Book,Page,LineNumber,Text 06,0011,001,เหมือนกัน. ข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม เรียกว่ามูลบัญญัติ ข้อที่ทรงตั้ง 06,0011,002,เพิ่มเติมที่หลัง เรียกอนุบัญญัติ. รวมมูลบัญญัติและอนุบัญญัติเข้า 06,0011,003,ด้วยกัน เรียกว่าสิกขาบท สิกขาบทอันหนึ่ง มีหลายอนุบัญญัติก็มี 06,0011,004,เช่นสิกขาบทปรารภคณโภชนะ คือ รับนิมนต์ออกชื่อของกินแล้ว 06,0011,005,รวมกันฉันเป็นหมู่ ทรงผ่อนให้ตามคราว ในเวลาเจ็บ ในฤดูจีวร 06,0011,006,ในเวลาทำจีวร ในเวลาเดินทางบกทางเรือ ในคราวอัตคัด ในคราว 06,0011,007,นิมนต์ของพวกสมณะด้วยกัน. เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว จะทรงตั้งพระ 06,0011,008,บัญญัตินั้น ตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทูลรับแล้ว 06,0011,009,ทรงชี้โทษแห่งการประพฤติเช่นนั้น และอานิสงส์แห่งความสำรวมแล้ว 06,0011,010,จึงทรงตั้งพระบัญญัติห้ามไม่ให้ภิกษุทำอย่างนั้นอีกต่อไป วางโทษคือ 06,0011,011,ปรับอาบัติไว้หนักบ้าง เบาบ้าง. 06,0011,012,อาบัติ 06,0011,013,กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัตินั้น และมีโทษเหนือตนอยู่ ชื่อว่า 06,0011,014,อาบัติ แปลว่า ความต้อง. อาบัตินั้น กล่าวโดยโทษมี ๓ สถาน 06,0011,015,คือ อย่างหนัก ยังผู้ต้องให้ขาดจากความเป็นภิกษุ ๑ อย่างกลาง 06,0011,016,ยังผู้ต้องให้อยู่กรรม คือ ประพฤติวัตรอย่างหนึ่ง เพื่อทรมานตน ๑ 06,0011,017,อย่างเบา ยังผู้ต้องให้ประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน ๑ เมื่อได้ทำ 06,0011,018,ดังนี้จึงจะพ้นโทษนั้น. กล่าวอีกอย่างหนึ่งมี ๒ สถาน อาบัติที่แก้ไข 06,0011,019,"ไม่ได้ เรียกอเตกิจฉา ๑ ซึ่งได้แก่อาบัติมีโทษอย่างหนัก, อาบัติที่" 06,0011,020,"ยังแก้ไขได้ เรียกว่าสเตกิจฉา ๑ ซึ่งได้แก่อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา," 06,0011,021,อนึ่ง อาบัตินั้นว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง ปาราชิก ๑ มีโทษอย่างหนัก.