text
stringlengths
1
1.21M
meta
dict
มุมมองไตรมาส 3 ปี 2016 (1-5 สิงหาคม 2559) โดย ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล - FINNOMENA ในเดือน ก.ค. เดือนเดียว Fund Flow ไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่ (Dedicated EM Debt Fund) เป็นจำนวนถึง US$ 11 bn ซึ่งเป็นเกือบ 66% ของ Fund Flow ในรอบ 7 เดือน 7 ก.ย. 2559 ในเดือน ก.ค. เดือนเดียว Fund Flow ไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่ (Dedicated EM Debt Fund) เป็นจำนวนถึง US$ 11 bn ซึ่งเป็นเกือบ 66% ของ Fund Flow ในรอบ 7 เดือน (ข้อมูล EPFR) ซึ่งเป็นฟันด์โฟลว์ที่เข้าตลาด EM สูงเป็นอันดับ 3 ในรอบ 7 ปี แต่เป็นฟันด์โฟลว์ที่ต่ำกว่าประมาณ 20-35% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2010 (SET Index ไต่จาก 736 ไปสู่ 1056) และ 2012 (SET Index ไต่จาก 1036 ไปสู่ 1402) ถ้าภาพฟันด์โฟลว์ที่คล้ายปี 2010 และ 2012 เป็นจริง เราอาจจะเห็นการพัฒนาของ SET Index มีกรอบการเคลื่อนไหวเหมือนปี 2010 และ 2012 และ SET Index จะ Sideway up สิ่งที่กำหนด Fund Flow ไหลเข้า คือ การต้องการผลตอบแทน (Yields ที่ต่ำกว่าของตลาดที่พัฒนาแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดเกิดใหม่) ผลตอบแทนในอดีตและค่า VIX ที่ต่ำ ซึ่งหมายความว่าคงจะมี Fund Flow เข้ามาอีกในปริมาณใกล้เคียงกัน 7 เดือนแรกของปีนี้ไหลเข้ามาในชวงครึ่งหลังของปีนี้ Catalysts สำหรับฟันด์โฟลว์ไหลเข้า คือ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงระหว่าง DM (ตลาดที่พัฒนาแล้ว) กับ EM (ตลาดที่เกิดใหม่) ที่เกือบจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.5% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยในอดีตอยู่ที่ 2% โดยเฉลี่ยตลาดหุ้นไทยในรอบ 17 ปีที่ผ่านมา จุดสูงสุดของ SET Index จะมากกว่าจุดต่ำสุดประมาณ 367 จุด ถ้าเราเชื่อว่าจุดต่ำสุดตลาดหุ้นไทยที่ 1250 จุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จุดสูงสุดตลาดหุ้นไทยจะอยู่ที่ 1617 ซึ่งเป็นระดับ PE(X) 15.4 เท่า สำหรับ EPS ปี 2017 ที่ 105 บาท/หุ้นนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เริ่มขยับเป้า SET Index มาที่ 1600 และเป็น Consensus ในที่สุด หรือเพิ่มขึ้นอีกเพียง 70-80 จุดจากปัจจุบัน แต่ในระยะสั้น ตลาดหุ้นอาจจะปรับฐานสู่ระดับ 1480-1500 เราได้เห็นหุ้นที่ชื่นชอบของนักลงทุนต่างประเทศและสถาบันได้ Rally ขึ้นมา เช่น กลุ่ม Infrastructure ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ กลุ่มบริโภคภายใน กลุ่มสถาบันการเงิน ในระยะสั้นๆ เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง Bond Yield อาจจะปรับตัวลดลงต่อ ปรากฏการณ์ของ Search For Yield ทั้งในตลาดทุนและตลาดพันธบัตรยังคงมีต่อเนื่อง แต่ถ้าราคาน้ำมันเปลี่ยนทิศ อาจเกิดการ Bond Shock ได้และ หุ้นจะถูก Drawdown (ขายทำกำไร) ในที่สุด สิ่งที่นักลงทุนต้องระวังอย่างมาก คือ เมื่อราคาพันธบัตรและราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นพร้อมกัน และมี Theme ที่เหมือนกันคือ Search For Yield จะทำให้มูลค่าของทั้งหุ้นและพันธบัตรจะสูงกว่าความเป็นจริงไปมาก และมีความสุ่มเสี่ยงอย่างมากต่อเหตุการณ์ Shocks หลายๆอย่าง เช่น Bond Shocks ค่า Bond Yield ปรับขึ้นอย่างฉับพลัน และถ้ามีการ Drawdown ในหุ้น ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดในระหว่าง 3-6 เดือนข้างหน้า ยังคงคาดว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะมีผลต่อ Flow โลก และยังคงมุมมองว่าหุ้นในไตรมาส 3 จะดีกว่าไตรมาส 4 ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup/photos/a.177983115551319.50414.177733592242938/1363028483713437/?type=3&theater แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ความเสี่ยงมหันต์ เมื่อ Bond Yield นั้นต่ำติดดิน - FINNOMENA จริงๆก็ไม่ควรมาเขียนอะไรให้นักลงทุนกลัว ในช่วงที่ตลาดหุ้นไทย เงินไหลเข้าเป็นเทน้ำเทท่า ทำให้เหล่าคอร์สัมนา และหนังสือเรื่องการลงทุน กลับมาเป็นสิ่งยอดฮิตอีกครั้งในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานะครับ 7 ก.ย. 2559 จริงๆก็ไม่ควรมาเขียนอะไรให้นักลงทุนกลัว ในช่วงที่ตลาดหุ้นไทย เงินไหลเข้าเป็นเทน้ำเทท่า ทำให้เหล่าคอร์สัมนา และหนังสือเรื่องการลงทุน กลับมาเป็นสิ่งยอดฮิตอีกครั้งในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานะครับ แต่เรื่องนี้มีคนถามมาเยอะ เพราะตัวผมเอง ก็มีเอ่ยในหน้าสื่อต่างๆ หรือ ถ้าอ่านความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์หลายคน ก็มีความเห็นตรงกันว่า มีความกังวล กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสาเหตุหลักๆนั้น ก็มาจากการที่ อัตราผลตอบแทนพัรธบัตรรัฐบาลของหลายๆประเทศทั่วโลกต่ำเป็นประวัติการณ์ หรือ บางแห่ง เข้าไปอยู่ในโซนติดลบไปแล้ว (Negative Bond Yield) จากข้อมูลของ Bloomberg ที่รวบรวมมาเมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา จนถึง ณ ปัจจุบัน พันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนติดลบทั่วโลก ณ ตอนนี้ มีมูลค่ารวมๆกันอยู่ที่ $10 Trillion หรือ ราวๆ 10% ของ Bond Market ทั้งหมด รูปที่ 1 : มูลค่าพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนติดลบทั่วโลกในรูปสกุล USD แบ่งรายประเทศ ที่มา : http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-07-06/global-negative-yielding-bond-pile-nears-10-trillion-chart#media-1 ซึ่งจำนวนพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนติดลบที่เพิ่มขึ้นนี้ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ก็มาจาก เงินทุนไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ หลังเหตุการณ์ BREXIT และทำให้นักลงทุนมีความกังวล จึงลดความเสี่ยงการลงทุน และวิ่งเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ANZ ได้ทำกราฟแผนภูมิที่น่าสนใจ (รูปที่ 2) สำหรับตราสารหนี้ภาครัฐฯ ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) ว่า ประเทศใด ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรติดลบบ้าง จะเห็นว่า พันธบัตรของสวิตเซอแลนด์ ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่ง และเสถียรภาพที่สูงนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรติดลบทุกช่วงอายุ รูปที่ 2 : Developed Countries Sovereign Bond Yields ที่มา : http://uk.businessinsider.com/negative-government-bond-yields-are-taking-over-2016-7 แล้ว Bond Yield ต่ำๆ ถึงขั้นติดลบแบบนี้ มันไม่มีตรงไหน? ถ้ามองในฐานะผู้กู้ ก็คงต้องบอกว่า “ดี” อยู่แล้วนะครับ เพราะสามารถกู้ได้ในต้นทุนที่ถูกลง แต่ประเด็นคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน อัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำ ความต้องการลงทุนต่ำ บริษัทเอกชนต่างๆ ก็มีความต้องการใช้เงินที่น้อยกว่าในอดีต ธนาคาร มีการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น ล่าสุด ตัวเลขจากการรวบรวมของ Credit Rating Agency เจ้าใหญ่ของโลกอย่าง S&P รายงานตัวเลขบริษัทที่ล้มละลายทั่วโลก ปี 2016 นี้ล่าสุด พุ่งขึ้นมาเป็น 100 บริษัทแล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขการล้มละลายมากสุดนับตั้งแต่ปี 2009 ในช่วงวิกฤตซับไพรม์ทีเดียว อันนี้ คือ อาการที่ผิดปกติของภาพรวมระบบการเงินโลกอย่างที่หนึ่งครับ ดอกเบี้ยต่ำติดดิน ธนาคารกลับปล่อยกู้น้อยลง แถมลูกหนี้กลายเป็นหนี้เสียกันเยอะกว่าตอนที่ดอกเบี้ยแพงกว่านี้ซะอีก รูปที่ 3 : จำนวนบริษัทที่ยื่นล้มละลาย นับตั้งแต่ปี 2004 ถึง ปัจจุบัน (as of July 13, 2016) ที่มา : http://www.businessinsider.com/corporate-defaults-2016-7 อาการที่ผิดปกติ ที่ว่านี้ มีมากกว่า 1 อย่างหรอ? ครับ มีมากกว่าหนึ่ง เราไปดูความเสี่ยงข้อต่อไปกัน น่าจะเคยได้ยินกันมาก่อนว่า การที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเกินไป และเป็นระยะเวลาที่นานเกินไป ทำให้ไปเกิดฟองสบู่ในสินทรัพย์ประเภทอื่น ประเด็นนี้ ขยายความก็คือ เนื่องจากขนาดตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกรวมกันมีอยู่ถึง $100 Trillion และยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการอัดฉีดจากธนาคารกลาง ไม่ว่าจะเป็น ECB หรือ BOJ ลองคิดว่า ถ้าเราเป็นกองทุน Pension Fund ขนาดใหญ่ๆ หรือกองทุนอย่าง กบข. บ้านเรา ที่ถือตราสารหนี้ไว้ในพอร์ต 80-90% แล้วเจอสถาวะที่ดอกเบี้ยต่ำๆแบบนี้ไปนานๆสิครับ แน่นอนว่า ก่อนที่มันจะลงมาต่ำขนาดนี้ เหล่ากองทุนตราสารหนี้ ก็ได้ประโยชน์จากการที่ Bond Yield ปรับตัวลดลงมาระดับหนึ่ง และทำให้มีกำไรจากการ Mark to Market อยู่บ้าง แต่ลองคิดว่า มีเงินใหม่เข้ามา แล้วต้องเอาไปลงทุนในพันธบัตร 10 ปีที่ให้อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% สิครับ มันกดดันขนาดไหน? แน่นอนว่า กองทุนเหล่านี้เลยต้องโยกเงินไปลงทุนในตราสารประเภทอื่น นั้นก็คือ หุ้น ซึ่งมีสภาพคล่องสูงเช่นเดียวกัน ปัญหามันอยู่ตรงนี้ครับ ตลาดหุ้นทั่งโลก มีขนาด Market Size เล็กกว่า ตลาดตราสารหนี้ทั้งโลกประมาณ 2 เท่า เงินเพียงเล็กน้อยที่โยกออกจากตราสารหนี้ มาลงทุนในตราสารหุ้น เลยสามารถดันตลาดหุ้นให้ปรับตัวได้เร็วและรุนแรงกว่า ความนิยมลงทุนในตราสารหนี้ โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนในสหรัฐฯ ถือว่าเยอะขึ้นกว่าก่อนเกิดวิกฤตปี 2008 เยอะทีเดียว รูปด้านล่างนี้ จัดทำโดย Wall Street Journal อธิบายว่า พอดอกเบี้ยต่ำลง นักลงทุนก็เอาเงินเข้าลงทุนในตราสารหนี้ (หวังจะได้กำไรจาก Capital Gain จากการ Mark to Market) สำหรับกองทุนรวมในสหรัฐฯ ก็พบว่า สัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond) เพิ่มขึ้นตลอด 7 ปีที่ผ่านมา รูปที่ 4 : สรุปภาพรวมสำคัญๆของตลาดตราสาหนี้สหรัฐฯ ที่มา : http://www.wsj.com/articles/the-new-bond-market-bigger-riskier-and-more-fragile-than-ever-1442808001 ความผิดปกติอย่างที่สองก็คือ พอ Bond Yield ต่ำแบบนี้ และทุกคนคิดว่า มันไม่มีสูงกว่านี้ได้เพราะเศรษฐกิจโลกกำลังแย่ มันก็เลยกลายเป็นว่า เหล่าบริษัทที่ต้องการแหล่งเงินทุน แต่ฐานะการเงินร่อแร่ ในเมื่อธนาคารไม่กล้าปล่อยกู้ ก็ออกหุ้นกู้เองซะเลย จ่ายดอกแพงกว่าพันธบัตรรัฐบาลนิดหน่อย และไม่ต้องจัดทำ Credit Rating (เป็น Non-rating) ยังไงก็มีคนสนใจ เพราะผู้ออมเงิน หรือ ผู้ฝากเงินบางส่วน ยินดีย้ายแหล่งเงินออมโยกมาให้เขากู้ เพราะไม่กล้าถึงขั้นไปเสี่ยงในตลาดหุ้น แต่เข้าใจว่า หุ้นกู้เสี่ยงต่ำกว่า กราฟด้านล่าง คือ กองทุน SPDR Barclays High Yield Bond ETF จะเห็นว่า ราคา NAV ปรับตัวดีขึ้นมาเรื่อยๆนับตั้งแต่ปี 2008 จะมีสะดุดบ้างก็ปีที่แล้ว (2015) ที่ตลาดไปเชื่อว่า เฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ย แต่จนแล้วจนรอด ก็เพิ่งขึ้นไปแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เลยทำให้ปีนี้ เหล่ากองทุนประเภท High Yield Bond กลับมาผลตอบแทนดีอีกครั้ง รูปที่ 5 : กองทุน SPDR Barclays High Yield Bond ETF ย้อนหลังตั้งแต่ 2009 – ปัจจุบัน ที่มา : http://www.stockcharts.com ให้ชัดกว่านั้น ผมพาไปดูกลุ่ม PIIGS ที่มีปัญหาจนทำให้เกิด Euro Debt Crisis เมื่อปี 2011 นะครับ ปัญหาก็ยังมีอยู่ หนี้ก็ไม่ได้ลดลง แต่เพราะธนาคารกลางมีการทำ QE อยู่ต่อเนื่อง ประเทศเหล่านี้ เลยยังสามารถเข้าถึงแหล้งเงินกู้ในต้นทุนที่ถูก ลองย้อนหลับไปดูรูปที่ 2 สิครับ ประเทศอย่าง สเปน กับ อิตาลี ที่มีปัญหา 5 ปีก่อน วันนี้ ก็ไม่ได้ดีขึ้นเท่าไหร่ กลายเป็นว่า พันธบัตรรัฐบาล ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า US Treasury และในช่วงอายุยาวๆ มีติดลบให้เห็นด้วย เป็นแบบนี้ ธุรกิจที่มีปัญหา เขาไม่ปรับตัว ไม่ปรับเปลี่ยน Business Model หรอกครับ แก้ปัญหาด้วยวิธีการกู้ดีกว่า ใครสนใจปัญหาสถาบันการเงินในกลุ่ม PIIGS และในยูโรโซน ลองอ่าน 2 บทความนี้ จากอีกหนึ่งกูรูสายเศรษฐศาสตร์ คุณ Siriwimon ธนาคารอิตาลี… คือ “จุดอ่อน” ของยูโรโซน https://www.finnomena.com/siriwimon/market-insights/2016/06/25/16/weak-point-of-euro-zone/ DEUTSCHE BANK ความเปราะบางทางการเงิน ที่ต้องจับตามอง https://www.finnomena.com/siriwimon/market-insights/2016/06/16/16/deutsche-bank/ ซึ่งพอเหตุการเป็นแบบนี้ เลยเกิดความผิดปกอย่างที่ 3 ก็คือ กลายเป็นว่า ยิ่งเงินไหลเข้าตราสารหนี้ ยิ่งทำให้เงินอีกส่วน วิ่งเข้าตลาดหุ้น เกิดเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกในสินทรัพย์ 2 ประเภทนี้ (ตราสารหนี้บวกได้ หุ้นก็บวกได้) รูปที่ 6 : กองทุน SPDR Barclays High Yield Bond ETF เปรียบเทียบกับ iShares MSCI WOrld Index ETF ย้อนหลังตั้งแต่ 2009 – ปัจจุบัน ที่มา : http://www.stockcharts.com ใครที่จัดพอร์ตการลงทุนใน 2 สินทรัพย์นี้ ก็จะพบว่า ในช่วงที่หุ้นบวกดี ตราสารหนี้ในพอร์ตก็บวกด้วยได้ไม่น้อยหน้า เห็นแบบนี้ พอนึกภาพออกใช่ไหมครับ ว่า ถ้าตลาดหุ้น หรือ ตราสารหนี้ปรับฐานในอนาคต เราอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงลงทุนใน 2 สินทรัพย์นี้ เราคงต้องหาสินทรัพย์ประเภทอื่นเติมเข้าพอร์ตมากขึ้นครับ เห็นแล้วว่า Bond Yield มันบิดเบือนตลาดตอนนี้ แต่ยังนึกไม่ออกว่า อนาคต จะออกมาเป็นยังไง? มีอยู่ 2 เหตุการณ์ ที่จะทำให้กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าอยู่ตอนนี้ชะงักครับ ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ นักลงทุนเริ่มใช้เหตุผลว่า “ควรซื้อหุ้นถูก” น้อยลง เพราะ หาหุ้นถูกๆไม่เจอ เน้นไปที่หาหุ้นที่มี Story ในอนาคต เดาว่ากำไรในอนาคตจะโตก้าวกระโดด และกล้าลงทุนที่ระดับ Valuation ที่แพงขึ้นกว่าแต่ก่อน เหตุการณ์จะดำเนินต่อไปจนกระทั่ง เกิดความเสี่ยงที่มุมใดของโลก แล้วทำให้นักลงทุนกลับมามองที่ Valuation แล้วพบว่า มันมาไกลเกินกว่าความเป็นจริง เมื่อนั่น ตลาดหุ้นจะปรับฐานได้แรงทีเดียวครับ ตลาดหุ้นยังปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ เงินเริ่มหาสินทรัพย์อื่น เพราะหุ้นแพงเกินไป ว่าแล้วก็เหลือบไปเห็นตลาด Commodity ซึ่งเทรดบนอนุพันธ์เป็นหลัก ยังมูล่คาถูกอยู่ ว่าแล้ว Fund Flow ก็อาจไล่ไปลงทุนในตลาดนี้ จนทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นนี้ อันตรายครับ เพราะอาจไปทำให้เกิดเงินเฟ้อแบบ Cost push inflation เมื่อนั่น เหตุผลที่เหล่าธนาคารกลางทั่วโลกจะกดดอกเบี้ยให้ต่ต่อไป ก็จะน้อยลง เพราะเงินเฟ้อมา และต้องขยับดอกเบี้ยขึ้นตามเงินเฟ้อ (รึเปล่า) และถ้าขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ เงินก็จะไหลออกจากตลาดพันธบัตรแน่นอน เหตุการณ์หลังจากนั้น ผมยังจินตนาการไม่ออกครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น รู้แต่ว่า เป็นความเสี่ยงมหันต์เลยทีเดียวถ้าจำตอนปี 2007-2008 ได้ ช่วงนั้น มีมือมืดลากราคาน้ำมัน และทำให้ Commodity ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนจะจบด้วยการเทขายรุนแรงตามมา รูปที่ 7 : S&P GSCI Commodity Index ย้อนหลังตั้งแต่ 2009 – ปัจจุบัน ที่มา : http://www.stockcharts.com โดยสรุป มุมมองของผมก็คือ มันมีสัญญาณการบิดเบือนกลไกตลาดไม่ให้สะท้อนความเป็นจริง นั้นก็คือ การที่อัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ต่ำเตี้ยเกินไป ในระยะสั้น มันอาจดีตรงที่ ทำให้ Fund Flow ไหลเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง แต่ระยะยาว มันจะทำให้สินทรัพย์เสี่ยงเหล่านั้น ราคาปรับตัวสูงเกินไป จนไม่สมเหตุสมผล แน่นอนว่า ระเบิดเวลาลูกนี้กำลังทำงาน ที่ไม่รู้ก็คือ มันถูกตั้งเวลาให้ระเบิดที่ไหน และตอนไหน ว่าแต่… จะมีหน่วยกู้ภัยมาช่วบให้โลกรอดพ้นวิกฤตหรือไม่ ผมเองก็ยังไม่มีคำตอบครับ เพราะฉะนั้น จัดพอร์ต จัดทัพการลงทุนกันอย่างระมัดระวังนะครับ แหล่งที่มาข้อมูล :- Bloomberg http://uk.businessinsider.com http://www.wsj.com/articles/the-new-bond-market-bigger-riskier-and-more-fragile-than-ever-1442808001 http://www.stockcharts.com คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Pokemon Go ปฏิวัติวงการเกมส์ สะท้านโลกการลงทุน!! - FINNOMENA "Gotta catch 'em all" FINNOMENA จะขอพาจับกระแส Fever สุดฮิตอย่าง Pokemon Go กัน! 7 ก.ย. 2559 “Gotta catch ’em all” FINNOMENA จะขอพาจับกระแส Fever สุดฮิตอย่าง Pokemon Go กัน! “Gotta catch ’em all” นั้นเป็นวลีสุดดังของการ์ตูนยอดฮิตตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนั่นคือ “Pokemon” แล้วทำไมเพิ่งมาพูดถึงการ์ตูนนี้?? ปัจจุบันคงเถียงไม่ได้ว่าไม่มีใครไม่รู้จัก “Pokemon Go” เกมส์ที่มาแรงที่สุดในศตวรรษนี้!! ซึ่งเป็นเกมส์ที่เอาคอนเซ็ปของการ์ตูนนี้เข้ามารวมอยู่เกมส์ โดยในวันนี้ “FINNOMENA” จะพาผู้อ่านทุกท่าน “เจาะลึก” เทรนที่เกิดขึ้นของเกมส์นี้กัน รูปแบบเกม ภาพที่ 1 : ภาพตัวอย่างเกมส์โปเกมอน โก โดยผู้เล่นจะได้รับบทบาทเป็น “Pokemon Trainer” ที่จะต้องออกตามหาเหล่า Pokemon ต่างๆ เพื่อ สะสมให้ครบทั้ง 151 ตัว ซึ่งการจะตามหา Pokemon เหล่านี้ ผู้เล่นจะต้องออกเดินหาตามแผนที่ต่างๆ และนำมาฝึกฝนเพื่อพัฒนาให้ Pokemon ของเราแข็งแกร่งขึ้นเพื่อที่จะสามารถนำไปต่อสู้กับ Trainer คนอื่นๆได้ นี่จึงเป็นจุดดึงดูดเหล่าผู้เล่นมากมายให้เข้ามาเล่นเกม Pokemon Go กัน เกมนี้ร้อนแรงแค่ไหนกัน? โดยในหนึ่งวันมีจำนวนผู้เล่นเข้ามาเล่นเกมส์ Pokemon Go เฉลี่ยมากกว่า 21 ล้านคนต่อวัน ซึ่งถือว่าร้อนแรงมากครับท่านผู้อ่าน! ภาพที่ 2 : จำนวนผู้เล่นเฉลี่ยต่อวันของแต่ละเกมส์ ที่มา : http://appinstitute.com/pokemongo-realtime-stats แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ในหนึ่งวัน ผู้เล่นนั้นใช้เวลาเล่น โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน ซึ่งถือว่าสูงกว่าจำนวนเวลาเฉลี่ยที่คนเข้าไปใช้ “FACEBOOK” เสียอีกครับ ภาพที่ 3 : เวลาเฉลี่ยต่อคนที่เข้าใช้งานในแต่ละแอปต่อวัน ที่มา : http://appinstitute.com/pokemongo-realtime-stats แต่สำหรับแฟนๆ ชาวไทยยังคงต้องรอต่อไปก่อนนะครับ เพราะว่าตอนนี้เกมส์ Pokemon Go ให้บริการแล้วใน 26 ประเทศทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะเข้าในประเทศไทยประมาณช่วงปลายปี ใครที่อยากเล่นก็ต้องอดใจรอกันไปก่อนนะครับ มันก็เป็นกระแสแค่เกมส์ป่ะ? ยังครับ… ยังไม่จบแค่นั้น การที่เกมส์ Pokemon Go ยังฮิตติดกระแสเป็น Fever อย่างไม่หยุดยั้งนี้ ทำให้เกิดกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้าต่างๆที่เสนอให้เหล่า Trainer สามารถเข้ามาพักผ่อนในร้าน หรือแลกของรางวัลต่างๆได้ รวมถึงยอดขาย Power Bank ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จากการที่เหล่า Trainer ต้องใช้ในการออกไปตามล่าหา Pokemon ตามสถานที่ต่างๆ และยังมีการผลิต อุปกรณ์เสริม “PokeDrone” ที่ทำให้สามารถจับเหล่า Pokemon ตามสถานที่เข้าถึงได้ยากอย่าง แม่น้ำหรือบนภูเขา ภาพที่ 3 : อุปกรณ์เสริม PokeDrone หรือแม้กระทั่ง “เคสมือถือแบบพิเศษ” ที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยทำให้ผู้เล่นเพิ่มความแม่นยำในการจับ Pokemon ได้มากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นแค่เพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้นเองนะครับ ยิ่งเกมส์ฮิตเท่าไหร่ เราอาจจะได้เห็นอุปกรณ์ต่างๆถูกพัฒนาออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแน่นอนครับ ภาพที่ 4 : เคสมือถือแบบพิเศษ PokeCase แล้วใครกันล่ะที่สร้างเกมที่เป็นกระแสเช่นนี้? ภาพที่ 5 : John Hanke ผู้สร้างเกมส์ โปเกมอน โก พูดถึงเกมส์กันไปแล้ว ตอนนี้ FINNOMENA ขอพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักบุคคลสำคัญของเรา นั่นก็คือ “John Hanke” ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Pokemon Go ผู้ซึ่งใช้เวลากว่า 20 ปี ในการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆก่อนที่จะออกมาเป็นเกมส์สุดฮิตให้เราเล่นกันวันนี้ ซึ่งนาย John Hanke ได้เคยกล่าวว่า เค้าต้องการที่จะสร้าง “User Generated Meeting Point” หรือการทำให้คนในสังคมซึ่งก็คือผู้เล่นเกมส์นั้นออกมาเจอกันในโลกมากขึ้น หรือนี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของความสิ้นสุดของสังคมก้มหน้าก็เป็นด้ายยยยยย ภาพที่ 6 : สังคมก้มหน้าจะหมดไปหรือไม่? นอกจากสร้างรายได้ให้กับบริษัทผู้ผลิตเกมส์แล้ว Pokemon Go ยังเป็นที่นิยมจนเกิด “ดีลทางธุรกิจ” ที่น่าสนใจอีกด้วย ล่าสุด McDonald’s ที่ญี่ปุ่นนั้น มีการจับมือร่วมกับผู้ผลิตเกมส์ เพื่อทำให้ ร้าน McDonald’s 400 สาขา กลายเป็น “Pokemon Go Gyms” ซึ่งเป็นที่ที่ผู้เล่นแต่ละคนสามารถนำเหล่าตัว Pokemon มาสู้กัน ซึ่งนั่นก็ถือเป็นการ “ดึงดูด” ลูกค้าเข้าร้านมากขึ้นด้วยครับ นอกจากนี้ อีกกว่า 2,500 สาขาในญี่ปุ่น นั้น ก็จะกลายเป็น “Pokestops” หนึ่งในสถานที่สำคัญของเหล่า Pokemon Trainer เพราะเป็นสถานที่ที่ผู้เล่นจะสามารถเข้าไปเก็บ “PokeBall” ได้แบบฟรีๆเลยครับ นอกจากในญี่ปุ่นแล้ว ตอนนี้ก็มีข่าวว่า McDonald’s ในประเทศอื่นๆ ก็กำลังวางแผนเพื่อที่จะจับมือกับ Pokemon Go และใช้กลยุทธ์เดียวกันในการดึงดูดลูกค้าเข้าร้านด้วยครับ ภาพที่ 7 : Pokemon Go จับมือกับ McDonald’s แล้วหุ้นอย่าง Nintendo เป็นยังไงบ้างงงง ตั้งแต่เกมส์ Pokemon Go ออกมาให้คนทั่วไปได้เล่นก็ทำให้ หุ้น Nintendo ปรับตัวขึ้นจากที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 700,000 ล้านบาทไปสูงสุดที่เกือบ 1,500,000 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 800,000 ล้านบาท ถ้าจะให้เห็นภาพก็คือ เกมส์นี้ตลาดให้มูลค่ามากกว่าบริษัทปูนซิเมนต์ไทยทั้งบริษัทเลยทีเดียว ภาพที่ 8 : Market Capitalization ของหุ้น Nintendo ในรูป THB สุดท้ายนี้ ถึงแม้ราคาตลาดของหุ้น Nintendo จะปรับตัวลงมา แต่เกมส์นี้ก็น่าจะทำให้ผู้ผลิตเกมส์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายตื่นตัวกันมากพอสมควร!! เรียบเรียงโดย : Infiniti Analysis Team แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมองไตรมาส 3 ปี 2016 (25-29 กรกฎาคม 2559) โดย ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล - FINNOMENA ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เม็ดเงินที่ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่สูงถึงระดับ 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใน 1 สัปดาห์ ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2013 7 ก.ย. 2559 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เม็ดเงินที่ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่สูงถึงระดับ 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใน 1 สัปดาห์ ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2013 หุ้นถูกขับเคลื่อนด้วยฟันด์โฟลว์ สภาพคล่องดอกเบี้ยทั่วโลกที่ลดต่ำลงและการคาดการณ์ของผลการดำเนินงานและกำไรที่ดีขึ้น ตลาดหุ้นหลายประเทศในโลกทำ All time high รวมทั้ง S&P Index และหุ้นในไตรมาส 3 นี้ อาจจะถือว่าเป็นจุดสูงสุดของสภาพคล่อง Global Fund Manager ค่อนข้าง Underperform เนื่องจากที่ผ่านมา Underweight ตลาด TIPs เช่น Thailand Indonesia Philippines ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้าซื้ออย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ SET Index แตะระดับ 1,500 ตามคาด เชื่อว่านักวิเคราะห์หลายค่ายจะปรับเป้ามาสู่ 1,550-1,600 ในที่สุด ในระยะสั้น ตลาดหุ้นไทยอาจจะผันผวนแถว 1,480-1,520 ภาวะสภาพคล่องที่มาก และนักลงทุน “Search For Yield” เพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตร ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าปัจจัยพื้นฐานในปี 2016 และแสดงว่านักลงทุนกำลัง Pricing มูลค่าหุ้นตามปัจจัยพื้นฐานในปี 2017 หรือ 1 ปีล่วงหน้า ภาวะ Searching For Yield และมีเงินต่างประเทศไหลเข้า หรือที่เราเรียกว่า เงินภายในประเทศก็มีมาก เงินภายนอกประเทศก็ไหลเข้า ทำให้นักลงทุนเกิดภาวะ Risk Appetite ที่สูง ภาวะดอกเบี้ยที่แท้จริงกำลังติดลบ (Negative Real Bond Yield) นำไปสู่การเคลื่อนย้ายออกจากตลาดพันธบัตรเข้าสู่หุ้น (Tactical Asset Allocation) ราคาหุ้นจะเกินปัจจัยพื้นฐานไปมาก เนื่องจากนักลงทุนต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยงลดลง (Equity Risk Premium) และอัตราส่วนลดที่ลดลง (Lower Discount Rate) การที่ Bond Yield 10 ปี ของไทยปรับตัวลดลงกว่า 50 bps ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มาสู่ระดับ 1.95-2% นำไปสู่ภาวะ P/E ของหุ้นจะถูกปรับตัวเพิ่มขึ้น ถ้าเราใช้ P/E 15X ของ EPS ปี 2017 ราคา SET Index ที่ 1,600 SET จะต้องมี EPS โต 26% มาสู่ระดับ EPS ที่ 94 บาทต่อหุ้นในปี 2016 และ 11.7% มาสู่ระดับ 104-105 บาทต่อหุ้นในปี 2017 ตามลำดับ ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ และระดับความต่างของดัชนีที่จุดสูงสุดและต่ำสุดในแต่ละปีจะอยู่ที่ราว 350 ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของแต่ละปี ดังนั้น SET Index ที่ 1580-1600 นั้นก็เป็นไปได้เช่นกัน และอาจเป็นระดับที่ Peak สุดของปี หุ้นกลุ่มต้นน้ำของ Infrastructure และหุ้นกลุ่ม Cyclical ของราคาไก่และการบริโภคภายในจะยังคง Outperform หลังจากที่ Outperform ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เนื่องจากมี Earning Visibility หุ้นกลุ่ม Property ถือเป็น Value Play เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนในฝั่งสินทรัพย์ที่สูงกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของตัวเอง (Market cap.) นักลงทุนต้องสังเกตจุดที่ทำให้สภาพคล่องหายไปอย่างฉับพลัน เช่น การปรับขึ้นของ Real Interest Rate (ซึ่งถูกเลื่อนไปปี 2017 แทน) ค่าเงิน US$ ที่เปลี่ยนสถานะมาสู่สถานะ Long อย่างฉับพลัน ซึ่ง 2 ปัจจัยอาจจะยังไม่เห็นในช่วงไตรมาส 3 แต่อาจจะเกิดในไตรมาส 4 เป็นอย่างเร็ว และมองว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย.จะมีผลต่อ Flow โลก นักลงทุนต่างประเทศยังคงมี Net Long สะสมในตลาดอนุพันธ์เกือบ 150,000 Contacts ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup/photos/a.177983115551319.50414.177733592242938/1357467954269490/?type=3&theater แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมองไตรมาส 3 ปี 2016 (11-15 กรกฎาคม 2559) โดย ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 มุมมองในไตรมาส 3 ปี 2016 (11-15 กรกฎาคม 2559) ในที่สุด Consensus หรือความเห็นนักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองเป็นไปอย่างที่ได้คิดไว้ คือ Rally สู่ระดับ 1,500 หลัง Brexit และ Brexit จะมีฟันด์โฟลว์ไหลสู่ตลาด Emerging Market และอาจจะเป็นช่วงที่สภาพคล่องสูงสุดของ Emerging Market ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตร 1.5 หมื่นล้านบาท ซื้อหุ้น 5.7 พันล้านบาท ตลาดหุ้นทั่วโลก ภายหลัง Brexit ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-7% โดยตลาดลาตินและอเมริกาใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7% ยังคงมองว่าตลาดหุ้น EM ใน Asia ยังคง Outperform เนื่องจากมีมูลค่าถูกกว่า Developed Market ในแง่ EV/EBITDA ขณะเดียวกันมี Dividend Yields สูงกว่าสิ่งที่เป็น Catalysis ที่สำคัญของตลาดไทย คือ การที่บริษัทจดทะเบียนมีสถานะเงินสดที่สูง ทำให้ Dividend Yields ของตลาดหุ้นไทยน่าสนใจ (3.3% ซึ่งอยู่ในโซนสูงของตลาดเอเชีย) ผลตอบแทนพันธบัตรของรัฐบาลไทยยังต่ำสุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งผลต่างระหว่างผลตอบแทนเงินปันผลของ SET และเงินฝากระยะ 1 ปี ต่างกันสูงสุดในระยะ 2 ปี ทำให้สภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นภายในประเทศ มี risk appetite ในตลาดทุน ทำให้หุ้นมีความน่าสนใจ สิ่งที่สำคัญที่สุดของตลาดหุ้นไทยคือ ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นตัวตัดสินทิศทางตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต่างประเทศมองว่า ตลาดหุ้น USA มี Valuation ที่แพง และ Bond Yield มีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวลดลง สิ่งนี้นำไปสู่การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากตลาดพันธบัตรมาสู่หุ้น ค่าเงิน Yen ที่แข็งมาสู่ที่ 102-103 Yen/US$ ทำให้หุ้นญี่ปุ่นไม่น่าสนใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ตลาดไทยน่าสนใจ ด้านตลาดทุนยุโรป รัฐบาลอิตาลียังคงเจรจากับ European Commission ในเรื่องของ Bank Bailout เนื่องจากอิตาลีมีหนี้เสียอยู่ 193,000 ล้านยูโร (60-70% ที่เป็น Default) ซึ่งจะนับเป็นราว 25% ของ GDP อิตาลี ทำให้ Bank ในอิตาลีอาจต้องเพิ่มทุนเกือบ 40,000 ล้านยูโร (เทียบเท่ากับ 3% ของ GDP) สิ่งนี้อาจเป็นแรงกดดันตลาดทุนโลก และตลาดทุนไทยอาจจะมีแนวต้านสั้นๆที่ระดับ 1,480 และอาจจะ Consolidate และ Breakout ในภายหลัง ตัวเลข Non-Farm Payroll หรือ NFP ในเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 287,000 ตำแหน่งสูงกว่า Consensus ที่คาดไว้ประมาณ 180,000 ตำแหน่งเท่านั้น แต่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของ NFP กลับไม่ทำให้ Bond Yield เพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นในเอเซียยังคงอยู่ในภาวะ Search For Yields การลงทุนในช่วงที่มี Liquidity สูง แต่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ (Small growth เช่น GDP 3% ดังเช่นในช่วงนี้) จะเป็นลักษณะ Rotation ไปสู่หุ้นที่ Laggard และเป็นราย Sectors แทน เพราะฉะนั้นหุ้นจะไม่สามารถปรับตัวขึ้นประเภท Across the Board ได้ (ขึ้นยกแผง) สิ่งที่น่ากังวลคือ การที่ดอกเบี้ยปรับตัวลดลงมากแต่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ถือเป็นสัญญาณที่ไม่ดี (Bad Sign) และเป็นไปลักษณะนี้ทั่วโลก และมองว่านโยบายการเงินของ BoJ ผ่าน Abenomics จะเป็นการขยายในส่วนที่เป็นนโยบายการคลัง หรือ Fiscal QE เราได้เห็นการที่ หุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นต้นน้ำ เช่น กลุ่มรับเหมา และกลุ่มวัฏจักรของราคาไก่ ได้ Outperform หุ้นที่มี Business Model ที่เป็น Capital light (ใช้เงินทุนน้อย) แต่เน้นไปที่การจับเทรนด์ของการเปลี่ยนแปลงการบริโภค (Customer Behavior) จะ Outperform หุ้นที่เป็นโครงสร้าง Duopoly ทีมี ROCE และ EBIT สูง จะ Outperform มองว่า กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและ กลุ่มธนาคารจะได้อานิสงส์ของเงินทุนไหลเข้าไปใน Phase ถัดไป ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/460106474094906/photos/a.460987304006823.1073741828.460106474094906/873587289413487/?type=3&theater แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมองไตรมาส 3 ปี 2016 (4-8 กรกฎาคม 2559) โดย ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 มุมมองในไตรมาส 3 ปี 2016 Brexit ทำให้ลดการคาดการณ์ต่อเศรษฐกิจโลก แต่จะมาพร้อมด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางทั่วโลกและงบประมาณที่เพิ่มขึ้น คาดการณ์ว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้และอาจจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในไตรมาส 2 ปีหน้าเป็นอย่างเร็วแทน รวมทั้งนักวิเคราะห์อาจปรับการคาดการณ์ว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยในปี 2019 คาดการณ์การทำ QE อีกรอบของธนาคารญี่ปุ่นในปลายเดือน ก.ค. ด้วยการซื้อหุ้นที่เป็น ETF มากขึ้น ทำให้การทำ QE เพิ่มขึ้นจาก 80 ล้านๆ เยนเป็น 90 ล้านๆ เยนต่อเดือน BOJ อาจลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มเติมจาก -10 bps มาสู่ -20 หรือ -30 bps ในต้นปีหน้า คาดการณ์ ECB และธนาคารกลางอังกฤษเข้าสู่การลดดอกเบี้ยอีกครั้ง และ ECB อาจยึดระยะเวลา QE ออกไปเป็นครั้งที่ 4 ธนาคารกลางของอินเดีย, อินโดนีเซีย มีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง (ตามธนาคารกลางเกาหลี) นโยบายของธนาคารกลางโลกกำลังดำเนินไปสู่บริบทใหม่ (The next monetary regime) จาก QE 1,2 และ 3 , QE ของประเทศสหรัฐ, QE ของธนาคารยุโรป, QE ของธนาคารญี่ปุ่น สู่อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบ และจะเข้าสู่ ธนาคารกลางอัดฉีดเม็ดเงินผ่านนโยบายการคลัง ที่สามารถทำได้โดย 1.) การใช้จ่ายด้านพื้นฐานโดยตรง 2.) ธนาคารกลางอัดฉีดเม็ดเงินผ่านนโยบายการคลังให้รัฐบาล โดยผ่านการออกพันธบัตรระยะยาวมากๆ และถือจนครบอายุ 3.) ธนาคารกลางให้ธนาคารพาณิชย์กู้ในอัตราดอกเบี้ยติดลบ (เหมือน TLTRO II ของธนาคารกลางยุโรป) เป็นปัจจัยให้เส้นอัตราผลตอบแทนหรือ Yield Curve มีความชันขึ้น และเป็นความพยายามที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏการณ์ “Yield hungry” ในประเทศส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีของไทย ปรับตัวต่ำกว่าของสหรัฐฯ ดอกเบี้ยที่แท้จริงจะติดลบก่อให้เกิดภาวะความต้องการการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกโดยเฉพาะหุ้นในตลาดเกิดใหม่รวมหุ้นไทยและทองคำ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินจากพันธบัตรเข้าหุ้น มอง target ของ SET ที่ 1,500-1,550 ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2016 แต่ช่วงสั้น SET Index อาจจะมีแนวต้านที่ 1,470-1,480 Brexit จะไม่ทำให้หุ้นไทยหลุดต่ำ 1,400 การฟื้นตัวของรายได้ภาคเกษตรกรรมจะทำให้หุ้นในภาคการเกษตร การบริโภคภายในและหุ้นภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ Outperform ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/460106474094906/photos/a.460987304006823.1073741828.460106474094906/870044626434420/?type=3&theater แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หลัง BREXIT ตลาดคิดยังไง? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ผ่านไปแล้วกับเหตุการณ์ระทึกขวัญที่ทำให้ชาวหุ้นตื่นเต้นไปตามๆกัน นั่นก็คือ การทำประชามติ “BREXIT” ของสหราชอาณาจักร ซึ่งผลก็อย่างที่เราทราบกัน บทความนี้ จะพาไปทบทวนภาพเหตุการณ์ของตลาดทุน ที่เกิดขึ้นหลังจากการโหวตประชามติวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมานะครับ ลองไปดูกัน ✍ นักเศรษฐศาสตร์ และนักลงทุนเกินค่อนตลาด มองว่า BREXIT ไม่ดีกับเศรษฐกิจยุโรป และอังกฤษ ในระยะยาวแน่นอน อย่างสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย George Osborne รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอังกฤษ ก็ออกมาบอกว่า พบเห็นสัญญาว่า บริษัทเอกชน ตัดงบประมาณ และชะลอการลงทุน หลังทราบผลประชามติ สิ่งนี้ น่าจะมีผลทำให้เศรษฐกิจอังกฤษมีความเสี่ยงมากขึ้นในระยะกลาง และระยะยาว ✍ ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา S&P กับ Fitch ก็ทำการ Downgrade Credit Rating ของอังกฤษ ไปแล้ว ทำให้อังกฤษสูญเสีย Rating “AAA” เป็นที่เรียบร้อย และล่าสุด เมื่อคืน S&P ก็ปรับลด Credit Rating ของสหภาพยุโรปลงจาก AA+ เหลือ “AA” เช่นเดียวกัน รูปที่ 1 : Credit Rating ของประเทศอังกฤษ และ EU แหล่งที่มา : http://www.tradingeconomics.com/country-list/rating ✍ แต่หันมาดูตลาดหุ้น จะพบว่า ถึงแม้ ยุโรป และอเมริกา จะปรับฐานลง 2 วันหลัง BREXIT แต่ก็สามารถรีบาวน์กลับมาได้แข็งแรง S&P500 ลงไปทดสอบแนวรับจิตวิทยา 2,000 จุด และรีบาวน์จากจุดต่ำสุดขึ้นมาแล้ว +4.9% รูปที่ 2 : กราฟราย 60 นาที ของดัชนี S&P500 แหล่งที่มา : http://www.investing.com/indices/us-spx-500 ✍ ไปดูดัชนี FTSE100 ของอังกฤษ ตัวต้นเหตุให้ตลาดตกใจ กลับกลายเป็น ลงเบาตลาดอื่นในยูโรโซน และล่าสุด เมื่อคืนบวกอีก +2.2% ยืนเหนือ 6,500 จุด ซึ่งสูงกว่าก่อนประกาศผลประชามติเสียอีก และถือว่าแข็งแกร่งที่สุดในบรรดาตลาดพัฒนาแล้ว (Developed Markets) รูปที่ 3 : กราฟราย 60 นาที ของดัชนี FTSE100 แหล่งที่มา : http://www.investing.com/indices/uk-100 ✍ ย้อนมาตลาดหุ้นเอเชีย เหมือนจะได้รับอานิสงส์เต็มๆ เพราะตลาดปรับฐานแค่ในวันศุกร์วันเดียว และมีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่อง หุ้นไทย ยืนเหนือราคาปิดก่อนวันทราบผล BREXIT และขึ้นมาทดสอบแนวต้าน 1,450 จุด เป็นการทำ V Shape และน่าจะลุ้นไปต่อไป จาก Fund Flow ที่ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ต่อเนื่อง รูปที่ 4 : กราฟราย 60 นาที ของดัชนี FTSE SET All-Share แหล่งที่มา : http://www.investing.com/indices/ftse-set-all-share ✍ ตลาดพันธบัตรก็ได้อานิสงส์กับเขาเหมือนกัน มี Fund Flow ไหลเข้าลงทุนในตราสารหนี้ทั้งโลก อย่างตราสารหนี้ไทย มีเงินต่างชาติไหลเข้าลงทุน เฉพาะเดือนนี้ ก็เกิน 1 แสนล้านบาท ล่าสุด ถ้าดูเป็น Yield Spread จะพบว่า พันธบัตรรัฐบาล 10 ปีทั่วโลก มีถึง 23 ประเทศ ที่ให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่า US Treasury ทีเดียว รูปที่ 5 : 10-Year Government Bond Spreads แหล่งที่มา : http://www.investing.com/rates-bonds/government-bond-spreads ✍ มาที่ Safe Haven อย่างทองบ้าง หลัง BREXIT ราคาทองดีดขึ้นกว่า $100 ขึ้นไปทดสอบที่ $1,370 ก่อนมีแรงเทขายลงมาแกว่งในกรอบ $1,320 – $1,330 รูปที่ 6 : กราฟ 60 นาที ราคาทอง Spot Gold แหล่งที่มา : http://www.investing.com/commodities/gold จุดสังเกต หลังเหตุการณ์ BREXIT กลับกลายเป็นว่า สินทรัพย์แทบทุกประเภท ปรับตัวขึ้นทั้งหมด สะท้อนภาพว่า Fund Flow ไม่ได้สนใจมุมมองต่อเศรษฐกิจระยะยาวของอังกฤษและอียูที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่เป็นเช่นนี้ เหตุผลหลักน่าจะมีจาก โอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยก็ลดลงไปด้วย เพราะ BREXIT ไม่ใช่แค่เป็นความเสี่ยงของอียู แต่คือความเสี่ยงของโลก และเศรษฐกิจสหรัฐฯเองด้วย เมื่อเฟดไม่น่าจะขึ้นดอกเบี้ย แนวโน้มค่าเงิน USD ก็น่าจะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลอื่น ตลาดเชื่อว่า ธนาคารกลาง (ทั้งอังกฤษ และยุโรป) น่าจะต้องเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น และเตรียมใช้นโยบายการเงินเพิ่มเติมในอนาคตหรือเปล่า? การที่เงินไหลเข้าตราสารหนี้เป็นจำนวนมาก กดให้ Bond Yield ยิ่งต่ำลง (เพราะกลัวความเสี่ยง) กลับกลายเป็นเพิ่ม Equity Risk Premium (ERP) ให้กับการลงทุนในตลาดหุ้นทันที ตรงส่วนนี้ ด้วย Liquidity ที่มีอยู่ในตลาดมากมายมหาศาล จึงทำให้เงินลงทุนบางส่วน ขยับ Allocation ปรับสัดส่วนโยกมาลงทุนในตลาดหุ้น โดยไม่ได้สนใจพื้นฐานด้านอื่น (มองแค่ความคุ้มค่าผ่าน ERP) รูปที่ 6 : Equity Risk Premium ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี แหล่งที่มา : http://www.equitycost.tk/ การปรับตัวขึ้นของตลาดครั้งนี้ จะเป็นแค่เรื่องชั่วคราว หรือ กลายเป็นขาขึ้นระยะยาวในครึ่งปีหลัง นักลงทุนคงต้องนั่งศึกษา และวางแผนปรับกลยุทธ์รับมือกันต่อไป ก่อนจากกัน พาไปดูภาพสุดท้าย ในฝั่งของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ของตลาด เขามีการปรับลดประมาณการ EPS ของหุ้นทั่วโลกในปีนี้ลงไปอีก -0.1% แน่นอนว่า การปรับลด หลักๆมาจากบริษัทจดทะเบียนในยุโรป ที่น่าจะได้รับผลกระทบเต็มๆ แต่ ที่น่าสนใจคือ ตลาดหุ้นเอเชีย และตลาดเกิดใหม่ เริ่มมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิที่ดีขึ้น ในช่วง 1-3 เดือนที่ผ่านมา หลังจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่แล้ว รูปที่ 7 : EPS revisions การปรับประมาณการกำไรสุทธิของนักวิเคราะห์ แหล่งที่มา : Goldman Sachs Global Weekly Kickstart ทั้งนี้ มาร์ค โมเบียส นักลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ระดับตำนานของโลก ให้ความเห็นผ่าน CNBC ว่า “เราควรหันมามองที่ตลาดตะวันออก เพราะการชะลอตัวของเศรษฐกิจอเมริกา และสิ่งที่เกิดขึ้นกับยุโรปนั้น ได้ทำให้ผู้คนหันมากระจายความเสี่ยงมากขึ้น และตลาดเกิดใหม่ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก” แล้วคุณละ มองอย่างไรกันบ้าง ปล. Equity Risk Premium (EPR) คืออะไรดู ที่นี่ แหล่งที่มาข้อมูล :- http://www.bbc.com/news/uk-politics-eu-referendum-36661918 http://www.tradingeconomics.com/country-list/rating http://www.investing.com/indices https://www.finnomena.com/taspong/news-digest/2016/06/30/19/mark-mobius-uk-vote-leave/ Goldman Sachs Global Weekly Kickstart คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมองไตรมาส 3 ปี 2016 โดย ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 มุมมองไตรมาส 3 ปี 2016 (27 มิ.ย. – 1 ก.ค. 2016) อุตสาหกรรมที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปี 2016 คือ กลุ่มถั่วเหลือง น้ำมัน ทองคำ และตลาดหุ้นไทย SET Index อยู่ในระดับ 1350-1440 ในไตรมาส 2 ปี 2016 เป็นการซื้อขายในกรอบกว้างและหมุนไปสู่กลุ่ม Deep Valuation และหุ้นกลุ่มปันผลสูง คาดในช่วงครึ่งหลังของปี จะดีกว่าครึ่งแรกของปี 2016 เป้าหมาย SET Index ปี 2016 อยู่ที่ระดับ 1500-1550 และมีการซื้อขายอยู่ในกรอบ 1350-1550 การที่ SET ปรับตัวลงแรงเป็นโอกาสซื้อหุ้น ระดับเงินสดที่หมุนเวียนในประเทศนำไปสู่ปรากฎการณ์ “ความต้องการผลตอบแทน” (Hungry for Yields) (อ้างอิงจากผลต่างระหว่างอัตราเงินปันผลของ SET และเงินฝากระยะ 1 ปี และปริมาณเงิน M2 ที่เพิ่มขึ้น) ก่อให้เกิด Upside Surprise ที่ผิดปกติ การปรับประมาณการผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน SET เริ่มคงที่ อัตราดอกเบี้ยติดลบและอยู่ในระดับต่ำให้เงินทุนไหลจากตราสารหนี้ไปสู่ตราสารทุน เงินดอลลาร์ที่มีกรอบการซื้อขายที่มีเสถียรภาพเป็นปัจจัยบวกต่อตลาด Emerging Market Key Themes “Overweight : กลุ่มเกษตร พลังงาน การบริโภค ภายในประเทศ รับเหมาก่อสร้างหลัก และ กลุ่มรับเหมาก่อสร้างงานฐานราก” ปันผลสูง : กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสาธารณูปโภค ลานีญา : กลุ่มถั่วเหลือง การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มที่ยัง Laggard : ถ่านหิน กลุ่มค้าปลีกและภาคการบริโภคใน AEC : จากการฟื้นตัวของภาคเกษตรกรรม หุ้นที่จะ Outperform : PE ต่ำ, อัตราเงินปันผลสูง, PB ต่ำ Key Call Fed กลับมาเดินตามแนวทางปี 2015 (คาดขึ้นดอกเบี้ยครั้งเดียวในเดือน ธ.คธ 2016) ราคาถ่านหินจะตามราคาน้ำมัน โดยจะปรับตัวตามด้วย lag time 6-12 เดือน ดอลลาร์ ในครึ่งปีหลังมีเสถียรภาพ (โดยดอลลาร์ถูกขับเคลื่อนโดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ใช่การคาดการ์ต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed) ธนาคารกลางอัดฉีดเม็ดเงินผ่านนโยบายการคลังสามารถทำได้โดย การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยตรง ธนาคารกลางอัดฉีดเม็ดเงินผ่านนโยบายการคลังให้รัฐบาล โดยผ่านการออกพันธบัตรระยะยาวมากๆให้ และถือจนครบอายุ ธนาคารกลางให้ธนาคารพาณิชย์กู้ในอัตราดอกเบี้ยติดลบ (เหมือน TLTRO II ของธนาคารกลางยุโรป) นี่จะเป็นปัจจัยให้เส้นอัตราผลตอบแทนหรือ Yield Curve มีความชันขึ้น การลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริงก่อให้เกิดการโยกย้ายเงินจากพันธบัตรเข้าหุ้น Positive Factors การคาดการณ์กำไรต่อหุ้นมีเสถียรภาพมากขึ้นที่ 92.70 บาท ในปี 2016 และ 105.70 ในปี 2017 แนวโน้มเชิงบวกของรายได้ภาคการเกษตร สถานะของการถือหุ้นของต่างชาติมีน้อย และพร้อมที่จะกลับมาลงทุน สภาพแวดล้อมภายนอกที่ดีขึ้น 4.1) อัตราดอกเบี้ยติดลบในยุโรปและญี่ปุ่นจะทำให้แรงซื้อในตลาดพันธบัตรไทย 4.2) ดอลลาร์เริ่มมีเสถียรภาพในระดับที่จำกัด ราคาน้ำมันมี Upside อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา Negative Factors ความไม่แน่นอนทางการเมืองของทั่วโลก การส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ เยลเลนยังส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ย เกิด Bond Shock ถ้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นเร็วเกินไป ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/460106474094906/photos/a.460987304006823.1073741828.460106474094906/866609633444586/?type=3&theater แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Visit Ongpipattanakul หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย (Fund Flow) ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Brexit ตอนทีเด็ดของ "เก่งเล็ก" - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 อย่างที่ผมเขียนไว้ในบทความ “6 Macro Moment” ปี 2016 ในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 6 มกราคม 2559 ว่าการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรหรือ Brexit จะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของ Macro Moment สำหรับปีนี้ โดยหลังจากที่รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจให้วันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา เป็นวันที่ประชาชนชาวอังกฤษจะลงประชามติว่าจะ Brexit หรือไม่ ทางนายบอริส จอห์นสัน ผู้ว่าราชการเมืองลอนดอน ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอนุรักษ์ที่เป็นรัฐบาลอยู่ในตอนนี้ ก็ประกาศสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปแทบจะในทันที สวนทางกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษนายเดวิด คาเมรอน “เก่งใหญ่” ที่ประกาศมาแต่ไหนแต่ไรว่าต้องการสหราชอาณาจักรยังอยู่ในสหภาพยุโรป ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะสงสัยว่านายจอห์นสันจะหาเหตุผลใดมาจูงใจให้เกิด Brexit ได้ เมื่อผลประโยชน์ทางการค้าจากยุโรปที่มีมูลค่าสูงมากรออยู่ตรงหน้า แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักนายจอห์นสันให้มากกว่านี้กันสักหน่อย หากท่านผู้อ่านได้มีโอกาสไปเยือนประเทศอังกฤษ คงจะได้เห็นรถเมล์สีแดงสองชั้นและรถจักรยานสีฟ้ามากมายที่ล็อคอยู่ตามสวนสาธารณะต่างๆ โดยทั้งคู่เป็นผลงานของนายจอห์นสัน จนจักรยานสีฟ้าตามสวนสาธารณะได้มีชื่อเล่นที่เรียกกันว่า “Boris Bike” สิ่งที่ทำให้นายจอห์นสันกลายเป็นสีสันในวงการเมืองอังกฤษ ได้แก่ รูปร่างที่ออกจะอ้วนถ้วนและผมทอง แถมบุคลิกที่ดูเฟอะฟะ สังเกตได้จากการสะพายเป้ทว่าสวมสูทแล้วขับจักรยานคันจิ๋วไปทำงานทุกวัน การเติบโตในเส้นทางการเมืองของนายจอห์นสัน ถือว่ามาแปลกกว่าท่านอื่นๆ โดยนายจอห์นสันเป็นนักข่าวและนักเขียนให้กับหนังสือพิมพ์ The Times และ The Telegraph มากว่า 20 ปี ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางการเมือง ไต่เต้าจนได้เลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการเมืองลอนดอนเมื่อกว่า 6 ปีก่อน รวมทั้งยังเป็นนักเขียนให้กับนิตยสาร Spectator ที่หลายคนยังข้องใจว่าไปรับค่าจ้างกับสำนักพิมพ์นี้ในขณะที่เป็นผู้ว่าฯอยู่ด้วย สิ่งที่เป็นสีสันของนายจอห์นสันมีให้เห็นกันบ่อยมากไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือวัยรุ่นที่ขับจักรยานอยู่แล้วถูกรังแก หรือว่าจะเป็นการอัดเข้าใส่นักฟุตบอลชื่อดังของเยอรมันในแมทช์การแข่งขันรักบี้การกุศล ถ้าจะเปรียบง่ายๆ อาจจะมองได้ว่าบุคลิกของเขาคล้ายกับนักการเมืองบางท่านในบ้านเราที่เป็นสีสันของวงการเมือง ทำให้ประชาชนชาวอังกฤษคุ้นเคยกับนายจอห์นสันเป็นอย่างดี โดยเหตุผลบางประการที่นายจอห์นสันใช้จูงใจชาวอังกฤษให้คล้อยตามการเกิด Brexit มีดังนี้ การสูญเสียความเป็นอิสรภาพของอังกฤษในเชิงนโยบายต่างๆ โดยนายจอห์นสันชี้ให้เห็นถึงวิกฤติยูโรที่ผ่านมาว่าหากอังกฤษเข้าร่วมกับยูโรปแบบแนบแน่นกว่านี้ ก็จะต้องใช้เงินภาษีในการช่วยเหลือประเทศที่ทำตัวเป็นภาระ นอกจากนี้ ยังต้องมาแบกรับปัญหาการอพยพจากนอกประเทศอีกต่างหาก ประชาธิปไตยที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษ จะต้องสูญเสียไป โดยนายจอห์นสันชี้ให้เห็นถึงกรีซที่ต้องทำตามสหภาพยุโรปทุกอย่าง ทั้งยังบอกว่าจะมีการรวมศูนย์ของสหภาพยุโรปไปสู่ศูนย์กลางไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง ทางสังคมและทางงบประมาณ ที่สหราชอาณาจักรจะต้องสูญความเป็นตัวของตัวเองไป ความมีอิทธิพลของสหราชอาณาจักรต่อนโยบายของตนเองและต่างชาติจะลดลงจากการที่อังกฤษอยู่ในสหภาพยุโรป เนื่องจากในคณะกรรมการสูงสุดของสหภาพยุโรปมีเสียงของชาวอังกฤษเพียงร้อยละ 4 ในขณะที่ประชาชนชาวอังกฤษมีอยู่ถึงร้อยละ 12 ซึ่งตรงนี้นายจอห์นสันใช้เป็นเหตุผลของการยืนยันว่าคนอังกฤษจะไม่ได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ ท้ายสุด การปลุกเลือดรักชาติ โดยนายจอห์นสันย้ำว่านี่เป็นโอกาสเดียวที่สหภาพราชอาณาจักรจะเลือกทางที่ตนเองเป็นเอกราชจากยุโรป ขออนุญาตอ้างอิงประโยคจากนายจอห์นสันโดยตรง “This is a moment for Britain to be brave, to reach out – not to hug the skirts of Nurse in Brussels, and refer all decisions to someone else” ต้องไม่ลืมว่า นายจอห์นสันเป็นนักหนังสือพิมพ์มาอย่างยาวนาน การพูดจาโน้มน้าวแนวรักชาติถือเป็นของชอบของเขาอยู่แล้ว แม้ว่าตลาดจะมองว่าสหราชอาณาจักรท้ายสุดแล้ว คงจะไม่ออกจากยุโรปในการทำประชามติในกลางปีนี้ แต่เมื่อนายจอห์นสันทุ่มทั้งตัวเพื่องานนี้แบบได้เสียเช่นนี้ ผมคิดว่าโอกาสที่ชาวอังกฤษจะหลงคารมของ “เก่งเล็ก” อย่างนายจอห์นสันมีอยู่ไม่น้อย แม้ว่าบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หลายสิบแห่งจะลงขันช่วย “เก่งใหญ่” ทำให้คะแนนเสียงของประชามติกลางปีนี้ คงจะไม่ห่างเหมือนตอนสก็อตแลนด์ขอประกาศตัวเป็นอิสระเมื่อปีกว่าๆ ที่แล้วเป็นแน่แท้ครับ ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637082 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ธนาคารอิตาลี... คือ "จุดอ่อน" ของยูโรโซน - FINNOMENA 13 มิ.ย. 2561 ในช่วงหลังจากการเกิดวิกฤตยุโรโซน (European Debt Crisis) เป็นที่ทราบกันดีว่า กรีซเป็นประเทศที่ประสบปัญหาหนักสุด แต่เมื่อหันมาดูเบอร์ 2 อย่างประเทศอิตาลี ก็จะเห็นว่า อิตาลียังไม่พ้นขีดอันตรายด้วยเช่นกัน หลังจากที่รัฐบาลอิตาลีใช้นโยบายการค้ำประกันโดยรัฐ (State Guarantee Scheme) เพื่อกำจัดหนี้เสียออกจากงบดุล โดยการซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงินมาแปลงเป็นหลักทรัพย์ (Securitization) แล้วนำมาขายแก่นักลงทุน โดยมีการตั้งนิติบุคคลเพื่อดำเนินการต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งแน่นอนว่า หากมีอะไรผิดพลาด รัฐจะต้องแบกรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เศรษฐกิจอิตาลียังดูไม่ดี หากมาดูภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีเอง ในปีนี้ถือว่าอาการน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในภาคการลงทุน (รูปที่ 1) ที่อ่อนแอ จนค่าเฉลี่ยตกลงมารั้งท้ายกลุ่ม แบบทิ้งห่างค่อนข้างมาก (กลุ่มในที่นี้ คือ กลุ่ม OECD ประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวน 21 ประเทศ) ทั้ง ๆ ที่อัตราดอกเบี้ยทั้งของยุโรปและอิตาลี ต่างก็ปรับลดลง เพื่อดึงดูดการลงทุน แต่นั่นก็ไม่สามารถจูงใจให้เกิดการลงทุน หรือเกิดการปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้มากนัก เนื่องจากว่า ปัญหาที่จริงนั้นอยู่ที่โครงสร้างของตัวธนาคาร เมื่อธนาคารและสถาบันการเงินมีปัญหาหนี้เสียอยู่ในระดับสูง มันก็อยากที่จะให้เขาปล่อยกู้สินเชื่อให้กับรายใหม่ จากรูปที่ 2 หนี้เสียของธนาคารอิตาลีเมื่อเทียบกับกองทุนสำรองมีค่าอยู่ในระดับสูงอยู่ที่ประมาณ 14-15% จนหลายฝ่ายมองว่าธนาคารอิตาลีเป็นจุดอ่อนของยูโรโซน ซึ่งตรงนี้ทำให้น่าคิดต่อว่า ในอนาคต เศรษฐกิจของประเทศอิตาลีจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร เมื่อมองจากรูปที่ 3 แล้ว ทำให้เห็นว่า ประเทศอิตาลีจะมีการฟื้นตัวที่ไม่มากนักในภาพรวม ความหวังของประเทศมุ่งเน้นไปที่ภาคการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งทาง OEDC คาดว่าในปี 2017 ประเทศอิตาลีจะสามารถเติบโตจากการส่งออกได้อย่างโดนเด่น (ซึ่งคาดว่าน่ามาจากการได้รับผลเชิงบวกจากค่าเงินที่อ่อนค่า) หรือ พูดง่าย ๆ ว่า เศรษฐกิจของประเทศอิตาลีมีความหวังที่จะเติบโตจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ซึ่งหากว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว อิตาลีก็อาจจะพอมีฟื้นตัวได้บ้าง แต่ถ้าไม่ ก็คงต้องเตรียมตัว ระมัดระวังการขยายตัวของหนี้เสีย และคงต้องเตรียมแผนสำรอง หากว่าภาคธนาคารเกิดล้มขึ้นมาจริง ๆ รอบนี้ผลของมันก็จะเป็นโดมิโนกระทบไปยังภาครัฐด้วย (จากการทำ Securitization) กลายเป็นทั้ง Financial Crisis และ Government-debt Crisis (ปัจจุบัน หนี้รัฐบาลของประเทศอิตาลีอยู่ที่ 132.7 % ต่อ GDP) …. ก็ได้แต่หวังว่าสถานการณ์คงจะไม่เลวร้ายไปกว่านี้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Economic Today ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย อดีตนักวิจัย เจ้าของเพจ Economic Today - TH ปัจจุบันเป็นนักเขียนที่ชื่นชอบเรื่องเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics) ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
MAO INVESTOR ตอน Brexit คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับเรา? - FINNOMENA 14 ม.ค. 2565 แหล่งที่มาข้อมูล : www.scbiec.com http://thaipublica.org http://www.ft.com/intl/eu-referendum http://www.bloomberg.com/graphics/2016-brexit-watch/ แท็ก: ศัพท์การเงิน แชร์บทความ: ผู้เขียน Mao Investor เรื่องราวของน้องเม่าผู้เริ่มต้นโลดแล่นในตลาดทุน โดยมีความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ที่จะเป็นนางพญาปลวก แต่หนทางช่างยากลำบาก เธอจะตายในกองไฟระหว่างทางหรือไม่!! มาร่วมช่วยเชียร์และให้กำลังใจน้องเม่าน้อยกันนะคะ ^^
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Deutsche Bank ความเปราะบางทางการเงิน ที่ต้องจับตามอง - FINNOMENA 13 มิ.ย. 2561 หลังจากที่ดอยซ์แบงก์ (Deutsche Bank) ธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของประเทศเยอรมัน ประกาศผลการดำเนินที่ขาดทุนกว่า 6.8 พันล้านยูโรในปีก่อน ก็ส่งผลให้ราคาหุ้นร่วงลงมารุนแรง และสร้างความกังวลให้กับภาคธนาคารมากขึ้น โดยมีสาเหตุหลักของการขาดทุนจำนวนมาก จากการสำรองเงิน สำหรับชำระค่าเสียหายทางคดี 5.2 พันล้านยูโร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบิดเบือนดอกเบี้ย การเลี่ยงภาษี และการฟอกเงิน เมื่อขาดทุนสูงมาก จึงมีความเสี่ยงที่ “อาจจะ” ไม่สามารถ ทำการจ่ายดอกเบี้ยให้ Contingent Convertible Bond หรือ CoCo Bond ได้ ซึ่ง CoCo Bond เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพแบบมีเงื่อนไข และยังนับเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของธนาคาร (tier-1 capital) ทำให้ Moody’s ปรับลดอันดับเครดิตจาก A3 เป็น Baa1 เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ดอยซ์แบงก์ประกาศซื้อคืนตราสารหนี้ของตนเองมูลค่า 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อตลาด ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ แต่ทว่าสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กลับกลายเป็นตัวฉุด ที่ทำให้ดอยซ์แบงก์ต้องแบกรับภาระมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารเป็นอย่างมาก นั่นทำให้ราคาหุ้นของ Deutsche Bank AG ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่ต้องจับตามองให้ดี ก็คือว่าหากบริษัทไม่มีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคงหนีไม่พ้นการลดลงของราคาหุ้น และเมื่อราคาหุ้นตกลงจนถึงขั้นที่กำหนดตามเงื่อนไขของ CoCo Bond ก็จะถูกบังคับการแปลงสภาพจากหุ้นกู้ ไปเป็นหุ้นสามัญโดยอัตโนมัติ และหลังจากที่มีการแปลงสภาพงบแสดงฐานะการเงินของบริษัทจะเปลี่ยนไป คือ จำนวนหนี้ของบริษัทจะลดลงในขณะที่จำนวนหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้น .. ในอดีตหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับความนิยมมาก เพราะ ได้รับดอกเบี้ยจำนวนหนึ่ง และเมื่อแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่เศรษฐกิจดี ก็จะยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลอีก แต่สำหรับปัจจุบันนี้ ภาพนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว นอกจากจะได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ๆ ก่อนถูกแปลงสภาพ .. ภายหลังจากถูกบังคับแปลงสภาพ ก็ยังต้องมารับความเสี่ยงทั้งจากการที่จะไม่ได้รับเงินปันผล เพราะ ผลการดำเนินงานแย่ และผลกระต่อจากการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้น (Dilution Effect) ซึ่งหากมองในภาพรวมแล้ว นักลงทุนคงไม่ปลื้มเป็นแน่ ส่วนสถานการณ์ล่าสุดนั้น Moody’s ยังคงเดินหน้าปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ลงไปทีเดียวถึง 2 ขั้นด้วยกัน กลายเป็นระดับ Baa2 ซึ่งเป็นระดับรองสุดท้าย ก่อนที่จะหลุดออกจากระดับ Investment Grade หรือเป็นระดับที่สูงกว่า Junk เพียง 2 ขั้น ในวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา นับว่าเป็นระดับที่ดูไม่ดีเท่าไหร่นัก สำหรับธนาคารยักษ์ใหญ่ของโลก แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Economic Today ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย อดีตนักวิจัย เจ้าของเพจ Economic Today - TH ปัจจุบันเป็นนักเขียนที่ชื่นชอบเรื่องเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics) ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
