|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
10,0030,001,นั้นจะบ่งให้ขึ้นตัวประธานเช่นไร.
|
|
10,0030,002,วิธีสังเกตบุรุษ
|
|
10,0030,003,การที่จะรู้ได้ว่า กิริยาศัพท์ใด เป็นบุรุษอะไรนั้น ต้องอาศัย
|
|
10,0030,004,สังเกตวิภัตติ เพราะทุกวิภัตติท่านจัดบุรุษประจำไว้แล้ว เช่นกิริยา-
|
|
10,0030,005,"ศัพท์ประกอบด้วย ติ, อนฺติ ก็เป็นปฐมบุรุษ ตัวประธานก็ใช้ปฐมบุรุษ,"
|
|
10,0030,006,"ประกอบด้วย สิ, ถ ก็เป็นมัธยมบุรุษ ตัวประธานก็ใช้มัธยมบุรุษ คือ"
|
|
10,0030,007,"ตฺวํ, ตุมฺเห, ประกอบด้วย มิ, ม ก็เป็นอุตตมบุรุษ ตัวประธานก็ใช้"
|
|
10,0030,008,"อุตตมบุรุษ คือ อหํ, มยํ. นี้เฉพาะฝ่ายปรัสสบท ถึงฝ่ายอัตตโนบท"
|
|
10,0030,009,ก็เช่นเดียวกัน และแม้ในวิภัตติอื่นก็พึงสังเกตโดยนัยนี้.
|
|
10,0030,010,วิธีใช้บุรุษและวจนะแสดงความเคารพ
|
|
10,0030,011,ในการพูดหรือการเขียนที่แสดงความเคารพต่อผู้ที่สูงกว่าตน ซึ่ง
|
|
10,0030,012,เป็นผู้พูดด้วย คือผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ ตามปกติมักนิยมใช้มัธยมบุรุษ
|
|
10,0030,013,พหุวจนะ ถึงแม้ว่าผู้พูดด้วยจะเป็นคนเดียวก็ตาม เช่น ภิกษุทูลพระราชา
|
|
10,0030,014,ดัง อุ. ว่า ตํ ตุมฺหากํ วิชิตา นีหรถ ขอพระองค์ทั้งหลายจงนำ
|
|
10,0030,015,เขาออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ทั้งหลาย. หรือพระราชาตรัสกะ
|
|
10,0030,016,ภิกษุ ดัง อุ. ว่า กเถถ ภนฺเต ขอท่านทั้งหลายจงบอกเถิด ขอรับ
|
|
10,0030,017,เช่นนี้เป็นต้น ถึงแม้ผู้พูดด้วยจะเป็นคนเดียว ก็ยังนิยมใช้คำแทนชื่อ
|
|
10,0030,018,ของผู้พูดเป็น พหุวจนะ เพราะเขาถือกันว่าเป็นคำแสดงความเคารพ
|
|
10,0030,019,ส่วนวจนะของบุรุษ คือปฐมบุรุษ และอุตตมบุรุษ ไม่มีที่นิยมใช้
|
|
10,0030,020,คนเดียวก็คงเป็นเอก. ๒ คนขึ้นไปก็คงเป็นพหุ. ตามเดิม.
|
|
|