text
stringlengths
1
1.21M
meta
dict
กำไรที่หายไป - FINNOMENA กำไรไตรมาส 4 ปี 2561 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมาก แต่ในไตรมาส 1 ของปี 2562 และในไตรมาสต่อ ๆ  ไปก็คงจะไม่เลวร้ายลง เพราะว่ากำไรในไตรมาส 4 ปีที่แล้วที่แย่ลงมากนั้น  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น  “ครั้งเดียว”  ไม่ใช่เกิดขึ้นจากกำไรตาม “ปกติ”  ของธุรกิจ ลองมาดูกันว่ามีกลุ่มอุตสาหกรรมและบริษัทอะไรบ้างที่โดนกระทบ? 12 มี.ค. 2562 กำไรไตรมาส 4 ปี 2561 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมากถึงประมาณ 40% เมื่อเทียบกับผลประกอบการในไตรมาส 4 ปีที่แล้วและไตรมาส 3 ปี 2561 โดยตัวเลขก็คือกำไรลดเหลือประมาณ 157,400 ล้านบาทเทียบกับกำไร 253,235 ในปีก่อน หรือลดลงถึง 95,835 ล้านบาท และนี่ก็ทำให้ผลประกอบการโดยรวมของปี 2561 ปรับตัวลงมาเหลือใกล้เคียงกับกำไรของปี 2560 ที่ประมาณเกือบ 1 ล้านล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ตั้งแต่ต้นปี 2561 นักวิเคราะห์ต่างก็คาดการณ์ว่ากำไรน่าจะโตขึ้นมากใกล้ ๆ 10% และตัวเลขถึงไตรมาส 3 ปี 2561 ก็ชี้ว่ากำไรโตถึง 12% เมื่อเทียบกับช่วง 3 ไตรมาสของปี 2560 การลดลงของกำไรในไตรมาส 4 ปี 2561 อย่าง “ไม่คาดคิด” ได้ทำให้นักวิเคราะห์ “หน้าแตก” อีกเช่นเคยในแง่ของการคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมในแต่ละปี และก็ช่วยยืนยันความเห็นของผมและ “ตัวเลขจากประวัติศาสตร์” ที่ว่ากำไรโดยรวมของบริษัทจดทะเบียน “โดยปกติ” นั้นมักจะโตอย่างช้า ๆ โดยที่อัตราการโตจะประมาณเท่ากับอัตราการเติบโตของ GDP บวกด้วยอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว ซึ่งในกรณีของไทยเราในช่วงนี้และอาจจะต่อ ๆ ไปก็คือ อัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนก็น่าจะประมาณ 5% ต่อปีเท่านั้น แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในไตรมาส 1 ของปี 2562 และกำไรในไตรมาสต่อ ๆ ไปก็คงจะไม่เลวร้ายลงแบบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 4 ปีก่อน เหตุผลก็เพราะว่ากำไรในไตรมาส 4 ปีที่แล้วที่แย่ลงมากนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น “ครั้งเดียว” ไม่ใช่เกิดขึ้นจากกำไรตาม “ปกติ” ของธุรกิจ แต่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการลดลงของราคาน้ำมันดิบของโลกที่รุนแรงในช่วงปลายปี 2561 เทียบกับสิ้นปี 2560 ซึ่งส่งผลให้เกิดการ “ขาดทุน” จากสต็อกน้ำมันของธุรกิจที่เกี่ยวกับการกลั่นและการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่และมีจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนั้นก็ยังเกิดขึ้นเนื่องจากการสำรองการด้อยค่าและรายจ่ายเฉพาะบางอย่างของบริษัทโทรศัพท์มือถือขนาดใหญ่บางแห่งที่เป็นเรื่องที่น่าจะเกิดขึ้น “ครั้งเดียว” เช่นกัน ลองมาดูกันว่ามีกลุ่มอุตสาหกรรมและบริษัทอะไรบ้าง กลุ่มแรกนั้นแน่นอนก็คือกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะก็คือกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันไล่ตั้งแต่บริษัทใหญ่ที่สุดก็คือ ปตท. ที่กำไรลดลงสูงที่สุดที่ 15,825 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปี 2561 เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2560 ตามมาด้วยหุ้น TOP โรงกลั่นขนาดใหญ่ที่ผลประกอบการติดลบและกำไรถดถอยลง 11,739 ล้านบาท หุ้น SPRC IRPC ESSO และบางจาก มีกำไรลดลง 6,453 6,139 5,653 และ 3,000 ล้านบาทตามลำดับเมื่อเทียบกับผลกำไรของไตรมาส 4 ปี 2560 และทั้งหมดนั้นส่งผลให้หุ้นในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคมีกำไรลดลงถึง 53,255 ล้านบาทในไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 หุ้นกลุ่มสื่อสารนั้น กำไรลดลงจาก 12,985 ล้านบาทเป็นแค่ 1,309 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปี 2561 หรือลดลง 11,676 ล้านบาท โดยที่การลดลงนั้นมาจากการขาดทุนของหุ้น DTAC ที่ทำให้กำไรลดลงถึง 5,483 ล้านบาท เช่นเดียวกับหุ้น TRUE ที่มีขาดทุนและทำให้กำไรลดลง 6,639 ในไตรมาส 4 ปี2561 เที่ยบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2560 ทั้งสองกรณีนั้นเป็นเรื่องของการสำรองในเรื่องราวที่น่าจะเกิดครั้งเดียวไม่ใช่การดำเนินงานปกติ กลุ่มปิโตรเคมีเองนั้น เรื่องของราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงไปรุนแรงก็น่าจะส่งผลถึงรายได้และต้นทุนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เห็นได้จากหุ้น IVL ที่เคยทำกำไรได้ถึง 10,003 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปี 2560 เหลือเพียง 2,355 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปี 2561 หรือกำไรลดลงถึง 7,648 ล้านบาท และในทำนองเดียวกัน หุ้น PTTGC ซึ่งมีกำไรลดลงจาก 9,559 ล้านบาทเป็น 4,062 ล้านบาทหรือลดลง 5,498 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกัน โดยรวมแล้วหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีนั้นมีกำไรลดลง 13,070 ล้านบาท และนี่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น “ครั้งเดียว” ไม่ต่อเนื่องในไตรมาสต่อไป หุ้นกลุ่มสุดท้ายที่มีกำไรลดลงมากในไตรมาส 4 ปี 2561 ก็คือหุ้นขนส่งและโลจิสติกส์ ที่กำไรทั้งกลุ่มเหลือเพียง 20 ล้านบาทจาก 13,179 ล้านบาทหรือลดลง 13,159 ล้านบาท นี่ก็เป็นผลหลัก ๆ มาจากหุ้นสายการบินโดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นการบินไทยที่ขาดทุนหนักกว่า 7 พันล้านบาท หรือกำไรลดลงถึง 9,315 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะมาจากสาเหตุที่ไม่น่าจะต่อเนื่องไปอีกในไตรมาสต่อไปมิฉะนั้นบริษัทก็อาจจะมีปัญหาได้ เมื่อรวมการลดลงของกำไรของ 4 อุตสาหกรรมทั้งหมดที่กล่าวจำนวนประมาณ 91,160 ล้านบาท เทียบกับตัวเลขการลดลงของกำไรของบริษัทจดทะเบียนทั้งตลาดที่ 95,835 ล้านบาท เราก็สามารถสรุปได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว กำไร “ปกติ” ของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 4 ปี 2561 นั้น ก็ยัง “ปกติ” อยู่ กำไรที่ลดลงเกือบแสนล้านบาทที่เห็นนั้น เป็นการลดลงเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันเป็นหลักและน่าจะเกิดขึ้น “ครั้งเดียว” ไตรมาสต่อ ๆ ไปไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก เพราะน้ำมันดิบคงไม่ลดลงไปมากแบบนั้นอีกในระยะเวลาอันสั้น ว่าที่จริง ราคาน้ำมันอาจจะปรับตัวขึ้นและอุตสาหกรรมที่กล่าวถึงอาจจะมีกำไรเพิ่มขึ้นก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ในระยะยาว ๆ แล้ว ผลกระทบจากราคาน้ำมันน่าจะ “เป็นกลาง” นั่นก็คือ ไม่ต้องนำมาคิดรวมกับกำไรปกติของธุรกิจที่เรานำมาใช้ในการประเมินมูลค่าของหุ้นทั้งตลาด ผมเองได้ลองมองย้อนหลังตัวเลขกำไรของบริษัทจดทะเบียนระยะยาว ซึ่งก็ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึงกำไรหรือขาดทุนครั้งเดียวเนื่องจากราคาน้ำมันหรือเหตุการณ์สำรองใหญ่ ๆ อื่น ๆ ก็พบว่า ในระยะเวลาตั้งแต่สิ้นปี 2547 จนถึงสิ้นปี 2561 คิดเป็นเวลา 14 ปี นับตั้งแต่หุ้นพลังงานยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ กำไรของบริษัททั้งตลาดนั้นเริ่มที่ประมาณ 460,000 ล้านบาทในปี 2547 กลายเป็นประมาณ 984,000 ล้านบาท คิดแล้วกำไรเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยแบบทบต้นที่ประมาณ 5.6% ต่อปี ซึ่งก็น่าจะพอ ๆ กับอัตราการเติบโตของ GDP ในช่วงเดียวกัน แต่ถ้าดูย้อนหลังแค่ 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปี 2561 ก็พบว่ากำไรเพิ่มขึ้นจาก 795,000 ล้านบาท เป็น 984,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตของกำไรแบบทบต้นต่อปีเท่ากับ 4.4% หรือลดลงมา 1.2% ซึ่งก็สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของ GDP ที่ลดลงของประเทศไทยในช่วงหลัง ๆ นี้ ข้อสรุปของผมจากตัวเลขและบทความนี้ก็คือ การเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดแต่ละปีนั้น น่าจะค่อนข้างจะสัมพันธ์กับการเติบโตของ GDP ของประเทศ การผันผวนนั้น ส่วนใหญ่น่าจะมาจากเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นครั้งเดียวหรือไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแต่ในระยะยาวแล้วก็จะหักกลบลบกันไปจนทำให้ในระยะยาวแล้วไม่ได้มีผลอะไรต่ออัตราการเติบโตของกำไร ดังนั้น การวิเคราะห์ว่ามูลค่าหลักทรัพย์ของตลาดหรือดัชนีหุ้นจะเพิ่มขึ้นเท่าไรในแต่ละปีนั้น จึงควรที่จะกำหนดจากการเติบโตของกำไรที่ก็อิงกับการเติบโตของ GDP แต่ก็แน่นอนว่าในบางปีหรือบางช่วง กำไรของบริษัทจดทะเบียนอาจจะดูดีหรือแย่กว่าปกติได้เนื่องจากเหตุการณ์พิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของราคาน้ำมันดิบโลก อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเป็น VI ที่เน้นลงทุนระยะยาว เราอาจจะต้องมองข้ามประเด็นนี้และเน้นไปที่ “กำไรปกติ” ถ้ากำไรปกตินั้นยังดีอยู่ เราก็ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าคนอื่นกังวลและเทขายหุ้นจนมีราคาต่ำเกินไป นั่นก็อาจจะเป็นโอกาสของเราที่จะซื้อ ทั้งหมดนั้นก็คือเรื่องของกำไรของทั้งตลาด แต่ในกรณีของหุ้นแต่ละตัว เราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน และนี่ก็คือการมองแบบ VI ที่พยายามเข้าใจธรรมชาติของกำไรว่าอะไรคือกำไรปกติและแนวโน้มของมัน และเราจะฉวยโอกาสอย่างไรในกรณีที่ตลาดมองอีกแบบหนึ่ง ที่มาบทความ: http://www.thaivi.org/กำไรที่หายไป/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปทุกอย่างที่ต้องรู้ หุ้น Facebook - FINNOMENA Facebook เป็น App ที่คนไทยใช้ทุกวันและใช้เป็นประจำ แต่น้อยคนนักที่จะสนใจลงทุนในบริษัท ทั้งๆ ที่มันก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก หุ้น Facebook มีความน่าสนใจตรงไหน? หุ้น Facebook จะยังเติบโตอีกหรือไม่? 3-4 เดือนที่ผ่านมาหุ้น Facebook ตกหนักเพราะอะไร? มาหาคำตอบกันในบทความครับ 9 มี.ค. 2562 1. หุ้น Facebook คือเจ้าของ Facebook, Instagram, WhatsApp และ Messenger ซึ่งมีผู้ใช้รวมกันมากกว่า 2,700 ล้านคน หรือเกือบๆ 1 ใน 3 ของคนบนโลกนี้ Facebook เป็น App ที่คนไทยใช้ทุกวันและใช้เป็นประจำ แต่น้อยคนนักที่จะสนใจลงทุนในบริษัท Facebook ทั้งๆที่มันก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก หุ้น Facebook มีความน่าสนใจตรงไหน? หุ้น Facebook จะยังเติบโตอีกหรือไม่? 3-4 เดือนที่ผ่านมาหุ้น Facebook ตกหนักเพราะอะไร? มาหาคำตอบกันในบทความครับ 2. หุ้น FB หรือบริษัท Facebook คือ Platform สังคมออนไลน์อันดับหนึ่งของโลก มีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือน (MAU) สูงถึง 2,320 ล้านคน ในขณะที่ประชากรโลกมีทั้งสิ้น 7,500 ล้านคน ถ้าเราท่องเที่ยวรอบโลกไปทุกๆประเทศเราจะพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของคนทั้งหมดบนโลกใช้ Facebook 3. ด้วยขนาดผู้ใช้ที่สูงระดับ 2,700 ล้านคนถ้าเทียบเป็นประเทศ Facebook จะเป็นประเทศที่มีประชากรสูงที่สุดในโลก จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีประชากรอันดับ 2 ของโลกที่ 1,380 ล้านคน ไม่น่าเชื่อว่าเว็บไซต์เว็บหนึ่งที่อยู่ในโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ได้มีที่ดิน ไม่มีรัฐบาล ไม่มีสกุลเงิน จะมีคนใช้ชีวิต (ออนไลน์) อยู่ในเว็บไซต์นี้มหาศาล 4. ในจำนวนผู้ใช้ 2,320 ล้านคนต่อเดือนของ Facebook มีคนที่เปิดใช้ Facebook ทุกวันสูงถึง 1,523 ล้านคน หรือประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ใช้ทั้งหมด โดยคนเอเชียคือผู้ใช้ส่วนใหญ่ของ Facebook ในแต่ละวัน และมีจำนวนสูงถึง 577 ล้านคน รองลงมาคือยุโรป 282 ล้านคน และสหรัฐอเมริกา 186 ล้านคน แม้ Facebook จะเกิดในประเทศสหรัฐฯ แต่กลับเติบโตประสบความสำเร็จในประเทศอื่นๆ Facebook คือสินค้าส่งออก Made In USA. ที่ประสบความสำเร็จไม่แพ้ Coca-Cola ที่คนดื่มกันทั่วโลกเลยทีเดียว 5. หุ้น Facebook เข้าตลาดในปี 2012 ด้วยราคา 38 ดอลลาร์ และทยานสู่จุดสูงสุดในปี 2018 ที่ราคา 209 ดอลลาร์ นับเป็นผลตอบแทนประมาณ 4.5 เท่าตัวในระยะเวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น ปัจจุบันหุ้น Facebook อยู่ที่ราคาราว 160 ดอลลาร์ หรือเทียบเป็นเงินไทยที่ 4,960 บาทต่อหุ้น ราคานี้ถือว่าใช้เงินในการซื้อต่อหุ้นไม่มาก เพราะถ้าไปเทียบกับ Amazon ที่ราคา 1,650 ดอลลาร์ (51,000 บาท) Google (C) ที่ 1,130 ดอลลาร์ (35,000 บาท) หรือ Netflix ที่ 360 ดอลลาร์ (11,160 บาท) กลายเป็นหุ้น Facebook มีราคาที่ซื้อง่ายขายคล่องเลยทีเดียว 6. ที่ราคา 160 ดอลลาร์ หุ้น Facebook มีมูลค่าตลาดทั้งสิ้นที่ 464,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 14.3 ล้านล้านบาทไทย FB เป็นบริษัทที่ใหญ่กว่า PTT 10 เท่า CPALL 20 เท่า และ BDMS 38 เท่า 7. Facebook ถือเป็นบริษัทใหญ่อับดับ 8 ของโลกรองจาก Microsoft, Apple, Amazon, Google, Berkshire Hathaway (บริษัทของ Warren Buffett) และ Alibaba แม้ Facebook จะเป็นเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาได้เพียง 15 ปี แต่กลับใหญ่กว่าบริษัทชั้นนำอย่าง Johnson & Johnson (133 ปี) Visa (61 ปี) Coca-Cola (132 ปี) และ Walt Disney (95 ปี) 8. ผลประกอบการของหุ้น Facebook เป็นอย่างไร? ในปี 2018 หุ้น Facebook มีรายได้ 55,838 ล้านดอลลาร์ (1.7 ลล.บาท) เติบโตจากปี 2017 ที่มีรายได้อยู่ที่ 40,653 ล้านดอลลาร์ (1.2 ลล.บาท) นับเป็นการเติบโตของรายได้ที่ 37% ถือว่าเป็นการเติบโตที่สูงมากสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่คนทั่วๆไปมักจะมีความเชื่อว่า “บริษัทใหญ่โตช้า บริษัทเล็กโตเร็ว” (ความเชื่อนี้เหมือนจะใช้ได้ในประเทศไทย แต่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะหุ้น Technology เหมือนจะไม่ใช่แบบนั้น) 9. ไม่ใช่แค่ Facebook ที่มีรายได้เติบโตสูงได้บริษัทเดียว Microsoft โต 14% Google โต 23% Amazon โต 30% และ Netflix โต 35% โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่บริษัทใหญ่ที่โตช้าแต่เป็นบริษัทใหญ่ที่ไม่ยอมเปลี่ยนและไม่รู้จักเรียนรู้ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่างหากจึงจะเป็นบริษัทที่โตช้า 10. แม้รายได้ของหุ้น Facebook จะยังเติบโต แต่ปลายปีที่ผ่านมาหุ้น Facebook ตกหนักจากที่เคยขึ้นไปสูงสุดที่ราคา 218 ดอลลาร์ ตกลงไปต่ำสุดที่ราคา 123 ดอลลาร์ หรือนับเป็นการตกถึง 43.5% ถ้าเป็นการปรับฐานก็นับเป็นการปรับฐานที่รุนแรงที่สุดในรอบ 5 ปีเลยทีเดียว 11. สาเหตุที่หุ้นตกก็มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน เริ่มต้นจากช่วงต้นปี 2018 ในเดือนมค. Facebook ประกาศว่าจะลดการมองเห็นเนื้อหาจาก Page ซึ่งเป็นบริษัทและแบรนด์ แต่จะไปเพิ่มการมองเห็นให้กับเนื้อหาจากเพื่อนและครอบครัวของ Feed แทน เพราะเริ่มมีกระแสจากผู้ใช้มาว่า Facebook เริ่มไม่ใช่สังคมของเพื่อนและครอบครัวอีกต่อไปแล้ว กลายเป็นเครื่องมือโฆษณาที่เต็มไปด้วยเนื้อหาจากบริษัทและแบรนด์ที่พยายามขายของ กระแสเริ่มต้นจากวัยรุ่นในสหรัฐฯเริ่มไม่ใช้ Facebook และหันไปใช้ App ที่สนุกกว่าอย่าง Snapchat แทน ราคาหุ้น Facebook เริ่มมีการปรับฐานอย่างรุนแรงให้เห็น 12. วิกฤตระลอกถัดไปถาโถมเข้ามาเมื่อในเดือนมีนาคม ปี 2018 New York Times และ The Guardian รายงานกรณี Cambridge Analytic เอาข้อมูลผู้ใช้ Facebook กว่า 50 ล้านรายไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อช่วยนักการเมืองหาเสียงเลือกตั้งโดยที่ผู้ใช้เหล่านั้นไม่รู้เรื่องมาก่อนเลย Facebook พยายามแก้ไขด้วยการระงับการร่วมงานกับ Cambridge Analytica แต่ทว่าสายเกินไป ข่าวได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และแน่นอนไปถึงหูสภาคองเกรสเรียบร้อย Mark Zuckerburg ถูกเรียกตัวเข้าไปเพื่อไตร่สวนกรณีอื้อฉาวครั้งนี้ 13. หุ้น Facebook ตกจากจุดสูงสุดของการขึ้นรอบนั้นที่ 195 ดอลลาร์ ลงมาถึงจุดต่ำสุดที่ 149 ดอลลาร์ ณ.วันที่ 26 มีนาคม 2018 นับเป็นการตกลงมาประมาณ 23% Facebook ทำการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ออกระเบียบและมาตรฐานการสร้าง Content บน Facebook ขึ้นมาเพื่อควบคุมการโพสของคนกว่า 2,300 ล้านคน ซึ่งแน่นอนว่า …… คนส่วนใหญ่ไม่ได้อ่านและอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามี 14. ในเดือนเมษายน Facebook ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกออกมา รายได้โต 50% กำไรโต 63% โตสวนทางกับสถานการณ์ของบริษัท ในไตรมาสนี้รายได้โตหลักๆจากโฆษณา Mobile ที่ 60% ราคาโฆษณาที่สูงขึ้นถึง 39% และจำนวนโฆษณาที่มากขึ้น 8% แม้จะเกิดวิกฤตจนคนรู้สึกกลัว แต่การโฆษณาใน Facebook ยังคงเป็นช่องทางที่ดีที่สุด ในเดือนเมษานี่เองที่หุ้น Facebook เริ่มกลับตัวขึ้นมาและฝ่าราคาสูงสุดที่ 195 ดอลลาร์ไปได้ 15. ในไตรมาสนั้น Facebook บอกว่ามั่นใจว่าจะสามารถสร้างธุรกิจโฆษณาที่ยอดเยี่ยมและปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ได้ อย่างไร Facebook ยังได้บอกด้วยว่ากฏการปกป้องข้อมูล (GDPR) ของฝั่งยุโรปจะกระทบธุรกิจ และค่าใช้จ่ายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการบริหารความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ 16. วันที่ 26 กรกฏาคม คือวันที่โหดร้าย หุ้น Facebook ตกหนัก 20% ในวันเดียว หลังจากที่ผลประกอบการไตรมาส 2 ของ Facebook ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ การเติบโตของจำนวนผู้ใช้เริ่มชะลอตัว การเติบโตในฝั่งยุโรปติดลบ จากราคาปิดวันก่อนที่ 217 ดอลลาร์ เช้าวันนั้นวันเดียวตกลงมาเหลือ 174 ดอลลาร์ ติดลบ 20% ในคืนเดียว มูลค่าของบริษัทหายไปทันทีกว่า 120 ล้านดอลลาร์ 120 ล้านดอลลาร์มากแค่ไหน? ไม่มากเท่าไหร่ ประมาณมูลค่าบริษัท Nike ทั้งบริษัทแค่นั้นเอง 17. เหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งคือการลาออกของ Kevin Systrom (CEO) และ Mike Krieger (CTO) ผู้ก่อตั้ง Instagram ในวันที่ 24 กันยายน แม้ทั้งคู่จะบอกว่าแค่ “คิดจะพัก” แต่ในความจริงคือทั้งคู่มีมุมมองในการพัฒนา Instagram ที่ต่างกับ Zuckerburg แต่ก็ถูกพลังภายในของ Zuck กดดันมาตลอด อย่างกรณีที่ Instagram ต้องไปก๊อปปี้ Snapchat จนออกมาเป็น Stories ทั้งคู่ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ชอบซักเท่าไหร่ …. ในความจริงก่อนหน้านี้ก็มีคนสำคัญอีกหนึ่งคนลาออกไปก่อนนั่นก็คือ Jan Koum ผู้ร่วมก่อตั้ง WhatsApp 18. การลาออกของ CEO และ CTO ของ Instagram สำคัญยังไง? สำคัญโคตรๆเพราะตอนนี้ ความนิยมใน Facebook กำลังเสื่อมถอย Instagram กำลังเติบโตและกลายเป็นดาวรุ่ง การขาดคนที่ปั้น Instagram มากับมือนั้นต้องทำให้เกิดปัญหาในเชิงบริหารและการพัฒนาอย่างแน่นอน 19. สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร วันที่ 28 กันยายน Facebook ต้องเจอกับปัญหาอีกครั้งเมื่อบริษัทประกาศว่ามีการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้ Facebook กว่า 30 ล้านคน ข้อมูลเช่นชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ สถานะ และอื่นๆรั่วออกไปสู่สาธารณะ 20. นี่คือเหตุการณ์คร่าวๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดในปีที่ผ่านมาส่งผลให้หุ้น Facebook ราคาหุ้นตก“ยับเยิน” ลงไปต่ำสุดเหลือ 123 ดอลลาร์ในวันที่ 24 ธันวาคม 2018 และหลังจากนั้นราคาหุ้นกลับมาเป็นขาขึ้นเล็กๆอีกครั้ง ปัจจุบันอยู่ที่ราคา 162 ดอลลาร์ ที่ราคานี้มีอะไรที่เราควรต้องรู้บ้าง? หุ้น Facebook น่าซื้ออย่างไร? มีความเสี่ยงตรงไหน? 21. จริงอยู่ที่หุ้น Facebook ตกหนักแต่หากดูที่การเติบโตของรายได้ย้อนหลัง 4 ไตรมาสจะพบว่ารายได้ของ Facebook มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 30-49% และทางบริษัทได้แจ้งว่าในปี 2019 นี้บริษัทคาดว่าจะสามารถเติบโตได้ประมาณ 25% ข่าวดีคือ Facebook ยังเติบโต แต่ข่าวร้ายคือการเติบโตมันลดลงมาเรื่อยๆ 22. สาเหตุที่การเติบโตน้อยลงก็เพราะ Facebook ไปใช้เวลาในการจัดการเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลซะเยอะในปี 2018 จากการที่มีการรั่วไหลของข้อมูล และการที่ Platform หลักของบริษัทซึ่งก็คือตัว Facebook เองนั้นค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว การเติบโตของผู้ใช้ช้าลงจนเหลือเลขหลักเดียว ส่วนการโฆษณาใน Platform อย่าง Instagram ก็ยังไม่มี Advertiser ไปใช้บริการมากนัก Facebook มีบริษัท Advertiser ใช้บริการอยู่ 7 ล้านราย เพิ่งมีคนไปโฆษณาใน Instagram เพียง 2 ล้านรายเท่านั้น 23. พอรายได้เติบโตช้า แต่ค่าใช้จ่ายกลับพุ่งกระฉูดก็เลยส่งผลถึงกำไรจากการดำเนินงานที่เคยเติบโตไตรมาสละกว่า 60% เหลือเพียง 12% ในไตรมาส 3 คือแทบไม่โตเลยแม้รายได้จะโตมากกว่า 30% แล้วค่าใช้จ่ายมาจากไหนเยอะแยะ? 24. ถ้าไปดูที่ตัวเลขจำนวนพนักงานของ Facebook จะเห็นว่าจำนวนของพนักงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 18,770 คน ณ.ต้นปี 2017 เป็น 35,587 คนในปลายปี 2018 หนึ่งในสาเหตุของการเพิ่มพนักงานครั้งนี้คือการพยายามควบคุมคุณภาพของเนื้อหาบน Facebook และจัดการเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล 25. ปี 2018 จากปัญหาที่เกิดขึ้น Facebook ต้องใช้เวลาไปกับงานหลังบ้านเยอะมาก สุดท้ายจึงส่งผลให้อัตราการเติบโตของรายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายเพิ่ม กำไรลด ไตรมาส 3 ปี 2018 กำไรโตเหลือ 9% (แบบโตแค่นี้มึงไม่ต้องโตก็ได้นะ) ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้นักวิเคราะห์หลายๆเจ้าพากัน “ลดเป้า” ราคาหุ้น Facebook ลง 26. นอกจากรายได้ที่เติบโตและกำไรที่ลดลงแล้ว บริษัทยังมีปัญหาเรื่องการเพิ่มจำนวนโฆษณาบน Facebook เพราะค่อนข้างแน่นแล้ว (ไม่แน่แปลกอะไร ปัจจุบันนี้เล่น Facebook ทีไรเหมือนเจอแต่โฆษณาเยอะโคตรๆ) จากที่ผ่านมาที่เติบโตด้วยการเพิ่มจำนวน Ad impression โดยไม่ส่งผลกระทบกับการใช้งานของผู้ใช้ตอนนี้อาจจะทำได้ลำบากกว่าในอดีต 27. ในขณะที่คนยังอยู่ในอารมณ์ของความกลัว งบ Facebook ไตรมาส 4 ปี 2018 ก็ประกาศออกมา ปรากฏว่า Facebook โตเกินที่นักวิเคราะห์คาดไว้รายได้ยังคงเติบโตประมาณ 30% แต่ที่สุดจริงๆคือกำไรยังโตได้ถึง 61% แตะ 6,800 ล้านดอลลาร์ เป็นกำไรที่สูงสุดตั้งแต่ตั้งบริษัทมาเลยทีเดียว ผลก็คือวันรุ่งขึ้นหุ้น Facebook ขึ้น 10% จาก 150 ดอลลาร์ไปเป็น 166 ดอลลาร์ 28. ดูในฝั่งของจำนวนผู้ใช้ที่หลายๆคนสงสัยว่าจะเริ่มลดลงหรือไม่? เพราะช่วงหลังๆเหมือนใครๆก็บอกว่าคนจะเลิกเล่น Facebook แล้ว ปรากฏว่าจำนวนผู้ใช้ต่อวันยังโตถึง 8.9% จากปีที่แล้ว และโต 2.1% จากไตรมาสก่อน รายได้เฉลี่ยต่อคน (ARPU) ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกันจาก 6.18 ดอลลาร์ เป็น 7.37 ดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นการเติบโต 19% 29. ไตรมาส 4 ของปี 2018 เป็นไตรมาสที่ค่าใช้จ่ายโตสูงมาก สูงถึง 62% เมื่อเทียบกับรายได้ที่โตเพียง 30% การเติบโตของค่าใช้จ่ายมาจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ Facebook การลงทุนใน AR/VR และระบบความปลอดภัย นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่พุ่งสูงขึ้นมาด้วย 30. แต่ David Wehner CFO ของ Facebook ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เขาไม่คิดว่าค่าใช้จ่ายในไตรมาส 1 ของปีนี้จะพุ่งสูงแบบไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะได้เห็นกำไรของ Facebook โตสวยๆในไตรมาส 1 ถ้ายังสามารถทำให้รายได้เติบโตได้อย่างที่ผ่านมา และค่าใช้จ่ายเติบโตลดลงแบบที่ David Wehner บอกจริง 31. P/E Ratio ของ Facebook อยู่ในระดับ 20 เท่า ถือว่าต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบ 4-5 ปีที่ผ่านมาที่เคยมี P/E สูงถึง 50 เท่า หาก Facebook กลับมาเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานใน Platform ของตัวเองได้ สามารถนำเอาการโฆษณาไปใช้กับ WhatsApp และ Messenger ซึ่งเป็น Platform ที่มีคนใช้งานอยู่มากกว่าพันล้านคนได้อาจทำให้รายได้และกำไรกลับมาเติบโตดีได้อีกครั้ง 32. แม้อนาคตของ Facebook เต็มไปด้วยความไม่ชัดเจน แต่เรื่องดีๆก็มีอยู่บ้าง บริการและ Platform บางอย่างของ Facebook เริ่มมีผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น Instagram Stories ที่ไปก๊อป Snapchat มามีคนใช้ 500 ล้านคนแล้ว, Facebook Marketplace ที่เป็น Platform ขายของออนไลน์ C2C มีคนใช้ 100 ล้านคน, Facebook Watch ที่เพิ่ง Launch ไปไม่นานมีคนใช้แล้ว 400 ล้านคน, ถ้า Facebook ทำให้ Platform ใหม่เหล่านี้มีผู้ใช้งานมากๆได้ก็น่าจะเป็นการเติบโตครั้งใหม่ให้กับบริษัท และจำทำให้ธุรกิจ Ads ของบริษัทแข็งแกร่งยิ่งขึ้น 33. สิ่งที่ต้องระวังคือในไตรมาสล่าสุด David Wehner CFO ของ Facebook ออกมาบอกว่าบริษัทอาจพิจารณายกเลิกการรายงานตัวเลขผู้ใช้ของ Facebook แต่ไปรายงานตัวเลขผู้ใช้รวมทั้งบริษัทแทน ซึ่งแบบนี้จะทำให้นักลงทุนไม่สามารถเช็คได้ว่าสุดท้ายแล้วคนใช้ Facebook ลดลงหรือเปล่าหว่า ก็ได้แต่หวังว่าจะไม่เป็นเหมือน Apple ที่พอเลิกรายงานจำนวนยอดขาย iPhone ปุ๊ปหุ้นก็ไปตกตามกันไปเลย 34. อีกอย่างที่ผลประกอบการไตรมาส 4 ของ Facebook ออกมาสวยอาจจะเป็นเพราะเป็นช่วง High season ของการโฆษณาก็เป็นได้ ดังนั้นไตรมาส 1 อาจมีการเติบโตของรายได้ที่ชะลอตัวลง 35. ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของ Facebook คือ Google และ Apple ซึ่งเป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการสำหรับ Smartphone iOS และ Andriod ตอนนี้เราเริ่มเห็น Apple ใช้ฟังก์ชั่นการจำกัดการใช้งาน App ใน iOS ของ iPhone และ iPad แล้ว ถ้ามีคนใช้ฟังก์ชั่นนี้เยอะๆยอดผู้ใช้รายเดือนและรายวันของ Facebook อาจลดลงอย่างมีนัยยะ ซึ่งจะส่งผลให้ Ads impression ลดลง และรายได้เติบโตช้าลงได้ ที่มาบทความ: http://buffettcode.com/หุ้น-facebook-2019/ แท็ก: Facebook แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หาหุ้นทำเงินสไตล์วีไอ ... “อยากเป็นเจ้าของ After You ตอนนี้คุ้มหรือไม่ ?” - FINNOMENA ถ้าคิดถึง “ร้านขนมหวาน” เชื่อว่า After You ต้องอยู่ในใจของใครหลายคน ก่อนที่เราจะซื้อหุ้น AU เรามาดูกันหน่อยดีกว่าว่ามันคุ้มหรือไม่คุ้มกันแน่ 7 มี.ค. 2562 ถ้าคิดถึง “ร้านขนมหวาน” เชื่อว่าหนึ่งในนั้นต้องอยู่ในใจของใครหลายคน ร้านที่ว่าก็คือ After You ร้านขนมหวานที่คนส่วนใหญ่ก็รู้จัก แต่คนส่วนน้อยที่ยังไม่เคยใช้บริการก็มี หรืออาจจะอยากกินแต่รู้สึกว่ามันแพง ?? สมมติเล่น ๆ ว่า เจ้าของกิจการ After You เข้ามาชวนคุณเป็นร่วมเจ้าของร้านขนมที่แสนจะโด่งดังเจ้านี้ คุณก็ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดีว่า … เราควรจะร่วมเป็นเจ้าของกิจการกับเขาดีหรือเปล่า? ใช่แล้วครับ การร่วมเป็นเจ้าของกิจการก็คือ เราเข้าไปถือหุ้นของกิจการนั้น ๆ นั่นเอง และเราสามารถซื้อหุ้น AU ได้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจการของเขา … แต่ก่อนที่เราจะซื้อหุ้น เรามาดูกันหน่อยดีกว่าว่ามันคุ้มหรือไม่คุ้มกันแน่ ให้ #นายแว่นลงทุน เล่าให้ฟังดังต่อไปนี้ “สถานะปัจจุบันของเขาเป็นอย่างไร” ปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 32 สาขา (ตัวเลขเดือนธันวาคม 2561) มีขนาดกิจการ 7,000 ล้านบาท ถ้าเราซื้อหุ้น After You ตอนนี้เท่ากับเราใช้เงินซื้อสาขาของเขาที่ 7,000 / 32 = สาขาละ 218 ล้านบาท (โดยประมาณ) ยอดขายในปัจจุบันทำได้ 880 ล้านบาทต่อปี เท่ากับทำได้สาขาละ 27.5 ล้านบาทต่อปี ส่วนกำไรในปัจจุบันทำได้ 147.43 ล้านบาท เท่ากับกำไรต่อสาขาที่ 4.6 ล้านบาทโดยการเติบโตของรายได้ ทำได้ 20% ต่อปี ถ้าโตแบบนี้ไปเรื่อย ๆ รายได้จะโตเป็นสองเท่าภายใน 3.5 ปี (ตามกฎ 72) ส่วนของรายได้ในปัจจุบัน รายละเอียดในส่วนของรายได้ในปัจจุบัน ปี 2561 ทำได้กว่า 880 ล้านบาท โตขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ทำได้ 735 ล้านบาท หรือโตขึ้นกว่า 19.77% ถ้าเรามองลึกเข้าไปจะพบว่า … ส่วนที่โตขึ้นมากนั้นเป็นส่วนของรายได้จากการจัดงานนอกสถานที่ รับจ้างผลิต และการขายผ่านสำนักงานใหญ่ ที่โตขึ้นกว่า 67.06% รายได้จากส่วนนี้โตขึ้นมากเนื่องจากบริษัทได้ขยายงานในส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 ที่ผ่านมาได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ชื่อการค้า “ขนมปังเนยโสด” และ “ขนมปังนมโสด” (ชื่อเก๋ไก๋ดีจัง) ซึ่งจำหน่ายผ่านทางสำนักงานใหญ่ตั้งแต่เริ่ม และต่อมาก็ได้มีการกระจายวางขายที่สาขาร้านต่าง ๆ เรียกว่ามีสินค้า “เรือธง” ตัวใหม่นั่นเอง ส่วนของต้นทุนขาย และกำไรขั้นต้น ในส่วนของกำไรขั้นต้นของกิจการในปี 2561 ทำได้ 582.12 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 66.83% ซึ่งต้องบอกว่าสูงขึ้นเล็กน้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่กำไรขั้นต้นสูงขึ้นมาจากการบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของวัตถุดิบที่บริหารจัดการได้เป็นอย่างดี สำหรับค่าใช้จ่ายในการขาย จะประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายพนักงานประจำสาขา ค่าเช่าสถานที่ ค่าเช่าอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยค่าใช้จ่ายในการขายของปี 2561 อยู่ที่ 271.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว 19.12% เพราะจำนวนสาขาเพิ่มขึ้น ก็ต้องจ้างพนักงานเพิ่มเติม แต่ก็แลกมาด้วยยอดขายที่สูงขึ้นนั่นเองครับ ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ… ถ้าเราอยากลงทุนทำร้านขนมหวานแบบนี้ เราก็ต้องมานั่งคิดเล่น ๆ ว่า หากเราไปทำด้วยตัวเองจะติดตลาดได้อย่างที่เขาทำหรือไม่ ? แต่ถ้ามองดูตัวเลขแล้วยังรู้สึกว่ามันแพงเกินไป ก็ข้ามไปก่อนก็ได้ครับ หุ้นในตลาดยังมีอีกหลายร้อยตัวให้เราเลือกลงทุน จริงมั้ยล่ะครับ? #นายแว่นลงทุน หมายเหตุ: ดูข้อมูลหุ้น AU เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/au คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: AU VI แชร์บทความ: ผู้เขียน นายแว่นลงทุน "นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เปรียบเทียบ TMB50 และ JB25: เหมือนและแตกต่างกันยังไง? - FINNOMENA มาลองดูกันว่าระหว่าง TMB50 กับ JUMBO25 กองทุนไหนเหมาะสมสำหรับเรามากกว่า? วันนี้จะมาทำการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ของกองทุน เปรียบเทียบในแต่ละประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจครับ 23 ส.ค. 2562 เริ่มต้นลงทุนกองทุนไหนดี? เรามักได้ยินคำถามจากนักลงทุนที่จะเลือกซื้อกองทุน TMB50 กับ JB25 มาลองดูกันว่ากองทุนไหนเหมาะสมสำหรับเรามากกว่า? วันนี้จะมาทำการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ของกองทุน เปรียบเทียบในแต่ละประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจครับ กองทุนไหนดีกว่ากัน เลือกกองทุนไหนดี แตกต่างกันอย่างไร เหมือนกันอย่างไร ไปหาคำตอบกันเลย! ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 1. นโยบายการลงทุน TMB50 กองทุนมีนโยบายที่จะพยายามลงทุนในหุ้นเต็มอัตรา (Fully Invested) เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี SET50 ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ JB25 เน้นลงทุนในหุ้นเต็มอัตรา (Fully Invested) ตลอดเวลา โดยจะลงทุนในหุ้นสามัญและ/หรือหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 25 บริษัทแรกที่เข้า หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ จากข้อมูลนโยบาลลงทุน แสดงให้เห็นว่า TMB50 พยายามลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี SET50 จะถือหุ้นโดยประมาณ 50 ตัว ส่วน JB25 ลงทุนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 25 บริษัทแรกจะถือหุ้นโดยประมาณ 25 ตัว 2. กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน จากข้อมูลกลยุทธ์นโยบายลงทุน แสดงให้เห็นว่า TMB50 และ JB25 ลงทุนแบบ Passive เหมือนกัน นี่คือการลงทุนที่มุ่งเน้นให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง 3. รายละเอียดกองทุน จากข้อมูลรายละเอียดกองทุน แสดงให้เห็นว่า ประเภทกองทุน TMB50 เป็นประเภท SET 50 Index Fund ลงทุนในบริษัทที่หลากหลายทั้งกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทขนาดเล็ก ส่วน JB25 ประเภท Equity Large Cap ลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่ และโดยหลักการแล้วบริษัทใหญ่มักจะมีความมั่นคงมากกว่าบริษัทขนาดเล็ก ในด้านค่าใช้จ่ายกองทุนรวม JB25 สูงกว่า TMB50 เล็กน้อย หมายเหตุ: ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2562 เป็นต้นไป เปลี่ยนจาก 1,000 บาท เป็น 1 บาทนะครับ 4. หลักทรัพย์ที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก จากข้อมูลชื่อหลักทรัพย์ที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก แสดงให้เห็นว่า TMB50 และ JB25 ลงทุนหลักทรัพย์ที่เหมือนกันใน 5 อันดับแรก แต่สัดส่วนบริษัท JB25 สูงกว่า TMB50 เพียงเล็กน้อย เนื่องจาก JB25 ถือหุ้นแค่เพียง 25 ตัวและเน้นลงทุนบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก 5. ผลตอบแทนย้อนหลัง ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต จากข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังรายปี แสดงให้เห็นว่า TMB50 และ JB25 ผลตอบแทนย้อนหลังรายปีใกล้เคียงกันแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้างสลับกันไป ดำเนินการลงทุนมุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 2 กองทุน ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต จากข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง แสดงให้เห็นว่า TMB50 และ JB25 มีผลตอบแทนย้อนหลังใกล้เคียงกัน แต่ระยะ 3 เดือน 6 เดือน และ 10 ปี TMB50 สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า JB25 ส่วนระยะ 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี JB25 สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า TMB50 6. 5 หมวดธุรกิจแรกที่ลงทุน จากข้อมูล 5 หมวดธุรกิจแรกที่ลงทุน (%) แสดงให้เห็นว่า TMB50 และ JB25 ลงทุนใน 5 หมวดธุรกิจแรกใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันเพียงสัดส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมเล็กน้อย 6. ความเสี่ยง ลองมาดูจุดขาดทุนสูงสุด (Max Drawdown) และ Standard Deviation ก็ค้นพบว่า 2 กองนี้มีความใกล้เคียงกันมาก โดย JB25 นั้นจะมีค่าที่สูงกว่าประมาณ 1% เท่านั้น คำถาม เลือกลงทุนกองทุนอะไรระหว่าง TMB50 และ JB25 คำตอบ จากข้อมูลข้างต้น TMB50 และ JB25 มีความใกล้เคียงกันมาก จุดหลักที่ต่างกันเห็นจะเป็นจำนวนหุ้นที่ถือ และขนาดของบริษัทที่ JB25 จะเน้นบริษัทใหญ่ๆ ในขณะที่ TMB50 อาจมีบริษัทที่ใหญ่น้อยลงมาหน่อยอยู่ในพอร์ต นอกจากนี้ก็ดูเหมือนว่าองค์ประกอบหลายๆ อย่างจะมีความคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่ลงทุน ผลตอบแทนย้อนหลัง หรือนโยบายการลงทุน ฉะนั้นแล้ว การเลือกลงทุนกองทุนอะไรนั้นขึ้นอยู่กับว่านักลงทุน เข้าใจ สนใจ ลำดับความสำคัญแต่ละประเด็นอย่างไร กองทุนแบบไหนเหมาะสมสำหรับตัวของนักลงทุน นักลงทุนคือผู้เลือก สุดท้ายแล้ว การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ หากสนใจลงทุนใน 2 กองทุนนี้ สามารถลงทุนผ่านพอร์ต DIY ของ FINNOMENA โดยคลิกที่ลิ้งก์ข้างล่างเลยครับ https://www.finnomena.com/nter-space-create/ ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 สามารถศึกษากองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tmbameastspring.com/home/th/mutual-fund-detail.php?f=5 https://www.finnomena.com/fund/TMB50/ https://www.tmbameastspring.com/home/th/mutual-fund-detail.php?f=385 https://www.finnomena.com/fund/JB25/ Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด แท็ก: JB25 TMB50 แชร์บทความ: ผู้เขียน Captainvestor Captain ที่ค่อยช่วยเหลือปกป้องภัยร้ายและสร้างความแข็งแกร่งให้กับนักลงทุน โดยการสร้างความรู้ สร้างความคิด สร้างประสบการณ์ พร้อมสำหรับเริ่มลงทุน ผ่าน content เกี่ยวข้องกับ Business (Startup) Investment (Stock, Fund) Self-Development
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เดือนแห่งความรักกับตลาดที่ไม่มีใครรัก - FINNOMENA ต้นปี 2019 ที่ผ่านมา ตลาดเงินตลาดทุนฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่แปลกคือการรีบาวด์รอบนี้ดูจะยังไม่สามารถทำให้ทุกคนเปิดใจรับ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ช่วยจะให้นักลงทุนไม่พลาดโอกาสในปีนี้ คือการสลัดความรู้สึกออก และมองตลาดด้วย “เหตุผล” ด้วยสามคำถามที่เราต้องตอบ 25 ก.พ. 2562 ต้นปี 2019 ที่ผ่านมา ตลาดเงินตลาดทุนฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว หุ้นทั่วโลกรีบาวด์ขึ้นเป็น 10% ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นจากสิ้นปีแล้วกว่า 20% ไม่เว้นแม้สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างบอนด์ก็ปรับตัวขึ้น 3-4% ด้วย ที่แปลกคือการรีบาวด์รอบนี้ดูจะยังไม่สามารถทำให้ทุกคนเปิดใจรับ นักลงทุนหลายท่านไม่คิดว่าการรีบาวด์ควรเกิดขึ้น และไม่มั่นใจที่จะกลับเข้าตลาดจนอาจต้องนิยามตลาดทุนต้นปี 2019 ว่าเป็น “การรีบาวด์ที่ไม่มีใครรัก” มากที่สุดครั้งหนึ่ง เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับนักลงทุนไทย ผลการสำรวจของธนาคารสหรัฐ Bank of America Merrill Lynch ถามนักลงทุนทั่วโลก ก็ได้คำตอบเช่นเดียวกันว่า “หุ้น” คือการลงทุนที่ทุกคน “ไม่รัก” และกว่า 50% ของนักลงทุน เชื่อว่าตลาดหุ้นมีโอกาสที่จะขึ้นไปต่อได้อีกไม่เกิน 10% หรือมองได้อีกมุมหนึ่งว่า ช่วงที่ตลาดทุนปรับตัวขึ้นทั้งที่ไม่มีใครรัก ก็คือช่วงที่นักลงทุนส่วนใหญ่กำลังตัดสินทุกอย่างด้วยอารมณ์เหนือเหตุผล ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ช่วยจะให้นักลงทุนไม่พลาดโอกาสในปีนี้ ผมเชื่อว่าคือการสลัดความรู้สึกออก และมองตลาดด้วย “เหตุผล” ด้วยสามคำถามที่เราต้องตอบ คำถามแรก คือการปรับตัวลงของตลาดในช่วงท้ายปี เกิดจากมุมมองอนาคตที่แย่ลง หรือความมั่นใจที่สูงในอดีตพบกับความจริง ซึ่งผมเชื่อว่าส่วนใหญ่เกิดจากเหตุผลที่สอง ภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หรือปัญหาการเมืองที่วุ่นวาย ไม่ใช่เรื่องที่ไม่มีใครรู้ แต่นักลงทุนเลือกที่จะ “มองไม่เห็น” ท้ายที่สุดเมื่อต้นทุนปรับตัวสูงขึ้นจริง พร้อมกับตัวเลขเศรษฐกิจไปไม่ไหว จึงต้องยอมขายลดความเสี่ยงในที่สุด ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่าเราควรจับตาไปที่ฐานความเสี่ยง อย่าง VIX Index ที่ไม่ควรอยู่ต่ำกว่าระดับ 10-15% มากกว่ามุมมองในอนาคต ถ้าความผันผวนต่ำลงผิดปรกติอีกเราก็ควรรู้ตัวและลดความเสี่ยงลง ในทางกลับกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่ VIX ปรับตัวสูงขึ้นเกิน 25% โอกาสในการรีบาวด์ก็จะเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นที่จะต้องรอจนเศรษฐกิจฟื้นตัว คำถามที่สองคือ “ความเสี่ยง” เรื่องไหนกันแน่ที่จะทำให้อารมณ์ตลาดทุนแย่ลงกว่านี้ได้อีก ผมมองว่าคำตอบอยู่ที่เศรษฐกิจจีน ถามนักลงทุนว่า “กลัว” เศรษฐกิจไหนจะแย่ หรือ “รัก” ตลาดทุนไหนมากที่สุด เราจะได้คำตอบเดียวกันว่าคือ “จีน” ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะสิบกว่าปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนแทบจะเป็นทุกอย่างของโลก แต่กลัวอย่างเดียวก็ไม่มีประโยชน์ เราควรเตรียมตั้งรับน่ากรณีที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งผมชวนให้ย้อนกลับไปดูวิกฤติตลาดหุ้นจีนในปี 2015 ในช่วงนั้นการถือเงินสดไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีที่สุด กลับเป็นบอนด์ในตลาดเกิดใหม่ (EM) ที่ปรับตัวขึ้นสวนหุ้นจีนด้วยความสัมพันธ์ (Correlation) -0.2 ขณะที่ถ้ารับความเสี่ยงได้มากขึ้น หุ้นใน EM ทั้งในยุโรปและอเมริกาใต้ก็มี Correlation กับหุ้นจีนเพียง 0.1 ในช่วงวิกฤติ กลายเป็นโอกาสของคนกล้าถูกที่ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมเชื่อว่าถ้าวิกฤติในจีนเกิดขึ้นจริง ธนาคารกลางทั่วโลกคงไม่นิ่งเฉย และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ และทวีปที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดก็ต้องเป็นตลาดที่เกี่ยวข้องกับจีนน้อยที่สุด และคำถามสุดท้าย คือเหตุการณ์อะไร ที่จะทำให้นักลงทุนทั่วโลกกลับมารักตลาด ซึ่งผมเชื่อว่า “นโยบายการเงิน”คือคำตอบในระยะสั้น และ “ตัวแทนของจีน”คือคำตอบในระยะยาว มองพื้นฐานของความ “ไม่รักตลาด” รอบนี้ จะพบว่าที่มาของปัญหาเกิดจากโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมโลก ในระยะสั้น ทางออกจากการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน หรือนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อาจหนุนตลาดให้เคลื่อนไหวในกรอบบวกลบ 20% ได้ไม่ยาก แต่ในระยะยาว เป็นไปยากที่ทางการจีนจะกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับไปขยายตัวเป็น 10% เช่นเดียวกับปัญหาการค้า ที่เกิดขึ้นเพราะนโยบายประชานิยมผสมกับความไม่ไว้ใจกันของประเทศใหญ่ๆ กับจีน แม้เราจะหวังให้เศรษฐกิจกลับตัว ก็ดูเป็นเรื่องยากที่จะให้ตลาดจีนเป็นผู้นำการเติบโตต่อ หรือตีความได้ว่า นักลงทุนจะกลับมารักตลาดจริงๆ เมื่อมีเศรษฐกิจ EM อื่นขึ้นมารับไม้ต่อจีนนั่นเอง ลึกๆ แล้วผมเชื่อว่านักลงทุนทั่วโลก “แอบมีใจ” ให้ตลาดทุนอยู่เสมอ ดังนั้น เราจึงไม่ควรกลัวที่จะรักตลาด และกล้ารับความเสี่ยง ขอเพียงแค่ทุกครั้ง ให้เรามองตลาดด้วยเหตุผลมากกว่าอารมณ์ สุดท้ายผลตอบแทนคาดหวังและโอกาสที่จะเกิดขึ้นจะเป็นตัวตัดสินความคุ้มค่าของการลงทุน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน DR.JITIPOL PUKSAMATANAN นักกลยุทธ์ตลาดการเงินและการลงทุน ผู้มีความสนใจในความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ปัจจุบันพยายามเพิ่มบทบาทด้วยการเป็นนักเขียนและนักพูดที่ตั้งใจเปลี่ยนโลกการเงินที่ซับซ้อนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ กับการทำกำไรที่ไม่หมู - FINNOMENA ทิศทางการลงทุนตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ในปี 2562 มีหลายปัจจัยที่บ่งชี้ว่า น่าจะเป็นจังหวะที่ดีในการสร้างกำไร แต่อย่าเพิ่งเร่งร้อนตัดสินใจ! คุณรู้หรือไม่ว่า ยังมีประเด็นที่ต้องระแวดระวังหลายเรื่อง …ซึ่งนั่นอาจจะทำให้การทำกำไรในปีนี้ ไม่หมูอย่างที่คิด 19 ก.พ. 2562 ทิศทางการลงทุนตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ในปี 2562 มีหลายปัจจัยที่บ่งชี้ว่า น่าจะเป็นจังหวะที่ดีในการสร้างกำไร แต่อย่าเพิ่งเร่งร้อนตัดสินใจ! คุณรู้หรือไม่ว่า ยังมีประเด็นที่ต้องระแวดระวังหลายเรื่อง …ซึ่งนั่นอาจจะทำให้การทำกำไรในปีนี้ ไม่หมูอย่างที่คิด หากประเมินสถานการณ์ลงทุนในปี 2562 โดยภาพรวม ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets : EM) น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะเศรษฐกิจในกลุ่ม EM มีโอกาสจะขยายตัวได้ใกล้เคียงปี 2561 ประกอบกับคาดว่าเงินเฟ้อกลุ่ม EM จะยังคงอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ธนาคารกลางต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นน่าสนใจมากขึ้นนั่นเอง โอกาสทำกำไรใน EM บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ มองว่าในปี 2562 ตลาดหุ้น EM จะมีความน่าสนใจมากขึ้น หลังจากที่ตลาดปรับตัวลงค่อนข้างมากในปี 2561 อีกทั้งยังมีปัจจัยหนุนจากผลประกอบการบริษัท ที่ยังเติบโตได้ในระดับมากกว่า 10% ทำให้ระดับมูลค่าพื้นฐานของหุ้น (Valuation) ปัจจุบันปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อมองไปถึงคาดการณ์ผลประกอบการทั้งปี 2562 ที่ผลของการลดภาษีในฝั่งสหรัฐฯ จะหมดไปนั้น ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้การเติบโตของผลการดำเนินงานเข้าสู่สภาวะปกติ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าตลาด EM จะกลับมาเติบโตได้ 11% ซึ่งดีกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ที่โตได้ 9% (คาดการปี 2561 EPS EM เติบโต 12%, US เติบโต 26%) อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า แม้จะมีสัญญานเชิงบวกจากหลายปัจจัย แต่ก็ยังคงมีความน่าวิตกอยู่บ้างในบางประเด็น นั่นก็คือ เรื่องของระดับหนี้สินต่อ GDP ของประเทศกลุ่ม EM ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นดังกล่าว มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคเอกชนในประเทศจีน (คิดเป็น 65% ของหนี้สินภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น) ซึ่งถ้าตัดในส่วนของประเทศจีนออกนั้น หนี้สินต่อ GDP โดยรวมของประเทศกลุ่ม EM จะอยู่ในระดับปกติ บลจ.ทิสโก้ ไม่คิดว่าเศรษฐกิจจีนจะเกิด Hard Landing เพราะปัจจุบันดุลบัญชีเดินสะพัดยังอยู่ในระดับที่เกินดุล , นโยบายการเงินและการคลังก็ไม่ได้ตึงตัวจนเกินไป ดังนั้น เศรษฐกิจจีนปี 2562 ก็ยังน่าจะขยายตัวได้ในระดับประมาณ 6% ปัจจัยที่ทำให้การลงทุนไม่หมู แม้จะมีปัจจัยบวกที่สะท้อนว่า นักลงทุนสามารถสร้างโอกาสทำกำไรในการลงทุนตลาด EM ปีนี้ได้ แต่ก็มีสิ่งที่นักลงทุนจะต้องจับตา นั่นก็คือ อัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน (Earning Growth) รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งได้แก่ 1. สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ในกรณีที่ทั้งสองประเทศขึ้นภาษีการนำเข้าของสินค้าทุกประเภทสู่ระดับ 25% อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ และก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ 2. การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในกรณีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวได้ดี และธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ต้องขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด จะส่งผลให้เกิดแรงกดดันให้ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่ม EM ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าความจำเป็นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เป็นอยู่ ในกรณีนี้นั้นจะส่งผลให้ความคล่องตัวทางการเงินภาคธุรกิจตึงตัวขึ้น และกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ 3. ความเสี่ยงทางการเมืองประเทศกลุ่ม EM และประเทศอื่น ในปี 2562 จะมีการเลือกตั้งในประเทศอินโดนีเซีย และอินเดีย ประกอบกับความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่ในประเทศบราซิล และเม็กซิโก ในขณะเดียวกันในกลุ่ม EU ก็ยังเผชิญความไม่แน่นอนจากประเด็นร่างงบประมาณของอิตาลี และความกังวลว่าการเจรจา Brexit จะล้มเหลว ซึ่งก็ถือเป็นประเด็นที่มีผลต่อการลงทุนเช่นกัน ภายใต้บรรยากาศที่ ตลาด EM เริ่มฉายแววโดดเด่น นักลงทุนก็ยังต้องลงทุนอย่างรอบคอบ เพราะการลงทุนปีนี้ ไม่ใช่เรื่องหมูๆ อย่างแน่นอน ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/tiscomastery/ แท็ก: EM Emerging Market แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
การเมืองกับตลาดหุ้น - FINNOMENA การเมืองในระยะสั้น ๆ  มักจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวแรงในระดับหนึ่ง ส่วนในระยะยาวนั้น ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาตลอดเป็นสิบ ๆ  ปีก็มักไม่จะไม่กระทบเท่าไร เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น? แล้วทำไมนักลงทุน VI ถึงยังควรให้ความสำคัญกับการเมือง?  12 ก.พ. 2562 สองสามวันที่ผ่านมาเราได้เห็นข่าวการเมืองที่คนทั่วประเทศต่างก็จับตามองและรู้สึกตื่นเต้นกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นและจบลงในเวลาอันสั้น เหตุผลที่เราตื่นเต้นนั้นเนื่องจากมันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและอาจจะมีผลต่อการแข่งขันในการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้าหลังจากที่ประเทศไทยห่างเหินจากการเลือกตั้งมานาน อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้ถูกกระทบอะไรนัก ดัชนีตลาดเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในช่วงปิดตลาด และนี่ก็อาจจะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผลกระทบจากการเมืองในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้มีผลกระทบรุนแรงต่อตลาดหุ้นแม้ว่าในทางการเมืองแล้วถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญหรือรุนแรงหรือน่ากลัวก็ตาม ตัวอย่างของเหตุการณ์สำคัญหรือรุนแรงหรือน่ากลัวในทางการเมืองก็เช่น การที่ประธานาธิบดีทรัมป์ชนะเลือกตั้ง การลดภาษีนิติบุคคลในอัตราสูงของทรัมป์ สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีน และเรื่องอื่น ๆ อีกมาก หรืออย่างในเมืองไทยก็เช่น การประท้วงของคนเสื้อเหลือง-แดง การเกิดการรัฐประหาร การเลือกตั้งใหญ่ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ในระยะสั้น ๆ มักจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวแรงในระดับหนึ่งทั้งทางขึ้นและลงขึ้นอยู่กับมุมมองว่าเหตุการณ์ทางการเมืองนั้นจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อการลงทุนและบางทีก็ดูว่าเป็นหุ้นกลุ่มไหนที่จะได้รับผลกระทบ—ในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวนั้น ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาตลอดเป็นสิบ ๆ ปีก็มักไม่จะไม่กระทบเท่าไร เหตุผลก็เพราะว่า โลกในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงที่ประเทศต่าง ๆ เปลี่ยนหรือยึดถือนโยบาย “เปิดตลาด” การค้า ไม่มีประเทศสำคัญไหนที่นักการเมืองหรือเหตุการณ์ทางการเมืองนำไปสู่การทำลายการทำงานของธุรกิจหรือการค้าขายระหว่างประเทศอย่างที่โลกเคยเกิดขึ้นในสมัยที่ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่หลายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเมื่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจซึ่งต่อเนื่องถึงธุรกิจของบริษัทต่าง ๆ ในระยะยาวที่มาจากการเมืองนั้นมีน้อย ผลกระทบของเหตุการณ์ทางการเมืองต่อตลาดหุ้นในระยะยาวจึงมีน้อยตามไปด้วย คนที่ลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นจึงไม่ค่อยกังวลอะไรนักกับเรื่องทางการเมือง ตราบใดที่การเมืองนั้นไม่ทำลาย “บรรยากาศ” หรือสภาวะแวดล้อมในการทำธุรกิจของเอกชนในระยะยาวแล้วละก็ เราก็ไม่มีอะไรต้องวิตก อย่างไรก็ตาม นักลงทุนนั้นก็คือคนธรรมดาที่อาศัยอยู่ในประเทศ และการเมืองเองนั้นแม้ว่าจะไม่ทำลายเรื่องของธุรกิจ แต่มันก็อาจจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราแย่ลงได้ คนนั้นไม่ใช่แค่ว่าขอให้มีเงินแล้วก็มีความสุข เราต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งรวมถึงสภาวะอย่างอื่นเช่น อากาศที่ดีไม่มีฝุ่นละอองเป็นพิษ เราต้องการเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น เราต้องการอยู่อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกับคนอื่น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้บางทีก็มักจะมาจากการเมือง ดังนั้น นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI จึงต้องสนใจการเมือง การเมืองที่ดีสำหรับคนที่อยู่ในประเทศนั้นก็คือการเมืองที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูงซึ่งเคารพสิทธิของคนทุกคนโดยการยอมรับว่าทุกคนนั้นมีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ไม่มีการบังคับว่าเราทำอะไรได้หรือไม่ได้ถ้าไม่ไปรบกวนคนอื่น มีระบบเศรษฐกิจที่เปิดและมีการแข่งขันโดยเสรี และด้วยหลักการแบบนี้ เราก็จะได้รัฐบาลที่มาจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งรัฐบาลนั้นเองจะต้องทำการเมืองที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกเขาเข้ามา และนั่นจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตขึ้นและความเหลื่อมล้ำของคนจะน้อยลง เพราะถ้ารัฐบาลไหนไม่ทำแบบนั้น เขาก็จะไม่สามารถได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ แน่นอนว่ามีคนไม่เห็นด้วยกับแนวทางแบบที่กล่าว หลายคนไม่อยากให้เสียงส่วนใหญ่เป็นคนกำหนดว่าใครควรเป็นรัฐบาล เขาอาจจะคิดว่ารัฐแบบเผด็จการนั้นสามารถทำงานได้ดีกว่าเพราะผู้นำสามารถ “สั่งได้” การรับฟังคนส่วนใหญ่ที่ “ไม่มีความรู้” หรืออาจจะ “เห็นแก่ได้” หรือ “ถูกหลอก” ให้ลงคะแนนเลือกคนที่ไม่เหมาะสมนั้น จะไม่สามารถเลือก “คนดี” ให้เป็นรัฐบาลได้ แต่ประวัติศาสตร์บอกเราว่าแนวคิดแบบประชาธิปไตยนั้นมีความเหนือกว่าระบบเผด็จการอย่างเห็นได้ชัด และประเทศในโลกก็ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงมาเป็นประเทศแบบประชาธิปไตยมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเหลือแต่ประเทศที่ยัง “ล้าหลังมาก ๆ” เท่านั้นที่ยังคงระบบแบบเผด็จการอยู่ และระบบประชาธิปไตยที่ผมพูดนั้นก็คือระบบประชาธิปไตยแบบ “สากล” ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบตามชื่อของรัฐหรือประเทศที่มักจะมีหลักหรือวิธีการที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งมักจะไม่ใช่ประชาธิปไตยจริง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าไม่มีรัฐหรือประเทศไหนในโลกนี้ที่บอกว่าประเทศตนเองไม่ใช่ประชาธิปไตย แม้แต่ประเทศที่เผด็จการที่สุดก็ยังบอกว่าตนเองปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้กระนั้นก็ตาม บางคนก็อาจจะเถียงว่าทำไมจีนหรืออาจจะรวมถึงเวียตนามจึงเจริญเร็วมากทั้งที่ระบบของเขาก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตย เขายังพูดต่อด้วยว่าที่เจริญเร็วนั้นเป็นเพราะจีนนั้นเขาสามารถ “สั่งได้” จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ ผมเองอยากจะเถียงว่าถ้าจีนและเวียตนามเป็นประชาธิปไตยเขาจะยิ่งเจริญเร็วและคนมีความสุขกว่านี้ ว่าที่จริงในสมัยแค่ไม่กี่สิบปีก่อนที่ทั้งสองประเทศยังเป็นเผด็จการอย่างหนักนั้น เศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของเขาแย่มาก คนไทยที่ไปเยี่ยมญาติที่เมืองจีนเมื่อ 40 ปีก่อนนั้นต่างก็รู้ซึ้งถึงความจนและความยากลำบากของญาติที่น่าจะมีศักยภาพเท่าเขา แต่หลังจากที่จีนและเวียตนามปรับประเทศมาเป็นแบบประชาธิปไตยมากขึ้น พวกเขาก็เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วจนทุกวันนี้คนจีนรวยกว่าคนไทยไปแล้ว เวียตนามเองก็ตามรอยจีนและในที่สุดก็อาจจะรวยไม่แพ้ไทยถ้าเขาปรับตัวเองเป็นประชาธิปไตยแบบสากลมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากสองประเทศนี้แล้ว ผมคิดว่าเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้จะเป็นตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดว่าประชาธิปไตยนั้นเหนือกว่าระบบเผด็จการอย่างชัดเจนเพราะสองประเทศนี้เริ่มต้นพร้อมกันเมื่อประมาณ 70 ปีก่อนที่ทุกอย่างเหมือนกันทั้งเรื่องของคุณภาพของคนและทรัพยากรของประเทศ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เกาหลีใต้ที่เป็นประเทศประชาธิปไตยแม้ว่าในช่วงแรก ๆ ยังมีปักจุงฮีเป็นเผด็จการอยู่ในระดับหนึ่ง แต่หลังจากการรัฐประหารครั้งสุดท้ายของนายพลชุนดูวานในปี 1980 หรือเกือบ 40 ปีมาแล้วและการกลับมาสู่ระบบประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่งประมาณ 5-6 ปีหลังจากนั้น เกาหลีใต้ก็ไม่มีรัฐประหารอีกเลย และประเทศก็เจริญขึ้นเร็วมากจนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน ในขณะที่เกาหลีเหนือนั้นยังคงเป็นเผด็จการมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็ส่งผลให้เศรษฐกิจไม่เจริญเติบโตและระดับการพัฒนาของประเทศในปัจจุบันก็แทบจะถือว่าต่ำที่สุดในโลกประเทศหนึ่งยกเว้นในทางทหารที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไปเลย ถ้าประเทศไทยจะเจริญเติบโตต่อไปจนกลายเป็นประเทศ “พัฒนาแล้ว” ผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ใช้ระบบประชาธิปไตยแบบสากลในการปกครองประเทศ ตัวอย่างในโลกนี้มีเต็มไปหมด ว่าที่จริงแทบจะไม่มีประเทศที่พัฒนาแล้วในโลกนี้ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย คนที่คิดว่าเรามีวัฒนธรรมและขนบประเพณีเฉพาะตนเป็นเอกลักษณ์และเราไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตยแบบคนอื่นนั้นผมคิดว่าควรศึกษาประเทศอื่น ๆ ที่ก็เคยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นเดียวกัน สำหรับผมแล้ว ระบอบประชาธิปไตยที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นเรื่อง “สากล” คล้าย ๆ กับอีกหลายเรื่องเช่น การใช้สื่อสังคมดิจิตอล การดูแลสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ อีกมาก โลกทุกวันนี้จริง ๆ แล้วมี Civilization หรืออารยะธรรม เดียว มันหมดยุคอารยะธรรมอียิปต์ อารยะธรรมจีน หรือแม้แต่อารยะธรรมตะวันตกไปแล้วไม่ต้องพูดถึงอารยะธรรมไทย เดี๋ยวนี้มีแต่ “อารยะธรรมโลก” ที่อาจจะนำโดยกูเกิล เฟซบุค อะมาซอน และไมโครซอฟท์ ข้อสรุปสุดท้ายของผมเกี่ยวกับเรื่องการเมืองก็คือ ผมจะคอยดูและวิเคราะห์ตลอดเวลาว่าพัฒนาการทางการเมืองของไทยในระยะยาวจะพัฒนาไปทางไหน ในบางครั้งผมเองก็กลัวเหมือนกันว่าระบบการปกครองของประเทศไทยอาจจะ “ถอยหลัง” ไปจากระบบประชาธิปไตยแบบสากลซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการลงทุน—และชีวิต แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องนี้ ผมก็มักจะไม่แคร์และไม่สนใจมากนัก แต่ถ้าจะให้เข้าไปเล่นหรือเข้าไปเกี่ยวข้อง ผมคงไม่ทำ ผมเองยอมรับว่าตนเองไม่ใช่ “นักสู้” ที่จะเข้าไปต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองให้เป็นอย่างที่ตนเองต้องการ แต่เป็นแค่ “นักเลือก” เวลาเขาให้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ที่มา: www.thaivi.org/การเมืองกับตลาดหุ้น/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ความน่าเบื่อของการลงทุน "หุ้นไทย & โกลบอล เฮลธ์แคร์" - FINNOMENA ถ้าถามที่ปรึกษาทางการเงินว่า “ตอนนี้ลงทุนอะไรดี?” คำตอบที่ได้รับ ก็น่าจะยังคงเป็นอะไรเดิมๆ ที่พูดว่า “ลงทุนหุ้นไทย” กับ “หุ้นเฮลธ์แคร์ทั่วโลก” สิ …ช่างน่าเบื่อ ทำไมแนะนำกันแบบเดิมซ้ำๆ อย่างนี้นะ? มาดูกันว่ามีเหตุผลอะไรอยู่เบื้องหลังคำแนะนำนี้? 11 ก.พ. 2562 “นี่คือจังหวะที่ดีสำหรับการลงทุนหุ้นไทย! นี่คือจังหวะที่ใช่ของการลงทุนหุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์!” เบื่อไหมที่ต้องฟังคำแนะนำซ้ำๆ แบบนี้ ถ้าถามที่ปรึกษาทางการเงินว่า “ตอนนี้ลงทุนอะไรดี?” คำตอบที่ได้รับ ก็น่าจะยังคงเป็นอะไรเดิมๆ ที่พูดว่า “ลงทุนหุ้นไทย” กับ “หุ้นเฮลธ์แคร์ทั่วโลก” สิ …ช่างน่าเบื่อ ทำไมแนะนำกันแบบเดิมซ้ำๆ อย่างนี้นะ? ในมุมมองของ TISCO Wealth Advisory ซึ่งทำหน้าที่บริหารความมั่งคั่งทางการเงิน หรืออาจจะเรียกง่ายๆ ว่าที่ปรึกษาทางการเงินก็เข้าใจดีว่า นักลงทุนหลายคนอาจจะรู้สึกเบื่อหน่าย เพราะหลายเดือนที่ผ่านมา คำแนะนำเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง แต่ภายใต้วังวนที่ยังคงต้องแนะนำการลงทุนทั้งใน “ตลาดหุ้นไทย” และ “หุ้นเฮลธ์แคร์ทั่วโลก” นั่นก็เป็นเพราะ ความน่าเบื่อสำคัญ 2 ประการ น่าเบื่อ…ที่โอกาสทำกำไรอยู่ในตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยมีประเด็นบวก ที่แตกต่างจากตลาดหุ้นอื่นๆ ซึ่งจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้ดัชนีปรับตัวขึ้น และนั่นก็หมายถึงโอกาสในการทำกำไรด้วย โดยประเด็นเหล่านั้น ได้แก่ การเลือกตั้งในประเทศ โดยปกติในช่วงที่มีการหาเสียง พรรคการเมืองต่างๆ จะใช้งบประมาณเพื่อประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งประเด็นนี้จะช่วยให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนสูงในช่วงก่อนการเลือกตั้ง การประกาศจ่ายปันผล ในเดือน เม.ย. ของทุกปี ประเด็นการจ่ายเงินปันผล เป็นเรื่องที่นักลงทุนทุกกลุ่มรอคอย และมีส่วนสำคัญในการผลักดันราคาหุ้นมาโดยตลอด เงินเฟ้อปรับตัวลดลง ผลสะท้อนจากการที่ราคาน้ำมันดิบ และสินค้าเกษตรไม่ได้อยู่ในระดับสูง ทำให้ดอกเบี้ยในประเทศไม่ได้อยู่ในช่วงขาขึ้น และข้อดีในเรื่องนี้ ยังส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วย น่าเบื่อ…ที่หุ้นเฮลธ์แคร์ทั่วโลกโตได้ดีในภาวะที่ตลาดถดถอย ปฏิเสธความจริงไม่ได้เลยว่า หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ ซึ่งประกอบไปด้วยธุรกิจหลายประเภท เช่น โรงพยาบาล เครื่องมือการแพทย์ เวชภัณฑ์ ฯลฯ โดยภาพรวมยังคงมีรายได้เติบโตดี อีกทั้งกลุ่มเฮลธ์แคร์นี้ ยังมีลักษณะเป็น “Mega Trend” หรือเรียกได้ว่า เป็นกระแสการลงทุนหลักๆ ที่นักลงทุนไม่ควรพลาดด้วย เพราะนอกเหนือจากเรื่องการเติบโตที่ดีของรายได้แล้ว ยังมีเรื่องของการเติบโตของกําไรที่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงใดของวัฏจักรเศรษฐกิจก็ตาม ดังนั้น จึงถือว่านี่คือหุ้นกลุ่ม Defensive ที่เข้ามาช่วยป้องกันความผันผวนของราคาหุ้นได้อย่างดี อีกทั้งจากข้อมูลล่าสุด ชี้ว่าหุ้นกลุ่มโกลบอล เฮลธ์แคร์ ยังมีราคาที่ไม่แพงมากนัก เห็นได้จาก Forward P/E ที่ 15 เท่า น้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มโกลบอล เทคโนโลยี ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นยอดนิยม ที่มี Forward P/E ที่17 เท่า ดังนั้น หุ้นกลุ่มโกลบอล เฮลธ์แคร์ จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ระยะยาว (6 เดือน-1 ปีขึ้นไป) ที่ต้องการบริหารเงินลงทุน ภายใต้ความน่าเบื่อของข้อมูลที่น่าจะได้ยินต่อเนื่องกันไปอีกระยะหนึ่ง ก็มีโอกาสสำหรับการสร้างผลตอบแทนที่ดี ที่นักลงทุนควรให้น้ำหนักกับการลงทุนในหุ้นไทย-โกลบอลเฮลธ์แคร์ อยู่…อย่าปล่อยให้ความเบื่อครอบงำโอกาสนี้ ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/tiscomastery/ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถิติบอกว่า ... นักวิเคราะห์มักมองในแง่ดีเกินไป? - FINNOMENA จากหลักฐานในอดีต นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ มักจะประมาณการกำไรในอนาคตโตมากกว่าในปัจจุบันไว้ก่อน สิ่งนี้ถูกสะท้อนในสถิติย้อนหลังอย่างไรบ้าง? แล้วปี 2019 นี้ล่ะนักวิเคราะห์มองอย่างไร? 1 ก.พ. 2562 พอเข้าสู่ปีใหม่ นอกจากนักลงทุนจะพยายามศึกษาหากลยุทธ์การลงทุนเพื่อเตรียมรับมือกับปีถัดไปแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อแนวโน้มทั้งปีที่เหลือก็คือ การประกาศผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ซึ่งจะเอามาเป็นฐานในการประมาณการกำไรในอนาคตต่อไป สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นมาตลอด เวลาไปงานสัมมนามุมมองการลงทุนจากผู้จัดการกองทุนที่มาจากต่างประเทศ ก็คือ การไปดูว่า นักวิเคราะห์ในตลาดมีมุมมองว่า การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนไปทางไหนและนำมาพล็อตเป็นกราฟกัน ดังตัวอย่างด้านล่างนี้ นักวิเคราะห์จากซิตี้แบงก์นำเอาการคาดการณ์กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในดัชนี S&P 500 มาพล็อตดูแนวโน้ม จะพบว่า ตัวเลขคาดการณ์ EPS Growth (%) มักจะถูกคาดการณ์ไว้สูงในช่วงก่อนจะเข้าปีบัญชีจริงในปีนั้น และเริ่มปรับลดประมาณการลงเรื่อยๆ เมื่อผลประกอบการทยอยออกทีละไตรมาสไป จะมีก็ปี 2017 และ ปี 2018 ที่นักวิเคราะห์มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้น เมื่อประกาศผลการดำเนินงานรายไตรมาสนะครับ ทีนี้ ผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ระยะสั้นหุ้นวิ่งตามข่าว ระยะยาวหุ้นวิ่งตามกำไร” และหากเชื่อประโยคเด็ดประโยคนี้ สิ่งที่นักลงทุนทำ ก็อาจใช้วิธีการมอง EPS Growth ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์แบบตัวอย่างข้างต้น ซึ่งพอเห็นว่า มันโดนปรับลดประมาณการลงเรื่อยๆ ก็คงจะไม่กล้าซื้อ และไม่กล้าลงทุนในตลาดหุ้น ถูกไหมครับ? เราลองไปดูผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 นับตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปี 2008 กัน จะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ปี 2011 (+2.11%) ปี 2012 (+16.00%) ปี 2013 (+32.39%) ปี 2014 (+13.69%) ปี 2015 (+1.38%) ปี 2016 (+11.96%) ปี 2017 (+21.83%) ปี 2018 (-4.38%) จะพบว่า 8 ปีที่ผ่านมา ดัชนี S&P 500 เป็นบวกมาทุกปี ยกเว้นปีที่แล้ว คือปี 2018 ที่ให้ผลตอบแทนติดลบ ทั้งๆ ที่ปี 2018 นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาดปรับประมาณการกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นระหว่างปีด้วย ขณะที่ปีอื่นๆ (2001-2016) ปรับลดประมาณการระหว่างทาง แต่กลายเป็นว่า ตลาดหุ้น ก็ยังมุ่งหน้าขึ้นได้ต่อเนื่อง หากเราจะสรุปสิ่งที่ได้จากข้อมูลชุดนี้ ก็จะได้ข้อสรุปว่า การปรับเพิ่ม/ลด EPS Growth ของนักวิเคราะห์ในตลาด ไม่ได้มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นเลยในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา แล้วแบบนี้ เรายังควรใช้ EPS Growth Revision แบบนี้ ในการช่วยประกอบการพิจารณาหรือไม่? ทำไมผู้จัดการกองทุนต่างประเทศถึงยังต้องพูดถึงกราฟนี้อีก? คำตอบคือ สิ่งที่มีผลต่อนักลงทุนในตลาดอีกตัวก็คือ อัตราการเติบโต หรือ EPS Growth ว่าโตในอัตราเท่าไหร่ ตรงนี้ก็สำคัญนะครับ เพราะนักลงทุนในตลาดจะยอมเทรดในระดับ P/E ที่แพงขึ้น หากอัตราการเติบโตของหุ้น หรือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ประเทศนั้นๆ มีอัตราการเติบโตของกำไรที่สูง (หลักการก็คล้ายๆ กับที่หุ้นขนาดเล็ก มักมี P/E สูงกว่า หุ้นขนาดใหญ่นะครับ) ยกตัวอย่าง อย่างในปี 2017 และ ปี 2018 ที่ EPS Growth ในภาพรวมของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 17% และ 15% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าในช่วงปี 2011-2016 ที่เฉลี่ยอยู่เพียงแค่ 3-5% พบว่า ในปี 2017 และปี 2018 ตัวดัชนีขึ้นไปเทรดและปิดสิ้นปีที่ระดับ P/E 23.59 เท่า และ 24.97 เท่า ตามลำดับ เป็นระดับที่มากกว่า 6 ปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ ปี 2011 (16.30x) ปี 2012 (14.87x) ปี 2013 (17.03x) ปี 2014 (18.15x) ปี 2015 (20.02x) ปี 2016 (22.18x) ดังนั้น ถ้าเราเห็นแนวโน้มของกำไรกำลังเติบโตลดลง ต่อให้กำไรในวันนี้จะยังไม่ลดลงให้เห็น เราก็จะเห็นการลดลงของ P/E ตลาดตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คราวนี้ P/E ลดลงเนี่ย ก็ได้ด้วย 2 ตัวแปรที่เปลี่ยนไป คือ P หรือ Price ลดลง หรือไม่ก็ E หรือ Earnings เพิ่มขึ้น และถ้าเราพบว่า P/E ลดลงเพราะ “E” หรือ Earnings มันเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่เรามองว่า ในอนาคตแนวโน้มกำไรมันลดลง ก็แปลว่า เราเจอสิ่งผิดปกติแล้วครับ ไม่เราคาดการณ์ผิด ก็นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดนั่นละที่มองตลาดในแง่ดีเกินไป ถึงตรงนี้ คุณก็จะเริ่มเห็นร่อยรอย และทิศทางของตลาดและกำหนดกลยุทธ์ได้คร่าวๆ แล้วครับ เพราะจากหลักฐานในอดีต นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ มักจะประมาณการกำไรในอนาคตโตมากกว่าในปัจจุบันไว้ก่อน แล้วมีแนวโน้มจะค่อยมาปรับลดทีหลังเหมือนเวลาผ่านไป ยกเว้นเจอปัจจัยบวกมาเซอร์ไพรส์จริงๆ ซึ่งวิธีการแบบนี้มันก็ไม่ผิดนะครับ เรื่องของมุมมอง ใครจะมองอย่างไรก็ได้ อยู่ที่นักลงทุนว่าจะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรกับพอร์ตการลงทุนของเราเอง กลับไปดูประมาณการการเติบโตของกำไรปี 2019 นี้อีกที พบว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ปรับลดประมาณการกันตั้งแต่ผ่านไปยังไม่ถึงสิ้นเดือนม.ค.เลย แถม EPS Growth อยู่ต่ำกว่า 10% แล้วด้วย มองกันอย่างไรบ้างครับ ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646465 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ณ เวลานี้ ทำไมต้องกองทุนรวมอสังหาฯ และ REIT? หาคำตอบผ่านกลยุทธ์ FVMR - FINNOMENA อีกการลงทุนที่ยังคงน่าสนใจ และมักจะทำผลงานดีในช่วงท้ายตลาด นั่นก็คือ กลุ่ม REITs หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในไทยและสิงคโปร์ ถึงตรงนี้หลายท่านคงมีคำถามว่า ดูยังไง? รู้ได้อย่างไร? คำตอบจะมีให้ท่านอย่างแน่นอน เพื่อเป็นการง่ายที่สุดขอพิจารณากันด้วยหลักการ FVMR 4 พ.ย. 2564 หากท่านคือนักลงทุนตัวจริง!! ย่อมมีชุดความคิดที่ไม่ปล่อยให้พอร์ตลงทุนมีแต่เงินสดมากเกินอยู่แล้วใช่มั้ยครับ แต่เมื่อคำถามโลกแตก ณ ตอนนี้ คือจะลงทุนอะไรดี? หันไปมองตลาดหุ้นก็ยังเละเทะตั้งแต่ปีก่อน ลองชำเลืองไปที่ตลาดตราสารหนี้ผลตอบแทนก็ไม่เป็นที่น่าสนใจ สุดท้ายก็กลายเป็น “คำถามที่ไม่มีคำตอบ” แต่…มีอีกการลงทุนที่ยังคงน่าสนใจ และมักจะทำผลงานดีในช่วงท้ายตลาด นั่นก็คือ กลุ่ม REITs หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในไทยและสิงคโปร์ครับ ถึงตรงนี้หลายท่านคงมีคำถามว่า ดูยังไง? รู้ได้อย่างไร? คำตอบจะมีให้ท่านอย่างแน่นอนครับ เพื่อเป็นการง่ายที่สุดขอพิจารณากันด้วยหลักการ FVMR ซึ่งคิดค้นโดย Dr. Andrew Stotz เริ่มต้นกันที่… Fundamental / พื้นฐาน การขยายตัวของเขตเมืองเป็นปัจจัยแรกที่ต้องคำนึงถึง โดยข้อมูลจาก UN พบว่าเขตเมืองยังมีแนวโน้มขยายตัวทุกภูมิภาคทั่วโลก เมื่อเจาะลึกลงไปอีกพบว่าเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มขยายตัวในอนาคตสูง รูปที่ 1 : แนวโน้มการขยายตัวเขตเมือง | ที่มา : engtechmag, UN World Urbanization Prospects และต้องพิจารณาประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต้องมารองรับการขยายตัวของเขตเมือง ซึ่งตั้งแต่ในอดีตจนถึงอนาคต ภูมิภาคเอเชียก็ยังมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่น่าสนใจกว่าภูมิภาคอื่น นอกจากนั้นยังมีประชากรในวัยทำงานและอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นมากกว่าภูมิภาคอื่น เรียกได้ว่ามีความพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคตแน่นอน เจาะลึกลงไปมากกว่านั้นเราจะไปหาว่า REITs และกองทุนอสังหาฯ ที่น่าสนใจในเอเชียในแง่มูลค่าและอัตราการปันผลอยู่ที่ใด ในหัวข้อถัดไปกันครับ รูปที่ 2 : คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก | ที่มา : IMF Valuation / มูลค่า รูปที่ 3 Bond Yield Spread ระหว่าง REITs ในประเทศไทยกับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี | ที่มา : Bloomberg การประเมินดังกล่าวจะพิจารณาอัตราการปันผล (Dividend Yield), อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book ratio) และส่วนต่างอัตราการปันผลกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield Spread) พบว่าอัตราการปันผลเฉลี่ยของ REITs ในประเทศไทยและสิงคโปร์อยู่ในระดับ 4-6% รูปที่ 4 Bond Yield Spread ระหว่าง REITs ในประเทศสิงคโปร์กับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี | ที่มา : Bloomberg ซึ่งการพิจารณาว่าน่าสนใจหรือไม่ ต้องพิจารณาผ่านส่วนต่างอัตราการปันผลของ REITs กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield Spread) ซึ่งประเทศไทยมีส่วนต่างอยู่ที่ 3.20% และของประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ 2.61% โดยประมาณ ซึ่งส่วนต่างในระดับดังกล่าวถือว่าน่าสนใจหากเทียบกับอัตราการปันผลของหุ้น หรือพันธบัตรรัฐบาลหลายประเทศ ที่ให้อัตราผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 1-3% นับได้ว่าไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือค่าเสียโอกาสแต่อย่างใด ด้านอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book ratio) ของไทยและสิงคโปร์อยู่ที่ประมาณ 1.0-1.1 ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมในขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกถูกปกคลุมด้วยความกังวลจนทำให้เงินลงทุนไหลเข้าสินทรัพย์ทางเลือกอื่น Momentum / ปัจจัยเสริม แม้ว่าทั้งพื้นฐานการเติบโตและมูลค่าที่ถือได้ว่าเหมาะสมสำหรับการลงทุนในระยะยาวแล้ว แต่หากปราศจากแรงผลักดันอันเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเติบโตในระยะยาวแล้ว การลงทุนนั้น ๆ ย่อมไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนแน่นอนครับ รูปที่ 5 วัฏจักรของตลาด REITs เอเชีย | ที่มา : JLL Research Report JUNE 2018 ออฟฟิศนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของกองทุนอสังหาฯ ในประเทศไทยและสิงคโปร์ ดังนั้นวัฏจักรของอุปสงค์และอุปทาน อัตราการเช่า แนวโน้มอัตราการเช่าในอนาคต คือปัจจัยสำคัญที่เราจะพิจารณากัน เพื่อที่จะได้มองเห็นภาพรวมว่าการลงทุนของเราอยู่ ณ จุดใดของวัฏจักร ขอพิจารณาจากรูปที่ 5 พบว่าทั้งกรุงเทพฯ และสิงคโปร์กำลังอยู่ในช่วงอัตราการเช่าพุ่งขึ้น หรือมีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้นนั่นเอง รูปที่ 6 การเติบโตของค่าเช่าออฟฟิศในอาเซียน | ที่มา : JLL Research Report JUNE 2018 ขอเจาะลึกลงในรายละเอียดโดยเริ่มจากสิงคโปร์ครับ ก่อนหน้านี้ช่วงปี 2015 ถึง 2017 ความต้องการเช่าในสิงคโปร์ลดลง (รูปที่ 6) ประกอบกับมีอุปทานออกสู่ตลาดจำนวนมาก แต่หลังจากนั้นความต้องการเช่าก็เริ่มกลับมาอีกครั้งในปี 2018 ซึ่งมีการคาดการณ์มาความต้องการจะปรับตัวขึ้นในระยะ 2 ปีต่อจากนี้ครับ ขณะเดียวกันประเด็น Brexit ที่ส่งผลเสียต่อยุโรปจะกลายเป็นปัจจัยเสริมการเติบโตของออฟฟิศในสิงคโปร์ เนื่องจากหลายบริษัทเลือกสิงคโปร์เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่แห่งใหม่แทนที่อังกฤษ รูปที่ 7 อัตราการขยายตัวของการเช่าสุทธิในสิงคโปร์ | ที่มา : JLL Research Report JUNE 2018 ส่วนความต้องการเช่าในกรุงเทพฯ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 6) ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ก็มาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ เนื่องจากค่าจ้างและคุณภาพแรงงานที่เหมาะสมกว่าประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นแล้วไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนยุคนี้ เช่น การปรับเปลี่ยนการทำงานที่อึมครึมสู่ Co-working space ห้างสรรพสินค้าที่เปลี่ยนตัวเองเป็นแหล่งพบปะผู้คนและรับประทานอาหาร ซึ่งในภูมิภาคเอเชียของเรา เรื่องอาหารไม่แพ้ชาติไหนในโลกอยู่แล้วครับ ปัจจัยที่กำลังเติบโตพร้อมการปรับตัวที่เหมาะสมย่อมส่งเสริมให้ REITs ยังคงความน่าสนใจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง Risk / ความเสี่ยง แน่นอนครับว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง โดยธรรมชาติของ REITs แล้ว ความเสี่ยงสำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณา คืออัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หากมีแนวโน้มปรับขึ้นจะส่งผลเสียต่อผลตอบแทนของกลุ่ม REITs รูปที่ 8 Dot plot จากการประชุม Fed เดือนกันยายน และเดือนธันวาคม | ที่มา : Bloomberg ย้อนไปเมื่อกลางเดือนธันวาคมปีก่อน นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ออกมาแสดงท่าทีชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่นเดียวกับ Dot plot ที่ประกาศออกมาในการประชุมคณะกรรมการ Fed เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา อันเป็นท่าทีเดียวกันกับธนาคารกลางที่สำคัญทั่วโลก รูปที่ 9 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี | ที่มา : Bloomberg ประกอบกับความผันผวนในตลาดการเงินโลก ส่งผลให้มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรหลายประเทศปรับตัวลง ทั้งท่าทีชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลงอย่างมาก ย่อมส่งผลให้ความเสี่ยงต่อกลุ่ม REITs ลดลงไปมาก อีกทั้งยังส่งให้กลุ่ม REITs มีความน่าสนใจมากขึ้นในสถานการณ์ที่ตลาดการเงินโลกยังผันผวนเช่นนี้ แต่สุดท้ายแล้วการลงทุนระยะยาวก็ต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝันซึ่งอาจกระทบพอร์ตการลงทุนได้ อาทิเช่น วิกฤตเศรษฐกิจ เศรษฐกิจชะลอตัว ประเด็นการเมือง ซึ่งแนวทางป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุด คือการจัดพอร์ต แบ่งสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” การลงทุนเปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอนไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร ดังนั้นในระหว่างทางย่อมต้องพบเจอกับหลากหลายเหตุการณ์ การกระจายความเสี่ยงเป็นการรับมือที่ดีที่สุด และ Fund of Property Fund หรือกองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนช่วยเลือกลงทุนในกองทุนอสังหาฯ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ REITs ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับการกระจายความเสี่ยงไปพร้อมกับผลตอบแทนที่น่าสนใจ หมายเหตุ: พอร์ต “Best-in-Class Property & REITs” จาก FINNOMENA จะช่วยให้คุณได้ลงทุนในกองทุนชนิด Fund of Property Fund ที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมจากนับสิบ ๆ กองที่มีเสนอขายในปัจจุบัน ซึ่งจะแนะนำ 3 กองทุนที่ได้รับ FINNOMENA Score สูงที่สุด และมีคำแนะนำ Rebalance ในการปรับพอร์ตไปสู่กองทุน Best-in-class ให้นักลงทุนปีละ 1 ครั้ง ใครสนใจเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ https://www.finnomena.com/bic/ แท็ก: Advance Article BIC BIC Property FINNOMENA PORT FVMR Infographic Long Content Product Recommend Property Fund REIT REITs แชร์บทความ: ผู้เขียน CrisisMan ไม่ได้เรียนการเงิน แต่มีความเชื่อว่าเรื่องของการเงินต้องใช้เวลา และการจัดพอร์ต ทำให้เริ่มศึกษาและลงทุนด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มทำงาน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำไมทองคำถึงน่าสนใจในปี 2019? สรุปมุมมองจาก World Gold Council - FINNOMENA นี่คือมุมมองและปัจจัยที่ทำให้ทองคำมีความน่าสนใจในปี 2019 จาก World Gold Council ซึ่งเราได้เรียบเรียงและสรุปมาให้แล้ว ไปติดตามกันเลยว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนความต้องการทองคำ? 19 พ.ย. 2562 นี่คือมุมมองและปัจจัยที่ทำให้ทองคำมีความน่าสนใจในปี 2019 ครับ ผมได้สรุปและเรียบเรียงจาก “Outlook 2019 Global economic trends and their impact on gold” โดย World Gold Council จะเป็นอย่างไรไปติดตามกันเลยครับ สถานการณ์ตลาดในปีนี้ มองว่ามี 2 ปัจจัยหลักที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนความต้องการทองคำ คือความผันผวนของตลาดการเงิน และการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าว สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 3 แนวโน้มหลักที่คาดว่าจะผลักดันราคาทองคำ ได้แก่ -ความไม่แน่นอนของตลาดหุ้น -นโยบายการเงิน และค่าเงินดอลลาร์ -การปฎิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แม้เมื่อปีที่ผ่านมา ตลาดทองคำจะเผชิญกับความซบเซาเกือบตลอดปี แต่แล้วก็เริ่มฉายแววความเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคม เนื่องจากความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศ และความผันผวนในตลาดการเงิน โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐฯ ส่งให้ผลตอบแทนติดลบเพียงเล็กน้อย และดีกว่าตลาดหุ้นทั่วโลก รูปที่ 1 ผลตอบแทนสินทรัพย์ในปี 2018 | ที่มา FINNOMENA Business Intelligence ความเสี่ยงที่เริ่มปรากฏขึ้นนับตั้งแต่กลางปี 2018 พร้อมด้วยปัจจัยเสริมที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ ทำให้คาดว่าความเสี่ยงจะดำเนินต่อไปในปีนี้ พร้อมแล้วเริ่มกันเลยที่หัวข้อแรก 1. ความไม่แน่นอนของตลาดหุ้น คาดว่านักลงทุนทั่วโลกจะเพิ่มความต้องการทองคำเพื่อกระจายความเสี่ยง และปกป้องพอร์ตจากความเสี่ยง โดยความเสี่ยงดังกล่าวสามารถแบ่งได้ดังนี้ -มูลค่าตลาดหุ้นที่แพงและความผันผวนที่สูงขึ้น -ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจในยุโรป -แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวขึ้นด้วยนโยบาย protectionist (Trade war) -ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว เริ่มกันที่การปรับฐานของตลาดหุ้นรอบล่าสุด ไม่ได้ช่วยให้ตลาดถูกลงเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ที่ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นมาตลอดทศวรรษโดยปราศจากการปรับฐานครั้งใหญ่ ด้านตลาดตราสารหนี้ยังมีความน่าสนใจในระดับต่ำกว่า เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (10Y-US bond yield) อยู่ในระดับต่ำ และยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตปี 2008 นักลงทุนจึงมีทางเลือกไม่มากสำหรับรับมือความผันผวนของตลาด มากกว่านั้นดัชนี VIX หรือดัชนีวัดความกลัวของตลาดหุ้น มีค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจาก 13 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2018 ไปที่ 21 ในไตรมาสที่ 4 (จากรูปที่ 2 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า VIX เปลี่ยนกรอบขึ้นมาตลอดปี 2017 ถึง 2019 ส่งสัญญาณความกลัวในตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง) รูปที่ 2 ดัชนี VIX ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นตลอดปีที่ผ่านมา | ที่มา : Bloomberg ต่อมาอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปที่เพิ่งฟื้นจากปัญหาหนี้สินไม่สามารถเทียบได้กับระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ พร้อมด้วยความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ อาทิเช่น ข้อตกลง Brexit ความวุ่นวายในฝรั่งเศส การแยกดินแดนในสเปน และปัญหาหนี้สินอิตาลี ทำให้มีแรงซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องจากยุโรปนับตั้งแต่ต้นปี 2016 นอกจากนี้รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกกำลังดำเนินนโยบาย protectionist แม้นโยบายดังกล่าวจะมีผลดีในระยะสั้น แต่สำหรับระยะยาวแล้วจะสร้างผลเสีย เช่น เพิ่มอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากค่าจ้างแรงงานและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รูปที่ 3 ดัชนี S&P500 ค่า P/E และกำไรสุทธิ | ที่มา Bloomberg และยังมีปัจจัยอื่นซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะชะลอตัว ตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ตอบรับข่าวจากผลประกอบการที่ดีในปี 2018 อันเนื่องมาจากนโยบายปรับลดการเก็บภาษีรายได้ของทรัมป์ จากรูปที่ 3 แม้ตลาดหุ้นจะปรับตัวลงมา ส่งผลให้ตลาดหุ้นราคาถูกลงเมื่อพิจารณาจากอัตราส่วน P/E แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับผลกำไรที่เพิ่มขึ้น (เส้นสีเขียว, เส้นสีชมพู) จึงค่อนข้างชัดเจนว่าการที่ตลาดมีราคาถูกลงเกิดจากนโยบายปรับลดการเก็บภาษี และในปี 2019 จะไม่มีนโยบายดังกล่าว 2. ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ย และค่าเงินดอลลาร์ ปัจจัยที่จำกัด upside ของทองคำ คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการแข็งของค่าเงินดอลลาร์ เพียงแค่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอที่จะลดความน่าสนใจทองคำของนักลงทุนลงได้ อย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงปี 2004 ถึง 2007 หรือปี 2016 และช่วงต้นปี 2018 แต่หากรวมปัจจัยค่าเงินดอลลาร์แล้วจะสามารถกดดันราคาทองคำได้ อย่างไรก็ตามมีเหตุผลเพียงพอให้เชื่อว่าค่าเงินดอลลาร์ใกล้หมดรอบแข็งค่าแล้ว ดังนี้ รูปแบบการปรับตัวขึ้นของดัชนี Dollar Index คล้ายกับรูปแบบเมื่อปี 2016 ซึ่งในครั้งนั้นตามมาด้วยรอบของการอ่อนค่า รูปที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินดอลลาร์ และราคาทองคำ | ที่มา Bloomberg ขณะที่ Fed มีท่าทีผ่อนคลายต่อนโยบายการเงินมากขึ้น ด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางอื่น ๆ กำลังตึงตัวขึ้น พร้อมกันนั้นหลายธนาคารกลางของประเทศตลาดเกิดใหม่เริ่มกระจายสัดส่วนเงินทุนสำรองไปยังทองคำ อีกทั้งค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งเกินไปจะส่งผลเสียต่อการค้าของสหรัฐฯ 3. การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ความต้องการทองคำของประเทศตลาดเกิดใหม่คิดเป็น 70% ของทั่วโลก ซึ่งประเทศจีนและอินเดียเป็นสองประเทศขนาดใหญ่และมีปริมาณการบริโภคทีเด่นชัด ทั้งสองประเทศเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจอีกครั้ง เช่น กระตุ้นการบริโภคภายใน เพิ่มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจและความมั่งคั่งแตกต่างจากประเทศอื่นอย่างชัดเจน ซึ่งเชื่อว่าหากมุมมองต่อทองคำยังเป็นบวก ทองคำจะได้รับผลดีโดยเฉพาะกลุ่มเครื่องประดับ รูปที่ 5 ความสัมพันธืระหว่างราคาทองคำ และปริมาณการถือครองทองคำของ ETF | ที่มา Bloomberg ทำไมต้องทองคำ? ในระยะสั้นราคาทองคำถูกขับเคลื่อนโดยความเสี่ยงของตลาดการเงิน ทิศทางค่าเงินดอลลาร์ และการปฎิรูปเศรษฐกิจ ในระยะยาวความต้องการทองคำได้รับแรงหนุนจากชนชั้นกลางที่มีความมั่งคั้งขึ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ส่วนธนาคารกลางเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านค่าเงินดอลลาร์ ทำให้แรงซื้อจากธนาคารกลางในปี 2018 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 นอกจากนั้นทองคำยังมีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่นในระดับต่ำ ทั้งในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวหรือหดตัว ดังนั้นราคาเป็นผลมาจากอุปสงค์และอุปทาน อีกทั้งยังเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องไม่ต่างจากสินทรัพย์ทางการเงินชนิดอื่น แปลและเรียบเรียงจากบทความ https://www.gold.org/goldhub/research/outlook-2019 แท็ก: Gold แชร์บทความ: ผู้เขียน CrisisMan ไม่ได้เรียนการเงิน แต่มีความเชื่อว่าเรื่องของการเงินต้องใช้เวลา และการจัดพอร์ต ทำให้เริ่มศึกษาและลงทุนด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มทำงาน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
