dhamma-scholar-book / 37 /370014.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
37,0014,001,องค์ที่ ๒
37,0014,002,แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร
37,0014,003,๑. ในชั้นต้น นักเรียนพึงทราบก่อนว่า การแต่งหนังสือมี ๔
37,0014,004,ทำนอง คือ :-
37,0014,005,( ๑ ) ทำนองอธิบาย
37,0014,006,( ๒ ) ทำนองบรรยาย
37,0014,007,( ๓ ) ทำนองพรรณนา
37,0014,008,( ๔ ) ทำนองเทศน์ ที่ท่านเรียกว่าเทศนาโวหาร
37,0014,009,ใน ๔ ทำนองนี้ ทำนองเทศน์เป็นยอดของทำนองอื่น ๆ และเป็นของ
37,0014,010,ยากกว่าทำนองใด ๆ เหมือนกัน เมื่อแต่งทำนองเทศน์ได้แล้ว ก็เป็น
37,0014,011,อันแต่งทำนองอื่น ๆ ได้ด้วย เราะเป็นยอดและเป็นของยากดังกล่าว
37,0014,012,แล้ว นอกจากนี้ ทำนองเทศน์เป็นทำนองโดยตรงของพระ หรือ
37,0014,013,กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทำนองเทศน์เป็นทำนองที่เหมาะสำหรับน้อมนำ
37,0014,014,พระพุทธศาสนามาสั่งสอนแก่พุทธมามกชน น่าจะเป็นเพราะเหตุดัง
37,0014,015,กล่าวมาแล้วนี้ ท่านจึงได้แต่งเป็นทำนองเทศน์.
37,0014,016,๒. การแต่งเป็นทำนองเทศน์นั้น มีหลักสำคัญ ๆ ดังจะกล่าว
37,0014,017,ต่อไปนี้ :-
37,0014,018,( ๑ ) ไม่ใช้ถ้อยคำกระทบตนและผู้อื่น.
37,0014,019,( ๒ ) ไม่ใช้ถ้อยคำและสำนวนที่ห้วน ๆ สั้น ๆ.