9 สิ่งที่น่าสนใจ ก่อนไปลุ้น "Brexit" - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 Brexit ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดของเดือน มิ.ย. นี้เลยก็ว่าได้ สำคัญกว่า FOMC Meeting ซะอีก เพราะดูเหมือนเฟดจะมีเหตุผลในการขึ้นดอกเบี้ยลดลงไปค่อนข้างเยอะ ล่าสุด Fed Fund Futures ให้โอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยเดือน มิ.ย. นี้ไม่ถึง 2% แล้วครับ ฉะนั้น นักเทรด นักกลยุทธ์คงต้องมาประเมินสถานการณ์การทำประชามติที่อังกฤษว่าสรุปแล้ว จะออก หรือว่า จะยังคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป ผมนั่งอ่านไปเรื่อยๆ ก็ทำเป็นสรุป 9 ข้อที่ตัวเองเห็นว่าน่าสนใจมาให้ไปลองขุดข้อมูลกันต่อ 9 สิ่งที่น่าสนใจ ก่อนไปลุ้น “Brexit” 1. อังกฤษ จ่ายค่าสมาชิกให้สหภาพยุโรป (EU) อยู่ £12.9 billion ต่อปี หรือเฉลี่ย £35 million ต่อวัน ทั้งนี้ อังกฤษจ่ายค่าสมาชิกสูงเป็น 4 จากทั้งหมด 28 ประเทศในยูโรโซน 2. ตลาดส่งออกหลักของอังกฤษก็คือ EU คิดเป็น 45% ของการส่งออกทั้งหมด ที่เยอะขนาดนี้ ก็เพราะมีข้อตกลงการค้า Free Trade Agreement และเงื่อนไขภาษีของการค้าขายในกลุ่ม EU ด้วยกัน รูปที่ 1 : คู้ค่า 7 อันดับแรกของอังกฤษ แหล่งข้อมูล : http://www.economywatch.com 3. EU มีกฎหมายหลายอย่างในกลุ่มที่ใช้ร่วมกัน 28 ประเทศ ซึ่งสามารถลดต้นทนุของความล่าช้าในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศในกลุ่มกันเองได้ แต่ขณะเดียวกัน ก็มีกฏหมายแรงงาน ที่ต้องปฏิบัติตาม ที่ผู้ประกอบการในอังกฤษทั้งสนับสนุน และต่อต้าน 4. EU มีข้อตกลงเรื่องการช่วยเหลือผู้อพยพและย้ายถิ่นฐานทั้งใน EU และนอก EU ซึ่งเป็นข้อกฏหมายการโยกย้ายแรงงานเสรี และเป็นเรื่องด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ผู้อพยพเข้าอังกฤษปี 2015 มีมากกว่า 300,000 รายทีเดียว รูปที่ 2 : ตัวเลขผู้อพยพสุทธิเข้าอังกฤษ นับตั้งแต่ปี 1990 แหล่งข้อมูล : www.theguardian.com 5. ตอนนี้โพลหลายสำนัก ยกตัวอย่างเช่น ของ ORB สำรวจความเห็นของคนอังกฤษ คือโพลคือ 55% คิดว่าอังกฤษควรออกจากยูโรโซน และอีกหลายโพล บอกว่า คะแนนจาก Brexit Camp นำ Bremain Camp ขึ้นมาแล้ว 6. Bremain Camp รณรงค์ด้วย Campaign “Britain Stronger in Europe” ระดมทุนสนับสนุน Campaign ไปได้ £6.88m ซึ่งถือว่า สูงกว่า Brexit Camp (Vote Leave) ที่ระดมได้ไป £2.78m 7. ดูจากค่าสถิติของโพลแล้ว ผู้ที่อายุน้อย ส่วนใหญ่จะเลือกโหวตอยู่ใน EU ต่อ ส่วนผู้สูงอายุจะอยากออกจาก EU และถ้าดูจำนวนผู้ไปเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา ผู้สูงอายุไปใช้สิทธิมากกว่า นั้นหมายความว่า ยังมีคนที่โพลสำรวจไปไม่ถึงอีกราวๆ 15-20% ที่อาจจะเดินออกมาโหวตในรอบนี้และเราไม่รู้ว่าเขาคิดยังไง การดูโพลเลยยังฟันธงไม่ได้ว่าผลจะเป็นอย่างที่โพลบอกหรือเปล่า 8. ผู้มีสิทธิเข้าโหวตครั้งนี้คือ ชาวอังกฤษ ชาวไอริช และประชาชนในเครือสหราชอาณาจักร ที่มีอายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์ นั้นร่วมถึงประชาชนในยิบรอลตาร์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสเปน และเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 32,000 คน (จะบอกทำไมเนี่ย 555+) รูปที่ 3 : ยิบรอลตาร์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสเปน แหล่งข้อมูล : http://ichef.bbci.co.uk/ 9. สมมติ อังกฤษ ออกจาก ยูโรโซน จริง น่าจะใช้เวลารื้อข้อตกลงกันไม่ต่ำกว่า 2 ปี ระหว่างนั้นทีมกฏหมายคงเข้ามาต่อรองเจรจาเงื่อนไข เพื่อทำให้มันไม่กระทบกับเศรษฐกิจของทั้งกลุ่มมากที่สุด มีข่าวว่า มีการประชุมกันใน กลุ่มผู้นำ EU (ยกเว้นอังกฤษ) เพื่อเตรียมความพร้อมรับกรณี Brexit อย่างจริงจังด้วยนะ แหล่งที่มาข้อมูล :- http://www.telegraph.co.uk/news/newstopics/eureferendum/12176663/EU-Facts-how-much-does-Britain-pay-to-the-EU-budget.html https://www.theguardian.com/world/2015/nov/26/net-migration-britain-new-high-ons-immigration http://www.independent.co.uk/news/uk/politics/eu-referendum-poll-brexit-leave-campaign-10-point-lead-remain-boris-johnson-nigel-farage-david-a7075131.html http://www.bbc.com/news/uk-politics-34505076 Mr.Messenger รายงาน แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อญี่ปุ่นคิดจะเลื่อนการขึ้นภาษี VAT ... จะดีต่อการลงทุนในญี่ปุ่นไหม? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 นาย ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพิ่งแถลงในการประชุมพรรค LDP ว่า เขาจะพิจารณาเลื่อนขึ้นภาษี VAT ที่จากเดิมจะขึ้นสิ้นเดือน เม.ย. ปีหน้า จาก 8% เป็น 10% ให้ชะลอออกไปก่อน แล้วจริงๆ ควรเลื่อนการขึ้นภาษี VAT ออกไปไหม? เหตุผลที่พูดกันเรื่องนี้เยอะ เพราะ ภาคการบริโภคในญี่ปุ่นซบเซามาตลอด และเศรษฐกิจในประเทศเองก็เปราะบางเหลือเกิน จนต้นปี BoJ ต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบเลยทีเดียว แต่เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้น ดังนั้น ชะลอออกไปก่อน ให้เศรษฐกิจดีขึ้นดีกว่า จะได้ไม่ซ้ำเติมสิ่งที่เป็นอยู่อย่างตอนนี้ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของโลกอย่าง Joseph Stiglitz และ Paul Krugman ก็ได้แสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนให้เลื่อนออกไปก่อน เช่นเดียวกัน โดยให้ความเห็นว่า ถ้าขึ้นภาษีในช่วงนี้ ความเสี่ยงที่จะเกิดเงินฝืดในญี่ปุ่น (Deflation) จะยิ่งสูงขึ้น จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวในระยะยาวของเศรษฐกิจ รูปที่ 1 : ยอดค้าปลีกในญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2558 – เม.ย. 2559 แหล่งที่มา : สำนักข่าว Bloomberg ฝั่งที่ไม่เห็นด้วย? ฝั่งที่ไม่เห็นด้วย ก็คือ ชินโซ อาเบะ คนนี้ละครับที่ก่อนหน้านี้ ก็ปฏิเสธมาตลอด รวมถึงนักเศรษฐศาสตร์ภายในญี่ปุ่นเองก็อยากให้ขึ้นภาษี VAT นี่ซะที อย่าไปเลื่อนเลย สาเหตุเป็นเพราะ รายได้ของรัฐบาลนั้นน้อยเหลือเกิน อัตราหนี้ของจีดีพีที่สูงมากๆ หากไม่เร่งหารายได้ให้ทันจำนวนหนี้ที่ก่อมากขึ้น นานไป มันก็จะกลายเป็นภาระของประชาชนรุ่นหลัง ที่ต้องมาแบกใช้หนี้ก้อนนี้กันต่อ รูปที่ 2 : อัตราส่วน หนี้สิน ต่อ จีดีพี ของญี่ปุ่น ข้อมูลตั้งแต่ 2006 -2015 แหล่งที่มา : http://www.tradingeconomics.com แต่ถ้าเลื่อนการขึ้น VAT ไปแล้ว เหตุการณ์จะเป็นยังไงต่อ? ในฟากของการเมืองในประเทศ ญี่ปุ่นจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาสูงในวันที่ 10 ก.ค. ที่จะถึงนี้ การเลื่อนขึ้น VAT น่าจะทำให้ฐานเสียงของพรรค LDP เพิ่มขึ้น และทำให้มีโอกาสที่พรรคจะได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความแข็งแกร่งในฐานะพรรครัฐบาล แต่อีกด้าน ก็มีนักเศรษฐศาสตร์ออกมาแสดงความกังวลว่า ขนาดพรรคที่มีฐานเสียงและคะแนนนิยมมากที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ยังไม่กล้าที่จะขึ้นภาษี VAT แบบนี้ หลังจากนี้ไป ไม่ต้องห่วงเลย คงจะขึ้นได้ยากแน่ๆ ส่วนในแง่ของเศรษฐกิจ ก็คงต้องกลับมาจับตาว่า ตัวเลขยอดค้าปลีกในประเทศจะกระเตื้องขึ้นจริงอย่างที่รัฐบาลหวังหรือเปล่า ซึ่งถ้ายังไม่ขยับขึ้นมาอีก แน่นอนว่า จะเป็นงานหนักสำหรับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแน่นอนนะครับ ในฝั่งของการลงทุนในตลาดหุ้น คงต้องดูหลายเหตุผล และหลายปัจจัยอื่นๆประกอบนะครับ แต่ถ้าใช้ข้อมูลในอดีตมาดูละก็ น่าจะมีลุ้นให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นบวกได้อย่างน้อยๆก็ในระยะสั้นๆ เพราะ การเลื่อนปรับขึ้นภาษีครั้งนี้ ถ้าเสนอผ่านจริง (ซึ่งน่าจะผ่านละ) จะเป็นการตัดสินใจเลื่อนการขึ้น VAT เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งรัฐบาลวางแผนจะปรับขึ้น VAT เป็น 10% ในเดือนต.ค. 2558 ปีที่แล้ว แต่ก็เพราะนายกฯ อาเบะ นี่ละครับ ที่ประกาศเลื่อนออกไปในช่วงเดือน พ.ย. 2557 ตอนนั้น ดัชนี Nikkei 225 เทรดอยู่แถวๆ 15,000 จุด หลังจากข่าวนั้น บวกกับการกระตุ้นมาตรการหลายๆอย่าง จาก Abenomics และทิศทางตลาดโลกที่เอื้ออำนวย ก็ทำให้ Nikkei 225 ขึ้นไปทำจุดสูงสุดของรอบได้ที่ 21,000 จุดกลางเดือน มิ.ย. 2558 รูปที่ 3 : ดัชนี Nikkei 225 ย้อนหลัง 2 ปี แหล่งที่มา : http://www.stockcharts.com มุมมองส่วนตัว ผมมองว่า ความมีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายการเงินของญี่ปุ่นนั้นลดลง และคนเริ่มไม่เชื่อว่า QQE ที่ออกมานั้นมันจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้จริงหรือ? ดังนั้น การลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ด้วยความคาดหวังจากมาตรการกระตุ้นเพียงอย่างเดียว มันไม่เพียงพอในการพิจารณาเข้าซื้อ/ขาย นะครับ สุดท้าย นักลงทุนจะกลับมาดูว่า ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่เราไปลงทุนมันดีขึ้นจริงไหม? สิ่งนี้ต่างหากที่จะสร้างกำไรในการลงทุนระยะยาวให้เราได้ งบไตรมาสล่าสุดออกมา (งบปีของญี่ปุ่น ปิดที่ไตรมาสนี้) ปรากฏว่า Net Profit ลดลง -2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นี่เป็นการปรับลดครั้งแรกนับตั้งแต่มี Abenomics มาเลยก็ว่าได้นะครับ ดังนั้น คงต้องมาดูกันว่า เริ่มปีบัญชีใหม่ เหตุการณ์ใหม่ อนาคตของตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไร ไปหาข้อมูลกันต่อครับว่า ทั้งหมดทั้งมวล ไม่ว่าจะปัจจัยใดๆ บ้างก็แล้วแต่ มันส่งผลให้บริษัทในญี่ปุ่นกำไรโตขึ้นได้จริงไหม นี่คือหัวใจของการลงทุนครับ แหล่งที่มาข้อมูล :- http://www.japantimes.co.jp/news/2016/05/30/business/economy-business/japans-retail-sales-stall-abe-mulls-delay-tax-hike/#.V06aKvl95pg http://www.tradingeconomics.com/japan/government-debt-to-gdp http://www.wsj.com/articles/japans-abe-tells-ldp-he-will-delay-sales-tax-increase-1464757224 คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เหตุจูงใจของการปฏิรูปกฎหมายแรงงานฝรั่งเศส - FINNOMENA 13 มิ.ย. 2561 การประท้วงการปฏิรูปกฎหมายแรงงานในฝรั่งเศส เกิดจากปัญหาหลักที่ว่ารัฐบาลเสนอแผนปฏิรูปหลายประการที่ค่อนข้างจะเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างมากเกินไป เช่น การอนุญาตให้ปลดลูกจ้างที่อายุน้อยกว่า 26 ปีออกได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้เหตุผล เปิดโอกาสให้นายจ้างพิจารณาปลดคนงานง่ายขึ้นในกรณีที่ธุรกิจมีแนวโน้มว่าจะตกต่ำลง เปิดช่องให้นายจ้างสามารถต่อรองเรื่องวันหยุดหรือวันลาได้มากขึ้น การกำหนดเวลาทำงานเฉลี่ย 35 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยให้นายจ้างสามารถเจรจากับสหภาพแรงงานในพื้นที่นั้น ๆ ได้ ด้วยทั้งหมดที่ว่ามานี้ ทำผู้ประท้วงรู้สึกว่า นี่คือ “การลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน” เมื่อลองไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมจาก National Institute of Statistics and Economic Studies ของฝรั่งเศสก็พอจะเห็นแนวโน้มว่าทำไมการปฏิรูปจึงจำกัดชั่วโมงการทำงาน จากรูปข้างบนจะเห็นว่า การที่เส้นค่าเฉลี่ยของรายได้ (Mean wage) หรือเส้นสีดำ อยู่สูงกว่าเส้นรายได้ขั้นต่ำ คือ 35 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือเส้นสีแดง นั่นแปลว่า คนส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสนั้น มีการทำงานมากกว่าชั่วโมงขั้นต่ำที่กำหนดไว้ และทั้งนี้เส้นค่าแรงทำงานขั้นต่ำมีการเติบโตมาโดยตลอด นั่นแปลว่าที่ผ่านมา นายจ้างมีการจ่ายค่าจ้างที่สูงขึ้น จากปี 2003 ที่อยู่ที่ประมาณ 300 ยูโร ขยับมาอยู่ที่ประมาณ 340 ยูโร ในขณะที่ประเทศเยอรมันอย่างมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้อยู่ที่ 0% และเหตุจูงใจที่ทำให้รัฐบาลต้องการปฏิรูปกฎหมายแรงงาน เนื่องจากว่า ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศสค่อนข้างที่จะอ่อนแอ โดยเฉพาะปี 2015 ที่ GDP มีการเติบโตเพียง 1.2% ซึ่งเป็นผลมาจากการสนับสนุนของปัจจัยภายนอกอย่างราคาน้ำมันที่ลดลง และเมื่อดูการคาดการณ์เศรษฐกิจของฝรั่งเศส จากรายงานของ European Commission ฉบับเดือนพฤษภาคม 2559 ก็จะเห็นโครงสร้างของปัญหาในอดีตว่า ช่วงปีที่ผ่านมา แม้ว่าค่าเงินจะอ่อนค่าลง แต่กลับไม่ได้ส่งผลให้เกิดปัจจัยบวกต่อการส่งออก อีกทั้งยังทำให้การส่งออกสุทธิติดลบ การพยากรณ์สำหรับเศรษฐกิจฝรั่งเศสในไตรมาสต่อไป ยังมองว่ามี downside อยู่ แต่ก็เริ่มดูมีความหวังว่าจะเกิดการฟื้นตัวขึ้นในภาคการลงทุน โดยพิจารณาจากดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม นายมานูเอล วาลส์ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส จึงยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ยกเลิกแผนปฏิรูปกฎหมายแรงงาน แต่อาจจะมีการพิจารณาปรับแก้เพิ่มเติม เพราะหากมองโครงสร้างเศรษฐกิจไปในปี 2017 จะเห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์พยากรณ์ว่าภาคการลงทุนจะเป็นเครื่องจักรสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจฝรั่งเศสเติบโต อย่างไรก็ตาม การออกกฎหมายในครั้งนี้ ค่อนข้างชัดเจนว่า ต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต และอยากจะลดอัตราการว่างงานลง (ปัจจุบันอัตราการว่างงานของฝรั่งเศสอยู่ที่ 10.2% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของยูโรโซน) จากการสร้างเงื่อนไขเอาใจให้นายจ้างสามารถพิจารณาจ้างงานในตำแหน่งงานใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดเล็ก จนอาจจะลืมคิดไปว่าควรที่จะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Economic Today ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย อดีตนักวิจัย เจ้าของเพจ Economic Today - TH ปัจจุบันเป็นนักเขียนที่ชื่นชอบเรื่องเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics) ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ผลตอบแทนตราสารหนี้พุ่ง ราคาตราสารหนี้ร่วง เพราะอะไร ต้องทำอย่างไร - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงต้นปี ตลาดตราสารหนี้ไทย มีเงินไหลเข้ามาลงทุน กดให้อัตราผลตอบแทนลดลงต่ำทุกช่วงอายุ เป็นผลดีต่อ ตราสารหนี้ที่ราคาขยับขึ้นต่อเนื่องนะครับ สาเหตุหลักมี 2 สาเหตุด้วยกัน 1. ตลาดมีมุมมองว่า เฟด มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้น้อยกว่า Dot Plot ที่บอกว่าน่าจะขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ (ตลาดมองว่าขึ้นแค่ 2 ครั้งในครึ่งปีหลังของปีนี้) ทำให้มีแรงซื้อกลับในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ กดให้ Bond Yield ของทั้งโลกต่ำลง 2. การใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบของ BOJ ทำให้มีเงินไหลเข้าลงในตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น เพราะส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูง จูงใจให้นักลงทุนวิ่งมาหาเรา วันนี้ 1 ใน 2 ข้อนั้น กำลังเปลี่ยนไป นั่นคือ ตลาดกลับมากังวลอีกครั้งว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป เดือน มิ.ย. ที่จะถึงนี้ ส่งผลให้ Bond Yield ปรับตัวขึ้น บวกกับ ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนเกิด Outflow ออกจากตลาดตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ในช่วง 2 สัปดาห์ล่าสุด รูปที่ 1 : Fed Fund Futures ให้โอกาสขึ้นดอกเบี้ย เดือน มิ.ย. 2016 ขึ้นมาที่ 31.9% แหล่งที่มาข้อมูล : http://www.cmegroup.com/trading/interest-rates/countdown-to-fomc.html อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้เลยขยับขึ้นทุกช่วงอายุ พอ Mark to Market ก็ทำให้ราคาร่วงลงมาอย่างที่เราเห็นในช่วงนี้ และจริงๆสิ่งนี้ ก็เป็นสิ่งที่อธิบายเหตุการณ์ที่เหล่ากองทุนอสังหาฯวิ่งแรงตั้งแต่ต้นปี แล้วอยู่ดีๆก็โดนเทขายเช่นเดียวกัน รูปที่ 1 : อัตราผลตอบแทน และ ราคาพันธบัตรรัฐบาลไทย อายุ 10 ปี แหล่งที่มาข้อมูล : BISNEWS เหตุการณ์จะเป็นเช่นนี้อีกนานไหม? 1. มันเป็นเหตุการณ์ที่ย้ำเตือนเราว่า ตลาดพันธบัตรทั่วโลก อัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำเกินไป Yield พร้อมเด้งทุกเมื่อ ที่มีข่าวมากระทบ 2. ถึงแม้เฟดจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย เดือน มิ.ย. นี้ แต่ก็มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อๆไป ดังนั้น ตลาดตราสารหนี้ ตลาดพันธบัตร จะมีความผันผวนมากขึ้นหลังจากนี้ 3. แต่หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่ตลาดคาด หรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้เชื่อว่า เฟดจะยืดระยะเวลาการขึ้นดอกเบี้ยออกไป ก็มีโอกาสที่เงินจะไหลเข้าลงทุนตราสารหนี้อีกครั้ง ดังนั้นมุมมองของเฟดต่อเศรษฐกิจสหรัฐ รวมไปถึงการตัดสินใจเรื่องนโยบายดอกเบี้ย จะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง และระยะยาวทั้งในและต่างประเทศต่อไป ควรทำอย่างไรกับกองทุนตราสารหนี้ที่ถือ ณ ตอนนี้? แบ่งเป็น 3 กรณีครับ กรณีเพิ่งเข้ามาลงทุนในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ด้วยความคิดที่ว่า ผลตอบแทนย้อนหลังมันสูงดีจัง โยกเงินจาก Money Market ย้ายไปดีกว่า และบอกกับตัวเองว่าจะถือสั้นๆ ไม่ถือยาว ผมแนะนำว่า “ขายออกไปเถอะครับ” เพราะกองทุนตราสารหนี้เหล่านี้ ก่อนเข้ามา คุณต้องถือได้อย่างต่ำ 6 เดือน ถึง 1 ปีขึ้นไป อันนี้ถือสิ่งที่ต้องคิดตั้งแต่ Day 1 ก่อนเริ่มซื้อครับ ดังนั้น การลงทุนของคุณ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ผิดไปจาก เงื่อนไขของเครื่องมือที่เรียกว่า กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว ดังนั้น ออกไปหากองอื่นดีกว่า กรณีลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน … เป็นไปได้ที่บางกอง ณ ตอนนี้ กลับกลายเป็นกินเงินต้นคุณไปแล้ว และทำให้คุณร้อนใจว่า เอายังไงดีฟร่ะ? ผมแนะนำว่า “ทนถือครับ” ภาวะนี้ เป็นภาวะการดีดตัวของ Bond Yield ในช่วงสั้นๆ เกิดไม่บ่อย ถือจนราคากองทุนขึ้นมาใกล้ๆทุน แล้วค่อยย้อนกลับมาดูวัตถุประสงค์การลงทุนของเรา เหมือนที่แนะนำข้อที่ 1 ว่า เราถือได้นานแค่ไหน ถ้าได้ไม่นาน ก็ขายออกครับ ไปหาการลงทุนที่เสี่ยงต่ำกว่า เราจะสบายใจกว่า กรณีที่ลงทุนมาแล้วเกิน 6 เดือนขึ้นไป ยังไงตรงนี้คุณก็มีกำไรจาก NAV ที่วิ่งมาได้ดีในช่วงก่อนหน้านี้ครับ จิตใจคุณน่าจะไม่กังวลใจเท่านักลงทุน 2 กลุ่มแรก ผมแนะนำ “ถือต่อไปครับ” สาเหตุที่ยังแนะนำบางท่านให้ถือต่อไปในระยะยาว ก็เพราะ ผมเชื่อว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ Fund Manager กองทุนรวมตราสารหนี้ทั้งหลาย อาจปรับพอร์ตกันได้ไม่ทัน เนื่องจากตลาดเปลี่ยนมุมมองแบบฉับพลัน แต่สุดท้าย Fund Manager ของกองทุนเจ๋งๆ เขาก็จะพยายามปรับ Duration พอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจและแนวโน้มดอกเบี้ยในขณะนั้นๆให้ทันครับ ดังนั้น ผมจึงคิดว่า เราไม่ควรห่วงเกินไป เอาละ อ่านแล้วน่าจะพอรู้เหตุผล และลดความกังวลในใจของนักลงทุนได้บ้างนะครับ สุดท้าย กลับไปดูที่วัตถุประสงค์การลงทุนของเรา เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับความต้องการ และความเสี่ยงของเราเป็นหลัก อย่าไปไล่ตามผลตอบแทนในอดีตอันสวยหรู เพราะนั้นหมายถึงการไล่ตามอดีตซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคตก็ได้ครับ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กรีซกับการประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศยูโรโซน - FINNOMENA 13 มิ.ย. 2561 การประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศยูโรโซนเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตามอง หลังจากที่เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะในปี 2009 ระดับหนี้สาธารณะของกรีซกลับเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จากเดิมอยู่ที่ประมาณ 120% ของ GDP ในปี 2009 ณ ปัจจุบันตัวเลขขยับขึ้นมาที่ประมาณ 195% ของ GDP จนทำให้ Levy Economics Institute of Bard College ถึงกับต้องมาศึกษาถึงปัญหาของหนี้สาธารณะกรีซ Working Paper หมายเลข 867 เรื่อง The Greek Public Debt Problem เพิ่งถูกตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งนักวิจัยทำการศึกษาข้อมูลตลอดช่วงระยะเวลา 6 ปีเต็มหลังจากวิกฤต และพบว่าหนี้สาธารณะของกรีซมีภาวะที่ไม่ยั่งยืนอย่างชัดเจน การเริ่มต้นลงนามให้ความช่วยเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปี 2010 ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยเหลือที่มีจำนวนเงินกว่า 110 ล้านยูโร ในเงินก้อนนี้ 80 ล้านแรกมาจากการให้กู้ยืมจากประเทศสมาชิก ส่วนอีก 30 พันล้านหลังมาจาก IMF และตามกำหนดการ โปรแกรมแรกนี้ควรสิ้นสุดลงในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2013 แต่ก็ดันถูกโปรแกรมที่สองเข้ามาแทนที่ไปซะก่อนในเดือนมีนาคม ปี 2012 ทำให้งวดแรกนี้ ได้เงินช่วยเหลือจริง ๆ 73 พันล้านยูโร โดยเงินก้อนนี้มาจากกลุ่มประเทศสมาชิกประมาณ 53 พันล้านยูโร ส่วนที่เหลือมาจาก IMF ประมาณ 20 พันล้านยูโร โปรแกรมที่สองมีกำหนดการช่วยเหลือจนถึงเดือนธันวาคม ปี 2014 ด้วยเม็ดเงินที่มากถึง 172.6 พันล้านยูโร แต่ท้ายที่สุดก็ถูกขยายระยะเวลามาจนถึงช่วงเดือน มิถุนายน ปี 2015 โดยเงินจากโปรแกรมการช่วยเหลือสองครั้งแรก ถูกใช้ไปกับการจ่ายคืนหนี้มากที่สุด รองลงมา คือ การจ่ายดอกเบี้ย ล่าสุด โปรแกรมสาม มีการลงนามกันในเดือนสิงหาคม ปี 2015 และมีกำหนดระยะเวลาไปจนถึงช่วงเดือนสิงหาคมของปี 2018 โดยมีการกำหนดวงเงินไว้ที่ 86 พันล้าน ประเด็นหลักที่มีปัญหามากสำหรับกรีซ ก็คือ เรื่องความเข้มงวดทางการคลัง และการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งหากทั้งสองเรื่องนี้ได้รับการพัฒนา ก็จะช่วยลดอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลงได้ อย่างไรก็ตาม กรีซยังคงหวังว่าจะสามารถตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ ในประเด็นของการกำหนดมาตรการชุดใหม่มาบังคับใช้ ไปจนถึงปี 2018 โดยมีปัจจัยสำคัญ อย่างเช่น การจัดตั้งแผนสำหรับปรับลดการใช้จ่ายของภาครัฐโดยอัตโนมัติที่ 2% ของจีดีพีหากกรีซไม่สามารถรัฐเข็มขัดทางการคลังได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ และ ลดการใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมและบำนาญมาที่ 15% ของจีดีพี จากเดิม 17% ภายใน 2019 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Economic Today ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย อดีตนักวิจัย เจ้าของเพจ Economic Today - TH ปัจจุบันเป็นนักเขียนที่ชื่นชอบเรื่องเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics) ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มารู้จัก Helicopter Money กันเถอะ - FINNOMENA 11 มิ.ย. 2565 เคยได้ยินคำว่า Helicopter Money ไหมครับ? Helicopter Money เป็นแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องโลก Milton Friedman เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน โดยเสนอให้ธนาคารกลาง “พิมพ์เงินแจกให้ถึงมือประชาชนโดยตรง”โดยไม่ต้องผ่านกลไกดอกเบี้ยหรือใช้นโยบายการเงินให้วุ่นวาย เมื่อเงินถึงมือประชาชน ก็เชื่อว่าจะเกิดการจับจ่ายใช้สอย และกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น Friedman เสนอแนวคิดนี้ไว้ในงานวิจัยชื่อว่า The Optimum Quantity of Money โดยเขียนอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ดังนี้ “สมมติว่าวันหนึ่ง มีเฮลิคอปเตอร์บินอยู่เหนือชุมชนแล้วโปรยธนบัตรที่มีมูลค่ารวมกัน $1,000 ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีชาวบ้านรีบวิ่งไปเก็บ และสมมติทุกคนเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว” เหตุที่คนพูดถึง Helicopter Money กันมากขึ้น เพราะเริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูขึ้นเรื่อยๆ ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่บรรดารัฐบาลและธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกนำมาใช้นั้น “ผิดทาง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Quantitative Easing (QE) หรือการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นต้นทุนการกู้ยืมเงินถูกลง และมุ่งหวังให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้บริษัทเอกชนมากขึ้น แต่ในยุคที่เศรษฐกิจฝึดเคือง ธุรกิจเอกชนมีกำลังการผลิตส่วนเกินและมีกระแสเงินสดเหลือเยอะ ในขณะที่ครัวเรือนมีหนี้สินอยู่ล้นพ้นตัว ไม่ว่าจะลดดอกเบี้ยให้ต่ำอย่างไรก็ไม่เกิดการกู้ยืมเงิน เราจึงอยู่ในภาวะ “ดอกเบี้ยต่ำแต่เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นสักที” มาหลายปีแล้ว Iamvessel เขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้บนเว็บไซต์ของเขา ที่เห็นชัดคือ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำมาหลายปี แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ตัวเลขการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์มีแต่จะลดลง แม้ ECB ได้ดำเนินนโยบาย TLTRO (ย่อมาจาก Targeted Long-term Refinancing Operations) เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้มากขึ้น แต่ผลออกมาก็แค่เห็นตัวเลขการปล่อยกู้ที่ลดลงมาตลอดเริ่มจะ “นิ่ง” เท่านั้น ล่าสุดประกาศ TLTRO II เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา คราวนี้มาพร้อม “ดอกเบี้ยติดลบ” แปลว่า ธนาคารกลางปล่อยกู้พร้อมแถมเงินให้ด้วย!! แต่ก็ดูจะยังไม่เป็นผล ของไทยเราก็เช่นกัน การที่แบงค์ชาติปรับลดดอกเบี้ยนโยบายหลายรอบจนอยู่ในระดับ 1.50% ในปัจจุบันก็อาจไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเท่าไหร่ ด้วยภาคครัวเรือนมีหนี้สินในอัตราสูงกว่า 80% ของ GDP ครัวเรือนจึงไม่มีกำลังที่จะกู้เงินเพื่อไปซื้อบ้านหรือซื้อรถซึ่งจะทำให้เกิดการบริโภค เมื่อเจาะลึกไปจะพบว่า คนไทยส่วนใหญ่เป็นหนี้เช่าซื้อรถยนต์ หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้นอกระบบ ซึ่งบรรดาหนี้เหล่านี้มีดอกเบี้ย fix ไว้ตั้งแต่ทำสัญญา การลดดอกเบี้ยจึงไม่ได้ช่วยลดภาระการผ่อนชำระหนี้ แนวคิด Helicopter Money ของ Friedman ก็คือ แทนที่จะมาทุ่มเทกับการลดดอกเบี้ยและกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยกู้ ซึ่งที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ผล ธนาคารกลางควรร่วมมือกับรัฐบาล (อาจต้องใช้นโยบายการคลังช่วย) ในการพิมพ์เงินแจกให้ถึงมือประชาชนเสียเลย เมื่อมีเงินในมือ ประชาชนก็จะนำเงินส่วนหนึ่งไปใช้หนี้ หรือนำไปซื้อสินค้าและบริการ ก่อให้เกิดการบริโภคและน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีกว่า แน่นอนว่ามีหลายฝ่ายคัดค้านแนวคิดนี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์ห่วงว่า การพิมพ์เงินแจกอาจทำให้เกิด “เงินเฟ้อ” แต่ฝ่ายสนับสนุนแย้งว่า โลกเราอยู่ในภาวะ “เงินฝืด” มานานหลายปี ราคาน้ำมันก็ต่ำ การพิมพ์เงินแจกคงไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้อมากนัก ที่จริงเรากลับต้องการ “เงินเฟ้อ” ด้วยซ้ำ เพราะราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มบ้างจะช่วยให้ธุรกิจเอกชนมีรายได้เพิ่ม ก่อให้เกิดการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีขึ้น ฝ่ายค้านอีกส่วนหนึ่งห่วงว่า Helicopter Money เป็นเพียงแนวคิดทางทฤษฎี ไม่มีใครรู้ว่า ในทางปฏิบัติจะได้ผลจริงแค่ไหน ในเรื่องนี้ ฝ่ายสนับสนุนก็ออกมาบอกว่า บรรดามาตรการที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ทั้ง Quantitative Easing หรือ TLTRO รวมทั้งการใช้ดอกเบี้ยติดลบ ก็ไม่เคยมีในตำราเศรษฐศาสตร์เล่มไหนเลย ธนาคารกลางก็ทำแบบลองผิดลองถูกมาตลอด มาลอง Helicopter Money อีกสักอย่างจะเป็นไรไป เราคงต้องมาติดตามกันต่อไปว่า จะมีรัฐบาลหรือธนาคารกลางประเทศไหนแหวกแนวจากที่เคยใช้ QE หรือ ปรับลดดอกเบี้ยแบบเดิมๆ มาลองทำนโยบายใหม่ๆ แบบ “พิมพ์เงินแจก” ดูบ้างนะครับ ที่มาของบทความ : https://wininvestingpro.wordpress.com/2016/05/11/helicoptermoney/ โดย วิน พรหมแพทย์, CFA Chief Investment Officer (CIO) CIMB-Principal Asset Management Co. Ltd. http://www.cimb-principal.co.th *** คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน *** Win Phromphaet’s comments, opinions and analyses are his personal views and are intended to be for informational purposes and general interest only and should not be construed as individual investment advice or a recommendation or solicitation to buy, sell or hold any security or to adopt any investment strategy. It does not constitute legal or tax advice. The information provided in this material is rendered as at publication date and may change without notice and it is not intended as a complete analysis of every material fact regarding any country, region, market or investment. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the viewer. Please consult your own professional adviser before investing. แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Win Phromphaet ร่วมงานกับ บลจ. CIMB-Principal ในตำแหน่ง CIO รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนทั้งด้านตราสารหนี้ ตราสารทุน และการลงทุนทางเลือก ทั้งในและต่างประเทศ ก่อนหน้านี้ ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานลงทุนและรองโฆษก สำนักงานประกันสังคม รับผิดชอบการบริหารกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีเงินลงทุนรวมกันมากกว่า 1.3 ล้านล้านบาท
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไม่นาน เราก็จะรู้ว่า จะขึ้นยาวๆ หรือทิ้งให้เราหนาวบนยอดดอย - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 พอเข้าเดือน พ.ค. ปุ๊บ สิ่งที่นักลงทุนถามหาคำตอบก็คือ เดือน พ.ค. ปีนี้ จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “Sell in May and Go Away” หรือเปล่า? บทความนี้ ผมขอมาขยายความรู้ของเราให้กว้างขึ้น และขอเตือนว่า อย่าให้ความคิดของผมครอบงำความคิดของท่านผู้อ่านนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชมครับ “Sell in May and Go Away” คือ อัลไล?? เพราะมันเป็นเหตุการณ์ที่นักลงทุนเชื่อว่า พอเข้าสู่เดือน พ.ค. แล้ว ควรใช้กลยุทธ์ขายหุ้นทำกำไรเสีย เนื่องจากว่า ช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงจุดสูงสุดของรอบการลงทุนในทุกๆปี แล้วหลังจากขายไปปั๊บ ก็ให้รอจนกระทั่งตลาดปรับฐานลงมา และควรซื้อกลับเมื่อเห็นสัญญาณตลาดกลับสู่แนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งน่าจะใช้เวลา 2 – 3 เดือนหลังจากนั้น จนนักลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงวลีนั้นเป็น “Sell in May and Buy in Aug” หรือ ขายเดือน พ.ค. และ ซื้อเดือน ส.ค. นั้นเอง ในอดีต “Sell in May” เกิดขึ้นจริงไหม? ลองดูตารางด้านล่างครับ ผลตอบแทนจากการลงทุนทุกๆ 6 เดือน ในตลาดหุ้น S&P500 ตั้งแต่ปี 1928 – 2015 ที่มา : BofA Merrill Lynch Global Research. จากตารางด้านบน อธิบายขยายความก็คือ ตั้งแต่ปี 1928 จนถึงปีที่แล้วมา ถ้านักลงทุนซื้อดัชนี S&P500 ต้นเดือนนั้นๆ แล้วถือไป 6 เดือน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลงทุนเดือน ม.ค. แล้วถือไปขายสิ้นเดือน มิ.ย. จะพบว่า ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย ในช่วง 87 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 3.65% โดยมีโอกาสที่ตลาดเป็นขาขึ้นในช่วงนั้น เท่ากับ 63.6% หรือราวๆ 55 ปีจากทั้งหมด 87 ปี และปีที่ตลาดปรับฐาน จะลงมาเฉลี่ยราวๆ -7.45% อ่านตารางเป็นแล้วนะครับ คราวนี้ เรามาดูกันว่า “Sell in May” เกิดขึ้นจริงในเดือน พ.ค. จริงหรือเปล่า ก็ไปดูช่องที่มีกรอบสีแดง พบว่า ข้อมูลทางสถิติน่าสนใจทีเดียว เพราะถ้าเริ่มลงทุนเดือน พ.ค. แล้วถือไปขายสิ้นเดือน ต.ค. จะพบว่า ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยแค่ 1.96% โดยมีโอกาสที่ตลาดเป็นขาขึ้นในช่วงนั้น เท่ากับ 63.6% หรือราวๆ 55 ปีจากทั้งหมด 87 ปี และปีที่ตลาดปรับฐาน จะลงมาเฉลี่ยราวๆ -8.94% ซึ่งสรุปให้เห็นว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนเดือน พ.ค. ไปขายเดือน ต.ค. นั้น ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าช่วงอื่นๆ แถมถ้าตลาดปรับฐานขึ้นมา ก็จะปรับฐานแรงกว่าช่วงอื่นๆด้วยเช่นกัน ส่วนสมมติฐานที่ว่า ควรไปซื้อเดือน ส.ค. นั้นจริงไหม? คำตอบทางสถิติในอดีต ก็ต้องบอกว่า น้ำหนักน้อยเกินไปครับ จังหวะที่ควรซื้อจริงๆ หากเทียบกับข้อมูลที่ BofA ทำไว้ ควรไปซื้อเดือน พ.ย. จะมีโอกาสมากกว่า (ช่องที่มีกรอบสีเขียว) ทำไมเขามักจะขายกันในเดือน พ.ค.? เป็นช่วงก่อนจะมีการหยุดพักช่วงฤดูร้อน บริษัทจดทะเบียนประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1 และทยอยจ่ายปันผลไปหมดแล้ว เลยขาดปัจจัยบวกในช่วงถัดจากนั้น เพราะเชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ “Sell in May” เหตุผลข้อที่ 3 ผมไม่ได้จะกวนประสาทผู้อ่านนะครับ แต่หลายเหตุการณ์ในตลาดหุ้น มันก็มักเป็นอย่างนั้น บางครั้ง ตลาดก็เคลื่อนไหวจากอารมณ์ความเชื่อ ไม่ได้เกิดจากเหตุและผลแบบตรงไปตรงมา ดังนั้น ถ้านักลงทุนจำนวนมาก เชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ Sell in May ขึ้น มันก็จะเกิดขึ้น ถึงแม้ปัจจัยอื่นจะไม่รองรับก็ตาม แล้วของไทยเราละ? กราฟหุ้นไทย (SET Index) ย้อนหลังนับตั้งแต่ปี 2011 – 2015 ที่มา : www.stockcharts.com ดูจากกราฟย้อนหลังจะเห็นว่า 5 ปีที่ผ่านมา มี 4 ปี ที่ SET Index ปรับฐานในเดือน พ.ค. นะครับ จุดสังเกตก็คือ หากปีใดที่ตลาดหุ้นไทยวิ่งทำผลตอบแทนได้ดีตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน เม.ย. ดูเหมือนจะมีโอกาสปรับฐานในเดือน พ.ค. ไม่น้อยทีเดียว … ปีนี้ ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา หุ้นไทยเราก็ถือว่าหล่อสุดเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศทีเดียว ดังนั้น ระวังไว้หน่อยก็ไม่เสียหายนะครับ แล้วหุ้นจะลงเพราะเหตุผลอะไร? นี่คือคำถามที่มักจะโดนถามต่อเวลาที่เราพยายามจะอธิบายและเชื่อมโยงเหตุการณ์ใดๆก็ตาม คำตอบที่ผมให้ได้ก็คือ “ผมไม่รู้จริงๆครับ” ว่าอะไรจะทำให้หุ้นลง ปัจจัยเสี่ยงมันมีร้อยแปดอย่าง อะไรจะเกิดตอนไหน มันยากเกิดปัญญาของเราเกินไป เอาเป็นว่า ถ้ามันจะปรับฐานจริงๆ ไม่ต้องห่วงครับ นักวิเคราะห์และนักข่าว จะหาเหตุผลมาอธิบายเหตุการณ์นั้นได้แน่นอน จำไว้ว่า บางครั้ง “ข่าว ชี้นำราคา” แต่บางครา “ราคา ก็ชี้นำข่าวได้เช่นกัน” มีจุดให้ระวังอะไรอีกไหม? ลองดูการประมานกาณ Forward P/E ดัชนีสำคัญของโลก ผ่านมุมมองของ Goldman Sachs กันนะครับ Valuation ranges (MSCI Regions) over a 10-year timeline ที่มา : Global Weekly Kickstart – Goldman Sachs Global Investment Research จะเห็นว่า Forward P/E 12 เดือนข้างหน้า ของตลาดหุ้นโลก (The World), สหรัฐฯ และ ยุโรป (Dev. Europe) สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ของตัวเอง และสูงกว่า 1 S.D. แสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้น ไม่ได้อยู่ในโซนถูก ค่อนไปทางแพงด้วยซ้ำไปนะครับ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสำหรับใครที่ให้น้ำหนักหรือปัจจัยพื้นฐานและความถูกแพงเป็นหลักในการพิจารณาเลือกลงทุน มองอีกด้านผ่านกราฟ Week Chart ของดัชนี S&P500 แล้วผมคิดว่า ต้องจับตาดูเช่นกันก็คือ รูปด้านล่างนี้ครับ ดัชนี S&P500 ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 1990 – ปัจจุบัน ที่มา : BISNEWS ผมใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้น (50 วัน และ 100 วัน) ในการดูสัญญาณซื้อขายนะครับ ผ่านมาเกือบ 26 ปี Indicator ตัวนี้ ให้สัญญาณซื้อทั้งหมด 4 ครั้ง ผลตอบแทนที่ทำได้ ก็อย่างที่ท่านเห็นในรูป โดยมีสัญญาณขายเกิดขึ้น 2 ครั้ง ซึ่งทั้ง 2 ครั้ง ตามมาด้วยวิกฤต (Crisis) ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ครั้งแรกคือวิกฤต Dotcom ในปี 2000 ครั้งที่ 2 คือ Subprime Crisis ในปี 2008 ล่าสุด ก็คือ จุดที่เรายืนอยู่ตรงนี้ละครับ ถ้า Indicator ตัวนี้ ยังคงความมีประสิทธิภาพการทำงานของมันไว้ ไม่นาน เราก็จะรู้ว่า จะขึ้นยาวๆ หรือทิ้งให้เราหนาวบนยอดดอย ส่วนตัวแล้ว ผมเลือกที่จะระมัดระวังในการลงทุนให้มากในช่วงนี้นะครับ ไว้ยืนยันว่ามันจะขึ้นจริงๆเมื่อไหร่ค่อยวิ่งตามไป สบายใจกว่าครับ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Markets Update : วิเคราะห์ 13+1 กราฟ ตลาดที่นักลงทุนควรติดตาม - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ผ่านไปเกือบ 1 เดือน นับตั้งแต่บทความก่อนที่เขียนเกี่ยวกับตลาดหุ้นทั่วโลกที่สำคัญรวมทั้งหุ้นไทยในบทความ วิเคราะห์ด้วยกราฟ กับ 12 ตลาดสำคัญของโลก วันนี้ผมนายวีคิด เทรดเดอร์พ่อลูกอ่อน ขออัพเดทกราฟกันอีกที พร้อมเพิ่มกราฟที่น่าสนใจมาอีก 2 กราฟ รวมเป็น 13 + 1 กราฟครับ (ทำไมต้อง +1 เดี๋ยวลองติดตามดู).. มาเริ่มกันแบบภาพกว้างๆ กันก่อนน่ะครับ..มาคุยสินค้า 13 ชนิด 13 กราฟ กับ 1 กราฟแสดง funds flow ของนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยกัน ครั้งนี้ time-frame (TF) ที่ใช้ดูคือ DAY (1 แท่งเทียน = 1 วัน) indicator หลักๆที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 2 ตัวครับ EMA (Exponential Moving Average) เส้น ema 10 (เส้นเหลือง) ema50 (เส้นสีเขียว) และ ema200 (เส้นสีแดง) ครับ MACD เส้นนี้ใช้ดู Momentum ของสินค้าตัวนั้นๆครับ ว่ากำลังอยู่ในทิศทางใด กราฟทั้งหมดอัพเดทมาช่วงเวลาตลาดปิดแล้วของวันที่ 6 พฤษภาคม 2559 น่ะครับ มาดูกันว่าสินค้าต่างๆ มีอะไรกันบ้างดีกว่า US DOLLAR INDEX ตัวนี้หลายๆคนใช้เป็นตัวดูทิศทางของ fund flow ว่าเงินกำลังจะไหลเข้าสู่ สินทรัพย์มีความเสี่ยง (risk asset) หรือไม่มีความเสี่ยง (safe-haven) โดยเรามักจะเชื่อกันว่า US Dollar หรือค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ นั้น เป็นสินทรัพย์ไม่มีความเสี่ยง จึงมักจะเป็นที่สนใจในการซื้อเก็บไว้ ในงามที่ตลาดหุ้นมีแนวโน้มจะไม่ดี จากกราฟจะเห็นได้ว่า ดัชนีตัวนี้ ไม่หลุดเส้น ema200 วัน มาราวๆ 2 ปี ซึ่งนั่นหมายถึงการแข็งค่าของเงินดอล์ล่าห์ ทำให้ค่าเงินสกุลอื่นเทียบกับดอล์ล่าห์อ่อนค่าลงสวนทางกัน จึงอาจจะเป็นเหตุให้ตลาดหุ้นหลายๆที่รอบโลกมีการปรับฐานกันเยอะ รวมถึงตลาดหุ้นบ้านเรา ที่น่าสนใจคือ จากกรอบหมายเลข 3 ที่ดัชนีได้หลุดเส้น ema200 วันลงมา จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า ทิศทางกระแสเงิน ได้ย้ายออกจาก US Dollar ไปลงในสินทรัพย์อื่น เช่น ทองคำ พันธบัตร และตลาดหุ้น ก็เป็นไปได้ จากกราฟอีกเช่นกัน US Dollar Index กำลังอยู่บริเวณเส้นแนวรับสำคัญมากๆ (เส้นประสีฟ้า) หากหลุดต่ำกว่านี้แรงๆ เราอาจจะเห็นแรงเก็งกำไรในสินทรัพย์อื่นเช่น ตลาดหุ้น หรือ ทองคำ แต่ถ้าดัชนีสามารถประคองเหนือบริเวณนี้ได้ ก็ให้ระวังแรงขายทำกำไรในสินทรัพย์อื่นๆที่เชื่อมโยงกันกับ US Dollar Index ครับ หลายๆคนไม่ค่อยให้ความสนใจกับ US Dollar Index กัน แต่ส่วนตัวผมอยากแนะนำว่า จับตาตัวนี้ดีๆ หากเกิด Big Move ขึ้นมาใน US Dollar Index นี่ เขย่าขวัญตลาดทุกประเภททั่วโลกได้เลยครับ SPOT GOLD (ทองคำ) ทองคำ…เช่นเคยครับ ลืมเปลี่ยนเส้น ema อีกแล้ว ฮ่าๆ สำหรับทองคำนั้น ema200 คือเส้นสีเขียว น่ะครับ ema50 คือเส้นสีแดง กราฟทองคำนี่ ย้ำแล้วย้ำอีกตั้งแต่บทความเรื่อง จะผิดมั๊ย..ถ้ากราฟมันฟ้องว่า “ทองคำกำลังจะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่อีกครั้ง” ที่เขียนไว้เมื่อสองเดือนที่แล้ว ว่ามีโอกาสสูงมากที่ทองคำจะวิ่งแรง ตอนนี้จากกราฟอย่างที่เห็นกันครับ ชัดมากว่าทองคำสามารถ “เบรกและยืน” เหนือเส้นแนวต้านสำคัญๆได้หมดแล้ว ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว แนวรับสำหรับราคาทองคำ ผมให้ความสำคัญกับเส้น ema50 วันที่บริเวณ 1230 USD/Oz ครับ เส้นนี้ลงมาไม่หลุดหลายรอบแล้ว ถ้าหลุดก็ไม่ควรมี สถานะ Long ในทองคำ แต่ถ้าไม่หลุด ก็คือการย่อเพื่อไปต่อ แต่ ณ ปัจจุบัน เราคงต้องหวังให้ทองขึ้นไปยืนเหนือ 1300 USD/Oz ครับ ราคาทองคำอาจจะมีการปรับฐานได้ จากสัญญาณ Bearish Divergence ที่ราคาทองคำทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ MACD ยังไม่สามารถเบรกได้ ต้องระวังกันนิดนึงครับ สำหรับคนที่คิดจะ Long ในทองคำช่วงนี้ ค่าเงินบาท ( THB/USD) เช่นเดียวกับ US Dollar Index กราฟค่าเงินบาทก็กำลังอยู่ในช่วง “หัวเลี้ยวหัวต่อ” ครับ สังเกตเส้นประสีน้ำเงินสองเส้นน่ะครับ คือเส้นแนวรับ-แนวต้าน นั่นเอง หากค่าเงินทะลุเส้นใดเส้นนึงได้ จะมีผลต่อดัชนีหุ้นไทยและ fund flow อย่างแน่นอน อีกข้อนึงคือ ค่าเงินบาท ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น หลุดเส้น ema200 วันครั้งแรกในรอบ 1 ปี พอดี ปี 2015 -> ค่าเงินเบรกขึ้น แปลว่าอ่อนค่า ทำให้ดัชนีหุ้นร่วงต่อเนื่อง ปี 2016 –> ???? จะซ้ำรอย หรือ สวนทาง น่าสนใจมากๆครับ จับตากันดีๆน่ะครับ4. FUND FLOW ในตลาดหุ้นไทย พูดถึง Fund Flow แล้ว วันนี้ ผมอยากจะเสริมกราฟการซื้อขายของนักลงทุน 4 กลุ่มให้เพื่อนๆได้ดูกันครับ โดยเส้นสีแดงคือยอดซื้อขายรายวันของนักลงทุนในแต่ละกลุ่ม (Net Buy – Net Sell) ส่วนเส้นสีขาวคือดัชนี SET ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ยอด accumulate_net คือปริมาณซื้อขายสะสมของนักลงทุนในแต่ละกลุ่ม ถ้าเป็นสีเขียวแสดงว่ายอดสะสมเป็นซื้อ แต่ถ้าสีแดงแสดงว่าเป็นขายครับ เรียงลำดับจากบนซ้ายมาล่างขวา : นักลงทุนทั่วไป ต่างชาติ สถาบัน และบริษัทหลักทรัพย์ นักลงทุนทั่วไป : ตั้งแต่ปี 2013 มา ดูดีๆน่ะครับ นักลงทุนรายย่อยนี่ ถือว่าลงทุนได้เยี่ยมเลย ตามความคิดผมน่ะ เพราะเมื่อดัชนีย่อลงมา นักลงทุนรายย่อยก็ทยอยซื้อสะสม พอดัชนีวิ่งขึ้น นักลงทุนกลุ่มนี้ก็ทยอยขายออก…ซื้อ Low ขาย High นั่นเอง ว้าว! นักลงทุนต่างชาติ: เป็น net sell สะสมมาโดยตลอด อันนี้คงเป็นเหตุจากช่วงที่เกิดการเปลี่ยนปลงรัฐบาลครั้งล่าสุด ที่ทำให้นักลงทุนและกองทุนต่างชาติต้องโดนบังคับขายหุ้นทิ้งครับ สำหรับผมแล้ว ตอนนี้ต่างชาติก็ยังมีมีอิทธิพลมากพอๆกับนักลงทุนกลุ่มต่อไป ถึงแม้จะขายหุ้นไทยไปเยอะมากๆแล้วก็ตามที นักลงทุนสถาบัน: กองทุนนั่นเอง…มีบทบาทค่อนข้างสูงต่อตลาดหุ้นไทยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เพราะมียอดซื้อสะสมอลังการเลยทีเดียว ก็ได้แต่หวังว่า อย่าเพิ่งขายกันรัวๆก็พอ ไม่งั้นตลาดหุ้นไทยเหนื่อยแน่ๆ พอร์ทหลักทรัพย์ : เนื่องจากตอนนี้มีการรวมยอดซื้อขายของ Block Trade เข้ามารวมด้วย จึงพูดได้ยากว่า prop. trade หรือ block trade ของรายย่อยกันแน่ ที่มีสัดส่วนการซื้อขายมากกว่ากันครับ Crude Oil (น้ำมันโลก) น้ำมันโลกนี่ กราฟเบรก ema200 เรียบร้อยแล้วที่บริเวณ 43 เหรียญต่อบาร์เรล ตอนนี้ราคาน้ำมัน กำลังทดสอบเส้น fibonacci 23.6% ที่ราคา 46.17 เหรียญครับ หากเบรกได้…กลุ่มหุ้นพลังงานจะแรงแน่นอน แนวรับแรงคือเส้น ema200 ที่บริเวณ 42.5-43 เหรียญต่อบาร์เรล และ ema50 บริเวณ 40 เหรียญต่อบาร์เรล ครับ หลุดสองเส้นนี้เมื่อไหร่ แนะนำ Short กลุ่มพลังงาน ได้เลย TOCOM (ยางพารา) ยางพารานี่…ยังอยู่ในกรอบขาลงอยู่น่ะครับ มองเบรก 200 ได้เมื่อไหร่ เราจะเห็นแรงเก็งกำไรในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับราคายางพาราแรงๆแน่นอน ณ จุดนี้ ก็เฝ้าดูไปก่อน ไม่ต้องรีบ เบรกได้ค่อยซื้อก็ไม่สาย เพราะอะไรที่โดนกดเป็นขาลงนานๆ เมื่อเบรกขึ้นมาได้ มันจะแรงมากๆครับ Baltic Dry Index (ค่าระวางเรือ) ค่าระวางเรือเดือนที่แล้วนี่ถือว่าขึ้นมาแรงเลยครับ จนกระทั่งเข้าเดือนใหม่ ก็เริ่มมีการย่อตัวบ้างแล้ว ใครถือหุ้นกลุ่มนี้อยู่ ก็เช็คดัชนี BDI อย่างใกล้ชิดน่ะครับ จากกราฟจะเห็นว่าเส้นประสีส้มแนวต้านนั้น มีนัยสำคัญพอๆกับเส้นประสีเหลืองครับ ถ้าดัชนีสามารถเบรกเส้นสองเส้นนี้ได้ เราอาจจะเห็นการวิ่งแรงๆมากๆของค่าระวางเรือครับ แต่ถ้ายังวิ่งอยู่ในกรอบนี้ ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องกับค่าระวางเรือ ก็คงสวิงพอควรเลย MACD ตัดลงมา แต่ยังยืนเหนือเส้นศูนย์ ก็ลุ้นแค่ว่าการย่อตอนนี้ เป็นการปรับฐานสั้นๆครับ โดยให้เส้น ema200 เป็นจุดรับสำคัญที่บริเวณ 600 จุด (ให้ย่อได้อีก 30 จุดพอ) Dow Jones Index (ดัชนีหุ้นดาวโจนส์) ดัชนีดาวโจนส์นั้น เบรกทะลุเส้นแนวต้านใหญ่ได้แล้ว (เส้นประสีฟ้า) แต่ก็ไม่ผ่านแนวต้านด่านสำคัญบริเวณ 18200 จุดครับ (เส้นแนวนอนสีเหลือง) การปรับฐานจึงเกิดขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาพของขึ้นอยู่ ยกเว้นกรณีที่ดัชนีหลุด 17450 จุด หรือเส้นประสีฟ้านั่นเอง ถ้าหลุดตรงนี้ อันตรายต่อตลาดหุ้นเมกาและรอบโลกแน่นอน สำหรับผม ผมให้เส้น ema10 วันเป็นตัวบอกแนวโน้มตลาดของดาวโจนส์ครับ ลองสังเกตเส้นสีเหลืองดูว่าการวิ่งของดัชนีหุ้ดาวโจนส์นั้น เส้น ema10 ค่อนข้างมีนัยสำคัญทีเดียว หากดัชนีปิดเหนือ 17800 จุดได้เมื่อไหร่ ก็อาจจะเห็นการวิ่งไปทดสอบ 18200 อีกครั้งครับ น่าสนใจทีเดียว DAX (ตลาดหุ้นเยอรมัน) อีกหนึ่งตลาดหุ้นที่ยังไม่อยู่ในขาลง แต่น่าสนใจว่ายังไม่สร้างจจุดต่ำสุดใหม่ในการย่อแต่ละรอบครับ ห้ามหลุดเส้นแนวรับเส้นประสีน้ำเงินเด็ดขาด…หลุดต่ำกว่า 9700 จุด เมื่อไหร่ น่ากลัวเลยทีเดียว แต่หากผ่าน 10000 กับ 10200 จุด ได้ ก็จะเป็นขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้นเยอรมันเลยทีเดียว SSEC (ตลาดหุ้นจีน) ตลาดหุ้นจีน วิ่งน่าเบื่อครับ….ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง T___T HSKI (ตลาดหุ้นฮ่องกง) หลังจากที่ดัชนีฮั่งเส็งเบรกกรอบขาลงขึ้นมาเป็นขาขึ้นรอบใหม่ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา มาเดือนนี้ดัชนีได้หลุดเส้น trendline ขาขึ้นในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาแล้ว หากดัชนีหลุด 19,700 จุด อาจจะลงต่อไปปิด gap บริเวณ 19,400 จุดได้ครับ ระวังกันนิดสำหรับคนที่เทรดดัชนีฮั่งเส็ง สำหรับฮั่งเส็งแล้ว ไม่สวยเท่าไหร่ เพราะดัชนีอยู่ต่ำกว่าเส้น ema ทั้งสามเส้น….อันตรายพอควรครับ Nikkei (ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น) ดัชนีหุ้นนิกเกอิ ของญี่ปุ่นนี่ กรอบใหญ่ยังเป็นขาลงน่ะครับ ตอนนี้ลุ้นว่าไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ หรือหลุดเส้นแนวรับสีเหลืองก็พอ MAI MAI Index หรือหุ้นเล็กของบ้านเรานั่นเอง ยังอยู่ในกรอบที่พยายามเบรกเป็นขาขึ้นให้ได้อยู่ครับ ยังไม่มีอะไรหวือหวามากมาย แต่หากเบรกทะลุ 550 จุดได้ หวดหุ้นเล็กกันได้เลย น่าจะมันส์ ฮ่าๆ SET Index พระเอกของเรา SET Index ปิดท้ายกันเบาๆ ดูกรอบสีแดงน่ะครับ ที่ดัชนีย่อมาราวๆ 40-50 จุดช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ก็ไม่แปลก เพราะมันมี Bearish Divergence ใน MACD ครับ (กรอบสีแดงทั้งในดัชนีและ MACD) ดัชนีห้ามปิดต่ำ 1375 จุดซึ่งเป็นแนวรับสำคัญมากๆ จากกราฟจุดนั้นคือจุดตัดของ ema50 ema200 และเส้นแนวรับพอดีครับ ย้ำว่าห้ามหลุด!! แนวต้านหลักตอนนี้ ก็คงเป็น 1414 จุดและ 1430 จุด นั่นเอง ขอบคุณที่ติดตามครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
รับมืออย่างไร! เมื่อสงครามน้ำมันยืดเยื้อและทวีความแรง - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ผลประชุมล่าสุดที่กรุง Doha ฉีกหน้ากากหลายๆประเทศที่เคยกล่าวว่าจะจับมือร่วมกันคงการผลิตน้ำมัน เพื่อเสถียรภาพของราคาน้ำมัน ความพยายามนั้นจบไปเมื่อพบว่าแผนการร่วมมือล้มเหลวก็หันมาบอกว่าจะเพิ่มการผลิตน้ำมันบ้าง แอดจึงอยากเตือนนักลงทุนให้ระวังหลังจากที่เคยกล่าวไปแล้วในบทความก่อนว่าสงครามน้ำมันจะลากยาว และจะไม่มีวันลดการผลิตลงง่ายๆ วันนี้เรื่องราวมันชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีกจากการประชุมครั้งนี้ ก็เพราะทุกคนเล่นมีทีท่าว่าจะผลิตไม่หยุด ทั้งตะวันออกกลาง สหรัฐฯ และรัสเซีย เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังในมุมผลลัพธ์จากที่กรุง Doha เทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน จุดสังเกตที่สำคัญของการประชุมที่กรุง Doha ตลาดคาดหวังให้กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะคงการผลิตเนื่องจากมีแย้บๆกันออกมาบ่อยครั้งว่าจะหยุดๆ แต่ไม่เป็นไปตามคาด จึงมองไปที่ประชุมครั้งถัดไปของกลุ่ม OPEC ในเดือนมิถุนายน ในช่วงสั้นอาจมีประท้วงเกิดขึ้นเช่นในคูเวต แต่ก็สลายตัวในไม่กี่วัน ขอย้อนอดีตนิด ว่าอิหร่านพึ่งจะพ้นจากช่วงถูก Sanction หรือคว่ำบาตรมาได้ จึงเดินหน้าผลิตน้ำมันตามแผนให้ถึง 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ออกมาขายหารายได้ และแน่วแน่ว่าไม่หยุดผลิต แถมยังบอกในงานว่าจะผลิตให้ถึง 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ด้วยนะ ซาอุฯเห็นท่าทีแบบนี้ ว่าอิหร่านไม่มีทางเปลี่ยนใจ เจ้าชายซาอุฯเลยขู่บ้างว่า งั้นซาอุฯจะจัดให้เพิ่มอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวันตอนนี้เลยก็ได้นะ และภายใน 6 เดือนข้างหน้าได้อีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นไปอีก สรุป!! ราคาน้ำมันว่าจะต้องใช้เวลาซักพักใหญ่กว่าจะฟื้นอย่างยั่งยืน เพราะจุดประสงค์หลักของซาอุฯ คือยังคงคิดที่จะฆ่า Shale Oil หรือเทคโนโลยีใหม่ๆทิ้ง ในขณะที่ยังมีขาใหญ่อื่นๆเช่นอิหร่าน อิรัก ที่กำลังผลิตเยอะขึ้นเรื่อยๆ และรัสเซียเองก็บอกว่างั้นขอเพิ่มบ้างแล้วกัน ถ้าจะไม่มีใครลดเลย สุดท้ายน้ำมันดิบคงท่วมตลาด ฤดูขับขี่เองก็จะพีคในเมษา และน่าจะเป็นปัจจัยเดียวดีเกินตลาดคาด ในปีนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตเพียงเล็กน้อย มองมาที่ทางสหรัฐฯบ้าง จำนวนแท่นขุดเจาะลดลงอย่างรวดเร็วเหลือเพียงราวๆ 25% แต่จริงๆ แล้วการผลิตลดไปตี๊ดเดียวเอง!! แอดมึนเลย หมายถึง มึนงงนะ นี่ไม่ใช่แอดมึน ก็เพราะว่าส่วนมากเป็นแท่นขุดเจาะใหม่ๆ หรือพวกแท่นขุดเจาะ Shale Oil (บางคนเรียก Tight Oil) EIA ประเมินว่า Tight Oil จะมีประมาณ 4.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ 49% ของประมาณน้ำมันที่ผลิตในปี 2015 (รวม tight oil สมัยก่อนด้วย ไอที่บอกต้นทุนแพงน่ะมันคือพวกแท่นที่ติดตั้งใหม่ครับ) ดังนั้นจริงๆแล้วการผลิตแบบอื่นๆยังมีอยู่ตั้งครึ่งหนึ่งแน่ะ ต้องขอขอบคุณ Wood Mackenzie เลยครับ สมดีกรีจริงๆ เค้าคิดมาให้แล้ว ว่าราคาน้ำมันปัจจุบันที่ $40 มีเด็กดื้อฝืนผลิตแบบขาดทุนอยู่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังรูป โดยอิงจากต้นทุนการผลิตน้ำมันโดยตรงหรือ Cash Cost แล้วมันเยอะขนาดไหน สิ้นปี 2015 รายงานว่ามีปริมาณการผลิตน้ำมันต่อวันทะลุ 97 ล้านบาร์เรลต่อวันไปแล้ว หักไป 2 ก็ลงมาใกล้เคียงกับปริมาณอุปสงค์ที่ IEA คาดไว้ที่ 96 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ เพียงแต่มีแนวโน้มว่าอุปสงค์จะน้อยกว่าที่คาดจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่มา: CNBC, Wood Mackenzie สังเกตไหม มันมีสีเขียวแก่ ซึ่งเป็น Shale Oil ที่ต้นทุนต่ำมาก เกิดจาก Stripper well หรือบ่อน้ำมันที่เคยหยุดใช้งาน แต่กลับมาใช้เทคโนโลยีเช่นการขุดเจาะที่ดีขึ้น ดังนั้นจงเลิกเข้าใจว่า Shale จะต้นทุนสูงไปซะหมด วันนี้จะขอนำผู้ผลิต Shale ทุนต่ำมาโชว์บ้าง ดังรูป ที่มา: www.oilprice.com พวกนี้ไม่ได้ผลิตกันแค่นิดๆหน่อยๆนะครับ รวมๆมานี่เยอะอยู่ ยังไม่รวมการผลิตแบบอื่นๆ ขอยกตัวอย่างผ่านหลุม Permian ซึ่งมีกำลังการผลิตมากน่าจะถึง 1 ใน 3 ของการผลิตทั้งหมด ตอนนี้ก็ยังคงตะลุยผลิตไม่บันยะบันยัง โดยมีไส้ในที่สำคัญคือ Spraberry (สีเหลืองอ่อน) กับ Bone Spring (สีฟ้า) ตามรูปข้างบน ซึ่งต้นทุนต่ำและผลิตออกมาเยอะมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สรุปทางสหรัฐฯบ้าง การผลิตในสหรัฐฯมีขาดทุนบางส่วน ที่ต้นทุนสูง แต่ไม่ได้แปลว่าจะผลิตต่อไม่ได้นะ สงครามน้ำมันพึ่งจะเริ่มสนุก หลังมีอิหร่านเข้ามาป่วน ซาอุฯคงจะใช้ไม้แรงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่สหรัฐฯก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราจะรับมืออย่างไร? สิ่งที่ต้องทำคือ รอ ครับ หลีกเลี่ยงการเก็งกำไร รอจนกว่าปัญหาที่แข่งกันผลิตจะมีแนวโน้มดีขึ้น จึงค่อยประเมินความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานกันอีกครั้ง ซึ่งถึงวันนั้น เราอาจเข้าใกล้จุดสมดุลโดยไม่รู้ตัว เพราะกว่าจะคุยกันได้ อุปทานน่าจะหายไปมาก แล้วค่อยเข้าซื้อ ส่วนในตอนนี้ใครมีก็คงต้องถือทนกันไปก่อน ใครทนไม่ไหวรอมันเด้งแรงๆหาจังหวะออกครับ เพราะมันไม่จบง่ายๆ มีแนวโน้มผันผวนในกรอบกว้าง คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
3 ปัจจัย หนุนหุ้นโลก น้ำมัน ทองคำ ไปต่อ (ระยะสั้น) - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ตอนแรก ผมก็เกรงว่า เม.ย. นี้ จะไม่ได้ร้อนแค่อุณหภูมิโลก แต่อาจจะร้อนมาที่การลงทุนด้วย สาเหตุก็เพราะ งบไตรมาส 1 ที่กำลังจะทยอยออกมาเรื่อยๆ น่าจะทำให้นักลงทุนผิดหวังไม่มากก็น้อย แถมยังเจอการปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกลงมาจากทั้ง World Bank และ IMF เสียอีก แต่สุดท้าย ตลาดก็ยังดื้อกับข่าวร้าย และมีแรงซื้อดันตลาดหุ้นหลังสงกรานต์ให้วิ่งต่ออีก ถามว่า เบื้องหลังการวิ่งที่เราเห็นตอนนี้ มันเกิดจากอะไร? 1. สัญญาณการฟื้นตัวที่ช้าลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึงแม้ข้อมูลเศรษฐกิจหลายตัวจะบ่งชี้ และเป็นที่พอใจของผู้ว่าฯเฟดหลายสาขาว่าควรขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่กับประธานเฟดคนปัจจุบัน (เจเน็ต เยลเลน) แล้ว ยังคงสงวนท่าทีและมีอาการไม่อยากจะรีบขึ้นดอกเบี้ย ข้อมูล Fed Fund Futures จาก CME Group ล่าสุด เหมือนนักลงทุนในตลาดจะเริ่มเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆว่า ปีนี้ เฟด น่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้อีกแค่ครั้งเดียว (ไม่ใช่ 2-3 ครั้งอย่างใน Dot Plot ที่ที่ประชุม FOMC เผยแพร่ออกมา) รูปที่ 1 : Fed Fund Futures (Expiry December 2016) ที่มา : http://www.cmegroup.com/trading/interest-rates/countdown-to-fomc.html เมื่อนักลงทุนเชื่อว่าเฟดจะไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย ก็แปลว่า ค่าเงิน USD จะไม่รีบแข็งค่าอย่างที่ทุกคนกังวล แล้วถ้า USD อ่อนค่า มันก็แปลว่า มีเงินดอลล่าร์ไหลออกมาเพ่นพ่านในตลาดโลกมากขึ้น ลองเดาสิครับ ว่าเงินต้นทุนต่ำเหล่านี้ จะวิ่งไปหาสินทรัพย์ประเภทไหน? 2. มีหลักฐานชัดขึ้นว่า เศรษฐกิจจีน อาจไม่ได้ชะลอตัวมากเท่าที่ตลาดคาดการณ์ เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว จีนประกาศตัวเลข GDP 1Q2016 ออกมาอยู่ที่ 6.7% ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4Q2015 ซึ่งอยู่ที่ 6.8% แต่ In-line กับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ดูแบบนี้ก็เหมือนยังชะลอตัว แถม IMF ก็คาดการณ์ GDP Growth ของจีนปีนี้ไว้ที่ 6.5% นั้นหมายความว่า IMF มองว่า เศรษฐกิจจีนยังชะลอตัวต่อเนื่อง แต่ถ้าไปดูตัวเลขหลายๆตัว อย่าง ตัวเลขให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ บวกสูงขึ้น $211.23 billion ในเดือน มี.ค. สูงกว่า 2 เท่าจากที่นักวิเคราะห์คาดไว้ พอไปดูตัวเลข Caixin Manufacturing PMI เดือน ม.ค. ก็พุ่งกลับขึ้นมาที่ 49.7 จุด สูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีที่แล้ว รูปที่ 2 : China Caixin Manufacturing PMI ที่มา : http://www.tradingeconomics.com/china/manufacturing-pmi เจาะเข้าไปในภาคการลงทุนเอกชน ตัวเลขการลงทุนในสินค้าคงทน (Fixed Asset) ก็ขยายตัวได้ 10.7% ในเดือน มี.ค. ฝั่งการบริโภค ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ก็ขยายตัวได้ 10.5% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดทั้งคู่ ฝั่งส่งออก ประกาศตัวเลขของเดือน มี.ค. ออกมาก็กลับมาขยายตัวได้ +11.5% ใน Dollar Term สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะโตได้แค่ 2.5% เท่านั้น เรียกว่า Surprise ตลาดทีเดียว ที่สำคัญที่สุดอีกตัวคือ รายงานตัวเลขเงินทุนสำรองของจีน ที่ลดลงรวดเร็วจากการที่ทางการขายสินทรัพย์สกุลอื่นมาพยุงค่าเงินหยวนและทำตลาดและนักลงทุนกังวลกันหนักหนาเมื่อปีที่แล้ว เดือน มี.ค. ก็หยุดไหล และสูงกว่าเดือน ก.พ. แล้ว ซึ่งน่าจะทำให้นักลงทุนคลายกังวลปัญหานี้ไปได้ รูปที่ 3 : China Foreign Exchange Reserves ที่มา : http://www.tradingeconomics.com/china/foreign-exchange-reserves 3. ที่ประชุม ผู้ผลิตน้ำมันที่กรุงโดฮา ถึงตกลงกันไม่ได้ แต่กลายเป็นว่า ราคาน้ำมันดันไม่ลงไปที่จุดเดิมก่อนการเก็งเรื่องการประชุม แถมมีคนลากขึ้นมาอีกต่างหาก สาเหตุก็น่าจะมาจาก มีปัจจัยอีกปัจจัยเข้ามาแรก ก็คือ สหภาพแรงงานคนงานบริษัทน้ำมันในคูเวตหยุดงานประท้วงเมื่อวันอาทิตย์ ทำให้กำลังการผลิตน้ำมันหายไป 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวันเลยทีเดียว ในมุมหนึ่ง สิ่งนี้อาจเป็นปัจจัยระยะสั้น เพราะเมื่อกำลังการผลิตกลับมา เดี๋ยวราคาก็คงลง แต่อย่างที่จั่วหัวบทความครับ เพราะราคาน้ำมันมันไม่ลงอย่างที่นักลงทุนคิด มันเลยกลายเป็นปัจจัยบวกระยะสั้น หนุนให้หุ้นกลุ่ม Commodities ยังมีชีวิตชีวา และเต็มไปด้วยความหวังอยู่ จริงๆแล้วปัจจัยที่ 1 (เรื่องมุมมองค่าเงินดอลล่าร์) มันก็มามีผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงน้ำมันด้วยนะครับ เกื้อกูลกันไป เป็นปัจจัยระดับ Macro ที่ผลักดันให้ Fund Flow กลับมาหาสินทรัพย์เสี่ยง (Risky Asset) ในตลาดโลกกันอยู่ ณ ตอนนี้ ส่วนทองคำ (ขอเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 ปัจจัย) มีเรื่องหนุนเข้ามาก็คือ ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายนเป็นต้นไป ตลาดทองคำเซี่ยงไฮ้จะประกาศราคามาตรฐานของทองคำด้วยหน่วยราคาที่เป็นสกุลเงินหยวนบ้าง หลังจากที่ลอนดอนกับนิวยอร์ก ครองตลาดนี้มานมนาน สิ่งนี้ น่าจะทำให้ความเป็นสากล และความต้องการเงินหยวนค่อยๆทยอยเพิ่มขึ้น และความต้องการทองในจีนแผ่นดินใหญ่อาจจะเพิ่มขึ้นด้วย หลังจากที่นักลงทุนจีนเจ็บหนักและน่าจะเข็กกับตลาดหุ้นไปอีกนาน ปัจจัยเหล่านั้น มันจะอยู่อีกนานไหม? ตอบตรงๆนะครับ ตอน Fund Flow มันเข้ามาในไทยเมื่อเดือน ก.พ. ผมก็มีความเห็นว่า มันเป็น Hot Money เข้ามาเดี๋ยวก็ออกไป เพราะปัจจัยในบ้านเรา มันไม่มีอะไรเปลี่ยนในทางที่ดี เงินที่เข้ามา มันเพราะหนีดอกเบี้ยติดลบ และเพราะในโลก มันมีคนที่ดูแย่และน่ากลัวกว่าเศรษฐกิจไทย เงินก็เลยไหลเข้ามาพักไว้ก่อน ที่บอกว่าพักไว้ก่อนก็เพราะ เงินส่วนใหญ่ที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งต่ำกว่า 35 บาท/ดอลล่าร์ วันนี้ มันมาลงทุนในตราสารหนี้เกินแสนล้านบาท ถ้าเศรษฐกิจเราดีจริง มันต้องเอามาลงผ่าน FDI ลงทุนในตลาดทุน ไอ้ภาพแบบนี้ มันเหมือนจะอยู่ไม่ยาวชัดๆ ….นั้นคืออดีตที่ผมมองไว้ก่อนหน้านี้ แต่วันนี้ ผมเริ่มเชื่อลึกๆว่า เฟดน่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกแทบไม่ได้ ซึ่งเมื่อเป็นอย่างงั้น ค่าเงินดอลล่าร์จะไม่แข็งค่า, ดอกเบี้ยในตลาดจะยังต่ำกันหมด การทำ Carry Trade เพื่อลงทุนใน Financial Asset จะยังคงมีอยู่, เงินทุนจะไหลไปลงทุนทุกสินทรัพย์เสี่ยง ไม่ใช่บนพื้นฐานที่แข็งแกร่ง แต่เพราะ มันไม่รู้จะไปทางไหน, และเงินลงทุนจะไม่วิ่งไปที่ Real Sector ทำให้เศรษฐกิจโลกไม่ขยายตัวในระดับก่อนวิกฤต Subprime ไปอีกนาน (New Normal) แต่ถึงขั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกเลยไหม? ก็ไม่ใช่ครับ เศรษฐกิจโลกยังพอไปได้ แต่เนื่องจาก คนที่ให้การเติบโตโลกตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมาอย่างจีน เขาบอกแล้วว่า จะขอปฏิรูปตัวเอง ดังนั้น ตลาดใหญ่ของโลก มันไม่ขยายตัวเหมือนเดิม โลกก็ต้องปรับตัวด้วย และต้องใช้เวลาหาตลาดใหม่ซักระยะ (หลายคนมองไปที่อินเดีย) สิ่งที่ต้องดูต่อก็คือ Tail risk ของการลงทุนในภาวะปัจจุบันนั้นมีเยอะมาก ทำให้เกิด Noise ทำให้ความผันผวนในทุกสินทรัพย์จะสูงขึ้น ดังนั้น ปัจจัยที่หนุนสินทรัพย์เสี่ยงวิ่งขึ้นรอบนี้ มันก็ยังอาจเป็นแค่ระยะสั้นๆ หรือถ้ามันจะอยู่กับเราไปยาวกว่านั้น ก็เท่ากับสร้างฟองสบู่เพราะปัจจัยพื้นฐานมันโตไม่ทันราคาสินทรัพย์ที่วิ่งไป ยังไงก็ต้องเตรียมกลยุทธ์รับมือไว้หลายกระบวนท่าหน่อยแล้วกันนะครับ แหล่งที่มาข้อมูล :- http://www.cmegroup.com http://www.tradingeconomics.com/ http://www.investing.com/ http://www.investopedia.com/ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วิเคราะห์ด้วยกราฟ กับ 12 ตลาดสำคัญของโลก - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 สวัสดีครับ กระผมนายวีคีด เทรดเดอร์พ่อลูกอ่อน กลับมาแล้ว…พอดีมีอาการกล้ามเนื้อหลังอักเสบ เลยห่างหายการนั่งเขียนบทความ แต่ตอนนี้หายแล้ว จึงจัดหนักขอนำเสนอบทความยาวนิดนึง เป็นบทความที่ update ตลาดหุ้น ตลาด commodities และตลาดค่าเงิน ครับ โดยอธิบายผ่านกราฟ ไม่ได้อิงปัจจัยพื้นฐาน เพราะส่วนตัวผมเป็นคนที่ใช้กราฟในการเข้าหาจังหวะซื้อและขาย และเชื่อว่า “Price Discount Everything” หรือ “ราคามักมาก่อนข่าวเสมอ” มาเริ่มกันแบบภาพกว้างๆ กันก่อนน่ะครับ..มาคุยสินค้า 12 ชนิด 12 กราฟ โดย time-frame ที่ใช้ดูคือ Week (1 แท่งเทียน = 1 สัปดาห์) indicator หลักๆที่ใช้ดู จะมี EMA (Exponential Moving Average) เส้น ema50 (เส้นสีเขียว) และ ema200 (เส้นสีแดง) ครับ MACD เส้นนี้ใช้ดู Momentum ของสินค้าตัวนั้นๆครับ ว่ากำลังอยู่ในทิศทางใด กราฟทั้งหมดอัพเดทมาช่วงเวลา 21:00 น. ของวันที่ 12 เมษายน 2559 น่ะครับ มาดูกันว่าสินค้าต่างๆ มีอะไรกันบ้างดีกว่า เริ่มจาก 6 ตัวแรก US Dollar Index มาดูกราฟ US Dollar Index กันก่อนเลย ตัวนี้หลายๆคนใช้เป็นตัวดูทิศทางของ fund flow ว่าเงินกำลังจะไหลเข้าสู่ สินทรัพย์มีความเสี่ยง (risk asset) หรือไม่มีความเสี่ยง (safe-haven) โดยเรามักจะเชื่อกันว่า US Dollar หรือค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ นั้น เป็นสินทรัพย์ไม่มีความเสี่ยง จึงมักจะเป็นที่สนใจในการซื้อเก็บไว้ ในงามที่ตลาดหุ้นมีแนวโน้มจะไม่ดี จากกราฟ จะเห็นคร่าวๆได้ว่า Dollar Index นั้น เบรกเป็นขาขึ้นรอบใหม่ได้ เหมือนปลายปี 2014 เราจึงเริ่มเห็นความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะ ตลาดหุ้นไทย ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมาเช่นกัน ที่เริ่มเจอแรงเทขายเรื่อยๆสรุป –> กราฟ US Dollar Index กำลังหักหลุดเส้น ema50 เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี พร้อม MACD ส่งสัญญาณ bearish ขาลงบ้างแล้ว ดังนั้น เราอาจจะคาดหวังได้ว่า ฟันด์โฟลวของเงินนั้น กำลังย้ายกลับไปสู่สินทรัพย์มีความเสี่ยง เช่น ตลาดหุ้น ได้เช่นกันครับ…แต่หากเมื่อไหร่ที่ US Dollar Index กลับไปยืนเหนือ ema50 ได้ ก็ควรระวังการลงของตลาดหุ้นครับ Thai Baht (USD/THB) อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนตลาดหุ้นได้ คือ Fund Flow (ฟันด์โฟลว) หรือการเคลื่อนไหวของกระแสเงิน ว่าจะไหลไปเข้าสินทรัพย์ใด ตลาดทุนประเทศใด ตัวที่จะพอใช้ดู Fund Flow ได้ ก็คือ ค่าเงินบาท ต่อ 1 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐ นั่นเองจากกราฟ…ยิ่งกราฟลง –> ค่าเงินแข็ง –> Fund Flow ไหลเข้าประเทศ –> ต่างชาติเข้าลงทุนในตลาดทุน ยิ่งกราฟชันขึ้น –> ค่าเงินอ่อน –> Fund Flow ไหลออกจากประเทศ –> ต่างชาติถอนเงินลงทุนออกข้อสังเกตจากกราฟ…ค่าเงินบาทอ่อนค่าทะลุเส้น ema200 มาช่วงกลางปี 2013 ซึ่งถ้าดูคู่กับกราฟ SET จะพอเห็นได้ว่า ตลาดหุ้นไทยก็เริ่มลงมาเรื่อยๆ หลังค่าเงินบาทอ่อนทะลุเส้น ema200 ครับ ปัจจุบันนั้น เริ่มมีสัญญาณที่น่าสนใจคือ ค่าเงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่าอย่างมีนัยยะในปี 2016 นี้ โดยเฉพาะ MACD ที่ลงต่ำศูนย์ (Bearish Momentum) ครั้งแรกในรอบราวๆ 2 ปี เราอาจจะเห็นการไหลกลับของเงินทุนต่างชาติ เข้าสู่ประเทศเราจริงๆจังๆอีกครั้ง (สาธุๆๆ) Spot Gold ทองเอ๋ย ทองคำ มีค่าหล่อมากในปีนี้ หลังจากดิ่งตกต่ำมาราวๆ 3 ปี….