text
stringlengths
1
1.21M
meta
dict
4 ขั้นตอนกรองข่าวสารก่อนการลงทุน ไม่ให้มั่ว!! - FINNOMENA ในยุคของข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในตลาดทุนที่มีข้อเท็จและจริงเข้ามามากมาย ทำให้นักลงทุนสับสน และตัดสินใจการลงทุนผิดพลาดได้ สำหรับบทความนี้จะนำเสนอแนวทางการคัดกรองข่าวสารและข้อมูลเบื้องต้นอย่างเป็นระบบอันจะทำให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจครับ 5 เม.ย. 2561 ในยุคของข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในตลาดทุนที่มีข้อเท็จและจริงเข้ามามากมาย อาจทำให้นักลงทุนสับสน และตัดสินใจการลงทุนผิดพลาดได้ สำหรับบทความนี้จะนำเสนอแนวทางการคัดกรองข่าวสารและข้อมูลเบื้องต้นอย่างเป็นระบบอันจะทำให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจครับ 1. ดูผลกระทบของข่าว ตัวกรองชั้นแรกนี้จะช่วยคัดกรองให้เหลือแต่ข้อมูลข่าวสารที่กระทบกับผลประกอบการแบบมีนัยยะสำคัญ หลักการง่ายๆคือดูว่ารายการนั้นเป็นสัดส่วนเท่าไรของรายได้ หรือสินทรัพย์ เช่นข่าวการลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินของธนาคาร เราจะต้องไปดูว่าสัดส่วนของรายได้ค่าโอนเป็นร้อยละเท่าไรของรายได้รวม ถ้ารายได้ส่วนนี้มีสัดส่วนที่มากถึงจะต้องกังวล แต่ถ้ารายได้ส่วนนี้มีสัดส่วนไม่มากนักไม่มีนัยยะกับผลประกอบการ เราจะมองผ่านไป 2. ดูโอกาสที่จะเกิดขึ้น ขั้นที่สองเราจะต้องดูว่าโอกาสเกิดขึ้นนั้นมีมากแค่ไหน ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกับบริษัทมากแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเราก็ต้องวางแผนเผื่อไว้ก่อน แต่สำหรับหรือเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกับบริษัทน้อยและโอกาสเกิดขึ้นน้อยกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องกังวลมากเพราะถึงแม้จะเกิดขึ้นยังกระทบกับผลประกอบการของเราไม่มาก สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงนักลงทุนสามารถเข้าไปอ่านได้ในรายงาน 56-1 ในหัวข้อความเสี่ยงบริษัทจะบอกว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้างและมีแผนในการจัดการอย่างไร 3. ระยะเวลาที่ส่งผลกระทบ ในการวิเคราะห์ข่าวสารด้านการลงทุนนอกจากดูผลกระทบและโอกาสที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องดูเรื่องของระยะเวลาที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นด้วย ในส่วนแรกจะต้องดูว่าเหตุการณ์นั้นใช้เวลาอีกนานหรือไม่ เช่นบริษัทมีโครงการจะสร้างโรงแรมส่วนต่อขยาย มีระยะเวลากำหนดสร้างเสร็จอีก 4 ปี เราก็มีทางเลือกที่จะซื้อแล้วรอไป 4 ปี หรือค่อยเข้าไปลงทุนในปีที่ 3 ก็ได้ ส่วนที่สองต้องดูว่าหลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วกระทบกับผลประกอบกอบในระยะสั้นหรือระยะยาว ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่กระทบในระยะสั้น ส่วนใหญ่จะกระทบกับราคาตลาดแค่ครั้งเดียวแล้วก็จบ เช่นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีโครงการกำลังจะโอน ในไตรมาสที่โอนได้ก็จะกำไรกระโดด และหลังจากนั้นกำไรก็จะปรับตัวลดลง หรือธุรกิจบริการที่ช่วงแรกๆในการเปิดสาขามักจะมีผลประกอบการขาดทุนเนื่องจากยังมีจำนวนลูกค้าน้อยราคาหุ้นมักจะซึมลงมาก่อนและค่อยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเริ่มทำกำไร แต่กรณีที่ดูยากที่สุดคือข่าวที่เข้ามากระทบเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งข้นแล้วส่งผลกระทบยาวต่อผลประกอบการ เช่นการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ สินค้าทดแทนต่างๆ สภาพการแข่งขัน อำนาจการต่อรองของลูกค้า และผู้จัดส่งสินค้า ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานทั้งทางคุณภาพและปริมาณประกอบกัน 4. กำหนดกลยุทธ์ หุ้นที่ขึ้นได้ต่อเนื่องหลายปีมักมีข่าวที่ มีผลกระทบกับบริษัทมาก โอกาสเกิดขึ้นสูง และระยะเวลาเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายๆปี เช่นหุ้น ค้าปลีก ที่มีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมค้าปลีกมีการเปลี่ยนแปลงทำให้รายใหญ่ๆที่มีเงินทุนในการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องมีความได้เปรียบทางการแข่งขันและเติบโตได้หลายปี ถ้าเจอแบบนี้เราต้องกอดแน่นๆ ในขณะที่หุ้นที่กำลังเสียเปรียบทางการแข่งขัน รายได้กำไรไม่มีการเติบโตมากนักในช่วงแรกๆ ทิศทางราคามักจะค่อยๆ ซึมลง หรือไม่ไปไหน และเมือวันที่ปันหาปะทุงบการเงินออกมาขาดทุนราคาก็จะเริ่มลงแรง จะเห็นว่าในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร นักลงทุนจะต้องมีหลักการในการประเมินข้อมูลข่าวสารให้ดีไม่เช่นนั้นจะทำให้การลงทุนติดสินใจแบบไหลไปตามข้อมูลข่าวสารต่างๆและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย โดย ภัทรธร ช่อวิชิต แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Investidea ภัทรธร ช่อวิชิต ปัจจุบันเป็นนักลงทุนอิสระ เน้นการลงทุนในหุ้นเล็กพริกขี้หนู มีโอกาสเติบโต ที่ตลาดยังไม่สนใจให้ค่า เจ้าของผลงานหนังสือ “คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง”, “เจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง”, เว็บ investidea.in.th และอาจารย์ประจำ efinschool
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SET Index ไหลต่ำกว่าเปิดต้นปี แล้วยังไงต่อ? - FINNOMENA ปัจจัยอะไรทำให้ตลาดหุ้นไทยซึมลงแบบนี้ และหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อ? ลองมาฟังมุมมองของ Mr.Messenger กันได้เลยครับ 5 เม.ย. 2561 วานนี้ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้าที่ 1,751.58 จุด และไหลลงต่อครึ่งบ่ายมาปิดที่ 1,724.98 จุด โดยร่วงไป -40.26 จุด และเท่ากับผลตอบแทนหุ้นไทย YTD ติดลบเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งผู้ขายกลายเป็นมาจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ ที่ขายสุทธิวันนี้ไปถึง -3,859 ล้านบาท อะไรทำให้ตลาดหุ้นไทยซึมลงแบบนี้ ลองมานั่งวิเคราะห์กัน ที่ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยลบมากที่สุด ก็เห็นจะเป็น การที่สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) เปิดเผยว่า สหรัฐฯจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนจำนวน 1,300 รายการ ซึ่งรวมไปถึงสินค้าเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม สินค้าด้านการขนส่ง และสินค้าทางการแพทย์ ในอัตรา 25% ทำให้ตลาดกังวลว่าจะเกิดสงครามการค้าขึ้น และล่าสุดวันนี้ กระทรวงการคลังจีนได้เปิดเผยรายการสินค้าของสหรัฐที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า ซึ่งประกอบด้วยสินค้า 106 ประเภท รวมถึงถั่วเหลือง ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ในอัตราเดียวกับสหรัฐฯที่ 25% เพื่อเป็นการตอบโต้มาตรการภาษีของสหรัฐฯ อีกด้านก็คือ “ยกเลิกค่าฟี” ที่ธนาคารพาณิชย์ต่างออกมาประกาศยกเลิกกันทีละธนาคาร ทำให้รายได้รวมของธนาคารน่าจะลดลงภายในปีนี้เป็นที่แน่นอน ในช่วงบ่าย SET Index ลงลึกมากขึ้นอีกก็เพราะในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารกสิกรไทย ได้มีมติอนุมัติการปรับเป้าหมายทางการเงินของธนาคารในส่วนการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (Non-Interest Income Growth) สำหรับปีนี้ เป็นหดตัว -6 ถึง -8% ซึ่งถือว่าลดลงจากการคาดการณ์จากการประชุมครั้งก่อนว่าจะทรงตัว และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ -3% ถึง -4% สิ่งนี้ อาจสะท้อนว่า เรากำลังจะเห็นกลุ่มธนาคาร เข้าสู่ “สงครามค่าฟี” เพื่อแย่งข้อมูลข้อมูลกันอย่างเต็มตัว รวมถึง รมว.คลัง ได้ให้ความเห็นว่า การปล่อยสินเชื่อให้กับรายใหญ่กับรายเล็กคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่างกัน จึงต้องการเสนอ ธปท. ให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ธุรกิจ SME เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และให้สามารถแข่งขันได้ ประเด็นนี้ หาก ธปท. รับลูกจริง ก็อาจกระทบ NIM ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เช่นกัน ประเด็นที่มีน้ำหนักมากหน่อย ดูเหมือนจะเป็นข้อ 3 และ ข้อ 4 เพราะ ถ้าเอาเฉพาะการปรับฐานของหุ้นธนาคารยักษ์ใหญ่ 3 ตัว คือ KBANK, SCB และ BBL มีผลต่อ SET Index ถึง -7.22 จุด จากที่ตลาดติดลบ -40.26 จุดวันนี้ จะเป็นยังไงต่อหลังจากนี้? ประเด็นเรื่องความกลัวสงครามการค้าระหว่างชาติมหาอำนาจ กว่าเราจะเห็นบทสรุป ก็คงต้องรอไปถึงครึ่งเดือนหลังของเดือน พ.ค. นั้นแปลว่า ตลาดจะขาดความชัดเจน และมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยดังกล่าวค่อนข้างสูง (ความผันผวนยังอยู่) ส่วนประเด็นเรื่องสงครามค่าฟี อันนี้เกิดขึ้นแล้วไม่ต้องรอ และน่าจะทำให้นักวิเคราะห์ออกมาปรับประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารลงได้ในอนาคต ส่วนลดลงเท่าไหร่ อันนี้ผมไม่ทราบครับ มุมมองทางเทคนิคเป็นอย่างไร? แนวรับที่น่าจะเป็นแนวรับสำคัญ และเป็นแนวรับทางจิตวิทยาด้วยก็คือ เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ของ SET Index อยู่ที่ 1,700 จุด ถ้าหลุด 1,700 จุด ก็มีโอกาสลงไปได้ถึง 1,619.22 จุด อย่างที่บอกมาตลอดนะครับ พอร์ตการลงทุนตอนนี้ ควรรักษาระดับให้สมดุล โดยไม่มีหุ้นในสัดส่วนเยอะเกินไป เพราะความผันผวนของตลาดกลับมาแล้วตั้งแต่เดือน ก.พ. แต่ขณะเดียวกัน ถ้ามีหุ้นน้อยเกินไป ก็มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เพราะมุมมองส่วนตัวเชื่อว่า ระยะยาว หุ้นก็ยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด และความเสี่ยงที่ตลาดหุ้นจะเปลี่ยนจากกระทิงเป็นหมีในเวลานี้ ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำอยู่ ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/SinthornCafe/ แหล่งที่มาข่าว :- https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-04-03/u-s-china-tariff-list-takes-aim-at-technologies-beijing-covets http://www.ryt9.com/s/iq10/2808174 คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น Mr.Messenger รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จับหุ้นใหญ่ปะทะหุ้นไซส์กลาง-เล็ก เกาะสังเวียนรีเทิร์น…เดินเกมลงทุนไตรมาส 2 - FINNOMENA ลองมาดูมุมมองการลงทุนในไตรมาส 2 ของ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด กันครับว่ามีมุมมองการลงทุนและประเด็นอะไรที่น่าจับตามองกันบ้าง 2 เม.ย. 2561 ผ่านการลงทุนช่วงโค้งสุดท้ายของเดือนมี.ค.แล้ว นักลงทุนหลายคนอาจเริ่มกลับมาทบทวนอีกครั้งว่า ควรจะวางแผนการลงทุนในหุ้นแบบใดจึงจะสอดรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในไตรมาส 2/2561 หุ้นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ที่น่าจะตอบโจทย์การลงทุนได้ และควรจัดพอร์ตอย่างไรจึงจะเหมาะสม ประเด็นคำถามเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องตีแตก และวิเคราะห์อย่างละเอียด ในมุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประเมินว่า ภาพรวมการลงทุนช่วงไตรมาส 1/2561 มีหลายประเด็นที่ส่งผลต่อทิศทางการซื้อขายหุ้น โดย “ปัจจัยภายนอก” ได้แก่ เรื่องแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield), ทิศทางราคาน้ำมัน และนโยบายการค้าของสหรัฐฯ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลงทุนอย่างยิ่ง ขณะที่ “ปัจจัยภายในประเทศ” ได้แก่ การประกาศผลประกอบการไตรมาส 4/2560 ที่ออกมาต่ำกว่าคาด การประกาศแตกพาร์ของ PTT รวมทั้งการปรับโครงสร้างบริษัทในกลุ่ม เช่น การเข้าถือหุ้น IRPC เพิ่ม และการวางแผนนำหุ้น PTTOR เข้าจดทะเบียนในตลาดปีหน้านั้น ก็เป็นเรื่องที่นักลงทุนส่วนใหญ่จับตาอย่างมาก อย่างไรก็ตามภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว หากวิเคราะห์หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยแบ่งเป็น หุ้นขนาดใหญ่ และ หุ้นขนาดเล็กจะพบได้ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2561จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลถึงวันที่ 14 มี.ค.) SET50 Index ซึ่งเป็นตัวแทนหุ้นขนาดใหญ่50บริษัทแรก ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง +3.4% ขณะที่ sSET Index ซึ่งเป็นตัวแทนหุ้นขนาดเล็ก ปรับตัวลดลง -5.2% ขณะที่อัตราการจ่ายเงินปันผล SET50 Index อยู่ที่ 2.7% และ sSET Index อยู่ที่ 3.1% จับหุ้นใหญ่ปะทะหุ้นไซซ์กลาง-เล็กไตรมาส 2 ในช่วงที่ผ่านมาหุ้นขนาดใหญ่ ยังคงได้รับปัจจัยบวกจากเม็ดเงินของนักลงทุนสถาบันในประเทศ จึงน่าจะมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นขนาดกลาง-เล็ก นอกจากนี้ประเมินว่าหากกระแสเงินทุนต่างชาติพลิกกลับมาเป็นบวก จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง และแนวโน้มการเลือกตั้งชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาส 2/2561 คาดว่าหุ้นขนาดใหญ่จะได้รับอานิสงส์ก่อนหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เพราะหุ้นขนาดใหญ่ จะมีสภาพคล่องในการซื้อขายมากพอที่จะรองรับเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้า โดยกลุ่มที่น่าสนใจ คือ กลุ่มที่อิงเศรษฐกิจภายในประเทศ อาทิ กลุ่มธนาคาร (หุ้นเด่น — BBL, KBANK), กลุ่มค้าปลีก (BEAUTY, COM7), กลุ่มวัสดุก่อสร้างและรับเหมา (SCC, CK, STEC) และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (LH) จับตาปัจจัยเด่นไตรมาส 2/2561 ช่วงไตรมาสที่ 2/2561 ปัจจัยต่างประเทศที่นักลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ, นโยบายการค้าของสหรัฐฯ, การส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของแต่ละธนาคารกลางสำคัญอื่นๆ (BOJ, ECB, BOE) และความผันผวนของราคาน้ำมัน ส่วนปัจจัยในประเทศ คือ กรอบเวลาการเลือกตั้งของไทย, การประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2561 ในช่วงกลางเดือน เม.ย. — กลางเดือน พ.ค. ซึ่งแม้คาดว่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) แต่ยังลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จึงอาจกดดันให้ราคาหุ้นผันผวนง่าย โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ มูลค่าหุ้นไทยมีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับในช่วงก่อนหน้านี้ จัดน้ำหนักลงทุนหุ้นไซซ์ใหญ่และกลาง-เล็ก หากอิงมูลค่าตลาดรวมของหุ้นใน SET50 Index ในปัจจุบัน (14 มี.ค.) จะคิดเป็นสัดส่วนราว 67% ของมูลค่าตลาดรวมทั้งหมด ดังนั้นจากมุมมองที่ว่าหุ้นขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นขนาดกลาง-เล็กต่อไป ประกอบกับตลาดเผชิญปัจจัยเสี่ยงมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 หุ้นขนาดใหญ่น่าจะทนทานต่อปัจจัยเสี่ยงได้ดีกว่าหุ้นขนาดกลาง-เล็ก จึงแนะนำ “เพิ่มน้ำหนัก” หุ้นขนาดใหญ่ในระดับ 70% ขึ้นไป และแนะนำ “ลดน้ำหนัก” หุ้นขนาดกลาง-เล็กต่ำกว่ามาตรฐาน หรือน้อยกว่า 30% อย่างไรก็ดี การพิจารณาน้ำหนักข้างต้น เป็นเพียงการจัดสรรน้ำหนักการลงทุนโดยอิงตามมูลค่าตลาดเป็นสำคัญ แต่ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ด้วยในการกำหนดสัดส่วนการลงทุน เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม, upside ของหุ้น และแนวโน้มการเติบโตของผลประกอบการในอนาคตด้วย สังเวียนการลงทุนไตรมาส2/2561 ใกล้เข้ามาเต็มที ถึงเวลาวางหมากเดินเกมลงทุนรอบใหม่แล้ว โดย TISCO Wealth Advisory ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/tiscomastery/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เงินดิจิทัล และ ICO - เหรียญ 2 ด้านที่ทุกฝ่ายเลือกได้ - FINNOMENA บทความนี้จะฉายภาพให้เห็น 2 ด้านทั้งมืดและสว่างที่เกิดขึ้นในวงการเงินดิจิทัล เหรียญโทเคนดิจิทัล ไปจนถึงเรื่อง ICO มาลองดูกันว่าด้านบวกและด้านลบมีอะไรบ้าง แล้วสามารถเปลี่ยนแปลงระบบการเงินและประเทศได้อย่างไรบ้าง 23 มี.ค. 2561 ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความอยู่นี้ เหลือบไปดูราคา Bitcoin และ Ethereum กำลังผันผวนรุนแรง โดยบิทคอยน์ราคาอยู่ที่ 7,634.9 BTC/USD ถ้ามองว่าถูกก็ถูกคือราคามันลงมาจากยอดดอยที่เฉียด 20,000 BTC/USD หรือกว่า 60% ถ้ามองว่าแพงก็แพงคือราคามันขึ้นมาจาก 971.5 BTC/USD หรือเกือบ ๆ 700% เมื่อคิดจากราคาปีที่แล้ว บทความนี้จะฉายภาพให้เห็น 2 ด้านทั้งมืดและสว่างที่เกิดขึ้นในวงการเงินดิจิทัล เหรียญโทเคนดิจิทัล ไปจนถึงเรื่อง ICO โดยผู้เขียนมองว่ามีทั้งด้านบวกและลบ ทั้งนักลงทุน ผู้ออกเหรียญ ไปจนถึงรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลควรพิจารณาให้ดี ขออนุญาตแจ้งตรงนี้ว่าบทความฉบับนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ได้สะท้อนมุมมองของสมาคมฟินเทคประเทศไทยที่ผู้เขียนเป็นกรรมการอยู่แต่อย่างใด สำหรับนักลงทุนควรที่จะลดความโลภ ความหวังที่จะ “รวยทางลัด” ควรเข้าใจสิ่งที่ตัวเองลงทุนเป็นอย่างดี ด้านผู้ออกเหรียญก็เช่นกัน ณ จุดนี้ต้องลดความโลภลง ควรมีความรับผิดชอบ การระดมทุนทุกครั้งก็เหมือนแบกความหวังของทุกคนไว้บนบ่าโดยต้องคิดจริงทำจริงอย่างตั้งใจ สำหรับภาครัฐเอง การแบนไปซะทั้งหมดอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย แต่น่าจะเป็นการเอาข้อดี หรือประโยชน์ของสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาประเทศ รูปที่ 1 ราคาบิทคอยน์ย้อนหลัง 1 ปี | ที่มา Bitfinex ผู้เขียนเชื่อว่าเรื่องนี้เป็น “เหรียญ 2 ด้าน” คือมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือเทคโนโลยี Blockchain ที่ใช้เก็บและส่งต่อเงินดิจิทัลเหล่านี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการเงินโลก ขณะที่ด้านลบคือแรงเก็งกำไรจากฝูงชน (Speculative herd behavior) ที่ทำให้ราคาสกุลเงินดิจิทัลหลักเพิ่มขึ้นนับร้อยนับพันทวีคูณโดยไม่มีพื้นฐานที่เพียงพอรองรับ ส่งผลให้ความผันผวนของ Bitcoin และ Ethereum สูงเกินไปจนน่าเป็นห่วง ลองค่อย ๆ ดูกันไปที่ละด้านนะครับ สำคัญคือเราจะเอาด้านที่ดีมาใช้ประโยชน์กับประเทศเราหรือไม่ หรือจะตัดสินใจในเรื่องนี้โดยการดูแต่ “ข้อเสีย” ของมันอย่างเดียว เริ่มที่ความเคลื่อนไหวของภาครัฐ ล่าสุดประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างมีมาตรการตอบรับต่อเรื่องนี้ เช่นจีนได้ห้ามการระดมทุน ICO ไปแล้วและได้ออกแถลงการเตรียมแบนการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์กลางซื้อขาย เช่นเดียวกับเกาหลีใต้ที่ได้ประกาศห้ามระดมทุนผ่าน ICO ส่วนสหรัฐฯ เท่าที่ติดตามยังไม่ได้มีการแบนอะไรแต่มีการเตือนถึงความเสี่ยงของการลงทุนในเงินดิจิทัลเหล่านี้ ปัจจุบันเงินดิจิทัลเหล่านี้ไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย และยังไม่มีกลไกการกำกับดูแลที่ชัดเจน ฟังแล้วดูน่ากลัวใช่มั้ยล่ะครับ มาดูที่บ้านเรากันบ้าง ล่าสุดทาง รมว.คลังได้มีแนวคิดที่จะเก็บภาษี VAT 7% เนื่องจากมองเงินดิจิทัลเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าจึงเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เมื่อมีรายได้จากการขายสกุลเงินดิจิทัล ผ่านพ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และร่าง พ.ร.ก. ร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัล) โดยมองว่ากฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าวจะเปิดกว้างให้ประเทศไทยสามารถรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยไม่ปฏิเสธหรือปิดกั้น ส่วนทางแบงค์ชาติล่าสุดได้มีประกาศเรื่องไม่ให้สถาบันการเงินไทยทำธุรกรรมกับสกุลเงินดิจิทัล ขณะที่กลต. กำลังเตรียมออกเกณฑ์ในการกำกับดูแลเรื่องนี้ ทั้งหมดนี้ผมมองว่ากลยุทธ์ที่ทางการบ้านเราผนวกกันใช้คือเข้าไปชะลอการเติบโตของการระดมทุนของผู้ออก และการเก็งกำไรของนักลงทุนบ้านเราไว้ก่อน จากนั้นให้หน่วยงานกำกับดูแลออกเกณฑ์การควบคุมที่เหมาะสมออกมา ซึ่งเป็นแนวคิดที่ยอมรับได้ แต่ก็ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะในโลกการเงินเสรีนั้น ก็เหมือนการไหลของกระแสน้ำ ถ้าเราปิดทางหนึ่ง กระแสน้ำก็ไหลไปอีกทางหนึ่ง ถ้าปิดไม่ให้ระดมทุนในไทย บริษัทไทยก็ไประดมทุนในต่างประเทศได้อยู่ดี ดังนั้นไม่ควรปิดนาน และเมื่อเปิดก็ควรเปิดในลักษณะที่ยืดหยุ่น และสะดวกไม่แพ้กับ Ecosystem ในต่างประเทศ Pump & Dump มีอยู่ในทุกยุคสมัย คำ ๆ นี้มามานานหลายสิบปีแล้วเกิดขึ้นกับสินทรัพย์ต่าง ๆ นานาชนิด แปลเป็นไทยง่าย ๆ คือ “ลากขึ้นไปเชือด” เริ่มจากการจงใจปล่อยข่าวเท็จเพื่อเก็งกำไร หลังจากนั้นก็เชียร์ขายทิ้ง ใครที่อยู่ต้นรอบก็ร่ำรวย ส่วนใครที่อยู่ปลายรอบก็ติดดอยไป พื้นฐานที่ทำให้การ Pump & Dump มีอมาอยู่คู่โลกเราใบนี้ตลอดมาและตลอดไปก็คือ “ความโลภ” ความอยากรวยที่อยู่ในใจคนทุกยุคทุกสมัย มาในยุคเงินดิจิทัลนี้การทำ Pump & Dump นี่ดูจะตามรอยกันยากหน่อย เพราะมักจะทำกันผ่านเครื่องมือออนไลน์ เช่น Slack, Telegram ซึ่งแค่มีอีเมลก็สามารถใช้บริการได้แล้ว อย่างนี้จะหาตัวเป็น ๆ กันคงไม่ง่าย แต่ละกลุ่มจะมีผู้นำจิตวิญญาณคอยส่งสัญญาณเวลาในการซื้อเหรียญเลยว่าเหรียญไหน ตลาดไหน เวลากี่โมง เมื่อสมาชิกในกลุ่มซื้อกันครบแล้ว ก็ช่วยกันประกาศให้โลกรู้ว่าเหรียญนี้มันดียังไง บางคนก็แสดงบทบาทเป็นมือใหม่ บางคนก็เป็นกูรู เขียนบล็อกบ้าง โพสต์โซเชี่ยลบ้าง พอฝูงชนเข้ามาอุดหนุนจนราคาเหรียญขึ้นไปมาก ๆ คนกลุ่มผู้นำก็จะเทขายเหรียญนั้นออกมาจนราคากลับไปอยู่ที่เดิมในที่สุด ซึ่ง pattern ที่เห็นนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการปั่นหุ้น หรือการปั่นราคาอสังหาฯ ที่เคยเกิดขึ้นในโลกเราที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหมดขับเคลื่อนด้วยความโลภเป็นที่ตั้ง ผู้เขียนไม่ได้เหมารวมว่าทุก ๆ ICO มีการ Pump & Dump นะครับ เพียงแต่พฤติกรรม Pump & Dump เหล่านี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนพึงระวัง และไม่ควรไปร่วมขบวรการ Stable Coin คือตัวเลือกที่ทุกฝ่ายควรพิจารณา ปัจจุบันเริ่มมีสิ่งที่เรียกว่า Stable Coin คือสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่เมื่อเทียบกับเงินตรา ตัวอย่างเช่น USDT (US Dollar Teather) ซึ่งช่วยปิดจุดอ่อนคือความเหวี่ยงของ Crypto-currency แต่ยังได้ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนในการแลกเปลี่ยนเงินตราดิจิทัลได้ ผู้เขียนขอสนับสนุนหนึ่งเสียงให้ประเทศไทยมี Baht Coin ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 1 บาทเท่ากับ 1 Baht Coin ในอนาคตผมเชื่อว่าทุกประเทศจะมี National Crypto-currency ของตัวเองโดยมีเงินตรา Back หรือเป็นหลักประกันอยู่ข้างหลังเท่ากับจำนวน Stable Coin ที่มีในระบบ และอาจจะไปถึงขั้นที่เงินตราของทุกประเทศถูกนำมาแลกเปลี่ยนกันบนระบบ Blockchain หรือเทคโนโลยีในอนาคตที่พัฒนาจาก Blockchain เป็นพื้นฐาน รูปที่ 2 การเติบโตของ Market Cap ของ USDT (Stable Coin) | ที่มา Coinmarketcap.com ถ้าใช้ Stable Coin ร้านค้าที่ช่วงหลังเลิกรับ Bitcoin กันเยอะเพราะกลัวเรื่องความผันผวนก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะ Stable Coin ได้แก้ปัญหานั้นแล้ว เช่นเดียวกับการกู้ยืมโดยเฉพาะ peer to peer lending ที่ไม่ช้าก็เร็วน่าจะแพร่หลายมากทั่วโลกก็ไม่ต้องกังวลกับความผันผวนของเงินดิจิทัลเช่นกัน ในส่วนของภาครัฐทุกประเทศ ที่สุดแล้วก็ต้องเข้ามาดูเรื่องภาษี รวมไปถึงเสถียรภาพของค่าเงินที่เกิดขึ้นบนระบบบล็อคเชนเหล่านี้ให้เป็นธรรมและเหมาะสม แต่จุดที่พึงระวังคือไม่ควรไปยับยั้งไม่ให้เกิด เพราะสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นแล้วและคงจะห้ามได้ยาก ถ้าปิดไม่ให้ทำในประเทศไทย อีกหน่อยก็คงไปเทรดกันที่ลักแซมเบิร์ก เบอร์มิวดา ไอร์แลนด์กันหมด คล้าย ๆ กับกองทุนต่างประเทศจำนวนมากที่ไปจดทะเบียนที่ลักแซมเบิร์กเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทุกวันนี้ต้องมองว่าประเทศเรามีประเทศอื่นอีกทั้งโลกเป็นคู่แข่ง ไม่อย่างนั้นประเทศไทยจะลำบากแน่ Security Token กับโลกที่ไม่ต้องมีนายหน้า และตลาดอีกต่อไป ผมเชื่อว่าเทคโนโลยี Blockchain จะทำให้สินทรัพย์แทบทุกชนิดไม่จำเป็นต้องมีนายหน้า และตลาดกลางซื้อขายอีกต่อไป ตามนิยามของเหรียญดิจิทัล (Token) ที่เกิดจากการทำ ICO นั้น ถ้าหาก Token เหล่านั้นมีส่วนร่วมในผลกำไร หรือผลการดำเนินงานของบริษัท หรือเสนอโอกาสในการสร้างผลตอบแทน หรือมีส่วนร่วมกับการลงทุนของบริษัท เหรียญ (Token) เหล่านั้นจะเข้าข่ายการเป็นหลักทรัพย์ ซึ่งหนีไม่พ้นการที่ SEC จะเข้ามากำกับดูแลภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ ขณะที่ Utility Token คือเหรียญที่ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทในอนาคต ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการลงทุน ตัวนี้จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ (จากสถิติพบว่ามีเพียงประมาณ 10% ที่จัดเป็น Utility Token) ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าในอนาคต การใช้งาน (use case) ของ Security Token บนเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถช่วยให้ทั้งหลักทรัพย์ และสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถแปลงไปเป็นเหรียญได้ เช่นหุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก อสังหาฯ REIT ล้วนแต่สามารถนำมาเทรดบนระบบ Blockchain และจัดเป็น Security Token ได้ทั้งสิ้น ซึ่งจะเอื้อให้นักลงทุนสามารถเข้าลงทุนในตลาดการเงินได้อย่างไร้พรมแดนมากขึ้น สภาพคล่องของการลงทุนจะมากขึ้น เม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนมากขึ้น (โดยเฉพาะจากคนรุ่นใหม่) เท่ากับว่าตลาดการเงิน (Financial Market) จะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บนต้นทุนที่ถูกลง รูปที่ 3 ตัวอย่าง Goldmint ซึ่งเป็น Crypto Asset ที่มีทองคำหนุนหลัง | ทีมา: Goldmint.io ทั้งหมดก็เป็นการฉายภาพให้เห็น “เหรียญ 2 ด้าน” ของเงินดิจิทัล และ ICO ที่ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ผู้ออกเหรียญ และนักลงทุนควรจะมองให้ครบ ให้เข้าใจแท้จริงว่าอะไรเป็นอะไร และเลือกในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศของเรา FundTalk รายงาน ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644197 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
3 ปัจจัย ดอลล่าร์จะกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง - FINNOMENA เมื่อต้นเดือน ก.พ. เราได้เห็นการแข็งค่าของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ จากแนวโน้มที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งภายในปีนี้ จึงเกิดคำถามขึ้นว่าดอลล่าร์จะแข็งค่าในระยะยาวแล้วหรือยัง? ซึ่งหากพิจารณาแล้วยังมีอยู่ 3 ปัจจัยที่น่าจะทำให้การแข็งค่าของดอลล่าร์สหรัฐฯไม่เกิดขึ้นง่ายๆภายในปีนี้ มีอะไรบ้าง ลองไปดูกันครับ 20 มี.ค. 2561 กำลังจะสิ้นสุดไตรมาส 1/2018 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า นับเป็นการเริ่มต้นปีด้วยการต้อนรับการกลับมาของความผันผวนอย่างแท้จริง หลังจากที่ปี 2017 เราแทบไม่เห็นการติดลบหนักๆให้เห็นเลยทั้งปี ซึ่งความผันผวนที่ผมเอ่ยถึงนี้ ก็คือ ความผันผวนของตลาดหุ้น ที่เป็นผลมาจากการที่มุมมองของนักลงทุนในตลาดเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในแง่ของความคาดหวังเงินเฟ้อในอนาคต และเชื่อมโยงไปถึงมุมมองการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และค่าเงินดอลล่าร์นั่นเอง ความเดิมตอนที่แล้ว เมื่อต้นเดือน ก.พ. เราได้เห็นการปรับตัวลงอย่างรุนแรงภายในระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งสัปดาห์ของตลาดหุ้นทั่วโลกซึ่งนำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากการคาดการณ์ว่า เฟด มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งภายในปีนี้ และทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯแข็งค่า การแข็งค่าของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ถ้าเกิดขึ้นจริง ก็อาจหมายถึงการดึงกระแสเงินทุนที่ไหลอยู่ในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกให้กลับไปอยู่ที่อเมริกาอีกรอบ ดังนั้นทิศทางที่เปลี่ยนไปของค่าเงินดอลล่าร์จึงสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์การจัดพอร์ตในช่วงที่เหลือของปีนี้เป็นอย่างมากว่า “ใกล้ถึงจุดเปลี่ยนที่ค่าเงินดอลล่าร์จะแข็งค่าในระยะยาวแล้วหรือยัง?” เพราะถ้าเกิดขึ้นดอลล่าร์กำลังจะแข็งค่าเมื่อเทีบกับสกุลอื่นขึ้นมาจริงๆ ก็คงเป็นเวลาสำหรับการลดพอร์ตการลงทุนในหุ้น จากกระแสเงินทุนไหลออก และทำให้เกิดความผันผวนคล้ายๆกับต้นเดือน ก.พ. อีกครั้งก็เป็นได้ มุมมองส่วนตัวของผม ณ ตอนนี้ เชื่อว่า ยังมีปัจจัยอยู่อีก 3 ปัจจัยที่น่าจะทำให้การแข็งค่าของดอลล่าร์สหรัฐฯไม่เกิดขึ้นง่ายๆภายในปีนี้ มีอะไรบ้าง ลองไปดูกันครับ ผลการประชุม ECB เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา มีการปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในยูโรโซน ขึ้นเป็น 2.4% จาก 2.3% ในปีนี้ ขณะที่ไม่ได้มีการพูดถึงการเพิ่มขึ้นของวงเงิน หรือ ขยายระยะเวลาของโครงการ QE เลยในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนในตลาดมองว่า มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ ECB จะหยุดของการ QE ภายในปีนี้เลย สิ่งนี้ สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของ Jens Weidmann ประธานกรรมการของ Deutsche Bank mี่ให้สัมภาษณ์ไว้ในวันที่ 18 มี.ค. ว่า เศรษฐกิจในยูโรโซนขยายตัวได้ดี คาดการณ์เงินเฟ้อก็ทยอยปรับตัวดีขึ้น สิ่งนี้เปิดโอกาสให้ ECB ยุติโครงการ QE ได้เร็วขึ้น (Weidmann ถูกสื่อในเมืองนอกคาดการณ์ว่าจะขึ้นมาเป็นประธาน ECB แทน Mario Draghi หลังครบวาระในปีหน้า) . กลิ่นของสงครามการค้าที่อาจรุนแรงขึ้น หลังจาก ปธน.สหรัฐฯ Donald Trump มีคำสั่งขึ้นภาษีนำเข้าอะลูมิเนียมและเหล็ก นอกจากจะกระทบความสัมพันธ์ทางการค้ากับนานาประเทศแล้ว แม้แต่ทีมเศรษฐกิจในทำเนียบขาวเอง ก็มีคนไม่เห็นด้วยจำนวนไม่น้อย จนเราเห็นการลาออกจากตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และ รัฐมนตรีต่างประเทศ คำถามคือ ตั้งกำแพงภาษีแล้วกระทบค่าเงินยังไง? คำตอบก็คือ หากเกิดมาตรการตอบโต้จากประเทศคู่ค้า ก็น่าจะทำให้เศรษฐกิจทั้งโลกสะดุดลงไม่มากก็น้อย แต่คนที่อาจจะสะดุดในระยะสั้นมากที่สุด ก็น่าจะเป็นสหรัฐฯเอง และจากสถิติย้อนหลัง เราพบว่า ผลของ Trade War จะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลหลัก มากกว่านั้น เราเห็นนโยบายของ Trump ที่ต้องการใช้งบประมาณในการลงทุนมากขึ้น ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีความประชานิยมสูง ก็จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Twin Deficits คือ ขาดดุลการค้า และขาดดุลการคลัง ก็จะยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นต่อค่าเงินดอลล่าร์ลดลงในระยะยาว ตลาดเอง Overreact เกินไปหรือเปล่าว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจริงๆก็มีหลักฐานทั้งในแง่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และคาดการณ์เงินเฟ้อที่ดูดีขึ้น รวมถึงถ้อยแถลงของนาย Jerome Powell ประธานเฟด ที่ส่งสัญญาณ Hawkish มากกว่า Janet Yellen ประธานเฟดคนก่อน แต่ถึงอย่างนั้น 2 ปัจจัยข้างบนที่ผมเขียนถึงก่อนหน้านี้ ก็อาจเพียงพอที่จะทำให้เฟด เลือกที่จะถ่วงเวลารอดูท่าทีและทิศทางการดำเนินงานของรัฐบาลภายใต้การนำของ Trump ก่อนว่าจะเดินทางไหน และโดนตอบโต้ในด้านใด คืนนี้ และคืนพรุ่งนี้ จะมีการประชุม FOMC กัน และตลาดก็คาดการณ์ว่า เฟดน่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมครั้งนี้ รวมถึงยังหวังกันค่อนข้างสูงว่า จะมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ดีขึ้นมากกว่าการประชุมเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้เชื่อว่า อาจมีการส่งสัญญาณเป็นนัยๆว่า จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายปีนี้ 4 ครั้ง ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องมาดูกันก็คงจะเป็น Dotplot หรือ ประมานการณ์ดอกเบี้ยนโยบาย ที่ให้คณะกรรมการปักหมุดลงไปว่า ในอนาคต คาดว่าจะเห็น Policy Rate อยู่ที่ตรงไหน และถ้า Dotplot นี้สูงกว่ารอบก่อนๆ ก็อาจหมายถึง การขึ้นดอกเบี้ยที่อัตราเร่งเร็วขึ้นจริงๆ ก็เป็นไปได้ ดังนั้น การประชุม FOMC รอบนี้ ถึงถือว่า มีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางของค่าเงินดอลล่าร์ และกระแสเงินทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกพอสมควร แหล่งที่มาข้อมูล :- https://money.usnews.com/investing/news/articles/2018-03-18/weidmann-economic-developments-could-allow-ecb-to-end-bond-buys http://www.cmegroup.com/trading/interest-rates/countdown-to-fomc.html https://www.economist.com/news/leaders/21738362-donald-trumps-tariffs-steel-and-aluminium-would-be-just-start-rules-based-system https://www.marketwatch.com/story/what-to-expect-from-the-new-fed-dot-plot-on-interest-rates-2018-03-16 คำเตือน การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
HTC หุ้นไทยที่ขาย Coke - FINNOMENA คงไม่มีใครไม่รู้จักโค้กซึ่งมีบริษัทโคคา-โคล่าเป็นเจ้าของ แต่รู้ไหมว่าคุณสามารถลงทุนในโคคา-โคล่าผ่านหุ้นไทยได้! มาทำความรู้จัก HTC...หุ้นไทยที่ได้สิทธิ์ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มของโคคา-โคล่าในภาคใต้ของไทยกัน 20 มี.ค. 2561 หากพูดถึงเรื่องเครื่องดื่มน้ำดำคงไม่มีใครไม่รู้จักโค้ก (Coke) ที่มีการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าไปวางขายทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่บริษัทโคคา-โคล่า (Coca-Cola) ซึ่งเป็นเจ้าของ Coke ได้ส่งสินค้าเข้ามาขายในไทยอย่างแพร่หลาย Coca-Cola นอกจากจะมีแบรนด์ Coke ที่เป็นน้ำดำผสมโซดาแล้วยังมีแบรนด์ดังๆ อีกหลาย แบรนด์อย่างสไปรท์ (Sprite) และมินิท เมด (Minute Maid) อีกด้วย โดยบริษัท Coca-Cola จดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศด้วยชื่อ Ticker ว่า KO แต่เราก็ยังสามารถลงทุนใน KO ได้ทางอ้อมผ่านหุ้น HTC หรือ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับสิทธิ์ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มหลายแบรนด์ของ KO ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่วนในภาคอื่นๆ ของประเทศไทยนั้น บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย หุ้น HTC มีธุรกิจคือ ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแบรนด์ของ KO โดย KO จะไม่ได้มาขยายโรงงานผลิต บรรจุ และจัดจำหน่ายเองทั่วโลกเพราะอาจจะต้องใช้เงินลงทุนสูง ใช้เวลาในการสร้าง แถมยังไม่มีระบบขนส่ง (Logistic) ในการจัดจำหน่ายสินค้าของตัวเองไปยังร้านค้าต่างๆ เลยต้องให้ HTC เป็นคนดำเนินงานตรงส่วนนี้ให้ ราคาหุ้นของ HTC มีการปรับตัวขึ้นสูงมาก ถ้าเราไปดูราคา Low ก่อนคือในวันที่ 9/1/2561 ราคาจะอยู่ที่ 17.30 บาท และมาทำ High 29.00 บาทในไม่กี่วันนี้ หรือปรับตัวขึ้นกว่า 60% ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน สาเหตุการขึ้นราคาหุ้นของ HTC นั้น มาจากปี 2559 ที่กำไรโตขึ้นมากช่วงไตรมาส 1 (Q1) ปี 2559 คิดเป็น 123% เทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) เพราะเริ่มดำเนินการผลิตขวด PET เป็นของตัวเอง ทำให้ลดต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ไปพอสมควร ซึ่งค่าบรรจุภัณฑ์เป็นต้นทุนที่เยอะที่สุด อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin หรือ GPM) ใน Q1 ปี 2558 อยู่ที่ 28.7% ส่วนใน Q1 ปี 2559 โตขึ้นเป็น 31.9% ซึ่ง GPM ที่โตขึ้นมาจากการผลิตขวด PET เองก็ส่งผลให้กำไรสูงขึ้น อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin หรือ NPM) จึงเพิ่มจาก 1.6% มาเป็น 5.8% เทรนด์นี้ยังคงมาต่อในปี 2560 ที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (Selling, General and Admin Expense หรือ SGA) ก็น้อยลงไปอีกเพราะ HTC ให้ส่วนลดทางการค้าน้อยลงเวลาคนมาซื้อสินค้า โดยรายได้รวมและกำไรของ HTC มีดังนี้ ปี รายได้ (ล้านบาท) กำไร (ล้านบาท) 2558 5,458.8 100.8 2559 5,732 241 2560 5,690.9 283 HTC ยังได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการปรับค่าน้ำตาลโดยรัฐบาลอีกด้วย โดยนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ได้ให้ข้อมูลว่า ทุก 1 บาทที่ราคาน้ำตาลในไทยลดลง จะเพิ่มกำไรให้กับ HTC ถึง 60 ล้านบาท ซึ่งน้ำตาลเป็นต้นทุน 35% ของต้นทุนรวมนั่นเอง ทั้งหมดนี้เป็นกรณีศึกษาของการปรับตัวขึ้นของ HTC ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ผลตอบแทนในอดีตไม่สามารถรับประกันถึงผลตอบแทนในอนาคตได้ ผู้ลงทุนควรศึกษาปัจจัยอื่นๆ ประกอบไปด้วยเช่นกันครับ ——————— ค้นหาหุ้นและดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี พร้อมกราฟราคาได้ที่ FINNOMENA Stock Quote (Beta) https://www.finnomena.com/stock/ —————————- ข้อมูลอ้างอิง: https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=HTC&ssoPageId=5&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/companynews.do?symbol=HTC&ssoPageId=8&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รวมโพยหุ้น IPO ปี 2018: บริษัทไหนทำธุรกิจอะไรบ้าง - FINNOMENA ใครกำลังศึกษาหุ้น IPO ที่จะออกขายในปีนี้ ลองมาดูกันว่าบริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจอะไร และจะนำเงินจาก IPO ไปลงทุนทำอะไรบ้าง 20 มี.ค. 2561 1) ABM: บริษัท เอเชีย ไบโอแมส จำกัด มหาชน (IPO แล้ว) ธุรกิจ: ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทจัดหาและจัดจำหน่ายสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้ กะลาปาล์ม (Palm Kernel Shell) ไม้สับและส่วนอื่นๆ ของไม้ (Woodchip and others) ขี้กบ ขี้เลื่อย และฝุ่นไม้ (Wood Shavings, Sawdust, Wood Dust) ชีวมวลอัดแท่ง (Biomass Pellet) สินค้าอื่นๆ นำเงิน IPO ไปลงทุนใน: การขยายพื้นที่เก็บรวบรวมกะลาปาล์มเพิ่มเติมในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย การจัดตั้งโรงงานผลิตชีวมวลอัดแท่งกับบริษัทร่วมทุนบริเวณภาคใต้ การจัดตั้งโรงงานผลิตไม้สับ และโรงงานผลิตชีวมวลอัดแท่งที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) CHAYO: บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด มหาชน (IPO แล้ว) ธุรกิจ: ลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้ ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า นำเงิน IPO ไปลงทุนใน: การประมูลซื้อกองสินทรัพย์ด้อยคุณภาพทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน การจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน การใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน 3) CHIC: บริษัท ชิค รีพับบลิค จำกัด (มหาชน) ธุรกิจ: ขายสินค้าผ่านหน้าร้านของบริษัท เป็นศูนย์รวมจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ สินค้าตกแต่งบ้าน ของใช้ในบ้าน โคมไฟตกแต่ง ที่นอนและเครื่องนอนอย่างครบวงจร ขายงานโครงการ เป็นการขายสินค้าเฟอร์นิเจอร์พร้อมติดตั้งให้กับโครงการต่าง ๆ ในลักษณะเฟอร์นิเจอร์แบบติดผนัง (Built-in) และเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว (Loose Furniture) ให้บริการพื้นที่เช่าสำหรับร้านค้าเช่า เป็นการแบ่งพื้นที่ให้เช่าภายในสาขาของบริษัทสำหรับร้านค้าเช่าต่างๆ นำเงิน IPO ไปลงทุนใน: การขยายสาขา การชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวกับสถาบันการเงิน การใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ 4) CMAN: บริษัท เคมีแมน จำกัด มหาชน ธุรกิจ: ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายปูนไลม์ และผลิตภัณฑ์เคมีต่อเนื่อง เป็นผู้ดำเนินงานเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และเพื่อทำปูนขาว) นำเงิน IPO ไปลงทุนใน: การขยายธุรกิจปูนไลม์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน การใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ 5) CMC: บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด มหาชน ธุรกิจ: ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และบ้านเดี่ยว โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการประเภทคอนโดมิเนียมเป็นหลัก กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า กลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง นำเงิน IPO ไปลงทุนใน: การขยายธุรกิจของบริษัท การชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน การใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ 6) DOD: บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด มหาชน ธุรกิจ: ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงามและสุขภาพ นำเงิน IPO ไปลงทุนใน: โรงงานสกัดวัตถุดิบ และห้องปฏิบัติการวิจัยระดับสากล การใช้พัฒนาตราสินค้าใหม่ของบริษัท การใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน การใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ 7) NCAP บริษัท นครหลวง แคปปิตอล จำกัด มหาชน ธุรกิจ: สินเชื่อเงินกู้ยืมเพื่อการพาณิชย์ (Commercial Loan) สินเชื่อจากการซื้อสิทธิเรียกร้อง (Factoring) สินเชื่อสัญญาเช่าทางการเงิน (Leasing) สินเชื่อสัญญาเช่าซื้อ (Hire Purchase) นำเงิน IPO ไปลงทุนใน: การใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ การขยายธุรกิจของบริษัท การชำระคืนเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน ตั๋วแลกเงินและหุ้นกู้ ——————— ค้นหาหุ้นและดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี พร้อมกราฟราคาได้ที่ FINNOMENA Stock Quote (Beta) https://www.finnomena.com/stock/ ——————— ข้อมูลอ้างอิง https://www.set.or.th/th/company/ipo/upcoming_ipo_set.html https://www.settrade.com/C13_StockIpo.jsp —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SCBAM Market Insight (23 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2561) - FINNOMENA สรุปภาวะตลาดและมุมมองการลงทุน ประจำสัปดาห์นี้ “จับตาถ้อยแถลงของนาย Jerome Powell ในวันที่ 28 ก.พ.” เรามาดูมุมมองจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ กันครับว่าหลังจากที่บันทึกการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ของเดือนมกราคมออกมา มุมมองการลงทุนในสัปดาห์นี้จะเป็นอย่างไร 2 มี.ค. 2561 รายงานภาวะตลาด ประจำวันที่ 23 ก.พ. – 2 มี.ค. 2561 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง หลังจากที่บันทึกการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ของเดือนมกราคมออกมา โดยที่ประชุมมองเศรษฐกิจดีขึ้น ทำให้ตลาดกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ตลาดหุ้นจีน A-Share ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดอื่นทั่วโลกที่มีการปรับตัวขึ้นไปก่อนหน้า หลังจากเปิดทำการจากวันหยุดตรุษจีน ในนณะที่จีนจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในวันที่ 5 มีนาคม ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลง หลังจากตัวเลข GDP ในไตรมาส 4 ปีที่แล้วออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะที่ตัวเลขการส่งออกในเดือนมกราคมยังคงขยายตัวราคาทองคำปรับตัวลงจากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ซึ่งสวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และตัวเลขการผลิตของประเทศ Venezuela ยังคงปรับตัวลง กลยุทธ์การลงทุน : ขายทำกำไรตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาจากช่วงกลางเดือน ก.พ. และซื้อหุ้นจีน A-share แนะนำให้ขายทำกำไรตลาดที่ดีดกลับขึ้นมาจากช่วงกลางเดือน ก.พ. เนื่องจากตลาดหุ้นยังมีแนวโน้มผันผวนต่อ หลังจากบันทึกการประชุมรอบเดือน ม.ค. ระบุว่า FED มีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยปรับเพิ่มการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2018 ทำให้ตลาดมีความกังวลว่า FED อาจขึ้นดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตาม หุ้นยังเป็นสินทรัพย์ที่ลงทุนได้เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น สนับสนุนการบริโภคและผลประกอบการบริษัท จึงแนะนำให้นักลงทุนหาจังหวะทยอยสะสมหุ้นที่มีการปรับตัวลง ตลาดตราสารทุน ตลาดหุ้นจีน A-share: แนะนำให้ซื้อหุ้นจีน A-share หลังจากตลาดปิดในช่วงเทศกาลตรุษจีน ทำให้ตลาดหุ้น laggard ในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการดีดกลับ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีนมักปรับตัวขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคในช่วงหลังจากวันหยุดยาว จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ: แนะนำให้นักลงทุนทยอยสะสมหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจยังออกมาสูงกว่ารคาดการณ์ของนักวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความกังวลเรื่องการใช้นโยบายการเงินที่รัดกุม นอกจากนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นอีกปัจจัยซึ่งช่วยให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนดีขึ้น ขณะที่นาย Jerome Powell มีความเห็นที่เป็นค่อนข้างกลางกับนโยบายการเงิน จึงคาดว่า FED จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป ตลาดหุ้นไทย: แนะนำให้ทยอยสะสมหุ้นไทย จากเศรษฐกิจที่มีสัญญาณดีขึ้นในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐที่คาดว่าเม็ดเงินในปี 61 จะสูงขึ้น รวมทั้งโครงการ EEC จะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและการลงทุนระยะถัดไป ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: แนะนำให้ทยอยสะสมหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากตลาดปรับตัวลงจากค่าเงินเยนแข็งค่าจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ valuation ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลงมาในระดับที่น่าสนใจ ขณะที่นโยบายการเงินของ BOJ ยังมีทิศทางผ่อนคลายต่อไป หลังจากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสนับสนุนให้นาย Haruhiko Kuroda ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน BOJ อีกสมัย คำแนะนำการลงทุน แนะนำให้ลงทุนใน กองทุนหุ้นจีน A-share SCBCHA ** (ที่มา: SCBAM) หมายเหตุ : Buy หมายถึง ซื้อ (+2), Sell หมายถึง ขาย (-2), Accumulate หมายถึง ทยอยเข้าซื้อสะสม (+1), Hold หมายถึง ชะลอการเข้าลงทุน (0) และ Trim หมายถึง ทยอยขายออกเพื่อทำกำไร (-1) ตลาดตราสารหนี้ ตราสารหนี้ไทย: แนะนำเพิ่มการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน เพื่อเพิ่มผลตอบแทน เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีอัตราผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ เงินเฟ้อไทยยังคงต่ำกว่ากรอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย ตราสารหนี้ต่างประเทศ: แนะนำให้เน้นลงทุนตราสารหนี้บริษัทเอกชนประเภท High Yield สหรัฐฯ จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง สนับสนุนผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน โดยเน้นให้ลงทุนในตราสารระยะสั้น เพื่อลดผลกระทบจากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นจากนโยบายการเงินตึงตัวในหลายประเทศ คำแนะนำการลงทุน แนะนำให้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ไทย SCBFP และกองทุน high yield short duration สหรัฐฯ SCBUSHYA ** สินทรัพย์ทางเลือก ทองคำ: แนะนำให้นักลงทุนทยอยสะสมทองคำ จากแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากตลาดได้คาดการณ์ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ นโยบายลดภาษี รวมถึงการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไว้มากแล้ว ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ขาดปัจจัยหนุนให้แข็งค่า นอกจากนี้ นักลงทุนควรถือทองคำเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากทองคำยังเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่มักปรับตัวขึ้นในช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน น้ำมัน:แนะนำให้นักลงทุนทยอยสะสมน้ำมัน หลังจากตัวเลขปริมาณสำรองน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ในขณะที่ความต้องการน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น และการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC จะเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาน้ำมันได้อย่างไรก็ตามตัวเลขการผลิตน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น คำแนะนำการลงทุน แนะนำให้ลงทุนในกองทุนทองคำ SCBGOLDH และกองทุนน้ำมัน SCBOIL ** ที่มา : https://www.scbam.com/th/ SCBCHA Link https://www.scbam.com/medias/fund-doc/fund-summary-aimc/SCBCHA_FUNDSUM.pdf SCBFP Link https://www.scbam.com/medias/fund-doc/fund-summary-aimc/SCBFP_FUNDSUM.pdf SCBUSHYA Link https://www.scbam.com/medias/fund-doc/fund-summary-aimc/SCBUSHYA_FUNDSUM.pdf SCBGOLDH Link https://www.scbam.com/medias/fund-doc/fund-summary-aimc/SCBGOLDH_FUNDSUM.pdf SCBOIL Link https://www.scbam.com/medias/fund-doc/fund-summary-aimc/SCBOIL_FUNDSUM.pdf **สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา บลจ.ไทยพาณิชย์ และผู้สนับสนุนการขายทุกราย “ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” หมายเหตุ : *ข้อมูลจาก Bloomberg ณ วันที่ 22 ก.พ. 2561 ทั้งนี้ เอกสารนี้จัดทำโดย นางนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มจัดสรรสินทรัพย์และกองทุนต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเผยแพร่ทั่วไป โดยข้อคิดเห็นและบทความในเอกสารฉบับนี้ เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ผู้ใช้ข้อมูลนี้จึงต้องใช้ความระมัดระวังด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยตนเอง แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน บลจ.ไทยพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นบริษัทในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทธุรกิจการจัดการกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กองทุนส่วนบุคคล จากความพร้อม ความเชี่ยวชาญในการเสนอผลิตภัณฑ์ ประกอบกับผลงานการบริหารกองทุนที่มั่นคงและอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง โดยยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณและคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดต่อผู้ลงทุน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เปิดกลยุทธ์ COM7 #2: เพิ่มรายได้ต่อสาขาโดยไม่ต้องสต็อกของเองสักชิ้น - FINNOMENA ในตอนที่ 1 เราได้อธิบายเรื่องการเพิ่มรายได้โดยไม่ต้องลงทุนขยายหน้าร้านเองของ COM7 ไปแล้ว วันนี้จะมาเล่าถึงกลยุทธ์การเพิ่มรายได้ต่อสาขาโดยไม่ต้องสต็อกของเองสักชิ้นให้ฟังว่าเขาทำอย่างไร?? 20 มี.ค. 2561 วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องราวโมเดลธุรกิจของ COM7 ต่อ ถ้ายังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 กัน สามารถกดได้ที่ลิ้งก์นี้เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่านได้เลยครับ https://www.finnomena.com/z-admin/com7-1/ ก่อนอื่น เรามาทวนความจำกันหน่อย COM7 เป็นเจ้าของร้าน Studio7 ถึง 90 สาขา ร้าน Banana IT 161 สาขา ร้าน Banana Mobile 16 สาขา ร้าน Brand Shop Samsung Oppo Huawei Vivo อีกหลายสิบสาขา รวมทั้งยังเป็นผู้บริหารร้าน True Shop อีก 68 สาขาอีกด้วย และยังมีร้านอื่นๆ อีก โดยรวม COM7 มีหน้าร้านเกินกว่า 400 สาขาทั่วประเทศไทยที่พร้อมจำหน่ายสินค้าของทาง Apple ในตอนที่ 1 เราได้อธิบายเรื่องการเพิ่มรายได้โดยไม่ต้องลงทุนขยายหน้าร้านเอง โดยการให้ True Shop และร้านของแบรนด์อย่าง Oppo เป็นคนออกค่าตกแต่งร้านให้ ซึ่งร้านของแบรนด์ยังมี Samsung, Huawei และ Vivo อีกด้วย และวันนี้เราจะมาเล่าถึงการที่ COM7 สามารถเพิ่มรายได้ต่อสาขาโดยไม่ต้องสต็อกของเองเลยสักชิ้นให้ฟัง เราได้พูดถึงร้าน True Shop ที่ COM7 เข้าไปบริหารให้ โดยสินค้าจะเป็นของ True ซึ่งถ้า COM7 ขายได้ก็จะได้รับกำไรเป็นส่วนแบ่งไปอีกโดยไม่ต้องแบกรับสินค้าคงเหลือตรงนี้เลย COM7 ขายซิมการ์ดของ True ซึ่ง COM7 จะได้รับส่วนแบ่ง 15% จาก ARPU (Average Revenue per Unit หรือรายได้ต่อซิมการ์ด) นาน 12 เดือน โดยปี 2017 ที่ผ่านมา COM7 ได้ขายซิมการ์ดของ True ตามหน้าร้านของ COM7 ไป 180,000 ซิม ปีที่แล้ว ARPU ของซิมการ์ดอยู่ที่ประมาน 700 บาทต่อเดือน ซึ่ง COM7 ได้รับส่วนแบ่ง 15% จากตรงนี้ด้วยโดยที่ไม่ต้องตุนของอะไรเยอะแยะเลย อาจสงสัยว่าแล้วทำไมลูกค้าต้องซื้อซิมใหม่ด้วย? คำตอบก็คือลูกค้าจะได้ส่วนลดค่าเครื่องหลายพันบาทเลยทีเดียว อยากลดเยอะก็สมัครแพ็กเกจสูงหน่อย โดย TRUE จะเป็นคนช่วยออกค่าส่วนลดของเครื่องให้ทาง COM7 อีกด้วย กลยุทธ์ของ COM7 คือการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของตัวเองจากการเน้นเงินลงทุน (Capital Intensive) ไปเป็นโมเดลที่ไม่ยึดถือครองสินทรัพย์เป็นของตน และใช้เงินคนอื่นลงทุนแทน (Asset Light Model) ซึ่งลดความเสี่ยงด้วยการขยายสาขาโดยไม่มีต้นทุน และการเพิ่มรายได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องสต็อกของเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของโมเดลธุรกิจก็ไม่ใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่ควรพิจารณา ผู้ลงทุนควรศึกษาปัจจัยหลายๆ อย่างเพื่อประกอบการตัดสินใจนะครับ ——————— ค้นหาหุ้นและดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี พร้อมกราฟราคาได้ที่ FINNOMENA Stock Quote (Beta) https://www.finnomena.com/stock/ —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=com7&submit= https://www.facebook.com/iClickAWS/videos/1661925827201444/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เปิดกลยุทธ์ COM7 #1: เพิ่มรายได้โดยไม่ต้องลงทุนขยายหน้าร้าน - FINNOMENA เชื่อว่าทุกคนรู้จัก iPhone เป็นอย่างดี แต่จะมีกี่คนที่รู้จัก COM7 ซึ่งเป็นเจ้าของหน้าร้านที่ขายสินค้าให้ iPhone วันนี้จะมาเล่าถึงกลยุทธ์การขยายหน้าร้านโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มของ COM7 กัน 20 มี.ค. 2561 เราเชื่อว่าทุกคนรู้จักโทรศัพท์มือถือที่มีชื่อเรียกว่า ‘iPhone‘ เป็นอย่างดี เพราะเป็น สินค้าขายดีที่ทางบริษัท Apple เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไปเกือบทั่วทุกมุมโลก และในไทยเอง ทาง Apple ก็มีแผนมาเปิด Flagship Store ขนาดมหึมาในกรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มการรับรู้ถึงตัวแบรนด์ (Brand Awareness) แต่หัวใจสำคัญที่ทำให้ iPhone สามารถเป็นที่แพร่หลายในไทยและประสบความสำเร็จอย่างมากคงหนีไม่พ้นร้าน Studio7, iStudio, iBeat ที่เป็นร้านขายสินค้าจาก Apple โดยมีสินค้าหลายชิ้น เช่น iPhone, Macbook, iPad, Apple Watch และอื่นๆ อีกมากมาย ร้านค้าเหล่านี้คือหัวใจสำคัญของ Apple แต่ Apple เองก็ไม่สามารถที่จะสร้างร้าน Studio7, iStudio, iBeat เป็นร้อยๆ สาขาในประเทศที่เขายังไม่มีความชำนาญ ด้วยเหตุนี้ Apple จึงต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นอย่างบริษัทมหาชนซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย อันได้แก่ COM7, JMART, SVOA ซึ่งได้รับลิขสิทธิ์ในการเปิดร้านข้างต้น เผยแพร่ความดังของ Apple ขึ้นไปอีก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหุ้น COM7 ผู้เป็นเจ้าของร้าน Studio7 ถึง 90 สาขา ร้าน Banana IT 161 สาขา ร้าน Banana Mobile 16 สาขา ร้านของ Samsung, Oppo, Huawei, Vivo อีกหลายสิบสาขา รวมทั้งยังเป็นผู้บริหารร้าน True Shop อีก 68 สาขาอีกด้วย และยังมีร้านอื่นๆ อีก โดยรวม COM7 มีหน้าร้านเกินกว่า 400 สาขาทั่วประเทศไทยที่พร้อมจำหน่ายสินค้าของทาง Apple โดยธรรมชาติของธุรกิจที่มีหน้าร้าน การจะเติบโตต่อไปต้องมีการขยายจำนวนสาขา (ซึ่งต้องใช้เงินลงทุน) และเพิ่มยอดขายต่อสาขา หรือที่วัดด้วย SSS Growth (Same-Store Sales Growth) โดยธุรกิจจะต้องเพิ่มสต็อกสินค้า จึงมีความเสี่ยงเรื่องการขายไม่ออก COM7 คือหนึ่งในบริษัทที่สามารถขยายสาขาโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม และเพิ่มยอดขายต่อสาขาโดยไม่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องสต็อกสินค้าเพิ่ม COM7 มีโมเดลธุรกิจที่ฉีกโมเดลแบบเดิมซึ่งเน้นเงินลงทุนหนักๆ (Capital Intensive) ไปเป็นโมเดลที่ไม่ยึดถือครองสินทรัพย์เป็นของตน และใช้เงินคนอื่นลงทุนแทน (Asset Light Model) ตัวอย่างเช่น ร้าน True Shop ที่ COM7 เข้าไปบริหารร้านให้ COM7 ไม่ต้องลงทุนตกแต่งร้านใหม่เลย แต่ขายของให้ TRUE โดยแบ่งกำไรขั้นต้น (Gross Profit) อีกตัวอย่างหนึ่งคือร้านของแบรนด์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ทางแบรนด์จะออกค่าตกแต่งร้านให้เสร็จสรรพแล้ว COM7 เข้าไปขายของให้ ที่ COM7 สามารถทำอย่างนี้ได้ก็เพราะการแข่งขันของทางค่ายมือถือที่รุนแรงแย่งลูกค้ากันจนต้องให้ทาง COM7 ที่เก่งเรื่องการขายเข้าไปบริหาร แบรนด์ต่างประเทศอย่าง Huawei, Samsung, Oppo, Vivo ที่ต้องการเข้ามาแข่งขันแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดมือถือก็สร้างร้านค้าให้ COM7 เข้าไปขายเช่นกัน เรื่องราวโมเดลธุรกิจของ COM7 ยังไม่จบเพียงเท่านี้ คราวหน้าเราจะมาพูดถึงการเพิ่มยอดขายต่อสาขาโดยไม่ต้องสต็อกของเพิ่มแม้แต่ชิ้นเดียวให้ฟังกันครับ ——————— ค้นหาหุ้นและดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี พร้อมกราฟราคาได้ที่ FINNOMENA Stock Quote (Beta) https://www.finnomena.com/stock/ ——————— ข้อมูลอ้างอิง https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do? language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=com7&submit= https://www.facebook.com/iClickAWS/videos/1661925827201444/ —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รู้ยัง นี่ไม่ใช่แค่ปรับฐานธรรมดา แต่เราอยู่ใน "วิกฤตความผันผวนของหุ้น" ที่ส่งผลถึงหุ้น (งงล่ะสิ)!! - FINNOMENA เกิดอะไรขึ้นกับตลาด ที่ทำให้น้องดาวตก 1,000 จุด ได้ถึง 2 วัน ปู่ SET ช่วงพีคลบไป 50 จุด กันได้ ทั้งๆที่งบการเงินโต เศรษฐกิจฟื้นตัวทั้งโลก!! 30 เม.ย. 2563 รู้ยัง นี่ไม่ใช่แค่ปรับฐานธรรมดา แต่เราอยู่ใน วิกฤตความผันผวนของหุ้น ที่ส่งผลถึงหุ้น (งงล่ะสิ)!! (“ถ้าเอาแบบ งง น้อย การเก็งกำไรใน VIX เป็นการเก็งกำไรแบบกั๊กครับ คือ เก็งแค่ว่า หุ้นจะแกว่ง หรือไม่แกว่ง แต่สุดท้ายดันย้อนกลับมาทำให้หุ้นจริงๆตกแรงๆ ได้”) เกิดอะไรขึ้นกับตลาด ที่ทำให้น้องดาวตก 1,000 จุด ได้ถึง 2 วัน ปู่ SET ช่วงพีคลบไป 50 จุด!! ทั้งๆที่งบการเงินโต เศรษฐกิจฟื้นตัวทั้งโลก … เรากำลังเดินซ้ำรอยปี 2008 อีกครั้งรึเปล่า คำตอบคือ คล้ายส่วนหนึ่ง … กล่าวคือคนไปลงทุนในสินค้าทางการเงินในแบบที่ผิดๆ เพราะหวัง Easy Money สินค้าแปลก เจ้าปัญหาในครั้งนี้คือ VIX Inverse ETN ทั้งหลายแหล่ ที่สร้างขึ้นมาให้นักลงทุนสามารถทำกำไรบน Future ของดัชนี VIX ที่เรารู้จักกันว่ามันคือดัชนีความผันผวนของหุ้นอเมริกา “เพื่อ” สะท้อนความผันผวนของหุ้นอีกทีหนึ่ง (หลายทอดเหลือเกิน .. สั้นๆคือ ถ้าความผันผวนลดลงจะได้กำไร) ขณะนี้สินค้าประเภทนี้กำลังแตกสลาย ปิดตัวลงด้วยความเร่ง และทำให้หุ้นที่ปรับฐานแกว่งแรงผิดปกติในช่วงที่ผ่านมา … เดี๋ยว …. แล้ว VIX ETFs & ETNs อะไรนี่ มาเกี่ยวอะไรกับหุ้น? VIX ETN ที่ใหญ่ที่สุดที่คนเล่นกันคือ VelocityShares Daily Inverse VIX Short-Term exchange-traded note (XIV) เป็นการ Short VIX นั่นเองครับ คือคิดว่าความผันผวนจะลง ซึ่ง 10 ที่ผ่านมา มันลงขาเดียวเลย กระตุกเป็นครั้งคราว แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ กระตุกแรงมากและ แกว่งแรงมากในวัน ทำให้การตามดัชนีทำได้ยาก และส่งผลแรงเกินควร ปัญหาคือ เมื่อหุ้นตก ทำให้ความผันผวนเพิ่ม ก็ทำให้ VIX ดีดตัวขึ้นสูง แต่มันไม่ใช่แค่ทำให้ผู้ถือ ETN ขาดทุนเพราะแทงผิดขา … มันคือเรื่องของการพยายาม Track ดัชนี VIX ครับ เมื่อต้อง Track ดัชนี ก็ต้องไล่ Long VIX Future หรือ Short VIX Future จริงๆ อยู่ที่สถานการณ์ ยกตัวอย่างที่ VIX กระตุก แบบปรับฐานธรรมดา เช่นเดือน สิงหาคม 2558 (ซึ่ง VIX ขึ้นมาแตะระดับ 30%) จะบังคับให้ VIX ETFs ทั้งหลาย ต้องซื้อ VIX Future ถึง $ 37bn หรือ 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ทว่าความเด็ดของพวกนี้คือ สามารถซื้อขายตลาด OTC ได้ … เรียกว่านอกกระดานละกัน ให้นึกถึง Block Trade … ท่านจะซื้อ Future 100 สัญญาบนหุ้น ABC แต่สภาพคล่องไม่ค่อยมี ท่านเดินไปหาโต๊ะเทรดของธนาคาร XYZ ให้เป็นคู่ค้าสัญญา … โต๊ะ บอก ตกลง !! เอาไปเลย 100 สัญญา แต่ขอค่าดอกเบี้ย+ค่าธรรมเนียมนะ … โต๊ะเทรดของธนาคาร XYZ รับความเสี่ยงไปเต็มๆจริงหรือ? ไม่จริง เพราะโต๊ะ มีวงเงินสูง ก็เอาเงินไปซื้อหุ้น ABC มาเก็บไว้ตามจำนวน 100 สัญญา (ในไทยสัญญาละ 1000 หุ้น) รอวันปิดสัญญา … กินดอกเบี้ยชิวๆ … วิธีนี้เรียกว่า Hedge ความเสี่ยง เปลี่ยนหุ้น ABC เป็น VIX เขาทำได้ไหม … คำตอบคือทำได้ เพราะถ้าทำไม่ได้ คงจะเจ๊งเป็นแน่แท้ คือทำ Syntetic VIX Future ขึ้นมา จะใช้เทคนิคอะไร แล้วแต่ที่ บ้างก็มาออกที่หุ้นตะกร้าหนึ่ง เพื่อ Hedge ความเสี่ยงเช่นกัน… แอดฯเริ่มเห็นเงื่อนงำอะไรบางอย่าง !! คราวนี้ เปลี่ยนจากคู่ค้าสัญญาแบบ 1 ต่อ 1 เป็นมาออกเป็น Exchanged Trade Fund (ETF) หรือ Exchanged Traded Note (ETN) มีการวาง Structure อย่างไรก็แล้วแต่ตัว และมีการควบคุมสภาพคล่อง ให้ track ดัชนี VIX ข้อนี้พีคที่สุด คือบางตัว Issuer หรือผู้ออก จะคอย Hedge Delta, Gamma, Vega ของตราสารด้วย โดยการขาย Underlying ออกและซื้อคืน ทุกๆ วันหรือตามเวลาที่กำหนด … ซึ่งจากข้อ 8 จะเห็นได้ว่ามันมีโอกาสไปออกที่หุ้นก็ได้ อยู่ที่ความเหนือชั้นของคนทำ .. หรือจะไม่ Hedge ก็ได้ ตรงนี้ยังหาข้อมูลไม่เจอ มันเป็นการทำงานภายในของเค้า อาจจะไม่ทำก็ได้ ข้อนี้ใครไม่รู้จัก The Greeks ก็ลืมๆมันไปซะครับ เราเข้าใจแค่ข้อ 1-9 ก็พอ แอดฯก็พอเข้าใจวิธี Hedge แค่สำหรับ ELN DW ทั่วๆไป ส่วนของ VIX นี้ก็ไม่รู้ทำยังไง แต่ถ้าใครเข้าใจตรงนี้ จะพอคำนวณได้ว่า impact ที่แท้ทรู เป็นเท่าไหร่ (แต่มองว่าข้อ 4 impact เยอะกว่ามาก) **แล้วตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร** คำตอบแบบไวๆ คือ น่าจะใกล้หมดแล้ว เลือดได้สาดบนถนนเรียบร้อย เพราะตัวใหญ่ที่สุด (XIV) จะปิดวันที่ 21 นี้ คงไม่มี impact ที่ใหญ่ๆจากเรื่องนี้อีกแล้ว แม้อาจจะมีกองทุนที่ปิดกองขนาดมากกว่า ส่วนเหลือปริมาณอีกเท่าไหร่ กับ Impact ว่าเกิดไปแล้วเท่าไหร่ ไม่ต้องไปคิดเลขให้เสียเวลา เคาะให้ตายก็ไม่ถูก เพราะหุ้นตกด้วยปัจจัยอื่นด้วย เช่นกองทุน low volatility จะต้องขายออกเพื่อควบคุมความเสี่ยง คนนั้นคนนู้นก็ขายเพราะกลัวครับ ปกติปรับฐานแบบนี้ 1-3 เดือนครับ เร็วสุดๆ ก็ 1-2 สัปดาห์มียอดเชือดเม่าให้ทีหนึ่ง ดูจังหวะเทคนิคเข้าซื้อกันอีกทีครับ ป.ล. หุ้นไทยไม่มี VIX อย่างเป็นทางการนะครับ (ตลาด Option เรายังไม่พัฒนาพอ) รอบนี้หุ้นตกตามต่างประเทศ ก็ต้องดูต่างประเทศ โดย BottomLiner : https://www.facebook.com/bottomliner/ —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
อะไรคือสินค้าขายดีวันวาเลนไทน์ ที่ไม่ใช่ดอกไม้ ไม่ใช่ช็อกโกแลต ไม่ใช่เครื่องประดับ ?? - FINNOMENA วาเลนไทน์ใกล้เข้ามาแล้ว ถ้าให้พูดถึงสินค้าขายดีวันวาเลนไทน์ก็คงจะหนีไม่พ้นช็อกโกแลต ดอกกุหลาบ การ์ด เครื่องประดับ ฯลฯ แต่มีอีกสิ่งที่ยอดขายดีไม่แพ้กัน !!??? 20 มี.ค. 2561 ——————— ค้นหาหุ้นและดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี พร้อมกราฟราคาได้ที่ FINNOMENA Stock Quote (Beta) https://www.finnomena.com/stock/ ——————— ดู/อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.factretriever.com/valentines-day-facts https://www.bustle.com/p/how-many-people-have-sex-on-valentines-day-its-the-biggest-sex-day-of-the-year-for-millennials-36779 http://www.brandunion.com/work/durex https://www.youtube.com/watch?v=njtVO2Zk8do https://www.youtube.com/watch?v=c5x_y9F5K2c https://www.youtube.com/watch?v=Kn-NLSVwIPY แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
