buddhist-theology / 41 /410043.csv
uisp's picture
initial upload
6bd72a3
Book,Page,LineNumber,Text
41,0043,001,สองบทว่า <B>พาลโต อุปฺปชฺชนติ</B> คือ เกิดขึ้นเพราะอาศัยคน
41,0043,002,พาลทั้งนั้น. ความสะดุ้งแห่งจิต ชื่อว่าภัย. อาการคือความที่จิต
41,0043,003,พลุกพล่าน ชื่อว่า อุปัทวะ. อาการคือความที่จิตขัดข้อง ได้แก่
41,0043,004,"อาการคือความที่จิตติดขัดในอารมณ์นั้น ๆ ชื่อว่า อุปสัค."" "
41,0043,005,"[๓๕] ฎีกาแห่งลักขณสูตรนั้นว่า ""คำว่า <B>ฉนฺนปริจฺฉนฺนา</B>"
41,0043,006,คือ ข้างบนเขามุงด้วยไม้อ้อทั้งหลาย โดยท่าทางอย่างมุงด้วยหญ้า
41,0043,007,โดยรอบบังด้วยไม้อ้อเหล่านั้นเหมือนกัน โดยทำนองฝาไม้.
41,0043,008,ความสะดุ้งแห่งใจของบุคคลผู้กลัว ชื่อว่าภัย เพราะเหตุนั้น
41,0043,009,พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า 'ความสะดุ้งแห่งจิต.'
41,0043,010,อันตราย ชื่อว่า อุปัทวะ. ก็พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า
41,0043,011,'อาการคือความที่จิตพลุพล่าน' เพราะอันตรายนั้นเป็นเหตุแห่ง
41,0043,012,ความฟุ้งซ่าน. ความขัดข้อง คือความประสบความคับแค้นเพราะทำ
41,0043,013,ตอบแทนไม่ได้ ด้วยเหตุมีถูกเทพดาเบียดเบียนเป็นต้น ชื่อว่า อุปสัค
41,0043,014,ก็ความประสบความคับแค้นนั้น เป็นเหตุท้อแท้แห่งบุคคลผู้เดือดร้อน
41,0043,015,อยู่ ไม่สามารถจะทำอะไร ๆ เพราะแก้แค้นไม่ได้; เพราะเหตุนั้น
41,0043,016,ท่านจึงกล่าวว่า 'อาการคือความที่จิตติดขัดในอารมณ์นั้น ๆ.'
41,0043,017,[พาลก่อภัย บัณฑิตกำจัดภัย]
41,0043,018,[๓๖] เพราะเหตุนั้น คนพาลทั้งหลาย อันผู้มีปรีชา พึงทราบ
41,0043,019,ว่า เป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้. ด้วยว่า คนพาลเหล่านั้น เป็นผู้
41,0043,020,สามารถในการนำทุกข์มีภัยเป็นต้นทุกชนิดมาให้ แก่บุคคลทั้งหลาย
41,0043,021,ผู้ทำตามคำของตน. พึงทราบบัณฑิตทั้งหลายเป็นดุจการคุ้มครองใน