url
stringlengths
30
33
date
stringlengths
16
16
title
stringlengths
5
170
body_text
stringlengths
318
201k
politics
class label
2 classes
human_rights
class label
2 classes
quality_of_life
class label
2 classes
international
class label
2 classes
social
class label
2 classes
environment
class label
2 classes
economics
class label
2 classes
culture
class label
2 classes
labor
class label
2 classes
national_security
class label
2 classes
ict
class label
2 classes
education
class label
2 classes
https://prachatai.com/print/7262
2006-02-09 05:58
วุฒิสภาจี้หาทางออกเหมืองโปแตช
ประชาไท—9 ก.พ. 2549 เมื่อวันที่ 8 ก.พ. เวลาประมาณ 14.00 น. คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภาได้จัดเวทีประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการเหมืองแร่โปแตช จ. อุดรธานี เนื่องจากเห็นว่ามีการผลักดันโครงการอย่างเร่งด่วนโดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการหมายเลข 306 อาคารรัฐสภาตามข้อเรียกร้องของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เข้ามาชี้แจงให้ข้อมูล    นายสุรพงษ์ เชียงทอง เจ้าหน้าที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) รายงานต่อที่ประชุมว่าขณะนี้บริษัทได้ยื่นขอประธานบัตรทำเหมืองแล้วอยู่ระหว่างการขึ้นรูปแผนที่พื้นที่ทำเหมืองใต้ดิน ในขณะนี้ทางบริษัทต้องทำการรังวัดปักหมดเขตที่ตั้งโรงแยกแร่ หรือเหมืองแร่บนดินและขึ้นรูปแผนที่เพื่อจะได้ติดประกาศในท้องถิ่นก่อนที่อธิบดีกพร.จะรับรอง แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัยยังไม่ได้ยื่นเอกสารเพื่อการพิจารณาเข้ามาอย่างครบถ้วน และยังต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอนตามกฎหมายแร่ฉบับปี 2545     นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา กล่าวว่าจาการที่เจ้าหน้าที่จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)รายงานต่อที่ประชุมว่าคณะนี้บริษัทยังไม่ได้ส่งรายงานฉบับใหม่ที่ต้องมีรายละเอียดเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบตามสารสำคัญของกฎหมายแร่ฉบับใหม่ที่ครอบคลุมการทำเหมืองแร่ใต้ดินให้ สผ.พิจารณา อย่างไรก็ตามในการพิจารณาของ สผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการมีอำนาจจะตั้งคำถามทางเทคนิควิธีการเพื่อสร้างทางเลือก เช่น การทำเหมืองแร่ใต้ดินแบบที่บริษัทเสนอเป็นแบบช่องทางสลับค้ำยันนี้ปลอดภัยจริงหรือไม่เมื่อเหมืองอยู่ใต้ชุมชน มีทางเลือกวิธีการทำเหมืองใต้ดินแบบที่ปลอดภัยกว่านี้เช่นแบบเหมืองละลายแร่ (Solution mining) เรื่อง กองหางแร่ไม่ต้องพิจารณาเพียงว่าจะใช้ผ้ายางหนาเท่าใดหรือมีผู้เชี่ยวชาญหรือไม่เมื่อนำเอาเกลือปริมาณมากกองบนผิวดินมันจะต้องมีผลกระทบแน่ ๆ ทางกรรมาธิการเป็นห่วงเรื่องนี้มาก จะต้องชี้แจงให้บริษัทแก้ไข การนำเกลือลงไปถมกลับนั้นเราก็รู้กันอยู่ว่าเกลือมีราคาและการนำกลับลงไปก็มีค่าใช้จ่าย และทั้ง สผ. และ กพร. ต่างมีความเห็นพ้องกันว่าสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ บริษัทจะต้องชี้แจงให้ชัดเจนในรายงานว่าเกลือจะขายให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องหรือจะถมกลับ     นายแก้วสรร ยังกล่าวอีกว่าแม้บริษัทจะยื่นขอประทานบัตรเป็นบริเวณกว้าง 2 แหล่งมีชุมชนหลายชุมชนตั้งอยู่ข้างบน กพร.ก็ไม่จำเป็นต้องอนุญาตทั้งหมดที่บริษัทขอ มันขึ้นอยู่ที่การพิจารณาของ กพร. จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะละเว้นเขตที่มีชุมชนตั้งอยู่ และทางจังหวัดจะต้องจัดทำแผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากรให้ชัดเจนว่าเขตนี้มีประชากรอยู่เท่าไหร่ ถ้ามีประชากรอยู่ก็ละเว้นไม่อนุญาตให้ทำ เพราะหน่วยงานราชการต้องสร้างทางเลือกที่เหมาะสม  ลดความขัดแย้งเพราะถ้าสร้างเหมืองแร่บนความขัดแย้ง ในชุมชนก็ไม่มีวันสงบ หากชุมชนไม่ยอมรับเหมือนกรณีโครงการท่อก๊าซไทยมาเลเซีย ที่สร้างบนความขัดแย้งปัจจุบันโครงการก็อยู่อย่างหวาดผวาว่าจะมีคนมาวางระเบิดเมื่อไร นายแก้วสรรกล่าว     ด้านพลเอกสมคิด ศรีสังคม สว.อุดรธานี กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วงหากเกิดโครงการคือเรื่องผลกระทบจากเกลือหางแร่เพราะภาคอีสานลมแรงในฤดูแล้ง พายุฤดูแล้งลมแรงมาก ขณะที่ฤดูฝนก็มีฝนมาก ที่ตั้งโครงการก็เช่นกันโรงแต่งแร่ตั้งอยู่บนเนินสูง กองเกลือกว้างเป็นกิโล และสูง 40 เมตรไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาให้ลำบากก็เห็นว่าจะมีผลกระทบอยู่ชัด ๆ ในฐานะคนอุดรธานีผมไม่เห็นด้วยกับโครงการไม่อยากให้สร้างเหมืองแร่ในจังหวัดอุดรธานี     ด้านนางมณี บุญรอด  รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวชี้แจงว่าปัจจุบันชาวบ้านไม่ยอมรับโครงการและมีการทำงานแย่งแยกชาวบ้าน เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ยังไม่สร้างโครงการ คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด และหากโครงการยังดำรงอยู่ความขัดแย้งก็รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้บริษัทจะอ้างว่าได้ลงทุนไปแล้วหลายพันล้าน รวมทั้งบริษัทอ้างว่าจะฟ้องร้องรัฐบาลไทยหากไม่ได้ทำเหมือง และจะเป็นการทำลายความเชื่อมั่นคงนักลงทุนต่างชาติ  นั้นเป็นการพูดแต่ได้เพราะบริษัทเองละเลยขั้นตอนกฎหมายไทย ละเมิดสิทธิคนไทย  และกำลังมีการยุแยงให้คนไทย คนในชุมชนเดียวกันขัดแย้งเข่นฆ่ากันเอง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/76570
2018-04-25 19:17
จนท.ไทยสั่งระงับสัมมนาเปิดรายงานกองทัพพม่าละเมิดสิทธิชาวบ้านกะเหรี่ยง-หนีตายนับพัน
หน่วยงานความมั่นคงสั่งเบรคการนำเสนอรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง อ้างรัฐบาลพม่าขอมาเพราะกลัวเสียภาพลักษณ์ ด้านผู้จัดต้องย้ายสถานที่จากคณะสังคมศาสตร์ มช. ไปที่โบสถ์คริสต์ สุดท้ายตำรวจตามมาสั่งระงับขณะเตรียมสถานที่ ส่วนเนื้อหารายงานเผยสถานการณ์ละเมิดข้อตกลงหยุดยิงของกองทัพพม่า ที่ล่าสุดเสริมกำลังทหาร-ตัดถนนเข้าเขตกะเหรี่ยงเคเอ็นยู จนเกิดปะทะหลายครั้ง เกิดเหตุทหารพม่าโจมตีพลเรือน จนชาวกะเหรี่ยงอพยพแล้ว 12 หมู่บ้าน 2,417 คน ปิดโรงเรียน 5 แห่ง และล่าสุดยังมีเหตุยิงผู้นำชุมชนกะเหรี่ยงเสียชีวิตด้วย 000 ชาวบ้านกะเหรี่ยงในเขตลูทอ ตอนบนของเมืองมูตรอ ต้องอพยพจากชุมชนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDPs) และสถานการณ์ตึงเครียดเมื่อกองทัพพม่าเสริมกำลัง-มุ่งตัดถนนยุทธศาสตร์ในพื้นที่ ล่าสุดมีผู้อพยพแล้ว 12 หมู่บ้าน 2,417 คน (ที่มา: KPSN) ภาพปกรายงาน  “การเดินทางกลับพร้อมฝันร้าย ความหวังของชาวกะเหรี่ยงต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ภินท์พังเพราะปฏิบัติการของกองทัพพม่า” (ที่มา: KPSN) 25 เม.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ จ.เชียงใหม่ ห้ามเจ้าของสถานที่และผู้จัดกิจกรรม จัดงานสัมมนาเพื่อเปิดตัวรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งจัดโดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (Karen Peace Support Network - KPSN) และศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ซึ่งกำหนดจัดในช่วงบ่ายวันนี้ งานดังกล่าวมีอันต้องยกเลิกกระทันหัน หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่สั่งห้ามจัดงาน ทำให้วิทยากรที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน อาทิสิโพรา เส่ง อดีตรองประธานสภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการ RCSD เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประเทศไทยและพม่า องค์กรแม่น้ำนานาชาติ รวมถึงชาวบ้านกะเหรี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ต่างเดินทางมาเก้อ โดยก่อนหน้านี้เวทีสัมมนากำหนดจัดที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาทางผู้จัดงานได้รับแจ้งจากทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ ทำให้เมื่อวานนี้ (24 เม.ย.) มีการประกาศเปลี่ยนสถานที่จัดงานเป็นโบสถ์คริสต์ที่สวนเจ็ดริน ถนนห้วยแก้ว แต่สุดท้ายต้องประกาศยกเลิกจัดกิจกรรมหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางมาที่สถานที่จัดงานตั้งแต่ช่วงสาย เพื่อสั่งผู้ดูแลสถานที่และคณะทำงานซึ่งกำลังเตรียมสถานที่ว่าห้ามจัดการสัมมนา อนึ่ง ผู้จัดงานระบุด้วยว่า แม้จะเลิกแจ้งยกเลิกจัดกิจกรรมไปแล้ว แต่ยังพบว่าในช่วงก่อนเริ่มงาน ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบมาเฝ้าสังเกตการณ์ ข่าวแจ้งว่า สาเหตุของการสั่งห้ามจัดเวทีสัมมนาเนื่องจากรัฐบาลพม่าได้ประสานมายังหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยเพื่อขอให้ระงับการจัดงาน เพราะอาจส่งผลต่อภาพพจน์ของรัฐบาลพม่าและกระบวนการสันติภาพ ทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยสั่งการมายังผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อขอไม่ให้ใช้สถานที่ ต่อมาเมื่อคณะผู้จัดงานเตรียมย้ายออกไปจัดงานที่สวนเจ็ดริน ก็ยังมีการสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ให้มาระงับการจัดงานครั้งนี้ เพียรพร ดีเทศน์ หนึ่งในวิทยากรที่ได้รับเชิญไปร่วมงานในครั้งนี้ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถูกระงับ เพราะประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญแก่รายงานชิ้นนี้ เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ติดกับประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณชายแดนฝั่งตะวันตก ซึ่งจะต้องส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผ่านมามีประชาชนจากรัฐกะเหรี่ยงต้องหนีภัยสงครามมายังชายแดนไทยจำนวนนับแสนคน และยังมีผู้พลัดถิ่นระลอกใหม่ ซึ่งยังไม่มีวี่แววว่าจะได้คืนสู่บ้านเดิม “ดิฉันไม่แน่ใจว่าเหตุผลลึกๆ ในการสั่งห้ามหรือยกเลิกจัดกิจกรรมในครั้งนี้คืออะไร แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือกระบวนการสิทธิมนุษยชนของเราไม่ควรถูกบั่นทอนลงไปอีก เพราะทุกวันนี้ เราก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมโลกอยู่พอสมควรแล้ว เห็นได้จากรายงานของสหประชาชาติฉบับล่าสุด” เพียรพรกล่าว รายงานเผยกองทัพพม่าสร้างถนนยุทธศาสตร์-ละเมิดข้อตกลงหยุดยิงทำชาวบ้านกะเหรี่ยงอพยพแล้ว 12 หมู่บ้าน มากกว่า 2,417 ราย อ่านรายงาน The Nightmare Returns: Karen hopes for peace and stability dashed by Burma Army's actions [1] ชุมชนผู้อพยพในพื้นที่ลูทอ ตอนบนของเมืองมูตรอ รัฐกะเหรี่ยง (ที่มา: KPSN) สำหรับรายงานที่เตรียมนำมาเปิดตัวในเวทีครั้งนี้ เป็นรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ซึ่งจัดทำโดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ โดยมีชื่อเรื่องว่า “การเดินทางกลับพร้อมฝันร้าย ความหวังของชาวกะเหรี่ยงต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ภินท์พังเพราะปฏิบัติการของกองทัพพม่า” ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2561 เป็นต้นมา กองทัพพม่าเริ่มการตรึงกำลังทหารครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ปี 2551 ในเขตมูตรอ หรือผาปูน รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามชายแดนไทยด้าน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งปัจจุบันมีการเสริมกำลังทหารพม่าเข้ามากว่า1,500 ราย โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ยึดครองของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ปีกทางการทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) โดยเหตุเสริมกำลังของทหารพม่าดังกล่าวนับเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงระดับประเทศ เป็นเหตุให้มีการปะทะกับกองพลน้อยที่ 5 KNLA หลายครั้ง นอกจากนี้มีรายงานด้วยว่าทหารพม่าได้โจมตีอย่างไม่เลือกเป้าหมายต่อพลเรือน ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 304 ครัวเรือน รวมจำนวนอย่างน้อย 2,417 คน จาก 12 หมู่บ้าน ต้องหนีภัยสงคราม ทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนมาอาศัยอยู่ในป่า นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านอีก 72 ครัวเรือน กว่า 483 คน จาก 4 หมู่บ้าน เตรียมอพยพเพิ่มเช่นกัน ในรายงานระบุด้วยว่า KNU และกองทัพพม่าต่างลงนามในความตกลงหยุดยิงเมื่อปี2558 ซึ่งห้ามการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางการทหาร และห้ามการเสริมกำลังทหาร ในพื้นที่หยุดยิง แต่กองทัพพม่าอย่างน้อย 8 กองพัน ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าสู่พื้นที่ลูทอ (Luthaw) ทางตอนบนของเมืองมูตรอ โดยไม่มีการทำข้อตกลงล่วงหน้า และเริ่มก่อสร้างถนนยุทธศาสตร์ทางทหาร ที่เหล่อมูพลอ และเคพู หากถนนนี้สร้างเสร็จ อาจส่งผลให้ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่อย่างถาวร “ชาวบ้านกว่า 2,417 คนรวมทั้งผู้สูงวัย ผู้หญิงและเด็ก ได้หลบหนีจากถิ่นฐานบ้านเรือนพากันไปหลบซ่อนในป่าเขา คาดว่ามีชาวบ้านอีก 483 คนเตรียมจะหลบหนีจากหมู่บ้านของตน ระหว่างที่ทหารพม่าพยายามเสริมกำลังในทางตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ลูทอ คนเหล่านี้แทบไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า พวกเขาสามารถนำข้าวของติดมือไปได้เพียงเล็กน้อย พวกเขาต้องอยู่ในป่าอย่างเหน็บหนาว โรงเรียน 5 แห่งต้องปิดตัวลงเนื่องจากการสู้รบ” ในรายงานระบุ   ประณามกองทัพพม่ายิง จนท.