buddhist-theology / 08 /080015.csv
uisp's picture
initial upload
6bd72a3
Book,Page,LineNumber,Text
08,0015,001,วิภัตตินามกับวิภัตติอาขยาตเหมือนกันโดยชื่อก็จริง แต่มีความ
08,0015,002,หมายต่างกัน คือวิภัตตินามเมื่อลงที่ท้ายศัพท์เป็นเครื่องหมาย ลิงค์
08,0015,003,วจนะ และอายตนิบาต เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นลิงค์อะไร วจนะอะไร
08,0015,004,และจะใช้อายตนิบาตไหนจะเหมาะกัน วิภัตติอาขยาย เมื่อลงที่ท้ายธาตุ
08,0015,005,เป็นเครื่องหมาย กาล บท วจนะ บุรุษ วาจก และปัจจัย ทั้งนี้
08,0015,006,เพื่อส่องเนื้อความให้ชัดเจนขึ้นกว่าปกติ.
08,0015,007,การันต์
08,0015,008,คำนี้ได้แก่สระที่สุดอักษรหรือที่สุดศัพท์ คำว่า อะ การันต์คือ
08,0015,009,สระที่ท้ายศัพท์มีเสียงปรากฏเป็น อะ เช่น <B>ปุริสะ กุละ</B> เป็นต้น แม้
08,0015,010,คำว่า อิ การันต์ จนถึง อู การันต์ก็นัยนี้ บาลีภาษานิยมว่า สระ ต้อง
08,0015,011,อยู่หลังพยัญชนะ ทำให้พยัญชนะต้องออกเสียงไปตาม เวลาเขียนเป็น
08,0015,012,อักษรไทยทุกวันนี้ สระอะเมื่อลงท้ายพยัญชนะ ไม่ต้องเขียนไว้ เป็น
08,0015,013,อันเข้าใจกันได้ว่ามีเสียง อะ อย่าง <B>ปุริสะ</B> ก็คงมีสระอะอยู่หลังนั่นเอง.
08,0015,014,ในนามนามและคุณนามนั้นท่านจัดการันต์ตามแบบที่ใช้สาธารณะ
08,0015,015,ทั่วไปมากนั้น ดังนี้ :-
08,0015,016,ปุํลิงค์มีการันต์ ๕ คือ อ. อิ. อี. อุ. อู.
08,0015,017,อิตถีลิงค์มีการันต์ ๕ คือ อา. อิ. อี. อุ. อู.
08,0015,018,นปูํสกลิงค์มีการันต์ ๓ คือ อ. อิ. อุ.
08,0015,019,โค ศัพท์ ท่านว่าเป็น โอ การันต์ ในปุํลิงค์และนปุํลิงค์ ศัพท์
08,0015,020,ทั้งหลายว่าด้วยการันต์ พึงสังเกตการันต์อันพ้องกันหรือพวกกติปยศัพท์
08,0015,021,ซึ่งมีการันต์พ้องกันกับสาธารณาการันต์ พึงพิจารณาว่าศัพท์ไหนเป็น