|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
46,0008,001,<B>อุเปกฺขานิมิตฺตสฺสาปิ</B> นี้ และอุเบกขานิมิตนั้น พึงทราบด้วยอำนาจ
|
|
46,0008,002,แห่งความเพ่งอารมณ์นั้น อันไม่เสมอ. เหตุแห่งราคะ โทสะ และ
|
|
46,0008,003,"โมหะ ท่านกล่าวว่า ""เป็นสุภนิมิต"" เป็นต้น โดยสังเขป ด้วยประการดัง"
|
|
46,0008,004,พรรณนามาฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระพุทธโฆษาจารย์ จึงกล่าวว่า
|
|
46,0008,005,"""ซึ่งนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส."" คำว่า <B>ทิฏฺมตฺเตเยว สณฺาติ</B> ความ"
|
|
46,0008,006,ว่า หยุดอยู่ในอายตนะคือรูปสักว่าจักษุวิญญาณ และวิถีจิตจับแล้วเท่า
|
|
46,0008,007,นั้น ต่อจากนั้นไปไม่กำหนดอาการมีว่างามเป็นต้นอะไร ๆ เลย. บทว่า
|
|
46,0008,008,<B>ปากฏภาวกรณโต</B> ได้แก่ เพราะทำความเป็นสภาพปรากฏ คือทำ
|
|
46,0008,009,ความเป็นสภาพแจ่มแจ้ง. จริงอยู่ เมื่อบุคคลกำหนดอยู่ซึ่งอวัยวะ
|
|
46,0008,010,"มีมือเป็นต้น แห่งวัตถุอันเป็นข้าศึก โดยอาการมีว่างามเป็นต้น,"
|
|
46,0008,011,กิเลสทั้งหลาย เมื่อเกิดขึ้นในอวัยวะมีมือเป็นต้นนั้นร่ำไป ย่อมเป็น
|
|
46,0008,012,สภาพปรากฏชัด เพราะฉะนั้น อวัยวะมีมือเป็นต้นเหล่านั้น จึงชื่อ
|
|
46,0008,013,ว่า เป็นที่ปรากฏเนือง ๆ แห่งกิเลสเหล่านั้น. ก็การกำหนดอวัยวะ
|
|
46,0008,014,มีมือเป็นต้นเหล่านั้น โดยอาการมีว่างามเป็นต้น ก็ได้แก่อาการคือการ
|
|
46,0008,015,ประชุมพร้อมแห่งภูตรูปและอุปาทายรูปอันตั้งลงแล้ว โดยอาการนั้น ๆ
|
|
46,0008,016,เพราะละอาการนั้นแล้ว สภาพอะไร ๆ ชื่อว่ามีมือเป็นต้นโดยปรมัตถะ
|
|
46,0008,017,"ย่อมไม่มี; เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า <B>""หตฺถปาท ฯ เป ฯ อาการํ"
|
|
46,0008,018,"น คณฺหาติ""</B> เพื่อจะเฉลยคำถามว่า ""ก็ภิกษุย่อมยึดถือสิ่งอะไร ?"""
|
|
46,0008,019,"ท่านจึงกล่าวว่า ""ยึดถืออวัยวะน้อยใหญ่ที่มีอยู่ในสรีระนั้นนั่นเอง."" ภิกษุ"
|
|
46,0008,020,ย่อมยึดถืออวัยวะอันมีอยู่ในสรีระนั้นมีผมและขนเป็นต้น หรืออาการ
|
|
46,0008,021,สักว่าภูตรูปและอุปาทายรูปอย่างเดียว ตามความเป็นจริง. ท่านกล่าว
|
|
|