dhamma-scholar-book / 37 /370038.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
37,0038,001,"แปลว่า "" ธรรมและอธรรมทั้ง ๒ อย่างมีผลไม่เสมอกัน อธรรมย่อม"
37,0038,002,"นำไปสู่ที่ไม่มีความเจริญ ธรรมย่อมให้ถึงที่ไปที่ดีคือมีสุข "" ดังนี้."
37,0038,003,ธรรมในที่นี้หมายถึงความดีความชอบ ที่เป็นความจริงและเป็น
37,0038,004,ประโยชน์ อันตรงกันข้ามกับอธรรม.
37,0038,005,คนที่เกิดมา ย่อมเป็นต่าง ๆ กัน คือเกิดในสกุลที่นิยมว่าดีบ้าง
37,0038,006,เลวบ้าง มีรูปพรรณดีบ้าง เลวบ้าง ฉลาดบ้าง โง่บ้าง มีสุขมีทุกข์
37,0038,007,น้อยบ้าง มากบ้าง เป็นต้น ท่านแสดงว่าเป็นเพราะเหตุ คือธรรมและ
37,0038,008,อธรรม ได้แก่กรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อนต่าง ๆ กัน ถ้าธรรมคือกรรม
37,0038,009,ที่ดีเป็นบุญกุศล เป็นเหตุ ก็ให้ผลดี ถ้าอธรรมคือกรรมที่ชั่วเป็นบาป
37,0038,010,อกุศล เป็นเหตุ ก็ให้ผลชั่ว คนเป็นต่าง ๆ กัน เพราะเหตุคือธรรม
37,0038,011,และอธรรม หรือกรรมที่ดีและกรรมที่ชั่ว ดังนี้.
37,0038,012,ส่วนที่ล่วงไปแล้วจะเป็นอย่างไรก็ตาม ก็เป็นอันล่วงไปแล้วจะ
37,0038,013,แก้ไม่ได้ เหตุในบัดนี้นี่แหละเป็นสำคัญ เพราะจักต้องทำและจักให้ผล
37,0038,014,ต่อไป ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ถ้าไม่เชื่อก็พึงพิจารณาดูใน
37,0038,015,ปัจจุบันเป็นเครื่องเทียบเคียง. ถ้าบุคคลมีความอยากได้อย่างแรงกล้า
37,0038,016,จนไม่นึกถึงผิดถูก เพ่งแต่จะให้ได้ถ่ายเดียว ( อภิชฌา ) ก็ตาม มุ่ง
37,0038,017,ปองร้ายผู้อื่น ( พยาบาท ) ก็ตาม เห็นผิดจากคลองธรรมคือทางที่ผิด
37,0038,018,( มิจฉาทิฏฐิ ) ก็ตาม และประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็น
37,0038,019,มูล ย่อมมีใจกระวนกระวายเดือดร้อนมัวหมองมืดมนเป็นผลชั่ว เป็น
37,0038,020,ทุกข์ทางใจที่ได้รับปรากฏแก่ตนเองในบัดนั้น แต่ไม่พิจารณาดูจึงไม่รู้
37,0038,021,ครั้นเมื่อทำกรรมชั่วลงทางกาย ทางวาจา เช่นลักเขาก็ตาม ฆ่าหรือ