ปีนี้เป็นปีแรกที่ราคาทองคำโลก ได้เบรกทะลุเส้น downtrend line (เส้นขาลง) แล้วนั่นเอง… สำหรับกราฟทองคำนั้น ผมใส่สีเส้นผิดน่ะครับ โดย ema50 คือเส้นสีแดง ส่วน ema200 คือเส้นสีเขียวจะสังเกตได้ว่าเส้นสีเขียว หรือ ema200 นั่น ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมีนัยยะสำคัญต่อราคาทองคำมากพอควรเลยทีเดียว ตอนนี้ก็หวังว่าจะเบรกเหนือ 1280-1300 เหรียญต่อออนซ์ ถ้าเบรกได้ เราอาจจะได้ super cycle หรือการขึ้นรอบใหญ่ของทองคำอีกครั้งก็เป็นไปได้ อันนี้ดูจากกราฟน่ะครับ ยังไม่ได้อิงปัจจัยพื้นฐานใดๆ (จ้าวมือจะทุบหรือลากซะอย่าง ใครจะทำไม) อีกจุดที่น่าสนใจคือ MACD ยืนเหนือศูนย์ (Bullish Momentum) ได้อย่างสวยงามครั้งแรกในรอบ 3 ปีกว่าๆ เลย ตรงนี้แหล่ะที่น่าสนใจว่าทองคำกำลังอยู่ช่วงขาขึ้นรอบใหม๋รึเปล่า อย่าหลุด 1150 เหรียญต่อออนซ์ เป็นพอ…หลุดก็เลิกลุ้นขาขึ้น เป็นขาก่ายหน้าผากกันอีกรอบต่อเนอะ ส่วนตัวแอบเชียร์ไปทางขาขึ้นครับ แต่ก็เทรดตามกราฟไป สบายใจสุด TOCOM Rubber (ยางพารา) เจอราคาตกต่ำมาเนิ่นนาน ตอนนี้เริ่มลุ้นกันใหม่ กับราคายางพารา โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะอิงหุ้นที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับราคายางพารา กับกราฟราคายางพาราในตลาดโตเกียว หรือที่เรียกว่า TOCOM นั่นเอง…จึงเป็นที่มาว่า ผมมักจะใช้กราฟ TOCOM Rubber ในการดูแนวโน้มราคายางพารา เพื่อใช้ในการเทรดกับหุ้นที่อิงราคายางพาราโลกนั่นเอง (มีไม่กี่ตัวในตลาดหุ้นไทย ลองไปหาดูกันเอง)สำหรับราคายางพารานั่น แนวโน้มยังอยู่ในแนวโน้มขาลง ยังไม่สามารถเบรกเส้น downtrend line ขึ้นมาได้เหมือน ทองคำ ครับ… ตอนนี้ก็คงต้องมาดูกันว่า การวิ่งขึ้นครั้งนี้ ราคายางพารา จะเบรกขึ้นมาได้หรือไม่…ถ้าเบรกได้ ก็จับจองหาหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการขึ้นครั้งนี้ได้เลย ถ้าเบรกไม่ได้ ก็มีบางตัวที่ได้ประโยชน์เช่นกันครับ เลือกเล่นหุ้นที่วิ่งอิงกับ commodities วินัยเทรดโคตรสำคัญ…นะจ๊ะ BALTIC DRY INDEX (ดัชนีค่าระวางเรือ) กลุ่มเดินเรือ เคยสร้างเศรษฐีหน้าใหม่ขึ้นมาช่วง 200ึ7-2008 และก็สร้างชาวดอยชุดใหญ่เช่นกันตั้งแต่ปลายปี 2008 เป็นต้นมา จากกราฟนี่…ขอให้คำจำกัดความสั้นๆว่า “ลงแบบนี้ ฆ่ากูเลยดีกว่ามั๊ย” จะเห็นภาพชัดที่สุดครับ ค่าระวางเรือโดนสึนามิซัดจากบริเวณ 11500 จุด ลงมาต่ำสุดบริเวณ 290 จุด (ลงโหด animal animal เลยครับ)ตอนนี้ก็ลุ้นค่่าระวางเรือให้เบรกเหนือเส้น ema50 เป็นขั้นแรก แล้วลุ้นผ่าน 1000 จุดได้ครับ กราฟนี้ สำหรับสาวกพลพรรคคนเดินเรือโดยเฉพาะ สู้เว้ยยยย Crude Oil (น้ำมัน) อีกหนึ่งสินค้าที่ให้ผลตอบแทนได้ค่อนข้างดีในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงสองเดือนล่าสุด…หลังจากดำดิ่ง ทิ้งลงเหว จนพี่น้องแถวอาหรับต้องร้องอุทานว่า “ร้อง Yeah หนักมาก” มาแล้วทั้งแถบ ราคาน้ำมันโลกก็เริ่มกระเตื้องขึ้นมาจากจุดต่ำสุดพอสมควรครับ… ลองเทียบกับกราฟปลายปี 2008 เราจะได้เส้นแนวรับ แนวต้าน ที่มีนัยยะต่อราคาน้ำมันช่วงปลายปี 2015 จนถึงปัจจุบัน (เชื่อกราฟเถอะ อย่างน้อยก็จะพอเห็นจิตวิทยาของผู้เล่นได้) ส่วนตัว ถ้ามองจากกราฟ ราคาน้ำมัน ควรทะลุ 43.5 – 45 เหรียญต่อบาร์เรล ให้ได้ เพื่อยืนเหนือเส้น ema50 ครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปีครับ…หากทำได้ เราจะเห็นเส้น MACD ที่เหนือศูนย์ ซึ่งคือการโชว์สัญญาณขาขึ้นอีกครั้งของน้ำมัน ณ กราฟปัจจุบันนั้น แนวโน้มภาพใหญ่ของน้ำมันโลก ยังคงเป็นขาลงอยู่ แต่ก็หวังว่าจะเด้งขึ้นมารอบนี้ของราคาน้ำมันโลกนั้น จะเบรกเป็นขาขึ้นได้ น้ำมันขึ้น –> หุ้นกลุ่มพลังงานเตรียมวิ่ง น้ำมันลง –> แก๊งค์พี่ปอตอทอมีเหนื่อย ลองทำการบ้านหาหุ้นที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากการขึ้นและลงของราคาน้ำมันดูครับ…เราอาจจะเจอหุ้นดีๆก็ได้ จบไปแล้วสำหรับกราฟชุด Commodities ต่อไปมาดูกราฟชุดตลาดหุ้นกันบ้างครับ ขอคัดเฉพาะดัชนีที่ผมชอบดูน่ะครับ ผมชอบดูดัชนีหลักๆราวๆ 6 ตัวนี้ (ดูเยอะก็คิดเยอะ ดูเยอะก็ปวดหัว) SET Index ขออ้างอิงบทความเก่าที่เคยเขียนในหัวข้อ เมื่อ SET Index มาถึงจุดตัดสิน “ขาขึ้นอีกครั้ง” หรือ “ขาลงต่อไป” น่ะครับ จากที่ผมเคยบอกว่าการเคลื่อนไหวของ SET ในปี 2013-2014 มีความคล้ายคลึงกันกับปี 2015 – ปัจจุบัน เป็นอย่างมาก… ตราบใดที่เกิดการย่อตัวของ SET แล้วดัชนียังไม่หลุุดเส้น support line (เส้นประสีฟ้าที่เอียงทำมุมเกือบ 45 องศา) กราฟก็ยังคงบอกว่ามันคือ การย่อเพื่อไปต่อ… ข้อสังเกต ถ้า MACD ลงมาต่ำ 0 อีกครั้ง เราควรลดพอร์ทการลงทุนมากๆ แต่ ณ ปัจจุบัน (ดัชนี ณ วันที่ 12 เมษายน 2559) ดัชนี SET ได้กลับมายืนเหนือเส้น ema50 และ ema200 อีกข้อที่สำคัญคือ…การขึ้นลงของ SET จะไม่มีความหมายแต่อย่างใด ถ้าหุ้นที่เราเลือกลงทุน ไม่ได้วิ่งตาม T_T MAI Index (ดัชนี MAI) ดูหุ้นกลุ่มใหญ่มาแล้ว มาดูหุ้นกลุ่มเล็กในตลาดใหม่หรือ MAI กันบ้าง เพราะเราชอบหุ้นซิ่ง ! ถ้าเราอิงกราฟ MAI Index จะเห็นได้ว่า หุ้นที่อยู่ใน MAI Index ไม่ขึ้นแรงเท่ากับหุ้นใน SET Index เท่าไหร่นักในปีนี้ (จริงๆหุ้นเล็กๆหลายๆตัว ก็ outperform ตลาดไปเยอะน่ะ แต่อันนี้พูดในภาพรวม) ตอนนี้เส้น ema200 กำลังทำหน้าที่เป็นแนวรับพยุงดัชนี MAI อยู่ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 แล้ว ที่ยังพยายามยันไม่ให้หลุด เทียบกับเมื่อปี 2011 2013 และ 2014 ตอนนี้ก็ลุ้นให้ยืนเหนือ ema200 แล้วเด้งกลับไปเหนือเส้น ema50 ครับ หากทำได้ ก็ขาขึ้นรอบใหม่ของหุ้นเล็กพริกขี้หนูกันเลย หลีกเลี่ยงลงทุนในกลุ่มนี้ หากหลุดต่ำ ema200 นะจ๊ะ Dow Jones Index ( ตลาดหุ้นดาวโจนส์) ดาวเอ๋ย ดาวโจนส์ จากกราฟจะเห็นว่าเกิด bearish divergence ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2014-2015 ที่มีสัญญาณเตือนให้ระวังจากปรับฐานแรงๆของตลาดหุ้นเมกา ซึ่งหลังจากเกิดการปรับฐานแล้ว ตอนนี้ (กราฟดาวโจนส์นี้ ทำไว้เมื่อราวๆ 21:00 น. ของวันที่ 12 เมษายน 2559) ดัชนีดาวโจนส์ ก็เบรกขึ้นเส้นแนวต้านขาลงได้สำเร็จครับ… ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ MACD กลับมาเหนือ 0 ได้ ดัชนีไม่เคยปิดต่ำกว่า ema200 (อาทิตย์ไหนปิดต่ำกว่า ema200 ให้ระวังหายนะตลาดหุ้น) ดัชนีกลับมายืนเหนือเส้น ema50 ได้อีกครั้ง เก่งมากเพ่ ไม่รู้ว่าดัชนีดาวโจนส์จะวิ่งไปทิศทางใดแรงๆ หลังจากรู้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ น่าสนใจจริงๆครับ คำเตือน…การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นดาวโจนส์ มีผลค่อนข้างมากต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ดังนั้นเราควรติดตามอย่างใกล้ชิดพอๆกับตลาดหุ้นบ้านเราน่ะครับน่ะ DAX Index (ตลาดหุ้นเยอรมัน) ขาหมูเยอรมัน เยอรมันผู้แข็งแกร่งแห่งยุโรป วิ่งเป็นขาลงมาเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้ ก็ยังวิ่งในเส้นแนวโน้มขาลงอยู่ครับ ไว้ดัชนียืนเหนือ 10000-10250 จุดได้อีกครั้ง ค่อยมองหุ้นยุโรปกลับมามีแนวโน้มดี ณ จุดนี้ เหมือนเงินไหลกลับเข้าฝั่งเมกา มากกว่ายุโรปนิดหน่อย ดูจากกราฟน่ะครับ จุดสังเกตน่าสนใจ…MACD อยู่ต่ำ 0 แต่ดัชนียังไม่ทำ lower low หรือจุดต่ำสุดใหม่ อาจจะลุ้นการเด้งไปทดสอบ 9900-10000 จุดอีกครั้งได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น กราฟมันยังอยู่กรอบขาลง โปรดระมัดระวังเนอะ SSEC (Shanghai Composite Index = ตลาดหุ้นจีน) อีกหนึ่งดัชนีที่เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อตลาดทุนโลก ก็คือพี่จีนของน้องไทยนั่นเอง หลังจากเกิดฟองสบู่ตลาดหุ้นไปเมื่อช่วงปี 2014-2015 ที่วิ่งขึ้นอย่างบ้าคลั่ง แล้วรถคว่ำอย่างตายทั้งเป็น ในช่วงเวลารวดเร็ว จนหลายๆคนกลัวกันว่า จะเกิดโดมิโน่เอฟเฟตท์ต่อตลาดหุ้นทั่วโลกหรือไม่ (ก็มีกระทบบ้าง) มองง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก ตลาดหุ้นจีนตอนนี้อยู่ในภาวะขาลง จาก MACD ที่ยังเหนือ 0 ไม่ได้ แล้วดัชนีที่ยังไม่สามารถยืนเหนือเส้น ema50 ได้ครับ แนวรับห้ามหลุด ถ้าหลุดคือโดนจีนเตี๊ยะแน่ๆ คือ 2650 จุด ส่วนแนวต้านอาหมวยชวนผ่านก็แถวๆ 3450-3500 จุด ผ่านได้ก็สนุกกันแน่นอน HANG SENG Index (ตลาดหุ้นฮ่องกง) อีกหนึ่งตลาดหุ้นในเอเชียที่มีผลต่อทางจิตวิทยาต่อนักลงทุนไทย (อย่างผม 555) ชัดเจนน่ะครับ จากกราฟว่า ตลาดหุ้นฮ่องกงนั่น กำลังอยู่ในโซนขาลงมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2015 ที่ผ่านมา แต่น่าสนใจนิดหน่อยคือ…กราฟตอนนี้พยายามเบรกขึ้นอยู่ ส่วนตัวคงรอให้ดัชนีกลับมายืนเหนือเส้น ema50 กับ ema200 ให้ได้ครับ…ยืนไม่ได้ ก็ยังมองขาลง สั้นๆ จบปิ้ง! กราฟทั้งหมดที่ผมเอามาให้ดูนั้น ไม่ได้จะชี้นำใดๆน่ะครับ แต่อธิบายจากสิ่งที่เห็นในรูปแบบความคิดของตัวผมเอง ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณมากๆในการตัดสินใจก่อนลงทุน ขอบคุณที่อ่านจบน่ะครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อผู้บริหารมองต่างกันในกลุ่มอสังหาฯ SPALI vs. LPN - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 รายงานถึง ณ วันที่ 21 มีนาคม 2559 ตั้งแต่ต้นปี เข้าซื้อเพิ่มอีก 7.65 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 134 ล้านบาท ที่ราคาเฉลี่ย 17.51 บาท/หุ้น สัดส่วนหลังเข้าซื้อ ณ ปัจจุบัน: คาดว่าประมาณ 6.00 % (เฉพาะในนามของผู้ซื้อ) ผู้ซื้อ: ในนาม นาง อัจฉรา ตั้งมติธรรม (กรรมการ) ซึ่งเป็นคู่สมรสของ นาย ประทีป ตั้งมติธรรม (ประธานกรรมการ) การซื้อเพิ่มครั้งนี้เป็นสัดส่วนเพียง เล็กน้อย ถือว่าเป็นสัดส่วนที่อาจไม่มีนัยสำคัญทีเดียวกับจำนวนหุ้นทั้งหมด (0.50% จาก 1,716 ล้านหุ้น) แต่เมื่อมองย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี ราคาที่เข้าทำรายการอยู่แถวๆ 17 บาท แสดงถึงมูลค่าในใจของผู้บริหาร (ที่เชื่อว่าจะมีข้อมูลแน่นกว่าเรา) และการซื้ออย่างต่อเนื่อง ทยอยๆ ย่อมสะท้อนถึงมุมมองและโอกาสทางธุรกิจที่ดี ในขณะเดียวกันหุ้น LPN ที่อยู่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเน้นเจาะตลาดระดับ Low – Mid End นั้น กลับตรวจสอบพบรายการขายของกรรมการท่านหนึ่ง มูลค่าประมาณ 32 ล้านบาทและหากสืบย้อนกลับไป ราคาต้นทุนเมื่อปีก่อน ก็ถือว่าสูงทีเดียวหากเทียบกับราคาปัจจุบัน (ก่อนที่จะมีการปรับตัวลงเรื่อยมาในช่วงปลาย ถึง ต้นปีนี้) แสดงถึงอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งอันทีจริงสาเหตุการขายนั้นเราก็มิอาจทราบได้อย่างแท้จริงและจำนวนหุ้นอาจไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันก็ได้ ในแต่ละรายการที่เราพบตามรายงาน ราคาของทั้ง LPN และ SPALI หรืออาจจะเรียกว่าทั้งกลุ่มเลยก็ว่าได้ ในช่วงที่ผ่านมา 2-3 เดือนนั้น อยู่ในภาวะที่ซีมและลง เพราะแนวโน้มของกลุ่มอสังหาฯนั้นอาจมีแนวโน้มที่ยังไม่สดใสนัก เนื่องจากอุปสงค์จะซื้อบ้านที่อยู่ใหม่ยังอ่อนตัว แม้จะมีมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐทยอยออกมาบ้างก็ตาม ยังคงต้องรอสภาวะตลาด และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาปรับตัวดีอีกครั้ง ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th – See more at: https://www.finnomena.com/z-admin/major-move/2015/11/09/04/prasert-ba/#sthash.e357VOoT.dpuf แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ติดดอย 4G ใช่มั้ย? ไปดูดอย 3G ยุโรปกัน ยังดอยกันอยู่เลย - FINNOMENA 30 เม.ย. 2563 ติดดอย 4G ใช่มั้ย? ไปดูดอย 3G ยุโรปกัน ยังดอยกันอยู่เลย ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยคงได้กำไรจากความร้อนแรงครั้งนี้ไปไม่มากก็น้อย ท่ามกลางความคึกคักของหุ้นใหญ่ที่ทะยานขึ้นมา นอกจากกลุ่มน้ำมันแล้ว กลุ่มสื่อสารก็อีกเป็นหนึ่งกลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจกันอย่างมากเนื่องจากมีประเด็นหลายอย่างให้ลุ้นเก็งกำไรเช่น เจ้านี้จะจ่ายค่าประมูลได้มั้ย ค่ายนั้นจะสละสิทธิ์รึเปล่า และแน่นอนนักลงทุนหลายท่านคงกำลังวิเคราะห์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้ ส่วนแบ่งตลาดจะเปลี่ยนแปลงมั้ย รายได้จะโตขึ้นมากน้อยแค่ไหน และจะมีผู้เล่นที่แข่งขันไม่ไหวจนต้องออกจากเกมนี้หรือไม่ ก่อนจะพูดถึงมุมมองและแนวโน้มของหุ้นกลุ่มสื่อสาร วันนี้เรามีกรณีศึกษาที่หลายท่านคงเคยได้ยิน ได้อ่านผ่านมากันมาบ้างแล้ว เป็นเหตุการณ์ประมูลใบอนุญาต 3G ในประเทศอังกฤษเมิ่อ 16 ปีก่อน เมื่อพูดถึงการมูลค่าการประมูลใบอนุญาต 4G ในไทยที่ผ่านมานั้น หลายท่านคงเห็นคำว่าทุบสถิติโลกจากสื่อทุกสำนักในปลายปีที่แล้วจนแทบจะเอียน แต่ตัวเลขจากการประมูลในอังกฤษในเวลานั้น ได้ทิ้งตัวเลขเหล่านี้ไปอย่างชนิดไม่เห็นฝุ่น หลังจากการต่อสู้ที่ดุเดือดเกือบสองเดือน การประมูลก็จบลงด้วยมูลค่าการประมูลทั้งสิ้น 22.5พันล้านปอนด์ (ประมาณ 1.2ล้านล้านบาท) เกินกว่ารัฐบาลตั้งเป้าไว้เกือบ 5 เท่าตัว คำถามคือเหตุใดผู้ประมูลจึงต้องทุ่มเงินกันอย่างบ้าเลือดเยี่ยงนั้น…? คำตอบคือ 1. กระแสสังคมที่มีต่อเทคโนโลยีใหม่นี้ในช่วงนั้น 2. ลักษณะการประมูลในตอนนั้น ในช่วงเวลานั้นอังกฤษและอีกหลายๆประเทศในยุโรปกำลังตื่นเต้นกับความสามารถที่เทคโนโลยี 3G จะนำมาพร้อมกับโอกาสหลายๆอย่างในตลาด เรียกได้ว่าจะเป็นเหตุการณ์ลมเปลี่ยนทิศในอุตสาหกรรมนี้เลยทีเดียว เนื่องจากรายได้จากคลื่น cellular หรือ voice call กำลังจะอิ่มตัวในไม่ช้า มีตัวเลขและสถิติมากมายที่สนับสนุนในแนวคิดที่ว่าการควบรวม internet เข้ากับมือถือ จะเป็นช่องทางรายได้มหาศาลให้ผู้ประกอบการ เช่นตัวเลข internet traffic ที่โตขึ้นเท่าตัวทุกปีตั้งแต่ปี 1997 มีการวาง fiber optic เพิ่มขึ้น 5 เท่า ในช่วงปี 1998-2001 ยิ่งไปกว่านั้นนวัตกรรมใหม่ในการ feed สัญญาณยังเพิ่มขีดความสามารถในการส่งสัญญาณ (transmission capacity) ของ fibre optics ถึง 500 เท่า Nokia ยักษ์ใหญ่ในยามนั้นก็ออกมาย้ำพูดถึงโอกาสจากเทคโนโลยี 3G หลายต่อหลายครั้ง แถมยังช่วยสร้างแนวโน้มที่สดใส โดยจับมือกับ Telfort BV, Nokia, Motorola, Ericsson และบริษัทอีกหลายแห่งใน silcon valley ร่วมกันพัฒนาระบบในการนำ internet website text และการเชื่อมถึงdata เข้ามาในมือถือโดยใช้ WAP (Wireless Application Protocol) นั่นหมายถึงเครื่องไม้เครื่องมือหรือบริการที่จะเพิ่มมากขึ้นในมือถือเช่น email, messenger, game หรือ บริการบันเทิงอื่นๆ และยังหมายถึงรายได้ใหม่จากการเก็บค่าบริการ internet และ data อีกด้วย ด้วยบรรยากาศแบบนี้เอง คงไม่ต้องแปลกใจที่ผู้ประกอบการจะรู้สึกว่าใบอนุญาต 3G นั้นไม่ต่างกับจอกศักษ์สิทธิ์เลยทีเดียว และบริษัทจะต้องเจอปัญหาใหญ่หลวงแน่นอนถ้าพลาดการประมูลครั้งนี้ไป อีกปัจจัยหนึ่งคือวิธีการประมูล Gordon Brown อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบการประมูลครั้งนั้นถึงกับยอมควักเงิน (ภาษีจากประชาชน) 7 แสนปอนด์จ้างบริษัทจาก New york มาบริหารจัดการการประมูลเลยทีเดียว และด้วยความหัวหมอของผู้จัด บรรยากาศของการประมูลครั้งนั้นดุเดือดราวกับสมรภูมิเลือด เนื่องจากจำนวนใบอนุญาตที่รัฐบาลจะออกให้นั้นมีจำนวนน้อยกว่าผู้เข้าร่วมประมูล แถมยังมีผู้ร่วมประมูลที่ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเพิ่มเข้ามาอีกต่างหาก ภายใต้เงื่อนไขสุดโหดนี้เอง แรงกดดันมหาศาลจึงตกไปที่ผู้ให้บริการเครือข่ายในอังกฤษทั้ง 4 ค่าย Vodafine, One2One, Orange และ BT (ตอนหลังspin off เป็น O2) จึงต้องทุ่มเงินกันอย่างสุดตัว แม้ว่าจะต้องเป็นหนี้ธนาคารก้อนใหญ่ก็ตาม หลังจากการประมูลหลายฝ่ายต่างรื่นเริงกับผลการประมูล แน่นอนว่ารัฐบาลน่าจะเลี้ยงฉลองกันอย่างยกใหญ่ เพราะกวาดเงินไปเป็นประวัติศาสตร์โลกเลยทีเดียว ผู้ประกอบการที่ชนะประมูลพากันก็นั่งฝันถึงอนาคตที่สดใสเปล่งประกาย แต่อีกหนึ่งปีต่อมาภาพที่ปรากฏกลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง บริษัททั้งผู้ชนะและผู้แพ้การประมูลกลายเป็นผู้แพ้ทั้งหมด หลายแห่งต้องปิดตัวไป รัฐบาลอังกฤษที่ยิ้มเยาะหลังประมูลต้องมาเข้ามาbail out ยักษ์ใหญ่เหล่านี้เพื่อปกป้องเศรษฐกิจ พนักงานในอุตสาหกรรมหลายแสนคนต้องลอยแพ หุ้น Vodafone ยักษ์ใหญ่ที่สุดในยามนั้นได้สูญเสียมูลค่าไปกว่า 2แสนล้านปอนด์ (10ล้านล้านบาท) ที่สำคัญที่สุด ถึงเวลาจะผ่านไปแล้วเกือบ 2 ทศวรรต และตลาดหุ้นอังกฤษจะกลับมาที่ high เดิมก็แล้ว แต่หุ้นตัวนี้ก็ไม่เคยกลับมาที่เดิมอีกเลย เดี๋ยวจะมาเขียนถึงเหตุการณ์และเหตุผลหลังการประมูลอย่างละเอียด รวมทั้งทิศทางของสื่อสารประเทศไทยในภาคต่อครับ……. แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
BDMS : ทยอยเก็บเข้าพอร์ทเพิ่มทั้ง โรงพยาบาลและการบิน - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 รายงานถึง ณ วันที่ 15 มีนาคม 2559 เข้าซื้อเพิ่มอีก 1.6 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 35 ล้าน ที่ราคาเฉลี่ย 2.20 บาท/หุ้น สัดส่วนหลังเข้าซื้อ ณ ปัจจุบัน: 19.11 % ผู้ซื้อ: นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ -กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การซื้อเพิ่มครั้งนี้เป็นสัดส่วนเพียง เล็กน้อย ถือว่าเป็นสัดส่วนที่มีไม่มีนัยสำคัญทีเดียวกับจำนวนหุ้นทั้งหมด (2,100 ล้านหุ้น) แต่กลับมีผลทางจิตวิทยาการลงทุนไม่น้อย เพราะถ้าดูจาก Major Move ครั้งก่อนที่ซื้อในปริมาณที่มาหพอสมควร (580 ล้าน) ในราคา 21 บาทกว่า เมื่อหุ้นฟื้นตัวขึ้น สังเกตว่ามีการซื้อเพื่มอีก แสดงถึงมุมมองที่มั่นใจในการเติบโตของบริษัทและแนวโน้มในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ราคาหุ้นล่าสุดของ BDMS ณ สิ้นวันที่ 15 มีนาคม 2559 อยู่ที่ 22.30 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยที่คุณหมอปราเสริฐเข้าซื้อล่าสุด ภายหลังจากการประกาศผลประกอบการออกมาตามคาด และการเติบโตของปีนี้ที่จะมุ่งเน้นเจาะตลาดคนไข้ต่างชาติมากขึ้น หุ้นมีการฟื้นตัวได้เล็กน้อย และยังคงเป็นหุ้นในกลุ่มที่มี Valuation สูงพอสมควรอยู่ดี (ของดีไม่เคยถูก) ด้วย PE กลุ่มประมาณ 42 เท่า และ BDMS ที่ประมาณ 40 เท่า สังเกตว่าในขณะเดียวกัน นพ.ปราเสริฐ มีการซื้อหุ้น BA เพิ่มด้วยเช่นกัน ในวงเงินกว่า 100 ล้านบาท แน่นอนว่าทั้งสองหุ้นนี้เกี่ยวข้องกับจุดแข็งของประเทศไทยเรา คือ การท่องเที่ยงและการดูแลสุขภาพ แต่จะถูกตัว ถูกเวลาหรือเปล่า อันนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องพิจารณาเอาเองอีกทีนะ ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th – See more at: https://www.finnomena.com/z-admin/major-move/2015/11/09/04/prasert-ba/#sthash.e357VOoT.dpuf แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
น้ำมันเด้งแรง ลงดอยเลยดีมั้ย? สงครามน้ำมันใครจะชนะ??? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 น้ำมันเด้งแรง ลงดอยเลยดีมั้ย? สงครามน้ำมันใครจะชนะ??? “น้ำมันปรับขึ้นแรง นักวิเคราะห์คาดนักลงทุนเก็งผลการประชุมผู้ผลิตน้ำมัน จะลดกำลังการผลิต แต่น่าเสียดายที่ผลลัพธ์ออกมาเพียงแค่คงกำลังการผลิต” เป็นข่าวที่ได้ยินได้เห็น กันมาสักพักหนึ่งแล้ว และน้ำมันขึ้นครั้งนี้ อาจจะได้ยินแบบเดิมอีก เพราะอะไรกันนะ … ในเวลาที่โอเปกสูญเสียรายได้มหาศาลแบบนี้กลับไม่ลดการผลิต มันต้องมีอะไรในกอไผ่แน่ๆ !! แถมอยู่ๆราคาน้ำมันก็ทำท่าเปลี่ยนทิศเป็นขาขึ้น ขายหรือถือดีเนี่ย บางคนคิดว่าน้ำมันจะกลับไป $100 ต่อบาร์เรลกันเลยทีเดียว แต่แอดมินเจอหลายสัญญาณว่ามันยังเร็วไปนิด เพราะ รอบนี้พี่ซาอุฯจะกดให้ราคาน้ำมันต่ำต่อเนื่อง บรรดาผู้ขุดเจาะน้ำมัน Shale Oil ไม่ผุดไม่เกิดไปอีกนาน งั้นลงดอยเลยดีมั้ย??? ขอสรุปรวบรัดฉับไว ถ้าเห็นน้ำมันลงลึกไปอีกก็มองดูเฉยๆ หรือหาหุ้นบริษัทน้ำมันจิ้มแทนให้ถูกตัว (เอ๊ะ ! ทำไมไม่ให้ซื้อล่ะ !!?? รู้หมือไร่ ถ้าคุณซื้อกองทุนน้ำมัน คุณกำลังซื้อน้ำมันที่คนละราคากับที่คุณเห็นหรือออกข่าว) ถ้าขึ้นมาสูงๆ เกินราคาต้นทุนของผู้ผลิต Shale Oil (ดูรูปประกอบด้านล่าง) ใครรอได้หลายๆๆๆๆๆปี ก็รอต่อไป รอไม่ได้ ก็ควรลดความเสี่ยง แอบลงจากดอยบ้าง ขอเล่าเรื่องที่มาที่ไป จะเห็นว่าทุกครั้งที่โอเปกประชุมก็จะประกาศปาวๆ ว่า ไม่ลดกำลังการผลิตนะแจ๊ะ !! แอดมินขอบอกเลยว่าพูดจริงไม่ได้โม้ เพราะจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ (Rig) ของตะวันออกกลางเนี่ยไม่ได้ลดลงเลย ยังทำงานกันเต็มที่แถมมีอิหร่านเข้ามาแจม ในขณะที่ของอเมริกานั้นย่อยยับปิดกันไปตามสภาพราคาน้ำมันตามรูป และที่สำคัญคือจำนวนที่ปิดไปของแท่นขุดเจาะที่เป็นน้ำมันเนี่ย เป็น Shale Oil ซะเยอะ โดยเราจะสังเกตจากรูป (อ้างอิงข้อมูลจาก EIA) ได้ว่า ตอนปี 2008 ที่เกิดวิกฤตน้ำมัน จำนวนแท่นขุดเจาะของทั้งอเมริกาและของตะวันออกกลางนั้นลดลง แต่ในครั้งนี้ ตะวันออกกลางไม่ได้ลดลงเลยครับ เมื่อราคาน้ำมันถล่มทลาย ส่งผลกระทบให้โครงการพัฒนาแท่นขุดเจาะทั้งหลายต้องหยุดเพราะจะทำให้ไม่คุ้มต้นทุน เพียงแค่นั้นไม่พอ บริษัทขุดเจาะน้ำมันหลายแห่งในสหรัฐฯ ก็ไม่คุ้มต้นทุนที่จะผลิตเช่นกัน จึงลดการผลิตลง สังเกตได้จาก ต้นทุนการผลิตน้ำมันของแหล่งขุดเจาะที่ Eagle Ford, Bakken และ Permian (คิดเป็นประมาณ 80-90% ของ US Shale Oil) ซึ่งไม่มีที่ไหนต่ำกว่า $40 ต่อบาร์เรล จึงน่าจะเป็นราคาจิตวิทยาที่ทุกคนจับตามอง ว่าซาอุฯจะต้องทำอะไรแน่ๆ เพื่อกันไม่ให้แก๊ง Shale Oil ลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง และที่สำคัญ รู้หมือไร่ !? ราคาน้ำมันถล่มครั้งนี้ ที่คนบอกกันว่า Over Supply น่ะ หรือน้ำมันล้นตลาดน่ะ มันยังไม่เกิดขึ้น แค่คนกลัวกันไปเอง เพราะพี่ใหญ่สหรัฐฯ เค้ามีแผนผลิตออกมาหนักแน่นมากจริงๆ ชนิดที่ทำลายสมดุลกันเลยทีเดียว แถมตลาดคุยกันว่านอกจากมี Shale แล้ว ยังมี Tar Sand จากแคนาดา !! มีเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก !! รถไม่ใช้น้ำมันและ Solar Farm กำลังมาแรง !! ตลาดเลยกังวลว่าสมดุลจะเปลี่ยนไป … เรื่อง Shale Oil และ Tar Sand เนี่ยออกมามีผลแน่นอนครับ ส่วนเรื่องเทคโนโลยีเนี่ย มันเป็นการเปลี่ยนทางโครงสร้างพื้นฐานที่กินเวลานาน และที่สำคัญความจริงแล้ว อุปทานในตลาดทั่วโลกกำลังลดลงต่างหาก แค่น้ำมันจากสหรัฐฯเองก็หายไป 630,000 บาร์เรลต่อวันแล้ว ราคา ณ ปัจจุบันจึงไม่เสถียรทางพื้นฐาน เป็นเรื่องทางจิตวิทยาล้วนๆ เพราะทุกหนแห่งกำลังลดการผลิตทำให้อุปทานหายไป โดยในสถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤต อุปสงค์และอุปทาน ห่างกันเพียงนิดเดียว 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวัน บางช่วงอุปทานมากกว่า บางช่วงอุปสงค์มากกว่า น้ำมันจะเด้งถึงไหน? อยากให้ดู WTI ที่ $42 จุดนัดพบนักลงทุนสไตล์ Technical และ Fundamental ก่อน ทางเทคนิคแบบง่ายๆ แนวต้านแรก เราลองยึดค่าเส้นเฉลี่ย 200 วันที่เป็นตัววัดตลาดหมี กับกระทิงก่อนไหม ตอนนี้อยู่ที่ $42-43 ซึ่งมหรรศจรรย์พันช่องมากๆ ตรงกับต้นทุนโดยประมาณที่ต่ำสุดของ Shale พอดี (แต่ละบริษัทสรุปข้อมูลไม่เท่ากันหรอกครับ แต่ก็อยู่แถวๆ 40 กว่าๆกันนี่แหละ) อย่างไรก็ดี เราควรจับตาการประชุมผู้ผลิตน้ำมัน ปลายเดือน มีนาคม นี้ครับ ถ้าผิดหวังน้ำมันก้คงจ๋อยกันไป ถ้ามีหวังนี่ คนติดดอยจะได้เฮ !! กันดังๆ แล้วสรุปสหรัฐฯ หรือ ตะวันออกกลาง จะเป็นผู้ชนะสงครามน้ำมัน? หลายคนอาจสงสัยว่า จะสนทำไม ต้องสนครับ ถ้าไม่สน หรือตอบข้อนี้ไม่ได้ เราจะไม่ได้คำตอบว่าน้ำมันจะกลับไประดับเดิมได้หรือไม่ คำตอบคือ ซาอุฯ ชนะครั้งนี้แน่ครับ เพราะมีต้นทุนต่ำกว่ามาก แม้ซาอุฯ และสมาชิกกลุ่ม OPEC อื่นๆจะถังแตก ภายใน 3-5 ปี หากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากสูญเสียรายได้ แต่เขามีไม้ตายอีกมากเพื่อที่จะยื้อเวลา ต่อจากนี้ถ้าราคาน้ำมันขึ้นไประดับที่ผู้ผลิต Shale ทำธุรกิจได้ ซาอุฯ น่าจะพยายามดึงน้ำมันให้ต่ำอีกครั้ง จนกว่าสหรัฐฯจะชูธงขาว ดังนั้นเมื่อไหร่ที่ราคาขึ้น พวกตะวันออกกลางก็จะข่มขวัญกันอีกครั้ง ความผันผวนในกรอบกว้างน่าจะตามมา แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน BottomLiner BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จะผิดมั๊ย...ถ้ากราฟมันฟ้องว่า "ทองคำกำลังจะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่อีกครั้ง".. - FINNOMENA ทองคำกำลังจะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่อีกครั้ง.. แต่ให้ฟันธงเลยมั๊ย...ก็คงต้องบอกว่า ไม่มีใครถูก 100% แน่นอน ฮ่าๆ มาดูเหตุผล support ความคิดนี้ในเชิง Technical Analysis สไตล์ Wizard Kid กันเลยครับ 29 ต.ค. 2563 จะผิดมั๊ย…ถ้ากราฟมันฟ้องว่า “ทองคำกำลังจะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่อีกครั้ง”.. มีเงินเรียกน้อง…มีทองเรียกพี่ แต่ถ้ามีเงินซื้อทองตอนนี้…เรียกพี่ยังน้อยไป นี่คือคำจำกัดความของสถานการณ์ราคาทองคำ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะรวมถึงปีนี้ทั้งปีก็เป็นไปได้… หลังจากเงียบเหงามาราวๆ 3 ปีเต็มๆ ถ้าดูจากกราฟ Technical เพียวๆแล้วหล่ะก็ ในมุมมองส่วนตัวของผม… …ทองคำกำลังจะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่อีกครั้ง.. แต่ให้ฟันธงเลยมั๊ย…ก็คงต้องบอกว่า ไม่มีใครถูก 100% แน่นอน ฮ่าๆ มาดูเหตุผล support ความคิดนี้ในเชิง Technical Analysis สไตล์ Wizard Kid กันเลยครับ กราฟที่ 1.. นี่คือกราฟย้อนหลัง 10 ปีของราคาทองคำไปตั้งแต่ปี 2006 จนถึงปีปัจจุบัน (2016) ก่อนอื่นขออธิบายเส้น indicator สองเส้นที่ผมชอบใช้ในการดูทองคำน่ะครับ EMA สีเขียว คือ เส้นค่าเฉลี่ย 50 periods ของ time-frame ที่เราใช้ดู EMA สีแดง คือ เส้นค่าเฉลี่ย 200 periods ของ time-frame ที่เราใช้ดู กราฟตัวแรกนี้…เป็นกราฟ DAY ของราคาทองคำ ดังนั้นเส้นเขียวคือ เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน ส่วนเส้นแดงคือ เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ลองสังเกตกราฟดูน่ะครับ ผมทำสรุปไว้แล้วเพื่อความเข้าใจง่าย… ช่วงปี 2008-2010 ราวๆ 1 ปี กับ 10 เดือน นั้น..ราคาทองคำอยู่ในช่วงสะสมพลังเพื่อพยายามเบรกราคาแถวๆ 1000 เหรียญให้ได้ พอเบรกได้เท่านั้นแหล่ะ …ขาขึ้นรอบใหญ่ระดับประวัติการณ์ยาวนานอยู่ราวๆ 3 ปี กับอีก 7 เดือน (ปลายปี 2009 – กลางปี 2013).. จากนั้นเป็นต้นมาราคาทองคำก็หักหัวลง (หลุดเส้น trend line ที่ผมตีเส้นแนวรับไว้) แบบใครเพิ่งซื้อทอง ยิ่งซื้อ ทองยิ่งลง ยิ่งลง แม่ยายยิ่งด่า แน่นอน ฮ๋าๆ ..จวบจนถึงปลายปี 2015 ราคาทองวิ่งอยู่ในกรอบขาลงมาราวๆ 3 ปี จนกระทั่ง…ราคาทองคำเกิดการเบรกเส้นแนวต้าน (เส้นสีขาวในกรอบสีแดง คือเส้นแนวรับและแนวต้าน) ที่ทนทานมา 3 ปี ได้สำเร็จ… นี่คือเหตุผลแรก ที่ผมมองว่า ทองคำกำลังจะเป็นขาขึ้นอีกครั้ง… มาดูกราฟที่ 2 กันครับ กราฟอันนี้ คือกราฟทองคำราย Month ( 1 แท่งเทียน = 1 เดือน ) ชัดเจนน่ะครับว่า เส้น ema 50 ค่อนข้างมีนัยยะสำคัญต่อทิศทางราคาทองคำพอสมควร จากกราฟและส่วนที่ผมเขียนสรุปไว้ในกราฟ ได้ข้อสรุปคือ …ถ้าเดือนนี้ (มีนาคม 2016) ราคาทองคำสามารถยืนเหนือเส้น ema50 ได้…ทองคำน่าจะเป็น uptrend เต็มตัว อีกข้อสังเกต คือ MACD ตัดเส้น Signal Line ขึ้นเรียบร้อย เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี ที่เหลือคือรอเส้น MACD วิ่งขึ้นไปยืนเหนือ 0 ให้ได้เท่านั้น ก็จะเป็นการคอนเฟิร์มขาขึ้นรอบใหญ่เต็มตัว และนี่คือเหตุผลที่ 2 ที่ทำให้ผมเชื่อว่ากราฟไม่หลอกเรา และทองคำกำลังจะเป็นขาขึ้นอีกครั้ง กราฟที่ 3 กันต่อ เมื่อมองว่าราคาทองคำจะเป็นขาขึ้น…ก็มาหา Target Price ของราคาทองคำรอบนี้ ส่วนตัวผมชอบใช้เส้น Fibonacci ในการหา Target Price … แนวรับที่ทองคำห้ามหลุดเด็ดขาด.. 1200 เหรียญ…ห้าม ห้าม หลุด! แนวต้านที่อยากให้เจอถ้าราคาทองคำวิ่งผ่าน 1275 เหรียญได้… 1330 กับ 1418 เหรียญ (งานมโนเราต้องมาบ้างอะไรบ้าง) สรุป.. —> ใครทีเทรด gold futures หรือ spot gold นั้น ถ้ายังไม่มีสถานะใดๆ อาจจะรอราคาให้ลงมาแนวรับเพื่อ Long หรือทะลุแนวต้านแล้วค่อย Follow Buy น่าจะดีกว่าการเล่นกรอบ sideways ครับ –> คนที่มีต้นทุนต่ำ ถ้าไม่รีบขายทำกำไร เอาไปซื้อของให้คนรัก ก็อาจจะรอลุ้นว่าทองคำจะเบรก 1275 ได้หรือมั๊ย ถ้าได้ก็เฮ ถือต่อ…ถ้าไม่ได้ อาจจะมีการขายทำกำไรบ้างก็ไม่เสียหาย –> บทความนี้ผมเขียนขึ้นโดยอิงจากกราฟเพียวๆ ไม่ได้เอาปัจจัยพื้นฐานใดๆ เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ โปรดระลึกเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดพิจารณาและตัดสินใจด้วยตัวของคุณเอง แล้วพบกันใหม่ครับ พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) 6 March 2016 ———————————————————— Facebook Fan Page : facebook.com/WizardKidTrader Line ID : @wizardkid Website : https://www.finnomena.com/wizard-kid/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Fund Flow ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ เพราะอะไร? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 Fund Flow ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 5 สัปดาห์ นับตั้งแต่ราคาน้ำมันดิบ WTI ทำจุดต่ำสุดที่ $26 และมีการรีบาวน์ขึ้นมา ก็พาให้เหล่าสินค้า Commodity วิ่งตามขึ้นมาด้วย และแน่นอนว่า ผู้ส่งออกสินค้าเหล่านี้ ก็ย่อมได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน นั้นคือ สาเหตุหลักที่ทำให้เราเห็นตลาดหุ้นกลุ่ม Emerging Markets บวกดีทีเดียวนับตั้งแต่กลางเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา จากข่าวของ Bloomberg พบว่า มีเงินไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ในเอเชียมากกว่า $2 billion ทำค่าเงินแข็งค่า และตลาดหุ้นก็พากันวิ่งได้ดีทีเดียว รูปประกอบที่ 1 : ตลาดหุ้นและค่าเงินของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ นับตั้งแต่ต้นปี แหล่งที่มาข้อมูล : www.bloomberg.com แค่เพราะราคาน้ำมันอย่างเดียวหรือเปล่า? ไม่ใช่ครับ มันมีสิ่งอื่นด้วย จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ผมเคยมาแปะให้อ่านในเพจ จะพบว่า อีกปัจจัยกระตุ้นการไหลเข้าของเงินทุน น่าจะมาจาก ความคาดหวังว่า ธนาคารกลาง 3 แห่งอย่าง ECB, BOJ และ Fed น่าจะมีการส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง อย่างที่ BOJ เพิ่งทำไป ก็คือ ใช้ Negative Interest Rate Policy ซึ่งตลาดเชื่อว่า ECB อาจมีมาตรการคล้ายๆกัน และนั้นทำให้โอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. นี้ลดลง ตารางการประชุมนโยบายการเงินในช่วงเดือนมีนาคม 10 มีนาคม : ECB Meeting ของยุโรป 15 มีนาคม : BOJ Meeting ของญี่ปุ่น 16 มีนาคม : FED Meeting ของสหรัฐฯ 17 มีนาคม : BOE Meeting ของอังกฤษ 23 มีนาคม : MPC Meeting ของไทย เมื่อตลาดเชื่อว่าจะเห็นดอกเบี้ยติดลบเพิ่ม Fund Flow ก็เลยวิ่งหาที่ที่ผลตอบแทนดีกว่า นั้นเลยทำให้เราเห็นว่า มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้เป็นเป้าหมายแรก แหล่งข่าวจาก Bloomberg บอกว่า Japanese investment trusts หรือ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนของญี่ปุ่น ณ ตอนนี้ ถือตราสารหนี้ไทย มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา แถมเมื่อมองในมุมของเสถียรภาพของค่าเงินแต่ละประเทศแล้วละก้อ นับตั้งแต่ต้นปี ค่าเงินบาทนั้นมีความผันผวนต่ำกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันทั้งหมด ดังนั้น นี่เลยเป็นอีกปัจจัย ให้เงินต่างประเทศ หนีดอกเบี้ยติดลบ เข้ามาลงทุนในประเทศที่เขาเห็นว่า น่าจะมาพักเงินไว้ก่อน รูปประกอบที่ 2 : ยอดการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ ย้อนหลัง 1 ปี แหล่งที่มาข้อมูล : www.bloomberg.com ผมให้ลองพาย้อนกลับไปดู ‘ต้นทุน’ ของเม็ดเงินที่เคลื่อนย้ายไปมาอยู่บนโลกนี้ 3 แห่งนะครับ คือ เงินเยน (ญี่ปุ่น) เงินยูโร (ยุโรป) และเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (อเมริกา) เรียงตามลำดับ รูปประกอบที่ 3 : Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งแต่ 1 ปีก่อนหน้า แหล่งที่มาข้อมูล : www.investing.com รูปประกอบที่ 4 : Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันตั้งแต่ 1 ปีก่อนหน้า แหล่งที่มาข้อมูล : www.investing.com รูปประกอบที่ 5 : Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯตั้งแต่ 1 ปีก่อนหน้า แหล่งที่มาข้อมูล : www.investing.com เห็นไหมครับ พันธบัตรของทั้งญี่ปุ่น และยุโรป ที่มีอายุต่ำ 5 ปี ตอนนี้ให้ดอกเบี้ยติดลบไปแล้ว และมุมมองของตลาดตอนนี้ก็เชื่อว่า ธนาคารกลาง 2 แห่งนี้ จะออกมาตรการอะไรเพิ่ม บวกกับ เฟด เอง ก็คงยังชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แบบนี้ ก็แสดงว่า ดอกเบี้ยจะยังต่ำต่อเนื่องอีก หรืออาจจะมากกว่า ถ้าใครกดดอกเบี้ยให้ต่ำลงไปอีก …. ลองคิดว่า เราเป็นนักลงทุนญี่ปุ่น หรือเยอรมัน ที่มีเงินซักพันล้านดูกันหน่อย ถ้าเป็นผมนะ ยังไงๆก็คิดเรื่องหาสินทรัพย์สกุลอื่นมาถือในพอร์ตบ้างไม่มากก็น้อยละ ผมว่านี่ละครับ คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีเงินบ่าเข้ามาใน Emerging Markets ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วมันจะอยู่อีกนานไหม? Fund Flow เวลามันไหล มันไม่ไหลเข้าแค่ 1-2 อาทิตย์ครับ มีอย่างต่ำๆก็น่าจะ 2-3 เดือน ที่อยากให้ดูเพิ่มเติมคือตารางด้านล่างนี้ครับ รูปประกอบที่ 6 : ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนปี 2015 ที่ผ่านมา (ยกเว้นญี่ปุ่น) แหล่งที่มาข้อมูล : Goldman Sachs Global Investment Research ก็จะเห็นว่า บริษัทจดทะเบียนในไทย รายงานผลประกอบการออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์มากที่สุดในเอเชียเลย รองลงมาคือออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ดังนั้นอย่าแปลกใจครับว่าทำไม ตลาดหุ้นไทย และอินโดฯ ถึงติดอันดับ 1 ใน 10 ตลาดหุ้นที่ผลตอบแทนดีที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี รูปประกอบที่ 7 : ตลาดหุ้นที่ผลตอบแทนดีที่สุดในโลก นับตั้งแต่ต้นปี 2016 แหล่งที่มาข้อมูล : http://www.indexq.org/ แต่ที่ยังต้องดูคือ กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนในเอเชียเอง ลดลงราวๆ -7% จากปีก่อน และมีแค่ 3 ประเทศอย่างที่บอกไปที่กำไรออกมาดีกว่าที่ตลาดคิด (แต่ก็แค่ดีกว่าที่คิดนะครับ เพราะกำไรลดลงทุกที่) แถมประเทศแกนหลักของเอเชียอย่างพี่จีนเอง ใน Real Sector ก็ชะลอตัวอยู่ ดังนั้น ถ้าสุดท้าย เรายังเห็นกำไรในไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ปีนี้ ยังไม่ดีขึ้นละก็ เงินที่เราเห็นวิ่งเข้าตลาดเกิดใหม่ วิ่งเข้าไทย มันก็จะเป็นเพียง ‘Hot Money’ ที่มีโอกาสออกไปได้ทุกเมื่อเหมือนกันครับ แหล่งที่มาข้อมูล :- http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-03-03/emerging-stocks-extend-rally-as-currencies-advance-amid-inflows http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-02-18/thailand-wins-as-negative-rate-refugees-from-japan-hunt-yieldshttp://www.investing.com/rates-bonds/world-government-bonds?maturity_from=40&maturity_to=290 http://www.indexq.org/ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
POLL: BEC พรุ่งนี้ (4 มี.ค. 59) จะขึ้นหรือลง เมื่อสรยุทธประกาศยุติหน้าที่ !!? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 BEC พรุ่งนี้ (4 มี.ค. 59) จะขึ้นหรือลง เมื่อสรยุทธประกาศยุติหน้าที่ !!? ขอเชิญทุกท่านร่วมกันโหวตครับ แอดมินเองก็สงสัย polls แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เตรียมตัวรับภาวะราคากองทุนอสังหา ฯ หดตัว - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 เตรียมตัวรับภาวะราคากองทุนอสังหา ฯ หดตัว ในช่วงที่ผ่านมาไม่กี่เดือนนี้ ในภาวะที่ตลาดหุ้นไทยยังคงวิ่งอยู่ในกรอบ sideway หรือ ยังคงไม่ไปไหน หาทิศทางไม่ได้ชัดเจน รวมถึงการลงทุนในต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน เป็นภาวะที่การลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศนั้นมีความผันผวนสูงมาก เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจีน ราคานำ้มัน และเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ที่ดีขึ้น จนมีเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากดดันตลาดอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลก ปรับสัดส่วนพอร์ตการลงทุนไปที่สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ที่เราเรียกว่า “Risk-off mode” นั่นเองครับ แน่นอนว่านักลงทุน เมื่อเอาเงินที่มีไปไว้ในที่ ๆ ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ทองคำ หรือ ตราสารหนี้ ดังนั้น จึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นครับ และมีสินทรัพย์ลงทุนอีกประเทศ ที่ถือว่าเป็นอีกสินทรัพย์ยอดนิยมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผมเองก็ลงทุนกับสินทรัพย์นี้เช่นกันครับ และลงทุนมาค่อนข้างนานพอสมควรเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ความผันผวนนั้นไม่ได้สูงมาก แต่ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างจะสม่ำเสมอปีละประมาณ 6-8% นั่นก็คือ กองทุนอสังหาริมรัพย์ แบบ Fund of Fund คร้าบ ที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์แบบนี้ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างจะสม่ำเสมอนั่นก็เพราะว่า ผลตอบแทนที่ได้นั้นมาจากค่าเช่า เสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าใครนึกภาพไม่ออกลองนึกถึงห้างที่เก็บค่าเช่าร้านค้าที่มาเช่าที่เพื่อขายของสิครับ นั่นแหละครับ คือรายได้ของกองทุนอสังหา ฯ และเมื่อกองทุนอสังหา ฯ ได้รับเงินค่าเช่ามาก็จะส่งต่อค่าเช่าเหล่านั้นออกมาเป็นเงินปันผลให้กับนักลงทุนผู้ถือกองทุนครับ แต่การวิเคราะห์เพื่อหากองทุนอสังหา ฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งกองทุนที่ดี มีเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง นั้นต้องอาศัยประสบการณ์ ดังนั้น กองทุนอสังหา ฯ แบบ Fund of Fund จึงกำเนิดขึ้นมาครับ ก็คือ มีผู้จัดการกองทุนเอาเงินของนักลงทุนไป เลือกหาลงทุนในกองทุนอสังหาฯ ที่มีรายได้สม่ำเสมอ แทนเราครับ ในกองทุนประเภทนี้ก็จะมีกองทุนอสังหา ฯ อยู่มากมาย เป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี และมีผลตอบแทนที่สม่ำเสมอไปในตัว เมื่อนักลงทุน หรือ นักวิเคราะห์ รวมถึง ผู้แนะนำการลงทุนในกองทุนรวม หลาย ๆ ท่าน เมื่อเห็นว่าสินทรัพย์เสี่ยงเอง เริ่มจะทำท่าไม่ดี ผันผวนมากขึ้น ก็เริ่มแนะนำให้นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ กลาง -สูง ให้แบ่งเงินหรือ ขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาบ้าง และนำเงินที่ได้มาซื้อกองทุนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น เพราะการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ก็อาจจะได้ผลตอบแทนที่ไม่สูงเท่าไหร่ ทองคำก็ยังไม่แน่ใจว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้หรือไม่ แถมยังไม่มีดอกเบี้ยระหว่างการถือครอง และยังต้องจับจังหวะการลงทุนในกองทุนทองคำอีกด้วยจึงจะได้ผลตอบแทนที่ดีให้สาแก่ใจของนักลงทุน แน่นอนครับว่า ถ้ามีเงินไหลเข้ากองทุนอสังหา ฯ มากขึ้น ราคาของกองทุนอสังหา ฯ ก็ต้องปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนนั้นสูงมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ลองนึกภาพง่าย ๆ เงินที่เราซื้อกองทุนอสังหา ฯ แบบ Fund of Fund เหล่าผู้จัดการกองทุนก็จะต้องพยายามเอาเงินไปลงทุนในกองทุนอสังหา ฯ หรือ กอง REITs อย่างรวดเร็ว ประกอบกับ กองทุนอสังหา ฯ ที่มีคุณภาพนั้นหาได้ยาก หรือ มีน้อย แถมมีสภาพคล่องที่ไม่สูงมากนัก(ของดี ๆ ไม่ค่อยมีคนขาย ถือกันยาว ๆ ไป) ซึ่งผมเชื่อว่าน่าจะทำให้ผู้จัดการกองทุนมีการซื้อกองทุนอสังหา ฯ ที่มีคุณภาพรองลงมา เพื่อให้เงินสดที่ได้รับมานั้น เข้าไปอยู่ในกองทุนอสังหา ฯ นั่นเอง เพราะ ถ้าเอาเงินมาไว้กับตัวเฉย ๆ แน่นอนว่าสัดส่วนเงินสดในกองทุนก็จะต้องเพิ่มมากขึ้น กดดันให้ผลตอบแทนของกองทุนได้น้อยกว่ากองทุนอื่น ๆ ที่จะเอาเงินไปซื้อกองทุนอสังหา ฯ ได้ในสัดส่วนที่มากกว่าครับ ดังนั้นเนื่องจากกระแสเงินที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องก็ดันให้ราคากองทุนอสังหา ฯ ทั้งมีคุณภาพดี และคุณภาพกลาง ๆ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ (จุดสำคัญต่อเนื่องถัดมาคือ สัดส่วนเงินปันผลก็จะน้อยลงไปด้วยนะครับ อย่าลืม) จากเหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้กองทุนที่ผมลงทุนได้ผลตอบแทนปีละ 6-8% ปีที่ผ่านมา เงินปันผล กับ capital gain โดดไปถึง 13% และถ้านับตั้งแต่ต้นปี ถึงวันนี้ (29/2/58) ก็ได้ผลตอบแทนไปแล้ว 8% หรือ ได้ผลตอบแทน เท่ากับที่ผมเคยลงทุนทั้งปี !!! ผมอยากบอกกับนักลงทุนทุกท่านนะครับว่า ให้เริ่มระวัง หรือ เริ่มที่จะต้องจับตาดูสินทรัพย์อย่างกองทุนอสังหา ฯ แบบธรรมดา รวมถึง fund of fund ให้มากขึ้น เพราะว่าเมื่อไหร่ที่ ตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาฟื้นตัวแล้วละก็ (Risk-on mode) เราก็อาจจะได้เห็น กองทุนอสังหา ฯ ปรับตัวลดลงแรง ๆ ก็เป็นไปได้ แต่ถ้าเราเป็นนักลงทุนที่เน้นถือยาว ไม่ได้เป็นนักลงทุนที่สับเปลี่ยนสินทรัพย์ไปมาแล้วละก็ ผมก็ยังคิดว่า การลงทุนในกองทุนอสังหา ฯ นั้นก็ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่น่าลงทุนครับต่อเนื่องได้ ยิ่งถ้ามีเวลาการลงทุนเกิน 3 ปีขึ้นก็จะช่วยให้ความผันผวนของผลตอบแทนที่ได้รับลดลง แต่ในช่วงเวลาแบบนี้ อาจจะทำการปรับลดสัดส่วนลงบางก็ได้เมื่อเห็นว่าเราได้ผลตอบแทนที่ดีแล้ว (เอากำไรมานอนกอดไว้ก่อน) ส่วนบางกองทุนที่ไปลงทุนใน REITs ต่างประเทศ หรือ บางกองทุนก็มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นอยู่ด้วยเล็กน้อย ก็น่าจะช่วยลดความผันผวนลงได้บ้าง เนื่องจากมีการกระจายความเสี่ยงที่มากกว่า แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่า กองทุนเหล่านี้เองก็จะเจอกับความผันผวนเข้าเหมือนกันครับ แต่นักลงทุนที่มีกองทุนประเภทนี้อยู่ก็ไม่จำเป็นต้องรีบขายออกมานะครับ ผมเชื่อว่าถ้าสภาวะตลาดยังคลุมเครืออยู่แบบนี้ กองทุนอสังหา ฯ ก็น่าจะยังทำผลตอบแทนได้ดีต่อไปอีกสักระยะครับ ส่วนคนที่เริ่มจะออกมาจากกองทุนเหล่านี้ อยากรู้ใช่ไหมครับว่า จะเอาเงินไปลงทุนกับกองทุนประเภทไหนดี ครั้งหน้าที่พบกัน ผมพอจะมีทางออกให้ครับ แล้วติดตามกันนะครับ ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Dr.Nut Aommoney น.สพ. ธนัฐ ศิริวรางกูร “จากนายสัตวแพทย์ สู่ผู้วิเคราะห์กองทุนรวม” นักเขียนประจำคอลัมน์ Fund Clinic ของโพสต์ทูเดย์ ปัจจุบันเป็นนักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียน และวิทยากรพิเศษของมหาวิทยาลัย-บริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ มีความฝันว่าอยากให้คนไทยมีสุขภาพการเงินที่ดีด้วยกองทุนรวม
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กองทุนบัวหลวง จัด PLANB อีก 35 ล้าน หลังประกาศงบ - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 PLANB MEDIA รายงาน ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 สัดส่วนหลังเข้าซื้อ: 10.78% (+1.72%) ช่วงวันที่ทำรายการ ราคาอยู่ที่ประมาณ 6 บาท+/- ผู้ซื้อ: บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด PLANB หลังจากราคาทำจุดสูงสุดที่ประมาณ 7.5 บาท ก็ปรับตัวลงเรื่อยมากว่า 24% ราคาหุ้นล่าสุดของ PLANB ณ สิ้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 5.95 บาท ยังถือว่าทรงตัวอยู่โดยล่าสุดประกาศงบไตรมาสที่ 4 ปี 58 ออกมา 105 ล้านบาท แต่ภาพรวมกำไรทั้งปี 2558 เติบโตจากปีก่อนเกือบเท่าตัว สื่อนอกบ้านขยายตัวทั้งพื้นที่ให้บริการ และอัตรากำไร หลังจากสัญญาที่เดิมทำไว้ของ Hello BKK กับลูกค้าเก่าๆ ทยอยหมดลง แต่มีสะดุดเล็กน้อยจากต้นทุนที่ค่อนข้างสูงของสื่อโฆษณาบนรถประจำทาง ซึ่งผู้ใช้บริการไม่นิมยมเท่าไหร่นัก อนาคตของปี 59 ยังค่อนข้างดีจากการขยายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้นปลพ การรับรู้งานที่มีมาร์จิ้นสูงขึ้นเต็มปี ส่วนแนวโน้มใหญ่ทางเทคนิคแล้ว ยังมองว่าเป็นเทรนด์การปรับตัวลง ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th *หมายเหตุ มุมมองเกี่ยวกับภาวะบริษัทและแนวโน้มผลประกอบการ เป็นความเห็นส่วนบุคคล ควรพิจารณาข้อมูลโดยละเอียดด้วยตัวท่านเองก่อน พิจารณาลงทุน ทุกครั้ง รายงานโดย Finnomena Admin แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ถอดรหัสผู้ว่าแบงก์ชาติจีน - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ไม่บ่อยครั้งนักที่บุคคลระดับแถวหน้าของทางการจีน จะออกโรงวิพากษ์เศรษฐกิจและการเงินจีนด้วยตนเอง ทว่า สัปดาห์ที่แล้ว นายโจว เซี่ยว ฉวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อดังของจีน ให้ความเห็นว่าด้วยสถานการณ์ล่าสุดของเศรษฐกิจและการเงินของจีน ประเด็นที่นายโจวให้ความเห็นอย่างน่าสนใจ มีดังนี้ หนึ่ง สำหรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนของจีนนั้น นายโจวพูดชัดๆ ว่าเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ทว่าอัตราแลกเปลี่ยนก็ยังสามารถที่จะยืดหยุ่นได้ สิ่งที่ถือว่าเป็นทีเด็ดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนจีน คือตั้งใจที่จะให้บรรดาเฮดจ์ฟันด์และนักเก็งกำไรมึนด้วยการไม่บอกกรอบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนที่จะสามารถขึ้นลงได้ในระยะสั้น เพื่อที่จะไม่ถูกโจมตีค่าเงินหยวนได้ง่าย รวมถึงจะปรับเปลี่ยนค่ากลางของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนเป็นครั้งคราว หากสภาพเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จุดนี้ ผมคิดว่านายโจวมาถูกทางที่มีการผสมผสานแนวคิดตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันแบบ ‘ลับ ลวง พลาง’ ผสมกับกลยุทธ์แนวสามก๊ก ต้องบอกว่าไม่ว่าจะเป็นไคล์ บราส หรือจอร์จ โซรอสคงจะกินธนาคารกลางจีนยากสักหน่อย โดยเฉพาะในปีนี้ สอง นายโจวกล่าวว่าระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนใหม่เงินหยวนของจีน จะใช้ตะกร้าเงินที่มิใช่ดอลลาร์เป็นสกุลหลักในการกำหนดค่าเงินหยวน ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดสงครามการเงิน หรือ currency war เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ประเด็นนี้ ผมยังไม่ค่อยคล้อยตามนายโจวสักเท่าไร เนื่องจากช่วงที่เกิดวิกฤติอัตราแลกเปลี่ยนเล็กๆ ทั้ง 2 ครั้งในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา บรรดาบุคลากรในหน่วย National Team ที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง คือผู้รับผิดชอบหลักในการปกป้องค่าเงินหยวนมิใช่ธนาคารกลางจีนแต่อย่างใด สาม ผู้ว่าแบงก์ชาติจีนยังให้ความเห็นว่าระดับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนในตอนนี้ ถือว่าใกล้อยู่ ณ ‘จุดดุลยภาพ’ เนื่องจากเขามองว่าทั้งการเติบโตเศรษฐกิจของจีนที่ยังเติบโตได้ดีพอสมควร และการเกินดุลของบัญชีเดินสะพัดที่ยังมีอยู่ในปริมาณสูง หากมองไปยาวๆ นายโจวยังมองว่าการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงที่เข้ามาจากต่างประเทศ จะหักลบกลบกับกระแสเงินการลงทุนของรัฐบาลจีนสำหรับโครงการใหญ่ๆ ในต่างประเทศ สำหรับกระแสเงินทุนที่ไหลออกจากจีนตั้งแต่เมื่อช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน จนทำให้ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศลดลงไปกว่า 8 แสนล้านดอลลาร์นั้น นายโจวมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการจ่ายหนี้ต่างประเทศและเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เขาย้ำว่าเป็น “capital outflows” ไม่ใช่ “capital flight” อย่างที่ทึกทักกัน ตรงนี้ ผมคิดว่าภายในปีนี้ ก็จะสามารถพิสูจน์สมมติฐานดังกล่าวของผู้ว่าแบงก์ชาติจีนว่าจะเป็นจริงแค่ไหน? สี่ ระหว่าง “การเปิดเสรีทางการเงิน” กับ “ความวุ่นวายจากการเก็งกำไรของบรรดาเฮดจ์ฟันด์” นายโจวกล่าวว่าทางการจีนสามารถรอให้บรรดานักเก็งกำไรอ่อนแรงลงก่อน ก่อนที่จะเปิดเสรีทางการเงิน ทั้งนี้ เขาย้ำว่า รัฐบาลจีนไม่จำเป็นต้องมี Capital Control เพราะประชาชนชาวจีนก็มีกำลังซื้อและลงทุนในตลาดต่างประเทศสูง จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการไม่มีเสถียรภาพของการไถ่ถอนคืนของกระแสเงินทุนต่างประเทศ ห้า นายโจวย้ำหลายครั้งว่า อย่าได้เชื่อข่าวลือจากนักลงทุนชาวตะวันตกที่ปล่อยข่าว อาทิเรื่องการล้มของแบงก์จีน หรือการควบคุมกระแสเงินเข้า-ออกระหว่างประเทศ เพราะเป็นแค่“แทคติก”ที่ใช้ในการหากำไรของตนเองเท่านั้น อย่างไรก็ดี ยังมีคำถามที่ผู้ว่าการธนาคารชาติจีนยังมิได้ตอบ ดังนี้ หนึ่ง การลดลงของราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับอัตราเงินเฟ้อในเซกเตอร์การผลิตและอุตสาหกรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง จนใกล้จะกลายเป็นเงินฝืดไปแล้ว จนนักวิเคราะห์หลายสำนักมีความเห็นว่าน่าจะกำลังพัฒนาไปสู่ปัญหาเรื้อรังเหมือนกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วง 3 ทศวรรษก่อนหน้า เนื่องจากข้อจำกัดของอัตราดอกเบี้ยของจีนในการแก้ปัญหาเงินฝืด คล้ายกับของญี่ปุ่นในช่วงนั้น ที่สำคัญ ดูเหมือนจีนกับญี่ปุ่นยังมีสิ่งที่คล้ายกันมากคือ คีย์แมนทีมเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ไม่มีสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า ‘charisma’หรือจุดขายของบุคลิกของผู้นำ เพื่อที่จะเป็นบุคคลที่คอยให้สัญญาณการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินและการคลังต่อสาธารณชน ซึ่งตรงนี้ถือเป็นข้อเสียเปรียบชาติตะวันตกในยุคที่ข้อมูลข่าวสารวิ่งเร็วราวกับแสง สำหรับการแก้เกมทางเศรษฐกิจในอนาคต สอง ไม่มีความชัดเจนว่าใครกันแน่คือผู้ชี้เป็นชี้ตายในการตัดสินใจออกนโยบายการเงินและเศรษฐกิจในช่วงเกิดวิกฤติ ซึ่งสำหรับประเทศจีน แต่ไหนแต่ไรไม่มีการบอกกล่าวอย่างชัดเจน ซึ่งตรงนี้จีนมองว่าเป็นข้อดี แต่ตำราทางเศรษฐกิจและการบริหารของชาติตะวันตกบอกว่าเป็นข้อเสีย ผมชอบให้ทางการจีนออกมาสัมภาษณ์บ่อยๆ ในอนาคต เพราะจะทำให้ไม่เกิดความสับสนในทิศทางของการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงิน ที่เกิดขึ้นหนักมากเมื่อปีที่แล้วครับ ที่มาของบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637036 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หยวน จะเลิกผูกค่าเงินตัวเองกับ ดอลล่าร์สหรัฐ จริงหรือ? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 มีการพูดถึงประเด็นนี้และถามผมเข้ามาหลายครั้งเหมือนกันว่า เห็นอย่างไรกับประเด็นหัวข้อข้างต้น ที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเพียงความเห็นและมุมมองส่วนตัวของผมต่อเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะผิดจากความจริงก็ได้นะครับ จีน มีความต้องการลดความสำคัญของดอลล่าร์สหรัฐฯต่อเศรษฐกิจของตัวเองจริง จะเห็นได้ว่า เมื่อต้นปี ธนาคารกลางจีน ประกาศว่า จะถ่วงค่าเงินหยวนด้วยตะกร้าเงิน ใช้ดัชนีชื่อว่า CFETS RMB Index ซึ่งประกอบไปด้วย 13 สกุลเงิน (แต่แน่นอนว่า USD ยังมีความสำคัญสูงสุด ให้น้ำหนักอยู่ในตะกร้า 26.4%) และมีเงินบาทไทยอยู่ในนั้นด้วยนะครับ ตั้ง 3.3% ทีเดียว รูปประกอบที่ 1 : ตะกร้าเงินใน CFETS RMB Index ที่มา : https://www.iima.or.jp จุดที่ต้องดูก็คือ การเคลื่อนไหวของเงินหยวน ก็ยังไม่เสรีเต็มที่อยู่ดี จีน อนุญาตให้หยวนเคลื่อนไหวในกรอบ บวกลบ 2% จากราคาปิดวันก่อนหน้า และยังสามารถใช้วิธีกำหนดค่ากลางค่าเงินหยวนให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างที่ต้องการได้ ซึ่งสิ่งนี้คือ อาวุธสำคัญที่จีนใช้ในการป้องกันการโจมตีค่าเงินในอนาคต และคงจะยังเก็บไว้ใช้ต่อ ในภาวะที่มีแต่ Hedge Fund รุมโจมตีหยวน ทั้ง George Soros ทั้ง Kyle Bass (อ่านสิ่งที่ Kyle Bass คิดต่อจีน ที่คุณเจท FundTalk เขียนได้ที่ หรือปัญหาหนี้เสียในจีนจะเป็นตัวจุดระเบิดมหาวิกฤตตลาดทุนโลก? ถ้าดู Action ของจีน ก็จะเห็นว่า มีความพยายามลดบทบาทค่าเงินดอลล่าร์มาตลอด ก่อนที่จะประกาศ CFETS RMB Index นะครับ (แต่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป) ยกตัวอย่าง มีการทำ Currency-Swap Agreement กับประเทศคู่ค้าอื่นๆ เพื่อซื้อขายกับเป็นสกุลหยวน หรือสกุลของประเทศนั้นๆโดยตรง ทั้ง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนนาดา รัสเซีย มาเลย์เซีย บราซิล แอฟริกาใต้ และอังกฤษ การออก Dim Som Bond (ติ่มซำบอนด์) ให้บริษัทต่างชาติออกตราสารหนี้สกุลหยวนได้ที่ตลาดฮ่องกง การพยายามเอาหยวนเข้าไปคำนวนในตะกร้า SDRs ของ IMF การก่อตั้ง Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) ปล่อยกู้เพื่อการลงทุนที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของภูมิภาคเอเชีย ลบเหลี่ยมอเมริกา ด้วยการเกิดขึ้นของ AIIB มุมมองของผม ความตั้งใจของจีน ไม่ใช่แค่ ให้หยวนเลิกผูกค่าเงินตัวเองกับ ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ อยากให้หยวนมีความสำคัญมากกว่าดอลล่าร์ในอนาคตเลยด้วยซ้ำ แต่มันเกิดไม่ง่ายครับ ยังต้องใช้เวลา เพราะ ลองจินตนาการปริมาณเงินดอลล่าร์ที่มีในระบบการเงินโลกบนตลาด Offshore วันนี้สิครับ … เงินหยวนต้องมีปริมาณขนาดนั้นละถึงจะสำคัญสุดในโลกได้ หยวน ต้อง เคลื่อนไหวในตลาดเห็นว่า เสรีจริงๆ ไม่งั้น ก็จะมีแค่คนจำนวนหนึ่งที่เชื่อ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่ไว้ใจ (ถึงวันนี้คุณจะเถียงว่า สหรัฐฯก็โกงด้วย QE ก็เถอะ แต่เค้าออก QE ได้เพราะทุกคนเป็นเจ้าหนี้เค้าอยู่ และไม่อยากให้เค้าล้มอยู่แล้ว) ระบบการชำระเงินของโลก (Clearing House) สำหรับเงินหยวนต้องมีระบบที่ดีพร้อมรองรับธุรกรรมเงินหยวนได้มากกว่าวันนี้ ล่าสุด ที่ประชุม G20 Zhou Xiaochuan ผู้ว่าฯแบงก์ชาติจีน (PBOC) ก็ให้ความเห็นชัดเจนว่า USD ยังมีบทบาทสำคัญที่สุดกับจีน แต่ JPY และ EUR จะค่อยๆเพิ่มบทบาทมากขึ้นหลังจากนี้ เมื่อสมดุลของการค้าจีนเปลี่ยนแปลง สรุปคือ มันค่อยๆเป็นค่อยๆไปครับ ไม่ได้เกิดขึ้นในวันสองวัน แหล่งที่มาข้อมูล: – http://www.pbc.gov.cn/english/130721/3001868/index.html http://blogs.barrons.com/asiastocks/2016/02/25/g20-pboc-governor-zhou-on-yuan-capital-outflow-chinas-credit-risk/ http://www.aiib.org/html/aboutus/AIIB/ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อ SET Index มาถึงจุดตัดสิน "ขาขึ้นอีกครั้ง" หรือ "ขาลงต่อไป" - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 วันนี้กระผมนายวีคิด เทรดเดอร์พ่อลูกอ่อน ขอคุยเรื่องกราฟแบบเบาๆ แต่คิดว่ามีประโยชน์ต่อหลายๆคนแน่นอน หลายคนบอกกันว่า นี่ SET ดีดขึ้นมาจากจุดต่ำสุดราวๆ 100 กว่าจุดแล้ว… …ตลาดหุ้นไทยเป็นขาขึ้นแล้วหรือยัง???… สำหรับนักลงทุนสาย VI ผมไม่ทราบว่ามีมุมมองเช่นไร แต่สำหรับสายกราฟสไตล์ผม (คนอื่นไม่รู้น่ะว่ามองยังไง) ตลาดหุ้นช่วงนี้ตั้งแต่ต้นปี 2015 – ปัจจุบัน มันคล้ายกับตลาดหุ้นระหว่างปี 2013-2014 เอามากๆถึงมากที่สุดจริงๆ มาลองดูกราฟที่ผมทำขึ้นมาดูก่อนคร่าวๆ จากกราฟด้านบน…มันน่าสนใจว่าการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยหรือ SET นั้น “กำลังจะทำขาขึ้นรอบใหม่อีกครั้ง” จากเหตุผลดังนี้ จากกรอบสีแดงหมายเลข 1 และ 2 จะเห็นได้ว่า รูปแบบการเคลื่อนไหวหรือ pattern การวิ่งของดัชนีนั้น ค่อนข้างคล้ายคลึงกันมาก ดัชนีในหมายเลข 1 นั้น…ถ้านับจากจุดสูงสุดของดัชนีจนถึงจุดเบรกแนวต้านของเส้น trend line นั้น ใช้เวลาประมาณ 10 เดือนถึงเกิดการเบรกเส้น trend line ในขณะที่ตอนนี้ดัชนีในกรอบหมายเลข 2 ระยะเวลาจากจุดสูงสุดจนถึงปัจจุบัน ก็ราวๆ 1 ปีแล้วเต็มๆ ถ้าหากดัชนีสามารถเบรกผ่านเส้น trend line สีฟ้าที่ผมตีเส้นไว้ได้…มีโอกาสค่อนข้างสูงเลยว่า ดัชนีหุ้นไทยกำลังจะกลับมาเป็นขาขึ้นเต็มตัวอีกครั้ง เงื่อนไขนี้จะหมดไปทันที ถ้าดัชนีร่วงหลุดเส้นแนวรับ trend line ด้านล่างที่ผมตีไว้…ถ้าหลุดอีกครั้ง ก็มองเป็นขาลงต่อไป (ตอนนี้ดัชนีภาพรวมยังอยู่ในขาลงน่ะ) เส้น RSI (Relative Strength Index) สังเกตง่ายๆว่า ทั้งกรอบหมายเลข 1 และ 2 นั้น เส้น RSI ของทั้งสองกรอบ ต่างก็ลงมาทดสอบ RSI ที่ต่ำกว่า 30% (OVERSOLD หรือภาวะที่แรงขายเยอะมากๆ) ถึงสองครั้งแล้วทั้งคู่ (ในวงกลมที่วงไว้ทั้ง 4 วง) น่าสนใจเช่นกัน คือตอนนี้ ทั้ง ดัชนีหุ้นไทยและ RSI ต่างก็วิ่งแบบ Higher High หรือทำจุดสูงสุดใหม่เรื่อยๆทั้งคู่ เช่นนี้เรามองได้ว่า การทำนิวไฮแต่ละครั้งของหุ้นไทยนั้น มาพร้อมกับแรงซื้อที่มากขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ในมุมมองส่วนตัว ถือว่าการวิ่งเช่นนี้ ค่อนข้างสวยงาม ข้อสังเกตอีกอย่างคือ จะมีการพยายามดันกลุ่มสื่อสาร พลังงาน และธนาคาร สลับกันไปมา เพื่อดันดัชนีหุ้นไทยขึ้นต่อเนื่อง วันไหนพลังงานแดง สื่อสารหรือธนาคารก็จะมาเป็นพระเอกแทนตลอด เส้น MACD (Moving Average Convergence Divergence) เส้น MACD ผมใช้ไว้ดูเป็น trend-following momentum หรือดูแนวโน้มของ trend ของหุ้นตัวนั้นๆ หรือดัชนี ว่าอยู่ในภาวะกระทิง (bullish) หรือหมี (bearish) ในกรอบหมายเลข 1 และ 2 มีจุดน่าสนใจคือ ตอนนี้ดัชนีหุ้นไทยนั้น MACD ทะลุ 0 มาแล้ว จึงให้น้ำหนักไปในทางภาวะกระทิง ที่สำคัญคือ MACD ตอนนี้จากกราฟ ทำ higher high อยู่ ซึ่งรูปแบบคล้ายกับ MACD ของกรอบหมายเลข 1 อยู่พอสมควร สรุปในมุมมองของผมคนเดียว เงื่อนไขทุกอย่างตอนนี้ ในทุก indicator ที่ผมชอบใช้ ค่อนข้างให้น้ำหนักไปทางที่ว่า หุ้นไทยมีโอกาสจะทำขาขึ้นรอบใหม่ หากดัชนีไม่ร่วงหลุดเส้นแนวรับที่ตีไว้…การย่อลงของดัชนีต่อจากนี้ อาจจะให้น้ำหนักไปทาง ย่อเพื่อเด้ง มากกว่า ย่อเพื่อเดี้ยง กลยุทธ์การเทรดต่อจากนี้ อาจจะเป็น สะสมหุ้นรายตัวที่ชอบ ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะนำตลาด (lead the market ) หรือมีแนวโน้มผลประกอบการจะดีต่อเนื่องครับ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไปรู้จัก Brexit แบบเร็วๆกันหน่อย - FINNOMENA 6 พ.ย. 2563 ฺBrexit คืออะไร? ฺBrexit เป็นการรวมคำระหว่าง British + Exit ถูกใช้เรียกถึงเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มว่า อังกฤษ อาจจะขอแยกตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (กลุ่ม EU) เหมือน Grexit ในอดีต (Greece + Exit) ทำไมอยู่ดีๆ พูดกันเรื่องนี้? อังกฤษ จะมีการทำประชามติ ให้ประชาชนโหวตในวันที่ 23 มิ.ย. ปีนี้ ว่า คนในประเทศต้องการเห็นอังกฤษอยู่ใน EU ต่อไป หรืออยากให้แยกออกมาซะ ก็อีกตั้งนานนิ ไม่เห็นน่าตื่นเต้นเลย เหตุการณ์ดูมีโอกาสที่คะแนนโหวตจะเทไปว่า อยากแยกตัวมากขึ้น เมื่อนาย Boris Johnson นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน บอกว่าจะรณรงค์ให้อังกฤษแยกตัวในการทำประชามติวันที่ 23 มิ.ย. นี้ ไม่ใช่แค่นั้น รัฐมนตรี 6 คนในรัฐบาลชุดนี้ของนาย David Cameron ก็แสดงจุดยืนว่า จะสนับสนุนการแยกตัว ทั้งๆที่ David Cameron รณรงค์ให้อยู่ต่อ (ไม่รู้ไปสัญญากับประชาชนว่าจะให้โหวตประชามติทำไมเนอะ) รูปประกอบที่ 1 : นาย Boris Johnson ที่มา : ฺhttp://www.telegraph.co.uk ทำไมประชาชนจำนวนไม่น้อยอยากออกจาก EU? 1. เพราะปัญหาหนี้ในยุโรป มันกระทบต่อสมาชิกทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า คนอังกฤษบางส่วนไม่อยากแบกปัญหานี้ 2. มีกลุ่มคนที่ต่อต้านการไหลเข้ามาทำงานของคนต่างชาติ และปัญหาผู้อพยพที่ไหลเข้ามาในกลุ่ม EU 3. มีกลุ่มคนที่อยากให้อังกฤษมีเสรีในการจัดทำข้อตกลงทางการค้ากับประเทศอื่นๆ ไม่ใช่ต้องไปขออนุญาตกลุ่ม EU ทุกครั้ง แล้วถ้าออกจาก EU จริง จะเกิดอะไรขึ้น? ระยะสั้น หลังจากที่มีการประกาศว่าจะทำประชามติปั๊บ เงินปอนด์อ่อนค่าลงเกิน -2% ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ต่ำที่สุดในรอบ 7 ปีทีเดียว แสดงให้เห็นว่า ถ้าออกจริงๆ เงินปอนด์คงอ่อนค่าได้อีก (รึเปล่า?) ระยะยาว เว็ปไซส์ www.thetimes.co.uk บอกว่า ผู้ประกอบการกว่า 200 คนไม่เห็นด้วยกับการแยกตัว เพราะมันจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจภาพรวม จากโครงสร้างการจ้างงาน และการลงทุนที่เปลี่ยนไป รูปประกอบที่ 2 : ค่าเงินปอนด์ต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี ที่มา : ฺBISNEWS แล้วโอกาสที่อังกฤษจะออกจาก EU มีสูงไหม? จากการรวบรวมโพล 6 สำนักของแหล่งข่าว www.telegraph.co.uk ตอนนี้ ประชาชนที่อยากให้อังกฤษอยู่ใน EU อยู่ที่ 54% และโหวตออกจาก EU 46% และเว็ปไซส์ www.oddschecker.com เปิดให้พนันว่า สุดท้าย อังกฤษจะอยู่หรือไม่อยู่ใน EU อัพเดทล่าสุด นักพนันเลือกข้างว่าอยู่ต่อ 52.95% ขณะที่อีก 47.05% เลือกว่าออกจาก EU รูปประกอบที่ 3 : BREXIT REFERENDUM BETTING ODDS ที่มา : ฺwww.oddschecker.com ถ้าออกจริงๆ จะผลกระทบต่อไทย จะมีไหม? ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ระยะสั้น ‘ไม่มีผล’ อย่างมีนัยสำคัญอะไรครับ แต่ระยะยาว ถ้าการออก มันทำให้กลุ่ม EU เสียความแข็งแกร่งละก้อ อย่าลืมว่า ไทยเราส่งออกไป Euro Zone เกิน 10% ของยอดส่งออกทั้งหมด ดังนั้นคงโดนบ้างละครับ … ผมเดาว่า ก็แค่เล่นข่าวให้ตื่นตกใจ ไม่คิดว่า อังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปง่ายๆครับ ^^ ไว้ติดตามดูกันต่อไปครับ แหล่งที่มาของข้อมูล :- http://www.theguardian.com/business/live/2016/feb/24/pound-falls-brexit-referendum-ryanair-business-live http://www.telegraph.co.uk/business/2016/02/22/will-the-uk-leave-the-eu-how-to-track-the-odds-of-a-brexit/ http://www.oddschecker.com/politics/british-politics/eu-referendum/referendum-on-eu-membership-result คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อเฟดมองอย่าง ตลาดมองอีกอย่าง ความไม่แน่นอนจึงบังเกิด - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 หนึ่งในเงื่อนไข หรือปัจจัยที่กำหนดทิศทาง Fund Flow ของโลกในช่วงหลักจากนี้ก็คือ การขึ้นดอกเบี้ยดอกเบี้ยของเฟด จริงๆแล้ว เหมือนว่า การประชุมเฟด เมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว จะทำให้ทุกอย่างชัดเจนขึ้นว่า ทิศทางเงินลงทุนของโลกจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด แต่เราคิดผิด!! เพราะเพียงแค่ระยะเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์ สื่อกระแสหลักของโลก ก็จ้องแต่จะเล่นข่าวปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นในทุกย่อมหญ้าของโลก เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงอีก จนทำให้ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับค่ากลางค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าลงมาอีก เมื่อตอนเปิดศักราชใหม่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) บอก มีสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป มีความเป็นไปได้ที่ ECB จะออกมาตรการอะไรเพิ่มซักอย่างในเดือน มี.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจใช้มาตรการดอกเบี้ยติดลบ (Negative Interest Rate) เพื่อหวังจะให้เงินส่วนเกินที่มาฝากกับ BOJ ไหลออกไปลงทุนในตลาดโลกมากขึ้น ความกังวลว่า ธนาคารอันดับหนึ่งของเยอรมันอย่าง Deutsche Bank (DB) จะมีปัญหา หลังจากมีตราสารอนุพันธ์ขนาดมหึมาในพอร์ตวันนี้ ขณะที่ ภาพความตกลง หรือความร่วมมือใดๆของกลุ่ม OPEC และ non-OPEC ที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือ คิดจะไม่เพิ่มกำลังการผลิต แต่ที่ยังวางใจไม่ได้คือ ไม่ได้ตกลงกันว่าจะลดการผลิต ซึ่ง ณ ปัจจุบัน กำลังการผลิตส่วนเกิน ยังมากกว่า Demand ของโลกอยู่ตอนนี้ นี้เป็นปัจจัยหลัก 5 ข้อที่อยู่บนสื่อกระแสหลัก ณ ตอนนี้ ถ้าใครอ่านข่าวการลงทุนในภาพใหญ่ของโลก คุณจะพบว่า มุมมองของนักวิเคราะห์ และนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย กังวลกับอนาคตของโลกอยู่พอสมควร และความกังวลนั้น มันก็ไปถึง Policy Maker อย่าง ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟด ที่ประชุมกันไปเมื่อวันที่ 26-27 ม.ค.แสดงให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบาย (Policy Maker) มีความกังวลว่า ราคาน้ำมันที่ร่วงลงและความผันผวนของตลาดการเงินทั่วโลก 2 ปัจจัยนี้ อาจจะก่อความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผมพาย้อนไปดู Dot Plot หรือ คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในความเห็นของคณะกรรมการในที่ประชุม เมื่อเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ที่ผ่านมานะครับ ภาพประกอบที่ 1 : Dot Plot อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่เปิดเผยหลังการประชุมเดือน ก.ย. 2015 เปรียบเทียบกับ ธ.ค. 2015 ที่มา : http://www.businessinsider.com/fed-dot-plot-december-2015-2015-12 จะเห็นว่า ความเห็นส่วนใหญ่ของเฟด คิดว่า Fed Fund Rate หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะขึ้นไปอยู่ที่ 1.325% ภายในสิ้นปี 2016 ลองเทียบแบบนี้นะ FOMC มีการประชุม 8 ครั้ง January 26-27 March 15-16* April 26-27 June 14-15* July 26-27 September 20-21* November 1-2 December 13-14* ตลาดเลยเชื่อว่า FOMC จะขึ้นดอกเบี้ยในครั้งที่มี Press Conference หลังการประชุม (ครั้งที่มี * หลังวันที่ ในตารางด้านบน) คือ ประชุม 2 ครั้ง ขึ้นดอกเบี้ย 1 ที ทั้งหมด 4 ครั้งด้วยกัน ตอนนี้ Fed Fund Rate อยู่ที่ 0.50% ถ้าเฟดคิดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยตามความเห็นของคณะกรรมการส่วนใหญ่ (โดยใช้ Dot Plot ในรูปที่ 1 เป็นเกณฑ์) ไปที่ 1.325% โดยขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 25 bps หรือ 0.25% ละก็ แสดงว่า น่าจะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง หรือ 4 ครั้ง ภายในปีนี้ ครั้งที่มี * คือ ประธานเฟด จะมี Press Conference หลังการประชุม และสรุปข้อมูลการประมานการณ์เศรษฐกิจโดยเฟดเอง ปัญหาอยู่ตรงนี้ละครับ เพราะเฟด ไม่เคยบอกว่า จะขึ้นดอกเบี้ยแบบประชุมครั้ง เว้นครั้ง อย่างที่ตลาดเดากันอยู่ แล้วพอสถานการณ์เศรษฐกิจโลกทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามันดูคลุมเครือแบบนี้ ความไม่แน่นอนอย่างแรกก็ปรากฏออกมาครับ นั้นก็คือ เฟด จะขึ้นดอกเบี้ยได้เท่ากับที่อยากขึ้นจริงๆหรือ? John Briggs ซึ่งเป็น head of strategy ของธนาคาร RBS บอกว่า มีหลักฐานหลายอย่างเหลือเกินที่บอกว่า เฟดจะดำเนินการขึ้นดอกเบี้ยตามแผนเดิมไม่ได้ Jim Caron ซึ่งมีตำแหน่งเป็น fixed income portfolio manager ที่ Morgan Stanley Investment Management ก็บอกว่า จนกว่าจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นของตลาดการเงินโลก เมื่อนั้น ผมค่อยมาคิดอีกรอบว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยได้หรือเปล่า Wells Fargo ออกบทวิเคราะห์ บอกว่า เฟด น่าจะขึ้นดอกเบี้ยแค่ครั้งเดียวในปีนี้ Goldman Sachs มองว่า เฟด จะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ โดยมีโอกาสสูงมากที่จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. เพื่อรอดูความชัดเจนของตัวเลขเศรษฐกิจก่อน James Bullard ประธานเฟด สาขา St. Louis บอกกับ CNBC ว่า มันไม่เป็นการฉลาดเลยที่เฟดจะรีบขึ้นดอกเบี้ยตอนนี้ Patrick Harker ประธานเฟด สาขา Philadelphia มีมุมมองว่า เฟดควรรอให้ตัวเลขทุกอย่างมันชัดเจนกว่านี้ ก่อนที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่สอง ขณะที่ Loretta Mester ประธานเฟดสาขา Cleveland มีความเห็นสวนทาง โดยมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯตอนนี้ ไม่ใกล้เคียงกับคำว่า Recession เลย โดยมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯยังขยายตัวได้อย่างดี ดังนั้น การค่อยๆทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย ถือเป็นสิ่งที่เฟดควรทำอยู่ ภาพไปดูอีกสองภาพครับ ภาพประกอบที่ 2 : Fed Fund Futures วันที่ 16 มี.ค. 2016 ที่มา : CME Group ภาพประกอบที่ 3 : Fed Fund Futures วันที่ 21 ธ.ค. 2016 ที่มา : CME Group ทั้งสองรูปด้านบน คือ Fed Fund Futures หรือ ความคิดเห็นของนักลงทุน ว่าเฟดจะสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้หรือเปล่า ซึ่งหากดูภาพประกอบที่ 2 ซึ่งแสดงถึงสิ่งที่ตลาดมอง หลังการประชุม FOMC วันที่ 16 มี.ค. 2016 จะพบว่า ตลาดให้โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยแค่เพียง 2% เท่านั้น นั้นแปลว่า คนส่วนใหญ่ เชื่อไปแล้วนะครับ ว่า เฟดจะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ย ลองไปดูภาพประกอบที่ 3 ซึ่งแสดงถึงสิ่งที่ตลาดมอง หลังการประชุม FOMC วันที่ 21 ธ.ค. 2016 หรือการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ จะพบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ (62.1%) ยังเชื่อว่า Fed Fund Rate จะอยู่ที่ 0.50% เท่าเดิม ขณะที่อีก 31% บอกว่า จะขึ้นไปอยู่ที่ 0.75% ซึ่งสะท้อนภาพว่า ขึ้นดอกเบี้ยได้น้อยกว่า Dot Plot ที่แสดงไว้ในภาพประกอบที่ 1 เมื่อเฟดมองอย่าง ตลาดมองอีกอย่าง ความไม่แน่นอนจึงบังเกิด ไม่ว่า เหตุผลของการที่ตลาด และนักวิเคราะห์บางส่วน จะมองว่า เฟด ไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ มันเป็นเพราะอะไร แต่ที่แน่ๆ สิ่งนี้ จะไม่เป็นผลดีกับตลาดหุ้นทั้งโลกแน่นอน ถ้าเรื่องความกังวลเศรษฐกิจ เกิดขึ้นตอนที่สหรัฐฯยังมี QE อยู่ สิ่งนี้ อาจจะเป็นข่าวดีต่อการลงทุน เพราะหมายความว่า Fed อาจอัด QE แล้วตลาดก็จะ Happy เพราะมีเงิน QE มาซื้อหุ้นในตลาดไปเรื่อยๆ แต่มาวันนี้ วันที่เฟดเพิ่งบอกว่า กำลังจะขึ้นดอกเบี้ย แล้วอยู่ดีๆก็อาจจะขึ้นไม่ได้ซะงั้น เพราะกังวลกับอะไรบางอย่าง ขณะที่ไม่มีเงินใหม่จาก QE ต่อชีวิตแล้ว? แล้วปัญหามันจะถูกแก้ด้วยอะไร? นี่ละครับ ความไม่แน่นอน และความผันผวนในตลาดการเงินมันเลยเกิดขึ้นมาทันที มุมมองของผู้เขียน ก่อนหน้านี้ ผมเคยมองว่า การปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลก หากขึ้นอย่างระมัดระวัง และมีเหตุผลเพียงพอว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯดีจริง ที่คิดอย่างนี้ ก็เพราะ การที่ค่าเงินดอกลล่าร์สหรัฐฯ (USD) แข็งค่า เพราะประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดใหญ่ที่มีอำนาจการซื้อที่สูงมากที่สุดในโลก การที่ค่าเงินประเทศอื่นๆอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ จึงน่าจะเปิดโอกาสให้ส่งออกไปยังสหรัฐฯได้มากขึ้น ทำให้ Global Trade ไม่หดตัวลงอย่างรุนแรงจากการที่จีนเผยไต๋ออกมาแล้วว่า อยากจะอยู่ใน Currency War ด้วยการลดค่าเงินหยวนด้วย (สินค้าส่งออกไปจีน จะดูแพงขึ้นกว่าเดิม) แต่เมื่อมีโอกาสที่จะไม่ขึ้นดอกเบี้ย ก็แปลว่า USD อาจไม่แข็งค่าขึ้นอย่างที่เคยมองไว้เมื่อปลายปี ประสิทธิภาพในการใช้ QE ของ ECB และ BOJ ก็จะลดลงตามไปด้วย กลายเป็น นักลงทุนยังไม่ค่อยเชื่อมั่นอะไรทั้งนั้น เงินส่วนใหญ่จึงไม่เอาไปลงทุน และนั่งรอดูให้สถานการณ์ชัดเจนขึ้นอย่างเดียว เมื่อเป็นแบบนี้ นี้ก็เลยเป็นเหตุผลหนึ่ง (ย้ำว่า เป็นแค่มุมมองหนึ่งในหลายๆมุมมอง ที่ต้องทำการบ้านต่อ) ที่คิดว่า ตลาดหุ้นทั่วโลก จะยังไม่ใช่ขาขึ้นในเร็ววัน สินทรัพย์เสี่ยงที่มีในพอร์ต ไม่ว่าจะกองทุน หรือ หุ้น ก็ควรไม่เยอะ และถือตราสารหนี้ และเงินสดไว้มากขึ้นหน่อย ถึงแม้จะทำใจยากว่า ดอกเบี้ยมันต่ำเหลือเกิน ก็ต้องทนครับ แหล่งที่มาข้อมูล :- http://www.businessinsider.com/fed-dot-plot-december-2015-2015-12 http://www.federalreserve.gov/monetarypolicy/fomccalendars.htm http://www.cnbc.com/2016/02/18/st-louis-feds-bullard-says-itd-be-unwise-to-continue-rate-hikes-for-now.html http://www.cnbc.com/2016/02/19/feds-loretta-mester-economy-still-strong-gradual-rate-hikes-likely.html http://www.cnbc.com/2016/02/18/banks-back-off-fed-rate-hike-hopes.html http://www.marketwatch.com/story/feds-harker-backs-waiting-on-second-interest-rate-hike-until-inflation-is-stronger-2016-02-16 คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หรือปัญหาหนี้เสียในจีนจะเป็นตัวจุดระเบิดมหาวิกฤตตลาดทุนโลก ? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 หลายวันมานี่ผมนั่งอ่านเรื่องปัญหาในประเทศจีน เนื่องจากเป็น 1 ใน 2 ประเด็นสำคัญที่จะชี้ชะตาตลาดหุ้นโลกในปีนี้ (อ่าน มุมมองการลงทุนปีวอก 2559 ที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อต้นปีครับ) ไปสะดุดตาคำสัมภาษณ์ของ Hedge Fund Manager คนหนึ่งชื่อ Kyle Bass ซึ่งเป็นผู้ก่อตัว Hayman Capital ในปี 2008 และสามารถหาประโยชน์จากวิกฤต Subprime ปี 2008 ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำสัญญา CDS ซึ่งให้ผลเท่ากับการ Short ตราสารหนี้ประเภท Subprime ในช่วงนั้น โดยตาคนนี้ออกมาประกาศโครมเลยว่า “ภาคธนาคารของจีนกำลังมีปัญหาหนัก และจะก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและตลาดทุนโลก” รูปที่ 1 นาย Kyle Bass | ที่มา CNBC นาย Bass บอกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือการที่ภาคธนาคารจีนกำลังมีปัญหา NPL ที่เพิ่มสูงขึ้น และจะนำมาซึ่งผลขาดทุนขนาดใหญ่เป็น 4 เท่าของปัญหา Subprime ในปี 2008 สิ่งที่่ทางการจีนจำเป็นต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการปรับโครงสร้างแบงค์ เพิ่มทุน รวมไปถึงการลดค่าเงินหยวนขนานใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (ซึ่งที่ผ่านมาเงินหยวนก็ทยอยลดค่าลงต่อเนื่อง) นับแต่ปี 2007 ขนาดสินทรัพย์ของธนาคารจีนเพิ่มขึ้นมาแล้วถึง 4 เท่าตัวมาที่ 31 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ขนาดเศรษฐกิจหรือ GDP ของจีนอยู่ที่ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ นาย Bass บอกว่าถ้าเราทำการเพิ่มขนาดสินทรัพย์เร็วขนาดนี้ มันต้องมีบางส่วนเป็นหนี้สูญ หรือ NPL แน่นอน ซึ่งเชื่อว่าน่าจะสูงถึง 10% หรือ 3 ล้าน ๆ เหรียญสหรัฐฯ การขาดทุนนี้จะบังคับให้ทางการจีนต้องใช้ทุนสำรองที่มีอยู่ราว 3.6 ล้าน ๆ เหรียญ เพื่อนำกลับมาเพิ่มทุนให้แบงค์ รูปที่ 2 NPL ของระบบธนาคารจีน | ที่มา BloombergGadfly ไปเจาะลึกกันต่อที่ประเด็น NPL กันครับ ล่าสุด ณ สิ้นปี 2015 ตัวเลข NPL ในระบบธนาคารของจีนได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 1.25% เป็น 1.67% ถ้าคิดตามมูลค่านับเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 51% ในปีเดียวมาที่ 1.27 ล้านล้านหยวน แต่หากรวมถึงหนี้ที่เริ่มส่งกลิ่นมีปัญหาหรือ Special Mentioned Loan ตัวเลขหนี้มีปัญหาของจีนจะสูงถึง 4.2 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 6.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ (ที่มา Bloomberg) เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจหรือ GDP ของจีนที่ระดับ 10 ล้าน ๆ เหรียญ เท่ากับว่าหนี้มีปัญหาเพิ่มขึ้นมาถึงประมาณ 6% ของ GDP ไปแล้ว ล่าสุดทางการจีนอยู่ ๆ กลับมาประกาศลดการตั้งสำรองขั้นต่ำที่กำหนดของธนาคารจีนลงเหลือ 150% ของหนี้เสีย ซึ่งดูแปลกทีเดียว เหมือนกับไม่อยากให้แบงค์จีนถูกบังคับให้ตั้งสำรอง และประกาศผลขาดทุนมาก ๆ ต่อตลาด ดูซ่อนเร้นนิดนึงครับ นอกจากนี้เชื่อมั้ยครับว่าตอนนี้เหล่าแบงค์จีนยังปล่อยกู้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในเดือนมกราคมปีนี้มีการปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นถึง 2.51 ล้านล้านหยวน การปล่อยกู้เพิ่มขึ้นมาก ๆ ทำให้ NPL เมื่อดูเป็น % ไม่สูงมากนักแค่ 1% กว่าชิล ๆ แต่อย่าลืมครับ ดูตัวเลขจริงตอนนี้สูงกว่าล้าน ๆ หยวนไปแล้ว รูปที่ 3 NPL รวมที่ซุกเอาไว้ของจีน | ที่มา CLSA ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือตัวเลข NPL จริง ๆ คือเท่าไหร่กันแน่ เพราะที่จีนบ่อยครั้งใช้วิธีการ “ยืดหนี้ ต่อหนี้” ให้กับลูกหนี้ที่มีปัญหา รวมไปถึงการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Bank Trust, Collective Trust ในการปล่อยสินเชื่อแบบที่ไม่ปรากฎในงบดุล (off balance sheet) ซึ่ง Zero Hedge ซึ่งเป็น Blog ชื่อดังในอเมริกาพูดเลยว่าเรื่องนี้จะเป็น “Neutron Bomb” หรือระเบิดนิวตรอนของตลาดทุนโลก ขณะที่ CLSA ได้ออกมาทำวิจัยพบว่าตัวเลข NPL ของจีนเมื่อรวมส่วนที่ซุกไว้ใต้หมอนน่าจะสูงถึงราว 8% จากที่รายงานเพียง 1.5% ถ้าปัญหานี้เกิดขึ้นจริงอีกหนึ่งวิกฤตที่จะเกิดขึ้นคือ “วิกฤตศรัทธา” ว่าตัวเลขที่แท้จริงคืออะไร ซึ่งความไม่รู้ และความไม่แน่ใจนี่แหละครับคืออีกสิ่งที่น่ากลัวมากในยามที่ตลาดผันผวน เพราะจะเร่งความผันผวนให้เกิดมากขึ้นไปอีก ที่มาของปัญหานี้คืออะไร ? ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนของจีนได้ทยอยแข็งค่าเขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ประเทศจีนได้ทุ่มเงินลงทุนมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อทำให้เศรษฐกิจโตได้ตามเป้าหมาย โดยในปี 2014 ภาคการลงทุนคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 46% ของ GDP ซึ่งจัดว่าสูงมาก ๆ ซึ่งการเติบโตของภาคการลงทุนนี้เกิดควบคู่กับการขยายสินเชื่อนับสิบเท่าตัวของภาคธนาคารจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2006 มาเป็น 34 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2015 รูปที่ 4 รายได้และกำไรของภาคการผลิตของจีน | ที่มา CEIC เป็นครั้งแรกนับแต่ครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งที่ตัวเลขยอดขายของภาคอุตสาหกรรมเริ่มไม่โต ขณะที่กำไรของภาคอุตสาหกรรมเริ่มติดลบจากปีก่อนหน้าเป็นอีกตัวสะท้อนว่าการขยายตัวของการลงทุนที่มากเกินไปของจีน เริ่มไม่นำไปสู่การเติบโตของยอดขายและผลกำไร ขณะที่ราคาเหล็กที่เป็นตัวสะท้อนภาคการลงทุนได้อ่อนตัวลงอย่างหนัก ส่งผลต่ออุตสาหกรรมเหล็กทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยอย่างกรณีของ SSI ผลของการลงทุนเร็วเกินไปส่วนหนึ่งปรากฏออกมาในรูป Ghost Cities หรือเมืองผีสิงที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องขนาดใหญ่แต่ไม่มีคนเข้าไปอยู่ ไม่มีธุรกิจเข้าไปตั้งรกราก รูปที่ 5 รูปตัวอย่างเมืองร้างในเมืองกวางดงทางภาคใต้ของจีนที่ลงทุนไปแต่ไม่มีใครมาอยู่ นาย Bass เชื่อว่าปัญหาของจีนสุดท้ายรัฐบาลจีนจะต้องยอมอ่อนค่าเงินหยวนถึง 30% รวมไปถึงการทำนโยบาย QE และเพิ่มทุนให้กับภาคธนาคารคล้ายกับการแก้ปัญหาของสหรัฐฯที่ผ่านมา การอ่อนค่าเงินจะช่วยให้ภาคการส่งออกของจีนกลับเข้ามาช่วยอุ้มเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว เศรษฐกิจของจีนจะเติบโตน้อยลงเรื่อย ๆ ไปจนถึง 3% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์มาก และการลดค่าเงินหยวน จะกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ที่ต้องยอมเสียดุลให้กับจีน ส่งผลให้หลายประเทศโดยเฉพาะยุโรปและญี่ปุ่นที่พยายามจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากวิกฤตกลับต้องเผชิญปัญหาอีกครั้ง สรุป จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาของผมในรอบนี้ ผมมองว่าปัญหาของจีนในปีนี้ยังไม่น่าจะจบตราบใดที่ NPL ยังเร่งตัวมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์จะสะท้อนออกมาในรูปการอ่อนค่าของเงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค้นพบว่ามีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวแบบเป็นรอบ ๆ และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้แนะนำการปรับพอร์ตโดยละเอียดใน “Global Absolute Portfolio” ไปแล้วในสัปดาห์ก่อน และขอให้นักลงทุนทุกท่านติดตามประเด็นของจีนนี้อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นโลกในปีนี้ ขณะที่ผมเองก็จะทำการวิเคราะห์และนำมา update ให้กับเพื่อน ๆ ชาว FINNOMENA ได้อ่านกันเรื่อย ๆ ครับ FundTalk รายงาน หมายเหตุ สำหรับท่านที่อยากได้บทวิเคราะห์ 12 หน้าที่เรียบเรียงโดยนาย Kyle Bass ที่ชื่อ “The $34 Trillion Experiment: China’s Banking System and the World’s Largest Macro Imbalance” เชิญโหลดได้จาก ลิงค์ Dropbox นี้ ภายในวันที่ 29 ก.พ. นี้นะครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เขาว่ากันว่า ซาอุฯจะล้มละลาย เป็นไปได้จริงหรือ? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ท่ามกลางภาวะราคาน้ำมันตกต่ำเช่นทุกวันนี้ มีข่าวลือหลายกระแสออกมาออกมา บ้างก็ว่า ราคาน้ำมันจะต่ำไปมากกว่านี้ หรือ อีกความเห็นก็มีบอกว่า ราคาน่าจะเริ่มกลับมาได้บ้างในช่วงครึ่งปีหลัง วันนี้เรามานั่งฟัง 2 หนุ่มถกกันเรื่องนี้ และผลกระทบที่เขาลือกันว่า อาจนำพาซาอุฯ ยักษ์ใหญ่แห่งกลุ่ม OPEC เข้าสู่ช่วงเวลาที่ยากลำบากกว่าเดิม ชยนนท์ ตอนนี้โลกกำลังเผชิญปัญหา Oversupply ในน้ำมันดิบ สาเหตุก็มาจากหลายประเด็น แต่ที่นักวิเคราะห์คาดว่ามันคือประเด็นหลักก็คือ การพัฒนาแหล่งน้ำมันดิบที่ชื่อ Shale Oil Shale Gas จากฝากฝั่งสหรัฐฯ ทำให้กลุ่มสมาชิก OPEC ตัดสินใจกันว่า จะคงปริมาณกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อรักษา Market Share และทำให้ราคาน้ำมันร่วงลงจนต่ำกว่าราคาต้นทุนของผู้ผลิตนอกกลุ่ม OPEC สิ่งที่คาดหวังก็คือ ทำให้บริษัทผู้ผลิตเหล่านั้นอยู่ไม่ได้ และออกจากตลาดไป เจษฎา ประเด็นคือ ดูเหมือนผู้ผลิต Shale Oil จะปรับตัวและลดกำลังการผลิตได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆนี่สิครับ กำลังการผลิตน้ำมันในภาพรวมทั้งโลกมันเลยยังไม่ลดลง และส่งผลให้ราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับต่ำเช่นตอนนี้ ชยนนท์ จะบอกว่ากลุ่ม OPEC พลาด ก็ไม่น่าเป็นอย่างนั้น เพราะถ้าลดกำลังการผลิตไปเพื่อให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น มันอาจยิ่งจูงใจให้มีผู้ผลิต Shale Oil ในตลาดมากขึ้นกกว่าวันนี้ ไม่เป็นผลดีต่อกลุ่มเขาในระยะยาวนะ ผมมองว่า OPEC ไม่มีทางเลือกมาก เจษฎา แต่มันเป็นทางเลือกที่ทำให้ตัวเองเจ็บตัวนี่สิครับ ชยนนท์ เจ็บไม่นานมั้งครับ กลุ่ม OPEC รวยจากราคาน้ำมันมาตั้งหลายปี เงินทุนสำรองก็มีเยอะ มีกองทุน Sovereign Wealth Fund อีกไม่น้อย น่าจะสู้ได้ในระยะยาวนะ เจษฎา ไม่แน่นะครับ เพราะจากข่าวที่ออกมา พี่ใหญ่ของ OPEC อย่างซาอุดิอาราเบีย เริ่มมีการตัดงบประมาณประเทศลงกว่า 20% และบริษัทผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งของโลกอย่าง ซาอุดิ อารามโค (Saudi Aramco) มีไอเดียว่า อาจจะเสนอขายหุ้น IPO บางส่วนของธุรกิจ ถ้าถามว่า ซาอุดิ อารามโค ใหญ่ขนาดไหน ก็ต้องบอกว่า ใหญ่กว่ายักษ์ใหญ่อย่าง EXXON ในสหรัฐฯเกิน 10 เท่า มีปริมาณน้ำมันสำรองถึง 2.6 แสนล้านบาเรล์ คิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 15% ของปริมาณน้ำมันสำรองของโลกทีเดียว ซึ่งถ้า IPO เข้าตลาดจริง ก็อาจจะกลายเป็นหุ้นที่มีขนาด Market Cap ใหญ่ที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ ชยนนท์ ที่บริษัทมีแนวคิดที่จะ IPO เนี่ย แสดงว่าระดมทุนทางอื่นไม่ได้สินะ จริงๆ ดูๆไป การที่ราคาน้ำมันตกต่ำอยู่แบบนี้ ไม่เป็นผลดีกับซาอุฯเลย ไม่รู้ว่าที่รัฐบาลซาอุฯมีค่าใช้จ่ายเกินดุลมาเกือบๆทศวรรษครึ่งจะพอไหม เจษฎา ที่คุณแบงค์บอกว่า ซาอุฯมีเงินทุนสำรองเยอะ Sovereign Wealth Fund ก็ยังเหลือเนี่ย เราเริ่มเห็นมันลดลงเรื่อยๆนะครับ ส่วนหนึ่งก็มาชดเชยการขาดดุลการค้าช่วงราคาน้ำมันต่ำนี่ละ แถมยังมีงบประมาณทหาร ทำสงครามในซีเรียอีกจำนวนไม่น้อย ถ้ายังใช้จ่ายเยอะแบบนี้ แล้วราคาน้ำมันตกต่ำแบบนี้ รายได้เข้ารัฐฯก็น้อยลงเรื่อยๆ ต้องดึงเงินทุนสำรองมาใช้เรื่อยๆ อาการน่าเป็นห่วงเหมือนกันนะ ชยนนท์ ผมว่าราคาน้ำมันน่าจะต่ำแบบนี้ไปอีกระยะหนึ่งเลยนะคุณเจท ไหนจะเรื่อง Shale Oil ไหนจะเรื่องทะเลาะและทั้งลดทั้งตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่าน ระยะยาวทั้งสองประเทศนี้จะไม่ร่วมมือกันพยุงราคาน้ำมันเหมือนในอดีต แล้วแข่งกับผลิตละก็ ไม่เห็นวี่แววว่ากำลังการผลิตจะลดลงได้เลยนะ เจษฎา IMF มีออกรายงานเมื่อไตรมาส 4 ปีที่แล้วว่า หากราคาน้ำมันยังต่ำอยู่แบบนี้ ซาอุดิอาราเบียอาจเจอวิกฤตครั้งใหญ่ภายใน 5 ปีเลยนะครับ ล่าสุด กูรูการลงทุนระดับโลกอย่าง Marc Faber บอกว่า วิกฤตอาจมาเร็วกว่านั้นนะ โดยมีเงื่อนไขว่า มันจะเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันต่ำกว่า $40 ไปอีกซัก 3 ปีข้างหน้า ชยนนท์ ถึงจุดนี้ ผมไม่กล้าเดาแล้วครับคุณเจท ตอนราคาน้ำมันลงมาแถวๆ $80 ก็มีนักวิเคราะห์บอกว่า เดี๋ยวเราก็เห็นมันขึ้นไปเหนือ $100 ขอให้ใจเย็นๆ มาวันนี้ราคาน้ำมันต่ำกว่า $40 กลายเป็นว่า มีคนพูดถึง $25 หรือต่ำกว่านั้นลงไปอีก แล้วเหตุผลมันก็เข้าท่าเสียด้วยสิ เจษฎา ผมเชื่อว่า ที่ราคาต่ำกว่า $40 อยู่ได้ไม่นานหรอกครับ ไม่มีผู้ผลิตคนไหนได้ประโยชน์ในระยะยาว ดังนั้น มันต้องดีดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว ผมเลยมองว่า ที่เขาลือกันว่า ซาอุดิอาราเบีย อาจถึงขั้นล้มละลาย ผมว่า ไม่เกิดครับ ไว้ราคาน้ำมันปลายปี มันยังอยู่ระดับนี้เราค่อยมาประเมินสถานการณ์กันอีกทีดีกว่าครับ ที่มาบทความ : จาก Post Today แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Mao Investor ตอน ทำไมน้ำมันราคาตก - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mao Investor เรื่องราวของน้องเม่าผู้เริ่มต้นโลดแล่นในตลาดทุน โดยมีความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ที่จะเป็นนางพญาปลวก แต่หนทางช่างยากลำบาก เธอจะตายในกองไฟระหว่างทางหรือไม่!! มาร่วมช่วยเชียร์และให้กำลังใจน้องเม่าน้อยกันนะคะ ^^
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
“ตึกระฟ้า กับ มหาวิกฤต” ฤาโลกกำลังจะเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจในรอบถัดไปอีกครั้งหนึ่ง? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 “ตึกระฟ้า กับ มหาวิกฤต” ฤาโลกกำลังจะเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจในรอบถัดไปอีกครั้งหนึ่ง? ในระยะหลังนี้ดูท่าแล้วเราจะได้ยินการคาดการณ์ถึงวิกฤตเศรษฐกิจกันบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผมนึกถึงความสัมพันธ์หนึ่งที่น่าสนใจซึ่งก็คือ ความสัมพันธ์ของ “ดัชนีตึกระฟ้ากับวิกฤตเศรษฐกิจ” หรือ Skyscraper Index โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวถูกคิดค้นโดย “Andrew Lawrence” นักวิเคราะห์จากธนาคารเพื่อการลงทุนที่มีอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ในสมัยปี 1999 ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดจากการสังเกตว่าเมื่อมีการสร้างตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในโลกหรือในประเทศเสร็จก็มักจะแสดงถึงจุดสูงสุดของวัฏจักรทางเศรษฐกิจพอดี และมักจะมีวิกฤตตามมาเป็นลำดับ โดยตึกระฟ้าก็มักจะสร้างเสร็จในช่วงหรือหลังวิกฤตเศรษฐกิจพอดี ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวถึงแม้จะมีหลายคนแย้งว่าไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเสมอไปในข้อเท็จจริงแต่ก็ดูเป็นความสัมพันธ์หนึ่งที่เราน่าติดตามอยู่ไม่น้อย โดยในอดีตที่ผ่านมาก็มีความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจริงอยู่หลายครั้ง ตัวอย่างเช่น Empire State Building ซึ่งเสร็จในช่วงปี 1931 ในช่วงวิกฤต The Great Depression ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Empire_State_Building Petronas Tower ซึ่งเสร็จในช่วงปี 1998 ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Petronas_Towers Burj Khalifa ซึ่งเสร็จในช่วงปี 2010 ในช่วงวิกฤต Dubai World ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Burj_Khalifa และยังมีวิกฤตเศรษฐกิจอื่นๆอีกมากมายที่มีความสัมพันธ์กับตึกระฟ้าที่สร้างเสร็จ ที่มา: http://www.ctbuh.org/LinkClick.aspx?fileticket=uXxzolM8loU%3D&language=en-GB ทำไมอยู่ดีๆผมถึงนึกความสัมพันธ์นี้นะหรอครับ นั่นก็เพราะในระยะหลังนี้ประเทศที่เสี่ยงจะเผชิญภาวะวิกฤตที่ได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อยๆดันเป็นกลุ่มประเทศเกิดใหม่อยู่หลายแห่ง เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน รัสเซีย เป็นต้น สืบเนื่องมาจากปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำหรือเรื่องของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และเมื่อได้สังเกตแผนการก่อสร้างตึกระฟ้าที่สูงติดอันดับโลกใหม่ๆที่เกิดขึ้นและกำลังก่อสร้างอยู่ก็พบว่ามีอยู่หลายโครงการด้วยกันที่อยู่ในกลุ่มประเทศดังกล่าว ทั้งซาอุดิอาระเบีย จีน หรือรัสเซีย โดยในปี 2015 ที่ผ่านมาจีนมีการก่อสร้างอาคาร Shanghai Tower เสร็จ โดยสูงถึง 632 เมตร ซึ่งปัจจุบันสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก Burj Khalifa แห่งดูไบเท่านั้น โดยช่วงปี 2015 ตลาดหุ้นจีนเองก็เกิดภาวะฟองสบู่แตกรอบใหญ่เช่นกัน ส่วนรัสเซียเองก็มีแผนกำลังก่อสร้างตึก Lakhta Center ที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กซึ่งสูงถึง 462 เมตรและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2018 และจะกลายเป็นตึกที่สูงที่สุดในยุโรป ส่วนโครงการที่กำลังจะทำลายสถิติตึกที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่นั้นอยู่ที่ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีชื่อว่า Jeddah Tower (ชื่อเดิม Kingdom Tower) โดยมีความสูงถึง 1,008 เมตร และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2019 ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Jeddah_Tower เห็นแบบนี้แล้วก็เป็นที่น่าจับตาอยู่เหมือนกันนะครับว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงมากแค่ไหน โดยเมื่อดูในเรื่องของราคาน้ำมันที่ตกต่ำซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับประเทศอย่างรัสเซียและซาอุดิอาระเบียแล้วก็น่าคิดอยู่ไม่น้อย โดยทาง CNBC ได้มีการวิเคราะห์และคาดการณ์ว่าถ้าราคาน้ำมันมีการตกต่ำถึงระดับ $20 ต่อ barrel และแช่อยู่ระดับนั้นต่อเนื่อง ก็มีแนวโน้มที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของซาอุดิอาระเบียจะหมดลงภายในเดือนตุลาคม ปี 2018 ได้ ส่วนถ้าน้ำมันอยู่ที่ระดับ $30 ต่อ barrel ก็มีแนวโน้มที่ทุนสำรองระหว่างประเทศจะหมดภายในเดือนพฤษภาคม ปี 2019 ซึ่งช่วงดังกล่าวก็ใกล้เคียงกับปีที่ตึก Jeddah Tower เสร็จนั่นเอง โดยอาจจะก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหญ่ในครั้งถัดไปได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็เป็นที่น่าติดตามต่อไปว่าระดับราคาน้ำมันจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้หรือไม่ ซึ่งถ้าฟื้นตัวได้จริงๆแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตก็จะน่าจะลดน้อยลง ประมาณการว่าถ้าน้ำมันอยู่ในระดับ $20 ต่อบาร์เรล ทุนสำรองฯของซาอุดิอาระเบียจะหมดภายในปี 2018 ประมาณการว่าถ้าน้ำมันอยู่ในระดับ $30 ต่อบาร์เรล ทุนสำรองฯของซาอุดิอาระเบียจะหมดภายในปี 2019 ประมาณการว่าถ้าน้ำมันอยู่ในระดับ $40 ต่อบาร์เรล ทุนสำรองฯของซาอุดิอาระเบียจะหมดภายในปี 2020 ที่มา: http://www.cnbc.com/2016/01/31/saudi-arabia-struggles-to-cope-with-cheap-oil.html สำหรับประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่างตึกระฟ้าและวิกฤตเศรษฐกิจผมมองว่าเราคงสามารถใช้เป็นแค่แนวทางหนึ่งในการเตือนสติเราให้ระมัดระวังในการลงทุนได้มากขึ้น ซึ่งการที่มีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นก็มักจะแสดงถึงความเจริญขั้นสูงของเศรษฐกิจ ซึ่งบ่อยครั้งเป็นการสะท้อนถึงวัฏจักรเศรษฐกิจขาขึ้นที่เต็มที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ความหมายว่าจะไม่มีโอกาสดีๆให้เราลงทุนเลย เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมาที่ว่า “ทุกวิกฤต ย่อมมีโอกาสเสมอ” ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการลงทุนในทุกสถานการณ์ครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Vorayuth Investment Strategist ไฟแรงจาก INFINITI Global Investors ที่มาพร้อมกับ Passion ในด้านการเงินการลงทุนกับดีกรีรางวัลจากการแข่งขันทางด้านการเงินลงทุนตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยและมัธยม อาทิ รางวัลชนะเลิศ CFA Institute Research Challenge in Thailand 2014-2015 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 SET Investment Star จาก YFS 2014 และรางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับธปท.
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไม่หวั่นโรคระบาด หมอเดินหน้าซื้อหุ้นละ 21.49 บาท - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 รายงานถึง ณ วันที่ 20 มกราคม 2559 เข้าซื้อรวม 27 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 580 ล้าน ที่ราคาเฉลี่ย 21.49 บาท/หุ้น สัดส่วนหลังเข้าซื้อ ณ ปัจจุบัน: 19.11 % ผู้ซื้อ: นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ -กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การซื้อเพิ่มครั้งนี้เป็นสัดส่วนเพียง 0.17% ถือว่าเป็นสัดส่วนที่มีไม่มีนัยสำคัญทีเดียวกับจำนวนหุ้นทั้งหมด (2,100 ล้านหุ้น) และมีการโอนหุ้นออกให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกท่านคือ น.ส.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ (ทายาท ผู้ครองตำแหน่งเศรษฐีหุ้นอันดับ 10 ปี 2015) ในวันเวลาใกล้เคียงกัน ราคาหุ้นล่าสุดของ BDMS ณ สิ้นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 21.10 บาท ปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากราคาเฉลี่ยที่คุณหมอปราเสริฐเข้าซื้อล่าสุด ในขณะที่ ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 (คากว่าจะประกาศช่วงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นี้) จะมีการหดตัวลงเล็กน้อยของกำไร เมื่อเทียบ QoQ และค่อนข้าง Flat เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับปีก่อนหน้า โดย bloomberg consensus คาดการณ็ว่าจะโตประมาณ 5% YoY ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th – See more at: https://www.finnomena.com/z-admin/major-move/2015/11/09/04/prasert-ba/#sthash.e357VOoT.dpuf แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Ask Guru Pick - กองทุนหุ้นจีน ซื้อได้เมื่อไหร่บอกด้วย(จิ) - FINNOMENA 27 ก.ย. 2560 ตลาดหุ้น จีน ลงมามากขนาดนี้ (-20% ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว) เชื่อว่าหลายท่านคงอยากทราบทั้งที่มีสัดส่วนการลงทุนอยู่ก่อนแล้วรอถัว (เศร้า) หรือกำลังจะเข้าลงทุน (ยิ้ม?) โดยเริ่มสงสัยจากคุณ Paisarn Naprasert สอบถามว่า “กองทุนหุ้นจีนสามารถเข้าลงทุนได้แล้วหรือยัง และมีกองทุนไหน น่าสนใจบ้าง” แถมด้วยคำถามเพื่อความกระจ่างจากคุณ Phuwanate Srithong “TMBCHEQ เป็น H-share หรือ A-share ครับ แล้วน่าสนใจไหมครับ มีกองเทียบเคียงไหนบ้าง ครับ ถ้าลงทุนใน TMBCHEQ ควรระวังเรื่องอะไรบ้างครับ” ยังไม่หมด ตามด้วยคุณ Chaivat Jirapummin “อยากทราบว่า h-share มี downside risk มากไหม” กูรูหมอนัท คลินิกกองทุน จึงจัดให้เพื่อความกระจ่าง ตามด้านล่างเลย TMBCHEQ เป็น H-share รึ A-share ครับ แล้วน่าสนใจไหมครับ มีกองเทียบเคียงไหนบ้าง ครับ ถ้าลงทุนใน TMBCHEQ ควรระวังเรื่องอะไรบ้างครับ – TMBCHEQ เป็น A-share ครับ ที่จะไปลงทุนกับหุ้น 50 ตัวแรก(ตามมูลค่าตลาด) ความเสียงของตลาดหุ้นจีน ก็คือความผันผวนที่เกิดจากการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย บริษัทจดทะเบียนที่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าไหร่นัก และสภาพตลาด เศรษฐกิจของจีนที่กำลังมีการปฏิรูปครับ ดังนั้นการลงทุนใน A-share ต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าปกติครับ h-share มี downside risk มากไม้ – จากสภาพตลาดปัจจุบัน ผมมองว่าอาจจะยังเห็นการปรับตัวลดลงได้อีกครับ แต่คิดว่าไม่มาก เนื่องจากมูลค่าหุ้นของ h-share ดูแล้วค่อนข้างถูกครับ – ถึงแม้ว่าแนวโน้มของผลกำไรบริษัทใน H-share จะดูไม่สูง แต่เงินปันผลก็ยังมีให้ในระดับที่น่าพอใจ ดังนั้น ถ้าลงทุนแล้วถือนาน ๆ ก็น่าสนใจมากครับ ส่วนกองทุนที่คล้าย กับ TMBCHEQ ก็มี SCBCHA ครับ ที่ไปลงทุนใน A-share แต่เป็น China AMC CSI300 Index ETF แทนครับ ส่วนกองทุนที่น่าสนใจนั้น ผมมองว่าการลงทุนในจีน ถ้าจะลงทุนในกองทุน Passive Fund หรือ ตามดัชนีตลาดนั้น ค่อนข้างจะผันผวนพอสมควร การลงทุนในตลาดที่ยังไม่ พัฒนา ผมคิดว่ากองทุน Active Fund น่าจะเหมาะสมกว่าครับ ส่วนตัวเลือกนั้น ผมมองไว้ 2 ตัวคือ 1. TMBCOF ที่เน้นการลงทุนใน New China ครับ หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนครับ ถือว่าน่าสนใจมากทีเดียว 2. K-CHINA จะเน้นการลงทุนในหุ้นพื้่นฐานดี ตามสไตล์ Fedelity ครับ ซึ่งจะลงทุนทั้ง A-Share และ H-Share ซึ่งตอนนี้สัดส่วนน่าจะ 30/70 ครับ ปล. ทั้งสองกองทุนเป็นกองทุนที่ลงทุนใน Greater China ครับ (ประเทศจีนทั้งหมด) แต่สัดส่วนจะปรับอย่างไรขึ้นกับ ผจก. กองทุนครับ แต่อย่างไรก็ตาม กองทุนที่ดีที่สุดไม่มี เนื่องจากบางปีกองทุนบางกองทุนก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดี สลับกันไป และค่าธรรมเนียมก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นเวลาเลือกก็ต้องตรวจสอบ และ หากองทุนที่ถูกใจเรา ได้ผลตอบแทนที่ตรงตามเป้าหมายของเราครับ แต่ขอได้โปรดอย่าลืมว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาการลงทุนนั้นๆให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจ เราในฐานะ FINNOMENA หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้่เป็นส่วนหนึ่งในทุกขั้นตอนก่อนการลงทุนของท่านเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดของคุณครับ โดยฟังก์ชั่น Ask Guru เป็นอีกหนึ่งการใข้งานที่แอดมึนเชื่อตอบโจทย์นักลงทุนได้โดยตรงเลย (ก็แน่ละให้ตั้งคำถามเองเลยนี่นา จะไม่ตรงได้ไง) https://www.finnomena.com/ask-guru ซึ่งเรามีเหล่า กูรูแวะเวียนกันมาคลายความสงสัยให้เป็นประจำอยู่แล้ว อาจจะทันใจบ้างไม่ทันใจบ้าง ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ และในช่วงที่ผ่านมาเห็นมีคำถามประมาณนี้เลย ขอรวบรวมบทความที่น่าสนใจไว้ให้อ่านต่อเนื่องกันเลยครับ จีนประกาศลดค่ากลางค่าเงินหยวน เพื่อ? โดย Mr.Messenger https://www.finnomena.com/mr-messenger/market-insights/2016/01/12/14/china-devalue-yuan/ จีน จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “การลงทุน” เปลี่ยนสมดุลของโลกได้หรือไม่? https://www.finnomena.com/mr-messenger/market-insights/2015/12/29/23/china-foreign-investment/ ก้าวเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ของ ‘เงินหยวน’ กับการเข้าคำนวณใน ‘SDRs’ https://www.finnomena.com/mr-messenger/market-insights/2015/12/01/19/yuan-in-sdrs/ การลงทุนในตลาดเกิดใหม่ รักแล้วรอหน่อย โดย Macro view https://www.finnomena.com/macroview/market-insights/2016/02/11/18/wait-for-the-new-emerging-market-era/ Big Correction or Bear Market? โดย Guest Guru – พี่วิน พรหมแพทย์ https://www.finnomena.com/win/market-insights/2016/02/10/18/big-correction-or-bear-market/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ทองขึ้นรอบนี้ ควรลงทุนหรือไม่? พื้นฐานมาดีจริง หรือสับขาหลอก ? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 จากที่ผมได้แนะนำให้ trading buy ทองไปเมื่อต้นเดือน ม.ค. 16 (อ่านได้ที่ “หุ้นถล่มทั่วโลกหรือทองจะมา ?” ซึ่ง ณ ขณะนั้นราคาอยู่เกือบ $1,100 ต่อออนซ์ มาถึงวันนี้ ราคาทองดีดตัวมาแตะ $1,250 แล้ว ซึ่งปรับขึ้นจากจุดต่ำสุดเกือบ 20% ณ จุดนี้ถึงเวลากลับไปดูพื้นฐานของทองคำกันจริงจังแล้วครับว่างานนี้พื้นฐานมาดีจริง ๆ หรือจะสับขาหลอกให้เจ็บใจกันอีก รูปที่ 1 Gold Demand & Supply | Source: World Gold Council ความต้องการทองคำในไตรมาส 4 / 2015 เริ่มปรับเพิ่มขึ้นโดยรวม 4% ที่โดดเด่นมากคือความต้องการทองคำของธนาคารกลางที่เพิ่มมาถึง 25% โดยเฉพาะจีนที่สะสมทองคำมากขึ้นและลดการถือครองดอลลาร์ในทุนสำรองลง ในส่วนของทองคำเพื่อการลงทุนก็ปรับเพิ่มขึ้นมาเช่นกัน แต่สำหรับการถือครองทองคำของ ETF นั้นยังลดลงในช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ในส่วนของปริมาณทองคำที่ป้อนสู่ตลาดโดยรวมนั้นปรับลดลงเยอะทีเดียวประมาณ 10% เท่ากับว่าเราเริ่มเห็น Demand โต แต่ Supply หดแล้วครับ ซึ่งภาวะเช่นนี้นับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่เป็นบวกต่อราคาทองคำ รูปที่ 2 การถือครอง ETF ทองคำทั่วโลก | Source: World Gold Council การถือครอง ETF ทองคำทั่วโลกที่เคยเป็นตัวชูโรงที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งแรงในอดีต แต่ในปี 2015 โดยรวมจำนวนตันถือครองทองคำก็ยังจัดว่าลดลงต่อเนื่อง รูปที่ 3 ปริมาณการถือครองทองคำของกองทุน SPDR Gold Trust | Source: Bloomberg แต่เดี๋ยวก่อน พอมาดูการถือครองทองคำของ ETF กองที่ใหญ่ที่สุดปรับเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 70 ตันโดยล่าสุดมีการถือครองอยู่ที่ราว 600 ตันจากที่มีแนวโน้มทยอยปรับลดลงมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่เราได้เห็น Demand ตรงนี้ เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยบวกเต็ม ๆ ณ จุดนี้อีกเช่นกันครับ รูปที่ 4 ปริมาณการถือครองทองคำของธนาคารกลางทั่วโลก | Source: World Gold Council อีกเรื่องที่น่าสนใจคือการทยอยเก็บทองของธนาคารกลางรัสเซีย และจีน ซึ่งเห็นได้ชัดเลยโดยเฉพาะครึ่งปีหลังที่ผ่านมามีการซื้อทองต่อเนื่องทุกเดือน ๆ ละ 30 – 40 ตัน ผมมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ De-dollarization ลดความสำคัญของเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจโลกด้วย โดยการลดทุนสำรองที่เป็นสกุลดอลลาร์ และหันมาเก็บทองคำเพิ่มขึ้นแทน รูปที่ 5 สัดส่วนการถือครองทองคำของธนาคารกลางทั่วโลกเมื่อเทียบกับทุนสำรองทั้งหมด | Source: World Gold Council แล้วจีนกับรัสเซียจะเก็บทองต่อเนื่องไหมในอนาคต ? ผมเชื่อว่ามีอีกครับ เพราะดูจากรูปที่ 5 ณ ปัจจุบันจีนมีทองคำเพียง 2% ของทุนสำรองเท่านั้น ขณะที่รัสเซียเองก็มีเพียง 13% ต่างกับยุโรปหรืออเมริการที่มีทองสูงถึง 60 – 70% เลยทีเดียว รูปที่ 7 US Dollar Index | Source: Reuters Bisnews อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ US Dollar Index ซึ่งเริ่มชะลอการแข็งค่า ซึ่งต่างจากเดิมที่ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องมาเป็นปีจากการคาดการณ์ว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ย ซึ่ง ณ เวลานี้ตลาดเริ่มเปลี่ยนมุมมองว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยได้ไม่มาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะจีนดูจะไม่เอื้ออำนวยมากนัก ซึ่งค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนก็เป็นอีกปัจจัยชั้นดีที่ช่วยหนุนราคาทอง รูปที่ 8 ราคาทอง Daily | Source: Reuters Bisnews ราคาทองทะลุแนวต้านสำคัญที่ 1220 มาได้แล้ว ทำให้แนวต้านเปลี่ยนเป็นแนวรับ และถ้าราคาทองขึ้นอีก 3% จะทำให้ทองขึ้นจากจุดต่ำสุด 20% เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งทางเทคนิคจะเรียกว่าการเข้าสู่ Bull Market อย่างไรก็ตาม RSI อยู่ในโซนที่สูงมากทีเดียว ซึ่งเป็นไปได้เช่นกันที่อาจได้เห็นการปรับฐานระยะสั้น ซึ่งผมมองเป็นการแวะรับผู้โดยสารขาขึ้นรอบสุดท้าย รูปที่ 9 ราคาทอง Weekly | Source: Reuters Bisnews ถ้าดูในกรอบสัปดาห์ RSI ยังไม่ถึงกับ peak มากสะท้อนว่าอาจเห็นราคาทองไป test แนวต้านที่ $1,300 ทีเดียวก็เป็นได้ นอกจากนี้ในกราฟรายสัปดาห์ยังเห็นมี Bullish Divergence ลูกใหญ่ จากการที่ราคาทองตั้งแต่ปี 2013 – 15 ทำ new low ต่อเนื่อง ขณะที่ RSI ไม่ทำ new low แต่เป็น higher low มาตลอด จึงน่าจะเป็นการ confirm การกลับ Trend ของราคาทองรอบนี้ครับ สรุป ผมแนะนำใครยังไม่มีทองคำควรเข้าไม้แรกเลย ถ้าราคาย่อลงมาให้ทยอยเข้าได้อีก เพราะปัจจัยพื้นฐานกลับมาแล้ว ถ้าไม่ย่อมากก็ควรทยอยเข้าลงทุน และมีอย่างน้อย 10% พอร์ตเพื่อหาผลตอบแทนให้กับพอร์ตในยามที่ตลาดหุ้นโลกกำลังผันผวนขนาดนี้ซึงทองคำบ่อยครั้งถูกใช้เป็นสวรรค์ที่ปลอดภัย (Safe Heaven) ของนักลงทุนครับ รายงานและสังเคราะห์โดย FundTalk คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
การลงทุนในตลาดเกิดใหม่ รักแล้วรอหน่อย - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ในช่วง 1-2 ปีนี้ ผมได้เห็นกองทุนต่างประเทศออกมาหลายกองและหลากหลายประเภท คำถามที่ได้รับบ่อยๆ ได้แก่ ตลาดใดหรือกองทุนประเภทไหนที่น่าสนใจลงทุน บทความนี้ จึงขอมาทำความรู้จักตลาดต่างประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่และประเภทของกองทุนที่น่าสนใจในปี 2016 มาฝากกัน แม้ตอนนี้หาใครคิดจะลงในตลาดดังกล่าว ต้องร้องเพลงของวงชาตรีว่า… รักแล้วรอหน่อย.. เนื่องจากราคาถือว่าต่ำจนน่าสนใจ ทว่าอาจต้องรออีกหน่อยให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เข้าที่เข้าทาง แต่ระยะปานกลางตลาดนี้ยังไงก็กลับมา ผมคาดว่าน่าจะใช้เวลาสัก 6 เดือนถึง 2 ปีครับ ก่อนอื่น ขอย้อนความทรงจำกันสักนิดก่อน หลายคนคงจะนึกถึงตลาดสุดฮิตที่มักจะกล่าวถึงกันจนติดหู คือ BRIC ที่ถึงแม้วันนี้ได้เปลี่ยนเป็นตัวย่ออื่นๆมากมาย ทว่า BRIC ยังถือว่าคลาสสิกอยู่ อันประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ที่เคยเป็นดาวรุ่ง หรือ ตัวแทนประเทศเกิดใหม่ของการลงทุน โดยระหว่างปี 2003 ถึง 2007 ดัชนี MSCI Emerging Markets Index ซึ่งมีประเทศทั้งสี่เป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 43 มีผลตอบแทนต่อปีถึงร้อยละ 36 ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนเพียงแค่ถือกองทุนดัชนีก็สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงมากอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ผลตอบแทนของดัชนี MSCI Emerging Markets Index ดีอยู่แค่ปีเดียวคือปี 2009 หลังจากนั้น ก็ร่วงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากองค์ประกอบหลักของดัชนีดังกล่าวกระจุกตัวอยู่กับบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจของรัฐ ขนาดใหญ่ซึ่งมักจะพึ่งพาตลาดส่งออกของสหรัฐหรือราคาของสินค้าโภคภัณฑ์แทนที่จะเป็นอุปสงค์ภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ ปัจจัยหลักของความสำเร็จในการลงทุนต่อจากนี้ไป จึงต้องมุ่งไปสู่การหาตลาดใหม่ที่จะทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ ซึ่งรวมถึงตลาด Frontier Market อาทิ ปากีสถาน เคนย่า และเวียดนาม และดัชนีพันธบัตรรัฐบาลจาก JPMorgan ของตลาดดังกล่าวในรูปของเงินดอลลาร์ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงสุดถึงร้อยละ 17 4 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ในปี 2016 หากจะพิจารณาการลงทุนตราสารทางการเงินในประเทศเกิดใหม่ ไฮไลต์ของการลงทุน ควรต้องมุ่งไปยัง 4 เซกเมนต์ ดังนี้ หนึ่ง ตลาดเกิดใหม่หรือรายอุตสาหกรรมที่เน้นการบริโภค โดยนับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา รายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค อาทิ การรักษาพยาบาล อาหารและของใช้ในครัวเรือน และ ร้านค้ารายย่อยรวมถึงบันเทิงและสันทนาการ ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด โดยตลาดในประเทศโคลัมเบีย และตุรกี ซึ่งมีสัดส่วนของรายอุตสาหกรรมดังกล่าวอยู่สูง ต่างได้รับผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 10 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหากซื้อกองทุนประเภทตลาดเกิดใหม่แบบทั่วๆไป ก็จะได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่านี้มาก เนื่องจากประกอบด้วยรายอุตสาหกรรมเหล่านี้เพียงร้อยละ 18 และประกอบด้วย 2 ประเทศนี้เพียงร้อยละ 5 เท่านั้น สอง เลือกตลาดที่มีขนาดไม่ใหญ่นักและประเภท Frontier Market โดยในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องพึ่งพามาตรการ QE ในการเจริญเติบโต ประเทศที่มีขนาดเล็กลงมาหน่อย อย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เม็กซิโก และ ตุรกี ต่างก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วบนพื้นฐานการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเมืองที่ค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ โดยราคาหุ้นของตลาดฟิลิปปินส์และตลาดเม็กซิโกซื้อขายกันที่ 20 และ 25 เท่าของกำไร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเพียง 14.6 เท่าสำหรับตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศที่มีกำลังซื้อสูงๆ ราคาหุ้นดังกล่าวก็ไม่ได้แพงมากนักแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น หุ้นเนสท์เล่ อินเดีย ซึ่งปัจจุบันมีราคามากกว่า 30 เท่าของกำไรที่คาดการณ์ในอนาคต ในปี 2000 ราคาหุ้นยังแพงกว่าปัจจุบันอยู่มาก อย่างไรก็ดี ผลกำไรได้เติบโตกว่า 9 เท่า นับจากช่วงเวลานั้น ในขณะที่ราคาหุ้นกลับเติบโตแบบก้าวกระโดดถึงกว่า 14 เท่า ซึ่งนับเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความสำคัญของการเติบโตของกำไรต่อราคาหุ้น ที่มีเหนือกว่าระดับราคาต่อกำไร หากสนใจตลาดที่ราคายังไม่สูงมาก ตลาดอินโดนีเซียนับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เนื่องจากยังมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากและประชาชนจำนวนมากแถมยังอายุน้อย แม้จะมีระดับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่มากและค่าเงินที่อ่อน ทว่านับเป็นช่วงเวลาที่ตลาดยังไม่แพงเหมาะกับการหาหุ้นที่มีพื้นฐานดีไว้ลงทุนในระยะยาว นอกจากนี้ ตลาด Frontier Market ซึ่งหมายถึงตลาดที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทว่ามีตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นที่ ยังไม่พัฒนามากเท่าไรนัก อย่าง ศรีลังกา เวียดนาม และ บางประเทศในแอฟริกา ยังคงอยู่ในช่วงต้นของการพัฒนาประเทศ อีกทั้งการบริโภคยังสามารถเติบโตไปอีกมาก จึงทำให้มีศักยภาพที่จะเติบโตในอนาคตได้อีก สาม ตลาดที่ยังมีราคาถูกอยู่ แน่นอนว่า ณ วันนี้ ได้แก่ ตลาดในประเทศกลุ่ม BRIC ซึ่งกระแสเงินทุนไหลออกเกือบตลอดในปีที่แล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับยุโรปแล้ว ประเทศเหล่านี้มีผลกำไรที่ไม่แกว่งมากนัก ที่สำคัญ ณ ระดับราคาปัจจุบัน เริ่มมีผู้จัดการกองทุนหลายท่านให้ความสนใจ ทั้งนี้ หุ้นที่ราคาตอนนี้ถือว่าลงมาจนถือว่าน่าสนใจเข้าลงทุนอยู่ 3 ตัวในกลุ่ม BRIC ที่น่าสนใจ ได้แก่ Gazprom บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซียที่ราคาซื้อขายกันเหลือเพียงไม่ถึง 3 เท่าของกำไร และรัฐบาลถือหุ้นอยู่ร้อยละ 50 หุ้น Petrobras ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานขนาดใหญ่ของบราซิล ที่ราคาหุ้นลดลงไปเป็นอย่างมากจากข่าวคอร์รัปชั่นของประธานาธิบดี เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงที่ราคาน้ำมันโลกที่ราคาที่ลดลงใกล้ตุดต่ำสุดเต็มที และ หุ้น Lenovo ของจีน ที่ผลิตคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนป้อนตลาดเอเชีย ซึ่งยังมีความต้องการสินค้าเหล่านี้อยู่สูงไปอีกพักใหญ่ ท้ายสุด ตลาดพันธบัตร โดยนับตั้งแต่เมื่อปี 2010 กระแสเงินกว่าสองแสนล้านดอลลาร์ไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ เพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรสหรัฐ โดยผลตอบแทนจากพันธบัตรของรัสเซีย บราซิล และตุรกี ในรูปของเงินดอลลาร์สูงกว่าพันธบัตรสหรัฐถึงมากกว่าร้อยละ 3 ด้วยการที่ตลาดรับรู้ปัญหาของประเทศเหล่านี้ไปมากแล้ว นอกจากนี้พันธบัตรในประเทศตลาดเกิดใหม่ยังเป็นโอกาสให้เข้าถึงการลงทุนใหม่ๆ อย่างอุตสาหกรรมรถไฟในจอร์เจียและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปานามา ที่นักลงทุนไม่สามารถเข้าถึงผ่านตลาดหุ้นอีกด้วย โดยสรุป ท่ามกลางกองทุนรวมต่างประเทศที่ออกจำหน่ายมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านผู้อ่านอยากจะหาการลงทุนที่มีไว้ในระยะเวลาปานกลาง สามารถมองหาตลาดและรายอุตสาหกรรมที่นำเสนอในบทความนี้ประกอบในการตัดสินใจได้ แต่อย่าลืมว่า ‘หากรัก EM แล้ว.. ก็ต้องรอหน่อย’ นะครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน MacroView อาจารย์ด้านการเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัย ให้คำปรึกษาการลงทุน และนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ บริหารความเสี่ยง ทั้งในประเทศ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางเยอรมัน
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Big Correction or Bear Market? - FINNOMENA คำถามที่ฮิตมาก คือ ตลาดหุ้นโลกปั่นป่วนรอบนี้ เป็นแค่การปรับตัวลงระยะสั้น หรือ เข้าสู่ตลาดหมีแล้ว 13 มิ.ย. 2565 คำถามที่ฮิตมาก คือ ตลาดหุ้นโลกปั่นป่วนรอบนี้ เป็นแค่การปรับตัวลงระยะสั้น หรือ เข้าสู่ตลาดหมีแล้ว ย้อนกลับไปในอดีต ตลาดหุ้นโลกมีช่วงหมี หรือ Bear Market หนักๆ อยู่ 3 รอบ คือ – วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1997-1998 – Dot Com Bubble ปี 2000 – 2001 – Subprime & Hamburger Crisis ปี 2008 จะสังเกตว่า ทั้ง 3 รอบ ล้วนผูกกับปัจจัยเศรษฐกิจทั้งสิ้น และหากย้อนไปไกลกว่านั้น ในช่วงปี 1970s โลกเรามีวิกฤตที่เกิดจาก “ราคาน้ำมันแพง” จึงเป็นเรื่องแปลกมาก ที่ความปั่นป่วนของตลาดหุ้นในช่วงต้นปี 2016 นี้ เกิดจากความกังวลปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก “ราคาน้ำมันถูก” !! ในภาวะที่น้ำมันถูก ประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอยู่ในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งรายได้จะหดหายทำให้ขาดดุลงบประมาณ แต่หลายประเทศในแถบนั้น ได้เก็บเงินสำรองไว้ในช่วงน้ำมันแพง จึงน่าจะประคับประคองสถานการณ์ไปได้ เพียงแต่มีปัจจัยลบที่ยังกดดันตลาด คือ บรรดากองทุนเพื่อความมั่งคั่ง (Sovereign Wealth Fund) อาจจะต้องขายหุ้นที่ถืออยู่เพื่อเอาเงินมาอุดหนุนงบประมาณของรัฐ อีกกลุ่มประเทศที่กำลังเจ็บตัวคือกลุ่มผู้ส่งออก Commodities ในแถบลาตินอเมริกา รัสเซีย ออสเตรเลีย และบางประเทศในเอเชีย ที่รายได้หดหายทำให้ขาดดุลงบประมาณเช่นกัน บางประเทศ เช่น เวเนซุเอลา ถึงกับทรุดจริง แต่เชื่อว่าจะไม่ลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก visit แต่อย่าลืมว่า ในภาวะที่ “ราคาน้ำมันถูก” มีคนที่ได้ประโยชน์เยอะมาก ในภาพใหญ่ ประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมัน ได้ดุลการค้ามากขึ้น ในระดับธุรกิจ กิจการที่ใช้น้ำมันเยอะ เช่น สายการบิน หรือ ขนส่ง ได้ประหยัดต้นทุน ในระดับครัวเรือน คนอเมริกันและในอีกหลายประเทศที่ชอบขับรถ ย่อมมีเงินเหลือในกระเป๋าไปจับจ่ายให้สอยมากขึ้น ในประเทศไทยเอง ปริมาณการใช้น้ำมันขายปลีกในปี 2015 เพิ่มขึ้นถึง 40%!!! ส่วนจีนที่เป็น “ต้นเหตุ” ของความปั่นป่วนทั้งปวง เป็นที่รับรู้กันแล้วว่า เศรษฐกิจ “ชะลอ” ตัวชัดเจน จากที่เคยโตเกิน 7% เหลือแค่ 6 ปลายๆ ซึ่งถ้ามองแบบเป็นกลาง เศรษฐกิจทุกประเทศมี “รอบ” ของมัน จีนโตเร็วจากการลงทุน หรือ Investments มาหลายปีแล้ว เหมือนคนวิ่งมาราธอน ควรต้องมีพักบ้าง ช่วงนี้จีนจึงกำลังพักด้วยการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ จากที่เคยพึ่งพา Investments หันมาพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ หรือ Domestic Consumption ซึ่งการปรับตัวแบบนี้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่หากทำได้สำเร็จ จีนจะเป็นตลาดแห่งการบริโภคขนาดยักษ์ คล้ายกับสหรัฐฯ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่เชื่อว่าเจ๋งกว่า เพราะผู้บริโภคของจีนคือชนชั้นกลางที่มีเพิ่มขึ้นทั้ง “รายได้” และ “จำนวนคน” จะกลายเป็น The Next Growth Driver ของเศรษฐกิจโลกในอนาคต เศรษฐกิจสหรัฐฯ โตดีมากอย่างต่อเนื่อง อัตราการว่างงานเหลือแค่ 5% ถือว่าต่ำมาก คนอเมริกันมีงานทำก็มีรายได้ไปใช้จ่ายมากขึ้น แถมราคาน้ำมันถูก ยิ่งมีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น ดังนั้น ภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังดีอยู่ ส่วนยุโรปก็กำลังฟื้นชัดเจน อัตราการว่างงานลดลง ธนาคารพาณิชย์เริ่มปล่อยกู้มากขึ้น แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นมีมากขึ้น ธุรกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ได้แก่ ยานยนต์ และ เครื่องจักรอุตสาหกรรม แต่การฟื้นตัวภายในยุโรปเองก็ช่วยบรรเทาไปได้บ้าง สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็กำลังฟื้นตัวเช่นกัน แต่อาจจะช้ากว่าเพื่อนสักหน่อย อัตราเงินเฟ้อยังไม่ถึงเป้า 2% แต่ก็นับว่าดูดีกว่าช่วงก่อนเยอะ จะเห็นได้ว่า ภาพรวมในด้าน “ปัจจัยเศรษฐกิจโลก” ในขณะนี้ไม่ได้แย่ นับว่าค่อนข้างดีด้วยซ้ำ จึงคิดว่า โอกาสที่ตลาดหุ้นโลกจะเข้าสู่ “Bear Market” ด้วยเหตุปัจจัยทางเศรษฐกิจ น่าจะมีน้อย ความปั่นป่วนของตลาดหุ้นโลกในช่วงนี้ ที่มีจุดเริ่มต้นจากตลาดหุ้นจีน จึงน่าจะเกิดจากอารมณ์หวาดกลัว (Fear) ของผู้ลงทุน มากกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ สิ่งที่ไม่มีใครบอกได้ คือ “จะลงไปต่ำสุดที่ไหน” เพราะ Fear เป็นอารมณ์ของคน โดยธรรมชาติของอารมณ์ก็แปรปรวนง่าย วันดีคืนดีอาจจะมองโลกแง่ดี เปลี่ยนจาก Fear เป็น Greed ได้แบบข้ามคืน ในชีวิตการบริหารกองทุนของผม ผ่านวิกฤตมา 2.5 รอบ (คือ เริ่มทำงานตอนเกิดต้มยำกุ้งพอดี จึงได้สัมผัสแค่ครึ่งหนึ่ง) แต่ได้เห็นช่วงตลาดลงแรงๆ แบบ Big Correction หลายรอบ จึงเริ่ม “ชิน” กับบรรยากาศที่ผู้คนรอบข้างจะรู้สึกหวาดกลัวและพร้อมจะเทขายหุ้นเพราะกลัวจะลงต่อ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา บรรยากาศขมุกขมัวแบบนี้แหละ คือ “โอกาส” ของนักลงทุนระยะยาวที่จะได้เก็บของดีราคาถูก สำหรับคนที่ติดดอยอยู่ ผมไม่แนะนำให้ขายล้างพอร์ตเพื่อถือเงินสด เพราะจะพลาดโอกาสหากตลาดกลับมาเป็นขาขึ้น แต่หากพอมีเวลาและข้อมูล แนะนำให้ทำการบ้านเพื่อพิจารณาโยกเงินลงทุนไปยังตลาดที่น่าจะฟื้นได้ดี ซึ่งในความเห็นของผม มี 2-3 กลุ่มย่อย 1. ตลาดที่น่าจะฟื้นด้วยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ยุโรป และ ญี่ปุ่น 2. ตลาดที่น่าจะฟื้นด้วยระดับราคาหุ้นที่ลงมาถูกมากเกินไป ได้แก่ H-Shares ของจีน และประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย 3. ตลาดที่น่าจะฟื้นได้ในระยะสั้นด้วยปัจจัยทางเทคนิค แต่ระยะยาวอาจจะไม่ได้ไปไกลนัก ได้แก่ หุ้นสหรัฐฯ ย้ำอีกครั้งว่า ไม่มีใครรู้ว่าจุดต่ำสุดอยู่ที่ไหน และ ไม่มีใครรู้ว่าตลาดหุ้นจะฟื้นตัวเมื่อไหร่ เพราะตลาดหุ้นปั่นป่วนด้วย “อารมณ์” มากกว่า “เหตุผล” ดังนั้น หากซื้อลงทุนแล้วราคาลงต่อก็เป็นเรื่องปกติ หน้าที่ของนักลงทุน คือ ค้นหา “ของดีราคาถูก” ซึ่งผมเชื่อว่ามีอยู่ เพียงแต่ต้องทำการบ้านมากหน่อยเท่านั้นเอง *** คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน *** Win Phromphaet’s comments, opinions and analyses are his personal views and are intended to be for informational purposes and general interest only and should not be construed as individual investment advice or a recommendation or solicitation to buy, sell or hold any security or to adopt any investment strategy. It does not constitute legal or tax advice. The information provided in this material is rendered as at publication date and may change without notice and it is not intended as a complete analysis of every material fact regarding any country, region, market or investment. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the viewer. Please consult your own professional adviser before investing at www.satumareonline.ro. แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Win Phromphaet ร่วมงานกับ บลจ. CIMB-Principal ในตำแหน่ง CIO รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนทั้งด้านตราสารหนี้ ตราสารทุน และการลงทุนทางเลือก ทั้งในและต่างประเทศ ก่อนหน้านี้ ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานลงทุนและรองโฆษก สำนักงานประกันสังคม รับผิดชอบการบริหารกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีเงินลงทุนรวมกันมากกว่า 1.3 ล้านล้านบาท
