|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
07,0004,001,เพราะ สระ ทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้เช่นนั้น ท่านจึงเรียกว่า
|
|
07,0004,002,นิสัย คือเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ บรรดาพยัญชนะต้องอาศัยสระ
|
|
07,0004,003,จึงออกเสียงได้ ในสระ ๘ ตัวนั้น อ อิ อุ ๓ ตัวนั้น จัดเป็นรัสสะ
|
|
07,0004,004,มีเสียงสั้น เช่น อุทธิ ส่วน อ อี อู ๓ ตัวนี้ จัดเป็นทีฆะ มีเสียง
|
|
07,0004,005,ยาว เช่น ภาคี วธู แต่ เอ โอ ๒ ตัวนี้ เป็นทีฆะก็มี รัสสะก็มี คือ
|
|
07,0004,006,ถ้าไม่มีพยัญชนะสังโยค คือตัวสะกดที่ซ้อนอยู่เบื้องหลัง เช่น เสโข
|
|
07,0004,007,ดังนี้เป็นทีฆะมีเสียงยาว แต่ถ้ามีพยัญชนะสังโยค คือตัวสะกดที่ซ้อน
|
|
07,0004,008,อยู่เบื้องหลัง เช่น เสยฺโย โสตฺถิ ดังนี้เป็นต้นเป็น รัสสะ มีเสียงสั้น.
|
|
07,0004,009,สระที่เป็น รัสสะ ล้วน ไม่มีพยัญชนะสังโยค (ตัวสะกด) และ
|
|
07,0004,010,ไม่มี นิคคหิต อยู่เบื้องหลัง เรียก ลหุ มีเสียงเบา เช่น ปติ มุนิ.
|
|
07,0004,011,สระที่เป็น ทีฆะ ล้วนก็ดี สระที่เป็น รัสสะ มีพยัญชนะสังโยค
|
|
07,0004,012,ก็ดี สระที่มี นิคคหิต อยู่เบื้องหลังก็ดี เรียก ครุ มีเสียงหนัก เช่น
|
|
07,0004,013,ภูปาโล เอสี มนุสฺสินฺโท โกเสยฺยํ เป็นต้น.
|
|
07,0004,014,สระนั้น จัดเป็นคู่ได้ ๓ คู่ คือ :-
|
|
07,0004,015,๑. อ อา เรียก อ วัณโณ
|
|
07,0004,016,"๒. อิ อี "" อิ วัณโณ"
|
|
07,0004,017,"๓. อุ อู "" อุ วัณโณ"
|
|
07,0004,018,ส่วน เอ โอ ๒ ตัวนี้ เป็น สังยุตสระ คือประกอบเสียงสระ
|
|
07,0004,019,๒ ตัวเป็นเสียงเดียวกัน ดังนี้ :-
|
|
07,0004,020,อ กับ อิ ผสมกันเป็น เอ
|
|
07,0004,021,"อ กับ อุ "" "" โอ"
|
|
|