศรษฐกิจกำลังถดถอย ธุรกิจจะไม่ค่อยลงทุน บริษัทไม่โต กำไรไม่โตหรืออาจจะตกลง ธุรกิจบางส่วนจะล้มละลายและอาจจะก่อปัญหาให้กับสถาบันการเงิน และในที่สุดก็อาจจะกลายเป็น “วิกฤติ” ว่าที่จริงเราก็เริ่มเห็นแล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทยกำลังเติบโตน้อยลง มีการปรับเป้าหมายการเติบโตลดลงกันทั่วโลก การส่งออกติดลบ การลงทุนภาคเอกชนน้อยลง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากประเด็นเรื่องของสงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีนและโลก และไม่ว่าเหตุผลจะเป็นอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกและไทยกำลังชะลอลงและการแก้ไขไม่ใช่เรื่องง่าย เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างก็ใช้ “เครื่องมือ” และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดดอกเบี้ยและการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยรัฐกันเกือบหมดแล้วตั้งแต่ปี 2008 ในช่วงวิกฤติรอบก่อน ดังนั้น การป้องกันปัญหาในรอบนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ว่าที่จริงคนที่มีชื่อเสียงทางด้านเศรษฐศาสตร์บางคนทำนายมานานพอสมควรแล้วว่าอเมริกาจะเกิดวิกฤติในปี 2020 คือปีหน้าตั้งแต่เศรษฐกิจอเมริกันยังไม่มีปัญหา ยังไม่มีเรื่องสงครามการค้าและปรากฎการณ์ IYC เหตุผลผมจำไม่ได้ชัดแต่น่าจะมาจากการที่เศรษฐกิจอเมริกาไม่สมดุลเช่นการขาดดุลการค้าและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำต่อเนื่องกันยาวนานเป็นต้น แต่อีกส่วนหนึ่งนั้นอาจจะมาจากการที่เศรษฐกิจดีต่อเนื่องมายาวนานจนเกินไปคือเกิน 10 ปีซึ่งตามประวัติศาสตร์ไม่ค่อยเกิดขึ้นและมักจะจบลงด้วยการถดถอยหรือวิกฤติ ในตอนนั้นก็แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ก็คงไม่ได้ให้น้ำหนักมากเพราะว่าเรื่องการทำนายทายทักเรื่อง “โลกาวินาศ” นั้น มีอยู่ตลอดเวลา คนที่ได้ชื่อว่าเป็น “Doomsayer” หรือคนที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถทำนายเรื่องร้ายแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้แม่นยำนั้นมีอยู่มากมายและพวกเขาก็ “ทำนายอยู่เรื่อย ๆ” จนคนไม่ค่อยสนใจแล้ว อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์หลาย ๆ เรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ก็น่าจะทำให้คนหลายเริ่มสนใจและอาจจะเชื่อมากขึ้นว่า “วิกฤติกำลังจะมา” และนั่นน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ตลาดหุ้นผันผวนอย่างแรงในสัปดาห์ก่อน ในฐานะของ VI เราคงไม่สรุปว่าวิกฤติจะมาแน่ ความเชื่อที่ว่า “วิกฤติมักจะมาโดยที่เรามักจะไม่คาดคิดหรือไม่รู้ตัว ถ้าทุกคนคาดว่าจะเกิดมันก็คงไม่เกิดเพราะเราจะแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงก่อน” นั้น ดูเหมือนว่าจะฝังอยู่ในความคิดของนักคิดจำนวนไม่น้อย คนมักจะพูดกันว่าในอดีตที่เกิดวิกฤติแต่ละครั้ง ก็ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นโดยไม่มี “เซียน” คนไหนบอกก่อน สำหรับประเด็นนี้ผมเองก็มีข้อถกเถียงอยู่เหมือนกัน เพราะผมเองก็เคยผ่านมาหลายวิกฤติ ผมยอมรับว่าวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 นั้น เกิดขึ้นโดยผมแทบไม่รู้ตัวเลย เหตุผลอาจจะเป็นเพราะมันอยู่ไกลตัวมาก แต่วิกฤติของไทยในปี 2540 ซึ่งผมเองอยู่ใน “ศูนย์กลาง” ของปัญหานั้น ผมรู้ดีมากว่ามันจะต้องเกิดก่อนที่มันจะเกิดจริงไม่น้อยกว่า 1 ปี เพียงแต่ว่าเราทำอะไรไม่ได้ แก้ไขอะไรไม่ได้ และ “พูดไม่ได้” ในตอนนี้ที่เราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของปัญหาและไม่มีข้อมูลที่ดีพอ เราก็ไม่รู้จริง ๆ ว่าในที่สุดจะเกิดวิกฤติหรือไม่ แต่ด้วยปรากฎการณ์และสัญญาณที่เราเห็นอยู่หลายเรื่อง โอกาสที่จะเกิดปัญหากับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นก็น่าจะมีอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนนั้น เราคงไม่ได้ให้น้ำหนักว่าวิกฤติจะต้องเกิดแน่นอน เพราะถ้าคิดอย่างนั้น เราอาจจะตัดสินใจขายหุ้นทิ้งทั้งหมดซึ่งไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเลย สิ่งที่ควรจะทำก็คือ เตรียมปรับพอร์ตการลงทุนในลักษณะ Defensive หรือแนวอนุรักษ์นิยมที่อาจจะไม่ได้ถือหุ้น 100% และหุ้นที่ถืออยู่นั้นจะไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากเกินไป ราคาหุ้นก็ไม่ควรแพง เพราะถ้าเกิดวิกฤติจริง ราคาอาจจะตกลงมาได้มาก ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ วิกฤติอาจจะส่งผลต่อตลาดหุ้นยาวนาน ดังนั้น ควรเลือกหุ้นที่สามารถจ่ายปันผลได้ดีพอสมควรแม้ว่าเศรษฐกิจจะย่ำแย่ การได้รับปันผลในยามที่หุ้นตกลงมาหรือภาวะตลาดซบเซานั้นผมคิดว่าจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น อีกประการหนึ่งก็คือ หุ้นที่ยังสามารถจ่ายปันผลได้ดีนั้นก็คือกิจการที่แข็งแกร่งและไม่ล้มหายตายจากไปง่าย ๆ และพร้อมกลับมาเติบโตต่อไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อวิกฤติผ่านไป คำถามสุดท้ายก็คือ ถ้าเราค่อนข้างมั่นใจว่าปัญหาคงจะมีแน่แม้ว่าเศรษฐกิจอาจจะไม่วิกฤติ ทำไมเราไม่ถือเงินสด? คำตอบของผมก็คือ เงินสดนั้นก็คือการลงทุนอีกอย่างหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนน้อยมากน่าจะแค่ไม่เกิน 1-2% ต่อปี และจะน้อยต่อไปอีกน่าจะเป็น 10 ปีขึ้นไป ดังนั้น ถ้าเราสามารถเลือกหุ้นที่ให้ปันผลได้ซัก 3-4% ต่อปีขึ้นไปในระยะยาวแม้ในยามที่เศรษฐกิจยากลำบาก การถือเป็นหุ้นก็น่าจะดีกว่า และในกรณีแบบนี้ เราคงต้องลืมเรื่องของราคาหุ้นไปก่อน ที่มาบทความ: http://www.thaivi.org/วิกฤติกำลังจะมา/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นไทย ทองคำ น้ำมัน พันธบัตรรัฐบาล และตลาดโลก ผันผวนขนาดนี้ ลงทุนอะไรดี!? - FINNOMENA LIVE - FINNOMENA เกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นไทย ทองคำ น้ำมัน พันธบัตรรัฐบาล และตลาดโลก ผันผวนขนาดนี้ ลงทุนอะไรดี!? - FINNOMENA LIVE 19 พ.ย. 2562 ดู FINNOMENA LIVE ผ่าน Facebook ได้ที่ : https://www.facebook.com/finnomena/videos/963059960703314/ เกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นไทย ทองคำ น้ำมัน พันธบัตรรัฐบาล และตลาดโลก ผันผวนขนาดนี้ ลงทุนอะไรดี!? พิเศษ!! จับตาสถานการณ์ประท้วงฮ่องกง! การต่อสู้เพื่อเสรีภาพ กับความท้าทายของเศรษฐกิจฮ่องกง กระทบเราขนาดไหน? Market Factor รู้จักกับ “Inverted yield curve” ของรอบนี้กันชัดๆ อีกครั้ง!? และช่วง FINNOMENA PORT สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มาติดตามทั้งหมดนี้ และพูดคุยกัน ห้ามพลาดนะครับ! ติดตาม FINNOMENA LIVE ย้อนหลังตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl แท็ก: FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA LIVE Gold แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
การต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เพื่ออิสระภาพ กับความท้าทายของเศรษฐกิจฮ่องกง - FINNOMENA การประท้วงในฮ่องกง จนถึงตอนนี้ การชุมนุมกินระยะเวลาถึง 10 สัปดาห์แล้ว นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา เหตุการณ์นี้ ถือเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจฮ่องกงเองหรือไม่? ด้วยคำตอบที่นักลงทุนมองเห็น หากมองจากตลาดหุ้น Hang Seng ศูนย์กลางการเงินของเอเชีย ก็ต้องบอกว่า เป็นความเสี่ยงแน่นอน 15 ส.ค. 2562 การประท้วงในฮ่องกง อย่างที่เราทราบข่าวกันนั้น มีการพัฒนาขึ้นจากการชุมนุมต่อต้านร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่ทำให้จีนสามารถขอตัวผู้ต้องสงสัยที่ทำผิดในฮ่องกงไปดำเนินคดีในจีนได้ สาเหตุที่คนฮ่องกงจำนวนมากไม่ยอมให้ร่างกฎหมายนี้ผ่านได้ก็คือ กลุ่มผู้ต่อต้านมองว่า จีน อาจใช้ช่องโหว่กฎหมายนี้ ในการตรวจสอบ และจับกุมผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันในอนาคตเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพ และอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งจากจำนวนผู้ร่วมชุมนุมที่เราเห็นตามข่าว ก็ชัดเจนว่า ชาวฮ่องกงแคร์กับเรื่องนี้มากขนาดไหน จนถึงตอนนี้ การชุมนุมกินระยะเวลาถึง 10 สัปดาห์แล้ว นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา และเปลี่ยนกลยุทธ์จากการชุมนุมสถานที่เดียว มาเป็นการกระจายตัวชุมนุมและชุมนุมแบบเคลื่อนที่เร็ว เพื่อไม่ให้ตำรวจสกัดการชุมนุมได้เหมือน แล้วก็นำมาซึ่งปัญหาความรุนแรงอย่างที่เราเห็น เหตุการณ์นี้ ถือเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจฮ่องกงเองหรือไม่? คำตอบที่นักลงทุนมองเห็น หากมองจากตลาดหุ้น Hang Seng ศูนย์กลางการเงินของเอเชีย ก็ต้องบอกว่า เป็นความเสี่ยงแน่นอน สิ้นปี 2018 Hang Seng ปิดที่ราคา 25,845.70 จุด วิ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุดของปี 2019 เมื่อเดือนเม.ย. ที่ระดับ 30,157 จุด แต่ตอนนี้ ดัชนี Hang Seng ลงมาที่ระดับเดิมเมื่อต้นปีอีกรอบ จากต้นปี บวกไปจนถึงจุดสูงสุดของปี คิดเป็นการวิ่งขึ้น 16% และจากจุดสูงสุดเดือนเม.ย. จนถึงวันนี้ ร่วงมาแล้ว -15% ที่น่าสนใจคือ สัปดาห์ที่แล้วดัชนี Hang Seng มีร่วงลงมา 10 วันติดต่อกัน ถือเป็นการลบติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ก.ค. ย้อนกลับไปเมื่อปี 1984 เลยทีเดียว (แม้แต่ตอนวิกฤต Subprime ก็ไม่ไหลยาวติดต่อกันขนาดช่วงนี้) ในปี 1984 ณ ตอนนั้นที่ตลาดปรับฐาน คือ เป็นการปรับฐานในช่วงที่ตลาดรับรู้ข่าวว่า จะเกิดปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษขึ้น ในปลายปีนั้น ซึ่งสาเหตุเพราะอังกฤษพยายามทำการเจรจาต่อรองกับเพื่อต่ออายุสัญญาเช่าซื้อเขตนิวเทร์ริทอรีส์ไม่สำเร็จจนต้องทำตามสัญญาและถอนตัวจากการปกครองฮ่องกงกลายเป็น “1 ประเทศ 2 ระบบ” 2 เหตุการณ์ที่ตลาดหุ้นร่วงติดต่อกันยาวนาน มีจุดร่วมเหมือนกันก็คือ “เป็นเรื่องการเมือง” ซึ่งถือว่า มีผลต่อคนในประเทศฮ่องกงเอง และผลต่อเศรษฐกิจไม่น้อยทีเดียว ลองนึกภาพว่า ถ้าฮ่องกงถูกปกครองโดยจีน 100% จริงๆตั้งแต่ตอนนี้ ก็คิดไม่ออกเหมือนกันว่า เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่ที่แน่ๆ เหตุการณ์ปิดสนามบินฮ่องกงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทำให้ภาพความน่าสนใจของการทำธุรกิจในฮ่องกง เกิดความไม่แน่นอนขึ้นทันที นายสตีฟ ออร์ลินส์ คณะกรรมการแห่งชาติของประธานาธิบดีสหรัฐ – จีน ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า “ไม่เพียง แต่จะกระทบกับเศรษฐกิในระยะสั้น แต่ในระยะยาว – ถ้าคุณคิดถึงบริษัทข้ามชาติที่มีสำนักงานใหญ่ในฮ่องกง – พวกเขาจะคิดอย่างไร พวกเขาควรย้ายไปสิงคโปร์หรือไม่ พวกเขาควรย้ายไปไต้หวันหรือไม่ พวกเขาควรจะย้ายไปที่โตเกียวหรือไม่?” รายงานจากทางการฮ่องกง พบว่า กรุ๊ปทัวร์จีนแผ่นดินใหญ่มาฮ่องกงลดลงจากเฉลี่ยเดือนละ 7,800 กรุ๊ป เหลือ 5,641 กรุ๊ป รวมถึง Occupancy Rate ในฮ่องกงลดลง 20% จากปีก่อนหน้านี้ ในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ CEO ของสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิกแอร์เวย์ Rupert Hogg บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าการจองขาเข้าฮ่องกงลดลงเมื่อปีที่แล้วเนื่องจากการประท้วงแล้วมากกว่า -10% จากปีก่อน (นี่ยังไม่รวมผลกระทบจากการปิดสนามบินเมื่อวันจันทร์อีกนะ) ชาวฮ่องกงต้องการเสรีภาพขนาดนั้นเลยหรือ? ปัญหาสำคัญอีกอย่างที่คนรุ่นใหม่ในฮ่องกงรู้สึกตอนนี้ก็คือ “ปัญหาความเหลื่อมล้ำ” ฮ่องกงถูกจัดเป็นเมืองที่มีราคาที่ดินแพงที่สุดในโลก เฉลี่ยตกตารางฟุตละ $2,041 หรือประมาณ 63,000 บาท หรือ ราวๆ 673,000 บาท ต่อ ตารางเมตร ขณะที่เงินเดือนเฉลี่ยของชาวฮ่องกงอยู่ที่ $2,500 หรือคิดเป็นเงินบาท 77,500 บาท มีรายได้เหมือนเยอะ แต่ก็ค่าครองชีพสูง ไม่สามารถมีบ้านเป็นของตัวเอง สื่งนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงโดยตรง แต่ก็คงอยู่ในจิตใจคนรุ่นใหม่ในฮ่องกงไม่มากก็น้อย และต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตของพวกเขาที่ดีกว่า ว่าแต่… ราคาที่จ่าย คือ เท่าไหร่? Mr.Messenger รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
นักลงทุนต้องรู้! จัดเก็บภาษีใหม่วันที่ 20 ส.ค. 2562 กระทบกับกองทุนรวมที่เราถืออย่างไร? - FINNOMENA สืบเนื่องจาก พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) ปี พ.ศ. 2562 ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. เป็นต้นไป ได้มีการแก้ไขปรับปรุงการเก็บภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่ผ่านกองทุนรวม และมีการเปลี่ยนแปลงประเภทเงินได้ตามกฎหมาย ซึ่งจากประกาศนี้ จะมีผลกระทบต่อนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมอย่างไร? 16 ส.ค. 2562 สืบเนื่องจาก พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) ปี พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 19 พ.ค. 2562 ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. เป็นต้นไป ได้มีการแก้ไขปรับปรุงการเก็บภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่ผ่านกองทุนรวม และมีการเปลี่ยนแปลงประเภทเงินได้ตามกฎหมาย ซึ่งจากประกาศนี้ จะมีผลกระทบต่อนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมก็คือ กรณีที่ 1 : กรณีนักลงทุน ลงทุนในกองทุนรวมทุกประเภท (ยกเว้น RMF และ PVD) ที่มีการฝากเงิน หรือ ลงทุนในตราสารหนี้ จะถูกหักภาษี 15% ของดอกเบี้ย หรือ ส่วนลดรับ ที่กองทุนรวมได้รับจากผู้ออก โดยจะเป็นการหักภาษีตั้งแต่ต้นทางก่อนจะจ่ายดอกเบี้ย หรือผลกำไรส่วนต่างจากส่วนลดรับ แล้วนำเงินผลประโยชน์เข้ามาให้กองทุน ดังนั้น ในแง่ของ Operation Process จึงถือว่า ไม่มีผลกระทบต่อนักลงทุนแต่อย่างใด แต่ในแง่ของผลตอบแทนจากการลงทุน จะทำให้ ผลตอบแทนคาดหวังใครที่ลงทุนในกองทุนรวมที่มีการลงทุนในเงินฝาก หรือ ตราสารหนี้ หลังจากนี้จะปรับตัวลดลง ตามสัดส่วนที่กองทุนไปลงทุนเพราะต้องถูกหักภาษี 15% ทันที …ยังไม่หมดครับ มีอีก 1 ประกาศ ก็คือ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ซึ่งในเนื้อหา มีคำสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) (ซึ่งคือ เงินปันผล และ เงินส่วนแบ่งของกำไร) มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลที่จ่ายออกจากกองทุนรวมทุกประเภท ยกเว้นก็เพียงกองทุนรวมตราสารหนี้ ผลกระทบต่อนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมก็คือ กรณีที่ 2 : กองทุนรวมทุกประเภท (ยกเว้น กองทุนรวมตราสารหนี้) กรณีที่กองทุนรวมมีการจ่ายปันผลให้บุคคลธรรมดา ซึ่งรายได้ตรงนี้ เป็นรายได้มาตรา 40(4)(ข) จะถูก บลจ. หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ของจำนวนเงินปันผลที่นักลงทุนได้รับในทุกกรณี ตามคำสั่งกรมสรรพากร ทั้งนี้ ถึงแม้ท่านจะเลือกไม่ให้ บลจ. หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ ทาง บลจ. ก็จำเป็นต้องหักภาษีดังกล่าว ทั้งนี้ ยังคงสิทธิของนักลงทุนในการเลือกว่า เงินปันผลที่ได้รับ จะนำไปรวมคำนวนหรือไม่รวมคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้ สาเหตุที่ยกเว้น กองทุนรวมตราสารหนี้ ก็เพราะจะถูกหักภาษี 15% ไปแล้วตั้งแต่ต้นทางจากกรณีที่ 1 การเปลี่ยนแปลงนี้ จะมีผลกับการลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบ ทุก บลจ. ตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 2562 เป็นต้นไปครับ สรุปตามนี้ครับ กองทุนรวมหุ้น ที่มีนโยบายจ่ายปันผล – เงินปันผลที่ได้ นักลงทุนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายทันที 10% โดยไม่มีข้อยกเว้น กองทุนรวมหุ้น ที่มีนโยบายไม่จ่ายปันผล – ไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากประกาศนี้ กองทุนตราสารหนี้ ที่มีนโยบายจ่ายปันผล – ไม่ถูกหักภาษี ที่จ่าย 10% ตอนจ่ายปันผล แต่ถูกหักภาษี 15% ตั้งแต่ได้ผลตอบแทนจากตราสารต้นทาง กองทุนตราสารหนี้ ที่มีนโยบายไม่จ่ายปันผล – ดอกเบี้ย และส่วนลดรับ จะถูกหักภาษี 15% ตั้งแต่ได้ผลตอบแทนจากตราสารต้นทาง กองทุนรวมผสม ที่มีนโยบายจ่ายปันผล – ในส่วนที่ผู้จัดการกองทุนจัดสรรเงินลงทุนไปลงทุนในตราสารหนี้ หรือ เงินฝาก ดอกเบี้ยหรือส่วนลดรับที่กองทุนได้จากผู้ออกตราสาร จะถูกหักภาษี 15% และถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ตอนจ่ายปันผลให้นักลงทุน กองทุนรวมผสม ที่มีนโยบายไม่จ่ายปันผล – ถูกหักภาษี 15% ตั้งแต่ได้ผลตอบแทนจากตราสารต้นทาง (เฉพาะส่วนที่ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้) แต่ทั้งนี้ ก็มีข้อถกเถียงกันอยู่นะครับ กรณีการลงทุนในกองทุนรวมผสมที่มีนโยบายจ่ายปันผล ว่า ไม่ควรหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% อีกครั้งหรือเปล่า เพราะเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ผิดหลักการภาษี ประเด็นนี้ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ดังนั้น แนะนำนักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนรวมผสมอยู่ ณ ปัจจุบัน หรือ คิดจะลงทุนในอนาคตหลังวันที่ 20 ส.ค. 2562 เป็นต้นไป แนะนำว่า หลีกเลี่ยงการลงทุนไปก่อน ถ้าไม่อยากโดนเก็บภาษี 2 ต่อ ไม่งั้น ผลตอบแทนที่ได้ โดนภาษีกินไปหมดครับ ไม่คุ้มกับที่เสี่ยงลงทุนไป แหล่งที่มา :- http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2562/A/067/T_0103.PDF https://www.rd.go.th/publish/3479.0.html Mr.Messenger รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถิติบอกว่า ... ขาขึ้นของราคาทอง ยังไม่จบง่ายๆ - FINNOMENA นับตั้งแต่ต้นปี 2019 จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาทองขยับขึ้นมาแล้วมากกว่า 16% ถือเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุด ซึ่งจากผลตอบแทนที่ดีขึ้นในปี 2019 นี้ ก็นำไปสู่คำถามที่ว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาทองขยับขึ้นมาได้ค่อนข้างรวดเร็ว? 19 พ.ย. 2562 นับตั้งแต่ต้นปี 2019 จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาทองขยับขึ้นมาแล้วมากกว่า 16% ถือเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับหุ้นโลก หุ้นไทย ตราสารหนี้ หรือ โภคภัณฑ์ตัวอื่นอย่างราคาน้ำมัน จะมีแพ้ ก็แพ้แค่หุ้นสหรัฐฯ อยู่นิดหน่อย ซึ่งจากผลตอบแทนที่ดีขึ้นในปี 2019 นี้ ก็นำไปสู่คำถามที่ว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาทองขยับขึ้นมาได้ค่อนข้างรวดเร็ว ซึ่งเหตุผลของการขึ้นของราคาทอง มาจาก 2 ประเด็นหลักๆ 1. คณะกรรมการ FOMC มีการเปลี่ยนจุดยืนด้านนโยบาย (Policy Stance) ถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ในการประชุมรอบที่ผ่านมา ออกมาในทำนองว่า จะพิจารณาภาพรวมของเศรษฐกิจและการลงทุนมากขึ้น การลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี สะท้อนว่า เฟดก็เห็นสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจ และพร้อมจะลดดอกเบี้ยมากขึ้น รวมถึงอีกหนึ่งสัญญาณที่ชัดเจนมากๆ ก็คือ การตัดสินใจชะลอการทำ QT เร็วขึ้น 2 เดือนจากที่กำหนดไว้ก่อนหน้า ก็แปล่วา เฟดเองไม่อยากให้สภาพคล่องในระบบถูกดูดกลับเร็วเกินไป และข้อมูลโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่สำนักข่าว Bloomberg ติดตามอยู่ ล่าสุด โอกาสเพิ่มขึ้นมาสูงกว่า 20%ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009 หรือ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เห็นแบบนี้ นักลงทุนในตลาด ก็จะเริ่มคิดถึงการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนยังสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่หุ้นมากขึ้น 2. ครั้นจะเอาเงินลงทุนขายออกจาตลาดหุ้น ไปลงทุนยังตราสารหนี้ ก็เจอปัญหาเดิมๆ นั้นก็คือ อัตราผลตอบแทนที่ต่ำเตี้ยติดดิน โดยพบว่า พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ของ 11 ประเทศทั่วโลก ให้อัตราผลตอบแทนติดลบกันไปแล้ว (ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป จะมีที่นอกยุโรป ก็คือ ประเทศญี่ปุ่น) และประเทศที่ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) คำนวนจาก นำผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ พบว่า มีมากกว่า 19 ประเทศทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่า การถือตราสารหนี้ในเวลานี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนจูงใจอะไรแก่นักลงทุนเลย แต่สาเหตุที่เงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง เป็นเรื่องของความกลัวเศรษฐกิจชะลอ หรือ ถดถอยเสียมากกว่า ดังนั้น เงินลงทุนอีกส่วนจึงไหลมาเข้าลงทุนในทองคำ ใครเป็นผู้ซื้อทองคำในรอบนี้? กลับไปดูข้อมูลของ World Gold Council พบว่า เหล่ากองทุน ETF มีการสะสมทองคำแท่งมากขึ้นชัดเจนในเดือนมิ.ย. และก.ค. ที่ผ่านมา โดยซื้อทองไปมากถึง 127 ตัน และ 52 ตัน ตามลำดับ ถ้านับตั้งแต่ต้นปี กองทุน ETF เหล่านี้ สะสมทองไปแล้วถึง 6.4% ของขนาดกองทุน โดยเป็นเม็ดเงินลงทุนที่เข้ามาในกองทุน คิดเป็นมูลค่า 8.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ มากกว่า 190 ตัน ทีเดียว ชัดเจนว่า ทองคำปีนี้ ผู้ซื้อหนักๆมาจาก Investment Demand หรือ ซื้อเพื่อลงทุน มากกว่า เพื่อไปทำอย่างอื่น โดยเป็นการซื้อผ่านกองทุน Gold ETF อย่างที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนั้น ข้อมูลจาก kitco.com ซึ่งเพิ่งรายงานออกมาสัปดาห์ที่แล้ว ก็พบว่า ผู้ซื้อรายใหญ่อีกราย ที่แอบสะสมทองมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นก็คือ “ประเทศจีน” โดยในปีนี้ จีน มีการซื้อทองเพื่อเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาต่อเนื่องทุกเดือน โดยสิ้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีน รายงานตัวเลขการถือทอง อยู่ที่ 8.9 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยรายงานจากทางการจีน บอกว่า เฉพาะช่วงไตรมาส 2 (เดือน เม.ย. ถึง มิ.ย.) ที่ผ่านมา จีน ซื้อทองคำแท่งเข้าเป็นเงินทุนสำรอง สูงถึง 224 ตัน ถือเป็นตัวเลขการซื้อที่มากกว่านักลงทุนทั้งโลกที่ซื้อผ่านกองทุน Gold ETF เสียอีก การซื้อทองคำของจีน เป็นที่คาดการณ์กันได้อยู่แล้วว่า ก็เพื่อลดอิทธิพล หรืออำนาจของค่าเงินดอลล่าร์ลง ยิ่งมีสงครามการค้ากันอยู่ตอนนี้ ยิ่งชัดเจนว่า กลยุทธ์นี้ ในมุมมองของจีน อาจเป็นทางเลือกที่ถูกต้องเพื่อใช้ในการคานอำนาจกับสหรัฐฯ ที่ดีทางหนึ่ง ในแง่ของสัญญาณบนกราฟเทคนิค พบว่า ราคาทองดีดตัวแรงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขึ้นมาเหนือ $1,500 นั้น ดูเหมือนจะขึ้นมาแรงและเร็วเกินไปในสายตาของนักลงทุนบางกลุ่ม แต่ถ้าดูจากการสะสมพลังในกรอบบริเวณ $1,150 – $1,350 มาเป็นระยะเวลา 3 ปี การขึ้นมารอบนี้ ก็มองได้ว่า ยังถือว่าน้อยเกินไปน้อย หากจะบอกว่า ราคาทอง หมดรอบขาขึ้นแล้ว และการผ่านแนวต้าน $1,350-$1,360 ขึ้นมา น่าจะเรียกว่าขาขึ้นรอบใหม่ เกิดขึ้นที่ตรงนั้น ดังนั้น แนวต้านที่ทองคำจะมีย่อแรงๆซักครั้ง จึงอยู่แถวๆ $1,550 – $1,570 น่าจะเป็นแนวต้านที่สำคัญจริงๆ หลังจากนี้ ราคาทองอาจเริ่มผันผวนมากขึ้น จากความไม่แน่นอนในประเด็นสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน แต่ถ้าผันผวนลง ก็เป็นโอกาสในการกระจายการลงทุน มากกว่าจะบอกว่า ราคาทอง หมดรอบขาขึ้นแล้วนะครับ Mr.Messenger ที่มาบทความ: http://inews.bangkokbiznews.com/read/378057 แท็ก: Gold แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
"สงครามค่าเงินปะทุ!" ยามตลาดผันผวน หยวนอ่อน! ทองคำพุ่ง! บอนด์ยีลด์ร่วง! ดอกเบี้ยลด! นักลงทุนรับมืออย่างไร? - FINNOMENA LIVE - FINNOMENA "สงครามค่าเงินปะทุ!" ยามตลาดผันผวน หยวนอ่อน! ทองคำพุ่ง! บอนด์ยีลด์ร่วง! ดอกเบี้ยลด! นักลงทุนรับมืออย่างไร? - FINNOMENA LIVE 19 พ.ย. 2562 ดู FINNOMENA LIVE ผ่าน Facebook ได้ที่ : https://www.facebook.com/finnomena/videos/689151218192483/ รับมือ “สงครามค่าเงินปะทุ!” ยามตลาดผันผวน หยวนอ่อน! ทองคำพุ่ง! บอนด์ยีลด์ร่วง! ดอกเบี้ยลด! นักลงทุนรับมืออย่างไร? พิเศษ!! Art of Strategy “เงินฝังตุ่ม” ความกลัวใกล้ถึงจุดอิ่มตัวหรือยัง!? โดยคุณ @ประกิต สิริวัฒนเกตุ รวบรวมประเด็นเด่นประจำสัปดาห์ที่ต้องจับตามอง!! กนง. ลดดอกเบี้ย ตลาดตอบสนองอย่างไร? เมื่อราคาทองคำทำจุดสูงสุด!! บอนด์ยีลด์สหรัฐร่วงต่ำสุดในรอบ 3 ปี!! FED จะลดดอกอีกครั้งหรือไม่!? เจรจาการค้า สหรัฐ-จีน จะยื้อถึงเลือกตั้งปธน.สหรัฐปีหน้า!? และช่วง FINNOMENA PORT สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พร้อม Market Factors ตอน “Currency War จากอดีต สู่ปัจจุบัน” มาถามตอบกันสดๆ กับ FundTalk และ คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ ห้ามพลาดนะครับ! ติดตาม FINNOMENA LIVE ย้อนหลังตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl แท็ก: FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA LIVE Gold แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Art of Strategy 08 ส.ค.62: เงินฝังตุ่ม - FINNOMENA โลกอยู่ในสภาวะ Risk-off ตลาดมีความกลัวสูง ตลาดไม่มั่นคง เงินโยกออกจากสินทรัพย์ ทะลักสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ตอนนี้โลกยังกลัวกันอยู่ แต่สัญญาณหลายๆ อย่างได้บอกมาว่า ความกลัวมันใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว...? 8 ส.ค. 2562 โลกอยู่ในสภาวะ Risk-off ตลาดมีความกลัวสูง ตลาดไม่มั่นคง เงินโยกออกจากสินทรัพย์ ทะลักสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งตรงกันข้ามกับสภาวะ Risk-on นักลงทุนมั่นใจ เงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง …พูดถึง Risk-Off ก็อดขำไม่ได้ เพราะเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ จำได้ว่าต้องมาเถียงกับเจ้าหน้าที่การตลาดของที่ทำงานเดิม เพราะเค้าบอกว่า Risk-Off คือสภาวะที่ตลาดมีความเสี่ยงต่ำ เงินจะต้องไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง ในหลายๆ ปีที่ผ่านมา โลกเกิดปรากฎการณ์ Risk-on สลับ Risk-off มาตลาด ลักปิดลักเปิด บางครั้งก็กลัวหนัก บางครั้งก็กลัวเบา แต่มาช่วงนี้ เห็นได้ชัดว่ากลัวกันขนหัวลุก กลัวในระดับว่าโลกจะแตกแหวกชิมิกันอย่างจงหนัก สาเหตุของความกลัวคงไม่ต้องไปพูดถึง แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ กระแสเงินที่ไหลออกจากสินทรัพย์ตอนนี้ มักทะลักเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยรุนแรงผิดไปจากที่ผ่านมามาก (แสดงว่ากลัวกันสุดขีด) ราคาทองคำพุ่งขึ้นกว่า 5% ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สู่ 1,496 เหรียญสูงสุดในรอบ 5 ปีแบบ งงๆ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกดิ่งลงอย่างหนัก US 10Y Bond Yield ดิ่งลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ้งที่ 1.73% และที่ชัดที่สุดคือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของญี่ปุ่น ลงติดลบถึง -0.22% ใกล้ทำจุดต่ำสุดในรอบ 11 ปี รูปที่ 1 ความกลัวว่าโลกจะแตกแหวกชิมิ จนถึงขนาดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรติดลบ แปลว่า เอาเงินไปฝากแบงค์แล้วยังต้องถูกหักค่าฝาก แบบนี้สู้เอาเงินไปฝังตุ่มไม่ดีกว่าเหรอ แปลว่า สถานการณ์ตอนนี้มันคือสภาวะที่ขัดแย้งกับธรรมชาติของเงินอย่างแรง ลองย้อนกลับไปในอดีต ดูจากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2016 ตอนนั้นโลกกลัวเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรง (จากการชะตัวทางเศรษฐกิจของจีน) อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ของญี่ปุ่นปรับลงติดลบ ทำเอาราคาทองคำพุ่งกระฉูดทะลุปอด เมื่อ 11 ก.พ. 2016 วันเดียวขึ้นกว่า 50 เหรียญ หรือ 4.2% ตลาดหุ้นทั่วโลกไม่ต้องพูดถึง ดิ่งนรกหมกไหม้ แต่ก็อย่างที่บอกความผิดธรรมชาติดังกล่าวมันไม่สามารถอยู่ได้นาน ในจังหวะที่ทุกคนกลัวกันอุจจาระตัดหาย เงินก็ไปโถมที่พันธบัตรกันจนผลตอบแทนติดลบ คำถามคือ เงินมันจะค้างอยู่อย่างนั้นนานเหรอ … ตอบได้เลยว่า เงินมันไม่สามารถอยู่ในที่ผลตอบแทนติดลบได้นาน ยิ่งในยุคที่สภาพคล่องของโลกกำลังจะกลับมาลั้นอีกครั้ง บอกได้เลยว่า เงินอยู่เฉยๆ ให้ด้อยค่าไม่ได้ (เพราะเงินเฟ้อมันกำลังจะเร่งตัว) ถ้าเป็นเมื่อปีที่แล้วจะไม่ว่าเลย เพราะเป็นปีที่สภาพคล่องโลกถูกดูดออก แต่มันไม่ใช่สำหรับปีนี้ที่บรรดาธนาคารกลางกำลังเตรียมใช้ easing policy และรัฐบาลประเทศใหญ่กำลังเตรียมใช้งบประมาณขาดดุลเพื่อดำเนินนโยบายการคลังครั้งใหญ่ เมื่อดูจากรูปที่ 1 ด้านบน เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของญี่ปุ่น และ MSCI Emerging Market เมื่อปี 2016 จะเห็นได้ชัดว่าในช่วงที่อัตราผลตอบแทนติดลบ ดัชนี MSCI Emerging market จะเริ่มพบจุดต่ำสุด หลังจากนั้นก็ฟื้นยาว ในทางตรงกันข้าม รูปที่ 1 ด้านล่าง ราคาทองคำซึ่งขึ้นแรงในช่วงผลตอบแทนติดลบ ก็จะพบจุดสูงสุดและเข้าสู่โหมดปรับฐานใหญ่ จากรูปสรุปได้ชัดเลยว่า เมื่อโลกเข้าสู่สภาวะความกลัว เงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย แต่ความกลัวนั้น มันจะมีขั้นสุด คือเมื่ออัตราผลตอบแทนติดลบรุนแรง เงินมันอยู่ตรงนั้นไม่ได้ก็จะย้อนกลับมาหาสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง รูปที่ 2 รูปที่ 2 อันนี้เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทน 10 ปีของไทย เทียบกับ SET Index ก็เป็นไปตามนั้น ช่วงที่เกิดความกลัว ไทยซึ่งถูกมองว่าเป็น Safe Haven เงินก็โยกมาพันธบัตรเยอะ ตลาดหุ้นลง แต่เมื่อถึงจุดต่ำสุด (ซึ่งตอนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรใกล้ทำ New Low แล้วนะจ้า) สภาวะแบบนี้มันจะอยู่ไม่นาน เงินจะไหลกลับสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างรวดเร็ว อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ของไทยลงสู่ 1.6% เอาจริงทำให้ไม่แปลกใจเลยที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยลงมา 0.25% สู่ 1.75% เพราะคนที่ติดตามทิศทางดอกเบี้ยจะรู้ว่า Bond Yield มันลงต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายได้ไม่นาน และด้วยไทยถูกมองเป็น Safe Haven เงินไหลเข้ามาพักจนบาทแข็งค่ามากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค แบบนี้ กนง. ไม่สามารถคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปได้แน่นอน รูปที่ 3 รูปที่ 3 ตอนนี้ Earning Yield Gap ระหว่างอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในตลาดหุ้นไทยหักออกด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ถ่างออกเป็น 4.28% ถือเป็นสัญญาณที่น่าจับตาว่า SET Index จะเป็นอย่างไรต่อไปเป็นอย่างยิ่ง เพราะดูจากรูปก็จะเห็นว่าเอาแค่ถ่าง 3.8% ก็จะทำให้ตลาดฟื้นได้ทุกครั้งแล้ว มาถึงบรรทัดนี้ ผมคิดว่า ตอนนี้โลกยังกลัวกันอยู่ แต่สัญญาณหลายๆ อย่างได้บอกมาว่า ความกลัวมันใกล้ถึงจุดอิ่มตัว ดังนั้น ความหวังที่เงินจะไหลกลับสู่สินทรัพย์เสี่ยงยังมีอยู่ … เรายังมีความหวังอยู่ครับ ติดตามบทความอื่นๆ หรือสอบถามพูดคุยเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/prakitsiriwattanaket ประกิต สิริวัฒนเกตุ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
FINNOMENA PORT Strategy เดือนสิงหาคม : The First Rate Cut in 11 Years (The Turning Point) - FINNOMENA ล่าสุด Fed มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลง 0.25% มาสู่ระดับ 2.00 - 2.25% ซึ่งถือเป็นการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปี พร้อมกันนั้น ยังประกาศยุติมาตรการลดขนาดงบดุล (QT) เร็วกว่ากำหนดถึง 2 เดือน มาอัปเดตสถานการณ์และคำแนะนำการลงทุนล่าสุดกันเลย 16 ส.ค. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> Chart of the Month รูปที่ 1 Fed Fund Target Rate (1990 – Present) l Source : https://idubainews.com as of 1/8/2019 เศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ปี 2018 โดยสาเหตุหลักมาจากการลงทุนจากภาคธุรกิจที่ชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศแกนหลักของโลกยังคงต่ำกว่าระดับเป้าหมาย ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลก มีท่าทีใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed Fund Rate ลง 0.25% มาสู่ระดับ 2.00 – 2.25% ซึ่งถือเป็นการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปี พร้อมกันนั้น ยังประกาศยุติมาตรการลดขนาดงบดุล (QT) เร็วกว่ากำหนดถึง 2 เดือน ท่ามกลางตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่งทั้งในส่วนของการจ้างงานและการบริโภค เพื่อเป็นหลักประกันว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯจะยังคงดำเนินต่อไป รูปที่ 2 ผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ย l Source : https://bullmarkets.co as of 1/8/2019 ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมานั้น หาก FED ดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น แต่ห่างจากจุดสูงสุดของการปรับขึ้นดังกล่าวไม่เกิน 2% ผลปรากฏว่า 1 ปีหลังจากนั้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 17 ครั้ง จากทั้งหมด 18 ครั้ง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 13.29% มีเพียงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2007 เท่านั้นที่ผลตอบแทนหลังจากการปรับลดดอกเบี้ยติดลบเนื่องจากวิกฤติ Subprime เมื่อพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยควบคู่กับอัตราการว่างงานที่ระดับต่ำกว่า 5% พบว่า 10 ครั้ง จากทั้งหมด 13 ครั้ง ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนติดลบ แต่ 3 ครั้งที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก ทำผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 21.27% รูปที่ 3 ผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่า 2 ปี l Source : https://bullmarkets.co as of 1/8/2019 เมื่อพิจารณาในเชิงระยะเวลา หาก FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังจากไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป ยังคงสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกได้มากกว่า ด้วยจำนวน 3 ครั้งจากทั้งหมด 5 ครั้ง โดยการปรับตัวลง 2 ครั้งนั้นเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเกิดวิกฤติ สอดคล้องกับแถลงการณ์ของประธาน FED ที่ระบุว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแบบ Mid-Cycle Adjustment ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะที่เศรษฐกิจยังขยายตัว มีโอกาสต่ำที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเป็นการปรับเพื่อหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไป การส่งออกและอุตสาหกรรมซบเซาครึ่งปีแรก คาดยังไม่ฟื้นตัวในระยะสั้น รูปที่ 4 ตัวเลขการส่งออกของประเทศจีน, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ (Exports, %YoY) l Source : Bloomberg as of 1/8/2019 อย่างไรก็ตามความขัดแย้งประเด็นการค้าที่ยังไร้ข้อยุติส่งผลให้ตัวเลขการส่งออก (Exports) ทั่วโลกหดตัว และส่งผลต่อเนื่องไปยังภาคการผลิตที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยที่เด่นชัดที่สุด คือ ตัวเลขการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เดือนมิถุนายน เช่น ประเทศจีนที่หดตัว 1.3% (YoY), สิงคโปร์ ที่หดตัว 17.30% (YoY) เช่นเดียวกับตัวเลขของประเทศไทยซึ่งหดตัว 2.15% (YoY) นับเป็นการหดตัว 4 เดือนติดต่อกัน ด้านภาคอุตสาหกรรมซึ่งประเทศจีนเป็นฐานการผลิตและส่งออกหลักของโลก เปิดเผยตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือนมิถุนายน ขยายตัว 6.3% (YoY) สูงกว่าคาดที่ 5.2% (YoY) แต่ยังคงอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวนับตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตัวเลขกำไรภาคอุตสาหกรรมของจีน (Industrial Profits) เดือนมิถุนายน หดตัวอีกครั้งที่ 3.1% (YoY) หลังฟื้นตัวเมื่อเดือนก่อน ส่วนตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน ขยายตัว 1.32% (YoY) แต่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ แกร่งอยู่คนเดียว? รูปที่ 5 ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) แบ่งตามภาคส่วน I Source : Oxford Economics as of 30/7/2019 ขณะที่ตัวเลข GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 2 (เบื้องต้น) ขยายตัว 2.1% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 3.1% แต่สูงกว่าคาดการณ์ที่ 1.8% พบว่าการลงทุนถาวร (Fixed Investment) หดตัว 0.8% โดยหดตัวทั้งในส่วนที่อยู่อาศัยและไม่ใช่ที่อยู่อาศัย สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับตัวเลขภาคอสังหาฯ เดือนมิถุนายน ที่ชะลอตัวลง (MoM) ทั้งจำนวนบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้าง (Housing Starts), ยอดอนุญาตสร้างบ้าน (Building Permits) และยอดขายบ้านมือสอง (Existing Home Sales) มีเพียงยอดขายบ้านใหม่ (New Home Sales) ที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ด้านตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง ด้วยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเษตร (Nonfarm Payrolls) เดือนมิถุนายน ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 224,000 ตำแหน่ง รวม 6 เดือนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 1,082,000 ตำแหน่งและเป็นการขยายตัวต่อเนื่องยาวนานถึง 105 เดือน ส่งผลให้อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายของ FED ที่ระดับ 3.7% ซึ่งหนุนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (Consumer Spending) ให้ขยายตัวในทุกภาคส่วนด้วยอัตรา 4.3% สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับตัวเลขการค้าปลีก (Retail Sales) ซึ่งฟื้นตัวตั้งแต่ต้นปี โดยในเดือนมิถุนายน ขยายตัว 3.4% (YoY) และ 0.4% (MoM) ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ (Government Spending) เป็นอีกส่วนที่หนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยประกาศออกมาที่่ขยายตัว 4.98% สูงกว่าไตรมาสก่อน สะท้อนการใช้จ่ายภายในที่ยังแกร่ง รูปที่ 6 Global PMI (Manufacturing & Non-Manufacturing) I Source : Bloomberg as of 1/8/2019 เมื่อพิจารณาดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อทั่วโลก (Global PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้าที่สำคัญ พบว่ามีเพียงสหรัฐฯ อินเดีย และ บราซิลเท่านั้นที่ยังอยู่ในแดนขยายตัว ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ อย่างญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และยุโรป ล้วนแต่อยู่ในแดนหดตัวทั้งสิ้น ส่งผลให้ดัชนี Global PMI อยู่ในแดนหดตัว หุ้นกลุ่มผู้นำยังค้ำตลาดโลกต่อเนื่อง รูปที่ 7 MSCI World Technology Sector Index / MSCI World, MSCI World Consumer Staple Index / MSCI World l Source : Bloomberg as of 31/7/2019 อย่างไรก็ตาม บริการและอุปโภคบริโภค ซึ่งทั้งตัวเลขค้าปลีก (Retail Sales) และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Services PMI) ทรงตัวสวนทางภาคการส่งออกและอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มนี้ที่แม้จะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังโดดเด่นเหนือกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งมีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น Coca-Cola, P&G ขณะที่กลุ่มเทคโนโลยี (Technology Sector) ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำตลาดหุ้นอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่ปี 2016 แม้ผลประกอบการจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากช่วงสองปีที่แล้ว แต่ผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2019 เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวและสูงกว่าคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ เช่น Microsoft, Taiwan Semiconductor Manufacturing Company, Google, Intel หรือAmazon FINNOMENA Investment Team ยังติดตามผลประกอบการ ทิศทาง และผลของการดำเนินนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกัน FINNOMENA Investment Team แนะนำให้นักลงทุนกระจายการลงทุน (Diversification) ในสินทรัพย์ซึ่งสร้างผลตอบแทนในช่วงของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและตลาดการเงินมีความผันผวนสูง ยุโรปเหมือนแย่ แต่ไม่แย่ทั้งหมด รูปที่ 8 ผลตอบแทนดัชนี Stoxx600 เทียบกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค, เทคโนโลยี และภาคการบริการ l Source : Bloomberg as of 30/7/2019 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0% พร้อมสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยระดับนี้หรือต่ำกว่าต่อไปถึงกลางปีหน้า โดยมองว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงแย่ลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมือง และเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดที่เปราะบางเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยุโรป สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของยุโรป (Euro Manufacturing PMI) เดือนมิถุนายน ประกาศออกมาที่ 46.5 จุด ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ยังสะท้อนภาพการบริโภคที่แข็งแกร่งแต่ยังปราศจากความมั่นใจ (Consumer Confidence) ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรฐานสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่เมื่อปลายปี 2018 และการปรับขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์ของสหรัฐฯ เริ่มกลับมามีกำไรและขยายตัวที่ดีกว่าคาด ในระยะสั้นแนวโน้มการขยายตัวที่สูงของยอดขายในกลุ่มเทคโนโลยี