|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
04,0187,001,กิตก์
|
|
04,0187,002,(๑๓๐) กิตก์นั้น เป็นชื่อของศัพท์ที่ท่านประกอบปัจจัยหมู่หนึ่ง
|
|
04,0187,003,ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดหมายเนื้อความของนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ที่
|
|
04,0187,004,"ต่าง ๆ กัน, เหมือนนามศัพท์ที่เอามาใช้ในภาษาของเรา มี 'ทาน'"
|
|
04,0187,005,เป็นต้น ย่อมมีเนื้อความต่าง ๆ กัน. 'ทาน' นั้น เป็นชื่อของสิ่งของ
|
|
04,0187,006,"ที่จะพึงสละก็มี เหมือนคำว่า 'คนมีให้ทาน คนจนรับทาน' เป็นต้น,"
|
|
04,0187,007,"เป็นชื่อของการให้ก็มี เหมือนคำว่า 'ผู้นี้ยินดีในทาน' เป็นต้น, เป็น"
|
|
04,0187,008,"ชื่อของเจตนาก็มี เหมือนคำว่า 'ทานมัยกุศล' เป็นต้น, เป็นชื่อของ"
|
|
04,0187,009,ที่ก็มี เหมือนคำว่า 'โรงทาน' เป็นต้น. ส่วนกิริยาศัพท์ มีคำว่า
|
|
04,0187,010,"'ทำ' เป็นต้น ก็มีเนื้อความต่างกัน, เป็นกัตตุวาจก บอกผู้ทำก็มี"
|
|
04,0187,011,"เหมือนคำว่า 'นายช่างทำงามจริง' เป็นต้น, เป็นกัมมวาจก บอกสิ่ง"
|
|
04,0187,012,ที่เขาทำก็มี เหมือนคำว่า 'เรือนนี้ทำงามจริง' เป็นต้น ศัพท์เหล่านี้
|
|
04,0187,013,ในภาษามคธ ล้วนหมายด้วยปัจจัยทั้งสิ้น.
|
|
04,0187,014,กิตก์นั้น แบ่งออกเป็น ๒ ก่อน คือ เป็นนามศัพท์อย่าง ๑
|
|
04,0187,015,เป็นกิริยาศัพท์อย่าง ๑. กิตก์ทั้ง ๒ อย่างนี้ ล้วนมีธาตุเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น.
|
|
04,0187,016,ก็แต่ธาตุนั้น ไม่แปลกกันกับธาตุอาขยาตที่กล่าวแล้ว (๑๑๔)
|
|
04,0187,017,เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ไม่ต้องว่าถึงธาตุอีก จะกล่าวแต่ที่แปลก.
|
|
04,0187,018,นามกิตก์
|
|
04,0187,019,(๑๓๑) กิตก์ที่เป็นนามก็ดี เป็นคุณนามก็ดี เรียกว่า
|
|
04,0187,020,นามกิตก์ ๆ นี้จัดเป็นสาธนะ มีปัจจัยเป็นเครื่องหมายว่า ศัพท์นี้
|
|
|