ช่วยเหลือมนุษยธรรมชาวกะเหรี่ยง-ละเมิดข้อตกลงหยุดยิง, 10 เมษายน 2561 [2]   ปะทะไม่ต่ำกว่า 39 ครั้ง ล่าสุดมีนักกิจกรรมชุมชนเสียชีวิต 1 ราย โดยสถานการณ์ในพื้นที่นับตั้งแต่ 1 มีนาคม จนถึงขณะนี้ (25 เม.ย. 2561) มีการปะทะระหว่างกองทัพพม่ากับทหารกะเหรี่ยง KNLA ไม่ต่ำกว่า 39 ครั้ง ชาวบ้านกะเหรี่ยงระบุว่ากองทัพพม่ายิงปืนใส่พลเรือนที่ไม่มีอาวุธ และทหารพม่ายังยิงปืนครกใส่พื้นที่ของพลเรือน มีการรบกวนพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน และการก่อสร้างถนนยังรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่บรรพชนตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงด้วย นอกจากนี้เมื่อวันที่ 5 เมษายน ซอโอ้มู นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยงวัย 42 ปี หนึ่งในทีมงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกะเหรี่ยงพลัดถิ่น ก็ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับบ้านที่เหล่อมูพลอ ( [2]อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [2]   KNU หวั่นความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกองทัพพม่าถดถอย หากดึงดันเสริมกำลัง-สร้างถนน อนึ่งในวิดีโอนำเสนอของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (KPSN) ที่เผยแพร่ออนไลน์เมื่อ 24 เม.ย. [ [3]คลิกเพื่อชมวิดีโอ [3]] [3] พันตรีซอเกลอะโด แห่งกองพลน้อยที่ 5 กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ให้สัมภาษณ์กับ KPSN ระบุว่า กองทัพพม่าทำหนังสือขอฟื้นฟูการสร้างถนนยุทธศาสตร์ระหว่างค่ายทหารพม่าที่เคพู (Kay Pu) มาถึงเหล่อมูพลอ (Ler Mu Plaw) ในพื้นที่ลูทอ เมืองมูตรอ รัฐกะเหรี่ยง แต่จากข้อตกลงหยุดยิงระหว่างสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองทัพพม่า ห้ามไม่ให้ทั้ง 2 ฝ่าย ขยายพื้นที่ยึดครองหรือเพิ่มกำลังทางทหาร หรือสร้างค่ายทหารเพิ่มในพื้นที่หยุดยิง "เราไม่คิดว่านี่เป็นเวลาที่เหมาะสมในการสร้างถนน เราแจ้งกองทัพพม่าว่าพวกเขาไม่สามารถทำได้ แต่พวกเขาไม่สนใจและเดินหน้าตามแผนของพวกเขา" ขณะที่กเวทูวินรองประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กล่าวว่า ที่ผ่านมาในช่วงหยุดยิง แม้จะไม่มีการก่อสร้างถนน กองทัพพม่าได้รับอนุญาตให้ขนส่งเสบียงด้วยวิธีอื่นๆ และไม่ถูกรบกวน และพวกเขาควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าเช่นนี้ซึ่งจะสร้างความขัดแย้งและบ่อนเซาะความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน พล.ท.บอจ่อแฮ รองผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) กล่าวว่า กองทัพพม่าอ้างว่าถนนเส้นนี้เพียงเพื่อขนส่งเสบียงระหว่างค่ายทหาร 2 แห่ง และชาวบ้านก็สามารถใช้ได้ถ้าพวกเขาต้องการ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากองทัพพม่าไม่เคยส่งเสบียงอาหารผ่านระหว่างค่ายทหารที่เคพู และเหล่อมูพลอ มาก่อน และถนนเส้นที่มีการก่อสร้างนี้เป็นถนนยุทธศาสตร์ทางการทหาร กองทัพพม่าอ้างว่าได้แจ้งกับ KNLA กองพลน้อยที่ 5 หลายครั้งแล้วเรื่องการสร้างถนน แต่พวกเขาแค่แจ้ง พวกเขาไม่เคยได้รับการเห็นชอบให้สร้างถนนเลย ไม่ว่าจากฝ่าย KNLA กองพลน้อยที่ 5 และชาวบ้านในพื้นที่ พวกเขามีแต่ใช้กำลังทางทหารเพื่อแผนการสร้างถนน โดย พล.ท.บอจ่อแฮ ถือว่าเรื่องนี้ละเมิดทั้งสัญญาหยุดยิงทั่วประเทศ (NCA) และระเบียบปฏิบัติของ KNU และ KNLA   เครือข่ายกะเหรี่ยงฯ เรียกร้องให้กองทัพพม่ายึดข้อตกลงหยุดยิงยุติการสร้างถนน-ถอนกำลัง และให้ฝ่ายที่สามเข้ามาสอบสวน ในช่วงท้ายของรายงาน เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (KPSN) ได้ระบุข้อเสนอแนะว่า 1.กองทัพพม่าต้องปฎิบัติตามจรรยาบรรณของทหารที่กำหนดไว้ในความตกลงหยุดยิงระดับประเทศและให้ถอนกำลังทหารที่เข้าพื้นที่ควบคุมของ KNU ทั้งหมด 2.ควรให้ฝ่ายที่สามที่ไม่ใช่กองทัพพม่า KNU และรัฐบาลพม่า เข้ามาทำหน้าที่สอบสวนเพื่อคลี่คลายความตึงเครียด 3.กองทัพพม่าต้องยุติการดำเนินงานเพื่อก่อสร้างถนนใดๆ ในพื้นที่ควบคุม 4.ก่อนมีกระบวนการสันติภาพจะมั่นคงและการเมืองที่แน่นอน กระบวนการตัดสินใจต่างๆควรให้ KNU เข้าไปมีส่วนร่วม 5.ผู้นำ KNU และกองทัพพม่าต้องให้ความสำคัญกับการถอนกำลังทหารจากที่ดินของชาวบ้าน 6.รัฐบาลพม่าและองค์กรเอกชนในทุกระดับต้องเคารพและยอมรับโครงสร้างการปกครอง และการบริหารของชุมชนกะเหรี่ยง 7.หน่วยงานระหว่างประเทศ ควรส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศ
0neg
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/17871
2008-08-28 18:32
ประมงพื้นบ้านสงขลาป้องทะเล สัญญาณต้านบริษัทเจาะน้ำมันอ่าวไทย
26 ส.ค. 51 - ที่ห้อง 262 คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะกรรมการประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ ระโนด สทิงพระและสิงหนคร นำโดยนายเจริญ ทองมา ประธานกรรมการประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ นายบุญช่วย ฟองเจริญ แกนนำประมงอวนลาก อำเภอระโนด ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง "ปกป้องแหล่งทำการประมง/แหล่งอาหาร จากโครงการพัฒนาปิโตรเลียมแหล่งสงขลา ถึงพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน   โดยแถลงการณ์ระบุว่า ชาวประมง 3 อำเภอไม่ต้องการให้ บริษัท นิวคอสตอล(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในบริเวณอ่าวไทยจากรัฐดำเนินการขุดเจาะในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในระยะยาวต่ออาชีพประมง และแหล่งอาหารของพี่น้องประชาชน จึงขอเรียกร้องให้หาทางออกร่วมกัน   นอกจากนี้แถลงการณ์ยังเรียกร้องให้ชาวประมงเตรียมตัวให้พร้อม ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นจะออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 แจ้งให้ทราบอีกครั้ง ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น แกนนำระบุว่า จะประชุมหารือกันอีกครั้ง       แถลงการณ์ชาวประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ ฉบับที่ 1 "ปกป้องแหล่งทำการประมง/แหล่งอาหาร จากโครงการพัฒนาปิโตรเลียมแหล่งสงขลา"   ถึง พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน   ตามที่ บริษัท นิวคอสตอล(ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในบริเวณอ่าวไทยจากรัฐ ซึ่งการสัมปทานครั้งนี้ เป็นการขุดเจาะน้ำมันใกล้ชายฝั่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในอนาคตต่อพื้นที่ทำการประมงของชาวประมงพื้นบ้านในอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนครและพื้นที่ใกล้เคียง แต่รัฐกลับไม่ให้ความสำคัญกับชาวประมงพื้นบ้าน มิได้ไยดีว่าชาวประมงพื้นบ้าน เป็นผู้ประกอบอาชีพสุจริต หาเช้ากินค่ำ เป็นอาชีพที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่สำคัญการทำประมงด้วยวิธีนี้ เป็นรากฐานค้ำจุนสังคมไทยมานานตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน รัฐมิได้สนใจว่าชาวประมงพื้นบ้านจะมีความเดือดร้อนอย่างไร รัฐสนใจเพียงแต่ให้บริษัทที่รับสัมปทานได้รับประโยชน์เท่านั้น   ชาวประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ จึงได้พยายามนำเสนอปัญหา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ทำการประมงพร้อมข้อมูล เหตุผล รายละเอียด ให้กับบริษัททราบ ว่าพื้นที่เป้าหมายของโครงการซึ่งทับซ้อนกับการทำประมง คืออยู่ในบริเวณที่ห่างจากชายฝั่งเพียง 14 - 30 กิโลเมตร เป็นระยะเวลา 16 ปีนั้น ชาวประมงพื้นบ้านไม่ต้องการให้ดำเนินการขุดเจาะในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในระยะยาวต่ออาชีพประมง และแหล่งอาหารของพี่น้องประชาชน จึงขอเรียกร้องให้หาทางออกร่วมกัน แต่ทางบริษัทยังคงยืนยันที่จะดำเนินโครงการฯ โดยไม่มีทางออกใดๆ จึงมีการพูดถึงการจ่ายค่าชดเชยผลกระทบที่ชาวประมงสูญเสียพื้นที่ทำมาหากิน และทางบริษัทผู้รับสัมปทานบ่ายเบี่ยงมาตลอด   ต่อมากลุ่มชาวประมงได้นำปัญหาดังกล่าว เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาทราบ และได้พยายามเข้ามาแก้ไข ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายคณะ และได้ประชุมกันหลายๆ ครั้ง แต่ผลสรุปที่ออกมาไม่ชัดเจน ดูเหมือนเป็นการหลีกเลี่ยงบ่ายเบี่ยง ถ่วงเวลา พูดกันไม่ตรงประเด็น ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหา มีความชัดเจนเพียงเฉพาะว่า "ไม่ว่าจะเกิดความเสียหายอย่างไร บริษัทก็จะดำเนินการขุดเจาะน้ำมันในวันที่ 1 กันยายน 2551 นี้ ให้ได้"   คณะกรรมการชาวประมงอำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด อยากกราบเรียนพี่น้องชาวประมงว่า พวกเราต้องต่อสู้ ยืนหยัดในการรักษาและปกป้องพื้นที่ทำมาหากินที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน และปกป้องแหล่งโปรตีนอันเป็นอาหารของพี่น้องประชาชน และอยากกราบเรียนพี่น้องชาวประมงต่อไปว่า "เตรียมตัวให้พร้อม หลังจากนี้เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร พวกเราจะออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ให้พี่น้องชาวประมงทราบข้อมูลว่าพวกเราจะร่วมกันดำเนินการต่อไปอย่างไร"   ขอแสดงความนับถือ คณะกรรมการประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ วันที่ 26 สิงหาคม 2551
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/23418
2007-04-09 10:44
เปิดอก "กลุ่ม FTA WATCH" หลังรัฐบาลลงนาม JTEPA
ธีรมล บัวงาม สัมภาษณ์/เรียบเรียง สำนักข่าวประชาธรรม   เรียบร้อยไปแล้วโรงเรียน มช.ไปแล้ว! สำหรับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) หรือเอฟ ทีเอไทย-ญี่ปุ่น ที่ลงนามระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่น โดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นลงนามกันไปเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา   ท่ามกลางการประท้วง การนำเสนอข้อท้วงติงอย่างต่อเนื่อง ขององค์กรอิสระ นักวิชาการ และประชาชนของทั้งสองประเทศ   สารี อ๋องสมหวัง สมาชิกกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA WATCH)  และผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค บอกเล่าความรู้สึกภายหลังศาลปกครองสูงสุดไม่รับฟ้อง และการลงนามดังกล่าว   บทบาทและท่าทีของรัฐบาลขิงแก่เป็นอย่างไรภายหลังมีการท้วงติงJTEPA   รัฐบาลเมินเฉยมาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือหันไปทำภาคผนวกเข้ามากำกับเพิ่มเติม แต่ประเด็นที่รัฐบาลเพิกเฉยมากที่สุด คือ ข้อเรียกร้องเรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบทั้งหมด ทั้งที่JTEPAไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วน และยังมีปัญหาในหลักการหลายอย่าง อาทิ กระบวนการเจรจา หรือแม้กระทั่งวิธีคิดอย่างการทำขยะของเสียอันตรายมาเป็นสินค้า เป็นต้น   ประเด็นที่ท้วงติงไป รัฐบาลให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องขยะของเสียอันตราย และสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต โดยรัฐบาลเชื่อว่า สามารถแก้ปัญหาด้วยการใช้เพียงมาตรการป้องกัน อาทิ กลไกภาษีสรรพสามิต  ซึ่งก็ไม่รู้ว่าการทำตรงนั้นมันจะมีผลในทางกฎหมายมากแค่ไหน และนักกฎหมายที่คว่ำหวอดในการทำความตกลงระหว่างประเทศหลายคนชี้ประเด็นตรงกันว่า หากรายการแนบท้าย หรือภาคผนวก ขัดแย้งกับข้อตกลงหลัก ย่อมต้องยึดสาระในข้อตกลงหลักเป็นสำคัญ ดังนั้นการเขียนแบบนี้ (ในภาคผนวก) จึงไม่ได้มีความหมายอะไร อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นประเด็นปลาย แต่สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือกระบวนการมีส่วนร่วมมันอ่อนแอ และไม่ถูกให้ความสำคัญเลย   การผลักดันเอฟทีเอในรัฐบาลนี้ต่างจากรัฐบาลที่ผ่านมาบ้างไหม   รัฐบาลชุดที่แล้วก็ปกปิด รัฐบาลนี้ก็อ้างว่าอยู่ในชั้นความลับเปิดเผยไม่ได้ ต่อมาเมื่อเขาเปิดให้เราเข้าไปดู ก็ไม่สามารถศึกษาได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก ซึ่งจริงๆ เอฟทีเอว็อทช์ และประชาชนควรมีโอกาสได้ศึกษาความตกลงซึ่งจะส่งผลกระทบมากกว่านี้   มันน่าคิดเหมือนกัน ตรงที่ว่ารัฐบาลได้ปักธงไว้อยู่แล้วว่าจะเอาแบบนี้ไม่มีการแก้ไข ทั้งที่เมื่อพบว่ามีผลกระทบ ควรจะยอมรับให้มีการแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการตีความในภายหลัง เช่น สิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต หรือประเด็นสาระที่ไม่ควรอยู่ในข้อการเจรจา อาทิ ขยะของเสียอันตราย ซึ่งอันที่จริงเขาก็ยอมรับว่าสิ่งที่เป็นปัญหาในข้อตกลง JTEPA คือการให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าความตกลงระหว่างประเทศขององค์การการค้าโลก หรือการยอมให้มีทริปส์พลัสนั่นเอง   เมื่อมองสถานการณ์ในประเทศ เรื่องที่เราค่อนข้างเป็นห่วงและเชื่อว่าเกิดขึ้นได้ คือ ผลกระทบกับการบังคับใช้สิทธิซึ่งผูกโยงอยู่กับบทบาทการลงทุน ขณะนี้เราบังคับใช้สิทธิยา  เมื่อลงนามไปแล้ว หากถูกบริษัทยาต่างชาติตั้งคำถามว่าทำไมไม่บังคับใช้สิทธิยาตัวนั้นตัวนี้บ้าง หากรัฐบาลตอบไม่ได้ หรือคำตอบไม่เป็นที่พอใจของบริษัท บริษัทเหล่านั้นก็มีสิทธิฟ้องข้อหาเลือกปฏิบัติ และการฟ้องของเขาไม่จำเป็นต้องมาที่ศาลไทย สามารถฟ้องไปที่อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ นั่นหมายความรัฐบาลมีโอกาสถูกฟ้องร้องมากขึ้น แม้ว่าการกระทำนั้นจะมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศ   ตัวอย่างบางประการเหล่านี้จึงชี้ให้เห็นว่า ข้อท้วง ประเด็นที่น่าเป็นห่วงทั้งหมดไม่นำไปสู่การหามาตรการเตรียมการภายในประเทศ และยังชี้เห็นผลของการไม่มีส่วนร่วม ซึ่งกลุ่มคนที่คัดค้านไม่ได้มีเพียงกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์เท่านั้น ยังมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือนักวิชาการหลายกลุ่มก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องด่วน และตั้งคำถามว่า JTEPA เป็นสิ่งที่รัฐบาลชั่วคราวควรจะดำเนินการหรือไม่   นี่คือสาเหตุที่นำไปสู่การยื่นฟ้องศาลปกครอง?   ต้องชี้แจงก่อนว่ากลุ่มเอฟทีเอว็อทช์ไม่ได้ตามเฉพาะJTEPA ก่อนนี้ กรณีไทย-สหรัฐ ก็มีการรณรงค์หลายครั้งทั้งที่พัทยา เชียงใหม่ แต่จริงๆ ก็ยอมรับว่า ตอนแรกให้ความสำคัญกับไทย-ญี่ปุ่นน้อย เพราะพุ่งเป้าไปที่ไทย-สหรัฐเยอะ เนื่องจากมีความซับซ้อนมีหลายประเด็นที่เจรจามาก ในอีกด้านหนึ่งก็มีข้อจำกัดจากการไม่ได้เห็นสาระของ JTEPA แต่เมื่อได้เข้าไปศึกษาจึงเห็นปัญหาที่จะขึ้นในอนาคต   ชนวนสำคัญอยู่ที่การเมินเฉยของรัฐบาล และดำเนินกระบวนการทำให้เชิงพิธีกรรมเท่านั้นเอง และทำเหมือนว่าตนเองก้าวหน้า ด้วยการนำร่างความตกลงJTEPAให้สมาชิกสนช.พิจารณา ซึ่งเป็นแค่การให้สนช.รับทราบ แม้กระทั่งเอกสารตัวร่างความตกลง 940 กว่าหน้านั้น สมาชิกสนช.ไม่เคยเห็นเลย เวนี้นั้นจึงเป็นแค่การอภิปรายไม่ได้มีการลงมติเห็นชอบแต่ประการใด ยิ่งไปกว่านั้นสมาชิกสนช.ที่ต้องการอภิปรายคัดค้านหรือตั้งคำถามในประเด็นต่างๆ ก็ไม่ได้ถูกชี้ขึ้นพูด หรือแม้กระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดประชาพิจารณ์ ก็ไม่ได้จัดแต่เป็นการจัดสัมมนา   การฟ้องศาลปกครองจริงๆ พวกเราเองไม่มีอำนาจในการยับยั้ง จึงต้องพึ่งกระบวนการทางศาล ซึ่งเมื่อคำวินิจฉัยของศาลออกมาต้องบอกว่าผิดหวัง เพราะศาลพิพากษาว่าเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่อำนาจของฝ่ายปกครอง ทั้งที่พวกเราฟ้องกระบวนการที่มีคำสั่งทางปกครอง คือ มีมติครม.ให้กระทรวงต่างประเทศดำเนินการจัดการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งความจริงไม่ได้ทำตามขั้นตอน และยังการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งควรจะทำขั้นตอนเหล่านี้ให้ถูกต้องก่อนที่จะไปลงนาม แต่กระนั้นศาลก็มองแต่เพียงว่าการลงนามการค้าระหว่างประเทศเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร และไม่เกี่ยวข้องกับการปกครอง   เรื่องนี้จึงเหมือนกับการถาม ว่าไปไหนมา? แต่กลับได้รับคำตอบว่ากินข้าวแล้ว มันคือการตอบคนละคำถาม จากนี้ไปจึงน่าคิดว่า เราจะมีกระบวนการตรวจสอบอำนาจของฝ่ายบริหารอย่างไร เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วอาจพูดถึงมาตรา 214 แต่ก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งต่างกับหลายประเทศที่มีกฎหมายการเจรจาระหว่างประเทศคอยกำกับ ตรงนี้จึงแสดงว่าฝ่ายบริหารสามารถทำข้อตกลง ทำอะไรได้ทั้งหมด และไม่มีใครตรวจสอบได้เลยใช่หรือไม่   จากสถานการณ์ดังกล่าว คิดว่าคนทั่วไปรับรู้เรื่องราวเอฟทีเออย่างไร   เมื่อครั้งที่รณรงค์เรื่องเอฟทีเอไทย-สหรัฐที่เชียงใหม่ก็ทำให้คนมีคนเข้าใจเรื่องเอฟทีเอมากขึ้นพอสมควร หรือแม้กระทั่งวันที่ 3 เม.ย.2550 ที่ไปประท้วงหน้าสถานทูตญี่ปุ่นก็มีประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก มีทั้งคนที่ทิ้งนามบัตรเพื่อให้แจ้งข่าวการเคลื่อนไหวครั้งหน้า สิ่งเหล่านี้แสดงว่าคนทั่วไปให้ความสนใจ   อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์ที่รวดเร็ว เร่งด่วน รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ได้มากพอก็เป็นปัญหาในการสร้างแนวร่วมใหม่ๆ บ้าง แต่จริงๆ สาธารณะก็ตระหนักเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะกลุ่มที่รณรงค์เรื่องประชาธิปไตยครั้งที่ผ่านมา และตนก็ยังเชื่อว่าคนกลุ่มนี้ยังสนับสนุนอยู่ ถ้าดูจากเว็บไซต์ และมีคนคัดค้านเยอะ   คิดว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากการเคลื่อนไหวเรื่องเอฟทีเอบ้าง   สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ รัฐบาลทุกรัฐบาลคิดเหมือนกัน คือให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้สนใจเรื่องอื่น ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดของประเทศไทย แม้กระทั่งเรื่องการค้า เราก็มองเฉพาะการค้าระหว่างประเทศ ไม่ได้มองเรื่องการค้าที่เป็นธรรม การค้าทางเลือกทั้งหลาย ดังนั้นเวลาที่มีการทำเอฟทีเอจึงสนใจเฉพาะกุ้ง ไก่ เท่านั้น   จากนี้จะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อ   ก็จะเคลื่อนไหวเท่าที่ทำได้ ไม่ใช่แค่JTEPA เท่านั้น แต่รวมถึงเอฟทีเอทั้งหมด  กลุ่มเอฟทีเอว็อทช์ก็เป็นเครือข่ายที่แน่นหนาพอสมควร และไม่ได้มาจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ประกอบด้วย เกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกรทางเลือก กลุ่มผู้ติดเชื้อ กลุ่มผู้บริโภค ชุมชนแออัด เครือข่ายแรงงาน ฯลฯ รวมถึงมีกลุ่มนักวิชาการที่ให้การสนับสนุนอยู่ด้วย ที่สำคัญเราเคลื่อนไหว ต่อสู้ข้อมูล โดยเฉพาะ JTEPA เราก็เคลื่อนไหวหลังจากได้เห็นตัวสัญญาที่พบว่ามีปัญหา   ที่แน่ๆ คือ เราไม่หยุด และไม่ยอมรับการลงนามของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเราได้เรียกร้องให้สมาชิกสนช.จำนวนหนึ่งเข้าชื่อเพื่อส่งให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความ และจะประสานกับประชาชนทุกภาคส่วนให้เขาลุกขึ้นมาคัดค้านการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศที่ไม่ชอบธรรม.
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/35692
2011-06-26 16:41
ทัพไทใหญ่ “เหนือ” เสียฐานที่มั่นให้พม่าอีกแห่ง หลังถูกโจมตีอย่างหนัก
กองกำลังไทใหญ่ “เหนือ” สูญเสียฐานที่มั่นสำคัญให้กองทัพพม่าอีกแห่ง หลังถูกโจมตีอย่างหนักด้วยปืนใหญ่ ขณะที่การสู้รบสองฝ่ายยังคงดำเนินต่อเนื่อง มีรายงานจากแหล่งข่าวว่า กองทัพรัฐฉาน “เหนือ” หรือ SSA/SSPP (Shan State Army / Shan State Progressive Party) ได้ถอนกำลังทหารออกฐานท่าผาสอง ฐานที่มั่นสำคัญอีกแห่งในตำบลบ้านวาบ อำเภอเมืองเกซี รัฐฉานภาคเหนือ หลังถูกทหารกองทัพพม่าโจมตีอย่างหนัก โดยขณะนี้ทหารกองทัพพม่าได้เคลื่อนกำลังเข้ายึดฐานดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ฐานท่าผาสอง ถือเป็นฐานยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งของกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” SSA/SSPP ซึ่งเป็นเสมือนฐานด่านหน้าที่จะเข้าพื้นที่ชั้นในของ SSA/SSPP โดยฐานแห่งนี้ถูกทหารพม่าเข้าโจมตีตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งทหารกองทัพพม่าได้ใช้ปืนใหญ่หลายชนิดโจมตีเข้าใส่อย่างหนัก ส่งผลให้ SSA/SSPP ไม่สามารถต้านทานการโจมตีและจึงจำต้องยอมสละทิ้งฐานแห่งนี้ในที่สุด มีรายงานด้วยว่า นับตั้งแต่เกิดการสู้รบของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเกิดจากการบุกโจมตีจากทหารพม่ามาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางฝ่าย SSA/SSPP ได้เสียฐานที่มั่นสำคัญให้กับฝ่ายกองทัพพม่าแล้วอย่างน้อย 5 แห่ง ขณะที่การสู้รบของทั้งสองฝ่ายยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและมีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิ์ทั้งถูกสังหารและถูกเกณฑ์เป็นลูกหาบจากทหารพม่า และขณะนี้มีผู้อพยพออกนอกพื้นที่เพื่อหนีภัยการสู้รบแล้วเป็นจำนวนมาก ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/ \คนเครือไท\" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org"
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/7508
2006-02-27 19:55
จดหมายจากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถึง สนนท. : ถอนตัวออกจาก "พันธมิตร"
ผมขอให้ใครที่สามารถทำได้ กรุณาหาทางถ่ายทอดข้อความต่อไปนี้ ผ่านไปยัง สนนท. ถึง สนนท. ผมขอเสนอให้ สนนท. ถอนตัวออกจาก "พันธมิตรประชาธิปไตย" ทันที ไม่ว่า จังหวะก้าวต่อไปของ "พันธมิตร" จะเป็นอย่างไร ไม่ว่าการชุมนุมวันที่ 26 จะยังคง "เดินหน้าต่อไป" หรือ ยกเลิก หรือ ชุมนุมเพียงคืนเดียว ฯลฯ เพราะสิ่งที่ "พันธมิตร" ได้กำหนดไป ตั้งแต่ก่อนการประกาศยุบสภา (แสดงออกใน "แถลงการณ์ฯฉบับที่ 2") เป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง ด้วยเหตุผล 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก การประกาศความคิดชี้นำว่า "ไม่ชนะ ไม่เลิก" เป็นความคิดที่อันตรายและเขลาอย่างยิ่ง การต่อสู้ทางการเมืองไม่เกมส์ที่ "ผู้ชนะ" ได้ถ้วย หรือเงินไป การรณรงค์ที่ไม่สำเร็จในแง่ข้อเสนอ จึงสามารถถือได้ว่า เป็นการรณรงค์ที่มีคุณค่าได้ ("ชนะ" ในความหมายอีกแบบหนึ่ง) "ไม่เลิก จนกว่าจะชนะ" ? "ไม่เลิก" แม้แต่ว่า หากเกิดสถานการณ์ที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ร่วมชุมนุม ต่อประชาชนวงกว้าง และต่อประชาธิปไตย? "ไม่เลิก" แม้ว่า จะนำไปสู่สถานการณ์ให้กลุ่มอำนาจอื่นฉวยโอกาสเอาประโยชน์? คนที่ประกาศเช่นนี้แต่ต้น และยึดถือความคิดนี้เป็นตัวชี้นำ นอกจากอันตราย ขาดความรับผิดชอบแล้ว ยังเป็นการแสดงความเขลาในแง่นักยุทธวิธีทางการเมืองด้วย คำขวัญนี้ โดยเฉพาะในการตีความของกลุ่มสนธิ-จำลอง เป็นการคิดที่อันตราย ที่นำไปสู่ความคิด "ชัยชนะไม่ว่าด้วยราคาอะไร" (victory at any price) ผมเชื่อว่า คนเหล่านี้ พร้อมจะทำสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อผู้ร่วมชุมนุม ต่อประชาธิปไตย เพียงเพื่อให้ข้อเรียกร้องของตนเป็นจริง (เหตุผลประการที่สอง ที่กำลังจะกล่าวถึงข้างล่าง ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ในการชุมนุมวันที่ 4 ที่สนธิเรียกร้องให้ทหารออกมาจัดการกับทักษิณ ก็เช่นกัน คือ ขอให้ "ชนะ" วิธีการอย่างไรก็ได้ ไม่เช่นนั้น "ไม่เลิก") (หลังเหตุการณ์ พฤษภา 35 เมื่อมีเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจของกลุ่มจำลองที่นำขบวนเคลื่อนออกไปจากสนามหลวงในคืนวันที่ 16 โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านจากนักศึกษาปัญญาชนที่ร่วมนำขบวนขณะนั้น หลังเหตุการณ์ได้มีผู้จัดสัมนาวงเล็กๆครั้งหนึ่ง (ปาจารยสาร เป็นเจ้าภาพ) โดยมี ชัยวัฒน์ สินสุวงศ์ และ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม เข้าร่วมด้วย ทั้ง 2 คนนี้ เป็นผู้สนับสนุนการเคลื่อนขบวนของจำลองอย่างเต็มที่ เมื่อถูกตั้งคำถามเชิงวิจารณ์มากๆ ครูประทีปได้ พูดประโยคหนึ่ง ซึ่งผมยังจำได้ดี ทำนองนี้ "ดิฉันเป็นคนเกิดในสลัม โตในสลัม ประสบการณ์ชีวิตของดิฉัน ทำให้ดิฉันเป็นคนที่ ถ้าไม่สำเร็จแล้วไม่ทำ ถ้าทำต้องทำให้สำเร็จให้ได้" แม้จะเป็นการแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่น่านับถือในแง่การดำเนินชีวิต แต่ในแง่การเมือง ผมเห็นว่า เป็นวิธีคิดที่น่ากลัว) ประการที่สอง ใน "แถลงการณ์ฯฉบับที่ 2" กลุ่ม "พันธมิตร" ได้เรียกร้องให้มีการตั้งนายกฯพระราชทานอย่างเปิดเผย (แม้จะยังไม่กล้าใช้คำนี้ตรงๆ) นี่เป็นสิ่งที่ผิดอย่างมาก มากพอจะให้ถอนตัวออกมา ก่อนการเข้าร่วมกับกลุ่มสนธิ ตัวแทน สนนท. และ ครป. จะได้ประกาศว่า ไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้ "คืนพระราชอำนาจ" แต่ข้อเสนอที่ให้ตั้งนายกฯพระราชทานนี้ ในทางเป็นจริง ก็คือการ "คืนพระราชอำนาจ" นั่นเอง คำว่า "นิติประเพณี" ที่ใช้ใน "แถลงการณ์ฯฉบับที่ 2" นั้น เป็น "คำแฝง" ที่กลุ่มสนธิ ใช้มานาน หมายถึง "พระราชอำนาจ" นั่นเอง (ดูหนังสือของประมวล รุจนเสรี) นี่เป็นข้อเรียกร้องที่ผิด และยังเป็นการ "ผิดคำพูด" ที่ สนนท. เคยประกาศไว้เองด้วย มายาเรื่อง "นายกฯพระราชทาน" ผมไม่มีเวลา และคงไม่ใช่โอกาส ที่จะอธิบายประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้อย่างละเอียด แต่อยากจะยืนยันว่า การตั้ง "นายกฯพระราชทาน" โดยหวังว่า จะให้เป็นผู้ "ปราศจากการครอบงำ แทรกแซง จากอิทธิพลของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด" ฯลฯ เป็นมายา (illusion) ผมเพียงขอพูดอย่างสั้นๆในที่นี้ว่า "นายกฯพระราชทาน" ในประวัติศาสตร์หาได้เป็นอย่างที่ภาพมายาวาดไว้แต่อย่างใด เช่น สัญญา ธรรมศักดิ์ ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างประชาธิปไตย และช่วยเหลือประชาชน (ตัวอย่างเดียว : ขบวนการชาวนาสมัยใหม่ ที่เริ่มต้นด้วยการตั้ง สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศ ก็เก็ดขึ้นเพราะความผิดหวัง ในนโยบายของ "นายกฯพระราชทาน" คนนี้เอง) และ ผมคงไม่จำเป็นต้องเตือนว่า "นายกฯพระราชทาน" อย่าง ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้แสดง "ความสามารถ" ในการบริหารงานอย่างไร? หรือ มีนโยบายอย่างไรต่อประชาธิปไตย (การจับเหวี่ยงแหผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ภัยสังคม" ทั่วประเทศ ไม่ต้องพูดถึงมาตรการเผด็จอำนาจแบบสุดขั้วอื่นๆ) หรือแม้แต่กรณีเปรม หรือกรณีอานันท์ ปัญยารชุนเอง เมื่อเป็นนายกฯ ที่ปัจจุบันมีการพยายามจะโฆษณาให้เชื่อว่า เป็นตัวอย่างของนายกฯพระราชทานที่ดี ซึ่งล้วนเป็นการสร้างมายา ทั้งสิ้น ที่สำคัญ ความคิดนี้ ขัดแย้งอย่างลึกซึ้ง ต่อประชาธิปไตย ต่อเจนารมณ์ 2475, 14 ตุลา 6 ตุลา ซึ่งขบวนการนักศึกษาเป็นผู้รับมรดกสืบทอด ประการสุดท้าย ในกลุ่มผู้ตัดสินใจสูงสุดของการชุมนุมวันที่ 26 (และหลังจากนั้น?) ทำไมไม่มีตัวแทน สนนท.เลย? มองในแง่การมี "ฐานที่แท้จริง" (เป็นตัวแทนของคนอื่นมากกว่าตัวเอง) แม้จะรู้กันว่า สนนท.จะไม่ใช่องค์กรมวลชนจริงๆ แต่อย่างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับคนอย่าง สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หรือสมศักดิ์ โกศัยสุข หรือ พิภพ ธงไชย ไม่สามารถพูดได้หรือว่า สนนท. ยังมี "ฐาน" ที่เป็นจริง หรือ "ความชอบธรรมในฐานะการเป็นตัวแทน" มากกว่าคนเหล่านั้น? (ไม่น้อยกว่าแน่นอน) เหตุที่ไม่มี ตัวแทน สนนท. เพราะอะไร? ระบบอาวุโส? ในความเป็นจริง "แถลงการณ์ฯฉบับที่ 2" ได้แสดงให้เห็นว่า "พันธมิตรประชาธิปไตย" ได้เป็นเพียง "ฉากบังหน้า" ให้กับกลุ่มสนธิ-จำลอง เท่านั้น การเข้าร่วมของ สนนท. เพียงแต่ "สร้างภาพ" ให้กับการเคลื่อนไหวของ สนธิ-จำลอง ซึ่งมีวาระ, เนื้อหา, และจุดมุ่งหมาย ที่แอนตี้ประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้งเท่านั้น ได้โปรดถอนตัวออกจาก "พันธมิตรประชาธิปไตย" แต่บัดนี้ หากต้องการเคลื่อนไหวคัดค้านทักษิณ สร้างขบวนการของตัวเอง หรือหากจะร่วมมือ ก็ร่วมมือกับผู้อื่นที่มีความเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย ที่มีความห่วงใยและ เคารพต่อประชาชนอย่างแท้จริง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/31931
2010-11-17 09:20
ขายตัวเป็นโสเภณี..แล้วไง?
จากกรณีคลิปหลุดศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวพันกับพฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากลของผู้ที่อยู่ใน คลิป จนเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมายเหลือคณานัปการ ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ของ ตัวตุลาการเอง ไม่ว่าจะเป็นสถาบันศาลซึ่งไม่จำเพาะว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ศาลอื่นๆก็พลอยถูกหางเลขไปด้วย แต่ที่หลายคนมองข้ามไปก็คือสถาบันอันเก่าแก่ที่อยู่คู่กับโลกมาหลายพันปีก็ พลอยถูกกระทบไปด้วย เพราะมีการพาดพิงว่า “ตุลาการทั้ง 9 คน ไม่มีใครขายตัวเป็นโสเภณี” ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า “โสเภณีขายตัวแล้ว ยังไงเหรอ” “ตุลาการต้องดี โสเภณีต้องเลว อย่างนั้นหรือ” “โสเภณีขายตัว กับคนที่ขายวิญญาณ ใครเลวกว่ากัน” ฯลฯ โสเภณีนั้นมีกำเนิดมาจากพิธีการทางศาสนาที่ปฏิบัติกันอยู่ในแถบเอเชียตะวัน ตกเป็นส่วนใหญ่ คือหญิงสาวจะต้องทำพิธีสละพรหมจารีของตนเพื่อบูชาเทวีผู้ซึ่งมีชื่อเรียกขาน แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ของอินเดียได้แก่พิธีบูชาพระแม่กาลีซึ่งบางทีก็เรียก "ทุรคาบูชา" (Durgapuja) พิธีเช่นว่านี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีความรู้สึกฝังใจอยู่ กับชายคนแรกที่เธอร่วมประเวณีด้วย การสละพรหมจารีดังกล่าวจึงกระทำเพื่อบูชาเทวีเบื้องบนเสีย และชายผู้ร่วมประเวณีด้วยนั้นก็มักจะเป็นแขกแปลกหน้าที่หญิงนั้นไม่รู้จัก โดยถือกันว่าชายแปลกถิ่นเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะนำโชคลาภมาสู่ตน  การสละพรหมจารีด้วยการร่วมประเวณีกับชายแปลกหน้านั้นบางแห่งก็มีสิ่งตอบแทน หญิงชาว บาบิโลนโบราณพากันมานั่งคอยชายแปลกหน้าในวิหารเจ้าแม่อิชตาร์ (Ishtar) เพื่อเข้าสู่พิธี สละพรหมจารีกับชายแปลกหน้า ถ้าชายพึงใจในหญิงคนใดก็จะโยนเหรียญมาที่ตักของเธอ หญิงที่ได้รับเหรียญจะต้องลุกตามเขาไปทันทีเพื่อประกอบพิธี โดยไม่ว่าเงินที่ชายโยนให้นั้นจะมากน้อยเพียงใด เมื่อได้พลีพรหมจารีแล้วก็เป็นอันหมดหน้าที่ หญิงนั้นจะได้กลับไปบ้านเมืองและครองชีวิตอย่างมีเกียรติ พร้อมกับตั้งหน้าคอยโชคลาภต่อไป หญิงที่รูปไม่งามอาจต้องนั่งรอชายแปลกหน้าเป็นเวลาหลายปี   บางท้องถิ่นก็มีพิธีกรรมทางโสเภณีเพื่อการศาสนา เช่น นักบวชหญิงร่วมกันจัดพิธีกรรมต่าง ๆ ทางโสเภณีซึ่งถือว่าเป็นการพลีกายเพื่อศาสนา เงินที่ได้จากพิธีกรรมทางเพศดังกล่าวจะส่งเข้าบำรุงศาสนา บางแห่งหญิงสาวต้องไปวัดเพื่อขอให้นักบวชชายเบิกพรหมจารีให้ โดยถือว่านักบวชเป็นตัวแทนของพระเจ้า บางแห่งหญิงสาวอุทิศตนเป็นนางบำเรอประจำวัด เพื่อร้องรำทำเพลงบำเรอพวกนักบวชและพวกที่มาสักการะเทพเจ้าในสำนักตน ทั้งหมดนี้เป็นจุดกำเนิดของหญิงโสเภณีในปัจจุบัน แต่โสเภณีทางศาสนาดังกล่าวมาแล้วจะกระทำในคลองจารีตประเพณีของศาสนา ไม่อื้ออึงหรืออุจาดนัก   ต่อมาเกิดมีธรรมเนียมใหม่ คือ หญิงสาวหันมาเป็นโสเภณีเพื่อสะสมทุนทรัพย์สำหรับสมรส ชายที่สมสู่ไม่ต้องวางเงินบนแท่นบูชาแต่ให้ใส่ลงในเสื้อของหญิง ภายหลังหาเงินได้สองสามปีก็จะกลับบ้านเพื่อแต่งงาน และถือกันว่าหญิงที่ได้ผ่านการเป็นโสเภณีมาแล้วเป็นแบบอย่างของเมียและแม่ ที่ดี การปฏิบัติของหญิงโสเภณีประเภทหลังนี้ บางคนก็กระทำไปโดยมิได้เกี่ยวข้องกับพิธีทางศาสนาเลย มีตัวอย่างเช่นหญิงที่รับตำแหน่ง "มิดะ" ในชาวเขาเผ่าอาข่าหรืออีก้อทางภาคเหนือของประเทศไทย ต่อมามีการฝักใฝ่ในลัทธิวัตถุนิยมเพิ่มมากขึ้น โสเภณีทางศาสนาค่อยๆเลือนหายไป โดยมีโสเภณีทางโลกเข้ามาแทนที่ โรงหญิงโสเภณีโรงแรกจึงถือกำเนิดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ โดยเป็นโรงหญิงโสเภณีสาธารณะ เก็บเงินรายได้บำรุงการกุศล ผู้จัดตั้งชื่อ "โซลอน" (Solon) เป็นนักกฎหมายและนักปฏิรูป วัตถุประสงค์ในการตั้งโรงหญิงโสเภณีดังกล่าวมีสองประการ คือ   1) เพื่อคุ้มครองอารักขาความบริสุทธิ์ให้แก่ครอบครัวของประชาชน มิให้มีการซ่องเสพชนิดลักลอบและมีชู้ และ      2) เพื่อหารายได้บำรุงการกุศลต่าง ๆ จากนั้นโสเภณีก็ได้ขยายตัวเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นอยู่อย่างปัจจุบัน   ผลดีและผลเสียของการมีโสเภณี ผลดี โสเภณีได้ชื่อว่าเป็นผู้ผดุงศีลธรรมและมนุษยธรรมของสังคม กล่าวคือ หญิงพวกนี้เป็น ผู้รับการระบายความต้องการทางเพศของผู้ชายทั้งหลาย เป็นการป้องกันหรืออย่างน้อยก็ลดจำนวนคดีเกี่ยวกับเพศ เช่น การฉุดคร่าอนาจาร ข่มขืน กระทำชำเรา อีกทั้งเป็นการช่วยผดุงความบริสุทธิ์ให้แก่ครอบครัวประชาชนมิให้มีการลักลอบ ซ่องเสพด้วยการทำชู้ จึงมีผู้เปรียบโสเภณีว่าเป็นป้อมปราการสำหรับป้องกันเกียรติศักดิ์ของครอบ ครัวอื่น ๆ มิให้มัวหมอง และสดุดีพวกเธอว่าเป็น ผู้เสียสละอุทิศร่างกายและชื่อเสียงเพื่อสาธารณประโยชน์ ออกัสติน นักบุญแห่งคริสต์ศาสนาผู้หนึ่ง กล่าวว่า ถ้าถอนหญิงโสเภณีไปจากสังคมเมื่อใด ก็เท่ากับหว่านพืชแห่งตัณหาให้เต็มไปหมดทั้งโลก สรุปว่า หญิงโสเภณีเปรียบเสมือนท่อระบายน้ำโสโครกหรือผู้เก็บกวาดสิ่งปฏิกูล ทำให้สังคมสะอาดน่าอยู่เสมอ   นอกจากนั้น หญิงโสเภณียังเป็นเครื่องกลั่นกรองการแต่งงานของคู่สมรสได้อีกด้วย กลั่นกรองในแง่ที่ว่า ผู้ชายมีทางระบายความต้องการทางเพศของตนกับหญิงโสเภณี เป็นการช่วยให้เขาชะลอการแต่งงานไปได้ในเมื่อฐานะของเขายังไม่พร้อมที่จะสมรส การสมรสจึงเป็นไปด้วยความรอบคอบ ความพร้อม และความเหมาะสม ทำให้ชีวิตครอบครัวราบรื่นมั่นคง ไม่ใช่สมรสเพราะตัณหา ซึ่งอาจทำให้ชีวิตสมรสล่มสลายในภายหลังได้ง่าย   อนึ่ง ยังช่วยผ่อนคลายความต้องการของชายที่สมรสแล้ว แต่คู่สมรสมีรสนิยมทางเพศไม่ตรงกัน เป็นการรักษาชีวิตสมรสของสามีภริยาคู่นั้นให้ดำรงราบรื่นอยู่ได้   ผลเสียก็มีอยู่เป็นอันมาก เช่น ทำให้มีสถานค้าประเวณีคอยรับซื้อเด็กหญิงมาบังคับเป็นโสเภณี ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังและดาษดื่นอยู่เวลานี้ ทำให้มีคดีฉุดคร่าล่อลวงหญิงมาขายตามสถานดังกล่าว และทำให้มีบุคคลประเภทแมงดาเป็นกาฝากของสังคมเกิดขึ้น   จากที่กล่าวมา นี้จะเห็นได้ว่าการมีโสเภณีนั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งโดยส่วนตัวของผมนั้นเห็นว่าน่าจะมีผลดีมากกว่าผลเสียอย่างแน่นอน เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่ดำรงคงอยู่คู่โลกมาจนถึงปัจจุบัน และบางประเทศถือเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมายด้วยซ้ำไป และในบางประเทศที่โสเภณีเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมายก็ยังไม่มีประเทศใดสามารถ กำจัดโสเภณีออกไปจากสังคมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์   ฉะนั้นการที่มีการพาดพิงถึงโสเภณีในลักษณะของการขายตัวว่าเป็นสิ่งที่ชั่วช้าเลวทรามผู้ที่มีคุณธรรมสูงส่งไม่มีทางกระทำนั้น จึงเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ยุติธรรมต่ออาชีพโสเภณี เพราะถึงแม้ว่าจะประกอบอาชีพโสเภณีเป็นก็ไม่ได้ไปเบียดเบียนสร้างความเสีย หายให้แก่ผู้อื่น หลายคนเจริญเติบโตมีตำแหน่งหน้าที่การงานมั่นคงก็ล้วนแล้วแต่ใช้จ่ายจากเงิน ที่ได้มาจากการประกอบอาชีพโสเภณี ซึ่งมีอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งทางตรงและในรูปแบบที่แอบแฝง   หลายคนที่ประณามหยามเหยียดอาชีพ โสเภณีว่าเลวทรามต่ำช้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุรุษเพศทั้งหลาย ซึ่งผมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่เคยใช้บริการจากอาชีพนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนวัยรุ่นสมัยก่อนก็อาจจะเริ่มในสมัยเป็นนิสิตนักศึกษา สมัยนี้ก็อาจจะเริ่มตั้งชั้นมัธยมเสียด้วยซ้ำ   การที่โสเภณีขายตัวนั้นย่อมเป็นปกติวิสัยของผู้คนที่ขายเรือนร่างตนเอง  แต่คนที่ไม่ได้ขายเรือนร่างตัวเองแต่ขายจิตวิญญาณ คนไหนควรถูกประณามมากกว่ากัน   คนที่ทำคลิปกับคนที่กระทำผิดหรือทำความเสื่อมเสียที่ปรากฎหรือถูกพาดพิงในคลิปคนไหนควรจะถูกประณามมากกว่ากัน ฉะนั้น ตราบใดที่เรายังเป็นมนุษย์เดินดิน และยังหนีไม่พ้นกินกามเกียรติอยู่ ไม่มีใครดีหรือเลวกว่าใครหรอกครับ และไอ้ที่ว่าดีดีนั้นดีจริงหรือเปล่า พร้อมที่จะถูกตรวจสอบหรือถูกจับกุมเมื่อกระทำความผิดดังเช่นอาชีพโสเภณีหรือเปล่าครับ   -------------------------     หมายเหตุ :เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
1pos
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/70871
2017-04-02 19:39
"วิสามัญฯ 2 ศพที่รือเสาะ" นักวิชาการ-เอ็นจีโอเรียกร้องตั้งกรรมการสอบ-คุ้มครองพยานเด็ก
คนทำสื่อห่วงหากพบทหารทำผิดอาจส่งผลต่อการพูดคุยสันติภาพ, แกนนำพูโล ประณามเจ้าหน้าที่ จี้คณะพูดคุยสันติภาพสอบสวนผู้กระทำผิด ด้านนักสิทธิเสนอญาติฟ้องกระบวนการยุติธรรม พยานต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย นักวิชาการย้ำรัฐต้องยกเลิกวัฒนธรรมลอยนวล จากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารพรานสังกัดกรมทหารพรานที่ 46 วิสามัญฆาตกรรมชาวบ้านในพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างบ้านไอร์จือนะห์ หมู่ 5 กับบ้านธรรมเจริญ หมู่ 6 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2560 เวลา 13.30 น. ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที 2 ราย จากการรายงานข่าวก่อนหน้านี้พ.ต.อ.เรืองศักดิ์ บัวแดง ผู้กำกับการ สภ.รือเสาะ เปิดเผยว่า ก่อนเกิดเหตุชุดปฏิบัติการข่าวทหารและเจ้าหน้าที่ทหารพราน สังกัดกรมทหารพรานที่ 46 ได้สืบสวนและติดตามสะกดรอยนายอิสมาแอ หามะ และนายอาเซ็ง อูเซ็ง ซึ่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีกราดยิงนายสมชาย ทองจันทร์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านธรรมเจริญ ม.6 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และครอบครัว เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2560 (อ่านต่อ [1]) ทั้งสองเดินทางมาจากจังหวัดยะลา เมื่อถึงจุดเกิดเหตุได้จอดรถแสดงตัวเพื่อขอตรวจค้น แต่นายอาเซ็งคนขับได้พยายามเร่งเครื่องหลบหนี ส่วนนายอิสมาแอได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มเจ้าหน้าที่ จนต้องใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้ทำให้ทั้งสองถูกกระสุนปืนเสียชีวิตทันที หลังเกิดเหตุการณ์นี้ มีการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่โดยให้ข้อมูลไม่ตรงกับที่เจ้าหน้าที่รัฐชี้แจง สำนักสื่อวาร์ตานี สื่อทางเลือกในพื้นที่ได้ลงไปพบปะญาติพร้อมสัมภาษณ์น้องสาวผู้เสียชีวิตที่อ้างว่าเธออยู่ในเหตุการณ์ด้วย และเผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ในวันรุ่งขึ้น (30 มี.ค.2560) (อ่านต่อ [2]) ว่า เธออายุ 15 ปี อยู่ในรถคันดังกล่าวด้วยและยืนยันว่าทั้งสองไม่มีอาวุธ  คำให้สัมภาษณ์นี้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย มีการตั้งคำถามว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร? ทำไมข้อมูลทหารกับข้อมูลของชาวบ้านถึงต่างกันโดยสิ้นเชิง? เป็นการจัดฉากเหมือนที่ผ่านมาหรือเปล่า? ถ้ามีการยิงปะทะกัน ทำไมรถของผู้เสียชีวิตถึงไม่มีรูกระสุนแต่อย่างใด? แล้วทำไมน้องสาวของผู้เสียชีวิตที่อยู่ในเหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่ได้รับอันตรายใดๆ? รัฐต้องยกเลิวัฒนธรรมลอยนวล เพื่อเอาชนะสงครามความชอบธรรม อาทิตย์ ทองอินทร์ หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ ม.ลัยรังสิต กล่าวว่า ตามทฤษฎี ผู้ที่สามารถช่วยหนุนเสริมความเข้มแข็งให้กับงานช่วยเหลือผู้สูญเสียได้ คือ องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ หรือ International Non-Governmental Organizations (iNGO) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และสื่อสารมวลชน ที่เป็นเสมือนด่านที่สองที่จะช่วยตรวจสอบและสอบทานการกระทำของรัฐให้โปร่งใส ชอบธรรม เสมือนอำนาจที่ถ่วงดุล แต่หนุนเสริมเป้าหมายเดียวกันคือ สันติภาพ แต่ความเป็นจริงเป็นอย่างที่เราเห็น ใครพูดต่าง นำเสนอต่าง รัฐก็ผลักและเบียดพวกเขาไปเป็นฝ่ายตรงข้ามหมด เพราะหลังพิงกับแนวคิดชาตินิยมที่ไร้สติของสังคมใหญ่ซึ่งมักจะมักจะเข้าข้าง "พวกเดียวกัน" ก่อน และมีอคติกับ "พวกที่เป็นอื่น" ไปจากอัตลักษณ์ชาติที่ศูนย์กลางอำนาจเสมอ การทำงานของรัฐในพื้นที่ความรุนแรงจึงน่าสงสาร เพราะเมื่อพวกเขาปฏิเสธที่จะจับมือ ก็คงต้องสู้อย่างเดียวดาย อาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทหารต้องเลิกวัฒนธรรมปกป้องพวกเดียวกันก่อน เช่น หลังเกิดเหตุแล้วข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจนก็อย่าพึ่งออกมาปกป้องพวกเดียวกันก่อน แต่ควรเปิดพื้นที่ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ออกมาก่อน และสามารถถกเถียงกันตามความเป็นจริงได้ ปัญหาใหญ่ของรัฐต่องานปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) ไม่ใช่การกุมสภาพพื้นที่ แต่เป็นปัญหาและปัญหาความชอบธรรมนี้มันพันอยู่กับความหวาดระแวงของผู้คนต่อสิ่งที่กังขาว่าเป็น "วัฒนธรรมลอยนวล" (impunity) ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่แก้ข้อนี้ โดยทำงานร่วมกันกับผู้มีข้อมูลและเหตุผลแตกต่างกันแล้ว ก็ยากจะชนะในสงครามความชอบธรรม เสนอญาติฟ้องตามกระบวนการยุติธรรม  อัญชนา หีมมิหน๊ะ หัวหน้ากลุ่มด้วยใจ กล่าวว่า ทุกคนต้องสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริง ต้องตั้งกรรมการตรวจสอบที่มีความเป็นอิสระและมีการเยียวยาที่เหมาะสม อย่างน้อยต้องทำให้คนเสียชีวิตได้มีการตรวจสอบอย่างเป็นธรรมว่าเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่ เหตุการณ์ในรูปแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมการไต่สวนการตายหลายๆ กรณีไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นไปตามกฎการปะทะและไม่สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการได้ ประสบการณ์จากเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมชาวบ้านและนักศึกษา ม.ฟาฏอนี ที่บ้านโต๊ะชูด ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 คือ การที่สังคมในพื้นที่ช่วยกันทำให้สังคมใหญ่กดดัน จนเจ้าหน้าที่ออกมายอมรับในสิ่งที่เขากระทำ และต้องชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่กระทำ คือ สิ่งที่ผิดทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ อัญชนา กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ญาติผู้เสียชีวิตต้องทำคือ การดำเนินการฟ้องร้องตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สังคมเห็นว่าคนที่ตายเป็นผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่ทำไม่ถูกต้อง อีกทั้งเรื่องนี้ควรมีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น ย้ำเร่งพิสูจน์ความจริง หากพบทหารทำผิดเชื่อส่งผลการพูดคุยสันติภาพ ต่วนอามีน ดาโอ๊ะมารียอ ผู้ประกาศข่าวจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งหนึ่งกล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่ปักใจเชื่อข้อมูลของของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเชื่อในกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก แต่เหตุการณ์นี้ทางครอบครัวไม่เชื่อว่าผู้เสียชีวิตมีอาวุธในครอบครองจริงและเชื่อว่าเป็นการกล่าวหาใส่ร้ายของเจ้าหน้าที่ เหมือนกรณีเหตุการณ์ทุ่งยางแดง ฉะนั้นฝ่ายรัฐเองต้องรีบดำเนินการพิสูจน์ความจริงและความจริงใจต่อสังคมโดยรัฐต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และเชิญทุกฝ่ายมามีส่วนร่วมด้วย หากพิสูจน์ว่าคนของหน่วยงานความมั่นคงกระทำผิดเสียเอง ก็ต้องนำผู้กระทำผิดมารับโทษตามกระบวนการยุติธรรมด้วย มิเช่นนั้นจะมีศาลทหารไว้เพื่ออะไร อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเมื่อกระทำผิดแล้วก็ต้องให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรมเฉกเช่นประชาชนทั่วไป เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ที่ยืดเยื้อมาเนิ่นนาน หากรัฐไม่สามารถพิสูจน์ความจริงได้ มันก็จะกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กระทบต่อการพูดคุยสันติสุขอย่างแน่นอน เพราะการพูดคุยคือความหวังเดียวของการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้สื่อมวลชนและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนควรติดตามความคืบหน้าต่อไปอย่างใกล้ชิด จนกว่าความยุติธรรมจะปรากฏกับทั้งสองฝ่าย แกนนำพูโลประณามเจ้าหน้าที่ ร้องคณะพูดคุยสันติภาพ สอบสวนผู้กระทำผิด กัสตูรี มะโกตา แกนนำองค์กรปลดปล่อยสหปาตานี หรือ กลุ่ม PULO ออกมาประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่าจากการรายงานพวกเขาทั้งสองเป็นสามัญชนทั่วไป ต้องตกเป็นเหยื่อของความโหดเหี้ยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลผู้กดขี่ เราขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดจากการกระทำที่โหดเหี้ยมนี้ และขอเรียกร้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่คณะพูดคุยสันติภาพเข้ามาสอบสวนอย่างโปร่งใสและยุติธรรม เพื่อนำผู้กระทำผิดเข้าสู้กระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุดตามสมควร (อ่านต่อ [3]) องค์กรสิทธิแถลงพยานต้องได้รับการคุ้มครอง ต้องมีกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่อิสระ นอกจากนี้กลุ่มด้วยใจได้ออกแถลงการณ์กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โดยระบุว่า ทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มี.ค.2560 และเหตุการณ์ที่เกิดเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2560 ได้ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก ในแถลงการณ์ระบุว่า ตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชน เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ต้องจับกุมและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายโดยกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้อำนาจตามอำเภอใจลงโทษหรือประหารผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมของศาลได้ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ แถลงการณ์กลุ่มด้วยใจเรียกร้องให้ 1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปกป้องคุ้มครองและและเยียวยาพยานผู้เห็นเหตุการณ์การเสียชีวิตของทั้งสองกรณี ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 การถามปากคำเด็กไว้ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย 2.เนื่องจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ที่มีหมายจับยังเป็นที่คลางแคลงใจในหมู่ประชาชนส่วนหนึ่ง จึงขอให้มีการคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือการตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจที่มีความเป็นอิสระและมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม สุดท้าย ขอให้การสืบสวนสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ทำอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินการไปได้โดยอิสระเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและไม่มีการชี้นำจากฝ่ายใด   หมายเหตุ  มีการแก้ไขเนื้อหา เวลา 01.30 น. (3 เม.ย.)
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/55870
2014-10-07 14:43
นิธิ เอียวศรีวงศ์: เสียของ-เสียอะไร
ในท่ามกลางบริวารซึ่งต่างก็ยกย่องตนเองว่าเชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์นักหนาไม่น่าเชื่อเลยว่าหัวหน้าคณะคสช.จะออกมาเสนอทางแก้ปัญหาค่าครองชีพด้วยวิธีที่ไม่ต่างจากผู้ปกครองไทยเกือบทุกคนนับตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้นมา ประกอบด้วย 1.ขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้เอากำไรน้อยลงเห็นแก่คนมีรายได้น้อยหากลดราคาสินค้าลงได้ก็ทำให้ขายได้ปริมาณสูงขึ้น ชดเชยกำไรที่ขาดหายไป 2.รัฐจะเข้าไปแทรกแซงราคา โดยเฉพาะราคาค่าขนส่ง ให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม 3.แทรกแซงราคาอีกเหมือนกันนับตั้งแต่ผู้ผลิตต้นทาง ศึกษาต้นทุนให้ละเอียดเพื่อจะดูราคาขายส่ง ศึกษาค่าใช้จ่ายด้านบริการของผู้ค้าปลีกระดับต่างๆ ลงไป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ในระหว่างนี้จะยืดมาตรการตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่อไปก่อน 4.ลดค่าครองชีพด้วยการตั้งแหล่งจำหน่ายสินค้าราคาถูกเช่นร้านอาหาร"หนูณิชย์พาชิม" ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรจากผู้ผลิตโดยตรง ในฐานะที่ทั้งผมและหัวหน้า คสช.มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือไม่เคยขายของอะไรให้ใครได้สักบาทเดียวตลอดชีวิต เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างตลอดมา จึงคิดว่าท่านหัวหน้าก็น่าจะนึกเอะใจเหมือนผมว่า มาตรการทั้งหมดเหล่านี้ถูกใช้โดยรัฐบาลไทยมาตั้งแต่เป็นเด็ก หากประสบความสำเร็จ ก็ไม่น่าจะต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีกทุกครั้งที่มีเสียงบ่นเรื่องค่าครองชีพ ที่น่าประหลาดขึ้นไปอีกก็คือมาตรการทั้งหมดเหล่านี้ล้วนถูกนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งกระเหี้ยนกระหือรือในการล้มประชาธิปไตยต่างโจมตีว่าไม่ได้ผลซ้ำบางมาตรการยังเป็นผลร้ายต่อตลาดเสรี ซึ่งจะนำไปสู่ความจำเริญทางเศรษฐกิจด้วย อย่างที่ผมเคยพูดในที่อื่นมาแล้วว่า ผู้นำการเมืองไทย ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือรัฐประหาร ต่างก็คิดอะไรไม่พ้นจากหมู่บ้านเสียที ผู้ประกอบการที่ไหนหรือครับที่จะเอากำไรน้อยลงเพราะคำขอร้อง ไม่ใช่เพราะผู้ประกอบการย่อมเป็นคนหน้าเลือดเสมอนะครับ แต่ในโลกปัจจุบันซึ่งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ทั้งหลายย่อมนำกิจการของตนเข้าตลาดหลักทรัพย์หมดแล้ว ดังนั้นภาระหน้าที่หลักของเขาคือรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ไม่ใช่ผู้บริโภค หากเขาสามารถทำกำไรได้สูงขึ้น เขาย่อมทำอย่างแน่นอน เพื่อทำให้จ่ายเงินปันผลได้สูงขึ้น ซึ่งย่อมดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน จะเอากำไรอย่างไม่บันยะบันยังไม่ได้ เพราะในตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ราคาที่สูงเกินไปย่อมทำให้สินค้าขายไม่ได้เพราะคู่แข่งไม่ยอมขึ้นตาม คนขายของแพงจึงเสียสัดส่วนการตลาดไปอย่างรวดเร็ว เศรษฐศาสตร์กระแสหลักเชื่อว่า ตลาดที่เสรีและเป็นธรรมจะเป็นตัวกำหนดราคาที่เป็นธรรมเอง ส่วนคำแนะนำให้ขายของถูกเพื่อจะขายได้มากๆนั้นพ่อค้าทำมานานแล้วล่ะครับและต่างก็ประสบความสำเร็จในการขายได้มากๆ ทุกเจ้า แต่ก็สุดตัวอยู่แค่นั้น เช่น บะหมี่สำเร็จรูปนั้น ตัดโน่นตัดนี่รวมทั้งปริมาณออกไป จนไม่รู้จะตัดอะไรต่อไปอีกได้แล้ว จึงสามารถขายได้ในราคาที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้ และเป็นอาหารคนจนที่บริโภคกันแพร่หลายมาก เพราะต้องยอมรับว่าถูกที่สุดเท่าที่จะนับได้ว่าเป็นอาหาร และที่พ่อค้าทำมานานก็เพราะมันเป็นหญ้าปากคอกที่มองเห็นได้ง่ายๆถึงมองไม่ออกทันทีก็ต้องมองออกเพราะการแข่งขันในตลาด การแทรกแซงราคานั้นเป็นบาปมหันต์ทางเศรษฐศาสตร์กระแสที่ล้อมรอบตัวท่านหัวหน้าคสช.