การบริโภคที่โดดเด่นของยุโรปและสหรัฐฯ ประกอบกับท่าทีผ่อนคลายทางการเงินของ ECB และ FED ยังหนุนตลาดหุ้นยุโรปต่อไป เจรจาการค้าเหมือนมีคนอยากให้ยืดเยื้อ รูปที่ 9 ทวิตเตอร์ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต่อการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศจีน l Source : Twitter as of 2/8/2019 การเจรจาการค้ารอบล่าสุดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่นครเซี่ยงไฮ้ ยังไร้ซึ่งข้อตกลง แต่มีมติร่วมกันให้มีการเจรจาอีกครั้งในเดือนกันยายนนี้ ทางด้านจีนแถลงการณ์ระบุการเจรจาดำเนินไปอย่างสร้างสรรค์ สวนทางประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ทวิตข้อความระบุว่าทางการจีนยังไม่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรตามที่ตกลงไว้ก่อนหน้า ส่งผลให้นายโดนัลด์ ทรัมป์เตรียมการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศจีนเพิ่มเติมด้วยอัตราภาษี 10% บนสินค้ามูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2019 สร้างแรงกดดันต่อตลาดการลงทุนอีกครั้ง FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่า ท่าทีดังกล่าวจะยังคงรบกวนตลาดการลงทุนต่อไป ผลประกอบการสอดคล้องทิศทางเศรษฐกิจ รูปที่ 10 Microsoft, Visa Inc., Caterpillar EPS Growth / Forecast (YoY) l Source : Bloomberg as of 1/8/2019 ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนหลักๆ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ในส่วนของหุ้น Caterpillar ซึ่งเป็นบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องจักรในธุรกิจก่อสร้างและอุตสาหกรรมทั่วโลก มีรายได้ Q2/2019 ที่ 14,432 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 3% (YoY) แต่กำไรหดตัว 5% (YoY) ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีและบริโภคนั้นยังมีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องจากการธุรกิจ Cloud ที่ขยายตัวได้ดี และการบริโภคที่แข็งแกร่งทั่วโลก โดยในส่วนของ Microsoft กำไรขยายตัว 27% (YoY) สูงกว่าคาดการณ์ ขณะที่ Visa มียอดการชำระเงินทั้งหมดเพิ่มขึ้น 8.7% แตะระดับ 2.23 ล้านล้านดอลลาร์ โดยคิดเป็นการจ่ายสกุลเงินดอลลาร์เพียง 8.8% ของยอดรวมทั้งหมด สะท้อนภาพการบริโภคที่ไม่ได้แข็งแกร่งเพียงแค่ในสหรัฐฯ เท่านั้น BOJ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจหลังยังไร้สัญญาณฟื้นตัว รูปที่ 11 การส่งออก (Exports), อัตราเงินเฟ้อ (CPI), ความมั่นใจผู้บริโภค (Consumer Confidence) ของญี่ปุ่น l Source : Bloomberg as of 1/8/2019 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังซบเซาซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางการค้าโลก และกรณีพิพาทกับเกาหลีใต้ สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Manufacturing PMI) ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 49.6 จุด เป็นระดับที่บ่งชี้การหดตัวของเศรษฐกิจในระยะกลาง เช่นเดียวกับการส่งออกในเดือนมิถุนายน ที่หดตัว 6.7% (YoY) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงอย่างต่อเนื่องสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 44 เดือน ที่ 38.8 จุด ด้านผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในภาพรวมยังคงถูกปรับลดประมาณการ มีเพียงกลุ่มธุรกิจจัดหาแรงงานที่มีการปรับประมาณการกำไรขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้นายกฯ ญี่ปุ่นประกาศชัดเจนว่าจะปรับขึ้นภาษีขาย (Sales Tax) จาก 8% สู่ระดับ 10% ในวันที่ 1 ตุลาคม เพื่อชดเชยรายจ่ายด้านสวัสดิการ สร้างแรงกดดันต่อการบริโภคของญี่ปุ่นอีกครั้ง ล่าสุดธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังท่าทีเชิงผ่อนคลายโดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.1% และพร้อมที่จะใช้มาตรการที่จำเป็น ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการเพิ่มวงเงินการซื้อสินทรัพย์ทั้งในพันธบัตร หุ้นกู้ และหุ้น หรือ QQE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ “อย่างไม่ลังเล” ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงบวกช่วยลดแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ เศรษฐกิจไทยจำต้องเร่งกระตุ้น รูปที่ 12 อัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก I Source : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า as of 30/7/2019 ทิศทางการส่งออกไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ โดยแม้ตัวเลขในเดือนมิถุนายนจะหดตัวลดลงที่ 2.15% (YoY) แต่หากไม่รวมการส่งออกทองคำออกพบว่าหดตัวมากถึง 8.7% (YoY) ด้านภาคอสังหาฯ ที่ร้อนแรงในช่วงเวลาก่อนหน้านี้เริ่มเผชิญภาวะซบเซา หลังธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินมาตรการคุมเข้มสินเชื่อบ้าน (LTV : Loan to Value) ส่งผลให้ยอดขายลดลงต่อเนื่องรวมถึงบรรยากาศการเข้าชมและซื้ออสังหาฯ ซบเซาอย่างมีนัยยสำคัญ ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่ รูปที่ 13: กำไรสุทธิจากผลประกอบการกลุ่มหุ้นธนาคารไทยประจำไตรมาส 2/2562 และอัตราการขยายตัวของสินเชื่อรายไตรมาส | Source : Bloomberg as of 30/7/2019 ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไทยประกาศผลประกอบการที่ค่อนข้างหลากหลาย โดยรายได้ของธนาคารใหญ่มีแนวโน้มขยายตัว ด้านธนาคารขนาดเล็กและกลางชะลอตัว กำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หดตัวเล็กน้อยที่ -0.47% (YoY) ขณะที่ภาพรวมสินเชื่อ ขยายตัวเพียง 1.29% (QoQ) โดยสินเชื่อธุรกิจหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรายย่อยยังสามารถขยายตัวแต่มีแนวโน้มชะลอตัวโดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล ถึงกระนั้นความเชื่อมั่นจากสถาบันต่างชาติกลับปรับมุมมองที่ดีขึ้นต่อจาก Moody’s สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านการลงทุน ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) จากระดับมีเสถียรภาพ (Stable) เป็น เชิงบวก (Positive) และคงอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) ที่ Baa1 หรือเทียบเท่า BBB+ โดยมีปัจจัยหนุนจากการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการลงทุนและการพัฒนาทุนมนุษย์ รวมถึงการดำเนินนโยบายทางการคลังและการเงินของรัฐบาลที่โปร่งใสสามารถคาดการณ์ได้ และระบบการเงินมีเสถียรภาพ ส่วนการลงทุนภายในและพัฒนาทุนมนุษย์จะช่วยเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลดปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ Leading Indicator บ่งชี้ มีความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอใน 1-3 ปีข้างหน้า รูปที่ 14 Goldman Bull / Bear Indicator และ S&P 500 performance l Source : Goldman Sachs as of 1/8/2019 ดัชนีบ่งชี้ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอย่าง Goldman Bull / Bear Indicator ซึ่งสะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่อตลาด ทรงตัวอยู่เหนือระดับ 0.8 จุด สะท้อนมุมมองเชิงบวกที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 โดยจากข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 1953 – ปัจจุบัน พบว่าทุกครั้งที่ดัชนีอยู่เหนือระดับ 0.7 จุด ซึ่งเคยเกิดขึ้น 162 เดือน จากทั้งหมด 792 เดือน มักเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นทำจุดสูงสุดของแนวโน้มขาขึ้นในรอบวัฏจักรนั้น สะท้อนโอกาสปรับฐานของตลาดหุ้นในระยะกลางเป็นไปได้สูง ทองคำยังจำเป็นในยามฝุ่นตลบเช่นนี้ รูปที่ 15 Gold Price & Probability of U.S. Recession in 12 Months l Source : Bloomberg as of 1/8/2019 สอดคล้องกับโอกาสการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นถึงระดับ 20% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤติ Subprime ในปี 2008 ประกอบกับท่าทีการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,440 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนปรับตัวลงจากการแข็งค่าของดอลลาร์ FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อลดความผันผวนของผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนหากเกิดวิกฤติ แม้ราคาทองคำเองอาจผันผวนได้ในระยะสั้นก็ตาม Bond Yield รับข่าว FED ลดดอกเบี้ย รูปที่ 16 อัตราการปันผล REITs ไทย ทั่วโลก และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี l Source : Bloomberg as of 1/8/2019 อัตราการปันผล REITs ไทยยังทรงตัวอยู่ในระดับ 5.13% ซึ่งสูงกว่าอัตราการปันผล REITs เฉลี่ยทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับลดลงตามแนวโน้มดอกเบี้ยที่ลดลง ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ FED เป็นการส่งท่าทีการผ่อนคลายนโยบายการเงินไปยังธนาคารกลางประเทศต่างๆให้มีการปรับลดลงในอนาคต สอดคล้องในทิศทางเดียวกันกับส่วนต่างอัตราปันผล REITs และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Spread) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนชดเชยความเสี่ยงในการลงทุนใน REITs ของไทยที่อยู่ที่ระดับ 3.28% ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย สำหรับลูกค้าที่ลงทุนแล้ว FINNOMENA Investment Team แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง แต่ด้วยมูลค่าที่ตึงตัวจากการปรับตัวขึ้นมากกว่า 20% นับตั้งแต่ต้นปี ทำให้มีโอกาสผันผวนได้ในระยะสั้น สำหรับลูกค้าใหม่จึงแนะนำชะลอการลงทุน โมเดลพอร์ตการลงทุนแนะนำของ FINNOMENA Global Conservative Portfolio (GCP) as of 1/8/2019 พอร์ต GCP ปัจจุบันมีน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นเพียง 20% เท่านั้น ประกอบกับมีการแนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความตึงตัวด้านมูลค่าสูงอย่างอสังหาริมทรัพย์ โดยแนะนำให้นำเงินจำนวนดังกล่าวลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นแทน ส่งผลให้โดยรวมแล้วพอร์ต GCP มีความเสี่ยงโดยรวมค่อนข้างต่ำ จึงนำแนะนำสามารถลงทุนได้ Global Absolute Return (GAR) as of 1/8/2019 สำหรับพอร์ตการลงทุน GAR ที่ปัจจุบันนั้นมีคำแนะนำชะลอการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความตึงตัวทางด้านมูลค่าสูง และ มีน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นไทยเพียง 30% ควบคู่ไปกับสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำ 20% และตราสารหนี้ 30% ส่งผลให้ความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับที่ต่ำ ขณะเดียวกันด้วยกลยุทธ์พอร์ตที่มีคำแนะนำ Tactical Call เพิ่มมากขึ้นเพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนในทุกโอกาส จึงแนะนำสามารถลงทุนได้ TOP5 Portfolio as of 1/8/2019 พอร์ต TOP5 ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงสูงสุด คงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพียง 40% เท่านั้น ซึ่งเป็นการถือครองในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่จัดตั้ง FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าพอร์ตการลงทุนมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือความผันผวนของตลาดเรียบร้อยแล้ว Global Income Focus (GIF) as of 1/8/2019 ขณะที่พอร์ต GIF ยังคงน้ำหนักการลงทุนเช่นเดิม จากการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตราสารหนี้ และกองทุน Multi Asset ที่มีความผันผวนต่ำ และได้รับผลเชิงบวกจากแนวการลงทุนแบบ Yield Play ส่งผลให้กระแสเงินสดที่สร้างยังคงอยู่ในระดับเป้าหมายที่ 4.20% ต่อปี GOAL Portfolio as of 1/8/2019 1st Million Portfolio as of 1/8/2019 โมเดล Goal และ 1st Million FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำพอร์ตการลงทุนตาม Black Litterman Asset Allocation Model เช่นเดิม โดยแนะนำให้นักลงทุนทำการ DCA การลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยในส่วนของนักลงทุนที่ลงทุนแล้ว แนะนำ Rebalance เพื่อปรับสมดุลพอร์ต ในจังหวะที่ตลาดมีความผันผวน FINNOMENA Investment Team คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: 1stM Advance Article FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA PORT FINNOMENA PORT Strategy Video GAR GCP GIF Goal Long Content Product Info Top5 Video แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ลงทุนกองทุนอสังหาฯ ตอนนี้ยังน่าสนใจมั้ย? - FINNOMENA GURU VIEW #7 - FINNOMENA FINNOMENA GURU VIEW ตอนนี้ พบกับกูรู "InvestIdea" หลังจากที่กองอสังหาฯ ถูกเทขายออกมาอย่างหนัก ถึงเวลาที่เราควรมาทบทวนกันอีกครั้งว่า ตอนนี้ กองทุนอสังหาฯ ยังน่าสนใจอยู่ไหม? มาพบคำตอบกัน - FINNOMENA GURU VIEW #7 5 ส.ค. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ลงทุนกองทุนอสังหาฯ ตอนนี้ยังน่าสนใจมั้ย? – FINNOMENA GURU VIEW #7 FINNOMENA GURU VIEW ตอนนี้ พบกับกูรู “InvestIdea” หลังจากที่กองอสังหาฯ ถูกเทขายออกมาอย่างหนัก ถึงเวลาที่เราควรมาทบทวนกันอีกครั้งว่า ตอนนี้ กองทุนอสังหาฯ ยังน่าสนใจอยู่ไหม? มาพบคำตอบกัน – FINNOMENA GURU VIEW #7 ติดตามรายการ FINNOMENA GURU VIEW ตอนอื่นๆ ได้ที่ https://finno.me/GURUVIEW แท็ก: Advance FINNOMENA CHANNEL GURU VIEW Long Content Product Recommend Video แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA CHANNEL อีกหนึ่งช่องทางความรู้ทางการเงิน และการลงทุน จาก FINNOMENA ในรูปแบบ Video Content
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เจาะลึกเทคนิคการจัดพอร์ตลงทุนแบบ "เน้นปันผล" - FINNOMENA LIVE - FINNOMENA FINNOMENA LIVE สัปดาห์นี้ ตอน เจาะลึกเทคนิคการจัดพอร์ตลงทุนแบบ "เน้นปันผล" โดย BuffettCode และ Mr. Messenger และช่วง Market Factors "รู้จักกับ STAR Market ตลาดที่คล้าย Nasdaq?" 26 ก.ค. 2562 เจาะลึกเทคนิคการจัดพอร์ตลงทุนแบบ “เน้นปันผล” โดย BuffettCode และ Mr. Messenger ช่วง Market Factors “รู้จักกับ STAR Market ตลาดที่คล้าย Nasdaq?” พร้อมข่าวเด่นประจำสัปดาห์ สหรัฐ-จีน คุยกันอีกรอบ คลายกังวลหรือยัง? บอริส จอห์นสัน นายกฯอังกฤษคนใหม่!! กำไรกลุ่มแบงค์โตแค่ไหน? จุดจบ Influencer? IG ทดลองอะไรอยู่? และช่วง FINNOMENA PORT สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พร้อมถามตอบกันสดๆ ในรายการได้เลย ห้ามพลาดนะครับ! FINNOMENA YOUTUBE : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl แท็ก: FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA LIVE แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
บทเรียนจาก JAS และหุ้นอันตรายตัวต่อไปคืออะไร - FINNOMENA ลงแรงเอาเรื่องกันเลยทีเดียวกับหุ้น JAS เกิดอะไรขึ้น? บทความนี้ คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ จะมาเล่าให้ฟังกัน ว่าเราจะได้อุทาหรณ์อะไรจากเรื่องนี้บ้าง 24 ก.ค. 2562 Art of Strategy 24 ก.ค.62 – ลงแรงเอาเรื่องกันเลยทีเดียวกับหุ้น JAS – JAS เป็นหุ้นที่ Art of Strategy เขียนถึงมาตั้งแต่ต้นปี ตั้งแต่ 5 บาท และให้เป็น Top Pick มาตลอด และถ้าใครติดตามกันจะรู้ว่า เรารอคอยกันที่ 7 บาท และพอมันมาถึง ด้วยกำไรบวกปันผลที่มีมากกว่า 50% กำให้ยังสามารถถือ Let Profit Run กันมาเรื่อยๆ และพอราคามาถึง 7.7-8.0 บาท นักลงทุนที่ตามฟังผมผ่านรายการต่างๆ จะเริ่มได้ยินผมพูดว่า มันมาไกลกว่าที่จะฝันถึงแล้ว และต้องระวังกระแสข่าวที่เข้ามาในช่วงปลาย ดังนั้นถ้ามีกำไร ซึ่งก็ควรต้องมีกัน ควรจะต้องทำอย่างไร ก็คงไม่ต้องมากำกับกัน – สำหรับเบื้องลึกเบื้องหลังของ JAS คงไม่ต้องพูดถึงกันให้มากความ ที่จะมาคุยกันในวันนี้คือเรื่อง วงเงิน Block Trade จากรูปที่แนบมา (รูปที่ 1) จะพบว่า ก่อน JAS จะทิ้งดิ่งลงมาวงเงินมันพุ่งขึ้นไปถึง 2.4 พันล้านบาท เป็นวงเงินที่มากเป็นอันดับ 3 ของ single stocks ทั้งหมด (รูปที่ 2) วงเงินรวม ณ 22 ก.ค.62 อยู่ที่ 4.1 หมื่นล้านบาท) – ถ้าดูจากรูปก็ไม่ต้องเสียเวลาให้วินิจฉัยนาน นี่คือเกมลากราคาโดยใช้ Block Trade ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนสามารถที่จะเห็นถึงสัญญาณมรณะได้ตั้งแต่ที่วงเงินพุ่งขึ้นจากระดับ 1 พันล้านบาทเมื่อ ณ 3 มิ.ย.62 และวิ่งมาถึง 2.6 พันล้านบาทเมื่อ 19 ก.ค.62 จนทำระดับวงเงิน Block Trade ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดที่เคยทำไว้ตอน ก.พ.61 ซึ่งตอนนั้นราคาหุ้นก็ไปไกลถึง 9 บาท (รูปที่ 3) – ผู้ชนะในเกมนี้ ถ้าดูจากรูปก็จะรู้ว่าได้กำไรไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาทแน่นอน – กรณีของ JAS ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ทำให้เราจะได้มาระมัดระวังหุ้นอื่นๆ ที่กำลังมีวงเงิน Block Trade ขึ้น peak ซึ่งถ้าไปดูรูปที่ 4 ผมจะขอเปรียบกับเมื่อวันที่ 2 ก.พ.61 ซึ่งเป็นวันที่ทั้งระบบมีวงเงิน Block Trade รวมถึง 5.2 หมื่นล้านบาท หากหุ้นตัวไหนมีวงเงินสูงกว่าวันนั้น พร้อมๆกับที่ราคาถูกไล่ขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวังให้มาก ซึ่งหุ้นต่างๆ เหล่านั้นคือ MINT VGI BTS TCAP CPF PLANB BEM PTG AOT BEC GUNKUL CPALL เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุนและไม่เกี่ยวข้องกับต้นสังกัดของผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/prakitsiriwattanaket/posts/2502436749985589 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
แนวโน้มอุตสาหกรรมการแพทย์ ลงทุนใน Health Care ยังดีอยู่ไหม? - FINNOMENA GURU VIEW #6 - FINNOMENA FINNOMENA GURU VIEW ตอนนี้ พบกับกูรู "นายแว่นลงทุน" หลังจากที่ฟังแนวโน้มของอุตสาหกรรมระบบรางกันไปแล้ว ตอนนี้ลองมาดูแนวโน้มอุตสาหกรรมการแพทย์ ลงทุนใน Health Care ยังดีอยู่ไหม? มาพบคำตอบกัน - FINNOMENA GURU VIEW #6 5 ส.ค. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> แนวโน้มอุตสาหกรรมการแพทย์ ลงทุนใน Health Care ยังดีอยู่ไหม? – FINNOMENA GURU VIEW #6 FINNOMENA GURU VIEW ตอนนี้ พบกับกูรู “นายแว่นลงทุน” หลังจากที่ฟังแนวโน้มของอุตสาหกรรมระบบรางกันไปแล้ว ตอนนี้ลองมาดูแนวโน้มอุตสาหกรรมการแพทย์ ลงทุนใน Health Care ยังดีอยู่ไหม? มาพบคำตอบกัน – FINNOMENA GURU VIEW #6 ติดตามรายการ FINNOMENA GURU VIEW ตอนอื่นๆ ได้ที่ https://finno.me/GURUVIEW แท็ก: Basic FINNOMENA CHANNEL GURU VIEW Long Content Product Recommend Video แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA CHANNEL อีกหนึ่งช่องทางความรู้ทางการเงิน และการลงทุน จาก FINNOMENA ในรูปแบบ Video Content
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วิธีจับจังหวะซื้อขายกองอสังหาฯ และรีท - FINNOMENA กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ (PF&REIT) เป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมมากในหลายปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากระดับอัตราเงินปันผลในระดับ 5 - 7% PF&REIT จัดเป็นสินทรัพย์ที่ดีที่น่ามีไว้ในพอร์ต 15 - 20% เลย ประเด็นสำคัญคือจะหาจังหวะการเข้าลงทุนใน PF&REIT อย่างไรดี? 24 ก.ค. 2562 กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ (PF&REIT) เป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมมากในหลายปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากระดับอัตราเงินปันผลในระดับ 5 – 7% ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งดีกว่าอัตราเงินปันผลของหุ้น และดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดแรงซื้อในสินทรัพย์ชนิดนี้ทั้งจากนักลงทุนรายย่อย กองทุนรวม และบริษัทประกัน ทำให้ราคาของสินทรัพย์ชนิดนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 46% ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (ไม่รวมเงินปันผล) โดยผู้เขียนมองว่า PF&REITจัดเป็นสินทรัพย์ที่ดีที่น่ามีไว้ในพอร์ต 15 – 20% เลยครับ ประเด็นสำคัญคือจะหาจังหวะการเข้าลงทุนใน PF&REIT อย่างไรดี รูปที่ 1 ดัชนี PF&REIT ปี 2019| ที่มา Bloomberg หลังจากดัชนีกองทุนอสังหาฯ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงถึง 24% ในปีนี้ ในช่วงต้นเดือน ก.ค. 62 ที่ผ่านมาก็เกิดมีการปรับฐานที่มีนัยสำคัญ โดยดัชนีปรับตัวลดลงกว่า 8%ในระยะเวลาเพียง 3 วันทำการ ซึ่งหลัก ๆ เกิดจากการแห่ขายทำกำไรของนักลงทุนรายย่อยที่มีกำไรกันอยู่ค่อนข้างมาก และเกิดเป็นpanic sell คือดัชนีปรับลดลงวันเดียวถึง 5% ในวันที่ 17 ก.ค. 62 ทำให้เกิดคำถามกับนักลงทุนจำนวนมากว่ากองทุนอสังหาฯ และ REITs จบรอบขาขึ้นรอบนี้แล้วหรือยัง นักลงทุนควรซื้อ ถือ หรือขายออก จึงเป็นที่มาของบทความในวันนี้ที่ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงปัจจัยที่ผู้จัดการกองทุนใช้ในการดูจังหวะการซื้อขายกองทุนชนิดนี้กันครับ รูปที่ 2 ดัชนี PF&REIT เปรียบเทียบกับ Yield Gap | ที่มา: Bloomberg สัญญาณตัวหลักที่ใช้ในการดูว่าดัชนีPF&REITนั้นแพงเกินไปหรือไม่คือ Yield Gap คือส่วนต่างระหว่างอัตราเงินปันผลของPF&REIT กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี บ้านเรา ยกตัวอย่างเช่นปัจจุบันอัตราเงินปันผลของ PF&REIT อยู่ที่ประมาณ 5% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีอยุ่ที่ประมาณ 2% Yield ตัว Yield Gap ก็คือ 5 – 2 = 3% ตัว Yield Gap ที่สูงหมายความว่าอัตราเงินปันผลของ PF&REIT นั้นมากกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สะท้อนว่าPF&REIT น่าสนใจ ในทางกลับกัน Yield Gap ที่ต่ำก็สะท้อนว่า PF&REIT ไม่น่าสนใจเนื่องจากได้yield ส่วนเพิ่มเพียงนิดเดียวเมื่อเทียบกันพันธบัตร หากดูข้อมูลย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า เมื่อใดก็ตามที่ Yield Gap ปรับตัวลดลงต่ำว่า 3% จะมีโอกาสสูงที่ PF&REIT จะถูกขายทำกำไร ทั้งนี้ในปัจจุบัน Yield Gap อยู่ที่ระดับ 3.19% ซึ่งนับว่า PF&REIT กลับมาอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ ซึ่งทาง FINNOMENA เองก็จะทำการอับเดต Yield Gap นี้อย่างเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อกหนดจังหวะในการซื้อขายให้กับนักลงทุน นอกจาก Yield Gap แล้วปัจจัยที่มีผลต่อราคา PF&REIT ก็คือทิศทางของ Yield พันธบัตร และทิศทางของ SET นั่นเอง เมื่อใด Yield พันธบัตรปรับตัวลดลงแรง ๆ จะทำให้อัตราเงินปันผลของ PF&REIT ดูน่าสนใจมากขึ้น และทำให้มีแรงซื้อ PF&REIT ให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น กลับกันหาก Yield พันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง ๆ จะเป็นปัจจัยลบต่อ PF&REIT อีกปัจจัยหนึ่งก็คือตลาดหุ้น เพราะ PF&REIT ทุกตัวนั้นทำการซื้อขายอยู่ในกระดานตลาดหุ้น เมื่อใดตลาดหุ้นขึ้นหรือลงแรง ๆ ย่อมส่งผลทางจิตวิทยาต่อ PF&REIT อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างเช่นในช่วงปลายปี 2011 ที่โลกเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรป SET ได้ปรับลดลงไปประมาณ 25% ขณะเดียวกัน PF&REIT ก็ได้ปรับตัวลดลงไปกว่า 10% เช่นกัน ทั้งนี้หากมาดูกันที่สถานการณ์ล่าสุดYieldพันธบัตร 10 ปีของไทยปรับลดลงมาต่ำกว่า 2% ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อ PF&REIT ขณะที่ SET ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเล็กน้อย ซึ่งถือว่ากลาง ๆ ไม่เป็นบวกหรือลบต่อ PF&REIT มากนัก วิธีการคือให้ดูทั้ง Yield และ SET ประกอบกันครับ โดยสรุป จังหวะซื้อขาย PF&REIT มีวิธีดูง่าย ๆ ตามนี้ 1. ช่วงไหน Yield Gap ต่ำ ๆ เช่นต่ำกว่า 3.0% เป็นจังหวะให้ชะลอการเข้าลงทุน ส่วนช่วงไหน Yield Gap สูง ๆ เช่นมากกว่า 3.5% เป็นจังหวะที่น่าเก็บ 2. ช่วงไหน Bond Yield เด้งแรง ๆ ต้องระวัง ยิ่งถ้ามาพร้อมกับหุ้นที่ลงแรง ๆ ด้วย PF&REITมีย่อแน่นอน กลับกันถ้า Yield ตราสารหนี้ขาลง มาพร้อมกับหุ้นขาขึ้น ก็เป็นช่วงเวลาทองคำของ PF&REIT เช่นกันครับ FundTalk รายงาน ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647813 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กองทุนใหม่แทน LTF ถ้าไม่มา ทุกอย่างก็จบ! - FINNOMENA ล่าสุด สภาธุรกิจตลาดทุน (FETCO) เตรียมที่จะยื่นเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนระยะยาวแบบใหม่ในช่วงต้น ส.ค. เพื่อมาทดแทนการลงทุน LTF ในปัจจุบันที่จะหมดอายุในปีนี้ มาดูกันว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร แล้วถ้ากองทุนนี้ไม่มาจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้น? 29 ส.ค. 2562 แม้จะเหลือเวลาอีกแค่ 5 เดือนเศษๆ แต่ก็ยังไม่รู้เลยว่า มาตรการลดหย่อนภาษีจากการซื้อ LTF ซึ่งจะหมดอายุลงในสิ้นปี 2562 จะได้รับการต่ออายุออกไป หรือจะมีกองทุนใหม่มาชดเชยหรือไม่ ล่าสุด รมว.คลัง คุณ อุตตม ได้ให้สัมภาษณ์เพียงขอเวลาหารือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจะพิจารณาทั้งในแง่ของประโยชน์ ความจำเป็น และผลกระทบต่อตลาดทุนและผู้ลงทุนด้วย หากย้อนกลับไปก่อนเลือกตั้ง ทั้ง รองนายกฯ ดร.สมคิด ก็ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่ายังคงสนับสนุนให้มีกองทุนสำหรับให้ประชาชนได้ออมในระยะยาว และต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับของตลาดหลักทรัพย์ฯ การคงหรือปรับต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยกำลังพิจารณาข้อเสนอของสภาธุรกิจตลาดทุนไทยที่จะออกกองทุนใหม่ โดยเน้นการลงทุนในกองทุนรวม จากการให้สัมภาษณ์ข้างต้น ผมมั่นใจลึกๆ ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ยกเลิก LTF ไปดื้อๆ โดยในท้ายที่สุดน่าจะได้เห็นกองทุนใหม่มาทดแทน LTF ได้ทันเวลา ทั้งนี้สภาธุรกิจตลาดทุน (FETCO) เตรียมที่จะยื่นเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนระยะยาวแบบใหม่ในช่วงต้น ส.ค. เพื่อมาทดแทนการลงทุน LTF ในปัจจุบันที่จะหมดอายุในปีนี้ ซึ่ง FETCO มองเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงการคลังและรัฐบาลต้องเร่งพิจารณาโดยเร็ว สำหรับแนวทางของกองทุนใหม่จะมี 2 ส่วนที่น่าสนใจคือ 1. ให้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 20% ของเงินลงทุน แต่ไม่เกิน 1 แสนบาทและไม่เกินภาระภาษีที่ต้องจ่าย ต้องลงทุนขั้นต่ำเป็นระยะเวลา 10 ปี 2. เม็ดเงินที่ได้จากกองทุนใหม่ 50% จะไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ออกโดยภาครัฐและลงทุนในหุ้นยั่งยืนใน SET อีก 50% ให้สิทธิ บลจ. เลือกลงทุนได้อิสระ ผมมองการเสนอกองทุนดังกล่าวแล้ว มีประเด็นที่ชอบใจมากๆ คือ 1. การให้สิทธิหักลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่าย 20% จากเงินลงทุนแต่ไม่เกิน 1 แสนบาท (ซื้อกองทุนได้ 5 แสนบาท) และไม่เกินภาระภาษีที่ต้องจ่ายแก่ทุกคน ตรงนี้ถือว่าดีกว่า LTF เดิมที่หักเงินได้ 15% จากรายได้แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท เพราะความแตกต่างมันอยู่ตรงที่ กองทุนใหม่สามารถหักลดหย่อนภาษีจาก “ที่ต้องจ่าย” ส่วนกองทุน LTF หักจาก “เงินได้” การหักจากเงินได้ จะทำให้ผู้ที่มีฐานภาษีสูงๆ ได้เปรียบ เช่น ผู้มีรายได้ 5 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีในอัตรา 35% เมื่อหักรายได้จากที่ซื้อ LTF 5 แสนบาท เท่ากับว่าจะประหยัดภาษีในส่วนนี้ได้ถึง 1.75 แสนบาท ส่วนฐานภาษีอื่นๆจะประหยัดไล่เรียงลงมา ฐานภาษี 30% จะประหยัดภาษีได้ 9 หมื่น – 1.75 แสนบาท ฐานภาษี 25% ประหยัดภาษี 3.75 – 9 หมื่นบาท ฐานภาษี 20% 2.81 – 3.75 หมื่นบาท ฐานภาษี 15% 1.87 – 2.81 หมื่นบาท ฐานภาษี 10% 1.12-1.87 หมื่นบาท ฐานภาษี 5% 5.6 พันบาท – 1.12 หมื่น แต่ถ้าเป็นการหักจากที่ต้องจ่าย20% จากเงินลงทุนแต่ไม่เกิน 1 แสนบาท ผู้ที่มีรายได้ต่อปีสูงกว่า 6.7 แสนบาท (เสียภาษีในอัตรา 15%) จะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้เต็มที่ถึง 1 แสนบาท (หากซื้อกองทุนใหม่เต็ม 5 แสนบาท) เท่ากับว่าถ้าจัดการซื้อกองทุนดีๆเมื่อไปรวมยอดหักลดหย่อนอื่นๆ ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึง 1 ล้านบาท สามารถประหยัดภาษีได้ทั้งหมดเลยด้วยซ้ำ จะเห็นได้ว่ากองทุนใหม่จะให้สิทธิประโยชน์ผู้มีรายได้น้อยมากกว่าผู้มีรายได้สูง (ลดภาพความเหลื่อมล้ำ จากเดิมที่ LTF ถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้เฉพาะคนมีเงิน) และเมื่อมองให้ดีจะทำให้เกิดเม็ดเงินเข้าซื้อกองทุนมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะ ผู้ที่มีรายได้สูงยังไงๆ ก็ต้องซื้อกองใหม่เพื่อเอามาลดหย่อนภาษีอยู่ดี แม้สิทธิ์จะน้อยลงแต่ก็ต้องซื้อเต็มที่ไว้ก่อนเพราะเชื่อว่าไม่ว่าอย่างไรก็ดีกว่าฝากธนาคารไว้เฉยๆ ส่วนผู้มีรายได้น้อยจากเดิมไม่ได้สนใจกองทุน LTF มากนัก คราวนี้ก็ต้องหันมาซื้อกองทุนใหม่กันเต็มที่เพื่อสิทธิลดหย่อนภาษีที่สูงกว่าเดิมมาก 2. การที่ FETCO เสนอให้เงินได้ของกองทุน 50% ไปลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ออกโดยภาครัฐ และลงทุนในหุ้นยั่งยืนใน SET เป็นการเพิ่มแรงจูงใจและเพิ่มโอกาสที่จะทำให้รัฐบาลอนุมัติกองทุนนี้ได้ เพราะรัฐบาลอยากได้เงินมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยไม่เป็นภาระด้านงบประมาณอยู่แล้ว อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่ได้เสียรายได้เพิ่มเพราะจะได้เงินภาษีจากผู้มีรายได้สูงมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มนี้ได้สิทธิประหยัดภาษีน้อยลง ชดเชยกับเงินภาษีของผู้มีรายได้น้อยที่รัฐบาลจะได้ลดลง เพราะกลุ่มนี้จะประหยัดภาษีได้มากขึ้น หากรัฐบาลอนุมัติกองทุนใหม่ เชื่อว่าตลาดหุ้นจะมีเม็ดเงินใหม่ๆเข้าเสริมอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่มากกว่าเดิม ลดความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุน ผู้ที่ถือ LTF ครบกำหนดและสามารถขายได้แล้ว หากอยากจะถือต่อก็สามารถทำได้ตามเดิมไม่จำเป็นต้องชิงขายออกมา ส่วนผู้ที่คิดว่าจะซื้อ LTF ในช่วงที่เหลือของปีนี้รวมถึงปีหน้าดีหรือไม่ ก็ยังสามารถซื้อต่อได้ตามเดิม โดยเฉพาะผู้มีรายได้สูงเพราะนอกจากจะได้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีที่ดีกว่ากองทุนใหม่แล้ว อย่าลืมว่าซื้อตอนนี้ถือครองแค่ 7 ปี แต่กองทุนใหม่ต้องถือถึง 10 ปี อย่างไรก็ตามแม้ภาพรวมของตลาดไม่ได้รับผลกระทบ แต่การลงทุนในกลุ่มหุ้นรายตัวอาจมีความผันผวนในช่วงต้นจากการปรับ portfolio โดยเฉพาะ จากนักลงทุนที่ต้องการขาย LTF เมื่อถึงเกณฑ์ และนำเงินไปหมุนซื้อ LTF รอบใหม่เพื่อหักลดหย่อนภาษี โดยเม็ดเงินนี้จะมีสัดส่วนอยู่ที่ราวๆ 30% หรือปีนึงจะเห็นการขายออกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อ 6 หมื่นล้านบาท หากมีกองทุนใหม่เกิดขึ้น เม็ดเงินที่เกิดจากการ LTF ที่ครบกำหนดปกติ 2 หมื่นล้านบาท ต้องหมุนไปซื้อกองทุนใหม่ เงินก้อนดังกล่าวจะไม่ได้เข้าหุ้นทั้งหมดเหมือนเดิม แต่ต้องมีบางส่วนไปลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน พูดง่ายๆว่า เงินถูกแบ่ง ตลาดไม่ได้รับผลกระทบ แต่หุ้นอื่นๆจะได้แรงซื้อที่น้อยลง แปลว่าหุ้น Infra fund ของรัฐบาลอย่าง TFFIF จะได้ประโยชน์เต็มๆ นอกจากจะได้โครงการใหม่ๆเข้ากองจากรัฐบาลใหม่แล้ว ยังได้เงินลงทุนจากกองทุนใหม่อีก ทีนี้ถ้าเกิดกรณีเลวร้าย รัฐบาลปล่อยให้มาตรการหักลดหย่อนภาษีจากการลงทุน LTF หมดอายุลงและไม่มีกองทุนใหม่มาทดแทนจะเกิดอะไรขึ้น 1. แรงซื้อที่เข้ามาพยุงตลาดผ่าน LTF ในแต่ละปีจะหายไปแน่ๆ 6 หมื่นล้านบาท 2. มูลค่า LTF ในปัจจุบันอยู่ที่ 4.6 แสนล้านบาทแยกเป็น 2.1) เม็ดเงินที่ครบกำหนดถือครองที่สามารถขายได้ในปี 2.2 แสนล้านบาท ประกอบไปด้วยเม็ดเงินที่เข้ามาในปี 2557 บวกกำไรจะขายได้ราว 8 หมื่นล้านบาท และอีก 1.4 แสนล้านคือที่เข้ามาก่อนปี 2557 ที่ยังเหลืออยู่ 2.2) คือก้อน 2.4 แสนล้านบาทจะประกอบไปด้วยก้อนที่เข้ามาในปี 2558-59 จะขายได้ในปี 2563-64 ราว 1.5 แสนล้านบาท และก้อนที่เข้ามาในปี 2560 – กลางปี 2561 9 หมื่นล้านบาทจะขายได้ในปี 2567-68 ถ้านับตั้งแต่ปี 2563 จะไม่มีแรงซื้อ LTF จะมีก็แต่แรงขาย ถ้าเป็นแบบนี้ หากผมเป็นผู้ซื้อ LTF มาโดยตลอดและรู้ว่าปี 2563 จะไม่มีแรงซื้อ LTF มาอุ้มแล้ว ผมย่อมคิดได้ว่าปี 2562 อาจเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ผมจะขายที่มีอยู่ออกไปก่อนเงิน 2.2 แสนล้านบาทที่พร้อมขาย ก็คงได้เห็นการเทแบบไม่ยั้งคิดแน่นอน มีคนเคยบอกไว้ว่า หากยกเลิก LTF แม้จะเกิดแรงขาย 2.2 แสนล้านบาท ก็จะกระทบตลาดไม่มาก เพราะ 2.2 แสนล้านบาทคิดเป็นเพียง 1.2% ของขนาด Market Cap ตลาดที่ 17 ล้านล้านบาท เท่านั้น … เอ่อ ถ้าคิดแบบนั้นก็แปลว่าไม่เข้าใจตลาดหุ้นกันเลย ปริมาณการซื้อขายกับมูลค่าตลาด แม้มันจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน แต่มันไม่ได้สัมพันธ์กับแบบเส้นตรง มันเป็นในลักษณะ Exponential การที่จะเอาปริมาณการขายไปหักออกจาก Market Cap ง่ายๆ มันก็ดูตลกเกินไป ยกตัวอย่างง่ายๆ ปีที่แล้ว นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 2.8 แสนล้านบาท แต่ Market Cap หายไปมากกว่า 10% ทั้งๆที่ปริมาณการขาย 2.8 แสนล้านบาทคิดเป็น 1.6% ของ Market Cap เท่านั้น Market Cap หายไป 10% จากการขายของนักลงทุนต่างประเทศ 2.8 แสนล้านบาท ทั้งๆ ที่ยังมีแรงอุ้มจากกองทุนในประเทศ 1.8 แสนล้านบาท (ส่วนหนึ่งก็ได้แรงซื้อ LTF นั่นแหละ) ทีนี้ลองมาคิด หาก LTF เปลี่ยนบทจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ขาย และประจวบกับนักลงทุนต่างชาติก็เทขายหุ้นเหมือนกัน อะไรจะเกิดขึ้นล่ะครับ ดังนั้นการปล่อยให้มาตรการหักลดหย่อน LTF หมดอายุไปโดยไม่มีอะไรมาทดแทน ผมเชื่อว่าผลกระทบต่อตลาดหุ้นมันจะรุนแรงเกินจินตนาการแน่นอน … ซึ่งถ้าผมรู้ คุณคิดว่ารัฐบาล ก.คลัง จะรู้ไหม และพวกเข้าจะกล้าเสี่ยงกับผลกระทบนั้นหรือไม่ อีกไม่นาน ก็จะได้รู้คำตอบ ประกิต สิริวัฒนเกตุ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เกิดอะไรขึ้นกับ Property Fund & REITs ผันผวนแบบนี้ เป็นจังหวะซื้อหรือไม่!? - FINNOMENA LIVE - FINNOMENA เกิดอะไรขึ้นกับ Property Fund & REITs ผันผวนแบบนี้ เป็นจังหวะซื้อหรือไม่!? - FINNOMENA LIVE 6 ส.ค. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> เกิดอะไรขึ้นกับ Property Fund & REITs ผันผวนแบบนี้ เป็นจังหวะซื้อหรือไม่!? พิเศษ! อัพเดตตลาดเวียดนาม โอกาสและความน่าสนใจ โดย InvestIdea พร้อมข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ค่าเงินบาทจะแข็งถึงไหน? ค่าเงินปอนด์กับสถานการณ์ Brexit ส่งออกจีน น่าเป็นห่วง? เปิดศึกการค้า ญี่ปุ่น-เกาหลี!! และช่วง FINNOMENA PORT สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และช่วง Market Factors แนะวิธีรับมือ Property fund & REITs ที่ผันผวน มาหาคำตอบกันได้คืนนี้ กับ FundTalk และ InvestIdea ห้ามพลาดนะครับ! FINNOMENA YOUTUBE : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl แท็ก: FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA LIVE แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
นอกจากจะไม่ไหลออก ยังจะไหลเข้าเพิ่มด้วย: วิเคราะห์มาตรการป้องปรามเงินบาทของ ธปท. กับ โอกาสของตลาดหุ้นไทย - FINNOMENA ตกใจและหวั่นไหวกันพอสมควร กับการประกาศมาตรการป้องปรามเก็งกำไรเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย บทความนี้ คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ จะมาวิเคราะห์มาตรการดังกล่าว 17 ก.ค. 2562 ตกใจและหวั่นไหวกันพอสมควร กับการประกาศมาตรการป้องปรามเก็งกำไรเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ธปท. ประกาศมาตรการและปรับปรุงหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. ควบคุมยอดคงค้างแต่ละบัญชีของผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ หรือที่เรียกว่า Non-resident (NB) ทั้ง Non-resident Baht Account (NRBA) หรือ Non-resident Baht Account for Securities (NRBS) ณ สิ้นวันไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อราย จากเดิมซึ่งกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท หากจะมียอดเกิน 300 ล้านบาทต้องมีการรายงานวัตุประสงค์เฉพาะ (Special Purpose Non-resident Baht Account: SNA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2019 หรืออีก 1 สัปดาห์หลังจากนี้ 2. เพิ่มความเข้มงวดของรายงานยอดเงินคงค้างการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยให้รายงานถึงระดับชื่อของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เริ่มมีผลบังคับใช้ในรายงานเดือนกรกฎาคมนี้ วิเคราะห์มาตรการดังกล่าว – ธปท. ใช้คำว่า “ป้องปรามเก็งกำไรเงินบาท” มันจึงชัดในตัวว่านี่เป็นมาตรการเตือนเบาๆ เท่านั้น ไม่ใช่มาตรการสกัดเงินไหลเข้าอย่างที่หลายฝ่ายกลัว – เป็นความจำเป็นของ ธปท. ที่ต้องออกมาตรการดังกล่าว เพราะปัจจุบันกระแสเงินโถมเข้าจนทำให้บาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว โดยมีปัจจัยหลักๆ คือ 1. สภาพคล่องของโลกดีขึ้นตรงกันข้ามกับปีก่อนชัดเจน Fed ส่งสัญญาณใช้นโยบายผ่อนคลาย (ปีที่แล้วตึงสุดๆ) 2. กระแสเงินกลับลำ จากปีก่อนที่โจมตีสกุลเงิน Emerging Market อย่างหนัก เปลี่ยนมาเป็นถาโถมไหลบ่าเข้ามา 3. บาทถูกมองเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ในฐานะที่มีสถานะการเงินและการค้าที่แข็งแกร่ง (เงินเฟ้อต่ำ เกินดุลการค้า เกินดุลบัญชีเดินสะพัด หนี้ต่างประเทศต่ำ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูง) ทำให้เงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยต่อเนื่อง แม้แต่ปีที่แล้วที่ Emerging Market ถูกโจมตี แต่บาทไทยยังแข็งแกร่งและเข็งค่าขึ้นอีก 0.9% มาปีนี้พอเงินไหลกลับ Emerging Market เงินก็ยิ่งเข้าไทยมากเข้าไปอีกจนบาทแข็งค่าที่สุดในภูมิภาคกว่า 5% 4. การเมืองในประเทศ เปลี่ยนจากรัฐบาลทหารเป็นรัฐบาลพลเรือนประชาธิปไตย ซึ่งแตกต่างจากเพื่อนบ้าน แม้จะมีการเลือกตั้งเหมือนกัน แต่ก็เป็นรัฐบาลพลเรือนเหมือนเดิม ดังนั้น ไทยมีโอกาสที่จะถูกบรรดาสำนักจัดอันดับเครดิตปรับเรตติ้งขึ้น 5. เงินทุนที่ไหลเข้าตลาดการเงินไทยเพิ่มขึ้นตามการปรับเพิ่มน้ำหนักหุ้นและพันธบัตรในดัชนีอ้างอิงเพื่อการลงทุนของ MSCI และ JP Morgan – ก่อนที่ ธปท. จะออกมาตรการป้องปราบ ก็ได้มีการออกมาตรการลดปริมาณวงเงินประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 3 เดือน 6 เดือนและ 1 ปีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 หมื่นล้านบาทตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา เพื่อลดช่องทางการเก็งกำไรเงินบาทระยะสั้นจากการลงทุนในพันธบัตรของ ธปท. ไปแล้ว อย่างไรก็ตามมาตรการนี้อาจไม่ได้ผลมากนัก เพราะกระแสเงินที่เข้าซื้อพันธบัตรในไทยกว่า 9 หมื่นล้านบาทใน 2 เดือนที่ผ่านมา เป็นการซื้อในพันธบัตรระยะสั้นเพียง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แสดงว่านอกจากต่างชาติจะเก็งค่าเงินบาทแล้ว ยังเก็งเรื่องการลดดอกเบี้ยด้วย นอกจากนั้นมาตรการดังกล่าวเคยบังคับใช้ไปแล้วในปี 2017 แต่ไม่ได้ทำให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าได้มากนัก และมีผลข้างเคียงให้อัตราผลตอบแทนระยะสั้นอยู่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย – มาตรการควบคุมยอดคงค้างในบัญชี NRBA/NRBS เกิดขึ้นเพราะ ธปท. เล็งเห็นว่าต่างชาติมีการเอาเงินมาฝากใน NRBA/NRBs ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ บัญชีที่มียอดคงค้างเกินกว่า 200 ล้านบาทในปัจจุบันยังมีเวลาปรับตัวอีก 1 สัปดาห์ก่อนที่มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ และหากมียอดคงค้างเกินกว่า 200 ล้านบาท ต้องมีการขออนุญาตจาก ธปท. – ธปท. เคยบังคับใช้มาตรการเหล่านี้มาแล้วเมื่อ 2017 ซึ่งเป็นช่วงที่เงินบาทแข็งค่ารวดเร็วเช่นกัน โดย NRBA/NRBs ไม่เกิน 300 ล้านบาท และ ส่งเสริมให้นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น โดยเพิ่มวงเงินการลงทุนจาก 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 1 แสนล้านลดดอลลาร์สหรัฐฯ และให้ลูกค้าสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราได้มากเท่าที่ต้องการ – ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการข้างต้นจะไม่กระทบต่อการค้าและการลงทุนโดยตรง ด้วยเพราะ ธปท. ยังคงอนุญาตให้มียอดคงค้างที่เกินกว่า 200 ล้านบาท ณ สิ้นวันได้ – มองมาตรการทั้งหมด เป็นมาตรการเบาอาจช่วยแค่ชะลอการแข็งค่าของเงินบาท และไม่ถึงขั้นทำให้เงินไหลออก เพราะอย่างที่บอกสาเหตุของเงินไหลเข้ารอบนี้ มันเป็นเหตุผลระดับ Macro ซึ่งกระแสน้ำกำลังเชี่ยวเอาเรือไปขวางอย่างมากก็ทำได้แค่ชั่วคราว – เอาจริงๆ มีความเป็นไปได้ที่มาตรการนี้จะส่งผลบวกทางอ้อมมายังตลาดหุ้นด้วยซ้ำ เพราะการควบคุม NR ของ ธปท. รวมถึง Non-resident Baht Account for Securities หรือบัญชีของผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศสำหรับหลักทรัพย์ เมื่อมีมาตรการนี้เงินต่างชาติที่ฝากไว้ในบัญชีหุ้นอยู่เฉยๆ เพื่อเก็งเงินบาท หากต่างชาติไม่อยากถอนเพื่อเอากลับ ก็ต้องโยกบางส่วนไปซื้อหุ้น – ตลาดอาจจะงงๆ กับมาตรการนี้ไปอีกสักพัก แต่ในระยะถัดไปเชื่อว่าจะได้เห็นเงินจาก NRBs ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น ถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับ SET ประกิต สิริวัฒนเกตุ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เรามาถึงทางแยกที่สำคัญ หุ้นจะดิ่งหรือจะวิ่งก็ตัดสินกันไตรมาสนี้ - FINNOMENA ตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง อัตราการว่างงานต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของค่าแรงสหรัฐฯ ก็ทยอยปรับขึ้นนับตั้งแต่ปี 2008 แล้วเหตุใด เฟดจึงดูจะกังวลกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ? 