|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0002,001,ศัพท์ ปุริสศัพท์ เป็นต้น ส่วนที่ประกอบด้วยวิภัตติแล้ว เรียกว่า
|
|
09,0002,002,บท เช่น มหนฺโต เป็นบทหนึ่ง ปุรุโส เป็นบทหนึ่ง เมื่อกำหนด
|
|
09,0002,003,ความต่างแห่งคำว่าศัพท์และบท ได้ดังนี้แล้ว พึงกำหนดคำว่าวิเคราะห์
|
|
09,0002,004,ต่อไป.
|
|
09,0002,005,วิเคราะห์แห่งสมาสนั้น ต้องประกอบพร้อมด้วยลักษณะดังนี้
|
|
09,0002,006,ก. <B>อนุบท</B> บทน้อย ที่เรียงไว้หน้าบทปลง.
|
|
09,0002,007,ข. <B>บทปลงคือบทสมาส</B> ที่ย่ออนุบทนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน.
|
|
09,0002,008,อุทาหรณ์
|
|
09,0002,009,มหนฺโต ปุริโส มหาปุริโส. มหนฺโต ก็ดี ปุริโส ก็ดี เป็น
|
|
09,0002,010,"บทที่ยังแยกกันอยู่ จึงจัดเป็นอนุบท แต่ละบท ๆ, เมื่อเอา มหนฺโต"
|
|
09,0002,011,และ ปุริโส มาย่อมให้เข้ากัน เป็น มหาปุริโส คำว่า มหาปุริโส
|
|
09,0002,012,ในวิเคราะห์นี้จึงเรียกว่า บทปลง หรือบทสมาส คือสำเร็จรูปเป็น
|
|
09,0002,013,บทสมาส. โดยนัยนี้ วิเคราะห์หนึ่ง ๆ จึงมีทั้งอนุบทและบทปลง
|
|
09,0002,014,แต่อนุบท (นอกจากทวันทวสมาส) ย่อมมี ๒ บท และมี
|
|
09,0002,015,ชื่อเรียกต่างกัน ตามที่อยู่หน้าหรือหลัง อนุบทที่อยู่หน้า เรียกว่า
|
|
09,0002,016,บุพพบท ที่อยู่หลังเรียก อุตตรบท เหมือนอย่าง มหนฺโต ปุริโส
|
|
09,0002,017,ทั้ง ๒ นี้ มหนฺโต อยู่หน้า เรียกบุพพบท ปุริโส อยู่หลัง เรียก
|
|
09,0002,018,อุตตรบท พึงกำหนดอนุบทซึ่งแยกเป็นบุพพบทและอุตตรบท และ
|
|
09,0002,019,บทปลง ตามที่บรรยายมาฉะนี้.
|
|
09,0002,020,สมาสนี้ เมื่อว่าโดยกิจคือการกระทำหรือรูปสำเร็จของวิเคราะห์
|
|
09,0002,021,มี ๒ คือ :-
|
|
|