แหกเทรนด์แบบ After U - อะไรคือสิ่งที่ทำให้หุ้นทวนกระแสประสบความสำเร็จ? - FINNOMENA ทุกวันนี้เทรนด์สุขภาพเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทำไมร้าน After U ที่ต้านกระแสนี้กลับขายดิบขายดีมาก? อะไรคือเคล็ดลับของ After U กัน? 20 มี.ค. 2561 ทุกวันนี้เทรนด์สุขภาพเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ มีการศึกษาจาก HFA ว่าคนยุค MILLENNIALS (คนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2520-2543) โฟกัสกับการรักษาสุขภาพแบบรายวันมากกว่าคนยุคก่อนๆ เช่นการกินอาหารที่ดี ออกกำลังกายเป็นประจำ การรักษาสุภาพจิตที่ดี แต่ที่น่าสนใจคือ ทำไมร้าน After U ที่ต้านกระแสนี้กลับขายดิบขายดีมาก?? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับร้าน After U ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยใช้ Ticker ว่า AU กัน AU มี Market Cap หรือ มูลค่าตามราคาตลาด ประมาณ 10,000 ล้านบาท ถ้าเปรียบเทียบคือมี Market Cap ประมาณ MALEE และสูงกว่า TIPCO เสียด้วยซ้ำ ซึ่งทั้ง 2 นี้ถือเป็นบริษัทเก่าแก่ที่เป็นผู้นำน้ำผลไม้ ถือว่าอยู่ในกระแสรักสุขภาพเต็มๆ คำถามคือทำไมบริษัทที่สวนกระแสสุขภาพกลับมีมูลค่ามากกว่าบริษัทที่อยู่ในกระแส? คำตอบคือ คุณภาพการออกสินค้าของ AU ที่สูงและยากต่อการลอกเลียนแบบ ที่ผ่านมาเราได้เห็นต้นกำเนิดของขนมปังอบใส่ไอศกรีมหรือ “ฮันนี่โทสต์” (Honey Toast) ที่ AU เป็นคนคิดค้นขึ้น หลังจากนั้นน้ำแข็งใสจากญี่ปุ่นหรือ “คากิโกริ” (Kakigori) ก็ได้รับความนิยมในไทยสูงมากก็เพราะ AU รวมทั้งยังมีออกสินค้าใหม่ๆ ที่ปังๆ หลายตัวอย่าง After U ทุเรียน น้ำปั่นตามฤดูกาล คากิโกริชาเขียว และที่สำคัญคือ คู่แข่งเข้ามาทำตามเยอะมากแต่ยังไม่มีใครที่ทำแล้วปังกว่า After U เลย เวลา AU ออกสินค้าอะไรก็ตาม จะเกิดเป็นกระแสทันที คนจะแห่กันถ่ายรูปลงอินสตาแกรมและเฟซบุ๊ก นี่เป็นการทำการตลาดโดยใช้ตัวลูกค้าเองโดยที่ AU ไม่ต้องลงทุนค่าใช้จ่ายทางการตลาดมากมายอะไรเลย ที่ผ่านมาหุ้น AU ไปทำ Low 7.10 บาทในวันที่ 1/8/2560 ในปัจจุบันหุ้นได้ขึ้นมาอยู่ประมาณ 14 บาท ถือว่าขึ้นมาเยอะมาก สาเหตุของการขึ้นในครั้งนี้คือ AU มีการออกสินค้าใหม่ใน Q3 2560 คือคากิโกริชาเขียวที่ได้รับความนิยมดีมาก และมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง ทำให้ผลประกอบการดีขึ้นมากจากปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน เพราะปีก่อนหน้ามีฐานที่ต่ำเนื่องจากมีเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคม อีกอย่างที่น่าสนใจสำหรับ AU คือการเติบโตที่สูง ก่อนเข้าตลาด (หรือในปี 2556) มีกำไรประมาณ 4 ล้านบาท ผ่านไป 3 ปี AU มีกำไรในรอบ 9 เดือน 2560 ถึง 94 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตของกำไร 2,250% ด้วยอัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่า 60% และอัตรากำไรสุทธิเกิน 20% ในไตรมาส 3 แสดงถึงอัตราการทำกำไรที่ดี เนื่องจากสินค้าที่ออกมาใหม่ AU จะคำนึงถึงอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงอีกด้วย นี่คือความเก่งของ AU ที่แม้จะเป็นบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกระแสแต่ก็สามารถขายดิบขายดีและเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรก็ไม่ใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่ควรพิจารณา ผู้ลงทุนควรศึกษาปัจจัยหลายๆ อย่างเพื่อประกอบการตัดสินใจนะครับ ——————— ค้นหาหุ้นและดูงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี พร้อมกราฟราคาได้ที่ FINNOMENA Stock Quote (Beta) https://www.finnomena.com/stock/ —————————— ตรวจสอบและแก้ไขโดย Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) —————————— ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่: http://www.teamhfa.com/…/7-ways-millennials-are-changing-h…/ http://whatis.techtarget.com/…/millennials-millennial-gener… https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do… https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do… https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do… http://market.sec.or.th/…/…/th/FinancialReport/FS-0000024638 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ปู่ SET จะปรับฐานแค่ไหน? ดูง่ายๆ จากความกลัว ผ่าน VIX - FINNOMENA เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้คนกลัว? ถ้าไม่หันไปถามคนรอบๆตัวว่ากลัวอยู่หรือเปล่า? คำตอบคือดูผ่านดัชนีวัดความกลัว VIX Index ครับ วิธีดูดูยังไง BottomLiner จะบอกให้ 30 เม.ย. 2563 ปู่ SET จะปรับฐานได้เท่าไหร่? ดูง่ายมากๆ ว่าคนกลัวแค่ไหน ผ่านดัชนีวัดความกลัว VIX Index **สรุปสั้นๆเลยว่า** หลังจากนี้คือมีซึม ชั่วคราวครับ (และจะแกว่งหลอกเพื่อเชือดเม่า) เพราะหุ้นไทยรอบนี้เราลงตามน้องดาว พอลงตามน้องดาวการคิดวิเคราะห์มันก็ง่ายกว่า มีอะไรให้ดูได้เยอะ วันนี้จะมานำเสนอใช้หลักคิดแบบจิตวิทยาลงทุนกัน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้คนกลัว? ถ้าไม่หันไปถามคนรอบๆตัวว่า เฮ้ย ขายยัง จะขายเท่าไหร่ .. คำตอบง่ายๆคือ ดูได้ผ่านดัชนีความผันผวน VIX ครับ (สำหรับตลาดอเมริกา ก็รอบนี้น้องดาว นำเทรนด์) คงไม่มาอธิบาย ค่าความผันผวนและ VIX กันหมดเปลือกที่นี่ครับ สรุปๆไปเลย ดัชนี VIX จะแปรผกผันกับหุ้น (ในที่นี้แอดฯหยิบ S&P500 มาเทียบแทน Dow Jones นะ มันครอบคลุมกว่า) เพราะ VIX คำนวนจาก ความผันผวน จริงๆ ที Option Trader ให้กันในตลาด ถ้า เทรดเดอร์ คิดว่าตลาดจะแกว่งเยอะ หรือลงอีกเยอะ ก็จะให้ค่าความผันผวนมาก ดังนั้นมันจึงเป็นดัชนีวัดความกลัวที่นิยมที่สุด วิธีดู !!!! 1. เขาไม่ได้ดูกันว่าตอนนี้อยู่ที่เท่าไหร่แค่นั้น เขาดูกันว่า มันเทียบกับอดีตแล้วเป็นอย่างไร และจะดูที่ไส้แหลมๆ ที่เสียดฟ้าขึ้นไป อย่างกรณีล่าสุด ถือว่าสูงมากครับ ไปแตะที่เส้นแดง เท่าวิกฤตอื่นๆเลย ยกเว้นปี 2008 (ซึ่งตอนนี้ก็กำลังเช็คว่าเกิดจากอะไร แต่ถือว่าผิดปกติมาก เพราะการลงลักษณะนี้ เป็น 1st warning ที่มักเกิดใน late cycle) 2. ถ้าสูงมาก ถึง ในระดับวิกฤต มักจะตามมาด้วย VIX สูงค้างเติ่ง ทำให้ตลาดแกว่งไปอีกสักระยะ กรณีนี้จะทำให้ลากกันไปเป็นปีได้ เช่นวิกฤตน้ำมัน ที่ดัชนี ความผันผวนของน้ำมัน พุ่งขึ้นสูงค้างนานหลายเดือน 3. ถ้าไม่สูงมาก และไส้แหลมๆยาวๆ มักจบเร็ว เป็นการปรับฐานชั่วคราว ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่ามันจะ low ในวันที่ไส้แหลมเสมอไปนะครับ ถ้าเข้าเคส 3 จะมีแนวโน้มสูงกว่า อย่างที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือเคส 1 ซึ่ง รอดูว่าเกิด 2 หรือไม่ แต่จากสถิติแล้วถ้าสูงขนาดนี้มักจะค้างสักครู่ครับ (ก็น้องดาวลบ 1000 สองวันแล้ว) The Bottomline – สรุป เมื่อเอาเรื่อง 1st warning มารวมกับ VIX ที่ดีดสูงขนาดนี้ ตลาดมักจะแกว่งแบบงงๆอยู่ 1-3 เดือนเป็นอย่างน้อย ไม่ก็ขึ้นสับขาหลอกทีหนึ่งก่อนขึ้นต่อ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนักลงทุนสถาบันที่ไม่ใช่กองเม่า และพวก invisible hand เทขายซ้ำอีกรอบ (พวกนี้เข้าก่อน ออกก่อน เป็น winner เสมอ) การเทรดในช่วงนี้ มีสองแบบคือ รอ มันจบ หรือ day trade จะได้กำไรง่ายกว่า โดยเพจ BottomLiner – บทสรุปการลงทุน —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหุ้นเข้าสู่โหมดปรับฐาน Flight to safe-haven - FINNOMENA เมื่อคืนนี้ (วันที่ 5 ก.พ. 2018) ตลาดหุ้นสหรัฐฯทุกตลาดปรับตัวร่วงแรงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 นับจากคืนวันศุกร์ สาเหตุเกิดจากอะไร นักวิเคราะห์ในตลาดมองอย่างไร เรามาอ่านสรุปในบทความนี้กัน 21 ส.ค. 2562 เมื่อคืนนี้ (วันที่ 5 ก.พ. 2018) ตลาดหุ้นสหรัฐฯทุกตลาดปรับตัวร่วงแรงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 นับจากคืนวันศุกร์ สาเหตุเกิดจากอะไร นักวิเคราะห์ในตลาดมองอย่างไร เรามาอ่านสรุปในบทความนี้กัน สาเหตุของการปรับฐานในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา มาจากการที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานตัวเลข Non-farm Payroll ของเดือน ม.ค. ออกมาที่ 200,000 ตำแหน่ง มากกว่าเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว และมากกว่า ที่นักวิเคราะห์ประมาณการ ทำให้ตลาดคิดไปล่วงหน้าเลยว่า การจ้างงานฟื้นดีขนาดนี้ มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate เร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้ ตลาดคาดการณ์ว่า เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปี 2018 อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ซึ่งเป็นไปตามประมาณการ Dot Plot ของเฟดเองที่ออกมาในเดือน ธ.ค. สาเหตุของมุมมองว่า เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่า มาจากการปรับตัวขึ้นของ Inflation Expectation ของสหรัฐฯ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง รูปที่ 1 : 5-Year Forward Inflation Expectation แหล่งข้อมูล : https://fred.stlouisfed.org/series/T5YIFR จากรูปที่ 1 นักลงทุนจะเห็นการปรับขึ้นต่อเนื่องของเงินเฟ้อคาดหวัง โดยอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลัง มาจากการที่ที่ประชุม OPEC และ non-OPEC ร่วมกันตรึงกำลังการผลิตน้ำมันตลอดทั้งปี 2018 ทำให้ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง และกดดันให้สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นปรับตัวขึ้นมา อีกด้าน การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัว มองลงไปในโครงสร้าง พบว่า การบริโภคก็ฟื้นตัวเช่นกัน โดย PCE (Personal Consumption Expenditures) ซึ่งเก็บข้อมูลจากการสำรวจยอดค้าปลีกภาคธุรกิจ และครอบคลุมการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนมากกว่า CPI ก็ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเงินเฟ้อมีทีท่าจะมา และตลาดคาดหวังไปว่า อัตราดอกเบี่้ยนโยบายจะถูกปรับขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ ก็ส่งผลไปถึงตลาดพันธบัตร โดยถ้านับตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2017 จนถึงปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา US Treasury 10 Year ของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นจากระดับประมาณ 2.45% มาที่ 2.85% เป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. ปี 2014 เลยทีเดียว รูปที่ 2 : US Treasury Yield 10 Year แหล่งข้อมูล : BISNEWS จะเห็นว่าการเร่งตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว 10 ปี ของสหรัฐฯ มาในช่วงเวลาเดียวกับที่เงินเฟ้อคาดหวัง (Inflation Expectation) พุ่งขึ้นพอดิบพอดี ซึ่งการที่ Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้น แสดงว่า มีแรงเทขายในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ และทำให้ตลาดบอนด์ถูกขายตามมาด้วย เพราะ พันธบัตรซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่เสี่ยงต่ำสุด ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ก็กดดันให้ตราสารประเภทอื่นที่เสี่ยงสูงกว่า ปรับตัวขึ้นตามไปด้วย แรงขายที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้เกิด Outflow หรือเงินทุนไหลออกจากสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯอ่อนค่า รูปที่ 3 : Dollar Index (ณ วันที่ 5 ก.พ. 2018) แหล่งข้อมูล : BISNEWS จากรูปที่ 3 นักลงทุนจะพบว่า Dollar Index สิ้นสุดการแข็งค่าตั้งแต่ปี 2017 และเข้าสู่แนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง การอ่อนค่าของดอลล่าร์สหรัฐฯนี้ นัยหนึ่ง เป็นผลดีต่อภาคการส่งออกสหรัฐฯ จากการที่ขาดดุลการค้ากับต่างประเทศมาอย่างยาวนาน แต่อีกนัยหนึ่ง ก็ยิ่งกดดันนักลงทุนในประเทศผู้ซึ่งถือครองดอลล่าร์สหรัฐฯอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเกิดการด้อยค่าของค่าเงิน และต้องการแปลงเป็นสินทรัพย์ในรูปแบบอื่น หรือ สกุลอื่นหรือไม่? เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่มาของการที่สกุลเงินในประเทศตลาดหุ้นเกิดใหม่ และในเอเชีย แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จนเป็นประเด็นระดับนานาชาติมาแล้ว และกระทบถึงประเทศไทยเราเองด้วย เนื่องจากต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินปรับตัวสูงขึ้น กระทบกับผู้ส่งออกในประเทศ สรุปคือ เงินที่ไหลเข้าเอเชียในช่วง 2-3 เดือนให้หลัง ประเด็นหลักคือ เป็นเงินร้อน (Hot Money) ที่มาจากสหรัฐฯ ไม่ได้เกิดจากความมั่นใจในเศรษฐกิจฝั่งเอเชียเพียงแค่เหตุผลเดียว เมื่อเข้ามาเร็ว กำไรเร็ว แรงเทขาย จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นี่จึงเป็นที่มาของการขายต่อเนื่องเมื่อวานนี้ และเมื่อแรงขายเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นในเวลาที่เร็วกว่า และรุนแรงกว่าที่เราคิดไว้ ทำให้ดัชนี Dow Jones ปรับตัวลงถึง 1,175 จุด ปิดที่ระดับ 24,345.75 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงวันเดียวถึง -4.1% ปิดที่ 2,648.94 จุด ถือเป็นการปรับตัวลงวันเดียวรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. ปี 2011 เลยทีเดียว CBOE Volatility index (VIX Index) ดีดขึ้นมาสูงถึง 37.32 จุด สะท้อนความกลัวของตลาดหุ้นได้เกิดขึ้นแล้ว รูปที่ 4 : CBOE Volatility Index (ณ วันที่ 6 ก.พ. 2018) แหล่งข้อมูล : BISNEWS ทำให้ ณ ตอนนี้ เกิดเหตุการณ์ Flight to safe-haven หรือ โยกเงินเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย เป็นวันทำการแรก นั่นคือ ค่าเงินดอลล่าร์กลับมาแข็งค่า และค่าเงินเยน รวมไปถึง การที่ US Treasury Yield ระยะยาวปรับตัวขึ้น พร้อมๆกับการปรับตัวขึ้นของราคาทอง 4 ประเภทสินทรัพย์นี้ คือ ตัวแทนของสินทรัพย์หลบภัยในยามผันผวน แล้วหลังจากนี้ ควรจะมีกลยุทธ์รับมืออย่างไร? ไปดูกราฟดัชนีตลาดหุ้นโลกที่สำคัญๆกันครับ ขออนุญาติใช้ Regression Channel ในการอธิบายการเคลี่ยนไหวของราคานะครับ เริ่มที่ Dow Jones ตัวแทนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ รูปที่ 5 : Dow Jones Industrial Average (ณ วันที่ 5 ก.พ. 2018) แหล่งข้อมูล : BISNEWS จะเห็นว่า ตั้งแต่เข้าสู่เดือน ม.ค. มา ตลาดหุ้น Dow Jones วิ่งปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง และเทรดเหนือ Regression Channel ที่ 2 S.D. ซึ่งถือว่า วิ่งแรงเกินไปในระยะสั้น การปรับฐานจึงเกิดตามมา เพื่อให้ดัชนีกลับเข้ามาสู่ Channel เดิม อีก 2 ตลาดหลัก ที่พุ่งขึ้นไปแรงในช่วงเดือน ม.ค. เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็คือ ญี่ปุ่น และฮ่องกง รูปที่ 6 : Hang Seng และ Nikkei 225 (ณ วันที่ 6 ก.พ. 2018) แหล่งข้อมูล : BISNEWS แต่จะเห็นว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลงมาถึง -2 S.D. แล้ว สาเหตุที่ลงได้รุนแรงนั้นบวกกับการที่ค่าเงินเยนแข็งค่าผสมโรงด้วย รูปที่ 7 : Global Market Dashboard (ณ วันที่ 6 ก.พ. 2018) แหล่งข้อมูล : BISNEWS วันจันทร์ที่ผ่านมา รวมถึงวันนี้ กลับกลายเป็นว่า เกิดแรงเทขายในตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเรามองว่า เป็นอาการ Panic Sell ที่มีเหตุผลมากกว่าแค่การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯเพียงเท่านั้น สิ่งที่ผสมโรงเข้ามา ก็คือ การปรับตัวเป็นขาขึ้นมาอย่างยาวนาน การที่ใกล้ครบรอบ 10 ปี หลังวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 ถูกนำมาพูดเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลัง สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ช่วงที่เหลือของปี 2018 นี้ ตลาดมีความผันผวนเพิ่มขึ้น และเมื่อการปรับฐานเกิดเร็ว และรุนแรงอย่าง ณ ตอนนี้ คำแนะนำของเราจึงเป็นการพยายามคุมความเสี่ยง ในภาวะตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนไป สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน เรายังคงมุมมองเชิงบวกด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ความผันผวนที่ปรับตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่หลังวิกฤตยูโรโซน อาจเป็นความเสี่ยงที่ทำให้มีการ Trigger ตัวระบบเทรด หรือกองทุนที่มีการควมคุมความเสี่ยงให้มีการขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาได้อีก ซึ่งยังประเมินผลกระทบได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามเราให้ความสำคัญกับการปกป้องเงินต้นมาเป็นอันดับแรก เราจึงแนะนำให้มีการลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงลง ณ ปัจจุบัน เพื่อควบคุมความเสี่ยงพอร์ต โดยพอร์ท FINNOMENA GAR และ TOP5 ของเรามีสัดส่วนพอร์ทใหม่ รูปที่ 8 : FINNOMENA Global Absolute Return (ณ วันที่ 6 ก.พ. 2018) แหล่งข้อมูล : FINNOMENA, INFINITI รูปที่ 9 : FINNOMENA Global Absolute Return (ณ วันที่ 6 ก.พ. 2018) แหล่งข้อมูล : FINNOMENA, INFINITI แท็ก: Dow Jones FINNOMENA PORT GAR Global Market Nikkei 225 แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Blackmores ปะทะ MEGA - หุ้นยาที่น่าจับตามอง - FINNOMENA ในยุคที่เทรนด์รักสุขภาพกำลังมา นอกจากโรงพยาบาลแล้ว อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับประโยชน์คงหนีไม่พ้นธุรกิจยาและวิตามิน บทความนี้จะพาไปรู้จัก MEGA - ผู้ผลิตยาและวิตามินที่อยู่ในสนามประลองเดียวกันกับ Blackmores ว่าเป็นอย่างไรบ้าง 30 ม.ค. 2561 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://market.sec.or.th/public/idisc/th/FinancialReport/FS-0000008243 https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=mega&submit= http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/241117094947-Oppday-MEGA.pdf http://setlive.thailivestream.com/player/?section=553&event=MEGA https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=MEGA&ssoPageId=4&language=th&country=TH แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
"Goldilocks" คำนี้ จะทำให้ปี 2018 เป็นปีที่ดีของตลาดหุ้นอีกหนึ่งปี - FINNOMENA ภาวะ "Goldilocks" คืออะไร? คำนี้มีที่มาอย่างไร? และหากสิ่งนี้เกิดขึ้นกับปีนี้ จะมีอะไรที่น่าจะเกิดขึ้นบ้าง? มาติดตามกัน 18 ม.ค. 2561 คำว่า Goldilocks ถ้าแปลแบบตรงตัวตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ก็คือ เด็กผู้หญิงผมยาว ซึ่งดูจะไม่ได้มีความหมายใดๆ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นะครับ แต่เมื่อเอาคำว่า Goldilocks มารวมกับคำว่า Economy กลายเป็น “Goldilocks Economy” ก็ให้ความหมายที่ต่างออกไปทันที Goldilocks Economy หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ร้อนแรงจนเกินไปจนมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ แต่ก็ไม่ชะลอตัวเบาเกินไปจนมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ขอให้ย้อนกลับไปถึงความหมายของคำว่า Goldilocks กันหน่อย คำนี้ มาจากนินทานเก่าแก่ของอังกฤษที่มีชื่อเรื่องว่า The story of Goldilocks and three bears เรื่องย่อของนิทานเรื่องนี้ ก็มีอยู่ว่า… วันหนึ่งหนูน้อย Goldilocks เข้าไปในป่า เจอกระท่อมไม้แห่งหนึ่งซึ่งประตูเปิดแง้มเอาไว้ เป็นบ้านของครอบครัวหมี 3 ตัว แต่ไม่อยู่บ้านในตอนที่ Goldilocks ไปถึง เด็กน้อยเห็นข้าวต้ม 3 ชามบนโต๊ะอาหาร เมื่อชิมชามของพ่อหมี ก็พบว่าร้อนเกินไป ไปชิมชามของแม่หมี ก็เย็นเกินไป จึงทานข้าวต้มของลูกหมีซึ่งอุ่นกำลังพอดี พออิ่มแล้ว ก็จัดแจงทำความสะอาดกระท่อมหมีให้ เมื่อทำงานจนเหนื่อยเริ่มง่วง ก็ไปหาเตียงนอน โดยตัดสินใจนอนบนเตียงของแม่หมี เพราะเตียงของพ่อหมีใหญ่เกินไป ในขณะที่เตียงของลูกหมีก็เล็กเกินไป เนื้อหาของนิทาน บอกถึงการปรับตัวของเด็กน้อย และการอยู่ร่วมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างได้ด้วยการปรับตัวเอง ณ ปัจจุบัน เหมือนสภาพเศรษฐกิจโลก จะเจอจุดดุลยภาพที่เรียกว่า Goldilocks Economy ซึ่งยิงยาวมาตั้งแต่ปี 2560 และน่าจะต่อเนื่องไปในปี 2561 เช่นกัน กล่าวคือ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับค่อนข้างต่ำทั้งโลก ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกไม่มีความจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว หรือ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนต้นทุนทางการเงินสูงเกินไป ในขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจก็ขยายตัวได้อย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไปได้ทั้งโลก เครื่องยนต์เดินเครื่องได้ ไม่ดับกลางคัน จนทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกไม่จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย หรือ ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อเห็นความหมายของ Goldilocks Economy เช่นนี้ ก็จะพบว่า สัญญาณที่อาจทำให้ภาวะนี้เลือนหายไป ก็คือ เงินเฟ้อที่เร่งตัวแรงในอนาคต เศรษฐกิจที่ชะลอตัวแรงกว่าที่เราคิด สิ่งไหนจะเกิดในปี 2561 นี้? คำตอบในมุมมองของผมคือ ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์ทั้ง 2 กรณีข้างต้น ในมุมของการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อนั่น ข้อถกเถียงสำคัญที่นักลงทุนอาจกังวล ก็คือ การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้นมาเหนือ $65 ณ ปัจจุบัน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นแทบจะทุกหมวด จนหลายฝ่ายมองว่า ถ้าราคาน้ำมันยังไปต่อเรื่อยๆเช่นนี้ จะทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นด้วยหรือเปล่า แต่สิ่งที่เราเห็นก็คือ การอ่อนค่าของค่าเงินดอลล่าร์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ขณะที่เงินเฟ้อของสหรัฐฯเอง ไม่ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเลย แสดงให้เห็นว่า การบริโภคในสหรัฐฯเองซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 70% ของ GDP ยังไม่ได้ขยายตัวได้ดีตามที่เฟดตั้งเป้าหมายไว้ และอาจหมายรวมถึงว่า ภาคการส่งออกสหรัฐฯยังไม่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของค่าเงินเท่าไหร่ เศรษฐกิจจึงขยายตัวได้อย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไปไม่ร้อนแรงขนาดนั้น (เงินเฟ้อในสหรัฐฯ คำนวนจาก PCE หรือ Personal Consumption Expenditure ไม่ใช่ CPI อย่างไทยเรา) ส่วนโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวอย่างรุนแรง ผมมองว่า ก็มีความเสี่ยงจากอีก 2 เหตุการณ์นอกเหนือจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป ก็คือ การเมืองสหรัฐฯ และ สัญญาณการก่อตัวของสงคราม ตั้งแต่ ปธน.ทรัมป์ รับตำแหน่ง เราก็เห็นค่อนข้างชัดว่า พูดมากกว่าทำ และการพูดในหลายๆครั้ง ก็ไม่ใช่เป็นการพูดในประเด็นที่สร้างสรรค์ ออกจะสร้างศัตรูเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำไป ทำให้ การคาดการณ์ว่าสหรัฐฯจะดำเนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปในทิศทางใด เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากมาก ด้านมาตราการกีดกันทางการค้า ที่นายทรัมป์หาเสียงไว้เมื่อปลายปี 2559 นักวิเคราะห์เชื่อกันว่า หากเริ่มเห็นนโยบายเป็นรูปเป็นร่าง หรือบังคับใช้เป็นกฎหมายจริง ก็อาจนำมาสู่การยกระดับมาตรการกีดกันอื่นๆจากนานาชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองเช่นกัน แต่ก็นะครับ ทุกอย่างยังเป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งอาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ยกตัวอย่าง กลับไปช่วงต้นปี 2560 ตอนนั้น เหล่านักวิเคราะห์ทั่วโลกต่างมองว่าปี 2560 เป็นปีที่มีความท้าทาย และความเสี่ยงสูงมาก ก็เพราะการเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิปดีของนายโดนัลด์ ทรัมป์นี่ละ ถึงปี 2560 จะไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆทางการเมือง แต่ก็ใช่ว่า สิ่งนี้จะไม่เกิดอะไรขึ้นเลยในอนาคต ในฝั่งของประเด็นด้านสัญญาณการก่อตัวของสงคราม ที่เห็นว่าตึงเครียดที่สุดในตอนนี้ เห็นจะเป็น เกาหลีเหนือ กับสหรัฐฯ นะครับ โดยนักวิเคราะห์ด้านการเมืองระหว่างประเทศเริ่มให้ความเห็นว่า มีโอกาสสูงขึ้นที่สหรัฐฯอาจส่งกองกำลังเข้าไปประชิดชายแดนเกาหลีเหนือ หากเกาหลีเหนือยังพยายามทดสอบขีปนาวุธในอนาคต เช่นเดียวกับสงครามตัวแทนในเยเมน ระหว่างซาอุดิอาระเบีย ชาตินิกายสุหนี่ กับอิหร่าน ชาตินิกายชีอะห์ โดยรวมแล้ว ปี 2561 เศรษฐกิจโลกน่าจะอยู่ในภาวะ Goldilocks Economy ต่อไป แต่ก็มีความเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้นที่เราต่อติดตามอย่างใกล้ชิดครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643643 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Pigeon สินค้าเด็ก กำไรไม่เด็ก - FINNOMENA มีไม่กี่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ขายสินค้าเกี่ยวกับเด็ก หนึ่งในนั้นคือ "มุ่งพัฒนา" หรือ "MOONG" เจ้าของแบรนด์สินค้าเด็กอย่าง Pigeon ซึ่งแม้จะเป็นสินค้าเด็กแต่ผลการดำเนินงานไม่ใช่เด็กๆ!! 12 ม.ค. 2561 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=MOONG&ssoPageId=5&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=MOONG&ssoPageId=3&language=th&country=TH http://setlive.thailivestream.com/player/?section=502&event=MOONG http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/131117135808-Oppday-MOONG.pdf แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ERAWAN เมื่อโรงแรมใหญ่ถึงคราวฟื้น และโรงแรมเล็กถึงคราวรุก - FINNOMENA เมื่อการท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้น ธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์ก็คงหนีไม่พ้นธุรกิจโรงแรม อย่าง ERAWAN ที่เป็นผู้เล่นหลัก ลองมาดูสรุปอัพเดตคร่าวๆ เกี่ยวกับเอราวัณเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนได้เลย 29 ธ.ค. 2560 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mitihoon.com/2017/12/19/3341 http://erw.listedcompany.com/misc/analystmeeting/20171115-erw-analystmeeting-3q2017.pdf http://erw.listedcompany.com/misc/AR/20170322-erw-ar2016-th-03.pdf แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ลงทุนกัน ปัจจุบันทำงานอยู่ในแวดวงการเงินการลงทุน เรียนวิศวะ แต่หลังจากได้รู้จักเครื่องมือการลงทุนหลายๆประเภทเช่น หุ้น, กองทุนรวม ก็รู้สึกหลงไหลมัน จึงตัดสินใจทำงานสายนี้ และกำลังเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์จากแหล่งต่างๆ สไตล์การลงทุนคือเน้นหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่า ซึ่งอาจไม่ใช่หุ้นที่เติบโตแต่โอกาสขาดทุนต่ำ และลงทุนในกองทุนรวมอีกส่วนหนึ่ง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
บทเรียนหุ้นปี 2560 ที่เราต้องรู้! - FINNOMENA ปี 2560 เป็นอีกปีที่ “ตลาดหุ้น” ได้ฝากบทเรียนไว้ให้กับนักลงทุนมากมาย เรามาดูกันว่าปีนี้มีอะไรที่เราเรียนรู้ได้บ้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้น 28 ธ.ค. 2560 ปี 2560 เป็นอีกปีที่ “ตลาดหุ้น” ได้ฝากบทเรียนไว้ให้กับนักลงทุนมากมาย เรามาดูกันว่าปีนี้มีอะไรที่เราเรียนรู้ได้บ้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้น หุ้น IPO เป็นหุ้นที่ทำกำไรได้ตลอดหรือใหม่? ทำไมหุ้นนางฟ้าจึงตกสวรรค์? การลงทุนที่ไม่เสี่ยงมีจริงหรือไม่? ทำไมหุ้นใหญ่โตช้าหุ้นเล็กโตเร็ว? ในปี 2560 นี้มีเหตุการณ์ที่ตอบคำถามเหล่านี้ได้ชัดเจน… บทเรียนที่หนึ่ง – หุ้น IPO ไม่ได้ดีเสมอไป หลายๆคนคิดว่าการได้ซื้อหุ้น IPO นั้นเหมือนกับการได้กำไร “ชัวร์” เพราะในเมื่อได้ซื้อเป็นมือแรกก่อนจะเข้าตลาด ก็ควรจะได้กำไรแน่ๆเป็นหลักหลายเท่า แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่หุ้น IPO ทุกตัวจะทำกำไรให้กับนักลงทุน นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ผมเขียนบทความนี้คือวันที่ 15 ธันวาคม 2560 มีหุ้นใหม่เข้าตลาดมาทั้งสิ้น 34 ตัว จนถึงปัจจุบันหากเราซื้อที่ราคา IPO และขายที่ราคาปิดวันแรกจะกำไรซะเป็นส่วนใหญ่ โดยมีขาดทุนแค่ 2 ตัว แต่ถ้าเราหลงคิดว่ามันดีจริงและถือมาจนถึงปัจจุบัน หุ้นที่ขาดทุนจะมีมากถึง 15 ตัวและขาดทุนมากที่สุดที่ 36% หุ้น IPO ไม่ได้ต่างอะไรกับหุ้นทั่วๆไป ถ้าราคาที่เราซื้อมามันแพงเกินไป สุดท้ายเราก็จะขาดทุน และมีหุ้น IPO ที่ขาดทุนมากถึง 15 ตัวใน 34 ตัวหรือเกือบครึ่งหนึ่ง ! นั่นหมายความว่าราคาที่บริษัทขาย IPO เข้ามานั้น กว่าครึ่งถือว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกเลย (เพราะถ้าถูกก็คงไม่ขาดทุนจริงไหม?) ดังนั้นเป็นซื้อหุ้นมือแรกหรือไม่ ไม่เท่าเรารู้ว่าราคาหุ้นที่ขายนั้นเหมาะสมมากแค่ไหน บทเรียนที่สอง – ฟองสบู่แห่งความคาดหวัง จงระวังเมื่อราคาหุ้นพุ่งแรงจนดูเหมือนจะเป็นฟองสบู่เพราะมันก็จะเป็นฟองสบู่จริงๆนั่นแหละ หุ้นหลายๆตัวในปีนี้พุ่งขึ้นมาอย่างรุนแรง และรวดเร็ว ในความเป็นจริงการที่หุ้นจะวิ่งขึ้นมาได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับผลประกอบการหรือกำไรของบริษัทที่เติบโตขึ้นมาด้วย โอกาสที่กำไรของบริษัทต่างๆจะเติบโตอย่างรวดเร็วได้นั้นมีจริงแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ดังนั้นการที่หุ้นหลายๆตัวจะมีราคาหุ้นพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วนั้นส่วนใหญ่แล้วจึงเป็นเรื่องของความคาดหวัง ไม่ใช่เรื่องของผลประกอบการ เมื่อคนในตลาดคาดหวังในตัวหุ้นตัวหนึ่งมากๆและแห่กันเข้าไปซื้อพร้อมๆกันก็จะช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น หลายๆครั้งผลประกอบการกลับไม่ได้เติบโตตาม หรือเกิดเหตุการณ์ที่ “ผิดคาด” และเมื่อความจริงปรากฏ ความหวังจึงกลายเป็นความ “ผิดหวัง” ทำให้ราคาหุ้นตกลงอย่างแรงได้เช่นกัน ในปี 2560 หุ้นลีซซิ่งตัวหนึ่งที่ตกหนักมากถึง 87% หุ้นตัวนี้เคยเป็นเหมือนหุ้นนางฟ้าที่ขึ้นหลายๆเด้งมาก่อนหน้าที่จะตกลงอย่างหนัก นางฟ้ากลับกลายเป็นนางมาร บทเรียนที่สาม – การลงทุนมีความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา และหายนะนั้นใกล้ตัวกว่าที่คิด ยามหุ้นขึ้นอะไรๆก็ดูดีและสวยหรูไปหมด หุ้นหลายๆตัวมี “เซียน” วิเคราะห์ว่าดีแบบนั้น แกร่งแบบนี้ หลายๆครั้งวิเคราะห์มโนกันไปไกลถึง 10 กว่าปีโดยลืมไปว่าในความเป็นจริงนั้น แค่วันพรุ่งนี้เราก็ไม่รู้แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง การจะบอกว่าจะโตแบบนั้นแบบนี้ในอีก 5-10 ปีข้างหน้ามักจะเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมายที่ถูกบดบังด้วยอัคติและความฝันอันสวยหรูของนักลงทุน การลงทุนที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นได้จากการมองและวิเคราะห์หุ้นอย่างเป็นกลาง เจาะลึกความแข็งแกร่งและข้อดีแล้ว ก็อย่าลืมวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างละเอียดด้วยหัวใจที่เป็นการและอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าเราจะกำไรมากแค่ไหน ถ้าไม่รู้จักควบคุมความเสี่ยงให้ดี เราจะต้องเจ็บหนักเข้าซักวัน บทเรียนที่สี่ – หุ้นใหญ่ขึ้นช้าหุ้นเล็กโตเร็ว แนวคิดนี้มาจากหลักคิดที่ว่าหุ้นเล็กซึ่งก็คือบริษัทเล็กๆนั่นเอง มักจะสามารถเติบโตได้ดีกว่าบริษัทที่ขนาดใหญ่แล้ว บริษัทอย่าง PTT, SCC หรือ ADVANC เป็นบริษัทที่ใหญ่คับประเทศจนไม่รู้จะโตไปทางไหนย่อมดูน่าเบื่อกว่าบริษัทขนาดเล็กที่โตอย่างรวดเร็ว ทฤษฎีนี้มีความถูกต้องอยู่ไม่น้อย แต่ก็อย่าลืมว่า Growth หรือการเติบโตนั้นเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งสำหรับการเติบโตของหุ้นเท่านั้น ราคาหุ้นยังมีปัจจัยอื่นๆมากระทบอีกมากมายเช่นราคาสินค้าที่ขึ้นลงส่งผลถึงกำไรที่ขึ้นลง, จำนวนเงินปันผล, การซื้อ-ขายของเงินลงทุนจากต่างประเทศ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ฝรั่ง” นั่นเอง การขึ้นของหุ้นใหญ่ในช่วงหลังของปี 2560 นั้นมาจากการไล่ซื้อของเงินลงทุนต่างประเทศซะเป็นส่วนใหญ่ เหตุผลหนึ่งก็คือหุ้นไทยนั้นยังถือว่าถูกอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นในประเทศอื่นๆ นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลังจากที่ยํ่าแย่มานานหลายปีและรัฐบาลมีการประกาศช่วงเวลาการเลือกตั้งที่แน่นอน จะเห็นว่าการขึ้นครั้งนี้อาจไม่ได้มาจากการเติบโตของกำไรแบบ 30-40% อย่างหุ้นเล็ก แต่ก็ทำให้ราคาหุ้นขึ้นมาได้มากเช่นกัน ดังนั้นถ้าจะลงทุนก็ควรจะมองให้ออกว่าปัจจัยอะไรจะเป็นตัวขับเคลื่อนราคาหุ้นเป็นหลัก จะหุ้นใหญ่หรือหุ้นเล็กถ้าเราจับประเด็นได้ถูกต้อง ก็สามารถลงทุนประสบความสำเร็จได้ทั้งหมด ไม่ว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีหรือไม่ จงจำไว้ว่าความเปลี่ยนแปลง,ผันผวนจะยังคงมีต่อไปและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยีและพัฒนาการด้านต่างๆที่เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ในฐานะของนักลงทุนก็ต้องปรับตัวและคอยเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คิดให้รอบด้าน จับประเด็นให้ถูก อย่ากลัวความเปลี่ยนแปลง เพราะแม้ความเปลี่ยนแปลงจะนำวิกฤตหรือหายนะมาในหลายๆครั้ง แต่ถ้าเราเข้าใจมันดีพอ เรามักจะสามารถหาโอกาสที่จะเปลี่ยนชีวิตเราได้เสมอๆในทุกสถานการณ์ ปี 2560 กำลังจะจบลง ปีใหม่กำลังจะเข้ามาพร้อมกับโอกาสใหม่ๆสำหรับใครก็ตามที่เปิดตาและเปิดใจให้กว้างก็จะมองเห็น อะไรที่พลาดแล้วก็พลาดไปให้เป็นบทเรียนที่จะพัฒนาตัวของเราไปเพื่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า ปีใหม่นี้ขอให้ทุกๆคนเจอโอกาสใหม่ๆ และประสบความสำเร็จในการลงทุนปี 2561 ที่จะเข้ามา พักผ่อนให้เต็มที่แล้วปีใหม่เรามาลุยไปด้วยกัน สุขสันต์วันปีใหม่ครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ลงทุนแบบเก็งกำไรกับ "บิทคอยน์" ผ่านหลักทรัพย์ต่างประเทศ - FINNOMENA สำหรับนักลงทุนที่เทรดหุ้นแบบบัญชี Offshore หากอยากลงทุนบิทคอยน์แต่ไม่อยากเล่นใน Exchange ของบิทคอยน์โดยตรง ลองอ่านบทความนี้ดูครับ 20 ธ.ค. 2560 ตามหลักวิชาการลงทุนนั้น นักลงทุนที่รอบคอบ และมีเงินลงทุนอยู่ในพอร์ตเยอะพอสมควร มักจะกันเงินไว้ไม่เกิน 5% สำหรับชั้นสินทรัพย์ที่เรียกว่า return enhancer หรือ diversifier ซึ่งสมัยก่อนมักจะลงทุนในทองคำ หรือหุ้นในตลาดเกิดใหม่ ในวันนี้ เริ่มเห็นบิทคอยน์ ที่ขึ้นมาแรงจนเกือบแตะ 20,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ จากที่เคยไม่ถึงหนึ่งเซนต์เมื่อ 10 กว่าปีก่อน รวมถึงมีความผันผวนสูงมาก ทว่าก็น่าจะเข้าข่ายชั้นสินทรัพย์นี้ แม้จะเห็นบทความหลายชิ้นที่เหมือนกองแช่งในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เปรียบเทียบบิทคอยน์กับ tulip bubble ในเนเธอร์แลนด์ เมื่อครั้งที่ยุโรปรุ่งเรืองก็ตาม เกี่ยวกับประเด็นนี้ ในวงการกูรูด้านการเงินทั่วโลก ยังแบ่งเป็น 2 ความเห็น ฝ่ายที่มองว่าบิทคอยน์เป็นแค่การลงทุนที่รอการแตกของฟองสบู่ มักจะมาจากนักวิชาการ หรือผู้บริหารด้านการลงทุนรุ่นใหญ่ แม้แต่ Big name อย่าง เจมี ไดมอน ประธานบริษัทเจพี มอร์แกน เชส หรือ เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งกองทุนบริดจ์ วอเตอร์ ยังมองว่า บิทคอยน์เป็นแค่ฟองสบู่ อย่างไรก็ดี เสียงฝั่งนี้เริ่มอ่อยๆ ลงมา อย่างนายไดมอน เริ่มบอกว่าเขาก็ยังเปิดใจกว้างรับความเห็นที่ต่างจากเขา ส่วนนายดาลิโอ ยังคงมองว่าบิทคอยน์เป็นฟองสบู่ ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1. ไม่สามารถทำหน้าที่ Store of Value ได้ และ 2. เขาเชื่อว่าแม้แต่นักลงทุนยังเข้าใจไม่ตรงกันว่าตัว บิทคอยน์ คือ etherum หรืออะไรกันแน่ แค่ซื้อไปเพราะเห็นว่าราคาขึ้นแบบหวือหวา แต่มีนักกลยุทธ์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ผมชื่นชอบท่านหนึ่ง นามว่า โทมัส ลี ที่เคยทำนายว่าบิทคอยน์จะมีราคาขึ้นหลักหมื่นดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ในปีนี้ กล่าวว่า หากพิจารณาชาวอเมริกันในเจนเนอเรชั่น Baby Boomer ในปี1982 มีอายุเฉลี่ยที่ 25 ปี ที่ลงทุนดัชนีหุ้น จนขึ้นสูงสุดในปี 1999 ดัชนีที่ว่าคือ S&P 500 มาถึงในตอนนี้ ชาวอเมริกันในเจนเนอเรชั่นMillennial ก็มีอายุเฉลี่ย 25 ปีเช่นกัน พวกเขาเหล่านี้ สนใจในชีวิตแบบดิจิทัล รวมถึง digital currencyโดยเฉพาะอย่างยิ่งบิทคอยน์ นายลีคาดว่า บิทคอยน์ก็จะถึงจุดสูงสุดในอีก 17 ปีต่อมาเช่นกันคือในปี 2034 หากพิจารณาจากการขึ้นของ S&P500 ดังกล่าว ราคาบิทคอยน์ตอนชาว Millennial โตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีราคาเป็นแสนดอลลาร์ต่อบิทคอยน์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ไทเลอร์ โคเวน นักวิชาการและบล็อกเกอร์ชื่อดัง ที่แม้จะยังกังวลกับสิ่งที่เขายังไม่แน่ใจว่าเป็นฟองสบู่ แต่ก็ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า ขนาดของตลาดบิทคอยน์ในตอนนี้มีมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์ เทียบกับความมั่งคั่งรวมของโลกที่ 241 ล้านล้านดอลาร์ หรือคิดเป็นเพียง 0.125% เท่านั้น หรือหากพิจารณา สต็อกของทองคำ รวมอยู่ที่ 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ หากเปลี่ยนทองคำเป็นบิทคอยน์เพียง 1% จะเทียบเคียงราคาของบิทคอยน์ได้ 5,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ ซึ่งไม่ห่างจากประมาณ 16,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ในตอนนี้มากเท่าไหร่นัก หรือหากเปรียบเทียบขนาดของตลาดบิทคอยน์ในตอนนี้มูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์ กับราคาของภาพวาดเดียวของลีโอ ดาร์วินชี ที่ 450 ล้านดอลลาร์ ถือว่ามูลค่าบิทคอยน์ดูแพงน้อยลงทันที สำหรับนักลงทุนที่เทรดหุ้นแบบบัญชี Offshore หากอยากลงทุนบิทคอยน์แต่ไม่อยากเล่นใน Exchange ของบิทคอยน์โดยตรง ก็สามารถลงทุนในหน่วยลงทุน Investment Trust ของสหรัฐซึ่งในตลาด OTC ก็มีอยู่เช่นกัน อย่าง Bitcoin Investment Trust (Ticker: GBTC) โดยเสียค่าธรรมเนียมในการบริหาร 2% ต่อปี ซึ่งเปิดให้ลงทุนในปี 2013 จนปัจจุบันมีมูลค่ารวมเป็นพันล้านดอลลาร์แล้วในตอนนี้ หรือหากไม่อยากลงทุนในบิทคอยน์แบบเต็มตัวผ่านตลาด CBOE เนื่องจากมองว่าเสี่ยงเกินไป ก็ยังสามารถลงทุนในบิทคอยน์ผ่านรูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่มีการลงทุนในบิทคอยน์อยู่บางส่วนผ่าน Bitcoin Investment Trust หรือ BIT (Ticker: GBTC) ได้แล้ว การรวบรวมของ Forbes แสดงให้เห็นว่า หลักทรัพย์เหล่านี้มีปริมาณบิทคอยน์ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ตาม Ticker ดังตาราง รวมถึงองค์ประกอบอื่นในหลักทรัพย์เหล่านี้มักจะมีระดับความผันผวนราคาอยู่สูงเช่นกัน จึงอย่าหวังว่าราคาจะวิ่งตามราคาบิทคอยน์อย่างชัดเจน สำหรับนักลงทุนที่ไม่มี บัญชี Offshore ในการเล่นหุ้น แต่สนใจอยากเข้าสู่สนามบิทคอยน์ในรูปแบบกองทุนรวมในบ้านเรา ต้องอดใจรอสักนิด หากตลาดบิทคอยน์ยังไม่ถลาลงมา ผมคาดว่าภายใน 6 เดือนจากนี้ไป นักลงทุนรายย่อยอาจจะสามารถซื้อกองทุนรวมที่มีบิทคอยน์ผสมอยู่บางส่วน อย่างไรก็ดี คงต้องรอท่าทีจากทางการบ้านเราว่า จะมีมุมมองต่อการลงทุนในบิทคอยน์อย่างไร ซึ่งแต่ละประเทศมีท่าทีแตกต่างกันเป็นอย่างมาก อาทิ ญี่ปุ่นเปิดให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่ ทว่าเกาหลีมองว่าต้องเก็บภาษีเพื่อลดความร้อนแรงของการลงทุน หรืออย่างสหรัฐให้เปิดเทรดในตลาดทางการ ทว่า SEC ที่กำกับตลาดทุนก็เริ่มจะพยายามกำกับมากขึ้น เนื่องจากความชัดเจนในเรื่องการลงทุนในบิทคอยน์ยังคงต้องรออีกพักใหญ่ว่าจะเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายกันแน่ จึงต้องย้ำอีกครั้งว่า ‘การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุน’ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643377 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จุดจบของหุ้นขนาดเล็ก จริงหรือไม่? - FINNOMENA ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาหรือเวลากว่าเดือนครึ่ง ใครที่ลงทุนในหุ้นหรือกองทุนหุ้นกลุ่ม Mid Small Cap ส่วนใหญ่น่าจะประสบกับปัญหาการปรับตัวลงของราคาในหุ้นและ NAV ของกองทุนกลุ่มนี้ไม่มากก็น้อย จนถึงตอนนี้หุ้น Mid & Small Cap จะฟื้นตัวแล้วหรือยัง? 20 ธ.ค. 2560 ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาหรือเวลากว่าเดือนครึ่ง ใครที่ลงทุนในหุ้นหรือกองทุนหุ้นกลุ่ม Mid Small Cap ส่วนใหญ่น่าจะประสบกับปัญหาการปรับตัวลงของราคาในหุ้นและ NAV ของกองทุนกลุ่มนี้ไม่มากก็น้อย แม้แต่กองทุนคุณภาพระดับท้อปหลายกองก็ยังมีการปรับตัวลงเป็นปกติทั้งสไตล์ที่เน้นการบริหารแบบ bottom up มากๆ หรือ แม้แต่สไตล์โมเมนตัมก็ยังปรับตัวลงกันถ้วนหน้า มีให้เห็นในหลักติดลบไม่กี่เปอร์เซ็นต์จนถึงระดับกว่า 6% ยิ่งถ้าใครลงทุนเป็นหุ้นรายตัวอาจจะติดลบกว่านั้นในรอบ 1 เดือน ที่ผ่านมา จนหลายคนทนไม่ไหว ถอดใจขายตัดขาดทุนไปเลยก็มี ซึ่งนับว่ากองหุ้นกลุ่มนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงปีนี้จากผลตอบแทนที่โดดเด่น จนทำให้หุ้นกลุ่มดังกล่าวหลายตัวปรับตัวขึ้นไปร้อนแรง ก่อนจะมีแรงขายทำกำไรออกมาเข้าสู่การปรับฐาน และยังมีหลายบลจ.มีการปิดรับออเดอร์รับคำสั่งซื้อเพิ่มเติมจากขนาดกองทุนที่โตไวจนเกินไป หากดูจากสถิติในอดีตแล้ว ในระยะยาวเมื่อเรานำผลตอบแทนของ SET มาหารเทียบด้วย SET50 จะเห็นได้ว่าสัดส่วนนี้ มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในระยะยาว สะท้อนว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กมีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่จากการเติบโตของกำไรในระดับสูงกว่า โดยมีเหตุการณ์อยู่หลายครั้งที่กราฟของผลตอบแทนที่เปรียบเทียบดังกล่าวปรับตัวลง ที่มา: Bisnews ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธ.ค. 60 โดยหากเรานำดัชนี SET หารด้วย SET50 แล้ว plot กราฟออกมาในระดับรายสัปดาห์จะเห็นว่า ในช่วงตั้งแต่หลังวิกฤต 2008 เป็นต้นมา กราฟดังกล่าวเคยปรับตัวลงอย่างมีนัยยะประมาณ 3 ครั้ง และล่าสุดครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ที่กราฟดัชนีดังกล่าวปรับตัวลงจน RSI ปรับตัวลงแตะระดับต่ำกว่า 30 หรือ oversold เป็นที่เรียบร้อย สะท้อนว่าผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบของหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กย่ำแย่กว่าหุ้นขนาดใหญ่มากเกินไป หรือมีแรงขายมากเกินไปแล้ว หากดูจากกราฟในอดีตแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยการฟื้นตัวในอีกไม่ช้า หากเป็นเช่นนั้นแล้ว เราอาจจะเริ่มค่อยๆเห็นหุ้นกลุ่ม Mid & Small Cap กลับมา outperform หุ้น Big Cap โดยเชิงเปรียบเทียบในอีกไม่ช้า ซึ่งก็น่าติดตามว่าในรอบนี้จะมีการฟื้นตัวเช่นในอดีตหรือไม่ และจะสามารถฟื้นตัวได้นานแค่ไหนครับ โดย Vorayuth – The Investment Think Tank คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Vorayuth Investment Strategist ไฟแรงจาก INFINITI Global Investors ที่มาพร้อมกับ Passion ในด้านการเงินการลงทุนกับดีกรีรางวัลจากการแข่งขันทางด้านการเงินลงทุนตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยและมัธยม อาทิ รางวัลชนะเลิศ CFA Institute Research Challenge in Thailand 2014-2015 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 SET Investment Star จาก YFS 2014 และรางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับธปท.
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Tencent บริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก - FINNOMENA คนส่วนใหญ่อาจจะรู้จัก tencent ในฐานะเจ้าของ wechat app แต่หากมาสังเกตุดีๆแล้วจะพบว่าธุรกิจเกมของ tencent นั้นโตเร็วและยิ่งใหญ่มากๆ ถึงขั้นที่ workpoint เองก็ยังเอาการแข่งขันเกม rov ของ tencent มาถ่ายทอดสด บริษัท Tencent มีดีอะไรกูรู Yoyoway จะพามาทำความรู้จักกันอีกสักรอบครับ 20 ธ.ค. 2560 ช่วงนี้น่าจะเห็นข่าวของ tencent กันบ่อยนะครับ เพราะล่าสุด Market cap ของ tencent เพิ่งจะแซง Facebook ไป ขึ้นไปเป็นบริษัทที่มีขนาด เกิน 5 แสนล้านเหรียญไปอีกราย คนส่วนใหญ่อาจจะรู้จัก tencent ในฐานะเจ้าของ wechat app ที่น่าจะมีผู้ใช้มากที่สุดในจีน (เกือบๆ พันล้านคน) แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าจริงๆแล้ว tencent นั้นมีรายได้หลักมาจากเกม และเป็นบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาได้ซักพักแล้ว ผมเพิ่งได้มีโอกาสมาดูหุ้น tencent ประมาณเดือนกว่าๆนี้เอง เมื่อประมาณ 5-6 เดือนก่อน ผมเห็นเพื่อนหลายคนใน fb พูดถึงเกม rov ผมเองในฐานะที่เป็นเด็กติดเกมมาก่อน เห็นแล้วก็สนใจตามเข้าไปเล่นด้วย เล่นแล้วก็ติดไปตามระเบียบ เล่นมาอยู่หลายเดือนก็เห็นว่ากระแส rov ในไทยนี่แรงมากๆ ไปที่ไหนก็เจอคนเล่นเกมนี้เต็มไปหมด ถึงขั้นที่ workpoint เองก็ยังเอาการแข่งขัน rov มาถ่ายทอดสด ด้วยความดังขนาดนี้ผมเลยไปค้นดูว่าใครคือเจ้าของเกม rov ก็พบว่าเจ้าของคือ tencent บริษัท tech ที่ใหญ่มากๆอันหนึ่งของจีน เลยทำให้ผมสนใจเจาะเข้าไปดูต่อว่าบริษัทนั้นทำธุรกิจอะไรยังไงบ้าง เพราะเข้าใจว่าตลอดว่า tencent นั้นน่าจะมีรายได้หลักมากจาก wechat พอเปิดเข้าไปดูงบก็ยิ่งตกใจ เพราะพบว่า รายได้หลักนั้นมาจากเกมถึง 42% แถมยังเป็น segment ที่มี margin สูงถึง 60-70% ใหญ่ขณะที่รายได้ส่วนอื่นๆนั้นมี margin ประมาณ 20-50% เท่านั้น นั้นหมายความว่ากำไรจากเกมน่าจะมีสัดส่วนประมาณ 50-60% ของบริษัทเลยทีเดียว แล้วก็ค้นพบต่อว่า รายได้เกมส่วนที่โตเร็วๆนั้นมาจาก mobile (ไตรมาส 3 โตถึง 84%) และรายได้หลักของ mobile นั้นก็มาจากเกมที่ชื่อว่า Honour of king ซึ่งจริงๆแล้วมันก็คือเกมเดียวกับ ROV ในบ้านเรานี่แหละ ต่างกันแค่ design ตัวละครที่ HOK นั้นจะเป็นตัวจากประวัติศาสตร์และตำนานจีน ส่วน rov (หรือ aov ในหลายๆประเทศ) นั้นใช้ gameplay เดียวกัน แต่ปรับตัวละครให้มันดูเหมาะกับตลาดนอกจีนมากขึ้น ธุรกิจเกมของ tencent นั้นโตเร็วและยิ่งใหญ่มากๆ ตอนนี้ hok (rov aov) เป็นเกมที่มีรายได้สูงที่สุดในโลก แม้ว่าตั้งแต่เดือน ก.ค. เป็นต้นมา เพิ่งจะมีการควบคุมเวลาเล่นของคนอายุต่ำกว่า 13 และ 18 จาก concern ของรัฐบาลจีนว่าเกมนี่มันจะทำให้เด็กติดเกมจนไม่เป็นอันทำอะไร แต่ก็หยุดความร้อนแรงของเกมนี้ลงไม่ได้ ส่วนเกม LoL (League of Legend) ซึ่งเป็นของ tencent อีก ก็เป็นเกมที่มีรายได้สูงที่สุดในหมวด PC บริษัทเกมรายใหญ่ของ finland ชื่อ supercell ซึ่งมีเกมดังระดับโลกอยู่ 3 เกม ได้แก่ hayday, clash royal และ clash of clan ก็ถูก tencent ซื้อไปแล้ว บางคนอาจจะสงสัยว่าธุรกิจเกมนั้นมันเป็น fashion รึเปล่า เหมือน angry bird ที่เราเห็นดังกันมากๆ ตอนนี้ก็ไม่มีใครเล่นแล้ว แต่ถ้าคนเคยเล่นเกมแนว moba จะรู้ว่า เกมแนวนี้เป็นแนวที่มี life cycle ยาวมาก ยกตัวอย่าง dota เกม moba ที่ดังมากเกมหนึ่ง เปิดตัวมา 15 ปีกว่าได้แล้ว ทุกวันนี้ก็ยังมีคนเล่นอยู่เป็นจำนวนมาก หรือเกม lol ของ tencent เองก็เปิดตัวมา 10 ปีได้แล้ว ทุกวันนี้ยังเป็นเกม pc ที่รายได้สูงที่สุดอยู่เลย โอกาสเติบโตในธุรกิจเกมของ tencent หลักๆน่าจะมาจากในจีนเอง ซึ่งเป็นตลาดที่โตเร็วมากๆ รวมถึงการขยายตัวของเกม rov ไปในประเทศต่างๆทั่วโลก และด้วยความเกมเป็นธุรกิจที่ margin สูงมาก และมี return of investment สูงมากเช่นกัน ทำให้ tencent สามารถเอากระแสเงินสดจากธุรกิจเกมไปลงทุนทำธุรกิจอื่นๆที่จะมาต่อยอดกับ wechat ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น wepay ระบบจ่ายเงินอันดับที่ 2 ของจีน เป็นรอง alipay ซึ่งมีรายได้โตมากกว่า 100% มาหลายไตรมาสติดกันแล้ว tencent video แอปดู video ที่มียอด download สูงสุดในจีน และมี subscriber ที่จ่ายเงิน 40 กว่าล้านคน ซึ่งสูงที่สุดในจีน (โตจากปีที่แล้ว 100%) cloud service ที่มีรายได้โตเกือบๆ 200% ปีต่อปี นอกจากธุรกิจหลักๆที่พูดมาแล้ว tencent ก็ยังกระจายเงินลงทุนออกไปทั่วโลก เช่น ถือ tesla 5% ลงทุน app เรียกรถในจีน didi ในอินเดีย ola และในอีกหลายๆประเทศ ล่าสุดก็เพิ่งซื้อ snapchat ไป น่าจะหวังว่าจะเอา ecosystem แบบ wechat เข้าไปเสริมให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ garena บริษัทเกมใน sea ที่เพิ่งตลาดหุ้นไปไม่นาน webank แบงค์แบบไม่ต้องมีสาขาในจีน เรียกว่าถ้าจะให้ร่ายว่า tencent ไปลงทุนอะไรบ้าง ผมว่าทั้งวันผมก็ยังเขียนบทความไม่จบแน่ๆ แต่รวมๆแล้วจากนี้ไป ผมมีความเชื่อว่า tencent น่าจะมีโอกาสที่จะมีขนาดแซง google apple microsoft amazon หลังจากแซง alibaba และ facebook ไปเรียบร้อยแล้ว กลายมาเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/yoyoinvestingway แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน yoyoway คุณสันติ สิงหวังชา รู้จักในนามปากกา "yoyoway" เซียนหุ้นรุ่นเก๋า ผู้ซึ่งประสบความสำเร็จในการลงทุนแนวทาง VI และได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ปีนี้หุ้นเล็กเละ...หุ้นใหญ่ดี...จริงหรือ?? - FINNOMENA ปีนี้เป็นปีที่ดัชนีหุ้นถือว่าอยู่ในโซนที่สูงน่ะครับ 1700 จุด ตามที่นักลงทุนใฝ่หากัน... แต่ทำไม...พอร์ทลงทุนนักลงทุนหลายๆคนถึงลงหนักกว่าดัชนี?? หรือจะสรุปว่า ปีนี้หุ้นเล็กเละ...หุ้นใหญ่ดี...จริงหรือ?? มาติดตามกันครับ 14 ธ.ค. 2560 SET50 Index vs MAI Index ..SET50 Index –> เส้นสีเขียว ..MAI Index –> เส้นสีแดง ปีนี้เป็นปีที่ดัชนีหุ้นถือว่าอยู่ในโซนที่สูงน่ะครับ 1700 จุด ตามที่นักลงทุนใฝ่หากัน… แต่ทำไม…พอร์ทลงทุนนักลงทุนหลายๆคนถึงลงหนักกว่าดัชนี?? น่าจะเป็นเพราะนักลงทุนหลายๆท่าน ไปลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี MAI ครับ… ลองดูภาพรวมของสองกลุ่มดัชนีเทียบกันตั้งแต่ปี 2016 น่ะครับ จะเห็นว่าหุ้นใน SET50 และ MAI ต่างก็วิ่งในลักษณะที่ขึ้นและลงพร้อมๆกัน.. จนกระทั่ง…ตั้งแต่เดือน พ.ย.2559 ถึง ก.พ.2560 ดัชนี MAI ดีดแรงแซง SET50 Index หรือพูดง่ายๆคือช่วงนั้นเป็นช่วงที่ หุ้นตัวเล็ก หุ้นซิ่ง จะให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นตัวใหญ่ๆนั่นเอง (ไม่ได้หมายความทุกตัวน่ะครับ อันนี้มองในแง่ของดัชนีรวม) จากนั้น…ความโหดร้ายก็เกิดขึ้นกับหุ้นกลุ่ม MAI Index ตั้งแต่เดือน ก.พ.2560 ถึง ปัจจุบัน ( ธ.ค.2560) หุ้นในกลุ่ม MAI หรือหุ้นเล็กแทบจะทั้งหมด ต่างก็ค่อยๆเจอแรงขายจนทำให้ดัชน MAI ลดลงมาเกือบ 20% จากจุดสูงสุด สวนทางกับดัชนี SET50 ที่ค่อยๆทะยานขึ้นมาเกือบ 13% ณ เวลาเดียวกัน ..จากตรงนี้ เราคงต้องหาสาเหตุกันต่อแล้วว่า.. ทำไมหุ้นที่อยู่ในดัชนี MAI ถึงลงซะเป็นส่วนใหญ่ อาจจะด้วยผลประกอบการที่แย่ลง? อาจจะด้วยความคาดหวังต่อผลประกอบการในอนาคตที่แย่ลง? หรือจะด้วยอะไรก็แล้วแต่… เราก็คงได้บทสรุปสั้นๆว่า… …สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่การขึ้นของดัชนีภาพรวม (ไม่ว่าจะ SET หรือ MAI) …แต่เป็นการเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดีต่างหากที่สำคัญที่สุด… อย่าปล่อยให้ดัชนีหลอกตา จนลืมดูแลหุ้นในพอร์ทลงทุนของเราน่ะครับ -Wizard Kid- แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Bitcoin กำลังแทรกซึมเข้าไปในตลาดหุ้น และจะนำพาสู่มหาวิกฤตในไม่ช้า - FINNOMENA เมื่อ bitcoin กำลังแทรกซึมเข้าไปในตลาดหุ้น และจะนำพาสู่มหาวิกฤตในไม่ช้า เรื่องราวจะเป็นอย่างไรมาติดตามกันได้เลย 30 เม.ย. 2563 Bฺitcoin กำลังแทรกซึมเข้าไปในตลาดหุ้น และจะนำพาสู่มหาวิกฤตในไม่ช้า โลกนี้มี วิกฤต แบบสุดโต่ง ที่ดังๆอยู่ 4 อย่างคือ 1. ทิวลิป (1619 – 1622) : ทิวลิปดอกละล้าน 2. Missipsippi (1716 – 1719) : มหาวิกฤตของฝรั่งเศส เป็นต้นแบบกรณีศึกษาตลาดหุ้นที่ดี 3. South Sea Bubble (1719 – 1722) : มหาวิกฤตของอังกฤษ อันนี้ดีมาก เป็นความลับของโลกก็ว่าได้ 4. Bitcoin !! ถ้าท่านคิดว่านี่มันบ้าไปแล้ว ให้ลองดู 4 ปีที่แล้วตอนที่เป็นกระแสครั้งแรกๆ สมมติว่าวิ่งต่อแบบเดียวกัน 1 Bitcoin จากตอนนี้ 6 แสนบาทไทย จะไปจบที่แถวๆ 2-3 ล้านบาท ประเด็นคือ .. อะไรที่เป็นสัญญาณ !!? – เริ่มมีหุ้นใน ตลาดต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain หรือลงทุนใน Cryptocurrency แล้วพุ่งกระฉูด 10-20 เท่าในสัปดาห์เดียว ลองคิดว่ามันขึ้นอีก 5 เท่า สิครับ เป็น 100 เท่า – มีหุ้น IPO และเตรียมตัว backdoor เกี่ยวกับ crypto / blockchain เริ่ม filing – มีกองทุน bitcoin ผุดเป็นดอกเห็ด ทำให้เม่าๆเข้าถึง พวกนี้ดึงเงินเม่าออกจากตลาดหุ้น ไปสู่ตลาดดิจิทัล (crypto) – ปีนี้ที่อเมริกา วันขอบคุณพระเจ้า ทุกคนพูดถึง bitcoin … เพียงแค่วันเดียว ทำให้มีเม่าเปิดบัญชีเสร็จเกิดใหม่หลักล้านคน ใน 1 สัปดาห์ – ลองกด google trend พิมพ์ว่า bitcoin จะพบว่า มันเหมือนกับราคาเลย แปลว่า bitcoin ขึ้นเพราะเงินใหม่ เข้าไปมากจริงๆ ดูดเม่าไปติดเยอะๆ – ในตลาด future เองก็จะเริ่มซื้อขาย bitcoin future ได้ในต่างประเทศ ในไม่ช้า เช่น อเมริกา และ ญี่ปุ่น – กฎหมายให้ bitcoin ถูกกฎหมายในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว – มีคนขายบ้าน ขายรถ ขายทุกอย่าง แล้วไปอยู่ในป่า เพื่อเอาเงินทั้งหมดไปซื้อ bitcoin – ข่าวร้าย โดนกลบหมด เช่น เหมืองขุด bitcoin ถูกแฮค – เงินในการลาก bitcoin มีก้อนเดียว (ผู้เล่นกลุ่มเดียว) สังเกตได้จากเวลาดูดเงินทั้งหมดจากเหรียญอื่นๆ กลับไปลาก bitcoin เพียงตัวเดียว ไม่สามารถลากทั้งหมดได้ (พอเงินไม่พอก็มาปั่นตัวเล็ก ให้คนติด แล้วขายทิ้งได้เงินกลับไปลากตัวใหญ่) แต่ …. ท่านอาจไม่รู้ว่า bitcoin มันใช้งานจริงไม่ได้แล้วในตอนนี้ เหตุผลที่มันขึ้น เพราะมันเป็นเพียงสิ่งแรกที่คนจะนึกถึง ขึ้นด้วยแรงเก็งกำไรล้วนๆ แล้วคนที่เข้าสู่ตลาดนี้ ในเวลานี้ก็ไม่ได้เข้าใจเทคโนโลยี เท่าสมัยแรกๆ เมื่อ bitcoin เข้าสู่สาธารณะชน จะเริ่มถูกกฎเกณฑ์เข้ามากำกับมากขึ้น จนสูญเสีย เอกลักษณ์ของมันไป ก็คือ ความเถื่อน ไร้ซึ่งกฎเกณฑ์ควบคุม … และนั่นอาจเป็นจุดจบแรกในเชิงการใช้งาน (เสน่ห์ของมันคือมันเปลี่ยนเทคโนโลยีข้างหลังได้ มันก็จะดิ้นๆ ไปสักพัก) ถัดไปคือ ถูกแฮค หมดสิ้น จาก quantum computing หรือมีเทคโนโลยีอื่น หรือรู้กันว่ามันใช้ไม่ได้จริง แต่ในมุมของราคา จะจบก่อนครับ แล้วยื้อไปยื้อมา ให้คิด story ที่เป็นไปได้ สุดยอด story คือการแปลงเศษหินให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณะชน (เช่นเครื่องรางที่ใช้ความเชื่อ จนร้านค้าพวกนี้ต้องขายทั้งโลก) และทำให้คนหมู่มากคาดหวัง (มันจะมาแทนการใช้เงินสด มันคือทุกอย่าง … ซึ่งตอนนี้มันก็เข้าสู่ช่วงท้าย ทันทีที่เข้าสู่สาธารณะชน สถาบันเข้ามา มีกองทุน ETF ให้เม่าซื้อได้ง่ายๆ (อะไรที่มันได้กำไรเยอะๆ คนก็จะไปโม้ๆคุยกันเอง ในไทยท่านไม่สังเกตเพราะบ้านเรา fintech ยังไม่ปัง) เข้าขั้นบ้า อาจถูกจัดไปรวมในหมวดการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ของพวกที่ทำ Asset Allocation บริษัท Blockchain อาจขึ้นไปติด Top list ของ Nasdaq .. หรือมีบริษัทใน nasdaq ตัวใหญ่ๆหันไปโม้ว่าทำ blockchain crypto แล้วราคาขึ้น สุดท้ายฟองสบู่ก็แตก จากความโลภของมนุษย์ ใครเล่นก็ออกกันให้ทันครับ ใครไม่เล่นก็ เราเลือกลงทุนในสิ่งที่รู้ ดีที่สุด #bitcoin #blockchain BottomLiner – บทสรุปการลงทุน —- อย่าลืมกดติดดาว หรือ see first เพื่อเห็นก่อน (โพสไม่บ่อย เดี๋ยวจะพลาด) ติดตามผ่านทาง Line: @bottomliner คลิก https://line.me/R/ti/p/%40bottomliner แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นไทย จะไปได้ถึงจุดไหนในปี 2018 - FINNOMENA หนึ่งในคำถามที่เรามักจะโดนถาม และอยู่ในบทความครั้งนี้ด้วยก็คือ SET Index ซึ่งเป็นตัวแทนของดัชนีหุ้นไทย จะสามารถวิ่งไปได้ถึงจุดไหน? วิธีการหาเป้าหมาย ก็สามารถหาได้หลายวิธี ลองมาดูกันในบทความนี้ครับ 12 ธ.ค. 2560 ผู้อ่านน่าจะได้ทราบมุมมองการลงทุนปี 2018 จากทีม Investment Committee ของ FINNOMENA กันไปแล้วนะครับ ใครยังไม่ได้อ่าน สามารถไปตามอ่านได้ที่ https://www.finnomena.com/infiniti-global-investors/outlook-2018-playing-extra-time/ ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในทีมงานที่ประชุมกัน และย่อยออกมาจนเชื่อว่า นี่คือ มุมมองการลงทุนที่นักลงทุนทุกคนต้องอ่านก่อนจะไปต่อสู้กันต่อในปีหน้า หนึ่งในคำถามที่เรามักจะโดนถาม และอยู่ในบทความครั้งนี้ด้วยก็คือ SET Index ซึ่งเป็นตัวแทนของดัชนีหุ้นไทย จะสามารถวิ่งไปได้ถึงจุดไหน? วิธีการหาเป้าหมาย ก็สามารถหาได้หลายวิธี แต่วิธีที่ผมชอบใช้ก็คือ การดูที่ Earnings Yield Gap หรือ EYG EYG หาจาก อัตราผลตอบแทนของหุ้น ลบด้วย อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนของหุ้น เราใช้ ส่วนกลับของ P/E Ratio ของ SET Index อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ เราใช้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี สมมติ ถ้าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นคือ 6% และในตราสารหนี้คือ 4% EYG = 6% – 4% = 2% แสดงว่า การลงทุนในหุ้น มีความน่าสนใจมากกว่าตราสารหนี้อยู่ 2% ส่วน 2% นี้ เพียงพอที่นักลงทุนจะไปเสี่ยงลงทุนในหุ้นหรือไม่ อันนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นของแต่ละบุคคลครับ แต่ในอดีตค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของ EYG อยู่ที่ 2.61% เราก็สามารถใช้ตัวเลขนี้เป็นมาตรวัดได้ว่า ต่ำกว่านี้ การลงทุนในหุ้นอาจไม่น่าสนใจแล้ว หรือ ถ้าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นคือ 4% และในตราสารหนี้คือ 4% EYG = 4% – 4% = 0% ถ้าเป็นแบบนี้ แสดงว่า ทั้งคู่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่เท่ากัน นักลงทุนที่มีเหตุผลก็ควรเลือกลงทุนในตราสารหนี้ เพราะความเสี่ยงต่ำกว่า มาดูปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นคือ 6% และในตราสารหนี้คือ 4% EYG = 5.85% – 2.36% = 3.49% ตรงนี้ถือว่าถูกหรือแพง? เรากลับไปย้อนดูอดีต จากที่บอกเมื่อกี้ว่า ค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของ EYG อยู่ที่ 2.61% แปลว่า ระดับ EYG ณ ปัจจุบัน สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต การที่ EYG จะลดลงได้ มีอยู่ 2 กรณี คือ ดัชนีปรับตัวขึ้นเร็วว่าการเติบโตของกำไร อัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้น ในมุมที่ว่า อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะเพิ่มขึ้นในปีหน้าหรือไม่ ประเด็นนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก ผมมีความเห็นว่า แบงก์ชาติน่าจะยังไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแต่อย่างใด ดังนั้น ถ้า EYG จะลดลงมาได้ น่าจะมาจากเหตุผลที่ว่า ตลาดหุ้นไทย น่าจะมี Upside ในปีหน้าได้อีก สมมติว่า อัตราดอกเบี้ยไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น EPS ของตลาดโตได้มากกว่าปีนี้ซัก 10% และมีความเชื่อว่า EYG น่าจะอยู่ที่เดิมไม่เพิ่มไม่ลด ที่ระดับ 3.49% นี่ละ SET Index จะสามารถวิ่งขึ้นไปได้ถึง 1,934.87 จุด จากระดับปัจจุบัน หรือ Upside ประมาณ 13% กรณีที่ 2 อัตราดอกเบี้ยไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น EPS ของตลาดโตได้มากกว่าปีนี้ซัก 10% และมีความเชื่อว่า EYG น่าจะลดลงไปที่ระดับค่าเฉลี่ย 5 ปี ที่ 2.61% SET Index จะสามารถวิ่งขึ้นไปได้ถึง 2,277.49 จุด จากระดับปัจจุบัน หรือ Upside ประมาณ 33% กรณีที่ 3 อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นซัก 50bps (แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง) EPS ของตลาดโตได้มากกว่าปีนี้ซัก 10% และมีความเชื่อว่า EYG น่าจะอยู่ที่เดิมไม่เพิ่มไม่ลด ที่ระดับ 3.49% SET Index จะสามารถวิ่งขึ้นไปได้ถึง 1,782.52 จุด จากระดับปัจจุบัน หรือ Upside ประมาณ 4% ประมาณการเป้าหมาย SET Index ตาม Earning Yield Gap (EYG), ที่มา : Bloomberg, INFINITI สรุปว่า ถ้าดูเฉพาะ ปัจจัยคือ อัตราดอกเบี้ยในตลาด กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียน เราจะได้กรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ในปีหน้า อยู่ที่ 1,782.52 จุด – 2,277.49 จุด ซึ่งยังไม่ได้รวมถึงความเสี่ยงหรือปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องนะครับ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น พิเศษ หากท่านสนใจเปิดบัญชีลงทุนเพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริง กรุณากรอกรายละเอียดสั้น ๆ ได้ ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club เพื่อรับบริการพิเศษจากเรา (จำนวนจำกัด) แท็ก: Earning Yield Gap EYG SET Index มุมมองปี 2018 หุ้นไทย แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Bitcoin ทะลุ $10,000 สำคัญยังไง? - FINNOMENA เมื่อเจ้า Cryptocurrency ที่ชื่อดังที่สุดของยุคอย่าง Bitcoin ราคาทะลุ $10,000 ได้เป็นครั้งแรก คำถามคือทะลุ 10,000 แล้วสำคัญยังไง? แล้วจริงๆ Bitcoin คือ ฟองสบู่ไหม? มาดูมุมมองจาก Mr.Messenger กันครับ 30 พ.ย. 2560 เมื่อเจ้า Cryptocurrency ที่ชื่อดังที่สุดของยุคอย่าง Bitcoin ราคาทะลุ $10,000 ได้เป็นครั้งแรก ถามว่า $10,000 สำคัญยังไง? กลับไปดู ตอนต้นปีนี้ ราคา Bitcoin เริ่มเทรดที่ $968.23 นั่นแปลว่า เฉพาะแค่ปีนี้ (และยังไม่จบปีดี) ราคา Bitcoin ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 933% เยอะขนาดไหน ก็ลองคิดว่า ถ้างทุน Bitcoin เป็นเงินไทย 1,000,000 บาท แล้วมาขายวันนี้ จะได้เงินกำไร คือ 9,330,000 บาท แค่เท่านั้นเอง Market Value ของ Bitcoin? เมื่อขยับไปดู Market Value ของ Bitcoin ที่มีทั้งหมดในตลาด ก็พบว่า ณ ตอนนี้มีมูลค่า $180 billion ขนาดใหญ่แซงหน้า บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯหลายบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างเช่น McDonald’s, IBM, Disney หรือ GE การปรับตัวขึ้นของ Bitcoin ในปีนี้ จริงๆ มีแรงต้านจากกูรูในแวดวงการลงทุนหลายคน ที่ให้ความเห็นว่า Bitcoin คือ การเก็งกำไร และคือ ฟองสบู่ลูกใหญ่ลูกหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น CEO ของธนาคาร Societe Generale, CEO ของ Credit Suisse ขณะที่นักลงทุนระดับโลกอย่าง Warren Buffet เองก็ออกมาบอกว่า Bitcoin นั้นเป็นฟองสบู่เช่นเดียวกัน แต่จนถึงวันนี้ ราคาก็ยังพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเหมือนจะวิ่งแรงขึ้นอีกต่างหาก โดยไม่ได้แคร์คำ์วิจารณ์ของใครเลย สำหรับสาเหตุหลักๆของการปรับตัวขึ้นของ Bitcoin ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานี้ เกิดจากการที่ตลาดซื้อขาย Futures ในหลายๆที่ จะเปิดเทรดอนุพันธ์บน Bitcoin … โดยเฉพาะเจ้าใหญ่ในสหรัฐฯอย่าง CME ซึ่งถือว่าผู้ให้บริการตลาดตราสารอนุพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศว่าจะเปิดตลาด Bitcoin Futures วันที่ 11 ธันวาคมในปีนี้ หรืออย่างกรณีบริษัท TOBAM หรือบริหารสินทรัพย์ของประเทศฝรั่งเศสได้แนะนำกองทุนรวม Bitcoin เพื่อเป็นอีกทางเลือกในกับนักลงทุนที่มองหาโอกาสใหม่ๆ สำหรับ Bitcoin อีกด้วย เรียกได้ว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน จากมากมายหลายแห่ง ต่างมาผูกตัวเองกับราคา Bitcoin และทำให้มีความต้องการลงทุนจากนักลงทุนหน้าใหม่ๆเข้ามาอย่างต่อเนื่อง พอผมเห็นข่าว CME จะเปิดเทรดปั๊บ ก็ร้องเวรกรรมขึ้นในใจทันที เพราะอะไรนะหรอครับ คุณก็ดูความเหวี่ยงของราคามันดูสิ แล้วยิ่งถ้าเป็น Derivative Product บน Bitcoin โผล่ขึ้นมา มันก็ระเบิดนิวเคลียร์ทำลายล้างพอร์ตดีๆนี่เอง แล้วจริงๆ Bitcoin คือ ฟองสบู่ไหม? คำถามนี้ ผมเองก็ไม่กล้าฟันธงครับ เพราะขนาด CEO ธนาคาร และนักลงทุนชื่อดังของโลกยังบอกว่ามันคือ ฟองสบู่ ขณะที่กูรูในสาย Cryptocurrency หลายคน บอกว่า นี่แค่จุดเริ่มต้น ดังนั้น เราคงต้องให้เวลาพิสูจน์กันเอง เพราะสุดท้าย ความจริง จะมีเพียงหนึ่งเดียว โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า เทคโนโลยีเบื้องหลังของมัน สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ไม่มากก็น้อย แต่เอาเข้าจริง ผมก็ไม่รู้จัก Bitcoin ดีพอ ผมไม่รู้จะหา Valuation ของสิ่งๆนี้ยังไง ดังนั้น ผมมีซื้อติดไว้แบบหลักหมื่น เพื่อเอาไว้ติดตามข่าวคราว และได้ชื่อว่า มีการลงทุนอยู่ … ผมคิดแค่นั้นจริงๆครับ ปิดท้ายกันด้วยคำทำนายของ นาย John McAfee หรือเจ้าของบริษัทซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยที่เรารู้จักทุกคนนะครับ เขาออกมาทำนายราคา Bitcoin ว่าจะพุ่งไปที่ $500,000 ในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ ก็สุดแล้วแต่จะคิดครับ แต่อยากเตือนอย่างจริงจังว่า “จงอย่าลงทุนในสิ่งที่คุณไม่รู้” เพราะความไม่รู้นี่ละ คือ ความเสี่ยงที่สุดในการลงทุนเลย Mr.Messenger รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โอกาสการลงทุนรับภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นกับ KT-FINANCE - FINNOMENA เมื่อพูดถึงธีมการลงทุนที่น่าสนใจในช่วงปัจจุบันไปจนถึงอนาคตอันใกล้ข้างหน้านี้ หลายคนคงจะนึกถึงธีมการลงทุนที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นนับจากนี้ไป KT-FINANCE เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่รับกับภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ส่วนรายละเอียดกองทุนนี้จะน่าสนใจแค่ไหนมาติดตามกันครับ 24 พ.ย. 2560 เมื่อพูดถึงธีมการลงทุนที่น่าสนใจในช่วงปัจจุบันไปจนถึงอนาคตอันใกล้ข้างหน้านี้ หลายคนคงจะนึกถึงธีมการลงทุนที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นนับจากนี้ไป โดยหากเราดูภาพรวมของแนวโน้มของนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกแล้วจะเริ่มเห็นความชัดเจนจากธีมนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยนโยบายนำธนาคารกลางทั่วโลก หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 เป็นต้นมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed มีการดำเนินนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายผ่านการทำนโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE มาโดยตลอด โดยการพิมพ์เงินเพื่ออัดฉีดเป็นสภาพคล่องเข้าระบบเศรษฐกิจและการเงินผ่านการเข้าซื้อตราสารหนี้ในระบบ ประกอบกับ Fed มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาในระดับต่ำถึง 0% มาถึงวันนี้เองปี 2017 แล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวได้ชัดเจน อัตราการว่างงานต่ำสุดในรอบกว่า 16 ปี ในขณะที่เงินเฟ้อเริ่มแตะระดับ 2% Fed จึงเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว โดยการเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ระดับราว 1-1.25% และมีแนวโน้มจะปรับขึ้นต่อเนื่องในปีถัดๆไป ประกอบกับเริ่มมีการใช้นโยบายการลดขนาดงบดุลลงเพื่อดึงสภาพคล่องที่ล้นระบบการเงินให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล หุ้นกลุ่มการเงินได้รับประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น สำหรับหนึ่งในกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุดจากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นคงเป็นกลุ่มไหนไปไม่ได้นอกจากกลุ่มบริการทางการเงิน โดยหุ้นกลุ่มการเงินนั้นประกอบไปด้วยหลายธุรกิจ เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งหากเรามาลองดูที่ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจกลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นเนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของธนาคารมาจากดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้ลูกค้า ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะกลาง-ยาว มักจะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทำให้พออัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางซึ่งมักใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกลางมีการปรับตัวขึ้น เหล่าธนาคารพาณิชย์ต่างๆก็เริ่มทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นตาม ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อาจจะปรับขึ้นตามได้ช้ากว่า หรือปรับขึ้นน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้กำไรจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ย หรือ Net Interest Margin ของธนาคารเริ่มดีขึ้น นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจประกันได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นจากการที่สามารถไปหาแหล่งลงทุนที่ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Net Interest Margin ของธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ และ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ที่มา: https://fred.stlouisfed.org/series/USNIM#0 เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มการเงิน การที่ดอกเบี้ยเริ่มเข้าสู่รอบขาขึ้นอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว นำโดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯ พอภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว กิจกรรมการค้าต่างๆของเศรษฐกิจก็ดีขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย ใช้บริการทางการเงินมากขึ้น รวมถึงมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดีขึ้นไปด้วย ส่งผลบวกต่อกลุ่มธุรกิจดังกล่าว อีกทั้งหุ้นในกลุ่ม Cyclicals sector หรือวัฏจักรมักจะสร้างผลตอบแทนได้ดีในยามเศรษฐกิจฟื้นตัว ภาพดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินโลกเทียบกับดัชนีหุ้นโลก (สีขาว) มักปรับตัวขึ้นสะท้อนหุ้นกลุ่มการเงิน Outperform หุ้นโลกในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี (สีส้ม) ปรับตัวขึ้น ที่มา: Bloomberg, Vorayuth’s Analysis ผู้รับประโยชน์จากนโยบายการผ่อนคลายกฎระเบียบและการลดภาษีของสหรัฐฯ หนึ่งในนโยบายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ต้องการจะทำในการบริหารประเทศครั้งนี้คือ การลดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่างๆของภาคการเงินลง เช่น การยกเลิกกฎหมาย Dodd-Frank ที่เพิ่มความเข้มงวดในการทำธุรกรรมทางการเงินในด้านต่างๆ ทำให้ธุรกิจภาคการเงินมีความคล่องตัวมากขึ้น รวมถึงนโยบายการปฏิรูปปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลที่จะทำให้บริษัทต่างๆรวมถึงธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯมีผลกำไรที่ดีขึ้น KT-FINANCE ลงทุนในหุ้นคุณภาพกลุ่มบริการทางการเงิน สำหรับกองทุนรวมที่น่าสนใจที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นกลุ่มบริการทางการเงินทั่วโลกในไทย ณ ปัจจุบันมีเพียงกองเดียว ซึ่งก็คือ กองทุน KT-FINANCE หรือ กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ฟันด์ ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในกองทุน Fidelity Funds – Global Financial Services Fund ที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มธุรกิจการเงินทั่วโลก กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดย Master fund เน้นลงทุนไปทางฝั่งสหรัฐฯมากที่สุด ปัจจุบันลงทุนในหุ้นในกลุ่มการเงินกระจายอยู่ในหลายภูมิภาคดังนี้ สหรัฐฯ ประมาณ 39.5% สหราชอาณาจักรฯ 8.6% ฝรั่งเศส 6.4% ญี่ปุ่น 4.7% เยอรมนี 3.5% แคนาดา 3.5% ออสเตรเลีย 3.2% จีน 3.1% ฮ่องกง 3.1% สเปน 3% ประเทศอื่นๆ 19.2% รวมสัดส่วนหุ้นในทุกประเทศ 97.7% อื่นๆ 2.3% ภาพสัดส่วนการลงทุนแยกรายประเทศ ที่มา: ข้อมูล Fund Factsheet กองทุนหลัก Fidelity Funds – Global Financial Services Fund ณ วันที่ 30 ก.ย. 60 ปัจจุบันกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหุ้นกลุ่มธุรกิจการเงินราว 50-60 บริษัท จากทั่วโลกกว่า 1,000 บริษัท โดยมีส่วนหุ้นที่กองทุนมีการลงทุนเป็นสัดส่วนสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ภาพสัดส่วนการลงทุนในหุ้นของกองทุนสูงสุด 10 อันดับแรก ที่มา: ข้อมูล Fund Factsheet กองทุนหลัก Fidelity Funds – Global Financial Services Fund ณ วันที่ 30 ก.ย. 60 JPMorgan Chase & Co. ลงทุนสัดส่วนราว 5.2% JPMorgan Chase & Co. ธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯที่มีบริการการเงินครบวงจร มีสาขาอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก โดยมีสินทรัพย์มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 กว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีมูลค่ากิจการใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ด้วยมูลค่ากว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการควบรวมกิจการระหว่าง J.P. Morgan & Co. และ Chase Manhattan Corporation ในปี 2000 Bank of America Corporation ลงทุนสัดส่วนราว 4.4% Bank of America Corporation ธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯที่มีบริการการเงินครบวงจร มีสาขาอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สูงเป็นอันดับ 2 กว่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีมูลค่ากิจการใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มธนาคารสหรัฐฯ ด้วยมูลค่ากว่า 2.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปีวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ 2008 ได้มีการซื้อกิจการของ Merrill Lynch หนึ่งในวาณิชธนกิจรายใหญ่ของโลกเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งด้านวาณิชธนกิจและบริการด้าน Wealth Management Citi Group Inc ลงทุนสัดส่วนราว 4.3% Citi Group Inc ธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯที่มีบริการการเงินครบวงจร มีสาขาอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก โดยมีโดยมีมูลค่าสินทรัพย์สูงเป็นอันดับ 4 กว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีมูลค่ากิจการใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ด้วยมูลค่ากว่า 1.95 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับในไทยเป็นที่รู้จักในผู้นำบริการด้านธุรกิจบัตรเครดิต Allianz SE ลงทุนสัดส่วนราว 2.6% Allianz SE บริษัทประกันภัยและบริหารสินทรัพย์รายใหญ่อันดับ 1 ของเยอรมนี มีธุรกิจกระจายอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก และมีมูลค่ากิจการกว่า 1.05 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ Wells Fargo & Company ลงทุนสัดส่วนราว 2.2% Wells Fargo & Company ธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯที่มีบริการการเงินครบวงจร มีสาขาอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สูงเป็นอันดับ 3 กว่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีมูลค่ากิจการใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มธนาคารสหรัฐฯ ด้วยมูลค่ากว่า 2.76 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนบริษัทชื่อดังที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น AIA Group Ltd. บริษัทประกันชีวิตรายใหญ่อันดับต้นๆของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และ Berkshire Hathaway บริษัทของ Warren Buffett ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลกที่ลงทุนในธุรกิจหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งมีธุรกิจหนึ่งในธุรกิจหลักคือส่วนของประกันภัยในนาม GEICO ผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มการเงินกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯมีความสัมพันธ์กัน หากเราลองพิจารณาดูราคา NAV ชองกองทุน KT-FINANCE จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ค่อนข้างจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันพอสมควร ภาพราคา NAV กองทุน KT-FINANCE เทียบกับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่มา: Bisnews ภาพราคา NAV กองทุน KT-FINANCE เทียบกับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 2 ปี ที่มา: Bisnews บทสรุปของ KT-FINANCE โดยสรุปแล้วกองทุน KT-FINANCE เป็นกองทุนที่น่าสนใจและตอบโจทย์สำหรับธีมการลงทุนที่มีแนวโน้มได้ประโยชน์จาก อัตราดอกเบี้ยโลกเริ่มเข้าสู่ขาขึ้นนำโดยฝั่งสหรัฐฯ สหรัฐฯมีแผนผ่อนคลายกฎระเบียบของภาคการเงินและนโยบายการปฏิรูปภาษี เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงฟื้นตัว อย่างไรก็ตามการลงทุนในกองทุนดังกล่าวก็มีความเสี่ยงในการลงทุน เช่น ความเสี่ยงของความผันผวนด้านราคา ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ หรือปัจจัยที่ทำให้ธีมการลงทุนเปลี่ยนแปลงไป ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงอื่นๆ ผู้ที่สนใจควรศึกษารายละเอียดข้อมูลและความเสี่ยงเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุน เขียนโดย Vorayuth คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น พิเศษ หากท่านสนใจเปิดบัญชีลงทุนเพื่อรับคำแนะนำการลงทุนผ่าน NTER SPACE กรุณากรอกรายละเอียดสั้น ๆ ได้ ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club เพื่อรับบริการพิเศษจากเรา (จำนวนจำกัด) แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Vorayuth Investment Strategist ไฟแรงจาก INFINITI Global Investors ที่มาพร้อมกับ Passion ในด้านการเงินการลงทุนกับดีกรีรางวัลจากการแข่งขันทางด้านการเงินลงทุนตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยและมัธยม อาทิ รางวัลชนะเลิศ CFA Institute Research Challenge in Thailand 2014-2015 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 SET Investment Star จาก YFS 2014 และรางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับธปท.
