|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
10,0028,001,มัธยมบุรุษ เอกวจนะ เหมือนกัน เป็นการส่องถึงกันในตัวเอง ถึงใน
|
|
10,0028,002,การแปลภาคมคธเป็นภาคไทยก็เช่นเดียวกัน การที่จะหาตัวประธาน
|
|
10,0028,003,ของกิริยาให้ถูกต้อง ก็ต้องอาศัยสังเกตกิริยาซึ่งประกอบด้วยวิภัตติ
|
|
10,0028,004,จึงสามารถที่จะเข้าใจบุรุษซึ่งเป็นประธานได้ เช่น เห็นประโยคว่า
|
|
10,0028,005,นาสฺส มคฺคํ ทสฺสามิ ก็ต้องดูที่กิริยา คือ ทสฺสามิ แล้วจะทราบ
|
|
10,0028,006,ได้ว่า เป็น สฺสามิ วิภัตติ ซึ่งเป็น อุตตมบุรุษ เอกวจนะ ต่อนั้นจึง
|
|
10,0028,007,คิดหาตัวประธานที่จะตรงกัน ก็จะได้ อหํ ซึ่งเป็นทั้งบุรุษและวจนะก็
|
|
10,0028,008,ลงรอยกันกับ ทสฺสามิ ซึ่งเป็นกิริยา เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงต้องขึ้น อหํ เป็น
|
|
10,0028,009,"ตัวประธานในประโยค จึงแปลได้ความว่า ""เราจักไม่ให้ซึ่งทางแก่"
|
|
10,0028,010,"เขา"" หรือประโยคว่า อิโต นิกฺขมถ ก็เช่นเดียวกัน ในที่นี้ นิกฺขมถ"
|
|
10,0028,011,เป็น ถ วิภัตติ ซึ่งเป็นมัธยมบุรุษ พหุวจนะ ตัวประธานในประโยค
|
|
10,0028,012,ก็คือ ตุมฺเห (ท่านทั้งหลาย) ซึ่งตรงกันกับกิริยาทั้งบุรุษและวจนะ
|
|
10,0028,013,"จึงต้องแปลว่า ""ท่านทั้งหลายจงออกไปจากที่นี้"" แม้ในที่อื่น ๆ ก็"
|
|
10,0028,014,พึงทราบตามนับที่กล่าวนี้.
|
|
10,0028,015,อนึ่ง ยังมีข้อยุ่งยากอยู่บ้างเล็กน้อย สำหรับกิริยาศัพท์ที่เป็น
|
|
10,0028,016,ปฐมบุรุษ เพราะศัพท์กิริยาที่ประกอบด้วยวิภัตติฝ่ายบุรุษนี้ไม่มีจำกัด
|
|
10,0028,017,แม้ท่านจะกำหนดว่า ต ศัพท์ ก็ยังถือเป็นเกณฑ์แน่นอนไม่ได้ จึง
|
|
10,0028,018,ต้องกำหนดอย่างกว้าง ๆ เพียงว่า นอกจาก ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์
|
|
10,0028,019,แล้ว ใช้เป็นตัวประธานของกิริยาศัพท์ที่เป็นปฐมบุรุษได้ทั้งนั้น เมื่อ
|
|
10,0028,020,เป็นเช่นนี้ ในการพูดหรือการเขียน ถ้าต้องการระบุถึง คน สัตว์ ที่
|
|
10,0028,021,สิ่งของใด ๆ เป็นประธาน ก็ต้องใส่ตัวประธานนั้น ๆ เพิ่มเข้าด้วย
|
|
|