|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
30,0033,001,ปุณณกมาณวกปัญหานิทเทส
|
|
30,0033,002,ว่าด้วยปัญหาของท่านปุณณกะ
|
|
30,0033,003,[๑๑๖] (ท่านปุณณกะทูลถามดังนี้ว่า)
|
|
30,0033,004,ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้
|
|
30,0033,005,ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล. ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์
|
|
30,0033,006,และพราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้อาศัยอะไร จึงพากัน
|
|
30,0033,007,แสวงหายัญให้แก่เทวดาทั้งหลาย? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
|
|
30,0033,008,ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหา
|
|
30,0033,009,นั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
|
|
30,0033,010,[๑๑๗] คำว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล ความว่า ตัณหา ราคะ
|
|
30,0033,011,สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า ความหวั่นไหว. ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหว
|
|
30,0033,012,นั้น พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละขาดแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน
|
|
30,0033,013,ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่มี
|
|
30,0033,014,ความหวั่นไหว. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าอเนชะ เพราะพระองค์ทรงละตัณหาเครื่องหวั่นไหวขาดแล้ว
|
|
30,0033,015,ย่อมไม่ทรงหวั่นไหวเพราะลาภ แม้เพราะความเสื่อมลาภ แม้เพราะยศ แม้เพราะความเสื่อมยศ
|
|
30,0033,016,แม้เพราะสรรเสริญ แม้เพราะนินทา แม้เพราะสุข แม้เพราะทุกข์ ... ไม่หวั่น ไม่ไหว
|
|
30,0033,017,ไม่คลอนแคลน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อเนชะ.
|
|
30,0033,018,คำว่า มูลทสฺสาวี ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล คือ ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็น
|
|
30,0033,019,นิทาน ทรงเห็นสมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรงเห็นอาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็นปัจจัย
|
|
30,0033,020,ทรงเห็นสมุทัย. อกุศลมูล ๓ คือ โลภะอกุศลมูล ๑ โทสะอกุศลมูล ๑ โมหะอกุศลมูล ๑.
|
|
30,0033,021,สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเกิดขึ้น
|
|
30,0033,022,แห่งกรรม ๓ ประการนี้ คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์
|
|
|