บทเรียนการลงทุนจากปี 2561 - FINNOMENA ปี 2561 นั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นปีที่  “หมดรอบ” ในหลายๆ เรื่อง สิ่งต่างๆ ที่มักเคลื่อนไหวเป็นวัฏจักร ดี-ร้ายนั้น หมุนมาครบรอบ และการที่มันจบรอบหรือสงครามสงบ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องชั่วคราว เราก็น่าจะมาทบทวนดูว่าเราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง? 14 ม.ค. 2562 ในสงครามนั้นมีคำพูดสำคัญข้อหนึ่งก็คือ “สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร” เรื่องหุ้นเองนั้น บ่อยครั้งก็มีการเปรียบเทียบกับสงครามเนื่องจากการลงทุนนั้นเป็น “กิจกรรมแห่งการต่อสู้” ที่รุนแรงคล้าย ๆ กับสงคราม ดังนั้น ในแวดวงหุ้นเองคนก็มักจะพูดว่า ตราบใดที่คุณยังลงทุนอยู่ เช่นยังถือพอร์ตลงทุนหุ้นจำนวนมากไว้หรือถือหุ้นบางตัวไว้ ก็จงอย่าคิดว่าคุณประสบความสำเร็จทำเงินมากมายแล้ว เหตุผลก็เพราะว่า พอร์ตและ/หรือหุ้นที่มีกำไรมหาศาลนั้น อาจจะตกลงมาอย่างแรงจนกำไรหดหายหรือกลายเป็นขาดทุนได้ ดังนั้น จงอย่าชะล่าใจและเปิดตัวเองให้อยู่ในความเสี่ยงที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น การลงทุนในหุ้นนั้น เราควรที่จะ “ถ่อมตน” อยู่เสมอตราบที่เรายังคงลงทุนอยู่ และนี่ก็คือบทเรียนแรกที่ผมคิดว่าเราน่าจะได้จากการลงทุนในช่วงปี 2561 ที่ VI จำนวนมากรวมถึง “เซียนหุ้น” ขาดทุนหรือมูลค่าพอร์ตลดลงมามากแทบจะเป็น “หายนะ” ในการลงทุนนั้น ผมคิดว่ามันเป็นกิจกรรมระยะยาวหรือแม้แต่ตลอดชีวิต แม้แต่คนที่ “เล่นสั้น” ซื้อขายหุ้นรายวัน แต่ถ้าเขาก็ทำแบบนั้นเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานหรือ “ตลอดชีวิต” มันก็คือเกมระยะยาวเช่นเดียวกัน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ หากเราเป็นคนที่มีเงินเหลือเก็บจากการทำงานใช้แรงงาน เงินที่เหลือเก็บนั้นโดยนิยามก็คือเงิน “ลงทุน” เพราะคงไม่มีใครเก็บเป็นเงินสดที่เป็นธนบัตร มันจะต้องถูกนำไปฝากธนาคารหรือซื้อตราสารทางการเงินหรือนำไปซื้อทรัพย์สินเพื่อการลงทุนซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น โดยนิยามแล้ว ทุกคนที่มีเงินเหลือเก็บก็เป็นคนที่ต้องลงทุนหรือเป็นนักลงทุนและเป็นนักลงทุนระยะยาวตลอดชีวิต ผลตอบแทนที่เราได้รับจากการลงทุนนั้น ในบางช่วงก็ดีเลิศหรือดี บางช่วงก็แย่หรือแย่มาก ถ้า “บังเอิญ” ว่าเราทำผลตอบแทนได้ดีเยี่ยมมายาวอาจจะเป็น 10 ปี ก็จงอย่าคิดว่าเรา “เก่งมาก” หรือเป็น “เซียน” แม้ว่าจะมีคนอื่นยกย่องชื่นชมเรา เพราะเป็นไปได้ว่าวันหนึ่ง เช่นในปี 2561 เราอาจจะ “แพ้” กำไรที่เคยทำมาได้หายหมดหรือลดลงมากจนทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นนั้น ไม่ได้สูงกว่าปกติเท่าไรนัก และนี่ก็คือสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นตลอดเวลาและเกิดขึ้นกับ “เซียน” ระดับโลกด้วย ปี 2561 นั้น ผมคิดว่ามันเป็นปีที่ “หมดรอบ” ในหลาย ๆ เรื่อง ความหมายก็คือ สิ่งต่าง ๆ ที่มักเคลื่อนไหวเป็นวัฏจักร ดี-ร้ายนั้น หมุนมา “ครบรอบ” เช่น แรงเก็งกำไรในหุ้นแบบต่าง ๆ ที่ทำให้หุ้นขึ้นไปแรงมากเป็นเวลาหลายปี พอถึงปี 2561 มันก็ถึงจุดสุดยอดและก็เริ่มปรับตัวลงแรงและดูจะไม่สามารถดีดตัวขึ้นในระยะสั้นอย่างที่เคยเป็นอีก ดังนั้น ผมคิดว่ามันน่าจะ “จบรอบ” หรือ “อวสาน” และต้องรอเวลาอีกนานพอสมควรกว่าที่จะกลับมาเป็นขาขึ้นรอบใหม่ และการที่มันจบรอบหรือ “สงครามสงบ” แม้ว่ามันจะเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” นี้เอง ผมจึงคิดว่าเราน่าจะมาทบทวนดูว่าเราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง จากประสบการณ์ของผมเองนั้น ผลงานการลงทุนที่ดีนั้นมักจะเกิดขึ้นเพราะหุ้นบางตัวที่มีขนาดใหญ่สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นต่อเนื่องยาวนานซึ่งนั่นช่วยทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตเติบโตหรือต้านทานภาวะเลวร้ายของตลาดได้ ถ้าจะพูดภาษาสงครามหน่อยก็อาจจะบอกว่า เรามี “เรือธง” ที่ยิ่งใหญ่ที่คอยค้ำจุนหรือปกป้องน่านน้ำหรือเขตสงครามที่ทำให้กองทัพประสบความสำเร็จและยืนหยัดอยู่ได้ เรือธงนั้นเองก็ “ถูกถล่ม” เช่นเดียวกัน แต่มันไม่จมและมันพร้อมที่จะกลับมาสู้รบอย่างห้าวหาญต่อไป อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเสมอที่มันอาจจะถูกถล่มจนจมลงแบบเดียวกับที่เรือบิสมาร์กที่ยิ่งใหญ่ของเยอรมันถูกรุมล่าจนจมลงมาแล้วในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บทเรียนที่ว่าเราต้องมีเรือธงหรือหุ้นที่ยิ่งใหญ่หรือหุ้นที่ในช่วงเวลายาวนานระดับหนึ่งสร้างผลงานที่น่าประทับใจจนทำให้ผลงานโดยรวมของเราดีต่อเนื่องยาวนานนี้ ผมคิดว่ามันเป็นบทเรียนที่ปีเตอร์ ลินช์พูดไว้ในหนังสือเรื่อง One Up On Wall Street ที่เขาเล่าว่าการเติบโตหรือผลตอบแทนของหุ้นจำนวนมากหรือส่วนใหญ่ของเขานั้นก็ไม่ได้สูงผิดปกติอะไร มัน “ธรรมดา” มาก เหตุผลก็อาจจะเป็นว่าเขาถือหุ้นเป็นพันตัวซึ่งมันยากมากที่จะมีผลงานดีทุกตัว แต่หุ้นที่ทำให้พอร์ตเขาดูดีมากก็คือหุ้นบางตัวที่เขาถือไว้จำนวนมากตั้งแต่ราคายังต่ำและบริษัทที่อาจจะเพิ่ง “Turnaround” หรือเติบโตนั้น เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีในอัตราที่สูงและกลายเป็น “หุ้น 10 เด้ง” และนี่คือหุ้นที่เขาถือยาวนานติดต่อกันหลายปี ผลก็คือ ผลตอบแทนระยะยาวที่ดีมากของเขาส่วนสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนในหุ้นแบบนี้ บทเรียนสำคัญต่อมาก็คือ การ “หลีกเลี่ยงหายนะ” จากหุ้นที่เราลงทุน นี่ก็คือจะต้องประเมินความเสี่ยงของหุ้นทุกตัวว่ามันเป็นอย่างไร ความเสี่ยงสูงแค่ไหนและต้องเป็นความเสี่ยงทุกด้านรวมถึงความเสี่ยงที่เราใช้ Leverage หรือการกู้ยืมเงินมาลงทุนหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการเพิ่มอัตราความเสี่ยงขึ้นไปสูงมากเช่น การใช้บล็อกเทรดเป็นต้น และนอกจากความเสี่ยงของตัวกิจการและตัวหลักทรัพย์เองแล้ว เราก็ยังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิด Fraud หรือการโกงและการหลอกลวงในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงระบบบัญชีของบริษัทโดยเฉพาะเวลาที่เราดูแล้วมัน “Too good to be true” หรือมันดูดีจนไม่น่าเป็นไปได้ ในช่วงปี 2561 และก่อนหน้านั้น 2-3 ปี ดูเหมือนว่าเราจะพบหุ้นประเภทนี้ค่อนข้างมาก บทเรียนอีกเรื่องหนึ่งที่ควรจะจดจำก็คือ หุ้นที่มี “คนเชียร์กันอื้ออึง” นั้น ก็เป็นไปตามที่บัฟเฟตต์เคยพูดไว้ว่า เรามักจะต้องจ่ายเงินซื้อแพงเกินไปและทำให้เรา “เสียเงิน” ช่วงก่อนหน้านี้เราได้เห็นว่ามีหุ้นขนาดกลางและเล็กจำนวนไม่น้อยที่ถูกเชียร์กันอย่างกว้างขวางว่าจะเติบโตยิ่งใหญ่เหมือนอย่างหุ้นที่ยิ่งใหญ่ในต่างประเทศโดยนักลงทุน นักวิเคราะห์ ผู้บริหารบริษัท และสื่อต่าง ๆ ซึ่งทำให้ราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นไปสูงมาก แต่แล้วเมื่อตัวเลขผลประกอบการที่ทยอยออกมาไม่รองรับ ราคาหุ้นก็ปรับลดลงมาหนักมากซึ่งทำให้คนที่ตื่นเต้นกับเสียงเชียร์และเข้ามาซื้อหุ้นขาดทุนจำนวนมาก อีกบทเรียนหนึ่งที่ปี 2561 ตอกย้ำก็คือ การคาดการณ์ภาวะตลาดหุ้นนั้น เป็นเรื่องที่มีประโยชน์น้อยในการลงทุน ส่วนใหญ่แล้วโอกาสที่จะถูกหรือผิดนั้นเท่า ๆ กันและบ่อยครั้งถึงคาดถูกก็ไม่มีประโยชน์เพราะเราเป็นนักลงทุนที่เลือกลงทุนเองไม่ใช่คนที่ซื้อกองทุนรวมอิงดัชนี ปี 2561 นั้น คนส่วนใหญ่น่าจะคาดในช่วงต้นปีว่าจะเป็นปีที่ดีเพราะดัชนีหุ้นก็เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดปี ผลปรากฏว่าดัชนีก็ตกลงมา “แรง” คือประมาณ 11% แต่ถ้ามองจากประวัติศาสตร์ การตกแค่นี้ก็ถือว่า “ธรรมดา” เป็นแค่ Correction หรือการ “ปรับตัว” ของตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในภาพเล็กลงมาและในสายตาของนักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมากแล้ว ปี 2561 น่าจะถือว่าเป็นปี “วิกฤติ” เพราะหุ้นตัวเล็กและกลางที่นักลงทุนส่วนบุคคลชอบลงทุนนั้นจำนวนไม่น้อยราคาตกลงมาน่าจะเกิน 30% สุดท้ายสำหรับบทเรียนจากปี “วิกฤติ” รอบนี้ก็คือ หุ้นที่จะ “อยู่รอด” หรือตกลงมาไม่มากและอาจจะพร้อมที่จะกลับขึ้นมาใหม่ก็คือหุ้นที่ความสามารถในการแข่งขันของกิจการยังแข็งแกร่ง และ/หรือ บริษัทยังเติบโต และ/หรือ ราคาหุ้นไม่แพงเกินไป และนี่คือหุ้นที่สามารถ “ฝ่ามรสุม” ของตลาดหุ้นได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์ ที่มาบทความ: thaivi.org แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เจย์ พาวเวล: มาช้า..ยังดีกว่าไม่มา? - FINNOMENA ล่าสุด ตลาดกลับลำกลายเป็น price in ว่าปลายปีนี้ถึงปีหน้า เฟด จะ ‘ลด’ ไม่ใช่ ‘ขึ้น’ ดอกเบี้ย ในการประชุมเฟดครั้งถัดๆ ไป บทความนี้ขอประเมินการ Sell-off ของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงปลายปีที่แล้วว่าเป็นเพราะอะไรบ้าง? 13 ม.ค. 2562 หลังจากที่มึนๆ ไปพักใหญ่ เจย์ พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด ซึ่งน่าจะกล่าวได้ว่าการ Sell-off ของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงปลายปีที่แล้ว หนึ่งในสาเหตุหลักมาจากท่าทีของเขาจากการประชุมเฟดครั้งที่ผ่านมา ก็อาจจะถือว่าไม่เกินจริง ปรากฎว่า เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมา ดูเหมือนพาวเวลทำท่าว่าจะกลับลำมาออกตัว dovish แรงมาก โดยมานั่งล้อมวงคุยแบบสบายๆ กับรุ่นพี่อย่าง เบน เบอร์นันเก้ และ เจเน็ต เยลเลน ในงานของประชุมประจำปีของ American Economic Association ที่นิวยอร์ค โดยพาวเวล ยอมรับแบบเปรียบเปรยสถานการณ์ในขณะนี้ว่า คล้ายกับในปี 2016 ที่เฟดเองยังเคยสร้างความคาดหวังกับตลาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 3-4 ครั้ง ท้ายสุด เอาเข้าจริง กลับขึ้นดอกเบี้ยในปีนั้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แถมตบท้ายเปลี่ยนท่าทีประเด็นการลดขนาดงบดุลเฟด จากเมื่อเดือนที่แล้ว ว่าพร้อมจะปรับลดความเร็วในการลดขนาดงบดุลตามสถานการณ์ในอนาคต ทำให้ เมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ผ่านมา ตลาดกลับลำกลายเป็น price in ว่าปลายปีนี้ถึงปีหน้า เฟด จะ ‘ลด’ ไม่ใช่ ‘ขึ้น’ ดอกเบี้ย ในการประชุมเฟดครั้งถัดๆ ไป ผมขอประเมินการ Sell-off ของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงปลายปีที่แล้ว ดังนี้ คำถามแรก ปัจจัยใดที่แย่จากพื้นฐานจริงๆ? ผมคิดว่าคำตอบมีอยู่อย่างน้อย 5 ประการ ได้แก่ รูปที่ 1: ดัชนีต่างๆ ที่วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีน 1.อุปสงค์ของเศรษฐกิจจีน มีความอ่อนแอลงกว่าคาดจริง แม้ตัวเลขจีดีพีจะออกมาว่าเติบโตราว 6% กว่าๆ ทว่าตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ กลับชี้ว่าน่าจะน้อยกว่านั้นเล็กน้อยดังรูปที่ 1 รูปที่ 2: ดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ตั้งแต่ปี 2014 ถึงปัจจุบัน 2. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงอย่างรุนแรงในปี 2015 ดังรูปที่ 2 ส่งผลต่อการชะลอตัวเศรษฐกิจของประเทศส่งออกสินค้าดังกล่าวในละตินอเมริกา ออสเตรเลียและแอฟริกา ผ่านมาถึงตอนนี้ก็ถือว่ายังไม่ฟื้นดี 3. เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว อย่างค่อนข้างชัดเจน โดยหดตัวลง 0.2-0.4% จากที่คาดไว้ก่อนหน้า ตรงนี้หลายท่านเป็นห่วงว่าอุปสงค์ของเศรษฐกิจจีนและยุโรปที่ยังอ่อนกำลัง จะฉุดให้การเติบโตทางเศรษฐกิจลงต่ออีก 4. ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดเทคโนโลยี ญี่ปุ่น และยุโรปที่ส่งออกเป็นหลักหรือ Export Play ดูเหมือนจะแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย ท้ายสุด ประการที่ 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ อย่างไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ อินเดีย ต่างกำลังเข้าสู่โหมดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองด้วยการเลือกตั้งเกือบจะพร้อมๆกัน ที่ดูแล้วผลการเลือกตั้งส่วนใหญ่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะได้ที่นั่งในสภาน้อยลง คำถามที่ 2 คือ อะไรที่แย่จากอารมณ์หรือ Sentiment? คำตอบมีอยู่อย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ 1. ดัชนีของตลาดหุ้นสหรัฐ ณ ปลายตุลาคมปีที่แล้ว อยู่ในระดับสูงมากพอที่จะอ่อนไหวต่อแรงกระเพื่อมจากข่าวร้ายหรือความเสี่ยงต่างๆโดยเฉพาะจากเฟดและจากนอกประเทศ 2. เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มกลับมาดีในหลายภาคส่วน ทว่ากลับเป็นข่าวร้าย เนื่องจากนั่นหมายความว่าเฟดกำลังจะขึ้นดอกเบี้ยในเร็ววัน (มุมมองนี้ มีอยู่จนถึง ณ ก่อนวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมา) ซึ่งเหมือนบีบให้เป็นตัวกดอารมณ์ของตลาดให้คิดถึงเหตุการณ์ Taper Tantrum ปี 2013 ที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดจะลดการทำ QE แล้วตลาดกระเพื่อม 3. เศรษฐกิจยุโรปโดยภาพรวมแย่ลงแบบผิดคาดในไตรมาสสาม 2018 อีกทั้งการส่งออกไปจีนของประเทศอย่างเยอรมันที่ชะลอตัวลง ยิ่งทำให้หลายคนกังวลหนักขึ้น และสุดท้าย ประการที่ 4. ตลาดติดลบทั้งฝั่งเอเชียและสหรัฐนั้น มีจุดร่วมของสาเหตุที่เชื่อมกันอยู่ คือกังวล Trade War จึงทำให้เกิดการลดลงของตลาดแบบเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 เดือนที่ผ่านมาจนถึงก่อนต้นสัปดาห์นี้ คำถามที่ 3 ได้แก่ ตัวช่วยอะไรให้กับการ Sell-off งวดนี้ เริ่มกลับมาซื้อกันใหม่ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา? ผมเห็นมีอยู่อย่างน้อย 3 ตัวช่วย ได้แก่ 1. การชะลอการขึ้นหรือลดดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้นี้ ซึ่งตรงนี้ นายพาวเวลได้แง้มไต๋การชะลอการขึ้นดบ.ดังกล่าวออกมาเรียบร้อยแล้ว แต่ตลาดตีความมากกว่านั้น คือมองว่าเฟดจะลดดบ.เสียด้วยซ้ำในปลายปีนี้ 2. มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE ที่หยุดลงในปลายปี 2018 และการคาดว่าการเริ่มขึ้นดบ.นโยบายของธนาคารกลางยุโรป ที่จ่ออยู่ในแผนของธนาคารกลางยุโรปก่อนกันยายน ปีนี้ แม้ถือเป็น Headwind เล็กน้อยต่อตลาด ทว่าหลานท่านมองว่าอาจไม่เกิดขึ้น 3. การออกแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจและการเรียกความเชื่อมั่นของทางการจีน สิ่งนี้ทางการจีนน่าจะกำลังทยอยทำอยู่ แม้ ณ ตอนนี้ ถือว่ายังไม่มีพลังมากพอในการผลักตลาด ทว่าถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ด้วยภาพรวมทั้งหมด ณ ขณะนี้ ผมมองว่าเฟดในยุคของพาวเวลถือว่าเจองานที่หินกว่ายุคเยลเลนและเบอร์นันเก้มาก โดยเจอทั้งแรงกดดันจากทำเนียบขาว ตลาดเงินและตลาดทุน และเศรษฐกิจสหรัฐเอง ซึ่งแต่ละแรงกดดันต้องการทิศทางของนโยบายการเงินที่สวนทางกันอีกต่างหากครับ ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646324 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หมีน้อยปี 61 - FINNOMENA ดูเหมือนว่าปี 2561 จะเป็นปีที่ไม่ดีนักสำหรับภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ฯ ดูเหมือนว่าการปรับตัวลดลงในรอบนี้ของตลาดหุ้นไทยจะไม่เป็นไปแบบกระจายไปอย่างสม่ำเสมอ ลองมาดูกันว่าหุ้นแต่ละกลุ่มมีผลงานกันอย่างไร 25 ธ.ค. 2561 ปี 2561 ซึ่งกำลังสิ้นสุดในไม่กี่วันนี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นปีที่ไม่ดีนักมองจากภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ SET Index จนถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ปิดที่ 1595 จุด ลดลงจากสิ้นปีที่แล้วที่ 1754 จุดหรือลดลงประมาณ 9% แต่นี่ก็ไม่ได้ดูเลวร้ายอะไรมากนัก เพราะตลาดหุ้นไทยดีติดต่อกันมา 2 ปีแล้ว คือปี 2559 ดัชนีปรับขึ้นถึง 19.8% และปี 60 ปรับขึ้นอีก 13.7% ดังนั้น การปรับตัวลงประมาณ 9% จึงเป็นเรื่อง “ธรรมดา” เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกในปีนี้ก็ล้วนแต่ปรับตัวลง ดูเหมือนว่ามากกว่าตลาดหุ้นไทยด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ถ้ามองลึกลงไปในหุ้นแต่ละกลุ่ม ภาพนี้ก็อาจจะเปลี่ยนไปมาก ดูเหมือนว่าการปรับตัวลดลงในรอบนี้ของตลาดหุ้นไทยจะไม่เป็นไปแบบกระจายไปอย่างสม่ำเสมอ ลักษณะที่มี “การกระจุกตัว” ของการตกลงมาของหุ้นบางกลุ่มนั้นสูงมากจนน่าจะเรียกได้ว่ามันเป็น “ตลาดหมี” หรือเกิดอาการ Panic หรือการตกใจขายหุ้นอย่างตื่นตระหนกในหุ้นกลุ่มนั้น ลองมาดูกันว่าหุ้นแต่ละกลุ่มมีผลงานกันอย่างไร เริ่มตั้งแต่กลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ 50 ตัวแรกซึ่งวัดจาก SET 50 Index ก็จะพบว่าดัชนีปรับลดลงจากสิ้นปีที่แล้วที่ 1135 จุด เหลือ 1067 จุดเท่ากับลดลงประมาณ 6% ซึ่งเมื่อคิดว่าหุ้นในกลุ่มนี้มักจะจ่ายปันผลค่อนข้างสูงประมาณ 3% ก็จะเห็นว่าถ้าลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ก็จะขาดทุนแค่ประมาณ 3% ซึ่งก็ถือว่าไม่มาก ไม่มีอะไรน่าตกใจ คนที่ลงทุนในกองทุนแบบ Passive ที่อิง SET 50 ก็คงจะไม่ถึงกับเสียใจหรือถอดใจไปกับการลงทุนในหุ้นเลย และถ้ามองต่อไปในอนาคตว่าควรจะถือต่อไปหรือไม่โดยมองจากค่าความถูก-แพงของหุ้นจากค่า PE ก็จะพบว่าถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 61 ค่า PE ของหุ้นกลุ่มนี้ก็อยู่ที่ประมาณ 14-15 เท่า หรือถ้ากลับเศษเป็นส่วนหรือเป็น EP หรือเป็นผลตอบแทนของการลงทุนในหุ้นที่ประมาณ 7% ต่อปี ก็จะพบว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ต่อไปก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมในระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับการฝากเงินหรือลงทุนในพันธบัตรที่น่าจะยังให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าพอสมควร หุ้นกลุ่มต่อมาคือหุ้นในกลุ่มใหญ่ที่สุด 100 ตัวแรกหรือ SET 100 ซึ่งน่าจะรวมถึงหุ้นขนาดกลางที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ ดังนั้น การตกลงมาจึงสูงกว่าหุ้นในกลุ่ม SET 50 โดยดัชนีหุ้น SET 100 นั้นลดลงจาก 2543 เป็น 2346 จุดหรือลดลง 7.75% ซึ่งก็ไม่ถึงกับเลวร้ายอะไร อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่ม SET 100 นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีคนสนใจใช้ในการจัดตั้งกองทุน จะมีที่ดูกันบ้างก็เวลาที่หุ้นบางตัวถูกถอดหรือได้เข้าไปอยู่ในการคำนวณเท่านั้นที่จะเป็นที่สนใจของนักลงทุนเนื่องจากราคาของหุ้นจะปรับตัวลงแรงหรือขึ้นไปมากเพราะคนคิดว่าการปรับเปลี่ยนตรงนั้นจะทำให้มีแรงขายหรือแรงซื้อเข้ามาในตัวหุ้นนั้น หุ้นกลุ่มที่น่าสนใจมากเพราะว่ามันเป็นหุ้นที่นักลงทุนรายย่อยชอบเล่นกันมากที่สุดก็คือหุ้นในกลุ่ม sSET ซึ่งก็คือหุ้นขนาดเล็กในตลาดหุ้น SET ซึ่งเป็นกลุ่มที่เพิ่งมีการจัดตั้งขึ้นมาเพียง 2 ปี ในวันที่ 30 ธันวาคม 2559 โดยที่ดัชนี sSET นั้นเริ่มต้นที่ 1,000 จุด ในปีนี้ ดัชนี sSET ตกลงมาอย่างหนักจาก 1074 จุดในสิ้นปี 2560 เหลือเพียง 753 จุด หรือเป็นการตกลงมาถึง ประมาณ 30% และน่าจะนับได้ว่าเป็นแพนิกหรือ “ตลาดหมี” ของหุ้นตัวเล็กแล้วทั้งที่ตลาดหุ้นโดยรวมและภาวะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปนั้นยังค่อนข้างปกติ และนี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ปริมาณการซื้อขายหุ้นในกลุ่มบุคคลธรรมดาลดลงมากจนเริ่มต่ำกว่านักลงทุนต่างประเทศแล้วในช่วงเร็ว ๆ นี้ หุ้นกลุ่มที่สี่ก็คือหุ้นกลุ่มที่ “จ่ายปันผลงาม” ที่เรียกว่ากลุ่ม SETHD ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มที่เป็น “Defensive Stock” หรือหุ้นที่ “ทนทานต่อภาวะเลวร้ายได้ดี” เพราะยังไงเราก็ยังมักจะได้รับปันผลที่ดีแม้ว่าหุ้นจะไม่ไปไหน ดัชนี SETHD เองนั้นปรับตัวลดลงจาก 1269 เป็น 1199 หรือลดลงเพียง 5.52% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในกลุ่มที่มีการจัดโดยตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อคำนึงถึงว่ามันมักจะจ่ายปันผลงามน่าจะไม่น้อยกว่า 4% ด้วยแล้ว การถือหุ้นในกลุ่มนี้ก็น่าจะขาดทุนน้อยมาก และถ้ามองดูค่า PE ของหุ้นในกลุ่มล่าสุดก็พบว่าอยู่ที่ประมาณ 10-11 เท่า ซึ่งดูแล้วก็น่าสนใจพอสมควรกับการที่จะถือลงทุนต่อในระยะยาว เพราะมันอาจจะให้ผลตอบแทนการลงทุนได้ถึงประมาณเกือบ 10% ต่อปี หุ้นกลุ่มสุดท้ายของตลาดก็คือหุ้นในกลุ่มตลาด MAI นี่คือหุ้นที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ดูแล้วไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักลงทุนส่วนบุคคลแล้วหลังจากที่มันเคยรุ่งเรืองในช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 3-4 ปี หุ้นในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย “หุ้นเข้าใหม่” ซึ่งเพิ่งจะทำ IPO ไม่นานจำนวนมาก หุ้นเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีคนสนใจซื้อขายกันในช่วงต้น ๆ แต่หลังจากนั้นก็มักจะเงียบเหงา เหตุผลก็เพราะว่ามันไม่ค่อยมี “สตอรี่” หรือเรื่องราวที่น่าสนใจนัก อาจจะเนื่องจากที่มัน “ตัวเล็กเกินไป” ปี 2561 นั้นน่าจะเป็นปีที่เลวร้ายอีกปีหนึ่งของหุ้น MAI เพราะดัชนีตกลงมาจาก 540 จุดเหลือเพียง 367 จุด หรือลดลงถึง 32% หลังจากที่ไม่ดีมาหลายปีแล้ว ถ้าพูดถึงความน่าสนใจของการลงทุนในหุ้นตัวเล็กก็ต้องดูว่าราคาหุ้นถูกหรือแพงแค่ไหน ในตลาดหุ้น MAI นั้น ค่า PE ณ. ปัจจุบันเองก็ยังสูงถึง 50 เท่าแม้ว่าหุ้นจะตกลงมามาก ในส่วนของหุ้นตัวเล็กในตลาด SET เองนั้น ค่า PE ของ sSET ก็ยังอยู่ที่ประมาณ 22-23 เท่าซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าหุ้นตัวเล็กยังไม่น่าจะกลับมาเร็วและผมเองก็ไม่แนะนำให้เข้าไปลงทุนจนกว่าราคาหุ้นจะตกลงมาถึงจุดที่น่าสนใจ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าปริมาณการซื้อขายหุ้นในหุ้นตัวเล็กจะน้อยลงไปมาก ถ้าเข้าไปซื้ออาจจะมีโอกาส “ติดหุ้นยาว” ถ้าผลประกอบการไม่ได้น่าประทับใจจริง ๆ หุ้นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้มีการจัดเป็นทางการแต่เป็นกลุ่มที่ร้อนแรงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็คือกลุ่มที่ผมเรียกว่า “หุ้นนางฟ้า” บางทีก็เรียกว่าเป็นกลุ่ม “หุ้น Growth” หรือหุ้นที่เติบโตเร็ว ซึ่งเคยสร้างผลตอบแทนระดับสุดยอด เป็นหุ้นที่ปีเดียวก็โตขึ้นกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ และในช่วง 3-4 ปีอาจจะโตขึ้นถึง 1,000% หรือ 10 เท่าตัวก็มี มักเป็นหุ้นขนาดเล็กถึงกลางที่มียอดขายไม่สูงมากแต่มีกำไรที่โดดเด่นและดูเหมือนจะมีการเติบโตของกำไรที่สูงขึ้นมากในช่วงสั้น ๆ นอกจากนั้นก็เป็นบริษัทที่มีสตอรี่ที่ “เหนือจินตนาการ” และเป็นหุ้นที่มีการกล่าวขวัญกันทั่วไปในหมู่นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น “VI” ที่เน้นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผมเองพยายามรวบรวมมาได้ 10 ตัวและดูว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยในช่วงปี 2561 เป็นอย่างไรก็พบว่ามันให้ผลตอบแทน “ติดลบ 52%” หรือน่าจะเรียกว่าเป็น “หายนะ” คล้าย ๆ ช่วงวิกฤตตลาดหุ้นในปี 2540 และ 2008 ในวิกฤติซับไพร์ม นอกจากนั้น ค่า PE ล่าสุดหลังจากที่หุ้นตกลงมาแล้วก็ยังอยู่ที่เฉลี่ย 24.9 เท่า ซึ่งอาจจะทำให้ยังไม่ปลอดภัยที่จะเข้าไปช้อนซื้อนัก หุ้นกลุ่มสุดท้ายที่ก็น่าสนใจมากคือกลุ่มหุ้นยักษ์ของตลาดหุ้นไทย ซึ่งผมนับแค่ 10 บริษัทที่มีขนาด Market Cap. สูงสุด ผลตอบแทนในปี 2561 ของหุ้นกลุ่มนี้คือประมาณ -4.75% ซึ่งถ้ารวมปันผลที่ค่อนข้างสูงด้วยแล้วก็ทำให้หุ้นกลุ่ม TOP 10 กลายเป็นกลุ่มหุ้นที่ทำผลงานได้ดีที่สุด และด้วยค่า PE ล่าสุดที่ประมาณ 15.9% เท่า ก็ทำให้หุ้นในกลุ่มนี้ไม่แพงเกินไป อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่ตลาดหุ้นโลกกำลังผันผวนอย่างหนัก ความเสี่ยงที่จะขาดทุนในระยะสั้นก็มีไม่น้อยถ้านักลงทุนต่างประเทศเทขายหุ้นไทย แต่ในระยะยาวแล้ว ผมคิดว่าก็ยังน่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับคนที่ยังไม่ค่อยได้ลงทุนในตลาดหุ้นเลย ที่มาบทความ: thaivi.org แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปสถานการณ์ล่าสุดปี 2018 หุ้น BH รพ.บำรุงราษฎร์ - FINNOMENA หุ้น BH หรือ รพ.บำรุงราษฎร์ เป็นหุ้นโรงพยาบาลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทยรองจาก BDMS ใครที่กำลังสนใจหุ้นตัวนี้ ลองมาดูสรุปข้อมูลสำคัญเพื่อประกอบการตัดสินใจกัน 5 เม.ย. 2562 1.หุ้น BH เป็นหุ้นโรงพยาบาลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทยรองจาก BDMS มีมูลค่าตลาดประมาณ 138,000 ล้านบาท ในขณะที่ BDMS มีมูลค่าตลาด (Market cap) ประมาณ 419,000 ล้านบาท ซึ่งใหญ่กว่า BH ประมาณ 3 เท่าเลยทีเดียว 2.ในธุรกิจรพ.นอกจากความใหญ่ของมูลค่าตลาดแล้วก็มีจำนวนเตียงที่สามารถนำมาเปรียบเทียบถึงความใหญ่ของรพ.นั้นได้ ปัจจุบัน BH มีจำนวนเตียงจดทะเบียนทั้งสิ้น 580 เตียง ในขณะที่ BDMS มีจำนวนเตียงทั้งสิ้น 8,015 เตียง BDMS จึงถือว่าเป็นกลุ่มรพ.ที่ใหญ่กว่า BH มหาศาล (แต่ถ้านับเฉพาะ BDMS รพ.หลักจะอยู่ที่ 548 เตียง ในกรณีนี้ถือกว่าใกล้เคียงกัน) 3.หากเทียบในเชิงรายได้ BH มีรายได้รวมปี 2560 อยู่ที่ 18,530 ล้าน ในขณะที่ BDMS มีรายได้สูงกว่า BH ประมาณ 4 เท่า ที่ 77,136 ล้าน ก็ค่อนข้างสมเหตุสมผลเมื่อเทียบขนาดของ Market cap และรายได้ 4.ถ้าเปรียบเทียบ BH กับรพ.ในตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ด้วยค่า PE ประมาณการปี 2018 BH จะมี PE อยู่ที่ประมาณ 31-32 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 38.8 เท่า และต่ำกว่า BDMS ที่ 40 เท่า BCH ที่ 41 เท่าและ THG ที่แถวๆ 55-60 เท่า 5.จากข้อมูลถือว่า BH เป็นหุ้นรพ.ที่ถูกกว่าเพื่อนๆ พอสมควรเลยทีเดียว แต่ที่ถูกก็อาจจะเป็นเพราะการเติบโตในไตรมาส 3 ปี 2018 ของ BH ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหุ้นรพ.อื่นๆ BH กำไรโตแค่ 7% ในขณะที่ BDMS โต 19% BCH โต 18% 6.แต่ถ้ามองในมุมของกำไรสุทธิเมื่อเทียบอัตรากำไรสุทธิ BH กลับมีกำไรสุทธิสูงกว่า BDMS มาก โดย BH มีอัตรากำไรสุทธิ (NPM) ในปี 2018 ที่ 21.28% เทียบกับ BDMS ที่ 13.24% BH ถือเป็นหนึ่งในรพ.ที่เก่งและทำกำไรได้ดีมาก 7.ที่อัตราการทำกำไรของ BH สูงกว่า BDMS สาเหตุหนึ่งมาจาก กลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่แตกต่างกันแม้ทั้งสองจะเป็นรพ.ไฮโซเหมือนๆ กัน แต่ BDMS จับกลุ่มผู้ป่วยหลายระดับ มีโรงพยาบาลในหลากหลายพื้นที่ ขณะที่ BH เน้นจับกลุ่มผู้ป่วยที่มีรายได้สูง, ผู้ป่วยต่างชาติในเขตใจกลางเมือง และผู้ป่วยโรคร้ายแรงจึงทำให้ทำรายได้ต่อหัวได้มากกว่านั่นเอง 8.BDMS เป็นเจ้าของโรงพยาบาลถึง 46 โรงในประเทศไทย มีรายได้กระจายๆ กันไป ขณะที่ BH มีรายได้หลักมาจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตรงนานาเท่านั้น (รายได้ 95% ของ BH มาจากที่นี่ ส่วน BDMS รายได้จากรพ.หลักที่ถ.เพชรบุรีมีสัดส่วนประมาณ 20% เท่านั้น) หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ประท้วง หรือน้ำท่วม ตรงที่ๆ BH ตั้งอยู่การดำเนินงานของ BH จะถูกกระทบมากกว่าของ BDMS 9.จากข้อมูลล่าสุดใน 3Q18 ผู้ป่วยของ BH เป็นผู้ป่วยชาวไทยเพียง 34% เท่านั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของ BH เป็นชาวต่างชาติที่ 66% นับเป็นโรงพยาบาลไทยที่มีลูกค้าเป็นผู้ป่วยต่างชาติมากที่สุดในไทย 10.BH มีลูกค้าจากชาติไหนบ้าง? (แยกโดยใช้ที่อยู่ปัจจุบัน ถ้าเป็นฝรั่งแต่อยู่ไทยก็ถือเป็นไทย) อันดับ 1. ไทย 2. เมียนมาร์ 3. สหรัฐอาหรับเอมิเรส 4. โอมาน 5.คูเวต 6.กัมพูชา 7.บังกลาเทศ 8.กาตาร์ 9.สหรัฐอเมริกา 10.เอธิโอเปีย จะเห็นว่าที่เราเคยเข้าใจว่า BH มีผู้ป่วยตะวันออกกลางเยอะ ก็ต้องบอกว่าเยอะจริงแต่ถ้าดูกันเป็นชาติๆ ไปชาติที่เยอะที่สุดคือเมียนมาร์แล้วนะ 11.รายได้จากผู้ป่วยชาติที่มีการเติบโตต่อไตรมาส (QoQ) ดีๆ ก็เช่นคูเวตโต 40%, จีน 33%, สหรัฐ 25% ในขณะที่ผู้ป่วยชาวไทยซึ่งเป็นส่วนใหญ่ลดลง 6.6% (YoY) แต่เนื่องจากเป็นสัดส่วนที่มากจึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้รายได้ไตรมาสนี้ลดลง 12.ผู้ป่วยจากจีนของ BH ก็โตเยอะแต่คาดว่ายังมีน้อยเลยไม่ติด Top 10 ตอนนี้แทบทุกๆ รพ.พูดถึงผู้ป่วยจากจีนหมด รพ.ใหญ่ๆ แต่ละที่ก็ทำกลยุทธ์ขึ้นมาเพื่อดึงดูดจีนโดยเฉพาะ จีนอาจจะกลายเป็นตลาดที่ต้องแข่งขันสูงไปแล้ว? 13.ที่ผู้ป่วยชาวไทยหายไปเหตุผลนึงก็เพราะที่ผ่านมากลุ่มรพ.เป็นกลุ่มที่กำไรดีมากกกกผู้ป่วยก็แน่นมากกก รพ.แต่ละโรงจึงพยายามกันเต็มที่ๆ จะขยายจำนวนเตียง สร้างตึกใหม่ เพิ่มให้รองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น รวมไปถึงการปรับปรุงบริการต่างๆ ให้ดีและทันสมัยยิ่งขึ้น แม้แต่รพ.ของรัฐอย่างศิริราช หรือจุฬาฯ ก็มีการเปิดตึกใหม่มารองรับผู้ป่วย 14.ปรากฏการณ์นี้จึงทำให้เกิด supply รพ.ใหม่มากมายขึ้นพร้อมๆ กัน กระทบทั้งอุตสาหกรรม ข้อดีคือผู้ป่วยมีตัวเลือกมากขึ้น ข้อเสียคืออาจทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมชะลอได้เพราะความต้องการรพ.เอกชนเติบโตไม่ทันเมื่อทุกรพ.พร้อมใจกันขยาย 15.โดยเฉพาะโรงพยาบาลจุฬาที่อยู่ห่างจาก BH ไม่กี่กิโล เปิดตึกใหม่เป็นโรงพยาบาลขนาด 1,250 เตียงซึ่งถือว่าเป็นขนาด “มหึมา” คุณภาพของแพทย์ที่นั่นก็ไม่ได้แพ้ BH ดังนั้นผู้ป่วยชาวไทยจึงมีอาการหวั่นไหวบ้างเมื่อหมอเก่งพอๆ กัน ตึกใหม่ แต่ราคาถูกกว่า 16.ราคาค่าบริการ BH สูงขนาดไหน? คิดซะว่าถ้าคุณเป็นหวัดแล้วไปหาหมอที่รพ.ทั่วๆ ไปคุณจะเสียเงินไม่เกิน 1,500 แต่ถ้าคุณมา BH คุณจะเสียเงินประมาณ 2 เท่าหรือ 3,000 บาท ถ้าคุณคลอดลูกที่รพ.ทั่วๆ ไปอย่างแพงจะอยู่ที่แถวๆ 40,000-50,000 ไปรพ.กรุงเทพจะอยู่ที่แถวๆ 70,000 แต่ถ้าคุณมา BH จะต้องจ่ายประมาณ 100,000 บาท 17.อย่างไรก็ตามในแต่ละวัน BH ยังมีผู้ป่วยเข้ารักษาพยาบาลมากถึงวันละ 3,114 รายต่อวัน กว่า 71% จ่ายเงินค่ารักษาเองด้วย !!! ถือว่าลูกค้าของ BH เป็นระดับ AAA จึงไม่น่าแปลกที่ BH สามารถขึ้นราคาค่ารักษาพยาบาลได้เรื่อยๆ เพราะขึ้นแค่ไหนลูกค้าก็จ่ายได้อยู่ดี 18.ที่ผ่านมา 8 ปี BH ขึ้นราคาค่ารักษาได้อย่างต่อเนื่อง ขึ้นราคามามากกว่า 12-13 ครั้ง BH ขึ้นราคาเฉลี่ยปีละ 5% ทำให้ที่ผ่านมารายได้เติบโตดีส่วนหนึ่งก็เพราะการขึ้นราคาค่ารักษาด้วย ตอนนี้ด้วยปัญหาหลายๆ อย่างทำให้จำนวนผู้ป่วยของ BH ไม่เติบโต ก็น่าสนใจดีว่าในสถานการณ์แบบนี้ BH จะยังขึ้นราคาได้อีกหรือไม่? 19.ซึ่งแม้จะขึ้นราคาได้ก็จะมีผลเป็นดาบสองคม ข้อแรกยิ่งขึ้นราคาผู้ป่วยที่เป็นโรคหนักมากๆ อาจตัดสินใจไปรักษาที่อื่นแทน ถ้าเป็นคนไทย BH จะเจอคู่แข่งจากทั้งรพ.รัฐและเอกชนของไทยที่กำลังขยายอย่างต่อเนื่อง (อย่างรพ.จุฬาที่ยกตัวอย่างไปแล้ว) 20.ในกรณีชาวต่างชาติ BH ก็จะเจอคู่แข่งซึ่งเป็นรพ.เอกชนชั้นนำด้วยกันเช่น BDMS หรือ BCH ที่ในช่วงหลังก็หันมาใช้วิธีเดียวกันกับ BH ในการหาผู้ป่วยชาวต่างชาติจาก Agency และเสนอราคาให้บริการที่ถูกกว่า BH แพงกว่า BDMS โดยเฉลี่ยประมาณ 20-30% และแพงกว่า World Medical Center ของกลุ่ม BCH ถึง 70-100% เลยทีเดียว 21.หากจำนวนผู้ป่วยลดลงจะยิ่งสร้างปัญหาให้กับ BH ซึ่งมีแผนจะขยายรพ.อย่างต่อเนื่องในอีก 5 ปีข้างหน้าโดยมีงบลงทุนประมาณ 13,000 ลบ. 3 ปีที่ผ่านมาอัตราการครองเตียงของ BH ลดลงเรื่อยๆ จาก 76% ในปี 2558 มาเป็น 64.2% ในปี 2560 สะท้อนถึงจำนวนผู้ป่วยที่ลดลง 22.ทีมผู้บริหารของ BH น่าจะรู้ดีถึงปัญหาข้อนี้ ปีที่ผ่านมาเลยมีการลดต้นทุน, รัดเข็มขัด, ปรับปรุงการบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายลง (ดูจากรายได้ที่ลดลง 1.6% แต่ต้นทุนกิจการรพ.ลดลงถึง 7.8%) แม้แต่แผนขยายรพ.ครั้งใหญ่ที่เคยคิดว่าจะเริ่มลงทุนในปี 2019 ก็เลื่อนไปเป็นปี 2020 และยังมีบอกไว้ด้วยว่าจะขยายต่อเมื่อจำเป็น คือเมื่อคนไข้เริ่มเต็มนั่นแหละ แต่คำถามคือเมื่อไหร่ล่ะ? 23.ช่วงพีคของ BH ตอนที่ยังมีผู้ป่วยตะวันออกกลางมากๆ อาจไม่กลับมาอีกแล้วด้วยหลายเหตุผล 1. โครงสร้างการจ่ายเงินประกันของประเทศตะวันออกกลางที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้ป่วยตะวันออกกลางที่มาประเทศไทยเริ่มต้องจ่ายเองในสัดส่วนที่มากขึ้น ผลก็คือผู้ป่วยเหล่านั้นเริ่มหารพ.ที่สามารถรักษาได้เหมือนกันในราคาที่ถูกกว่า 2. รพ.ในประเทศไทยหลายๆรพ.เห็น BH ทำดีก็ทำตามบ้าง ไปหา Agency เอาผู้ป่วยต่างประเทศเข้ามารพ.ตัวเองบ้าง บางรพ.ไม่มีรพ.ในกรุงเทพฯด้วยซ้ำไป ยังพยายามเปิดศูนย์ให้บริการในกรุงเทพฯ เพื่อจะแย่งชิงผู้ป่วยต่างชาติให้ได้ คู่แข่งในตอนนี้เยอะขึ้นกว่าตอนนั้นมาก 24.แม้ธุรกิจของ BH จะดูเหนื่อย กำไร BH จะไม่ค่อยโตแต่ก็มีธุรกิจที่เติบโตอยู่บ้าง เช่นธุรกิจศูนย์ Wellness Vitallife ที่ปัจจุบันเปิดให้บริการมา 17 ปี ดูแลลูกค้าเฉลี่ย 15,000 รายต่อปี 70-80% เป็นชาวต่างชาติ กว่าครึ่งเข้ามาใช้บริการ Vitallife จากการบอกปากต่อปาก 25.ปัจจุบัน Vitallife มีรายได้ในปี 2560 456 ลบ. เติบโตจากปี 2559 35% กำไร 126 ลบ. เติบโตสูงถึง 50% ปีนี้ฟังจากที่ผู้บริหารพูดในแถลงผลประกอบการถือว่ายังเติบโตแรงไม่ถอย Vitallife นับว่าเป็นธุรกิจดาวรุ่งของ BH แต่คงไม่ช่วยในเรื่องการเติบโตของรายได้และกำไรมากนักเพราะเล็กมาก (สัดส่วนประมาณ 3-4%) เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดของ BH นอกจากนั้นยังมีศูนย์ Wellness ของ BDMS ที่ซื้อโรงแรมปาร์กนายเลิศไป มาเปิดแข่งใกล้ๆซึ่งน่าจะเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับ Vitallife เลยทีเดียว 26.ผู้ป่วยลูกค้าของ BH ที่ว่ารวยแล้ว ผู้ถือหุ้นใหญ่ BH ก็รวยไม่แพ้กัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ BH คือใคร? สิ่งที่หลายๆคนไม่รู้คือ ณ.ตอนนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพฯ หรือ BDMS คือผู้ถือหุ้นใหญ่เบอร์ 1 ของ BH ปัจจุบันถือหุ้นอยู่ 24.88% แม้ในปัจจุบันไม่มีอำนาจในการควบคุมหรือบริหารใดๆ แต่ก็ถือว่า BDMS มีหุ้นในสัดส่วนที่มีนัยยะอย่างมาก ผู้ถือหุ้นใหญ่รองลงมาคือกลุ่มกรุงเทพประกันภัยที่ 14.65% 27.แม้ BDMS ยังไม่มีอำนาจควบคุมหรือบริหารใดๆ แต่มันน่าสนใจตรงที่ คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดถ้า BH สามารถกลับมาเติบโตได้คือ BDMS และเจ้าของ BDMS คือคุณหมอประเสริฐที่ถือหุ้นใหญ่ BDMS อยู่ 2,893 ล้านหุ้น หรือ 18.47% ของทั้งหมด นั่นหมายความว่าคุณหมอประเสริฐมีผลประโยชน์ในหุ้น BH อยู่ในมือผ่านการลงทุนของ BDMS แล้วกว่า 33 ล้านหุ้นมูลค่ากว่า 6,500 ลบ. 28.BH กำลังจะมีโปรเจคใหม่เป็นศูนย์ Wellness สไตล์รีสอร์ทที่บางกระเจ้า โดยทำร่วมกัน MK (มั่นคงเคหะ) เป็นคนสร้างบ้าน BH ดูแลเรื่องการดำเนินงานของศูนย์ Wellness MINT ช่วยดูแลเรื่องการจัดการศูนย์และอาหาร โปรเจคนี้เป็นโปรเจคขนาด 200 ไร่ มีวิลล่าระดับ 5 ดาว 61 หลัง ฝั่ง BH ลงทุนไม่มากแค่ 270 ลบ. รายละเอียดที่เหลทอยังไม่มีอะไรมากคงต้องติดตามต่อไป 29.BH มีการลงทุนใน บริษัท iDoctor ของสิงคโปร์เจ้าของ App Raksa ซึ่งเป็น App ให้บริการด้าน Healthcare ถือว่าเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในมุมของเทคโนโลยี หลังจากการเป็นรพ.แรกที่นำ IBM Watson มาใช้ในการวิเคราะห์โรคมะเร็ง 30.สรุปคือปัจจุบันถือว่าหุ้น BH ไม่แพงมากเมื่อเทียบกับหุ้นรพ.อื่นๆ แต่สิ่งที่ท้าทายคือการกลับมาเติบโตอีกครั้งหนึ่งในสถานการณ์อุตสาหกรรมที่มีความยากกว่าเมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมา การแข่งขันก็สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลกระทบทำให้จำนวนผู้ป่วยไทยลดลงเหมือนเป็นการซ้ำแผลเดิมจากการที่ BH ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างประกันของตะวันออกกลางทำให้จำนวนผู้ป่วยลดลงใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ไหนจะการลงทุนครั้งใหญ่กว่า 13,000 ลบ. ที่กำลังจะเข้ามากระทบกับผลกำไรในอนาคต (ถ้ายังอยู่ในสถานการณ์แบบนี้นะ) 31.ภาพรวมอุตสาหกรรมดีไหม? ก็ต้องตอบว่ามีโอกาสเติบโตได้เพราะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลต่อ GDP ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำที่ 3.8% เมื่อเทียบกับประเทศอย่างมาเลเซียที่ 4%, สิงค์โปร 4.3%, จีน 5.3% และค่าเฉลี่ยโลกที่ 6.3% สะท้อนถึงช่องว่างในการเติบโตในอนาคต 32.ถามว่า BH จะเจ๊งไหม? อันนี้ไม่เจ๊งแน่นอนครับสบายใจได้ แล้ว BH จะถูก BDMS เข้า Takeover ไหม? อันนี้ผมเองก็ตอบไม่ได้แต่ก็ถือว่ามีโอกาส ถ้าอยากรู้คำตอบจริงๆ คงต้องไปถามคุณหมอประเสริฐว่าพี่มาจริงไหมครับ? เชิญทุกท่านแชร์มุมมองใต้ Comment ข้อมูลผิดพลาดตรงไหนขออภัยไว้ณ.ที่นี้ด้วยจ้า แอดมิน Buffettcode ที่มาบทความ: http://buffettcode.com/bh-2018/ ดูข้อมูลหุ้น BH เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/bh ดูข้อมูลหุ้น BDMS เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/bdms คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ มือใหม่เล่นหุ้นโรงพยาบาล ต้องรู้อะไรบ้าง? เรียนหุ้นออนไลน์ได้ฟรี! คลิกที่รูปได้เลย แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
อวสานของหุ้น IPO - FINNOMENA หุ้น IPO นั้นเป็นตัวแทนหรือเป็นสัญลักษณ์ที่รุนแรงที่สุดของการ  “เก็งกำไร” ในตลาดหุ้น ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? และเหตุใดเวลานี้อาจไม่ใช่ยุคของหุ้น IPO อีกต่อไป? 20 ธ.ค. 2561 หุ้นที่ขายให้กับประชาชนทั่วไปและเข้าจดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกหรือที่เรียกกันว่าหุ้น IPO นั้น ในแง่ของนักลงทุนแล้วก็เป็นหุ้นหรือหลักทรัพย์เล็กที่สุดกลุ่มหนึ่ง เหตุผลเพราะว่ามันมีน้อยมากและมักจะเป็นหุ้นขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ นักลงทุนที่จริงจังและโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็น VI พันธุ์แท้ที่มุ่งมั่นมักจะไม่ค่อยสนใจหรือเข้าไปซื้อขายในตลาดหุ้น อย่างมากที่จะทำก็คือการจองซื้อหุ้น IPO หรือหุ้นออกใหม่ถ้าได้รับสิทธิ์ที่จะจอง และก็มักจะขายค่อนข้างเร็วหลังจากที่หุ้นเข้าตลาด หุ้น IPO นั้น ในความคิดของเขาก็คือหุ้นที่มักจะ Overpriced หรือตั้งราคาสูงเกินพื้นฐานหรือไม่ก็ตามราคาพื้นฐาน หุ้นที่ตั้งราคาต่ำกว่าพื้นฐานถ้าจะมีบ้างก็เป็นเพราะบริษัทที่ปรึกษาตั้งราคา “ผิดพลาด” ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นน้อย ในสิบบริษัทก็อาจจะมีอย่างมากแค่ 3-4 บริษัทเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราเข้าไปซื้อ โอกาสที่จะถือหุ้นยาวแล้วได้กำไรก็น่าจะน้อยมาก แต่ในระยะสั้น ๆ ในช่วงแรกที่หุ้นเข้าซื้อขายในตลาด ราคาหุ้นอาจจะขึ้นไปเยอะมากโดยเฉพาะในยามที่ตลาดหุ้นกำลังบูมและกลุ่มหุ้น IPO กำลังร้อนแรงถึงขีดสุด เหตุผลก็เพราะว่าหุ้น IPO นั้นเป็นตัวแทนหรือเป็นสัญลักษณ์ที่รุนแรงที่สุดของการ “เก็งกำไร” ในตลาดหุ้น การที่หุ้น IPO เป็นหุ้นที่มีการเก็งกำไรสูงนั้นมีหลายเหตุผล ข้อแรกก็คือ มันยังไม่เคยมีประวัติเรื่องราคาหุ้นที่จะให้นักเก็งกำไรจดจำ ดังนั้นราคาที่ “เหมาะสม” อาจจะเป็นเท่าไรก็ได้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่เหมือนหุ้นที่อยู่มานานที่นักลงทุนมักจะจำได้หรือรู้ว่าราคามันเคยขึ้นไปถึงกี่บาทและลงมาที่เท่าไรซึ่งทำให้ดูเหมือนว่ามันมี “กรอบของราคา” ที่จะไม่ผ่านไปได้ง่าย ๆ ข้อสอง หุ้น IPO นั้นมักจะมีขนาดเล็กและจำนวนหุ้นหมุนเวียนยิ่งน้อย เช่นแค่ 25-30% ของหุ้นทั้งหมด ถ้ามีคนเข้าไปซื้อหุ้นจำนวนมากในเวลาอันสั้น ทำให้หุ้นถูก “ต้อนเข้ามุม” ราคาก็มีโอกาสสูงขึ้น “ทะลุฟ้า” และโดยเฉพาะในวันแรกที่เพดานราคาสามารถขึ้นไปได้ถึงหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ การเข้าไปเล่นก็จะสนุกสุดเหวี่ยง ข้อสาม หุ้น IPO มักจะมีประวัติหรือผลประกอบการสั้นแต่ “น่าประทับใจ” หรืออย่างน้อยก็มี สตอรี่หรือเรื่องราวที่สัญญาว่าจะ “โตระเบิด” กำไรในอนาคตจะดีกว่าเดิมมาก ดังนั้น ค่า PE ที่มักจะสูงอยู่แล้วก่อนเข้าตลาดก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก และนี่ก็คือ “หุ้นเติบโต” ที่ราคาต้องขึ้น เหมาะอย่างยิ่งกับการเก็งกำไร อีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญก็คือ หุ้น IPO จะต้องมีคนเข้ามา “เล่นหรือดูแล” ไล่ตั้งแต่เจ้าของหุ้น นักลงทุนรายใหญ่ ที่ปรึกษาการเงิน หรือแม้แต่สถาบันในบางกรณี นักลงทุนคิดว่า อย่างน้อยพวกเขาคงไม่ปล่อยให้ “ต่ำจอง” ตั้งแต่วันแรก ๆ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ไม่มีใครมีต้นทุนต่ำกว่าราคา IPO และแม้ว่าเจ้าของหุ้นจะมีต้นทุนต่ำกว่ามาก แต่พวกเขาก็มักจะถูก Silent Period หรือเวลาห้ามขายหุ้นระยะหนึ่ง หรือไม่ก็ไม่ขายเพราะต้องดูแลหรือประคองไม่ให้ราคาหุ้นต่ำกว่าจองซึ่งจะทำให้ “เสียชื่อเสียง” และทำลายอนาคตหุ้นของตนเอง ดังนั้น ถ้าจะกล่าวโดยสรุปก็คือ หุ้น IPO นั้น เป็นหุ้นที่น่าเก็งกำไรสุดยอด โดยเฉพาะของนักลงทุนส่วนบุคคลรายย่อยในยามที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังอยู่ในโหมดของการเก็งกำไรร้อนแรง ในเวลาแบบนี้ ทุกคนต่างก็ต้องการจองซื้อหุ้น IPO ไม่ว่าราคาจะเป็นอย่างไร ที่ปรึกษาการเงินต่างก็ต้องการทำหุ้น IPO เพราะขายคล่องและสามารถเอามาขาย “มัดใจ” นักลงทุนที่ซื้อขายหุ้นผ่านบริษัท ในด้านของเจ้าของบริษัทที่นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเองนั้น เนื่องจากความต้องการที่สูงของนักลงทุน พวกเขาจะสามารถ “ขายบางส่วนของบริษัท” แค่ 25-30% ในราคาที่สูง บางทีสูงมากจนไม่น่าเชื่อ ทำให้เขาเป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีในชั่วข้ามคืน ยุคบูมหรือยุคเฟื่องฟูของหุ้น IPO นั้นมักจะตามหลังยุคที่ตลาดหุ้นเป็นกระทิง โดยที่ IPO อาจจะตามหลังภาวะตลาดซักประมาณ 1-2 ปี เนื่องจากกระบวนการทำ IPO นั้นต้องใช้เวลาพอสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายบริษัทต้องอาศัยเวลาในการ “แต่งตัว” ซึ่งรวมถึงการจัดระบบบัญชี การบริหารงานภายใน และการทำให้ “กำไร” ของบริษัทดูดีขึ้นมาก ๆ เพื่อที่ว่าราคาหุ้นที่จะขายจะได้สูงตาม นี่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าขายได้ราคาต่ำจะขายไปทำไม? เก็บไว้กินเองจะไม่ดีกว่าหรือ? เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การเข้าตลาดหุ้นนั้นมี “ต้นทุน” อยู่ไม่น้อย ทั้งต้นทุนที่จะต้องมีในฐานะที่เป็นบริษัทมหาชนและต้นทุนของการต้องเปิดเผยข้อมูลของบริษัทและการขาดอิสระในการดำเนินการบางอย่าง จริงอยู่บริษัทได้ผลประโยชน์ด้านอื่นโดยเฉพาะในด้านของการระดมทุนเพื่อขยายงานและปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินรวมถึงชื่อเสียงที่จะได้รับในฐานะบริษัทจดทะเบียน แต่ในความเป็นจริง บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนที่มีผลประกอบการที่ดีนั้น ก็มักจะไม่ได้มีปัญหาในการหาเงินมาขยายกิจการอยู่แล้ว ความเฟื่องฟูของหุ้น IPO ในตลาดหุ้นไทยนั้นดำเนินมาต่อเนื่องหลายปีและน่าจะถึงจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2560 ที่มีกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดเกือบ 40 แห่ง หุ้น IPO ที่เข้าตลาดเหล่านั้น ในวันแรกต่างก็มักจะทำผลงานได้ดีเกินราคาจอง ตัวที่ดีมากทำกำไรให้กับคนจองเป็นร้อยหรือสองร้อยเปอร์เซ็นต์ก็มีทั้ง ๆ ที่ราคา IPO ก็ไม่เคยต่ำเลย ส่วนใหญ่มี PE ไม่น้อยกว่า 20 เท่า บางตัวเกิน 30 เท่าโดยที่ไม่ได้มีคุณสมบัติที่โดดเด่นอะไรมากยกเว้นแต่ว่าอยู่ในอุตสาหกรรมที่ “มีอนาคต” และบริษัทมีสตอรี่ที่น่าประทับใจ และผลการดำเนินงานปีล่าสุด “โดดเด่น” อย่างไรก็ตาม พอถึงปี 2561 ทุกอย่างเกี่ยวกับ IPO ดูเหมือนจะเริ่มเปลี่ยนไป หุ้นจองที่เข้าตลาดวันแรกเริ่มมีราคาปิด “ต่ำจอง” มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าตอนที่เปิดให้จองหุ้นก็ยังมีคนจองครบหรือล้น ประเด็นก็คือ สภาวะตลาดหุ้นที่ “ไม่เอื้ออำนวย” ดัชนีตลาดหุ้นตกต่ำลงแม้ว่าจะไม่มากแต่หุ้นขนาดกลางและเล็กซึ่งเป็นหุ้นในกลุ่มของ IPO นั้นตกต่ำอย่างหนักส่งผลให้คนขายหุ้น IPO ตั้งแต่วันแรกเพราะขาดความมั่นใจ คำถามสำคัญเวลานี้ก็คือ อาการที่หุ้น IPO เข้าตลาดวันแรกก็ต่ำกว่าราคาจองนี้จะดำเนินต่อไปหรือไม่ เรายังควรจองหุ้น IPO อย่างกระตือรือร้นและหวังจะทำกำไรได้งดงามหรือไม่? ซึ่งคำตอบของผมก็คือ ผมคิดว่ากระแสของหุ้น IPO นั้นน่าจะจบลงไปแล้ว หุ้น IPO ที่ออกมาในวันนี้เป็นหุ้นที่ได้เตรียมการมาแล้วเป็นปี ๆ และถึงเวลาต้องออก ราคาหุ้นที่กำหนดก็เป็นราคาหุ้นที่น่าจะยังแพงหรือไม่ถูกเลยเพราะมันยังเป็นราคาที่อ้างอิงจากช่วง “บูม” แม้ว่าเวลานี้ที่ปรึกษาและเจ้าของอาจจะลดราคาลงมาบ้างเพื่อให้หุ้นประสบความสำเร็จเมื่อเข้าตลาด ดังนั้น การคาดหวังที่จะเห็นหุ้น IPO ทำกำไรงดงามตั้งแต่วันแรกนั้นผมคิดว่าหวังมากไม่ได้ โอกาสที่จะขาดทุนก็มีสูง การขายหุ้น IPO ของผู้รับประกันการจำหน่ายน่าจะยากขึ้นโดยเฉพาะถ้าเป็นกิจการที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ ในกรณีแบบนี้ Underwriter ก็มักจะต้องขายหุ้นที่เหลือจากจองสู่ตลาดและทำให้ราคาหุ้นต่ำกว่าจอง ภาพที่จะเห็นมากกว่าก็คือ การเลื่อนการขายหุ้นไปอย่างไม่มีกำหนดซึ่งก็จะมีมากขึ้น ส่วนบริษัทใหม่ ๆ ที่จะเข้าตลาดก็จะลดน้อยลงมากเพราะถ้าเข้าก็จะต้องขายหุ้นในราคาไม่แพงซึ่งทำให้ไม่คุ้มที่จะทำ ในช่วงเวลานี้ “การเก็งกำไรในหุ้นตัวเล็ก” ดูเหมือนว่าจะหดหายไปมากและไม่น่าจะกลับมาได้ในเร็ววันโดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงว่าหุ้นเล็กเหล่านั้นก็ยังแพงมากและราคาไม่ลดลงอานิสงค์จากการที่หุ้นอาจจะถูก “Corner” อยู่ ดังนั้น ผมจึงคิดว่านี่เป็นช่วง “อวสานของหุ้น IPO” ตามการอวสานของการเก็งกำไรของนักลงทุนส่วนบุคคล การอวสานของหุ้นตัวเล็ก และการอวสานของอีกหลาย ๆ อย่างในตลาดหุ้นไทย และคงต้องใช้เวลาอีกหลาย ๆ ปีก่อนที่หุ้น IPO จะกลับมาเฟื่องอีก ที่มาบทความ: thaivi.org แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปทุกสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อกองทุนรวม BTP - FINNOMENA กองทุน BTP กองทุนที่มีอายุมายาวนานกว่า 24 ปี ในระหว่างทางกองทุนนี้ผ่านอะไรมาบ้าง เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้ได้อ่านกัน มาดูกันว่ากองทุน BTP มีจุดเด่นอะไรบ้างค่ะ 23 ส.ค. 2562 -กองทุน BTP มีขนาดกองทุนใหญ่อันดับที่ 6 ในประเภทกองทุนหุ้นไทย โดยล่าสุดมีขนาดกองทุนกว่า 13,000 ล้านบาทแล้ว โดยกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือกองทุน KFSDIV มีขนาดกองทุนอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท (ณ 23 พ.ย. 61) -กองทุน BTP จัดตั้งมายาวนานมาก ตั้งแต่ 7 ต.ค. 2537 เลยทีเดียว ผ่านมา 24 ปีกว่าแล้ว ถือว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ -แต่ๆๆ กองทุน BTP ไม่ใช่กองทุนแรกของบัวหลวง เป็นลำดับที่ 5 ของกองทุนบัวหลวงทั้งหมด โดยกองทุนกองแรกของบัวหลวง คือ กองทุน BKA จัดตั้งขึ้นมาวันที่ 11 มี.ค. 2536 -จริงๆ แล้วกองทุน BTP มีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท แต่ได้มีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ครบ 5,000 ล้านบาท เมื่อปี 2557 และเขยิบมาเป็น 10,000 ล้านบาท เมื่อต้นปี 2561 ที่ผ่านมา -มีนโยบายลงทุนในหุ้นใหญ่ 10 ตัว แต่ไม่ได้ลงทุนในหุ้น 10 ตัวที่มี Market Cap ใหญ่ที่สุดในตลาดนะ มีแค่ 2 ใน 10 ตัวเท่านั้น คือ CPALL กับ BDMS (ณ 6 ต.ค. 61) -กองทุน BTP ไม่ได้ลงทุนในหุ้น 10 ตัวเสมอไป เงื่อนไขกองทุน คือ จะลงทุนในหุ้นมากที่สุดไม่เกิน 12 ตัว โดยจะลงทุนเป็นเวลาไม่เกิน 45 วันทำการ นับจากวันที่มีการลงทุนมากกว่าหุ้น 10 ตัว -ผลตอบแทน 10 ปีย้อนหลัง มีเพียง 2 ปีเท่านั้นที่กองทุนติดลบ แต่ก็ยังลบน้อยกว่า SET นะ คือ ปี 2551 (BTP -37.20% SET TR -47.56%) และ ปี 2556 (BTP -0.37% SET TR -6.70%) -นักรบย่อมมีบาดแผล ถึงแม้กองทุน BTP จะทำผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาตลอด แต่เชื่อหรือไม่ว่า ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน เคยขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) ที่ -79.52% เชียวนะ เกิดขึ้นในปี 2543 -ในขณะที่ปี 2008 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั้งโลก คงหนีไม่พ้นที่จะไม่ติดลบ ขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) อยู่ที่ -50.81% ในขณะที่ SET TR -56.14% -ถ้าถือกองทุนนี้ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว เชื่อหรือไม่ ว่าได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 19.24% เชียวหนา -ปัจจุบันกองทุน BTP มีอัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุนของกองทุน (Portfolio Turnover Ratio: PTR) หรือการสับเปลี่ยนหุ้นในพอร์ต อยู่ที่ 0.94 (ณ ต.ค. 61) ซึ่งถือว่าไม่ได้มากเกินไปสำหรับกองทุนประเภท Active เพราะถือหุ้นหลักๆ อยู่ 10 ตัว ก็มีต้องสับเปลี่ยนหุ้นบ้าง เพราะหากเลือกหุ้นผิดไป 1 ตัว จะส่งผลต่อพอร์ตเยอะเหมือนกัน -มาพูดถึงสถิติสูงสุด-ต่ำสุดในการหมุนเวียนการลงทุนของกองทุนกันบ้าง เคยสับเปลี่ยนสูงสุดที่ 1.46 เลยทีเดียว (รายงานประจำปี ต.ค. 59) และเคยสับเปลี่ยนต่ำสุดที่ 0.25 (รายงานครึ่งปี เม.ย. 58) ถือว่าเป็นช่วงที่เน้น Buy & Hold ไม่ซื้อเพิ่ม ไม่ขายออก -นักลงทุนแทบจะทั้งหมด คงจะรู้จักกองทุน BTP แต่รู้หรือไม่ว่ากองทุนนี้บริหารกันเป็นทีม โดยมีผู้จัดการกองทุน 5 คน ผู้จัดการกองทุนที่อยู่มานานที่สุดคือคุณสุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา บริหารกองทุนมาตั้งแต่ 2 พ.ค. 49 -เชื่อหรือไม่ กองทุน BTP เคยถือหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์มาก่อน ซึ่งคือหุ้น SLC (ปัจจุบัน คือ NEWS) และหุ้น GL (ในตำนาน) แต่ไม่ต้องตกใจไป เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2547 ถ้ายังถือถึงตอนนี้ล่ะก็…. (ภาพตัด) ที่มา https://www.bualuang.co.th https://www.sec.or.th Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: BTP แชร์บทความ: ผู้เขียน Get Wealth Soon มีความเชื่อว่าถ้าหากเราเป็นคนที่พร้อมจะเปิดใจให้กับเรื่องการออมเงิน การลงทุน และมีการวางแผนทางการเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเอง จะสามารถเป็นคนที่มีความมั่งคั่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีฐานะครอบครัวที่ร่ำรวยมาก่อน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เรื่องของ Yield Curve และสิ่งที่นักลงทุนกังวลกันอยู่ตอนนี้ - FINNOMENA เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถูกแรงขายหนักด้วยปัจจัยใหม่ที่เราอาจไม่ค่อยเห็นหน้าสื่อกระแสหลักพูดถึงกัน นั่นก็คือ การเกิด Inverted Yield Curve มันคืออะไร ทำไมตลาดถึงกังวล ลองไปดูกันครับ 7 ธ.ค. 2561 เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถูกแรงขายหนักด้วยปัจจัยใหม่ที่เราอาจไม่ค่อยเห็นหน้าสื่อกระแสหลักพูดถึงกัน นั่นก็คือ การเกิด Inverted Yield Curve มันคืออะไร ทำไมตลาดถึงกังวล ลองไปดูกันครับ 1. โดยปกติแล้ว หนึ่งในข้อมูลสำคัญที่นักลงทุนในตลาดเอาไว้ส่องดูว่า ฝั่งตลาดตราสารหนี้ มีการเคลื่อนไหวอย่างไร เขาจะไปดูตัวที่เรียก “Yield Curve” กัน 2. Yield Curve ภาษาไทย เราเรียกว่า เส้นอัตราผลตอบแทน อธิบายง่ายๆก็คือ เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราผลตอบแทนจนครบกำหนดอายุไถ่ถอนของตราสารหนี้ตัวนั้น (Yield to maturity) เปรียบเทียบกับกับ อายุคงเหลือจนครบกำหนดไถ่ถอน (Time to maturity) โดยแต่ละจุดที่อยู่บน Yield curve จะแสดงถึง อัตราผลตอบแทน หรือ Yield ที่ตลาดต้องการสำหรับแต่ละช่วงอายุของตราสารว่าเป็นเท่าไหร่ แล้วลากเส้นต่อกันให้เป็นเส้นเดียวเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น 3. ตราสารหนี้ที่เราเอามาดู Yield Curve ก็จะเป็น พันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ในแต่ละช่วงอายุ สาเหตุเพราะ มีความเสี่ยงต่ำที่สุดสภาพคล่องสูงที่สุด และเป็นอัตราผลตอบแทนพื้นฐานที่นักลงทุนนำไปใช้คำนวนอัตราผลตอบแทนสำหรับตราสารหนี้อื่นๆต่อจากนั้น 4. คราวนี้ ในสภาวะปกติ ทุกคนคงจะนึกออกนะครับว่า ตราสารหนี้ที่อายุยาวๆ จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อชดเชยความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่องที่หาไป และต้นทุนค่าเสียโอกาส ที่ต้องถือตราสารหนี้ตัวนั้นยาวนานขึ้น ซึ่งในสภาวะปกติเช่นนี้ เราเรียกว่า Normal yield curve หรือ Upward sloping yield curve ครับ 5. พอเห็นคำว่า Upward ก็แน่นอน แสดงว่า Yield Curve มีโอกาสเป็น Downward เช่นกัน ดังนั้น หากเกิดสภาวะที่ตราสารหนี้อายุยาวๆ ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า ตราสารหนี้ระยะสั้น เราจะเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Downward sloping yield curve หรือ Inverted yield curve ครับ 6. และเมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา ก็เกิดภาพที่คล้ายๆจะเป็น Inverted yield curve ขึ้น นั่นก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 5 ปี ปรับลดลงมาเหลือ 2.7702% ซึ่งต่ำกว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 2 ปี ที่ ณ ตอนนี้อยู่ที่ 2.7886% และที่อายุ 3 ปี ซึ่งอยู่ที่ 2.8133% เมื่อเอาอัตราผลตอบแทนของทั้งสองช่วงอายุมาลบกัน ระหว่าง อายุ 5 ปี ลบกับ อายุ 2 ปี หรือ 5 ปี ลบกับ 3 ปี (Yield spread) กลายเป็นว่า ได้ค่าติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนส.ค. ปี 2005 ทีเดียว 7. แต่ก็เฉพาะ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 5 ปี เท่านั้นนะครับที่ปรับลดลง โดยปกติ ตัวที่ตลาดให้ความสนใจก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ซึ่งล่าสุด อยู่ที่ 2.8973% ยังสูงกว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุที่สั้นกว่าทุกตัวครับ 8. Inverted yield curve ถ้ามาจริงๆ แล้วน่ากลัวตรงไหน? ไปมองเหตุผลเบื้องหลังก่อนนะครับ ว่า Yield ลง ก็ย่อมแปลว่า มีคนเข้าไปซื้อเยอะ คำถามคือ นักลงทุนเหล่านี้ คิดยังไง ถึงยอมซื้อพันธบัตรอายุ 5 ปี ที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าพันธบัตรอายุ 3 ปี และ อายุ 2 ปี? คำตอบก็คือ เขาเหล่านั้นคิดว่า อัตราดอกเบี้ยมีโอกาสปรับตัวลดลงหลังจากนี้ จากความเชื่อที่ว่า เศรษฐกิจมีความเสี่ยงชะลอตัวในอนาคต และธนาคารกลางสหรัฐฯอาจเลือกที่จะลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากนี้ 9. ความน่าสนใจก็คือ เดือนต.ค. ที่ผ่านมา ตลาดยังกังวลกันอยู่เลยว่า เงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น แล้วเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วไปไหม แต่พอเข้าปลายเดือนพ.ย. กลายเป็นหันมากังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจเกิดการชะลอตัวและมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) นี่ผ่านไปแค่เดือนเดียวเองนะครับ อะไรมันจะผันผวนได้ขนาดนั้น 10. พอได้ตั้งสติ และลองกลับไปดูข้อมูลย้อนหลังในอดีต เราจะพบว่า ช่วงที่เกิด Inverted yield curve ในอดีต ไม่ได้ทำให้ตลาดหุ้นปรับฐานแรงเลยในทันที ในทางกลับกัน 4 ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้น (1978, 1988, 1998 และปี 2005) ตลาดหุ้นวิ่งได้เฉลี่ย 40% ใน 2 ปี หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ด้วยซ้ำ สะท้อนให้เห็นว่า Inverted yield curve ไม่ใช่สัญญาณการจบรอบของตลาดกระทิงเพียงอย่างเดียว เราต้องพิจารณาข้อมูลด้านอื่นๆประกอบด้วยเช่นกัน 11. แต่ถ้าถามว่า สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจ มันมีอยู่จริงไหม ก็ต้องบอกว่า มีอยู่บ้างครับ ตัวหลักๆที่ตลาดใช้ ก็อย่างเช่น Citi Economic Surprise Index ซึ่งล่าสุด ตัวเลขเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา ทุกภูมิภาคลงมาต่ำกว่าระดับ 0 จุด แล้ว แปลว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมา แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าในทุกภูมิภาคเลย ทีเดียว 12. โดยสรุปคือ มันมีสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจอยู่บ้าง ซึ่งปัจจัยลบก็มาจากสงครามการค้า อัตราเงินเฟ้อ และอุปสงส์ที่ชะลอตัวลงทั่วโลก แต่ทั้งนี้ เราก็ยังเห็นนักวิเคราะห์ และนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ยังมองว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2019-2020 ยังมี growth อยู่ และภาพของ Recession ที่นักลงทุนบางกลุ่มกังวลกันอยู่ตอนนี้ ก็ยังไม่ได้ชัดเจนถึงขนาดนั้น ในขณะที่ Valuation ของตลาดหุ้น ลงมาอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลมากขึ้น และได้ปัจจัยเชิงบวกจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงด้วย โดย Mr. Messenger แท็ก: 2-10 spread inverted yield curve recession US Treasury แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป GDP Q3’2561 แบบง่าย ๆ - FINNOMENA GDP ไตรมาส 3 ปี 2561 เพิ่งประกาศออกมา ลองมาดูสรุปกันเลยว่าองค์ประกอบแต่ละส่วนของ GDP ไทยนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง และจะส่งผลต่อกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรได้บ้าง 6 ธ.ค. 2561 GDP (Gross Domestic Product) เป็นตัวเลขที่เอาไว้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่นิยมใช้กัน เป็นการบอกว่าในปีหนึ่ง ๆ นั้นมีมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการเท่าไหร่ โดยจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติก็ได้ ขอให้ผลผลิตเกิดขึ้นในประเทศไทย ก็นับรวมหมด ประมาณการ ณ วันที่ 19 พ.ย. 2561 GDP มีมูลค่า 16.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นรายได้ต่อหัวก็ตกอยู่ที่ 241,027 บาท ต่อปี หรือ ตกเดือนละประมาณ 20,085 บาท แต่อย่างที่เราทราบกันว่ามีผู้มีรายได้น้อย 14 ล้านคน ที่มีรายได้ไม่ถึง 100,000 บาทต่อปี (เดือนละ 8,300 บาท) นั่นแปลว่า เราก็ยังมีปัญหาการกระจายรายได้แบบ “รวยกระจุก จนกระจาย” อยู่ดี ปี 2558 GDP 3% ปี 2559 GDP 3.3% ปี 2560 GDP 3.9% Q1’2561 GDP 4.9% Q2’2561 GDP 4.6% Q3’2561 GDP 3.3% เรากลับไปเห็นเลข 3 กันอีกครั้ง ซึ่งเท่ากับเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 7 ไตรมาส ถ้าจะให้สรุปถึงสาเหตุแบบสั้น ๆ คือ ส่งออกเป็นตัวฉุดจากเศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มชะลอ ผลกระทบจากสงครามการค้า คนจีนมาเที่ยวลดลง ขณะที่ตัว C โตขึ้นต่อเนื่องจากรถยนต์ ตัว I โตจากก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีใน EEC มากขึ้น ทีนี้เรามาดูรายละเอียดทีละตัวกันจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ Consumption (49% ของ GDP) เติบโต 5% • ดีต่อเนื่องขยายตัวสูดสุดรอบ 22 ไตรมาส ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 3.2% >> 3.7% >> 4.5% >> 5% • สินค้าคงทน +16.7% (คือของที่ใช้แล้วทน ไม่พังง่าย) โดยยอดขายรถยนต์นั่ง +27% ยังโตต่อเนื่องหลังจากหมดรถคันแรกมา 5 ปี คนก็เริ่มเปลี่ยนรถกันใหม่ (เป็นหนี้ใหม่นั่นเอง) >> ดัชนีตัวนี้บอกได้ว่าคนฐานะปานกลางถึงรวยมีการใช้จ่ายกันเยอะ • สินค้าไม่คงทนทรงตัว (สินค้าอุปโภคบริโภค ของกินของใช้) แปลว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช้จ่าย แต่ข่าวดีคือ กินเหล้า สูบบุหรี่กันลดลง ไปเพิ่มกันที่แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เยอะขึ้น • สาเหตุที่ของกินของใช้ไม่เพิ่มเพราะว่ารายได้เกษตรกรไม่ได้เพิ่มเยอะ +1.1% ค่าจ้างแรงงาน +1.8% และหนี้ครัวเรือนยังสูงอยู่ที่ 77.5% ของ GDP ถึงแม้ว่าจะมีคนรายได้น้อยได้เงินธงฟ้ามาช่วยแล้วก็ตาม • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 69.6% สูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส สรุป ตัว C เติบโตจริงจากคนเปลี่ยนรถยนต์กัน แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้มีเงินเพิ่มในกระเป๋าเท่าไหร่ หาได้มาก็ใช้หนี้ก่อน แล้วค่อยมาซื้อของกินของใช้ คือ ถ้าไม่รีบหาทางเพิ่มรายได้กับคนส่วนมาก (แบบยั่งยืนนะ ไม่ใช่แค่แจกเงิน) แล้วยอดขายรถยนต์เริ่มแผ่วเมื่อไหร่ เครื่องจักรตัวนี้ก็อาจจะมีปัญหาในอนาคตได้ Private Investment (23% ของ GDP) เติบโต 3.9% • โตต่อเนื่องขยายตัวสูดสุดรอบ 15 ไตรมาส ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 1.7% >> 3.1% >> 3.2% >> 3.9% • อัตราการใช้กำลังการผลิตก็ดูดีอยู่ จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 67% >> 72% >> 66% >> 66.5% • พระเอก คือ การก่อสร้าง +5.4% โดยเฉพาะพวกคอนโดสูงเกิน 16 ชั้น โรงงานอุตสาหกรรม (เห็นการขออนุญาตในแถบ EEC มากขึ้น) แต่ว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ลดลง • เครื่องมือเครื่องจักร +3.4% ก็โตดีอยู่ตามกำลังการผลิตที่ดูมีแนวโน้มดีขึ้น และโตที่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ตามการบริโภคเลย • ดัชนึความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 51.6% โตขึ้น สรุป ตัว I ดี สอดคล้องกับการบริโภค และเริ่มเห็นการก่อสร้างเติบโตเรื่อยๆ EEC เริ่มมา ถ้านโยบายขยายการลงทุนของภาครัฐเพิ่มเติม ก็น่าจะเป็นตัวเร่งให้เครื่องจักรตัวนี้ทำงานได้ดีขึ้น Government (16% ของ GDP) • การใช้จ่ายภาครัฐเรียกว่าค่อย ๆ เพิ่มทีละนิดดีกว่า ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 0.5% >> 1.9% >> 2.0 >> 2.1% มาจากที่ช่วงหลัง ๆ เริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้ดีขึ้น แรก ๆ กลัวทำผิด พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างกัน • การลงทุนภาครัฐ ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ -1.2% >> 4% >> 4.9 >> 4.2% เติบโตจากการลงทุนภาครัฐวิสาหกิจต่อเนื่อง สรุป ตัว G ค่อย ๆ มา ถ้าเร่งให้มีการเบิกจ่ายเร็วขึ้น และมีการลงทุนมากขึ้นก็น่าจะส่งผลดีกับการลงทุนภาคเอกชนตามมา Export (67% ของ GDP) +2.6% • ถ้าดูในรูปแบบ USD จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 9.8% >> 9.9% >> 12.3% >> 2.6% • แต่ถ้ามาดูในรูปของเงินบาท -0.1% สาเหตุหลักมาจาก 3 เรื่อง คือ คู่ค่าต่างประเทศเศรษฐกิจชะลอ Trade War และคนจีนมาเที่ยวไทยลดลง • ประเทศคู่ค้าเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ทั้งจีน ยุโรป อาเซียน (ประเทศที่โตดีคือ อเมริกา และเวียดนาม) • สินค้าส่งออกที่ขยายตัว คือ รถกระบะ รถบรรทุก ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มันสำปะหลัง ข้าว (แต่ระวังว่า ข้าว ได้จากประมูลที่ฟิลิปปินส์เพิ่มมา) • สินค้าส่งออกที่หดตัว คือ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า กุ้ง แผงวงจร ยางพารา (สต็อคยางที่จีนสูง ส่วนแผงวงจรคือผลกระทบจาก Trade War) นักท่องเที่ยวต่างประเทศ +1.9% • จำนวนนักท่องเที่ยวจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 9.4% >> 15.5% >> 8.4% >> 1.9% • รายรับนักท่องเที่ยวจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 12.1% >> 18.9% >> 13.7% >> 0.5% • อัตราการเข้าพัก 65.4% ลดลงจาก Q2 ที่ 71.4% แต่มากกว่า Q3’60 ที่ 63.7% • นักท่องเที่ยวจีนลดลงจากเรือล่ม และเงินหยวนอ่อนค่า (-8.8%) นักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงจากบอลโลก (-7.2%) แต่ได้อาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซียเพิ่มขึ้น (+26.3%) แต่ในแง่รายได้คนจีนใช้จ่าย 55,000 บาทต่อทริป ขณะที่นักท่องเที่ยวอาเซียนใช้อยู่ 31,000 บาทต่อทริป เลยชดเชยกันไม่พอ Import (56% ของ GDP) เติบโต 17% • ในรูปแบบ USD จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 14.4% >> 16.3% >> 16.8% >> 17% • นำเข้าทองคำสูงสุดในรอบ 5 ปี และนำเข้าเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สรุปตัว X-M ชะลอตัวอย่างมากทั้งในแง่ของตัวสินค้าส่งออกเองจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า Trade War และการท่องเที่ยวที่มากระทบหนักในช่วง Q3 ต้องติดตามว่า Q4 จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้ไหม สรุปภาพรวม GDP ที่ผ่านมาเราพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก รอบนี้มาสะดุดลง แล้วยังไปโดนเรื่องการท่องเที่ยวมาซ้ำเติมอีก แต่ยังดีที่ได้การบริโภคเอกชน กับการลงทุนโตมาพอดี แต่ก็ยังไม่เร็วพอ ที่สำคัญยังไปกระจุกตัวกับสินค้าคงทนอย่างรถยนต์ มากกว่าที่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีในระยะยาว เพราะไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานเป็นวงกว้าง รายได้ของคนในประเทศก็จะไม่เพิ่มอย่างทั่วถึง สุดท้ายอาจจะต้องมาพึ่งการใช้จ่ายภาครัฐบาลให้มากกว่านี้และกระจายเป็นวงกว้างเพื่อให้ GDP กลับมาโตแบบสมดุลและยั่งยืน Implication กับการลงทุน 1) เรายังคงเห็นคำว่า “ยานยนต์” เยอะ แต่ไม่ใช่ว่าหุ้นทุกตัวที่เกี่ยวกับรถยนต์จะดีไปหมดทุกตัว เพราะว่าที่ดีคือ รถยนต์ที่ขายในประเทศเป็นหลัก ถ้าสนใจคงต้องไปทำการบ้านหุ้นที่เกี่ยวกับการขายชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศเป็นหลัก หรืออาจจะมองไปถึงสินเชื่อซื้อขายรถ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือใครจะมองข้ามช็อตไปประมูลรถก็ว่ากันไป (เผื่อว่าผ่อนไม่ไหว โดนยึด หรือขายต่อ) 2) ก่อสร้าง กลุ่มนี้ดูน่าสนใจ เพราะมีการลงทุนต่อเนื่อง และน่าจะยังมีต่อจากโครงการภาครัฐ โดยเฉพาะถ้าเป็นแถบ ๆ EEC ที่ดูดีขึ้นเรื่อย ๆ ก็ลองหาดูว่าตัวไหนที่ได้ประโยชน์ทั้งวัสดุก่อสร้าง นิคม อสังหา ฯลฯ 3) ส่งออก ท่องเที่ยว อันนี้ให้ระวังครับ อย่างน้อยระยะสั้นก็ดูสถานการณ์ไม่ค่อยดี เพราะ Trade War ก็ยังดูไม่ชัดเจน นักท่องเที่ยวถึงแม้ถ้ายุโรปจะกลับมา แต่ว่าถ้าคนจีนยังไม่มาเยอะเหมือนเดิม ก็น่าเป็นห่วง หุ้นกลุ่มไหนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนี้พิจารณากันครับ 4) ในระยะต่อไป ผมมองว่า C, I, G จะต้องกลายมาเป็นพระเอก แทนการหดตัวลงของ X ลองดูครับว่าจะมีตัวไหนที่เราจะลงทุนได้ในต้นเทรนด์ ใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมแนะนำดูได้ที่สภาพัฒน์ กับบทวิเคราะห์ของ SCB EIC ครับ http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=QGDP_report https://www.scbeic.com/th/detail/product/5142 ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/stock.vitamins/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Stock Vitamins (วิตามินหุ้น) มุมหนึ่งคือนักกลยุทธ์การตลาดบริษัท FMCG แต่อีกบทบาทคือ นักลงทุนผู้ชื่นชอบการค้นหาบริษัทที่มี Growth Story เจ๋ง ๆ ซ่อนอยู่ และนำมาเล่าด้วยภาษาง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็เข้าใจ เป้าหมายในการลงทุน คือ แบ่งปันความรู้เพื่อให้นนักลงทุนมือใหม่ไม่เดินหลงทางและอยู่รอดปลอดภัยในตลาดหุ้นตราบนานเท่านาน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
