|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
30,0030,001,คำว่า ทราบแล้ว ความว่า ทราบ คือ รู้ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง
|
|
30,0030,002,แล้ว คือ ทราบ ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...
|
|
30,0030,003,ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
|
|
30,0030,004,เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
|
|
30,0030,005,อีกอย่างหนึ่ง ทราบ ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ...
|
|
30,0030,006,เป็นโรค ... เป็นดังหัวผี ... เป็นลูกศร ฯลฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องออกไป.
|
|
30,0030,007,คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับราคะ โทสะ โมหะ ... มทะ
|
|
30,0030,008,ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความ
|
|
30,0030,009,เดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง.
|
|
30,0030,010,คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม ๗ ประการ ฯลฯ ภิกษุนั้น ...
|
|
30,0030,011,อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ... ทราบแล้ว ดับแล้ว.
|
|
30,0030,012,"[๑๑๑] คำว่า ตสฺส ในอุเทศว่า ""ตสฺส โน สนฺติ อิฺชิตา"" ความว่า พระอรหันต"
|
|
30,0030,013,ขีณาสพไม่มีความหวั่นไหว คือ ความหวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความ
|
|
30,0030,014,หวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะกรรม. ความหวั่นไหว
|
|
30,0030,015,เหล่านี้ย่อมไม่มี ได้แก่ ไม่ปรากฎ ไม่ประจักษ์ แก่ภิกษุนั้น คือความหวั่นไหวเหล่านี้ภิกษุนั้น
|
|
30,0030,016,ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ไม่อาจเกิดขึ้นอีก เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น
|
|
30,0030,017,จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นไม่มีความหวั่นไหวทั้งหลาย.
|
|
30,0030,018,"[๑๑๒] คำว่า ที่สุด ในอุเทศว่า ""โส อุภนฺตมภิฺาย มชฺเฌ มนฺตา น ลิมฺปติ"""
|
|
30,0030,019,ดังนี้ ความว่า ผัสสะเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง เหตุให้เกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่สอง ความดับผัสสะ
|
|
30,0030,020,เป็นท่ามกลาง อดีตเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดที่สอง ปัจจุบัน เป็นท่ามกลาง
|
|
30,0030,021,สุขเวทนาเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่สอง อทุกขมสุขเวทนาเป็นท่ามกลาง
|
|
30,0030,022,นามเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดที่สอง วิญญาณเป็นท่ามกลาง อายตนะภายใน ๖ เป็น
|
|
30,0030,023,ส่วนสุดข้างหนึ่ง อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่สอง วิญญาณเป็นท่ามกลาง สักกายะเป็น
|
|
30,0030,024,ส่วนสุดข้างหนึ่ง เหตุให้เกิดสักกายะเป็นส่วนสุดที่สอง ความดับสักกายะเป็นท่ามกลาง.
|
|
30,0030,025,ปัญญา ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ปัญญาอันเห็น
|
|
30,0030,026,ชอบ เรียกว่า มันตา.
|
|
30,0030,027,ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดเพราะตัณหา ๑ ความติดเพราะทิฏฐิ ๑ ชื่อว่า เลปา.
|
|
30,0030,028,ความติดเพราะตัณหาเป็นไฉน? การทำเขต การทำแดน การทำส่วน การทำความกำหนด
|
|
|