buddhist-theology / 10 /100029.csv
uisp's picture
initial upload
6bd72a3
Book,Page,LineNumber,Text
10,0029,001,เพื่อจำกัดความไม่แน่ชัด ถ้าละไว้เสีย อาจทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเข้าใจ
10,0029,002,ความเขวไปจากที่ประสงค์ได้ ด้วยไม่ทราบว่า กิริยาศัพท์นั้นเล็งถึง
10,0029,003,ประธานเช่นไร เว้นแต่ในที่ซึ่งมีเนื้อความต่อเนื่องมาจากข้างต้น คือ
10,0029,004,ได้บ่งประธานไว้แล้ว ซึ่งจำกัดไว้ว่าต้องการอย่างนั้น เช่นนี้จะไม่วาง
10,0029,005,ไว้อีกก็ได้ เพราะอาจส่องถึงกันได้ โดยอาศัยประธานตัวหน้าเป็น
10,0029,006,หลัก เพราะฉะนั้น ท่านผู้รจนาพากย์มคธ เมื่อจะใช้กิริยาศัพท์ฝ่าย
10,0029,007,ปฐมบุรุษ จึงต้องเรียงตัวประธานกำกับไว้ด้วย เพื่อจำกัดความ เว้น
10,0029,008,ไว้แต่ในที่ซึ่งได้ระบุมาแล้วข้างต้น และกิริยาหลังก็ต้องการตัวนั้น
10,0029,009,ในที่เช่นนี้ตัดออกเสียได้ หรือในที่ซึ่งกล่าวเป็นกลาง ๆ ไม่เจาะจงคน
10,0029,010,สัตว์ ที่ สิ่งของใด ๆ เป็นคำพูดที่ใช้ได้ทั่วไป ในที่เช่นนี้ ก็มักตัด
10,0029,011,ออกเสียได้ แม้ในการแปล ก็ต้องอาศัยสังเกตโดยนัยนี้ คือ เมื่อเห็น
10,0029,012,ประโยคซึ่งกิริยาเป็นปฐมบุรุษ แม้ไม่มีตัวประธานกำกับไว้ ต้อง
10,0029,013,ตรวจดูเนื้อความข้างหน้าว่า ได้กล่าวถึงใครหรือสิ่งใดมาบ้างแล้ว
10,0029,014,หรือเป็นแต่กล่าวขึ้นมาลอย ๆ คือเป็นกลาง ๆ ไม่เจาะจงใครหรือ
10,0029,015,สิ่งใด ถ้ามีตัวประธานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สมกับเนื้อความใน
10,0029,016,ตอนหลัง ก็ใช้ตัวนั้นนั่นแหละเป็นตัวประธานในประโยคหลัง ถ้าเป็น
10,0029,017,แต่กล่าวเป็นคำกลาง ๆ ไม่เจาะจง ก็ต้องใช้ตัวประธานที่เป็นกลาง ๆ
10,0029,018,เช่นเดียวกัน ดังที่ใช้กันโดยมาก เช่น ชโน ปุคฺคโล สตฺตา นโร การณํ
10,0029,019,กมฺมํ วตฺถุ เป็นต้น ส่วน วจนะ ก็ต้องเปลี่ยนไปตามกิริยา. แต่
10,0029,020,บางคราวถึงกับต้องแปลงกิริยาในประโยคหน้ากลับมาเป็นนาม เพื่อ
10,0029,021,ให้เป็นประธานในประโยคหลังอีกก็มี ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ใจความในที่