อวสานของนักลงทุนรายย่อย - FINNOMENA การเติบโตของนักลงทุนส่วนบุคคลในช่วง 1-2 ที่ผ่านมานั้นเริ่มชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด  สาเหตุสำคัญนั้นน่าจะมาจากการที่หุ้นขนาดกลาง-เล็กที่เป็นหุ้นยอดนิยมของนักลงทุนส่วนบุคคลมีราคาตกลงมาอย่างหนัก นอกจากนี้ยังมีสัญญานอื่นๆ อีกที่กำลังจะบอกว่ายุคทองของนักลงทุนรายย่อยกำลังจะจบแล้ว?? 6 ธ.ค. 2561 สัปดาห์ที่แล้วช่องทีวี “Money Channel” ของตลาดหลักทรัพย์ได้ประกาศปิดตัวลงอย่าง “กะทันหัน” หลังจากเปิดดำเนินการมา 13 ปี วันที่เปิดตัวนั้นผมเองยังจำได้ว่าตนเองไปร่วมงานและเป็นสมาชิกคนหนึ่งที่เข้าไปร่วมทำรายการ “Money Talk” บรรยากาศในวันนั้นผมเองรู้สึกถึง “พลัง” ของนักลงทุนรุ่นใหม่ที่เริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ สถานีโทรทัศน์ที่เน้นแต่เรื่องการเงินการลงทุนเพียงอย่างเดียวนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีคนจำนวนมากต้องการดูต้องการศึกษาหาข้อมูล ในเวลานั้นนักลงทุนส่วนบุคคลเองก็ยังไม่มากนักแต่ดูเหมือนว่าการเติบโตกำลังพุ่งขึ้น การเปิดช่องสถานีทีวีน่าจะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้นและที่สำคัญเข้ามาลงทุนด้วยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้น หลังจากการเปิดตัวของมันนี่แชนเนล ตลาดหุ้นไทยก็ “คึกคัก” ขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสนใจของนักลงทุนส่วนบุคคลที่เริ่มเข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ รายการทีวีทำให้บุคคลธรรมดารู้สึกคุ้นเคยกับเรื่องของการลงทุนในหุ้นและตราสารต่าง ๆ มากขึ้น หุ้นไม่ใช่เป็นเรื่องของนักพนันหรือนักเก็งกำไรอีกต่อไป เช่นเดียวกัน มันไม่ใช่เรื่องที่ทำโดยสถาบันการลงทุนแต่เพียงฝ่ายเดียว นักลงทุนส่วนบุคคลก็สามารถเรียนรู้และเข้าใจการลงทุนได้และอาจจะไม่แพ้นักลงทุนสถาบันด้วย เซียนและนักลงทุนรายใหญ่ที่ประสบความสำเร็จสูงหลาย ๆ คนกลายเป็น “ไอดอล” ของคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่พยายามเรียนรู้และทำตามเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเงินการลงทุนจนมี “อิสรภาพทางการเงิน” หรือรวยไปเลยด้วยการลงทุนในหุ้น ในเวลาเดียวกัน ดัชนีหุ้นไทยก็ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าจะมีการสะดุดบ้างแต่ก็มักจะเป็นเวลาสั้น ๆ ไม่เกินปี นั่นส่งผลให้นักลงทุนส่วนบุคคลของไทยมีจำนวนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกลายเป็นที่ “น่าอิจฉา” ของตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน จนถึงวันนี้ ปริมาณการซื้อขายหุ้นโดยรวมของไทยน่าจะสูงกว่าทุกประเทศในอาเซียนทั้ง ๆ ที่ขนาดของตลาดหุ้นของเราไม่ได้ใหญ่ที่สุด การเติบโตของนักลงทุนส่วนบุคคลในช่วงปีสองปีที่ผ่านมานั้นดูเหมือนว่าจะเริ่มชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุสำคัญนั้นน่าจะมาจากการที่หุ้นขนาดกลางและเล็กที่เป็นหุ้นยอดนิยมของนักลงทุนส่วนบุคคลมีราคาตกลงมาอย่างหนักแทบจะเป็น “หายนะ” หลังจากที่มันถูก “ปั่น” ขึ้นไปสูงมากก่อนหน้านั้นอานิสงค์จากการที่นักลงทุนรายย่อยเข้ามาเล่นหุ้นกันมาก การขาดทุนอย่างต่อเนื่องทำให้นักลงทุนรายย่อยเริ่มทยอยออกจากตลาดในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาทำให้สัดส่วนการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนส่วนบุคคลลดลงมาเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วจากที่เคยมีสัดส่วน 60-70% เหลือน่าจะไม่เกิน 40% ในช่วงเร็ว ๆ นี้และน่าจะลดลงต่อไปถ้าหุ้นขนาดเล็กและกลางยังไม่ปรับตัวขึ้นเป็นเรื่องเป็นราวซึ่งแนวโน้มก็น่าจะเป็นอย่างนั้นเพราะราคาหุ้นก็ยังแพงอยู่มาก เช่นเดียวกับภาวะของตลาดหุ้นที่เอื้ออำนวย ย้อนหลังไปน่าจะใกล้ ๆ กับช่วงของการเปิดมันนี่แชนเนล หน่วยงานรัฐและรัฐบาลเองก็มีการส่งเสริมให้นักลงทุนส่วนบุคคลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างมาก มาตรการที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลสำหรับเงินที่นำมาลงทุนในตลาดหุ้นผ่านกองทุน LTF และ RMF ก็ทำให้คนที่มีรายได้สูงเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้นมาก คนเริ่มยอมรับกับความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นได้มากขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ พวกเขารู้สึกว่าหุ้นนั้นแค่ “ผันผวน” เวลาตกลงไปแรงไม่นานมันก็กลับมา มันเป็น “โอกาส” ซื้อหุ้นถูก มันไม่ใช่ความเสี่ยง ดังนั้นพวกเขาจึงกล้าเข้ามาลงทุนในตลาดด้วยตนเองมากขึ้น บริษัทจดทะเบียนเองก็เริ่มเห็นว่านักลงทุนส่วนบุคคลนั้นมีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งจะสามารถขับดันราคาหุ้นให้ขึ้นไปสูงและสร้างความมั่งคั่งให้กับเจ้าของบริษัทได้ พวกเขาจึงเปิดโอกาสให้นักลงทุนส่วนบุคคลเข้าไปเยี่ยมชมกิจการและซักถามข้อมูลต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่นักลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์หุ้นสามารถเข้าถึงได้ ตลาดหลักทรัพย์เองก็สนับสนุนโดยการเปิดรายการ “Opportunity Day” ที่เปิดโอกาสและชักชวนให้บริษัทจดทะเบียนมาให้ข้อมูลแก่นักลงทุนส่วนบุคคลโดยตรงเป็นรายไตรมาศ ซึ่งก็มีบริษัทจำนวนมากมาร่วมกิจกรรมนี้ นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนรายย่อยรู้สึกว่าเขามีโอกาสที่จะลงทุนในตลาดหุ้นเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก็เช่นเดียวกัน เป็นเรื่องที่ “น่าอิจฉา” ของนักลงทุนรายย่อยในประเทศอื่น ๆ แทบจะทั่วโลกไม่ต้องพูดถึงนักลงทุนของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่นักลงทุนส่วนบุคคลมักจะไม่สามารถเข้าถึงผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้ มาถึงวันนี้ผมคิดว่าเรื่องราวดี ๆ และที่ช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนส่วนบุคคลของตลาดหุ้นไทยก้าวหน้าและมีบทบาทสูงในตลาดหุ้นไทยนั้น น่าจะใกล้จุดสูงสุดหรือ Peak ไปแล้ว เริ่มจากภาวะตลาดหุ้นของหุ้นตัวเล็กและกลางที่เป็นหุ้นยอดนิยมของนักลงทุนรายย่อยนั้น ผมคิดว่าน่าจะจบรอบใหญ่ไปแล้วและน่าจะต้องใช้เวลาอีกนานมากกว่าภาวะที่เคยเป็นจะหมุนกลับมาใหม่ สิ่งที่บอกว่ามันถึง “อวสาน” แล้วก็คือผลงานของหุ้น IPO ที่ในระยะเร็ว ๆ นี้ทำผลงานน่าผิดหวัง หุ้นส่วนใหญ่ที่เข้ามาต่างก็ต่ำกว่าราคาจองตั้งแต่วันแรก หุ้น IPO นั้นเป็น Indicator หรือเครื่องวัดที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง นั่นก็คือ ช่วงที่ตลาด Peak หรือกำลังร้อนแรงสุดนั้น IPO เกือบทุกตัวจะทำกำไรได้ดีมาก เข้าตลาดวันแรกก็ทำกำไรบางทีเป็นร้อย ๆ เปอร์เซ็นต์ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นบริษัทที่ดีหรือถูกแต่อย่างใด จำนวนหุ้น IPO ก็จะมีมากเพราะเจ้าของบริษัทต่างก็อยากรวยโดยการเอาหุ้นเข้าตลาด ตรงกันข้าม เมื่อ IPO เริ่มขาดทุนและขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หุ้น IPO เข้าตลาดน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นก็เป็นสัญญาณว่า ตลาดหุ้นกำลังวายแล้ว ในด้านของการสนับสนุนจากทางการต่อตลาดหลักทรัพย์และหุ้นเองนั้น มาถึงวันนี้ผมคิดว่าน่าจะลดลงมากเฉพาะอย่างยิ่งต่อนักลงทุนส่วนบุคคลรายย่อย พวกเขาอาจจะคิดว่าตลาดก้าวหน้าและเติบโตแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมอีกต่อไป มาตรการลดภาษีให้คนลงทุนผ่านกองทุนรวมโดยเฉพาะ LTF และ RMF จึงกำลังถูกยกเลิก นอกจากนั้น ดูเหมือนว่าทางการไม่อยากส่งเสริมให้นักลงทุนส่วนบุคคลลงทุนเอง พวกเขาคิดว่านักลงทุนรายย่อยไม่มีความรู้หรือความสามารถพอจึงควรให้นักลงทุนมืออาชีพทำผ่านการซื้อกองทุนรวมจะดีกว่า การปิดมันนี่แชนเนลเองนั้น ถึงแม้ตลาดหลักทรัพย์จะบอกว่าเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทีวีกำลังหมดยุคและตลาดจะยังคงส่งเสริมการให้ความรู้กับนักลงทุนส่วนบุคคลผ่านช่องทางหรือแนวทางอื่น แต่ก็ต้องยอมรับว่าตลาดน่าจะแสดงบทบาทน้อยลงจากอดีตที่เป็น “ผู้นำ” อนาคตนั้นดูเหมือนว่าตลาดจะเป็นคนสนับสนุนให้คนอื่นทำมากกว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นผมเองมองว่าเป็นเรื่องของวิวัฒนาการของตลาดหลักทรัพย์ไทยที่เหมือนกับตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก จริงอยู่ในช่วงที่นักลงทุนส่วนบุคคล “เฟื่อง” นั้น ตลาดหลักทรัพย์ของไทยนั้นนักลงทุนส่วนบุคคลของไทยค่อนข้างจะเฟื่องกว่าประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ประเทศ นักลงทุนส่วนบุคคลของไทยมีบทบาทที่โดดเด่นในแง่ของการลงทุนและสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม นักลงทุนส่วนบุคคลที่โดดเด่นมีพอร์ตใหญ่ขนาดกองทุนรวมหลายรายต้อง “ชิดซ้าย” หุ้นที่ “เซียน” เล่นหลาย ๆ ตัวผู้จัดการกองทุนรวมต้องเล่นตาม บริษัทจดทะเบียนหลาย ๆ แห่งต้อนรับนักลงทุนส่วนบุคคลยิ่งกว่านักวิเคราะห์หรือกองทุนรวม แต่สุดท้ายแล้ว “งานเลี้ยงก็จะต้องเลิกรา” ผมเองคิดว่าเวลานี้คือ “อวสานของนักลงทุนส่วนบุคคล” ที่รุ่งเรืองมายาวนาน หลังจากนี้นักลงทุนส่วนบุคคลจะค่อย ๆ มีบทบาทน้อยลง ปริมาณการซื้อขายหุ้นน้อยลงเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น และถ้าตลาดหุ้นไทยจะโตต่อไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งนักลงทุนส่วนบุคคลก็แทบจะไม่มีความหมายเหมือนกับตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย ที่มาบทความ: thaivi.org แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดทุนโลก จะกลับมาเปิดรับความเสี่ยงอีกครั้งในปี 2019 - FINNOMENA ในช่วงเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา เกิดพัฒนาการเชิงบวกหลายอย่างในตลาดทุนโลก อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตลาดหุ้นโลก รวมถึงทางฝั่งเอเชีย และตลาดหุ้นไทย กลับมามีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้เป็นบวกได้อีกครั้ง มาย้อนดูปัจจัยบวกที่เห็นได้ค่อนข้างชัดตั้งแต่ย่างเข้าเดือนพ.ย. ที่ผ่านมากันเลย 6 ธ.ค. 2561 ในช่วงเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา เกิดพัฒนาการเชิงบวกหลายอย่างในตลาดทุนโลก ซึ่งผมมองว่า นี่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตลาดหุ้นโลก รวมถึงทางฝั่งเอเชีย และตลาดหุ้นไทย กลับมามีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้เป็นบวกได้อีกครั้ง หลังจากที่ทำให้นักลงทุนผิดหวังกันมาทั้งปี 2018 ที่ผ่านมา บทความตอนนี้ขอพาไปดูปัจจัยบวกที่เห็นได้ค่อนข้างชัดตั้งแต่ย่างเข้าเดือนพ.ย. ที่ผ่านมานะครับ กลไกการคานอำนาจประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเริ่มทำงาน หลังจากผลการเลือกตั้งกลางสมัย ผลที่เราทราบคือพรรคเดโมเครตครองเสียงข้างมากในสภาล่าง ซึ่งทำให้อีก 2 ปีข้างหน้า พรรครีพลับรีกันไม่ได้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งสภาบนและสภาล่างแล้ว ผลหลังจากนี้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก็คือ ผมเชื่อว่า ปธน.ทรัมป์ จะเปลี่ยนท่าทีการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศ หลังจากที่ผลักดันภาษีนำเข้า หรือ นโยบายกีดกันทางการค้าในช่วง 2 ปีแรกมาตลอด เพราะน่าจะเกรงว่าจะยิ่งเสียคะแนนนิยมไปมากกว่านี้ และหลายฝ่ายก็ออกมาเตือนตลอดเวลา แนวทางการดำเนินนโยบายเช่นนี้ ไม่น่าจะส่งผลดีต่อทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกในระยะยาว ราคาน้ำมันในตลาดโลก ปรับฐานจากจุดสูงสุดต้นเดือนต.ค. มากกว่า -25% ประเด็นนี้ ที่ผมมองว่าเป็นปัจจัยบวก สาเหตุเพราะ การที่ราคาน้ำมันดิบลดลง จะส่งผลโดยตรงให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้เป็นตัวพิจารณาแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งเหตุผลของการปรับลดลงครั้งนี้ ก็มาจากหลายๆปัจจัย ทั้งเรื่องที่พี่ใหญ่ในกลุ่มโอเปคอย่างซาอุฯ เพิ่มกำลังการผลิตในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำมันสำรองในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวบ้างในปี 2019 และปี 2020 ก็ส่งผลให้เหล่านักวิเคราะห์ออกมาปรับประมาณการอุปสงค์ของน้ำมันดิบลงด้วยเช่นกัน แต่ไม่ว่าจะเพราะเหตุผลใดก็แล้วแต่ ในด้านของสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตราสารทุนหรือหุ้น ย่อมชอบที่จะเห็นนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย มากกว่าการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ซึ่งก็เห็นแล้วนะครับว่า หลายๆ ช่วงของปี 2018 ที่ผ่านมา ความผันผวนของตลาดหุ้นก็มีสาเหตุบางส่วนมาจากความกลัวว่าอัตราเงินเฟ้อจะขยับขึ้นเร็วเกินไป การเปลี่ยนท่าทีในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งตลาดเห็นมาซักระยะว่ามีแรงกดดันทางการเมือง จากการที่ปธน.ทรัมป์ ให้ความเห็นกึ่งโจมตีคณะกรรมการ FOMC ว่า การรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มันทำลายความตั้งใจและสวนทางกับนโยบายการคลังที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสู้กับการขาดดุลกับประเทศคู่ค้า เพราะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์แข็งค่าเกินไป แต่สัญญาณมาเริ่มชัดเจนขึ้น ก็เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประธานเฟด นายเจอโรม พาวเวล กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายกำลังเข้าใกล้ระดับที่สมดุล หรือจุดที่เป็นกลาง โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เป็นกลางเพียงเล็กน้อย ถือเป็นระดับที่ไม่ได้ทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ คำสัมภาษณ์นี้ เหมือนกำลังจะแย้มบอกกับนักลงทุนว่า ปีหน้า (2019) เราจะได้เห็นธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช้าลงมากกว่าปีนี้ จากที่ปีที่ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้ง และน่าจะขึ้นอีกครั้งในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี รวมทั้งหมดเป็น 4 ครั้ง นักวิเคราะห์ในตลาดมองว่า ปี 2019 เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยได้เพียง 2-3 ครั้งเท่านั้น ซึ่งปัจจัยสนับสนุนก็มาจากเหตุผลข้อ 2. ด้วยเช่นกัน ที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงครับ การเริ่มต้นเจรจาเพื่อหาข้อยุติในประเด็นสงครามการค้า โดยปธน.ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และ ปธน.สี จิ้น ผิง ของจีน พร้อมทีมเศรษฐกิจเข้าร่วมกันเจรจาการค้าในวันเสาร์ที่ผ่านมา หลังจากการประชุม G-20 ซึ่งกินเวลาถึงมากกว่า 2 ชั่วโมงทีเดียว การเจรจานี้เกิดขึ้นที่กรุงบัวโนส แอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เราคงต้องรอรายละเอียดซักหน่อยนะครับ เพราะตอนนี้ยังไม่มีรายงานออกมาจากทั้ง 2 ฝั่งว่า ตกลงกันเรื่องอะไรไปบ้าง เพราะเพิ่งเป็นการพบปะกันครั้งแรกหลังจากเปิดฉากตั้งกำแพงภาษีกันมาตั้งแต่ต้นปี แต่ข้อดีที่นักลงทุนรับรู้ได้ทันทีคือ นับจากนี้ จะไม่มีการตั้งกำแพงภาษี หรือออกมาตรการกีดกันการค้าอะไรเพิ่มเติมแล้ว ถ้ามองอีกมุมมอง ก็สามารถมองได้ว่า กรณีที่เลวร้ายที่สุดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน อาจจะผ่านพ้นไปแล้ว และน่าจะมีพัฒนาการเชิงบวกออกมาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้นักวิเคราะห์การเมืองบางท่าน ให้ความเห็นว่า สาเหตุหลักอาจเป็นเพราะ ปธน.ทรัมป์ ต้องการพุ่งเป้าไปที่รัสเซียไปยึดเรือยูเครนไว้ 3 ลำกลางทะเลพิพาท ใกล้แคว้นไครเมีย และยกเลิกการประชุมกับปธน.ปูตินหลังประชุม G20 ไป ถึงแม้จะมีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นมาถึง 4 ประเด็นภายในเดือนเดียว และตลาดหุ้นอาจเปิดรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังจากผันผวนมาทั้งปี 2018 ที่ผ่านมา แต่อีกหนึ่งอย่างที่ผมเชื่อก็คือ การจัดพอร์ตการลงทุน (Asset Allocation) ก็ยังถือว่ามีความสำคัญในการรับมือกับทุกสถานการณ์การลงทุนในระยะยาว เราไม่ควรประมาท เตรียมแผนการรองรับ รวมถึงเตรียมจิตใจกันไว้พร้อมครับ ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646081 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปทุกสิ่งที่คุณต้องรู้ของหุ้น “PLANB” - FINNOMENA PLANB ทำธุรกิจป้ายโฆษณาจอ Digital ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามตึกสูง, ทางด่วน และย่านธุรกิจต่างๆ ปัจจุบัน มีมูลค่าตลาดสูงถึง 22,000 ลบ. หากใครกำลังสนใจหุ้นตัวนี้ ลองมาดูข้อมูลสำคัญๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจกันเลย 5 เม.ย. 2562 PLANB ทำธุรกิจป้ายโฆษณาจอ Digital ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามตึกสูง, ทางด่วน และย่านธุรกิจต่างๆ ปัจจุบัน PLANB มีมูลค่าตลาดสูงถึง 22,000 ลบ. เป็นบริษัทที่มีรายได้รวมสูงเป็นอันดับสองของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีเบอร์หนึ่งคือ VGI บริษัทเน้นทำธุรกิจ DOOH หรือ Digital Out of Home Media ปัจจุบันเป็นผู้เล่นที่มีความหนาแน่นของป้ายโฆษณาดิจิตอล (คือมีเยอะสุดนั่นแหละ) อันดับหนึ่งของกรุงเทพ PLANB มีป้ายโฆษณาดิจิตอลจำนวน 275 ป้าย เป็นอันดับหนึ่งเช่นกันเมื่อเทียบกับรายอื่นๆ ที่มีเพียง 45 ป้าย PLANB มีรายได้จากป้ายโฆษณา Digital และโฆษณาออนไลน์สูงถึง 42.7% หรือเกือบๆ ครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว นอกจากป้ายโฆษณา Digital แล้ว PLANB ยังมีรายได้จากป้ายโฆษณา Billboard ตามถนนสายหลักต่างๆ (สัดส่วน 27.2%) และรายได้จากสื่อโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (สัดส่วน 15%) PLANB มีธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นและกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นธุรกิจสื่อโฆษณาในห้างสรรพสินค้า, สื่อโฆษณาในสนามบิน และสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งที่บริษัทไปจัดการเรื่อง Sponsor ของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย รวมไปถึงการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทที่ทำ BNK48 ด้วย 3 ปีที่ผ่านมารายได้ของ PLANB เติบโตอย่างต่อเนื่อง 2558 – 2,170 ลบ. กำไร 400 ลบ. 2559 – 2,448 ลบ. กำไร 351 ลบ. 2560 – 3,016 ลบ. กำไร 462 ลบ. รายได้โตตลอดแต่กำไรโตบ้างไม่โตบ้าง ส่วนหนึ่งมาจากการที่ PLANB ลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่มีกำไรขั้นต้นที่ค่อนข้างผันผวนขึ้นๆ ลงๆ จากการที่เหตุการณ์ภายนอกเข้ามากระทบทำให้ขายพื้นที่โฆษณาไม่ได้ อย่างไรก็ตามหากมองใน 5 ปีที่ผ่านมา ยังถือว่ากำไรเติบโตได้ดีจาก 167 ลบ.ในปี 2013 มาเป็น 462 ลบ.ในปี 2017 เติบโตเฉลี่ยปีละ 29% สัดส่วนลูกค้ารายใหญ่ 10 รายแรกมีรายได้เป็นสัดส่วนถึง 68.7% ถ้าลูกค้ารายใดรายหนึ่งมีการยกเลิกการซื้อพื้นที่โฆษณาไปจะส่งผลกระทบกับรายได้และกำไรอย่างมีนัยยะได้ และจะส่งผลกระทบไปถึงราคาหุ้นด้วย แม้อุตสาหกรรมโดยรวมจะกำลังถดถอยโดยในปี 2560 ขนาดของอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงจากปี 2559 6% กลุ่มที่ลดสูงสุดคือ: นิตยสารลด 33.6% หนังสือพิมพ์ลดลง 21.8% เคเบิลทีวี 15.6% วิทยุลดลง 15% ทีวีอนาล๊อกลดลง 13.1% จะเห็นว่าทั้งอุตสาหกรรมโฆษณากำลังเผชิญกับวิกฤต แต่ๆๆๆ ส่วนที่เป็นสื่อโฆษณากลางแจ้ง (Billboard) กลับไม่ลดลงแถมยังเติบโต 12.8% สื่อโฆษณาระบบขนส่งเช่น BTS MRT ก็มีการเติบโตที่ 10.1% สื่อโฆษณาภายในห้างก็โตสูงถึง 34.6% ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นส่วนที่เป็นธุรกิจหลักของ PLANB การเติบโตของสื่อโฆษณากลางแจ้งมีการเติบโตที่ดีขึ้นและมีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้นเรื่อยๆ ปี 2015 สื่อโฆษณากลางแจ้งมีส่วนแบ่งแค่ 8% แต่พอมาปี 2017 สื่อโฆษณากลางแจ้งมีส่วนแบ่งมากถึง 13% ผู้บริหาร PLANB บอกว่ามีโอกาสโตได้อีกถึง 18% (สัดส่วนเทียบเท่าฮ่องกงในปี 2016) โอกาสในการลงทุนหุ้น PLANB มีหลากหลายปัจจัยบวก เช่น การเพิ่มจำนวนช่องทางและป้ายโฆษณาประมาณ 10-15% ต่อปีซึ่งส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นตามด้วย, อัตราการใช้งานป้ายที่สูงขึ้นเนื่องจากเสถียรภาพทางการเมือง, การมีเลือกตั้งและเหตุการณ์พิเศษต่างๆที่น่าจะไม่มีแล้ว ในอดีต PLANB มีอัตราการใช้งานป้ายที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณ 59-69% จากเหตุการณ์โศกเศร้าในปี 2016-2017 (ซึ่งทำให้ PLANB ขาดรายได้ไป 1-2 เดือนในแต่ละปี) แต่ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไปเหตุการณ์จะกลับสู่สถานการณ์ปกติน่าจะทำให้อัตราการใช้งานป้ายสามารถเพิ่มเป็น 73-78% ในปี 2018 และ 78-82% ได้ในปี 2019-2020 การที่อัตราการใช้งานป้ายดีขึ้น (ป้ายไม่โล่งมีคนเช่าตลอด) จะทำให้อัตราการทำกำไรของ PLANB สูงขึ้นได้อย่างมีนัยยะ ปี 2017 มีอัตรากำไรสุทธิที่ 15.3% ในครึ่งปีแรกของ 2018 อัตรากำไรสุทธิดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่ 17.3 เห็น PLANB เติบโตต่อเนื่องแบบนี้แต่บริษัทแทบไม่มีหนี้เงินกู้เลย หนี้ที่มีอยู่พันกว่าล้านเป็นหนี้ทางการค้าทั้งหมด ตรงนี้พอจะประเมินได้ว่า PLANB เองก็มีอำนาจต่อรองในการซื้อจอดิจิตอลกับผู้ขายพอสมควร แล้วผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2561 ที่เพิ่งประกาศไปเป็นยังไงบ้าง? ดูที่รายได้กันก่อน รายได้ของ PLANB เติบโตสูง 52.3% จาก 788 ลบ. มาเป็น 1201 ลบ. ถือเป็นรายได้รายไตรมาสที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้ง PLANB มาเลยทีเดียว ซึ่งถ้าดู EBITDA ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือเติบโตสูงถึง 45% ปัจจัยที่ทำให้รายได้ของ PLANB เติบโตหลักๆ มาจากรายได้โฆษณาที่มากขึ้น และอุตสาหกรรม Out of Home Media ที่เติบโต รวมไปถึงไม่มีเหตุการณ์พิเศษที่มากระทบกับอุตสาหกรรม Out of Home อย่างปีที่ผ่านๆ มา และการควบรวมรายได้ของบริษัทบีเอ็นเค 48 ออฟฟิศ แต่ๆๆๆ หากมาดูที่บรรทัดสุดท้ายซึ่งก็คือกำไรสุทธิ กลับเติบโตแค่ 18.6% เท่านั้น สาเหตุนึงมาจากที่ PLANB ควบรวมรายได้ทั้งหมดของบีเอ็นเค 48 แต่รับรู้กำไรตามสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่ 35% ในอนาคต PLANB ยังคงขยายธุรกิจโฆษณาโดยมีการลงทุนในป้ายโฆษณาและทำ M&A กับบริษัทที่ทำธุรกิจโฆษณาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีการต่อยอดทำ Engagement marketing เช่น การทำ Sport marketing ให้กับทีมชาติไทย และ Music marketing กับ BNK48 รวมไปถึงการเป็น One-Stop Media solution เชื่อมโยงธุรกิจโฆษณาภายนอกบ้านเข้าสู่ Online media ผ่าน Smartphone อีกด้วย Outlook ปี 2018 PLANB จะทำอะไรบ้าง? 1. เพิ่มป้ายโฆษณาและพื้นที่สื่อต่างๆ ประมาณ 10-15% รวมไปถึงการขยายงานออกต่างประเทศ 2. เพิ่มอัตรา Utilization ให้สูงขึ้นเป็น 75% ด้วยการปรับราคา, ปรับโครงสร้างการให้ผลตอบแทนกับ Agency ใหม่ ในเชิงกำไรขาดทุน PLANB ตั้งเป้ารายได้โต 15-20% อัตรากำไรขั้นต้น มากกว่า 38% มีเม็ดเงินลงทุนประมาณ 700-800 ลบ. งบลงทุนสำหรับการ Takeover ที่ 500 ลบ. และปันผลไม่น้อยกว่า 50% ของกำไรสุทธิ เป้ารายได้ส่วน Engagement Marketing 700 ลบ. ในปี 2018 เป็นการขายสินค้า 180 ลบ. เป็นการขายสปอนเซอร์ 520 ลบ. เติบโตปีละ 15-20% ดูข้อมูลงบการเงินของ PLANB เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/planb คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ศึกประชันผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA: กองทุน Passive V.S. กองทุน Active - FINNOMENA สงสัยไหมว่าหากอยาก DCA กองทุนแบบ Passive หรือ Active จะให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจกว่ากัน? บทความนี้คัดกองทุน SET50 มาประชันกันว่าผลตอบแทนย้อนหลังเป็นอย่างไร ความเสี่ยงเป็นอย่างไร ลองมาดูสถิติย้อนหลังกันเลย 30 พ.ย. 2561 ศึกประชัน ผลตอบแทนย้อนหลังจากการ DCA มีมวยคู่ไหนมาประชันกันบ้าง? 1. กองทุน SET50 กองไหนทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด?? 2. กองทุนประเภท Passive ปลอดภัยกว่าจริงหรือ?? 3. การ DCA เหมาะกับกองทุนประเภทไหน?? 4. กองทุนไหน ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด ในยามตลาดเป็นขาขึ้น?? 5. กองทุนไหน รักษาความผันผวนได้ดีที่สุด ในยามตลาดเป็นขาลง?? ไปดูข้อสังเกตในแต่ละช่วงระยะเวลาการลงทุน และข้อสรุปในภาพสุดท้ายได้เลยค่ะ อธิบายกองทุนเพิ่มเติม : กองทุนประเภท Passive (คาดหวังผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด) ▪ SCBSET50 , TMB50, K-SET50 ลงทุนในหุ้น SET50 ให้ผลตอบแทนล้อไปตามดัชนี ▪ JB25 ไม่ได้หุ้นใหญ่สุด25ตัวแรก แต่เป็นการกระจายไปลงทุนในทุกๆ อุตสาหกรรม โดยเลือกเป็นหุ้นใหญ่ 25 ตัว กองทุนประเภท Active (คาดหวังผลตอบแทนให้ชนะตลาด) ▪1AMSET50-RA ถือหุ้น25-30ตัว เน้นลงทุนใน SET50 ประมาณ 65% ที่เหลือมีกระจายไปยังหุ้นนอก SET50 และหุ้นเล็ก เพื่อคาดหวังผลตอบแทนให้มากกว่า SET50 ▪ BTP ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่เพียง10ตัว ▪ T-LOWBETA เน้นลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ หมายเหตุ : ผลตอบแทนรวมค่าธรรมเนียมแล้ว 3-Month Performance ช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ข้อสังเกต : 1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน 2. ในระยะเวลาสั้นๆเพียง 3 เดือน ผลตอบแทนไม่ได้แตกต่างกันมากนัก 3. มีเพียง T-LOWBETA ที่รักษาความผันผวนได้ดี 6-Month Performance : ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ข้อสังเกต : 1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน 2. จะเห็นว่ากองทุนประเภท Passive Fund (4กองทุนด้านบน) ที่หลายๆคนมองว่าปลอดภัยกว่ากองทุนประเภท Active Fund (3กองทุนด้านล่าง) ยังติดลบมากกว่า เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้? เพราะนโยบายของกองทุนต่างกันค่ะ กองทุน Passive Fund จะไม่มีการปรับสัดส่วนการลงทุนตามสภาพเศรษฐกิจเลย เพื่อให้ผลตอบแทนล้อไปกับดัชนี SET50 ในขณะที่กองทุน Active Fund จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า (+) ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น ผู้จัดการกองทุนจะลงทุนในหุ้นแทบจะ 100% เลย (-) ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ผู้จัดการกองทุนจะลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงมา ทำให้มีโอกาสเจ็บตัวน้อยกว่า 1-Year Performance ในช่วงที่ตลาดผันผวน ขึ้นแล้วก็ลง ข้อสังเกต : 1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนก็ยังใกล้เคียงกัน 2. T-LOWBETA ดูจะไม่เหมาะกับการ DCA ในช่วงตลาดขาขึ้น แต่ยังไม่ด่วนสรุป ไปดูรูปถัดไปกันค่ะ 3-Year Performance ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น ข้อสังเกต : 1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนก็ยังใกล้เคียงกัน 2. JB25 ที่กระจายการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 25 ตัวใน 8 อุตสาหกรรม ทำผลตอบแทนได้ดี เมื่อลงทุนในระยะเวลาที่ยาวขึ้นมา 3. T-LOWBETA ดูจะไม่เหมาะกับการ DCA ในช่วงตลาดขาขึ้นจริงๆ อาจจะเหมาะกับการลงเงินก้อนในช่วงที่ตลาดเป็นขาลงมากกว่า 5-Year Performance ข้อสังเกต : 1. กองทุน SET50 ผลตอบแทนก็ยังใกล้เคียงกัน 2. BTP ที่ลงทุนในหุ้นใหญ่เพียง 10 ตัว ทำผลตอบแทนได้ดี เมื่อมีระยะเวลาลงทุนในระดับกลาง (3-7 ปี) 3. กองทุนประเภท Active เริ่มนำแบบทิ้งห่าง 10-Year Performance ข้อสรุป : 1. กองทุน SET50 ทำผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกันมาตลอด แม้จะหักค่าธรรมเนียมแล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม หากเพื่อนๆสนใจที่จะลงทุนในกองทุนประเภทนี้ ควรเลือกกองทุนที่ค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว 2. ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง กองทุนประเภท Passive จะทำผลตอบแทนได้แย่กว่า แต่ตลาดมักจะผันผวนในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้น หากคาดหวังผลตอบแทนเทียบเท่าตลาด กองทุนประเภทนี้ตอบโจทย์ค่ะ 3. ในระยะเวลายาวมากๆ กองทุนประเภท Active ทำผลตอบแทนได้ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด 4. การ DCA เหมาะกับกองทุนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงในอนาคต แต่ต้องเป็นกองทุนที่มีความผันผวนในตัวสูงเช่นกัน มิเช่นนั้น 5. จะเป็นเหมือน T-LOWBETA ที่รักษาความผันผวนได้ดีที่สุด ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ก็ลงไม่มาก แต่ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น ก็ขึ้นไม่มากเช่นกัน ดังนั้นอาจจะเหมาะกับการลงทุนเป็นเงินก้อนในช่วงตลาดขาลงมากกว่า ————- สามารถหาข้อมูลกองทุนทั่วไทยได้ ฟรี! ที่ https://www.finnomena.com/fund/ Inspired by อ่านข่าวนอก – AKN ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/getwealthsoontogether/posts/316136918965376 คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Get Wealth Soon มีความเชื่อว่าถ้าหากเราเป็นคนที่พร้อมจะเปิดใจให้กับเรื่องการออมเงิน การลงทุน และมีการวางแผนทางการเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเอง จะสามารถเป็นคนที่มีความมั่งคั่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีฐานะครอบครัวที่ร่ำรวยมาก่อน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทุกสิ่งที่ต้องรู้: กองทุน MS-CORE LTF - FINNOMENA MS-CORE LTF เป็นกองทุน LTF ที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ชนะ SET50 TR Index ที่เป็นดัชนีชี้วัด การเป็นเจ้าของกองทุนนี้จะทำให้คุณกลายเป็นเจ้าของธุรกิจดีๆ มากมาย ลองมาดูรายละเอียดกองทุนนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจกันเลย 23 ส.ค. 2562 MS-CORE LTF เป็นกองทุน LTF ที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ชนะ SET50 TR Index ที่เป็นดัชนีชี้วัด MS-CORE LTF ทำผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีได้สูงถึง 15.99% SET50 TR Index ทำได้เพียง 14.73% การเป็นเจ้าของ MS-CORE LTF จะทำให้คุณกลายเป็นเจ้าของธุรกิจดีๆ ที่อยู่ในกองทุนนี้ด้วย เช่น ร้านสะดวกซื้อเซเว่น, สนามบินสุวรรณภูมิ, แอพโอนเงิน KPLUS ของธนาคารกสิกร, แมคโคร, ปั้มน้ำมันปตท. และร้านกาแฟมหาชนอย่างกาแฟ อเมซอน ถ้าลงทุน 1 ล้านใน MS-CORE LTF เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเงิน 1 ล้านบาทจะกลายเป็นเงิน 4.4 ล้านบาทในเวลา 10 ปี ถือเป็นตอบแทนสูงถึง 4 เท่าตัว ผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาว 10 ปีดี ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี MS-CORE LTF สามารถทำได้ 8.42% 3 ปีได้ 12.46% ยังคงชนะดัชนีชี้วัด SET50 TR Index เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มแล้ว MS-CORE LTF ทำผลตอบแทนได้ดีกว่ามาก ผลตอบแทนย้อนหลังอยู่ในระดับ ดีมาก ความเสี่ยงเทียบผลตอบแทนอยู่ในระดับดีที่สุด (ผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงปานกลาง คุ้มค่าที่จะเสี่ยง) และ การปรับฐานอยู่ในระดับดีที่สุดเช่นกัน (ปรับฐานไม่แรงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย หัวใจไม่วายนะครับ) (อ้างอิงจาก Finnomena 3D Diagram) อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจใน MS-CORE LTF คือ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมากองทุนเคยมีผลตอบแทนติดลบแค่ครั้งเดียวเท่านั้นคือปี 2558 ติดลบไป 8.4% เทียบกับ SET50 TR Index ที่เป็นดัชนีชี้วัดติดลบไป 16% ถือว่าทำได้ดีมากแล้วแม้จะติดลบ MS-CORE LTF มีนโยบายการลงทุนแบบ Active Management เน้นลงทุนไม่ต่ำกว่า 65% ในหุ้นสามัญที่อยู่ใน SET50 เท่านั้น (พูดง่ายๆคือลงทุน 65% ในหุ้นใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์ไทยแหละ) กองทุนมีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 6 การลงทุนในหุ้นใหญ่ดีอย่างไร? ก็ดีตรงที่หุ้นใหญ่เหล่านี้มักจะมีความผันผวนน้อยกว่าหุ้นเล็ก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องให้ผลตอบแทนน้อย เพราะในมุมของกองทุนต่างชาติ หากจะเข้ามา ลงทุนในประเทศไทยมักจะเลือกหุ้นใหญ่ก่อน แต่ข้อเสียก็มีตรงที่หุ้นใหญ่จะถูกกระทบด้วยปัจจัยเชิงมหภาคง่าย เช่นการเติบโตของ GDP และ การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของแบงค์ชาติ เป็นต้น มาดูกันว่าหุ้นที่ MS-CORE LTF ถืออยู่มีอะไรบ้าง? อันดับ 1 พลังงานและสาธรณูปโภค 25.56% อันนี้เป็นกลุ่มใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์ไทยมานานแล้ว ใจจริงผมไม่ค่อยชอบกลุ่มนี้เท่าไหร่เพราะผลประกอบการค่อนข้างผันผวน แต่จะกองทุนไหนก็มีการถือหุ้นกลุ่มนี้สูงใกล้ๆกันหมด อารมณ์เหมือนเป็นไฟลต์บังคับ อันดับ 2 ธนาคาร 16.14% กลุ่มนี้ดีกว่ากลุ่มแรกเพราะราคาไม่แพง แม้ในระยะสั้นจะมีผลกระทบจากการปรับตัวครั้งใหญ่เข้าสู่ดิจิตอล แต่ในระยะยาวน่าจะกลับมาเติบโตได้บ้าง ทั้งนี้ทั้งนั้นประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่การเติบโตของเศรษฐกิจอิงอยู่บนธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างมาก ดังนั้นก็น่าจะยังดีไปอีกนานพอสมควร อันดับ 3 ปิโตรเคมีและเคมีภัณท์ 8.03% แม้ผลประกอบการจะผันผวน แต่ผมชอบกลุ่มนี้มากกว่ากลุ่มพลังงาน ถ้าหุ้นในกลุ่มนี้ปรับตัวไปขายสินค้า High value ที่มี Margin สูงๆได้ก็จะช่วยให้การเติบโตสูงขึ้นในขณะที่ความผันผวนลดลง ปัจจุบันก็ค่อยๆเห็นบริษัทในกลุ่มนี้เริ่มปรับตัวกันบ้างแล้วถือเป็นสัญญาณที่ดี อันดับ 4 ขนส่งและโลจิสติกส์ 7.67% ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเกินครึ่งของหุ้นกลุ่มนี้คือ AOT เป็นกลุ่มที่ผมคิดว่ามีอนาคตไกลมาก เพราะอยู่ใน Trend ของ Digital และ Tourism อันดับ 5 พาณิชย์ 7.17% กลุ่มนี้เติบโตได้เรื่อยๆ มีความผันผวนต่ำ กระแสเงินสดดี อนาคตคงมีการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วย กองทุนนี้มีหุ้นที่ผมชอบ 3 ตัวในสัดส่วนที่สูง หุ้นตัวแรก CPALL ถืออยู่ 6.05% สุดยอดหุ้นในตำนานเจ้าของร้านเซเว่น หนึ่งในบริษัทที่ผมคิดว่าจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างจริงจัง ในระยะยาว CPALL น่าจะยังเติบโตได้อย่างไม่มีปัญหาด้วยพื้นฐานที่แข็งแกร่งในหลายๆด้าน การมี CPALL ในพอร์ทถือว่ามี MAKRO ด้วยเพราะ MAKRO เป็นบริษัทย่อย ปัจจุบัน MAKRO กำลังเปิดตลาดใหม่ด้วยการบุกประเทศกัมพูชาและอินเดีย ในช่วงแรกคงมีผลกระทบระยะสั้นจากการลงทุนอย่างหนักบ้าง แต่ในอนาคตถ้าประสบความสำเร็จได้ก็จะเป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนมหาศาล หุ้นตัวที่สอง KBANK ถืออยู่ 6.04% หุ้นแบงค์รายใหญ่ของไทยที่มีฐานลูกค้าหลักคือ SME เจ้าของแอพจ่ายเงินยอดนิยม KPLUS Mobile Payment คือ หนึ่งในเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตคนแน่นอน ปัจจุบันนี้มี App จ่ายเงินที่คนนิยมใช้กันมากๆก็ KPLUS, SCB Easy และ LINE Pay หนึ่งในผู้ชนะก็คงอยู่ใน 3 รายนี้ นี่คือสิ่งที่น่าสนใจที่สุดของ KBANK หุ้นตัวที่สาม AOT ถืออยู่ประมาณ 5.31% ประเทศไทยเป็นประเทศที่เน้นการท่องเที่ยวอยู่แล้ว โดยการท่องเที่ยวมีมูลค่าสูงถึง 10% ของ GDP ด้วยเหตุนี้ AOT จึงเปรียบเสมือนหุ้นที่ไม่มีวันตาย แถมยังโตวันโตคืน AOT มีรายได้หลักๆจากสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ทั้งสองสนามบินนี้กำลังจะขยายความสามารถในการรองรับผู้โดยสารด้วยการเพิ่มสุวรรณภูมิเฟส 2 และ Terminal 2 ซึ่งจะทำให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มได้อีก 1 เท่าตัวจาก 45 ล้านคนเป็น 90 ล้านคน สนามบินดอนเมืองจะปรับปรุง Terminal 1 ใหม่เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มอีก 10 ล้านคน เป็นรวม 40 ล้านคน นอกจากการขยายสนามบินแล้ว AOT ยังมีแผนที่จะรับโอนสนามบินเพิ่มจากกรมอากาศยาน และเพิ่มค่าธรรมเนียมผู้โดยสารเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะทำให้เป็นผลบวกกับการเติบโตของกำไรทันที ด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้ AOT เป็นหุ้นขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศไทย มูลค่า 9 แสนล้านบาทที่มีการเติบโตที่ชัดเจนที่สุดในระยะยาว ปล.แม้ผมจะไม่พูดถึงหุ้นที่ MS-CORE LTF ถือเยอะที่สุดซึ่งก็คือ PTT ถืออยู่ 10.52% เพราะผมไม่ชอบธุรกิจพลังงาน แต่อีกใจหนึ่งก็ต้องไม่ลืมว่า PTT ยังมีสุดยอดธุรกิจเครื่องดื่มอย่างร้านกาแฟ Amazon และร้านค้าปลีก Jiffy ซึ่งซ่อนอยู่ใน PTTOR บริษัทย่อยของ PTT สรุปแล้ว MS-CORE LTF เป็นกองทุน LTF ที่มีผลตอบแทนย้อนหลังที่โดดเด่นอย่างชัดเจน ในขณะที่การเลือกหุ้นเติบโตเข้ากองทุนก็สามารถเลือกได้ดี แม้หุ้นที่เลือกจะเป็นหุ้นใหญ่แต่หุ้นแต่ละตัวก็มีปัจจัยเติบโตที่ชัดเจน อยู่บนเมกะเทรนด์โลกที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ระยะสั้นอาจมีความผันผวน เหวี่ยงขึ้นลงให้ใจหายบ้าง แต่ระยะยาวยังคงคาดว่าจะเป็นหนึ่งในกองทุน LTF ที่ทำผลตอบแทนได้โดดเด่นอย่างต่อเนื่องคุ้มค่าความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญ ข้อมูลจาก Fund Factsheet 28/09/2018 ดูข้อมูลกองทุน MS-CORE LTF เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/MS-CORE%20LTF/ หมายเหตุ: หากสนใจซื้อ LTF & RMF โปรดติดต่อ บลจ. ของกองทุนที่ท่านสนใจ FINNOMENA ยังไม่มีบริการซื้อขายกองทุน LTF & RMF จ้า Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน| ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: MS-CORE LTF แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กองทุน LTF SET50 กองไหนเด็ด ? - FINNOMENA สำหรับนักลงทุนที่อยากลงทุนในหุ้น และไม่ต้องการผลตอบแทนหวือหวามาก สิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุดคงจะหนีไม่พ้นกองทุนรวมหุ้น ที่มีนโยบายการลงทุนตามดัชนี SET หรือ SET50 สำหรับกองทุน LTF ก็เช่นกัน มาดูกันว่ามีกองไหนเด็ดๆ บ้าง 23 ส.ค. 2562 สำหรับนักลงทุนที่อยากลงทุนในหุ้น และไม่ต้องการผลตอบแทนหวือหวามาก สิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด คงจะหนีไม่พ้นกองทุนรวมหุ้น ที่มีนโยบายการลงทุนตามดัชนี SET หรือ SET50 สำหรับกองทุน LTF ก็เช่นกันค่ะ มาดูกันว่ามีกองไหนเด็ดๆ บ้าง เราลองมาไล่ดูผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง ความเสี่ยงย้อนหลัง และรายละเอียดของแต่ละกองกันเลย ในแต่ละปี เรามีแปะโล่ Winner ไว้ด้วยนะ มาจากการเอาผลตอบแทน (Return) หารเทียบค่าความผันผวน (Standard Deviation) ทำไมต้องทำแบบนี้? การวัดผลตอบแทน ต่อ 1 หน่วยความเสี่ยง ยิ่งได้ค่าออกมาสูง แปลว่ากองทุนนั้นทำผลงานได้ดี “เพราะกองทุนที่ดีที่สุด ไม่ใช่กองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด แต่เป็นกองทุนที่ เมื่อตลาดลง แล้วรักษาผลขาดทุนได้ดีที่สุด” FundTalk กล่าว จึงเป็นที่มาของโล่ในแต่ละภาพค่ะ *หมายเหตุ: ข้อมูลในเว็บอาจมีการอัพเดต ทำให้ไม่ตรงกับในรูป หากสนใจกองไหนเป็นพิเศษ อย่าลืมศึกษารายละเอียดกองทุนจากหนังสือชี้ชวนโดยละเอียด หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่อีกทีนะ ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 1,3,5,10 ปี รายละเอียดกองทุน KSET50LTF ดูข้อมูลกองทุน https://www.finnomena.com/fund/KSET50LTF/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.ktam.co.th/rmf-ltf-fund-detail.aspx?IdF=2 KS50LTF ดูข้อมูลกองทุน https://www.finnomena.com/fund/KS50LTF/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/KS50LTF.aspx KFLTF50 ดูข้อมูลกองทุน https://www.finnomena.com/fund/KFLTF50/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.html?fund=KFLTF50 KFLTFA50-D ดูข้อมูลกองทุน https://www.finnomena.com/fund/KFLTFA50-D/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.html?fund=KFLTFA50-D JB25 LTF ดูข้อมูลกองทุน https://www.finnomena.com/fund/JB25%20LTF/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://tmbam.com/home/th/mutual-fund-detail.php?f=8&accept=1 JBP LTF ดูข้อมูลกองทุน https://www.finnomena.com/fund/JBP%20LTF/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.tmbam.com/home/th/mutual-fund-detail.php?f=387&accept=1 Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน| ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Get Wealth Soon มีความเชื่อว่าถ้าหากเราเป็นคนที่พร้อมจะเปิดใจให้กับเรื่องการออมเงิน การลงทุน และมีการวางแผนทางการเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเอง จะสามารถเป็นคนที่มีความมั่งคั่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีฐานะครอบครัวที่ร่ำรวยมาก่อน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
คำแนะนำการลงทุนเมื่อดัชนีหุ้นทั่วโลกปรับฐานอีกครั้งหลังเลือกตั้งกลางเทอม: FINNOMENA Market Alert & Recommendation - FINNOMENA ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน!!! รับข่าวปรับลดประมาณการณ์บริษัทซัพพลายเออร์เจ้าสำคัญของ Apple, การลาออกประท้วงกรณีเจรจา Brexit และ Goldman Sachs ถูกทวงถามค่าชดใช้ มาอัพเดตสถานการณ์ล่าสุดพร้อมคำแนะนำการลงทุนจาก FINNOMENA Investment Team ได้เลย 4 พ.ย. 2564 13 พฤศจิกายน 2561 เมื่อคืนที่ผ่านมา ดัชนี Dow Jones ร่วง 602 จุด – 2.3% ขณะที่ NASDAQ ปรับลดลง 2.8% จากการปรับตัวลงของราคาหุ้น Apple กว่า 5% หลังบริษัทลูเมนตัม โฮลดิ้งส์ (LITE) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเลเซอร์จับภาพ 3 มิติ ในฟีเจอร์ faceID ที่ใช้ใน iPhone รุ่นใหม่ ออกมาประกาศปรับลดแนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส 2/2019 As of 31/10/2018 As of 31/10/2018 สัญญาณชะลอจากหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำในสายการผลิตสินค้าและอุปกรณ์เทคโนโลยี ยังส่งผลให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่าง FAANG ปรับตัวลงด้วยเช่นกัน โดย Alphabet (Google) ร่วงลง 2.7% และ Amazon ปรับตัวลง 4.3% ส่วน ETF กลุ่มเทคฯ อย่าง Technology Select Sector SPDR ร่วงลงกว่า 3.5% อย่างไรก็ตาม Alibaba เปิดเผยว่า ยอดขาย iPhone ครองยอดขายสูงสุดในหมวดโทรศัพท์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ยอดนิยมสัญชาติจีน ในแคมเปญวันคนโสด (11.11) โดยมียอดขายแซงหน้าคู่แข่งแบรนด์อื่นๆ จากจีน บ่งบอกสัญญาณเชิงบวกในแง่ของความต้องการและความนิยมของแบรนด์ดังสัญชาติอเมริกันที่ยังมีอยู่ในระยะสั้น กลุ่มธนาคารนำโดย Goldman Sachs ปรับตัวลดลงกว่า 7% จากการเปิดเผยว่า Goldman Sachs เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีทุจริต 1MDB ของมาเลเซีย และทางกระทรวงการคลังของมาเลเซียเรียกร้องให้ทาง Goldman Sachs ชดใช้เงิน 600 ล้านดอลลาร์ ดัชนี Euro Stoxx ปรับตัวลดลง 35.16 จุด หรือ คิดเป็น 1.10% หลังความกังวลเรื่องการเจรจา Brexit ที่ทางคณะเจรจาฝั่งสหราชอาณาจักรมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ในด้านการเจรจาว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ทั้งในกรณีของ Hard Brexit, Soft Brexit หรือพิจารณาการทำประชามติเพื่อหยั่งเสียงการ Brexit อีกครั้ง ส่งผลให้ 4 รัฐมนตรีลาออกเพื่อยืนยันจุดยืนที่ต้องการให้สหราชอาณาจักรกลับเข้าไปรวมกับสหภาพยุโรปเช่นเดิม หลังการปรับตัวลงของตลาดสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลง โดย Nikkei 225 ร่วงลงประมาณ 3.2% ทางด้านหุ้นเกาหลีใต้ปรับตัวลง 1.6% ส่วนดัชนี CSI 300 ปรับตัวลง -0.1% FINNOMENA Investment Team’s Recommendation 1. ทาง FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าตลาดในภาวะปัจจุบันได้เริ่มผันผวนอีกครั้ง หลังจากรับข่าวดีเรื่องการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ โดยสาเหตุหลักมาจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ FED, ความไม่แน่นอนเรื่อง BREXIT และปัญหางบประมาณของอิตาลี ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบปีที่ 97.64 2. FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำคงพอร์ตการลงทุนของ Model คำแนะนำการลงทุนหลักของ FINNOMENA Investment Team ต่อไปได้แก่ 1stM GOAL GCP GAR TOP5 และ GIF โดยพอร์ตจะเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่เศรษฐกิจยังคงเติบโตแข็งแกร่ง และมีผลในเชิงบวกจากการมีเลือกตั้ง และยังให้คงน้ำหนักเล็กน้อยในหุ้นเอเชียได้แก่ จีนและเกาหลี โดยเชื่อว่าตลาดหุ้นเอเชียจะทยอยฟื้นตัวหลังจากค่าเงินดอลลาร์เริ่มชะลอการแข็งตัวในรอบนี้ As of 31/10/2018 3. ในส่วนของการเลือกลงทุนในแต่ละ Asset Class และยังคงแนะนำเข้าทยอยลงทุนระยะยาวใน Best-in-class หุ้นไทย และหุ้นเทคโนโลยีต่อไปจากระดับ Valuation และปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจตามคำแนะนำการลงทุนประจำเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยท่านนักลงทุนสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomena-ic/finnomena-port-strategy-nov-18/ FINNOMENA Investment Team แท็ก: 1stM BIC BIC Tech BIC Thai FINNOMENA PORT GAR GCP GIF Goal Top5 แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วิถีแห่งวาจาสิทธิ์ของทรัมป์ กับกรณีคว่ำบาตรอิหร่าน - FINNOMENA มีสิ่งหนึ่งที่โดนัลด์ ทรัมป์ทำอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน ก็คือ การพูด การทวีต และการผรุสวาท ซึ่งส่งผลต่อตลาดทั่วโลกไม่น้อย จนอาจเรียกได้ว่าเป็น "วาจาสิทธิ์" ของทรัมป์ มาดูกันว่าทรัมป์ใช้กลยุทธ์นี้กับกรณีราคาน้ำมันและคว่ำบาตรอิหร่านอย่างไร? 8 พ.ย. 2561 อย่างที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินมา… ว่าภายใต้การนำประเทศสหรัฐของทรัมป์นั้น มีเรื่องให้แปลกใจมากมาย ทั้งสงครามการค้า การต่อว่าผู้ว่าการธนาคารกลาง และ การเอาตลาดหุ้นเป็นตัวประกันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีสิ่งหนึ่งที่ทรัมป์ทำอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน ก็คือ การพูด การทวีต และการผรุสวาท ซึ่งผลต่อตลาดทั่วโลกไม่น้อย ทั้งในการสร้างความกังวลและการทำให้นักลงทุนคลายกังวลกันรายวัน จนราคาสินทรัพย์หลายๆ ชนิด เรียกได้ว่า ขึ้นอยู่กับการทวิตของแกเลยทีเดียว จนอาจเรียกได้ว่าเป็น “วาจาสิทธิ์” ของทรัมป์ และในครั้งนี้ ทรัมป์ ก็พยายามคงความมีอำนาจของคำพูดตนไว้ในกรณีของราคาน้ำมันและกรณีคว่ำบาตรอิหร่านด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกัน ว่าทรัมป์นั้น ประกาศถอนตัวข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยพยายามลดทอนอำนาจของอิหร่านลง ผ่านทางการคว่ำบาตร โดยสหรัฐอ้างว่า ต้องการให้อิหร่าน เป็นประเทศ “ปรกติ” ที่ไม่ไปยุ่มย่าม ในประเทศแถบซีเรีย อิรัก และเยเมน (ซึ่งตรงนี้ อาจหมายถึงสหรัฐที่เชื่อกันว่าหนุนหลังซาอุฯอยู่ ต้องการที่จะให้ซาอุฯ มีอำนาจในแถบนั้นมากขึ้น แต่ประเด็นนี้ขอยกไว้ก่อน) และต้องการให้อิหร่านหยุดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐจึงเริ่มมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน เพื่อหยุดอำนาจเงินจากการขายน้ำมันของอิหร่านที่มีมากจนสามารถนำไปใช้อาวุธนิวเคลียร์ และ แผ่ขยายอำนาจผ่านทางการให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่ต่างๆ ได้ จึงมีมาตรการให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกหยุดซื้อน้ำมันจากอิหร่านทั้งหมด ควบคู่ไปกับการห้ามทำธุรกรรมทางการเงินกับอิหร่าน โดยมีการใช้กลยุทธ์ที่ใช้กับเม็กซิโก แคนาดา และสหภาพยุโรป นั่นก็คือ การตั้งเป้าหมายแบบสุดโต่ง แต่ก็เหลือช่องทางให้ถอย เพื่อต้องการที่จะต่อรองให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งในคราวนี้ ทรัมป์ก็ใช้วิธีการแบบเดิม นั่นคือ ตั้งเป้าหมายการส่งออกน้ำมันของอิหร่านให้เหลือศูนย์ หากมีประเทศใด ที่ยังคงนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน จะต้องถูกลงโทษทางการค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายๆ ประเทศให้ความสำคัญ เพราะน้ำมันราคาถูกจากอิหร่านนั้น เปรียบเทียบไม่ได้เลยกับมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่อาจสูญหายไปหากสหรัฐปิดกั้นประเทศของตน แต่ถึงอย่างนั้น สหรัฐเองก็ทำให้แปลกใจอีกครั้ง เมื่อมีการเปิดเผยออกมาว่า จะยังยอมให้ 8 ประเทศ นำเข้าน้ำมันจากอิหร่านได้อยู่ แต่ต้องค่อยๆ ลดปริมาณลงเรื่อยๆ มิฉะนั้นจะโดนลงโทษเช่นเดียวกัน อันประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และที่เหลือยังไม่เปิดเผย แต่คาดว่าไต้หวัน จะเป็นหนึ่งในนั้น คำถามสำคัญคือ ทำไม? คำตอบที่ทางบลูมเบิร์กให้มาก็คือ นี่เป็นศิลปะการเจรจาของทรัมป์ ที่นอกจากจะใช้ความสุดโต่งแล้ว ทรัมป์เองยังต้องการคงอำนาจและผลกระทบจากวาจาของตนเอาไว้ด้วย เพราะหากการส่งออกน้ำมันของอิหร่านเป็นศูนย์โดยที่ ซาอุฯและคูเวต ยังไม่ยอมผลิตน้ำมันออกมาเพื่อชดเชยอย่างเต็มที่ สิ่งที่ตามมาคือ Price Shock อย่างแน่นอน ซึ่งจะหมายถึงอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ และชาวสหรัฐเองที่จะต้องเผชิญกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามต้นทุนจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้ นอกจากนั้นแล้วการเหลือปริมาณน้ำมันส่งออกของอิหร่านเอาไว้ สำหรับประเทศที่ยกเว้นนั้นยังช่วยคงความเป็นวาจาสิทธิ์ของทรัมป์ เสมือนที่เค้าใช้ทวิตเตอร์อาจจะเรียกได้ว่า “ปั่น” ตลาดโลกมานับตั้งแต่ขึ้นรับตำแหน่ง เพราะการเหลือช่องเอาไว้ จะช่วยให้ทรัมป์ยังสามารถ ทวิต หรือ ใช้คำพูด เกี่ยวกับสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างราคา ซึ่งในที่นี้คือราคาน้ำมันได้ต่อไปซึ่งหมายถึง หากเฮียแกอารมณ์ดี ก็อาจจะปล่อยเงียบๆ ไป ให้ราคาน้ำมันทรงๆ แต่วันดีคืนดี หากต้องการให้ราคาน้ำมันดีดขึ้นมา ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใด… เฮียแก แค่บรรจง พิมพ์ลงในทวิตเตอร์ ว่าจะคว่ำบาตรเพิ่ม หรือทำเป็นกดดันประเทศที่ยังนำเข้าน้ำมันเหล่านั้นอยู่ ให้ลดการนำเข้าลง เท่านี้ ราคาน้ำมัน ก็น่าจะดีดให้เฮียแกได้ชื่นใจในทันที… Sources https://www.bloomberg.com/…/trump-s-iran-sanctions-won-t-sq… https://www.dailydot.com/la…/time-magazine-cover-trump-king/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน AKN Blog อ่านข่าวนอกยามว่าง เพื่อเปิดโลกกว้างและสร้างสรรค์มุมมองใหม่ๆ ไม่ว่าข่าวหรือบทความใดๆ ล้วนมีประโยชน์เสมอ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เจาะหุ้นไทย “เดือนพ.ย.” กับ 3 เหตุการณ์ชี้ชะตาลงทุนทั่วโลก - FINNOMENA เข้าสู่ช่วงเกือบโค้งสุดท้ายของปี 2561 ในเดือน “พ.ย.” นี้ หลายคนยังคงเฝ้ารอว่าตลาดหุ้นไทยจะมีปัจจัยบวก ผลักดันให้ดัชนีทะยานขึ้นได้อีกมากน้อยแค่ไหน และตลาดหุ้นโลกมีปัจจัยอะไรที่รออยู่ข้างหน้า เราจะหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน 19 พ.ย. 2561 เข้าสู่ช่วงเกือบโค้งสุดท้ายของปี 2561 ในเดือน “พ.ย.” นี้ หลายคนยังคงเฝ้ารอว่าตลาดหุ้นไทยจะมีปัจจัยบวก ผลักดันให้ดัชนีทะยานขึ้นเพื่อเรียกคืนผลตอบแทนได้อีกมากน้อยแค่ไหน และตลาดหุ้นโลกมีปัจจัยอะไรที่รออยู่ข้างหน้า เราจะหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน อันดับแรกคงต้องทบทวนเรื่องราวของตลาดหุ้นไทย “เดือน ต.ค.” ที่ผ่านมาก่อน ซึ่งโดยภาพรวมจะพบได้ว่า ได้มีการปรับตัวลดลงถึง 5% โดยมีสาเหตุมาจากความผันผวนของทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก ที่ถูกแรงเทขายอย่างหนัก ทั้งนี้เป็นผลมาจากแรงกดดันด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่พุ่งขึ้นจนไปแตะระดับ 3.24% ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 7 ปี หลังจากที่นักลงทุนยังมีความกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่มีสัญญาณเร่งตัวขึ้น ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ที่เปิดเผยตัวเลขส่งออกไทยในเดือน ก.ย. ก็พบว่ามีการพลิกติดลบ 5.2% YoY ครั้งแรกในรอบ 19 เดือน (ซึ่งผิดจากที่สำนักวิจัยทิสโก้และตลาดคาดการณ์ไว้ที่บวกราว 5–6%) ดังนั้นด้วยปัจจัยลบทั้งหมดที่เกิดขึ้น จึงสร้างความกังวลต่อผลกระทบของสงครามการค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในเดือน ต.ค. เท่านั้น เพราะหากประเมินในแง่ของภาพรวมปี 2561 จะพบได้ว่าเป็นปีที่ไม่ดีสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก เห็นได้จากผลตอบแทน (อิงจาก MSCI World Index และข้อมูล ณ 30 ต.ค.) ที่ติดลบ 6.8% (YTD) เช่นเดียวกับตลาดเกิดใหม่ (EM) ทั่วโลก และในภูมิภาคนี้ที่ติดลบเฉลี่ย 19.2% และ 19.9% ตามลำดับ ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเองก็ติดลบประมาณ 6% ซึ่งแม้จะไม่ดีนัก แต่ก็ยังเหนือกว่าตลาดเกิดใหม่และตลาดอื่นในภูมิภาค นอกจากนี้ตลาดหุ้นไทยยังถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น (Outperform) เทียบเท่ากับตลาดพัฒนาแล้ว (DM) ที่ปรับตัวลงเฉลี่ยประมาณ 6% ลงทุนหุ้นไทยเดือนพ.ย. ในช่วงปลายปี (พ.ย.-ธ.ค.) 2561 ยังคงมองว่าฤดูกาลลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะยังทำให้มีเงินไหลเข้าอยู่ ขณะเดียวกันแนวโน้มการเลือกตั้งปี 2562 จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญภายในประเทศที่ช่วยต้านทานมรสุมจากภายนอกด้วย นอกจากนี้ ปัจจัยด้านการปรับตัวลงอย่างรวดเร็วของดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ยังทำให้ระดับการประเมินมูลค่าหุ้นมีความน่าสนใจ ในปี 2562 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว รวมถึงการจัดงาน SET in the City ระหว่างวันที่ 15–18 พ.ย. นี้ น่าจะกระตุ้นให้เม็ดเงิน LTF — RMF ไหลเข้ามากขึ้นในเดือน พ.ย. นี้ และจะไหลเข้ามากที่สุดในเดือน ธ.ค. (อิงสถิติในอดีต ช่วงไตรมาส 4 จะไหลเข้าเดือน ต.ค.,พ.ย. และ ธ.ค. ในสัดส่วน 8.2%,17.5% และ 74.3% ตามลำดับ) ดังนั้น โดยสรุปจึงยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วง 3–6 เดือนข้างหน้า จากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก โดยประเมินว่าหุ้นที่น่าจะ Outperform ควรมีคุณสมบัติเด่น 3 ประการ คือ (1) เป็นหุ้นที่งบไตรมาส 3 คาดว่าจะออกมาดีแบบก้าวกระโดด เนื่องจากเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นเฉพาะตัวในช่วงฤดูกาลประกาศผลประกอบการ (2) มีปันผลสูงช่วยรองรับความเสี่ยงราคาหุ้นขาลง (3) ฐานราคาหุ้นค่อนข้างต่ำ ซึ่งสะท้อนว่าโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลงแรงมีค่อนข้างน้อย และโอกาสในการปรับตัวขึ้นมีมากกว่า 3 เหตุการณ์ชี้ชะตาหุ้นโลก ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ (พ.ย.-ธ.ค.) แนะนำติดตาม 3 เหตุการณ์สำคัญที่จะชี้ชะตาหุ้นโลกว่าจะฟื้นหรือฟุบ ได้แก่ (1) การเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯในวันที่ 6 พ.ย. โดยท่าทีที่แข็งกร้าวของประธานาธิบดีทรัมป์จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่หลังการเลือกตั้งกลางเทอม (2) การประชุม G20 ในวันที่ 30 พ.ย. — 1 ธ.ค. จะช่วยให้สถานการณ์สงครามการค้าผ่อนคลายลงหรือไม่ (3) การประชุม FED ในวันที่ 18–19 ธ.ค. แม้คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยแต่จะปรับเส้นทางการขึ้นดอกเบี้ย (Dot Plot) ในอนาคตหรือไม่ เนื่องจาก Dot Plot เดิมในการประชุมเดือน ก.ย. ยังมีแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุก (Hawkish) ซึ่งยังไม่สะท้อนความเสี่ยงสงครามการค้าที่เพิ่มขึ้น ความผันผวนของตลาดการเงินทั่วโลกที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมา และแรงกดดันจากประธานาธิบดีทรัมป์ที่วิจารณ์การขึ้นดอกเบี้ยของ FED ว่าเร็วเกินไป ภาพรวมของตลาดหุ้นไทยในเดือน พ.ย.จึงน่าจะยังมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้จากปัจจัยภายในประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องระแวดระวังปัจจัยลบจากต่างประเทศที่อาจเข้ามากระทบด้วย ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/tiscomastery/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เตรียมกลยุทธ์ ย้อนดูสถิติ US Midterm Election - FINNOMENA วันนี้สหรัฐฯจะมีการเลือกตั้งกลางสมัย หรือ US Midterm Election 2018 เมื่อไปดูสถิติย้อนหลังการเลือกตั้ง Midterm ในอดีต ก็มีสิ่งที่น่าสนใจหลายเรื่องครับ และสำหรับเลือกตั้งรอบนี้เราควรเตรียมตัวอย่างไร 7 พ.ย. 2561 วันนี้แล้วนะครับ ที่สหรัฐฯจะมีการเลือกตั้งกลางสมัย หรือ US Midterm Election 2018 ทุกๆ การเลือกตั้งของสหรัฐฯ จะถือเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลหลังจากนั้นอย่างที่เราทราบกัน มาถึงการเลือกตั้งกลางสมัยครั้งนี้ ก็เช่นเดียวกัน ที่จะมีความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์อีก 2 ปีข้างหน้า ให้ข้อมูลเพิ่มกันซักหน่อยนะครับว่า การเลือกตั้งสหรัฐฯ จะแบ่งออกเป็นการเลือกตั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ 2 ฝ่ายด้วยกัน โดยฝ่ายบริหาร ก็คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งกำหนดขึ้นทุกๆ 4 ปี และอีกฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ จะมีการเลือกตั้งแต่ทุกๆ 2 ปี โดยจะเป็นการเลือกพร้อมกับการเลือกฝ่ายบริหาร 1 ครั้ง และ กลางสมัยของฝ่ายบริหารอีก 1 ครั้ง ซึ่งการเลือกตั้งกลางสมัยนี้เอง ที่ถูกเรียกว่า Midterm Election ครับ Midterm Election มีความสำคัญตรงที่ จะทำให้ที่นั่งในสภา มีสัดส่วนเปลี่ยนแปลงไป โดยจะมีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 435 ที่นั่ง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และสมาชิกวุฒิสภาที่หมดวาระประมาณ 33-35 ที่นั่งจากที่นั่งทั้งหมด 100 ที่นั่ง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ปัจจุบันพรรคที่ครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสทั้งสองสภาคือพรรครีพับลีกัน โดยสภาผู้แทนราษฎร พรรครีพับลีกันมี 236 ที่นั่ง ขณะที่วุฒิสภา พรรครีพับลีกันมี 51 ที่นั่ง จุดที่น่าสนใจก็คือ สมาชิกวุฒิสภา ที่จะเลือกตั้งรอบนี้ทั้งหมด 35 คน เป็นสมาชิกพรรครีพับลีกันหมดวาระ 9 คน และเดโมแครต 26 คน สิ่งที่พรรคเดโมเครตต้องการก็คือ ต้องรักษาที่นั่งในวุฒิสภาเดิม 26 ที่นั่งและได้ที่นั่งเพิ่มอีก 2 ที่นั่ง จึงเป็นฝ่ายครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา และต้องได้ 281 ที่นั่ง จึงจะสามารถครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร เช่นกัน ถามว่าง่ายไหม โพลสำรวจจากแทบทุกสำนักในสหรัฐฯ บอกว่า มีโอกาสสูงมากที่พรรคเดโมเครตจะกลับมาครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่ในวุฒิสภานั้น พรรครีพับลีกันจะยังครองเสียงเกินกึ่งหนึ่ง (Split Congress) เมื่อไปดูสถิติย้อนหลังการเลือกตั้ง Midterm Election ในอดีต ก็มีสิ่งที่น่าสนใจหลายเรื่องครับ พรรคที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับประธานาธิบดี (สมัยปัจจุบัน คือ เดโมแครต) มักจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นในสภาคองเกรสเสมอ นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา หากนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ของปีที่มีการเลือกตั้งกลางเทอม จะพบว่า ดัชนี S&P500 สามารถปิดบวกได้ในสิ้นปี และในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยสามารถบวกได้เฉลี่ย +14.5% ทีเดียว จากสถิติ หลังการเลือกตั้งกลางสมัย มีเพียงปีเดียวที่ดัชนี S&P500 ย่อตัวหลังทราบผลการเลือกตั้งบ้าง ก็คือในปี 1978 ในสมัยของประธานธิบดีจิมมี่ คาร์เธอร์ ซึ่งดัชนี S&P500 ย่อตัวลงหลังจากวันเลือกตั้ง 2 เดือนติดลบ -4% แต่ก็สามารถกลับมาเป็นบวกได้ภายใน 1 ปี โดยบวกได้ที่ 6.4% นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เกิดเหตุการณ์ Split Congress ขึ้น 2 ครั้ง คือปี 1982 ในสมัยประธานาธิบดีโรแนล เรแกน และปี 2010 ในสมัยประธานาธิบดีโอบามา พบว่า ไม่มีผลทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง ยังคงเป็นบวกได้ต่อเนื่องไปอีก 1 ปีข้างหน้า เมื่อดูจากสถิติในอดีตที่ผ่านมา ในมุมมองส่วนตัวของผมก็มองว่า การเลือกตั้งกลางสมัย ไม่ว่าที่นั่งในสภาจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร ก็แทบไม่มีผลลบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯในระยะเวลาอย่างน้อยๆ คืออีก 1 ปีข้างหน้า และเพราะตลาดหุ้นสหรัฐฯนี่เองที่ปีนี้ยังทำหน้าที่ค้ำยัน MSCI World ไม่ให้ติดลบ ในขณะที่ตลาดหุ้นแถบอื่นๆรวมถึงตลาดเกิดใหม่ เจอการปรับฐานกันมาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ผันผวนในปีนี้ก็มาจาก การครองเสียงข้างมากในทั้ง 2 สภาของพรรครีพับลีกัน และนโยบายแบบสุดซอยจากประธานาธิบดีทรัมป์ ที่พยายามจะทำนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้ว่า “American First” และเกิดแนวคิดปกป้องการค้า จนทำให้สหรัฐฯออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และขึ้นกำแพงภาษีกับนานาประเทศโดยเฉพาะกับประเทศจีน รวมถึงใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการผ่อนคลายกฎระเบียบควบคุมภาคการเงิน และลดอัตราภาษีทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ทิศทางการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯหลังจากเลือกตั้งกลางเทอม อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หากพรรคเดโมเครตครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ในแง่ที่ว่า อำนาจแบบเบ็ดเสร็จในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากปลายปากกาของประธานาธิบดีทรัมป์ผ่านการลงนามคำสั่งพิเศษ (Executive Order) ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาฯจะลดลงทันที แต่สิ่งนี้ก็น่าจะกลายเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นฝั่งตลาดเกิดใหม่และเอเชีย เพราะสภาคองเกรสสามารถเข้ามาแก้กฎหมายเพื่อแทนที่ Executive Order ที่ลงนามโดยประธานาธิบดีทรัมป์ สงครามการค้าก็จะมีกระบวนการที่ช้าลง ฝ่ายบริหารมีอุปสรรคเพิ่มขึ้นในการออกนโยบายกีดกันทางการค้าในช่วง 2 ปีที่เหลือ แค่ Trade Wars นี่ลดลง ก็เชื่อว่า บรรยากาศการลงทุนหลังจากนี้ไป จะดีขึ้นตามลำดับนะครับ สรุป การลงทุนในตลาดหุ้นยังน่าสนใจ และตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับฐานหนักปีนี้ละครับ ที่น่าสะสมหลังจากนี้ ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645889 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รวมโพย "กองทุน LTF" ที่อยากบอกต่อ - FINNOMENA ช่วงนี้ก็ปลายปีแล้ว หลายคนน่าจะกำลังสนใจทยอยลงทุนใน LTF และ RMF กัน มาดูกันว่า 5 กองทุน LTF ที่เราอยากบอกต่อคือกองอะไร ? เรานำโพยจากระบบ FINNOMENA Best-in-Class มาฝากกัน ลองดูข้อมูลโดยคร่าวของแต่ละกองได้ที่นี่เลย 29 ต.ค. 2563 ช่วงนี้ก็ปลายปีแล้ว หลายคนน่าจะกำลังสนใจทยอยลงทุนใน LTF และ RMF กัน มาดูกันว่า 5 กองทุน LTF ที่เราอยากบอกต่อคือกองอะไร ? เรานำโพยจากระบบ FINNOMENA Best-in-Class มาฝากกัน ลองดูข้อมูลโดยคร่าวของแต่ละกองได้ข้างล่างนี้เลย *หมายเหตุ: ข้อมูลในเว็บอาจมีการอัพเดต ทำให้ไม่ตรงกับในรูป หากสนใจกองไหนเป็นพิเศษ อย่าลืมศึกษารายละเอียดกองทุนจากหนังสือชี้ชวนโดยละเอียด หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่อีกทีนะ UOBLTF: กองทุนเปิด ยูโอบี หุ้นระยะยาว ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/uobltf/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mkjb1zehc/1z/eh/o0x0/UOBLTF_Factsheet_20180731_20180930.pdf https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mkju03kdv/03/kd/o0x0/UOBLTF_TH_201809.pdf JBP LTF: กองทุนเปิด JUMBO PLUS ปันผล หุ้นระยะยาว ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/JBP%20LTF/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.tmbam.com/pdfs/lf1_03.pdf https://www.tmbam.com/pdfs/lf1_Investment_Report.pdf TDLTF: กองทุนเปิด ทิสโก้ หุ้นระยะยาวปันผล ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://finnomena.com/fund/TDLTF-A ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.tiscoasset.com/en/historicalnavs/init.action?navData.fundCode=TDLTF MS-CORE LTF: กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ คอร์ หุ้นระยะยาว ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/MS-CORE%20LTF/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.manulife-asset.co.th/servlet/servlet.FileDownload?file=00P9000000HBojREAT https://www.manulife-asset.co.th/servlet/servlet.FileDownload?file=00P9000000Lreg3EAB TISCOLTF-B: กองทุนเปิด ทิสโก้ หุ้นระยะยาว ชนิดหน่วยลงทุน B ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/TISCOLTF-B/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.tiscoasset.com/en/historicalnavs/init.action?navData.fundCode=TLTF-B สำหรับลูกค้าใหม่ อ่านวิธีเปิดบัญชีซื้อกองทุน Tax Saving เพิ่มเติม คลิก ‍‍‍‍‍‍ ‍‍ สำหรับลูกค้าเก่า เปิดแอปพลิเคชั่น แล้วเลือกสร้างแผน “Tax Saving” ได้เลย Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน| ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เหตุใดดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีสหรัฐถึงพุ่งแรง? - FINNOMENA สัปดาห์ก่อนๆ ยังเป็นที่งุนงงกันว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ที่มักจะขึ้นๆ ลงๆ เกาะระดับอัตรา 3% อยู่ดีๆ ก็ขึ้นพรวดเดียว ไปที่ระดับ 3.2% กว่าๆ แล้วขึ้นไปแบบเหนียวแน่นไม่ลงจากระดับดังกล่าวง่ายๆ ด้วยสาเหตุใดกันถึงเป็นเช่นนั้น 29 ต.ค. 2561 สัปดาห์ก่อนๆ ยังเป็นที่งุนงงกันว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ที่มักจะขึ้นๆ ลงๆ เกาะระดับอัตรา 3% อยู่ดีๆ ก็ขึ้นพรวดเดียว ไปที่ระดับ 3.2% กว่าๆ แล้วขึ้นไปแบบเหนียวแน่นไม่ลงจากระดับดังกล่าวง่ายๆ หากไม่นับช่วงที่ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงกว่า 3% แล้วเกิดคำวิจารณ์ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ต่อการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดว่าทำด้วยความรวดเร็วเกินไปแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐย่อลงต่ำกว่าละ 3.2% สิ่งที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมาก ได้แก่ สาเหตุของการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรดังกล่าวแบบพรวดเดียวนั้นเกิดจากอะไร หากพิจารณาช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นมานั้น พบว่าไม่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในช่วงนั้น โดยการประชุมเฟดที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็เกิดขึ้นไปเกือบ 2 สัปดาห์ก่อน ส่วนตัวเลขการจ้างงานและค่าจ้าง ก็ยังไม่ได้มีการประกาศแต่อย่างใดในวันก่อนหน้า และคงไม่มีใครที่สามารถล่วงรู้ก่อนว่าข้อมูลอีก 3-4 วันที่จะประกาศออกมาเป็นเช่นไร โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักจะชี้ไปที่อุปสงค์ตลาดพันธบัตร ซึ่งกองทุนที่ลงทุนเพื่อการเกษียณหรือ Pension มีการขยับเปลี่ยนสัดส่วนของพอร์ตโฟลิโอออกจากพันธบัตรอายุ 10 ปี บ้างก็บอกว่ากรรมการเฟดหลายท่านให้ความเห็นแบบ Hawkish ที่จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้และปีหน้า รวมทั้งสิ้นอีก 4 ครั้ง ซึ่งตรงนี้ถือว่าฟังไม่ค่อยขึ้นมากนัก เนื่องจากการให้ความเห็นนี้เกิดขึ้นอย่างคึกคักหลังประชุมเฟด แล้วด้วยสาเหตุใดกันถึงเป็นเช่นนั้น สำหรับผม มองว่าเกิดจากการกล่าวสุนทรพจน์ของนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดสาขานิวยอร์ค โต้โผใหญ่ด้านการบริหารว่า ด้วยขึ้นลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดชุดนี้ แบบเปิดไต๋แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินยุคใหม่เป็นครั้งแรก ที่กล่าวไว้ช่วงปลายสัปดาห์ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรจะสูงขึ้นแบบพรวดเดียวในต้นสัปดาห์ต่อมา ว่าสิ่งที่เรียกกันว่า r- star หรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงจนเกิดอัตราเงินเฟ้อที่เกินกว่าเป้าหมายและเศรษฐกิจไม่ซึมเกินไปจนอัตราการว่างงานเกินระดับที่เป็นเป้าหมายนั้น ไม่เหมาะสมต่อการประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจสหรัฐในชั่วโมงนี้แล้ว โดยนายวิลเลียมส์บอกว่า ถึงเวลาแล้วที่จะยกเลิกการใช้ r- star ในตอนนี้ เนื่องจากในขณะนี้เศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะปกติ ไม่จำเป็นต้องมีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นหลักไว้เป็น Benchmark อีกต่อไป เนื่องจากความไม่แน่นอนของการประมาณการณ์ระดับ r- star ที่เหมาะสมถือเป็นผลเสียมากกว่าผลดีต่อการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบัน จุดนี้ ถือว่าช็อคความคาดหวังของนักเศรษฐศาสตร์ในตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากนายวิลเลียมส์ถือเป็นผู้ที่ปลุกปั้นแนวคิด r- star เพื่อใช้เป็นหลักยึดของการขึ้นลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายสำหรับธนาคารกลางว่าอยู่ในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม ก่อนที่จะพูดถึงผลกระทบว่าแนวคิดใหม่นี้จะส่งผลต่อการขึ้นลงดอกเบี้ยของเฟดอย่างไร จะขอกล่าวถึงเหตุผลที่นายวิลเลียมส์ให้ไว้ ดังนี้ นายวิลเลียมส์กล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐ ในมุมของเฟดนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1. ช่วง Lift-off คือตั้งแต่ช่วงหลังเกิดวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งเฟดดำเนินนโยบายแบบไม่ปกติ ทั้ง QE และลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนเหลือศูนย์ 2. ช่วง Normalization คือตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2015 ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้นเล็กน้อย ทว่าแบบเป็นระบบ ซึ่งเฟดตัดสินใจกลับมาขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรก โดยเฟดยังต้องขึ้นดอกเบี้ยแบบระมัดระวังไม่ให้เศรษฐกิจสะดุดกลับไปชะลอตัวอีกรอบ 3. ช่วง Normal ซึ่งหมายถึงในตอนนี้ เป็นช่วงที่เฟดสามารถขึ้นลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้แบบที่ทำกันเศรษฐกิจก่อนเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ โดยการที่เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตเกิน 3% อัตราการว่างงานต่ำกว่า 4% และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ราว 2% ซึ่งถือว่าดีกว่าช่วงก่อนวิกฤติเสียด้วยซ้ำ โดยนายวิลเลียมส์เห็นว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายควรพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดเป็นหลัก โดยที่ r- starไม่ได้มีประโยชน์เหมือนช่วง 2 ระยะก่อนหน้า แล้วผลกระทบต่อนโยบายเฟดจากการยกเลิก r- star มีอะไรบ้าง ผมมองว่า มีดังนี้ 1. การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดสามารถขึ้นได้โดยไม่ต้องพะวงถึงอัตราดอกเบี้ยที่มักจะมองว่าเป็น Limit อย่าง r-starในยุคที่เศรษฐกิจร้อนแรง ซึ่งนั่นหมายถึงว่าเฟดย่อมมีความเป็น Hawkish มากกว่าเดิม โดยขึ้นดอกเบี้ยได้แบบไม่ต้องมี Benchmark ใด 2. โอกาสที่จะเกิดเส้นโค้งอัตราดอกเบี้ยมีความชันติดลบหรือ Inverted yield curve มีสูงกว่าเดิมเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสามารถที่จะขึ้นได้สูงกว่าเดิม ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวยังใช้กลไกการกำหนดที่เหมือนเดิม ท้ายสุด มาถึง 2 คำถามสำคัญ ต่อจากนี้ คือ หนึ่ง นายวิลเลียมส์ เห็นว่า r-star ไม่มีประโยชน์นั้น ด้วยหลักฐานเชิงวิชาการ หรือ แค่นายวิลเลียมส์ เพียงคล้อยตามประธานเฟด พาวเวลที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ตรงนี้ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ว่ามาจากสาเหตุใด ทว่าที่น่าสังเกตคือไม่ว่าจะเป็นยุคของเจเน็ต เยลเลน หรือ ยุคเจย์ พาวเวล เป็นประธานเฟด นายวิลเลียมส์ไม่เคยโหวตสวนความเห็นของประธานเฟดแม้แต่ครั้งเดียว และ สอง นายพาวเวล จะได้รับอิทธิพลในจุดยืนการขึ้นดอกเบี้ยจากประธานาธิบดีทรัมป์หรือไม่ หากตลาดหุ้นสหรัฐยังเป็นขาลงต่อเนื่องก่อนเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645729 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ JUBILEE เพชรน้ำหนึ่งของคนไทย - FINNOMENA หุ้น JUBILE หรือ บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นบริษัทขายเพชรฝีมือคนไทย ที่ได้มีการเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ จนได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันนี้ผมขอมาแชร์ 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหุ้นตัวนี้กันครับ 19 ต.ค. 2561 หุ้น JUBILE หรือ บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นบริษัทขายเพชรฝีมือคนไทย ที่ได้มีการเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันนี้ผมขอมาแชร์ 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหุ้นตัวนี้กันครับ ประวัติบริษัท ที่มา SET Opp Day วันที่ 24 พ.ค. 2561 1) JUBILE เป็นบริษัทค้าปลีกเครื่องประดับเพชรและเพชรกะรัตรายเดียวที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้เข้าตลาด MAI ในปี 2009 สาขาของ Jubilee ทั่วไทย ที่มา SET Opp Day วันที่ 24 พ.ค. 2561 2) JUBILE มีหน้าร้านค้าปลีกเครื่องประดับเพชรและเพชรกะรัตทั้งหมดในประเทศไทย 125 ร้านค้า โดยแบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพ 45 สาขา และ 80 สาขาในต่างจังหวัด 3) JUBILE เป็นอันดับหนึ่งในเรื่องของส่วนแบ่งตลาดสำหรับการค้าปลีกเครื่องประดับเพชรในห้างสรรพสินค้าของประเทศไทย โดยมีฐานลูกค้ามากกว่า 140,000 รายทั่วประเทศ 4) ปัจจุบัน JUBILE มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 4,000 ล้านบาท สินค้าของ Jubilee ที่มา SET Opp Day วันที่ 24 พ.ค. 2561 5) JUBILE นำเข้าเพชรคุณภาพจากประเทศเบลเยียมทั้งหมด และมีการออกแบบลายสินค้าเอง ทำให้สามารถออกแบบสินค้าให้ถูกใจคนไทยได้มากเป็นพิเศษ เช่น สินค้าเพชรลาย Hello Kitty, และสินค้าตามเทศกาลอย่างวันวาเลนไทน์และวันตรุษจีน ช่องทางจัดจำหน่ายของ Jubilee ที่มา SET Opp Day วันที่ 24 พ.ค. 2561 6) JUBILE แบ่งรูปแบบหน้าร้านออกเป็น 3 แบบ 1) Flagship Store ที่จะมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีสินค้ามากที่สุด 2) Diamond Shop ที่จะเป็นร้านค้า Stand Alone 3) Free Standing Store ที่เปิดตามห้างสรรพสินค้า 7) JUBILE มีรายได้รวมตั้งแต่ปี 2558-2560 เท่ากับ 1,491 ล้านบาท 1,383 ล้านบาท 1,549 ล้านบาท ตามลำดับ และกำไร ตั้งแต่ปี 2558-2560 เท่ากับ 131 ล้านบาท 157 ล้านบาท 185 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งรายได้ปี 2560 ถือว่ามากสุดในรอบ 3 ปี และกำไรเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน 8) รายได้ของ JUBILE 56.4% มาจากกรุงเทพฯ และชานเมือง อีก 43.6% มาจากต่างจังหวัด หมายความว่า ร้าน JUBILE ในกรุงเทพฯ สามารถสร้างรายได้ต่อสาขาได้ดีกว่าสาขาต่างจังหวัดพอสมควร 9) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา JUBILE ไม่ได้มีการขยายสาขาเยอะมากนัก หรือแทบไม่ขยายเลย เพียงแต่ในปีนี้ทางทีมผู้บริหารตั้งเป้าขยายสาขาจำนวน 8-12 สาขา ซึ่งเทียบกับปีก่อน ๆ แล้วถือว่าเยอะมากทีเดียว 10) JUBILE เป็นผู้เดียวในไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ขายเพชรแบรนด์ ‘Forevermark’ ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีความโด่งดังมากในระดับสากล ข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราหวังว่าจะช่วยประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้นักลงทุนศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมให้รอบด้าน ก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ สามารถดูข้อมูลหุ้น JUBILE ได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/JUBILE ข้อมูลอ้างอิง: https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2017q4/090318100008-Oppday-JUBILEE.pdf https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2018q1/20180524-2018Q1-JUBILE.pdf https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=JUBILE&ssoPageId=3&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ภัยร้ายที่ซ่อนเร้นของหุ้นเทคโนโลยี พาหุ้นโลกระส่ำ - FINNOMENA หลายท่านอาจสงสัยว่านี่จะวิกฤตหรือยัง? สิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนเรามาตลอดในรอบนี้ คือ “ราคาสินทรัพย์” ของ Supply chain กลุ่มเทคโนโลยีที่ระส่ำมาสักระยะแล้ว จนวันนี้ระเบิดออกมา เกิดอะไรขึ้นกับ Supply chain ของกลุ่มเทคโนโลยี? 30 เม.ย. 2563 หลายท่านอาจสงสัยว่า นี่จะวิกฤตหรือยัง และกำลัง งงงวย กับข่าวต่างๆ ที่ออกมาว่า ตลาดหุ้นตก เพราะผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลขึ้นไปสูงไวเกินที่ตลาดคาด และตลาดหุ้นเทคฯ “แพง” และ Trump tweet อะไรบ้าๆ ออกมา จึงเข้า Risk off Mode … ข่าวหรือความเห็นเหล่านั้น มันไม่ผิด แต่มันเป็น “ไก่กับไข่” เพราะแบบนั้นจึงแบบนี้ ไม่ได้บอกเราถึงสาเหตุที่แท้จริง สิ่งที่เป็นสัญญาณ เตือนเรามาตลอดในรอบนี้ มันไม่ใช่ yield curve .. อันนั้นตลาดรู้กันอยู่แล้ว และหุ้นไม่ได้ตกเพียงเพราะมันจะ inverted (เรื่องนี้หลายท่านยังเข้าใจไม่ถูก) และไม่ใช่ yield ขึ้นเร็วกว่าที่คาด เพราะที่วิ่งแรงๆ ปีนี้ มาจากความเชื่อว่าน้ำมันจะกลับมาแพง ส่งผลต่อ yield ค่อนข้างชัด …. สิ่งที่เป็นสัญญาณ ที่ดีมากคือ “ราคาสินทรัพย์” ของ Supply chain กลุ่มเทคโนโลยี ที่ระส่ำมาสักระยะแล้ว จนวันนี้ระเบิดออกมา เกิดอะไรขึ้นกับ Supply chain ของกลุ่มเทคโนโลยี? หุ้น Supply chain ของกลุ่มเทคโนโลยีตั้งแต่กลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำบางตัวได้ปรับตัวลงสวนทางกับดัชนีตั้งแต่ต้นปี จนมาวันนี้เทกระจาดพร้อมกันทั้งโลกไปเลย กลุ่มต้นน้ำหรือกลุ่มวัตถุดิบ เช่น แร่ลิเธียมและโคบอลต์ ทองแดง ได้ปรับตัวลงในไปแล้ว 20-40% หุ้นกลุ่มกลางน้ำในยุคนี้ แกนหลักของมันก็คือกลุ่ม Semiconductors นั่นเองครับ เพราะถูกใช้ในทุกอย่าง หุ้นกลุ่มกลางน้ำของกลุ่มเทคโนโลยีแบ่งคร่าวๆ ตามลักษณะธุรกิจได้ดังนี้ Fluid management (กลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิพ): Ichor Holdings Equipment (กลุ่มอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตชิพ): Applied Materials Integrated device manufacturer (กลุ่มผู้ออกแบบ, ผลิต และขายผลิตภัณฑ์): Intel Corporation และ Western Digital Fabless (กลุ่มผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ ไม่ได้ผลิตเอง): Apple, AMD และ NVIDIA Foundry (กลุ่มรับผลิตอย่างเดียว ไม่ได้ออกแบบ): TSMC และ SMIC Testing and assembly (กลุ่มตรวจสอบและประกอบผลิตภัณฑ์): Amkor Technology และ Teradyne ตามภาพประกอบที่ 1 จะสังเกตได้ว่า 1) หุ้นกลางน้ำของกลุ่มเทคโนโลยีได้ปรับตัวลงเรื่อยๆ หลังทำระดับสูงสุดในช่วงเดือนมีนาคมทั้ง Ichor, Applied Materials, Amkor และ Western Digital ในขณะที่ Nasdaq ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ 2) กลุ่มผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าในช่วงปลายน้ำด้วย เช่น Intel ก็อ่อนตัวลงมาแม้ Nasdaq จะยังคงทำจุดสูงสุดใหม่ 3) ขณะที่กลุ่มปลายน้ำ เช่น กลุ่ม FAANG (ภาพประกอบที่ 2) ก็ยังเหลือเพียง Apple เท่านั้นที่ยังแกว่งอยู่ในช่วงระดับราคาสูงสุดในขณะที่เพื่อนๆ เริ่มปรับลงมาบ้างแล้ว ถ้าเรามองธุรกิจเทคโนโลยีทั้งกลุ่มเป็นก้อนเดียวกัน หากกลุ่มต้นน้ำ, กลางน้ำ และปลายน้ำ (บางตัว) ได้ออกอาการอ่อนแรง (มาก) ไปบางส่วนแล้ว จะเป็นการแสดงถึงอุปสงค์ (Demand) ของตลาดที่โตไม่ทันราคาของหุ้นหรือไม่ ซึ่ง Demand ที่มีปัญหาในตอนนี้หลักๆ จะเป็น Smartphone และเทคโนโลยีที่เก่าลง โดยเฉพาะในกลุ่ม storage เนื่องจากฝั่ง supply ปรับตัวตามไม่ทัน (โดยเฉพาะบ้านเรา) เท่านี้น่าจะเป็นเหตุผลที่เพียงพอที่นักลงทุนอย่างเราจะต้องเฝ้าระวังการปรับตัวของกลุ่มหุ้นที่ร้อนแรงแห่งปีนี้อย่างใกล้ชิด พูดง่ายๆ คือหากความต้องการจากผู้บริโภคของเทคปลายน้ำอย่างเช่น Tesla, Apple, Facebook, ยังมีการเติบโตอยู่ ก็ไม่ควรที่ supply chain จะมีอาการราวกับว่ายอดขายจะหายแบบโหดร้ายเช่นนี้ แต่ตอนนี้ทั้งฝั่งอเมริกาและจีน เรียกว่าตึงตัวสุดๆ ที่จะมีสมาชิกเพิ่ม ลองนึกดูว่า Facebook และ Tencent จะมีสมาชิกเพิ่ม จะต้องทำอย่างไร นอกจากเปิดตลาดจีนและตลาดโลก แลกหมัดกัน พูดถึงเรื่องนี้ก็จะมาถึงอนาคตที่มืดบอดลงของเทคอเมริกา เป็น Tech War กับ EU ซึ่งแน่นอนว่าเป็นข่าวร้ายกับทางอเมริกา ไว้มาเล่าต่อนะครับ ที่มาบทความ: https://bottomliner.co/2018/10/12/tech-supply-chain/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหุ้น "คาราบาว": กระทิงแดงรายต่อไป? - FINNOMENA เครื่องดื่มชูกำลังถือเป็นเครื่องดื่มคู่คนไทยมาโดยตลอด และยังมียี่ห้อไทยอย่างกระทิงแดง (Red Bull) ที่ไปดังไกลทั่วโลก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหุ้น CBG หรือคาราบาว ผู้ท้าชิงเครื่องดื่มชูกำลังฝีมือคนไทยว่าจะบุกตลาดโลกอย่างไรกันครับ 12 ต.