ทีเดียวแต่การแทรกแซงตลาดเป็นเรื่องที่เถียงกันได้ท่านต้องชัดแก่ตนเองว่าจะแทรกแซงราคาหรือแทรกแซงตลาดกันแน่ รัฐบาลไทยใช้วิธีแทรกแซงราคาตลอดมาแต่ต้องเป็นพวกสินค้าอุปโภคบริโภคนะครับอย่าได้ไปแทรกแซงราคาข้าวอย่างจริงจังอย่างรัฐบาลก่อนเพราะบรรดานักเศรษฐศาสตร์ผู้รังเกียจประชาธิปไตยจะช่วยกับอันธพาลทุกกลุ่มในการล้มรัฐบาล สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยคุมแม้แต่ราคาโอเลี้ยง ราคาอาหารจานด่วน เช่น ข้าวแกงและก๋วยเตี๋ยว ก็ถูกรัฐบาลหลายชุดคุมราคามาแล้ว น้ำตาล, น้ำปลา, น้ำมันพืช, กระดาษชำระ ฯลฯ จิปาถะ กลายเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หลายต่อหลายรัฐบาลต้องทำเป็นงานหลัก คือตรึงราคาไว้ และในที่สุดก็ต้องขึ้นราคาไปตามต้นทุนการผลิตซึ่งคุมไม่อยู่ และค่าครองชีพก็สูงขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันที่จริงเงินเฟ้อ (ในระดับที่พอรับได้) กับการเติบโตของรายได้ประชาชาติ เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน หากคนมีเงินซื้อมากขึ้น ก็ย่อมต้องแย่งกันซื้อเป็นธรรมดา แต่เงินเฟ้อประเภทนี้ไม่คงทน เพราะในไม่ช้า ผู้ผลิตย่อมเร่งผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้คนอื่นมาแย่งส่วนแบ่งตลาดของตน รู้กันในเมืองไทยมานานแล้วอย่างที่คุณคึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวว่า วิธีเผชิญกับค่าครองชีพสูงที่ดีที่สุดคือ ทำให้รายได้ของ ประชาชนเพิ่มขึ้น แต่นี่กลับเป็นส่วนที่ท่านหัวหน้า คสช.ไม่ค่อยได้พูดถึงเลย มาตรการที่น่าจะได้ผลมากกว่าคือแทรกแซงตลาด รัฐบาลก่อน 2500 เคยแทรกแซงตลาดอย่างไม่สู้จะสุจริตนัก คือรัฐเข้ามาประกอบการเสียเอง เช่นตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นเป็นผู้ผลิตหรือรวบรวมสินค้า ในขณะที่บางรัฐวิสาหกิจผูกขาดหรือพยายามจะผูกขาดการขนส่งสินค้า และการขายปลีก หลัง 2490 ให้ตำรวจ, ทหาร และนักการเมืองซึ่งทำรัฐประหารเข้าไปคุมรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ ผลคือขาดทุนยับเยินแทบจะทุกรัฐวิสาหกิจเลย เพราะต่างตั้งตัวเป็นเสือนอนกินมากกว่าผลิตจริง ขายสินค้าหรือบริการจริง แต่การแทรกแซงตลาดอีกชนิดหนึ่งซึ่งน่าจะช่วยลดค่าครองชีพได้ รัฐบาลไทยกลับไม่ทำ นั่นคือแทรกแซงให้ตลาดเสรีจริงและเป็นธรรมจริง แม้ว่าในปัจจุบันเรามีกฎหมายห้ามผูกขาดและการมีอำนาจเหนือตลาดแต่รัฐบาลทุกชุดไม่เคยบังคับใช้อย่างจริงจังการมีอำนาจเหนือตลาดและการผูกขาดในทางปฏิบัติเกิดขึ้นในการประกอบการของไทยโดยเฉพาะที่ใหญ่ๆ ตลอดมา นับตั้งแต่เรื่องเล็กๆ เช่น จ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่ หรือสังกัดในเครือข่ายของคนมีสี เพื่อเปิดสถานบันเทิงเกินเวลาได้ ทำให้คู่แข่งที่ปิดตามเวลาไม่สามารถแข่งขันได้ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เช่น ส่วยทางหลวงซึ่งทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นโดยไม่จำเป็น รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตสาธารณูปโภคไม่ยอมกระจายการผลิตให้เอกชนที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายผลประโยชน์ของตนเอง ฉะนั้นสินบนและค่าใช้จ่ายในการสังกัดอยู่ในเครือข่ายของคนใหญ่คนโต (ไม่ใช่นักการเมืองอย่างเดียว แต่รวมข้าราชการประจำ ทั้งพลเรือนและทหาร ตลอดจนถึงกลุ่มคนมีอำนาจอื่นๆ ด้วย) จึงเป็นต้นทุนการผลิตก้อนใหญ่ ที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ฯลฯ แทนที่จะเข้าไปแทรกแซงราคา การทำให้ตลาดเสรีพอจะแข่งกันจริงและมีความเป็นธรรมย่อมช่วยลดค่าครองชีพได้อย่างเป็นผลกว่ากันมาก แต่แน่นอนว่าทำได้ไม่ง่าย เพราะจะขัดใจกับพรรคพวกของตนเอง หรือคนที่สนับสนุนการรัฐประหารจำนวนมากทีเดียว แต่หากทำได้สำเร็จ ก็จะมีผลมากกว่าลดค่าครองชีพด้วย เพราะจะบังคับให้ผู้ประกอบการไทยพยายามสร้างความสามารถในการแข่งขัน มากกว่าพยายามสร้างเส้นสาย เรื่องที่ต้องเชื่ออำนาจของตลาดก็ต้องเชื่อ แต่เรื่องที่ตลาดคุยโวว่าสามารถกำกับควบคุมตัวเองได้หมดนั้น อย่าไปเชื่อ ถึงอย่างไรรัฐก็ยังมีความจำเป็นในการควบคุมให้ตลาดมีความเสรีและเป็นธรรมอยู่นั่นเอง (ไม่ใช่เป็นธรรมระหว่างคู่แข่งทางธุรกิจอย่างเดียว ต้องรวมถึงความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค, ประชาชนทั่วไปและแรงงานด้วย) หาก คสช.คิดว่าตัวแตกต่างจากรัฐบาลไทยชุดอื่นๆ ที่ผ่านมา ต้องคิดถึงเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาทำไปแล้วและล้มเหลวไปแล้วด้วย ส่วนการตั้งแหล่งขายสินค้าราคาถูกนั้นบอกได้เลยว่ารัฐไม่มีกำลังจะทำได้หรอกครับธงฟ้าไม่เคยลดค่าครองชีพได้จริงสักรัฐบาลเดียวเพราะปริมาณของสินค้าที่ผ่านธงฟ้านั้นน้อยเสียจนไม่เกิดผลอะไร จะเห็นได้ว่าไม่มีผู้ประกอบการรายใดลดราคาสินค้าที่ธงฟ้าขายสักรายเดียว คุณประโยชน์ของธงฟ้าอยู่ที่การเมืองครับ ไม่ใช่ค่าครองชีพ คือบอกให้ประชาชนรู้ผ่านทีวีว่า รัฐบาลได้พยายามลดค่าครองชีพแล้ว พอจะลดแรงกดดันของประชาชนลงได้บ้าง สิ่งที่ควรแปลกใจกลับไม่น่าแปลกใจนักก็คือ อำนาจที่มาจากการรัฐประหารไม่อาจทำให้รัฐบาลทำอะไรเพื่อลดค่าครองชีพได้มากไปกว่า หรือแตกต่างจากรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการรัฐประหารทำสักอย่างเดียว เอาเข้าจริงรัฐบาลจากการรัฐประหารไม่เคยแตกต่างจากรัฐบาลจากการเลือกตั้งสักรัฐบาลเดียว นอกจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเท่านั้น ผมได้ยินเสมอว่า เพราะเป็นรัฐบาลจากคณะรัฐประหาร จึงสามารถทำอะไรดีๆ ได้มากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งย่อมเกรงจะเป็นปฏิปักษ์กับฐานเสียงของตนเอง จึงเลือกที่จะไม่ทำเสียเลยดีกว่า ในชีวิตที่ผ่านการรัฐประหารมา 11 ครั้งแล้วของผม ทำให้รู้แน่ว่านั่นเป็นความไร้เดียงสาเท่านั้น เพราะไปเข้าใจผิดว่ารัฐประหารเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของกองทัพเพียงอย่างเดียว ไม่มีหรอกครับ กองทัพเพียงอย่างเดียวที่ปราศจากเครือข่ายที่สลับซับซ้อนนอกกองทัพอีกมากมาย จะสามารถยึดอำนาจบ้านเมืองได้ด้วยอาวุธล้วนๆ (และเครือข่ายอันสลับซับซ้อนนี้แหละครับที่เรียกว่า "ฐานเสียง") กองทัพก็เหมือนกับพรรคการเมืองนั่นแหละ จะต่างก็ตรงที่มีอาวุธเท่านั้น พรรคการเมืองไหนๆ ก็มีเครือข่ายนอกพรรคทั้งสิ้น ซ้ำเป็นเครือข่ายที่เกาะเข้าหากันเพื่อผลประโยชน์ด้วย ไม่ได้มีอุดมการณ์อะไรที่จะดึงคนเข้ามาร่วมด้วยได้ คิดหรือว่ากองทัพมีอุดมการณ์อะไรที่สามารถดึงคนเข้ามาร่วมได้ ด้วยความเชื่อว่าอุดมการณ์นั้นๆ จะเปลี่ยนสังคมและชีวิตของตัวเขาเองไปสู่หนทางที่งดงามและมีพลังได้ กองทัพหรือพรรคการเมือง เมื่อเข้าสู่อำนาจแล้วย่อมต้องดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของเครือข่ายของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุดังนั้นผมจึงไม่ได้มีความหวังอะไรกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของกองทัพอย่างเดียวกับที่ไม่คาดหวังอะไรมากนักกับรัฐบาลของพรรคการเมืองสิ่งเดียวที่เป็นความหวังได้จริงจังกว่าคือการเคลื่อนไหวของประชาชน ในการผลักดันนโยบายสาธารณะด้วยรูปแบบต่างๆ แต่ภายใต้อำนาจรัฐประหาร การเคลื่อนไหวเหล่านั้นกลับถูกมองข้ามหรือปราบปรามอย่างรุนแรง เช่น การต่อต้านเหมืองทอง หากทำได้สำเร็จก็จะเป็นผลให้ต้องทบทวนการทำเหมืองกันใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายได้จริง แต่ประชาชนที่เคลื่อนไหวคัดค้านการทำเหมืองทองกลับเคลื่อนไหวไม่ได้ภายใต้รัฐบาลจากการรัฐประหาร ในที่สุดก็จะเกิดมาตรการแบบเดียวกับที่ทำกับค่าครองชีพออกมาและก็จะได้ผลเหมือนกันคือไม่ได้อะไรนอกจากเป็นสัญญาณว่ารัฐไม่ได้นิ่งดูดายกับผลกระทบของการทำเหมือง      เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนรายวัน 6 ตุลาคม 2557ที่มา: มติชนออนไลน์ [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63708
2016-01-26 22:24
พีมูฟ ระดมพลนั่งสมาธิ กดดันอนุฯก.พ.ร. สุดท้ายได้มติ ไร้อำนาจยุบธนาคารที่ดิน
อนุกรรมการ ก.พ.ร. ยอม เปิดทางให้สถาบันบริหารจัดการ ธนาคารที่ดินขอใช้งบ 167 ล้านบาทจาก ครม. พร้อมชงต่ออายุการทำงานของสถาบันฯ จนกว่าจะมีการจัดตั้งธนาคารที่ดิน หลังพีมูฟร่วมตัวกดดันกว่า 170 คน ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM [2] 26 ม.ค. 2559 เมื่อเวลา 09.00 ที่ สำนักงานพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) ราว 170 คน จากหลายหลากจังหวัด ได้เดินทางเข้ามาร่วมจับตาการประชุมพิจารณาว่า จะยุบเลิกการดำเนินงานของสถาบันบริหารจัดการ ธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) หรือ บจธ. ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 8 มิ.ย. 59 นี้หรือไม่ ภายใต้การพิจารณาของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา องค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับของราชการบริหารที่ไม่ใช่ส่วนราชการ (อ.ก.พ.ร.) ที่มี จักรมณฑ์ ผาสุกวานิช เป็นประธาน โดยพีมูฟได้ระดมตัวแทนสมาชิกจาก 31 จังหวัดพร้อมอัญเชิญแม่ธรณี (ดิน) จากทุกพื้นที่พร้อมด้วยแม่โพสพ มาทำพิธีบวงสรวงแสดงความคาระวะต่อผืนแผ่นดินที่หล่อเลี้ยงชีวิตเกษตรกร ได้อยู่อาศัยและทำกิน มีการแสดงละครพิพากษาชะตาชีวิตเกษตรกร และนั่งสมาธิท่ามกลางเปลวแดดที่ร้อนระอุ เพื่อส่งกระแสจิตไปยังห้องประชุม ก.พ.ร. เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ต่อมาในเวลา 12.00 น. สถิตพงษ์ สุดชูเกียรติ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ได้ออกมาชี้แจงต่อกลุ่มพีมูฟ ที่รวมตัวกันเพื่อติดตามผลการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเกี่ยวกับสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน(บ.จ.ท.) 3 เรื่องดังนี้ 1.คณะอนุกรรมการของ ก.พ.ร. ชุดนี้ไม่มีอำนาจในการพิจารณายุบ บ.จ.ท.  เนื่องจากต้องรอการแต่งตั้งคณะกรรมการ ก.พ.ม. ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในการขั้นตอนการรอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ลงพระปรมาภิไธยให้คณะกรรมการชุดดังกล่าว 2.เรื่องงบประมาณ 167 ล้าน ของสถาบันฯ ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง บ.จ.ท. แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ให้สถาบันฯธนาคารที่ดิน ดำเนินการส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติการใช้งบประมาณดังกล่าว โดยทางคณะอนุกรรมการฯนี้จะไม่ขัดขวาง 3.การต่ออายุของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินที่จะมีอายุถึงวันที่ 8 มิ.ย. 2559 บ.จ.ท. จะต้องทำเรื่องไปยัง ค.ร.ม. เพื่อแก้ไขพระราชกำหนดให้ต่ออายุสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินจนกว่าจะมี การจัดตั้งธนาคารที่ดินแล้วเสร็จ โดยขณะนี้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินได้ดำเนินการร่าง พ.ร.บ. ธนาคารที่ดินแล้ว และจะดำเนินการต่อไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งธนาคารที่ดิน
0neg
1pos
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/31942
2010-11-17 21:56
กรรมการสิทธิ 5 ประเทศออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า
เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 53 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิฯ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ เลสเต้ ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า โดยมีรายละเอียดดังนี้     คณะกรรมการสิทธิฯ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ เลสเต้   ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า   ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมแถลงการณ์ กับหัวหน้าคณะผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอีก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ เลสเต้ เกี่ยวกับการที่ ออง ซาน ซู จี และสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า ในระหว่างการประชุมประจำปี ครั้งที่ 7 มีสาระสำคัญดังนี้   การปล่อยตัว ออง ซาน ซู จี เป็นอิสระถือเป็นชัยชนะเพียงบางส่วนของการต่อสู้อันยาวนานเพื่อประชาธิปไตยในพม่า และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองอื่นๆ   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 ประเทศประกาศที่จะร่วมมือกัน เพื่อให้มีการคุ้มครองเสรีภาพของออง ซาน ซู จี อย่างไม่มีเงื่อนไข และเห็นว่า รัฐบาลพม่าควรประกันว่า ไม่ควรมีการจับกุมบุคคล ตามอำเภอใจ กักขัง หรือถูกผลักดันให้ออกนอกประเทศ และควรคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล ชนพื้นเมืองดั้งเดิม และชนกลุ่มน้อย   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 ประเทศ สนับสนุนกระบวนการหารือเพื่อสันติภาพ ระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อสร้างประชาธิปไตยและมีการปกครองโดยหลักนิติธรรม ออง ซาน ซูจี และประชาชนทุกกลุ่มควรได้รับโอกาสให้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองที่เป็นธรรม โดยไม่มีการข่มขู่ทำร้าย   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 ประเทศหวังว่า พม่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นธรรม ตามกำหนดเวลา เพื่อสนองตอบเจตนารมณ์ของประชาชนในพม่า เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน   นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเข้าร่วมการประชุมด้วย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้ง 5 ประเทศ ในนามของ SEANF ได้แสดงท่าทีร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพต่อกรณีการปล่อยตัวของ ออง ซาน ซู จี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ตกลงให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมเพื่อยกร่างแผนยุทธศาสตร์ ในเดือนมกราคม 2554 ต่อไป   16 พฤศจิกายน 2553   หมายเหตุ :   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติของไทย (กสม.) มาเลเซีย (SUHAKAM) ฟิลิปปินส์ (CHRP) และอินโดนีเซีย (Komnas HAM) จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันในนามของ The South East Asia National Human Rights Institutions Forum (SEANF) โดยการประชุมครั้งที่ 7 จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2553   ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เข้าร่วมประชุมได้แก่ ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
1pos
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/53639
2014-05-29 19:56
คสช.ปล่อยตัวเพิ่มเติม 31 คน รวม 'นิวัฒน์ธำรง-สุรนันทน์-สุรพงษ์-สนธิ'
คสช.ทยอยปล่อยตัว "นิวัฒน์ธำรง - สุรนันทน์ - สุรพงษ์ - สนธิ" และอดีต ส.ส.พท.-ปชป. ออกจากสโมสร ทบ. เทเวศร์ แล้ว หลังใช้กฎอัยการศึกควบคุมตัว ขณะมีเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวการเมือง    29 พ.ค. 2557 เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. ที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวตามประกาศของ คสช. จำนวน 31 คน อาทิ   นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี  นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายโภคิน พลกุล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายสันติ พร้อมพัฒน์ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล น.ส.ศุภรัตน์ นาคบุญนำ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ นายอดิศร เพียงเกษ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ นายวรชัย เหมะ นายประชา ประสพดี นายวรวัจน์ เอื้อภิญญกุล นายปลอดประสพ สุรัสวดี นายจิรายุ ห่วงทรัพย์   ซึ่งก่อนที่จะปล่อยตัว เจ้าหน้าที่ได้ทำประวัติ ลงนาม บันทึกที่อยู่ และสร้างความเข้าใจร่วมกัน รวมถึงขอให้ไม่แสดงความคิดเห็นทางการเมือง   ขณะที่เมื่อเวลา 15.20 น. นายแทนคุณ จิตต์อิสระ หรือ "อี้" อดีต ส.ส.เขตดอนเมือง พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางออกจากหอประชุมกองทัพบกด้วยรถตู้ โดยเปิดประตูรถทักทายผู้สื่อข่าว ขณะที่ผู้สื่อข่าวสอบถามนายแทนคุณว่า "คสช. ปล่อยตัวแล้วขึ้นศาลที่ไหนรึเปล่าคะ" นายแทนคุณตอบกลับมาพร้อมรอยยิ้มว่า "กลับบ้านเลยครับ"   รวบรวมจาก: ไทยรัฐออนไลน์ [1], ทีนิวส์ [2], สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ [3], มติชนออนไลน์ [4]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63374
2016-01-08 16:18
5 คนทริปรถไฟส่องราชภักดิ์ ไปสน.แต่ไม่รายงานตัว ยันไม่ผิดและไม่หลบหนี
‘จ่านิว’ นำทีมเพื่อนรวม 5 คน ที่ถูกหมายเรียกจากกรณีจัดทริปไปราชภักดิ์เมื่อ 7 ธ.ค.มาสถานีตำรวจแถลงข่าว ไม่ผิด ไม่หนี ไม่รายงานตัว เป็นหน้าที่พลเมืองต้องตรวจสอบผู้มีอำนาจ ส่วนอีก 6 คนมาตามหมายแล้วก่อนหน้า ด้าน ‘ไผ่ ดาวดิน’ เพิ่งลาสิกขา ทราบข่าวคดี ชี้ “เป็นเรื่องไร้สาระ” 8 ม.ค.2559 เมื่อเวลาประมาณ 13.55 น. กลุ่ม 'ส่องทุจริตราชภักดิ์' 5 คนเดินทางมาถึงหน้าสถานีตำรวจรถไฟธนบุรี เพื่อเข้าไปรับทราบข้อกล่าวหาในสถานีตำรวจ โดยมีประชาชนจำนวนหนึ่งรวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยมารอมอบดอกไม้ให้กำลังใจด้วย นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาจากกลุ่มดาวดินหลายคนเดินทางมาร่วมให้กำลังใจ โดยนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องตอนเพื่อนถูกจับเพราะบวชอยู่ แต่พอสึกแล้วได้ทราบข่าวรู้สึกว่าเป็นเรื่องไร้สาระมาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำรวจได้ออกหมายเรียก 11 คนที่ทำกิจกรรมนั่งรถไฟ ไปราชภักดิ์เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2558 ให้มารายงานตัว ก่อนหน้านี้ซึ่งมีผู้มารายงานตัวแล้ว 6 คน อีก 5 คนที่เหลือแม้เดินทางมาสถานีตำรวจแต่ยืนยันว่าจะไม่เข้ารายงานตัว พวกเขาระบุว่าสิ่งที่ทำไม่ผิด การตรวจสอบอำนาจที่ไม่ชอบมาพากลเป็นสิ่งที่พลเมืองต้องทำ และการตรวจสอบคอร์รัปชันที่ผ่านมา กรณีของ กปปส. ไม่เคยมีใครถูกดำเนินคดีเพราะการตรวจสอบ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ กล่าวว่า “ที่เราหลายๆ ฝ่ายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นต้องต่อต้านบนมาตรฐานเดียวกัน และผู้ที่จะไปตรวจสอบนั้นต้องได้รับการคุ้มครองมิใช่ถูกฟ้องร้องคดีความเหมือนวันนี้ วันนี้ผมขอยืนยันว่าสิ่งที่เราทำในวันที่ 7 นั้นมิใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย หากเป็นสิ่งที่เราในฐานะพลเมืองของรัฐพึงกระทำ ในฐานะที่เราอยู่ในสังคมนี้เราจะไม่ปล่อยให้ใครก็ตามที่ทำการทุจริตคอร์รัปชันลอยหน้าลอยนวลอยู่ในสังคมนี้ได้ และเราจะขอปฏิเสธกระบวนการทุกอย่างที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีคนที่จะไปตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชัน” ชลธิชา แจ้งเร็ว กล่าวว่า “เราอยากรู้เหมือนกันว่าเพราะอะไรทำไมเราถูกตั้งข้อกล่าวหาแบบนี้ ทั้งที่สิ่งที่เราทำเป็นการทวงคืนสิทธิเสรีภาพให้กลับคืนมาในสังคมไทย เป็นการที่เราต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ ตรวจสอบคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น แต่ปรากฏว่าสิ่งต่างๆ ที่เรากระทำถูกตั้งข้อกล่าวหา วันนี้เรายังยืนยันเหมือนเดิมว่า ประชาชนทุกคนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางบริหารประเทศด้วยตัวเอง และเกดยังยืนยันว่าวันนี้เกดก็จะเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบ คสช.ที่ยึดอำนาจมา” อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ กล่าวว่า “ยังสงสัยว่าทำไมเราต้องเป็นฝ่ายถูกกระทำตลอด ทั้งที่เรามาแสดงเจตจำนงในการเป็นประชาชน เราต้องการส่งเสริมการตรวจสอบในภาคประชาชน มีรัฐมนตรีบางท่านบอกว่าการตรวจสอบไม่ใช่หน้าที่ของนักศึกษา ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชน เพราะมีองค์กรตรวจสอบอยู่แล้ว แสดงว่าท่านไม่ได้เข้าใจระบบการตรวจสอบในภาคประชาชนเลย การเมืองจะเข้มแข็งได้ต้องส่งเสริมการมีส่วนรวมของภาคประชาชน แต่ที่ผ่านมารัฐบาลทำให้เราเห็นแล้วว่า คนตรวจสอบกลับเป็นคนผิด แล้วก็จะมีคำถามจากอีกฝ่ายว่า จำนำข้าวทำไมคุณไม่ตรวจสอบ ผมมองว่าตรงนั้นมันอยู่ในกระบวนการของกฎหมายอยู่แล้ว แล้วที่ผ่านมาไม่มีใครตรวจสอบจำนำข้าวแล้วโดนดำเนินคดีเลยซักคนเดียว กลับกันกับราชภักดิ์ คนตรวจสอบกลับโดนดำเนินคดี โดนควบคุมตัวมาโดยตลอด ก็เลยคิดว่าครั้งนี้มันน่าสงสัยหรือเปล่า คุณกำลังปกปิดความผิดอะไรหรือเปล่า จึงเกรงกลัวต่อการตรวจสอบ วันนี้เรามาแสดงตัวเพื่อยืนยันให้เห็นว่าเราไม่ผิด เราไม่มีเจตนาหลบหนี เรามาด้วยเจตนาบริสุทธิ์” ชนกนันท์ รวมทรัพย์ กล่าวว่า “วันที่ถูกควบคุมตัวเจ้าหน้าที่เขาบอกว่าจะไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีใดๆ ทั้งสิ้น เราก็โอเคตามนั้น แต่หลังจากนั้นมาก็ได้รับหมาย มันทำให้เห็นว่า การส่งหมายมาในภายหลัง เขากำลังจะทำให้การตรวจสอบคอร์รัปชันกลายเป็นอาชญากรรม อาจเป็นการปกปิดคอร์รัปชัน ทำให้ผู้ตรวจสอบกลายเป็นอาชญากร เรามาตรงนี้เพราะต้องการมายืนยันว่า การตรวจสอบคอร์รัปชันไม่ใช่อาชญากรรม และพวกเราไม่ใช่อาชญากร” กรกช แสงเย็นพันธ์ กล่าวว่า “ที่พวกเราไปทำกิจกรรมตรวจสอบอุทยานราชภักดิ์นั้น พวกเราต้องการแสดงให้เห็นว่า แม้ประเทศนี้จอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ แต่ก็มีเสรีภาพและความโปร่งใส พวกผมแม้ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบโดยตรง แต่พวกผมมีหน้าที่ตอบลูกหลานในอนาคตว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร แล้วพวกผมจะทำยังไงในเมื่อไปตรวจสอบแล้วถูกดำเนินคดีแบบนี้ เราจะตอบลูกหลานเราในอนาคตยังไงว่าเกิดการทุจริตแล้วเรากลับนิ่งเฉย เราจะปล่อยให้ลูกหลานของเราเติบโตในสังคมเช่นนี้หรือ” หลังการแถลงข่าวและให้กำลังใจ เวลาประมาณ 15.30 น. ทั้งหมดก็แยกย้ายออกจากสถานีตำรวจ 000 แถลงการณ์ผู้ได้รับหมายเรียกจากการเข้าร่วมกิจกรรมนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558  พวกเราได้เข้าร่วมกิจกรรม “นั่งรถไฟ ไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง” เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อความไม่โปร่งใสและการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ สิ่งที่พวกเรากระทำเป็นเสรีภาพที่ประชาชนพึงมีตามระบอบประชาธิปไตย ในการที่จะตรวจสอบและตั้งคำถามต่อการดำเนินการต่างๆ ของภาครัฐว่าเป็นไปโดยสุจริต อีกทั้งยังเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนด้วยกันเอง ให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าเงินที่พวกเขาเสียสละให้ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจจะถูกนำไปใช้ตรงตามความมุ่งหมายอย่างแท้จริง แต่สิ่งที่พวกเราได้รับกลับเป็นการแจ้งข้อหาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้ซึ่งมีส่วนรับผิดชอบต่อโครงการอุทยานราชภักดิ์ โดยอาศัยคำสั่งที่ คสช. เป็นผู้ออกเองและกระบวนการยุติธรรมที่อยู่ภายใต้การครอบงำของ คสช.ทั้งหมด นี่หรือคือรางวัลที่พวกผู้ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันสมควรจะได้รับ? พวกเราขอยืนยันว่าสิ่งที่พวกเรากระทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย และกระบวนการยุติธรรมที่คสช.หยิบยื่นให้พวกเราล้วนแต่เป็นกลไกของระบอบเผด็จการ พวกเราจึงไม่ขอเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวโดยเด็ดขาด ในวันนี้ พวกเรามายังสถานีตำรวจแห่งนี้ไม่ใช่เพื่อรายงานตัว แต่เพื่อยืนยันว่าพวกเราจะไม่หนีไปไหนและจะขอดำเนินกิจกรรมเพื่อตรวจสอบและต่อต้านเผด็จการต่อไป หากจะจับกุมตัวพวกเราก็เชิญกระทำได้ พวกเราพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความอยุติธรรม เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รู้ว่าธาตุแท้ของเผด็จการนั้นเป็นเช่นไร ผู้ได้รับหมายเรียกจากการร่วมกิจกรรมนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ กรกช แสงเย็นพันธ์ ชนกนันท์ รวมทรัพย์ ชลธิชา แจ้งเร็ว อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ 8 มกราคม 2559
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg

Dataset Card for prachathai67k

Dataset Summary

prachathai-67k: News Article Corpus and Multi-label Text Classificdation from Prachathai.com

The prachathai-67k dataset was scraped from the news site Prachathai. We filtered out those articles with less than 500 characters of body text, mostly images and cartoons. It contains 67,889 articles wtih 12 curated tags from August 24, 2004 to November 15, 2018. The dataset was originally scraped by @lukkiddd and cleaned by @cstorm125. Download the dataset here. You can also see preliminary exploration in exploration.ipynb.

This dataset is a part of pyThaiNLP Thai text classification-benchmarks. For the benchmark, we selected the following tags with substantial volume that resemble classifying types of articles:

  • การเมือง - politics
  • สิทธิมนุษยชน - human_rights
  • คุณภาพชีวิต - quality_of_life
  • ต่างประเทศ - international
  • สังคม - social
  • สิ่งแวดล้อม - environment
  • เศรษฐกิจ - economics
  • วัฒนธรรม - culture
  • แรงงาน - labor
  • ความมั่นคง - national_security
  • ไอซีที - ict
  • การศึกษา - education

Supported Tasks and Leaderboards

multi-label text classification, language modeling

Languages

Thai

Dataset Structure

Data Instances

{'body_text': '17 พ.ย. 2558 Blognone [1] รายงานว่า กลุ่มแฮคเกอร์ Anonymous ประกาศสงครามไซเบอร์กับกลุ่มหัวรุนแรงหลังจากกลุ่ม IS ออกมาประกาศว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีกรุงปารีสในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา\n\n\nภาพในคลิปใน YouTube โฆษกของกลุ่มแฮคเกอร์สวมหน้ากากที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มได้ออกมาอ่านแถลงเป็นภาษาฝรั่งเศส มีใจความว่า จากการโจมตีของกลุ่ม IS ในกรุงปารีส กลุ่ม Anonymous ทั่วโลกจะตามล่ากลุ่ม IS เหมือนที่เคยทำตอนที่มีการโจมตีสำนักพิมพ์ Charlie Hebdo และครั้งนี้จะเป็นปฏิบัติการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดของกลุ่ม Anonymous เลย นอกจากนี้กลุ่ม Anonymous ยังแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์ครั้งนี้\nกลุ่ม Anonymous เคยประกาศสงครามกับกลุ่ม IS หลังจากการโจมตีสำนักพิมพ์ Charlie Hebdo ที่ฝรั่งเศสเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้นกลุ่ม Anonymous อ้างว่าได้ระงับบัญชีผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ IS ไปหลายพันบัญชี (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม จากBlognone ที่\xa0\xa0กลุ่มแฮคเกอร์ Anonymous ประกาศสงครามไซเบอร์ขอกวาดล้างพวก ISIS [2])', 'culture': 0, 'date': '2015-11-17 18:14', 'economics': 0, 'education': 0, 'environment': 0, 'human_rights': 0, 'ict': 1, 'international': 1, 'labor': 0, 'national_security': 0, 'politics': 0, 'quality_of_life': 0, 'social': 0, 'title': 'แฮคเกอร์ Anonymous ลั่นทำสงครามไซเบอร์ครั้งใหญ่สุดกับกลุ่ม IS', 'url': 'https://prachatai.com/print/62490'} {'body_text': 'แถลงการณ์\n\n\xa0\n\nองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์\n\n\xa0\n\nมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งขึ้นภายใต้แนวคิดการให้การศึกษากับประชาชนเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังเป็นสถาบันหนึ่งที่อยู่เคียงข้างประชาชนมาโดยตลอด\n\n\xa0\n\nสถานการณ์สังคมไทยปัจจุบันได้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ทางแนวคิด จนลุกลามเป็นวิกฤตการณ์อันหาทางออกได้ยากยิ่ง องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอร้องเรียนและเสนอแนะต่อทุกฝ่าย โดยยึดหลักแนวทางตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งผ่านการประชามติจากปวงชนชาวไทยเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้วดังต่อนี้\n\n\xa0\n\n๑.การชุมชมโดยสงบและปราศจากอาวุธย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แต่หากการชุมนุมและเคลื่อนไหวของกลุ่มใดๆ มีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลและส่วนรวมนั้น ไม่สามารถกระทำได้ การใช้ความรุนแรง การกระทำอุกอาจต่างๆ ทั้งต่อบุคคลและทรัพย์สิน การยั่วยุ ปลุกระดมเพื่อหวังผลในการปะทะต่อสู้ จึงควรได้รับการกล่าวโทษ\n\n\xa0\n\nดังนั้นทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จึงควรยอมรับกระบวนการตามกฎหมาย และหากถูกกล่าวหาไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ควรพิสูจน์ความบริสุทธิ์โดยใช้กระบวนการยุติธรรม และหากจะยังชุมนุมต่อไปก็ยังคงทำได้ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย\n\n\xa0\n\nองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงร้องขอให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายกับการกระทำที่ผิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ทุกฝ่ายได้กระทำไป\n\n\xa0\n\n๒.นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ไม่มีความเหมาะสมในการบริหารราชการแผ่นดินขาดหลักธรรมาภิบาล แต่ทั้งนี้นายสมัคร สุนทรเวช ยังคงยืนยันและกล่าวอ้างความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่คำนึงถึงกระแสเรียกร้องใดๆ อันส่งผลให้ความขัดแย้งทางสังคมยิ่งบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตการณ์เช่นปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศแนวโน้มจะคลี่คลาย\n\n\xa0\n\nองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเห็นว่า ควรใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๖๔ โดยการเข้าชื่อเพื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้มีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนนายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๗๐ ณ ลานโพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ อาคารปิยชาติ และตึกกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต\n\n\xa0\n\n\xa0\n\nด้วยความสมานฉันท์\n\nองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์', 'culture': 0, 'date': '2008-09-06 03:36', 'economics': 0, 'education': 0, 'environment': 0, 'human_rights': 0, 'ict': 0, 'international': 0, 'labor': 0, 'national_security': 0, 'politics': 1, 'quality_of_life': 0, 'social': 0, 'title': 'แถลงการณ์ อมธ.แนะใช้สิทธิ ตาม รธน.เข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาถอดถอน "สมัคร" จากตำแหน่งนายกฯ', 'url': 'https://prachatai.com/print/18038'}

Data Fields

  • url: url of the article
  • date: date the article was published
  • title: title of the article
  • body_text: body text of the article
  • politics: 1 if sample has this tag else 0
  • human_rights: 1 if sample has this tag else 0
  • quality_of_life: 1 if sample has this tag else 0
  • international: 1 if sample has this tag else 0
  • social: 1 if sample has this tag else 0
  • environment: 1 if sample has this tag else 0
  • economics: 1 if sample has this tag else 0
  • culture: 1 if sample has this tag else 0
  • labor: 1 if sample has this tag else 0
  • national_security: 1 if sample has this tag else 0
  • ict: 1 if sample has this tag else 0
  • education: 1 if sample has this tag else 0

Data Splits

train valid test
# articles 54379 6721 6789
politics 31401 3852 3842
human_rights 12061 1458 1511
quality_of_life 9037 1144 1127
international 6432 828 834
social 6321 782 789
environment 6157 764 772
economics 3994 487 519
culture 3279 388 398
labor 2905 375 350
national_security 2865 339 338
ict 2326 285 292
education 2093 248 255

Dataset Creation

Curation Rationale

The data was scraped from the news site Prachathai from August 24, 2004 to November 15, 2018. The initial intention was to use the dataset as a benchmark for Thai text classification. Due to the size of the dataset, it can also be used for language modeling.

Source Data

Initial Data Collection and Normalization

67,889 articles wtih 51,797 tags were scraped from the news site Prachathai from August 24, 2004 to November 15, 2018. We filtered out those articles with less than 500 characters of body text, mostly images and cartoons.

Who are the source language producers?

Prachathai.com

Annotations

Annotation process

Tags are annotated for the news website Prachathai.com

Who are the annotators?

We assume that the reporters who wrote the articles or other Prachathai staff gave each article its tags.

Personal and Sensitive Information

We do not expect any personal and sensitive information to be present since all data are public news articles.

Considerations for Using the Data

Social Impact of Dataset

  • classification benchmark for multi-label Thai text classification

Discussion of Biases

Prachathai.com is a left-leaning, human-right-focused news site, and thus unusual news labels such as human rights and quality of life. The news articles are expected to be left-leaning in contents.

Other Known Limitations

Dataset provided for research purposes only. Please check dataset license for additional information.

Additional Information

Dataset Curators

PyThaiNLP

Licensing Information

CC-BY-NC

Citation Information

@misc{prachathai67k, author = {cstorm125, lukkiddd }, title = {prachathai67k}, year = {2019}, publisher = {GitHub}, journal = {GitHub repository}, howpublished={\url{https://github.com/PyThaiNLP/prachathai-67k}}, }

Contributions

Thanks to @cstorm125 for adding this dataset.

Downloads last month
221

Models trained or fine-tuned on prachathai67k