|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
10,0032,001,บท วจนะ บุรุษ และวาจก อีกชั้นหนึ่ง
|
|
10,0032,002,วิธีสังเกตธาตุ
|
|
10,0032,003,การที่เราจะสังเกตทราบได้ว่า ศัพท์นี้เป็นธาตุอะไร เพื่อที่จะ
|
|
10,0032,004,ได้ทราบถึงคำแปลหรือความหมายเดิมของศัพท์ อันเป็นการสะดวก
|
|
10,0032,005,แก่การที่จะเข้าใจเนื้อความได้แน่ชัดนั้น ต้องอาศัยการเข้าในใจวิธี
|
|
10,0032,006,แยกศัพท์กิริยานั้นออกเป็นส่วน ๆ ทั้งต้องทราบเครื่องปรุงที่ประกอบ
|
|
10,0032,007,กับธาตุคือ วิภัตติ และปัจจัย โดยละเอียดอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมี
|
|
10,0032,008,ศัพท์อีกประเภทหนึ่งที่ใช้นำหน้าธาตุ เพื่อทำเนื้อความของธาตุให้
|
|
10,0032,009,มีความหมายผิดจากเดิม หรือหนุนให้แรงขึ้น แล้วแต่ศัพท์นั้นจะมี
|
|
10,0032,010,ความมุ่งหมายไปในทางไหน ศัพท์นี้คือ อุปสัค อปสัคนี้ เมื่อใช้
|
|
10,0032,011,นำหน้าธาตุแล้ว นำความหมายของธาตุให้ผิดจากเดิมหรือแรงขึ้น
|
|
10,0032,012,อย่างไร จะได้อธิบายต่อไปข้างหน้า ในที่นี้ จะอธิบายแต่วิธีสังเกต
|
|
10,0032,013,วิธีแยกธาตุเท่านั้น ศัพท์ที่เป็นธาตุอย่างแท้จริง มีเพียง ๑ คำบ้าง
|
|
10,0032,014,๒ คำบ้าง และอย่างมากที่สุดเพียง ๓ คำเท่านั้น นอกนั้น ถ้า
|
|
10,0032,015,นำหน้าก็เป็นอุปสัคบ้าง ศัพท์อื่นๆ นอกจากนี้บ้าง (มีห่าง ๆ ) ถ้า
|
|
10,0032,016,ตามหลักก็เป็นวิภัตติบ้าง ปัจจัยบ้าง ซึ่งใช้สำหรับประกอบกับธาตุ.
|
|
10,0032,017,<B>ธาตุที่มีคำเดียว </B>เช่น อุ. ว่า ธุนาติ ย่อมกำจัด เป็น ธุ ธาตุ
|
|
10,0032,018,"ในความกำจัด นา ปัจจัย ติ วิภัตติ, เนติ ย่อมนำไป เป็น นี ธาตุ"
|
|
10,0032,019,"ในความนำไป อ ปัจจัย ติ วิภัตติ, เนติ พฤทธิ อี แห่ง นี เป็น เอ เป็นต้น."
|
|
10,0032,020,<B>ธาตุมี ๒ คำ</B> เช่น กโรติ ย่อมทำ เป็น กรฺ ธาตุ ในความ
|
|
10,0032,021,"ทำ โอ ปัจจัย ติ วิภัตติ, ภเชยฺย พึงคบ เป็น ภชฺ ธาตุ ในความคบ"
|
|
|