|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
44,0012,001,กล่าวโดยกำหนดแน่นอน ด้วย เอวํ ศัพท์อีก. ก็อาการเปรียบเทียบนั้น
|
|
44,0012,002,เมื่อกำหนดลงไป โดยใจความก็เป็นเพียงอุปมาเท่านั้น เพราะฉะนั้น
|
|
44,0012,003,ท่านจึงกล่าวว่า <B>อุปมายํ อาคโต</B> มาในอุปมา ดังนี้ .
|
|
44,0012,004,อนึ่ง อาการคือการแนะนำในความเพียบพร้อมด้วยมารยาทอันสม-
|
|
44,0012,005,ควรแก่สมณะที่ท่านแนะนำไว้โดยนัยมีอาทิว่า พึงก้าวไปอย่างนี้ คือโดย
|
|
44,0012,006,อาการนี้นั้น ว่าโดยอรรถก็คืออุปเทศนั้นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
|
|
44,0012,007,กล่าวว่า เอวํ ศัพท์มาในอุปเทศ ในประโยคมีอาทิว่า ท่านพึงก้าวไป
|
|
44,0012,008,อย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้.
|
|
44,0012,009,ในคำว่า <B>เอวเมตํ ภควา เอวเมตํ สุคต</B> นี้ พึงทราบโดยนัยที่
|
|
44,0012,010,ท่านกล่าวไว้ว่า การหัวเราะ คือ การทำความฟูใจ ได้แก่ ความร่าเริง
|
|
44,0012,011,โดยประการแห่งคุณที่มีอยู่ในข้อที่ผู้รู้อรรถตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
|
|
44,0012,012,แล้วทำมิให้คลาดเคลื่อน. ในข้อว่า <B>เอวเมว ปนายํ</B> นี้ พึงทราบโดยนัย
|
|
44,0012,013,ที่กล่าวแล้วว่า เป็นอาการแห่งการติเตียน. ก็อาการคือการติเตียนั้น
|
|
44,0012,014,ย่อมรู้ได้ว่าท่านประกาศไว้ด้วย <B>เอวํ</B> ศัพท์ในที่นี้โดยเทียบเคียงกับ <B>ขุํสน</B>
|
|
44,0012,015,ศัพท์ ขู่ว่า หญิงถ่อยเป็นต้น. พึงทราบว่า แม้อาการคือการเปรียบเทียบ
|
|
44,0012,016,ท่านกล่าวไว้โดยเทียบเคียงศัพท์มี ปุพพราสิ ศัพท์เป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้
|
|
44,0012,017,โดยอุปมาเป็นต้น เหมือนในอาการติเตียนนี้ .
|
|
44,0012,018,ด้วยคำว่า <B>เอวญฺจ วเทหิ</B> นี้ ท่านกล่าวว่า อาการคือการกล่าวที่
|
|
44,0012,019,จะพึงกล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้ากล่าวอาการอย่างใด ท่านจงกล่าวกะสมณะ
|
|
44,0012,020,อานนท์ด้วยอาการอย่างนั้น ท่านแสดงไขด้วย <B>เอวํ</B> ศัพท์ เพราะฉะนั้น
|
|
44,0012,021,<B>เอวํ</B> ศัพท์นั้น จึงมีนิทัสสนะเป็นอรรถ.
|
|
44,0012,022,แม้ในบทว่า <B>เอวํ โน</B> นี้ เพราะเมื่อตั้งคำถามว่า ไม่เป็นอย่างนั้น
|
|
|