|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
02,0035,001,วิภัตติ
|
|
02,0035,002,[๔๔] คำพูดที่ท่านจัดเป็นลิงค์และวจนะดังนี้นั้น ต้องอาศัย
|
|
02,0035,003,วิภัตติช่วยอุปถัมภ์ ผู้ศึกษาจึงจะกำหนดเนื้อความได้ง่ายขึ้น เพราะ
|
|
02,0035,004,ในบาลีภาษานั้น ไม่มีคำใช้ที่จะทำนามศัพท์นี้และนามศัพท์นั้นให้
|
|
02,0035,005,เนื่องกันเป็นอันเดียว เหมือนภาษาของเรา ซึ่งนับปราชญ์บัญญัติ
|
|
02,0035,006,"เรียกว่า ""อายตนิบาต"" เหมือนคำว่า ""ซึ่ง, ด้วย, แก่, จาก, ของ,"
|
|
02,0035,007,"ใน"" เป็นต้น ต้องใช้วิภัตติขางหลังศัพท์บอกให้รู้เนื้อความเหล่านี้"
|
|
02,0035,008,ทั้งสิ้น. [ความนี้จักรู้แจ้งข้างหน้า] อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นอุบาย ที่จะ
|
|
02,0035,009,ให้กำหนดลิงค์ได้แม่นยำขึ้น ผู้แรกศึกษายังกำหนดจำลิงค์ไม่ได้ถนัด
|
|
02,0035,010,ว่า ศัพท์นี้ เป็นลิงค์นี้ ศัพท์นั้น เป็นลิงค์นั้น เมื่อหัดอ่านหนังสือ
|
|
02,0035,011,ที่ท่านแต่งไว้เห็นปุํลิงค์ ท่านประกอบวิภัตติอย่าง ๑ อีตถีลิงค์อย่าง ๑
|
|
02,0035,012,นปุํสกลิงค์อย่าง ๑ ก็จะเข้าใจได้ว่า ศัพท์นี้ เป็นลิงค์นี้ ศัพท์นั้น
|
|
02,0035,013,เป็นลิงค์นั้น ไม่ลำบากด้วยการจำลิงค์.
|
|
02,0035,014,วิภัตตินั้นมี ๑๔ ตัว แบ่งเป็นเอกวจนะ ๗ พหุวจนะ ๗ ดังนี้ :-
|
|
02,0035,015,เอกวจนะ พหุวจนะ
|
|
02,0035,016,ปมา ที่ ๑ สิ โย
|
|
02,0035,017,ทุติยา ที่ ๒ อํ โย
|
|
02,0035,018,ตติยา ที่ ๓ นา หิ
|
|
02,0035,019,จตุตฺถี ที่ ๔ ส นํ
|
|
|