|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
10,0023,001,วิชฺชติ คนเช่นกับด้วยเรา (อันใคร ๆ ) ย่อมหาไม่ได้ เป็นต้น แต่
|
|
10,0023,002,การที่จะกำหนดบทให้แน่นอนลงไปอีกชั้นหนึ่ง ว่าบอกวาจกอะไรแน่
|
|
10,0023,003,ต้องอาศัยสังเกตปัจจัยอีกตอนหนึ่ง ดังจะอธิบายข้างหน้า.
|
|
10,0023,004,๔. วจนะ
|
|
10,0023,005,"คำว่า <B>วจนะ</B> แปลว่า <B>""คำพูด""</B> หมายความว่า คำเครื่อง"
|
|
10,0023,006,แสดงให้ทราบถึงจำนวนมากหรือน้อย วจนะ นี้มีกล่าวไว้ ๒ แห่ง คือ
|
|
10,0023,007,วจนะนาม ๑ วจนะอาขยาต ๑. วจนะนาม ใช้สำหรับประกอบนาม
|
|
10,0023,008,เป็นเครื่องแสดจำนวนของนามให้รู้ว่ามากหรือน้อย คนเดียวหรือ
|
|
10,0023,009,หลายคน ส่วนวจนะอาขยาต ใช้สำหรับประกอบกิริยาเป็นเครื่องแสดง
|
|
10,0023,010,ให้ทราบว่า กิริยาเช่นนี้ เป็นกิริยาของประธาน มีจำนวนมากหรือน้อย
|
|
10,0023,011,คนเดียวหรือหลายคน ท่านจัดได้ ๒ วจนะเช่นเดียวกันทั้งในนามและ
|
|
10,0023,012,อาขยาต คือ เอกวจนะ คำพูดถึงสิ่งเดียว ๑ พหุวจนะ คำพูดถึง
|
|
10,0023,013,หลายสิ่ง ๑ วจนะของกิริยาศัพท์กับนามศัพท์ที่เป็นตัวประธานต้องเป็น
|
|
10,0023,014,อย่างเดียวกัน คือ เป็นเอกวจนะหรือพหุวจนะก็ต้องเป็นด้วยกัน เช่น
|
|
10,0023,015,อุ. ภิกฺขุ ธมฺมํ เทเสติ ภิกษุแสดงอยู่ ซึ่งธรรม. สตฺตา มรณสฺส
|
|
10,0023,016,ภายนฺติ สัตว์ทั้งหลายย่อมกลัวต่อความตาย. ในที่นี้ ภิกฺขุ เป็น
|
|
10,0023,017,เอกวจนะ จึงต้องใช้ ติ วิภัตติซึ่งเป็นเอกวจนะตาม สตฺตา เป็น
|
|
10,0023,018,พหุวจนะ จึงต้องใช้ อนฺติ วิภัตติซึ่งเป็น พหุวจนะ ตาม ถึงวิภัตติ
|
|
10,0023,019,อื่นก็ต้องให้ วจนะ ตรงกันโดยนัยนี้.
|
|
10,0023,020,ในภาษาบาลี ประโยคทั้งหลาย โดยมากมักตัดตัวประธานออก
|
|
10,0023,021,เสีย โดยถือเสียว่ามีกิริยาเป็นเครื่องบ่งอยู่แล้ว ฉะนั้น การที่จะแปล
|
|
|