17 ก.ค. 2562 บทความตอนล่าสุดเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ผมไปดู US Treasury Yield 30 ปี ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.538% ต่ำกว่าวันที่ ปธน. ทรัมป์ เข้ามาดำรงตำแหน่ง ทั้งๆ ที่ดอกเบี้ยนโยบายยังไม่ปรับลดลงแม้แต่ครั้งเดียว และผมมองว่า มีความเป็นไปได้อยู่ 2 ทางก็คือ -ตลาดมองไปแล้วว่า เศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ อาจจะชะลอตัวต่อเนื่องหลังจากนี้ และเฟดเองก็ต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ -ตลาดอาจจะกังวลกับอนาคตมากเกินไป (Overreact) เลยไล่ซื้อพันธบัตรระยะยาวมาใส่ไว้ในพอร์ตไว้ก่อน สัปดาห์ที่ผ่านมานายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ได้แถลงสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อคณะกรรมาธิการบริหาร ของสภาคองเกรส เมื่อวันที่ 10 ก.ค ที่ผ่านมานี่เอง ระบุว่า เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวในวงกว้าง ซึ่งกำลังปกคลุมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองก็ยังคงมีอยู่จนกว่าสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับชาติมหาอำนาจอื่นๆ โดยเฉพาะจีน จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น หากใครติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ มาอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะแปลกใจกับความเห็นที่ประธานเฟดให้ความเห็นครั้งนี้อยู่บ้าง เพราะเอาเข้าจริง ตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง อัตราการว่างงานต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของค่าแรงสหรัฐฯ ก็ทยอยปรับขึ้นนับตั้งแต่ปี 2008 แล้วเหตุใด เฟดจึงดูจะกังวลกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในครั้งนี้ สาเหตุหลักๆ ก็เป็นเพราะ เศรษฐกิจโลกมีความผูกพันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเศรษฐกิจประเทศใดชะลอตัวลง ก็จะส่งผลต่อประเทศอื่นไม่มากก็น้อย นี่คือคำตอบที่อธิบายในภาพกว้าง และตัวเลข PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ เอง ก็ปรับตัวลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2018 เช่นเดียวกับประเทศแกนหลักอย่างยุโรป ซึ่งยังมีปัญหากรณี BREXIT, ญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุดมีข้อพิพากกับเกาหลีใต้ และ จีน ซึ่งเป็นคู่ชกของสหรัฐฯ ในสงครามการค้า ดังนั้น สิ่งที่นายพาวเวลบอกกับสภาคองเกรส ก็แปลว่า ถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะพึ่งพาการบริโภคมากถึง 70% ของจีดีพี แต่สัญญาณการชะลอตัวในภาคการผลิต เป็นสิ่งที่เฟดให้น้ำหนักมากกว่า ทั้งนี้ ในตอนหนึ่งของการแถลง นายพาวเวลกล่าวว่า อัตราว่างงานในระดับต่ำของสหรัฐฯ ณ ระดับปัจจุบัน อาจทำให้ระดับเงินเฟ้อดิ่งลงไปได้อีก โดยชี้แจงว่า ภาพรวมการขึ้นราคาสินค้ายังถือว่าเงียบเหงา จนถึงตอนนี้ หากมองไปที่ Fed Fund Futures จะพบว่า นักลงทุนในตลาดมองตรงกันว่า สิ้นเดือนก.ค.ที่จะถึงนี้ เฟดจะตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงหนึ่งอีก 0.25% เป็นอันว่า สิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้นที่มีต่อเนื่องนับตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ปี 2008 และหากลดดอกเบี้ยจริง ก็จะเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่เฟดประกาศลดดอกเบี้ยด้วย ถึงตรงนี้ ก็มีคำถามต่อว่า หากเฟดลดดอกเบี้ยจริง จะเป็นการลดติดต่อกันหลังจากนี้ หรือเป็นการลดดอกเบี้ยแค่ชั่วคราวเพื่อเป็นหลักประกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังสามารถขยายตัวได้ตามศักยภาพ นักลงทุนมีภาพในหัวที่ค่อนข้างน่ากลัวต่อการลดดอกเบี้ยของเฟดในอดีตนะครับ เพราะสถิติย้อนหลังบอกว่า รอบสองล่าสุดที่เฟดลดดอกเบี้ยมากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป สิ่งที่ตามมาก็คือ การเทขายอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นทั้งในปี 2000 และปี 2008 ดังนั้นตอนนี้เรามาถึงทางแยกสำคัญครั้งหนึ่งของตลาดกระทิงรอบนี้ที่มีอย่างยาวนาน อาจมีคนเห็นต่างก็ตรงที่ ไปอ่านความเห็นจากธนาคารกลางว่า มันจะกลายเป็นวิกฤตได้ยังไง ในเมื่อเศรษฐกิจในภาพรวม ไม่ได้ดูแย่และไม่ได้เกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นเหมือนๆ กับสองครั้งก่อนหน้านี้ แต่ในมุมมองส่วนตัวของผม ต้องอย่าลืมว่า กว่าเราจะรู้ว่าเกิดวิกฤต เราก็ไปอยู่ในวิกฤตนั้นเรียบร้อยแล้ว และอีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องรู้ไว้คือ ไม่มีธนาคารกลางที่ไหนของโลกที่จะพูดว่าเศรษฐกิจประเทศตัวเองกำลังพังหรือมีความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้แล้ว เพราะในฐานะของการเป็นธนาคารกลาง ก็ต้องให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนและประชาชนในระบบเศรษฐกิจอยู่แล้วไม่ว่าสถานการณ์จะยากลำบากขนาดไหน ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงควรวิเคราะห์ด้วยข้อมูลชุดอื่นประกอบกัน มิใช่แค่เพียงถ้อยแถลง หรือ statement จากธนาคารกลางเพียงเท่านั้น สิ้นเดือน ก.ค. เฟดจะลดดอกเบี้ยหนึ่งครั้ง และเปิดทางให้เหล่าธนาคารกลางทั่วโลกกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วย ซึ่งถ้าการลดดอกเบี้ยรอบนี้ เป็นแค่เพียงเรื่องชั่วคราว ไม่ได้ลากยาวลดดอกเบี้ยรัวๆ พอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงก็น่าจะยังสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงปลายของตลาดกระทิงเช่นนี้ แต่ในทางกลับกัน ถ้านี่คือจุดเริ่มต้นของดอกเบี้ยขาลงครั้งใหม่ เราเห็นกันแล้วนะครับว่า เฟดลดดอกเบี้ยรัวๆ เมื่อปี 1999-2000 และปี 2007-2008 แล้วเกิดอะไรกับตลาดหุ้นทั่วโลก ตรงนี้ ต้องจับตากันให้ดีๆ จริงๆ นักลงทุนทุกท่าน ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647777 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปประเด็นร้อนประจำเดือนกรกฎาคม "คาดการณ์ FED ลดดอกเบี้ย ใครได้ประโยชน์" - FINNOMENA GURU VIEW #5 - FINNOMENA 12 ก.ค. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> สรุปประเด็นร้อนประจำเดือนกรกฎาคม “คาดการณ์ FED ลดดอกเบี้ย ใครได้ประโยชน์” – FINNOMENA GURU VIEW #5 FINNOMENA GURU VIEW ตอนนี้คุณ ประกิต สิริวัฒนเกตุ จะมาให้มุมมองเรื่อง “การคาดการณ์ FED ลดดอกเบี้ย ใครได้ประโยชน์” มาดูกันว่าปัจจัยนี้ส่งผลอะไรกับการลงทุนของเราบ้าง และนักลงทุนอย่างเราควรมองหาสินทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมไหนดี? ติดตามรายการ FINNOMENA GURU VIEW ตอนอื่นๆ ได้ที่ https://finno.me/GURUVIEW แท็ก: Advance FINNOMENA CHANNEL GURU VIEW Long Content Product Recommend Video แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA CHANNEL อีกหนึ่งช่องทางความรู้ทางการเงิน และการลงทุน จาก FINNOMENA ในรูปแบบ Video Content
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อ FED ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย จะเกิดอะไรขึ้นบ้างสิ้นเดือนนี้? นักลงทุนเตรียมตัวอย่างไร? - FINNOMENA LIVE - FINNOMENA เมื่อ FED ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย จะเกิดอะไรขึ้นบ้างสิ้นเดือนนี้? นักลงทุนเตรียมตัวอย่างไร?พบกูรูรับเชิญ คุณวิธาน BottomLiner ที่จะมาให้มุมมองการลงทุน พร้อมสอนวิธีการหาข้อมูลลงทุนหุ้นเทคโนโลยีต่างประเทศ - FINNOMENA LIVE 18 ก.ค. 2562 เมื่อ FED ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย จะเกิดอะไรขึ้นบ้างสิ้นเดือนนี้? นักลงทุนเตรียมตัวอย่างไร? พบกูรูรับเชิญ คุณวิธาน BottomLiner ที่จะมาให้มุมมองการลงทุน พร้อมสอนวิธีการหาข้อมูลลงทุนหุ้นเทคโนโลยีต่างประเทศ พร้อมข่าวเด่นประจำสัปดาห์ – สัญญาณลดดอกเบี้ยมาแล้ว? – จีนจะลดดอกเบี้ยตามเฟดหรือไม่? – เผยแล้วรายชื่อ ครม. ชุดใหม่! – สงครามการค้า สหรัฐ-อินเดีย น่าเป็นห่วงขนาดไหน? และช่วง FINNOMENA PORT สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มาติดตาม และถามตอบกับ Mr. Messenger แล้วพบกันนะครับ! FINNOMENA YOUTUBE : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl แท็ก: FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA LIVE แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Libra กับ 10 คำถามที่ตลาดการเงินต้องรู้คำตอบ - FINNOMENA บทความนี้ขอนำเสนอ 10 คำถามเกี่ยวกับ "Libra" ที่ตลาดการเงินต้องรู้คำตอบ โดย ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ อีกหนึ่งกูรู FINNOMENA นักกลยุทธ์ตลาดเงินของธนาคารชั้นนำ ที่จะมาตอบคำถามเหล่านี้ให้เราฟังกันครับ 10 ก.ค. 2562 1. Libra คืออะไร? คำนิยามที่ผมคิดได้คือ “เงินคริปโต” แบบหนึ่งที่ Facebook นำมาเปิดตัวและคาดว่าจะเริ่มใช้ในปี 2020 โดยมีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า Libra Association เป็นผู้ดูแล ลักษณะเป็นเงินในโลกดิจิตอล มีกลุ่มเป้าหมายเริ่มต้นเป็นผู้ใช้บริการต่างๆ ของ Facebook และตั้งเป้าที่จะเป็นสกุลเงินที่ทั่วโลกได้เข้าถึงธุรกรรมการเงิน 2. เพราะเป็น Facebook จึงเกิด หรือเพราะเป็น Facebook จึงไม่เกิด? ส่วนตัว มองว่าไม่ใช่แค่ Facebook แต่กลุ่มเทคโนโลยีทั้งหมดไม่ได้มีภาพลักษณ์ดีด้านความน่าเชื่อถือ การจะข้ามมาธุรกิจการเงิน คนปรกติก็คงคิดหนัก ยิ่งถ้าสินค้าหรือบริการสามารถใช้สกุลเงินหลักซื้อได้ โอกาส “ไม่เกิด” ก็มีมาก แต่ด้วยจำนวนผู้ใช้ Social Network อันดับหนึ่งของโลกจาก Facebook ถ้าเราเปรียบเทียบกับเงินคริปโตอื่นๆ Libra จะ “เกิด” กว่าอย่างโดดเด่นแน่นอน 3. มูลค่า Libra จะ “คงที่” ไม่เหมือน Bitcoin หรือ? ไม่เหมือน เพราะ Libra จะมี Utility Value ที่ Bitcoin ไม่มีเลย จุดนี้ต้องติดตามต่อไปว่า Libra ทำให้เราเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากน้อยแค่ไหน แต่ในทางกลับกันเมื่อ Libra ถูกบริหารด้วยการมีสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นหลักประกัน Speculative Value ก็จะถูกอิงไปกับสินทรัพย์ที่ถือครอง ความผันผวนจึงจะต่ำ ตัวอย่างอาจคล้ายสกุล SDR ของ IMF ที่มีความผันผวนต่อปีประมาณ 2-3% ต่างกับ Bitcoin ที่วิ่งขึ้นลงได้เป็น 20-50% ได้ในไม่กี่วัน 4. ถ้าอย่างนั้น Libra และเงินคริปโตที่ความผันผวนต่ำจะเข้ามาแทนที่เงินปรกติได้หรือยัง? ผมเชื่อว่า Libra จะเป็นเพียง “ตัวเลือก” เพราะปัจจุบันเริ่มจากการเป็นเงินในโลกดิจิตอล ประเทศที่ไม่สามารถออนไลน์ได้ตลอด จึงยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินแบบเดิมๆ ในทางกลับกันเมื่อเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพเพียงพอ เงินปรกติของเราก็จะผันตัวไปเป็นเงินคริปโตได้ด้วย จึงอาจไม่ได้หมายความว่าสกุลเงินใดจะถูกทดแทนกันไปทั้งหมด 5. สิ่งนี้จะส่งผลอย่างไรกับตลาดการเงิน? มองในแง่การบริหารจัดการ การซื้อ Libra อาจไม่ต่างอะไรกับการซื้อกลุ่มสินทรัพย์หรือสกุลเงินปลอดภัย เมื่อมี Libra เข้ามาเป็นเหมือนสกุลเงินใหม่ ตลาดเงินต้องปรับสัดส่วนการถือครองสกุลเงินต่างๆใหม่หมด แต่ไม่น่าที่จะส่งผลกระทบถึงสินทรัพย์อื่นๆ ในตลาดทุน เพราะเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายชัดเจน 6. ถ้าอย่างนั้นสกุลเงินแบบไหนมีโอกาสได้รับผลกระทบ? มองการเลือก “ถือครอง” เงินเป็นหลัก ถ้าไม่ติดเรื่องการใช้นอกโลกดิจิตอลหรือค่าธรรมเนียม ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะเลือกถือเงินที่สามารถ “รักษาอำนาจซื้อ” หรือความมั่งคั่งได้ ดังนั้นสกุลเงินที่ผันผวนสูง ความน่าเชื่อถือต่ำ จะเสียความนิยมไปทันทีและต้องมีดอกเบี้ยหรือนโยบายการเงินมาคุ้มกันมากขึ้น ในทางกลับกับ เมื่อ Libra บอกทุกคนว่าจะมีสินทรัพย์ที่ความน่าเชื่อถือเป็นหลักประกัน ถ้าความต้องการ Libra สูงก็จะส่งผลให้ความต้องการสกุลเงินปลอดภัยสูงตามไปด้วย และถ้ามองในแง่การบริหารสกุลเงินแบบตะกร้า ถ้า Libra ถูกซื้อขายในสกุลเงินไหนมาก ทีมบริหารก็ควรถือสกุลเงินนั้นไว้เพื่อลดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของตัว Libra เอง ซึ่งทำให้ สกุลที่มีการซื้อขายในโลกดิจิตอลเยอะมีโอกาสได้รับความนิยมมากขึ้นตามไปด้วย 7. นโยบายการเงินและการกำกับดูแลของธนาคารกลางจะต้องเปลี่ยนไปทางไหน? เรื่องการกำกับ คนโลกสวยอย่างผม มองว่าช่วยกันดีกว่าแยกกันทำ เพราะแย่ที่สุดก็คือมีเรื่องการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาในการกำหนดนโยบาย Libra (ซึ่งก็คงไม่ต่างกับปัจจุบันเท่าไหร่) ส่วนนโยบายการเงิน ผมมองว่าทุกธนาคารกลางจะไม่ได้จะหายไป แต่แน่นอนว่าอิสระจะลดลงอย่างมาก ถ้าอยากรักษาสกุลเงินตัวเอง ก็ต้องรวดเร็ว มีเครื่องมือหลากหลาย จะมาใช้ดอกเบี้ยตัวเดียวตั้งทิ้งไว้เฉยๆ แบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป 8. ธนาคารพาณิชย์จะอยู่ตรงไหนของเศรษฐกิจ? ในแง่ความสะดวกสบายในระยะยาวที่ทุกธุรกรรมมีโอกาสกลายเป็นดิจิตอล ฝั่งเทคโนโลยีจะค่อนข้างได้เปรียบฝั่งการเงิน แต่สำหรับผมยังมอง “ความเชื่อใจ” เป็นสิ่งที่ธนาคารทำได้ดีกว่าเกือบทุกธุรกิจ ดังนั้นแบงก์ก็ยังสามารถผันตัวไปเป็นที่ปรึกษาด้านการเงิน หรือผู้ประเมินราคาสินทรัพย์ได้ 9. สรุปแล้ว Libra เป็นความเสี่ยงหรือโอกาสมากกว่ากัน? ผมเชื่อว่าการที่ Libra และ Facebook เข้ามา เป็นโอกาส ตลาดการเงินจะน่าสนใจขึ้นแน่นอน แม้ระยะสั้นอาจต้องปรับตัวและต้องใช้เวลากับการบริหารเงินของตัวเองมากขึ้น แต่ในที่สุดเราก็จะเข้าใจว่าความมั่งคั่งหรือเสถียรภาพทางการเงินอขงเรา ควรอยู่ในมือของเรามากกว่าให้คนอื่นดูแล และถ้าเรายังรู้สึกขาดความรู้ความเข้าใจ ก็ยิ่งควรใช้โอกาสในการพัฒนาความรู้ด้านการเงินให้สูงขึ้น 10. ด้วยคุณสมบัติปัจจุบันถ้า Libra มา ควรซื้อหรือไม่? ผมเชื่อว่าในท้ายที่สุดคุณสมบัติของ Libra จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่จบลงแค่นี้แน่นอน แต่เมื่อมีความพยายามเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ความเสี่ยงก็ไม่ควรสูง จะลองซื้อดูเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของก้าวใหม่ในตลาดการเงินก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะต่อให้ Libra ถูกสกัดดาวรุ่ง อนาคตโลกการเงินก็จะไม่หยุดอยู่แค่นี้ และในที่สุดเราก็ต้องถามตัวเองอยู่ดีว่าพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งนี้ของโลกการเงิน ที่มา : คอลัมน์ รู้ทันโลกการเงิน กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
5 ปัจจัย ที่ทำให้ต่างชาติ ซื้อหุ้นไทยช่วงครึ่งปีหลัง (ฉบับเจาะลึก) - FINNOMENA แม้ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มกลับมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยแล้ว แต่คำถามที่หลายคนสงสัย ก็คือ นักลงทุนกลุ่มนี้จะซื้อหุ้นอีกเท่าไหร่? มาติดตาม 5 ปัจจัย ที่น่าจะตอบคำถามให้คุณได้กันดีกว่า 10 ก.ค. 2562 แม้ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มกลับมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยแล้ว แต่คำถามที่หลายคนสงสัย ก็คือ นักลงทุนกลุ่มนี้จะซื้อหุ้นอีกเท่าไหร่? มาติดตาม 5 ปัจจัย ที่น่าจะตอบคำถามให้คุณได้กันดีกว่า นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งได้ประเมินว่า ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงครึ่งหลังของปี 2562 นี้ น่าจะมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาต่อเนื่อง เพียงแต่หลายคนก็ยังคงมองไม่ออกว่า นักลงทุนกลุ่มนี้น่าจะเข้ามาซื้อเพราะอะไร? “สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้” จึงได้พยายามประเมินแรงซื้อของต่างชาติ ด้วย 5 วิธี ดังต่อไปนี้ (1) ประเมินจากการขายของต่างชาติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิสะสมกว่า 6 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยขายปีละ 1 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ เป็นปีที่ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิอย่างมีนัยสำคัญเป็นปีแรก ดังนั้นถ้าคิดแบบง่าย ๆ เร็ว ๆ จึงมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาซื้อสุทธิประมาณ 1 แสนล้านบาทเช่นกัน เท่ากับค่าเฉลี่ยต่อปี จากที่เคยขายไปในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ต่างชาติซื้อสุทธิไปแล้วประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจะคิดเป็นการซื้อสุทธิในครึ่งปีหลังอีกประมาณ 6 หมื่นล้านบาท (2) ประเมินจากแรงซื้อรอบใหญ่ของต่างชาติในอดีต นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 ต่างชาติมีการซื้อหุ้นไทยรอบใหญ่ทั้งสิ้น 3 รอบ คือ – ช่วงเดือน มิ.ย. 2010 – ม.ค. 2011 ซื้อสุทธิ 1.09 แสนล้านบาท – เดือน ก.ย. 2011 – พ.ค. 2012 ซื้อสุทธิ 1.18 แสนล้านบาท – เดือน ก.พ. 2016 – ก.ย. 2016 ซื้อสุทธิ 1.50 แสนล้านบาท เพราะฉะนั้น ค่าเฉลี่ยการซื้อรอบใหญ่ของต่างชาติจึงอยู่ที่ 1.26 แสนล้านบาท และใช้เวลาซื้อเฉลี่ยประมาณ 7 เดือน ดังนั้นการที่นักลงทุนต่างชาติซื้อคืนจากจุดต่ำสุดรอบนี้ ตั้งแต่กลางเดือน พ.ค. แล้ว 6.6 หมื่นล้านบาท จะแสดงนัยถึงต่างชาติจะซื้อสุทธิได้อีกประมาณ 6 หมื่นล้านบาท (3) ประเมินจากระดับการถือครองหุ้นของต่างชาติ ปัจจุบันต่างชาติถือครองหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำมาก (Under-owned) เพียง 28.2% ซึ่งต่ำกว่าช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008 และยังต่ำกว่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่เคยถือครองตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ประมาณ 31-32% ทั้งนี้จากการประเมินของเราทุก ๆ 1% ที่ต่างชาติกลับมาถือครองหุ้นไทยเพิ่มขึ้น จะคิดเป็นเม็ดเงินไหลเข้าสูงถึง 1.7 แสนล้านบาท เพราะฉะนั้น หากต่างชาติกลับมาถือครองหุ้นไทยเท่ากับระดับค่าเฉลี่ยในปี 2018 และ 2017 ที่ 29.2% และ 29.8% จะคิดเป็นเม็ดเงินไหลเข้าราว 1.7 แสนล้านบาท และ 2.7 แสนล้านบาทตามลำดับ (4) ประเมินจากทิศทางค่าเงินบาท ค่าเงินบาทที่แข็งหรืออ่อนมีอิทธิพลต่อการซื้อหรือขายของต่างชาติ จากการศึกษาความเคลื่อนไหวของเงินบาทและการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นไทยของต่างชาติในอดีต มีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ในเชิงลบสูงถึง -0.82 (หมายความว่า ถ้าค่าเงินบาทแข็ง สัดส่วนการถือหุ้นไทยของต่างชาติจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากค่าเงินบาทอ่อน สัดส่วนการถือหุ้นไทยของต่างชาติจะลดลง) อิงจากความสัมพันธ์ในอดีตที่สามารถอธิบายได้ประมาณ 60-70% และค่าเงินบาทปีนี้ที่แข็งค่าแล้วจาก 32.2 บาท/ดอลลาร์ฯ ณ สิ้นปี 2018 มาอยู่ที่ 30.5 บาท/ดอลลาร์ฯ ในปัจจุบัน หรือแข็งค่าแล้วประมาณ 1.7 บาท/ดอลลาร์ฯ จะคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติควรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.0-1.2% หรือ 100-120 bps จากสิ้นปีที่แล้วที่อยู่ที่ 28.4% เป็น 29.4-29.6% หรือเทียบเท่าเม็ดเงินไหลเข้าราว 1.7-2.0 แสนล้านบาท อนึ่ง ต่างชาติซื้อสุทธิไปแล้วราว 4 หมื่นล้านบาทใน 6M19 จะแสดงนัยถึงโอกาสการซื้อคืนอีกประมาณ 1.3-1.6 แสนล้านบาท (5) ประเมินทางปัจจัยเทคนิค อิงจากการขายรอบล่าสุดตั้งแต่ปลายปี 2016 และสัดส่วน “Golden Ratio” ตามหลักการของ Fibonacci ที่มีนัยสำคัญระดับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% จะคิดเป็นระดับการซื้อคืนของต่างชาติจากสิ้นเดือน มิ.ย. อีกประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท, 1.3 แสนล้านบาท และ 1.8 แสนล้านบาทตามลำดับ สรุปผล 5 ปัจจัยดึงเงินต่างชาติ จากการประเมินทั้ง 5 วิธีดังกล่าว TISCO Wealth Advisory มองว่ามีโอกาสที่จะมีเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทยอีกไม่น่าน้อยกว่า 6 หมื่นล้านบาท ผสานกับการได้รัฐบาลใหม่ในช่วงกลางเดือน ก.ค. นี้ ที่คาดจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเร่งรัดโครงการลงทุนภาครัฐต่าง ๆ น่าจะส่งผลดีต่อแนวโน้มกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ เรามองปัจจัยที่น่าจะกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติหันมาสนใจประเทศไทยมากขึ้น คือ โอกาสการปรับอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) ของประเทศไทยขึ้น เนื่องจาก 1. Moody’s และ S&P คง Rating ประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2003 และปี 2006 ตามลำดับ หรือนานกว่า 13 ปีแล้ว ส่วนหนึ่งอาจมีเหตุผลว่าเป็นช่วงเวลาที่เรามีปัญหาทางการเมืองในประเทศมาโดยตลอด และเป็นช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 ด้วย แต่ปัจจุบันการเมืองไทยกลับสู่ประชาธิปไตยแล้ว 2. Credit Default Swap (CDS) หรืออนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ระดับต่ำเทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008 และยังต่ำกว่าบางประเทศที่ได้รับ Rating ดีกว่าเราเสียอีก อาทิ จีน และมาเลเซีย เป็นต้น 3. พื้นฐานเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต และเปรียบเทียบกับหลายประเทศที่ได้รับ Rating สูงกว่าไทย ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อที่ต่ำ, การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงต่อเนื่อง, สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP ที่ต่ำ และทุนสำรองระหว่างประเทศแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับหนี้สินระยะสั้น เพราะฉะนั้น เราจึงมองประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่สมควรได้รับการยกระดับ Rating ขึ้น ปัจจัยบวกทั้งหมดนี้ น่าจะพอให้น้ำหนักกับประเด็น การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติสู่ตลาดหุ้นไทยได้อย่างชัดเจนขึ้น … แล้วคุณล่ะ เห็นตรงกันกับเราหรือเปล่า? โดย TISCO Wealth Advisory —- ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/tiscomastery/ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โรงไฟฟ้า และ Block Trade - FINNOMENA ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเท่าไหร่นัก กับการปรับฐานกว่า 0.85% (ลึกสุด 1.4%) เพราะมันเป็นการปรับฐานใหญ่ครั้งแรกหลังจากที่ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นกว่า 8.5% ในช่วง 30 วันทำการที่ผ่านมา แต่สิ่งที่น่าสนใจคืออะไรติดตามในบทความนี้ได้เลยครับ 5 ก.ค. 2562 ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเท่าไหร่นัก กับการปรับฐานกว่า 0.85% (ลึกสุด 1.4%) เพราะมันเป็นการปรับฐานใหญ่ครั้งแรกหลังจากที่ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นกว่า 8.5% ในช่วง 30 วันทำการที่ผ่านมา แต่ที่น่าสนใจคือ… – เมื่อวานบัญชีซื้อขายเพื่อบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 1.7 พันล้านบาท (เป็นการขายมากที่สุดตั้งแต่ต้นปี) ถือเป็นการขายที่มีนัยสำคัญหลังจากที่ซื้อสุทธิมาอย่างต่อเนื่อง 1.1 หมื่นล้านบาทตั้งแต่ มิ.ย.62 – คาดว่าการขายสุทธิของบัญชีซื้อขายเพื่อบริษัทหลักทรัพย์ หลักๆจะมาจากการขายของ Block Trade ซึ่งน่าจะประกอบไปด้วย การขายเพื่อเปิดสถานะใหม่ การขายเพื่อปิดทำกำไร และการขายเพื่อตัดขาดทุน โดยภาพรวมของสถานะคงค้าง (OI) ของ Single Stocks Futures ปรับลดลงเพียง 0.73% ดังนั้นการขายของบัญชีซื้อขายเพื่อบริษัทหลักทรัพย์วานนี้อาจตีความได้ว่า Block Trade เริ่มเปิดสถานะ Short เพิ่ม – อย่างไรก็ตามวงเงินรวมของ Block Trade ทั้งระบบยังค้างอยู่ที่ 3.7 หมื่นล้านบาท ห่างไกลจากยอด 5.2 หมื่นล้านบาทเมื่อ ก.พ.61 อยู่มาก พื้นที่ในการขยายวงเงินยังมีอีกเยอะ และคาดว่าจะเน้นไปที่หน้า Long มากกว่า ซึ่งจะเป็นปัจจัยทรงอิทธิลที่จะทำให้ SET Index ดีดตัวขึ้นในระยะถัดไปสู่ 1,800 จุดอีกครั้ง – โรงไฟฟ้าทั้ง IPP SPP รวมไปถึงกลุ่มพลังงานทดแทน วานนี้โดนจัดหนักกันถ้วนหน้า ราคาหุ้นเจอแรงขายทำกำไรหนักหน่วง พร้อมกับข่าวตามหลังมาเรื่อง 1. ผู้ตรวจการฯร้องให้ ก.พลังงานทบทวนแผน PDP เพื่อให้รัฐต้องเป้นผู้ผลิตไฟฟ้ามากกว่า 51% และ 2. การที่พลังงานจะทบทวน AEDP ลดสัดส่วนของโซลาห์รูฟท็อบ และเพิ่มสัดส่วนของโซลาห์ฟาร์ม – ประเด็นที่ 2 ไม่ใช่เรื่องลบอะไร แต่ที่ตลาดสนใจคงหนีไม่พ้นประเด็นที่ 1 ซึ่งสร้างความกังวลให้กับตลาด เนื่องจากตามแผน PDP 2018 กำลังการผลิตของรัฐจะเหลือ 30% เอาจริงๆมันก็เป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของผู้ตรวจการฯที่จะต้องยื่นเรื่องให้ทบทวน แต่เอาเข้าจริงก็ยังมีอีกหลายกระบวนการในการตีความ และเป็นการยากที่จะมีการปรับแผนไปจากเดิม – ทั้งนี้หากเกิดกรณีต้องปรับแผนขึ้นมา พวกโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) อย่าง GULF RATCH จะได้รับผลกระทบมากที่สุด หรือหุ้นที่คาดหวังจะได้ PPA ใหม่ GULF CKP RATCH แต่ในส่วนของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก SPP และพลังงาน ได้รับผลกระทบจำกัดมาก – ที่น่าสนใจคือ BCPG ปรับลงรุนแรงกว่า 8% ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัจจัยลบเฉพาะตัว เพราะที่แรงกกว่าชาวบ้านเพราะมีแรงขายตัดขาดทุนจาก Block Trade ผสมโรง ซึ่งดูได้จากวงเงิน Block ของ BCPG ลดลงกว่า 43% เหลือเพียง 257 ล้านบาท (แสดงว่ามีการตัดขาดทุนรุนแรง) ขณะที่โรงไฟฟ้าอย่าง GULF วงเงินลดลง 6% เท่านั้น (เหลือ 766 ล้านบาท) หมายเหตุ : เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุนและไม่เกี่ยวข้องกับต้นสังกัดของผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ 5 ก.ค.2562 ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/prakitsiriwattanaket/posts/2488920344670563 ——————————– คำเตือน “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
FINNOMENA PORT Strategy ครึ่งปี 2019: The End of Rising Interest Rate Era - FINNOMENA FINNOMENA Investment Team มีมุมมองคำแนะนำการลงทุนในครึ่งปีหลังว่า โลกกำลังสิ้นสุดภาวะขาขึ้นของดอกเบี้ย กลยุทธ์ในการลงทุน FINNOMENA Investment Team ยังคงยึดมั่นในการกระจายความเสี่ยงอย่างสูงสุด บทความนี้จะมาสรุปว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในครึ่งปีแรกของ 2019? ธีมหลักของครึ่งปีหลังคืออะไร? แล้วคำแนะนำในแต่ละพอร์ตของ FINNOMENA Investment Team จะเป็นอย่างไร? 11 ก.พ. 2563 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> FINNOMENA PORT Strategy ครึ่งปี 2019: The End of Rising Interest Rate Era รูปที่ 1 วัฏจักรอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) และดัชนี S&P 500 l Source : Bloomberg FINNOMENA Investment Team มีมุมมองหรือธีมการลงทุนในครึ่งปีหลังว่า โลกกำลังสิ้นสุดภาวะขาขึ้นของดอกเบี้ย (The End Of Rising Interest Rate Era) กลยุทธ์ในการลงทุน FINNOMENA Investment Team ยังคงยึดมั่นในการกระจายความเสี่ยงอย่างสูงสุด (Maximum Diversification) จากการที่ครึ่งปีแรก ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นจากท่าทีผ่อนคลายของสงครามการค้าไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลต่อภาคการส่งออกและอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี กดดันให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องมีท่าทีเชิงผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มสภาพคล่อง การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย FINNOMENA Investment Team แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจากผลกระทบของประเด็นการค้าระหว่างสองชาติมหาอำนาจส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศออกมาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์ยังปรับลดคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะชะลอตัว มีปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบจากประเด็นการค้าที่ตึงเครียดมานับตั้งแต่ปี 2018 ทาง FINNOMENA Investment Team ยังคงมุมมองสงวนท่าทีในการเพิ่มน้ำหนักในการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง เพราะถึงแม้ FINNOMENA Investment Team เริ่มเห็นความเสี่ยงและสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจบ้าง แต่เนื่องจากธนาคารกลางสำคัญทั่วโลก (นำโดย Fed, ECB, BOJ และ PBOC) ส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาโดยตลอดอาทิเช่น การยุติมาตรการ QT ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed), ท่าทีการผ่อนคลายทางการเงินของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) หรือแม้กระทั่งการเพิ่มสภาพคล่องของธนาคารกลางประเทศจีน (PBOC) เป็นต้น ทำให้ตลาดยังมีความคาดหวังว่า เศรษฐกิจอาจจะกลับมาฟื้นตัวได้ หากตลาดตอบรับมาตรการกระตุ้นที่ถูกจังหวะและถูกเวลา ทั้งนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ยจริงตามที่ตลาดคาดการณ์ FINNOMENA Investment Team แนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ Yield Play เป็นสิ่งที่ควรทำ เนื่องจากตลาดรับรู้ข่าวและคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยไปมากแล้ว โดยมองว่า ตลาดหุ้นจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นในระยะสั้น ซึ่งเป็นจังหวะในการเพิ่มสินทรัพย์เสี่ยงในการลงทุนแบบ Tacitical Allocation ในสัดส่วน 5-10% ของพอร์ตการลงทุน เกิดอะไรขึ้นบ้างในครึ่งปีแรก 1H 2019 Running on the water surface นับตั้งแต่ย่างเข้าปี 2019 เป็นต้นมา ตลาดหุ้นทั่วโลกสามารถปรับตัวขึ้นในช่วง 4 เดือนแรก ทั้งนี้ปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจนก็คือ ตลาดซึมซับข่าว และรับรู้ว่าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาส 1/2019 ออกมาที่ 3.1% ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก แต่ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นนั่นยั่งยืนกลับมีน้อยมากในช่วงที่ผ่านมาอย่าง การขยายตัวของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ชะลอลง, แนวโน้มยอดขายในช่วงที่เหลือของปีโดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีก็เริ่มถูกปรับลดประมาณการ ประกอบกับความไม่แน่นอนของการเจรจาในประเด็นการค้ากลับมาอีกครั้งในเดือนพ.ค. The Tension of 2 Superpowers เมื่อเข้าสู่เดือนพ.ค. ความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างสองชาติมหาอำนาจคือจีนและสหรัฐฯ ได้ปะทุขึ้น โดยประธานาธิบดี Donald Trump ของสหรัฐฯ ใช้ประเด็นการขาดดุลการค้าเพื่อขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศจีน อย่างไรก็ตาม หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้ Executive Order จำกัดการทำธุรกิจ ซึ่งพุ่งเป้าไปยังบริษัท Huawei ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีสัญชาติจีน ทำให้ประเด็นหลักภายใต้ความขัดแย้งทางการค้าได้เปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน โดยเป็นเรื่องของความเป็นผู้นำในโลกโดยเฉพาด้านเทคโนโลยีและ AI The Unclear of Monetary Policy Stance หนึ่งในความกังวลซึ่งสร้างความผันผวนต่อตลาดการเงินทั่วโลกเมื่อปี 2018 คือ ความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเฉพาะท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แต่เมื่อทั่วโลกเจอความขัดแย้งประเด็นด้านการค้า ซึ่งเสี่ยงจะไปกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) เมื่อรวมกับราคาน้ำมันดิบที่ย่อตัวลงมาเมื่อไตรมาส 4/2018 ช่วยลดแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อ และเห็นสัญญาณการชะลอตัวของเงินเฟ้อในอนาคต ก็ส่งผลให้ธนาคารกลางที่สำคัญทั่วโลกเปลี่ยนท่าทีมาดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกครั้ง และเพิ่งจะมาชัดเจนจริงๆ ว่าจะผ่อนคลายมากขึ้นก็ในช่วงเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมานี่เอง Trade wars accelerate global economic slowdown จากการศึกษาของ Bloomberg พบว่าผลพวงจากการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตรา 25% ไปก่อนหน้านี้ ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกโดยตรง ทำให้คาดการณ์ว่าตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ของประเทศจีน สหรัฐฯ และโลกจะลดลง 0.8%, 0.5% และ 0.5% ในช่วกลางปี 2021 ตามลำดับ Key Theme 2H 2019 Into The Cold War แม้ผลการพบปะกันนอกรอบระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่การประชุม G-20 จะออกมามีแนวโน้มที่ผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยการเปิดทางให้คณะทำงานเจรจากันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามความขัดแย้งเบื้องหลังยังคงอยู่ ทั้งในเชิงสมดุลอำนาจของโลก ทรัพย์สินทางปัญญา และการขาดดุลทางการค้า เมื่อประกอบกับท่าทีแข็งกร้าวและชัดเจนของนายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีการใช้กลยุทธ์การเจรจาแบบสุดโต่ง และกระแสชาตินิยมที่เพิ่มขึ้นในจีน จะส่งผลให้การกระทบกระทั่งยังเกิดขึ้นควบคู่กับความพยายามเจรจาต่อไป ซึ่งประเด็นนี้ จะนำมาซึ่งความเสี่ยงและความผันผวนให้กับตลาดทุนเป็นระยะ Very Low Inflation, a Beautiful Thing! โอกาสที่จะอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาเหนือกว่ากรอบการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางเป็นไปได้ยาก FINNOMENA Investment Team มองว่า ธนาคารกลางจะพุ่งความสนใจไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องกังวลกับอัตราเงินเฟ้อว่าจะกลับมาเร่งตัวอีกหรือไม่ในครึ่งปีหลัง เนื่องจากพบสัญญาณและความเสี่ยงที่ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศแกนหลักยังคงชะลอตัว The End of Rising Interest Rate Era เมื่อไม่ต้องกังวลกับอัตราเงินเฟ้อ นโยบายผ่อนคลายการเงินที่จะเกิดขึ้นแน่นอนคือ ธนาคารกลางทั่วโลกจะยุติการขึ้นดอกเบี้ยหลังจากนี้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเศรษฐกิจจะไม่ชะลอรุนแรงไปมากกว่าระดับปัจจุบัน และเปิดโอกาสให้ผู้ดำเนินนโยบายสามารถใช้เครื่องมือคือลดดอกเบี้ยนโยบายในจังหวะที่เห็นว่าจำเป็น ดังนั้น FINNOMENA Investment Team คาดว่าธนาคารกลางของหลายประเทศจะดำเนินทุกมาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นในระยะสั้นด้วยเช่นเดียวกัน แต่หาก FINNOMENA Investment Team เห็นการลดดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 ครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยก็เป็นไปได้ จึงจำเป็นต้องจับตาใกล้ชิด โดยเฉพาะนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2020 เป็นต้นไป Cherry Picking Strategy จากการที่นักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิ และมีมุมมองต่อภาพรวมเศรษฐกิจที่แย่ลงซึ่งเป็นผลจากสงครามการค้า FINNOMENA Investment Team มีมุมมองเชิงบวกต่อสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์ระยะยาวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาศัยกลยุทธ์ Regional/Sector Selection เน้นหุ้นในกลุ่มธุรกิจที่มีคุณภาพสูง มีส่วนแบ่งการตลาดขนาดใหญ่ พร้อมความผันผวนในระดับต่ำกว่าตลาด สงครามการค้ากดดันมุมมองการลงทุน รูปที่ 2 ตัวเลข U.S. Manufacturing PMI และ U.S. Non-Manufacturing PMI I Source : Bloomberg ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นทั่วโลก โดยตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) อยู่ที่ 3.1% ในไตรมาสแรกของปี 2019 ปรับตัวขึ้นมาจาก 2.2% เมื่อไตรมาสที่ 4 ปี 2018 อย่างไรก็ตาม Fed ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับปี 2019 อยู่ที่ 2.1% สะท้อนมุมมองการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง สำหรับภาคบริการและบริโภคภายใน (Services and Goods) ซึ่งมีสัดส่วนเกินกว่า 50% ของ GDP ได้รับปัจจัยหนุนจากภาคแรงงานที่แข็งแกร่งด้วยตัวเลขอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี ที่ระดับ 3.6% และอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การบริโภคยังเป็นภาคส่วนที่หนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และกระตุ้นภาคบริการไปด้วยเช่นกัน สะท้อนผ่านตัวเลข Retail Sales และ Consumer Spending ขยายตัวมาโดยตลอด แม้ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะย่อตัวลงมาเล็กน้อยแต่ยังยืนในกรอบ 95 – 100 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบทศวรรษ เช่นเดียวกับตัวเลข ISM Non-Manufacturing PMI ซึ่งอยู่ระดับ 56.9 จุด สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อภาคส่วนดังกล่าวในอนาคต รูปที่ 3 ตัวเลขอัตราการว่างงานและอัตราตำแหน่งเปิดใหม่ l Source : Bloomberg อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อตลาดการเงิน และไม่สร้างแรงกดดันด้านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัว โดยตัวเลข U.S. Core CPI คงอยู่ที่ระดับ 2.0% (YoY) ส่วนตัวเลข Core PCE ซึ่งเป็นตัวเลขที่ Fed ใช้อ้างอิงอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.6% (YoY) ต่ำกว่าระดับเป้าหมายของ Fed ที่ 2.0% (YoY) เพียงเล็กน้อย ด้านสถานการณ์และผลกระทบประเด็นการค้า โดยแม้สหรัฐฯ และจีนตกลงเริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ หลังการพบกันของประธานาธิบดีของทั้งสองชาติ ในการประชุม G-20 ช่วยลดความเสี่ยงระยะสั้นต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากมาตรการที่ประกาศใช้ไปก่อนหน้าจะเริ่มปรากฏออกมาซึ่งสะท้อนผ่านตัวเลขที่เกียวข้องซึ่งหดตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น ตัวเลขการส่งออก ประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน ดังนั้นจึงยังต้องจับตาสถานการณ์และผลกระทบไปจนกว่าทั้งสองชาติจะบรรลุข้อตกลงที่ชัดเจน ตลาดการเงินเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาลงเรียบร้อยแล้ว รูปที่ 4 มุมมองอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการ FOMC l Source : Bloomberg หลังปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 4 ครั้งเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ตลาดการเงินไม่สามารถทนรับนโยบายการเงินเแบบเข้มงวด (Restrictive Monetary Policy) ประกอบกับเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จึงต้องหันกลับมาดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยในการประชุมคณะกรรมการ FOMC เดือนมิถุนายน เผยแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายผ่าน Dot Plot แสดงมุมมองการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นของคณะกรรมการ FOMC เมื่อเทียบกับการประชุมเมื่อเดือนมีนาคม ด้วยแนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้ตลาดการเงินมีความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยจากผลต่าง (Fed Fund Futures) และ (Eurodollar Futures) สะท้อนว่านักลงทุนในตลาดคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2020 เช่นเดียวกับตลาดอัตราแลกเปลี่ยน รูปที่ 5 วัฏจักรและพฤติกรรมการปรับอัตราดอกเบี้ยของ Fed l Source : Bloomberg จากการศึกษาวัฏจักรและพฤติกรรมการปรับอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในอดีตนับตั้งแต่ปี 1980 จนถึงปัจจุบัน พบว่าการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed มักปรับขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงหรือสูงกว่าระดับเป้าหมายเป็นหลัก ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยส่วนใหญ่จะพิจารณาบนพื้นฐานการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านตัวเลข GDP ตลาดแรงงานในประเทศ โดยไม่พิจารณาหรือสนใจตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ FINNOMENA Investment Team มองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม ที่จะถึงนี้เลย แต่ยังคงต้องเฝ้าติดตามนโยบายจากปธน.ทรัมป์ ว่าจะกลับมาใช้นโยบายการคลังต่อเนื่องอีกหรือไม่ ซึ่งหากยังดำเนินนโยบายต่อ จะเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ และธนาคารกลางสหรัฐฯ เองอาจพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีกต่อเนื่อง บริโภคยุโรปแข็งแกร่ง แต่ส่งสัญญาณอ่อนแรง รูปที่ 6 Eurozone Consumption Expenditure Value & Growth l Source : Bloomberg ภาพรวมตลาดของภูมิภาคยุโรปยังได้มีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและภายใน โดยความไม่แน่นอนในประเด็นการค้าที่สหรัฐฯ พุ่งเป้ามายังภาคยานยนต์ของยุโรป สร้างความกังวลต่อภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก สะท้อนผ่านตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัว 6 เดือนต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นผู้การบริโภคปรับตัวลง โดยเฉพาะในประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ขณะเดียวกันความไม่แน่นอนในกรณี Brexit จากการปราศจากผู้นำการเจรจาที่ชัดเจน ซึ่งเป็นผลมาจากการลาออกของนาง Theresa May นายกฯ อังกฤษ กระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภคและการลงทุนในสหราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน ในส่วนภาคการบริโภคยังมีความแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นผลจากการจ้างงานที่ยังขยายตัวพร้อมอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวนับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงยังต้องติดตามผลกระทบต่อภาคส่วนนี้ ด้วยปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวไปข้างต้น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงท่าทีผ่อนคลายทางการเงิน ทั้งถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางยุโรป และมาตรเพิ่มสภาพคล่องด้วยการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรป (TLTRO-III) อย่างไรก็ตาม การที่นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะหมดวาระการทำงาน ส่งผลให้การกำหนดทิศทางของนโยบายการเงินต้องชะลอไปจนกว่าจะได้ประธานธนาคารกลางยุโรปท่านใหม่ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าธนาคารกลางยุโรปยังต้องคงนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป หนุนมุมมองเชิงบวกต่อตลาดการลงทุน อย่างไรก็ตาม จากความไม่แน่นอนทั้งภายนอกและภายใน เช่นเดียวกับพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำชะลอการลงทุนในภูมิภาคยุโรป สงครามการค้าปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตาสำหรับ Asia ex Japan รูปที่ 7 อัตราการขยายตัวของ GDP ของประเทศในเอเชีย l Source : Tradingeconomics ประเด็นการค้านอกจากจะสร้างแรงกดดันต่อ Supply Chain ของประเทศจีน ยังส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม Semiconductor ที่มีฐานการผลิตหลักในเอเชีย ที่ยอดขายมีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อภาคการส่งออกในหลายประเทศและส่งผลเสียต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชีย ได้มีความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตราการผ่อนคลายทางการเงิน และการเพิ่มสภาพคล่องในระบบต่อเนื่อง เช่น การที่ธนาคารแห่งชาติจีน (PBOC) เพิ่มสภาพคล่องโดยการปรับลด RRR Ratio ในส่วนธนาคารกลางอินเดีย (RHB) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในปีนี้ แตะระดับ 5.75% เพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียได้รับปัจจัยหนุนในเชิง Momentum หลังท่าทีสงครามการค้ามีแนวโน้มผ่อนคลายในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประกอบกับท่าทีเชิงผ่อนคลายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง หนุนเม็ดเงินเข้าลงทุนภูมิภาคเอเชีย FINNOMENA Investment Team แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนเพื่อรับปัจจัยหนุนดังกล่าว มาตรการกระตุ้นยังไร้ผลต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น รูปที่ 8 สภาพคล่องที่เพิ่มสูงขึ้นจาก BOJ ไม่สามารถเร่งการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ l Source : Tradingeconomics ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เสริมสภาพคล่องในระบบอย่างต่อเนื่องผ่านมาตรการ QQE เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามกรอบเป้าหมาย 2% อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่า 1% จากความกังวลในภาคการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัว ความเสี่ยงจากการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ยังเป็นปัจจัยที่ต้องจับตา แม้ท่าทีออกมาโทนผ่อนคลายต่อกัน แต่ยังเป็นปัจจัยที่ยากต่อการคาดการณ์ ประกอบกับนโยบายการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากระดับ 8% เป็น 10% ในปลายเดือนตุลาคมนี้ จะเพิ่มแรงกดดันต่อการบริโภคภายในประเทศ จึงยังต้องจับตาทิศทางการปรับใช้นโยบายดังกล่าวว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี ประกอบกับค่าเงินเยนที่กลับมาแข็งค่าจากความกังวลต่อไม่แน่นอนของการเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ซึ่งกระทบต่อรายได้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองต่างประเทศและข้อจำกัดของมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจ ดอลลาร์อ่อนค่าหนุนทองคำแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี รูปที่ 9 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (Dollar Index), ปริมาณการถือครองทองคำของกองทุน SPDR, ปริมาณการถือครองทองคำของกองทุน ETF ทั้งหมด และราคาทองคำ l Source : Bloomberg Dollar Index ปรับตัวลดลงมาทดสอบระดับ 96 จุด หลุดแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จากความคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันธนาคารกลางทั่วโลกทยอยสะสมทองคำเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้น สอดคล้องกับการถือครองทองคำของกองทุน ETF ทองคำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทะลุระดับแนวต้านที่ 1,350 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แตะระดับราคาสูงที่สุดในรอบกว่า 6 ปี และสามารถยืนเหนือระดับ 1,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้อย่างแข็งแกร่ง FINNOMENA Investment Team ยังแนะนำคงสัดส่วนการลงทุนในทองคำเพื่อลดความผันผวนของผลตอบแทนพอร์ตลงทุนโดยรวม การบริโภคยังเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจทั่วโลก รูปที่ 10 อัตราการว่างงานและอัตราการขยายของค่าจ้าง สหรัฐฯ, จีน และ สหภาพยุโรป l Source : Bloomberg ตลาดแรงงานของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้งสหรัฐฯ จีน และยุโรป มีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง จากอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ยังคงลดลงและอัตราค่าจ้าง (Wage Growth) ที่ยังขยายตัว ส่งผลดีต่อการบริโภคภาคครัวเรือนที่หนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Cofidence) เริ่มปรับตัวลดลง สะท้อนความมั่นใจในการใช้จ่ายที่ลดลงด้วยแรงกดดันจากการกีดกันทางการค้า ทำให้การบริโภคในบางประเทศเริ่มชะลอตัว อาทิเช่น การหดตัวของการบริโภคในประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม หลังสองชาติมหาอำนาจของโลกตกลงกลับมาเจรจากันใหม่อีกครั้งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนมุมมองที่ดีด้านการบริโภค ขณะเดียวกันการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ทำให้รายได้จากการส่งออกของประเทศสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และราคาสินค้านำเข้าจะลดลง อาทิเช่น ประเทศจีน ซึ่งส่งผลดีต่อการบริโภคภายในเช่นกัน ทิศทางราคาน้ำมันแกว่งในกรอบกว้าง รูปที่ 11 ปริมาณการส่งออกของประเทศสหรัฐฯ ซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย l Source : International Energy Agency ราคาน้ำมันกลับมาเผชิญความผันผวนอีกครั้งหลังได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ปรับลดประมาณการความต้องการน้ำมันดิบปีนี้มาที่ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับการเร่งขยายกำลังการผลิตของกลุ่มผู้ผลิต Shale Oil จากสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดอุปทานส่วนเกินเป็นอีกปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกกลางที่ทวีความรุนแรง จากข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน ซึ่งกระทบการภาคผลิตและส่งออกน้ำมัน ประกอบกับการพิจารณาลดกำลังการผลิตจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ (OPEC) หลังการประชุม G-20 โดยมีเป้าหมายเพื่อควบปริมาณการผลิตให้สมดุลกับความต้องการ ทั้งสองปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับตัวขึ้น FINNOMENA Investment Team มองว่าราคาน้ำมันจะยังเคลื่อนไหวในกรอบราคาประมาณ 50-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และต้องจับตาปัจจัยใหม่ที่ส่งผลต่อความต้องการน้ำมันดิบซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อแนวโน้มราคาน้ำมันดิบ อาทิเช่น มุมมองการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปริมาณการค้าโลก เป็นต้น อสังหาฯ ยังน่าสนใจในช่วงดอกเบี้ยขาลง รูปที่ 12 Thai & Singapore REITs & Property Fund Yield Spread l Source : Bloomberg มุมมองการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว ท่าทีธนาคารกลางในเชิงผ่อนคลาย ส่งผลให้การลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ภายใต้มุมมองการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลดีต่อกองทุนอสังหาฯ และ REITs ในส่วนของ REITs ในไทยยังได้รับแรงหนุนจาก Sector ค้าปลีกและสำนักงาน ที่ยังมีแนวโน้มการเติบโตพร้อมกับอัตราการปันผลที่น่าสนใจในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน สำหรับ Sector ค้าปลีก คาดการณ์ว่า Supply ที่เป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่จะน้อยลงอย่างมากในอนาคต ขณะที่พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของประชากรไทยยังเอื้อต่อ Sector ค้าปลีก เช่น การพักผ่อนรับประทานอาหารในห้างสรรพสินค้าช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ในส่วน Sector สำนักงานมีคาดการณ์ว่า Supply ในระยะสองปีต่อจากนี้จะมีอย่างจำกัด เช่นเดียวกับความต้องการเช่าที่ยังเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราพื้นที่ว่างของสำนักงานให้เช่า (Vacancy rate) ลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ค่าเช่าสำนักงานยังปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อด้วยอัตรา 3.1% (YoY) สำหรับสำนักงาน Grade A CBD ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาส่วนต่างระหว่างอัตราเงินปันผลและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี อยู่ที่ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ระดับ 3% ส่วนตัวเลขดังกล่าวของ REITs สิงคโปร์ ลดลงมาที่ระดับต่ำที่สุดของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี สะท้อนความน่าสนใจที่ลดลงเมื่อเทียบกับความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภท REITs (Risk Premium) ราคาตราสารหนี้สะท้อนความคาดหวังการลดดอกเบี้ย รูปที่ 13 อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี l Source : Bloomberg นับตั้งแต่ต้นปี ตราสารหนี้ Investment Grade และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 3 ปีขึ้นไป ปรับตัวขึ้นมากกว่า 8% ขณะที่ตราสารหนี้กลุ่ม High Yield ให้อัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ 7% ซึ่งเป็นผลมาจากแรงซื้อในตราสารหนี้กลุ่ม High Yield นับตั้งแต่ช่วงต้นปี จากความคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องสู่ระดับใกล้เคียง 2% สะท้อนความคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระดับหนึ่งแล้ว FINNOMENA Investment Team แนะนำติดตามการตอบสนองของตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างใกล้ชิด เพิ่มความระมัดระวังต่อการปรับตัวลงของราคาตราสารหนี้ที่อาจเกิดขึ้นหากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวทำให้อาจไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยตามที่คาดไว้ ท่ามกลางความผันผวน Fund Flow ยังหนุนหุ้นไทย รูปที่ 14 Fund Flow ไหลเข้าหุ้นไทยหนุนดัชนีปรับตัวขึ้น l Source : Bloomberg ตลอดต้นปีที่ผ่านเศรษฐกิจไทยเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกประเทศ ฉุดการส่งออกหดตัว นำโดยกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรไฟฟ้า ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวหลังกลุ่มนักท่องเที่ยวลดลง แต่การเบิกจ่ายภาครัฐในงบประมาณปี 2562 และการบริโภคในประเทศยังคงเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกให้ขยายตัว 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ประชุม กนง. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยประจำปี 2562 เหลือ 3.3% จาก 3.8% สะท้อนความจำเป็นของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ ให้ความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยมีแนวโน้มปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนตลาดหุ้นไทย (SET) ยังได้รับแรงหนุนทั้งการเพิ่มน้ำหนักของ MSCI Emerging market และเม็ดเงินจากต่างชาติ (Fund Flow) ประกอบกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ ส่งให้ค่าเงินบาทมีความเป็น Safe Haven ทำให้มีเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยครึ่งปีแรกสุทธิกว่า 40,000 ล้านบาท และตราสารหนี้ไทยสุทธิที่ 125,000 ล้านบาท ด้วยปัจจัยเชิง MomentumFINNOMENA Investment Team แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุนหุ้นไทยอีก 10% ของพอร์ตลงทุน ตามทิศทาง fund flow และสัญญาณ bullish ในทางเทคนิคหลังปรับตัวขึ้นยืนเหนือ 1,680 จุดได้เป็นแรงหนุนให้นักลงทุนที่รอจังหวะกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นไทยอีกครั้ง โดยสรุป FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่า ครึ่งปีหลัง 2019 เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตราที่น้อยลง (Economic soft landing) เนื่องจากท่าทีประนีประนอมของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ยังไม่ยุติ ส่งผลให้ตลาดการลงทุนโดยรวมยังคงมีความผันผวน แต่ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางหลักๆของโลก FINNOMENA Investment Team ยังคงยึดมั่นการกระจายลงทุนขั้นสูงสุด ควบคู่ไปกับการลงทุนแบบ Selective Play เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุด ในช่วงที่ตลาดผันผวน โดยพอร์ตการลงทุนแนะนำของ FINNOMENA ในแต่ละ Model มีดังนี้ Global Conservative Portfolio (GCP) – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 3,000,000 บาท] พอร์ตเพื่อเป้าหมายชนะเงินฝาก และชนะเงินเฟ้อ เป้าหมายระยะยาว 3 – 5% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี) คำแนะนำประจำเดือนกรกฎาคม 2562: แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อเนื่องจากเดือนมิถุนายน จากการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ 65% และกองทุนรวมกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 15% ซึ่งช่วยลดความผันผวนพร้อมรับโอกาสสร้างผลตอบแทนในอนาคตแล้ว Global Absolute Return (GAR) – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 3,000,000 บาท] กระจายเงินลงทุนในหลายสินทรัพย์เพื่อสะสมมูลค่าเงินลงทุนบนเป้าหมายผลตอบแทน 8% ต่อปี หรือ 2 เท่าตัวใน 10 ปี (ไม่ใช่การการันตี) และพยายามปกป้องความเสี่ยงในตลาดขาลงในปีที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดี และ TOP5 Portfolio – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 3,000,000 บาท] การจัดพอร์ตแบบ Global Equity Allocation ที่จะลงทุนในกองทุนรวมไปเกิน 5 กองทุน เน้นการลงทุนเชิงรุก มีความถี่ในการปรับพอร์ตสูง และมีนโยบายการตัดขาดทุนที่เข้มข้น เป็นระบบ ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 10-15% ต่อปี หรือ 4 เท่าตัวใน 10 ปี (ไม่ใช่การการันตี) คำแนะนำประจำเดือนกรกฏาคม 2562 : แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนเดิมเช่นเดียวกับเดือนมิถุนายน ที่มีคำแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นไทย ในช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ขณะที่สัดส่วนของตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือก ยังสามารถสร้างผลตอบแทนพร้อมกับลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวมได้ โดยที่ FINNOMENA Investment Team จะยังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ Global Income Focus (GIF) – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 5,000,000 บาท] พอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ เป้าหมายผลตอบแทน 6-7% ต่อปี และจ่ายกระแสเงินสดเป็นรายเดือน (Passive Income) ในอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 4-5% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี) คำแนะนำประจำเดือนกรกฏาคม 2562 : แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อเนื่อง จากความสามารถในการจ่ายกระแสเงินสดเฉลี่ยได้ตามเป้าหมายที่มากกว่า 4.00% ภายใต้ความผันผวนระดับต่ำ จากการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ไปพร้อมๆกับกองทุนผสมที่มีการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ GOAL Portfolio – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 20,000 บาท เงินลงทุนต่อเดือนขั้นต่ำ (DCA) : 5,000 บาท] ลงทุนเพื่อเป้าเก็บเงินก้อนหรือเป้าเกษียณ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีการวางเป้าหมายการลงทุน และ จัดพอร์ตตามวัตถุประสงค์ ตั้งใจสร้างวินัยการออม และทยอยลงทุนสะสมเป็นรายเดือน คำแนะนำประจำเดือนกรกฏาคม 2562 : แนะนำคงสัดส่วนการลงทุน ในแง่จังหวะการลงทุน (Market Timing) สามารถเข้าลงทุนได้เลย เนื่องจากมีการควบคุมความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม 2 วิธีการด้วยกันคือ กระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์และกระจายการลงทุนด้วยการ DCA 1st Million Portfolio – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท เงินลงทุนต่อเดือน (DCA) : 2,500 บาทขึ้นไป] พอร์ตการลงทุนสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะสร้าง 1 ล้านบาทแรก ในชีวิตเหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ เพิ่งเริ่มต้นลงทุน มีความตั้งใจในการสร้างวินัยการลงทุน และทยอยลงทุนสะสมเป็นรายเดือน คำแนะนำประจำเดือนมกราคม 2562 : แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อเนื่องจากเดือนธันวาคม ในแง่จังหวะการลงทุน (Market Timing) สามารถเข้าลงทุนได้เลย เนื่องจากมีการควบคุมความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม 2 วิธีการด้วยกันคือ กระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์และกระจายการลงทุนด้วยการ DCA FINNOMENA Investment Team โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น 2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @finnomenaport คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: 1stM Advance Article FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA PORT FINNOMENA PORT Strategy FINNOMENA PORT Strategy Video GAR GCP GIF Goal Long Content PORT Strategy Product Info Top5 แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Libra: เงินใหม่ในฝัน - FINNOMENA Facebook ได้สร้างเงินดิจิตอลสกุลใหม่ Libra ที่จะมาปฎิวัติวงการ Bitcoin ด้วยมูลค่าที่มั่นคงและไม่ผันผวน ว่าแต่ว่า Facebook ทำได้อย่างไร? ทำไม Libra ถึงมีแนวโน้มเป็นจริงในอนาคต? Libra ต่างจาก Bitcoin อย่างไร? 2 ก.ค. 2562 การประกาศของ Facebook ที่จะสร้างเงินดิจิตอลชื่อ Libra และนำออกใช้ในต้นปีหน้านั้นเป็นเรื่องที่ทำให้โลก “ตะลึง” คนจำนวนมากเชื่อว่า Libra จะประสบความสำเร็จและจะเป็นการ “ปฏิวัติโลกการเงิน” ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จริงอยู่ว่าคนตะลึงมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ Bitcoin ซึ่งเป็นเงินดิจิตอลรุ่นแรกที่สร้างขึ้นโดยคนที่ชื่อ “ซาโตชิ นากาโมโต” ถูก “ปั่น” ขึ้นมาจนมีราคาสูงมโหฬารซึ่งทำให้คนสนใจเข้ามาเรียนรู้ศึกษากันทั่วโลก คนจำนวนมากคิดว่าในที่สุด Bitcoin จะกลายเป็นเงินสกุลใหม่ที่จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมันสามารถลดต้นทุนในการดำเนินการเช่นการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางที่มีต้นทุนสูงเช่นระบบแบ้งค์ เป็นต้น นอกจากนั้น มันยังเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีใครหรือรัฐบาลไหนสามารถที่จะขโมยหรือออกนโยบาย เช่น พิมพ์หรือสร้างเงินเพิ่มขึ้นมาซึ่งจะทำลายมูลค่าของเงินนั้นได้ อย่างไรก็ตาม นับจนถึงวันนี้ Bitcoin ก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างการยอมรับของสังคมธุรกิจ มีร้านค้าที่จะรับเงินบิทคอยน์น้อยมาก และแม้แต่คนหรือบริษัทที่ต้องการโอนเงินระหว่างกันข้ามประเทศก็ไม่โอนผ่านบิทคอยน์ ดูเหมือนว่าคนที่สนใจและเข้าไปเกี่ยวข้องกับบิทคอยน์จริง ๆ นั้นก็คือ “นักเก็งกำไร” ที่เข้าไปเทรดบิทคอยน์เท่านั้น ปัญหาของบิทคอยน์ก็คือ ราคาหรือมูลค่าของบิทคอยน์นั้นผันผวนมาก วันหนึ่งอาจจะเปลี่ยนไปหลาย ๆ เปอร์เซ็นต์ ช่วงเวลาแค่ไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือนราคาอาจจะขึ้นไปเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัว ถ้าจะเอามาเป็นเครื่องมือในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ คนที่ซื้อและขายก็จะมีความเสี่ยงมาก เพราะวันที่ตกลงราคาซื้อขายกับวันที่จะต้องชำระเงินห่างกัน มูลค่าที่คิดจากเงินตราของท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานของต้นทุนการผลิตสินค้าจะเปลี่ยนไปมาก ทำให้คนที่เข้าไปทำสัญญาซื้อขายอาจจะขาดทุนหรือกำไรได้โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องของธุรกิจ การที่ราคาบิทคอยน์ขึ้นลงรุนแรงนั้น ก็เป็นเพราะมันไม่ได้มี “พื้นฐาน” ของกิจการรองรับเหมือนอย่างหุ้น หรือมีประเทศที่เป็น “ผู้ออกสกุลเงิน” มารองรับ ราคาของบิทคอยน์ขึ้นอยู่กับ Demand – Supply หรือความต้องการซื้อหรือขายของนักเก็งกำไรโดยที่ไม่มีใครมาแทรกแซงได้ Facebook แก้ปัญหาเรื่องของราคาของ Libra และบอกว่ามันจะเป็นเงินที่มีมูลค่า “มั่นคง” ไม่ผันผวน เพราะมันจะเป็นเงินที่มีทรัพย์สินหนุนหลังเป็น “ตะกร้า” ของสกุลเงินหลัก ๆ ของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์ เยน และเงินหยวนของจีน ดังนั้น ราคาของเงิน Libra ก็ควรจะผันผวนไปตามค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของสกุลเงินเหล่านั้น ซึ่งทำให้คนสามารถใช้ Libra ในการกำหนดและตกลงราคาสินค้าได้เหมือนกับเงินดอลลาร์สหรัฐหรือเงินยูโร เป็นต้น โดยที่ไม่ได้มีความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ว่าที่จริงมันน่าจะน้อยลงด้วยซ้ำเพราะมันเป็นค่าเฉลี่ย ไม่ใช่ค่าสูงหรือต่ำที่สุดของเงินสกุลเดียว ประเด็นที่ไม่มีร้านค้าหรือคนอยากใช้เงินดิจิตอลนั้น Facebook แก้โดยการชวนบริษัทที่ทำธุรกิจยุคดิจิตอลโดยเฉพาะที่ต้องจ่ายเงินข้ามประเทศ และการค้าขายแบบ E-commerce เช่นอูเบอร์ วีซ่า และอีเบย์ รวมถึงตัว Facebook เองเข้ามาเป็นหุ้นส่วนทำโครงการนี้ โดยที่จำนวนของลูกค้าเป้าหมายนับตั้งแต่วันแรกเองก็กว่า 2000 พันล้านคนเข้าไปแล้วจากผู้ใช้เฟสบุคทั่วโลก ซึ่งนี่ก็เป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้คนน่าจะอยากใช้เงิน Libra เพราะมีร้านค้าหรือธุรกิจที่จะรับมากมายในขณะเดียวกัน การทำธุรกิจจ่ายโอนเงินก็จะง่ายมาก เพราะมันสามารถทำได้โดยตรงผ่าน Facebook และสื่อสังคมต่าง ๆ ของเฟสบุค ว่าที่จริงคนจำนวนมากในปัจจุบันก็ค้าขายหรือทำประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุคอยู่แล้วและทำเรื่องจ่ายเงินและรับเงินผ่านระบบการโอนเงินอื่นอยู่ การที่เฟสบุคมาทำเรื่องนี้เองก็เท่ากับอำนวยความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้เฟสบุคเพิ่มเติม ดังนั้น โอกาสที่คนจะหันมาใช้ Libra จำนวนมากจึงมีความเป็นไปได้สูง อีกประเด็นหนึ่งที่คนใช้เงินดิจิตอล เช่น Bitcoin อาจจะเป็นห่วงก็คือ Facebook อาจจะเข้ามาควบคุมและใช้ข้อมูลของคนใช้ Libra มาหาประโยชน์เพื่อตนเอง ในเรื่องนี้ทำให้เฟสบุคตั้งหน่วยงานมาดูแลเงินนี้แทนโดยการจัดตั้งสมาคมลิบราหรือ Calibra ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้หวังผลกำไร หน่วยงานนี้ประกอบไปด้วยองค์กรขนาดใหญ่ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้เงิน Libra ไม่น้อยกว่า 100 ราย และน่าจะมีบทบาทสำคัญในการที่จะควบคุมและส่งเสริมให้คนมาใช้ Libra กันให้มากที่สุดซึ่งในที่สุดก็จะกลับมาสนับสนุนธุรกิจของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม สมาคมนี้ก็ประกาศว่าตนเองเป็นกลางและระบบของ Libra เป็น “ระบบเปิด” ที่จะให้ทุกคนสามารถพัฒนาแอ็ปขึ้นมาทำธุรกรรมกับ Libra ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ซึ่งในส่วนตัวผมเองนั้น ผมเชื่อว่าธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ของโลกในปัจจุบันมี “เครดิต” หรือความน่าเชื่อถือพอที่จะไม่ทำอะไรผิดจรรยาบรรณ ว่าที่จริงผมเชื่อว่าเมื่อเทียบกับรัฐบาลแล้วผมกลับคิดว่าบริษัทเอกชนบางแห่งเดี๋ยวนี้บางทีได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะพวกเขาไม่มีอำนาจทางการเมืองมาหนุน สิ่งที่ทำให้พวกเขาอยู่ได้ก็คือการยอมรับจากสาธารณชนเท่านั้น เขาจึงไม่กล้าทำอะไรที่ผิดและฝืนความคาดหวังของประชาชน ด้วยการออกแบบเงิน Libra ที่แก้ปัญหาเงินดิจิตอลแบบเดิมประกอบกับการที่บริษัทยักษ์ใหญ่แบบ Facebook ที่มีทั้งเงินและลูกค้าจำนวนมหาศาลที่มีความต้องการโอนเงินข้ามประเทศซึ่งมีต้นทุนการโอนที่สูงมากนั้น ทำให้โอกาสที่ Libra จะประสบความสำเร็จก็มีความเป็นไปได้ไม่น้อย สิ่งที่ลำบากที่สุดนั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องทางธุรกิจ แต่เป็นรัฐบาลต่าง ๆ ที่อาจจะต่อต้านการ “บุกรุก” ของเฟสบุคที่จะเข้ามาให้บริการทางการเงินในประเทศของตนโดยที่รัฐไม่สามารถจะ “ควบคุม” ได้ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เงิน Libra นั้นน่าจะมีไม่น้อยอย่างน้อยก็ในบางส่วนของธุรกรรมทางการเงิน เช่น การโอนเงินข้ามประเทศสำหรับรายย่อยหรือบุคคลธรรมดา เป็นต้น ดังนั้น ผมคิดว่า อย่างน้อย Libra น่าจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง การที่มันจะประสบความสำเร็จแบบ “ถล่มทลาย” และมีคนใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกแบบเดียวกับการใช้ Facebook นั้น เราคงต้องติดตามดูกันต่อไป และถ้าเป็นอย่างนั้น โลกทางการเงินก็อาจจะเปลี่ยนไปอีกครั้งหนึ่งนั่นคือ เงินดิจิตอล Libra จะกลายเป็นเงินหลักของโลกอีกสกุลหนึ่ง ในฐานะที่เป็นนักลงทุน ผมเองคิดว่าการมีเงินหรือถือเงินสดในระยะยาวแล้วมีความเสี่ยงไม่ได้น้อยไปกว่าหุ้น เหตุผลก็เพราะว่าเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะทำลายค่าของเงินได้มากมาย ตัวอย่างที่เตือนผมตลอดเวลาก็คือเวเนซูเอลา ซึ่งถ้าคุณเคยเป็นคนรวยเป็นเศรษฐี “พันล้าน” ของเวเนซูเอลาและเก็บเงินทั้งหมดเป็นเงินในธนาคารหรือในพันธบัตร ถึงวันนี้เงินนั้นอาจจะเหลือแค่ไม่ถึงล้านและกลายเป็นคนจนไปแล้วได้ ดังนั้น สำหรับผมแล้ว ผมอยากที่จะถือเงินสดไว้หลาย ๆ สกุลถ้าทำได้ แต่ในทางปฏิบัติ การกระจายการถือครองแบบนั้นทำได้ยาก ต้นทุนในการแลกเปลี่ยนเงินตราในปัจจุบันก็แพงมาก ต้นทุนในการติดตามทั้งเรื่องของเวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของพอร์ตก็สูง ดังนั้น ถ้าในอนาคต Libra กลายเป็นเงินสกุลที่แพร่หลายและการแลกเปลี่ยนก็มีต้นทุนที่ต่ำมาก ผมเองก็อาจจะอยากฝากเงินหรือลงทุนในเงินสกุลนี้ที่เป็นเสมือนตัวแทนของเงินสกุลหลักอื่น ๆ ของโลกด้วยแทนที่จะถือเงินสกุลเดียว ไม่แน่นะครับ อีกไม่นานเราก็อาจจะได้ใช้เงินใหม่ที่เป็นเสมือน “เงินในฝัน” ในวันนี้ ที่มาบทความ: http://www.thaivi.org/libra-เงินใหม่ในฝัน/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมองราคาน้ำมันในครึ่งหลังปี 2019 - FINNOMENA สถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ตึงเครียดตอนนี้ ชวนให้ติดตามว่าจะกระทบกับราคาน้ำมันอย่างไร บทความนี้ MacroView ได้สรุปมุมมองที่ว่าจนถึงสิ้นปีนี้ โอกาสที่ราคาจะลงนั้นมากกว่าขึ้นเล็กน้อย มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรสนับสนุนบ้าง? 28 มิ.ย. 2562 แม้สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ณ ขณะนี้ จะตึงเครียดจากการยิงเรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่าน ล่าสุด อิหร่านได้ยิงโดรนของสหรัฐ จนนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ออกโรงเตือนว่าเขาเกือบจะกดปุ่มโจมตีทางทหารต่ออิหร่านแต่เปลี่ยนใจก่อนหน้าจะยิงเพียง 10 นาที อย่างไรก็ดี ผมยังคงมองว่าในปีนี้ สหรัฐน่าจะทำได้แค่เพิ่มการ sanction ทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านเท่านั้น น่าจะไม่กล้าใช้กำลังทางทหารบุกอิหร่าน แม้จะมีนายจอห์น โบลตัน เป็นที่ปรึกษาด้านกลาโหม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสายบู๊ชอบใช้กำลังทหารยุติความขัดแย้งก็ตามที เนื่องจากหากทรัมป์ เริ่มบอมบ์อิหร่านในช่วงนี้ ผมมองว่าในปลายปีหน้า เขาอาจจะเสียเปรียบในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งตัวเขาเองก็รู้ข้อเท็จจริงนี้ดี เนื่องจากอิหร่านเป็นประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางที่มีความแข็งแกร่งด้านการทหารเป็นอันดับต้นๆ และมีขุมกำลังที่เจนจัดในพื้นที่ ยากที่สหรัฐจะชนะในศึกครั้งนี้แบบเบ็ดเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ผมจึงมองว่าราคาน้ำมันดิบมีโอกาสไม่มากที่จะขึ้นแบบกระชากแรงๆ โดยสรุปผมมองว่า จนถึงสิ้นปีนี้ โอกาสจะลงมากกว่าขึ้นเล็กน้อย ดังนี้ ผมใช้รายงานของ EIA ในเดือนมิ.ย. ที่ใช้ระบบสมการแบบ Structural และราคา Futures ในตลาดล่วงหน้า ประกอบกันในการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบโลก สำหรับสถานการณ์ปกติ โดยคาดราคาเฉลี่ย Dubai เท่ากับ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในครึ่งหลังปี 2019 สำหรับการประเมินโอกาสในแต่ละสถานการณ์ต่างๆ ผมใช้ 5 ปัจจัยทางด้านอุปสงค์และอุปทาน ในการคาดการณ์โอกาส โดยในครึ่งปีหลัง โอกาสที่จะเป็นสถานการณ์ปกติ ราว 60% โดยโอกาสที่จะออกไปแนวสถานการณ์ราคาน้ำมันสูง ราว 15% ที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และโอกาสที่จะเป็นสถานการณ์ราคาน้ำมันต่ำราว 25% ที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ 45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยประเมินว่า จะมีปัจจัยหลักต่างๆ ที่กำหนดระดับราคาน้ำมันดิบโลก ในปีนี้ ไว้ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านอุปสงค์ผ่านการเติบโตเศรษฐกิจของกลุ่ม Emerging and Developing Asia (น้ำหนัก 40%) โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ Emerging and Developing Asia ที่มีจีนและอินเดียซึ่งมีอุปสงค์ของน้ำมันเกือบ 50% สำหรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มจะลดลงเหลือ 6.3% ในปี 2019 และปี 2020 จาก 6.4% ในปี 2018 ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มที่จะลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากสงครามการค้าที่กลับมาปะทุอีกรอบเมื่อเดือนที่แล้วอย่างคาดไม่ถึง หลังจากการเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่ของทั้ง 2 ฝ่ายแบบไม่สัมฤทธิ์ผล ส่วนเศรษฐกิจอินเดีย ปัญหาของภาคการเงินยังคงกดดันต่อการเติบโตเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทำให้มองว่าโอกาสที่การเติบโตทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่า Base Case ที่ 6.2-6.5% มีอยู่ราว 35% โดยที่เราให้โอกาสจะอยู่ที่ Base Case ที่ 50% ด 2. การเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบจาก Shale Gas ในอเมริกา (น้ำหนัก 15%) โดยมองว่าแม้ว่า US Shale Oil ที่ว่าจะเริ่มสามารถส่งออกจากสหรัฐไปต่างประเทศได้ในช่วงครึ่งปีหลัง 2019 กลับทำท่าจะกลายเป็นว่ามีอุปสรรค เมื่อช่วงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา น้ำมันดิบจากแหล่ง Shale เริ่มมีปัญหาในส่วนของคุณภาพที่มีสิ่งเจือปนมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จนล่าสุด โรงกลั่นยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้อย่าง SK โบกมือลาไม่นำเข้าน้ำมันดิบจาก Shale Oil อีกต่อไปจน cargo ที่ขนน้ำมันดิบจากสหรัฐต้องเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือไปส่งของที่จีนแทน โดยเกาหลีใต้นำเข้าน้ำมันดิบจากแหล่ง Shale Oil สหรัฐ ประมาณ 18% หรือราว 5.5 แสนบาร์เรลต่อวัน จากที่ส่งออกจาก Shale Oil ราว 3 ล้านบาร์เรลต่อวันในตอนนี้ โดย Shale Oil ใน Base Case Scenario สำหรับ ครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าจะเพิ่มการผลิตได้เป็น 6 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยเรามองว่าโอกาสที่กำลังการผลิตจะน้อยกว่า +0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบปีต่อปี มีอยู่ 30% และโอกาสกำลังการผลิตจะมากกว่า +0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบปีต่อปี มีอยู่ 10% 3. การลดกำลังการผลิตสำหรับการประชุมของ OPEC+ (น้ำหนัก 15%) ผมประเมินว่า OPEC มีโอกาสราว 70% ที่ OPEC จะคงเป้าหมายกำลังการผลิตที่ 25.9 บาร์เรลต่อวัน ตามเดิม เนื่องจากแรงกดดันด้านราคาจากอุปสงค์ของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียมีอยู่อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี หากจะมีการเปลี่ยนแปลง เรายังมองว่า OPEC จะลดกำลังการผลิตน้อยกว่า 1.2 บาร์เรลต่อวัน (+/- 5%) มากกว่า เนื่องจากความขัดแย้งของอิหร่านกับสหรัฐ อาจเป็นแรงผลักให้บางประเทศใน OPEC ลดกำลังการผลิตน้อยกว่า 1.2 บาร์เรลต่อวัน โดยเรามองโอกาสไว้ที่ 25% 4. ความเข้มข้นของการ Sanction ของอเมริกาต่ออิหร่าน และ ปัญหาความไม่สงบในเวเนซุเอล่า (น้ำหนัก 15%) การที่สหรัฐกล่าวหาอิหร่านอยู่เบื้องหลังในการโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันในอ่าวโอมาน ใกล้ช่องแคบเฮอร์มุซ ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นผลบวกต่อราคาน้ำมันในช่วงสั้น รวมถึงการโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันจากอิหร่านเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเรายังมองว่าการปะทะกันระหว่างฝ่ายสหรัฐกับอิหร่านยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยอีก 2 ปีต่อจากนี้ เราจึงมองโอกาสการลดลงของปริมาณการส่งออกน้ำมันจะมากกว่า -1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ราว 30% 5. สถานการณ์การเพิ่มผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐ ในครึ่งหลังปี 2019 (น้ำหนัก 15%) ด้วยกำลังการผลิตและสินค้าคงคลังล่าสุด เราประเมินว่าโอกาสที่สถานการณ์การเพิ่มผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐ ในช่วงครึ่งปีหลัง 2019 จะมีมากกว่า +1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบปีต่อปี ราว 30% โดยสรุป สมมติฐานหลักในการคาดการณ์นี้ ได้แก่ เหตุผลที่โดนัลด์ ทรัมป์ต้องยอมเสียฟอร์มขอเจรจากับอิหร่านแบบไม่มีเงื่อนไข เพราะสำหรับอเมริกาแล้ว ‘อิหร่าน คือ เวียดนามแห่งตะวันออกกลาง’ ที่มีความชำนาญพื้นที่และมีเครือข่ายที่สามารถเอาชนะผู้มาบุกรุกได้เสมอ จึงยังมองแนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของปีนี้ น่าจะมีโอกาสลงมากกว่าขึ้นเล็กน้อยครับ ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647570 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ความท้าทายในการลงทุนครึ่งปีหลัง 2562 - FINNOMENA โดยรวมแล้ว ครึ่งปีแรกของ 2562 นับเป็นครึ่งปีที่ดีของนักลงทุน โดยทั้งตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ ทองคำ และน้ำมัน ราคาปรับเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า คำถามที่สำคัญก็คือตลาดหุ้นโลกจะยังคงภาวะขาขึ้นได้ต่อเนื่องต่อไปหรือไม่? 26 มิ.ย. 2562 ครึ่งปีแรกของปี 2562 กำลังจะผ่านพ้นไปแล้วนะครับ โดยรวมแล้วนับเป็นครึ่งปีที่ดีของนักลงทุนได้เลย โดยทั้งตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ ทองคำ และน้ำมัน ราคาปรับเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ปัญหาสงครามการค้าและสงครามด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีน ขณะที่เฟดเริ่มส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินโลกอีกครั้ง คำถามที่สำคัญก็คือตลาดหุ้นโลกจะยังคงภาวะขาขึ้นได้ต่อเนื่องต่อไปหรือไม่? ตลาดหุ้นโลกจะยืนได้หรือไม่ท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว เมื่อเรามองย้อนไป 2 รอบวัฏจักรเศรษฐกิจที่ผ่านมาจะพบว่าในวิกฤตรอบปี 2000 และ 2018 เมื่ออัตราผลตอบแทน หรือ Yield 10 ปีของพันธบัตรสหรัฐฯ ไปแตะจุดสูงสุด และปรับตัวเข้าสู่ดอกเบี้ยขาลง จะมาพร้อมกับภาวะเศรษฐกิจทีชะลอตัวและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เข้าสู่การปรับฐานครั้งใหญ่ ในครึ่งปีแรกของปี 2562 เห็นได้ชัดว่า Yield ของพันธบัตรสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดสูงสุดของรอบนี้ไปแล้วและปรับตัวลดลงมาแล้วกว่า 1% แต่สิ่งที่แตกต่างไปคือดัชนีหุ้น S&P500 รอบนี้ปรับฐานไปเพียงไตรมาสเดียว และกลับมาทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 สภาพคล่อง VS ปัจจัยพื้นฐาน ดัชนี ISM Manufacturing ของสหรัฐฯ ซึ่งผู้เขียนใช้เป็นตัวชี้วัดหลักในการดูปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเริ่มมีการปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ต้นปี และจากแนวโน้มดูมีโอกาสไม่น้อยที่จะปรับลดลงไปต่ำกว่า 50 อย่างที่เกิดใน จีน ยุโรป และญี่ปุ่น ถ้า ISM ของสหรัฐฯ ลงต่ำกว่า 50 ขณะที่ Yieldกลับสู่ขาลง ในอดีตที่ผ่านมาตลาดหุ้นจะมีการปรับฐานอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ตลาดหุ้นดูจะตอบสนองเชิงบวกต่อนโยบายการเงินเชิงรุก คือการหยุดทำ QT คือหยุดดูดสภาพคล่องออกจากระบบการเงิน และดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มกลับทิศ ซึ่งในหลายวัฏจักรเศรษฐกิจทีผ่านมา FED ไม่ได้มีเครื่องมีอตัวนี้มาก่อน และก็ต้องยอมรับว่าการฉีดสภาพคล่องผ่านการขยายงบดุลของ FED หรือที่เรียกว่า QE นี้เองที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีวัฏจักรขาขึ้นที่ยาวนานที่สุดโดยปรับขึ้นมาแล้วต่อเนื่องถึงประมาณ 10 ปี ความท้าทายในการลงทุนครึ่งปีหลังของปี 2562 นี้คือตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีการปรับฐานครั้งใหญ่หรือไม่ เป็นสิ่งที่ต้องติดตามหาคำตอบกันต่อไป ผู้เขียนมองว่าจากข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ให้ทราบกันในวันนี้ ต้องนับว่ายังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการปรับฐานครั้งใหญ่ของตลาดทุนรออยู่ข้างหน้า และการกระจายการลงทุนไปในทองคำ กองทุนอสังหาฯ และตราสารหนี้ระยะยาว ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรทำอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีแรกของปี 2562 ที่ผ่านมากองทุนอสังหาฯ บ้านเราให้ผลตอบแทนถึงประมาณ 15% ขณะที่ทองคำและตราสารหนี้โลกให้ผลตอบแทนประมาณ 5 – 7% ซึ่งถือว่าดีทีเดียวสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ใช่หุ้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/alterfunds) ที่สำคัญกว่านั้นคือสินทรัพย์เหล่านี้โดยเฉพาะตราสารหนี้และทองคำมักจะทำผลตอบแทนได้ดีเมื่อตลาดหุ้นเข้าสู่ขาลงเต็มตัว ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการลงทุนในช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจขาขึ้นที่เรากำลังเจออยู่ในเวลานี้ครับ FundTalk รายงาน ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647568 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ลงทุนในสุดยอดไลฟ์สไตล์มอลล์กับ AIMCG - FINNOMENA การลงทุนในกองทรัสต์อสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนคล้ายๆ กองทุนรวมถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ใครๆ ก็ทำกำไรจากอสังหาฯ สุดยอดทำเลได้ AIMCG ก็เป็นหนึ่งในกองทรัสต์ที่ว่า บทความนี้จะชวนมาดูจุดเด่นของ AIMCG ว่ากอง IPO กองนี้มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง 23 ส.ค. 2562 “ทำเล” ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดสินทรัพย์ในการลงทุนมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะถ้ามีร้านอาหารหรือร้านค้าตั้งอยู่ทำเลดีแล้วนับว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ปัญหาในยุคปัจจุบันคือการจะหาทำเลที่ดีจริงๆ นั้นยากเหลือเกิน ของดีมักจะอยู่ในมือของนักลงทุนรายใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นเสี่ยเจริญหรือเสี่ยธนินท์ คนธรรมดาหรือนักลงทุนรายย่อยแทบไม่มีโอกาสเข้าถึงที่ดินหรือทำเลดีๆ เหล่านั้นได้เลย การจะทำการค้าหรือเปิดธุรกิจใหม่เรียกได้ว่าเสียเปรียบไปแล้วตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตามขึ้นชื่อว่าการลงทุนแล้วทางออกย่อมไม่ได้มีทางเดียว หนทางที่นักลงทุนธรรมดาสามารถทำกำไรจากอสังหาริมทรัพย์ทำเลดีๆ ได้นั้นมีอยู่จริง การลงทุนในกองทรัสต์อสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนคล้ายๆ กองทุนรวมถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ใครๆ ก็ทำกำไรจากอสังหาฯ สุดยอดทำเลได้ AIMCG ก็เป็นหนึ่งในกองทรัสต์ที่ว่าครับ กองทรัสต์ AIMCG มีจุดเด่นตรงไหน เงินปันผลคาดหวังประมาณ 8% ตลอดอายุกองทรัสต์ จ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิ จ่ายปีละ 4 ครั้ง ลงทุนในไลฟ์สไตล์มอลล์ชั้นนำในทำเลที่มีศักยภาพสูง อยู่ในพื้นที่ที่มีการเติบโตสูงและมีเอกลักษณ์ กองทรัสต์ AIMCG น่าซื้อไหม? อะไรคือปัจจัยที่ต้องมองให้ขาด มาวิเคราะห์ไปพร้อมๆ กันครับ กองทรัสต์ AIMCG ผลตอบแทนดีไหม? 8% คือข้อมูลผลตอบแทนคาดหวังที่ผมได้รับจากเอกสารของกองฯ ซึ่งถ้าเทียบกับผลตอบแทนของกองอื่นๆ อย่าง CPNREIT ที่ให้อัตราผลตอบแทนปีที่ผ่านมาที่ 5.99% LHSC ให้ผลตอบแทน 62% FUTUREPF ที่ให้ผลตอบแทน 6.07% รูปที่ 1: ตารางเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทรัสต์ AIMCG และกองทรัสต์อื่นๆ (ที่มา: AIMC Roadshow Presentation 7 มิ.ย. 62) ผลตอบแทน 8% เป็นประมาณการผลตอบแทนปีแรกของกองทรัสต์ AIMCG นับว่า AIMCG ให้ผลตอบแทนที่น่าจูงใจเพราะสูงกว่าพอสมควร มาถึงตรงนี้หลายๆ คนแทบจะยกหูโทรศัพท์โทรสั่งซื้อเดี๋ยวนี้ แต่เดี๋ยวก่อน !