ค. 2561 เครื่องดื่มชูกำลังถือเป็นเครื่องดื่มคู่คนไทยมาโดยตลอด และยังมียี่ห้อไทยอย่างกระทิงแดง (Red Bull) ที่ไปดังไกลทั่วโลก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหุ้น CBG หรือคาราบาว ผู้ท้าชิงเครื่องดื่มชูกำลังฝีมือคนไทยว่าจะบุกตลาดโลกอย่างไรกันครับ 1) CBG หรือ บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็น Holding Company ซึ่งลงทุนในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจ ผลิต ทำการตลาด จำหน่าย และบริหารจัดการการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังและเครื่องดื่มอื่น ๆ อย่างครบวงจร โดยมีสินค้าอย่างเครื่องดื่มชูกำลังคาราบาวแดง กาแฟผง กาแฟกระป๋อง และเครื่องดื่มเกลือแร่ Start Plus 2) CBG มีรายได้ในปี 2559 และปี 2560 ที่ 10,112 ล้านบาท และ 13,068 ล้านบาท ตามลำดับ กำไรที่ 1,490 ล้านบาท และ 1,246 ล้านบาท ตามลำดับ รายละเอียดยอดขายในประเทศและต่างประเทศ ที่มา SET Opp Day ไตรมาส 4 ปี 2560 รายละเอียดยอดขายในประเทศ ที่มา SET Opp Day ไตรมาส 4 ปี 2560 รายละเอียดยอดขายต่างประเทศ ที่มา SET Opp Day ไตรมาส 4 ปี 2560 3) CBG มีรายได้จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ รายได้ในประเทศคิดเป็น 60.6% ของรายได้รวมและรายได้จากต่างประเทศคิดเป็น 38.9% สัดส่วนพื้นที่การขายที่ CBG ครอบคลุม ที่มา SET Opp Day ไตรมาส 4 ปี 2560 4) รายได้ในประเทศของ CBG ไม่ได้มาจากการขายสินค้าของตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่มีการจัดจำหน่ายสินค้าให้กับบริษัทอื่นด้วย เพราะ CBG มีรถขนส่งของตัวเองที่เข้าถึงร้านค้าเกือบ 100% ในประเทศไทย ที่ต้องมีระบบขนส่งเป็นของตัวเองนั้นเป็นเพราะไม่อยากพึ่งพิงคนอื่นที่อาจจะขนส่งให้คู่แข่งก็เป็นได้ 5) ในช่วง 2-3 ปีหลัง CBG ได้มีการออกสินค้าใหม่หลายตัวในตลาดในประเทศ เพราะตลาดเครื่องดื่มชูกำลังนั้นไม่ได้โตหวือหวา CBG เลยมีการออกสินค้าใหม่ อย่างกาแฟกระป๋อง กาแฟผง และน้ำเปล่าตราคาราบาวเพื่อเพิ่มยอดขายในประเทศ 6) CBG มีการส่งออกสินค้าสินค้าไปหลายประเทศทั่วโลก แต่มี 2 ประเทศที่มีตลาดใหญ่มาก นั่นก็คือสหราชอาณาจักรและจีน แน่นอนว่าการขายเครื่องดื่มในสหราชอาณาจักรนั้นได้ราคาดีกว่าการขายในไทยแน่นอน ส่วนเมืองจีนนั้นก็มีประชากรเป็นพันล้านคนที่บริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง 7) การตีตลาดในไทยนั้น CBG มีกลยุทธ์ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยการมีรถตู้เป็นของตัวเอง และมีสาวบาวแดงที่คอยจัดกิจกรรมนอกสถานที่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง 8) การบุกตลาดต่างประเทศ CBG ก็ลงทุนแบบเต็มที่เช่นกัน อย่างการเป็นผู้สนับสนุนใน EFL หรืองานฟุตบอลในประเทศอังกฤษที่ใช้เงินมหาศาล แต่ก็ถือว่าได้เป็นการโปรโมตตัวคาราบาวอย่างมาก เพราะถ้าลองไปดูการแข่งขันฟุตบอล เราจะเห็นโลโก้ของคาราบาวเยอะมากในสนามฟุตบอล นอกจากนี้ยังมีการขยายช่องทางการขายทั้งในประเทศอังกฤษและจีนอย่างมากอีกด้วย 9) เครื่องดื่มชูกำลังของไทยนั้นถือว่ามีราคาถูกมาก และอาจจะถูกที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของประเทศไทยที่สามารถผลิตเครื่องดื่มที่มีราคาขายต่ำมากและยังมีกำไรที่สูง 10) Red Bull หรือ เครื่องดื่มชูกำลังตรากระทิงแดงนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่มีชาวต่างชาติที่สามารถนำ Red Bull นี้ไปขยายและทำให้เป็นที่ยอมรับของคนรอบโลกได้ ข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราหวังว่าจะช่วยประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้นักลงทุนศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมให้รอบด้าน ก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ สามารถดูข้อมูลหุ้น CBG เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/CBG/ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=CBG&ssoPageId=5&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=CBG&ssoPageId=3&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?symbol=CBG&language=th&country=TH https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2017q4/260318122445-Oppday-CBG.pdf —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุป #CHAYO #Oppday Q2/2018 - FINNOMENA CHAYO ดำเนินธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับกำรบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและการให้บริการติดตามและทวงถามหนี้ ใครที่กำลังสนใจบริษัทนี้ ลองมาดูข้อมูลล่าสุดจาก Opp day ไตรมาส 2 กันเลยครับ 24 พ.ย. 2563 บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) <www.chayo555.com> ตลาด : mai กลุ่มอุตสาหกรรม : ธุรกิจการเงิน CHAYO ดำเนินธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับกำรบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและการให้บริการติดตามและทวงถามหนี้ แบ่งประเภทธุรกิจตามลักษณะการดำเนินงานได้ทั้งหมด 3 ประเภท ประกอบด้วย ธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้ และธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า โดยบริษัทได้ดำเนินธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้มาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี และได้ขยายธุรกิจโดยเน้นการลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในปี 2557 ต่อมา ในปี 2559 บริษัทได้จัดตั้งธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าเพิ่มเติมเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าที่บริษัทให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้ ผลประกอบการของ CHAYO ยอดขาย ปี 2560 : 205.98 ล้านบาท ปี 2561(6M) : 124.54 ล้านบาท กำไร (ขาดทุน) ปี 2560 : 58.24 ล้านบาท ปี 2561(6M) : 38.52 ล้านบาท เงินสดสุทธิ ปี 2560 : -21.99 ล้านบาท ปี 2561(6M) : 249.68 ล้านบาท ดูสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=CHAYO&ssoPageId=3&language=th&country=TH CHAYO‘s Holding structure – มีบริษัทย่อย 2 บริษัท กำลังจะก่อตั้งอีก 1 บริษัท ชื่อ “Chayo Capital” ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อ – “Chayo Call center” เปลี่ยนชื่อเป็น “Chayo Property and Service” CHAYO‘s Business Overview Nature of Business – มีธุรกิจหลักๆ 3 ประเภท ประกอบด้วย ธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้ และธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า – กำลังจะก่อตั้งธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจให้การปล่อยสินเชื่อ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พนักงานประจำหรือคนที่มีเงินเดือน ลูกค้าเดิมของบริษัทที่มีประวัติ และลูกค้าอื่นๆที่มีศักยภาพ – มีเป้าการปล่อยสินเชื่อที่ประมาณ 50-100 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มได้ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ Revenue Structure – ครึ่งปีแรก มีโครงสร้างรายได้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นั่นคือ Asset management business 84%, Service business 15% และ Call center business 1% – 1H/2018 มีรายได้จาก Asset management 100.67 ล้านบาท(+20.17%), Service business 18.43 ล้านบาท(+8.22%) และ Call center 4.46 ล้านบาท(-70.18%) Market – Service : มีผู้ใช้ประมาณ 56 ล้านราย สัดส่วนใกล้เคียงเดิม – Asset management : NPL (Q2) มีประมาณ 4 แสนกว่าล้านบาท (ประมาณ 2.9%ของยอดสินเชื่อทั้งหมด) เน้นไปที่กลุ่ม กิจกรรมอสังหาฯ และการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล – สัดส่วน NPL : Home loan 61%, Personal loan 20%, Car loan 13% และ Credit card 6% CHAYO‘s Financial Statements Segmentation **Asset management** : – Q2/2018 : เก็บเงินได้ประมาณ 93.66 ล้านบาท ต้นทุน 32.14 ล้านบาท รับรู้รายได้ประมาณ 61.52 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 52.61%) – H1/2018 : เก็บเงินได้ 134.31 ล้านบาท ตันทุน 33.64 ล้านบาท รับรู้รายได้ประมาณ 100.67 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 20.17%) – GPM : Q2/2018 สูงขึ้นประมาณ 74%, 1H/2018สูงขึ้นประมาณ 71% – Q2/2018 มีเงินลงทุนประมาณ 343.25 ล้านบาท แบ่งเป็น Un-secured 131.72 ล้านบาท และ Secured 211.53 ล้านบาท **Service** : – Q2/2018 : เก็บเงินได้ 290.39 ล้านบาท ได้ Average commission 3.02% – 1H/2018 : เก็บได้ 595.43 ล้านบาท ได้ Average commission 3.10% – Telecom : Q2/2018 เก็บเงินได้ 210.4 ล้านบาท ได้ Average commission 2.34%, 1H/2018 เก็บเงินได้ 447.23 ล้านบาท ได้ Average commission 2.39% – Financial Institution : Q2/2018 เก็บเงินได้ 79.99 ล้านบาท ได้ Average commission 4.81%, 1H/2018 เก็บเงินได้ 148.2 ล้านบาท ได้ Average commission 5.22% , GPM(Q2/2018) ประมาณ 39% **Call center** : ใน Q2 ไม่มีรายได้ เนื่องจากสัญญาหมดไป ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ และเปลี่ยนชื่อเป็น “Chayo Property and Service” **Summary for 1H/2018** – Service : รายได้ 18.43 ล้านบาท GPM 38.4% – Asset management : รายได้ 100 กว่าล้านบาท GPM 71% – Call center : รายได้ประมาณ 1.3 ล้านบาท GPM 96.6% – Total : รายได้ 120.4ล้านบาท GPM 66% Net Profit 32% ซึ่งสูงขึ้นจาก Q1/2018 CHAYO‘s Consolidated Financial Statement **Q2/2018** – รายได้รวม (Total Revenue) 70.28 ล้านบาท (+36%YoY) – กำไรขั้นต้น (GPM) 48.95 ล้านบาท (+44%YoY) – กำไรสุทธิ (Net Profit) 24.05 ล้านบาท (+48%YoY) **1H/2018** – รายได้รวม (Total Revenue) 120.42ล้านบาท (+14%YoY) – กำไรขั้นต้น (GPM) 79.82 ล้านบาท (+12%YoY) – กำไรสุทธิ (Net Profit) 50.37 ล้านบาท (+4%YoY) ป.ล. รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจาก การขายหลักประกันหนี้ด้อยสภาพ และพอร์ตใหม่ของ UOB **D/E** – ลดลงเหลือ 0.12 เนื่องจาก Equity สูงขึ้นจาก IPO แต่ Debt ไม่โตตาม **ROE** – ลดลงเหลือ 14.89 เนื่องจาก Equity สูงขึ้น แต่กำไรเพิ่มขึ้นไม่ทัน Equity – คาดว่าในปีหน้า (2019) จะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น CHAYO‘s Progress & Plan *ธุรกิจซื้อหนี้มาบริหาร – มีเป้าปลายปีที่จะซื้อหนี้เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท (ครึ่งปีซื้อมาแล้ว 8,600 ล้านบาท) – ปลายปีอาจจะมีหนี้ที่ซื้อมาทั้งหมด 39,000-40,000 ล้านบาท *ธุรกิจให้บริการ – ได้ลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เติบโตขึ้นเล็กน้อย *ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ – คาดว่าจะเริ่มใน Q4 มีเป้าการปล่อยที่ประมาณ 50-100ล้านบาท >> Q&A << – ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น มีผลต่อลูกค้ากลุ่ม C,D ที่มีความสามารถในการชำระน้อย ต้องรักษาลูกค้าไว้ก่อน หากเศรษฐกิจดีขึ้น ลูกค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะทำการชำระเงิน – การตัดจำหน่ายเงินให้สินเชื่อ (ตัดตาม EIR) จะรับรู้รายได้ดอกเบี้ยก่อน ส่วนต่างที่เหลือจะนำมาตัดเงินให้สินเชื่อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เช่น เงินเข้า 100 บาท EIR=70% (70 บาท) ตัดจำหน่ายเงินให้สินเชื่อ 30 บาท (นำไปลดเงินต้นของต้นงวดในทุกๆเดือน) – รับรู้รายได้ตาม EIR ส่วนต่างหากเกินจะนำไปตัดต้นทุนเพิ่ม – นโยบายตั้งสำรองของธุรกิจใหม่ ต้อวงมีการประเมินคาแรกเตอร์ของลูกหนี้ ดูว่าเหมาะกับวิธีประเมินอย่างไร และนำไปปรับใช้กับพอร์ตสินเชื่อ – แผนในอนาคต จะแบ่งธุรกิจเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มให้บริหารจัดเก็บหนี้ ซื้อหนี้ และบริการ 2. กลุ่มปล่อยสินเชื่อ 3. พัฒนาอสังหาฯ (หากพัฒนาต่อคาดว่าจะมีกำไร 4-5 เท่า) นอกจากนี้คาดว่าจะมีการออกตราสารหนี้ในอนาคต เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการขยายธุรกิจ – แผนการทำ M&A ร่วมทุน หรือเข้าซื้อบริษัท ก็มีความคิดที่จะทำหากมีโอกาส ถ้าทำให้ธุรกิจโตได้ – การซื้อหนี้ ไม่ได้ใช้เงินเท่ากับมูลหนี้ แต่ขึ้นกับ Character ของลูกหนี้ที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับการประเมิน และต้นทุนในการซื้อ ทำให้มูลหนี้ที่เยอะขึ้น โอกาสการจัดดเก็บหนี้จะดี การบันทึกบัญชีจะบันทึกเงินที่ลงทุนไป แต่ส่วนของมูลหนี้จะแยกส่วนต่างหาก – พยายามซื้อหนี้แบบ conservative เพื่อความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพของเงินที่ลงทุนไป – การตัดต้นทุน 5 ปี เพื่อให้พนักงานมีเป้าหมายเก็บหนี้ได้ใน 5 ปี ในปีที่ 6 คือกำไรล้วนๆ เมื่อรายได้เข้ามา โดยไม่มีต้นทุน – เมื่อซื้อหนี้มา มี outstanding 2 ส่วน คือส่วนที่ต้นเงินกับดอกเบี้ยรับรู้ และต้นเงินบวกดอยเบี้ยรับรู้และไม่รับรู้ เมื่อลงทุนไป 100% จะพยายามเก็บให้ได้ 300% ภายใน 5 ปี และมีต้นทุนในการจัดเก็บอีก 50% – ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้คืน เมื่อได้หนี้มา จะทำ projection ไป 5 ปี พอปีที่ 5 ก็จะขยายเวลาไป โดยจะตัดต้นทุนเสร็จสิ้นใน 5 ปีแรก – เมื่อจะประมูลหนี้ต้องมีการทำการบ้าน หนี้แต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน ทำให้มูลค่า ราคาแตกต่างกัน โดยต้องดูลูกค้า หลักประกัน และ Legal status เป็นหลัก – ธุรกิจปล่อยกู้ กลุ่มเป้าหมายหลักๆเป็นกลุ่มลูกค้าโรงงานจะกู้ที่ดอกเบี้ยประมาณ 4-10% ต่อเดือน ถ้าเข้าไปปล่อยสินเชื่อแทนที่ประมาณ 3% ต่อเดือน จะช่วยแก้ปัญหาได้ – กำลังพิจารณาทำ Credit Rating – ที่ดิน Secure-loan ใกล้รถไฟฟ้า มีประมาณ 1 ไร่ – EIR มองไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 20% – Secure-loan จะพิจารณาเลือกในกรุงเทพฯ และ EEC ก่อนเป็นอันดับแรก จะเน้นที่มี Growth เร็วๆ ดูข้อมูล CHAYO และแชร์มุมมองของคุณเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/CHAYO ดูคลิป CHAYO Oppday Q2/2018 ได้ที่ >>> https://www.youtube.com/watch?v=VKcnZPE5xKY ดูสไลด์ CHAYO Oppday Q2/2018 ได้ที่ >>> https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2018q2/20180815-2018Q2-CHAYO.pdf อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> https://wealthinvestmentclinic.wordpress.com/2018/08/29/gold/ อ่าน Oppday Q2/2018 บริษัทอื่นๆ : https://wealthinvestmentclinic.wordpress.com/2018/08/11/oppday-q2-2018/ อ่านบทความคลินิกการลงทุนได้ที่ : https://wealthinvestmentclinic.wordpress.com/ #คลินิกการลงทุน Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน คลินิกการลงทุน คลินิกการลงทุน เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี ภายใต้ Mindset ให้ความรู้ เทคนิค และวิธีการ การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้มั่งคั่ง และประสบความสำเร็จ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
CPALL จะขยายได้อีกกี่สาขา - FINNOMENA CPALL จะขยายได้อีกกี่สาขา?? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจใครหลายคน เพราะ CPALL ถือเป็นสุดยอดหุ้นค้าปลีกตัวหนึ่งที่เติบโตอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน วันนี้จะชวนมาลองหาคำตอบกันโดยใช้ตัวเลขจากญี่ปุ่นเทียบกับไทย 29 พ.ย. 2561 CPALL จะขยายได้อีกกี่สาขา?? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจใครหลายคน เพราะ CPALL ถือเป็นสุดยอดหุ้นค้าปลีกตัวหนึ่งที่เติบโตอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน จากเซเว่นอีเลฟเว่นจำนวนสาขาไม่ถึงพันตอนนี้ขึ้นมาแตะหลักหมื่นเป็นที่เรียบร้อย ราคาหุ้นเองก็ขึ้นมาหลายสิบเด้งจนกลายเป็นตำนานของตลาดหุ้นและเป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตของใครหลายคน คำถามคือแล้วต่อไปนี้ CPALL จะยังโตได้อีกไหม กว่าหนึ่งหมื่นสาขาของเซเว่นอีเลฟเว่นใกล้ถึงจุดอิ่มตัวหรือยัง ด้วยความสงสัย ผมจึงพยายามหาคำตอบนี้ด้วยคำอธิบายทางตัวเลขที่น่าจะเกี่ยวข้องที่สุด โดยอ้างอิงจากข้อมูลประเทศที่น่าจะมีจำนวนร้านสะดวกซื้อสูงมากจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วอย่างญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นจุดเปรียบเทียบ ประเทศญี่ปุ่น จำนวนประชากร 127 ล้านคน ขนาดพื้นที่ประเทศ 377,962 ตารางกิโลเมตร จำนวนร้านสะดวกซื้อประมาณ 50,000 ร้าน ประเทศไทย จำนวนประชากร 69 ล้านคน ขนาดพื้นที่ประเทศ 513,120 ตารางกิโลเมตร จำนวนร้านสะดวกซื้อประมาณ 12,000 ร้าน หากเปรียบเทียบประเทศญี่ปุ่นเป็นจุดอิ่มตัวของร้านสะดวกซื้อ ประเทศญี่ปุ่น จำนวนร้านสะดวกซื้อต่อจำนวนประชากร 394 ร้านต่อประชากรล้านคน จำนวนร้านสะดวกซื้อต่อขนาดพื้นที่ประเทศ 0.1323 ร้านต่อตารางกิโลเมตร เปรียบเทียบย้อนกลับมาที่จุดอิ่มตัวของประเทศไทย ประเทศไทย จำนวนร้านสะดวกซื้อต่อจำนวนประชากร 394 ร้านต่อประชากรล้านคน เทียบเท่ากับร้านสะดวกซื้อ 26,398 ร้าน จำนวนร้านสะดวกซื้อต่อขนาดพื้นที่ประเทศ 0.1323 ร้านต่อตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับร้านสะดวกซื้อ 67,885 ร้าน หากเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ยังพบว่าประเทศไทยน่าจะยังมีศักยภาพในการเติบโตของจำนวนร้านสะดวกซื้ออีกประมาณหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบดังกล่าวเป็นเพียงการเปรียบเทียบเชิงเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นยังมีความแตกต่างกันในรายละเอียดอีกมากมายที่ต้องพิจารณาเปรียบเทียบ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือต้องพิจารณาถึงส่วนแบ่งการตลาดรวมของร้านสะดวกซื้อในอนาคตด้วย เพราะตัวเลขเปรียบเทียบดังกล่าวใช้ตัวเลขร้านสะดวกซื้อรวมของประเทศ ซึ่งหากสนใจแต่ CPALL ก็จำเป็นต้องไปวิเคราะห์ส่วนแบ่งการตลาดที่เหมาะสมในอนาคตเพื่อหาจำนวนสาขาที่น่าจะเป็นอีกด้วย บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำการซื้อ ถือ หรือขายแต่อย่างใด เพียงแต่อยากแลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดในการหาคำตอบใหม่ๆ ด้านการลงทุนที่อาจจะถูกหรือผิดก็แล้วแต่ให้ทุกคนได้ลองนำไปใช้เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการคิดวิเคราะห์เผื่อสำหรับการตัดสินใจในเรื่องอื่นในอนาคต ลงทุนศาสตร์ – Investerest ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ลงทุนศาสตร์ เภสัชกรหนุ่ม ผู้หลงใหลในปรัชญาการลงทุนแนวเน้นคุณค่า (VI) นักลงทุนผู้เชื่อมั่นในความไร้ประสิทธิภาพของตลาด และสนใจศาสตร์การประเมินมูลค่าหุ้นทุกประเภท ความฝันสูงสุดคือ การสร้างสูตรการประเมินมูลค่าหุ้นที่นักลงทุนทุกคนบนโลกรู้จักและใช้เป็น
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โพยหุ้นปันผล SET50: ปันผลสูง แถม P/E ต่ำ - FINNOMENA ใครอยากมีหุ้นปันผลเก็บไว้ในพอร์ต มาทางนี้! วันนี้เอาโพยหุ้นปันผลใน SET50 ที่ P/E ต่ำกว่า 20 มาฝากเพื่อนๆ กัน ลองมาดูกันเลยว่ามีตัวไหนบ้าง เผื่อนำไปประกอบการตัดสินใจกัน 5 ต.ค. 2561 ถ้าอยากมีหุ้นปันผลเก็บไว้ในพอร์ต เชิญทางนี้! วันนี้ Get Wealth Soon เอาโพยหุ้นปันผลใน SET50 มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ 1. เป็นหุ้นใน SET50 2. อัตราผลตอบแทนจากปันผลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 4% 3. P/E (Price/Earnings per Share) หรือ ความถูกแพงของหุ้น ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา น้อยกว่า 20 เท่า คัดออกมาได้เป็นหุ้นตัวไหนบ้าง ไปดูกันเลย และสามารถคลิกที่รูปเพื่อดูข้อมูลหุ้นเพิ่มเติมได้ค่ะ ————————- เพื่อนๆสามารถดูข้อมูลหุ้นรายตัวเพิ่มเติมได้ ฟรี! ที่ https://www.finnomena.com/stock/ Inspired by CrisisMan คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Get Wealth Soon มีความเชื่อว่าถ้าหากเราเป็นคนที่พร้อมจะเปิดใจให้กับเรื่องการออมเงิน การลงทุน และมีการวางแผนทางการเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเอง จะสามารถเป็นคนที่มีความมั่งคั่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีฐานะครอบครัวที่ร่ำรวยมาก่อน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อ RS ช่อง 8 ขายความสวย - FINNOMENA RS เป็นผู้ทำธุรกิจบันเทิงครบวงจร ประกอบธุรกิจทีวีดิจิทัลช่อง 8 และทีวีดาวเทียมจำนวน 4 ช่อง แต่ตอนนี้ RS กำลังมุ่งเน้นธุรกิจใหม่ นั่นก็คือสุขภาพและความงาม ที่ถือเป็นปัจจัยการเติบโตของบริษัท ลองมาดูรายละเอียดและแนวโน้มของบริษัทนี้กัน 5 ต.ค. 2561 หุ้น RS หรือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ทำธุรกิจบันเทิงครบวงจร อาทิเช่น งานเพลง โชว์บิซ สื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุ RS ประกอบธุรกิจทีวีดิจิทัลช่อง 8 และทีวีดาวเทียมจำนวน 4 ช่อง ผู้เป็นเจ้าของผลงานรายการดังอย่าง ‘เจาะประเด็น’ และ ‘ศึกมวยโลก ช่อง 8 HBO Boxing’ และซีรีส์อินเดียอย่าง ‘หนุมาน สงครามมหาเทพ’ แต่ถึงจะมีรายการดังมากมาย รายได้ของ RS ก็ยังไม่เคยกลับไปทำจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ปี 2557 ได้เลย และในปี 2559 RS เองก็ประสบปัญหาขาดทุน เพราะมีคู่แข่งทีวีดิจิทัลเข้ามาอีกหลายช่อง ทำให้นักลงทุนเริ่มหมดความเชื่อมั่นในหุ้นทีวีดิจิทัลตัวนี้ Source: https://www.finnomena.com/stock/RS แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงธุรกิจส่วนหนึ่งของ RS เท่านั้น เพราะธุรกิจใหม่ของ RS คือ ธุรกิจสุขภาพและความงามที่เพิ่งมามุ่งเน้นในปี 2560 นี้เอง โดยรายได้ส่วนนี้ของ RS นั้นเติบโตมากจากรายได้เพียง 227.7 ล้านบาท มาเป็น 1,389.1 ล้านบาท หรือเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 512% ธุรกิจสุขภาพและความงามถือเป็นปัจจัยการเติบโตของ RS เพราะเข้ามาต่อยอดธุรกิจเดิมของ RS ได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ธุรกิจอื่นของ RS นั้นไม่ได้มีการเติบโตมากเลย Source: RS Annual Report 2018 เพราะธุรกิจนี้เองที่ทำให้ RS มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นมาก จาก 24.4% มาเป็น 37.8% คิดเป็นการพลิกกลับมาเพิ่มขึ้น 13% แล้วถ้าเราไปดูกำไรสุทธิต่อ เราก็จะเห็นได้ชัดเลยว่าเพิ่มขึ้นจาก -3.1% มาเป็น 9.2% หรือเพิ่มขึ้นกว่า 12% Source: https://www.finnomena.com/stock/RS ทำไมธุรกิจสุขภาพและความงามสร้างรายได้ให้ RS มากขนาดนี้? ธุรกิจสุขภาพและความงาม เป็นธุรกิจที่ทำงานร่วมกันกับธุรกิจสื่อของ RS ที่มีอยู่แล้วได้เป็นอย่างดีสาเหตุเพราะ RSมีช่องทางการจัดจำหน่ายของตัวเอง นั่นคือช่อง 8 ที่ RS ใช้เป็นช่องทางการโฆษณาสินค้าตัวเองโดยไม่ต้องไปขอซื้อพื้นที่โฆษณาของคนอื่น ถ้าให้อธิบายโมเดลธุรกิจของ RS แบบง่ายๆ เลยก็คือ RS มีผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของตัวเอง โดยไม่ได้มีโรงงานของตัวเอง ใช้วิธีจ้างข้างนอกทำ (OEM) เมื่อเป็นแบบนี้ RS ก็ไม่มีต้นทุนและค่าเสื่อมของโรงงาน หลังจากนั้น RS ก็ใช้ช่อง 8 ของตัวเองในการทำโฆษณาสินค้าของตัวเอง เท่ากับว่า RS ขายเครื่องสำอางโดยไม่ต้องทุ่มงบโฆษณาเยอะเลย เพราะใช้ช่องทางของตัวเองที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยขน์นั่นเอง โดยธุรกิจนี้ยังคงมีการเติบโตจากการเพิ่มจำนวนสินค้าใหม่เข้ามาเรื่อยๆ แต่ปัญหาของธุรกิจนี้คือ สินค้าบางชิ้นถูก อย. สั่งระงับโฆษณา เหตุมาจากการโฆษณาเกินจริง แต่ก็มีเพียงสินค้าไม่กี่ชิ้นที่โดนระงับโฆษณา จึงทำให้ความเสี่ยงของธุรกิจมีจำกัด Source: http://www.magique.co.th/shop/?lang=en อีกธุรกิจหนึ่งคือธุรกิจสื่อของ RS ที่ผ่านมาก็มีการปรับตัวให้มีการลดต้นทุนมากขึ้น โดยกลยุทธ์แรกคือ หันไปทำช่องทางออนไลน์มากขึ้นอย่าง JOOX และ Spotify ที่มีต้นทุนถูกกว่าช่องทางทีวี กลยุทธ์ที่สองคือ ลดต้นทุนของบริษัท ด้วยการลดจำนวนศิลปินลง จากร้อยชีวิตเหลือสามสิบกว่าท่านเท่านั้น อีกกลยุทธ์หนึ่งคือการเน้นเฉพาะศิลปินที่ดังจริงๆ ส่วนศิลปินใหม่ที่อยากออกผลงาน RS ก็ให้ศิลปินผู้นั้นช่วยออกค่าใช้จ่ายเพื่อลดความเสี่ยง แนวโน้มของ RS ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่จะเข้ามามีผลกระทบต่อ 2 ธุรกิจหลัก คือธุรกิจสุขภาพ/ความงาม และธุรกิจสื่อ ปัจจัยที่จะเข้ามามีผลกระทบธุรกิจสุขภาพและความงาม เช่น การแข่งขันของคู่แข่งในอุตสาหกรรมเองที่มีการทำตลาดเยอะ แต่อีกอย่างที่ชัดสุดเลยคือ อย. ที่อาจจะเข้ามาระงับการขายสินค้าของ RS ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็ได้เกิดขึ้นบ้างแล้ว ส่วนธุรกิจสื่อ RS เองก็พยายามปรับองค์กรให้ Lean มากขึ้นเพื่อลดต้นทุน แต่ก็ยังคงประสบกับการแข่งขันที่รุนแรงจากค่ายคู่แข่งเช่นเดิม เราคงต้องจับตากันต่อไปว่าธุรกิจทั้งสองของ RS จะเป็นอย่างไร ที่สำคัญ นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยรอบด้าน หาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจให้ดีก่อนลงทุนนะครับ ดูข้อมูลหุ้น RS เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/RS Sources: http://www.investerest.co https://www.set.or.th http://www.magique.co.th/shop/?lang=en ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สงครามวัสดุก่อสร้าง DO Home vs Global - FINNOMENA หลังจากความสำเร็จของทั้ง Homepro และ Global ในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ วันนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังจะมีหุ้น Modern Trade ของแต่งบ้านและวัสดุก่อสร้างเพิ่มเข้ามานั่นก็คือ DO Home เรามาทำความรู้จักบริษัทนี้กันครับ 5 ต.ค. 2561 หลังจากความสำเร็จของทั้ง HMPRO และ GLOBAL ในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมากจากผลการดำเนินงานที่เติบโต และการขยายสาขาที่ต่อเนื่อง ณ วันนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังจะมีหุ้น Modern Trade ของแต่งบ้านและวัสดุก่อสร้างเพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ DO Home ร้านวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จจากการเติบโตในต่างจังหวัด DO Home ก่อตั้งครั้งแรกในจังหวัดอุบลราชธานี 14 ปีถัดมาในปี 2550 DO Home เปิดสาขาที่สองในจังหวัดนครราชสีมา และขยายสาขามาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้น 9 สาขา ทุกสาขาตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ในอนาคตมีแผนที่จะเปิดเพิ่มอีก 4 สาขาคือเพชรเกษมและสุราษฎร์ธานี ในปี 2562, สาขาชลบุรีและพิษณุโลกในปี 2565 แม้ DO Home จะทำธุรกิจเดียวกันกับ GLOBAL แต่วิธีการทำธุรกิจแตกต่างกันพอสมควร ในปี 2560 DO Home มีรายได้ 18,664 ลบ. ในขณะที่ GLOBAL มีรายได้ 20,830 ลบ. รายได้ใกล้เคียงกันแต่…. DO Home มีสาขาเพียง 9 สาขาแต่ GLOBAL มีสาขามากถึง 55 สาขา ถ้าเอามาคำนวณเป็นยอดขายต่อสาขา DO Home มียอดขายต่อสาขาสูงถึง 2,063 ลบ.ต่อสาขา แต่ GLOBAL มียอดขายต่อสาขาเพียง 378 ลบ.ต่อสาขาเท่านั้น ยอดขายต่อสาขามากน้อยคงไม่เกี่ยวกับเรื่องดีหรือไม่ดีอะไร แต่บ่งบอกถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจที่แตกต่างกัน DO Home เน้นใหญ่ๆ มาที่เดียวจบราคามั่นใจได้ว่าถูก เน้นวัสดุก่อสร้าง ในขณะที่ GLOBAL เน้นขยายสาขา มีบางสาขาเริ่มติดแอร์เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกันขนาดของสาขาเลยแตกต่างกันไปด้วย GLOBAL ที่ผมว่าสาขาขนาดใหญ่แล้วคือมีสาขาประมาณ 13,000 – 30,000 ตรม. เจอสาขาของ DO Home ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 35,000-65,000 ตรม. ทำให้สาขาของ GLOBAL ดูเล็กไปเลย ที่ DO Home ทำสาขาขนาดใหญ่มากกก เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะบริษัทมี Mission ในการเป็นศูนย์จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านแบบครบวงจร หรือที่บริษัทเรียกตัวเองว่าเป็น “มหาอาณาจักรบ้าน” ดังนั้นจึงต้องมีของเยอะ ของครบ แถมยังต้องขายถูก (โจทย์ยากจัง) แต่ DO Home ก็ทำได้ ! รายได้และกำไรของ DO Home มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปี 2558 รายได้ 17,917 ลบ. กำไร 389 ลบ. ปี 2559 รายได้ 18,692 ลบ. กำไร 853 ลบ. ปี 2560 รายได้ 18,664 ลบ. กำไร 931 ลบ. อย่างไรก็ตามแม้จะเติบโตต่อเนื่องแต่ด้วยกลยุทธ์ของเยอะ ของครบ ของถูกทำให้อัตราการทำกำไรของ DO Home ทำได้น้อยกว่า GLOBAL ค่อนข้างมาก DO Home ทำอัตรากำไรขั้นต้นได้เพียง 16.2% ในขณะที่ GLOBAL ทำได้ 20.58% ส่วนอัตรากำไรสุทธิ DO Home ทำได้ 5% GLOBAL ทำได้สูงกว่าที่ 7.43% สาเหตุก็คงเพราะ DO Home มีการขายพวกวัสดุก่อสร้างพื้นฐานเช่นเหล็กและคอนกรีตจึงทำให้อัตราการทำกำไรต่ำ แล้ว DO Home จะยังพัฒนาอัตราการทำกำไรให้ดีขึ้นได้ไหม? ได้แน่นอนถ้า DO Home สามารถเพิ่มจำนวนสาขาให้มากขึ้น, ปรับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่ชัดเจนคือการเพิ่มสินค้า House brand เพราะ DO Home ขายสินค้า House brand ได้อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยที่ 31.5% ในขณะที่ขายสินค้าทั่วไปได้อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยที่ 16.2% ปัจจุบัน DO Home ยังมีอัตราการขายสินค้า House brand เป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับรายได้รวม ปี 2558 สินค้า House brand 7.1% ปี 2559 สินค้า House brand 11.4% ปี 2560 สินค้า House brand 14.3% (ใกล้เคียงกับอัตราส่วน House brand ของ GLOBAL ที่ 13% แต่ยังต่ำกว่าของ HMPRO ที่ประมาณ 25%) สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของ DO Home คือประสิทธิภาพในการบริหารสต๊อคสินค้า DO Home มี Inventory day ที่ 157 วัน หากเทียบกับ GLOBAL ที่ 272 วัน นับว่า DO Home ทำได้ดีกว่าเยอะมาก แต่ยังทำได้แย่กว่าหากเทียบกับ HMPRO ที่ทำได้ 83 วัน สาเหตุก็อาจจะเป็นเพราะ DO Home ขายวัสดุก่อสร้าง สินค้าส่วนใหญ่ไม่เน่า ไม่เสีย มี Life cycle ยาวนานกว่าสินค้าของตกแต่งบ้านที่มีความเป็นแฟชั่นระดับหนึ่ง DO Home เน้นของครบ ดังนั้นอาจมีความจำเป็นที่ต้องเก็บสต๊อคไว้มากหน่อยจึงทำให้ Inventory day สูง สรุปแล้ว DO Home ถือเป็นหุ้นขายวัสดุก่อสร้างที่เน้นร้านที่เป็นอาณาจักร ของครบและราคาถูก โดยมีลูกค้าหลักคือช่าง กลยุทธ์การเติบโตหลักๆ แล้วมาจากการขยายสาขาซึ่งทำให้รายได้เติบโต การปรับสินค้าเป็น House brand ในอัตราส่วนที่มากขึ้นจะช่วยให้กำไรเติบโต ที่ผ่านมา DO Home เติบโตมาตลอด ปีไหนมีการเปิดสาขาใหม่จะเติบโตก้าวกระโดด จากสาขาที่มีอยู่แล้ว 9 สาขา เปิดเพิ่มอีก 4 สาขาในพื้นที่ที่มีกำลังซื้อพอสมควร ส่วนการเติบโตจะเป็นกี่ % นั้น ราคา IPO จะเป็นเท่าไหร่ น่าซื้อหรือไม่? ยังคงต้องติดตามข้อมูลกันต่อไป ….. โดยเพจ Buffettcode ดูข้อมูลหุ้น GLOBAL เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/GLOBAL ดูข้อมูลหุ้น HMPRO เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/HMPRO ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
The Key Factors: ตลาดกังวลประเด็นอิตาลี ทะเลจีนใต้ระอุอีกครั้ง - FINNOMENA The Key Factors ประจำสัปดาห์ พบกับ ความกังวลจากประเด็นอิตาลี และทะเลจีนใต้ อีกครั้งกับประเด็นต่างๆ ที่เข้ามากดดันตลาดในช่วงเวลานี้ มาอัพเดตสถานการณ์กันเลย 27 ส.ค. 2562 The Key Factors ประจำสัปดาห์ พบกับ ความกังวลจากประเด็นอิตาลี และทะเลจีนใต้ อีกครั้งกับประเด็นต่างๆ ที่เข้ามากดดันตลาดในช่วงเวลานี้ รัฐบาลอิตาลีตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณไว้ที่ 2.4% ของ GDP ตลาดกังวลส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีพุ่ง ต่อเนื่องด้วยทะเลจีนใต้กลับมาระอุอีกครั้ง หลังเรือรบของจีนและสหรัฐฯ เผชิญหน้ากัน ธนาคารกลางญี่ปุ่น กับการลดวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ 1. สถานการณ์อิตาลี หลังรัฐบาลยืนยันตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณที่ 2.4% ของ GDP รูปที่ 1 อัตราผลคอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี 10 ปี Source : Bloomberg รัฐบาลอิตาลีตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณไว้ที่ 2.4% ของ GDP สำหรับงบประมาณในอีก 3 ปีข้างหน้า ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนรัฐบาลอิตาลีปรับตัวขึ้นทันทีกว่า 5% อย่างไรก็ตามหลังถูกแรงกดดันอย่างหนักจากสหภาพยุโรป ทำให้รัฐบาลอิตาลีปรับเป้าขาดดุลงบประมาณในปี 2020 ให้ขาดดุลลดลงเหลือ 2.2% และปี 2021 เหลือ 2.0% ส่งผลตลาดคลายความกังวล ขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีปรับตัวลงมาเล็กน้อย นอกจากนั้น ผลจากความกังวลดังกล่าวยังส่งผลให้ค่าเงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าลงมาที่ 1.1551 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับ 1.1610 ดอลลาร์/ยูโร จากนั้นปรับตัวแข็งขึ้นมาเล็กน้อย 2. ทะเลจีนใต้ระอุ หลังเรือรบจีนเผชิญหน้าสหรัฐฯ กดดันประเด็นสหรัฐฯ-จีน ต่อเนื่อง Source : https://timesofsandiego.com/military/2018/10/01/chinese-warship-confronts-san-diego-based-destroyer-in-south-china-sea/ ประเด็นความกังวลในยุโรปยังไม่คลี่คลาย ล่าสุด เรือรบ “ยูเอสเอส ดีเคเตอร์” (USS Decatur) ของสหรัฐฯ ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในทะเลจีนใต้ เผชิญหน้าเรือลาดตระเวนชั้น “ลู่หยาง” ของกองทัพเรือจีน ในระยะเพียง 45 เมตร ประเด็นดังกล่าว สร้างแรงกดดันต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนตึงเครียดในช่วงที่ประเด็นการค้ายังไม่มีใครยอมใคร 3. ธนาคารกลางญี่ปุ่นลดการซื้อตราสารหนี้ ล่าสุดธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมาประกาศลดจำนวนเงินอัดฉีดเข้าซื้อตราสารหนี้ที่จะครบอายุเกินกว่า 25 ปี จาก 50,000 -150,000 ล้านเยน ในเดือนกันยายน เหลือ 10,000-100,000 ล้านเยน ประกอบกับการแถลงเมื่อเดือนกรกฎาคมที่กล่าวในทำนองจะเพิ่มความยืดหยุ่นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรท่ามกลางกระแสกดดันว่าบิดเบือนตลาด ทั้งนี้จากการประกาศลดจำนวนเงินในการเข้าซื้อ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 40 ปี เพิ่มขึ้น 0.02% สู่ระดับ 1.09% และอายุ 30 ปี เพิ่มขึ้น 0.015% แตะระดับ 0.92% การเพิ่มขึ้นดังกล่าวอาจเป็นผลให้บริษัทประกันและกองทุนบำนาญโยกเงินลงทุนกลับมายังประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง ซึ่งสถานการณ์ข้างต้นทั้งหมด ส่งผลให้มีแรงกดดันต่อตลาดการลงทุนโดยรวม ทั้งในแง่ของราคาทองคำที่มีการปรับตัวขึ้นเหนือ 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อีกครั้ง ตลาดหุ้นยุโรปที่มีการปรับตัวย่อลงทันทีกว่า 1% หลังจากการประกาศตัวเลขการคาดการณ์การขาดดุลของรัฐบาลอิตาลี ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้จะเป็นอีก Key Factors ที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป FINNOMENA Investment Team คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รวมโพย "กองทุนที่อยากบอกต่อ" ในแต่ละประเภท !! - FINNOMENA ใครกำลังสนใจลงทุนในกองทุนหุ้นไทย หุ้นเทค อสังหาฯ หรือ Healthcare บ้าง? มาดูกันว่า 3 กองทุนที่เราอยากบอกต่อในแต่ละประเภทคือกองอะไร ?? 4 พ.ย. 2564 ใครกำลังสนใจลงทุนในกองทุนหุ้นไทย หุ้นเทค อสังหาฯ หรือ Healthcare บ้าง? มาดูกันว่า 3 กองทุนที่เราอยากบอกต่อในแต่ละประเภทคือกองอะไร ? เรานำโพยจากแผน FINNOMENA Best-in-Class มาฝากกัน ลองดูข้อมูลโดยคร่าวของแต่ละกองได้ข้างล่างนี้เลย *หมายเหตุ: ข้อมูลในเว็บอาจมีการอัพเดต ทำให้ไม่ตรงกับในรูป หากสนใจกองไหนเป็นพิเศษ อย่าลืมศึกษารายละเอียดกองทุนจากหนังสือชี้ชวนโดยละเอียด หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่อีกทีนะ กองทุนหุ้นไทย LHEQD-A: กองทุนเปิด แอล เอช หุ้นปันผล ชนิดสะสมมูลค่า ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/LHEQD-A/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.lhfund.co.th/Upload/LHEQDA_590_1537147917_91233.pdf RKF2: กองทุนเปิด รวงข้าว 2 ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/RKF2/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/RKF2.pdf TSF: กองทุนเปิด ทิสโก้ สแตรทิจิก ฟันด์ ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://finnomena.com/fund/TSF-A ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.tiscoasset.com/DownloadFileServlet?lang=TH&fileType=M&fileName=TSF กองทุนหุ้นเทคโนโลยี K-USXNDQ-A(D): กองทุนเปิดเค หุ้นยูเอส ดัชนีเอ็นดีคิว 100-A ชนิดจ่ายเงินปันผล ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/K-USXNDQ-A(D)/ https://www.finnomena.com/holyinvestor/k-usxndq-a-d/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.kasikornasset.com/FundDocument/Fund_Fact_Sheet/K-USXNDQ-A(D).pdf https://www.invesco.com/portal/site/us/financial-professional/etfs/product-detail?productId=QQQ ONE-UGG: กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://finnomena.com/fund/ONE-UGG-RA https://www.finnomena.com/cashcycle/one-ugg/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.one-asset.com/webroot/fund_summary_prospectus/ONE-UGG_Summary_Prospectus.pdf https://www.one-asset.com/webroot/fund_masterfund/ONE-UGG_MasterFund.pdf SCBDIGI: กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอลดิจิตอล ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/SCBDIGI/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.scbam.com/medias/fund-doc/summary-prospectus/SCBDIGI_SUM.pdf กองทุนอสังหาฯ & REITs KT-PIF-A: กองทุนเปิดกรุงไทย พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล ชนิดสะสมมูลค่า ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/KT-PIF-A/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.ktam.co.th/document_fund/fundfactsheet/Factsheet_th_KT-PIF-A.pdf https://www.ktam.co.th/document_fund/top5/TOP5_th_KT-PIF-A.pdf M-PROP DIV: กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พร็อพเพอร์ตี้ ดิวิเดนด์ ฟันด์ ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://finnomena.com/fund/MPDIVMF ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน http://www.mfcfund.com/mfc/incfile/REPORT/fsp/th/MPDIV.pdf http://www.mfcfund.com/Web/FundFiles/FundFactSheetPDFs/ffs//th/MPDIV.pdf PHATRA PROP-D: กองทุนเปิดภัทร พร็อพเพอร์ตี้ เซคเตอร์ – ดิวิเดนด์ ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/PHATRA%20PROP-D/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน http://www.phatraasset.com/FundDetail/SA9XgUHkvcSoJq1F9xFNvRaaMvJd0H6eoV4oUPmSxfE%3D กองทุน Healthcare KFHEALTH-D: กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเฮลธ์แคร์อิควิตี้-ปันผล ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/KFHEALTH-D/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KFHEALTH-D_TH.pdf?rnd=20180927013436 PHATRA GHC: กองทุนเปิดภัทร โกลบอล เฮลธ์แคร์ ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/PHATRA%20GHC/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน http://www.phatraasset.com/FundDetail/SA9XgUHkvcSoJq1F9xFNvRaaMvJd0H6egRnuHodk8zI%3D T-HEALTHCARE: กองทุนเปิดธนชาตโกลบอลเฮลธ์แคร์ ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.finnomena.com/fund/T-HEALTHCARE/ ดูข้อมูลหนังสือชี้ชวน https://www.thanachartfund.com/PDF/Prospectus/Thai/PP_T-Healthcare_Thai_short.PDF https://www.thanachartfund.com/PDF/Prospectus/Thai/PP_T-Healthcare_Thai.PDF คุณสามารถเปิดพอร์ต FINNOMENA Best-in-Class แผนที่จะช่วยให้คุณได้ลงทุนในกองทุนที่ดีที่สุดในแต่ละประเภทได้ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บลน. ฟินโนมีนา โทร 02-026-5100 แอดไลน์ @FINNOMENAPORT เพื่อพูดคุยกับพนักงาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.finnomena.com/bic/ Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Basic BIC BIC Healthcare BIC Property BIC Tech BIC Thai FINNOMENA PORT KT-PIF-A LHEQD-A Long Content M-PROP DIV ONE-UGG Picture Slide Product Info SCBDIGI แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
KCE ส่งออกดี ทองแดงลงก็เป็นผลดี แล้วยังไงต่อ? - FINNOMENA KCE เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ PCB ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานสำคัญในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด มาทำความรู้จักกับบริษัทนี้กัน 26 ก.ย. 2561 KCE หรือ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ PCB ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานสำคัญในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด การทำธุรกิจของ KCE รายได้ของ KCE นั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา สาเหตุเพราะบริษัทมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีความสามารถในการผลิตแผง PCB ที่มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด แต่ถ้ามาดูที่กำไรของ KCE นั้น มีการเพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้สูงมาก นี่เป็นเพราะบริษัทมีการลดต้นทุนในการผลิตลงตลอดเวลา เช่นการลด Defect Rate ของแผง PCB ให้มีน้อยลงเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นให้มากขึ้น โรงงานผลิตแผง PCB ของ KCE นั้นมี 3 โรงงาน มีพนักงานรวม 5,500 คน ถ้าเทียบขนาดจะอยู่ที่ระดับประมาน 30 ของโลก โดยอันดับ 1 ของโลกมีรายได้มากกว่า KCE เพียงหนึ่งเท่ากว่าๆ เท่านั้น Source: https://www.finnomena.com/stock/KCE ทีนี้เรามาดูวงจรเงินสดของ KCE กัน วงจรเงินสดของ KCE คือ 87 วัน มีระยะเวลาเก็บหนี้ 100 วันเพราะลูกค้ามีอำนาจการต่อรองสูงกว่า KCE มาก หมายความว่าบริษัทผลิตแผง PCB ส่งไปให้ลูกค้าทางเรือ แล้วต้องรอเกือบ 4 เดือนกว่าลูกค้าจะจ่าย แต่ในทางกลับกัน ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้าของ KCE ก็เป็น 100 วันเช่นเดียวกัน เพราะบริษัทเองก็มีอำนาจการต่อรองกับ Supplier Source: https://www.finnomena.com/stock/KCE ลูกค้าและตลาดของ KCE KCE ทำการส่งออกแผง PCB ตั้งแต่เริ่มแรกเลย ลูกค้าหลักที่มาสั่งซื้อแผง PCB คือบริษัทต่างชาติที่เป็น Supplier ให้กับบริษัทผลิตรถยักษ์ใหญ่ โดยลูกค้าของ KCE มาจากประเทศฝั่งยุโรปเป็นหลัก ส่วนลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่นนั้นยังน้อยเพราะเพิ่งบุกตลาดมาไม่กี่ปี สาเหตุที่บริษัทรถเหล่านี้ไม่ได้ผลิตแผง PCB เองนั้นเป็นเพราะต้องการประหยัด KCE เคยให้ข้อมูลว่าตลาดของแผง PCB นั้นจะโตต่อไปเรื่อยๆ เพราะในอนาคตรถทุกคันจะมีแผงวงจรมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น เกียร์ไฟฟ้า กล้องที่ติดกับรถ และเซ็นเซอร์ต่างๆ ทำให้บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตจากเทรนด์ของรถที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเยอะขึ้นเรื่อยๆ KCE ขายแผงให้ลูกค้ารถยนตร์เป็นสัดส่วน 70% ส่วนกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานหรือตู้ Control เป็นสัดส่วน 12% และที่เหลือเป็นกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป Source: KCE Annual Report 2017 Source: KCE Annual Report 2017 ต้นทุนของ KCE มีอะไรบ้าง? แล้วค่าเงินมีผลอย่างไร? KCE มีทองแดงที่เป็นต้นทุนหลัก คิดเป็น 8-10% (สูงที่สุดแล้ว) ของต้นทุนทั้งหมด เพราะฉะนั้นถ้าราคาทองแดงเพิ่มขึ้น KCE จะได้รับผลกระทบเต็มๆ ซึ่งเกิดขึ้นในปีที่แล้ว ทำให้กำไรบริษัทลดลงจากปี 2559 แล้วราคาทองแดงขึ้นได้อย่างไร? KCE เคยให้คำตอบว่า เมื่อเศรษฐกิจดี การก่อสร้างมากขึ้น ทำให้มีการใช้ทองแดงมากขึ้น มีการนำทองแดงไปใช้ในสายไฟทำให้อุปสงค์มากกว่าอุปทาน จึงส่งผลให้ราคาขึ้น นอกจากต้นทุนหลักอย่างค่าทองแดงที่เพิ่มขึ้นแล้ว ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อ KCE เพราะบริษัทเน้นการส่งออกเป็นหลัก ยิ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ของที่ส่งออกจากประเทศไทยก็แพงขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นที่ไม่ได้แข็งค่าขึ้นตาม คู่แข่งของ KCE คือใคร? มี 2 ประเทศที่เป็นคู่แข่งด้านแผง PCB คือประเทศจีนและไต้หวันที่คุมส่วนแบ่งของตลาด PCB โลกถึง 70% ส่วนคู่แข่งที่ผลิตเยอะในไทยก็มาจากประเทศไต้หวันเช่นกัน นอกจากความเสี่ยงเรื่องราคาทองแดงที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ กับค่าเงินบาทที่สามารถส่งผลกระทบต่อกำไรของ KCE แล้ว อีกปัจจัยหนึ่งคือ การพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ เพราะบริษัทมีลูกค้ารายใหญ่ที่สร้างรายได้ให้ถึง 15% หวังว่าข้อมูลที่นำมาเล่าสู่กันฟังในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่างไรก็ดี นักลงทุนอย่าลืมศึกษาข้อมูลรอบด้าน คำนึงถึงหลายๆ ปัจจัย ก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ Sources: https://www.finnomena.com/stock/KCE https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=KCE&ssoPageId=3&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=KCE&ssoPageId=4&language=th&country=TH https://www.youtube.com/watch?v=kuOeJqfzP_I https://www.youtube.com/watch?v=2fEJoNV_AfY ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปประเด็นหุ้น MINT ซื้อหรือขายดี? - FINNOMENA หุ้น MINT เป็นหุ้นโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทย ด้วย Market Cap กว่า 178,000 ลบ. MINT ไม่ได้มีแต่ธุรกิจโรงแรมเท่านั้นแต่ยังมีธุรกิจอาหารและร้านขายของ Lifestyle ด้วย ประเด็นที่น่าสนใจตอนนี้มีอยู่ 1-2 ประเด็นด้วยกัน มีอะไรบ้าง?? 29 ต.ค. 2563 หุ้น MINT เป็นหุ้นโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทย ด้วย Market Cap กว่า 178,000 ลบ. MINT ไม่ได้มีแต่ธุรกิจโรงแรมเท่านั้นแต่ยังมีธุรกิจอาหาร และร้านขายของ Lifestyle ด้วย รายได้ของธุรกิจ MINT แบ่งได้เป็น รายได้จากธุรกิจโรงแรม 53% รายได้จากธุรกิจอาหาร 40% และรายได้จากร้านขายของ Lifestyle อีกประมาณ 7% แบรนด์ดังๆ ของ MINT ที่พวกเรารู้จักกันดีก็เช่นโรงแรมอนันตารา พิซซ่าคอมปะนี สเวนเซนส์ แดรี่ควีน ซิสเลอร์ เบอร์เกอร์คิงส์ เอสปรี อเนโล่ โดยทั้งธุรกิจโรงแรมและอาหารของ MINT นั้นมีทั้งทำธุรกิจในไทยและขยายไปต่างประเทศด้วย ถ้ามองย้อนหลังกลับไปในปี 2000 มาจนถึงปี 2017 หุ้น MINT มีรายได้เติบโตเฉลี่ยปีละ 23% จากมีรายได้แถวๆ 2000 ล้านบาทในปี 2000 ปัจจุบันขึ้นมาเป็น 55,000 ล้านบาทในปี 2017 ถือว่าเติบโตขึ้มาเยอะมาก เกิน 25 เท่า ราคาหุ้นก็ขึ้นมากเช่นกัน ประเด็นที่น่าสนใจในการลงทุนหุ้น MINT ณ ตอนนี้มีอยู่ 1-2 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรก คือการเข้าลงทุนใน NH Hotel group (เรียกภาษาชาวบ้านว่า Take over นั่นแหละแต่อันนี้ไม่ได้ Take หมดกะเอาแค่ 51% ให้มีอำนาจควบคุมพอ) แล้ว NH คือใคร? ก็เป็นเครือโรงแรมในสเปนที่ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ในสเปน อันดับ 6 ในยุโรป ติด 1 ใน 30 เครือโรงแรมใหญ่สุดในโลกเลยนะ MINT อยู่ในอันดับที่ 68 ถ้ารวมกันจะกลายเป็นเครือโรงแรมอันดับที่ 19 ของโลกทันที ! Market cap ของ NH ก็อยู่ประมาณ 2,400 ล้านยูโร หรือประมาณ 94,000 ล้านบาทไทย ขนาดประมาณครึ่งนึงของ MINT ที่มี Market cap 178,000 ล้านบาท NH มีโรงแรมทั้งสิ้น 385 โรงแรม รวมเป็น 59,682 ห้องใน 30 ประเทศ ลูกค้าของ NH มีประมาณ 8 ล้านรายเป็นยุโรป 91% เป็นอเมริกันอีก 9% ผลประกอบการเป็นไง? ก็ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียวเพราะมี Occupancy rate ถึง 70% มากขึ้นทุกปี รายได้ปี 2017 เพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ของบริษัทไปที่ 1,571 ล้านยูโร กำไรเติบโตสูงจากที่ 2 ปีที่ผ่านมายังขาดทุนอยู่เลย เพราะผลก็เพราะการขยายโรงแรมมากเกินไปและปัญหาหนี้สินซึ่งปัจจุบันทยอยแก้ไขไปแล้ว ผลประกอบการเลยค่อยๆดีขึ้น ผลประกอบการ 1H18 NH มีกำไรแล้วที่ 64 ล้านยูโรหรือประมาณ 2,400 ล้านยูโร (เต็มปีก็ประเมินคร่าวๆได้ที่ 4,800 ล้านยูโร ภายใต้สมมุติฐานว่าสามารถทำ NPM ได้พอๆ กับ 2Q18 ถ้า MINT ลงทุน 51% ก็เท่ากับว่าได้เงินมาประมาณ 2,400 ล้านบาท) แต่ๆๆ ต้องอย่าลืมว่าการเข้าลงทุนของ MINT ใน NH ใช้การกู้หนี้มาซื้อดังนั้นก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย ถ้า MINT ซื้อ 51% จะต้องจ่ายเงินประมาณ 47,000 ล้านบาท เป็นอัตราดอกเบี้ยหลัง Swop เป็นเงิน Euro แล้วจะต้องจ่ายดอกประมาณ 3-4% หมายความว่าต้องจ่ายดอกคร่าวๆ ปีละ 1,400-1,800 ล้านบาท Net กับกำไรของ NH จะเพิ่มกำไรได้อีกประมาณ 600-1000 ล้านบาท Synergy ของการเข้าลงทุนในกลุ่ม NH ก็มีหลายมุมเช่น ฐานลูกค้าที่ไม่เหมือนกัน NH มีฐานลูกค้าเป็นยุโรปเยอะ ในขณะที่ MINT มีฐานลูกค้าเป็นคนเอเซีย เอาฐานลูกค้ามารวมก็เท่ากับ MINT ได้ลูกค้ายุโรปมากขึ้น NH ได้ลูกค้าเอเชียมากขึ้น นอกจากเรื่องลูกค้าก็มีเรื่องที่ตั้งและแบรนด์ของโรงแรม เพราะในที่ที่มีโรงแรมของ NH อยู่เยอะมักจะไม่มีโรงแรงของ MINT อยู่ ส่วนในที่ที่มีโรงแรมของ MINT อยู่ก็มักจะไม่มีโรงแรมของ NH ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งยอดลูกค้ากันเอง MINT สามารถเอาโรงแรมแบรนด์ดังของ NH มาเปิดในไทยได้ ในขณะเดียวกันก็เอาแบรนด์ของ MINT ไปเปิดในสเปนได้ และที่สำคัญที่สุด NH เป็นกลุ่มโรงแรมที่มี EBITDA Margin น้อยว่า MINT อยู่ที่ประมาณ 15% เท่านั้น ถ้า MINT ซึ่งบริหารโรงแรมได้ EBITDA Margin สูงกว่าที่ 25% เข้าไปช่วยบริหารจัดการก็มีโอกาสที่จะทำให้การทำกำไรดีขึ้น แล้ว MINT มีโอกาสต้องเพิ่มทุนมั้ย? เพราะต้องเสนอหุ้น NH Hotel group ทั้งหมดจากที่ตั้งใจไว้ว่าจะซื้อแค่ 51-55% ถ้าซื้อทั้งหมดต้องใช้เงินเพิ่มอีกราวๆ 40,000 ล้านบาท แต่ถ้าเรามาดูข้อมูลการที่จะซื้อทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะ 1. ราคา Tender ที่ 30 ยูโร ราคาในตลาดก็ประมาณนี้เหมือนกัน ดังนั้นราคาซื้ออาจไม่จูงใจให้คนขายมากนัก 2. ผลประกอบการของ NH กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว นี่ก็ไม่ค่อยจูงใจให้คนขายอีก เพราะบริษัทกำลังไปได้สวยจะขายให้ MINT ในราคานี้ทำไม? 3. ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ NH หลายๆรายเป็นกองทุนซึ่งมีความรู้เรื่องการเงินการลงทุน พวกเขาก็รู้ว่าถ้า MINT เข้ามาบริษัทน่าจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้น (ในกรณีเป็นไปตามแผนและ MINT ไม่ได้ทำอะไรพลาด) แต่ถ้าเกิดคดีพลิก MINT ต้องซื้อทั้งหมดจริงๆ MINT ก็สามารถหา Partner มาช่วยกันซื้อได้ในกรณีที่หาเงินกู้ไม่ได้ หรือไม่อยากกู้มาเกินไป ระดับคุณ William E. Heinecke หา Partner ได้ไม่ยากอยู่แล้ว การเพิ่มทุนมีโอกาสเกิดมั้ย? ก็มีโอกาสแต่น่าจะน้อยเพราะต้องผ่าน Process และผู้ถือหุ้นใหญ่จะโดนผลกระทบไปด้วย MINT ยังมีทางเลือกอื่นๆได้อีก อีกประเด็นระยะสั้นที่น่าสนใจคือ MINT กำลังเข้าสู่ช่วง High season ของการท่องเที่ยว และโรงแรมบางโรงเช่น Tivoli ได้ผ่านการปิด Renovation เรียบร้อยแล้วพร้อมกลับมาเปิดให้บริการจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการช่วงครึ่งปีหลังของ MINT มีโอกาสทำได้ดีกว่าที่ตลาดคาด ความเสี่ยงหลักๆ ของ MINT ในตอนนี้คงเป็นเรื่องร้านอาหารที่มี SSS ติดลบมาซักพักใหญ่ๆ แล้ว MINT เองก็พยายามปิดสาขาที่ขายไม่ดี ออกสินค้าใหม่ๆ แต่ก็ดูเหมือนยังไม่กระเตื้องขึ้นเลย การแข่งขันของร้านอาหารเองก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่แข่งกับร้านอาหารด้วยกันเอง แต่ต้องแข่งกับสารพัดร้านอาหารใน Facebook, Instagram ที่ปัจจุบันนี้หันมาขายอาหารผ่าน LINE Man, Kerry กัน ราคา ณ วันที่ 24 กันยายน 2018 อยู่ที่ 40 บาท ก็ลองพิจารณาดูกันได้ว่าพอใจกับผลตอบแทนที่จะได้รับกันหรือไม่ เพราะนักลงทุนแต่ละท่านก็คาดหวังผลตอบแทนสูง-ต่ำแตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ดีอย่าลืมวางแผนการลงทุน เผื่อในกรณีที่ MINT ทำผลงานได้ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ด้วยละกันครับ เพื่อความปลอดภัยของพอร์ทของท่านเอง Stay Calm, Stay Invest ~แอ๊ดมิน Buffettcode ดูข้อมูลหุ้น MINT เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/MINT ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และหุ้นไทยมีโอกาสสดใสรับไตรมาส 4/61 - FINNOMENA ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และหุ้นไทยมีโอกาสสดใสรับไตรมาส 4/61 โดยการประชุม FED 27 ก.ย. จะเป็นตัวชี้ขาด มาอัพเดตปัจจัยที่สำคัญกันครับ 19 ก.ย. 2561 ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และหุ้นไทยมีโอกาสสดใสรับไตรมาส 4/61 โดยการประชุม FED 27 ก.ย. จะเป็นตัวชี้ขาด มาอัพเดตปัจจัยที่สำคัญกันครับ 1. หุ้นไทยฟื้นตัวทะลุแนวต้านสำคัญ 1720 เป็นที่เรียบร้อย หุ้นไทยฟื้นตัวทะลุแนวต้านสำคัญ 1720 เป็นที่เรียบร้อย ด้วยความมั่นใจในเรื่องการมีเลือกตั้ง และปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุน โดยรอบนี้มีโอกาสสูงที่จะไป test 1800 อย่างไรก็ตามต้องรอดูท่าทีนักลงทุนต่างชาติว่าจะกลับเข้ามาลงทุนบ้านเราจริงจังหรือไม่ 2. เริ่มเห็นสัญญาณกลับตัวเล็กน้อยในหุ้นตลาดเกิดใหม่ เช่นเดียวกับหุ้นตลาดเกิดใหม่ที่เริ่มเห็นสัญญาณกลับตัวเล็กน้อย นำมาโดยหุ้นจีนที่เริ่ม rebound เช่นเดียวกับ รัสเซีย บราซิลที่ลงลึกมากก่อนหน้านี้ โดยประเด็นเริ่ม trade war น่าจะเริ่มซาลงบ้าง 3. Dollar Index อ่อนค่าลงชัดเจนในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตัวแปรสำคัญที่จะกำหนด fund flow คือ “ค่าเงิน” ซึ่งล่าสุดดูจาก Dollar Index ที่อ่อนค่าลงชัดเจนในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยคำถามสำคัญที่จะตอบทิศทาง fund flow ว่าจะไหลกกลับมาไทย และตลาดเกิดใหม่หรือไม่ ก็คือทิศทาง Dollar Index ต่อจากนี้ว่าจะลงต่อมั้ย (ส่วนตัวคาดว่าลงต่อด้วยความมั่นใจ 60%) 4. Dot Plot หรือการคาดการณ์ดอกเบี้ยของกรรมการ FED ปัจจัยแรกต่อค่าเงินดอลลาร์คือการประชุม FED คืนวันพุธที่ 26 ก.ย. นี้ ซึ่งน่าจะขึ้นดอกเบี้ยแน่ ๆ แต่ที่สำคัญคือตัว Dot Plot หรือการคาดการณ์ดอกเบี้ยของกรรมการ FED ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นรึเปล่า (ส่วนตัวคาดว่าจะไม่ปรับเพิ่มขึ้น) และโทนของผู้ว่าการ FED ว่าจะเร่งการขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ (ส่วนตัวคาดว่าจะไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด) – การตอบรับของตลาดหลังการประชุม FED สัปดาห์หน้านับว่ามีนัยสำคัญมาก ! 5. เงินยูโรเริ่มแข็งค่าเรื่อย ๆ ปัจจัยต่อมาต่อค่าเงินดอลลาร์ คือเงินยูโร จากรูปจะเห็นว่าเงินยูโรเริ่มแข็งค่าเรื่อย ๆ นับจาก ECB ออกมายืนยันว่าจะหยุด QE ในสิ้นปีนี้ จนตอนนี้ค่าเงินยูโรดีดขึ้นมาที่แนวต้านสำคัญ 1.17 ถ้าเงินยูโรทะลุแข็งขึ้นไปทะลุ 1.17 จะเป็นอีกปัจจัยหลักที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าในระยะต่อจากนี้ 6. ค่าเงินบาท หากดอลลาร์เข้าสู่แนวโน้มอ่อนค่าจริงในไตรมาส 4 ค่าเงินบาทที่แข็งต่อเนื่องในช่วงเดือนกันยายน 61 ก็จะแข็งต่อไปอีก และเป็นตัวกระตุ้นให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทย และตลาดเกิดใหม่ในที่สุด สรุป มองว่ามีโอกาสที่ดีที่ดอลลาร์จะอ่อนค่า บาทจะแข็ง หุ้นไทยและตลาดเกิดใหม่จะฟื้น โดยต้องรอดูสัญญาณคอนเฟิร์มคือผลตอบรับของตลาดหลังการประชุม FED สัปดาห์หน้า FundTalk รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เปลี่ยนชีวิตกับกองทุนที่ดีที่สุด (Best-in-Class) ด้วย Technology และ Big data - FINNOMENA ด้วยเหตุที่กองทุนที่ดีที่สุดไม่ใช่กองทุนที่ผลตอบแทนดีที่สุดเท่านั้น! FINNOMENA จึงขอนำเสนอ Best-in-Class บริการอัตโนมัติ ช่วยเลือกสรรกองทุนที่ดีที่สุดในแต่ละ สินทรัพย์แต่ละประเภท (Asset Class) และช่วงเวลา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยใช้ข้อมูลปัจจัยต่างๆ (Big Data) เข้ามาช่วยตัดสินใจ 27 ส.ค. 2562 ลงกองทุน ไม่ใช่หลับตาเลือกอะไรก็ได้… ถ้าเราลงทุนด้วยเงิน 1,000,000 บาทแล้วบังเอิญเลือกลงทุนในกองที่ผลตอบแทนดีที่สุดในกลุ่มกองทุนหุ้นไทย 3 ปีนับจากปี 2015 ปัจจุบันเราจะได้ผลตอบแทนกว่า 54% คิดเป็นเงินกว่า 540,000 บาท เทียบเท่าโตโยต้าวีออส 1 คัน ในขณะที่ถ้าลงในกองทุน 3 กองที่แย่ที่สุดจะได้ผลตอบแทนเพียง 7% หรือประมาณ 70,000 บาทเท่านั้น คุณเสียโอกาสมากกว่า 470,000 บาทหรือประมาณ 47% ของกำไรจากเงินลงทุนเลยทีเดียว แต่สุดท้ายผลตอบแทนย้อนหลัง ก็ไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคตแต่อย่างใด… การหากองทุนที่ผลตอบแทนดีที่สุดใน 3 ปีที่แล้วมาลงทุน โดยคาดหวังว่า กองทุนเหล่านั้นจะยังคงทำผลตอบแทนที่ดีได้ต่อไป ก็ดูจะเป็นหนทางที่อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ เพราะเป็นการละลายคำเตือน ที่ว่า “ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” แม้แต่ตัวบลจ.ผู้ออกกองทุนรวมเอง ยังไม่มั่นใจในผลตอบแทนของพวกเขาเอง วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าอดีตคือทุกสิ่งทุกอย่างของการลงทุน บรรณารักษ์ทุกคนคงกลายเป็นเศรษฐีไปหมดแล้ว” การเลือกกองทุนโดยการดูเพียงผลตอบแทนในอดีตเปรียบเสมือนการขับรถไปข้างหน้าด้วยการมองกระจกหลัง เปลี่ยนชีวิตกับกองทุนที่ดีที่สุด ด้วย Technology และ Big data ด้วยเหตุที่กองทุนที่ดีที่สุดไม่ใช่กองทุนที่ผลตอบแทนดีที่สุดเท่านั้น! FINNOMENA จึงขอนำเสนอ Best-in-Class พอร์ทอัตโนมัติ ช่วยเลือกสรรกองทุนที่ดีที่สุดในแต่ละ สินทรัพย์แต่ละประเภท (Asset Class) และช่วงเวลา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยใช้ข้อมูลปัจจัยต่างๆ (Big Data) เข้ามาช่วยตัดสินใจ การเลือกลงทุนในกองทุนที่ดีที่สุดไม่เพียงสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคต และอาจเปลี่ยนชีวิตของคุณได้อย่างที่คุณไม่เคยคาดคิด ตัวอย่างปัจจัยสำคัญที่พอร์ท FINNOMENA Best-in-Class พิจารณา ผลตอบแทนหลังปรับด้วยความเสี่ยง (Risk-Adjusted Return) นำผลตอบแทนต่อปีของกองที่สนใจมาหารด้วยความผันผวนของผลตอบแทนกองทุนในช่วงเวลานั้น จะได้เป็นผลตอบแทนหลังปรับด้วยความเสี่ยง ถ้ากอง A และ B มีผลตอบแทนที่เท่ากัน กองใดที่มีความผันผวนน้อยกว่า ย่อมมีค่าผลตอบแทนหลังปรับด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่า กองทุนผันผวนหนักย่อมมีผลต่อทั้งจิตใจของนักลงทุนเอง บางคนรับขาดทุนหนักๆ ไม่ได้ รวมไปถึงความยืดหยุ่นในการถอนเงินไปใช้ ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย กองผันผวนหนักมักมีแนวโน้มที่ปรับฐาน ณ จุดใดจุดหนึ่งลึกๆ ก่อนจะกลับตัวขึ้นมา หากจำเป็นต้องใช้เงินระหว่างปรับฐานย่อมทำให้เกิดการเสียโอกาสขึ้นอย่างน่าเสียดาย ความผันผวนที่ต่ำแสดงให้เห็นถึงการจัดการความเสี่ยงที่ดีของกองทุน กองทุนที่มีการจัดการความเสี่ยงดีมักจะมีผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จุดขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) ถ้าคุณต้องการความสงบของจิตใจ สิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ดูไม่ได้ เพราะถ้าคุณขาดทุน …. 30% คุณต้องทำกำไรกลับมาถึง 43% เพื่อให้คืนทุน ถ้าขาดทุน 50% ต้องทำกำไรกลับมา 100% ถ้าขาดทุน 90% ต้องทำกำไรกลับมา 900% ยิ่งขาดทุนมาก โอกาสในการทำกำไรกลับมายิ่งยาก โอกาสเปลี่ยนชีวิตให้ดีกว่ายิ่งไม่มี กองทุนใดๆ ก็ตาม ที่สามารถจำกัดการขาดทุนได้ดี เมื่อเกิดการขาดทุนย่อมสามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้ง่ายกว่า ไม่เหนื่อยเหมือนกองทุนที่ขาดทุนลึกนั่นเอง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้คือสิ่งที่ทีม FINNOMENA ใช้ Technology และ Big Data เข้ามาช่วยวิเคราะห์และจัดการกองทุนกว่า 4,000 กองทุนและเพื่อให้ได้กองทุนที่ดีที่สุดในแต่ละ Asset class และช่วงเวลาให้กับนักลงทุน แต่เพราะกองทุนที่ยอดเยี่ยมในวันนี้ ไม่ได้เป็นกองทุนที่ยอดเยี่ยมที่สุดไปตลอด สิ่งที่หนึ่งที่นักลงทุนจำเป็นต้องทำคือ คอยอัพเดทสถานการณ์ ผลตอบแทนของกองทุนอยู่เรื่อยๆ หรือแม้แต่ในกองกลุ่มประเภทเดียวกัน แต่ละกองก็อาจจะมีประเภทของหุ้นที่ลงต่างกันซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกันไปด้วย FINNOMENA Best-in-Class จึงจะมีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติในการปรับพอร์ทลูกค้าในแต่ละช่วงเวลา การปรับพอร์ตในเเต่ละครั้งจะมีการใช้ Big data ในการจัดอันดับกองทุนทุกปีหรือทุกๆ ครึ่งปี ที่ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าการปรับพอร์ตคือการตรวจเช็คว่ากองทุนนั้นๆ ยังมีการจัดสรรสัดส่วนของการลงทุนดีอยู่หรือไม่ ซึ่งสะท้อนมาในผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากภาพเป็นการเเสดงให้เห็นว่า ถึงเเม้คุณจะเลือกลงทุนใน Best-in-class เเล้ว เเต่ถ้าไม่มีการปรับพอร์ตอย่างต่อเนื่อง ผลตอบเเทนของคุณอาจะไม่โตตามเป้าที่คุณวางไว้ การลงทุนใน Best-in-Class เเต่ไม่มีการปรับ Port จะให้ผลตอบเเทนเพียง 21% ในระยะเวลา 3 ปี ในขณะที่คุณควรจะได้ผลตอบเเทน 54% ค่าเสียโอกาสของคุณจะเพิ่มเรื่อยๆถ้าคุณไม่มีการปรับพอร์ตอย่างต่อเนื่อง ที่ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าการเลือกลงทุนในกองทุนนั้นเป็นมากกว่าการดูผลตอบแทนในอดีต FINNOMENA Investment Team มีมุมมองในพลังของ Technology และ Big data หากคุณคือนักลงทุนที่รู้ว่าการเลือกลงทุนในสิ่งที่ดีที่สุดไม่ได้มีแค่ผลตอบแทนในอดีต คุณมีวิสัยทัศน์และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ Technology เพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับการลงทุน คุณเชื่อว่าการลงทุนต้องเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้วย Big data ที่แม่นยำ ไม่ใช่เกิดจากการจินตนาการโดยไร้เหตุผล FINNOMENA Best-in-Class คือบริการที่ใช่สำหรับคุณ FINNOMENA Investment Team คำเตือน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน แท็ก: Advance Article BIC FINNOMENA PORT Long Content Product Info แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ TOA: บริษัทสีนั้นใหญ่ขนาดไหน? - FINNOMENA สี TOA อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีคู่แข่งที่จะมาชิงตำแหน่งเจ้าตลาดสีของไทยไปจาก TOA ได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA กันครับ 10 ก.ย. 2561 สี TOA อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีคู่แข่งที่จะมาชิงตำแหน่งเจ้าตลาดสีของไทยไปจาก TOA ได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA กันครับ 1) TOA หรือ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ดำเนินงานมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มทำธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สีและสารเคลือบผิว มีมูลค่าตลาดที่เกิน 80,000 ล้านบาท 2) ในปี 2560 TOA มีรายได้รวมที่ 15,825 ล้านบาท และกำไร 1,710 ล้านบาท นับเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 10.8% 3) TOA มีส่วนแบ่งตลาดในตลาดสีของประเทศไทยสูงถึง 48.7% ถือเป็นผู้นำตลาดอย่างแท้จริงในอุตสาหกรรมนี้ สาเหตุที่ TOA สามารถมีส่วนแบ่งตลาดได้สูงขนาดนี้เป็นเพราะมีฐานกำลังการผลิตในไทย ในขณะที่คู่แข่งต้องนำเข้าสีจากต่างประเทศ ทำให้มีต้นทุนค่าขนส่งสูงกว่า ที่มา: รายงานประจำปี 2560 ของ TOA 4) TOA มีส่วนแบ่งตลาดในตลาดสี AEC อยู่ 13% และในเวียดนาม 10% ซึ่ง TOA มีแผนมากมายที่จะไปลงทุนฐานกำลังการผลิตในประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ซึ่งในตลาดเหล่านี้มีกำลังในการเติบโต ที่มา: รายงานประจำปี 2560 ของ TOA 5) ปัจจุบัน TOA มีกำลังการผลิตสีทั้งหมด 88 ล้านแกลลอนต่อปี และภายในปี 2562 จะมีกำลังการผลิตทั้งหมด 102 ล้านแกลลอนต่อปี โดยในปี 2560 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 51% หรือเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น 6) สัดส่วนการขายของ TOA มาจากในประเทศ 87% และอีก 13% มาจากการขายในต่างประเทศ แต่ในอนาคต TOA คาดการณ์ว่าถ้ากำลังการผลิตใหม่เสร็จจะทำให้สัดส่วนรายได้ต่างประเทศสูงเป็น 28% เพราะกำลังการผลิตใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในต่างประเทศ 7) สินค้าของ TOA ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1) สีทาบ้าน (69% ของรายได้รวม) 2) สีและสารเคลือบผิว (28% ของรายได้รวม) 3) ผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น (3% ของรายได้รวม) 8) TOA เน้นขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมียม เนื่องจากสินค้าชนิดนี้ขายได้ในราคาที่แพงกว่า ซึ่งจะมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงกว่า และในปัจจุบัน TOA เคยเล่าว่าตอนนี้ค่าแรงคนแพงขึ้นกว่าเดิม ถ้าซื้อสีที่ดีกว่าเดิมแล้วไม่ต้องเสียแรงทาบ่อย ๆ ก็จะดีกว่าและคุ้มค่ากว่า 9) TOA เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสี ซึ่งได้มีการออกสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรม อย่างเช่นสีที่ไม่มีกลิ่นและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สีที่สามารถทาในฤดูฝนได้ ซึ่งโดยปกติเราจะไม่ทาสีในฤดูนี้กันเพราะสีแห้งไม่ทัน 10) ตัววัตถุดิบเป็นต้นทุนถึง 70% ซึ่งวัตถุดิบหลายตัวจะผันผวนกับราคาน้ำมัน ถ้าน้ำมันขึ้น วัตถุดิบเหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะขึ้นตามไปด้วย ส่งผลต่ออัตรากำไรขั้นต้นของ TOA ตัวอย่างเช่น Titanium Oxide ที่เป็นหนึ่งในวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นมากในปีที่ผ่านมา ข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราหวังว่าจะช่วยประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้นักลงทุนศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมให้รอบด้าน ก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ สามารถดูข้อมูลหุ้น TOA เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/TOA ข้อมูลอ้างอิง: https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=TOA&ssoPageId=4&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=toa&submit= https://marketdata.set.or.th/mkt/stockquotation.do?symbol=toa&language=th&country=TH https://www.youtube.com/watch?v=GV5YmwCudIk https://www.youtube.com/watch?v=pCcLJHo64FU —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปงาน Oppday "INTUCH" ไตรมาส 2 ปี 2561 - FINNOMENA ปัจจุบัน INTUCH เป็น Holding Company ซึ่งประกอบธุรกิจด้านการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี อินทัชมุ่งเน้นการลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต และสร้างผลตอบแทนที่ดี ใครกำลังสนใจหุ้นตัวนี้ มาดูข้อมูลล่าสุดกัน 31 ส.ค. 2561 บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) <www.intouchcompany.com> ตลาด : SET กลุ่มอุตสาหกรรม : เทคโนโลยี หมวดธุรกิจ : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันอินทัชประกอบธุรกิจด้านการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี โดยการถือหุ้นและเข้าไปบริหารงาน (Holding Company) การลงทุนของอินทัช สามารถจำแนกออกเป็น 3 สายธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจสื่อสาร โทรคมนาคมไร้สาย ธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจต่างประเทศ และธุรกิจอื่นๆ ทั้งนี้ อินทัชมุ่งเน้นการลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต และสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน โดยอินทัชมีแผนที่จะขยายการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี รวมไปถึงธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจดังกล่าวที่มีศักยภาพการเติบโต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตให้แก่กลุ่มบริษัท ——————– >> ผลประกอบการของ INTUCH << ยอดขาย ปี 2558 : 12,665.21 ล้านบาท ปี 2559 : 11,646.29 ล้านบาท ปี 2560 : 9,627.61 ล้านบาท ปี 2560(Q2) : 5,086.82 ล้านบาท ปี 2561(Q2) : 3,249.39 ล้านบาท กำไร (ขาดทุน) ปี 2558 : 16,077.79 ล้านบาท ปี 2559 : 16,397.61 ล้านบาท ปี 2560 : 10,673.18 ล้านบาท ปี 2560(Q2) : 5,990.15 ล้านบาท ปี 2561(Q2) : 6,938.12 ล้านบาท เงินสดสุทธิ ปี 2558 : 169.68 ล้านบาท ปี 2559 : -555.54 ล้านบาท ปี 2560 : -804.45 ล้านบาท ปี 2560(Q2) : -984.77 ล้านบาท ปี 2561 (Q2) : 1160.06 ล้านบาท เงินปันผล ยังคงนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่ค่อนข้างสูง รวมปันผลทั้งหมด จาก ADVANC และ THCOM อยู่ที่ 1.54 บาท คิดเป็น Dividend payout ratio ที่ 71% (คิดจากงบการเงินเดี่ยวของ INTUCH) และมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 2.8% (เทียบกับราคาหุ้น 56 บาท) กำไร มีการบันทึกกำไรจากการขาย CSL เข้ามาด้วย หากตัดกำไรในส่วนนี้ยังโต 28% หลักๆ จาก AIS Discount to NAV ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 25% ถือว่ากว้างขึ้นมากกว่าในอดีต (ประมาณ 20%) ถือว่ามีความผิดปกติ ส่งผลให้ผลตอบแทนจากปันผลเพิ่มขึ้น ——————– >> Portfolio << นโยบายการลงทุนของ INTUCH – โครงการ InVent เริ่มมาตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบันลงทุนไปทั้งหมด 14 บริษัท โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 433 ล้านบาท – ปัจจุบันมีการลงทุนบริษัท ydm thailand โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท – ปัจจุบันมูลค่าโครงการ InVent เติบโตขึ้นอยู่ที่ 647 ล้านบาท – Realized value มีการขายบางบริษัทออกไป รับรู้กำไรที่ 63 ล้านบาท ยังไม่รับรู้กำไร 584 ล้านบาท – ส่วนที่เติบโตมาจาก Ookbee ซึ่งมีการขยายธุรกิจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง – งบประมาณการลงทุนของ VC อยู่ที่ประมาณ 200ล้านบาทต่อปี โดยอาจมีการขยายการลงทุนไปในบริษัทประเภท seed(เพิ่งเริ่มต้น) โดยต้องมีการคำนึงถึงด้านความเสี่ยงเทียบผลตอบแทนด้วย – กลุ่มบริษัทที่เข้าไปลงทุนส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม TMT ได้แก่ Telecom, Media และ Technology รวมถึงกลุ่มที่เป้น digital อีกด้วย – Folloe-on investment ลงทุนในธุรกิจที่มีผลประกอบการที่ดี แต่ยังขาดเงินทุน โดยจะมีการพิจารณารายธุรกิจไป – มีการมองถึงการ Synergy ระหว่างกลุ่มบริษัท – Exit strategy : เมื่อลงทุนได้ประมาณ 5-6 ปี จะมีการขายออกไปในรูปแบบต่างๆ YDM Thailand – ทำธุรกิจ Digital Marketing อันดับ 1 ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีการวัด KPI ได้อย่างชัดเจน – ตั้งเป้าหมาย IPO ในปี 2020 – อุตสาหกรรมโฆษณา online marketing มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 31% ในปีที่ผ่านมา และประเทศไทยเป็นเบอร์ 2 ในเอเชีย – มีการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และมีความทันสมัยมาก – เป็นบริษัท Marketing Technology บริษัทแรกด้านนี้ ที่ INTUCH เข้าไปลงทุน Wongnai – มีการเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว มียอดคนเข้าชมถึง 120 ล้านคนต่อเดือน – รายได้หลักมาจากร้านอาหาร Beauty Spa การทำอาหาร การจัดงานอีเว้นท์ การท่องเที่ยว – ปัจจุบันได้เข้าร่วมธุรกิจกับ Food story ทำให้ wongnai มี product ที่เป็น POS ให้แก่ร้านอาหารด้วย ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก POS ได้หลายๆอย่าง โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 35 ล้านบาท – มีการลงทุนไปในบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ใน chain เดียวกัน และมี Feature ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น สร้างโอกาสในการเติบโตได้ในอนาคต VVR Asia – เข้าลงทุนโดยการ swap หุ้น โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท – เป็นผู้นำทางด้าน AR และ VR solution ในประเทศไทย – มีอุปกรณ์ที่หลากหลายและทันสมัย – มีแผนการทำ VR live concert ที่จะมาลงใน AIS platform Ookbee – มีจำนวนคนเข้าดูสูงถึง 1,000 กว่าล้านวิว – มี Platform ทื่หลากหลาย และมีการขยายบาง platform ไปยังต่างประเทศอีกด้วย – มีแผนการจะทำ series ร่วมกับ Line tv โดยปัจจุบันฉายไปแล้ว 2 เรื่อง Event Pop – ทำธุรกิจด้าน Event management โดยมีการขยายไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น – หลัก ๆ มี event จากการขาย ticket มีงานเข้ามามากขึ้น รายได้เพิ่มมากขึ้น ** AIS ** – เป็นบริษัทลูกหลัก ๆ รายได้จากการบริการโตขึ้นประมาณเกือบ 5% (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7-8% เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น) รายได้หลัก ๆ มาจากกลุ่ม Postpaid และ Broadband – คาดว่าครึ่งปีหลังยังคงมีการแข่งขันที่สูงอยู่ จึงปรับลดประมาณการณ์เติบโตลงอยู่ที่ประมาณ 5-7% – ยอดขายเครื่องยังคงใกล้เคียงกับปีก่อน (มีการประมาณการณ์ว่าจะลดลงอยู่แล้ว) – EBITDA margin ครึ่งปีแรกอยู่ที่ประมาณ 47% – เงินลงทุนในครึ่งปีใช้ไปเพียง 11,000 ล้านบาท (ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ที่ ประมาณ 35,000-38,000 ล้านบาท และได้มีการปรับลดลงมาที่ 25,000ล้านบาท) สาเหตุที่เงินลงทุนลดลง เกิดจากวิธี Cash outflow ที่เปลี่ยนแปลง โดยยืดระยะเวลาการจ่ายเงินให้ลูกค้าออกไป แต่ไม่ได้ลดการลงทุนลง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเงินสดของ AIS – กลุ่ม Mobile โตจากกลุ่ม Postpaid เป็นหลัก ลูกค้ากลุ่ม Handset เติบโตขึ้น 54% โดยลูกค้ามีการใช้งาน data ต่อคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการใช้งานข้อมูลต่างๆ – มีการให้บริการผ่านลูกค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ตลาดอินเตอร์เน็ตเริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น จึงต้องมีโปรโมชั่น ที่ให้เหมาะกับลูกค้าออนไลน์มากขึ้น – การใช้จ่ายด้าน Marketing ของ AIS ลดลงทุกไตรมาส โดยมีการ offer handset subsidies แก่ลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป – FBB ปัจจุบันมีลูกค้ามากขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 623,000 ราย โดยไตรมาสที่ผ่านมามีลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 50,000 ราย ARPU ลดลงอยู่ที่ประมาณ 610 บาท จากการแข่งขันที่สูง ทาง AIS มีการขยาย BB ไปยัง 50 จังหวัดตามหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายลูกค้าสิ้นปีที่ 800,000 ราย – Digital service ได้ release CSL ออกไปแล้วเมื่อสิ้นเดือน ก.ค. โดยครึ่งปีแรก รายได้ประมาณ 800 ล้านบาท และมีการพยายามลดต้นทุนลง – Mobile wallet ร่วมกับ Rabbit line pay (แต่ละเจ้าถือเป็นเบอร์หนึ่งในแต่ละด้าน) มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น – Video platform ได้พยายามหา content ที่หลากหลายมาเสนอผู้บริโภค ซึ่ง Active user อยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านราย (ถือว่าไม่เยอะ) ** THCOM ** – ในครึ่งปีแรกรายได้ลดลง จากการสูญเสียลูกค้าทั้ง Broadband และ Broadcast แต่ค่าใช้จ่ายก็ลดลงเช่นกัน – EBITDA margin ครึ่งปีลดลงจากปีที่แล้วจาก 47% มาอยู่ที่ 39% สาเหตุจากรายได้ที่ลดลง คาดว่าจะคงระดับอยู่ได้ที่ 40-45% ยังอยู่ในระดับที่สูง – ประมาณการณ์รายได้ทั้งปีคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย – กำไรครึ่งปีอยู่ที่ 223 ล้านบาท (ลดลงจากครึ่งปีก่อน) แต่จะเห็นว่าใน Q2 รายได้จะเริ่มกลับมาจากการบริหารลูกหนี้และจัดเก็บหนี้ได้ดียิ่งขึ้น – มีการเซ็นสัญญากับลูกค้าฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น โดยลูกค้าที่เป็น Mobile operator ทั้งหมดที่ญี่ปุ่นเป็นของ THCOM – BB มีลูกค้าเพิ่มขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศพม่า โดยมีช่องมากกว่า 1000 ช่อง ลูกค้า HD ประมาณ 100 กว่าช่อง – THCOM ต้องการใช้ความสามารถของพนักงาน ขยายไปสู่การหารายได้ทางอื่นเพิ่มขึ้น โดยให้คำปรึกษากับโครงการดาวเทียมแห่งชาติ ที่บังกลาเทศ – ธุรกิจอื่น ๆ NAVA service เป็นการใช้บริการบนเรือ เพิ่มลูกค้าได้ 19 ลำ ปัจจุบันมีลูกค้าทั้งหมด 39 ลำ และมีการเซ็นสัญญากับลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 12 ลำ (ยังไม่มีการใช้งาน) – สัดส่วนรายได้ลูกค้าดาวเทียมหลัก ๆ มาจาก Conventional สูงกว่า BB – Utilization ดีขึ้นจาก Q2 ของปีก่อน จากการที่ได้ลูกค้าใหม่เพิ่มมากขึ้น สำหรับ Broadband คาดว่าสิ้นปีจะอยู่ในระดับ 30% และ Broadcast อยู่ที่ประมาณ 60% – Moving Forward > การให้บริการดาวเทียมยังมีความจำเป็นอยู่ ได้มีการวางแผนพูดคุยกับพันธมิตร และรัฐบาล ในการให้บริการดาวเทียมในภูมิภาค ขยายมาใน Asia Pacific (ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน) > LOOX TV รายได้ยังไม่มาก รายได้ส่วนใหญ่ยังคงมาจากการเช่าช่องดาวเทียม > Explore ธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะโดรนที่มีการใช้งานที่เยอะและหลายรูปแบบ High Shopping – บริษัทภายใต้กลุ่ม Intuch media – รายได้อยู่ที่ 345 ล้านบาท เติบโตขึ้นจาก Q2 ปีก่อน โดยยอดขายเฉลี่ยต่อวันเติบโตขึ้นที่ประมาณ 7% อยู่ที่ประมาณ 1.9ล้านบาทต่อวัน (ขึ้นกับแต่ละวันว่าขายได้มากน้อย) – เน้นช่องทีวีเป็นหลัก โดยเข้าไปเช่าช่วงเวลาในช่องที่มีเรทติ้งดีๆ – มีการหา Product ที่จะให้ Margin สูง ๆ เช่น สินค้าแฟชั่น และสินค้าคุณภาพ – คาดการณ์รายได้ เติบโตที่ประมาณ 900 ล้านบาท แต่ในช่วงครึ่งปีแรกประสบปัญหาหลาย ๆ อย่าง อาจทำให้รายได้ในครึ่งปีแรกพลาดจากเป้าเล็กน้อย ประมาณการณ์ผลประกอบการของ INTUCH – ในปี 2018 เหมือนเดิม อาจลดลงเล็กน้อยจากส่วนของ THCOM – ส่วนเงินลงทุน VC ตั้งเป้าไว้ที่ 200 ล้านบาทต่อปี (ในปีนี้ลงไปแล้ว 30 ล้านบาท) หากมีโอกาสในการลงทุนอาจลงทุนได้เกินเป้าที่ตั้งไว้ได้ – ต้นทุนค่าใช้จ่ายพนักงานประมาณการณ์ที่ 400 ล้านบาทต่อปี – นโยบายเงินปันผลเหมือนเดิม โดยจ่ายผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมด (หลังหักสัดส่วนของ INTUCH) ——————– >> Q&A << – ปันผลเมื่อเทียบกับ Cash flow ประมาณ 96% – Ookbee ถือหุ้นอยู่ที่ประมาณ 20% และ YDM ถืออยู่ที่ประมาณ 8% – ปัจจุบันหมดสัญญากับ TOT ไปแล้ว เงินที่จ่ายให้ภาพรัฐเป็นส่วนของค่าใบอนุญาต ให้กับ กสทช. คลื่น 1800 อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท (งวดสุดท้าย) และคลื่น 900 อยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท – ค่าใบอนุญาต จ่าย 50%ในปีแรก และจ่ายอีกครั้งละ 25% ในปีถัดมา แต่ในทางบัญชี การตัดค่า Amortization จะตัดเท่า ๆ กัน ในงบการเงินจะบันทึกเท่า ๆ กันทุกปี ไม่กระทบต่อ Bottom line – การจ่ายค่าใบอนุญาต จะกระทบในส่วนของงบกระแสเงินสด แต่ในส่วนงบกำไรขาดทุนจะใช้เงินทั้งก้อนตัดตามจำนวนปีที่ได้ โดยลงเป็นค่าใช้จ่าย Amortization รายไตรมาส – เป้ารายได้ที่ปรับลงเป็นส่วนของ AIS เนื่องจากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง – การเติบโตของ INTUCH มาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกคือบริษัทลูก โดยเฉพาะ AIS และ THCOM ซึ่งยังสามารถสร้างรายได้และยังเติบโตอยู่ ส่วนที่ 2 คือธุรกิจ VC และ New business ต่างๆ โดยที่เงินปันผลจะเป็นสิ่งพื้นฐานที่นักลงทุนจะได้รับ – INTUCH เน้นการลงทุนระยะยาว การเติบโตไม่ได้หวือหวา แต่ได้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง โดยหลักๆ เป็นเรื่องเงินปันผล และมองถึงการเติบโตอย่างมั่นคง พยายามบริหารจัดการด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพ ดูข้อมูลหุ้น INTUCH เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/INTUCH https://www.set.or.th ดูคลิป INTUCH Oppday Q2/2018 ได้ที่ >>> https://www.youtube.com/watch?v=qNjnk5W_iVI อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> wealthinvestmentclinic.wordpress.com/2018/08/13/intuch อ่านบทความคลินิกการลงทุนได้ที่ >>> wealthinvestmentclinic.wordpress.com โดย #คลินิกการลงทุน ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน คลินิกการลงทุน คลินิกการลงทุน เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี ภายใต้ Mindset ให้ความรู้ เทคนิค และวิธีการ การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้มั่งคั่ง และประสบความสำเร็จ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปงาน Oppday "SNC" ไตรมาส 2 ปี 2561 - FINNOMENA SNC หรือ บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรมจำพวกวัสดุและเครื่องจักร สำหรับใครที่กำลังสนใจอุตสาหกรรมนี้ ลองมาดูสรุป Oppday ของ SNC กันครับ ว่าบริษัทมีผลการดำเนินการและกลยุทธ์เป็นอย่างไร 31 ส.