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กลิ่นวิกฤตการเงินแบบปี 2008 กำลังกลับมา? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ตอนนี้สำนักข่าว ทั้งกระแสหลัก กระแสรอง เริ่มกลับมาฉาย Spotlight ไปที่เหล่าธนาคารในยุโรปอีกครั้ง สาเหตุนั้นเป็นเพราะอะไร ผมจะเล่าในบทความนี้ตามลำดับนะครับ เมื่อคืนวันที่ 8 ก.พ. ที่ผ่านมา ตลาด Credit ในยุโรปค่อนข้างผันผวนเป็นอย่างมาก ทำให้หุ้นกลุ่มธนาคารมีแรงเทขายออกมาอย่างรุนแรง กลุ่มธนาคารพาณิชย์ในดัชนี STOXX Europe 600 ร่วงลงมาจากจุดสูงสุดเมื่อกลางปีที่แล้วกว่า 39% ซึ่งหลักๆ ก็มาจากธนาคารในกรีซ และอิตาลี ที่รัฐบาลมีปัญหาคาราคาซังมาซักระยะ และยังหาทางแก้ไขในระยะยาวไม่ได้ รูป ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในยุโรปนับตั้งแต่ต้นปี 2015 ที่มา : www.marketwatch.com ล่าสุด ราคาหุ้นของ Deutsche Bank ร่วงไปกว่า -9.5% เมื่อคืน จากความกังวลว่า ธนาคารอาจจะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยสำหรับพวกหุ้นกู้เสี่ยงสูงๆที่ธนาคารเป็นผู้ออกหรืออยู่ในฐานะผู้ค้ำประกัน หลังผลประกอบการออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์พอสมควร ทำให้ CDS หรือ Credit Default Swap ซึ่งเป็นประกันรูปแบบหนึ่งเพื่อป้องกันการผิดชำระหนี้ของผู้ยืม ซึ่งในที่นี้บ่งบอกถึงความเสี่ยงที่ Deutsche Bank อาจจะเบี้ยวหนี้ เริ่มสูงขึ้นอย่างในกราฟด้านล่าง รูป CDS 5 Year ของธนาคาร Deutsche นับตั้งแต่ต้นปี 2015 ที่มา : www.bloomberg.com ถ้ายังจำกันได้ ปี 2014 Deutsche Bank ถูกบังคับให้เพิ่มทุนไป EUR 9.5 Billion เนื่องจากงบการเงินมีปัญหาหลังไปปล่อยกู้ และมีตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับกลุ่ม PIIGS โดยเฉพาะกรีซ ในปริมาณที่สูงพอสมควร แถมไตรมาส 1 ปี 2015 ธนาคารก็ไม่ผ่าน Stress Test ส่อว่าจะต้องเพิ่มทุนอีกรอบ ก่อนที่จะมาโดย กลต.สั่งปรับ กรณีปั่นตลาดดอกเบี้ย LIBOR จนเมื่อกรีซมีปัญหา หาเงินมาจ่ายดอกเบี้ย IMF ไม่ทันเมื่อกลางปี 2015 รูป ราคาหุ้น Deutsche Bank ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2006 ที่มา : www.stockcharts.com ทำไมต้อง Deutsche Bank? จริงๆแล้วธนาคารอื่นๆในยุโรปก็มีปัญหา แต่ที่ตลาดมาให้ความสนใจกับ Deutsche Bank มากเป็นพิเศษ ก็เพราะธนาคารมีภาระกับพวกตราสารอนุพันธ์มากกว่า EUR54.7 Trillion ซึ่งเป็นจำนวนที่ใหญ่กว่า GDP ของ Eurozone รวมกันทุกประเทศ เกือบๆ 5.7 เท่าทีเดียว และผลประกอบการของ Deutsche Bank ปี 2015 ก็ขาดทุนไปถึง EUR 6.7 Billion คนก็ยิ่งกลัวว่า Deutsche Bank มีโอกาสเพิ่มทุนอีกรอบไหมน้อ? ล่าสุด หุ้นเทรดที่ P/BV แค่ 0.27 เท่า เท่านั้นเอง … มันแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนกลัวว่าจะมีอะไรเน่าๆอยู่ใน Balance Sheet ของ DB แล้ว Deutsche Bank จะกลายเป็นเหมือน Lehman เมื่อปี 2007 ไหม? Deutsche Bank เป็นธนาคารใหญ่ที่สุดในเยอรมัน เพราะฉะนั้น เข้าข่าย Too Big Too Fail ครับ สุดท้ายรัฐฯก็คงพยายามหาทางเข้าช่วยเหลืออยู่ดี และตอนนี้ระบบกลไกตลาดทุน กำลังทำงานเพื่อกดดันให้ทุกๆคนเห็นว่า “ปัญหามันอยู่ตรงนี้นะ มาช่วยกันดูหน่อยเร็วๆ” ย้อนกลับไปปี 2008 ตอนวิกฤต Subprime ธนาคารที่มีปัญหาและมี Exposure ใน CDOs ที่ผูกกับ Subprime Loan เยอะๆในยุโรปก็คือ Lloyds Banks และ RBS ซึ่งแน่นอนว่า ถูกอุ้มไว้โดยรัฐบาล ขณะที่เหล่ารัฐบาลในกลุ่ม PIIGS ก็ได้รับ Bailout Package จากธนาคารกลางยุโรป (ECB) มาตรการกระตุ้นออกมา ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น การเทขายรุนแรงครั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจเพราะเกิดขึ้นหลังจากที่ ECB ประกาศว่า จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเดือน มี.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งว่า จะเพิ่มวงเงิน QE หรือ กดอัตราดอกเบี้ยให้ลงไปติดลบเหมือนที่ BOJ เพิ่งทำไป ก็เป็นได้ ที่ยังต้องดูกันต่อไปจากนี้ก็คือ ใจหนึ่ง ทางธนาคารกลาง (ECB) เอง ก็อยากให้เหล่าธนาคารกันเงินสำรองเผื่อกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดไว้เยอะหน่อย แต่อีกใจหนึ่งก็อยากกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มด้วย … ปัญหาคือ มันทำพร้อมกันทั้ง 2 อย่างไม่ได้ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Deutsche Bank ตอนนี้ มันก็แสดงให้เห็นว่า งบดุล (Balance Sheets) ของธนาคารทั้งหลายในยุโรป มันยังไม่สะอาดพอ ถ้า ECB ใช้มาตรการกดอัตราดอกเบี้ยเป็นติดลบ มันยิ่งทำให้ธนาคารไม่อยากถือเงินสด และพยายามเอาไปปล่อยกู้ หรือลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงทั้งๆที่ตัวเองก็ยังมีปัญหาหรือเปล่า? อันนี้ละครับ ที่ตลาดกังวลว่า มันจะลุกลามจนภาพตอนวิกฤตครั้งก่อนหน้า มันโผล่ขึ้นมาอีกรอบ Raoul Pal ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง independent research publication ใช้ชื่อว่า Global Macro Investor ได้ให้สัมภาษณ์กับ Express.co.uk ว่า “banking issues could be an even bigger worry than China’s growth slowdown and cheap oil.” หรือ แปลเป็นไทยคือ สิ่งที่กลุ่มธนาคารในยุโรป ณ ตอนนี้ ปัญหามันใหญ่กว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน หรือการที่ราคาน้ำมันตกต่ำซะอีก” ส่วนตัวแล้ว ผมยังจำคำพูดของ Mario Draghi ประธาน ECB ที่บอกว่า “Whatever it Takes to Save the Euro” … Crisis ยังไม่น่าจะเกิดและลุกลามเป็นวงกว้างนะครับ แต่กลายเป็นว่า มันมีประเด็นให้ต้องติดตามเยอะขึ้นอีกเนี่ยสิ นักลงทุนเหนื่อยเกิ๊นนนนนน แหล่งข้อมูลของบทความนี้ :- http://www.express.co.uk/finance/city/641080/European-banks-heading-for-collapse-warns-expert http://www.marketwatch.com/story/why-a-selloff-in-european-banks-is-ominous-2016-02-07 http://www.wsj.com/articles/deutsche-bank-shares-drop-again-as-european-banks-get-pummeled-1454962727 http://www.zerohedge.com/news/2016-02-07/deutsche-bank-signaling-new-banking-crisis http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-02-08/how-europe-s-banks-got-hit-by-a-perfect-storm-in-five-charts คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ซื้อ BA อีกเกือบ 560 ล้าน!! - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 รายงานถึง ณ วันที่ 14 มกราคม 2559 เข้าซื้อรวม 23 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 560 ล้าน ที่ราคาเฉลี่ย 24.11 บาท/หุ้น สัดส่วนหลังเข้าซื้อ ณ ปัจจุบัน: 21.27% ผู้ซื้อ: นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ – ประธานคณะผู้บริหาร หลังจากที่ Major Move มีการติดตามการซื้อครั้งก่อนหน้าที่ราคาประมาณ 20 บาท +/- เมื่อช่วงกลางและปลายปีที่แล้วการซื้อที่ผ่านมาถือว่าเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญทีเดียวกับจำนวนหุ้นทั้งหมด (2,100 ล้านหุ้น) ราคาหุ้นล่าสุดของ BA ณ สิ้นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 24.00 บาท ปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากราคาเฉลี่ยที่คุณหมอปราเสริฐเข้าซื้อล่าสุด แต่หากพิจารณาในช่วงปีก่อนที่มีการซื้อกว่า 63 ล้านหุ้น ถือว่าราคาปรับตัวขึ้นมาได้ค่อนข้างดีมาก (ประมาณ 18%) จากราคาเฉลี่ยครั้งนั้น ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th – See more at: https://www.finnomena.com/z-admin/major-move/2015/11/09/04/prasert-ba/#sthash.e357VOoT.dpuf แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
กองทุนหุ้นญี่ปุ่น จะลุ้นให้ไปได้ไกลแค่ไหน - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 บทความเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านเรื่อง BOJ ประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ ไพ่ตาย(เกือบ)ใบสุดท้าย ที่ญี่ปุ่นใช้ในการเดิมพัน ผมพาไปวิเคราะห์นโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น วันนี้ขออนุญาตเพิ่มมุมมองการวิเคราะห์ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน สำหรับท่านที่มีกองทุนหุ้นญี่ปุ่นในมือ หรือ กำลังสนใจจะเข้าทยอยสะสมในระยะยาวนะครับ ก่อนอื่น เริ่มกันด้วยว่า โบรคฯใหญ่อย่าง Goldman Sachs (GS) นั้น มองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (ใช้ดัชนี TOPIX เป็นดัชนีชี้วัด) ถือเป็นตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจมากที่สุดตลาดหนึ่งของโลก ตารางด้านล่างคือ ตารางคาดการณ์ผลตอบแทนในอนาคต 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี จัดทำโดยนักเศรษซศาสตร์จาก Goldman Sachs จะพบว่า เขาให้ Upside Potential ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ในอีก 12 เดือนข้างหน้า สูงทีเดียว มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,800 จุด หรือคิดเป็น Upside ราวๆ 25-26% จากระดับปัจจุบัน มองแบบนี้ ก็น่าสนใจในระยะยาวแล้วนะครับ แต่อย่าลืมเรื่องหนึ่งก็คือ BOJ เพิ่งจะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายติดลบไป ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าต่อ และแถมยังบอกด้วยอีกว่า จะพิจารณาลดดอกเบี้ยลงไปอีกหากจำเป็น นั้นหมายถึง ค่าเงินเยน มีโอกาสอ่อนค่าในระยะยาว ซึ่ง GS มองว่า JPY/USD มีโอกาสอ่อนค่าไปแตะที่ระดับ 130.0 ภายใน 12 เดือนข้างหน้าทีเดียว ใครเชื่อเขา และชอบตลาดหุ้นญี่ปุ่น ก็ต้องหากองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงเรื่อง FX ไว้นะครับ Goldman Sachs economists’ 3, 6 and 12-month forecasts ที่มา : Goldman Sachs Global Investment Research (1 Feb 2016) จริงๆ เหล่ากองทุนค่ายยักษ์ใหญ่ของโลก ก็มีมุมมองที่คล้ายกันว่า ปี 2016 นี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เป็นเป้าหมายในการลงทุน และน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Schroders หรือ Blackrock ก็ตาม ข้อดีระยะยาวของการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น โดย Head of Japanese Equities ของ Schroders ชี้ให้เห็นความน่าสนใจของหุ้นญี่ปุ่น อยู่ 3 ข้อด้วยกันคือ รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มี mindset กล้าที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายคือ เห็นเงินเฟ้อที่ 2% ในระยะยาว และหนีจากภาวะ Deflation ให้ได้ ตลาดแรงงานยังคงแข้งแกร่ง ตัวเลข Unemployment Rate ล่าสุดปี 2015 อยู่ที่ระดับ 3.1% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 20 ปีทีเดียว มาตรการ Abenomics ไม่ใช่แค่การอัดฉีดเงินผ่าน QQE แต่หมายถึงการปฏิรูปโครงสร้างบริษัทเอกชน และโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้บริษัทในญี่ปุ่นแข่งขันได้ในตลาดโลกในระยะยาว ในขณะที่ทาง Blackrock เอง ก็มีเสริมข้อดีอีกบางส่วนก็คือ การที่วงเงินส่วนเกินจากการซื้อพันธบัตรนั้น BOJ จะเอามาลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นผ่านเหล่ากองทุน ETF เอาเป็นว่า ที่เหล่ามาทั้งหมด ก็จะบอกว่า มุมมองการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้น นักวิเคราะห์ให้ความเห็นตรงกันว่า ยังเป็นตลาดที่น่าจะทำกำไรได้ แล้วความเสี่ยงละ? ที่น่ากังวลก็คือ หากนโยบายดอกเบี้ยติดลบ ยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ แล้วอะไรที่รัฐและ BOJ พอจะช่วยได้มากกว่านั้น? แถมถ้าตัวเลขเศรษฐกิจหลังมาตรการเหล่านี้ผ่านไปซักระยะแล้วยังไม่ดีขึ้น ให้ระวังช่วงเดือน เม.ย. ปี 2017 ไว้อีกรอบ เพราะรัฐบาลเตรียมขึ้นภาษี VAT จากเดิม 8% เป็น 10% ซึ่งจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยของคนในประเทศชะลอตัวลงอีกรอบตอนนั้นแน่นอน เพราะฉะนั้น ช่วงนี้เป็นช่วงวัดใจรัฐบาล และเศรษฐกิจญี่ปุ่นพอสมควร รับความเสี่ยงได้ เอาเป็นว่า ตอนนี้เข้าซื้อได้หรือยัง? ผมพาไปดูกราฟรายเดือนของดัชนี Nikkei225 ก่อนนะครับ ตอนช่วงปลายปี 2014 ดูแล้วเหมือน Nikkei พยายามจะทะลุแนวต้าน 18,000 จุดขึ้นไป แล้วก็ผ่านไปได้ไม่นาน ก่อนจะลงมาต่ำกว่าจุดนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือกลางปี 2015 ที่จีนประกาศลดค่ากลางค่าเงินหยวน และอีกครั้งคือ ต้นปีนี้ ด้วยเรื่องเดียวกันคือ จีนประกาศลดค่ากลางค่าเงินหยวน อีกรอบ การปรับฐานช่วงนี้ เลยทำให้ MACD ให้สัญญาณ Sell Signal และภาพทางเทคนิคระยะยาวของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเสียทรงไปพอสมควร ภาพประกอบ Monthly Chart Nikkei225 ที่มา : www.stockcharts.com ทำไมจีนลดค่าเงินหยวน ถึงมีผลกับการปรับฐานของตลาดหุ้นญี่ปุ่น? มันคงมีหลายปัจจัยนะครับ แต่ถ้าพูดถึงปัจจัยหลักๆ คนจะไปมองที่ความผูกพันกันระหว่างเศรษฐกิจ 2 ประเทศ เพราะช่วงที่ค่าเงินเยนอ่อนค่ามากๆ มันทำให้นักท่องเที่ยวจีนไหลเข้าไปในญี่ปุ่นดั่งฝูงตั๊กแตนโจมตีไร่ข้าวโพด แต่พอค่าเงินหยวนของจีนอ่อนค่าลง ก็แปลว่านักท่องเที่ยวจีนจะต้องเที่ยวญี่ปุ่นในราคาแพงขึ้น และแน่นอนสินค้าญี่ปุ่นที่ส่งไปขายที่จีน ก็จะดูแพงขึ้นทันที ตรงนี้ละครับ ที่มีผลต่อมุมมองของนักลงทุนว่า จะกระทบกับกำไรบริษัทในญี่ปุ่นหรือเปล่า แล้วในระยะสั้นละ ตรงนี้ใช่จังหวะไหม? ลองดูกราฟรายวันของ Nikkei225 แล้วลากหาแนวโน้มของดัชนี ผมมองว่า ตอนนี้ Nikkei225 อยู่ในแนวโน้ม Sideway Down ตามรูป ภาพประกอบ Daily Chart Nikkei225 ที่มา : www.stockcharts.com ถ้าย้อนกลับไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตอนที่ BOJ ประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ มันเหมือนเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนการปรับตัวขึ้นในระยะสั้นให้กับตลาดหุ้นญี่ปุ่นต่อเนื่องจากกลางเดือน ม.ค. และทำให้เกิด Buy Signal ใน MACD ด้วย นั้นแปลว่า สัญญาณซื้อระยะสั้นได้เกิดไปแล้ว ถ้าไปได้ถึงไหน ก็ใช้ Upper Band เป็นแนวต้านก่อน ตอนนี้ก็อยู่แถวๆ 19,500 จุด โดยมีเส้น Moving Average 50 วันเป็นแนวต้านย่อยอยู่ที่ 18,625 จุด สรุปคือ ถ้ามีอยู่ ถือต่อได้ครับ มีแนวโน้มไปต่อในระยะสั้น แต่ระยะยาวภาพทางเทคนิคบอกแล้วว่าไม่ค่อยดี ซึ่งเราคงต้องไปดผลของมาตรการ BOJ ประกอบกันไป ถ้ายังไม่มี และอยากกระจายความเสี่ยงไปต่างประเทศอยู่แล้ว ญี่ปุ่นนี่ละ ที่น่าเอาเงินบางส่วนไปลงทุนดู ปล. Tradernomics เป็นมุมมองเพื่อการเทรดในระยะสั้น ในกรอบระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนข้างหน้า โดยอาศัยดัชนีและการวิเคราะห์ทางเทคนิดและมุมมอง Macro เป็นแกนหลักในการวิเคราะห์ ไม่ได้หมายถึงการเข้าเลือกหุ้นรายตัว ซึ่งอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์กับดัชนีก็ได้ แหล่งข้อมูลของบทความนี้ http://finance.yahoo.com/news/2016-outlook-blackrock-sees-value-141631121.html http://www.goldmansachs.com/our-thinking/pages/outlook-2016/index.html?videoId=139050 http://www.schroders.com/en/ch/wealth-management/insights/markte/outlook-2016-japanese-equities/ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
โลกใกล้จะเข้าสู่ยุคที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันอีกต่อไป - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ในช่วงที่ราคาน้ำมันตกต่ำจนน่าใจหายแบบนี้ หากเราอ่านข่าวตามสื่อกระแสหลัก สื่อก็จะพุ่งประเด็นไปว่า ต้นเหตุของปัญหาก็คือ การเกิดขึ้นมาของ Shale Oil Shale Gas ในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มโตในอัตราที่น้อยกว่าเดิม รูป US Crude Oil Production ปี 1995-2015 ที่มา : http://www.econmatters.com/ และเพื่อไม่ให้สูญเสีย Market Share หรือ ส่วนแบ่งการตลาด กลุ่ม OPEC เลยตัดสินใจไม่ลดกำลังการผลิต ถึงแม้ Supply จะล้นโลกอยู่แบบนี้ ก็เพื่อที่จะส่งสัญญาณว่า พร้อมจะสู้กับผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่ม OPEC ทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำอย่างที่เห็นทุกวันนี้ โดยเชื่อว่า เหล่าผู้ผลิตที่มีต้นทุนการผลิตสูงๆ จะผลิตไม่ไหว และออกจากตลาดไป ซึ่ง วันนั้นมาถึงเมื่อไหร่ เมื่อนั้นตลาดน่าจะสร้างสมดุลได้ใหม่ … คุณก็คิดแบบนี้ใช่ไหมครับ? … ผมก็คิดแบบนี้เหมือนกัน แต่ มันใช่เหตุผลจริงๆหรือเปล่า? มีแต่ OPEC เท่านั้นที่ทราบว่า สิ่งที่เขากลัวจริงๆ มันคือเรื่องอะไร วันนี้ ผมมีข้อมูลอีกมุมหนึ่งเอามาให้อ่านกัน โดยหวังว่ามันจะทำให้เรามองปัญหานี้ในมุมที่กว้างกว่าเดิมซักหน่อย ทุกท่านรู้จัก Tesla Motors ใช่ไหมครับ? Tesla เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ตอนนี้ถูกมองว่า เป็นรถหรู เพราะแพงเหลือเกิน เจ้าของบริษัทคือ Elon Musk (เป็น Founder Tech Startup ระดับโลกอย่าง PayPal และ SpaceX) เมื่อกลางปีที่แล้ว Tesla ได้ประกาศธุรกิจใหม่ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า Tesla Powerwall แปลเป็นไทยคือ “กล่องพลังงานไฟฟ้า” ทำไว้ให้ลูกค้าไปติดตามบ้าน แล้วชาร์จไฟผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซล่าร์เซล ล่าสุด สิ้นเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา Tesla เริ่มติดตั้ง Powerwall ที่ออสเตรเลียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสาเหตุที่ไปออสเตรเลียก่อน ก็เพราะว่าทำ Survey แล้ว มีจำนวนคนที่ให้ความสนใจสูงกว่าที่อื่น นั้นเท่ากับว่า Powerwall จะถูกใช้ในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ เราต้องมาดูว่า มันจะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคได้ในระยะยาวหรือเปล่า ซึ่งตามแผนของ Tesla นั้น จากข่าว พบว่า Powerwall ยังได้ออกแบบมาเผื่อสำหรับใช้กับอาคารสำนักงานด้วยนะ ไม่ใช่แค่กับบ้านเท่านั้น โดยความจุในการเก็บพลังไฟ 2 รุ่นคือ รุ่น 10 กิโลวัตต์ชั่วโมงและ 7 กิโลวัตต์ชั่วโมง ราคา 3,500 เหรียญสหรัฐและ 3,000 เหรียญตามลำดับ (ราว 112,000 และ 96,000 บาท) แถมยังมีแผนผลิตแบตเตอรี่สำหรับสำนักงานที่มีความจุเยอะมากๆ สำหรับใช้กับธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้นไปในอนาคต ทำไมการใช้ Powerwall จึงเป็นที่จับตา? เพราะพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ มันสร้างไฟฟ้าได้ทีละน้อย ไม่เพียงพอสำหรับการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกัน และก่อนหน้านี้ โลกยังหาวิธีเก็บสำรองพลังงานของมันยังไม่ได้ แต่พอ Powerwall ทำได้ มันก็เหมือน กำลังจะทลายข้อจำกัด และอาจทำให้เราไม่ต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากน้ำมันหรือทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปอื่นๆด้วย!! นอกจากนี้ ยังมีอีกนวัตกรรม ที่ถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญกับธุรกิจพลังงาน นั้นก็คือ การเกิดขึ้นของรถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell Vehicle – FCV) Toyota ประกาศเปิดตัวรถยนต์รุ่นนี้ไปได้ 2 ปีแล้ว โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Mirai “มิไร” ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกอีกทางที่สามารถผลิตได้จาก แสงอาทิตย์ หรือ ลม ด้วยกระบวนการใช้แรงอัด มวลความหนาแน่นของพลังงานไฮโดรเจนจะสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า Yoshikazu Tanaka หัวหน้าโครงการพัฒนา Mirai ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงหรือพลังไฮโดรเจนนี้ จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่รถยนต์ส่วนใหญ่ใช้ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า เหมือนกับที่รถยนต์ไฮบริดเป็นในปัจจุบัน เหมือนกับรถยนต์ไฮบริดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และล่าสุด เห็นว่า มียอดสั่งผลิตสูงเกิน 2,000 คันไปแล้ว ทั้งนี้ Toyota ก็ได้บอกว่าอยากจะพัฒนารถไฮโดรเจนอีกรุ่นมาสนองความต้องการ มากขึ้นเรื่อยๆ ลองคิดดูนะครับ ว่าเมื่อใดก็ตามที่สามารถลดต้นทุนการผลิต และสามารถผลิตแบบ Mass Production ได้ละก็ จะน่าสนใจขนาดไหน ยังไม่หมดแค่นั้น ตอนนี้ โลกกำลังเกิดความร่วมมือครั้งใหญ่ของภาคเอกชนและเหล่าคนรวยทั้งหลาย โดยใช้ชื่อว่า Breakthrough Energy Coalition โดยสมาชิก ประกอบไปด้วยบุคคลชั้นนำของวงการธุรกิจที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น Jeff Bezos CEO Amazon, Richard Brandson Founder Virgin Group, Ray Dalio Founder Bridgewater Associates, Bill Gates Founder Microsoft, Reid Hoffman Founder Linkedln, Jack Ma Executive Chairman Alibaba, Mark Zuckerberg, Founder Facebook อยากดูว่าครบทุกคนมีใครบ้าง ไปดูที่ลิงค์นี้ครับ http://www.breakthroughenergycoalition.com/en/who.html Breakthrough Energy Coalition เกิดมาเพื่ออะไร? เพื่อระดมเงินทุนครับ ลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานไม่ว่าจะอยู่ใน Stage ไหนของการวิจัย ถ้าทางกลุ่มเห็นว่ามันมีโอกาสเปลี่ยนโลก ก็จะเข้าไปลงทุนทันที แถมไม่เจาะจง หรือระบุกลุ่มธุรกิตที่จะเข้าไปลงทุน โดยสามารถเข้าลงทุนทั้งธุรกิจใหม่ และธุรกิจเดิมที่มีโอกาสต่อยอดและพัฒนาไปได้ในอนาคต Bill Gate หนึ่งในสมาชิก ได้ให้สัมภาษณ์กับ Washinhton Post ว่า กว่า 50 ปีที่ผ่านมาเราอยู่ในยุคพึ่งพาพลังงานจากแหล่งเดิมๆ ถ้าโลกจะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน เราต้องหาทางปฏิวัติ ด้วยอัตราความเร็วที่เร็วกว่าที่อุตสาหกรรมพลังงานได้พยายามมาตลอดในอดีตให้ได้ จริงๆสิ่งนี้ ก็อ้างอิงถึงว่า โลกเราขาดนวัตกรรมด้านพลังงาน และพึ่งพาแหล่งพลังงานเดิมๆมาตลอดครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา อันเป็นสาเหตุทำให้เรามีปัญหาอย่างทุกวันนี้ เพราะการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศตลอดเวลาที่ผ่านมา ก็เพื่อแย่งชิงแหล่งพลังงาน ซึ่งใครๆก็คิดว่ามันเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และหาสิ่งทดแทนได้ยาก พอได้เจอทั้ง 3 ประเด็นข้างต้นที่ผมยกมาให้อ่านกันคร่าวๆ แล้วก็รู้สึกเหมือนว่า กำลังมีความพยายาม Disrupt การผูกขาดของธุรกิจพลังงานที่มีมายาวนานให้จงได้ ถึงแม้ความคิดนี้จะมีมาอยู่ตลอดช่วงอายุขัยของเรา แต่เอาเข้าจริงๆ ความเป็นไปได้ มันเพิ่งมาเริ่มเห็นชัดก็ภายในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้เอง บางทีนะครับ (ย้ำว่า จินตนาการเองนะ) ผมคิดว่า การที่ OPEC ไม่ยอมลดกำลังการผลิต บางที ไม่ได้จะสู้กับ Shale Oil หรอก แต่เพราะมีโอกาสสูงเหลือเกินที่พลังงานทดแทนเหล่านี้ จะมีอิทธิพลกับโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ จนคนเลิกใช้น้ำมัน แล้วหันไปใช้พลังงานอื่นโดยไม่หันกลับมามองอีกเลย ดังนั้น … ดังนั้น ราคาเท่าไหร่ ก็ขายๆไปเถอะ ก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้ขายในวันที่โลกไม่ต้องการน้ำมันจริงๆ แหล่งที่มาข้อมูลของบทความนี้ http://mashable.com/2016/01/28/first-tesla-powerwall/#fe4S4zkGOgq1 http://www.breakthroughenergycoalition.com/en/index.html http://www.pcworld.com/article/3003970/car-tech/meet-the-first-toyota-mirai-and-the-big-expensive-plan-to-keep-this-hydrogen-car-alive.html https://ssl.toyota.com/mirai/fcv.html http://www.econmatters.com/ คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
BOJ ประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ ไพ่ตาย(เกือบ)ใบสุดท้าย ที่ญี่ปุ่นใช้ในการเดิมพัน - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 BOJ ทำอะไรลงไปในวันนี้? วันนี้ BOJ หรือธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของเงินที่ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นจะฝากไว้กับ BOJ จากเดิมที่ 0.1% เหลือ -0.1% (Negative Interest Rate) และดูเหมือนจะสร้างความประหลาดใจให้ตลาดพอสมควร เพราะ Kuroda ประธาน BOJ ไม่เคยให้ความเห็นว่าจะดำเนินนโยบายแบบนี้มาก่อน แบบนี้ แปลว่าใครฝากเงินในญี่ปุ่นต้องเสียดอกเบี้ยให้ธนาคาร? ผิดครับ และผมก็เห็นสื่อบางสื่อในไทยนำเสนอข่าวแบบนี้ ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดให้กับนักลงทุน แท้จริงแล้ว อัตราดอกเบี้ย -0.10% นั้น จะถูกคิดเฉพาะสภาพคล่องส่วนเกินของเหล่าธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นที่เกินกว่าระดับของทุนสำรองที่ BOJ กำหนดไว้ตามกฎหมาย แต่เงินทุนภายใต้โครงการ QQE ของ BOJ เฉลี่ยเดือน ม.ค. – ธ.ค. 2015 ก็ยังคิดดอกเบี้ยที่ระดับเดิม 0.1% และเงินส่วนที่ยังไม่เกิน Reserve Requirement คิดดอกเบี้ยที่ 0% ซึ่งทั้ง 2 Tier นี้ ถือว่ายังเป็นเงินที่มีปริมาณสูงในระบบอยู่ ดังนั้น ใครที่กังวลว่า มันจะยิ่งเร่งให้เห็นเงินเยน (JPY) อ่อนค่ารุนแรงมากกว่าเดิม เพราะคนจะไม่อยากฝากเงินแล้วหรือเปล่า คิดแบบนี้ ผมว่ากังวลเกินไปครับ แล้ว BOJ ทำไปเพื่ออะไร? ตอบตามความเห็นส่วนตัวของผมก็คือ BOJ เริ่มกังวลมากขึ้น (เหมือนที่ ECB และ FOMC กังวล) ว่า เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว มันกำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศตัวเองด้วย แต่ครั้นจะขยายวงเงินอัดฉีด QQE เพิ่มเลยทันที ก็คงกังวลหลายประเด็น เพราะ ECB จะยังไม่ทำ และ Fed ก็ยังคิดจะขึ้นดอกเบี้ยตามแผนเดิม หากเพิ่มวงเงิน QQE อาจยิ่งสร้างความผันผวนให้กับอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งน่าจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดีต่อตัวเอง ดังนั้น จึงเลือกทำเท่าที่ทำได้ไปก่อน รู้ได้ไงว่า BOJ กังวล? วันนี้ BOJ ปล่อยตัวเลข core CPI Outlook ของปี 2016 ผลปรากฎว่า BOJ คาดการณ์ว่าอยู่ที่ +0.8% ซึ่งต่ำกว่าครั้งล่าสุดที่ปล่อยตัวเลขนี้ออกมาเมื่อเดือน ต.ค. ที่ +1.4% แสดงให้เห็นว่า โอกาสที่จะเห็นเงินเฟ้อไปถึงเป้าหมายระยะยาวที่ 2% ต้องยืดระยะเวลาออกไปแน่นอนหากไม่ทำอะไร และการที่เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำนานเกินไป มันคล้ายๆกับว่า ดำเนินนโยบายโดยมีเป้าหมาย แต่กลายเป็นว่า ไปไม่ถึงซักที มันอาจทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อ BOJ ลดลงด้วย นี่คือสิ่งที่ต้องระวัง เพราะสุดท้าย มันอยู่ที่ความเชื่อมั่นนี่ละครับที่ทำให้ระบบการเงินโลกยังหมุนอยู่อย่างทุกวันนี้ แสดงว่า ปริมาณเงินอัดฉีดจาก QQE ถือว่าเพียงพอแล้ว ณ ตอนนี้? ถ้ามันพอจริงๆ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ก็ไม่ควรมีมติลดดอกเบี้ยถูกไหมครับ แต่ผมเดาว่า ในคณะกรรมการ BOJ ก็น่าจะมีคนคิดว่าเพียงพอแล้วอยู่ไม่น้อย เพราะผลการประชุมวันนี้ มติออกมาคือ 5-4 ให้ลดดอกเบี้ยลง (มี 4 คนที่คิดว่าไม่ควรลด) อย่างที่บอกครับว่ามันอาจเป็นไปได้ที่ BOJ คิดว่าเสี่ยงเกินไปที่จะขยายวงเงิน QQE ตอนนี้ เพราะดูๆไป เหมือนผลของการอัดฉีดเงิน มันเริ่มลดลงเรื่อยๆเหมือนคนไข้ที่เริ่มดื้อยา ยังไงยังงั้นเลย มุมมองต่อการดำเนินนโยบายครั้งนี้ เป็นยังไง? ตลาดมองว่า อย่างน้อยก็เป็นปัจจัยบวกในระยะสั้นครับ เพราะแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องของ BOJ และต้องอย่าลืมว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น ไม่ได้ทำแค่นโยบายการเงินเพัยงอย่างเดียว ยังมี นโยบายการคลังเข้ามาสนับสนุน, นโยบายการเพิ่มค่าจ้างแรงงานในประเทศ, นโยบายจูงใจให้แรงงานผู้หญิงเข้าสู่ระบบมากขึ้น และมีหลักฐานหลายอย่างในช่วง 2-3 ไตรมาสที่ผ่านมา ที่แสดงให้เห็นว่า ผลประกอบการ และกำไรบริษัทจดทะเบียนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเรื่อยๆ สิ่งที่ต้องหวังหลังจากนี้คือ เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโลก ที่โดนสั่นคลอนจากการปรับนโยบายการเติบโตของจีน ณ ตอนนี้ จะเป็นอย่างไร ถ้าเมื่อไหร่หาจุดนั้นเจอ เศรษฐกิจญี่ปุ่น ก็ควรจะดีขึ้นกว่าในอดีต และการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ผมจบด้วยการพาไปดูกราฟ Nikkei225 นะครับ ถ้าสนใจว่า เอ๊ะ แล้วอย่างงี้ ไปลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนหุ้นญี่ปุ่นดีหรือเปล่า … ไว้ผมจะ Update แบบเจาะลึกๆใน Tradernomics ให้ได้อ่านก็แล้วกัน คำเตือน • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ตลาดหุ้นโลกรีบาวน์ เราหวังว่า มันจะยาวได้ขนาดไหน? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 เพิ่งจะเป็นสัปดาห์แรกของปี 2016 นี้ ที่ตลาดหุ้นโลกปิดลบในแดนบวกได้บ้างในบางตลาด หลังจากบทความสัปดาห์ที่แล้ว ผมมาบอกทุกคนว่า 10 วันทำการแรกของปีนี้ แย่ที่สุดตั้งแต่ที่ตลาดสหรัฐฯเปิดเทรดมาทีเดียว และตลาดหุ้นอื่นๆก็ไม่ฟื้นซักที อ้าว แล้วสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นมันดีดขึ้นมาได้เพราะอะไร? จริงๆ ก็เพิ่งจะวิ่งแรงๆวันพฤหัสฯ และวันศุกร์นี้เองครับ Catalyst ที่ส่งสัญญาณเชิงบวก ก็คือ ถ้อยแถลงของนาย Mario Draghi ส่งสัญญาณว่า อาจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเดือน มี.ค. ที่จะถึง โดยมองว่า ‘Downside Risk’ เพิ่มขึ้น หลังความผันผวนของตลาดทุนเพิ่มขึ้น, การชะลอการเติบโตของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยุโรป และอาจทำให้ ECB มีความจำเป็นต้องออกมาตรการการเงินเพิ่มเติม เพื่อต่อสู้กับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปเอง … โดยสรุปคือ ตลาดกำลังคาดหวังว่า ECB อาจจะมี QE เพิ่มในการประชุมครั้งถัดไปเดือน มี.ค. นั้นเอง ภาพประกอบ Global Index Macromap ที่มา : market.ft.com แค่นี้นะหรอ ตลาดหุ้นก็วิ่งแล้ว? เรียกว่ารีบาวน์ระยะสั้นก่อนดีกว่าครับ เพราะเพิ่งบวกได้แค่ 2 วัน เรายังคงต้องไม่ประมาทอยู่ดี แต่สิ่งที่เริ่มเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีบ้าง ผมเห็นอยู่ 2 อย่าง เมื่อคืน ตลาดหุ้นสหรัฐฯรีบาวน์ โดยมีปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นขึ้นกว่าในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปี (Price Up + Volume Up = Strong Rebound) ราคาน้ำมัน WTI ดีดแรงเหลือเกิน บวกไปถึง 9% ปิดยืนเหนือ +$32 ทีเดียว ซึ่งน่าจะช่วยให้หุ้นกลุ่มพลังงาน และ Commodities ทั้งหลาย มีความหวังขึ้นมาได้บ้าง อย่าง S&P energy index เมื่อคืนนี้บวกขึ้นไปถึง 4.3% ต้องดูอะไรต่อจากนี้? ผมจะเลือกดูการส่งไม้ต่อของธนาคารกลางต่างๆบนโลกนะครับ ว่ามีความเห็นเช่นเดียวกับ ECB หรือไม่ เพราะตอนนี้ ตลาดเหมือนจะคิดแบบนั้นไปแล้วว่า ถ้า ECB จะมีมาตรการเพิ่มเติมในเดือน มี.ค. ก็แปลว่า BOJ (ธนาคารกลางญี่ปุ่น) จะมีด้วยหรือเปล่า เลยทำให้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Nikkei225 ดีดขึ้นมาได้ถึง 5.8% และสัปดาห์หน้าก็จะมีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC Meeting) ในวันที่ 27-28 ม.ค. ตอนนี้นักลงทุนก็เหมือนหวังลึกๆว่า สหรัฐฯ อาจจะเลื่อนพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยออกไป หรือ ส่งสัญญาณว่า จะขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าเดิม (อันนี้คงต้องไปดู Dot Plot ประกอบอีกที) มุมมองทางเทคนิคละ เป็นอย่างไร? พาไปดูกราฟ S&P500 ก่อนนะครับ จะเห็นว่า ลงมาตั้งเยอะ เพิ่งเด้งได้สองวันทำการ แต่การเด้งขึ้นมา หลังจาก RSI Oversold ครั้งนี้ ค่อนข้างน่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีสัญญาณจาก MACD และตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ดัชนีก็ยังไม่เคยขึ้นมาเทรดพ้นเส้นค่าเฉลี่ย 15 วัน (MA15 เส้นสีน้ำเงิน) ที่ตอนนี้อยู่ที่ 1,933.34 จุด ผมให้ตรงนี้เป็นแนวต้านระยะสั้นครับ ถ้าสัปดาห์หน้าผ่านได้ ก็อาจหวังการรีบาวน์ในตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ไกลกว่านี้ ภาพประกอบ Daily Chart S&P 500 Index ที่มา : stockcharts.com ย้อนกลับมาดูหุ้นไทย ผมขอดูภาพใกล้ ใช้กราฟ 60 นาทีในการวิเคราะห์ตรงนี้ เพราะระยะยาวเคยบอกไปแล้วนะครับ ว่า SET Index อยู่ในแนวโน้มขาลง จะเห็นว่า SET Index ทะลุกรอบ Flag Pattern ขึ้นมาได้ มีแนวต้านระยะสั้นๆต่อไปคือ 1,280 จุด ซึ่งถ้าคิดจะไปต่อ ก็ควรทำ Higher High ให้ได้ในสัปดาห์หน้าที่จะถึง และก็มีแนวต้านถัดไปที่ 1,295 จุด หรือตีไปกว้างๆเลยก็คือ 1,300 จุด ซึ่งเป็นแนวต้านจิตวิทยา ถามว่ามีโอกาสหรือไม่ ก็บอกเลยว่า น่าจะมีโอกาสสูง หากราคาน้ำมันยืนเหนือ $30 ได้จริงๆ หรือยังวิ่งต่อ พวกหุ้นกลุ่มพลังงานก็ลาก Index ขึ้นมาได้ไม่ยากครับ ภาพประกอบ 60 mins Chart SET Index ที่มา : BISNEWS ต้องไปดู ราคาน้ำมัน Crude Oil อีกตัว ที่น่าจะเป็นตัดสินชี้ชะตากรรมของตลาดหุ้นโลก ณ ชม. นี้ การดีดขึ้นมาวันเดียว 5.88% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ชนแนวต้านย่อ Fibonacci Retracement 23.6% ของคลื่นปรับฐานย่อย (นับยอดคลื่นจาก $51) ทั้งนี้ ถ้าจะรีบาวน์อย่างแข็งแรงจริง ก็มีแนวต้านข้างบนที่ $36 อีกที่ เอาตรงๆ นะครับ ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะไปถึงไหม แต่จากที่ตามบทวิเคราะห์ดู เห็นอีกมุมหนึ่งที่ว่า พวกเทรดเดอร์ที่สหรัฐฯ Short Position บนราคาน้ำมันดิบไว้หนักกันมากๆ พอราคามันเด้งแรง มันก็บีบให้เหล่าเทรดเดอร์พวกนี้ต้องทำ Short Covering หรือไล่ปิดความเสี่ยง เลยยิ่งทำให้ขาเด้ง มันอาจจะเด้งแรงก็ได้ ทั้งๆที่อาจไม่มีปัจจัยบวกอะไรเข้ามากระตุ้นเพิ่มเติม ภาพประกอบ Daily Chart Light Crude Oil ที่มา : BISNEWS แต่ยังไงก็ตาม ยังไม่อยากให้หวังยาวๆนะครับ ค่อยๆดูกันดีกว่า ว่า งบไตรมาส 4/2015 ออกมาเป็นอย่างไร Sentiment เชิงบวก จะยังมีต่อไหม FOMC Meeting จะส่งสัญญาณให้เราฟัง แล้วพี่จีนเนี่ย จะยังออกมาตรการประหลาดๆอะไรให้ตลาดไม่ชอบใจหรือเปล่า ช่วงนี้ ผันผวนจริงๆครับ ใครมาเล่นๆนี่ อยู่ยากนะครัช สำหรับ SET Index ถ้าร่วงลงมาอยู่ในกรอบ ก็มีแนวรับใกล้ๆแถวๆ 1,245 จุด ที่ถ้ารับไม่อยู่ ก็แปลว่า น่าจะลงต่อได้อีก ปล. Tradernomics เป็นมุมมองเพื่อการเทรดในระยะสั้น ในกรอบระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนข้างหน้า โดยอาศัยดัชนีและการวิเคราะห์ทางเทคนิดและมุมมอง Macro เป็นแกนหลักในการวิเคราะห์ ไม่ได้หมายถึงการเข้าเลือกหุ้นรายตัว ซึ่งอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์กับดัชนีก็ได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จีนประกาศลดค่ากลางค่าเงินหยวน เพื่อ? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 เปิดมาสัปดาห์แรกของปี 2559 เหล่านักวิเคราะห์ และนักลงทุนก็หวังจะได้เห็นสิ่งใหม่ๆที่ดีขึ้นมากกว่าปี 2558 ที่ผ่านมา แต่ผลปรากฏว่า ไม่เป็นอย่างที่คิด ซึ่งสิ่งที่จุดชนวนตลาดรอบนี้ก็มาจากประเทศจีนนั้นเอง วันนี้ ใน The War Room จะมาถกประเด็นนี้กันให้หายสงสัย ชยนนท์ จนถึงตอนนี้ ค่าเงินหยวนของจีน อ่อนค่าต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2554 เมื่อเทียบกับสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การปรับค่ากลางของจีนครั้งนี้ ผมว่า เศรษฐกิจในประเทศจีนคงส่งสัญญาณไม่ค่อยดีหรือเปล่าคุณเจท เจษฎา ที่น่าสงสัยคือ จีนปรับค่ากลางค่าเงินหยวนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พร้อมๆกับการประกาศตัวเลข CAIXIN PMI Manufacturing หรือ ดัชนีภาคการผลิต เดือน ธ.ค. ซึ่งออกมาต่ำกว่า 50 จุด และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยอยู่ที่ 48.2 จุด มันเหมือนส่งสัญญาณกลายๆอย่างที่คุณว่านะว่า ข้างในจีนเอง อาจจะไม่ไหวเท่าไหร่ รูปที่ 1 : ดัชนีภาคการผลิตของจีน ข้อมูลรายเดือน นับตั้งแต่ปี 2015 ที่มา : http://www.tradingeconomics.com ชยนนท์ ถ้าจำกันได้ จีนเคยประกาศลดค่ากลางแบบนี้ ตอนช่วงต้นเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว ตอนนั้นตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค. ของจีน ออกมาติดลบมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ถึง -9% แล้วก็ตามมาด้วยการประกาศลดค่ากลางค่าเงินหยวนทันที เหมือนกัน ดังนั้น ผมฟังธงเลยว่า เศรษฐกิจจีน อาจจะยังไม่หยุด Slow Down เจษฎา ทางรัฐบาลจีนเอง ตั้งความหวังว่า เศรษฐกิจจีนในระยะยาวจะโตไม่ต่ำกว่า 6.5% แต่เหมือนตลาดจะไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ และคิดว่า GDP Growth ของจีนเอง น่าจะลงไปต่ำกว่า 6.0% ได้ในปีนี้ พอรวมๆกันการกระทำของธนาคารกลางจีนเรื่องการปรับค่าเงินค่าเงินหยวน เลยทำให้นักลงทุนไม่ปลื้มซักเท่าไหร่ รูปที่ 2 : การเติบโตของเศรษฐกิจจีนนับตั้งแต่ปี 2013 ที่มา : http://www.tradingeconomics.com ชยนนท์ มันตลกตรงที่ จีนเอง ก็เปลี่ยนนโยบายการเติบโตจากพึ่งพาการส่งออก เป็นเน้นเติบโตด้วยการบริโภคภายในประเทศ แต่การลดค่าเงินหยวน มันดูเหมือนจีนอยากจะกระตุ้นการส่งออก มันดูขัดๆกับกับนโยบายหลักนะ คุณว่าไง เจษฎา ผมวิเคราะห์เอาว่า น่าจะเป็นเพราะการเติบโตภายในประเทศมันเร่งตัวไม่ทัน เศรษฐกิจโดยรวมยังต้องพึ่งพาการส่งออกอยู่ ดังนั้น ก็ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อรักษาการเติบโตของ GDP โดยรวมไว้ แต่ผลกระทบจากการลดค่าเงินหยวนนี้ ผมว่าน่าจะโดนกันทั้งโลกนะ ชยนนท์ ลดค่าเงินหยวน ดีกับส่งออก แต่ฝั่งผู้นำเข้าในจีน ต้องนำเข้าสินค้าในราคาที่แพงขึ้น แล้วจีนเองก็ ถือเป็นผู้ซื้อสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลกแบบนี้ ก็แปลว่า พวก Commodities ทั้งหลาย คงจะยังไม่ปรับตัวขึ้นสินะ เจษฎา มองอีกแง่หนึ่งนะครับ มันค่อนข้างชัดเจนว่า รัฐบาลจีนเอง ก็ดูแลเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และน่าจะมีมาตรการอะไรออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เช่น อาจพิจารณาลด Reserve Requirement Ratio (RRR) , ลดดอกเบี้ยนโยบาย หรือมาตรการอื่นๆ อย่างที่ทำไปนับตั้งแต่ปลายปี 2014 (ดูรูปที่ 3 ประกอบ) หรือที่เพิ่งทำไปทันทีหลังปรับลดค่ากลางค่าเงินหยวนก็คือ การที่ธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดเงินมูลค่าราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าสู่ระบบการเงินภายในประเทศ สรุปคือ สิ่งที่จีนทำทุกอย่างที่เราเห็นและหลังจากนี้ ก็เพื่อพยุงเศรษฐกิจจีนนั้นละครับ ไม่ใช่เรื่องอื่นเลย รูปที่ 3 : การแทรกแซงโดยใช้มาตรการทางการเงินของจีน กับการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น ที่มา : RBS Macro Credit Research ชยนนท์ ตอนนี้ตลาดหุ้นจีน H Share ถือว่า มูลค่าน่าสนใจทีเดียว Historical PE อยู่ที่ 13.4x ส่วน Forward PE อยู่ที่ 8.2x ถือว่าเป็นตลาดหุ้นที่ถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชียลองจากสปป. ลาว (ลองดูรูปประกอบรูปที่ 4) ติดอยู่อย่างเดียวคือ ต้องออกมาตรการอีกซักเท่าไหร่ ที่จะทำให้เศรษฐกิจจีนทรงตัว และทำให้ตลาดเลิกกลัวกับจีนซักที นะครับ รูปที่ 4 : เปรียบเทียบ Valuation ของตลาดหุ้นทั่วโลกโดยใช้ค่า P/E Ratio ที่มา : Bloomberg ที่มาของบทความ : http://www.posttoday.com/economy/invest/408945 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SET Index เข้ามาอยู่ใน Speculating Zone เอายังไง? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 อัพเดทใน Tradernomics ล่าสุด ก็ตอนกลางเดือน ธ.ค. ปีที่แล้วเลยนะครับ แนะนำให้กลับไปอ่านอีกซักรอบ เพื่อทำความเข้าใจกรอบการลงทุน “SET Index ใกล้พักการปรับฐาน อาจจะได้หายใจกันบ้าง?” วันนี้ (6 ม.ค. 58) คือ วันที่ตลาดลงมาย่ำที่จุดเดิม ที่เดียวกับที่ผมอัพเดทไว้คราวที่แล้วพอดิบพอดี แถมมีแรงซื้อกลับ ทำให้ ดัชนี SET Index ยืนเหนือ 1,260 จุด เมื่อภาพวันนั้นเป๊ะเลย … แต่ผลต่อจากนี้ อาจจะไม่เหมือนกันแล้วครับ สาเหตุที่คิดว่าไม่เหมือนครั้งนั้น มีจุดสังเกตอยู่ 2 จุดด้วยกัน การปรับฐานช่วงเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. ครั้งนั้นมีการเปิด GAP แสดงให้เห็นถึงภาวะ Panic ที่พร้อมมีแรงดีดกลับ การรีบาวน์ในเดือน ธ.ค. ครั้งนั้น ถือว่าเบา และไม่ถึงราคาเป้าหมายทางทฤษฎีที่ 1,320 จุด แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแรงของแรงซื้อกลับ ด้วย 2 จุดที่เห็นนี้ เลยทำให้ผมมีมุมมองว่า การรีบาวน์หลังจากนี้ ไม่น่าจะไปได้ไกล และมีโอกาสที่ SET Index จะวิ่งลงมาอยู่ใน Speculating Zone คือ 1,205 – 1,250 จุด นั้นเอง ประเด็นคือ เห็น 1,250 จุด ปั๊บ เราควรเข้าไปรับเลยไหม? คำตอบคือ ถ้าดูดัชนี SET50 ประกอบด้วย จะพบว่า อาการของตลาดหุ้นไทย ดูไม่ดีเอาเสียเลย หลักๆก็มาจาก การโดนเทขายหนักๆใน 2 กลุ่มใหญ่ ทั้ง ICT และ ENERGY ที่ทำให้ SET 50 Index Underperform SET Index ตัวหลัก ดังนั้น การเข้ารับหุ้น หรือเปิด Long Position ทันทีที่เห็นดัชนีอยู่ที่ 1,250 จุด คงไม่ใช่กลยุทธ์ที่ควรทำซักเท่าไหร่ ถึงตรงนี้ ผมมองว่า การปรับฐานจะยังดำเนินต่อไป ส่วนจะหยุดตรงไหน ก็ขอให้ใช้ 1,205.44 จุด ซึ่งผมคิดว่า น่าจะเป็นแนวรับสุดท้ายของรอบปรับฐานครั้งนี้ ในการกลับเข้าสะสมหุ้นอย่างจริงจังนะครับ จุดสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ “ราคาน้ำมัน” เพราะมันนี่ละครับ ที่ทำให้ตลาดหุ้นโลกรอบนี้เกิดอาการชักกระตุกไปตามๆกัน จากกราฟ Crude Oil ด้านบน จะเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบ เคยทำจุดต่ำสุดเมื่อปลายปี 2008 ไว้ที่ $32.40 จุดนี้คือจุดที่น่าจะบอกเราอีกรอบว่า ตลาดหุ้นโลกมีหวังรีบาวน์ได้หรือเปล่า ถ้ายืนได้ ก็มีลุ้นว่าหุ้นกลุ่มพลังงาน และโภคภัณฑ์ทั้งหลาย จะพาให้หุ้นมีรีบาวน์หลังจากนี้ แต่ยังรับกันไม่อยู่ ก็เชื่อได้เลยครับว่า 1,205.44 จุด น่าจะได้เห็นไม่ช้าก็เร็ว ปล. Tradernomics เป็นมุมมองเพื่อการเทรดในระยะสั้น ในกรอบระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนข้างหน้า โดยอาศัยดัชนี SET Index เป็นแกนหลักในการวิเคราะห์ ไม่ได้หมายถึงการเข้าเลือกหุ้นรายตัว ซึ่งอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์กับดัชนีก็ได้ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จีน จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “การลงทุน” เปลี่ยนสมดุลของโลกได้หรือไม่? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา การเปิดเสรีทางการเงินของโลก ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าออกยังที่ต่างๆสะดวกขึ้น ซึ่งต้องยอมรับกันก่อนว่า เงินลงทุนส่วนใหญ่นั้น มันก็คือเงินจากสหรัฐฯ และยุโรปเป็นหลัก แต่ในช่วงปี 2005 – 2014 ที่ผ่านมา การลงทุนในต่างประเทศของจีนนั้น โตขึ้นมากกว่า 10 เท่า และยังมีทีท่าว่าจะโตขึ้นเรื่อยๆในอีก 10-20 ปีข้างหน้า สิ่งที่คือหนึ่งในกลไกที่รัฐบาลจีนวางแผนการเอาไว้ และทำให้สมดุลของโลกนั้นยังไม่นิ่งและหยุดแช่ยาวที่สหรัฐฯอีกต่อไป พูดถึงรัฐบาลจีน การใช้เงินลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศ ควบคู่กับ สร้างความเข้มแข็งในการค้ากับประเทศพันธมิตร โดยเริ่มจากกลุ่มประเทศในตลาดเกิดใหม่นั้น ดูจะเป็นกลยุทธ์ที่เวิร์คสำหรับตอนนี้พอสมควร โดยกลุ่มประเทศที่จีนใช้ยุทธศาสตร์นี้แล้วถือว่าเวิร์คมากๆก็ได้แต่ กลุ่มประเทศในแอฟริกา, ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา โดยจีนใช้เงินลงทุนไปราวๆ $3.4 Trillion ในการสร้างอิทธิพลขยายอำนาจของตนในประเทศแทบนี้ทั้งหมด เทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้วช่วงปี 2000-2004 ที่มีเม็ดเงินลงทุนเพียงแค่ $600 Billion แล้ว ต้องถือว่า จีนมาไกลพอสมควรนะครับ การที่จีนเข้าไปมีบทบาทนั้น ในเชิงกลยุทธ์ก็ถือว่าน่าสนใจ ทั้งนี้ จีนไม่ได้ทำท่าเปิดอ้าแขนรับทุกประเทศ แต่จะใช้วิธี “รอ” รอที่ว่านี้ ก็คือการรอให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ หาที่พึ่งพิงอื่นไม่ได้ และอยู่นอกสายตาของกลุ่มมหาอำนาจฝั่งตะวันตก เมื่อนั้น จีนก็จะยื่นมือเข้าไปเป็นพระเอกขี่ม้าขาว เข้าลงทุน และให้เงินช่วยเหลือ ขยายอำนาจทางการฑูตและทางเศรษฐกิจไปในตัว คำถามคือ ถ้าประเทศตะวันออกไม่ให้ความสนใจ แล้วทำไมจีนถึงยอมไปเสี่ยงด้วย? สาเหตุก็เพราะ จีนหวังผลลัพทธ์ในเชิงยุทธศาสตร์มากกว่าเรื่องผลตอบแทนว่าจะได้เสียคุ้มหรือเปล่า นี่ล่ะ วิถีแห่งตะวันออก ยิ่งรัฐบาลของประเทศนั้นๆเป็นปรปักษ์กับมหาอำนาจเก่าอย่างสหรัฐ, ยุโรป หรือแม้กระทั่งญี่ปุ่น เนี่ย จีนชอบเข้าไปช่วยนักแล ยกตัวอย่าง การเข้าช่วยเหลือทางการเงินของจีนให้แก่ประเทศแถบละตินอเมริกานะครับ รัฐบาลเอกวาดอร์ ประกาศผิดนัดชำระหนี้ในปี 2008 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจแย่มาก การกระทำครั้งนั้น ทำให้เอกวาดอร์ เข้าถึงแหล่งเงินทุนจาก IMF หรือโลกฝั่งตะวันตกลำบากมากขึ้นไปอีก แน่นอนว่า ไม่กี่ปีต่อมา จีนก็เข้าไปให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ทั้งในรูปแบบของการลงทุน และการให้กู้ยืม พอเอกวาดอร์พ้นวิกฤตคราวนั้นมาได้ สุดท้าย ใครที่เขาจะไม่ลืมบุญคุณ ถ้าไม่ใช่จีน? แต่การเข้าช่วยเหลือของจีน ก็มีความแยบคาย และวางแผนมาอย่างดี อย่างในแง่ของการเข้าลงทุนนั้น จีนเลือกที่จะช่วยลงทุนในธุรกิจพลังงาน และแหล่งก๊าซธรรมชาติ รวมถึงลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพราะรู้แน่ๆว่า ตนเองไม่มีแหล่งพลังงานในประเทศที่เพียงพอต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว การหาพันธมิตรเช่นนี้ย่อมมีแต่ได้กับได้ หรือลองไปดูที่แอฟริกา ซึ่งขาดแคลนแหล่งเงินทุนเป็นอย่างมาก แต่รัฐบาลประเทศเหล่านั้นไม่เป็นมิตรกับสหรัฐฯ จีนก็ผลักตัวเองเข้าไปอยู่ตรงกลาง และอาสานำเงินไปลงทุน สร้างคนสร้างงาน และแน่นอนเหมือนเดิมครับ สิ่งที่จีนหวังก็คือ แหล่งก๊าซ/แร่ธรรมชาติ ซึ่งยังถือว่าอุดมสมบูรณ์ทีเดียว อย่างประเทศแองโกล่านี่ ขายน้ำมันผูกขาดให้จีนแทบจะทีเดียวเลยก็ว่าได้ หลังได้รับเงินสนับสนุนจากจีนไป นี่ไงละผลประโยชน์เบื้องหลังของผู้ที่ทำตัวเป็นพ่อพระ!! อีกทีเด็ดที่เห็นก็คือ หลังจากสหรัฐฯและยุโรป คว่ำบาตรรัฐบาลของประธานาธิปบดี Robert Mugabe แห่งซิมบับเว่ ปั๊บ จีนเข้าไปหาทันที ทำให้จีนเป็นผู้ให้แหล่งเงินทุนหลักในธุรกิจถ่านหิน และธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ของซิมบับเว่ทันที จะเห็นว่า แต่ละตัวอย่างที่ยกมานั้น จีนเข้าไปลงทุนแต่กับประเทศที่มีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับตะวันตก และถือว่า Credit Risk สูงมากๆ (ถ้ามองตามที่ฝรั่งเขามองกัน ดู Credit Rating ของแต่ละประเทศที่ผมยกเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาได้ว่า ส่วนใหญ่ได้ระดับต่ำกว่า Investment Grade ทั้งนั้น) แต่จีนกลับไม่มองว่าเสี่ยง … สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจนะครับ เพราะจีนตั้งใจจะเข้าไปพัฒนาในระยะยาว และหวังผลประโยชน์ที่ลึกซึ้งมากกว่าแค่อยากได้ดอกเบี้ยสูงๆจากการปล่อยกู้ โดยพยายามทำอะไรให้ประเทศเหล่านั้นอย่างจริงจัง ไม่ใช่ให้แค่เงินทุน แล้วคอยเรียกเก็บดอกเบี้ย และตามมาด้วย Condition มากมายอย่างที่ IMF ใช้เป็นหลักการในการให้เงินกู้ แต่วันนี้ จีนปรับนโยบาย จะหันมาเติบโตภายในประเทศนี่นา? เหตุการณ์ราคาน้ำมันและราคาสินค้า Commodity ตกต่ำอยู่ตอนนี้ บางทีก็อดคิดไม่ได้เหมือนกันว่า มันเพราะว่า สหรัฐฯต้องการบีบทั้งตะวันออกกลางและจีน ที่ลงทุนในธุรกิจนี้อย่างหนักมาตลอดต้องเสียสูญหรือเปล่า และจีนอาจเล็งเห็นความเสี่ยงระยะสั้นจากเงินลงทุนที่ตัวเองไปลงทุนในต่างประเทศ จึงเปลี่ยนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างสมดุลการเติบโตของตัวเองให้แข็งแรงเสียก่อน นอกจากนี้ ในช่วงปี 2015 ที่ผ่านมา เราได้เห็นการเดินเกมส์ในเชิงยุทธศาสตร์สำคัญๆถึง 3 อย่างด้วยกัน การพยายามทำให้ค่าเงินหยวนอยู่ในตะกร้า SDRs ซึ่งจะเริ่มต้นในปลายปี 2016 ก็จะทำให้ความเป็นสากลของค่าเงินหยวนดูดีขึ้น และมี Demand ต่อเงินสกุลนี้มากขึ้นแน่นอนในระยะยาว การเป็นพี่ใหญ่ใน AIIB (Asian Infrastructure Investment Bank) รวมกับอีก 57 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีประเทศในยุโรปบางประเทศ ก็แสดงให้เห็นว่า จีน คิดการใหญ่ไม่น้อยทีเดียว ช่วงที่เกิดปัญหาในยูเครน และรัสเซียเข้าแทรกแซงทางการทหารและช่วยเหลือกลุ่มกบฎ จนทำให้ยุโรป กับสหรัฐฯคว่ำบาตร จีนก็ใช้โอกาสที่รัสเซียลำบากในการเข้าช่วยพยุงเศรษฐกิจด้วยการซื้อขายน้ำมันกับรัสเซียในสกุลหยวน ความสัมพันธ์ของจีนกับรัสเซียก็แน่นแฟ้นขึ้นเป็นกอง 3 ยุทธศาสตร์ที่จีนเดินหมากในปีนี้ ก็เพื่อเตรียมความพร้อมให้เงินหยวน โลดแล่นบนเวทีโลกในระดับความสำคัญที่มากกว่าเดิม ซึ่งทำไปพร้อมๆกับการสร้างสมดุลการเติบโตภายในประเทศ เห็นแบบนี้ เมื่อไหร่ที่จีนแก้ปัญหาในบ้านตัวเองเสร็จ ก็รู้แน่ๆว่า เขาจะกลับมาเป็น The Last Resource แหล่งเงินทุนสุดท้ายที่มีความสำคัญ ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงของสมดุลอำนาจของโลกนี้อย่างแน่นอน ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า นี้เป็นความเห็นในมุมมองอีกด้านเกี่ยวกับนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของจีนในเวทีโลก ซึ่งแน่นอนว่า มันมีผลกระทบเชิงลบในรายละเอียดต่อโลกเช่นกัน ขอให้อ่านโดยใช้วิจารญาณส่วนตัวแต่ละบุคคล และอย่าปักใจเชื่อทั้งหมดครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SET Index ใกล้พักการปรับฐาน อาจจะได้หายใจกันบ้าง? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 SET Index เกิด New Low เมื่อวันศุกร์ ทำให้ภาพแนวโน้มของ SET Index แย่มากขึ้นไปอีก ผมอัพเดทเรื่อง นี่คือสัญญาณการกลับมาของ แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ!! ไว้ ลองไปอ่านกันก่อนนะครับ สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่าน เพื่อที่จะได้เข้าใจภาพในฝั่งของ Fund Flow บ้าง SET Index วันนี้ทำจุดต่ำสุดของวันไว้ที่ 1,251.99 จุด ก่อนจะขึ้นมาปิดที่ 1,267.61 จุด ได้แท่งเทียนสีเขียว ส่งสัญญาณ “มีโอกาสกลับตัวขึ้นระยะสั้น“ ถ้าขึ้นจริง ขึ้นไปได้ถึงเท่าไหร่? ดูในกราฟรายสัปดาห์ และกราฟรายวัน แล้วต้องห้ามหลอกตัวเองนะครับ จากกราฟจะพบว่า SET Index เปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลงในระยะยาวมาตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. ปีนี้ หลังหลุด Uptrend Line บริเวณ 1,470 จุด การจะกลับขึ้นมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง ต้องอาศัยทั้งแรงซื้อ ทั้งพัฒนาการเชิงบวกของปัจจัยพื้นฐาน และระยะเวลาที่มากพอ ถึงจะกลับมาได้ ดังนั้น นักลงทุนระยะยาว ที่ไม่ได้เข้าใจพื้นฐานหุ้นที่ตัวเองถือ (ไม่ใช่แนว Bottom Up เก่งๆ) ตอนนี้ ต้องอยู่ให้ห่างจากตลาดครับ ถ้าคิดคล้ายๆผมแบบนี้ มุมมองใน Tradernomics ที่ผมเขียนขึ้น ก็โปรดเข้าใจนะครับ ว่าเป็นมุมมองเพื่อการเทรดในระยะสั้น ในกรอบระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนข้างหน้า โดยอาศัยดัชนี SET Index เป็นแกนหลักในการวิเคราะห์ ไม่ได้หมายถึงการเข้าเลือกหุ้นรายตัว ซึ่งอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์กับดัชนีก็ได้ ไปต่อนะ… ผมมองว่า การได้แท่งเทียนสีเขียว และการดีดกลับจากจุดต่ำสุดของวันขึ้นมา 15 จุดนั้น มีนัยสำคัญเพียงพอต่อนักเทรดที่จ้องกินคำเล็กๆในคลื่นย่อยครับ บวกกับค่าเงินบาทวันนี้ที่ทรงตัว ไม่อ่อนค่าต่อเนื่อง จึงอาจเชื่อได้ว่า น่าจะมีการรีบาวน์ระยะสั้นเกิดขึ้นได้ ส่วนคำถามว่า รีบาวน์ได้ถึงแค่ไหนก็ดูกราฟนี้ครับ ผมวัด Fibbonacci Retracement คลื่นเล็ก เฉพาะคลื่นนี้ประกอบการพิจารณา เห็นว่า แนวต้านสำคัญคือ 1,280 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ SET Index เปิด Gap กระโดดลงวันนี้ นี่คือที่แรก อีกที่ก็คือ Fibbonacci Retracement ที่ 38.2% หรือ SET Index ราวๆ 1,320 จุด เป็นเป้าถัดไป เวลาอยู่ในขาลง อย่าหวังว่ามันจะเด้งไกลครับ ผมมองไว้แค่นั้นก่อน อ้าว แปลว่า Downside Risk ยังมีอยู่หรือ? กรณีที่ SET Index ไม่สามารถผ่าน 1,320 จุด ขึ้นไปได้ ในเชิงโครงสร้างแล้ว เหมือน SET Index จะยังปรับฐานไม่สุดนะครับ ถึงแม้ตรงนี้ เมื่อดู MACD ดู RSI ประกอบ แล้วเราจะรู้สึกว่า Oversold มากๆแล้ว ก็ยังไม่น่ากลับเข้าตลาดไม้หนักๆ (ไม้เบาๆเข้าได้ และเผื่อ Stop Loss ไว้) Low เดิม หรือจุดต่ำสุดเดิมของ SET Index ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2014 ที่ระดับ 1,205.44 จุด จะเป็นเหมือนแนวกำแพงสุดท้าย ที่หากพังทลาย โครงสร้างของ SET Index จะกลายเป็น Double Top ลูกใหญ่ๆ ซึ่งนักเทคนิคทราบกันดีว่า รูปแบบนี้ “นรกแตก!!” ดังนั้น ผมจึงใช้ 1,205.44 จุด เป็นแนวรับสุดท้ายของรอบปรับฐานครั้งนี้ ซึ่งอาจจะถึง หรือไม่ถึง ก็ได้นะครับ รู้แต่ว่า บริเวณ 1,205 – 1,250 จุดนี้ หาก SET Index สามารถประคองตัวไปได้ ถือเป็น Speculating Zone หรือโซนเก็งกำไรสำหรับเทรดเดอร์ และนักลงทุนระยะกลาง ที่หวังว่าดัชนีจะมีรีบาวน์ได้แรงๆ ส่วนจะแรงเท่าไหร่ ต้องรอดูต่อไปครับ ยังตอบไม่ได้ สรุปนะครับ ถ้ามีการรีบาวน์ระยะสั้น ดูแนวต้าน 1,280 จุด และ 1,320 จุด ยังควรลดพอร์ต หรือรอดูรูปแบบการเคลื่อนไหวราคา แต่ถ้ายังลงต่อ หรือไม่ผ่านแนวต้านอย่างที่คิดจริง SET Index มีแนวโน้มลงต่อ แต่น่าจะเป็นคลื่นปรับฐานคลื่นสุดท้าย ที่ควรมีการรีบาวน์แรงๆตามมา ดังนั้น 1,205 – 1,250 จุด คือ Speculating Zone กลับเข้าตลาดได้ในระยะสั้นครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
นี่คือสัญญาณการกลับมาของ แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ!! - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 เป็นอีกวันที่นักลงทุนไทยไม่อยากใส่ใจกับตลาดหุ้น ดีที่ วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันมหามงคล ที่เราได้ร่วมใจแสดงพลังให้พ่อหลวงของเรา … เท่านี้ก็สุขใจ แต่ไหนๆก็ไหนๆ อ่านด้วยใจเป็นกลางนะครับ ขออัพเดทสถานการณ์ และภาพที่ผมเห็น ฯ ตอนนี้การการลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเราหน่อย ผมเห็นสัญญาณบางอย่างซึ่งน่าจะทำให้ตลาดเกิดความกลัวมากขึ้นไปอีก 1 level นั้นก็คือ การอ่อนค่าของเงินบาท ณ ตอนนี้ มันเลยจุดที่จะกลับตัวได้ซะแล้ว ล่าสุด ค่าเงินบาทเริ่มส่งสัญญาณอ่อนค่าทะลุ 36 THB/USD อีกครั้ง และยังผ่านแนวต้าน Fibonacci Retracement 61.8% ขึ้นมาด้วย มุมมองทางเทคนิค บ่งบอกว่า การอ่อนค่าของค่าเงินบาท จะยังดำเนินต่อไป สะท้อนว่า ฝรั่ง น่าจะใช้เดือน ธ.ค. นี้ ในการปรับพอร์ต ลดน้ำหนักหุ้นไทยจริงๆ ซึ่งอาการมันเตือนมาหลายอย่างก่อนหน้านี้แล้วนะครับ 1. SET Index หลุด Uptrend Line ระยะยาว ตั้งแต่ปี 2009 2. เกิดสัญญาณ Dead Cross เมื่อกลางปี 3. กำไรสุทธิของตลาดปรับตัวลดลงอย่างน่าใจหาย 4. เศรษฐกิจยังส่อเค้าชะลอตัว และไร้การกระตุ้นระยะสั้นจากภาครัฐฯแล้ว หากเอาหลัก Behavior Finance เข้ามาจับ ตอนนี้ ก็อาจพูดได้ว่าเป็นจังหวะซื้อ สำหรับนักลงทุนระยะยาว แต่ซื้อไปก็คงหนาว เพราะหาข่าวดีแทบไม่มีเลย ล่าสุด น้ำมันยังลงต่อ มาเทรดต่ำกว่า $37 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones -230 จุด ตลาดหุ้นยุโรป ลบเฉลี่ย -1.50-2.00% ทุกคนพุ่งจุดสนใจไปที่การประชุม FOMC วันที่ 15-16 ธ.ค. ซึ่งแน่นอนว่า น่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย แต่ที่ไม่แน่นอนก็คือ ตลาดจะตอบรับอย่างไรกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในครั้งนี้? ที่น่าสังเกต และผมใช้เป็นจุดในการวิเคราะห์หลายๆครั้งก็คือ สัญญาณการเคลื่อนไหวของค่าเงิน USD เมื่อมองผ่าน Dollar Index นั้น เรากลับพบว่า ค่าเงิน USD ยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ สกุลหลักอื่นๆ (ยังไม่ผ่าน 98 จุดขึ้นมา) แสดงให้เห็นว่า เงินไหลออกจาก THB ชัดเจน และไม่ใช่เป็นการอ่อนค่าที่เดียวนะครับ ถ้าไปดูอัตรแลกเปลี่ยนของค่าเงินในเอเชียทั้งหมด จะพบว่า ช่วงนี้ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ USD ทุกสกุล ไม่เว้นแม้แต่ CNY หรือ หยวน ของจีน ทั้งๆที่เพิ่งเข้าคำนวนในตะกร้า SDR ของ IMF กลัวอะไรกันนักหนา กับอีแค่ เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยนิดๆหน่อยๆ ปัญหาคือ โลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฯไม่เคยขึ้นดอกเบี้ยเลย ขึ้นครั้งล่าสุดก็คือปี 2004 โน้น และสภาวะเหตุการณ์ในโลกก็แตกต่างจากวันนี้ไปพอสมควร เราจึงหาตัวที่พอจะเทียบเคียงเหตุการณ์ หรือ ใช้อดีตมาคาดการณ์ผลที่จะเกิดในอนาคตค่อนข้างยาก ตลาดมันเลยผันผวนแบบที่เราเห็นนี้ละครับ เมื่อมันวิเคราะห์ได้ยาก ทางที่ควรเลือกทำก็คือ รอดูผลของมันหลังการประชุม และ React ต่อตลาด ในทิศทางที่มันเคลื่อนไหวหลังจากนั้นแทน ดูจะเป็นกลยุทธ์ที่ปลอดภัยกว่า ส่วนใครอยากรู้ว่า ในมุมมองของ Technical นั้น ผมดูจุดรับตรงไหน ลึกมากเท่าไหร่ แล้วหวังเด้งได้ช่วงไหน เพื่อเป็นกรณีศึกษาและกำหนดกรอบกลยุทธ์ของตัวเอง สุดสัปดาห์นี้ จะไป Update ใน Tradernomics ให้อ่านกันนะครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
วัดอุณหภูมิตลาดหุ้นปลายปี | เมื่อเจอหมีเค้าให้มอบตัว - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 หุ้นไทยตกติดต่อกันหลายวัน เค้าว่ากันว่าแย่ แล้วมันแย่จริงมั้ย ? ลองมาแกะกราฟแกะข้อมูลสำคัญบางตัวดูกันดีกว่า จะได้รู้ชัดขึ้น 1. กำไรของหุ้นโดยรวม ๆ ใน SET Index กำไรของกิจการ (Earning) เป็นตัวสะท้อนแนวโน้มของราคาหุ้นในระยะยาว ถ้าหุ้นไหนมีกำไรเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็พอจะแทงหวยได้ว่า ราคาหุ้นนั้นควรจะไต่ระดับขึ้นไปได้เรื่อย ๆ ตราบใดที่กำไรยังโตอยู่ … ซึ่งเจ้ากำไรที่ว่านั้น เราวัดกันในหน่วย “กำไรต่อหุ้น” … และในระดับตลาดโดยรวม จริง ๆ แล้วเราก็สามารถติดตามดูกำไรต่อหน่วยของดัชนีได้เช่นกัน โดยการเอาราคาดัชนีมาหารด้วย P/E Ratio ของดัชนี [Index / (Price/Earning ratio)] และเมื่อ Price ก็คือ Index จึงตัดกันไปมาจนได้ค่า Earning ในที่สุด จากข้อมูลล่าสุด (11 ธ.ค. 58) จะเห็นว่า กำไรต่อหน่วยของ SET Index สาละวันเตี้ยลงเรื่อยมา นับตั้งแต่จุดสูงสุดเมื่อกลางปี 2013 ที่ระดับ 90 กว่า ๆ มาเหลือ 80 กว่า ๆ ในปี 2014 และล่าสุดหล่นพรวดลงมาเหลือ 57.18 ในช่วงปลายปี 2015 นี้ … แสดงให้เห็นว่า ผลประกอบการหุ้นไทยโดยรวมนั้น แย่ลงเรื่อย ๆ 2. ความถูกแพงของดัชนีเมื่อวัดในรูปของ P/E Ratio P/E Ratio หรือ Price per Earning Ratio เป็นตัวชี้วัดความถูกแพงของราคาหลักทรัพย์ที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากความง่ายในการทำความเข้าใจ … ตัวเลขสูงกว่า ก็คือแพงกว่า และตัวเลขต่ำกว่า ก็คือถูกกว่า … แต่ในความง่ายนั้น ก็มีความยากซ่อนอยู่คือ ความถูกแพงนั้นค่อนข้าง Subjective คือสองคนยลตามช่อง บางคนว่า P/E 15 เท่าคือแพง แต่บางคนก็ว่าถูกพอใช้ได้แล้ว ดังนั้นการดูค่า P/E นั้น จึงไม่สามารถดูแต่ตัวเลขที่โชว์ขึ้นมาแล้วฟันธงไปเลยได้ ต้อง “เปรียบเทียบ” กับอะไรสักอย่างเสียก่อน แล้วค่อยฟันธง เช่น ถ้าเป็น P/E ของหุ้นรายตัว ก็ต้องเทียบกับตัวมันเองในอดีตก่อน ว่าที่ผ่านมาเคยอยู่แถวไหน และยังควรเทียบกับเพื่อน ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วย ว่าหุ้นเรานั้นมัน “แตกแถว” ไปจากเพื่อน ๆ จนผิดสังเกตหรือเปล่า … SET Index โดยภาพรวมก็เช่นกัน สามารถเอาตัวเลข P/E จากอดีตจนถึงปัจจุบันมาช่วยให้ข้อมูลได้ว่า ตอนนี้มันถูกหรือแพง จากข้อมูลล่าสุด ก็จะเห็นว่า P/E Ratio ของ SET Index อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ นับจากพ้นยุควิกฤติแฮมเบอร์ในช่วงปี 2008-2009 เป็นต้นมา … P/E Ratio ที่ 22-23 เท่าในตอนนี้ จึงสามารถพูดได้ว่า “แพพพงงง มากกกก” เมื่อเทียบกับตัวมันเองในอดีต (ในยามวิกฤติช่วงปี 2008-2009 กำไรของหุ้นร่วงหนักมากก แต่ดัชนีร่วงตามไม่ทัน จึงทำให้ P/E ตอนนี้กระโดดขึ้นไปแบบพิสดาร ซึ่งไม่ควรเอามาเทียบกับตลาดในสถานการณ์ที่่ “ยังไม่วิกฤติ”) 3. แนวโน้มของดัชนีในกรอบเวลาต่าง ๆ นักลงทุนในตลาดนั้นมาจากร้อยพ่อพันแม่ มีเงินหน้าตักไม่เท่ากัน มีจุดประสงค์ในการลงทุนต่างกัน ทำให้มีรูปแบบการลงทุนสั้นยาว ต่างกันไป การวิเคราะห์แนวโน้มของดัชนี จึงอาจจะเน้นไปที่กรอบเวลาลงทุนที่เราเองสนใจก็ได้ แต่ในที่นี้จะยกมาให้เห็นทั้ง 3 กรอบเวลา คือสั้น (หลายวัน) กลาง (หลายสัปดาห์) และ ยาว (หลายเดือน/เป็นปี ๆ) โดยใช้เครื่องมือ Moving Average Convergence Divergence หรือ MACD มาช่วยจับการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้ม [ศึกษาเพิ่มเติมแบบถึงกึ๋น เกี่ยวกับ MACD ได้ที่นี่] • ดูตามกรอบเวลาระยะสั้น คือหนึ่งแท่งเทียนแสดงข้อมูลในระยะเวลา 1 วัน (Daily Time frame) จะเห็นว่า SET Index ร่วงไม่เป็นท่า เป็นแนวโน้มขาลงมาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน (โดยให้สังเกตที่หัวลูกศร MACD ชี้ลง) • ดูตามกรอบเวลาระยะกลาง คือหนึ่งแท่งเทียนแสดงข้อมูลในระยะเวลา 1 สัปดาห์ (Weekly Time frame) จะเห็นว่า SET Index ก็ผลิตแท่งเทียนไหว้เจ้า (สีแดงยาว ๆ) มาได้ 3 สัปดาห์ติดกันแล้ว ทำให้แนวโน้มระยะกลางเป็นขาลงด้วย • ดูตามกรอบเวลาระยะยาว คือหนึ่งแท่งเทียนแสดงข้อมูลในระยะเวลา 1 เดือน (Monthly Time frame) เท่ากับว่า แค่ 12 แท่งก็แสดงข้อมูลได้เต็ม 1 ปีแล้ว ซึ่งน่าตกใจว่า แนวโน้มของ SET Index เมื่อมองกันในกรอบเวลานี้ เป็นขาลง (ดูที่หัวลูกศรชี้ลง) มาตั้งแต่ปลายปี 2014 นู่นแล้ว เมื่อนำทั้ง 3 ข้อมูล 5 กราฟมาพิจารณาประกอบกัน จึงพอจะเห็นภาพว่า ผลประกอบการที่เป็นเนื้อหนังของธุรกิจจริง ๆ ของหุ้นใน SET Index แย่ลงตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แต่ P/E Ratio กลับวิ่งสวนทางขึ้นไปอยู่ในระดับสูงมากเป็นประวัติการณ์ แนวโน้มของตลาดหุ้นทุกกรอบเวลา สั้น กลาง ยาว เป็นขาลงแบบพร้อมหน้า เท่ากับว่า นักลงทุนเกือบทุกกลุ่ม ทั้งที่เทรดสั้น ถือเล่นรอบ และลงทุนยาว ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า “ตลาดไม่ดี” ซึ่งเท่ากับว่า “ขายหุ้นดีกว่าถือหุ้น” ก็พอจะสรุปได้ว่า ช่วงนี้ ใครที่ลดสัดส่วนการถือสินทรัพย์ประเภทหุ้นลงได้ ก็จะเป็นการดี จะเสี่ยงน้อยลง มีโอกาสรักษาความมั่งคั่งไว้ได้มากกว่าคนที่มียังมีหุ้นเยอะ … และที่สำคัญ ใครที่เห็นสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มของตลาด จากลงเป็นขึ้น (เช่น ดูจาก MACD Indicator) ได้ทันท่วงที และ “กล้าปรับพอร์ต” ตามข้อมูลที่ได้รับ ตอนนี้เขากำลังยิ้ม เพราะมีเงินเต็มมือ แค่รอเวลาดี ๆ ให้กลับเข้ามาซื้อใหม่เท่านั้น อย่างคนที่เล่นสั้น ถ้าดูตาม MACD เขาจะขายล้างพอร์ตไปนานแล้วตั้งแต่กลางเดือนก่อน เช่นเดียวกับคนที่เล่นรอบ หรือลงทุนยาว ถ้าดูตาม MACD เขาก็จะขายหุ้นออกไปนานแล้วเช่นกัน คือเมื่อเจอตลาดหมี เป็นแนวโน้มขาลง ก็ควรมอบตัวให้ไว คือรีบขายของออกมา อย่าไปอมไว้ให้ขาดทุนหนักขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนจังหวะที่น่ากลับเข้าซื้อนั้น ยังบอกไม่ได้ และยังไม่มีใครรู้ เมื่อเหตุปัจจัยกลับมาเกื้อหนุน ราคาหุ้นโดยรวมเริ่มฟื้นตัว เมื่อไรก็เมื่อนั้นนั่นแหละ อย่าพยายามฝืน(ทำว่า)รู้ในสิ่งที่จริง ๆ แล้วไม่มีใครรู้ … ตามดูไปอย่างใกล้ชิด แล้วปรับตัวให้ทัน จะดีที่สุดครับ หมายเหตุ: • สัญญาณจาก MACD ในที่นี้ เกิดจาก Parameter ชุดหนึ่ง ซึ่งของแต่ละคนก็อาจตั้งค่าต่างกันไป จึงอาจแสดงผลไม่เหมือนกันก็ได้ และยังมีเครื่องมืออีกหลายอย่างที่ช่วยตรวจจับการเปลี่ยนแนวโน้มของราคาหุ้น/ดัชนี เจ้า MACD แค่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเท่านั้นเอง เนื่องจากใช้ง่าย เข้าใจกลไกง่าย และให้สัญญาณค่อนข้างแม่นยำโดยเฉพาะเวลาที่ตลาดขึ้นแรงหรือลงแรง • กราฟทั้งหมดจากบริการ Aspen แท็ก: แชร์บทความ:
