|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
21,0045,001,ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
|
|
21,0045,002,อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน
|
|
21,0045,003,อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนา
|
|
21,0045,004,เป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความ
|
|
21,0045,005,เกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
|
|
21,0045,006,เป็นดังนี้ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ความดับ
|
|
21,0045,007,แห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
|
|
21,0045,008,ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลายสมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
|
|
21,0045,009,อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้วในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
|
|
21,0045,010,ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะ
|
|
21,0045,011,รู้ความสูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือ
|
|
21,0045,012,ความโกรธ เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง
|
|
21,0045,013,เรากล่าวว่า ข้าม ชาติและชราได้แล้ว ฯ
|
|
21,0045,014,จบสูตรที่ ๑
|
|
21,0045,015,ปัญหาสูตร
|
|
21,0045,016,[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ปัญหา
|
|
21,0045,017,ที่พึงพยากรณ์โดยส่วนเดียวมีอยู่ ๑ ปัญหาที่พึงจำแนกพยากรณ์มีอยู่ ๑ ปัญหาที่ต้องสอบถามแล้ว
|
|
21,0045,018,พยากรณ์มีอยู่ ๑ ปัญหาที่ควรงดมีอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง นี้แล ฯ
|
|
21,0045,019,๑. กล่าวแก้โดยส่วนเดียว ๒. จำแนกกล่าวแก้ ๓. ย้อน
|
|
21,0045,020,ถาม กล่าวแก้ ๔. การงดกล่าวแก้ อนึ่ง ภิกษุใดย่อมรู้ความ
|
|
21,0045,021,สมควรแก่ธรรมในฐานะนั้นๆ แห่งปัญญาเหล่านั้น บัณฑิต
|
|
21,0045,022,ทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้นว่า เป็นผู้ฉลาดต่อปัญหาทั้ง ๔
|
|
21,0045,023,ภิกษุผู้ที่ใครๆ ไล่ปัญหาได้ยาก ครอบงำได้ยาก เป็นผู้ลึก
|
|
21,0045,024,ซึ้งให้พ่ายแพ้ได้ยาก และเป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์ทั้ง ๒
|
|
21,0045,025,คือ ทั้งในด้านเจริญและในด้านเสื่อม ย่อมเป็นผู้ฉลาดงด
|
|
|