ค. 2561 SNC หรือ บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรมจำพวกวัสดุและเครื่องจักร สำหรับใครที่กำลังสนใจอุตสาหกรรมนี้ ลองมาดูสรุป Oppday ของ SNC กันครับ ว่าบริษัทมีผลการดำเนินการและกลยุทธ์เป็นอย่างไร ตลาด : SET กลุ่มอุตสาหกรรม : สินค้าอุตสาหกรรม หมวดธุรกิจ : วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร มีบริษัทในกลุ่มทั้งสิน 13 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทย่อยที่ SNC ถือหุ้นโดยตรงจำนวน 9 บริษัท และบริษัทย่อยที่ SNC ถือหุ้นผ่านบริษัทย่อย จำนวน 3 บริษัท บริษัทร่วมจำนวน 1 บริษัท โดยในปัจจุบันกลุ่มบริษัทมีการประกอบธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ AUTO = ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยานพาหนะ PART = ชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า OEM = ผลิตและประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า OTHER = การดำเนินงานอื่นๆ เช่น แม่พิมพ์ อลูมิเนียมคอนเดนเซอร์ ผลประกอบการของ SNC ยอดขาย ปี 2558 : 8,140.25 ล้านบาท ปี 2559 : 7,468.16 ล้านบาท ปี 2560 : 7,526.71 ล้านบาท ปี 2560 (Q2) : 4,530.16 ล้านบาท ปี 2561 (Q2) : 3,841.68 ล้านบาท กำไร (ขาดทุน) ปี 2558 : 409.86 ล้านบาท ปี 2559 : 401.65 ล้านบาท ปี 2560 : 401.31 ล้านบาท ปี 2560 (Q2) : 214.15 ล้านบาท ปี 2561 (Q2) : 282.46 ล้านบาท SNC Company Highlights ในปี 2018 ได้เริ่มใช้หลังคาแบบติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำให้ประหยัดต้นทุนลง ประมาณเดือนละ 5 แสน ถึง 1 ล้านบาท มีการควบรวมบริษัทต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (2560) เพื่อให้จำนวนบริษัทลดลง เพื่อให้ใช้ทรัพยากรทรัพย์สินและบุคคลได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด กำลังทยอยดำเนินการ ผลการดำเนินงานของ SNC ยอดขายที่ลดลงจากปีก่อน (ไตรมาสที่ 2) อยู่ในส่วนงาน รับจ้างประกอบ (OEM) ประมาณ 372 ล้าน ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า 66 ล้านบาท ชิ้นส่วนยานยนต์ 10 ล้านบาท นอกจากนี้ก็มาจากการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ และการลดต้นทุนการผลิตลง ข้อมูลทางการเงินของ SNC ครึ่งปีแรกยอดขายลดลง 14% ต้นทุนการผลิตลดลง และสัดส่วนการขายที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เพิ่มขึ้น กำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้น จากการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กร และการใช้สินทรัพย์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้น 12.4% จากผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น สรุปตัวเลขทางการเงิน ยอดขายลดลง แต่มีการควบคุมค่าใช้จ่ายและต้นทุน พยายามมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิดและรักษาระดับกำไรให้เพิ่มขึ้น งบประมาณลงทุนประมาณ 250-300 ล้านบาท วางเป้าหมายจะลดเงินกู้ยืมลง สิทธิประโยชน์ทางภาษีเริ่มจะหมด ทำให้อัตราภาษีเริ่มเพิ่มขึ้น นโยบายการจ่ายปันผลจะพิจารณาจากผู้ถือหุ้น เพื่อบาลานซ์ผลประโยชน์ให้มากที่สุด อัปเดตอุตสาหกรรม – ยอดขายประมาณ 67% ซึ่งลดลงจากไตรมาสที่ 1 ประมาณ 3% ส่งขายให้อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ มีทั้งรับจ้างประกอบ (OEM) และมีชิ้นส่วนงานท่อทองแดง โลหะแท่ง พลาสติกใช้ในเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น – ยอดขายส่วนใหญ่มาจากเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศเรา แต่มีปัญหาด้าน Seasonal ค่อนข้างสูง ในช่วง Low season ยอดขายจะตก – กำลังพยายามขยายอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ มีเป้าหมายขยายไปยัง EEC และหาโอกาสในประเทศเพื่อนบ้าน – เริ่มมีการส่งออกไปที่อเมริกา จีน ซึ่งมีโอกาสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ – โรงงานรับจ้างประกอบ (OEM) มีโอกาสในการเติบโตและพัฒนาได้อีก – มีการเสริมและเน้นด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น – มีนโยบายที่จะพยายามไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ป้องกันไม่ให้เกิดการขัดกันของผลประโยชน์ (Conflict of Interest) กับลูกค้า แต่จะอาศัยการทำงานร่วมกันลูกค้าที่มีสินค้าหรือโรงงานเป็นของตัวเอง – เรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตที่มีการลงทุนผิดพลาดหลายๆ โครงการ มีการลงทุนอย่างรอบคอบและระมัดระวังมากยิ่งขึ้น – อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศในประเทศไทย คาดว่าจะมีการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณครึ่งปียังถือว่าต่ำกว่าครึ่งปีก่อน แต่ยังมองว่าตัวเลขยังสามารถกลับมาโตได้ – อุตสาหกรรมรถยนต์ มีตัวเลขค่อนข้างดี เติบโตเล็กน้อย ยอดขายครึ่งปีเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับครึ่งปีที่แล้ว มีแนวโน้มค่อนข้างดี สอดคล้องกับผลประกอบการกลุ่มรถยนต์ อัปเดตบริษัท SNC ปี 2018 กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ : Al pipe จะเริ่มผลิตโมเดลใหม่ในปี 2018 และมีการเสนอราคาสำหรับโมเดลรถยนต์ใหม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ หากได้รับการ submit อาจส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า : ชิ้นส่วนโลหะแผ่น SSMA ได้มีการคุยกับทางผู้ผลิตรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายราย เพื่อหาออเดอร์ใหม่ ทำให้จากขาดทุนกลับมากำไรได้ กำลังพยายามปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เพื่อให้ Margin เพิ่มขึ้น การรับจ้างผลิต (OEM) : A/C window รับจ้างประกอบให้ลูกค้ารายหลัก มีการปรับปรุงให้ผ่านเกณฑ์เรียบร้อยแล้ว คาดว่าในไตรมาส 4 สินค้าจะเริ่มกลับมา ในส่วนของ Vending machine จะทยอยขายได้เดือนละ 80 units สำหรับสินค้า SAWAH2 ผลิตเครื่องทำน้ำอุ่นในบ้าน มีการลงทุนทำไลน์ผลิต enamel tank โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 140 ล้านบาท Plant เรียบร้อย เริ่มทำการผลิตแล้ว คาดว่าจะทำ Season ของเครื่องทำน้ำร้อนในปีนี้ ส่วนงานอื่นๆ พยายามมีการปรับปรุงให้กระบวนการผลิตมีการใช้หุ่นยนต์ (Robot) มากขึ้น โดยใช้ทุนประมาณ 18 ล้านบาท เริ่มมีการรับรู้รายได้ค่าเช่าโรงงาน สุดท้ายเป้าหมายเงินกู้พยายามลดลงให้ไม่เกิน 350 ล้านบาท เพื่อป้องกันกรณีเกิดสถานการณ์ลำบากหรือวิกฤติ พยายามเคลียร์เงินกู้ให้ได้เร็วที่สุด โดยใช้เงินจากการดำเนินงาน (Operation) และแปรสินค้าคงคลัง (Inventory) ให้ได้สภาพคล่อง กลยุทธ์ของ SNC แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ (2017) ปรับลดงบประมาณด้านบริหาร และปรับปรุงฝ่ายผลิตและสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปรับโครงสร้างธุรกิจ (2018) ให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น ได้มีการควบควมกิจการที่คล้ายกัน เพื่อให้ใช้ทรัพยากรด้านต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการย้ายโรงงาน ปรับ layout ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพงานในปัจจุบัน รักษาธุรกิจเดิม และเดินหน้าธุรกิจใหม่ (2019) มีการปรับให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การพัฒนา สนับสนุน การส่งของ และการบริการ มีการพัฒนาบุคลากรควบคู่กันได้ด้วย เพื่อสร้างความพร้อมในธุรกิจใหม่และตลาดใหม่ เตรียมรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น (2020-23) รักษาธุรกิจที่มีกำไร เน้นธุรกิจที่มี Innovation มากยิ่งขึ้น ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลและภาษี มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ต่อ EEC แผนการบริหารของ SNC สำหรับช่วงปี 2018-2023 การเงินและบัญชี (Finance and Accounting): ในปี 2020 จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบดิจิทัล (Digital Finance and Accounting) ปรับปรุงระบบการทำงานให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น การตลาด (Marketing): การดำเนินงานหลักๆ อยู่ในประเทศ โดยในอนาคตจะเน้นตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มมีการส่งออกสินค้าไปบ้างแล้ว และมีการพัฒนาระบบร่วมกับลูกค้าให้เกิดเป็น Digital Marketing ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น การผลิต (Production): ในอนาคตจะมุ่งเน้นการใช้ Automation เข้ามาในสายงานการผลิตมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาสายการผลิตให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า Supply chain management (SCM) ในอนาคตจะมีการรวมเข้ามาเป็น one network ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อให้ส่วนช่วยในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น IT จะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น มีการปรับปรุงให้ทันสมัย และเริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น HR บุคลากรมีทักษะหลายด้าน มีการพัฒนาร่วมกับการใช้ IT ให้สอดคล้องกับงาน ESG ด้านความยั่งยืนมีการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองคร์กร มีการทำงานอย่างเป็นระบบ สอดคล้องประสานงานกันอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยใช้มาตรฐานสากล ช่วงถามและตอบ (Q&A) ธุรกิจเครื่องปรับอากาศ เริ่มกลับมาฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 เริ่มเห็นแผนแล้ว ส่วนตะวันออกกลาง จะเห็นได้ชัดที่ไตรมาสที่ 4 ตัวเลขรับจ้างผลิต (OEM) ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ในไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใหญ่อันดับต้นๆ เหตุผลของการจะย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทย คือเพื่อหลบกระแสแอนตี้สินค้าจีน และปัญหาค่าแรงในจีนที่แพงขึ้น ส่งผลให้หลายๆ สินค้าเริ่มมองมาที่ไทยมากขึ้น โมเดลใหม่ของรถเป็นรถปิ๊กอัพ ยอดขายอยู่ที่ประมาณหลักสิบล้าน สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก Board of Investment (BOI) เริ่มหมดบางส่วนในปี 2018 และหมดในปี 2020 ผลกระทบอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านบาท อัตราภาษีปี 2019 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 10-15% เป้ายอดขายของปี 2018 คาดว่าจะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป้าในส่วน OEM ปี 2018 คาดว่าจะอยู่ที่ 280,000-290,000 ชิ้น ลดลงประมาณ 100,000 ชิ้น เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Al condensor ในไตรมาส 2 ขาดทุนประมาณ 9 ล้านบาท ยังไม่เห็นผลกระทบทางตรงจากสงครามการค้า เนื่องจากยังไม่มีลูกค้าที่สหรัฐฯ ส่วนผลกระทบทางอ้อมอาจมีผลในทางบวก เงินปันผลครึ่งปีแรกมากกว่า ต้องรอดูผลประกอบการในครึ่งปีหลัง แต่ยังคงนโยบายจ่ายปันผลมากกว่า 50% ของกำไรสุทธิ และมีความพยายามลดเงินกู้ ซึ่งพยายามบาลานซ์ในส่วนผลประโยชน์ของนักลงทุน และนโยบายของบริษัท โดยพยายามหาเงินสดให้มากขึ้น มาจากผลกำไร และการควบคุมสินค้าคงคลัง ผลกำไรครึ่งปี ไม่ได้มีรายการที่เป็น extra items ดูข้อมูลหุ้น SNC ได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/SNC https://www.set.or.th ดูวิดีโอ SNC Oppday Q2/2018 ได้ที่ >>> https://youtu.be/pNvAhbOrRYs โดย คลินิกการลงทุน – wealthinvestmentclinic.wordpress.com ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน คลินิกการลงทุน คลินิกการลงทุน เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี ภายใต้ Mindset ให้ความรู้ เทคนิค และวิธีการ การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้มั่งคั่ง และประสบความสำเร็จ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เร็วๆนี้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ผลตอบแทนที่ได้เราจะลดลง!! - FINNOMENA ข่าว ครม. เห็นชอบให้จัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ในอัตรา 15% เรื่องนี้กระทบกับนักลงทุนที่มีเงินออมและมีการลงทุนในกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้อย่างเรายังไงบ้าง? 29 ส.ค. 2561 เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้จัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ในอัตรา 15% ของกำไร เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ลงทุนทั้งระบบ เพราะปัจจุบันการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงกับการลงทุนผ่านกองทุนรวมนั้นเสียภาษีที่แตกต่างกัน เรื่องนี้กระทบกับนักลงทุนที่มีเงินออมและมีการลงทุนในกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ทุกคน กระทบอย่างไร จะเล่าให้ฟังครับ 1. เดิม นักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา และเป็นผู้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ จะไม่มีภาระภาษีที่เกิดขึ้นเหมือนกับ นักลงทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง ที่ต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% 2. ประเด็นนี้ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในระบบภาษี เพราะลงทุนโดยตรง เสียภาษีเยอะกว่ากองทุนรวม แต่ถามว่า ทำไมในอดีตถึงออก กม.แบบนี้ สาเหตุก็เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินออมและแหล่งเงินทุนทางเลือกอื่นๆ เพราะการจะไปซื้อตราสารหนี้เป็นตัวๆ มันใช้เงินเยอะกว่า ขณะที่กองทุนรวม เงินหลักพันก็สามารถลงทุนได้ 3. ดังนั้นเพื่อสร้างความเป็นธรรม (อันนี้ ครม.บอกนะครับ) จึงควรเรียกเก็บภาษีสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมด้วย โดยอัตราที่คิดคือ 15% เท่ากัน 4. แต่การหักภาษีนี้ เพื่อลดภาระของนักลงทุน จะได้ไม่ต้องไปคำนวณ ไม่ต้องยื่นภาษีปลายปีอะไรเอง วิธีการจัดเก็บก็คือ ให้กองทุนรวมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะในส่วนของรายได้ประเภทดอกเบี้ย ส่วนลด (Discount) และเงินได้ที่มีลักษณะเดียวกันกับดอกเบี้ย กำหนดให้ผู้จ่าย (Issuer) เป็นผู้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเลย ก่อนที่กองทุนรวมจะรับผลประโยชน์ไป 5. ทั้งนี้ กำไรที่เกิดจากส่วนต่าง หรือ Capital Gain จะไม่ต้องนำมาเสียภาษีแล้วนะครับ ย้ำอีกทีว่า ภาษีที่กองทุนรวมต้องเจอ จะเจอกับรายได้ประเภทดอกเบี้ย และส่วนลด (Discount) เท่านั้น 6. แปลว่า กองทุนรวมใดก็แล้วแต่ในประเทศไทย ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ ก็ในภาระภาษีเพิ่มขึ้นนะครับ 7. ข่าวดีก็คือ กองทุนประเภท RMF ได้รับการยกเว้นภาษีต่อไป เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุในระยะยาว 8. ภาษี 15% นี่กระทบเราขนาดไหน สมมติ กองทุนตราสารหนี้ซักกอง ผลตอบแทน 1 ปี อยู่ที่ 2.0% โดย 2% นี้ มาจาก Capital Gain 0.8% ที่เหลือ 1.2% มาจากดอกเบี้ยรับ ส่วนที่ต้องเสียภาษีคือ 15% ของ 1.2% ซึ่งเท่ากับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยรับหลังหักภาษีจะเหลือ 1.02% เมื่อรวมกับ Capital Gain จะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมนี้ลดลงเหลือ 1.82% 9. สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ตอนนี้อยู่ระหว่างการหารือกันนะครับว่าจะยกเว้นการเรียกเก็บภาษีต่อไปหรือไม่ คงต้องรอลุ้นกันหน่อย สรุป กำไรที่เกิดจาก Capital Gain ของกองทุนรวมตราสารหนี้ ยังไม่โดนภาษีครับ เก็บเฉพาะดอกเบี้ยรับ และส่วนลด ขณะที่ ภาระในการทำภาษีในฐานะของผู้ลงทุนก็ไม่ได้มีอะไรเพิ่มเติม เพราะเขาไปหักภาษีตั้งแต่ต้นทางจากผู้ออกตราสารเลย สรุป 2 คือ นับจากวันที่กระทรวงการคลังประกาศให้มีผล (ซึ่งยังไม่รู้วันไหน แต่น่าจะภายในปีนี้) จะทำให้ผู้ลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ ได้ผลตอบแทนรวมลดลงเล็กน้อยจากภาษีที่โดนจัดเก็บเพิ่มนะครับ -Mr.Messenger- แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำกำไรจากหุ้นดาวเด่นทั่วโลกด้วยกองทุน CIMB-PRINCIPAL GOPP-A - FINNOMENA ระหว่างที่ผมนั่งขุดหุ้น หากองทุนไปเรื่อยๆ ก็มาสะกิดใจกับกองทุน CIMB-PRINCIPAL GOPP ที่มีสัดส่วนการเลือกหุ้นที่เรียก "รวมดาว" ของจริง เลยถือโอกาสมารีวิวกองนี้ให้ฟังกัน รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ตามมาดูกันได้เลย 25 พ.ย. 2563 การลงทุนที่ดีที่สุดมาจากการ “เลือก” ลงทุนระยะยาวในหุ้นผู้ชนะ แต่กองทุนหลายกองในตลาดไม่ชอบเลือกแต่ใช้ความง่ายด้วยการเลือกลงทุนในหุ้นที่คล้าย ๆ กับ Index แล้วปรับนู่นนิด นี่หน่อย เสร็จแล้วก็เอามาขายเป็นกองทุน ในฐานะของนักลงทุนผมต้องบอกว่าผมไม่ Happy เลย เพราะทุกครั้งที่เราซื้อกองทุนก็ต้องจ่ายค่า Fee ดังนั้นนักลงทุนอย่างเรา ๆ ก็ควรจะได้อะไรที่คุ้มค่ากับค่า Fee ที่เสียไปจริงไหมครับ? ระหว่างที่ผมนั่งขุดหุ้น หากองทุนไปเรื่อย ๆ ก็มาสะกิดใจกับกองทุน CIMB-PRINCIPAL GOPP-A ที่มีสัดส่วนการเลือกหุ้นที่เรียก “รวมดาว” ของจริง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A ไม่ใช่แค่มีดีแต่หุ้น Tech ชั้นนำแต่ยังรวมเอาแบรนด์ดังดาวรุ่งซึ่งกำลังเติบโตทั่วโลกเอาไว้ด้วยเช่นบริษัท Tech ที่เรารู้จักกันดีอย่าง Amazon, Facebook, Google, LINE บริษัทบัตรเครดิตอย่าง Mastercard, Visa หุ้นแฟชั่นหรูชื่อดังเช่น แบรนด์มาแรงอย่าง Moncler Group, แบรนด์ในฝันอย่าง Hermes และร้านกาแฟที่เราเข้ากันบ่อย ๆ เช่น Starbuck กีมีอยู่ใน CIMB-PRINCIPAL GOPP-A ด้วย ข้อมูลกองทุนจาก www.finnomena.com/fund ก่อนไปเจาะลึกกันว่ากองนี้ดียังไง? มาดูกันก่อนว่าผลตอบแทนย้อนหลังเป็นยังไงบ้าง? ผลตอบแทนย้อนหลังของ CIMB-PRINCIPAL GOPP-A (Update วันที่ 19/07/2018) CIMB-PRINCIPAL GOPP-A : ผลตอบแทน 1Y: 25.08% / 6M: 8.42% / 3M: 7.55% ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนได้ที่ www.finnomena.com/fund ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีทำได้ 25.08% ถือว่าทำได้ดีมากชนะค่าเฉลี่ยที่ 7.04% 6 เดือนทำได้ 8.42% 3 เดือนได้ 7.55% เป็นผลตอบแทนที่ถือว่า WOW มาก กองทุนนี้ลงทุนในกองทุนหลักคือ Morgan Stanley Investment Funds Global Opportunity Fund โดยลงทุนไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน กองทุนหลักกองนี้ทำผลตอบแทนดีมั้ย? แม้ CIMB-PRINCIPAL GOPP-A เพิ่งเปิดกองมาได้ 1 ปีแต่กอง Master Fund นั้นเปิดมา 8 ปีแล้ว กองทุนหลักทำผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีได้ 20.97% 5 ปีได้ 24.26% และผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่ตั้งกองทุนมา 17.10% นอกจากผลตอบแทนแล้วในรอบ 5 ปีที่ผ่านมากองทุนนี้ยังไม่เคยขาดทุนมากกว่า 7% เลย นับว่าทำได้ดีทั้งการสร้างผลตอบแทนและการจัดการความเสี่ยง ที่มา: Morgan Stanley Global Opportunity Fund – Fund Factsheet วันที่ 30 มิถุนายน 2561 ภาพรวมกองทุน CIMB-PRINCIPAL GOPP-A Management policy : Active Management Benchmark : MSCI All Country World Index Hedging policy : ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน Minimum: 5,000 บาท Front-end: 1.5% Management fee: 1.5% กองทุนนี้มีการบริหารแบบเชิงรุก (Active management) โดยมีเป้าคือการเอาชนะดัชนีชี้วัด MSCI All Country World Index ส่วนเรื่องความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการกองทุนนะครับว่าจะทำได้ดีแค่ไหน ส่วนขั้นตํ่าในการซื้อกองอยู่ที่ 5,000 บาท Benchmark กับ MSCI All Country World Index ค่า Front end อยู่ที่ 1.5% ค่า Management fee 1.5% ถือว่าอยู่ในอัตราที่ปกติสำหรับกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ ถ้าดูจาก finnomena.com/fund จะเห็นว่า CIMB-PRINCIPAL GOPP-A เป็นกองทุนที่มีผลตอบแทนที่ดีมาก-ดีที่สุดเมื่อเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ในหมวด แต่ถ้าดูในมุมของ Maximum Drawdown หรือช่วงที่หุ้นตกเยอะๆแล้วกองไม่ได้ตกมากกว่ากองอื่น ๆ เลย พอสรุปเป็นนัยได้ว่าเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงพอ ๆ กับอุตสาหกรรมแต่มีผลตอบแทนที่โดดเด่นกว่ามากนั่นเอง ข้อมูลกองทุนจาก www.finnomena.com/fund CIMB-PRINCIPAL GOPP-A ลงทุนในอุตสาหกรรมอะไรบ้าง? Information Technology 35% Consumer Discretionary 31% Consumer Staples 15% ที่มา: Morgan Stanley Global Opportunity Fund – Fund Factsheet วันที่ 30 มิถุนายน 2561 อุตสาหกรรมหลัก 3 อุตสาหกรรมรวมกันแล้ว 80% ถือเป็นการลงทุนเน้น ๆ ในอุตสาหกรรมที่เป็น Mega Trend อย่าง Tech ที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้ว Consumer Discretionary พวกสินค้าฟุ่มเฟือย เสื้อผ้า กระเป๋าหรูก็เป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะกำลังซื้อของคนสูงขึ้น มีชนชั้นกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการซื้อสินค้าประเภทนี้มากขึ้น อีกอุตสาหกรรมที่กองทุนลงทุนเป็นหลักคือ Consumer Staples พวกสินค้าจำเป็น ขนม อาหารทั้งหลายซึ่งก็เป็นอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่งและไม่ถูก Disrupt ง่าย ๆ (อาหารยังไงคนก็ต้องกินต้องใช้เนอะ) หุ้นกลุ่มนี้ยังได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาของเทคโนโลยี ทำให้ขายง่ายขึ้น ลดต้นทุนได้ ศึกษาอุตสาหกรรมจนพอเห็นภาพรวมแล้วมาเจาะลึกต่อกันเลยดีกว่าว่าหุ้นเด่น ๆ ที่มีในกองทุน CIMB-PRINCIPAL GOPP-A มีแนวโน้มและมีพื้นฐานเป็นอย่างไรบ้าง? เริ่มต้นด้วยผลประกอบการปี 2017 ของหุ้น Tech ที่เราคุ้นเคยกันดี Amazon รายได้เติบโต 30% FB รายได้เติบโต 47% Google รายได้เติบโต 26% ถือว่าส่วนใหญ่แล้วเติบโต 20% ขึ้นไปถือว่าอุตสาหกรรม Tech โลกนั้นยังไม่อิ่มตัวและยังมีพื้นที่ให้เติบโตได้อีกมาก นอกจากหุ้น Tech ใหม่ ๆ แล้ว CIMB-PRINCIPAL GOPP-A ยังมีหุ้นการเงินชื่อดังที่ประสบความสำเร็จมาแล้วทั่วโลกอย่าง Visa และ Mastercard ที่กำลังอยู่ในช่วงปฏิวัติองค์กรเพื่อการเติบโตในอนาคต เฉพาะแค่ Visa กับ Mastercard ก็ครองส่วนแบ่งการตลาดในปี 2016 ไปแล้ว 80% ของทั้งโลก (ข้อมูลจาก Nielsen) แต่หุ้นบางตัวของกองก็เป็นหุ้นที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักก็เป็นหุ้นที่มีความโดดเด่นและทำผลตอบแทนได้ดีเช่น Moncler บริษัท Luxury fashion จาก Italy ที่มีขนาดเล็กกว่า Louis Vuitton เยอะแต่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ขยายไปทั่วโลก รวมถึงกำลังจะเข้ามาในประเทศไทยด้วย คนมองว่า Moncler อาจจะกลายเป็นอาณาจักร Luxury แบบ Louis Vuitton ในอนาคตก็ได้ 1 ปีที่ผ่านมา Moncler ให้ผลตอบแทนมากกว่า 80% Dsv บริษัทขนส่งสัญชาติ Denmark อันดับ 5 ของโลก ราชานัก Takeover ที่ Take ไปแล้วกว่า 50 บริษัท แม้การเติบโตของรายได้ Dsv จะไม่สูงมากนัก แต่ Dsv มีกระแสเงินสดที่ดีทำให้สามารถทำการซื้อหุ้นคืนอย่างต่อเนื่อง ราคาหุ้นจึงตอบรับในแง่บวก 1 ปีที่ผ่านมาหุ้น Dsv ขึ้นมาแล้ว 27% TAL education บริษัททำติวเตอร์ออนไลน์ครบวงจรขนาดยักษ์จากประเทศจีน TAL ใหญ่แค่ไหน? บริษัทมีขนาดถึง 7 แสนล้านบาท (ใหญ่กว่า CPALL บ้านเราซะอีก) ปัจจุบัน TAL มีนักเรียนทั้งหมด 2,600,000 คน แต่ประเทศจีนมีประชากรถึง 1,300 ล้านคน มีเด็กเกิดใหม่ปีละ 18 ล้านคน โอกาสสำหรับ TAL ยังมีอีกมหาศาล ผลตอบแทนของหุ้น TAL ก็ไม่น้อยหน้าเพราะทำผลตอบแทนได้มากถึง 60% ที่มา: Morgan Stanley Global Opportunity Fund – Fund Factsheet วันที่ 30 มิถุนายน 2561 ข้อมูลดูดีแล้วในความเป็นจริง CIMB-PRINCIPAL GOPP-A เป็นกองทุนที่เหมาะกับใคร? นักลงทุนแบบไหน? สำหรับผม CIMB-PRINCIPAL GOPP-A เป็นกองทุนที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป ลักษณะหุ้นที่กองทุนลงทุนเป็นแบบผสม คือมีทั้งหุ้นที่มีการเติบโตสูงๆคือ Tech ในอีกมุมหนึ่งก็มีหุ้น Consumer เข้ามาผสมด้วยทำให้เป็นกองทุนที่มีศักยภาพในการเติบโต อยู่ในเมก้าเทรนด์ รวมถึงมีความมั่นคงในระยะยาวพอสมควร เพราะมีหุ้นที่มีแบรนด์อันแข็งแกร่งอยู่ด้วย ใครกำลังมองหากองทุนหุ้นสำหรับการลงทุนระยะยาว มีทั้งหุ้น Tech ชื่อดังและหุ้น Consumer ที่มีแบรนด์แข็งแกร่ง มีการเลือกหุ้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ตามตลาดเสมอไป ก็ลองพิจารณาเอา CIMB-PRINCIPAL GOPP-A กองนี้เข้าพอร์ทลงทุนยาว ๆ ไปได้อีก 1 กองครับ ที่มาบทความ : http://buffettcode.com/cimb-principal-gopp/ ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน| ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: CIMB-PRINCIPAL GOPP-A แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รีวิวหุ้น “WORK” บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) - FINNOMENA เชื่อว่าไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก Work Point ของเสี่ยตา ปัญญา นิรันดร์กุล และคุณประภาส ชลศรานนท์ แต่ก็เชื่อว่าหลายคนน่าจะยังไม่รู้ว่า "กว่าจะมาเป็นรายการรายการนึงให้เราได้ดู ต้องผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง" หรือ "รู้จักธุรกิจของ Work Point ว่ามีอะไรบ้าง" วันนี้ ศาลเจ้าพ่อลงทุน เลยจะมารีวิว "WORK" ให้ฟังกันแบบไวๆ ติดตามกันได้เลย 29 ส.ค. 2561 เชื่อว่าไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก Work Point ของเสี่ยตา ปัญญา นิรันดร์กุล และคุณประภาส ชลศรานนท์ แต่ก็เชื่อว่าหลายคนน่าจะยังไม่รู้ว่า “กว่าจะมาเป็นรายการรายการนึงให้เราได้ดู ต้องผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง” หรือ “รู้จักธุรกิจของ Work Point ว่ามีอะไรบ้าง” วันนี้ ศาลเจ้าพ่อลงทุน เลยจะมารีวิว “WORK” ให้ฟังกันแบบไวๆ ติดตามกันได้เลย ดูข้อมูลหุ้น WORK ได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/work ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ศาลเจ้าพ่อลงทุน ศาลเจ้าพ่อลงทุน เป็นสถานที่ที่มักจะมีนักลงทุนทั้งหน้าใหม่อยากเริ่มศึกษาการลงทุน และทั้งหน้าเก่าที่ยังไม่ประสบความสำเร็จสักที แวะเวียนมาปรึกษาขอคำแนะนำจากเจ้าพ่ออยู่บ่อยๆ ซึ่งเจ้าพ่อก็ใจดีอยากจะเห็นนักลงทุนไทยลงทุนได้อย่างถูกวิธี จึงปรากฎกายออกมาสอนบ้าง บ่นบ้าง และให้ความรู้อยู่เรื่อยๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
3 เหตุผล ปีนี้ทองคำจะกลับมาได้ - FINNOMENA ทองคำในช่วง 8 เดือนแรกของปี กลับกลายเป็นช่วงขาลงมาโดยตลอด จนไหลลงมาหลุด $1,200 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็เริ่มมีสัญญาณให้เห็นบางอย่างว่าทองเริ่มน่าสนใจขึ้นมาบ้างแล้ว มาดูกันว่าสัญญาณเหล่านั้นคืออะไรบ้าง 28 ส.ค. 2561 ราคาทอง Spot Gold ทำจุดสุงสุดเมื่อต้นปีไว้ที่ $1,360 ซึ่งในช่วงนั้น นักวิเคราะห์และนักลงทุนต่างมองว่ามีโอกาสสูงที่ค่าเงินดอลล่าร์จะอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ด้วยปัจจัยหลายปัจจัยด้วยกัน ประการที่หนึ่งคือ ตลาดเริ่มเห็นสัญญาณเงินเฟ้ออันเกิดสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มปรับตัวขึ้นหลายจากอยู่ในภาวะตลาดหมีมาอย่างยาวนาน และการฟื้นตัวของตลาดหุ้นเกิดใหม่ในช่วงปี 2017 ซึ่งได้เหตุผลสนับสนุนจากเศรษฐกิจที่ทยอยปรับตัวดีขึ้นจากแรงซื้อและการบริโภคภายในประเทศ ก็น่าจะทำให้เกิดอุปสงค์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจแถบนี้ได้ ประการที่สองคือ ความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯเอง อันเกิดจากปัจจัยการเมือง และฟองสบู่ในตลาดหุ้นโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ทำให้นักลงทุนมีความลังเลว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะสามารถปรับตัวขึ้นต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อผ่านมาเป็นระยะเวลา 8 เดือน เราก็ได้เห็นเฉลยข้อสอบแล้วว่า สิ่งที่นักลงทุนคิดเมื่อตอนต้นปี ไม่ได้เกิดขึ้นจริง กล่าวคือ ราคาน้ำมันอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นก็จริง แต่ก็มีความผันผวนในระดับสูง รวมถึงราคาสินค้าเกษตรในภาพรวมทั้งโลกก็ไม่ได้อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อตลาดอย่างมากคือ เศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับคู่ค้าสำคัญอย่าง สหภาพยุโรป และ จีน ผลของสงครามการค้าในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินดอลล่าสหรัฐฯแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดูได้จาก Dollar Index ซึ่งต้นปีลงไปทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 88.5 จุด ณ ปัจจุบันแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 95 จุด เนื่องจากนโยบายการคลัง การขึ้นภาษีนำเข้า และลดภาษีนิติบุคคลของสหรัฐฯ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของบริษัทภายในประเทศขึ้น (อย่างน้อยๆ ก็ในระยะสั้น) อีกประเด็นหนึ่งคือ การลดขนาดงบดุลของเฟด ซึ่งเป็นการดูกลับสภาพคล่องส่วนเกิน ที่เคยไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น ให้ไหลกลับเข้าไปสหรัฐฯอีกครั้ง ก็ทำให้นักลงทุนมองทิศทางค่าเงินดอลล่าร์ต่างไปจากที่เคยมองเมื่อปลายปีที่แล้ว กลับมาที่พระเอกของบทความในวันนี้ นั่นคือ ทองคำ ซึ่งในช่วง 8 เดือนแรกของปี กลับกลายเป็นช่วงขาลงมาโดยตลอด จนไหลลงมาหลุด $1,200 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน แต่ก็เริ่มมีสัญญาณให้เห็นบางอย่างว่า การดีดกลับของราคาทอง และการใส่ทองไว้ใน Asset Allocation แม้จะเล็กน้อย ยังถือว่ามีความน่าสนใจ เหตุผลแรก ถ้าเราไปดูยอดซื้อขายสุทธิของกองทุนทองประเภท ETF ทั้งโลก จะพบว่า เป็นยอดขายสุทธิมา 13 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการขายยาวนานมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. ปี 2013 ในช่วงนั้นราคาทองไหลลงจากระดับ $1,800 จุด ลงมาถึงระดับ $1,200 ต้นๆ ก่อนมีแรงดีดกลับขึ้นมาที่ $1,400 ภายใน 3 เดือน ถ้ามองระดับราคาทองตอนนี้ ถึงแม้จะไม่ได้ปรับฐานจากจุดสูงสุดที่ $1,800 อย่างปี 2013 แต่ก็ลงมาอยู่แถวๆ แนวรับจิตวิทยาเช่นเดียวกันกับครั้งนั้นครับ เหตุผลที่สอง แรงขายของทองรอบนี้ อีกส่วนหนึ่งมาจากการผสมโรงของตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยจากข้อมูล Bloomberg พบว่า มี Net Short Position ใน Gold Futures เจ็ดหมื่นกว่าสัญญา จากต้นปีที่มี Net Long Position อยู่มากกว่า สองแสนสัญญา สะท้อนว่า มีแรงขายซ้ำที่ตลาด Futures ซึ่งหากทิศทางของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯมีโอกาสกลับมาอ่อนค่า จะทำให้นักลงทุนที่ถือสถานะ Short ต้องทำการปิดสถานะ (Cover Short) จึงถือว่ามีโอกาสสูงมากที่จะทำให้ราคาทองดีดกลับมาได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เหตุผลที่สาม สัญญาณอีกตัวหนึ่งที่ใช้ในการดูแนวโน้มราคาทองคือ Copper-to-Gold Ratio หรือ อัตราส่วนระหว่างทองแดง และทองคำ วิธีการคือ นำราคาทองแดงมาหารราคาทองคำ หากค่าที่ได้สูงขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่า ราคาทองแดงวิ่ง Outperform ราคาทองคำ ในทางตรงกันข้าม หากค่าที่ได้ลดลง แสดงให้เห็นว่า ช่วงนั้นราคาทอง Outperform ราคาทองแดง จากการทดสอบพบว่า Copper-to-Gold Ratio มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับขาขึ้นของราคาทองแดงและราคาทอง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ในยามนี้ ซึ่งเรารู้กันว่า อยู่ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ดังนั้น US Treasury Yield ก็ควรจะอยู่ในทิศทางขาขึ้นระยะยาว เมื่อพิจารณาจากความสัมพันธ์ในอดีตของ Copper-to-Gold Ratio แล้ว แปลว่า อัตราส่วนนี้ ควรค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามไปดู ดังนั้นในระยะยาว ราคาทองน่าจะยังคงเป็นทิศทางขาขึ้น เพียงแต่เราเจอความผันผวนช่วงสั้นนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาครับ แต่ทั้งนี้ เพื่อความไม่ประมาท หากราคาทอง Spot Gold ลงมาต่ำกว่าระดับ $1,180 อีกครั้ง ก็แปลว่าระยะสั้น ทองจะยังไม่สามารถปรับตัวกลับมาเป็นขาขึ้นได้ ดังนั้นนักลงทุนก็ควรกำหนดจุด Stop Loss และมีวินัยการลงทุน รวมถึงถือทองในสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งผมแนะนำที่สัดส่วนไม่เกิน 10-20% ของพอร์ตการลงทุนครับ ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645405 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
K-USXNDQ-A (D) โอกาสลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีอเมริกา พร้อมรับ "ปันผล" - FINNOMENA สำหรับใครที่ชื่นชอบในเทรนของเทคโนโลยี และชอบการลงทุนที่ได้ปันผลด้วย K-USXNDQ-A (D) ถือเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์โอกาสลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีอเมริกา ที่มี "ปันผล" กองนี้เป็นยังไงบ้าง ศาลเจ้าพ่อลงทุน มารีวิวให้แล้ว 7 ก.พ. 2563 โดยเพจ ศาลเจ้าพ่อลงทุน ที่มาบทความ : https://holyinvestor.com/2018/07/26/k-usxndq-a-d/ ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: K-USXNDQ-A(D) แชร์บทความ: ผู้เขียน ศาลเจ้าพ่อลงทุน ศาลเจ้าพ่อลงทุน เป็นสถานที่ที่มักจะมีนักลงทุนทั้งหน้าใหม่อยากเริ่มศึกษาการลงทุน และทั้งหน้าเก่าที่ยังไม่ประสบความสำเร็จสักที แวะเวียนมาปรึกษาขอคำแนะนำจากเจ้าพ่ออยู่บ่อยๆ ซึ่งเจ้าพ่อก็ใจดีอยากจะเห็นนักลงทุนไทยลงทุนได้อย่างถูกวิธี จึงปรากฎกายออกมาสอนบ้าง บ่นบ้าง และให้ความรู้อยู่เรื่อยๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
“ปี่เซียะ” แห่งวงการหุ้น กับช่วงเวลาขายทำกำไร - FINNOMENA “ปี่เซียะ” หรือกวางสวรรค์ คือลักษณะแห่งความมั่งคั่ง เพราะช่วยให้มีแต่เงินเข้าไม่มีไหลออก “กองทุนรวมในประเทศ” ก็ถือว่ามีลักษณะไม่ต่างจาก “ปี่เซียะ” เพราะกองทุนรวมซื้อหุ้นไทยไว้เยอะ ทว่าตอนนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เหตุการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร? 21 ส.ค. 2561 “กองทุนรวมในประเทศ” ซึ่งเปรียบเสมือน “ปี่เซียะ” ที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือ “กินอย่างเดียว ไม่ยอมถ่ายออก” นั้น กำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ นั่นก็เป็นเพราะ “สัญญาญเทขาย” ของกองทุนได้เริ่มปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะทำความเข้าใจ และเตรียมแผนต้านความเสี่ยงในเรื่องนี้ ก่อนไปจะสู่เรื่องการลงทุน คงต้องเล่าก่อนว่า “ปี่เซียะ” หรือกวางสวรรค์นั้น แต่เดิมมีชื่อว่า “เทียนลก” เป็นลูกตัวสุดท้อง (ตัวที่ 9) ของพญามังกร ซึ่งคนจีนมีความเชื่อว่า “ปี่เซียะ” เป็นสัตว์มงคล จะกินแต่เงินและทองเป็นอาหารเท่านั้น และที่สำคัญคือ “ปี่เซียะ ไม่มีรูทวารจึงกินอย่างเดียว ไม่ยอมถ่ายออก” ดังนั้น คนจีนจึงมีความเชื่อว่านี่คือลักษณะแห่งโชคลาภ และความมั่งคั่ง เพราะช่วยให้มีแต่เงินเข้าไม่มีไหลออก อย่างไรก็ตามในแวดวงการลงทุน “กองทุนรวมในประเทศ” ก็ถือว่ามีลักษณะไม่ต่างจาก “ปี่เซียะ” เพราะในรอบ 5 ปีกับ 7 เดือน ที่ผ่านมา นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาทำหน้าที่เป็นรัฐบาล พบว่า กองทุนรวมในประเทศซื้อหุ้นไทย คิดเป็นมูลค่าสุทธิถึง 4.3 แสนล้านบาท และเฉพาะปี 2561 ปีเดียว (มกราคม-7 สิงหาคม) มีมูลค่าซื้อสุทธิรวมทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท ทว่าตอนนี้ “กองทุนรวมในประเทศ” กลับไม่คงคาแรคเตอร์ความเป็นปี่เซียะแล้ว เพราะเมื่อซื้อหุ้นไทยสะสมอย่างยาวนานเป็นจำนวนมาก ก็ถึงเวลาที่ต้องขายออกในที่สุด และที่สำคัญหากวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมในอดีต จะพบว่า เมื่อกองทุนรวมในประเทศเริ่มเทขายทำกำไร ก็จะใช้เวลาในการขายหลายเดือนติดต่อกัน ดังนั้นตลาดหุ้นไทยก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลง จากสาเหตุที่นี้ได้ กองทุนขายหุ้นประเภทไหน? บล.ทิสโก้ อธิบายว่า พฤติกรรมการขายหุ้นของกองทุนรวมนั้น ได้กระทบกับหุ้นขนาดใหญ่ที่พื้นฐานดีหลายบริษัท ดังนั้นนักลงทุนจึงไม่ควรไว้วางใจแม้หุ้นในพอร์ตจะมีลักษณะ ดังนี้ ราคาปรับตัวขึ้นมาก มีข่าวดีรออยู่ ผลประกอบการดี เนื่องจากหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้ มักจะถูกกองทุนเทขายทำกำไรก่อน โดยไม่สนใจว่าพื้นฐานธุรกิจ (Valuation) จะเป็นอย่างไร “หุ้นตัวไหนขึ้นมาเยอะ จนทำให้กองทุนมีกำไรเยอะ ก็จะโดนขาย ดังนั้นตอนนี้อย่าดูเรื่อง Valuation มากจนเกินไป อย่าดูเรื่องข่าวดีมากเกินไป เพราะถ้าเราไม่ขาย กองทุนก็จะขาย แล้วเวลากองทุนขายเขาจะไม่คุยกันนะครับ คือต่างคนต่างขายเลย” หุ้นไทยลงได้แค่ไหน? “ในระยะสองเดือนนี้ ถ้ากองทุนในประเทศจะขายออกอีกซัก 3 หมื่นล้านบาทก็เป็นไปได้เยอะ กองทุนปี่เซี่ยะ ซื้อไปเยอะก็ต้องถ่ายออก เพราะถ้ายังกินอย่างเดียวไม่ถ่ายออก ท้องเสียแน่นอน ดังนั้นหุ้นที่เกี่ยวกับกองทุนอย่าเล่น ถอยออกมาก่อน เพราะแม้แต่หุ้นที่มีสัญญานซื้อยังถูกเทขาย บอกได้เลยว่าตลาดหุ้นจบรอบแล้ว นี่ขนาดหุ้นชั้นดีนะครับ”คุณวิวัฒน์กล่าว แรงเทขายของกองทุนรวมปี่เซียะ จึงเป็นประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามในช่วงนี้ โดย TISCO Wealth Advisory ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/tiscomastery/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบริษัทเจ้าของ B2S: ปรับทัพจับธุรกิจเครื่องเขียน - FINNOMENA ร้านหนังสือ B2S และร้านอุปกรณ์เครื่องเขียนอย่าง OfficeMate น่าจะเป็นที่รู้จักของหลายคน เพราะเป็นแหล่งรวมหนังสือและอุปกรณ์สำนักงานที่มีความครบครันมากที่สุดในไทย วันนี้เราจะมาทำรู้จักกับหุ้น COL บริษัทเครื่องเขียนยักษ์ใหญ่ที่จะปรับตัวสู้กับอุตสาหกรรมเครื่องเขียนกันครับ 20 ส.ค. 2561 ร้านหนังสือ B2S และร้านอุปกรณ์เครื่องเขียนอย่าง OfficeMate น่าจะเป็นที่รู้จักของหลายคน เพราะเป็นแหล่งรวมหนังสือและอุปกรณ์สำนักงานที่มีความครบครันมากที่สุดในไทย วันนี้เราจะมาทำรู้จักกับหุ้น COL บริษัทเครื่องเขียนยักษ์ใหญ่ที่จะปรับตัวสู้กับอุตสาหกรรมเครื่องเขียนกันครับ 1) COL จำหน่ายเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงานผ่าน Catalog, Call Center, e-Procurement, e-Commerce และระบบขายผ่านหน้าร้าน โดยร้านที่ COL บริหารอยู่นั้นก็มีร้าน OfficeMate และร้าน B2S 2) รายได้หลักของ COL นั้น หลัก ๆ มาจาก ร้าน OfficeMate ที่สร้างยอดขายให้ COL 62% และที่เหลือจะมาจากร้าน B2S 3) COL มีรายได้จากช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านหน้าร้านเป็นหลัก อยู่ที่ 62% ของรายได้รวม อีก 38% จะมาจากการขายผ่านช่องทางอื่น อย่างผ่านระบบ Call Center และ Online 4) COL มีจำนวนหน้าร้านของ OfficeMate ที่ 68 สาขา และ B2S 105 สาขา ทำให้ COL เป็นบริษัทเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงานที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศไทย 5) COL มีรายได้ในปี 2559 และ 2560 ที่ 11,785 ล้านบาท และ 12,214 ล้านบาทตามลำดับ กำไรที่ 384 ล้านบาท และ 502 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเยอะ ซึ่งในปีที่แล้ว COL ได้มีการยกเลิกธุรกิจขายบนเว็บไซต์ในรูปแบบ B2C (Business to Customer) ที่มีคู่แข่งอย่าง Lazada และ Shopee ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจนั้นไม่มีกำไร และฉุดธุรกิจอื่นของ COL ลงไปด้วย 6) ล่าสุดได้ร่วมมือกับ Kerry Express ธุรกิจขนส่งที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี โดย Kerry จะเข้ามาเปิดบูธในร้าน OfficeMate เพื่อเป็นจุดรับส่งสินค้าให้กับคนที่มาร้าน OfficeMate การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการดึงคนเข้าหน้าร้านให้มากขึ้นกว่าเดิม 7) COL มีการขายสินค้ายี่ห้อของตัวเองด้วยเช่นกัน เป็นสินค้าที่ COL นำเข้ามาขายเอง ไม่ใช่ยี่ห้อของคนอื่น อันนี้เองที่มี อัตรากำไรขั้นต้นที่สูงเพราะบริษัทนำเข้ามาเอง ในปัจจุบันร้าน OfficeMate มีสัดส่วนรายได้จากยี่ห้อของตัวเองอยู่ 15% และ B2S มีสัดส่วนรายได้จากยี่ห้อตัวเอง 3-4% 8) COL ได้เริ่มปรับตัวด้วยการขยายธุรกิจแบบใหม่ โดยจะเริ่มขยายสาขา ตั้งเป้าเปิดสาขาปีหน้า 3-4 สาขา โดยผู้ซื้อสาขาจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2.5-4 ล้านบาท 9) COL เริ่มมีการขายสินค้ากลุ่มใหม่หนักขึ้น นั่นก็คือสินค้ากลุ่มการแพทย์และกลุ่ม Horeca (ธุรกิจโรงแรม (Hotel) ร้านอาหาร (Restaurant) กาแฟและธุรกิจจัดเลี้ยง (Café and Catering)) ซึ่งเมื่อก่อนก็มีการขายอยู่แล้ว COL จะใช้ฐานลูกค้าเก่าที่เคยซื้อสินค้าเครื่องเขียน เพราะลูกค้าเก่าก็ต้องการสินค้าอย่างเตียงพยาบาล หรืออุปกรณ์ในห้องพยาบาล แต่ไม่ได้ซื้อกับ COL เท่านั้นเอง 10) โกดังเก็บสินค้าของ COL นั้นถือว่าเป็นต้นแบบในด้านเทคโนโลยีเลยทีเดียว เพราะเก็บของได้มากขึ้นกว่าเดิมในพื้นที่ที่เล็กลง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราหวังว่าจะช่วยประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้นักลงทุนศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมให้รอบด้าน ก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ สามารถหาข้อมูลหุ้น COL เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/COL/ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=COL&ssoPageId=3&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=col&submit= https://www.set.or.th/streaming/#/vdo/84 https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2018q1/20180601-2018Q1-COL.pdf —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เจาะลึกกองทุนแห่งทศวรรษ ONE-UGG - FINNOMENA ยุคนี้ใครๆ ก็พูดถึงเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันกองทุนไทยที่ลงทุนในบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีก็มีอยู่หลายกองด้วยกัน แต่มีกองหนึ่งที่ทำผลงานได้น่าสนใจ คือ ONE-UGG วันนี้เราจะมารีวิวกองทุนนี้กันครับ 21 พ.ค. 2563 มายุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึงเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราแบบสมบูรณ์แบบไปแล้ว บางคนชอบแต่บางคนก็กลัว แต่ถ้ามาคิดดูดี ๆ ชีวิตของมนุษย์ก็อยู่กับเทคโนโลยีมาตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมานี้ ปี 1878 โทมัส เอดิสันคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “หลอดไฟ” ขึ้นมาให้แสงสว่างแทนการใช้เทียน ปัจจุบันแม้หลอดไฟจะกลายเป็นของธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ใช้กันไปแล้ว แต่ก็อย่าลืมว่าครั้งหนึ่งมันเคยเป็น สุดยอดเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก บริษัทผลิตหลอดไฟของเอดิสันในตอนนั้นยืนยงกลายเป็นอาณาจักรมาจนถึงทุกวันนี้ บริษัทนั้นคือ General Electric หรือ GE ปี 1984 Motorola วางขายโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกชื่อ DynaTac 8000x ในราคา 3,900 เหรียญ (ในยุคนั้นก็แปลงเป็นเงินไทยประมาณ 1-2 แสนบาท) ใช้เวลาชาร์จแบต 10 ชั่วโมง คุยได้ครึ่งชั่วโมง นี่คือสุดยอดเทคโนโลยีในยุคนั้นใครจะไปคิดฝันว่าวันหนึ่งจะสามารถโทรศัพท์คุยกับใครก็ได้โดยไม่ต้องมีสายเสียบแบบโทรศัพท์บ้าน ส่วนยุคนี้? โทรศัพท์มือถือที่แค่คุยได้กลายเป็นของโบราณไปซะแล้ว ปี 2007 Apple วางขาย iPhone เป็นครั้งแรก มือถือต่อเน็ตได้ ส่งข้อความได้ ฟังเพลงได้ iPhone คือฝันที่เป็นจริงของวงการ Consumer Electronic ในช่วงนั้นเลยทีเดียว มาดูตอนนี้มีมือถือเครื่องไหนเล่นเน็ตไม่ได้ ฟังเพลงไม่ได้บ้าง? เทคโนโลยีในตอนนั้นมาถึงตอนนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดา ๆ เทคโนโลยีอยู่ใกล้กับตัวเรามาตลอด TV, ตู้เย็น, หม้อหุงข้าว ครั้งหนึ่งก็เคยเป็นสุดยอดเทคโนโลยีมาก่อนทั้งนั้น ดังนั้นเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องใหม่ที่น่ากลัวแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณได้ ถ้าคุณไม่ใช่แค่ใช้เทคโนโลยี แต่ลงทุนสร้างผลตอบแทนให้เติบโตไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการของมัน ถ้าคุณซื้อหุ้น Microsoft ไว้ 30,000 บาทในปี 1987 แล้วถือมาถึงปัจจุบันคุณจะมีเงินมากกว่า 24 ล้านบาท ! และถ้าคุณซื้อหุ้น Apple ไว้ 30,000 บาทในปี 1980 แล้วถือมาจนถึงปัจจุบันเช่นกันคุณจะมีเงินมากกว่า 10 ล้านบาท !!! นี่คือเรื่องใหญ่ที่ผมอยากจะบอก! พูดถึงกำไรแล้วผมก็อยากจะพูดถึงความเสี่ยงของเทคโนโลยีด้วยเพราะในอดีตก็มีหุ้นเทคโนโลยีหลายตัวเหมือนกันที่ล่มสลายไปและไม่มีใครได้ยินชื่ออีกเลย สำหรับผมหากจะลงทุนในเทคโนโลยีการเลือกบริษัทที่ดี, มีความแข็งแกร่งและกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญมาก ! ดังนั้นถ้าคุณไม่ใช่นักลงทุนที่เข้าใจเทคโนโลยีเป็นอย่างดีการลงทุนในกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนจัดพอร์ตคอยเลือกหุ้นพื้นฐานดีให้ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดในเวลานี้ ปัจจุบันกองทุนที่ลงทุนในบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีในประเทศไทยก็มีอยู่หลายกองด้วยกัน แต่มีกองหนึ่งในนั้นที่ผมคิดว่าน่าสนใจเพราะทำผลตอบแทนได้ยอดเยี่ยม มีกลยุทธ์การลงทุนที่ฟังดูสมเหตุสมผล และที่สำคัญพอหันไปดูหุ้นในพอร์ตกองทุนแล้วก็ต้องยกนิ้วชื่นชมจริง ๆ กองทุนนั้นคือ ONE-UGG ครับ (แหม่ก็คงรู้กันหมดแล้วเนอะ หัวข้อก็เขียนอยู่ว่า ONE-UGG 555) นโยบายการลงทุนของ ONE-UGG ONE-UGG หรือชื่อเต็มว่า กองทุนเปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ เป็นกองทุนจากบลจ.วรรณ กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund โดยปัจจุบันกองทุนนี้เน้นลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาวจากทั่วโลก หลักการคัดเลือกหุ้นของกองทุนคือวิธี Bottom-Up ดูพื้นฐานและการเติบโตของบริษัทเป็นหลักโดยให้น้ำหนักกับปัจจัยด้านอื่น ๆ เป็นรอง ปัจจุบันพอร์ทหุ้นของ Baillie Gifford LTGG ลงทุนเน้นหุ้นกลุ่ม Information Technology สัดส่วน 45.53% Consumer Discretionary 33.35% และกลุ่ม Healthcare 14.93% โดยกองทุนจะมีหุ้นในพอร์ตจำนวนประมาณ 30-60 ตัว ข้อมูลการถือหุ้นแบ่งตามอุตสาหกรรม ข้อมูลจาก Baillie Gifford LTGG Fund Factsheet วันที่ 31 มีนาคม 2018 แล้ว Baillie Gifford LTGG มีหุ้นอะไรบ้าง? หุ้น 5 อันดับที่กองทุนถือสูงสุดก็คือ Amazon 9.36% บริษัทของ Jeff Bezos ชายผู้รวยที่สุดในโลก เจ้าของธุรกิจ E-commerce และ Technology Platform ขนาดใหญ่ Amazon.com Tencent 8.49% บริษัทจีนเจ้าของ Messaging App รายใหญ่ WeChat ที่มีคนใช้กว่า 1,000 ล้านคน และยังเป็นบริษัทที่มีธุรกิจเกมส์ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย Alibaba 6.80% เจ้าของธุรกิจ E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีผู้ก่อตั้งที่เราคุ้นเคยกันดีคือ Jack Ma Illumina 6.68% บริษัท BioTech ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ DNA และ Facebook 6.11% บริษัท Social Media รายใหญ่ที่สุดของโลกและคนไทยกว่า 46 ล้านคนรู้จักดี ส่วนที่เหลือก็เป็นหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีระดับเทพที่เรารู้จักกันดีอย่าง Tesla, Nvidia, Baidu, Google และ Netflix อย่างไรก็ตามกองทุนได้มีถือหุ้นที่เป็น Consumer Discretionary ชื่อดังหลาย ๆ ตัวด้วยเช่น Inditex เจ้าของแบรนด์ Zara, Hermès International ผู้ผลิตกระเป๋าหรู Hermès, Kering อาณาจักร Luxury เจ้าของแบรนด์อย่าง Gucci และ Balenciaga, แบรนด์ชุดกีฬาดาวรุ่ง Under Armour และยักษ์ใหญ่แห่งโลกความงาม L’Oréal เท่านั้นยังไม่พอล่าสุดกองทุนยังได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทติวเตอร์ออนไลน์ชื่อดังของจีนอย่าง TAL Education Group เข้ามาในพอร์ตอีกด้วย บริษัทนี้มีขนาดใหญ่ถึง 700,000 ล้านบาท (มูลค่าบริษัทเท่า ๆ กับ 7-11 บ้านเรา) เห็นพอร์ตการลงทุนแบบนี้แล้วผมคิดว่าทุกคนคงเริ่มเข้าใจว่าทำไมผมถึงเรียก ONE-UGG ว่าเป็นกองทุนแห่งทศวรรษ ก็เล่นรวมเอาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ แบรนด์ดังต่าง ๆ ของโลก แถมยังมีบริษัทใหญ่ ๆ ที่อยู่ในประเทศที่มีเติบโตสูงอย่างประเทศจีนอีกด้วย มี ONE-UGG กองเดียวเรียกได้ว่าแทบจะครบเครื่องหมดแล้วสำหรับการเติบโตเพื่ออนาคต หุ้นที่ลงทุน 10 อันดับแรก ข้อมูลจาก Baillie Gifford LTGG Fund Factsheet วันที่ 31 มีนาคม 2018 กองทุน ONE-UGG รวมดาว All Star ขนาดนี้ให้ผลตอบแทนเท่าไหร่? ONE-UGG ให้ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมาที่ระดับ 26.56% เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 6.18% ถือว่าสูงทะลุทะลวงมากมาย เพราะกองทุนนี้เพิ่งก่อตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2559 ถือว่ายังไม่นาน แต่ถ้าเราหันกลับไปดูที่ผลตอบแทนย้อนหลังของกองแม่ Baillie Gifford LTGG ก็จะพบว่าทำผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ย 3 ปีได้สูงถึง 19.52% ต่อปี เมื่อเทียบกับ MSCI World Index ที่ทำผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ย 3 ปีได้แค่ 8.71% ในมุมมองของผลตอบแทนย้อนหลังนับว่า ONE-UGG ทำได้ดีมาก แล้วอนาคตของ ONE-UGG จะเป็นอย่างไร? ผลตอบแทนย้อนหลัง ข้อมูลจาก Baillie Gifford LTGG Fund Facesheet วันที่ 31 มีนาคม 2018 มุมมองในอนาคตของบริษัทเทคโนโลยีและกองทุน ONE-UGG เริ่มด้วยคำถามยอดฮิตก่อน ถ้าเกิดวิกฤตตลาดหุ้นจะกระทบอะไรไหม? คำตอบคือก็คงกระทบ ไม่มากก็น้อย แต่ก็ต้องอย่าลืมคิดต่อด้วยว่าแม้จะเกิดวิกฤตแต่ผู้ชนะจะยังคงเป็นผู้ชนะ ลองนึกภาพย้อนเวลากลับไปในปี 1886 ถ้าคุณเป็นคนขายอานม้าที่ไว้ใช้สำหรับขี่ม้าในขณะที่โลกกำลังมีรถยนต์ซึ่งพัฒนาขายในเชิงพาณิชย์โดย Henry Ford และพวกเราก็รู้กันหมดแล้วว่าระหว่างรถกับม้าสุดท้ายใครคือผู้ชนะ คุณคงคิดว่าบริษัทที่ผลิตอานม้าขายในยุคนั้นคงเจ๊งและปิดตัวลงไปหมดแล้ว แต่ผิดครับ ! หนึ่งในบริษัทที่เอาตัวรอดมาจากวิกฤตอานม้าครั้งนั้นได้คือ Hermès ซึ่งปัจจุบันหันมาผลิตกระเป๋าหนังระดับตำนานแทนการผลิตอานม้าขาย ผู้ชนะยังคงเป็นผู้ชนะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบริษัทเก่ง ๆ จะปรับตัวได้เสมอ อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมาก ๆ คือ Amazon ในตอนตั้งบริษัท Amazon ไม่ได้เป็นอาณาจักรเทคโนโลยีอย่างในปัจจุบัน แต่เป็นเพียงบริษัทขายหนังสือออนไลน์เล็ก ๆ บริษัทหนึ่ง ทุกวันนี้หนังสือกำลังโดน Disrupt อย่างหนัก ถ้า Amazon ยังยึดติดกับการขายหนังสือเพียงอย่างเดียวคงล่มสลายไปนานแล้ว Amazon กลายเป็นบริษัท Technology-Ecommerce เต็มรูปแบบมีทั้งธุรกิจ Cloud, Big Data, ปัญญาประดิษฐ์, ค้าปลีกออนไลน์ที่ทุกวันนี้ขายหมดทุกอย่าง และธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมอย่าง Whole Foods ที่เพิ่งเทคโอเวอร์ไปเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทผู้ชนะจะแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบัน Amazon คืออาณาจักร 25 ล้านล้านบาท (25,000,000,000,000) ใหญ่กว่าปตท. PTT 15 เท่า ใหญ่กว่าแบงค์กสิกรไทย KBANK 62 เท่า และใหญ่กว่าปูนใหญ่ SCC ถึง 50 เท่า บริษัทเทคโนโลยีจะยังโตได้ไหม? มาดูการเติบโตของรายได้และกำไรไตรมาส 1 ปี 2018 ของหุ้น 5 บริษัทหลักใน ONE-UGG กันซักหน่อย Amazon รายได้โต 43% กำไรโต 125% ตั้งแต่ 2016 หุ้นขึ้นมาจาก $757 มาเป็น $1,500 Tencent รายได้โต 48% กำไรโต 65% ตั้งแต่ 2016 หุ้นขึ้นมาจาก HKD 152 มาเป็น HKD 400 Alibaba รายได้โต 61% กำไรโต 35% ตั้งแต่ 2016 หุ้นขึ้นมาจาก $81 มาเป็น $190 Illumina รายได้โต 30% กำไรติดลบ 43% ตั้งแต่ 2016 หุ้นขึ้นมาจาก $191 มาเป็น $260 Facebook รายได้โต 49% กำไรโต 63%ตั้งแต่ 2016 หุ้นขึ้นมาจาก $104 มาเป็น $180 ผลประกอบการของหุ้น Technology ที่โตดุมาก (เทียบกับการเติบโตของหุ้นไทยขนาดใหญ่ที่มักจะโต 10-20%) ราคาหุ้นเองก็ขึ้นดุไม่แพ้กัน ถึงจุดนี้โตไม่โตผมคิดว่าทุกคนคงตอบคำถามข้อดีด้วยตัวเองได้แล้วล่ะครับ Internet คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันนี้เรามี “ชาวเน็ต” กว่า 3,400 ล้านคนหรือเทียบคร่าว ๆ คือประมาณครึ่งโลก ด้วยต้นทุนการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ถูกลง เมื่อก่อนจะซื้อคอมเครื่องหนึ่งหรือมือถือซักเครื่องอาจต้องใช้เงินหลายแสนดังที่ผมกล่าวไปแล้วอย่างในกรณีของมือถือ Motorola รุ่นแรก ปัจจุบันต้นทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นถูกมากเงินเพียง 1,000-2,000 บาทสามารถเปลี่ยนชีวิตคน ๆ หนึ่งให้มีความสุขมากขึ้นกว่าเดิมได้ เงินหลักพันบาททำให้เราส่งข้อความหากันได้ วีดีโอคอลเห็นหน้ากันได้ ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือ ซื้อของออนไลน์ได้แม้ในถิ่นทุระกันดาร บริการเปลี่ยนชีวิตทั้งหมดนี้ ฟรี! เราทุกคนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก 10 ปีต่อจากนี้มีค่ามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมามากมายมหาศาล มันขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่าจะปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ผ่านไปเฉย ๆ หรือจะหาทางเปลี่ยนชีวิตจากเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อย่างไรก็ตามการลงทุนย่อมต้องมีความเสี่ยง การลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีก็เช่นกัน นักลงทุนอาจต้องคอยตามดูว่ายอดขายยังคงเติบโตหรือไม่? จำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นหรือเปล่า? มีการเปลี่ยนแปลงกฏหมายที่จะกระทบกับการทำธุรกิจของบริษัทหรือไม่? มีคู่แข่งใหม่ๆมาแข่งหรือไม่แล้วบริษัทมีการดำเนินงานอย่างไร? Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในโลกเคยกล่าวไว้ว่าถ้าหากเขาต้องเดิมพันกับอะไรบางอย่างและเขามีโอกาสแค่ 1 ใน 10 ที่จะเดิมพันได้อย่างถูกต้องแต่ผลตอบแทนที่ได้รับนั้นมากกว่า 100 เท่า เขาจะเดิมพันกับมันทุกครั้ง ! ความเสี่ยงไม่ใช่เรื่องที่ต้องหลีกเลี่ยงตลอดเวลา ถ้าการเสี่ยงครั้งนั้นของคุณให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า การเดิมพันแบบนี้คือสิ่งที่ Jeff Bezos ทำเพื่อเปลี่ยนชีวิตของเขา แล้วคุณล่ะ? ทำอะไรเพื่อเปลี่ยนชีวิตของคุณในอีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้าแล้วหรือยัง? ดูข้อมูลของ ONE-UGG เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ONE-UGG ที่มาบทความ : http://buffettcode.com/one-ugg/ Source : https://techcrunch.com/2017/08/08/a-look-back-in-ipo-microsoft-the-software-success/ https://www.cnbc.com/2017/02/23/investing-3000-in-3-stocks-in-1980s-would-have-made-you-a-millionaire.html ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: ONE-UGG-RA แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เครื่องดื่ม Sappe อนาคตจะเป็นอย่างไร? - FINNOMENA Sappe ถือว่าเป็นบริษัทขายเครื่องดื่มที่อยู่ในตลาดมานานพอสมควร ในขณะที่มีหลายเจ้าล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก แต่วันนี้จะชวนมาวิเคราะห์กันว่า "สินค้า" ของบริษัท จะอยู่รอดหรือไม่ 16 ส.ค. 2561 SAPPE ถือว่าเป็นบริษัทขายเครื่องดื่มที่อยู่ในตลาดมานานพอสมควร ในขณะที่มีหลายเจ้าล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก สินค้าหลักคือเครื่องดื่ม Beauti Drink และ Mogu Mogu ไปอ่านข้อมูลจากหลายแหล่งก็ตกใจในประเด็นเรื่องของการตลาดพอสมควร เพราะ Sappe เองแทบจะไม่ได้ทำการตลาดบน TV เลย (ไม่เหมือนเครื่องดื่มอีกหลาย ๆ เจ้า) ในขณะที่บริษัทเองก็ยังคงรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้ดีพอสมควร SAPPE จริง ๆ แล้วถือว่าเป็นบริษัทส่งออกได้เลย เพราะสัดส่วนการขายในประเทศมีเพียง 35% ของรายได้ ที่เหลือส่งออกไปกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ประเทศหลัก ๆ ที่ส่งออกและมียอดขายดีมีอยู่ราว 5 – 6 บริษัทหลัก ๆ ที่อยู่ในเอเชีย มียุโรป อเมริกา และตะวันออกกลางบ้างประปราย สัดส่วนการขายส่งค้าเป็นหน่วย USD ก็อยู่ราว ๆ 40% – 50% ทำให้เวลาค่าเงินบาทอ่อนก็น่าจะได้ประโยชน์ พื้นฐานของ SAPPE ในด้านฐานะการเงินก็ถือว่าผ่านพอสมควร ทั้งระดับอัตรากำไร ROE ที่สูง ในขณะที่ D/E ต่ำเพียง 0.25 แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “สินค้า” ของบริษัท จะอยู่รอดหรือไม่ต่างหาก เพราะต่อให้ยอดขายจะเติบโตอย่างดี แต่เนื่องจากสินค้าลอกเลียนแบบได้ง่ายมาก ยอดขายที่เติบโตจึงไม่สามารถอยู่ทนได้นาน เดี๋ยวก็มีคู่แข่งเข้ามาแย่ง ในส่วนของส่งออก ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าชื่อ Gumi Gumi หรือ Mogu Mogu นี่แหละ ที่เป็นเครืองดื่มที่มีวุ้นมะพร้าวข้างในเอาไว้เคี้ยว เท่าที่ลองสังเกตมาคือ ผมลองชิมของยี่ห้อ “กาโตะ” เทียบกัน ก็พบว่ารสชาติไม่ได้ต่างกันมาก แถมของ Sappe แพงกว่าด้วย ประเด็นนี้เลยทำให้ไม่ค่อยแน่ใจว่าการเติบโตของตลาดต่างประเทศด้วยสินค้านี้จะอยู่ยั่งยืนหรือเปล่า อย่างที่ว่าไปแล้วว่า สินค้าเลียนแบบได้ง่ายมาก ถ้าเครื่องดื่มวุ้นมะพร้าวในต่างประเทศโตดี เดี๋ยวก็น่าจะมีคู่แข่ง Local เข้ามาแข่งด้วย สิ่งที่ SAPPE เสียเปรียบก็น่าจะเป็นต้นทุนสินค้าที่จะต้องส่งออก ต้นทุนจะสูงกว่าคู่แข่ง Local ของประเทศต่าง ๆ ที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ แต่ SAPPE เองก็ปรับ Position ตัวเองเป็น Premium mass ทำให้เป็นเหตุผลที่พอรับได้ในการตั้งราคาที่สูงกว่ายี่ห้ออื่น บริษัทเองก็ให้เหตุผลว่าการที่ตัวเองเป็น First Mover ของเครื่องดื่มวุ้นมะพร้าว ทำให้คนจดจำรสชาติในภาพ Original ประเด็นนี้ผมก็ลองมานั่งคิดดูว่ามันเป็นจริงหรือไม่ คำตอบที่ได้คือก็อาจจะเป็นไปได้ มีอาหารและเครื่องดื่มหลาย ๆ ยี่ห้อที่เป็น First Mover แล้วลูกค้าติดรสชาติอยู่จริงบนโลก ตัวอย่างเช่น Coke, Pepsi, ไก่ทอด KFC, เฟรนฟราย McDonald ซึ่งเหล่านี้ไม่รู้ผมคิดถูกหรือเปล่า เพราะรสชาติของดังกล่าวมันแตกต่างจากเจ้าอื่นจริง ๆ แบบเทียบกันไม่ติด ดังนั้นสำหรับ Gumi Gumi ที่กำลังตีตลาดต่างประเทศ คำถามสำคัญก็น่าจะเป็น รสชาติดีกว่าเจ้าอื่นหรือเปล่า วุ้นมะพร้าวที่ผลิตได้ดีกว่าผลิตประเทศอื่นจริงมั้ย? คำตอบนี้ตอบไม่ได้ อาจจะต้องหาโอกาสฝากคนอื่นซื้อกลับมาให้ลองหน่อยระหว่างยี่ห้อของ Sappe และยี่ห้ออื่น ลองมาดูประเด็นของตลาด Functional Drink ในไทยกันบ้าง Functional Drink อาจจะแบ่งเป็น 3 หมวดหลัก ๆ คือ บำรุงสมอง ความสวยงาม และสร้างสมดุล SAPPE จะอยู่หมวด 2 ซะส่วนใหญ่ในสินค้าชื่อ “Beauti Drink” คู่แข่งในตลาดนี้มีเยอะทั้งที่ยังอยู่และได้ตายจากไปแล้ว คำถามสำคัญคือตลาด Functional Drink ไม่ได้เติบโตสูงแล้ว SAPPE จะอยู่รอดได้หรือเปล่าในภาวะที่การแข่งขันสูง และกำลังซื้อของผู้บริโภคไม่ได้ขยายตัว ผมลองหาข้อมูลไปเรื่อย ๆ ก็เจอสิ่งที่น่าสนใจ ยังจำแบรนด์เหล่านี้กันได้มั้ย Amino OK ของ Oishi, B-ing ของ สิงห์ และอื่น ๆ อีกมากมายที่เคยขายอยู่ตาม 7-11 ปัจจุบันเราจะไม่เห็นสินค้าเหล่านี้แล้ว ไม่รู้ว่าเพราะอะไรที่ทำให้บริษัทเหล่านั้นถอนสินค้าออก แต่ที่แน่ ๆ คือยอดขายไม่ดี ส่วนกลับมาที่ SAPPE เราก็ต้องมองดูว่ามีโอกาสหรือเปล่าที่ในอนาคตบริษัทจะต้องถอนตัวออกจากตลาดเช่นกัน ส่วนตัวก็คิดว่าไม่น่า เพราะว่าสินค้าหลักของบริษัทมีเพียงไม่กี่ SKU (Stock Keeping Unit หรือ ประเภทสินค้า) เท่านั้น ดังนั้นก็อาจจะเป็นปัจจัยที่ดีที่ทำให้บริษัทผลักดันตัวเองเรื่อย ๆ ที่จะครองตลาดต่อไป จะไม่เหมือนเคส Amino Ok หรือ B-ing ที่มาจากบริษัทที่มีหลากหลาย SKU มาก ๆ ดังนั้นบริษัทเหล่านี้ก็ตัดสินใจได้ไม่ยากถ้าจะต้องตัดหน่วยธุรกิจที่ทำกำไรได้น้อยออกไป ยุคนี้เครื่องดื่ม Functional ที่มาแรง ๆ ก็คงจะเป็นพวก Mansome ของกระทิงแดง เราก็ต้องมาติดตามว่าแบรนด์นี้จะติดตลาดอยู่นานมั้ย สรุปคือ SAPPE เองก็ได้พิสูจน์ตัวเองมาระดับหนึ่งแล้วว่าสามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้ จากหลักฐานก็คือแบรนด์ติดตลาดมาเป็นระยะเวลาหลักสิบปี แต่เวลาลงทุนก็ไม่อยากมองแง่ดีเกินไป จะต้องเผื่อความเสี่ยงไว้บ้างเพราะมันจะต้องมีอะไรในกอไผ่อีกที่เรายังไม่พบ สามารถดูข้อมูลของ SAPPE เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/SAPPE ——————————– Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน InvestDiary นักลงทุนรุ่นใหม่ เจ้าของ FB เพจ InvestDiary เน้นการลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัท พร้อมกับความเชื่อที่ว่า "VI ไม่ใช่แนวทางการลงทุน แต่เป็นแนวทางการใช้ชีวิต"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "หุ้น BDMS" ผู้ผูกขาดโรงพยาบาลไทย - FINNOMENA โรงพยาบาลกรุงเทพเป็นโรงพยาบาลแนวหน้าของประเทศไทยที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงสุดในอุตสาหกรรมการแพทย์ ถือเป็นผู้นำตลาดอย่างชัดเจน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหุ้น BDMS ผู้ผูกขาดโรงพยาบาลไทยกันครับ 22 ม.ค. 2562 โรงพยาบาลกรุงเทพเป็นโรงพยาบาลแนวหน้าของประเทศไทยที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงสุดในอุตสาหกรรมการแพทย์ ถือเป็นผู้นำตลาดอย่างชัดเจน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหุ้น BDMS ผู้ผูกขาดโรงพยาบาลไทยกันครับ 1) BDMS เป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศ โดยมีโรงพยาบาลเครือข่ายในไทยและกัมพูชา และมีมูลค่าตามราคาตลาดเกือบ 4 แสนล้านบาท ถือว่าสูงที่สุดในอุตสาหกรรมการแพทย์ ขนาดของ BDMS ทำให้ BH หรือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ดูเล็กไปทันที 2) BDMS ดำเนินการภายใต้ชื่อโรงพยาบาล 6 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบี เอ็น เอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล และกลุ่มโรงพยาบาลรอยัล ซึ่งครอบคลุมลูกค้าทุกประเภท ในสมัยก่อน BDMS มีแค่โรงพยาบาลระดับพรีเมียมเท่านั้นซึ่งจับลูกค้าไม่ได้ทุกกลุ่ม เลยซื้อโรงพยาบาลพญาไทและเปาโลเข้ามาด้วย 3) BDMS อยู่ในเทรนด์ที่กำลังมาแรง นั่นก็คือเทรนด์ของผู้สูงอายุ ในปัจจุบันอัตราการเติบโตของค่าใช้จ่ายพยาบาลนั้นโตเร็วกว่าเงินเฟ้อ แสดงถึงตลาดที่เติบโตมากขึ้น 4) ปัจจุบัน BDMS มีโรงพยาบาลมากถึง 45 แห่งที่ให้บริการ และเตียงกว่า 8,015 เตียง ถือว่าเยอะมากสำหรับเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน และยังมีแผนที่จะขยายสาขาในอนาคต 5) จุดแข็งของ BDMS คือเครือข่ายที่มีโรงพยาบาลหลายที่ ทำให้แต่ละโรงพยาบาลสามารถส่งต่อคนไข้ได้มากขึ้นและเกิด Economy of Scale มากขึ้น ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีราคาสูงก็ไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อไว้ในทุกโรงพยาบาล แต่สามารถนำส่งคนไข้จากโรงพยาบาลที่ไม่มีมายังโรงพยาบาลที่มีได้ 6) เริ่มต้นแนวคิดของ Preventive Care ซึ่งไม่ได้เน้นรักษาคนไข้ที่ป่วยมาแล้วต้องรับการรักษา แต่จะเน้นบำรุงสุขภาพของลูกค้าแทน เช่นการพักฟื้น 7) สัดส่วนลูกค้าของ BDMS คือคนไทย 70% และคนไข้ต่างชาติ 30% ซึ่งการที่ BDMS เน้นผู้ป่วยต่างชาติมากขึ้นจะทำให้รายได้ต่อหัวมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่ลูกค้าต่างชาติจะอยู่ใช้บริการนานกว่าลูกค้าคนไทย 8) ลูกค้าของ BDMS แบ่งเป็น IPD 55% และ OPD 45% โดย IPD (Inpatient Department หรือ ผู้ป่วยใน) หมายถึงคนไข้ที่ใช้บริการภายในโรงพยาบาลนานกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนลูกค้า OPD (Outpatient Department หรือ ผู้ป่วยนอก) จะหมายถึงลูกค้าที่ค้างคืนที่โรงพยาบาลด้วยเช่นกัน 9) การลงทุนครั้งใหญ่ล่าสุดของ BDMS คือการเข้าซื้อที่ดินจากโรงแรมชื่อดังแห่งหนึ่งและกำลังจะปรับปรุงสถานที่นี้เป็นสถานให้บริการทางการแพทย์แบบครบวงจร 10) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หรือ BH จริง ๆ แล้วก็มี BDMS เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเช่นกัน โดย BDMS ถือหุ้นของ BH ที่ 20.54% ข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราหวังว่าจะช่วยประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้นักลงทุนศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมให้รอบด้าน ก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ สามารถดูข้อมูลหุ้น BDMS เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/BDMS ข้อมูลอ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=S5EbxMP7FOc https://www.youtube.com/watch?v=ZMVMQ2Jg6Cs https://www.youtube.com/watch?v=UthiTMVi30I https://www.youtube.com/watch?v=nrJEAtt5fUs https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=BDMS&ssoPageId=3&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=BH&ssoPageId=3&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นธนาคารกับค่าธรรมเนียมที่หายไป - FINNOMENA เมื่อต้นปี ธนาคารเปิดสงครามด้วยการประกาศฟรีค่าธรรมเนียมหากทำธุรกรรมผ่านแอปออนไลน์ของธนาคาร งานนี้ธุรกิจ BANK และ non-BANK พลิกฝ่ามือภายในชั่วข้ามคืน มาดูกันว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างเมื่อค่าธรรมเนียมหายไปจากการโอนเงิน? 8 ส.ค. 2561 เมื่อต้นปี ธนาคารเปิดสงครามด้วยการประกาศฟรีค่าธรรมเนียมหากทำธุรกรรมผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของธนาคาร งานนี้ธุรกิจ BANK และ non-BANK พลิกฝ่ามือภายในชั่วข้ามคืน ก่อนจะไปพูดถึงผลที่จะเกิดขึ้น เราลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่า “ค่าธรรมเนียม” ของธนาคารคิดเป็นรายได้กี่เปอร์เซ็นต์ของธนาคารกันแน่ ธนาคาร KBANK รายได้ค่าธรรมเนียมปี 2560 เท่ากับ 51,757.10 ล้านบาท คิดเป็น 33.00% ของรายได้รวม ธนาคาร SCB รายได้ค่าธรรมเนียมปี 2560 เท่ากับ 36,854.86 ล้านบาท คิดเป็น 22.75% ของรายได้รวม ธนาคาร BBL รายได้ค่าธรรมเนียมปี 2560 เท่ากับ 36,459.91 ล้านบาท คิดเป็น 25.68% ของรายได้รวม ธนาคาร KTB รายได้ค่าธรรมเนียมปี 2560 เท่ากับ 28,638.26 ล้านบาท คิดเป็น 18.95% ของรายได้รวม อะไรจะเกิดขึ้นบ้างเมื่อค่าธรรมเนียมหายไปจากการโอนเงิน? 1. รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการจะลดลง เรื่องที่ตรงไปตรงมาที่สุดและชัดเจนที่สุดคือรายได้ในขาค่าธรรมเนียมและบริการจะลดลง ธนาคารที่มีสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมมากกว่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าตามนัยยะเชิงตัวเลข หากเทียบใน 4 ธนาคารใหญ่แล้ว KBANK น่าจะได้รับผลกระทบสูงสุดเพราะสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมต่อรายได้รวมสูงถึง 33 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ KTB น่าจะได้รับผลกระทบน้อยสุดเพราะมีสัดส่วนต่อกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมรับของธนาคารนั้นไม่ได้มีเพียงแต่ค่าธรรมเนียมจากการโอนเงินเท่านั้น เพราะธนาคารยังมีรายได้ค่าธรรมเนียมอื่นอีก เช่น ค่าธรรมเนียมในการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม รายได้ค่าธรรมเนียมในสัดส่วนนี้ก็มีแนวโน้มจะลดลงค่อนข้างแน่นอน เพียงแต่จะลดมากหรือลดน้อยเท่านั้นเอง 2. แนวโน้มการปิดสาขาจะเร่งตัวมากขึ้น แนวโน้มที่จะมาชดเชยค่าธรรมเนียมที่หายไปได้ตรงไปตรงมาที่สุดคือ “การปิดสาขา” ถึงแม้ว่าธนาคารทุกธนาคารจะไม่ได้ออกมาพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าจะเร่งตัวการปิดสาขาให้มากขึ้น แต่จำนวนสาขาของธนาคารก็ลดลงเร็วขึ้นเรื่อยๆ บริการออนไลน์ถือเป็นฝั่งกลับกันของสาขาโดยตรง การจะพยุงกำไรของบริษัทให้ทรงตัวอยู่ได้ง่ายที่สุดระหว่างที่พยายามหารายได้มาชดเชยค่าธรรมเนียมที่หายไป คือ การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่สร้างรายได้ ซึ่งการปิดตัวของสาขาดูจะชัดเจนที่สุด ยิ่งเมื่อคนใช้บริการออนไลน์มากขึ้น คนใช้บริการที่สาขายิ่งน้อยลง การปิดสาขาหรือยุบรวมสาขาจะช่วยประหยัดต้นทุนไปได้มาก ทั้งค่าอาคารสถานที่ ค่าเช่า ค่าพนักงาน ค่าการดูแลรักษา ทั้งหมดเปลี่ยนมาเป็นต้นทุนด้านงานไอที และหันไปลดค่าธรรมเนียมให้ผู้ใช้บริการเพื่อจูงใจคนให้หันมาใช้ออนไลน์แทน 3. ธนาคารจะแข่งขันกันดุเดือดมากขึ้น ทำไม KBANK ผู้มีสัดส่วนค่าธรรมเนียมต่อรายได้รวมสูงสุดถึงประกาศฟรีค่าธรรมเนียมในช่วงข้ามวัน คำตอบในจินตนาการที่ง่ายที่สุดก็คือ “SCB ประกาศมาก่อนแล้วไง” พอคู่แข่งที่มีขนาดใกล้เคียงกันเริ่มให้ฟรี คู่แข่งที่เหลือก็ต้องสู้ เพราะถ้าไม่สู้ ลูกค้าก็ไหลไปธนาคารอื่นหมด ดังนั้นหลังจากนี้ก็เหมือนเป็นการบังคับกลายๆ ให้ทุกคนต้องฟรี พอ KBANK ประกาศเสร็จ ในวันเดียวกัน ทั้ง KTB และ BBL ก็ประกาศออกมาเช่นกัน ธนาคารที่เหลือหากไม่ยอมฟรีค่าธรรมเนียมให้ ต่อไปใครจะใช้บริการ เพราะไปใช้ธนาคารที่ใหญ่กว่าและฟรีค่าธรรมเนียมดีกว่า ต่อไปต้นทุนการย้ายค่ายธนาคารจะง่ายเหมือนกว่าย้ายค่ายมือถือแล้ว เพราะปัจจุบันธนาคารจำนวนมากสามารถเปิดบัญชีออนไลน์ได้แล้ว ย้ายธนาคารก็แค่เปิดบัญชีฟรี โอนเงินในบัญชีไปฟรี ไม่ต้องไปสาขาด้วยซ้ำ ต่อไปธนาคารไหนไม่จูงใจลูกค้า ลูกค้าก็ไม่เหลือเหตุผลจะฝืนอยู่อีกต่อไป เพราะต้นทุนการย้ายค่ายแทบไม่เหลืออยู่เลย 4. ธนาคารจะหันมาบริการความมั่งคั่งส่วนบุคคลมากขึ้น หากไปดูโมเดลธนาคารในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา จะพบว่าธนาคารจะเน้นเรื่อง investment banking และการให้บริการ wealth management ให้ลูกค้ามาก ตั้งแต่วางแผนการเงิน วางแผนการลงทุน วางแผนเกษียณ เพราะรายได้จากการบริหารความมั่งคั่งนี้ให้ค่าธรรมเนียมในอัตราค่อนข้างดี และเป็นค่าธรรมเนียมที่ไม่ได้คิดจากผู้ใช้บริการโดยตรง แต่จะแฝงอยู่ในค่าคอมมิชชัน ดังนั้น ผู้ใช้บริการจะมีความเต็มใจจะใช้บริการมากกว่า เราจึงได้เห็นธนาคารใหญ่ๆ หลายธนาคารเริ่มหันมาเปิดศูนย์การบริหารความมั่งคั่ง ศูนย์วางแผนการลงทุน เพราะเทรนด์ของรายได้ขานี้ยังคงดูดีในระยะยาวในอนาคต ยิ่งประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูงมากขึ้น แนวโน้มการวางแผนการเงินของประชาชนจะยิ่งสูงขึ้นตาม ตอบได้ยากว่าอะไรจะคือก้าวต่อไปของธนาคารทั้งหลาย แต่ในแง่ของประชาชนคนใช้บริการแล้ว พวกเราได้ประโยชน์กันเต็มๆ จากต้นทุนการใช้บริการที่ถูกลง ติดตามกันต่อไปว่าหุ้นธนาคารจะแก้เกมกันอย่างไร แต่เชื่อขนมกินได้เลยว่า …สนุกแน่นอน ลงทุนศาสตร์ – Investerest แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน ลงทุนศาสตร์ เภสัชกรหนุ่ม ผู้หลงใหลในปรัชญาการลงทุนแนวเน้นคุณค่า (VI) นักลงทุนผู้เชื่อมั่นในความไร้ประสิทธิภาพของตลาด และสนใจศาสตร์การประเมินมูลค่าหุ้นทุกประเภท ความฝันสูงสุดคือ การสร้างสูตรการประเมินมูลค่าหุ้นที่นักลงทุนทุกคนบนโลกรู้จักและใช้เป็น
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
