title
stringlengths
0
33.4k
context
stringlengths
0
133k
raw
stringlengths
39
133k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีชี้ไทยอยู่อันดับ 6 ของโลกในการควบคุมโรคระบาด พร้อมมอบหมายให้รอง นรม. นายอนุทินฯ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่
วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 นายกรัฐมนตรีชี้ไทยอยู่อันดับ 6 ของโลกในการควบคุมโรคระบาด พร้อมมอบหมายให้รอง นรม. นายอนุทินฯ เป็นประธานคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ นายกรัฐมนตรีชี้ไทยอยู่อันดับ 6 ของโลกในการควบคุมโรคระบาด พร้อมมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทินฯ เป็นประธานคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ วันนี้ (28 ม.ค. 63) เวลา 13.45 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงแก่สื่อมวลชน ขอให้ประชาชนมั่นใจรัฐบาลเตรียมทุกมาตรการรองรับ ติดตาม ป้องกันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยวันนี้ ได้มีคําสั่งแต่ตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โดยมอบหมายให้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมได้กําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มงวดและสอดคล้องกับประเทศต้นทางที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในระยะแรก โดยเน้นการปรับมาตรการให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรง นายกรัฐมนตรียังสร้างความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยซึ่งถูกจัดโดย Global Health Security Index ว่าอยู่ในอันดับ 6 ของโลกที่ดีที่สุดในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ขอให้มั่นใจว่า รัฐบาลสามารถรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสได้ สําหรับนักศึกษาไทยและชาวไทยที่ยังพํานักอยู่ในอูฮั่นขณะนี้นั้น รัฐบาลได้มีประสานงานทั้งกับกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐบาลจีนอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะจัดส่งเครื่องบินเพื่อรับคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับได้ทันทีที่รัฐบาลจีนอนุญาต ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้จัดเตรียมเครื่องบินและกระทรวงสาธารณสุขเตรียมความพร้อมของทีมแพทย์แล้ว ขณะนี้ ทีมแพทย์ก็ติดต่อกับชาวไทยในอู่ฮั่นตลอดเวลาเพื่อให้คําแนะนําในการปฏิบัติตัว โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ตอบข้อสอบถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ได้ประกาศ ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต โดยประเทศไทย ได้ 36 คะแนนว่า ขอให้พิจารณาในรายละเอียด มีทั้งที่ดีขึ้นมาและต่ํา ซึ่งรัฐบาลได้ดําเนินงานอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความโปร่งใสแก่ประชาชน และรับทุกปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนมา ดําเนินการตรวจสอบทุกอย่างและดําเนินการตามกฎหมายด้วย ที่ผ่านมาก็มีการดําเนินคดีกับข้าราชการในระดับสูงหลายราย ซึ่งประชาชนและเจ้าหน้าที่ต้องร่วมมือในการช่วยกันปราบปรามการกระทําทุจริตในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ด้วย ............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีชี้ไทยอยู่อันดับ 6 ของโลกในการควบคุมโรคระบาด พร้อมมอบหมายให้รอง นรม. นายอนุทินฯ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 นายกรัฐมนตรีชี้ไทยอยู่อันดับ 6 ของโลกในการควบคุมโรคระบาด พร้อมมอบหมายให้รอง นรม. นายอนุทินฯ เป็นประธานคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ นายกรัฐมนตรีชี้ไทยอยู่อันดับ 6 ของโลกในการควบคุมโรคระบาด พร้อมมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทินฯ เป็นประธานคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ วันนี้ (28 ม.ค. 63) เวลา 13.45 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงแก่สื่อมวลชน ขอให้ประชาชนมั่นใจรัฐบาลเตรียมทุกมาตรการรองรับ ติดตาม ป้องกันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยวันนี้ ได้มีคําสั่งแต่ตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โดยมอบหมายให้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมได้กําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มงวดและสอดคล้องกับประเทศต้นทางที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในระยะแรก โดยเน้นการปรับมาตรการให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรง นายกรัฐมนตรียังสร้างความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยซึ่งถูกจัดโดย Global Health Security Index ว่าอยู่ในอันดับ 6 ของโลกที่ดีที่สุดในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ขอให้มั่นใจว่า รัฐบาลสามารถรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสได้ สําหรับนักศึกษาไทยและชาวไทยที่ยังพํานักอยู่ในอูฮั่นขณะนี้นั้น รัฐบาลได้มีประสานงานทั้งกับกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐบาลจีนอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะจัดส่งเครื่องบินเพื่อรับคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับได้ทันทีที่รัฐบาลจีนอนุญาต ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้จัดเตรียมเครื่องบินและกระทรวงสาธารณสุขเตรียมความพร้อมของทีมแพทย์แล้ว ขณะนี้ ทีมแพทย์ก็ติดต่อกับชาวไทยในอู่ฮั่นตลอดเวลาเพื่อให้คําแนะนําในการปฏิบัติตัว โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ตอบข้อสอบถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ได้ประกาศ ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต โดยประเทศไทย ได้ 36 คะแนนว่า ขอให้พิจารณาในรายละเอียด มีทั้งที่ดีขึ้นมาและต่ํา ซึ่งรัฐบาลได้ดําเนินงานอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความโปร่งใสแก่ประชาชน และรับทุกปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนมา ดําเนินการตรวจสอบทุกอย่างและดําเนินการตามกฎหมายด้วย ที่ผ่านมาก็มีการดําเนินคดีกับข้าราชการในระดับสูงหลายราย ซึ่งประชาชนและเจ้าหน้าที่ต้องร่วมมือในการช่วยกันปราบปรามการกระทําทุจริตในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ด้วย ............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26112
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.แถลงข่าวการจัดงานวันครู ปี 2562 “คุณธรรมนำครูไทย สร้างเด็กไทยหัวใจซื่อตรง” และการแถลงผลงานของ ศธ.ในรอบ 4 ปี
วันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 ศธ.แถลงข่าวการจัดงานวันครู ปี 2562 “คุณธรรมนําครูไทย สร้างเด็กไทยหัวใจซื่อตรง” และการแถลงผลงานของ ศธ.ในรอบ 4 ปี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานอนุกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ.2562 และ ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา แถลงข่าวการจัดงานวันครู นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานอนุกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ.2562 และ ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา แถลงข่าวการจัดงานวันครู ครั้งที่ 63 และการแถลงผลการดําเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 4 ปีเมื่อวันพุธที่ 9 มกราคม 2562ณ ห้องประชุมไทยาจารย์ สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา รมว.ศึกษาธิการกล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนําของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตระหนักและให้ความสําคัญกับการศึกษาอย่างมาก กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กําชับให้ทุกหน่วยงานทํางานอย่างเต็มที่ เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลและพัฒนาครู ซึ่งมีความก้าวหน้าการดําเนินงานในหลายด้าน อาทิ การซ่อมสร้างบ้านพักครูที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม พร้อมทั้งสร้างบ้านใหม่เพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการ, การปรับระบบขอและต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูด้วยระบบออนไลน์ เพื่ออํานวยความสะดวกและลดระยะเวลาการทํางาน, การปรับระบบการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะครู เพื่อช่วยลดกระดาษจากการทําผลงาน, การแก้ไขปัญหาหนี้เสียของครู, การเพิ่มเจ้าหน้าที่ธุรการและภารโรงให้แก่โรงเรียนทั่วประเทศ, การยกเลิกการกรอกข้อมูลในโปรแกรมบันทึกประวัติการปฏิบัติงานหรือ Logbook สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตําแหน่งครู เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีแนวคิดที่จะขยายเวลาการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูจากเดือนกันยายนของทุกปี ให้ไปเกษียณอายุราชการในช่วงเดือนมีนาคมในปีถัดไปแทน เพื่อให้ครูปฏิบัติการสอนได้จนครบภาคการศึกษา และไม่ต้องหยุดปฏิบัติงานสอนช่วงระหว่างภาคการศึกษา เพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนครูจากการเกษียณ แต่ขณะนี้ยังเป็นเพียงแนวคิดที่จะต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในรายละเอียดและข้อกฎหมายต่าง ๆ หากดําเนินการไม่ทัน ก็จะฝากให้รัฐบาลชุดต่อไปช่วยสานต่อด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานคณะอนุกรรมการจัดงานวันครูฯ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้จัดงานวันครูขึ้นเป็นประจําทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 สําหรับการจัดงานวันครู ครั้งที่ 63 ปี 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ยกย่องเชิดชูเกียรติครูและพัฒนาวิชาชีพครู ส่งเสริมสามัคคีธรรมความร่วมมือและความเข้าใจอันดีระหว่างครู และครูกับประชาชน รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตระหนักถึงความสําคัญของคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนของชาติ ในปีนี้มีกิจกรรมสําคัญ 2 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมเนื่องในโอกาสการจัดงานวันครู“คุณธรรมนําครูไทย สร้างเด็กไทยหัวใจซื่อตรง” ระหว่างวันที่ 16 - 18 มกราคม 2562 ณ บริเวณหอประชุมคุรุสภา และบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานงานวันครู และคารวะครูของนายกรัฐมนตรีสมัยเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้แก่ พล.อ.เกษม นภาสวัสดิ์ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบคําขวัญวันครู ครั้งที่ 63 พ.ศ. 2562 คือ “ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา ก้าวหน้า สู่เทคโนโลยี” และมอบสารวันครู เพื่อส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีไปยังครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทั่วประเทศที่เป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาการศึกษาของชาติเสมอมา กิจกรรมการแถลงผลงานและจัดแสดงนิทรรศการผลงานของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 4 ปีหัวข้อ “คุณธรรมนําครูไทย สานพลังเครือข่าย สร้างเด็กไทย 4.0” จัดโดยองค์กรหลัก องค์กรในกํากับ และองค์กรเครือข่ายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นการจัดนิทรรศการแบบมีชีวิต นําเสนอกิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 แนวคิดหลัก ประกอบด้วย 1) คุณธรรมนําครูไทย 2) สานพลังเครือข่าย และ 3) สร้างเด็กไทย 4.0 ในส่วนของพิธีบูชาพระคุณบูรพาจารย์นายอํานาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จะอ่านโองการอัญเชิญบูรพาจารย์ นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ครูอาวุโสนอกประจําการ กล่าวนําสวดฉันท์ระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และนายศรัณย์ ศรีมะเริง ครูอาวุโสในประจําการ นําผู้ร่วมชุมนุมกล่าวคําปฏิญาณตนของครูและบุคลากรทางการศึกษา อีกทั้งจะมีการปาฐกถาและเสวนาทางวิชาการที่น่าสนใจเช่น ในวันที่ 16 มกราคม 2562 เวลา 13.00 น. ปาฐกถา หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ครั้งที่ 2 เรื่อง “คุณธรรมนําครูไทย สร้างเด็กไทยหัวใจซื่อตรง” โดยศาสตราจารย์ นพ.เกษม วัฒนชัย ตลอดจนมีการถ่ายทอดสดงานวันครู จํานวน 3 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (http://sdib.dusit.ac.th) ตลอดทั้ง 3 วัน ในขณะที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย จะถ่ายทอดเฉพาะช่วงที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานงานวันครู ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภากล่าวว่า การจัดงานวันครู ครั้งที่ 63 ปี 2562 ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ตลอดทั้งวันในระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2562 อาทิการแถลงผลการดําเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 4 ปี ในวันที่17มกราคม2562เวลา8.30-10.00น. ณ หอประชุมคุรุสภา,พิธีมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี”, การเสวนา “บนเส้นทางสายอาชีพครูยุคใหม่” สําหรับการจัดงานในส่วนภูมิภาคจะจัดกิจกรรมเช่นเดียวกับส่วนกลาง พร้อมทั้งกิจกรรมส่งเสริมสามัคคีธรรม กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมครูเยี่ยมบ้านเด็ก เป็นต้น จึงขอเชิญชวนครู นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมกิจกรรมวันครูและร่วมระลึกถึงพระคุณครูผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ การส่งบัตรคารวะครูออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของคุรุสภา www.ksp.or.th กรแชรความรู้สึกดี ๆ ที่มีต่อครูพร้อมติดแฮชแท็ก #วันครู2562 การดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ไลน์ “Teacher Day” Written byอรพรรณ ฤทธิ์มั่น, อิชยา กัปปา Photo Creditยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.แถลงข่าวการจัดงานวันครู ปี 2562 “คุณธรรมนำครูไทย สร้างเด็กไทยหัวใจซื่อตรง” และการแถลงผลงานของ ศธ.ในรอบ 4 ปี วันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 ศธ.แถลงข่าวการจัดงานวันครู ปี 2562 “คุณธรรมนําครูไทย สร้างเด็กไทยหัวใจซื่อตรง” และการแถลงผลงานของ ศธ.ในรอบ 4 ปี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานอนุกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ.2562 และ ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา แถลงข่าวการจัดงานวันครู นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานอนุกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ.2562 และ ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา แถลงข่าวการจัดงานวันครู ครั้งที่ 63 และการแถลงผลการดําเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 4 ปีเมื่อวันพุธที่ 9 มกราคม 2562ณ ห้องประชุมไทยาจารย์ สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา รมว.ศึกษาธิการกล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนําของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตระหนักและให้ความสําคัญกับการศึกษาอย่างมาก กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กําชับให้ทุกหน่วยงานทํางานอย่างเต็มที่ เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลและพัฒนาครู ซึ่งมีความก้าวหน้าการดําเนินงานในหลายด้าน อาทิ การซ่อมสร้างบ้านพักครูที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม พร้อมทั้งสร้างบ้านใหม่เพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการ, การปรับระบบขอและต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูด้วยระบบออนไลน์ เพื่ออํานวยความสะดวกและลดระยะเวลาการทํางาน, การปรับระบบการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะครู เพื่อช่วยลดกระดาษจากการทําผลงาน, การแก้ไขปัญหาหนี้เสียของครู, การเพิ่มเจ้าหน้าที่ธุรการและภารโรงให้แก่โรงเรียนทั่วประเทศ, การยกเลิกการกรอกข้อมูลในโปรแกรมบันทึกประวัติการปฏิบัติงานหรือ Logbook สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตําแหน่งครู เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีแนวคิดที่จะขยายเวลาการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูจากเดือนกันยายนของทุกปี ให้ไปเกษียณอายุราชการในช่วงเดือนมีนาคมในปีถัดไปแทน เพื่อให้ครูปฏิบัติการสอนได้จนครบภาคการศึกษา และไม่ต้องหยุดปฏิบัติงานสอนช่วงระหว่างภาคการศึกษา เพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนครูจากการเกษียณ แต่ขณะนี้ยังเป็นเพียงแนวคิดที่จะต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในรายละเอียดและข้อกฎหมายต่าง ๆ หากดําเนินการไม่ทัน ก็จะฝากให้รัฐบาลชุดต่อไปช่วยสานต่อด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานคณะอนุกรรมการจัดงานวันครูฯ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้จัดงานวันครูขึ้นเป็นประจําทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 สําหรับการจัดงานวันครู ครั้งที่ 63 ปี 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ยกย่องเชิดชูเกียรติครูและพัฒนาวิชาชีพครู ส่งเสริมสามัคคีธรรมความร่วมมือและความเข้าใจอันดีระหว่างครู และครูกับประชาชน รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตระหนักถึงความสําคัญของคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนของชาติ ในปีนี้มีกิจกรรมสําคัญ 2 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมเนื่องในโอกาสการจัดงานวันครู“คุณธรรมนําครูไทย สร้างเด็กไทยหัวใจซื่อตรง” ระหว่างวันที่ 16 - 18 มกราคม 2562 ณ บริเวณหอประชุมคุรุสภา และบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานงานวันครู และคารวะครูของนายกรัฐมนตรีสมัยเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้แก่ พล.อ.เกษม นภาสวัสดิ์ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบคําขวัญวันครู ครั้งที่ 63 พ.ศ. 2562 คือ “ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา ก้าวหน้า สู่เทคโนโลยี” และมอบสารวันครู เพื่อส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีไปยังครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทั่วประเทศที่เป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาการศึกษาของชาติเสมอมา กิจกรรมการแถลงผลงานและจัดแสดงนิทรรศการผลงานของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 4 ปีหัวข้อ “คุณธรรมนําครูไทย สานพลังเครือข่าย สร้างเด็กไทย 4.0” จัดโดยองค์กรหลัก องค์กรในกํากับ และองค์กรเครือข่ายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นการจัดนิทรรศการแบบมีชีวิต นําเสนอกิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 แนวคิดหลัก ประกอบด้วย 1) คุณธรรมนําครูไทย 2) สานพลังเครือข่าย และ 3) สร้างเด็กไทย 4.0 ในส่วนของพิธีบูชาพระคุณบูรพาจารย์นายอํานาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จะอ่านโองการอัญเชิญบูรพาจารย์ นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ครูอาวุโสนอกประจําการ กล่าวนําสวดฉันท์ระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และนายศรัณย์ ศรีมะเริง ครูอาวุโสในประจําการ นําผู้ร่วมชุมนุมกล่าวคําปฏิญาณตนของครูและบุคลากรทางการศึกษา อีกทั้งจะมีการปาฐกถาและเสวนาทางวิชาการที่น่าสนใจเช่น ในวันที่ 16 มกราคม 2562 เวลา 13.00 น. ปาฐกถา หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ครั้งที่ 2 เรื่อง “คุณธรรมนําครูไทย สร้างเด็กไทยหัวใจซื่อตรง” โดยศาสตราจารย์ นพ.เกษม วัฒนชัย ตลอดจนมีการถ่ายทอดสดงานวันครู จํานวน 3 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (http://sdib.dusit.ac.th) ตลอดทั้ง 3 วัน ในขณะที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย จะถ่ายทอดเฉพาะช่วงที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานงานวันครู ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภากล่าวว่า การจัดงานวันครู ครั้งที่ 63 ปี 2562 ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ตลอดทั้งวันในระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2562 อาทิการแถลงผลการดําเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 4 ปี ในวันที่17มกราคม2562เวลา8.30-10.00น. ณ หอประชุมคุรุสภา,พิธีมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี”, การเสวนา “บนเส้นทางสายอาชีพครูยุคใหม่” สําหรับการจัดงานในส่วนภูมิภาคจะจัดกิจกรรมเช่นเดียวกับส่วนกลาง พร้อมทั้งกิจกรรมส่งเสริมสามัคคีธรรม กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมครูเยี่ยมบ้านเด็ก เป็นต้น จึงขอเชิญชวนครู นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมกิจกรรมวันครูและร่วมระลึกถึงพระคุณครูผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ การส่งบัตรคารวะครูออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของคุรุสภา www.ksp.or.th กรแชรความรู้สึกดี ๆ ที่มีต่อครูพร้อมติดแฮชแท็ก #วันครู2562 การดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ไลน์ “Teacher Day” Written byอรพรรณ ฤทธิ์มั่น, อิชยา กัปปา Photo Creditยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18069
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ มอบนโยบายประธานและกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ผู้บริหารนำแนวทางการกำกับดูแลที่ดีไปปฏิบัติทำให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เปิดเผยข้อมูลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างผู้เกี่
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559 นายกฯ มอบนโยบายประธานและกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ผู้บริหารนําแนวทางการกํากับดูแลที่ดีไปปฏิบัติทําให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เปิดเผยข้อมูลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจระหว่างผู้เกี่ นายกฯ มอบนโยบายประธานและกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ผู้บริหารนําแนวทางการกํากับดูแลที่ดีไปปฏิบัติทําให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เปิดเผยข้อมูลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจระหว่างผู้เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายในการสัมมนาเสริมสร้างความรู้และธรรมาภิบาลของกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจในอนาคต โดยขอให้ผู้บริหารนําแนวทางการกํากับดูแลที่ดีไปปฏิบัติทําให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ มีการเปิดเผยข้อมูลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจระหว่างผู้เกี่ยวข้อง และดําเนินงานโดยไม่มุ่งหวังผลกําไรแต่เพียงอย่างเดียว ให้คํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศเป็นสําคัญ วันนี้ (29 ก.ย.59) เวลา14.00น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบ นโยบายในการสัมมนาเสริมสร้างความรู้และธรรมาภิบาลของกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจในอนาคต และการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของกรรมการและผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 55 แห่ง ให้สามารถดําเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามนโยบายของรัฐและแผนวิสาหกิจจัดโดยสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลังโดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมเวิลด์ บอลรูม ชั้น23โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงานว่า รัฐวิสาหกิจถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยรัฐวิสาหกิจมีสินทรัพย์มากกว่า 13.5 ล้านล้านบาท (มูลค่าเท่ากับ GDP ของประเทศ) รายได้รวม 5 ล้านล้านบาทมากกว่ารายได้ของรัฐบาล ใช้งบประมาณรายจ่ายแต่ละปี 4.8 ล้านล้านบาท เป็นแหล่งรายได้ที่สําคัญของรัฐบาลมากกว่า 1 แสนล้านบาท รวมทั้งสร้างงานประมาณ 4.3 แสนคน ทั้งนี้ การที่รัฐวิสาหกิจจะดําเนินการได้อย่างดีส่วนหนึ่งมาจากประธานกรรมการและกรรมการรัฐวิสาหกิจซึ่งถูกแต่งตั้งจากรัฐบาลเข้าไปทําหน้าที่กํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในการผลักดันนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้มีบทบาทเชิงรุกในการทํางานร่วมกับกรรมการรัฐวิสาหกิจมากขึ้นเพื่อประสานงานให้รัฐวิสาหกิจมีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดสัมมนาฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบนโยบายและทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้แก่ประธานกรรมการและกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อจะได้นําไปขับเคลื่อนรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความรู้ในเรื่องธรรมาภิบาลของกรรมการรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาลทั้งในด้านกฎหมายและการกํากับดูแล เพื่อให้ประธานและกรรมการรัฐวิสาหกิจนําไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาให้รัฐวิสาหกิจสามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เป็นภาระของภาครัฐ มีการบริหารจัดการที่ดีเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายฯ ให้แก่ประธานกรรมการและกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยกล่าวตอนหนึ่งเกี่ยวกับการทํางานร่วมกับกรรมการและผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาว่า การทํางานอาจจะมีบางเรื่องที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่การดําเนินงานที่ผ่านมาทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามขอฝากให้ทุกคนหันกลับมามองประเทศไทยโดยทบทวนการทํางานเพื่อหาจุดยืนของประเทศในประชาคมโลกในช่วง 5 ปี และ 10 – 20 ปี ข้างหน้า และยืนยันว่าการดําเนินงานของรัฐบาลยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นสําคัญ จึงขอให้ทุกคนร่วมกันดําเนินการในสิ่งที่ดีเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนประเทศไทยตามห้วงระยะเวลาที่กําหนดไว้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก่อนปฏิรูปประเทศต้องปฏิรูปตนเองก่อน เพื่อจะขยายไปสู่การดําเนินงานต่าง ๆ ขององค์กรให้ดีมากยิ่งขึ้น และนําไปสู่การปฏิรูปประเทศต่อไป ซึ่งดําเนินงานและการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจถือเป็น 1 ใน 37 วาระของการปฏิรูปประเทศ โดยมีความสําคัญในการที่จะปฏิรูปให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ การลงทุนในด้านธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในประชาคมโลก โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่ต้องสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็ง มีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ซึ่งหากทุกคนที่อยู่ในสังคมและองค์กรมีคุณธรรมก็จะทําให้เป็นองค์กรที่มีจริยธรรม และนําไปสู่การบริหารราชการที่มีธรรมาภิบาล ทั้งนี้ สิ่งสําคัญคือทุกคนต้องรู้จักอดทน เสียสละ และคํานึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้งมากกว่าประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งต้องคํานึกถึงหน้าที่หลักและบทบาทของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะเรื่องของการบริการต่อประชาชน และการดําเนินงานต้องไม่มุ่งหวังผลกําไรเพียงอย่างเดียว แต่ให้คํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสําคัญ สําหรับการบริหารราชบ้านเมืองให้มีธรรมาภิบาล ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน มีส่วนสําคัญในการเป็นกลไกประสานความร่วมมือกันอย่างบูรณาการเพื่อสร้างสังคมที่มีคุณธรรม เป็นองค์กรที่มีจริยธรรมและมีธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตลอดจนการปลูกฝังให้ประชาชนคนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งต้องใช้กลไกทั้งการแสดงออกที่มีต่อกันในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เปิดเผยโปร่งใส ปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น การสร้างความร่วมมือและบูรณาการระหว่างกัน ซึ่งจะทําให้การดําเนินงานต่าง ๆ ขององค์กรและประเทศสามารถเดินหน้าและขับเคลื่อนต่อไปได้ตามเป้าหมายที่กําหนด นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการดําเนินการปฏิรูปทั้งระบบอย่างเร่งด่วนว่า ต้องดําเนินการเชิงรุกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง การต่างประเทศ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหากทุกคนไม่ร่วมมือกันก็ไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไปได้ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจโลกยังมีปัญหาอยู่ อย่างไรก็ดีคณะทํางานด้านเศรษฐกิจและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชน และประชาชนได้ร่วมกันดําเนินการให้เศรษฐกิจของประเทศไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจมีส่วนสําคัญในการทําให้เศรษฐกิจในภาพรวมดีขึ้น โดยการขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนการใช้จ่ายทั้งระบบ เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อประชาชนทุกภาคส่วนในสังคม บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย มีเสถียรภาพ เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และเป็นประเทศที่น่าลงทุน ในส่วนของการขับเคลื่อนประเทศ นายรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการดําเนินการพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานให้มีมาตรฐานในระดับสากลและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศชาติโดยรวม ขณะเดียวกันฝากให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 55 แห่ง ได้นําผลการดําเนินงานของตนเองเปรียบเทียบกับการดําเนินงานของหน่วยงานจากต่างประเทศเพื่อนํามาพัฒนาปรับปรุงการดําเนินงานและกิจการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนปรับบทบาทการดําเนินงานให้สอดคล้องและทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของรัฐในการพัฒนาประเทศ และพัฒนากลไกกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจที่เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ สามารถคุ้มครองผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพแก่ประชาชนได้ตามมาตรฐานที่กําหนดไว้รวมทั้ง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์สินที่มีอยู่ของประเทศ และสามารถบริหารจัดการหนี้ทั้งในส่วนที่รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจรับภาระอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพเพื่อลดภาระทางการคลังของประเทศ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการค้า การลงทุนปัจจุบันที่มีอัตราเพิ่มขึ้นมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ว่า เกิดจากความร่วมมืออย่างเข้มแข็งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้ร่วมกันพัฒนาเพื่อวางรากฐานของประเทศให้ครอบคลุมทั้งด้านคมนาคม สาธารณูปโภคซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจํานวนมาก เพื่อสร้างความเชื่อมโยงประเทศไทยสู่ภูมิภาคต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์4.0เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศไปสู่จุดมุ่งหมาย “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน”รวมทั้งการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปีข้างหน้าอย่างเชื่อมโยงกันในทุกมิติ โดยแบ่งการดําเนินการเป็นช่วงละ 5 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งการดําเนินการตั้งแต่ในปี 2559 - 2560 จะเป็นระยะเริ่มต้นที่รัฐบาลชุดปัจจุบันวางรากฐานไว้ให้ในเรื่องของการปฏิรูปเพื่อสามารถขับเคลื่อนประเทศต่อไปตามเป้าหมายที่กําหนด ทั้งนี้รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการกําหนดโครงสร้างการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจในภาพรวมให้ชัดเจน เช่นกําหนดแนวนโยบายการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ผู้กําหนดนโยบาย (Policy Maker)โดยกระทรวงเจ้าสังกัด จะเป็นผู้ให้นโยบายในการดําเนินการกับรัฐวิสาหกิจองค์กรเจ้าของ (Owner)ดูแลฐานะการเงิน การบริหารทรัพย์สิน ให้เพิ่มมูลค่า การประเมินผล และความสําเร็จขององค์กรผู้กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจรายสาขา (Regulator)จะควบคุมราคาคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการ รวมทั้งดูแลให้มีการแข่งขันที่เท่าเทียมระหว่างรัฐวิสาหกิจและเอกชน พร้อมขอให้ผู้บริหารทุกคนนําแนวทางการกํากับดูแลที่ดี (GoodGovernance) ไปปฏิบัติ โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลของรัฐวิสาหกิจมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจระหว่างผู้เกี่ยวข้อง (Checks and Balances) และมีระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ ให้สอดคล้องกับบทบาท หน้าที่และพันธกิจที่ได้รับจากรัฐบาล นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ทําหน้าที่กํากับดูแลและติดตามผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะมีส่วนสําคัญในการผลักดันนโยบายสําคัญของรัฐบาลและของกระทรวงเจ้าสังกัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์และบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับรัฐวิสาหกิจ โดยจะต้องดําเนินการภายใต้กฎและกติกาของผู้กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจรายสาขาอย่างเคร่งครัด พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจไทยในภาพรวมมีจํานวน 55 แห่ง มีมูลค่าทรัพย์สินรวมกันประมาณ 13 ล้านล้านบาทและในปีหนึ่งๆ รัฐวิสาหกิจมีการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 50 ของการลงทุนภาครัฐซึ่งรัฐวิสาหกิจจะมีบทบาทที่สําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคงตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่นโยบายเพื่อสนับสนุนการลงทุนของประเทศ เพื่อให้การลงทุนของภาครัฐขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10ตามเป้าหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เช่นการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ประจําปีงบประมาณ 2560 ซึ่งมีวงเงินลงทุนประมาณ 520,980 ล้านบาท ให้มากกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ให้เลื่อนการลงทุนให้เร็วขึ้น(Front Load)โดยขอให้เน้นการเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 1 ประจําปีงบประมาณ 2560 ให้มากขึ้น ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจต้องเร่งรัดรัฐวิสาหกิจให้เบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กําหนดที่95%ของบลงทุนอนุมัติ ซึ่งการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund: TFF) เป็นทางเลือกในการระดมเงินทุนของรัฐวิสาหกิจ ที่จะช่วยลดข้อจํากัดของการใช้แหล่งเงินทุนจากงบประมาณที่มีอยู่อย่างจํากัด และช่วยให้การบริหารจัดการหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเป็นไปอย่างรวดเร็วและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว โดยกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะมีส่วนสําคัญในการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจนําโครงการโครงสร้างพื้นฐานมาระดมทุนผ่านกองทุนรวมThailand Future Fundซึ่งจะช่วยลดข้อจํากัดด้านงบประมาณและหนี้สาธารณะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การขับเคลื่อนประเทศโดยได้ใช้กลไกประชารัฐวิสาหกิจเป็นการสานพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยการสนับสนุนให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private partnership: PPP) จะช่วยลดภาระทางการคลังของประเทศ โดยกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะต้องเร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจดําเนินPPPเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการสนับสนุนการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจ เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่สําคัญ ด้วยปราการ 3 ด่าน ดังนี้ 1) ปราการด่านที่ 1 (First Line of Defense) การยกระดับความโปร่งใสในการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบกํากับและตรวจสอบความโปร่งใสของภาครัฐในทุกหน่วยงาน ทั้งองค์กรอิสระและรัฐบาล 2) ปราการด่านที่ 2 (Second Line of Defense) ในโลกยุคปัจจุบันได้ให้ความสําคัญกับการเปิดเผยข้อมูล เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมโดยภาครัฐได้สร้างPlatformให้ภาคเอกชนประชาชน และประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับความโปร่งใสของรัฐวิสาหกิจ เช่นCoSTและIntegrity Pact3) ปราการด่านที่ 3 (Third Line of Defense) การสร้างค่านิยมและจริยธรรมของบุคลากรภายในองค์กรให้มีคุณธรรม สร้างความโปร่งใส และไม่ให้โกง ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะมีส่วนสําคัญในการสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะปลูกฝังค่านิยมและจริยธรรมให้กับตนเอง และบุคลากรภายในองค์กร เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ ทั้งนี้ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้รัฐวิสาหกิจในระยะยาว ได้แก่ การผลักดันร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... เพื่อยกระดับการกํากับดูแลและพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีความชัดเจน โปร่งใส และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารรัฐวิสาหกิจให้เป็นมาตรฐานสากลโดยมีหลักการสําคัญ ดังนี้ 1. การจัดตั้ง“คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ”(คนร.)ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกําหนดนโยบายและกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2557 2. การจัดทํา“แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ”ที่มีอายุ 5 ปี เพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3. การมีกลไกสร้างความโปร่งใสและความรับผิดรับชอบ โดยเปิดเผยข้อมูลการดําเนินนโยบายผ่านรัฐวิสาหกิจให้เกิดความโปร่งใส (Transparency) และทําให้เกิดความรับผิดรับชอบ (Accountability) ในการดําเนินนโยบาย 4. การมีกระบวนการคัดเลือกกรรมการรัฐวิสาหกิจที่โปร่งใสและเปิดเผยหลักเกณฑ์ วิธีการ และกระบวนการสรรหากรรมการต่อสาธารณะ โดยจะมีกําหนด สมรรถนะหลัก(Skill Matrix) เพื่อให้ได้คนดีและคนเก่งมาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ 5. การพัฒนาระบบประเมินผล ให้สามารถวัดผลการดําเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม 6. การจัดตั้ง“บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ” เพื่อทําหน้าที่ผู้ถือหุ้นเชิงรุก (Active shareholder) เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล สําหรับสิ่งสําคัญในการทํางานของกรรมการรัฐวิสาหกิจ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คือการกํากับควบคุมรัฐวิสาหกิจให้สามารถดําเนินงานตามแผนงาน ยุทธศาสตร์และบริหารกิจการด้วยธรรมาภิบาล เพื่อทําให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ มุ่งเน้นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลและประชาชน ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลประชาชนด้วยธรรมาภิบาลเช่นกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งอย่างสมดุล รวมไปถึงความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากที่ดีต่อไป พร้อมทั้ง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีผลการดําเนินการที่ดีและได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจว่า เป็นผลมาจากการกํากับดูแลที่ดี ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะเป็นส่วนสําคัญในการสร้างขวัญกําลังใจให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ และช่วยส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจมีความมุ่งมั่นในการดําเนินงานเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คํานึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชนเป็นสําคัญตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้บริหารต้องนําหลักสําคัญในการกํากับดูแลกิจการที่ดี(Good Governance) 6หลักการ คือหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มาใช้ในการบริหารงานภายในองค์การอย่างเป็นธรรมเพื่อเป็นผู้นําต้นแบบที่ดีด้านจริยธรรมและคุณธรรม ขณะเดียวกันหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงานต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามหลักการกํากับดูแลที่ดี รวมทั้งส่งเสริมให้น้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดําเนินงานของหน่วยงาน และเสริมสร้างด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะในเชิงรุก มีการเปิดเผยข้อมูลการดําเนินการให้ประชาชนรับทราบและการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐานสากล ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวฝากความห่วงใยและขอบคุณผู้บริหาร พนักงานรัฐวิสาหกิจและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทุกคน พร้อมขอให้ทุกคนร่วมกันสร้างความเข้มแข็ง สร้างวัฒนธรรมในองค์กรและมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของร่วมกันในการดํารงอยู่ขององค์กร โดยคํานึงถึงการให้บริการและประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อรายได้ของรัฐวิสาหกิจอีกด้วย ------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ มอบนโยบายประธานและกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ผู้บริหารนำแนวทางการกำกับดูแลที่ดีไปปฏิบัติทำให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เปิดเผยข้อมูลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างผู้เกี่ วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559 นายกฯ มอบนโยบายประธานและกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ผู้บริหารนําแนวทางการกํากับดูแลที่ดีไปปฏิบัติทําให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เปิดเผยข้อมูลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจระหว่างผู้เกี่ นายกฯ มอบนโยบายประธานและกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ผู้บริหารนําแนวทางการกํากับดูแลที่ดีไปปฏิบัติทําให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เปิดเผยข้อมูลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจระหว่างผู้เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายในการสัมมนาเสริมสร้างความรู้และธรรมาภิบาลของกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจในอนาคต โดยขอให้ผู้บริหารนําแนวทางการกํากับดูแลที่ดีไปปฏิบัติทําให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ มีการเปิดเผยข้อมูลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจระหว่างผู้เกี่ยวข้อง และดําเนินงานโดยไม่มุ่งหวังผลกําไรแต่เพียงอย่างเดียว ให้คํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศเป็นสําคัญ วันนี้ (29 ก.