|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
32,0036,001,ดังนี้ว่า ข้าพระองค์ซื้ออารามชื่อ โสภณ ด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง ได้สร้างจน
|
|
32,0036,002,เสร็จด้วยทรัพย์เท่านั้นเหมือนกัน ขอได้โปรดทรงรับเถิดพระมุนี ด้วยการ
|
|
32,0036,003,ถวายอารามนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เมื่อข้าพระองค์เกิดอยู่ในภพ ย่อม
|
|
32,0036,004,ได้สิ่งที่ปรารถนา พระสัมพุทธเจ้าทรงรับสังฆารามที่ข้าพระองค์สร้างเสร็จ
|
|
32,0036,005,แล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ผู้ใดได้ถวาย
|
|
32,0036,006,สังฆารามที่สร้างสำเร็จแล้วแด่พระพุทธเจ้า เราจะพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน
|
|
32,0036,007,ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว จตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลราบ
|
|
32,0036,008,จะแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม ดนตรีหกหมื่น
|
|
32,0036,009,และเภรีอันประดับประดาสวยงาม จะแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิจ นี้เป็นผล
|
|
32,0036,010,แห่งการถวายสังฆาราม นางนารีแปดหมื่นหกพัน อันตกแต่งงดงาม มีผ้า
|
|
32,0036,011,และอาภรณ์อันวิจิตร สวมสอดแก้วมณีและกุณฑล มีหน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม
|
|
32,0036,012,ตะโพกผึ่งผาย เอวเล็กเอวบาง จะแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่ง
|
|
32,0036,013,การถวายสังฆาราม ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ตลอดสามหมื่นกัลป
|
|
32,0036,014,จักเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง จักได้ของทุกอย่างที่
|
|
32,0036,015,ท้าวเทวราชจะพึงได้ จักเป็นผู้มีโภคสมบัติไม่รู้จักพร่อง เสวยเทวราชสมบัติ
|
|
32,0036,016,อยู่ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในแว่นแคว้นพันครั้ง จักเป็นพระราชาอัน
|
|
32,0036,017,ไพบูลย์ในแผ่นดินโดยจะคณานับไม่ถ้วน ในแสนกัลป พระศาสดาพระนาม
|
|
32,0036,018,ว่า โคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จ
|
|
32,0036,019,อุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสผู้รับ
|
|
32,0036,020,มรดกในธรรม อันธรรมนิรมิต มีนามชื่อว่า อุบาลี จักถึงที่สุดในพระวินัย
|
|
32,0036,021,ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะ ดำรงพระศาสนาของพระชินเจ้า ไม่มีอาสวะอยู่
|
|
32,0036,022,พระโคดมศากยบุตรผู้ประเสริฐ ได้ทรงทราบข้อนี้ทั้งสิ้นแล้วประทับนั่งใน
|
|
32,0036,023,ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ จักทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะสถาน ข้าพระองค์อาศัยบุญกุศล
|
|
32,0036,024,อันประมาณมิได้ ย่อมปรารถนา (ว่าพึงเป็นภิกษุผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ทรง
|
|
32,0036,025,พระวินัย) ในศาสนาของพระองค์ ประโยชน์ คือ ความสิ้นสังโยชน์
|
|
|