The Key Factors: เศรษฐกิจโลกฟื้นดี แต่มีความผันผวน - FINNOMENA จบไปเรียบร้อยกับสัปดาห์แห่งการประชุมธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ที่ออกมาประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจว่ามีการฟื้นตัวที่แข็งแรง แต่ยังไม่ไว้วางใจ ประกาศพร้อมที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปถ้าจำเป็น มาอัพเดตปัจจัยสำคัญๆ กันเลยครับ 16 ส.ค. 2562 FINNOMENA PORT Strategy – วันที่ 6 สิงหาคม 2561 จบไปเรียบร้อยกับสัปดาห์แห่งการประชุมธนาคารกลาง ทั้งธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางอังกฤษ และ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ที่ต่างออกมาประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจว่ามีการฟื้นตัวที่แข็งแรง แต่ยังไม่ไว้วางใจประกาศพร้อมที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปถ้าจำเป็น มาอัพเดตปัจจัยสำคัญๆ กันเลยครับ 1. เงินเฟ้อยุโรปดีกว่าคาด ที่มา : Bloomberg ธนาคารกลางยุโรปประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2.1% ดีกว่าคาด จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแรง ท่ามกลางบรรยากาศการคงดอกเบี้ยและวงเงิน QE ต่อไป พร้อมทั้งประกาศยินดีที่จะใช้เครื่องมือทางการเงินทุกชนิดเพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป 2. คาดการณ์อัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสหรัฐ ที่มา : Trading Economics อัตราค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐเป็นสัญญาณแทนการเติบโตของรายได้ของแรงงานในสหรัฐ สิ่งนี้ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเครื่องวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการตึงตัวในภาคการจ้างงานที่มีอัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อประกอบกับประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลกดดันให้เกิดอัตราเร่งของการเติบโตของค่าจ้างรายชั่วโมง ที่จะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อต่อๆ ไป ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนี้หากออกมาดีก็มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยในครั้งต่อไปมากขึ้น 3. ตลาดหุ้นจีนตกอันดับที่ 3 ที่มา : Bloomberg จากความตึงเครียดต่อสงครามทางการค้า ส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่ากว่า 8% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประกอบกับตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงกว่า 16% นับตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่ญี่ปุ่นมีการปรับตัวย่อลงเพียง 1% เท่านั้น ส่งผลให้มูลค่าตามตลาดของญี่ปุ่นนั้นกลับมาเป็นอันดับที่ 2 อีกครั้ง ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าตลาดทั่วโลกยังอยู่ในระยะฟื้นตัว เศรษฐกิจมีการเติบโต เกิดภาวะเงินเฟ้อ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีปัจจัยอีกมากที่คอยกดดันตลาดส่งผลให้ความผันผวนมีมากขึ้น ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการติดตามการลงทุนอย่างระมัดระวัง สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่พอร์ตอยู่เสมอ และ The Key Factors ที่สำคัญที่จะต้องติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ 1. อัตราเงินเฟ้อ หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนี PCE ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 1.9% (yoy) ซึ่งเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ Fed ใช้ในการวัดอัตราเงินเฟ้อ หลังจากไปแตะ 2.0% เมื่อเดือนก่อนหน้า ดังนั้น จึงเป็นตัวเลขที่ตลาดจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีผลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2. ประเด็น Bond yield ญี่ปุ่น หลังจาก BOJ ปรับเพดานอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ให้ขึ้นมาที่ 0.2% จากนั้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีก็ปรับตัวสูงขึ้นมาที่ 0.1% ดังนั้นจึงยังน่าจับตาในแง่ของเงินทุนที่อาจไหลกลับมาลงทุน ซึ่งอาจส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์ 3. ประเด็นการค้า กับค่าเงินหยวน หลังจากการประกาศขึ้นอัตราภาษีนำเข้ากับสินค้าจากทั้งสหรัฐฯ และจีน ค่าเงินหยวนยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง ล่าสุดลงอ่อนค่าที่สุดในรอบ 14 เดือน ดังนั้นค่าเงินหยวนที่อ่อนค่ายังคงเป็นประเด็นที่ตลาดจับตามอง อันเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาประเด็นการค้าจากธนาคารกลางจีน 4. ผลประกอบการกลุ่มธนาคารและ yield พันธบัตรอิตาลี หลังจากผลประกอบการธนาคารประกาศออกมาไม่ดี นำโดย UniCredit ส่งผลให้คาดการณ์ผลประกอบการกลุ่มธนาคารถูกปรับลดลงอีก พร้อมกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม สื่อถึงความไม่น่าเชื่อถือในสถาะนะทางการเงินประเทศอิตาลี 5. ค่าเงิน Lira ตุรกี อ่อนต่อเนื่อง การอ่อนของค่าเงินตุรกีผลักดันให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 14 ปี อย่างไรก็ตามอาจส่งผลดีต่อประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวที่ยังมาช่วยพยุงปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมแล้วกว่า 5,885 ล้านเหรียญ ดังนั้นยังต้องจับตามองว่าสุดท้ายแล้วรายได้จากการท่องเที่ยวจะช่วยต่ออายุได้ถึงขนาดไหน ทั้งหมดนี้ก็เป็น The Key Factors รายงานจาก FINNOMENA Investment Team ที่นำมาฝากทุกท่านประกอบการตัดสินใจลงทุนในวันนี้ ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนครับ FINNOMENA Investment Team แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ชวนทำความรู้จัก GLOBAL - เจ้าพ่อวัสดุก่อสร้างที่คนกรุงเทพฯ ไม่รู้จัก - FINNOMENA GLOBAL ถือเป็นบริษัทหนึ่งที่คนกรุงเทพฯ อาจไม่คุ้นเคย เพราะเป็นบริษัทที่เน้นการเติบโตในต่างจังหวัดมากกว่า สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักหรืออยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม วันนี้เรานำมาเล่าให้ฟังแล้วครับ 29 ต.ค. 2563 จริงอยู่ว่ากรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางของธุรกิจ มีบริษัทมากมายที่ดำเนินการในกรุงเทพฯ เป็นหลัก แต่เราต้องไม่ลืมว่าเราสามารถเสาะหาธุรกิจจากภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศไทยเช่นกัน มีบริษัทอื่นๆ ที่เน้นเจาะตลาดต่างจังหวัด บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL ก็เป็นหนึ่งในนั้น GLOBAL ทำธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ต่อเติม ตกแต่งแบบครบวงจร โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า โกลบอล เฮ้าส์ (Global House) ถ้าเราเป็นคนกรุงเทพฯ เราอาจจะไม่คุ้นหรือเห็นร้าน GLOBAL บ่อยนัก แต่จะเห็นบ่อยเมื่อเดินทางไปต่างจังหวัดมากกว่า เพราะ GLOBAL ไม่ได้มีการเปิดสาขาในเขตกรุงเทพมหานครเลย และเน้นการเปิดสาขาในต่างจังหวัดทั้งหมด โดยเปิดสาขาแรกที่จังหวัดร้อยเอ็ด และในปี 2560 ก็มี 47 สาขาทั่วต่างจังหวัดไทย สาเหตุที่ GLOBAL ไม่เข้ามาเปิดสาขาในเขตกรุงเทพมหานครอย่างที่ HomePro ทำ เป็นเพราะว่าขนาดร้านของ GLOBAL นั้นใหญ่มาก เนื่องจากมีการขายสินค้าโครงสร้างบ้านอย่าง เหล็ก ปูน และท่อ ที่ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บสินค้าเยอะมาก ถ้าเคยได้ไปเดินที่ร้าน GLOBAL ดูแล้ว จะรู้สึกเลยว่าขนาดกว้างมาก ถ้าถามว่าใหญ่ขนาดไหน? 5 ไร่ หรือ 10 ไร่? คำตอบคือ GLOBAL มีสาขาที่มีขนาดใหญ่ถึง 30 ไร่เลยทีเดียว ทำให้ HomePro เล็กจิ๋วไปเลย นี่คือสาเหตุที่ GLOBAL ไม่ได้เข้ามาเปิดสาขาในกรุงเทพมหานครนั่นเอง เพราะว่าถ้าซื้อที่ดิน 30 ไร่ในกรุงเทพฯอาจทำให้งบลงทุนสูงมากจนเกินไป รายได้ย้อนหลัง 3 ปีของ GLOBAL มีการเติบโตขึ้นทุกปี ปี รายได้ (ล้านบาท) 2558 17,411 2559 19,474 2560 21,552 รายได้ กำไรสุทธิ และกำไรต่อหุ้นของ GLOBAL (ข้อมูลวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ที่มา: finnomena.com/stock/global) รายได้ตามสัดส่วนของ GLOBAL ปี 2560 กลุ่มสินค้า รายได้ (ล้านบาท) สัดส่วนจากรายได้รวม กลุ่มวัสดุก่อสร้าง-งานด้านโครงสร้าง 8,507 39.5% กลุ่มวัสดุตกแต่ง-งานตกแต่งอาคาร 12,323 57.2% รายได้อื่นๆ 722 3.3% สัดส่วนรายได้ของ GLOBAL มีหลัก ๆ 2 ส่วนคือ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง-งานด้านโครงสร้าง และ กลุ่มวัสดุตกแต่ง-งานตกแต่งอาคาร ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าที่ GLOBAL ขายจะไม่ใช่ยี่ห้อของตัวเอง โดยปกติแล้ว สินค้ายี่ห้อตัวเองจะมีกำไรที่ดีกว่า ซึ่งก้าวต่อไปที่ GLOBAL สามารถทำได้ คือ การเพิ่มสัดส่วนรายได้ของยี่ห้อตัวเองให้มากขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยให้กำไรเยอะขึ้นได้ หน้าตาร้าน Global House GLOBAL ได้นำเอาเทคโนโลยี ASRS ซึ่งเป็นการเก็บสินค้าแบบแนวสูง มาทดแทนการเก็บของแบบแนวราบ ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่การเก็บสินค้าไปได้เยอะมาก โดยสรุปแล้ว GLOBAL ถือเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจขายวัสดุก่อสร้าง และ กลุ่มวัสดุตกแต่ง ที่มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศ รวมทั้งยังเป็นบริษัทที่ได้รับเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่น่าติดตามต่อไปอีกตัวหนึ่งในเรื่องการเพิ่มสินค้ายี่ห้อของตัวเอง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนอย่าลืมศึกษาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุนครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/GLOBAL https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=GLOBAL&ssoPageId=5&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=GLOBAL&ssoPageId=4&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=GLOBAL&ssoPageId=3&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตะลุย HomePro - อาณาจักรก่อสร้างและตกแต่งบ้านระดับหมื่นล้าน - FINNOMENA หากพูดถึงร้านที่รวมของแต่งบ้าน ก็จะมีชื่อ HomePro ผุดขึ้นมา เพราะ HomePro ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมค้าปลีกสินค้าตกแต่งบ้าน วันนี้เราจะพาไปตะลุยอาณาจักรธุรกิจของ HomePro หรือ HMPRO กันครับ 29 ต.ค. 2563 HomePro ถือเป็นร้านค้าปลีกที่หลายๆ คนเคยเห็นและได้ใช้บริการ เพราะถือเป็นผู้นำด้านร้านค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและตกแต่งบ้าน มีสาขาหลายที่ วันนี้ผมขอมาแชร์ความเป็นมาและข้อมูลบริษัทของ โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO ผู้จำหน่ายสินค้าและให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและตกแต่งบ้าน โดยใช้ชื่อ โฮมโปร (HomePro) เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ สินค้าก็มีตั้งแต่ อุปกรณ์ตกแต่งและใช้งาน อย่าง โถสุขภัณฑ์ โคมไฟ ไปยันสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ พูดง่ายๆ คือ เป็นเหมือน One Stop Service ของสินค้าตกแต่งบ้านนั่นเอง จำนวนสาขาของ HMPRO Home Pro 81 สาขา Mega Home 12 สาขา Home Pro ที่มาเลเซีย 6 สาขา Home Pro S 3 สาขา HMPRO มีสาขาที่กระจายไปหลายที่ สิ้นปี 2560 HMPRO มีสาขารวมทั้งหมด 102 สาขาที่มีความหลากหลายด้านสินค้าสูงมาก และมุ่งเน้นสินค้ากลุ่มตกแต่ง ไม่ใช่สินค้าโครงสร้างบ้านอย่างปูนหรือทราย ธุรกิจของ HomePro (ที่มา: SET Opp Day 21 มี.ค. 2561) รายได้ของ HMPRO ที่มา: finnomena.com/stock/ รายได้ของ HMPRO มีการเติบโตขึ้นทุกๆ ปี แสดงถึงความแข็งแกร่งในการเติบโตในเชิงรายได้ เพราะมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี กำไรของ HMPRO ก็เติบโตสูงขึ้นทุกๆ ปีที่ผ่านมา เพราะสามารถขายสินค้ายี่ห้อของตัวเอง (House Brand) ได้มากขึ้น ซึ่งสินค้า House Brand จะมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงกว่า กำไรของ HomePro ปีที่แล้วอยู่ที่ 4,886 ล้านบาท (ที่มา: SET Opp Day 21 มี.ค. 2561) สัดส่วนรายได้ของ HMPRO แหล่งรายได้ รายได้ (ล้านบาท) สัดส่วนจากรายได้รวม รายได้จากการขายปลีกประเภท Hard Line 39,109 69.5% รายได้จากการขายปลีกประเภท Soft Line 8,580 15.3% รายได้จากการขายให้โครงการ 343 0.6% รายได้จากบริษัทย่อย 4,481 8% รายได้อื่น 3,731 6.6% รายได้หลักของ HMPRO แบ่งออกเป็น 5 ส่วน แต่มีเพียง 2 ส่วนที่สร้างรายได้ให้ HMPRO เกือบ 85% ของรายได้รวม ส่วนแรกคือ Hard Line ซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง สี อุปกรณ์ปรับปรุงบ้าน ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ เครื่องครัว อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งถ้าเราได้ไปเดินในร้าน HMPRO จะเจอสินค้าประเภทนี้เยอะมาก และยังมีพนักงานคอยเชียร์ซื้ออีกด้วย ส่วนที่สองคือ Soft Line ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องนอน พรม ผ้าม่าน เฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ สินค้าตกแต่ง และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน โดยสรุปแล้ว HMPRO ถือเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมค้าปลีกอุปกรณ์ตกแต่งบ้านมาก เพราะมีสินค้าที่หลากหลายและสาขาที่มากเป็นร้อยสาขา บริษัทยังคงมีแผนเปิดดำเนินการ HomePro S ต่อไป ซึ่งสาขารูปแบบนี้จะเข้าไปอยู่ในห้างทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ HMPRO ยังถือเป็นหุ้นต้นแบบของการเติบโตด้านรายได้และกำไรที่ต่อเนื่องมาก ๆ แต่อย่างไรก็ดี ควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ นอกจากรายได้และกำไร เพื่อมาประกอบการตัดสินใจลงทุนนะครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/HMPRO http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/210318162411-Oppday-HMPRO.pdf https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=hmpro&submit= https://www.set.or.th/set/mainpage.do?language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=HMPRO&ssoPageId=3&language=th&country=TH ——————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตอบคำถามมือใหม่ที่ว่า “เวลานี้ ใช่จังหวะที่ควรลงทุนหรือเปล่า?” - FINNOMENA หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนหน้าใหม่ (รวมถึงหน้าเก่าหลายๆคน) มักจะถามกับตัวเอง ถามในกระทู้ หรือ แม้แต่ถามกับผมเป็นการส่วนตัว ก็คือ เวลานี้ ใช่จังหวะที่ควรลงทุนหรือเปล่า? คำตอบอยู่ในบทความนี้ครับ 26 ก.ค. 2561 ถ้าในโลกการลงทุน มันมีสูตรตายตัวให้เรารู้แน่ๆ ว่า ทำตามตำราทุกอย่างแล้วรวย ป่านนี้คนที่อยู่ในตลาดหุ้นทุกคนคงจะรวยกันถ้วนหน้าไปแล้ว แต่ผ่านมาหลายสิบปี เราเห็นทั้งนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ และล้มเหลว มาอย่างต่อเนื่อง และสิ่งนี้ ก็ท่าทางจะดำเนินต่อไปโดยไม่มีใครห้ามไม่ให้เกิดได้ หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนหน้าใหม่ (รวมถึงหน้าเก่าหลายๆคน) มักจะถามกับตัวเอง ถามในกระทู้ หรือ แม้แต่ถามกับผมเป็นการส่วนตัว ก็คือ เวลานี้ ใช่จังหวะที่ควรลงทุนหรือเปล่า? ถ้าจะให้ตอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถาม ก็คงต้องทำความรู้จักกันให้มากกว่าแค่เจอหน้ากันภายใน 5 นาที ผมลองตั้งคำถามแบบนี้แทนครับ ถ้าจะไปพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ต้องไปเวลาไหนถึงจะดีที่สุด? หลายคน พอได้ยินคำถามนี้ปั๊บ อาจจะตอบผมกลับมาทันทีเลยว่า ไปทำให้ร่างกายตัวเองแข็งแรง และมีความพร้อมก่อนไหม ได้ศึกษาหรือยังว่าเราต้องเตรียมสัมภาระอะไรขึ้นเขาบ้าง การเดินทางจะไปยังไง มีเพื่อนร่วมทางที่มีประสบการณ์ร่วมเดินทางกับคุณด้วยหรือเปล่า ใช่ครับ เพราะการขึ้นไปพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ มันอาจหมายถึงความฝันสูงสุดอย่างหนึ่งของชีวิตใครหลายคน และอาจต้องแลกด้วยชีวิต หากคุณไม่เตรียมความพร้อมให้ดี ประเด็นที่ผมจะบอกก็คือ เรื่องของการลงทุน ถ้าไม่วางแผนดีๆ ก็อาจต้องแลกด้วยชีวิตในบั้นปลายที่คุณไม่อยากไปถึงจุดนั้น และการเตรียมตัวในเรื่องของการลงทุนนั้น มันมีสิ่งที่ต้องเตรียมตัวมากกว่าแค่การหาคำตอบจากคำถามที่ว่า “เวลานี้ ใช่จังหวะที่ควรลงทุนหรือเปล่า?” คุณต้องสำรวจเข้าไปในใจตัวเอง ถามถึงเป้าหมายในชีวิตตัวเอง ความพร้อมทางการเงิน การเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน การทำประกัน หน้าที่การงานในอนาคต ภาระหน้าที่ที่ต้องมี และ องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการเอาตัวรอดในโลกการลงทุน คุณอาจจะแค่มีเงินเหลือเลยอยากลงทุน ก็เป็นไปได้ และการลงทุนนั้น อาจจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ง่ายๆ ก็เกิดขึ้นได้ ใครจะไปรู้ แต่วิธีการ และหลักการลงทุนที่ถูกต้อง จะทำให้คุณอยู่กับความสำเร็จนั้นได้ยาวนานขึ้น และไม่หลงใช้กลยุทธ์ที่ผิดๆ ไปลงทุนในจังหวะชีวิตที่เสี่ยงได้น้อยลงแล้ว (แก่ตัวมากขึ้น) ไม่เหลือเวลาให้พลาดได้มากเหมือนตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว ดังนั้น การตั้งคำถามที่ถูกต้อง จะนำเราไปสู่กระบวนการคิดที่สำคัญและได้คำตอบที่ใช่นะครับ ยิ่งในโลกอินเตอร์เน็ตสมัยนี้ จะถามอะไรกูเกิ้ล ก็ถามได้หมดทุกอย่าง มีคำตอบของทุกอย่าง พอโลกมันเปลี่ยนไปเป็นแบบนี้ ก็เท่ากับว่า คนที่รู้ทุกอย่างรอบตัว ไม่ได้เปรียบคนอื่นมากแล้วครับ เพราะเดี๋ยวซํกพัก คนอื่นก็หาได้เท่าเรา และอาจจะมากกว่าเรา แต่คนที่รู้ความต้องการของตัวเอง รู้เป้าหมายของตัวเองชัดเจนต่างหาก ที่จะถามคำถามที่สำคัญกับการเดินทางของชีวิต และเอาตัวเองไปอยู่ในเส้นทางที่พาตัวเองไปยังจุดที่ดีขึ้น คำถามที่สำคัญสำหรับการเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัวยามแก่ในแง่ของโลกการลงทุนก็คือ เราจะประสบความสำเร็จในการลงทุนในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร? ไม่ใช่คำถามประเภท หุ้นตัวไหนดี วันนี้ตลาดจะขึ้นหรือลง ตอนนี้ใช่จังหวะช้อนซื้อที่ราคาต่ำที่สุดไหม เมื่อไหร่จะขายออกไปดี คำถามเหล่านี้ อาจทำให้นักลงทุนชนะในการรบระยะสั้น แต่ในสงครามระยะยาว ถ้าไม่พัฒนาศักยภาพตัวเองขึ้น ก็ต้องไล่ถามคนอื่นต่อไปแบบเรื่อยๆ กลายเป็น เอาผลลัพทธ์ในการลงทุน ไปผูกไว้กับคำของใครต่อไปที่เราไปฝากความไว้ใจกับเขา ดังนั้นโอกาสแพ้ก็สูงขึ้น คำตอบก็คือ คุณต้องเตรียมใจว่า เกมส์นี้คือเกมส์ยาว ไม่ได้เล่นกับจบภายใน 5 นาที แต่คืออีก 10-20 ปี หรือบางที มากกว่า 30 ปีข้างหน้า และเมื่อเกมส์การลงทุนมันเป็นเกมส์ยืดเยื้อขนาดนั้น เราจะมามัวสนใจภาพระยะสั้น ทำให้จิตใจตัวเองแกว่งไปแกว่งมาทุกวัน แล้วเสียงานเสียการไปเพื่ออะไร? นอกจากว่า คุณต้องการกระโดดมาลงสนามอย่างจริงจัง หรืออยากมีที่นั่งในสายอาชีพการลงทุนแบบมืออาชีพจริงๆ ก็สู้เอาเวลาไปใช้ชีวิตให้มีความสุข ทำงานที่เราทำอยู่ ที่เรารักให้เกิดประโยชน์ ทำให้ทุกๆ วันเราได้ทักษะที่มีค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ดีกว่าหรือ? แล้วระหว่างนั้น เจียดเงินลงทุนมาให้มันทำงานให้ในระยะยาว วางเป้าหมายการลงทุนให้ชัด แล้วตอนที่มีเงินก้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ค่อยไปหา Technical Skill ในการจัดพอร์ตวางแผนการลงทุนที่เข้มข้นตามสเต็ปๆไ ป ถ้าหวังจะแค่ไปเที่ยวเล่นน้ำทะเลสบายๆ แถวพัทยา เราก็คงไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมากมาย แค่จัดกระเป๋า เอากางเกงในไปครบทุกวันก็เพียงพอ แต่ถ้าหวังจะไปพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมทุกด้านก่อนการเดินทางไกลจริงๆ นะครับ การลงทุนมันพาเราไปในจุดที่ดีกว่าวันนี้ได้ …แต่ฝันคุณใหญ่ขนาดไหน? ต้องถามตัวเองดู โชคดีในการลงทุนครับ ที่มาบทความ : http://www.iammrmessenger.com/this-is-a-good-timing-to-invest/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไขปริศนาหุ้นไทย งบดีทำไมราคาดิ่ง? - FINNOMENA เกิดอะไรขึ้น? ทำไมบริษัทที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2561 ออกมาดีมาก แต่ราคาร่วงจนน่าแปลกใจ? มาฟังความเห็นจาก TISCO Wealth Advisory ได้เลยครับ 24 ก.ค. 2561 เกิดอะไรขึ้น? ทำไมบริษัทที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส2/2561 ออกมาดีมาก แต่ราคาร่วงจนน่าแปลกใจ? ตามปกติแล้ว เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงประกาศงบไตรมาส 2/2561 เป็นฤดูกาลที่มีนักลงทุนเข้ามาซื้อขายหุ้นอย่างคึกคัก โดยเฉพาะจะมีการเก็งกำไรหุ้นที่คาดว่าผลประกอบการจะออกมาดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ กลับไม่เหมือนกับทุกครั้ง เพราะตลาดหุ้นยังคงมีทิศทางที่ไม่สดใส อีกทั้งบางบริษัทที่ประกาศผลประกอบการออกมาดี ยังถูกเทขายจนราคาปรับตัวลดลงอย่างมาก สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร? บล.ทิสโก้ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้หลายประเด็น แกะรอยประเด็นต้องสงสัย 1. สภาพคล่องโลกมีแนวโน้มลดลง ในปี 2562 สภาพคล่องโลกที่เคยมาจากการอัดฉีดเม็ดเงินของธนาคารกลางหลายแห่ง ซึ่งดำเนินการติดต่อกันมาอย่างยาวนานเกือบ 9 ปี เริ่มมีแนวโน้มที่จะลดลง ดังนั้น “ตลาดหุ้น” ที่ถือเป็นแหล่งการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงประเภทหนึ่ง ก็มักจะตอบสนองกับประเด็นนี้รุนแรงที่สุด โดยแม้จะมีปัจจัยบวกด้านอัตราการเติบโตของกำไร (Earning Growth) หรือ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) เข้ามาสนับสนุน ก็ยังไม่น่าจะทำให้สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงนี้ เปลี่ยนแปลงไปได้มากนัก “เรื่อง Earning Growth หรือ GDP ไม่เกี่ยวเลย เหมือนในปี 2008–2009 ซึ่งตอนนั้นเราเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก (World Recession) โดยจะเห็นได้ว่าหลังจาก Hamburger Crisis ตัวเลข GDP ติดลบกันทั้งโลก จนนักเศรษฐศาสตร์บอกว่าอย่าซื้อหุ้น แต่หุ้นกลับวิ่งขึ้นกันอุตลุตทั้งโลก รวมทั้งหุ้นไทยด้วย ตอนนั้นเราก็งงๆ ทั้งที่บริษัทกำลังจะแย่ทำไมหุ้นขึ้นเอาๆ นั่นก็เป็นเพราะสภาพคล่องที่อัดเข้ามานั่นเอง ดังนั้นเมื่อสภาพคล่องเพิ่มขึ้น จึงมีผลต่อสินทรัพย์เสี่ยงมากที่สุด ถ้าลดลงก็จะมีผลต่อสินทรัพย์เสี่ยงมากที่สุด ดังนั้นอย่าไปมองแค่เศรษฐกิจ และ Earning Growth อย่าไปโฟกัสอย่างนั้น ไม่อย่างนั้นจะพลาด” 2. นักลงทุนต่างชาติขายต่อเนื่อง นี่เป็นปีแรกในรอบหลายปี ที่นักลงทุนต่างชาติขายต่อเนื่องทุกเดือน ซึ่งต่างไปจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่มักจะมีการซื้อและขายสลับกัน กระทั่งแม้จะเป็นปีที่มีการปฏิวัติก็ยังไม่เคย เหตุการณ์ขายในลักษณะนี้ จึงถือเป็นประเด็นที่น่ากลัว แสดงถึงเจตนารมณ์บางอย่างด้านการลงทุน อย่างไรก็ตามปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นไทย ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 9 ปี ดังนั้นไตรมาส 3 จึงน่าจะมีการขายต่อ แต่น่าจะเป็นสัดส่วนที่ลดลง 3. “กลยุทธ์ป้องกันเงินต้น” ที่ก่อตัวจากความกังวล จากความกังวลทั้งในเรื่อง “สภาพคล่องทั่วโลก” ที่มีแนวโน้มค่อยๆ ปรับตัวลดลง และประเด็น “แรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ” ทำให้นักลงทุนเกิดความเป็นห่วงสถานการณ์ลงทุนในระยะข้างหน้า จึงได้พยายามใช้วิธีการขายทำกำไรหุ้นในพอร์ตออกก่อน ทั้งนี้คาดว่าแรงเทขายในลักษณะดังกล่าวจะยังมีไปจนถึงปี 2562 เพราะอาจจะมีนักลงทุนบางกลุ่มที่ต้องการหลีกเลี่ยงการขาดทุน “ตอนนี้คนไม่ได้อิงปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ (Fundamental) หุ้นตัวไหนขึ้นมาแล้วพื้นฐานดี ก็โดนขายทิ้ง เพราะตอนนี้คนเริ่มกังวลสถานการณ์ลงทุนในปีหน้า จึงเกิดอาการขายเพื่อล็อคกำไร ดังนั้นหุ้นที่เราแนะนำ จึงควรจะเป็นหุ้นที่ตกมาเยอะและเพิ่งจะปรับตัวขึ้น ไม่ใช่หุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปเยอะแต่ตกน้อย เพราะพวกหุ้นประเภทหลังนี้ส่วนใหญ่จะไปไม่รอด เนื่องจากตอนนี้มีการใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Capital Protection Strategy คือ กลยุทธ์ป้องกันเงินต้น และคาดว่าปีหน้าก็จะมีการใช้กลยุทธ์นี้ เพราะคนก็พยายามที่จะทำให้เงินต้นไม่ขาดทุน” จับทิศดัชนีครึ่งหลังปี’ 61 สำหรับในไตรมาสที่ 3 (ก.ค.-ก.ย.) คาดว่าตลาดหุ้นน่าจะแกว่งตัวเพื่อสร้างฐาน (Consolidate Bottom) ซึ่งจะทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่ (New Low) ได้ไม่มาก แต่ก็จะแกว่งตัวขึ้นในกรอบจำกัดเช่นกัน โดยประมาณการจุดต่ำสุดที่ 1,585–1,540 จุด ส่วนการดีดกลับ คาดว่าจะไม่เกิน 1,700 จุด หรืออาจปรับตัวขึ้นไปที่ 1,690 / 1,680 จุด หลังจากนั้น ก็อาจปรับตัวลดลง ส่วนไตรมาส4 (ต.ค-ธ.ค.) คาดว่าดัชนีมีโอกาสจะแกว่งตัวขึ้นในกรอบแคบ (Sideway up) โดยมีเป้าหมายปลายปีที่ 1,750 จุด ทั้งนี้ทิศทางของดัชนีจะมีพัฒนาการเป็นอย่างไร ควรติดตามสัญญานทางเทคนิค ดังนี้ ดัชนีทะยานเหนือ 1,700 จุด ในกรณีนี้ หากดัชนีปรับตัวไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆผ่านระดับ 1,650 จุด ระดับ 1,690จุด จนทะลุต่อไปได้ถึง 1,700 จุด หลังจากนั้นดัชนีก็จะแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideway) ไม่ผ่าน 1,650 จุด หากดัชนีไม่ผ่านระดับ 1,650 จุด จะเกิดอาการ Sideway และทำจุดต่ำสุดใหม่ (New low) เพราะถือว่าเป็นการปรับตัวขึ้นมาน้อยเกินไป ซึ่งเหมือนอาการคนไม่มีแรง ที่ไม่สามารถทำให้ยืนต่อได้ “ถ้าถามว่า มีโอกาสมั้ยที่ดัชนีจะทะลุเลย ต้องบอกว่ามี แต่น้อย เพราะต้องบอกว่าไม่มีอะไรที่ 100% ผมจึงพยายามคาดการณ์ตลาดให้” ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/tiscomastery/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปงานสัมมนา: "หุ้นซุปตาร์ดิจิตอล" - FINNOMENA วันนี้จะชวนมาอัพเดตเรื่องราวของหุ้น 3 ตัวที่โดดเด่นด้านเทคโนโลยี อย่าง WHA, COM7 และ HUMAN จากงานสัมมนา "หุ้นซุปตาร์ดิจิตอล" กันครับ ใครที่กำลังสนใจ ลองมาดูข้อมูลจากประธานบริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจกัน 24 พ.ย. 2563 วันนี้จะชวนมาอัพเดตเรื่องราวของหุ้น 3 ตัวที่โดดเด่นด้านเทคโนโลยี อย่าง WHA, COM7 และ HUMAN จากงานสัมมนา “หุ้นซุปตาร์ดิจิตอล” ซึ่งจัดโดย ข่าวหุ้น และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กันครับ ใครที่กำลังสนใจ ลองมาดูข้อมูลจากประธานบริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจกันผมขอนำเสนอข้อมูลโดยแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกันครับ เพื่อเป็นการง่ายต่อท่านผู้อ่าน โดยแต่ละช่วงจะโฟกัสของแต่ละบริษัทจดทะเบียนว่าทำธุรกิจอะไร และจะปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลยังไงกันครับ คุณ จีรพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการ WHA สมัยก่อนบริษัททำเพียงธุรกิจการขนส่งเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีการทำธุรกิจรวมทั้งหมด 4 ธุรกิจด้วยกัน คือ 1) ธุรกิจการขนส่ง 2) ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม 3) ธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน 4) ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล E-Commerce ยังคงต้องพึ่งพิงระบบขนส่งที่มีคุณภาพ เนื่องจาก 95% ของ E-Commerce มาจากการขนส่ง เพราะถึงจะมีแพลตฟอร์มขายของได้เยอะแค่ไหน แต่ถ้าของนั้นไม่สามารถถูกส่งไปได้ การทำธุรกรรมก็จะไม่สมบูรณ์ ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba เข้ามาไทยแล้ว และจะใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ในตอนนี้เองไทยต้องใช้เทคโนโลยีให้มากที่สุดเพื่อต่อ S-Curve ตัวต่อไป เพราะค่าแรงจะสู้เพื่อนบ้านเราไม่ได้แล้ว ไทยเองยังมีค่าขนส่งที่แพงอยู่ เพราะระบบขนส่งที่ถูกที่สุดคือ ระบบราง ซึ่งไทยแทบไม่มีการพัฒนามาเลยในอดีต แต่ตอนนี้เห็นสัญญาณที่ดี และในอนาคตจะถูกลง ลูกค้าของ WHA ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในประเทศ แต่ WHA เองก็มีการบุกต่างประเทศด้วยเช่นกัน และมีการตั้งเป้าในอีก 20 ปีว่าจะเป็นบริษัทระดับโลก โดยมีรายได้จากต่างประเทศ 50% ซึ่งในปัจจุบันรายได้ส่วนนี้ยังไม่ถึง 2% การทำนิคมอุตสาหกรรมของ WHA นั้นต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 2,000 ไร่ ถ้าเล็กกว่านี้จะไม่ได้ Economy of Scale และจะไม่คุ้มค่าการลงทุน คุณ ณัฐนันท์ กีรติกรยศนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการสายงานธุรกิจค้าปลีก COM7 COM7 มี 3 ธุรกิจหลักๆ คือ 1) ธุรกิจค้าปลีกขายมือถือ มีชื่อร้าน Banana, Studio7 2) ธุรกิจ B2B 3) ธุรกิจบริการ โดยรายได้ส่วนค้าปลีกคิดเป็น 80% ของรายได้ทั้งบริษัท การควบคุมสัดส่วนสินค้ามีความสำคัญมาก เช่น การขายมือถือจะได้กำไรไม่สูงมากนัก แต่ตัว Accessories เช่น เคสมือถือและหูฟังจะมีกำไรที่ดีกว่า สิ่งที่ COM7 ทำคือนอกจากขายมือถือแล้วต้องขาย Accessories เหล่านี้พ่วงไปด้วย COM7 มีส่วนแบ่งตลาดของสมาร์ตโฟนเพียง 5% และส่วนแบ่งตลาดของสินค้า IT อยู่ที่ 10% ซึ่งยังมีพื้นที่ให้ COM7 ไปโตได้อีก ตอนนี้เริ่มร่วมมือกับธนาคารอย่างกสิกร เพื่อทำร้านค้าปลีกแบบคู่ คือมีร้านขายมือถือและธนาคารรวมกันในที่เดียว ซึ่งจะเป็นการ Synergy กัน นอกจากนี้ยังเริ่มเพิ่มสาขาของร้าน Banana โดยตั้งเป้า 100 สาขาภายในปีนี้ คุณ สุนทร เด่นธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HUMAN คู่แข่งโดยตรงของ HUMAN ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่มี มีแต่นอกตลาดที่ทำธุรกิจ Pay-Roll Outsource หรือการให้บริการทางบุคคลากร เช่นเก็บสถิติและคิดเงินเดือนให้พนักงานแทนบริษัท พูดง่ายๆ คือ ทำงานหลังบ้านให้ลูกค้า คู่แข่งเยอะแต่ทำได้แค่สเกลเล็กๆ ในขณะที่ HUMAN สามารถที่จะทำในรูปแบบสเกลใหญ่ๆ ได้ ซึ่งจะได้ลูกค้าระดับใหญ่ๆ ที่มีจำนวนพนักงานเยอะหลักพันคนก็ได้ การทำธุรกิจของ HUMAN คือ การใช้เทคโนโลยีมาเพื่อพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ โดยโมเดลธุรกิจของ HUMAN นั้นจะมีต้นทุนคงที่ แต่ไม่ต้องลงทุนเลย และจะมีสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนสูงเพราะเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ นอกจากจะเล็งลูกค้าระดับใหญ่แล้ว ในปีนี้บริษัทก็มีแผนจะออกสินค้าใหม่ และมาช่วยดูบริษัท SME อีกด้วย ตั้งเป้ามีฐานพนักงานภายใต้บริการของ HUMAN ที่ 1 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยปัจจุบันมี 3 แสนคน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของหุ้นได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ของปลอมในตลาดหุ้น - FINNOMENA กรณีที่เกิดการฉ้อฉลหรือแม้แต่ข่าวลือว่ามีการฉ้อฉล  หุ้นนั้นก็มักจะเกิดหายนะ คนที่เข้าไปเล่นก็มักจะเสียหายหนัก มาดูกันว่าทำไมเราถึงไม่ควรคิดว่าราคาที่ดิ่งต่ำนั้นเป็นโอกาสที่ควรเข้าซื้อหุ้นเสมอไป 21 ก.ค. 2561 สองสามสัปดาห์ก่อนมีข่าวบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งแจ้งว่าสต็อกสินค้าของบริษัท “หายไป” หรือไม่มีตัวตนตามที่ลงบัญชีไว้คิดเป็นเงินประมาณกว่าสองพันล้านบาท ข่าวนั้นทำให้หุ้นของบริษัทตกลงไปกว่า 20% ในวันเดียวและทำให้ CEO ต้องประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน บริษัทจดทะเบียนอีกสองสามแห่งก็มีราคาตกลงมากว่า 20% บางตัวลดลงถึง 50% โดยไม่มีสาเหตุชัดเจนมาก แต่หลังจากนั้นก็มี “ข่าวลือ” ออกมาว่าบริษัทมีการทำ “ออร์เดอร์ปลอม” เพื่อที่จะทำให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นมากก่อนที่เจ้าของจะขายหุ้นออกไปทำกำไรมหาศาล ข่าวลือนั้นถูกปฎิเสธอย่างสิ้นเชิงโดยผู้บริหารและผมไม่รู้ว่าจะมีใครสืบสวนหรือทำอะไรต่อไปหรือไม่ แต่นักลงทุนจำนวนมากก็ขาดทุนกันอย่างหนัก ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นโดยรวมคงไม่แตกต่างกัน และนี่ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันว่ากรณีที่เกิดการฉ้อฉลหรือแม้แต่ข่าวลือว่ามีการฉ้อฉล หุ้นนั้นก็มักจะเกิด “หายนะ” คนที่เข้าไป “เล่น” ก็มักจะเสียหายหนัก ผมเองคงไม่พูดถึงกรณีที่เกิดขึ้นนั้นมากนักเพราะเรื่องราวต่าง ๆ ยังไม่กระจ่างชัดว่าเกิดอะไรขึ้นจริง ๆ แต่อยากจะยกกรณีของหุ้น “ในตำนาน” ตัวหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์คล้าย ๆ กันนั่นก็คือหุ้นของบริษัทอเมริกันเอ็กเพรสหรือ AMEX ที่บัฟเฟตต์เคยเข้าไปซื้อหลังจากเกิดเรื่องและทำกำไร “มโหฬาร” จนกลายเป็น “ตำนาน” การลงทุนของบัฟเฟตต์และก็ยังเป็นบริษัทที่บัฟเฟตต์ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในวันนี้ ในปี 1962-63 เอเม็กซ์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ได้เริ่มเข้าไปทำธุรกิจให้กู้กับธุรกิจคลังสินค้าโดยที่บริษัทจะให้กู้โดยเอาสินค้าซึ่งเป็นโภคภัณฑ์ที่เก็บไว้ในคลังสินค้าของลูกค้าเป็นหลักประกัน ในช่วงเวลานั้น ผู้ค้าน้ำมันพืชรายใหญ่คนหนึ่งคือ Anthony De Angelis หรือ “Tino” อดีตพ่อค้าส่งออกอาหารไปยุโรปผู้เคยมีประวัติ “ไม่ค่อยดีนัก” ในเรื่องของการส่งสินค้าต่ำกว่ามาตรฐานที่ตกลงกันไว้ กำลังพยายามปั่นราคาน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดฟิวเจอร์ของอเมริกาอยู่ พอเอเม็กซ์เริ่มเข้ามาปล่อยกู้ในตลาด เขาก็มองเห็นโอกาสที่จะทำกำไรมหาศาลโดยการกู้เงินจำนวนมากจากเอเม็กซ์แล้วนำเงินนั้นมา “Corner” หรือซื้อน้ำมันถั่วเหลืองจนหมดตลาดเพื่อดันราคาน้ำมันให้ขึ้นไปสูงลิ่ว การกู้เงินของ Tino นั้น เนื่องจากเขาไม่มีหลักประกันเพียงพอ สิ่งที่เขาทำก็คือ เขาเติมน้ำเข้าไปในแท้งค์แล้วเติมน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งเบากว่าลอยปิดหน้าซึ่งทำให้ดูเหมือนว่ามีน้ำมันถั่วเหลืองเต็มแท้งค์ทุกใบ โดยรวมแล้ว เขามี “น้ำมันปลอม” คิดเป็นเงินถึง 175 ล้านเหรียญซึ่งถ้านับมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 1,450 ล้านเหรียญหรือประมาณ 50,000 ล้านบาท โชคไม่ดี ปริมาณน้ำมันที่เก็บอยู่ในแท้งค์นั้นมีคนเริ่มพบว่ามันมีมากกว่าปริมาณน้ำมันของผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองทั้งหมดซึ่งแสดงว่าน้ำมันในแท้งค์นั้นเป็น “ของปลอม” ข่าวนั้นออกมาทำให้ “วงแตก” เอเม็กซ์เข้าไปตรวจสอบและพบว่าสต็อกนั้นไม่มีจริง ราคาน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดฟิวเจอร์ร่วงลงหนัก Tino ขาดทุนจนต้องล้มละลาย หนี้ของเอเม็กซ์กลายเป็นหนี้สูญ เอเม็กซ์เสียหายอย่างหนัก ราคาหุ้นเอเม็กซ์ร่วงลงกว่า 50% วอเร็น บัฟเฟตต์ วิเคราะห์แล้วพบว่าธุรกิจของเอเม็กซ์ซึ่งเป็นผู้นำในตลาดบัตรเครดิตนั้นยังแข็งแกร่งมากและน่าจะรับกับความเสียหาย “ครั้งเดียว” ครั้งนี้ได้ แต่ราคาหุ้นตกลงมามากเกินไป คำนวณแล้วต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของเอเม็กซ์มาก เขาตัดสินใจใช้เงินน่าจะประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งพอร์ตซื้อหุ้นเอเม็กซ์ มันเป็นการ “ตีแตก” ที่ใหญ่ที่สุดของบัฟเฟตต์ เขาทำกำไรมหาศาลและกลายเป็นศาสตร์แห่งการลงทุนที่เป็นยี่ห้อหรือซิกเนเจอร์ของบัฟเฟตต์ที่ว่า “โอกาสการลงทุนที่ดีเยี่ยมที่สุดก็คือการซื้อหุ้นของบริษัทที่ยิ่งใหญ่เมื่อเกิดเหตุการณ์เลวร้ายครั้งเดียวที่แก้ไขได้ในราคาที่ถูกเหลือเชื่อ” เมื่อพูดถึงเรื่องของ Fraud หรือ Scandal หรือเรื่องของการโกงหรือความฉาวโฉ่และพูดถึงกรณีของเอเม็กซ์แล้ว คนอาจจะคิดว่าผมกำลังบอกว่าให้พิจารณาเข้าไปซื้อหุ้นในตลาดหุ้นไทยเหล่านั้นเมื่อราคาหุ้นตกลงมามากแล้ว แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อ กรณีของเอเม็กซ์นั้นเป็นเรื่องของสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจเดิมและเป็นธุรกิจหลักที่ “ยิ่งใหญ่” ซึ่งก็คือธุรกิจบัตรเครดิตที่บริษัทเป็นผู้นำและคนอเมริกันต่างก็ใช้กันอย่างกว้างขวาง น้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้ทำน้ำมันสลัดและการปล่อยกู้ของเอเม็กซ์นั้นเป็นเรื่อง “ครั้งเดียวจบ” แต่ถ้าเป็นเรื่องฉาวโฉ่ในธุรกิจหลักอย่างในกรณีของหุ้นเทสโก้ที่บัฟเฟตต์เคยลงทุนเหมือนกันนั้น มักเป็นเรื่องที่เข้าทำนอง “แมลงสาบมักจะไม่ได้มีตัวเดียว” ดังนั้นถ้าเกิดขึ้นแล้ว แทนที่จะเข้าซื้อเราอาจจะต้องขายอย่างในกรณีของหุ้นเทสโก้ที่ในที่สุดบัฟเฟตต์ก็ต้องขายหุ้นทิ้งทั้งหมด เพราะเขาคิดว่ามันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียวและเป็นเรื่องที่ “แก้ไขไม่ได้” โดยเฉพาะถ้ามันเป็นเรื่องของการบริหารและผู้บริหารที่ไม่น่าไว้วางใจ กลับมาที่หุ้นไทย ประเด็นที่จะต้องระวังก็คือ ราคาหุ้นนั้นแม้ว่าจะตกลงมามาก แต่ราคาก็ยังสูงมากเมื่อเทียบกับราคาหุ้นก่อนที่จะขึ้น ซึ่งไม่เหมือนกับกรณีเอเม็กซ์ซึ่งหุ้นของบริษัทก่อนเกิดเรื่องนั้นไม่ได้ปรับตัวขึ้นผิดปกติ ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ “โอกาสซื้อที่ยิ่งใหญ่” นั้น เราจะต้องวิเคราะห์ดูถึงมูลค่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นของตัวธุรกิจหลักว่าควรจะมีค่าเท่าไรเมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมา ในกรณีของเอเม็กซ์นั้น ผมคิดว่าเอเม็กซ์ในช่วงนั้นน่าจะกำลังเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” เหตุผลก็เพราะว่าในปี 1963 นั้น บัตรเครดิตยังเป็นของใหม่ที่มีคนใช้ไม่มาก การเติบโตน่าจะมีมหาศาลและเอเม็กซ์เป็นผู้นำที่โดดเด่นมาก ผมเองยังจำได้ว่าเมื่อผมไปอเมริกาครั้งแรกสมัยเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ผมต้องซื้อเช็คเดินทางของเอเม็กซ์ แต่ Market Cap. ของบริษัทในช่วงที่บัฟเฟตต์เข้าซื้อนั้นดูเหมือนว่าจะเล็กมากจนบัฟเฟตต์สามารถซื้อจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ทั้ง ๆ ที่พอร์ตของบัฟเฟตต์ยังไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น อีกประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องของสถานะของบริษัทที่เราจะต้องดูว่ามันดีหรือเป็นระดับ “ซุปเปอร์สต็อก” หรือไม่? นี่ก็เป็นเรื่องสำคัญ ในกรณีของหุ้นเอนรอนบริษัทพลังงานที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์ “ฉาวโฉ่” ที่ผู้บริหารมีการแต่งบัญชีหรือทำ “รายการปลอม” และราคาหุ้นตกลงมามากนั้น ก่อนที่จะเกิดเรื่องก็ได้รับการกล่าวขวัญกันมากว่าเป็นหุ้นระดับ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่โตเร็วและกำไรดีมาก โดยที่ไม่รู้ว่าที่จริงสิ่งที่เห็นนั้นมันเป็น “ของปลอม” ถ้าเราไปซื้อหุ้นเอนรอนที่เราคิดว่าตกลงมามากแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือ มันล้มละลายและหุ้นกลายเป็นศูนย์ ว่าที่จริงหุ้นไทยหลายตัวก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับหุ้นเอนรอน หลายตัวถูกพักการซื้อขาย และในอนาคตก็อาจจะกลายเป็นศูนย์เหมือนกัน กล่าวโดยสรุปก็คือ ถ้าเราพบหุ้นที่มีราคาทิ้งดิ่งลงมาเนื่องจากเหตุการณ์ที่พบหรือคนสงสัยว่าเป็นเรื่องของความฉาวโฉ่หรือเป็น “ของปลอม” นั้น อย่าไปคิดว่ามันเป็น “โอกาสซื้อที่ยิ่งใหญ่” ว่าที่จริงโอกาสที่จะเกิดแบบนั้นมีน้อยมาก ในชีวิตเราน่าจะมีไม่กี่ครั้ง การวิเคราะห์เองก็ไม่ง่าย ที่สำคัญก็คือ เป็นเรื่องยากที่จะ “Un-learn” หรือถอนความทรงจำและการเรียนรู้ของเราต่อตัวหุ้นที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ นั่นก็คือ ถ้าเรามีภาพที่ดีต่อตัวหุ้นก่อนเกิดเหตุการณ์ เราก็อาจจะคิดว่าในที่สุดบริษัทก็จะดีขึ้นเหมือนเดิม เราไม่สามารถเห็น “ภาพใหม่” ที่อาจจะถูกต้องเป็นจริงมากกว่า นี่อาจจะต้องใช้เวลาให้สมองของเราค่อย ๆ ซึมซับภาพใหม่ที่ทยอยเกิดขึ้น และเมื่อถึงวันนั้นเราก็จะสามารถมองบริษัทหรือหุ้นได้ถูกต้องและไม่ลำเอียง ซึ่งสำหรับบางคนแล้ว มันก็อาจจะช้าเกินไป แต่สำหรับผมแล้ว ไม่มีอะไรช้าเกินไปสำหรับการลงทุน สำหรับผมแล้ว “เสียดายดีกว่าเสียใจ” ถ้าตัดสินใจเร็วแล้วผิดพลาด ที่มาบทความ: thaivi.org แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สรุปหุ้น BDMS ขึ้นมาเพราะอะไร? จะขึ้นต่อหรือไม่? - FINNOMENA ถ้าลงทุนกับ BDMS ด้วยเงิน 1 ล้านในวันแรกที่เข้าตลาดผ่านมา 20 กว่าปีวันนี้คุณจะมีเงินเกิน 80 ล้านบาทแน่นอนว่าถ้ารวมปันผลก็คงมากกว่านี้พอสมควร เรามาดูเรื่องราวของหุ้นตัวนี้กันครับ 5 เม.ย. 2562 หุ้น BDMS หรือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพฯ เป็นหุ้นที่ขึ้นมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา BDMS จดทะเบียนกับ SET ครั้งแรกในปี 2534 BDMS เข้าตลาดครั้งแรกด้วยราคา 125 บาท พาร์ 10 หลังจากนั้นมีการแตกพาร์ เพิ่มทุน ทำให้จำนวนหุ้นและราคาเป็นอย่างในปัจจุบัน ถ้าดูราคาวันแรกที่มีข้อมูลคือราคา 0.32 บาท (ข้อมูลจาก Efinance) ปัจจุบันหุ้นอยู่ที่ราคา 26 บาท นับว่า BDMS คือหุ้นที่ทำผลตอบแทนสูงที่สุดในตลาดตัวหนึ่งก็คือทำผลตอบแทน (ไม่รวมปันผลต่างๆ) ได้สูงถึง 80 เท่าตัวจากราคาวันแรก ถ้าลงทุนกับ BDMS ด้วยเงิน 1 ล้านในวันแรกที่เข้าตลาดผ่านมา 20 กว่าปีวันนี้คุณจะมีเงินเกิน 80 ล้านบาทแน่นอนว่าถ้ารวมปันผลก็คงมากกว่านี้พอสมควร… ช่วงที่ผ่านมา BDMS มีการลงทุนขยายอย่างหนัก หากเราดูที่กระแสเงินสดจากการลงทุน (Cashflow from Investment) จะเห็นว่าการลงทุนของ BDMS สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 2557 – มีการลงทุน 16,155 ลบ. 2558 – มีการลงทุน 5,182 ลบ. 2559 – มีการลงทุน 9,492 ลบ. 2560 – มีการลงทุน 11,869 ลบ. เม็ดเงินลงทุนเหล่านี้ไปลงทุนเพิ่มทั้งจำนวนโรงพยาบาล การทำ M&A รวมไปถึงการปรับปรุงอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆให้ดีขึ้น เงินที่ลงทุนไปกลายเป็นค่าเสื่อมที่สะท้อนในงบกำไรขาดทุนเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งส่งผลถึงผลกำไรของ BDMS ทำให้การเติบโตของกำไรลดลง ภาพรวมการเติบโตของกำไรใน 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ประมาณนี้ 2557 – รายได้โต 11% กำไรโต 18% 2558 – รายได้โต 12% กำไรโต 9% 2559 – รายได้โต 8% กำไรโต 5% 2560 – รายได้โต 10% กำไรโต 21% สังเกตได้ว่ากำไรโตน้อยกว่ารายได้ตลอด ส่วนหนึ่งก็เพราะมีค่าใช้จ่ายจากค่าเสื่อมจากการลงทุนนั่นเอง ที่มา : www.finnomena.com/stock/bdms แต่แล้วล่าสุดการเติบโตกำไรของ BDMS ใน 1Q2561 กลับมาเติบโตสูงอีกครั้งโดยกำไรโตถึง 49% รายได้โต 15.3% คำถามคือ ทำไมกำไรถึงโต และอะไรทำให้กำไรของ BDMS โตกว่ารายได้เยอะมาก? ปัจจัยที่ทำให้รายได้เติบโตเพิ่มขึ้นมีด้วยกัน 3 ประการด้วยกัน จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตของศูนย์โรคเฉพาะทาง, การเพิ่มขึ้นของโรคระบาดต่างๆ และกลยุทธของบริษัทที่หันมามุ่งเน้นลูกค้ากลุ่มประกันสุขภาพที่เพิ่มจากมีสัดส่วน 26% ของรายได้มาเป็น 29% ของรายได้ ผลประกอบการของโรงพยาบาลในเครือข่ายที่เติบโตสูงขึ้น กรุงเทพเติบโต 13% ต่างจังหวัดเติบโต 18% รวมไปถึงผู้ป่วยต่างชาติที่เติบโต 12% ด้วย เนื่องจากมีโรคระบาดมากขึ้นทำให้มีรายได้จากผู้ป่วยใน (IPD) เติบโตสูงถึง 19% การเติบโตของผู้ป่วยในทำให้กำไรของ BDMS เติบโตได้ดีเพราะมีการใช้จ่ายมากกว่าผู้ป่วยนอก สิ่งที่น่าสนใจมากกว่ารายได้คือการเติบโตของกำไร BDMS เริ่มเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวแล้ว หลังจากที่ลงทุนหนักมาอย่างยาวนาน BDMS ประกาศว่าต่อไปจะลงทุนให้น้อยลง เน้นเพิ่มรายได้จากรพ, เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานจาก Facility ที่มีอยู่แล้วและควบคุมค่าใช้จ่ายในหลายๆด้าน นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้หุ้นกลับมาอยู่ในขาขึ้นอีกครั้ง รายได้โต 15% ค่าใช้จ่ายโตเพียง 10% น้อยกว่ารายได้ ปัจจัยนี้จะทำให้กำไรของ BDMS เริ่มเติบโตสูงอีกครั้ง นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายทางการเงินที่ลดลง 13% จากการแปลงสภาพของหุ้นกู้ ผลก็คืออัตราการทำกำไรของ BDMS ดีขึ้นจาก 11.3% ใน 1Q2560 มาเป็น 14.6% ใน 1Q2561 แล้ว BDMS จะยังเติบโตต่อไปหรือไม่? บริษัทได้ตั้งเป้าระยะยาว 3-5 ปีไว้ดังนี้ รายได้และกำไรเติบโตอย่างน้อย 10% ซึ่งหมายความว่าถ้าทำได้ตามนี้และคุมค่าใช้จ่ายได้แบบที่บอก กำไรจะเติบโต 2 digit และมากกว่า 10% ต่อปีแน่นอน อัตราการทำกำไรจากการดำเนินงานไม่รวมค่าเสื่อม (EBITDA) ไม่น้อยกว่า 25% ปัจจุบันอยู่ที่ 24.6% ผลจากการคุมค่าใช้จ่ายช่วยทำให้กำไรมีเสถียรภาพมากขึ้น เพิ่ม Utilization rate จาก 65% เป็นขั้นตำ่ 80% เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตรา Utilization rate ของรพ.เก่งๆในโลกที่อยู่ที่ 90% การปรับปรุงครั้งนี้จะทำให้สำเร็จใน 2 ปี สิ่งนี้จะทำให้ BDMS สามารถใช้สินทรัพย์ที่ลงทุนมาอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มน้อยมาก (เพราะใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว) ทำให้กำไรโตดี ที่มา : www.finnomena.com/stock/bdms ถ้าทำได้ตามเป้า BDMS ก็มีโอกาสที่จะขึ้นต่อ แต่ความเสี่ยงก็มีอยู่บ้าง ถ้าดูย้อนหลังไป 10 ปีจะเห็นว่า BDMS Trade ที่ P/E 31-45 เท่า ปัจจุบัน BDMS มี P/E ที่ประมาณ 36 เท่าถือว่ากลางๆ ถ้าดูเป็น P/E ของปีหน้า (Forward P/E) ที่ราคา 26 บาทและเติบโตประมาณ 10-20% P/E ก็จะอยู่ที่ประมาณ 31-32 เท่าพอดีๆ ก็อยู่ที่ว่า BDMS จะสามารถดำเนินงานตามที่คาดไว้ได้มากน้อยแค่ไหน ที่มา : www.finnomena.com/stock/bdms สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ BDMS ในขณะที่หลายๆกลุ่มรพ.ยังมีรพ.ที่ขาดทุน แต่ทุกรพ.ของ BDMS มีกำไรหมดแล้วนะจ๊ะ ปัจจุบัน BDMS มีสัดส่วนรายได้คนไข้ต่างชาติ 32% ของรายได้ ต่อไป BDMS กำลังเปิดฉากบุกคนไข้ต่างประเทศบ้างแล้ว กลุ่มนี้กำไรดีกว่าคนไข้ไทย ในอนาคต Asia จะเป็นทวีปที่ประชากรมากที่สุดในโลก การบุกตลาดคนไข้ต่างชาติจึง Make sense ชาวต่างชาติชอบโรงพยาบาลไทยเพราะเรามี Service mind ที่ดี BDMS ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับรพ.เด็ก จะเน้นดูแลกันตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์เลย ปัจจุบันมีบริษัทประกันมาใช้ BDMS เป็นช่องทางขายประกันสุขภาพ เช่น วิริยะ, เมืองไทย และ Allianz Ayudhya Trend Aging society มาเร็วกว่าที่คิด คนเริ่มซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น บริษัทประกันเองก็ให้ความสำคัญกับประกันสุขภาพด้วยเช่นกัน เมื่อก่อนเป็นซื้อประกันอุบัติเหตุแถมประกันสุขภาพ ตอนนี้กลายเป็นซื้อประกันสุขภาพแถมประกันอุบัติเหตุ BDMS ตั้งเป้าจะเป็นรพ.ระดับโลกในอีก 2 ปีครึ่ง กลุ่มรพ.ของ BDMS มี รพ.กรุงเทพ, สมิติเวช, BNH, พญาไท, เปาโลและ Royal Bangkok Hospital รพ.ที่ทำรายได้หลักให้กับ BDMS คือ รพ.กรุงเทพถ.เพชรบุรี 19% สมิติเวชสุขุมวิท 13% รพ.กรุงเทพ พัทยา 6% พญาไท 2 5% รายได้หลักของ BDMS มาจาก คนไข้เงินสด 56% ประกัน 29% สัญญากับบริษัทต่างๆ 8% ปันผลปี 2017 ทั้งปีได้ 0.36/หุ้น ปี 2018 น่าจะเพิ่มได้ซัก 10-20% เป็นอย่างตํ่า (คหสต.) หมอประเสริฐ ประสาททองโอสถถือหุ้น BDMS อยู่ 18.68% รวมเป็นเงินมากกว่า 74,000 ล้าน !!! โดยเพจ Buffettcode ข้อมูลหุ้น 10 ปี จาก Finnomena.com/stock —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ มือใหม่เล่นหุ้นโรงพยาบาล ต้องรู้อะไรบ้าง? เรียนหุ้นออนไลน์ได้ฟรี! คลิกที่รูปได้เลย แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BuffettCode นักลงทุนผู้หลงไหลในหุ้นเติบโต ชื่นชอบการศึกษากลยุทธทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และพัฒนาการของบิสสิเนสโมเดลใหม่ๆ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
DDD:โอกาสซื้อ Snail White มาถึงหรือยัง? - FINNOMENA บริษัท ดู เดย์ ดรีม จำกัด (มหาชน) หรือ DDD เจ้าของสินค้าสกินแคร์และสบู่ยี่ห้อ Snail White ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ตั้งแต่ราคาแตะจุดสูงสุดที่ 121 บาท ในขณะนี้ลงมาเหลือระดับ 50-60 บาทเท่านั้น คำถามคือ เกิดอะไรกับหุ้นตัวนี้? 13 ก.ค. 2561 DDD ถือเป็นหุ้นน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ถึงปี ซึ่งสามารถเรียกความสนใจจากนักลงทุนได้อย่างน่าสนใจมาก เพราะบริษัทมีเรื่องราวหลายอย่างที่นักลงทุนชอบ ไม่ว่าจะเป็นการที่ DDD มียี่ห้อ Snail White ที่แข็งแกร่ง มีการใช้โฆษณาที่แพร่หลายและใช้ดาราระดับแนวหน้าของประเทศ รวมทั้งยังมีการส่งออกไปต่างประเทศอีกด้วย และแน่นอนประเทศที่ DDD ส่งออกไปเป็นหลักนั้นคือประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งมีตลาดใหญ่กว่าไทยหลายเท่าตัว เริ่มจากแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ต้องยอมรับว่า Snail White ไม่ได้เป็นยี่ห้อที่มีอายุนานมาก เมื่อเทียบกับบริษัทต่างชาติ อย่าง L O’real Shiseido และอื่น ๆ แต่กลับสามารถสร้างความเป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่ปีทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ทำไมจู่ๆ Snail White ถึงโด่งดังขึ้นมา? คำตอบคือ การใช้ดาราดัง ๆ ระดับที่ว่า ‘ดังพลุแตก’ ดาราแต่ละคนที่ DDD ได้เลือกมานั้น ต้องเป็นที่รู้จักสูงมาก อย่างคุณอั้ม พัชราภา เราจะสามารถเห็นโฆษณา Snail White ตามป้ายตามถนนต่าง ๆ เต็มไปหมด ซึ่ง DDD ได้ทำแบบนี้มาตั้งแต่เพิ่งเริ่มทำยี่ห้อนี้เลย เพราะเชื่อว่า ถึงสินค้าของ DDD จะดีขนาดไหน แต่ถ้าไม่มีคนรู้จัก ก็ไม่มีความหมายอยู่ดี นี่เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้ DDD ใช้ดาราในการทำโฆษณา รายได้ของ DDD มีการเติบโตที่ต่อเนื่องและเป็นการเติบโตที่สูงเลยทีเดียว ที่มา: Oppday Presentation ปี 2560 รายได้หลัก ๆ มาจากสินค้าที่เป็น Facial Skin Care นั่นก็คือ ครีมบำรุงผิวหน้า Snail White นอกจากนี้ก็จะมี สบู่ ครีมบำรุงผิวกายและอื่น ๆ ที่มา: Oppday Presentation ปี 2560 ถ้าเรามาดูช่องทางการจัดจำหน่ายของ DDD สัดส่วนที่โตสูงมาก ๆ คือ ส่วนที่ส่งออก ซึ่งมาจากประเทศจีนเกือบทั้งหมด ซึ่งช่องทางนี้โตขึ้นมโหฬารทีเดียว ที่มา: Oppday Presentation ปี 2560 Snail White ในประเทศจีน ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่ถ้าส่งสินค้าอะไรไปแล้วขายได้ ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว ซึ่ง DDD ได้มีส่งออกไปที่ประเทศจีนด้วย และยอดขายส่วนนี้โตสูงมาก ที่มา: Oppday Presentation ปี 2561 ไตรมาส 1 แต่ถ้าเรามาดูรายไตรมาสนั้น ยอดขายจีนกลับไม่ได้โตไปในทางที่โตขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่กลับสะดุดบ่อยมาก โดยไปทำจุดสูงสุดเมื่อไตรมาส 2 ปีที่แล้วเพราะมีการออกสินค้าใหม่คือ Overnight Mask ที่ส่งออกไปจีนหลังจากนั้นยอดขายจีนไม่เคยกลับไปทำรายได้ที่สูงสุดใหม่ได้อีกเลย ทางบริษัทได้ให้ข้อมูลว่า ที่ยอดขายจากจีนลดลงอย่างมากในไตรมาส 4 มาจนถึงไตรมาส 1 ปีนี้นั้นเกิดขึ้นเพราะ DDD เพิ่งได้ทำการขอ อย. จากประเทศจีน จึงต้องเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ตรงข้อกำหนดของ อย. จีนก่อน ซึ่งบริษัทดำเนินการเสร็จ ได้รับ อย. เรียบร้อยในช่วงปลายไตรมาส 1 นี้ ทำให้ช่วงไตรมาส 4 ถึง ไตรมาส 1 DDD ส่งของออกไปได้น้อยกว่าที่คิด การได้มาซึ่ง อย. จีนนั้น ส่งผลดีต่อบริษัทโดยตรง เพราะ DDD จะสามารถขายส่งสินค้าได้เป็นล็อตใหญ่ ๆ จากเมื่อก่อนที่ขายได้แค่เป็นชิ้น ๆ เท่านั้น นอกจากนี้ DDD ยังสามารถที่จะกระจายช่องทางการจัดจำหน่ายให้ได้มากกว่าเดิมได้อีกด้วยโดยเฉพาะในรูปแบบออฟไลน์ เมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ร่วงลงมามากกว่าครึ่ง อาจเป็นทั้งโอกาสหนีหรือโอกาสลงทุนก็ได้ เพราะในตลาดไทยเอง DDD มีการออกสินค้าเด่นตัวใหม่ นั่นก็คือ Snail White Gold และ Snail White แบบซอง ที่จะจัดจำหน่ายมากขึ้นในร้าน Traditional Trade และร้านสะดวกซื้อมากขึ้น ซึ่งจะช่วยดันยอดขายในประเทศไทยขึ้นมาได้ และหลังจากได้ขายในจีนหลังจากการได้ อย. จากประเทศจีนแล้ว ยอดขายของจีนก็อาจจะกลับขึ้นมาได้เช่นกัน DDD ถือเป็นหุ้นในสายตานักลงทุนหุ้นเติบโต (Growth) เพราะมีการเติบโตที่โดดเด่นก่อนการทำ IPO แต่ช่วงนี้อาจจะสะดุดลงไปบ้าง ถึงอย่างนั้น ถ้างบไตรมาส 2 แสดงให้เห็นว่ารายได้เติบโตตามนัดจริง ๆ ก็อาจเป็นตัวพิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่ากลยุทธ์ที่ DDD ทำนั้นได้ผล ไม่ว่าจะเป็นการขอ อย. เพื่อช่วยเกื้อหนุนการขายในประเทศจีน หรือการออกสินค้าใหม่ในประเทศไทยก็ตาม ในช่วงเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา ราคาของหุ้น DDD ได้ตอบรับยอดขายที่โตน้อยลง โดยเฉพาะยอดขายจากจีน และกำไรที่ไม่ได้โตตามคาดของนักลงทุน ส่งผลให้ราคาหุ้นของ DDD ไหลลงมาต่ำกว่าราคา IPO เสียอีก แต่ต้องบอกก่อนว่า ตอนที่ DDD ทำการ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ถือว่าราคาไม่ถูกแล้วสำหรับนักลงทุนหลายคน ดังนั้น ถ้าราคาต่ำกว่า IPO ก็อาจมองว่าเป็นโอกาสของนักลงทุนที่ชอบของถูก เพราะ PE ของ DDD เคยวิ่งไปเกือบ 100 เท่าเลยด้วยซ้ำ ถ้าเทียบ PE ที่หล่นลงมามากแล้วคุณยังเชื่อว่า DDD จะสามารถทำกำไรให้เติบโตได้แบบสมน้ำสมเนื้อกับราคาหุ้นที่จ่ายไป หุ้นตัวนี้ก็อาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับคุณ ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ลงทุนควรหาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจให้รอบด้าน พิจารณาความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ ก่อนจะตัดสินใจลงทุนในหุ้นแต่ละตัวนะครับ ดูข้อมูลหุ้น DDD เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/DDD ข้อมูลอ้างอิง: https://www.set.or.th/streaming/#/vdo/90 https://www.set.or.th/streaming/#/vdo/1203 https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2017q4/190318111156-Oppday-DDD.pdf https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2018q1/20180604-2018Q1-DDD.pdf https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=DDD&ssoPageId=4&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=DDD&ssoPageId=3&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SET Index เด้งได้ แต่ต่างชาติขายทุกวัน - FINNOMENA นับตั้งแต่ย่างเข้าเดือนก.ค. เป็นต้นมา เราได้เห็นการสร้างฐานของ SET Index อย่างต่อเนื่อง หลังหลุด 1,600 จุดไป 3 วัน แต่ก็ยังสามารถดีดขึ้นมายืนเหนือแนวรับจิตวิทยา และแนวรับใหญ่ตรงนี้ได้ ใครกันหนอ เป็นผู้ซื้อรอบนี้? 12 ก.ค. 2561 นับตั้งแต่ย่างเข้าเดือนก.ค. เป็นต้นมา เราได้เห็นการสร้างฐานของ SET Index อย่างต่อเนื่อง หลังหลุด 1,600 จุดไป 3 วัน แต่ก็ยังสามารถดีดขึ้นมายืนเหนือแนวรับจิตวิทยา และแนวรับใหญ่ตรงนี้ได้ ค่อนข้างชัดว่า SET Index อยากรีบาวน์ซักรอบ ประเด็นคือ ใครกันหนอ เป็นผู้ซื้อรอบนี้? คำตอบ ไม่ใช่นักลงทุนต่างชาติอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจครับ แต่คือ นักลงทุนสถาบันในประเทศกันเองเลย พาย้อนกลับไปดูกัน วันที่ 2 ก.ค. นักลงทุนสถาบัน ซื้อสุทธิ 3,566.35 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ -1,850.74 ล้านบาท วันที่ 3 ก.ค. นักลงทุนสถาบัน ซื้อสุทธิ 4,453.27 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ -3,288.47 ล้านบาท วันที่ 4 ก.ค. นักลงทุนสถาบัน ซื้อสุทธิ 4,660.78 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ -2,336.25 ล้านบาท วันที่ 5 ก.ค. นักลงทุนสถาบัน ขายสุทธิ -370.88 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ -1,345.27 ล้านบาท วันที่ 6 ก.ค. นักลงทุนสถาบัน ซื้อสุทธิ 1,392.03 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ -1,706.17 ล้านบาท วันที่ 9 ก.ค. นักลงทุนสถาบัน ซื้อสุทธิ 3,902.99 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ -2,545.40 ล้านบาท วันที่ 10 ก.ค. นักลงทุนสถาบัน ซื้อสุทธิ 4,220.58 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ -1,393.12 ล้านบาท ชัดเจนว่า ต่างชาติยังตั้งหน้าตั้งตาขายทุกวัน เพียงแต่ไม่ทุบแรงๆ ไม่รีบขายเหมือนช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย. ที่ผ่านมา ถ้าสังเกตดูจะพบว่า วันที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิมากกว่า 4 พันล้านบาท มันจะเป็นวันที่ดัชนี SET Index บวกได้แรงอย่างมีนัยยะ ดังนั้นชัดเจนว่า รอบนี้ SET Index วิ่งมาได้ เพราะแรงซื้อในประเทศนั้นเอง แล้วสถาบันในประเทศ เขาเห็นอะไร? เท่าที่ได้คุยกับ Fund Manager กองทุนรวมบางท่าน ก็ให้มุมมองเรื่อง Earnings ในไตรมาส 2/2018 ที่จะทยอยประกาศออกมา เขาเชื่อว่า น่าจะยังดีอยู่ และอีกประเด็นคือ เขามองว่า ตลาดกังวลกับ Trade Wars มากเกินไปในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา บางท่านมองว่า ผลกระทบจาก Trade Wars ไม่น่าจะรุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนในระยะสั้นนี้ จนกว่าจะมีพัฒนาการใหม่ๆเกิดขึ้น แล้วทำไม ต่างชาติยังตั้งหน้าตั้งตาขายเรื่อยๆ? เฉพาะเดือนก.ค. นี้ ต่างชาติขายสุทธิไปแล้ว -14,465.42 ล้านบาท ถ้านับตั้งแต่ต้นปี ขายสุทธิไปแล้ว -194,541.98 ล้านบาท สอดคล้องกับ Outflow ของตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลก การขายของนักลงทุนต่างชาติเช่นนี้ มองได้ 2 ความหมายคือ เขาไม่ได้กลัวเรื่อง Trade Wars แต่ตั้งใจลดพอร์ตจากตลาดเกิดใหม่โดยรวมทั้งหมด เพราะประเด็นอื่นมากกว่าหรือเปล่า? หรือ เขามองว่า Trade Wars จะมีผลกระทบมากขึ้น และขยายวงมากขึ้นในอนาคต? ไม่ว่าเขาจะมีมุมมองอย่างไร ดูเหมือนว่า จะไม่เป็นผลดีต่อ SET Index ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เมื่อพิจารณาจากค่าเงินบาทเปรียบเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯ ก็จะเห็นว่า เข้าสู่เดือนก.ค. ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทชะลอการอ่อนค่า แต่ก็ไม่ได้แข็งค่าอะไรเพิ่มขึ้น ซึ่งก็แน่นอน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นชัดเจนขนาดนี้ คงทำให้ค่าเงินบาทแข็งลำบากหน่อย เลยยังเทรดอยู่แถวๆ 33.14 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ **************************** มุมมองทางเทคนิค (มุมมองส่วนตัวเลย) ลงมาแรงและเร็ว ก็ต้องมีการดีดกลับเป็นธรรมดา หาแนวต้านข้างบนง่ายๆด้วย Fibonacci Retracement ที่ 38.2% และ 50.0% จะได้ SET Index ที่ระดับ 1,686 จุด และ 1,708.20 จุด เป็นจุดที่ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ สิ่งที่ต้องระวังคือ SET Index เกิดสัญญาณ Dead Cross ไปแล้ว (MA50 วัน ตัด MA200 ลงมาแล้วเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.) ถึงแม้ SET Index จะไม่ได้ปรับฐานจากจุดสูงสุดลงมาแตะระดับ -20% ที่เรียกว่า Bear Market Entry แต่สัญญาณหลายอย่าง ก็ฟ้องว่า ขึ้นยาก …. และ ขาลงอาจจะยังไม่จบแค่แถวๆ 1,600 จุดนะครับ อย่างไรก็ตาม นี่คือ มุมมองส่วนตัว คุณต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม และออกแบบกลยุทธ์การลงทุนด้วยตัวคุณเองอีกที แหล่งที่มาข้อมูล : BISNEWS www.settrade.com Mr.Messenger รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เกิดอะไรขึ้นกับหุ้น BEAUTY? ไขข้อสงสัยหลังราคาดิ่งแรง - FINNOMENA BEAUTY เป็นผู้จำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิว ถือเป็นหุ้น 10 เด้งในตำนานที่มีการเติบโตติด ๆ กันไม่มีหยุด ทำให้ราคาหุ้นอยู่ในขาขึ้นรอบใหญ่มาโดยตลอด แต่ล่าสุดราคากลับดิ่งฮวบ คำถามคือ เกิดอะไรขึ้นกับ BEAUTY ? 19 ก.ค. 2561 BEAUTY เป็นผู้จำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิว ถือเป็นหุ้น 10 เด้งในตำนานที่มีการเติบโตติด ๆ กันไม่มีหยุด ทำให้ราคาหุ้นอยู่ในขาขึ้นรอบใหญ่มาโดยตลอด แต่ล่าสุดกลับเกิดเหตุการณ์ราคาดิ่งฮวบ คำถามคือ เกิดอะไรขึ้นกับ BEAUTY ? BEAUTY หรือ บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิว โดยขายตามร้านของตัวเองและยังมีขายตามช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นอีกด้วย โดยมีชื่อของตัวเองดังนี้ : BEAUTY BUFFET, BEAUTY COTTAGE, BEAUTY MARKET, MADE IN NATURE และ BEAUTY PLAZA ตลาดดูจะให้ความสนใจกับการเติบโตของ BEAUTY โดยงบลงทุนของ BEAUTY ต่อสาขาหนึ่งนั้นไม่ได้ใช้เงินเยอะ เลยทำให้ BEAUTY สามารถที่จะขยายสาขาในรูปแบบร้านของตัวเองได้อย่างรวดเร็วเรื่อยมา จำนวนสาขาของ BEAUTY ที่มา: BEAUTY Oppday ปี 2560 ถ้าดูตามภาพ จำนวนสาขาของ BEAUTY นั้นได้เพิ่มจำนวนเกือบเท่าตัวในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการขยายสาขาที่ค่อนข้าง Aggressive มาก และเพราะการขยายสาขาที่มากขนาดนี้ ทำให้ BEAUTY ถูกจัดเป็นหุ้นเติบโตในสายตาของนักลงทุนหลายคน รายได้และกำไรของ BEAUTY ที่มา: BEAUTY Oppday ปี 2560 ถ้ามาดูด้านรายได้และกำไรของ BEAUTY ถือว่าเป็นบริษัทที่เติบโตสูงมากจริง ๆ อัตราการเติบโตของรายได้ (Top-Line) นั้นไม่เคยต่ำกว่า 25% เลย 2 ปีที่ผ่านมา รายได้โตเกิน 40% เสียด้วยซ้ำ ซึ่งแสดงถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมาก ในด้านกำไรซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนดูและให้ความสำคัญมากนั้นก็มีการเติบโตที่น่าประทับใจมาก โดยเฉพาะปีที่ผ่านมาที่กำไรโตถึง 87.4% สินค้าใหม่ที่ปล่อยในปี 2017 ของ BEAUTY ที่มา: BEAUTY Oppday ปี 2560 อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ BEAUTY ใช้ในการเติบโต คือการออกสินค้าใหม่เยอะมาก อย่างปีที่แล้วออกสินค้ากว่า 257 ชนิดสินค้า (SKU หรือ Stock Keeping Unit) คำถามคือ BEAUTY ออกสินค้าออกมาเยอะแบบนี้ทำไม? และทำได้อย่างไร? สาเหตุที่ BEAUTY ออกสินค้าเยอะขนาดนี้ เป็นเพราะธุรกิจเครื่องสำอางนั้นเป็น Fast Fashion หรือมีการเปลี่ยนเทรนด์ที่รวดเร็วมาก BEAUTY จึงต้องออกสินค้าใหม่มาเรื่อย ๆ เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา และกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ BEAUTY สามารถออกสินค้าได้หลายรูปแบบขนาดนี้เป็นเพราะ BEAUTY ใช้วิธีการจ้างคนนอกผลิต (Outsource) สินค้าของตัวเองทั้งหมด เพราะการที่มีโรงงานของตัวเองเพียงโรงงานเดียวนั้นไม่สามารถที่จะผลิตสินค้าออกมาได้ดีทุกอย่างหมด การ Outsource มีข้อดีอีกอย่างคือ ถ้าเทรนด์ของสินค้านั้นหายไป BEAUTY ก็แค่เลิกจ้างผลิตเท่านั้นเอง ไม่ต้องแบกรับค่าโรงงานเลย ที่มา : https://www.finnomena.com/stock/beauty ด้วยการขยายสาขาที่เยอะ รายได้และกำไรเติบโตไม่สะดุด อีกทั้งยังโตในอัตราที่สูงมาก ทำให้นักลงทุนคาดหวังการเติบโตของ BEAUTY ไว้พอสมควร ว่าควรจะโตตลอด และโตมาก ๆ ส่งผลให้ ค่า PE ไม่เคยต่ำกว่า 40 เท่าเลยเพราะนักลงทุนเชื่อว่าการเติบโตจะโตขึ้นมาเรื่อย ๆ ได้ แต่ในอาทิตย์ที่ผ่าน ๆ มานี้ ราคาของหุ้น BEAUTY มีการปรับลงอย่างมาก หลังจาก นายสุวิน ไกรภูเบศ ผู้ถือหุ้นใหญ่และ CEO ของ BEAUTY ได้ออกมาแถลงว่า ไตรมาส 2 ผลงานของบริษัทพลาดเป้าไป ส่วนปีนี้ยังคงอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin หรือ NPM) ที่มากกว่า 20% เรื่องนี้ทำให้นักลงทุนหลายคนแปลกใจและตกใจอย่างมากที่ BEAUTY จะคงอัตรากำไรสุทธิที่ 20% เพราะจริงๆ แล้ว นักลงทุนหวังอัตรากำไรสุทธิที่สูงกว่านี้มาก ถ้าเทียบปีที่แล้วคืออัตรากำไรสุทธิวิ่งทะลุ 30% มาแล้วด้วยซ้ำไป (คิดว่าในหัวนักลงทุน อัตรากำไรสุทธิ 20% เป็นเรื่องที่ไม่อยากได้ยินเลยด้วย) นอกจากนี้ BEAUTY ยังไม่เคยประสบปัญหาที่พลาดเป้าเลย แล้วดันมาพลาดตอนที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสูง (Priced-In) ไปมากแล้วด้วย จากผลประกอบการที่ดีมากในปีที่แล้ว จึงเป็นเหตุทำให้เกิดการเทขายหุ้น BEAUTY อย่างหนัก หนักขนาดที่ว่าลง 30% ภายในวันเดียว และยังลงต่อในอีกวันต่อมา คำถามที่สำคัญที่สุดคือ ที่ราคานี้ BEAUTY น่าซื้อหรือยัง? เหตุการณ์นี้เป็นการตกใจเกินเหตุของตลาดหรือไม่? แล้วเป็นโอกาสในการลงทุนหรือเปล่า? คำตอบที่ดีที่สุด คงจะอยู่ที่ตัวนักลงทุนเองว่า พอใจที่ราคาเท่าไหร่ เพราะพื้นฐานไม่ได้สดใส เหมือนที่ตลาดคาดหวังไว้ในอดีตแล้ว ซึ่งก็สะท้อนผ่านราคาที่ลงมาแรง ทำให้ค่า PE ลดลง จะเห็นว่าถูกกว่าในอดีตมากพอสมควร พอมาดูทางด้านปริมาณการซื้อขาย (Volume) ก็จะเห็นว่าหนาแน่นมาก ๆ แสดงให้เห็นถึงอาการตื่นตระหนกของนักลงทุน ดังนั้น ถ้าเป็นนักลงทุนที่กล้าได้กล้าเสีย สามารถรับความเสี่ยงได้สูง ก็อาจใช้โอกาสนี้พิจารณาเข้าซื้อ BEAUTY ในจังหวะ Panic Sell ที่มี Volume มากขนาดนี้ แต่ถ้าใครเป็นนักลงทุนสายเสี่ยงต่ำหรือ Conservative หน่อย ก็รอดูงบไตรมาส 2 ก่อนตัดสินใจได้ครับ ให้งบช่วยยืนยันอีกทีน่าจะช่วยให้สบายใจกว่า และดูธุรกิจว่าจะมีทิศทางอย่างไรกันแน่ ทั้งนี้ทั้งนั้น นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยรอบด้าน วิเคราะห์ความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ให้ดี ก่อนตัดสินใจลงทุนครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/beauty https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=BEAUTY&ssoPageId=4&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=BEAUTY&ssoPageId=3&language=th&country=TH https://market.sec.or.th/public/idisc/th/FinancialReport/FS-0000007968 https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2016q4/20170314_beauty.pdf https://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=BEAUTY&ssoPageId=6&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำนาย ‘เศรษฐกิจถดถอย’ ย้อนรอยเพื่อเริ่มต้น… - FINNOMENA ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาปรากฏการณ์เส้นกราฟ “Yield Curve Invert” สามารถทำนายการเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยได้อย่างแม่นยำ ประเด็นนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เราจะพาคุณเจาะเวลาหาอดีต ย้อนรอยไปสู่เหตุการณ์ที่ว่ากัน 11 ก.ค. 2561 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาปรากฏการณ์เส้นกราฟ “Yield Curve Invert” สามารถทำนายการเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยได้อย่างแม่นยำ ประเด็นนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เราจะพาคุณเจาะเวลาหาอดีต ย้อนรอยไปสู่เหตุการณ์ที่ว่ากัน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ ทิสโก้ (TISCO ESU) วิเคราะห์ว่าในอดีตที่ผ่านมา “Yield Curve Invert” สามารถพยากรณ์การเกิดขึ้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้อย่างแม่นยำ และ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมักเกิดขึ้นในเวลา 15 เดือนโดยเฉลี่ย หลังจากที่ Yield Curve Invert ดังนั้นหมายความว่า หาก Yield Curve เริ่ม Invert ในช่วงไตรมาส 1 / 2562 ตามที่คาดการณ์ไว้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะในช่วงต้นปี 2563 การ Invert ของ Yield Curve นับเป็นสัญญาณการสิ้นสุดของวัฏจักรการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งก็มักเป็นสัญญาณของการ “จบรอบ” ของตลาดหุ้นขาขึ้น (Bull Market) ด้วยเช่นกัน ดังนั้นนักลงทุนควรจับตาดูความเคลื่อนไหวของ Yield Curve อย่างใกล้ชิด และควรพิจาณาลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นหาก Yield Curve เริ่ม Invert ย้อนอดีตสู่ 2 วิกฤตถดถอย หากย้อนกลับไปในอดีต เพื่อทดสอบความแม่นยำของ Yield Curve Invert โดยยกตัวอย่าง 2 ครั้งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ 1. การเกิด Yield Curve Invert ในช่วงเดือน ก.พ. 2543 ซึ่งนำไปสู่ “วิกฤตดอทคอม” (ช่วงที่มีการเก็งกำไรในธุรกิจเทคโนโลยีอย่างมาก โดยไม่สนใจพื้นฐานธุรกิจ ซึ่งเมื่อฟองสบู่แตกก็ทำให้หลายธุรกิจปิดกิจการ จนนักลงทุนเกิดความเสียหายอย่างมาก) และทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ในไตรมาส 2/2544 2. การเกิด Yield Curve Invert ในเดือน ม.ค. 2549 นำไปสู่วิกฤต “ซับไพร์ม” (วิกฤติด้านอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา เกิดจากการปล่อยกู้เพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีทรัพย์สินค้ำประกัน) ซึ่งหลังจากนั้นก็เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในไตรมาส 2/2551 โดย Yield Curve หรือ ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยระยะยาวและระยะสั้นของสหรัฐฯ นับเป็นสัญญาณสำคัญที่สะท้อนมุมมองของตลาดทุนต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งในภาวะปกติ Yield Curve จะมีลักษณะ “ชันขึ้น” คือ พันธบัตรที่มีอายุมากกว่าจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรระยะสั้น แต่เมื่อใดที่ Yield Curve มีลักษณะ “Invert” หรือดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาว “ต่ำกว่า” ระยะสั้น ก็จะเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว ต่ำกว่าระยะสั้น สะท้อนว่าตลาดมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะต้องลดดอกเบี้ยลงในอนาคต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ) ตั้งหลักวิเคราะห์บอนด์ยิลด์ ในปัจจุบันอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ระยะสั้นอายุ 2 ปีของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับประมาณ 2.5% ในขณะที่บอนด์ยิลด์อายุ 10 ปีทรงตัวที่ 3% ซึ่งทำให้ความชันของ Yield Curve (บอนด์ยิลด์10 ปี ลบด้วย 2 ปี) อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ที่ 0.5% ทั้งนี้ บอนด์ยิลด์ระยะสั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ซึ่งหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยทุกไตรมาสๆ ละ 25bps ไปจนถึงสิ้นปี 2562 ดังนั้นบอนด์ยิลด์อายุ 2 ปี ก็จะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 3% ในช่วงไตรมาส 1/2562 ซึ่งหาก Bond Yield อายุ 10 ปียังคงทรงตัวอยู่ที่ 3% ณ เวลานั้น ก็จะทำให้ Yield Curve เข้าสู่ภาวะ Invert ในช่วงต้นปี 2562 อย่างไรก็ตาม นอกจากการ Invert ของ Yield Curve แล้ว ข้อมูลในอดีตอื่นๆ ก็ยังชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงปลายปี 2562 ถึงต้นปี 2563 โดยจากการศึกษาของ Deutsche Bank พบว่า เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากอัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่าอัตราการจ้างงานเต็มที่ (NAIRU: Non-Accelerating Inflation Rate of Unemployment) เป็นเวลา 36 เดือนโดยเฉลี่ย ซึ่งอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ได้ลดลงต่ำกว่า NAIRU มาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2559 ดังนั้นจึงสะท้อนว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเกิดในช่วงเดือน ก.ย. 2562 และอีกปัจจัยหนึ่งก็คือการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งในอดีตเศรษฐกิจมักเข้าสู่ภาวะถดถอยโดยใช้เวลา 33 เดือน (ค่ากลาง) หรือ 44 เดือน (ค่าเฉลี่ย) หลังจากที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ซึ่งหากเรานับว่าเฟดขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ธ.ค. 2559 (ไม่นับเดือน ธ.ค. 2558 เนื่องจากขึ้นดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวแล้วหยุดไป 1 ปีเต็ม) เศรษฐกิจก็จะมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วง ก.ย. 2562 — พ.ย. 2563 ผลกระทบต่อนักลงทุนไทย สำหรับนักลงทุนไทย ระยะสั้น 1–3 เดือนยังไม่ต้องกังวลมากนัก แต่ควรสังเกตบอนด์ยิลด์ 10 ปี ของสหรัฐฯ ซึ่งหากขึ้นมาอยู่ในระดับที่มากกว่า 3.3% ก็ต้องใช้ความระมัดระวังในการลงทุน เพราะอาจจะมีช่วงที่ดัชนีปรับตัวลดลงได้ราว 5–10% อย่างไรก็ตามในช่วงที่ตลาดปรับตัวลดลงนั้น ก็สามารถหาจังหวะเข้าซื้อได้ แต่ระยะยาวหากบอนด์ยิลด์ 2 ปี ปรับตัวขึ้นไปเกินกว่าบอนด์ยิลด์ 10 ปี ก็หมายความว่า คนส่วนใหญ่กำลังคิดว่าในช่วง 2–10 ปีต้องใช้ความระวังให้มากขึ้น เพราะตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง เนื่องจากเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่ากำลังจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต ซึ่งนักลงทุนต้องขายหุ้นทั้งหมด แล้วรอดูสถานการณ์ก่อน ซึ่งลักษณะดังกล่าวน่าคงต้องรอติดตามไปจนถึงไตรมาส 4/2561 ‘เศรษฐกิจถดถอย’ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตอาจวนกลับมาเริ่มต้นอีกไม่นานหลังจากนี้ นักลงทุนจึงควรทำความเข้าใจต่อสัญญาณบ่งชี้ต่างๆ จะได้ตั้งรับให้ทันกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น… ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/tiscomastery/ — — — — — — — — — — — — — – แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน TISCO Advisory ทิสโก้ตั้งปณิธานที่จะใช้ความรู้ความชำนาญของเรา ในการสร้างโอกาสที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิสโก้มุ่งมั่นที่จะทำความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินมาแบ่งปันสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ บนความเชื่อที่ว่า 'โอกาส สร้างได้' และ เราจะเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง 'โอกาส' ในสังคมไทย
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
อวสานของความไร้ตรรกะในตลาดหุ้น - FINNOMENA เมื่อสัปดาห์ก่อนมีหุ้นตัวกลางตัวเล็กหลายตัวที่ราคาตกลงมาอย่างหนักคิดเป็นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ถ้าพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่ามันเกิดขึ้นจากผู้คนที่เกี่ยวข้องและอยู่ในตลาดหุ้นมีพฤติกรรมที่ “ตื่นเต้นแบบไร้ตรรกะ” มาเจาะลึกรายละเอียดของปรากฏการณ์นี้กัน 11 ก.ค. 2561 เมื่อสัปดาห์ก่อนมีหุ้นตัวกลางตัวเล็กหลายตัวที่เคยมีราคาปรับตัวขึ้นโดดเด่นมากขนาดหลาย ๆ เท่าในเวลาเพียง 2-3 ปี และผู้คนในตลาดต่างก็กล่าวขวัญถึงว่าเป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่อาจจะกลายเป็นบริษัท “ระดับโลก” ในไม่ช้า ต่างก็ตกลงมาอย่างหนักคิดเป็นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีเหตุการณ์ “วิกฤติ” อะไรเกิดขึ้นกับบริษัท หลังจากการตกลงมาหลายวัน “ข่าวร้าย” ต่าง ๆ ก็ตามมา นักวิเคราะห์ก็เริ่มที่จะมี “มุมมองใหม่” และเริ่มที่จะปรับราคาพื้นฐาน “ที่เหมาะสม” ให้กับหุ้นใหม่ซึ่งต่ำกว่าราคาเดิมที่ให้ไว้มากราวกับ “ฟ้ากับเหว” ดูเหมือนว่าราคาหุ้นจะเป็น “เครื่องชี้นำ” ทุกอย่าง ถ้าราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและสูงลิ่ว สตอรี่ของบริษัทก็ดูดีไปหมด พูดอะไรไปคนก็เชื่อ ยิ่งผู้บริหารพูด ทุกอย่างดูเหมือนว่าจะต้องเป็นจริงและทำได้ แต่เวลาที่หุ้นตกและราคาลงมาต่ำมาก ความมั่นใจก็ดูเหมือนว่าจะหมดไป และถ้าเหตุการณ์หรือผลประกอบการที่ตามมาน่าผิดหวัง “หายนะ” ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ อาการที่หุ้นที่มีราคาปรับขึ้นมามากแบบ “เวอร์สุด ๆ” แล้วก็ตกลงมาอย่างแรงและรวดเร็วนี้ เราเรียกว่า “ฟองสบู่แตก” ความหมายก็คือ ราคาหุ้นที่ขึ้นไปสูงลิ่วและบริษัทมี Market Cap. สูงแบบเหลือเชื่อนั้น แท้ที่จริงไม่ได้มาจากพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัท มันอาจจะมาจากความตื่นเต้นของนักลงทุนที่เชื่อว่าบริษัทนั้นจะเติบโตอย่างมโหฬารครองตลาดที่มีขนาดใหญ่โตและสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นมากในอนาคต หรือมีสตอรี่ที่น่าตื่นเต้นที่จะเปลี่ยนบริษัทให้เป็นบริษัทระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ได้ในเวลาไม่นาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาก็อาจจะค้นพบว่าเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้นไม่จริงและก็เริ่มขายหุ้นจนทำให้หุ้นตกลงมาสู่ “ราคาพื้นฐานที่ควรเป็น” ซึ่งต่ำกว่าราคาที่เป็นฟองสบู่มาก บางครั้งก็อาจจะต่ำกว่าราคาหุ้นก่อนจะขึ้นด้วยซ้ำ ในช่วงที่หุ้นเป็นฟองสบู่นั้น ถ้าพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่ามันเกิดขึ้นจากผู้คนที่เกี่ยวข้องและอยู่ในตลาดหุ้น อาทิเช่น นักลงทุนรายย่อย นักวิเคราะห์ และแม้แต่นักลงทุนสถาบันบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมที่ Alan Greenspan อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของอเมริกาเรียกว่าการ “ตื่นเต้นแบบไร้ตรรกะ” ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น ผมคิดว่าเรามี “ฟองสบู่ของหุ้นขนาดเล็กและกลาง” ซึ่งทำให้ราคาหุ้นแพงจนไม่น่าเชื่อ โดยที่ดัชนีตลาด MAI นั้นเคยมีค่า PE สูงเกือบ 100 เท่าและขณะนี้ก็ยังสูงถึงกว่า 70 เท่า ส่วนหุ้นขนาดกลางหลายตัวโดยเฉพาะที่เริ่มมีอาการฟองสบู่แตกนั้นก็มักจะเคยมีค่า PE สูงตั้งแต่ 50-100 เท่า เหตุผลที่หุ้นเหล่านี้มีราคาพุ่งขึ้นไปสูงลิ่วนั้น นอกจากการที่หุ้นอาจมีสภาพคล่องต่ำหรือมีหุ้นหมุนเวียนหรือ Free Float น้อย ทำให้หุ้นถูก Corner หรือ “ต้อนเข้ามุม” จนทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงลิ่วแล้ว ผมคิดว่ามาจากการที่คนในแวดวงตลาดหุ้นบางส่วน “ไร้ตรรกะ” ในการคิดพิจารณามูลค่าที่เหมาะสมของหุ้น พวกเขา “ตื่นเต้น” กับราคาและสตอรี่ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้บริหารทำให้ตรรกะในการคิดมีความลำเอียงเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่นักวิเคราะห์ที่มักจะวิเคราะห์ “ตามราคาหุ้น” นั่นคือ ถ้าหุ้นขึ้น พวกเขาก็จะมองหาเรื่องดี ๆ ทั้งหลายของบริษัท ถ้าหุ้นขึ้นแรงและเร็วมาก พวกเขาก็จะบอกว่าบริษัทโดดเด่นมาก โตเร็วมาก กำไรจะโตพรวดไปอีกหลายปี ดังนั้น จึงแนะนำให้ซื้อหุ้นโดยมีเป้าหมายราคาที่มักจะสูงขึ้นไปจากปัจจุบัน “หลายสิบเปอร์เซ็นต์” โดยที่ค่า PE นั้นก็มักจะอิงจากค่า PE ในช่วงปัจจุบันหรือในช่วงเร็ว ๆ นี้ซึ่งอาจจะสูงเป็น 100 เท่าเข้าไปแล้ว ในกรณีที่ไม่กล้าพูดอย่างเต็มปากเขาก็จะหาวิธีการประเมินมูลค่าใหม่เช่นใช้ค่า PEG หรือหา Discount Cashflows ที่คาดการณ์ออกไปในอนาคตหลาย ๆ ปี ที่คนอ่านไม่ค่อยเข้าใจมาใช้เพื่อสนับสนุนราคาที่ “เวอร์มาก ๆ” นั้น ดูเหมือนว่าความ “ตื่นเต้น” จะทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองโลกในแง่ดีและ “เชื่อ” ทุกอย่างที่เป็น “สิ่งดี ๆ” ของบริษัทและผู้บริหาร และปฎิเสธที่จะรวมเอาความเสี่ยงหรือสิ่งเลวร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นเข้ามาอยู่ในการประเมินมูลค่าของบริษัท เหตุการณ์ “ฟองสบู่ของหุ้นตัวเล็กและกลางแตก” ในช่วงเร็ว ๆ นี้คงทำให้นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยต้องปรับตัว การวิเคราะห์แบบ “เชื่อผู้บริหาร” ไปหมดนั้นคงจะน้อยลง นักวิเคราะห์ที่ “กล้า” ที่จะยืนยันความเห็นแบบไม่ลำเอียงคงจะมีมากขึ้น เหตุการณ์หรือบทวิเคราะห์ที่กล้าบอกว่าราคาหุ้นที่เหมาะสมควรจะเป็นครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ของราคาที่เห็น และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับราคาหุ้นที่ลดลงมาใกล้กับการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้นั้นผมคิดว่าจะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวนักวิเคราะห์มากขึ้นเมื่อเทียบกับนักวิเคราะห์คนอื่นที่ยังเน้นการวิเคราะห์ “ตามกระแส” และอาจจะ “ไร้ตรรกะ” ที่ถูกต้อง ผมเองก็ไม่มั่นใจนักว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหน แต่ลึก ๆ แล้วผมคิดว่าความไร้ตรรกะในส่วนนี้คงน้อยลงจนกว่าตลาดหุ้นจะเริ่มฟองสบู่ใหม่ในอีกหลาย ๆ ปีข้างหน้า นักลงทุนส่วนบุคคลในตลาดหุ้นนั้น ดูเหมือนจะอยู่ในอาการไร้ตรรกะสูงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ที่หุ้นตัวเล็กและตัวกลางได้รับความนิยมอย่างสูงในการซื้อขาย พวกเขาเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นด้วยตรรกะที่ว่ามันสามารถทำเงินได้ง่าย ๆ การที่หุ้นตัวเล็กปรับตัวขึ้นไปและมีราคาแพงมากแต่พวกเขาก็ยังเข้าไปซื้อและถือมันอยู่นั้นในอดีตสามารถทำเงินได้อย่างรวดเร็ว หุ้นของบริษัทขนาดเล็กที่ทำ IPO เข้าตลาดมีมากและเสนอขายในราคาที่สูงแต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดี ราคาวันแรกบางทีปรับตัวขึ้นไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์หรือเป็นเท่าตัวนั้นกลายเป็นเรื่องปกติ คนเชื่อว่าหุ้น IPO นั้นเป็นหุ้นที่ทำเงินโดยเฉพาะที่เป็นหุ้นตัวเล็กที่อยู่ในอุตสาหกรรม “4.0” หรือเป็นหุ้นที่มีเจ้ามือเตรียมเล่นกัน หุ้นที่นักลงทุนส่วนบุคคลเจ็บหนักกันจริง ๆ ในช่วงนี้นั้นว่าที่จริงกลับเป็นหุ้นที่ “ดีพอใช้” เป็นหุ้นของบริษัทที่มีกำไรและก็มักจะเติบโตในระดับหนึ่งและสินค้าก็มีความสามารถในการแข่งขันในระดับหนึ่งโดยเฉพาะในตลาดไทย อย่างไรก็ตาม ความนิยมในการลงทุนในตลาดหุ้นของนักลงทุนรายย่อยที่ชอบหุ้นขนาดเล็กที่ราคาสามารถปรับตัวขึ้นไปได้เร็วและแรงทำให้หุ้นเหล่านี้ได้รับความสนใจสูง นั่นส่งผลให้หุ้นเหล่านี้ปรับตัวขึ้นแรง การที่หุ้นปรับตัวขึ้นแรงก็ส่งผลให้คนนิยมมากขึ้นไปอีก ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นไป จากนั้นนักวิเคราะห์ก็เข้ามาให้ความเห็นและประเมิน “ตามราคาหุ้น” ว่าหุ้นน่าซื้อและราคาเป้าหมายสูงกว่าราคาที่เห็น นักลงทุนรายใหญ่และ “เซียนหุ้น” เข้าเก็บและส่งผลให้เกิดความมั่นใจว่านี่คือหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” คนก็แห่กันเข้าไปเก็บราคาหุ้นก็ขึ้นไปอีก นักลงทุนสถาบันบางแห่งซึ่งรวมถึงนักลงทุนเฮดจ์ฟันด์จากต่างประเทศเริ่มสนใจและเข้ามาเล่นเกมที่ไม่ใช่แค่เซียนหุ้นเท่านั้นที่ทำได้ หุ้นก็ยิ่งขึ้นไปอีก ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเจ้าของนั้น ผมคิดว่าเขารู้ว่าศักยภาพของบริษัทตนเองเป็นอย่างไร เขามีตรรกะแน่นอนก่อนเอาหุ้นของตนเองเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้น วันที่หุ้นเขาได้รับความนิยมอย่างล้นหลามราคาหุ้นขึ้นราวกับติดจรวดและคนเริ่มเข้ามาถาม นักข่าวเข้ามาติดตามบริษัท รวมถึงการที่เขากลายเป็น “เซเล็บ” ที่เป็นเศรษฐี “หมื่นล้าน” นั้น ผมคิดว่าน่าจะมีส่วนต่อความคิดหรือตรรกะของเขาเกี่ยวกับหุ้นไม่น้อย บางคนไม่คิดว่าหุ้นเขา “แพงมาก” เขาคิดว่าหุ้นเขา “ดีมาก” ตามกระแสของหุ้น หุ้นตกเมื่อไรเขาก็พร้อมจะซื้อ ตรงกันข้าม บางคนก็อาจจะคิดว่านี่เป็นโอกาส “ออกของ” ถ้าเขาคิดว่ามูลค่าของบริษัทไม่ได้สูงอย่างนั้น คน “คลั่ง” หุ้นของเขาเอง วันหนึ่งที่ความจริงออกมา ราคาคงอยู่ไม่ได้ ดังนั้นเขาก็ขายหุ้นโดยเฉพาะให้กับสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่ที่คิดว่าหุ้นของเขาเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้น สถานการณ์กำลัง “ย้อนกลับ” ความตื่นเต้นเริ่มหายไปเมื่อนักลงทุนขาดทุนอย่างหนัก ผลประกอบการและสตอรี่ของบริษัทเริ่มแสดงออกมาตาม “พื้นฐานของบริษัท” ที่ไม่ได้เป็นซุปเปอร์สต็อกแต่เป็นบริษัทธรรมดาที่ “ดีพอใช้” ซึ่งควรที่จะมีค่า PE อาจจะไม่เกิน 20 เท่า นี่อาจจะเป็น “อวสานของความไร้ตรรกะในตลาดหุ้น” ของหุ้นและนักลงทุนบางกลุ่ม ปรากฏการณ์ต่อจากนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นเวลาที่หุ้นส่วนใหญ่หรือเกือบทุกตัวกำลังวิ่งเข้าไปหาราคาหรือค่า PE ที่เหมาะสมกับตัวเอง อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราคงไม่ได้เห็น “หุ้นธรรมดา” ที่มีค่า PE ถึง 30-40 เท่า และเวลาที่จะซื้อหุ้นนั้น คนก็จะถามว่ามันแพงแค่ไหนนอกเหนือจากคุณภาพของกิจการ ที่มาบทความ : thaivi.org แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