ย.59) เวลา14.00น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบ นโยบายในการสัมมนาเสริมสร้างความรู้และธรรมาภิบาลของกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจในอนาคต และการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของกรรมการและผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 55 แห่ง ให้สามารถดําเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามนโยบายของรัฐและแผนวิสาหกิจจัดโดยสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลังโดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมเวิลด์ บอลรูม ชั้น23โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงานว่า รัฐวิสาหกิจถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยรัฐวิสาหกิจมีสินทรัพย์มากกว่า 13.5 ล้านล้านบาท (มูลค่าเท่ากับ GDP ของประเทศ) รายได้รวม 5 ล้านล้านบาทมากกว่ารายได้ของรัฐบาล ใช้งบประมาณรายจ่ายแต่ละปี 4.8 ล้านล้านบาท เป็นแหล่งรายได้ที่สําคัญของรัฐบาลมากกว่า 1 แสนล้านบาท รวมทั้งสร้างงานประมาณ 4.3 แสนคน ทั้งนี้ การที่รัฐวิสาหกิจจะดําเนินการได้อย่างดีส่วนหนึ่งมาจากประธานกรรมการและกรรมการรัฐวิสาหกิจซึ่งถูกแต่งตั้งจากรัฐบาลเข้าไปทําหน้าที่กํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในการผลักดันนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้มีบทบาทเชิงรุกในการทํางานร่วมกับกรรมการรัฐวิสาหกิจมากขึ้นเพื่อประสานงานให้รัฐวิสาหกิจมีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดสัมมนาฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบนโยบายและทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้แก่ประธานกรรมการและกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อจะได้นําไปขับเคลื่อนรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความรู้ในเรื่องธรรมาภิบาลของกรรมการรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาลทั้งในด้านกฎหมายและการกํากับดูแล เพื่อให้ประธานและกรรมการรัฐวิสาหกิจนําไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาให้รัฐวิสาหกิจสามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เป็นภาระของภาครัฐ มีการบริหารจัดการที่ดีเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายฯ ให้แก่ประธานกรรมการและกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยกล่าวตอนหนึ่งเกี่ยวกับการทํางานร่วมกับกรรมการและผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาว่า การทํางานอาจจะมีบางเรื่องที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่การดําเนินงานที่ผ่านมาทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามขอฝากให้ทุกคนหันกลับมามองประเทศไทยโดยทบทวนการทํางานเพื่อหาจุดยืนของประเทศในประชาคมโลกในช่วง 5 ปี และ 10 – 20 ปี ข้างหน้า และยืนยันว่าการดําเนินงานของรัฐบาลยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นสําคัญ จึงขอให้ทุกคนร่วมกันดําเนินการในสิ่งที่ดีเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนประเทศไทยตามห้วงระยะเวลาที่กําหนดไว้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก่อนปฏิรูปประเทศต้องปฏิรูปตนเองก่อน เพื่อจะขยายไปสู่การดําเนินงานต่าง ๆ ขององค์กรให้ดีมากยิ่งขึ้น และนําไปสู่การปฏิรูปประเทศต่อไป ซึ่งดําเนินงานและการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจถือเป็น 1 ใน 37 วาระของการปฏิรูปประเทศ โดยมีความสําคัญในการที่จะปฏิรูปให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ การลงทุนในด้านธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในประชาคมโลก โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่ต้องสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็ง มีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ซึ่งหากทุกคนที่อยู่ในสังคมและองค์กรมีคุณธรรมก็จะทําให้เป็นองค์กรที่มีจริยธรรม และนําไปสู่การบริหารราชการที่มีธรรมาภิบาล ทั้งนี้ สิ่งสําคัญคือทุกคนต้องรู้จักอดทน เสียสละ และคํานึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้งมากกว่าประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งต้องคํานึกถึงหน้าที่หลักและบทบาทของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะเรื่องของการบริการต่อประชาชน และการดําเนินงานต้องไม่มุ่งหวังผลกําไรเพียงอย่างเดียว แต่ให้คํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสําคัญ สําหรับการบริหารราชบ้านเมืองให้มีธรรมาภิบาล ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน มีส่วนสําคัญในการเป็นกลไกประสานความร่วมมือกันอย่างบูรณาการเพื่อสร้างสังคมที่มีคุณธรรม เป็นองค์กรที่มีจริยธรรมและมีธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตลอดจนการปลูกฝังให้ประชาชนคนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งต้องใช้กลไกทั้งการแสดงออกที่มีต่อกันในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เปิดเผยโปร่งใส ปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น การสร้างความร่วมมือและบูรณาการระหว่างกัน ซึ่งจะทําให้การดําเนินงานต่าง ๆ ขององค์กรและประเทศสามารถเดินหน้าและขับเคลื่อนต่อไปได้ตามเป้าหมายที่กําหนด นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการดําเนินการปฏิรูปทั้งระบบอย่างเร่งด่วนว่า ต้องดําเนินการเชิงรุกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง การต่างประเทศ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหากทุกคนไม่ร่วมมือกันก็ไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไปได้ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจโลกยังมีปัญหาอยู่ อย่างไรก็ดีคณะทํางานด้านเศรษฐกิจและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชน และประชาชนได้ร่วมกันดําเนินการให้เศรษฐกิจของประเทศไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจมีส่วนสําคัญในการทําให้เศรษฐกิจในภาพรวมดีขึ้น โดยการขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนการใช้จ่ายทั้งระบบ เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อประชาชนทุกภาคส่วนในสังคม บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย มีเสถียรภาพ เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และเป็นประเทศที่น่าลงทุน ในส่วนของการขับเคลื่อนประเทศ นายรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการดําเนินการพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานให้มีมาตรฐานในระดับสากลและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศชาติโดยรวม ขณะเดียวกันฝากให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 55 แห่ง ได้นําผลการดําเนินงานของตนเองเปรียบเทียบกับการดําเนินงานของหน่วยงานจากต่างประเทศเพื่อนํามาพัฒนาปรับปรุงการดําเนินงานและกิจการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนปรับบทบาทการดําเนินงานให้สอดคล้องและทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของรัฐในการพัฒนาประเทศ และพัฒนากลไกกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจที่เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ สามารถคุ้มครองผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพแก่ประชาชนได้ตามมาตรฐานที่กําหนดไว้รวมทั้ง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์สินที่มีอยู่ของประเทศ และสามารถบริหารจัดการหนี้ทั้งในส่วนที่รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจรับภาระอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพเพื่อลดภาระทางการคลังของประเทศ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการค้า การลงทุนปัจจุบันที่มีอัตราเพิ่มขึ้นมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ว่า เกิดจากความร่วมมืออย่างเข้มแข็งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้ร่วมกันพัฒนาเพื่อวางรากฐานของประเทศให้ครอบคลุมทั้งด้านคมนาคม สาธารณูปโภคซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจํานวนมาก เพื่อสร้างความเชื่อมโยงประเทศไทยสู่ภูมิภาคต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์4.0เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศไปสู่จุดมุ่งหมาย “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน”รวมทั้งการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปีข้างหน้าอย่างเชื่อมโยงกันในทุกมิติ โดยแบ่งการดําเนินการเป็นช่วงละ 5 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งการดําเนินการตั้งแต่ในปี 2559 - 2560 จะเป็นระยะเริ่มต้นที่รัฐบาลชุดปัจจุบันวางรากฐานไว้ให้ในเรื่องของการปฏิรูปเพื่อสามารถขับเคลื่อนประเทศต่อไปตามเป้าหมายที่กําหนด ทั้งนี้รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการกําหนดโครงสร้างการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจในภาพรวมให้ชัดเจน เช่นกําหนดแนวนโยบายการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ผู้กําหนดนโยบาย (Policy Maker)โดยกระทรวงเจ้าสังกัด จะเป็นผู้ให้นโยบายในการดําเนินการกับรัฐวิสาหกิจองค์กรเจ้าของ (Owner)ดูแลฐานะการเงิน การบริหารทรัพย์สิน ให้เพิ่มมูลค่า การประเมินผล และความสําเร็จขององค์กรผู้กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจรายสาขา (Regulator)จะควบคุมราคาคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการ รวมทั้งดูแลให้มีการแข่งขันที่เท่าเทียมระหว่างรัฐวิสาหกิจและเอกชน พร้อมขอให้ผู้บริหารทุกคนนําแนวทางการกํากับดูแลที่ดี (GoodGovernance) ไปปฏิบัติ โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลของรัฐวิสาหกิจมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจระหว่างผู้เกี่ยวข้อง (Checks and Balances) และมีระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ ให้สอดคล้องกับบทบาท หน้าที่และพันธกิจที่ได้รับจากรัฐบาล นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ทําหน้าที่กํากับดูแลและติดตามผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะมีส่วนสําคัญในการผลักดันนโยบายสําคัญของรัฐบาลและของกระทรวงเจ้าสังกัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์และบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับรัฐวิสาหกิจ โดยจะต้องดําเนินการภายใต้กฎและกติกาของผู้กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจรายสาขาอย่างเคร่งครัด พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจไทยในภาพรวมมีจํานวน 55 แห่ง มีมูลค่าทรัพย์สินรวมกันประมาณ 13 ล้านล้านบาทและในปีหนึ่งๆ รัฐวิสาหกิจมีการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 50 ของการลงทุนภาครัฐซึ่งรัฐวิสาหกิจจะมีบทบาทที่สําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคงตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่นโยบายเพื่อสนับสนุนการลงทุนของประเทศ เพื่อให้การลงทุนของภาครัฐขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10ตามเป้าหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เช่นการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ประจําปีงบประมาณ 2560 ซึ่งมีวงเงินลงทุนประมาณ 520,980 ล้านบาท ให้มากกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ให้เลื่อนการลงทุนให้เร็วขึ้น(Front Load)โดยขอให้เน้นการเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 1 ประจําปีงบประมาณ 2560 ให้มากขึ้น ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจต้องเร่งรัดรัฐวิสาหกิจให้เบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กําหนดที่95%ของบลงทุนอนุมัติ ซึ่งการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund: TFF) เป็นทางเลือกในการระดมเงินทุนของรัฐวิสาหกิจ ที่จะช่วยลดข้อจํากัดของการใช้แหล่งเงินทุนจากงบประมาณที่มีอยู่อย่างจํากัด และช่วยให้การบริหารจัดการหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเป็นไปอย่างรวดเร็วและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว โดยกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะมีส่วนสําคัญในการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจนําโครงการโครงสร้างพื้นฐานมาระดมทุนผ่านกองทุนรวมThailand Future Fundซึ่งจะช่วยลดข้อจํากัดด้านงบประมาณและหนี้สาธารณะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การขับเคลื่อนประเทศโดยได้ใช้กลไกประชารัฐวิสาหกิจเป็นการสานพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยการสนับสนุนให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private partnership: PPP) จะช่วยลดภาระทางการคลังของประเทศ โดยกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะต้องเร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจดําเนินPPPเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการสนับสนุนการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจ เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่สําคัญ ด้วยปราการ 3 ด่าน ดังนี้ 1) ปราการด่านที่ 1 (First Line of Defense) การยกระดับความโปร่งใสในการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบกํากับและตรวจสอบความโปร่งใสของภาครัฐในทุกหน่วยงาน ทั้งองค์กรอิสระและรัฐบาล 2) ปราการด่านที่ 2 (Second Line of Defense) ในโลกยุคปัจจุบันได้ให้ความสําคัญกับการเปิดเผยข้อมูล เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมโดยภาครัฐได้สร้างPlatformให้ภาคเอกชนประชาชน และประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับความโปร่งใสของรัฐวิสาหกิจ เช่นCoSTและIntegrity Pact3) ปราการด่านที่ 3 (Third Line of Defense) การสร้างค่านิยมและจริยธรรมของบุคลากรภายในองค์กรให้มีคุณธรรม สร้างความโปร่งใส และไม่ให้โกง ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะมีส่วนสําคัญในการสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะปลูกฝังค่านิยมและจริยธรรมให้กับตนเอง และบุคลากรภายในองค์กร เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ ทั้งนี้ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้รัฐวิสาหกิจในระยะยาว ได้แก่ การผลักดันร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... เพื่อยกระดับการกํากับดูแลและพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีความชัดเจน โปร่งใส และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารรัฐวิสาหกิจให้เป็นมาตรฐานสากลโดยมีหลักการสําคัญ ดังนี้ 1. การจัดตั้ง“คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ”(คนร.)ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกําหนดนโยบายและกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2557 2. การจัดทํา“แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ”ที่มีอายุ 5 ปี เพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3. การมีกลไกสร้างความโปร่งใสและความรับผิดรับชอบ โดยเปิดเผยข้อมูลการดําเนินนโยบายผ่านรัฐวิสาหกิจให้เกิดความโปร่งใส (Transparency) และทําให้เกิดความรับผิดรับชอบ (Accountability) ในการดําเนินนโยบาย 4. การมีกระบวนการคัดเลือกกรรมการรัฐวิสาหกิจที่โปร่งใสและเปิดเผยหลักเกณฑ์ วิธีการ และกระบวนการสรรหากรรมการต่อสาธารณะ โดยจะมีกําหนด สมรรถนะหลัก(Skill Matrix) เพื่อให้ได้คนดีและคนเก่งมาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ 5. การพัฒนาระบบประเมินผล ให้สามารถวัดผลการดําเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม 6. การจัดตั้ง“บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ” เพื่อทําหน้าที่ผู้ถือหุ้นเชิงรุก (Active shareholder) เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล สําหรับสิ่งสําคัญในการทํางานของกรรมการรัฐวิสาหกิจ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คือการกํากับควบคุมรัฐวิสาหกิจให้สามารถดําเนินงานตามแผนงาน ยุทธศาสตร์และบริหารกิจการด้วยธรรมาภิบาล เพื่อทําให้ประชาชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ มุ่งเน้นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลและประชาชน ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลประชาชนด้วยธรรมาภิบาลเช่นกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งอย่างสมดุล รวมไปถึงความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากที่ดีต่อไป พร้อมทั้ง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีผลการดําเนินการที่ดีและได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจว่า เป็นผลมาจากการกํากับดูแลที่ดี ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะเป็นส่วนสําคัญในการสร้างขวัญกําลังใจให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ และช่วยส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจมีความมุ่งมั่นในการดําเนินงานเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คํานึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชนเป็นสําคัญตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้บริหารต้องนําหลักสําคัญในการกํากับดูแลกิจการที่ดี(Good Governance) 6หลักการ คือหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มาใช้ในการบริหารงานภายในองค์การอย่างเป็นธรรมเพื่อเป็นผู้นําต้นแบบที่ดีด้านจริยธรรมและคุณธรรม ขณะเดียวกันหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงานต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามหลักการกํากับดูแลที่ดี รวมทั้งส่งเสริมให้น้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดําเนินงานของหน่วยงาน และเสริมสร้างด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะในเชิงรุก มีการเปิดเผยข้อมูลการดําเนินการให้ประชาชนรับทราบและการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐานสากล ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวฝากความห่วงใยและขอบคุณผู้บริหาร พนักงานรัฐวิสาหกิจและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทุกคน พร้อมขอให้ทุกคนร่วมกันสร้างความเข้มแข็ง สร้างวัฒนธรรมในองค์กรและมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของร่วมกันในการดํารงอยู่ขององค์กร โดยคํานึงถึงการให้บริการและประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อรายได้ของรัฐวิสาหกิจอีกด้วย ------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/521
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ มอบหน้ากากผ้าและแอลกอฮอล์ให้โรงพยาบาลสงฆ์ สำหรับแจกจ่ายกับประชาชนผู้มาติดต่อ หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
วันอังคารที่ 28 เมษายน 2563 ก.อุตฯ มอบหน้ากากผ้าและแอลกอฮอล์ให้โรงพยาบาลสงฆ์ สําหรับแจกจ่ายกับประชาชนผู้มาติดต่อ หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหน้ากากผ้า จํานวน 2,000 ชิ้น และแอลกอฮอล์ชนิดน้ําจํานวน 200 ลิตร ให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ วันนี้ (28 เม.ย. 63) นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหน้ากากผ้า จํานวน 2,000 ชิ้น และแอลกอฮอล์ชนิดน้ําจํานวน 200 ลิตร ให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ สําหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้มาติดต่อ หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยมี นายแพทย์รัฐดํารงค์ ธรรมโชติ รองผู้อํานวยการด้านการแพทย์โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นผู้รับมอบ ณ โรงพยาบาลสงฆ์
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ มอบหน้ากากผ้าและแอลกอฮอล์ให้โรงพยาบาลสงฆ์ สำหรับแจกจ่ายกับประชาชนผู้มาติดต่อ หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย วันอังคารที่ 28 เมษายน 2563 ก.อุตฯ มอบหน้ากากผ้าและแอลกอฮอล์ให้โรงพยาบาลสงฆ์ สําหรับแจกจ่ายกับประชาชนผู้มาติดต่อ หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหน้ากากผ้า จํานวน 2,000 ชิ้น และแอลกอฮอล์ชนิดน้ําจํานวน 200 ลิตร ให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ วันนี้ (28 เม.ย. 63) นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหน้ากากผ้า จํานวน 2,000 ชิ้น และแอลกอฮอล์ชนิดน้ําจํานวน 200 ลิตร ให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ สําหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้มาติดต่อ หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยมี นายแพทย์รัฐดํารงค์ ธรรมโชติ รองผู้อํานวยการด้านการแพทย์โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นผู้รับมอบ ณ โรงพยาบาลสงฆ์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29888
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
วันพุธที่ 13 มิถุนายน 2561 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นการวางแผนอนาคตของประเทศอย่างมีเป้าหมายว่าจะพัฒนาไปในทิศทางใด โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 9 มิ.ย. 2561 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นการวางแผนอนาคตของประเทศอย่างมีเป้าหมายว่าจะพัฒนาไปในทิศทางใด โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ครอบคลุมการดําเนินงานด้านความมั่นคง การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลจะบริหารประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ เพื่อให้ทุกส่วนราชการนําไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศไทย ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี วันพุธที่ 13 มิถุนายน 2561 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นการวางแผนอนาคตของประเทศอย่างมีเป้าหมายว่าจะพัฒนาไปในทิศทางใด โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 9 มิ.ย. 2561 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นการวางแผนอนาคตของประเทศอย่างมีเป้าหมายว่าจะพัฒนาไปในทิศทางใด โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ครอบคลุมการดําเนินงานด้านความมั่นคง การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลจะบริหารประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ เพื่อให้ทุกส่วนราชการนําไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศไทย ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13012
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพิจารณาแก้หนี้เกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐอื่น
วันอังคารที่ 25 กันยายน 2561 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพิจารณาแก้หนี้เกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐอื่น กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพิจารณาแก้หนี้เกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐอื่น หากเข้าเกณฑ์ที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ ย้ํารอให้ครม.เห็นชอบแนวทางแก้หนี้ ธกส. ที่เสนอก่อน นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังรับหนังสือข้อเรียกร้องของสมาพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย ว่า ทางสมาพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทยได้เข้ามายื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ขอให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ปรับปรุงแก้ไขระเบียบการรับขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร เนื่องจากมีรายละเอียดมากเกินไป และเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาบางอย่างเกินความจําเป็น ซึ่งทาง กฟก. จะรับไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไข 2. ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ต่อคณะรัฐมนตรี นั้น ทางสมาพันธ์เกษตรกรฯ ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐอื่นๆ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยขอให้เสนอต่อ ครม. เพิ่มเติมไปในคราวเดียวกันกับลูกหนี้ ธกส. ด้วย ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ ขอให้ ครม. เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ ธกส. ซึ่งเป็นหนี้ก้อนใหญ่เสียก่อน จากนั้นจะเชิญธนาคารรัฐอื่นๆ มารับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในกลุ่มดังกล่าวต่อไป และ 3. ขอให้ กฟก. เข้าบริหารจัดการรับซื้อหนี้ที่เกิน 2.5 ล้านบาท ซึ่งอ้างว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร นั้น แต่เนื่องจากสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบและพิจารณาว่าจะซื้อหนี้ได้เฉพาะที่เป็นหนี้ในภาคการเกษตรเท่านั้น และในจํานวน 2,000 ราย มูลหนี้ 600 กว่าล้านบาทที่ขอให้ช่วยเหลือ ไม่ได้เป็นหนี้ที่เกิดจากการเกษตร จึงจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทน 4 ฝ่าย คือ กฟก. ตัวแทนจากเกษตรกร ธนาคารเจ้าหนี้ และกระทรวงเกษตรฯ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือในขั้นต่อไป กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพิจารณาแก้หนี้เกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐอื่น วันอังคารที่ 25 กันยายน 2561 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพิจารณาแก้หนี้เกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐอื่น กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพิจารณาแก้หนี้เกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐอื่น หากเข้าเกณฑ์ที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ ย้ํารอให้ครม.เห็นชอบแนวทางแก้หนี้ ธกส. ที่เสนอก่อน นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังรับหนังสือข้อเรียกร้องของสมาพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย ว่า ทางสมาพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทยได้เข้ามายื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ขอให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ปรับปรุงแก้ไขระเบียบการรับขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร เนื่องจากมีรายละเอียดมากเกินไป และเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาบางอย่างเกินความจําเป็น ซึ่งทาง กฟก. จะรับไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไข 2. ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ต่อคณะรัฐมนตรี นั้น ทางสมาพันธ์เกษตรกรฯ ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐอื่นๆ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยขอให้เสนอต่อ ครม. เพิ่มเติมไปในคราวเดียวกันกับลูกหนี้ ธกส. ด้วย ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ ขอให้ ครม. เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ ธกส. ซึ่งเป็นหนี้ก้อนใหญ่เสียก่อน จากนั้นจะเชิญธนาคารรัฐอื่นๆ มารับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในกลุ่มดังกล่าวต่อไป และ 3. ขอให้ กฟก. เข้าบริหารจัดการรับซื้อหนี้ที่เกิน 2.5 ล้านบาท ซึ่งอ้างว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร นั้น แต่เนื่องจากสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบและพิจารณาว่าจะซื้อหนี้ได้เฉพาะที่เป็นหนี้ในภาคการเกษตรเท่านั้น และในจํานวน 2,000 ราย มูลหนี้ 600 กว่าล้านบาทที่ขอให้ช่วยเหลือ ไม่ได้เป็นหนี้ที่เกิดจากการเกษตร จึงจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทน 4 ฝ่าย คือ กฟก. ตัวแทนจากเกษตรกร ธนาคารเจ้าหนี้ และกระทรวงเกษตรฯ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือในขั้นต่อไป กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15626
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. มอบนโยบายแกนนำเด็กและเยาวชน ก่อนออกเดินสายสร้างเครือข่าย “วิศวกรสังคม” ร่วมแก้ปัญหาสังคมทั่วประเทศ
วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2562 รมว.พม. มอบนโยบายแกนนําเด็กและเยาวชน ก่อนออกเดินสายสร้างเครือข่าย “วิศวกรสังคม” ร่วมแก้ปัญหาสังคมทั่วประเทศ รมว.พม. มอบนโยบายแกนนําเด็กและเยาวชน ก่อนออกเดินสายสร้างเครือข่าย “วิศวกรสังคม” ร่วมแก้ปัญหาสังคมทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 62 เวลา 13.00 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานมอบนโยบายในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนําและเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน เพื่อสร้าง "วิศวกรสังคม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน และผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และเป็นแกนนํา วิศวกรทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งกําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 8 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมพัชราวดี 1 โรงแรมปริ๊นซ์พาเลส มหานาค กรุงเทพฯ นายจุติ กล่าวว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 36 กําหนดให้ กระทรวง พม. โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนส่งเสริม (ดย.) สนับสนุนการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดย ผ่านกระบวนการดําเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ภายใต้หลักการ "เด็กคิด เด็กทํา เด็กนํา ผู้ใหญ่หนุน” อีกทั้ง มีการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนระดับตําบล เทศบาล อําเภอ เขต จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย รวมจํานวน 8,780 แห่ง นายจุติ กล่าวต่อว่า และจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเตรียมความพร้อมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้นํา การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะที่จําเป็น อาทิ มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจ/ใส่ใจเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีวิจารณญาณก่อนตัดสินใจ สามารถพูดคุยสื่อสารกับบุคคลต่างๆ นําเสนอหน้าสาธารณชนได้ดี มีจิตอาสา เต็มใจให้ความร่วมมือให้ความช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ติดตามข่าวความเคลื่อนไหว รู้เท่าทันสื่อ เข้าใจในวัฒนธรรมและความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีความเป็นผู้นําที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีวินัย หมั่นหาความรู้รอบด้าน พร้อมเรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว ทําตัวเป็นน้ําครึ่งแก้วอยู่เสมอ และเป็นแกนนําขับเคลื่อนการป้องกัน การทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวง พม. โดย ดย. จึงได้จัดทําหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ เพื่อพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน และผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน ภายใต้ การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนําและเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน เพื่อสร้าง "วิศวกรสังคม” นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนต่อปัญหาสังคมและสามารถพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมสู่การเป็นผู้นําในศตวรรษที่ 21 รวมถึงสามารถดูแลและพัฒนากลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้ นับว่าเป็นการสร้างแกนนําเด็กและเยาวชนที่มีความรู้ มีภาวะผู้นํา และมีจิตอาสา ซึ่งต่อไปแกนนําเด็กและเยาวชนที่ผ่านการอบรมครั้งนี้ จะได้เดินสายออกไปสร้างแกนนําและขยายเครือข่าย "วิศวกรสังคม” ทั้งในระดับตําบล เทศบาล อําเภอ เขต และจังหวัด ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทยต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. มอบนโยบายแกนนำเด็กและเยาวชน ก่อนออกเดินสายสร้างเครือข่าย “วิศวกรสังคม” ร่วมแก้ปัญหาสังคมทั่วประเทศ วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2562 รมว.พม. มอบนโยบายแกนนําเด็กและเยาวชน ก่อนออกเดินสายสร้างเครือข่าย “วิศวกรสังคม” ร่วมแก้ปัญหาสังคมทั่วประเทศ รมว.พม. มอบนโยบายแกนนําเด็กและเยาวชน ก่อนออกเดินสายสร้างเครือข่าย “วิศวกรสังคม” ร่วมแก้ปัญหาสังคมทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 62 เวลา 13.00 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานมอบนโยบายในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนําและเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน เพื่อสร้าง "วิศวกรสังคม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน และผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และเป็นแกนนํา วิศวกรทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งกําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 8 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมพัชราวดี 1 โรงแรมปริ๊นซ์พาเลส มหานาค กรุงเทพฯ นายจุติ กล่าวว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 36 กําหนดให้ กระทรวง พม. โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนส่งเสริม (ดย.) สนับสนุนการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดย ผ่านกระบวนการดําเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ภายใต้หลักการ "เด็กคิด เด็กทํา เด็กนํา ผู้ใหญ่หนุน” อีกทั้ง มีการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนระดับตําบล เทศบาล อําเภอ เขต จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย รวมจํานวน 8,780 แห่ง นายจุติ กล่าวต่อว่า และจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเตรียมความพร้อมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้นํา การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะที่จําเป็น อาทิ มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจ/ใส่ใจเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีวิจารณญาณก่อนตัดสินใจ สามารถพูดคุยสื่อสารกับบุคคลต่างๆ นําเสนอหน้าสาธารณชนได้ดี มีจิตอาสา เต็มใจให้ความร่วมมือให้ความช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ติดตามข่าวความเคลื่อนไหว รู้เท่าทันสื่อ เข้าใจในวัฒนธรรมและความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีความเป็นผู้นําที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีวินัย หมั่นหาความรู้รอบด้าน พร้อมเรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว ทําตัวเป็นน้ําครึ่งแก้วอยู่เสมอ และเป็นแกนนําขับเคลื่อนการป้องกัน การทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวง พม. โดย ดย. จึงได้จัดทําหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ เพื่อพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน และผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน ภายใต้ การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนําและเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน เพื่อสร้าง "วิศวกรสังคม” นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนต่อปัญหาสังคมและสามารถพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมสู่การเป็นผู้นําในศตวรรษที่ 21 รวมถึงสามารถดูแลและพัฒนากลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้ นับว่าเป็นการสร้างแกนนําเด็กและเยาวชนที่มีความรู้ มีภาวะผู้นํา และมีจิตอาสา ซึ่งต่อไปแกนนําเด็กและเยาวชนที่ผ่านการอบรมครั้งนี้ จะได้เดินสายออกไปสร้างแกนนําและขยายเครือข่าย "วิศวกรสังคม” ทั้งในระดับตําบล เทศบาล อําเภอ เขต และจังหวัด ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทยต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22909
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน หารือร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 [กระทรวงแรงงาน]
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563 ก.แรงงาน หารือร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 [กระทรวงแรงงาน] ก.แรงงาน หารือร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วันที่ 10 เมษายน 2563 เวลา 14.30 น. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับผู้แทนจากสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการเข้าหารือมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากภาวะการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะประเด็นปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและแรงงานก่อสร้างที่ทยอยกลับภูมิลําเนา ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริการสัญญาและการบริหารงานโครงการก่อสร้างล่าช้าออกไป ณ ห้องจัตุมงคล ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน ปรีชา ขยัน – ภาพ/ข่าว กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 10 เมษายน 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน หารือร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 [กระทรวงแรงงาน] วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563 ก.แรงงาน หารือร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 [กระทรวงแรงงาน] ก.แรงงาน หารือร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วันที่ 10 เมษายน 2563 เวลา 14.30 น. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับผู้แทนจากสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการเข้าหารือมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากภาวะการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะประเด็นปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและแรงงานก่อสร้างที่ทยอยกลับภูมิลําเนา ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริการสัญญาและการบริหารงานโครงการก่อสร้างล่าช้าออกไป ณ ห้องจัตุมงคล ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน ปรีชา ขยัน – ภาพ/ข่าว กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 10 เมษายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28822
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระ​ทรวง​ยุติธรรม​ ประชุม​คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล​  (กองทุน​ยุติธรรม)​
วันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2563 ปลัดกระ​ทรวง​ยุติธรรม​ ประชุม​คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล​ (กองทุน​ยุติธรรม)​ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล (กองทุนยุติธรรม) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ ในวันอังคารที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๖ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล (กองทุนยุติธรรม) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ โดยมี​ นางสาวรวิวรรณ์ ศรีวนาภิรมย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม​ นายวัลลภ​ นาคบัว​ ผู้อํานวยการ​สํานักงาน​กิจการ​ยุติธรรม​ และนายมนินธ์ สุทธิวัฒนานิติ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนยุติธรรม พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ​ เข้าร่วม​ฯ​ โดยที่ประชุมรับทราบมติคณะกรรมการ​กองทุน​ยุติธรรม​ ครั้ง​ที่​ ๕/๒๕๖๓​ เรื่อง​ การดําเนิน​การสรรหาบุคล​ากรของ​สํานักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ รวมทั้ง​ ร่างประกาศ​สํานักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ เรื่อง​ หลักเกณฑ์​และ​วิธีการ​ประเมินผล​ การปฏิบัติ​งาน​ของพนักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ นอกจากนี้​ที่ประชุม​พิจารณา​ การดําเนิน​การสรรหาและเลือกสรรพนักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ ตลอดจนร่างคําสั่ง​สํานักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ เรื่อง​ แต่ง​ตั้งคณะทํางาน​เพื่อ​จัดทําแผนเส้นทาง​ความก้าวหน้า​ในสายอาชีพ​ (Career Path) รวมทั้ง​ร่าง​แผนกลยุทธ์​ด้านการบริหารทรัพยากร​บุคคล​กองทุน​ยุติธรรม​ (พ.ศ.๒๕๖๓​ -​ ๒๕๖๕) ฉบับทบทวน​ และร่างแผนปฏิบัติการด้าน​การบริหาร​ทรัพยากร​บุคคล​กองทุน​ยุติธรรม​ ประจํา​ปีงบประมาณ​ พ.ศ.​๒๕๖๔​
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระ​ทรวง​ยุติธรรม​ ประชุม​คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล​  (กองทุน​ยุติธรรม)​ วันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2563 ปลัดกระ​ทรวง​ยุติธรรม​ ประชุม​คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล​ (กองทุน​ยุติธรรม)​ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล (กองทุนยุติธรรม) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ ในวันอังคารที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๖ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล (กองทุนยุติธรรม) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ โดยมี​ นางสาวรวิวรรณ์ ศรีวนาภิรมย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม​ นายวัลลภ​ นาคบัว​ ผู้อํานวยการ​สํานักงาน​กิจการ​ยุติธรรม​ และนายมนินธ์ สุทธิวัฒนานิติ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนยุติธรรม พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ​ เข้าร่วม​ฯ​ โดยที่ประชุมรับทราบมติคณะกรรมการ​กองทุน​ยุติธรรม​ ครั้ง​ที่​ ๕/๒๕๖๓​ เรื่อง​ การดําเนิน​การสรรหาบุคล​ากรของ​สํานักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ รวมทั้ง​ ร่างประกาศ​สํานักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ เรื่อง​ หลักเกณฑ์​และ​วิธีการ​ประเมินผล​ การปฏิบัติ​งาน​ของพนักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ นอกจากนี้​ที่ประชุม​พิจารณา​ การดําเนิน​การสรรหาและเลือกสรรพนักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ ตลอดจนร่างคําสั่ง​สํานักงาน​กองทุน​ยุติธรรม​ เรื่อง​ แต่ง​ตั้งคณะทํางาน​เพื่อ​จัดทําแผนเส้นทาง​ความก้าวหน้า​ในสายอาชีพ​ (Career Path) รวมทั้ง​ร่าง​แผนกลยุทธ์​ด้านการบริหารทรัพยากร​บุคคล​กองทุน​ยุติธรรม​ (พ.ศ.๒๕๖๓​ -​ ๒๕๖๕) ฉบับทบทวน​ และร่างแผนปฏิบัติการด้าน​การบริหาร​ทรัพยากร​บุคคล​กองทุน​ยุติธรรม​ ประจํา​ปีงบประมาณ​ พ.ศ.​๒๕๖๔​
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31829
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอแนะนักธุรกิจไทยรุกลงทุนใน 5 ประเทศตลาดใหม่
วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2560 บีโอไอแนะนักธุรกิจไทยรุกลงทุนใน 5 ประเทศตลาดใหม่ บีโอไอ จัดสัมมนาแนะโอกาสขยายการลงทุนไทยใน 5 ประเทศตลาดใหม่ ทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอธิโอเปีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และแทนซาเนีย พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญแต่ละประเทศมาเล่าประสบการณ์ด้านการค้าการลงทุน นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายในงาน สัมมนา “โอกาสการลงทุนไทยในประเทศตลาดใหม่: สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอธิโอเปีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และแทนซาเนีย” ว่า ทั้ง 5 ประเทศ อยู่ในกลุ่มประเทศตลาดใหม่ที่น่าสนใจ และบีโอไอเห็นว่ามีศักยภาพทางการตลาดที่นักลงทุนไทยควรขยายการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศตลาดใหม่ นอกเหนือจากการลงทุนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และประเทศในอาเซียน การสัมมนาครั้งนี้ บีโอไอ โดยกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ได้นําเสนอผลการศึกษาโอกาสการลงทุนใน5ประเทศดังกล่าว ซึ่งครอบคลุมข้อมูลเชิงลึกทุกด้าน อาทิ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎระเบียบ ตลอดจนอุปสรรคและข้อควรระวัง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนไทย เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน “ศักยภาพที่พร้อมรองรับการลงทุนของทั้ง 5 ประเทศไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้าม การลงทุนในต่างประเทศจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ประกอบกับการใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ของประเทศเป้าหมายที่ต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ สิ่งเหล่านี้จะทําให้นักลงทุนไทยลดความเสี่ยงจากการลงทุนภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศต่างก็มีความท้าทาย และปัญหาอุปสรรค ต่างกัน ซึ่งผลการศึกษาของบีโอไอครั้งนี้ จะเป็นส่วนสําคัญที่ช่วยให้นักลงทุนได้ใช้ศึกษาความเป็นไปได้ก่อนตัดสินใจต่อไป” นายโชคดี กล่าว นางสาวอรสา ไพบูลย์ ผู้อํานวยการกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ บีโอไอ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน บีโอไอได้ศึกษาโอกาสและลู่ทางการลงทุนที่เป็นข้อมูลเชิงลึกสําหรับนักลงทุนไทย เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ ครอบคลุมกลุ่มประเทศ แอฟริกา เอเชียกลาง เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง รวมแล้ว กว่า25ประเทศ สําหรับภายในงานสัมมนาครั้งนี้ บีโอไอได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการค้าการลงทุนในแต่ละประเทศร่วมให้ข้อมูล ถ่ายทอดประสบการณ์ และข้อแนะนําแก่นักลงทุนอีกด้วย ทั้งนี้ความน่าสนใจของแต่ละประเทศ สรุปได้ดังนี้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศที่มี รายได้สูงที่กําลังลดการพึ่งพารายได้จากน้ํามัน และมุ่งส่งเสริมธุรกิจในสาขาอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นประเทศที่เปิดกว้างสําหรับการลงทุนและแรงงานจากต่างชาติ เอธิโอเปียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยธนาคารโลก ประเมินว่าในปี2560จะเติบโต ด้วยอัตราก้าวกระโดดเป็นอันดับ1ของโลก ที่ร้อยละ8.3 อินเดียมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูงมีจํานวนประชากรมากถึง1,300ล้านคน สะท้อนถึงตลาดในประเทศขนาดมหาศาล โดยเฉพาะตลาดรถยนต์ในประเทศที่กําลังเติบโต และยังมีอุตสาหกรรมสนับสนุนจํานวนมากในราคาถูก เช่น เหล็ก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตสําหรับภาคอุตสาหกรรม แอฟริกาใต้มีความพร้อมของทรัพยากร มีที่ดินอุดมสมบูรณ์ มีความง่ายในการเริ่มทําธุรกิจ และเปิดกว้างสําหรับการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งยังมีศักยภาพทางด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง รวมถึงการเป็นฐานการผลิตของบริษัทยานยนต์หลายรายเพื่อส่งไปจําหน่ายในยุโรป และประเทศอื่น ๆใกล้เคียง จึงเหมาะต่อการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ แทนซาเนียมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก การแปรรูปพืชผลทางการเกษตร การประมง และการแปรรูปสัตว์น้ํา +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอแนะนักธุรกิจไทยรุกลงทุนใน 5 ประเทศตลาดใหม่ วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2560 บีโอไอแนะนักธุรกิจไทยรุกลงทุนใน 5 ประเทศตลาดใหม่ บีโอไอ จัดสัมมนาแนะโอกาสขยายการลงทุนไทยใน 5 ประเทศตลาดใหม่ ทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอธิโอเปีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และแทนซาเนีย พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญแต่ละประเทศมาเล่าประสบการณ์ด้านการค้าการลงทุน นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายในงาน สัมมนา “โอกาสการลงทุนไทยในประเทศตลาดใหม่: สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอธิโอเปีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และแทนซาเนีย” ว่า ทั้ง 5 ประเทศ อยู่ในกลุ่มประเทศตลาดใหม่ที่น่าสนใจ และบีโอไอเห็นว่ามีศักยภาพทางการตลาดที่นักลงทุนไทยควรขยายการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศตลาดใหม่ นอกเหนือจากการลงทุนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และประเทศในอาเซียน การสัมมนาครั้งนี้ บีโอไอ โดยกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ได้นําเสนอผลการศึกษาโอกาสการลงทุนใน5ประเทศดังกล่าว ซึ่งครอบคลุมข้อมูลเชิงลึกทุกด้าน อาทิ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎระเบียบ ตลอดจนอุปสรรคและข้อควรระวัง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนไทย เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน “ศักยภาพที่พร้อมรองรับการลงทุนของทั้ง 5 ประเทศไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้าม การลงทุนในต่างประเทศจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ประกอบกับการใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ของประเทศเป้าหมายที่ต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ สิ่งเหล่านี้จะทําให้นักลงทุนไทยลดความเสี่ยงจากการลงทุนภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศต่างก็มีความท้าทาย และปัญหาอุปสรรค ต่างกัน ซึ่งผลการศึกษาของบีโอไอครั้งนี้ จะเป็นส่วนสําคัญที่ช่วยให้นักลงทุนได้ใช้ศึกษาความเป็นไปได้ก่อนตัดสินใจต่อไป” นายโชคดี กล่าว นางสาวอรสา ไพบูลย์ ผู้อํานวยการกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ บีโอไอ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน บีโอไอได้ศึกษาโอกาสและลู่ทางการลงทุนที่เป็นข้อมูลเชิงลึกสําหรับนักลงทุนไทย เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ ครอบคลุมกลุ่มประเทศ แอฟริกา เอเชียกลาง เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง รวมแล้ว กว่า25ประเทศ สําหรับภายในงานสัมมนาครั้งนี้ บีโอไอได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการค้าการลงทุนในแต่ละประเทศร่วมให้ข้อมูล ถ่ายทอดประสบการณ์ และข้อแนะนําแก่นักลงทุนอีกด้วย ทั้งนี้ความน่าสนใจของแต่ละประเทศ สรุปได้ดังนี้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศที่มี รายได้สูงที่กําลังลดการพึ่งพารายได้จากน้ํามัน และมุ่งส่งเสริมธุรกิจในสาขาอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นประเทศที่เปิดกว้างสําหรับการลงทุนและแรงงานจากต่างชาติ เอธิโอเปียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยธนาคารโลก ประเมินว่าในปี2560จะเติบโต ด้วยอัตราก้าวกระโดดเป็นอันดับ1ของโลก ที่ร้อยละ8.3 อินเดียมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูงมีจํานวนประชากรมากถึง1,300ล้านคน สะท้อนถึงตลาดในประเทศขนาดมหาศาล โดยเฉพาะตลาดรถยนต์ในประเทศที่กําลังเติบโต และยังมีอุตสาหกรรมสนับสนุนจํานวนมากในราคาถูก เช่น เหล็ก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตสําหรับภาคอุตสาหกรรม แอฟริกาใต้มีความพร้อมของทรัพยากร มีที่ดินอุดมสมบูรณ์ มีความง่ายในการเริ่มทําธุรกิจ และเปิดกว้างสําหรับการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งยังมีศักยภาพทางด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง รวมถึงการเป็นฐานการผลิตของบริษัทยานยนต์หลายรายเพื่อส่งไปจําหน่ายในยุโรป และประเทศอื่น ๆใกล้เคียง จึงเหมาะต่อการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ แทนซาเนียมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก การแปรรูปพืชผลทางการเกษตร การประมง และการแปรรูปสัตว์น้ํา +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6149
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รมช.วิวัฒน์” ติดตามการดำเนินงานความร่วมมือฝนหลวงฯกับกองทัพอากาศ ปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งพายุฤดูร้อนและลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 “รมช.วิวัฒน์” ติดตามการดําเนินงานความร่วมมือฝนหลวงฯกับกองทัพอากาศ ปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งพายุฤดูร้อนและลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ “รมช.วิวัฒน์” ติดตามการดําเนินงานความร่วมมือฝนหลวงฯกับกองทัพอากาศ ปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งพายุฤดูร้อนและลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ หนุนสร้างอาสาสมัครฝนหลวงภาคพื้นอากาศ พร้อมเพิ่มอาสาสมัครฝนหลวงภาคพื้นดินให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง นายวิวัฒน์ศัลยกําธรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังรับฟังการสรุปภาพรวมการดําเนินโครงการความร่วมมือกับกองทัพอากาศในปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดลูกเห็บในพื่นที่ภาคเหนือประจําปี2561พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานณศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ว่าจากสภาวะภัยแล้งบริเวณพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งปัจจุบันความรุนแรงจากสภาวะภัยแล้งและการเกิดพายุลูกเห็บได้แผ่ขยายเป็นวงกว้างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาภัยพิบัติและภัยแล้งตามยุทธศาสตร์การบรรเทาภัยพิบัติของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเพื่อบรรเทาความรุนแรงจากภัยดังกล่าวด้วยเทคนิคการการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็นซึ่งเป็นเทคนิควิธีการหนึ่งในการดัดแปรสภาพอากาศที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชทานไว้ในตําราฝนหลวงพระราชทาน สําหรับเทคนิคการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็นจะใช้เครื่องบินแบบปรับความดัน(Super King Air)ซึ่งสารฝนหลวงที่ใช้กับเมฆเย็น หรือเมฆที่อุณหภูมิภายในต่ํากว่าศูนย์องศาเซลเซียสคือซิลเวอร์ไอโอไดด์เป็นสารที่ผลึกมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับแกนผลึกน้ําแข็งในธรรมชาติภายในเมฆเย็นจะมีเม็ดน้ําเย็นยิ่งยวดปริมาณมากซึ่งการเพิ่มปริมาณแกนผลึกน้ําแข็งในเมฆจะเป็นการเร่งกระบวนการทางธรรมชาติที่เดิมมีปริมาณแกนผลึกน้ําแข็งอยู่น้อยเพื่อทําให้เกิดผลึกน้ําแข็งปริมาณมากขึ้นและเกิดการยกตัวของเมฆจากการคายความร้อนแฝงได้ปริมาณน้ําฝนมากกว่าธรรมชาติซึ่งเมฆที่เกิดในฤดูร้อนมักทําให้เกิดพายุฤดูร้อนและอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นได้เนื่องจากเมฆมีการยกตัวอย่างรวดเร็วและมีแกนน้ําแข็งภายในเมฆน้อยน้ําแข็งที่อยู่ในเมฆเย็นหรือยอดเมฆร่วงหล่นลงมาถึงพื้นโดยที่ละลายไม่ทัน “วันนี้มาให้กําลังใจและขอขอบคุณทุกๆภาคส่วนทั้งกรมฝนหลวงฯกองทัพอากาศและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องซึ่งฤดูนี้เป็นฤดูหมอกควันทําให้เกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนืออย่างไรก็ตามความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงฯและกองทัพอากาศจะทําให้ทราบได้ล่วงหน้าว่าลูกเห็บจะเกิดขึ้นจากเมฆอย่างไรรวมถึงการใช้เทคนิคการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็นเพื่อเพิ่มแกนผลึกน้ําแข็งให้มากกว่าการปฏิบัติการเมฆเย็นตามปกติจะช่วยลดโอกาสการเกิดลูกเห็บได้เนื่องจากแกนผลึกน้ําแข็งปริมาณมากที่เพิ่มเข้าไปในเมฆเย็นจะไปแย่งเม็ดน้ําเย็นยิ่งยวดทําให้เกิดผลึกน้ําแข็งขนาดเล็กปริมาณมากเมื่อเกิดฝนตกผลึกน้ําแข็งขนาดเล็กเหล่านี้จะละลายก่อนที่จะตกถึงพื้นสามารถลดความเสียหายได้ทั้งนี้จะมีการส่งเสริมอาสาสมัครฝนหลวงภาคพื้นดินให้เพิ่มมากขึ้นและสร้างอาสาสมัครฝนหลวงภาคพื้นอากาศเพื่อร่วมสืบสานงานด้านฝนหลวงของในหลวงรัชกาลที่9ให้คงอยู่สืบไปเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้คลายความเดือนร้อนจากพายุลูกเห็บและลดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือด้วย”นายวิวัฒน์กล่าว ด้านนายสุรสีห์กิตติมณฑลอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกล่าวว่ากรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีแผนปฏิบัติการตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้น มาโดยใช้เครื่องบินSuper King Air 350ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรซึ่งประจําการอยู่ที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลกและในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายนกรมฝนหลวงฯได้จัดทําโครงการความร่วมมือกับกองทัพอากาศเพื่อใช้เครื่องบินโจมตีแบบที่7หรืออัลฟ่าเจ็ทซึ่งเป็นเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงและมีความเร็วในการเข้าถึงเป้าหมายประจําการหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่เพื่อร่วมกันปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บโดยการใช้วิธีโจมตีด้วยพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์เพื่อนําสารฝนหลวงซิลเวอร์ไอโอไดด์ไปเร่งกระบวนการทางธรรมชาติทําให้ผลึกน้ําแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นเม็ดน้ําโดยที่ผลึกน้ําแข็งจะละลายตกลงมาเป็นน้ําฝนซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงและยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บเพื่อลดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนอันจะเกิดจากพายุลูกเห็บลงได้และสอดคล้องกับการดําเนินงานตามนโยบายโครงการไทยนิยมยั่งยืนตามกรอบหลักการที่3ชุมชนอยู่ดีมีสุขในการพัฒนาความเป็นอยู่อาชีพและรายได้แก่ประชาชน อย่างไรก็ตามศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือยังคงติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ําในพื้นที่อย่างใกล้ชิดต่อเนื่องและพร้อมที่จะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ร้องขอทันทีที่สภาพอากาศเหมาะสมรวมทั้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเช่นพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพื้นที่ประสบภัยและอื่นๆทั้งนี้สามารถแจ้งข้อมูลสถานการณ์ความต้องการฝนในพื้นที่โดยตรงทางโทรศัพท์หมายเลข0-5327-5051ต่อ12และติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตรwww.royalrain.go.thหรือทางfacebookศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รมช.วิวัฒน์” ติดตามการดำเนินงานความร่วมมือฝนหลวงฯกับกองทัพอากาศ ปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งพายุฤดูร้อนและลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 “รมช.วิวัฒน์” ติดตามการดําเนินงานความร่วมมือฝนหลวงฯกับกองทัพอากาศ ปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งพายุฤดูร้อนและลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ “รมช.วิวัฒน์” ติดตามการดําเนินงานความร่วมมือฝนหลวงฯกับกองทัพอากาศ ปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งพายุฤดูร้อนและลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ หนุนสร้างอาสาสมัครฝนหลวงภาคพื้นอากาศ พร้อมเพิ่มอาสาสมัครฝนหลวงภาคพื้นดินให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง นายวิวัฒน์ศัลยกําธรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังรับฟังการสรุปภาพรวมการดําเนินโครงการความร่วมมือกับกองทัพอากาศในปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดลูกเห็บในพื่นที่ภาคเหนือประจําปี2561พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานณศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ว่าจากสภาวะภัยแล้งบริเวณพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งปัจจุบันความรุนแรงจากสภาวะภัยแล้งและการเกิดพายุลูกเห็บได้แผ่ขยายเป็นวงกว้างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาภัยพิบัติและภัยแล้งตามยุทธศาสตร์การบรรเทาภัยพิบัติของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเพื่อบรรเทาความรุนแรงจากภัยดังกล่าวด้วยเทคนิคการการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็นซึ่งเป็นเทคนิควิธีการหนึ่งในการดัดแปรสภาพอากาศที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชทานไว้ในตําราฝนหลวงพระราชทาน สําหรับเทคนิคการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็นจะใช้เครื่องบินแบบปรับความดัน(Super King Air)ซึ่งสารฝนหลวงที่ใช้กับเมฆเย็น หรือเมฆที่อุณหภูมิภายในต่ํากว่าศูนย์องศาเซลเซียสคือซิลเวอร์ไอโอไดด์เป็นสารที่ผลึกมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับแกนผลึกน้ําแข็งในธรรมชาติภายในเมฆเย็นจะมีเม็ดน้ําเย็นยิ่งยวดปริมาณมากซึ่งการเพิ่มปริมาณแกนผลึกน้ําแข็งในเมฆจะเป็นการเร่งกระบวนการทางธรรมชาติที่เดิมมีปริมาณแกนผลึกน้ําแข็งอยู่น้อยเพื่อทําให้เกิดผลึกน้ําแข็งปริมาณมากขึ้นและเกิดการยกตัวของเมฆจากการคายความร้อนแฝงได้ปริมาณน้ําฝนมากกว่าธรรมชาติซึ่งเมฆที่เกิดในฤดูร้อนมักทําให้เกิดพายุฤดูร้อนและอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นได้เนื่องจากเมฆมีการยกตัวอย่างรวดเร็วและมีแกนน้ําแข็งภายในเมฆน้อยน้ําแข็งที่อยู่ในเมฆเย็นหรือยอดเมฆร่วงหล่นลงมาถึงพื้นโดยที่ละลายไม่ทัน “วันนี้มาให้กําลังใจและขอขอบคุณทุกๆภาคส่วนทั้งกรมฝนหลวงฯกองทัพอากาศและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องซึ่งฤดูนี้เป็นฤดูหมอกควันทําให้เกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนืออย่างไรก็ตามความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงฯและกองทัพอากาศจะทําให้ทราบได้ล่วงหน้าว่าลูกเห็บจะเกิดขึ้นจากเมฆอย่างไรรวมถึงการใช้เทคนิคการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็นเพื่อเพิ่มแกนผลึกน้ําแข็งให้มากกว่าการปฏิบัติการเมฆเย็นตามปกติจะช่วยลดโอกาสการเกิดลูกเห็บได้เนื่องจากแกนผลึกน้ําแข็งปริมาณมากที่เพิ่มเข้าไปในเมฆเย็นจะไปแย่งเม็ดน้ําเย็นยิ่งยวดทําให้เกิดผลึกน้ําแข็งขนาดเล็กปริมาณมากเมื่อเกิดฝนตกผลึกน้ําแข็งขนาดเล็กเหล่านี้จะละลายก่อนที่จะตกถึงพื้นสามารถลดความเสียหายได้ทั้งนี้จะมีการส่งเสริมอาสาสมัครฝนหลวงภาคพื้นดินให้เพิ่มมากขึ้นและสร้างอาสาสมัครฝนหลวงภาคพื้นอากาศเพื่อร่วมสืบสานงานด้านฝนหลวงของในหลวงรัชกาลที่9ให้คงอยู่สืบไปเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้คลายความเดือนร้อนจากพายุลูกเห็บและลดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือด้วย”นายวิวัฒน์กล่าว ด้านนายสุรสีห์กิตติมณฑลอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกล่าวว่ากรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีแผนปฏิบัติการตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้น มาโดยใช้เครื่องบินSuper King Air 350ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรซึ่งประจําการอยู่ที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลกและในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายนกรมฝนหลวงฯได้จัดทําโครงการความร่วมมือกับกองทัพอากาศเพื่อใช้เครื่องบินโจมตีแบบที่7หรืออัลฟ่าเจ็ทซึ่งเป็นเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงและมีความเร็วในการเข้าถึงเป้าหมายประจําการหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่เพื่อร่วมกันปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บโดยการใช้วิธีโจมตีด้วยพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์เพื่อนําสารฝนหลวงซิลเวอร์ไอโอไดด์ไปเร่งกระบวนการทางธรรมชาติทําให้ผลึกน้ําแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นเม็ดน้ําโดยที่ผลึกน้ําแข็งจะละลายตกลงมาเป็นน้ําฝนซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงและยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บเพื่อลดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนอันจะเกิดจากพายุลูกเห็บลงได้และสอดคล้องกับการดําเนินงานตามนโยบายโครงการไทยนิยมยั่งยืนตามกรอบหลักการที่3ชุมชนอยู่ดีมีสุขในการพัฒนาความเป็นอยู่อาชีพและรายได้แก่ประชาชน อย่างไรก็ตามศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือยังคงติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ําในพื้นที่อย่างใกล้ชิดต่อเนื่องและพร้อมที่จะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ร้องขอทันทีที่สภาพอากาศเหมาะสมรวมทั้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเช่นพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพื้นที่ประสบภัยและอื่นๆทั้งนี้สามารถแจ้งข้อมูลสถานการณ์ความต้องการฝนในพื้นที่โดยตรงทางโทรศัพท์หมายเลข0-5327-5051ต่อ12และติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตรwww.royalrain.go.thหรือทางfacebookศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11153
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ ชี้แจงกรณี บริษัทเอกชนอ้างได้รับเงินจากยูเอ็น เข้าข่ายฉ้อโกงหลอกลวงเกษตรกร
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2561 กระทรวงเกษตรฯ ชี้แจงกรณี บริษัทเอกชนอ้างได้รับเงินจากยูเอ็น เข้าข่ายฉ้อโกงหลอกลวงเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ ชี้แจงกรณี บริษัทเอกชนอ้างได้รับเงินจากยูเอ็น เข้าข่ายฉ้อโกงหลอกลวงเกษตรกรในโครงการเกษตรพันธสัญญาเร่งตรวจสอบเอกสารเพื่อดําเนินการต่อไป นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีกระแสข่าวเครือข่ายบริษัทแห่งหนึ่งอ้างว่ามีเงินทุนจากยูเอ็นและธนาคารโลกให้เกษตรกรที่สมัครเป็นสมาชิกโครงการเกษตรพันธสัญญากับบริษัทกว่า 60,000 คน กู้ยืม แต่ยังไม่มีใครได้เงิน รวมทั้งอาศัยช่วงเวลาข้าวราคาตกชักชวนผู้ค้าข้าวและชาวนากว่า 300 ราย ว่าจะรับซื้อข้าวในราคาสูง สร้างความเสียหายกว่า 23 ล้านบาท อันมีลักษณะเข้าข่ายการกระทําผิดฐานฉ้อโกงประชาชนนั้น สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา (สลพ.) ได้ตรวจสอบและประสานกับสํานักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน (สกร.) แล้ว สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้ 1. สกร. ได้เคยรับเรื่องร้องเรียนจากประธานกรรมการบริหารบริษัท ไชนี่ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จํากัด และที่ปรึกษาสหกรณ์การเกษตร วัน วัน วัน จํากัด ขอให้แจ้งเตือนและตรวจสอบกรณีบริษัท พันปี กรุ๊ปฯ ผิดข้อตกลงสัญญาซื้อขายข้าว และมีพฤติกรรมหลอกลวงฉ้อโกงสมาชิกสหกรณ์การเกษตรฯ และเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สป.กษ.) ได้ส่งเรื่องให้กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อแจ้งเตือนเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรให้ระมัดระวัง รวมทั้ง แจ้งสํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์เพื่อทราบเป็นข้อมูลในการประสานงานติดตามความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว 2. บริษัท พันปี กรุ๊ป (ไทย ลาว กัมพูชา จํากัด) ได้แจ้งการประกอบธุรกิจในระบบเกษตรพันธสัญญาต่อ สป.กษ. โดยมีผลเป็นการแจ้งการประกอบธุรกิจตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. 2561 อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏข้อมูลว่าบริษัทดังกล่าวได้ทําสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่ามีการจัดส่งสําเนาเอกสารสําหรับการชี้ชวนให้ สป.กษ. ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร (บริษัทฯ) ต้องจัดส่งภายใน 30 วันหลังจากที่มีการทําสัญญาครั้งแรก ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดส่งและเก็บรักษาเอกสารสําหรับการชี้ชวนเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญา ทั้งนี้ ข้อกฎหมายระบุว่า ในกรณีที่ บริษัทฯ มีเจตนาทุจริตหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ทําให้เกษตรกรเข้าทําสัญญากับบริษัทฯ ทําเอกสารสิทธิ การกระทําดังกล่าวเป็นการกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และเมื่อการกระทําดังกล่าวได้ทําต่อประชาชน จึงมีความฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน นอกจากนี้การกระทําของบริษัท พันปี กรุ๊ป ตามที่ปรากฏตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เป็นการกระทําที่มีลักษณะโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ “สําหรับแนวทางการดําเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น ได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทฯ ให้จัดส่งสําเนาเอกสารสําหรับการชี้ชวนและร่างสัญญาของบริษัทฯ ที่ใช้ในการทําสัญญาส่งเสริมกับเกษตรกร เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขของสัญญา รวมทั้งแจ้งให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ตรวจสอบข้อมูลจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ ในพื้นที่ ว่ามีการทําสัญญาหรือไม่อย่างไร และมีรายละเอียดอะไรบ้าง เนื่องจากบริษัทฯ ได้ส่งข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการให้ สลพ. ไว้แล้ว และหากบริษัทฯ มีการเข้าทําสัญญา โดยไม่มีการจัดทําเอกสารสําหรับการชี้ชวนก็จะมีโทษปรับ ไม่เกิน 300,000 บาท ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อกล่าวอ้างของบริษัทฯ เกี่ยวกับการสนับสนุนเงินทุนจากยูเอ็นว่าเป็นความจริงหรือเป็นความเท็จประการใด พร้อมทั้งกํากับ ดูแล ติดตามการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และการทําสัญญาระหว่าง บริษัทฯ กับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร นอกจากนี้จะทําการแจ้งความดําเนินคดีกับบริษัทฯ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทฯ มีความผิดตามกฎหมายต่อไป” นายพีรพันธ์ กล่าว กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ ชี้แจงกรณี บริษัทเอกชนอ้างได้รับเงินจากยูเอ็น เข้าข่ายฉ้อโกงหลอกลวงเกษตรกร วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2561 กระทรวงเกษตรฯ ชี้แจงกรณี บริษัทเอกชนอ้างได้รับเงินจากยูเอ็น เข้าข่ายฉ้อโกงหลอกลวงเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ ชี้แจงกรณี บริษัทเอกชนอ้างได้รับเงินจากยูเอ็น เข้าข่ายฉ้อโกงหลอกลวงเกษตรกรในโครงการเกษตรพันธสัญญาเร่งตรวจสอบเอกสารเพื่อดําเนินการต่อไป นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีกระแสข่าวเครือข่ายบริษัทแห่งหนึ่งอ้างว่ามีเงินทุนจากยูเอ็นและธนาคารโลกให้เกษตรกรที่สมัครเป็นสมาชิกโครงการเกษตรพันธสัญญากับบริษัทกว่า 60,000 คน กู้ยืม แต่ยังไม่มีใครได้เงิน รวมทั้งอาศัยช่วงเวลาข้าวราคาตกชักชวนผู้ค้าข้าวและชาวนากว่า 300 ราย ว่าจะรับซื้อข้าวในราคาสูง สร้างความเสียหายกว่า 23 ล้านบาท อันมีลักษณะเข้าข่ายการกระทําผิดฐานฉ้อโกงประชาชนนั้น สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา (สลพ.) ได้ตรวจสอบและประสานกับสํานักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน (สกร.) แล้ว สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้ 1. สกร. ได้เคยรับเรื่องร้องเรียนจากประธานกรรมการบริหารบริษัท ไชนี่ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จํากัด และที่ปรึกษาสหกรณ์การเกษตร วัน วัน วัน จํากัด ขอให้แจ้งเตือนและตรวจสอบกรณีบริษัท พันปี กรุ๊ปฯ ผิดข้อตกลงสัญญาซื้อขายข้าว และมีพฤติกรรมหลอกลวงฉ้อโกงสมาชิกสหกรณ์การเกษตรฯ และเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สป.กษ.) ได้ส่งเรื่องให้กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อแจ้งเตือนเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรให้ระมัดระวัง รวมทั้ง แจ้งสํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์เพื่อทราบเป็นข้อมูลในการประสานงานติดตามความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว 2. บริษัท พันปี กรุ๊ป (ไทย ลาว กัมพูชา จํากัด) ได้แจ้งการประกอบธุรกิจในระบบเกษตรพันธสัญญาต่อ สป.กษ. โดยมีผลเป็นการแจ้งการประกอบธุรกิจตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. 2561 อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏข้อมูลว่าบริษัทดังกล่าวได้ทําสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่ามีการจัดส่งสําเนาเอกสารสําหรับการชี้ชวนให้ สป.กษ. ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร (บริษัทฯ) ต้องจัดส่งภายใน 30 วันหลังจากที่มีการทําสัญญาครั้งแรก ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดส่งและเก็บรักษาเอกสารสําหรับการชี้ชวนเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญา ทั้งนี้ ข้อกฎหมายระบุว่า ในกรณีที่ บริษัทฯ มีเจตนาทุจริตหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ทําให้เกษตรกรเข้าทําสัญญากับบริษัทฯ ทําเอกสารสิทธิ การกระทําดังกล่าวเป็นการกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และเมื่อการกระทําดังกล่าวได้ทําต่อประชาชน จึงมีความฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน นอกจากนี้การกระทําของบริษัท พันปี กรุ๊ป ตามที่ปรากฏตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เป็นการกระทําที่มีลักษณะโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ “สําหรับแนวทางการดําเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น ได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทฯ ให้จัดส่งสําเนาเอกสารสําหรับการชี้ชวนและร่างสัญญาของบริษัทฯ ที่ใช้ในการทําสัญญาส่งเสริมกับเกษตรกร เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขของสัญญา รวมทั้งแจ้งให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ตรวจสอบข้อมูลจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ ในพื้นที่ ว่ามีการทําสัญญาหรือไม่อย่างไร และมีรายละเอียดอะไรบ้าง เนื่องจากบริษัทฯ ได้ส่งข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการให้ สลพ. ไว้แล้ว และหากบริษัทฯ มีการเข้าทําสัญญา โดยไม่มีการจัดทําเอกสารสําหรับการชี้ชวนก็จะมีโทษปรับ ไม่เกิน 300,000 บาท ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อกล่าวอ้างของบริษัทฯ เกี่ยวกับการสนับสนุนเงินทุนจากยูเอ็นว่าเป็นความจริงหรือเป็นความเท็จประการใด พร้อมทั้งกํากับ ดูแล ติดตามการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และการทําสัญญาระหว่าง บริษัทฯ กับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร นอกจากนี้จะทําการแจ้งความดําเนินคดีกับบริษัทฯ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทฯ มีความผิดตามกฎหมายต่อไป” นายพีรพันธ์ กล่าว กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12134
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดิจิทัลฯ ลงนาม MOU กับ MIC ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนความร่วมมือ 6 สาขา เน้นประโยชน์เท่าเทียม
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2560 กระทรวงดิจิทัลฯ ลงนาม MOU กับ MIC ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนความร่วมมือ 6 สาขา เน้นประโยชน์เท่าเทียม กระทรวงดิจิทัลฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แลกเปลี่ยน MOU พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือกับ นายจิโร อาคามะ (H.E. Mr. Jiro Akama) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น ภายหลังการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นเกียรติในการหารือดังกล่าว สําหรับการลงนามครั้งนี้เป็นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล บนหลักการของความเท่าเทียมกัน การตอบแทนกันและกัน การเคารพซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสองฝ่าย ซึ่งมีขอบเขตความร่วมมือในสาขาต่างๆ รวม 6 สาขา ได้แก่ 1) ความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการตรวจอากาศและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 3) การแบ่งปันความรู้ในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม การบริการและแอปพลิเคชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล 4) การพัฒนาบุคลากรในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล 5) ความร่วมมือด้านไปรษณีย์ และ 6) ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกัน โดย MOU ดังกล่าวมีกรอบระยะเวลา 5 ปี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ********************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดิจิทัลฯ ลงนาม MOU กับ MIC ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนความร่วมมือ 6 สาขา เน้นประโยชน์เท่าเทียม วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2560 กระทรวงดิจิทัลฯ ลงนาม MOU กับ MIC ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนความร่วมมือ 6 สาขา เน้นประโยชน์เท่าเทียม กระทรวงดิจิทัลฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แลกเปลี่ยน MOU พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือกับ นายจิโร อาคามะ (H.E. Mr. Jiro Akama) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น ภายหลังการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นเกียรติในการหารือดังกล่าว สําหรับการลงนามครั้งนี้เป็นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล บนหลักการของความเท่าเทียมกัน การตอบแทนกันและกัน การเคารพซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสองฝ่าย ซึ่งมีขอบเขตความร่วมมือในสาขาต่างๆ รวม 6 สาขา ได้แก่ 1) ความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการตรวจอากาศและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 3) การแบ่งปันความรู้ในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม การบริการและแอปพลิเคชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล 4) การพัฒนาบุคลากรในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล 5) ความร่วมมือด้านไปรษณีย์ และ 6) ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกัน โดย MOU ดังกล่าวมีกรอบระยะเวลา 5 ปี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ********************************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4380
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีเปิดงานวันสิ่งแวดโลก “ชีวิตฉันผูกผันกับธรรมชาติ”
วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2560 รองนายกรัฐมนตรีเปิดงานวันสิ่งแวดโลก “ชีวิตฉันผูกผันกับธรรมชาติ” สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง วันนี้ (5 มิ.ย. 60) เวลา 10.30 น. พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย เปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด Connecting People to Nature พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ชีวิตฉันผูกผันกับธรรมชาติ โดยกล่าวว่าการจัดงานวันสิ่งแวดล้อมเป็นการรณรงค์เพื่อสร้างความตื่นตัวในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมการรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ที่ต้องอยู่ร่วมกัน ดูแลรักษาและให้ความสําคัญกับคุณค่าของธรรมชาติ สร้างความเข้าใจถึงเจตนาที่ต้องการให้ประชาชนช่วยปกป้องรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันทั่วโลก ภายในงานมีการเผยแพร่ผลสําเร็จ และเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรต้นแบบที่ทําคุณประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อีกทั้งประชาชนยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่ต่าง ๆ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น สวนสัตว์ขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั่วประเทศไทย การยกเว้นค่าเข้าสวนป่า พร้อมส่วนลดค่าที่พัก และยกเว้นค่าเข้าองค์การสวนพฤษศาสตร์ นอกจากนั้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ งดให้บริการพลาสติก ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพื่อลดปริมาณถุงพลาสติกอย่างจริงจังอีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีเปิดงานวันสิ่งแวดโลก “ชีวิตฉันผูกผันกับธรรมชาติ” วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2560 รองนายกรัฐมนตรีเปิดงานวันสิ่งแวดโลก “ชีวิตฉันผูกผันกับธรรมชาติ” สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง วันนี้ (5 มิ.ย. 60) เวลา 10.30 น. พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย เปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด Connecting People to Nature พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ชีวิตฉันผูกผันกับธรรมชาติ โดยกล่าวว่าการจัดงานวันสิ่งแวดล้อมเป็นการรณรงค์เพื่อสร้างความตื่นตัวในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมการรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ที่ต้องอยู่ร่วมกัน ดูแลรักษาและให้ความสําคัญกับคุณค่าของธรรมชาติ สร้างความเข้าใจถึงเจตนาที่ต้องการให้ประชาชนช่วยปกป้องรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันทั่วโลก ภายในงานมีการเผยแพร่ผลสําเร็จ และเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรต้นแบบที่ทําคุณประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อีกทั้งประชาชนยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่ต่าง ๆ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น สวนสัตว์ขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั่วประเทศไทย การยกเว้นค่าเข้าสวนป่า พร้อมส่วนลดค่าที่พัก และยกเว้นค่าเข้าองค์การสวนพฤษศาสตร์ นอกจากนั้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ งดให้บริการพลาสติก ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพื่อลดปริมาณถุงพลาสติกอย่างจริงจังอีกด้วย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4277
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดพสุฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4-1/2562
วันพุธที่ 25 กันยายน 2562 ปลัดพสุฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4-1/2562 นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4-1/2562 ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4-1/2562 เพื่อหารือเกี่ยวกับความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรม โดยมีนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานร่วม และมีนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดพสุฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4-1/2562 วันพุธที่ 25 กันยายน 2562 ปลัดพสุฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4-1/2562 นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4-1/2562 ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4-1/2562 เพื่อหารือเกี่ยวกับความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรม โดยมีนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานร่วม และมีนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23387
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 7 มกราคม 2563
วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2563 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 7 มกราคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ http://www.thaigov.go.th วันนี้ (7 มกราคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นําร่อง พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่ เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ... รวม 2 ฉบับ 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสําหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... เศรษฐกิจ - สังคม 10. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เรื่อง มาตรการพิเศษ เพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํา 12. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ 2564 13. เรื่อง ผลการดําเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 14. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 15. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 16. เรื่อง ขอความเห็นชอบการดําเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สําหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 18. เรื่อง มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย ต่างประเทศ 19. เรื่อง การประชุมคณะทํางานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย– เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 1 แต่งตั้ง 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักงาน ก.พ.) 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม *************** กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... ตามที่สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดําเนินการต่อไปได้ สลค. เสนอว่า 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกําหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกําหนด ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และโดยที่สภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 กรกฎาคม 2562) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้ ปีที่ สมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่หนึ่ง สมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง 22 พฤษภาคม 2562 – 18 กันยายน 2562 1 พฤศจิกายน 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 22 พฤษภาคม 2563 – 18 กันยายน 2563 1 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 22 พฤษภาคม 2564 – 18 กันยายน 2564 1 พฤศจิกายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 22 พฤษภาคม 2565 – 18 กันยายน 2565 1 พฤศจิกายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 2. ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง พ.ศ. 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ซึ่งกําหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตามสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สองจะสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จึงสมควรปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปี ครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จึงเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ มาเพื่อดําเนินการ 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสํานักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดเพิ่มเติมให้สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มีอํานาจมอบหมายหน่วยงานอื่นออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ 2. กําหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับซึ่งสินค้าเกษตรใด ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต และกําหนดเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องมีใน การยื่นแบบคําขอรับใบอนุญาต 3. กําหนดขั้นตอน วิธีการ และกําหนดระยะเวลาในการตรวจสอบคําขอรับใบอนุญาต การแจ้งให้ ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคําขอรับใบอนุญาตหรือจัดส่งเอกสาร หรือหลักฐานให้ถูกต้องหรือครบถ้วน รวมทั้งการชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และการออกใบอนุญาต 4. กําหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ส่งออกหรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ ซึ่งสินค้าเกษตรใดต้องแจ้งการส่งออกหรือนําเข้าซึ่งสินค้าเกษตรนั้นเป็นหนังสือต่อผู้อนุญาตทุกครั้งก่อนวันที่ส่งออกหรือนําเข้าอย่างน้อยสามวัน 5. กําหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาคําขอรับใบอนุญาต หนังสือแจ้งการส่งออกหรือนําเข้า และบรรดาใบอนุญาต ที่ได้ยื่นไว้หรือได้ออกให้ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2553 ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคําขอตามกฎกระทรวงฉบับนี้ หรือให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะ สิ้นอายุ แล้วแต่กรณี 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นําร่อง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นําร่อง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการ ต่อไปได้ คค. เสนอว่า 1. เนื่องจากการกําหนดคุณสมบัติของผู้นําร่อง ชั้น 2 ค. ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และการกําหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นําร่องไม่สอดคล้องกับคุณวุฒิทางการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน ทําให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้นําร่อง คค. จึงเห็นสมควรปรับปรุงคุณสมบัติของผู้นําร่อง ชั้น 2 ค. โดยต้องเป็นผู้สําเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทย หรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางวิทยาการเดินเรือที่สํานักงาน ก.พ. รับรอง จากเดิมมีเพียงโรงเรียนนายเรือหรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือผู้สําเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดตามหลักสูตรฝ่ายเดินเรือของรัฐบาลไทย หรือรัฐบาลต่างประเทศ และแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงชั้นการได้รับประกาศนียบัตร จากเดิมต้องเป็นหรือเคยเป็นนายเรือของเรือกลที่มีขนาดความยาวตลอดลําไม่น้อยกว่า 450 ฟุตมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และได้รับประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ) จากกรมเจ้าท่า เป็นไม่ต่ํากว่าประกาศนียบัตรประจําเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาดห้าร้อยตันกรอสหรือมากกว่า หรือประกาศนียบัตรชั้น 3 นอกจากนี้ หน้าที่ของผู้นําร่องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ยังไม่สอดคล้องกับหน้าที่ของผู้นําร่องตามมาตรฐานสากล และที่ปฏิบัติงานอยู่จริง จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้นําร่องมีหน้าที่เพียงการให้คําแนะนําและช่วยเหลือนายเรือ ไม่มีหน้าที่ทําการแทนนายเรือและการออกคําสั่งให้ นายเรือต้องปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของการทําการนําร่องในระดับสากล 2. ภารกิจการนําร่องหรือการเป็นผู้นําทางเรือให้เข้า - ออก ร่องน้ําต่าง ๆ ถือเป็นภารกิจที่สําคัญและเป็นสากล ในปัจจุบันมีเขตท่าเรือที่บังคับการเดินเรือโดยมีผู้นําร่อง ได้แก่ เขตท่าเรือกรุงเทพ เขตท่าเรือศรีราชา เขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เขตท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นต้น ซึ่งผู้นําร่องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะ ความปลอดภัยของร่องน้ํา การเดินเรือในร่องน้ําจํากัด ในที่แคบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการนําทางเรือให้เข้า – ออกร่องน้ําต่าง ๆ และเป็นเจ้าหน้าที่รัฐช่วยสอดส่องการกระทําผิดกฎหมายไทย 3. ผู้นําร่อง แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ดังนี้ 3.1 ผู้นําร่องชั้น 2 ค. ทําการนําร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลําไม่เกิน 400 ฟุต (121.92 เมตร) 3.2 ผู้นําร่องชั้น 2 ข. ทําการนําร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลําไม่เกิน 450 ฟุต (137.20 เมตร) 3.3 ผู้นําร่องชั้น 2 ก. ทําการนําร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลํา ไม่เกิน 500 ฟุต (152.44 เมตร) 3.4 ผู้นําร่องชั้น 1 ทําการนําร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลํา ไม่เกิน 565 ฟุต (172.26 เมตร) 3.5 ผู้นําร่องชั้นอาวุโส ทําการนําร่องเรือได้ทุกขนาด 3.6 ผู้เชี่ยวชาญการนําร่อง เป็นผู้นําร่องชั้นอาวุโสซึ่งได้ทําการนําร่องมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นําร่องชั้น 2 ค. 4. คค. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นําร่อง พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขปรับปรุงคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นําร่อง ชั้น 2 ค. และแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของผู้นําร่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหน้าที่ของผู้นําร่องตามมาตรฐานสากลและที่ปฏิบัติงานอยู่จริงในปัจจุบัน อันจะทําให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้นําร่องเพียงพอตามความจําเป็นและความต้องการของประเทศ อันจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ําของประเทศให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้นําร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไปดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นแล้ว ปรากฏว่า ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนผู้มีส่วนได้เสียเห็นด้วยในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดคุณสมบัติผู้สมัครเป็นผู้นําร่องชั้น 2 ค. ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1 เป็นผู้สําเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทย หรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือเป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางวิทยาการเดินเรือ ตามที่สํานักงาน ก.พ. รับรอง 1.2 ต้องได้รับประกาศนียบัตรสําหรับผู้ทําการในเรือฝ่ายเดินเรือ ในชั้นไม่ต่ํากว่าประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถนายประจําเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาดห้าร้อยตันกรอสหรือมากกว่า หรือประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง) ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการสอบความรู้ของผู้ทําการในเรือตามกฎหมายการเดินเรือในน่านน้ําไทย หรือชั้นประกาศนียบัตรอื่นที่เทียบเท่า 1.3 ต้องดํารงหรือเคยดํารงตําแหน่งผู้บังคับการเรือ หรือตําแหน่งอื่นที่เทียบเท่ามาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือปฏิบัติหน้าที่นายเรือ (MASTER) มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือตําแหน่งต้นเรือมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปี หรือตําแหน่งนายเรือและต้นเรือรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี 1.4 ต้องมีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันรับสมัคร และ มีคุณสมบัติทั่วไปครบถ้วนที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน 2. กําหนดให้ผู้นําร่องที่ทําการนําร่องจะต้องแนะนํานายเรือให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ําไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกัน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และกําหนดนิยามคําว่า “ทําการนําร่อง” ให้หมายความว่า เข้าทําหน้าที่ช่วยเหลือนายเรือเฉพาะในเรื่องการเดินเรือ และ การบังคับเรือให้เคลื่อนเดินไปอย่างปลอดภัยในเขตท่าหรือน่านน้ําซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นําร่อง โดยนายเรือรับรู้และเห็นชอบด้วย กับคําบอกหรือคําแนะนําของผู้นําร่อง 3. กําหนดให้ผู้นําร่องทุกคนที่ทําการนําร่องเรือลําใด ต้องใช้ความระมัดระวังและพยายามให้มากที่สุดที่จะหลีกเลี่ยง หรือป้องกันมิให้เกิดอันตราย หรือเสียหายแก่เรือลํานั้นหรือเรือลําอื่น หรือแก่ทรัพย์สิ่งของอย่างใด ๆ โดยแนะนํานายเรือให้กระทํา หลีกเลี่ยงการกระทําใด ๆ เพื่อป้องกันความเสียดายดังกล่าว แต่นายเรือยังคงมีอํานาจที่จะระงับหรือไม่ปฏิบัติตามคําบอก หรือคําแนะนําของผู้นําร่องก็ได้ 4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กําหนดให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด ได้แก่ (1) ประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา (2) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (3) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ (4) ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (เดิมกําหนดเพียง (2) – (4) เท่านั้น) 2. แก้ไขอํานาจของสภาสถาบัน โดยให้สภาสถาบันมีอํานาจอนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา (เดิม มีอํานาจอนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และประกาศนียบัตรวิชาชีพเท่านั้น) ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 เพื่อกําหนดให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดการศึกษาสายอาชีวศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษาได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่เด็กและเยาวชนในการศึกษาต่อจากระดับประถมศึกษาตามความสนใจและความถนัดของตน โดยนักเรียนรุ่นแรกจะจบการศึกษาในปี 2563 จํานวน 186 คน ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษารวม 8 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลําพูน จังหวัดลําพูน วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี วิทยาลัยการอาชีพนาแก จังหวัดนครพนม วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จังหวัดสกลนคร วิทยาลัยการอาชีพโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรี เรื่อง การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ข้อ 8.3 พัฒนาอาชีวะ พัฒนาคุณภาพวิชาชีพ และพัฒนาแรงงานรองรับอุตสาหกรรม 4.0 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 1. ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... กําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ ในพื้นที่บริเวณที่ 1 (อําเภอเมืองบึงกาฬ) พื้นที่บริเวณที่ 2 (อําเภอปากคาด) พื้นที่บริเวณที่ 3 (อําเภอบุ่งคล้า) พื้นที่บริเวณที่ 4 (อําเภอโซ่พิสัย) พื้นที่บริเวณที่ 5 (อําเภอพรเจริญ) พื้นที่บริเวณที่ 6 และพื้นที่บริเวณที่ 7 (อําเภอเซกา) 2. ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... ปรับปรุงการกําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต ในพื้นที่บริเวณที่ 1 (ตําบลกะรน อําเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 2 และพื้นที่บริเวณที่ 3 (ตําบลตลาดใหญ่ อําเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 4 (ตําบลฉลอง อําเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 5 ถึง พื้นที่บริเวณที่ 10 (ตําบลป่าตอง อําเภอกระทู้) 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสําหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสําหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ คค. เสนอว่า 1. โดยที่มาตรา 5 ข้อ 6/3 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 บัญญัติให้ประเภทและขนาดของเรือสนับสนุนการประมง และลักษณะของสิ่งของที่จะบรรทุกหรือให้การสนับสนุนเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 พ.ศ. 2561 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อกําหนดกิจการอื่น 2. ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการกองเรือไทยที่เกี่ยวข้องกับการประมง คค. จึงยกร่างกฎกระทรวงกําหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสําหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. .... ขึ้น ซึ่งจะเป็นมาตรการให้กรมเจ้าท่าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามควบคุม เฝ้าระวังมิให้มีการนําเรือสนับสนุนการประมงไปใช้ทําการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เรือที่เจ้าของเรือแจ้งว่าจม สูญหาย จ่าย หรือโอนให้ผู้อื่นโดยไม่สามารถแสดงหลักฐาน ไม่สามารถติดตามได้ว่าเรืออยู่ที่ใด กลับเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกองเรือประมงได้อีก อันเป็นมาตรการสนับสนุนการป้องกันการทําประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นผลดีต่อการประมงของประเทศโดยรวม ทั้งนี้ คค. โดยกรมเจ้าท่า ได้ดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนผู้มีส่วนได้เสียแล้วเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ กรมเจ้าท่า กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วยในหลักการของร่างกฎกระทรวงฉบันนี้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดให้เรือที่จดทะเบียนเป็นเรือกลเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปที่กําหนดประเภทการใช้เรือไว้ว่าเป็นเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น น้ํามันเพื่อการประมงน้ําจืด น้ําจืดเพื่อการประมง และผลิตภัณฑ์น้ํามัน เป็นเรือสนับสนุนการประมง 2. กําหนดยกเว้นให้เรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ํามันเตาซึ่งมีการระบุในใบอนุญาตใช้เรือว่าเป็นเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ํามันเตาเป็นการเฉพาะ เรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ํามันซึ่งมีการทําสัญญาโดยตรงกับบริษัทน้ํามันในประเทศไทยให้เป็นผู้จัดส่งผลิตภัณฑ์น้ํามัน ระหว่างคลังน้ํามันในประเทศไทย หรือขนส่งผลิตภัณฑ์น้ํามันระหว่างคลังน้ํามันในประเทศไทยกับต่างประเทศ ในช่วงเวลาที่สัญญาระหว่างบริษัทน้ํามันกับเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ํามันยังมีผลใช้บังคับ และเรือของหน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นเรือสนับสนุนการประมง 7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการปรับปรุงแผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เนื่องจากการจําลองสีจําแนกพื้นที่ที่กําหนดให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมตามแผนที่หมายเลข 1/2 ดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับการจําลองสีจําแนกพื้นที่ของที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว สาระสําคัญของร่างประกาศ ให้ยกเลิกแผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 และให้ใช้แผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายร่างประกาศนี้แทน 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ย การพิจารณาคําคัดค้านของนายทะเบียน และการมีคําสั่งให้คู่กรณีตกลงแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนอื่นเพื่อทําหน้าที่แทนผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งถูกคัดค้าน 2. กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคําขอถอดถอน การพิจารณาคําขอถอดถอนของนายทะเบียนต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรับฟังคําชี้แจงของผู้ไกล่เกลี่ยโดยเร็ว เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรให้นายทะเบียนมีคําสั่งถอดถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ้นจากหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น รวมทั้งมีคําสั่งให้คู่กรณีตกลงแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนใหม่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นต่อไป 3. กําหนดหลักเกณฑ์การสิ้นสภาพผู้ไกล่เกลี่ย และการเพิกถอนการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 การพิจารณาและมีคําสั่งให้ผู้ไกล่เกลี่ยสิ้นสภาพหรือถูกเพิกถอนการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย รวมทั้งการจําหน่ายชื่อออกจากบัญชีผู้ไกล่เกลี่ย พร้อมให้นายทะเบียนแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ไกล่เกลี่ยโดยเร็ว 9. เรื่อง ร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ 2. รับทราบรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการจัดทําร่างระเบียบฯ ตามข้อ 1. ได้ภายใน 90 วันนับแต่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ สาระสําคัญของร่างระเบียบ 1. กําหนดให้การสรรหาประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีคณะกรรมการสรรหาครบถ้วนตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และหากมีเหตุจําเป็นให้คณะกรรมการสรรหาขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 60 วัน 2. กําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดําเนินการรับสมัครบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการไม่น้อยกว่า 3 รายชื่อ หรือรับสมัครบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 เท่าของจํานวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว 3. กําหนดให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 4. กําหนดให้เมื่อคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามจํานวนที่กําหนดตามกฎหมายแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง 5. กําหนดให้เมื่อคณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง และกรณีมีเหตุให้ต้องสรรหาประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เริ่มดําเนินการสรรหาก่อนครบวาระของประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ 6. กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตามระเบียบนี้ และ ให้ประธานกรรมการสรรหามีอํานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ เศรษฐกิจ - สังคม 10. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เรื่อง มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) และโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) โดยขอกําหนดระยะเวลาเริ่มรับคําขอกู้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 และสิ้นสุดรับคําขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ สาระสําคัญของเรื่อง 1. กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) และโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) โดยขอกําหนดระยะเวลาเริ่มรับคําขอกู้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 และสิ้นสุดรับคําขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน ซึ่งโครงการทั้งสองโครงการสิ้นสุดรับคําขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 2. โครงการทั้งสองโครงการเป็นการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ที่เห็นชอบโครงการ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 ที่เห็นชอบในหลักการการปรับปรุงรายละเอียดการดําเนินงานโครงการและการขยายระยะเวลาดําเนินโครงการออกไปอีก 1 ปี โดยทั้งสองโครงการมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 2.1 โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในกลุ่มที่ดําเนินธุรกิจเกษตรกรแปรรูป (อาหารและไม่ใช่อาหาร) ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (หรือธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว ธุรกิจที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์) ผู้ประกอบการใหม่หรือมีนวัตกรรม (หรือธุรกิจผลิตหรือบริการอื่น ๆ)และกลุ่มธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 50,000 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี รัฐบาลชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีใน 3 ปีแรก รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,000 บาท โดยผลการดําเนินงาน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มียอดเบิกจ่าย 27,562.07 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยเห็นว่าโครงการนี้ยังจะมีความจําเป็นและเป็นประโยชน์ในการลดต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะในปัจจุบันที่การลงทุนการจับจ่ายใช้สอยยังอยู่ในระดับสูงตัวเนื่องจากความไม่มั่นใจในการลงทุนของผู้ประกอบการ SMes จึงขอขยายระยะเวลาโครงการออกไปอีก 1 ปี 2.2 โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินลงทุนเพื่อลงทุน ขยาย ปรับปรุง กิจการ ควบคู่กับเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน) ในกลุ่มธุรกิจ S - Curve ที่ต้องการยกระดับ ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี รัฐบาลชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน กรณีธนาคารออมสินให้สินเชื่อกับผู้กู้ ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 420 ล้านบาท และชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน กรณีให้สินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่เกินร้อยละ 2.5 ต่อปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน2,975 ล้านบาท โดยผลการดําเนินงาน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มียอดเบิกจ่าย 4,446.07 ล้านบาท ซึ่งธนาคารออมสินเห็นว่าโครงการนี้มีวงเงินโครงการคงเหลือเป็นจํานวนมาก และยังมีผู้ประกอบการ SMEs แสดงความจํานงขอใช้สินเชื่อในโครงการอย่างต่อเนื่อง จึงขอขยายระยะเวลาดําเนินโครงการไปอีก 1 ปีโดยสิ้นสุดรับคําขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการแล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน และเบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 มิถุนายน 2564 สําหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ คงเดิม 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํา คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํา ตามที่สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้ 1. รับทราบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ําตามที่สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติเสนอ โดยในส่วนของงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสํานักงบประมาณที่ให้ สทนช. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี ทั้งนี้ หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ สทนช. พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี หรือโอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร จากโครงการ/รายการที่ดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ และมีงบประมาณเหลือจ่าย และ/หรือรายการที่หมดความจําเป็นแล้วแต่กรณี เพื่อมาสมทบในการดําเนินการตามแผนของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจเป็นลําดับแรก 2. ให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติประสานการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดําเนินการสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถดําเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม และให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติรับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย สาระสําคัญของเรื่อง สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. รายงานว่า 1. ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยประสบปัญหาทั้งภาวะน้ําแล้งและภาวะน้ําท่วมซึ่งส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ รัฐบาลพร้อมด้วยภาคส่วนต่าง ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหามิให้ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาวิกฤตน้ําโดยการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย ตลอดจนมีมาตรการป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ในฐานะหน่วยงานหลักจัดการภัยพิบัติรวมถึงปัญหาวิกฤตน้ํา ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 โดยคํานึงถึงความสอดคล้องกับระดับการจัดการสาธารณภัยตามแผนฯ ซึ่งแบ่งสาธารณภัยออกเป็น 4 ระดับ คือ สาธารณภัยขนาดเล็ก สาธารณภัยขนาดกลาง สาธารณภัยขนาดใหญ่ และสาธารณภัยขนาดร้ายแรงยิ่ง และพิจารณายกระดับสาธารณภัยตามขนาดพื้นที่ประสบภัย จํานวนประชากรที่ได้รับความเดือดร้อน หรือความสามารถในการรับมือเผชิญเหตุด้วยทรัพยากรที่แต่ละพื้นที่มีอยู่เป็นหลัก ในการนี้ เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทัน สามารถเตรียมการรับมือกับปัญหาวิกฤตน้ําที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องบูรณาการและให้มีข้อมูลทุกด้านที่เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้มาตรการในแต่ละระดับได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น 2. สนทช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. ได้จัดทํากรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ําเสนอ กนช. ซึ่งในคราวประชุม กนช. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 ได้มีมติเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและกองอํานวยการน้ําแห่งชาติ (War Room) โดยให้มีโครงสร้างถาวรใน สนทช. และต่อมาในการประชุม กนช. ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ สทนช. ดําเนินการต่อไป 3. กรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํามีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้ 3.1 ปัจจุบัน สทนช. ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศทั้งระบบ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยในการทําหน้าที่ สทนช. ต้องพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์วิกฤตน้ําด้วย เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เป็นต้น ทั้งนี้การบริหารจัดการน้ําในภาวะวิกฤติจําเป็นต้องกําหนดองค์กรหรือผู้รับผิดชอบเพื่อทําหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ เอาไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์น้ําและลดความซ้ําซ้อนในการทํางาน ดังนั้น การจัดทํากรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํารวมถึงโครงสร้างกองอํานวยการน้ําแห่งชาติ โดยมี สทนช. เป็นฝ่ายเลขานุการถาวรที่ทําหน้าที่สนับสนุน จึงมีความจําเป็นและสําคัญเร่งด่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ 3.2 กรอบโครงสร้างขององค์กรภายใต้ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและองค์ประกอบ 3.2.1 กําหนดโครงสร้างตามระดับสาธารณภัยด้านน้ําที่เกิดขึ้น 3 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับ1 ภาวะสถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นและ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีความรุนแรงในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 10 ของระดับภาค 2) ระดับ 2 ภาวะรุนแรง (หรือคาดว่าจะรุนแรง) และคาดว่า จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยและมีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้นในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 30 ของระดับภาคและ/หรืออาจจะก่อให้เกิดผลกระทบ/ความเสียหายในบริเวณกว้าง 3) ระดับ 3 ภาวะวิกฤติ (หรือคาดว่าจะเกิดวิกฤติ) และคาดว่า จะมีผลกระทบกับประเทศไทยและมีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้นในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 60 ของระดับภาค และ/หรืออาจจะก่อให้เกิดผลกระทบ/ความเสียหายในบริเวณกว้าง 3.2.2 กรอบโครงสร้างฯ มีรายละเอียด ดังนี้ โครงสร้าง องค์ประกอบ หน้าที่และอํานาจที่สําคัญ ระดับ 3 (วิกฤติหรือคาดว่าจะวิกฤติ ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ผู้บัญชาการ : นายกรัฐมนตรี (1) ควบคุม สั่งการ บัญชาการ และอํานวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ําเป็นการชั่วคราว จนกว่าปัญหาวิกฤติน้ําจะผ่านพ้นไป (2) ออกคําสั่งเพื่อการป้องกันแก้ไข ควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและประกาศคําสั่งดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา (3) บัญชาการร่วมกับกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ในกรณีที่เป็นสาธารณภัยด้านทรัพยากรน้ําหรือวิกฤติน้ํา ระดับ 2 (รุนแรงหรือคาดว่าจะรุนแรง) กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ ผู้อํานวยการ :รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รองผู้อํานวยการ : เลขาธิการ สทนช. แบ่งการทํางานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มอํานวยการในภาวะวิกฤติ (2) กลุ่มคาดการณ์ในภาวะวิกฤติ (3) กลุ่มบริหารจัดการน้ําในภาวะวิกฤติ (4) กลุ่มแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ ในภาวะวิกฤติ (1) บริหารจัดการน้ําซึ่งอยู่ในเกณฑ์วิกฤติน้ํารุนแรงหรือคาดการณ์ว่าจะรุนแรง (ระดับ 2) (2) ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ควบคุม กํากับ ดูแลสถานการณ์น้ํา รวมถึงประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการน้ํา เพื่อประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ําต่อ บกปภ.ช. และสร้างการรับรู้ให้แก่สาธารณชน โดยอํานวยการและบูรณาการร่วมกับ บกปภ.ช. เพื่อพิจารณาระดับความรุนแรงสถานการณ์ภาวะวิกฤติน้ํา ระดับ 1 (สถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้น) ศูนย์อํานวยการน้ําเฉพาะกิจ ผู้อํานวยการ : เลขาธิการ สทนช. รองผู้อํานวยการ : รองเลขาธิการ สทนช. แบ่งการทํางานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) คณะทํางานอํานวยการ (2) คณะทํางานคาดการณ์ (3) คณะทํางานบริหารจัดการน้ํา (4) คณะทํางานแจ้งเตือน และประชาสัมพันธ์ (1) อํานวยการ บริหารจัดการ รวบรวม บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ํา (2) ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ควบคุม กํากับ ดูแลสถานการณ์น้ํา รวมถึงประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการน้ํา (3) วิเคราะห์สถานการณ์ รายงานกองอํานวยการน้ําแห่งชาติ แล้วแจ้งเตือนไปยังกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) และหน่วยปฏิบัติ อื่น ๆ เพื่อรับทราบข้อวิเคราะห์คาดการณ์พื้นที่เป้าหมายในการปฏิบัติการ รวมทั้งแนวโน้มความรุนแรงเป็นการล่วงหน้า ภาวะปกติ ผู้อํานวยการ น้ําแห่งชาติ (เป็นหน่วยงานภายใน สทนช.) ผู้อํานวยการน้ําแห่งชาติ (เป็นหน่วยงานภายใน สทนช.) ติดตาม/เฝ้าระวังสถานการณ์น้ําของประเทศ ทั้งภาวะน้ําท่วม/น้ําแล้งอย่างใกล้ชิด 3.3 แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ภาวะสถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้น (ระดับ 1) ภาวะรุนแรง หรือคาดว่าจะรุนแรง (ระดับ 2) ภาวะวิกฤติ หรือคาดว่าจะวิกฤติ (ระดับ 3) 1. ติดตาม เฝ้าระวัง สภาพอากาศสถานการณ์น้ําในลําน้ํา อ่างเก็บน้ํา 2. บูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. วิเคราะห์สถานการณ์น้ําทั้งด้านปริมาณน้ําและคุณภาพน้ําที่อาจส่งผลให้เกิดอุทกภัย ภัยแล้งและปัญหาคุณภาพน้ําในแหล่งน้ําและบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน 1. ติดตามเฝ้าระวังเพื่อประเมินสถานการณ์และเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง 2. ประเมินการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. อํานวยการร่วมกับ กอปภ.ก 4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการน้ําผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัด 5. จัดทําข้อมูลเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 6. ประมวลผลข้อมูลเพื่อนําเสนอไปสู่การตัดสินใจยกระดับเป็นศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจหรือการประกาศเข้าสู่ภาวะปกติ 1. ติดตามเฝ้าระวังเพื่อประเมินสถานการณ์น้ําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 2. บัญชาการร่วมกับ บกปภ.ช. 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินตัดสินใจร่วมกันเพื่อเสนอผู้บัญชาการสั่งการในการบริหารจัดการน้ําในภาวะวิกฤติ 4. การแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบ 5. จัดทําข้อมูลเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 4. เพื่อให้เกิดการบูรณาการและเป็นการแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมป้องกันแก้ไข ควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากความเสียหายด้านน้ําที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในกรณีเกิดภาวะวิกฤตเพื่อให้นายกรัฐมนตรีได้มีข้อมูลเพียงพอสําหรับประกอบการตัดสินใจพิจารณาตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้ในกรณีเกิดปัญหาวิกฤตน้ําจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของคน สัตว์ หรือพืช หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐอย่างรุนแรง ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการ อํานวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ําเป็นการชั่วคราวจนกว่าปัญหาวิกฤตน้ําจะผ่านพ้นไป 12. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่สํานักงบประมาณ (สงป.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน [สงป. กระทรวงการคลัง (กค.) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.] เพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป ซึ่งเป็นไปตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 24 (1) ที่บัญญัติให้ในการจัดทํางบประมาณประจําปีให้ สงป. เป็นหน่วยงานหลัก โดยร่วมกับ กค. สศช. และ ธปท. เพื่อกําหนดนโยบายงบประมาณประจําปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่ายและวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ และเมื่อได้ดําเนินการแล้วให้ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ สาระสําคัญของเรื่อง สงป. รายงานว่า จากการประชุมพิจารณากําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่าง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สงป. กค. สศช. และ ธปท. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 สรุปสาระสําคัญและมติที่ประชุมได้ ดังนี้ 1. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 1.1 สมมติฐานทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.1 – 4.1 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภาคต่างประเทศ ตามแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของกรอบงบลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ํา และการปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ สําหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2564 ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.7 ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 1.2 ประมาณการรายได้รัฐบาล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวมจํานวน 3,264,200 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรถอนคืนกรมศุลกากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสําหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คงเหลือรายได้สุทธิ จํานวน 2,777,000 ล้านบาท ซึ่งมีจํานวนสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิที่กําหนดไว้ จํานวน 2,731,000 ล้านบาท เป็นจํานวน 46,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 1.3 นโยบายงบประมาณ วงเงิน และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจและประมาณการรายได้รัฐบาลตามข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ข้างต้น และเพื่อให้การจัดการรายจ่ายภาครัฐสามารถขับเคลื่อนภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายรัฐบาลได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนการดําเนินภารกิจของหน่วยงานตามกฎหมาย จึงได้กําหนดนโยบายงบประมาณขาดดุลสําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จํานวน 523,000 ล้านบาท ทําให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จํานวน 3,300,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่กําหนดไว้ 3,200,000 ล้านบาท จํานวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.1 โดยมีสาระสําคัญของงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จํานวน 3,300,000 ล้านบาท ดังนี้ (สามารถดาวน์โหลดตารางได้จากไฟล์ดาวน์โหลด) 2. งบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้ มีจํานวนและสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กําหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 2. ข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน 2.1 การจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ควรเป็นการดําเนินนโยบายการคลังที่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจที่อาจไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ได้อย่างทันท่วงที 2.2 การจัดทํางบประมาณควรคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความท้าทายมากขึ้นในระยะ 1 – 2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลให้แรงงานบางส่วนถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี และอาจไม่สมารถปรับตัวได้ดีดังเช่นอดีตที่ผ่านมาแม้เศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น 2.3 การจัดสรรเงินอุดหนุนให้ อปท. เป็นภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเงินอุดหนุนบางส่วนมีความซ้ําซ้อน จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาทบทวนเงินอุดหนุนสําหรับภารกิจที่มอบหมายให้ อปท. ดําเนินการแทนรัฐบาล รวมถึงการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกันเงินสํารองและการใช้จ่ายเงินสะสมของ อปท. ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้ อปท. มีสภาพคล่องเกินอยู่ในระดับสูง สะท้อนให้เห็นได้จากเงินฝากของ อปท. ในระบบสถาบันการเงินที่มีจํานวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 13. เรื่อง ผลการดําเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) [การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)] เสนอผลการดําเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (15 ตุลาคม 2562) เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 กรอบวงเงินไม่เกิน 24,278.63 ล้านบาท โดยในส่วนค่าบริหารโครงการฯ อัตราไม่เกินร้อยละ 1 จํานวน 234.72 ล้านบาท เห็นควรให้ กยท. ใช้จ่ายจากกองทุนพัฒนายางพาราในลําดับแรก] สรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้ 1. คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยในคราวประชุม ครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ได้พิจารณาการใช้เงินจากกองทุนฯ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) และอนุมัติงบประมาณค่าบริหารโครงการฯ จากแหล่งเงิน 2 แหล่ง ดังนี้ แหล่งเงิน งบประมาณที่ใช้ (ล้านบาท) กลุ่มเกษตร จํานวนเกษตรกร (ราย) 1.1) กองทุนพัฒนายางพารา โดยถัวจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 ของกองทุนฯ ตามมาตรา 49 (3) แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 รายการเงินงบประมาณสํารองเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง 181.85 เฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. 1.2) ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสํานักงบประมาณ (สงป.) 52.87 เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. รวม 234.72 ทั้งนี้ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 และข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารและจัดสรรเงินกองทุนพัฒนายางพารา พ.ศ. 2559 ไม่สามารถนําเงินกองทุนฯ มาใช้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. ซึ่งต่อมา กยท. ได้ขอความเห็นของ สงป. ในประเด็นการจ่ายเงินประกันรายได้และงบประมาณค่าบริหารโครงการฯ ที่จะจ่ายให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. และไม่สามารถใช้เงินจากกองทุนฯ ได้ (จากการประสานงานกับ กยท. ทราบว่า สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า หากมีปัญหาข้อกฎหมายควรหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนั้น กยท. จึงดําเนินโครงการฯ ทั้งหมดโดยใช้เงินจากกองทุนฯ เพียงแหล่งเดียว ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 181.85 ล้านบาท) 2. กษ. ได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินโครงการฯ กํากับดูแล ติดตามการดําเนินงาน และวินิจฉัยประเด็นปัญหา พร้อมเสนอความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินโครงการฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 คณะทํางานกําหนดราคากลางอ้างอิง และคณะทํางานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 ระดับตําบล เพื่อกํากับดูแล แก้ไขปัญหา และปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง 3. คณะทํางานกําหนดราคากลางอ้างอิงได้มีการประชุมเพื่อกําหนดราคาอ้างอิง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 โดยได้กําหนดราคาอ้างอิงในการประกันรายได้ตามชนิดยางและอัตราค่าชดเชยรายได้ ในรอบที่ 1 ดังนี้ 3.1 ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ใช้ราคาเฉลี่ยจากสํานักงานตลาดกลางยางพารา (สตก.) จํานวน 6 แห่ง ได้แก่ สตก.จังหวัดสงขลา สตก.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สตก.จังหวัดนครศรีธรรมราช สตก.จังหวัดยะลา สตก.จังหวัดบุรีรัมย์ และ สตก.จังหวัดหนองคาย ดังนี้ ราคาประกันรายได้ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) ราคากลางอ้างอิง ราคาชดเชย 60.00 บาท/กิโลกรัม 38.97 บาท/กิโลกรัม 21.03 บาท/กิโลกรัม 3.2 น้ํายางสด DRC 100% ใช้ราคาเฉลี่ยจาก สตก.จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ สตก.จังหวัดสงขลา ดังนี้ ราคาประกันรายได้ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) ราคากลางอ้างอิง ราคาชดเชย 57.00 บาท/กิโลกรัม 37.72 บาท/กิโลกรัม 19.28 บาท/กิโลกรัม 3.3 ยางก้อนถ้วย DRC 50% ใช้ราคาเฉลี่ยจาก สตก.จังหวัดบุรีรัมย์ และ สตก.จังหวัดหนองคาย ดังนี้ ราคาประกันรายได้ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) ราคากลางอ้างอิง ราคาชดเชย 23.00 บาท/กิโลกรัม 16.19 บาท/กิโลกรัม 6.81 บาท/กิโลกรัม 4. ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ที่ประชุมได้เห็นชอบตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การเบิกจ่ายเงินโครงการฯ เช่น 4.1 กยท. จัดพิมพ์รายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางโครงการฯ จากระบบติดประกาศ ณ ที่ทําการหมู่บ้าน หรือจุดศูนย์รวมชุมชนหมู่บ้าน หลังจากนั้นมอบรายชื่อดังกล่าวให้คณะทํางานโครงการฯ ระดับตําบล เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางและระบุผลรับรองหรือไม่รับรอง 4.2 กยท. จัดพิมพ์ผลการพิจารณาตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางติดประกาศ ณ ที่ทําการหมู่บ้าน หรือจุดศูนย์รวมชุมชนหมู่บ้าน หลังจากนั้นนําผลประมวลข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางที่ผ่านการรับรองส่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรณีไม่ผ่านการรับรองสามารถยื่นอุทธรณ์ ต่อคณะทํางานโครงการฯ ระดับตําบล และกรณีไม่ผ่านการรับรองจากคณะทํางานโครงการฯ ระดับตําบล สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการบริหารโครงการฯ 4.3 ธ.ก.ส. ดําเนินการตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคารของเกษตรกรให้ถูกต้องและโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของเกษตรกร 5.การจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 งวดที่ 1 (วันที่ 1 – 15 พฤศจิกายน 2562) ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 กยท. ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. และมีการดําเนินการ (จากเป้าหมาย 1,711,252 ราย) ดังนี้ ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. ธ.ก.ส. จ่ายเงินแล้ว เกษตรกรชาวสวนยาง และคนกรีด (ราย) พื้นที่ (ล้านไร่) วงเงินจ่าย (ล้านบาท) เกษตรกร (ราย) จํานวนเงิน (ล้านบาท) 7.12 5,515.48 (ร้อยละ 77.45) 2,834.55 (ร้อยละ 51.39) ในส่วนของเกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการ แต่ยังไม่ได้รับการจ่ายเงินประกันรายได้ งวดที่ 1 ในวันที่ 1 – 15 พฤศจิกายน 2562 เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการตรวจรับรองสิทธิเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการประกันรายได้ตามข้อกําหนดของโครงการ และเป็นการป้องกันการทุจริต เพื่อให้มีการใช้งบประมาณของรัฐอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อผ่านการตรวจรับรองสิทธิเรียบร้อยแล้ว จะดําเนินการเร่งจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 งวดที่ 1 ให้ครบเป้าหมายทันที 14. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 (กนป.) ตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติเสนอดังนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 5/2562 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน มีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. กนป. มีมติเห็นชอบการดําเนินการ 4 เรื่อง ดังนี้ เรื่อง มติ กนป. 1.1 การปรับแผนการดําเนินการตามมาตรการใช้น้ํามันปาล์มดิบเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เห็นชอบการปรับแก้ไขข้อความในสรุปมติการประชุม กนป. ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดซื้อน้ํามันปาล์มดิบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสามารถดําเนินการตามแผนส่งมอบน้ํามันปาล์มดิบ ดังนี้ 1.1.1 สรุปมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 2/2562 (แก้ไขเพิ่มเติม) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 มิถุนายน 2562) รับทราบ] แนวทางการดูดซับน้ํามันปาล์มดิบ (เพิ่มเติม) แก้ไขจาก “ผู้ขายจัดส่งน้ํามันปาล์มดิบ ณ คลังน้ํามันปาล์มดิบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใน 30 วัน (ปฏิทิน) หลังจากลงนามสัญญาซื้อขายเรียบร้อยแล้ว ...” เป็น “ผู้ขายจัดส่งน้ํามันปาล์มดิบ ณ คลังน้ํามันปาล์มดิบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาตามสัญญาซื้อขายน้ํามันปาล์มดิบกับ กฟผ. ...” 1.1.2 สรุปมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 สิงหาคม 2562) รับทราบ] การใช้น้ํามันปาล์มดิบเพื่อผลิตไฟฟ้า แก้ไขจาก “...ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ภายใน 2 สัปดาห์” เป็น “...ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว” 1.2 การขอขยายระยะเวลาดําเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ํามัน ปาล์มดิบ เห็นชอบการขอขยายระยะเวลาการดําเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ํามันปาล์มดิบ ตามมติ กนป. ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 จากเดิม กําหนดให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน เป็น ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับจากวันที่กรมการค้าภายในได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ 1.3 การทบทวนมาตรการบริหารการนําเข้าสินค้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์ม 1.3.1 เห็นชอบให้คงมาตรการบริหารการนําเข้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์มตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สําหรับภาษีในโควตาและ ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งกําหนดให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นําเข้าแต่เพียงผู้เดียว 1.3.2 เห็นชอบการทบทวนมาตรการบริหารการนําเข้าสินค้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์มนอกโควตา WTO สําหรับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเข้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์มนอกโควตา WTO จากเดิม กําหนดให้ขึ้นทะเบียนเพียงครั้งเดียวโดยไม่กําหนดวันหมดอายุ เป็น กําหนดให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเข้ากับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะปัจจุบันของผู้นําเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.3 มอบหมายกรมการค้าต่างประเทศแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป 1.4 แนวทางการกําหนดด่านนําเข้าและนําผ่านสินค้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์ม 1.4.1 เห็นชอบกําหนดด่านนําเข้าและนําผ่านสินค้าน้ํามันปาล์มฯ ดังนี้ 1.4.1.1 ด่านนําเข้าสินค้าน้ํามันปาล์มฯ 3 ด่าน ได้แก่ ด่านศุลกากรมาบตาพุด สํานักงานศุลกากรกรุงเทพ และสํานักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง 1.4.1.2 ด่านนําผ่านสินค้าน้ํามันปาล์ม ด่านต้นทาง 1 ด่าน คือ สํานักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และกําหนดด่านปลายทางสําหรับการนําผ่านน้ํามันปาล์มฯ ไปยังแต่ละประเทศ ดังนี้ 1) กําหนดด่านศุลกากรจันทบุรี เป็นด่านปลายทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา 2) กําหนดด่านศุลกากรหนองคาย เป็นด่านปลายทางไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) กําหนดด่านศุลกากรแม่สอดเป็นด่านปลายทางไปยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 1.4.2 มอบหมายกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อบังคับใช้ต่อไป 2. สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นควรรับทราบตามที่ กนป. เสนอ เพื่อพิจารณามอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไป 15. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สํานักงาน ก.พ.ร.) เสนอรายงานผลการดําเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กําหนดกรอบเวลาและเร่งรัดการดําเนินกิจกรรมภายใต้ แผนฯ ระยะที่ 2 ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2562 จากรายงานดังกล่าวพบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่ได้มีการดําเนินการเป็นไปตามแผน ส่งผลให้การพัฒนาบริการภาครัฐโดยรวมดียิ่งขึ้น ดังนี้ 1. ผลการดําเนินงานตามแผนฯ ระยะที่ 2 หัวข้อ ผลการดําเนินงานที่สําคัญ แผนงานที่ 1 การปรับปรุงคู่มือ สําหรับประชาชน ระยะที่ 2 · จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการปรับปรุงคู่มือสําหรับประชาชน เพื่อให้ส่วนราชการสามารถปรับปรุงคู่มือสําหรับประชาชนให้มีมาตรฐานเดียวกัน ลดความซ้ําซ้อน และเผยแพร่คู่มือสําหรับประชาชนที่ปรับปรุงใหม่ในระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) · การปรับปรุงคู่มือสําหรับประชาชน สามารถปรับลดจํานวนคู่มือสําหรับประชาชน จาก 700,000 กว่ารายการ เหลือ 2,115 รายการ ซึ่งเป็นคู่มือกลางที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ รวมถึงปรับปรุงคู่มือเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย (Infographic) ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจ จํานวน 454 รายการ · การพิจารณาลดขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ โดยพบว่าสามารถลดระยะเวลารอคอยและขั้นตอนที่ไม่จําเป็นในการให้บริการลงได้รวม 2.9 ล้านนาที หรือ 6,049 วัน · การลดรายการเอกสารหลักฐานประกอบ ได้แก่ สําเนาบัตรประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารอื่น ๆ โดยสามารถลดลงได้ 1,212 รายการ แผนงานที่ 2 การจัดทําแบบฟอร์มเอกสารราชการ 2 ภาษา (รวม 5 ประเภทเอกสาร) · ปี 2560 ดําเนินการจัดทําเอกสารราชการที่ประชาชนต้องใช้ในชีวิตประจําวันได้ครบถ้วนตามแผน และสามารถจัดทําเอกสารเกี่ยวกับการอํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ได้ร้อยละ 98.61 · ปี 2562 พบว่าเอกสารที่เหลืออีก 3 ประเภท ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จประมาณ 813 รายการ (แบบฟอร์มในการยื่นคําขอ ดําเนินการแล้วร้อยละ 97.90 คู่มือสําหรับประชาชน ดําเนินการแล้วร้อยละ 61.43 และเอกสารราชการอื่น ๆ ดําเนินการแล้วร้อยละ 73.31) · นอกจากนี้กรมการกงสุลและกรมการปกครอง ได้พัฒนาระบบโปรแกรมการคัดรับรองเอกสารการขึ้นทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ รวม 12 ประเภท เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประจําตัวประชาชน สูติบัตร เป็นต้น ทําให้สามารถคัดสําเนาจากฐานข้อมูลและสั่งพิมพ์เอกสารเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อลดขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการรับรองเอกสาร และลดภาระค่าใช้จ่ายในการแปลและรับรองเอกสารของประชาชน จากผลการดําเนินการพบว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 2562 มีประชาชนขอรับบริการจํานวน 50,950 ฉบับ สามารถลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้กว่า 20 ล้านบาท แผนงานที่ 3 การพัฒนาระบบติดตาม การให้บริการ อยู่ระหว่างการดําเนินการพัฒนาระบบติดตามสถานะ (Tracking System) การให้บริการโดยดําเนินการผ่านระบบศูนย์กลางข้อมูลธุรกิจติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ณ จุดเดียว (Biz Portal) แผนงานที่ 4 การอํานวยความสะดวก ในการจองคิวกลาง และการให้ข้อมูลป้อนกลับของประชาชนต่อการให้บริการ พัฒนาระบบคิวกลางสําหรับนัดหมายเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและอยู่ระหว่างการดําเนินการพัฒนาการให้ข้อมูลป้อนกลับของประชาชนต่อการบริการของหน่วยงานรัฐ (Citizen Feedback Survey) และการยกเลิกสําเนาเอกสาร (CITIZENinfo) แผนงานที่ 5 การทบกวนกฎหมายในการยกเลิกใบอนุญาตที่ไม่จําเป็น ดําเนินการทบทวนกฎระเบียบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับรายงานความยาก – ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business 2020) และอยู่ระหว่างพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตเพื่อลดขั้นตอนที่ ไม่จําเป็นหรืออุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจ 2. การดําเนินการในระยะต่อไป 1) ปรับปรุงคู่มือสําหรับประชาชน เช่น ปรับปรุงระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ พัฒนาระบบกลางของภาครัฐในการนําข้อมูลคู่มือสําหรับประชาชนหรืองานบริการภาครัฐเชื่อมโยงกับระบบ Citizen Portal เป็นต้น 2) เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐที่ยังไม่ได้จัดทําแบบฟอร์มเอกสารราชการ 2 ภาษา (ประมาณ 813 รายการ) จัดทําให้แล้วเสร็จตามแผน และส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ เผยแพร่ขึ้นสู่เว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) 16. เรื่อง ขอความเห็นชอบการดําเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงชื่อและวัตถุประสงค์โครงการจากโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน เป็นโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. เห็นชอบการยุติโครงการและการขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณ ตามข้อเท็จจริง 2.2 3. รับทราบการทําความตกลงกับสํานักงบประมาณ ตามข้อเท็จจริง 2.3 โดยให้ดําเนินการตามความเห็นของสํานักงบประมาณ ข้อเท็จจริง 1. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ภายในกรอบวงเงิน 14,491.4 ล้านบาท โดยให้สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพิจารณาใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติโดยพิจารณาจากโครงการที่ได้เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และ/หรือโครงการที่มีผลการปฏิบัติงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ ทั้งนี้ ให้สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) จัดทํารายละเอียดให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ 2. คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 มีมติให้นําเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 2.1 ขอเปลี่ยนแปลงชื่อและวัตถุประสงค์โครงการจากโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน เป็นโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการที่มุ่งสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในด้านการประกอบอาชีพ ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการบริการของประชาชน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจ้างแรงงาน การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน 2.2 ให้ใช้งบประมาณโครงการที่ได้เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้วโดยขอยุติการดําเนินโครงการและขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณ จํานวน 3 โครงการ ในวงเงินงบประมาณ 2,407,700,000 บาท มาใช้ในการดําเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้ (1) โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 2 (งบประมาณโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555) จํานวนเงิน 22,800,000.-บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 (2) โครงการหมู่บ้านจัดตั้งใหม่ (งบประมาณโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555) จํานวนเงิน 934,000,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 (3) โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) จํานวนเงิน 1,450,900,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โดยงบประมาณได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 2.3 ให้ทําความตกลงกับสํานักงบประมาณโดยขอใช้งบประมาณดําเนินโครงการจํานวน12,083,700,000 บาท จากงบประมาณดําเนินโครงการอื่นที่ยังดําเนินการอยู่ของ สทบ. ไปก่อน รวม 6 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3 จํานวนเงิน 9,107,000,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยยังต้องดําเนินการจัดเพิ่มทุนให้กองทุนที่ได้ดําเนินการฟื้นฟูและพัฒนาตามแนวทางที่กําหนดแล้ว (2) โครงการพัฒนาเมือง จํานวนเงิน 1,671,569,548.01 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับโอนงบประมาณจากสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ดําเนินโครงการแทน โดยยังต้องดําเนินการจัดงบประมาณให้ชุมชนที่เสนอขอมาและผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการ ซึ่งขณะนี้มีโครงการรอการพิจารณาอนุมัติจํานวน 1,026 โครงการ (3) โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จํานวนเงิน 475,817,353.80 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 โดยยังต้องดําเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการ ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ (4) โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จํานวนเงิน 1,922,276,140.-บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยยังต้องดําเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ (5) โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ จํานวนเงิน 1,041,311,227.- บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยยังต้องดําเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการ ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ (6) โครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร จํานวนเงิน1,066,085,370.09 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยยังต้องดําเนินการจัดทํางบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ โดยขอให้สํานักงบประมาณตั้งงบประมาณจํานวนเงินดังกล่าว ใช้คืนให้ สทบ.ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อจักได้ดําเนินโครงการเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการต่อไป 3. สํานักงบประมาณได้ตอบข้อหารือ กรณีการนํางบประมาณที่มีภาระผูกพันไปใช้สนับสนุนการดําเนินงานตามโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ตามหนังสือสํานักงบประมาณ ด่วนที่สุดที่ นร0714/2550 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ว่าพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ได้กําหนดให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและรายได้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งทําให้งบประมาณรายจ่ายที่จัดสรรให้และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเบิกจ่ายไปแล้วเป็นเงินนอกงบประมาณที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสามารถใช้จ่ายได้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน โดยให้เบิกจ่ายเงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่มีงบประมาณคงเหลือจากโครงการต่าง ๆ ที่เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และ/หรือโครงการที่มีผลการปฏิบัติงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ จึงเป็นการอนุญาตและเป็นแนวทางให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินํากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินการโครงการต่าง ๆ ไว้เดิม มาเป็นวงเงินสําหรับใช้จ่ายในโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้านต่อไป ทั้งนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจะต้องไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติด้วย 4. สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้ประชุมร่วมกับสํานักงบประมาณและสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในวันที่ 25 ธันวาคม 2562 โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นประธาน โดยได้พิจารณาแนวทางการใช้งบประมาณตามข้อเท็จจริง 2.2 และ 2.3 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี 17. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สําหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สําหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ตามที่สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,041 โครงการ ภายในวงเงิน 3,079,472,482 บาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน จํานวน 2,295,698,982 บาท และให้กรมทรัพยากรน้ําบาดาลปรับแผนการดําเนินงานจากกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ในโครงการเพิ่มน้ําต้นทุนและระบบกระจายน้ํา เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 และยังไม่ขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณ จํานวน 783,773,500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดําเนินการ ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ ดังนี้ 1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อทําความ ตกลงในรายละเอียดกับสํานักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปหักออกจากงบประมาณที่ได้รับในโครงการที่มีความซ้ําซ้อนจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกาศใช้บังคับแล้ว ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดําเนินการตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําให้ทันภายในช่วงฤดูแล้ง และให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติติดตามประเมินผลการดําเนินโครงการ รวมถึง สรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดําเนินโครงการในครั้งนี้ และรายงานผลการดําเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป 3. สําหรับกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เห็นควรที่จะพิจารณาใช้จ่ายจากเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการดังกล่าวด้วย สาระสําคัญ/ข้อเท็จจริง สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ได้รายงานผลจัดทําแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2562/63 ในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562 เพื่อทราบและเห็นชอบ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้ 1. ด้านอุปโภค-บริโภค 1.1 ในเขตพื้นที่บริการของการประปานครหลวง (กปน.) ได้จัดทําแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง จํานวน 4 โครงการ วงเงิน 32,000,000 บาท โดยการขุดเจาะบ่อน้ําบาดาลประกอบด้วย 1) สถานีสูบจ่ายน้ําสําโรง 2) สถานีสูบจ่ายน้ํามีนบุรี 3) สถานีสูบจ่ายน้ําบางเขน และ 4) สถานีสูบจ่ายน้ําลาดกระบัง 1.2 ในเขตพื้นที่บริการของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ําในเขต รวม 61 สาขา 31 จังหวัด ครอบคลุมโรงพยาบาล ในพื้นที่เสี่ยง จํานวน 224 แห่ง โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง จํานวน 223 โครงการ วงเงิน 1,812,050,000 บาท โดย กปภ. ปรับแผนของตนเอง จํานวน 173 โครงการ วงเงิน 653,000,000 บาท และเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จํานวน 50 โครงการ วงเงิน 1,159,050,000 บาท 1.3 ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 และ 1.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สํารวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ําครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง 43 จังหวัด 42,452 หมู่บ้าน ประกอบด้วย พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ําในระดับรุนแรง 1,270 หมู่บ้าน เสี่ยงขาดแคลนน้ําในระดับปานกลาง 1,927 หมู่บ้าน เสี่ยงขาดแคลนน้ําเล็กน้อย 935 หมู่บ้าน และไม่มีผลกระทบ 38,320 หมู่บ้าน โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้งจํานวน 3,151 โครงการ วงเงิน 4,185,422,482 บาท โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน1,160 โครงการ วงเงิน 2,265,000,000 บาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จํานวน 1,991 โครงการ วงเงินรวม 1,920,422,482 บาท ประกอบด้วย (1) ขุดเจาะบ่อบาดาล 1,100 โครงการ ดําเนินการโดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 187 โครงการ กองทัพบก 209 โครงการ กรมทรัพยากรน้ําบาดาล 704 โครงการ วงเงิน 1,300,530,496 บาท (2) จัดหาแหล่งน้ําผิวดิน 230 โครงการ ดําเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 230 โครงการ วงเงิน 145,265,895 บาท (3) ซ่อมแซมระบบน้ําประปา 654 โครงการ ดําเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 654 โครงการ วงเงิน 450,856,091 บาท (4) ในส่วนของโรงพยาบาล ได้มีการสํารวจโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ํา จํานวน 157 โครงการ โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง แบ่งเป็นขุดเจาะบ่อบาดาล 3 โครงการ ดําเนินการโดย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 3 โครงการ วงเงิน 880,000 บาท และซ่อมแซมระบบน้ําประปา ดําเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 โครงการ วงเงิน 22,890,000 บาท พื้นที่ งบประมาณของหน่วยงาน เสนอของบประมาณเพิ่มเติม จํานวน (โครงการ) งบประมาณ (ล้านบาท) จํานวน (โครงการ) งบประมาณ (ล้านบาท) ในพื้นที่เขตบริการการประปา 685.00 1,159.05 การประปานครหลวง 32.00 - - การประปาส่วนภูมิภาค 653.00 1,159.05 นอกพื้นที่เขตบริการการประปา 2,265.00 1,920.44 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา - - 221.97 กองทัพบก - - 247.11 กรมทรัพยากรน้ําบาดาล - - 832.34 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2,265.00 619.02 รวมใน-นอกเขตการประปา 2,950.00 3,079.49 2. ด้านเกษตร 2.1 ในพื้นที่เขตชลประทาน มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ําให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ําและสอดคล้องต่อปริมาณน้ําต้นทุน โดยมีการปรับแผนจัดสรรน้ําอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ – กลาง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 มีการปรับแผนเพิ่มขึ้น จํานวน 587 ล้านลูกบาศก์เมตร จากแผนเดิม 11,984 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 12,570 ล้านลูกบาศก์เมตร แยกเป็นอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ 14 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคกลาง 1 และภาคตะวันตก 2 แห่ง อ่างเก็บน้ําขนาดกลาง 11 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 8 แห่ง ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ควบคุมการจัดสรรน้ําให้เป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด พร้อมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยาใหญ่ 2.2 นอกพื้นที่เขตชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสํารวจพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเสี่ยงขาดแคลนน้ํา 2.6 ล้านไร่ พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ําขั้นรุนแรง ยืนต้นตายจํานวน 0.37 ล้านไร่ ในพื้นที่ 30 จังหวัด โดยมอบกรมทรัพยากรน้ํา และกรมทรัพยากรน้ําบาดาล จะดําเนินการจัดหาแหล่งน้ําต้นทุนสนับสนุน พร้อมทั้งจัดทําแผนและมาตรการเสนอโดยด่วนต่อไป 3. ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ํา กรมทรัพยากรน้ําบาดาล กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาและกองทัพบก ได้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ รวม 4,192 เครื่อง แบ่งเป็นรถบรรทุกน้ําและรถผลิตน้ํา 1,517 เครื่อง เครื่องจักรและเครื่องขุด 175 เครื่อง และเครื่องเจาะบ่อและสูบน้ํา 2,500 เครื่อง โดยมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรับไปดําเนินการวางแผนการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งต่อไป จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติจึงจําเป็นต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อนจํานวน 3,079,472,482 บาท สําหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วง ฤดูแล้งปี 2562/63 18. เรื่อง มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้ 1. เห็นชอบมาตรการ/โครงการที่เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 2. รับทราบมาตรการด้านการเงินเพื่อสนับสนุน SMEs/โครงการ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 3. เห็นชอบมาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา ร่างกฎกระทรวง และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง สาระสําคัญ มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย มีรายละเอียด ดังนี้ 1. กลุ่ม SMEs ที่ต้องการสภาพคล่อง ประกอบด้วย 3 โครงการ ดังนี้ 1.1 โครงการ บสย. SMEs สร้างไทย ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยปรับปรุงวัตถุประสงค์และคุณสมบัติ SMEs ของโครงการ PGS 8 ให้ บสย. สามารถค้ําประกันกับลูกหนี้ที่มีศักยภาพแต่มีความสามารถในการชําระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) แต่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว และต้องได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ โดยให้รวมถึงสินเชื่อ Re-finance เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่องให้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ บสย. กําหนดวงเงินค้ําประกันและการจ่ายค่าประกันชดเชยโครงการดังกล่าว โดยให้บริหารจัดการภายในงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว ซึ่งในเบื้องต้น บสย. ได้กําหนดวงเงินไว้ 10,000 ล้านบาท และกําหนดการจ่ายค่าประกันชดเชยเฉลี่ยสูงสุดไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของวงเงินค้ําประกันโครงการนี้ ทั้งนี้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้กับสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินไม่ต้องดําเนินคดีกับ SMEs ก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แทนการฟ้องดําเนินคดี สําหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชําระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ บสย. นอกจากนี้ เพื่อให้ SMEs ได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง เห็นควรมอบหมายให้สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นําเสนอคณะกรรมการกองทุน สสว. เพื่อจัดสรรเงินงบประมาณจากโครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. ที่ได้รับตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ให้กับ บสย. เพื่อดําเนินโครงการ บสย. SMEs สร้างไทย อีกจํานวน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะทําให้โครงการ บสย. SMEs สร้างไทย มีวงเงินค้ําประกัน 60,000 ล้านบาท จ่ายค่าชดเชยความเสียหายไม่เกินร้อยละ 40 ของวงเงินค้ําประกันโครงการนี้ โดยให้ บสย. กําหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การค้ําประกันสินเชื่อโครงการดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม อนึ่ง เงินในส่วนที่เหลือภายใต้โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. ขอให้ สสว. ให้ความสําคัญกับการให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่อง ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่เป็น NPLs แต่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วด้วย 1.2 โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ของธนาคารออมสิน มีวงเงินคงเหลือ 15,000 ล้านบาท โดยปรับปรุงคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์โครงการ โดยให้รวมถึงธุรกิจที่เป็น Supply Chain และธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจ 10 S-Curve และสามารถให้สินเชื่อกับลูกหนี้ที่เป็น NPLs แต่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ และให้เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมถึงการขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนอย่างเดียวได้ โดยธนาคารออมสินคิดดอกเบี้ยกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการอัตราร้อยละ 0.1 ต่อปี และธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการคิดดอกเบี้ยกับ SMEs ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี 1.3 โครงการ GSB SMEs Extra Liquidity ของธนาคารออมสิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนปรนภาระการจ่ายเงินต้นและเพิ่มสภาพคล่องในการดําเนินธุรกิจ วงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่อัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้าชั้นดี (Minimum Loan Rate : MLR) ลบร้อยละ 1 (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ของธนาคารออมสินอยู่ที่ร้อยละ 6.375 ต่อปี) ระยะเวลากู้สูงสุด 6 ปี (ระยะเวลาปลอดชําระเงินต้น 1 ปี) ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นที่มีความพร้อมพิจารณาดําเนินโครงการในลักษณะเดียวกันเพื่อเป็นการลดภาระและเพิ่มสภาพคล่องในการดําเนินธุรกิจให้แก่ SMEs ได้กว้างขวางมากขึ้น 2. กลุ่ม SMEs ที่กําลังจะถูกฟ้อง โครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 เพื่อเป็นการช่วยเหลือ SMEs ที่กําลังจะถูกฟ้องในโครงการดังกล่าว จึงเห็นควรให้ขยายระยะเวลาการค้ําประกันในโครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 ออกไปอีก 5 ปี รวมถึงยกเลิกเงื่อนไขที่กําหนดให้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเมื่อสถาบันการเงินดําเนินคดีกับ SMEs โดยให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างนี้แก่ SMEs เพื่อให้ SMEs สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ บสย. กําหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าประกันชดเชยให้เหมาะสมในส่วนที่ขยายระยะเวลา โดยให้ บสย. บริหารจัดการให้ค่าประกันชดเชยอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว เมื่อ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้สถาบันการเงินแล้ว ให้สถาบันการเงินติดตามการชําระหนี้ในส่วนที่ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้แล้ว โดยไม่เป็นการว่าจ้าง พร้อมทั้งให้ บสย. ทําความตกลงกับสถาบันการเงินในรายละเอียดต่อไป สําหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชําระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ บสย. 3. กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพ ปัจจุบันมีมาตรการด้านการเงินเพื่อสนับสนุน SMEs ทั้งโครงการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนและโครงการค้ําประกันสินเชื่อ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้ 3.1 โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นผู้พิจารณาสินเชื่อ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 วงเงินคงเหลือ 5,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี 3.2 โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ของ ธพว. โดย ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีวงเงินคงเหลือ 20,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3 ต่อปี ใน 3 ปีแรก พร้อมทั้งปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายให้สามารถให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPLs และมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วได้ด้วย 3.3 โครงการสินเชื่อ SME ประชารัฐสร้างไทย ของธนาคารออมสิน โดย ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีวงเงินคงเหลือ 45,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ใน 2 ปีแรก โดยกําหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสินเร่งประชาสัมพันธ์โครงการและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ SMEs 3.4 โครงการสินเชื่อ กรุงไทย SME ของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) โดยเพิ่มวงเงินสินเชื่ออีก 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 4 ต่อปี โดยกําหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ ให้ ธ.กรุงไทย เร่งประชาสัมพันธ์โครงการและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ SMEs 3.5 โครงการ PGS 8 ของ บสย. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 สําหรับวงเงินค้ําประกันคงเหลือ บสย. จะจ่ายค่าประกันชดเชยให้กับสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินไม่ต้องดําเนินคดีกับ SMEs ก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แทนการฟ้องดําเนินคดี สําหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชําระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ บสย. นอกจากนี้ ยังขยายการค้ําประกันสินเชื่อให้ครอบคลุมถึงธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง และธุรกรรมแฟ็กเตอริง 3.6 โครงการ Direct Guarantee ของ บสย. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกลุ่มลูกค้า SMEs เป้าหมาย เช่น ลูกค้าเดิมของ บสย. ลูกค้าในธุรกิจที่มี NPLs ต่ํา เป็นต้น วงเงินค้ําประกัน 5,000 ล้านบาท วงเงินค้ําประกันต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงิน โดย บสย. เป็นผู้กําหนดอัตราค่าธรรมเนียมค้ําประกันตามระดับความเสี่ยงของลูกค้า (Risk Based Pricing) ระยะเวลาค้ําประกันไม่เกิน 10 ปี 4. มาตรการอื่น ๆ 4.1 ขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการพิจารณาแนวทางการกันสํารองที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะ Preemptive TDR และกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่เป็น NPLs และมีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติม ทั้งของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2 ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์กําหนดเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมถึงพิจารณาขยายระยะเวลาการชําระหนี้ ลดดอกเบี้ยเพื่อให้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ 4.3 มาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียม กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอมาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (มาตรการทางภาษีฯ) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้อื่น สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า การให้บริการ และการกระทําตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า การให้บริการ และการกระทําตราสารระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 3) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องนําเงินได้นั้นไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนดและเฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทําตราสารระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 4) ยกเว้นให้การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อื่นในส่วนของหนี้ที่ปลดให้แก่ลูกหนี้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกําหนด 5) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือห้องชุดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ร้อยละ 0.01 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 สําหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ดังนี้ (1) กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชําระหนี้ให้แก่สถาบันการเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือห้องชุดเพื่อชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่น (2) กรณีสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่ได้รับโอนมาตาม (1) ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น (3) กรณีการจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้ของสถาบันการเงินกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินหรือระหว่างลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นกับเจ้าหนี้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดซึ่งเป็นหลักประกันอยู่เดิมหรืออสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดซึ่งนํามาเป็นหลักประกันใหม่ และ (4) กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดนั้นไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด ร้อยละ 0.01 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ตาม (4) สําหรับจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และให้เรียกเก็บตามอัตราปกติสําหรับราคาประเมินทุนทรัพย์ส่วนที่เกินจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้ดังกล่าว ต่างประเทศ 19. เรื่อง การประชุมคณะทํางานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย– เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะทํางานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา (ผภร.) กลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็น ผภร. ครั้งที่ 1 และเห็นชอบในการรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว และหากจําเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญก่อนการมีรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ สาระสําคัญของเรื่อง ไทยได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ตั้งแต่ปี 2527 ปัจจุบันมีผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวสําหรับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา 9 แห่ง ใน 4 จังหวัดชายแดนไทย – เมียนมา ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 แห่ง (บ้านแม่สุริน บ้านใหม่ในสอย บ้านแม่ลามาหลวง บ้านแม่ละอูน) จังหวัดตาก 3 แห่ง (บ้านนุโพ บ้านแม่หละ บ้านอุ้มเปี้ยม) จังหวัดกาญจนบุรี 1 แห่ง (บ้านต้นยาง) และจังหวัดราชบุรี 1 แห่ง (บ้านถ้ําหิน) รวมจํานวนทั้งสิ้นประมาณ 115,598 คน โดยทั้งหมดอยู่ระหว่างรอเดินทางกลับเมียนมาเมื่อสถานการณ์เอื้ออํานวย ซึ่งตั้งแต่ปี 2559 รัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาได้ร่วมมือกันส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับโดยสมัครใจอย่างต่อเนื่อง รวม 4 ครั้ง จํานวนทั้งสิ้น 1,039 คน โดยได้มีการประชุมคณะทํางานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ แล้ว 3 ครั้ง [ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงเนปยีดอ เมียนมา] และในการประชุมคณะทํางานร่วมฯ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2562 ที่จังหวัดเชียงราย ได้เห็นชอบให้มีคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ซึ่งคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคดังกล่าว ได้มีการประชุมหารือครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ณ กรุงเนปยีดอ เมียนมา โดยร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว ทั้ง 2 ฉบับ มีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. ร่างสรุปผลการประชุมคณะทํางานร่วมไทย –เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 ได้แก่ การแต่งตั้งคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคเพื่อเป็นกลไกในการติดตามการนําผลลัพธ์ของคณะทํางานร่วมฯ ไปปฏิบัติ การกําหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา การจ้างผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาเข้ามาทํางานในไทยภายหลังเดินทางกลับเมียนมาแล้ว การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาเพื่อการตั้งถิ่นฐานที่ยั่งยืน การเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มในการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา 2. ร่างสรุปผลการประชุมคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 1 ได้แก่ การส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 4 และการหารือเรื่องการใช้จุดผ่านแดนในการส่งกลับผู้หนีภัยกลุ่มดังกล่าว (ปัจจุบันส่งกลับแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2562) ความร่วมมือเพื่อการตั้งถิ่นฐานที่ยั่งยืน (การกําหนดพื้นที่ที่ชัดเจนสําหรับการดําเนินโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเมียนมา) การหารือด้านแรงงาน (ร่างแผนปฏิบัติการการจ้างงานผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาโดยระบุขั้นตอนการกลับมาทํางานอย่างถูกกฎหมายในไทย) แต่งตั้ง 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักงาน ก.พ.) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สํานักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัด สํานักนายกรัฐมนตรี ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จํานวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นางสุทธิลักษณ์ เอื้อจิตถาวร ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สํานักงาน ก.พ. ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สํานักงาน ก.พ. สํานักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2562 2. นางสาวพัชรา เพ็ชรทวี ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สํานักงาน ก.พ. ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สํานักงาน ก.พ. สํานักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จํานวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นางสาวสมใจ กาญจนาพงศ์กุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ดํารงตําแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2562 2. นางสาวมาลินี จิตตกานต์พิชย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) กลุ่มไวรัสวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดํารงตําแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภูมิคุ้มกันวิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2562 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้ 1. อนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวม 5 คน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ดังนี้ 1) นายสุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการ 2) นายพีระพงศ์ ทีฆสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ 3) นายรัฐชาติ มงคลนาวิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ 4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ 5) นางปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2563 เป็นต้นไป 2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดําเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในครั้งต่อ ๆ ไปให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดําเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย) ***************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 7 มกราคม 2563 วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2563 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 7 มกราคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ http://www.thaigov.go.th วันนี้ (7 มกราคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นําร่อง พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่ เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ... รวม 2 ฉบับ 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสําหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... เศรษฐกิจ - สังคม 10. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เรื่อง มาตรการพิเศษ เพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํา 12. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ 2564 13. เรื่อง ผลการดําเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 14. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 15. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 16. เรื่อง ขอความเห็นชอบการดําเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สําหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 18. เรื่อง มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย ต่างประเทศ 19. เรื่อง การประชุมคณะทํางานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย– เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 1 แต่งตั้ง 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักงาน ก.พ.) 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม *************** กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... ตามที่สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดําเนินการต่อไปได้ สลค. เสนอว่า 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกําหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกําหนด ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และโดยที่สภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 กรกฎาคม 2562) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้ ปีที่ สมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่หนึ่ง สมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง 22 พฤษภาคม 2562 – 18 กันยายน 2562 1 พฤศจิกายน 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 22 พฤษภาคม 2563 – 18 กันยายน 2563 1 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 22 พฤษภาคม 2564 – 18 กันยายน 2564 1 พฤศจิกายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 22 พฤษภาคม 2565 – 18 กันยายน 2565 1 พฤศจิกายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 2. ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง พ.ศ. 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ซึ่งกําหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตามสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สองจะสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จึงสมควรปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจําปี ครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จึงเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ มาเพื่อดําเนินการ 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสํานักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดเพิ่มเติมให้สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มีอํานาจมอบหมายหน่วยงานอื่นออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ 2. กําหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับซึ่งสินค้าเกษตรใด ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต และกําหนดเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องมีใน การยื่นแบบคําขอรับใบอนุญาต 3. กําหนดขั้นตอน วิธีการ และกําหนดระยะเวลาในการตรวจสอบคําขอรับใบอนุญาต การแจ้งให้ ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคําขอรับใบอนุญาตหรือจัดส่งเอกสาร หรือหลักฐานให้ถูกต้องหรือครบถ้วน รวมทั้งการชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และการออกใบอนุญาต 4. กําหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ส่งออกหรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ ซึ่งสินค้าเกษตรใดต้องแจ้งการส่งออกหรือนําเข้าซึ่งสินค้าเกษตรนั้นเป็นหนังสือต่อผู้อนุญาตทุกครั้งก่อนวันที่ส่งออกหรือนําเข้าอย่างน้อยสามวัน 5. กําหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาคําขอรับใบอนุญาต หนังสือแจ้งการส่งออกหรือนําเข้า และบรรดาใบอนุญาต ที่ได้ยื่นไว้หรือได้ออกให้ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2553 ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคําขอตามกฎกระทรวงฉบับนี้ หรือให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะ สิ้นอายุ แล้วแต่กรณี 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นําร่อง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นําร่อง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการ ต่อไปได้ คค. เสนอว่า 1. เนื่องจากการกําหนดคุณสมบัติของผู้นําร่อง ชั้น 2 ค. ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และการกําหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นําร่องไม่สอดคล้องกับคุณวุฒิทางการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน ทําให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้นําร่อง คค. จึงเห็นสมควรปรับปรุงคุณสมบัติของผู้นําร่อง ชั้น 2 ค. โดยต้องเป็นผู้สําเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทย หรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางวิทยาการเดินเรือที่สํานักงาน ก.พ. รับรอง จากเดิมมีเพียงโรงเรียนนายเรือหรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือผู้สําเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดตามหลักสูตรฝ่ายเดินเรือของรัฐบาลไทย หรือรัฐบาลต่างประเทศ และแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงชั้นการได้รับประกาศนียบัตร จากเดิมต้องเป็นหรือเคยเป็นนายเรือของเรือกลที่มีขนาดความยาวตลอดลําไม่น้อยกว่า 450 ฟุตมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และได้รับประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ) จากกรมเจ้าท่า เป็นไม่ต่ํากว่าประกาศนียบัตรประจําเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาดห้าร้อยตันกรอสหรือมากกว่า หรือประกาศนียบัตรชั้น 3 นอกจากนี้ หน้าที่ของผู้นําร่องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ยังไม่สอดคล้องกับหน้าที่ของผู้นําร่องตามมาตรฐานสากล และที่ปฏิบัติงานอยู่จริง จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้นําร่องมีหน้าที่เพียงการให้คําแนะนําและช่วยเหลือนายเรือ ไม่มีหน้าที่ทําการแทนนายเรือและการออกคําสั่งให้ นายเรือต้องปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของการทําการนําร่องในระดับสากล 2. ภารกิจการนําร่องหรือการเป็นผู้นําทางเรือให้เข้า - ออก ร่องน้ําต่าง ๆ ถือเป็นภารกิจที่สําคัญและเป็นสากล ในปัจจุบันมีเขตท่าเรือที่บังคับการเดินเรือโดยมีผู้นําร่อง ได้แก่ เขตท่าเรือกรุงเทพ เขตท่าเรือศรีราชา เขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เขตท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นต้น ซึ่งผู้นําร่องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะ ความปลอดภัยของร่องน้ํา การเดินเรือในร่องน้ําจํากัด ในที่แคบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการนําทางเรือให้เข้า – ออกร่องน้ําต่าง ๆ และเป็นเจ้าหน้าที่รัฐช่วยสอดส่องการกระทําผิดกฎหมายไทย 3. ผู้นําร่อง แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ดังนี้ 3.1 ผู้นําร่องชั้น 2 ค. ทําการนําร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลําไม่เกิน 400 ฟุต (121.92 เมตร) 3.2 ผู้นําร่องชั้น 2 ข. ทําการนําร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลําไม่เกิน 450 ฟุต (137.20 เมตร) 3.3 ผู้นําร่องชั้น 2 ก. ทําการนําร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลํา ไม่เกิน 500 ฟุต (152.44 เมตร) 3.4 ผู้นําร่องชั้น 1 ทําการนําร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลํา ไม่เกิน 565 ฟุต (172.26 เมตร) 3.5 ผู้นําร่องชั้นอาวุโส ทําการนําร่องเรือได้ทุกขนาด 3.6 ผู้เชี่ยวชาญการนําร่อง เป็นผู้นําร่องชั้นอาวุโสซึ่งได้ทําการนําร่องมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นําร่องชั้น 2 ค. 4. คค. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นําร่อง พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขปรับปรุงคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นําร่อง ชั้น 2 ค. และแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของผู้นําร่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหน้าที่ของผู้นําร่องตามมาตรฐานสากลและที่ปฏิบัติงานอยู่จริงในปัจจุบัน อันจะทําให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้นําร่องเพียงพอตามความจําเป็นและความต้องการของประเทศ อันจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ําของประเทศให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้นําร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไปดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นแล้ว ปรากฏว่า ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนผู้มีส่วนได้เสียเห็นด้วยในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดคุณสมบัติผู้สมัครเป็นผู้นําร่องชั้น 2 ค. ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1 เป็นผู้สําเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทย หรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือเป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางวิทยาการเดินเรือ ตามที่สํานักงาน ก.พ. รับรอง 1.2 ต้องได้รับประกาศนียบัตรสําหรับผู้ทําการในเรือฝ่ายเดินเรือ ในชั้นไม่ต่ํากว่าประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถนายประจําเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาดห้าร้อยตันกรอสหรือมากกว่า หรือประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง) ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการสอบความรู้ของผู้ทําการในเรือตามกฎหมายการเดินเรือในน่านน้ําไทย หรือชั้นประกาศนียบัตรอื่นที่เทียบเท่า 1.3 ต้องดํารงหรือเคยดํารงตําแหน่งผู้บังคับการเรือ หรือตําแหน่งอื่นที่เทียบเท่ามาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือปฏิบัติหน้าที่นายเรือ (MASTER) มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือตําแหน่งต้นเรือมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปี หรือตําแหน่งนายเรือและต้นเรือรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี 1.4 ต้องมีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันรับสมัคร และ มีคุณสมบัติทั่วไปครบถ้วนที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน 2. กําหนดให้ผู้นําร่องที่ทําการนําร่องจะต้องแนะนํานายเรือให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ําไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกัน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และกําหนดนิยามคําว่า “ทําการนําร่อง” ให้หมายความว่า เข้าทําหน้าที่ช่วยเหลือนายเรือเฉพาะในเรื่องการเดินเรือ และ การบังคับเรือให้เคลื่อนเดินไปอย่างปลอดภัยในเขตท่าหรือน่านน้ําซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นําร่อง โดยนายเรือรับรู้และเห็นชอบด้วย กับคําบอกหรือคําแนะนําของผู้นําร่อง 3. กําหนดให้ผู้นําร่องทุกคนที่ทําการนําร่องเรือลําใด ต้องใช้ความระมัดระวังและพยายามให้มากที่สุดที่จะหลีกเลี่ยง หรือป้องกันมิให้เกิดอันตราย หรือเสียหายแก่เรือลํานั้นหรือเรือลําอื่น หรือแก่ทรัพย์สิ่งของอย่างใด ๆ โดยแนะนํานายเรือให้กระทํา หลีกเลี่ยงการกระทําใด ๆ เพื่อป้องกันความเสียดายดังกล่าว แต่นายเรือยังคงมีอํานาจที่จะระงับหรือไม่ปฏิบัติตามคําบอก หรือคําแนะนําของผู้นําร่องก็ได้ 4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กําหนดให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด ได้แก่ (1) ประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา (2) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (3) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ (4) ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (เดิมกําหนดเพียง (2) – (4) เท่านั้น) 2. แก้ไขอํานาจของสภาสถาบัน โดยให้สภาสถาบันมีอํานาจอนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา (เดิม มีอํานาจอนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และประกาศนียบัตรวิชาชีพเท่านั้น) ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 เพื่อกําหนดให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดการศึกษาสายอาชีวศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษาได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่เด็กและเยาวชนในการศึกษาต่อจากระดับประถมศึกษาตามความสนใจและความถนัดของตน โดยนักเรียนรุ่นแรกจะจบการศึกษาในปี 2563 จํานวน 186 คน ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษารวม 8 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลําพูน จังหวัดลําพูน วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี วิทยาลัยการอาชีพนาแก จังหวัดนครพนม วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จังหวัดสกลนคร วิทยาลัยการอาชีพโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรี เรื่อง การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ข้อ 8.3 พัฒนาอาชีวะ พัฒนาคุณภาพวิชาชีพ และพัฒนาแรงงานรองรับอุตสาหกรรม 4.0 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 1. ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... กําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ ในพื้นที่บริเวณที่ 1 (อําเภอเมืองบึงกาฬ) พื้นที่บริเวณที่ 2 (อําเภอปากคาด) พื้นที่บริเวณที่ 3 (อําเภอบุ่งคล้า) พื้นที่บริเวณที่ 4 (อําเภอโซ่พิสัย) พื้นที่บริเวณที่ 5 (อําเภอพรเจริญ) พื้นที่บริเวณที่ 6 และพื้นที่บริเวณที่ 7 (อําเภอเซกา) 2. ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... ปรับปรุงการกําหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต ในพื้นที่บริเวณที่ 1 (ตําบลกะรน อําเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 2 และพื้นที่บริเวณที่ 3 (ตําบลตลาดใหญ่ อําเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 4 (ตําบลฉลอง อําเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 5 ถึง พื้นที่บริเวณที่ 10 (ตําบลป่าตอง อําเภอกระทู้) 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสําหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสําหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ คค. เสนอว่า 1. โดยที่มาตรา 5 ข้อ 6/3 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 บัญญัติให้ประเภทและขนาดของเรือสนับสนุนการประมง และลักษณะของสิ่งของที่จะบรรทุกหรือให้การสนับสนุนเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 พ.ศ. 2561 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อกําหนดกิจการอื่น 2. ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการกองเรือไทยที่เกี่ยวข้องกับการประมง คค. จึงยกร่างกฎกระทรวงกําหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสําหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. .... ขึ้น ซึ่งจะเป็นมาตรการให้กรมเจ้าท่าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามควบคุม เฝ้าระวังมิให้มีการนําเรือสนับสนุนการประมงไปใช้ทําการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เรือที่เจ้าของเรือแจ้งว่าจม สูญหาย จ่าย หรือโอนให้ผู้อื่นโดยไม่สามารถแสดงหลักฐาน ไม่สามารถติดตามได้ว่าเรืออยู่ที่ใด กลับเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกองเรือประมงได้อีก อันเป็นมาตรการสนับสนุนการป้องกันการทําประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นผลดีต่อการประมงของประเทศโดยรวม ทั้งนี้ คค. โดยกรมเจ้าท่า ได้ดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนผู้มีส่วนได้เสียแล้วเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ กรมเจ้าท่า กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วยในหลักการของร่างกฎกระทรวงฉบันนี้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดให้เรือที่จดทะเบียนเป็นเรือกลเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปที่กําหนดประเภทการใช้เรือไว้ว่าเป็นเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น น้ํามันเพื่อการประมงน้ําจืด น้ําจืดเพื่อการประมง และผลิตภัณฑ์น้ํามัน เป็นเรือสนับสนุนการประมง 2. กําหนดยกเว้นให้เรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ํามันเตาซึ่งมีการระบุในใบอนุญาตใช้เรือว่าเป็นเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ํามันเตาเป็นการเฉพาะ เรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ํามันซึ่งมีการทําสัญญาโดยตรงกับบริษัทน้ํามันในประเทศไทยให้เป็นผู้จัดส่งผลิตภัณฑ์น้ํามัน ระหว่างคลังน้ํามันในประเทศไทย หรือขนส่งผลิตภัณฑ์น้ํามันระหว่างคลังน้ํามันในประเทศไทยกับต่างประเทศ ในช่วงเวลาที่สัญญาระหว่างบริษัทน้ํามันกับเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ํามันยังมีผลใช้บังคับ และเรือของหน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นเรือสนับสนุนการประมง 7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการปรับปรุงแผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เนื่องจากการจําลองสีจําแนกพื้นที่ที่กําหนดให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมตามแผนที่หมายเลข 1/2 ดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับการจําลองสีจําแนกพื้นที่ของที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว สาระสําคัญของร่างประกาศ ให้ยกเลิกแผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 และให้ใช้แผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายร่างประกาศนี้แทน 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ย การพิจารณาคําคัดค้านของนายทะเบียน และการมีคําสั่งให้คู่กรณีตกลงแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนอื่นเพื่อทําหน้าที่แทนผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งถูกคัดค้าน 2. กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคําขอถอดถอน การพิจารณาคําขอถอดถอนของนายทะเบียนต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรับฟังคําชี้แจงของผู้ไกล่เกลี่ยโดยเร็ว เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรให้นายทะเบียนมีคําสั่งถอดถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ้นจากหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น รวมทั้งมีคําสั่งให้คู่กรณีตกลงแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนใหม่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นต่อไป 3. กําหนดหลักเกณฑ์การสิ้นสภาพผู้ไกล่เกลี่ย และการเพิกถอนการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 การพิจารณาและมีคําสั่งให้ผู้ไกล่เกลี่ยสิ้นสภาพหรือถูกเพิกถอนการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย รวมทั้งการจําหน่ายชื่อออกจากบัญชีผู้ไกล่เกลี่ย พร้อมให้นายทะเบียนแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ไกล่เกลี่ยโดยเร็ว 9. เรื่อง ร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ 2. รับทราบรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการจัดทําร่างระเบียบฯ ตามข้อ 1. ได้ภายใน 90 วันนับแต่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ สาระสําคัญของร่างระเบียบ 1. กําหนดให้การสรรหาประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีคณะกรรมการสรรหาครบถ้วนตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และหากมีเหตุจําเป็นให้คณะกรรมการสรรหาขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 60 วัน 2. กําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดําเนินการรับสมัครบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการไม่น้อยกว่า 3 รายชื่อ หรือรับสมัครบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 เท่าของจํานวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว 3. กําหนดให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 4. กําหนดให้เมื่อคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามจํานวนที่กําหนดตามกฎหมายแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง 5. กําหนดให้เมื่อคณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง และกรณีมีเหตุให้ต้องสรรหาประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เริ่มดําเนินการสรรหาก่อนครบวาระของประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ 6. กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตามระเบียบนี้ และ ให้ประธานกรรมการสรรหามีอํานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ เศรษฐกิจ - สังคม 10. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เรื่อง มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) และโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) โดยขอกําหนดระยะเวลาเริ่มรับคําขอกู้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 และสิ้นสุดรับคําขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ สาระสําคัญของเรื่อง 1. กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) และโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) โดยขอกําหนดระยะเวลาเริ่มรับคําขอกู้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 และสิ้นสุดรับคําขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน ซึ่งโครงการทั้งสองโครงการสิ้นสุดรับคําขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 2. โครงการทั้งสองโครงการเป็นการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ที่เห็นชอบโครงการ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 ที่เห็นชอบในหลักการการปรับปรุงรายละเอียดการดําเนินงานโครงการและการขยายระยะเวลาดําเนินโครงการออกไปอีก 1 ปี โดยทั้งสองโครงการมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 2.1 โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในกลุ่มที่ดําเนินธุรกิจเกษตรกรแปรรูป (อาหารและไม่ใช่อาหาร) ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (หรือธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว ธุรกิจที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์) ผู้ประกอบการใหม่หรือมีนวัตกรรม (หรือธุรกิจผลิตหรือบริการอื่น ๆ)และกลุ่มธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 50,000 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี รัฐบาลชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีใน 3 ปีแรก รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,000 บาท โดยผลการดําเนินงาน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มียอดเบิกจ่าย 27,562.07 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยเห็นว่าโครงการนี้ยังจะมีความจําเป็นและเป็นประโยชน์ในการลดต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะในปัจจุบันที่การลงทุนการจับจ่ายใช้สอยยังอยู่ในระดับสูงตัวเนื่องจากความไม่มั่นใจในการลงทุนของผู้ประกอบการ SMes จึงขอขยายระยะเวลาโครงการออกไปอีก 1 ปี 2.2 โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินลงทุนเพื่อลงทุน ขยาย ปรับปรุง กิจการ ควบคู่กับเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน) ในกลุ่มธุรกิจ S - Curve ที่ต้องการยกระดับ ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี รัฐบาลชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน กรณีธนาคารออมสินให้สินเชื่อกับผู้กู้ ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 420 ล้านบาท และชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน กรณีให้สินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่เกินร้อยละ 2.5 ต่อปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน2,975 ล้านบาท โดยผลการดําเนินงาน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มียอดเบิกจ่าย 4,446.07 ล้านบาท ซึ่งธนาคารออมสินเห็นว่าโครงการนี้มีวงเงินโครงการคงเหลือเป็นจํานวนมาก และยังมีผู้ประกอบการ SMEs แสดงความจํานงขอใช้สินเชื่อในโครงการอย่างต่อเนื่อง จึงขอขยายระยะเวลาดําเนินโครงการไปอีก 1 ปีโดยสิ้นสุดรับคําขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการแล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน และเบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 มิถุนายน 2564 สําหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ คงเดิม 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํา คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํา ตามที่สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้ 1. รับทราบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ําตามที่สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติเสนอ โดยในส่วนของงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสํานักงบประมาณที่ให้ สทนช. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี ทั้งนี้ หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ สทนช. พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี หรือโอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร จากโครงการ/รายการที่ดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ และมีงบประมาณเหลือจ่าย และ/หรือรายการที่หมดความจําเป็นแล้วแต่กรณี เพื่อมาสมทบในการดําเนินการตามแผนของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจเป็นลําดับแรก 2. ให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติประสานการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดําเนินการสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถดําเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม และให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติรับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย สาระสําคัญของเรื่อง สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. รายงานว่า 1. ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยประสบปัญหาทั้งภาวะน้ําแล้งและภาวะน้ําท่วมซึ่งส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ รัฐบาลพร้อมด้วยภาคส่วนต่าง ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหามิให้ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาวิกฤตน้ําโดยการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย ตลอดจนมีมาตรการป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ในฐานะหน่วยงานหลักจัดการภัยพิบัติรวมถึงปัญหาวิกฤตน้ํา ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 โดยคํานึงถึงความสอดคล้องกับระดับการจัดการสาธารณภัยตามแผนฯ ซึ่งแบ่งสาธารณภัยออกเป็น 4 ระดับ คือ สาธารณภัยขนาดเล็ก สาธารณภัยขนาดกลาง สาธารณภัยขนาดใหญ่ และสาธารณภัยขนาดร้ายแรงยิ่ง และพิจารณายกระดับสาธารณภัยตามขนาดพื้นที่ประสบภัย จํานวนประชากรที่ได้รับความเดือดร้อน หรือความสามารถในการรับมือเผชิญเหตุด้วยทรัพยากรที่แต่ละพื้นที่มีอยู่เป็นหลัก ในการนี้ เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทัน สามารถเตรียมการรับมือกับปัญหาวิกฤตน้ําที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องบูรณาการและให้มีข้อมูลทุกด้านที่เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้มาตรการในแต่ละระดับได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น 2. สนทช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. ได้จัดทํากรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ําเสนอ กนช. ซึ่งในคราวประชุม กนช. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 ได้มีมติเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและกองอํานวยการน้ําแห่งชาติ (War Room) โดยให้มีโครงสร้างถาวรใน สนทช. และต่อมาในการประชุม กนช. ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ สทนช. ดําเนินการต่อไป 3. กรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํามีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้ 3.1 ปัจจุบัน สทนช. ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศทั้งระบบ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยในการทําหน้าที่ สทนช. ต้องพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์วิกฤตน้ําด้วย เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เป็นต้น ทั้งนี้การบริหารจัดการน้ําในภาวะวิกฤติจําเป็นต้องกําหนดองค์กรหรือผู้รับผิดชอบเพื่อทําหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ เอาไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์น้ําและลดความซ้ําซ้อนในการทํางาน ดังนั้น การจัดทํากรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ํารวมถึงโครงสร้างกองอํานวยการน้ําแห่งชาติ โดยมี สทนช. เป็นฝ่ายเลขานุการถาวรที่ทําหน้าที่สนับสนุน จึงมีความจําเป็นและสําคัญเร่งด่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ 3.2 กรอบโครงสร้างขององค์กรภายใต้ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและองค์ประกอบ 3.2.1 กําหนดโครงสร้างตามระดับสาธารณภัยด้านน้ําที่เกิดขึ้น 3 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับ1 ภาวะสถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นและ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีความรุนแรงในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 10 ของระดับภาค 2) ระดับ 2 ภาวะรุนแรง (หรือคาดว่าจะรุนแรง) และคาดว่า จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยและมีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้นในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 30 ของระดับภาคและ/หรืออาจจะก่อให้เกิดผลกระทบ/ความเสียหายในบริเวณกว้าง 3) ระดับ 3 ภาวะวิกฤติ (หรือคาดว่าจะเกิดวิกฤติ) และคาดว่า จะมีผลกระทบกับประเทศไทยและมีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้นในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 60 ของระดับภาค และ/หรืออาจจะก่อให้เกิดผลกระทบ/ความเสียหายในบริเวณกว้าง 3.2.2 กรอบโครงสร้างฯ มีรายละเอียด ดังนี้ โครงสร้าง องค์ประกอบ หน้าที่และอํานาจที่สําคัญ ระดับ 3 (วิกฤติหรือคาดว่าจะวิกฤติ ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ผู้บัญชาการ : นายกรัฐมนตรี (1) ควบคุม สั่งการ บัญชาการ และอํานวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ําเป็นการชั่วคราว จนกว่าปัญหาวิกฤติน้ําจะผ่านพ้นไป (2) ออกคําสั่งเพื่อการป้องกันแก้ไข ควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและประกาศคําสั่งดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา (3) บัญชาการร่วมกับกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ในกรณีที่เป็นสาธารณภัยด้านทรัพยากรน้ําหรือวิกฤติน้ํา ระดับ 2 (รุนแรงหรือคาดว่าจะรุนแรง) กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ ผู้อํานวยการ :รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รองผู้อํานวยการ : เลขาธิการ สทนช. แบ่งการทํางานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มอํานวยการในภาวะวิกฤติ (2) กลุ่มคาดการณ์ในภาวะวิกฤติ (3) กลุ่มบริหารจัดการน้ําในภาวะวิกฤติ (4) กลุ่มแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ ในภาวะวิกฤติ (1) บริหารจัดการน้ําซึ่งอยู่ในเกณฑ์วิกฤติน้ํารุนแรงหรือคาดการณ์ว่าจะรุนแรง (ระดับ 2) (2) ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ควบคุม กํากับ ดูแลสถานการณ์น้ํา รวมถึงประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการน้ํา เพื่อประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ําต่อ บกปภ.