|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
25,0044,001,มีโทสะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจาก
|
|
25,0044,002,โทสะ ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโมหะ
|
|
25,0044,003,เป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะ
|
|
25,0044,004,ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็น
|
|
25,0044,005,โทษ เพราะเหตุนั้นแลทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา
|
|
25,0044,006,ย่อมมีผลมาก ฯ
|
|
25,0044,007,จบตัณหาวรรคที่ ๒๔
|
|
25,0044,008,คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
|
|
25,0044,009,[๓๕] ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี ความ
|
|
25,0044,010,สำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี ความ
|
|
25,0044,011,สำรวมด้วยกายเป็นความดี ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความ
|
|
25,0044,012,สำรวมด้วยใจเป็นความดีความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุ
|
|
25,0044,013,ผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ
|
|
25,0044,014,สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ภายใน มีจิตตั้งมั่น
|
|
25,0044,015,อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ ภิกษุใด
|
|
25,0044,016,สำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถ
|
|
25,0044,017,และธรรมภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี
|
|
25,0044,018,แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
|
|
25,0044,019,ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึงเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะ
|
|
25,0044,020,ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภ
|
|
25,0044,021,น้อยก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
|
|
25,0044,022,ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนาม
|
|
25,0044,023,รูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มี
|
|
25,0044,024,อยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใส
|
|
|