MK - ร้านสุกี้ที่ใหญ่ที่สุดในไทย กับจุดแกร่งที่ทำให้ลูกค้าติดใจ - FINNOMENA เมนูสุกี้ถือเป็นเมนูที่ทุกคนต้องรู้จัก เพราะอยู่กับประเทศไทยมานาน วันนี้เราจะมาเล่าถึงร้านขายสุกี้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยกัน เป็นบริษัทอะไรไปไม่ได้นอกจากเอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M เจ้าของ ร้านสุกี้ MK นั่นเอง 17 ก.ค. 2561 คงไม่มีใครไม่รู้จักร้านเอ็มเคสุกี้ เพราะเป็นร้านสุกี้ร้านเดียวที่มีสาขามากมาย และขยายไปทั่วประเทศมากที่สุดในประเทศไทย สุกี้ ถือเป็นเมนูที่อยู่ในประเทศไทยมานานมาก และเอ็มเคก็เป็นร้านขายสุกี้ที่มียอดขาย 16,458 ล้านบาทในปี 2560 และมี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเกิน 70,000 ล้านบาท ซึ่งไม่มีร้านสุกี้ร้านไหนในไทยที่จะใหญ่ได้ขนาดนี้แน่นอน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น M ที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจแค่ร้านอาหารเอ็มเคสุกี้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงร้านอาหารญี่ปุ่น “ยาโยอิ” ซึ่งได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่น และร้านอาหารญี่ปุ่นอีก 2 ร้าน ได้แก่ “ฮากาตะ” และ “มิยาซากิ” ร้านอาหารไทย “ณ สยาม” และ “เลอสยาม” ร้านกาแฟ/เบเกอรี่ “เลอ เพอทิท” สาขาของร้านอาหารในเครือของเอ็มเค (ที่มา: M Annual Report 2560) นอกจากสาขาในไทยแล้ว M ยังเปิดสาขาในต่างประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นอีกประเทศที่นิยมทานชาบู สาขาร้านอาหารในต่างประเทศ (ที่มา: M Annual Report 2560) M มีรายได้เติบโตขึ้นทุกปีในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ปี รายได้รวม (ล้านบาท) 2558 14,923 2559 15,498 2560 16,458 สัดส่วนรายได้ของ M งบการเงินรวม (ที่มา: M 56-1 ปี 2560) ร้านเอ็มเคสุกี้ถือเป็นร้านอาหารที่สร้างรายได้ให้กับ M มากที่สุดถึง 77% ของรายได้รวม การที่เอ็มเคสุกี้สามารถมียอดขายถึงระดับหมื่นล้านได้นั้น เป็นเพราะจุดแข็งที่เด่นกว่าร้านสุกี้ร้านอื่น นั่นก็คือการรักษามาตรฐานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะไปสาขาไหน รสชาติอาหารก็เหมือนเดิมเพราะมีครัวกลางที่คอยควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ ทำให้กลุ่มลูกค้าติดใจเพราะการรักษามาตรฐานนี้ เอ็มเคสุกี้เน้นกลุ่มลูกค้าในวงกว้างหรือกลุ่ม Mass ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน นักเรียนนักศึกษา เพื่อนร่วมงาน ที่มีรายได้ระดับกลางถึงสูง ซึ่งเวลาลูกค้ามาที่ร้าน จะมากันเป็นกลุ่ม ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น การที่เอ็มเคสุกี้ขายแบบเป็นหม้อก็ช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้ดีกว่าการขายแบบเป็นจาน ร้านเอ็มเคสุกี้ยังมีการบริหารการจัดการร้านได้เป็นอย่างดี เช่น การใส่วัตถุดิบในจานที่เป็นรูปแบบซ้อนกันสูงๆ เหมือน Condo ทำให้ขนย้ายง่าย รวมทั้งต้มน้ำซุปไว้ก่อนแล้วเพื่อให้น้ำเดือดเร็วขึ้น และทำให้เวลาการทานอาหารของลูกค้าเร็วขึ้นอีกด้วย กำไรของ M เติบโตตลอด ปี กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 2558 1,856 2559 2,100 2560 2,425 โดยสรุปแล้ว เอ็มเคเป็นร้านอาหารที่มีความแข็งแกร่งมาก ในเชิงการจัดการของร้านอาหาร และเครือข่ายที่มีสาขาเกิน 600 สาขาทั่วประเทศ ทำให้ M เป็นหุ้นแข็งแกร่งในกลุ่มร้านอาหาร จากข้อมูลในอดีต จะเห็นว่ามีการเติบโตในแง่รายได้และกำไรขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรดูแค่ข้อมูลในอดีตและลักษณะธุรกิจอย่างเดียว นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยอื่นๆ ประกอบกันไปด้วยก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/M https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=M&ssoPageId=4&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=M&ssoPageId=5&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=M&ssoPageId=3&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จุดสูงสุดใหม่ ทำได้ไหมในครึ่งปีหลัง 2018? - FINNOMENA ตอนนี้เริ่มมีคำถามที่นักลงทุนในตลาดหุ้นถามกันหนาหูมากขึ้นว่า “เป็นไปได้ไหมที่ตลาดหุ้นไทยจะสร้างจุดสูงสุดใหม่ในครึ่งปีหลัง” ลองมาดูกันว่ามีเงื่อนไขไหนบ้าง ที่ถ้าหากเกิดขึ้นจริงในครึ่งปีหลัง อาจสามารถลุ้นดัชนีตลาดหุ้นไทยให้สร้างจุดสูงสุดใหม่ได้อีก 6 ก.ค. 2561 ผ่านไปแล้วในครึ่งปีแรกของปี 2018 ถือว่าเป็นครึ่งปีที่ความผันผวนกลับมาอยู่คู่กับนักลงทุนอีกครั้งแบบไม่ทันตั้งตัวนะครับ จบครึ่งปีแรกไป กลายเป็นว่า ตลาดหุ้นที่มีการปรับตัวลงแรงมากที่สุดอยู่ที่ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) โดยตลาดหุ้นเกิดใหม่ถึง 4 ตลาด ที่ปรับฐานลงไปมากกว่า -20% ในครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นระดับที่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคมองว่า ตลาดเข้าสู่ภาวะหมี หรือ Bear Market นั่นก็คือ ตลาดหุ้นตุรกี -29%, ตลาดหุ้นแอฟริกาใต้ -22%, ตลาดหุ้นอาร์เจนติน่า -22% และ ตลาดหุ้นบราซิล -21% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเราติดลบ -9% และลงมาปิดต่ำกว่า 1,600 จุด เมื่อจบไตรมาส 2/2561 ตอนนี้เริ่มมีคำถามที่นักลงทุนในตลาดหุ้นถามกันหนาหูมากขึ้นว่า “เป็นไปได้ไหมที่ตลาดหุ้นไทยจะสร้างจุดสูงสุดใหม่ในครึ่งปีหลัง” ดัชนี SET Index ทำราคาปิดสูงสุดตลอดกาลใหม่ไว้ในไตรมาส 1/2561 ที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ระดับ 1,838.96 จุด แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index ปิดที่ 1,595.58 จุด คิดเป็นการปรับฐานจากจุดสุงสุดมาแล้วลึกถึง -13% ทีเดียวนะครับ ยิ่งนานไป ดูเหมือน SET Index จะยิ่งห่างไกลจากจุดสูงสุดเมื่อต้นปีมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่คือเงื่อนไข ในมุมมองของผมว่า ถ้าหากเกิดขึ้นจริง ในครึ่งปีหลังนักลงทุนก็ยังคงสามารถลุ้นดัชนีตลาดหุ้นไทยสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้งครับ นักลงทุนต่างชาติ ต้องกลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิ อ่านเหตุผลแรกปั๊บ นักลงทุนก็คงบอกว่า ใช่สิ พูดนะง่าย แต่เรื่องจริงถือว่ายากมาก เพราะในครึ่งปีแรก นักลงทุนต่างชาติขายออกจากตลาดหุ้นไทยไปมากถึง -180,076.55 ล้านบาท ซึ่งได้รับแรงกดดันมาจาก การที่สภาพคล่องของโลกกำลังลดลง จากการทยอยลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการทยอยลดขนาดวงเงิน QE และจะนำไปสู่การยุติโครงการ QE ภายในสิ้นปีนี้ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) นี่คือปัจจัยหลักที่กดดันตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลก ซึ่งผมได้เขียนถึงในบทความฉบับก่อนหน้านี้ไปแล้ว สงครามการค้า ต้องหาข้อสรุปให้เจอโดยเร็ว การขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ มีอีกหนึ่งปัจจัยเร่งก็คือ มาจากกลิ่นของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้าหลักที่สหรัฐฯ เสียดุลให้เป็นอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็น จีน, แคนาดา, ยุโรป และ เม็กซิโก ในมุมหนึ่ง ผมเชื่อว่า วิธีการที่ปธน.ทรัมป์ใช้อยู่ ณ ตอนนี้ ก็คือ สร้างอำนาจการต่อรอง ดึงทุกฝ่ายเข้ามาตั้งโต๊ะเจรจากันเป็นรายๆ ประเทศ เพราะที่ผ่านมา สหรัฐฯ เสียดุลการค้า ก็เพราะ การร่วมกลุ่มกันของประเทศอื่นๆ สร้างอำนาจการต่อรองกับสหรัฐฯ ดังนั้น สหรัฐฯ จึงต้องแตกกลุ่มก้อนเหล่านี้ออก และเจรจาเป็นรายๆ ประเทศไป ถึงจะได้ประโยชน์กับตนเองมากที่สุด ทั้งนี้ เชื่อว่า เมื่อมีการตั้งโต๊ะเจรจาเกิดขึ้น เงื่อนไขต่างๆ จะลดหย่อนลง และไม่รุนแรงเท่าที่ตลาดคาดการณ์อยู่ ณ ตอนนี้ แต่คำถามก็คือ เมื่อไหร่จะมีการเจรจากันอย่างจริงจัง? คำตอบก็คือ อาจจะต้องผ่าน Midterm election ออกไปก่อน ซึ่งคือประมาณกลางเดือนพ.ย. ปีนี้เลยทีเดียว ดังนั้น ไม่ง่ายเลยครับสำหรับประเด็นนี้ เศรษฐกิจไทย ต้องขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ไตรมาส 1/2561 ที่ผ่านมา จีดีพีไทย โตในระดับ 4.80% YOY ซึ่งถือว่าขยายตัวดีที่สุดในรอบ 20 ไตรมาส ซึ่งสัญญาณฟื้นตัวก็มาจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งขยายตัวได้ 3.6% และ 3.1% ตามลำดับ ถือว่าดีกว่าที่นักวิเคราะห์มีการประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ ในแง่ของรายได้เกษตรกร ก็ขยายตัวสูงถึง 9% ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดในรอบ 13 เดือน สะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยมีการกระจายตัวไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น แต่จากประมาณการของสศค.จะพบว่า มีการคาดการว่าจีดีพีไทยทั้งปี 2561 จะอยู่ที่ 4.4-4.5% จุดนี้เองก็เป็นจุดที่ผมมองเห็นว่า การเติบโตได้ดีในตอนนี้ ทำให้นักวิเคราะห์ และนักลงทุน มีความคาดหวังต่อเศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้าอยู่มากแล้ว การที่จะเร่งการขยายตัวให้มากขึ้นกว่านี้ ก็อาจจะจำเป็นต้องเห็นการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่มากขึ้น ถามว่ามีหวังไหม ผมว่านักลงทุนหลายคนก็หวังอยู่นะครับ เมื่อดูจาก 3 เหตุผลที่จะทำให้หุ้นไทยกลับขึ้นมา จะเห็นว่า ข้อที่มีโอกาสเป็นไปได้ค่อนข้างยากเลยก็คือ การจะให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิในยามที่สภาพคล่องในระบบมันลดลงเรื่อยๆ และอาจเร่งตัวมากขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจัยนี้ เป็นปัจจัยที่กระทบกับ Fund Flow ทั้งตลาดเกิดใหม่มากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่วนเรื่อง Trade Wars เชื่อว่าระยะยาวก็จะค่อยๆ คลี่คลาย ด้านเศรษฐกิจไทยก็มั่นใจว่ายังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องนะครับ แต่อาจสู้แรงเงินทุนไหลออกไม่ไหว ดังนั้น ผมมีมุมมองว่า จุดสูงสุดใหม่ ตลาดหุ้นไทยอาจทำได้ครับ แต่คงไม่ใช่ในครึ่งปีหลัง อาจเป็นปี 2019 มากกว่า ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645006 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มีดที่กำลังตกสู่พื้น - FINNOMENA ในยามที่ตลาดหุ้นกำลังร่วงลงมาอย่างแรงนั้น นักลงทุนหลายคนที่มีเงินสดเหลืออยู่มักจะถามว่าได้เวลา “เก็บ” หรือ “รับ” หุ้นหรือยัง  และถ้าจะซื้อควรจะดูหุ้นกลุ่มไหนหรือตัวไหน? ลองมาดูมุมมองจาก ดร. นิเวศน์ กันครับ 3 ก.ค. 2561 ในยามที่ตลาดหุ้นกำลังร่วงลงมาอย่างแรงนั้น นักลงทุนหลายคนที่มีเงินสดเหลืออยู่มักจะถามว่าได้เวลา “เก็บ” หรือ “รับ” หุ้นหรือยัง และถ้าจะซื้อควรจะดูหุ้นกลุ่มไหนหรือตัวไหน? ประเด็นแรกก็คือ เราควรซื้อหุ้นหรือไม่นั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันแม้ว่าเราจะเป็นนักลงทุนระยะยาวและเน้นซื้อขายหุ้นแบบ VI และไม่ค่อยสนใจภาวะตลาดหุ้นและไม่สนใจจังหวะเวลาเข้าซื้อหรือทำ Market Timing เหตุผลก็เพราะว่าในยามที่ตลาดหุ้นกำลังตกหนักนั้น ตลาดจะมีความไร้เหตุผลหรือ “ไร้ตรรกะ” สูงกว่าปกติ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าดัชนีหุ้นอาจจะตกต่ำลงได้อีกมากและต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริงได้และถ้าเรารีบเข้าไปซื้อ แม้ว่าจะดูแล้วว่ามันเป็นราคาที่คุ้มค่า แต่หุ้นก็อาจจะตกลงไปอีกมาก ผลก็คือ เราต้องซื้อหุ้นแพงและถือหุ้นที่ขาดทุนและการขาดทุนนั้นอาจจะยังดำรงอยู่ไปอีกนานพอสมควรจนบางทีเราทนไม่ไหวขายทิ้งในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้ จริงอยู่ที่บ่อยครั้งเมื่อเราเข้าไปช้อนซื้อหุ้นในยามที่ดัชนีและหุ้นบางตัวตกลงมามากแล้วมันก็ “เด้ง” ในเวลาที่รวดเร็วซึ่งทำให้เรามีกำไรและขายหุ้นไปทันที กำไรที่ได้รับมาอย่างรวดเร็วนั้นอาจจะทำให้เรารู้สึกดี เรารู้สึกว่าเรากล้าสวนกระแส “กล้าในยามที่คนอื่นกลัว” และประสบความสำเร็จในการ “ลงทุน” อย่างที่เซียนและวอร์เรน บัฟเฟตต์พูดไว้ แต่ในความเป็นจริงก็คือ กำไรที่เราได้รับนั้นมักจะน้อยหรือไม่มากเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่จะต้องรับ ถ้าจะพูดแบบนักเลงคีย์บอร์ดของไทยก็คือ “เก็บเหรียญบาทบนซุปเปอร์ไฮเวย์” ดังนั้น เซียนหุ้นนักลงทุนระยะยาวอย่างปีเตอร์ ลินช์จึงมีสุภาษิตว่า “อย่ารับมีดที่กำลังตกสู่พื้น” ซึ่งมีความหมายว่า ในยามที่ตลาดหุ้นกำลังตกลงมาอย่างแรงเป็นแพนิกหรือใกล้ ๆ เป็นแพนิกนั้น บ่อยครั้ง การเข้าไปซื้อก็คล้าย ๆ กับการไป “รับมีด” ซึ่งทำให้เราบาดเจ็บรุนแรงได้ วิธีที่ดีกว่าน่าจะเป็นการรอให้ “มีดตกลงถึงพื้นก่อน” แล้วค่อยเข้าไป “เก็บหุ้น” ได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ ซึ่งผมเองก็เชื่ออย่างนั้น “มีดที่ตกลงถึงพื้นแล้ว” ก็คือภาวะที่การตกอย่างแรงเริ่มหยุด ความผันผวนของหุ้นน้อยลง ซึ่งอาจจะมาจากปัจจัยที่ทำให้หุ้นตกลงแรงเริ่มคลายตัวลง เป็นต้น ผมคิดว่านักลงทุนระยะยาวที่จะได้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีนั้น ถ้ามีโอกาสก็ควรจะเข้าซื้อหุ้นที่ตกลงมาแรงอย่าง “ไร้ตรรกะ” ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่าง “เห็นได้ชัด” ซื้อในจำนวนที่มีนัยสำคัญ แล้วก็ถือไว้ยาวนานจนกระทั่งราคาหุ้นขึ้นไปสูงเท่ากับหรือเกินกว่าพื้นฐานและสูงกว่าต้นทุนมากจึงพิจารณาที่จะขาย และนี่ก็คือสิ่งที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือเซียนหุ้นหลาย ๆ คนทำมาตลอดเมื่อมีโอกาสเกิดขึ้น ผมไม่แน่ใจว่าการตกของหุ้นไทยในครั้งนี้จะก่อให้เกิดโอกาสแบบนั้นหรือไม่ เวลาจะเป็นตัวบอก ประเด็นต่อมาก็คือ เราควรจะซื้อหุ้นกลุ่มไหนหรือหุ้นตัวไหน? สำหรับเรื่องนี้ผมคิดว่าเราควรจะตัดเรื่องของกลุ่มออกไปเนื่องจากข้อจำกัดของหน้ากระดาษและประโยชน์เองก็ไม่มากนัก เราควรจะเน้นไปที่หุ้นเป็นตัว ๆ จะดีกว่า สำหรับหลายคนแล้ว ดูเหมือนว่าเขาจะชอบที่จะช้อนซื้อหุ้นที่ “ตกมากที่สุด” ที่เขา “เคยเล่น” บ่อยครั้งเป็นหุ้นที่เคยเป็น “ดารา” ที่ทุกคนกล่าวขวัญถึง เป็นหุ้นตัวเล็กหรือกลางที่ผลประกอบการโดดเด่นและราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นไปสูงลิ่วหลายเท่าในเวลาเพียง 2-3 ปี เขาเคยได้กำไรจากการเล่นหุ้นตัวนั้นมาอาจจะ “หลายรอบ” จริงอยู่แม้ว่าช่วงหลัง ๆ ผลประกอบการจะด้อยลงบ้างแต่ “สตอรี่” หรือเรื่องราวน่าตื่นเต้นของบริษัทก็ยังดำรงอยู่ เขาคิดว่าด้วยราคาหุ้นที่ตกลงมา “หลายสิบเปอร์เซ็นต์” หรืออาจจะถึงครึ่งหนึ่งของราคาสูงสุดนั้น มันตกมากเกินไปและ “ไม่มีเหตุผล” ดังนั้น เขาคิดว่าเขาจะเข้าไปช้อนซื้อหุ้นตัวนั้นและคิดว่าราคาก็จะปรับตัวกลับขึ้นมาเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นหลังจากแพนิก แต่สำหรับผมแล้ว นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ผิดพลาดโดยเฉพาะถ้าหุ้นตัวนั้นยังแพงมาก เช่น มีค่า PE สูง บางทีอาจจะยังสูงถึง 30-40 เท่าขึ้นไปจากที่เคยสูงถึง 70-80 เท่าในยามที่ตลาดหุ้นยังร้อนแรงและคนกำลังคลั่งไคล้หุ้นตัวเล็กที่โตเร็วและมีสตอรี่ เป็นต้น เพราะผมคิดว่า การปรับตัวลงแรงมากของหุ้นนั้น มันมักจะเป็น “จุดจบ” ของ “ยุคสมัย” ที่คน “ไม่แคร์เรื่องของความถูกความแพง” และเป็นการเริ่มต้นของความ “มีเหตุมีผลของราคาหุ้น” หุ้นที่จะมีค่า PE ปกติขนาด 30-40 เท่าได้นั้น อาจจะต้องเป็น “Super Stock” เท่านั้น อีกกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจและเบน เกรแฮม เลือกใช้โดยเฉพาะในยามที่เกิดแพนิกหรือวิกฤติตลาดหุ้นก็คือ การหาหุ้นที่ “ถูกที่สุด” โดยอาจจะต้องมีเงื่อนไขบางอย่างเช่น มันต้องเป็นหุ้นที่ “ไม่ตาย” เป็นต้น การหาหุ้นที่ถูกมาก ๆ นั้นมักจะค่อนข้างง่ายในยามที่ตลาดหุ้นตกหนัก นิยามคำว่าหุ้นถูกเองนั้นก็อาจจะมีได้หลายแบบ แต่วิธีที่ผมคิดว่าดีที่สุดน่าจะเป็นหุ้นที่มีผลประกอบการมั่นคง ฐานะการเงินดี ความเสี่ยงในการล้มละลายน้อย และมีความสามารถจ่ายปันผลได้สูง ผมไม่ชอบหุ้นถูกเนื่องจากบริษัทมีทรัพย์สินมากแต่ผลประกอบการแย่และไม่สามารถจ่ายปันผลได้มากขนาดถึง 4-5% ต่อปีขึ้นไป ผมคิดว่าการ “Unlock” หรือการพยายามปลดปล่อยทรัพย์สินที่ไม่ทำงานออกไปนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ซึ่งทำให้การซื้อหุ้นเหล่านั้นจะไม่ได้ผลตอบแทนไปนานและไม่คุ้ม สู้ซื้อหุ้นแล้วรอรับปันผลที่งดงามทุกปีจะดีกว่า ประเด็นเรื่องการซื้อหุ้นว่าเราควรเน้นหุ้นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ประเภท “บลูชิพ” ดีนั้น ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของนักลงทุนมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว หุ้นตัวใหญ่น่าจะปลอดภัยและราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นได้ก่อนหุ้นตัวเล็ก เหตุผลก็คือ หลังจากแพนิกหรือเกิดวิกฤติ นักเก็งกำไรจะหายไปมาก กว่าที่พวกเขาจะกลับมาเป็นกอบเป็นกำนั้นก็มักจะหลังจากที่หุ้นตัวใหญ่ปรับตัวขึ้นไปแล้วซึ่งทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นและดึงดูดนักลงทุนโดยเฉพาะสถาบันต่างประเภทกลับมาซื้อหุ้นจนทำให้หุ้นคึกคักและดึงดูดนักลงทุนรายย่อยกลับเข้ามาซื้อหุ้นใหม่ นอกจากนั้น ด้วยค่า PE ของหุ้นตัวเล็กที่มักจะสูงกว่าหุ้นตัวใหญ่ในภาวะตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันนั้น ผมคิดว่า Valuation ของหุ้นตัวใหญ่ก็น่าจะยังดีกว่าหุ้นตัวเล็กแม้ว่าราคาหุ้นตัวเล็กอาจจะตกมากกว่าหุ้นตัวใหญ่ กลยุทธ์ที่ดีที่สุดนั้นผมเชื่อว่าจะอยู่ที่การซื้อหุ้น Super Stock ที่มีราคาลงไปมากและต่ำกว่าพื้นฐาน ถ้าเราสามารถประเมินได้ การซื้อเก็บไว้ก็มักจะ “การันตี” ว่าจะได้ผลตอบแทนที่งดงาม ผมเองนึกถึงหุ้นอย่างอเมซอนที่ราคาเคยตกลงไปกว่า 90% ในช่วงฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 ถ้าใครวิเคราะห์ได้ว่ามันจะเป็นหุ้นซุปเปอร์สต็อกและซื้อและถือไว้จนถึงวันนี้ก็จะกลายเป็นคนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้มหาศาลจนรวยไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม หุ้นที่เป็นซุปเปอร์สต็อกอยู่แล้วก็อาจจะไม่ได้ตกลงมามากพอ ส่วนหุ้นที่ยังไม่เป็นแต่กำลังจะเป็นนั้นบางทีก็ดูยาก ดังนั้น คนที่จะใช้กลยุทธ์นี้จะต้อง “มองขาด” จริง ๆ ก่อนที่จะจบ ผมก็อยากจะย้ำอีกครั้งว่า สำหรับนักลงทุนระยะยาวแล้ว ความจำเป็นที่จะต้อง “รีบซื้อ” นั้นมีน้อยมาก การที่หุ้นส่วนใหญ่ตกลงมาหนักเองก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าหุ้นนั้นมีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน การซื้อหุ้นที่จะปลอดภัยนั้น เราจะต้องเผื่อ Margin of Safety สูงพอ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเราสามารถประเมินมูลค่าของกิจการได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงโดยที่ต้องไม่อิงกับภาวะของตลาดและตัวหุ้นที่เป็นอยู่เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ดูเหมือนว่าตลาดและหุ้นบางตัวจะ “ไร้ตรรกะ” พอสมควร การประเมินมูลค่าหุ้นในวันนี้จะต้องคิดว่าเราจะซื้อหุ้นตัวนั้นเพื่อรับปันผล ไม่ขายและไม่สนใจว่าจะมีคนมาซื้อต่อในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ ถ้าดูแล้วเราพอใจ เราก็ซื้อ ถ้ายังไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้อ รอจนกว่ามันจะตกลงมาถึงจุดที่เราพอใจ ที่มาบทความ : http://www.thaivi.org แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ความแกร่งของ PM - บริษัทเจ้าของตำนานขนมปลา "ทาโร่" - FINNOMENA ปลาเส้นทาโร่ เป็นหนึ่งในขนมสัญชาติไทยที่มีชื่อเสียงมายาวนานมาก คำถามคือ ใครเป็นผู้ผลิตขนมปลาเส้นนี้ขึ้นมา? วันนี้เราจะมาเล่าถึงบริษัทพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PM ครับ 4 ก.ค. 2561 ขนมปลาเส้นและปลาแผ่น ตรา ทาโร่ ถือเป็นสินค้าที่มีอยู่ตามร้านโชห่วย และร้านค้าปลีกสมัยใหม่เยอะมากแทบทั่วประเทศไทย วันนี้ผมขอมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่เป็นผู้ผลิตขนมปลาทาโร่ที่โด่งดัง รวมทั้งยังมีอำนาจในการกระจายสินค้ามากมาย นั่นก็คือ บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PM ครับ PM เป็นผู้จัดจำหน่ายและเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ลูกอม ผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวและของใช้ในครัวเรือน โดยมีร้านค้ากว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศติดต่อค้าขายโดยตรงกับบริษัท PM มีบริษัทย่อย 4 แห่ง ได้แก่ 1. บริษัท พี.เอม.ฟูด จำกัด ผลิตและจำหน่ายสินค้าปลาเส้นและปลาแผ่น ปลาสวรรค์ทาโร่ 2. บริษัท พรีเมียร์ แคนนิ่ง อินดัสตรี้ จำกัด ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสำเร็จรูปอื่นๆ สำหรับอาหารคนและสัตว์เลี้ยงในรูปแบบ OEM ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ รวมถึงผลิตและจำหน่ายสินค้าซอสยี่ห้อคิงส์ คิทเช่น 3. บริษัท พรีเมียร์ โฟรเซ่น โพรดักส์ จำกัด ให้บริการรับฝากแช่ผลิตภัณฑ์ในห้องเย็น 4. บริษัท พีเอ็ม เอสอี จำกัด ดำเนินธุรกิจลงทุนในกิจการเพื่อสังคม ตัวอย่างสินค้าที่ PM ผลิตและจัดจำหน่าย (ที่มา: PM Annual Report ปี 2560) รายได้ของ PM ปี รายได้ (ล้านบาท) 2557 4,096 2558 4,274 2559 4,082 2560 4,340 เราจะสังเกตได้ว่า ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ PM จะอยู่ในกรอบ 4,000 ล้านบาททุกปี แต่ปีล่าสุดรายได้ของ PM ได้ทำสถิติสูงสุดใหม่ไปเรียบร้อยแล้วที่ 4,340 ล้านบาท สัดส่วนรายได้ของ PM ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ที่มา: PM Annual Report ปี 2560) ตัวขับเคลื่อนรายได้ของ PM ในปี 2560 คือการมีสินค้าใหม่ในส่วนของปลาทูน่าและอาหารกระป๋อง รวมทั้งซอสที่มียอดขายมากขึ้น ส่วนธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายที่รายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยก็เกิดจากการใช้บริการของลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ อย่างเช่น มีการออกทาโร่รสชาติใหม่ๆ มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นผู้จัดจำหน่ายให้กับสินค้าของบริษัทอื่นมากขึ้นอีกด้วย กำไรของ PM ปี กำไร (ล้านบาท) 2557 428 2558 433 2559 345 2560 508 กำไรของ PM นั้นเหวี่ยงลงมากในปี 2559 เนื่องจากยอดส่งออกสินค้าไปต่างประเทศลดลง 151 ล้านบาท รวมทั้งยังต้องแบกรับผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมอีกด้วย แต่ปัญหานี้ไม่มีแล้วในปี 2560 ที่ผ่านมา โดยสรุปแล้ว PM ในตอนนี้อาจจะไม่ใช่หุ้นที่เติบโตหวือหวามากนักเหมือนหุ้นเติบโตตัวอื่นๆ แต่เป็นบริษัทที่มีพื้นฐานที่ดีและแข็งแรง รวมทั้งยังมีสินค้าที่เป็นที่รู้จักกันมาอย่างช้านาน และยังเป็นผู้จัดจำหน่ายให้กับสินค้าหลากหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียงอีกด้วย อย่างไรก็ดี นักลงทุนอย่าลืมศึกษาปัจจัยอื่นๆ ประกอบกันไปก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/PM https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=PM&ssoPageId=4&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=PM&ssoPageId=3&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/companynews.do?symbol=PM&currentpage=1&language=th&ssoPageId=8&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทิศทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2561 - FINNOMENA ครึ่งแรกของปี 2561 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว บทความนี้จะชวนมาวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย หรือตลาดหุ้นไทย มาอัพเดตสถานการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมกันครับ 28 มิ.ย. 2561 I. เศรษฐกิจโลก: เศรษฐกิจโลกช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561 แสดงถึงโอกาสการเติบโตทั้งปีที่น่าจะเป็นไปตามคาดการณ์ที่ 3.9% และเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ปี 2554 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ แซงหน้ากลุ่มประเทศพัฒนา (Advanced Economies) บนอัตราการเติบโตที่ 2.9% ยูโรโซนน่าจะโตที่ 2.4% ส่วนญี่ปุ่นอยู่ในช่วงขาลงที่ 1.2% แต่สหราชอาณาจักรฯ ยังสามารถรักษาระดับไว้ได้ที่ 1.5% ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ลาตินอเมริกาน่าจะโตได้ถึง 2% ยุโรปตะวันออกที่ 2.5% ส่วนตลาดเอเซียยังเติบโตสูงสุดประมาณ 5.8% ถึงแม้เศรษฐกิจจีนจะปรับตัวลดลงที่ 6.6% ในภาพรวมจะเห็นว่า มาตรการเข้าซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางประเทศหลักอยู่ในช่วงขาลง เริ่มจากสหรัฐฯ และล่าสุด ECB ที่ส่งสัญญาณยกเลิก QE ทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการว่างงานและเงินเฟ้อของเศรษฐกิจหลักที่กลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ผมจึงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 7 ครั้งหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งรวม 2 ครั้งในปีนี้อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 หรือ 2 ครั้ง ในปี 2561 โดยปัจจัยหลักน่าจะมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดเพดานภาษีและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจนมองว่าเศรษฐกิจจะมีแรงส่งที่เพียงพอ ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกคงหนีไม่พ้น 2 เรื่องหลัก คือ นโยบายปกป้องทางการค้าของสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณแรงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนล่าสุดมีการตอบโต้ไปมากับจีนทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปั่นป่วนช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมิถุนายน แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ ณ เวลานี้ยังไม่อาจประเมินว่าเป็นสงครามทางการค้า เพราะจำกัดวงระหว่างคู่ค้าและมีโอกาสที่จะเจรจาได้ ซึ่งความเห็นส่วนตัวน่าจะเป็นแนวทางการต่อรองจากรัฐบาลทรัมป์ในลักษณะของการแสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวเพื่อทดสอบขีดจำกัดในการใช้อำนาจ แต่พร้อมที่จะเปลี่ยนจุดยืนเพื่อให้เกิดการยอมรับ โดยตัวอย่างล่าสุดคือกรณีวิกฤตินิวเคลียร์เกาหลีเหนือ อีกประเด็นคงเป็นราคาน้ำมันโลกที่ปรับขึ้นจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในเวเนซุเอล่า อิหร่าน และลิเบีย ซึ่งอาจได้รับการบรรเทาจากบทสรุปการประชุม OPEC เดือนมิถุนายน แต่ผลล่าสุดก่อนปิดต้นฉบับนี้เหมือนสัญญาณการเพิ่มระดับการผลิตน้ำมันน้อยเกินคาดที่ 600,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันขยับขึ้น แต่ก็ไม่น่าสูงจนเกิดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจเพราะซาอุดิอาระเบียจะยังเกรงใจสหรัฐฯ อยู่ II. เศรษฐกิจไทย: เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพบนอัตราสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2555 โดยคาดว่าปี 2561 นี้จะโต 4.7% หากพิจารณารายละเอียดจะพบว่ามาตรวัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ไปในทิศทางที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุนจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาไทยถึง 38 ล้านคน ส่วนใหญ่จากจีนและรัสเซีย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็กลับมาอยู่ที่ 80% เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งทั้งหมดทำให้แรงขับเคลื่อนการเติบโตในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีความสมดุลมากขึ้น งานประมูล “เมกะโปรเจกต์” ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ก็มีโครงการรออยู่มากมาย ซึ่งหากรวมโครงการพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ไปด้วยจะมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท แต่ปัญหาสำคัญยังอยู่ที่ความล่าช้าในการเบิกจ่ายซึ่งคาดว่ารัฐบาลปัจจุบันจะเร่งให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้งในปีหน้า ถึงแม้ว่าส่งออกและอุปสงค์ในประเทศทยอยปรับดีขึ้น แต่การฟื้นตัวดูเหมือนยังไม่กระจายอย่างทั่วถึง จึงทำให้ กนง.ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย เอื้อให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อขยับสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ยังไม่แตะกรอบนโยบายที่ 1.5 ถึง 2.5 หากราคาน้ำมันเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเงินเฟ้อน่าจะเริ่มเข้ากรอบช่วงครึ่งปีหลัง 2561 และทำให้ กนง.ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562 III. ตลาดหุ้นไทย: ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งไทยปรับตัวลงอย่างแรงจากความกังวลในโอกาสของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ประกอบกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้กระแสเงินทุนต่างชาติออกจาก SET มากในเดือนมิถุนายน แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า กระแสเงินทุนต่างชาติทยอยออกมานานแล้ว โดยมีสัดส่วนการถือครองที่ลดลงตั้งแต่ปี 2556 ถึงกระนั้นตลาดหลักทรัพย์ก็ยังเติบโตได้จากอัตราผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผมจึงมองโครงสร้างพื้นฐานของตลาดว่าเข้มแข็งอยู่ แต่แรงกดดันจะมาจากปัจจัยภายนอก ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644943 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Kris Chantanotoke คุณกฤษณ์ จันทโนทก ผู้บริหารวัยหนุ่มไฟแรง ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน มากความสามารถ และเป็นผู้ที่เทใจให้การลงทุนฝั่ง Investments of Passion อย่างสุดตัว ปัจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด (ประเทศไทย)
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วิกฤติตลาดหุ้นจะมาเมื่อไร - FINNOMENA คำถามหนึ่งของนักลงทุนในช่วงนี้ที่ตลาดหุ้นค่อย ๆ  ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องคือ  “ตลาดจะเกิดวิกฤติไหม?”  ก่อนที่จะตอบคำถามเราควรมาศึกษาทฤษฎีและประวัติศาสตร์ของวิกฤติดูก่อน  เพราะจะทำให้เราเข้าใจและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้ 28 มิ.ย. 2561 คำถามหนึ่งของนักลงทุนในช่วงนี้ที่ตลาดหุ้นค่อย ๆ ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือน ๆ พร้อม ๆ กับการขายหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศจำนวนมากถึงกว่าแสนห้าหมื่นล้านบาทตั้งแต่ต้นปีก็คือ “ตลาดจะเกิดวิกฤติไหม?” และถ้าเกิดวิกฤติเราควรจะทำอย่างไร? ก่อนที่จะตอบคำถามเราควรมาศึกษาทฤษฎีและประวัติศาสตร์ของวิกฤติดูก่อน เพราะนี่จะทำให้เราเข้าใจและมีความเห็นหรือสามารถวิเคราะห์ตัดสินใจได้ว่าวิกฤตน่าจะเกิดขึ้นไหมและเราควรจะทำอย่างไรกับพอร์ตหรือหุ้นของเราก่อนที่จะเกิดวิกฤติ ส่วนคำถามว่าถ้าเกิดวิกฤติแล้วเราจะทำอย่างไรนั้น ผมคิดว่ามันคงช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะเวลาเกิดวิกฤตินั้น หุ้นเกือบทุกตัวก็จะตกกันหมด บาดเจ็บกันทั่วหน้า เรื่องของทฤษฎีนั้น ผมคิดว่าวิกฤตินั้นมักจะเกิดขึ้นโดยที่มักจะมี 2 ประเด็นใหญ่ ๆ ประกอบกัน ขาดอันใดอันหนึ่งวิกฤติก็ไม่น่าจะเกิดหรือโอกาสที่จะเกิดก็จะน้อย โดยที่เรื่องแรกก็คือระดับราคาของหุ้นในตลาดหรือก็คือความถูกความแพงของหุ้นโดยรวมที่มักจะวัดจากค่า PE ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ แทบทุกครั้งที่เกิดวิกฤตโดยเฉพาะวิกฤติขนาดใหญ่นั้น ค่า PE ของตลาดมักจะสูงถึงสูงมาก บางครั้งสูงถึง 30-40 เท่าในขณะที่ดัชนีเฉลี่ยระยะยาวของตลาดอาจจะแค่ 14-15 เท่า หรืออย่างในตลาดหุ้นไทยก็อาจจะแค่ 12-13 เท่าอะไรแบบนั้น อย่างไรก็ตาม การวัดค่า PE โดยใช้ราคาหุ้นแค่จุดเดียวหรือวันเดียวและใช้กำไรแค่ปีเดียวอย่างที่เราใช้กันเป็นปกตินั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเลขที่ดีนักเนื่องจากปีนั้นอาจจะมีเหตุการณ์ไม่ปกติที่ทำให้กำไรโดยรวมของตลาดน้อยหรือมากกว่าปกติ เช่น เป็นปีที่ราคาพลังงานสูงหรือต่ำกว่าปกติมากและหุ้นในกลุ่มพลังงานมีน้ำหนักมากในตลาด เป็นต้น ตัวเลขความถูกความแพงของหุ้นที่วัดโดยค่า PE นั้น จึงควรมีการปรับให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้นและตัดประเด็นเรื่องของความผันผวนระหว่างปี ในประเด็นนี้ เบน เกรแฮมเสนอว่าเราควรใช้ค่ากำไรเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังมาแทนที่กำไรปีสุดท้ายปีเดียว ตัวเลขนี้จะมีความเสถียรมากกว่าตัวเลขเพียงปีเดียวมาก เพราะมันจะครอบคลุมวัฏจักรเศรษฐกิจตกต่ำและเฟื่องฟูได้หมด ประเด็นที่สองที่มีผลต่อการเกิดวิกฤติตลาดหุ้นก็คือ เรื่องของวัฏจักรเศรษฐกิจและ/หรือเรื่องของพื้นฐานการดำเนินการของเศรษฐกิจหรือหุ้นบริษัทจดทะเบียน โดยที่ทฤษฎีแรกซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมหรือสายหลักก็คือ ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำและ/หรือฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ ซึ่งก็มักจะส่งผลต่อการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในที่สุด แบบนี้ก็จะส่งผลให้คนทิ้งหุ้นที่มีราคาแพงหนักอยู่แล้ว ผลก็คือ ตลาดเกิดวิกฤติหุ้นตกลงมามาก บางทีเศรษฐกิจก็อาจจะไม่ได้ย่ำแย่หรืออาจจะดีขึ้นด้วยซ้ำ แต่ถ้าตลาดการเงินนั้นตึงตัวมาก อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อดีดตัวขึ้นแรงอย่างรวดเร็ว แบบนี้ก็อาจจะส่งผลให้นักลงทุนย้ายเงินจากตลาดหุ้นไปลงทุนในตลาดเงินจำนวนมาก ผลก็อาจจะทำให้ตลาดหุ้นถล่มลงมากลายเป็นวิกฤติได้เหมือนกัน สรุปแล้วสำหรับทฤษฎีนี้ก็คือ การเกิดวิกฤติของตลาดหุ้นนั้น เราอาจจะพอคาดการณ์ได้ เพราะนักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์และติดตามตัวเลขมหภาคอยู่ตลอดเวลาและรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เองนั้นแต่ละคนก็มีความคิดเห็นหลากหลายแม้ว่าจะดูตัวเลขตัวเดียวกันแต่ก็อาจจะมีการทำนายต่างกันได้มาก ตัวอย่างเช่นในช่วงวิกฤติใหญ่ของอเมริกาและโลกในปี 1929 นั้น แม้แต่มือเศรษฐกิจระดับตำนานอย่าง Irving Fisher ก็ยังพูดว่าเศรษฐกิจทุกอย่างดูดีและราคาหุ้นที่แพงสุดขีดนั้นก็คงจะสูงอยู่อย่างนั้นอย่างถาวร ก่อนที่หุ้นจะถล่มทลายเพียงไม่กี่เดือน และนั่นอาจจะนำไปสู่ทฤษฎีที่สองของการเกิดวิกฤติที่ว่า วิกฤตินั้นมักจะไม่ได้เกิดขึ้นจากสิ่งที่คาดการณ์ได้จากตัวเลขเศรษฐกิจ แต่มันน่าจะเกิดจากพฤติกรรมของนักลงทุนที่ “บ้าคลั่ง” หรือ “ตื่นเต้นแบบไร้ตรรกะ” ในตลาดหุ้นที่ไล่ซื้อหุ้นจนมีราคาเป็น “ฟองสบู่” โดยไม่ได้อิงปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตามที่ควรเป็น ซึ่งในที่สุดแล้วฟองสบู่ก็แตกกลายเป็นวิกฤติ และคนที่เสนอทฤษฎีนี้ก็คือ Robert Shiller นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบิลเมื่อ 3-4 ปีก่อน ทฤษฎีเรื่องของพฤติกรรมของนักลงทุนที่จะก่อให้เกิดวิกฤตินั้น เป็นเรื่องของสภาวะของผู้คนในแวดวงการเงินและตลาดหุ้นซึ่งไม่มีตัวเลขชัดเจน ดังนั้น จึงน่าจะเอามาทำนายว่าจะเกิดวิกฤติเมื่อไรได้ยาก วิธีที่พอจะทำได้ก็คือการสำรวจตรวจสอบความสนใจหรือความกระตือรือร้นของนักลงทุนส่วนบุคคลที่มีต่อตลาดหุ้นและการลงทุน ตัวอย่างเช่น การมีรายการเกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้นจำนวนมากในทีวี การที่คนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับหุ้นอย่างช่างตัดผมหรือแท็กซี่พูดคุยเรื่องหุ้นกับลูกค้า จำนวนหนังสือหุ้นบนแผงและการจัดสัมมนาเกี่ยวกับหุ้นที่มีมากมาย การเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นของนักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมาก หรือการมีการใช้มาร์จินซื้อขายหุ้นสูงมาก เป็นต้น ถ้าหุ้นในตลาดแพงจัดและสภาวะการเก็งกำไรหรือความตื่นเต้นไร้ตรรกะมีสูงมาก เราก็อาจจะคาดคะเนว่าตลาดอาจจะเกิดวิกฤติได้ในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเรื่องของความเห็นของแต่ละคนว่าแค่ไหนคือความคลั่งไคล้หุ้นที่สูงมากพอหรือไร้ตรรกะเพียงพอ การที่มีหุ้นที่ซื้อขายด้วยค่า PE สูงเป็น 50-100 เท่าจำนวนมากนั้นบอกได้ไหมว่าตลาดหุ้นกำลังเข้าสู่วิกฤติ จริงอยู่ในช่วงปี 2000 ในตลาดหุ้นอเมริกานั้น ดูเหมือนว่าทุกคนกำลังบ้าคลั่งกับหุ้นอินเตอร์เน็ตและทำให้มีหุ้นที่มี PE เกิน 50-100 เท่าจำนวนมากซึ่งในที่สุดฟองสบู่หุ้นเหล่านั้นก็แตกและกลายเป็นวิกฤติตลาดหุ้น แต่จริง ๆ แล้วการกำหนดเวลาก็ไม่ชัด เพราะหุ้นอินเตอร์เน็ตโตและแพงมาน่าจะเกือบสิบปีก่อนหน้านั้นแล้ว กลับมาดูที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ ค่า PE ของตลาดดูเหมือนว่าจะอยู่ที่ประมาณ 16-17 เท่า แต่ถ้าดูค่า PE ที่ใช้กำไรเฉลี่ยย้อนหลังไป 10 ปี ค่า PE จะกลายเป็นประมาณ 25-26 เท่า ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ถ้าเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นอเมริกาย้อนหลังไปนานหลาย ๆ สิบปีก็จะพบว่าค่า PE ระดับนี้ก็อยู่ในภาวะที่แพงใกล้ ๆ กับช่วงก่อนวิกฤติครั้งใหญ่ ๆ ในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม 2-3 ปีก่อนหน้านี้ ค่า PE ของตลาดหุ้นนิวยอร์คที่ใช้ข้อมูลกำไรย้อนหลัง 10 ปีก็ดูเหมือนว่าจะสูงลิ่วแบบนี้เหมือนกันซึ่งก็ทำให้หลายคนคิดว่าตลาดหุ้นอเมริกาตอนนั้นแพงและเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม หุ้นอเมริกาก็ไม่วิกฤติ แถมปรับตัวขึ้นไปมาก คนที่กลัวก็ “ตกรถ” กันเป็นแถว มองที่ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและหุ้นไทยเองนั้น ตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์หลาย ๆ คนต่างก็พูดว่ายังดีอยู่ ไม่มีอะไรน่าห่วงที่จะทำให้เกิดภาวะวิกฤติได้ อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อเองก็คงไม่ปรับตัวขึ้นสูงแม้ว่าโลกกำลังลดสภาพคล่องทางการเงินและต่างชาติกำลังถอนเงินออกจากตลาดหุ้นไทยอย่างหนัก ดังนั้น พวกเขาไม่คิดว่าจะเกิดวิกฤติตลาดหุ้นตามทฤษฎีนี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนและนักเล่นหุ้นบางคนที่ศึกษาประวัติวิกฤติตลาดหุ้นไทยก็จะพบว่าประมาณเกือบทุก 10 ปี ตลาดมักจะเกิดวิกฤติ เช่น ปี 2522 เกิดวิกฤติราชาเงินทุน ปี 2530 Black Monday ปี 2540 ต้มยำกุ้ง ปี 2551 วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ และนี่ก็ปี 2561 เป็นเวลา 10 ปีแล้วที่ไทยไม่เกิดวิกฤติตลาดหุ้นเลย พวกที่เชื่อเรื่องของวัฏจักรจึงกลัวว่ามันใกล้จะเกิด อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างที่ผ่านมาอาจจะเป็นเรื่องบังเอิญก็ได้ เพราะไม่มีใครอธิบายได้ว่าทำไมต้อง 10 ปีเกิดที หันมาดูเรื่องของจิตวิทยาของนักเล่นหุ้นและนักลงทุนส่วนบุคคล ผมเองคิดว่ามีอาการของการตื่นเต้นไร้ตรรกะอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เฉพาะอย่างยิ่งก็คือหุ้นตัวเล็กและกลางจำนวนไม่น้อยที่มีค่า PE 50-100 เท่า และทุกคนต่างก็เข้าไปลงทุนหรือเล่นกันโดยที่พื้นฐานของบริษัทไม่รองรับ ดูเหมือนว่าคนจะเข้าไปเล่นโดยอิงกับอนาคตหรือสตอรี่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นต่ำ ดังนั้น หุ้นในกลุ่มดังกล่าวจึงมีโอกาสที่จะเกิดวิกฤติ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ก็ดูเหมือนว่ามันกำลังเกิดขึ้นเป็นรายตัว ในด้านของตลาดหุ้นโดยรวมเองนั้น ความตื่นเต้นกับหุ้นโดยรวมก็มีไม่น้อยเช่นกันดูจากปริมาณการซื้อขายหุ้นรายวันที่สูงลิ่ว 50,000-60,000 ล้านบาทต่อวันโดยเฉลี่ย ดังนั้น ในความเห็นของผม ตลาดหุ้นไทยเองก็มีสัญญาณวิกฤติอยู่เหมือนกัน และผมก็เตรียมตัวมานานที่จะรับกับมัน วิธีที่ผมใช้เดิมก็คือการลดพอร์ตหุ้นลง อย่างไรก็ตาม ผ่านมา 2 ปีตลาดหุ้นก็ไม่วิกฤติและผมได้นำเงินกลับมาลงทุนในหุ้นใหม่ แต่หุ้นที่ผมลงทุนนั้นจะเน้นหุ้นที่มีราคาถูกและผลประกอบการน่าจะทนทานต่อวิกฤติทางเศรษฐกิจได้ ผมคิดว่าถ้าไม่เกิดวิกฤติตามที่ผมกลัวผมจะเสียโอกาสการลงทุนไปมากเนื่องจากต้องนำเงินไปฝากได้ดอกเบี้ยแค่ 1% การลงทุนในหุ้นที่ราคาถูกมากและมั่นคงอย่างน้อยผมคิดว่าน่าจะให้ปันผลถึง 4-5% ต่อปี ดีกว่า ที่มาบทความ : http://www.thaivi.org แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ช่วงนี้หุ้นตก นักลงทุนแนว Passive ควรทำอย่างไร? - FINNOMENA ช่วงนี้หุ้นตก นักลงทุนเริ่มจะตั้งคำถามว่า แบบนี้ฉันควรจะทำอย่างไร หยุดลงทุนดีไหม? หรือ จะขายไปก่อน หรือ จะซื้อลงทุนต่อไป? วันนี้มีคำแนะนำสำหรับนักลงทุนแนว Passive หรือนักลงทุนสายกองทุนว่าควรทำอย่างไร 26 มิ.ย. 2561 ช่วงนี้หุ้นตก นักลงทุนเริ่มจะตั้งคำถามว่า แบบนี้ฉันควรจะทำอย่างไร หยุดลงทุนดีไหม? หรือ จะขายไปก่อน หรือ จะซื้อลงทุนต่อไป? สำหรับผม นักลงทุนมี 2 แนว แนว Passive คือ คนที่ชอบลงทุนผ่านกองทุน แนว Active คือ คนที่ชอบลงทุนเอง เลือกหุ้นรายตัวเอง คำถามคือ ช่วงนี้หุ้นตก นักลงทุนแนว Passive ควรทำอย่างไร? เราเริ่มกันที่ 1. ทำไมถึงหุ้นตก ในปี 2018 มีหลายแหล่งข่าวที่ได้มีการรายงานไปแล้ว ดังนั้นผมขอสรุปว่ามาจากสาเหตุจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นส่วนใหญ่ มีดังนี้ USA ขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ผลตอบแทนในพันธบัตรสูงขึ้น สงครามการค้าระหว่างจีนและ USA กองทุนต่างชาติปรับพอร์ตการลงทุน ตามดัชนี MSCI ส่งผลให้เงินไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) จากอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย โดยไหลออกจากประเทศไทยไปแล้วกว่า 165,000 ล้านบาท 2. พื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ในสายตา IMF IMF ได้ออกบทความ เรื่อง Thailand’s Economic Outlook in Six Charts ผมสรุปให้ดังนี้ การเติบโตของประเทศไทยยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกด้านอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยวกับการส่งออกเป็น Key ที่สำคัญ หนี้ภาคครัวเรือนยังคงสูงอยู่ เป็นเหตุผลที่ทำให้ประชาชนยังไม่ใช้จ่าย การใช้จ่ายโครงการต่างๆ ของภาครัฐจะช่วยให้เกิดกระตุ้นการลงทุนและการใช้จ่ายได้ ประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมแรงงานให้เข้ากับสังคมผู้สูงอายุ อุตสาหกรรมด้านบริการกำลังเติบโตขึ้น รัฐบาลกำลังจะปฏิวัติระบบดิจิตอลเพื่อเพิ่มผลผลิต เช่นโครงการ EEC ซึ่งจะมีอุตสาหกรรม robotics, aerospace, and biotechnology ซึ่งจะต้องเรียนปรับหลักสูตรการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองสิ่งเหล่านี้ สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ http://www.imf.org/en/News/Articles/2018/06/07/NA060818-Thailands-Economic-Outlook-in-Six-Charts 3. ผลตอบแทนของตลาดหุ้น ในแต่ละช่วงเหตุการณ์ ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ตลาดติดลบ นี่เป็นเรื่องปกติเหมือนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ลองมาทบทวนย้อนกลับไปว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นในอดีตเป็นอย่างไร ถ้าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ และถ้าดียิ่งขึ้น ทุกอย่างก็จะกลับมา 4. แก้ว 3 ประการในการลงทุน เริ่มจากหลักการกระจายการลงทุน หรือเราเรียกว่าการทำ Asset Allocation การกระจายสินทรัพย์ในการลงทุน หรือ เราเรียกว่าการจัดพอร์ต โดยจะจัดพอร์ตตามความเสี่ยงที่รับได้ หรือ จัดพอร์ตตามเป้าหมายทางการเงิน เลือกหลักทรัพย์ในการลงทุนอย่างละเอียด เมื่อแบ่งว่าจะลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ อย่างละเท่าไรแล้ว เป็นกี่ % แล้ว ลำดับต่อไปการเลือกหลักทรัพย์รายตัวที่จะลงทุน สำหรับนักลงทุนแบบ Passive ก็ต้องเลือกกองทุนที่ Outperform สามารถจะชนะตลาดได้ การจับจังหวะการลงทุน สำหรับนักลงทุนแบบ Passive วิธีที่ดี คือ ใช้ Dollar Cost Averaging (DCA) โดยการทำจะต้องใช้วินัยในการออมเหมาะกับการลงทุนระยะยาว และที่สำคัญจะทำให้ต้นทุนของเราเกิดการเฉลี่ยของต้นทุน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่ำลงเหมาะกับการลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความผันผวนสูงอีกด้วย ผลการทำ DCA ต่อเนื่อง ลงทุนทุกปี ปีละ 60,000 บาท โดยจะเข้าลงทุนทุกเดือนมกราคมของทุกปี ลงทุนใน SCBSET ที่ลงทุนใน SET Index ลงทุนตั้งแต่ ปี 2540 – 2560 ใช้เวลา 21 ปี ต้นทุนสะสม 2 ล้าน มูลค่า ณ สิ้นปี 2560 หรือ ปีที่ 22 จะมีประมาณ 6 ล้าน กำไร 270% หรือ ประมาณ IRR 10% อย่างไรก็ตาม อยากให้เข้าใจว่า ผลงานในอดีต ไม่สามารถการันตีผลงานในอนาคตได้ และแม้หุ้นจะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด แต่ก็มีความผันผวนสูงเช่นเดียวกัน 5. เราควรจะทำอย่างไรดี ทำใจให้สบาย ทำงาน เก็บออม และมีวินัยลงทุนอย่างต่อเนื่องเหมือนเดิม มองไปที่เป้าหมายในระยะยาว ตรวจสอบการจัดพอร์ต ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุน ตรวจสอบกองทุนว่า ยังคงสามารถ outperform ได้อีกหรือไม่ ความผันผวนเป็นสิ่งที่อยู่คู่นักลงทุนระยะยาว จงลงทุนให้เบิกบานใจ ด้วยความปรารถนาดี สมพจน์ พัดสุวรรณ WealthGuru แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน WealthGuru คุณ สมพจน์ พัดสุวรรณ CEO BMK Wealth Management ผู้ก่อตั้งเพจ WealthGuru
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำความรู้จัก "มัดแมน": ผู้ที่นำ Greyhound, Dunkin' Donuts, Au Bon Pain และ Baskin-Robbins มามัดรวมกัน - FINNOMENA Greyhound Cafe, Another Hound Cafe, Dunkin' Donuts, Au Bon Pain และ Baskin Robbins เป็นร้านอาหารที่ทุกคนต้องเคยได้ยินและแวะเวียนไปลิ้มลองมาบ้างแล้ว ทีนี้มาทำความรู้จักกับ "มัดแมน" ผู้อยู่เบื้องหลังร้านเหล่านี้กันครับ 26 มิ.ย. 2561 ถ้าพูดถึงร้านอาหารอย่าง Greyhound Cafe, Another Hound Cafe, Dunkin’ Donuts, Au Bon Pain และ Baskin-Robbins คาดว่าทุกคนคงรู้จักกันดี ร้านเหล่านี้มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ร้านอาหารเหล่านี้ในประเทศไทยถูกดำเนินงานโดย บริษัท มัดแมน จำกัด (มหาชน) หรือ MM นั่นเอง MM เป็นบริษัทประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) โดยธุรกิจที่ประกอบหลักๆ คือร้านอาหารและเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 3 ธุรกิจ รายได้รายธุรกิจของ MM ปี 2560 มีดังนี้ ธุรกิจ ดำเนินการโดย รายได้ (ล้านบาท) สัดส่วน ร้อยละ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้สิทธิ์แฟรนไชส์ GDT, ABP, GS 1,886 63.5% ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง MM, GHC, SLVH 936 31.5% ธุรกิจไลฟ์สไตล์ GHF 148 5% โดยบริษัทของ MM มีรายละเอียดการทำธุรกิจดังนี้ บริษัท GDT ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ (Master Franchise Agreement) จาก Dunkin’ Donuts Franchised Restaurants LLC ABP ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ (Master Franchise Agreement) จาก ABP Corporation (ประเทศสหรัฐอเมริกา) หรือร้าน Au Bon Pain นั่นเอง GS ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ (Master Franchise Agreement) จาก Baskin Robbins Franchising LLC (ประเทศสหรัฐอเมริกา) GHC เจ้าของร้าน Greyhound Café / Another-Hound Cafe และยังมีร้านอาหาร M-Kitchen, Le Grand Vefour GHF ธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่น สำเร็จรูป ทั้งสุภาพบุรษและสุภาพสตรี จุดเด่นและจุดอ่อนของ MM จุดเด่นของ MM คือ การเป็นเจ้าของร้านอาหารที่มีชื่อเสียงหลายร้าน ซึ่ง MM ไม่ได้เสียเวลาสร้างแบรนด์ใหม่ เพราะไปขอซื้อแฟรนไชส์จากบริษัทต่างชาติเหล่านี้มา ทำให้ MM สามารถมีแบรนด์ที่ดีภายในเวลาไม่นาน แต่จุดอ่อนของ MM ก็คือ การที่รายได้สัดส่วนเกิน 60% มาจากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มภายใต้สิทธิ์แฟรนไชส์ ถ้าบริษัทต่างชาติเปลี่ยนการดำเนินงานลงมาบุกตลาดไทยเอง และทำการยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์กับ MM ก็จะส่งผลกระทบในแง่ลบ ประวัติการดำเนินงานของ MM (ที่มา: SET Opp Day 1Q2560) MM มีการขอสิทธิ์แฟรนไชส์จากบริษัทต่างประเทศมาโดยตลอด และจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2560 รายได้และจำนวนร้านของ MM (ที่มา: SET Opp Day 1Q2560) รายได้ของ MM มีการเติบโตขึ้นต่อเนื่องทุกปี ตามการเปิดตัวของสาขาใหม่ที่มีมากขึ้น โดยธรรมชาติของธุรกิจร้านอาหารจะมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin หรือ GPM) ค่อนข้างสูง MM เองก็มี GPM% สูงเกือบ 60% เช่นกัน แต่ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการบริหารและขายที่สูง คือ ค่าเช่าพื้นที่ร้าน ค่าพนักงานประจำร้าน จึงยังทำให้ MM มีผลขาดทุนอยู่ในปี 2560 นั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบอัตรากำไรขั้นต้นของ MM กับคู่แข่ง อัตรากำไรขั้นต้น % ปี พ.ศ. 2560 MM 56.5% M (ร้านอาหาร MK สุกี้) 66.2% MINT (ร้านอาหาร Sizzler, Swensens ฯลฯ) 55.1% CENTEL (ร้านอาหาร Ootoya, Pepper Lunch ฯลฯ) 40.7% AU (ร้านขนมหวาน After U) 65.2% โดยสรุปแล้ว MM เป็นบริษัทไทยที่ดำเนินธุรกิจร้านอาหารแนวตะวันตก ซึ่งทำให้คนไทยได้ลิ้มลองอาหารตะวันตกคุณภาพดีได้ในประเทศไทย ต้องคอยติดตามกันต่อไปว่า MM จะสามารถพลิกฟื้นกลับมาทำกำไรได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยรอบด้านประกอบกันไปก่อนตัดสินใจลงทุนครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/MM http://www.dcs-digital.com/setweb/downloads/2560q1/20170609_mm.pdf https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=MM&ssoPageId=3&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=MM&ssoPageId=5&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
10 กองทุนฮิตประจำเดือนมิถุนายน ที่คนค้นหามากที่สุดใน FINNOMENA.COM - FINNOMENA มาดูกันว่ากองทุนไหนมีคนค้นหาข้อมูลมากที่สุดใน FINNOMENA! เราเอาโพยเดือนมิถุนายนมาให้แล้ว ตามมาดูข้อมูลกันเลย 23 ส.ค. 2562 มาดูกันว่ากองทุนไหนมีคนค้นหาข้อมูลมากที่สุดใน FINNOMENA! เราเอาโพยเดือนมิถุนายนมาให้แล้ว ตามมาดูข้อมูลกันเลย Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โตสบายๆ ไปกับ SPA - หุ้นไทยที่นำสปาไทยไปสู่สปาโลก - FINNOMENA การนวดแผนไทยเป็นรูปแบบการนวดของประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวและคนไทยด้วยกัน วันนี้เราจะมาพูดถึงหุ้นที่ทำธุรกิจให้บริการนวด นั่นก็คือ SPA ซึ่งดำเนินธุรกิจทำสปาไทยกันครับ 20 มิ.ย. 2561 เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีธุรกิจบริการดีเยี่ยมในราคาสบายกระเป๋า ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล แต่ยังมีอีกธุรกิจหนึ่งที่ถือเป็นจุดเด่นของประเทศไทย นั่นก็คือธุรกิจบริการนวดนั่นเอง การนวดแผนไทยเป็นรูปแบบการนวดของประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวและคนไทยด้วยกัน เราจะเห็นร้านนวดแทบทุกที่ ตั้งแต่ร้านนวดตามตึกแถวยันศูนย์บริการนวดระดับหรูหราในโรงแรม วันนี้เราจะมาพูดถึงหุ้นที่ทำธุรกิจให้บริการนวด ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกันครับ นั่นก็คือ บริษัท สยามเวลเนสกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ SPA ซึ่งดำเนินธุรกิจทำสปานั่นเอง SPA เป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้านสปาเพื่อสุขภาพ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสปา ธุรกิจของ SPA แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ธุรกิจสปา ส่วนนี้สร้างรายได้ให้ SPA มากที่สุด 2) ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ส่วนนี้ SPA ไม่ได้เน้นมากนัก 3) ธุรกิจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สปา ส่วนนี้คือการใช้พื้นที่ภายในร้านให้เกิดประโยชน์ นอกจากจะให้แ ขกนั่งรอแล้วยังทำเป็นพื้นที่ขายของไปในตัวด้วย 4) กิจการโรงเรียนเกี่ยวกับการนวดแผนไทย ส่วนนี้ทำเพื่อให้หมอนวดของ SPA มีใบประกาศว่าได้ผ่านการเรียนนวดแล้ว และเพื่อควบคุมคุณภาพต่อไป ในปัจจุบัน SPA มีสปาเปิดให้บริการรวมด้วยกันทั้งหมด 41 สาขา ธุรกิจของ SPA แบ่งออกเป็น 3 แบรนด์ คือ 1) Let’s Relax 27 สาขา 2) RarinJinda Wellness Spa 3 สาขา 3) บ้านสวนมาสสาจ 11 สาขา แบรนด์ทั้ง 3 ของ SPA, ที่มา: SET Opp Day สาขาของ SPA, ที่มา: SET Opp Day แต่หุ้น SPA เป็นที่น่าสนใจและได้รับความนิยมอย่างมากกับนักลงทุนไทย เพราะ SPA เป็นหุ้นตัวหนึ่งที่อยู่ในเทรนด์ใหญ่ คือ นักท่องเที่ยวจีนไหลเข้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจีนนั้นเรียกได้ว่า ‘มหาศาล’ โดยประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวรวม 35 ล้านคนในปีที่แล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทย, ที่มา: SET Opp Day เพราะ SPA สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีทำให้ SPA มีรายได้และกำไรดังนี้ ปี รายได้รวม (ล้านบาท) กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 2558 544 106 2559 739 (เติบโต 35.8%) 141 (เติบโต 33%) 2560 962 (เติบโต 30.2%) 175 (เติบโต 24%) SPA ถือเป็นธุรกิจที่ได้ใช้ความเป็นไทย แล้วขายบริการที่มีคุณภาพได้ดีมาก ปัจจุบัน SPA มีสาขา 41 สาขา และมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเกินหมื่นล้านเป็นที่เรียบร้อย การเติบโตทางรายได้ของ SPA, ที่มา: SET Opp Day แต่ปัจจัยการเติบโตที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของ SPA คือ การขายสาขา (Franchise) ไปในต่างประเทศอย่างประเทศจีนที่มีประชากรเป็นพันล้านคน โดยปกติ SPA จะตั้งเป้าขยาย 10 สาขาต่อปี แต่เพราะเป็นการขายสาขา ทำให้ SPA สามารถขยายได้มากกว่านั้นโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเอง ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่น่าติดตาม โดยสรุปแล้ว SPA ถือเป็นธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์ ตอนนี้มีการขยายสาขาในรูปแบบ Franchise ทำให้สามารถขยายสาขาได้มากขึ้นและเร็วกว่าเมื่อก่อน ทำให้นอกจากจะได้รับความนิยมโดยคนที่รักการนวดแล้ว SPA ยังเป็นที่นิยมของนักลงทุนอีกด้วย อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/spa https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=SPA&ssoPageId=3&language=th&country=TH รูปภาพจาก: http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/290318161751-Oppday-SPA.pdf —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Fund Flow ไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ เพราะอะไร? - FINNOMENA นับตั้งแต่ต้นปี 2018 เป็นต้นมา ตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) เจอกับแรงขายของนักลงทุนต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง ทำไมเงินทุนถึงไหลออก? มาดูสถานการณ์ปัจจุบันกันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง 19 มิ.ย. 2561 นับตั้งแต่ต้นปี 2018 เป็นต้นมา ตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) เจอกับแรงขายของนักลงทุนต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง บทความนี้พาทุกคนย้อนไปดูต้นตอของปัญหาเงินทุนไหลออก พร้อมกับอัพเดทสถานการณ์ปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ความผันผวนของตลาดทุน เกิดขึ้นครั้งแรกของปีนี้เมื่อช่วงปลายเดือนม.ค. ถึงต้นเดือนก.พ. สาเหตุมาจาก การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ขึ้นมาทะลุระดับ 3% เพราะตัวเลขเงินเฟ้อที่ดีกว่าคาดของทางสหรัฐฯ และทำให้นักลงทุนกังวลว่า จะมีเงินลงทุนไหลกลับเข้าสหรัฐฯ เมื่อรวมกับทิศทางการดำเนินนโยบายของปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีความตั้งใจจะตั้งกำแพงภาษีนำเข้ากับจีนในวงเงินรวม 5 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า อาจจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองในระยะสั้นจากการที่สามารถลดการขาดดุลการค้าได้ และช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศค้าขายได้ จึงเร่งให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ แข็งค่ามากขึ้นอีก ดอลล่าร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ก็แปลว่า สกุลเงินประเทศอื่นๆ อ่อนค่าเมื่อเปรียบเทียบกับดอลล่าร์ ตรงนี้จึงมากระทบกับประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่มีการกู้ยืมเงินในสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูง ขณะที่อาจจะมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับต่ำ พอเป็นแบบนี้ นักลงทุนที่มีมุมมองว่าดอลล่าร์จะแข็งค่าในระยะยาวเลยพิจารณาลดพอร์ตการลงทุนในประเทศเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น บราซิล, ตุรกี, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และแอฟริกาใต้ ภาพเหตุการณ์เริ่มชัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากการประชุมเฟด ซึ่งปรับขึ้น Fed Fund Rate อีก 0.25% ขึ้นมาที่ 1.75%-2.0% และส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ โดยดูได้จากประมาณการ Dot Plot ที่มีคณะกรรมการเฟด เห็นว่าควรปรับขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ 4 ครั้ง จากเดิมมีเพียง 7 ท่านจาก 15 ท่านในการประชุมเดือนมี.ค. เพิ่มมาเป็น 8 ท่านในการประชุมสัปดาห์ที่แล้ว ถือว่าสร้างเซอร์ไพรส์ให้ตลาดเล็กๆ เพราะนักลงทุนคาดการณ์กันก่อนหน้านี้ไปแล้วว่า ความเสี่ยงด้านการเมืองในอิตาลี และสเปน อาจจะทำให้เฟดชะลอการขึ้นดอกเบี้ยออกไป เมื่อเป็นเช่นนี้ เลยทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมาอีกรอบทันที แต่ประเด็นที่เป็นตัวทริกเกอร์การไหลออกของเงินทุนสกุลอื่นๆ เข้าสหรัฐฯ ก็มีอีก 2 ประเด็น คือ การส่งสัญญาณลดขนาดโครงการ QE ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งตลาดคาดกว่าจะยุติโครงการตั้งแต่เดือนก.ย. ปีนี้ แต่กลายเป็นว่า จะค่อยๆ ถอยโดยลดจาก 30,000 ล้านยูโรต่อเดือน เหลือ 15,000 ล้านยูโรต่อเดือนมีเดือนก.ย. และค่อยยุติโครงการอย่างถาวรในเดือนธ.ค. พร้อมส่งสัญญาณว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับ 0% ต่อไปอีกอย่างน้อยๆ 1 ปี สิ่งนี้จึงทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าทันทีหลังทราบผลการประชุม อีกประเด็นหนึ่งก็คือ การลดขนาดงบดุลของเฟดตั้งแต่ต้นปี 2017 ด้วยการปล่อยให้พันธบัตรที่ครบกำหนดไม่ Rollover ต่อ เท่ากับเป็นการดูดซับสภาพคล่องอีกทาง เมื่ออุปทาน (Supply) มีมากขึ้น ก็เลยทำให้ตราสารหนี้ลดลงตามไปด้วย หากใครที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ เยอะๆ เห็นแนวโน้มเช่นนี้ ก็ต้องมีความคิดจะลดการถือครองลงเช่นเดียวกัน ซึ่งข้อมูลจาก Bloomberg.com พบว่า จีนซึ่งมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมูลค่าราวๆ 3.16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อตอนปลายเดือนม.ค. ปีนี้ ล่าสุดสิ้นเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา เหลือ 3.11 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็นการลดลงราวๆ 5 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 4 เดือน แปลว่า จีนเอง ก็อาจมีการขายพันธบัตรสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสัดส่วนเยอะมากที่สุดในทุนสำรองระหว่างประเทศหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดนะครับ ประเทศอื่นๆในตลาดเกิดใหม่ ที่สะสมเงินทุนสำรองในสกุลดอลล่าร์มากๆ ก็มีพฤติกรรมคล้ายๆ กับจีน ก็คือ พยายามสกัลการไหลออกของเงินทุน ไม่ว่าจะด้วยการขยับขึ้นดอกเบี้ย หรือ การนำเงินทุนสำรองไปพยุงค่าเงินไว้ไม่ให้อ่อนค่ารุนแรงเกินไป ซึ่งการขายเงินทุนสำรองของเหล่าธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่ นักวิเคราะห์ก็ให้คำนิยามไว้ว่า มันคือการทำ Quantitative Tightening หรือ “QT” ซึ่งคำนี้ นักวิเคราะห์จากซิตี้กรุ๊ปเคยตั้งนิยามไว้ตั้งแต่ปี 2015 ตอนที่เฟดประกาศยุติโครงการ QE อย่างที่บอกตอนต้นนะครับว่าบทความนี้ตั้งใจพาทุกท่านไปเห็นต้นตอของเงินลงทุนไหลออกในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้พยายามพยากรณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นเหตุการณ์และสถานการณ์การลงทุนของโลกหลังจากนี้ ก็คงต้องวิเคราะห์จากมุมมองอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้เราได้ข้อมูลหลายทางในการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์การลงทุนครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644893 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เปิดกลยุทธ์เถ้าแก่น้อย - บริษัทสาหร่ายระดับพันล้าน ฝีมือวัยรุ่น - FINNOMENA หลายๆ คนน่าจะพอคุ้นเคยกับประวัติของคุณต๊อบ เจ้าของสาหร่ายเถ้าแก่น้อย คุณต๊อบในวัย 19 ปีต้องเริ่มทำธุรกิจสาหร่ายเพื่อช่วยครอบครัวปลดหนี้ ซึ่งในวันนี้ได้กลายเป็นบริษัทมหาชนแล้ว มาอัพเดตเรื่องราวล่าสุดของเถ้าแก่น้อยกันครับ 18 มิ.ย. 2561 บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TKN เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสาหร่ายแปรรูปทั้งในและต่างประเทศภายใต้ตราสินค้า “เถ้าแก่น้อย” รวมถึงขนมขบเคี้ยว และผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพประเภทอื่นๆ สาหร่ายเถ้าแก่น้อย ถือเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีการเติบโตในแง่ของรายได้มาโดยตลอด บริษัทก่อตั้งในปี 2004 ในโรงงานเล็กๆ ไม่กี่ ตรม. มาถึงวันนี้ TKN มีมูลค่าตามราคาตลาดเกิน 20,000 ล้านบาท และสร้างรายได้หลักพันล้านบาท ถือว่าเป็นการเติบโตที่น่าประทับใจมาก ในระยะเวลาเพียง 10 ปีกว่า แม่ทัพใหญ่ของ TKN นั้นถือว่าเป็นต้นแบบในการทำธุรกิจของหลายๆ คนเช่นกัน เขาก็คือ คุณอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ หรือ คุณต๊อบ ผู้อยู่กับบริษัทนี้มาตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจตอนอายุ 19 ปี ประวัติชีวิตและธุรกิจของเขาถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง “วัยรุ่นพันล้าน” ประวัติบริษัทโดยย่อ, ที่มา: SET Opp-Day รายได้ของเถ้าแก่น้อย ปี รายได้ (หน่วย: ล้านบาท) 2558 3,515 2559 4,729 (เติบโต 35%) 2560 5,283 (เติบโต 12%) รายได้ของ TKN มีการเติบโตมาโดยตลอดและในปีที่ผ่านมา รายได้ของ TKN มีการทำ New High ใหม่อีกรอบ แสดงให้เห็นถึงความต้องการของตลาดที่มีจริงๆ รายได้ตามไลน์สินค้าของเถ้าแก่น้อย ในปี 2560 ประเภทสินค้า สัดส่วนจากรายได้รวม สาหร่ายทอด 46.1% สาหร่ายย่าง 43.1% สาหร่ายแบบเทมปุระ 1.9% สาหร่ายอบ 2.9% อื่นๆ 6.4% TKN มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เช่นกัน ในตอนแรก TKN เน้นการขายสาหร่ายทอดเท่านั้น แต่ในตอนหลังมีการพัฒนาสินค้าใหม่ เช่น สาหร่ายย่างและสาหร่ายอบ ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดี จนเกือบจะมาแทนที่สาหร่ายทอดอีกด้วย ถือเป็นการพัฒนาสินค้าใหม่ที่ประสบความสำเร็จมาก รายได้รายประเทศของเถ้าแก่น้อย รายได้ตามประเทศ, ที่มา: SET Opp-Day ประเภทรายได้ รายได้ (หน่วย: ล้านบาท) ขายในประเทศ 2,063 ส่งออกต่างประเทศ 3,200 จุดเด่นของ TKN นั้นคือการเติบโตในต่างประเทศ และประเทศที่ TKN มีการส่งออกไปเยอะมาก (มากกว่าขายในไทยอีก) คือประเทศจีน ที่สร้างรายได้ให้กับ TKN มาเป็นกอบเป็นกำตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ถ้าเราดูเฉพาะสินค้าในประเทศไทยแล้วคิดว่าโตไม่ได้แล้ว เพราะเห็นสาหร่ายเถ้าแก่น้อยเกือบทุกที่ทั้งใน 7-11, BigC, Lotus หรือแม้กระทั่งร้านโช่ห่วยก็มีสาหร่ายของเถ้าแก่น้อย ประเทศ รายได้ (หน่วย: ล้านบาท) ประเทศไทย 2,063 ประเทศจีน 2,104 แล้วเถ้าแก่น้อยจะโตต่อไปอย่างไรในประเทศไทย? คำตอบก็คือ นอกจากการโตในต่างประเทศแล้ว TKN ยังมีการเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ และร่วมจัดงานกับดาราชื่อดังอย่างต่อเนื่องอีกด้วย เช่น นิชคุณ และ BNK48 เพื่อกระตุ้นตลาดสาหร่ายในไทย โปรโมชั่นของ My Whey, ที่มา: https://www.movefast.me/mywhey/ นอกจากสินค้าประเภทสาหร่ายที่ TKN ถือเป็นธุรกิจหลักมาตั้งแต่เริ่ม ในปีที่แล้ว TKN มีการเปิดตัวสินค้าที่ไม่ใช่สาหร่าย นั่นก็คือ My Whey เครื่องดื่มเวย์โปรตีน พร้อมดึง วู้ดดี้และกาละแมร์ มาช่วยโปรโมต ส่วนในปีนี้ดึง เบลล่า แห่ง บุพเพสันนิวาส และร่วมมือกับ โน้ต อุดม ทำโปรโมชั่น ในเดี่ยว 12 ทว่าเถ้าแก่น้อยก็ไม่ได้มีแต่จุดแข็ง จุดอ่อนของ TKN คือ วัตถุดิบหลัก นั่นก็คือสาหร่ายที่ TKN ไม่มีความสามารถที่จะควบคุมราคาได้ เราจึงได้เห็นการหดตัวของอัตรากำไรสุทธิในปีที่แล้วเพราะราคาของสาหร่ายที่ TKN ใช้ผลิตสินค้ามีการเพิ่มขึ้นเป็น 10% ซึ่งทำให้กำไรลดลงไปด้วย แต่ล่าสุดทาง TKN ก็ได้แถลงว่าสาหร่ายมีราคาที่ถูกลงแล้ว และจะใช้สาหร่ายที่ซื้อมาถูกลงในไตรมาส 2 เป็นต้นไป โดยสรุปแล้ว TKN ถือเป็นเจ้าตลาดของสาหร่ายไทย รวมทั้งยังมีการเติบโตจากต่างประเทศที่ดี หากราคาของสาหร่ายกลับมาถูกลง เราก็อาจจะเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนตัดสินใจลงทุนครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/tkn https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=TKN&ssoPageId=5&language=th&country=TH http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/280218124620-Oppday-TKN.pdf https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?symbol=TKN&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=tkn&submit= https://www.movefast.me/mywhey/ —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
The Key Factors ตอน ตลาดการเงินหลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED - FINNOMENA ภาวะการลงทุนในระยะนี้มีปัจจัยสำคัญหลายอย่าง โดยเฉพาะการประชุมนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้น 0.25% ลองมาดูกันว่าสถานการณ์นี้ส่งผลอย่างไรบ้าง? 16 ส.ค. 2562 <span data-mce-type="bookmark" style="display: inline-block; width: 0px; overflow: hidden; line-height: 0;" class="mce_SELRES_start"></span> ภาวะการลงทุนในระยะนี้มีปัจจัยสำคัญหลายอย่าง โดยเฉพาะการประชุมนโยบายการเงินของทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น การประชุมกำหนดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC ไปจนถึงการประชุมระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือที่ผ่านพ้นไปด้วยดี จากการประชุม FINNOMENA Investment Team ครั้งล่าสุด ได้ติดตามสภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลก และได้คัดเลือก The Key Factors ที่น่าสนใจมาให้นักลงทุนทุกท่านติดตาม ดังนี้ 1. การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ FED จากการประชุม FED เมื่อคืนวันที่ 13 มิ.ย. 61 ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่า FED ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐมาอยู่ที่ 1.75 – 2.00% และส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งเป็น Surprise ของตลาด ทำให้ Bond Yield 10 ปี ปรับตัวขึ้นไปที่ 3.01% ก่อนจะปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 2.95% ซึ่งตลาดพันธบัตรตอบรับอย่างไม่รุนแรงมาก และตลาดหุ้นปรับลดลงประมาณ 0.5% รูปที่ 1 Dot Plot จากการประชุม FED 13 มิ.ย. 61 ที่มา : Bloomberg รูปที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯ หลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่มา : Investing.com 2. Yield Spread ของตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ Yield Spread หรือส่วนต่าง Bond Yield 10 ปี กับ 2 ปีของสหรัฐฯ ทำจุดต่ำสุดนับตั้งแต่หลังวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ลงมาที่ระดับ 0.42% โดย Bond Yield 2 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ Bond Yield 10 ปีกลับไม่ค่อยขึ้นตาม เป็นสัญญาณสะท้อนมุมมองของนักลงทุนใน 1 – 2 ปีข้างหน้าว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตลดลงโดยเฉพาะปี 2019 ที่ Earning จะไม่ได้ผลบวกจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ อย่างในปีนี้ ทำให้ FED อาจขึ้นดอกเบี้ยได้ไม่มากเท่าที่กรรมการ FED คาดที่ระดับ 3% ในปีหน้า รูปที่ 3 10-2 Year Yield Spread สหรัฐ ที่มา : FRED 3. สภาพคล่องในระบบของอเมริกาที่น้อยลงและการออกพันธบัตรที่มากขึ้นส่งผลต่อ EM รูปที่ 4 การเพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลและการลดงบดุลของสหรัฐฯ ที่มา: U.S. Department of the Treasury, Bureau of Fiscal Service, sifma.org จากรูปจะเห็นว่าปริมาณการก่อหนี้ (การออกพันธบัตร) ของรัฐบาลสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นขณะที่ FED กำลังลดขนาดงบดุลลง ทำให้สภาพคล่องที่มีอยู่ในระบบลดลง ทำให้ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market, EM) หลายๆ แห่งต้องเริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อป้องกันเงินทุนไหลออกและรักษาเสถียรภาพค่าเงินไม่ให้อ่อนค่ามากจนเกินไปจนกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งหมดก็เป็น THE KEY FACTORS รายงานจาก FINNOMENA Investment Team ที่นำมาฝากทุกท่านประกอบการตัดสินใจลงทุนในวันนี้ ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนครับ FINNOMENA Investment Team รายงาน อธิบายคำศัพท์ FED’s Dot Plot คือ มุมมองของคณะกรรมการ FED ต่อการปรับดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต โดยใน Dot Plot จะแสดงมุมมองของคณะกรรมการ 15 ท่านว่ามีความเห็นต่อการปรับดอกเบี้ยนโยบายไปที่ระดับใด (แต่ละจุดใน Dot Plot คือ มุมมองของดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการ 1 ท่าน) Cumulative Net Debt Issuance คือ ปริมาณการก่อหนี้สะสมของรัฐบาลสหรัฐฯ ในที่นี้การก่อหนี้ของรัฐบาล คือ การกู้ยืมและการออกพันธบัตร FED Balance Sheet Reduction คือ การปรับลดงบดุลย์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) โดยเบื้องต้นคือการปล่อยให้ตราสารหนี้ที่ถืออยู่ครบอายุและไม่มีการซื้อเพิ่มส่งผลให้ผู้ออกตราสารต้องจ่ายคืนเงินลงทุนและดอกเบี้ยงวดสุดท้ายแก่ผู้ซื้อตราสาร ทำให้สภาพคล่องหรือเงินดอลล่าห์หายไปจากระบบ แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ศึกเครื่องดื่มชูกำลัง: เมื่อ M-150 ท้าชน คาราบาว ! - FINNOMENA M-150, คาราบาว, กระทิงแดง ต่างเป็นเครื่องดื่มชูกำลังที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย และวันนี้เจ้าตลาดอย่าง "โอสถสภา" กำลังเตรียมเข้า IPO เหตุการณ์นี้จะมีผลกระทบต่อคู่แข่งยังไงบ้าง? 13 มิ.ย. 2561 เครื่องดื่มชูกำลังถือเป็นเครื่องดื่มที่พบเจอได้แทบทุกที่ในประเทศไทย ด้วยราคาเพียง 10 บาทต่อขวด ทำให้เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลาย มียี่ห้อเครื่องดื่มชูกำลังวางขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น M-150 จากค่าย OSP (บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)), คาราบาว จากค่าย CBG (บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)), กระทิงแดงจากค่าย TC Pharma (บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด) วันนี้เราจะมาเทียบกันระหว่าง บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG เจ้าของยี่ห้อคาราบาว ที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปแล้ว และ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP เจ้าตลาดเครื่องดื่มชูกำลังของไทย เจ้าของยี่ห้อ M-150 กันครับ เทียบรายได้ ปี รายได้ (หน่วย: ล้านบาท) CBG OSP 2558 7,874 32,044 2559 10,112 (เติบโต 28%) 33,004 (เติบโต 3%) 2560 13,068 (เติบโต 29%) 26,210 (ลดลง 21%) ถ้าเราดูเฉพาะรายได้เทียบกันของ 2 บริษัท เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า OSP มีรายได้เยอะกว่า CBG มาก แต่ถ้าดูการเจริญเติบโตของรายได้แล้ว CBG มีการเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ในขณะที่ OSP ไม่ได้มีการเติบโตมากนัก และยังลดลงอีกด้วย นี่เป็นเพราะสัดส่วนรายได้ที่ไม่เหมือนกัน เทียบสัดส่วนรายได้ รายได้ปี 2560 (หน่วย: ล้านบาท) CBG OSP รายได้จากการขายในประเทศ 7,822 20,607 รายได้จากการส่งออก 5,024 4,210 รายได้จากการส่งออกของ CBG นั้นสูงกว่าของ OSP ซึ่งเป็นการไปโตในต่างประเทศ เพราะตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในไทยไม่ได้มีการเติบโต ในขณะที่ OSP ยังไม่ได้มีการไปบุกต่างประเทศมากนัก แต่นี่คือสาเหตุที่ OSP เลือกที่จะทำ IPO เพราะต้องการบุกตลาดต่างประเทศแบบเต็มรูปแบบ จุดนี้ยังเป็นประเด็นที่นักลงทุนต้องติดตาม CBG มีการส่งสินค้าไปในประเทศจีนและครอบคลุมหลายมณฑล ที่มา: SET Opp-Day CBG ยังมีการส่งของไป United Kingdom และเข้าช่องทาง Modern Trade ได้แล้วหลายที่ ที่มา: SET Opp-Day เทียบ Market Share ในไทย Market Share ของมูลค่าตลาดค้าปลีกปี 2558-2560 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 OSP 56.4% 55.6% 54.4% CBG 21.9% 23.1% 23.2% TC Pharma (กระทิงแดง) 15.8% 14.9% 15.3% อื่นๆ 6% 6.4% 7.1% คราวนี้เรามาดูกันในประเทศไทยกันบ้าง เราเห็นเลยว่า OSP เป็นผู้นำตลาดอย่างแท้จริง และยังคงสถานะนี้มาเรื่อยๆ โดยสรุป ทั้ง 2 บริษัทนั้นดำเนินธุรกิจเดียวกัน และมีท่าทีว่าจะโตในรูปแบบเดียวกันคือ โตในต่างประเทศมากขึ้น จึงเป็นหุ้น 2 ตัวที่น่าติดตาม อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรศึกษาหลายๆ ปัจจัยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนนะครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/CBG http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/260318122445-Oppday-CBG.pdf http://market.sec.or.th/public/idisc/th/Product/Filing/ALL-0000000817/ https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=CBG&ssoPageId=5&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
The Key Factors ตอน 4 ปัจจัยการลงทุนที่ควรจับตามอง - FINNOMENA หลังจากความผันผวนในช่วงที่ผ่านมาจากเรื่องการเมืองอิตาลี และสงครามการค้ารอบใหม่ของประธานาธิบดี Trump  ส่งผลปั่นป่วนตลาดหุ้นโลกในช่วงที่ผ่านมา แต่จริงๆแล้วยังมี Key Factor อะไรซึ่งสะท้อนภาพตลาดและเศรษฐกิจอีกบ้าง 16 ส.ค. 2562 หลังจากความผันผวนในช่วงที่ผ่านมาจากเรื่องการเมืองอิตาลี และสงครามการค้ารอบใหม่ของประธานาธิบดี Trump ส่งผลปั่นป่วนตลาดหุ้นโลกในช่วงที่ผ่านมา แต่จริงๆแล้วยังมี Key Factors อะไรซึ่งสะท้อนภาพตลาดและเศรษฐกิจอีกบ้าง จากการประชุม ครั้งล่าสุด ทีม FINNOMENA Investment Team ได้ติดตามสภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลก และพบว่ามีปัจจัยชี้นำเศรษฐกิจและตลาดหุ้นบางตัว เริ่มส่งสัญญาณเตือนว่าเศรษฐกิจและภาวะตลาดจะยังคงมีความผันผวนต่อเนื่องต่อไป ปัจจัย 4 อย่างนี้มีอะไรบ้าง มาดูกันในบทความนี้ครับ ความร้อนแรงของตลาด NASDAQ รูปที่ 1 มูลค่า NASDAQ เทียบกับ S&P500 ที่มา: Bloomberg ตลาดหุ้น NASDAQ ส่งสัญญาณร้อนแรง สะท้อนจากตัวเลข market Cap ของตลาดหุ้น NASDAQ อยู่ที่ 49% ของ S&P 500 สูงกว่าสัดส่วนในสมัยก่อนเกิดวิกฤต Dot Com ในปี 2000 เข้าไปแล้ว โดยมาจากหุ้นเทคโลยีโดยเฉพาะกลุ่ม FANG ที่ปรับตัวขึ้นมามาก เป็นปัจจัยที่สะท้อนความร้อนแรงของตลาด NASDAQ ในช่วงนี้ Emerging Market Currency รูปที่ 2 ดัชนีค่าเงิน Brazil Real เทียบกับ USD ที่มา: Bloomberg ค่าเงิน Brazil Real อ่อนค่า ใกล้เคียงจุดต่ำสุดในปี 2015 ผลหลักจากค่าเงิน USD ที่แข็งค่าขึ้น และการลดขนาด QE ของฟากฝั่งสหรัฐฯ ส่งผลให้มีกระแสเงินทุนไหลออกจาก BRAZIL และตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ส่งผลให้ความเสี่ยงของตลาดหุ้นในกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงจาก กำลังการผลิตที่มากขึ้นใน US รูปที่ 3 ราคาน้ำมัน WTI ที่มา: TradingView รูปที่ 4 กำลังการผลิตน้ำมันดิบและจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในอเมริกา | ที่มา Zerohedge ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วที่กลุ่ม Opec ได้ส่งสัญญาณเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในสัปดาห์ที่แล้ว เกิดอะไรขึ้นกับ หุ้น BEAUTY และ WORK รูปที่ 5 กราฟราคาหุ้น WORK | ที่มา TradingView สามารถดูข้อมูลหุ้น WORK เพิ่มเติมได้ที่ http://finnomena.com/stock/work รูปที่ 6 กราฟราคาหุ้น BEAUTY | ที่มา Tradingview สามารถดูข้อมูลหุ้น BEAUTY เพิ่มเติมได้ที่ http://finnomena.com/stock/beauty ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต หลังจากราคาหุ้น Growth Stock หลายตัวปรับขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ล่าสุด FINNOMENA Investment Team เริ่มเห็นราคาหุ้นขวัญใจมหาชนหลาย ๆ ตัว เช่น WORK , BEAUTY ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงทั้งที่การเติบโตของผลประกอบการยังมีอยู่ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนในตลาด (Mr.Market) มีความมั่นใจในหุ้น Growth ที่ Valuation สูง ๆ เหล่านี้ลดลง และปรับลดมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นเหล่านี้ลง ทั้งหมดก็เป็น THE KEY FACTORS รายงานจาก FINNOMENA Investment Team ที่นำมาฝากทุกท่านประกอบการตัดสินใจลงทุนในวันนี้ ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนครับ FINNOMENA Investment Team รายงาน อธิบายคำศัพท์ NASDAQ คือ ดัชนีหุ้นเทคโนโลยีของอเมริกา S&P 500 คือ ดัชนี หุ้น 500 ตัวของ อเมริกา US Oil Rig Count คือ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมัน ในเอมริกา FANG คือ คำใช้เรียกกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำในตลาดหุ้น NASDAQ ประกอบด้วย Facebook, Amazon , Netflix และ Alphabet (หรือ Google) คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
