|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0011,001,เหมือนกัน. ข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม เรียกว่ามูลบัญญัติ ข้อที่ทรงตั้ง
|
|
06,0011,002,เพิ่มเติมที่หลัง เรียกอนุบัญญัติ. รวมมูลบัญญัติและอนุบัญญัติเข้า
|
|
06,0011,003,ด้วยกัน เรียกว่าสิกขาบท สิกขาบทอันหนึ่ง มีหลายอนุบัญญัติก็มี
|
|
06,0011,004,เช่นสิกขาบทปรารภคณโภชนะ คือ รับนิมนต์ออกชื่อของกินแล้ว
|
|
06,0011,005,รวมกันฉันเป็นหมู่ ทรงผ่อนให้ตามคราว ในเวลาเจ็บ ในฤดูจีวร
|
|
06,0011,006,ในเวลาทำจีวร ในเวลาเดินทางบกทางเรือ ในคราวอัตคัด ในคราว
|
|
06,0011,007,นิมนต์ของพวกสมณะด้วยกัน. เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว จะทรงตั้งพระ
|
|
06,0011,008,บัญญัตินั้น ตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทูลรับแล้ว
|
|
06,0011,009,ทรงชี้โทษแห่งการประพฤติเช่นนั้น และอานิสงส์แห่งความสำรวมแล้ว
|
|
06,0011,010,จึงทรงตั้งพระบัญญัติห้ามไม่ให้ภิกษุทำอย่างนั้นอีกต่อไป วางโทษคือ
|
|
06,0011,011,ปรับอาบัติไว้หนักบ้าง เบาบ้าง.
|
|
06,0011,012,อาบัติ
|
|
06,0011,013,กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัตินั้น และมีโทษเหนือตนอยู่ ชื่อว่า
|
|
06,0011,014,อาบัติ แปลว่า ความต้อง. อาบัตินั้น กล่าวโดยโทษมี ๓ สถาน
|
|
06,0011,015,คือ อย่างหนัก ยังผู้ต้องให้ขาดจากความเป็นภิกษุ ๑ อย่างกลาง
|
|
06,0011,016,ยังผู้ต้องให้อยู่กรรม คือ ประพฤติวัตรอย่างหนึ่ง เพื่อทรมานตน ๑
|
|
06,0011,017,อย่างเบา ยังผู้ต้องให้ประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน ๑ เมื่อได้ทำ
|
|
06,0011,018,ดังนี้จึงจะพ้นโทษนั้น. กล่าวอีกอย่างหนึ่งมี ๒ สถาน อาบัติที่แก้ไข
|
|
06,0011,019,"ไม่ได้ เรียกอเตกิจฉา ๑ ซึ่งได้แก่อาบัติมีโทษอย่างหนัก, อาบัติที่"
|
|
06,0011,020,"ยังแก้ไขได้ เรียกว่าสเตกิจฉา ๑ ซึ่งได้แก่อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา,"
|
|
06,0011,021,อนึ่ง อาบัตินั้นว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง ปาราชิก ๑ มีโทษอย่างหนัก.
|
|
|