|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
10,0048,001,ว่าแปลเช่นไรจะได้ความตามภาษาไทย. ศัพท์พิเศษนอกจากอุปสัค
|
|
10,0048,002,เหล่านี้ มีตัวอย่างที่ใช้อยู่บ้าง เช่น อุ. ครุกโรติ ย่อมทำให้หนัก
|
|
10,0048,003,"(ทำความเคารพ). สจฺฉิกรุสุ ทำให้แจ้งแล้ว, สจฺฉากาสิ ได้ทำ"
|
|
10,0048,004,"ให้แจ้งแล้ว, ปาตุภวิ ปรากฏแล้ว, ปาตุรโหสิ ได้ปรากฏแล้ว,"
|
|
10,0048,005,"มนสิกโรติ ย่อมทำไว้ในใจ, พยนฺติกาหติ จักทำให้สิ้นไป, อาวิ- "
|
|
10,0048,006,"ภวิสฺสนฺติ จักมีแจ้ง, อลงฺกโรติ ย่อมประดับ, สมญฺจเรยฺย พึง"
|
|
10,0048,007,ประพฤติสม่ำเสมอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีอยู่มาก ที่ยกมานี้พอ
|
|
10,0048,008,เป็นตัวอย่างเท่านั้น.
|
|
10,0048,009,กิริยาศัพท์ที่ใช้ดุจคุณ
|
|
10,0048,010,นอกจากนี้ ยังมีกิริยาศัพท์บ้าง ซึ่งอาจนำไปใช้เข้าสมาส
|
|
10,0048,011,คือเชื่อมกับศัพท์นามอื่นได้อีก เวลาแปลกลายเป็นคุณศัพท์ไปก็มี
|
|
10,0048,012,แต่ศัพท์เหล่านี้มีปรากฏอยู่ก็เห็นเพียง ๒ ศัพท์ คือ อตฺถิ (มีอยู่)
|
|
10,0048,013,กับ นตฺถิ (ย่อมไม่มี) ซึ่งเป็นจำพวก อสฺ ธาตุ เช่น อุ.ว่า
|
|
10,0048,014,"อตฺถิภาโว ความที่แห่ง.... มีอยู่, นตฺถิภาโว ความที่แห่ง....ไม่มี,"
|
|
10,0048,015,นตฺถิปูโว ขนมไม่มี.
|
|
10,0048,016,อสฺ ธาตุ
|
|
10,0048,017,"ธาตุนี้เป็นไปใน ""ความมี"" ""ความเป็น"" เป็นธาตุซึ่งมีวิธี"
|
|
10,0048,018,เปลี่ยนแปลงแปลกจากธาตุสามัญอื่น ๆ มีหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลง
|
|
10,0048,019,เฉพาะตนเอง เพราะฉะนั้น เพื่อความสะดวกจะได้รวมมากล่าวไว้
|
|
10,0048,020,ในที่นี้เสียทีเดียว. การเปลี่ยนแปลงของธาตุนี้ เมื่อรวบรวมเป็น
|
|
10,0048,021,หัวข้อที่สำคัญแล้วก็คือ เมื่อประกอบกับวิภัตติแล้ว ลบต้นธาตุบ้าง
|
|
|