อวสานหุ้น Sure Thing - เช็คด่วนมีหรือไม่ - FINNOMENA ครึ่งปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนของหุ้น Consumer Goods ที่หลายคนรู้จักชื่อกันดีต่างพากันติดลบ หรือนี่จะเป็นจุดจบของหุ้น Sure Thing หุ้นที่เป็นที่โปรดปรานของเหล่าสถาบัน และนักลงทุนวีไอหลายๆ คน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? 30 เม.ย. 2563 หุ้นโลกเกิด Sector Rotation ที่น่าสนใจท่ามกลางตลาดหุ้นโลกที่ร่วง 10-20% กันถ้วนหน้า มีหุ้นอยู่สามกลุ่ม ที่วิ่งสวนทะลุขึ้นมา โดยมีความเกี่ยวข้องกัน วันนี้มาดูกันก่อนว่าอะไรถ่วงตลาด ในขณะที่เราดื่ม Coke รสกาแฟ อันใหม่ที่เพิ่งออก หรือซื้อยาสระผม สบู่ ใช้กันตามปกติ เชื่อหรือไม่ว่าหุ้นเหล่านี้กำลังถล่มทลาย…. มันเป็นไปได้ฤๅ? พวกนี้หุ้น Defensive ชัดๆ ตลาดลงต้อง Outperform สิ มาดูผลตอบแทนจากยอดดอย ปลายเดือนมกราคม จนถึงศุกร์ 25 พ.ค. ที่ผ่านมากันครับ เฉพาะแบรนด์ที่มักคุ้นตา เช่น Procter and Gamble (-18%) , Pepsi (-17%) , Coca Cola (-13%) , Nestle (-10%) อันนี้นับให้แต่ต้นปี เพราะจริงๆ ตัวนี้ดอยข้ามปี, Unilever (-3%) แข็งแกร่ง all time high ไปปลายปีที่แล้ว , Kraft Heinz (-30%) นี่ก็ดอยข้ามปี ซอสไม่อร่อยแล้วเหรอ, Colgate (-17%), British and American Tobacco (-23%) เชื่อว่า VI หลายๆ ท่าน คงเคยได้ยิน เคยศึกษาหุ้น Consumer Goods เหล่านี้กันมาบ้าง หุ้นกลุ่มนี้เป็นที่โปรดปรานของเหล่าสถาบัน และนักลงทุน VI อย่าง Warren Buffett มาเนิ่นนาน หุ้นเหล่านี้จึงมีสมญานามว่า หุ้น Sure Thing หากจะเปรียบให้ง่ายขึ้น มีนักลงทุน VI บางท่าน เอาหุ้น Sure Thing ไปเปรียบเหมือนหุ้นอย่าง CPALL ในบ้านเรา โดยอิงตาม Common Sense ว่าบริษัทเหล่านี้ควบคุมแทบจะทุกอย่างที่เราต้องกินต้องใช้เลยทีเดียวเช่น แชมพู (Pantene, Head and Shoulder, Sunsilk) แปรงสีฟัน (Oral ? ที่โกนหนวด (Gillette) น้ำยาปรับผ้านุ่ม (Downy) กาแฟ (Nescafe) มันก็พอจะเห็นภาพขึ้น แม้ยังไม่ Apple to Apple หุ้นกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มที่อ่อนแอที่สุดในปีนี้เลยก็ว่าได้ ยิ่งไปกว่านั้นด้วยความที่กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ (ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่อยู่ Top 100 ของโลก ถ้าเทียบตามมูลค่าตลาด) เช่น P&G ที่อยู่ใน DOW30 ด้วย กลุ่มนี้จึงกลายเป็นกลุ่มที่ฉุดตลาดลงไปโดยปริยาย โดยบทวิเคราะห์จากหลายๆ เจ้ามองว่าสาเหตุของการปรับตัวลง หลักๆ นั้นเกิดจากการก้าวเข้ามาของ E-Commerce ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการนำเสนอธุรกิจ และทำให้ผู้เข้าแข่งขันรายใหม่สามารถเข้ามาแบ่งเค้กกับเจ้าตลาดได้ง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้เราซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านทาง Hyper Market (Makro, Tesco, Carrefour, BigC) Supermarket (Tops, Waitrose) หรือ Convenient Store (7-Eleven, Tesco Express, Family mart, Lawson) เป็นหลัก อย่างที่ทราบกัน ความใหญ่ของค้าปลีกเหล่านี้ทำให้มีอำนาจในการต่อรองมหาศาล ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการเอาสินค้าของผู้ผลิตนั่นเข้าไปขายจึงสูงลิ่ว ซ้ำร้ายต้นทุนในด้านการตลาดและโฆษณาก็สูงมากเช่นกัน เนื่องจากเป็นสินค้า FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ที่มี Switching Cost ต่ำ เราจึงเห็นการทุ่มเงินในออกเคมเปญที่ดุเดือดจากบริษัทเหล่านี้อยู่บ่อยๆ ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้จึงไม่น่าแปลกใจที่สุดท้ายจะเหลือแต่แบรนด์จากเจ้าใหญ่ๆเท่านั้นที่จะไปอยู่บน Shelf ของค้าปลีกหลักๆ ได้ แต่เงื่อนไขเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงเมื่อเกิด E-Commerce และ Social Media ซึ่งทำให้แบรนด์ใหม่ๆ มีต้นทุนทั้งช่องทางการขายและค่าการตลาดที่ต่ำลงมาก และสามารถที่จะมาแข่งขันกับเจ้าตลาดได้ บางรายก็สร้างความสั่นคลอนได้มากเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น Dollar Shave Club ที่ดำเนินธุรกิจขายที่โกนหนวดออนไลน์ในราคาถูก โดยใช้โมเดลให้สมัครและจ่ายเป็นรายเดือนในราคาเดือนละ 1 ดอลลาร์ Social Media และ Youtube เป็นสื่อหลักที่บริษัทใช้ในการทำการตลาด ใช้เวลาไม่นานก็มีผู้ใช้กว่า 3.2 ล้านคน เติบโตรวดเร็วถึงขนาดที่ Unilever ทำการ Takeover ไปในราคา 1 พันล้านดอลลาร์ และปีที่แล้ว CNBC ได้รายงานว่า Dollar Shave Club และ Startup อื่นเช่น Harry’s มีผลทำให้ Gillette รายได้ตกลงมากถึง 6% และเช่นเดียวกับแบรนด์ใหญ่ๆ อีกหลายเจ้า บริษัทแก้เกมส์ด้วยการขยายการขายออนไลน์ให้มากขึ้นซึ่งแน่นอนว่ามาพร้อมกับการตั้งราคาที่ถูกลง แน่นอนว่าการแข่งขันที่สูงมากขึ้น จากการที่ผู้เล่นรายใหม่เข้ามาได้ง่ายขึ้น ทำให้มี Innovation ในสินค้าบางอย่างที่ควรจะมีมานานแล้ว เช่นบุหรี่ไฟฟ้า หรือ ผ้าอนามัยรูปแบบใหม่ๆ อย่างของ The Flex ที่จำหน่ายผ้าอนามัยออนไลน์ โดยผ้าอนามัยของบริษัทเป็นแบบ Disc ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่วช่วงที่มีประจำเดือนแม้กระทั่งการมีเพศสัมพันธ์ เราอาจสงสัยว่าทำไมนวัตกรรมแบบนี้ถึงเพิ่งออกมา สาเหตุหลักน่าจะมาจากกฎเกณฑ์ในการเสนอสินค้าผ่านสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) หมายความว่าบริษัทใหม่ๆ จะนำเสนอแนวทางใหม่ๆ หรือวิธีใช้สินค้าที่มีความ Sensitive อย่าง ผ้าอนามัย บุหรี่ หรือถุงยางอนามัยโดยผ่านโฆษณาทีวี วิทยุ หรือบิลบอร์ดนั่นๆ มีความเป็นไปได้ยากมาก ดังนั้น Social Media, Video Sharing ที่ไม่ได้มีหน่วยงานหรือกฎหมายมากำกับมากมายจึงกลายเป็นจอกศักด์สิทธิ์ให้กับ Startup เหล่านี้โดยปริยาย อย่างยอดขายผ้าอนามัยจาก The Flex โต 4 เท่าตัวในช่วงปี 2016-2017 ในขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของแบรนด์ใหญ่เช่น Tampax และ Kotex กลับลดลง นอกจากนี้พฤติกรรมผู้บริโภคยังเปลี่ยนแปลงไป อย่างเทรนด์การใช้สินค้าจากท้องถิ่นมากขึ้น (Localization) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน อย่างไทยเราที่ค่อนข้างชัดก็อย่างเช่น ยาสีฟัน แชมพู หรือ สินค้าส่วนตัวอื่นๆ ที่มีส่วนผสมเป็นสมุนไพรไทยที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น หรือการที่คนรุ่นใหม่นั่นต้องการความแตกต่างจึงแสวงหาสินค้าที่เป็น Niche Market มากขึ้น ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองที่ทำให้ตลาดมองว่าธุรกิจที่ถูกคุมโดยแบรนด์ใหญ่ๆ ไม่กี่เจ้าอาจจะไม่ได้มี Barrier of Entry ที่สูงอย่างเมื่อก่อน และคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นก็มาพร้อมกับ Margin ที่ต่ำลงเช่นกัน ถ้าอยากรู้ว่าแนวโน้มจะเป็นขาลงแค่ไหน ให้ลองไปดูงบการเงินของ Ad Agency ยักษ์อย่าง WPP ที่ธุรกิจเหล่านี้เป็นลูกค้าหลักครับ ไม่ได้เขียนซะนาน เขียนทีก็เล่ามายาวเลย ไว้มาต่อกันครับว่า เขาไปเล่นอะไรกัน แล้วหุ้นไทยที่ลง บอกว่าลงน้อย เพราะอะไรจึงลงน้อย? ไม่เห็นมีใครออกมาอธิบายเท่าไหร่ เดี๋ยวมาเฉลยให้ ช่วงนี้ตามข่าวกันเหนื่อยหน่อยนะครับ Noise มันเยอะ และอย่ายึดกับ ผลกำไร ในอดีต ดูงบดีๆ BottomLiner – บทสรุปการลงทุน : https://www.facebook.com/bottomliner/ ———- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้เขียนบทความนี้มิไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทำกำไรทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงกับกองทุน K-ART - FINNOMENA ถ้าเราลงทุนในกองทุนหุ้นปกติ เวลาตลาดเป็นขาลง NAV ของกองทุนก็ต้องลดลงตามตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะดีกว่าไหมถ้าเรามีกองทุนที่มีกลยุทธ์การบริหารแบบทำกำไรโดยไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด ทำกำไรได้จากหุ้นที่เป็นทั้งขาขึ้นและเป็นขาลง ถ้าคุณสนใจ กองทุน K-ART คือคำตอบสำหรับคุณ 23 ส.ค. 2562 ถ้าเราลงทุนในกองทุนหุ้นปกติ เวลาตลาดเป็นขาลง NAV ของกองทุนก็ต้องลดลงตามตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะดีกว่าไหมถ้าเรามีกองทุนที่มีกลยุทธ์การบริหารแบบทำกำไรโดยไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด ทำกำไรได้จากหุ้นที่เป็นทั้งขาขึ้นและเป็นขาลง ถ้าคุณสนใจกองทุนแบบนี้ กองทุน K-ART จาก บลจ. กสิกร คือคำตอบที่น่าสนใจสำหรับคุณ นโยบายการลงทุนของ K-ART K-ART (กองทุนเปิดเค อิควิตี้แอบโซลูทรีเทิร์น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย) เป็น Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุนหลัก BSF Americas Diversified Equity Absolute Return Fund ของ BlackRock ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Market Neutral Strategy หรือ Long/Short Strategies เพื่อให้ไม่แปรผันไปตามภาวะตลาด เพราะผลตอบแทนการลงทุนจะชดเชยกันระหว่างการถือสถานะ Long (การซื้อไว้เพื่อขาย) และ Short (การขายก่อนแล้วค่อยซื้อคืน) โดยเลือก Long ในหุ้นที่คิดว่าราคาจะขึ้น และ Short ในหุ้นที่คิดว่าราคาของหุ้นจะลดลง กองทุนแบบนี้จะมีผลประกอบการไม่ผันผวนตามตลาดมาก และจะมีผลประกอบการค่อนข้างคงที่เหมาะกับการซื้อลงทุนในสภาวะตลาดหุ้นที่ผันผวน รวมถึงตลาดขาลง กองทุน BSF Americas Diversified Equity Absolute Return Fund นอกจากจะมีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นแล้ว ยังใช้เทคโนโลยี Big Data และ Machine Learning มาช่วยผู้จัดการกองทุนวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก เพื่อช่วยตัดสินใจ เช่นการวิเคราะห์ข้อมูลการ Search หรือค้นหา สินค้าแบรนด์หรือชื่อของบริษัทผ่าน Google เพื่อดูว่ามีผู้สนใจสินค้าของบริษัทมากขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่ยอดขายของบริษัทและราคาหุ้นต่อไป หรือในทางกลับกันถ้าข้อมูลจากการวิเคราะห์ Big Data สะท้อนว่าสินค้าของบริษัทได้รับความนิยมน้อยลงหรือถูกค้นหาน้อยลง ก็อาจจะเลือก Short หุ้นนั้นไว้ ตัวอย่างเช่น บริษัท Decker Outdoor ผู้ผลิตรองเท้าหนังสัญชาติสหรัฐภายใต้แบรนด์มากมาย ผลการวิเคราะห์ ข้อมูลการ Search หรือค้นหาสินค้าของบริษัท ช่วงปี 2011-2012 มีแนวโน้มลดลง สุดท้ายก็ส่งผลให้ราคาหุ้นก็ลดต่ำลงด้วย ผู้จัดการกองทุนก็อาจจะใช้ข้อมูลนี้ในการเลือก Short หุ้นของบริษัทนี้ไว้ เป็นต้น รูปที่ 1 กราฟแสดงผลการสืบค้นสินค้าของแบรด์ Decker Outdoor กับราคาหุ้น : ที่มา K-ART Pitch Book บลจ. กสิกรไทย ข้อมูล ณ ก.ค. 2560 ข้อมูลใน Big Data จะมาจากหลากหลายช่องทาง ไม่ใช่เฉพาะข้อมูลจาก Search Engine อย่าง Google เท่านั้น แต่รวมไปถึงข้อมูลที่ถูกส่งทาง Social Media และการใช้ Online Platform ต่างๆ เช่น การซื้อขาย ผ่านบริษัท E-Commerce หรือ ข้อมูลการซื้อสินค้าจากบัตรสมาชิกของร้านค้าต่างๆ ด้วย โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Big Data และใช้ Machine Learning เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล Big Data อีกทีหนี่ง รูปที่ 2 สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุน BSF Americas Diversified Equity Absolute Return Fund แยกตามภูมิภาค : ที่มา K-ART Pitch Book บลจ. กสิกรไทย ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 รูปที่ 3 สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุน BSF Americas Diversified Equity Absolute Return Fund แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม : ที่มา K-ART Pitch Book บลจ. กสิกรไทย ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 สัดส่วนการลงทุนของกองทุน BSF Americas Diversified Equity Absolute Return Fund มีการลงทุนใน ประเทศอเมริกามากที่สุด รองลงไปคือแคนาดา กับประเทศในอเมริกาใต้ โดยถ้าจะสังเกตมีการลงทุนกระจายไปหลากหลาย กลุ่มอุตสาหกรรม รูปที่ 4 วิเคราะห์ผลตอบแทนของกองทุนในอดีต | ที่มา: Bloomberg การกระจายการลงทุนจำนวนมาก และมีสถานะในหุ้นแต่ละตัวน้อย ๆ เป็นอีกเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงเรื่องการกระจายการลงทุน จากการศึกษาผลประกอบการย้อนหลังของกองทุนนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2012 พบว่าหากถือครองการลงทุนเป็นระยะเวลา 1 ปี การขาดทุนสูงสุดอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2% รูปที่ 5 อัตราผลตอบแทนในอดีตนับแต่เริ่มกองทุน ที่มา : Bloomberg นอกจากนี้ FINNOMENA Investment Team ยังได้ศึกษา Maximum Drawdown หรือการขาดทุนสูงสุดของกองทุนที่เคยเกิดขึ้นอยู่ที่ระดับประมาณ 8% ซึ่งต่ำกว่าตราสารทุนค่อนข้างมาก ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนต่อปีนับตั้งแต่ตั้งกองทุนอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี สำคัญที่สุดคือกองทุนนี้ไม่ได้เคลื่อนไหวตามตลาดหุ้น ดูอย่างเช่นในช่วงต้นปี 2018 ที่ผ่านมาที่ตลาดหุ้นผันผวน กองทุนนี้ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้กองทุนนี้จัดเป็นสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Asset) ที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะมีไว้ในพอร์ตการลงทุนในช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจ ที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนมากขึ้น รูปที่ 6 ผลกำไรขาดทุนของกองทุน BSF Americas Diversified Equity Absolute Return Fund ในภาวะตลาดต่างๆ : ที่มา Morning Star ณ ปี 2559 นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Morningstar FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่า กลยุทธ์การลงทุนแบบ Equity Long/Short ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักของกองทุน K-ART กลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สามารถทำผลตอบแทนเป็นบวกได้ในยามที่ตลาดผันผวน และตลาดขาลง ขณะที่จะขึ้นน้อยกว่ากองทุนหุ้นในยามตลาดขาขึ้น ทั้งหมดก็เป็นการรีวิวกองทุน K-ART โดยทีม FINNOMENA Investment Team ที่นำมาฝากกันในวันนี้ โชคดีในการลงทุนครับ FINNOMENA Investment Team รายงาน Jessada Sookdhis Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ คำเตือน กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน และแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป โดยกองทุนหลักมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีกลยุทธ์แบบซับซ้อน ส่งผลให้กองทุนมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์โดยตรง ดังนั้นกองทุนอาจประสบภาวะขาดทุนสูงมาก หากเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบเชิงลบกับกองทุนหลัก กองทุนนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและผู้มีเงินลงทุนสูงเท่านั้น ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และโปรดขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำหรือเอกสารประกอบการเสนอขายก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ผู้ลงทุนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ในวันและเวลาทำการที่ บลจ.กสิกร และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ บลจ.กสิกรแต่งตั้ง อย่าลงทุนหากผู้ลงทุนไม่เข้าใจลักษณะและความเสี่ยงของกองทุนรวมนี้ดีพอ แท็ก: k-art แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SUPER ก็ไม่รอด... หุ้น Solar Farm อนาคตมืดบอดทุกตัวจริงหรือ? - FINNOMENA บทความนี้ BottomLiner จะพาพวกเรามาทำความรู้จักกับหุ้น Solar Farm และทำความเข้าใจคำว่า "ธุรกิจพลังงานทดแทน" นั้นจริงๆแล้วเป็นอย่างไร อนาคตมืดบอดทุกตัวจริงหรือไม่? 30 เม.ย. 2563 ถ้าพูดกันตรงๆหุ้น Solar มี 2 แบบจริงๆ คือ หุ้นที่ทำด้านพลังงานทดแทนอยู่แล้ว กับหุ้นที่หันมาทำพลังงานทดแทน พูดกันแบบตรงเข้าไปอีก หุ้นที่หันมาทำพลังงานทดแทนนั้นยังหาสวยๆไม่เจอสักตัว มีแค่ 2 แบบ คือ หุ้นที่ขึ้นแล้วลง กับหุ้นที่ขึ้นแล้วแช่ ไม่สามารถเติบโตเป็น Super Stock ได้อย่างหุ้นในอุตสาหกรรมอื่นๆ หุ้นขึ้นแล้วแช่ เช่น SPCG หรือตัวที่ผสมๆก็อย่าง GULF BCP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นกองทุนถือ หุ้นขึ้นแล้วลง … ถ้าพูดจริงๆก็เกือบทุกตัว โดยเฉพาะพวกที่บูมสัก 5 ปีก่อน เช่น EVER DEMCO IFEC TSE มาวันนี้ชัดเจนมากก็คือ SUPER นั่นเอง ส่วน EA ยังต้องจับตาดีๆ ว่าจะจบเช่นไร เพราะเค้าเริ่ม Diversify ธุรกิจออกไปบ้าง เพราะอะไร? จึงไม่เป็น Super Stock เป็นเพียงหุ้นที่วิ่งหวือหวาชั่วคราว ผมขอไม่เอ่ยถึงเกมส์หุ้นของตลาดหุ้นไทย ที่มีมากกว่าทฤษฎี แม้นั่น “อาจจะ” เป็นเหตุผลหลักๆขับเคลื่อนราคา แต่วันนี้เรามาพูดถึง “อนาคต” ของธุรกิจพลังงานทดแทนดีกว่า เพราะว่าถ้าของมันดีจริงใครจะปล่อยทิ้ง เหตุผลคือ เพราะค่าไฟที่รัฐจะรับซื้อนั้น “ลดลง” เรื่อยๆ สวนทางกับค่า ft ที่เก็บตังจากชาวบ้าน สาเหตุหลักๆเป็นเพราะ เรามีพลังงานสำรองมากเกินไป ในระดับที่เกิน 30% ไปจนถึงปี 2570 กันเลยทีเดียว แน่นอนเมื่อพลังงานสำรองมาก ก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพื่อบำรุงรักษา และเพิ่ม Grid จ่ายไฟฟ้า ดังนั้นค่าใช้พวกนั้นเองถูกผลักไปที่ผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็ต้องลดต้นทุนลง จึงไปกดค่าไฟที่รับซื้อจากโรงไฟฟ้า ซึ่ง supply ล้น จากการแจกใบอนุญาตอันล้นหลามในช่วงหลายปีก่อน เมื่อมีคนอยากทำเยอะ หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ จึงไม่จำเป็นต้องแจก “adder” หรือเงินฟรีๆ ที่เอาไว้ดึงดูดให้คนมาลงทุนทำ Solar Farm เช่นเคย ซึ่งจริงๆแล้วหุ้นชุดแรกนั้นที่ในงบบัญชี ดูมีกำไรได้ หลักๆมาจากค่า adder ทั้งนั้นครับ ซ้ำร้ายไปอีก ราคาน้ำมันก็ลดลงจากระดับ $100 ต่อบาร์เรล ลงมา แม้วันนี้จะเด้งขึ้นมาแถว $80 ต่อบาร์เรล หรือน้ำมันที่เราเติมที่ปั๊มจะแพง แต่มันก็แสดงให้เห็นแล้วว่าน้ำมันไม่ได้จะแพงขึ้นเรื่อยๆอย่างที่เคยคิดกันมาก่อน คราวนี้มาแตะเรื่องที่เราควรรู้แบบง่ายๆกันบ้าง ก็คือ หุ้น Solar Farm ส่วนมากจะประมาณได้คร่าวๆเลยว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ เนื่องจากสัญญานั้นกำหนดไว้แล้วว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ กี่ปี เราสามารถคำนวนหักค่า maintenance ได้ อายุเฉลี่ยของแผง Solar ก็อยู่ประมาณ 20-30 ปี ที่ใช้กันในท้องตลาด แต่สัญญานั้นไม่ได้ยาวครบ 20-30 ปี … บ้างสัญญายาว 25 ปี แต่ adder 10 ปี หรือ ได้สัญญายาว 10-15 ปี … และต้องไปต่อสัญญาใหม่ๆ ที่ค่าไฟนั้นถูกลง adder นั้นไม่มี แล้วอีก 10-15 ปีที่เหลือล่ะ? จะคุ้มทุนได้อย่างไร? สรุปก็คือ ต่อให้ได้ใช้แผง Solar จนครบอายุสัญญา สุดท้ายแล้วธุรกิจนี้อาจจะไม่กำไรก้ได้ เพราะรายได้มันลดลง ไม่เป็นไปตามที่คิดเอาไว้ตอนเริ่มโครงการ ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการ Maintenance หรือมีเหตุขัดข้องพิเศษต่างๆที่จะทำให้การดำเนินงานชะงัก สูญเสียรายได้ บริษัทจึงต้องล็อคงานในมือให้ได้ก่อนหมดเวลา พลาดทีรอเป็นปี เลวร้ายไปกว่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาสำหรับหลายๆตัวคือ ไม่ได้งานหรือยังคงต่อคิวเพื่อรับงาน หรือติดข้ออ้างสารพัดที่เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่กล่าวไปตอนแรกเพราะ Supply ล้น แต่ Grid นั้นเต็ม ผู้เล่นหลายรายจำต้องหันไปทำอย่างอื่นแทน เช่นซื้อโรงแรม …. แล้วผลลัพธ์มันจะเท่ากันหรือ? แล้วที่ลงทุนไปก่อนหน้า หรือไปเทคฯเขามา PE จะยืนได้อย่างไร ถ้า EPS ไม่มาตามนัด แน่นอนว่าผลร้ายนี้จะกระทบมาที่ผู้ถือหุ้นแน่นอน เม่าๆอย่างเราๆก็ตายเกลื่อนครับ ยังไม่รวมถึงเกมส์การสร้างข่าว ทำราคา กันในตลาดหุ้น ที่แสนซับซ้อน ดังเช่นที่ หุ้นบางตัว เคยทำ สิ่งที่ต้องจับตาต่อไปก็คือ SUPER เขาได้สัญญาไฟต่อรึเปล่า? ขยายได้ตามเป้ารึเปล่า? ข้อมูล public ที่เรามีกันตอนนี้มีเพียง ผู้ถือหุ้นใหญ่ ขายหุ้น เมื่อไม่นานมาแล้ว แต่สิ่งที่ชัดเจนคือมีคนรู้ข้อมูลก่อนแล้วเทขาย หุ้นจึงอยู่ในสภาพแบบนี้ ส่วนหุ้น Solar Farm ตัวอื่นๆ จะเติบโตไปด้วยกำไรจากการขายไฟอย่างเดียว ก็ตามสภาพครับ ลองเปิดไล่ดูทีละตัวก็ได้ ว่าหนืดกันมากี่ปีแล้ว อนาคต ก็อยู่ที่ความสามารถในการลดต้นทุน และขยับขยายธุรกิจไปในด้านอื่นๆบ้าง เอาดีแต่ขายไฟ คงจะไม่รอด และถ้าสังเกตให้ดีมีหลายตัวที่เริ่มผันไปแล้วครับ #BottomLiner — ติดตามบทความใหม่ๆจาก BottomLiner ก่อนใคร กันได้ที่ https://www.facebook.com/bottomliner/ —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นเวียดนาม ซื้อ ถือ หรือ ขาย? เปิดด้านมืดที่คนไม่ค่อยพูดถึง - FINNOMENA เพราะหุ้นเวียดนามดิ่งรวดกว่า 20% หลายท่านอาจจะลังเลว่าควรลงทุนดีไหม? ซื้อเพิ่มดีไหม? กำไรขายก่อนดีไหม? รอก่อนดีไหม? หรือต้อง Cut Loss? มาดูข้อมูลทั้งด้านมืดและด้านดีของหุ้นเวียดนาม เพื่อประกอบการตัดสินใจกันครับ 30 เม.ย. 2563 หลายท่านอาจจะกำลังครุ่นคิด ว่าทำอย่างไรดี เพราะหุ้นเวียดนามดิ่งรวดกว่า 20% จากยอดโดยทำ low ที่ 916 ก่อนจะเด้งกลับขึ้นมาอยู่บริเวณเหนือ 1000 ได้ เชื่อว่าตรงจุดนี้เป็นจุดที่นักลงทุนหลายท่านกำลังตัดสินใจว่าจะวางกลยุทธ์อย่างไร จะลงทุนดีไหม? จะซื้อเพิ่มดีไหม? กำไรขายก่อนดีไหม? รอก่อนดีไหม? หรือต้อง Cut Loss? BottomLiner จะบอกด้านดี และด้านมืดที่ไม่ค่อยมีใครรู้หรือพูดถึงของหุ้นเวียดนามให้ เพราะเวียดนามนั้นดูเป็นแอปเปิลที่หอมหวานจากภายนอกแต่ภายในนั้นอาจจะเน่าเฟะบ้าง มิได้สมบูรณ์ดั่งรูปลักษณ์ภายนอก แล้วตัดสินใจกันเองนะครับ หลายท่านน่าจะฟังด้านดีจนเบื่อแล้ว มาดูด้านมืดของตลาดหุ้นเวียดนามกันก่อนดีกว่า ด้านมืดของหุ้นเวียดนามที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง ท่ามกลางกระแสความ Panic จากการโดนกระหน่ำขายในตลาดหุ้น Emerging และ Frontier แน่นอนว่าเวียดนามก็ต้องโดนลูกหลงไปด้วยอยู่แล้ว คราวนี้ลองมาดูกันว่ามีความเสี่ยงอะไรซ่อนอยู่อีกบ้าง 1. World Bank ชี้ว่าหนี้สาธารณะของเวียดนามยังคงสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาค อยู่ที่ 61.3% ของ GDP มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะชนเพดานหนี้ที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 65% ในปีนี้ และเวียดนามยังขาดดุลการคลังอยู่ที่ 4.7% ของ GDP อีกด้วย 2. การแก้ปัญหาเรื่อรังที่ยังคาราคาซังอยู่ เช่นหนี้เน่าหรือ NPL ในเวียดนามที่พุ่งขึ้นมาอยู่ประมาณ 8 แสนล้านบาท ถ้าลงทุนในเวียดนามมานานจะรู้ว่าปัญหานี้มีมานานมากแล้ว รัฐบาลแก้เกมโดยการเปิด VAMC ในปี 2013 (หน่วยงานบริหารหนี้เน่าเหมือน BAM หรือ FIDF บ้านเรา) หน่วยงานนี้รับหนี้เน่าจากธนาคารในเวียดนามมาแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท แต่เพิ่งจะจัดการกับหนี้เน่าได้ไม่กี่เปอร์เซนต์เท่านั้น สะท้อนถึงการแก้ปัญหาต้นเหตุไม่ตรงจุด เหมือนแค่ย้ายหนี้เน่าออกจากบัญชีไปอีกบัญชีหนึ่งเท่านั้น สถานการณ์ในเรื่องนี้ค่อนข้างแตกต่างกับตอนสมัยของไทยซึ่งหนี้ด้อยคุณภาพส่วนใหญ่มาจากเอกชน ไม่ใช่มาจากธุรกิจรัฐที่รัฐบาลเวียดนามหรือจีนพยายามที่จะพยุงไม่ยอมปล่อยให้ล้ม ซ้ำร้ายการบริหารของของภาครัฐก็มักด้อยประสิทธิภาพและไม่โปร่งใสยากต่อการปรับโครงสร้าง 3. มีการคาดการณ์ว่าจะมีธนาคารเวียดนามมากถึง 10 แห่ง จากจำนวน 39 แห่งหลักๆ ของเวียดนามที่จะยื่นล้มละลาย หลังจากที่รัฐบาลเพิ่งบังคับใช้กฏหมายเมื่อช่วงต้นปี อนุญาตให้ธนาคารที่จมอยู่ในกองหนี้สามารถยื่นล้มละลายได้ โดยที่ประกันเงินฝากถูก cap ไว้ที่ 3,300 ดอลลาร์ แต่ก่อนที่จะมาถึงลูกค้าที่ฝากเงิน ธนาคารที่ล้มละลายจะต้องส่งสินทรัพย์ไปยังกรมสรรพสามิตเสียก่อน นักวิเคราะห์หลายแห่งจึงมองว่ามีความเสี่ยงที่เงินจะมาไม่ถึงลูกค้าโดยเฉพาะธนาคารที่มีทุนจดทะเบียนต่ำ ด้วยหนี้สาธารณะที่สูง รวมทั้ง Reserve ที่ค่อนข้างต่ำ (External Debt สัดส่วนเป็น 150% ของ Reserve) รัฐบาลจึงมีทรัพยากรที่ค่อนข้างจำกัดในการ Bail Out ธนาคารเหล่านี้ รวมทั้งความสามารถในการรักษาสมดุลของระบบการเงินด้วย นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารต่างประเทศหลายแห่งทยอยขายสินทรัพย์ออกจากเวียดนามเป็นขบวนพาเหรดโดยเฉพาะปีที่แล้ว อาทิ BNP Paribas ที่ขายหุ้นทั้งหมดใน OCB หลังจากที่เป็น Partner กันมาร่วม 10ปี, Standard Charter ขายหุ้นทั้งหมดใน ACB, Common Wealth Bank of Australia ขายสินทรัพย์ในโฮจิมินห์, HSBC ถอนการลงทุนใน Techcombank และ ANZ ก็ขายสินทรัพย์ออกมาเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเอาซะเลย 4. อีกจุดหนึ่งที่น่าจับตามองคือการตรึงค่าเงินดองกับดอลลาร์ ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ กำลังกดดันประเทศทั้งหลายที่ตรึงค่าเงินกับดอลลาร์ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นพึ่งพาการส่งออกหลายประเทศในกลุ่มนี้เริ่มมีการพูดถึงการล้มเลิกการตรึงค่าเงิน อาทิ UAE และไม่นานมานี้ก็มีหลายประเทศที่เลิกการตรึงไปแล้วเช่น Venezuela, Nigeria, Angola เพราะมีผลพวงกับเงินสำรองระหว่างประเทศ การอ่อนค่าอย่างรุนแรงของค่าเงินของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในปัจจุบัน จะมีผลต่อการแข่งขันเรื่องราคากับสินค้าจากเวียดนาม คราวนี้มาดูด้านดีของหุ้นเวียดนามกันบ้าง (ซึ่งส่วนใหญ่คงทราบ) 1. สิ่งแรกที่สร้างความหอมหวานเย้ายวนให้กับหุ้นเวียดนามคงหนีไม่พ้น การเติบโตของเศรษฐกิจที่ดีมากๆ ในช่วง 5 ปีมานี้ ล่าสุด World Bank ได้มีการปรับการประเมินการการเติบโต GDP ของเวียดนามขึ้นเป็น 6.8% ซึ่งสูงที่สุดในแถบอาเซียนเลยทีเดียว แน่นอนว่าตัวเลขส่งออกก็แข็งแกร่งที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาค 2. โครงสร้างประชากรของเวียดนามอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า Demographic Dividend หมายถึง ประชากรวัยหนุ่มสาวมีสัดส่วนที่เยอะ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ สำหรับประเทศที่เน้นการเติบโตทางอุตสาหกรรมการผลิต 3. ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมียอดการเปิดบริษัทใหม่ซึ่งทำลายสถิติสูงสุดที่จำนวน 41,300 บริษัท โดยมีทุนจดทะเบียนรวมกันกว่า 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 560,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าความมั่นใจในแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามในระดับที่สูง 4. การลงทุนทางตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment : FDI) ยังคงโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีที่แล้วเวียดนามมี FDI ทั้งหมดประมาณ 35,000 ล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 1 ล้านล้านบาท โตขึ้น 44% จากปีก่อนหน้า ที่เด่นชัดๆ ก็คงเป็น Samsung ที่ลงทุนในเวียดนามไปแล้วกว่า 500,000 ล้านบาท ปัจจุบันโรงงานของ Samsung ในเวียดนามผลิตสินค้าถึง 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์ของ Samsung ทั่วโลกแล้ว และ Samsung ยังมีสัดส่วนเกือบ 25% ของยอดส่งออกของเวียดนามปีที่แล้วทั้งหมดอีกด้วย ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ในขณะที่สินค้าส่งออกของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคส่วนใหญ่จะเป็นประเภทวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบไปยังประเทศจีนเพื่อประกอบให้สมบูรณ์ สินค้าส่งออกหลักๆ ของเวียดนามกลับเป็นสินค้าสำเร็จรูป 5. ช่วงปีที่ผ่านมา มีนโยบายกระตุ้นจากภาครัฐ เช่น การผ่อนคลายในการครอบครองหุ้นและที่ดินของต่างชาติ ซึ่งเปิดทางให้สถาบันและกองทุนหลายแห่งเข้ามาลงทุนทั้งในหุ้นและอสังหาริมทรัพย์อย่างคับคั่งไม่ว่าจะเป็น กองทุนชั้นนำระดับโลกอาทิ Tundra Fonder จากสัญชาติสวีเดน ที่มีชื่อเสียงจากความสำเร็จในการลงทุนที่ปากีสถาน, Asia Frontier Capital ซึ่งอ้างว่ากองทุนที่ลงทุนในเวียดนามมีผลกำไรไปแล้วกว่า 90% หรือ Mutual Fund Elite กองทุนระดับโลกที่ออกจากไทยไปหาผลตอบแทนในเวียดนาม กองทุนไทยเราก็ไม่น้อยหน้า เข้าไปลงทุนอยู่หลายกองเช่นกัน และยังมีอีกหลาย บลจ. ที่มีแผนจะเปิดกองทุนเพื่อลงทุนในเวียดนามด้วย 6. รัฐบาลเวียดนามมีแผนที่จะขายหุ้นที่รัฐบาลถือใน 121 รัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ ทั้งที่ List อยู่ในตลาดหุ้นอยู่แล้วและที่กำลังเข้ามา IPO ด้วย เช่น 35% ในบริษัท Domesco Medical Import Export, 36% ใน Vietnam Vegetable Oil Industry , 6% ใน FPT, 3% ใน Bao Viet Holding และอื่นๆ อีกมากมาย โดยปีที่แล้วเวียดนามสามารถระดมทุนจาก IPO ได้ถึง 6,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 2 แสนล้านบาทเลยทีเดียว IPO ที่ฮือฮาปีที่แล้วก็อย่างเช่น Sabeco โออ ดูรวมๆ แล้วมีเสน่ห์เหลือเกิน แต่คราวนี้จะซื้อ จะถือ จะขาย ก็คงต้องแล้วแต่หุ้นที่ท่านเลือก แต่จะสังเกตว่ามันยังมีปัญหาค้างคาอยู่ ผมคงฟันให้ไม่ได้ เพราะผิดกฎครับ ถึงได้ก็ไม่ฟันให้ครับ การตัดสินใจอยู่ที่ตัวท่านเองดีที่สุด ให้ข้อมูลไปแล้ว หุ้นคือการลงทุนระยะยาว หากเก็งกำไร ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าหลงเข้าไปแล้วเพราะฟังเขามา อันนี้ก็ให้ย้อนไปถามตัวเองครับ ว่ารับความเสี่ยงได้รึเปล่า ตอบได้แค่ว่า สำคัญที่สุดลงทุนแล้วต้องนอนหลับครับ #BottomLiner —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้เขียนบทความนี้มิไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ฟองสบู่ที่กำลังแตก - FINNOMENA งบการเงินไตรมาสแรกของปี 61 ประกาศกันออกมาแล้ว เราได้เห็นหุ้นขนาดเล็กและกลางหลายตัวที่มีราคาปรับขึ้นมากจนทำให้ค่า PE สูงเกินกว่าพื้นฐานไปมากขนาดเป็น 50-100 เท่า หรือนี่จะเป็นสัญญาณที่บอกว่า “ฟองสบู่” ของหุ้นเหล่านั้นกำลัง “แตก” ลองมาฟังมุมมองจาก ดร. นิเวศน์ กันเลยครับ 25 พ.ค. 2561 หลังการประกาศงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2561 สิ่งที่เกิดขึ้นกับหุ้นโดยเฉพาะตัวเล็กและกลางหลายตัวนั้นน่าสนใจทีเดียว เพราะมันเป็นเหมือนสัญญาณที่บอกว่า “ฟองสบู่” ของหุ้นเหล่านั้นกำลัง “แตก” ว่าที่จริงหุ้นขนาดเล็กและกลางหลายตัวที่มีราคาปรับขึ้นมากจนทำให้ค่า PE สูงเกินกว่าพื้นฐานไปมากขนาดเป็น 50-100 เท่า ได้ทยอยตกลงมาเป็นระยะอยู่แล้วเพราะสาเหตุต่าง ๆ รวมถึงการถูกเปิดเผยว่ามีการ “โกง” การแต่งบัญชี Story หรือโครงการไม่ประสบความสำเร็จ และผลประกอบการที่แย่ลง อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า “หุ้นดาวเด่น” ที่มีมูลค่าสูงลิ่วอีกหลายตัวก็ยังสามารถรักษาระดับราคาในระดับสูงไว้ได้จนกระทั่งการประกาศงบการเงินงวดนี้ที่ทำให้หุ้นกลายเป็น “นางฟ้าตกสวรรค์” ถ้าจะลองไล่เรียงดูว่าบริษัทที่หุ้นมีราคาตกลงมามากขนาดที่อาจเรียกว่า “ฟองสบู่แตก” นั้นอยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอะไรบ้างนั้น คงต้องเริ่มจากกลุ่มพลังงานทดแทนที่หลายตัวนั้นราคาหุ้นตกลงมาเกิน 50% บางตัวอาจจะกลายเป็นศูนย์ ต่อมาก็เป็นหุ้นกลุ่มผู้บริโภครวมถึงอาหารที่เป็นขนม และเครื่องดื่มที่ตกลงมาหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ที่ตัวใหญ่ขึ้นมาก็เป็นเรื่องของธุรกิจการเงินที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของแบ้งค์ชาติที่ตกลงมาบางตัวเป็นหายนะ และธุรกิจเครื่องสำอางค์และบันเทิงที่เริ่ม “เห็นอาการ” ในช่วงหลัง ๆ ที่มีการประกาศผลประกอบการที่ถดถอยลงหรือไม่เข้าเป้าของนักวิเคราะห์หรือนักลงทุนที่คาดหวังผลประกอบการที่ดีเลิศเกินกว่าที่จะทำได้ ในอดีตย้อนหลังไป 2-3 ปีนั้น หุ้นตัวเล็กและกลางที่มีผลประกอบการที่ “เติบโต” อย่างโดดเด่น ซึ่งก็คืออุตสาหกรรมดังที่กล่าวข้างต้นนั้น ปรับตัวขึ้นไปสูงมากจนแทบจะ “เป็นไปไม่ได้” เพราะค่า PE ของหุ้นขึ้นไปสูงมากคล้าย ๆ กับหุ้นซุปเปอร์สต็อกระดับโลกอย่างอะเมซอนหรือเฟซบุค บ่อยครั้งค่า PE สูงเป็น 3-4 เท่าของค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเมื่อประกอบกับกำไรที่โตขึ้นจากฐานที่ต่ำถึง 40-50% ก็ทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป บางที 2-3 เท่าในเวลาอันสั้น หุ้นบางตัวยอดขายก็ไม่ได้สูงนัก ระดับแค่พันหรือไม่กี่พันล้านบาทแต่มีมูลค่าตลาดหลายหมื่นล้านบาท บางตัวเกือบแสนล้านบาท มองอย่างไรก็ยากที่บริษัทจะโตไปได้ถึงขนาดนั้น สิ่งที่โตขึ้นไปมันคือ “ฟองสบู่” ที่ในที่สุดก็จะต้อง “แตก” เพียงแต่ไม่รู้ว่า “เมื่อไร” ภาวะที่ “ฟองสบู่แตก” นั้น บางครั้งก็เกิดจากภาพ Macro หรือภาพใหญ่ของเศรษฐกิจ เช่น การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วหรือการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่ทำให้เม็ดเงินหายไปจากตลาดหุ้นและทำให้การ “เก็งกำไร” หายไป เมื่อหุ้นถูกขายโดยที่ไม่มีนักลงทุนระยะยาวที่เน้น “พื้นฐาน”ของกิจการเข้ามารับซื้อ หุ้นก็จะปรับตัวลงมามาก แต่นี่ไม่ใช่สถานการณ์ที่ทำให้หุ้นตัวเล็กและกลางตกลงมาในช่วงนี้ ฟองสบู่ของหุ้นตัวเล็กและกลางที่ “แตก” ในช่วงนี้นั้น ผมคิดว่าเกิดขึ้นจากเรื่องของผลประกอบการที่ไม่เป็นไปตามที่คาดเป็นหลัก โดยที่มีเรื่องของการโกงและความไม่โปร่งใสของผู้บริหารรวมถึงการปั่นหุ้นของนักลงทุนเป็นประเด็นรอง โดยที่ทั้งหมดนั้นก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในหมู่นักลงทุนและนักเก็งกำไรถึงอนาคตของบริษัทว่าจะเติบโตอย่างโดดเด่นตามที่พวกเขาเคยเชื่อหรือไม่ ว่าที่จริง ก่อนหน้านี้ 2-3 ไตรมาศ หลายบริษัทก็ประกาศตัวเลขผลประกอบการที่ไม่เป็นไปตามที่คาดอยู่บ้างแล้วเพียงแต่ผู้บริหารก็มักจะสามารถ “แก้ตัว” หรือมีข้ออ้างว่าเกิดจากอุปสรรคบางประการและ “อนาคต” จะต้องดีแน่นอนเนื่องจากเหตุผลที่ฟังดูน่าเชื่อถือ พูดง่าย ๆ บริษัทยังมี Story ที่สดใสและนักลงทุนรวมถึงนักวิเคราะห์ก็ยังยอมรับ พวกเขาบอกว่างวดต่อไปกำไรจะกลับมาโต 50% และดังนั้นค่า PE ที่ 50 เท่าก็ยังแนะนำให้ซื้อได้ แต่การประกาศงบงวดนี้ดูเหมือนจะสั่นคลอนความมั่นใจของนักลงทุนไปไม่น้อย ดูเหมือนว่านักลงทุนและนักเก็งกำไรอาจจะมีขอบเขตความอดทนที่จำกัด ความหวาดระแวงว่าหุ้นตัวนี้จะ “ซ้ำรอย” หุ้นตัวก่อนที่ “ฟองสบู่แตกไปแล้ว” ประกอบกับผลประกอบการที่น่าผิดหวังและดูเหมือนว่า “อนาคตอันสดใส” ที่ผู้บริหารออกมารับรองนั้นจะไม่สามารถทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ ดังนั้น การขายหุ้นออกมาอย่างหนักจึงเกิดขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ คนที่ขายหนักมากอาจจะเป็นคนที่ยังได้กำไรมหาศาลเพราะถือหุ้นในราคาที่ต่ำก่อนที่หุ้นจะวิ่งขึ้นไป “สูงเสียดฟ้า” ผลก็คือ หุ้นตกหนักจนไม่น่าเชื่อ บางตัวตกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ในเวลาไม่กี่วันทั้ง ๆ ที่บริษัทก็ยังทำเหมือนเดิมทุกอย่าง พื้นฐานก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ผมเองก็ไม่รู้ว่าหุ้นที่ตกลงมาหนักแบบฟองสบู่แตกนั้น ราคาสมเหตุผลหรือยัง สิ่งที่ผมคิดก็คือ การตกของหุ้นตัวเล็กและกลางรอบนี้ก็ยังไม่ใช่การสูญเสียความมั่นใจในการเก็งกำไรของนักลงทุนส่วนบุคคลโดยสิ้นเชิง เพราะมันเกิดขึ้นกับหุ้นเฉพาะตัวที่ผลประกอบการ “น่าผิดหวัง” ส่วนหุ้นที่ผลประกอบการยังโดดเด่นนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ถูกกระทบ ราคาหุ้นไม่ได้ปรับตัวลดลง บางตัวราคาหุ้นก็ยังปรับตัวขึ้นไปได้พร้อม ๆ กับค่า PE ที่ไม่ลดลงหรือสูงขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน บางทีอาจจะเป็นเพราะนักเล่นหุ้นในตลาดหุ้นไทยนั้นยังไงก็ต้องหาหุ้นที่จะ “เล่น” ทุกวัน หุ้นตัวไหนที่ตกลงมาแรงและไม่น่าเล่นแล้วก็อาจจะถูกละเลย หุ้นตัวไหนที่ยังโตและมีสตอรี่ก็จะถูกเล่นต่อไป—จนกว่ามันจะ “เน่า” เหมือนตัวอื่น นี่เป็นความรู้สึกของผมที่อาจจะไม่จริงเลย เพียงแต่ผมเห็นว่าหุ้นหลายตัวก็เป็นอย่างนั้น ก่อนฟองสบู่จะแตก คนก็จะเล่นหุ้นตัวนั้นอย่าง “บ้าคลั่ง” ราคาหุ้นขึ้นไป “สุดขอบฟ้า” นักวิเคราะห์แนะนำให้ซื้อ “เซียน VI” เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กองทุนชื่อดังเข้ามาเก็บ ผู้บริหารขายหุ้นบิ๊กล็อตให้นักลงทุนต่างประเทศหรือสถาบัน หุ้นยิ่งขึ้น ทุกอย่างก็ดูดีไปหมดเป็นเวลาหลายปีจนคนคิดว่าราคาหุ้นนั้นเหมาะสมกับพื้นฐานของบริษัท แต่แล้วหุ้นก็ตกอย่างแรงในชั่วเวลา “ข้ามคืน” หุ้นตัวเล็กและกลางที่เป็น “ฟองสบู่” คือมีค่า PE สูงมากและมีราคาที่ปรับตัวขึ้นไปมากอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้นนั้น ผมคิดว่ายังมีอยู่มากในตลาดหุ้นไทย ถ้าให้ผมเดาก็คือ ในไม่ช้าก็จะค่อย ๆ “แตก” หรือถ้ามีการ “บริหารหุ้น” ที่ดีก็จะค่อย ๆ ปรับตัวลงไปเรื่อย ๆ จนมีราคาที่เหมาะสมนั่นก็คือ ถ้าประเมินจากพื้นฐานหรือผลประกอบการและการจ่ายปันผลในระยะยาวแล้ว ราคาหุ้นที่เราจ่ายนั้น “คุ้มค่า” ที่เราจะถือหุ้นไปเรื่อย ๆ โดยที่สำหรับภาวะดอกเบี้ยในปัจจุบันที่ 1-2% ต่อปีนั้น คำว่าคุ้มค่าก็คือ อย่างน้อยเราจะได้ผลตอบแทนประมาณ 5-6% ต่อปี ซึ่งถ้าแปลออกมาอย่างหยาบ ๆ ก็คือ บริษัทไม่ควรมีค่า PE ที่สูงเกินกว่า 20-30 เท่าถ้าบริษัทไม่ได้โตและแข็งแกร่งแบบไม่มีใครเทียบได้ในระยะยาว นักลงทุนแทบทุกคนนั้นมักมีข้อยกเว้น ผมเองก็ทำอยู่บ่อย ๆ วอเร็น บัฟเฟตต์เองก็ดูเหมือนว่าจะลงทุนในสิ่งที่ดูเหมือนว่าไม่ตรงกับสิ่งที่เขาเชื่อและพูดอยู่เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งก็จะพบว่า ข้อยกเว้นนั้นต้องเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักจริง ๆ และมักจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ในกรณีของฟองสบู่หุ้นตัวเล็กและกลางของไทยนั้น ผมเองคิดว่าในที่สุดแล้ว หุ้นส่วนใหญ่ก็จะปรับตัวลงเมื่อ “ฟองสบู่แตก” อาจจะมีหุ้นบางตัวที่เป็น “ข้อยกเว้น” คือกิจการดีและแข็งแกร่งจริง ๆ ที่หุ้นยังรักษาระดับความแพง “ระดับเทพ” ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ากรณีไหน ผมคิดว่าการที่จะหวังให้หุ้นเหล่านั้นยังปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ และให้ผลตอบแทนดีเยี่ยมอย่างที่เคยเป็นในช่วงที่เป็นฟองสบู่นั้น ค่อนข้างยากมาก ที่มาบทความ : http://www.thaivi.org/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Niwes Hemvachiravarakorn นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ผู้เขียนหนังสือ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก, เซียนหุ้นมือทอง, ตีแตก, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธ์แท้, กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เรื่องราวของ TOG - หรือแว่นตาแบรนด์เนมที่เราใส่ แท้จริงมีเลนส์เป็นของไทย? - FINNOMENA แว่นตาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่คนสายตาสั้นหรือยาวจำเป็นต้องใช้และต้องพกติดตัว เพราะถ้าไม่มีก็อาจไม่สามารถดำเนินชีวิตแบบสุขสบายได้ วันนี้จะมาเล่าถึง TOG หุ้นบริษัทไทยที่เป็นผู้ผลิตเลนส์แว่นตาส่งออกไปให้ยี่ห้อดังๆ ทั่วโลกกัน 25 พ.ค. 2561 แว่นตาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่คนสายตาสั้นหรือยาวจำเป็นต้องใช้และต้องพกติดตัว เพราะถ้าไม่มีก็อาจจะไม่สามารถดำเนินชีวิตแบบสุขสบายได้ วันนี้ On One Way จะมาเล่าถึงเรื่องบริษัทไทยที่เป็นผู้ผลิตเลนส์แว่นตาที่มีการส่งออกไปให้ยี่ห้อดังๆ ทั่วโลกกันครับ บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TOG เป็นผู้ผลิตเลนส์แว่นตาให้สำหรับทั้งภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ ถ้าพูดถึงแว่นตา เราต้องเคยได้ยินชื่อยี่ห้ออย่าง BOSS, HUGO BOSS, Diesel, Converse, Puma, Superdry, Timberland และอื่นๆ อีกมากมาย ยี่ห้อเหล่านี้เป็นยี่ห้อที่ TOG ผลิตเลนส์ให้ ในปี 2560 TOG มีสายการผลิตทั้งหมดสินค้าทั้งหมด 4 แบบคือ ประเภทเลนส์ สัดส่วนยอดขาย TOG เลนส์พลาสติกแบบธรรมดา 35.9% เลนส์พลาสติกมูลค่าเพิ่ม 24.9% เลนส์สั่งฝนพิเศษ 31.1% เลนส์กระจก สินค้าและบริการอื่น 8% โดยปกติ เลนส์พลาสติกธรรมดาจะมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ไม่สูงนัก ตัวที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงคือกลุ่มเลนส์พลาสติกมูลค่าเพิ่มและเลนส์สั่งฝนพิเศษ ราคาของเลนส์สั่งฝนพิเศษจะสูงกว่าเลนส์พลาสติกถึงประมาน 3 เท่าตัว เพราะแต่ละเลนส์ต้องฝนให้เข้ากับสายตาของผู้ใส่ ซึ่งตรงนี้ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นสูง โอกาสการเติบโตของ TOG มีประชากรถึง 63% ทั่วโลกที่ต้องแก้ไขเลนส์แว่นตาเพราะสายตาไม่ตรงกับเลนส์แว่นของตัวเอง ประชากรในชาติตะวันตกโดยเฉพาะแถบยุโรปก็มีกำลังจ่ายเลนส์ที่มีราคาแพงขึ้นเพราะได้รับสวัสดิการเป็นประจำ แถมยังมีงานวิจัยออกมาว่าคนที่ซื้อแว่นใหม่จะซื้อแว่นที่แพงกว่าเดิมมากอีกด้วย ผลการดำเนินงาน TOG รายได้ (ล้านบาท) กำไร (ล้านบาท) 2558 1,893 230 2559 2,006 (เติบโต 6%) 250 (เติบโต 8.7%) 2560 1,912 (ลดลง 4.7%) 183 (ลดลง 26.8%) ถ้าเราย้อนกลับมาดูรายได้และกำไรของ TOG ในปีที่ผ่านก็จะเห็นว่าลดลง สาเหตุเป็นเพราะ TOG มีการขยายโรงงานใหม่สำหรับเลนส์สั่งฝนพิเศษ ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1.4 ล้านแผ่น/ปี เป็น 2.5 ล้านแผ่น/ปี นอกจากนี้บริษัทยังย้ายไลน์การผลิตเข้ามาอยู่ที่เดียวกัน ทำให้มีช่วงหนึ่งที่โรงงานต้องรีสตาร์ตเครื่องใหม่ เครื่องจักรใหม่ก็ยังต้องมี Learning Curve ทำให้กำไรในปีที่ผ่านมาของ TOG ลดลงโดยปริยายนั่นเอง ความเสี่ยงของ TOG ในตอนนี้มีการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งมากจนเกินไป นั่นก็คือคือ Specsavers นั่นเอง Specsavers เป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ใน TOG ด้วยสัดส่วน 25.04% จึงมีการส่งออเดอร์มาให้โดยตลอด ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า Specsavers จะยืนหยัดอยู่กับ TOG ตลอดไป โดยสรุปแล้ว TOG เป็นผู้ผลิตเลนส์ฝีมือคนไทยที่มีการส่งสินค้าไปต่างประเทศ โดยลูกค้าก็คือยี่ห้อแว่นตาดังๆ หลายยี่ห้อ รายได้และกำไรปีที่แล้วลดลงเพราะมีการขยายโรงงานผลิตเพิ่ม ส่วนเรื่องตลาดของ TOG ที่จะเข้าไปเล่นนั้นยังคงเป็นที่น่าติดตามต่อไป ดังนั้น นักลงทุนอย่าลืมศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมและคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ นะครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/TOG https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=TOG&ssoPageId=3&language=th&country=TH บทวิเคราะห์จาก Yuanta รายงานประจำปีบริษัท 2560 https://www.specsavers.co.uk/glasses/designer-glasses —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เรื่องราวของ XO - เครื่องปรุงชุบชีวิตคนไทยในต่างแดน - FINNOMENA หนึ่งในประเทศที่คนชอบพูดถึงในฐานะ 'ครัวของโลก' บ่อยๆ คงหนีไม่พ้นประเทศไทย วันนี้เราจะมาพูดถึงหุ้นไทยที่กำลังเผยแพร่ อิทธิพลของสูตรอาหารไทยไปยังตลาดโลก นั่นก็คือ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ XO นั่นเอง 18 พ.ค. 2561 ‘ครัวของโลก’ เราอาจเคยได้ยินคำพูดนี้มาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในประเทศที่คนชอบพูดถึงในฐานะ ‘ครัวของโลก’ บ่อยๆ คงหนีไม่พ้นประเทศไทยนั่นเอง เป็นที่ยอมรับจากนักท่องเที่ยวหลายประเทศทั่วโลกว่าประเทศไทยเป็น ‘อู่ข้าวอู่น้ำ’ ที่มีการเกษตรอุดมสมบูรณ์ พร้อมสูตรอาหารและเมนูที่โด่งดังไปทั่วโลก เช่น ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ ฯลฯ วันนี้เราจะมาพูดถึง หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่กำลังเผยแพร่อิทธิพลของสูตรอาหารไทยไปยังตลาดโลก หุ้นของบริษัทที่เราจะพูดถึงวันนี้คือ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ XO นั่นเอง มูลค่าตลาดซอสทั่วโลก (ที่มา: SET Opp-Day) XO เป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปรุงรส โตปี 2560 XO มียอดขายแบ่งตามสินค้าดังนี้ กลุ่มสินค้า สัดส่วนจากยอดขาย กลุ่มซอสปรุงรสและน้ำจิ้ม 72% กลุ่มเครื่องปรุงแกงและเครื่องประกอบอาหาร 11% กลุ่มเครื่องดื่ม 8.4% กลุ่มอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน 1.2% กลุ่มอื่นๆ เช่น เส้นหมี่ วุ้นเส้นและของแห้ง 7.3% โดยผู้บริหารคือ คุณจิตติพร จันทรัช ที่ได้เข้ามาบริหาร XO โดยได้แรงบันดาลใจจากการที่ไปเรียนที่ต่างประเทศแล้วเกิดอยากทานอาหารไทยขึ้นมา แต่อาหารไทยมีส่วนผสมหลายอย่างมาก เช่น เครื่องแกงและสมุนไพรต่างๆ ที่หายากในต่างประเทศ คุณจิตติพรเลยเกิดความคิดที่จะทำเครื่องปรุงสำหรับอาหารไทยขึ้นมา จนวันนี้ XO มีรายได้และกำไรตามนี้ ปี รายได้ (ล้านบาท) กำไร (ล้านบาท) 2558 748 86 2559 890 (เติบโต 18.9%) 77 (ลดลง 10.4%) 2560 948 (เติบโต 6.5%) 59 (ลดลง 30.5%) ถ้าเรามาดูรายได้ก็พบว่ามีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสัญญานที่ดีว่ามีความต้องการในสินค้านี้จริงๆ แต่ที่ผ่านมา กำไรของ XO กลับลดลงสวนทางกับรายได้ สาเหตุที่กำไรของ XO น้อยลงเป็นเพราะว่ามีการลงทุนในโรงงานผลิตของตัวเองใหม่ ทำให้ยังไม่สามารถผลิตสินค้าออกมาอย่างเต็มที่ได้ ที่ผ่านมากว่า 2 ปี XO ก็ยังมีปัญหาเรื่องการผลิตมาโดยตลอด เช่น เครื่องจักรใหม่ที่นำเข้ามานั้นมีปัญหา ผลิตออกมาแล้วรสชาติไม่ตรงตามเกณฑ์ของ XO ในปีที่แล้วก็มีขาดทุนเพราะลูกค้าที่ XO ผลิตสินค้าให้ได้ขอเคลมสินค้าคืนเพราะสินค้าไม่ตรงสเป็ก เหตุผลเหล่านี้ทำให้กำไรของ XO ไม่ได้โตตามรายได้ของ XO ตามที่ควรจะเป็น ยอดส่งออกของ XO ยังคงโตต่อเนื่อง (ที่มา: SET Opp-Day) แต่ XO มีประเด็นน่าสนใจคือ ใน Oppday ครั้งล่าสุดที่คุณจิตติพรมาให้มุมมองว่า กำไรของ XO ปีนี้มีโอกาส All Time High ได้หลังจากที่กำไรลดลงมาโดยตลอด ทำให้ราคาหุ้น XO หักหัวขึ้นทันทีในวันเดียวกันนั้นเอง เหตุผลของผู้บริหารคือ ปี 2560 เป็นปีที่ XO มีการย้ายโรงงาน ทำให้มีค่าใช้จ่ายบวมขึ้น เช่น คนงานที่ต้องทำงานทั้ง 2 ที่ XO มีการส่งออกสินค้าตัวเองไปยังหลายประเทศทั่วโลก (ที่มา: SET Opp-Day) แต่ XO มีจุดเด่นหนึ่งคือ ยอดขายมาจากยี่ห้อของ XO เป็นหลัก ไม่ได้พึ่งพิงรายได้จากการรับจ้างผลิตสินค้าให้ยี่ห้ออื่นๆ (OEM) ซึ่งเป็นเรื่องดีเพราะความเสี่ยงที่ลูกค้าจะเลิกสั่งมีจำนวนจำกัด นอกจากนี้ XO ก็มีการส่งออกสินค้าไปหลากหลายประเทศทั่วโลกด้วย ราคาหุ้นจะเป็นเช่นไร ก็ต้องมาดูและประเมินกันต่อว่า XO จะสามารถสร้างกำไรที่จะทำ All Time High ได้ในปีนี้จริงๆ หรือเปล่า? รายได้จะไม่ตกใช่ไหม? รวมทั้งยังจ่ายปันผลให้นักลงทุนชื่นใจต่อได้หรือไม่? นักลงทุนต้องพิจารณาหลายๆ ปัจจัยประกอบก่อนการลงทุนนะครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/XO https://www.set.or.th/set/downloadcontent.do?type=url&contentId=3687&content=http%3A%2F%2Fsetlive.thailivestream.com%2Fdata-file%2Fevents%2Fpdf%2F160318110635-Oppday-XO.pdf&symbol=XO https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=XO&ssoPageId=3&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รู้ยัง? นอกจากน้ำผลไม้แล้ว TIPCO ก็ขายอย่างอื่นด้วย - FINNOMENA ถ้าหากได้ยินชื่อ 'TIPCO' เราต้องคิดว่า ทำธุรกิจน้ำผลไม้แน่นอน! เพราะน้ำผลไม้ตรา Tipco มีเต็มตลาด เต็มร้านนู้นร้านนี้ แต่รู้ไหม Tipco ไม่ได้ทำเพียงน้ำผลไม้อย่างเดียวนะ วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องของหุ้น Tipco กันครับ 18 พ.ค. 2561 ถ้าหากได้ยินชื่อ ‘TIPCO’ เราต้องคิดว่าชื่อนี้ทำธุรกิจน้ำผลไม้แน่นอน เพราะน้ำผลไม้ตรา Tipco มีเต็มตลาด เต็มร้านสะดวกซื้อ เต็มร้านโชว์ห่วย เต็มร้าน Super Store จนถึงวันนี้ เราต้องยอมรับว่า สินค้าตรา Tipco เป็นที่รู้จักมาอย่างช้านานในฐานะผู้ผลิตน้ำผลไม้อันดับต้นๆ ของประเทศไทย ทว่า Tipco ไม่ได้ทำเพียงน้ำผลไม้อย่างเดียว แต่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรดเข้มข้น น้ำผลไม้รวมและเครื่องดื่มบรรจุพร้อมดื่มด้วยเช่นกัน ตัวอย่างคือ น้ำสมุนไพรและน้ำแร่ธรรมชาติพร้อมดื่มตรา Aura นอกจากนี้ Tipco ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TASCO ผู้ผลิตยางมะตอยแนวหน้าของประเทศไทยอีกด้วย รายได้และกำไรของ Tipco มีดังนี้ ปี รายได้ (ล้านบาท) กำไร (ล้านบาท) 2558 6,807 1,188 2559 6,108 (ลดลง 10.2%) 814 (ลดลง 31.5%) 2560 5,552 (ลดลง 9.1%) 703 (ลดลง 13.6%) สังเกตได้เลยว่า Tipco มีรายได้และกำไรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเป็นเพราะว่าราคาของสัปปะรดมีการลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก Tipco เองก็มีธุรกิจผลไม้กระป๋องด้วย เวลาราคาวัตถุดิบลง ทำให้ราคาที่ Tipco ขายได้ลดลงด้วยเช่นกัน ส่งผลให้รายได้ของ Tipco ลดลงโดยปริยาย ตลาดเครื่องดื่มน้ำผลไม้ แยกตามระดับ (ที่มา: SET Opp-Day) อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รายได้ของ Tipco ลดลง คือ ตลาดน้ำผลไม้ของไทย ไม่ได้มีการเติบโตเลย แต่กลับลดลงแทน รวมทั้งยังมีคู่แข่งที่มีความแข็งแกร่งอย่าง MALEE, ดอยคำ และ Cocomax ที่มีการบุกตลาดกันอย่างหนัก อย่าง MALEE มีการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ดูดีมีราคามากขึ้น ดอยคำมีการออกสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่องพร้อมยิงโฆษณาผ่านสื่อหลัก (Above The Line) ส่วน Cocomax เองก็ไม่น้อยหน้า ทำเครื่องดื่มน้ำมะพร้าวตามเทรนด์ได้เป็นอย่างดี ตลาดเครื่องดื่มน้ำผลไม้ไทยระดับพรีเมี่ยม ปี 2016 และ 2017 แยกตามยี่ห้อ (ที่มา: SET Opp-Day) ทั้งนี้ทั้งนั้น Tipco ยังคงดำรงตำแหน่งผู้นำในตลาดน้ำผลไม้ของไทย นอกเหนือจากนั้น Tipco เองก็มีธุรกิจน้ำแร่ที่เป็นตัวเด่น นั่นก็คือ น้ำแร่ตรา Aura นั่นเอง เราคงยังไม่รู้ว่า Tipco ในขณะที่เป็นมีส่วนแบ่งตลาดน้ำผลไม้อันดับ 1 ของประเทศไทย ยังมีธุรกิจน้ำแร่ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 26% เป็นอันดับ 1 ของตลาดน้ำแร่เช่นกัน ตลาดน้ำแร่เองก็มีการเติบโต แต่ที่ผ่านมาส่วนแบ่งตลาดของ Aura ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เป็นเพราะว่ากำลังการผลิตน้ำแร่ Aura เต็มแล้ว และตอนนี้ยังไม่สามารถที่จะเพิ่มให้สูงกว่านี้ได้ โดยสรุปแล้ว TIPCO มี 3 ธุรกิจที่คอยสร้างรายได้และผลกำไรให้ ซึ่งแต่ละธุรกิจก็มีปัจจัยกระทบที่แตกต่างกันออกไป ธุรกิจสับปะรดกระป๋องมีปัจจัยคือราคาของสับปะรดที่มีความผันผวน ธุรกิจน้ำผลไม้มีปัจจัยคือคู่แข่งที่ตีตลาดหนักขึ้นและแย่งส่วนแบ่งตลาดในตลาดที่ไม่ได้โตมากนัก ธุรกิจน้ำแร่มีปัจจัยเรื่องโรงงานที่กำลังเพิ่มมา ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่น่าติดตาม ดังนั้น นักลงทุนควรทำการบ้านให้รอบคอบ ศึกษาลักษณะของแต่ละธุรกิจให้ดี พิจารณาหลายๆ ปัจจัยควบคู่กันไปก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ ข้อมูลอ้างอิง: https://www.finnomena.com/stock/TIPCO https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=TIPCO&ssoPageId=5&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=TIPCO&ssoPageId=3&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=TIPCO&ssoPageId=4&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=malee&submit= —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SET น่าจะผ่านจุดพีคไปแล้ว? - FINNOMENA เพื่อนๆว่าปู่ SET นั้นผ่านจุดพีคมาแล้วหรือยัง? ลองมาฟังอีกมุมมองของกูรู Vorayuth ดูครับ ว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่บ่งบอกว่า SET ผ่านจุดพีคไปแล้วหรือยัง? 18 พ.ค. 2561 หากทำการวิเคราะห์ภาพใหญ่ของตลาดหุ้นไทย มีแนวโน้มสูง (ส่วนตัวเชื่อว่าโอกาสน่าจะเกิน 60-70%) ที่เราน่าจะเห็น SET Index ผ่านพ้นจุดสูงสุดหรือจุดพีคไปแล้วเรียบร้อย โดยถ้าเราลองดูสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าหุ้นกลุ่ม Big Cap (SET50) เป็นกลุ่มที่ Outperform หุ้น Mid Small Cap (หุ้นนอก SET50) มาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว มาถึง ณ ปัจจุบัน โดยสามารถสังเกตได้จากการนำ SET/SET50 เพื่อดู Relative performance ในระดับรายเดือน จะเห็นได้ว่า กราฟมีการปรับตัวลงมาต่อเนื่อง สะท้อนหุ้นกลุ่ม Big Cap ที่ outperform หุ้นกลุ่ม Mid Small Cap ซึ่งหากดู RSI ของดัชนีดังกล่าวก็จะเห็นได้ว่าค่อนข้างอยู่ในระดับที่ Oversold และกำลังจะเริ่มฟื้นกลับแล้ว สะท้อนว่าหุ้นกลุ่ม Mid Small Cap น่าจะค่อยๆทยอยฟื้นตัว หรือ กลับมา Outperform หุ้นกลุ่ม Big Cap ได้ (Outperform อาจจะไม่ได้สร้างผลตอบแทนเป็นบวกที่โดดเด่นกว่า บางกลุ่มอาจจะแค่ปรับตัวลงน้อยกว่าก็ได้ เกิดขึ้นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ) จะเห็นได้ว่าภาพดังกล่าวค่อนข้างคล้ายกับช่วงปี 2007 ที่หุ้นกลุ่ม Big Cap outperform หุ้นกลุ่ม Mid Small Cap ส่วนหนึ่งมาจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแรงทำให้หุ้นกลุ่ม Big Cap หลายตัวโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มน้ำมัน ปรับตัวขึ้นนำตลาด และนำหุ้นกลุ่ม Mid Small Cap ด้วย โดยภาพที่เกิดขึ้นในปี 2007 ก็คือ SET Index ขึ้นไปทำจุดพีคในช่วงใกล้เคียงกับที่หุ้นกลุ่ม Big Cap outperform หุ้นกลุ่ม Mid Small Cap สุดๆ (อาจจะมี lag บ้างเล็กน้อยแต่ใกล้เคียง) หลังจากนั้น SET Index ก็จะแค่ทำการ Sideway ในกรอบ และมีการพยายามปรับตัวขึ้น มาทดสอบจุดพีค High เดิมใหม่แต่ก็ทำได้ไม่สำเร็จ นอกจากในมุมของ relative performance ของ SET/SET50 ที่ใกล้เคียงกันระหว่างในอดีตปี 2007 กับปัจจุบันแล้ว หากดูเปอร์เซ็นต์ของจำนวนหุ้นใน SET ที่ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราคา 200 วัน ได้ ณ ปัจจุบันก็น้อยลงไปทุกที เหลือแค่หุ้นราว 38% ที่ยังยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราคา 200 วันได้ สะท้อนว่าการปรับตัวขึ้นของ SET ในช่วงที่ผ่านมานั้น “กระจุกตัว” มาก เหลือหุ้นเพียงไม่กี่ตัวที่พยุง SET หรือดัน SET เอาไว้ ที่ชัดเจนมากก็เป็นกลุ่ม PTT ทั้งหลาย กลุ่มปิโตรบางตัวและ KTC การปรับตัวขึ้นมาแบบนี้ เรียกได้ว่า “ไม่ค่อยจะแข็งแรง” เท่าไรนัก อย่างไรก็ตามหากหุ้นกลุ่ม Mid Small Cap กลับมา Outperform กลุ่ม Big Cap จริงในช่วงปลายของวัฏจักรแบบในปี 2007 เข้าสู่ 2008 จะเห็นได้ว่าสัดส่วนหุ้นที่ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราคา 200 วัน จะปรับตัวกลับขึ้นมาใหม่ ซึ่งเราอาจจะได้เห็นอีกครั้งในปลายวัฏจักรของรอบนี้ โดยอาจจะมีหุ้นตัวเล็กตัวน้อย หรือตัวกลาง ที่อาจจะถูกไล่ราคาเพื่อดันตลาดกันในช่วงสุดท้ายนั่นเอง (แต่อาจจะดันดัชนีได้ไม่ถึง New High) อีกมุมหนึ่งที่ผมคิดว่า SET Index อาจจะทำ New High ได้ยากหน่อย ก็คือกำไรของหุ้นกลุ่ม Big Cap ใน Sector ขนาดใหญ่ทั้งหลายที่ไว้ใช้ดันดัชนีนั้นไม่น่าจะมีการเติบโตหรือ surprise แบบ “ก้าวกระโดด” จนถึงกับดันดัชนีขึ้นไปได้ รวมถึงระดับ valuation ที่ค่อนข้างจะตึงแล้วเช่นกัน เช่น กลุ่มพลังงาน – อาจจะพอมีความหวังจากกลุ่มน้ำมันจากราคาน้ำมันที่ยังปรับตัวขึ้น แต่พลังงานตัวอื่นๆหลายตัว valuation ก็ค่อนข้างตึงอยู่พอสมควร กลุ่มสื่อสาร – กำไรเริ่มฟื้นจากการแข่งขันที่น้อยลงจริง แต่ก็ไม่ได้ฟื้นแบบก้าวกระโดดอะไร หากจะมี surprise ได้บ้างก็อาจจะเป็นเรื่องการช่วยเหลือของกสทช. หรือ กำไรพิเศษจากบางประเด็นในหุ้นบางตัว ในขณะที่ valuation ในหุ้นตัวใหญ่ๆของ sector ก็ดูตึงเช่นกัน กลุ่มธนาคาร – กำไรยังไม่ฟื้นอย่างมีนัยยะเท่าไร แถมยังถูกกดดันจากทั้งค่าธรรมเนียมที่อาจจะลดลง รวมถึงการตั้งสำรองต่างๆจากการใช้นโยบายบัญชีใหม่ IFRS9 ที่ยังค้างคา ในขณะที่ valuation ก็ลงมาพอสมควรตามกำไรที่ไม่โดดเด่น หากจะมี surprise ของการเลื่อน IFRS9 ออกไปได้ และกระทบการตั้งสำรองน้อยลง ก็ไม่คิดว่าจะ surprise ต่อราคาหุ้นมากมายเท่าไรนัก กลุ่มค้าปลีก – ยังมีการเติบโตก็จริง แต่ราคาก็ดูเหมือนจะ price in จน valuation ตึงตัวมากแล้วเช่นกัน ปัจจุบัน PE เฉลี่ยสูงถึง 35 เท่าทีเดียว หากมองแบบนี้ต่อให้ราคาน้ำมันมี “surprise” ปรับตัวขึ้นไปได้ไกล ก็อาจจะมีหุ้นน้ำมันบางตัวที่พอจะยืนดันดัชนีไปได้ ในขณะที่หุ้น Big Cap ตัวอื่นๆอาจจะหมดแรงที่จะดันดัชนี ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็คล้ายกับตลาดช่วงปี 2007 อีกเช่นกัน เมื่อดัชนี SET/SET50 ทำจุดต่ำสุดและกลับตัว ในยามที่หุ้นกลุ่ม Big Cap กำลังจะ underperform หุ้นกลุ่ม Mid Small Cap อีกครั้ง “ราคาน้ำมัน” ยังเป็นตัวที่ยังปรับตัวขึ้นต่อเพื่อไปทำ “New High” ใหม่ได้ ในขณะที่ SET, SET50, ENERGY sector รวมถึง PTT ที่เป็นตัวแทนของหุ้นกลุ่ม Big Cap ไม่สามารถทำ New High ได้อีกแล้ว ณ เวลานั้น มีเพียงหุ้นอย่าง PTTEP ที่ยังปรับตัวขึ้นไปทำ New High ได้ตามราคาน้ำมัน แต่ก็ไม่มีแรงมากพอที่จะร่วมดันดัชนีกับหุ้นกลุ่ม Mid Small Cap ให้ SET Index ไปทำ New High ได้อยู่ดี เหตุการณ์นี้ในอดีตจึงอาจเป็นตัวบอกว่า หาก SET ทำจุดพีคไปแล้ว และราคาน้ำมันยังปรับตัวขึ้นต่อได้ อาจจะมีเพียงแค่หุ้นที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันโดยตรงเพียงตัวเดียว กับหุ้นกลุ่ม Mid Small Cap อีกส่วนหนึ่งที่อาจจะยังพอปรับตัวขึ้นชนะตลาดไปได้จนจบรอบ และเมื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์ทั้งหมดในอดีต ณ ปี 2007 กับปี 2018 ปัจจุบันแล้ว ก็ดูเหมือนภาพนั้นมันจะชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆเข้าไปทุกที แต่ก็คงภาวนาว่าให้ผมคิดผิดน่าจะดีครับ โดย Vorayuth – The Investment Think Tank (10 พ.ค. 61 ) —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Vorayuth Investment Strategist ไฟแรงจาก INFINITI Global Investors ที่มาพร้อมกับ Passion ในด้านการเงินการลงทุนกับดีกรีรางวัลจากการแข่งขันทางด้านการเงินลงทุนตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยและมัธยม อาทิ รางวัลชนะเลิศ CFA Institute Research Challenge in Thailand 2014-2015 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 SET Investment Star จาก YFS 2014 และรางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับธปท.
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สวยใสสไตล์ SAPPE - เมื่อความ Conservative เป็นจุดแกร่ง - FINNOMENA ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพความงามที่มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกทาน หนึ่งในนั้นคือสินค้าจากบริษัทเจ้าของเครื่องดื่มหลักเพื่อคุณผู้หญิง นั่นก็คือ SAPPE ลองมาดูกันว่าสิ่งที่น่าสนใจที่เป็นจุดแกร่งของ SAPPE นั้นคืออะไร? 11 พ.ค. 2561 ประเทศไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์เรื่องอาหารการกินมาก ไม่เพียงแต่อาหารมื้อหลักเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพความงามที่มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกทาน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหุ้นที่มีสินค้าเป็นเครื่องดื่มหลักเพื่อคุณผู้หญิงกัน นั่นก็คือบริษัท SAPPE เจ้าของ Beauti Drink ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) ใช้ชื่อเทรดว่า SAPPE จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มหลากหลายประเภท SAPPE มีสินค้า 4 ประเภทหลัก คือ 1) ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม ได้แก่ เซ็ปเป้ บิวติ ดริงค์ 2) ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำผลไม้ เครื่องดื่มแต่งกลิ่นผลไม้ ได้แก่ เซ็ปเป้ อโลเวร่า, เซ็ปเป้ ฟอร์ วัน เดย์, โมกุ โมกุ 3) ผลิตภัณฑ์ประเภทผงพร้อมชงเพื่อสุขภาพ และความงาม ได้แก่ เพรียว คอฟฟี่ 4) ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มปรุงสำเร็จพร้อมดื่มอื่น ๆ ได้แก่ เพรียว คอฟฟี่แบบกระป๋อง สินค้าของ SAPPE (ที่มา: SET Opp Day, ก.ย. 2560) รายได้ของ SAPPE เกินหลักพันล้านทุกปี และกำไรก็ถือว่าไม่น้อยเช่นกัน ปี พ.ศ. รายได้รวม (ล้านบาท) กำไร (ล้านบาท) 2558 2,556 301 2559 2,792 (เติบโต 9%) 410 (เติบโต 36%) 2560 2,747 (ลดลง 2%) 401 (ลดลง 2%) สิ่งที่น่าสนใจของ SAPPE SAPPE เป็นบริษัทที่อนุรักษ์นิยม (Conservative) พอสมควร เวลาขยายและออกสินค้าใหม่จะไม่ได้ทุ่มสุดตัวเหมือนบริษัทผลิตเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ SAPPE สามารถที่จะรักษาอัตรากำไรสุทธิที่ 10% ตั้งแต่ปี 2557 ได้อย่างมั่นคง SAPPE ยังมียอดขายจากต่างประเทศสูงกว่าในประเทศ มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออก 70 ประเทศทั่วโลก คิดเป็น 66% ของรายได้ทั้งหมด ประเทศที่ SAPPE ส่งออกไปเยอะที่สุด? คือ ประเทศอินโดนีเซีย โดยสินค้าขายดีคือ โมกุ โมกุ ตลาดของ SAPPE ทั่วโลก (ที่มา: SET Opp Day, ก.ย. 2560) นอกจากนี้ SAPPE ยังเป็นเจ้าของร้าน All COCO ร้านน้ำมะพร้าวที่มีราคาขายระดับบนอีกด้วย ซึ่ง SAPPE ได้มีการขายแฟรนไชส์ All COCO ไปยังต่างประเทศด้วยเช่นกัน ด้วยจุดแข็งที่ว่า All COCO เป็นร้านค้าแต่กลับไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากและไม่ต้องใช้ทักษะของแม่ครัวมากนัก เนื่องจากแม่ครัวไม่ต้องมานั่งปรุงหน้าร้าน ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ All COCO เป็นโมเดลทางธุรกิจที่สามารถขยายออกไปได้ง่าย ร้าน All COCO สาขาทองหล่อ (ที่มา: SET Opp Day, ก.ย. 2560) อีกอย่างที่น่าสนใจคือ SAPPE เป็นบริษัทหนี้ต่ำที่มีอัตราหนี้สินต่อทุน (DE Ratio) เพียง 0.22 เท่า ทำให้บริษัทอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างแข็งแรง ดังนั้น เมื่อบริษัทต้องการขยายหรือลงทุนอะไรสักอย่าง ก็จะมีความได้เปรียบเพราะกู้ได้มากกว่าคนอื่น เนื่องจาก DE Ratio ยังมีช่องว่างเหลือให้เพิ่มอีกเยอะ DE Ratio ของ SAPPE ปี พ.ศ. DE Ratio (เท่า) 2558 0.30 2559 0.23 2560 0.22 โดยสรุปแล้ว SAPPE เป็นบริษัทเครื่องดื่มของไทยที่มีการส่งออกสินค้าไปยังหลายประเทศทั่วโลก ตัว SAPPE เองก็เป็นบริษัทที่มีหนี้ต่ำและมีความอนุรักษ์นิยมสูง ทำให้กำไรของบริษัทไม่เหวี่ยงมากเพราะไม่ได้มีการทุ่มงบตลาดในต่างประเทศมากจนเกินตัว อย่างไรก็ดี ไม่เหวี่ยงก็ใช่ว่าจะไม่เสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบควบคู่กันไปด้วยก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/SAPPE https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=SAPPE&ssoPageId=5&language=th&country=TH https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?symbol=SAPPE&language=th&country=TH http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/060917123408-OPPPDAY-SAPPE.pdf —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
MALEE - เมื่อน้ำผลไม้ไทยบุกโลก โหนเทรนด์สุขภาพ - FINNOMENA นับวันเทรนด์คนรักสุขภาพก็มาแรงขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากหุ้นโรงพยาบาล หุ้นวิตามินและอาหารเสริม ยังมีหุ้นน้ำผลไม้ที่อยู่ในเทรนด์นี้เช่นกัน หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น MALEE ซึ่งไม่ได้ขายแค่ในไทยเท่านั้นแต่ยังส่งออกอีกด้วย! 8 พ.ค. 2561 นับวันเทรนด์คนรักสุขภาพก็มาแรงขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากงานอีเว้นท์วิ่งต่าง ๆ ในวันอาทิตย์ที่ต้องปิดถนนสักเลนหนึ่งเพื่อให้คนที่ชื่นชอบในการวิ่งได้วิ่งกันยาว ๆ นอกจากหุ้นโรงพยาบาล หุ้นวิตามินและอาหารเสริม ยังมีหุ้นน้ำผลไม้ที่อยู่ในเทรนด์นี้เช่นกัน ถึงน้ำผลไม้จะมีน้ำตาลสูงมากแต่คนก็ยังคิดว่า อย่างไรเสียการดื่มน้ำผลไม้ย่อมดีกว่าดื่มน้ำอัดลมแน่นอน วันนี้ผมจะมาขอแชร์เกี่ยวกับบริษัทไทยที่เราต้องรู้จักกันดีเมื่อนึกถึงน้ำผลไม้และผลไม้กระป๋อง นั่นก็คือ บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยใช้ชื่อย่อว่า MALEE ในการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธุรกิจของ MALEE คือการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลไม้กระป๋องกับน้ำผลไม้ โดยใช้ยี่ห้อว่า MALEE ที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย กลุ่มสินค้าของ MALEE (ที่มา: SET Opp Day) โดยรายได้ของ MALEE ถูกแบ่งออกเป็น 4 ทาง 1) ยี่ห้อในประเทศ คือสินค้ายี่ห้อ MALEE ที่ถูกผลิตและขายในประเทศไทย 2) ยี่ห้อส่งออก คือสินค้ายี่ห้อ MALEE ที่ผลิตในประเทศแต่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ 3) Contract Manufacturing Domestic คือสินค้า OEM ที่ MALEE รับจ้างผลิตให้คนอื่นซึ่งเป็นลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทย 4) Contract Manufacturing Export คือสินค้า OEM ที่ MALEE รับจ้างผลิตให้ลูกค้าซึ่งส่งออกไปยังต่างประเทศ รายได้ของ MALEE แบ่งเป็นสัดส่วน ในประเทศและส่งออก ดังนี้ ปี พ.ศ.2559 ปี พ.ศ.2560 ในประเทศ 61% 64% ส่งออก 39% 36% รายได้ของ MALEE แบ่งเป็นสัดส่วนยี่ห้อตัวเองและ OEM ดังนี้ ปี พ.ศ.2559 ปี พ.ศ.2560 ยี่ห้อตัวเอง 45% 46% OEM 55% 54% รายได้ของ MALEE สูงถึงห้าพันล้านเลยทีเดียว ปี พ.ศ. รายได้ (ล้านบาท) กำไร (ล้านบาท) 2558 5,512 331 2559 6,579 530 2560 5,988 286 หากดูรายได้รวม ก็ถือว่า MALEE โตมากในปี 2559 แต่รายได้ก็ลดลงมาในปี 2560 ที่ผ่านมา ยิ่งถ้าดูกำไรของ MALEE แล้ว จะเห็นว่ากำไรรูดลงหนักจากปี 2559 สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะในปี 2559 มีกระแสฮิตน้ำมะพร้าวกันทั่วโลก ถ้าเราสังเกตดูดี ๆ เมื่อปี 2559 ก็มีแต่น้ำมะพร้าวเข้ามาเล่นในตลาดน้ำผลไม้กันทั้งนั้น ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าความฮิตของน้ำมะพร้าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นกระแสไปทั่วโลก ถ้าถามว่าน้ำมะพร้าวเป็นกระแสขนาดไหน? ก็ขนาดที่ว่า The Coca-Cola Company ผู้ผลิตเครื่องดื่มโค้ก (Coke) ยังลงมาเล่นในตลาดนี้เลย อีกทั้งยังเป็นลูกค้าของ MALEE อีกด้วย โดยโค้กนั้นให้ MALEE ผลิตน้ำมะพร้าวให้โดยใช้ยี่ห้อว่า ZICO เพราะกระแสนี้เองที่ทำให้ MALEE ได้รับอานิสงค์ครั้งนี้ไปด้วย เนื่องจาก MALEE เองก็รับจ้างผลิตให้กับลูกค้าเช่นกัน ไม่ได้ผลิตขายแต่ยี่ห้อตัวเอง ตอนที่เกิดกระแสฮิตของน้ำมะพร้าว ลูกค้าทั้งในและนอกประเทศพากันมาจ้าง MALEE ให้ผลิตน้ำมะพร้าวให้เพื่อที่จะได้นำไปขาย เพราะเหตุนี้เองที่ทำให้ MALEE มีรายได้และกำไรที่โตสูงมากในปี 2559 ที่ผ่านมา ทว่า ‘กระแส’ ก็คือ ‘กระแส’ จริงอยู่ที่น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ แต่การเติบโตที่สูงเกินไปไม่ได้หมายความว่าการเติบโตครั้งนั้นจะยืนยาวได้ ในปี 2560 ยอดขายส่งออกของ MALEE ที่เคยผลิต OEM ให้ลูกค้าต่างประเทศกลับลดลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ถ้าเทียบเฉพาะไตรมาส 4 ปี 2559 การส่งออกของ MALEE มียอดขายที่ 796 ล้านบาท แต่มาไตรมาส 4 ปี 2560 ยอดส่งออกลดลงเหลือ 450 ล้านบาท โดยสรุปแล้ว MALEE เป็นหุ้นในเทรนด์รักสุขภาพ ในปี 2559 มีกระแสน้ำมะพร้าวเข้ามาทำให้ยอดขายโตดีมาก แต่ไม่ได้โตในระยะเวลาที่นานอย่างต่อเนื่อง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า MALEE เป็นหุ้นที่ไม่ดี เพราะข้อมูลจาก Oppday ทางผู้บริหารมีการตั้งเป้าเติบโตค่อนข้างสูง รวมทั้งยังมีการทำข้อตกลงและร่วมบริษัทกับกลุ่มประเทศในอาเซียน จึงยังถือว่าเป็นหุ้นน่าติดตามอีกตัวหนึ่ง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนครับ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/MALEE https://www.set.or.th/set/oppdaybycompany.do?language=th&country=TH&searchBy=company&namePart=&symbol=malee&submit= http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/280218095552-Oppday-MALEE.pdf https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=MALEE&ssoPageId=5&language=th&country=TH —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ต้องรู้อะไรบ้าง? ก่อนลงทุนอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) - FINNOMENA ในตลาดหุ้นไทย มีหุ้นหลายตัวที่ดำเนินธุรกิจซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ใครที่กำลังสนใจลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ลองมาดูข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสินค้าแต่ละแบบกันก่อนครับ 27 เม.ย. 2561 ในตลาดหุ้นไทย มีหุ้นหลายตัวที่ดำเนินธุรกิจซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เช่น CPF (บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน), TU (บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด มหาชน) และ TVO (บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด มหาชน) บริษัทเหล่านี้มีมูลค่าการตลาดสูงและเป็นที่รู้จักของนักลงทุนไทย วันนี้เลยอยากมาแชร์กันถึงเรื่องน่ารู้ก่อนลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์กันครับ แนวคิดสำคัญคือ Scarcity Premium แนวคิดนี้เกิดจากความกลัวว่าสินค้าจะขาดแคลน เลยมีการซื้อของแพงขึ้นเพื่อที่จะได้ของ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าจะมีนักเก็งกำไรเข้ามาเล่นด้วย ซึ่งจะมีผลต่อราคาได้เช่นกัน สินค้าโภคภัณฑ์แบบอาหารจะถูกจัดหมวดเป็น Soft Commodity ตัวอย่างก็เช่น ข้าว น้ำตาล ถั่วเหลือง ซึ่งสามารถเน่าได้ โดยธรรมชาติของสินค้าเกษตรคือ เวลามีราคาดี ชาวไร่ก็จะแห่กันปลูก ผลผลิตก็จะเยอะจนราคาลง นอกจากสินค้าเกษตรแล้วยังมีกลุ่มเนื้อสัตว์อีกด้วยคือ ไก่ หมู กุ้ง และปลา สินค้าโภคภัณฑ์มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภท วันนี้จะขอยกตัวอย่างมาบางส่วน ถั่วเหลือง: หุ้นในกลุ่มนี้คือ TVO หรือ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) 1) สภาพอากาศมีผลกับถั่วเหลืองมาก ซึ่งส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้นหรือลงแรง หากอากาศแย่ ผลผลิตก็จะลด แต่ถ้าอากาศดีผลผลิตก็จะล้น 2) น้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชเป็นสินค้าทดแทนกัน ถ้าราคาน้ำมันปาล์มแพง คนจะหันมาใช้น้ำมันถั่วเหลืองซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นกับ TVO หลักๆ ในปี 2559 3) ประเทศไทยผลิตถั่วเหลืองได้ไม่ถึง 5% ของปริมาณที่ต้องการบริโภค เพราะต้นทุนการปลูกแพง สู้ผลตอบแทนของพืชเศรษฐกิจเช่นยางกับข้าวไม่ได้ สามารถดูราคาถั่วเหลืองได้ที่ CME https://www.cmegroup.com/trading/agricultural/grain-and-oilseed/soybean.html น้ำตาล: หุ้นในกลุ่มนี้คือ BRR หรือ บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) 1) เวลาผลิตน้ำตาลจะมีผลผลิตพลอยได้คือกากน้ำตาลที่ใช้ทำเอทานอล (Ethanol) หรือพวกน้ำมัน E85 และ E20 นอกจากนี้บริษัทก็ขายไฟฟ้าเช่นกัน เพราะกากอ้อยสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้ 2) เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา มีการลอยตัวราคาขายปลีกน้ำตาลในประเทศ ทำให้เป็นไปตามกลไกตลาด 3) ค่าความหวานของอ้อยมีผลกับคุณภาพของน้ำตาล ยิ่งหวานยิ่งดี ซึ่งระดับความหวานก็อาจจะขึ้นอยู่กับแหล่งที่ใช้ปลูกด้วย สามารถดูราคาตลาดน้ำตาลได้ที่ Nasdaq https://www.nasdaq.com/markets/sugar.aspx ส่วนสินค้าเนื้อสัตว์ก็มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่หลัก ๆ คือไก่และกุ้ง ที่ประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ไก่: หุ้นในกลุ่มนี้คือ CPF หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), GFPT หรือ บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) 1) ไก่แปรรูปจะมีอัตรากำไรสูงกว่าไก่สดแช่แข็ง สิ่งที่บริษัทสามารถทำได้คือเน้นขายไก่แปรรูป ถ้ามีไก่เหลือค่อยขายเป็นไก่สดแช่แข็งทีหลัง 2) ไทยมีระบบเลี้ยงไก่ที่ดีมาก ซึ่งประสิทธิภาพจะสูงกว่าประเทศอย่างบราซิล 3) ไทยต้องนำเข้าไก่ปู่ย่าพันธุ์จากต่างประเทศ ไม่มีพันธุ์ของตัวเอง เป็นเพราะว่าใช้เวลาเลี้ยงนาน ก็เลยใช้ทางลัดด้วยการนำเข้าแทน สามารถดูราคาตลาดไก่ได้ที่ USDA https://www.indexmundi.com/commodities/?commodity=chicken กุ้ง: หุ้นในกลุ่มนี้คือ CPF 1) ไทยเคยเลี้ยงกุ้งกุลาดำ แต่ตอนนี้เป็นกุ้งกุลาขาวแทนเพราะทนกว่า เลี้ยงง่ายกว่า 2) ประเทศไทยเคยโดนโรค EMS หรือโรคตายด่วนทำให้กุ้งตายไปเยอะมาก แต่อินเดียไม่โดนเพราะว่าจับกุ้งตามธรรมชาติ ไม่ได้เลี้ยงในบ่อซึ่งเป็นแหล่งผลิตเชื้อ EMS 3) ปี 2553 ไทยผลิตกุ้งเยอะที่สุดในโลก แต่เจอ EMS ไป คนเลยเลิกเลี้ยง บางรายขาดทุน ตอนนี้ก็ยังผลิตได้ไม่เท่าเดิม สามารถดูราคาตลาดกุ้งได้ที่ US Department of Commerce, NOAA https://www.indexmundi.com/commodities/?commodity=shrimp ทั้งนี้ทั้งนั้น การขึ้นลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของ สินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนั้น ๆ ซึ่งปัจจัยก็มีความแตกต่างกันออกไป แม้อุตสาหกรรมสินค้าโภคภัณฑ์จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจ แต่นักลงทุนก็ควรทำความเข้าใจและศึกษาหุ้นนั้น ๆ เป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะถ้าไม่ได้ศึกษาและไม่มีความเข้าใจในสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ๆ มากพอก็อาจเกิดการขาดทุนได้ครับ ข้อมูลอ้างอิงจาก กลุ่มหลักสูตร “Turn Pro 2: การวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม”: วิเคราะห์หุ้นอาหารและเครื่องดื่ม วันที่ 30 กันยายน 2560 —————————- Vithan Minaphinant Securities Investment Analyst (IA) ตรวจทานบทความ คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน On One Way On One Way คิดว่าการ Focus กับสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญ On One Way จึงพยายามไม่หลุด Focus ในเรื่องที่ตัวเองคิดว่าสำคัญ เช่น การลงทุน การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นไทย ยังมีความหวังทำ All Time High ในปีนี้ - FINNOMENA หลังเจอปัจจัยลบรุมเร้าที่ผ่านมา หลายคนอาจตั้งคำถามว่าปีนี้เราควรพักรบ กอดเงินสด รอให้ตลาดปรับฐานเสร็จแล้วค่อยกลับมาลงทุนดีไหม? ก่อนจะถอดใจ ลองมาดู 4 ปัจจัยที่อาจทำให้หุ้นไทยทำ All Time High ในปีนี้กัน 20 เม.ย. 2561 ปีที่แล้วต้องยอมรับว่า ตลาดหุ้นไทยทำผลงานไว้ได้ดีเกินหน้าเกินตาหลายปีที่ผ่านมา จนทำให้นักลงทุนหลายคนฝันหวานว่า ปีนี้จะเป็นปีที่ดีไม่แพ้กัน แต่พอผ่านไป 3 เดือนเท่านั้น ความฝันก็เหมือนจะเลือนราง และจางหายไปตามกาลเวลา นักลงทุนเริ่มกลับมากังวลกับปัจจัยลบที่รุมเร้าเข้ามาเรื่อยๆ ผมเจอนักลงทุนหลายคน เริ่มตั้งคำถามคล้ายๆ กันว่า ปีนี้เราควรพักรบ กอดเงินสด รอให้ตลาดปรับฐานเสร็จแล้วค่อยกลับมาลงทุนดีไหม? และคำตอบที่ผมให้ไปก็คือ “ไม่ดี ถ้าเพิ่งเริ่มต้นลงทุน ไม่ควรรอจังหวะ” เพราะการรอ ก็มีต้นทุนค่าเสียโอกาสของมัน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหรจะเกิดวิกฤต แล้วถ้าเรารอไปอีก 3 ปี แต่วิกฤตไม่เกิดละ พอเรารอไม่ไหว แล้วไปลงทุนหลังจากนั้น ปรากฎว่า เกิดวิกฤตขึ้นมาจริงๆ ก็เท่ากับเงินเราอยู่นิ่งๆ ไป 3 ปี แล้วไปขาดทุนหนักเอาปีที่ 4 หรือเปล่า? ดังนั้นต้องลองคิดไว้หลายกรณี เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้หน่อยก็ดี ถ้าให้อธิบายมากกว่านั้น ในแง่ของการวิเคราะห์ภาพรวมตลาด ผมเชื่อว่า ตลาดยังไม่ได้ Price-in ปัจจัยในอนาคต และ Price-in ปัจจัยลบในระยะสั้นมากเกินไป โดยมี 2 ปัจจัยจากนอกประเทศ และ 2 ปัจจัยของตัวเราเอง ที่อยากให้ผู้อ่านได้มีมุมมองเพิ่มเติม ส่วนจะมีอะไรบ้าง ตามนี้นะครับ 1. เชื่อว่า ความกลัวเรื่องสงครามการค้า (Fears of trade war) จะเป็นแค่ความกลัว และไม่เกิดขึ้นจริง โดยหากดูจากผลงานในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาของ ปธน.ทรัมป์ ก็จะพบว่า ยังไม่มีผลงานในเชิงนโยบายที่เด่นชัด และมีความขัดแย้งทั้งระหว่างรีพลับบริกัน และ พรรคแดโมแครต หรือแม้แต่ภายในพรรครีพลับบรีกัน ด้วยกันเองอยู่เรื่อยๆ นโยบายของ ปธน.ทรัมป์ ที่พยายามผลักดัน ถือว่าสวนกระแสเศรษฐกิจในปัจจุบันพอสมควร จึงเกิดแรงต้านที่เยอะเกินไป และอาจกระทบฐานเสียงของตนเองก่อนการเลือกตั้ง Mid-term ในเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้ 2. ในอดีต ฟองสบู่ตลาดหุ้นที่มันแตก จะเกิดจากการบวมขึ้นของราคาสินทรัพย์ในอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมหนึ่งเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น ฟองสบู่ปี 1980 ราคาหุ้นไปวิ่งแรงที่กลุ่มพลังงาน จนทำให้กลุ่มพลังงาน มี Market Cap ใหญ่เป็นอันดับ 1 นำกลุ่มอื่น และมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นสูงเกินไป หรือ ฟองสบู่ dotcom ตอนปี 2000 ตอนนั้นหุ้นกลุ่ม Technology ก็มี Market Cap คิดเป็น 32% ของตลาดทีเดียว หรือ ในปี 2008 ที่ผลิตภัณฑ์พวกสินเชื่อผูกกับราคาอสังหาฯ เนื้อหอม ก็ทำให้กำไรของกลุ่มสถาบันการเงินโตดี และราคาหุ้นก็วิ่งตาม จน Market Cap ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งก่อนฟองสบู่แตกเช่นกัน ตอนนี้หุ้นกลุ่ม IT ในสหรัฐฯ มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 23% เมื่อเทียบกับ Market Cap ทั้งตลาด ตรงนี้ คุณอาจกังวลว่า หุ้น IT ในสหรัฐฯ แพงไปแล้วรึเปล่า เพราะธนาคารกลางก็เคยแสดงความกังวลถึงประเด็นนี้ แต่มุมมองส่วนตัวของผม ผมมองว่า การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี คือ Mega Trend ของโลกหลังจากนี้ ดังนั้น IT Sector ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากนะครับ และการที่กลุ่มนี้ค่อยๆ โตขึ้น ก็เป็นการลดความสำคัญและความเสี่ยงที่จะเกิดกับตลาดโดยรวมจากความไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมอื่นไปในตัวด้วยเช่นกัน อีกอย่าง ของปี 2000 ตอน Dotcom Bubble กลุ่ม Technology มี Market Cap สูงถึง 32% ของตลาด นับว่าวันนี้ยังห่างจากวันนั้นอยู่เยอะทีเดียวครับ 3. การลงทุนภาครัฐ จะมีการเร่งเบิกจ่ายที่ชัดเจนนับตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2018 โดยจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นจากปี 2017 ถึง 3 เท่า ซึ่งในความเห็นส่วนตัว ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นจะวิ่งเพื่อตอบรับเชิงบวกก่อนการเบิกจ่ายจริง ซึ่งอาจจะตั้งแต่ครึ่งปีแรกของปีนี้เลยก็เป็นไปได้ เพราะปกติตลาดหุ้น เป็นตลาดแห่งความคาดหวังในอนาคต อย่างน้อยๆ 3-6 เดือนข้างหน้า และเมื่อเทียบการก่อหนี้ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว หนี้ภาครัฐของประเทศไทยเรา ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ สามารถเร่งลงทุนได้ รวมถึงอีกเรื่องคือ หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในปี 2019 ก็น่าจะเป็นปัจจัยที่ตลาดกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งหนึ่ง 4. เงินลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยตั้งแต่กลางปีที่แล้ว และแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยส่งผลให้ Earning yield gap (EYG) ของตลาดหุ้นไทยมี Spread กว้างมากขึ้น ซึ่งแปลว่าตลาดหุ้นไทยที่ปรับฐานลงมาในไตรมาส 1/61 ที่ผ่านมาเริ่มมีมูลค่าที่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับการลงทุนในตราสารหนี้ ตรงจุดนี้เชื่อว่าจะทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ จะมีการโยกย้ายเปลี่ยนสินทรัพย์จากตราสารหนี้เป็นหุ้น ในจังหวะเวลาที่เหมาะสมในอนาคต ซึ่งก็คงต้องติดตามประเด็นนโยบายการค้า และมุมมองของเฟดต่อการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644357 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }