dhamma-scholar-book / 48 /480045.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
48,0045,001,แต่มีคำพยานเป็นหลักฐาน ควรฟังได้ว่าจำเลยผิดหนักกว่าที่ปฏิญญา
48,0045,002,พึงปรับจำเลยตามคำพยานนั้นได้ อย่างนี้ อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วย
48,0045,003,สมถะ ๒ คือ :-
48,0045,004,๑. สัมมุขาวินัย.
48,0045,005,๒. ตัสสปาปิยสิกา.
48,0045,006,ถ้าจำเลยปฏิเสธ ผู้พิจารณาพึงซักถามถึงเรื่องอันจำเลยทำถึงวิบัติ
48,0045,007,อาบัติอัธยาจารอันเนื่องมาแต่เรื่องนั้น พึงซักถามถึงรูปพรรณสัณฐาน
48,0045,008,ของผู้ทำ อิริยาบถและอาการเมื่อกำลังทำ พึงซักถามถึงกาลอันต่างโดย
48,0045,009,ปี เดือน วัน เวลา พึงซักถามถึงฐานที่และทิศที่ทำโดยสมควรแก่เรื่อง
48,0045,010,ที่โจทก์ว่าได้เห็นเองและได้ฟังเอง พึงซักถามถึงชื่อผู้บอกคำและ
48,0045,011,เหตุให้บอก ประกอบกับกาลและฐานที่ ๆ เขาบอก โดยสมควรแก่
48,0045,012,เรื่องที่โจทก์ว่ามีผู้บอก พึงซักถามถึงอาการทำให้เกิดรังเกียจอันได้
48,0045,013,เห็นหรือได้ฟัง ประกอบกับลักษณะอันกล่าวแล้ว โดยสมควรแก่
48,0045,014,เรื่องที่โจทก์ตั้งรังเกียจ.
48,0045,015,วิธีซักถามจำเลย ท่านมิได้แสดงไว้ แต่พึงซักโดยนัยนั้นเป็นต้น
48,0045,016,ว่าซักถามถึงฐานที่อยู่ในวันเวลาที่โจทก์กล่าวหา.
48,0045,017,"คำบาลีว่า "" เห็นสมด้วยเห็น, เห็นเทียบกันได้กับเห็น, เห็นยันกัน"
48,0045,018,ไม่เข้ากัน ฯ ล ฯ พระมติของสมเด็จ ฯ ว่าคำนี้แสดงลักษณะคำพยานที่
48,0045,019,ควรฟังได้หรือมิได้ ข้อว่าเห็นสมด้วยเห็นนั้น เช่นโจทก์หาว่าได้เห็น
48,0045,020,จำเลยทำการละเมิดอย่างนั้น ๆ พยานโจทก์เบิกความสมกันโดยอาการวัน