|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
03,0003,001,ได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า. ครั้งนั้นแล นางภิกษุณีนั้น
|
|
03,0003,002,ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย. บรรดาภิกษุณีผู้มีความมักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความ
|
|
03,0003,003,รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าสุนทรีนันทา จึงได้มี
|
|
03,0003,004,ความกำหนัดยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า. ครั้งนั้นแล นางภิกษุณีเหล่านั้น
|
|
03,0003,005,จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
|
|
03,0003,006,สุนทรีนันทาจึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้มีความกำหนัดเล่า.
|
|
03,0003,007,ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
|
|
03,0003,008,ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
|
|
03,0003,009,ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
|
|
03,0003,010,เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีสุนทรี
|
|
03,0003,011,นันทามีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด จริงหรือ?.
|
|
03,0003,012,ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
|
|
03,0003,013,ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
|
|
03,0003,014,พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุณีสุนทรีนันทา
|
|
03,0003,015,ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุณีสุนทรีนันทาจึงได้
|
|
03,0003,016,มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็น
|
|
03,0003,017,ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
|
|
03,0003,018,โดยที่แท้ การกระทำของนาง เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสและเพื่อความ
|
|
03,0003,019,เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว. ครั้นพระองค์ทรงติเตียนภิกษุณีสุนทรีนันทาโดย
|
|
03,0003,020,อเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก
|
|
03,0003,021,ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ
|
|
03,0003,022,เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่
|
|
03,0003,023,สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่
|
|
03,0003,024,เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า
|
|
03,0003,025,ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัย
|
|
03,0003,026,อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ
|
|
03,0003,027,ข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุณีผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด
|
|
|