ช. และสร้างการรับรู้ให้แก่สาธารณชน โดยอํานวยการและบูรณาการร่วมกับ บกปภ.ช. เพื่อพิจารณาระดับความรุนแรงสถานการณ์ภาวะวิกฤติน้ํา ระดับ 1 (สถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้น) ศูนย์อํานวยการน้ําเฉพาะกิจ ผู้อํานวยการ : เลขาธิการ สทนช. รองผู้อํานวยการ : รองเลขาธิการ สทนช. แบ่งการทํางานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) คณะทํางานอํานวยการ (2) คณะทํางานคาดการณ์ (3) คณะทํางานบริหารจัดการน้ํา (4) คณะทํางานแจ้งเตือน และประชาสัมพันธ์ (1) อํานวยการ บริหารจัดการ รวบรวม บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ํา (2) ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ควบคุม กํากับ ดูแลสถานการณ์น้ํา รวมถึงประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการน้ํา (3) วิเคราะห์สถานการณ์ รายงานกองอํานวยการน้ําแห่งชาติ แล้วแจ้งเตือนไปยังกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) และหน่วยปฏิบัติ อื่น ๆ เพื่อรับทราบข้อวิเคราะห์คาดการณ์พื้นที่เป้าหมายในการปฏิบัติการ รวมทั้งแนวโน้มความรุนแรงเป็นการล่วงหน้า ภาวะปกติ ผู้อํานวยการ น้ําแห่งชาติ (เป็นหน่วยงานภายใน สทนช.) ผู้อํานวยการน้ําแห่งชาติ (เป็นหน่วยงานภายใน สทนช.) ติดตาม/เฝ้าระวังสถานการณ์น้ําของประเทศ ทั้งภาวะน้ําท่วม/น้ําแล้งอย่างใกล้ชิด 3.3 แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ภาวะสถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้น (ระดับ 1) ภาวะรุนแรง หรือคาดว่าจะรุนแรง (ระดับ 2) ภาวะวิกฤติ หรือคาดว่าจะวิกฤติ (ระดับ 3) 1. ติดตาม เฝ้าระวัง สภาพอากาศสถานการณ์น้ําในลําน้ํา อ่างเก็บน้ํา 2. บูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. วิเคราะห์สถานการณ์น้ําทั้งด้านปริมาณน้ําและคุณภาพน้ําที่อาจส่งผลให้เกิดอุทกภัย ภัยแล้งและปัญหาคุณภาพน้ําในแหล่งน้ําและบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน 1. ติดตามเฝ้าระวังเพื่อประเมินสถานการณ์และเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง 2. ประเมินการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. อํานวยการร่วมกับ กอปภ.ก 4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการน้ําผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัด 5. จัดทําข้อมูลเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 6. ประมวลผลข้อมูลเพื่อนําเสนอไปสู่การตัดสินใจยกระดับเป็นศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจหรือการประกาศเข้าสู่ภาวะปกติ 1. ติดตามเฝ้าระวังเพื่อประเมินสถานการณ์น้ําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 2. บัญชาการร่วมกับ บกปภ.ช. 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินตัดสินใจร่วมกันเพื่อเสนอผู้บัญชาการสั่งการในการบริหารจัดการน้ําในภาวะวิกฤติ 4. การแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบ 5. จัดทําข้อมูลเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 4. เพื่อให้เกิดการบูรณาการและเป็นการแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมป้องกันแก้ไข ควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากความเสียหายด้านน้ําที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในกรณีเกิดภาวะวิกฤตเพื่อให้นายกรัฐมนตรีได้มีข้อมูลเพียงพอสําหรับประกอบการตัดสินใจพิจารณาตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้ในกรณีเกิดปัญหาวิกฤตน้ําจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของคน สัตว์ หรือพืช หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐอย่างรุนแรง ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการ อํานวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ําเป็นการชั่วคราวจนกว่าปัญหาวิกฤตน้ําจะผ่านพ้นไป 12. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่สํานักงบประมาณ (สงป.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน [สงป. กระทรวงการคลัง (กค.) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.] เพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป ซึ่งเป็นไปตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 24 (1) ที่บัญญัติให้ในการจัดทํางบประมาณประจําปีให้ สงป. เป็นหน่วยงานหลัก โดยร่วมกับ กค. สศช. และ ธปท. เพื่อกําหนดนโยบายงบประมาณประจําปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่ายและวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ และเมื่อได้ดําเนินการแล้วให้ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ สาระสําคัญของเรื่อง สงป. รายงานว่า จากการประชุมพิจารณากําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่าง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สงป. กค. สศช. และ ธปท. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 สรุปสาระสําคัญและมติที่ประชุมได้ ดังนี้ 1. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 1.1 สมมติฐานทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.1 – 4.1 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภาคต่างประเทศ ตามแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของกรอบงบลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ํา และการปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ สําหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2564 ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.7 ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 1.2 ประมาณการรายได้รัฐบาล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวมจํานวน 3,264,200 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรถอนคืนกรมศุลกากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสําหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คงเหลือรายได้สุทธิ จํานวน 2,777,000 ล้านบาท ซึ่งมีจํานวนสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิที่กําหนดไว้ จํานวน 2,731,000 ล้านบาท เป็นจํานวน 46,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 1.3 นโยบายงบประมาณ วงเงิน และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจและประมาณการรายได้รัฐบาลตามข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ข้างต้น และเพื่อให้การจัดการรายจ่ายภาครัฐสามารถขับเคลื่อนภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายรัฐบาลได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนการดําเนินภารกิจของหน่วยงานตามกฎหมาย จึงได้กําหนดนโยบายงบประมาณขาดดุลสําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จํานวน 523,000 ล้านบาท ทําให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จํานวน 3,300,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่กําหนดไว้ 3,200,000 ล้านบาท จํานวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.1 โดยมีสาระสําคัญของงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จํานวน 3,300,000 ล้านบาท ดังนี้ (สามารถดาวน์โหลดตารางได้จากไฟล์ดาวน์โหลด) 2. งบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้ มีจํานวนและสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กําหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 2. ข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน 2.1 การจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ควรเป็นการดําเนินนโยบายการคลังที่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจที่อาจไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ได้อย่างทันท่วงที 2.2 การจัดทํางบประมาณควรคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความท้าทายมากขึ้นในระยะ 1 – 2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลให้แรงงานบางส่วนถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี และอาจไม่สมารถปรับตัวได้ดีดังเช่นอดีตที่ผ่านมาแม้เศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น 2.3 การจัดสรรเงินอุดหนุนให้ อปท. เป็นภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเงินอุดหนุนบางส่วนมีความซ้ําซ้อน จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาทบทวนเงินอุดหนุนสําหรับภารกิจที่มอบหมายให้ อปท. ดําเนินการแทนรัฐบาล รวมถึงการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกันเงินสํารองและการใช้จ่ายเงินสะสมของ อปท. ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้ อปท. มีสภาพคล่องเกินอยู่ในระดับสูง สะท้อนให้เห็นได้จากเงินฝากของ อปท. ในระบบสถาบันการเงินที่มีจํานวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 13. เรื่อง ผลการดําเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) [การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)] เสนอผลการดําเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (15 ตุลาคม 2562) เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 กรอบวงเงินไม่เกิน 24,278.63 ล้านบาท โดยในส่วนค่าบริหารโครงการฯ อัตราไม่เกินร้อยละ 1 จํานวน 234.72 ล้านบาท เห็นควรให้ กยท. ใช้จ่ายจากกองทุนพัฒนายางพาราในลําดับแรก] สรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้ 1. คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยในคราวประชุม ครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ได้พิจารณาการใช้เงินจากกองทุนฯ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) และอนุมัติงบประมาณค่าบริหารโครงการฯ จากแหล่งเงิน 2 แหล่ง ดังนี้ แหล่งเงิน งบประมาณที่ใช้ (ล้านบาท) กลุ่มเกษตร จํานวนเกษตรกร (ราย) 1.1) กองทุนพัฒนายางพารา โดยถัวจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 ของกองทุนฯ ตามมาตรา 49 (3) แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 รายการเงินงบประมาณสํารองเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง 181.85 เฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. 1.2) ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสํานักงบประมาณ (สงป.) 52.87 เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. รวม 234.72 ทั้งนี้ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 และข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารและจัดสรรเงินกองทุนพัฒนายางพารา พ.ศ. 2559 ไม่สามารถนําเงินกองทุนฯ มาใช้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. ซึ่งต่อมา กยท. ได้ขอความเห็นของ สงป. ในประเด็นการจ่ายเงินประกันรายได้และงบประมาณค่าบริหารโครงการฯ ที่จะจ่ายให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. และไม่สามารถใช้เงินจากกองทุนฯ ได้ (จากการประสานงานกับ กยท. ทราบว่า สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า หากมีปัญหาข้อกฎหมายควรหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนั้น กยท. จึงดําเนินโครงการฯ ทั้งหมดโดยใช้เงินจากกองทุนฯ เพียงแหล่งเดียว ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 181.85 ล้านบาท) 2. กษ. ได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินโครงการฯ กํากับดูแล ติดตามการดําเนินงาน และวินิจฉัยประเด็นปัญหา พร้อมเสนอความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินโครงการฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 คณะทํางานกําหนดราคากลางอ้างอิง และคณะทํางานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 ระดับตําบล เพื่อกํากับดูแล แก้ไขปัญหา และปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง 3. คณะทํางานกําหนดราคากลางอ้างอิงได้มีการประชุมเพื่อกําหนดราคาอ้างอิง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 โดยได้กําหนดราคาอ้างอิงในการประกันรายได้ตามชนิดยางและอัตราค่าชดเชยรายได้ ในรอบที่ 1 ดังนี้ 3.1 ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ใช้ราคาเฉลี่ยจากสํานักงานตลาดกลางยางพารา (สตก.) จํานวน 6 แห่ง ได้แก่ สตก.จังหวัดสงขลา สตก.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สตก.จังหวัดนครศรีธรรมราช สตก.จังหวัดยะลา สตก.จังหวัดบุรีรัมย์ และ สตก.จังหวัดหนองคาย ดังนี้ ราคาประกันรายได้ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) ราคากลางอ้างอิง ราคาชดเชย 60.00 บาท/กิโลกรัม 38.97 บาท/กิโลกรัม 21.03 บาท/กิโลกรัม 3.2 น้ํายางสด DRC 100% ใช้ราคาเฉลี่ยจาก สตก.จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ สตก.จังหวัดสงขลา ดังนี้ ราคาประกันรายได้ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) ราคากลางอ้างอิง ราคาชดเชย 57.00 บาท/กิโลกรัม 37.72 บาท/กิโลกรัม 19.28 บาท/กิโลกรัม 3.3 ยางก้อนถ้วย DRC 50% ใช้ราคาเฉลี่ยจาก สตก.จังหวัดบุรีรัมย์ และ สตก.จังหวัดหนองคาย ดังนี้ ราคาประกันรายได้ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) ราคากลางอ้างอิง ราคาชดเชย 23.00 บาท/กิโลกรัม 16.19 บาท/กิโลกรัม 6.81 บาท/กิโลกรัม 4. ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ที่ประชุมได้เห็นชอบตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การเบิกจ่ายเงินโครงการฯ เช่น 4.1 กยท. จัดพิมพ์รายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางโครงการฯ จากระบบติดประกาศ ณ ที่ทําการหมู่บ้าน หรือจุดศูนย์รวมชุมชนหมู่บ้าน หลังจากนั้นมอบรายชื่อดังกล่าวให้คณะทํางานโครงการฯ ระดับตําบล เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางและระบุผลรับรองหรือไม่รับรอง 4.2 กยท. จัดพิมพ์ผลการพิจารณาตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางติดประกาศ ณ ที่ทําการหมู่บ้าน หรือจุดศูนย์รวมชุมชนหมู่บ้าน หลังจากนั้นนําผลประมวลข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางที่ผ่านการรับรองส่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรณีไม่ผ่านการรับรองสามารถยื่นอุทธรณ์ ต่อคณะทํางานโครงการฯ ระดับตําบล และกรณีไม่ผ่านการรับรองจากคณะทํางานโครงการฯ ระดับตําบล สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการบริหารโครงการฯ 4.3 ธ.ก.ส. ดําเนินการตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคารของเกษตรกรให้ถูกต้องและโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของเกษตรกร 5.การจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 งวดที่ 1 (วันที่ 1 – 15 พฤศจิกายน 2562) ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 กยท. ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. และมีการดําเนินการ (จากเป้าหมาย 1,711,252 ราย) ดังนี้ ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. ธ.ก.ส. จ่ายเงินแล้ว เกษตรกรชาวสวนยาง และคนกรีด (ราย) พื้นที่ (ล้านไร่) วงเงินจ่าย (ล้านบาท) เกษตรกร (ราย) จํานวนเงิน (ล้านบาท) 7.12 5,515.48 (ร้อยละ 77.45) 2,834.55 (ร้อยละ 51.39) ในส่วนของเกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการ แต่ยังไม่ได้รับการจ่ายเงินประกันรายได้ งวดที่ 1 ในวันที่ 1 – 15 พฤศจิกายน 2562 เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการตรวจรับรองสิทธิเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการประกันรายได้ตามข้อกําหนดของโครงการ และเป็นการป้องกันการทุจริต เพื่อให้มีการใช้งบประมาณของรัฐอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อผ่านการตรวจรับรองสิทธิเรียบร้อยแล้ว จะดําเนินการเร่งจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 งวดที่ 1 ให้ครบเป้าหมายทันที 14. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 (กนป.) ตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติเสนอดังนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 5/2562 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน มีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. กนป. มีมติเห็นชอบการดําเนินการ 4 เรื่อง ดังนี้ เรื่อง มติ กนป. 1.1 การปรับแผนการดําเนินการตามมาตรการใช้น้ํามันปาล์มดิบเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เห็นชอบการปรับแก้ไขข้อความในสรุปมติการประชุม กนป. ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดซื้อน้ํามันปาล์มดิบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสามารถดําเนินการตามแผนส่งมอบน้ํามันปาล์มดิบ ดังนี้ 1.1.1 สรุปมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 2/2562 (แก้ไขเพิ่มเติม) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 มิถุนายน 2562) รับทราบ] แนวทางการดูดซับน้ํามันปาล์มดิบ (เพิ่มเติม) แก้ไขจาก “ผู้ขายจัดส่งน้ํามันปาล์มดิบ ณ คลังน้ํามันปาล์มดิบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใน 30 วัน (ปฏิทิน) หลังจากลงนามสัญญาซื้อขายเรียบร้อยแล้ว ...” เป็น “ผู้ขายจัดส่งน้ํามันปาล์มดิบ ณ คลังน้ํามันปาล์มดิบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาตามสัญญาซื้อขายน้ํามันปาล์มดิบกับ กฟผ. ...” 1.1.2 สรุปมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 สิงหาคม 2562) รับทราบ] การใช้น้ํามันปาล์มดิบเพื่อผลิตไฟฟ้า แก้ไขจาก “...ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ภายใน 2 สัปดาห์” เป็น “...ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว” 1.2 การขอขยายระยะเวลาดําเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ํามัน ปาล์มดิบ เห็นชอบการขอขยายระยะเวลาการดําเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ํามันปาล์มดิบ ตามมติ กนป. ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 จากเดิม กําหนดให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน เป็น ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับจากวันที่กรมการค้าภายในได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ 1.3 การทบทวนมาตรการบริหารการนําเข้าสินค้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์ม 1.3.1 เห็นชอบให้คงมาตรการบริหารการนําเข้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์มตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สําหรับภาษีในโควตาและ ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งกําหนดให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นําเข้าแต่เพียงผู้เดียว 1.3.2 เห็นชอบการทบทวนมาตรการบริหารการนําเข้าสินค้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์มนอกโควตา WTO สําหรับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเข้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์มนอกโควตา WTO จากเดิม กําหนดให้ขึ้นทะเบียนเพียงครั้งเดียวโดยไม่กําหนดวันหมดอายุ เป็น กําหนดให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเข้ากับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะปัจจุบันของผู้นําเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.3 มอบหมายกรมการค้าต่างประเทศแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป 1.4 แนวทางการกําหนดด่านนําเข้าและนําผ่านสินค้าน้ํามันปาล์มและน้ํามันเนื้อในเมล็ดปาล์ม 1.4.1 เห็นชอบกําหนดด่านนําเข้าและนําผ่านสินค้าน้ํามันปาล์มฯ ดังนี้ 1.4.1.1 ด่านนําเข้าสินค้าน้ํามันปาล์มฯ 3 ด่าน ได้แก่ ด่านศุลกากรมาบตาพุด สํานักงานศุลกากรกรุงเทพ และสํานักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง 1.4.1.2 ด่านนําผ่านสินค้าน้ํามันปาล์ม ด่านต้นทาง 1 ด่าน คือ สํานักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และกําหนดด่านปลายทางสําหรับการนําผ่านน้ํามันปาล์มฯ ไปยังแต่ละประเทศ ดังนี้ 1) กําหนดด่านศุลกากรจันทบุรี เป็นด่านปลายทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา 2) กําหนดด่านศุลกากรหนองคาย เป็นด่านปลายทางไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) กําหนดด่านศุลกากรแม่สอดเป็นด่านปลายทางไปยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 1.4.2 มอบหมายกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อบังคับใช้ต่อไป 2. สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นควรรับทราบตามที่ กนป. เสนอ เพื่อพิจารณามอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไป 15. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สํานักงาน ก.พ.ร.) เสนอรายงานผลการดําเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กําหนดกรอบเวลาและเร่งรัดการดําเนินกิจกรรมภายใต้ แผนฯ ระยะที่ 2 ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2562 จากรายงานดังกล่าวพบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่ได้มีการดําเนินการเป็นไปตามแผน ส่งผลให้การพัฒนาบริการภาครัฐโดยรวมดียิ่งขึ้น ดังนี้ 1. ผลการดําเนินงานตามแผนฯ ระยะที่ 2 หัวข้อ ผลการดําเนินงานที่สําคัญ แผนงานที่ 1 การปรับปรุงคู่มือ สําหรับประชาชน ระยะที่ 2 · จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการปรับปรุงคู่มือสําหรับประชาชน เพื่อให้ส่วนราชการสามารถปรับปรุงคู่มือสําหรับประชาชนให้มีมาตรฐานเดียวกัน ลดความซ้ําซ้อน และเผยแพร่คู่มือสําหรับประชาชนที่ปรับปรุงใหม่ในระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) · การปรับปรุงคู่มือสําหรับประชาชน สามารถปรับลดจํานวนคู่มือสําหรับประชาชน จาก 700,000 กว่ารายการ เหลือ 2,115 รายการ ซึ่งเป็นคู่มือกลางที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ รวมถึงปรับปรุงคู่มือเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย (Infographic) ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจ จํานวน 454 รายการ · การพิจารณาลดขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ โดยพบว่าสามารถลดระยะเวลารอคอยและขั้นตอนที่ไม่จําเป็นในการให้บริการลงได้รวม 2.9 ล้านนาที หรือ 6,049 วัน · การลดรายการเอกสารหลักฐานประกอบ ได้แก่ สําเนาบัตรประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารอื่น ๆ โดยสามารถลดลงได้ 1,212 รายการ แผนงานที่ 2 การจัดทําแบบฟอร์มเอกสารราชการ 2 ภาษา (รวม 5 ประเภทเอกสาร) · ปี 2560 ดําเนินการจัดทําเอกสารราชการที่ประชาชนต้องใช้ในชีวิตประจําวันได้ครบถ้วนตามแผน และสามารถจัดทําเอกสารเกี่ยวกับการอํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ได้ร้อยละ 98.61 · ปี 2562 พบว่าเอกสารที่เหลืออีก 3 ประเภท ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จประมาณ 813 รายการ (แบบฟอร์มในการยื่นคําขอ ดําเนินการแล้วร้อยละ 97.90 คู่มือสําหรับประชาชน ดําเนินการแล้วร้อยละ 61.43 และเอกสารราชการอื่น ๆ ดําเนินการแล้วร้อยละ 73.31) · นอกจากนี้กรมการกงสุลและกรมการปกครอง ได้พัฒนาระบบโปรแกรมการคัดรับรองเอกสารการขึ้นทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ รวม 12 ประเภท เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประจําตัวประชาชน สูติบัตร เป็นต้น ทําให้สามารถคัดสําเนาจากฐานข้อมูลและสั่งพิมพ์เอกสารเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อลดขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการรับรองเอกสาร และลดภาระค่าใช้จ่ายในการแปลและรับรองเอกสารของประชาชน จากผลการดําเนินการพบว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 2562 มีประชาชนขอรับบริการจํานวน 50,950 ฉบับ สามารถลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้กว่า 20 ล้านบาท แผนงานที่ 3 การพัฒนาระบบติดตาม การให้บริการ อยู่ระหว่างการดําเนินการพัฒนาระบบติดตามสถานะ (Tracking System) การให้บริการโดยดําเนินการผ่านระบบศูนย์กลางข้อมูลธุรกิจติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ณ จุดเดียว (Biz Portal) แผนงานที่ 4 การอํานวยความสะดวก ในการจองคิวกลาง และการให้ข้อมูลป้อนกลับของประชาชนต่อการให้บริการ พัฒนาระบบคิวกลางสําหรับนัดหมายเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและอยู่ระหว่างการดําเนินการพัฒนาการให้ข้อมูลป้อนกลับของประชาชนต่อการบริการของหน่วยงานรัฐ (Citizen Feedback Survey) และการยกเลิกสําเนาเอกสาร (CITIZENinfo) แผนงานที่ 5 การทบกวนกฎหมายในการยกเลิกใบอนุญาตที่ไม่จําเป็น ดําเนินการทบทวนกฎระเบียบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับรายงานความยาก – ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business 2020) และอยู่ระหว่างพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตเพื่อลดขั้นตอนที่ ไม่จําเป็นหรืออุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจ 2. การดําเนินการในระยะต่อไป 1) ปรับปรุงคู่มือสําหรับประชาชน เช่น ปรับปรุงระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ พัฒนาระบบกลางของภาครัฐในการนําข้อมูลคู่มือสําหรับประชาชนหรืองานบริการภาครัฐเชื่อมโยงกับระบบ Citizen Portal เป็นต้น 2) เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐที่ยังไม่ได้จัดทําแบบฟอร์มเอกสารราชการ 2 ภาษา (ประมาณ 813 รายการ) จัดทําให้แล้วเสร็จตามแผน และส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ เผยแพร่ขึ้นสู่เว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) 16. เรื่อง ขอความเห็นชอบการดําเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงชื่อและวัตถุประสงค์โครงการจากโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน เป็นโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. เห็นชอบการยุติโครงการและการขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณ ตามข้อเท็จจริง 2.2 3. รับทราบการทําความตกลงกับสํานักงบประมาณ ตามข้อเท็จจริง 2.3 โดยให้ดําเนินการตามความเห็นของสํานักงบประมาณ ข้อเท็จจริง 1. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ภายในกรอบวงเงิน 14,491.4 ล้านบาท โดยให้สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพิจารณาใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติโดยพิจารณาจากโครงการที่ได้เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และ/หรือโครงการที่มีผลการปฏิบัติงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ ทั้งนี้ ให้สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) จัดทํารายละเอียดให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ 2. คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 มีมติให้นําเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 2.1 ขอเปลี่ยนแปลงชื่อและวัตถุประสงค์โครงการจากโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน เป็นโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการที่มุ่งสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในด้านการประกอบอาชีพ ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการบริการของประชาชน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจ้างแรงงาน การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน 2.2 ให้ใช้งบประมาณโครงการที่ได้เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้วโดยขอยุติการดําเนินโครงการและขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณ จํานวน 3 โครงการ ในวงเงินงบประมาณ 2,407,700,000 บาท มาใช้ในการดําเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้ (1) โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 2 (งบประมาณโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555) จํานวนเงิน 22,800,000.-บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 (2) โครงการหมู่บ้านจัดตั้งใหม่ (งบประมาณโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555) จํานวนเงิน 934,000,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 (3) โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) จํานวนเงิน 1,450,900,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โดยงบประมาณได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 2.3 ให้ทําความตกลงกับสํานักงบประมาณโดยขอใช้งบประมาณดําเนินโครงการจํานวน12,083,700,000 บาท จากงบประมาณดําเนินโครงการอื่นที่ยังดําเนินการอยู่ของ สทบ. ไปก่อน รวม 6 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3 จํานวนเงิน 9,107,000,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยยังต้องดําเนินการจัดเพิ่มทุนให้กองทุนที่ได้ดําเนินการฟื้นฟูและพัฒนาตามแนวทางที่กําหนดแล้ว (2) โครงการพัฒนาเมือง จํานวนเงิน 1,671,569,548.01 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับโอนงบประมาณจากสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ดําเนินโครงการแทน โดยยังต้องดําเนินการจัดงบประมาณให้ชุมชนที่เสนอขอมาและผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการ ซึ่งขณะนี้มีโครงการรอการพิจารณาอนุมัติจํานวน 1,026 โครงการ (3) โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จํานวนเงิน 475,817,353.80 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 โดยยังต้องดําเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการ ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ (4) โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จํานวนเงิน 1,922,276,140.-บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยยังต้องดําเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ (5) โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ จํานวนเงิน 1,041,311,227.- บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยยังต้องดําเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการ ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ (6) โครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร จํานวนเงิน1,066,085,370.09 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยยังต้องดําเนินการจัดทํางบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ โดยขอให้สํานักงบประมาณตั้งงบประมาณจํานวนเงินดังกล่าว ใช้คืนให้ สทบ.ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อจักได้ดําเนินโครงการเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการต่อไป 3. สํานักงบประมาณได้ตอบข้อหารือ กรณีการนํางบประมาณที่มีภาระผูกพันไปใช้สนับสนุนการดําเนินงานตามโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ตามหนังสือสํานักงบประมาณ ด่วนที่สุดที่ นร0714/2550 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ว่าพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ได้กําหนดให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและรายได้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งทําให้งบประมาณรายจ่ายที่จัดสรรให้และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเบิกจ่ายไปแล้วเป็นเงินนอกงบประมาณที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสามารถใช้จ่ายได้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน โดยให้เบิกจ่ายเงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่มีงบประมาณคงเหลือจากโครงการต่าง ๆ ที่เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และ/หรือโครงการที่มีผลการปฏิบัติงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ จึงเป็นการอนุญาตและเป็นแนวทางให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินํากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินการโครงการต่าง ๆ ไว้เดิม มาเป็นวงเงินสําหรับใช้จ่ายในโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้านต่อไป ทั้งนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจะต้องไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติด้วย 4. สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้ประชุมร่วมกับสํานักงบประมาณและสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในวันที่ 25 ธันวาคม 2562 โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นประธาน โดยได้พิจารณาแนวทางการใช้งบประมาณตามข้อเท็จจริง 2.2 และ 2.3 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี 17. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สําหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สําหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ตามที่สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,041 โครงการ ภายในวงเงิน 3,079,472,482 บาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน จํานวน 2,295,698,982 บาท และให้กรมทรัพยากรน้ําบาดาลปรับแผนการดําเนินงานจากกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ในโครงการเพิ่มน้ําต้นทุนและระบบกระจายน้ํา เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 และยังไม่ขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณ จํานวน 783,773,500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดําเนินการ ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ ดังนี้ 1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อทําความ ตกลงในรายละเอียดกับสํานักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปหักออกจากงบประมาณที่ได้รับในโครงการที่มีความซ้ําซ้อนจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกาศใช้บังคับแล้ว ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดําเนินการตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําให้ทันภายในช่วงฤดูแล้ง และให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติติดตามประเมินผลการดําเนินโครงการ รวมถึง สรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดําเนินโครงการในครั้งนี้ และรายงานผลการดําเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป 3. สําหรับกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เห็นควรที่จะพิจารณาใช้จ่ายจากเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการดังกล่าวด้วย สาระสําคัญ/ข้อเท็จจริง สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ได้รายงานผลจัดทําแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2562/63 ในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562 เพื่อทราบและเห็นชอบ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้ 1. ด้านอุปโภค-บริโภค 1.1 ในเขตพื้นที่บริการของการประปานครหลวง (กปน.) ได้จัดทําแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง จํานวน 4 โครงการ วงเงิน 32,000,000 บาท โดยการขุดเจาะบ่อน้ําบาดาลประกอบด้วย 1) สถานีสูบจ่ายน้ําสําโรง 2) สถานีสูบจ่ายน้ํามีนบุรี 3) สถานีสูบจ่ายน้ําบางเขน และ 4) สถานีสูบจ่ายน้ําลาดกระบัง 1.2 ในเขตพื้นที่บริการของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ําในเขต รวม 61 สาขา 31 จังหวัด ครอบคลุมโรงพยาบาล ในพื้นที่เสี่ยง จํานวน 224 แห่ง โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง จํานวน 223 โครงการ วงเงิน 1,812,050,000 บาท โดย กปภ. ปรับแผนของตนเอง จํานวน 173 โครงการ วงเงิน 653,000,000 บาท และเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จํานวน 50 โครงการ วงเงิน 1,159,050,000 บาท 1.3 ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 และ 1.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สํารวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ําครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง 43 จังหวัด 42,452 หมู่บ้าน ประกอบด้วย พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ําในระดับรุนแรง 1,270 หมู่บ้าน เสี่ยงขาดแคลนน้ําในระดับปานกลาง 1,927 หมู่บ้าน เสี่ยงขาดแคลนน้ําเล็กน้อย 935 หมู่บ้าน และไม่มีผลกระทบ 38,320 หมู่บ้าน โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้งจํานวน 3,151 โครงการ วงเงิน 4,185,422,482 บาท โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน1,160 โครงการ วงเงิน 2,265,000,000 บาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จํานวน 1,991 โครงการ วงเงินรวม 1,920,422,482 บาท ประกอบด้วย (1) ขุดเจาะบ่อบาดาล 1,100 โครงการ ดําเนินการโดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 187 โครงการ กองทัพบก 209 โครงการ กรมทรัพยากรน้ําบาดาล 704 โครงการ วงเงิน 1,300,530,496 บาท (2) จัดหาแหล่งน้ําผิวดิน 230 โครงการ ดําเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 230 โครงการ วงเงิน 145,265,895 บาท (3) ซ่อมแซมระบบน้ําประปา 654 โครงการ ดําเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 654 โครงการ วงเงิน 450,856,091 บาท (4) ในส่วนของโรงพยาบาล ได้มีการสํารวจโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ํา จํานวน 157 โครงการ โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง แบ่งเป็นขุดเจาะบ่อบาดาล 3 โครงการ ดําเนินการโดย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 3 โครงการ วงเงิน 880,000 บาท และซ่อมแซมระบบน้ําประปา ดําเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 โครงการ วงเงิน 22,890,000 บาท พื้นที่ งบประมาณของหน่วยงาน เสนอของบประมาณเพิ่มเติม จํานวน (โครงการ) งบประมาณ (ล้านบาท) จํานวน (โครงการ) งบประมาณ (ล้านบาท) ในพื้นที่เขตบริการการประปา 685.00 1,159.05 การประปานครหลวง 32.00 - - การประปาส่วนภูมิภาค 653.00 1,159.05 นอกพื้นที่เขตบริการการประปา 2,265.00 1,920.44 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา - - 221.97 กองทัพบก - - 247.11 กรมทรัพยากรน้ําบาดาล - - 832.34 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2,265.00 619.02 รวมใน-นอกเขตการประปา 2,950.00 3,079.49 2. ด้านเกษตร 2.1 ในพื้นที่เขตชลประทาน มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ําให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ําและสอดคล้องต่อปริมาณน้ําต้นทุน โดยมีการปรับแผนจัดสรรน้ําอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ – กลาง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 มีการปรับแผนเพิ่มขึ้น จํานวน 587 ล้านลูกบาศก์เมตร จากแผนเดิม 11,984 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 12,570 ล้านลูกบาศก์เมตร แยกเป็นอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ 14 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคกลาง 1 และภาคตะวันตก 2 แห่ง อ่างเก็บน้ําขนาดกลาง 11 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 8 แห่ง ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ควบคุมการจัดสรรน้ําให้เป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด พร้อมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยาใหญ่ 2.2 นอกพื้นที่เขตชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสํารวจพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเสี่ยงขาดแคลนน้ํา 2.6 ล้านไร่ พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ําขั้นรุนแรง ยืนต้นตายจํานวน 0.37 ล้านไร่ ในพื้นที่ 30 จังหวัด โดยมอบกรมทรัพยากรน้ํา และกรมทรัพยากรน้ําบาดาล จะดําเนินการจัดหาแหล่งน้ําต้นทุนสนับสนุน พร้อมทั้งจัดทําแผนและมาตรการเสนอโดยด่วนต่อไป 3. ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ํา กรมทรัพยากรน้ําบาดาล กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาและกองทัพบก ได้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ รวม 4,192 เครื่อง แบ่งเป็นรถบรรทุกน้ําและรถผลิตน้ํา 1,517 เครื่อง เครื่องจักรและเครื่องขุด 175 เครื่อง และเครื่องเจาะบ่อและสูบน้ํา 2,500 เครื่อง โดยมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรับไปดําเนินการวางแผนการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งต่อไป จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติจึงจําเป็นต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อนจํานวน 3,079,472,482 บาท สําหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําในช่วง ฤดูแล้งปี 2562/63 18. เรื่อง มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้ 1. เห็นชอบมาตรการ/โครงการที่เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 2. รับทราบมาตรการด้านการเงินเพื่อสนับสนุน SMEs/โครงการ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 3. เห็นชอบมาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา ร่างกฎกระทรวง และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง สาระสําคัญ มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย มีรายละเอียด ดังนี้ 1. กลุ่ม SMEs ที่ต้องการสภาพคล่อง ประกอบด้วย 3 โครงการ ดังนี้ 1.1 โครงการ บสย. SMEs สร้างไทย ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยปรับปรุงวัตถุประสงค์และคุณสมบัติ SMEs ของโครงการ PGS 8 ให้ บสย. สามารถค้ําประกันกับลูกหนี้ที่มีศักยภาพแต่มีความสามารถในการชําระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) แต่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว และต้องได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ โดยให้รวมถึงสินเชื่อ Re-finance เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่องให้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ บสย. กําหนดวงเงินค้ําประกันและการจ่ายค่าประกันชดเชยโครงการดังกล่าว โดยให้บริหารจัดการภายในงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว ซึ่งในเบื้องต้น บสย. ได้กําหนดวงเงินไว้ 10,000 ล้านบาท และกําหนดการจ่ายค่าประกันชดเชยเฉลี่ยสูงสุดไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของวงเงินค้ําประกันโครงการนี้ ทั้งนี้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้กับสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินไม่ต้องดําเนินคดีกับ SMEs ก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แทนการฟ้องดําเนินคดี สําหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชําระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ บสย. นอกจากนี้ เพื่อให้ SMEs ได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง เห็นควรมอบหมายให้สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นําเสนอคณะกรรมการกองทุน สสว. เพื่อจัดสรรเงินงบประมาณจากโครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. ที่ได้รับตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ให้กับ บสย. เพื่อดําเนินโครงการ บสย. SMEs สร้างไทย อีกจํานวน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะทําให้โครงการ บสย. SMEs สร้างไทย มีวงเงินค้ําประกัน 60,000 ล้านบาท จ่ายค่าชดเชยความเสียหายไม่เกินร้อยละ 40 ของวงเงินค้ําประกันโครงการนี้ โดยให้ บสย. กําหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การค้ําประกันสินเชื่อโครงการดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม อนึ่ง เงินในส่วนที่เหลือภายใต้โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. ขอให้ สสว. ให้ความสําคัญกับการให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่อง ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่เป็น NPLs แต่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วด้วย 1.2 โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ของธนาคารออมสิน มีวงเงินคงเหลือ 15,000 ล้านบาท โดยปรับปรุงคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์โครงการ โดยให้รวมถึงธุรกิจที่เป็น Supply Chain และธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจ 10 S-Curve และสามารถให้สินเชื่อกับลูกหนี้ที่เป็น NPLs แต่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ และให้เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมถึงการขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนอย่างเดียวได้ โดยธนาคารออมสินคิดดอกเบี้ยกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการอัตราร้อยละ 0.1 ต่อปี และธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการคิดดอกเบี้ยกับ SMEs ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี 1.3 โครงการ GSB SMEs Extra Liquidity ของธนาคารออมสิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนปรนภาระการจ่ายเงินต้นและเพิ่มสภาพคล่องในการดําเนินธุรกิจ วงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่อัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้าชั้นดี (Minimum Loan Rate : MLR) ลบร้อยละ 1 (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ของธนาคารออมสินอยู่ที่ร้อยละ 6.375 ต่อปี) ระยะเวลากู้สูงสุด 6 ปี (ระยะเวลาปลอดชําระเงินต้น 1 ปี) ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นที่มีความพร้อมพิจารณาดําเนินโครงการในลักษณะเดียวกันเพื่อเป็นการลดภาระและเพิ่มสภาพคล่องในการดําเนินธุรกิจให้แก่ SMEs ได้กว้างขวางมากขึ้น 2. กลุ่ม SMEs ที่กําลังจะถูกฟ้อง โครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 เพื่อเป็นการช่วยเหลือ SMEs ที่กําลังจะถูกฟ้องในโครงการดังกล่าว จึงเห็นควรให้ขยายระยะเวลาการค้ําประกันในโครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 ออกไปอีก 5 ปี รวมถึงยกเลิกเงื่อนไขที่กําหนดให้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเมื่อสถาบันการเงินดําเนินคดีกับ SMEs โดยให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างนี้แก่ SMEs เพื่อให้ SMEs สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ บสย. กําหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าประกันชดเชยให้เหมาะสมในส่วนที่ขยายระยะเวลา โดยให้ บสย. บริหารจัดการให้ค่าประกันชดเชยอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว เมื่อ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้สถาบันการเงินแล้ว ให้สถาบันการเงินติดตามการชําระหนี้ในส่วนที่ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้แล้ว โดยไม่เป็นการว่าจ้าง พร้อมทั้งให้ บสย. ทําความตกลงกับสถาบันการเงินในรายละเอียดต่อไป สําหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชําระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ บสย. 3. กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพ ปัจจุบันมีมาตรการด้านการเงินเพื่อสนับสนุน SMEs ทั้งโครงการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนและโครงการค้ําประกันสินเชื่อ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้ 3.1 โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นผู้พิจารณาสินเชื่อ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 วงเงินคงเหลือ 5,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี 3.2 โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ของ ธพว. โดย ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีวงเงินคงเหลือ 20,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3 ต่อปี ใน 3 ปีแรก พร้อมทั้งปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายให้สามารถให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPLs และมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วได้ด้วย 3.3 โครงการสินเชื่อ SME ประชารัฐสร้างไทย ของธนาคารออมสิน โดย ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีวงเงินคงเหลือ 45,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ใน 2 ปีแรก โดยกําหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสินเร่งประชาสัมพันธ์โครงการและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ SMEs 3.4 โครงการสินเชื่อ กรุงไทย SME ของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) โดยเพิ่มวงเงินสินเชื่ออีก 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 4 ต่อปี โดยกําหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ ให้ ธ.กรุงไทย เร่งประชาสัมพันธ์โครงการและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ SMEs 3.5 โครงการ PGS 8 ของ บสย. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 สําหรับวงเงินค้ําประกันคงเหลือ บสย. จะจ่ายค่าประกันชดเชยให้กับสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินไม่ต้องดําเนินคดีกับ SMEs ก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แทนการฟ้องดําเนินคดี สําหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชําระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ บสย. นอกจากนี้ ยังขยายการค้ําประกันสินเชื่อให้ครอบคลุมถึงธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง และธุรกรรมแฟ็กเตอริง 3.6 โครงการ Direct Guarantee ของ บสย. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกลุ่มลูกค้า SMEs เป้าหมาย เช่น ลูกค้าเดิมของ บสย. ลูกค้าในธุรกิจที่มี NPLs ต่ํา เป็นต้น วงเงินค้ําประกัน 5,000 ล้านบาท วงเงินค้ําประกันต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงิน โดย บสย. เป็นผู้กําหนดอัตราค่าธรรมเนียมค้ําประกันตามระดับความเสี่ยงของลูกค้า (Risk Based Pricing) ระยะเวลาค้ําประกันไม่เกิน 10 ปี 4. มาตรการอื่น ๆ 4.1 ขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการพิจารณาแนวทางการกันสํารองที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะ Preemptive TDR และกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่เป็น NPLs และมีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติม ทั้งของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2 ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์กําหนดเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมถึงพิจารณาขยายระยะเวลาการชําระหนี้ ลดดอกเบี้ยเพื่อให้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ 4.3 มาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียม กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอมาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (มาตรการทางภาษีฯ) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้อื่น สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า การให้บริการ และการกระทําตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า การให้บริการ และการกระทําตราสารระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 3) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องนําเงินได้นั้นไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนดและเฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทําตราสารระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 4) ยกเว้นให้การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อื่นในส่วนของหนี้ที่ปลดให้แก่ลูกหนี้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกําหนด 5) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือห้องชุดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ร้อยละ 0.01 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 สําหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ดังนี้ (1) กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชําระหนี้ให้แก่สถาบันการเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือห้องชุดเพื่อชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่น (2) กรณีสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่ได้รับโอนมาตาม (1) ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น (3) กรณีการจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้ของสถาบันการเงินกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินหรือระหว่างลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นกับเจ้าหนี้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดซึ่งเป็นหลักประกันอยู่เดิมหรืออสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดซึ่งนํามาเป็นหลักประกันใหม่ และ (4) กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนําเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดนั้นไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด ร้อยละ 0.01 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ตาม (4) สําหรับจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และให้เรียกเก็บตามอัตราปกติสําหรับราคาประเมินทุนทรัพย์ส่วนที่เกินจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้ดังกล่าว ต่างประเทศ 19. เรื่อง การประชุมคณะทํางานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย– เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะทํางานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา (ผภร.) กลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็น ผภร. ครั้งที่ 1 และเห็นชอบในการรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว และหากจําเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญก่อนการมีรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ สาระสําคัญของเรื่อง ไทยได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ตั้งแต่ปี 2527 ปัจจุบันมีผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวสําหรับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา 9 แห่ง ใน 4 จังหวัดชายแดนไทย – เมียนมา ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 แห่ง (บ้านแม่สุริน บ้านใหม่ในสอย บ้านแม่ลามาหลวง บ้านแม่ละอูน) จังหวัดตาก 3 แห่ง (บ้านนุโพ บ้านแม่หละ บ้านอุ้มเปี้ยม) จังหวัดกาญจนบุรี 1 แห่ง (บ้านต้นยาง) และจังหวัดราชบุรี 1 แห่ง (บ้านถ้ําหิน) รวมจํานวนทั้งสิ้นประมาณ 115,598 คน โดยทั้งหมดอยู่ระหว่างรอเดินทางกลับเมียนมาเมื่อสถานการณ์เอื้ออํานวย ซึ่งตั้งแต่ปี 2559 รัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาได้ร่วมมือกันส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับโดยสมัครใจอย่างต่อเนื่อง รวม 4 ครั้ง จํานวนทั้งสิ้น 1,039 คน โดยได้มีการประชุมคณะทํางานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ แล้ว 3 ครั้ง [ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงเนปยีดอ เมียนมา] และในการประชุมคณะทํางานร่วมฯ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2562 ที่จังหวัดเชียงราย ได้เห็นชอบให้มีคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ซึ่งคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคดังกล่าว ได้มีการประชุมหารือครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ณ กรุงเนปยีดอ เมียนมา โดยร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว ทั้ง 2 ฉบับ มีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. ร่างสรุปผลการประชุมคณะทํางานร่วมไทย –เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 ได้แก่ การแต่งตั้งคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคเพื่อเป็นกลไกในการติดตามการนําผลลัพธ์ของคณะทํางานร่วมฯ ไปปฏิบัติ การกําหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา การจ้างผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาเข้ามาทํางานในไทยภายหลังเดินทางกลับเมียนมาแล้ว การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาเพื่อการตั้งถิ่นฐานที่ยั่งยืน การเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มในการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา 2. ร่างสรุปผลการประชุมคณะทํางานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 1 ได้แก่ การส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 4 และการหารือเรื่องการใช้จุดผ่านแดนในการส่งกลับผู้หนีภัยกลุ่มดังกล่าว (ปัจจุบันส่งกลับแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2562) ความร่วมมือเพื่อการตั้งถิ่นฐานที่ยั่งยืน (การกําหนดพื้นที่ที่ชัดเจนสําหรับการดําเนินโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเมียนมา) การหารือด้านแรงงาน (ร่างแผนปฏิบัติการการจ้างงานผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาโดยระบุขั้นตอนการกลับมาทํางานอย่างถูกกฎหมายในไทย) แต่งตั้ง 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักงาน ก.พ.) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สํานักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัด สํานักนายกรัฐมนตรี ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จํานวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นางสุทธิลักษณ์ เอื้อจิตถาวร ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สํานักงาน ก.พ. ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สํานักงาน ก.พ. สํานักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2562 2. นางสาวพัชรา เพ็ชรทวี ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สํานักงาน ก.พ. ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สํานักงาน ก.พ. สํานักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จํานวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นางสาวสมใจ กาญจนาพงศ์กุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ดํารงตําแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2562 2. นางสาวมาลินี จิตตกานต์พิชย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) กลุ่มไวรัสวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดํารงตําแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภูมิคุ้มกันวิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2562 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้ 1. อนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวม 5 คน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ดังนี้ 1) นายสุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการ 2) นายพีระพงศ์ ทีฆสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ 3) นายรัฐชาติ มงคลนาวิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ 4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ 5) นางปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2563 เป็นต้นไป 2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดําเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในครั้งต่อ ๆ ไปให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดําเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย) ***************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25649
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความสมดุลของการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์
วันอังคารที่ 10 กันยายน 2562 ความสมดุลของการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2562 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมุ่งเน้นความสมดุลของการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ ฟื้นฟูภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนวทางการพัฒนาแบบ “BCG Model” ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 3 มิติ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยปัญหาขยะถือเป็นหนึ่งในเรื่องสําคัญที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดทําแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ปี 2559 – 2564 และจัดทําร่างโรดแมปการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ ปี 2561 – 2579 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ช่วยลดความสูญเสียทรัพยากรทางทะเลที่มีคุณค่า เช่น พะยูน ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและเกิดผลสําเร็จที่ยั่งยืนต่อไป ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความสมดุลของการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ วันอังคารที่ 10 กันยายน 2562 ความสมดุลของการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2562 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมุ่งเน้นความสมดุลของการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ ฟื้นฟูภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนวทางการพัฒนาแบบ “BCG Model” ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 3 มิติ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยปัญหาขยะถือเป็นหนึ่งในเรื่องสําคัญที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดทําแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ปี 2559 – 2564 และจัดทําร่างโรดแมปการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ ปี 2561 – 2579 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ช่วยลดความสูญเสียทรัพยากรทางทะเลที่มีคุณค่า เช่น พะยูน ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและเกิดผลสําเร็จที่ยั่งยืนต่อไป ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22814
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ชวนเที่ยวงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย”
วันพุธที่ 6 มีนาคม 2562 สธ.ชวนเที่ยวงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนประชาชนเที่ยวงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” วันที่ 6-10 มีนาคม 2562 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ชมนิทรรศการและนวัตกรรมระดับชาติด้านการแพทย์แผนไทยฯ รับบริการตรวจรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไท กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนประชาชนเที่ยวงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” วันที่ 6-10 มีนาคม 2562 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ชมนิทรรศการและนวัตกรรมระดับชาติด้านการแพทย์แผนไทยฯ รับบริการตรวจรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก อาทิ โรคไมเกรน อัมพฤกษ์ อัมพาต จับโปงเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) ฝังเข็ม การครอบแก้ว และการนวดทุยหนา ซื้อหาผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ ลดสูงสุด 50% แจกต้นสมุนไพรดูแลไต 300 ต้น/วัน วันนี้ (6 มีนาคม 2562) ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจําปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ภายใต้แนวคิด “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” พร้อมมอบรางวัลหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ.2562 แก่พ่อหมอเสริฐ ขาวอรุณ จังหวัดชุมพร รางวัลพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ประจําปี และรางวัลผลิตภัณฑ์สมุนไพรดีเด่นระดับชาติ Prime Minister Herbal Award (PMHA) ประจําปี 2562 ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงานครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีสื่อสารให้ประชาชนรู้จักประโยชน์และคุณค่าของสมุนไพรและการนวดไทยในการรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งจะพัฒนายกระดับใน 3 เรื่อง คือ อุตสาหกรรมสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ บริการการแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรไทย และระบบการศึกษาและบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่น การยอมรับ ชื่นชอบ และนําไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนําของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งผลักดันภูมิปัญญานวดไทยขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติกับยูเนสโก (UNESCO) ในปี 2562 ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเป็นอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความงาม อาทิ สปา การนวดไทย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติในปีนี้ ประกอบด้วย การประชุมวิชาการประจําปี 2562 ได้แก่ การพัฒนากัญชาทางการแพทย์ เมืองสมุนไพร และตลาดความรู้ เปิดอบรมระยะสั้นหลักสูตรละ 2 ชั่วโมง ฟรี 26 หลักสูตร ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจกับผู้นําเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสมุนไพร เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมด้านการตลาด ภายในงานแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ ได้แก่ โซนภูมิปัญญา (WISDOM) นําเสนอนิทรรศการและนวัตกรรมระดับชาติด้านการแพทย์แผนไทยฯ ภายใต้แนวคิด “เชื่อมั่น” คุณภาพสมุนไพรไทย จัดแสดงผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ มีสวนสมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์ คุ้มครองเชิงเศรษฐกิจและเชิงสุขภาพ นิทรรศการ “การนวดไทย มรดกภูมิปัญญาไทย” “200 ตํารับยาดี สู่การใช้ประโยชน์” พบกับหมอพื้นบ้านพร้อมสาธิต ตรวจแนะนํา ให้ความรู้จากภูมิปัญญาภาคต่าง ๆสําหรับโซนบริการ (SERVICE) มีบริการตรวจรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก บริการคลินิกเฉพาะโรคไมเกรน อัมพฤกษ์ อัมพาต จับโปงเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) การแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม การครอบแก้ว และการนวดทุยนา ส่วนโซนผลิตภัณฑ์ (PRODUCT) มีการจัดแสดงสมุนไพร ที่ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์สมุนไพรดีเด่นระดับชาติ Prime Minister Herbal Award (PMHA) ประจําปี 2562 ให้ความรู้และจําหน่ายผลิตภัณฑ์ อาทิ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ให้ความรู้สมุนไพรดูแลไตและสมุนไพรลดมลภาวะเป็นพิษ บริการนวดไทย สปาหน้า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดสูงสุด 50% แจกต้นสมุนไพรดูแลไต 300 ต้น/วัน แจกหนังสือบันทึกของแผ่นดินเล่มที่ 11 วันละ 200 เล่ม บริการตรวจ ปรึกษาสุขภาพฟรี พร้อมจําหน่ายเครื่องสําอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารและเครื่องดื่ม ปีนี้มีโซนจําหน่ายสินค้าสุขภาพ อาหารสุขภาพ อุปกรณ์ดูแลสุขภาพกว่า 500 ร้านค้า ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานได้ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2562 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อาคาร 10 – 12 (ฮอลล์ 6 – 8 เดิม) และห้องประชุมฟีนิกซ์ 1 – 6 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หรือเว็บไซต์ http://natherbexpo.dtam.moph.go.th ******************************* 6 มีนาคม 2562
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ชวนเที่ยวงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” วันพุธที่ 6 มีนาคม 2562 สธ.ชวนเที่ยวงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนประชาชนเที่ยวงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” วันที่ 6-10 มีนาคม 2562 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ชมนิทรรศการและนวัตกรรมระดับชาติด้านการแพทย์แผนไทยฯ รับบริการตรวจรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไท กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนประชาชนเที่ยวงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” วันที่ 6-10 มีนาคม 2562 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ชมนิทรรศการและนวัตกรรมระดับชาติด้านการแพทย์แผนไทยฯ รับบริการตรวจรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก อาทิ โรคไมเกรน อัมพฤกษ์ อัมพาต จับโปงเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) ฝังเข็ม การครอบแก้ว และการนวดทุยหนา ซื้อหาผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ ลดสูงสุด 50% แจกต้นสมุนไพรดูแลไต 300 ต้น/วัน วันนี้ (6 มีนาคม 2562) ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจําปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ภายใต้แนวคิด “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” พร้อมมอบรางวัลหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ.2562 แก่พ่อหมอเสริฐ ขาวอรุณ จังหวัดชุมพร รางวัลพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ประจําปี และรางวัลผลิตภัณฑ์สมุนไพรดีเด่นระดับชาติ Prime Minister Herbal Award (PMHA) ประจําปี 2562 ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงานครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีสื่อสารให้ประชาชนรู้จักประโยชน์และคุณค่าของสมุนไพรและการนวดไทยในการรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งจะพัฒนายกระดับใน 3 เรื่อง คือ อุตสาหกรรมสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ บริการการแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรไทย และระบบการศึกษาและบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่น การยอมรับ ชื่นชอบ และนําไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนําของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งผลักดันภูมิปัญญานวดไทยขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติกับยูเนสโก (UNESCO) ในปี 2562 ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเป็นอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความงาม อาทิ สปา การนวดไทย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติในปีนี้ ประกอบด้วย การประชุมวิชาการประจําปี 2562 ได้แก่ การพัฒนากัญชาทางการแพทย์ เมืองสมุนไพร และตลาดความรู้ เปิดอบรมระยะสั้นหลักสูตรละ 2 ชั่วโมง ฟรี 26 หลักสูตร ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจกับผู้นําเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสมุนไพร เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมด้านการตลาด ภายในงานแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ ได้แก่ โซนภูมิปัญญา (WISDOM) นําเสนอนิทรรศการและนวัตกรรมระดับชาติด้านการแพทย์แผนไทยฯ ภายใต้แนวคิด “เชื่อมั่น” คุณภาพสมุนไพรไทย จัดแสดงผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ มีสวนสมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์ คุ้มครองเชิงเศรษฐกิจและเชิงสุขภาพ นิทรรศการ “การนวดไทย มรดกภูมิปัญญาไทย” “200 ตํารับยาดี สู่การใช้ประโยชน์” พบกับหมอพื้นบ้านพร้อมสาธิต ตรวจแนะนํา ให้ความรู้จากภูมิปัญญาภาคต่าง ๆสําหรับโซนบริการ (SERVICE) มีบริการตรวจรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก บริการคลินิกเฉพาะโรคไมเกรน อัมพฤกษ์ อัมพาต จับโปงเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) การแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม การครอบแก้ว และการนวดทุยนา ส่วนโซนผลิตภัณฑ์ (PRODUCT) มีการจัดแสดงสมุนไพร ที่ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์สมุนไพรดีเด่นระดับชาติ Prime Minister Herbal Award (PMHA) ประจําปี 2562 ให้ความรู้และจําหน่ายผลิตภัณฑ์ อาทิ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ให้ความรู้สมุนไพรดูแลไตและสมุนไพรลดมลภาวะเป็นพิษ บริการนวดไทย สปาหน้า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดสูงสุด 50% แจกต้นสมุนไพรดูแลไต 300 ต้น/วัน แจกหนังสือบันทึกของแผ่นดินเล่มที่ 11 วันละ 200 เล่ม บริการตรวจ ปรึกษาสุขภาพฟรี พร้อมจําหน่ายเครื่องสําอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารและเครื่องดื่ม ปีนี้มีโซนจําหน่ายสินค้าสุขภาพ อาหารสุขภาพ อุปกรณ์ดูแลสุขภาพกว่า 500 ร้านค้า ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานได้ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2562 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อาคาร 10 – 12 (ฮอลล์ 6 – 8 เดิม) และห้องประชุมฟีนิกซ์ 1 – 6 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หรือเว็บไซต์ http://natherbexpo.dtam.moph.go.th ******************************* 6 มีนาคม 2562
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19157
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางพร้อมจ่ายตรงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการให้กับผู้มีสิทธิพร้อมกันทั่วประเทศ ม.ค. 63
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2562 กรมบัญชีกลางพร้อมจ่ายตรงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการให้กับผู้มีสิทธิพร้อมกันทั่วประเทศ ม.ค. 63 กรมบัญชีกลางเตรียมจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิโดยตรง โดยจะสามารถจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิของ อปท. ทั้ง 76 จังหวัด จํานวน 7,774 แห่ง ได้พร้อมกันทั่วประเทศในเดือนมกราคม 2563 กรมบัญชีกลางร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) บูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคมตามโครงการ e-Payment ภาครัฐ จัดทําฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อเตรียมจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิโดยตรง โดยจะสามารถจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิของ อปท. ทั้ง 76 จังหวัด จํานวน 7,774 แห่ง ได้พร้อมกันทั่วประเทศในเดือนมกราคม 2563 นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ดําเนินโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ตามโครงการ e-Payment ภาครัฐ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ National e-Payment Master Plan โดยทําหน้าที่จ่ายเงินตรงเข้าบัญชีผู้มีสิทธิรับเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นแทนส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กํากับดูแลสวัสดิการสังคมแต่ละประเภท ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินอุดหนุนแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกรมบัญชีกลางได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ดําเนินการจัดทําฐานข้อมูลร่วมกัน และได้รับการสนับสนุนจากกรมการปกครองในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลบุคคล โดยนําร่องจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิโดยตรงใน จ.สิงห์บุรี เมื่อเดือนสิงหาคมและกันยายน 2562 “ขณะนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กําลังดําเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูล เบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูลบุคคลของ อปท. จํานวน 7,774 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) ของกรมบัญชีกลางให้สามารถจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรมบัญชีกลางได้เตรียมความพร้อมของระบบไว้รองรับการจ่ายเงินดังกล่าวแล้ว ซึ่งจะสามารถจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการของ อปท. ครบทั้ง 76 จังหวัด จํานวน 7,774 แห่ง ในเดือนมกราคม 2563 โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้มีสิทธิโดยตรง ซึ่งการจ่ายเงินดังกล่าว จะมีรอบการจ่ายทุกวันที่ 10 ของเดือน หากเดือนใดวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการ จะจ่ายในวันทําการก่อนวันหยุดนั้น ๆ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว ทั้งนี้ การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิโดยตรง จะช่วยลดขั้นตอนการทํางานและแบ่งเบาภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีสิทธิจะได้รับเงินรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางพร้อมจ่ายตรงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการให้กับผู้มีสิทธิพร้อมกันทั่วประเทศ ม.ค. 63 วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2562 กรมบัญชีกลางพร้อมจ่ายตรงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการให้กับผู้มีสิทธิพร้อมกันทั่วประเทศ ม.ค. 63 กรมบัญชีกลางเตรียมจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิโดยตรง โดยจะสามารถจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิของ อปท. ทั้ง 76 จังหวัด จํานวน 7,774 แห่ง ได้พร้อมกันทั่วประเทศในเดือนมกราคม 2563 กรมบัญชีกลางร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) บูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคมตามโครงการ e-Payment ภาครัฐ จัดทําฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อเตรียมจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิโดยตรง โดยจะสามารถจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิของ อปท. ทั้ง 76 จังหวัด จํานวน 7,774 แห่ง ได้พร้อมกันทั่วประเทศในเดือนมกราคม 2563 นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ดําเนินโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ตามโครงการ e-Payment ภาครัฐ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ National e-Payment Master Plan โดยทําหน้าที่จ่ายเงินตรงเข้าบัญชีผู้มีสิทธิรับเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นแทนส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กํากับดูแลสวัสดิการสังคมแต่ละประเภท ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินอุดหนุนแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกรมบัญชีกลางได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ดําเนินการจัดทําฐานข้อมูลร่วมกัน และได้รับการสนับสนุนจากกรมการปกครองในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลบุคคล โดยนําร่องจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิโดยตรงใน จ.สิงห์บุรี เมื่อเดือนสิงหาคมและกันยายน 2562 “ขณะนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กําลังดําเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูล เบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูลบุคคลของ อปท. จํานวน 7,774 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) ของกรมบัญชีกลางให้สามารถจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรมบัญชีกลางได้เตรียมความพร้อมของระบบไว้รองรับการจ่ายเงินดังกล่าวแล้ว ซึ่งจะสามารถจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการของ อปท. ครบทั้ง 76 จังหวัด จํานวน 7,774 แห่ง ในเดือนมกราคม 2563 โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้มีสิทธิโดยตรง ซึ่งการจ่ายเงินดังกล่าว จะมีรอบการจ่ายทุกวันที่ 10 ของเดือน หากเดือนใดวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการ จะจ่ายในวันทําการก่อนวันหยุดนั้น ๆ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว ทั้งนี้ การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิโดยตรง จะช่วยลดขั้นตอนการทํางานและแบ่งเบาภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีสิทธิจะได้รับเงินรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23817
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“พาณิชย์” เผยจับกุมผู้กระทำความผิดจำหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริง ยอดรวมทั่วประเทศ 276 ราย ทั้งร้านค้าออนไลน์ และร้านค้าทั่วไป ส่วนสถานการณ์การจำหน่ายไข่ไก่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ [กระทรวงพาณิชย์]
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563 “พาณิชย์” เผยจับกุมผู้กระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริง ยอดรวมทั่วประเทศ 276 ราย ทั้งร้านค้าออนไลน์ และร้านค้าทั่วไป ส่วนสถานการณ์การจําหน่ายไข่ไก่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ [กระทรวงพาณิชย์] กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการจับกุมสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ ณ วันที่ 8 เมษายน2563 สามารถจับกุมผู้กระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริงทั้งขายผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์และร้านค้าทั่วไป เพิ่มอีก 3 ราย กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการจับกุมสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ ณ วันที่ 8 เมษายน2563 สามารถจับกุมผู้กระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริงทั้งขายผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์และร้านค้าทั่วไป เพิ่มอีก 3 ราย ทําให้ยอดการจับกุม รวม 276 ราย ส่วนไข่ไก่ยอดรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 26 ราย ไม่พบการกระทําความผิดเพิ่ม นายสุพพัต อ่องแสงคุณ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ และศูนย์ปฏิบัติการด้านการควบคุมสินค้า (ศปส) ฝ่ายสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ เปิดเผยถึงผลการปฏิบัติการกรณีสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ของกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการจับกุมผู้กระทําความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 โดยสามารถจับกุมผู้กระทําความผิดกรณีหน้ากากอนามัยได้เพิ่มอีก 3 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 1 ราย เป็นการล่อซื้อและจับกุมผู้จําหน่ายหน้ากากอนามัยผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ พบจําหน่ายหน้ากากอนามัย กล่องละ 50 ชิ้น ราคากล่องละ 770 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 15.40 บาท) รวม 20,000 ชิ้น แจ้งข้อหากระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยเกินราคาควบคุม และจําหน่ายแพงเกินราคาสมควร ตามมาตรา 25 และ 29 ส่วนในต่างจังหวัดจับกุมได้เพิ่ม 2 ราย ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 ราย โดยการล่อซื้อและจับกุมเป็นร้านจําหน่ายอุปกรณ์เสริมสวยจําหน่ายหน้ากากอนามัย ในราคาชิ้นละ 20 บาท จํานวน 122 ชิ้น จึงแจ้งข้อหากระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินราคาสมควร ตามมาตรา 29 และจังหวัดอุทัยธานี 1 ราย เป็นร้านค้าทั่วไปพบจําหน่ายหน้ากากอนามัย ในราคาชิ้นละ 20 บาท แจ้งข้อหากระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยโดยไม่ปิดป้ายแสดงราคาและจําหน่ายเกินราคาควบคุม โดยสถิติการจับกุมผู้กระทําความผิดกรณีหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์และแอลกอฮอล์ มีจํานวนเพิ่มขึ้นเป็น 276 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ 136 ราย และต่างจังหวัด 140 ราย ทั้งนี้ โทษที่ผู้กระทําความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ข้อหาขายเกินราคาควบคุม มาตรา 25 (1) มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ข้อหาไม่แจ้งต้นทุนราคาซื้อ ราคาจําหน่าย ปริมาณการผลิต ปริมาณคงเหลือ ตามมาตรา 25 (5) มีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และปรับไม่เกินวันละ 2,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะแจ้ง มาตรา 28 ข้อหาไม่ปิดป้ายแสดงราคาขาย มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท มาตรา 29 ข้อหาขายแพงเกินสมควร มีอัตราโทษจําคุก ไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ นายสุพพัตกล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับสถิติการจับกุมกรณีผู้จําหน่ายไข่ไก่แพงเกินจริงทั่วประเทศ ณ วันที่ 8 เม.ย.2563 ยอดรวมการจับกุมดําเนินคดีอยู่ที่ 26 ราย คงที่ ไม่พบผู้กระทําความผิดเพิ่มเติม เนื่องจากความต้องการซื้อไข่ไก่ในการบริโภคมีปริมาณลดลงจนเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ และมีปริมาณผลผลิตไข่ไก่กระจายเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมีวางจําหน่ายทุกวันในห้างโมเดิร์นเทรด เช่นแม็คโคร โลตัส บิ๊กซี เทสโก้โลตัส และร้านค้าปลีกรายย่อย มีสินค้าวางจําหน่าย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะลงพื้นที่ตรวจสอบและจับกุม อย่างต่อเนื่อง ย้ํา “หากผู้บริโภคพบเห็นการกักตุนหรือค้ากําไรเกินควร ร้องเรียนได้ทันที ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 และในต่างจังหวัดร้องเรียนได้ที่สํานักงานพาณิชย์จังหวัด หรือศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด จะมีการเข้าไปตรวจสอบและดําเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทําความผิดทันที” นายสุพพัตกล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“พาณิชย์” เผยจับกุมผู้กระทำความผิดจำหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริง ยอดรวมทั่วประเทศ 276 ราย ทั้งร้านค้าออนไลน์ และร้านค้าทั่วไป ส่วนสถานการณ์การจำหน่ายไข่ไก่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ [กระทรวงพาณิชย์] วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563 “พาณิชย์” เผยจับกุมผู้กระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริง ยอดรวมทั่วประเทศ 276 ราย ทั้งร้านค้าออนไลน์ และร้านค้าทั่วไป ส่วนสถานการณ์การจําหน่ายไข่ไก่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ [กระทรวงพาณิชย์] กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการจับกุมสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ ณ วันที่ 8 เมษายน2563 สามารถจับกุมผู้กระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริงทั้งขายผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์และร้านค้าทั่วไป เพิ่มอีก 3 ราย กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการจับกุมสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ ณ วันที่ 8 เมษายน2563 สามารถจับกุมผู้กระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริงทั้งขายผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์และร้านค้าทั่วไป เพิ่มอีก 3 ราย ทําให้ยอดการจับกุม รวม 276 ราย ส่วนไข่ไก่ยอดรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 26 ราย ไม่พบการกระทําความผิดเพิ่ม นายสุพพัต อ่องแสงคุณ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ และศูนย์ปฏิบัติการด้านการควบคุมสินค้า (ศปส) ฝ่ายสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ เปิดเผยถึงผลการปฏิบัติการกรณีสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ของกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการจับกุมผู้กระทําความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 โดยสามารถจับกุมผู้กระทําความผิดกรณีหน้ากากอนามัยได้เพิ่มอีก 3 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 1 ราย เป็นการล่อซื้อและจับกุมผู้จําหน่ายหน้ากากอนามัยผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ พบจําหน่ายหน้ากากอนามัย กล่องละ 50 ชิ้น ราคากล่องละ 770 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 15.40 บาท) รวม 20,000 ชิ้น แจ้งข้อหากระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยเกินราคาควบคุม และจําหน่ายแพงเกินราคาสมควร ตามมาตรา 25 และ 29 ส่วนในต่างจังหวัดจับกุมได้เพิ่ม 2 ราย ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 ราย โดยการล่อซื้อและจับกุมเป็นร้านจําหน่ายอุปกรณ์เสริมสวยจําหน่ายหน้ากากอนามัย ในราคาชิ้นละ 20 บาท จํานวน 122 ชิ้น จึงแจ้งข้อหากระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยแพงเกินราคาสมควร ตามมาตรา 29 และจังหวัดอุทัยธานี 1 ราย เป็นร้านค้าทั่วไปพบจําหน่ายหน้ากากอนามัย ในราคาชิ้นละ 20 บาท แจ้งข้อหากระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยโดยไม่ปิดป้ายแสดงราคาและจําหน่ายเกินราคาควบคุม โดยสถิติการจับกุมผู้กระทําความผิดกรณีหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์และแอลกอฮอล์ มีจํานวนเพิ่มขึ้นเป็น 276 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ 136 ราย และต่างจังหวัด 140 ราย ทั้งนี้ โทษที่ผู้กระทําความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ข้อหาขายเกินราคาควบคุม มาตรา 25 (1) มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ข้อหาไม่แจ้งต้นทุนราคาซื้อ ราคาจําหน่าย ปริมาณการผลิต ปริมาณคงเหลือ ตามมาตรา 25 (5) มีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และปรับไม่เกินวันละ 2,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะแจ้ง มาตรา 28 ข้อหาไม่ปิดป้ายแสดงราคาขาย มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท มาตรา 29 ข้อหาขายแพงเกินสมควร มีอัตราโทษจําคุก ไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ นายสุพพัตกล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับสถิติการจับกุมกรณีผู้จําหน่ายไข่ไก่แพงเกินจริงทั่วประเทศ ณ วันที่ 8 เม.ย.2563 ยอดรวมการจับกุมดําเนินคดีอยู่ที่ 26 ราย คงที่ ไม่พบผู้กระทําความผิดเพิ่มเติม เนื่องจากความต้องการซื้อไข่ไก่ในการบริโภคมีปริมาณลดลงจนเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ และมีปริมาณผลผลิตไข่ไก่กระจายเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมีวางจําหน่ายทุกวันในห้างโมเดิร์นเทรด เช่นแม็คโคร โลตัส บิ๊กซี เทสโก้โลตัส และร้านค้าปลีกรายย่อย มีสินค้าวางจําหน่าย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะลงพื้นที่ตรวจสอบและจับกุม อย่างต่อเนื่อง ย้ํา “หากผู้บริโภคพบเห็นการกักตุนหรือค้ากําไรเกินควร ร้องเรียนได้ทันที ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 และในต่างจังหวัดร้องเรียนได้ที่สํานักงานพาณิชย์จังหวัด หรือศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด จะมีการเข้าไปตรวจสอบและดําเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทําความผิดทันที” นายสุพพัตกล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28695
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เปิดคลินิกกัญชาแพทย์แผนไทย รพ.เสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2562 สธ.เปิดคลินิกกัญชาแพทย์แผนไทย รพ.เสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กระทรวงสาธารณสุข เปิดคลินิกกัญชาการแพทย์แผนไทย รพ.เสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.สระบุรี รักษาผู้ป่วยด้วยตํารับ “ยาศุขไสยาศน์” ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วันนี้ (2 กันยายน 2562) ที่โรงพยาบาลเสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อําเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีนายวัชรพงษ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ให้สัมภาษณ์ว่า นโยบายการใช้กัญชาทางการแพทย์ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย โดยโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ได้รับการคัดเลือกจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้เป็นโรงพยาบาลเครือข่ายแพทย์แผนไทยนําร่องคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ให้คําปรึกษาผู้ป่วยและให้บริการการรักษาด้วยตํารับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ มีตํารับที่จะนํามาเข้ากระบวนการรักษา จํานวน 16 ตํารับ โดยนําร่อง 1 ตํารับ คือ ยาศุขไสยาศน์ มีสรรพคุณ ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร ฟื้นฟูกําลังของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งได้รับจากองค์การเภสัชกรรมเรียบร้อยแล้ว และผู้ป่วยต้องได้รับการคัดกรองจากแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมมา สําหรับอีก 15 ตํารับนั้น อยู่ในขั้นตอนการผลิตเพื่อนําไปสู่กระบวนการสั่งจ่ายในโรงพยาบาลต่อไป อย่างไรก็ตาม ตํารับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ไม่ใช่การแพทย์ทางเลือกหลักในการรักษาผู้ป่วย ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมกํากับ ดูแล ติดตามการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพที่ผ่านการอบรม และได้รับอนุญาตให้สามารถนํามาใช้ในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ได้ ******************************* 2 กันยายน 2562
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เปิดคลินิกกัญชาแพทย์แผนไทย รพ.เสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2562 สธ.เปิดคลินิกกัญชาแพทย์แผนไทย รพ.เสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กระทรวงสาธารณสุข เปิดคลินิกกัญชาการแพทย์แผนไทย รพ.เสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.สระบุรี รักษาผู้ป่วยด้วยตํารับ “ยาศุขไสยาศน์” ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วันนี้ (2 กันยายน 2562) ที่โรงพยาบาลเสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อําเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีนายวัชรพงษ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ให้สัมภาษณ์ว่า นโยบายการใช้กัญชาทางการแพทย์ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย โดยโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ได้รับการคัดเลือกจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้เป็นโรงพยาบาลเครือข่ายแพทย์แผนไทยนําร่องคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ให้คําปรึกษาผู้ป่วยและให้บริการการรักษาด้วยตํารับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ มีตํารับที่จะนํามาเข้ากระบวนการรักษา จํานวน 16 ตํารับ โดยนําร่อง 1 ตํารับ คือ ยาศุขไสยาศน์ มีสรรพคุณ ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร ฟื้นฟูกําลังของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งได้รับจากองค์การเภสัชกรรมเรียบร้อยแล้ว และผู้ป่วยต้องได้รับการคัดกรองจากแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมมา สําหรับอีก 15 ตํารับนั้น อยู่ในขั้นตอนการผลิตเพื่อนําไปสู่กระบวนการสั่งจ่ายในโรงพยาบาลต่อไป อย่างไรก็ตาม ตํารับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ไม่ใช่การแพทย์ทางเลือกหลักในการรักษาผู้ป่วย ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมกํากับ ดูแล ติดตามการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพที่ผ่านการอบรม และได้รับอนุญาตให้สามารถนํามาใช้ในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ได้ ******************************* 2 กันยายน 2562
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22700
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ตั้งหน่วยงาน ดูแลโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการพระบรมวงศานุวงศ์
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 สธ.ตั้งหน่วยงาน ดูแลโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการพระบรมวงศานุวงศ์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งหน่วยงานดูแลโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อให้การขับเคลื่อนงานมีประสิทธิภาพ สมพระเกียรติ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งหน่วยงานดูแลโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อให้การขับเคลื่อนงานมีประสิทธิภาพ สมพระเกียรติ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและกํากับติดตามโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน อธิบดีทุกกรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ทําหน้าที่วิเคราะห์ กลั่นกรองโครงการ จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานทุกเดือน และจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน 6 เดือน และ 12 เดือน นายแพทย์สุขุมกล่าวต่อว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนงานติดตามโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ มีประสิทธิภาพ และสมพระเกียรติ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตั้งหน่วยงานดูแลเป็นการเฉพาะ โดยมีโครงการฯ ด้านสาธารณสุขในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรโครงการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรโครงการในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9โครงการในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโครงการในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ โดยในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงสาธารณสุข ได้ทําแผนกิจกรรมการดําเนินงานโครงการ ฯ 9 ด้าน ดังนี้ 1.งานพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) 21 แห่ง 2.งานพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ (รพก.) 10 แห่ง และโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูลเฉลิมพระเกียรติ60 พรรษา ที่มูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูลสนับสนุน 3.งานพัฒนาโรงพยาบาลชัยพัฒน์ จังหวัดพังงา (4 โรงพยาบาล 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล) 4.งานโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 5.งานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง โครงการโรงเรียนเพียงหลวงในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 18 โรงเรียนใน 18 จังหวัด โครงการรักษ์น้ําเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน 6.งานโครงการจิตอาสาทําดีด้วยหัวใจตามพระราชดําริ 7.การดูแลผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม 8.การดูแลผู้ป่วยทูลเกล้าถวายฎีกา และ 9.งานพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ************************************ 7 พฤศจิกายน 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ตั้งหน่วยงาน ดูแลโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการพระบรมวงศานุวงศ์ วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 สธ.ตั้งหน่วยงาน ดูแลโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการพระบรมวงศานุวงศ์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งหน่วยงานดูแลโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อให้การขับเคลื่อนงานมีประสิทธิภาพ สมพระเกียรติ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งหน่วยงานดูแลโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อให้การขับเคลื่อนงานมีประสิทธิภาพ สมพระเกียรติ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและกํากับติดตามโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน อธิบดีทุกกรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ทําหน้าที่วิเคราะห์ กลั่นกรองโครงการ จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานทุกเดือน และจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน 6 เดือน และ 12 เดือน นายแพทย์สุขุมกล่าวต่อว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนงานติดตามโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ มีประสิทธิภาพ และสมพระเกียรติ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตั้งหน่วยงานดูแลเป็นการเฉพาะ โดยมีโครงการฯ ด้านสาธารณสุขในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรโครงการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรโครงการในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9โครงการในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโครงการในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ โดยในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงสาธารณสุข ได้ทําแผนกิจกรรมการดําเนินงานโครงการ ฯ 9 ด้าน ดังนี้ 1.งานพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) 21 แห่ง 2.งานพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ (รพก.) 10 แห่ง และโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูลเฉลิมพระเกียรติ60 พรรษา ที่มูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูลสนับสนุน 3.งานพัฒนาโรงพยาบาลชัยพัฒน์ จังหวัดพังงา (4 โรงพยาบาล 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล) 4.งานโครงการพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 5.งานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง โครงการโรงเรียนเพียงหลวงในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 18 โรงเรียนใน 18 จังหวัด โครงการรักษ์น้ําเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน 6.งานโครงการจิตอาสาทําดีด้วยหัวใจตามพระราชดําริ 7.การดูแลผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม 8.การดูแลผู้ป่วยทูลเกล้าถวายฎีกา และ 9.งานพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ************************************ 7 พฤศจิกายน 2561