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SET Index ถึงจุดต่ำสุดแล้วหรือยัง? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 จาก Update ล่าสุดใน Tradernomics เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. เรื่อง “SET Index อ่อนกว่าคาด ขาขึ้น อาจต้องรอไปก่อน?” สรุปตอนท้ายบทความ ผมมีมุมมองว่า “ขาขึ้น อาจต้องรอไปก่อน” ซึ่งมาวันนี้ ภาพนั้น ถือว่ามีส่วนจริง แต่ที่ทำให้ใครหลายคนเริ่มกังวลเพิ่มขึ้นก็คือ ลงมาขนาดนี้ มันถึงจุดที่ควรซื้อแล้วหรือยัง? ตลาดหุ้นโลกค่อนข้างผิดหวังกับ 2 ประเด็นหลักๆ สิ่งนี้ กระทบกับ Sentiment หรือบรรยากาศการลงทุนพอสมควร นั้นก็คือ ผลการประชุมของ ECB และ OPEC ซึ่งทุกท่านน่าจะทราบผลไปกันแล้วนะครับ ส่งผลลบยังไง? การที่ ECB ประกาศขยายวงเงิน QE น้อยกว่าคาด — ส่งผลให้ค่าเงิน EUR ดีดกลับมาแข็งค่าระยะสั้น เกิดความผันผวนในตลาดค้าเงิน และรวมถึงตลาดหุ้นยุโรปทันที การที่ OPEC ไม่ลดกำลังการผลิต แถมเพิ่มเพดานกำลังการผลิตอีกต่างหาก — ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เนื่องจาก Supply ยังคงล้น และน่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงในปีหน้า เพราะว่าอิหร่าน ก็จะกลับมาผลิตเพิ่มเช่นกัน พอค่าเงิน EUR แข็งค่า เงินบาทก็อ่อนเมื่อเทียบกับ EUR ก็มีเงินไหลออกจากไทย พอราคาน้ำมันดิ่งลง หุ้นกลุ่มพลังงานก็กดดัน SET Index ให้ขึ้นยาก ไม่ใช่แค่นั้น ประเด็นการขาดธรรมาภิบาลของบริษัทหนึ่งใน SET50 ก็สร้างความไม่พอใจให้กับนักลงทุนสถาบันจำนวนหนึ่ง แห่เทขายปรับลดพอร์ตหุ้นตัวนี้เมื่อเปิดวันทำการแรกของสัปดาห์ แถมว่า SET Index โดนกดจากประเด็นเรื่องการเจรจาประมูล 4G ของกลุ่ม ICT มาตั้งแต่กลางเดือน พ.ย. ภาพของ SET Index เลยยิ่งกลายเป็นว่า หาเหตุผลในการขึ้นได้น้อยลงไปทุกที จากกราฟ Weekly Chart ของ SET Index จะเห็นสัญญาณที่น่ากังวลก็คือ สัปดาห์นี้ หากปิดต่ำกว่า 1,320 จุด MACD จะให้สัญญาณ Sell Signal ในกราฟรายสัปดาห์ และพอดูเหตุการณ์แบบนี้ในอดีต จะพบว่า ถ้า SET Index ได้ Buy Signal ครั้งแรกหลังจากเข้า Downtrend มาซักระยะ แล้วไม่สามารถยกตัวผ่านเส้น “ศูนย์” ได้ อย่างช่วงปลายปี 2013 พบว่า SET Index มีโอกาสจะจบรอบด้วยการ พยายามทำ New Low … โอกาสที่เราจะเห็น SET Index ต่ำกว่า 1,292.14 จุด นั้นมีสูงขึ้นเรื่อยๆนะครับ ส่วนที่จะลงไปถึง 1,205 จุด ที่เคยทำไว้ตอนต้นปี 2014 รึเปล่า ยังคงต้องรอดูกันต่อไป ผมพาไปดูความถูกแพงของ SET Index ประกอบการพิจารณาอีกด้าน จะพบว่า ตอนนี้ P/E SET Index (Historical) ถือว่าแพงสุดในรอบหลายๆปีทีเดียว จากรูปด้านล่าง จะเห็นว่า ค่า Trailing P/E ของ SET Index ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 22.87x ซึ่งถือว่าอยู่ในโซนที่แพงสุดในรอบร่วมๆ 6 ปี ซึ่งสาเหตุที่ค่า P/E มันพุ่งขึ้นมาแรงขนาดนี้ ก็เรื่องเดียวเลยครับ กำไรสุทธิของบริษัทในตลาด ออกมาต่ำกว่าไตรมาสก่อนๆค่อนข้างมาก นักวิเคราะห์ผิดหวังไปตามๆกัน การที่ค่า P/E จะสามารถปรับตัวลดลงมาได้ มีอยู่ 2 ทางเลือกครับ กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของตลาดหุ้นไทย ต้องปรับตัวดีขึ้นในอนาคต ตลาดหุ้น ต้องปรับตัวลงมาด้วยตัวมันเอง ถึงตรงนี้ ก็ต้องวิเคราะห์ดีๆนะครับ คุณว่า ค่า P/E จะลงมาด้วยสาเหตุอะไร? หรือว่าจะเทรดมันไปแพงๆแบบนี้ปีหน้าก็ยังไหว? ในมุมของผม เห็นแบบนี้ พอร์ตเราก็ไม่ควรมีหุ้นไทยเกินกว่า 20-30% แล้วครับ ใครเกินนั้นก็แนะนำให้ลดพอร์ตลงมาให้เบาๆ ถือเงินสดเยอะๆหน่อย รอดูสัญญาณ น่าจะดีกว่า สำหรับขา Short ใน SET50 Futures ก็ถือว่าเก็บกำไรตามระบบมาได้คำใหญ่ๆ เพราะ S50z15 ลงมาลึกๆจริง แถมหลุดแนวรับที่ผมเขียนโพสอัพเดทคราวที่แล้วที่ให้ไว้ที่ 840 จุด ด้วย จุดต่ำสุดเดิมของ S50Z15 ในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 824 จุด ดูทรงแล้ว มีโอกาสทดสอบ แถมมีโอกาสหลุดลงไปต่ำกว่านั้นเพื่อทำ New Low จบรอบอีกด้วย ขาลงรอบนี้ ไม่ว่าจะหยุดตรงไหน จะเป็นโอกาสซื้อของนักลงทุนทั้ง 3 Period สั้น กลาง และ ยาว นะครับ ติดตามอัพเดทกับผมได้เรื่อยๆใน Tradernomics by FINNOMENA แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Dow Jones Futures กำลังอ้าออกช้าๆเป็นรูป ..M.. - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 SET ใกล้หลุด 1300 จุด (อัพเดท ณ วันที่ 8/12/2015) แล้ว Dow Jones Futures หล่ะ…เป็นอย่างไร วันนี้ผมนายวีคิด เทรดเดอร์พ่อลูกอ่อน ลองมาวิเคราะห์กราฟแนวโน้มของ Dow Jones Futures ดูครับ ( หลังจากเมื่อวานได้เขียนแนวโน้มราคาน้ำมันโลกไปผ่านบทความชื่อ น้ำมันโลก ตอนนี้… โหดสัสรัสเซีย โซมาเลียเคลียร์ไม่ไหวจริงๆ ลองดูกราฟ Dow Jones Futures ที่ผมทำสรุปมาให้ครับ แล้วจะเห็นว่า มีโอกาสค่อนข้างสูงที่ตลาดหุ้น Dow Jones Futures จะร่วงหล่นลงไปทำเป็นรูปตัว M หรือ triple-bottom ครับ ( Chart Updated 7:30 pm.) สรุปให้อ่านอีกครั้งน่ะครับ ในมุมมองของตัวผมเอง –> Dow Jones Futures อยากจะเบรก 17900 จุด หลายครั้ง หลายรอบ แต่ไม่ผ่านซักที –> เกิดความเสี่ยงที่จะมีการขายทำกำไรช่วงแรก แล้วตามมาด้วย short sell พร้อมด้วยกลุ่ม cut loss, force sell ที่จะทำให้ dow jones futures หลุดเส้นแนวรับ (เส้นสีเขียวที่ผมตีเส้นไว้) –> แนวรับที่มีสิทธิ์จะเกิดขึ้นก็คง 17500, 17400 แล้วก็ 17000 ถึง 17052 จุดได้เลย –> ถ้าลงมาถึงบริเวณ 17000-17052 จุดได้ ตรงนั้นกราฟจะเป็น triple-bottom หรือรูปตัว M สำหรับเคสนี้นั่นเองครับ กราฟตอนนี้มี 2 patterns ที่ผมมโนอยู่ในใจ แต่อยากเอามาแชร์มุมมองกับเพื่อนๆครับ ผิดถูกอย่าหวังกัน ผมก็เม่าน่ะ –> ดัชนีได้ทำ double-top ตรง 17865-17900 จุดเรียบร้อยแล้ว ตรงนี้มองได้ว่าจะเกิดการย่อตัวของดัชนี –> พอเกิดการย่อตัวของดัชนี โอกาสที่กราฟ dow jones futures จะลงไปทำ triple-bottom บริเวณ 17000-17052 จุด ก็มีสูงครับ …แต่ถ้าดัชนีมีการร่วงหลุด 17000 จุดอีก เราจะได้รูปแบบกราฟที่ฟอร์มตัวเป็นรูปที่เรียกว่า … “ตัวใคร ตัวมัน” … ทิ้งท้ายด้วยคำคมจากเม่าสหายท่านหนึ่งที่ว่า… … “ในภาวะตลาดขาลง การลงทุนที่ดีที่สุดคือ การถือเงินสดให้มากที่สุด “… ขอบคุณที่ติดตามครับ Line Official: @wizardkid Facebook Fanpage: facebook.com/WizardKidTrader Official Website: www.wizardkidtrader.com แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
น้ำมันโลก ตอนนี้… โหดสัสรัสเซีย โซมาเลียเคลียร์ไม่ไหวจริงๆ - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ขอตามกระแสน้ำมันโลกลงโหดคืนนี้ ( 7/12/2015) หน่อยครับ อย่างที่ทราบกันดีว่าน้ำมันโลกนั้น หลุดเทรนด์ขาขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2014 (อ้างอิงจากกราฟที่โพสท์น่ะครับ) แต่คงไม่มีใครคิดว่า น้ำมันโลก ที่หลายๆคนพูดกันว่าจะมีแต่แพงขึ้นๆๆๆ และจะหมดไปจากโลกนี้ในอีกไม่นาน …ราคาจะลงมาได้โหดชนิดที่ต้องเรียกตามประสาวัยรุ่นแถวบ้านวีคิดว่า น้ำมันโลกตอนนี้…โหดสัสรัสเซียโซมาเลียเคลียร์ไม่ไหวจริงๆ ขอสรุปสั้นๆในมุมมองผมน่ะครับ —> น้ำมันโลกตอนนี้อยู่ในระดับ new low ในรอบ 6 ปีครึ่ง —> จะมองว่าเป็นขาขึ้นอีกรอบได้ ก็ต่อเมื่อดีดกลับไปยืน 50 เหรียญต่อบาร์เรล —> แนวรับ เราไม่เครียด มีเยอะเลย ตั้งแต่ 37, 32.4, 28.5, 24.84, 21.16 ส่วนเลวร้ายแบบไม่คิดว่าจะเห็นอีก ก็คงแถวๆ 16.34 เหรียญต่อบาร์เรล –> กลุ่ม OPEC ยังเพิ่มกำลังการผลิตต่อเนื่องแบบนี้ ไม่เป็นผลดีต่อราคาน้ำมันแน่นอน เพราะ supply มากกว่า demand ไปเยอะ –> เหตุผลเดียวที่จะดึงราคาน้ำมันไปแรงๆได้ ก็คงเป็น…สงครามแรงๆสักที่…ก่อการร้ายรุนแรงสักที่ (กลัวทฤษฏีสมคบคิดแบบนี้จริงๆ อย่าให้เกิดอีกเลยน่ะ) มุมมองเทรดเดอร์สายมวยวัดอย่างวีคิด —> ถ้ามองน้ำมันลงอยู่ก็เน้น short sell กลุ่มพลังงาน (มีหุ้น มี tfex มี dw ถ้ารักความเสี่ยงก็ลุยได้) —> หาหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดตัวลง —> แล้วหากลุ่มที่เสียประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลง —> ระวังตลาดรวมมากๆ เพราะน้ำมันลงแรง มักตามมา ด้วย market collapse (มุมมองส่วนตัวน่ะครับ) –> ถือเงินสด ทำการบ้าน เฝ้าตลาดเรื่อยๆ แล้วก็ …รออย่างมีสติ…อันนี้อาจจะช่วยได้ดีเลยครับ ผมทำสรุปกราฟมาให้ดู โดยกราฟน้ำมัน สามารถเปิดหาดูฟรีได้จาก http://www.investing.com/commodities/crude-oil ครับ เว็บนี้ดีและฟรี อยากให้คนไทยหันมาใช้กันเยอะๆ รูปที่ 1 วิเคราะห์ราคาน้ำมันโลกโดย Wizard Kid เห็นกราฟน้ำมันโลก…แล้วปวดตับจริงๆ ใครจะคิดว่ามันจะลงได้ขนาดนี้ ว่าแล้วก็พาลนึกถึงหุ้นในตลาดหุ้นบ้านเราบางตัวที่จะขาดทุนจากการลงของน้ำมันโลกจริงๆครับ โหดร้าย T__T Line Official: @wizardkid Facebook Fanpage: facebook.com/WizardKidTrader Official Website: www.wizardkidtrader.com แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wizard Kid พีร์ บุญชนะวิวัฒน์ (Wizard Kid) อดีตโบรกเกอร์หนุ่มผู้ผันตัวมาเป็น Prop. Trade ด้านอนุพันธ์และหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์สองแห่งในอดีต ปัจจุบันลาออกมาเป็นเทรดเดอร์อาชีพเต็มตัว รวมถึงวิทยากรรับเชิญให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงองค์กรต่างๆ และเป็นเจ้าของแฟนเพจสุดเฟี้ยวในชื่อ "Wizard Kid"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
มุมมองการลงทุนปี 2016 โดยหนึ่งในสุดยอดผู้จัดการกองทุนของโลก Michael Hasenstab - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมานี้ผม (แอดไม่มึน) ได้มีโอกาสไปฟังสัมมนาเรื่อง Global Divergences: Sorting the Wheat from the Chaff มาครับ ซึ่งบรรยายโดย Michael Hasenstab, Ph.D. Executive Vice President, Chief Investment Officer, Templeton Global Macro หนึ่งใน Bond Fund Manager ที่เก่งที่สุดในโลก โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ Monetary Policy Divergence ต้นเหตุของการทะยานขึ้นของหุ้นญี่ปุ่น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีหลายประเทศที่ประกาศนโยบายทำ QE มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักๆก็ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น แต่นโยบายการเงินของแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งประเทศที่มีความพิเศษที่สุดในระยะหลังนี้คงต้องยกให้ญี่ปุ่นเลยล่ะครับ ทำไมนโยบายการเงินและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นถึงมีความพิเศษกว่าประเทศอื่น? เนื่องจากทางญี่ปุ่นมีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวมายาวนาน ประกอบกับโครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นมีสัดส่วนเป็นผู้สูงอายุเยอะ วัยแรงงานน้อย ทำให้มีการใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่น้อย ส่งผลให้มีปัญหาสัดส่วนหนี้สินต่อ GDP ที่สูงต่อเนื่องมายาวนาน ทางรัฐบาลญี่ปุ่นเองจึงต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดสัดส่วนหนี้สินต่อ GDP ดังกล่าวผ่าน 3 แนวทางหลัก คือ 1) กระตุ้นให้ถึงเงินเฟ้อเป้าหมาย 2% ภายในปี 2016 2) ลดการใช้ก่อหนี้ภาคการคลัง 3) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจึงกดดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำพร้อมทั้งใช้การทำ QQE เป็นนโยบายการเงินเข้าช่วยในการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินโดยเฉพาะตราสารหนี้ ประกอบกับทางญี่ปุ่นเองก็มีการปฏิรูปนโยบายการลงทุนของ Pension fund ที่ให้มีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เงินเยนมีการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง และสินทรัพย์ต่างๆมีราคาที่สูงขึ้น ทำให้จะเห็นได้ว่าหุ้นญี่ปุ่นมีผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ผ่านมา ผลกระทบดังกล่าวทำให้สัดส่วนสินทรัพย์ของธนาคารกลางญี่ปุ่นต่อ GDP ทะยานขึ้นสู่ระดับ 70% ต่อ GDP ในขณะที่อเมริกาและยุโรปอยู่ในระดับเพียง 30% ต่อ GDPเท่านั้น และยังส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยที่มากขึ้น เพราะคนมีเงินขึ้นจากการที่สินทรัพย์ต่างๆราคาขึ้น และนำไปสู่เงินเฟ้อในที่สุด การบริโภคและภาคบริการกุญแจสำคัญสู่โมเดลการเติบโตใหม่ของเศรษฐกิจจีน หลังจากที่ทางการจีนได้ประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ เราก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมาย โดยเฉพาะการตั้งเป้าให้เครื่องยนต์หลักทางเศรษฐกิจมาจากภาคการบริโภคแทนการลงทุนและอุตสาหกรรมแบบในอดีต โดยทาง Templeton Global Macro คาดการณ์ว่าข้อมูลสัดส่วนของภาคการบริโภคต่อ GDP ที่ทางการจีนประกาศออกมามีสัดส่วนที่น้อยกว่าสัดส่วนที่เกิดขึ้นจริง ประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นที่น่าจับตาว่าเศรษฐกิจจีนไม่ได้ถึงกับเกิด Hard landing ในภาค real sector แต่ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนยังสะท้อนผ่านการมีสังคมเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีอัตราการเป็นสังคมเมืองที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกไปแล้ว ซึ่งก็ส่งผลให้ธุรกิจในภาคการบริการจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นตามรอยประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งนั่นสะท้อนถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่มีการปฏิรูปมาพึ่งพาตัวเองที่มากผ่านภาคการบริโภคและการบริการต่างจากในอดีตที่เน้นแต่ด้านภาคอุตสาหกรรมและการผลิต โดยแนวโน้มดังกล่าวยังสอดคล้องกับมุมมองของ Wang Jianlin เศรษฐีที่รวยอันดับต้นๆของจีนแห่ง Wanda Group เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเครือข่ายโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในจีนที่มองว่า อุตสาหกรรมที่เป็นโอกาสสูงสุดในขณะนี้ของคนรุ่นใหม่ของจีนได้แก่ Sports, Entertainment และ Tourism โดยจัดเป็น “modern” service industry ของยุคนี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งทางแอดมึนก็มีมุมมองว่า จีนน่าจะยังมีการประคองการเติบโตได้ดีต่อไปในระยะเวลาช่วงเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่จะเน้นการพึ่งพาตัวเองผ่านทางภาคการบริโภคและการบริการ และเชื่อว่า ธุรกิจในภาคบริการน่าจะกลายมาเป็นกลุ่มธุรกิจดาวรุ่งของจีนในยุคถัดไป แนวโน้มของการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed กับผลกระทบที่แตกต่างต่อ Emerging markets แนวโน้มของการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลกระทบต่อ Emerging markets ในแต่ละประเทศอย่างแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศว่าพึ่งพิงปัจจัยใดเป็นสำคัญ โดยหลังจากที่ทาง Fed มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้เกิดเหตุการณ์เงินทุนไหลออกจาก Emerging markets ทั่วโลก ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่าประเทศไหนที่มีความเสี่ยงประเทศที่สูง ด้วยการดูาภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (Current account deficit) ในระดับที่มาก เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP จากในสมัยวิกฤตเศรษฐกิจ 1997 ของกลุ่ม Emerging markets ในเอเชีย ก็พบว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของกลุ่ม Emerging markets ในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ยกเว้น รัสเซีย ตุรกี เวเนซูเอลา อาร์เจนตินา และแอฟริกาใต้ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันมีการปล่อยให้ค่าเงินเป็นไปตามกลไกตลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มประเทศเกิดใหม่เหล่านี้พอมีค่าเงินอ่อนลงจากเงินทุนไหลออก ก็มีแนวโน้มส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าน้อยลง ต่างจากสมัยที่ยังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งนั่นทำให้มีการนำเข้าสินค้าจนส่งผลกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มหาศาล เมื่อตราสารที่ปลอดภัยที่สุดอาจกลายเป็นตราสารที่เสี่ยงที่สุด การแสวงหาผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำในภาวะที่ดอกเบี้ยจะกลับมาเป็นขาขึ้นต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราอาจจะเข้าใจว่าสินทรัพย์อย่างตราสารหนี้เหมือนจะเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่กลับกันในช่วงอนาคตอันใกล้ตราสารหนี้โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะยาวและ High yield bond มีแนวโน้มจะกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงที่สุด เนื่องจากหากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ราคาของตราสารหนี้เดิม เช่น พันธบัตรหรือหุ้นกู้ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ถือตราสารหนี้เดิมอยู่มีผลขาดทุนทางราคาได้หากถือตราสารไม่ครบกำหนดระยะเวลา ซึ่งโดยทั่วไปนั้นการขาดทุนที่จะเกิดขึ้นจะมีผลมากในตราสารหนี้ระยะยาว ทาง Templeton เอง ก็มีการลด Duration ของพอร์ตตราสารหนี้ผ่านการถือตราสารหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นด้วย นักลงทุนทั้งหลายก็ควรทำเช่นนั้นนะครับ ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง Global Divergences: Sorting the Wheat from the Chaff โดย Dr. Michael Hasenstab, Ph.D. , Executive Vice President, Chief Investment Officer, Templeton Global Macro จาก Franklin Templeton Investments และทาง Thanachart Fund Management ที่เชิญไปร่วมสัมมนาดีๆ แบบนี้ครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Vorayuth Investment Strategist ไฟแรงจาก INFINITI Global Investors ที่มาพร้อมกับ Passion ในด้านการเงินการลงทุนกับดีกรีรางวัลจากการแข่งขันทางด้านการเงินลงทุนตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยและมัธยม อาทิ รางวัลชนะเลิศ CFA Institute Research Challenge in Thailand 2014-2015 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 SET Investment Star จาก YFS 2014 และรางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับธปท.
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SET Index อ่อนกว่าคาด ขาขึ้น อาจต้องรอไปก่อน? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 จาก Update ล่าสุดใน Tradernomics เมื่อวันที่ 18 พ.ย. “SET Index ยังอยู่ในกรอบขาขึ้นไหม?” เหมือนวันนี้ ตลาดหุ้นไทยเราจะเฉลยแล้วว่า ขาขึ้น ที่คาดว่า อาจจะมีในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี อาจจะต้องรอไปก่อน ผมพาย้อนกลับไปดูอดีตสั้นๆซักหน่อย ว่าโดยรวมผมคิดยังไงนะครับ จากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่ฝรั่งเศส คืนวันที่ 13 พ.ย. ผลตอบรับของตลาดหุ้นทั่วโลกในสัปดาห์ถัดมา กลับกลายเป็นว่า ค่อนข้างแข็งแกรงกว่าที่คาด ทำให้มุมมองของนักลงทุน คาดว่า เหตุการณ์น่าจะคลี่คลายในทางที่ดี และ SET Index มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ แต่กลับกลายเป็นว่า แรงขายในตลาดหุ้นไทยกลับมาอีกครั้ง โดยไม่ได้มีปัจจัยลบเข้ามากระทบในช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว และดันมีแรงขายหนักขึ้นเมื่อตลาดหุ้นจีนปรับฐานหนัก จนทำให้ SET Index หลุดจากกรอบขาขึ้น Uptrend Channel อีกรอบ อัพเดทคราวที่แล้ว ผมบอกให้ดู SET50 Futures ประกอบด้วย ปรากฎว่า S50Z15 ก็หลุด Uptrend Line ขาขึ้นไปตั้งแต่วันพฤหัสฯที่แล้ว แนวรับที่ให้ไว้คือ 877.10 จุด หลุดเมื่อไหร่ แปลว่า ควรกลับข้างสัญญา จาก Long Position เป็น Short Position หรืออย่างน้อยๆ ก็ต้องงดเก็งกำไรไปก่อน มาวันนี้ S50Z15 ปิดที่ 867.40 จุด หรือลงมาจากแนวรับร่วมๆ -10 จุด แนวรับถัดไปของ SET Index คือจุดต่ำสุดของรอบระยะสั้นบริเวณ 1,340 จุด ซึ่งตรงกับ S50Z15 บริเวณ 844 จุด (ซึ่งถือว่า อาจจะลึกเกินไปซักหน่อย สำหรับคนที่เสี่ยงถือ L เพื่อเก็งกำไรระยะสั้นมากๆ) เพราะตลาดเสีย Sentiment ขาขึ้นระยะสั้นไปแล้ว รวมปัจจัยกดดันตลาดในช่วงที่ผ่านมา การเทขายของกลุ่ม ICT หลังตลาดเริ่มคิดขึ้นมาว่า การประมูลคลื่น 900 MHz กลางเดือน ธ.ค. อีก 2 ใบ เราอาจได้เห็นการแข่งขัยที่ดุเดือดมากขึ้นกว่ารอบแรก และทำให้ราคาประมูลสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยลบต่อหุ้นทั้งกลุ่มนี้ ตอนนี้ กลุ่ม ICT ทำ New Low ในรอบเกือบๆ 3 ปี ไปแล้วนะครับ MSCI มีการปรับน้ำหนักการคำนวนดัชนีวันนี้ (30 พ.ย.) ซึ่งทำให้หุ้นตัวที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะถูกลดน้ำหนัก มีแรงเทขายออกมาพอสมควร โดยเฉพาะจากนักลงทุนต่างชาติ และสถาบัน หุ้นกลุ่ม Energy ถูกนักลงทุนต่างชาติขายมากสุดในรอบนี้ กลต. ของจีน เข้าตรวจสอบธุรกรรมผิดปกติ และเกิดแรงขายในตลาดหุ้นจีนอย่างหนัก โดยเฉพาะกลุ่มโบรกฯ รวมกับ การที่ทางการจีนรายงาน ตัวเลข Industrial Profit เดือน ต.ค. ที่ลดลง -4.6% ทำให้ตลาดกังวลว่า GDP Growth จะต่ำกว่าเป้าที่ทางการคาดไว้หรือเปล่า … เลยเกิดแรงขายในตลาดคู่ค้าของจีนทั้งเอเชียตามมาด้วย เหตุผลข้อ 1. และ ข้อ 2. นี่ผมให้น้ำหนักว่ามันกดดันดัชนี SET Index ไว้มากกว่าข้อ 3. ครับ สัปดาห์นี้ มีการประชุม ECB วันที่ 3 ธ.ค. ถ้าผลออกมาว่า มีการเพิ่มวงเงิน QE เชื่อว่า เป็นลบต่อหุ้นส่งออก ที่ส่งสินค้าไปยุโรป เนื่องจากแนวโน้มค่าเงิน EUR จะอ่อนค่าไปอีก ในด้าน Fund Flow ตอนนี้ เงินลงทุนต่างชาติ พุ่งเป้าให้ความสนใจกับตลาดฝั่งยุโรป และสหรัฐฯ มากกว่าที่อื่น เพราะกำลังมี Event สำคัญๆเกิดขึ้นในเวลาใกล้กัน ส่วนแฟนหุ้นกลุ่มน้ำมัน ต้องจับตาการประชุม OPEC ว่าสุดท้ายแล้ว… จะหาทางลงร่วมกันในการทำให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นไปมากกว่านี้ได้ไหม? จะยอมลดกำลังการผลิตบางส่วนเพื่อช่วยสมาชิกที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดหนักๆหรือเปล่า จุดนี้ ทำให้ช่วงนี้ SET Index น่าจะยังไม่เลือกทางขึ้นได้ก่อนจะเกิดความชัดเจน แถมกลุ่ม ICT ถ้าตลาดเลือกเล่นทางลงก่อนการประมูลแบบนี้ ผมมองว่า กว่าจะขึ้นได้ อาจต้องรอหลังการประมูล ดังนั้น แรงซื้อกลุ่ม ICT ก็น่าจะยังไม่มีเช่นกัน รวมๆกันแล้ว “ขาขึ้น” อาจต้องรอไปก่อนครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เก็บตกจากงาน Siam Quant กับ 3 Indicators ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเทรด - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 บทความนี้เป็นการสรุป 3 Indicators ที่ผมได้ทำการแนะนำในงาน Siam Quant ในวันนี้ซึ่งได้แก่ Asian Dollar Index, FundTalk Baht Momentum และ Credit Default Swap เผื่อท่านที่่ไม่สามารถหาบัตรได้ หรือคนที่วันนี้ฟังไม่ทันครับ ทั้งสามปัจจัยจัดเป็น Indicators ที่นิยมใช้กันในกลุ่มนักลงทุนสถาบัน และเป็นตัวแปรชนิด Leading Indicator สามารถใช้ในการพยากรณ์ทิศทางของ SET ได้ดีทีเดียวครับ จบไปแล้วครับกับงาน Siam Quant ครั้งแรกในเมืองไทย บรรลุวัตถุประสงค์ในการ kickstart ประเทศไทยเข้าสู่ Quant Era รวมถึงการทำให้การลงทุนอย่างเป็นระบบเป็นที่ยอมรับมากขึ้น พูดเลย ว่างานนี้เต็มอิ่มทั้งคนพูด และคนจัด ผมเพิ่งได้รู้จักคุณมด แมงเม่าคลับได้ไม่นาน แต่ขอบอกตรงว่าประทับใจ รู้สึกได้ถึงพลัง และ passion ในการทำสิ่งที่ตัวเองรักของคุณมดอย่างเต็มเปี่ยม เอาว่าผมฟังแล้วรู้สึกสดชื่่นตื่นตัวขึ้นมาทันที ล่าสุดก็อดไม่ได้ขอชวนคุณมดมาร่วม featuring ใน FINNOMENA ด้วยในฐานะกูรูรับเชิญที่จะมาร่วมให้ความรู้กับนักลงทุนบ้านเราครับ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ประเด็นสำคัญอันหนึ่งจากงาน Siam Quant วันนี้ซึ่งทั้งผมและคุณมดพูดในทิศทางเดียวกัน คือการใช้ปัจจัยพื้นฐาน หรือ Indicators อื่น ๆ มาประกอบในการสร้าง Model ซึ่งได้มีการทำ Backtesting ให้ดูหลาย Model ในงาน Siam Quant ที่ผ่านมา สำหรับปัจจัยที่ Run ออกมาแล้วได้ผลลัพธ์ดี ๆ ก็มีตั้งแต่ Low Beta, Small Cap, High ROA ฯลฯ โดยส่วนหนึ่งใน session ของผมเป็นเรื่องการแนะนำ Indicator ต่าง ๆ ที่ผมใช้เป็นเครื่องมือหากินหลักในการมองทิศทางของ SET ในขณะที่ทำงานเป็นผู้จัดการกองทุน และ CIO มาแชร์ให้นักลงทุนได้รู้จักกัน Asian Dollar Index Asian Dollar Index หรือ ADXY คือดัชนีที่สะท้อนค่าเงินของประเทศในกลุ่ม Emerging Asia อย่างอาเซียน อินเดีย และจีน ถ้า ADXY เพิ่มขึ้นหมายถึงค่าเงิน Emerging Asia แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้า ADXY ปรับตัวลดลงหมายถึงค่าเงิน Emerging Asia อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ วิธีการใช้งานเจ้า ADXY ที่ผมเคยทดลองแล้วเวิร์ค คือการเข้าลงทุนใน SET เมื่อ ADXY มีสัญญาณเปลี่ยนทิศจากลดลงเป็นเพิ่มขึ้น (Trend Reversal) ถ้าถามผมต่อว่าผมใช้อะไรเป็นตัววัด Trend Reversal คำตอบคือผมใช้ “ตา” มองเอาครับ สำคัญคือตาคู่นั้นต้องจับจ้อง Indicators เหล่านี้เป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง และนำ Indicator หลาย ๆ ตัว รวมไปถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่าง ๆ มาประกอบกันเพื่อกำหนดมุมมองการลงทุน ซึ่งผมเรียกว่าการเทรดโดยใช้ประสบการณ์ (Experienced Trading) ซึ่งเป็นการใช้ทั้ง Quant และ System Trade เป็นตัวประกอบการตัดสินใจการลงทุน รูปที่ 1 ADXY Index (สีขาว) เปรียบเทียบกับ SET Index (สีส้ม) | ที่มา: Bloomberg จากรูปที่ 1 ที่ผมแรเงาเป็นสีแดงหมายถึงเวลาที่ ADXY เริ่มพลิกจากขาขึ้นเป็นขาลง ซึ่งในหลาย ๆ กรณีที่ผ่านมามักตามมาด้วยการปรับลดลงของ SET เช่นเดียวกับแถบแรเงาสีเขียวซึ่งเป็นการกลับตัวขึ้นของ ADXY ซึ่งมักตามมาด้วยการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ SET เช่นกัน ในแง่ของหลักเหตุและผลการแข็งค่าของ ADXY ย่อมหมายถึงภาวะเงินไหลเข้าในตลาด Emerging Asia ดังนี้นการที่หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นก็ย่อมฟังแล้วเป็นเหตุเป็นผลกันได้ดีครับ ล่าสุด ณ จุดนี้สัญญา ADXY ดูจะมีโอกาส reverse เป็น uptrend ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับ SET ครับ Kingdom of Thailand – Credit Default Swap Rate CDS หรือ Credit Default Swap อธิบายเป็นภาษาคน คือธุรกรรมการทำประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัท หรือประเทศ เช่น CDS ของบริษัท PTT 1 ปี = 3% หมายถึงว่าเราสามารถจ่ายเงิน 3% เพื่อเป็นเบี้ยประกันความเสี่ยงที่ PTT จะเจ๊งได้ในระยะเวลา 1 ปี ถ้า PTT ไม่เจ๊งเราก็ต้องจ่าย 3% ให้ธนาคารผู้ขายประกันความเสี่ยง แต่ถ้า PTT เกิดเจ๊งขึ้นมาธนาคารผู้ขายประกันความเสี่ยงก็ต้องชำระคืนเงินต้น 100% ให้กับผู้ซื้อประกัน ในต่างประเทศความสัมพันธ์ของ CDS Spread กับราคาหุ้นนั้นมักอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ถ้าวัดด้วย Correlation บ่อยครั้งจะสูงกว่า 80% สัญญาณ CDS ของความเสี่ยง Credit ประเทศไทย หรือ Kingdom of Thailand CDS 5 Year หรือ KOTCDS 5 Y เป็น indicator ตัวหนึ่งที่มีการซื้อขายจริงในตลาด interbank และจากการสังเกตเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลของ CDS ตัวนี้ตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็พบว่าเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่ใช้เป็น leading indicator ของ SET Index ได้ดีทีเดียวครับ รูปที่ 2 KOT CDS Spread 5Y (สีขาว) เปรียบเทียบกับ SET Index (สีส้ม) | ที่มา: Bloomberg จากรูปที่ 2 วิธีการใช้งาน CDS ก็คล้าย ๆ กับ ADXY แต่เป็นส่วนกลับครับ เวลา CDS พลิกจากลงเป็นขึ้น (แถบสีแดง) สะท้อนความเสี่ยงเครดิตของประเทศไทยที่มากขึ้น ซึ่งมักจะมากับภาวะ SET ที่ราคาถูกกดดันลง ขณะที่เวลา CDS กลับทิศจากขึ้นเป็นลง (แถบสีเขียว) ก็สะท้อนว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของประเทศไทยที่ลดลง และมักจะมากับภาวะตลาดหุ้นที่สดใส ล่าสุด สัญญาณ CDS ของประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงปรับตัวลดลง ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีใช้ได้เลยครับ สำหรับสัญญาณอีกอันที่ผมพูดในงาน Siam Quant คือ FundTalk Baht Momentum ซึ่งเป็นสัญญาณโปรดของผมอีกอันหนึ่งในการจับสัญญาณ SET Index ซึ่งผมเคยเขียนเป็นบทความให้ท่านผู้อ่านไว้แล้ว ที่นี่ ครับ สุดท้ายนี้ผมก็หวังว่าท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านบทความของผมฉบับนี้จะได้นำ Indicators เหล่านี้ไปศึกษาเพิ่มเติม หรือไปต่อยอดในการทำ System Trade ต่าง ๆ และทำให้การลงทุนของแต่ละคนมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ แท็ก: adxy CDS แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Next station...อินเดีย? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 หากจะเลือกนำเงินของเราไปหาผลตอบแทน จากลงทุนในประเทศใด สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก็คือการขยายตัวทาง “เศรษฐกิจ” และ โอกาสการเติบโตของ “ธุรกิจ” ในประเทศนั้น ซึ่งหากดูตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ของนานาประเทศแล้ว ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB คาดว่าปีนี้ “ทวีปเอเชีย” จะโตได้เร็วที่สุดในโลกที่ 6% และพระเอกที่น่าจับตามองก็คือ “อินเดีย” ประเทศที่คาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวถึง 7.8% ในปีนี้ และ 8% ในปีหน้า เช่นเดียวกับที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เชื่อว่าในปีนี้ “อินเดีย” จะโตได้เร็วกว่า “จีน” สำหรับ “จุดเด่น” ของ “อินเดีย” ที่ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสนับสนุนความเนื้อหอม ก็มีทั้ง ประชากรจำนวนมาก ที่กำลังจะกลายเป็นอันดับ 1 ของโลก อินเดีย มีประชากรประมาณ 1.31 พันล้านคน (18% ของประชากรโลก) เป็นรองแค่ประเทศจีนที่มีประชากรประมาณ 1.38 พันล้านคน (19% ของประชากรโลก) เท่านั้น แต่ทางสหประชาชาติ หรือ UN (The United Nations) คาดการณ์ว่าภายในปี 2022 อินเดียจะมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกที่ 1.4 พันล้านคน แซงหน้าจีนที่ประชากรจะค่อยๆ ทรงตัวและลดลงในปี 2030 ซึ่งประชากรจำนวนมากเหล่านี้จะกลายเป็นแรงงานสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการผลิต และเศรษฐกิจของอินเดียในระยะต่อไป แรงงานมากกว่าครึ่งอยู่ในภาคบริการ 55% ของประชากรอินเดีย ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมบริการ ที่มีศักยภาพ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล อีกทั้งรัฐบาลยังตั้งเป้าหมายชัดเจนในการผลักดัน ให้สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้น เป็น 80-85% ของจำนวนประชากร นอกจากนั้นคนอินเดียยัง “มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและ IT” อย่างดี ทำให้อินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกบริการซอฟแวร์อันดับต้นๆ ของโลก และเมืองบังกาลอร์ ของอินเดีย ก็ได้กลายเป็น Silicon Valley แห่งเอเชียไปเรียบร้อยแล้ว อินเดีย “ปฏิรูปเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม” หลังจากการเมืองในประเทศมีเสถีบรภาพ อินเดียได้ริเริ่มกระบวนการปฎิรูปเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม ผ่านแผนสนับสนุนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เพื่อผลักดันให้อินเดียเป็นฐานการผลิตใหม่ของโลก ภายใต้แนวทาง “Made in India” ปัจจัยเหล่านี้เองที่เป็นสิ่งตอกย้ำศักยภาพการเติบโตของอินเดียในระดับสูง ที่สำคัญยังส่งผลโดยตรงต่อการขยายตัวทาง “เศรษฐกิจ” และ โอกาสการเติบโตของ “บริษัทจดทะเบียน” แต่เหรียญมี 2 ด้านเสมอ เมื่อมีโอกาส ก็ย่อมมีความเสี่ยงควบคู่ไปด้วยกัน “ความเสี่ยง” ทางเศรษฐกิจและการลงทุนใน “อินเดีย” ที่ต้องจับตามอง ประกอบไปด้วย สัดส่วนหนี้ต่อทุนของภาคเอกชนในอินเดียพุ่งกว่า 200% โดย Bloomberg ได้รายงานตัวเลขหนี้ต่อทุน (debt to equity ratios) ของบริษัทในอินเดียที่เพิ่มขึ้นจาก 36 ในปี 2005 เป็น 476 ในปีนี้ ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 200% ซึ่งทาง Goldman Sachs ระบุถึงสาเหตุดังกล่าวว่ามาจากการลงทุนอย่างหนักของบรรดาภาคเอกชนซึ่งทำให้เกิดแรงกดดันจากกำลังการผลิตส่วนเกิน ผลกระทบจากเศรษฐกิจจีน แม้เศรษฐกิจของอินเดียจะได้อานิสงค์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ระดับต่ำ แต่ก็ไม่สามารถปฎิเสธผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ที่มีต่อตลาดการเงินทั่วโลกได้ ตัวเลข FPI ที่ลดลง Bank of America Merrill Lynch รายงานคาดการณ์การลงทุนจากต่างประเทศ หรือ FPI (Foreign portfolio investment) ในอินเดียว่า เงินทุนไหลเข้า (inflow) มีโอกาสลดลงแตะ $1.5 หมื่นล้าน ในปีนี้ด้วยสาเหตุ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารกลางอินเดีย (RBI) อาจออกมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความน่าสนใจในดินแดนภารตะ ซึ่งมีทั้งโอกาส และความท้าทายรออยู่ข้างหน้า ขึ้นอยู่กับว่าเราให้น้ำหนักกับส่วนไหน และในฐานะนักลงทุนจะเลือก “ลงทุน” ให้ “คุ้มค่ากับความเสี่ยง” อย่างไร? ในโลกของการลงทุน…อะไรที่ดูง่าย ย่อมให้ผลตอบแทนยาก Robert Arnott – บทความจาก www.set.or.th แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Wealth Me Up เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี เจ้าของแนวคิด 'ใช้แรงทำเงิน ให้เงินทำงาน' นักจัดรายการ นักเขียน นักคิด นักพูด ด้าน Personal Finance (การเงินส่วนบุคคล)
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ญี่ปุ่น จะอัดฉีดเงินเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 จนถึงตอนนี้ นักลงทุนไทยที่เอาเงินใส่กองทุนรวม แล้วไปซื้อหุ้นในตลาดญี่ปุ่น ก็เริ่มตั้งความหวังกันมากขึ้นเรื่อยๆแล้วว่า เราเห็นเศรษฐกิจญี่ปุ่น ยังชะลอตัวแบบนี้ รัฐบาลก็ดี ธนาคารกลางญี่ปุ่นก็ดี จะมีมาตรการอะไรออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า? เศรษฐกิจญี่ปุ่น ยังไม่ดีขึ้น? GDP 3Q2015 ติดลบ -0.8% ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ที่ติดลบแค่ -0.2% ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคภายในประเทศที่ลดลง -1.2% เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน แปลว่า ตอนนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่น อยู่ใน Technical Recession อีกครั้งจริงๆ อีกทั้ง แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ไม่สดใส หลังจากที่ IMF ปรับประมานการณ์เศรษฐกิจไป ทำให้บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นไม่มั่นใจที่จะลงทุน เศรษฐกิจญี่ปุ่นจึงไม่มีส่วนที่จะมาชดเชยการบริโภคที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นกลับแตกต่างกันพอสมควรครับ เพราะกำไรจากการดำเนินงานโดยเฉลี่ยของบริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่ใน Nikkei225 ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 7.7 พันล้านเยน สาเหตุสำคัญ ก็เป็นเรื่อง การปรับโครงสร้างองค์กรภายใน และการอ่อนค่าของค่าเงินเยน ที่ช่วยให้การส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มองอย่างไร? ในการประชุม BOJ เมื่อปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา BOJ ไม่ได้มีการส่งสัญญาณใดๆว่าจะกระตุ้นด้วยมาตรการอะไรเพิ่มเติม โดยบอกว่า เงินเฟ้อ ยังอยู่ในทิศทางที่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ระดับ 2% ได้ภายในปีหน้า (2016) สิ่งนี้ ทำให้นักวิเคราะห์สงสัย และแปลกใจพิสมควร เมื่อเทียบกับตัวเลข GDP ที่ออกมาค่อนข้างแย่ เมื่อวานมีการเปิดเผย สรุปผลการประชุม BOJ ออกมา พบว่า มีความเห็นของที่ประชุมบางส่วน เห็นปัจจัยกดดันที่อาจจะทำให้เงินเฟ้อไปไม่ถึงเป้าหมาย 2% อย่างที่ตั้งใจ นั้นก็คือ “Output Gap” Output Gap ก็คือ ส่วนต่างระหว่างกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริง ณ ปัจจุบัน กับ ประสิทธิภาพที่สามารถผลิตได้จริง … ซึ่งปัจจุบัน ตัวเลขนี้ติดลบ แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตนั้น ผลิตได้น้อยกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น ซึ่งตีความได้ว่า ผลิตน้อย ก็เพราะความต้องการน้อยลง เมื่อความต้องการใช้สินค้ามันน้อยลง แล้วเงินเฟ้อมันจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร? แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ นี่เป็นความเห็นส่วนน้อยของที่ประชุม เพราะส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า เงินเฟ้อน่าจะถึงเป้าหมายได้ในครึ่งปีหลังของปีหน้า แต่ความเสี่ยงก็คือ ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ อาจจะทำให้เงินเฟ้อมาช้ากว่าที่คิดก็ได้ ถึงตอนนี้ รัฐบาลญี่ปุ่น มีมาตรการอย่างไร? รัฐบาลเพิ่งประกาศว่าจะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำปีละ 3% เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย บวกกับ นโยบายจูงใจให้ผู้หญิงญี่ปุ่น เข้าสู่ระบบการทำงานมากขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกแรง รวมถึงลดข้อกฎหมายเรื่องการลงทุนต่างๆจูงใจให้บริษัทญี่ปุ่นกล้าลงทุนเพิ่ม ดูเหมือนความพยายามที่รัฐบาลญี่ปุ่นทำอยู่ตอนนี้ และมุมมองของ BOJ ต่อเงินเฟ้อในอนาคต ก็คือการพยายามหลีกเลี่ยงการออก QQE หรืออัดฉีดเงินเข้าระบบเพิ่มเติม ซึ่งเป็นไปได้ว่า ทั้ง 2 Party กลัว Side Effect จากการอัดฉีดที่มากเกินไปจะกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวหรือเปล่า? สรุป QQE (Quantitative and Qualitative Easing) จะมีเพิ่มอีกไหม? QQE ภาคแรก ของญี่ปุ่น เกิดขึ้นในการประชุมวันที่ 4 เม.ย. 2013 ที่ขนาดของวงเงิน 60-70 Trillion YEN QQE ภาคสอง เป็นการขยายวงเงินเพิ่ม เป็น 80 Trillion YEN ในการประชุมวันที่ 31 ต.ค. 2014 ถ้าดูจากการกระตุ้นสองครั้งก่อน แสดงให้เห็นว่า โอกาสการเพิ่มวงเงิน QQE มากที่สุด คือสิ้นเดือน ต.ค. 2015 นั้นผ่านไปแล้ว จึงเชื่อได้ว่า BOJ น่าจะอยากรอให้ครบปี บวกกับ การประชุม BOJ ในวันที่ 17-18 เดือน ธ.ค. นั้น เกิดขึ้นหลังการประชุม FOMC สหรัฐฯเพียงแค่วันเดียว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่เฟดจะพิจารณาขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้น BOJ อาจรอดูผลและพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจ รวมทั้งประเมินสถานการณ์อย่างละเอียดเสียก่อน ก็ยังไม่น่าจะสายเกินไป สรุปคือ คาดว่า BOJ จะยังไม่ขยายวงเงิน QQE เพิ่มเติมจนถึงสิ้นไตรมาส 1 ปีหน้า สิ่งที่เราจะเห็นหลังจากนี้ น่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นรูปแบบอื่นมากกว่าครับ ซึ่งผลต่อตลาดหุ้น ก็แปลว่า ตลาดน่าจะยังผันผวนในระยะสั้น แต่ก็เป็นโอกาสสะสมเข้าพอร์ต สำหรับนักลงทุนระยะยาว ที่เชื่อมั่นกับนโยบาย Abenomics ครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถานการณ์การลงทุนรอบโลก (24 พ.ย. 2558) - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืน ลบเล็กน้อย Dow: 17,792.68, -31.13, (-0.17%) S&P 500: 2,086.59, -2.58, (-0.12%) Nasdaq: 5,102.48, -2.44, (-0.05%) หลักๆ มีอยู่ 4 ประเด็นที่ต้องรู้ไว้หน่อยนะครับ Markit’s US manufacturing purchasing manager’s index (PMI) ย่อตัวลงมาที่ 52.6 ในเดือน พ.ย. ถือว่าต่ำสุดในรอบ 2 ปี แต่ก็ยังดีที่อยู่เหนือ 50 จุด แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯส่งสัญญาณชะลอตัวอีกรอบ ซึ่งก็อยู่ในสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กันไว้ก่อนหน้าแล้วว่า การที่ค่าเงิน US Dollar แข็งค่า น่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐฯไม่มากก็น้อยอยู่แล้ว (PMI ที่ออกมา เป็นแค่ preliminary reading เท่านั้น ยังต้องรอ Official data ต้นเดือน ธ.ค. อีกที) Pfizer ประกาศควบรวมกิจการกับ Allergan ทำให้ Pfizer จะกลายเป็นบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลกทันที โดย Market Cap. ของ Pfizer จะขึ้นไปที่ $160Billion และย้ายไปจดทะเบียนที่ Ireland เพื่อแบกภาระภาษีเบาลง แต่เนื่องจาก Deal นี้ นักวิเคราะห์กังวลในระยะสั้นพอสมควร ราคาหุ้นทั้งสองตัวเลยปรับฐานลงราวๆ 3% US Dollar แข็งค่าเล็กน้อย ยังไม่ผ่าน 100 จุดเสียที แต่ราคา Commodity ก็ยังคงร่วงต่อ Copper futures หรือ ราคาซท่อขายล่วงหน้าของทองแดง ร่วงลงมาที่ $200 ทำจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 6 ปี รอบนี้ลงมา 14 วันทำการติดต่อกันแล้ว เช่นเดียวกับราคาทอง ที่โดนขายออกมาด้วยเหมือนกัน ราคาตอนนี้ลงไปเทรดต่ำกว่า $1,070 แล้ว ทำจุดต่ำสุดใหม่นับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปี 2010 โน้นเลย แต่กับราคาน้ำมันนั้น ยังกับหนังคนละม้วนกับ Commodity รายอื่นๆนะครับ มีแรงซื้อกลับมายืนเหนือ $42 อีกครั้ง หลังมีข่าวจากฝั่งซาอุฯ (อีกแล้ว) ว่า รัฐบาลกำลังหาทางเจรจากับผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆบนโลก เพื่อหาทางทำให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพดีกว่าวันนี้ หลังจากที่ก๊วน OPEC ไม่ยอมลดกำลังการผลิตเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ Supply ล้นตลาดอย่างที่เราเห็นวันนี้ ตลาดจึงคาดหวังว่า การเจรจาที่เกิดขึ้น อาจทำให้ราคาน้ำมันฟื้นขึ้นมาได้สูงกว่าราคาปัจจุบัน มองผ่านกราฟ S&P500 ปรับฐานลงมาที่ 2,020 จุด ชน แนวรับ Fibonacci 61.80% พอดี แล้วเด้งกลับมา รอสัญญาณ Buy Signal จาก MACD และ ลุ้นทำ Higher High เหนือ 2,116 จุด ได้ ก็น่าจะขึ้นไปทดสอบ All Time High อีกรอบ ทอง ราคาต่ำจนไม่รู้จะต่ำยังไง แต่ก็ยังลงได้อยู่ดี ทองนี่ ใครซื้อเพราะเหตุผลว่า “ถูก” ไปอยู่ดอยทุกราย ช่วงนี้แนะนำติดตามใกล้ชิด เพราะ MACD เริ่มใกล้ Signal Line หากเด้งกลับจะมีสัญญาณกลับเข้าเก็งกำไรในระยะสั้นได้เหมือนกัน ราคาน้ำมัน ถ้าดูสั้นๆ เหมือนจะดีดแรง แต่ทางกางกราฟระยะยาวออกมาดูจะเห็นว่า เด้งขึ้นมานิดเดียวเท่านั้น ณ ราคานี้ ถือว่าต่ำมาก และข่าวการเจรจากันของกลุ่ม OPEC หรือ ข่าวลือใดๆก็ตาม จะทำให้ราคาน้ำมันพยายามขึ้นมาเป็นระลอกๆ ทั้งๆที่ตัวเลข Supply ยังคงอยู่ในระดับสูง แสดงให้เห็นว่า มีแรงเก็งกำไรอยู่ตลอดทาง รอบนี้ MACD ให้ Buy Signal อีกรอบ ถ้าราคาน้ำมันดีดได้จริงละก็ สนุกแน่นอน เพราะหุ้นทั้งกลุ่มพลังงานรออยู่ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Jim Rogers บอก หุ้นตลาดเกิดใหม่เริ่มน่าสนใจแล้ว - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 ข่าวล่าสุด ที่นักลงทุนระดับตำนาน Jim Rogers ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Global Advisory Board ของ EM (บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำในด้าน PR และ IR ให้กับบริษัทในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา) เป็นการยืนยันมุมมองของเขาต่อการลงทุนในรัสเซียและจีน แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา การคาดการณ์ของเขาก็มีถูกบ้างผิดบ้างตามปกติ แต่สัญชาตญาณของเขาเกี่ยวกับการเติบโตของจีนเมื่อหลายปีที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์ว่าเข้าคิดถูก รวมถึงการคาดการณ์เกี่ยวกับทองและเงินในช่วงปี 2000 ก็เช่นกัน มุมมองต่อรัสเซียของเขาครั้งนี้จะออกมาถูกต้องเหมือนครั้งก่อน(เมืองจีน) หรือไม่เป็นคำถามที่าสำคัญ เขาอ้างอีกว่าได้ เขาเริ่มลงทุนในรัสเซียไปแล้ว ในตอนแรกเราคิดว่าแนวความคิดนี้จะได้รับผลกระทบจากกรณีการปะทะกับซีเรียและร่วมประกาศศึกอย่างเต็มตัวในช่วงที่ผ่านมา แต่ปรากฎว่าไม่เลย จากการแถลงข่าวว่า เขาค่อนข้างมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับศักยภาพการเติบโตของทั้งจีนและรัสเซีย มีหลายสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปใน 2 ประเทศนี้และอาจเป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นให้กับนักลงทุนได้ เขายินดีที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในรัสเซียและจีน รวมถึงกลุ่มประเทศที่น่าสนใจอื่นๆอีกด้วย มันไม่ง่ายเลยที่จะหาข่าวหรือบทความเกี่ยวกับรัสเซียที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ข่าวทางการทหารหรือการทำสงครามกับคู่ขัดแย้ง แต่เราเจออะไรบางอย่างที่พอจะบอกถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจรัสเซียได้บ้าง เช่น จากการที่ประธานาธิบดี Dmitry Medvedev กล่าวในที่ประชุม APEC ที่เพิ่งผ่านไปว่าสภาวะเศรษฐกิจของรัสเซียเริ่มกลับมาทรงตัวแล้ว “เรากำลังจัดการปัญหาเกี่ยวกับความผันผวนของราคากับสร้างความเชื่อมันให้กับนักลงทุน พร้อมทั้งยอมรับว่า เป็นช่วงที่ยากลำบากมาก สาเหตุจากราคาน้ำมันร่วง ค่าเงินที่เสียเสถียรภาพมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศ รวมถึงแรงกกันจากการแทรกแซงในประเทศกว่า ปีครึ่งที่ผ่านมา” นอกจากปัจจัยลบเหล่านี้แล้ว ยังพอจะมีปัจจัยสนับสนุนนักลงทุนต่างชาติอยู่บ้าง เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนลงนั้นเป็นโอกาสที่จะสามารถซื้อสินทรัพย์ในรัสเซียได้ในราคาที่ถูกมาก เมื่อเทียบกับอดีต เขายังเพิ่มเติมอีกว่า “พื้นที่ทางตะวันออกรวมถึงเขตไซบีเรีย เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ เราคงไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ถ้าปราศจากการลงทุนจากต่างประเทศ” ในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตของเศรษฐกิจ เริ่มกลับมาฟื้นตัวพอๆ กับประเทศกลุ่ม Asia Pacific แล้วซึ่งถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญกว่า 1 ใน 4 หรือประมาณ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เขาว่ายังไม่พอ รัสเซียได้เพิ่มมาตรการกระตุ้นทางภาษีเพิ่มเติม รวมถึงการเปิดท่าเรือเสรี ตามที่นักลงทุนต่างชาติร้องขอมาตลอด เขาระบุว่า รัสเซียจะขยายมูลค่าการส่งออกสินค้าธัญพืชไปที่ระดับ 35-40,000 ล้านตันในปี 2020 ซึ่งจะเป็นจุดสำคัญการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับกลุ่มประเทศ Asia Pacific ได้ เขาไม่ได้เน้นมากนักในเรื่องการจัดการค่าเงิน เแม้ว่ารัสเซียกับจีนจะมีการดำเนินการทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินสำรองระหว่างประเทศมากมายเพื่อ ลดบทบาทของสกุลเงินดอลล่าร์ จนเมื่อเร็วๆนี้ สกุลเงินหยวนก็ได้เข้าบรรจุอยู่ในตะกร้าเงินสำรองระหว่างประเทศ (SDR) ของทาง IMF แล้วเรียบร้อย ตามสำนักข่าวฝากตะวันตก รัสเซียอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่วนจีนกำลังชะลอลงเช่นกัน แต่หากมองในระยะยาวจริงๆแล้ว โรเจอร์อาจเป็นฝ่ายถูก ถ้าแผนการของ IMF ที่พูดมาแล้วหลายครั้งเกี่ยวกับการรวมสกุลเงินไว้เหลือเพียงสกุลเดียว เป็นจริงขึ้นมาได้ จากที่เราได้รายงานหลายครั้งก่อนหน้า นี่อาจเป็นแค่เรื่องบังเอิญที่ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตะวันตกโตช้ากว่ากลุ่ม BRIC ในช่วงศตวรรษที่ 21 แต่ในที่สุด ถ้าใครคิดจะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของเศรษฐกิระหว่างประเทศแล้ว แต่ละภูมิภาคคงจะต้องมีการปรับตัวเข้ามาหากันอยู่พอสมควรเลยทีเดียว โดยสรุป จีนและภูมิภาคเอเชียค่อนข้างมีการเติบโตที่ดีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ทศวรรษต่อไปน่าจะเป็นคราวของรัสเซีย โดยเฉพาะหากข้อขัดแย้งระหว่างฝั่งตะวันตกและ NATO ถูกแก้ไขได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง โรเจอร์ก็คงถูกขนานนามว่า เป็นนักลงทุนที่มองเห็นอนาคตได้จริงๆ Source : http://www.thedailybell.com/news-analysis/36649/Jim-Rogers-Joins-EM-Focus-on-Russia-Asia/ FINNOMENA Opinion จากบทความเกี่ยวกับมุมมองในรัสเซียนี้ อาจเหมาะสมกับการพิจารณาลงทุนในระยะยาวพอสมควร เนื่องจากประเด็นเรื่องความขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนาน อาจไม่สามารถถูกแก้ได้อย่างรวดเร็วเท่าใดนัก ความยากอยู่ที่การเข้าถึงแหล่งข้อมูลอาจไม่สามารถทำได้ง่าย ประกอบกับโครงสร้างสังคม วัฒนธรรมและตลาดหลัททรัพย์ของรัสเซียอาจแตกต่างไปจากความคุ้นเคยของเราพอสมควร ควรลงทุนด้วยความระมัดระวังนะครับ Jim Rogers นักธุรกิจชาวอเมริกัน นักลงทุนและนักเขียน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Quantum Fund และเป็นสร้างดัขนีสินค้าโภคภัณฑ์ Rogers International Commodities Index (RICI). แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Emerging Markets เตรียมเฮ เมื่อโมเบียสบอกว่า "ถึงจุดกลับตัวแล้ว" - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 นี่คือ บทความที่แปลบางส่วนมาจากจดหมายจาก Mark Mobius ถึงลูกค้าของกองทุน Templeton ในช่วงสิ้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา Are emerging markets turning a corner? ปีนี้ นับเป็นปีที่ท้าทายสำหรับนักลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา (EM) เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี นักลงทุนเริ่มเห็นกระแสการไหลออกของเงินทุนเริ่มจะมีการย้อนกลับจากการที่นักลงทุนเริ่มหันมาสนใจกลุ่มประเทศดังกล่าวมากขึ้น เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับเรา เรามองว่าแม้จะมีปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา แต่เชื่อว่าเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสภาวะสภาพคล่องต่ำ แต่เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกในระยะยาว ถึงแม้ว่าขาดประเด็นที่นักลงทุนเปลี่ยนมุมมองกล่าว ณ ตอนนี้ ตลาดในกลุ่มประเทศนี้ ก็ยังน่าสนใจอยู่ดี TWO MAIN FACTORS IMPACTING EMERGING MARKETS ในภาพของเศรษฐกิจระดับโลก กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนประกอบสำคัญในแง่ของขนาดของพื้นที่ จำนวนประชากร GDP และขนาดของตลาดหลักทรัพย์ ในมุมมองของเรา มี 2 ประเด็นที่ทำให้ตลาดกำลังพัฒนาให้ตอบแทนไม่ค่อยดีในช่วงที่ผ่านมา คือ แนวโน้มการปรับลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในแต่ละการประชุมของ FED และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เราคาดว่าตลาดค่อนข้างตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุไปหน่อยในประเด็นของการขึ้นดอกเบี้ย โดยที่จริงแล้ว กลับเป็นธนาคารกลางของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเองที่อยากให้ขึ้นดอกเบี้ยให้ขัดเจนไปเสียที โดยในอดีตนั้น ปกติเราจะเห็นการปรับตัวลงของทั้งตลาดหุ้นและค่าเงินก่อนที่จะมีการปรับลดมาตรการผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม พอเมื่อถึงเวลาที่ดอกเบี้ยของ US จะขึ้นจริงๆแล้ว หุ้นกลับจะมีการฟื้นตัวขึ้นได้ แสดงถึงความเชื่อของนักลงทุนที่ว่าตลาดได้สะท้อนสมมติฐานที่แย่ที่สุดไปแล้วก่อนหน้า ลองดูที่ดัชนี MSCI กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หลังจากการปรับดอกเบี้ยขึ้น สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปี สูงถึง 12.4% ดูได้จากกราฟหลังจากที่มีการเริ่มขึ้นดอกเบี้ยทั้ง 3 ครั้งในปี 1994 1999 และ 2004 ตลาดไม่ได้เสียหายมากมายนัก แต่ถ้าหากมีการปรับขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลเสียได้ต่อกลุ่มประเทศได้ แต่เราไม่คิดว่าจะเป็นแบบนั้น หลายบริษัทของสหรัฐฯที่ค้าขายในหลายประเทศ การที่บริษัทประเภทนี้จะเติบโตได้นั้น จำต้องพึ่งพากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะเอเชีย และมีลักษณะจะพึ่งพามากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับในช่วงของการขึ้นดอกเบี้ย ครั้งก่อนหน้านี้ เพราะฉะนั้น ผลกระทบจากการที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีการเติบโตที่ชะลอลง จะสะท้อนกลับไปยังการขยายตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐฯเองอย่างมาก และในที่สุดก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED เราต้องไม่ลืมว่า ธนาคารกลางอื่นๆ นอกเหนือไปจาก FED ได้มีการอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการผ่อนคลาย การปรับลดดอกเบี้ยร่วมด้วย เช่น ยุโรป ญี่ปุ่นและจีน UNWARRANTED INVESTOR PANIC ในส่วนของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เราก็มองว่าเป็นความกังวลที่เกินกว่าเหตุไปพอสมควร เพราะการประโคมข่าวเกี่ยวกับความผันผวนของราคาหุ้นกับความพยายามของรัฐบาลจีนในการพยุงตลาด แต่เราเชื่อว่าความพยายามดังกล่าวจะส่งผลสำเร็จ การปรับตัวลงของหุ้นในกระดาน Main land ต่อสภาพเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เพราะภาคครัวเรือนยังมีส่วนร่วมในตลาดทุนค่อนข้างต่ำ (น้อยกว่า 20%) ถึงแม้ตลาดจะพัง เราก็ยังเชื่อว่าผลกระทบดังกล่าวจะไม่มากนัก มากกว่าไปนั้น แม้ว่าระดับหนี้โดยรวมยังค่อนข้างสูง แต่ภาครัฐยังมีหลักทรัพย์มากมาย รวมถึงเงินสำรองต่างประเทศและเหล่ารัฐวิสาหกิจที่จะช่วยให้เกิดความสมดุลได้ จากภาวะค่าแรงและตำแหน่งงานที่มากขึ้น ส่วนใหญ่ในภาคเอกชน จะช่วยให้สถานการณ์ตลาดบ้านและตำแหน่งงานด้านอุตสาหกรรมที่หายไป ไม่แย่มากนัก การผ่อนคลายให้ เงินสกุลหยวนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นจะเป็นอีกแรงสนับสนุนที่ช่วยให้ การเปิดเสรีตลาดเงินเป็นที่ยอมรับได้ง่ายมากยิ่งขึ้น Source : http://www.moneyobserver.com/opinion/are-emerging-markets-turning-corner FINNOMENA Opinion บทความนี้ของ มาร์ค ค่อนข้างให้ความเห็นแบบตรงไปตรงมาพร้อมทั้งข้อมูลประกอบกที่เข้าใจง่าย เกี่ยวกับประเด็นที่กดดันตลาดหุ้นของไทยในช่วงปีที่ผ่านมา ว่า “กลัวกันเกินไป” แอดมินเชื่อว่า นักลงทุนไทยและต่างชาติ ต่างเฝ้ารอจุดกลับตัวของ “อารมณ์”ของตลาดอย่างใจจดใจจ่อ เพียงแต่ต้องบางท่านอาจเลือกรอให้กระแสการไหลกลับของเงินลงทุนเปลี่ยนมาเป็น ขาเข้า อย่างชัดเจนกว่านี้ก่อนเท่านั้น เหตุผลมารอจ่อหน้าประตูตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า “เมื่อไหร่” เท่านั้น มาร์ค โมเบียส คือหนึ่งในผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญการลงทุนในกลุ่มประเทศกำลงพัฒนา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานของ Templeton Emerging Markets Group ดูแลฝ่ายวิจัยและบริหารพอร์ทการลงทุนในกว่า 18 ประเทศ ได้รับการรางวัลด้านผู้มีอิทธิพลทางการด้านการลงทุนมากมาย เป็นคอลัมนิสต์รายสัปดาห์ รวมถึงการร่วมงานกับ World Bank เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงปี 1999 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หุ้นจีน H-Share กับหลายเหตุผลสู่มุมมอง Trading Buy - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 19 พฤศจิกายน 2558 นั่งดูตลาดเหมือนทุก ๆ คืน ณ จุดนี้มอง H Share น่าสนใจไม่น้อยเลยอยากจะแชร์มุมคิดซักหน่อย ภายหลังจาก Black Monday ในเดือนสิงหาคม ตลาดโลกแทบทุกตลาดมี Golden Cross (แปลว่าดี) Golden Cross คืออะไรอ่านที่นี่ ตอนนี้ตลาดกลับมาโฟกัสเรื่อง FED ขึ้นดอกเบี้ย ผมมองว่าตลาดรับรู้เรื่องนี้ FED ขึ้นดอกเบี้ยเยอะแล้ว ก็แน่ล่ะ คุยกันแต่เรื่องนี้มาแต่ต้นปี เลย take view ว่าตลาดไม่น่าจะพังอีกรอบ แล้วตลาดอะไรล่ะน่าสนใจ ? ส่วนตัวติดนิสัยชอบของถูก นั่งไล่ดู Valuation ไปเตะตาที่หุ้นจีน H-Share ครับ P/BV อยู่แถว ๆ 1 เท่าต่ำพอ ๆ กับช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เลย ราคาจาก peak ช่วงกลางปี ณ ตรงนี้ลงมาร่วม 50% (เลยรู้สึกว่ามันถูก 555) เรื่องจีนเศรษฐกิจโตน้อยลงเหลือเลข 6 ตลาดก็รับรู้กันไปเยอะแล้ว ล่าสุดตัวเลขเศรษฐกิจออกมาก็ไม่ได้แย่มาก เรื่องเงินหยวนอ่อนค่าก็ดูจะคลายความกังวล แต่เดี๋ยวก่อน !!! จะกำหนด View Trade ทั้งทีขอ level up ไปดูเทคนิคกันบ้าง (ออกตัวก่อนเลยว่าไม่ใช่เซียนทางนี้) อย่างแรกที่เห็นคือ Bullish Divergence ในช่วงที่ตลาด Oversold Bullish Divergence คืออะไรอ่านที่นี่ แถมมี Golden Cross ให้อีกต่างหาก (แต่แอบเสียวว่ามันจะหลอกมั้ยนะ…. เดาว่าไม่หลอกละกัน มีทั้ง Bullish Divergence และความ Oversold หนุนอยู่) สรุป Trading BUY หุ้นจีน H-Share วิธีลงทุนง่าย ๆ ลองหากองทุนหุ้นจีน H-Share ดูครับเช่นของ SCB, TISCO เวลาจะมาแนวเทรดอย่าลืมมีวินัย และคุมวงเงิน (Money Management) กันด้วยเด้อ คัทคือคัท take คือ take จัดไปกับ Tradernomics ฉบับปฐมฤกษ์ของผมคร้าบ ปล. เกร็ดความรู้ตลาดหุ้นจีนสีกระดานจะสลับกับหุ้นไทย สีเขียวคือหุ้นตก สีแดงคือหุ้นขึ้น เผื่อใครแวะไปเล่นหุ้นจีนจะได้ไม่งงนะครับ แท็ก: ็H Share แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Warren Buffett's Berkshire Reduces Stake in Goldman Sachs by 13% - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 Buffet ขาย Goldman Sachs ออก 13% รวมถึงหุ้น Walmart ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ใช่เหตุผลอะไร นอกจากต้องการเงินสดเพื่อไปควบรวมกิจการครั้งใหญ่ที่สุดของเขาเอง Berkshire ถือหุ้น Goldman อยู่กว่า 11 ล้านหุ้น ลดลงจาก 12.6 ล้านหุ้นเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เช่นเดียวกับหุ้น Walmart ลดลงจาก 60.4 เหลือ 56.2 ล้านหุ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ Buffet ได้ทำข้อตกลงซื้อบริษัททำอุปกรณ์ประกอบยานอวกาศ Precision Castparts โดยต้องใช้เงินกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญฯ ในขณะที่ S&P กำลังจ่อปรับลดอันดับเครดิตเรทติ้งของกองทุน Berkshire จากเหตุที่กองทุนต้องหาเงินจำนวนมากส่วนนี้มาให้ได้ ซึ่ง Buffet ได้ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ต่อมาว่าเค้าได้ขายหุ้นบางส่วนเพื่อนำเงินมารอจ่ายอยู่แล้ว โดย David Kass ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยชื่อดัง Maryland’s Robert H. Smith School of Business ได้ให้ข้อมูลว่า “ผมค่อนข้างประหลาดใจมากที่ Buffet ถึงกับต้องขายหุ้นเพื่อหาเงินมาจ่ายเพื่อซื้อบริษัทดังกล่าว ทั้งๆที่กองทุนมีเงินสดกว่า 6 หมื่นล้านเหรียญอยู่แล้ว” Good Excuse Jeff Matthews ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับกองทุน Berkshire และเป็นอดีตผู้ถือหุ้นก็ค่อนข้าง “งง” กับการตัดสินใจของ Buffet ครั้งนี้เหมือนกัน เพราะเงินที่ได้จากการขายหุ้น Wal-Mart มันอาจน้อยกว่า รายได้เพียงสัปดาห์เดียวจากการดำเนินธุรกิจปกติของ Berkshire เสียอีก “มันฟังดูเป็นเหตุลผลที่เข้าท่าดี ถ้าต้องการขายหุ้นบางตัวออก เช่น Goldman Sachs ที่ปัจจุบันธนาคารแห่งนี้ก็ไม่ได้เป็นเหมือนตอนที่เค้าซื้อลงทุนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ส่วน Wal-Mart ที่โดนจู่โจมอย่างหนักจาก Amazon ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้” Buffet ไม่ได้แสดงความเห็นอะไรเพิ่มแม้จะมีคนพยายามสอบถาม ส่วนทาง Wal-mart เองก็ไม่มีความเห็นในกรณีถ้าจะมีใครขายหรือซื้อหุ้นบริษัทของพวกเขา โดยมีนักลงทุนจำนวนหนึ่งจะคอยติดตามข้อมูลของ Berkshire อย่างใกล้ชิดเพื่อแกะรอยกลยุทธ์การลงทุนของ Buffet ซึ่งบางครั้ง การซื้อขายของ Buffet ก็มีผลต่อการขึ้นลงของราคาหุ้นด้วยเช่นกัน แต่ที่แปลกคือ หุ้น Goldman และ Wal-Mart ปรับตัวขึ้นหลังจากข่าวออกด้วยซ้ำ Kraft Heinz อีกหนึ่งการลงทุนที่เพิ่มเข้ามาในพอร์ทของ Berkshire ในไตรมาสที่ 3 คือ Kraft Heinz หลังจากการเข้าซื้อ Berkshire กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในเดือน กรกฎาคม จากการสนับสนุนการควบรวมซึ่งทำให้เกิดบริษัทอาหารดังกล่าว ครั้งนี้ Buffet สร้างรายได้กว่า 4,400 ล้านเหรียญให้กับ Berkshire กำไรตรงนี้ช่วยทำให้คำครหาเกี่ยวกับการลงทุนที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดนี้ ซาลงได้บ้าง อีกหนึ่งการลงทุนที่ยังไม่ค่อยดีนักคือ American Express แต่ราคายังคงซื้อขายกันอยู่เหนือจากต้นทุนเฉลี่ยของกองทุนอยู่พอสมควร Wal-marts ราคาก็เกือบจะเท่าทุนแล้ว แต่หุ้นตัวทีสามคือ IBM ยังคงขาดทุนอยู่ และขาดทุนมากขึ้นเป็น 2,000 ล้านเหรียญแล้ว หรือประมาณ -15% อย่างไรก็ตาม Buffet ยังยืนยันที่จะถือหุ้นและคาดว่าราคาจะสามารถฟื้นตัวได้ แถมยังซื้อเพิ่มอีก 1 ล้านหุ้นในไตรมาสที่ 3 อีกด้วย Preferred to Keep ในปี 2008 ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ Buffet ได้ทำข้อตกลงในการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของ Goldman Sach โดยเขาจะได้รับดอกเบี้ยที่ 10% ต่อปี แถมยังได้ warrants ที่ภายหลังเจ้าได้ใช้สิทธิ์และได้รับหุ้นกว่า 2,000 ล้านหุ้น โดยที่ไม่ใช้เงินซักเหรียญเดียว โดยปรกติ Buffet จะเลือกลงทุนในบริษัทใดๆ โดยไม่คิดที่จะขายเลยตลอดไป ยกเว้นถ้ามีโอกาสที่ดีกว่าเข้ามา ซึ่งรวมถึง ในช่วงที่เขาได้ทำข้อตกลงกับ Goldman เขาก็มีการปรับพอร์ทของ Berkshire ออกไปด้วยบางตัว ซึ่งในตอนนั้นเขากล่าวว่า “ในการซื้อหุ้นครั้งนี้ ทำให้ ผมจำเป็นต้องขายหุ้นบางส่วนที่ตั้งใจจะถือด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ผมยังคงรับประกันกับพวกคุณ สถาบันจัดอันดับ และตัวผมเอง ว่า ผมจะบริหาร Berkshire โดยมีเงินสดสำรองไว้ในปริมาณที่มากพอเสมอ” Credit Rating S&P ปรับ Berkshire ไปอยู่ในกลุ่ม เฝ้าระวัง หลังจากการแถลงข่าวการเจรจาข้อตกลงซื้อบริษัท Precision Castparts โดยระบุว่า “อาจมีความไม่แน่นอนจากการระดมทุนเพื่อควบรวมบริษัท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานะเงินสดในระดับ Holding Company” บริษัทจัดอันดับให้เวลา 90 วันและอาจมีการต่ออีก 90 วัน หลังจากมีการประเมินอีกครั้งในเดือนนี้ Berkshire ได้รับเรทติ้ง AA จาก S&P สูงเป็นอันดับที่ 3 จากทั้งหมด 10 อันดับ Buffet ให้ข้อมูลว่าเขาวางแผนจะใช้เงินสดประมาณ 23,000 ล้านและกู้ยืมอีก 10,000 ล้านเพื่อทำการซื้อบริษัท Precision Castparts ถึงแม้ว่า Berkshire จะมีเงินสดอยู่แล้วกว่า 66,000 ล้าน แต่ได้กันเงินส่วนนี้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายและการดำเนินงานด้านประกัน Goldman Sachs และ Wal-marts ยังคงเป็นหุ้นที่ Buffet ถือเป็นอันดับต้นๆ โดยในรายละเอียด เงินลงทุนใน Goldman มีมูลค่ากว่า 2,100 ล้านเหรียญ และกว่า 3,000 ล้านเหรียญใน Wal-marts แต่สัดส่วนที่สูงที่สุดใน Berkshire คือหุ้น Wells Fargo Kraft Heinz และ Coca-Cola Co. ส่วนหุ้น Viacom ในกลุ่มสือ Berkshire ได้ขายหุ้นออกไปหมดแล้วหากเทียบกับ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา Berkshire ยังรายงานการถือครองหุ้นใหม่ คือ AT&T มูลค่า 1,900 ล้านเหรียญ อีกด้วย Source : http://www.bloomberg.com/news/articles/2015-11-16/warren-buffett-s-berkshire-reduces-stake-in-goldman-sachs-by-13- FINNOMENA Opinion การปรับพอร์ทการลงทุนเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอภายใต้สถานการณ์และเหตุผลในแต่ละช่วงเวลาที่ต่างกัน แม้ระดับเซียนเหนือเซียนอย่าง Buffet เอง ที่มีปรัชญาทางด้านการลงทุนแบบระยะยาว ก็ยังคงมีการทำการบ้านเพื่อหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา และทุกครั้งไม่พ้นที่จะต้องมีการเลือกขายหลักทรัพย์ที่มี ศักยภาพน้อยที่สุด ออกไป แต่การสับเปลี่ยนดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับบริษัททั้งที่จะซื้อเข้าและขายออกอย่างชัดเจนมากพอ ทำการบ้านกันเยอะๆ นะครับ คุณสามารถติดตาม FINNOMENA ผ่านทาง Line และ Facebook ตามลิงค์ด้านล่าง โดย Scan QR Code หรือกดปุ่ม แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