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Warning 1 - เริ่มมีสัญญาณเตือนในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ นักช้อปกองทุนควรอ่าน! - FINNOMENA นักช้อปกองทุนควรอ่าน! สัญญาณเตือนในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่ล่าสุดตราสารหนี้ประเภท High Yield Bond Fund เริ่มเห็นการปรับฐานเล็ก ๆ เช่นเดียวกับกองทุน Global Bond ซึ่งรอบ 1 - 2 ปีที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยเป็นจำนวนมาก สัญญาณเหล่านี้มีอะไรที่ต้องจับตามองบ้าง? 17 พ.ย. 2560 ล่าสุดตราสารหนี้ประเภท High Yield Bond Fund ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในรอบหลายปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นการปรับฐานเล็ก ๆ ประมาณ 1% เช่นเดียวกับกองทุน Global Bond ซึ่งรอบ 1 – 2 ปีที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยเป็นจำนวนมาก – ในรอบหลายปีที่ผ่านมาที่มีการอัด QE ควบคู่ไปกับดอกเบี้ยต่ำเตี้ยทั่วโลก ทำให้เม็ดเงินแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น รวมถึงการ carry trade คือกู้ดอกเบี้ยต่ำ ๆ จากตลาดเงินไหลไปลงทุนในตราสารหนี้เอกชนทั้ง High Yield, Corporate Bond, MBS ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจน spread หรืออัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงจนต่ำมาก ขณะที่ราคาตราสารเหล่านี้ปรับเพิ่มขึ้นจาก Capital Gain ทำให้นักลงทุน happy กันไปตาม ๆ กัน – ในปีหน้าจะเป็นปีที่ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1% หากดูจากการคาดการณ์ของ FED ทำให้ดอกเบี้ยขึ้นไปที่ประมาณแถว ๆ 2% ยิ่งทำให้ Spread แคบลงไปอีก ทำให้เริ่มเห็น flow ของนักลงทุนที่ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารภาคเอกชน โดยเฉพาะ High Yield Bond ที่มีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ – นอกจากนี้ในปีหน้าประมาณกลางปีจะเป็นครั้งแรกในรอบสิบปีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น สุทธิแล้วดูดสภาพคล่องออกจากระบบการเงินโลก หลังจากกระตุ้นด้วย QE มาเป็นเวลานานจนเศรษฐกิจเริ่มฟื้น – ตัวแปรสำคัญหนีไม่พ้นราคาน้ำมัน และเงินเฟ้อ ถ้าถีบตัวขึ้นแรง ๆ ในระยะต่อจากนี้จะยิ่งกดดันให้เหล่าแบงค์ชาติทั่วโลกเริ่มหันมาใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว (ตอนนี้ยังไม่เห็นสัญญาณเงินเฟ้อมากนัก) – ส่วนตัวมองว่าจากนี้ 6 – 12 เดือนข้างหน้าผลตอบแทนจากตราสารหนี้โลกไม่น่าจะดีนัก โดยเฉพาะตราสารที่เคยให้ Yield สูง ๆ และมีเงินไหลเข้าไปลงทุนมาก ๆ ก่อนหน้านี้เนื่องจากดอกเบี้ยต่ำมาก และสภาพคล่องล้นโลก มาตอนนี้เศรษฐกิจฟื้น เงินเฟ้อเริ่มมา ดอกเบี้ยเริ่มขึ้น น่าจะมีการ unwind หรือลด position ใน carry trade เหล่านี้เกิดขึ้นได้ – ส่วนเรื่องการวางพอร์ตให้กำไรเมื่อดอกเบี้ยขึ้นนั้นบอกเลยว่าไม่ง่าย เนื่องจากในทางปฏิบัติจะมีประเด็นเรื่อง negative carry & negative convexity ซึ่งขอไม่อธิบายในรายละเอียด ณ ที่นี้ อย่างไรก็ตาม นี่ยังเป็นเพียง Warning 1 เป็นสัญญาณให้จับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ยังไม่ถึงขั้นต้องลดพอร์ตทั้งหมด และตราสารหนี้โลกยังควรมีไว้สำหรับการจัดพอร์ตเพื่อเป็นการกระจายการลงทุนที่ดี แต่ก็จะชะล่าใจไม่ได้ และต้องเข้าใจด้วยว่าตราสารหนี้ก็ขาดทุนได้ ไม่ใช่บวกเสมอไป เคยโดนกันมากี่ครั้งแล้วน่าจะยังไม่ลืม ทั้งนี้ผมจะคอยติดตามสถานการณ์ให้อย่างใกล้ชิด ถ้าคิดว่าสถานการณ์จะไม่ดี ก็จะแนะนำให้ปรับตัวแน่นอนครับ ส่วนท่านใดสนใจแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องการลงทุนในกองทุนร่วมแชร์ความคิดเห็นกันได้ที่ https://www.facebook.com/groups/fundspace/ #ยินดีแลกเปลี่ยนทุกมุมมองครับ FundTalk รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
CIMB-Principal LTF ครบเครื่องเรื่องการเติบโต - FINNOMENA วันนี้ขอเปลี่ยนมา Review กองทุน LTF กันบ้าง โดยครั้งนี้เราจะหากองทุนที่มีสัดส่วนการถืออุตสาหกรรม Energy และ Banking ไม่เยอะมาก เพื่อหลีกเลี่ยงธุรกิจที่มีโอกาสถูก Disrupt จากเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินในประเทศไทย แต่ยังมีผลประกอบการที่ดีและนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมอยู่ กับ "CIMB-Principal LTF ครบเครื่องเรื่องการเติบโต" 3 พ.ย. 2560 โจทย์ของการมองหากองทุน LTF ของผมในครั้งนี้คือการหา LTF ที่มีสัดส่วนของธุรกิจพลังงานและธนาคารน้อยๆหน่อย การซื้อ LTF นั่นหมายถึงต้องถือระยะยาวถึง 7 ปี ทำให้ผมไม่ค่อยสบายใจที่จะต้องถือธุรกิจที่มีโอกาสถูก Disrupt จากเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินในประเทศไทยอย่างโรงกลั่นนํ้ามันหรือธนาคารซักเท่าไหร่ ดังนั้นผมจึงพยายามหากองทุนที่มีสัดส่วนการถืออุตสาหกรรม Energy และ Banking ให้น้อยที่สุด แต่ยังมีผลประกอบการที่ดีและนโยบายการลงทุนที่เหมาะสม มาดูผลตอบแทนกันก่อน เริ่มที่ผลตอบแทน 5 ปีและ 3 ปี จะเห็นว่าผลตอบแทน 5 ปีสามารถทำได้ 8.51% ต่อปีใกล้เคียงกับดัชนีชี้วัดที่ 8.63% ถ้าดูที่ผลตอบแทน 3 ปีกองทุนสามารถทำผลตอบแทนได้ 8.01% มากกว่าดัชนีชี้วัดที่ทำผลตอบแทนได้ 5.12% ทำผลตอบแทนสูงกว่าเกือบๆ 3% ซึ่งถือว่าทำได้ดีมาก พอมาดูผลตอบแทนระยะสั้นขึ้นมาอีกคือ 1 ปีกองทุนทำได้ 18.85% ยังคงชนะดัชนีชี้วัดที่ 16.48% สรุปโดยภาพรวมคือกองทุนสามารถทำผลตอบแทนระยะสั้น-ยาวได้ดีมาก ทีนี้มาดูว่ากลยุทธที่ดกองทุนใช้ในการลงทุนคืออะไรถึงได้ผลตอบแทนที่น่าประทับใจ กลยุทธการลงทุน ของ CIMB-Principal LTF CIMB-Principal LTF ถือว่าเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ซึ่งกองทุนจะลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่น้อยกว่า 65% นั่นหมายความว่าไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นเช่นไร กองทุนจะถือหุ้นตลอดเวลาไม่ตํ่ากว่า 65% และอาจมีเงินสดมากถึง 35% ซึ่งก็จะมีข้อดีในเวลาที่ตลาดหุ้นเป็นตลาดขาลง ทำให้กองทุนมีอิสระในการขายหุ้นออกไปเพื่อรอซื้อในราคาที่ตํ่ากว่าได้ จากข้อมูลเดือนกันยายน กองทุนมีการถือหุ้นอยู่ประมาณ 85% สำหรับการเลือกหุ้นและอุตสาหกรรมที่จะลงทุนกองทุนจะลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดีและเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับประเทศ โดยทั่วๆไปก็เช่น พลังงาน, ธนาคาร, ค้าปลีก, โรงพยาบาล เรามาดูกันว่าแล้วกองทุน CIMB-Principal LTF มีสัดส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมไหนบ้าง อุตสาหกรรมที่กองทุนลงทุน แม้กองทุนจะลงทุนในกลุ่มธนาคารและพลังงานมากเป็นอันดับต้นๆของกองทุน คือลงทุนในกลุ่มธนาคาร 18.04%พลังงานและสาธารณูปโภค 16.83% และอันดับสามคือเงินทุนหลักทรัพย์ 13.50% แต่ถ้าดูลึกลงไปที่หุ้นที่กองทุนลงทุนจะเห็นว่าหุ้นที่กองทุนลงทุนหลักๆ 5 อันดับแรกไม่มีพลังงานและธนาคารมาเกี่ยวข้องเลย CIMB-Principal LTF ลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสได้เปรียบสูงในอนาคต และแต่ละบริษัทมีจุดเด่นเป็นของตนเอง SAWAD หรือบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจสินเชื่อรถแลกเงินรายใหญ่ของประเทศไทย CPALL หรือ 7-11 ที่เรารู้จักกันดี ทำธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่นอกจากจะมีสาขามากที่สุดในประเทศไทยแล้วยังเป็นร้านสะดวกซื้อที่ผมเชื่อว่าสะดวกที่สุดในประเทศไทยด้วย AOT หรือบริษัท ท่าอากาศยานไทย ดำเนินธุรกิจสนามบินสุวรรณภูมิ, ดอนเมืองของประเทศไทย ซึ่งจะได้ประโยชน์มากจากการเติบโตของนักท่องเที่ยว THANI หรือบริษัท ราชธานีลิสซิ่ง ผู้ให้สินเชื่อเช่าซื้อรถเพื่อการพาณิชย์ เช่นรถกระบะ รถบรรทุก รถไถ เครื่องจักรการเกษตร และมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ MINT หรือบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เจ้าของโรงแรมอนันตารา อวานี่ และเจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารและขนมหวานชื่อดังของไทยเช่น เบอร์เกอร์คิงส์, สเวนเซนส์และแดรี่ ควีน หุ้นที่บริษัทลงทุนหลักๆล้วนแล้วแต่เป็นธุรกิจที่กำลังเติบโต และเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ทำให้การลงทุนของ CIMB-Principal LTF มีโอกาสเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สร้างผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องในอนาคต เป็นกองทุน LTF ที่ครบเครื่องเรื่องการเติบโตอย่างแท้จริง! พิเศษ หากท่านสนใจเปิดบัญชีลงทุนเพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริง กรุณากรอกรายละเอียดสั้น ๆ ได้ ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club เพื่อรับบริการพิเศษจากเรา (จำนวนจำกัด) แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตามล่าหาหุ้น All Time High กันเถอะ - FINNOMENA หุ้นหลายตัวสามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่หรือ All Time High ได้อย่างต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีจะไปแตะเส้นชัยที่ 1,800 จุดหรือไกลกว่านั้น เรามาหาหุ้นที่ทำ All Time High ติดพอร์ตไว้สักตัวกันดีกว่า โดยมีสูตรดังนี้... 31 ต.ค. 2560 ขณะที่ SET Index กำลังลุ้นขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่ก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง หุ้นหลายตัวในปีนี้สามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่หรือ All Time High ได้อย่างต่อเนื่อง บางตัวก็ถูกจับตาจากมวลชนแต่บางตัวแอบขึ้นอย่างเงียบๆ ก่อนที่ดัชนีจะไปแตะเส้นชัยที่ 1,800 จุดหรือไกลกว่านั้น เรามาหาหุ้นที่ทำ All Time High ติดพอร์ตไว้สักตัวกันดีกว่า โดยมีสูตรดังนี้ 1. กำไรสุทธิต้องโตโดดเด่น เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพราะหุ้นจะไปไม่ได้ไกลเลยหากผลประกอบการออกมาไม่เติบโต โดยต้องเน้นที่กำไรบรรทัดสุดท้าย หรือกำไรสุทธิที่มาจากการดำเนินงานเท่านั้น ไม่นับรวมกำไรพิเศษต่างๆ อยากให้เน้นหาหุ้นที่กำไรโตไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ) มากกว่าเทียบปีต่อปี (YoY) เพราะการเทียบต่อไตรมาสมันสะท้อนภาพปัจจุบันมากกว่า ถ้าสามารถหาหุ้นที่กำไรโตระดับเลขสองหลักได้จะยิ่งดี ตัวอย่างหุ้นที่สร้างจุดสูงสุดใหม่ด้วยกำไรที่โตต่อเนื่อง อย่างเช่น AOT เป็นต้น แม้จะไม่โตหวือหวาแต่ยังโตต่อไปได้ 2. อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช่ หากดูหุ้นที่สามารถทำ All Time High ได้ในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่าอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตและมักจะขึ้นกันยกกลุ่ม อย่างเช่นกลุ่มลีสซิง นำมาโดย MTLS SAWAD รวมถึงธนาคารขนาดเล็กที่เน้นพอร์ตเช่าซื้ออย่าง TCAP TISCO ซึ่งเป็นการเติบโตที่สวนทางกับธนาคารขนาดใหญ่ เนื่องจากภาคธุรกิจหยุดการขยายธุรกิจแต่พอร์ตสินเชื่อบุคคลกลับเติบโตแทน หรืออย่างหุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น TOP ESSO และหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ต่างพาเหรดกันขึ้นแบบยกแผง ถ้าเราไปเจอหุ้นผู้นำที่ทะยานขึ้นก่อน เราสามารถสำรวจหาหุ้นตัวอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อลงทุนได้เช่นกัน 3. ต้องแข็งกว่าภาพรวมตลาดหรือก้าวจากพระรองเป็นผู้นำ ท่ามกลางภาวะขาลงหรือสภาพอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ หากมีหุ้นพระเอกสักตัวหนึ่งสามารถเติบโตได้อย่างโดดเด่นก็มีโอกาสจะขึ้นได้อย่างไม่หยุดยั้งเช่นกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนคือหุ้น WORK ที่ สามารถสร้างผลกำไรและมาร์เกตแคปได้สูงกว่าผู้นำเดิมอย่าง BEC ได้สำเร็จ ในขณะที่หุ้นทีวีดิจิทัลตัวอื่นกลับมีผลงานที่ย่ำแย่ จึงไม่อาจปฎิเสธได้ว่า WORK คือหนึ่งในดาวเด่นประจำปีนี้อย่างแท้จริง จากพระรองก้าวสู่ผู้นำในอุตสาหกรรมทีวีได้อย่างน่าภาคภูมิใจ หรือหุ้น AH ที่มีผลงานชนะหุ้นตัวอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ก็สามารถทำ All Time High ได้เช่นกัน 4. กราฟและค่า P/E จะสูงจนน่าตกใจ (แต่ก็ยังขึ้นต่อ) คุณสมบัติหนึ่งของหุ้นที่จะทำ All Time High นั่นคือราคาหรือกราฟต้องแข็งแกร่งกว่าภาพรวมตลาด แน่นอนว่าหุ้นที่ขึ้นมาเยอะๆ ย่อมต้องมีคนถือในต้นทุนที่ต่ำซึ่งพร้อมจะขายได้ตลอดเวลา จึงไม่แปลกใจที่หุ้น All Time High จะโดนเทหนักๆตลอดทาง แต่ในเชิงเทคนิคหุ้นกลุ่มนี้จะไม่หลุดภาพการเป็นขาขึ้น ไม่ว่าจะอินดิเคเตอร์ใดๆ เช่น เทรนด์ไลน์ , เส้น EMA รวมถึงค่า P/E ที่จะต้องดูแพงจนเว่อร์ เช่น 50-100 เท่า แต่ให้ข้อสังเกตุว่ามันก็ยังจะขึ้นต่อไปได้ ถ้าเราเจอหุ้นพวกนี้ มั่นใจได้เลยว่ามีโอกาสสูงที่จะสามารถทำ All Time High ภาพรวมตลาดการเงินทั่วโลกตอนนี้ยังล้นไปด้วยสภาพคล่อง ส่วนหุ้นไทยเองก็ยังมีสตอรี่เชิงบวกทั้งความชัดเจนทางการเมืองและโครงการลงทุน EEC ก่อนที่ SET Index จะสร้างจุดสูงสุดเราลองใช้สูตรดังกล่าวหาหุ้น All Time High ประดับพอร์ตไว้สักตัวสิครับ มั่นใจได้ว่า ใครที่เดินขึ้นจากตีนเขาจนถึงยอดดอยด้วยตัวเอง อากาศบนนั้นมันช่างสดชื่นกินใจแน่นอน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Monkey Money นเรศ เหล่าพรรณราย (Monkey Money) Co-Founder และ COO ของ StockQuadrant PTE. ฟินเทคสตาร์ทอัพสาย Retail Investment คลุกคลีกับตลาดหุ้นมาเป็นสิบปี ฝันอยากเห็นนักลงทุนรายย่อยไทยแข็งแกร่งไม่แพ้ใครในโลก
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SIS vs SYNEX แตกต่างกันอย่างไร? - FINNOMENA ในยุคที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ Smartphone เป็นปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำรงค์ชีวิต ในตลาดหุ้นไทยก็มีบริษัทที่ได้รับผลดีจากส่วนนี้อยู่ไม่น้อย วันนี้มีดูกันดีกว่าว่าบริษัทที่เป็นผู้จัดจำหน่ายแบบค้าส่งสินค้า IT ในประเทศไทยรายใหญ่อย่าง SIS และ SYNEX จะแตกต่างกันอย่างไร? 18 ต.ค. 2560 ในยุคที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ Smartphone เป็นปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำรงค์ชีวิต ในตลาดหุ้นไทยก็มีบริษัทที่ได้รับผลดีจากส่วนนี้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงจัดจำหน่ายอุปกรณ์ วันนี้มีดูกันดีกว่าว่าบริษัทที่เป็นผู้จัดจำหน่ายแบบค้าส่งสินค้า IT ในประเทศไทยรายใหญ่อย่าง SIS และ SYNEX จะแตกต่างกันอย่างไร SiS เป็นบริษัทค้าส่งสินค้าไอทีในไทย ที่มีเครือข่ายมาจากประเทศฮ่องกง ปัจจุบันเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับผู้้ผลิต 70 ราย และมีลูกค้าอยู่กว่า 4,600 รายทั่วประเทศไทย รายได้และกำไรของ SiS ปี 2559 อยู่ที่ 18,497 ลบ. กำไรขั้นต้น 5.2% และ กำไรสุทธิ 1.2% ปี 2558 อยู่ที่ 18,121 ลบ. กำไรขั้นต้น 5.4% และ กำไรสุทธิ 0.9% ปี 2557 อยู่ที่ 18,593 ลบ. กำไรขั้นต้น 5.2% และ กำไรสุทธิ 1% ปี 2556 อยู่ที่ 18,345 ลบ. กำไรขั้นต้น 5.7% และ กำไรสุทธิ 1% ปี 2555 อยู่ที่ 22,091 ลบ. กำไรขั้นต้น 3.0% และ กำไรสุทธิ -2.5% ปี 2554 อยู่ที่ 22,713 ลบ. กำไรขั้นต้น 4.7% และ กำไรสุทธิ 0.6% จากสถิติหลายปีที่ผ่านมา SiS ไม่ได้มีการเติบโตมากนัก แต่ก็มีการรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ได้เกินกว่า 5% แต่กำไรสุทธินั้นต่ำเพียง 1% หรือคิดเป็นตัวเงินจะอยู่เพียงประมาณปีละ 200 ลบ. เท่านั้น ส่วน Synex เป็นบริษัทค้าส่งสินค้าไอทีเช่นกัน มีเครือข่ายมาจากประเทศใต้หวัน ปัจจุบันเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ผลิต 50 ราย และมีลูกค้าอยู่กว่า 5,000 รายทั่วประเทศไทย รายได้และกำไรของ Synex ปี 2559 อยู่ที่ 23,823 ลบ. กำไรขั้นต้น 4.7% และ กำไรสุทธิ 1.7% ปี 2558 อยู่ที่ 21,515 ลบ. กำไรขั้นต้น 5.0% และ กำไรสุทธิ 1.7% ปี 2557 อยู่ที่ 19,092 ลบ. กำไรขั้นต้น 4.1% และ กำไรสุทธิ 1% ปี 2556 อยู่ที่ 18,759 ลบ. กำไรขั้นต้น 4.9% และ กำไรสุทธิ 1.2% ปี 2555 อยู่ที่ 20,576 ลบ. กำไรขั้นต้น 5.1% และ กำไรสุทธิ 1.8% ปี 2554 อยู่ที่ 20,238 ลบ. กำไรขั้นต้น 5.5% และ กำไรสุทธิ 1.9% ยอดขายของ Synex เองก็ดูแล้วมีการเติบโตอยู่บ้างเล็กน้อยแต่ดีกว่า SiS สิ่งที่ด้อยกว่า SiS เพียงอย่างเดียวคือมีอัตรากำไรขั้นต้นที่น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่กลับมีอัตรากำไรสุทธิสูงกว่า SiS อย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน ถ้าคิดเป็นตัวเงินแล้วยอดขายอาจจะต่างกันไม่กี่ % แต่กำไรสุทธิของบริษัทนั้นกลับแตกต่างกันกว่าเท่าตัว เพราะอะไร SiS กับ Synex ถึงแตกต่างกัน? ยอดขายของ SiS ที่เติบโตสู้ Synex ไม่ได้ น่าจะเป็นเพราะการนำเข้าสินค้าที่ยังไม่สามารถตอบพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีเท่า Synex และกลายเป็นว่าถูก Synex แย่ง Market share ไป ปัจจุบัน market share ของ SiS อยู่ที่ 25% ในขณะที่ Synex อยู่ที่ 31% กำไรขั้นต้นทำไม SiS สูงกว่า? ไม่รู้แน่ชัด แต่เดาว่าเพราะ Synex ยอมขายในราคาที่ต่ำกว่า จึงไม่แปลกที่ได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ใครขายถูกกว่าคนนั้นได้ลูกค้า และจะไปวัดความสามารถกันที่ใครบริหารได้ต้นทุนต่ำกว่ากัน กำไรสุทธิ Synex สูงกว่า? เห็นได้ชัดว่าถึงแม้ Synex จะขายในราคาที่ถูกกว่า แต่เพราะต้นทุนการบริหาร ค่าใช้จ่ายต่างๆของ Synex ทำได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะฉะนั้นจึงยังสามารถรักษาอัตรากำไรสุทธิไว้เหนือคู่แข่งเป็นเวลานาน ปัจจัยที่น่าสนใจในส่วนนี้คือ Synex มีเครื่องหมายการค้า Trust by SYNNEX ซึ่งสามารถเข้าถึงลูกค้ารายย่อยได้จำนวนมาก ทำให้พลังของแบรนด์ Synex จึงมีมากกว่า ใช้ค่าการตลาดน้อยกว่าแต่กลับขายได้มากกว่า เพียงเท่านี้ก็เห็นชัดเจนแล้วว่าบริษัทไหนได้เปรียบกว่ากัน ถึงแม้อุตสาหกรรมโดยรวมแล้วไม่ได้มีอะไรมากนัก แต่ความแตกต่างในการบริหารนั้นค่อนข้างชัดเจน ความได้เปรียบทางต้นทุนก็เป็นอีกปัจจัยที่มีผลค่อนข้างมาก ท้ายที่สุดแล้วสำหรับอุตสาหกรรมแบบนี้ ผู้ที่มีต้นทุนต่ำสุดย่อมรักษาความเป็นผู้ชนะได้ แต่สำหรับนักลงทุนแล้วบริษัทที่ดีไม่ได้แปลว่าเป็นการลงทุนที่ดี ต้นทุนที่คุณลงทุนต่างหากจะบอกว่านั้นคือการลงทุนที่ดีหรือแย่… ใครสนใจรายละเอียดของทั้งบริษัท สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ข้างล่าง SIS สรุปและเรียบเรียงโดย Investdiary SYNEX สรุปและเรียบเรียงโดย Investdiary แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน InvestDiary นักลงทุนรุ่นใหม่ เจ้าของ FB เพจ InvestDiary เน้นการลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัท พร้อมกับความเชื่อที่ว่า "VI ไม่ใช่แนวทางการลงทุน แต่เป็นแนวทางการใช้ชีวิต"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
10 อันดับกองทุน LTF ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ประจำเดือนกันยายน 2560 - FINNOMENA 10 อันดับกองทุน LTF ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ประจำเดือนกันยายน 2560 18 ต.ค. 2560 พิเศษ หากท่านสนใจเปิดบัญชีลงทุนเพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริง กรุณากรอกรายละเอียดสั้น ๆ ได้ ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club เพื่อรับบริการพิเศษจากเรา (จำนวนจำกัด) แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหวย VS ตลาดหุ้น - FINNOMENA ในวันที่ นายก บอกว่าจะมีเลือกตั้งปีหน้า ตลาดหุ้นวันนั้นก็ขึ้นรับข่าวนี้ทันที ถ้าใครบอกว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยดูเงียบเหงา แต่คำนี้ใช้ไม่ได้กับ ตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยกำลังมุ่งสู่จุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์!! 16 ต.ค. 2560 ในวันที่ นายก บอกว่าจะมีเลือกตั้งปีหน้า ตลาดหุ้นวันนั้นก็ขึ้นรับข่าวนี้ทันที ถ้าใครบอกว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยดูเงียบเหงา แต่คำนี้ใช้ไม่ได้กับ ตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยกำลังมุ่งสู่จุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ณ วันที่ SET INDEX ปิดที่ 1706.95 จุด… ถ้าย้อนกลับไปประวัติศาสตร์ทั้งหมด มีแค่ 2 วันที่ตลาดหุ้นไทยอยู่สูงกว่าวันนี้ 2 วันนี้คือ วันไหนบ้าง 4 ม.ค. 2537 SET INDEX ปิดที่ 1753.73 จุด 5 ม.ค. 2537 SET INDEX ปิดที่ 1709.64 จุด แล้วอีกเท่าไรถึงจะทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์? ในระหว่างวันที่ 5 ม.ค. 2537 SET INDEX ได้ทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ ที่ 1789.16 คิดแล้วก็อีก 82.21 จุด หรือ อีก 4.8% นับจากตอนนี้ ในท่ามกลาง ความซับซ้อน ของตัวเลขมากมายในตลาดหุ้น ที่คนภายนอกเข้าใจยาก ในท่ามกลาง ความ minimal ของตัวเลขสองตัวในตลาดหวย ที่คนทั่วไปเข้าใจได้ ถ้าให้เวลา 1 นาที มีอะไร ที่ทำให้ตลาดหุ้นเข้าใจ ได้ง่ายกว่า ตลาดหวย บ้าง ? ขอแบ่ง 60 วินาที เป็น 6 ช่วง 10 วินาทีแรก ปิดตา ทำใจให้สงบ ล้างความเชื่อเก่าๆทั้งหมด 10 วินาที ต่อมา เปิดตา มองไปรอบตัวเรา มีอะไรอยู่รอบตัวเราบ้าง 10 วินาที ต่อมา จดชื่อธุรกิจที่อยู่รอบตัวเราที่คิดว่าทุกคนต้องใช้ ใครๆก็รู้จัก 10 วินาที ต่อมา ได้ชื่อธุรกิจ แต่ละคนอาจจะได้ชื่อไม่เหมือนกัน แต่ที่ทุกคนคงรู้จัก คงหนีไม่พ้น “เซเว่นอีเลฟเว่น” 10 วินาที ต่อมา ลองมาดูซิ ถ้าเราซื้อหุ้นเซเว่นใน 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้เราจะมีเงินเท่าไร เซเว่นอีเลฟเว่น เมื่อ 10 ปีที่แล้วมีมูลค่าบริษัท 44,253 ล้านบาท ตอนนี้ เซเว่นอีเลฟเว่น มีมูลค่าบริษัท 628,817 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 14 เท่า (ยังไม่รวมเงินปันผล) ถึงแม้วันนี้ SET INDEX จะยังไม่ทำจุดสูงสุด แต่วันนี้หุ้นเซเว่นได้ทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ไปแล้ว ถ้าเราซื้อหุ้นเซเว่น ก็เหมือนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจการเซเว่น มีเงินน้อยได้หุ้นน้อย มีเงินมากได้หุ้นมาก ที่น่าสนใจคือ คนไทยไม่ว่ายากดีมีจนทุกคนสามารถซื้อหุ้นได้ การลงทุนเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิที่จะรวย แต่มีคนที่ใช้สิทธินั้นไม่ถึง 10% ถ้าเราลงทุน 1 หมื่นบาท 10 ปีที่แล้ว แล้วไม่ต้องสนใจเลยอีก 10 ปี ตอนนี้เราจะมี 1.4 แสนบาท ทำนองเดียวกัน ถ้าเราทุน 1 ล้านบาท 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้เราจะมี 14 ล้านบาท ถามว่า 10 ปีที่แล้ว เรารู้จักเซเว่นแล้วหรือยัง? คนไทยทุกคนรู้จักเซเว่นมานานแล้ว คำถามต่อไปคือ แล้วตอนนี้มีอะไรที่ธุรกิจอะไรอีกบ้างรอบตัวเรา ที่คิดว่าทุกคนต้องใช้ และใครๆก็รู้จัก ถ้าตอบคำถามนี้ได้ก็จะเหมือนเราลงทุนในหุ้นเซเว่นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้เวลาผ่านไปแล้ว 50 วินาที 10 วินาทีสุดท้าย ปิดตาอีกครั้ง.. รำลึกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เราซื้อหวยไปเท่าไร แล้วตอนนี้เราได้เงินจากหวยกี่บาท.. บทความนี้มีเจตนาเปรียบเทียบตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพ ไม่ได้ชี้นำให้ลงทุนในหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน ที่มาบทความ : http://longtunman.com/2674 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ลงทุนแมน เล่าเรื่องการลงทุน จากเรื่องราวที่อยู่รอบตัว แบบเข้าใจได้ง่ายง่าย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
New Normal ของการลงทุน - FINNOMENA คำว่า “New Normal” นั้น เริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายน่าจะหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจอเมริกาในปี 2008 ที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรงมาก มาดูกันว่ามีอะไรที่จะเป็น New Normal ในตลาดหุ้นและการลงทุนของนักลงทุนไทยกันบ้าง 11 ต.ค. 2560 คำว่า “New Normal” นั้น เริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายน่าจะหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจอเมริกาในปี 2008 ที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรงมากที่ทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจลดต่ำลงมากและดูเหมือนว่ามันจะไม่สามารถกลับมาเติบโตเหมือนเดิมได้อีกต่อไป กูรูทั้งหลายเชื่อว่า “ตัวเลขใหม่” ที่ดู “ผิดปกติมาก” เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เคยเป็นนั้นจะกลายเป็น “มาตรฐานใหม่” และจะเป็น “ตัวเลขปกติ” ที่จะดำเนินต่อไปในวันข้างหน้า หลังจากนั้น คำว่า New Normal ก็ถูกนำไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ อีกมาก เหตุผลคงเป็นเพราะว่าในระยะหลัง ๆ นี้ โลกได้เปลี่ยนแปลงไปเร็วและมาก สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ “ทำลาย” สิ่งเก่า ๆ ที่เราคุ้นเคย สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่จำนวนมากไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นครั้งเดียวอีกต่อไป ดังนั้น ในฐานะนักลงทุน เราจะต้องตระหนักตลอดเวลามิฉะนั้นเราอาจจะหลงคิดว่า “สิ่งที่เลวร้ายเดี๋ยวก็จะผ่านไป” คำพูดคลาสสิกของเบน เกรแฮมที่ว่า “This too shall past” อาจจะใช้ไม่ได้อีกแล้วในหลาย ๆ เรื่อง มาดูกันว่ามีอะไรที่จะเป็น New Normal ในตลาดหุ้นและการลงทุนของนักลงทุนไทย เรื่องแรกก็คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ถึงแม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้จะดูดีขึ้นมากในรอบน่าจะหลายปี แต่ก็น่าจะเป็นการเติบโตจากอัตรา 3% ต้น ๆ เป็น 3% ปลาย ๆ เป็นอย่างมาก และผมคิดว่าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะโตกลับมาเกิน 4% ต่อปีเป็นเรื่องยาก ไม่ต้องคิดถึงอัตรา 5% หรือ 7% ที่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นเก่า ๆ เคยคุ้นเคยและคิดว่ามันเป็นอัตราการเติบโตตาม “ธรรมชาติ” หรืออัตราเติบโตตามปกติของไทยมายาวนาน เหตุผลก็เพราะว่าคนไทยแก่ตัวลงและขาดแคลนแรงงานซึ่งทำให้ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพหรือกำลังแรงงานที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากนัก ผมคิดว่า New Normal ของการเติบโตของไทยน่าจะอยู่ที่ 3-4% ก็หรูแล้ว และนี่อาจจะทำให้ไทยไม่ใช่เศรษฐกิจที่ “โตเร็ว” อีกต่อไป การเติบโตของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมเองนั้น ผมก็คิดว่าคงจะช้าลงตามเศรษฐกิจ ในสมัยก่อนนั้น การเติบโตของรายได้และ/หรือกำไร ที่ต่ำกว่า 10% นั้นถูกถือว่า “โตช้า” บริษัทเหล่านั้นก็จะไม่ค่อยมีใครสนใจลงทุนแม้ว่าเศรษฐกิจเองก็โตแค่ 5-6% ประเด็นก็คือ ในยุคก่อนนั้น บริษัทจดทะเบียนมักจะถูกมองว่าต้องโตเร็วกว่าเศรษฐกิจ แต่ถ้าบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้นมีขนาดใหญ่มากจนเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจได้อย่างปัจจุบัน ตามหลักการแล้ว บริษัทจดทะเบียนก็ไม่น่าจะโตกว่าการโตของเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อ และด้วยหลักการนี้ ในระยะยาวแล้ว การเติบโตของรายได้และกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมก็ไม่น่าจะโตไปกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อได้ ดังนั้น ในความเห็นของผมก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่จะเป็น New Normal ก็คือ น่าจะโตประมาณ 5-10% ต่อปี โดยที่บริษัทที่ “โตเร็ว” นั้น น่าจะโตแค่หลัก 10% บวกลบ ในขณะที่บริษัทที่โตปกตินั้นน่าจะอยู่ที่ 5% บวกลบ บริษัทที่โตเร็วมากนั้นอาจจะได้ถึง 15% บวกลบ ที่จะโตมากกว่านั้นน่าจะเป็นเฉพาะบริษัทที่เพิ่งเริ่มและยังเล็กมากเท่านั้น ผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยที่ผ่านมาในอดีต 42 ปี อยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น นั่นก็เป็นผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมน่าจะระดับต้น ๆ ของโลก และก็น่าจะเกิดขึ้นเพราะเศรษฐกิจไทยในช่วงเดียวกันก็เติบโตดีในระดับต้น ๆ ของโลกเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเศรษฐกิจไทยโตช้าลงมากในอนาคต ตลาดหุ้นก็น่าจะโตหรือให้ผลตอบแทนต่อปีน้อยลง ในความคิดผม ตลาดหุ้นไทยน่าจะมี New Normal นั่นก็คือในอนาคตน่าจะให้ผลตอบแทนตามการเติบโตทางเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อที่ต่ำ ผลตอบแทนต่อปีแบบทบต้นน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 7-8% โดยตัวเลขที่ผมคิดว่าปลอดภัยก็คือ 5% ต่อปีในระยะยาว New Normal ของการลงทุนที่ผมคิดว่ากำลังจะเกิดขึ้นตามมาจากเรื่องของการโตช้าลงของตลาดหุ้นไทยก็คือ การลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย ปรากฏการณ์ในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็คือ นักลงทุนโดยเฉพาะที่ยังมีอายุน้อยกว่าต่างก็สนใจและเริ่มลงทุนในต่างประเทศทั้งในตลาดพัฒนาแล้วอย่างอเมริกาและตลาดกำลังพัฒนาอย่างเวียตนาม แม้แต่นักลงทุนสูงวัยและมีเงินมากกว่าต่างก็ลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนรวมทั้งที่เป็นพันธบัตรและหุ้นมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การลงทุนในต่างประเทศจะไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติหรือเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับบางคนอีกต่อไป เช่นเดียวกับเรื่องของการลงทุนในต่างประเทศ การลงทุนที่อาศัย Robot หรือหุ่นยนต์ก็อาจจะกำลังกลายเป็น New Normal ด้วย เหตุผลก็คือ มันมีความสามารถและประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ จริงอยู่ การให้หุ่นยนต์ทำเองทุกอย่างโดยอัตโนมัตินั้น ยังคงมีน้อยในตลาดหุ้นไทย แต่ผมคิดว่าการใช้ Robot ช่วยในการลงทุนอาจจะเป็นเรื่องปกติขึ้นเรื่อย ๆ เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ ต้นทุนของการใช้นั้นต่ำลงมาก และในหลาย ๆ สถานการณ์ การใช้ Robot ก็อาจจะทำได้ดีกว่าคน คุณภาพหรือความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมและบริษัทจดทะเบียนในระยะหลัง ๆ นี้ผมก็คิดว่ามี New Normal อยู่ไม่น้อยและเราจะต้องตระหนัก มิฉะนั้นแล้วเราก็อาจจะวิเคราะห์ตามความคิดและความเชื่อเดิมซึ่งอาจจะทำให้ผิดพลาดได้ เหตุผลก็เพราะว่าเทคโนโลยีดิจิตอลพัฒนาขึ้นมาเร็วจนถึงจุดที่มันสามารถ Disrupt หรือทำลายวิธีการเดิม ๆ อย่างรวดเร็วและทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจสื่อเช่นทีวีนั้น Old Normal หรือแนวความคิดเดิมก็คือมันเป็นธุรกิจที่ดีมาก ดังนั้น บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะได้กำไรมากและมีค่า PE สูงมาก แต่ New Normal อาจจะเป็นว่า ธุรกิจทีวีไม่ใช่ธุรกิจที่ดีเยี่ยมอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น กำไรก็อาจจะไม่สูงและค่า PE ของหุ้นก็อาจจะไม่สามารถสูงได้อีกต่อไปแม้ว่าจะเป็นช่องทีวีที่ประสบความสำเร็จ เรื่องของการใช้ชีวิตหรือการใช้เงินของคนไทยเองนั้น ผมคิดว่าก็มี New Normal เกิดขึ้นมากและอาจจะส่งผลต่อการวิเคราะห์ในเรื่องของการลงทุน ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็คือเรื่องของการใช้เวลาซึ่งผมคิดว่าคนไทยใช้เวลาเพิ่มกับการ “ดูหน้าจอแบบเคลื่อนที่” มากขึ้นมาก ซึ่งก็มักจะตามมาด้วยการทำกิจกรรมต่อเนื่องเช่น การสั่งสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ และเรียกรถรับจ้าง เป็นต้น ผลกระทบตรง ๆ ก็คือการที่คนดูทีวีและอ่านหนังสือเล่มน้อยลงมาก ส่วนผลกระทบทางอ้อมนั้นก็มีมหาศาล น่าเสียใจที่คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือ บริษัทต่างชาติที่ให้บริการดูหน้าจอและขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต ส่วนคนที่เสียประโยชน์มากก็คือบริษัทท้องถิ่นไทยที่ถูกแย่งลูกค้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ มีเรื่องราวอีกมากมายที่เริ่มจะเกิดขึ้นแล้วในสังคมของประเทศที่พัฒนาสูงและผมเชื่อว่าในที่สุดมันก็จะมาถึงประเทศไทย ตัวอย่างเช่น การใช้รถไฟฟ้าแทนรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน ประเด็นเหล่านี้เราจะต้องพิจารณาว่า “เมื่อไร” และใช้เวลานานแค่ไหนที่มันจะกลายเป็น New Normal ในสังคมหรือตลาดไทย ถ้าเราจะลงทุนหรือเลิกลงทุนขายหุ้นที่เกี่ยวข้องทิ้งเราจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ประเด็นที่ผมต้องเตือนก็คือ อย่าไปคิดว่า “เมืองไทยหรือคนไทยไม่เหมือนคนอื่น” โลกในสมัยนี้เป็นหนึ่งเดียว เราอาจจะไม่เหมือนหรือไม่พยายามเหมือนหรือทำแบบคนอื่นได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในระยะยาวแล้ว เป็นไปไม่ได้ New Normal ก็คือ คนในโลกจะมีวิถีชีวิตและพฤติกรรมเหมือนกันทุกประเทศตามฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละคน ที่มาบทความ : http://www.thaivi.org/new-normal-ของการลงทุน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
BH Vs BDMS ซื้อหุ้นโรงพยาบาลไหน ดียังไง? - FINNOMENA BH กับ BDMS ถือเป็นคู่แข่งคลาสสิคมากๆ ของยุคเลยก็ว่าได้ และเป็นหุ้นที่หลายๆคนอาจจะมีอาการคิดจะซื้อตัวนึงจะรู้สึกเสียดายอีกตัวนึงตลอด ตัดสินใจยากมากๆ วันนี้ BuffettCode เลยลองสรุปสาระสำคัญคร่าวๆ มาฝากกันครับว่า หุ้น 2 ตัวนี้นั้น มีดีต่างกันตรงไหนบ้าง? 5 เม.ย. 2562 ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/buffettcode/photos/a.1715316738510584.1073741925.1105108129531451/1715317418510516/?type=3&theater มือใหม่เล่นหุ้นโรงพยาบาล ต้องรู้อะไรบ้าง? เรียนหุ้นออนไลน์ได้ฟรี! คลิกที่รูปได้เลย แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
อยากรู้ไหมฝรั่งไล่ซื้อหุ้นอะไรบ้างตั้งแต่ SET ทะลุ 1,600 จุด!? - FINNOMENA เรามาลองดูกันว่านักลงทุนต่างชาติได้ซื้อหุ้นตัวไหนไปบ้างตั้งแต่ 29 ส.ค. 2560 ถึง 29 ก.ย. 2560 ที่เป็นวันปิดไตรมาสที่ 3 โดยสิ่งที่เราจะใช้เป็นเครื่องมือในการดูก็คือตัวเลขมูลค่าการซื้อสุทธิของ NVDR 9 ต.ค. 2560 ตั้งแต่ช่วง 29 ส.ค. 2560 เป็นต้นมา เป็นวันที่ SET Index ปรับตัวขึ้นทะลุ 1,600 จุด ขึ้นมาได้สำเร็จพร้อมปริมาณการซื้อขายอย่างหนาแน่นหนุนด้วยแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนต่างชาติก็ยังทยอยสะสมหุ้นไทยมาต่อเนื่อง วันนี้เรามาลองดูกันว่านักลงทุนต่างชาติได้ซื้อหุ้นตัวไหนไปบ้างตั้งแต่ 29 ส.ค. 2560 ถึง 29 ก.ย. 2560 ที่เป็นวันปิดไตรมาสที่ 3 โดยสิ่งที่เราจะใช้เป็นเครื่องมือในการดูก็คือตัวเลขมูลค่าการซื้อสุทธิของ NVDR หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น ซึ่งคือ “บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด” (Thai NVDR Company Limited) ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักของ NVDR ก็คือเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดหลักทรัพย์และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนชาวต่างประเทศ ที่สนใจลงทุนในบริษัทจดทะเบียนแต่อาจไม่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์นั้นได้ อันเนื่องมาจากการควบคุมสัดส่วนการถือครองหหลักทรัพย์ของคนต่างด้าวที่ระบุไว้ตามกฎหมายไทย ดังนั้น NVDR จึงเป็นอีกทางเลือกให้กับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหลักทรัพย์นั้น ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนเช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียน แต่ผู้ถือ NVDR จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า NVDR จะออกมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศ แต่ผู้ลงทุนไทยก็สามารถลงทุนใน NVDR ได้ ดังนั้นเราลองมาดูยอดซื้อสุทธิ 10 อันดับแรกกันว่า นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในหุ้นตัวไหนไปเยอะบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การดูยอดซื้อสุทธิผ่าน NVDR ไม่ได้เป็นการบอกว่าหุ้นตัวนั้นจะขึ้นหรือลงมากแค่ไหน หรือให้ผลตอบแทนมากแค่ไหน แต่เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เรานำมาวิเคราะห์ได้ว่า นักลงทุนต่างชาติมีความสนใจในหุ้นตัวไหนผ่านยอดซื้อหรือขายสุทธินั่นเอง หุ้น 10 อันดับที่ฝรั่งซื้อ หุ้น 10 อันดับที่ฝรั่งขาย จะเห็นได้ว่าหุ้นที่ฝรั่งซื้อสุทธิไม่ได้มีผลตอบแทนดีกว่าหุ้นที่ขายสุทธิเสมอไป การที่มียอดซื้อเข้ามาเยอะอาจจะเป็นนัยได้ว่าฝรั่งเขาสนใจจากหลายปัจจัย เช่น valuation ยังน่าสนใจ หรือปัจจัยพื้นฐานน่าสนใจ ในขณะที่ยอดขายสุทธิก็เช่นกันครับ อาจจะมีการขายทำกำไรกันได้ด้วยหลายปัจจัย เช่น หุ้นขึ้นมาแรงและไวก็มีขายทำกำไรกันไปบ้าง และทั้งหมดนี้ก็เป็นรายชื่อหุ้นที่ติดอันดับ ยอดซื้อสุทธิ และขายสุทธิ 10 อันดับแรก ตั้งแต่วันที่ SET ทะลุ 1,600 จุด ขึ้นมานั่นเอง หวังว่านักลงทุนทั้งหลายจะนำไปคิดวิเคราะห์ทำการบ้านกันต่อได้นะครับ ปล. ส่วนใครอยากดู รายชื่อหุ้นที่ติดอันดับ ยอดซื้อสุทธิ และขายสุทธิ 100 อันดับแรกของ NVDR ลอง Comment ด้านล่างกันมาได้เลยนะครับ ถ้ามีคนอยากได้กันเยอะเดี๋ยวจะทำเป็นไฟล์แจกให้เลย เขียนโดย Vorayuth แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Vorayuth Investment Strategist ไฟแรงจาก INFINITI Global Investors ที่มาพร้อมกับ Passion ในด้านการเงินการลงทุนกับดีกรีรางวัลจากการแข่งขันทางด้านการเงินลงทุนตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยและมัธยม อาทิ รางวัลชนะเลิศ CFA Institute Research Challenge in Thailand 2014-2015 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 SET Investment Star จาก YFS 2014 และรางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับธปท.
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
4 เหตุผล ที่ผมเชื่อว่า ตลาดหุ้นโลกขาขึ้นยังมีให้เห็นอีก - FINNOMENA มาดูมุมมองของ Mr.Messenger ต่อตลาดหุ้นโลกกันครับ ว่าจะหมี หรือ จะกระทิง? กับ "4 เหตุผล ที่ผมเชื่อว่า ตลาดหุ้นโลกขาขึ้นยังมีให้เห็นอีก" 5 ต.ค. 2560 นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา มุมมองของนักลงทุนประมาณว่า ตลาดหุ้นจะปรับฐานหนัก , เรามาได้ไกลจนใกล้สุดทาง, ฟองสบู่ที่สร้างขึ้นมารอบนี้ ใกล้จะแตกแล้ว … มีให้เห็นมาตลอดนะครับ และผมก็ยอมรับว่า ในบางช่วงเวลา ผมก็ร่วมขบวนการตลาดหมีกับเขาด้วย (แหะๆ) แต่การมีมุมมองต่อการเคลื่อนไหวในอนาคต มันคือ “Investment View” ซึ่งมีถูกมีผิดอยู่แล้ว ที่สำคัญกว่า คือ เรามีแผนสำรอง และจะทำอย่างไรกับพอร์ตการลงทุนของเรา ถ้าเราคิดผิด? เข้าเรื่องที่จะเขียนวันนี้ดีกว่าครับ แล้ว ณ ตอนนี้ ผมมีมุมมองต่อตลาดหุ้นโลกอย่างไร? กระทิงจะมีโอกาสกลายร่างเป็นหมีในเร็วๆนี้ไหม? คำตอบสั้นๆคือ ผมยังเชื่อว่า ตลาดหุ้นยังมี Upside เพียงพอต่อการเข้าลงทุน ณ จุดนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ หรือ เงินลงทุนเก่าที่จะทยอยลงทุนเพิ่มครับ และนี่คือ 4 เหตุผลที่อยากจะแชร์ ข้อแรก พิจารณาจาก Investment Clock แล้วก็จะพบว่า ช่วงเวลาที่จะบอกว่า ตอนนี้เป็น Overheat ยังมาไม่ถึง สาเหตุเพราะ เงินเฟ้อทั่วโลกยังอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารกลางทั่วโลก ส่วนใหญ่ยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีนวัตกรรมในด้านนโยบายการเงินใหม่ๆออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจ ค่อยๆปรับตัวดีขึ้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ลองดูจากรูป ก็จะพบว่า ช่วงที่เศรษฐกิจเพิ่งกลับมามีเงินเฟ้อ (Reflation) มันก็คือ ช่วงของการที่เศรษฐกิจเพิ่งจะฟื้นตัว (Recovery) ลองไปดูว่า ในอดีต สินทรัพย์ประเภทไหน ที่ให้ผลตอบแทนดีในช่วงเวลาแบบนี้ ก็จะพบว่า คือ “หุ้น” พวกกลุ่ม Financial และสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ตามมาด้วนกลุ่มเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม รูปที่ 1 : Investment Clock ที่มา : http://www.moneyobserver.com ต่อคำถามที่ว่า แล้วที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กำลังจะขึ้นดอกเบี้ยละ? ไม่น่ากลัวหรอ? ความเห็นผมก็คือ ณ ตอนนี้ ยังมีแค่เฟด ที่สามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว ส่วนธนาคารกลางอื่นๆ ก็ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป อีกเรื่องคือ จากข้อมูลในอดีต (อ่านบทความอย่างละเอียดเรื่องนี้ได้ที่นี่) ไม่ว่าดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้นแบบแรงๆ หรือ ค่อยๆขึ้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ยังมีโอกาสสูงที่จะยังให้ผลตอบแทนเป็นบวก ซึ่งถ้าหุ้นสหรัฐฯยังบวก ก็แปลว่า ตลาดหุ้นหลักๆที่อื่นก็ยังน่าจะมี Upside เช่นกัน ข้อที่สอง ย้อนกลับไปดู Equity Market Cycle หรือ แต่ละรอบของขาขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 1926 จนถึงรอบปัจจุบัน จะพบว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผ่าน Cycle มาแล้ว 10 รอบ เราอยู่ในรอบที่ 11 หลังวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 JP Morgan สรุปว่า เงื่อนไขที่ทำให้ตลาดปรับฐานจนเข้าสู่ Bear Market ใน 10 รอบที่ผ่านมา มีเหตุผลอยู่ 4 เหตุผลหลักๆด้วยกัน คือ เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย, ฟองสบู่ Commodity, ฟองสบู่ตลาดหุ้น, การใช้นโยบายการเงินแบบเชิงรุก ถ้าดูเงื่อนไขภาวะตลาด และเศรษฐกิจสหรัฐฯในปัจจุบัน ที่น่ากังวลมีเรื่องเดียวคือ ฟองสบู่ในตลาดหุ้น จากการที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวทำ All Time High แทบทุกวัน ในแง่ของ 1 รอบวัฎจักร จะพบว่า รอบที่เราอยู่ตรงนี้ กินระยะเวลามาแล้ว 103 เดือน ถือเป็น Bull Market Rally ที่ยาวนานที่สุดเป็นอันดับสองรองจากรอบปี 1990-2000 ซึ่งนานถึง 115 เดือน แต่ในแง่ของผลตอบแทน จะพบว่า รอบนี้ ยังห่างไกลจากรอบปี 1990-2000 ที่ S&P500 บวกขึ้นไปได้ 417% ก่อนฟองสบู่แตก จากข้อมูลนี้ ผมเลยยังถือว่า มีเหตุผลน้อยที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลงแรงในระยะอันใกล้นี้ครับ รูปที่ 2 : Equity Market Cycle ที่มา : https://am.jpmorgan.com ข้อที่สาม ในอดีต ฟองสบู่ที่มันแตก จะเกิดจากการบวมขึ้นของราคาสินทรัพย์ใน Sector ใด Sector หนึ่งเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น ฟองสบู่ปี 1980 ราคาหุ้นไปวิ่งแรงที่กลุ่มพลังงาน จนทำให้กลุ่มพลังงาน มี Market Cap ใหญ่เป็นอันดับ 1 นำกลุ่มอื่น และมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นสูงเกินไป หรือ ฟองสบู่ dotcom ตอนปี 2000 ตอนนั้นหุ้นกลุ่ม Technology ก็มี Market Cap คิดเป็น 32% ของตลาดทีเดียว หรือ ในปี 2008 ที่ผลิตภัณฑ์พวกสินเชื่อผูกกับราคาอสังหาฯเนื้อหอม ก็ทำให้กำไรของกลุ่มสถาบันการเงินโตดี และราคาหุ้นก็วิ่งตาม จน Market Cap ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง ก่อนฟองสบู่แตกเช่นกัน รูปที่ 3 : Sector composition of the S&P 500 by equity capitalization, 1974-2017 ที่มา : US Quarterly Chartbook (as of 3 Oct 2017) จาก Chart ด้านบน เหมือนจะบอกเราว่า ถ้า Sector ไหนใน S&P500 ใหญ่เกิน 20% ภายในระยะเวลาหนึ่งๆ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิด Asset Price Bubble ใน Sector นั้น และถ้ามาลองดูสัดส่วนรายอุตสาหกรรมจะพบว่า ตอนนี้หุ้นกลุ่ม IT ในสหรัฐฯ มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 23% เมื่อเทียบกับ Market Cap ทั้งตลาด ตรงนี้ คุณอาจกังวลว่า หุ้น IT ในสหรัฐฯแพงไปแล้วรึเปล่า เพราะธนาคารกลาง ก็เคยแสดงความกังวลถึงประเด็นนี้ ในมุมมองของผม ผมมองว่า การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี คือ Mega Trend ของโลกหลังจากนี้ ดังนั้น IT Sector ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากนะครับ และการที่กลุ่มนี้ค่อยๆโตขึ้น ก็เป็นการลดความสำคัญและความเสี่ยงที่จะเกิดกับตลาดโดยรวมจากความไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมอื่นไปในตัวด้วยเช่นกัน ข้อสุดท้าย ลองมาวิเคราะห์ในด้าน Market Emotion กันบ้างนะครับ ในแง่ของอารมณ์ตลาด หลายๆบทวิจัย ก็มองว่า มันมีวัฏจักรของมันเช่นกัน โดยนักลงทุนมักจะรู้สึกห่อเหี่ยวในยามที่ตลาดหุ้นปรับฐาน หรือตกลงมา ขณะที่ มักจะรู้สึกดี และต้องการลงทุนในยามที่ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนดี (ซึ่งหมายถึงว่ามันขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว) ถ้ามองจากทฤษฎีนี้ ตลาดหุ้นจะทำจุดสูงสุด อารมณ์ของนักลงทุนในตลาด ควรอยู่ในภาวะที่เรียกว่า Euphoria หรือ ปลาบปลื้ม อิ่มเอิบ และมีความสุขสุดๆกับผลตอบแทนที่ได้กันไปทั้งตลาด เห็ฯแบบนี้ ก็ต้องกลับมาย้อนดูอารมณ์ของนักลงทุนในตอนนี้กันครับ ว่าอยู่ในภาวะ Euphoria แล้วหรือไม่? คำตอบของคำถามนี้ สำหรับผมคือ นักลงทุนทั่วโลก ยังอยู่ในภาวะ Cautious หรือ ระมัดระวัง และกล้าๆกลัวๆ เป็นแบบนี้ 2-3 ปี จนถึงตอนนี้ แล้วดูตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาสิครับ หุ้นก็ขึ้นเอาๆ นักลงทุนอย่างเราๆ ก็นั่งเสียดายว่า ทำไมตัวเองมีหุ้นน้อยจัง ยิ่งกลัว มันก็ยิ่งขึ้นไป เห็นแบบนี้ ก็พอจะเดาอารมณ์นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดตอนนี้ได้ว่า อยู่ในช่วง Hope ปลายๆ และอาจจะกลายเป็นมองบวก (Optimism) ในระยะสั้นได้บ้าง หากตลาดหุ้นยังขึ้นไปได้ต่อ ต้องอย่าลืมว่า บางครั้งข่าวก็ทำให้หุ้นเกิดทิศทาง แต่ในหลายๆครั้ง ทิศทางของหุ้น ก็สร้างข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ได้เช่นกัน เหตุผลแย่ๆ ที่จะทำให้เราไม่ลงทุน มันมีร้อยแปดพักเก้า และมีอยู่ในทุกช่วงสภาวะของตลาด แต่ในยามที่ตลาดหุ้นมันดีขึ้นมา เรานี่ละครับ ที่ลืมเหตุผลเหล่านั้นไปหมด จนเกิดเป็นอาการกลัวตกรถ และไล่ซื้ออย่างสนุกสนาน และบ้าคลั่ง … แต่ที่เห็นตอนนี้ ภาพแบบนั้นยังไม่เกิดครับ จากทั้งหมด 4 ข้อ จะเห็นว่า 3 เหตุผลแรก ผมใช้ข้อมูลของตลาดหุ้นสหรัฐฯ มองผ่าน S&P500 เป็นเกณฑ์ในการตอบคำถาม เนื่องจากผมเชื่อว่า หากตลาดหุ้นสหรัฐฯไม่ปรับฐานหนักๆ ก็แปลว่า โอกาสดีๆ ยังมีอยู่ทั่วโลก ขณะที่มองจากอารมณ์ของนักลงทุนในตอนนี้ ก็ไม่ได้อยู่ในภาวะหลงระเริง หรือเต็มไปด้วยความโลภอย่างขาดสติ ภาะวะอย่างตอนนี้ ไม่ใช่จุดจบของตลาดขาขึ้นนะครับ ในความเห้นส่วนตัวของผม คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (25-29 กันยายน 2560) - FINNOMENA มาแล้วครับบทความ มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ ประจำสัปดาห์นี้ มาดูกันว่ามีประเด็นอะไรน่าสนใจบ้าง แล้วมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยนั้นเป็นอย่างไร 26 ก.ย. 2560 มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (25-29 กันยายน 2560) ตัวเลข Dot Plots หลังการประชุม Fed ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. ที่ผ่านมา ยืนยันถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอีก 3 ครั้งในปีหน้า FED และ BOE จะยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดต่อไป หรือคงทิศทางของดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่ BOJ ยังคงกรอบเวลาสำหรับการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% และคงระดับการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ส่งผลให้การทำ Yen Carry Trade จะยังคงเกิดขึ้นต่อไป และ Fund Flow อาจจะเข้าประเทศไทยภายหลัง ซึ่งจะเห็นว่า ECB และ BOJ จะมีมาตราการทางการเงินตรงข้ามกับ FED และ BOE คาดการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ในวันที่ 27 ก.ย.นี้ จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1.5 จับตาวันที่ 25 ก.ย. – 29 ก.ย. นี้ ที่ประเทศสหรัฐฯ อาจจะมีการถกร่างนโยบายการปฏิรูปภาษีของสหรัฐ (US Tax Reform) และอาจรวมถึง Home Investment Act (HIA) ซึ่งอาจรวมถึงการลดภาษีนิติบุคคล ลดภาษีบุคคลธรรมดา และลดภาษีเงินโอนกลับของบริษัทสหรัฐที่มีถิ่นฐานนอกสหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน โดยหาก US Yields และ USD ปรับตัวแข็งค่าขึ้น อาจจะส่งผลกดดันตลาดหุ้นเกิดใหม่ ปัจจัยบวกสำหรับตลาดหุ้นไทย: 1. การค้าโลกปรับตัวดีขึ้น 2. การส่งออกขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 55 เดือนในเดือน ส.ค. และ 3. การนำเข้าขยายตัว + 14.9% YoY บ่งบอกถึงหุ้นกลุ่มการบริโภคภายในจะฟื้นตัว ยังคงชอบหุ้นกลุ่ม Logistic กลุ่ม Utility และกลุ่มโรงกลั่น ที่ Undervalue และกลุ่มเช่าซื้อที่ Undervalue ที่มาบทความ : www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ภาพใหญ่กองทุนแบบ Robot - FINNOMENA ในช่วงนี้มีกองทุนรวมที่ลงทุนแนวเทคโนโลยีหุ่นยนต์ออกมาจำหน่ายให้กับประชาชนอยู่หลายกอง บทความนี้จะขอเล่าภาพใหญ่ของกองทุนที่ใช้ Robot บริหาร เผื่อว่าท่านผู้อ่านอาจจะได้ใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อการตัดสินใจลงทุน 25 ก.ย. 2560 ในยุคปัจจุบัน มีกองทุนอิสระที่เน้นบริหารพอร์ตโฟลิโอโดยใช้หุ่นยนต์เพียงอย่างเดียวอยู่ไม่กี่กอง โดยกองที่ใหญ่ที่สุดหากนับเฉพาะกองทุนที่ใช้ Robot เพียงอย่างเดียวในการบริหาร ซึ่งถือเป็นกองทุนแรกด้วยที่ใช้หุ่นยนต์บริหารด้วยคือ Betterment ในปี 2010 โดยปัจจุบัน มีมูลค่ารวมประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์ อีก 5 ปีต่อมา Charles Schwab และ Vanguard จึงออกกองทุน Schwab Intelligent Portfolios และ Vanguard PAS ตามลำดับ ด้วยมูลค่ากองทุน 8.3 หมื่นล้านดอลลาร์ และ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ดังตาราง จากนั้น ก็มีบรรดากองทุนใหญ่ๆ ทั้ง Fidelity Bank of America TD Ameritrade และ E*Trade รวมถึงหน่วยของ Merrill Lynch ก็ออกกองทุนประเภทนี้ออกมา ล่าสุด Goldman Sachs, JPMorgan Chase และ Morgan Stanley ก็เตรียมตัวในบริษัทของตนเองเพื่อพร้อมจะออกกองทุนแนวนี้ออกมาเช่นกัน โดยเหตุผลหนึ่งที่กองทุนที่ใช้ Robot บริหารมีอยู่มากขึ้น เนื่องจากตลาดตราสาร ETF มีขนาดใหญ่ขึ้นมากอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้การที่จะลงทุนในตราสารที่เลียนแบบผลตอบแทนของตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ไม่ว่าจะในภูมิภาคใดหรือในเซกเตอร์ใดสามารถทำได้ไม่ยากและด้วยต้นทุนที่ไม่แพงอีกด้วยสำหรับตลาดหรือเซกเมนท์ต่างๆที่หุ่นยนต์เลือกจะลงทุน โดยจุดเด่นของกองทุนแบบที่ใช้หุ่นยนต์ของแบรนด์ต่างๆ มีดังนี้ เริ่มจากกองทุน Robot ของ Vanguard ไม่มีตราสารหนี้ต่างประเทศอยู่เลย ซึ่งแตกต่างจากกองทุนแบบ target-dated ที่ขึ้นชื่อลือชาของ Vanguard ที่มีตราสารหนี้ต่างประเทศอยู่ถึงร้อยละ 30 ทั้ง Fidelity และ Vanguard ถือครองตราสารประเภทดัชนีหุ้นและตราสารหนี้ประเภทรัฐบาลท้องถิ่นสหรัฐซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเป็นส่วนใหญ่ TD Ameritrade ถือครองตราสาหรนี้ของตลาดเกิดใหม่ โดยไม่มีตราสารหนี้ประเภทรัฐบาลท้องถิ่นสหรัฐ Betterment ถือครองหุ้นสหรัฐสไตล์ Value อาทิ แบงก์กับสาธารณูปโภคอยู่ร้อยละ 61 E*Trade ใช้ S&P 500 Equal Weight TEF เสริมกับ SPDR S&P 500 ETF เพื่อเกลี่ยหุ้นประเภท Big Cap ให้ลดสัดส่วนลง นอกจากนี้ กองทุนเหล่านี้คิดค่าธรรมเนียมระหว่างร้อยละ 0.25-0.4 เท่านั้นอย่างไรก็ดี กองทุนแบบที่ใช้หุ่นยนต์บริหาร ก็มีข้อจำกัดอยู่บางประการ ดังนี้ หนึ่ง การหา Benchmark ในการวัดผลงานของกองทุน ทำได้ค่อนข้างยาก ทั้งนี้ บริษัทที่จัดอันดับเครดิตยังไม่ได้ให้ความสนใจกับกองทุนประเภทนี้มากเท่าไรนัก เนื่องจากตลาดยังไม่กว้างจนคุ้มค่าพอที่จะลงมาทำธุรกิจในเซกเมนท์นี้ สอง นักลงทุนที่มีอายุน้อยยังไม่นิยมกองทุนประเภท Robot เนื่องจากหุ้นที่ถือมักจะเป็นประเภท Value มากกว่า Growth รวมถึงส่วนใหญ่ยังยึดติดกับสัดส่วนของพอร์ตที่ประกอบด้วยหุ้นและตราสารหนี้ที่สัดส่วน 60/40 ซึ่งค่อนข้างจะ Defensive สำหรับคนรุ่นใหม่ สาม กองทุนที่หุ่นยนต์เลือกให้แล้วได้ผลตอบแทนดีที่สุดในช่วงที่ผ่านมา ผลตอบแทนที่สูงมักจะมาจากตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์และความเสี่ยงจากค่าเงิน โดยล่าสุดกองทุนของ Charles Schwab ก็ลงทุนในตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างเยอะ ท้ายสุด กองทุนที่บริหารด้วยหุ่นยนต์บางกองมักจะมีระดับของเงินสดค่อนข้างสูง อย่างเช่นของ Charles Schwab มีอยู่ถึงร้อยละ 11 ทั้งนี้ เพื่อให้โปรแกรมของหุ่นยนต์สามารถโยกเงินสดดังกล่าวไปสู่กองทุนที่ได้รับผลตอบแทนที่ดี ซึ่งในทางกลับกัน หลายครั้งก็มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้รับผลตอบแทนต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน สำหรับผู้สนใจกองทุนประเภทนี้ หากท่านคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี Betterment น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี เนื่องจากเป็นกองทุนแรกที่ใช้ Robot ในการบริหาร หากคุณไม่ชอบความผันผวนของผลตอบแทนมากนัก ให้ลงทุนในกองทุนของ Vangard เนื่องจากมีบริการเสริมด้วยพนักงานที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลืออยู่ด้วย ซึ่งหากมองจากบรรดาผู้เล่นของกองทุนประเภทนี้นี้ น่าจะพอสรุปได้ว่า Charles Schwab, Vanguard , Fidelity และ Bank of America มีความคุ้นเคยกับการลงทุนสไตล์ Robot มาสักพักใหญ่แล้วครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642511 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (18-22 กันยายน 2560) - FINNOMENA ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยถือว่าเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดใน Asean เมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 และสำหรับสัปดาห์นี้ เรานักลงทุนควรจะจับตาหรือสนใจปัจจัยใดบ้างเพื่อการรับมือมาติดตามกันครับ 1 ธ.ค. 2563 ตลาดหุ้นไทยถือว่าเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดใน Asean เมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 โดยที่ตลาดหุ้นไทยถือเป็น Rate Sensitive Stocks คือ จะให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อ Bond Yield อยู่ที่ระดับต่ำหรือดอกเบี้ยไม่มีแนวโน้มขาขึ้น เพราะฉะนั้น Earning Yield Gap Model จะเป็นตัวอธิบายว่าตลาดหุ้นไทยจะแตะระดับ 1,700-1,750 หรือไม่ โดยที่ Yield อยู่ระดับต่ำ ตลาดหุ้นไทยจะ Sideway Up โดยที่มีการ Rotation ระหว่างกลุ่ม Domestic Play อาทิกลุ่ม Property, Bank, Retail, Food และ External Cyclical Play อาทิ กลุ่ม Export, Oil, Petrochemical ซี่งจะเป็นการ rotate สลับกัน ขึ้นอยู่กับ Valuation เมื่อเราพิจารณาถึงอัตราส่วน Market Cap ของตลาดหุ้นไทย ต่อ/M2 (หรือฐานเงินอย่างกว้าง ซึ่งบ่งบอกถึงปริมาณเม็ดเงินในประเทศทั้งหมดรวมถึง Non-Residence Baht Account) บ่งบอกถึงดัชนีเป้าหมายของ SET ในระยะสั้นที่ 1,680 ถ้าการที่ SET Index จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจะต้องมีเม็ดเงินใหม่เพิ่มขึ้น ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนควรจับตาดูการประชุมของ Fed ในวันที่ 19-20 ก.ย. ที่จะประกาศการลดขนาดงบดุลอย่างเป็นทางการในไตรมาส 4 นี้ โดยที่นักลงทุนคาดว่า Fed จะลดขนาดงบดุลประมาณ 10,000 ล้านเหรียญฯ ในไตรมาส4 และขยับเป็น 20,000 ล้านเหรียญฯ ต่อเนื่องในไตรมาส1 ปีหน้า ในขณะที่ความน่าจะเป็นที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในเดือนธันวาคมนี้ มีอยู่ประมาณ 47% นักลงทุนควรจับตาดู Dot Plot ของ Fed หรือ (Consensus ในการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed) ถ้า Median Dot Plot ในปี 2018 ลดลงจากปัจจุบัน 2.125% มาสู่ระดับต่ำกว่า 2% จะบ่งบอก Bull Market ของตลาดหุ้นจะต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่า Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้งเท่านั้นในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้า และคาดว่าจะมีการประกาศลดขนาดของงบดุล Fed ในการประชุมช่วงเดือนกันยายนนี้ ในตลาดการเงินของไทย ในการประชุมวันที่ 27 ก.ย. หลังจากที่ค่า Swap rate ที่มีอายุ 1 ปี ได้ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สู่ระดับ 1.12% บ่งบอกถึงโอกาสประมาณ 50% ที่ กนง. อาจจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25 bps และหุ้นที่เป็น Rate Sensitive Stock เช่น Property, กลุ่มเช่าซื้อหรือ Non-bank ที่ Undervalue , Contractor ขนาดเล็ก และหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐานจะมีการ Rerate ขึ้น ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ฤา SET จะไป 2000 จุด - FINNOMENA รอ set 1600 มาตั้งนาน บทจะขึ้นก็ขึ้นมาพรวดเดียวเลย แถมยังยืนได้อีกด้วย เห็นแบบนี้แล้วกูรู WizardKid จะขอมาส่องกราฟ Month ของ Set ดูในภาพใหญ่ๆกันซะหน่อย ว่าจะวิ่งไปได้ขนาดไหนกัน 4 ก.ย. 2560 กราฟ Month ของ SET ทุกคำในโพสต์นี้คือความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ผิดประการใดขออภัยล่วงหน้าครับ ข้อสังเกตแบบงงๆตามประสาวีคิดที่อ่านจากกราฟแบบเม่าๆ คือดังนี้ – ดัชนีทำ breakout ผ่าน Trend Line สำคัญในรอบ 4-5 ปีได้ แต่เรายังเหลือพรุ่งนี้อีกวันให้ดูแท่งปิดของกราฟ Month เดือนนี้ หากดัชนีปิดเหนือ เส้น Trend Line ได้อยู่ ตามหลักสายกราฟแล้ว “ควรมองขาขึ้นรอบใหญ่” – หากปิดเป็นแท่งเขียวเต็มหรือเกือบเต็มแท่งในกราฟ Month โอกาสที่เดือนหน้าหรือเดือนต่อๆไป ตลาดมีโอกาสจะไปต่อเพื่อทดสอบจุดสูงสุดเดิม …ของปี 2556 ที่ 1649.77 จุด …ของปี 2536 ที่ 1695.18 จุด …ของปี 2537 ที่ 1789.16 จุด ..ตัวเลขสามอันนี้ คือเลขที่มีนัยยะทางจิตวิทยาครับ… – SET วิ่งวนกรอบ 1600 กับ 1200 จุด มาราวๆ 4 ปีกว่าๆ ตรงนี้มี spread ส่วนต่างตีกลมๆ ก็ 400 จุด… – ตั้งสมมติฐานว่าการ breakout รอบนี้คือ MAJOR BREAKOUT หรือขาขึ้นรอบใหญ่ ก็ตีความได้ว่า โอกาสที่จะวิ่งไป 1600+400 = 2000 จุด ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โอ้วแม่ชะม้อยเช็ดโด้กันเลยทีเดียว ถ้าเป็นจริง – แต่ถ้ามันเป็น FALSE BREAK หล่ะ? เกิดเป็นแพทเทิร์นรูปแบบของ TRIPLE TOP หล่ะ? เกิดโดนตบหัวทิ่มกลับมาต่ำกว่า 1580 หรือให้โหดๆคือ 1550 จุด อีกรอบ..อันนี้ภาพที่เราวาดไว้สวยหรู ก็อาจจะแตกสลายไปในพริบตาได้เช่นกัน – กรณีที่เกิด False Break ในกราฟ Month แบบนี้…มุมมองส่วนตัวของผมน่ะ เราอาจจะเห็นการปรับฐานรุนแรงอีกครั้ง …โดยมีเป้าการลงไปปิด Gap ที่ 1412.82 จุด ซึ่งเป็นราคาปิดของวันที่ 13 ตุลาคม 2559 นั่นเอง – ส่วนจะกลับไป 1200 จุดอีกรอบหรือไม่…มีโอกาสเช่นกัน ในแง่พื้นฐานผมไม่ทราบ แต่ถ้ามี Big Event ที่ทำให้เกิด Panic Sell ของจริง ก็เป็นไปได้ – ลองสังเกตดูน่ะครับ หุ้นนำตลาดยุคนี้ เริ่มเปลี่ยนหน้าไม่เหมือนยุคก่อน..อาจจะด้วยธุรกิจที่เปลี่ยนไปตามยุค ผลประกอบการที่ดีในอดีตไม่ได้การันตีว่าจะหล่อในอนาคตเสมอไป เราจะไปยึดติดหุ้นเดิมๆที่เราเชื่อว่าปลอดภัยเหมือนเมื่อ 10-20 ปีก่อน ก็ไม่ได้เสมอไปแล้ว – ตลาดมีความยากขึ้น นักลงทุนเข้าถึงข่าวสารได้แทบจะพร้อมกัน ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ผู้เล่นรายใหญ่จะรู้ก่อนนานพอสมควร (เดี๋ยวนี้โลกออนไลน์ทั่วถึงหมดแล้ว แต่ก็ต้องกรองข่าวกันเองอีกน่ะว่าเชื่อถือได้ไม่ได้) – เงินใครเงินมัน..การลงทุนมันมีความเสี่ยง อย่าให้เสียงของผู้เล่นรายอื่นมามีผลต่อการตัดสินใจของตัวคุณเอง..เก่งแค่ไหนก็เคยพลาดมาแล้วทั้งนั้นในตลาดหุ้น ดังนั้นกรุณาลงทุนอย่างมีแบบแผนน่ะครับ -บทความนี้ผู้เขียนพิจารณาจากกราฟที่เห็น ณ วันนี้ เท่านั้น อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด แต่ขอให้เพื่อนๆทุกท่านทำกำไรในสม่ำเสมอมากกว่าหวังฉาบฉวยน่ะครับ …การลงทุนที่ดี คือ ลงทุนได้เรื่อยๆ กำไรสม่ำเสมอไปตลอดช่วงชีวิตการลงทุนของเรา… -Wizard Kid- เขียนไว้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
คาบสมุทรเกาหลีระส่ำ แต่หุ้นไทยวิ่งฉิวทะลุ 1,600 มันเป็นเพราะอะไร? - FINNOMENA นับเป็นภาวะที่ค่อนข้างแปลกประหลาด ที่เราได้เห็นตลาดหุ้นไทยขึ้นมากที่สุดในรอบปี และทำจุดสูงสุดในรอบ 30 เดือน ทั้งที่ทั่วโลกลงแรงจากการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ เกิดจากอะไร? และควรปรับตัวอย่างไรต่อไป? 29 ส.ค. 2560 คาบสมุทรเกาหลีระส่ำ แต่หุ้นไทยวิ่งฉิวทะลุ 1,600 และทำจุดสูงสุดในรอบ 30 เดือน มันเป็นเพราะอะไร? นับเป็นภาวะที่ค่อนข้างแปลกประหลาด ที่เราได้เห็นตลาดหุ้นไทยขึ้นมากที่สุดในรอบปี และทำจุดสูงสุดในรอบ 30 เดือน ด้วยปริมาณซื้อขายหนาแน่น โดยแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่ดัน SET ปรับขึ้นทะลุ 1600 จุด ทั้งที่ทั่วโลกลงแรงจากการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ เกิดจากอะไร และควรปรับตัวอย่างไรต่อไป วันนี้ 29 สิงหาคม 2560 เป็นอีกวันหนึ่งที่น่าจดจำสำหรับตลาดหุ้นไทย ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 28.35 จุด หรือ 1.79% เริ่มต้นจากเหตุการณ์ที่น่าตกใจในช่วงเช้าเมื่อ คิม จอง อีล ผู้นำของเกาหลีเหนือ ทดสอบขีปนาวุธข้ามเขตแดนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสิบปีที่กระทำการอุกอาจเช่นนี้ ส่งผลให้ตลาดหุ้น และตลาดฟิวเจอร์ทั่วโลกปรับตัวลดลง มีเพียงตลาดเดียวที่วิ่งสวนทั้งโลก ก็คือตลาดหุ้นไทยที่ทั้งปีไม่เคลื่อนไหวไปไหนมานาน สาเหตุหลักนักวิเคราะห์ต่างมองว่ามาจากการที่ภาวะการเมืองไทยมีความชัดเจนมากขึ้นในรอบหลายปี เมื่ออดีตนายกฯ ตัดสินใจลี้ภัยไปยังต่างประเทศ ทำให้โอกาสของความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งปี 2561 ลดลง ภาวะเศรษฐกิจไทย ณ ตอนนี้จัดว่าเติบโตได้ปานกลาง ประมาณ 3.5 – 4.0% ซึ่งได้รับการปรับเพิ่มประมาณการเล็กน้อย ขณะที่งบไตรมาส 2 ออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ตลาด “รับรู้ไปแล้ว” ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุนในประเทศไทยนับแต่ต้นปี แต่เห็นได้ชัดว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในทางการเมืองเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นตัวกระตุ้นให้ตลาดหุ้นไทยกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปได้สูงที่ momentum ที่เกิดขึ้นน่าจะมีอย่างต่อเนื่องในเดือนกันยายน 2560 นี้ต่อไป FundTalk รายงาน สำหรับคำแนะนำพอร์ตการลงทุนของ FINNOMENA ทั้ง NTER GOAL, GAR และ GIF มีสัดส่วนการลงทุนหุ้นไทย และได้จัดพอร์ตไว้รองรับความชัดเจนทางการเมืองเอาไว้แล้ว โดยผลตอบแทนของทั้ง 3 โมเดลมีโอกาสสูงที่จะทำ New High สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยในรอบนี้ สำหรับท่านที่สนใจรับการแนะนำพอร์ตการลงทุน กรอกรายละเอียดสั้นๆได้ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เปิดซิงประสบการณ์หุ้นเวียตนาม Floor ทุกวัน 5 ปีก่อน ... และปัญหาที่ซุกซ่อนถึงทุกวันนี้ - FINNOMENA เชื่อว่าหลายท่านยังใหม่ต่อตลาดเวียตนาม 1 ในทีมงาน BottomLiner ได้เริ่มต้นลงทุนเวียตนามตั้งแต่ 2012  มีเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟังกัน สำหรับท่านที่สนใจลงทุนในเวียตนาม ว่าเคยพบกับฝันร้าย ชนิดที่ว่าเปิดมา floor ทุกวัน volume รับก็ไม่มี และมีปัญหาอะไรซุกซ่อน หมักหมม จนถึงทุกวันนี้ และแก้ไขอะไรไปแล้วบ้าง? 30 เม.ย. 2563 เปิดซิงประสบการณ์โดนหุ้นเวียตนาม Floor ทุกวัน 5 ปีก่อน … และปัญหาที่ซุกซ่อนถึงตอนนี้โดยแอดฯของ BottomLiner เชื่อว่าหลายท่านยังใหม่ต่อตลาดเวียตนาม 1 ในทีมงานได้เริ่มต้นลงทุนเวียตนามตั้งแต่ 2012 มีเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟังกัน สำหรับท่านที่สนใจลงทุนในเวียตนาม เพราะตอนนั้นภายในไม่ถึงปี ก็พบกำไรเกือบ 100% แบบสบายๆ หลายท่านอาจคิดว่าเก่งหรือขี้โม้ แต่อยากให้สนใจว่า มันเป็นการลากไปเชือด … เม่านอก ที่ใหม่ต่อตลาดเวียตนาม .. (คล้ายๆรอบนี้ เห็นหุ้นลงนิดเดียว แต่บางคนดอยหนักครับ) เพราะหลังจากนั้นมันคือการลงแบบ 20 จุดไม่รู้กี่วันติด เหมือนจะน้อยแต่นั่นคือวันละ 5% และที่สำคัญ หุ้นที่ไม่ใช่ตัวใหญ่ที่คนไทยเล่นๆกัน เละครับ ตอนนั้นหุ้นในพอร์ต floor ทุกวัน !!! สัญญาณเตือนภัยมีอะไรบ้าง …. จริงๆ คือช่วงตั้งแต่เดือน พฤษภาคมปี 2012 มีสัญญาณแปลกๆมาเป็นระยะ ซึ่งค่อนข้างชัดแต่อารมณ์เราตอนนั้นทำให้ละเลยอย่างไม่น่าให้อภัย หุ้นขนาดเล็ก-กลางที่นำขึ้นมา ทยอยลงมาอย่างช้าๆ ประมาณว่ารินขายทุกวัน !! หุ้นแบงค์ ก่อสร้างใหญ่ มีการชิงเพิ่มทุนเป็นขบวนพาเหรด !! อันนี้เด็ดสุด จำได้ติดตาคือ เอาข่าวเก่าเมื่อ ตอนต้นปีมาเล่นใหม่ (น่าจะเป็นข่าวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุน) !!! ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมา สอนว่าแบบนี้ตลาดหมดมุขที่จะดันหุ้น…. สุดท้าย หุ้นเริ่มไหลครับ ตั้งแต่จุดพีคตรงแถวๆ 500 ตอนนั้นดัชนีก็ลงไหลรินลงมาเรื่อยๆ แรกๆก็โลกสวย คิดว่าแค่ปรับฐานเล็กน้อย .. Healthy Correction !!! เพราะหุ้นมันขึ้นชันมา 4-5 เดือนจาก 300 กลางๆ … ไม่แปลกๆ … แต่ที่ไหนได้ .. มันลงไม่หยุดครับ … มีเด้งนิดเด้งหน่อยระหว่างทาง จนกระทั่งเข้าเดือนสิงหาคม (จำได้แม่น) อยู่ดีๆก็มีข่าวหลุดออกมาว่านาย Kien หรือ Nguyen Duc Kien ถูกจับในข้อหา Corruption !!! แล้วมันน่ากลัวยังไง … ? นาย Kien คนนี้เป็นผู้ก่อตั้ง Asia Commercial Bank (ACB) หนึ่งในธนาคารยักษ์ใหญ่ที่สุดของเวียตนาม แถมยังถือหุ้นแบงค์ใหญ่ตัวอื่นๆอีกด้วย เช่น Sacombank Vietbank … คราวนี้ตาสว่างครับ เพราะ สัดส่วนหุ้นธนาคารในตลาด ใหญ่กว่าตอนนี้พอสมควรเลยทีเดียว หลังเหตุการณ์นี้ ผู้บริหารใหญ่ ACB ก็โดนจับ และตามมาด้วยการเข้าตรวจสอบแบงค์ใหญ่และธุรกิจหลายแห่งที่นาย Kien ถือหุ้นเนื่องจากรัฐบาลอ้างว่าแบงค์เหล่านี้อาจ corruption ซึ่งเป็นต้นเหตุของ NPL ที่สูงริ่ว และเลวร้ายที่สุดคือสื่อยังเน้นอย่างหนักว่านาย Kien เป็นเพื่อนกับ Nguyen Tan Dung นายกรัฐมนตรีขณะนั้นผู้เคยมีข่าวเรื่องคดโกงอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นในรัฐบาลตกต่ำลงมาอีก สรุปมันเกิดอะไรขึ้น? สรุปเป็นข้อๆ ให้สั้นๆครับ ณ เวลานั้น ตลาดเวียตนาม มีสภาพคล่อง หรือ liquidity ที่น้อยมาก เทรดวันนึงไม่ถึงพันล้านบาท ผู้เล่นหลักคือรายย่อยกับต่างชาติยังไม่ได้มีสถาบันหรือปอปมาช่วย หรือง่ายๆก็คือเจ้ามือเวียตนาม กับต่างชาติ มี serie ข่าวร้ายจากสื่อต่างๆเช่นตัวเลข NPL หนี้สาธารณะ และตัวเลขจำนวนโครงการที่สร้างไม่เสร็จ จนเรานี่แทบจะสติแตก คนรู้จักที่รู้ว่าเราว่าเราลงเวียดนามก็มาถามกันว่าโอเคมั้ย (แน่นอนบางคนก็ปนสมน้ำหน้าสะใจอย่างชัดเจน 555) บทเรียนที่สำคัญ มีคนถามว่าทำไมไม่ขาย คัทๆมันไป คือมันไม่ใช่ไม่ขาย แต่มันขายไม่ได้ตะหาก !!! เพราะเปิดมาราคา floor เป็น offer แล้ว !!! แต่ก็ดีครับ พอขายไม่ได้ เลยมีเวลาคิด หุ้นหลายตัวในพอร์ตจากกำไรหนักๆลงมาแทบขาดทุน แต่การที่ตลาดลงหนักๆ และเริ่มติดหุ้นมีข้อดีอย่างนึงคือมันทำให้เราได้เห็นอาการหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตชัดขึ้นว่าสู้มั้ย และแน่นอนจะบีบให้เราหาข้อมูลหุ้นเรามากขึ้นด้วย (เพื่อปลอบใจตัวเอง) หุ้นที่มีช่องโหว่ชัดๆคือ PET ที่เดิมคิดว่าเป็น distributor สินค้า electronics … แต่พอแกะดูดีๆ คือมีธุรกิจสากกะเบือเรือรบ มีทั้งอสังหา โรงแรม และที่ตลกคือ มีมันสำปะหลังขายด้วย … แหม่ มองอีกมุมคือครบวงจรครับ หุ้นแบบนี้ คือเรียกว่ามั่วมาก ไม่โฟกัส เสมือน บริษัทเทรดดิ้งกลวงๆ และมีหุ้นในตลาดอีกหลายตัวที่มีโครงสร้างแบบนี้ โดยเฉพาะบริษัทลูกที่เป็นอสังหา ต้องยอมรับว่าสมัยนั้น แกะหุ้นได้ไม่ดี ลงไม่ลึกพอ อันเนื่องจากภาษา และความไกลตัว เมื่อตลาดเวียดนามเริ่มเด้งตอนปลายปีพร้อมกับเริ่มตั้งสติได้ (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตอนปลายปี 2012 มีหุ้นเล็กซิ่งในไทย ให้เล่นปลอบใจ อีกอย่างคือไตร่ตรองดูแล้วว่ายังไงก็ยังเอาเงินกลับไม่ได้เพราะยังไม่ข้ามปี) ก็เริ่มทยอยขายหุ้นประมาณนี้ในพอร์ตแล้วเอาเงินไปซื้อเพิ่มในหุ้นสองตัวที่คิดว่าพื้นฐานและอาการดีที่สุดคือ BIC และ DQC แล้วก็ถือมาเรื่อยๆ โชคดีที่ตลาดตั้งแต่ปลายปีเริ่มสดใสขึ้น ต้นปี 2013 ตลาดก็กลับมาระดับ 500 อีกครั้งจนได้กำไรพอสมควร มิวาย เบอนันเก้ พูดประโยคเดียว สะเทือนทั้งโลก !!!! หุ้นก็ถล่มระเนระนาดอีกรอบ เลยรีบขายหมดครับ จนถึงทุกวันนี้ปัญหาต่างๆเป็นอย่างไรบ้าง ผ่านมาบัดนี้ มีพัฒนาการเยอะครับ คือ เปลี่ยนfloor เป็น 7% พึ่งเปิด derivative market reform bank sector โดยการ merge กันแล้วก็เอา vam (เหมือน bam) บ้านเราไปซื้อหนี้แบงค์ เปลี่ยนกฏหมายการซื้อที่ดิน ให้ต่างชาติซื้อง่ายขึ้น เพิ่มสภาพคล่องในหุ้นตัวใหญ่โดยเพิ่ม foreign room มีนโยบายการ privatize บริษัทรัฐ โดยตัวที่เข้าไปแล้ว และที่รอเข้าได้แก่ Telecommunication: Mobifone (telco ที่ใหญ่ที่สุดใน Vietnam) Consumer products: Vinamilk, SJC (ผู้ผลิตทองแท่งที่ใหญ่ที่สุดใน Vietnam) Insurance: BaoMinh, VinaRe (ประกันภัยต่อ หรือ reinsurance ที่ใหญ่ที่สุดใน Vietnam) Transportation: VietjetAir, Vinalines, Danang Port, Nhatrang port Oil & Gas: Binhson, Pvoil, PV Power Construction and materials: Binh Minh, Tien Phong Real estate: Handico, Udic, Rescovn, Benthanh แต่ที่ยังรออยู่อีก คือปัญหาหนี้ธนาคาร … ล่าสุด หุ้นธนาคารกลับมา floor อีกแล้ว การแก้ปัญหา NPL ที่ยังอยู่ในระดับสูง ไม่ต่างจากจีน (ให้ดูของ Moody’s อย่าดูตัว Official ครับ มีปกปิด) และอื่นๆอีกมาก เดี๋ยวไว้มาเล่าทีหลังครับ (ยาวแล้ว) เดี๋ยวมีภาคต่อ … หลังจากนั้น ตอนปลายปี 2013 จึงตัดสินใจบินไปเวียดนามครั้งแรก เดี๋ยวจะมาเล่าต่อว่าตอนไปที่นั่นแล้วได้มุมมองอะไรใหม่ๆบ้างนะครับ กลับมาเปลี่ยนพอร์ตเป็นอย่างไร ความเสี่ยงมีอะไรซ่อนอยู่อีก BottomLiner ติดตาม BottomLiner ทาง Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/bottomliner/ หรือติดตาม BottomLiner ทาง line คลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40bottomliner หรือกดเพิ่มเพื่อน ค้นหา id แล้วพิมพ์ @bottomliner (ใส่ @ ด้วยครับ) แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (21 - 25 สิงหาคม 2560) - FINNOMENA มาแล้วครับ บทความ มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ ประจำสัปดาห์นี้ มาดูกันว่า ตลาดหุ้นไทย และปัจจัยต่างๆ ที่ผ่านมามีอะไรบ้าง? 21 ส.ค. 2560 ตลาดหุ้นไทยในครึ่งปีแรกมีผลกำไรโต 5.62% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยประกาศผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ทำให้นักวิเคราะห์ลดประมาณการกำไรของปี 2017 ลงเหลือ 100.8 บาทต่อหุ้น (จากระดับ 104 บาทต่อหุ้นในช่วงต้นปี) ซึ่งเป็น EPS Growth 7.2% YoY บ่งบอกถึงมุมมองที่ดีขึ้นของกำไรในครึงปีหลังของปี 2017 ทำให้ตลาดหุ้นไทยซื้อขายกันที่ P/E 14.5-14.6X ของปี 2017 เพราะฉะนั้น Stock Selection จะสำคัญมากๆ ในตลาด Sideway แบบนี้ ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศขายพันธบัตรระยะสั้นในไทยประมาณ 10,000 ล้านบาท บ่งบอก Flow ของนักลงทุนต่างประเทศจะยังไม่เข้าประเทศไทยในระยะสั้นและค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ มีโอกาสจะแข็งค่าขึ้นระยะสั้นและมีโอกาสเป็น Reverse Flow ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี สหรัฐฯ ถูกกดดันอยู่ที่ 2.20% และของไทยอยู่ที่ 2.4% โดยนักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นและพันธบัตรใน Emerging Market ประมาณ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการขายสินทรัพย์ใน Emerging Market ครั้งแรกนับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดี Trump มองว่าตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือนสิงหาคมและกันยายนอาจจะเป็นลักษณะ Risk off หรือนักลงทุนทั่วโลกอาจจะลดความเสี่ยงในการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Risk off ใน Emerging Market โดยที่ Indicators ของ Risk off ที่สำคัญ คือ DXYO ปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่า Bond Yield ลดลงแต่ Credit Spread กว้างขึ้น แต่ตลาดหุ้นไทยอาจจะปรับฐานไม่มาก เนื่องจากมีค่า Beta ที่ต่ำที่ระดับ 0.5 เท่าเท่านั้น บ่งบอกการเป็น Defensive ของตลาดหุ้นไทย เหตุการณที่โอกาสเป็น Risk off คือ หัวข้อที่นาง Yellen ประธาน Fed ที่จะพูดในการประชุมที่ Reserve Bank of Kansas City’s Economic Symposium ที่ Jackson Hole ในวันที่ 25 สิงหาคม โดยนาง Yellen จะพูดในเรื่อง Financial Stability ซึ่งถือเป็นถ้อยแถลงที่สำคัญก่อน Fed จะลดขนาดงบดุลในเดือนกันยายน คาดว่านาง Yellen จะรายงานถึงอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงผ่อนคลายถึงแม้ว่าได้ปรับขึ้นมากกว่า 1% เธออาจจะกล่าวถึงราคาหุ้นที่มี Valuation สูง Credit Spread ยังคงต่ำ (ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร BBB และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ) ตลาดอาจจะคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนธันวาคม และเธออาจจะกล่าวถึง Trump Policy ในเชิง negative tone ซึ่งเป็นภาวะ Risk off นโยบายการก่อหนี้ หรือ Debt Ceiling ของนโยบายการคลังของสหรัฐซึ่งจะถึงในวันที่ 29 กันยายน Trump อาจจะถูกตั้งคำถามมากในการที่คะแนนนิยมตกต่ำลง จะทำให้ตลาดพันธบัตรผันผวน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเราเห็นการ Outperform ของหุ้นกลุ่ม Shipping และ PVC Producer ซึ่งเราอาจจะเห็นราคา PVC ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายหลังฤดูมรสุมของประเทศในเอเชียใต้ กลุ่ม Utility และ Refinery ยัง Outperform เนื่องจากค่าการกลั่นยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่มาบทความ : www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำไมปู่ SET ถึงยังไม่ไปไหนซักที - FINNOMENA ทำไมปู่ SET ถึงยังไม่ไปไหนซักที? มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แล้วอะไรที่จะทำให้ปู่ SET ของเราทำ new high ได้อีกครั้ง? 17 ส.ค. 2560 เข้าสู่ปีที่ 5 แล้วที่ตลาดหุ้นไทยยังไม่ไปไหน นับแต่ทำจุดสูงสุดในช่วงกลางปี 2013 ที่เกือบ ๆ 1650 จุด จากนั้นปู่ SET ก็อยู่ในภาวะ Sideway คือขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ในกรอบประมาณ 1200 – 1600 จุด แต่ก็ไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ซักที มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แล้วอะไรที่จะทำให้ปู่ SET ของเราทำ new high ได้ซักที สาเหตุที่ SET ไม่ไปไหน หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นเพราะการเมืองที่ยังไม่นิ่งไม่ปกติ บ้างก็ว่าเงินทุนต่างชาติไม่ไหลเข้ามา อันที่จริงนับแต่ต้นปีนั้นเงินบาทก็จัดว่าแข็งมากทีเดียว และมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาไม่น้อย แต่มันดันไหลเข้าตลาดตราสารหนี้เป็นหลัก เรื่องการเมือง ล่าสุดเริ่มมีการประกาศแผนเลือกตั้งที่ดูเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งในช่วงปลายปีหน้า 2561 แต่ตลาดก็ดูไม่ตอบรับเท่าไรนัก วันก่อนอ่านบทความของพี่ทอม ไพบูลย์ CEO แห่งบล.ทิสโก้ หนึ่งในนักวิเคราะห์ในดวงใจตั้งแต่สมัยผมเริ่มทำงาน ปริศนาที่ไม่ยากของปู่ SET ก็ไขกระจ่าง เหตุผลเป็นเพราะ “กำไร” นั่นเองครับ …….”กำไรโดยรวมยังไม่เติบโตเป็นเรื่องเป็นราว คือสาเหตุหลักที่ปู่ SET ไม่ไปไหน”…….. รูปแรก เป็นกำไรย้อนหลัง 4 ไตรมาสของ SET (Trailing EPS) เทียบกับตัวดัชนี เป็นเวลา 10 ปี เห็นได้ชัดว่าในช่วงปี 2010 – 2013 กำไรของบริษัทจดทะเบียนบ้านเรามีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และนำพา SET จากระดับ 700 กว่า ๆ ไปทำจุดสูงสุดที่เกือบ 1650 ยังจำกลิ่นความฮึกเหิมของเม่าปีกเล็กอย่างเราในตลาดหุ้นได้ดี ในปลายปี 2010 ตอนที่ดัชนีทะลุ 1000 จุดซึ่งไม่ได้เห็นมานาน ตอนนั้นเราฮึกเหิมกันมาก ยิ่งปี 2012 – 2013 ช่วงนั้น FED อัด QE รัว ๆ ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนก็โต ทำเอา SET ทะลุไป 1500 – 1600 ช่วงนั้นเจอแม่ค้าขายน้ำหน้าแบงค์ยังเริ่มเปิดพอร์ตหุ้นกันเลยทีเดียว แต่แล้วกำไรของบริษัทจดทะเบียนก็ตกหลุมอากาศอีกครั้งในช่วงปี 2014 – 2015 หลักๆ มาจากราคาน้ำมันและโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ ประกอบกับการค้าโลกซบเซา การส่งออกไทยก็หดตัว Earning หรือกำไรของบริษัทจดทะเบียน (แถบสีเทา) ก็ไหลลงจากแถวๆ 90 กลับมาที่ 60 ตลาดหุ้นไทยก็เช่นกันไหลลงมาแถว ๆ 1200 และกำไรช่วงปี 2016 ต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 1 ของปี 2017 ก็กลับมาอีกครั้ง โดยถ้าดู ณ สิ้นไตรมาส 1 ของปีนี้ กำไรของบริษัทจดทะเบียนได้ทำ new high ใหม่ที่ระดับ 99.47 เริ่มเห็นแสงแห่งความหวังริบหรี่ ถ้ากำไรวิ่งทะลุ 100 ไปได้ยาว ๆ คำว่า new high คงอยู่ไม่ไกล แต่แล้วพอกำไรไตรมาส 2 ออกมาต่ำกว่าไตรมาส 2 ปีที่แล้วประมาณ 15% หลัก ๆ มาจากการหดตัวของกลุ่ม วัสดุก่อสร้าง, พลังงาน, สื่อสาร, ปิโตรเคมี และ ธนาคาร จะว่าไปก็คือทุกกลุ่มหลัก ๆ นั่นเอง กำไร 4 ไตรมาสย้อนหลังของปู่เซตจึงไหลกลับลงมาที่ 95.76 อีกครั้ง มาดูรูปที่ 2 สีส้มคือ SET Index สีม่วงและสีแดงคือการคาดการณ์กำไรโดยนักวิเคราะห์ ในปี 2016 – 2017 เมื่องบไตรมาส 2 ทยอยประกาศออกมา เหล่านักวิเคราะห์ก็เริ่ม…ปรับลดประมาณการกำไรอีกครั้ง… เห็นได้จากเส้นสีม่วงและสีแดงที่หักหัวลง นี่ล่ะครับค่ือสาเหตุหลักที่ปู่ SET ไม่ไปไหน ถ้ากำไรเติบโตดีๆ สุดท้ายเดี๋ยว fund flow ก็จะกลับเข้ามา แต่ความไม่แข็งแรงของบริษัทจดทะเบียนไทย ณ จุดนี้คือปัญหา วันก่อนได้อ่านบทความของ ดร.วิรไท ผู้ว่าแบงค์ชาติสัมภาษณ์ลงมติชนดีมาก ๆ ประเด็นคือ ทำไมตัวเลขเศรษฐกิจดูดี แต่คนไทยโดยรวมไม่รู้สึกอย่างนั้น คำตอบเป็นเพราะเศรษฐกิจไทยที่กลับมาโตดีในปีนี้ มันไปโตที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โตที่การส่งออกที่ฟื้่นตัว แต่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นบริษัทใหญ่ๆ ขณะที่ประชาชนคนรายได้น้อยที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ยังจมอยู่กับภาวะหนี้ครัวเรื่อนที่สูง พอกำลังซื้อน้อย ภาค SME ก็ได้รับผลกระทบ ต้องปากกัดตีนถีบกันไม่น้อย อย่างไรก็ตาม บริษัทที่อยู่ใน SET Index นั้นหลักๆ เป็นบริษัทใหญ่ๆ ของประเทศ ถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวได้จริง และราคาน้ำมันไม่ลงแรงๆ เหมือนที่เคยเกิดขึ้น ส่วนตัวผมมองว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนก็มีโอกาสกลับไปทะลุ 100 ได้ในปีนี้ (นักวิเคราะห์ ณ วันนี้มองอยู่ที่ 100.79) และถ้ากำไรโตได้ซัก 10% ในปีหน้าไปที่ประมาณ 110 อย่างที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ตลาดหุ้นไทยน่าจะมีหวังทะลุด่านแนวต้าน 1650 ไปได้ครับ แต่ ณ วันนี้ ควันหลงไตรมาส 2 ที่กำไรไม่ค่อยดียังอยู่ ก็เลยน่าจะทำให้ตลาดหุ้นไม่ค่อยไปไหนต่อไป FundTalk แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
North Asia น่าสนใจ มีกองทุนอะไรให้ลงทุนบ้าง? - FINNOMENA ปีนี้เป็นปีที่ Fund Flow ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ดีที่สุดในรอบปลายปีทีเดียว ว่าแต่ North Asia คือใคร? แล้วมีกองทุนอะไรน่าสนใจให้ลงทุนบ้าง? 21 ส.ค. 2562 ปีนี้เป็นปีที่ Fund Flow ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ดีที่สุดในรอบปลายปีทีเดียว ในบทความ FINNOMENA ก็มีพูดถึงไปหลายครั้งเช่นเดียวกันว่า ตลาดเกิดใหม่ กำลังทำ New High และมีอะไรน่าสนใจลงทุนเยอะแยะมากมายด้วยหลายประเด็น แต่พอพูดว่า “ตลาดเกิดใหม่” จริงๆคำจำกัดความมันกว้างมากเลยครับ ทั้งในเอเชีย ละตินอเมริกา แอฟริกา หรือแม้กระทั้ง ยุโรปตะวันออก ที่บอกมาทั้งหมดเนี่ย ก็คือ ตลาดเกิดใหม่ ทั้งหมดเลย ถามต่อ ตลาดหุ้นที่ไหนในตลาดเกิดใหม่ ดูดีมีอนาคตมากที่สุด? เอาเข้าจริง ผมก็ไม่รู้นะครับ แต่ถ้ามองจากมุมมองส่วนตัว ก็เชื่อว่า “North Asia” หรือ เอเชียเหนือ ดูมีศักยภาพ และเป็นภูมิภาคที่อยู่ใน Blind Spot ของนักลงทุนหลายคน North Asia คือใคร ถ้าถามนักภูมิศาสตร์ ก็อาจต้องรวมรัสเซียไปด้วยนะครับ แต่ในฝั่งของการลงทุน ประเทศฝั่งนี้คือ จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ซึ่งอาจเรียก 4 ประเทศนี้ว่า “Northeast Asia” ก็ได้เหมือนกันครับ 4 ประเทศนี้ มีดีอะไร เดี๋ยวเราค่อยไปดู แต่ลองดูกราฟผลตอบแทนย้อนหลังของดัชนีหุ้นทั้ง 4 ประเทศกันก่อน จะเห็นว่า ตลาดหุ้นที่ผลตอบแทนแย่ที่สุดใน 4 ประเทศ นับตั้งแต่ต้นปี ก็คือ CSI 300 ของจีน ก็ยังบวกไปถึง 12% ทีเดียวนะครับ ที่มาของการปรับตัวขึ้นของแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน แต่ก็มีจุดร่วมในบ้างจุด ก็คือ หุ้นในเอเชีย ภาพรวมแล้ว อยู่ในระดับราคาทีถูกกว่าตลาดพัฒนาแล้วฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป และ ญี่ปุ่น พอสมควร เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ต้นปี นักวิเคราะห์มีการปรับกำไรบริษัทจดทะเบียนในเอเชียเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมาเลยทีเดียว PE ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วได้กลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤต ขณะที่ ตลาดหุ้นกำลังพัฒนา ยังมีมูลค่าถูกกว่าพอสมควร ที่มา : สภาธุรกิจตลาดทุนไทย จุดเด่น และปัจจัยขับเคลื่อนให้ตลาดหุ้นจีนน่าสนใจ ก็คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และ นวัตกรรม ที่เรียกว่า Tertiary Industry ซึ่งเกิดจากการวางหมากของรัฐบาลจีน ที่ปกป้องการคุมคาม หรือการเข้ามาของเทคโนโลยีทางฝั่งโลกตะวันตก แล้วพยายามผลักดัน สนับสนุน ทุกวิถีทางให้เกิดผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในจีนแผ่นดินใหญ่เองให้ได้ และที่จีนทำได้ ก็เพราะนโยบายที่ชัดเจน และขนาดตลาดที่ใหญ่มากพอนั้นเอง มาที่เกาหลีใต้ ประเทศนี้มีนวัตกรรมด้านความงามที่ก้าวหน้าเร็วมากที่หนึ่งของโลก รวมถึง การใช้ผลิตภัณฑ์พวก Cosmetics ต่อ หัว ก็จัดว่า เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว ซึ่งการมีนวัตกรรมเหล่านี้ต่อเนื่องทำให้อัตรากำไรสูงขึ้น ในขณะที่ฝั่งเทคโนโลยี ก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SAMSUNG เป็นหัวเรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่วนไต้หวัน ถือเป็น ผู้นำด้านการผลิตสินค้าประเภท Laptop, จอ LCD, เซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ, เครื่องมือวัดความเที่ยงอุปกรณ์ไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องกลและไฟฟ้าเป็นฐานการผลิตให้ผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีระดับโลก สรุปง่ายๆคือ ไต้หวันมีจุดเด่นคือ เอาไอเดียวคนอื่นมาผลิตเพื่อใช้งานจริง ในคุณภาพสูง และราคาจับต้องได้ ใช่ครับ นวัตกรรม Digital Lifestyle คือ ปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจเอเชียเหนือ แต่ผมเชื่อว่า มันจะผลักดันเศรษฐกิจโลกไปอีก 10-20 ปีข้างหน้า เป็น Mega Trend ในระยะยาวอีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจ ไม่แพ้ธีม Aging Society, Hi-Speed & Coverage Logistics หรือ Urbanization เลย สนใจลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคนี้ ปัจจุบันนี้ กองทุนในไทย ก็มีหลายกองด้วยกันที่มี Exposure การลงทุนในเอเชียเหนือนะครับ ไปดูกันทีละกอง TISCONA : กองทุนเปิด ทิสโก้ นอร์ธ เอเชีย อิควิตี้ กองนี้ ไปลงทุนในกองทุกหลักที่เป็น ETF อีก 4 กอง ที่คาดหวังผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับตัวดัชนี โดยซื้อกองทุนดัชนี 4 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้, ไต้หวัน, จีน และ ฮ่องกง ผ่าน MSCI Index ในสัดส่วน ทีละ 25% เท่าๆกัน จุดเด่นคือ เป็น Passive Fund และ Focus ที่เอเชียเหนือจริงๆ ค่าธรรมเนียมถูกกว่า กองทุนประเภท Active Fund ASP-ASIAN : กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอเชี่ยนสเปเชียลซิททูเอชั่นส์ กองทุนหลักคือ Fidelity Funds – Asian Special Situations Fund เป็นกองทุนสไตล์ Active Fund ลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียทั้งหมด แต่เกินกว่า 60% ของพอร์ต ไปอยู่ในเอเชียเหนือ 4 ประเทศ เน้นลงทุนแบบ Bottom-up และ Stock Selection และ Overweight ในกลุ่มอุตสาหกรรม Technology, Financials และ Consumer Discretionary มากกว่าตลาด SCBAEM : กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ฟันด์ มีกองทุนแม่คือ BGF Asian Growth Leaders Fund ของ Blackrock มีนโยบายเน้นลงทุนในเอเชียทั้งภูมิภาค ลงทุนในตลาดหุ้นจีนเยอะสุด 32.95% รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 17.34% และ ไต้หวัน 10.57% ตามลำดับ โดยมีเอเชียกลาง อย่าง อินเดียในพอร์ตเช่นกันเกือบๆ 10% ให้น้ำหนักการลงทุนใน Technology , Financials และ Consumer Discretionary มากสุดตามลำดับ แต่ถ้าเทียบกับ ASP-ASIAN ก็ถือว่า มีกลุ่ม Technology และ Financials น้อยกว่าครับ แสดงว่า มีการกระจายการลงทุนที่มากกว่านิดหน่อย B-ASIA : กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย กองแม่คือ Invesco Asian Equity Fund ของ Invesco เน้นลงทุนในหุ้นเอเชียเช่นเดียวกับกองทุนอื่นๆ สไตล์เป็นแบบ Bottom-up และคุมด้วยการ Diversified ที่เหมาะสม ถือหุ้นไม่เกิน 60 ตัวในแต่ละรอบปีบัญชี และให้น้ำหนักไม่เกิน 6% ในแต่ละตัวที่ถือ ปัจจุบัน อยู่ใน Technology Sector สูงถึง 35.6% ซึ่งถือเป็นกองทุนที่ลงทุนในเอเชียและมีกลุ่มเทคเยอะที่สุดอันดับสอง แล้วนะครับ อยู่ในจีน , เกาหลีใต้, ไต้หวัน และ อินเดีย มากที่สุด ตามลำดับ UOBSA : กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย กองทุนแม่ มาจาก บลจ. เดียวกันก็คือ บลจ.ยูโอบี ชื่อ United Asia Fund ถ้ารองจาก TISCONA ที่มี 4 ประเทศใน North Asia กองทุนนี้ จัดว่ามีเอเชียเหนือเยอะที่สุดรองลงมาเลย คือ มากกว่า 70% ของพอร์ตเลยทีเดียว ปัจจุบัน อยู่ใน Technology Sector สูงถึง 36.34% ซึ่งถือเป็นกองทุนที่ลงทุนในเอเชียและมีกลุ่มเทคเยอะที่สุดอันดับ 1 เลยนะครับ จุดเด่นอีกอย่างของกองนี้ก็คือ กระจายการลงทุนในหุ้นมากกว่ากองทุนอื่น โดยใน Top 10 Holdings มีน้ำหนักรวมเพียงแค่ 32.15% ของมูลค่า ซึ่งน้อยกว่ากองอื่นๆที่มีน้ำหนักประมาณ 40-60% ทำสรุปรายละเอียดแต่ละกองทุนคร่าวๆ ก็ตามตารางด้านล่างเลยครับ ช่วงนี้ อาจเป็นจังหวะที่ดี ในช่วงที่คาบสมุทรเกาหลีมีความครุกรุ่นจากการปะทะคารมระหว่างสหรัฐฯ และ เกาหลีเหนือ แต่ผมเชื่อว่า โลกเรายังมีหนทางที่จะเจรจา และตกลงกันด้วยดีได้นะครับ ดังนั้นการปรับฐาน ก็คือ โอกาสในการลงทุน และสะสมไปในระยะยาว แท็ก: Asia Equity ASP-ASIAN B-ASIA DIY North Asia SCBAEM TISCONA UOBSA แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
บทเรียน หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) กับดัก VI หา Turnaround - FINNOMENA ช่วงปลายปีที่ผ่านมาคงจะหนีไม่พ้นกลุ่มหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะสินค้าเกษตร ยาง หรือพลังงานถ่านหิน รวมไปถึง Cyclical ตัวอื่นๆ ที่มักมาพร้อมๆกัน เสียแต่อย่างเดียวครับ หุ้นยอดนิยม เหล่านี้เป็นหุ้นปราบเซียน เพราะอะไร?... 30 เม.ย. 2563 หลายท่านที่เข้ามาสู่ตลาดหุ้น มักบอกว่าเป็น VI แต่สักพักก็ติดใจหุ้นซิ่งวิ่งแรง ซึ่งช่วงปลายปีที่ผ่านมาคงจะหนีไม่พ้นกลุ่มหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะสินค้าเกษตร ยาง หรือพลังงานถ่านหิน รวมไปถึง Cyclical ตัวอื่นๆ ที่มักมาพร้อมๆกัน เช่น หุ้นเดินเรือ ที่ทำให้บางท่านติดดอยอยู่ถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็เคยเตือนไปแล้วว่ามันจะเป็นเพียงรอบสั้นๆ หลอกก่อนครั้งหนึ่ง เสียแต่อย่างเดียวครับ หุ้นยอดนิยม เหล่านี้เป็นหุ้นปราบเซียน พลิกชีวิตคน มานักต่อนัก ไม่ว่าจะใช้ทฤษฏี margin of safety เข้าช่วย หรือเน้นประเมินราคาว่า undervalued แล้วถือทน ก็ล้วนไม่ง่าย แต่ก็มีบ้างที่กำไรเป็นกอบเป็นกำ เพราะเวลารอบจริงมันมา มันรอบใหญ่จริงๆ กระโดดขึ้นรถกันได้ทัน แต่เวลามันทำจุดต่ำสุดนั้นก็แทบจะขาดใจชนิดที่ว่าฆ่ากันให้ตายเถอะ หลายท่านชอบดูอัตรากำไร หรือสัดส่วนทางการเงินมากมาย คำถามง่ายๆคือ ท่านเดาทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ออกหรือไม่? เพราะมันมีผลมากกว่า และเดายาก เหลือเกินครับ ถ้าท่านคาดการณ์ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ออก แต่ซื้อเพราะเชื่อว่าบริษัทมีอัตรากำไรที่ดี ขอเล่า 5 ปัจจัยชวนปวดหัวที่ท่านควรรู้ติดตัวไว้ก่อนเล่นหุ้นจำพวกนี้ 1. ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสคุยกับผู้จัดการกองทุนของ บลจ. ระดับโลกจากอเมริกา ปรากฏว่ากองทุนเขาไม่มีหุ้นคอมโม เลยสักตัว ก็เลยถามกันไปว่า ทำไมไม่ซื้อเลยล่ะ …. คำตอบที่ได้ชัดมาก เขาสร้างพอร์ต เน้นหุ้นดีมีกำไร แต่หุ้นคอมโมนั้นไม่เข้าข่าย เพราะไม่ว่าจะดีแค่ไหน สุดท้าย ราคาจะวิ่งตาม Underlying ของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นๆ ณ วินาทีนั้น ก็ถึงบางอ้อกันหมด ก็จริงว่ากำไรสุดท้ายก็เป็นแค่ส่วนเล็กส่วนน้อยเทียบกับ movement ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ 2. ถ้าสังเกตกันดีๆ หุ้นน้ำมันก็วิ่งตามราคาน้ำมันโลก ในขณะธุรกิจที่เล็กลงมาหน่อย ก็ต้องดูราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่จุดขาย สินค้าอื่นๆ เช่น ถ่านหิน ของบ้านปู ให้ดู ที่นิวคาสเซิล เหล็ก หลายๆแห่งโดยเฉพาะเจ้ายักษ์ใหญ่ ดูที่ท่าเรือเทียนจินของจีน ก็เป็นไปตามการวิเคราะห์ทั่วๆไป ว่าราคาขายจะเป็นเท่าไหร่ 3. ถ้าท่านคิดถูกว่ามันจะวิ่งทางใด บริษัทพวกนี้มีการส่งออกนำเข้า ต้องคิดต่อเรื่อง “ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน” และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Forward) อีกทั้งยังมีเรื่องสต็อคสินค้า ที่ต้องกังวลว่าเกิด Stock loss หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่องบกำไรขาดทุนในไตรมาส ที่เกิดเหตุ เช่น บริษัท น้ำมัน เจ้าหนึ่ง (ไม่เอยนามนะครับ แต่เล่าไปจะคุ้นๆ) บอกว่าถ้าน้ำมันลงถึง 45 จะเลิกขุด แต่พอราคาน้ำมันลงมาต่ำ กลับทำสัญญา Forward ล็อคราคาเอาไว้ ทำให้พอน้ำมันขึ้นไป ผลกำไรก็ไม่ได้ดีตาม !!? 4. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในไทย จะ lag กับต่างประเทศในระดับหนึ่งแล้วแต่ตัว ทำให้เล่นยากมาก อย่างกรณีน้ำตาลนี้ เรียกว่าน้ำตาลโลกเค้าขึ้นไปถึงไหนแล้ว บ้านเรามาวิ่งกันเล่นงบไตรมาสเดียว มันก็ตลกๆ ครับ 5. เรื่องที่เลวร้ายที่สุดในตลาดไทย คือ หุ้นคอมโม หลายตัว นั้นมีข้อมูลรั่วไหล มีการทำราคา อย่างเห็นได้ชัดเจน ก็ต้องระวังกันให้ดีครับ ท้ายที่สุดนี้อยากทิ้งเอาไว้ ว่า โดยเฉพาะกลุ่ม Commo ให้ยึดบน Demand & Supply ที่คนต้องการซื้อ หรือขายจริงๆเป็นหลักครับ แล้วค่อยดู 5 ข้อนี้ แต่ถ้าใครว่าง ลองศึกษา Fed Fund Rate เทคโนโลยีใหม่ๆทางการเกษตร การขุดเจาะน้ำมัน พลังงานทางเลือกและผลกระทบของราคาน้ำมันต่อสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกดูครับ จับมายำรวมกันจะเห็นทิศทาง Commo มากขึ้น มีโอกาสจะเล่าเพิ่มในรายละเอียดสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละตัวครับ BottomLiner ติดตาม BottomLiner ทาง Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/bottomliner/ หรือติดตาม BottomLiner ทาง line คลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40bottomliner หรือกดเพิ่มเพื่อน ค้นหา id แล้วพิมพ์ @bottomliner (ใส่ @ ด้วยครับ) แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
HYPERLOOP จะมาแทนเครื่องบิน? - FINNOMENA เมื่อเร็วๆนี้ Elon Musk ได้รับคำตอบรับอย่างไม่เป็นทางการจากรัฐบาลสหรัฐให้สร้าง Hyperloop ระหว่างเมือง New York ถึง D.C. ซึ่งใช้เวลาเดินทางเพียง 29 นาที ซึ่งการเดินทางด้วย Hyperloop นี้ถือเป็นการเดินทางแบบใหม่ที่โลกยังไม่เคยมีมาก่อน หรืออนาคต HYPERLOOP จะมาแทนเครื่องบิน? 25 ก.ค. 2560 เมื่อเร็วๆนี้ Elon Musk ได้รับคำตอบรับอย่างไม่เป็นทางการจากรัฐบาลสหรัฐให้สร้าง Hyperloop ระหว่างเมือง New York ถึง D.C. ซึ่งใช้เวลาเดินทางเพียง 29 นาที ซึ่งการเดินทางด้วย Hyperloop นี้ถือเป็นการเดินทางแบบใหม่ที่โลกยังไม่เคยมีมาก่อน เพื่อให้เห็นภาพ ถ้าเรานั่ง Hyperloop จากกรุงเทพไปถึงเชียงใหม่จะใช้เวลาเพียง 35 นาที และจากกรุงเทพไปถึงหัวหินจะใช้เวลาเพียง 11 นาที เรียกได้ว่าแค่เผลองีบไปนิดนึง ตื่นขึ้นมาเราถึงหัวหินเล่นน้ำชายหาดได้แล้ว Hyperloop คือการเดินทางด้วย Pod (ห้องโดยสาร) ในอุโมงค์สุญญากาศ ซึ่งในนั้นจะไม่มีแรงเสียดทาน ทำให้เร่งความเร็วได้ถึง 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเทียบกับเครื่องบินที่ 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อดีของ Hyperloop คือจะใช้กระแสไฟฟ้า และ Elon Musk วางแผนจะผลิตกระแสไฟฟ้าจาก Solar Cell ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด เมื่อเทียบกับเครื่องบินที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง Hyperloop วิ่งจากใจกลางเมืองถึงใจกลางเมือง โดยไม่ต้องเสียเวลาเหมือนการนั่งเครื่องบิน ที่ต้องขับรถไปสนามบินนอกตัวเมือง แล้ว Hyperloop จะมาแทนเครื่องบินระยะใกล้ได้หรือไม่? Hyperloop ไม่น่าจะเข้ามาแทนที่เครื่องบินภายได้ในเร็วๆนี้ เพราะค่าการก่อสร้างแพงมาก ซึ่งจะสะท้อนมาที่ราคาตั๋วโดยสาร ที่แข่งขันกับเครื่องบินไม่ได้ จนถึงตอนนี้หลายคนคงคิดว่า Elon Musk คิดโครงการที่ไม่ make sense ออกมา ไม่น่าจะคุ้มค่าเชิงธุรกิจได้ แต่จริงๆแล้ว Elon Musk คิดไปไกลกว่านั้น หลายคนคงรู้ว่าเป้าหมายสูงสุดของเขาคือการ Colonize Mars หรือการสร้างอาณานิคมบนดาวอังคาร ตอนนี้เขาแค่เอาโลกเป็นเครื่องมือทดลองโครงการนี้ เพราะถึงแม้ Hyperloop จะดูเหมือนไม่คุ้มค่าบนโลกในตอนนี้ แต่อนาคตก็อาจจะไม่แน่ ถ้าสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้ แต่สำหรับดาวอังคารที่ที่มีอากาศเบาบาง ไม่มีน้ำมัน ทำให้เป็นดาวที่ไม่เหมาะกับเครื่องบิน เพราะเครื่องบินบินได้ด้วยความแตกต่างระหว่างความดันของอากาศ ในที่สุด Hyperloop จะเป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางบนดาวอังคารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สรุปแล้ว Elon Musk คิดข้ามช็อตไปไกลมาก.. ที่มาบทความ : http://longtunman.com/1351 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ลงทุนแมน เล่าเรื่องการลงทุน จากเรื่องราวที่อยู่รอบตัว แบบเข้าใจได้ง่ายง่าย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Bond Connect เตรียมเขย่าบอนด์ยีลด์ทุกสถาบัน - FINNOMENA ในวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา ตราสารหนี้จีนกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์อีกครั้งหลังจากที่ทางการจีนประกาศเริ่มให้นักลงทุนฝั่งฮ่องกง สามารถซิ้อบอนด์ของจีนแผ่นดินใหญ่ได้อย่างเป็นทางการที่รู้จักกันในชื่อโครงการ Bond Connect รายละเอียดเป็นอย่างไรมาชมกันครับ 25 ก.ค. 2560 ในวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา ตราสารหนี้จีนกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์อีกครั้งหลังจากที่ทางการจีนประกาศเริ่มให้นักลงทุนฝั่งฮ่องกง สามารถซิ้อบอนด์ของจีนแผ่นดินใหญ่ได้อย่างเป็นทางการที่รู้จักกันในชื่อโครงการ Bond Connect ความน่าสนใจของหมากจีนเกมนี้ ไม่ใช่แค่เพราะตลาดบอดน์จีน เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ถึง 69 ล้านล้านหยวน (เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐและญี่ปุ่น) แต่ก้าวนี้เทียบได้กับความพยายามที่จะเปลี่ยนสถานะจาก “เจ้าหนี้” ของโลกมาเป็น “ลูกหนี้”และไม่ช้าก็เร็ว ความเคลื่อนไหวนี้ของจีนจะส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกต้องมีการปรับตัวตามอย่างแน่นอน นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของจีน แต่รอบนี้มีโอกาสสำเร็จด้วยหลายเหตุผล จุดแรก จีนแสดงให้ทั่วโลกเห็นมากกว่าทุกครั้งถึงความพยายามที่จะเปิดเสรีการเงิน มองย้อนกลับไปในอดีต จีนอนุญาติให้นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อบอนด์ได้ในวงจำกัดตั้งแต่ปี 2011 แต่ในความจริงการซื้อบอนด์ในจีนแผ่นดินใหญ่เป็นเรื่องที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนแบบราชการจีน ส่งผลให้สัดส่วนนักลงทุนต่างชาติเป็นเพียง 1% ของตลาดซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเอเชียอื่น (สัดส่วนต่างชาติ 10-30%) การไม่ไปเสียเวลาปรับขั้นตอน แต่เลือกใช้ตลาดฮ่องกงที่มีความพร้อมอยู่แล้ว ถือเป็นแนวทางที่เป็นสากล รวดเร็ว และชัดเจนมาก เรื่องที่สอง ผลตอบแทนของบอนด์จีนสูงเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจและภาพรวมความเสี่ยง นอกจากพันธบัตรรัฐบาลจีนจะให้ยีลด์สูงถึง 3.5% แล้ว จีนยังเป็นไม่กี่ตลาดในโลกที่เส้นผลตอบแทนแบนมาก (flat yield curve) ส่งผลให้นักลงทุนสามารถเก็บยีลด์ได้โดยไม่ต้องรับความเสี่ยงดูเรชั่น และถ้าสามารถรับความเสี่ยงที่สูงกว่าภาครัฐได้ บริษัทเรทติ้งดีต่าง ๆ ในจีนที่ก็พร้อมที่จะจ่ายยีลด์ 5-7% ได้เพราะเศรษฐกิจเติบโตสูง ทำให้ตลาดจีนดูดีกว่าหลายตลาด จุดที่สาม การที่ทางการจีนเข้ามาดูแลตลาดการเงินรอบนี้ส่งผลให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น ไม่ใช่แค่ดูแลให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวตามตลาด (แข็งค่า) ในปีนี้ แต่ยังเข้ามาจัดการกับปัญหา Shadow banking เหมือนเป็นการบอกทางอ้อมว่า ทางการจีนเลือกตลาดการเงินที่เติบโตอย่างยั่งยืนมากกว่าตลาดที่เปราะบางจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น นองจากนี้ เรายังเห็นว่านักลงทุนหันมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ล่าสุด EPFR รายงานว่ามีเงินลงทุนสุทธิไหลเข้าบอนด์ตลาดเกิดใหม่ถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญในช่วงต้นปีสูงกว่าทั้งปีที่ไปแล้ว เป็นการยืนยันว่าช่วงเวลานี้ เป็นเวลาที่ค่อนข้างเหมาะสมในการเปิดตลาด และคงมีนักลงทุนที่รอการเปิดตลาดของจีนอยู่ไม่น้อย มาถึงตรงนี้ นอกจากความน่าสนใจในฐานะนักลงทุนแล้ว ผมมองว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ของจีนจะค่อย ๆ กดดันและทำให้การเคลื่อนย้ายของเงินทุนทั่วโลกเปลี่ยนไปในไม่ช้า แม้ตอนนี้เราอาจยังไม่เห็นตลาดเคลื่อนไหวมากนัก แต่ใน 1-2 ปีข้างหน้าตลาดบอนด์เอเชียที่ความเสี่ยงไม่ต่างกับจีน จะทยอยได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายของเงินทุนจากที่ผลตอบแทนต่ำไปสูงแน่นอน โดยจะส่งผลให้บอนด์ยีลด์ทั่วเอเชียต้องถูกปรับตามผลตอบแทนของบอนด์จีนในไม่ช้า และถ้าจีนจะยังจะพัฒนาต่อไปจนเข้าสู่การเปลี่ยนสถานะตัวเองจาก “เจ้าหนี้รายใหญ่” มาเป็น “ลูกหนี้รายใหญ่” ของโลก ก็ต้องตามดูว่าลูกหนี้รายอื่น ๆ ทั้งอเมริกาและยุโรป จะเดินหมากแก้เกมนี้ของจีนอย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบกับต้นทุนในประเทศ ขณะที่สภาพคล่องถูกดูดกลับจีนไปเรื่อย ๆ เรียกว่าเป็นเกมที่เดิมพันกันด้วยเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องตามดูกันยาวแน่นอนครับ ผลตอบแทนของตราสารหนี้สหรัฐ จีน และไทยตามอายุคงเหลือ ที่มา: Bloomberg และ KTB Global Markets ก.ค. 60 http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641887 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (24 - 28 กรกฎาคม 2560) - FINNOMENA ฟันด์โฟลว์ที่เข้าตลาดการเงินในเอเชียส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบฟันด์โฟลว์ที่ซื้อตราสารหนี้ เป็นเม็ดเงินที่มากที่สุดในรอบ 5 ปี ค่าเงินบาทจากนี้จะเป็นอย่างไร และปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบตลาดหุ้นเรามีอะไรบ้าง อ่านได้ในบทความนี้เลยครับ 25 พ.ย. 2563 ในปี 2017 ฟันด์โฟลว์ที่เข้าตลาดการเงินในเอเชียส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบฟันด์โฟลว์ที่ซื้อตราสารหนี้ และเป็นเม็ดเงินที่มากที่สุดในรอบ 5 ปี ในขณะที่เม็ดเงินที่ซื้อตลาดหุ้นของนักลงทุนต่างชาติยังคงเบาบาง สำหรับประเทศไทย นักลงทุนต่างประเทศซื้อตราสารหนี้เกือบ 2.5 แสนล้านบาท หรือ 7.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ถือเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย นักลงทุนต่างประเทศ Long ตลาดอนุพันธ์ 23,269 สัญญาใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ขายตลาด Cash Market เล็กๆ ที่ 154 ล้านบาท บ่งบอกตลาด Sideway ในระยะสั้น เนื่องจากบาง Sector ดี แต่บาง sector ได้ Underperform อาทิ กลุ่ม Bank เนื่องจาก Earnings ในไตรมาส 2 พลาดเป้า สำหรับค่าเงินบาท ยังคาดว่าแข็งค่าต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นของดุลการค้า 1,917 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. เมื่อเปรียบเทียบกับ 944 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ และการแทรกแซงที่น้อยลงของธนาคารกลาง มองการส่งสัญญาณ QE Tapering ของธนาคารกลางยุโรปในปลายปีนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ทำให้ค่าเงิน Euro ปรับตัวแข็งค่าขึ้น ขณะที่ BOJ ยังคงสัญญาณซื้อพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ซึ่งยังคงเป็นสัญญาณของ Yen Carry Trade โดยมีบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาซื้อกิจการในประเทศไทยหลายบริษัท จุดที่บวกของเศรษฐกิจไทยคือ ตัวเลขการส่งออกในเดือนมิถุนายนโต 11.7% และโต 12.7% ในเดือน พ.ค. ทำให้ไตรมาส2 การเติบโตของการส่งออกเป็นการเติบโตสูงสุดรายไตรมาสในรอบ 4 ปี และเป็นการเติบโตประเภท Double Digit Growth เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปีนี้ กลุ่มส่งออกที่เด่นจะเป็นสินค้าเกษตร (+18.3%yoy) และข้าว (+34.4%yoy) ขณะที่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Integrated circuits เริ่มเห็นสัญญาณการส่งออกที่อ่อนแอลง (+6.2%yoy เมื่อเปรียบเทียบกับ 30%yoy ก่อนหน้านี้) รวมทั้งการส่งออกรถยนต์ที่มี Momentum ที่ลดลง (+3.1%yoy เมื่อเปรียบเทียบกับ 9.9%yoy ก่อนหน้านี้) การส่งออกไปที่ EU เริ่มมีสัญญาณ Momentum ที่ลดลงเช่นกันที่ 5.9%yoy เมื่อเปรียบเทียบกับ 13.4%yoy ก่อนหน้านี้ จึงมีมุมมองว่ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มยานยนต์ อาจจะ Underperform ยังคงแนะนำกลุ่มปิโตรเคมีกลุ่ม PVC ที่ได้ประโยชน์ของการเพิ่มขึ้นของ Spread ของ PVC-Ethylene และ ราคา Caustic Soda ที่เพิ่มขึ้นกลุ่ม Media ที่มีอาจจะมี Strategic Alliance กับกลุ่ม Telecom กลุ่มโรงไฟฟ้าหรือ Utility ที่มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรายได้ที่มั่นคง กลุ่ม Container ที่ได้ประโยชน์จากการส่งออกที่ดีขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์การฟื้นตัวของภาคการเกษตร แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Emerging Markets ทะลุ Downtrend Line เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี - FINNOMENA สาเหตุที่ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (USD) อ่อนค่ามาต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี ถามว่า Fund Flow ไปไหน? ก็ต้องอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า มาที่ตลาดเกิดใหม่ โดยจากข้อมูล พบว่า ตลาดหุ้นเกิดใหม่ หรือ MSCI Emerging Markets Index บวกไปได้ +17% และหากคิดเป็นรูปสกุล USD ผลตอบแทนจะพุ่งขึ้นไปสูงถึง 21% ทีเดียว ถือเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในโลก ณ เวลานี้นะครับ 16 พ.ค. 2561 ตั้งแต่ย่างเข้าสู่ครึ่งปีหลังมาเกือบๆ 2 สัปดาห์ มุมมองการจัดพอร์ตการลงทุนในตลาดโลกก็แทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นปีซักเท่าไหร่ จะมีก็แต่ ความคาดหวังนโยบายการคลังจากฝั่งรัฐบาลสหรัฐฯโดยนายทรัมป์ ที่ตอนนี้เหมือนตลาดจะเลิกหวังไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั้นคือสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (USD) อ่อนค่ามาต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี ถามว่า Fund Flow ไปไหน? ก็ต้องอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า มาที่ตลาดเกิดใหม่ โดยจากข้อมูล พบว่า ตลาดหุ้นเกิดใหม่ หรือ MSCI Emerging Markets Index บวกไปได้ +17% และหากคิดเป็นรูปสกุล USD ผลตอบแทนจะพุ่งขึ้นไปสูงถึง 21% ทีเดียว ถือเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในโลก ณ เวลานี้นะครับ สาเหตุที่พอแปลงเป็นสกุล USD แล้วได้กำไรเพิ่มขึ้น เพราะ Fund Flow ไหลเข้าลงทุนในตลาดเกิดใหม่ต่อเนื่อง ทำให้ค่าเงินของฝั่งนี้ แข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ นั้นเลยทำให้นักลงทุนในสหรัฐฯที่ขยับเอาเงินออกมาลงทุน ได้ประโยชน์ 2 ต่อเลยทีเดียว ต่อแรกคือ กำไรจากค่าเงิน ต่อที่ 2 คือ กำไรจากการปรับตัวขึ้นของสินทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งในที่นี้ก็คือ ตลาดหุ้นนั้นเอง ขยับไปดูเป็นกราฟย้อนหลัง 1 ปี จะเห็นว่า ปีนี้ตลาดหุ้นเกิดใหม่มีการปรับฐานไม่ได้รุนแรงมากในแต่ละช่วง และจะเห็นว่า มาบวกแรงๆจริงๆก็คือเมื่อต้นเดือน ก.ค. นี้เอง ที่ดัชนีกระโดดเปิด Gap ไปถึง 2 รอง พร้อมกับการที่ RSI ขึ้นไปแตะเหนือระดับ 70 ก่อนย่อตัวลงมา ณ ปัจจุบันที่ 68.21 เหตุผลของการปรับขึ้น จริงๆแล้วหลักๆ ผมมองว่า มาจาก นโยบายที่ไม่มีอยู่จริงของทรัมป์ ทำให้ตลาดคลายความกังวล และเปลี่ยนสมมติฐานกลายเป็นว่า สหรัฐฯไม่น่าจะมีการลงทุนขนาดใหญ่ และไม่ต้องใช้นโยบายขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่นายทรัมป์หาเสียงไว้ นางเจเน็ต เยลเลน และเฟด ส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง และค่อยเป็นค่อยไป เมื่อดอกเบี้ยขึ้นได้ช้า ค่าเงิน USD ก็ไม่ควรแข็งค่าเร็วเกินไปด้วย เศรษฐกิจฝั่งตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในเอเชียเหนือ (จีน, ไต้หวัน, เกาหลีใต้) ปรับตัวดีขึ้น บริษัทจดทะเบียนถูก Upgrade ปรับประมาณการกำไรสุทธิให้สูงขึ้น พิจารณาในแง่ Valuation โดยใช้ข้อมูลจาก Research Paper ค่าย Goldman Sachs ตามตารางข้างบน ก็พบว่า ณ ระดับราคาปัจจุบัน ที่ MSCI Emerging Markets เทรดอยู่ ถึงวิ่งขึ้นมาแรง แต่ Forward P/E ปีหน้า อยู่ที่ 13.4x ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของ MSCI World ซึ่งอยู่ที่ 17.7x ในขณะที่คาดการณ์ว่ากำไรสุทธิ (EPS Growth) น่าจะโตที่ 22.4% ซึ่งก็มากกว่า MSCI World ที่ Goldman คาดการณ์ไว้ที่ 12.3x สะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนมีการเคลื่อนย้ายเงินทุน และมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดห้นเกิดใหม่อย่างชัดเจนมาตั้งแต่ต้นปี และแน่นอน อ่านมาถึงตรงนี้ ก็น่าจะมีนักลงทุนถามว่า “แล้วตรงนี้แพงไปหรือยัง?” คำตอบที่ผมพอจะให้ได้อย่างแรกเลยก็คือ ตลาดหุ้น Emerging Markets นั้นแย่กว่า (Underperform) ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว หรือ Developed Markets มาตลอดนับตั้งแต่หลังวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 เลยด้วยซ้ำ ทั้งที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศแทบนี้ อยู่ในอัตราที่สูงกว่า และโครงสร้างทางเศรษฐกิจก็เหมาะแก่การลงทุนระยะยาวมากกว่า ดังนั้น มันก็น่าจะมีบางช่วงเวลาบ้างละครับที่จะเป็นเวลาของตลาดเกิดใหม่ซักที อย่างที่สอง หากมองในมุมมองทางเทคนิคละก็ ตามหัวข้อบทความนี้เลยครับ นั้นก็คือ ตลาดหุ้น Emerging Markets ทะลุ Downtrend Line เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี เพิ่งจะเดือนนี้เอง ถ้าจบสิ้นเดือน ยังสามารถยืนเหนือแนวต้านที่เพิ่งทะลุมาได้ตรงนี้ ก็มีลุ้นเหมือนกันว่า จะไปได้ต่อไกลๆหรือไม่นะครับ ถามว่าไปได้ไกลแค่ไหน ดูกราฟสุดท้ายครับ จะเห็นว่า ดัชนี S&P500 ทะลุจุดสูงสุดเดิมก่อนฟองสบู่แตกของปี 2007 ไปได้ตั้งแต่กลางปี 2013 แล้ว แต่ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ยังไม่ไปแตะจุดสูงสุดเดิมตอนนั้นเลยด้วยซ้ำ ถ้าเอาแค่ไปถึงจุดสูงสุดเดิม ก็ต้องวิ่งขึ้นได้อีก 6% และถ้าทะลุขึ้นไปได้อีก ก็น่าสนใจว่าจะไปยาวกว่านี้ได้ซักเท่าไหร่นะครับ มีความเสี่ยงไหม ถ้าจะลงทุนในตลาดเกิดใหม่ตอนนี้? มีแน่นอนสิครับ ถามได้ ?? ระยะสั้น 6 เดือนวิ่งขึ้นมาสิบเปอร์เซ็นต์กว่าๆ มันก็อาจมีแรงเทขายทำกำไรจากคนที่ถือมาก่อนหน้านี้แล้วก็เป็นได้ ถ้ามองความเสี่ยงอีกด้านก็คือ หากกำไรสุทธิออกมาไม่เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ประมาณการ หรือต่ำกว่าคาด (เพราะ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก็พลาดมาตลอด จะมาดูกว่าคาดก็เมื่อเร็วๆนี้เอง) ก็อาจทำให้ Fund Flow ต่างชาติไหลออกได้เช่นเดียวกัน สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนใน NTER GOAL สร้างแผนการลงทุนในระยะยาว ก็จะเห็นว่า มีกองทุนตลาดเกิดใหม่กองเด่นกองหนึ่งอยู่ในพอร์ตที่ผลการดำเนินงานโดดเด่น และเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้ว เกาะกลุ่มผู้นำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว และเป็น NTER PICK ของเรา นั้นก็คือ KF-EM จาก บลจ. กรุงศรี และนี่คือข้อมูลการเปรียบเทียบ KF-EM กับการจัดอันดับข้อมูลกองทุนอื่นๆในตลาด โดย NTER SPACE ครับ แหล่งข้อมูล :- Stockcharts.com Goldman Sachs Portfolio Strategy Research คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น พิเศษ หากท่านสนใจเปิดบัญชีลงทุนเพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริง กรุณากรอกรายละเอียดสั้น ๆ ได้ ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club เพื่อรับบริการพิเศษจากเรา (จำนวนจำกัด) แท็ก: DIY Emerging Markets FINNOMENA PORT Goal KF-EM ตลาดเกิดใหม่ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ภาพรวมประเทศไทย ตอน จุดอ่อน - FINNOMENA ตอนที่แล้วเรารู้จักจุดแข็งของประเทศไทยกันแล้ว ซึ่งมีหลายจุดเช่น ทำเล วัฒนธรรม และค่าครองชีพ และคราวนี้เรามาดูจุดอ่อนมีอะไรกันบ้าง? 26 ส.ค. 2560 คราวที่แล้วผมพูดถึงจุดแข็งของประเทศไทยไว้ ซึ่งมีหลายจุดเช่น ทำเล วัฒนธรรม และค่าครองชีพ ซึ่งสามารถอ่านได้จากโพสนี้ครับ https://www.finnomena.com/investdiary/strength-thailand/ แต่คราวนี้เราจะมาดูกันบ้างว่าจุดอ่อนมีอะไรกันบ้าง ประชากรเกิดน้อย ปัญหาหลักของประเทศไทยในปัจจุบันที่จะส่งผลไปสู่อนาคตอีกนานนับหลายทศวรรตนั้นก็คืออัตราการเกิดของประชากรที่ลดต่ำอย่างมาก หากเราพูดถึงการเติบโตของประเทศแน่นอนว่าต้องพูดถึงเรื่องของ GDP ที่เป็นตัววัดผลผลิตของประเทศ ผลผลิตนั้นจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเกิดขึ้น และฟันเฟืองที่สำคัญเลยก็คือคนทำงานภายในประเทศนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วประชากรที่มีศักยภาพในการสร้างผลผลิตนั้นจะอยู่ในช่วงอายุ 20 – 60 ปี หรือก็คือหลังจากเรียนจบจนถึงวัยเกษียณอายุ จากการที่ประชากรเกิดน้อยลงส่งผลให้สัดส่วนประชากรของประเทศนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอายุ หากคิดคร่าวๆเราก็อาจจะสามารถนึกออกว่าช่วงอายุ 20 – 60 นั้นก็จะมีแนวโน้มน้อยลง และสัดส่วนผู้สูงอายุเกิน 60 นั้นก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเป็นแบบนี้แล้วประชากรที่สามารถสร้างผลผลิตได้ก็ย่อมจะน้อยลงอย่างแน่นอน สังคมผู้สูงวัยนั้นเราก็คงจะได้ยินกันคุ้นหูแล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าประเทศไทยกำลังเดินทางเข้าสู่ยุคของผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว ภายใน 10 – 20 ปีข้างหน้าเราจะพบว่ามีการคาดการณ์ไว้ว่าสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 15% จะขึ้นเป็น 23% ในอีกสิบปีข้างหน้า และพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 25 ปี จะลดลงจากสัดส่วนประมาณ 32% ในปัจจุบันลงเหลือ 27% ในอีกสิบปีข้างหน้า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆเราจะพบว่าประเทศที่มีประชากรแก่ตัวลงนั้นก็มีหลายประเทศที่กำลังเผชิญอยู่เช่นญี่ปุ่นและจีน แต่ความแตกต่างระหว่าง 2 ประเทศนี้ก็คืออัตราการเติบโตของประเทศ ญี่ปุ่นนั้นมีการชะลอตัวมานานนับทศวรรตในขณะที่จีนกลับมาการเติบโตที่สูงมากว่าทศวรรต เพราะเหตุใดที่ทำให้ 2 ประเทศที่มีโครงสร้างประชากรที่กำลังแก่ตัวลงกันแต่อัตราการเติบโตแตกต่างกันอย่างมาก คำตอบนี้น่าจะเป็นทางออกสำหรับประเทศไทยในการเติบโตต่อไปในอนาคต ประเทศอย่างเวียดนาม อินโดนีเซียและกัมพูชานั้นมีโครงสร้างประชากรที่แตกต่างจากไทยอย่างมาก อัตราการเกิดที่สูงกว่ามาก หากเทียบเป็นเปอเซนต์แล้ว ทั้งไทย จีนและญี่ปุ่นต่างก็มีอัตราการเกิดที่ไม่ถึงปีละ 0.5% แต่ประเทศเช่นเวียดนามและที่อยู่ในแถบ CLMV นั้นกลับมาอัตราการเกิดของประชากรที่มากกว่า 1% ต่อปีแทบทั้งสิ้น ส่วนนี้เองทำให้การเติบโตของประเทศเช่นเวียดนามนั้นมีการเติบโตอย่างมาก แล้วทำไมจีนที่มีการเติบโตของประชากรต่ำถึงมีการเติบโตของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงในทศวรรตที่ผ่านมา? จุดต่างระหว่างญี่ปุ่นและจีนหลักๆก็คือเรื่องของอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศ จะสังเกตุว่าจริงๆแล้วประเทศจีนเริ่มมีการเปิดประเทศมาไม่นาน และหลังจากการเปิดประเทศนั้นก็ทำให้มีการเกิดของอุตสาหกรรมใหม่ๆมากขึ้น อุตสาหกรรมใหม่นี้มีมูลค่าสูงกว่าอุตสาหกรรมเดิมที่ประเทศจีน นอกจากการมีอุตสาหกรรมใหม่แล้ว จีนยังสามารถขยายตลาดออกมากขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งตัวแปรทั้งสองนี้ก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจของจีน ต่างจากญี่ปุ่นที่แทบจะไม่มีอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมาเลยและประกอบกับญี่ปุ่นนั้นมีตลาดอยู่ทั่วโลกไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งหมดสามารถเรียกได้สั้นๆว่าญี่ปุ่นนั้นมีฐานเศรษฐกิจที่สูงอยู่แล้ว ดังนั้นการเติบโตจึงยากกว่าจีนอย่างมีนัย คำตอบตรงนี้จึงน่าจะเป็นตัวใบ้ที่ดีสำหรับประเทศไทย หากต้องการเติบโตในอนาคตในขณะที่มีอัตราการเกิดต่ำ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูงขึ้นและขยายการบริโภคให้มากขึ้นนอกเหนือจากในประเทศไทย ค่าแรงเริ่มแพง ประเทศไทยในอดีตมีจุดเด่นที่สำคัญต่อการแข่งขันอย่างมากเทียบกับประเทศอย่างญี่ปุ่น สหรัฐ หรือยุโรป นั้นก็คือเรื่องของค่าแรง การที่มีค่าแรงต่ำนั้นมักดึงดูดชาวต่างชาติให้มาลงทุนในไทยอย่างมีนัย เช่นโรงงานผลิตรถยนต์เป็นต้น การทำธุรกิจนั้นแน่นอนว่าต้นทุนมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ หากต้นทุนสูงโอกาสที่จะแข่งขันในตลาดได้ก็จะน้อยลงเพราะหากเกิดการแข่งราคา การที่มีต้นทุนสูงนั้นทำให้แข่งขันได้ลำบากมากขึ้น เพราะยิ่งแข่งขันในขณะที่ต้นทุนสูงกว่ารายอื่นจะทำให้กำไรน้อยลง และยิ่งไปกว่านั้นอาจถึงขั้นขาดทุนได้ เมื่อการลดต้นทุนเป็นส่วนสำคัญสำหรับธุรกิจ ดังนั้นการลงทุนในประเทศไทยจึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับหลายๆอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต เมื่อประเทศไทยเป็นที่หมายของการลงทุนเพราะมีค่าแรงที่ไม่แพง ดังนั้นเมื่อมีบริษัทที่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยย่อมทำให้มีผู้อื่นตามมาด้วย เพราถ้าหากไม่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยนั่นแปลว่าต้นทุนจะแพงกว่าคู่แข่ง กลับมายังปัจจุบันเราจะสังเกตุว่าประเทศไทยนั้นมีการขึ้นค่าแรงกันอยู่บ่อยครั้ง การขึ้นค่าแรงนั้นสาเหตุหลักก็น่าจะมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่ารายได้ การขึ้นค่าแรงนั้นจะเป็นผลดีต่อประชากรโดยตรง ทำให้มีกำลังจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น แต่ระยะยาวแล้วจะส่งผลเสียต่อประเทศอย่างมากเพราะนั้นแปลว่าต้นทุนของบริษัทที่เข้ามาลงทุนจะสูงขึ้นและแนวโน้มที่บริษัทต่างๆจะเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตก็จะน้อยลง อย่าลืมว่าประเทศ CLMV นั้นมีต้นทุนที่ยังต่ำกว่าประเทศไทย ค่าแรงในประเทศกลุ่ม CLMV ที่ถูกกว่าประเทศไทยนั้นจะไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่นักหากขาดในเรื่องของคุณภาพในการผลิต แต่ความเป็นจริงคือการพัฒนาบุคลากรของประเทศในกลุ่มนี้รวดเร็วมากจนปัจจุบันนั้นมีอุตสาหกรรมใหม่ๆขึ้นมาแข่งขันกับไทยมากขึ้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะยังมีความได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพและประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า แต่ความได้เปรียบตรงนี้มีโอกาสที่ลดลงได้ เพราะฉะนั้นประเทศไทยจึงไม่สามารถมองข้ามส่วนนี้ได้เลย ขาดอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมของประเทศนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อดูภาพรวมทั่วโลกแล้วเราจะพบว่าแต่ละประเทศนั้นก็จะมีอุตสาหกรรมเด่นๆของตัวเองเป็นหลัก ประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา และแน่นอนว่าเมื่ออุตสาหกรรมมีมูลค่าสูงกว่า การดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศย่อมมีแนวโน้มที่ดีกว่าอุตสาหกรรมที่มูลค่าต่ำ รายได้หลักของประเทศไทยนั้นประกอบไปด้วยหลายอุตสาหกรรมเช่นการผลิตรถยนต์ การท่องเที่ยว การแพทย์ การเกษตร และอีกหลายๆอย่าง โดยรวมแล้วถือว่ามีค่อนข้างหลากหลายอุตสาหกรรมเลยทีเดียว หากแบ่งตามบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในตลาดหุ้นไทยก็จะพบบริษัทจากหลากหลายอุตสาหกรรมเช่น PTT, AOT, AIS, SCB, SCG, CP, โรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ และอื่นๆอีกมากมาย แต่จริงๆแล้วเราจะพบว่าบริษัทเหล่านี้เองไม่ได้ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใหม่นัก เราลองไปตรวจบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศสหรัฐกันบ้างว่าเป็นบริษัทจำพวกใด ย้อนกลับไปยังปี 2001 เราจะพบว่าบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ General electric, Microsoft, Citi, Exxon และ Walmart ซึ่งแต่ละบริษัทนั้นก็ดูคล้ายๆกับประเทศไทยปัจจุบันมากคือมีค้าปลีก พลังงาน และการเงิน แต่ถ้าเรากลับมาดูปัจจุบันเราจะพบว่าบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดนั้นได้เปลี่ยนอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิง ได้แก่ Apple, Alphabet(Google), Microsoft, Amazon และ Facebook จริงๆแล้วเราอาจจะไม่สามารถเปรียบเทียบมูลค่าบริษัทกับ GDP ได้โดยตรงนัก แต่ประเด็นสำคัญเราไม่ได้ต้องการคำนวนตัวเลขขนาดนั้น การเปรียบเทียบนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่านั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วหากเราดูสหรัฐเป็นตัวอย่าง การที่ประเทศไทยนั้นขาดอุตสาหกรรมใหม่ทำให้ปัจจุบันการเติบโตของประเทศดูเหมือนกำลังกินบุญเก่าที่เคยสร้างไว้เมื่อสิบกว่าปีก่อน ในขณะที่ค่าแรงนั้นมีแนวโน้มที่แพงขึ้นแต่ความสามารถของประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ สักวันหนึ่งจะถึงขีดจำกัดและถูกประเทศอย่างเวียดนามตามทันอย่างแน่นอน ขอย้อนกลับไปถึงประเทศจีนที่มีการเติบโตของประชากรที่ต่ำแต่การเติบโตของประเทศยังอยู่ในระดับที่สูงได้ด้วยเหตุผลก็คืออุตสาหกรรมของจีนใหม่ๆนั้นมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งทำให้ศักยภาพการเติบโตนั้นเพิ่มตามมูลค่าของอุตสาหกรรม ดังนั้นทางออกของปัญหานี้ดูเหมือนจะเป็นการที่ประเทศไทยจะต้องพยายามสร้างอุตสาหกรรมใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของโลก เช่น การพัฒนาจากเป็นผู้ผลิต Harddisk แบบจานหมุน ซึ่งปัจจุบันความต้องการน้อยลงอย่างมาก หันมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่ามากขึ้นอย่าง Harddisk แบบ SSD ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญใน Smart phone แต่นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามอย่างน้อยจะต้องพัฒนามาตรฐานของประเทศให้เหมาะสมกับตลาดของโลกที่เปลี่ยนแปลง สรุป ในแง่ของการลงทุนนั้น หากประเทศมีการเติบโตนั้นแปลว่าบริษัทภายในประเทศมีการเติบโตเช่นกัน ดังนั้นหากเราพูดถึงการลงทุนแบบ Bottom up นั้นก็มีโอกาสที่ง่ายขึ้นที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดี หากบริษัทมีการเติบโตตลาดหุ้นของไทยนั้นก็ควรจะมีดัชนีที่สูงขึ้นด้วย และแน่นอนว่า fund flow ก็ย่อมต้องเข้ามาสู่ตลาดหุ้นของไทย แต่ต่อให้ไม่เกี่ยวกับการลงทุน การเติบโตของประเทศก็ควรจะเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนต้องการ เพราะนั้นจะนำมาซึ่งรายได้ที่ดีขึ้น มีกำลังใช้จ่ายมากขึ้น มาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้หากทุกคนมัวแต่รอเศรษฐกิจดีแล้วหวังว่าจะมีความสุขนั้นน่าจะเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะจริงๆแล้วประเทศไทยจะเติบโตได้ก็จะต้องมาจากการเติบโตของทุกคนในประเทศ ไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง เราทำหน้าที่ของเราให้ดี พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา สองอย่างนี้คือสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเพื่อประเทศไทยที่เติบโต แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน InvestDiary นักลงทุนรุ่นใหม่ เจ้าของ FB เพจ InvestDiary เน้นการลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัท พร้อมกับความเชื่อที่ว่า "VI ไม่ใช่แนวทางการลงทุน แต่เป็นแนวทางการใช้ชีวิต"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำอย่างไรดี กับกองทุนที่คนไทยติดดอยหนักมาก "น้ำมัน & ทองคำ" - FINNOMENA ทำไมช่วงนี้กองทุนทองคำ และน้ำมัน ถึงมีคนติดดอยหนักมาก? และเราควรจะจัดการอย่างไร? Mr.Messenger จะพาเรามาค่อยๆดูกันไปทีละประเด็นกันครับ 26 ส.ค. 2560 บอกเจตนาก่อนนะครับ ว่าไม่ได้จะมาซ้ำเติม หรือ วิจารณ์ว่าเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดแต่อย่างใด แต่สาเหตุเนื่องจาก ทาง FINNOMENA ได้จัด Campaign แก้พอร์ต (FINNOMENA Fix My Port) ให้กับนักลงทุนที่สนใจรับคำแนะนำการจัดพอร์ตอย่างถูกวิธี โดยการให้ส่งพอร์ตจริง เงินจริงของท่านเข้ามาให้เราทำการประเมิน หลังจากที่มีผู้สนใจมากกว่า 200 คนลงทะเบียนและส่งพอร์ตกันเข้ามา ผมเข้าไปดูแล้วพบว่า เกือบๆครึ่งหนึ่งของนักลงทุน ติดดอยกองทุนอยู่ 2 ประเภท นั้นก็คือ กองทุนน้ำมัน และ กองทุนทองคำ นะครับ เลยอยากจะขอแนะนำในภาพรวม เพราะเชื่อว่า มีหลายคน ตั้งคำถามกับพอร์ตตัวเองอยู่เหมือนกันว่า มี 2 กองนี้ อยู่ในพอร์ต ทำอย่างไรดี? เราไปดูกราฟราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ 2 ประเภท กันหน่อยว่า เคลื่อนไหวอย่างไรในอดีตที่ผ่านมา ทองคำ ราคาไปทำจุดสูงสุดเมื่อกลางปี 2011 ด้วยธีม และความคาดหวังที่ว่า การปั๊มเงินด้วยมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนค่าลงเรื่อยๆ และสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงกรณี USD อ่อนค่า ได้ดีที่สุด ก็คือ “ทองคำ” … แต่จนถึงวันนี้ ทุกคนก็รู้แล้วว่า เราคิดผิด น้ำมัน ราคาทำจุดสูงสุดในไตรมาส 3 ปี 2008 และแตกพร้อมๆ กับฟองสบู่อสังหาฯ ในวิกฤตซับไพรม์ที่สหรัฐฯ หลังจากนั้นราคาก็เป็น Sideway Up จนถึงปี 2014 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ความหวังว่า ราคาน้ำมัน จะขึ้นไปที่ระดับสูงกว่า $100 ก็ต้องพังทลายลง จากการมาของ Shale Oil & Shale Gas สำหรับนักลงทุนสายกราฟ แค่ดูด้วยสายตา ก็รู้ว่า สินทรัพย์ทั้งสองประเภทนี้ ไม่ได้อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างแน่นอนนะครับ ดังนั้น ใครที่บอกกับตัวเองไว้ว่า ต้องการจะถือยาวๆ หวังว่า เดี๋ยวมันก็ขึ้นมาให้ขายเอง … คำแนะนำของผมคือ คุณอาจกำลังหลอกตัวเอง และหากจะต้องรอจริงๆ อาจต้องรอนานกว่าที่คิดด้วยครับ ดังนั้น อ่านข้อมูลต่อไปนี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น แนวโน้มของราคาทอง ปัจจัยกดดันราคาทองในระยะสั้น มีอยู่ 2 เหตุการณ์หลักๆ ก็คือ แนวโน้มเงินเฟ้อ ที่หลายฝ่ายคาดว่าจะขยับขึ้นมาเร็วในปีนี้ ปรากฏว่า ยังไม่มา ขณะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป รวมถึงล่าสุด นักลงทุนคาดว่า เฟดอาจจะไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้อีกรในปีนี้ มันบอกกลายๆว่า ธีมการลงทุนของทองคำ เรื่อง “Hedge Against Inflation” หรือ ป้องกันความเสี่ยงกรณีเกิดเงินเฟ้อ น่าจะยังไม่ใช่ในเร็ววันครับ แนวโน้มค่าเงินดอลล่าร์ จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เตรียมตัวขยับขึ้นดอกเบี้ยอย่างช้าๆ ทำให้มุมมองของเรา ก็เชื่อว่า ค่าเงิน USD น่าจะค่อยๆขยับแข็งค่าขึ้น แต่สิ่งที่เราเห็นตั้งแต่ต้นปี 2017 ก็คือ Dollar Index อยู่ในทิศทางอ่อนค่ามาตลอด จากเหตุผลหลักๆคือ ตลาดเริ่มไม่คาดหวังกับนโยบายของนายทรัมป์ และเฟด เองก็ไม่ได้คิดจะรีบขึ้นดอกเบี้ยในเร็ววัน ผลจากการที่ USD อ่อนค่า ควรจะทำให้ราคาทองเป็นบวกในช่วงตั้งแต่ต้นปี ซึ่งก็จริงแค่ 5 เดือนแรกเท่านั้น แต่หลังจากกลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาที่ Dollar Index ร่วงลงต่ำกว่า 97 จุด เรากลับพบ่วา ราคาทองปรับตัวลงต่อเนื่อง จากจุดสูงสุดของปีนี้ที่ $1,294 มาอยู่ที่ $1,222 ในปัจจุบัน ถ้ามองภาพกว้างกว่านั้น จริงๆ เราก็ทราบข่าวว่า Hedge Fund เจ้าใหญ่ๆ อย่าง George Soros และ John Paulson ก็ลด Position ในการลงทุนทองคำลงตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีที่แล้ว ขณะที่ รายงานการซื้อสะสมทองคำของธนาคารกลางทั่วโลกจาก World Gold Council ก็พบว่า โดยภาพรวมซื้อสะสมในปริมาณที่ลดลง ถ้าใครสังเกตมากกว่านั้นก็จะพบว่า ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเมืองในเนเธอแลนด์ การเลือกตั้งฝรั่งเศส และอังกฤษ ซึ่งดูมีความเสี่ยงสูง รวมถึง กรณีชาติตะวันตกคว่ำบาตรกาตาร์ และการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ เหล่านี้คือ ความเสี่ยงที่เคยทำให้การถือทองคำ เป็นเหตุที่ดี แต่ ปีนี้ เราก็เห็นกันแล้วว่า ราคาทองเองก็ไม่ได้ขยับไปไหน แนวโน้มของราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้ว ถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากขึ้นกว่าปัจจุบันไปอีก ดังนั้น มุมมองของผม จึงมองว่า ราคาน้ำมัน ถูกกดดันทั้งปัจจัยลบระยะสั้น (สหรัฐฯผลิตแข่ง และต้นทุนสู้ได้) และระยะยาว (การเข้ามาของพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด) กลับไปดูที่ ราคากองทุนทองคำ เทียบกับทองคำ และ กองทุนน้ำมัน เทีนบกับราคาน้ำมันดิบ นะครับ กองทุนทองคำ VS ราคาทอง ขอยกตัวอย่าง กองทุน TMBGOLD ซึ่งไปลงทุนใน SPDR Gold Trust ในสกุลดอลล่าร์แบบไม่ป้องกันความเสี่ยง และ TMBGOLDS ซึ่งไปลงทุนในสิงคโปร์ และ Fully Hedge ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน 100% ย้อนหลังดูการเคลื่อนไหว 2 ปี เปรียบเทียบกับทองคำ (Spot Gold : RTXGL) จะเห็นว่า ช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า เมื่อเทียบกับ ดอลล่าร์สหรัฐฯ และช่วงที่ราคาทองอยู่ในขาขึ้น อย่างช่วง ธ.ค. 2015 – มิ.ย. 2016 กองทุน TMBGOLD ซึ่งไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ได้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง (ราคาทองบวก และเงินบาทอ่อนค่า) ทำให้ Performance ชนะ Spot Gold แต่พอเข้าปี 2017 ที่เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง TMBGOLD ก็แพ้ Spot Gold ทันที สรุปจากกรณีตัวอย่างข้างบน คือ ถ้าคุณติดดอยกองทุนทองคำ และเป็นกองทุนที่ไม่ทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน แปลว่า เงินคุณจะเสี่ยงขึ้นไปอีกนะครับ ถ้าไม่มีความรู้หรืออาจทิศทางค่าเงินไม่ออกจริงๆ ก็ย้ายมาลงทุนในกองทุนทองคำที่ทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินแบบ 100% จะดีกว่า แต่เหนือไปกว่าการเลือกว่าจะลงทุนแบบป้องกันหรือไม่ป้องกันค่าเงิน นั้นก็คือ แนวโน้มทิศทางราคาทองในระยะยาว ก็อาจมี Upside จำกัด ใครถืออยู่หนักๆ แบบ 40-50% ของพอร์ต หรือ เอาที่ผมเห็นจริงๆ คือ บางคนถือแต่กองทุนทองคำ ไม่ลงทุนอย่างอื่นเลย … แนะนำว่า คุณจำเป็นต้องลดสัดส่วนครับ นักลงทุนอย่างเราๆ ควรมีทองคำในการลงทุนของพอร์ตไม่เกิน 10% เท่านั้นก็พอครับ กองทุนน้ำมัน VS ราคาน้ำมัน ขอยกตัวอย่าง K-Oil กับ KF-OIL (จริงๆมีกองทุนน้ำมันอีกเยอะทีเดียวครับในตลาด มีกันครบทุก บลจ.) โดยกองทุนน้ำมันแทบทุกกองนะครับ จะไปลงทุนใน Master Fund ที่ไปลงทุนใน Oil Futures หรือ สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า แสดงว่า กองทุนน้ำมัน ไม่ได้เอาเงินเราไปซื้อน้ำมันจริงนะครับ แต่ไปกองทุนที่ต่างประเทศ ซึ่งมีนโยบายว่า พยายาม Track ตามดัชนีที่อ้างอิงในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าราคาน้ำมันอีกที ลองดูผลการดำเนินงานย้อนหลัง 2 ปี เปรียบเทียบกับราคาน้ำมันดิบ Crud Oil นะครับ มาถึงประเด็นสำคัญ ทำไมราคากองทุนน้ำมัน มันถึงแพ้ราคาน้ำมันดิบได้มากขนาดนี้? สาเหตุก็คือ Master Fund ของเหล่ากองทุนน้ำมันในไทย ก็คือ Powershare DB Oil Fund (DBO) ไม่ได้ลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์ที่เป็นเดือนถัดไป ที่ประกาศในหน้าเว็ป หรือที่เราติดตามดูกันตลอดเวลานะครับ แต่เจ้า DBO จะเลือกช่วงอายุสัญญาที่เหมาะสมในการลงทุน อาจจะเลือกเปิด position ใน contact ตัวไกล 12 เดือน หรือ 6 เดือน ก็ได้ และเจ้าราคาสัญญาตัวไกลๆนี้ ปกติ เราก็ไม่ได้ตามดูราคาของมัน เพราะไม่ได้มีประกาศตามสื่อต่างๆ พอเป็นอย่างนี้แล้ว ตามทฤษฎีคือ ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของเดือนที่ส่งมอบไกลออกไป จะมีราคามากกว่า ราคา ณ ปัจจุบัน (Spot Rate) หรือสัญญาที่มีอายุส่งมอบใกล้กว่าเสมอ แต่ถ้าดูการเคลื่อนไหวของสัญญาล่วงหน้าที่อยู่ในเดือนที่ใกล้กว่า จะเห็นความเคลื่อนไหวผันผวนมากกว่าสัญญาที่อยู่ไกลออกไป ทั้งนี้เป็นเพราะราคาของเดือนปัจจุบันจะสะท้อนกับข้อมูลและข่าวสารที่มีผลกับราคาน้ำมันระยะสั้น เช่นตัวเลขเศรษฐกิจ สต็อกน้ำมันคงเหลือที่ประกาศทุกๆสัปดาห์ ความเสี่ยงการเมือง เป็นต้น การเคลื่อนไหวของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในแต่ละช่วง (ระหว่างสัญญาตัวใกล้ กับ สัญญาตัวไกล) จะมีการเคลื่อนไหวที่ไม่เท่ากันซะทีเดียว และเป็นไปได้ครับที่ในบางครั้ง อาจจะมีทิศทางที่แตกต่างกันไป จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบ และการเคลื่อนไหวของกองทุน DBO จึงไม่เท่ากัน สรุปคือ กองทุน Master Fund ที่ชื่อ DBO กองนี้ ไม่ได้สะท้อนราคาน้ำมันดิบที่ประกาศอยู่ข้างหน้าเว็ป หรือหน้าข่าวที่เราตามอ่านๆกันอยู่ทุกวันนั้นเอง และในระยะยาว มีแนวโน้ม Underperform จากทั้งเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการซื้อสัญญาล่วงหน้า ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (กรณีเทรดบ่อย) ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องระวังให้ดีครับ และ คำแนะนำของผมคือ ถ้าสนใจลงทุนในอะไรที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันจริงๆ ไปเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน หรือกองทุนที่มีหุ้นกลุ่มพลังงานอยู่ในพอร์ต น่าจะเป็นการลงทุนที่ดีกว่า ทั้งในแง่ของความเข้าใจต่อการลงทุน ที่ง่ายกว่า และในระยะยาว หุ้นยังวิ่งตามผลประกอบการของธุรกิจอีกด้วยครับ คำถามสำคัญอีกหนึ่งคำถามคือ ถ้าต้องตัดใจขาย ต้องขายตอนไหน? คำตอบที่พอจะให้ได้ก็คือ แล้วแต่คุณเลยครับ … ผมคงไม่อาจบอกได้ว่า ระยะสั้น ราคาน้ำมัน ราคาทอง จะเป็นอย่างไร ขายตรงไหนเหมาะที่สุด รู้แต่ว่า ต้นทุนของการถือสินทรัพย์ที่ไม่ดีต่อไปในระยะยาว มันทำลายทั้งพอร์ตใหญ่ และทำลายทั้งจิตใจของเราเอง ถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องมานั่งกางพอร์ต และจัดพอร์ตการลงทุนให้ถูกวิธี โดยคำนึงถึงความเสี่ยงการลงทุนเป็นสำคัญ … ไม่ใช่หวังแค่ผลตอบแทน พิเศษ!! เข้าร่วมกิจกรรม FINNOMENA FIX MY PORT กับเราง่ายๆ เพียง ถ่ายรูปพอร์ทของท่าน แล้วส่งมาที่ https://www.finnomena.com/fixmyport ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย แท็ก: FIX MY PORT K-Oil KF-OIL TMBGOLD TMBGOLDS แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นจีน A-Shares ลงทุนในดัชนี CSI 300 ต้อง SCBCHA - FINNOMENA การที่หุ้นจีน A-Shares สามารถเข้าไปคำนวนอยู่ในตะกร้าดัชนีที่เรียกว่า MSCI ได้ทำให้การลงทุนในจีนนั้นน่าสนใจไม่น้อย เราจะมาดูกันว่าการได้เข้า MSCI นั้นน่าสนใจอย่างไร และสำหรับใครสนใจลงทุนในจีนผ่านดัชนี CSI 300 ลองอ่านบทความนี้ดูได้ครับ 26 ส.ค. 2560 เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 4 ปีทีเดียว สำหรับทางการจีน ที่พยายามผลักดันให้ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่สามารถเข้าไปคำนวนอยู่ในตะกร้าดัชนีที่เรียกว่า MSCI ให้ได้ ถ้าถามว่า ทำไมจีนต้องการให้หุ้นในจีนเข้าไปคำนวนใน MSCI ให้ได้ ก็ต้องย้อนกลับไปดูความสำคัญของดัชนี MSCI นะครับ MSCI Index คือ ดัชนีวัดผลตอบแทนตลาดหุ้น แบ่งเป็นรายภูมิภาค หรือ รายประเทศ โดย MSCI ย่อมาจาก Morgan Stanley Capital International ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่า Morgan Stanley เป็นผู้คำนวน โดยเริ่มคำนวนตั้งแต่ปี 1968 จนถึงปัจจุบัน มีดัชนีที่นำหน้าด้วย MSCI (คำนวนโดย MSCI) มากกว่า 160,000 ดัชนีไปแล้วจนถึงตอนนี้ MSCI Indexes นี่พอมีการคำนวนมากขึ้น นิยมมากขึ้น ก็มีเหล่าผู้จัดการกองทุนเอาตัวดัชนีนี้มาทำเป็น Exchange Traded Funds หรือที่เรารู้จักกันว่า “ETF” ใช่ครับ สิ่งที่ทางการจีนหวังก็คือ พอ A-Shares เข้าคำนวนใน MSCI แล้ว น่าจะดึงดูดเงินจากทั่วทุกมุมของโลกไหลเข้ามาลงทุนได้อีกมหาศาลหลังจากนี้ และข่าวดีก็คือ จีนทำสำเร็จแล้ว หลังจากผลักดันมานาน ซึ่งเป็นผลมาจากที่ทางจีนผ่อนคลายเกณฑ์ให้ต่างชาติเข้าถึงมากขึ้น มีความโปร่งใสมากขึ้น และสภาพคล่อง การซื้อขายใน A-Shares ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทาง MSCI จึงเห็นว่า ได้เวลาแล้วสำหรับ A-Shares ที่จะมาอยู่ในการคำนวน MSCI รอบนี้ แต่ประเด็นคือ หุ้นในตลาด A-Shares จะเข้าไปคำนวนเพียง 222 ตัวเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด และไม่ให้มีผลกระทบต่อการคำนวน MSCI มากเกินไป ทาง MSCI แจ้งจะ จะทยอยเพิ่มน้ำหนัก โดยในรอบแรกจะ A-Shares เข้าไปคำนวนเพียงเพียงแค่ 5% ของ Market Cap ทั้งหมดใน หุ้น 222 ตัวที่ได้รับเข้าคำนวน ก็แปลว่า จะเพิ่มนำหนักใน MSCI เพียงแค่ 0.85% เท่านั้นในปีหน้า และค่อยๆ ทยอยปรับขึ้นหลังจากนั้น ดังนั้นสิ่งนี้จึงถือว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญทีเดียว สำหรับนักลงทุนในหุ้นจีน ถ้าสนใจธีมการลงทุนเรื่องการเข้าคำนวน MSCI แนะนำให้ดูกองทุนที่พยายาม Track ดัชนี CSI 300 Index ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบด้วยหุ้น A-Shares 300 หุ้น ซึ่งจดทะเบียนอยู่ที่ ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น และ/หรือ ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ โดยคัดเลือกจากหุ้นทั้งหมดกว่า 1,800 หลักทรัพย์ โดยหุ้น 300 หลักทรัพย์นี้ เป็นตัวแทนประมาณ 60% ของ Market Cap รวมทั้ง 2 ตลาดหลักทรัพย์ แน่นอนว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งของหุ้นใน CSI 300 นั้นเข้าไปคำนวนใน MSCI ด้วย จึงได้ประโยชน์จากการเข้าคำนวน MSCI จริงๆ การเข้าคำนวน MSCI เป็นแค่ก้าวเล็กๆในอีกหลายๆก้าวที่จีนทำมาตลอดนะครับ ไม่ว่าจะเป็น การที่ IMF พิจารณาให้ ‘เงินหยวน’ เข้าไปอยู่ในตะกร้าเงินที่เรียกว่า “Special Draw Rights (SDRs)” เมื่อปลายปี 2015 รวมถึง การประกาศแผนปฏิรูปการเงินรวมตลาดหุ้น “เซินเจิ้น-ฮ่องกง” เร่งสู่สากล เชื่อมตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้น-ฮ่องกง ให้นักลงทุนทั้งสองประเทศ สามารถเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สิ่งนี้ก็เพื่อปูทางให้หุ้นจีนเข้าคำนวนใน MSCI ได้มากขึ้นอีก ในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียน มองว่า นโยบายภาพใหญ่ๆของจีน รวมถึงนโยบายด้านทุนนิยมเสรีนี้ แนวคิดของชาวตะวันตก อาจมองว่า ขัดจากความเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน และยิ่งเปิดตลาดเสรี อาจทำให้อำนาจของพรรคลดลง และมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น … แต่การเปิดเสรีแบบนี้ นักคิดทางฝั่งตะวันออกหลายคน ก็บอกว่า นี่ละ คือ เครื่องมือในการรักษาอำนาจไว้ได้ต่อไป โดยกำหนดกรอบนโยบาย และกฏหมายไว้หลวมๆ และเอื้อให้เกิดนวัตกรรม และการแข่งขัน ผลลัพธ์คือ จะสร้างความมั่งคั่งแก่ชาวจีนโดยรวม และทำให้ประชาชนมีความสุขภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์นั้นเองนะครับ สำหรับใครสนใจลงทุนในจีนผ่านดัชนี CSI 300 ก็ลองดู SCBCHA ครับ กองทุน SCBCHA หรือ SCB CHINA A-SHARES FUND ไปลงทุนใน Master Fund ที่เป็น ETF ชื่อว่า ChinaAMC CSI 300 Index ETF ซึ่งมีการจดทะเบียนอยู่ที่ตลาดฮ่องกง และลงทุนเป็นรูปสกุลเงินหยวน มีเป้าหมายคือ ต้องการ Tracking ดัชนี CSI 300 ของตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเอง โดยหุ้น 10 ตัวแรกในดัชนี CSI 300 ก็มีชื่อที่เราคุ้นเคยหลายตัวทีเดียว ตามรูปด้านล่าง กลุ่มอุตสาหกรรมที่ CSI 300 ให้นำหนักเยอะที่สุดก็คือ Financials นะครับ แต่ก็ถือว่าเป็นดัชนีหุ้นจีนที่มีน้ำหนักใน Financials น้อยที่สุดแล้ว (อย่างกรณี H-SHares มี Financials ในพอร์ตเกือบๆ 80% ทีเดียว) ข้อมูลฝั่งอื่นๆของ CSI 300 ก็มีตามนี้ครับ จะเห็นว่า ค่า P/E ของ CSI 300 อยู่ที่ 13.77x ซึ่งลงมาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่าหุ้นไทยเสียอีก) ซึ่งถ้าดูในภาพใหญ่ๆ ย้ำกันอีกทีว่า การลงทุนในจีน โดยเฉพาะ ผ่านดัชนี CSI 300 จะได้ประโยชน์จากนโยบายเปิดเสรี (Liberalization) ในระยะยาว 3 ปัจจัยคือ Interest Rate Liberalization คือ การเปิดเสรีด้านนโยบายดอกเบี้ย ทำให้รัฐบาล และเอกชน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และใช้กลไกตลาดในการควบคุมได้ดีขึ้น Capital Account Liberalization คือ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในจีนได้ง่ายขึ้น อย่างที่อธิบายไปข้างต้น Services Sector Reform คือ การเปิดให้เอกชน เข้ามาลงทุนในธุรกิจยุทธศาสตร์ และธุรกิจด้านพลังงาน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ไปดูดัชนี CSI 300 เทียบกับกองทุน SCBCHA ก็จะเห็นการเคลื่อนไหวตามรูปด้านล่าง SCBCHA เคลื่อนไหวตาม CSI 300 อยู่พอสมควร แต่พอเข้าปี 2007 ปั๊บ จะเห็นว่า แพ้ CSI 300 อยู่หลาย % ทีเดียว สาเหตก็มาจากการที่กองทุนนี้ไม่มีการทำความป้องกันความเสี่ยงระหว่างฮ่องกงดอลล่าร์ และไทยบาท โดยอย่างที่เรารู้กันคือ ฮ่องกงดอลล่าร์ (HKD) ผูกค่าเงินตัวเองกับดอล่าร์สหรัฐฯ (USD) ปีนี้เป็นปีที่บาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลล่าร์มาต่อเนื่อง ดังนั้น กองทุน SCBCHA จึงแพ้ดัชนี CSI 300 ด้วยประเด็นนี้ครับ ใครสนใจดูการเคลื่อนไหวของกอง ChinaAMC CSI 300 Index ETF ก็สามารถเข้าไปดู Bloomberg Code “3188:HK” นะครับ นี่ก็เป็นข้อมูลการวิเคราะห์อีกด้าน สำหรับท่านที่สนใจลงทุนใน A-Shares ผ่านกองทุนรวมครับ แหล่งข้อมูล :- https://www.scbam.com/th/fund/default/fund-information/scbcha/ http://www.csindex.com.cn/sseportal_en/csiportal/zs/jbxx/report.do?code=000300&subdir=1 คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น พิเศษ!! สำหรับท่านที่สนใจลงทุนใน A-Shares ผ่านกองทุนรวม สามารถกรอกรายละเอียดสั้นๆ เพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริงได้ที่ แท็ก: CSI 300 FINNOMENA PORT GAR SCBCHA แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ภาพรวมประเทศไทย ตอน จุดแข็ง - FINNOMENA ประเทศไทยของเรานั้นมีศักยภาพการเติบโตที่ซ่อนไว้อยู่มากมาย หลายปัจจัย ซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้หลายประเภท จุดแข็งของประเทศเรา นั้นมีอะไรบ้าง? และเราจะประยุกต์กับการลงทุนของเราได้อย่างไร? มาติดตามกัน กับซีรีย์บทความ "ภาพรวมประเทศไทย" 26 ส.ค. 2560 หลังจากผมลงทุนมาสักระยะหนึ่ง และแน่นอนว่าผมเองก็ต้องการผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว หากเราลงทุนเป็นรายบริษัทหรือที่เรียกกันว่า bottom up นั้นก็อาจจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีโดยที่ไม่จำเป็นต้องมองภาพใหญ่ เพราะบริษัทที่กำไรดีขึ้นนั้นเกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร แต่ถ้ากลับมามองภาพใหญ่ แน่นอนว่าศักยภาพของประเทศไทยก็มีส่วนสำคัญ ถ้าหากการเติบโตของประเทศจำกัด แสดงว่าโดยรวมแล้วภายในประเทศไม่ได้เติบโต ทำให้ประชากรไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นและแน่นอนว่าการใช้จ่ายก็จะน้อยลง และยังรวมถึงเรื่องความน่าสนใจในการลงทุนจากต่างประเทศ หากประเทศไทยไม่มีการเติบโต ความน่าสนใจลงทุนก็จะน้อยลง เม็ดเงินที่จะไหลเข้าสู่ภาคธุรกิจและตลาดเงินก็จะน้อยลง แต่จริงๆแล้วประเทศไทยก็เองยังมีศักยภาพการเติบโตที่ซ่อนไว้อยู่ซึ่งมีหลายๆปัจจัยด้วยกันซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้หลายประเภท ทำเล อย่างแรกที่อยากจะพูดถึงคือทำเลของประเทศไทย หากเราย้อนกลับมาดูว่า Competitive advantage ของประเทศไทยคืออะไรเหมือนที่เราวิเคราะห์ของแต่ละบริษัท เราก็จะพบว่าสิ่งที่ประเทศอื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้เลยคือ “ทำเล” นั้นเอง ทำเลแต่ละประเทศจะยังคงอยู่กับประเทศนั้นตลอดไปไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทำเลของประเทศไทยดีอย่างไร? แน่นอนว่าทำเลของประเทศไทยมีจุดแข็งอยู่หลายประการที่จะสามารถนำผลพลอยได้หลายๆอย่างกลับมาสู่ประเทศ ทั้งเรื่องของทรัพยากร ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และอีกหลายๆอย่างซึ่งเราจะมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง แหล่งพลังงาน – วัตถุดิบเชื้อเพลิงที่สำคัญที่สุดของโลกนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านั้นก็คือน้ำมัน ซึ่งประเทศไทยจริงๆแล้วก็มีแหล่งน้ำมันอยู่ไม่น้อย รวมถึงก๊าซธรรมชาติต่างๆที่สามารถนำมาใช้เป็นเชื่อเพลิงได้อีกด้วย ส่วนนี้เราอาจจะไม่เด่นมากเมื่อเทียบกับเจ้าของบ่อน้ำมันเจ้าใหญ่ๆของโลก แต่อย่างน้อยเราก็ดีกว่าหลายประเทศมากที่ไม่มีแหล่งน้ำมันเลย ซึ่งจุดนี้เองทำเลเป็นตัวกำหนด ไม่มีประเทศใดสามารถสร้างบ่อน้ำมันขึ้นมาเองได้หากไม่มีน้ำมันอยู่ใต้พิภพ และเราอาจจะยังรวมถึงความเข้มของแสงที่มีมากพอที่การทำ Solar farm นั้นมีความคุ้มค่าได้ เกษตรกรรม – ประเทศไทยนั้นขึ้นชื่อเรื่องผลผลิตทางการเกษตรกรรมที่ถือว่าเป็นอาหารของโลกเลยก็ว่าได้ เช่น ข้าว ข้าวโพด น้ำมะพร้าว ทุเรียน และอื่นๆ จะสังเกตุได้ว่าพืชเหล่านี้สามารถปลูกได้ที่ประเทศไทยทั้งหมด และไทยยังมีสัดส่วนการส่งออกพืชเหล่านี้จำนวนมาก การที่จะปลูกพืชเหล่านี้นั้นจำเป็นต้องอาศัยภูมิอากาศสภาพดินและอื่นๆที่ถูกต้อง ประเทศอื่นไม่สามารถเลียนแบบส่วนนี้ได้เพราะฉะนั้นจึงเป็นอีกจุดแข็งของประเทศไทย แหล่งท่องเที่ยว – ที่จริงแล้วแต่ละประเทศนั้นก็ย่อมมีแหล่งท่องเที่ยวที่ต่างกัน แต่ประเทศไทยนั้นดูเหมือนจะมีศักยภาพมาก ประเทศไทยมีทั้งทะเล ภูเขา น้ำตก ซึ่งความหลากหลายนี้ทำให้ต่างชาติชื่นชอบกันมาก เรียกได้ว่ามาประเทศเดียวเที่ยวได้เกือบทุกแบบ ผมต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีแหล่งที่เที่ยวระดับโลกหลายๆที่ โดยเฉพาะทะเล หลายๆประเทศไม่มีทะเลที่มีศักยภาพระดับนี้ หากยกตัวอย่างประเทศใกล้ๆก็น่าจะเป็นสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งทำให้ทั้งสองประเทศถึงแม้ว่าจะมีเศรษฐกิจที่ดีมีรายได้ต่อหัวที่มาก แต่การเติบโตก็จำกัดเพราะขาดศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว อาจจะมีหลายๆประเทศที่ไม่ยอมรับสภาพนี้โดยการสร้างแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมาเองเช่นดูไบ แต่ทั้งหมดที่กล่าวขึ้นมานั้นถือว่ามันทรัพยากรที่จำกัด ดังนั้นอาจจะสามารถเติบโตได้จำกัด แต่หากดูจริงๆแล้วต่อให้มีแหล่งท่องเที่ยวที่ดีแต่ขาดความเป็นไทย ผมก็ไม่แน่ใจว่าการท่องเที่ยวของไทยนั้นจะเติบโตได้ขนาดนี้หรือไม่ ศูนย์กลางการค้า ASEAN – อย่างสุดท้ายที่สำคัญก็คือประเทศไทยนั้นถือว่าอยู่ในทำเลที่อยู่ตรงกลางในละแวก CLMV (Cambodia Loas Myanmar Vietnam) ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบในเรื่องของการค้าระหว่างประเทศอย่างมาก หากเราต้องการลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าเข้าสู่ CLMV แน่นอนว่าการกระจายสินค้าจะประเทศไทยนั้นควรจะถูกกว่ากระจายสินค้าจากเวียดนาม ส่วนลาวนั้นก็ไม่มีท่าเรือน้ำลึกนั้นก็เป็นอีกข้อจำกัดหนึ่ง หรือแม้การทั้งการขนส่งสินค้าไปสู่ทางตอนใต้ของจีนหรืออินเดียที่จะเป็นตลาดใหญ่ในอนาคต ประเทศไทยก็ดูเหมือนเป็นทำเลที่สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ 2 ประเทศใหญ่นี้ได้ดีทีเดียว ซึ่งการที่มีทำเลเช่นนี้ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ นับว่าเป็นอีกจุดแข็งของประเทศไทยทีเดียว วัฒนธรรม จุดที่สำคัญและผมยกให้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือเรื่องของวัฒนธรรม จริงๆแล้วเรื่องของวัฒนธรรมนั้นสามารถจำแนกออกมาได้เป็นหลายๆข้อย่อย แต่โดยรวมแล้วนั้นก็คือเรื่องของวัฒนธรรม วัฒนธรรมนั้นมีความสำคัญมากในการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของประเทศ ซึ่งสามารถออกมาอยู่ในรูปของสถาปัตยกรรม อาหาร รูปแบบการใช้ชีวิต การสื่อสาร และอื่นๆอีกมากมาย อาหาร – มีความสำคัญอย่างมาก รูปแบบอาหารของไทยนั้นผมไม่ค่อยเจอชาวต่างชาติคนไหนเลยที่ออกปากว่าไม่ชอบ (ยกเว้นความเผ็ด) การที่อาหารไทยไม่มันจนเกินไป มีส่วนผสมของผักและสมุนไพร ทำให้นี่คือส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้อาหารไทยนั้นโด่งดังไปทั่วโลก ทั้ง Papaya salad, Pat thai, Tom yum ชื่อเหล่านี้เป็นชื่อที่ชาวต่างชาตินั้นรู้จักกันอย่างแพร่หลาย เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่าอาหารไทยนั้นอยู่ระดับโลก สถาปัตยกรรม – เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ผ่านออกมาทางอาคารบ้านเรือน ภาคเหนือก็จะมีการออกแบบที่มีความเป็นภาคเหนือ หากมาอยู่ภาคกลางก็จะอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้หาไม่ได้ในชาติตะวันตก หากต้องการสัมผัสสิ่งเหล่านี้จะต้องมาที่ประเทศไทยเท่านั้น ความเป็นไทยของคนไทย – เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของที่กล่าวมา บางคนเห็นว่าจริงๆแล้วสิ่งที่ดึงดูดต่างชาตินั้นแน่นอนว่าอาหารหรือสถาปัตยกรรมก็มีส่วน แต่ถ้าหากคนไทยนั้นไม่ได้มีความเป็นไทยแบบปัจจุบัน ก็อาจจะมีโอกาสที่ชาวต่างชาติไม่เดินทางมา คำกล่าวที่ว่าคนไทยยิ้มง่ายนั้นเป็นตัวอย่างของความเป็นไทย ตัวผมเองก็ไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมคนไทยยิ้มง่าย แต่อย่างไรก็ตามหากเป็นเรื่องที่ดีก็น่ายินดีตาม อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องคุณภาพของการบริการซึ่งคนไทยนั้นมีหัวใจบริการค่อนข้างดี ยกตัวอย่างเช่นโรงแรมไทยที่มีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับโรงแรมระดับโลกแต่สำหรับบริการเมื่อเทียบกับราคานั้นถือว่าระดับโลกเลยทีเดียว ค่าครองชีพ คุณภาพชีวิตของคนไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพนั้นเรียกได้ว่าค่อนข้างสุขสบายพอสมควร มันทั้งอาหารที่อร่อย มีระบบขนส่งที่กำลังขยับขยายไปกว้างขึ้น มีโรงพยาบาลที่คุณภาพดีเยี่ยม แต่ทั้งหมดนั้นน่าดึงดูดยิ่งขึ้นเมื่อพบว่าคุณสามารถอาศัยอยู่ได้โดยมีค่าครองชีพถูกกว่า แม้ว่าเรื่องค่าครองชีพนั้นอาจจะไม่ใช่จุดแข็งมากนักเพราะปัจจุบันประเทศไทยก็นับว่ามีค่าครองชีพที่เริ่มแพงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเมืองหลวงระดับโลกก็จะพบว่าประเทศไทยนั้นยังมีค่าครองชีพที่ถูกกว่ามากนัก ที่อยู่อาศัย – ที่อยู่อาศัยนั้นมีหลากหลายหมวดหมู่ด้วยกันเช่น โรงแรม คอนโด บ้านเช่า และอื่นๆอีกมาก และเมื่อเทียบราคาของที่อยู่อาศัยเฉพาะในเขตกรุงเทพก็จะพบว่ายังมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับที่อยู่อาศัยในเมืองของประเทศอื่นๆเช่นโตเกียว ไม่นานมานี้ผมมีโอกาสเดินทางไปยังใต้หวันซึ่งผมก็ถามชาวใต้หวันเกี่ยวกับราคาที่อยู่อาศัยในเขตเมือง คำตอบที่ได้ก็คือพนักงานเงินเดือนนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะครอบครองที่อยู่อาศัยนั้น และหากเราพูดถึงโรงแรมในประเทศไทย เนื่องจากคนไทยนั้นมีใจรักบริการอย่างมากซึ่งนั้นก็เป็นส่วนช่วยให้โรงแรมในไทยนั้นประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่หากรวมถึงเรื่องของราคาที่ไม่แพงแล้วด้วยละก็ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าน่าดึงดูดสำหรับชาวต่างชาติอย่างมาก โรงพยาบาล – ประเทศไทยมักมีค่านิยมที่พ่อแม่นั้นต้องการให้ลูกเรียนหมอหรือวิศวะเนื่องจากจบมาแล้วมีรายได้ที่ดี ดังนั้นส่วนนี้เองจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีความสามารถทางการแพทย์ค่อนข้างสูง ปัจจุบันประเทศไทยมีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลค่อนข้างมากเช่นโรงพยาบาลบำรุงราษฎ์ที่มีสัดส่วนรายได้เกินกว่าครึ่งมาจากผู้ป่วยต่างชาติ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การแพทย์ไทยนั้นมีศักยภาพที่ดีก็คงไม่พ้นในเรื่องของค่าใช้จ่าย ซึ่งเมื่อเทียบแล้วยังถือว่าถูกกว่าโรงพยาบาลต่างชาติอยู่ค่อนข้างมาก อีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมโรงพยาบาลไทยนั้นก็คือการท่องเที่ยว นอกจากผู้ป่วยจะมารักษาตัวที่ประเทศไทยแล้วยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการท่องเที่ยวได้อีกด้วย จุดแข็งของประเทศไทยนั้นค่อนข้างแข็งแกร่งพอสมควร ดูคร่าวๆแล้วก็อาจจะพบว่าประเทศไทยแทบไม่มีจุดอ่อนเลย แต่เดี๋ยวก่อน! ก่อนที่จะเพ้อฝันไปว่าประเทศไทยนั้นสุดยอด จริงๆ ประเทศไทยเราก็มีจุดอ่อนที่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เลยก็ว่าได้ พบกับจุดอ่อนประเทศไทยในตอนหน้านะครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน InvestDiary นักลงทุนรุ่นใหม่ เจ้าของ FB เพจ InvestDiary เน้นการลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัท พร้อมกับความเชื่อที่ว่า "VI ไม่ใช่แนวทางการลงทุน แต่เป็นแนวทางการใช้ชีวิต"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
อินเดีย ตลาดหุ้นที่ตั้งแต่ต้นปี วิ่งแรงที่สุดในเอเชีย - FINNOMENA ดัชนี BSE SENSEX ของอินเดีย วิ่งตั้งแต่ต้นปีไปแล้ว 16.69% (ข้อมูลถึงวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา) อะไรเป็นปัจจัยให้ตลาดหุ้นอินเดียวิ่งได้ร้อนแรงเช่นนี้ วันนี้ผมขออนุญาตพาไปดูแง่มุมที่น่าสนใจของตลาดหุ้นอินเดียกันครับ 26 ส.ค. 2560 ดัชนี BSE SENSEX ของอินเดีย วิ่งตั้งแต่ต้นปีไปแล้ว 16.69% (ข้อมูลถึงวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา) อะไรเป็นปัจจัยให้ตลาดหุ้นอินเดียวิ่งได้ร้อนแรงเช่นนี้ วันนี้ผมขออนุญาตพาไปดูแง่มุมที่น่าสนใจของตลาดหุ้นอินเดียกันครับ หนึ่งในปัจจัยสำคัญ และเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจของประเทศอินเดียก็คือ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศอินเดีย พยายามที่จะปรับปรุงโครงสร้างภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services Tax (GST) ซึ่งกำลังจะมาถึงขั้นตอนสุดท้าย และบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ในวันที่ 1 ก.ค. นี้ โดยก่อนหน้านี้ รัฐแต่ละรัฐในอินเดียมีการเก็บภาษีที่แตกต่างและยิบย่อยเกินไป การคลอดกฎหมาย GST Bill นี้ จะส่งผลให้อินเดียมีระบบจัดเก็บภาษีที่เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ ลดต้นทุนของประเทศได้อย่างมหาศาลทีเดียว จากกฎหมายใหม่ ยกตัวอย่างนะครับ สมมติ บริษัท ABC ตั้งบริษัทที่รัฐพิหาร แต่ขายสินค้าให้กับบริษัท XYZ ซึ่งอยู่ในรัฐหริยาณา ภาษีที่ต้องเสีย จะมี State Goods and Services Tax (SGST) ซึ่งเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น ก็คือรัฐหริยาณา และ าษี Central Goods and Services Tax (CGST) ซึ่งจัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง คราวนี้ ถ้าบริษัท XYZ ขายสินค้าให้บริษัท 123 ที่รัฐมหาราษฎระ บริษัท XYZ จะได้รับเครดิตภาษีคืน เพราะรัฐบาลท้องถิ่นได้เคยรับภาษีในระบบในสินค้าตัวดังกล่าวไปแล้ว จะเห็นว่า ลดต้นทุนทางภาษี และทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการข้ามรัฐมากขึ้นในอนาคตได้แน่นอน ซึ่งในช่วงเดือน ม.ค. – เม.ย. ที่ผ่านมา เท่าที่ผมตามข่าวดู ก็เข้าใจว่า มีการทดลองใช้ระบบจัดเก็บภาษี GST มาระดับหนึ่ง และดูเหมือนจะไม่สะดุดหรือมีปัญหาอะไร นี่จึงทำให้นักลงทุนเชื่อมั่น และตั้งความหวังกับ กฎหมาย GST พอสมควรว่า เป็นการลดต้นทุนการทำธุรกิจโดยรวมของบริษัทในอินเดีย และน่าจะกระตุ้นการลงทุน และการบริโภคในระยะยาวตามไปด้วย ถ้าใครตามข่าว หรือมีการลงทุนในตลาดหุ้นอินเดีย จะพบว่า นายกรัฐมนตรีโมดี ของอินเดีย มีส่วนผลักดันนโยบายหลายอย่าง โดยมองที่ภาพใหญ่ของเศรษฐกิจเป็นหลัก กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจก่อนหน้านี้ก็คือ การประกาศนโยบายยกเลิกธนบัตร (Demonetization) ใบละ 500 รูปี และ 1,000 รูปี โดยนายโมดี ย้ำว่า นโยบายนี้ เจตนาก็เพื่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของอินเดียให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เพราะพวกเงินผิดกฏหมาย (Black money) ที่อยู่นอกระบบ ส่วนใหญ่มันคือเงินสด หรือธนบัตรใบละ 500 และ 1,000 รูปีพวกนี้ละ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเลี่ยงภาษี, ทุจริตคอรัปชั่น และต้องการปราบปรามพวกที่ให้เงินสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้าย และนายโมดี ย้ำกล่าวด้วยว่า นี่คือการวางรากฐานประเทศอินเดียเข้าสู่เศรษฐกิจแบบดิจิทัล (Digital Economy) ในอนาคต พอผมมาดูข้อมูลจากสำนักข่าว Bloomberg ก็พบรายงานว่า การใช้ E-Payment ในอินเดียภายหลังจากนโยบาย Demonetization ได้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 300% ภายใน 3 เดือนทีเดียว นอกจาก 2 นโยบายที่ผมยกตัวอย่างข้างต้นแล้ว นายโมดี ยังมีนโยบายอีกหลายตัวเช่น นโยบาย Make in India นโยบาย Skill India นโยบาย Start up นโยบาย Smart Cities ซึ่งถือว่า เป็นการวางแผนระยะยาวที่น่าสนใจ และน่าจะเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง จึงไม่ต้องสงสัยกันเลยครับว่า ทุกๆสำนักโพลสำรวจความเห็นประชาชน จะบอกว่า เลือกตั้งใหญ่ในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปี 2019) ทุกฝ่ายคาดกันว่า นายโมดี น่าจะได้รับคะแนนเสียงล้มหลามและเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ค่อนข้างแน่นอน มาดูฝั่งเศรษฐกิจปัจจุบันของอินเดียบ้าง ในมุมมองของ IMF ก็คาดการณ์ว่ามี 2017 เศรษฐกิจอินเดียน่าจะขยายตัวได้ 7.1%ต่อปี สูงที่สุดในกลุ่ม G20 และแซงหน้าจีนได้แล้ว โดยหลักๆก็มาการจากการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศเช่นกัน โดยการบริโภคภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนสูงเกือบๆ 55% ของ GDP ในปี 2016 ส่วนภาคการลงทุนมีสัดส่วนอยู่ที่ 29% ของ GDP ด้านตลาดหุ้น ปัจจุบัน BSE SENSEX เทรดที่ P/E 22.97 เท่า Forward P/E 19 เท่า P/BV อยู่ที่ 2.93 เท่า เทียบกับตอนต้นปี P/E อยู่ที่ 20 เท่า และ P/BV อยู่ที่ 2.63 เท่า ถ้าเทียบกับในอดีตแล้ว ตอนนี้ดัชนี BSE SENSEX ก็ถือว่า วิ่งรับข่าวดีมาค่อนข้างเยอะทีเดียว ดังนั้นในแง่ของการลงทุน ก็คงต้องคิดดีๆ แต่ถ้าในแง่ของการดำเนินโยบาย จะเห็นว่า นายโมดี และพรรครัฐบาล สามารถเห็นจุดอ่อน และจุดแข็งของประเทศตัวเอง ได้แบบชัดเจน ทำจริงในสิ่งที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้อย่างต่อเนื่องครับ พิเศษ หากท่านสนใจเปิดบัญชีลงทุนเพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริง กรุณากรอกรายละเอียดสั้น ๆ ได้ ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club เพื่อรับบริการพิเศษจากเรา (จำนวนจำกัด) แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เปลี่ยนโลกกับจีนยุคใหม่ ธุรกิจแบบไหนกำลังมา? ข้อมูลจาก TMBCOF - FINNOMENA ถ้าพูดถึงประเทศจีนเราคิดถึง Alibaba, รถไฟฟ้าความเร็วสูง, โปรแกรม WEChat และทัวรจีนที่ออกไปทั่วโลกกลายเป็นปรากฏการณ์สร้างโอกาสในการลงทุนให้คนรวยมาแล้วมากมาย ลองมาดูกันครับว่าจีนยุคใหม่ ธุรกิจแบบไหนกำลังมา? 16 พ.ค. 2561 ถ้าพูดถึงประเทศจีนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว สิ่งที่คิดถึงอาจจะเป็น ของถูก, เสิ่นเจิ้น, มือถือก๊อปเกรด A หรือแม้แต่ห้องนํ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ในวันนี้ความคิดของคนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปแล้ว ถ้าพูดถึงประเทศจีนเราคิดถึง Alibaba, รถไฟฟ้าความเร็วสูง, โปรแกรม WEChat และทัวรจีนที่ออกไปทั่วโลกกลายเป็นปรากฏการณ์สร้างโอกาสในการลงทุนให้คนรวยมาแล้วมากมาย ประเทศจีนไม่ใช่กำลังจะเปลี่ยนแต่เป็นประเทศที่เปลี่ยนไปแล้ว Old China กลายเป็น New China ! ทุกวันนี้อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนมากที่สุดใน GDP ของจีนคือ Tertiary Industry แปลเป็นไทยคืออุตสาหกรรมตติยภูมิหรืออุตสาหกรรมขั้นสูง อุตสาหกรรมชั้นสูงเหล่านี้คือกลุ่มบริษัทประเภท Technology, Service, Retail และ Healthcare Tertiary Industry มีสัดส่วนเกินกว่า 50% ของ GDP จีนโดยอุตสาหกรรมเก่าอย่างโรงงานและการผลิตมีสัดส่วนที่ประมาณ 40% ส่วนพวก Commodity อย่างถ่านหินและนํ้ามันเหลือแค่ 10% เท่านั้น และถ้าเทียบสัดส่วน GDP ของ Tertiary Industry กับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง USA และ Germany ที่มีสัดส่วนที่สูงถึง 78-80% ประเทศจีนเมื่อพัฒนาไปในอนาคตจะมีกำลังซื้อสูงขึ้น ความต้องการธุรกิจอย่างบริการก็จะสูงขึ้นก็ควรจะมีสัดส่วนของ Tertiary Industry สูงเช่นกัน นอกจากอุตสาหกรรมของจีนที่เปลี่ยนไปจาก Old China เป็น New China แล้ว สัดส่วนการเติบโตของจีนยังมาจากอุตสาหกรรมใหม่ด้วย โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2010-2015 สูงถึง 26% ต่อปีเกือบ 2 เท่าตัวของการเติบโตของอุตสาหกรรมเก่าที่ 13% แล้วผลตอบแทนในการลงทุนดีไหม? หากเอาข้อมูลของกองทุน TMBCOF ที่ลงทุนใน UBS China Opportunity Equity Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนใน New China จะเห็นว่ากองทุนให้ผลตอบแทนถึง 90.4% ในช่วงปี 2012 – 2017 ชนะ MSCI China ที่ให้ผลตอบแทน 31.2% มากถึงเกือบ 2 เท่าตัวเลย ทีนี้เรามาดูกันว่าแล้วกองทุนลงทุนในอะไรบ้างที่เป็นธุรกิจ New China? ถึงได้ผลตอบแทนที่ชนะตลาดรวมได้ขนาดนี้ การลงทุนหลักๆเลยก็มี !!!! Tencent Holdings 9.7% เจ้าของ Application ที่ไม่มีคนจีนคนไหนไม่รู้จัก WeChat หุ้นขึ้นมาประมาณ 700% TAL Education 9.0% เจ้าของธุรกิจโรงเรียนติวเตอร์รายใหญ่ของจีน หุ้นขึ้นมาประมาณ 800% Ping An 7.5% เจ้าของธุรกิจประกันรายใหญ่ถือหุ้นโดยกลุ่ม CP ของบ้านเรานี่เอง หุ้นขึ้นมาประมาณ 80% Alibaba 7.4% อันนี้ผมคงไม่ต้องพูดถึงแล้วเพราะวินาทีนี้ใครๆก็รู้จักAlibaba และ Jack Ma ราคาหุ้นขึ้นจาก IPO มาประมาณ 100% Baidu 4.2% ผู้นำ Search Engine ในประเทศจีนผู้ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 82% ในขณะที่ Google มีแค่ 10% เท่านั้น ราคาหุ้นขึ้นมาประมาณ 50% ในยุคที่โลกเชื่อมต่อกันทั้งหมด การลงทุนในต่างประเทศจะทำให้เราไม่พลาดโอกาสสำคัญๆที่เป็นเทรนด์ใหญ่ของโลก ถึงกระนั้นการลงทุนในต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูล, ภาษาและวัฒนธรรม ตัวช่วยที่เราพอมีคือการลงทุนผ่านกองทุน สิ่งที่คนธรรมดาๆทำได้คือการมองเทรนด์และภาพใหญ่ที่เราเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จในอนาคต โดยปล่อยเรื่องของภาพเล็กและการประเมินมูลค่าหุ้นให้กับผู้จัดการกองทุนเป็นคนดูแลแทนก็ดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวครับ แต่ๆๆๆๆการลงทุนในจีนก็ไม่ได้มีแต่โอกาสเพียงอย่างเดียวนะครับ ความเสี่ยงก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะประเทศจีนเป็นประเทศที่มีหนี้ของภาคเอกชน (โดยไม่รวมสถาบันการเงิร)สูงถึงประมาณ 225% ต่อ GDP แต่หนี้เหล่านั้นก็ถูกรองรับอยู่ด้วยฐานเงินออมในประเทศที่สูงถึง 50% สูงกว่าเกาหลี, มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้นหนี้จะเป็นปัญหาแต่น่าจะยังไม่ใช่ในระยะใกล้ๆนี้ หากจะต้องเขียนเรื่องหุ้น New China ทั้งหมดผมคงต้องเขียนเป็นไตรภาคแบบ Harry Potter เลยล่ะครับ เอาเป็นว่าผมสัญญาว่าจะเขียนมาให้อ่านกันเรื่อยๆ เตรียมติดตามตอน 2-ตอน 3 กันได้เลยครับ แล้วเราจะมาลุยเมืองจีนไปด้วยกัน 🙂 พิเศษ สนใจลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นลงทุนใน New China ผ่าน NTER SPACE คลิ๊ก แท็ก: DIY TMBCOF แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
การปรับฐานของ NASDAQ คือโอกาสของนักลงทุน หรือจุดเริ่มต้นของขาลงกลุ่มเทค? - FINNOMENA การปรับฐานของ NASDAQ ในครั้งนี้ คือโอกาสของนักลงทุน หรือจุดเริ่มต้นของขาลงกลุ่มเทค? 16 พ.ค. 2561 เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา ดัชนี NASDAQ ปรับฐานร่วมๆ -2% ถ้าย้อนกลับไป เราจะเห็นแรงเทขายที่ทำให้ดัชนี NASDAQ ปรับฐานแรงๆแบบนี้ บ่อยขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้าครั้งนี้ คือ เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา วันนั้น NASDAQ ปรับฐานลงไปถึง -2.5% ทีเดียว จนถึงเมื่อคืนวันพฤหัส (15 มิ.ย. 2017) ที่ผ่านมา ดัชนี NASDAQ ก็ยังป้วนเปี้ยนอยู่บริเวณ 6,100 – 6,200 จุด แรงเทขายหลักๆมาจาก Tech Giant ขนาดใหญ่อย่าง Apple, Facebook, Alphabet, Microsoft และ Amazon ซึ่งถือเป็นกลุ่มหุ้นที่เพิ่งทำ All Time High ไปในสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งนั้น นักวิเคราะห์บางส่วนก็มองว่า มันเป็นเหตุการณ์ปกติ ที่พอดัชนีแตะระดับจุดสูงสุด ก็ย่อมมีคนต้องการขายทำกำไรออกมา (Profit Taking) ท่ามกลางเสียงจากนักวิเคราะห์หลายแห่งที่บอกว่า มูลค่าหุ้นของกลุ่มเทคโนโลยีนี้แพงเกินไปแล้ว แต่จนแล้วจนรอดบริษัท Tech ยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ก็ยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด เมื่อต้นสัปดาห์ นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ที่ชื่อ Robert Boroujerdi ได้ออก Paper ให้ความเห็นเกี่ยวกับหุ้นกลุ่มนี้ว่า การคาดการณ์กำไรที่จะโตอย่างต่อเนื่อง + การคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อคงยังไม่เร่งตัวขึ้น (The death of the reflation) ทำให้นักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นเทคโนโลยีมากเกินไป และทำให้นักลงทุนไม่คิดถึงความเสี่ยงที่แท้จริงของหุ้นกลุ่มนี้ จริงๆแล้ว การเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในปีนี้ร้อนแรงมาระยะหนึ่งแล้ว ตัวอย่างที่เห็นชัดอันหนึ่งก็คือ ราคาหุ้น Nvidia ผู้ผลิตการ์ดจอคอมพิวเตอร์ระดับโลกที่กระโดดเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยี AI ราคาพุ่งขึ้นจาก $100 ในเดือน เม.ย. ขึ้นมาทำจุดสุงสุดที่ $159.94 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หรือ บวกไปร่วมๆ 60% ภายในระยะเวลา 2 เดือน หลังรายงานยอดขายไตรมาสล่าสุดโตถึง 48.4% สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้นักลงทุนเริ่มไม่ไว้วางใจหุ้นกลุ่ม Tech โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวานนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา Tech ETF มีแรงเทขายออกมาอยู่ Sector เดียวในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไปดูการสำรวจความเห็น หรือมุมมองของ Fund Manager ทั่วโลก ที่รวบรวมโดย BofA Merrill Lynch ล่าสุด โดยคำถามคือ “การลงทุนหรือเทรดไหน ที่คุณคิดว่า มันเป็นเทรดที่ร้อนแรงที่สุด (the most crowded trade)” คำตอบก็คือ Long NASDAQ หรือ การเข้าลงทุนในหุ้น NASDAQ นั้นเอง โดยเดือน มิ.ย. นี้ เป็นเดือนที่ 2 ที่ผลสำรวจ บอกว่า Long Nasdaq เป็นเทรดร้อนแรงที่สุดในมุมมองของ Fund Manager ทั่วโลก แล้วยังไง มันตีความได้ว่ายังไง? BofA Merrill Lynch ให้ข้อมูลมาเพิ่มว่า นับตั้งแต่เดือน พ.ค. ปี 2015 จนถึงปัจจุบัน เทรดที่ร้อนแรงที่สุดในความเห็นของ Fund Manager คือเทรดอะไร ในแต่ละเดือน ก็ได้ตามตารางด้านล่างครับ ผมลองไฮไลท์เฉพาะช่วงที่ เทรดร้อนแรงคือ “Long US Dollar” หรือ แห่ไปเก็งกำไรในค่าเงิน USD มากๆ (หวังว่ามันจะขึ้นต่อ) ออกมาดู ก็พบว่า ช่วงที่เทรดนี้กลายเป็น most crowded trade ไปแล้ว นั้นถือเป็นช่วงที่ค่อนข้างอันตรายทีเดียว กล่าวคือ ค่าเงิน USD ไม่ได้แข็งค่ามากขึ้นอย่างที่ทุกคนคาดหวังนั้นเอง เพราะฉะนั้น ในแง่ของการเป็นเทรดที่ร้อนแรง ผมมองว่า นักลงทุนต้องระมัดระวังการปรับฐานว่า ยังมีโอกาสอยู่ตลอดทาง แต่ถ้าถามว่า ถึงขั้นเป็นจุดเริ่มต้นของขาลงครั้งใหม่ของ Tech Stocks ไหม ต้องขอตอบว่า ไม่คิดอย่างงั้นครับ ด้วยเหตุผลคือ ถ้ามองที่ P/E Ratio – ปี 2000 ที่ฟองสบู่ dotcom แตก ตอนนั้น P/E ของ NASDAQ อยู่ที่ 107x เปรียบเทียบกับที่ระดับ 27x ณ ปัจจุบัน ก็ถือว่ายังห่างไกลจากฟองสบู่ครับ ถ้ามองที่ P/BV Ratio – อย่างที่เรารู้ว่าหุ้นเทคนั้นมีสินทรัพย์ค่อนข้างน้อย P/BV ในช่วงก่อนฟองสบู่ 2000 สูงถึง 7 เท่า แต่ปัจจุบันอยู่ที่แถวๆ 4 เท่า แน่นอนมันดูแพงกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น แต่เทียบกับอดีตแล้ว ก็นับว่ายังห่างไกล การเคลื่อนไหวของดัชนี – ก่อนฟองสบู่ 2000 จะแตก NASDAQ วิ่ง 189% ในระยะเวลาเพียง 2 ปี ขณะที่ จนถึงวันนี้นับถอยหลังไป 2 ปี NASDAQ วิ่งมา 22% เท่านั้นเอง ต่างกันเยอะเลยครับ สำหรับใครที่สนใจลงทุนในหุ้นกลุ่ม Tech จากทั่วโลก (แต่หลักๆ มันก็อยู่ที่สหรัฐฯนั้นละครับอย่างที่เรารู้กัน) กองทุนรวมที่น่าสนใจในไทยที่สามารถเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนที่อยากเกาะไปกับ Mega Trend นี้ มี 3 กองทุนครับ ONE-UGG กองทุนหลักคือ Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund B-INNOTECH กองทุนหลักคือ Fidelity Funds – Global Technology Fund KF-GTECH กองทุนหลักคือ T. Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Fund ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ของกองทุนหลัก ก็ตามรูปด้านล่างเลย ระยะยาว เชื่อว่ายังน่าสนใจ ระยะสั้น ระยะกลาง ความผันผวนน่าจะสูงเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น ศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้งนะครับ แหล่งข้อมูล :- Bloomberg BofA Merrill Lynch Global Investment Research BISNEWS คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น พิเศษ!! สนใจลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นลงทุนใน เทคโนโลยี ผ่าน NTER SPACE คลิ๊ก แท็ก: DIY FINNOMENA PORT Technology แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Fund Flow ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ ทำไมหุ้นไทยไม่ได้ประโยชน์? - FINNOMENA Fund Flow ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ ดัชนีบวกกันสนุกสนาน แต่ทำไมตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนเลย? 12 มิ.ย. 2560 นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ดัชนี MSCI Emerging Markets บวกไปมากกว่า 16% ขณะที่หุ้นไทย แทบไม่ได้ขยับไปไหนนับตั้งแต่ต้นปี โดยเดือนทีดีที่สุดใน 5 เดือนแรกของปีนี้ ก็คือ เดือน ม.ค. ที่ SET Index บวกไป 2.23% โดยในช่วงเดือน ก.พ. ถึง พ.ค. ที่ผ่านมา ผลตอบแทนตามลำดับดังนี้ -1.13%, +1.00%, -0.56%, -0.30%, ลองไปเปรียบเทียบกับกองทุน iShares MSCI Emerging Markets ETF นับตั้งแต่เดือน ม.ค. จนถึงเดือน พ.ค. นะครับ +6.66%, +1.74%, +3.69%, +1.70%, +2.85% สังเกตไหมครับ ไม่มีเดือนไหนในปีนี้ที่ผลตอบแทนตลาดหุ้นเกิดใหม่ติดลบเลย ถือว่าเป็นผลตอบแทน 5 เดือนแรกที่ดีที่สุดในรอบ 12 ปีเลยก็ว่าได้ คำถามคือ ตลาดหุ้นเกิดใหม่บวกขนาดนี้ ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหนเลย? คำตอบแรกที่แสดงให้เห็นว่า Fund Flow เลือกเข้าเฉพาะบางประเทศเท่านั้น ก็เพราะดัชนีตลาดหุ้นไทยเราก็อยู่ในการคำนวณของ MSCI Emerging Markets ไม่ถึง 2% นะครับ ดังนั้น มันไม่จำเป็นว่า เงินไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ จะต้องเข้าในประเทศไทยด้วยตลอดเวลา คำตอบต่อไป หากเจาะลึกเข้าไปดูจะพบว่าอุตสาหกรรม (Sectors) ที่ดัชนี MSCI Emerging Markets ให้น้ำหนักมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ IT (25.36%), สถาบันการเงิน (23.49%), วัตถุดิบ (8.25%), สินค้าฟุ่มเฟือยและกลุ่มบันเทิง (10.74%) , สินค้าจำเป็นพื้นฐาน (6.84%) ซึ่งหากมาเปรียบเทียบกับดัชนี SET Index บ้านเรา ก็จะพบว่า สัดส่วนที่ต่างกันอย่างชัดเจน ก็คือ น้ำหนักการลงทุนของกลุ่ม IT ซึ่งใน SET Index มีเพียงแค่ 2.37% เท่านั้น โดยหุ้น แค่ 3 ตัวใน Sector นี้ ก็มีน้ำหนักเกินครึ่งของกลุ่ม IT ทั้งหมด (มี DELTA, KCE และ HANA) ขณะที่บริษัท IT ยักษ์ใหญ่ในระดับโลกฟากเอเชีย ซึ่งเข้าไปคำนวณอยู่ใน MSCI Emerging Markets อย่าง Tencent, Alibaba, Samsung, Taiwan Semiconductor หรือ Baidu นั้น สามารถสร้างปรากฏการณ์ Disruptive และทำกำไรเป็นกอบเป็นกำตามธีม Consumerism และการบริโภคภายในเอเชียที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ไทยเรา ขาดแคลนนวัตกรรม และความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอยู่พอสมควรนะครับ แต่จริงๆ หากเราย้อนดูทิศทางค่าเงินบาท ก็จะพบหลักฐานที่ย้อนแย้งกัน เนื่องจาก ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้นมาเกือบๆ 5% นับจากต้นปีเมื่อเทียบกับสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยหลักๆ การแข็งค่าของค่าเงินบาท มาจากการไหลเข้าตลาดพันธบัตรไทย โดยยอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ต้นปี เกิน 1.3 แสนล้านบาทไปแล้ว ซึ่งมากกว่าการเข้าซื้อปีที่แล้วทั้งปีเสียอีก และหากเทียบกับยอดซื้อสะสมของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยซึ่งมีเพียง 13,000 ล้านบาท ก็สะท้อนว่า เงินต่างชาติ เข้ามาไทยแต่ไม่ลงทุนในหุ้นไทยเท่าที่เราอยากให้เป็น ซึ่งตรงนี้ เหตุผลที่พอจะอธิบายเพิ่มเติมได้ก็คือ ล่าสุด เหมือนนักลงทุนจะลดความคาดหวังกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะรีบขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย พอมีมุมมองว่าเฟดขึ้นดอกเบี้ยช้าลง เงินไหลออกจากสหรัฐฯ ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนค่า เงินเหล่านี้ก็จำเป็นจะต้องไปหาที่อยู่ใหม่ และที่ที่น่าสนใจก็คือ สินทรัพย์ด้านการลงทุนของประเทศเกิดใหม่ทั้งตราสารหนี้ และตราสารทุน โดยดูได้จากกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ที่มีชื่อเสียงอย่าง Franklin Templeton Emerging Markets Bond Fund ก็มีผลตอบแทนนับจากต้นปีสูงกว่า 8% ทีเดียว เพื่อตอบคำถามแบบสรุปอีกครั้งว่า Fund Flow ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ ทำไมหุ้นไทยไม่ได้ประโยชน์ คำตอบก็คือ ปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทย ยังคงเป็นที่สงสัยในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับโครงสร้างเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันที่เปลี่ยนไป การเข้ามาของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ยังหาบริษัทแบบนี้ในไทยที่ตอบโจทย์บนเวทีโลกยังไม่เจอ ก็ทำให้เราไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรจากเงินไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ในยามนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่า ปัจจัยพื้นฐานของไทยเราเองจะไม่มีดี การที่เงินยังไหลเข้าลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ก็สะท้อนว่า นักลงทุนต่างชาติยังมีความเชื่อมั่นกับเสถียรภาพของค่าเงินบาทในระยะยาว จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง หนี้สกุลเงินต่างประเทศของทั้งภาครัฐฯและเอกชนก็อยู่ในระดับต่ำนะครับ ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641495 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (29 พฤษภาคม- 2 มิถุนายน 2560) - FINNOMENA ขณะที่ตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤษภาคม ยังไม่มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Sell in May and Go Away” แล้วมุมมองแนวโน้มตลาดหุ้นไทยจากนี้จะเป็นอย่างไรอ่านได้ใน "มุมมอง ดร.วิศิษฐ์" ประจำสัปดาห์นี้ได้เลยครับ 2 ธ.ค. 2563 ตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤษภาคม ยังไม่มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Sell in May and Go Away” และตลาดหุ้นไทยมี Performance ที่ดีในครึ่งหลังของเดือนพฤษภาคมดีกว่าครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม ซึ่งตรงข้ามกับความคิดของนักวิเคราะห์โดยส่วนใหญ่ สาเหตุคือการที่นายเอมมานูเอล มาครองชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสส่งผลต่อค่าเงิน Euro ปรับตัวแข็งขึ้น Fund Flow ไหลเข้าภูมิภาคยุโรปเป็นอันดับแรก ค่าเงิน US$ อ่อนค่าลง นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา นักลงทุนต่างประเทศเป็นผู้ซื้อพันธบัตรระยะสั้น 36,000 ล้านบาทและพันธบัตรระยะยาว 21,000 ล้านบาท บ่งบอกถึงการ renewed risk on appetite ของ EM และในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศ Long ตลาดอนุพันธ์ 22,000 สัญญา บ่งบอกตลาดทุนปรับตัวดีขึ้นระยะสั้น ถ้าดูตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาเป็นเวลา 5 เดือน นักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตรระยะสั้น 138,000 ล้านบาท และซื้อพันธบัตรระยะยาว 82,000 ล้านบาท สอดคล้องกับในตลาด EM ที่มีนักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตรใน EM ประมาณ 33 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็น Flow สูงสุดเท่าที่มีมาหรือถือเป็น Recorded Flow นักลงทุนตลาดหุ้นโดยส่วนใหญ่หรือ Consensus เชื่อว่า Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ มุมมองคือ ตลาดทุนน่าจะตอบสนองในทางบวก ไม่ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ก็ตาม กรณีที่หนึ่ง ถ้า Fed ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนตาม Consensus และตลาดได้ Pricing ไปแล้ว กรณีที่สอง ถ้า Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็น Against Consensus View ตลาดทุนจะมี Relief Rally และ Dot Plot จะปรับตัวลดลงและจะก่อให้เกิดภาวะ Actions เป็นตัว Drive Fund Flow มองว่าหุ้นกลุ่มที่มี Distressed Value Play เช่น หุ้นที่มี Discount จากมูลค่าทางบัญชีสูงๆ จะ Outperform หุ้นที่มี Earning ที่ Turnaround เช่นในกลุ่ม Automobile กลุ่ม Technology ที่เกี่ยวกับ Community Fixed Broadband หรือ กลุ่ม Telecom บางบริษัทจะ Outperform ยังคงมองว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสทดสอบ 1600 ในไตรมาส 2 หุ้น Petrochemical สาย PVC (นักอุตสาหกรรมคาดว่า Spread ของ PVC จะปรับเพิ่มขึ้นอีก 20-50% ใน 12-18 เดือนข้างหน้าเนื่องจากการปิดโรงงานที่ประเทศจีนจากการควบคุมสภาวะแวดล้อมและการขาดแคลน Caustic Soda ทำให้ราคา Caustic Soda ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก) และสาย MEG จะ Outperform ในไตรมาส2 หุ้นกลุ่ม Container จะ Outperform ในครึ่งหลังของปี 2017 กลุ่มโรงไฟฟ้าจะ Outperform และปรากฏการณ์ของ Underperformance ของกลุ่ม Hospital เป็นปรากฏการณ์ของทั้งภูมิภาคเอเชีย และมองว่ายังคงมี Downside สำหรับหุ้นกลุ่ม Healthcare ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดยุโรป... Fool me again? - FINNOMENA นาทีนี้ กูรูแทบทุกสำนักต่างลงมติ เกือบจะเป็นเสียงเดียวกันว่า ตลาดหุ้นที่น่าสนใจ ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ได้แก่ ตลาดหุ้นยุโรป! คำถามที่น่าสนใจคือ ตลาดหุ้นยุโรป ถือเป็นตลาดที่ทำให้นักวิเคราะห์ ต้องเสียฟอร์มอยู่หลายครั้ง เวลาที่ออกมาฟันธงว่ามาแน่... แล้วทำไมครั้งนี้ถึงยังเชื่อกันอย่างนั้น เหตุผลคืออะไรกัน? 23 พ.ค. 2560 ณ นาทีนี้ กูรูแทบทุกสำนักต่างลงมติ เป็นเสียงเกือบจะเดียวกันว่า ตลาดหุ้นที่น่าสนใจ ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ได้แก่ ตลาดหุ้นยุโรป ก่อนอื่นขอแอบบอกว่าผมเองน่าจะถือเป็นคนแรกๆในช่วงไตรมาส 2 ที่มองว่าตลาดยุโรปนั้นน่าสนใจ คำถามคือตลาดหุ้นยุโรปถือเป็นตลาดที่ทำให้นักวิเคราะห์ ต้องเสียฟอร์มอยู่หลายครั้งหลายคราที่ออกมาฟันธงว่ามาแน่ ทว่าเอาเข้าจริง ก็มาแบบไม่เต็มเสียที แล้วมาถึงงวดนี้ จะมาจริงๆหรือไม่นั้น ผมขอประเมินว่าน่าจะไม่ทำให้ผิดหวังด้วยเหตุผล ดังนี้ หนึ่ง หากจะถามว่า ในขณะนี้ ธนาคารกลางใดในประเทศหลักๆ ที่มีอิสระมากที่สุดในการเลือกว่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อ หรือเลือกจะหยุดผ่อนคลาย แม้แต่จะเริ่มเปลี่ยนโหมดมาทำให้นโยบายการเงินตึงตัวขึ้นก็ตาม คำตอบต้องเป็นธนาคารกลางยุโรปแบบไม่ต้องสงสัย เนื่องจากนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป เปิดออปชั่นไว้ทั้งสามแบบทุกครั้งที่แสดงท่าทีต่อตลาดและสาธารณชน จึงทำให้ในแง่ของสภาพแวดล้อมทางนโยบายการเงินของยุโรปในปี 2017 ได้เปรียบกว่าภูมิภาคอื่นเป็นอย่างมาก ซึ่งตรงนี้ ถือเป็นการขีด downside risk ของยุโรป จากเหตุการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการที่ทรัมป์ดำเนินนโยบายผิดพลาดหรือธนาคารกลางสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยเร็วหรือช้าเกินไป ให้มีขนาดที่น้อยกว่าภูมิภาคอื่นอยู่เยอะ เนื่องจากตัวช่วยของธนาคารกลางยุโรปดังกล่าวคอยเติมช่วยตลอด สอง ระดับของดัชนีตลาดหุ้นยุโรปถือว่าน่าสนใจ โดยหากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างดัชนี S&P500 กับ ดัชนี MSCI EAFE ซึ่งประกอบด้วยหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วนอกอเมริกาและแคนาดา จำนวน 21 ประเทศ ซึ่งยุโรปมีสัดส่วนน้ำหนักในดัชนีดังกล่าวราว 70% ปรากฏว่าในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ดัชนี S&P500 มีผลตอบแทนรวมอยู่ที่ 215% และอยู่ในระดับที่สูงกว่าในช่วงปี 2007 ประมาณ 50% นั้น ดัชนี MSCI EAFE ในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา มีผลตอบแทน 97% อีกทั้งดัชนียังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในช่วงปี 2007 อยู่ 20% นอกจากนี้ ระดับของ P/E ของตลาดหุ้นยุโรปยังต่ำกว่าของตลาดสหรัฐ โดยอยู่ที่ราว 15 เท่านิดๆ ในขณะที่ของตลาดสหรัฐอยู่ที่ 18 เท่า ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมา P/E ของตลาดสหรัฐจะสูงกว่าของตลาดยุโรปโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 เท่า ทั้งนี้ ที่หลายฝ่ายมองว่าตลาดยุโรป ณ นาทีนี้ น่าจะถึงเวลาที่จะรุ่งเสียที หลังจากรับบทพระรองจากตลาดสหรัฐอยู่นานเกือบ 10 ปี เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรก ปี 2017 ผลตอบแทนของดัชนี MSCI EAFE อยู่ที่ 7.4% ในขณะที่ผลตอบแทนของดัชนี S&P500 อยู่ที่ 6% นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปีที่ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นสหรัฐเป็นรอง ความจริงแล้วก่อนเกิดวิกฤตซับไพร์ม ดัชนีหุ้นยุโรปก็เคยให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นสหรัฐ โดยระหว่างปี 2002-2007 ผลตอบแทนของดัชนี MSCI EAFE สูงกว่าดัชนี S&P500 กว่า 80% เพิ่งมาช่วงหลังๆ ที่ตลาดหุ้นสหรัฐพลิกกลับมามีผลตอบแทนนำหน้าตลาดยุโรป นอกจากนี้ ในปีนี้ กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของตลาดยุโรปยังมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐ โดยอัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทในดัชนี MSCI EAFE อยู่ราว 18-19% สูงกว่าอัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทในดัชนี S&P500 ที่ 10% นอกจากนี้ ดัชนีหุ้นยุโรปยังไม่พึ่งพาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมากเหมือนตลาดหุ้นสหรัฐ ทว่าตลาดยุโรปเน้นพึ่งพาหุ้นกลุ่มธนาคารกว่า 20% ซึ่งการที่รัฐบาลนายโดนัลด์ ทรัมป์ผ่อนคลายกฎหมาย Dodd Frank Bill ทำให้หุ้นแบงก์ในตลาดหุ้นยุโรปยิ่งดูชัวร์กว่าหุ้นแบงก์ในตลาดสหรัฐ หากมองไปในระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า สาม ความเสี่ยงทางการเมืองของยุโรปถือว่าเลยจุดสูงสุดไปแล้วสำหรับในช่วง 1-2 ปีนี้ แม้จะมีการเลือกตั้งของผู้นำอังกฤษในเดือนหน้ารออยู่ก็ตาม โดยฝรั่งเศสที่ถือว่าเป็นสมรภูมิสำคัญที่สุดของกระแสประชานิยม โดยเมื่อนางแมรีน เลอ เปง ไม่มา ความเสี่ยงทางการเมืองฝั่งยุโรปก็ถือว่าผ่านจุดที่เป็นความเลวร้ายที่สุดไปเรียบร้อยเช่นกัน ผมคิดว่า ในปี 2017 ตลาดยุโรปน่าจะไม่ทำให้พวกเราผิดหวัง เหมือนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยต่างๆที่เข้าทางภูมิภาคนี้ดังที่กล่าวไว้ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641306 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กระจายความเสี่ยงลงทุนหุ้นต่างประเทศด้วย TMBWDEQ - FINNOMENA ใครที่กำลังมองหาการกระจายความเสี่ยงลงทุนหุ้นต่างประเทศ... ลองมาทำความรู้จักกับ "TMBWDEQ" หรือ "กองทุนเปิดทหารไทย World Equity Index" อีกหนึ่งกองทุนที่เน้นการบริหารเชิงรับ (Passive Investment Strategy) รีวิวโดย Mr. Messenger กองทุนนี้มีดียังไง เชิญอ่านกันได้เลย... 26 ส.ค. 2560 นักลงทุนหลายคนมีความสงสัย และยังไม่มั่นใจว่า ระหว่างกองทุนประเภท Active Management Portfolio และ Passive Management Portfolio ควรเลือกกองทุนประเภทไหนมาใส่ในพอร์ตดีกว่ากัน ก่อนจะไปเลือกกองทุน เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า กองทุนทั้ง 2 ประเภท มีข้อแตกต่างอะไรบ้าง เน้นการบริหารแบบเชิงรุก (Active Management Portfolio) หมายถึง กองทุนหุ้นที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียน โดยมีเป้าหมายเพื่อสามารถเอาชนะดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ให้ได้ โดยดัชนีอ้างอิงนี้ก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่เรารู้จักกันว่า SET Index นั้นเอง เน้นการบริหารแบบเชิงรับ (Passive Management Portfolio) หมายถึง กองทุนหุ้นที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียน โดยมีความเชื่อว่า ไม่มีใครสามารถเอาชนะดัชนีอ้างอิงได้ตลอดไป ดังนั้น ผลตอบแทนของกองทุนประเภทนี้จะใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงไปตลอดอายุการลงทุน จะเห็นว่าประเภทการลงทุน ถูกแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด ซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิงนะครับ โดย ณ ปัจจุบัน ในแวดวงการลงทุน ก็ยังเถียงกันไม่จบว่าสุดท้ายแล้วกองทุนทั้ง 2 ประเภท กองทุนไหนดีกว่ากองทุนไหน แต่ผมจะขยายความให้ว่า นักลงทุนประเภทไหนเหมาะกับการลงทุนแบบใดในระยะยาว ที่น่าสนใจก็คือ นักลงทุนผู้มั่งคั่งที่สุดในโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟต ให้สัมภาษณ์ใน CNBC ว่า “Index funds make the best retirement sense ‘practically all the time” แปลเป็นไทยก็คือ บัฟเฟตเชื่อว่า การลงทุนในกองทุนดัชนี จะเป็นแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณที่สมเหตุสมผลที่สุดสำหรับทุกคน สาเหตุที่บัฟเฟตแนะนำเช่นนี้ เป็นเพราะในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีอิทธิพลกับชีวิตคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ โอกาสในการหาผลตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับนักลงทุนรายย่อย ก็น่าจะลดลง เพราะการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น ความรู้ที่มีมากขึ้น ก็ทำให้การแข่งขันสูงขึ้น แต่เหล่า Passive Fund หรือ Index Index จะยังทำผลการดำเนินงานได้ดี เพราะเมื่อขนาดธุรกิจใดใหญ่ขึ้น กำไรโตขึ้น ตัวดัชนีก็จะมีการปรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังจะเห็นว่า 5 บริษัทเทคโนโลยี ที่มีอยู่ติดอันดับท็อป 10 บริษัทที่ Market Cap ใหญ่สุด ทั้งๆที่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เล็กกว่านี้หลายเท่านัก ไม่ว่าจะเป็น Alphabet (Google), Microsoft, Apple, Amazon, Facebook ข้อดีอีกข้อ ก็คือ ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และค่าธรรมเนียมการจัดการที่ต่ำ ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Investment Company Institute ในสหรัฐฯ บอกว่า โดยเฉลี่ย กองทุน Active Fund จะเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการราวๆ 0.80%-0.90% ขณะที่ Passive Fund คิดค่าธรรเนียมแค่เพียง 0.10%-0.20% เท่านั้น แปลว่า หากถือกองทุนทั้ง 2 ประเภทไปซัก 10 ปี เราต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการให้ Active Fund สูงกว่า Passive Fund สูงถึง 7% ทีเดียว แล้วต้องลงทุนแบบไหน ถึงจะใช้ Passive Fund? นักลงทุนที่วางแผนการลงทุนระยะยาวในระยะเกิน 10 ปีขึ้นไป ต้องการผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับในอดีต และไม่ห่างจากดัชนีชี้วัดมากเกินไปจนทำให้พลาดเป้าหมายการลงทุน แคร์เรื่องค่าธรรมเนียมว่าต้องต่ำไว้ก่อน เหมาะกับการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่เราเชื่อว่าผลตอบแทนดีในระยะยาว แต่เลือกหุ้นเองไม่เป็น หาหุ้นเองไม่เก่ง ถ้าคุณเป็นแบบ 4 ข้อนี้ และหากองทุน Active Fund ดีๆที่เชื่อมั่นว่าจะผลตอบแทนดีในระยะยาวไม่ได้ ก็ย้ายมาลงทุน Passive Fund เถอะครับ และนี่คือ กองทุน Passive Fund สำหรับกระจายการลงทุนไปลงทุนหุ้นทั่วโลก ที่เหมาะกับการจัดพอร์ตระยะยาว TMBWDEQ กองทุนเปิดทหารไทย World Equity Index TMBWDEQ เป็นกองทุนที่มีวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุน คือเพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับผลตอบแทนจากการลงทุนในดัชนี MSCI World ให้มากที่สุด โดยกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนจะใช้นโยบายในการบริหารเชิงรับ (Passive Investment Strategy) ผู้จัดการกองทุนจะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Lyxor ETF MSCI World (เป็นกองทุนหลักที่ลงทุนในตราสารที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี MSCI World) โดยกองทุนหลักจะกระจายการลงทุนในหุ้นของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว รูปที่ 1 : สัดส่วนการลงทุนของกองทุน Lyxor ETF MSCI World แหล่งที่มา : funds.ft.com (ข้อมูลถึง ณ วันที่ 31 มี.ค. 2017) โดยผลการดำเนินงานระยะยาวของกองทุนนี้ ก็ใกล้เคียงกับ S&P500 แน่นอน มันก็เพราะว่า กองทุนหลักมีน้ำหนักการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯเยอะสุด ถึง 59.60% (ข้อมูลจากรูปที่ 2) รูปที่ 2 : ผลการดำเนินงาน Lyxor ETF MSCI World เปรียบเทียบ S&P 500 Index แหล่งที่มา : funds.ft.com (ข้อมูลถึง ณ วันที่ 31 มี.ค. 2017) จะเห็นว่า ผลตอบแทนแบบรายปี ตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปี 2016 อยู่ที่ 9.25%, 15.22%, 16.93%, 8.39% และ 7.46% นับว่าไม่แย่เลยสำหรับ Index Fund แบบกระจายความเสี่ยงทั่วโลกนะครับ ที่ลองตรวจสอบข้อมูลดู แล้วยิ่งทึ่งขึ้นไปอีกก็คือ ถ้าเปรียบเทียบกองทุน Lyxor ETF MSCI World กับกองทุนประเภทเดียวกัน ลงทุนใน Catagory เดียวกัน ในระยะยาว (5 ปี) พบว่า กองทุน Lyxor ETF MSCI World ทำผลตอบแทนได้ดีติดอันดับ 1st Quartile จาก 1 พันกองทุน ทั้งๆที่ตัวเองเป็น Index Fund รูปที่ 3 : ผลการดำเนินงาน Lyxor ETF MSCI World เปรียบเทียบ กองทุนอื่นที่ลงทุนประเภทเดียวกัน แหล่งที่มา : funds.ft.com (ข้อมูลถึง ณ วันที่ 11 พ.ค. 2017) เพื่อการลดความผันผวนจากการลงทุนในหุ้นไทย และสำหรับนักลงทุนที่ต้องการถือกองทุนจำนวนน้อยกอง แต่ได้ประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงมากที่สุด TMBWDEQ จึงถือเป็นตัวเลือกสำหรับการจัดพอร์ตวางแผนการลงทุนในระยะยาวอีกตัวที่น่าสนใจ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: 1stM FINNOMENA PORT Goal TMBAM TMBWDEQ ทหารไทย แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
TISCOMS เน้น Bottom up หาหุ้นเล็ก บริหารเชิงรุก - FINNOMENA มาแล้วครับบทความรีวิวกองทุน TISCOMS หรือ กองทุนเปิด ทิสโก้ Mid/Small Cap อิควิตี้ จาก Mr.Messenger มาดูกันว่ากองทุนนี้มีดีอะไร ทำไมถึงแนะนำ 21 ส.ค. 2562 ถ้าถามว่า หุ้นกลุ่มใดที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในระยะยาวในช่วงหลังวิกฤตซับไพรม์เป็นต้นมา คำตอบก็คือ หุ้นกลุ่ม Small Cap นั่นเอง สาเหตุเป็นเพราะ หุ้นขนาดเล็กมีโอกาสเติบโตสูง อยู่ในช่วงขยายตลาด และส่วนหลักๆอีกหนึ่งอย่างก็คือ ยังไม่ได้รับความสนใจมากนักจากนักลงทุนสถาบัน หรือ นักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากขนาดของ Market Cap ที่เล็กเกินไป เหล่ากองทุนขนาดใหญ่ ที่เงินหนาๆ ก็มองว่า ไม่คุ้มแรงที่จะไปนั่งทำ Company Visit หรือนั่งวิเคราะห์อย่างจริงจังมากขนาดนั้น ดังนั้น หุ้นขนาดเล็ก จึงน่าสนใจสำหรับนักลงทุนรายย่อย หรือเหล่ากองทุนที่มีขนาดกองทุนไม่ใหญ่จนเกินไป คนเห็นไม่เยอะ โอกาสที่เราจะเห็นโอกาสก่อน ก็ย่อมสูงกว่า บลจ.ทิสโก้ ถือเป็นผู้นำเทรน กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น Small & Mid Cap เพราะเป็นผู้ออกกองทุนประเภทนี้เป็นเจ้าแรกๆในตลาดเลยก็ว่าได้ และกองทุน Flagship ในสายของ Small & Mid Cap ก็คือ TISCOMS นั่นเอง TISCOMS ชื่อเต็มคือ กองทุนเปิด ทิสโก้ Mid/Small Cap อิควิตี้ มีนโยบายการลงทุนคือ เน้นคัดเลือกหุ้นด้วยสไตล์ Bottom up มองที่ธุรกิจเป็นหลักว่าโอกาสอยู่ที่ไหน โดยให้ความสำคัญกับ CAGR (Compound Average Growth Rate) เป็นอันดับแรก ถ้าย้อนหลังไปดูผลตอบแทนจากการลงทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด สาเหตุที่อยู่ในตลาดนานๆ ลงทุนมาแล้วระยะหนึ่ง ก็ยังไม่สามารถทำกำไรจากตลาดได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะ นักลงทุนเหล่านี้พยายามวิ่งไล่หาผลตอบแทนที่ไม่สมเหตุสมผล ก็เพราะ เลือกหุ้นซิ่ง วิ่งไปหาหุ้นปั่น ขยันซื้อที่ราคาแพงๆ อีกส่วนหนึ่งก็คือ ซื้อหุ้นที่ราคาถูก แต่ No growth โดยหวังว่า มันจะ Turn around ในเร็ววัน ปรากฎว่ามันไม่ไปไหนซักที เกิดเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสอยู่ในพอร์ตของเรา สำหรับนักลงทุนระดับตำนาน รวมถึง TISCOMS รู้ถึงพลังของ CAGR เป็นอย่างดี Fund Manager เลยให้ความสำคัญกับทิศทางผลประกอบการได้ในอนาคตในระยะยาว และที่สำคัญคือ สม่ำเสมอ ไม่ใช่ปีนี้โต 80% ปีหน้าไม่โตเลย หุ้นแบบนี้ จะไม่มีในพอร์ตแน่นอน ในทางปฏิบัติ Fund Manager จะพยายามเน้นหาหุ้นที่ตลาดยังไม่ค้นพบว่าจะมีการกลับตัว หรือ กำไรกำลังจะโตก้าวกระโดด (Turnaround Stock) ด้วยความเชื่อที่ว่า ถ้าเมื่อไหร่ฝูงชนหันมาให้สนใจ จะทำให้หุ้นตัวนั้นเกิด Upside มากขึ้น Liquidity ก็สำคัญ สำหรับการถือหุ้นขนาดเล็ก สำหรับหุ้นประเภท Small & Mid Cap จริงๆ ก็มีความเสี่ยงกับ Negative Alpha หากอยู่ดีๆสภาพคล่องตลาดหดลง หรือหายไป ต่อให้พื้นฐานบริษัทยังดีอยู่ หรือ มองไปที่ CAGR จะยังสวยก็เถอะ แต่บทตลาดจะเทขึ้นมา หุ้น Small & Mid Cap ก็มักจะโดนก่อน ดังนั้น Fund Manager จะไม่เข้าไปเสี่ยงกับหุ้นที่มีสภาพคล่องน้อยเกินไปแน่นอน นี่จึงเป็นอีกหัวใจสำคัญที่ทำให้กองทุน TISCOMS ปรับฐานเบากว่ากองทุนที่อยู่ในประเภทเดียวกันว ในช่วงจังหวะตลาดขาลง ผลการดำเนินงานย้อนหลัง น่าพอใจไหม? TISCOMS เป็นกองทุนกลุ่ม Small & Mid Cap ที่ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี ติดอันดับ 5th Percentile (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2560) ถ้ากางดู Calendar Performance ของแต่ละปี ก็จะพบสัจธรรมว่า มันเป็นไปได้ครับที่บางปี TISCOMS จะแพ้ SET Index ซึ่งสาเหตุก็มาจากหลายเหตุผลด้วยกัน อย่างปี 2016 ที่ผ่านมา ตลาดไปเล่นหุ้น High Growth และ Big Cap เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผลที่ตามมาจากการที่ต่างชาติเทขายตลาดหุ้นไทยในปี 2015 อย่างหนัก ก่อนกลับมาลงทุนอีกครั้งในปี 2016 รูปที่ 1 : ผลการดำเนินงาน TISCOMS รายปี เปรียบเทียบคู่แข่ง แหล่งข้อมูล : Bloomberg ณ วันที่ 11 พ.ค. 2560 ลองดูการวิเคราะห์เชิงปริมาณในตารางด้านล่างของ TISCOMS เปรียบเทียบกับ SET Index นะครับ รูปที่ 2 : การวิเคราะห์เชิงปริมาณกองทุน TISCOMS เปรียบเทียบ SET Index แหล่งข้อมูล : Bloomberg ณ วันที่ 11 พ.ค. 2560 ที่เราเห็นก็ชัดเจนนะครับว่า กองทุนเน้นการลงทุนในหุ้นเติบโต (Growth Stock) เนื่องจาก P/E สูงกว่า SET Index และ P/BV ก็สูงกว่า รวมถึงค่า Beta ที่สูงกว่า 1 ก็แปลว่า ตัวกองทุนเอง มีความผันผวนสูงกว่าดัชนี SET Index ด้วยเหมือนกัน รวมถึง Downside Risk ย้อนหลังไป 1 ปี ก็สูงกว่า SET Index เกือบๆเท่าตัว ข้อมูลเหล่านี้ บ่งบอกคุณลักษณะของหุ้นขนาดกลาง ขนาดเล็กได้เป็นอย่างดีครับ ดังนั้น ถึงแม้ TISCOMS จะผลตอบแทนชนะ SET Index ได้ในระยะยาว รูปที่ 3 : ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี TISCOMS เปรียบเทียบ SET Index แหล่งข้อมูล : Bloomberg ณ วันที่ 11 พ.ค. 2560 คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: 1stM FINNOMENA PORT GAR Goal TISCOMS กองทุนหุ้นไทย แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (8-12 พฤษภาคม 2560) - FINNOMENA เมื่อตลาดหุ้นทั่วโลกถือว่าเข้าสู่ปีที่ 8 ของ Bull Market จากสถานการ์ต่างที่ผ่านมา มุมมองของ ดร.วิศิษฐ์ ในสัปดาห์นี้จะเป็นอย่างไร ปัจจัยต่างๆ ที่เราต้องเตรียมตัวมีอะไรบ้าง? 9 พ.ค. 2560 ตลาดหุ้นทั่วโลกถือว่าเข้าสู่ปีที่ 8 ของ Bull Market ซึ่งถือว่าเป็น Bull Market ที่ยาว การที่ S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้นและเป็น Low-Volatility/Low Volume (ความผันผวนน้อยและปริมาณการซื้อขายน้อย) เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ บ่งบอกถึงภาวะอ่อนแอของตลาดหุ้นทั่วโลกที่มี Volume การซื้อขายน้อยผิดปกติ สำหรับประเทศไทย SET Index มี Volatility 30 วัน ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ที่ระดับ 4% บ่งบอกถึงโอกาสที่ Arbitrage และ Swing Trading ที่มีจำกัดและบ่งบอกถึงนักลงทุนอยู่ใน Precautions Mode ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศ Long ตลาด Future 6.5 พันสัญญาและซื้อพันธบัตรระยะสั้น 8-9 พันล้านบาท บ่งบอกว่าตลาดหุ้นไทยยังไม่ใช่ขาลง แต่เป็นช่วง Sideway ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศซื้อ Bond ระยะสั้น 110,000 ล้านบาท ซื้อ Bond ระยะยาว 68,000 ล้านบาท ซึ้อหุ้นใน Cash Market 4.9 พันล้านบาท และ Long ตลาด Future 10,739 สัญญา บ่งบอกถึงค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นระยะสั้น แต่หุ้นจะเป็น Sideway และนิ่ง ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาราคาน้ำมันถูกขายจนถึงจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ที่ OPEC ประกาศลดกำลังการผลิตรอบเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และ Bloomberg Commodity Index ทำจุดต่ำสุดในรอบ 12 เดือน ถือว่าเป็น Capitulation ของราคาน้ำมัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากตัวเลขของ PMI ของจีนในเดือนเมษายนที่ออกมาค่อนข้างอ่อนแอ แต่มองว่าราคาน้ำมันน่าจะ Rebound เนื่องจากประเทศในกลุ่ม OPEC น่าจะขยายการลดกำลังผลิตออกไปอีกและเงินทุนสำรอง (FX Reserve) ของประเทศจีนไม่ได้ส่งสัญญาณของเงินทุนไหลออก การที่นาย Macron ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ส่งผลให้ค่าเงิน Euro ปรับตัวแข็งค่าขึ้นในรอบ 6 เดือน เกิดภาวะ Risk on ในหุ้น Europe และหุ้นใน Emerging Market แต่ค่าเงิน Euro มีความเสี่ยงที่จะถูก Sell on Fact ในช่วงสั้น ตลาด North Asian จะ Outperform ยังคงมองว่าภาวะ Tail Risk จะยังคงไม่เกิดขึ้นในเดือน พ.ค. แต่นักลงทุนควรจับตาดู GDP ของสหรัฐในไตรมาส 2 ที่อาจจะระดับ 2% เศษๆถึง 3% QoQ จากตัวเลข GDP ในไตรมาส 1 ของสหรัฐที่ถือว่าเป็น Exceptional Low ที่ระดับ 0.7% การที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ เช่น CPI ในเดือน มี.ค. และ GDP ในไตรมาส 1 ออกมาค่อนข้างไม่ดี อาจทำให้คณะกรรมการ FOMC ของสหรัฐยังคงไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน โดยที่ตลาดการเงินได้ Pricing การขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนค่อนข้างมาก ซึ่งถ้า Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนจะทำให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวเพิ่มขึ้นชั่วคราว จะทำให้ Flow ที่อยู่ใน Safe Haven ไหลออกชั่วคราวสู่ Risky Asset ยังคงมองตลาดทุนในครึ่งปีแรกของ 2017 ดีกว่าครี่งปีหลังของ 2017 คาดการณ์ว่า Real Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลังและการที่สหรัฐผ่านกฎหมาย Tax Reform ที่จะมีเม็ดเงินผ่านกระบวนการ Repatriation ของเงินลงทุนต่างประเทศกลับสู่สหรัฐ อาจนำไปสู่ภาวะ Risk Off ของตลาด Emerging Market ในครึ่งปีหลัง 2017 หุ้นที่ Underown และหุ้นที่มี Earning Surprise จะ Outperform และหุ้นกลุ่ม Utility ที่มี Earning Visibility จะ Outperform ในภาวะ Equity Drawdown ในครึ่งปีหลังของ 2017 ที่มาบทความ : www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทองลงแรงรอบนี้ พื้นฐานยังดีอยู่รึเปล่า? - FINNOMENA ทองลงแรงรอบนี้ พื้นฐานยังดีอยู่รึเปล่า? ตามรายงานของ World Gold Council ฉบับล่าสุดสดๆ ร้อนๆ มีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้าง มาดูกันดีกว่าครับ โดย FundTalk 13 มิ.ย. 2561 ล่าสุดผมได้อ่านรายงานของ World Gold Council ฉบับล่าสุดสดๆ ร้อนๆ ได้ข้อมูลที่น่าสนใจมา ดังนี้ ความต้องการทองคำโดยรวม ในไตรมาส 1/60 อยู่ที่ 1,034 ตัน ต่ำกว่าปีที่แล้วถึง 18% #ความเห็น ดูเหมือนน่ากลัว แต่จริง ๆ แล้วมาจากไตรมาส 1 ปีที่แล้วที่ฐานสูงมาก ซึ่งตอนนั้นหลัก ๆ มาจาก ETF ที่มีเงินไหลเข้ามากในรอบหลายปี . ETF ทองคำมีแรงซื้อเพิ่มขึ้น 109 ตันในไตรมาส 1/60 ลดลงเมื่อเทียบกับ net buy 342 ตันในไตรมาส 1/59 #ความเห็น เป็น net buy ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แม้จะ net buy ไม่เท่าปีก่อนหน้า แต่ก็ยังดีกว่าเป็น net sell เหรียญทองและทองคำแท่งโต 9% คิดเป็น 290 ตัน หลัก ๆ มาจากคนจีน ซึ่งไตรมาสที่ผ่านมาเก็บทองแท่งเพิ่มถึง 106 ตัน ธนาคารกลางโดยรวมซื้อทองเพิ่มขึ้น 76 ตัน #ความเห็น ซื้อน้อยกว่าหลายไตรมาสที่ผ่านมา แต่ถือว่าพอใช้ได้เพราะยังเป็น net buy ดูแนวโน้มปริมาณการผลิตทองระยะยาวทาง World Gold Council วิเคราะห์ว่าเมื่อดูจากปริมาณการลงทุนของเหมืองทองที่ลดลงถึง 65% ในปี 2012 ถึง 2016 จะส่งผลให้ผลผลิตทองคำจากเหมืองลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2018 – 2022 #สรุป เมื่อดูจากอุปสงค์ อุปทาน สรุปได้ว่าปัจจัยพื้นฐานยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม้ดูตัวเลขจะน่ากลัว demand ลดลง 18% แต่ดูเนื้อใน ทั้ง ETF ทองแท่ง และ ธนาคารกลาง ยังเป็น net buy ทั้งสิ้น แต่ที่ตัวเลขลดลงเป็นเพราะว่าปีก่อนหน้ามีแรง net buy ETF ที่มากผิดปกติ ในส่วนของ Supply ก็เห็นได้ชัดว่ากำลังจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไป ปัจจัยระยะสั้นที่รบกวนในช่วงนี้ มาจากการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ ประกาศออกมาดี ทำให้ตลาดเชื่อว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนมิถุนายนนี้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเงินเฟ้อและราคาน้ำมันที่เริ่มชะลอตัวลง ทำให้ sentiment ไม่ดีในช่วงนี้ ส่วนภาพ Technical ในภาพสุดท้าย แนวโน้มทองคำระยะยาว 1 – 2 ปียังดูเป็นขาขึ้นนับตั้งแต่ทะลุแนวต้านหลักในต้นปี 2016 ที่ผ่านมา (เส้นสีเขียว) โดยปัจจุบันถือเป็นขาขึ้น wave 3 แต่ในระยะสั้นทองคำลดทะลุแนวรับที่ 1250 ไปแล้ว (เส้นสีแดง) ถือว่าเป็นการปรับฐานที่โหดทีเดียว โดยเมื่อมองควบคู่กับปัจจัยพื้นฐานแล้วผมมองว่าทองคำไม่น่าจะหลุดแนวรับหลักต่อไปที่ 1200 $ (เส้นประสีขาว) . ก็ขอเอาใจช่วยคนติดดอยทองระยะสั้น (รวมผมด้วย ^^) ให้ผ่านพ้นความหฤโหดในช่วงนี้ไปด้วยกันครับ FundTalk รายงาน ที่มาภาพประกอบ World Gold Council, Bisnews แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Top-down Space : ทิศทางราคาทองในอนาคต ใครกำหนด? - FINNOMENA ทิศทางราคาทองในอนาคตนั้น ใครกันที่เป็นผู้กำหนด? หรือทองคำจะมีเจ้ามือที่มองไม่เห็น? บทความนี้ Mr.Messenger จะมาเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองในช่วงนั้นๆ จะได้รู้กันไปเลยว่า จริงๆ แล้ว ทิศทางราคาทองในอนาคต ใครกำหนด? 26 ส.ค. 2560 นับจากจุดสูงสุดของราคาทอง Spot Gold ที่ทำไว้เมื่อไตรมาส 3 ปี 2011 ที่ระดับราคา $1,920 ราคาทองร่วงลงมาทำจุดต่ำสุดที่ $1,045 เมื่อวันที่ คิดเป็นการปรับฐานมากกว่า -40% ทีเดียว สาเหตุของการปรับตัวขึ้นตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ ก็คือ นักลงทุนไปคาดหวังกันว่า นโยบายการอัดฉีดเงินเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือที่เรียกกันว่า QE จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในอนาคต และค่าเงิน USD จะมีแนวโน้มอ่อนค่าในระยะยาว จากปริมาณเงิน (Money Supply) ที่เพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อกลางปี 2013 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็กลับลำเปลี่ยนนโยบาย ยกเลิกการทำ QE ขณะที่เงินเฟ้อก็มีสัญญาณปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย ทำให้นักลงทุนกลับมามองแล้วว่า ปริมาณเงินในระบบที่เพิ่มสูงขึ้นมาตลอด ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯมีทิศทางดีขึ้น จนสามารถยกเลิก QE และเตรียมจะขึ้นดอกเบี้ยได้เช่นนี้ น่าจะทำให้เกิดการไหลกลับของค่าเงิน USD เข้าหาประเทศสหรัฐฯอีกรอบ ตรงนี้เอง ที่ทำให้ราคาทองปรับฐานลงมา จนถึงทุกวันนี้ ถ้าถามว่า ปัจจัยใดที่กำหนดการเคลื่อนไหวของราคาทอง ผมคงต้องบอกว่า มันแล้วแต่ช่วงเวลาว่าปัจจัยไหนมีอิทธิพลสูงกว่าปัจจัยอื่น จากจุดต่ำสุดของราคาทองเมื่อปลายปี 2015 ราคาทองได้มีการรีบาวน์มาต่อเนื่องในปี 2016 และทำจุดสูงสุดของรอบก่อนวันที่ทั่วโลกทราบว่า ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯคือ นายโดนัล ทรัมป์ เพียงแค่ 2-3 เดือนเท่านั้น (ช่วงนั้น สำนักโพลต่างๆ บอกว่า ผลการเลือกตั้ง นางฮิลลารี จะชนะนายทรัมป์แบบขาดลอยมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองยุคใหม่ของสหรัฐฯ) ก่อนหน้านี้ ตลาดเชื่อกันว่า หากสหรัฐฯได้นายทรัมป์เป็นผู้นำสูงสุด นโยบายสุดโต่งของเขา น่าจะเป็นผลบวกต่อราคาทอง สาเหตุก็เพราะ แต่ละนโยบาย มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯเอง รวมถึงประเทศคู่ค้าต่างๆ ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็น นโยบายกีดกันทางการค้า, นโยบายปราบปรามผู้ก่อการร้าย, การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ รวมถึง การปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ และเมื่อความไม่แน่นอนมันสูง สินทรัพย์ที่น่าจะได้รับประโยชน์ก็คือ ทองคำ จากวันที่ทรัมป์ชนะการเลืองตั้งจนถึงวันนี้ ต้องบอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับราคาทอง ก็ถือว่าผิดไปจากที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์กันไว้พอสมควร เพราะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ $1,150 – $1,300 และยังไม่เลือกทางเสียทีว่าจะเอายังไง ที่ผมเล่าย้อนอดีตของราคาทอง กับข่าวใหญ่ๆที่มีผลกระทบกับการเคลื่อนไหวของมันให้ดู โดยแบ่งเป็นสองช่วงให้เห็น ก็เพื่อจะพาผู้อ่านลองกลับมาย้อนดูครับ เราอาจจะรู้ต้นตอขอการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ประเภทนี้มากขึ้นก็ได้ สิ่งแรกก็คือ ขาขึ้นครั้งใหญ่ของทองหลังวิกฤตซับไพรม์ มาจากความคาดหวังให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่า บนความเชื่อของนักลงทุนว่า นโยบาย QE มันไร้ประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นไม่ได้จริงๆ และนักลงทุนจะขนเงินหนีออกจากสหรัฐฯในที่สุด นั่นแปลว่า ราคาทองปรับตัวขึ้นรุนแรง จากมุมมองที่นักลงทุนเห็นตรงกันว่า ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าในระยะยาว และเป็นการปรับตัวขึ้นในระยะยาวมากกว่า 1-3 ปีด้วยนะครับ สิ่งที่สองก็คือ หลังจากทรัมป์ขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดของสหรัฐฯ โลกก็ปั่นป่วนอย่างที่เราเห็นจริงๆนั่นหล่ะครับ ความแน่นอนทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) สูงขึ้นมากทีเดียว แต่ก็ไม่ได้ทำให้ราคาทองปรับตัวขึ้นอย่างเด่นชัดขนาดนั้น ส่วนหนึ่งก็คงเพราะ ยังมีนักลงทุนส่วนใหญ่ที่เชื่อว่า ที่เราเห็นกันอยู่ตอนนี้มันเป็นแค่การขู่กันไปขู่กันมา ใช่ว่าจะเกิดสงครามกันจริงๆเสียเมื่อไหร่ แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง มันอาจเป็นไปได้ว่า ปัจจัยความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่กำหนดทิศทางราคาทองคำหรือเปล่า? งั้นลองดูเหตุการณ์สดๆร้อนๆที่เพิ่งผ่านไป เมื่อวานนี้ ผลการเลือกตั้งฝรั่งเศสรอบแรก นายเอ็มมานูแอล มาครอง จากพรรคก้าวหน้า คว้าชัยชนะด้วยคะแนน 24% และจะมีการเลือกตั้งรอบ 2 โดยเป็นการเลืองกันอีกทีระหว่างนายมาครอง ผู้ชนะ กับ อันดับสอง คือ นางมารีน เลอ เปน ผู้สมัครจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติ หรือเนชันแนล ฟรอนต์ ที่มีแนวนโยบายขวาจัด นักวิเคราะห์ก็พากันออกมาบอกว่า ถ้าเป็นแบบนี้ นายมาครอง น่าจะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งรอบสองด้วยคะแนนเสียงมากกว่า 60% แน่นอน ทำให้ความเสี่ยงที่จะได้ผู้นำอย่างนางมารีน ซึ่งชูนโยบาย FREXIT ก็ลดลงไปทันที ราคาทองก็ดิ่งลงมาร่วมๆ -1% แต่นี่ก็แค่การเคลื่อนไหวระยะสั้น ไม่ได้มีอิทธิพลต่อราคาทองในระยะยาว ดังนั้น ระยะสั้น จึงสรุปได้ว่า ทิศทางราคาทอง ถูกกำหนดด้วยความไม่แน่นอนในสถานการณ์การเมืองโลกที่มีผลต่อกระแสเงินทุน แต่ในระยะยาว หากดูกันเป็นเทรนแล้ว ผู้กำหนด น่าจะเป็นทิศทางของค่าเงินดอลล่าสหรัฐฯ นั่นเอง และผู้ที่อ่านแนวโน้มของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐออก นอกจากจะสร้างกลยุทธ์ในการลงทุนในทองคำในระยะยาวได้แล้ว ก็สามารถใช้มุมมองดังกล่าวเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆได้ด้วยนะครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641038 แท็ก: DIY FREXIT QE Spot Gold Top-down ทองคำ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (24-28 เมษายน 2560) - FINNOMENA หลังทราบผลการเลือกตั้งปธน.ฝรั่งเศสรอบแรกไปแล้ว เราเริ่มเห็นสัญญาณอะไรบ้าง ติดตามได้ในบทความ "มุมมอง ดร.วิศิษฐ์" ในสัปดาห์นี้ และเราในฐานะนักลงทุนต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างมาดูพร้อมกันเลยครับ 25 พ.ย. 2563 มองว่าตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ในภาวะ Unwinding Trump Position โดยที่ Bond Yield ของสหรัฐ ดัชนี DXYO (ดัชนีบ่งบอกถึงค่าเงินสหรัฐ) ตกต่ำมากสุดนับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นในนโยบายของ Trump กำลังถดถอยลง และส่งผลให้มี Flow เข้ามาในตลาดเกิดใหม่ แต่อาจมีปริมาณไม่มาก ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา การซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดพันธบัตรระยะสั้นเกือบจะ Square Position ทั้งสัปดาห์ และยังไม่มีทิศทางที่แน่ชัด บ่งบอกว่า Bond Yield ยังคงใช้ทิศทางซึ่งเป็นการสะท้อนภาพของตลาดหุ้นด้วย ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนโดยเหตุการณ์เฉพาะหน้าหรือ Event Driver เพราะฉะนั้นการลงทุนในช่วงนี้จะเป็น Trend Following มากกว่า สิ่งที่น่าสนใจ คือ Bond Yield ปรับตัวลดลง ในขณะที่ Inflation Expectation ปรับตัวเพิ่มขึ้น บ่งบอกถึงภาวะ Risk Off (นักลงทุนซื้อสินทรัพย์ ประเภท Safe Heaven แบบ no choice หรือไม่อยากจะซื้อพันธบัตร เนื่องจากสุ่มเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีทางเลือก หลังทราบผลการเลือกตั้งปธน.ฝรั่งเศสรอบแรก เริ่มเห็นสัญญาณการขายพันธบัตร เข้าสู่ risky asset มากขึ้น โดยคาดว่าอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรสหรัฐฯมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น หลังรัฐบาลสหรัฐฯจะนำนโยบาย Tax reform เข้ามาใช้ในปีนี้ Position ของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดพันธบัตรจะเป็นตัวกำหนด Direction ของตลาดทุน แต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสยังคงไม่ส่งผลต่อ Fund Flow ของนักลงุทนต่างประเทศมากจนกระทั่งใกล้ๆวันเลือกตั้ง Final วันที่ 7 พ.ค. ซึ่งถ้านาย Macron ได้เลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส ตลาดหุ้นโลกจะตอบสนองในเชิงบวกหรือเข้าสู่สภาวะ Risk On และค่าเงิน Euro จะ Rally แต่ถ้านาง Le Pen ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส สถานการณ์จะกลับกัน ในขณะที่ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่เป็น Hedging สำหรับ Geopolitical Risks ยังมองว่าการปรับฐานชนิดรุนแรงของตลาดทุนยังคงไม่ได้เกิดในช่วงนี้ เพราะค่าเงินของกลุ่มประเทศ G3 (USD, EUR และ JPY) ยังคง Stable และเศรษฐกิจทั่วโลกมี Inflation Expectation บ้างแต่ไม่รุนแรง ในช่วงที่ตลาดที่ยังไม่มีทิศทางแบบนี้ มองว่าหุ้นกลุ่ม Property, Media และ PVC Producers จะ Outperform และกลุ่ม Utility ที่ได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft จะ Outperform ในตลาดภูมิภาค ซึ่งกำลังประกาศผลการดำเนินงานของกลุ่ม Petrochemical ซึ่งหลายบริษัทในต่างประเทศ Earning ออกมาเติบโต 70-80% YoY และบางบริษัทโต 70-80% QoQ ตลาดหุ้นโลกยังคง Underpricing การที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน (ความน่าจะเป็น 52%) และอาจจะถือเป็น Negative Surprise ในช่วงเดือนมิถุนายน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Cashless Society แบบทฤษฏีสมคบคิด - FINNOMENA ลองมาดูอีกแง่มุมของเรื่อง Cashless society สังคมไร้เงินสด ในมุมมองเศรษฐศาสตร์มหภาค "แบบทฤษฏีสมคบคิด" จากคุณ Ran MarketAnyware กับบ้างครับ รับรองจัดเต็มเหมือนเดิม เมื่อแนวคิดที่ลดดอกเบี้ยหวังให้คนรีบใช้เงิน ให้ธุรกิจเร่งลงทุน แต่ภาคประชาชนและภาคธุรกิจกลับกลัว และถ้าคนแห่ถอนเงินมาเก็บใส่ตู้เซฟ ธนาคารกลางจะทำยังไงต่อไป..? 16 เม.ย. 2560 พอดีได้อ่านบทความ ยุคของสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ของคุณปูเป้ เลยรู้สึกอยากเขียนบทความเกี่ยวกับ Cashless society ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์มหภาคบ้าง ยังไงอ่านบทความนี้โดยใช้วิจารณญาณนะครับ หลายอย่างเป็นความคิดเห็นเฉพาะบุคคล เมื่อปีที่แล้วมีข่าวแปลกๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศนโยบายดอกเบี้ยติดลบ เพื่อหวังกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยเงินกู้ เพื่อคาดหวังให้เกิดการลงทุนที่มากขึ้น เมื่อการลงทุนภาคเอกชนสูงขึ้น ประชาชนก็จะเริ่มมีรายได้มากขึ้น คนใช้จ่ายเงิน เพิ่มการบริโภค เมื่อเกิดการหมุนเวียนของเงิน เศรษฐกิจจะพลิกฟื้นตามหลักทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ที่เคยเข้าใจกันในอดีต ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ..?!? ผมเคยเขียนเล่าให้ฟังไปแล้ว ว่าทำไมทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ที่เคยใช้กันมันถึงล้มเหลว ปีที่ผ่านมาก็สะท้อนความล้มเหลวของการลดดอกเบี้ยอีกครั้ง หลัง BOJ ลดดอกเบี้ย สิ่งที่ขายดีเพิ่มขึ้นแบบสุดๆ ในประเทศญี่ปุ่นก็คือตู้เซฟนิรภัย..!! คนญี่ปุ่นซื้อตู้เซฟมาเพื่อถอนเงินจากธนาคารมาเก็บ (hoarding) ไว้ในตู้เซฟ แทนที่จะเอาไปใช้จ่าย เงินหายไปจากระบบไปอยู่ในตู้เซฟตามบ้าน การกักตุนเงินสดเร่งสภาวะเงินฝืดในญี่ปุ่นให้รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก เอาล่ะครับ ไอ้แนวคิดที่ลดดอกเบี้ยหวังให้คนรีบใช้เงินหวังให้ธุรกิจรีบเร่งลงทุน ภาคประชาชนและภาคธุรกิจกลับกลัวอนาคตยิ่งขึ้น ถ้าคนแห่ถอนเงินมาเก็บใส่ตู้เซฟ ธนาคารกลางจะทำยังไงต่อไป..? ปัญหานี้เป็นแทบทุกประเทศพัฒนาแล้วนะครับ ลดดอกเบี้ย แต่คนไม่กล้าใช้จ่าย ธุรกิจไม่กล้าลงทุน เพราะไม่มั่นใจในอนาคต แต่ญี่ปุ่นนี่หนักที่สุดที่เห็นภาพได้ชัดเจน วิธีแก้ของธนาคารกลางหลายๆ ประเทศ ก็คือ พยายามสร้าง Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดขึ้นมา..!!! มันคือการแก้ปัญหาแบบกำปั้นทุบดิน ธนาคารกลางไม่อยากให้คุณถอนเงินไปใส่ตุ่ม ก็ยกเลิกเงินสดซะ ให้คุณถอนไม่ได้ ประเทศสวีเดนเป็นประเทศแรกที่เริ่มดำเนินนโยบายการกำจัดเงินสดทิ้งไป Riksbank ธนาคารกลางของสวีเดน ให้ความเห็นว่าการใช้เงินสดในสวีเดนจะลดลงอย่างรวดเร็วจนเหลือสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับเงินอิเลคโทรนิคใน 20 ปีหลังจากนี้ ในปัจจุบันทั่วโลกมีปริมาณเงินสด ประมาณ 10% จากเงิน M2 อธิบายให้เข้าใจภาพง่ายๆ (แต่ไม่ครอบคลุมนัก) ว่า M2 คือเงินทั้งหมดที่เป็นเงินสดรวมกับเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารทั้งโลก เป้าหมายของ Cashless Society ก็คือกำจัดไอ้เจ้า 10% นี้ทิ้งไป ทำไมต้องกำจัด..? เรามาทวนความเข้าใจกันอีกซักนิด ที่ผ่านมาธนาคารกลางหลายประเทศ (ยกเว้นสหรัฐที่เพิ่งเริ่มกลับมาเป็นดอกเบี้ยขาขึ้น) เชื่อว่าหน้าที่ของเขาคือจะต้องสร้าง “ระบบเศรษฐกิจในสภาวะดอกเบี้ยติดลบ (negative interest rates economy)” ให้กับโลกในระยะยาว เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน และการลงทุนของภาคเอกชน ด้วยความเชื่อว่าเมื่อเกิดการใช้จ่าย เศรษฐกิจจะพลิกฟื้นกลับมาได้ (ซึ่งในมุมมองผมเรื่องนี้เป็นความเชื่อที่ผิด) แต่ถ้าดอกเบี้ยติดลบจริง คนจะไม่ยอมเสียเปรียบธนาคาร เราจะฝากธนาคารไปทำไมถ้าจะทำให้เงินต้นลดลง..? ทางออกของคนก็คือ ถอนเงินมาเก็บใส่ตุ่มซะยังจะดีกว่า ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น เราเห็นกันอยู่แล้วว่าเงินสดจริงๆ ในโลกนี้มีแค่ 10% เมื่อเทียบกับปริมาณเงินฝาก ธนาคารที่ลดดอกเบี้ยจนเข้าขั้นติดลบ จะไม่จูงใจให้คนฝากเงินอีกต่อไป ธนาคารจะเกิดวิกฤติ Bank Run คือคนแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร จนเกินกว่าเงินสดที่ธนาคารมีสำรองอยู่จริง และสุดท้ายธนาคารก็จะอยู่ไม่ได้ และจะล้มละลายในที่สุด ดังนั้น มีนักคิดหลายคนที่มองเรื่อง cashless society เป็นทฤษฏีสมคบคิดแบบหนึ่ง (ยกตัวอย่างเช่น Martin Armstrong นักเศรษฐศาสตร์แหกคอกชื่อดังที่ทำนายราคาทองคำในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาแม่นเป๊ะยังกับตาเห็น) Martin Armstrong เชื่อว่า นโยบายดอกเบี้ยติดลบ จะเกิดขึ้นจริงได้ ถ้าล้มระบบ “เงินสด” ในเศรษฐกิจโลกสำเร็จ เมื่อเงินทุกบาททุกสตางค์จะอยู่ในระบบอิเลคโทรนิค คุณจะไม่มีตุ่มให้ซ่อนเงินอีกต่อไป คุณจะไปต่อแถวถอนเงินออกจากธนาคารไม่ได้อีกต่อไป การเก็บภาษีด้วยการลดดอกเบี้ยติดลบ จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น รัฐคงหวังว่า เมื่อคุณเก็บเงินใส่ตุ่มไม่ได้ คุณจะเริ่มกลัวว่าเงินอิเลคโทรนิคของคุณจะลดค่าลงเรื่อยๆ คุณจะเหลือทางเลือกสุดท้ายคือ “รีบใช้เงินซะ ก่อนที่มันจะหมดค่า” เมื่อประชาชนเริ่มใช้เงิน เมื่อเอกชนเริ่มลงทุน สุดท้าย เศรษฐกิจก็จะฟื้น (ซึ่งย้ำอีกครั้งเป็นครั้งที่ร้อยว่า มันคือความเชื่อที่ผิด) ไม่มีทางหรอกครับ ที่รัฐจะบังคับประชาชนได้!! ถ้าเงินสดถูกยกเลิกจริงๆ ในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนกลัวดอกเบี้ยติดลบ ก็คือ การโยกย้าย “เงิน” ไปเป็นสินทรัพย์อื่นๆ ที่จะช่วยคงอำนาจซื้อให้คุณได้ในระยะยาว ที่ดิน, ตลาดหุ้น, ทองคำ, (เว้นก็แต่พันธบัตรรัฐบาล เพราะมันก็จะติดลบตามดอกเบี้ย) สินทรัพย์ต่างๆ ที่เป็นแหล่งพักเงินได้ก็จะเริ่มเฟ้อ และมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดฟองสบู่ ลองคิดกันดีๆ นะครับ ไอ้เจ้า negative interest rates economy นี่คือระบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะคิด “ภาษีจากเวลา (tax on time)” ของคุณ ยิ่งเวลาผ่านไปนาน เงินคุณจะยิ่งลดน้อยลงเรื่อยๆ มันเป็นกรรมสองชั้นจากภาวะเงินเฟ้อ คือในยุคข้างหน้า นอกจากของจะแพงขึ้นเรื่อยๆ แล้วเงินเก็บของคุณจะค่อยๆ ลดจำนวนลงเรื่อยๆ ระยะยาวรัฐบาลพยายามรีดภาษีจากประชาชนมากขึ้นในทุกวิถีทางครับ Income Tax หรือ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (tax on income)” นั่นคือ เมื่อคุณมีรายได้ คุณจะต้องแบ่งส่วนหนึ่งของรายได้ที่คุณหามาได้ให้กับรัฐบาล เฉพาะคนที่มีรายได้เท่านั้นที่จะเสียภาษีตรงนี้ VAT ก็คือ “ภาษีจากการบริโภค (tax on consumption)” ทุกครั้งที่คุณควักกระเป๋าใช้จ่าย รัฐบาลจะดึงเงินส่วนนึงไปจากคุณ (VAT นี้โหดกว่าภาษีบุคคลธรรมดาอีก เพราะมันเก็บกับทุกคนที่มีรายจ่าย โดยไม่สนใจว่าเค้าจะมีรายได้หรือไม่ เด็ก 5 ขวบซื้อไอติมก็ไม่เว้น) QE ก็คือ “ภาษีจากการมีเงิน (tax on money)” ใครก็ตามที่มีเงินในกระเป๋า เงินของคุณจะเจือจางลงจากปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าคุณจะบริโภคหรือไม่ มีงานทำหรือไม่ (อันนี้โหดกว่า VAT เพราะ แม้แต่เด็ก 5 ขวบที่มีเงินในกระเป๋า แม้ไม่ซื้อไอติม เก็บเงินไว้เฉยๆ ก็จะโดนภาษีจาก QE) และเมื่อคนยังไม่ยอมไม่ใช้เงิน Negative interest rates จึงเกิดขึ้น ซึ่งมันก็คือ “ภาษีจากเวลา (tax on time)” ใครก็ตามที่ถือเงินไว้นานๆ เงินคุณจะลดลงจากดอกเบี้ยที่ติดลบ (อันนี้โหดกว่า QE เพราะนอกจากมูลค่าของเงินจะจะเจือจางลงจาก QE แล้ว จำนวนเงินก็ยังลดลงจากอัตราดอกเบี้ยติดลบอีกด้วย) นี่คือหนทางที่ระบบเศรษฐกิจโลกกำลังก้าวเดินไปหลังจากนี้ รัฐบาลประเทศมหาอำนาจยังคงพิมพ์เงินปริมาณมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก, เริ่มเก็บภาษีจากการเก็บเงินของคุณ, บีบบังคับห้ามไม่ให้คุณเก็บเงินไว้ที่อื่นที่รัฐควบคุมไม่ได้ (ในตุ่ม) เมื่อประชาชนไม่เชื่อฟัง โยกเงินไปซื้อทองคำ โยกไปซื้อหุ้น โยกเงินไปซื้อที่ดิน รัฐบาลก็จะตามไล่ล่าคุณอย่างไม่ลดละ ในอนาคตอาจจะมีการออกกฏห้ามอีกหลายอย่างเช่น ห้ามการถือครองทองคำ (อย่าขำไปนะครับ ปี 1933 รัฐบาลสหรัฐในยุคประธานาธิปดีรูสเวลท์ เคยออกกฏหมายห้ามการถือครองทองคำมาแล้ว), แร่เงิน, ขูดรีดภาษีเพิ่มขึ้นจากที่ดิน (ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีข้อเสียสำคัญคือ มันเคลื่อนที่ไม่ได้ อยู่ตรงนั้นให้รัฐรีดภาษีได้อย่างง่ายดาย) อนาคตที่เรากำลังจะต้องเจอครับ สภาวะเงินฝืดขั้นรุนแรงจากความกลัวของคน แต่มีการบวมพองของสินทรัพย์บางประเภทจากการโยกย้าย “เงิน” ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น ทองคำ และอสังหาริมทรัพย์ ตามด้วยการถูกตามล่าเงินของประชาชนจากรัฐบาลของพวกเค้าเอง PS. นี่เป็นอีกเหตุผลที่ผมเชื่อว่า Bitcoin เป็นนวัตกรรมการเงินแบบ Cashless Society ที่ยอดเยี่ยม แต่สุดท้ายมันจะไม่รอดพ้นเงื้อมมือการไล่ล่าของรัฐบาลได้ (ยังไงก็ยังจะเชียร์นะ) แท็ก: cashless-society Income Tax nirp QE TAX VAT นโยบายดอกเบี้ยติดลบ แชร์บทความ: ผู้เขียน Ran Pravithana นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิจัยด้าน Cognitive Science ผู้ก่อตั้ง Omicron Laboratory ศูนย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์เพื่อการเงินและการลงทุน และ Market Anyware บริษัท Fintech Startup ด้านการลงทุน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Top-down Space : คอมมอดิตี้บูม อยู่ไม่ไกลแล้วจากตรงนี้ - FINNOMENA เมื่อทั้งโลกยังไม่เห็นนโยบายใดๆ ที่ผ่านสภาคองเกรสคลอดออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของรัฐบาลนายทรัมป์ เรามาดูมุมมองจาก Mr.Messenger ผ่านบทความนี้แบบฉบับ Top-down Space กันครับ 26 ส.ค. 2560 บทความ Top-down SPACE ตอน Inflation เมื่อมันมา มันจะมาเร็วกว่าที่ทุกคนคิด ที่ผมเขียนไว้ในวันที่ 7 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยบอกว่าสัญญาณของการกลับมาของเงินเฟ้อเริ่มมีมาตั้งแต่ต้นปี โดยหลักๆมาจาก ธนาคารกลางสหรัฐฯกลับทิศนโยบายดอกเบี้ย และ สัญญาณเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่เริ่มขยับขึ้นจากฐานต่ำ ที่ต้นปี 2559 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 26 ดอลลาร์ มา ณ ตอนนี้ ราคาน้ำมัน Crude Oil เทรดอยู่เหนือระดับ 50 ดอลลาร์อีกครั้ง ที่จะไม่เหมือนกับที่คาดการณ์ไว้ในบทความนั้นก็คือ นโยบายการคลังในยุคประธานาธิบดีที่ชื่อ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ว่า จะมีการอัดฉีดเงินลงทุนจากภาครัฐฯตามที่หาเสียงไว้ แต่จนถึงตอนนี้ ทั้งโลกก็ยังไม่เห็นนโยบายใดๆ ที่ผ่านสภาคองเกรสคลอดออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงซักอย่าง สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่น และเสถียรภาพของรัฐบาลนายทรัมป์ ซึ่งถึงแม้พรรค Republican จะกุมเสียงข้างมากทั้งในสภาบนและสภาล่าง ก็ใช่ว่า การผ่านกฎหมายใดๆ จะราบรื่นอย่างที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ แถมเฟดเอง ก็ไม่ได้เล่นบทตามที่นายทรัมป์เขียนเอาไว้ในตอนหาเสียง โดยถึงแม้การประชุมกลางเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25pbs แต่ก็ส่งสัญญาณไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยบอกว่า ยังไม่ใส่ปัจจัยด้านมาตรการทางการคลังเข้าไปในประมาณการเศรษฐกิจ เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง ผลคือ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับลดลงทุกช่วงอายุ ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนค่าลงมาทันที นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนไปจากมุมมองเดิมที่ผมได้เชียนไว้เมื่อต้นเดือน ก.พ. นะครับ ขอย้อนไปอีกหนึ่งบทความ Top-down SPACE ตอน เมื่อกลิ่นสงคราม มาอยู่หน้าบ้านของเกาหลีใต้? ซึ่งเขียนเมื่อตอนวันที่ 14 มี.ค. ใจความก็คือ รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้และรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เห็นพ้องที่จะเดินหน้าติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธทาด (THAAD) ซึ่งสิ่งที่ทำ ก็เพื่อข่มขู่ และใช้ไม้แข็งกับเกาหลีเหนือ ไม่ใช่ใครอื่น สิ่งนี้ ทำให้จีนไม่พอใจเกาหลีใต้ ที่เชื้อเชิญมิตรต่างทวีปมาหน้าประตูบ้านตัวเอง และทำให้เหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง ล่าสุด สัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้มีคำสั่งปฏิบัติการยิงขีปนาวุธโจมตีซีเรีย เพื่อตอบโต้การใช้อาวุธสารเคมีต่อประชาชน ซึ่งสหรัฐฯเองเชื่อว่า เป็นฝีมือของกองทัพรัฐบาล ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีบาชา อัล-อัสซาด การมีคำสั่งจากประธานาธิบดีที่ชื่อ ทรัมป์ ครั้งนี้ อาจสร้างความแปลกใจให้กับคนส่วนใหญ่เหมือนกัน เพราะ ตัวนายทรัมป์เอง ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งปีที่แล้ว ก็กล่าวโจมตีรัฐบาลของนายบารัค โอบามา ว่าใช้งบกลาโหม ไปกับการต่อสู้กับสงครามที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตนเอง โดยนามทรัมป์ ประกาศไว้ว่าจะเน้นด้านความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของชาติ เป็นหลัก โดยจะเพิ่มงบใช้จ่ายด้านกลาโหม ให้ความสำคัญกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงเป็นสำคัญ และต่อต้านการก่อการร้าย แต่ปฏิบัติการโจมตีฐานทัพซีเรียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็แสดงเป็นนัยยะที่บอกได้ว่า นายทรัมป์ อาจจะเบนเข็ม และใช้นโยบายที่มีความยืดหยุ่น เพื่อให้ตนเองอยู่รอดครบสมัยมากกว่า หลังจากที่ตัวเขาเอง มีคำสั่งให้ถอนร่าง กม. ประกันสุขภาพ ฉบับใหม่ ที่มาทดแทน Obamacare หลังขาดเสียงหนุนจากคนในพรรครีพับลิกันกันเอง ซึ่งผลตอบรับจากเหล่าสมาชิกพรรค รวมถึงในเดโมเครตเอง ก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เพราะหลายฝ่าย มองและชื่นชมคำสั่งอันเด็ดขาดครั้งนี้ของนายทรัมป์ ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่นายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีน บินเข้าพบปะกับนายทรัมป์ที่รัฐฟลอริดา ซึ่งเรียกได้ว่า ยิงปืนครั้งเดียว ได้นก 2 ตัว ตัวแรกคือ เสียงสนับสนุนจากรัฐบาล และตัวที่ 2 คือ ขู่จีนกลายๆ ถึงการจัดการปัญหาที่คาบสมุทรเกาหลี แน่นอนว่า พอเหตุการณ์เป็นแบบนี้ ตลาดก็ตอบรับข่าว ด้วยการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลายปรับตัวสูงขึ้นทันที เพราะการดำเนินนโยบายทางนี้ของนายทรัมป์ ดูจะเข้าทางและได้รับการสนับสนุนอยู่พอสมควร โดยสาเหตุที่เหล่าสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นมานั้น ก็มาจากท่าทีของนานาประเทศ ต่อคำสั่งปฎิบัติการในซีเรีย เริ่มที่ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน บอกว่า การรุกรานซีเรียครั้งนี้ เป็นการรุกรานชาติอธิปไตย ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึง อาจเป็นการกระทำโดยอ้างเหตุผลที่มีการจัดฉากไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึง อิหร่าน ประธานาธิบดีโรฮานี แถลงว่า การโจมตีซีเรียของรัฐบาลสหรัฐฯ ยิ่งเป็นการสนับสนุนก่อการร้าย ทั้งๆที่เคยบอกว่า ตนเองจะต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย และเรียกร้องให้องค์กรอิสระเข้าตรวจสอบอาวุธเคมีที่ซีเรียว่ายิงมาจากฝ่ายไหนกันแน่ ตึงเครียดเพิ่มขึ้นขนาดนี้ แน่นอนว่า สินค้าโภคภัณฑ์ก็ปรับตัวขึ้นรับข่าว โดยเฉพาะทางคำ และน้ำมันนะครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640899 แท็ก: Commodity DIY Inflation Top-down แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Dovish กับ Hawkish คืออะไร? มีผลกับ Fund Flow อย่างไร? - FINNOMENA เคยสงสัยไหมครับว่าการดำเนินนโยบายการเงินแบบ Dovish และ Hawkish คืออะไร? แล้วแต่ละแบบมีผลกับ Fund Flow อย่างไร? 7 ก.พ. 2565 นักลงทุนที่ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมาซักระยะ จะรู้ว่า สิ่งที่มีผลกับการไหลเข้าออกของเงินทุนในแต่ละประเทศ ก็คือ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางแต่ละแห่ง คราวนี้ พอพูดถึงวิธีการดำเนินนโยบายการเงิน (Monetary Policy) จริงๆ ตามหลักแล้ว หน้าที่ของธนาคารกลาง หรือ แบงก์ชาติ ก็จะเป็นเรื่องของการดูแล และกำกับ 3 สิ่งควบคู่กันไป นั่นก็คือ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) โดยใช้กฎหมายบังคับ และ ดูแลด้วยการปรับ ลด/เพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า ควบคู่ไปกับ การปรับ ลด/เพิ่ม อัตราดอกเบี้ย ผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ทั้งหมดที่บอกนี้ ธนาคารกลางแต่ละประเทศ ก็จะมีกรอบนโยบายในการบริหารที่แตกต่างกันในรายละเอียด ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว นะครับ โดยสำหรับเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงินของแบงก์ชาติเรา (ประเทศไทย) ก็มีการกำหนดกรอบไว้ตามนี้ เป้าหมายเงินเฟ้อสำหรับระยะปานกลาง และสำหรับปี 2560 “กนง. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นชอบร่วมกันในการกำหนดให้คงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 2.5 ± 1.5 เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และสำหรับปี 2560 โดยมองว่า อัตราเงินเฟ้อในระดับนี้ จะเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว … “ ทั้งนี้ ก็เหมือนกับประเทศอื่นๆนะครับ ที่จะใช้เป้าหมายเงินเฟ้อ มาเป็นตัวกำหนดว่าจะดำเนินนโยบายการเงินในทิศทางไหน ดังนั้น ในรายงานการประชุม ทุกๆการประชุมของธนาคารกลาง สิ่งที่สำคัญที่นักลงทุนต้องดูนอกจาก การคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคตในมุมมองของผู้กำหนดนโยบายแล้ว อีกตัวหนึ่งที่สำคัญก็คือ มุมมองต่อเงินเฟ้อในอนาคต (Inflation Expectation) พิมพ์มาตั้งนาน เพิ่งจะเข้าสู่หัวข้อเรื่อง ก็ตรงนี้ละครับ 555+ มุมมองต่อเงินเฟ้อของเหล่า Policy Maker ตรงนี้ ถือว่าสำคัญครับ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะมีมุมมองความคิดที่เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับตัวแปร การคาดการณ์ปัจจัย และความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งยากมากที่จะคาดการณ์ได้ตรงเป๊ะๆ นี่ละครับ เลยทำให้นักเศรษฐศาสตร์ที่พยายามสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์มาคาดการณ์เงินเฟ้อ หรือ เหล่า Policy Maker ที่ต้อง Take View หรือ มีมุมมองต่อตัวเลขนี้ในทุกๆการประชุม เลยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความกังวลเงินเฟ้อจะเร่งตัวในอนาคต (Hawkish) กลุ่มที่ไม่มีความกังวลเงินเฟ้อจะเร่งตัวในอนาคต (Dovish) Hawkish มาจากคำว่า Hawk หรือ เหยี่ยว ซึ่งแสดงถึงความดุดัน ก้าวร้าว และไม่ประนีประนอม และเมื่อรวมมุมมองต่อการจัดการกับเงินเฟ้อของกลุ่ม Hawkish ก็เลยทำให้ นโยบายการเงินที่ใช้ จะเป็นนโยบายการเงินแบบหดตัว (Contractionary Monetary Policy) วิธีการก็คือ จะใช้วิธีรับมือกับเศรษฐกิจด้วยการ… ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มอัตราเงินสำรองของธนาคาร ขายพันธบัตรรัฐบาลออกจากงบดุลเพื่อดูดสภาพคล่องออกจากระบบ ส่วน Dovish มาจากคำว่า Dove (นกพิราบ) สัญลักษณ์แห่งความสันติภาพ ซึ่งแสดงถึงความประนีประนอม ยืดหยุ่น อะลุ่มอล่วย และเมื่อรวมมุมมองต่อการจัดการกับเงินเฟ้อของกลุ่ม Dovish แล้ว นโยบายการเงินที่ใช้ จึงเป็นแบบ ขยายตัว (Expansionary monetary policy) คือ ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการคือ… ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลดอัตราเงินสำรองของธนาคาร เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ และกดอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาว ซึ่งจะเห็นว่า เป็นแนวคิดที่สวนทางกันกับ Hawkish แล้วทำไม แต่ละคนถึงมีมุมมองที่ต่างกันได้? จริงๆ มันก็อยู่ที่เงื่อนไขเศรษฐกิจครับ หากตอนนั้น เศรษฐกิจมันถดถอย หรือตกต่ำชัดเจน อันนี้ก็คงไม่มีคนเถียงได้หรอกว่า ต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และเช่นเดียวกันกับถ้าเศรษฐกิจมันร้อนแรงเกินไป เงินเฟ้อเร่งตัวสูงอย่างรวดเร็วจนมีสัญญาณฟองสบู่ในเศรษฐกิจ แบงก์ชาติก็ควรรับมือด้วยการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว เพื่อลดความร้อนแรงลง แต่ในตอนที่เศรษฐกิจมันครึ่งๆ กลางๆ ตอบได้ไม่ชัดว่า ดี หรือ ไม่ดี (โดยมีหลักฐานทางข้อมูลมาสนับสนุนนะ ไม่ใช่รู้สึกเอา) ความเห็นก็ย่อมแตกต่างได้บ้างเป็นธรรมดา อย่าง ณ ตอนนี้ ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มฟื้นตัว และเฟดก็ขยับขึ้นดอกเบี้ยมาแล้ว 2 ครั้งจากจุดต่ำสุด เราก็เห็นจากคำให้สัมภาษณ์กับสื่อของประธานเฟดสาขาย่อยบางสาขาว่า การกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ หรือ ขึ้นดอกเบี้ยช้าเกินไป (มีความเป็น Dovish) อาจไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯได้จริง และนำมาซึ่งปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ด้านการลงทุน เนื่องจากมองว่า ปัญหาดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง นโยบายการเงินไม่ได้สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่มันต้องแก้ด้วยนโยบายส่วนอื่นแทน จะเห็นว่า มุมมองต่อเศรษฐกิจที่ต่างกัน ก็นำมาซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ต่างกันนั่นเอง ส่วนวิธีใดจะถูก จะผิด เรามีความเห็นกับวิธีการนั้นๆได้ แต่ความจริงเราก็ไม่สามารถรู้ได้ทันทีครับ เพราะเมื่อเลือกแนวทางในการดำเนินนโยบายทางใดไปแล้ว ก็แปลว่า อีกทางจะถูกปัดตกลง จนกว่าสถานการณ์จะกลับมาให้ต้องพิจารณาอีกครั้ง พูดง่ายๆคือ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์เอง ความเป็น Dovish และ Hawkish นี่ ส่งผลถึง Fund Flow นะ มันก็เลยมาสู่บทสรุปที่ว่า หากคณะกรรมการนโยบายการเงินในชุดนั้นๆ มีความเป็น Dovish สูง นโยบายที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น 1. ลดอัตราดอกเบี้ย 2. ลด/คงอัตราเงินสำรองของธนาคาร 3. ยังไม่ขายพันธบัตรรัฐบาลในงบดุลออกมา ก็แปลว่า ต้นทุนการเงินของระบบเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับต่ำ ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ยังต่ำ ก็กระตุ้นให้คนโยกเอาเงินออกมาลงทุนมากขึ้น การส่งออกก็จะยังดีขึ้น แล้วก็มีผลถึงค่าเงิน ที่จะมีแนวโน้มอ่อนค่าตามไปด้วย แต่ถ้า ความอยากขึ้นดอกเบี้ยของคณะกรรมการมีมาก เพราะกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ก็จะแปลว่า ต้นทุนการเงินของระบบเศรษฐกิจจะปรับเพิ่มสูงขึ้น ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ปรับตัวสูงขึ้น ก็ไม่ดีต่อการถือตราสารหนี้ เพราะพอ Mark to Market แล้วราคาก็จะลดลง พอดอกเบี้ยสูงขึ้น ใครที่เคยกู้เงินต้นทุนต่ำ ก็อยากจะจ่ายคืนหนี้ ใครที่เอาเงินไปลงทุนนอกประเทศ เห็นในประเทศดอกเบี้ยดีขึ้น ก็เอาเงินกลับมา สรุปก็เลยกลายเป็นว่า ค่าเงินจะมีแนวโน้มแข็งค่าครับ กลับมาดูว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสำคัญๆของโลก เขาอยู่ค่ายไหนกันบ้าง? ที่แรกเลยครับ FOMC หรือ คณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Reserve) เนื่องจาก เฟด มีหลายสาขาย่อย แต่ละปีจะมีการเลือกประธานสาขาย่อยรวมประธานเฟดทั้งหมด จาก 17 คน เหลือ 9 คน ไปนั่งประชุมทุกๆ 45 วัน และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป จากรูปจะเห็นว่า คณะกรรมการชุดนี้ มีความเป็น Dove ค่อนข้างสูงทีเดียว ที่ต่อมาคือ ECB ถือว่ามีความหลากหลาย และไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง โดย Executive Board ใน ECB แต่ละคนต่างอยู่ใน Level ของความ Dove ไปจนถึง Hawk คนละระดับกันเลยทีเดียว มาที่ BOE ของอังกฤษ จากการวิเคราะห์ของทีม Citi ก็จะเห็นว่า คละกันไปเช่นเดียวกัน แต่ข่าวว่า นาย Kristin Forbes ซึ่งโหวตให้ BOE ขึ้นดอกเบี้ยเดือนนี้ กำลังจะออกจากคณะกรรมการในเดือน มิ.ย. ปีนี้แล้วนะครับ ที่สุดท้าย BOJ ของญี่ปุ่น ชัดเจนเลยว่าสมาชิก 10 คน เป็น Hawk แค่ 2 คนเท่านั้น เลยต้องทำ QE กันต่อไป (หยุดไม่ได้ง่ายๆหรอก ฮ่าๆ) โทนของผลการประชุมนโญบายการเงินแต่ละครั้ง จะทำให้ตลาดตีความ และมีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน หากมีการเปลี่ยนแปลงมุมมองของคณะกรรมการแต่ละคน และแน่นอน ยิ่งมีผล หากโทนของที่ประชุมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น Dove มา 4-5 ปี อยู่ดีๆจะ Hawk ซะแล้ว ดังนั้น การติดตามผลการประชุมนโบายการเงิน และมุมมองจากธนาคารกลาง จึงเป็นอีกอย่างที่ชำเลืองมองไว้บ้าง จะทำให้เราเห็นร่องรอยได้บ้างว่า Fund Flow จะขยับหรือบ้ายไปทางไหนครับ แหล่งที่มาข้อมูล :- https://en.wikipedia.org/wiki/Monetary_policy http://www.businessinsider.com/policy-hawk-and-dove-at-the-fed-ecb-boe-and-boj-2017-3 https://www.wsj.com/articles/SB10001424127887323309604578429281779707410 แท็ก: BOE BOJ Dovish ECB FED FOMC Fund Flow Hawkish Monetary Polcity Policy Rate QE นโยบายการเงิน ศัพท์การเงิน อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Top-down Space : มองตลาดด้านมิติความเสี่ยง เลี่ยงปรับฐาน และโอกาสลงทุน - FINNOMENA ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุการณ์หนึ่งที่ถูกพูดถึงก็คือ ประธานาธิบดี ของสหรัฐฯ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีคำสั่งถอนการลงมติร่างกฎหมาย "Trumpcare” แทนการใช้กฎหมาย “Obamacare” หลังตรวจสอบแล้วว่า มีคะแนนเสียงสนับสนุนไม่พอในสภาฯ เหตุการณ์นี้บอกอะไรเราได้บ้าง? 26 ส.ค. 2560 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุการณ์หนึ่งที่ถูกพูดถึงก็คือ ประธานาธิบดี ของสหรัฐฯ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีคำสั่งถอนการลงมติร่างกฎหมาย “Trumpcare” แทนการใช้กฎหมาย “Obamacare” หลังตรวจสอบแล้วว่า มีคะแนนเสียงสนับสนุนไม่พอในสภาฯ เรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน เพราะจากสถิติการทำงานของประธานาธิบดีของสหรัฐฯในอดีต ในช่วง 100 วันแรกของการดำรงตำแหน่ง มักจะเป็นช่วงที่รัฐสภาฯฯสามารถผ่านร่างกฎหมายต่างๆได้ง่ายดาย แต่การที่ทรัมป์สั่งถอนการลงมติครั้งนี้ ก็บ่งบอกว่า ในพรรครีพลับริกันเอง ก็ยังคงมีความขัดแย้ง และเป็นงานสำคัญของนายทรัมป์ที่จะผสานรอยร้าวในพรรคที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ หากมีความตั้งใจที่จะผ่านกฎหมายอื่นๆตามที่ตนได้หาเสียงไว้ ทำให้นักลงทุนในตลาดตีความกันว่า งานของรัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การบริหารของนายทรัมป์นี้ น่าจะมีงานยากรออยู่ข้างหน้าอีกมาก และเริ่มเชื่อว่า นโยบายหลายอย่างที่พยายามจะดันผ่านกฎหมาย น่าจะมีโอกาสทำไม่ได้จริงๆหลายนโยบายด้วยกัน ดังนั้น เราจึงน่าจะเห็นการชะลอตัว หรือ การพักฐานของตลาดหุ้นสหรัฐฯบ้างในระยะสั้น อีกเรื่องที่กระทบกับตลาดหุ้นก็คือ ผลการประชุม FOMC ออกมาเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยที่ประชุมมีมติขึ้น benchmark interest rate อีก 0.25% ขึ้นมาอยู่ที่ 0.75%-1.00% ด้วยมติด้วยคะแนนเสียง 8-1 แต่คำสัมภาษณ์ของเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดนั่น ทำให้ตลาดเชื่อว่า เฟดจะค่อยๆทยอยขึ้นดอกเบี้ยอย่างช้าๆ (Dovish Hike) ซึ่งเมื่อรวมกับประเด็นคำสั่งถอนการลงมติร่างกฎหมาย “Trumpcare” ก็ยิ่งทำให้ตลาดเชื่อว่า โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวเร็วขึ้น หรือสัญญาณเงินเฟ้อมาเร็ว น่าจะยังไม่เห็นในเร็ววัน น่าสนใจนะครับ เพราะ สัปดาห์ที่ผ่านมา มีแรงเก็งกำไรใน Call Option บน VIX Index ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเหตุการณ์ BREXIT ปีที่แล้ว แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็คือ มีนักลงทุนคาดการณ์ว่าความผันผวนของดัชนี S&P500 จะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งเวลาที่ VIX Index ปรับตัวสูงขึ้น แทบทุกครั้งก็ตามมาด้วยการปรับฐานในดัชนี S&P500 ส่วนครั้งนี้จะเป็นแบบนั้นไหม ต้องมาติดตามกันต่อ ที่ยุโรป ก็มีภาพคล้ายๆกันกับที่สหรัฐฯ ก็คือ เทรดเดอร์ในยุโรป เริ่มเปิด Put Position ในดัชนี STOXX มากขึ้นในช่วงเดือนนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเมืองที่กำลังมาถึง เอาใกล้ๆก็คือ การที่อังกฤษกำลังจะบังคับใช้มาตรา 50 ในสิ้นเดือนนี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการออกจากสหภาพยุโรป โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า น่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี เหล่าเทรดเดอร์ทำแบบนี้ ก็แปลว่า เห็นถึงความเสี่ยงบางอย่างว่ามีโอกาสเกิดมากขึ้น จึงทำให้ป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เอาไว้ ผมลองกลับไปดูข้อมูลย้อนหลังในอดีต พบว่า ช่วงไหนที่ตลาดหุ้นเริ่มมีความผันผวนสูงๆ หรือ อยู่ในรอบของการปรับฐาน มักจะเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯแข็งค่าด้วย แต่เมื่อย้อนกลับมาดูทิศทางค่าเงินดอลล่าสหรัฐฯ ณ ตอนนี้ พบว่า ค่าเงินกลับอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่ามา 1-2 สัปดาห์แล้ว การที่ค่าเงิน USD อ่อนค่า ส่วนหนึ่งก็มาจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ตลาดคาดว่าจะไม่เร่งขึ้นอย่างรวดเร็ว งั้นลองนึกภาพตามผมนะครับ ค่าเงิน USD อ่อนค่า ตอนนี้ ขณะที่ตลาดกลัวความเสี่ยงที่อยู่ตรงน่า ทั้งเปิด Call Option ใน VIX Index และ เปิด Out Option ในดัชนีหุ้นยุโรป STOXX ถ้าเกิดแรงขายจริง เงินจะย้ายไปอยู่ที่ไหน นี่ละครับ โอกาสในการลงทุนรออยู่ตรงหน้านี่เอง ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640767 แท็ก: Brexit DIY FOMC Obamacare STOXX Top-down Trumpcare VIX Index แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ ในไตรมาส 2 - FINNOMENA บทความ "มุมมอง ดร.วิศิษฐ์" ในสัปดาห์นี้ มาพร้อมมุมมองในไตรมาส 2 และปัจจัยบวก ปัจจัยลบ จะเป็นอย่างไร เราในฐานะนักลงทุนต้องเตรียมตัวกับปัจจัยอะไรบ้างมาดูพร้อมกันเลยครับ 25 พ.ย. 2563 ในประเทศสหรัฐ หลังจากที่ไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายประกันสุขภาพใหม่หรืออเมริกันเฮลธ์แคร์ ทำให้นักลงทุนมีความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับการบังคับใช้นโยบายของ Trump สิ่งที่น่าสนใจคือ ค่าเงิน US$ ได้ตกต่ำสุดนับตั้งแต่ Trump ได้เลือกเป็นประธานาธิบดี เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว บ่งบอกถึง Theme American First เริ่มมีความน่าสงสัย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ EM แต่จะเกิดภาวะ Risk off (นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดที่พัฒนาแล้วมากขึ้น) สำหรับตลาดพันธบัตรไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติสูงถึง 1.2 หมื่นล้านบาทโดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะยาว หลังตลาดคาดการณ์ว่านโยบายของ Trump อาจจะไม่ราบรื่นนัก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยรุ่นอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.8% ในขณะที่อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเช่นกันจาก 2.5% มาอยู่ที่ราว 2.38% ในช่วงสั้น 1-2 เดือน คาดว่าตลาด Dow Jones จะพักฐานและเป็นลักษณะทรงกับทรุด แต่ตลาดหุ้นไทยจะ Outperform กว่าสหรัฐ คาดว่าประธานาธิบดี Trump จะยังคงผลักดันการปฏิรูปภาษี ซึ่งครอบคลุมทั้งภาษีนิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดาโดยภาษีนิติบุคคลอาจจะลดลงมาที่ 20% จาก 35% คาดว่าสามารถเข้าสู่สภาคองเกรสในเดือน ส.ค. เป็นอย่างเร็วหรือเดือน ต.ค. เป็นอย่างช้า ในช่วงสั้น 1-2 เดือน คาดว่าตลาดหุ้น Dow Jones จะพักฐานและเป็นลักษณะทรงกับทรุด แต่ตลาดหุ้นไทยจะ Outperform ในช่วงครึ่งปีหลัง เราจะเห็นปรากฏการณ์นโยบายดอกเบี้ยที่มีความตึงตัวมากขึ้น เช่น การที่ธนาคารกลางของหลายประเทศมีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยพร้อมกัน เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางจีน และ ECB ที่จะหยุดการทำ QE ในไตรมาส 4 ในปี 2018 อาจจะต้องระวังเรื่องการหดตัวของ Balance Sheet ของ Fed ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้ US$ แข็งค่าขึ้นมาก ความเสี่ยงหางอ้วนของปี 2018 คือ การหดตัวของ Balance Sheet ของ Fed ผสมกับการขึ้นดอกเบี้ย 2-3 ครั้งใน 12 เดือนข้างหน้า และการออกกฎหมาย Repatriation Tax ที่จะส่งผลให้เงิน US$ ไหลกลับเข้าสู่สหรัฐมากขึ้น มุมมองในไตรมาส 2 ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM equity market) กำลังเข้าสู่ช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจมีปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น หรือ Reflation in 2Q17 ส่งผลให้เกิด Risk Appetite ในตลาดหุ้นเกิดใหม่ ซึ่งเป็นมุมมองที่อาจจะขัดแย้งความรู้สึก ความรู้สึกของผู้โดยส่วนใหญ่ ณ ปัจจุบันนี้ ในปี 2017 ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรก สินทรัพย์เพื่อการลงทุนเกือบทุกประเภทจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกยกเว้นสินทรัพย์ประเภทน้ำมัน ในไตรมาส 2 คาดว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐหรือ Bond Yield จะเป็นเป็นคุณกับ Equity market in EM ซึ่งจากSET index/US10Y bond บ่งชี้ว่า upside ของ SET Index อาจอยู่ที่ 6% ภายใน 3 เดือนข้างหน้า ดังนั้นจึงคาด SET Index ในไตรมาส 2 นี้จะอยู่ที่ระดับ 1620-1640 โดยกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัว outperform โดยปกติ นับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมาหรือ (สถิติ 15 ปี เป็นต้นมา) ช่วง Backwardation ของราคาน้ำมันจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.9% ใน 1 เดือน 8.4% ใน 3 เดือน สำหรับไตรมาส 2 นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทน 3.8% ต่อไตรมาสโดยเฉลี่ย ซึ่งนับเป็นไตรมาสที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ในแต่ละปีโดยยังไม่นับเงินปันผล ในขณะที่ไตรมาสหนึ่งให้ผลตอบแทน 2.9% โดยเฉลี่ยไตรมาส 3 ให้ผลตอบแทน 0.7% โดยเฉลี่ยแต่เต็มไปด้วย Tail Risk และไตรมาส4 ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 2.4% มองว่าตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 2 นี้จะอยู่ในช่วง Sideway up แต่จะเข้าสู่ช่วงตลาดหมีในไตรมาส 3 ดังนั้นจึงแนะนำให้ขายหุ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน Our buy theme: (1) ปันผลดี (2) ราคาประเมินยังถูก และ (3) มีการเติบโต และกลุ่ม Turnaround ปัจจัยบวกในเชิง Fund Flow โลก ตลาดได้คาดการณ์หรือ Pricing ถึงโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจำนวน 2 ครั้งไปเกือบหมดแล้ว โดยคาดเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเป็น 1.25-1.50% ในปี 2017 สกุลเงินของประเทศในตลาดเกิดใหม่ อย่างเช่น แรนด์ของแอฟริกาใต้ หรือเรียลของบราซิล จะเริ่ม outperform มูลค่าหุ้นในตลาดเกิดใหม่ถูกกว่ามูลค่าในตลาดพัฒนาแล้วประมาณ 30% และอยู่ในระดับมูลค่าที่ต่ำ ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดมีแนวโน้มเข้าสู่ช่วง backwardation ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ และที่สำคัญคือ การประชุมของ OPEC วันที่ 25 พฤษภาคม ซึ่งมีโอกาสที่ OPEC และรัสเซียที่จะขยายการลดการผลิตต่อไป หรือ Extend Cut ปัจจัยบวกภายใน การฟื้นตัวของรายได้เกษตรกรและการผลิตรถยนต์ คาดประมาณการณ์การกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นหลังประกาศงบไตรมาส 1 ปัจจัยลบ ยังไม่มีการปรับเพิ่มประมาณการสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย โดย EPS ในปี 2017 ยังอยู่ที่ 102-103 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตามเราคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรหลังประกาศผลประกอบการไตรมาส 1เราคาดว่าประมาณการกำไรของบริษัทที่จะถูกปรับเพิ่มขึ้นในปีนี้ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน (ราคาน้ำมัน Brent ปัจจุบันอยู่ที่ 51 เหรียญต่อบาร์เรลเทียบกับ 38 เหรียญ / บาร์เรลใน 1Q16) กลุ่มผู้ผลิตถ่านหิน กลุ่มผู้ผลิต PVC กลุ่ม cyclical กลุ่มธนาคาร กลุ่ม automobile กลุ่มสินค้าเกษตร The biggest tail risks: ภาษีท้องถิ่น จับตา bad surprise: US border-adjustment tax หุ้น Dow Jones และ Euro จะมีลักษณะทรงกับทรุดในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า Underperform sector กลุ่มที่ Underperform คือ กลุ่มที่มี Valuation สูง แต่การเติบโตไม่แน่นอน กลุ่ม consumer, contractor and hospital (high valuation และการเติบโตของกำไรที่ชะลอตัว) แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เงินยังไหลเข้าตราสารทุน แต่ไม่ใช่หุ้นสหรัฐฯอีกต่อไป? - FINNOMENA สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประชุม FOMC หรือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติขึ้น benchmark interest rate อีก 0.25% ขึ้นมาอยู่ที่ 0.75%-1.00% คำถามคือ ถ้าเงินไหลเข้าตราสารทุน แต่ไม่ใช่หุ้นสหรัฐฯ แล้วไปที่ไหน? 23 มี.ค. 2560 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประชุม FOMC หรือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งผลการประชุมก็อย่างที่พวกเราทุกคนทราบกันนะครับว่า ที่ประชุมมีมติขึ้น benchmark interest rate อีก 0.25% ขึ้นมาอยู่ที่ 0.75%-1.00% ด้วยมติด้วยคะแนนเสียง 8-1 เสียง โดยที่ประชุมมีการเปิดเผย Dot Plot และแสดงให้เห็นว่า เฟดยังคงเชื่อว่า จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 2 ครั้งในปีนี้ รวมทั้งปี 2017 คือ ขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 3 ครั้ง และอีก 3 ครั้งในปี 2018 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ตั้งแต่การประชุมเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ก็มอง ผลการประชุม และการให้สัมภาษณ์ของนางเจเน็ต เยลเลนใน Press Conference ครั้งนี้ว่า เฟดมีทีท่าระมัดระวังมากขึ้น (Dovish Tone) โดยตอนหนึ่ง พูดถึงนโยบายการคลังว่า ไม่ได้เป็นปัจจัยในการพิจารณาในการประชุม จนกว่าจะมีนโยบายดังกล่าวออกมาจริงๆถึงจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง รูปที่ 1 : ประมาณการดอกเบี้ยนโยบายของเฟด (Dot Plot) ในวันที่ 14-15 มี.ค. 2560 แหล่งข้อมูล : Bloomberg (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มี.ค. 2017) ความคิดของนักวิเคราะห์ และนักลงทุนส่วนใหญ่ ณ ตอนนี้ จึงมองย้อนกลับมาว่า ที่ผ่านมา ตลาดคาดหวังสูงเกินไปหรือเปล่าว่า เฟด จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ซึ่งสิ่งที่มีอิทธิพลต่อมุมมองนี้ก็คือ การที่นายทรัมป์ อาจมีปัญหาติดขัด หรือมีอุปสรรค ในการปล่อยนโยบายที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจ ทั้งลดภาษี ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการผ่อนคลายกฎหมาย จนถึงตอนนี้ ก็ผ่านครึ่งทางของ 100 วันแรก ของการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯของนายทรัมป์ อีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนว่า ตลาดมีความคาดหวังต่อนายทรัมป์ลดลงก็คือ จากข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกจาก Bloomberg ที่มีต่อ GDP Growth ในปี 2017 ของประเทศสหรัฐฯ จะพบว่า ตลาดปรับลดมุมมองต่อ GDP Growth ปี 2017 จากเดิม 2.30% เหลือ 2.20% หลังการประชุมเฟด รูปที่ 2 : ประมาณการ GDP 2017 ของสหรัฐฯ (QoQ%) แหล่งข้อมูล : Bloomberg (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มี.ค. 2017) ดังนั้น โอกาสการปรับฐานที่อาจจะเกิดขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จึงสูงตามไปด้วย และเมื่อวานนี้ ทั้งดัชนี Dow Jones และ S&P500 ก็เริ่มเข้าสู่รอบการปรับฐาน โดยเป็นการปิดตลาดติดลบมากกว่า 1% เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน แต่การปรับฐานรอบนี้ อาจไม่ได้ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนตามไปด้วยในระยะยาว ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะ การที่ค่าเงิน USD กลับมาอ่อนค่า พร้อมกับการปรับตัวลดลงของ Bond Yield ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีกระเงินไหลเข้าตลาดหุ้นเกิดใหม่ทันที จากข้อมูลล่าสุด เราเริ่มเห็นกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นเกิดใหม่ โดยข้อมูลล่าสุดจาก Bloomberg ก็พบ Inflow ไหลเข้าลงทุนใน MSCI Emerging Market Index ETF สัปดาห์ที่ผ่านมาสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2016 ที่ผ่านมาทีเดียว รูปที่ 3 : กระแสเงินทุนไหลเข้ากองทุน MSCI Emerging Markets Index ETF รายสัปดาห์ แหล่งข้อมูล : Bloomberg (ตั้งแต่ พ.ค. 2016 – มี.ค. 2017) พอเข้าไปดู Fund Flow ในรายละเอียดก็พบว่า ประเทศอย่างอินเดีย นับตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา มีเงินลงทุนไหลเข้ามากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปี 2015 ทีเดียว เพราะมีปัจจัยอีกเรื่องคือ การเลือกตั้งท้องถิ่นในประเทศที่พรรคจากรัฐบาลได้คะแนนเสียงชนะคู่แข่งขาดลอย รูปที่ 4 : กระแสเงินทุนไหลเข้ากองทุน iShares MSCI India ETF รายสัปดาห์ แหล่งข้อมูล : Bloomberg (ตั้งแต่ ม.ค. 2016 – มี.ค. 2017) อีกประเทศที่มี Fund Flow ไหลเข้าอย่างมีนัยสำคัญก็คือ ตลาดหุ้นมาเลเซีย โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือเป็นสัปดาห์ที่มีเงินลงทุนไหลเข้าเยอะที่สุดในรอบ 5 ปีทีเดียว รูปที่ 5 : กระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นมาเลเซีย แหล่งข้อมูล : Bloomberg (ตั้งแต่ ม.ค. – มี.ค. 2017) จากหลักฐานเรื่อง Fund Flow ไหลเข้านี้ ก็ถือว่าสอดคล้องกับมุมมองของ INFINITI ที่มีมุมมองตั้งแต่ต้นปีว่า มีโอกาสที่เราจะได้เห็นตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) กลับมาเอาชนะตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) รวมถึง เราน่าจะเห็นกระแสเงินไหลออกจากตราสารหนี้ เพราะถึงอย่างไร เฟดก็จะทยอยขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลให้ Bond Yield ค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นในระยะยาว และราคาตราสารหนี้ก็จะผันผวนในช่วงเวลาแบบนี้ สรุปโดยรวมคือ เหมือน Fund Flow จะชะลอการไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯซักระยะ เพื่อรอดูท่าทีและนโยบายของรัฐบาลนายทรัมป์ และจนกว่าที่เฟดจะเริ่มส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง (น่าจะเป็นครึ่งปีหลัง) ก็เท่ากับตอนนี้ มีโอกาสให้ตลาดหุ้นในแถบตลาดเกิดใหม่มีโอกาสได้วิ่งบ้าง ส่วนจะมาก หรือ น้อยอย่างไร หรือไม่เป็นอย่างที่ผมวิเคราะห์ในวันนี้ ก็คงต้องมาดูที่ปัจจัยอีก 2 ปัจจัยที่มีน้ำหนักไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดโลก และการเลือกตั้งครั้งสำคัญในฝรั่งเศส ว่าจะทำให้เกิด FREXIT ได้เหมือนกับ BREXIT ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้วรึเปล่า แหล่งที่มาข้อมูล : Bloomberg คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: DM EM FED FOMC Fund Flow ตลาดพัฒนาแล้ว ตลาดหุ้นเกิดใหม่ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (6 - 10 กุมภาพันธ์ 2560) - FINNOMENA เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐได้ปรับตัวดีขึ้นตามการเพิ่มตัวของ Nonfarm Payroll ที่เพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่ง ในขณะที่ Consensus มองว่า 180,000 ตำแหน่ง ในตัวเลขล่าสุด มาดูมุมมองดร.วิศิษฐ์ ต่อสินทรัพย์ต่างๆ ในสัปดาห์นี้กันครับ 6 พ.ย. 2563 เศรษฐกิจสหรัฐได้ปรับตัวดีขึ้นตามการเพิ่มตัวของ Nonfarm Payroll ที่เพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่ง ในขณะที่ Consensus มองว่า 180,000 ตำแหน่ง ในตัวเลขล่าสุด แต่ค่าจ้างรายชั่วโมงลดลงจาก 2.8% มาสู่ 2.5% yoy การเติบโตของค่าแรง (Wage growth) กลับอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีก่อน (2.5%) ซึ่งค่าแรงที่เติบโตช้าถือเป็นประเด็นสำคัญที่ตลาดจับตามอง บ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และไม่มีความกดดันเรื่อง Demand Pull Inflation ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ราว 2.45% ในขณะที่อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยเองก็มีทิศทางเช่นเดียวกับพันธบัตรสหรัฐโดยปรับตัวลดลงเช่นกัน เนื่องด้วยแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามายังตลาดตราสารหนี้ไทยทั้งในพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว ตลาดทุนทั่วโลกยังคงอยู่ในภาวะ Risk on แต่เม็ดเงินของนักลงทุนต่างประเทศที่ซื้อหุ้นจะลดลงจนกว่าจะมีปัจจัยใหม่เข้ามาสนับสนุน และมองว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของตลาดหุ้นไทยคือ ผลการประกอบการบริษัทในไตรมาส 1 จะเป็นตัวกำหนดว่าตลาดหุ้นไทยจะทดสอบ 1650 หรือมากกว่านั้นในครึ่งปีแรกของปี 2017 หรือไม่? ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตรระยะสั้น 2.3 หมื่นล้านบาท และซื้อพันธบัตรระยะยาว 6.5 พันล้านบาท แต่ทำการ Short TFEX ประมาณ 2.3 หมื่นล้านสัญญา และขายหุ้น 4 พันล้านบาท บ่งบอกว่าตลาดหุ้นในระยะสั้นจะ Sideway เพื่อหาปัจจัยใหม่ เพราะฉะนั้นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่มีลักษณะบวกเฉพาะตัวจะให้ผลดีในช่วงตลาดหุ้นที่มีภาวะ Sideway อาทิ หุ้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสูงกว่าที่ตลาดคาด หรือ Valuation ถูกกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกัน Tail Risks (ความเสี่ยงหางอ้วนนี้สำคัญ และอาจจะทำให้การลงทุนในหุ้นเสียหาย) คือการที่สหรัฐใช้มาตรการ Repatriation (การส่งเม็ดเงินไหลกลับมาสู่ประเทศสหรัฐจากประเทศอื่น) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในครึ่งปีหลังของ 2017 ถ้าสหรัฐมีมาตรการนี้ ค่าเงิน US$ จะแข็งค่าเร็วมาก ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงได้อานิสงส์จาก Theme Reflation และ Tactical Asset Allocation ได้แก่ การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากตลาดพันธบัตรไปยังหุ้น การคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำให้นักลงทุนไม่อยากที่จะลงทุนในตลาดพันธบัตร หุุ้นกลุ่ม Commodities ยังคงเป็น Momentum Play ให้ลงทุนในบริษัทที่สะท้อนข่าวร้ายหมดแล้ว, บริษัทที่มี EBITDA คงที่และมีการเติบโตสมํ่าเสมอ และบริษัทท่ีมีเงินสดในงบดุลสูง แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ผลของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยต่อดัชนีอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์ฯ - FINNOMENA หนึ่งในนโยบายการเงินที่ต้องจับตาในช่วงนี้คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เราเลยจะมาดูกันว่าถ้าหากอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยมีการปรับขึ้นตามด้วย จะเกิดผลกระทบกับอะไรได้บ้าง? แล้วเราควรจะทำอย่างไร? 1 ก.พ. 2560 เมื่อพูดนโยบายการเงิน ประเด็นที่มองข้ามไม่ได้เลยในช่วงนี้ ก็คือเรื่องของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีมุมมองจากนักวิเคราะห์หลายท่านที่คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยน่าจะไม่ได้มีการปรับเพิ่มในปีนี้ อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญนั้นไม่ได้อยู่แค่ว่าจะปรับขึ้นหรือไม่ แต่สำคัญที่ว่าถ้ามีการปรับขึ้นแล้วควรจะทำอย่างไร เมื่ออัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือที่เชื่อมเข้ากับทุกภาคส่วนทางเศรษฐกิจ ในแง่ของนักลงทุนนั้น มองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตสูงขึ้น ซึ่งนักลงทุนอาจจะลดความสนใจในการลงทุนในหุ้นหลาย ๆ ตัว แต่ทว่าการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนั้นมีผลต่อดัชนีของอุตสาหกรรมไม่เท่ากัน จากการศึกษาของ ผศ.ดร.ธีรวุฒิ ศรีพินิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ The Effects of Monetary Policy on Regional Inflation and Sectoral Economy: A Case of Thailand ได้ข้อสรุปว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ย สามารถแบ่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจน้อย ซึ่งได้แก่ กระดาษและสิ่งพิมพ์ การท่องเที่ยวและการพักผ่อน การบริการทางการแพทย์ กลุ่มยา และ พาณิชย์กรรม กลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อย เนื่องจาก เป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างเกี่ยวเนื่องและมีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่อาจไม่ได้มีความจำเป็นเหมือนกับกลุ่มที่หนึ่ง ได้แก่ แฟชั่น การห่อพัสดุ สื่อและสิ่งพิมพ์ เหมืองแร่ กลุ่มอาชีพบริการ อาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มที่ได้รับผลกระทบพอสมควร ได้แก่ บริการทางการเงิน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร และ ธนาคาร กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรม คือ พลังงาน เคมีภัณฑ์ การขนส่ง การก่อสร้าง และ อุปกรณ์ไฟฟ้าและ อิเลกทรอนิกส์ ภาพผลกระทบของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อธุรกิจ ที่มา: เอกสารการสัมมนาทางวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยศาสตร์ประจําปี 2560 ครั้งที่ 39 หลังจากที่วิเคราะห์ว่าถ้ามีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วจะมีผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่มในตลาดอย่างไร ก็ต้องกลับมาตั้งคำถามต่อว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ? ปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาอันดับแรก ก็คือ เป้าหมายของธนาคารกลาง อย่างของธนาคารกลางสหรัฐ ก็ดูเป้าหมายสำคัญ 2 เป้าหมาย คือ การจ้างงานเต็มที่ และการมีอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2 สำหรับประเทศไทยนั้น ให้ความสำคัญกับการดูแลให้เงินเฟ้อของประเทศอยู่ในอัตราที่เหมาะสม ตามที่ได้ประกาศเอาไว้ในเป้าหมายเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้กรอบเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (flexible inflation targeting) ปัจจุบัน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% และสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2559 ยังต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายติดต่อกันเป็นปีที่สองแล้ว โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.19% ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้มองว่า ทั้งปี 2560 นี้ น่าจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการฟื้นตัวกลับสู่เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อก่อน แม้จะมองว่าน่าจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงระยะสั้นนี้ แต่ก็อยากให้พิจารณาถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในอนาคต โดยปกตินั้นการรายงานตัวเลขภาวะเงินเฟ้อเป็นการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ซึ่งจะทำให้นักลงทุนโดยทั่วไปวางแผนและหาจังหวะปรับกลยุทธ์การลงทุนได้ช้ากว่านักลงทุนที่ใช้ Macroeconomic Indicator ประกอบการพิจารณา โดยเฉพาะตัวที่เป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ (Leading Indicator) อย่างดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ (Leading Inflation Index) ที่จัดทำโดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งสามารถใช้คาดการณ์ทิศทางภาวะเงินเฟ้อล่วงหน้าได้ประมาณ 7-9 เดือน ประกอบด้วย 7 ตัวแปร คือ อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาน้ำมันโลก ส่วนกลับของดัชนี Term of Trade เป็นตัวที่สะท้อนภาวะเงินเฟ้อจากผลของการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าส่งออกและนำเข้า อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง อัตราการขยายตัวของอัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวแปรชี้วัดระดับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้านำเข้า อัตราการขยายตัวของสิทธิเรียกร้องในประเทศ ซึ่งเป็นตัวแปรที่สะท้อนถึงปริมาณสินเชื่อในประเทศ ซึ่งนักลงทุนสามารถติดตามรายงานของดัชนีเหล่านี้ได้ทาง http://www.price.moc.go.th/default5.aspx แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Economic Today ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย อดีตนักวิจัย เจ้าของเพจ Economic Today - TH ปัจจุบันเป็นนักเขียนที่ชื่นชอบเรื่องเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics) ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (30 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2560) - FINNOMENA เมื่อ SET Index สามารถขึ้นไปแตะระดับ 1,600 จุดได้แล้ว SET Index ในช่วงนี้จะเป็นอย่างไรต่อ และมีเหตุการณ์สำคัญๆ อะไรที่ควรจะติดตามกันในสัปดาห์นี้บ้าง เรามาดูมุมมองของ ดร.วิศิษฐ์ กันครับ 24 พ.ย. 2563 SET Index ได้เดินทางมาถึงระดับ 1,600 จุด ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองที่ให้ตั้งแต่ต้นปี 2017 ที่ว่า SET Index มีโอกาสที่จะทดสอบ 1,600 จุดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 การที่ดัชนี Dow Jones และ S&P ทำ New High แต่มี Low Volatility (ความผันผวนน้อย) ซึ่งไม่ใช้ Sign ของ TOPบ่งบอกถึงตลาดทุนทั่วโลกมุ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าปัจจัยเสี่ยงของความไม่แนนอนของการใช้นโยบาย ทำให้ภาวะ Risk on หรือภาวะความต้องการในการลงทุนในหุ้นยังคงมีต่อเนื่อง ถ้าเราสังเกตจะเห็นถึง Flow ของเม็ดเงินได้เข้าลงทุนในกลุ่ม Commodity นับตั้งแต่ Trump ได้ถูกเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา เราเห็น Fund Flow เข้า ETF ของ EM ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นประเภท Big Cap และพันธบัตรที่ปกป้องเงินเฟ้อ (Treasury Inflation Protection หรือ TIPS) มากเป็นพิเศษ ซึ่งบ่งบอกถึงสินทรัพย์ประเภท (Commodity จะ Outperform อย่างต่อเนื่อง มุมมองในช่วงระยะสั้นคือ SET Index อาจจะมีแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนต่างประเทศ ส่วนเดือนกุมภาพันธ์เป็น Theme หุ้นปันผล ตลาดน่าจะ Focus กลุ่มอสังหาฯ กลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร ค่าระวางเรือใกล้ Bottom out ในช่วงสั้นค่าเงิน US$ อาจจะมีการ Rebound และอาจจะมีการ Reload ของนักลงทุนอีกรอบหุ้นกลุ่ม Small – Mid Cap จะ Outperform ในช่วงสั้นๆ นี้ แต่ในภาพระยะกลางมองว่า SET Index ที่ระดับ 1,650 มีโอกาสที่จะถูกทดสอบ ถ้า EPS หรือกำไรต่อหุ้นของ SET Index ถูก Upgrade เพิ่มขึ้นจาก 106-107 บาทต่อหุ้นมาสู่ระดับ 110 บาทต่อหุ้น ยังคงมองว่าตลาดหุ้นในครึ่งปีแรกของปี 2017 จะดีกว่าครึ่งปีหลังของปี 2017 แต่การกีดกันการค้าจะเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นและเป็นความเสี่ยงที่อาจจะสูงสุดและลุกลามในช่วงหลังของปี 2017 การปรับฐานของตลาดหุ้นไทยรอบนี้ จึงเป็นโอกาสให้สะสมหุ้นของบางบริษัทที่ Earning ได้ Bottom Out ไปแล้วในไตรมาส 4 ของปี 2016 เช่น กลุ่ม Telecom กลุ่ม Media กลุ่มเรือประเภท Container (ซึ่ง Shanghai Containerized Freight Index ซึ่งเป็น Spot Rateปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 150% ในระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา แต่ค่าระวางเรือประเภท Container ที่เป็น Contract Rate จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลังของปี 2017) ในขณะที่กลุ่มธนาคารมองการเติบโตของสินเชื่อที่ดีขึ้น ในไตรมาส1 ของปี 2017 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส4 ปี 2016 กลุ่ม Commodity ประเภท Soft Commodity จะ Outperform หุ้นกลุ่ม Property ที่มีโครงสร้างการบริการประเภท Recurring Income จะ Outperform ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (23 - 27 มกราคม 2560) - FINNOMENA มาดูกันครับ หลังจากนาย Donald Trump ในการรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 เรียบร้อยแล้ว ทิศทางการลงทุนในสัปดาห์นี้มีประเด็นอะไรน่าจับตามองบ้าง กับ มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (23 - 27 มกราคม 2560) 23 ม.ค. 2560 ในวาระขึ้นปีใหม่นี้ ผมขออวยพรให้นักลงทุนมีแต่ความสำเร็จในการลงทุน “ซิงเจียยู่อี่” ครับ จากสุนทรพจน์ของนาย Donald Trump ในการรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการใช้นโยบาย America First หรือ อเมริกันต้องมาก่อน จะมีผลอย่างยิ่งในการค้าโลก มีการคาดการณ์ว่า ภาษีของบริษัทอเมริกัน (Corporate Income) จะลดลง และจะมีการลดลงของภาษีของบุคคลธรรมดา เมื่อมองโดยรวมแล้ว การบริโภคภายในของประเทศสหรัฐจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคา Commodity หรือสินค้า โภคภัณฑ์ทั้ง Hard และ Soft มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ การใช้นโยบายการคลังที่ขาดดุลของสหรัฐนำไปสู่ Bond Yield ที่ปรับตัวลดลง แต่จะถูกชดเชยด้วยเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้ Bond Yield จะผันผวนสูงและเป็นตัวกำหนดทิศทางของฟันด์โฟลว์ใน Step ต่อไป ถ้า Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ แสดงให้เห็นถึงภาวะที่สูงขึ้นของแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ มองว่า Fed คงไม่ปรับการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งแรกของปี 2017 จึงทำให้มุมมองยังคงเหมือนเดิมว่า ตลาดหุ้นไทยในครึ่งปีแรกจะดีกว่าครึ่งปีหลังของปี 2017 และมีโอกาสที่จะทดสอบระดับ 1600-1620 ในครึ่งปีแรกของปี 2017 มองว่ากำไรต่อหุ้นของตลาดหุ้นไทย (EPS) ที่ระดับ 106-107 บาทต่อหุ้นของปี 2017 ยังคงถูก Underestimated จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Commodity Price และ Steepening Yield Curve คือกลุ่มธนาคารและกลุ่ม Commodity มีโอกาสที่จะถูก Rerate ในทางบวกของกำไร มองว่ากลุ่ม Telecom และกลุ่ม Content จะมี Earning ที่ Bottom Out ไปแล้ว ในไตรมาส 4 (การเห็นจุดต่ำสุดของ earning) ของปี 2016 คาดการณ์ Earning จะ Turnaround ในทางบวกในปี 2017 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่มีโอกาสที่จะทำ Private Public Partnership (PPP) กับ TOT และ CAT ถึงแม้ว่าราคาหุ้นของกลุ่ม เหล่านี้จะมี Overshoot ในช่วงสั้น การประกาศงบของไตรมาส 4 ของปี 2016 ถ้างบออกมาไม่ดี ก็อาจจะเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นอีกครั้ง มองว่ากลุ่ม Property ที่มีโครงสร้างรายได้ทางด้านบริการซ่อนอยู่ (Recurring Revenue) จะ Outperform มองว่ากลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มี Under Utilization Rate จะเห็นการ Turnaround ของ Earning ค่อนข้างเป็น Positive Surprise ในปี 2017 ที่มาบทความ : www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: Bond Yield Commodity donald trump ประธานาธิบดีสหรัฐคน ฟันด์โฟลว์ แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Top-down Space : January Effect กำลังเกิดขึ้น? - FINNOMENA January Effect คืออะไร? หลายคนคงคุ้นหู หลายคนคงยังไม่รู้จัก เราลองมาทำคาวมรู้จัก และวิเคราะห์ไปพร้อมๆ กันครับ ว่าปีนี้ January Effect จะมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่? 21 ม.ค. 2562 คงต้องเริ่มกันที่คำถามว่า January Effect คืออะไร? January Effect คือ ความเชื่อของนักลงทุนที่ว่าตลาดหุ้นมักที่จะวิ่งเป็นขาขึ้น และเป็นบวกได้ในช่วงเดือนมกราคม โดยสาเหตุหลักๆ มาจากการกลับมาของนักลงทุน หลังจากการหยุดยาวในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ และเทศกาลปีใหม่ และการที่นักลงทุนต้องการปรับพอร์ตการลงทุนตอบรับกับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง อีกหนึ่งเหตุผลก็คือ ในช่วงท้ายปีนั้นเหล่ากองทุนทั้งหลาย อาจจะมีการทำ Window Dressing หรือจะต้องทำงบให้สวย ด้วยการขายหุ้นออกมาในเดือน ธ.ค. และกลับมาซื้อคืนในเดือน ม.ค. แล้วในอดีต January Effect เกิดขึ้นจริงไหม? จากข้อมูลย้อนหลังตลาดหุ้นไทยในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า มี 8 ปี ที่ตลาดหุ้นไทยปิดสิ้นเดือน ม.ค. สูงกว่าราคาเปิดต้นเดือน ม.ค. และอีก 7 ปีที่เหลือ สิ้นเดือน ม.ค. นั้นตลาดหุ้นไทยปิดราคาต่ำกว่าต้นเดือน ม.ค. โดยเฉลี่ยปีที่หุ้นวิ่งเป็นบวก เฉลี่ยแล้วบวกได้ 5.8% ขณะที่เฉลี่ยของปีที่ติดลบ 7 ปี ลบอยู่ที่ -5.5% ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นไทย ผ่านมายังไม่ถึง 2 สัปดาห์ แต่ก็ทำท่าว่า เดือน ม.ค. นี้จะสามารถปิดบวกได้เป็นปีที่ 9 แต่นั้นก็ไม่ได้บ่งบอกว่า เกิด January Effect ในตลาดหุ้นไทยเพราะข้อมูลในอดีตก็บอกเราแล้วว่า ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสบวกพอๆกับติดลบในเดือนแรกของปี แต่ที่น่าสนใจกว่า ก็คือ หากดูผลตอบแทนรายเดือน ของเดือนอื่นๆที่เหลือ ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา กลับพบว่า เดือนที่ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสบวกสูงกว่ามากกว่า 80% หรือ บวกได้ 12 ปี จากทั้งหมด 15 ปี ก็คือ เดือน ก.พ. และเดือน เม.ย. เห็นแบบนี้ ก็แสดงว่า โอกาสในการเข้าลงทุน อาจจะอยู่ที่เดือน ม.ค. นี้ละครับ เพราะซื้อเดือน ม.ค. ไป ไม่รู้ละว่าเดือนนี้จะบวกหรือลบ แต่พอเข้าเดือน ก.พ. โอกาสที่ตลาดจะเป็นบวกนั้นมีสูงถึง 12 ครั้ง ใน 15 ปี แล้วทำไม เดือน ก.พ. และเดือน เม.ย. ตลาดหุ้นไทยถึงมีโอกาสบวกมากกว่าลบ? ถ้าให้อธิบายด้วยเหตุผล ผมมองว่า เนื่องจากการเกิดขึ้นของกองทุน LTF ทำให้เมื่อข้ามปีปฏิทิน จะมีนักลงทุนที่ถือกองทุน LTF ครบเงื่อนไข ต้องการขายคืนเพื่อทำกำไรจากที่ถือมาแล้วเกิน 5 ปี และแรงขายจะเริ่มทยอยหมดลงในเดือน ก.พ. เอง ตรงนี้ ก็จะเป็นจังหวะที่นักลงทุนสถาบัน และต่างชาติ กลับมาสะสมหุ้นเข้าพอร์ตอีกครั้ง ส่วนในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นเดือนที่ไทยเรามีวันหยุดยาวจากเทศกาลสงกรานต์ ผมสังเกตถ้านับตั้งแต่ปี 2551 ที่เกิดวิกฤต Subprime ปีเฉพาะปี 2558 เท่านั้น ที่เดือน เม.ย. ตลาดปิดลบ ที่เหลือ 7 ปีสามารถปิดบวกปลายเดือนได้อย่างชัดเจน น่าจะเกิดจากการที่ผลประกอบการไตรมาส 1 รายงานออกมา และถ้ายอดขายออกมาโต กำไรโต มันก็ทำให้นักลงทุนมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นในช่วงที่เหลือของปีนั้นเอง กลับมาทวนคำถามว่า January Effect จะเกิดขึ้นไหม? คำตอบของผมคือ เกิดหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะสถิติย้อนหลัง ก็ไม่ได้บอกเราว่า มันจะเกิดขึ้นตลอด แต่ถ้าดูย้อนหลังทางสถิติ เดือน ม.ค. เป็นเดือนที่น่าสะสมหุ้น มากกว่าแค่จะดูว่า มันจะเป็นบวกได้ในระยะสั้นหรือไม่ โดยเราควรให้น้ำหนักกับปัจจัยเรื่องมุมมองเศรษฐกิจ และกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนมากกว่า ว่าจะสามารถเติบโตและขยายตัวได้ดีในระยะยาวอย่างที่เราคาดการณ์ไว้ไหม แต่ถ้ายังอยากตั้งคำถามต่อว่า แล้วเดือนไหนที่ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสบวกมากกว่าเดือนอื่นๆ ผมก็คงตอบว่า คงเป็นช่วงเดือนที่มีการประกาศผลการดำเนินงานรายไตรมาสนั้นๆ ซึ่งถ้ายิ่งตลาดหุ้นอยู่ในภาวะกระทิง ความเชื่อมั่นของนักลงทุนมีสูง แล้วผลการดำเนินงานออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ก็จะทำให้ตลาดหุ้นมี Upside จากตัวคูณ จาก P/E Expansion คือ เมื่อกำไรออกมาดี ก็คาดว่าอนาคตจะดีกว่าที่ผ่านมา ส่วนว่า มันจะยั่งยืนในระยะยาวหรือเปล่า ก็คงเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องหาข้อมูลเชิงลึกและติดกันวิเคราะห์กันอย่างใกล้ชิดต่อไปครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639968 แท็ก: DIY January Effect Top-down Window Dressing แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (9-13 มกราคม 2560) - FINNOMENA เรามาดูกันครับว่าช่วงปีใหม่นี้ มีเรื่องอะไรที่น่าจับตาบ้าง ฟันด์โฟลว์ต่างชาติเป็นอย่างไร และเราควรจะเตรียมตัวอย่างไรดี หุ้นกลุ่มใดน่าสนใจในต้นปีนี้บ้าง มาชมพร้อมกันเลยครับ 6 พ.ย. 2563 “ในปีใหม่ 2017 นี้ ผมขออวยพรให้นักลงทุนทุกท่านมีความสุข สุขภาพแข็งแรง และมีความมั่งคั่งที่ยั่งยืน” ในช่วงระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 4 ม.ค. ถึง 6 ม.ค. นักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตรระยะสั้น 1.49 พันล้านบาท ซื้อหุ้นใน Cash Market 7 พันล้านบาท และทำการ Long TFEX จำนวน 15,984 สัญญา บ่งบอกถึงภาวะการหวนกลับมาของ Risk Appetite ชั่วคราว ซึ่งสอดคล้องกับการที่นักลงทุนทั่วโลกหันกลับมาซื้อพันธบัตรของ EM อีกครั้งนับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ถ้านักลงทุนต่างประเทศหยุดขายตลาดพันธบัตรไทย ซึ่งเป็นตลาดที่ถูก Most underweight เป็นอันดับ 1 จากนักลงทุนในตลาดพันธบัตร จะเป็นสัญญาณที่ดีต่อตลาดหุ้นไทย ที่กำลังถูกจับตาเป็น Market Overweight อันดับ 5 ของตลาด Emerging Market สำหรับ Active Fund จากการ Survey ของ House ต่างประเทศ การที่ธนาคารกลางจีนกำหนดค่ากลางของเงินหยวนที่ 6.8668 หยวนต่อดอลลาร์ (แข็งค่าขึ้น +0.92%) ซึ่งเป็นการแข็งค่าเพิ่มขึ้นมากสุดนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นการดัดหลังนักเก็งกำไรที่ขายค่าเงินหยวนก่อนการเข้าสาบานตนเข้าเป็นประธานาธิบดีสหรัฐของนาย Donald Trump ในวันที่ 20 ม.ค. ซึ่งนาย Trump อาจจะมีการพูดถึงค่าเงินที่ถูก Manipulate ของจีน การฟื้นตัวของตลาดเกิดใหม่เป็นการสอดคล้องกับราคาทองคำ (Unhedged) เพราะฉะนั้น ทองคำเป็น Precursor ของ Risk Appetite ตลาดหุ้นทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วง “January Effect” และเป็นช่วงของ “Rotation” และเป็นภาวะ Tactical Asset Allocation (สินทรัพย์ถูกเปลี่ยนจากตลาดพันธบัตรและ RETT เข้าตลาดทุน) ประกอบกับ Bond Yield 10 ปี ถูกทำกำไรจาก 2.6% มาสู่ระดับ 2.4% ทำให้มีการ Relief Rally ในตลาดทุนทั่วโลก หุ้นไทยจะถูกขับดันโดย Active Fund Manager ไม่ใช่ Passive Fund จากการศึกษาในปี 2016 นักลงทุนต่างประเทศเพิ่มน้ำหนักลงทุนในกลุ่ม Infrastructure และกลุ่มพลังงานบ่งบอกถึงนักลงทุนต่างประเทศมี Conviction ของโครงการก่อสร้างพื้นฐานในประเทศไทยและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหรือ Reflation ผ่าน Sector พลังงาน สำหรับ Step ต่อไป คือ Sector Banking โดยมีตัวเลขที่สำคัญที่กำลังถูกเฝ้ามองอย่างใกล้ชิดว่า NPL ได้ Peak ในปี 2017 หรือไม่ ถ้า NPL ถูกเชื่อว่า Peak ในปี 2017 จริง เราอาจจะเห็น Flow เงินเข้า Sector Banking เนื่องจาก Banking Sector จะเห็นการเติบโตของสินเชื่อที่ดีขึ้น หุ้นกลุ่ม Cyclical และ Metal ที่ราคาใกล้เคียงมูลค่าทางบัญชีจะ Outperform กลุ่มก่อสร้างที่มีกระแสเงินสดดีและราคาใกล้เคียง Book Value จะ Outperform ภาพในระยะยาวคือ ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสทดสอบระดับ 1600-1620 ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2017 แต่มุมมองยังคงเหมือนเดิม คือ ตลาดหุ้นทั่วโลกมี Downside Risk ที่มีอยู่สูงในช่วงครึ่งปีหลังของ 2017 หุ้นกลุ่ม Construction ที่มี Gross profit margin สูงจะ Outperform และหุ้นกลุ่มพลังงานบริษัทที่มี EV/EBITDA ต่ำ แต่ Dividend yield สูงจะ Outperform แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โคตรทีมเศรษฐกิจ..โดนัลด์ ทรัมป์ - FINNOMENA หากจะพิจารณาสาเหตุที่ว่าตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นมาเกือบร้อยละ 10 นับตั้งแต่วันที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง อาจมาจากการเลือกคนเพื่อมาเติมตามตำแหน่งต่างๆ ซึ่งบทความนี้ จึงขอนำเสนอ 7 คีย์แมน หรือ Magnificent Seven ของนายทรัมป์ที่ได้เลือกมา จนถึงนาทีนี้ ดังนี้... 29 ธ.ค. 2559 หากจะพิจารณาสาเหตุที่ว่าตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นมาเกือบร้อยละ 10 นับตั้งแต่วันที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง ที่ผ่านมา ผมคิดว่าหนึ่งในเหตุผลหลักคือวิธีการที่นายทรัมป์กล้าที่จะเลือกคนที่จะมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆได้แบบตรงจุด ที่สำคัญ คือการพลิกโฉมจากการเลือกคนเพื่อมาเติมตามตำแหน่งต่างๆ กลับหันมามองว่าโจทย์ไหนที่ว่าที่รัฐบาลใหม่ของเขาต้องเผชิญแบบจังๆ แล้วเลือกคนที่ดีที่สุดในอเมริกาเพื่อมาต่อสู้กับโจทย์หินดังกล่าว ผมเรียกกลยุทธ์ของนายทรัมป์ดังกล่าวว่าเทคนิคแบบ Man-to-Man ในกีฬาฟุตบอล ซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลในสมัยก่อนๆของสหรัฐที่มุ่งไปที่ตำแหน่งสำคัญอย่างรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีคลัง เสร็จแล้วก็ให้คนเหล่านี้ไปหาทีมงานกันเอง ซึ่งผมเรียกกลยุทธ์มนอดีตที่ว่าเหมือนเป็น เทคนิคแบบการคุมโซน ซึ่งกลยุทธ์แรกจะใช้ประโยชน์ได้ดีถ้ามีโจทย์ยากๆ อาทิ ประธานธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย และนายสี จิ้น ผิงของจีนที่สหรัฐต้องคอยตามประกบ หรือแม้แต่โจทย์การสร้างงานของคนชาวรากหญ้าและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นของสหรัฐก็ตาม บทความนี้ ผมจึงขอนำเสนอ 7 คีย์แมน หรือ Magnificent Seven ของนายทรัมป์ที่ได้เลือกมา จนถึงนาทีนี้ ดังนี้ เริ่มจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ที่นายทรัมป์ ตั้งใจเป็นอย่างมากในการเลือก “นายเรกซ์ ทิลเลอร์สัน” CEO ของ Exxon Mobil มาประกบติดนายวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย ลองนึกดูง่ายๆว่าบ่อขุดเจาะน้ำมันเกือบทั้งหมดที่บริษัทน้ำมันในอเมริกาเกือบทั้งหมดเป็นของ Exxon Mobil คงจะไม่ต้องบรรยาสรรพคุณของนายทิลเลอร์สันว่าเชี่ยวชาญในการเจรจากับผู้นำรัสเซียขนาดไหน นอกจากนี้ นายทิลเลอร์สันยังได้ชื่อว่าเป็น dealmaker ตัวยงไม่ว่าจะเป็นดีลใหญ่ๆย่านไหนของโลก ปู่ T-rex ทำมาหมดแล้ว คนที่สอง “นายเทอร์รี แบรนด์สตัดท์” อดีตผู้ว่าการรัฐไอไอว่า ชาวอเมริกันที่นายสี จิ้น ผิง รู้จักและพูดคุยมากที่สุด โดยสมัยหนุ่มๆ ทั้งคู่ถือได้ว่าคุ้นเคยและรู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างที่ทราบกันว่า คนจีนให้ความสำคัญกับ “ความไว้เนื้อเชื่อใจ่” นายแบรนด์สตัดท์มีตรงนี้อยู่พร้อมในสายตาผู้นำจีน จึงน่าจะนำจุดดีตรงนี้มาช่วยในตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนของสหรัฐมากล่อมนายสี จิ้น ผิง ให้อ่อนกับสหรัฐมากกว่าตอนนี้ ท่านที่สาม “นายแกรี คอห์น” เบอร์สองของโกลด์แมน ซัคส์ แหล่งผลิตรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าธนาคารกลางทั่วโลก มาช่วยเป็นกุนซือให้กับนายทรัมป์ในการคุมเกมการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในฐานะประธานที่ปรึกษาสภาเศรษฐกิจของนายทรัมป์ ผมคิดว่านายคอห์นจะมาช่วยมองภาพใหญ่และคลายกฎการคุมเข้มแบงก์ในอเมริกา ผมมองว่านายคอห์นคือมือเศรษฐกิจที่ดีที่สุดเท่าที่นายทรัมป์เลือกมาจนถึงวินาทีนี้ คนที่สี่ “นายเจมส์ แมททิส” ฉายา “Maddog” มาเป็นฝ่ายบู๊ทางทหารชนกับตะวันออกกลาง จีน และรัสเซีย ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณ สายแข็งฮาร์ดคอร์ พร้อมลุยในการรบกับทุกที่ ตรงนี้ ถือว่าเป็นจุดที่เป็นสิ่งที่นายทรัมป์ไว้ชดเชยงบการทหารที่ลดลงของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา ห้า “นายวิลเบอร์ รอส” มาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ อดีตผู้จัดการกองทุนมากว่า 40 ปี ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ ใจเย็น ทำสงครามการค้ากับจีนก็ไม่รุนแรง ทำให้ไม่ห่วงว่าจะเกิดสงครามการค้าอย่างหนักกับจีนอย่างน้อยในช่วงปีแรกของวาระนายทรัมป์ หก “นายสตีเฟน นูชิน” รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ที่ถือว่าเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงอายุ 50 ต้นๆ มาจากโกลด์แมน ซัคส์ ผมคิดว่าจุดนี้เป็นจุดเสี่ยงของรัฐบาลทรัมป์ เนื่องจากผมไม่แน่ใจว่านายนูชินจะทำงานได้ดีเทียบกับศิษย์เก่าโกลด์แมน ซัคส์ท่านก่อนๆในตำแหน่งนี้ได้ไหม เนื่องจากเขาดูเป็นรองรุ่นพี่คนก่อนๆ ท้ายสุด Magnificent Seven คือสายที่เอาไว้รองรับแรงกดดันจากภายในพรรครีพับลิกัน มี “นายรีออน พรีบัส” และ “นายไมค์ เพนซ์” ในตำแหน่ง Chief of Staff และรองประธานาธิบดี มาคุมเกมการเมืองภายในพรรคและภาพลักษณ์ทางการเมืองต่อสาธารณชนของนายทรัมป์ โดยภาพรวม ถามว่าทีมทรัมป์มีดีพอว่าจะทำให้อเมริการุ่งโรจน์ได้ไหม ผมคิดว่ายังขาดคนที่คอยคุมจังหวะเกมทางเศรษฐกิจมือดีอีกคน ซึ่งอาจจะเป็นคนสุดท้ายที่นายทรัมป์ประกาศก่อนวันที่ 20 มกราคมปีหน้าก็เป็นได้ครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639781 แท็ก: donald trump ทรัมป์ สหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Top-down SPACE : ถึงคราวขาขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์รึยัง? - FINNOMENA ถ้าพูดถึงวงจรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) และวงจรการลงทุน (Investment Cycle) แล้ว หลายท่านน่าจะนึกภาพตามได้ว่า ทั้งสองวงจร มีความสัมพันธ์ต่อกันแต่ไม่จำเป็นต้องไปในทิศทางเดียวกันเสมอ คำถามคือ ราคาน้ำมัน จะยังไปต่อได้ไหมในปี 2017 นี้? 26 ส.ค. 2560 ถ้าพูดถึงวงจรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) และวงจรการลงทุน (Investment Cycle) แล้ว หลายท่านน่าจะนึกภาพตามได้ว่า ทั้งสองวงจร มีความสัมพันธ์ต่อกันแต่ไม่จำเป็นต้องไปในทิศทางเดียวกันเสมอ ยกตัวอย่าง ในปี 2016 ที่ผ่านมา ครึ่งปีแรก ดูเหมือนเศรษฐกิจจะชะลอตัว และขาดตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นอย่างนัก อีกทั้งภาคการส่งออกก็ขยายตัวติดลบต่อเนื่องหลายไตรมาส แต่พอหันกลับมาดูตลาดหุ้นไทย กลับกลายเป็นว่า ปีนี้ SET Index ยังติดอันดับ 10 ดัชนีตลาดหุ้นที่ผลตอบแทนดีที่สุดในโลก (ณ สิ้นวันที่ 16 ธ.ค. 2016 คำนวณผลตอบแทนได้ +18.21%) และเมื่อมองดัชนีที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเราหลายๆ ประเทศ เช่น ตลาดหุ้นรัสเซีย และ อาร์เจนติน่า ที่ปีนี้ให้ผลตอบแทนสูงถึง 49.99% และ 41.87% ตามลำดับ เราก็นึกขึ้นมาได้ว่า คือ ประเทศที่ตลาดหุ้นตกระเนระนาดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็มาจากการสงครามราคาน้ำมัน ที่ซาอุฯเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อสู้กับ Shale Oil, Shale Gas ในสหรัฐที่ต้นทุนสูงกว่า กลับกลายเป็นว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็ทำจุดต่ำสุดตั้งแต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา พอมีข่าวว่า OPEC จะเจรจาลดกำลังการผลิต ก็ทำตลาดหุ้นของผู้ผลิตน้ำมันฟื้นขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเพราะหุ้นกลุ่มพลังงานนี้ มี Market Cap ร่วมๆ 1 ใน 4 ของมูลค่าตลาดทั้งหมดของโลกรวมกัน ก็เลยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นปีนี้ผลตอบแทนดีกว่าที่ทุกคนคาดไว้ คำถามคือ ราคาน้ำมัน จะยังไปต่อได้ไหมในปี 2017 นี้? จุดเปลี่ยนจริงๆ ของแนวโน้มราคาน้ำมันก็มาจากการร่วมมือกันของ OPEC และ non-OPEC ซึ่งถึงแม้จะตรึงกำลังการผลิตกันไม่ได้มาก แต่นักวิเคราะห์ก็คาดการณ์ว่า อุปสงค์ และ อุปทาน จะเข้าสู่จุดดุลยภาพในครึ่งปีหลังของปี 2017 แต่เชื่อว่าราคาน้ำมันก็น่าจะสะท้อนและตอบรับไปล่วงหน้าด้วยการไม่กลับมาเทรดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของปี 2016 จุดเปลี่ยนที่สองคือ การเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีนโยบายกึ่งประชานิยม กลับมาโฟกัส หรือใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศสหรัฐเป็นหลัก งดการพึ่งพาเศรษฐกิจโลก จนทำให้นักลงทุนโยกเงินลงทุนกลับสหรัฐ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งนักลงทุนอาจมองว่าเป็นปัจจัยลบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ลองมองเข้าไป เราก็กลับไม่เห็นการปรับตัวลงแรงในกลุ่มสินทรัพย์นี้ แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ของดอลลาร์ และสินค้าโภคภัณฑ์นั้นถูกทำให้แตกลงแล้ว จุดเปลี่ยนที่สามคือ เรากำลังเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น จากเงินเฟ้อคาดการณ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นในสหรัฐ เฟดจึงส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย คนก็แห่ขายพันธบัตรสหรัฐ ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้นด้วย เมื่อดอกเบี้ยขึ้น ต้นทุนการกู้ยืมก็จะค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นทั้งระบบ แน่นอนนักลงทุนก็เดากันไว้ว่า ราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นแน่นอน เพราะผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงขึ้น จุดเปลี่ยนที่สี่คือ นโยบายภาครัฐในหลายๆ ประเทศจะหันมาเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ไล่ตั้งแต่สหรัฐ ญี่ปุ่น มาจนถึงจีน เพราะมันถึงจุดที่รัฐบาลตระหนักแล้วว่า ด้วยนโยบายการเงินเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้ดีเท่าที่ตั้งใจ ต้องอาศัยนโยบายการคลัง และการลงทุนจากภาครัฐเป็นตัวนำ ทั้งสี่จุดเปลี่ยนนี้ ดูจะเป็นปัจจัยบวกในระยะยาวให้กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ Natural Resource และ Hard Metals ซึ่งทำให้เราเจอกับสถานการณ์ที่ลำบากมากกว่าเดิม คือ เราเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่ยังไม่เห็นวี่แววว่า เงินดอกเบี้ย และรายได้จะโตได้ทันเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น เอาไว้เรามาคุยกันเรื่องนี้ในบทความตอนหน้าครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639774 แท็ก: Commodity DIY Economic Cycle Investment Cycle OPEC Top-down สินค้าโภคภัณฑ์ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
CG-LTF กองทุนลดหย่อนภาษีจาก บลจ. ยูโอบี - FINNOMENA บทความนี้จะขอพูดถึง กองทุน LTF ที่สามารถสร้างผลตอบแทนในอดีตได้ดีติดอันดับ 1 ใน 5 เป็นเวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งก็คือ กองทุนเปิด บรรษัทภิบาล หุ้นระยะยาว หรือ CG-LTF ที่ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่นักลงทุนหลายๆ คนสนใจ 3 ม.ค. 2562 หากพูดถึงกองทุน LTF ที่สามารถสร้างผลตอบแทนในอดีตได้ดีติดอันดับ 1 ใน 5 เป็นเวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 5 ปี กองทุนเปิด บรรษัทภิบาล หุ้นระยะยาว หรือ CG-LTF จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่นักลงทุนสนใจ นโยบายการลงทุนของกองทุน CG-LTF ถือว่ามีความแตกต่างไปจาก LTF ทั่วไป โดยจ ผู้จัดการกองทุน เชื่อว่า การสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ตามเงื่อนไขของการถือครอง LTF นั้น ถ้าเลือกลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีฐานะทางการเงินดี มีอัตราการเจริญเติบโตสูง และมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอนั้นอาจไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการลงทุน ดังนั้น CG-LTF จึงมีการเพิ่มเกณฑ์ที่ใช้ในการลงทุน นั้นก็คือ การเพิ่มเกณฑ์การลงทุนทางด้านความโปร่งใส, ความถูกต้องและการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งทางผู้จัดการกองทุนมองว่า เกณฑ์เหล่านี้ จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวของผู้ลงทุนในกองทุนได้ ด้วยเหตุนี้ ชื่อกองทุน เลยใช้คำว่า “บรรษัทภิบาล” ซึ่งในปัจจุบัน หน่วยงานในการกำหนดกรอบการจัดเกณฑ์บรรษัทภิบาลที่ดี ทางกองทุนได้ใช้กรอบการจัดเกณฑ์บรรษัทภิบาล (CG Scoring) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ( IOD ) และหน่วยงานอื่นๆ เช่น บริษัท ไทยเรทติ้ง แอนด์อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด (TRIS) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นต้น หลักเกณฑ์สำคัญในการประเมินระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ IOD มีดังนี้ สิทธิของผู้ถือหุ้น (Rights of Shareholders) การปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้น (Equitable Treatment of Shareholders) บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (Role of Stakeholders) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Responsibilities of the Board) รูปที่ 1 : หลักเกณฑ์การสำรวจและการประเมินระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ IOD แหล่งที่มา : http://www.thai-iod.com/ ตัวอย่างรายชื่อบริษัทธรรมาภิบาลที่ได้รับคะแนนดีเลิศ หรือ Top Quartile ประจำปี 2016 นี้ รูปที่ 2 : ตัวอย่างรายชื่อบริษัทธรรมาภิบาลที่ได้รับคะแนนดีเลิศ หรือ Top Quartile ประจำปี 2016 แหล่งที่มา : http://www.thai-iod.com/ ทั้งนี้ กองทุนกำหนดไว้ว่า ต้องลงทุนในหุ้น CG ก็จริง แต่ก็เปิดรูมไว้สำหรับหุ้นขนาดกลาง ขนาดเล็กที่มีการเติบโตสูง และมีการกำกับดูแลที่ดี แต่อาจยังไม่ได้รับจัด CG Score ซึ่งทางผู้จัดการกองทุนบอกว่า สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 20% ของพอร์ต เป็นการควบคุมความเสี่ยง และเพิ่ม Tactical Port ในระยะสั้น หากนับผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี ของ CG-LTF ปัจจุบันก็ติดอันดับอยู่ใน Top 3 ของกองทุนหุ้นระยะยาวทั้งตลาด โดยทำผลตอบแทนย้อนหลังได้ถึง 15.51%ต่อปี เมื่อเทียบกับ SET Index ที่ให้ผลตอบแทน 11.78% ในช่วงเวลาเดียวกัน รูปที่ 3 : ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี กองทุน CG-LTF เปรียบเทียบกับ SET Index แหล่งที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 13 พ.ย. 2559 เมื่อดูเป็น % ผลตอบแทนเทียบกับ SET Index อาจจะเห็นว่าไม่เยอะ เพียงแค่ 3.73% เท่านั้น แต่อย่างลืมว่า นี่คือผลตอบแทนต่อปี หากถือครอง 5 ปีเต็ม ก็เท่ากับผลตอบแทนชนะ SET Index 18.65% ทีเดียว คำถามที่ผมมักจะเจอเวลาคนเข้ามาถามกองทุที่เปิดมาแล้วนานๆก็คือ “กองทุนนี้น่าสนใจจริงหรอ ตอนนี้ ราคา NAV พุ่งขึ้นไปเกิน 50 บาทแล้วนะ แพงไปหรือเปล่า?” คำตอบก็คือ “NAV สูงหรือต่ำ ถูกหรือแพง ไม่ควรมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน” ขอยกตัวอย่าง กองทุน A ราคา PAR 10 บาทต่อหน่วย เปิดขายกองทุนพร้อมกับ กองทุน B ราคา PAR ที่ 10 บาทเท่ากัน ทั้งสองกองทุนต่างลงทุนในกลุ่มหุ้นในไทย โดยมีนโยบายการลงทุนเหมือนกันทุกประการ ผ่านไป 1 ปี กองทุน A มีราคา NAV อยู่ที่ 12 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ NAV ของกองทุน B อยู่ที่ 13 บาทต่อหน่วย หากคิดเป็น % ผลตอบแทน ก็จะเท่ากับ 20% และ 30% ตามลำดับ หรืออีกนัยหนึ่ง นั้นหมายถึง กองทุน B มีผลการดำเนินงานย้อนหลังที่ดีกว่า กองทุน A นั้นเอง หากคุณต้องเลือกลงทุนระหว่างกองทุน A กับ กองทุน B โดยใช้ผลการดำเนินงานย้อนหลังมาพิจารณาตัดสินใจ คุณจะเลือกลงทุนในกองทุนไหน? … อ่านเรื่อง NAV สูงต่ำ เลือกกองทุนไหนดี? รูปที่ 4 : การวิเคราะห์เชิงปริมาณกองทุน CG-LTF เปรียบเทียบ SET Index แหล่งข้อมูล : Bloomberg ณ วันที่ 6 ธ.ค. 2559 กองทุน CG-LTF มองจากการวิเคราะห์อัตราส่วนการเงินที่สำคัญ จะเห็นว่า เน้นการลงทุนในหุ้นเติบโต (Growth Stock) เนื่องจาก P/E สูงกว่า SET Index และ P/BV ก็สูงกว่า โดยอัตราการจ่ายปันผล ต่ำกว่า SET Index เล็กน้อย แต่มีค่า Beta ต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่า โดยลักษณะของกองทุนแล้ว มีการเคลื่อนไหวหรือแกว่งตัวผันผวนย้อยเมื่อเทียบกับดัชนี และ มี Downside Risk รวมถึงโอกาสขาดทุนหนักในช่วงวิกฤต ที่ติดลบน้อยกว่าดัชนี จุดนี้ เป็นจุดที่ผมสังเกตเห็นชัดในกลุ่มกองทุน LTF ที่ติดอันดับผลการดำเนินงานดีอันดับต้นๆ คือ ปกป้องเงินต้น และผันผวนน้อยกว่าในยามตลาดกลายเป็นขาลง ซึ่งสำหรับ CG-LTF ก็น่าจะมาจากระบบคัดกรองเลือกหุ้นที่มีคุณภาพ (Stock Selection) อัพเดทเพิ่มจากผู้จัดการกองทุน CG-LTF โดยผู้จัดการกองทุนมีมุมมองว่า Valuation ตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าตลาดในภูมิภาค Asian โดยค่า PER ของไทยในปี 2017 อยู่ที่ 13.8 เท่า ในขณะที่ PER ของประเทศเพื่อนบ้าน (Asia ex Japan) อยู่ที่ระดับ 14.9 เท่า (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ย. 2559) คาดการณ์ผลกำไรโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ประมาณ 10-15% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนสูงในปี 2017 จากความ เสี่ยงในเรื่องค่าเงินในภูมิภาค และนโยบายของนายทรัมป์ รวมการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศสหรัฐ ด้วยเหตุผลข้อ 2 ของผู้จัดการกองทุน จะเน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีการเติบโตสูง ทั้งนี้ข้อมูลอีกอย่างที่บ่งบอกถึงสไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนก็คือ Portfolio Turnover Ratio (PTR) ของกองทุนนี้ จากรายงาน Annual Report ณ สิ้นเดือน ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 1.224 ซึ่งอัตราส่วน PTR ที่เกิน 1.00 ขึ้นไปนี้ แสดงว่า กองทุนมีการซื้อขาย และปรับพอร์ตตลอดเวลา สำหรับพวกกลยุทธ์ Buy & Hold ค่า PTR มักจะอยู่ที่ 0.30-0.50 ดังนั้น ใครรักสายเทรด มองว่า การถือลืม ถือนาน ไม่เหมาะกับจริตตัวเอง CG-LTF ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น ชมคลิป CG-LTF จากงาน FINNOMENA RMF LTF Showcase @ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แท็ก: CG-LTF LTF UOBAM กองทุนรวมลดหย่อนภาษี กองทุนหุ้นระยะยาว บลจ.ยูโอบี ลดหย่อยภาษี แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (6-9 ธ.ค. 2559) - FINNOMENA มาแล้วครับ มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ เรามาดูกันว่าในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นบ้างแล้วส่งผลกระทบอะไรบ้าง และสัปดาห์นี้มีเหตุการณ์สำคัญอะไรที่น่าจับตามองบ้าง เพื่อเตรียมตัวสำหรับการวางแผนการลงทุนของเรา 6 ธ.ค. 2559 ตั้งแต่ทราบผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี Bond yields สหรัฐฯชนิด 10 ปีได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 45 bps ทำให้ราคาพันธบัตรถูกทำกำไรและถูกเทขาย ในขณะที่ค่า DXYO หรือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลประเทศอื่นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 4% ทำให้หุ้นของประเทศสหรัฐฯ Outperform ประเทศอื่น ใน 1 เดือนที่ผ่านมา และนักลงทุนต่างชาติได้ขายพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว 8.1 หมื่นล้านบาท และ 2.2 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ และขายหุ้นไทย 2.9 หมื่นล้านบาท แต่เข้าซื้อ TFEX มูลค่า 1.54 หมื่นสัญญา นับตั้งแต่ที่ Trump ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่ในระยะสั้น (2 วันที่ผ่านมา) นักลงทุนต่างชาติได้ขายพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว 2.1 พันล้านบาท และ 3.5 พันล้านบาท ตามลำดับ แต่เข้าซื้อหุ้นไทยและ TFEX 369 ล้านบาท และ 3.65 พันสัญญาตามลำดับ อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยตลาดตราสารหนี้ของไทยนั้นมีนักลงทุนต่างชาติถืออยู่เพียงราว 10% ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่มีนักลงทุนต่างชาติถืออยู่ถึง 40% ส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้ได้รับผลกระทบจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติน้อยกว่า แต่ในระยะ 1 เดือนข้างหน้านี้ Bond Yields สหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวลดลงสู่ระดับ 2.2% ในปลายปีจากระดับ 2.5% ณ ปัจจุบันโดยในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีเงินสดรอลงทุนอยู่มาก สิ่งนี้จะทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็น Sideway up ในขณะที่พันธบัตรอาจเป็น Counter Trend Rally และคาดว่านักลงทุนต่างประเทศอาจจะหยุดขาย Bond ชั่วคราว Bond Yield จะเป็นตัวกำหนดทิศทาง Fund Flow ในปัจจุบัน Event Driver : ในวันพฤหัสบดีที่ 8 ธ.ค. 2559 การประชุมของ ECB อาจนำไปสู่การขยายเวลาการซื้อพันธบัตรของ ECB จากเดิมที่จะจบในเดือน มี.ค. 2017 ไปสู่เดือน ก.ย. 2017 แทน คือขยายระยะเวลาอีก 6 เดือน การที่ประเทศอิตาลี Vote No ในเรื่องการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ทำให้ค่าเงิน EUR/USD อ่อนตัวลง แต่เนื่องจากว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้แล้ว ค่าเงิน Euro จึงไม่อ่อนตัวมากนัก ถือเป็นปรากฏการณ์ Sell on Rumor Buy on Fact และปรากฏการณ์แบบนี้จะนำไปสู่การที่ประเทศต่าง ๆ มี Nationalism มากขึ้น เช่น Brexit, Trump Policy และ Italexit ใน Step ต่อไป คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส อาจนำไปสู่พรรคที่ต่อต้าน Euro Policy Overweight หุ้นที่เป็น Candidate ที่เข้า SET50 ใน ม.ค. 2017 ซึ่งอาจจะนำไปสู่ Absolute Return 3-8% ในระยะ 1-2 เดือน ของการถือครองหุ้น Construction และ Infrastructure ขนาดกลาง จะ Outperform เนื่องจากจะมี Margins ดีกว่าขนาดใหญ่ และ Theme การลงทุนปี 2017 ให้ Overweight กลุ่ม Commodity House ต่างประเทศได้ Upgrade การลงทุนหุ้นไทยจาก Underweight เป็น Neutral โดยที่ปรับเป้าหมาย SET Index จาก 1500 เป็น 1610 โดยให้ Overweight กลุ่ม Commodity และหุ้นน้ำมันจะ Outperform ในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เก็บได้หรือยัง เมื่อทองคำทำจุดต่ำสุดในรอบ 9 เดือน - FINNOMENA เมื่อราคาทองร่วงลงไปทำจุดต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จากปัจจัยลบที่กดดันราคาทองต่างๆ ปัจจัยลบต่างๆที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง แล้วตกลงตอนนี้เราควรเก็บทองกันได้หรือยัง? 27 พ.ย. 2559 ทอง ทำจุดต่ำสุดในรอบ 9 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปีนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาทองร่วงลงไปทำจุดต่ำสุดที่ $1,171.18 ถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ปัจจัยลบที่กดดันราคาทอง ก็คือ นักลงทุนกังวลว่า นายทรัมป์จะเพิ่มงบลงทุนภาครัฐฯจำนวนมาก และกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้มีโอกาสสูงที่ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต ตรงนี้ นักลงทุนอาจสงสัยว่า จริงๆ ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อไม่ใช่หรอ? (Hedge Against Inflation) ความจริงคือ เงินเฟ้อในอดีตต่ำเกินไป และกำลังกลับมาอยู่ในระดับปกติที่ ตามที่เฟดตั้งเป้าไว้ในระยะยาวที่ 2% ซึ่งก็ยังถือว่าไม่สูงอยู่ดี ดังนั้นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อราคาทองจริงๆ ก็คือ การแข็งค่าอันรวดเร็วของค่าเงิน USD นั้นเอง รูปที่ 1 : ราคาทอง เปรียบเทียบกับ Dollar Index ย้อนหลัง 1 ปี ที่มา : Bloomberg ทั้งนี้ มีมุมมองของเหล่านักลงทุนหลายคน ที่เปลี่ยนมุมมองต่อเศรษฐกิจโลก และการลงทุนภาพใหญ่ รวมถึงราคาทอง ซึ่งหนึ่งคนที่ตลาดให้ความสนใจก็คือ จอร์จ โซรอส ที่มีข่าวออกมาว่า พอร์ตการลงทุนของเขา ณ ตอนนี้ขายทองคำออกจากพอร์ตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่มาข่าว : http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-11-17/gold-pauses-as-investors-continue-fund-selloff-on-u-s-rate-bets ย้อนกลับไปดูบทวิเคราะห์ หรือมุมมองของเหล่าโบรคชั้นนำของโลก ก่อนการเลือกตั้งก็จะพบว่า นอกจากจะเป็นการหักปากกาเซียนว่า คลินตันจะชนะแล้ว ยังคาดการณ์ผิดอีกด้วยว่า ถ้าทรัมป์มา ทองก็จะวิ่งตามด้วย ไม่ว่าจะเป็น HSCB, Commerzbank หรือ Citibank ก็ตาม ที่มาข่าว : https://www.bulliondesk.com/gold-news/focus-trump-win-us-election-could-push-gold-price-to-1-400oz-analysts-123534/ ถ้ามาดูที่การเข้าซื้อขายทองคำแท่งของกองทุน ETF Gold ก็จะพบสิ่งที่น่าสนใจว่า มีการทยอยขายทองคำแท่งออกจาก Custodian จริงๆ หลังจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่ก็ยังถือว่าเป็นระดับที่น้อยเมื่อเทียบกับการปรับตัวลงของราคาทอง Spot Gold ยังไงก็ตาม หากย้อนกลับไปดูการเทขายทองในช่วงปี 2013 จากการทำ QE Tapering ของเฟด ก็จะเห็นว่า ราคาทองปรับฐานก่อนซักระยะ และถ้ามุมมองยังไม่ดีขึ้น ซักพัก การเทขายทองแท่งใน ETF Gold ก็ตามมาอยู่ดี รูปที่ 2 : ราคาทอง เปรียบเทียบกับ การถือทอง ETF Gold ย้อนหลัง 5 ปี ที่มา : Bloomberg มุมมองทางเทคนิค การที่ราคาทองหลุดแนวรับจิตวิทยา $1,200 มานั้น ถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายเตือนเราว่า ราคาทองกลับลงมาเป็นขาลงอีกครั้ง ดังนั้น การจะเพิ่มพอร์ตใดๆในสินทรัพย์นี้ไม่ควรทำ ระยะสั้นมากๆ ราคาทองลงมาเข้าเขต Oversold และแท่งเทียนมีลักษณะเป็น Long-legged Doji ซึ่งในอดีต เมื่อทองเข้าเขต Oversold จาก RSI ที่ต่ำกว่า 30 จุดนี้ จะเกิดการรีบาวน์ระยะสั้นแทบทุกครั้ง (แนะนำให้กลับไปหาดูกราฟทองในระยะยาวประกอบด้วย) ซึ่งหากมีการรีบาวน์จริง ทองควรขึ้นไปเหนือ $1,200 และ เหนือ Fibonacci Retracement 50% ที่ $1,210 จึงจะมีลุ้นว่าขาขึ้นยังไม่จบ รูปที่ 3 : ราคาทอง ย้อนหลัง 1 ปี ที่มา : BISNEWS ในพอร์ตการลงทุนระยะยาว ยังแนะนำให้มีทองคำในพอร์ตที่ระดับไม่เกิน 10% เพื่อทำหน้าที่ป้องกันความเสี่ยงเพียงเท่านั้น คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: ETF Gold Gold Inflation Spot Gold ขึ้นดอกเบี้ย ทองคำแท่ง ราคาทอง เงินเฟ้อ เฟด แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
B-LTF จาก กองทุนบัวหลวง - FINNOMENA บทความนี้ Mr.Messenger จะมาขอรีวิว กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว หรือ B-LTF ที่ถือเป็นกองทุน LTF อันดับต้นๆของประเทศไทย ที่ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุน และการันตีด้วยคุณภาพจากการได้รับรางวัล Morningstar 5 ดาว น่าสนใจใช่ไหมครับ...อ่านต่อกันได้เลย 12 ธ.ค. 2560 B-LTF มีชื่อเต็มว่า กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว ถือเป็นกองทุน LTF อันดับต้นๆของประเทศไทย ที่ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุน และการันตีด้วยคุณภาพจากการได้รับรางวัล Morningstar 5 ดาว แน่นอนว่า เมื่อเป็น LTF นโยบายการลงทุน ก็ต้องลงทุนในหุ้นไม่ต่ำกว่า 65% ในรอบปีบัญชี แต่สำหรับ B-LTF นั้น ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมา แทบไม่มีช่วงเวลาใดเลยที่ถือหุ้นน้อยกว่า 90% เรียกว่า ถือหุ้นในพอร์ตตลอดเวลา จะมีโยกย้ายไปมาก็ในการเปลี่ยนหน้าหุ้นที่เชื่อว่ามูลค่ากิจการเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบัน ขนาดของกองทุนใหญ่ถึง 4.5 หมื่นล้านบาท ถือว่ามีขนาดใหญ่ระดับต้นๆของประเทศเช่นเดียวกับคุณภาพและผลตอบแทน กลยุทธ์การลงทุนของ B-LTF B-LTF เป็น Active Management Portfolio มีเป้าหมายคือ ชนะดัชนีชี้วัด (SET Index) ให้ได้ในระยะยาว บริหารพอร์ตแบบเชิงรุก โดยไม่ล้อ หรือเกาะตามดัชนี โดยใช้วิธีการคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom Up เน้นลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี มีความสามารถในการทำกำไร มีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว โดยในพอร์ตจะเน้นลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว ไม่เน้นเทรดดิ้งระยะสั้น ผลตอบแทนในอดีตของ B-LTF ด้านล่างนี้ ก็เป็นหนึ่งในหลักฐานว่า การบริหารงานที่ผ่านมา สามารถทำได้ตามความตั้งใจของผู้จัดการกองทุน ขนาดกองทุน B-LTF ใหญ่เกินไปไหม? ด้วยขนาดกองทุนมากกว่า 4.5 หมื่นล้าน ความท้าทายของผู้จัดการกองทุนคือ หากเลือกลงทุนในหุ้นจดทะเบียนที่มีขนาดเล็กในสัดส่วนที่มากเกินไป ก็จะติดเงื่อนไขเข้าถือครองในสัดส่วนที่มากเกินเกณฑ์ทที่ กลต. กำหนด แต่หากเข้าลงทุนน้อยเกินไป ถึงผลตอบแทนจะทำได้ดี แต่ก็เป็นสัดส่วนการลงทุนที่ไม่มีนัยกับพอร์ตโดยรวมของการลงทุน ดังนั้นจึงทำให้ผู้จัดการกองทุน B-LTF ลงทุนในหุ้นขนาดกลาง และขนาดใหญ่เป็นหลัก ซึ่งความเสี่ยงก็คือ หุ้นกลุ่มนี้ ได้รับความผันผวนจากปัจจัยภายนอกระยะสั้นบ้าง เนื่องจากเป็นหุ้นที่นักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนต่างชาติเข้าถือครองด้วยเช่นกัน มุมมองที่แตกต่างกันบ้างในระยะสั้น อาจทำให้นักลงทุนกลุ่มอื่นปรับพอร์ตการลงทุนบ้าง แล้วก็ส่งผลต่อราคาหุ้นที่กองทุนไปลงทุนด้วย แต่นั่นคือความเสี่ยงที่นักลงทุนควรรับรู้ และทำความเข้าใจอยู่แล้ว ผลการดำเนินงานในอดีตที่ผ่านมา ก็ถือเป็นเครื่องยืนยันว่า ขนาดกองทุนที่ใหญ่ ไม่ได้ลดทอนศักยภาพ และความสามารถของผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตเลยแม้แต่น้อย ผลการดำเนินงานย้อนหลัง น่าพอใจไหม? B-LTF เป็นกองทุน LTF ที่ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี 5 ปี และ 7 ปี ติดอันดับ TOP 5 ตลอด (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 2559) ถ้ากางดู Calendar Performance ของแต่ละปี ก็จะพบสัจธรรมว่า มันเป็นไปได้ครับที่บางปี B-LTF จะแพ้ดัชนีชี้วัด ซึ่งในที่นี้ก็คือ SET Index จากตาราง ปีที่แพ้ก็คือ 2009, 2010 และ ปี 2014 รูปที่ 1 : ผลการดำเนินงาน B-LTF รายปี เปรียบเทียบคู่แข่ง แหล่งข้อมูล : Bloomberg ณ วันที่ 15 พ.ย. 2559 ตรงจุดนี้เป็นจุดตายของนักลงทุนหลายคนเหมือนกัน ที่พอกลับไปมองผลการดำเนินงานย้อนหลังกองทุนในระยะสั้นๆ แล้วอาจจะพบว่า ทำผลตอบแทนไม่ดี ก็เลยไปเลือกลงทุนกองทุนอื่นแทน ซึ่งมันอาจจะแย่กว่าเดิมก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ย้อนกลับไปปลายปี 2014 ถ้าเราแคร์ว่า ระยะสั้นๆ ใครทำผลการดำเนินงานดีกว่ากัน … แน่นอนว่า เราจะไม่ลงทุนใน B-LTF เพราะแพ้กองทุนคู่แข่ง และ SET Index ในปีนั้น แต่ก็อย่างที่เห็นนะครับ ปี 2015 และ ปี 2016 นั้น B-LTF ก็กลับมาทำผลการดำเนินงานได้ดีอีกรอบ แล้วอะไรที่ทำให้ B-LTF ทำผลการดำเนินงานได้สม่ำเสมอ? ก็ต้องกลับไปที่หลักการลงทุนครับ การคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom Up เน้นลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ทำให้ได้หุ้นที่มีความผันผวนต่ำกว่าตลาด คือหัวใจของการลงทุน เราจะเห็นว่า ปีที่ตลาดติดลบ อย่างปี 2008 ปี 2013 หรือปี 2015 กองทุนราคาลงน้อยกว่าคู่แข่งและน้อยกว่า SET Index ทุกครั้งที่มีการปรับฐานในตลาดหุ้นเกิดขึ้น ลองดูการวิเคราะห์เชิงปริมาณในตารางด้านล่างของ B-LTF เปรียบเทียบกับ SET Index นะครับ รูปที่ 2 : การวิเคราะห์เชิงปริมาณกองทุน B-LTF เปรียบเทียบ SET Index แหล่งข้อมูล : Bloomberg ณ วันที่ 15 พ.ย. 2559 ที่เราเห็นก็บอกได้ว่า กองทุนเน้นการลงทุนในหุ้นเติบโต (Growth Stock) เนื่องจาก P/E สูงกว่า SET Index และ P/BV ก็สูงกว่า โดยอัตราการจ่ายปันผล ต่ำกว่า SET Index เล็กน้อย แต่ที่ถือว่าทำได้ดีถือ การที่ B-LTF มีค่า Beta ต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่า เสียงน้อยกว่าดัชนี และ มี Downside Risk รวมถึงโอกาสขาดทุนหนักในช่วงวิกฤต ที่ติดลบน้อยกว่าดัชนีอย่างชัดเจน นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เวลานึกถึง LTF เพื่อลดหย่อนภาษี หนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆก็จะมี B-LTF อยู่ด้วยทุกปีเสมอๆครับ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: B-LTF LTF กองทุนประหยัดภาษี กองทุนรวม บัวหลวง ลดหย่อนภาษี แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ความแตกต่างของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จีน กับสหรัฐฯ - FINNOMENA หลายท่านน่าจะได้ติดตามประเด็นฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จีน ซึ่งถือว่าเป็นฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ แต่ทว่าฟองสบู่ครั้งนี้ มีความแตกต่างจากสมัยวิกฤตซับไพร์มของสหรัฐ ฯ อยู่เหมือนกัน ในบทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบให้ดูกัน 13 มิ.ย. 2561 ในช่วงที่ผ่านมา หลายท่านน่าจะได้ติดตามประเด็น ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จีน ซึ่งถือว่าเป็นฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุด ที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ แต่ทว่ายังไม่ถึงเวลาที่ฟองสบู่ลูกนั้นจะแตก… สำหรับอสังหาริมทรัพย์จีนนั้น มีประเด็นที่น่าคิด น่าค้นหาอยู่หลายประการมาก และฟองสบู่ครั้งนี้ มีความแตกต่างจากสมัยวิกฤตซับไพร์มของสหรัฐ ฯ จากงานวิจัยของคุณ Edward Glaser, Wei Huang, Yueran Ma, และ Andrei Shleifer ในเรื่อง A Real Estate Boom with Chinese Characteristics ได้สรุปสาระสำคัญ ของความต่างระหว่างการเกิดขึ้นของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จีนกับสหรัฐไว้ได้อย่างน่าสนใจถึง 4 เรื่อง คือ 1. ความแตกต่างของอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาบ้าน (Housing Price Growth) US: ราคาบ้านปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก นับตั้งแต่ช่วงปี 1996 มาจนถึงปี 2007 โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตเมือง CN: ราคาบ้านในจีน ปรับตัวขึ้น 2 เท่านับตั้งแต่ปี 2007 จนถึง 2014 แต่สิ่งที่ทำให้อสังหาฯ ของจีนมีความแตกต่างจากของสหรัฐฯ คือ จีนแบ่งเขตอสังหา ฯ ออกเป็น 4 รูปแบบ (4 tiers) Tier 1 เป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูง หรือว่าเป็นเขตเมืองอย่างเช่น Beijing, Shanghai, Shenzhen, และ Guangzhou Tier 2 เป็นพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรม Tier 3 เป็นพื้นที่ที่มีระดับรายได้ปานกลาง – สูง Tier 4 เป็นเมืองที่ยังมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่สูงมากนัก ซึ่งแต่ละ Tier มีการเปลี่ยนแปลงของราคาแตกต่างกัน ฉะนั้น ถ้าจะพิจารณาความเสี่ยงที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จะแตก จะต้องแยกพิจารณาเป็นเมือง ๆ ไป 2. ความแตกต่างของขนาดห้อง (The size of the building) US: ขนาดห้องของสหรัฐ ฯ โดยเฉลี่ยในขณะนั้นอยู่ที่ 55 ตารางเมตร CN: ขนาดห้องโดยเฉลี่ยมีพื้นที่ประมาณ 33.8 ตารางเมตร 3. การสต๊อคบ้านไว้เพื่อการขายต่อ (Housing Inventories) US: ของสหรัฐ ฯ ในช่วงปี 2007 มีการกักตุน หรือซื้อบ้านเก็บไว้เพื่อทำการขายเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลาอันสั้น หรือเรียกว่ามีการเปลี่ยนมือที่ไว ดังนั้น เมื่อฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก ผู้ที่กักตุนอสังหา ฯ ไว้ ก็ได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ จากข้อมูลของ National Association of Home Builders บอกว่าในช่วงนั้น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องถือจำนวนบ้านที่ขายไม่ออกไว้ถึง 573,000 หลัง CN: สำหรับจีน การซื้อบ้านเก็บไว้ ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเช่นกัน และมีลักษณะเช่นนี้ทุก Tier 4. กฎระเบียบ การควบคุมดูแล US: ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ในช่วงเวลานั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล มีมาตรการที่หนุนให้เกิดฟองสบู่หลายอย่าง เช่น การลดภาษีให้ และการลดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืม CN: แต่สำหรับจีนนั้น ภาครัฐมีการควมคุมและมีอำนาจที่เข้มมากกว่า ซึ่งดูได้จาก Chinese Property Rights Law of 2007 แล้วจะเห็นชัดว่า เอกชนหรือประชาชนสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ แต่เอกชน “ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของในที่ดินผืนนั้น” กรรมสิทธิ์และความเป็นเจ้าของในที่ดินยังคงเป็นของภาครัฐต่อไป นอกจากนี้ สิ่งสำคัญก็คือว่า ระบบภาษีจีน ถ้าดูที่งบประมาณของรัฐ ก็จะเห็นว่า รายได้ก้อนใหญ่ของรัฐ มาจากภาษีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (Taxation of Real Estate) ทั้งงบส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น และในบางปี ก็สร้างรายได้ให้กับรัฐสูงถึง 40% และจุดสำคัญด้านกฎระเบียบข้อสุดท้าย ที่ทำให้ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ของจีนไม่แตกไวมากนักตามตำรา นั้นก็คือ กฎระเบียบในการควบคุมการซื้อขายบ้านมือสอง มือสาม ฯลฯ ที่มีการจำกัดว่า ถ้าจะขายบ้านเป็นมือที่สอง หรือ สาม ฯลฯ ก็สามารถทำได้ ภายใต้เงื่อนไข คือ ต้องถือหรืออยู่บ้านหลังนั้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี นับจากวันที่ซื้อมา (Limit the resale) ตามกฎเกณฑ์ข้อนี้ ทำให้สามารถบอกอย่างคร่าว ๆ ได้ว่า คนจีนที่ซื้อบ้านนั้น เขาต้องมีความต้องการซื้อเพื่ออยู่หรือใช้จริง ๆ หากอยากถือหรือซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร ก็ต้องถือไปอย่างต่ำ 5 ปี เพื่อให้คนอื่นมาเช่าอยู่หรือเช่าเพื่อใช้งานต่อ ไม่ใช่ซื้อไว้เพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น และยังไม่มีความไม่แน่นอนอีกด้วยว่า ภาครัฐจะเรียกสิทธิ์ในที่ดินคืนเมื่อไหร่ Source: Oct 2016, Edward Glaser, Wei Huang, Yueran Ma, and Andrei Shleifer, A Real Estate Boom with Chinese Characteristics, National Bureau of Economic Research แท็ก: จีน ฟองสบู่ สหรัฐ อสังหา อสังหาริมทรัพย์ แชร์บทความ: ผู้เขียน Economic Today ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย อดีตนักวิจัย เจ้าของเพจ Economic Today - TH ปัจจุบันเป็นนักเขียนที่ชื่นชอบเรื่องเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics) ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
5 สิ่งที่เราได้เรียนรู้ หลังผลเลือกตั้งสหรัฐฯ 2016 - FINNOMENA เลือกตั้งสหรัฐฯ 2016 มีผลกระทบต่อประชาคมโลกอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะนโยบายที่ต่างออกไปจากเดิมของสหรัฐฯหลังจากนี้ ... ซึ่งมันคือเรื่องในอนาคตที่เราคงต้องมานั่งวิเคราะห์กันต่อว่าผลกระทบต่อเราจะมาในมุมไหน และมากน้อยเพียงใด คำถามที่สำคัญคือ เราน่าจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง? ก็พบว่ามี 5 อย่างที่น่าสนใจ 9 พ.ย. 2559 จบกันไปสำหรับการเลือกตั้ง US Election 2016 ซึ่งถือว่าผิดคาดจากที่คนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้มากเลยทีเดียว เราได้เห็นกระแสโซเชียลทั่วโลกติด Hashtag #USElection2016 ทั้งอวยพร ล้อเลียน ทั้งดีใจ และกังวล แสดงความรู้สึกมากมายผ่านทาง Social Network ประเด็นคือ นี่ไม่ใช่แค่ Viral ธรรมดา แต่ว่า มีผลกระทบต่อประชาคมโลกอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะนโยบายที่ต่างออกไปจากเดิมของสหรัฐฯหลังจากนี้ … ซึ่งมันคือเรื่องในอนาคตที่เราคงต้องมานั่งวิเคราะห์กันต่อว่าผลกระทบต่อเราจะมาในมุมไหน และมากน้อยเพียงใด แต่บทความนี้ ผมลองย้อนนึกดูว่า เราน่าจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง ก็พบว่ามี 5 อย่างที่ผมได้รู้เพิ่มขึ้น ลองอ่านกันดูครับ ความประมาท เป็นบ่อเกิดแห่งความสูญเสีย ไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือบริสุทธิ์ใจ การใช้ E-Mail ส่วนตัวในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของคลินตัน คือ จุดพลิกผันสำคัญที่ทำให้เธอเสียคะแนนในช่วงที่สำคัญที่สุดของการชิงชัย สิ่งนี้ทำให้เห็นว่า อดีต จะย้อนมาทำร้ายเราได้เสมอ ดังนั้นการดำรงสติมั่น อยู่กับปัจจุบัน ทำให้ดีที่สุด ถือเป็นเรื่องสำคัญ ความประมาทที่สองก็คือ โอบาม่า ได้ฐานเสียงสำคัญจากชาว African-American ชาวละตินอเมริกัน และวัยรุ่น ผู้ซึ่งเป็น New Voters และการที่โอบาม่าให้การสนับสนุนฮิลลารีอย่างเต็มที่ ก็ควรทำให้ฮิลลารีได้คะแนนเสียงจากกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน แต่ผลการเลือกตั้งกลับไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งหากย้อนกลับไปดูแผนการหาเสียง ก็พบว่า เหมือนฮืลลารีจะให้ความสำคัญน้อยเกินไป เช่นเดียวกับในรัฐ New Mexico, Wisconsin หรือ แม้กระทั่ง Pensilvania ซึ่งโพลสำรวจเหมือนฮิลลารี “จะนอนมา” และเพราะโพลเป็นเช่นนั้น ทีม Campaign เลยไม่ได้ลงพื้นที่รึเปล่า? และผลก็คือ ทรัมป์ ได้ฐานเสียงจากรัฐฯที่ควรจะเป็นของ Democrat รูปที่ 1 : US Election 2016 Map (นับไป 99%) ที่มา : http://www.google.com/ อย่าไปให้ความสำคัญกับโพลสำรวจมากนัก นับตั้งแต่ทราบผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าเป็น ฮิลลารี คลินตัน และ โดนัล ทรัมป์ มานั้น ไม่มีวินาทีไหนเลยที่โพลสำรวจของสื่อหลักไม่ว่าจะเป็น TIMES, ABC, BBC, CNN, Bloomberg, Reuters, independent และ Moody’s Analytics ฯลฯ จะแสดงให้เราเห็นว่า ทรัมป์มีโอกาสลุ้น … แต่แค่วินาทีแรกที่ปิดหีบ และเริ่มนับคะแนนเท่านั้นละครับ โอกาสของทรัมป์ก็สูงขึ้นทันที ผิดจากที่ทุกโพลคาดไว้ ที่น่าสนใจคือ การวิเคราะห์โดยใช้ “Big Data” จาก Facebook Analytics โดยอาศัยข้อมูลการสนทนาของผู้ใช้ในทุกๆรัฐฯในสหรัฐฯมาทำการวิเคราะห์ พบว่า บทสนทนาถึง ทรัมป์ นั้น active ว่าฮิลลารีค่อนข้างมาก ถึงแม้จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ แต่กับฮิลลารีนั้น active น้อยกว่า แถมมีแต่บทสนทนาด้านลบอีกต่างหาก นี่อาจเป็นมิติใหม่ของการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตหรือเปล่า เมื่อวิธีการสำรวจ Polls แบบเดิมๆ เริ่มพยากรณ์ผิดไปจากความเป็นจริง (ตอนโหวต Brexit ก็พลิกแบบนี้) ดังนั้น จะใช้ข้อมูลสถิติอะไรย้อนหลัง เราคงต้องคิดมากขึ้นหลังจากนี้ละครับ รูปที่ 2 : โพลจาก BBC ก่อนหน้าการลงคะแนนหนึ่งวัน ที่มา : http://www.bbc.com/ Mr.Market ถูกเสมอ ผลกระทบที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นหลังทราบผลการเลือกตั้ง ก็ถูกตีความกันไปต่างๆนานา ทั้งเอานโยบายมาวิเคราะห์ เอาสถิติย้อนหลังมากาง ก็ตามแต่ศาสตร์ที่แต่ละคนเชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่ (ย้ำว่าส่วนใหญ่) มองว่า หากสหรัฐฯได้ทรัมป์มาเป็นผู้นำ โอกาสที่ตลาดหุ้นจะปรับฐานจะสูงขึ้น ซึ่งผลที่เราเห็นเมื่อผ่านไปหนึ่งวัน ก็มีส่วนเป็นตรงตามที่วิเคราะห์กันไว้คือ เมื่อนับถึงรัฐ Swing State อย่าง Florida ซึ่งเป็นรัฐฯใหญ่ และคาดกันว่า เป็นหนึ่งในรัฐชี้ชะตาผล แล้วปรากฏว่า ทรัมป์ได้รัฐนี้ไป ก็ทำให้ตลาดหุ้นตกใจ และ Dow Jones Futures ปรับฐานลงไปร่วมๆ -800 จุด แต่แล้วเมื่อตลาดหุ้นสหรัฐฯเปิดทำการอีกครั้ง ตลาดก็สามารถดีดกลับมาอยู่ในแดนบวกได้อีก ท่ามกลางความสงสัย และความพยายามหาเหตุผลของนักลงทุนว่า “มันเกิดอะไรขึ้น” รูปที่ 3 : ตลาด Futures ช่วงที่นับคะแนนรัฐฟลอริดาจบลง ที่มา : http://www.investing.com/ ประเด็นคือ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดีแล้ว และเราไม่จำเป็นต้องพยายามหาเหตุผลให้กับทุกๆการเคลื่อนไหวของมัน เพราะหลายครั้งเราก็หาเหตุผลไม่ได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ตลาดจะเผยแนวโน้มที่แท้จริงเอง ดังนั้น อย่าพยายามไปเถียงกับตลาด (Mr.Market) หรือ อ้างว่า มันมีความผิดเพี้ยนเลย … เพราะการให้เหตุผลเช่นนั้น ไม่ได้ทำให้เราพัฒนาฝีมือในการลงทุนเพิ่มขึ้นเลย อีกอย่างคือ ผิดวันนี้ ไม่ได้หมายถึงผิดตลอดชีวิต เกมส์การลงทุนไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร แต่มันคือการวิ่งมาราธอน เวลาจะเป็นตัวพิสูจน์ ขอแค่อย่าเลิกกลางทางไปก็แล้วกัน “ต้องการการเปลี่ยนแปลง” คือ Mega Trend ของโลก ชัดเจนว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ มีแต่คนบอกว่า ชาวอเมริกันกำลังจะเลือกผู้นำคนที่เขาไม่ชอบน้อยกว่า แต่เพราะว่า อีกคนนั้น มีแนวโน้มว่าจะไม่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง คะแนนเสียงเลยเทไปที่ทรัมป์ เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นในโลกปีนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ โหวตประชามติ Brexit ซึ่งหลายคนบอกว่า การที่อังกฤษออกจากยูโรโซน จะนำมาซึ่ง Uncertainty อีกมากมาย แต่สุดท้าย คนส่วนใหญ่ ก็พร้อมจะรับความเสี่ยง ครั้งที่สอง คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลลปินส์ ซึ่งผู้นำอย่างดูเตอร์เต้ แทบจะถอดแบบทรัมป์มาเลยในแง่อุปนิสัยและใจนักเลง ก็สามารถคว้าคะแนนเสียงข้างมากแทนผู้สมัครทรงเดิมๆที่อยู่ในแวดวงการเมืองแบบเดิมๆมาเป็น 10 ปี ตรงนี้ ผมว่า ไม่ใช่เทรนการเมืองที่คนส่วนใหญ่ต้องการ แต่หมายถึงในทุกมุมมองของความต้องการซึ่งจากนี้จะเปลี่ยนไป และซับซ้อนมากขึ้น ทำให้คิดไปว่า ธุรกิจใดที่ยังคงทำแบบเดิมๆ เสนอสินค้าและบริการแบบเดิมๆ อาจจะมีที่ยืนน้อยลงในสังคมที่มีพลวัตรสูงแบบนี้ Black Swan มีอยู่จริง และเจอถี่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่ออธิบายสิ่งที่ผมรู้ข้อที่ 5 ให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น คงต้องกลับมาที่ทฤษฎี Black Swan หรือ หงส์ดำ เสียก่อน ทฤษฎีนี้ คิดโดย Nicholas Nazim Taleb ซึ่งตีพิมพ์เป็นหนังสือที่ใช้ชื่อว่า “The Black Swan: The Impact of the Highly Improbable” อธิบายว่า ในอดีต ไม่เคยมีใครเจอหงส์สีดำมาก่อน ก็เลยเชื่อกันว่า หงส์บนโลกนี้มีสีขาว … แต่พอเวลาผ่านไป มีคนไปพบหงส์ดำ ความคิด หรือตรระที่ว่า หงส์มีเฉพาะสีขาว ก็ถูกทำลายลงทันที กล่าวคือ ความรู้ที่มนุษย์มีมาจนถึงปัจจุบัน มันอาจยังไม่ใช่สัจนิรันดร์ (Tautology) อาจจะเกิดจากการ์ปะติดปะต่อความรู้หลากหลายสาขา โดยขาดหลักฐานว่า เหตุผลนั้นถูกหรือผิด ดังนั้นก็มีโอกาสสูงมาก ที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันซึ่งไม่สามารถพยากรณ์ได้ และมันจะมีผลกระทบอย่างมากต่อเรา ซึ่งในหนังสือ The Black Swan บอกว่า ต้องมี 3 ปัจจัยประกอบกันคือ 1. เป็นพวกนอกคอก (นอกกรอบ ของกฎระเบียบสังคมเดิมๆ) 2. ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง 3. ถึงไม่เคยหาเหตุผลพยากรณ์ได้ แต่เมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถกลับมาหาเหตุผลอธิบายมันได้ การที่ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ถือว่า ครบปัจจัย 3 ข้อของ Black Swan Theory เช่นกัน ซึ่งเกิดหลังจาก Black Swan อีกตัวที่เกิดเมื่อกลางปีนี้ นั่นก็คือ “Brexit” ที่ก่อนจะรู้ว่า ผลโหวตเป็นอย่างไร ไม่มีนักวิเคราะห์คนไหนคิดมาก่อนว่าอังกฤษจะออกจากยูโรโซนจริงๆ แล้วค่อยมาเจอเหตุผลอธิบายได้หลังจากนั้น วิธีรับมือกับ Black Swan จริงๆแล้ว ยังไม่มีคนค้นพบ และมันแปลว่า ในมุมมองของการลงทุน เรายืนอยู่บนความเสี่ยงที่มองไม่เห็น และไม่สามารถพยากรณ์ได้ ที่จะกลายเป็นหงส์ดำอีกหลายตัว ดังนั้น วิธีที่ผมแนะนำ ในช่วงที่ยังไม่มีใครคิดคำนวนสูตรการรับมือได้ก็คือ “สติ” และนำพุทธโอวาทก่อนปรินิพพานไปเตือนสติแทนแล้วกันครับ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด” แหล่งที่มาข้อมูล :- http://www.business2community.com/government-politics/facebook-analytics-showing-donald-trump-winning-presidency-hoax-01698836#FbMcDVAcPPqaeXlm.97 http://edition.cnn.com/2016/11/09/politics/clinton-votes-african-americans-latinos-women-white-voters/ http://www.bbc.com/news/election-us-2016-37450661 https://www.theguardian.com/us-news/2016/nov/09/hillary-clinton-election-president-loss https://en.wikipedia.org/wiki/Black_swan_theory แท็ก: Black Swan US Election 2016 เลือกตั้งสหรัฐฯ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (31 ต.ค. - 4 พ.ย. 2559) - FINNOMENA มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (31 ต.ค. - 4 พ.ย. 2559) เรามาดูแบบจำลองผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในสถาณการณ์ต่างๆ กันครับ ว่าจะเกิดผลอย่างไรได้บ้าง และสำหรับนักลงทุนอย่างเราควรเตรียมรับมืออย่างไร 31 ต.ค. 2559 ในสภาวะความไม่แน่นอนสูง นักลงทุนต่างชาติยังไม่เข้าซื้อหุ้น และทำการขายพันธบัตรระยะสั้นเป็นจำนวน 8,366.87 ล้านบาท ในเดือนต.ค. 2559 ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงในระยะสั้น แต่เข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวเป็นจำนวน 13,419.67 ล้านบาท ในเดือนต.ค. 2559 แสดงว่าภาวะ Hungry for yields ยังคงมีต่อเนื่อง ตลาดทุนทั่วโลกชะลอตัวลง โดยที่มีความผันผวนและปริมาณการซื้อขายต่ำลง เนื่องจากรอการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯในวันที่ 8 พ.ย. 2559 เราได้ทำสรุปผลกระทบโดยแบ่งเป็น 6 กรณีศึกษา โดยที่หากไม่มี Tail risk เกิดขึ้น ตลาดทุนจะกลับสู่ขาขึ้นหรืออย่างน้อย Sideway แต่หากมี Tail risk ตลาดทุนจะปรับตัวลงอย่างแรง ให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่ม Alpha stock ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว, underowned stock, undervalued stock, หุ้นที่มี theme, แต่น้ำมัน มี Upside surprise จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ถ้าการเจรจาของ OPEC ประสบความสำเร็จ หุ้นกลุ่มขนาดกลางจะมีผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกลุ่มขนาดใหญ่ แบบจำลองผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ กรณีที่ 1 Clinton ชนะขาด Clinton ชนะการเลือกตั้งแบบขาดลอย และชนะทั้งวุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น และตลาดหุ้นของตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) จะปรับตัวลง กรณีที่ 2 Clinton ชนะการเลือกตั้ง แต่เสียงของรัฐสภาแบ่งแยกกัน (Split) : โดยวุฒิสภาเป็นของกลุ่ม Democrat แต่ สภาผู้แทนราษฎร เป็นของกลุ่ม Republican ค่าเงินดอลลาร์จะ Sideway หรือปรับตัวอ่อนค่าลง, อัตราผลตอบแทนพันธบัตร Sideway และตลาดหุ้นของตลาดเกิดใหม่จะดี กรณีที่ 3 Clinton ชนะการเลือกตั้ง แต่ Republican ได้ Congress ทั้งหมด ค่าเงินดอลลาร์จะ Sideway หรือปรับตัวอ่อนค่าลง, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวสูงขึ้น และตลาดหุ้นของตลาดเกิดใหม่จะ sideway กรณีที่ 4 Trump ชนะขาด Trump ชนะการเลือกตั้งแบบขาดลอย และชนะทั้ง วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น แต่ตลาดหุ้นของตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) จะปรับตัวลง กรณีที่ 5 Trump ชนะการเลือกตั้ง แต่เสียงของรัฐสภาแบ่งแยกกัน (Split) โดยวุฒิสภาเป็นของกลุ่ม Democrat แต่ สภาผู้แทนราษฎร เป็นของกลุ่ม Republican ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น แต่ตลาดหุ้นของตลาดเกิดใหม่จะไม่ดี กรณีที่ 6 Trump ชนะการเลือกตั้ง แต่ Democrat ได้ Congress ทั้งหมด ค่าเงินดอลลาร์จะ Sideway หรือปรับตัวอ่อนค่าลง, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะ Sideway และตลาดหุ้นของตลาดเกิดใหม่จะ Sideway US election outcome เพราะฉะนั้น นักลงทุนจะต้องดู Composition ของ Congress ประกอบกับการดูผลของการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ว่าใครจะชนะการเลือกตั้ง ตลาดเกิดใหม่จะดีก็ต่อเมื่อ Clinton ชนะแต่ไม่ใช่แบบชนะทั้งสองสภา เนื่องจากหากพรรคใดพรรคหนึ่งชนะ และประธานาธิบดีมีอำนาจสูง จะนำไปสู่นโยบายการคลังที่แข็งแกร่ง การจ้างงานเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐฯจะดี และมีเงินไหลกลับประเทศสูง มีโอกาสครึ่งหนึ่ง ที่ Democrat จะชนะการเลือกตั้ง และ Congress Split มีโอกาสหนึ่งในสี่ ที่ Democrat ชนะ แต่ Republican ได้ทั้ง Congress หากนำสองกรณีมารวมกัน จะมีโอกาสเกือบ 75% ที่ตลาดเกิดใหม่จะดีขึ้น หรืออย่างน้อย Sideway จากการที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง Tail risk จะสูง หาก Trump ชนะการเลือกตั้งทั้งหมด หรือ Clinton ชนะหมด (ทั้งวุฒิสมาชิกและสภาผู้แทนราษฎร) ซึ่งมีโอกาสประมาณ 15% ตลาดหุ้นมีโอกาสสูงที่จะปรับตัวลดลง ทั้ง Clinton และ Trump มีนโยบายเก็บภาษีเงินโอนกลับสหรัฐฯ โดยที่ Trump มีนโยบาย Homeland Investment Act ที่จะลดภาษีจากเดิม 37% ลงเป็น 10% ซึ่งคาดว่าจะมีเงินไหลกลับไปยังสหรัฐฯ จำนวนมาก ในขณะที่ Clinton มีนโยบาย Exit Tax ของเงินโอนกลับ หรือ International Transfer แต่ยังไม่ได้กำหนดอัตราภาษีใหม่ ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup/ แท็ก: US election ลือกตั้งสหรัฐฯ แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (25-28 ตุลาคม 2559) - FINNOMENA มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (25-28 ตุลาคม 2559) เรามาดูกันครับว่า สัปดาห์นี้ จะมีปัยจัยบวก ปัจจัยลบ อะไรบ้างที่น่าจับตามอง 26 ต.ค. 2559 ตั้งแต่เดือนต.ค. 2559 เป็นต้นมา หุ้นกลุ่มขนาดเล็ก (Small Cap.) ได้ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกลุ่มขนาดใหญ่ (Large Cap.) โดยผลตอบแทนอยู่ที่ SET +6.2% เทียบกับ SET50 ที่ +4.4% ในช่วงที่เหลือของปี 2559 การปรับตัวแข็งค่าของเงินดอลลาร์จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขับเคลื่อนของเม็ดเงิน (Fund Flow) และตลาดได้สะท้อนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโนบายของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง (ความน่าจะเป็นล่าสุดอยู่ที่ 70%) คาดเม็ดเงินของการเข้าซื้อ LTF/RMF ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 ที่ราว 1 หมื่นล้านบาท จากปีก่อนๆ ที่ราว 3 หมื่นล้านบาท เนื่องจาก 1) ดัชนีอยู่ในระดับสูงแล้ว 2) ระยะเวลาการถือครองที่ขยายเพิ่มเป็น 7 ปีปฏิทิน ในปี 2558 ดัชนี SET ให้ผลตอบแทนสูงกว่า SET50 5.3% ในช่วงเดือนต.ค.-ม.ค. กลยุทธ์สำหรับกลางเดือนต.ค.-ธ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงมีลักษณะ Low Volatility ก่อนการเลือกตั้งที่สหรัฐฯ แนะนำให้เลือกลงทุนหุ้นรายตัว ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่ม Under owned Mid Cap Stock ปัจจัยบวกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในช่วง 6 เดือนข้างหน้า การได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของนางฮิลลารี คลินตัน คาดว่าจะเป็นผลดีต่อตลาดโดยรวมในระยะสั้น คาดราคาน้ำมันดิบจะสามารถยืนได้อย่างแข็งแกร่งต่อไปจนถึงการประชุม OPEC อย่างเป็นทางการในวันที่ 30 พฤศจิกายน หลังจากที่กลุ่ม OPEC บรรลุข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการในการปรับลดการผลิตน้ำมันลงสู่ระดับ 32.5 – 33.0 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปัจจุบันที่ระดับ 33.24 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากตัวเลขจริงในการประชุมวันที่ 30 พฤศจิกายนออกมาในระดับดังกล่าว มองไม่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันมากนัก แต่หากตัวเลขออกมาที่ระดับประมาณ 32.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน มองเป็น Upside risk ต่อราคาน้ำมันดิบอีกรอบหนึ่ง มีมุมมองเชิงบวกเล็กน้อยต่อราคาน้ำมันดิบในปี 2560 เนื่องจากท่าทีของรัสเซียและซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็น 2 ประเทศมหาอำนาจของกลุ่ม Non-OPEC และกลุ่ม OPEC เริ่มที่จะหันหน้าเข้าเจรจาประเด็นการลดกำลังการผลิตมากขึ้น ซึ่งมีโอกาสทำให้ราคาน้ำมันดิบมี Upside risk ในช่วงถัดไป เม็ดเงิน LTF/RMF ในช่วงปลายปี ประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท ต่ำกว่าของปีที่แล้วที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน การประมูลโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ การผ่อนคลายนโยบายการเงินของ BoJ และ ECB ยังคงคาดว่า ECB จะมีมติต่ออายุมาตรการ QE ในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 8 ธันวาคม แต่เป็นสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์อยู่แล้ว โดยต่ออายุอีกประมาณ 6 เดือน แต่หลังจากนั้นคาดว่าจะไม่มีการปรับเพิ่ม คณะกรรมการ FOMC ชุดใหม่ที่โน้มเอียงไปทางค่าย Dovish นักลงทุนต่างชาติที่เป็น Long- term Investors และยังไม่ได้ Overweight หุ้นไทยแม้แต่น้อย ปัจจัยลบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น USD: ติดตามการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป หลังล่าสุดยังคงปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุสำคัญจากการที่นักลงทุนได้ให้น้ำหนักมากขึ้นกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ ล่าสุด Fed Funds futures บ่งชี้ว่ามีความน่าจะเป็น 71% ที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในรอบดังกล่าว ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เคยมีข้อมูลมา มองเป็นปัจจัยกดดันเบื้องต้นต่อค่าเงินและตลาดหุ้นของประเทศเกิดใหม่ การปฏิรูประบบภาษีของสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารกลุ่มใหม่ ที่รวมถึงการปรับลดภาษีการโอนเงินกลับสหรัฐฯ ภายใต้กฎหมาย Homeland Investment Act ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้มีเงินกว่า 2-4 แสนล้านดอลลาร์ไปกลับไปสหรัฐฯ (หรือเป็นประมาณนับเป็น 5-10% ของงบการเงินของ Fed และใกล้เคียงกับการ Tapering) การปรับลดประมาณการของบริษทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ บรรยากาศการบริโภคและการท่องเที่ยวในประเทศที่อาจจะได้รับผลกระทบในระยะสั้น คาดการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้ Bond yield ปรับตัวสูงขึ้นตาม Key audit matter ที่จะต้องปรากฏในงบการเงินของบ.จ.ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป การไถ่ถอนกองทุน LTF/RMF ในช่วงต้นปี 2560 คดีค่าปรับของ Deutsche Bank กลุ่มอุตสาหกรรมที่แนะนำ Overweight ENERG – ระดับราคาน้ำมันที่น่าจะแข็งแกร่งต่อไป CONS/CONMAT – การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ FOOD/ETRON – คาดการณ์เงินบาทอ่อนค่า, กลุ่ม Food คาดว่าจะโดดเด่นช่วง 3Q59 ICT/UTILITIES – เงินปันผลสูงและมีความผันผวนต่ำ, กลุ่ม Utilities คาดโดดเด่นปี 2560 INSUR – แนวโน้มขาขึ้นของ Bond yield กลุ่มอุตสาหกรรมที่แนะนำ Underweight BANK – แนวโน้มการตั้งสำรองหนี้ที่ยังไม่สิ้นสุดบวกกับมาตรฐานบัญชีใหม่ TOURISM – ได้รับผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญและการเตือนภัย PROP – บรรยากาศการบริโภคหดตัวลงในระยะสั้น MEDIA – รายการสื่อต่างๆรวมถึงงานอีเว้นท์ที่ลดลง กลุ่มที่ต้องเฝ้าจับตาดูเพื่อประเมิน Upside คือ กลุ่ม Transport ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
"R-Star" อัตราดอกเบี้ยตามธรรมชาติ คืออะไร? - FINNOMENA Low R-star World หรือ โลกที่อัตราดอกเบี้ยตามธรรมชาติอยู่ในระดับต่ำ อีกหนึ่งคำศัพท์ใหม่ในปี 2016 ที่ควรรู้จัก R-star ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่หลังหักเงินเฟ้อออก ที่เรียกกันในทางเทคนิคว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง มาทำความรู้จักกันครับ 14 ม.ค. 2565 ผมไม่อยากให้ท่านผู้อ่านต้องพลาดคำศัพท์ใหม่อีกคำหนึ่งในปี 2016 นั่นคือ โลกที่อัตราดอกเบี้ยตามธรรมชาติอยู่ในระดับต่ำ หรือ Low R-star World แต่ไหนแต่ไรมานั้น นโยบายการเงินจะถูกใช้ในระยะสั้นเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อเห็นว่าซบเซาจนเกินไปและชะลอเศรษฐกิจหากเห็นว่าร้อนแรงจนเกินไป ส่วนนโยบายการคลังจะถูกนำไปใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว อย่างไรก็ดี หลังจากเกิดวิกฤตการเงินโลก อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่างๆ ทั่วโลกอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก สิ่งที่เป็นจุดไฮไลต์ของบรรดานักเศรษฐศาสตร์คือ อัตราดอกเบี้ยตามธรรมชาติ หรือ R-star ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่หลังหักเงินเฟ้อออก ที่เรียกกันในทางเทคนิคว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ดีพอสมควรและมีเงินเฟ้อไม่มากจนเกินไป อยู่ในระดับต่ำ ดังรูป รูปแสดงอัตราดอกเบี้ยตามธรรมชาติหลังจากปรับเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ที่ มา: Federal Reserve Bank of San Francisco สาเหตุหลักเกี่ยวข้องกับทั้งฝั่งอุปทานและอุปสงค์ต่อเงินทุนของโลก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่ยุคของคนแก่ครองเมือง การชะลอตัวลงของระดับผลิตภาพ และการเติบโตของเศรษฐกิจทำให้ประเทศในตลาดเกิดใหม่ต้องการเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น และ การทะลักของเงินฝากทั่วโลก อย่างไรก็ดี มิได้หมายความว่าอัตราดอกเบี้ย R-Star ในอนาคตจะต่ำลงไปแตะที่ระดับศูนย์แต่อย่างใด ทว่ามีแนวโน้มจะลดลงจากร้อยละ 4-4.5 ในช่วงเกิดวิกฤตการเงินโลกมาแตะ R-Star ใหม่ที่อัตราร้อยละ 3-3.5 หรือต่ำกว่านั้นเล็กน้อยมากกว่า โดยอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้มิใช่ว่าเกิดขึ้นในช่วงที่ธนาคารกลางอยู่ในโหมดผ่อนคลายแต่อย่างใด ทว่าอยู่ในช่วงที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปแบบเต็มที่ โดยที่ในช่วงเวลาของโลกที่มี R-Star ต่ำ นั้น อย่างที่เราได้สัมผัสกันในตอนนี้ ทำให้เราต้องพึ่งพาเครื่องมือทางนโยบายการเงินที่ไม่ใช่แบบบ้านๆ อย่าง QE หรือนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งจะเห็นได้ว่าธนาคารกลางต่างๆพากันเสพติดกันแบบเมามันอย่างที่เห็นในช่วงนี้ โดยไม่รู้ว่ามันจะจบตรงจุดไหน คำถามคือเราจะมีกลยุทธ์ในการจัดการกับการเสพติดนี้ได้อย่างไร? ผมมีความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์คนเก่ง 2 ท่านที่มีมุมมองคมกริบกันทั้งคู่มาฝาก ขอเริ่มจากเก่งเล็กก่อน นามว่า จอห์น วิลเลี่ยมส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ สาขาซานฟรานซิสโก แนะนำว่าให้พิจารณาการใช้นโยบายการคลัง รวมถึงนโยบายอื่นๆที่จะไปเพิ่มระดับของ R-Star โดยนายวิลเลี่ยมส์แนะนำให้ลงทุนในโปรเจคต์ระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษา รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการวิจัยและพัฒนา ตรงนี้ผมไม่ให้เครดิตนายวิลเลี่ยมส์มากเท่ากับนายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ ที่เป็นคนแรกๆที่ให้ความเห็นทำนองนี้ เมื่อเกือบ 2 ปีก่อน นโยบายที่นายวิลเลียมส์โฟกัสมากที่สุดในรอบนี้ คือ การออกแบบนโยบายการคลังที่ทำหน้าที่เหมือนกับกันชนให้กับวัฏจักรเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่ออัตราการว่างงานของประเทศต่ำลงก็จะเก็บเงินประกันสังคมและอัตราภาษีเงินได้สูงขึ้น เพื่อชดเชยกับช่วงเวลาที่อัตราการว่างงานของประเทศสูงขึ้น ที่จะนำเงินดังกล่าวมาช่วยเหลือคนตกงาน จะเห็นได้ว่านโยบายนี้ จะให้ประโยชน์ทั้งในทางเศรษฐกิจ ที่เรียกกันว่า นโยบายการคลังแบบ Counter-Cyclical ที่จะเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจแทบทุกด้าน และ ในทางการเมืองที่ผู้เดือดร้อนในสังคมได้รับการเยียวยามากที่สุด นอกจากนี้ ในแง่นโยบายการเงิน นายวิลเลี่ยมส์แนะนำให้ขึ้นอัตราเงินเฟ้อที่เป็นเป้าหมายของธนาคารกลางให้สูงขึ้น เพื่อจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้นในที่สุด รวมถึงให้ใช้จีดีพีที่รวมเงินเฟ้อเป็นดัชนีที่ธนาคารกลางวางเป้าหมายในการบริหารเศรษฐกิจแทนที่จะเป็นอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางไม่ต้องลดลงมากแบบที่ใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายตามที่มีงานวิจัยหลายชิ้นได้พิสูจน์ไว้ ในขณะเดียวกัน เก่งใหญ่อย่างนายเบน เบอร์นันเก้ แนะนำไว้สั้นๆแต่คมคายว่า เขามองว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบน่าจะโดนมากกว่าการขึ้นระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย เนื่องจากหากลดอัตราดอกเบี้ยให้ติดลบ จะไปกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยต่างๆในระบบเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่าการขึ้นระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย ที่จะไปช่วยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติเป็นหลัก รวมถึงการขึ้นระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายเป็นนโยบายระยะยาวที่ไปบิดเบือนกลไกทางนโยบายการเงินของเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างแบบถาวร อีกทั้งในแง่ความเสี่ยงทางการเมืองถือว่าสูงกว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่มักจะทำในช่วงเวลาหนึ่ง มิใช่ทำกันแบบยาวๆอย่างการขึ้นเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ปี 2016 คงผ่านไปได้แบบไม่สมบูรณ์เท่าไหร่สำหรับแฟนคอลัมน์ หากไม่รู้จักกับแนวคิด “โลกใหม่ของ R-Star” นี้ครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639195 แท็ก: Low R-star World R-star ศัพท์การเงิน แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (3-7 ตุลาคม 2559) - FINNOMENA ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่คาดว่า OPEC จะลดการผลิตน้ำมันในการประชุมที่แอลจีเรีย การตัดสินใจของ OPEC มีความสอดคล้องกับมุมมองของเรา 3 ต.ค. 2559 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่คาดว่า OPEC จะลดการผลิตน้ำมันในการประชุมที่แอลจีเรีย การตัดสินใจของ OPEC มีความสอดคล้องกับมุมมองของเรา โดยคำถามที่ยังคงอยู่ที่ปริมาณที่ OPEC จะลดกำลังการผลิตเท่าใด ถ้าลดมากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ราคาน้ำมันกลับเป็นขาขึ้นชัดเจน ขั้นตอนต่อไปคือผลของการเลือกตั้งสหรัฐฯ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อการหมุนเวียน Fund Flow ทั่วโลก เรายังคงมุมมองว่า เราได้ผ่านช่วงที่มีสภาพคล่องสูงสุดไปแล้ว เราเริ่มต้นการ Preview ปี 2017 ว่าเป็นปีของการปฏิรูป แต่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจช้า หุ้นที่จะ outperform ได้แก่ สาธารณูปโภค โทรคมนาคม และ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ AEC Key calls in 4Q16 SET Index ปี 2016 ผ่านแล้วจุดสูงสุดในไตรมาส 3 ที่ระดับ 1560 จุด และจะแกว่งอยู่ที่ 1420-1550 จุดในไตรมาส 4 ปี 2016 ในเดือน ต.ค. และ พ.ย. จะมีความผันผวนสูง เดือน ธ.ค. จะเห็นการเข้าซื้อของกองทุน LTF RMF จำนวนราว 35 พันล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ หยุดการซื้อขายในระยะสั้น โดยมีสถานะซื้อสุทธิ 0.7% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (วัดตามเกณฑ์ Rolling Basis 3 เดือน) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ มีผลกระทบต่อการไหลของเงินทุน Key calls in 2017 2017 เป็นปีแห่งการปฏิรูป มองว่าปี 2017 เป็นปีที่ Absolute Returns ต่ำและการเจริญเติบโตช้า แต่จะมีการหมุนไปยังกลุ่มที่ Laggard และมุ่งเน้นไปยังกลุ่มที่ Relative Returns สูง เราคาดว่า Fund flow ไหลไปกลุ่มสื่อสาร (การศึกษาเชิงประจักษ์) นอกจากนี้เรายังคาดว่าหุ้นที่มีรายได้ที่มั่นคงเช่น ระบบสาธารณูปโภคที่จะ Outperform ระดับของตลาดทุนมีความสัมพันธ์มากกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมากกว่าผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน เป้าหมาย SET Index ระหว่าง 1155-1600 จุด (based on 2017E EPS of Bt106.68, and PE 10.8x and PE 15.3x) มี tail risks มากในปี 2017 แต่อาจจะเห็นการฟื้นตัวของ SET Index ในลักษณะ V Shape ปัจจัยบวก ยังคงแนวโน้มที่แข็งแกร่งสำหรับภาคการบริโภคภาคเอกชนและรายได้ของเกษตรกร การใช้จ่ายในโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศยังคงต่ำที่ 30.29% ระดับเดียวกับปี 2005 Global PMI เพิ่มขึ้น ปัจจัยลบ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในหมู่นักลงทุนในประเทศ จะลดลง “ความกระหายอัตราผลตอบแทน“ (Hungry for Yields) จะหันไปลงทุนในหุ้นกู้ นักวิเคราะห์ไม่มีการปรับประมาณการผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจกลับมาเป็นบวก ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำ และมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น Discounted rate สูงขึ้น ส่งผลให้ Equity Risk Premium เพิ่มขึ้น หุ้น P/E สูงจะถูกขายทำกำไร Implied risk premiums ของไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่งผลให้ valuation ไม่น่าสนใจ ราคาน้ำมันมี surprise upside จุดสูงสุดของสภาพคล่องได้ผ่านไปแล้ว โดย BOJ ลดการซื้อพันธบัตรแบบทางอ้อมหรือ Controlling Yield Curve ECB ไม่ได้มีการผูกมัด Tail risks: โอกาสสูงที่จะมีการปรับฐาน 20% หนึ่งครั้ง การเพิ่มมาตรฐานบัญชีปี 2016 เพิ่มแบบ key audit matter (KAM) ทำให้นักลงทุนกลัวความเสี่ยงมากขึ้น ปี 2017 เป็นปีของ tail risk ปี 2013 และ ปี 2015 SET Index มีผลตอบแทนติดลบ จาก tail risks ซึ่งทำให้ SET Index ลดลงสู่ PE Band เฉลี่ย 5 ปีที่ -2SD และ-1SD ตามลำดับ ปี 2014 และปี 2016 SET Index ให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก tail risk น้อย ความไม่แน่นอนสูงในปี 2017 การเจริญเติบโตต่ำ – ภาวะเงินฝืด vs. stagflation ราคาตราสารหนี้มีโอกาสเป็นฟองสบู่สูง แต่ธนาคารกลางพยายามเลี่ยง Bond Shock และ Fed พยายามที่จะหลีกเลี่ยงที่จะสร้างความประหลาดใจในเชิงลบให้ตลาด ความเหลื่อมล้ำสูงระหว่าง “Dot Plot” และความคาดหวังของตลาด ทำให้ตลาดหุ้นจะผันผวนสูงมาก ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีโอกาสแข็งค่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจนำไปสู่กำหนดกฏหมายที่เรียกว่า Home Investment Act ทำให้เงินไหลกลับเข้าสหรัฐฯ มากขึ้น หนี้ที่สูงในภาคเอกชนของประเทศจีน สภาพคล่องส่วนเกินเริ่มลดลงอย่างมาก ปริมาณการซื้อขายที่ลดลง ความแตกต่างของนโยบายการเงินทั่วโลก ความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนในระดับโลก Upside Surprise การปฏิรูปอุตสาหกรรมอาจจะเห็นใน โครงสร้างราคาก๊าซ ระหว่างใช้ในภาคอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมขยะ การปฏิรูปของ NTBC ทำให้การจัดสรรความถี่มากขึ้น และการปรับโครงสร้างของทีโอที และกสท การปฏิรูปในราคาน้ำตาลเพื่อให้สะท้อนราคาตลาดโลก Key Theme Commodities stocks could outperform bank Overweight utilities, and telecom Overweight PTT, underweight PTTEP Overweight fiscal stimulus Overweight AEC consumption BUY Platform stocks Overweight gold ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (26-30 กันยายน 2559) - FINNOMENA การที่ BOJ มีนโยบายการทำ Yield Curve Controlling โดยการกำหนด Bond Yield 10 ปี ที่ 0% ถือเป็น Stealth Tapering หรือการลดการซื้อพันธบัตรแบบทางอ้อม 26 ก.ย. 2559 หลังจากผ่าน Super Wednesday ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และ Fed ไปแล้วเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา การที่ BOJ มีนโยบายการทำ Yield Curve Controlling โดยการกำหนด Bond Yield 10 ปี ที่ 0% ถือเป็น Stealth Tapering หรือการลดการซื้อพันธบัตรแบบทางอ้อม หรือแบบไม่ให้เห็น เพราะ Yield Curve Controlling จะไม่กำหนดประมาณการซื้อพันธบัตรแต่จะกำหนดที่ระดับอัตราผลตอบแทนหรือ Bond Yield แทนการที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นก็จะเป็นการทำให้ Bond Yield ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นไปด้วย ถือเป็นแรงส่งทางอ้อมที่ทำให้ Bond Yield ของประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น โดยใช้เม็ดเงินที่ลดลง มุมมองยังคงสอดคล้องกับมุมมองเดิม คือตลาดหุ้นทั่วโลกกำลังข้ามผ่านจุดสูงสุดของสภาพคล่องในไตรมาส 3 นี้ โดยที่ BOJ มี Stealth Tapering โดยที่ Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อ และ ECB ไม่ได้ผูกมัดในเรื่องการทำ QE เพิ่มภายหลังจาก มี.ค. ปีหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยมีข้อดี คือนักลงทุนต่างประเทศยังคงเป็น Neutral Stance ต่อน้ำหนักการลงทุน คือ นักลงทุนต่างประเทศซื้อ แค่ 0.7% ของ Market Capitalization ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 12 เดือน หมายความว่า การปรับฐานลงอย่างรุนแรงคงไม่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลานี้ แต่เมื่อใช้ค่าย้อนหลัง 3 เดือน พบว่านักลงทุนต่างประเทศจะชะลอการซื้อขาย อย่างมีนัยสำคัญในช่วงนี้ยังคงมองตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวไร้ทิศทาง มองหาปัจจัยใหม่ต่อไป หุ้นที่ Valuation ถูกจะ Outperform ตัวกำหนด Fund Flow ในสัปดาห์นี้คือการประชุม OPEC ที่แอลจีเรียในวันที่ 27 ก.ย.นี้ ซึ่งมีรัสเซียร่วมการประชุมกับ OPEC ด้วย มองว่าราคาน้ำมันมี Upside Surprise อย่างน้อยชั่วคราว และคาดว่าการประชุมน่าจะมีการประนีประนอมในเรื่องการคงการผลิตในที่สุด เพราะตอนนี้อุปทานส่วนเกินแค่ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันเท่านั้นในตลาดโลก แต่ราคาน้ำมันในระยะยาวยังคงมีคำถามเรื่องความยั่งยืน แต่ขั้นต่อไป เชื่อว่าตลาดทุนทั่วโลกจะจับตาดูการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 8 พ.ย. นี้ และเหตุการณ์นี้จะมีผลต่อ Fund Flow ไม่ว่าฝั่ง Republican หรือ Democrat จะถูกเลือกตั้ง ยังมองว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคง Underweight ความเสี่ยงประเภทนี้อยู่ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีผลต่อการค้าโลก ค่าเงินใน Emerging Market การกีดกันทางการค้า การส่งเงินกลับสู่สหรัฐ (Repatriation ผ่าน Home Investment Act) ของบริษัทของสหรัฐอเมริกาที่อยู่นอกสหรัฐเมื่อส่งเงินกลับ ประเทศ ค่าเงิน Yuan ของจีนที่มีโอกาสอ่อนค่าลง ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (19-23 กันยายน 2559) - FINNOMENA สัปดาห์นี้นักลงทุนควรจับตาดูผลการประชุมของ FOMC ของสหรัฐฯ และการประชุมของ BOJ (ธนาคารกลางญี่ปุ่น) ในวันที่ 21 กันยายนอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีผลต่อ Fund Flow 19 ก.ย. 2559 สัปดาห์นี้นักลงทุนควรจับตาดูผลการประชุมของ FOMC ของสหรัฐฯ และการประชุมของ BOJ (ธนาคารกลางญี่ปุ่น) ในวันที่ 21 กันยายนอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีผลต่อ Fund Flow การประชุมของ FOMC อาจนำไปสู่การลดลงของ Dot Plot (เส้นทางดอกเบี้ยของ Fed ในอนาคต) ซึ่ง Dot Plot ภายหลังการประชุมเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บ่งบอกถึง Fed Fund Rate จะเป็น 0.875% ภายในปลายปี 2016 1.675% ภายในปลายปี 2017 และ 2.375% ภายในปีปลายปี 2018 ซึ่งบ่งบอกถึงโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในปี 2016 อย่างน้อย 1 ครั้ง และขึ้นดอกเบี้ยประมาณ 3-4 ครั้งในปี 2017 ถ้า Dot Plot ภายหลังการประชุมเดือนกันยายนปรับตัวลดลง ตลาดหุ้นทั่วโลกอาจจะปรับในช่วง Sideway ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ลดลง และยังคงรอปัจจัยใหม่ต่อไป แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือนักลงทุนได้ให้ Pricing การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed แค่ 2 ครั้งเท่านั้นจนถึงปี 2019 ถือเป็น Taper Tantrum risk และทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงมาก ถ้า Action ของ Fed แตกต่างจากสิ่งที่นักลงทุนให้ Pricing Fed อาจจะพูดถึง “Balanced Risk” ซึ่งบ่งบอกถึงค่าที่ Fed เริ่มเตือนให้นักลงทุนระวังตัวมากขึ้น ถือเป็นคำพูดแบบ hawkish แบบเล็กๆ การประชุม BOJ ในวันที่ 21 กันยายนนี้ เช่นกัน ถือว่าเป็นการทบทวนแบบครอบคลุมรอบด้าน (Comprehensive review) มีโอกาสไม่น้อยที่ BOJ จะไม่ลดดอกเบี้ยให้ติดลบเพิ่ม อาจทำให้ตลาดทุนผิดหวัง ซึ่ง BOJ อาจจะคงนโยบายดอกเบี้ยคงเดิม แต่ BOJ อาจจะเปลี่ยนแปลงจำนวนการทำ QQE (Quantitative and Qualitative Easing) จากปัจจุบันคงที่ที่ JPY 80 ล้านๆต่อเดือน มาสู่ 70-90 ล้านๆ เยน และยืดอายุพันธบัตรจากค่าเฉลี่ยปัจจุบัน 7 ปี มาสู่การซื้อพันธบัตรที่ยาวขึ้น สำหรับตลาดหุ้นไทย จากการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical study) ตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา พบว่า มีแค่ 3 episode (1998-1999 , 2004 และ 2012-2013) เท่านั้นที่กลุ่มอาหารได้ outperform SET Index ส่วนกลุ่มสื่อสาร กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง จะเป็นกลุ่มที่ Outperform ตามหลังกลุ่มอาหาร ที่มาบทความ : www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Top-down SPACE ตอน สหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ย กระทบหุ้นไทยอย่างไร - FINNOMENA บทความตอนที่แล้วผมสัญญาไว้ว่า เราจะมาลองดูกันว่า ถ้าสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ย จะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนในไทยอย่างไรนะครับ มาดูกันเลยครับ 26 ส.ค. 2560 บทความตอนที่แล้วผมสัญญาไว้ว่า เราจะมาลองดูกันว่า ถ้าสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ย จะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนในไทยอย่างไรนะครับ ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ช่วงกลางปี 2004 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งถือเป็นรอบของการปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบล่าสุด (ก่อนที่โลกจะรู้จักกับวิกฤตซับไพรม์ในปี 2008) ในช่วงนั้น เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย. ปี 2000 โดยเฟดค่อยๆประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากจุดต่ำสุดคือ 1.0% ขึ้นไปอยู่ที่ 2.25% กลางปี 2006 ใช้เวลาในรอบขาขึ้นของดอกเบี้ยรอบนั้น 2 ปีเต็ม ซึ่ง ณ กลางปี 2004 ค่าเงินบาทต่อดอลล่าร์อยู่ที่ระดับ 41 บาทต่อดอลลาร์ และใช้เวลาประมาณ 8 เดือน แต่เงินบาทยังแข็งค่าเรื่อยๆลงมาที่ 38 บาทต่อดอลลาร์ หรือแข็งค่าราวๆ 7% นับจากการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกไปแล้ว 1 ปี ที่น่าสนใจคือ ตลาดหุ้นไทย ต้นปี 2004 ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 800 จุด จากการวิ่งขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2001 ที่ระดับต่ำกว่า 300 จุด หากคิดเป็นอัตราผลตอบแทนในช่วงเวลาดังกล่าว เท่ากับ ตลาดหุ้นไทย ใช้เวลา 2 ปีครึ่ง วิ่งขึ้นมามากกว่า 190% ทีเดียว ก่อนที่จะปรับฐานจาก 800 จุด ลงมาที่ระดับ 650 จุด ในช่วงกลางปี 2004 (ใช้เวลาปรับฐาน 8 เดือน ลงมาเกินกว่า -20%) แต่หลังจากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยดอกเบี้ยครั้งแรก กลับยังพบว่า เงินทุนยังไหลเข้าตลาดหุ้นไทย โดยนับตั้งแต่ปี 2004 มาถึง ปี 2006 ตลาดหุ้นไทย เทรดในกรอบ 600 – 780 จุด ก่อนที่แบงก์ชาติจะประกาศมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับเงินทุนนำเข้าระยะสั้น เป็นเหตุให้ในวันที่ 15 พ.ย. 2014 ตลาดหุ้นไทย ปรับฐานภายในวันเดียวมากกว่า 9% นั่นแปลว่า จากข้อมูลในอดีต การขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดในปี 2004 นั้น แทบไม่มีผลลบในระยะสั้นต่อตลาดหุ้นไทยเลย กลับกลายเป็นว่า ตลาดหุ้นไทยทำจุดต่ำสุด ณ ตอนที่เฟดประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยซ้ำ ซึ่งเมื่อย้อนมาดูสถานการณ์ปัจจุบัน ก็พบว่า มีความใกล้เคียงกัน กล่าวคือ เฟด ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2015 SET Index ลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1,300 จุด แต่มา ณ วันนี้ ถึงจะปรับฐานมากว่า 100 จุด จากจุดสูงสุด ก็ยังสูงกว่า ณ วันที่เฟดประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก สำหรับตลาดตราสารหนี้ในไทย ก็ตอบรับคล้ายๆกันครับ ผมลองกลับไปดูอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ในช่วงปี 2004 – 2005 ก็พบว่า ยังคงลดลงต่อเนื่องไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯที่แข็งค่าในช่วงนั้น แต่ Bond Yield ก็มีการกระชากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเดือน มิ.ย. ปี 2005 จาก 4% ไปถึง 6.8% ในเดือน พ.ย. ปีเดียวกัน จุดที่ผมเห็นว่า เป็นข้อแตกต่างระหว่างปี 2004 กับ ปัจจุบัน ก็คือ รอบการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนั้น เฟดขึ้นดอกเบี้ยด้วยอัตราเร่งที่ค่อนข้างเร็ว ปรับขึ้นดอกเบี้ยแทบจะทุกครั้งในการประชุมนับตั้งแต่ปี 2004 จนถึงปี 2007 แต่ในขณะที่ปัจจุบัน ผมยังไม่เห็นความเสี่ยงที่เฟดจะปรับขึ้นในอัตราเร่งเช่นนั้น ซึ่งเมื่อลองเอาการเคลื่อนไหวของตลาดทุนในปี 2004 มาประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ผมก็ขอให้มุมมองว่า เฟดน่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยอัตราเร่งที่ช้ากว่าครั้งก่อนหน้า ผลต่อตลาดหุ้น จึงไม่น่าจะทำให้มี Fund Flow ไหลออกอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วง 3-6 เดือนหลังจากนี้ เท่ากับว่า ค่าเงินบาท ยังไม่น่าจะอ่อนค่ารุนแรงจากปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป เฟดทยอยขึ้นดอกเบี้ยจนถึงจุดหนึ่ง (จุดที่ต้องพิจารณาคือ ตอนที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี เริ่มไม่มีความแตกต่างจากเงินปันผลที่ได้จากตลาดหุ้น) เมื่อนั้น นักลงทุนจะเริ่มโยกย้ายสินทรัพย์ จากที่ต้องโดนบังคับลงทุนในหุ้น เพราะดอกเบี้ยมันต่ำติดดิน ก็โยกกลับมาลงทุนในตราสารหนี้แทน ความผันผวนก็จะสูงขึ้นทันที วิเคราะห์ได้ยังไม่ครบเลยครับ ตอนหน้า ผมจะมาอธิบายว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ปี 2016 แตกต่างจาก 2004 อย่างสิ้นเชิง รอติดตามกันนะครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638912 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ (12-16 กันยายน 2559) - FINNOMENA มุมมองที่ให้สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ตลาดหุ้นจะเลื่อนการปรับฐานจากไตรมาส 4 มาสู่เดือนกันยายนยังคงสอดคล้องตาม Roadmap ที่ให้ และตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงกว่า 100 จุดใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 12 ก.ย. 2559 มุมมองที่ให้สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ตลาดหุ้นจะเลื่อนการปรับฐานจากไตรมาส 4 มาสู่เดือนกันยายนยังคงสอดคล้องตาม Roadmap ที่ให้ และตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงกว่า 100 จุดใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา (อ่านมุมมอง 5-9 กันยายน) ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา นักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตรระยะยาว 5.8 พันล้านบาท ขายพันธบัตรระยะสั้นจำนวน 2.4 พันล้านบาท ซื้อหุ้นไทย 3.6 พันล้านบาท แต่ Short Future 7,863 สัญญาในตลาดอนุพันธ์ สถานการณ์แบบนี้บ่งบอกว่านักลงทุนต่างประเทศเริ่มที่จะ Hedging ตลาดหุ้นผ่านตลาดอนุพันธ์และตลาดหุ้นไทยจะมี Upside ที่จำกัด ตลาดหุ้นโลกยังคงเปราะบางเกี่ยวกับ Shock ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น Bond Shock (ภาวะที่ Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันก่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย) เราได้เห็นการที่ Bond Yield 10 ปีสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.57% มาสู่ 1.67% หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 6% ทำให้เกิด Bond Shock และตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การที่ตลาดหุ้นปรับฐานเป็นผลมาจากผลของ Bond Yield ที่สูงขึ้นเท่านั้น ซึ่งในขั้นถัดไปค่าเงิน USD ที่แข็งค่าขึ้นจะทำให้เกิดแรงขาย (Selling Pressure) อีกระลอก สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตรและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) และทองคำต่างปรับตัวลดลงอย่างมาก บ่งบอกถึงภาวะ Deleveraging (ภาวะรัดเข็มขัด) ของกองทุนต่างๆ ทั่วโลก แต่ USD เป็นสินทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) และ USD และ VIX เป็นสินทรัพย์ที่ Underowned กล่าวคือนักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่มีในพอร์ต ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงสะท้อน 10% ของเวลาเมื่อเปรียบเทียบในเชิง Forward P/E ที่ 15.4X ตัวกำหนดการเคลื่อนไหวของ SET Index ในระยะถัดไป คือ Bond Yield และอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดหุ้นจะผันผวนจากความไม่แน่นอนในดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารโลก และภาวะการไม่สมดุลระหว่างฝ่าย Short และการฝ่าย Recovery Short ของหุ้น ถ้า Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปลายเดือนนี้ และ BOJ มีนโยบายลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ติดลบเพิ่มขึ้น ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะลดแรงขายของตลาดหุ้นทั่วโลกได้ และอาจทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวกลับมา นักลงทุนควรเลือกหุ้นที่มี Downside ต่ำทางด้าน Valuation เช่น หุ้นที่ต่ำ P/BV มากๆ หรือหุ้นที่มี Distress Value หรือหุ้นที่มี Cash Equivalent, Cash flow from Operating เป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ Market Capitalization หุ้นที่มีประโยชน์จาก Bond Yield ขาขึ้น หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก Global Presence หรือได้ประโยชน์จาก Regional Presence หุ้นที่มีรายรับเป็น USD ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup/photos/a.177983115551319.50414.177733592242938/1403103203039298/?type=3&theater แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ส่อง Mega Trend สหกรณ์ออมทรัพย์ไทย - FINNOMENA ปี 2559 เป็นช่วงเวลาสำคัญวงการสหกรณ์ออมทรัพย์ไทย ที่ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการทางการเงินกำลังจะออกมาเพื่อกำกับสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนของไทย 7 ก.ย. 2559 ปี 2559 เป็นช่วงเวลาสำคัญวงการสหกรณ์ออมทรัพย์ไทย ที่ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการทางการเงินกำลังจะออกมาเพื่อกำกับสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนของไทย ซึ่งมีเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้ 1.) สหกรณ์ออมทรัพย์ไทยยังต้องทำหน้าที่เหมือนสถาบันการเงินในชุมชน หรือหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากสถาบันการเงินภาคเอกชนจะมีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ในกลุ่มคนมีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี Blockchain หรือดิจิตอลแบงก์กิ้ง ซึ่งนับวันจะละเลยความเป็น Traditional Banking ที่ให้บริการชาวบ้านในชุมชน 2.) การตัดสินใจของทางการที่มีแนวโน้มให้การกำกับสหกรณ์ออมทรัพย์ไปอยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง โดยมีหน่วยงานอิสระคอยรับผิดชอบ เนื่องจากในอนาคตการแข่งขันจากสถาบันการเงินภาคเอกชนจะมีสูงขึ้น ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์อาจจำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงขึ้น และนั่นก็อาจทำให้หน่วยงานกำกับที่มีความเชี่ยวชาญสูงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การทุจริตของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งหนึ่งที่เป็นข่าวดังได้ทำให้ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการมีความสำคัญต่อการกำกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก 3.) สหกรณ์ออมทรัพย์ไทยต้องพิสูจน์ให้ทางการเห็นว่าไม่ได้เป็นจุดอ่อนของระบบการเงินไทย ดังที่ภาพลักษณ์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยในสายตาของหลายคน ที่มองว่าเหมือนจะเป็นจุดอ่อนหรือแหล่งของความเสี่ยงเชิงระบบ ที่อาจจะเป็นจุดเปราะบางหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งตรงจุดนี้ นักวิชาการน่าจะมีส่วนสำคัญในการทำวิจัยตรงจุดดังกล่าวให้เกิดความกระจ่างกับสังคมว่า ว่าแท้จริงแล้ว สหกรณ์ออมทรัพย์ไทยมีบทบาทในการเป็นกันชนให้กับเศรษฐกิจไทย มิใช่เป็นตัวที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือเพิ่มเติมความเสี่ยงให้กับเศรษฐกิจไทยแต่อย่างใด 4.) ธรรมาภิบาลและบริหารจัดการของสหกรณ์ออมทรัพย์ไทย จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารจำเป็นต้องถูกแทนที่โดยระบบนักบริหารมืออาชีพ เนื่องจากความได้เปรียบในแง่ของการที่ไม่ต้องดำรงเงินกองทุนที่มีต้นทุนสูงกำลังจะใกล้หมดลง ดังนั้น ต้นทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์จะมีความใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์มากยิ่งขึ้น หากยังใช้ระบบการบริหารแบบที่เหมือนในอดีต สหกรณ์จะไม่สามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้ โดยระบบธรรมาภิบาลจะมีบทบาทในสหกรณ์ออมทรัพย์มากยิ่งขึ้น ด้วยพลังการตรวจสอบของสาธารณชนและหน่วยงานกำกับใหม่ 5.) การทำธุรกิจแบบปล่อยสินเชื่ออย่างเดียว อาจจะไม่ใช่โมเดลทางธุรกิจที่สามารถอยู่ได้ยั่งยืนของสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยในอนาคต ทำธุรกิจในแพลตฟอร์มแบบดิจิตอล เข้าถึงลูกค้าแบบที่ใช้สื่อออนไลน์ ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานแบบใช้เทคโนโลยีใหม่รวมถึงการเป็น Mobile COOP เป็นสิ่งจำเป็นที่กำลังเข้ามาสู่ระบบสหกรณ์ไทยแบบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 6.) นับจากนี้ต้องบริหารจัดการคล้ายกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ในยุคที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมากจนถึงติดลบ ซึ่งคาดกันว่ายังเป็นเช่นนี้อยู่อีกเป็น 10 ปี ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์ไทยส่วนใหญ่จะเป็นสหกรณ์ประเภทเงินเหลือ ซึ่งนับวันก็จะเหลือมากขึ้นเรื่อยๆ ตรงนี้ ความชำนาญในการบริหารเงินทุนแบบบริษัทจัดการกองทุนรวมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากหากประสิทธิภาพในการบริหารเงินทุนยิ่งต่ำ ยิ่งนับวันไป เม็ดเงินในส่วนของกำไรก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งผู้ชนะกับผู้แพ้ในสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยในทศวรรษหน้าจะขึ้นอยู่กับความชำนาญในการบริหารเงินทุนและบริหารความเสี่ยงเป็นอย่างมาก 7.) การบริหารความเสี่ยงจะเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ไทย หากมองการบริหารเงินทุนเป็นเหมือนกองหน้า การบริหารความเสี่ยงก็เป็นเหมือนกองหลังที่มีความสำคัญมาก หากสังเกตดูให้ดี ระบบบริหารความเสี่ยงจะเป็นเหมือนโครงหลักในการป้องกันไม่ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการล้มละลาย ขาดสภาพคล่อง หรือทุจริตอย่างยั่งยืน …ท้ายสุดกลยุทธ์ดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ต้องเป็นพลวัต หากพิจารณาจากร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการทางการเงิน จะบังคับให้สหกรณ์ออมทรัพย์ดำรงเงินกองทุน ซึ่งตรงนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางการเงินที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีกลยุทธ์และแพลตฟอร์มชัดเจนในการประกอบกิจการครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638631 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มหาเฮง MINT-W5!! เปลี่ยนเงิน "หลักหมื่น" เป็น "หลักล้าน" ในเวลาแค่ไม่กี่นาที - FINNOMENA วันนี้ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวนพอควร (-11 จุด ชิลๆ) แต่อาจจะไม่มีหลายคนสังเกตว่า มีหุ้นอยู่ตัวหนึ่งที่มีความผันผวนช่วงตลาดเปิดภาคเช้าอย่างน่าตกใจ.... 26 ส.ค. 2560 วันนี้ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวนพอควร (-11 จุด ชิลๆ) แต่อาจจะไม่มีหลายคนสังเกตว่า มีหุ้นอยู่ตัวหนึ่งที่มีความผันผวนช่วงตลาดเปิดภาคเช้าอย่างน่าตกใจ ผมกำลังพูดถึงหุ้น “MINT-W5” ครับ.. ลองดูกราฟของ MINT-W5 ซิครับ….ไส้ยาวเฟื้อยเชียว รูป : กราฟราคา MINT-W5 จะเห็นได้ว่าราคาสูงสุุดของวันนี้คือ 6.10 บาทต่อหุ้น ส่วนราคาต่ำสุดของวัน… 0.06 บาทต่อหุ้น!!!! ย้ำว่า 0.06 บาทต่อหุ้นจริงๆ.. คนได้หุ้นราคานี้ถือว่ายิ่งกว่าถูกรางวัลที่ 1 ส่วนคนที่ขายราคานี้ไป ก็ยิ่งกว่าดวงมหาซวยจริงๆครับ ทีนี้มาเจาะลึกกันหน่อยว่า เหตุการณ์มันเป็นอย่างไรแบบคร่าวๆ รูป : กราฟราคา MINT-W5 ราย 1 นาที ( 1 นาที = 1 แท่งเทียน) จากรูปด้านบนผมขอเดาว่า มีการยิ่งคำสั่งผิดหรือเกิดการ error ของระบบซื้อขายของใครสักคน หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ทำให้เกิดคำสั่งขายหุ้นที่ราคา 0.06 บาทต่อหุ้น (คงยากที่จะหาคนจงใจขายใส่ราคานี้จริงๆ) ยิ่งเกิดขึ้นในช่วงตลาดหลัง ATO แล้วด้วย ยิ่งมีโอกาสเป็นไปได้ค่อนข้างสูงว่าเกิดความผิดพลาดของการส่งคำสั่งซื้อขาย… …ถ้าลูกค้าคีย์เองก็คงทำอะไรไม่ได้ แต่ถ้าเป็นความผิดพลาดของมาร์เก็ตติ้งที่คีย์คำสั่งแล้วนี่ บอกเลยว่ามาร์เก็ตติ้งท่านนั้นโดนชดใช้อ่วมแน่นอน ทีนี้…มาดูค่าความเสียหายหรือกำไรกันครับ รูป : ราคาซื้อ-ขาย MINT-W5 จาก STREAMING วันนี้ ในหน้า Volume by Price ชัดเจนว่า.. …มีการขายหุ้นจำนวน 233,700 หุ้น ที่ราคา 0.06 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าเงินคือ 14,022 บาท ที่ใช้ในการซื้อหุ้นจำนวนนี้ที่ราคา 0.06 บาทต่อหุ้น อันนี้คือข้อมูลยืนยันอีกทีว่าช่วงตลาดเปิดมีการซื้อขายหุ้น MINT-W5 ช่วงเวลา 9:56 น. ถึง 9.58 น. ราวๆ 632,000 หุ้น ดูได้จากข้อมูลที่ผมดึงมาจากโปรแกรม Bisnews Professional (ชอบมากๆโปรแกรมนี้) สมมติว่าคนที่ได้หุ้น MINT-W5 จำนวน 233,700 หุ้นที่ราคา 0.06 บาท ตัดสินใจขายในอีกสองนาทีต่อมา…ที่ราคา 6 บาท เค้าคนนั้น…จะกำไรทันที 1,402,200 – 14,022 = 1,388,178 บาท หรือคิดเป็น % กำไรจากราคาต้นทุน คือ 9,900%!! โอกาสแบบนี้ที่จะเกิดขึ้นอีก บอกได้เลยว่ามีแน่นอน เพียงแต่บอกได้ยากมากๆว่าจะเกิดกับหุ้นตัวไหน เวลาใด ของแบบนี้ดวงดีอย่างเดียวไม่พอ จังหวะต้องมหาโชคมากๆ ฮ่าๆ กรณีเช่นนี้ไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้นน่ะครับ เคยมีหลายตัวที่เคยมีการซื้อขายที่ผิดปกติ ทั้งตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ซึ่งก็ยากจะพิสูจน์.. วันนี้หลายท่านคงเครียดกับตลาดหุ้น…ก็หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านเพลิดเพลินกับ Case study ของผมนายพีร์ Wizard Kid กันน่ะครับ แล้วจะเขียนบทความแนวนี้อีกหากเจอกรณีศึกษาที่น่าสนใจครับ Wizard Kid แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Top-down Space : ย้อนรอยหุ้นไทย แล้วคุณจะเห็นว่าไปได้ถึงไหน - FINNOMENA ถ้ามีใครมาพูดกับคุณเมื่อต้นปีว่า SET Index จะวิ่งขึ้นไปที่ระดับ 1,600 จุด ปลายปี เราก็คงคิดในใจว่า จะเป็นไปได้หรือ? 26 ส.ค. 2560 ถ้ามีใครมาพูดกับคุณเมื่อต้นปีว่า SET Index จะวิ่งขึ้นไปที่ระดับ 1,600 จุด ปลายปี เราก็คงคิดในใจว่า จะเป็นไปได้หรือ? มาวันนี้ วันที่เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าทั้งตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยรวมๆแล้วไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท ก็เริ่มมีนักลงทุนคิดกันแล้วว่า 1,600 จุด มันน้อยไปหรือเปล่าน้อ? บทความวันนี้ ผมจะลองพามาวิเคราะห์ในอีกมุมหนึ่งของการวิเคราะห์ดัชนีนั่นก็คือ “Technical Analysis” ออกตัวก่อนนะครับ ผมเป็นนักลงทุนสาย Hybrid คือ ชอบมองการวิเคราะห์ในหลายๆศาสตร์ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่มีประสบการณ์และอ่านทิศทางเพื่อการวิเคราะห์การลงทุนได้ด้วยตัวเอง หลักการในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ผมใช้มาตลอดก็คือ แนวโน้มตลาดมี 3 แนวโน้ม ก็คือ ขาขึ้น (Uptrend) ขาลง (Downtrend) แกว่งตัวออกข้าง (Sideway) ซึ่งสามารถลากเส้นหาแนวโน้มได้ด้วยการใช้ Trend Line ผมลองตัดกราฟตลาดหุ้นไทยเฉพาะภายในปีนี้ให้ดู เป็นคุณ จะลากเส้น Trend Line อย่างที่ผมลากหรือไม่? คราวนี้ ผมลองขยายระยะเวลาให้ยาวขึ้น แนวโน้มของตลาดหุ้นไทย ยังเป็นแบบรูปที่หนึ่งอยู่หรือเปล่า โดยใช้กราฟตลาดหุ้นไทยเหมือนเดิม แต่เป็นกราฟรายสัปดาห์ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่ปี 2011 นั่นละครับ แค่ผ่านไปสองกราฟ ก็สามารถบอกเราได้แล้วว่า ระยะสั้น และ ระยะยาว แนวโน้มตลาดหุ้นไทย อยู่ในทิศทางใด หากแนวโน้มระยะสั้นสวนทางกับแนวโน้มระยะยาว ผมจะตีความว่า แนวโน้มนั่นยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลง ถ้าเรียกเป็นภาษาวัยรุ่นก็คือ “ไม่ Strong” มาวันนี้ เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากกว่า 100,000 ล้านบาท และเพิ่งเข้ามาอย่างมีนัยยะสำคัญก็ในช่วงปลายๆไตรมาส 2 เดือน พ.ค. – ก.ค. ที่ผ่านมา ในขณะที่ ปี 2013 ที่ผ่านมา ณ ตอนนั้น อดีตประธานเฟด เบน เบอนันเก้ ประกาศหยุดอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ (QE Tapering) เม็ดเงินนักลงทุนต่างชาติก็ไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ทั้งขโยง เพราะกลัวว่า ค่าเงินดอลล่าร์แข็งค่า ที่หนีออกมาเที่ยวในต่างประเทศก่อนหน้า ก็อยากจะกลับไปอยู่ที่เดิม ภาพที่เราเห็นก็คือ ตลาดหุ้นไทยปรับฐานรุนแรง และพอเหตุการณ์เหมือนจะสงบ เฟดเหมือนจะไม่ได้รีบขึ้นดอกเบี้ยอย่างที่นักลงทุนกลัว ตลาดหุ้นก็ขึ้นมาอีกรอบ แล้วปี 2015 เราก็มาเจอพิษวิกฤตตลาดจีน ที่ทำให้ตลาดหุ้นโลกโดนทิ้งดิ่ง และมีเงินลงทุนแห่ขายออกไปอีกรอบ การแกว่งตัวในรอบ 1,200 – 1,600 ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิมาตลอด เมื่อมาประกอบกับการที่นักลงทุนต่างชาติมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยในวันนี้ ที่ทุนเฉลี่ยไม่ได้ต่ำกว่าวันที่เขาขายลดพอร์ตออกไป แน่นอนว่า มันไม่ใช่เหตุผลเรื่องของการซื้อถูกขายแพงแน่นอน เมื่อมองประกอบระหว่าง Fund Flow และ Technical Analysis ก็จะเห็นชัดขึ้นว่า เงินไหลเข้า และแนวโน้มตลาดระยะสั้น หุ้นไทยเป็นขาขึ้น ส่วนในระยะยาว ถึงแม้จะดูไม่ใช่ขาขึ้นระยะยาว แต่การที่มีเงินไหลเข้ามาในระยะสั้นแบบนี้ มันก็ทำให้เชื่อได้ว่า เงินทุนจะไหลเข้าได้อีก โดยมีแนวต้านสำคัญที่บริเวณ 1,600 จุด ซึ่งเป็นจุดที่นักลงทุนต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้นนะครับ เอาเป็นว่า ด้วยการวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆตรงนี้ ผมคิดว่า 1,600 จุด เป็นไปได้ ส่วนจะไกลกว่านั้น คงต้องรอดูข้อมูลเพิ่มเติม และการเคลื่อนไหวของตลาดรวมถึงมุมมองต่อนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะมีผลที่สุดในอนาคตครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638638 แท็ก: SET Index Top down Space แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Top-down Space : เกาะติดเม็ดเงินต่างชาติไหล ชี้นำทิศทางตลาดหุ้น - FINNOMENA Fundamental, Fund Flow และ Technical นั้น ทั้ง 3 องค์ประกอบถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน บทความนี้ ผมพามาตรวจสอบทิศทาง Fund Flow หรือ เงินลงทุนต่างชาติ กันว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร 26 ส.ค. 2560 บทความครั้งก่อน ผมพาทุกท่านย้อนไปตรวจสอบพื้นฐานเศรษฐกิจไทยกันแล้วนะครับ ย้ำกันอีกครั้งว่า การวิเคราะห์การลงทุนแบบ “Top-down Investing” ด้วยเครื่องมือ FFT หรือ Fundamental, Fund Flow และ Technical นั้น ทั้ง 3 องค์ประกอบถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพียงแค่ 2 ใน 3 ปัจจัยดังกล่าวเกิดขึ้น ไม่ว่าจะทางบวก หรือทางลบ ก็สามารถขับเคลื่อนทิศทางตลาดไปในทางนั้นๆได้ๆ บทความนี้ ผมพามาตรวจสอบทิศทาง Fund Flow หรือ เงินลงทุนต่างชาติ กันว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร ภาพ : ดัชนีตลาดหุ้นไทย กับ การซื้อขายสุทธิของนักลงทุนชาติ ย้อนหลัง 5 ปี เริ่มจาก กราฟในระยะยาว ระหว่าง ดัชนีตลาดหุ้นไทย และการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนชาติ ย้อนหลังไกลๆซัก 5 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า ในช่วงเวลาใดที่ต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยติดต่อกัน สามารถขับเคลื่อนให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นตามอย่างมีนัยสำคัญ และแน่นอนว่า เมื่อไหร่ที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มปรับพอร์ตลดความเสี่ยง และมีการขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย ก็มีการปรับฐานตามมา มากบ้างน้อยบ้าง ก็ตามแต่เหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้า ณ เวลานั้นๆนะครับจากกราฟด้านล่าง จะเห็นว่า ต่างชาติเริ่มทยอยขายหุ้นไทยในช่วงปลายปี 2013 ซึ่งตอนนั้น สหรัฐฯประกาศยุติการอัดฉีด QE ทำให้นักลงทุนกังวลกันว่า เฟดอาจจะประกาศขึ้นดอกเบี้ย และทำให้เม็ดเงินลงทุนไหลกลับเข้าสหรัฐฯ จึงมีแรงเทขายนักลงทุนต่างชาติในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก รวมถึงหุ้นไทยอย่างที่เห็นครับ คราวนี้ เวลาต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย ก็ต้องไปดูกันต่อครับว่า ขายแล้วเอาเงินออกนอกประเทศหรือไม่? ถ้ามีการขายเอาเงินกลับประเทศ เราก็จะพบว่า ค่าเงินบาทอ่อนค่า เมื่อเทียบกับสกุลหลักๆ ซึ่งสกุลหลักๆในที่นี่ ผมมักจะดูค่าเงินบาทเปรียบเทียบกับ 3 สกุล ก็คือ ดอลล่าร์สหรัฐ (USD), ยูโร(EUR) และ เยน (JPY) เราลองมาดูความสัมพันธ์ของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ กับตลาดหุ้นไทยกันครับ เมื่อดู ดัชนีตลาดหุ้น เปรียบเทียบกับยอดซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางค่าเงินบาทเทียบสกุลหลักๆ 3 สกุล เราก็พอจะเห็นภาพคร่าวๆว่าระยะยาว เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูงทีเดียวนะครับ นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ ค่าเงินบาท แข็งค่าจาก 36 THB/USD มาต่ำกว่า 35 THB/USD ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นการแข็งค่ามากกว่า 4% บวกกับมีการซื้อสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ เข้ามาซื้อหุ้นไทยนับตั้งแต่ต้นปีแล้ว 80,880.14 ล้านบาท ดัชนีหุ้นไทย วิ่งขึ้นมาเกินกว่า 5% สรุปจาก Fundamental และ Fund Flow ในภาพใหญ่ๆ จะพบว่า มันสนับสนุนให้ตลาดหุ้นไทยมีความหวังไปต่อได้ในระยะสั้นและระยะกลางนะครับ บทความตอนหน้า เรามาลองวิเคราะห์อีกด้าน นั้นก็คือ Technical ว่า ยืนยันว่าตลาดหุ้นไทย จะไปต่อได้จริงๆ และไปได้ถึงเท่าไหร่ในรอบนี้ครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638484 แท็ก: Fund Flow Top-down แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }