|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0004,001,๓. พระสมณโคดม ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติ
|
|
09,0004,002,ห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.
|
|
09,0004,003,[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
|
|
09,0004,004,๔. พระสมณโคดม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์
|
|
09,0004,005,มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.
|
|
09,0004,006,๕. พระสมณโคดม ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไป
|
|
09,0004,007,บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้
|
|
09,0004,008,คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง
|
|
09,0004,009,ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน
|
|
09,0004,010,กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน.
|
|
09,0004,011,๖. พระสมณโคดม ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ
|
|
09,0004,012,เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ.
|
|
09,0004,013,๗. พระสมณโคดม ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำ
|
|
09,0004,014,ที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด
|
|
09,0004,015,ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.
|
|
09,0004,016,[๕] ๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม
|
|
09,0004,017,[๖] ๙. พระสมณโคดม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
|
|
09,0004,018,๑๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น
|
|
09,0004,019,อันเป็นข้าศึกแก่กุศล.
|
|
09,0004,020,๑๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตบแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้
|
|
09,0004,021,ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
|
|
09,0004,022,๑๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่.
|
|
09,0004,023,๑๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
|
|
|