|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0016,001,ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ
|
|
06,0016,002,ปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
|
|
06,0016,003,ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระ
|
|
06,0016,004,ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะและโลหิตกะ
|
|
06,0016,005,ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
|
|
06,0016,006,ตัชชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้ว แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ ชอบแก่
|
|
06,0016,007,สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
|
|
06,0016,008,ตัชชนียกรรม ที่ ๑ จบ
|
|
06,0016,009,นิยสกรรม ที่ ๒
|
|
06,0016,010,เรื่องพระเสยยสกะ
|
|
06,0016,011,[๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเสยยสกะเป็นพาล ไม่ฉลาด มี อาบัติมาก มีมรรยาท
|
|
06,0016,012,ไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส
|
|
06,0016,013,ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
|
|
06,0016,014,โพนทะนาว่า ไฉนเล่า ท่านพระเสยยสกะจึงได้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
|
|
06,0016,015,อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ ปริวาส ชักเข้าหา
|
|
06,0016,016,อาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค ฯ
|
|
06,0016,017,ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
|
|
06,0016,018,[๔๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น
|
|
06,0016,019,ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุเสยย
|
|
06,0016,020,สกะเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคล
|
|
06,0016,021,ีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะ ภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่
|
|
06,0016,022,จริงหรือ
|
|
06,0016,023,ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
|
|
06,0016,024,ทรงติเตียน
|
|
06,0016,025,ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น
|
|
06,0016,026,ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
|
|
|