การเป็นนักลงทุนที่ดีต้องเข้าใจที่มาที่ไปของผลตอบแทนที่เราจะได้รับ และความเสี่ยงที่มาพร้อมกันด้วยให้ดี ดังนั้นเรามาวิเคราะห์เพิ่มกันอีกนิด สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญมากกว่านั้นคือ “ที่มาของผลตอบแทน” นั้นซึ่งก็คือสินทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนมากกว่า เพราะสินทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนมีคุณภาพ ผลตอบแทนของกองก็จะมีคุณภาพตามจริงไหม? มาดูกันว่าผลตอบแทนคาดหวัง 8% ของAIMCG มาจากอะไรบ้าง? กองทรัสต์ AIMCG ลงทุนในสินทรัพย์อสังหาฯ ทำเลดีเยี่ยม 3 ที่ด้วยกัน 1. 72 คอร์ทยาร์ด (72 Courtyard) แหล่งรวมร้านนั่งชิวและไลฟ์สไตล์ยามค่ำคืน ใจกลางทองหล่อของนักธุรกิจใหญ่ที่เรารู้จักกันดีคือเฮียฮ้อ แห่งRS นั่นเอง จุดเด่นของ 72 คอร์ทยาร์ดคือ อัตราการเช่า 100% พื้นที่ทองหล่อถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่แพงที่สุดในประเทศไทย ที่ดิน 1 ไร่สามารถมีราคาสูงได้ถึงไร่ละ 600 ล้านบาท ด้วยความที่ศักยภาพในการใช้จ่ายของชาวไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นในทองหล่อสูงมาก จึงทำให้ธุรกิจร้านอาหารและบันเทิงในพื้นที่ประสบความสำเร็จมากมาย อัตราการเช่าของพื้นที่ให้เช่าเฉลี่ยสูงถึง 90% พูดภาษาชาวบ้านคือหัวบันไดไม่แห้ง มีคนมาเช่าตลอดธุรกิจดีไม่ดีอาจเปลี่ยนไปได้ แต่ทำเลที่ดียากมากที่จะเปลี่ยนแปลง นี่คืออีกจุดที่โดดเด่นของการเล่น “อสังหาฯ” ข้อมูลเชิงตัวเลข พื้นที่: 5,019 ตรม. อัตราการเช่า: 100% จำนวนร้านค้า: 8 ร้าน สิทธิการเช่า: 13 ปี จำนวนผู้ใช้บริการ: 300-1,500 คน/วัน รูปที่ 2: ภาพด้านในโครงการ 72 คอร์ทยาร์ด เงินที่เฮียฮ้อเจ้าของ 72 คอร์ทยาร์ดและค่ายเพลงRS ได้จากการขายสิทธิการเช่าของ 72 คอร์ทยาร์ดจะถูกนำไปสร้างโครงการอาคารสำนักงานย่านเกษตร-นวมินทร์เป็นตึก 2 ตึกบนที่ดิน 16 ไร่ในอนาคต ดังนั้นเมื่อมีผู้เช่าเต็มถึงเกณท์ที่กำหนดจะมีโอกาสในการขายเข้ากองทรัสต์เพิ่มเติมได้ 2. ยูดี ทาวน์ (UD Town) สุดยอดคอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ของคนไทยตะวันออกเฉียงเหนือ ทำเลใจกลางอุดรฯ ใกล้เซ็นทรัลอุดรฯ ยูดี ทาวน์ก็มีอัตราการเช่าเฉลี่ย 98.80% ยูดี ทาวน์เปรียบเสมือนสยามที่เป็นศูนย์กลางรวมไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นกรุงเทพฯ ข้อมูลเชิงตัวเลข พื้นที่: 45,219ตรม. อัตราการเช่า: 97% จำนวนร้านค้า: 300 ร้าน สิทธิการเช่า: 21 ปี จำนวนผู้ใช้บริการ: 20,000-50,000 คน/วัน รูปที่ 3: แผนผังผู้เช่าในโครงการยูดี ทาวน์ ยูดี ทาวน์มีร้านค้าที่ได้รับความนิยมหลายราย เช่น โออิชิ บุฟเฟท์ ชาบูชิ The Pizza Company มีซูเปอร์มาร์เก็ต 2 แห่งให้บริการ คือ VillaMarket และเทสโก้ โลตัสมีธนาคารให้บริการหลายราย เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์ในอนาคตเจ้าของโครงการยูดี ทาวน์ยังมีโครงการในการสร้างศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่อยู่ฝั่งตรงข้ามยูดี ทาวน์อีกด้วย จึงมีโอกาสทำให้จำนวนคนในศูนย์เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะ ตัวศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่นั้นเองก็มีโอกาสเอามาขายเข้ากองทรัสต์ AIMCG เพิ่มเติมได้ด้วย การมาของแบรนด์ชั้นนำและการเติบโตที่ต่อเนื่องเหล่านี้คือการการันตีคุณภาพของทำเลว่าทำเลนี้สี “ทอง” ชัวร์ๆ 3. พอร์โต้ ชิโน่ (Porto Chino) ไลฟ์สไตล์มอลล์ที่รวมหลากหลายแบรนด์และร้านอาหารซีฟู้ดชั้นนำไว้มากมายพอร์โต้ ชิโน่คือประตูสู่ชายฝั่งทะเล และที่พักตากอากาศสุดหรูทางตอนใต้ของไทย ทะเลคือที่เที่ยวยอดฮิตของคนไทยไม่ว่าจะฤดูอะไร ซึ่งการจะลงใต้ได้นั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะผ่านลงไปทางถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพอร์โต้ ชิโน่ รู้หรือไม่ว่าร้านกาแฟชื่อดัง สตาร์บัคสาขาที่ พอร์โต้ ชิโน่คือสาขาที่ขายดีที่สุดในประเทศไทย! ด้วยจำนวนคนใช้ถนนที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรายได้ของคนสมุทรสาครหรือตัวเลขผลิตภัณท์มวลรวมจังหวัดอยู่ที่ 411,326 ล้านบาทในปี 2560 ถือเป็นอันดับ 7 ของประเทศไทย สิ่งนี้บ่งบอกได้ว่ากำลังซื้อของคนในพื้นที่ของพอร์โต้ ชิโน่ไม่ธรรมดาเพราะได้ทั้งกำลังซื้อภายในจังหวัดและกำลังซื้อของนักท่องเที่ยว ข้อมูลเชิงตัวเลข พื้นที่: 33,694ตรม. อัตราการเช่า: 84% จำนวนร้านค้า: 70 ร้าน สิทธิการเช่า: 30 ปี จำนวนผู้ใช้บริการ: 4,000-10,000 คน/วัน พอร์โต้ ชิโน่ยังมีจุดสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่คนที่ซื้อ AIMCG ควรรู้ นั่นก็คือปีที่ผ่านมา พอร์โต้ ชิโน่ได้มีการปรับปรุง Food Court ดังนั้นปัจจุบันอัตราการเช่าน่าจะสูงกว่า 84% แล้ว ซึ่งจะส่งผลถึงรายได้ที่จะเข้ากองทรัสต์มากขึ้นกว่าเดิมในอนาคต รูปที่ 4: ภาพด้านหน้าโครงการพอร์โต้ ชิโน่ จะเห็นว่าสินทรัพย์ที่กองทรัสต์ AIMCG ไปลงทุนเป็นสินทรัพย์ที่อยู่ในทำเลที่ดีและมีศักยภาพสูง การปล่อยเช่าสินทรัพย์อสังหาฯ แบบนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการขึ้นค่าเช่าประมาณปีละ 3% เป็นอัตราตลาด ดังนั้นนักลงทุนที่ลงทุนในกองทรัสต์ AIMCG จะมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ตรงส่วนนี้ตามไปด้วย ในภาพรวมเราพอจะบอกได้แล้วว่ากองทรัสต์ AIMCG มีศักยภาพพอสมควร ทำเลดีน่าจะขึ้นค่าเช่นได้ต่อเนื่อง อัตราการเช่าก็น่าจะทำได้สูงต่อเนื่อง คำถามที่ต้องถามต่อมาคือขายราคาเท่าไหร่? ราคาขายสมเหตุสมผลหรือไม่? ราคาขายสมเหตุสมผลหรือไม่? ผู้ประเมินอิสระให้มูลค่ากองทรัสต์ AIMCG ที่เฉลี่ย 2,788 ลบ. โดยมีสมมุติฐานดังต่อไปนี้ – สัดส่วนโดยประมาณเป็นของยูดีทาวน์ 52%, 72 คอร์ทยาร์ด 16% และพอร์โต ชิโน่ 32% – กองทรัสต์เพิ่มอัตราผลตอบแทนในปีแรกให้สูงขึ้นจาก 7.95% เป็น 8.08%ด้วยการกู้ยืมเงินไม่เกิน 500 ลบ. เมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ที่ 2,788 ลบ. ถือว่าเป็นอัตราการกู้ที่ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ได้กู้มาก และช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนได้ – อัตราผลตอบแทนปีแรก 8.08% เป็นส่วนผสมของการทยอยคืนเงินต้น 3.67% และอัตราเงินที่จ่ายให้ผู้ถือหน่วย 4.71% – ใช้อัตราคิดลด 10-10.5% ซึ่งถือค่อนข้างสมเหตุสมผลเมื่อคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจในระยะยาว – กองทรัสต์มีพื้นที่เช่าที่กลับโดยเจ้าของทรัพย์สินเดิม ทำให้ลดความเสี่ยงและความผันผวนของอัตราการเช่าและค่าเช่าของโครงการโดยรวม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการลงทุนจะยังมีอยู่บ้างดังเช่นการลงทุนทั่วๆ ไป เช่น การปล่อยเช่าอาจไม่เป็นไปตามที่คาด ผู้เช่าน้อยลง หรือเกิดอุบัติเหตุเช่น ไฟไหม้หรือน้ำท่วม เป็นต้น ในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรงดังกล่าวผู้บริหารกองทรัสต์ได้ทำประกันไว้แล้วเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะป้องกันความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เข้าลงทุนไว้ ดังนั้นประเด็นความเสี่ยงหลายๆ ประเด็นจึงได้รับการบริหารจัดการหาทางป้องกันไว้แล้ว สถานการณ์ ณ ตอนนี้เหมาะสมในการซื้อลงทุนหรือไม่? – กองอสังหาฯ มักจะทำผลตอบแทนได้ดีในสภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง และดอกเบี้ยขาลง การลดลงของดอกเบี้ยจะทำให้ผลตอบแทนของกองอสังหาฯ น่าจูงใจขึ้น ซึ่งมีโอกาสเป็นผลดีกับกองทรัสต์ AIMCG – ค่าเช่าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยยังถือว่าเป็นประเทศกำลังเติบโต ดังนั้นถ้าที่ราคาที่ดินจะสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ค่าเช่าที่สูงขึ้น และมีโอกาสทำให้ผลตอบแทนของกองทุนสูงขึ้นตาม – การเปลี่ยนแปลงของไลฟ์สไตล์และการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของโลกออนไลน์ในชีวิตประจำวัน ทำให้คนในยุคปัจจุบันมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นจากการเห็นการรีวิวและเสพสื่อโฆษณาผ่านทางโลกออนไลน์ – ด้วยอัตราการเช่าที่สูงกว่า 90% ทำให้ยังไม่เห็นสัญญาณการชะลอตัวของการเช่า จึงส่งผลให้โอกาสที่กำลังซื้อยังเติบโต และโอกาสขึ้นค่าเช่าได้อย่างต่อเนื่องยังคงอยู่ในอัตราสูง – เจ้าของสินทรัพย์เดิมที่ขายสิทธิการเช่าให้กับกองทรัสต์ AIMCG ยังมีสินทรัพย์เพิ่มเติมที่มีโอกาสขายเข้ากองทรัสต์ได้ ดังนั้นในอนาคตกองทรัสต์จึงมีโอกาสในการเติบโตแบบ Inorganic ด้วยการซื้อโครงการเหล่านั้นเข้ามาเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุนให้กับผู้ถือกองทรัสต์ได้ด้วย กองทรัสต์ AIMCG เป็นกอง IPO จะหาซื้อได้อย่างไร? เป็นที่รู้กันดีว่าสำหรับนักลงทุนทั่วๆ ไป โอกาสในการจองซื้อกอง IPO นั้นมีไม่มากนักเพราะส่วนใหญ่โควต้าจะถูกจัดสรรให้กับกองทุนและนักลงทุนสถาบัน กองทรัสต์ AIMCG กองนี้มีผู้ทำหน้าที่เป็น Financial Advisory และ Underwrite คือธนาคารกรุงศรี และขายผ่านบริษัทในเครือกรุงศรีเท่านั้น ถ้าลูกค้าสนใจทาง FINNOMENA สามารถเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจองซื้อ โดยติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่ดูแลของท่าน หรือ กรอกรายละเอียดเพื่อรับสิทธิ์ได้ที่ลิ้งก์นี้เลย https://www.finnomena.com/ipo-aimcg/ ขออภัยขณะนี้สิทธิ์การจองซื้อกอง IPO กองทรัสต์ AIMCG จากทาง FINNOMENA เต็มแล้วนะครับ หมายเหตุ : ลูกค้าที่ลงชื่ออาจจะไม่ได้รีบการจัดสรรทุกรายเนื่องจากจำนวนโควต้ามีจำกัด ให้รอยืนยันรับสิทธิ์หลังเปิดบัญชีกับบล.กรุงศรีแล้วเสร็จ อสังหาริมทรัพย์คือการลงทุนที่เปลี่ยนชีวิตของเจ้าสัวมากมายในอดีตจนถึงปัจจุบัน ต่อให้เทคโนโลยีพัฒนาไปมากแค่ไหนคนก็ยังต้องมีที่อยู่อาศัย การลงทุนในกองทรัสต์อสังหาริมทรัพย์อย่าง AIMCG จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของโอกาสในการสร้างผลตอบแทนและรับปันผลสำหรับนักลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ครับ Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน นักลงทุนควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขได้จากสื่อต่างๆ ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในร่างหนังสือชี้ชวนก่อนตัดสินใจลงทุน ประมาณการอัตราเงินจ่าย อาจจะไม่เป็นไปตามประมาณการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทรัสต์ที่เกิดขึ้นจริง แท็ก: AIMCG Article Basic FINNOMENA FUND REVIEW FINNOMENA REVIEW Long Content Product Info แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไทยติดอันดับ 5 ผู้ผลิต “Rare Earth” - FINNOMENA แม้ว่าจีนจะมีแหล่งผลิต “Rare Earth” ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก แต่อีกเรื่องที่หลายๆ คนยังไม่รู้ นั่นก็คือ ไทยติด 1 ใน 8 ประเทศที่แร่ “Rare Earth” เป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก ถือเป็นหนึ่งในตลาดนอกประเทศจีนที่ผลิตแร่หายากชนิดนี้ได้ในจำนวนมาก 14 มิ.ย. 2562 จากบทความที่แล้ว ได้เล่าถึง “แร่หายาก” หรือ “Rare Earth” ซึ่งเป็นแร่สำคัญที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีมากมาย ไม่ว่าเป็นชิปคอมพิวเตอร์ ชิปโทรศัพท์ แบตเตอรี่ แผ่นดีวีดี กล้องถ่ายรูป โทรทัศน์ เตาไมโครเวฟ อุปกรณ์ใยแก้วนำแสง เครื่องยนต์ของเครื่องบิน อุตสาหกรรมพลังงาน รวมถึงอาวุธต่าง ๆ อีกจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นกุญแจสำคัญที่จีนใช้ต่อรองกับสหรัฐฯ ท่ามกลางสงครามการค้าอันดุเดือด จีนที่เป็นผู้ผลิตอันดับ 1 ของโลก โดย Rare Earth ที่ผลิตได้ทั่วโลกมากกว่า 90% มาจากประเทศจีน โดยผลิตได้มากถึง 105,000 MT ซึ่งจากผลสำรวจของ US Geological ระบุว่า ประเทศจีนส่งออกแร่ดังกล่าวกว่า 39,800 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 10% เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งสหรัฐฯ เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่นำเข้า Rare Earth จากจีน ในสัดส่วนสูงถึง 80% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด เรียกได้เลยว่า แร่นี้มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมในสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในสินค้าของจีนที่ไม่ถูกขึ้นภาษีนำเข้าอีกด้วย เห็นได้ชัดเลยว่า Rare Earth เป็นหนึ่งเครื่องต่อรองสำคัญของจีนเลยทีเดียว จากข้อมูลสำรวจทางธรณีวิทยาจากสหรัฐฯ ในปี 2017 แม้ว่าจีนจะมีแหล่งผลิต “Rare Earth” ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก แต่อีกเรื่องที่หลายๆ คนยังไม่รู้ นั่นก็คือ ข้อมูลจากเว็บไซต์ investingnews.com ระบุว่า ไทยติด 1 ใน 8 ประเทศที่แร่ “Rare Earth” เป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก รองจากจีน ออสเตรเลีย รัสเซีย บราซิล ตามลำดับ โดยผลิตได้มากถึง 1,600 ตัน ทั้งนี้ แหล่งข้อมูลระบุว่า สำหรับไทยยังไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัด แต่ถือเป็นหนึ่งในตลาดนอกประเทศจีนที่ผลิตแร่หายากชนิดนี้ได้ในจำนวนมาก ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Investing News ระบุว่า 8 ประเทศที่ผลิต Rare Earth มากที่สุดในโลก (สำรวจ ณ ปี 2560) มีดังนี้ 1. จีน 105,000 เมตริกตัน 2. ออสเตรเลีย 20,000 เมตริกตัน 3. รัสเซีย 3,000 เมตริกตัน 4. บราซิล 2,000 เมตริกตัน 5. ไทย 1,600 เมตริกตัน 6. อินเดีย 1,500 เมตริกตัน 7. มาเลเซีย 300 เมตริกตัน 8. เวียดนาม 100 เมตริกตัน แม้ว่าจีนจะเป็นผู้นำในธุรกิจนี้มายาวนาน นับตั้งแต่ปี 2537 แต่ช่วงหลังๆ จีนก็มีปัญหาเรื่องเหมืองผิดกฎหมายอยู่บ่อยครั้ง จนกระทบต่อปริมาณผลิตและราคาแร่ในตลาดโลกพอสมควร การจะใช้แร่ Rare Earth เป็นข้อต่อรองในสงครามการค้าของจีน สหรัฐได้รับรู้และประเมินไว้บ้างแล้ว โดยทางออกของเรื่องนี้มีอย่างน้อย 2 ทางคือ เปิดรับ Rare Earth จากประเทศอื่นๆ (นอกเหนือจากจีนและพันธมิตร) หรืออาจต้องรื้อฟื้นอุตสาหกรรมผลิตแร่ Rare Earth ในประเทศขึ้นใหม่ หลังจาก Molycorp บริษัทที่ผลิตแร่ Rare Earth มีเพียงรายเดียวเท่านั้นในสหรัฐอเมริกาและแถบอเมริกาเหนือได้ล้มละลายไปตั้งแต่ปี 2015 อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2020 ตลาดแร่ Rare Earth อาจมีมูลค่าสูงเฉียด 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ———- References : Bloomberg, CNBC, Reuters, Investingnews, brandinside, Geology, Foreignpolicy, kapook, droidsans แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน คลินิกการลงทุน คลินิกการลงทุน เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี ภายใต้ Mindset ให้ความรู้ เทคนิค และวิธีการ การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้มั่งคั่ง และประสบความสำเร็จ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ลงทุนให้โดน เมื่อปรับพอร์ต MSCI Thailand - FINNOMENA หลายท่านคงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์ที่มีมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยกว่า 2 แสนล้านบาทภายในวันเดียว เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2562 ทว่าตลาดหุ้นไทยในวันดังกล่าวก็ขึ้นมาเพียง 9 จุด บทความนี้ จะขอตอบคำถามว่าจะลงทุนอย่างไรให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด เมื่อมีการปรับพอร์ตของดัชนี MSCI Thailand 14 มิ.ย. 2562 สัปดาห์ที่แล้ว หลายท่านคงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์ที่มีมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยกว่า 2 แสนล้านบาทภายในวันเดียว โดยเป็นของพอร์ตต่างชาติกว่า 1.5 แสนล้านบาทเมื่อวันที่ 28 พ.ค.2562 ทว่าตลาดหุ้นไทยในวันดังกล่าวก็ขึ้นมาเพียง 9 จุด บทความนี้ จะขอตอบคำถามว่าจะลงทุนอย่างไรให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด เมื่อมีการปรับพอร์ตของดัชนี MSCI Thailand ก่อนอื่นต้องบอกว่าดัชนี MSCI Thailand ถือว่าเป็นดัชนีที่นักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ใช้ในการอ้างอิงดัชนีตลาดหุ้นไทยสำหรับการลงทุนกองทุนรวมหรือ ETF โดยเม็ดเงินทั่วโลกที่จะมาลงทุนแบบ Passive ส่วนใหญ่จะอ้างอิงดัชนีนี้ สำหรับวิธีที่ชาวต่างชาติจะมาลงทุนในตลาดหุ้นไทย มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่ หนึ่ง ซื้อในตลาดหุ้นไทยโดยตรง ซึ่งชาวต่างชาติจะไม่ได้รับเงินปันผลและสิทธิในการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น สอง ซื้อในกระดานตลาดหุ้นต่างประเทศ แม้จะมีสิทธิในการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น ทว่ามีลิมิตในการถือครองหุ้นหรือ Foreign Ownership Limits (FOL) สาม การลงทุนใน Non-voting Depositary Receipts (NVDRS) จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น และมีสภาพคล่องและราคาหุ้นเช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ทั้งนี้ ข้อเสนอหลักของ MSCI ที่มีผลต่อการปรับพอร์ต MSCI Thailand ในครั้งนี้ มากที่สุด คือการยกเลิก FOL สำหรับหุ้นไทยใน MSCI Thailand ส่งผลให้น้ำหนักการลงทุนของไทยในดัชนี MSCI Emerging Markets เพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 3% ตามเอกสาร Consultation on Specific Topic related to Investment Limits ในส่วนของ MSCI Thailand ที่ออกมาในครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ม.ค.2562 การเปลี่ยนแปลงของ MSCI Thailand ที่ประกาศให้คนภายนอกลงความเห็น เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2562 ซึ่งเป็นวันแรกที่ตลาดได้รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักการลงทุนในหุ้นต่างๆของพอร์ต MSCI TH จากประสบการณ์การทำ Semi-Annual Review ของ MSCI ที่ทำแบบจบในครั้งเดียวและประกาศวันสิ้นสุดการ Rebalance ในครั้งนี้ สามารถสรุปบทเรียนการลงทุนดังกล่าวได้ ดังนี้ หนึ่ง การเล่นหุ้นธีม MSCI Rebalancing จะได้กำไรก็ต่อเมื่อ ลงทุนในช่วงที่ MSCI ออก Consultation Paper หรือเอกสารที่พูดถึงเกณฑ์ในการเพิ่มหรือลดน้ำหนักหุ้นต่างๆ เป็นครั้งแรก โดยหลังจากวันที่ทราบรายละเอียดการเพิ่มหรือลดน้ำหนักของ MSCI เป็นครั้งแรก ให้ซื้อหุ้นที่จะเพิ่มน้ำหนักในทันที แล้วถือไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วจึงขายออก โดยในปี 2562 คือช่วงเวลาระหว่างวันที่ 21-31 ม.ค.2562 จากตาราง จะเห็นได้ว่า ด้วยกลยุทธ์ดังกล่าว หุ้นที่ได้รับการเพิ่มน้ำหนักจาก MSCI แทบทุกตัว ได้ผลตอบแทนระหว่าง 5.41% ถึง 17.07% ได้รับอัตราผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทน SET ซึ่งเท่ากับ 3.36% ในช่วงเวลาเดียวกันค่อนข้างมากโดยหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดีเนื่องจากผลกระทบของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ สอง การลงทุนในวันที่ MSCI ทำการ Rebalancing เป็นวันสุดท้าย ซึ่งในปีนี้ คือ 28 พ.ค.2562 จะไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดี การลงทุนในหุ้นดังกล่าว ให้ผลตอบแทนระหว่าง -1.89% ถึง 2.72% โดยอย่างที่ทราบกันคือ SET มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเพียง 0.7% เท่านั้น สาม การลงทุนในหุ้นที่ได้รับการเพิ่มน้ำหนักโดย MSCI จากน้ำหนักการลงทุนที่ศูนย์เป็นบวก จะได้รับผลตอบแทนที่ดีมาก อย่าง INTUCH ที่ได้รับผลตอบแทนถึง 13.61% เป็นต้น สี่ หุ้น Defensive อย่างโรงไฟฟ้า มีแนวโน้มจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงการรับข่าวเป็นครั้งแรกที่ไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการลงทุนของ MSCI ต่อมูลค่าตลาด ห้า อัตราการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการลงทุนของหุ้นใน MSCI ต่อมูลค่าตลาดของหุ้นดังกล่าว เป็นดัชนีที่ค่อนข้างดีที่ส่งผลถึงอัตราผลตอบแทน ในช่วงการรับข่าวเป็นครั้งแรกได้ค่อนข้างดี ท้ายสุด MSCI มีกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่จะเพิ่มน้ำหนักตามที่ได้ประกาศไว้ จะเห็นได้ว่า MSCI สามารถลงทุนได้ในราคาหุ้นที่ไม่แพงกว่าที่ควรจะเป็น แม้มูลค่าการลงทุนที่เพิ่มในหุ้นนั้นจะไม่ใช่น้อยก็ตาม นั่นคือ คติ Don’t fight the FED น่าจะขยายความมาถึง Don’t Meddle with MSCI ครับ ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647419 คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เจาะลึก “Rare Earth” หมากตัวสำคัญของจีน ในสงครามการค้า - FINNOMENA ประเด็นที่กำลังร้อนแรงระดับโลกขณะนี้คงหนีไม่พ้น “สงครามการค้า” ที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อแย่งชิงตำแหน่ง "ผู้นำเทคโนโลยีโลก” นักวิเคราะห์มองว่า จีนอาจจะใช้แร่หายาก Rare Earth เป็นอาวุธเด็ดในการต่อรองทางการค้ากับสหรัฐฯ แล้ว "แร่ธาตุที่หายาก" หรือ “Rare Earth” นี้มันสำคัญอย่างไรกัน ? 4 มิ.ย. 2562 ประเด็นที่กำลังร้อนแรงระดับโลกขณะนี้คงหนีไม่พ้น “สงครามการค้า” หรือ “Trade war” ที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อแย่งชิงตำแหน่ง “ผู้นำเทคโนโลยีโลก” ซึ่งหากใครได้ตำแหน่งนี้ไป นั่นหมายความว่าจะได้เป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลกเลยทีเดียว ความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง เมื่อสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 25% รวมถึงการขึ้นบัญชีดำ “Huawei” ยักษ์โทรคมนาคมของจีน ซึ่งสร้างความตกใจให้กับผู้ใช้งานอุปกรณ์ของ Huawei ทั่วโลก และบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐอีกหลายรายก็ออกมาส่งสัญญาณตัดสัมพันธ์กับ Huawei รวมถึงบริษัทผู้ผลิตกล้อง CCTV 5 แห่งในจีน ซึ่งมี Hikvision ผู้ผลิตกล้อง CCTV รายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกก็โดนแบนไปด้วย แล้วจีนจะมีมาตรการตอบโต้สหรัฐในสงครามการค้านี้อย่างไร ? สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า ประธานาธิบดี Xi Jinping พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตแร่รายใหญ่ JL Mag Rare-Earth ที่ผลิตแร่หายาก Rare Earth ในเมืองกวางโจว แต่ไม่ได้มีการกล่าวถึงสงครามการค้าแต่อย่างใด ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า อาจเป็นการส่งสัญญาณจากจีนว่าอาจจะใช้แร่หายาก Rare Earth เป็นอาวุธเด็ดในการต่อรองทางการค้ากับสหรัฐฯ ที่น่าสนใจ คือหลังมีข่าวว่ารัฐบาลปักกิ่งกำลังพิจารณา “ห้าม” ส่งออกแร่ธาตุชนิดนี้ ก็ทำให้มูลค่าราคาหุ้นเหมืองแร่ของจีน ราคาพุ่งเกิน 100% ซึ่งรวมไปถึงหุ้นบริษัท China Rare Earth Holdings ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ของจีนที่ประธานาธิบดี Xi Jinping ไปเยือน แล้ว “แร่ธาตุที่หายาก” หรือ “Rare Earth” นี้มันสำคัญอย่างไรกัน ? “แร่ธาตุที่หายาก” หรือ “Rare Earth” นี้เป็นแร่ธาตุโลหะเบา ประกอบด้วยธาตุหายาก 17 ชนิดที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำจำเป็นในการผลิตอุปกรณ์อิเลกทรอนิกแทบทุกชนิด โดยเฉพาะโทรศัพท์ โดยได้ถูกนำมาใช้ในทุกๆ ผลิตภัณฑ์ของชีวิตประจำวันบนโลกมนุษย์ ตั้งแต่ สมาร์ทโฟน แลปทอป รถไฮบริด ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า และยังมีส่วนสำคัญสำหรับการสร้างอาวุธในโลกสมัยใหม่ อย่างเช่น ระบบนำวิถีขีปนาวุธ หรือแม้แต่ระบบอาวุธของเครื่องบินขับไล่ ไปจนถึงชิ้นส่วนยานอวกาศ จีนได้แสดงอาวุธเด็ดที่อยู่ในมือให้เห็นว่าตนเป็นผู้ครอบครอง Rare Earth และยังเป็นผู้ผลิตและส่งออก Rare Earth รายใหญ่สุดของโลกอีกด้วย โดยจีนผูกขาดในสัดส่วนถึง 90% ของโลก ขณะที่สหรัฐเป็นผู้นำเข้าแร่แรร์เอิร์ทจากจีนหลักถึง 80% ทั้งยังไม่อยู่ในรายการสินค้าที่สหรัฐเรียกเก็บภาษีนำเข้าด้วย ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า รัฐบาลจีนอาจสั่งห้ามส่งออก Rare Earth เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ Rare Earth มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐจำเป็นต้องพึ่งพาจีนอยู่บ้างในฐานะผู้ผลิตแร่หายากรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2561 จีนสกัด Rare Earth ได้ 120,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 15,000 ตันจากปีก่อน ขณะที่สหรัฐสกัดได้เพียง 15,000 ตัน ความแตกต่างมันจึงมีมากกว่า 10 เท่า แถมจีนยังมีสำรองอยู่ถึง 44 ล้านตัน ส่วนสหรัฐฯ มีเพียง 1.4 ล้านตันเท่านั้น หากจีนแบนส่งออก Rare Earth ไปสหรัฐฯ อาจทำให้สหรัฐฯ ต้องสำรวจเอง แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะผลิต Rare Earth ได้ตามความต้องการ ซึ่งในช่วงเวลานี้สหรัฐอาจขาดแคลน Rare Earth จนผลิตสินค้าไม่ได้ และสหรัฐจะเป็นฝ่ายเดือดร้อนเอง เพราะอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก และอาจได้เห็นภาพความวุ่นวายปั่นป่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างเต็มๆ ตามมาในอนาคตก็เป็นได้ ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาจีนเองได้พัฒนาเทคโนโลยี “ชิป” และระบบปฏิบัติการ (OS) มีชื่อว่า “HongMeng” เพื่อที่จะเลิกการพึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ มาอย่างเงียบ ๆ มานานแล้ว รวมถึงบริษัทลูก “ไฮซิลิคอน” (HiSilicon) ก็เร่งพัฒนาชิปเทคโนโลยีขั้นสูงของตนเอง เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง Huawei ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อจีนระบุว่า แม้ว่า Huawei จะใช้ชิปของสหรัฐในการผลิตอุปกรณ์ของ Huawei มากกว่า 50% แต่บริษัทก็พร้อมรับมือต่อมาตรการแบนของสหรัฐฯ พร้อมทิ้งท้ายว่า “สหรัฐประเมินศักยภาพของเราต่ำเกินไป” อ่านมาถึงตรงนี้ คงเห็นถึงความสำคัญของ “Rare Earth” กันแล้ว … รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต “Rare Earth” เบอร์ 5 ของโลก แล้วงานนี้จะส่งผลดีต่อประเทศไทยอย่างไร ? รอติดตามกันในบทความต่อไปครับ … ———- References : Bloomberg, cnbc, Yahoo finance, bangkokbiznews, prachachat, sanook, droidsans, brandinside แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน คลินิกการลงทุน คลินิกการลงทุน เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี ภายใต้ Mindset ให้ความรู้ เทคนิค และวิธีการ การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้มั่งคั่ง และประสบความสำเร็จ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ลงทุนในยุคเศรษฐกิจโตช้า - FINNOMENA นี่คือช่วงเวลา 6 ปีที่น่าจะพูดได้ว่าตลาดหุ้นเป็น Sideway คือราคาหุ้นโดยรวมไม่ได้ปรับตัวขึ้นหรือลดลงเป็นเรื่องเป็นราวเป็นระยะเวลายาวนาน เศรษฐกิจของไทยในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมานั้นได้เข้าสู่ยุคที่  “เติบโตช้า” อย่างสมบูรณ์แล้ว ในสถานการณ์แบบนี้ เราควรลงทุนอย่างไรดี? 4 มิ.ย. 2562 มองย้อนหลังไปประมาณ 6 ปี ในช่วงกลางปี 2556 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด แทบจะไม่ต่างจากดัชนีวันนี้ที่ประมาณ 1,620 จุด นี่คือช่วงเวลา 6 ปีที่น่าจะพูดได้ว่าตลาดหุ้นเป็น Sideway คือราคาหุ้นโดยรวมไม่ได้ปรับตัวขึ้นหรือลดลงเป็นเรื่องเป็นราวเป็นระยะเวลายาวนาน สำหรับนักลงทุนที่มักจะมองภาพเล็กในหุ้นรายตัวหรืออาจจะเป็นกลุ่มและเป็นนักลงทุนระยะยาวก็จะเห็นว่าหุ้นตัวหลัก ๆ หรือกลุ่มหลัก ๆ บางกลุ่มเช่นหุ้นธนาคารขนาดใหญ่นั้น ราคาหุ้นผ่านมา 6 ปีก็มักจะไม่ไปไหน และเมื่อดูผลประกอบการย้อนหลังไป 5-6 ปี ก็มักจะพบว่ากำไรของธนาคารเหล่านั้นก็ไม่ไปไหนเหมือนกันคือ กำไรก็เท่าเดิมหรือบางตัวลดลงด้วยซ้ำ เช่นเดียวกับหุ้นสื่อสารซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ที่ให้บริการหรือมีลูกค้าที่เป็นรายย่อยทั้งประเทศก็มีอาการคล้าย ๆ กัน ลงทุนไปแล้วมักจะได้แต่ปันผลแต่ไม่ได้กำไรจากราคาหุ้นที่มักจะไม่ค่อยไปไหนในระยะยาวแม้ว่าในระยะสั้น ๆ อาจจะผันผวนเป็นช่วง ๆ ที่ทำให้มีคนกำไรและขาดทุนแต่ก็ไม่มากนัก คนที่ลงทุนระยะยาวในหุ้นหลัก ๆ ขนาดใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งรวมถึงกองทุนรวมโดยเฉพาะที่อิงกับดัชนีในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมานั้น น่าจะได้ผลตอบแทนประมาณแค่ไม่เกิน 3-4% ต่อปีแบบทบต้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็น่าจะมาจากมาจากเงินปันผล ดูเหมือนว่าปันผลกลายเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องของการลงทุน อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนส่วนบุคคลที่เข้ามาเล่นหุ้นหรือเลือกหุ้นลงทุนเองในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งรวมถึง VI ส่วนใหญ่นั้น ภาพที่ว่าหุ้นไทยไม่ไปไหนและผลตอบแทนก็ค่อนข้างต่ำในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมานั้นอาจจะไม่จริงหรือพวกเขาไม่ได้รู้สึกอย่างนั้น ตรงกันข้าม 5-6 ปีที่ผ่านมานั้น พวกเขาผ่านสถานการณ์ที่ดีและเลวร้ายมาก ในช่วงที่ดีนั้น ตลาดของหุ้นตัวเล็กและกลางหลาย ๆ ตัวปรับตัวขึ้นเป็น “ฟองสบู่” และได้ก่อให้เกิดเซียนและเศรษฐีมากมาย หุ้นเหล่านั้นกลายเป็นหุ้น “ร้อนแรง” ที่มีสตอรี่น่าตื่นเต้นและมีผลประกอบการโตเร็วแต่ราคาแพง “หลุดโลก” เช่นเดียวกับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่สูงลิ่ว แต่หลังจากผลประกอบการที่น่าผิดหวังติดต่อกันมาหลายไตรมาสและบางตัวหลายปี ราคาหุ้นก็ตกลงมาแรงจนเป็น “หายนะ” ส่งผลให้นักลงทุนและนักเก็งกำไรรายย่อยถอนตัวออกจากตลาดไปจำนวนมาก ปริมาณการซื้อขายหุ้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงวันนี้ดูเหมือนว่าทั้งหุ้นเล็กและใหญ่ต่างก็มีสถานะคล้าย ๆ กันคือ ไม่ไปไหนไกล แน่นอนว่าหุ้นตัวเล็กหรือกลางที่เคยร้อนแรงมากก็ยังผันผวนมากกว่าหุ้นใหญ่และปริมาณการซื้อขายเมื่อเทียบกับขนาดบริษัทก็ยังสูงกว่าหุ้นตัวใหญ่ แต่ราคานั้นบางช่วงก็ปรับขึ้นแรงแต่ก็มักจะปรับตัวกลับลงมาอย่างรวดเร็ว ดูเหมือนว่านักเล่นหุ้นยังเข็ดและระแวงต่อหุ้นเหล่านั้น เวลาหุ้นขึ้นมีกำไรก็มักจะขายเพื่อเก็บกำไรไว้ก่อน ผลก็คือ หุ้นตัวเล็กและกลางที่เคยร้อนแรงก็ไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปมากถึงระดับที่เคยเป็นในยุคที่เคยเป็น “หุ้นนางฟ้า” เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว มองจากภาพใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์ผมคิดว่าราคาหุ้นในขณะนี้ไม่ได้ผิดปกติ ไม่ได้ถูกแต่ก็ไม่ได้แพงเกินไปในระยะยาวเทียบกับสถานะทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ประการแรก เศรษฐกิจของไทยในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมานั้นได้เข้าสู่ยุคที่ “เติบโตช้า” อย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งความหมายก็คือ ในระยะยาวเศรษฐกิจไทยคงไม่สามารถโตเกิน 4-5% ต่อปีอย่างที่เราเคยทำได้ก่อนหน้านั้นไม่ต้องพูดถึงการเติบโตในระดับ 7% ในระยะยาวและ 10% ขึ้นไปในบางปีอย่างที่เราเคยทำได้ในอดีตย้อนหลังไปกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เหตุผลก็คือ คนไทยนั้นมีอายุมากขึ้นและมีคนเกิดใหม่น้อยลงมากซึ่งทำให้เศรษฐกิจโตช้าลงเพราะขาดแคลนแรงงาน แต่อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งน่าจะสำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือ ความก้าวหน้าของคู่แข่งที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่นเวียตนามและอินโดนีเซีย ที่มีการพัฒนาที่เร็วและโดดเด่นขึ้นมาก ซึ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยด้อยลงในระดับสากล ผมเองยังไม่เห็นว่าไทยจะสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือทำอะไรที่จะพลิกสถานการณ์นี้ได้ สำหรับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเองนั้น อาจจะดูเหมือนว่ายังมีการเติบโตพอใช้ในระยะหลายปีที่ผ่านมา แต่เหตุผลที่เติบโตนั้นส่วนหนึ่งมาจากการได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดอัตราภาษีนิติบุคคลของรัฐซึ่งค่อนข้างมีนัยสำคัญ อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการเพิ่มขึ้นของราคาโภคภัณฑ์เช่น ปิโตรเคมีซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นชั่วคราว แต่ถ้าดูในเรื่องของการเติบโตของรายได้ปกติโดยเฉพาะที่มาจากการบริโภคของคนในประเทศแล้ว ผมคิดว่ามันโตช้ามาหลายปีแล้วและในอนาคตก็คงไม่ดีขึ้น ที่เป็นเช่นนั้นเพราะผมคิดว่าคนไทยเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างรวดเร็วอานิสงค์จากความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิตอลที่คนไทยใช้สินค้าหรือบริการเหล่านั้นมากขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าดั้งเดิม แต่สินค้าเหล่านั้นมักจะดำเนินการโดยบริษัทผู้นำทางด้านดิจิตอลที่มักจะมาจากต่างประเทศ ผลก็คือ บริษัทขนาดใหญ่ของไทยที่มักทำธุรกิจดั้งเดิมอยู่ไม่สามารถโตได้เร็วอย่างที่เคยเป็น ดูจากค่าความถูกความแพงของหุ้นไทยโดยรวมก็จะพบว่าช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นช่วงที่หุ้นไทยมีราคาแพงที่สุดช่วงหนึ่งคือมีค่า PE เฉลี่ยทั้งตลาดประมาณ 16-20 เท่า ในขณะที่เวลาส่วนใหญ่ของตลาดหุ้นไทยนั้นค่า PE น่าจะอยู่ในระดับ 10 เท่าบวกลบไม่มาก ค่า PE ของตลาดในช่วงเร็ว ๆ นี้ที่ประมาณ 17.5 เท่านั้นจึงถือว่ายังแพงมากอยู่ อย่างไรก็ตาม ค่า PE ที่สูงนั้นก็อาจจะไม่แพงในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยนั้นต่ำมากที่สุดในประวัติการณ์ที่อัตราประมาณ 1% ต่อปี ของดอกเบี้ยออมทรัพย์อย่างในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ PE ที่ 17.5 เท่าให้ผลตอบแทนต่อปีเฉลี่ยที่ประมาณ 5.7% ต่อปี (1 หารด้วย 17.5) ซึ่งยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยถึง 4.7% ต่อปี ภาวะที่ราคาหรือดัชนีตลาดหุ้นแกว่งเป็น Sideway มานานถึงประมาณ 6 ปีนี้ ถ้ามองย้อนหลังไปตั้งแต่ตลาดหุ้นเปิดเมื่อ 44 ปีที่แล้วก็จะพบว่ามักไม่ค่อยเกิดบ่อย ตลาดหุ้นไทยมักจะขึ้นหรือลงแรง โดยที่ในยามที่ตลาดหุ้นขึ้นนั้นมันมักจะขึ้นไปช้ากว่า ขึ้นไปซักระยะหนึ่งก็จะปรับตัวลดลงในแบบที่เรียกว่า Correction คือลงมาไม่มาก อยู่ไม่นาน และก็จะปรับตัวขึ้นไปใหม่ ใช้เวลายาวนานพอสมควรก่อนที่จะถึงจุดสูงสุด ผิดกับการปรับลดลงที่จะเร็วกว่าและใช้เวลาน้อยกว่า แต่การปรับลดลงของตลาดแบบแรงและเร็วแบบ Panic หรือวิกฤติซึ่งดัชนีตลาดจะลดลงรุนแรงมากระดับ 40-50% นั้น ตามสถิติจะเกิดประมาณทุก 10 ปี หลังจากตลาดตกลงมาแรงก็จะมีการ “เด้ง” กลับในช่วงเวลาไม่นาน และหลังจากขึ้นมาพอสมควรก็มักจะมีช่วงเวลาที่ตลาดจะทรง ๆ อยู่เป็นตลาด Sideway ในช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะซักไม่เกิน 3-4 ปี และหลังจากนั้นดัชนีก็มักจะ “เคลื่อนไหว” เป็นแนวโน้มใหม่ อาจจะวิ่งขึ้นไปยาวเป็นกระทิงหรือไม่ก็ตกลงมาเป็นตลาดหมีก็ได้ ผมเองคิดว่าตลาดหุ้นไทยนิ่งมายาวนานมากแล้ว โอกาสที่ดัชนีจะเคลื่อนไหวเป็นแนวโน้มใหม่หลังจากนี้ก็น่าจะเป็นไปได้มากขึ้น บางคนก็พูดว่าหุ้นน่าจะถึงเวลาปรับตัวขึ้นเป็นเรื่องเป็นราวแล้ว บางคนก็ยังวิตกว่าหุ้นไทยอาจจะเกิดวิกฤติในเร็ว ๆ นี้เนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้นมาเกิน 10 ปีแล้ว ประกอบกับภาวการณ์ต่าง ๆ เช่น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ไม่เอื้ออำนวยและราคาหุ้นก็ยังแพงกว่าในอดีตของตลาดหุ้นไทยมาก ผมเองคิดว่าไม่มีใครรู้จริงหรือคาดการณ์ได้ถูกต้องแน่นอน แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่าหุ้นไทยคงไม่สามารถเติบโตโดดเด่นได้ถ้าคำนึงถึงพื้นฐานของประเทศและหุ้นในตลาดในระยะยาว สิ่งที่ผมทำก็คือ พยายามลงทุนในหุ้นตัวที่ปลอดภัยในด้านของผลประกอบการว่าจะไม่ตกต่ำลงแรงใน 3-5 ปีข้างหน้า และถ้าหุ้นตัวนั้นไม่โตหรือโตช้ามาก การจ่ายปันผลที่งดงามอย่างน้อย 3-4% ต่อปีขึ้นไปก็เป็นเงื่อนไขที่จำเป็น เพราะถ้าราคาหุ้นไม่ปรับขึ้นเลย อย่างน้อยผมก็ได้ผลตอบแทนปีละ 3-4% ดีกว่าต้องฝากเงินกินดอกเบี้ยปีละ 1% สำหรับนักลงทุนบางคน เขาอาจจะคิดว่าในสถานการณ์ที่หุ้นผันผวนน้อยและไม่รู้ว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง เขาอาจจะสนใจลงทุนในตราสารอนุพันธุ์ของหุ้นซึ่งใช้ “อัตราทดสูง ๆ” เช่น หุ้นแม่ขึ้นหรือลง 1% ราคาอนุพันธุ์อาจจะขึ้นไปถึง 6-7% นอกจากนั้น มันสามารถทำกำไร (หรือขาดทุน) ได้ทั้งหุ้นขาขึ้นและขาลง ซึ่งก็จะทำให้สามารถทำกำไร (หรือขาดทุน) ได้มาก ทั้ง ๆ ที่หุ้นไม่ได้ขยับไปไหนไกล นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมไม่แนะนำเลย เพราะโอกาสผิดพลาดมีสูงมาก หายนะเกิดขึ้นได้ง่าย สำหรับผมแล้ว มันหมดเวลาสำหรับการทำกำไรง่าย ๆ ในตลาดหุ้นไทยแล้ว ที่มาบทความ: http://www.thaivi.org/ลงทุนในยุคเศรษฐกิจโตช้/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รู้ทัน Inverted Yield Curve: เกิดขึ้นเพราะอะไร และกำลังส่งสัญญาณอะไร? - FINNOMENA ในตลาดการเงิน นักลงทุนอาจเคยเจอเหตุการณ์ Inverted Yield Curve ที่มีความ “ราบ” (Flattening) หรือ “ลาดลง” (Inverted) ซึ่งเป็นลักษณะเส้นที่ไม่ปรกติตามทฤษฎี บทความนี้จะมาเล่าถึงสัญญาณที่ Inverted Yield Curve ได้แจ้งให้กับนักลงทุนทั้งหลายทราบถึงสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันเป็นอย่างไร 31 พ.ค. 2562 บอนด์ยีลด์ระยะยาวมักสูงกว่าบอนด์ยีลด์ระยะสั้น แต่ก็ไม่เสมอไป บางครั้งเหตุการณ์ไม่ปรกติก็เกิดขึ้นได้ เช่นในสหรัฐฯ ตอนนี้ ตลาดการเงินกำลังเผชิญกับเหตุการณ์ Inverted Yield Curve (ผมขอย่อว่า IYC) หรือเส้นผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) แทนที่จะมีความ “ชัน” ตามทฤษฎี กลับมีความ “ราบ” (Flattening) หรือ “ลาดลง” (Inverted) แบบไม่ปรกติ ทำให้นักลงทุนหลายคนกังวล และสงสัยว่าตลาดที่ผิดเพี้ยนนี้กำลังส่งสัญญาณอะไรกับเราอยู่ นักลงทุนหลายท่านเชื่อว่านี่คือสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถดถอย ความกังวลดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติ เพราะในเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ เจ็ดครั้งหลังสุด “เกิดหลัง IYC เสมอ” ขณะที่ปัจจุบันบอนด์ยีลด์ระยะยาว (อายุ 10 ปี) ก็ปรับตัวลงมาต่ำกว่าขอบบนของดอกเบี้ยนโยบายและยีลด์ระยะสั้น (3 เดือน) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 ไปแล้ว ส่วนต่างระหว่างยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปี และ 3 เดือน กับช่วงเศรษฐกิจถดถอย ที่มา : Bloomberg แต่อดีตจะซ้ำรอย หรืออะไรกำลังจะเกิดขึ้น ผมคิดว่าเราต้องเข้าใจเหตุผลของ IYC ในปัจจุบันและประเมินเหตุการณ์ในอนาคตให้ออก ขั้นแรก ต้องรู้ให้ทันก่อนว่าภาวะ IYC มักเกิดหลังจาก Flattening สองรูปแบบ คือแบบหมี (Bear Flattening) หรือ แบบกระทิง (Bull Flattening) แบบหมีคือ “ยีลด์ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่ายีลด์ระยะยาว” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือช่วงปี 2018 ตั้งแต่มกราคมถึงกันยายน เฟดปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.75% ยีลด์ระยะสั้นที่ใกล้กับดอกเบี้ยนโยบายก็ขยับขึ้นตาม เช่นยีลด์อายุ 3 เดือนปรับตัวขึ้นจาก 1.4% มาที่ระดับ 2.1% ขณะที่ยีลด์ 10 ปีปรับตัวขึ้นเพียง 0.3% จาก 2.5% มาที่ 2.8% เท่านั้น Bear Flattening จะพัฒนาไปเป็น IYC ต้องเกิดจากการดำเนินนโยบายที่เข้มงวดหนัก เช่นในปี 1973 และ 1980 ที่เงินเฟ้อสหรัฐฯอยู่ที่ระดับ 12-15% หรือแม้กระทั่งปี 2000 ที่เงินเฟ้อสูงแตะระดับ 6% เฟดรู้สึกถึง “ความจำเป็น” ที่จะต้อง “ขึ้นดอกเบี้ย” เพื่อหยุดเงินเฟ้อโดยไม่สนใจว่าตลาดการเงินจะรับกับนโยบายที่เข้มงวดได้หรือไม่ ส่งผลให้เกิด IYC และภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ท้ายปีก่อน มาจนถึงปัจจุบันคือช่วง Bull Flattening ซึ่งเกิดจากดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวลงมากกว่า เราต้องเข้าใจก่อนว่า ยีลด์ระยะยาว ต่างกับระยะสั้น ยีลด์ระยะยาวจะแปรผันกับสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น หรือตัวแปรเศรษฐกิจ อย่างจีดีพีหรือเงินเฟ้อ มากกว่าดอกเบี้ยนโยบาย เพราะเราคงเดาไม่ได้ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นเช่นไรในอีก 10 ปีข้างหน้าจากแค่การปรับดอกเบี้ยในปัจจุบัน ดังนั้นถ้าตลาดหุ้นดี เราก็อาจเห็นยีลด์ปรับตัวขึ้นต่อได้ แต่เมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจหมดความแข็งแกร่ง หรือตลาดปรับตัวลง การจะเห็นยีลด์ระยะยาวปรับตัวลงต่อก็เรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือปี 2018 อีกเช่นกัน ต้นปีหุ้นสหรัฐฯ ดีมาก เศรษฐกิจก็ได้รับแรงหนุนจากนโยบายการคลัง ยีลด์สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นจาก 2.5% ไปที่ 3.2% ในเดือนตุลาคม แต่เมื่อหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง พร้อมกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว ยีลด์ระยะยาวก็ปรับตัวลงจนมาถึงระดับ 2.4% ในปัจจุบัน แต่ Bull Flattening จะพัฒนาไปเป็น IYC ต้องเกิดจากความกังวลบนความผิดปรกติของตลาดการเงิน ไม่ใช่เศรษฐกิจถดถอย โดยในอดีต มีเพียงปี 2000 ครั้งเดียวเท่านั้นที่การปรับตัวลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯเกิดขึ้นพร้อมกับ IYC ซึ่งตอนนั้น สิ่งที่นักลงทุนกังวล ไม่ใช่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เป็นเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไป หุ้นสหรัฐฯที่มีราคาแพงถึงระดับ P/E Ratio 35 เท่าโดยเฉลี่ย คิดเป็น Earning yield เพียง 2.8% นักลงทุนบางกลุ่มจะย้ายกลับมาลงทุนในบอนด์ ขณะที่เฟดก็ยังไม่ลดดอกเบี้ย จึงเกิด IYC ในที่สุด Earning yield ของ S&P500 และดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ที่มา : Bloomberg สำหรับครั้งนี้ สิ่งที่กำลังบอกใบ้เราว่า IYC เกิดขึ้นจากอะไร ก็คือ “ทีท่าของเฟด” เมื่อเฟดส่งสัญญาณ “หยุด” ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว IYC ก็ควรจะต้องเป็น Bull Flattening ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยีลด์ระยะยาวลดลงเร็ว และตลาดเพียงแค่ผิดปรกติบางอย่าง ซึ่งทำไปสู่ข้อสรุปหลายประการ เริ่มต้นที่มุมมองเศรษฐกิจ ฟันธงไปเลยว่า IYC ครั้งนี้ ไม่ได้เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจถดถอยใกล้ตัวอย่างที่หลายคนกังวล เมื่อกลับไปดูข้อมูลในอดีต มีสองครั้งที่ IYC นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 6-8 เดือนข้างหน้า (เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์) คือปี 1973 และปี 2000 แต่ในทั้งสองครั้งดังกล่าว ปัญหาของเศรษฐกิจคือ “เงินเฟ้อ” ทำให้เกิด Bear Flattening IYC ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จำเป็นต้องเข้มงวดกับดอกเบี้ยและมาตรฐานการปล่อยกู้เพื่อหยุดการเก็งกำไร แตกต่างจากครั้งนี้ ที่เงินเฟ้อต่ำเตี้ย จนธนาคารกลางต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเมื่อเราเลือกวิเคราะห์เฉพาะกรณีที่ไม่มีเงินเฟ้อเข้ามากดดัน ก็จะพบว่า IYC แทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาวะถดถอย โดยในอดีตต้องรอนานถึงกว่า 20 เดือนโดยเฉลี่ยถึงจะพบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯที่หดตัวลง ส่วนของตลาดการเงิน IYC ครั้งนี้เป็นสัญญาณว่ามุมมองของธนาคารกลางและนักลงทุนทั่วโลก “ต่างกัน” เพราะครั้งนี้เกิดจากแรงซื้อของนักลงทุนด้วยสาเหตุหลักสองประการ คือ “ความหวัง” ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย และ “ต้นทุน” ที่ไม่เท่ากันของนักลงทุนทั่วโลก “ความหวัง” เผยตัวเด่นชัดตั้งแต่ต้นปี ตลาดทุนทั่วโลกกลับเป็นขาขึ้น ดัชนีหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น ในภาวะเช่นนี้ นักลงทุนไม่จำเป็นต้องรีบหนีจากหุ้นมาลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยที่ให้ผลตอบแทนเพียง 2.4% แน่นอน แปลความหมายได้ว่า นักลงทุนสหรัฐฯที่ซื้อบอนด์ตรงจุดนี้ ไม่ได้คิดว่ายีลด์ที่ได้รับสูงเพียงพอ แต่หวังว่าเฟดจะต้องลดดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้ โอกาสที่เฟดจะ “ลดดอกเบี้ย” ภายในปลายปี 2019 จากมุมมองของตลาด ที่มา: Bloomberg นอกจากนี้ การมองว่า “ยีลด์ต่ำกว่าต้นทุน” ก็ดูจะไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด เพราะปัจจุบัน เฟดไม่ใช่ธนาคารกลางใหญ่ที่มีต้นทุนต่ำที่สุด และดอกเบี้ยที่ดูจะต่ำเตี้ยเมื่อมองในฝั่งสหรัฐฯ ก็กลับสูงเมื่อมองจากที่อื่นทั่วโลก ประเทศที่เห็นได้ชัดคือฝั่งยุโรปและญี่ปุ่น บอนด์ยีลด์ระยะยาวในประเทศเหล่านี้ให้ผลตอบแทนใกล้ระดับ 0.0% ขณะที่มองในมุมนักลงทุนกลุ่มประเทศเหล่านี้ การลงทุนในบอนด์สหรัฐฯแม้จะปรับด้วย Cross Currency Swap ยีลด์ก็ยังสูงกว่าในประเทศราว 0.3% แม้ทั้งสองเหตุผล อาจไม่ได้ถูกต้องเสมอ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าตลาด มีหลักการและมุมมองที่ไม่ได้อ้างอิงจากความกังวลกับภาวะเศรษฐกิจ หรือสามารถสรุปได้ว่า IYC ครั้งนี้ แค่ส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยในสหรัฐฯ “สูงเกินไป” เท่านั้นเอง ยีลด์สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเยอรมัน อายุ 10 ปี ที่มา : Bloomberg ไม่เพียงเท่านั้น อดีตยังบอกเราอีกว่าถ้า IYC ไม่นำไปสู่เศรษฐกิจที่ถดถอย สิ่งนี้คือสัญญาณบวกกับสินทรัพย์เสี่ยงมากกว่าลบ เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติ IYC ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาในเดือนที่ยีลด์สหรัฐฯ 10 ปีต่ำกว่า 2 ปี ดัชนี MSCI World และ MSCI Emerging Market จะปรับตัวขึ้นโดยเฉลี่ย 0.9% และ 1.2% ตามลำดับ เหตุผลหลัก น่าจะมาจากเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงท้ายของการขยายตัวซึ่งมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ถ้าไม่เจอผลจากการปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจหรือวิกฤติเศรษฐกิจกระทันหัน ตลาดทุนก็จะสามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อ MSCI World, MSCI Emerging Markets และส่วนต่างระหว่างยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปี และ 3 เดือน ที่มา : Bloomberg คำถามสุดท้าย คือ IYC จะผลักดันให้ตลาดพัฒนาไปในทิศทางไหน ซึ่งผมเชื่อว่า “เฟดกำลังถูกกดดันจากสิ่งนี้” แม้ IYC จะไม่ได้แปลว่าสหรัฐฯกำลังเข้าใกล้ภาวะถดถอย แต่ผู้คนทั่วไปก็คงไม่เลิกกลัวเมื่อเห็นความผิดปรกติในตลาดการเงิน ครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนการวัดใจเฟด ว่าจะกล้า “ขึ้นดอกเบี้ย” ซึ่งแน่นอนว่าความกังวลและความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยก็จะเพิ่มขึ้น หรือจะต้อง “ลดดอกเบี้ย” เพื่อหยุด IYC ให้ผู้ประกอบการสหรัฐฯคลายความกังวลลงก่อน และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เฟดถูกตลาดกดดันหนัก ในอดีต 7 ครั้งหลังสุดของ IYC มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นที่เฟดสามารถขึ้นดอกเบี้ยต่อไปได้ ขณะที่เมื่อเกิด IYC ขึ้นแล้ว “ทุกครั้ง” มักจบด้วยความ “พ่ายแพ้” ของเฟดจนต้อง “ลดดอกเบี้ย” ภายในระยะเวลา 9 เดือนต่อมาโดยเฉลี่ย ในมุมมองของผม บริบทของนโยบายการเงินโลกในปัจจุบัน คือสิ่งที่เฟดจะต้องระวังมากกว่าเศรษฐกิจถดถอย กระแสการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายทั่วโลก อาจส่งผลกดดันให้เกิด IYC ในสหรัฐฯนานเกินไป จนผู้ประกอบการสหรัฐฯขาดความเชื่อมั่น และถ้าไม่จัดการให้ดีสิ่งนี้อาจสร้างความกังวล จนทำให้เศรษฐกิจถดถอยเกิดขึ้นจริงก็เป็นได้ ซึ่งถ้าขนาดผมยังเห็น เฟดเองก็ไม่น่าจะมองข้าม และการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง อาจเป็นคำตอบในอนาคตอันใกล้ แม้ว่าสุดท้าย IYC จะนำพาตลาดการเงินไปในทิศทางไหน ผมเชื่อการที่เรา “เข้าใจ” และ “รู้ทัน” IYC คือคำตอบสำหรับนักลงทุนทุกคน และจงท่องให้ขึ้นใจว่า ความกังวลกับตลาดที่ผิดเพี้ยนไม่ใช่สิ่งผิด แต่กังวลอย่างเดียวไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น การเรียนรู้และเตรียมรับมือ คือสิ่งเดียวที่จะทำให้เราอยู่รอดตลาดการเงิน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถิติบอกว่า ... จีนไม่น่าเทขายพันธบัตรสหรัฐฯ - FINNOMENA ตั้งแต่ย่างเข้าเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา กลิ่นของสงครามการค้าก็เริ่มรุนแรงขึ้นอีกครั้ง แล้วจีนจะตอบโต้การขึ้นภาษีด้วยวิธีการใด? นักวิเคราะห์หันไปมองอาวุธอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่กระทรวงการคลังของจีนเป็นเจ้าหนี้อยู่สูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ว่าแต่ทำไมอาวุธนี้จึงอาจไม่ถูกใช้? ลองมาดูสถิติกัน 30 พ.ค. 2562 ตั้งแต่ย่างเข้าเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา กลิ่นของสงครามการค้าก็เริ่มรุนแรงขึ้นอีกครั้ง หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตเมื่อคืนวันที่ 5 พ.ค. ส่งสัญญาณจะปรับขึ้นภาษีสินค้าที่นำเข้าจากจีน มูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากอัตราเดิม 10% เป็น 25% ผลที่ตามมาก็คือ เราเห็นการปรับฐานแรงในตลาดหุ้นรอบโลกโดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯและตลาดหุ้นจีนซึ่งเป็นคู่กรณี จริงๆ สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้ล่วงหน้าแล้วว่า โอกาสที่สหรัฐฯ จะสามารถเจรจากับจีนและตกลงกันได้อย่างราบรื่นนั้น ถือว่ามีโอกาสน้อยมากๆ สาเหตุหลักๆ คือ ตัวของประธานาธิบดีทรัมป์เอง อาจมีความต้องการให้เป็นเช่นนั้น ด้วยเหตุผลคือ เขาเชื่อว่า สิ่งที่เขาทำอยู่ตอนนี้ จะช่วยให้เศรษฐกิจของอเมริกาดีขึ้นได้ และผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ การได้รับกลับมาเป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 แล้วสงครามการค้าจะช่วยให้เศรษฐกิจของอเมริกาดีขึ้นจริงหรือ? เป็นที่ชัดเจนมาตั้งแต่ปีที่แล้วที่ประธานาธิบดีทรัมป์เอง พยายามกดดันนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ให้หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สาเหตุเพราะ ขณะที่กำลังพยายามขึ้นภาษีกับจีนอยู่ การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในทิศทางแข็งค่า ทำให้ผลจากการตั้งกำแพงภาษีกับจีนลดลง เพราะสินค้าจากจีน ที่เข้ามาขายในสหรัฐฯ จะโดนภาษี แต่เพราะค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ก็เลยทำให้ราคาไม่ได้แพงขึ้นอย่างเต็มที่ และไม่รู้ว่าเพราะกดดันสำเร็จ หรือเพราะความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวรออยู่ตรงหน้า เลยทำให้เฟดส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยทันทีในการประชุมครั้งแรกของปี 2019 ซึ่งก็แปลว่า ปัจจัยกดดันให้ดอลลาร์แข็งค่าปัจจัยใหญ่ๆ หายไปหนึ่งอย่างทันที ถ้าดูจากช่วงเวลาที่ประธานาธิบดีทรัมป์ทวีตว่าจะปรับขึ้นภาษีกับจีน จะพบว่า เป็นช่วงเวลาหลังจากที่มีการประกาศ GDP ไตรมาส 1/2019 ซึ่งออกมาที่ 3.2% ถือว่าสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 2.5% ซึ่งแน่นอนว่า มาจากผลบวกที่ได้ดุลการค้าจากการส่งออกเพิ่มขึ้น และนำเข้าลดลงหลังจากทำสงครามการค้ามาตลอดปี 2018 เชื่อว่า ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลที่ยืนยันว่า สหรัฐฯ ควรดำเนินนโยบายปกป้องการค้าต่อไปในขณะที่ยังมีอำนาจการต่อรองที่สูงอยู่ จีนจะตอบโต้การขึ้นภาษีด้วยวิธีการใด? แน่นอนว่า การขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ ทำ เกมส์นี้จีนเสียเปรียบเต็มๆ สาเหตุเป็นเพราะข้อมูลจากในปี 2018 บอกว่า สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 5 แสน 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่จีนนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ รวมทุกรายการเพียงแค่ 1 แสน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่างกันเกือบ 5 เท่าตัวทีเดียว สิ่งที่จีนทำได้อีกวิธีหนึ่ง คือสิ่งที่เหมือนจะทำมาตลอดปี 2018 ก็คือ พยายามทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่า แต่ก็ใช่ว่าจะง่ายเหมือนเดิม เพราะ จีนเริ่มเปิดประเทศ เปิดตลาดหุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้าลงทุน ตัวดัชนี MSCI Emerging Markets Index เอง ก็นำเอาตลาดหุ้นจีน A-Share เข้าไปคำนวณ รวมถึงการพยายามผลักดัน Petroyuan ซื้อขายน้ำมันเป็นสกุลหยวนแทนดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นการเข้าแทรกแซงค่าเงินแบบโจ่งแจ้งเกินไป มีแต่จะทำให้ความน่าเชื่อถือของค่าเงินหยวนเองลดลง นี่จึงเป็นสาเหตุที่นักวิเคราะห์หันไปมองอาวุธอย่างที่ 3 ที่จีน ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่กระทรวงการคลังของจีนเป็นเจ้าหนี้อยู่สูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ถือเป็นเจ้าหนี้รายประเทศที่ถือพันธบัตรสหรัฐฯ รายใหญ่ที่สุดของโลกเลยทีเดียว หากจีนเกิดสู้กับสหรัฐฯ ด้วยการขายพันธบัตรสหรัฐฯ ออกจากพอร์ต นักวิเคราะห์จาก Citi Research ได้มีการคำนวณโดยตั้งสมมติฐานว่า ทุกๆ การเทขายพันธบัตรฯ 1% ของ GDP ของสหรัฐฯ จะมีโอกาสทำให้ US Treasury 10 Year Yield (หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี) เพิ่มขึ้น 0.15-0.35% พอมองออกใช่ไหมครับว่า ถ้าเกิดขึ้นจริงละก็ ถึงเฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยอีกแล้วในปีนี้ แต่ Bond Yield ก็วิ่งขึ้นสูงต่อได้อีกถ้ามีแรงเทขายในตลาดพันธบัตรในปริมาณที่มากพอ ปี 2018 สหรัฐฯ มี GDP อยู่ที่ 20.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ 1% ของ GDP เท่ากับ 2 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ แสดงว่า ถ้าจีนจะใช้กลยุทธ์ที่สร้างผลกระทบกับสหรัฐฯ ได้จริง ต้องขายพันธบัตรออกจากเงินทุนสำรองอย่างน้อยๆ ก็ต้องมี 6 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อให้ Bond Yield ดีดขึ้น 0.60-1.40% จนมีผลให้ดอลลาร์แข็งค่าอีกรอบ ดังนั้นการขายพันธบัตรสหรัฐฯ ของจีน ที่ออกข่าวมาว่า มีมูลค่า 10,400 ล้านดอลลาร์ ยังถือว่าไกลจากสิ่งที่จะสร้างผลกระทบให้เกิดกับตลาดพันธบัตรสหรัฐฯได้ ณ ชั่วโมงนี้ครับ อีกทั้ง หากจีนขายในปริมาณมากๆ สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือ จะขายไปถือสินทรัพย์ไหนแทนดอลล่าร์ ด้วยปริมาณเงินมหาศาลขนาดนี้ ถ้าไม่มีที่ไป ยังไงจีนก็คงไม่เร่งขายจนทำให้ราคาพันธบัตรร่วงหนัก ณ ชั่วโมงนี้แน่นอนครับ ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647287 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กลับมาอีกครั้ง "อาลีบาบา" เตรียมเสนอเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง! - FINNOMENA บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน "อาลีบาบา" เตรียมเสนอขายหุ้นครั้งที่สองมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีจุดหมายคือฮ่องกง คาดแล้วเสร็จครึ่งหลังของปี 2019 28 พ.ค. 2562 บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน “อาลีบาบา” เตรียมเสนอขายหุ้นครั้งที่สองมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีจุดหมายคือฮ่องกง คาดแล้วเสร็จครึ่งหลังของปี 2019 บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ชั้นนำของโลกอย่าง ‘อาลีบาบา’ เตรียมเสนอขายหุ้นครั้งที่สอง มูลค่าถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีเป้าหมายที่เกาะฮ่องกง หลังจากประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นครั้งแรกมูลค่ารวม 25,000 ล้านดอลลาร์ ที่นครนิวยอร์กเมื่อปี 2014 การเสนอขายครั้งนี้ส่งผลให้ทางบริษัทสามารถลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในขณะที่ประเทศจีนยังคงเติบโตอยู่ รวมไปถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น ท่ามกลางสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ที่ยังทวีความรุนแรงอยู่เนื่องๆ โดยเอกสารการเสนอขายที่ฮ่องกงคาดว่าจะเสร็จก่อนครึ่งปีหลังของปี 2019 ณ ปัจจุบัน ขนาดของบริษัทอาลีบาบาได้โตขึ้นเกือบสองเท่าหลังจากการเสนอขายหุ้นที่สหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทสัญชาติจีนที่ได้เข้าตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุด โดยมีมูลค่าตลาดมากกว่า 400,000 ล้านดอลลาร์ เกาะฮ่องกงเคยเป็นตัวเลือกแรกของอาลีบาบาในการเสนอขายหุ้นครั้งแรก ทว่าบริษัทก็ถูกปฏิเสธ โดยสาเหตุเพราะโครงสร้างการกำกับการดูแลของบริษัท ซึ่งมีกลุ่มผู้จัดการอาวุโสที่คัดเลือกด้วยตัวเองได้ควบคุมการประชุมและนัดหมายของคณะกรรมการของบริษัทเอง ที่มา: https://www.reuters.com/article/us-alibaba-listing-hong-kong/alibaba-plans-20-billion-hong-kong-listing-sources-idUSKCN1SX1OR แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อ่วม!! ดาวน์โจนส์ร่วงกว่า 286 จุด!! - FINNOMENA พิษจากสงครามการค้ายังไม่สิ้นสุด ตลาดหุ้นสหรัฐฯ บาดเจ็บกันสาหัส 24 พ.ค. 2562 พิษจากสงครามการค้ายังไม่สิ้นสุด ตลาดหุ้นสหรัฐฯ บาดเจ็บกันสาหัส วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (23 พ.ค. 2562) ตลาดหุ้นของฝั่งอเมริการ่วงหนัก บาดเจ็บกันสาหัส โดยเฉพาะหุ้นพลังงานและหุ้นเทคโนโลยี เนื่องจากผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และประเด็นของ Huawei ที่ตอนนี้ยังร้อนระอุอยู่ ในส่วนของดัชนี S&P 500 หุ้นเทคโนโลยีได้ร่วงลงไปถึง 1.7% หุ้นอุตสาหกรรมที่ตกไปถึง 1.6% รวมไปถึงหุ้นฝั่งการเงินด้วย และภาคที่บาดเจ็บหนักสุดก็คือหุ้นพลังงานที่ร่วงไปถึง 3.1% นั่นเอง ราคาน้ำมันก็ไม่น้อยหน้าที่ตกลงไป 5% ที่พร้อมตอบสนองต่อแนวโน้มความต้องการของหุ้นพลังงานที่ลดลง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ได้แตะจุดต่ำสุดตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2560 ตกลงไป 0.07% (7 bp) อยู่ที่ 2.31% สำหรับเมื่อคืนนี้ และผลกระทบจากสงครามการค้ายังทวีความรุนแรงไปยังตลาดหุ้นฝั่งอเมริกา: ดัชนี Dow Jones ที่ตอนนี้ตกลงมา 286.14 จุด หรือ 1.11% อยู่ที่ 25,490.47 ดัชนี S&P 500 ร่วงมา 34.03 จุด หรือ 1.19% อยู่ที่ 2,822.24 ดัชนี Nasdaq หล่นมา 122.56 จุด หรือ 1.58% อยู่ที่ 7,628.28 ที่มา: https://www.reuters.com/article/us-usa-stocks/trade-tensions-slam-wall-st-as-global-growth-worries-mount-idUSKCN1ST1AZ แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เริ่มหวั่น!! สหรัฐฯ ประกาศชะลอการคว่ำบาตรกับ Huawei ภายใน 90 วัน - FINNOMENA สงครามการค้ายังร้อนระอุ เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนอย่าง Huawei ถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ออกไปอีก 90 วันต่อจากนี้ 21 พ.ค. 2562 สงครามการค้ายังร้อนระอุ เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนอย่าง Huawei ถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ออกไปอีก 90 วันต่อจากนี้ จากสถานการณ์เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐฯ มีการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศจีนเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ รวมมูลค่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศจีนทำการโต้กลับด้วยการขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจากประเทศสหรัฐฯ เช่นกัน แต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา การล้างแค้นของอเมริกาก็ไปลงที่บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนอย่าง Huawei ที่ Google ได้ประกาศคว่ำบาตร Huawei พร้อมยุติการค้าในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการอื่นๆ จาก Google ล่าสุดทางสหรัฐฯ ได้ประกาศชะลอการแบน Huawei เป็นเวลา 90 วัน ถึงวันที่ 19 สิงหาคม เพื่อรักษาโครงข่ายและซอฟต์แวร์กับเครื่องสมาร์ทโฟนที่ได้วางจำหน่ายไปเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนต่างๆ จากบริษัทสัญชาติอเมริกา เช่น ชิปเซ็ต และแผงวงจร ยังถูกห้ามการซื้อขายสำหรับการผลิตสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการจากสหรัฐฯ ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกปฏิเสธ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ผลกระทบที่ Huawei จะได้รับคือการขาดการจัดส่งชิ้นส่วนต่างๆ สำหรับสมาร์ทโฟนของบริษัท เมื่อปี 2018 Huawei มีการจ่ายสำหรับการซื้อชิ้นส่วนเป็นมูลค่า 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัทจากสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น Qualcomm Intel และ Micron Technology ที่มา: https://www.cnbc.com/2019/05/21/us-eases-restrictions-on-chinas-huawei-to-keep-networks-operating.html https://www.reuters.com/article/us-usa-trade-china/worries-of-longer-costlier-u-s-china-trade-war-hits-markets-idUSKCN1SQ0XQ แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นเติบโต คุณจะรวย ถ้าเข้าใจมัน : ตอนที่ 2 "เทคนิคการหาหุ้นเติบโต" - FINNOMENA หุ้นเติบโต คุณจะรวย ถ้าเข้าใจมัน : ตอนที่ 2 นี้เราจะมาพูดถึง "เทคนิคการหาหุ้นเติบโต" ว่า ลักษณะอันโดดเด่นของหุ้นเติบโตเป็นอย่างไร? แล้วเมื่อไหร่ที่เราจะรู้ว่า มันเป็นหุ้นเติบโต ? 22 พ.ค. 2562 ลักษณะอันโดดเด่นของหุ้นเติบโต (Growth Stocks) คือ รายได้ที่โตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งมักจะเกิดจาก บริษัทค้นพบ บริการหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็น Champion ที่ลูกค้าติดอกติดใจและขายดีเป็นเทน้ำเทท่า โดยหลักการแล้วบริษัทต้องเป็นเจ้าแรกๆที่ค้นพบบริการหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หากเป็นบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคู่แข่งมากรายอยู่แล้ว ก็เน้นโตด้วยการขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ ใช้กลยุทธ์หมากล้อมยึดพื้นที่ หรือ การประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) เมื่อใหญ่แล้วอยากใหญ่ขึ้นอีก ก็ต้องไปเน้นซื้อหรือรวมกิจการ ซึ่งเลือกได้ทั้ง ธุรกิจประเภทที่คล้ายกัน หรือธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน เมื่อไหร่ที่เราจะรู้ว่า มันเป็นหุ้นเติบโต ? หนึ่งในเทคนิคการค้นหาหุ้นเติบโต คือการติดตามผลประกอบการของทุกบริษัทในแต่ล่ะไตรมาส เริ่มต้นด้วยการสแกนหาบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากนั้นมาแกะงบค้นหาถึงสาเหตุ หากเกิดจากรายการพิเศษให้กาบริษัทนั้นทิ้งไป แต่หากเป็นบริษัทที่มีรายได้เติบโตตามคุณลักษณะ 3 ข้อข้างต้น ก็วงไว้เป็นตัวที่เราต้องทำการศึกษาต่อโดยรายละเอียด จากตอนที่แล้วได้พูดถึง Growth At Reasonable Price (GARP) หรือลงทุนหุ้นเติบโตในราคาที่เหมาะสม ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า หากเราเจอหุ้นเติบโตช้ากว่าคนอื่นๆในตลาด ราคาก็มักจะแพงมากไปแล้ว และที่สำคัญเรามักจะเจอก็ตอนที่หุ้นมันเริ่มมี Story ที่จะเติบโตในอนาคตแสนสวยหรู แต่ก็เป็นที่รับรู้ของใครหลายคนไปแล้ว โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน กัปดักของหุ้นเติบโต คือ Story !! เรื่องราวอันหอมหวล จริงอยู่ที่หุ้นเติบโตมักมีเวลาในการปรับเพิ่มขึ้นกินระยะเวลาได้ยาวนาน 1-3 ปี แต่ในระหว่างทาง หากมีไตรมาสใดที่ทำกำไรไม่ได้อย่างที่ตลาดคาดหวัง ราคาหุ้นก็พร้อมที่จะถูกลงโทษหนักโดยทันที อย่างที่เห็นกันในบทเรียนของตลาด ปี 2558-2559 เป็นปีที่หุ้นเติบโตบูมมากในตลาดหุ้นไทย และก็มาถูกลงโทษกันอย่างหนักในปี 2560-2561 ผลประกอบการเน่าในขณะที่ราคาหุ้นมันขึ้นรับความหวังไปก่อนล่วงหน้า เมื่อความจริงปรากฎราคาก็ดิ่งสู่ขุมนรก ผู้ที่ถูกลงโทษก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นักลงทุน นักวิเคราะห์ ที่เป็นผู้ตามทั้งหลาย ทุกคนล้วนเป็นเหยื่อของผู้นำหรือผู้ที่เห็นก่อน หลักการสำคัญของการลงทุนในหุ้นเติบโต มันไม่ใช่แค่คุณรู้ว่าหุ้นเติบโตเป็นอย่างไร แต่คุณต้องเป็นหนึ่งในผู้นำหรือผู้ที่รู้ว่าหุ้นตัวนั้นกำลังจะเติบโต การเปลี่ยนวิธีคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ นักลงทุนที่หลงไปกับการลงทุนในตอนปลายของหุ้นเติบโต มักจะมีคำถามว่าหุ้นตัวไหนหรือบริษัทอะไรเป็นหุ้นเติบโต (What) เมื่อรู้ก็จะลงทุนตาม อันนี้คือผู้ตามหลัง รู้เร็วก็ดีไป แต่หากรู้ช้าก็อย่างที่เห็นต้องมาซื้อหุ้นตอนราคาแพงไปแล้ว คุณควรจะตั้งคำถามว่า ทำไม (Why) หรือ ทำอย่างไร (How) มันถึงเป็นหุ้นเติบโต มากกว่าที่จะถามว่า หุ้นเติบโตคือหุ้นอะไร (What) เมื่อคุณยึดที่ Why หรือ How คุณจะเริ่มมองออกว่าบริษัทไหนที่จะมีศักยภาพที่จะเติบโต วิธีการนี้เป็นเทคนิคของนักลงทุนรายใหญ่ที่เป็นผู้นำและมีทุน พวกเค้าจะเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทนั้นในตอนที่ยังเล็กๆอยู่ และเข้าไปช่วยรวมไปถึงแนะนำแนวทางให้กับผู้บริหาร ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพวกเค้าเลย เพราะพวกนี้ชำนาญและรู้อยู่แล้วว่าบริษัทที่จะดีดตัวจากจุดเล็กๆได้มันต้องทำยังไง จะเห็นได้ว่าการตามหลังไม่มีวันที่คุณจะแซงกลุ่มผู้นำได้ การคิดแต่ว่าลงทุนในหุ้นที่มันเติบโตแล้ว มีแต่จะทำให้ระยะห่างระหว่างคุณกับกลุ่มนักลงทุนผู้นำที่เก่งกาจห่างมากขึ้นไปอีก วิธีการเดียวที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนหุ้นเติบโตได้ คือคิดแบบที่นักลงทุนกลุ่มผู้นำคิด หรืออย่างน้อยหากจะเป็นผู้ตาม ก็ต้องเป็นผุ้ตามในกลุ่มแรกๆ ซึ่งผมก็ได้แนะนำเทคนิคไปแล้วว่า ให้มุ่งไปที่การเฝ้าผลประกอบการในแต่ล่ะไตรมาสของทุกบริษัท และทำการศึกษาบริษัทที่เข้าตาโดยละเอียด ขอจบตอนที่ 2 ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ตอนหน้า เราจะมาคุยถึงจุดอ่อนของหุ้นเติบโตกัน ประกิต สิริวัฒนเกตุ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
5 เหตุผล...หุ้นเทคโนโลยียังคงโดดเด่น - FINNOMENA ปัจจุบัน หุ้นเทคฯ ต่างเป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุน เราได้รวบรวมและสรุป 5 เหตุผลว่าทำไมหุ้นเทคโนโลยีจึงเป็นที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนหลายๆ คน 4 พ.ย. 2564 ปัจจุบัน หุ้นเทคฯ ต่างเป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุน เราได้รวบรวมและสรุป 5 เหตุผลว่าทำไมหุ้นเทคโนโลยีจึงเป็นที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนหลายๆ คน 1. ราคาถูกลง การเติบโตยังสูง มีความน่าสนใจอย่างมาก ราคาหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำส่วนใหญ่กำลังปรับตัวขึ้น แต่ยังต่ำกว่าราคาระดับ All-time High เมื่อปีก่อน ขอยกตัวอย่างเช่น Facebook ที่เคยปัญหาด้านความปลอดภัย ซึ่งจุดนี้เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว ทำให้ค่า P/E อยู่ที่ระดับ 24 เท่า ขณะที่ประมาณการรายได้และกำไรอยู่ที่ 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนั้นกำไรสุทธิยังสูงถึง 36-38% ซึ่งจุดนี้เรียกได้ว่าสูงมาก ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจในไทยแล้วยิ่งน่าสนใจอย่างมาก 2. ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง คงไม่ต้องกล่าวถึงอิทธิพลของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อเศรษฐกิจโลกอีกแล้ว ยิ่งเมื่อออกมาส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยแล้ว ตลาดต่างตอบรับในเชิงบวก ซึ่งผลของการกระตุ้นย่อมหนุนให้มุมมองเศรษฐกิจโลก และภาคธุรกิจกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ไตรมาสที่ 1 ซึ่งออกมาที่ 3.2% (QoQ) สูงกว่าคาดการณ์ที่ 2.0% (QoQ) สะท้อนความแข็งแกร่งเหนือคาด ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกกลับมาอีกครั้ง 3. งบของบริษัทกลุ่มเทคฯ ออกมาเหนือกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทั้งรายได้และกำไรยังคงขยายของไตรมาสที่ 1 ยังคงขยายตัว Facebook เป็นหนึ่งในนั้นที่สามารถสร้างเซอร์ไพร์ส โดยรายได้ขยายตัว 26% (YoY) ขณะที่ Microsoft พลิกตัวเองจากหุ้นน่าเบื่อรายได้หดตัว กลายเป็นหุ้นเติบโตอีกครั้ง สร้างรายได้เติบโต 14% (YoY) และกำไรสุทธิกว่า 28% เมื่อเทียบกับตลาด S&P 500 ที่มีกำไรสุทธิประมาณ 10% แล้วจะเห็นว่าเหนือกว่าอย่างค่อนข้างชัดเจน 4. นักลงทุนเชื่อมั่นต่อตลาดเพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้ นักลงทุนแห่เข้าซื้อหุ้นเทคฯ ด้วยความคาดหวังอย่างมาก เมื่อผลประกอบการออกมาไม่เป็นอย่างที่คาด ก็มีนักลงทุนบางส่วนที่ขายหุ้นออกไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง ขณะที่ผลประกอบการยังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นสัญญาณที่สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนซึ่งเข้ามาลงทุนอีกครั้งพร้อมความมีเหตุมีผลที่มากกว่าครั้งก่อน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดปรากฏการณ์เทหุ้นทุกราคาอย่างในอดีตมีแนวโน้มลดลง 5. เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ แน่นอนว่าอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี เหล่านักวิเคราะห์หลายท่านจากสถาบันอย่าง RBC Markets หรือ Morgan Stanley ออกมาแนะนำลูกค้าให้ลงทุนหุ้นเทคฯ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยให้เหตุผลด้านความเสี่ยงของกฎระเบียบในประเทศจีน ความคาดหวังของตลาดที่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตราการเติบโต ภาพรวมการทำธุรกิจที่ยังมี Story ทำให้ยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองหรืออย่างน้อยมีไว้ในพอร์ตบ้าง กล่าวในอีกแง่หนึ่ง คือ ควรมีกระจายสัดส่วนการลงทุนของพอร์ต ไม่กระจุกตัวเกินไป ถึงแม้จะเป็นหุ้นที่ดีเพียงใดก็ตาม หากใครสนใจลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีต่างประเทศ ทาง FINNOMENA Best-in-Class ได้จัดพอร์ตที่คัดเลือก 3 กองทุนที่ยอดเยี่ยมที่สุดมาให้แล้ว ถ้าสนใจก็ลงชื่อรับบริการได้ที่ https://www.finnomena.com/bic/ หรือแบนเนอร์ท้ายบทความได้เลย ข้อมูลอ้างอิง: https://www.investopedia.com/6-reasons-big-techs-given-up-for-dead-are-crushing-the-market-4588974 Bloomberg Alphastreet แท็ก: Article Basic BIC BIC Tech Infographic Product Recommend Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถิติบอกว่า ... Sell in May and Go Away - FINNOMENA Sell in May and Go Away เป็นประโยคเด็ดที่เราจะได้ยินในช่วงที่เข้าสู่เดือนพ.ค. ของทุกปี ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ให้ขายในเดือนพ.ค. แล้วออกจากตลาดไปซะ หรือ ก็คือ ให้กอดเงินสด หรือไปถือสินทรัพย์เสี่ยงต่ำนั่นเอง ทำไมถึงเกิดประโยคนี้ขึ้น แล้วปัจจุบันยังเป็นเช่นนั้นไหม? 8 พ.ค. 2562 ประโยคนื้ เป็นประโยคเด็ดที่เราจะได้ยินในช่วงที่เข้าสู่เดือนพ.ค. ของทุกปี ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ให้ขายในเดือนพ.ค. แล้วออกจากตลาดไปซะ หรือ ก็คือ ให้กอดเงินสด หรือไปถือสินทรัพย์เสี่ยงต่ำนั่นเอง ก่อนจะไปดูสถิติในอดีตว่าจริงหรือไม่ เราไปดูกันก่อนว่า ที่มาของประโยคเด็ดประโยคนี้ มาจากอะไร วลี “Sell in May and Go Away” เป็นความคิดที่มาจากภาษาอังกฤษเก่าพูดว่า “Sell in May and go away, and come on back on St. Leger’s Day.” วลีนี้หมายถึงประเพณีของขุนนางพ่อค้าและนายธนาคารที่จะออกจากเมืองลอนดอนและหลบฤดูร้อนออกไปใช้ชีวิตในที่อื่น และกลับมาค้าขายอีกรอบตอนวัน St. Leger’s Day ซึ่งเป็นช่วงที่มีเทศกาลแข่งม้าพันธุ์ดีที่จัดขึ้นในกลางเดือนก.ย. ของทุกปี ทั้งนี้ วลีนี้ ถูกนำมาใช้ต่อเนื่องเมื่อทุนนิยมขยายอาณาเขตมายังสหรัฐฯ โดยพ่อค้าชาวอเมริกันและนักลงทุนในอดีต มีแนวโน้มที่จะใช้เวลาผ่อนคลายและมีความสุขกับครอบครัวเพิ่มขึ้นช่วงวันหยุดระหว่าง Memorial Day (ช่วงปลายเดือนพ.ค.ของทุกปี) และ Labor Day (ต้นเดือนก.ย. ของทุกปี) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับ Seasonality ที่เกิดขึ้นในฝั่งเกาะอังกฤษ มายาวนาน แล้วผลต่อตลาดหุ้น มันเป็นอย่างไร? ถ้าย้อนสถิติกลับไปตั้งแต่ปี 1950 ถึงปี 2013 ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones Industrial Average มีผลตอบแทนในช่วงเดือนพ.ค.- ต.ค. ลดลง หรือ ให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าช่วงตั้งแต่เดือนก.ย.ถึงเดือนเม.ย. ในปีถัดไป อย่างมีนัยยะสำคัญ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า Sell In May and Go Away พอจะมีมูลความจริงในเชิงสถิติแฝงอยู่ประมาณหนึ่ง แต่หากดูเฉพาะสถิตินับตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบัน กลับพบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญของผลตอบแทนระหว่างช่วงเดือนพ.ค.-ต.ค. และ เดือนก.ย.-เม.ย. ซึ่งก็ตีความได้ว่า เหตุการณ์นี้ เริ่มไม่ได้มีผลกับตลาดหุ้นเหมือนกับในอดีตแล้ว ทำไมในอดีต ช่วงเดือนพ.ค.- ต.ค. ถึงมีผลตอบแทนลดลง? ถ้าจะอธิบายด้วยเหตุผลด้านอื่นๆ ที่ชัดก็คือ ช่วงเวลาดังกล่าว พบว่า ปริมาณการซื้อขายหุ้นลดลง สภาพคล่องลดลง เพราะเป็นช่วงที่นักลงทุนได้ทราบผลประกอบการไตรมาส 1 ซึ่งจะบอกทิศทางของบริษัทในช่วงที่เหลืออีก 3 ไตรมาสพอได้แล้ว และเป็นช่วงหลังจากที่บริษัทมีการจ่ายปันผลประจำปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งโดยสรุปก็คือ ข่าวดีที่ตลาดรออยู่ ถูกปลดปล่อยออกมาแล้ว จึงเกิดเหตุการณ์ “Sell on Fact” ซึ่งเป็นการทำกำไรระหว่างทางและทำให้ราคาหุ้นมีการปรับตัวย่อตามลงมา ตั้งแต่ปี 2014 ที่ผ่านมา ทำไมเหตุการณ์ Sell in May หายไป หากมองดัชนี Dow Jones Industrial Average นับตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปีที่แล้ว หากดูเฉพาะเดือนพ.ค. พบว่า ตลาดยังคงวิ่งเดือนหน้าต่อเนื่อง และมีแค่ปี 2015 ปีเดียวที่ช่วงเดือนพ.ค.-ต.ค. ให้ผลตอบแทนติดลบ ซึ่งสาเหตุน่าจะเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของรูปแบบธุรกิจในภาพรวม เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพล ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และผลการดำเนินงานบริษัท มีรูปแบบของความเป็นฤดูกาลน้อยลง อีกเหตุผลหนึ่ง คือ การเข้ามาของ algorithm trading หรือ การซื้อขายหุ้นโดยใช้หุ่นยนต์ ทำให้ไม่จำเป็นอีกต่อไปที่นักลงทุนจะต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอ เพื่อซื้อขายให้มีปริมาณสภาพคล่องมากเช่นเดียวกับในอดีต SET Index ของไทย มีเหตุการณ์ Sell in May หรือไม่? ย้อนกลับมาดูตลาดหุ้นไทย พบว่า 5 ปีที่ผ่านมา มี 2 ปีที่ตลาดหุ้นไทยผลตอบแทนติดลบในช่วงเดือนพ.ค.- ต.ค. ซึ่งก็แปลว่า จริงๆแล้ว Sell in May ไม่ได้เกิดกับตลาดหุ้นไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เรากำลังเผชิญอยู่ ณ ช่วงเวลานั้นๆ โดยสรุปคือ ปัจจัยตามฤดูกาล อย่างวลี Sell in May หรือ Santa Clause Rally , January Effect ในปัจจุบัน เริ่มไม่ได้มีอิทธิพลกับโลกการลงทุนเหมือนในอดีตแล้ว และถ้าดูจากเหตุผลที่เป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะพฤติกรรมตลาดที่เปลี่ยนไป และเทคโนโลยีที่เข้ามา ก็บีบให้นักลงทุนต้องมองการลงทุนในมุมใหม่ๆ และปรับตัวเช่นเดียวกัน ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647177 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง.. จากนักลงทุนสถาบันสหรัฐฯ - FINNOMENA Money Poll ปี 2019 ที่ออกมาล่าสุด จากบรรดาผู้จัดการกองทุน 148 ท่านทั่วอเมริกา ซึ่งทำการสำรวจโดย Dow Jones มองตลาดในปี 2019 เป็นดังนี้ 8 พ.ค. 2562 Money Poll ปี 2019 ที่ออกมาล่าสุด จากบรรดาผู้จัดการกองทุน 148 ท่านทั่วอเมริกา ซึ่งทำการสำรวจโดย Dow Jones มองตลาดในปี 2019 เป็นดังนี้ หนึ่ง ปัจจัยบวกที่โพลนี้ให้น้ำหนัก ได้แก่ การหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด ความเป็นไปได้ของการสงบศึกสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ การเติบโตที่ไม่เลวนักของผลกำไรของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐสำหรับไตรมาสที่ผ่านมา และตลาดแรงงานสหรัฐที่แข็งแรงที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา สอง สำหรับมุมมองทั้ง Bull และ Bear สำหรับโพลนี้ มีดังนี้ ฝั่งที่มองบวก ให้น้ำหนักกับ การเติบโตของผลกำไรของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐสำหรับไตรมาสที่ผ่านมา โดย Consensus สำหรับโพลนี้ คือ 6-8% ฟากที่มองในแง่ลบ มองปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงจากน้ำหนักสูงไปต่ำในอีก 12 เดือนข้างหน้า ดังรูปที่ 1 ได้แก่ ความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะกลับไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากความขัดแย้งของการเมืองในสหรัฐและความผิดพลาดของการดำเนินนโยบายของเฟด รวมถึงความรุนแรงสงครามการค้า ตามลำดับ สาม ประเด็นที่ดูจะมีการถกเถียงกันมากที่สุด คือ เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเมื่อไหร่กัน โดย 44% ของโพล มองว่าจะเกิดขึ้นในปี 2020 ราว 32% มองไปที่ปี 2021 และ 20% มองว่าจะเกิดตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป หลังจากที่ขึ้นไปที่จุดสูงสุดในไตรมาส 2 ปีที่แล้วที่ 4.2% โดยชะลอลงมาเติบโตที่ 3.2% ในไตรมาสแรกของปีนี้ สี่ ด้วยปัจจัยลบต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น คาดการณ์ดัชนีในมุม Bearish โดย DJIA จะลดมาที่ 23,734 และ 23,422 ณ สิ้นปี 2019 และกลางปี 2020 ตามลำดับ ส่วนในกรณี Bullish จะอยู่ที่ 27,037 และ 27,747 ณ สิ้นปี 2019 และกลางปี 2020 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า DJIA มี Upside เพียงตัวเลขหลักเดียว ส่วน Downside ราว 10% กว่าๆ หากพิจาณา S&P 500 และ Nasdaq จะเห็นได้ว่าในกรณี Bullish เหลือ Upside อยู่น้อยมากในอีก 14 เดือนข้างหน้า ส่วนกรณี Bearish นั้น Nasdaq มี downside อยู่ถึงเกือบ 17% และ 20% ตามลำดับ เลยทีเดียวในอีก 8 และ 14 เดือนข้างหน้า ตามลำดับ ห้า หุ้นแบบ Defensive stocks ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดในปี 2019 ในขณะที่ หุ้นแนวเทคโนโลยีและ Biotech ที่ยังไม่ได้มีกำไร อย่าง Roku และ Snap ให้ผลตอบแทนเพิ่มไปเท่าตัวไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ หุ้นแนว Healthcare ที่มี Story แรง อย่าง Guardant Health และ Sage Therapeutics ก็เช่นกัน นอกจากนี้ หุ้นเทคโนโลยียังเป็นที่นิยม ทั้งนี้ กว่า 3 ใน 4 ของผู้จัดการกองทุนทั้งหมดเลือกหุ้นแนวนี้ โดยหุ้นที่มีพื้นฐานดีอย่าง Alphabet ดูน่าสนใจ นอกจากนี้ Ubers ที่กำลังจะเข้า IPO และคู่แข่งอย่าง Lyfts ต่างก็น่าสนใจเข้าไปลงทุน ส่วนในมุมของ Valuation ของตลาดหุ้นสหรัฐ ณ ระดับตอนนี้ ส่วนใหญ่จะมองว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว ท้ายสุด ในแง่ของหุ้นรายเซกเตอร์ ยังเป็นหุ้นสไตล์ Growth ที่ผู้จัดการกองทุนชื่นชอบ นั่นคือ เซกเตอร์ IT และ Healthcare ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบ ด้วยเหตุผลที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีองค์ประกอบด้านการบริโภค ถึง 78% ของจีดีพี ซึ่งในตอนนี้มีการเติบโตที่ดีจากภาคแรงงานที่เข้มแข็งขึ้น จึงทำให้การบริโภคด้านอุปกรณ์ IT มีความคึกคัก นอกจากนี้ ด้วยการที่สหรัฐก็กำลังเข้าสู่เศรษฐกิจที่มีผู้สูงอายุจากกลุ่ม Baby Boomer เพิ่มขึ้น จึงทำให้ Healthcare เป็นเซกเตอร์ที่มีแรงหนุนอยู่มาก ส่วนหุ้นสไตล์ Defensive อย่าง Utilities และ Materials ไม่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบันมากนัก โดยสรุป ตลาดหุ้นสหรัฐค่อนข้างเป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุนรายใหญ่ในสหรัฐ แม้ผลตอบแทนเพิ่มเติมต่อจากนี้ไป น่าจะไม่ได้มีอย่างมากมายเหมือน 3 ปีที่ผ่านมาครับ ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647147 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รู้จัก Aramco แห่งซาอุดิอาระเบีย - FINNOMENA ล่าสุด Aramco ได้ออก IPO หุ้นกู้ใหม่มูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ปรากฎว่าตลาดมีความต้องการหุ้นกู้ดังกล่าวอยู่ 1 แสนล้านดอลลาร์คำถามคือเหตุใด Aramco จึงดูน่าสนใจขนาดนั้น จึงขอพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ Aramco แห่งซาอุดิอาระเบีย 8 พ.ค. 2562 ล่าสุด Aramco ได้ออก IPO หุ้นกู้ใหม่มูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ปรากฎว่าตลาดมีความต้องการหุ้นกู้ดังกล่าวอยู่ 1 แสนล้านดอลลาร์ คำถามคือเหตุใด Aramco จึงดูน่าสนใจขนาดนั้น จึงขอพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ Aramco แห่งซาอุดิอาระเบีย Aramco เป็นบริษัทที่ทำกำไรมากที่สุดในบรรดาบริษัทน้ำมันในโลก โดยทำกำไรมากสุด 111 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2018 และมีแผนที่จะ IPO เข้าตลาดหุ้น คาดว่าจะเป็นสหรัฐและฮ่องกงในปี 2021 แต่เดิมตั้งแต่ปี 1930 Aramco เป็นบริษัทของอเมริกัน ที่รับงานด้านวิศวกรรมและโครงการต่างๆให้กับรัฐบาลซาอุฯ โดยที่ไม่ได้ผลตอบแทนเป็นตัวเงิน ทว่าได้สิทธิ์ในหลุมน้ำมันดิบบางส่วน โดยการทำธุรกิจในรูปแบบนี้ ทำต่อเนื่องกันมาจนถึงกลางทศวรรษ 1980 ที่ Aramco กลายมาเป็นบริษัทสัญชาติซาอุฯเต็มรูปแบบ ซึ่งรัฐบาลซาอุฯ จะแลกในส่วนเครดิตด้านภาษีเป็นการตอบแทนต่อ Aramco แม้กระทั่ง จนถึงทุกวันนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายระหว่าง Aramco และรัฐบาลซาอุฯในหลายๆส่วน ก็ไม่ได้มีการบันทึกในงบการเงินของ Aramco แม้จะมีธุรกรรมระหว่างกัน นอกจากนี้ Aramco ยังทำหน้าที่บริหารศูนย์วิจัย และมหาวิทยาลัยให้กับรัฐบาล อย่างไรก็ดี หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า Aramco ของซาอุฯ มีกำไรจากน้ำมันดิบต่อบาร์เรลสูงกว่าคู่แข่งในความเป็นจริงแล้ว Shell และ Total ทำกำไรต่อหนึ่งหน่วยน้ำมันดิบมากกว่า เนื่องจากค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐบาลซาอุฯเก็บจาก Aramco มากกว่าคู่แข่ง ดังรูปที่ 1 แม้ว่า Aramco จะเป็นบริษัทน้ำมัน ที่ทำกำไรสูงสุดก็ตาม คราวนี้ มาทำความรู้จักกับแหล่งน้ำมันตามธรรมชาติที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก ของซาอุฯกันบ้าง หลุมน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า Ghawar ที่ถือเป็นแหล่งหลักของซาอุฯ นับตั้งแต่ที่นำขึ้นมาใช้เป็นกำลังการผลิตจริงในปี 1951 โดย ณ ปี 2003 มีการประมาณการว่าสามารถผลิตได้ถึงครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตรวมของซาอุฯ หรือ 7% ของกำลังการผลิตของทั้งโลก แม้ว่าทางซาอุฯจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 10.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และยังให้ข้อมูลว่า Aramco สามารถผลิตได้ถึง 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ดี แหล่ง Ghawar ดูเหมือนว่าจะมีกำลังการผลิตลดลงเหลือ 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากที่เคยรายงานไว้ว่าผลิตได้ 5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2004 ทว่าแหล่งน้ำมันดิบหลุมอื่นๆได้เพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น โดยหลุมน้ำมัน Shaybah ทางใต้ของซาอุฯใกลักับชายแดนของ ประเทศ UAE และ หลุมน้ำมัน Safaniyah ในอ่าวเปอร์เซีย นอกจากนี้ หลุมน้ำมัน Khurais ซึ่งใกล้กับแหล่ง Ghawar ที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศ มีการสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่เริ่มทำการผลิตในปี 2009 ด้วยกำลังการผลิต 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยล่าสุด Aramco ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับอุปสงค์ของน้ำมันดิบ ว่าจะมีปริมาณสูงสุดในปี 2030 ทว่าการบริโภคจะเติบโตเฉลี่ย 0.5% ต่อปี ลดลงเป็นอย่างมากจาก 0.9% ระหว่างปี 2000-2017 โดยการขึ้นมาของยานยนต์ไฟฟ้าจะมาลดอัตราการเติบโตอุปสงค์ของน้ำมันแต่ไม่ได้หยุด การเติบโต นอกจากนี้ การเกิดขึ้นมาของกฎเกณฑ์ที่ใช้ควบคุม CO2 ที่ปล่อยออกมาจากเชื้อเพลิงอย่างน้ำมัน จะนำมาซึ่งการลดการใช้น้ำมัน ทว่า Aramco จะได้รับผลกระทบค่อนข้างช้ากว่าคู่แข่ง เนื่องจากมีรายงานว่า Aramco ปล่อยของเสียสู่อากาศน้อยกว่าบริษัทน้ำมันแห่งอื่น โดยซาอุฯ ปล่อยของเสียจากเชื้อเพลิงน้อยกว่าเวเนซุเอล่าถึง 3 เท่าตัว ทั้งนี้ มีเกร็ดที่น่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับ Aramco ดังนี้ ความสำเร็จของ Aramco เป็นผลงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและกษัตริย์ของซาอุฯ ด้วยการตัดสินใจของ Aramco ที่จะเปลี่ยนโฟกัสออกจากผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบ น่าจะส่งผลให้รัฐบาลเปลี่ยนรูปแบบของนโยบายการคลัง นั่นคือรัฐบาลซาอุฯ จะตัดสินใจนำเอาเงินทุนออกจากบริษัท ณ เวลาใดก็ได้ โดยระบบการปกครองของซาอุฯ ทั้งกษัตริย์และรัฐบาลอยู่เหนือกฎหมาย แม้ว่า Aramco จะมีสิทธิ์ต่อการขุดเจาะหลุมน้ำมันต่างๆ ผ่านการทำสัญญากับรัฐบาล ทว่ารัฐบาลยังมีสิทธิ์เหนือ Aramco ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตามในอนาคต Aramco เป็นกลไกหลักที่ทำให้ซาอุฯ ยังเดินต่อไปได้ โดยเซกเตอร์น้ำมัน คิดเป็น 63% ของรายได้ทั้งหมดของรัฐบาลในปี 2017 สิ่งนี้ ทำให้รัฐบาลซาอุฯ ต้องการให้ Aramco มีความเข้มแข็ง แม้ Aramco จะสามารถทำกำไรได้มากที่สุดในบรรดาบริษัทน้ำมันทั่วโลก ทว่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับรัฐบาลเยอะเช่นกัน ในปี 2018 Aramco ต้องจ่ายถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ให้รัฐบาลซาอุฯในรูปแบบของภาษีเงินได้ นอกจากนี้ ยังต้องจ่ายค่า royalty ให้กับรัฐบาลสำหรับน้ำมันทุกบาร์เรลที่ขายได้ ซึ่งในปัจจุบันต้องนำมาเข้ามาบันทึกในบัญชีด้วย รวมถึงจ่ายเงินปันผลมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ในรูปแบบของเงินปันผลที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีที่จ่ายได้ ทั้งนี้ Aramco ขายน้ำมันให้กับตลาดในประเทศด้วยราคาที่ถูกมากตามนโยบายของรัฐบาล โดยเมื่อก่อน ไม่สามารถมาชดเชยค่าเสียโอกาสดังกล่าวจากรัฐบาล แต่เริ่มจากเมื่อปีที่แล้ว Aramco สามารถรับเงินค่าชดเชยจากรัฐบาลมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ ราว 11% ของรายได้รวม ท้ายสุด Aramco เป็นผู้ขายวัตถุดิบให้กับ SABIC บริษัทปิโตรเคมีขนาดใหญ่ของซาอุฯ ด้วยราคาที่รัฐบาลกำหนด ซึ่ง Aramco กำลังจะเข้าซื้อกิจการของบริษัท SABIC ในสัดส่วน 70% จากกองทุนความมั่งคั่งแห่งประเทศซาอุฯในขณะนี้ ซึ่งไม่ปรากฎชัดเจนว่ามีการจ่ายค่าเสียโอกาสด้านราคาของวัตถุดิบข้างต้นต่อ Aramco โดยรัฐบาลซาอุฯหรือไม่ โดยสรุป Aramco เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่น่าจับตามากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่จะคาดว่าเข้าเทรดครั้งแรก หรือ IPO ในตลาดหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ที่สุดในโลกในปีหน้า นั่นก็หมายความว่าราคาน้ำมันดิบในช่วงนั้นจะเป็นขาขึ้นเช่นกัน ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647030 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กองทุนอสังหาฯ & REITs ดีอย่างไร? สถิติย้อนหลังมีคำตอบ! - FINNOMENA ทำไมกองทุนอสังหาฯ และ REITs ถึงได้รับความนิยม? จริงหรือที่กองทุนประเภทนี้เสี่ยงน้อยกว่า? ถ้าเทียบกับหุ้นไทยในภาพรวมแล้ว กองทุนที่เน้นลงทุนในอสังหาฯ เป็นหลักนั้นจะเป็นอย่างไร? เหมาะกับการแบ่งสัดส่วนไปลงทุนไหม? ลองมาดูสถิติย้อนหลังกันเลย 4 พ.ย. 2564 ทำไมกองทุนอสังหาฯ และ REITs ถึงได้รับความนิยม? จริงหรือที่กองทุนประเภทนี้เสี่ยงน้อยกว่า? ถ้าเทียบกับหุ้นไทยในภาพรวมแล้ว กองทุนที่เน้นลงทุนในอสังหาฯ เป็นหลักนั้นจะเป็นอย่างไร? เหมาะกับการแบ่งสัดส่วนไปลงทุนไหม? ลองมาดูสถิติย้อนหลังกันเลย ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต สนใจทดลองใช้บริการ FINNOMENA Best-in-Class คลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/bic/ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Basic BIC BIC Property Picture Slide Product Recommend Property Fund REITs short แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
FINNOMENA PORT Strategy เดือนพฤษภาคม : ตลาดหุ้นเดินหน้า ได้เวลาปรับฐานหรือยัง? - FINNOMENA จากความเสี่ยงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ที่ส่งสัญญาณผ่านทางตัวเลขและดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจต่างๆ ยังคงต่ำกว่าคาดการณ์ ถึงแม้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ก็เป็นเพียงตลาดเดียวเท่านั้น ยังไม่ได้ยืนยันการเป็นขาขึ้นของตลาดลุ้นรอบโลกซึ่งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจรายล้อมอยู่ เวลานี้ควรใช้กลยุทธ์ลงทุนอะไร? มาอัปเดตกันเลย 16 ส.ค. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span><span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> Chart of the Month รูปที่ 1 Citi Global Economic Surprise Index กับ MSCI World Index l Source : Bloomberg ท่าทีการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความคืบหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นกว่า 21% นับตั้งแต่ต้นปี และปรับตัวกว่า 3% ภายในเดือนเมษายน จากทิศทางการฟื้นตัวของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม CITI Economic Surprise Index – Global ที่ระดับ -24.60 บ่งชี้ว่าตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับภาวะความเสี่ยงของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยสะท้อนผ่านตัวเลขการส่งออกของหลายประเทศยังหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน จากความเสี่ยงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ที่ส่งสัญญาณผ่านทางตัวเลขและดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจต่างๆ ยังคงต่ำกว่าคาดการณ์ แม้บางปัจจัยที่เคยกดดันเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน ถึงแม้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ก็เป็นเพียงตลาดเดียวเท่านั้น ยังไม่ได้ยืนยันการเป็นขาขึ้นของตลาดลุ้นรอบโลกซึ่งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจรายล้อมอยู่ ดังนั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำนักลงทุนให้ใช้จังหวะการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับสมดุลของพอร์ตการลงทุน และเพิ่มการกระจายลงทุนในสินทรัพย์ตามแนวการลงทุนแบบ Yield Play เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการกระจายการลงทุนมากที่สุด (Diversification Benefits) เศรษฐกิจและผลประกอบการสหรัฐฯ ยังแกร่ง จับตาตัวเลขไตรมาสที่ 2 รูปที่ 2 ตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP, %QoQ) l Source : Bloomberg เดือนที่ผ่านมา ตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP, เบื้องต้น) ไตรมาสที่ 1 ขยายตัว 3.2% (QoQ) สูงกว่าคาดไว้ที่ 2.0% (QoQ) เช่นเดียวกับตัวเลข ISM Manufacturing PMI เดือนมีนาคม อยู่ที่ระดับ 55.3 จุด ตามลำดับ ซึ่งการยืนเหนือระดับ 50.0 จุด สะท้อนมุมมองการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ตัวเลข ISM Manufacturing PMI เดือนเมษายน ปรับตัวลงมาที่ 52.8 จุด ส่วนผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ของปี โดยส่วนใหญ่ยังเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ หนุนดัชนี S&P 500 และ Nasdaq แตะระดับ All-time High ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ตัวเลขภาคแรงงานยังแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) อยู่ในระดับต่ำที่ 3.8% สอดคล้องกับตลาดอสังหาฯ ที่ตัวเลขรายงานใบอนุญาตสร้างบ้าน (Building Permit) และที่อยู่อาศัยเริ่มสร้าง (Building Permits) ยังขยายตัว เช่นเดียวกับยอดขายบ้านใหม่ (New Home Sales) อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ยังไม่มีสัญญาณการปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง โดยอยู่ที่ระดับ 2.0% (YoY) เป็นระดับที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ FINNOMENA Investment Team มองว่าสภาพเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 มีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นทั่วโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับมุมมองด้านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยตลอดปี 2019 ซึ่งส่งผลดีต่อการลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม การที่นักวิเคราะห์เริ่มปรับคาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ส่งผลให้มีความเสี่ยงหากตัวเลขทางเศรษฐกิจและผลประกอบการประกาศออกมาต่ำกว่าคาด ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ยุโรปฟื้นพร้อมความคาดหวัง รูปที่ 3 CITI Economic Surprise Index, ZEW Eurozone Economic Sentiment l Source : Bloomberg ด้วยการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความคืบหน้าไปในทางที่ดี ประกอบกับข้อตกลงเบื้องต้นที่สหภาพยุโรปเห็นชอบต่อการเลื่อนกำหนดการแยกตัวของสหราชอาณาจักร (Brexit) ออกไป ส่งผลให้เริ่มมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นของยุโรป หลังถูกกดดันด้วยความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและภายในมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนี ZEW Euro Economic Sentiment สามารถปรับตัวขึ้นยืนเหนือระดับ 0 จุด เป็นครั้งแรกในรอบ 12 เดือน โดยออกมาที่ 4.5 จุด สอดคล้องกับการปรับคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 2019 ขึ้น เช่นเดียวกับดัชนี CITI Economic Surprise Index ที่เป็นการเปรียบเทียบตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่ประกาศออกมากับคาดการณ์ เริ่มกลับมาฟื้นตัวเช่นเดียวกันแต่อยู่ในระดับต่ำกว่า 0 ล่าสุดขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -22.40 จุด แสดงว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจยังประกาศออกมาต่ำกว่าคาด แต่มีแนวโน้มที่ดีกว่าช่วงต้นปี แม้ตลาดหุ้นยุโรปจะฟื้นตัวมากว่า 15.8% พร้อมการปรับประมาณการผลประกอบการจากนักวิเคราะห์ แต่ FINNOMENA Investment Team ยังติดตามผลกระทบของความเสี่ยงจากประเด็นการค้า และ Brexit ต่อเศรษฐกิจและผลประกอบการบริษัทในยุโรป โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม Healthcare และ Consumer Staples ที่ดัชนีปรับตัวขึ้นได้มากกว่าดัชนีของตลาด ตามความคาดหวังต่อผลประกอบการของนักลงทุนซึ่งมีความเสี่ยงที่ผลประกอบการอาจถูกผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ประกาศออกมาต่ำกว่าที่คาดกันไว้ การค้าโลกซบเซาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชีย การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน (GDP) ไตรมาส 1 อยู่ที่ 6.4% (YoY) สูงกว่าคาดที่ 6.3% (YoY) สอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Politburo) แสดงท่าทีที่อาจลดการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง โดยจะกลับมาให้ความสำคัญต่อนโยบายจัดการภาระหนี้ของระบบเศรษฐกิจ (Deleverage) ทั้งนี้คาดว่าจะยังคงมีการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นระยะเพื่อประคองภาพรวมตลาดก่อนเข้าสู่งานฉลองครบรอบ 70 ปี การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางด้านเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของจีนยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว นอกจากนี้มูลค่าส่งออกของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ยังคงหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเป็นผลจากประเด็นการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีเพียงการส่งออกของประเทศจีนที่ขยายตัวได้ 14.2% (YoY) ในเดือนมีนาคม ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่าเป็นผลของเทศกาลตรุษจีน รูปที่ 4 ภาคส่งออกจีนฟื้นตัวได้ในเดือนมีนาคม แม้ตัวเลขของคู่ค้าหลักในเอเชียยังคงหดตัว l Source : Bloomberg ด้านผลประกอบการบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเอเชีย ประจำไตรมาสที่ 1 ชะลอตัวตามที่คาดไว้ ซึ่ง Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) บริษัทผู้ผลิต Semiconductor รายใหญ่ของโลก รายงานผลกำไรหดตัว 34.5% (YoY) ขณะที่ Samsung Electronics ซึ่งมีขนาดมูลค่าตามราคาตลาดมากที่สุดในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) เผยกำไรสุทธิลดลงถึง 49.7% (YoY) ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ เนื่องจากราคาและความต้องการชิปหน่วยความจำลดลงเช่นเดียวกับยอดขายโทรศัพท์ (Galaxy) FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคเอเชียตลอดช่วงไตรมาสที่ 1 ยังส่งสัญญาณการชะลอตัว โดยเฉพาะตัวเลขการส่งออกที่เป็นไปตามการค้าโลกที่ซบเซาอย่างชัดเจน ด้านผลประกอบการของหลายบริษัทโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ยังต้องติดตามแนวโน้มทิศทางเศรษฐกิจ สัญญาณการฟื้นตัว และผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีนี้โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณือิเล้กทรอนิกส์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการค้าโลก เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังซบเซา แม้ BOJ กระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ -0.1% และมีแผนคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำไปอีกอย่างน้อย 1 ปี พร้อมคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางญี่ปุ่นจนถึงปี 2022 เป็นอย่างน้อย รวมถึงแสดงความกังวลต่อผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นเวลานานกำลังทำให้ธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหาในการดำเนินงาน ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production, เบื้องต้น) เดือนมีนาคม หดตัว 0.9% เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออก เดือนมีนาคม ที่ยังหดตัว 2.4% (YoY) ซื่งอาจส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น (GDP) ในระยะต่อจากนี้ รูปที่ 5 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) l Source : Bloomberg แม้ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่สดใส แต่แผนการเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงผ่านกองทุน ETF และพันธบัตรรัฐบาล เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อเป็นผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (NK225, TOPIX) ไม่ปรับตัวลงอย่างมากตามแนวโน้มพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ด้วยภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี รวมถึงตัวเลข Nikkei Japan Manufacturing PMI เดือนเมษายน อยู่ที่ 49.5 จุด ต่ำกว่า 50.0 จุด สะท้อนมุมมองเศรษฐกิจหดตัวในช่วง 6 -12 เดือนข้างหน้า FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าแม้จะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางอย่างต่อเนื่อง แต่มีความเป็นไปได้น้อยที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวในระยะเวลาอันใกล้นี้ คาดเงินทุนไหลเข้าตลาดไทย หลัง MSCI เพิ่มสัดส่วนหุ้นไทยในดัชนี รูปที่ 6 รายงานมูลค่าสินค้าส่งออกไทย 10 อันดับแรก l Source : กระทรวงพาณิชย์ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี ตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก สวนทางกับประมาณการเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นผลจากวัฏจักรเศรษฐกิจและการข้อพิพาททางการค้า ส่งผลการค้าทั่วโลกชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และ Semiconductor ซึ่งประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งในสายการผลิต ผลกระทบดังกล่าวสะท้อนผ่านมูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 1 ซึ่งหดตัว 1.64% (YoY) เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้าที่ลดลง 1.20% (YoY) ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารโลกต่างปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2019 ลงเหลือ 3.8% เนื่องจากผลกระทบจากการค้าโลกที่ซบเซา นอกจากนี้ยังแสดงกังวลต่อทิศทางการเมืองไทยโดยเฉพาะระยะเวลาการจัดตั้งรัฐบาลอาจนานกว่าที่คาด ส่งผลเสียต่อการเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับโครงการของภาครัฐ และความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน แต่ตลาดหุ้นไทยยังมีลุ้นจากเม็ดเงินต่างชาติ บริษัท MSCI มีกำหนดการทบทวนสัดส่วนหุ้นไทยในดัชนี MSCI Emerging Market โดยเพิ่มน้ำหนัก NVDR เข้าคำนวณในเดือนพฤษาคมนี้ คาดปรับเพิ่ม 0.5% จากเดิม 2.5% สู่ระดับ 3.0% โดยนักวิเคราะห์คาดจะมีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทยประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท และจะเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่และตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤษาคมนี้ FINNOMENA Investment Team ยังแนะนำคงสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แม้ทิศทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวจากปัจจัยภายนอก แต่ยังมีการบริโภคภายในและการท่องเที่ยวยังเป็นแรงหนุนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่การเพิ่มสัดส่วนหุ้นไทยในดัชนี MSCI Emerging Market ส่งผลให้มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยนับเป็นปัจจัยหนุนในระยะต่อจากนี้ แนวโน้มดอกเบี้ยขาลง หนุนลงทุน Yield Play ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลาที่เหลือของปียังมีความเสี่ยงต่อการชะลอตัวเนื่องจากการค้าที่ซบเซา ซึ่งสะท้อนผ่านการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก (GDP) จาก IMF ซึ่งผลจากการชะลอตัวดังกล่าวทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มมีท่าทีผ่อนคลายทางการเงิน (Dovish) เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจอีกครั้ง ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แสดงท่าที Dovish ในการประชุมเดือนมีนาคม โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และมีมุมมองไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ พร้อมเตรียมยุตินโยบายลดขนาดงบดุลในไตรมาสที่ 4 ของปี เช่นเดียวกับผลการประชุม กนง. ที่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.75% หลังภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ รูปที่ 7 ส่วนต่างระหว่างอัตราการปันผลของกองทุนอสังหาฯ และ REITs และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี | ที่มา : Bloomberg FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนในช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจ (Yield Play Theme) อาทิเช่น ทองคำ กองทุนอสังหาฯ และ REITs เนื่องจากส่วนต่างระหว่างอัตราการปันผลของกองทุนอสังหาฯ และ REITs และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Bond Yield) อายุ 10 ปี ยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการมีสัดส่วนลงทุนในพอร์ตลง ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวและประเด็นการค้าส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกมีท่าทีคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปในช่วงเวลาที่เหลือของปี โมเดลพอร์ตการลงทุนแนะนำของ FINNOMENA สำหรับโมเดลพอร์ตการลงทุน GAR GIF และ GCP ปัจจุบันมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ระดับ 20% มีสัดส่วนของตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกในสัดส่วนที่สูงอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งเป็นการสร้าง Portfolio Immunity ให้กับพอร์ตการลงทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่พอร์ต TOP5 ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงสูงที่สุดของ FINNOMENA PORT มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพียง 40% ซึ่งเป็นระดับการถือครองกองทุนหุ้นต่ำที่สุดตั้งแต่จัดตั้งพอร์ตการลงทุนมา FINNOMENA Investment Team มองว่าพอร์ตการลงทุนทั้ง 4 นั้นสามารถรับมือความผันผวน และ สร้างผลตอบแทนตามแนวการลงทุนแบบ Yield Play ได้เหมาะสมแล้ว ในส่วนของโมเดล Goal และ 1st Million FINNOMENA Investment Teamยังคงพอร์ตการลงทุนตาม Black Litterman Asset Allocation Model เช่นเดิม โดยแนะนำให้นักลงทุนทำการ DCA การลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน และ FINNOMENA จะมีการแจ้งเตือนให้มีการ Rebalance ทำการซื้อเพิ่มในยามตลาดหุ้นตกลง และขายออกในยามตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 2 ครั้ง โดยสรุป กลยุทธ์การลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2562 จากภาพรวมเศรษฐกิจและผลประกอบการที่ยังชะลอตัว ประกอบกับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำ FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำเข้าลงทุนตามสัดส่วนในพอร์ตที่ Underweight ตราสารทุน โดยเน้นการกระจายการลงทุนตามแนวทางการลงทุนแบบ Yield Play และรอจังหวะเข้าลงทุนหากดัชนีราคาปรับลดลงมามาก ๆ หรือปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มผลประกอบการกลับมาดีขึ้น Global Absolute Return (GAR) Global Income Focus (GIF) Global Conservative Port (GCP) TOP5 GOAL Portfolio 1st Million Portfolio FINNOMENA Investment Team คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: 1stM Advance Article FINNOMENA CHANNEL FINNOMENA PORT FINNOMENA PORT Strategy Video GAR GCP GIF Goal Long Content Product Info Top5 Video แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปการประกาศงบจาก 3 บริษัท Tech ชั้นนำของโลก! [Amazon, Microsoft, Facebook] - FINNOMENA ณ ช่วงนี้ บริษัท Tech ชื่อดังได้ประกาศการสรุปงบของไตรมาสแรกของปีกันแล้วนะคะ เราจึงมารวบรวมข้อมูลการสรุปงบจาก 3 บริษัทดัง ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Microsoft และ Facebook กันให้อ่านค่ะ 4 พ.ย. 2564 ณ ช่วงนี้ บริษัท Tech ชื่อดังได้ประกาศการสรุปงบของไตรมาสแรกของปีกันแล้วนะคะ เราจึงมารวบรวมข้อมูลการสรุปงบจาก 3 บริษัทดัง ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Microsoft และ Facebook ให้อ่านกันค่ะ 1. Amazon Amazon ได้ออกมาประกาศสรุปผลประกอบการในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งตัวเลขโดยรวมได้สูงกว่าค่าที่นักวิเคราะห์ได้ออกมาคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า แต่ทางบริษัทก็ได้ออกมาชี้แจงถึงตัวเลขที่จะออกมาในไตรมาสต่อมา ที่อาจออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้ การประกาศงบของบริษัท Amazon ในไตรมาสแรกของปี 2019 รายได้บริษัท: บริษัทรายงานที่ 59.7 พันล้านดอลล่าร์ และนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ที่ 59.68 พันล้านดอลล่าร์ แต่เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปีที่แล้ว บริษัทได้รายงานผลไว้ที่ 51.04 พันล้านดอลล่าร์ กำไรต่อหุ้น (GAAP): บริษัทรายงานไว้ที่ 7.09 ดอลล่าร์ ซึ่งการคาดการณ์ของ Wall Street อยู่ที่ 4.67 ดอลล่าร์ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในไตรมาสแรก บริษัทได้รายงานว่าค่ากำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 3.27 ดอลล่าร์ การคาดการณ์ของบริษัทเกี่ยวกับรายได้บริษัทในไตรมาสสอง: บริษัทได้ชี้แนวว่ารายได้คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 59.5 พันล้าน จนถึง 63.5 พันล้านดอลล่าร์ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จาก Wall Street อยู่ที่ 62.37 พันล้านดอลล่าร์ ในขณะเดียวกัน ในช่วงไตรมาสที่สองของปีที่แล้ว Amazon มีรายได้อยู่ที่ 52.9 พันล้านดอลล่าร์ การคาดการณ์ของบริษัทเกี่ยวกับค่ากำไรต่อหุ้นในไตรมาสสอง: ถึงแม้ Amazon ไม่ได้ชี้แนะเกี่ยวกับกำไรโดยรวม แต่ว่ากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit) คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 2.6 พันล้าน ถึง 3.6 พันล้านดอลล่าร์ ซึ่งนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่ากำไรจากการดำเนินงานของ Amazon จะอยู่ที่ 4.2 พันล้านดอลล่าร์ และค่ากำไรต่อหุ้นจะอยู่ที่ 6.34 ดอลล่าร์ โดยในปีที่แล้วของช่วงไตรมาสสอง บริษัทได้ประกาศว่ากำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 3 พันล้านดอลล่าร์ และมีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 5.07 ดอลล่าร์ โดยราคาปิดการซื้อ-ขายหุ้นของ Amazon ขึ้นมาเพียง 0.50 ดอลล่าร์ หรือน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ราคา 1,902.25 ดอลล่าร์ รายได้เติบโตจาก AWS ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ผลประกอบการของ Amazon ส่วนใหญ่มาจาก Amazon Web Services (AWS) ธุรกิจประเภท cloud-computing ที่ช่วยให้บริษัทเติบโตได้ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ถ้าหากรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ การขายจาก AWS สามารถโตถึง 42 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 7.7 พันล้านดอลล่าร์จากไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ซึ่งจะเห็นว่า AWS เติบโตถึงประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2017 AWS รายงานว่ามีกำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit) อยู่ที่ 2.2 พันล้านดอลล่าร์ สูงขึ้นถึง 59 เปอร์เซ็นต์จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่ง AWS นับว่าเป็นแหล่งที่สร้างกำไรจากการดำเนินงานของ Amazon ถึงครึ่งนึงของไตรมาสแรก อีกทั้งบริษัทได้รายงานยอดขายถึง 35.8 พันล้านดอลล่าร์ ขึ้นมาประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์จากช่วงไตรมาสแรกของปีที่แล้ว แต่ว่ารายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นมาเกือบครึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน อยู่ที่มูลค่า 2.3 พันล้านดอลล่าร์ การชะลอตัวลงของธุรกิจ Amazon ประเภทอื่นๆ ถึงแม้การประกาศงบของ Amazon โดยรวมจะดูแข็งแรงกว่าที่ใครหลายๆ คาดการณ์ไว้ เพียงแต่ว่าธุรกิจบางประเภทของ Amazon ก็ยังมีการชะลอตัวอยู่บ้าง เช่น ธุรกิจด้านโฆษณาที่มีการเติบโตเพียง 36 เปอร์เซ็นต์จากไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าของช่วงระยะเวลาอื่นๆ ของธุรกิจโฆษณาของ Amazon หรือธุรกิจด้าน E-commerce ที่โตเพียง 12 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หรือ 29.5 พันล้านดอลล่าร์ 2. Microsoft ต่อมา Microsoft ได้ประกาศงบเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่ง Cloud ของ Microsoft มีการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ และรายได้ของบริษัทสูงขึ้นถึง 14 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสแรกของปี ส่งผลให้หุ้นของบริษัทขึ้นมาประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ และปัจจัยการเติบโตของบริษัทส่วนหนึ่งมาจากการหนุนของผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทเช่น Microsoft Azure ที่เป็น Cloud-computing platform และ Office 365 ธุรกิจด้าน Productivity suite ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่สำคัญสำหรับ Microsoft หลังจากที่ธุรกิจ Windows PCs ได้ค่อยๆ เริ่มหดตัวลง กำไรจากหุ้นสามารถทำให้มูลค่าของบริษัทขึ้นไปถึง 1 ล้านล้านดอลล่าร์ ทำให้เป็นบริษัทที่ 3 รองจาก Apple และ Amazon ที่สามารถแตะถึงมูลค่านี้ได้ การประกาศงบของบริษัท Microsoft รายได้ของ Microsoft: 30.6 พันล้านดอลล่าร์ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ของ Wallstreet ที่คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 29.86 พันล้านดอลล่าร์ ซึ่งเติบโต 14 เปอร์เซ็นต์ กำไรต่อหุ้น (GAAP): 1.14 ดอลล่าร์ต่อหุ้น เมื่อเทียบกับมูลค่าการคาดการณ์ที่ 1 ดอลล่าร์ รายได้สุทธิ: 8.8 พันล้านดอลล่าร์ สูงขึ้นมาถึง 19 เปอร์เซ็นต์จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อดูในส่วนของรายได้ธุรกิจประเภทต่างๆ ของ Microsoft ในส่วน Commercial cloud ของบริษัท คิดเป็น 9.6 พันล้านดอลล่าร์ สูงขึ้นถึง 41 เปอร์เซ็นต์ สำหรับธุรกิจประเภท Productivity and business processes ที่มีรายได้อยู่ที่ 10.2 พันล้านดอลล่าร์ ขึ้นมา 14 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างปีต่อปี และธุรกิจประเภท Personal computing ที่รวมไปถึง Windows, Xbox และ Surface สูงขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ นับเป็น 10.7 พันล้านดอลล่าร์ 3. Facebook การประกาศงบของ Facebook ชี้ให้เห็นว่าผลประกอบการของบริษัทสูงกว่ามูลค่าที่คาดการณ์ไว้ การประกาศงบของบริษัท Facebook กำไรต่อหุ้น: 85 เซ็นต์ต่อหุ้น (เทียบไม่ได้กับการคาดการณ์ เพราะเจอค่าปรับจาก FTC ซึ่งเป็นการจ่ายเงินครั้งเดียว) รายได้: 15.08 พันล้านดอลล่าร์ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์โดย Refinitiv อยู่ที่ 14.98 พันล้านดอลล่าร์ จำนวนผู้ใช้รายวัน: 1.56 พันล้านคน ซึ่งการคาดการณ์จาก FactSet อยู่ที่ 1.56 พันล้านคน จำนวนผู้ใช้รายเดือน: 2.38 พันล้านคน เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของ FactSet ที่วิเคราะห์ว่าจำนวนผู้ใช้รายเดือนอยู่ที่ 2.37 พันล้านคน รายได้ต่อผู้ใช้: 6.42 ดอลล่าร์ เมื่อเทียบกับ 6.39 ดอลล่าร์คาดการณ์โดย FactSet และเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รายได้ต่อผู้ใช้จะอยู่ที่ 5.53 ดอลล่าร์ โตขึ้นมา 16 เปอร์เซ็นต์ การเติบโตของ Stories ตอนนี้บริษัทกำลังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจาก News Feed ads เนื่องจากจะเพิ่มรายได้ทางโฆษณาจากผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท Stories ซึ่ง Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook กล่าวว่าตอนนี้ฟีเจอร์ Stories ของทั้ง Facebook, Messenger หรือ WhatsApp มีจำนวนผู้ใช้งานรายวันอยู่ที่ 500 ล้านคน รวมไปถึง Sheryl Sandberg COO ของ Facebook รายงานว่า ณ ปัจจุบัน บริษัทได้มีผู้ลงโฆษณาทั้งหมด 3 ล้านคนที่ใช้ Stories ในการโฆษณาที่ Instagram, Facebook และ Messenger จึงทำให้ส่วนของ Stories มองว่าเป็นส่วนสำคัญสำหรับโอกาสการเติบโต ซึ่งทาง Facebook มองเห็นโอกาสในการเพิ่มอุปสงค์ (Demand) ในด้าน Stories เพื่อที่จะดึงดูดคนที่จะลงโฆษณาผ่าน Stories และเพิ่มประสิทธิภาพด้าน direct response units การให้ความสำคัญกับ Privacy และ Regulation ของ Facebook Mark Zuckerberg กล่าวไว้ว่าอนาคตของบริษัทจะให้ความสำคัญกับ Privacy (ความเป็นส่วนตัว) เป็นหลัก มีแผนสำหรับระยะเวลา 5 ปีต่อมาหรือยาวนานกว่านั้น โดยมองว่าบริษัทต้องเป็น ‘private, encrypted services’ (บริการที่มีความส่วนตัวและปลอดภัย) รวมไปถึงธุรกิจของ Facebook Marketplace และ ฟีเจอร์ใหม่ของ Instagram ในด้านธุรกิจ E-commerce ที่จะสร้าง Private interactions สำหรับการชำระเงิน สำหรับฟีเจอร์ใหม่นี้จะช่วยในเรื่องของยอดขาย และสามารถให้แต่ละธุรกิจสามารถลงทุนกับค่าโฆษณาใน Facebook ได้อีกด้วย อยากลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ทำอย่างไร? พอร์ต FINNOMENA Best-in-Class Technology จะเน้นลงทุนในกองทุน Feeder Fund ที่กองทุนหลักลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก คัดมาเน้นๆ 3 กองทุนที่ดีที่สุด หากสนใจ คลิกที่ https://www.finnomena.com/bic-tech-private-banking/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย ที่มา: https://www.businessinsider.com/amazon-q1-2019-earnings-aws-advertising-retail-prime-2019-4 https://www.businessinsider.com/microsoft-earnings-fiscal-q3-revenue-profit-2019-4 https://www.cnbc.com/2019/04/24/facebook-earnings-q1-2019.html แท็ก: Basic BIC BIC Tech Picture Slide Product Recommend Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วงการกาแฟสั่นสะเทือน... เมื่อ Luckin Coffee คู่แข่ง Starbucks วางแผนจะปล่อย IPO ที่สหรัฐฯ - FINNOMENA เทรนด์กาแฟกำลังมาแรง แม้กระทั่งที่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน… เหมือนอย่าง Luckin Coffee แบรนด์กาแฟน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานเมื่อปีสองปีที่แล้ว ที่พร้อมท้าชนกับกาแฟแบรนด์ชื่อดังอย่าง Starbucks และประกาศพร้อมที่จะขาย IPO ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 25 เม.ย. 2562 เมื่อเทรนด์กาแฟกำลังมาแรง แม้กระทั่งที่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน… เหมือนอย่าง Luckin Coffee แบรนด์กาแฟน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานเมื่อปีสองปีที่แล้ว ที่พร้อมท้าชนกับกาแฟแบรนด์ชื่อดังอย่าง Starbucks และประกาศพร้อมที่จะขาย IPO ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562) IPO ครั้งนี้ของ Luckin Coffee แบรนด์กาแฟสัญชาติจีน การปล่อย IPO ครั้งนี้ของ Luckin Coffee ภายใต้ชื่อว่า “LK” ในตลาด Nasdaq คาดว่ากระดมทุนให้ได้ประมาณ 500 ล้าน ถึง 800 ล้านดอลล่าร์ในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยตอนนี้ยังไม่ได้ระบุจำนวนหุ้นที่กำหนดขาย ทั้งนี้การขาย IPO ของ Luckin Coffee มี underwriter อยู่ทั้งหมด 4 เจ้าดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น CICC หรือ Credit Suisse รวมไปถึง Haitong International และ Morgon Stanley ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นการขายหุ้นประเภท IPO โดยบริษัทสัญชาติจีนที่ใหญ่ที่สุดในปีนี้ มาทำความรู้จักกับ Luckin Coffee ผู้ให้กำเนิดแบรนด์กาแฟ Luckin Coffee มีชื่อว่า Qian Zhiya ซึ่งเป็น Chief Executive พร้อมกับ senior executive อีกสองท่าน และผู้สนับสนุนยักษ์ใหญ่จากบริษัทสัญชาติสิงคโปร์อย่างบริษัท GIC รวมไปถึงนักลงทุนท่านอื่นๆ อีกด้วย ถึงแม้ Luckin Coffee จะมีการขยายสาขาอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ล่าสุดมีจำนวน 2,370 สาขา ทั่ว 28 เมืองในประเทศจีน และมีแผนการจะเปิดสาขาใหม่อีก 2,500 แห่ง เพื่อจะเป็นแบรนด์ร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนพร้อมจะมาแทนที่ Starbucks และพร้อมขยายสาขาเพื่อตอบรับจำนวนการบริโภคกาแฟของคนจีนที่คาดว่าจะขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ ณ ปัจจุบัน Luckin Coffee ยังอยู่ในสภาพขาดทุนอยู่ และคาดว่าขาดทุนอีกเรื่อยๆ ในอนาคต ทางร้านเริ่มต้นด้วยการขาดทุน และเมื่อปีพ.ศ. 2561 บริษัทรายงานการขาดทุนด้วยมูลค่า 125.27 ล้านดอลล่าร์ และเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา มูลค่าการขาดทุนอยู่ที่ 85.3 ล้านดอลล่าร์ ทว่าต้นทุนในการสร้างลูกค้า (Acquisition cost per new customer) ของ Luckin Coffee ได้มีการปรับลดลงจากราคา 103.5 หยวนในไตรมาสที่ 1 ของปีพ.ศ. 2561 มาอยู่ที่ราคา 16.9 หยวนของไตรมาสแรกปีพ.ศ. 2562 ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตของตัวแบรนด์ รวมไปถึงการเพิ่มระดับ Brand recognition จากผู้บริโภคเช่นกัน ทั้งนี้ก็ต้องรอดูสถานการณ์ก่อนว่าการขาย IPO ในเดือนพฤษภาคมครั้งนี้ของ Luckin Coffee บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติจีนจะสามารถขายหุ้นได้ตามเป้าหมายที่คาดหวังหรือไม่ แล้วจะสามารถโค่นยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks ผู้ครองพื้นที่ตลาดกาแฟไปทั่วโลกได้หรือไม่ ที่มา: https://www.businessinsider.com/starbucks-chinese-rival-luckin-coffee-files-united-states-ipo-2019-4 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หาหุ้นพลิกฟื้นทำกำไรให้ยั่งยืน ... ทำไม BEAUTY จึงกลายเป็นหุ้น “นางฟ้าตกสวรรค์” - FINNOMENA ช่วงที่ผ่านมาหุ้นเติบโตหลายตัวร่วงกันอย่างกับใบไม้ร่วง โดยเฉพาะหุ้นยอดฮิตที่เกี่ยวกับความสวยความงาม หุ้นตัวที่จะขอบอกเล่าให้ฟังในบทความนี้ก็คือ BEAUTY กับราคาที่เคยขึ้นไปสูงสุดเกือบ 30 บาทต่อหุ้น มาในปัจจุบันราคาเหลือราว 6 บาทกว่า ... อะไร และทำไม BEAUTY จึงกลายเป็นหุ้น “นางฟ้าตกสวรรค์” มาหาคำตอบกันดีกว่าครับ 30 พ.ค. 2562 ช่วงที่ผ่านมาหุ้นเติบโตหลายตัวร่วงกันอย่างกับใบไม้ร่วง โดยเฉพาะหุ้นยอดฮิตที่เกี่ยวกับความสวยความงามอย่าง BEAUTY DDD ซึ่งต้องบอกว่าร่วงจนทำให้ใครหลายคนต้องตกใจ และนี่ถือเป็นวิกฤตของราคาหุ้นอย่างไม่ต้องสงสัย หุ้นตัวที่จะขอบอกเล่าให้ฟังก็คือ BEAUTY กับราคาที่เคยขึ้นไปสูงสุดเกือบ 30 บาทต่อหุ้น มาในปัจจุบันราคาเหลือราว 6 บาทกว่า … อะไร และทำไม BEAUTY จึงกลายเป็นหุ้น “นางฟ้าตกสวรรค์” มาหาคำตอบกันดีกว่าครับ ประการแรก “ย้อนดูผลการดำเนินงานของ BEAUTY” เมื่อเราย้อนดูผลการดำเนินงานของ BEAUTY เราจะพบว่า ในช่วงแรก ๆ ของการเติบโต หุ้นตัวนี้สร้างรายได้ และกระแสเงินสดได้ดี เติบโตมาโดยตลอด จากภาพจะเห็นได้ว่า รายได้ของ BEAUTY เติบโตอย่างรวดเร็วจาก 777.65 ล้านบาทในปี 2555 เติบโตขึ้นมาเป็นกว่า 3,792 ล้านบาทในปี 2561 และที่สำคัญกำไรเติบโตจาก 173.70 ล้านบาท มาเป็น 1,156.67 ล้านบาท เรียกได้ว่า กำไรกับรายได้ เติบโตอย่างน่าประทับใจ ในขณะที่ความถูกแพงของหุ้น หรือ PE ก็โตจาก 27.63 เท่า ไปสูงสุดที่ 53.51 เท่า และขนาดของกิจการ หรือ Market Cap โตจาก 4,800 ล้าน ขึ้นไปสูงสุดที่ราว 6.2 หมื่นล้านบาท !! แล้วทำไม BEAUTY จึงตกลงมาอย่างรวดเร็ว จากขนาดกิจการ 6.2 หมื่นล้าน ลงมาเหลือในปัจจุบัน สาเหตุเป็นเพราะ BEAUTY เติบโตช้าลง โดยในปี 2560 ทำยอดขายได้ 3,735 ล้านบาท มาในปี 2561 ยอดขายทำได้ 3,792 ล้านบาท โตขึ้นนิดเดียว แต่กำไรกลับลดลงจาก 1.2 พันล้าน เหลือเพียง 1.1 พันล้านในปีล่าสุด และตลาดก็ลงโทษหุ้นตัวนี้อย่าง “รุนแรง” ด้วยการทำให้ราคาขยับปรับลดลงหลายเท่าตัว ประการที่สอง “สาเหตุที่ยอดขายปรับตัวลง” มีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า “นักท่องเที่ยวจีน” เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ BEAUTY หากมีอะไรมากระทบกับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ ก็จะกระทบกับราคาหุ้นอย่างช่วยไม่ได้ โดยในปี 2561 มีเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนลดจำนวนลง และที่สำคัญทาง อ.ย. ของประเทศจีนเริ่มเข้มงวดกับการนำเข้าสำอางต่างประเทศเข้าประเทศจีน การหิ้วของไปขายก็จะถูกตรวจสอบมากขึ้น และนั่นทำให้ยอดขายที่เคยเติบโต “ลดลง” อย่างมีนัยยะสำคัญเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ทำให้ BEAUTY แก้เกมด้วยการปรับสินค้าไปขายออนไลน์ แต่ก็ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลย และคงต้องใช้เวลาในการเก็บออเดอร์พอสมควร เพราะการเข้าไปอยู่ในสมรภูมิใหม่ต้องใช้เวลา สิ่งที่กิจการปรับตัวอีกประการก็คือ การนำสินค้าไปของ อ.ย.จีน ซึ่งก็เริ่มทยอยได้ แต่ก็ถือว่ายังทำได้ไม่กี่ไอเทม แต่เรื่องแบบนี้ต้องให้เวลาเขาซักหน่อย ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … หุ้น BEAUTY นั้นพึ่งพิงลูกค้าจากจีน เมื่อจีนสะดุด เขาก็สะดุดตามไปด้วย หุ้นอะไรที่พึ่งพิงลูกค้าหลัก เราก็ต้องติดตามว่า หากมีอะไรไม่ชอบมาพากลก็จะส่งผลกระทบต่อกิจการที่เราลงทุนได้ ต่อจากนี้ต้องดูวิธีการแก้เกมของเขา และค่อย ๆ ติดตามกันต่อไปว่า BEAUTY จะกลับมาได้เหมือนเดิมหรือไม่ #นายแว่นลงทุน #นายแว่นลงทุน **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย >> https://www.finnomena.com/port/naiwaen คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: Article Basic BEAUTY GURUPORT Product Recommend Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เก็งงบไตรมาส 1 โดย ประกิต สิริวัฒนเกตุ - FINNOMENA ได้เวลาเข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบไตรมาส 1 ปี 2562 จากการรวบรวมการ Preview ของแต่ละสำนักวิเคราะห์ Consensus ได้การคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการในเบื้องต้นดังนี้ (เป็นการคาดการณ์ในเบื้องต้น ยังมีความเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา) 19 เม.ย. 2562 (ด้านล่างมีคลิป Video) เทศกาลสงกรานต์ผ่านพ้นไปแล้ว ได้เวลาเข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบไตรมาส 1 ปี 2562 ถัดจากนั้นก็จะเป็นการเปิดเทอม การจราจรเตรียมกลับมาติดนรกกันอีกครั้ง จากการรวบรวมการ Preview ของแต่ละสำนักวิเคราะห์ Consensus ได้การคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการในเบื้องต้นดังนี้ (เป็นการคาดการณ์ในเบื้องต้น ยังมีความเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา) กลุ่มที่คาดว่าจะมีผลประกอบการดีทั้ง YoY และ QoQ เกษตร GFPT ยานยนต์ SAT ธนาคาร KKP ค้าปลีก GLOBAL CPN รับเหมา STEC CK ITD TRC TTCL ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ DELTA KCE พลังงาน PTG PRM SCN IRPC การเงิน MTC SAWAD AEONTS KTC อาหาร CPF CBG สุขภาพ BDMS RJH THG โรงแรม CENTEL MINT ERW สื่อสาร DTAC JAS THCOM TRUE อสังหา QH บันเทิง MACO พลังงานทดแทน GUNKUL SPCG SSP TPCH BCPG ขนส่ง AOT AAV THAI BEM JWD สาธารณูปโภค EASTW CKP กลุ่มที่คาดว่าจะมีผลประกอบการดี YoY แต่แย่ลง QoQ ธนาคาร TCAP ค้าปลีก BJC CPALL HMPRO ROBINS COM7 รับเหมา STPI สินค้าอุปโภค TNR ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ HANA SVI พลังงาน BANPU อาหาร TKN สุขภาพ MEGA โรงพยาบาล BCH PR9 อสังหา AP LPN ORI PSH SC SIRI SPALI ANAN กลุ่มที่คาดว่าจะมีผลประกอบการแย่ลง YoY แต่ดีขึ้น QoQ เกษตร TVO ธนาคาร BBL KBANK SCB ค้าปลีก BEAUTY สินค้าอุปโภค DDD พลังงาน PTT PTTEP BCP SPRC TOP อาหาร TU SAPPE BGC โรงพยาบาล BH CHG สื่อสาร ADVANC ปิโตรเคมี IVL PTTGC VNT อสังหา LH บันเทิง BEC พลังงานทดแทน DEMCO EA สาธารณูปโภค BGRIM BPP EGCO GLOW GPSC GULF RATCH กลุ่มที่คาดจะมีผลประกอบการแย่ลงทั้ง YoY และ QoQ ธนาคาร BAY KTB LHFG TISCO TMB ค้าปลีก MAKRO SYNEX สินค้าอุปโภค KAMART อาหาร OSP นิคม AMATA ขนส่ง BTS กลยุทธ์การเก็งกำไรผลประกอบการ ให้เน้นไปที่กลุ่มที่จะมีผลประกอบการดีขึ้น YoY และ QoQ และหลีกเลี่ยงกลุ่มที่จะมีผลประกอบการแย่ทั้ง YoY และ QoQ ยังมองตลาดจะแรลลี่หลังสงกรานต์แรลลี่ยาวไปจนถึงสิ้นเดือน เม.ย. SET Index มีโอกาสแตะ 1,680 จุด มองรับเหมา STEC ปิโตรเลียม PTTEP โรงไฟฟ้า BGRIM สื่อสาร ADVANC อสังหา ANAN เป็นตัวเด่น เช่นเดียวกับกลุ่มที่คาดว่าผลประกอบการไตรมาส 1 จะดี GLOBAL CPF GFPT STEC CK PTG PRM IRPC CBG BBL MTC SAWAD KKP KTC BDMS RJH DTAC JAS KCE QH AOT CENTEL MINT ERW BCPG ประกิต สิริวัฒนเกตุ นักกลยุทธ์การลงทุน ดูเนื้อหาบทความนี้ในคลิป FINNOMENA LIVE ย้อนหลังได้ที่นี่ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โลกกำลังจะเปลี่ยนไปตลอดกาล: เติบโตไปกับ Megatrend ของโลก ด้วย CIMB-PRINCIPAL GINNO - FINNOMENA ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเทคโนโลยีกำลังเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตเราอย่างต่อเนื่อง จะดีกว่าไหมถ้าเราเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากเรื่องทั้งหมดเหล่านี้? กองทุน CIMB-PRINCIPAL GINNO จะลงทุนในบริษัทระดับโลกที่สร้างนวัตกรรมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Megatrend 24 พ.ย. 2563 เราเสียเวลาให้ YouTube, Facebook, Netflix หรือ Twitter วันหนึ่งกี่ชั่วโมง? เราเสียเงินไปกับค่ารักษาพยาบาลให้กับทั้งตัวเราเองหรือคนที่เรารักปีนึงเท่าไร? แล้วเรากำลังกลัวไหมกับนวัตกรรมหุ่นยนต์ต่าง ๆ จะเข้ามาแย่งงานเรา? จะดีกว่าไหมถ้าเราเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากเรื่องทั้งหมดเหล่านี้? Tech Company ครองบัลลังก์บริษัทขนาดยักษ์ของโลก รูปที่ 1 บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในโลกปี 2012 และปี 2017| ที่มา: insead.edu ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเทคโนโลยีกำลังเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตเราอย่างต่อเนื่อง โดยเปลี่ยนการใช้ชีวิตรูปแบบเดิมของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง จากการรอรับชมหนังโปรดทางโทรทัศน์แต่ปัจจุบันเราสามารถเลือกสิ่งที่สนใจดูผ่าน YouTube หรือ Netflix ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเมื่อเราอยากทราบวิธีการเดินทางไปยังร้านอาหารชื่อดังที่เมื่อก่อนต้องโทรสอบถามทางให้วุ่น แต่ปัจจุบัน Google Maps ผลิตภัณฑ์ของเครือ Alphabet (บริษัทแม่ของ Google) สามารถให้คำตอบและเลือกวิธีเดินทางที่เหมาะสมที่สุดได้ภายในไม่กี่วินาที ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายได้อย่างมหาศาล ซึ่งเชื่อได้ว่ารูปแบบการให้บริการเหล่านี้จะมีมากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ กระแสตื่นตัวการดูแลรักษาสุขภาพและนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทางการแพทย์ รูปที่ 2 ค่าใช้จ่ายสาธารณสุขประเทศขนาดใหญ่ทั่วโลก| ที่มา : wikipedia ณ ปี 2556 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้คนทั่วโลกอยู่ที่ 10.5% ต่อ GDP แต่คาดการณ์กันว่าในปี 2583 หรืออีก 21 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ต่อ GDP โดยเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยอย่างมาก เช่น Smart Watch ซึ่งคอยติดตามและบันทึกผลรูปแบบการใช้ชีวิตของเราเพื่อปรับให้เหมาะสมกับการมีสุขภาพที่ดี หรือหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ช่วยลดความผิดพลาดของแพทย์ โดยจากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ช่วยเหลือทั้งในแง่ของการเฝ้าระวังก่อนเจ็บป่วยและเราภาพของการรักษาพยาบาล กลุ่มคน Millennials กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริโภคหลักของโลก รูปที่ 3 จำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน Application ใน 60 วินาที| ที่มา: visualcapitalist.com Millennials คือกลุ่มคนที่เกิดช่วงปี 1980-2000 ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่า Echo Boomers เนื่องจากอัตราการเกิดที่สูงมากในช่วงปี 1980-1990 จากการคาดการณ์ว่านับจากปัจจุบันไปอีกประมาณ 6 ปี จำนวนคนของกลุ่ม Millennials จะคิดเป็นครึ่งหนึ่งของคนทั้งโลก และด้วยลักษณะนิสัยและสภาพสังคมในช่วงการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้สามารถประเมินได้ว่าจะเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายสูงมากในช่วงชีวิตวัยทำงาน เนื่องจากระบบโซเชียลมีเดียทำให้สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ได้สะดวกขึ้น โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์หลักที่คนกลุ่มนี้ชอบใช้ก็คือการให้บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี โดยแบรนด์หลักได้แก่ Apple Spotify หรือรวมไปถึงบริษัทเทคโนโลยีที่ต่างค่อยแย่งเวลาหน้าจอผู้ใช้งานให้อยู่บน Platform ของตัวเอง เช่น Facebook หรือ YouTube เราอยากแนะนำให้รู้จักกองทุนที่จะเติบโตไปกับ Megatrend ของโลก อย่าง CIMB-Principal Global Innovation Fund รูปที่ 4 สัดส่วนของสินทรัพย์ที่ลงทุน| ที่มา: CIMB Principal Asset Management iShares Digitalisation UCITS ETF เน้นการลงทุนในบริษัทที่มีรายได้จากการบริการของผ่านระบบ Digital เช่น E-Commerce iShares Automation & Robotics UCITS ETF ลงทุนในบริษัทที่พัฒนาระบบหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ เช่น Artificial Intelligence, Manufacturing Robotics และ Wearable Technology iShares Healthcare Innovation UCITS ETF ลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านการรักษาพยาบาล Principal Millennials Index ETF ลงทุนในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายของคนยุค Millennials เช่น โซเชียลมีเดีย เครื่องแต่งกาย Global X Millennials Thematic ETF เน้นลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ เจาะลึก Top Holding ของทรัพย์สินกันสักนิด รูปที่ 5 กองทุนรวมต่างประเทศที่คาดว่าจะไปลงทุน| ที่มา: CIMB Principal Asset Management ตัวอย่างธุรกิจที่น่าสนใจซึ่งกองทุนจะเข้าไปลงทุน B2W COMPANHIA DIGITAL บริษัท e-Commerce สัญชาติบราซิล ยักษ์ใหญ่ของลาตินอเมริกา ขยายการขายครอบคลุมทุกช่องทาง เช่น Internet, TV และ Catalog เพื่อดึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มให้ครบทุกประเภท ทำธุรกิจแบบครบวงจรไล่ตั้งแต่ขายสินค้า ให้บริการระบบจ่ายเงิน และ Logistic รูปที่ 6 ธุรกิจภายใต้การบริหารของ B2W COMPANHIA DIGITAL| ที่มา: hotsites.b2wdigital.com Xilinx, Inc. ผู้ผลิต Semiconductor รายใหญ่ของสหรัฐฯ โดยชิ้นส่วน Semiconductor เหล่านี้ถูกใช้ในเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์และระบบปฏิบัติการต่างๆ ของบริษัทเทคโนโลยี XILINX กำลังร่วมพัฒนากับ Amazon เพื่อให้ระบบ Cloud ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น บริษัทมีฐานการผลิตครอบคลุมตลาดหลักทั่วโลก ทั้งในสหรัฐฯ ไอร์แลนด์ สิงคโปร์ จีน และอินเดีย รูปที่ 7 Semiconductor ผลิตภัณฑ์จาก XILINX | ที่มา: electronicdesign.com Dexcom, Inc. รูปที่ 8 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง | ที่มา: cdc.gov/diabetes, Dexcom.com ผู้ผลิตเครื่องวัดระดับกลูโคสสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งในปี 2017 สร้างรายได้ถึง 718 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เครื่องมือของบริษัทสามารถทำให้ผู้ป่วยวัดระดับกลูโคสและแชร์ข้อมูลให้แพทย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังอันตรายได้อย่างต่อเนื่อง Wirecard AG รูปที่ 9 รายได้และกำไรของ Wirecard AG เติบโตต่อเนื่อง| ที่มา: finance.yahoo.com, Wirecard AG ให้บริการด้านระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ Mobile Payment และบัตรจ่ายเงิน เป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักของโลกในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดยในปี 2017 มียอดการใช้จ่ายผ่านการให้บริการของบริษัทมากกว่า 1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปี 2014 บริษัทสร้างรายได้ 626 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ปี 2017 รายได้อยู่ที่ 1,535 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นการเติบโตที่ระดับประมาณ 35%/ปี Netflix, Inc. รูปที่ 10 การขยายตัวของ subscribers เวปไซต์ Netflix | ที่มา: statista.com ให้บริการฉายภาพยนตร์และสารคดียอดฮิตของวัยรุ่นไทยและหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมียอดผู้เสียเงินรับชมถึง 137 ล้านคน สร้างรายได้ให้บริษัทมากกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัทยังคงสามารถสร้างคอนเทนต์น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงโมเดลธุรกิจใหม่ที่จะเข้าไปร่วมสร้างคอนเทนต์กับบริษัทในประเทศท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อเจาะฐานผู้รับชมในแต่ละประเทศให้ได้มากขึ้น Square, Inc. รูปที่ 11 แผนการบริษัท Square ในอนาคต | ที่มา: acquiringstrategies.com, Square, Inc. บริษัทด้านการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังขึ้นมามีบทบาทอย่างต่อเนื่องของระบบ Digital Payment และยังให้บริการบัตรเครดิต ซึ่งบริษัทคิดค่าบริการต่ำกว่าธนาคารทั่วไป ซึ่งสามารถตัดเงินจากบัตรผ่านแอปฯ บนสมาร์ตโฟนได้โดยตรง ปัจจุบัน Square ให้บริการในสหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร โดยยังมีเป้าหมายขยายบริการต่างๆ ให้ครอบคลุมระบบการเงินมากยิ่งขึ้น ผู้ก่อตั้งบริษัท Square เป็นคนเดียวกับผู้ก่อตั้งบริษัท Twitter ซึ่งก็คือนาย Jack Dorsey โดยแม้ Square จะมีอายุเพียง 8 ปีแต่เมื่อปี 2017 บริษัทสร้างรายได้มากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ Adidas AG ยักษ์ใหญ่ด้านแบรนด์สินค้า Sportwear ของโลก ซึ่งปรับตัวรับกลุ่มลูกค้ายุค Millennials โดยการเน้นออกแบบสินค้าให้สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยแม้บริษัทจะมีอายุเกือบ 70 ปีแล้วแต่อัตราการเติบโตของรายได้ระหว่างปี 2014-2017 ยังได้ถึง 13%/ปี รูปที่ 12 ยอดขายรองเท้า Adidas ยังโตได้อย่างมั่นคงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง| ที่มา: seekingalpha.com ขนาดที่ค่อนข้างใหญ่มากของบริษัทด้านเทคโนโลยีหลักของโลกจะยังเหลือพื้นที่ให้เติบโตในอนาคตได้หรือไม่? เรามักจะได้ยินว่าบริษัทที่ใหญ่มากแล้วจะสร้างการเติบโตได้ยากขึ้นเนื่องจากไม่สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดใหม่ได้ แต่เมื่อพิจารณากับสถานการณ์ในปัจจุบันที่โลกเปรียบเสมือนดินแดนไร้พรมแดน ธุรกิจสามารถขยายไปยังต่างประเทศได้ง่ายขึ้นมากโดยอาศัยอินเตอร์เน็ต รวมถึงคนมีความเป็นพลเมืองโลกมากขึ้น นั่นคือเมื่อสถานที่หนึ่งบนโลกชอบใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งมาก ย่อมมีโอกาสสูงที่คนอีกซีกโลกก็ชอบสินค้าแนวนั้นเมื่อกัน ตัวอย่างเช่นสินค้าแบรนด์ Apple ที่ออกขายให้ผู้ใช้ทั่วโลกในรูปแบบสินค้าเดียวกัน โดยสรุปแล้วเราจึงเชื่อได้ว่าบริษัทด้านเทคโนโลยีหรือบริษัทที่ปรับตัวเข้ากับสังคมยุคใหม่ยังมีพื้นที่ให้สามารถรองรับการเติบโตได้อีกมาก รวมถึงสามารถที่จะเข้าไป Disrupt ธุรกิจรูปแบบเดิมเพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากขึ้นไปอีก ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/PRINCIPAL%20GINNO-A หากสนใจลงทุนใน 2 กองทุนนี้ สามารถลงทุนผ่านพอร์ต DIY ของ FINNOMENA โดยคลิกที่ลิ้งก์ข้างล่างเลยครับ https://www.finnomena.com/nter-space-create/ Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Article Basic CIMB-PRINCIPAL GINNO-A DIY Long Content Product Info แชร์บทความ: ผู้เขียน First Move จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลงใหลในการลงทุนแนว Bottom-Up ซึ่งเน้นการดูพื้นฐานและมูลค่าของบริษัทแบบเจาะลึก มีความคิดที่ว่าทุกคนควรมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่ตัวเองรัก รวมถึงลงทุนให้ประสบความสำเร็จ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า LTF ไม่ต่ออายุหลังสิ้นปีนี้? - FINNOMENA เป็นประเด็นมาตั้งแต่ปีที่แล้วนะครับที่ออกข่าวแย้มๆ มาว่า สรรพากรจะไม่ต่อสิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุนรวม LTF แล้วหลังปี 2562 (2019) ก็จะแปลว่า ปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่เราจะใช้สิทธิซื้อ LTF เพื่อลดหย่อนนะครับ คราวนี้ มันมีหลายประเด็นที่อาจสงสัยและเกิดตั้งคำถามขึ้นมา ผมลองรวบรวมคำถาม และตอบเป็นข้อๆให้หายสงสัยก็แล้วกัน 5 เม.ย. 2562 เป็นประเด็นมาตั้งแต่ปีที่แล้วนะครับที่ออกข่าวแย้มๆ มาว่า สรรพากรจะไม่ต่อสิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุนรวม LTF แล้วหลังปี 2562 (2019) หรือปีนี้ ถ้ารัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศต่อยังยืนยันเช่นเดิม ก็จะแปลว่า ปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่เราจะใช้สิทธิซื้อ LTF เพื่อลดหย่อนนะครับ คราวนี้ มันมีหลายประเด็นที่เราในฐานะผู้เสียภาษีอาจสงสัยและเกิดตั้งคำถามขึ้นมา ผมลองรวบรวมคำถาม และตอบเป็นข้อๆ ให้หายสงสัยตามนี้ก็แล้วกัน 1.ถ้าไม่ต่ออายุ LTF เงินที่ครบเงื่อนไข ควรขายหรือย้ายกองออกไปไหม? อันนี้แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเงินลงทุนของเราเอง ผมเห็นหลายกรณี นักลงทุนที่ลงทุนใน LTF แล้วครบกำหนด เขาไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไรต่อ และพึงพอใจกับผลการดำเนินงานของกองทุนในช่วงที่ผ่านมา ก็ถือต่อไป และให้ผู้จัดการกองทุนบริหารต่อ หากยังทำได้ดี เราก็ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่ม ดีกว่าไถ่ถอนออกมาแล้วเอาไปฝากประจำ หรือ ออมทรัพย์เอาผลตอบแทนต่ำติดดินครับ แต่ถ้าจะโยกเงินออกมา สิ่งที่ต้องคิดคือ เรามีสินทรัพย์เป้าหมายที่จะลงทุนแล้วหรือยัง เปรียบเทียบแล้ว จะให้ผลตอบแทนคุ้มความเสี่ยงหรือเปล่า และอย่าลืมว่า การเข้าออกกองทุนมันมีค่าธรรมเนียม ซึ่งคุณคงต้องเอาส่วนนี้มาพิจารณาประกอบด้วย 2. เม็ดเงิน LTF ที่ถอนออกไป จะทำให้ตลาดหุ้นตกรึเปล่า? หลายคนเชื่อว่า พอไม่ต่ออายุ LTF ก็แปลว่า เม็ดเงินในกองทุน LTF จะค่อยๆ ลดลง เพราะนักลงทุนทยอยไถ่ถอนออกไปเรื่อยๆ คำถามคือ มันจะถึงขั้นถอนกันจนตลาดหุ้นตกตามแรงขายไหม คำตอบคือ เม็ดเงินลงทุนใน LTF ทั้งหมด คิดเป็นเพียงแค่ประมาณ 4 % ของ Market Cap ของตลาดหุ้นไทย และเงื่อนไขการไถ่ถอน นักลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนได้ทั้งหมดในปีเดียวอยู่แล้ว เพราะติดเงื่อนไขถือครองให้ครบ 7 ปีปฏิทิน ซึ่งก็หมายความว่า เม็ดเงินลงทุนใน LTF จะค่อยๆ ถูกทยอยขายออกมาในอีก 6-7 ปีข้างหน้า (หากทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องขายออก) แต่มุมมองส่วนตัวผมก็เชื่อว่า มีนักลงทุนจำนวนหนึ่งที่จะไม่ขายออกมา และถือเงินลงทุนก้อนนั้นต่อไป ทำให้เชื่อว่าไม่มีผลต่อตลาดหุ้นไทยเลยครับ ตรงนี้ขอให้สบายใจได้ระดับหนึ่ง 3. กองทุนจะติดลบไหม ถ้าไม่มีเงินใหม่เข้ามาใน LTF? โดยปกติแล้ว ทีมบริหารกองทุน หรือ ผู้จัดการกองทุน แต่ละบลจ. จะมีการกำหนดกลยุทธ์และการลงทุนตามแต่ละโมเดลซึ่งเป็นไปได้นโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ซึ่ง LTF ของแต่ละบลจ. ส่วนใหญ่ เป็นหนึ่งในโมเดลการลงทุน ซึ่งมีกองทุนรวมปกติ ที่ไม่ใช่ LTF ที่ต้องบริหารจัดการต่ออยู่แล้ว ดังนั้น ในแง่การทำงานของผู้จัดการกองทุน จึงไม่ได้เกิดความยากมากขึ้น จากการที่ไม่มีเงินลงทุนเข้ามาใหม่ใน LTF และจากการศึกษาของทีม Finnomena Analytics เราพบว่า ผลการดำเนินงานกองทุนรวมที่ไม่มี Flow ไหลเข้าออกจำนวนมาก ให้ผลตอบแทนสูงกว่า กองทุนรวมที่มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าออกในระยะสั้น อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งตีความได้ว่า กองทุนที่นักลงทุนทำการซื้อขายบ่อยๆ อาจทำให้ผู้จัดการกองทุนต้องคำนึงถึงการบริหารสภาพคล่อง จนมีผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุนบ้าง ซึ่งถ้าเชื่อในประเด็นนี้ ก็แปลว่า การไม่มีเงินใหม่เข้าลงทุนใน LTF อาจเป็นการดีต่อผลการดำเนินงานกองทุนด้วย จะยกเว้นก็แต่ว่า ถ้าขนาดของกองทุน LTF นั้นๆ ที่เราลงทุนอยู่ มีขนาดเล็กมากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจในการบริหารพอร์ตของผู้จัดการกองทุนให้ลดลง นักลงทุนจึงควรคิดทั้งสองมุม และติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องด้วย 4. NAV จะลดลงเรื่อยๆ รึเปล่า? นักลงทุนหลายคนเข้าใจผิดว่า เงินขายออกจากกองทุนเยอะๆ แล้วจะทำให้กองทุนมี NAV ที่ลดลง ยกตัวอย่างรูปด้านล่าง ซึ่งเป็นราคาต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน TMBCOF ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ วันที่ 3 เม.ย. 2562) จะเห็นว่า NAV ของกองทุน TMBCOF วิ่งขึ้นมาตามตลาดหุ้นจีนที่รีบาวน์ต่อเนื่องในไตรมาส 1/2562 ที่ผ่านมา แต่จะเห็นว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนไม่ได้วิ่งขึ้นตาม NAV สาเหตุเป็นเพราะ ระหว่างที่ขึ้นมา มีนักลงทุนขายทำกำไรออกจากกองทุนรวมออกไปด้วย ซึ่งนี่ก็คือ หลักฐานว่า ถึงจะมีแรงขายออกจากกองทุนที่เราถือ มันก็ไม่ได้เกี่ยวว่าจะทำให้ NAV กองทุนลดลง (การดูกราฟมูลค่าทรัพย์สินสุทธินี้ นักลงทุนสามารถเข้าไปดูได้ผ่าน Mobile Application ของ FINNOMENA นะครับ) NAV จะลดลงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุนในเวลานั้นๆ มากกว่าว่าราคาสูงขึ้นหรือลดลงหรือเปล่านะครับ 5. กองทุนรวม LTF ที่มีอยู่ไว้แล้ว จะต้องถูกปิดลงไปด้วยหรือเปล่า? กองทุนรวมนั้นๆ จะยังคงมีสถานะตามกฎหมายอยู่ ถึงแม้จะไม่ได้สิทธิลดหย่อนแล้ว โดย บลจ. น่าจะเปลี่ยนนโยบายกองทุนให้เป็นกองทุนเปิดที่สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการเหมือนกองทุนรวมทั่วไป และนักลงทุนที่ใส่เงินใหม่เข้าไป ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีประจำปีอีกต่อไป แต่ถึงอย่างนั้น มันก็มีเงื่อนไขครับ เพราะถ้ากองทุนมีขนาดเล็กลงมาก จนบลจ.นั้นๆ เห็นว่า ค่าใช้จ่ายที่เก็บจากกองทุนอยู่ในระดับที่ไม่คุ้มทุน ทางบลจ. อาจมีการเสนอถือหน่วยเพื่อควบรวมกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน ให้ได้ Economies of Scale หรืออาจเสนอผู้ลงทุนที่ครบเงื่อนไขระยะเวลาลงทุน ให้สับเปลี่ยนไปยังกองทุนที่มีนโยบายใกล้เคียงกัน และให้สิทธิลดค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนในช่วงเวลานั้นๆ ก็ได้ครับ 6. ถ้าไม่ต่ออายุมาตรการส่งเสริม LTF เราสามารถขายได้ทุกก้อนที่ซื้อมาก่อนเลยไหม? ใจเย็นๆ นะครับ การไม่ต่ออายุ LTF คือ การไม่ให้สิทธิกับเงินก้อนใหม่ที่จะเข้ามาลงทุน ไม่ได้หมายความว่า เงินก้อนเก่าๆ ที่ลงทุนมาแล้วจะไม่ได้สิทธิด้วย ดังนั้น เงินลงทุนก้อนที่เราซื้อก่อนปี 2562 เรายังจำเป็นต้องถือให้ครบตามเงื่อนไขเดิม คือ 7 ปีปฏิทิน ไม่เปลี่นแปลงไปจากนี้แต่อย่างใดครับ ซึ่งถ้าดูจากเงื่อนไขการขายคืนหน่วยลงทุนได้ ที่มีการปรับเปลี่ยนจาก 5 ปีปฏิทิน เป็น 7 ปีปฏิทินเมื่อปี 2559 ก็จะพบว่า ปี 2563 และปี 2564 กอง LTF จะไม่มีเงินถูกขายออกมา ทำให้ขนาดกองทุนจะไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และจะมีการขายอีกครั้งคือในปี 2565 ซึ่งมาจากยอดซื้อ LTF ในปี 2559 ที่ใช้เงื่อนไขใหม่ในการถือครองคือ 7 ปีปฏิทินนั่นเองครับ 7. ถ้าถือครบกำหนดขายคืนได้ แต่ตอนนั้น NAV ยังขาดทุน ควรทำอย่างไร? ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักลงทุนครับ เราคงต้องพิจารณาดูว่า ปัญหาขาดทุนที่เกิดขึ้น มาจากเงื่อนไขของตลาดหุ้นที่มันผันผวนเป็นขาลง หรือเกิดจากผลการดำเนินงานของกองทุนเองที่อาจจะไม่ดีเท่ากองทุนอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดเผย Peer Performance เปรียบเทียบผลตอบแทนกองทุนกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มไว้ให้เราได้ตรวจสอบทุกเดือน รวมถึงศึกษานโยบาย วิธีการลงทุนของกองทุนว่าถูกจริตนิสัยกับเราหรือเปล่า ถึงตอนนั้นค่อยมาพิจารณาอีกทีครับว่า จะถือไปก่อน หรือว่าจะขายดี ยกตัวอย่างการวิเคราะห์ความสามารถของกองทุน สามารถดูได้ใน Mobile Application ของ FINNOMENA ใน Function “Fund” และเลือกเมนูผลตอบแทน กองทุนตัวอย่างคือ UOBLTF จะเห็นว่า มีการแสดงผลตอบแทนย้อนหลังขอกองทุน และค่า S.D. เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของกองทุนประเภทเดียวกัน ซึ่งหากผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ย ก็แปลได้ว่า เป็นกองทุนที่ดีระดับหนึ่ง ในขณะเดียว ถ้าค่า S.D. ต่ำกว่าเฉลี่ยกลุ่ม ก็แปลว่า กองทุนมีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนอื่นๆ ซึ่งก็แปลว่า มีการบริหารความเสี่ยงดีเช่นกัน และใน App FINNOMENA จะเห็นว่า มีการใส่ tag สีเขียว แบ่งเป็น 3 tag คือ ดีที่สุด, ดีมาก และ ดี ตรงนี้ จากกองทุนนั้นๆ ได้ tag ดีที่สุด จะแปลว่า เป็นกองทุนที่อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 1-5 ซึ่งแปลว่า ให้ค่าดีที่สุดเมื่อเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน ขณะที่ tag ดีมาก แปลว่า เป็นกองทุนที่อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 5-25 และ tag ดี คือ อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ 25-50 ก็ถือว่าดีกว่ากองทุนประเภทเดียวกันกับกองทุนอื่นๆ อีกกว่าครึ่งที่มีขายอยู่ในตลาด ตรงนี้ ก็จะช่วยในการวิเคราะห์กองทุนได้เช่นเดียวกัน สรุปจากทั้งหมดเลยก็คือ หาก LTF ไม่ต่ออายุจริงๆ ในแง่ของเงินลงทุนเก่า ไม่น่ามีผลกระทบอะไรกับนักลงทุนมาก และหากกระทบจริง เราก็เตรียมแผนรับมือไว้ล่วงหน้าแล้วหลังจากอ่านบทความนี้ ส่วนทางสรรพากรจะมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ เพื่อชดเชยการหายไปของ LTF หรือไม่นั้น ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาทางเลือกต่างๆ ซึ่งหากได้เป็นรูปเป็นร่าง ก็จะมาแจ้งให้ทราบอีกทีครับ แท็ก: LTF แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
#เปิดสูตรวีไอพลิกกำไรให้ยั่งยืน ... “ทำไม PTG จึงเป็นหุ้นที่โต 10 เท่าใน 5 ปี” - FINNOMENA ในห้วงปีที่ผ่านมา ดูเหมือนตลาดเราจะไม่ค่อยดีนัก แต่ก็ยังมีหุ้นที่สามารถเติบโตสูงถึง 10 เท่าในห้าปีได้เหมือนกัน หุ้นตัวนั้นก็คือ PTG หรือ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) เรามาดูกันดีกว่าว่า “ปัจจัยอะไร” ที่ทำให้เติบโตได้สิบเท่า หรือ กิจการมีเมล็ดพันธุ์แห่งการเติบโตซ่อนอยู่ข้างในบ้าง? 30 พ.ค. 2562 การมองหาหุ้นที่สามารถเติบโตรวดเร็ว เอาแบบโตสิบเท่าในสิบปีนั้น ถือเป็นงานหลัก และงานหนักของนักลงทุนระยะยาว บางครั้งเราขุดเจอแล้ว แต่หุ้นมันขึ้นไปไกล และหลายครั้งก็ตกกลับมาที่เดิม สร้างความน่าผิดหวังให้กับนักลงทุนในวงกว้าง ในห้วงปีที่ผ่านมา ดูเหมือนตลาดเราจะไม่ค่อยดีนัก แต่ก็ยังมีหุ้นที่สามารถเติบโตสูงถึง 10 เท่าในห้าปีได้เหมือนกัน หุ้นตัวนั้นก็คือ PTG หรือ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) เรามาดูกันดีกว่าว่า “ปัจจัยอะไร” ที่ทำให้เติบโตได้สิบเท่า หรือ กิจการมีเมล็ดพันธุ์แห่งการเติบโตซ่อนอยู่ข้างในบ้าง นายแว่นลงทุน ขอเล่าให้ฟังดังนี้นะครับ ประการแรก “การเติบโตของยอดขาย” หากเราพิจารณาให้ดีจะพบว่า หุ้นตัวนี้มียอดขายที่เติบโตมาโดยตลอด โดยยอดขาย หรือรายได้ที่เก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ปี 2552 จะพบว่า ยอดขายในปีนั้นอยู่ที่ราว 4 หมื่นกว่าล้านบาทต่อปี และยอดขายก็เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี จนปีล่าสุดเติบโตเกือบแตะระดับแสนล้านบาท แน่นอนที่สุดว่า การเติบโตของยอดขาย นั่นหมายความว่า กิจการของเขาขายดีขึ้น และกิจการนี้ต้องมีกลยุทธ์ที่ดีพอที่จะเพิ่มยอดขายให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ประการที่สอง “กลุยทธ์การขยายสาขาบนถนนสายรอง” สิ่งที่น่าสนใจอีกประการก็คือ กลยุทธ์การขยายสาขาบนถนนสายรอง … หากเราเป็นคนขับรถ เราย่อมไม่อยากไปเต็มน้ำมันไกล ๆ อยากเติมน้ำมันในปั้มบนถนนที่เราขับผ่านเป็นประจำ เพราะความคิดในหัวของคน ถ้าเราต้องขับรถเพื่อไปเติมน้ำมันโดยเฉพาะเจาะจง จะทำให้เรารู้สึกว่า … มันเปลืองน้ำมัน เพราะขับไปเติมก็เปลือง เติมเสร็จขับกลับมาก็เปลืองน้ำมัน การที่ PTG ไปเปิดปั้มบนถนนสายรองนั้น ถือเป็นกลยุทธ์ที่ดีมาก เพราะปั้มน้ำมันใกล้บ้าน หรือเป็นทางผ่านในสมัยก่อนไม่มีแบรนด์ ทำให้คนไม่กล้าเติม แต่เมื่อเขานำแบรนด์มาสวม และทำให้ดูสะอาดตาขึ้น ปรากฏว่า คนก็กล้าเข้าไปเติมมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่สำคัญการนำปั้มเก่ามาตกแต่งใหม่ใช้งบลงทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับการสร้างปั้มน้ำมันขึ้นมาใหม่ ประการที่สาม “อัตรากำไรสุทธิที่บางมาก ๆ” ถ้าเราพิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังสิบปี เราจะพบว่า หุ้น PTG มีอัตรากำไรสุทธิที่บางมาก ๆ แต่ยอดขายนั้นเติบโต และมีวอลุ่มของยอดขายสูงมาก สิ่งนี้หมายความว่า หากอัตรากำไรสุทธิมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย จะส่งผลกระทบต่อ “กำไรสุทธิ” ในบรรทัดสุดท้าย สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการขึ้นลงของอัตรากำไรสุทธิก็คือ “ค่าการตลาด” ซึ่งเป็นมาร์จิ้นที่ผู้ให้บริการปั้มน้ำมันจะได้รับจากการนำน้ำมันมาขายตามปั้ม โดยค่าการตลาดมักจะเหวี่ยงขึ้น ๆ ลง ๆ ตามตลาดน้ำมัน หากค่าการตลาดสูง อัตราการทำกำไรของกิจการก็จะสูง หากค่าการตลาดต่ำ อัตราการทำกำไรของกิจการก็จะต่ำ และมันจะเริ่มผันผวนมากยิ่งขึ้น ถ้ายอดขายน้ำมันมีปริมาณมากขึ้น ลองคิดดูว่า การเปลี่ยนแปลง “ค่าการตลาด” เพียงน้อยนิดจะส่งผลต่อกำไรสุทธิมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น ยอดขาย 40,000 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 1% จะทำกำไรได้ 400 ล้านบาท แต่ถ้ายอดขายเติบโตเป็น 100,000 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิเท่าเดิมจะทำกำไรได้ 1,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า ยิ่งยอดขายเยอะ ค่าการตลาดที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจะส่งผลต่อกำไรสุทธิเป็นอย่างมาก หากอัตรากำไรสุทธิลดลงก็จะส่งผล “ด้านลบ” อย่างมากเช่นกันครับ ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … หุ้น PTG ในห้วงปีที่ผ่านมามีการเติบโตของยอดขายรวดเร็วมาก ด้วยกลยุทธ์ปั้มบนถนนสายรอง และค่าการตลาดที่เติบโตในช่วงที่ผ่านมาทำให้หุ้นโตได้ 10 เท่าในระยะเวลาแค่ 5 ปี แต่หลังจากนี้ไป ค่าการตลาดที่เคยทำให้เติบโตเร็ว อาจกลายเป็นผลอีกด้าน เพราะยอดขายที่เพิ่มขึ้นก็ต้องแบกรับความผันผวนที่สูงขึ้นนั่นเองครับ #นายแว่นลงทุน **สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย >> https://www.finnomena.com/port/naiwaen คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: Article Basic Growth stock GURUPORT Picture Slide Product Recommend PTG Short Content แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รู้คือไม่เสี่ยง! : Inverted Yield Curve ที่จะกลับมาหลอนอีกครั้ง และการเมือง กับเรื่องของผลประโยชน์ - FINNOMENA จับตาประเด็น! Inverted Yield Curve ที่จะกลับมาหลอนอีกครั้ง และการเมือง กับเรื่องของผลประโยชน์ 26 มี.ค. 2562 ประเด็นแรก : Inverted Yield Curve กลับมาหลอนอีกครั้ง ผลจากการประชุม FOMC และความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐดำดิ่งลงรุนแรงกว่าระยะสั้น เพิ่งจะเตือนนักลงทุนในงานบรรยายเมื่อ 22 มี.ค. (ก่อนตลาดหุ้นสหรับดิ่งลงแรง) ของผมที่ร่วมกับ RHB อยู่หยกๆว่าให้ระวังเรื่อง ส่วนต่างระหว่าง US 10Y Bond Yield และ US 2Y Bond Yield ล่าสุดอยู่ที่ 0.06% ต่ำสุดในรอบ 11 ปี และใกล้ที่จะต่ำกว่า 0% แล้ว ตามสถิติเมื่อ US 10Y – 2Y ต่ำกว่า 0 มักจะตามมาด้วยสภาวะเศรษฐกิจถดถอย (GDP ติดลบต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 ไตรมาส (QoQ) หรือติดลบ YoY 3 ไตรมาสติด) ที่ตลาดกลัวเพราะมันแม่นยำใน 2 ครั้งที่ผ่านมา ทั้งวิกฤติดอทคอม ช่วงปี 2001-2002 และ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ 2008 อย่างไรก็ตาม การส่งสัญญาณยุติขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ รวมไปถึงโอกาสที่จะปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลง อาจทำให้สถานการณ์ Inverted Yield Curve ดีขึ้น คาด ส่วนต่างระหว่าง US 10Y – 2Y จะไม่ต่ำกว่า 0 นานและมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นในระยะถัดไป สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นสหรัฐอาจมีการฟื้นตัว หลัง วิลเลียม บาร์ รมต ก.ยุติธรรมสหรัฐ ได้แจ้งต่อสภาคองเกรสว่า ผลการสอบสวนของ โรเบิร์ต มูลเลอร์ อัยการพิเศษของสหรัฐ ไม่พบหลักฐานทีมหาเสียงของ ปธน.ทรัมป์ ร่วมมือกับรัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้ง เป็นอันสิ้นสุดการสอบสวนที่ใช้เวลานานกว่า 2 ปี การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน คืบหน้าต่อ วันที่ 28 มี.ค. นี้ โรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) และสตีเฟน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ จะเดินทางไปปักกิ่ง ก่อนที่ หลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีนจะมาเจรจาที่สหรัฐในวันที่ 3 เม.ย. ประเด็นที่สอง : การเมือง เรื่องของผลประโยชน์ ผลการเลือกตั้งอ้างอิงจาก ไทยรัฐ ล่าสุดค้างอยู่ที่ พท. 130 คน พปชร 119 คน อนาคตใหม่ 74 คน ภท 49 คน และ ปชป 48 คน รวมคะแนนทั่วประเทศ พปชร 7.7 ล้านเสียง พท 7.2 ล้านเสียง คะแนนยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลง ต้องรอ กกต. แถลงผลอย่างไม่เป็นทางการ 95% อีกครั้งในเวลา 10.00 น. ทั้งนี้จำนวน สส. ของ พท และ พปชร ยังคู่คี่ สูสี โดย กกต. จะมีเวลา 45 วันหลังการเลือกตั้งในการรับรองผลอย่างเป็นทางการ ซึ่งในระหว่างนั้นอาจมีการร้องเรียน การให้ใบดำ ใบแดง เลือกตั้งใหม่บางเขต ทำให้ คะแนนยังมีโอกาสพลิกได้ เท่าที่คะแนนปรากฎตอนนี้ จะวิเคราะห์ได้ว่า… คำถามแรก ใครจะมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล วินาทีนี้ พท มี สส มากกว่า แต่ พปชร ได้คะแนนทั่วประเทศมากกว่า มาแบบนี้ จึงไม่น่าแปลกใจหาก พปชร จะบอกว่า คนส่วนใหญ่ในประเทศต้องการให้ ลุง เป็นนายกฯ และมีความชอบธรรมมากพอที่ สว. จะลงคะแนนเลือก ลุง การเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่น่ามีปัญหา พปชร 119 คน หาเพิ่มจากพรรคเล็กอื่นๆอีก 7 คน เมื่อรวมกับ สว. 250 คน ก็เกิน 376 เสียง พท. จะรวมเสียงสู้ไหม คิดได้ รวมได้ แต่ไม่ง่าย เอาแค่ขั้นแรกคือเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องรวมเสียงให้ได้ 376 เสียง จากทุกพรรค อืม ไปสอบ GAT PAT ให้ได้คะแนนเต็มทุกวิชาดูจะง่ายกว่า หรือต่อให้รวมได้ แต่การจัดตั้งรัฐบาลหลังจากนั้น ภาพรัฐบาลผสมคงเละน่าดู เมื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ก็จัดตั้งรัฐบาลได้ เชื่อว่า พรรคที่ต้องการร่วมรัฐบาลอยู่แล้ว จะมารวมเสียงกันจนเกิน 251 เสียง ทีนี้ก็อยู่ที่ว่า จะผสมกันให้ลงตัวหรือให้มีจำนวนมากแค่ไหน ต้องติดตามกันอีกที คำถามชวนคิด คุณคิดว่า พรรคขนาดกลางถึงเล็ก เค้าจะเลือกทางไหน จะเลือกไปอยู่ฝั่งจัดตั้งรัฐบาลด้วยความยากลำบาก หรือจะเลือกทางสะดวกโล่งโปร่งสบาย อย่าลืมว่า การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ แม้ตลาดจะรู้อยู่แล้วว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ที่ตลาดไม่ได้มองไว้คือ คะแนนของ พปชร ทั้งจำนวน สส และคะแนนทั่วประเทศที่มากแบบนี้ มันทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ตลาดมีความกังวลควาไม่มีเสถียรภาพค่อนข้างสูง SET Index ถูกกดดันจากตลาดต่างประเทศ แต่เชื่อว่าจะลงไม่เยอะ กลุ่มหุ้นที่จะได้ประโยชน์หลังการเลือกตั้งคือ กลุ่มเก็งมาตรการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน ค้าปลีก CPALL GLOBAL ROBINS กลุ่มรับเหมา (ไม่ต้องห่วงเรื่องค่าแรงขั้นต่ำอีกนานกว่าจะขึ้นได้ตามที่หาเสียง) STEC CK นิคม AMATA WHA ธนาคาร BBL TISCO Global Play ปิโตรเลียมอิงกับการดีดตัวของราคาน้ำมัน PTTEP โรงกลั่น TOP เขียนโดย ประกิต สิริวัฒนเกตุ นักกลยุทธ์การลงทุน แท็ก: รู้คือไม่เสี่ยง แชร์บทความ: ผู้เขียน ประกิต สิริวัฒนเกตุ อยู่ในอาชีพนักวิเคราะห์ เทคนิค อนุพันธ์ และเป็นนักกลยุทธ์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานมา 12 ปี ผู้ต้องการเปิดกะลาของตัวเองออกสู่โลกการลงทุนที่แท้จริง ใฝ่ฝันที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่งคั่งยั่งยืน เพื่อการเป็นอิสรภาพทางการเงินโดยสมบูรณ์
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ผมสร้างโลกไว้สามใบ (สำหรับราคาน้ำมัน) - FINNOMENA ทุกครั้งที่ตลาดการเงินผันผวนมักจะมีราคาสินทรัพย์ตัวป่วนเป็นองค์ประกอบและในครั้งนี้ “น้ำมัน” ดูจะเป็นสินทรัพย์ที่ราคาเหวี่ยงขึ้นลงมากผิดปรกติ ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ต้องรู้ให้ทันว่าเกิดอะไรขึ้น และการเคลื่อนไหวของราคาที่รวดเร็วเช่นนี้จะส่งผลต่อสินทรัพย์อื่นๆ ในตลาดการเงินอย่างไร 15 มี.ค. 2562 ทุกครั้งที่ตลาดการเงินผันผวนมักจะมีราคาสินทรัพย์ตัวป่วนเป็นองค์ประกอบ และในครั้งนี้ “น้ำมัน” ดูจะเป็นสินทรัพย์ที่ราคาเหวี่ยงขึ้นลงมากผิดปรกติ ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ต้องรู้ให้ทันว่าเกิดอะไรขึ้น และการเคลื่อนไหวของราคาที่รวดเร็วเช่นนี้จะส่งผลต่อสินทรัพย์อื่นๆ ในตลาดการเงินอย่างไร หลายท่านอาจไม่ทันสังเกตว่าราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นและลงทำลายสถิติใหม่เป็นว่าเล่น ไตรมาสที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้นจาก 54 ดอลลาร์/บาร์เรล ไปแตะระดับสูงสุดที่ 67 ดอลลาร์/บาร์เรล คิดเป็นการปรับตัวขึ้น 24% แรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2005 แต่ในทางกลับกัน หากมองย้อนไปถึงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว เราจะเจอกับราคาน้ำมันที่ร่วงลงถึง 35% จากระดับ 84 ดอลลาร์/บาร์เรล สู่ระดับต่ำสุดที่ 51 ดอลลาร์/บาร์เรล เป็นท้ายปีที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 ผมเชื่อว่าที่ตลาดปั่นป่วน เกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง โมเดลน้ำมันจึงส่งสัญญาณในทิศทางที่แตกต่าง สมการที่ตลาดใช้ในการวัดว่าน้ำมัน “ถูกหรือแพง” สามารถมองได้สามมุม ทั้งจากกำลังการผลิต ปริมาณการบริโภค และความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ในตลาดการเงิน มุมแรก มองจากฝั่งกำลังผลิต การแทรกแซงในปัจจุบันควรดันให้น้ำมันอยู่สูงกว่า 75 ดอลลาร์/บาร์เรล โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตบอกเราว่า 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน ที่ลดลงจากกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ “สูง” เทียบได้กับการผลิตที่หายไปในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี 1991 หรือสงครามกลางเมืองในลิเบียปี 2011 จากสมการนี้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ควรสูงขึ้นจากปีก่อนอย่างน้อย 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ไม่มีเหตุผลที่ราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับต่ำ แต่เมื่อมองฝั่งการบริโภค ปริมาณการใช้น้ำมันกลับแปรผกผันกับราคา เมื่อเศรษฐกิจแย่ลง น้ำมันก็ไม่ควรแพงกว่า 55 ดอลลาร์/บาร์เรล สมมุติฐานของสมการนี้คือการไล่ซื้อน้ำมันที่แพงเป็นสิ่งที่จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เห็นได้บ่อยครั้งในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ทุกๆ 5 ดอลลาร์ที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น ปริมาณการบริโภคจะปรับตัวลง2 แสนบาร์เรล/วัน ขณะที่ทุกการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 0.1%จากปีก่อน ก็จะส่งผลให้ปริมาณการบริโภคปรับตัวลดลงราว 1 แสนบาร์เรล/วัน ดังนั้น ถ้าเศรษฐกิจโลกปีนี้ขยายตัวเพียง 3.3% และเราอยากเห็นการบริโภคน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันที่เหมาะสมก็ไม่ควรจะสูงกว่า 55 ดอลลาร์/บาร์เรล และโมเดลที่สาม คือเลือกที่จะเชื่อว่าในระยะสั้นราคาน้ำมันไม่ได้วิ่งตามอุปสงค์หรืออุปทาน และทิศทางของดอลลาร์คือตัวกำหนดให้ราคาน้ำมันอยู่ที่ 65 ดอลลาร์/บาร์เรลในปัจจุบัน ฟังดูอาจเป็นเรื่องแปลกที่ค่าเงินกลายเป็นปัจจัยที่มีผลกับราคาน้ำมันที่สุด แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงที่ดอลลาร์แข็งค่าหรืออ่อนค่าอย่างรวดเร็ว ถ้าเราใช้ข้อมูลราคาดัชนีดอลลาร์ (DXY) มาวัดความสัมพันธ์กับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าโมเดลมีค่า R-Squared สูงถึง 0.69 ซึ่งถ้าเราเชื่อความสัมพันธ์นี้ จะตีความได้ว่าทุกครั้งที่เงินดอลลาร์อ่อนค่า 1% เบรนท์จะปรับตัวขึ้น 3% และในปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ 65 ดอลลาร์/บาร์เรลคือจุดที่เหมาะสม ท้ายที่สุด ไม่ว่าเราจะเลือกเชื่อโมเดลไหน ก็ต้องจำไว้ว่า ราคาน้ำมันแปรผันตรงกับหุ้นและเงินบาท แต่แปรผกผันกับบอนด์ และความสัมพันธ์นี้มักเกิดขึ้นบ่อยช่วงราคาน้ำมันเป็นขาลงมากกว่าขาขึ้น ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ไตรมาสไหนก็ตามที่น้ำมันปรับตัวลงเกิน 15% การลงทุนในบอนด์ทั้งไทยและต่างประเทศจะน่าสนใจทันที ขณะที่หุ้นจะปรับตัวลง 5-7% สิ่งที่ต้องระวังคือความสัมพันธ์นี้ไม่สมมาตร เมื่อน้ำมันปรับตัวบวกแรงกว่า 15% หุ้นอาจปรับตัวสูงขึ้นเพียง 2-4% และตราสารหนี้ก็อาจไม่ได้ปรับตัวลงมากนัก เหตุการณ์นี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากขาขึ้นของน้ำมันมักมากับตลาดการเงินที่เปิดรับความเสี่ยง แต่พอถึงจุดหนึ่งราคาน้ำมันที่สูงจะกลายเป็นต้นทุนที่กดดันเศรษฐกิจจนทำให้กระแสบวกตีกลับ รู้อย่างนี้ ผมเชื่อว่าเราจะเข้าใจและอยู่กับตลาดที่ผันผวนนี้ได้ดีขึ้น สิ่งเดียวที่ขาดไม่ได้ในตลาดการเงินคือต้องจำไว้ว่า สภาวะความผันผวนที่สูง ชี้ว่ามีบางอย่างเปลี่ยนไปในตลาด มุมมองหรือแนวคิดที่เราเคยเชื่ออาจต้องเปลี่ยนแปลงตาม เพราะท้ายที่สุด คนที่จะอยู่รอดในโลกการลงทุนก็คือคนที่ปรับตัวเข้ากับความผันผวนได้เร็วที่สุดเสมอ การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันและสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลก ที่มา: Bloomberg และ Krungthai Global Markets แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง SET Index กับโค้งสุดท้ายเลือกตั้งประเทศไทย - FINNOMENA ตลาดหุ้นไทย หลังขึ้นไปทำจุดสูงสุดของรอบที่ 1,674.57 จุด เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา ก็ย่อตัวลงมา ล่าสุด เทรดอยู่ที่ 1,634 จุด มาดูมุมมองล่าสุดกันเลย 13 มี.ค. 2562 ตลาดหุ้นไทย หลังขึ้นไปทำจุดสูงสุดของรอบที่ 1,674.57 จุด เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา ก็ย่อตัวลงมา ล่าสุด เทรดอยู่ที่ 1,634 จุด การย่อตัวลงมา ดูจากมุมมองทางเทคนิคแล้ว มันคือ การขึ้นไปทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันครั้งแรก นับตั้งแต่หลุดลงไปอีกทีเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว อีกสิ่งที่เห็นสัญญาณชัดจากมุมมองทางเทคนิคก็คือ สัญญาณ Bearish Divergence ที่ปรากฎขึ้นทั้งบน MACD และ RSI ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้เชื่อได้ว่า ระยะสั้น SET Index ขึ้นยาก และ ลงง่ายกว่า แต่ถ้าไปดูเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันอีกแห่ง ซึ่งอยู่ 1,620 จุด ก็อาจต้องพิจารณาตรงนี้ดีๆ เพราะตราบใดที่ SET Index ยังไม่หลุดแนวรับดังกล่าวลงมา จริงๆ ก็บอกได้แค่ว่า ขึ้นยาก แต่โอกาสลงต่อก็น้อยเช่นเดียวกัน ลองย้อนกลับไปเดือนส.ค. และ ก.ย. จะเห็นว่า ดัชนีเหวี่ยงลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน ถึงสองครั้ง และมีแรงรีบาวน์สู้ทั้งสองครั้ง แม้ครั้งแรกจะไปได้ไม่ไกล แต่ครั้งที่สอง สามารถทำ Higher High ขึ้นไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้ระยะเวลาหนึ่งทีเดียว ดังนั้นแล้ว ช่วงนี้น่าสนใจนะครับ ซึ่งหากพิจารณาปัจจัยแวดล้อม ในช่วงที่กำลังเข้าโค้งสุดท้ายเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. ที่จะถึง ก็ถือเป็นจุดที่อาจจะชี้วัดทิศทางของตลาดหุ้นไทยหลังจากนี้ได้อีก 1-2 เดือนข้างหน้าเช่นเดียวกัน ด้านค่าเงินบาท นับจากวันที่ 20 ก.พ. จนถึงตอนนี้ ก็อ่อนค่าเรื่อยๆ ล่าสุดมาอยู่ที่ 31.818 บาท/ดอลล่าร์ ก็สะท้อนว่า ต่างชาติขนเงินออกบางส่วน ก็ทำให้มองได้ว่า Upside จากขาขึ้น จะจำกัดซักหน่อย เพราะคงจะเป็นพี่กองทุนที่จะต้องลากคนเดียว ส่วนนักลงทุนรายย่อยนี่ หุ้นบวกเมื่อไหร่ ขายมากกว่าซื้อเป็นเรื่องปกติ จะหวังพึ่งแรงดันจากตรงนี้คงยาก สรุปคือ ถ้าจะขึ้นได้ยาวๆ ตลาดต้องการปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจน และเกิดภาพที่ให้ความมั่นใจกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้ แต่ถ้ามองแค่ปัจจุบันตอนนี้ โอกาสขึ้นยังมี แต่ไปได้แค่ไหน ต้องบอกว่า เหมือนจะไปได้ไม่ไกลเท่าไหร่ เอาจุดสูงสุดเดิม 1,674 จุดให้ผ่านก่อน จากนั้นก็ 1,700 จุด ค่อยๆดูกันไป รูปประกอบ : BISNEWS คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น Mr.Messenger รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }