|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
41,0004,001,เพื่อทำใจให้สงบตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านกระสับกระส่ายไปตามอารมณ์ต่าง ๆ
|
|
41,0004,002,"เป็นสมาธิ, วิปัสสนากัมมัฏฐาน อันเนื่องด้วยทัสสนะทางใจ ใช้ปัญญา"
|
|
41,0004,003,พิจารณาสภาวธรรมโดยสามัญญลักษณะ ให้เห็นตามความเป็นจริง.
|
|
41,0004,004,ต้องเจริญทั้งสองอย่าง จึงจะกำจัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง.
|
|
41,0004,005,๒๕๑๗
|
|
41,0004,006,ถ. ในกัมมัฏฐานทั้งสอง อย่างไรเรียกว่าสมถกัมมัฏฐาน อย่างไร
|
|
41,0004,007,เรียกว่าวิปัสสนากัมมัฏฐาน ? และถ้าไม่เรียกว่ากัมมัฏฐาน จะเรียกว่า
|
|
41,0004,008,อย่างไรได้อีก ? การเจริญกัมมัฏฐานกำหนดลมหายใจ เข้า-ออก
|
|
41,0004,009,เป็นอารมณ์ จัดเป็นกัมมัฏฐานอะไร ?
|
|
41,0004,010,ต. กัมมัฏฐานเนื่องด้วยบริกรรมไม่เกี่ยวกับปัญญา เรียกว่าสมถ-
|
|
41,0004,011,"กัมมัฏฐาน, กัมมัฏฐานเนื่องด้วยทัสสนะทางใจ ในคติของธรรมดา"
|
|
41,0004,012,ปรารภสภาวะธรรมและสามัญญลักษณะ จัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน.
|
|
41,0004,013,เรียกว่าภาวนาได้อีก. จัดเป็นสมถกัมมัฏฐาน.
|
|
41,0004,014,๒๕๐๖
|
|
41,0004,015,ถ. สมถะกับวิปัสสนา มีลักษณะต่างกันอย่างไร ? อาศัยกัน
|
|
41,0004,016,อย่างไรหรือ ท่านจึงยกขึ้นกล่าวเป็นคู่กัน ?
|
|
41,0004,017,ต. อุบายสงบใจ เรียกว่าสมถะ อุบายเรืองปัญญา เรียกว่าวิปัสสนา.
|
|
41,0004,018,มีลักษณะต่างกันอย่างนี้ ใจที่สงบเป็นเหตุให้เห็นอรรถธรรมที่ลึกซึ้งแจ้ง
|
|
41,0004,019,ชัด และทำอะไรที่ไม่เหลือวิสัยย่อมสำเร็จ แต่ใจจะสงบเช่นนั้นได้ ต้อง
|
|
41,0004,020,อาศัยอุบายซึ่งเรียกว่าสมถะ อาศัยกันเช่นนี้ท่านจึงยกขึ้นกล่าวเป็นคู่กัน.
|
|
41,0004,021,๑๐/๙/๖๖
|
|
|