พิชญ์ โพธารามิก ขาย JAS-W3 3 เดือน 350 ล้านหุ้น - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 Jasmine International Plc. – JAS-W3 ผู้ขาย พิชญ์ โพธารามิก – ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท JAS ขายทั้งหมด 350 ล้านหุ้น คิดเป็น 10.6% ของ Warrant ทั้งหมด ราคาขายเฉลี่ย 1.37 บาท ราคาปัจจุบัน JAS-W3 ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ราคา 1.15 บาท ขายตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 – พฤศจิกายน 2558 แหล่งที่มา – www.sec.or.th (59-2) ข้อมูล JAS-W3 ราคาใช้สิทธิ4.30 บาท อัตราใช้สิทธิ (หลักทรัพย์:หลักทรัพย์อ้างอิง) 1 : 1 วันที่ใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 03 ก.ค. 2563 วันหมดอายุ 05 ก.ค. 2563 ราคาปัจจุบัน JAS-W3 ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ราคา 1.15 บาท ปรับตัวลดลงประมาณ 16% จากราคาเฉลี่ยที่คุณพิชญ์ โพธารามิกขายล่าสุด ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th รายงานโดย Finnomena Admin 17 พฤศจิกายน 2558 คุณสามารถติดตาม FINNOMENA ผ่านทาง Line และ Facebook ตามลิงค์ด้านล่าง โดย Scan QR Code หรือกดปุ่ม แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
SET Index ยังอยู่ในกรอบขาขึ้นไหม? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 หลังจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่ฝรั่งเศสในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนหลายคนกังวล และตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เมื่อตลาดหุ้นวันจันทร์เปิดทำการ เรากลับพบว่า แรงขายในตลาดหุ้นทั่วเอเชีย มีน้อยเกินกว่าจะเรียกมันว่า “Panic” คำถามคือ หรือว่าข่าวร้ายมันจะหมดไปแล้ว นี่คือจังหวะซื้อหุ้นแล้วหรือยัง? ผมพาไปดูกราฟแรกนี่ก่อนนะครับ ตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา SET Index กลับมาเป็นขาขึ้นแบบ Sideway Up อยู่ในกรอบอย่างที่เห็น แต่ดัชนีก็อ่อนแรงจนหลุดกรอบดังกล่าวมาในช่วงวันพุธ พฤฯ สัปดาห์ที่แล้ว และร่วงหนักมากขึ้นในวันจันทร์ แต่ดูจากสัญญาณแท่งเทียน จะเห็นว่า มีแรงซื้อกลับค่อนข้างหนาแน่นจนทำให้ SET Index ทำจุดสูงสุดที่ 1,396 จุด ในวันอังคารที่ผ่านมา ชนกรอบ Sideway Up อีกรอบ ก่อนจะโดนแรงขายทำให้แท่งเทียนเป็นสีแดง ปิดที่ 1,390.17 จุด หากมองแค่ตัวดัชนีนั้น ต้องบอกว่า อาการของ SET Index ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชีย เปิดในแดนลบกันหมด ทั้งๆที่ยุโรปบวกเกิน 2% เกือบทุกตลาด เอายังไงดี? ไปดู SET50 Futures อีกตัวครับ ความแตกต่างของ SET50 Futures กับ SET Index คือ เมื่อลากกรอบ Sideway Up Channel จะเห็นว่าตัวดัชนียังไม่หลุดกรอบล่างลงมา นั้นแปลว่า จริงๆแล้ว ดัชนียังไม่เลือกทางนะครับ ว่าจะลงมาอีกหรือเปล่า ถึงแม้ SET Index จะหลุดลงมาแล้วก็ตาม ในเชิงกลยุทธ์ ก็คงต้องกลับมาดูว่า SET50 Futures นั้นจะลงมาทำ Lower Low ต่ำกว่า 877.10 จุด ที่ทำไว้วันจันทร์หรือเปล่า ถ้าลงมาต่ำกว่า และหลุดกรอบนี้ ก็แปลว่า รอบปรับฐานระยะสั้น ยังไม่จบดี สรุปตอนนี้ ยังเป็นช่วงของนักเทรด แนวโน้มตลาดยังไม่ชัดเจนว่าจะขึ้นหรือจะลง ใช้จุด 877.10 จุด ของ SET50 Futures ในการ Stop Loss หากเห็นแรงขายลงมาต่ำกว่าจุดนี้ หรือดู SET Index ที่ 1,368.79 จุด แทน ส่วนตัวผมมองว่า น่าจะมีโอกาสที่ SET Index จะไม่ลงไปลึกกว่าวันจันทร์แล้ว แต่คงต้องรอให้ Sentiment ในเอเชียดีขึ้นตามไปด้วยครับ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ย้อนรอยเหตุการณ์ ก่อวินาศกรรมในอดีต กับ ผลกระทบต่อตลาดหุ้น - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ตั้งแต่เย็นวันศุกร์ จนถึงตอนนี้ มีอะไรเป็นปัจจัยต่อตลาดหุ้นวันจันทร์บ้าง? ☞ Dow Jones ปรับตัวลง -200 กว่าจุด ทำให้ปิดสัปดาห์ ร่วงไป -3.5% ยุติการปรับตัวขึ้นมา 6 สัปดาห์ติดต่อกัน หลักๆ เพราะตลาดกังวลเรื่องที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดันไหลลงทำ Lower Low เรื่อยๆ อาจจะกระทบกับกำไรสุทธิของบริษัทในกลุ่มมากกว่าที่คาดไว้ บวกกับตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. ของสหรัฐฯ ขยายตัวแค่ 0.1% เทียบกับที่ตลาดคาดไว้ 0.3% ☞ ส่วนดัชนี STOXX ของยุโรป ปิดสัปดาห์ที่แล้วร่วงไป -2.7% หลังประกาศตัวเลข GDP ออกมาใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ (อาจผิดหวังเล็กน้อยในบางมุม) ☞ Loretta Mester ประธานเฟดสาขา Cleverland ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ออกมายืนยันว่า ตัวเลขเศรษฐกิจและ Momentum ที่เห็นอยู่ ณ ตอนนี้ ถือว่า เฟด พร้อมที่จะเริ่มการปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งหน้าได้แล้ว ☞ หลังตลาดสหรัฐฯปิดวันศุกร์ ก็มีเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่ฝรั่งเศส ยอดผู้เสียชีวิตกว่า 100 ราย ประเด็นนี้ ยังไม่มีตลาดใดในโลก Price – in เข้าไป ☞ และยังมีอีกข่าว เรื่องที่ กลต. จีน ประกาศ เพิ่มหลักประกันการกู้ยืมเพื่อการซื้อหลักทรัพย์จากเดิม 50% เป็น 100% … เพื่อหวังลดการเก็งกำไรที่น่าจะยังมีอยู่ในตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่ฝรั่งเศส ครั้งนี้ New York Times รายงานว่า เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่สุดที่โลกตะวันตกเผชิญ นับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 ผมขอพาไปดูเหตุการ์ในอดีตที่เกี่ยวกับการก่อวินาศกรรม กับการเคลื่อนไหวของหุ้นในแต่ละช่วงเพื่อการเทียบเคียง เหตุกาณ์ 9/11 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2001 (14 ปีที่แล้ว) เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นในช่วงเช้าก่อนที่ตลาดหุ้น NYSE จะเปิดตลาดเพียงเล็กน้อย ในวันนั้น S&P500 ร่วงไป -7.1% ถือเป็นการร่วงแรงที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐฯภายในวันเดียว และความ Panic ยังไม่หมดไปหลังจากนั้น โดยปิดสัปดาห์ลบไปถึง -14% หุ้นกลุ่มหลักๆที่ถูกเทขาย ณ ตอนนั้นคือ กลุ่มสายการบิน และกลุ่มประกันภัย อย่างไรก็ตาม S&P500 ใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 3 สัปดาห์หลังจากนั้นในการกลับมายืนที่เดิมก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ ส่วนหุ้นไทย ร่วงจาก 340 จุด ลงไปปิดสัปดาห์ที่ 288 จุด หรือ -15% และกว่าจะกลับไปยืนที่เดิมได้อีกครั้ง ก็ต้องผ่านปีใหม่ของปี 2002 ไปแล้ว เหตุกาณณ์ กราดยิง สื่อฝรั่งเศส “ชาร์ลี เอ็บโด” เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2015 ตลาดหุ้น CAC40 ของฝรั่งเศสตอนนั้น ร่วงไป -3.4% แล้วก็ดีดกลับภายในสัปดาห์ ก่อนจะดีดแรงกลายเป็นขาขึ้นถึง 1 ไตรมาสทำจุดสูงสุดในเดือน เม.ย. ครั้งนั้นหุ้นไทยร่วงในสัปดาห์ จาก 1,500 จุด ลงไปที่ 1,459 จุด หรือร่วงราวๆ -2.7% แล้วดีดกลับขึ้นมาทันทีในสัปดาห์เดียวกัน เหตุการณ์วางระเบิดราชประสงค์ วันที่ 17 ส.ค. 2015 เหตุเกิดในช่วงเย็นของวันที่ 17 ส.ค. 2015 ซึ่งเป็นวันจันทร์ ตลาดมีเวลารับรู้และประเมินสถานการณ์เพียงแค่วันเดียว ตลาดหุ้นไทยวันอังคารเปิดมา ลบไป -38 จุด แต่เทรดอยู่บริเวณไม่มีเด้งกลับ เพราะปัญหาจากปัจจัยภายนอกก็รุมเร้าเช่นกันโดยเฉพาะประเด็นเรื่องเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง ตลาดมี Panic ทั่วโลกอีกทีวันที่ 24-25 ส.ค. SET Index ทำจุดต่ำสุดของปีที่ 1,292 จุด มุมมองความเห็นส่วนตัว ✍ เหตุการณ์ครั้งนี้ จริงๆแล้วเทียบเคียงกับเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้ เนื่องจากอยู่ในคนละบริบทกัน ดังนั้นควรดูปัจจัยอื่นประกอบ ✍ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในฝรั่งเศส ถือว่ามีความสำคัญที่ดันให้ GDP Growth กลับขึ้นมาเหนือ 0% ดังนั้น เหตุการณ์นี้ มีความเสี่ยงต่อภาพรวมเศรษฐกิจฝรั่งเศสในระยะกลาง ✍ แต่หากดูผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในอดีต จะพบว่า หากไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นซ้ำในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน พบว่าเศรษฐกิจกลับมาฟื้นได้ค่อนข้างรวดเร็ว และมีผลต่อตลาดหุ้นแค่เพียงในระยะสั้นเท่านั้น (เมื่อปัจจัยอื่นๆคงที่) ✍ ตลาดที่จะถูกเป็นเป้าโจมตี น่าจะเป็นค่าเงิน EUR มากกว่า จากที่เหล่า Hedge Fund เร่งการสะสม Short Position เพื่อหวังมาตรการ QE ที่น่าจะมีในเดือน ธ.ค. อยู่แล้ว ยิ่งน่าจะมีแรงขายหนักมากขึ้นไปอีก รวมถึง Commodity Futures ด้วย ✍ ผลจากเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส น่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยไม่มาก แต่ เรื่องการเพิ่มหลักประกันการกู้ยืมเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ในจีน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลลบต่อตลาดหุ้นจีนเอง รวมถึง ฮ่องกง ในเช้าวันจันทร์แน่นอน ✍ หากเทียบกับเหตุการณ์ในอดีค การปรับตัวลงในสัปดาห์หน้า (ถ้าเกิดขึ้น) จะเป็นโอกาสในการทยอยสะสม แนวรับหุ้นไทยที่ 1,380 (ตรงนี้ น่าจะหลุด เพราะเหลืออีกแค่ 2 จุดเท่านั้น) / 1,340 จุด แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
The latest billionaire battle: Ackman v Buffett - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 Bill Ackman วัย 49 ปี หนึ่งในผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ที่มีลักษณะของ Activist Investor (นักลงทุนที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการบริษัทผ่านกิจกรรมทางสังคม อาจรวมไปถึงการ Take Over เลยทีเดียว) Ackman ก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 1992 ก่อนจะมาเป็นข่าวฉาวในกรณีการวิพากษ์วิจารณ์และ Short Sell หุ้น Herbal Life เกี่ยวกับโมเดลการทำธุรกิจแบบ Pyramid scheme ซึ่งการพิจารณาคดีในช่วงหลังพบว่า Ackman อาจมีส่วนในการลอบบี้เจ้าหน้าที่ภาครัฐให้กล่าวหาการดำเนินธุรกิจของ Herbal Life ล่าสุด Bill Ackman ได้วิพากษ์วิจารณ์การลงทุนในหุ้น Coca cola กว่า 400 ล้านหุ้น ของ Buffet ที่ปัจจุบัน มูลค่าสูงถึง 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐทีเดียว ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ครั้งนี้ เป็นการตอบคำถามไปมาระหว่างการสัมนาที่จัดขึ้นเพื่อฉลองให้เกียรติแก่กองทุน Berkshire ของ Buffet ครบรอบ 50 ปีเสียด้วย (แรงงง!) โดย Ackman กล่าวว่า “Buffet มีปัญหาแน่จากการลงทุนในหุ้น Coca Cola เนื่องด้วยบริษัทก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมด้วยการ กระตุ้นให้เด็กและผู้ใหญ่กินน้ำเชื่อมแทนน้ำเปล่า จน Coca Cola เป็นบริษัทที่สร้างให้เกิดโลกอ้วนและเบาเหวานไปทั่วโลกมากที่สุดในบรรดาบริษัททั้งหมด” Coca Cola บอกว่าความเห็นดังกล่าว “ค่อนข้างไม่มีความรับผิดชอบ และบอกว่า Ackman ไม่ได้เข้าใจธุรกิจอย่างแท้จริง” สำนักข่าวรายงานว่า Ackman ก็ยกย่อง Buffett ว่าเป้นนักลงทุนที่มีจรรยาบรรณ สมควรค่าแก่การยกย่องจริงๆ แต่ก็ไม่วาย แซวปู่ Buffett อีกว่า “แต่ดูเหมือนสุขภาพของบัฟเฟต์จากยังไม่ได้ผลกระทบจากนิสัยการกินเชอรี่โค้กหลายขวดต่อวันเท่าไหร่นักนะ” (5555+) การจิกกัดของ Ackman เกิดขึ้นภายหลังจากที่ หุ้นส่วนของ Buffet คนหนึ่งคือ Charlie Munger ได้แสดงความเห็นจู่โจมการลงทุนในหุ้นบริษัทยา Valeant ซึ่งเป็นหุ้นที่ Ackman ลงทุนอยู่ในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก Munger บอกว่า Valeant เป็นบริษัทที่ไม่มีจริยธรรม รวมทั้งกล่าวหาการตั้งราคาขายที่สูงจนเกินไปในผลิตภัณฑ์ยาบางประเภท ไม่รวมถึงการพยายามหลบเลี่ยงข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทมีความสัมพันธ์ไม่ค่อยเหมาะสมกับร้านยาตัวแทนของบริษัท ซึ่งแน่นอนว่า Ackman ปกป้องจุดยืนของตนและยืนยันว่าราคาที่ปรับตัวลงมาทำให้หุ้นมีความน่าสนใจลงทุนมากขึ้น พร้อมตอบกลับด้วยวิธีเบี่ยงประเด็นไปโจมตีเพื่อนซี้ของ Charlie ที่ชื่อ Buffett แทน Source : http://www.cnbc.com/2015/11/11/the-latest-billionaire-battle-ackman-v-buffett.html FINNOMENA ADMIN นักลงทุนแนว Activist Investor นี้เชื่อว่าอาจจะเริ่มเห็นมากขึ้นกับนักลงทุนในตลาดไทยมากขึ้น คือใช้ประโยชน์จากสื่อในการดึงอารมณ์ของมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการเคลื่อนไหวของราคาให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ แต่กรณีของ Ackman ที่ค่อนข้างสุดโต่งแบบนี้ อาจไม่ได้เห็นในบ้านเราเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะการโจมตีนักลงหุ้นอาวุโสระดับตำนานที่มีความเห็นต่างจากตัว เป็นอะไรที่อาจพบได้ยากวัฒนธรรมไทย ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่ดีเราควรต้องศึกษาและปรับมาใช้ แต่บางสิ่งก็อาจเหมาะเป็นการแค่ “ฟังหูไว้หู” ก็น่าจะพอ แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สถาบันทยอยสะสม SAMART / BBLAM เก็บเกิน 10% แล้ววันนี้ - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 Samart Corp – SAMART รายงาน ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2558 สัดส่วนหลังเข้าซื้อ: 10.00% (+0.16%) ผู้ซื้อ: บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด SAMART หลังจากราคาทำจุดสูงสุดที่ประมาณ 45 บาท ก็ปรับตัวลงเรื่อยมากว่า 56% และประกอบกับช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากการที่บริษัทอาจมีส่วนพัวพันกับ คดีใหญ่ ราคาหุ้นล่าสุดของ SAMART ณ สิ้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ 20.60 บาท ปรับตัวขึ้นประมาณ 3.5% จากราคาปิดเมื่อวันที่ BBLAM เข้าลงทุน (19.90 บาท) ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th รายงานโดย Finnomena Admin 11 พฤศจิกายน 2558 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เสี่ยยักษ์ ขยับเข้า AJD ถือครองเกินระดับ 5% - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 Crown Tech Advanc Public – AJD รายงาน ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2558 สัดส่วนหลังเข้าซื้อ: 8.75% (+5.56%) ผู้ซื้อ: นาย วิชัย วชิรพงศ์ – นักลงทุนรายใหญ่ AJD แม้จะมีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่หวือหวา ตลอดช่วงปี 2557 แต่ต้นปีที่ผ่านมาปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากเสี่ยยักษ์เข้าลงทุน ราคาได้มีการปรับตัวขึ้นกว่า 12% ในระยะเวลา 2 วัน จากข่าวลือที่ว่า Alibaba จะเข้ามา Take Over หุ้น AJD และได้มีการหยุดการซื้อขาย (H) ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งภายหลัง AJD ได้แจ้งข่าวตลาดฯว่าเป็นเพียงการเจรจาและยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ ทั้งสิ้น การซื้อที่ผ่านมาถือว่าเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญทีเดียวกับจำนวนหุ้นทั้งหมด ราคาหุ้นล่าสุดของ AJD ณ สิ้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ 1.65 บาท ปรับตัวขึ้นประมาณ 7.8% จากราคาปิดเมื่อวันที่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงผู้ถือครองหุ้น แต่เดี๋ยวก่อน !!!! …… กรณีนี้เป็นการได้หุ้น PP (Private Placement) โดยตามการตรวจสอบของแอดมินแล้ว ต้นทุนถือว่าค่อนข้างต่ำกว่าราคาตลาดอยู่พอควรเลยทีเดียว ยังไม่นับรวมถึงผลของการ Dilution Effect อีกส่วนหนึ่ง ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th รายงานโดย Finnomena Admin 11 พฤศจิกายน 2558 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Carl Icahn, he thinks AIG is 'too big to succeed' - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา Carl Icahn ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกแสดงความเห็น ส่งไปให้ CEO ของ AIG อ่าน (หากเราจำกันได้ประกัน AIG เกือบล้มตอนวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล และ Icahn เข้าไปถือหุ้นอยู่ค่อนข้างเยอะพอสมควร) เนื้อความในจดหมายค่อนข้างน่าสนใจแสดงถึงมุมมองของนักลงทุนที่เป็นผู้ถือหุ้นและหวังดีต่อบริษัท (ออกไปทางสอนมวยนิดๆ) Carl Icahn เป็นนักลงทุนสาย Activist ใช้ประโยชน์จากสื่อในการกดดันและสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงการบริหารต่อบริษัทที่ตัวเองเข้าถือหุ้น กลยุทธ์การลงทุนของเขาเช่นนี้ ถือเป็นต้นแบบให้กับนักลงทุนรุ่นใหม่ในสหรัฐฯอีกหลายๆคน Icahn Enterprises LP ซึ่งก่อตั้งโดย Icahn สามารถทำผลตอบแทนได้ถึง 1,485% หรือคิดเป็นปีละ 19.7% เป็นเวลาถึง 15 ปี มากกว่า Berkshire Hathaway ของ Buffett ซึ่งทำได้ 9.1% ต่อปี ในระยะเวลาเดียวกัน ถือเป็น Hedge Fund Manager ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในยุคนี้ มีใจความใน จม. เป็นอย่างไร อ่านได้ตามนี้ ถึงคุณปีเตอร์ แฮนคอก, CEO of AIG จากประสบการณ์ของผมกับบรรดาบริษัทจดทะเบียนหลายๆบริษัท ข้อมูลต่างๆที่ปรากฎออกมานั้นหาข้อสรุปได้ยากเมื่อมองจากจุดที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทยืนอยู่ และพยายามร่วมกันแสดงความต้องการเรียกร้องผลประโยชน์ที่ควรจะได้ เราเชื่อว่าแรงกดดันจากภายนอก เป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ซึ่งปัญหาที่ AIG กำลังประสบอยู่ขณะนี้ บริษัทยังคงมีผลประกอบการแพ้คู่แข่งอย่างต่อเนื่อง และไม่รวมถึงภาระทางข้อกฎหมายที่จะยิ่งฉุดให้ศักยภาพการแข่งขันของบริษัทมีโอกาสแย่ลงไปอีก จากเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมา คุณไม่ได้มองว่ามันเป็นเรื่องที่เร่งด่วนอะไร แต่เลือกที่จะรอเป็นระยะเวลาหลายต่อหลายปี ขาดการตัดสินใจอย่างผู้นำ เป็นผลทำให้ราคา AIG ซื้อขายในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีอย่างมาก ทั้งๆที่การตัดสินใจแยกบริษัทออกจากกัน จะสามารถส่งผลให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในมุมของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถทำได้อย่างง่ายดายแบบ แทบไม่ต้องคิด ผู้บริหาร AIG ควรดำเนินการดังนี้ · พยายามหาทางแยก บริษัทย่อยออกมาเสีย ประกันชีวิต และประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ให้ออกจากกัน เพื่อสร้าง 3 องค์กรที่แยกเป็นอิสระจากกัน ซึ่งจะเล็กพอที่จะลดหรือเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากข้อบังคับของสถาบันการเงินได้ · ดำเนินโครงการควบคุมต้นทุนซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการลดช่องว่างทางการแข่งขัน เรามองว่าไม่ควรจะปล่อยให้ยืดเยื้อไปมากกว่านี้แล้ว คุณต้องทำเดี๋ยวนี้!! เหมือนกันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่อื่นๆที่ไม่พอใจการบริหารจัดการที่ไม่ชัดเจนจากการแยกบริษัทครั้งนี้ ผมไม่ทราบว่าทำไมคุณถึงไม่สนใจคำเรียกร้องของผู้ถือหุ้นที่ต้องการให้ดำเนินแผนการดังกล่าว ทั้งที่มันจะช่วยทำให้บริษัทมีเงินทุนมากขึ้นหลายพันล้านเหรียญ เป็นอิสระจากข้อขัดแย้งทางกฎหมาย และให้ผู้ถือหุ้นสามารถแยกลงทุนในสามองค์การที่ต่างเป็นผู้นำของตลาดตัวแทนประกัน John Paulson เคยให้ความเห็นว่า “สถานการณ์ของ AIG ได้ล่วงเลยช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการแยกบริษัทมานานแล้ว ซึ่งการแยกองค์กรเป็นอิสระจะช่วยให้บริษัท ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ไม่จำเป็นได้ และสามารถมีผลประกอบการกลับไปสู่ระดับโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ประกอบกับทำการซื้อหุ้นคืนบางส่วน ซึ่งมองว่า AIG จะสามารถซื้อขายกันในราคาสูงถึง 100 เหรียญต่อหุ้นได้ (Upside ราวๆ 66% จากราคาปัจจุบันที่ 60 เหรียญ)” Too Big to Succeed เจเน็ท เยลเลน กล่าวว่า “เราเริ่มจะเห็นการถกเถียงกันเรื่องขนาดของบริษัทที่ใหญ่เกินไป มันทำให้บริษัทต้องคิดหนักว่า ควรแตกบริษัทออกเป็นองค์กรเล็กๆ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวหรือไม่ และนั่นก็เป็นอะไรที่เราอยากเห็นมากขึ้น” แม้ว่าจะมีการขายสินทรัพย์บางส่วนออกไปแล้ว แต่ AIG ก็ยังใหญ่โตเกินไป การผสมกันระหว่างประกันหลายรูปแบบทำให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์น้อยลง และนั่นทำให้คู่แข่งรายอื่นหันไปเน้นทำเป็นรายธุรกิจมากขึ้น เราเชื่อว่า คุณต้องรู้เช่นกันว่า การทำแบบผสมผสานไม่ทำให้เกิดผลตอบแทนที่ดีเท่าไหร่ การแยกสายธุรกิจออกจากกันทำให้บริษัทสามารถที่จะเน้นให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อผลตอบกำไรที่ดีขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วจะได้รับการประเมินมูลค่าตลาดของบริษัทที่สูงขึ้นได้ ด้วยขนาดที่ใหญ่ คณะผู้ดูแลความมั่นคงทางการเงิน (FSOC) ได้มองว่า AIG เป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่แบงค์ ซึ่งต้องอยู่ในการควบคุมและอยู่ภายใต้เรดาร์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในแง่ของข้อกำหนดด้านเงินทุน ซึ่งเราเชื่อว่า คุณทราบเกี่ยวกับการยกระดับกฎข้อบังคับเกี่ยวกับภาษี ซึ่งมีแนวโน้มจะเก็บบนขนาดของบริษัท คณะกรรมการค่อนข้างมีความเห็นชัดเจนว่า ทางออกที่ดีที่สุดของบริษัทใหญ่กลุ่มนี้ คือต้องลดขนาดขององค์กรลง ถ้าไม่ AIG จะได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎข้อนี้ แน่นอน “การลดขนาดของบริษัทจะช่วยให้บริษัทมีโอกาสแสวงหาวิธีการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงที่บริษัทขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้” เราเชื่อว่าคุณสามารถทำได้ทันที แบบรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเสียด้วย ด้วยการแยกส่วนของประกันชีวิตและประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยออกจากกลุ่มธุรกิจประกันหลัก เราเชื่อว่าทั้ง 3 องค์กรจะมีขนาดเล็กพอที่จะหลุดรอดจากกฎเกณฑ์เรื่องเงินทุนสำรองที่เกี่ยวข้อง คุณรู้เป็นอย่างดีว่า ความสามารถด้านธุรกิจประกันของ AIG จะดูมีมูลค่าต่อผู้ถือหุ้นมากกว่าเดิม ถ้าถือบริษัทโดยตรง และ ไม่ผ่านกลุ่มโครงสร้างบริษัทในเครือ Competitive Cost Structure ROE ของ AIG ต่ำกว่าคู่แข่งไม่ใช่เรื่องขนาด หรือข้อจำกัดด้านเงินทุน แต่เป็นเพราะขาดการควบคุมต้นทุน คุณทราบดีว่า ผลตอบแทนของบริษัทต่ำกว่าคู่แข่งและจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา แม้แต่ในแผนระยะยาว ROE เป้าหมายยังอยู่ที่แค่ระดับ 10% ซึ่งก็ยังต่ำกว่าคู่แข่ง ในขณะเดียวกันคุณยังมองว่า ผลกำไรจะไม่โตสูงไปกว่า 0.5% ต่อปี และยังต้องใช้เวลากว่าครึ่งทศวรรษในการบรรลุเป้าหมาย สิ่งหนึ่งที่พวกเราเห็นตรงกันคือ AIG ไม่สามารถสู้คู่แข่งได้ คุณคิดจริงๆ หรือว่า นี่ไม่ใช่เวลาที่จะมีการปรับปรุงครั้งใหญ่? คุณต้องมีกลยุทธ์ที่ทุ่มเทและให้สัญญว่าจะต้องทำให้ ROE กลับไปเท่าเทียมกับอุตสาหกรรมให้ได้ หากคุณไม่คิดว่าเป็นการกระทำที่เหมาะสม รบกวนอธิบายสักนิด ว่า “ทำไม ด้วยวิธีการทั้งการปรับโครงสร้างบริษัท พร้อมกับทยอยซื้อหุ้นบริษัทคืน จะเป็นเพียงหนทางที่เป็นไปได้ที่สุดทางเดียวที่จะทำให้บริษัทฟื้นตัวได้ มากกว่าแผนการใดๆทั้งหมด?” AIG รอมานานเกินไปแล้ว และหวังว่าทางคุณจะมองข้อสรุปของสถานการณ์ออกมาทางเดียวกัน เวลาเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เราหวังว่าจะมีโอกาสได้พบกับทีมผู้บริหาร คณะกรรมการและผู้ถือหุ้น เพื่อพูดคุยและสอบถามต่อไป Carl Icahn FINNOMENA OPINION การลงทุนในมุมมองของนักลงทุนบางคน มันคือการเข้าไปมีส่วนร่วมกับบริษัทนั้นๆ จริงๆ นอกจากเขาหล่านั้นจะเข้าใจธุรกิจแบบลึกซึ้งแล้ว (เผลอๆจะมากกว่า ผู้บริหารเองด้วยซ้ำ) ยังมีมุมมองที่เป็นประโยชน์และอาจต่างไปจากบริษัทอย่างสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักลงทุนจะพิจารณาหุ้นในกลุ่มตัวอื่นๆ เพื่อการเปรียบเทียบและสามารถมองเห็นการแก้ปัญหาคล้ายๆ กันของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นอิสระมากกว่า แน่นอนว่าการขายหุ้นทิ้งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งหากเราไม่ชอบใจบริษัท แต่การเตือนเบาๆ ก็อาจเป็นทางออกที่ส่งผลดีได้เช่นกัน (แต่ครั้งนี้ Carl Icahn ถือว่าเตือนแรงเลยนะ) แท็ก: AIG แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
หมอปราเสริฐ ซื้อ BA ทะลุ 20% - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 Bangkok Airways – BA รายงาน ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 สัดส่วนหลังเข้าซื้อ: 20.22% ผู้ซื้อ: นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ – ประธานคณะผู้บริหาร หลังจากนั้นคุณหมอยังคงทยอยซื้ออย่างต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาส 3 / 2558 จำนวน 63.63 ล้านหุ้นคิดเป็นราคาเฉลี่ย 20.94 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มอีก 3% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 2,100 ล้านหุ้น การซื้อที่ผ่านมาถือว่าเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญทีเดียวกับจำนวนหุ้นทั้งหมด ราคาหุ้นล่าสุดของ BA ณ สิ้นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ 19.9 บาท ปรับตัวลดลงประมาณ 5% จากราคาเฉลี่ยที่คุณหมอปราเสริฐเข้าซื้อล่าสุด ข้อดีของ Major Move ที่เรานำมาเสนอในวันนี้คือการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาภายหลังจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าซื้อ หรือขายหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเราศึกษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ พร้อมกับ FINNOMENA เราน่าจะเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุนได้เหมือนกันนะครับ เรียกได้ว่าถ้าเรามีข้อมูลมากกว่าย่อมมีโอกาสชนะในสมรภูมิการลงทุนแน่นอนครับ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th รายงานโดย Finnomena Admin 9 พฤศจิกายน 2558 แท็ก: BA แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Buffett เพิ่มพอร์ตการลงทุนในกลุ่มอาหาร และพลังงาน? - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 รายงานของบริษัท Berkshire Hathaway (NYSE:BRKB) ล่าสุด พบว่า บริษัทเพิ่มการถือครองหุ้นกลุ่มพลังงานและอาหาร ทั้งนี้ ถ้าดูจากรายงานผลประกอบการของ Berkshire พบว่า กำไรต่อหุ้นของบริษัทลดลง -3.6% แต่ก็ยังสูงกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ หลักๆ ที่ผลประกอบการออกมาไม่ค่อยจะดีนักมาจาก หุ้นอย่าง American Express , IBM และ Coca-Cola ที่ผลประกอบการไม่ดีในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่หุ้นที่โดดเด่น ก็มีเช่นกัน อย่างเช่น Kraft ซึ่งเป็นบริษัททำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐฯ น่าจะรายงานผลประกอบการออกมาดีและส่งผลดีต่อหุ้น Berkshire ที่ตอนนี้ ถือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของ Kraft เป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่เดือน ก.ค. ทั้งนี้สาเหตุที่ Berkshire มีการปรับพอร์ตเพิ่มการถือครองหุ้นกลุ่มพลังงานและอาหารมากขึ้น ก็เนื่องจาก เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัว รวมทั้งราคาสินค้า Commodity ที่ตกต่ำ รวมทั้งค่าเงินดอลล่าร์ที่อยู่ในทิศทางที่อ่อนค่า อาจทำให้กลุ่มธุรกิจที่มีรายได้จากต่างประเทศ เจอช่วงเวลาที่ยากลำบากในอนาคต Buffett จึงตัดสินใจปรับพอร์ตการลงทุนในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา เพื่อให้มีความสมดุลมากขึ้นนั้นเอง FINNOMENA Opinion การปรับพอร์ตของ Buffett สะท้อนมุมมองถึงความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวมากขึ้นของ Buffett เอง ซึ่งวิธีการปรับพอร์ตนั้น ยังเป็นการโยกย้ายหุ้นในพอร์ตไปยังอุตสาหกรรมที่ความผันผวน และมีความเสี่ยงต่ำกว่า วิธีการนี้ นักลงทุนสามารถเอามาปรับใช้แก้พอร์ต ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลดความเสี่ยงขายหุ้นแล้วไปถือตราสารหนี้ ซึ่งหากตลาดหุ้นยังเดินหน้าขึ้นต่อไป นักลงทุนก็มีโอกาสที่จะพลาดโอกาสได้ แท็ก: Berkshire Hathaway Warren Buffett แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Ray Dalio ไม่มีที่ไหนปลอดภัยพอจะลงทุนได้แล้ว - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 ตลาดหุ้นจีน ดูเหมือนจะขาดผู้เล่นไปอีกหนึ่งราย เมื่อ Bridgewater ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการว่า 169 พันล้านเหรียญ ได้ปรับมุมมองสวนทางจากเดิมที่เคยมองว่ามีแนวโน้มที่ดี “มุมมองของเราต่อตลาดจีนเปลี่ยนไปแล้ว และดูเหมือนจะไม่มีที่ไหนปลอดภัยพอสำหรับลงทุนอีก” Ray Dalio กล่าวต่อนักลงทุน เขามองว่าการกลับตัวของตลาดหุ้นจะทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนทั้งหมด แม้คนที่จริงๆแล้วไม่ได้ขาดทุนจากหุ้น แต่จะยังได้รับผลกระทบทางจิตวิทยาอยู่ดี และจะส่งผลให้เกิดความกดดันต่อสภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงกว่า 22% จากจุดสูงสุดเมื่อช่วงเดือน มิถุนายน ตัวเลขทางการของจีน ยังคงการเติบโตของ GDP ได้อยู่ที่ 7% แต่ Citigroup ไม่เชื่อเช่นนั้น กลับคิดว่าเป็นตัวเลขที่ถูกสร้างขึ้น และในความเป็นจริง อัตราการเติบโตอาจจะอยู่ที่แค่ 5% เท่านั้น FINOMENA Team Opinion Following Edited – จากข่าวดังกล่าวที่ออกมาช่วงวันที่ 23 กรกฎาคม นั้น หลังจากที่ Ray Dalio ได้ปรับมุมองเป็นลบต่อตลาดหุ้นจีน ปัจจุบัน สิ้นเดือน ตุลาคม ตลาดหุ้นจีน ปรับลงต่อเนื่องกว่าอีก 10% Source : http://www.businessinsider.com/bridgewater-says-to-get-out-of-china-2015-7 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ซื้อ MTI ทะลุ 5% - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 Muang Thai Insurance – MTI ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2558 ราคา 151.5 บาท เปอร์เซนต์ที่ได้มา: 2.27% สัดส่วนหลังเข้าซื้อ: 6.2% คิดเป็นมูลค่าหุ้นปัจจุบันประมาณ 552.4 ล้านบาท ผู้ซื้อ: นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ – ประธานกรรมการบริษัท MTI ราคาปัจจุบัน 1 พ.ย. 58 = 151 บาท ผลตอบแทนจากวันที่ได้หุ้นมาจนถึงปัจจุบัน: ยังไม่เคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th รายงานโดย Finnomena Admin 2 พฤศจิกายน 2558 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ผศ.ดร.พิมล ศรีวิกรม์ ซื้อ TCMC ทะลุ 10% - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 Thailand Carpet Manufacturing – TCMC ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 ราคา 3.5 บาท เปอร์เซนต์ที่ได้มา: 1.71% สัดส่วนหลังเข้าซื้อ: 10.33% คิดเป็นมูลค่าหุ้นปัจจุบันประมาณ 143.6 ล้านบาท ผู้ซื้อ: ผศ.ดร.พิมล ศรีวิกรม์ – ประธานกรรมการบริษัท TCMC ราคาปัจจุบัน 1 พ.ย. 58 = 3.6 บาท ผลตอบแทนจนถึงปัจจุบัน 2.8% ในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน อ่าน Guru’s Pick ตอน TCMC Sofa & Carpet แหล่งที่มาข้อมูล: www.sec.or.th รายงานโดย Finnomena Admin 2 พฤศจิกายน 2558 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน THE IRONMAN อดีตสถาปนิก ผู้เปลี่ยนใจไปเอาดีด้านการเงิน กัดฟันสอบจนได้ CFA และย้ายสายงานมาเป็น Fund Manager สุดท้ายตัดสินใจพลิกชีวิตอีกครั้งออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนมาอยู่ในแวดวง Fintech Startup บนภารกิจในการพานักลงทุนโต้คลื่นการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีทางการเงินครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลกเราวันนี้
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อ Soros บอกว่า พื้นฐานหุ้น ไม่ช่วยอะไร - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 George Soros ได้เคยนำเสนอแนวความคิดนี้ไว้นานแล้ว ในหนังสือของเขา “The Alchemy of Finance” ในช่วงปี 1980 ที่ว่า “จริงๆแล้วราคาตลาดปัจจุบันต่างหากที่เป็นปัจจัยที่กำหนดราคาในอนาคต ไม่ใช่มูลค่าพื้นฐานหุ้น” ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับหุ้น Valeant Pharmaceuticals ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาค่อนข้างสะท้อน แนวความคิดดังกล่าวได้ชัดเจนพอสมควร โดย David Kostin และฝ่ายกลยุทธ์หุ้นของ Goldman sach ได้โยงเข้ากับเหตุการณ์ที่ราคาของหุ้นดังกล่าวที่ร่วงลงถึง 35% ทั้งสัปดาห์ และลงถึง 40%ระหว่างวัน ในกรณีของตลาดทุน ปรากฎการณ์ “Reflexivity” นี้จะเกิดขึ้นตอนที่ระบบการลงทุนส่งสัญญาณบางอย่าง ซึ่งกระทบต่อมุมมองของนักลงทุนในตลาด หรือพูดง่ายๆ ราคาหุ้นในขณะนั้นเริ่มเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับพื้นฐาน แต่ในทางกลับกัน ราคาตลาดนั้นกลับกลายเป็นหนึ่งในพื้นฐานของหุ้น และเป็นตัวกำหนดการเคลื่อนไหวของราคาเสียเอง จนนำไปสู่สภาวะความไม่สมดุลของราคา หากย้อนกลับไปสมัยของ Soros ในยุคนั้นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับคือ ตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ (Market efficient) ราคาหุ้นสุดท้ายแล้วจะกลับไปสู่ราคาที่เหมาะสมตามการประเมินมูลค่าจากพื้นฐาน กล่าวคือการวิเคราะห์บริษัทด้วยการวิเคราะห์กระแสเงินสด บนสมมติฐาน แนวโน้มผลประกอบการ และใช้โมเดลธุรกิจในการประเมินให้ได้มาซึ่ง ราคายุติธรรม แม้บางกรณีอาจจะต้องใช้เวลาบ้างmm แต่สิ่งที่ Soros เห็นต่างและเป็นมุมมองที่ค่อนข้างได้รับการยอมรับ คือ ตลาดไม่มีประสิทธิภาพอย่างนั้น และการประเมินราคาอย่างดีที่สุด ก็ไม่ได้ช่วยให้นักลงทุนประสบความำเร็จอย่างที่หวัง แม้ในการลงทุนระยะยาวก็ตาม Kotsin จาก Goldman sach ยังเสริมอีกว่า Soros ไม่ได้เพียงมองตลาดไม่สมบูรณ์ แต่ยังเชื่ออีกว่า สภาวะตลาดในแต่ละขณะต่างหากที่กำหนดอนาคต สิ่งนี้ค่อนข้างสวนทางกับแนวความคิดของนักลงทุนพอสมควร นำไปสู่ความเห็นจากทีมกลยุทธ์ว่า “สาเหตุหนึ่งที่ราคาของหุ้นร่วงลงอย่างมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจาก ราคาหุ้นร่วงลงมาเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้” สาเหตุอื่นๆทีอาจพอเป็นไปได้ คือ ในช่วงก่อนหน้ากองทุน Hedge Fund ได้เข้าไปถือหุ้น Valeant ไว้ค่อนข้างมาก จึงมีแรงขายอย่างหนักจากนักลงทุนสถาบันเหล่านี้ หรืออาจจะเพราะการให้ข่าวของบริษัทในช่วงต้นสัปดาห์เอง ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก แต่หากเมื่อราคาหุ้นตกลงมาแล้ว ก็เป็นความจริงที่นักลงทุนต้องยอมรับ ไม่ว่าจะมองว่า “ยุติธรรม” หรือไม่ก็ตาม Finno opinion แม้ตลาดหุ้นไทย ยังไม่มีหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยาโดยตรงมากนัก (ซึ่งโดยธรรมชาติจะได้รับกระทบจากการฟ้องร้อง การแทรกแซง เป็นคดีความอยู่เป็นปกติ) แต่กรณีศึกษาเกี่ยวกับแนวความคิด “Reflexivity” ของราคาหุ้นและปัจจัยพื้นฐานของ Soros อาจช่วยอธิบายการเคลื่อนไหวของหุ้นในบางกลุ่มได้ ทั้งในกรณีขึ้นและลงอย่างรุนแรงแบบหาเหตุผลไม่เจอ ซึ่งเห็นได้จนชินตาในตลาดบ้านเรา source : http://www.businessinsider.com/george-soros-reflexivity-explains-valeant-price-move-goldman-says-2015-10 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Bill Ackman โดน Herbal Life จัดหนัก - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 Herbal Life จัดหนักใส่ Bill Ackman ด้วยการแถลงข่าวเพียงประโยคเดียว Bill Ackman เลือกลงทุนใน Valeant Pharmaceuticals แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นมีการปรับตัวลงอย่างรุนแรงถึง 35% แม้ Ackman จะมีกำหนดการประชุมเพื่อชี้แจงผลกระทบดังกล่างต่อการลงทุนของกองทุนที่เขาบริหารจัดการอยู่ แต่ Herbal Life ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยา (ซึ่ง Bill Ackman โจมตีตลอดมาถึงขนาดว่า ด้วยโมเดลธุรกิจแบบ Herbal Life ราคาหุ้นจะลงไปเหลือ 0 กันเลยทีเดียว) ฉวยโอกาสแถลงข่าวโจมตีก่อนการประชุมจะเกิดขึ้น โดย Alan Hoffman ผู้บริหารของ Herbal Life กล่าวในงานสัมนาว่า “เขาหวังว่า Bill Ackman จะทำการวิเคราะห์เพื่อลงทุนในหุ้น Valeant Pharmaceuticals ได้ดีกว่าที่เขาวิเคราะห์ Herbal Life” เป็นที่ทราบกันดีว่า Herbal Life และ Ackman กระทบกระทั่งกันตลอดมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถึงขั้นที่ Michael Johnson CEO ของ Herbal Life ประกาศสงคราวกับ Bill Ackman เลยทีเดียว Finno Opinion เรื่องนี้อาจฟังแล้วไกลตัวนักลงทุนในบ้านเราไปนิดนึง แต่เป็นตัวอย่างนึงที่แสดงให้เห็นว่า แม้ในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ตลาดหุ้นกลับมีการสาดโคลน จัดกันหนักหน่วงพอสมควร แถมประกาศกันตรงๆ ไม่มีอ้อมค้อม Source : http://www.businessinsider.com/herbalife-bill-ackman-valeant-statement-2015-10 แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันกระตุ้นทางการเงินอีกครั้ง - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ปี 2558 นับเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนสูง โดยตลาดหุ้นโลกเริ่มต้นปีด้วยการปรับตัวขึ้นนำโดยตลาดยุโรป และญี่ปุ่นที่มีนโยบาย QE และ QQE ช่วยสนับสนุน โดยความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ FED มีอยู่เป็นระยะ และตลาดหุ้นโลกได้มีการปรับฐานอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อจีนได้ทำการลดค่าเงินตัวเองอย่างผิดปกติในช่วงเดือนสิงหาคม 2558 ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกได้เกิดปรากฏการณ์ที่หลายคนเรียกว่า “Black Monday” อีกครั้งในวันที่ 24 สิงหาคม 2558 โดยรวมไตรมาส 3/58 ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างถ้วนหน้า โดยจีนลงแรงสุดประมาณ 30% ขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราการปรับลดลงประมาณ 10 – 20% ทั้งนี้ ในช่วงปลายไตรมาส 3/58 ประเทศผู้ส่งออกโภคภัณฑ์อย่างบราซิล เริ่มส่งสัญญาณมีปัญหา คล้ายกับกรณีของรัสเซียที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ปฏิกิริยาตอบสนองของ FED สร้างจุดเปลี่ยนให้ตลาด ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 ท่าทีของ FED เริ่มเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดย FED ส่งสัญญาณแสดงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก โดยตลาดเริ่มมองว่ามีโอกาสเป็นไปได้ที่ FED จะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายออกไปก่อนจนถึงปี 2559 เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่ใช่ปัจจัยที่น่ากังวล ขณะที่ยุโรปเริ่มส่งสัญญาณการเพิ่มขนาดเม็ดเงินกระตุ้นทางนโยบายการเงินซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วงปลายปี เช่นเดียวกับจีนซึ่งล่าสุดปรับลดอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปีลงอีก 0.25% เหลือ 1.5% ทำให้ตลาดหุ้นโลกโดยรวมกลับมาตอบรับในเชิงบวกอีกครั้ง แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่ประกาศออกมาจะอยู่ในแนวโน้มแย่ลงต่อเนื่อง ในเดือนตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา IMF ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2558 – 2559 ลง 0.2% โดยออกรายงานที่ชื่อว่า “Adjusting to lower commodities price” หมายถึงผลกระทบจากราคาโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของโลก อย่างไรก็ตามเห็นได้ชัดว่าตลาดหุ้นโลกกลับเพิกเฉยต่อข่าวร้ายด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน แต่กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความคาดหวังว่าอเมริกาจะไม่ขึ้นดอกเบี้ย และคาดหวังว่าการกระตุ้นทางการเงินของยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงจีนจะมีอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัททั่วโลกที่ทยอยประกาศออกมาค่อนข้างแย่โดยเฉพาะสถาบันการเงินชั้นนำอย่าง Morgan Stanley, Goldman Sach, Deutsche Bank, Credit Suisse ฯลฯ แต่ปรากฎว่าตลาดหุ้นก็ยังปรับตัวเพิ่มได้ท่ามกลางข่าวร้ายนั้น ตลาดหุ้นจีน และตลาดหุ้นไทย มีแนวโน้มรีบาวนด์ในไตรมาส 4/58 จากปัจจัยข้างต้น ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนตุลาคมที่ผ่านมา INFINITI Global Investors ได้แนะนำให้นักลงทุนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นจีนอีกครั้ง ในส่วนของตลาดหุ้นจีนนอกจากการปรับลดดอกเบี้ยแล้ว ล่าสุดตัวเลข Loan Growth ของจีนกลับมาเติบโตแรงอีกครั้ง ส่วนหนึ่งจากการแทรกแซงของทางการ โดยเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านล้านหยวนในเดือนกันยายนที่ผ่านมาเช่นเดียวกับตัวเลข Money Supply ที่กลับมาเติบโตกว่า 10% นอกจากนี้การเลื่อนการคาดการณ์ในการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ส่งผลบวกต่อค่าเงินของเอเชียให้แข็งค่าขึ้น และเงินทุนกลับมาไหลเข้าอีกครั้งค่าเงินหยวนเริ่มกับมามีเสถียรภาพ ความกังวลเรื่องการลดค่าเงินหยวนลดลง โดยเราได้แนะนำให้เข้าลงทุนใน H-Share เนื่องจาก 70% ของ H-Share เป็นกลุ่มธนาคารซึ่งได้ประโยชน์สูงสุดจากการเติบโตของ Loan Growth (ในรอบที่แล้วที่ Loan Growth เติบโต H-Share ได้มี rally รอบใหญ่) และส่วนใหญ่ของ H-Share เป็นหุ้น Big Cap เช่น Petro China, China Telecom ซึ่งไม่ได้มีการเก็งกำไรกันมากเหมือนหุ้นขนาดเล็กที่อยู่ใน A Share ทั้งนี้ Valuation ของแบงค์จีน P/B กลับมาเหลือเพียง 1 เท่าต่ำที่สุดนับแต่ Hamburger Crisis สำหรับตลาดหุ้นไทย เราได้แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2558 ที่ผ่านมาโดยมองว่ามีโอกาสที่จะเกิด Short term rally ในช่วงไตรมาส 4/2558 โดยเป็นครั้งแรกนับแต่ต้นปีที่นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยอีกครั้ง ขณะที่ค่าเงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น โดยเรามองว่าจะมีปัจจัยบวกจากนโยบายรัฐบาลเริ่มมีการขับเคลื่อนได้เร็วขึ้นภายหลังเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจใหม่ ทั้งเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ ขณะที่ตลาดดูเริ่มจะลดการตอบสนองเชิงลบต่อข่าวร้ายเช่นการลดประมาณการเศรษฐกิจของ World Bank & IMF ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รวมไปถึงผลประกอบการไตรมาส 3 ของกลุ่มธนาคารและพลังงานที่ออกมาแย่ ตลาดกลับยังคงสามารถยืนบวกได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีกระแสเงินจากนักลงทุนสถาบันที่เข้าช่วยพยุงตลาดจากการซื้อกองทุน LTF และ RMF ในช่วงปลายปีเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมอีกด้วยโดยเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานประกอบกับภาพทางเทคนิคคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัวได้ที่ประมาณ 1500 จุด และอาจปรับเพิ่มได้แรงถึง 1600 จุด ซึ่งแนะนำนักลงทุนให้ขายทำกำไรบางส่วนที่แนวต้าน เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานสำคัญคือการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังไม่มีแนวโน้มที่ดีในปัจจุบัน เราจึงมองว่าตลาดหุ้นไทยไม่น่าจะทำจุดสูงสุดใหม่ของปีได้ในรอบนี้ FundTalk INFINITI Global Investors The Ultimate Investment Solution แท็ก: Asset Allocation Fund Flow กลยุทธ์การลงทุน เศรษฐกิจโลก แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
New Normal บรรทัดฐานใหม่ของเศรษฐกิจโลก - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 คำว่า New Normal นั้นถูกเผยแพร่ออกมาครั้งแรกในสมัยที่ Bill Gross อดีต Co-CEO ของ PIMCO เขียนใน Monthly Outlook เมื่อปี 2009 โดยเล่าว่า หลังจากวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 ในตอนนั้น เขาคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ยุคใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จนถึงวันนี้ สิ่งที่ Bill Gross พูดไว้ ดูจะเป็นความจริงอยู่ในหลายส่วน ผมเลยอาสาพามาทบทวนคำว่า New Normal นั้น มันหมายความว่าอะไรบ้างนะครับ New Normal หรือ บรรทัดฐานใหม่ของเศรษฐกิจโลก นั้น จริงๆ เป็นคำเปรียบเปรยถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตซับไพรม์ครับ เศรษฐกิจโลก เปลี่ยนไปอย่างไร? เปลี่ยนทางปัจจัยการผลิต – ปัจจัยการผลิตมีอยู่ 3 อย่างก็คือ แรงงาน , ทุน และเทคโนโลยี ครับ ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แรงงาน : อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง และอายุขัยของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป นั้นก็คือ ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากยุค Baby Boomer แต่ประชากรวัยทำงาน เข้าสู่ตลาดแรงงานในอัตราที่น้อยลง สิ่งนี้ทำให้ตลาดแรงงานขาดแคลนครับ และรัฐฯมีต้นทุนแบกรับค่าใช้จ่ายสวัสดิการชราภาพมากขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศเจอปัญหานี้ไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น หรือในยุโรปอย่าง กรีซ ที่เกิดปัญหาการประท้วงไปแล้วอย่างที่เราเห็น และเราคงเห็นอีกหลายๆประเทศตามมา ทุน : การสะสมทุนที่สูงขึ้น = การลงทุนที่ลดลง สาเหตุก็เพราะ พอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กลายเป็นว่า นักลงทุนไม่กล้าลงทุนใน Real Sector และด้วยนโยบาย QE ของประเทศต่างๆ ผู้มีทุนทั้งหลาย จึงเลือกที่จะเอาทุนตัวเองไปลงทุนในตลาดทุน ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจได้เร็วและยั่งยืนเท่ากับการลงทุนโดยตรง แต่ก็ช่วยไม่ได้ครับ เพราะเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง และยังมีความไม่แน่นอนที่สูง มันเลยทำให้ผู้มีทุนทั้งหลาย ยังไม่กล้าตัดสินใจลงทุนจริงๆจังๆ และสาเหตุอีกอย่างก็คือ ปัจจัยที่ 3 ที่จะบอกครับ เทคโนโลยี : จะพบว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราเห็นนวัตกรรมใหม่ๆออกมาในอัตราที่ลดลง อาจจะเป็นเพราะ เหล่าผู้มีทุน ก็ไม่อยากลงทุนใน R&D หรือ อาจเป็นเพราะ มันยังไม่มีนวัตกรรม ที่จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เศรษฐกิจโลกอย่างก้าวกระโดดเหมือนในอดีต หรืออาจจะเพราะทั้งสององค์ประกอบ แต่มันทำให้เห็นว่า การทำ C&D (Copy & Develope) นั้น มันไม่สร้าง Value Added ให้เศรษฐกิจแบบยั่งยืน เปลี่ยนทางโครงสร้างการค้าของโลก – สาเหตุเป็นเพราะ เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เมื่อเทียบกับยุคก่อนเกิดวิกฤตที่เศรษฐกิจขยายตัวจากการเปิดประเทศของจีน ทำให้ระบบการค้าของโลกสามารถโตขึ้นได้อย่างมาก เพราะขนาดตลาดของจีนนั้นใหญ่เพียงพอต่อกำลังการผลิตของโลกที่มีอยู่ … แต่พอเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ไม่ได้โตในระดับ 10% ต่อปีเหมือนเดิม และจีนเปลี่ยน Direction การบริหารประเทศ จากที่ต้องการโตจากการส่งออก เป็นการโตจากการบริโภคภายในประเทศ ก็ทำให้การค้าของโลกชะลอตัวลงทั้งหมด ใครที่ยังคิดจะพึ่งการส่งออก มีแต่ตายกับตายครับ ลองดูประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ ณ วันนี้สิครับ แทบลากเลือดกันหมด เปลี่ยนทางโครงสร้างทางการเงิน – ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการรวมตัวกันทางการเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นมากมาย ที่ใหญ่ๆก็มี ธนาคาร ADB , AIIB และ TPP ที่เพิ่มมีสดๆร้อนๆ การรวมตัวกันของกลุ่มประเทศพวกนี้ เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงทุน เพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงินก็จริง แต่ในยามที่เงินล้นโลกเช่นนี้ การเปิดเสรีให้เงินโยกไปโยกมาง่ายๆ ก็ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินมากตามไปด้วย แล้ว New Normal ของเศรษฐกิจโลก คืออะไร? 1. อัตราเงินเฟ้อของโลกจะยังอยู่ในระดับต่ำไปอีกยาวนาน จากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง รวมถึง การที่เศรษฐกิจโลกโตในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม และมีความเสี่ยงที่จะถดถอยได้ ทำให้นโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก ยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย (กดดอกเบี้ยให้ต่ำ) และน่าจะเป็นแบบนี้ไปอีกสักพักถึงแม้เฟดจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้ แต่ก็เชื่อว่า ประเทศอื่นๆบนโลก ไม่น่าจะมีประเทศใดขึ้นดอกเบี้ยตามเฟดได้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า 2. การค้าระหว่างประเทศจะลดลงเรื่อยๆ ฟื้นตัวได้ยาก เพราะทุกประเทศบนโลก เปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ (Policy Shift) จากส่งออก เป็นโตในประเทศ ดังนั้น เราจะเห็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนและพัฒนาด้านเทคโนโลยี ที่จะเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว ในระยะสั้น 1-2 ปี เราคงยังไม่เห็นผลลัพธ์ชัดเจน หากใครบนโลกพัฒนานวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คนได้ก่อน ก็หมายถึงความได้เปรียบในระยะยาว และอาจทำให้เกิด Growth Divergence บนโลก หรือ บางที่บนโลก เศรษฐกิจแข็งแกร่ง แต่บางแห่งอาจโตไม่ได้ เพราะขาดนวัตกรรม 3. ระบบการเงินโลกที่เชื่อมกัน จะทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไวขึ้น สิ่งที่เราเห็นอย่าง Black Monday หรือ การปรับฐานหนักในตลาดหุ้นจีน จะเกิดบ่อยขึ้นกว่าในอดีต ประเทศใดที่สุขภาพการคลังไม่ดี หรือระบบการเงินไม่พร้อมรับกระแสเงินทุน ก็จะตกเป็นเหยื่อได้ง่ายขึ้นไปอีก 4. ทั้งหมดทั้งมวล เราจะเห็นเศรษฐกิจโลกโตในอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวไปอีกอย่างน้อย 3-5 ปี (เว้นแต่เกิดวิกฤตขึ้นอีกซักรอบก่อน ถ้าเกิดแบบนั้น คงมีติดลบให้เห็นอีกรอบ) ทั้งหมดนี่คือภาพใหญ่ๆที่เราจะเห็นบนระบบเศรษฐกิจของโลกนะครับ จะได้รู้ไว้ว่า ใครมาวาดฝันลมๆแล้งๆให้คุณดีใจ ใครวาดภาพจริงให้คุณเห็น แต่ทั้งนี้ ผมไม่ได้เหมาว่า สภาพ New Normal แบบนีั ไม่มีอะไรให้ลงทุนได้นะครับ เพราะถ้าเป็นอย่างงั้นจริง ตลาดหุ้นโลกคงไม่วิ่งมา 5-6 ปีหลังวิกฤต 2008 อย่างที่เราเห็นกันวันนี้ เพียงแค่ให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า นี่คือธีมใหญ่ที่ครอบภาวะการลงทุน ณ ตอนนี้อยู่ เมื่อเรารู้ เราจะได้ไม่ตั้งความหวังกับมันเกินจริง และค้นหาสิ่งที่เราคิดว่าควรค่าแก่การลงทุนได้อย่างถูกที่ถูกทางมากขึ้น Mr.Messenger แท็ก: New Normal World Economic เศรษฐกิจโลก แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ผลการประชุม ECB แบบนี้มี QE เพิ่มรึเปล่านะ? - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ✪ สรุปผลการประชุม ECB เมื่อคืนนี้ ✪ ECB มีมติคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิมที่ 0.05% และไม่ได้มีมาตรการกระตุ้นอะไรใหม่ในการประชุมครั้งนี้ แต่ Mario Draghi ประธาน ECB บอกกับสื่อหลังการประชุมว่า ที่ประชุมอาจพิจารณามาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม โดยอาจจะเป็นการประชุมเดือน ธ.ค. ก็เป็นได้ ♗ โอกาสในการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมมีมากน้อยขนาดไหน? ถ้าเปรียบเทียบการประชุมเดือน ก.ย. กับวันนี้ จะพบว่า มีมุมมองแย่ลงต่อเศรษฐกิจของยูโรโซนเล็กน้อย จากคำกล่าวที่ว่า “concerns over growth prospects in emerging markets and possible repercussions for the economy from developments in financial and commodity markets continue to signal downside risks to the outlook for growth and inflation.” สรุปสั้นๆคือ ยังกังวลว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจกลุ่มตลาดเกิดใหม่ อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเติบโตและเงินเฟ้อของยูโรโซน และคำแถลงหลังการประชุมจากปากของ Draghi นั้น ต่างจาก Janet Yellen ประธานเฟด ที่มักจะออกมาในโทนที่ว่า ‘ขอดูข้อมูลให้ชัดเจนก่อน (Wait & See)’ แต่สำหรับ Draghi นั้นออกมาในมุม ‘ทำเลย และประเมินกันอีกที (Work & Assess)’ ยกตัวอย่างเช่น Draghi ถามในที่ประชุมว่า จะมีเครื่องมืออะไรที่วัดความมีประสิทธิภาพของนโยบายเพิ่มเติม? หรือ มีวิธีการอื่นอีกหรือไหมที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ? คำถามแบบนี้ สื่อตีความว่า ECB มีความ Aggressive ในการจะกระตุ้นเศรษฐกิจแน่นอน ไม่ช้าก็เร็วครับ ♘ แล้ว ECB จะใช้อะไรกระตุ้นเศรษฐกิจ? ตอนนี้ ที่ทำอยู่คือ มีวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ซึ่งจะทำจนถึงเดือน ก.ย. ปีหน้า สิ่งที่ ECB น่าจะทำ หากจะหามาตรการมากระตุ้นในเดือน ธ.ค. ก็คือ ➤ ขยายระยะเวลาการทำ QE –> ตลาดน่าจะไม่ตอบรับมากในระยะสั้น เพราะ Draghi เคยพูดแล้วว่า มีโอกาสขยายเลยเดือน ก.ย. ไปหากเห็นสัญญาณความเสี่ยง ➤ เพิ่มขนาดวงเงิน QE –> ขึ้นอยู่กับวงเงินที่เพิ่มว่าจะเป็นเท่าไหร่ ตลาดน่าจะตอบรับในเชิงบวกหากปริมาณนั้นมากพอ ➤ เร่งการซื้อพันธบัตรเร็วขึ้น –> น่าจะกระตุ้นบรรยากาศการลงทุนได้คึกคักที่สุด เพราะเห็นผลเร็วที่สุดใน 3 ข้อ ➤ ลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกรอบ –> ถ้าลดจนเป็น Negative Rate (ดอกเบี้ยติดลบ) แบบสวิสเซอร์แลนด์ น่าจะทำให้ค่าเงิน EUR อ่อนค่าแรง และ Bond Yield ร่วง เงินไหลออกมาลงทุนในตลาดทุน ดีต่อตลาดหุ้นระยะสั้น แต่เสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ♜ ไม่ใช่ว่า ECB จะทำแน่ๆในการประชุมเดือน ธ.ค. นะครับ แต่ผมยังมองว่ามีเงื่อนไขที่เราต้องดูอีก 3 ข้อ ถ้าอยู่ดีๆธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ขึ้นดอกเบี้ย เดือน ธ.ค. ทำให้ตลาด Surprise ผมเชื่อว่า ECB จะยังไม่กล้าออกมาตรการอะไรเพิ่มเติม แต่ถ้า Fed เลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยออกไป ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนดันออกมาดี การขยายวงเงิน QE น่าจะยังไม่เห็น ECB อาจจะใช้วิธีลดดอกเบี้ยลง เพราะการที่ Fed เลื่อนขึ้นดอกเบี้ย มันหมายถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีความเสี่ยง ดังนั้น ECB ก็น่าจะออกมาตรการอะไรมาจัดการกับความกังวลของนักลงทุนอยู่ดี ถ้าตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันประชุมเดือน ธ.ค. ตัวเลขเศรษฐกิจทุกอย่างบอกว่าแย่จริงๆ หวังได้เลยว่า มาตรการกระตุ้นชุดใหญ่อีกรอบ น่าจะเกิดขึ้นแน่นอน ♚ ผลต่อตลาดทุนหลังการประชุม ตลาดหุ้นเขียวทั้งโลก Dow Jones +300 จุด (+1.87%) DAX +250 จุด (2.48%) Nikkei225 +400 จุด (2.22%) เอเชียเขียวหมด (พี่ไทยปิดตลาด น่าเสียดาย 555+) ค่าเงิน EUR/USD อ่อนค่าลงมาที่ 1.11 ส่วน JPY/USD อ่อนค่าตามเล็กน้อย 120.68 สัปดาห์หน้า ไปดู FOMC กับ BOJ ต่อ ว่ามีมุมมองต่อเศรษฐกิจยังไง จะสอดรับกับ ECB และทำให้ตลาดหุ้นวิ่งต่อได้หรือไม่ …………..โปรดติดตาม Mr.Messenger รายงาน แท็ก: ECB EUR Euro Eurozone QE ค่าเงินยูโร ตลาดหุ้นยุโรป แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
IMF ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลก - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 บ่อยครั้งกว่าเราจะรู้ตัวว่าเราอยู่ในวิกฤต ก็เมื่อตลาดได้ปรับตัวลงไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับในการที่จะอ่านตลาด และปรับตัวได้ทันท่วงที หลาย ๆ ครั้งเราจะได้รับทราบเหตุผลภายหลังตลาดปรับลดลงรุนแรงว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ตัวเลขเศรษฐกิจตัวไหนที่ออกมาแย่กว่าที่คาด การที่จะเราจะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้นั้น สิ่งสำคัญคือการมองไปข้างหน้า กำหนดมุมมองต่อปัจจัยสำคัญที่เราคิดว่าจะเข้ามามีผลกระทบต่อตลาดในอนาคต แล้วทำการปรับการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สำหรับปัจจัยที่ผมมองว่าจะมีผลต่อตลาดในระยะสั้นข้างหน้ายังคงจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจโลก นับตั้งแต่จีนทำการลดค่าเงินหยวน ตัวเลข PMI ที่ออกมาอ่อนแอ ในช่วงต้นเดือนตุลาคม ที่กำลังจะมาถึง ผมคาดว่าประมาณวันที่ 7 – 9 ต.ค. IMF จะถึงรอบของการปรับประมาณการเศรษฐกิจ ซึ่งในรอบที่แล้วเมื่อเดือน ก.ค. IMF มองว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2015 จะเติบโตได้ 3.3% ขณะที่เศรษฐกิจโลกในปี 2016 จะเติบโตได้สูงถึง 3.8% ตลาดสนใจที่การปรับประมาณการ ไม่ใช่ตัวเลขการเติบโตอย่างเดียว เวลาได้ยินคนวิเคราะห์ว่า สถานการณ์ตลาดไม่น่าเป็นห่วง เศรษฐกิจโลกปีหน้ายังโตได้ จีนยังโตได้ 6 – 7% สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ก็ยังมีการเติบโตเป็นบวก ดังนั้นตลาดหุ้นยังอยู่ในขาขึ้นต่อ ผมขอบอกเลยว่าผม “ไม่เห็นด้วย” กับวิธีคิดแบบนี้ครับ เพราะแท้จริงแล้วตลาดการเงินไม่ได้ดูที่ตัวเลขการเติบโตตรง ๆ แต่เพียงอย่างเดียว สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการปรับประมาณการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้นเดือนตุลาคม IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกให้มากกว่า 3.8% ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นโลกจะตอบรับในเชิงบวก แต่มุมมองสำหรับครั้งนี้ก็คือผมมองว่า “IMF จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2016 ลงต่ำกว่า 3.8%” ซึ่งแน่นอนแม้ตัวเลขการเติบโตจะยังเป็นบวก แต่การปรับลดประมาณการจะส่งผลในเชิงลบต่อตลาดหุ้นโลก ในแถลงการณ์ของ IMF เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้พูดถึงความกังวลต่อประเทศในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ผมมองว่า 3 เดือนผ่านไปสถานการณ์ดูแย่ลงครับ เริ่มตั้งแต่ประเทศจีนที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณโตช้าลงอย่างเห็นได้ชัด หรือประเทศบราซิลที่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อดูจากตารางการ Forecast ของ IMF ผมมองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะจีน บราซีล รวมไปถึงตะวันออกกลางที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ ภูมิภาคเอเชียเหนืออย่างเกาหลี ไต้หวันซึ่งตัวเลขการส่งออกหดตัวอย่างรุนแรง และประเทศในกลุ่ม G3 อย่างยุโรป หรือญี่ปุ่นก็อาจถูกลดประมาณการได้เล็กน้อยครับ ขอย้ำอีกครั้งว่าเป็นการ “คาดการณ์” ของผม ซึ่งอาจจะถูกหรือผิด แต่ผมก็เลือกที่จะกำหนดมุมมองไปข้างหน้า และทำการปรับพอร์ตในวันนี้ให้ปลอดภัย ลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยความตั้งใจที่จะป้องกันความเสี่ยงในขาลงก่อนที่จะสายเกินไป จึงอยากนำมุมมองนี้มาแชร์ให้ท่านนักลงทุนท่านอื่นได้ใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วยครับ ถึงที่สุดแล้วการตัดสินใจอยู่ที่มือของท่านนะครับ อย่าลืมว่าเป็นเงินลงทุนที่เราหามาอย่างไม่ง่าย ดังนั้นควรศึกษาหาข้อมูลเต็มที่เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนของคุณครับ เจษฎา สุขทิศ, CFA แท็ก: Asset Allocation Economic IMF แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ไม่ใช่แค่ "กระตุ้น" แต่เป็นการ "ปฏิรูป" เศรษฐกิจ - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจไทยชั่วโมงนี้ผมยอมรับว่ามีทั้ง vision และ passion เต็มเปี่ยม ผมสรุปปาฐกถาของท่านสด ๆ จากงาน Post Forum ตามนี้ครับ — ประเทศไทยไม่ได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) แต่เป็นภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จุดประสงค์ใหญ่ของทีมเศรษฐกิจชุดนี้ไม่ใช่เพียงแค่การกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจ นโยบายกระตุ้นที่ออกมาทำเพื่อยับยั้งการทรุดตัวทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่ได้หวังให้เติบโตสวนกระแสโลกแต่อย่างใด การปฏิรูปเศรษฐกิจหลัก ๆ มี 4 เรื่อง ได้แก่ 1. การปรับสมดุลการเติบโต จากเน้นการส่งออก กลับมาที่รากฐานของประเทศโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร เน้นขับเคลื่อนนโยบายตามพื้นที่เป็นรายจังหวัด รายตำบล ทั้งเรื่องการผลิต การท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชน “ประชารัฐ” คือสิ่งที่กำลังจะได้เห็น คือการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาล และประชาชน 2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การแปรสภาพจากการผลิตต้นทุนต่ำ สู่การเพิ่มมูลค่า (value added) ของสินค้า Productivity จะเป็นจุดโฟกัสสำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม เน้นการลงทุนเพื่อสร้างนวัตกรรม มากกว่าการลงทุนเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต กระทรวงวิทย์ฯ จะเป็นแม่งานขับเคลื่อนในการสร้างไอเดีย และดันให้เกิดเป็นธุรกิจจริง สร้างป่าที่เต็มไปด้วยต้นไม้ SME & StartUp 3. Cluster – ระบบคลัสเตอร์ เช่น Super cluster ด้านเกษตรแปรรูป, ระบบการท่องเที่ยวท้องถิ่น BOI จะมีบทบาทมากในเรื่องนี้ การ Shift จากเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออกมาเน้นภาคบริการ 4. Connectivity- เจ้าภาพคือกระทรวงคมนาคม สินค้าจากจีนต้องส่งผ่านไปสิงค์โปร์ได้ การลงทุน Mega Project ต้องเกิด ใช้ PPP คือการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชนต้องเกิด รวมไปถึง Infrastructure fund เพื่อลดภาระงบประมาณ นอกจาก 4 ประเด็นนี้แล้วยังต้องมีการปฏิรูปด้านการเงินการคลัง บอร์ดของงบประมาณต้องมีคนนอกนั่งด้วย เพื่อให้โปร่งใสและเกิดไอเดียใหม่ ๆ สุดท้ายรองนายก บอกว่าจะทำไปเรื่อย ๆ เท่าที่กำลังจะมี และเชื่อว่าเศรษฐกิจต้องดีขึ้น อย่าไปหวังว่ารัฐบาลจะเป็นเทวดาเสกทุกอย่างได้ อยู่ที่คนไทยต้องช่วยกัน — ฟังแล้วรับรู้ได้ถึง Energy ของท่าน ทำให้รู้สึกมีแรงที่จะทำหน้าที่ของตัวเองให้หนักขึ้น ดีขึ้น รายงานสดจากโรงหนัง Siam Pavalai งาน Post Forum 2015 FundTalk INFINITI Global Investors The Ultimate Investment Solution แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ความโกลาหลในตลาดหุ้น ไม่ใช่ความผิดของผม - FINNOMENA 2 เม.ย. 2564 เรย์ ดาริโอ แสดงมุมมองโต้แย้ง หลังจากมีกระแสวิจารณ์ว่า ขนาดกองทุน Bridgewater ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนั้น มีผลทำให้เกิดเหตุการณ์การเทขายอย่างรุนแรงในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ดาริโอ ให้มุมมองว่า ถึงแม้ขนาดกองทุนเขาจะใหญ่ แต่การซื้อขายของกองทุนเขา ก็ไม่ได้มีผลต่อการกำหนดทิศทางมากขนาดที่ทุกคนกังวล โดยบอกว่า การปรับสัดส่วนการลงทุนของ Bridgewater นั้น ไม่ได้ทำในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง เนื่องจากมีความเสี่ยงมากเกินไป ดังนั้น มันจึงไม่ควรมีผลต่อการกำหนดทิศทางตลาดในระยะสั้นอย่างที่หลายคนโจมตี ทั้งนี้ ถ้าดูจากข้อมูลกราฟจาก Morgan Stanley ที่แสดงค่าความสัมพันธ์ของตลาดหุ้นทั่วโลกย้อนหลังไป 25 ปี จะเห็นว่า ช่วงเวลาปัจจุบัน เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูงมากอยู่ก่อนหน้าแล้ว (ไม่ใช่เพราะกองทุนใดกองทุนหนึ่งเทขายสินทรัพย์สร้างราคา) โดยสาเหตุ ก็น่าจะเป็นเพราะ ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ใน Valuation ที่ไม่ถูก และมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว ดังนั้น นักลงทุนจึงให้ความสำคัญกับ ผู้ที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจมากๆ เช่น ธนาคารกลาง, รัฐบาลของแต่ละประเทศ ซึ่งการตีความ ท่าทีของ Policy Maker นั้น บางครั้งมันส่งสัญญาณในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดการ Panic ได้ นี่คือความเสี่ยงของตลาดที่เราจะเจอหลังจากนี้เป็นต้นไป แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน FINNOMENA FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จะติดดอย หรือ อยากซื้อกองทุน “จีน” ต้องอ่าน - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ผ่านไปเกือบๆ 4 เดือน หลังจากตลาดหุ้นจีนทำจุดสูงสุดของปีเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา บทความชิ้นนี้ ผมขออนุญาตแชร์มุมมองการลงทุนในจีนแบบย่อๆตามที่ผมเห็นนะครับ ผิดถูกยังไง ท่านคงต้องไปพิจารณากันเอาเองอีกที ในช่วงระยะสั้น มีอะไรน่าสนใจ? สัปดาห์ก่อน เป็นวันหยุด Golden Week ของจีน แล้วเปิดทำการเมื่อวันพฤหัสฯ ที่น่าสนใจคือ เป็นสัปดาห์ที่ Fund Flow ไหลกลับเข้าลงทุนใน EM และแน่นอนพอจีนเปิดตลาดก็มีเงินลงทุนไหลเข้า ทำให้ทั้ง A Share และ H Share ขยับขึ้นไปเช่นกัน ด้านตัวเลขเศรษฐกิจ ถือว่าดีขึ้นหรือยัง? ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือนก.ย. อยู่ที่ 49.8 ดีขึ้นกว่าเดือน ส.ค. เล็กน้อยเท่านั้น แต่ PMI ภาคบริการยังคงทรงตัวในระดับสูงที่ 53 แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจจีนชะลอตัวในอัตราที่ลดลง ตลาดเริ่มไม่กังวลมาก แล้วประเด็นเรื่อง QT ละ เห็นเดือน ก.ค. – ส.ค. ขายพันธบัตรออกมาอื้อซ่า ตอนนี้เป็นยังไง? FX reserves เดือน ก.ย. โชว์ว่าลดลง -$43 Billion ซึ่งน้อยกว่าเดือน ส.ค. ที่ reserves ลดลงถึง -$94 Billion แสดงให้เห็นว่า จีน ใช้เงินทุนสำรองเพื่อพยุงค่าเงินหยวนลดลง ประเด็นการทำ QT จึงน่าจะยังไม่ใช่ประเด็นที่ตลาดกังวลในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า ตัวเลขส่งออก นำเข้า ที่เพิ่งประกาศเมื่อวาน บอกอะไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนบ้าง? ส่งออกของจีนในเดือนก.ย.หดตัว -1.1% YoY หลังจากที่ร่วงลง -6.1% ในเดือนส.ค. (ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ -6.3%) แต่นำเข้าเดือนก.ย.ร่วงลง -17.7% YoY เยอะกว่าที่ตลาดคิดไว้ที่ -15% ในฝั่งตัวเลขส่งออก ตลาดน่าจะโล่งใจมากขึ้น เพราะตัวเลขดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ค่อนข้างเยอะ แต่ฝั่งนำเข้าเนี่ย เนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าสินค้าทุน แล้วนำมาผลิตต่ออีกที ดังนั้น สัญญาณต่อเศรษฐกิจโลกยังดูไม่ดีเท่าไหร่ (ใครที่ส่งของมาขายจีนมากๆ แสดงว่าตอนนี้เจอปัญหาอยู่) ทั้งนี้ จากที่ดู เหมือนตลาดพยายามมองข้าม Shot ไป 3-6 เดือนข้างหน้าแล้วว่า เสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนจะอยู่ที่ตรงจุดไหน มีคนบอกว่า ข้อตกลงการค้า TPP (Trans-Pacific Partnership) ถือเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจจีน ความเห็นนี้ มองว่ายังไง? ก็มีส่วนครับ TPP เกิดขึ้นจากความตั้งใจของสหรัฐฯ ในการลดการพึ่งพาการค้ากับจีน โดยการรวมกลุ่มประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งจะทำให้เหล่าสมาชิกค้าขายกันอย่างเสรี ไม่มีกำแพงภาษี เกมส์นี้ ก็เพื่อหาดุลอำนาจใหม่ชัดเจน หากสินค้าใดในจีนที่เป็นคู่แข่งโดยตรง และมีต้นทุนการผลิตที่แพงกว่า ก็ย่อมต้องสูญเสียความสามารถการแข่งขันแน่นอน ดังนั้น มีแนวโน้มสูงที่ในระยะยาว การลงทุนเพื่อตั้งโรงงานผลิตสินค้าอะไรก็ตาม ที่ส่งไปขายยังสหรัฐฯ ก็จะไปตั้งในประเทศที่เป็นสมาชิก TPP แทน แต่ไม่ต้องกังวลมากไปครับ เงื่อนไขกว่าจะปรับลดเพดานภาษี กว่าจะปรับตัวโน้นนี่ คงใช้่ระยะเวลาประมาณหนึ่งครับ ไม่ได้เกิดขึ้นเร็วภายในปีสองปีแน่นอน ดังนั้นยังมีเวลาปรับตัว (รวมถึงไทยด้วยนะ ที่ต้องปรับตัว) เงินก็เริ่มไหลกลับ เศรษฐกิจเริ่มไม่แย่เท่าที่ตลาดคาดฯ เรื่อง TPP ก็ไม่กระทบตลาดในระยะสั้น ถ้างั้น ตอนนี้หุ้นจีนน่าสนใจหรือยังไง? ดูที่ Valuation ก่อน Forward P/E ของ H Share อยู่ที่ 7.5x ถือเป็นประเทศที่ตลาดหุ้นมี P/E ต่ำที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากรัสเซีย (แต่ก็ต่ำแบบนี้มาตั้งนมนานแล้วนะ) ส่วนของ A Share อยู่ที่ 12.5x EPS Growth ของ A-Share น่าจะอยู่ที่ 14% และ 11% สำหรับปี 2015 และ 2016 ฝั่ง H Share เนี่ย ปี 2015 ตลาดมองว่า จะ No Growth โตแค่ 0.3% เท่านั้น มองตามตัวเลขก็อาจกังวลนะครับ แต่มองอีกมุมนะครับ ถ้า H Share อยู่ดีๆมี Positive Surprise ที่ทำให้มีการ Upgrade EPS Growth ขึ้นมา ด้วยระดับ P/E ที่แสนถูกแบบนี้ ผมเชื่อว่า อยู่ไม่ได้หรอก ดังนั้น ตลาดหุ้นจีน น่าจะใกล้เจอจุดต่ำสุดแล้ว หรือไม่ ก็อาจผ่านจุดต่ำสุดของรอบไปแล้วก็ได้ ตอนนี้ลุ้นแค่ว่า เมื่อไหร่ EPS Growth จะกลับมา และเมื่อกลับมา ตลาดจะกลับมามี Upside อีกไม่น้อยเลย ไปดูกราฟเทคนิค ทำท่าเหมือน W Shape ถือว่าสวยทีเดียว ใครมีอยู่ อย่าเพิ่งขายนะ ใครอยากซื้อเพิ่ม ลองพิจารณากันเอาเองในมุมอื่นๆด้วยแล้วกันครับ 🙂 แท็ก: กองทุนจีน แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เมื่อจีนไม่ยอมหยวนเรื่อง "ค่าเงินหยวน" อีกต่อไป - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 สงครามค่าเงินในโลก (Currency War) กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จีนฉลองวันแม่บ้านเราด้วยการอ่อนค่าเงินอีก 2% ในวันนี้ (12 ส.ค. 58) จัดเต็มต่อเนื่องเป็นวันที่สองรวมเป็นประมาณ 4% ในรอบ 2 วัน ณ เวลานี้ค่ากลางเงินหยวนที่ประกาศโดยทางการอยู่ที่ 6.3306 หยวน/ดอลลาร์ อ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 ปี ผลที่ตามมาคือค่าเงินเอเชียล้วนแล้วแต่อ่อนค่าตามพี่ใหญ่มังกรจีน อย่างเช่นมาเลย์เซีย ณ เวลานี้อ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ผ่านวิกฤตต้มยำกุ้งกันเลยทีเดียว บ้่านเราก็ไม่พ้น ณ วันแม่วันนี้ค่าเงินอ่อนที่สุดในรอบปีแตะประมาณ 35.5 บาท/ดอลลาร์ไปเป็นที่เรียบร้อย โดยสงครามครั้งนี้ง่าย ๆ ก็คือการแข่งกันอ่อนค่าเงินประเทศตัวเองเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะเงินที่อ่อนค่าลงหมายถึงราคาสินค้าส่งออกที่ถูกลงด้วย ยังจำกันได้ใช่มั้ยครับว่าก่อนหน้านี้ค่าเงินเยนอ่อนค่าไปแล้วกว่า 50% เช่นเดียวกับค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าไปแล้วกว่า 20% โดยทั้งสองประเทศได้ตามรอยอเมริกาด้วยนโยบายปั๊มเงินเข้าระบบหรือ QE อย่างต่อเนื่อง ตลาดโลกตีความว่าสงสัยเศรษฐกิจจีนจะหนักจริง ภายหลังจากตลาดหุ้นช้ำผันผวนหนัก ปรับลงมาแรงเกิน 30% จากจุดสูงสุดเมื่อต้นปี และทางการจึงต้องตัดสินใจอ่อนค่าเงินตัวเองเพื่อให้การส่งออกกลับมาเป็นตัวช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศ ผลของการอ่อนค่าเงินหยวน – บริษัทผู้ส่งออกจีนได้รับประโยชน์ – อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งตลาดตีความว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะแย่จริง ๆ ทางการจึงต้องอ่อนค่าเงินหยวน – คู่แข่งทางการค้าของจีนเสียประโยชน์ ซึ่งคู่แข่งของจีนมันก็แทบทั้งโลกล่ะครับ ตั้งแต่ยุโรป ญี่ปุ่น อเมริกา ผลกระทบต่อตลาดหุ้นก็คือหุ้นตกกันไปทั่วโลก นัยยะของการอ่อนค่าเงินครั้งนี้ – เป็นสัญลักษณ์ของการเปิดเสรีทางการเงินของประเทศจีนเช่นกันที่ชี้ให้เห็นว่าเงินหยวนไม่ได้แข็งเป็นอย่างเดียว อ่อนก็เป็นด้วย ซึ่งในระยะยาวการที่จะทำให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลกย่อมต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินลอยตัวโดยเสรีมากขึ้น ไม่ใช่ให้ทางการควบคุมแต่อย่างเดียว – หลักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญข้อหนึ่งคือ “The Impossible Trinity” กล่าวไว้ว่าการกำหนดนโยบายการเงินและค่าเงินของประเทศนั้นไม่สามารถทำได้ทั้ง 3 อย่างพร้อม ๆ กันคือ 1.การเปิดเสรีเงินทุน 2.ค่าเงินที่คงที่ 3.นโยบายการเงินที่มีประสิทธิภาพ โดยประเทศส่วนใหญ่ในโลกเสรีมักนิยมเปิดเสรีเงินทุน และปล่อยให้ค่าเงินลอยตัวและเข้าแทรกแซงเป็นบางครั้ง มุมมองในอนาคต – ต้องดูว่าทางการจีนจะปรับค่าเงินให้อ่อนต่อเนื่องอีกหรือไม่ ถ้าทำต่อเนื่องยาว ๆ ย่อมเท่ากับว่าทำร้ายคู่แข่ง่ทางการค้าทั่วโลก และตลาดหุ้นก็เช่นกัน ส่วนตัวผมมองว่า “ไม่” กล่าวคือการอ่อนค้าในครั้งนี้สะท้อนไปตามกลไกตลาดที่ประเทศจีนเริ่มมีเศรษฐกิจอ่อนแอมากขึ้น อย่างที่ IMF เคยบอกไว้เมื่อกลางปีว่าค่าเงินหยวนไม่ได้แข็งค่าเกินความเป็นจริงอีกต่อไปแล้ว – อเมริกาน่าจะไม่ผลีผลามในการขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะยิ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นไปอีก ซึ่งค่าเงินของประเทศที่แข็งค่าจนเกินไปย่อมไม่ดีแน่ มุมมองตลาด – ในระยะสั้น ถ้่าเงินหยวนยิ่งอ่อนค่าต่ออีกย่อมไม่ดีแน่นอน โดยเฉพาะตลาดหุ้นยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ที่ใช้กลไกการส่งออกในการฟื้นเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นไทยก็เช่นกันคงหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบ – ในระยะปานกลางถึงยาว ผมมองว่าค่าเงินหยวนจะไม่อ่อนค่าแบบไร้เหตุผล เพราะจีนต้องการทำให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลกลางของโลกในที่สุด ดังนั้นการเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นเพียงหนึ่งในก้่าวย่างของกลยุทธ์การผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกของมังกรจีนเท่านั้น เจษฎา สุขทิศ, CFA INFINITI Global Investors The Ultimate Investment Solution แท็ก: CNY Yuan แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
สัญญาณ FundTalk Baht Momentum – FBM บ่งชี้ว่า SET อาจเข้าสู่ภาวะ rebound - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่ประกาศออกมาแย่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด IMF ปรับลดประมาณการ GDP ประเทศไทยในปี 2559 เหลือ 2% เรียกได้ว่าต่ำมาก ๆ นักเศรษฐศาสตร์บางค่ายมองว่าประเทศไทยอาจเข้าสู่ภาวะ Technical recession หมายถึงเศรษฐกิจติดลบต่อกัน 2 ไตรมาส งบไตรมาส 3/58 ที่กำลังจะประกาศนักวิเคราะห์ก็มองว่าจะไม่ค่อยดี โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารที่โดนทั้งภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง แถมยังมีบริษัท SSI ที่ผิดนัดชำระหนี้หลายหมื่นล้านทำให้ต้องตั้งสำรองกันชุดใหญ่ เอ…แต่ทำไมเปิดไตรมาส 4/58 มาฝรั่งเริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทย จากที่ขายเอา ๆ ไม่รู้จักหมด ขณะที่เงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่ามาก จากประสบการณ์ที่ผ่านมามีบางครั้งเหมือนกันที่ตลาดหุ้นสามารถ rebound ได้ในภาวะที่ปัจจัยพื้นฐานดูไม่ดี ซึ่งโดยมากจะเกิดขึ้นในภาวะที่ข่าวร้ายเข้าขั้นร้ายสุด ๆ แล้ว และตอนนี้ก็ดูเหมือนเป็นไปได้ว่าเรากำลังอยู่ในภาวะแบบนั้น สัญญาณ Technical ที่ผมคิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว และใช้เป็นประจำผมขอตั้งชื่อว่า “FundTalk Baht Momentum – FBM” โดยเป็นการเอาค่า Thai Baht Index หรือส่วนกลับของค่าเงินบาท มาหารด้วย Dollar Index โดยผมใช้ค่า Moving Average 10 วันของสัญญาณดังกล่าวเพื่อทำให้ False Signal น้อยลง (ดูเส้นสีม่วงในกราฟ) วิธีการใช้งาน FBM ของผมไม่ให้ดูที่ระดับ level ของมัน แต่ให้ดูการเปลี่ยนแปลง หรือ Delta ของ FBM แทน ถ้าเห็นสัญญาณการเปลี่ยน trend เช่น FBM ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลงมาต่อเนื่อง มักจะเป็นสัญญาณการ rebound ของตลาด ผมทำย้อนหลังไป 2 – 3 ปีให้ดูพบว่าสัญญาณนี้มีความแม่นยำสูงทีเดียว วิธีดูง่าย ๆ คือถ้าเส้นนี้ชี้ขึ้นต่อเนื่องซักประมาณ 1 สัปดาห์เป็นสัญญาณ Bullish ส่วนถ้าชี้ลงต่อเนื่องหมายถึงสัญญาณ Bearish อธิบาย logic อีกนิด เวลา FBM ชี้ขึ้นหมายถึงภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งเร็วกว่าการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ เช่นถ้าดอลลาร์อ่อน 1% แต่บาทกลับแข็ง 2% สะท้อนถึงการ outperform ของค่าเงินบาท ซึ่งเกิดจากภาวะเงินไหลเข้าประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อ SET Index กลับกันเวลา FBM ชี้ลงสะท้อนถึงภาวะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งสะท้อนภาวะเงินไหลออก ซึ่งเป็นลบต่อ SET Index ล่าสุดสัญญาณ FBM เริ่มชี้ขึ้นนิด ๆ (Bullish) หลังจากที่ให้สัญญาณ Bearish ต่อเนื่องมาจากช่วงกลางปี เมื่อนำมาประกอบกับการวิเคราะห์พื้นฐานของตลาดซึ่งเป็นไปได้ว่าเรามาถึงจุดที่ตลาดรับรู้ข่าวร้ายไปสุด ๆ แล้ว ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าเราได้เห็น Bottom ของตลาดหุ้นไทยไปแล้วรอบนี้ และเรากำลังเข้าสู่ช่วงของการ rebound ครับ อย่างไรก็ตาม ควรควบคุมความเสี่ยงและทำ Stop loss limit กันอย่างใกล้ชิด เพราะพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยยังดูเปราะบางมาก ๆ เช่นกันครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนไตรมาสสุดท้ายของปีนี้นะครับ เจษฎา สุขทิศ, CFA แท็ก: Featured FundTalk Indicator Technical แชร์บทความ: ผู้เขียน FundTalk คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
เอายังไงดีกับ Healthcare Sector - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 กองทุน ‘Healthcare Sector’ พุดขึ้นมาเยอะทีเดียวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นี่คือครั้งแรกที่กองทุนประเภทนี้ เจอแรงเสียดทาน ซึ่งจะว่าไปแล้ว นี่เป็นแรงเสียดทานครั้งที่แรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 เลยทีเดียว (ดูจากกราฟดัชนี S&P500 Healthcare Sector ด้านล่างดูครับ Q : กลุ่ม Healthcare Sector ปรับตัวลงเพราะอะไร? A : สำหรับผม มันมีหลายเหตุผลมากๆนะครับ Healthcare Sector ของโลก ถือเป็น 1 ใน 3 อุตสาหกรรมที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นดีที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา นั้นแปลว่า คนที่ลงทุนมาตลอดทาง เขากำไรมาอื้อซ่าแล้ว ดังนั้นการขายปรับพอร์ต หรือ Take Profit มันเป็นความเสี่ยงที่เราต้องระลึกรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสเกิดขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง (แล้ววันนั้นก็มาถึง) Valuation ที่อยู่ในระดับที่สูงมากๆของกลุ่ม Biotechnology สูงขนาดที่ เทรดที่ PE ประมาณ 30x เท่ามาตลอด 3 ปีหลัง จนกระทั่ง Janet Yellen ยังพูดเองในการแถลงต่อสภาคองเกรสเมื่อต้นปีว่า ราคาหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯนั้นดูจะแพงเกินพื้นฐานไป โดยเฉพาะกลุ่ม Biotechnology ความกังวลมันมาสุกงอมเมื่อ Hillary Clinton ผู้ที่กำลังจะชิงเก้าอี้ประธานาธิปดีของสหรัฐฯ จากพรรค Democrats เสนอนโยบายว่า ถ้าได้รับเลือกมาดำรงตำแหน่ง จะพยายามกำหนดเพื่อจำกัดไม่ให้เหล่าบริษัทในอุตสาหกรรม Healthcare ขึ้นราคาสูงเกินไปอย่าเช่นในอดีต ประเด็นคือ ตอนนี้ เหมือนชาวอเมริกันอยากได้ Hillary Clinton มาเป็นผู้นำ พอรู้ว่านโยบายมันจะเป็นแบบนี้ เลยมีกลุ่มคนที่ขายทำกำไรกันออกมาทันที Q : ลงแรงขนาดไหน? A : จริงๆก็ไม่แรงเท่าที่อื่น เพียงแต่ นักลงทุนไทย ไม่เคยเห็นหุ้นกลุ่มนี้ลงแรงมาก่อน ก็อย่างที่บอก เป็นขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2008 จะไปเจอได้ยังไง เบ็ดเสร็จแล้ว จนถึงสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่ม Healthcare ปรับตัวไปราวๆ -13% จากจุดสูงสุดเดือน ส.ค. แต่ถ้านับตั้งแต่ต้นปี ยังบวกอยู่ 8% ครับ Q : จะมีโอกาสกลับมาเป็นขาขึ้นอีกไหม? A : มีครับ ในระยะยาว กลุ่ม Healthcare Sector ยังถือว่าเป็นกลุ่มที่มี EPS Growth ดีที่สุดในโลก ดังนั้นจึงอย่าแปลกใจว่าทำไมถึงเทรดกันที่ PE สูง ก็เพราะ การเติบโตมันสูงนั้นล่ะ ส่วนเรื่องที่ Hillary Clinton หาเสียงนั้น กว่าจะถึงวันเลือกตั้งปี 2016 จริง มันยังมีเวลาอีกเยอะ อีกอย่าง สภาคองเกรสเอง ณ ปัจจุบัน พรรค Republicans ซึ่งดันกฎหมายสนับสนุน Healthcare ครองเสียงข้างมากในสภา การที่เจ๊ Clinton จะทำอย่างที่ตั้งใจ ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นหรอกครับ Q : ถ้าอย่างงั้น ควรเข้าไปซื้อตอนไหน? A : ดูกราฟ Daily Chart ด้านล่าง จะพบ Bullish Divergence อันสวยงาม หากดัชนีผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 15 วัน ขึ้นมาได้ ก็ถือว่าน่าสนใจ การปรับฐานอาจจะจบไปแล้ว แต่อยากให้สังเกตุดูนะครับว่า ตอนเดือน ก.ย. ดัชนีเคนดันตัวเองขึ้นไปทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน แต่ก็ไม่ผ่าน ดังนั้น การจะยืนยันว่ากลับเป็นขาขึ้นนั้น คงต้องรออีกซักระยะเลย แต่ใครสนใจมีเงินเหลือ หรืออยากจะซื้ออยู่แล้ว มาวันนี้ ซื้อได้บางส่วนแล้วครับ Q : ทำไมไม่ให้ซื้อหมด? A : โลกยังมีความเสี่ยงหลายประเด็นที่อาจกระทบกับ Healthcare Sector ทั้งทางตรง และทางอ้อม หาก IMF ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจโลก และนำมาซึ่งการปรับฐานในตลาดโลกใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้าอีกรอบ ยังไงกลุ่ม Healthcare ก็ไม่รอด ถึงแม้โอกาสที่เจ๊ Clinton จะได้รับเลือก และดันกม. จะมีไม่มาก แต่จากสถิติย้อนหลังในปีที่มีการเลือกตั้ง 10 ครั้งในอดีตที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 1972 ถึง 2012) พบว่า กลุ่ม Healthcare ทำผลตอบแทนได้ไม่ดี คือ มีโอกาสแพ้ดัชนี S&P500 ถึง 60% ทีเดียว ไม่เหมือนกลุ่ม Financials และ Telecom Services ที่ผลตอบแทนโดดเด่นในช่วงปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนั้น ต้องระวังการทำ Sector Rotation (ย้ายเงินจากกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง ไปอีกกลุ่มหนึ่ง) นะครับ ในช่วงที่สหรัฐฯกำลังจะขึ้นดอกเบี้ยแบบช่วงนี้ สถิติย้อนหลัง นับจากวันที่สหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยไป 6 เดือน พบว่า กลุ่ม Heathcare ก็แพ้ S&P500 เช่นเดียวกัน ข้อ 1. เดี๋ยวเราก็รู้ในสัปดาห์ข้างหน้า ส่วนข้อ 2. ข้อ 3. เนี่ย อีกซักระยะเลยครับ ยิ่งตอนนี้ เริ่มมีคนพูดกันว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ไม่ได้แล้ว ก็ยิ่งกลายเป็นว่า ดูค่อนข้างยากแล้ว Q : ขอข้อดีเพิ่มอีกหน่อยได้ไหม? อ่านแล้วกลัว – -“ A : มีครับ นั้นก็คือ Fund Flow ของ ETF รูปข้างบน เห็นเส้นสีเทาไหมครับ? นั้นคือยอดเงินลงทุนในกองทุน ETF กลุ่ม Healthcare จะพบว่า มีแรงขายมาตั้งแต่เดือน ก.ค. แล้ว แต่ถ้าเปรียบเทียบ Fund Flow ทั้งกลุ่มจะพบว่า เงินลงทุนใน Healthcare Sector ลดลงเพียงเล็กน้อย นั้นหมายความว่า เหล่า Active Fund ยังมีเงินเข้าไป แสดงให้เห็นว่า มีนักลงทุนที่เชื่อมั่นในอุตสาหกรรมนี้อยู่ไม่น้อยครับ ส่วน Flow จาก ETF ผมเชื่อว่า เป็นการขายลดพอร์ตตามการ Re-balancing หลังตลาดหุ้นโลกปรับฐาน มากกว่าจะเกิดจากการขายเพราะจะเลิกเล่นกลุ่มนี้แล้วครับ แต่เพราะโลกในเมืองนอก เป็น ETF World กันไปแล้ว ดังนั้น Fund Flow ของ ETF จึงมีผลต่อการกำหนดทิศทางราคาหุ้นในระยะสั้นพอสมควร ความผันผวนของตลาดจึงสูงขึ้นโดยปริยาย สรุปคือ ยังมีคนเก็บ Healthcare แต่ความผันผวนน่าจะสูงขึ้นในช่วงหลังจากนี้ กลยุทธ์การทยอยสะสมเวลาราคาลงมาหนักๆจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ และติดตามเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ + ทิศทางว่าเจ๊ Clionton จะคว้าชัยหรือเปล่า ถ้าคว้า ก็มีความเสี่ยงที่พวกกองทุน Healthcare จะเริ่ม Underperform เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นบ้างแล้ว ปล. Underperform ไม่ได้แปลว่าจะขาดทุนแน่ๆ แต่แปลว่า อาจจะแพ้คนอื่นครับ Mr.Messenger รายงาน แท็ก: Healthcare กองทุนเฮลแคร์ แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
5 กองทุน ผลตอบแทนดีที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี (ภาค 2) - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 กำลังจะผ่านไตรมาส 3 ของปีนี้ไป ไวเหมือนโกหกนะครับ บทความนี้จะพาไปลองดูว่า กองทุนรสมที่จดทะเบียนในประเทศไทย แล้วทำผลตอบแทนดีที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี เปรียบเทียบกับครั้งก่อนที่ผมทำรีวิวไตรมาสแรกนั้น หน้าตากองทุนยังเหมือนเดิมหรือเปล่า และนี่คือ 5 กองทุนรวม ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในอุตสาหกรรม ตามไปดูกันเลยครับ อันดับ 5 กองทุนเปิดธนชาต All Star Japan 1 (T-AllStarJapan1) ผลตอบแทน 13.32% T-AllStarJapan1 ลักษณะกองทุนจะคล้ายๆกับ Trigger Fund ที่มีกำหนดอายุโครงการไว้ที่ 1 ปี นับจากวันที่เริ่มจัดตั้งกองเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้ว บริหารพอร์ตโดยการเอาเงินนักลงทุนไปซื้อเลือกซื้อหลักทรัพย์ในญี่ปุ่นประมาณ 15-20 ตัว เน้นซื้อหุ้นโดยการ Timing จับจังหวะ เรียกว่าถือหุ้นไม่เยอะ ถ้าจับจังหวะถูก ก็กินคำใหญ่ อย่างพอร์ตล่าสุดเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา หุ้น 5 ตัวในพอร์ต ถือร่วมกันเกิน 45% ทีเดียว นับว่า เป็นกองทุนที่มี Concentration Risk สูง แต่ถือว่า Outperform ใช้ได้เลยนะครับ หากเทียบกับดัชนี Nikkei225 ที่นับจากต้นปี บวกไปแค่ 2.7% ยกตัวอย่างหุ้นในพอร์ตของ T-AllStarJapan1 ที่เด็ดๆ ก็คือ NTT Data Corp (9613:JP) บริษัทผู้ให้บริการทางด้านซอฟแวร์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ที่ขยายการลงทุนในระดับภูมิภาคต่อเนื่อง ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีมา บวก 35% ช่วงที่เกิด Correction ทั่วโลกเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ราคาหุ้นแทบไม่ปรับฐานด้วยเลย หรืออีกตัว Obayashi Corp (1802:JP) 1 ใน 5 ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีวิ่งมาเกิน 27% แต่ถ้าดูที่ NAV กอง T-AllStarJapan1 ส่วนเดือน ส.ค. ก็จะเห็นว่า ปรับฐานตามดัชนี Nikkei แต่ลงเบากว่าพอสมควร แสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์ Active Management Portfolio ที่ติดตามสถานการณ์ และลดพอร์ตได้ทันท่วงที มีผลต่อการปกป้องเงินทุนนะครับ โชคร้ายหน่อย กองนี้ไม่เปิดให้ลงทุนเพิ่ม และกำลังจะปิดกองภายในเดือน พ.ย. นี้แล้ว แต่นักลงทุนก็ได้ Auto-redemption ระหว่างทาง บวกกับ Capital Gain ที่น่าจะยังเป็นบวกได้ เห็นแบบนี้ ถ้า บลจ.ธนชาต ออกกองประเภทนี้อีกรอบ ในสถาวะตลาดที่เอื้ออำนวย ไม่น่าพลาดนะครับ อันดับ 4 กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เจแปน สมอล แอนด์ มิด แคป ฟันด์ (UOBSJSM) ผลตอบแทน 13.50% UOBSJSM เป็นอีกกองทุนหนึ่งที่ติดท๊อบ 5 และเป็นกองที่ลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเช่นเดียวกับ T-AllStarJapan1 แต่ทีเด็ดของกองนี้ คือนโยบายการลงทุนที่ต่างจาก T-AllStarJapan1 ไปอีกทางเลย เพราะ UOBSJSM ลงทุนในกองทุนแม่ที่ชื่อ United Japan Small & Mid Cap ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าลงทุนหุ้นขนาดเล็กและขนาดกลางนะครับ ความน่าสนใจของ Small & Mid Cap ก็คือ ในช่วงที่ใครๆก็คาดหวังว่า Abenomics จะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมามีการเติบโตได้นั้น บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือพวกบริษัทที่ยังกำไรไม่ดี หรือเหล่า Turnaround Stock ทั้งหลาย จะน่าสนใจขึ้น เพราะหุ้นมันจะวิ่งตามความคาดหวังของการเติบโตของกำไร (Earning Growth) ซึ่งเจ้าตัวเล็กๆเนี่ย โอกาสที่กำไรจะโตสูงกว่าหุ้นใหญ่ๆ มันมีมากกว่าครับ ลองดูกราฟด้านบน จริงๆแล้วจะเห็นว่า ผลการดำเนินงานของ UOBSJSM ใกล้เคียงกับ Nikkei 225 มาตั้งแต่ต้นปี แต่มาฉีกตัวแรงขึ้นอย่างชัดเจนช่วงเดือน ก.ค. ซึ่งเข้าฤดูประกาศผลประกอบการ แล้วปรากฎว่า หุ้นที่ UOBSJSM ถือนั้น ผลประกอบการออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ค่อนข้างมาก เลยดันให้ NAV กองทุนมาแซง Nikkei225 ได้ในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ที่บอกไป ก่อนที่จะโดยเทขายจากการปรับฐานทั่วโลก แต่เห็นไหมครับ ว่าตอนปรับฐาน UOBSJSM ก็ลงเบากว่า แสดงว่า นักลงทุนยังเชื่อว่าหุ้นขนาดเล็กดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่ ซึ่งก็ต้องติดตามดูกันต่อไป อันดับ 3 กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเฮลธ์แคร์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFHCARERMF) ผลตอบแทน 14.13% กลับมาโลดแล่นอีกครั้งสำหรับกองทุนที่เน้นการลงทุนตาม Mega Trend หลักของโลก นั้นก็คือเรื่องของสุขภาพ นั้นเอง KFHCARERMF นั้น มีกองทุนแม่ (Master Fund) กองเดียวกับ KF-HEALTHD ของ บลจ.กรุงศรี ลงทุนในกลุ่ม Healthcare Sector ทั่วโลก โดยกองแม่ชื่อว่า JPMorgan Global Healthcare Fund (JPHLTUA:LX) รายละเอียดว่ากองนี้มีนโยบายการลงทุนยังไง ลองไปอ่านในบทความก่อนหน้าที่ผมเคย Review ตอนออก IPO เมื่อกลางปีที่แล้วครับ ลุยธุรกิจสุขภาพระดับโลก ไปกับ KF-HEALTHD Healthcare Sector ถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สาเหตุเพราะ นักลงทุนส่วนใหญ่ชื่นชอบกับ Investment Theme นี้ และผลประกอบการของกลุ่ม Healthcare ก็ดีเหลือเกิน ดีขนาดที่ว่า ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา กลุ่ม Healthcare ในดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ นั้น ไม่มีหุ้นซักตัวที่กำไรต่ำกว่าเป้าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ นั้นเลยเป็นสาเหตุว่า ทำไมตลาดหุ้นที่ปรับฐานหนักๆทั่วโลกเดือน ส.ค. ถึงแทบไม่กระทบกับกองทุนนี้เลย ใครสนใจกองนี้ แต่ไม่อยากลงทุนแบบ RMF ของ บลจ.กรุงศรี เขาก็มีกองทุน KF-HEALTHD แต่จุดที่แตกต่างก็คือ KF-HEALTHD นั้นมีการ Auto-redemption ทุกไตรมาส กราฟเปรียบเทียบกองทุนทั้งสองกอง ก็อย่างที่ทุกท่านเห็นนะครับว่า ผลตอบแทต่างกันพอสมควรหากดูแค่ NAV แต่ถ้ารวมเงินที่ Auto-redeem ออกไปแล้ว KF-HEALTHD ก็ให้ทำผลตอบแทนได้ถึง 12.2% ติด 1 ใน 10 กองทุนที่ผลตอบแทนดีที่สุดในปีนี้นะ อาจจะสงสัยว่า เฮ้ย! ทำไมกองทุนแม่เป็นตัวเดียวกัน แต่ผลตอบแทนต่างกันเกือบ 2%? สาเหตุเป็นเพราะ การที่ KF-HEALTHD นั้น Auto-redeem หรือขายคืนอัตโนมัติหน่วยลงทุนออกมาทุกๆไตรมาส เปรียบไปก็เหมือน เอาเงินออกมาเรื่อยๆ ดังนั้น ถ้าระยะยาว กองทุนมันยังดีอยู่ KF-HEALTHD ก็จะแพ้ KFHCARERMF ที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผลใดๆทั้งสิ้น แต่ทางกลับกันนะครับ การทำ Auto-redeem ก็ดีในแง่ที่ว่า คล้ายๆกับทำกำไรระหว่างทางลดความเสี่ยงไปในตัว อันนี้อยู่ที่นักลงทุนแต่ละคนแล้ว ว่ามองยังไง อันดับ 2 กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) ผลตอบแทน 17.49% อันดับ 2 เป็นกองทุนที่ลงทุนใน Healthcare Sector อีกเจ้าหนึ่ง นั้นก็คือ บลจ.บัวหลวง นะครับ ลองเปรียบเทียบผลตอบแทนของ BCARE กองอันดับ 2 กับ KFHCARERMF กองอันดับ 3 ดู ผมมองว่า เคลื่อนไหวแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ผลการดำเนินงานมาเริ่มฉีกตัวก็ตอนปรับฐานปลายเดือน ส.ค. ที่ BCARE ปรับฐานเบากว่า และดีดขึ้นแรงกว่า KFHCARERMF ผมเลยลองไปเจาะไส้ในของพอร์ต BCARE ว่าต่างจาก KFHCARERMF ยังไง ก็พบว่า กองแม่ของ BCARE ที่ชื่อ Wellington Management Global Health Care Equity Portfolio (WGHCEP) ลงทุนใน Biotechnology, Pharmaceutical และ Medical Technology ในสัดส่วนที่เยอะกว่า แต่การกระจายการลงทุนในรายหลักทรัพย์นั้น กระจายดีกว่า JPMorgan Global Healthcare Fund ที่เป็นกองแม่ของ KFHCARERMF นั้นแปลว่า ลงทุนใน Growth Stock และกระจายความเสี่ยง ซึ่งต่างจาก JPMorgan Global Healthcare Fund ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ และอาจจะถือหนักในหุ้นบางตัวมากกว่า จากการเปรียบเทียบ 2 ตัว จะพบว่า ในช่วงที่ตลาดผันผวนแบบนี้ การกระจายความเสี่ยง มีความสำคัญในการปกป้องเงินต้นเหมือนกัน แต่สมมตินะครับ ในระยะยาว ถ้าหุ้นขนาดใหญ่ใน Healthcare กลับมา อันดับของ 2 เจ้านี้ ก็อาจสลับไปสลัมาก็ได้ มันอยู่ที่ตัวนักลงทุนแล้วครับว่าชอบสไตล์ไหน อันดับ 1 กองทุนเปิดไทยทวีทุน (TTPF) ผลตอบแทน 20.62% ถือเป็นกองทุน 1 เดียว ที่อยู่ใน อ Top 5 จากการ Review รอบเก่า แล้วยังติดรอบนี้ แถมเป็นอันดับหนึ่งอีกต่างหาก แต่ถ้าดูกราฟราคา NAV ของกองทุนละก็ คุณอาจจะงงซักเล็กน้อยนะครับ ฮาๆๆ หลังจากถือหุ้น IRPC เพียงตัวเดียวในไตรมาสและถือในสัดส่วนที่สูงถึง 47.1% จากนั้น กองทุนก็ขาย IRPC ทิ้ง แล้วถือตราสารหนี้ในพอร์ตแทนทันที โหดแท้…. การทำแบบนั้นเสี่ยงนะครับ เพราะถ้า SET Index วิ่งขึ้น แปลว่ากองทุนจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่จากกราฟ เราก็เห็นแล้วว่า SET Index เป็นขาลงมาตั้งแต่เดือน มี.ค. สาเหตุที่กองทุนถือหุ้นตัวเดีวก็ได้ ขายทิ้งหมดก็ได้ เพราะ TTPF จดทะเบียนกับ กลต. เป็นกองทุนรวมผสมแบบไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) ซึ่งกองทุนส่วนใหญ่ในตลาด ไม่มีใครทำแบบนี้ครับ ใครสนใจกองทุนนี้ ซื้อยากนะครับ เพราะกองทุนนี้เป็นกองทุนที่เปิดให้ซื้อขายเป็นรอบๆ ไม่ใช่ซื้อขายได้ทุกวันเหมือนกองทุนรวมทั่วไป แต่ดูไว้เป็นแนวทางครับ จากผลการดำเนินงานทั้ง 5 กองทุน จะเห็นว่า นโยบายการลงทุนนั้นแตกต่างกัน บางกองเน้นกระจายความเสี่ยง บางกองก็ยืดหยุ่น ถือตราสารหนี้ได้เต็มพอร์ต บางกองเล่นหุ้นขนาดเล็ก บางกองชอบหุ้นใหญ่ มันไม่มีสูตรตายตัวจริงๆครับ ไปศึกษากันต่อ ใครที่มีกองเหล่านี้อยู่ในพอร์ต เหลืออีก 3 เดือนครบปี แล้วเราไปดูกันครับว่า ปี 2015 นี้ กองทุนไหนในไทยที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ผมชอบมานั่งวัดทุกๆไตรมาสเทียบกับพอร์ตของตัวเองครับ จะได้รู้ว่า ปีนี้ เราดีกว่า หรือแย่กว่า กองทุนขนาดไหน โชคดีในการลงทุนครับ Mr.Messenger อ่าน Review เก่า 5 กองทุน ผลตอบแทนดีที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี (ภาค 1) ปล. การ Review ผลตอบแทนแบบนี้ อาจมองได้ว่า ดูในระยะที่สั้นเกินไป ดังนั้น นักลงทุนไม่ควรใช้ปัจจัยเรื่องผลตอบแทนระยะสั้นมาตัดสินใจการลงทุนเพียงอย่างเดียวนะครับ แค่อยากให้เป็นอีกส่วนประกอบในการช่วยไปคิดต่อว่า ควรจะเลือกลงทุนแบบใด แท็ก: กองทุนผลตอบแทน กองทุนหุ้นผลตอบแทนสูง แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
จับตาหลังเฟดเผยออกมาแล้วว่า กังวลเศรษฐกิจโลก - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 จากที่เฟดปรับมุมมองและประมาณการณ์ทางเศรษฐกิจไปในการประชุมครั้งก่อนนะครับ ผมขออนุญาตทวนกันอีกรอบ GDP Growth ในระยะยาวจากเดิม 2-2.3% เหลือ 1.8-2.2% ปรับประมาณการณ์ core PCE inflation rate สำหรับปี 2016 เหลือ 1.7% และสำหรับปี 2017 เป็น 2.0% ปรับประมาณการณ์ Unemployment Rate ปี 2016 และปี 2017 เหลือ 4.8% จากเดิม 5.0% Fed Funds projection สิ้นปี 2015 ลดลงมา 20bps เหลือ 0.40% และปรับของปี 2016 ลงไป 20bps เช่นกันเหลือ 1.4% ขณะที่ปี 2017 ปรับลดลง 30bps เหลือ 2.6% ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นถึงความกังวลของเฟดเองที่มีต่อเศรษฐกิจโลก ณ ตอนนี้ ถึงแม้ว่า ถ้ามองจากตัวเลขเศรษฐกิจพื้นฐานของสหรัฐฯเองแล้ว หลายๆตัวก็ผ่าน Checklist และหาเหตุผลขึ้นดอกเบี้ยได้เหมือนกัน ไม่งั้นโพลคงไม่สำรวจออกมาว่า มีคนคิดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกิน 30% หรอกนะครับ พอแกะ FOMC Statement ออกมาได้ เราก็จะพบว่า สิ่งที่เฟดกังวลนั้น กำลังรอเราอยู่ข้างหน้า นั้นก็คือ ตัวเลขเศรษฐกิจเพื่อยืนยันว่า เฟดคิดถูกหรือเปล่า สัปดาห์นี้ สหรัฐฯ : ประกาศตัวเลข Markit PMI, Initial Jobless Claims และ GDP 2Q2015 รอบที่ 3 ยูโรโซน : ประกาศตัวเลข Consumer Confidence, PMI ของเยอรมันและฝรั่งเศส ญี่ปุ่น : มีตัวเลข CPI เอเชีย : จีนประกาศ Manufacturing PMI, มาเลเซีย และสิงคโปร์ ประกาศ CPI ในขณะที่ ฟิลิปปินส์กับไต้หวันมีประชุมธนาคารกลาง ซึ่ง Highlights น่าจะไปอยู่ที่วันพุธ (ตัวเลข PMI ทั้งสหรัฐฯ, เยอรมัน และฝรั่งเศส) และถ้าออกมาแย่และก็ โลกคงจะยังผันผวนและหาทางขึ้นลำบากแล้วละครับสำหรับปีนี้ การตอบรับของตลาด ต่อ การประชุมเฟด เปลี่ยนไป ถ้าลองนึกดูนะครับ ในช่วงนับตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ สามารถปรับตัวขึ้นมาได้ต่อเนื่อง ทั้งๆที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้ามากๆ สาเหตุก็มาจาก วิธีคิดของนักลงทุนที่ว่า ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ก็แสดงว่ายังมี QE ต่อ … และการมี QE จะกดให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้น ก็ควรเอาเงินไปเสี่ยงก่อน ไม่ต้องรีบขาย มันเลยกลายเป็นว่า ยิ่งศก.แย่ ตลาดยิ่งบวกดี แต่มา ณ วันนี้ ตลาดจะเริ่มตอบรับกับการประชุมเฟดที่เปลี่ยนไป เพราะตลาดคาดหวังไปแล้วว่า เวลานี้ คือเวลาที่เฟดควรจะขึ้นดอกเบี้ย(บ้าง) หลังตรึงในระดับต่ำแบบนี้มานานถึง 6 ปี และเฟดเองก็แสดงเจตนาชัดเจนตั้งแต่ปีที่แล้วว่า ยุติ QE และพยายามหาจังหวะดีๆในการขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้น ตลาดจึงเข้าใจว่า เศรษฐกิจไม่ดีขึ้น ก็จะไม่มี QE แล้วนะ แล้วถ้าเศรษฐกิจมันยังไม่ดีขึ้น เฟดจะใช้เครื่องมืออะไรกระตุ้นละ ในเมื่อปากบอกไปแล้วว่ายุติ QE? เมื่อคิดได้เช่นนี้ มุมมองของเฟดต่อเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จึงไม่สามารถทำให้ตลาดหุ้นบวกได้ยาวๆ เหมือนวันเก่าๆที่เราเก็บกำไรกันมา ผู้คนเริ่มพูดถึง QE4 แล้วนะ หนึ่งในนั้นคือ เรย์ ดาลิโอ (Ray Dalio) ผู้ก่อตั้งเฮดฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อ บริดจ์วอเตอร์ (Bridgewater) เขาทำนายไว้ว่า โอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะกลับมาใช้มาตรการ QE นั้นมีค่อนข้างสูงมาก หากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนรอบนี้ส่งผลเป็นวงกว้าง Bridgewater’s Ray Dalio clarifies prediction that Fed will roll out new QE และนักเศรษศาสตร์หลายชีวิตก็บอกว่า ตลาดประเมินปัญหาเรื่องเศรษฐกิจจีนชะลอตัวนี้ต่ำเกินความเป็นจริง ก็ยิ่งทำให้ฝั่งที่มีมุมมองแย่ต่อตลาด ยิ่งเชื่อว่า QE อาจถูกหยิบมาใช้ และเฟดอาจจะไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ จุดเปลี่ยนที่ต้องเจอ ก่อนจะสาย ช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ เราต้องเห็นพัฒนาการเชิงบวกในหลายๆทางด้วยกันครับ ถึงจะทำให้บรรยากาศการลงทุนในภาพรวมดีขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ – ต้องแสดงให้เห็นว่า ทนทานกับการที่ค่าเงินหยวนอ่อนค่าได้ และการบริโภคภายในประเทศซึ่งเป็นพระเอกในยุคนี้ ยังต้องขยายตัวได้ต่อเนื่อง ห้ามเกิดอาการช็อค เศรษฐกิจยูโรโซน – ดูจะได้รับประโยชน์จากการที่ราคา Commodity ตกต่ำ และถ้าเทียบเป็นรายภูมิภาคแล้ว ยุโรปถือว่ามีความเสี่ยงน้อยจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวกว่าที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ละตินอเมริกา หรือในเอเชียเจอ ดูได้จากตัวเลขส่งออกของเยอรมันที่ยังแข็งแกร่ง หวังว่า PMI ที่จะออกมาสัปดาห์นี้ จะดีด้วยเช่นกัน เศรษฐกิจเอเชีย – ควรเห็นตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้นในไตรมาส 3 ไม่ก็ ต้องเห็นการ Downgrade EPS ลดลง กำไรต้องเริ่มนิ่ง หรืออย่างสุดท้าย ขอเห็น policy announcements เจ๋งๆ ไม่เอาแบบเด้งรับข่าววันเดียวอย่างหุ้นญี่ปุ่น +7% แล้วกลับมายืนที่เดิมนะครับ กลับมาที่มุมมองการลงทุน เชื่อว่า ตลาดจะรอทิศทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนว่าจะเลือกทางไหน โดยแกว่งไปมาทำให้เหล่า Trend Following โดนกินคำเล็กคำน้อยตอดไปเรื่อยๆซักระยะ ระยะยาว ถ้าเศรษฐกิจมันแย่จริงๆ เด๋วคงพูดถึง QE4 มากขึ้น เมื่อนั้น โลกกลับอาจกลับไปตอนรับด้วยมุมมองเดิมๆคือ QE = Buy Stock ถ้าเศรษฐกิจไตรมาส 3 ดูไม่แย่เท่าที่นักวิเคราะห์คาด แล้วเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้สมที่หวังจริงๆ ตลาดอาจปรับฐานเล็กน้อย แต่ตรงนั้นก็ยังเป็นโอกาสให้ซื้อหุ้นอยู่ดี Mr.Messenger แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
ย้อนรอย ตลาดหุ้นจีน - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 ตลาดหุ้นจีน เป็นอีกแห่งหนึ่งที่พานักลงทุนไทยค้างเติ่งอยู่ข้างบนจำนวนไม่น้อย คำถามคาใจคือ แล้วมันจะกลับมาได้ไหม? ถือไปมีอนาคตหรือเปล่า? ถ้าอนาคตยังมี ควรถัวที่ระดับราคาใด? ผมมองว่า การจะอ่านอนาคตให้ออก เราควรทำความเข้าใจอดีตให้ดียิ่งขึ้น ดังที่ท่านจะได้อ่านจากบทความอันนี้ครับ ก.ย. 2014 ตลาดหุ้นจีน ทะลุขึ้นจากกรอบ Downtrend Channel ได้ในเดือน ก.ย. ปี 2014 (ตามรูปด้านล่าง) ในตอนนั้น เริ่มมี Research Paper ออกมาบอกว่า ตลาดหุ้นจีน เิร่มมี Valuation ที่น่าสนใจ และนโยบายจากฟากรัฐฯเริ่มมาให้ความสนใจในตลาดทุนมากขึ้น ตอนนั้น ตลาดหุ้นจีนอย่าง Shanghai Composite ก็ขึ้นเงียบๆ จาก 2,000 จุด กลางปี ขึ้นมาที่ 2,400 จุด ปลายปี 2014 ต.ค. 2014 เริ่มมีข่าว เรื่องการเริ่มเปิดเสรีการซื้อขายหลักทรัพย์ไปมาระหว่างกันระหว่าง A-Share และ H-Share ที่จดทะเบียนในตลาดฮ่องกง ทำให้นักลงทุนเริ่มสนใจไปลงทุนใน Hang Seng China Enterprise Index (HSCEI) หรือ H Share แทน เพราะมี Valuation ที่ถูกกว่า และเชื่อกันว่า จะมีเม็ดเงินไหลจากแผ่นดินใหญ่ วิ่งไปที่ H Share แทน พ.ย. 2014 ความหวังที่ตลาดหุ้นจีนจะยังมี Upside ที่สูงขึ้นไปอีก เริ่มมีเพิ่มขึ้น หลังธนาคารกลางจีน (PBOC) จัดการลดดอกเบี้ยนโยบายลง 40 bps ถึงตรงนี้ นักลงทุนเริ่มเห็นแล้วครับว่า รัฐบาลจีน อยากกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจชัดเจน หลังปล่อยให้เป็น Soft Landing มา 5 ปีเต็ม จบเดือน พ.ย. ตลาดหุ้นจีนวิ่งขึ้นไปที่ 3,100 จุด ใช้เวลาเดือนเดียวบวกไป 30% ธ.ค. 2014 นักวิเคราะห์เริ่มออกบทวิเคราะห์ความน่าสนใจของหุ้นจีน ผมก็ได้เขียนเรื่องจีนเอาไว้ในตอนนั้น ใช้ชื่อเรื่องว่า 4 เหตุผล ที่ Mr.Messenger กัดฟันลงทุนใน “จีน” ขณะที่ PBOC เปลี่ยนกฎเรื่องการกันสำรองของธนาคารให้ผ่อนคลายมากขึ้น เอื้อให้เหล่าธนาคารปล่อยกู้ง่ายขึ้น ตลาดหุ้นก็ยิ่งบวกเป็นบวกมากขึ้นทันที ม.ค. 2015 ตลาดหุ้นจีน เจอการปรับฐานครั้งแรก ปรับฐานครั้งนั้น จากจุดสูงสุด ลงมาร่วมๆ 8% หลัง กลต. จีน ออกมาเตือนว่า บัญชี Margin Trade (กู้มาลงทุน) ที่ลงทุนในตลาดหุ้น ณ ขณะนั้น มีขนาดการทำธุรกิจที่สูงเกินไป เป็นความเสี่ยงของระบบ แล้วจีนก็ประกาศตัวเลข GDP 4Q2014 ออกมาที่ 7.3% ทุกคนในโลกนี้ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “จีนกลับมาแล้ววววว” ก.พ. 2015 ธนาคารกลางจีน ยังคงดุดันในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งที่ทำก็คือ ลด Reserve Requirement Ratio (RRR) ต่อเนื่องอีก 50bps ผ่านไปซักพัก ปลายเดือน ก.พ. จีนก็ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายอีกหนึ่งรอบ 25bps ผมก็เขียนบทความเรื่อง มุมมองต่อการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของ “จีน” โดยสรุปตอนนั้น ผมยังมองว่า จีนน่าจะอัดทุกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เลยมองว่า ยังมี Upside ในตลาดหุ้นจีนเหลืออีก A Share ตอนนั้น ยังอยู่แถวๆ 3,100 จุด มี.ค. 2015 ตลาด หลังจากที่ได้ข่าวดีทั้งเรื่อง GDP 4Q2015 และการลด RRR + ลดดอกเบี้ย ตลาดก็ลืมเรื่องว่า สถานการณ์ตอนนั้น Margin Trade มีมูลค่าสูงขึ้นมากเพียงใด ตลาดหุ้นก็วิ่งไปเรื่อยๆ จนมีอีกข่าวที่น่ากังวลต่อเสถียรภาพตลาดหุ้นในระยะยาว นั้นก็คือ ผลการสำรวจนักลงทุนในตลาดหุ้นจีน พบว่า เป็นนักลงทุนที่ยังไม่จบมัธยมเกินกว่าครึ่งหนึ่ง นี่แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์การลงทุนที่น้อยมากๆของนักลงทุนจีนนะครับ เม.ย. 2015 ความจริงอีกเรื่องเริ่มปรากฏ เมื่อ Bloomberg Monthly GDP Tracker รายงานว่า เศรษฐกิจจีนโตในไตรมาสแรกของปีนี้แค่ 6.5% ซึ่งต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ที่ 7.0% … แต่ตลาดก็ไม่สนใจมากครับ เพราะ ธนาคารกลางจีน ประกาศลด RRR ลงอีก 100bps สวนข่าวร้ายทันที ช่วงนั้น นักลงทุนไทย เริ่มรู้สึกว่าตัวเองตกรถ และสนใจหุ้นจีน ก็ถามผมเข้ามาค่อนข้างเยอะ เลยได้อีก 1 บทความ เรื่อง เรื่องนี้คุณต้องรู้ ถ้าอยากออกไปสู้ในตลาดหุ้นจีน พ.ค. 2015 ธนาคารกลางจีนประกาศลดดอกเบี้ยอีกรอบ 25bps ถึงตรงนี้ การลดแล้วลดอีก นั้นทำให้ทุกคนเชื่อว่า จีนจะต่อสู้ทุกทางเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาแน่นอน ตลาดก็ Happy ลากกันไปอีก อีกเรื่องคือ เริ่มมีข่าวว่า จีนพยายามผลักดันตลาดหุ้นตัวเองเข้าไปอยู่ใน MSCI ให้ได้ ซึ่งถ้าเข้าคำนวนจริง ตลาดก็คิดว่า ต้องมีเม็ดเงินไหลเข้าไปอีกจำนวนมหาศาลแน่ๆเลย แต่ถ้าไปดูเงื่อนไขของตลาดวันนั้นนะครับ เหล่าหุ้นขนาดเล็กใน A Share ค่า PE แซงหน้าปี 2007 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกข้อมูลหนึ่งที่เห็นแล้วอาจขนลุกเล็กน้อยคือ บัญชีซื้อขาย Margin ในจีนแผ่นดินใหญ่ พุ่งขึ้นเกิน 3% ของ Market Cap ไปแล้ว สูงกว่าตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลกหมดเลยทีเดียว นั้นหมายความว่า หากมีแรงปรับฐานเพียงเล็กน้อย ตลาดอาจมี Force Sell แล้วจาก Sell มันจะกลายเป็น Panic Sell ได้ไม่ยาก มิ.ย. 2015 A Share ทำจุดสุงสุดที่ 5,176 จุด เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2015 แล้วความจริงก็ปรากฎขึ้นว่า MSCI เลื่อนแผนการเอาหุ้นจีนเข้าคำนวนดัชนี แล้วแรงขายแบบที่นักลงทุนกลัวว่าจะเกิด ก็เกิดขึ้นจริงๆ วันที่ 19 มิ.ย. A Share ปรับฐานวันเดียว 6.4% ทางการจีน พยายามจะหยุดอาการ Panic ด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps และลด RRR ลงอีก 50bps ตลาดแทบไม่มีการตอบรับเชิงบวกใดๆ A Share ปิดปลายเดือน มิ.ย. ลบลงจากจุดสูงสุดมากกว่า -20% เข้าสู่ Bear Market ที่แรกของโลกในปีนี้ ก.ค. 2015 ทางการจีนยังไม่ลดความพยายาม โดยออกกฎระงับหุ้น IPO เพราะกลัวว่าจะทำให้สภาพคล่องในตลาดหุ้นลดลง และเพื่อหยุดแรงขาย สิ่งทีทำอีกอย่างก็คือ ขึ้น SP หุ้นในตลาดไม่ให้ซื้อขายมันซะเลย ทำให้แรงขายเริ่มเบาลงและมีแรงซื้อกลับ A Share จากจุดต่ำสุดของเดือน ก.ค. เด้งขึ้นมารวมๆ +21% ทีเดียว ส.ค. 2015 จีนประกาศตัวเลขส่งออกติดลบเกือบๆ -9% ในเดือนก.ค. และ เช้าวันที่ 11 ส.ค. ธนาคารกลางจีนประกาศปรับค่ากลางอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน/ดอลลาร์สหรัฐฯเป็น 6.2298 หยวน/ดอลลาร์ ทำให้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ USD ราวๆ 1.9% โดยให้เหตุผลว่า เงินหยวนแข็งเกินไปเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆในช่วงที่ผ่านมา แถมลดต่อเนื่องอีก 2 วัน ตลาดไม่ปลื้มครับ แล้วเหตุการณ์ Black Monday ก็สามารถเกิดขึ้นในตลาดหุ้นจีน เมื่อตลาดหุ้นร่วงระเนระนาดวันที่ 24 ส.ค. 2015 กว่า -8.5% ภายในวันเดียว ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ตลาดร่วงมาก่อนนี้แล้ว 1 สัปดาห์ เกือบๆ -15% หลังตลาดเริ่มรับรู้แล้วว่า ตัวเลข GDP Growth ของจีนที่ระดับ 7.0% สำหรับปีนี้ ดูจะเป็นฝันที่เกินจริง แล้วปลายเดือน ธนาคารกลางจีน ก็ประกาศลดดอกเบี้ยอีก 25bps และ ลด RRR ลงอีก 50bps หวังว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ก.ย. 2015 ตัวเลขการส่งออกเดือน ส.ค. ที่รายงานออกมา ชะลอตัวไม่เยอะเท่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ แต่ตัวเลขการนำเข้า กลับหดตัวรุนแรง ประกอบกับยอดการลงทุนสั่งซื้อ Fixed Asset พวกเครื่องจักรในจีนนั้นลดลงอย่างมีนัยะ ถึงแม้ทางการจีน (กลต.) เข้าตรวจสอบธุรกรรมที่น่าสงสัย และประกาศเพิ่งวงเงิน Margin สำหรับบัญชี Margin Trade เพื่อป้องกันการทำ Short Selling และหวังจะ Cool Down ตลาดหุ้นลงให้ได้ แต่ก็ไม่มีผลครับ การลดดอกเบี้ย และ RRR ที่ผ่านมา ทำมาตั้งกี่ครั้ง จะเห็นว่า ตลาดก็ไม่มีหวังจะสร้างเสถียรภาพได้เลย จนถึงวันนี้ เรายังไม่รู้นะครับ ว่าสุดท้าย GDP Growth ของจีนจะอยู่ที่เท่าไหร่ในปีนี้ แต่สิ่งที่พอดูได้ว่าตลาดหุ้นน่าสนใจแล้วหรือยังสำหรับการลงทุนในระยะยาว ก็คือ การกลับมาดูที่ Valuation ซึ่ง ต้องบอกว่า น่าสนใจแล้ว แต่เราไม่รู้หรอกครับ ว่า เหตุการณ์มันจะแย่ลงไปแค่ไหน ถ้าเทียบกับวิกฤตรอบก่อนๆ ตลาดหุ้นจีนปรับฐานหนักๆตอน Asian Financial Crisis ปี 1998 ตลาดหุ้นจีนร่วงไป -81% TMT Bubble ปี 2000 ตลาดหุ้นจีนร่วงไป -46% (TMT ย่อมาจาก technology, media, และ telecom) Subprime Crisis ปี 2008 ตลาดหุ้นจีนร่วงไป -74% ตอนนี้ นับจากจุดสูงสุด ตลาดหุ้นจีนร่วงไปแล้ว -42% ก็ต้องถามกลับมา เหตุการณ์ของโลกมันแย่ขนาด 1998 หรือ 2008 หรือเปล่า? ถ้าไม่แย่ขนาดนั้น มันก็ควรใกล้จบแล้วครับ … ส่วนตัวแล้ว ผมไม่แน่ใจจริงๆครับว่าตลาดจะเคลื่อนไหวอย่างไรใน 2-3 เดือนข้างหน้า แต่ถ้าถือยาวๆ ที่ระดับ PE ต่ำกว่า 8x แล้วไม่ได้มีวิกฤตเนี่ย ควรเด้งขึ้นมาได้แล้วครับ แต่บอกแบบนี้ ก็มีคนคิดว่า ควรเด้งมาตั้งแต่เดือน ก.ค. แล้วมันก็เด้งได้ไม่ไกลนะ Mr.Messenger แท็ก: แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
Dead Cross สัญญานเตือนสุดท้าย ... - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 มันมีสัญญาณทางเทคนิคตัวหนึ่ง เป็นที่รู้กันในสายเทคนิคว่า หากเกิดสัญญาณนี้ขึ้น นี่คือ อีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่า ตลาดหุ้น หรือ ราคาหุ้น ตัวนั้นๆ กำลังจะเปลี่ยนแนวโน้ม นั้นก็คือ Golden Cross และ Dead Cross Golden Cross เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ตลาดหุ้น หรือ ราคาหุ้นตัวนั้น กำลังเปลี่ยนแนวโน้มจากเดิมเป็นขาขึ้นระยะสั้น เป็นขาขึ้นระยะยาว (Long Term Bull) ทางตรงกันข้าม Dead Cross เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ตลาดหุ้น หรือ ราคาหุ้นตัวนั้น กำลังเปลี่ยนแนวโน้มจากเดิมเป็นขาลงระยะสั้น เป็นขาลงระยะยาว (Long Term Bear) สาเหตุที่บอกว่า เปลี่ยนจาก ระยะสั้น -> ระยะยาว ก็เพราะว่า ทั้ง Golden Cross และ Dead Cross นั้นให้สัญญาณช้ากว่าสัญญาณทางเทคนิคตัวอื่นๆ จนนักลงทุนสายเทคนิคส่วนใหญ่ ถึงขั้นบอกว่า Dead Cross คือ สัญญาณชีพสุดท้าย ของตลาดขาขึ้น และ Golden Cross คือ สัญญาณเริ่มต้นของขาขึ้นลูกใหม่ Golden Cross เกิดขึ้น บนเงื่อนไขว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น (Short-term Moving Average) ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว (Long-term Moving Average) Dead Cross ก็ตรงกันข้ามครับ เกิดขึ้น บนเงื่อนไขว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น (Short-term Moving Average) ตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว (Long-term Moving Average) ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น นิยมใช้ 50-day moving average ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว บางคนก็ใช้ 100-day moving average หรือ บางคนก็ใช้ 200-day moving average (เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน) อันนี้แล้วแต่ว่า เชื่อแบบไหนครับ ส่วนตัวแล้ว ผมใช้เส้น 50-day moving average กับ 200-day moving average ในการพิจารณาครับ ตอนนี้ ดัชนีสำคัญทั่วโลก เกิด Dead Cross ไปแล้ว ส่วนใหญ่ เกิดตอนเดือน ส.ค. และมีบางตลาดที่เกิดตอนต้นเดือน ก.ย. นี่นะครับ ลองไปดูทีละตัว ** ทุกกราฟ 50-day moving average คือ เส้นสีแดง และ 200-day moving average คือ เส้นสีเขียว ครับ SENSEX อินเดีย เกิด Dead Cross รอบแรกเดือน ,มิ.ย. เหมือนจะกลายเป็น False Signal ตอน Index รีบาวน์ขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเดือน มิ.ย. แล้วมีการเด้งกลับ กระทั่งตอนนี้ ก็แสดงให้ว่าตัดขึ้นทำ Golden Cross ไม่สำเร็จ แล้วก็ลงพร้อมกับโลกในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา (ทั้งๆที่ถ้ามองจากปัจจัยพื้นฐานของอินเดียดีมากๆนะครับ) Taiwan Weighted Index ไต้หวัน เจอ Dead Cross เมื่อกลางเดือน ก.ค. ตอนจะไหลลงอย่างรวดเร็ว … แต่ก็รีบาวน์อย่างรวดเร็วเช่นกัน H Share จีน (ในฮ่องกง) เจอ Dead Cross เดือน ส.ค. เหมือนกับไต้หวัน และถึงแม้ลงมาหนักแล้ว จากจุดสูงสุดถึงเส้น 200 วัน แต่ก็ลงได้อีกเท่าตัวมาถึงระดับปัจจุบัน A50 China จีน เพิ่งจะมาเจอ Dead Cross ตอนปลายเดือน ส.ค. ช้ากว่า H Share ร่วมๆ 2 สัปดาห์ แล้วก็ลงต่อ Bovespa บราซิล เกิด Dead Cross เดือน ส.ค. เหมือนกับ H Share และ A Share (ชักเริ่มสงสัยไหมครับ? อยู่คนละฝั่งของโลก แต่เจอสัญญาณขายในเวลาไล่เลี่ยกัน) Nikkei 225 ญี่ปุ่น ถือเป็นดัชนีที่แข็งแกร่งที่สุดในปีนี้ ยังไม่เจอ Dead Cross นะครับ แต่ Moving Average 15 วัน วันตัดเส้น 200 ลงมาก่อนหน้าแล้ว คงต้องดูกันต่อยาวๆอีกซักระยะ Dax เยอรมัน เจอสัญญาณ Dead Cross ตอนต้นเดือน ก.ย. นี้เองครับ แต่ก่อนหน้านั้น ตั้งแต่เดือน เม.ย. ภาพรวมแล้วตลาดเตือนมาตลอดว่า อยู่ใน Downtrend และไม่สามารถทำ Higher High Dow Jones สหรัฐฯ พยายามสร้าง All Time High ใหม่อยู่ตั้งแต่ปลายปี 2014 สุดท้ายก็ไปไม่ได้ และได้ Dead Crossต้น เดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ผลจากนั้น ก็อย่างที่เห็นในกราฟครับ สุดท้าย SET Index ไทย เราได้ Dead Cross ไปตั้งแต่เดือน พ.ค. ครับ เร็วกว่าทุกแห่งบนโลกเลย ดูเสร็จแล้ว ฝากอยู่ 4 เรื่องครับ Golden Cross และ Dead Cross ควรเป็นแค่ตัวดูประกอบ เป็นแค่หนึ่งจิ๊กซอในการดูภาพรวมตลาด แน่นอนว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิค มันมีโอกาสเกิด False Signal ได้ ผมไม่ได้พยายามจะชี้นำว่า ตลาดหุ้นโลกอยู่ในขาลง และน่ากลัวมากขึ้น เพราะ Dead Cross เกิดแล้ว อย่างที่บอกครับ มันเป็นแค่ข้อมูลดูประกอบ จริงๆ ผมก็ดูมันทุกวันอยู่แล้ว วันนี้เปิดมา แล้วเห็นว่า อยากแชร์ให้หลายคนทราบว่า ผมดูอะไรบ้าง ก็นี่ละ ส่วนหนึ่งที่ต้องดู สัญญาณ Golden Cross และ Dead Cross นั้น กว่าจะเกิดขึ้น ตลาดมักจะลงมา หรือ ขึ้นไปแล้วพอสมควร ดังนั้น นักลงทุนระยะสั้น ไม่ควรใช้เป็นสัญญาณการเข้าทำครับ ถ้าจะให้ดี แนะนำให้ลองนั่งเปิดกราฟด้วยตัวเอง แล้วย้อนดูสัญญาณที่เกิดขึ้นในอดีต จะเห็นอัตราความแม่นยำของสัญญาณ ซึ่ง เป็นตัวหนึ่งครับ ที่จะเอามาประกอบว่า เราควรให้น้ำหนักกับ Golden Cross และ Dead Cross มากแค่ไหน สำหรับดัชนีหรือหุ้นแต่ละตัว โชคดีในการลงทุนครับ แท็ก: Dead Cross Golden Cross technical analysis แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }
บราซิล ถูกปรับลดอันดับเป็น ขยะ !! - FINNOMENA 26 ส.ค. 2560 บราซิล ถูกปรับลดอันดับเป็น ขยะ !! แล้วมันหมายความว่าอัลไล?? ขยายความนะครับ วันนี้ Credit Rating Agency (CRA) เจ้าใหญ่ของโลกที่มีนามว่า S&P (ไม่ใช่ ร้านอาหารในไทย หรือ S&P500 ที่เป็นดัชนีตลาดหุ้นของอเมริกานะฮะ ทำไมต้องตั้งชื่อให้มันคล้ากันด้วยก็ไม่รู้เนอะ) ได้ประกาศ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศบราซิลลง จากเดิม BBB- เป็น BB+ ซึ่งในทางเทคนิค ถือว่า สูญเสียการเป็น Investment Grade เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนี้ ตราสารหนี้ที่ออกโดยบราซิล จะถือว่าเป็น “Junk Bond” หรือตราสารหนี้ขยะละครับ ถึงแม้ว่า CRA อีกสองเจ้า อย่าง Moody’s และ Fitch ยังไม่ได้ประกาศอะไรออกมา แต่ลำพังแค่ S&P ประกาศออกมาก็ไม่ค่อยดีแล้วครับ เพราะกลายเป็นว่า หนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพที่สุดในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ และพันธมิตรใหญ่ของจีน ที่อยู่ในกลุ่ม BRICs นั้น ปัญหาเศรษฐกิจดูจะฟื้นยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อสูญเสียความเป็น Investment Grade ไป ก็มีความเสี่ยงทันทีที่จะถูกเจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยแพงขึ้น ต้นทุนทางการเงินของทั้งระบบจะสูงขึ้น แปลว่า ฟื้นยากขึ้นด้วย สำหรับคนที่สงสัยว่าบราซิลมีปัญหาอะไร อธิบายแบบนี้นะครับ บราซิลเอง ลงทุนกับฟุตบอลโลกไปเยอะ (แพ้คาบ้านรอบรอง) แล้วก็มีการโกงเรื่องบประมาณลงทุน ถึงแม้ Debt/GDP ของบราซิลจะไม่สูงเหมือนอย่างกรีซ แต่อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในระดับ 10-12%ต่อปีนั้น มันช่างต่างจากกรีซที่กู้เป็นสกุล EUR และดอกเบี้ยต่ำเตี้ยติดดิน อีกเรื่องคือ ค่าเงินเรียล ของบราซิลอ่อนค่าอย่างหนัก ราวๆ 25% เมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯ มีเงินไหลออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤตราคาน้ำมัน และทำให้สินค้าโภคภัณฑ์อันเป็นกลไกสำคัญของบราซิลหยุดชะงักลงทุกอย่าง ฝั่งการบริโภคภายในประเทศ พอราคาสินค้าหลักของประเทศตกต่ำ ก็มีการปลดคนงาน (อัตราว่างงานอยู่ที่ 7.5%) เดินออกมาประท้วงกันเป็นล้านๆ ไม่มีเงินมาจับจ่ายใช้สอย ที่มีงานทำก็ค่าแรงไม่ขึ้น เพราะกำไรบริษัทลดลง แต่ตัวเลขเงินเฟ้อก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด สิ่งที่ทำให้บราซิลดูแย่ลงไปอีกก็คือ การแฉกันเรื่องกรณีทุจริตใน “Petrobras” รัฐวิสาหกิจน้ำมันยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ (เหมือนๆ PTT บ้านเรา) มันทำให้นักลงทุนต่างชาติหมดความไว้ใจต่อการแก้ไขปัญหา และไร้ซึ่งความหวังไปอีกเยอะพอควร วิกฤตที่บราซิลเจอ ณ วันนี้ นักเศรษฐศาสตร์เขาบอกว่า รุนแรงสุดในรอบ 85 ปีทีเดียวนะครับ ฯ GDP Growth 2Q2015 ที่ผ่านมา ประกาศติดลบ -1.9% Recession ไปแล้วนะ ———————————————- จริงๆเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจในบราซิลนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ในแวดวงนักลงทุนนะครับ แต่เพราะผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในบราซิลมันไม่กระเทือนคนอื่นอย่างที่จีนเป็นอยู่ตอนนี้ (เนื่องจากจีนเป็นตลาดนำเข้าขนาดใหญ่ของโลก แต่บราซิลไม่ใช่) ส่วนวิกฤตที่กรีซ ถึงแม้ขนาดเศรษฐกิจจะเล็ก แต่มันกระทบต่อเสถียรภาพ และการคงอยู่ของกลุ่มสมาชิกยูโรโซน และค่าเงิน EUR ที่เป็นสกุลสำคัญของโลกครับ เวลาดูภาพรวมเศรษฐกิจ เราต้องอ่านผลกระทบกว้างๆให้ออกนะครับ ไม่งั้นเครียดแย่เลย แต่… นักลงทุนในตราสารหนี้ ตอนนี้ อาจจะเริ่มเสียวๆหนาวๆแล้วเหมือนกัน เพราะเหล่ากองทุนตราสารหนี้แบบล็อคผลตอบแทนในไทย พานักลงทุนไปเสี่ยงที่บราซิลไม่น้อยทีเดียว ———————————————- ผมพาไปมองอีกมุมอีกกว่า การที่พันธมิตรจีน ยังไม่แข็งแรงเช่นนี้ เปิดโอกาสให้จีนมีอำนาจการต่อรองในกลุ่มสมาชิกเพิ่มขึ้น เช่น อาจจะให้ Finance บราซิลเป็นสกุลหยวน ไปเลยก็ได้ผ่าน New Development Bank (NDB) หรือ เราจะรู้จักกันในนาม BRICS Bank บวกกับการที่ หลี เค่อเฉียง ออกมาบอกว่า ไม่อยากเข้าร่วม Currency War (แปลว่า จะไม่พยายามทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่า) นั้น เราต้องจับตาครับว่า จีนจะเล่นเกมส์ลดเงินทุนสำรอง (ทำ QT) ต่อไปหรือเปล่า หรือแค่พูดให้ตลาดเชื่อ แต่จริงๆอยากให้หยวนอ่อน? ก็คงต้องดูต่อไป อีกมุมหนึ่งนะครับ การที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ เราเห็นผลกระทบแล้วว่า ไม่น้อยทีเดียว บางคนอาจคิดว่า เอ้ยยย สินค้าในท้องตลาดไม่เห็นมีใครลดราคา ถ้าต้นทุนมันถูกลง แสดงว่าเหล่าบริษัทจดทะเบียนทั้งหลายควรมีแนวโน้มกำไรโตขึ้นสิ? มันก็จริงส่วนใหญ่ครับ แต่ระบบทุนนิยมที่เอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มเดียว แล้วธุรกิจต้นน้ำเขาลำบาก และไปไม่รอด สุดท้าย มันก็แค่กำไรชั่วคราว เพราะอำนาจการจับจ่ายใช้สอยของคนส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจมันชะลอตัวลง ถึงตรงนี้นะ ผมกลายเป็นยิ่งเชื่อกว่าเดิมว่า เศรษฐกิจโลกจะดูดีขึ้น ต้องเห็นราคาน้ำมันสูงขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ดีขึ้น กลัวแต่จะว่า กว่าจะขึ้นได้ จะมีประเทศที่กลายเป็น ขยะ (Junk) ตามบราซิลไปอีกนี่สิ แล้วจะฟื้นกันยากนะขอบอก ไทยเรา ก็ Credit Rating อยู่ตรง BBB+ (มากกว่า Invesent Grade 2 ระดับ) ถ้าภายในปีสองปีนี้ อะไรๆยังไม่ดีขึ้น ไม่รู้เหมือนกันว่า S&P เขาจะคิดกับประเทศเรายังไง แต่ยังไงซะ ผมก็ยังมีความหวังว่า เราจะไม่เดินตามรอยบราซิลครับ เรายังดีกว่าเขาในหลายมิติ ผมเชื่ออย่างนั้นนะ Mr.Messenger แท็ก: Credit Rating Brazil เศรษกิจบราซิล แชร์บทความ: ผู้เขียน Mr.Messenger "ชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger” เจ้าของ Blog http://iammrmessenger.com ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดสายงาน Wealth Management และ กรรมการบริหาร บลน.ฟินโนมีนา"
{ "license": "CC BY 4.0 License", "src": "airesearch/CMDF_VISTEC", "subset": "dataset.finnomena" }