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16611
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดงาน ‘SME Revolution: เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ดัน SME ไทยเติบโตตามแผนงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจแนวประชารัฐสู่ Thailand 4.0
วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดงาน ‘SME Revolution: เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ดัน SME ไทยเติบโตตามแผนงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจแนวประชารัฐสู่ Thailand 4.0 10 มีนาคม 2560 กรุงเทพมหานคร - พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เปิดงาน ‘SME REVOLUTION : เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพดึงเหล่าพันธมิตร 10 มีนาคม 2560 กรุงเทพมหานคร - พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เปิดงาน ‘SME REVOLUTION : เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพดึงเหล่าพันธมิตร อาทิ สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) และอีกมาก ร่วมผลักดันช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทย เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่เศรษฐกิจยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่กําลังเกิดขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลตามกรอบแนวทาง “ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0” โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ กล่าวถึงการจัดงานว่า “การจัดงาน SME REVOLUTION : เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0 ในวันนี้ นับเป็นการแสดงพลังประชารัฐเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นที่เป็นเรื่องที่สําคัญมาก คือ เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนนโยบายหลักของรัฐบาลชุดนี้ นั่นก็คือ “Thailand 4.0” ผมดีใจที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันทํางานโดยแปลงนโยบายมาสู่การขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีกลไก มาตรการต่างๆ ที่จับต้องได้ และสามารถช่วยเหลือ SME ได้อย่างแท้จริง มีการนําผลงานเด่น ผลงานเชิงนวัตกรรมมาจัดแสดงเพื่อเป็นต้นแบบ เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชมงานเห็นความสําคัญ เป็นการจุดประกายพลัง สร้างสรรค์ให้กับกลุ่มธุรกิจ SMEs เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาธุรกิจของตนเอง เป็นการสร้างโอกาสให้กับ SME ทั้งหลายที่เป็นพลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลชุดปัจจุบันพยายามสร้างความสมดุลโดยมุ่งพัฒนาประเทศในทุกภาคส่วน ทั้งภาคการเกษตร ภาคการค้าบริการ และภาคอุตสาหกรรม หลังจากประเทศประสบปัญหาความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ ขนาดของช่องว่างระหว่างเมืองและชนบท เกิดปัญหา รวยกระจุก จนกระจาย ทําให้ชนบทของไทยอ่อนแอ ประเทศสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน ขาดสมดุลทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่เล็ก ทรัพยากรมีน้อยและจํากัด รัฐบาลจําเป็นต้องดูแลทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง ทั้งการส่งเสริมพัฒนาภาคเกษตรซึ่งมีเกษตรกรอยู่เป็นจํานวนมากกว่า 20 ล้านคน ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลต่างๆ และที่สําคัญคือต้องดูแลกลุ่ม SMEs กว่า 3 ล้านรายซึ่งเป็นวิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องดํารงอยู่ได้ เติบโต และแข็งแกร่งไปด้วยกัน เพื่อจะนําพาประเทศให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือ Middle Income Trap ให้เกิดการกระจายรายได้และผลประโยชน์อย่างทั่วถึง นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) ในปีนี้จึงถือเป็นปีแรกที่รัฐบาลให้ความสําคัญกับงบประมาณกลุ่มจังหวัดและให้ความสําคัญกับแผนพัฒนาระดับจังหวัดมากขึ้น โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผลักดันงบประมาณกลางปี 2560 ในวงเงิน 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งงบประมาณส่วนใหญ่จัดสรรสําหรับโครงการแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดจํานวน 6.3 หมื่นล้านบาท โดยโครงการพัฒนากลุ่มจังหวัด เป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดและยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดที่จะนํามาใช้สนับสนุนเพิ่มเติมตามลําดับความสําคัญ นับเป็นการพัฒนาจากล่างขึ้นบนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์ชุมชนซึ่งแฝงไว้ด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กับการท่องเที่ยวตามโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village) หรือ CIV โดยผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ ในหมู่บ้านร่วมกันจัดทําแผนธุรกิจที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว ทําการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยใช้ความสร้างสรรค์และเสน่ห์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของชุมชนตามแนวประชารัฐด้วย รัฐบาลคาดหวังว่างบประมาณดังกล่าวจะถูกใช้ไปเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และศูนย์จําหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือ มีการจัดอบรม สัมมนา ฝึกอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการยกระดับผลิตภาพ คุณภาพ มาตรฐาน และนวัตกรรม ซึ่งในระยะยาวจะช่วยให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สร้างการพัฒนา การจ้างงาน ประชาชนมีศักยภาพในการใช้จ่ายทําให้เศรษฐกิจหมุนอีกครั้ง กองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ งบประมาณสําคัญที่ถูกจัดสรรเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ จํานวน 20,000 ล้านบาทที่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ ที่จะเปิดตัวในงานนี้ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนช่วยเหลือ SMEs ให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปสู่ SME 4.0 เป็นการจัดสรรงบประมาณให้เพิ่มเติมจากงบประมาณในการส่งเสริมพัฒนา SMEs ที่มีอยู่ปกติแล้ว โดยเกณฑ์การสนับสนุนสินเชื่อจะต้องมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรน และเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ําที่มากกว่าปกติ เป็นจุดกระตุ้นให้สถาบันการเงินกลับมาช่วยสนับสนุนเงินทุนแก่ SMEs ในช่วงที่เศรษฐกิจกําลังฟื้นตัว ซึ่งในการนี้ ยังมีอีก 2 กองทุนสําคัญคือ การเปิดตัวกองทุนฟื้นฟู SME 2,000 ล้านบาท ของ สสว. มุ่งเน้นช่วยกลุ่ม SME ที่ประสบปัญหามีหนี้ค้างชําระ ชําระหนี้ไม่สม่ําเสมอประสบภาวะสภาพคล่องตึงตัว มีหนี้ที่เป็น NPL บ้าง แต่ยังสามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้จะต้องผ่านการวินิจฉัยเชิงลึกเพื่อปรับปรุงแผนการดําเนินธุรกิจให้เรียบร้อย ก่อนที่จะได้รับการสนับสนุนในรูปแบบของเงินอุดหนุนที่ต้องชําระคืน รวมถึงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (SME Transformation Loan) วงเงิน 15,000 ล้านบาทของ SME Bank ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านการเงิน กองทุนนี้จะถูกจัดสรรให้กับจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในสัดส่วนตามศักยภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด” ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของกิจกรรมตลอด 3 วันนี้ ผู้ร่วมงานจะได้พบกับการจัดแสดงพระราชกรณียกิจเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ที่ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจในระดับชุมชนผ่านโครงการต่าง, พื้นที่เปิดตัวกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐทุกกองทุน, พื้นที่ SME Solution บริการปรึกษาแนะนํา โดยมีศูนย์ Business Service Center : BSC, SME Academy และการสาธิตการใช้ Application ของ กสอ., บริการจากศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thailand Industrial Design Center: Thai iDC), ศูนย์ Industry Transformation Center (ITC) ที่มีข้อมูลรองรับทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น อาหารเกษตรแปรรูป/ชีวภาพ เครื่องมือแพทย์-สุขภาพ ไฮเทค อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์และอีกมาก, นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับมาตรการโครงการขับเคลื่อน SME ทั้งระบบ, รับคําปรึกษาจากบูธองค์กรพันธมิตร และเครื่องมือพัฒนาฟื้นฟู SME, สัมมนาทางด้านการทําการตลาด StartUp และ Fintech, นวัตกรรมและไอเดียต้นแบบที่ต่อยอดธุรกิจ SME, ตื่นตาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจาก 9 โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village – CIV) 9 ชุมชนที่ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดทําแผนธุรกิจที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว โดยใช้ความสร้างสรรค์และเสน่ห์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงการส่งเสริมและพัฒนาตามแนว Smart Farmer โดย สสว. และ พื้นที่เกษตรอินทรีย์สากลของ กสอ. เช่น ชาลําไย ชาลิ้นจี่ กาแฟออร์แกนิค เป็นต้น, สินค้าจากผู้ประกอบการ SME และ OTOP มากมาย รวมถึงการแสดงผลงานแฟชั่นโชว์ "6 แบรนด์ SME ไทยสู่ตลาดโลก" จาก Justino (จัสติโน) J.niche' (เจนิช) GU:G (กูจี) Surreal Objects Ek Thongprasert และ ITTHIKORN ในวันที่ 10 มีนาคม ท่านสามารถเข้าชมงาน งาน ‘SME Revolution: เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ได้ระหว่างวันที่ 10 - 12 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ เพลนารี ฮอลล์ 1 - 3 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร 0 2202 4414 – 7 หรือเข้าไปที่ www.SME-Revolution.com และ www.facebook.com/SMErevolution2017
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดงาน ‘SME Revolution: เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ดัน SME ไทยเติบโตตามแผนงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจแนวประชารัฐสู่ Thailand 4.0 วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดงาน ‘SME Revolution: เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ดัน SME ไทยเติบโตตามแผนงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจแนวประชารัฐสู่ Thailand 4.0 10 มีนาคม 2560 กรุงเทพมหานคร - พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เปิดงาน ‘SME REVOLUTION : เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพดึงเหล่าพันธมิตร 10 มีนาคม 2560 กรุงเทพมหานคร - พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เปิดงาน ‘SME REVOLUTION : เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพดึงเหล่าพันธมิตร อาทิ สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) และอีกมาก ร่วมผลักดันช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทย เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่เศรษฐกิจยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่กําลังเกิดขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลตามกรอบแนวทาง “ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0” โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ กล่าวถึงการจัดงานว่า “การจัดงาน SME REVOLUTION : เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0 ในวันนี้ นับเป็นการแสดงพลังประชารัฐเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นที่เป็นเรื่องที่สําคัญมาก คือ เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนนโยบายหลักของรัฐบาลชุดนี้ นั่นก็คือ “Thailand 4.0” ผมดีใจที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันทํางานโดยแปลงนโยบายมาสู่การขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีกลไก มาตรการต่างๆ ที่จับต้องได้ และสามารถช่วยเหลือ SME ได้อย่างแท้จริง มีการนําผลงานเด่น ผลงานเชิงนวัตกรรมมาจัดแสดงเพื่อเป็นต้นแบบ เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชมงานเห็นความสําคัญ เป็นการจุดประกายพลัง สร้างสรรค์ให้กับกลุ่มธุรกิจ SMEs เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาธุรกิจของตนเอง เป็นการสร้างโอกาสให้กับ SME ทั้งหลายที่เป็นพลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลชุดปัจจุบันพยายามสร้างความสมดุลโดยมุ่งพัฒนาประเทศในทุกภาคส่วน ทั้งภาคการเกษตร ภาคการค้าบริการ และภาคอุตสาหกรรม หลังจากประเทศประสบปัญหาความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ ขนาดของช่องว่างระหว่างเมืองและชนบท เกิดปัญหา รวยกระจุก จนกระจาย ทําให้ชนบทของไทยอ่อนแอ ประเทศสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน ขาดสมดุลทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่เล็ก ทรัพยากรมีน้อยและจํากัด รัฐบาลจําเป็นต้องดูแลทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง ทั้งการส่งเสริมพัฒนาภาคเกษตรซึ่งมีเกษตรกรอยู่เป็นจํานวนมากกว่า 20 ล้านคน ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลต่างๆ และที่สําคัญคือต้องดูแลกลุ่ม SMEs กว่า 3 ล้านรายซึ่งเป็นวิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องดํารงอยู่ได้ เติบโต และแข็งแกร่งไปด้วยกัน เพื่อจะนําพาประเทศให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือ Middle Income Trap ให้เกิดการกระจายรายได้และผลประโยชน์อย่างทั่วถึง นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) ในปีนี้จึงถือเป็นปีแรกที่รัฐบาลให้ความสําคัญกับงบประมาณกลุ่มจังหวัดและให้ความสําคัญกับแผนพัฒนาระดับจังหวัดมากขึ้น โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผลักดันงบประมาณกลางปี 2560 ในวงเงิน 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งงบประมาณส่วนใหญ่จัดสรรสําหรับโครงการแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดจํานวน 6.3 หมื่นล้านบาท โดยโครงการพัฒนากลุ่มจังหวัด เป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดและยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดที่จะนํามาใช้สนับสนุนเพิ่มเติมตามลําดับความสําคัญ นับเป็นการพัฒนาจากล่างขึ้นบนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์ชุมชนซึ่งแฝงไว้ด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กับการท่องเที่ยวตามโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village) หรือ CIV โดยผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ ในหมู่บ้านร่วมกันจัดทําแผนธุรกิจที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว ทําการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยใช้ความสร้างสรรค์และเสน่ห์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของชุมชนตามแนวประชารัฐด้วย รัฐบาลคาดหวังว่างบประมาณดังกล่าวจะถูกใช้ไปเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และศูนย์จําหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือ มีการจัดอบรม สัมมนา ฝึกอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการยกระดับผลิตภาพ คุณภาพ มาตรฐาน และนวัตกรรม ซึ่งในระยะยาวจะช่วยให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สร้างการพัฒนา การจ้างงาน ประชาชนมีศักยภาพในการใช้จ่ายทําให้เศรษฐกิจหมุนอีกครั้ง กองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ งบประมาณสําคัญที่ถูกจัดสรรเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ จํานวน 20,000 ล้านบาทที่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ ที่จะเปิดตัวในงานนี้ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนช่วยเหลือ SMEs ให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปสู่ SME 4.0 เป็นการจัดสรรงบประมาณให้เพิ่มเติมจากงบประมาณในการส่งเสริมพัฒนา SMEs ที่มีอยู่ปกติแล้ว โดยเกณฑ์การสนับสนุนสินเชื่อจะต้องมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรน และเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ําที่มากกว่าปกติ เป็นจุดกระตุ้นให้สถาบันการเงินกลับมาช่วยสนับสนุนเงินทุนแก่ SMEs ในช่วงที่เศรษฐกิจกําลังฟื้นตัว ซึ่งในการนี้ ยังมีอีก 2 กองทุนสําคัญคือ การเปิดตัวกองทุนฟื้นฟู SME 2,000 ล้านบาท ของ สสว. มุ่งเน้นช่วยกลุ่ม SME ที่ประสบปัญหามีหนี้ค้างชําระ ชําระหนี้ไม่สม่ําเสมอประสบภาวะสภาพคล่องตึงตัว มีหนี้ที่เป็น NPL บ้าง แต่ยังสามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้จะต้องผ่านการวินิจฉัยเชิงลึกเพื่อปรับปรุงแผนการดําเนินธุรกิจให้เรียบร้อย ก่อนที่จะได้รับการสนับสนุนในรูปแบบของเงินอุดหนุนที่ต้องชําระคืน รวมถึงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (SME Transformation Loan) วงเงิน 15,000 ล้านบาทของ SME Bank ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านการเงิน กองทุนนี้จะถูกจัดสรรให้กับจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในสัดส่วนตามศักยภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด” ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของกิจกรรมตลอด 3 วันนี้ ผู้ร่วมงานจะได้พบกับการจัดแสดงพระราชกรณียกิจเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ที่ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจในระดับชุมชนผ่านโครงการต่าง, พื้นที่เปิดตัวกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐทุกกองทุน, พื้นที่ SME Solution บริการปรึกษาแนะนํา โดยมีศูนย์ Business Service Center : BSC, SME Academy และการสาธิตการใช้ Application ของ กสอ., บริการจากศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thailand Industrial Design Center: Thai iDC), ศูนย์ Industry Transformation Center (ITC) ที่มีข้อมูลรองรับทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น อาหารเกษตรแปรรูป/ชีวภาพ เครื่องมือแพทย์-สุขภาพ ไฮเทค อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์และอีกมาก, นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับมาตรการโครงการขับเคลื่อน SME ทั้งระบบ, รับคําปรึกษาจากบูธองค์กรพันธมิตร และเครื่องมือพัฒนาฟื้นฟู SME, สัมมนาทางด้านการทําการตลาด StartUp และ Fintech, นวัตกรรมและไอเดียต้นแบบที่ต่อยอดธุรกิจ SME, ตื่นตาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจาก 9 โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village – CIV) 9 ชุมชนที่ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดทําแผนธุรกิจที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว โดยใช้ความสร้างสรรค์และเสน่ห์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงการส่งเสริมและพัฒนาตามแนว Smart Farmer โดย สสว. และ พื้นที่เกษตรอินทรีย์สากลของ กสอ. เช่น ชาลําไย ชาลิ้นจี่ กาแฟออร์แกนิค เป็นต้น, สินค้าจากผู้ประกอบการ SME และ OTOP มากมาย รวมถึงการแสดงผลงานแฟชั่นโชว์ "6 แบรนด์ SME ไทยสู่ตลาดโลก" จาก Justino (จัสติโน) J.niche' (เจนิช) GU:G (กูจี) Surreal Objects Ek Thongprasert และ ITTHIKORN ในวันที่ 10 มีนาคม ท่านสามารถเข้าชมงาน งาน ‘SME Revolution: เส้นทางสายโอกาสเอสเอ็มอี 4.0’ ได้ระหว่างวันที่ 10 - 12 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ เพลนารี ฮอลล์ 1 - 3 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร 0 2202 4414 – 7 หรือเข้าไปที่ www.SME-Revolution.com และ www.facebook.com/SMErevolution2017
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2309
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เจ้าท่า คุมเข้มมาตรการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 [กระทรวงคมนาคม]
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2563 เจ้าท่า คุมเข้มมาตรการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 [กระทรวงคมนาคม] เจ้าท่า คุมเข้มมาตรการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า สั่งการทุกหน่วยงานในสังกัดกรมเจ้าท่า คุมเข้มมาตรการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสCovid –1๙ ตามข้อสั่งการของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เกี่ยวกับการดําเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสCovid -19กรมเจ้าท่า ได้มีความห่วงใยประชาชน และนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการการเดินทางทางน้ํา ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อธิบดีกรมเจ้าท่า ได้สั่งการเร่งด่วน ทุกหน่วยงานในสังกัดเจ้าท่า ดําเนินการตามมาตรการป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ดังนี้ 1. ออกประกาศกรมเจ้าท่าที่ 41/2563 เรื่องแนวปฏิบัติสําหรับเรือที่เข้ามาในน่านน้ําไทย กรณีเป็นเรือจากท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. จัดเจ้าหน้าที่ดําเนินการตรวจวัดอุณหภูมิ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้มาติดต่อราชการ บริเวณจุดคัดกรอง ประตูทางเข้ากรมเจ้าท่า โดยติดสติกเกอร์สีเขียว(อุณหภูมิร่างกายปกติ) และสีแดง(อุณหภูมิเกินกว่า 37.5 องศา) เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าได้ผ่านการตรวจแล้ว พร้อมบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เพื่อฆ่าเชื้อโรค หากพบผู้ป่วยที่อุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้ประสานงานส่งตัวโรงพยาบาลหรือสาธารณสุข 3. จัดหาหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้กับเจ้าหน้าที่ประจําท่าเรือทุกท่า เพื่อสวมใส่ขณะปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 4. ให้ผู้บังคับบัญชาแต่ละสํานัก/กอง/ศูนย์ ตรวจสอบและติดตาม ในกรณีที่พบว่ามีบุคลากรในสังกัดเดินทางไปหรือผ่านไปในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังอาการของบุคลากรดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทยเป็นเวลา 14 วัน หรือกรณีที่บุคลากรได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้เดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไว้แล้ว แต่ยังไม่ถึงกําหนดเดินทาง ขอให้ยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางออกไปจนกว่าสภาวะการระบาดของโรคจะหมดไป 5. ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ทุกหน่วยงานในสังกัด ดําเนินการตามมาตรการป้องกันป้องกันเชื้อไวรัสCovid-19รักษาสุขอนามัย หมั่นล้างมือด้วยน้ําและสบู่หรือแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด ทําความสะอาดโต๊ะทํางาน เก้าอี้ อุปกรณ์ใช้เป็นประจํา และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และกําหนดให้ทุกวันพุธ ช่วงบ่าย จัดกิจกรรม 5 ส และออกกําลังกาย เพื่อป้องกันเชือ้ไวรัสCovid – 19 6. กําชับให้แม่บ้านเพิ่มความถี่ในการทําความสะอาดห้องน้ํา ลิฟต์โดยสาร ราวบันได ประตู เครื่องสแกนนิ้ว และจุดเสี่ยงต่างๆ ในบริเวณที่มีการใช้งานร่วมกันจํานวนมาก รวมทั้งจัดเตรียมน้ํายาล้างมือในห้องน้ําให้เพียงพอตลอดทั้งวัน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 15 มีนาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เจ้าท่า คุมเข้มมาตรการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 [กระทรวงคมนาคม] วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2563 เจ้าท่า คุมเข้มมาตรการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 [กระทรวงคมนาคม] เจ้าท่า คุมเข้มมาตรการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า สั่งการทุกหน่วยงานในสังกัดกรมเจ้าท่า คุมเข้มมาตรการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสCovid –1๙ ตามข้อสั่งการของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เกี่ยวกับการดําเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสCovid -19กรมเจ้าท่า ได้มีความห่วงใยประชาชน และนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการการเดินทางทางน้ํา ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อธิบดีกรมเจ้าท่า ได้สั่งการเร่งด่วน ทุกหน่วยงานในสังกัดเจ้าท่า ดําเนินการตามมาตรการป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ดังนี้ 1. ออกประกาศกรมเจ้าท่าที่ 41/2563 เรื่องแนวปฏิบัติสําหรับเรือที่เข้ามาในน่านน้ําไทย กรณีเป็นเรือจากท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. จัดเจ้าหน้าที่ดําเนินการตรวจวัดอุณหภูมิ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้มาติดต่อราชการ บริเวณจุดคัดกรอง ประตูทางเข้ากรมเจ้าท่า โดยติดสติกเกอร์สีเขียว(อุณหภูมิร่างกายปกติ) และสีแดง(อุณหภูมิเกินกว่า 37.5 องศา) เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าได้ผ่านการตรวจแล้ว พร้อมบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เพื่อฆ่าเชื้อโรค หากพบผู้ป่วยที่อุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้ประสานงานส่งตัวโรงพยาบาลหรือสาธารณสุข 3. จัดหาหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้กับเจ้าหน้าที่ประจําท่าเรือทุกท่า เพื่อสวมใส่ขณะปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 4. ให้ผู้บังคับบัญชาแต่ละสํานัก/กอง/ศูนย์ ตรวจสอบและติดตาม ในกรณีที่พบว่ามีบุคลากรในสังกัดเดินทางไปหรือผ่านไปในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังอาการของบุคลากรดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทยเป็นเวลา 14 วัน หรือกรณีที่บุคลากรได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้เดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไว้แล้ว แต่ยังไม่ถึงกําหนดเดินทาง ขอให้ยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางออกไปจนกว่าสภาวะการระบาดของโรคจะหมดไป 5. ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ทุกหน่วยงานในสังกัด ดําเนินการตามมาตรการป้องกันป้องกันเชื้อไวรัสCovid-19รักษาสุขอนามัย หมั่นล้างมือด้วยน้ําและสบู่หรือแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด ทําความสะอาดโต๊ะทํางาน เก้าอี้ อุปกรณ์ใช้เป็นประจํา และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และกําหนดให้ทุกวันพุธ ช่วงบ่าย จัดกิจกรรม 5 ส และออกกําลังกาย เพื่อป้องกันเชือ้ไวรัสCovid – 19 6. กําชับให้แม่บ้านเพิ่มความถี่ในการทําความสะอาดห้องน้ํา ลิฟต์โดยสาร ราวบันได ประตู เครื่องสแกนนิ้ว และจุดเสี่ยงต่างๆ ในบริเวณที่มีการใช้งานร่วมกันจํานวนมาก รวมทั้งจัดเตรียมน้ํายาล้างมือในห้องน้ําให้เพียงพอตลอดทั้งวัน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 15 มีนาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27324
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อ 11 ราย กลับจากต่างประเทศ ขณะที่ผอ. ศบค. แจงที่ประชุม ศบค. หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินในระยะที่ 4 โดยใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อหรือกฎหมายอื่น ทดแทน
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563 โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อ 11 ราย กลับจากต่างประเทศ ขณะที่ผอ. ศบค. แจงที่ประชุม ศบค. หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินในระยะที่ 4 โดยใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อหรือกฎหมายอื่น ทดแทน โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อ 11 ราย กลับจากต่างประเทศ ขณะที่ผอ. ศบค. แจงที่ประชุม ศบค. หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินในระยะที่ 4 โดยใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อหรือกฎหมายอื่น ทดแทน วันนี้ (29 พ.ค.63) เวลา 11.50 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจําวันและผลการประชุม ศบค. โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ 1 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ในไทย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อ 11 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยกลับจากประเทศคูเวตและอยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ ทําให้มีผู้ป่วยสะสม 3,076 ราย หายป่วย 2,945 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ทั้งนี้ ยังคงต้องดําเนินการในประเด็นสําคัญ ได้แก่ 1. มาตรการคัดกรองไข้ ไอ หอบเหนื่อย จามหรือเป็นหวัด สําหรับพนักงานบริการและผู้ใช้บริการ กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ต้องรายงานหน่วยงานรับผิดชอบ 2. ทุกกิจการและกิจกรรมจัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้า – ออกสถานที่และเพิ่มมาตรการการใช้แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” หรือใช้มาตรการควบคุม ด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทน 3. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรม เช่น ลงทะเบียนเข้า – ออกสถานที่ ระบบการเรียนการสอน การจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว นําไปสู่การป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ 2. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ของโลก สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของโลก พบผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยู่ที่ 5,905,415 ราย จํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 115,572 ราย รวมจํานวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 362,024 ราย สหรัฐอเมริกายังคงมีผู้ป่วยยืนยันสะสมเป็นอันดับที่ 1 ของโลก รองลงมาคือบราซิลและรัสเซียตามลําดับ ส่วนประเทศที่อยู่ทางตะวันออกกลาง คือ ซาอุดิอาระเบียอยู่ที่ 80,185 ซึ่งปัจจุบัน ไทยอยู่อันดับที่ 77 ของโลก 3. ผลการประชุม ศบค. ผอ.ศบค. ชี้แจงเหตุผลความจําเป็นในการขยายการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ในภาพรวมของ ศบค. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นอาจพิจาณายกเลิกในระยะที่ 4 ได้ โดยจะใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อหรือกฎหมายอื่น ๆ มาทดแทน วาระสําคัญของการประชุม ศบค. ให้มีคงการเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เช่นเดิม หากโรงเรียนใดมีความพร้อมในการเปิดภาคเรียน ก็สามารถเลื่อนวันเปิดภาคเรียนให้เร็วขึ้นได้ โดยมีหลักการดังนี้ 1. จะต้องเป็นโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีโอกาสที่จะติดเชื่อต่ํา และ 2. ให้เหลื่อมเวลาเรียน นักเรียนสามารถสลับเวลามาเรียน 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อไม่ให้เกิดการแออัด เบื้องต้นเน้นการเรียนระดับเด็กโตก่อนกรณีเด็กเล็กยังไม่มีข้อสรุป พร้อมมอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ศึกษาเพิ่มเติมและหาข้อสรุปกรณีโรงเรียนนานาชาติต้องการให้มีการเปิดภาคเรียนเร็วขึ้น เพื่อให้ทันต่อมาตรฐานนานาชาติ โดยให้นําเสนอที่ประชุม ศบค. อีกครั้ง และเห็นชอบการปรับลดระยะเวลาห้ามออกนอกเคหสถานให้เป็นช่วงเวลา 23.00-3.00 น การเสนอรายงานของศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ ด้านความมั่นคง โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดรายงานผลชุดตรวจตามมาตรการหลัก ตั้งแต่ 17 - 28 พ.ค.63 ปฏิบัติตามมาตรการครบ 263,997 แห่ง ปฏิบัติไม่ครบ 416 แห่ง ไม่ปฏิบัติตามเพียง 5 แห่ง ช่วงเคอร์ฟิวพบว่ามีการละเมิดคดีลด โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยสรุปผลการป้องกันการช่วยเหลือประชาชนพบว่า การเดินทางเข้าไทยผ่านด่านชายแดน 14,910 คน ส่งตัวกลับภูมิลําเนา 11,230 คน คงเหลือผู้กักตัว 3,680 คน ผู้ประกอบการ 3 อันดับแรกที่ให้ความร่วมมือต่อมาตรการการป้องกันโรคเป็นอย่างดี ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า สถานประกอบการดูแลเด็กและศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุด การงดเครื่องดื่มสุรา ห้ามชุมนุม จุดบริการเจลล้างมือได้มีความร่วมมือดี การใช้แอปพลิเคชันไทยชนะและการสวมเฟสชีลไม่ได้รับความร่วมมือมากนัก ปลัดกระทรวงดีอีรายงานการดําเนินการ “แพลตฟอร์มไทยชนะ” ว่า มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 120,000 ร้าน ผู้ใช้งาน 15 ล้านคน และพัฒนา “แอปพลิเคชันไทยชนะ” เพื่อป้องกันการลืมเช็คอิน-เช็คเอ้าท์ กิจการ/กิจกรรมที่ได้มีคะแนนประเมินสูง ได้แก่ การถ่ายทําละคร บริการทางการแพทย์ สถานเสริมความงาม ขณะที่ตลาดนัดได้คะแนนต่ํา โฆษก ศบค. เผยก่อนการประชุม ผอ.ศบค. เยี่ยมชมนวัตกรรมต่าง ๆ ในการตรวจรักษาโรคโควิด-19 โดยเป็นเทคโนโลยีจากศูนย์นวัตกรรม ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมแนะให้นํามาใช้งานได้จริงช่วยลดต้นทุนและอาจพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคตได้ ********************** กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อ 11 ราย กลับจากต่างประเทศ ขณะที่ผอ. ศบค. แจงที่ประชุม ศบค. หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินในระยะที่ 4 โดยใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อหรือกฎหมายอื่น ทดแทน วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563 โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อ 11 ราย กลับจากต่างประเทศ ขณะที่ผอ. ศบค. แจงที่ประชุม ศบค. หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินในระยะที่ 4 โดยใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อหรือกฎหมายอื่น ทดแทน โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อ 11 ราย กลับจากต่างประเทศ ขณะที่ผอ. ศบค. แจงที่ประชุม ศบค. หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินในระยะที่ 4 โดยใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อหรือกฎหมายอื่น ทดแทน วันนี้ (29 พ.ค.63) เวลา 11.50 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจําวันและผลการประชุม ศบค. โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ 1 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ในไทย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อ 11 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยกลับจากประเทศคูเวตและอยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ ทําให้มีผู้ป่วยสะสม 3,076 ราย หายป่วย 2,945 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ทั้งนี้ ยังคงต้องดําเนินการในประเด็นสําคัญ ได้แก่ 1. มาตรการคัดกรองไข้ ไอ หอบเหนื่อย จามหรือเป็นหวัด สําหรับพนักงานบริการและผู้ใช้บริการ กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ต้องรายงานหน่วยงานรับผิดชอบ 2. ทุกกิจการและกิจกรรมจัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้า – ออกสถานที่และเพิ่มมาตรการการใช้แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” หรือใช้มาตรการควบคุม ด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทน 3. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรม เช่น ลงทะเบียนเข้า – ออกสถานที่ ระบบการเรียนการสอน การจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว นําไปสู่การป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ 2. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ของโลก สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของโลก พบผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยู่ที่ 5,905,415 ราย จํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 115,572 ราย รวมจํานวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 362,024 ราย สหรัฐอเมริกายังคงมีผู้ป่วยยืนยันสะสมเป็นอันดับที่ 1 ของโลก รองลงมาคือบราซิลและรัสเซียตามลําดับ ส่วนประเทศที่อยู่ทางตะวันออกกลาง คือ ซาอุดิอาระเบียอยู่ที่ 80,185 ซึ่งปัจจุบัน ไทยอยู่อันดับที่ 77 ของโลก 3. ผลการประชุม ศบค. ผอ.ศบค. ชี้แจงเหตุผลความจําเป็นในการขยายการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ในภาพรวมของ ศบค. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นอาจพิจาณายกเลิกในระยะที่ 4 ได้ โดยจะใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อหรือกฎหมายอื่น ๆ มาทดแทน วาระสําคัญของการประชุม ศบค. ให้มีคงการเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เช่นเดิม หากโรงเรียนใดมีความพร้อมในการเปิดภาคเรียน ก็สามารถเลื่อนวันเปิดภาคเรียนให้เร็วขึ้นได้ โดยมีหลักการดังนี้ 1. จะต้องเป็นโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีโอกาสที่จะติดเชื่อต่ํา และ 2. ให้เหลื่อมเวลาเรียน นักเรียนสามารถสลับเวลามาเรียน 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อไม่ให้เกิดการแออัด เบื้องต้นเน้นการเรียนระดับเด็กโตก่อนกรณีเด็กเล็กยังไม่มีข้อสรุป พร้อมมอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ศึกษาเพิ่มเติมและหาข้อสรุปกรณีโรงเรียนนานาชาติต้องการให้มีการเปิดภาคเรียนเร็วขึ้น เพื่อให้ทันต่อมาตรฐานนานาชาติ โดยให้นําเสนอที่ประชุม ศบค. อีกครั้ง และเห็นชอบการปรับลดระยะเวลาห้ามออกนอกเคหสถานให้เป็นช่วงเวลา 23.00-3.00 น การเสนอรายงานของศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ ด้านความมั่นคง โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดรายงานผลชุดตรวจตามมาตรการหลัก ตั้งแต่ 17 - 28 พ.ค.63 ปฏิบัติตามมาตรการครบ 263,997 แห่ง ปฏิบัติไม่ครบ 416 แห่ง ไม่ปฏิบัติตามเพียง 5 แห่ง ช่วงเคอร์ฟิวพบว่ามีการละเมิดคดีลด โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยสรุปผลการป้องกันการช่วยเหลือประชาชนพบว่า การเดินทางเข้าไทยผ่านด่านชายแดน 14,910 คน ส่งตัวกลับภูมิลําเนา 11,230 คน คงเหลือผู้กักตัว 3,680 คน ผู้ประกอบการ 3 อันดับแรกที่ให้ความร่วมมือต่อมาตรการการป้องกันโรคเป็นอย่างดี ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า สถานประกอบการดูแลเด็กและศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุด การงดเครื่องดื่มสุรา ห้ามชุมนุม จุดบริการเจลล้างมือได้มีความร่วมมือดี การใช้แอปพลิเคชันไทยชนะและการสวมเฟสชีลไม่ได้รับความร่วมมือมากนัก ปลัดกระทรวงดีอีรายงานการดําเนินการ “แพลตฟอร์มไทยชนะ” ว่า มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 120,000 ร้าน ผู้ใช้งาน 15 ล้านคน และพัฒนา “แอปพลิเคชันไทยชนะ” เพื่อป้องกันการลืมเช็คอิน-เช็คเอ้าท์ กิจการ/กิจกรรมที่ได้มีคะแนนประเมินสูง ได้แก่ การถ่ายทําละคร บริการทางการแพทย์ สถานเสริมความงาม ขณะที่ตลาดนัดได้คะแนนต่ํา โฆษก ศบค. เผยก่อนการประชุม ผอ.ศบค. เยี่ยมชมนวัตกรรมต่าง ๆ ในการตรวจรักษาโรคโควิด-19 โดยเป็นเทคโนโลยีจากศูนย์นวัตกรรม ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมแนะให้นํามาใช้งานได้จริงช่วยลดต้นทุนและอาจพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคตได้ ********************** กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31680
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ศธ.ร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เชียงใหม่ ก่อนประชุม ครม.สัญจรภาคเหนือ
วันพุธที่ 16 มกราคม 2562 รมว.ศธ.ร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เชียงใหม่ ก่อนประชุม ครม.สัญจรภาคเหนือ พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์โอชา​ นายกรัฐมนตรี​ นําคณะรัฐมนตรี​ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี​อย่าง​เป็นทางการ​นอก​สถานที่​ ครั้งที่ 1/2562 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์​ 31 อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์โอชา​ นายกรัฐมนตรี​ นําคณะรัฐมนตรี​ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี​อย่าง​เป็นทางการ​นอก​สถานที่​ ครั้งที่ 1/2562 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์​ 31 อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายวิษณุ เครืองาม และ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​มหาดไทย, นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​การท่องเที่ยว​และ​กีฬา, นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นพ.ธีระ​เกียรติ​ เจริญ​เศรษฐศิลป์​ รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ, นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการ​กระทรวง​อุตสาหกรรม, นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนผู้บริหารส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับและร่วมรับฟังนโยบาย นายก​รัฐมนตรี​กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าอําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรป่าไม้จํานวนมาก โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ได้ประสบปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน จากการเผาป่าเพื่อล่าสัตว์และทําเป็นพื้นที่ทํากิน ซึ่งสิ่งที่ได้กลับมานั้นไม่คุ้มค่ากับพื้นที่ป่าที่สูญเสียไป ทั้งยังทําให้เกิดมลพิษทางอากาศ จึงได้เกิดแม่แจ่มโมเดลขึ้น โดยเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างยั่งยืนและครบวงจรด้วยกลไกประชารัฐ และขณะนี้มีแนวทางที่จะขยายผลแม่แจ่มโมเดลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ให้ครอบคลุมทั้ง 25 อําเภอในจังหวัด​เชียงใหม่ ทั้งนี้ ขอฝากให้ประชาชนใช้ประโยชน์พื้นที่ทํากินให้คุ้มค่าภายใต้กรอบของกฎหมาย พร้อมทั้งดูแล รักษาหวงแหน และเพิ่มมูลค่าที่ทํากิน เพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน อีกทั้ง ขอให้ช่วยกันดูแลและป้องกันการแผ้วถางป่าและเผาป่า ตลอดจนร่วมกันทําวิสาหกิจชุมชน ตลาดประชารัฐ และเกษตรชีวภาพ เพื่อดํารงรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติและพัฒนาพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในส่วนของกรุงเทพมหานครที่กําลังเผชิญปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการจราจรที่หนาแน่น การก่อสร้าง การเผาต่าง ๆ และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม สําหรับการแก้ปัญหาในเบื้องต้น รัฐบาลได้รณรงค์ให้ประชาชนใส่หน้ากาก รวมทั้งฉีดน้ําขึ้นไปในอากาศ และเตรียมทําฝนเทียม เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่ทําได้ง่าย และต้องหาแนวทางแก้ปัญหาที่ต้นเหตุตามมาตรการอย่างเหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาประเทศและดูแลพี่น้องประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้ดําเนินโครงการพร้อมทั้งเร่งแก้ปัญหาในหลายด้าน อาทิ การยกระดับและพัฒนาคุณภาพ​การศึกษา การดูแลเด็กปฐมวัย การลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเท่าเทียมของโอกาส การบริหารจัดการน้ํา ลดความเสียหายจากภัยแล้ง การพักชําระหนี้เกษตรกร เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติให้ได้ ส่วนเงินกองทุนและสวัสดิการต่าง ๆ ที่รัฐจัดสรรให้ ขอให้ประชาชนขอให้ใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนพัฒนาตนเอง คิดใหม่ คิดให้เป็น เพื่อเป็นประชาชนคนไทยที่มีคุณภาพ ทําให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 12.5 ล้านไร่ มีประชากรประมาณ 1,700,000 คน แบ่งการปกครองเป็น 25 อําเภอ 204 ตําบล 2,066 หมู่บ้าน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 220,000 ล้านบาทเศษ โดยภาคบริการมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70 เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว อีกทั้ง มีพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ได้แก่ ข้าว ลําไย กาแฟ และพืชผักเมืองหนาว ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อเป็นนครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง ด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและมีมูลค่าสูง การค้าการลงทุน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถของประชาชน ซึ่งมีแนวทางหลักในการยกระดับศักยภาพและปรับปรุงฐานเศรษฐกิจเดิม มุ่งสร้างฐานเศรษฐกิจไปในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เชียงใหม่เป็นเมืองสุขภาพ และใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาที่สําคัญและความท้าทายหลายประการจากการรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม อาทิ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ําของประชาชน ที่อยู่ในชนบทพื้นที่ห่างไกล และข้อจํากัดในพื้นที่ทํากิน สําหรับในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จังหวัดเชียงใหม่ได้บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการพัฒนาความเจริญไปพร้อมกัน ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่​ชนบท ภายใต้นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของชาติ 20 ปี อันจะนําไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รวมทั้งได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เป็นสักขีพยานในการที่รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ทรัพยากรธรรมชาติและ​สิ่งแวดล้อม​ มอบหนังสือแสดงสิทธิโครงการป่าชุมชนให้แก่ผู้แทนชุมชน และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบสมุดบัตรประจําตัวผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินทํากินให้ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาลในลักษณะแปลงรวมให้กับประชาชน พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการแม่แจ่มโมเดล ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างยั่งยืนและครบวงจรด้วยกลไกประชารัฐ และนิทรรศการ​จากหน่วยงานและส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง Written byอรพรรณ ฤทธิ์มั่น Photo Creditยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editor
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ศธ.ร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เชียงใหม่ ก่อนประชุม ครม.สัญจรภาคเหนือ วันพุธที่ 16 มกราคม 2562 รมว.ศธ.ร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เชียงใหม่ ก่อนประชุม ครม.สัญจรภาคเหนือ พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์โอชา​ นายกรัฐมนตรี​ นําคณะรัฐมนตรี​ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี​อย่าง​เป็นทางการ​นอก​สถานที่​ ครั้งที่ 1/2562 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์​ 31 อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์โอชา​ นายกรัฐมนตรี​ นําคณะรัฐมนตรี​ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี​อย่าง​เป็นทางการ​นอก​สถานที่​ ครั้งที่ 1/2562 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์​ 31 อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายวิษณุ เครืองาม และ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​มหาดไทย, นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​การท่องเที่ยว​และ​กีฬา, นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นพ.ธีระ​เกียรติ​ เจริญ​เศรษฐศิลป์​ รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ, นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการ​กระทรวง​อุตสาหกรรม, นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนผู้บริหารส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับและร่วมรับฟังนโยบาย นายก​รัฐมนตรี​กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าอําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรป่าไม้จํานวนมาก โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ได้ประสบปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน จากการเผาป่าเพื่อล่าสัตว์และทําเป็นพื้นที่ทํากิน ซึ่งสิ่งที่ได้กลับมานั้นไม่คุ้มค่ากับพื้นที่ป่าที่สูญเสียไป ทั้งยังทําให้เกิดมลพิษทางอากาศ จึงได้เกิดแม่แจ่มโมเดลขึ้น โดยเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างยั่งยืนและครบวงจรด้วยกลไกประชารัฐ และขณะนี้มีแนวทางที่จะขยายผลแม่แจ่มโมเดลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ให้ครอบคลุมทั้ง 25 อําเภอในจังหวัด​เชียงใหม่ ทั้งนี้ ขอฝากให้ประชาชนใช้ประโยชน์พื้นที่ทํากินให้คุ้มค่าภายใต้กรอบของกฎหมาย พร้อมทั้งดูแล รักษาหวงแหน และเพิ่มมูลค่าที่ทํากิน เพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน อีกทั้ง ขอให้ช่วยกันดูแลและป้องกันการแผ้วถางป่าและเผาป่า ตลอดจนร่วมกันทําวิสาหกิจชุมชน ตลาดประชารัฐ และเกษตรชีวภาพ เพื่อดํารงรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติและพัฒนาพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในส่วนของกรุงเทพมหานครที่กําลังเผชิญปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการจราจรที่หนาแน่น การก่อสร้าง การเผาต่าง ๆ และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม สําหรับการแก้ปัญหาในเบื้องต้น รัฐบาลได้รณรงค์ให้ประชาชนใส่หน้ากาก รวมทั้งฉีดน้ําขึ้นไปในอากาศ และเตรียมทําฝนเทียม เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่ทําได้ง่าย และต้องหาแนวทางแก้ปัญหาที่ต้นเหตุตามมาตรการอย่างเหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาประเทศและดูแลพี่น้องประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้ดําเนินโครงการพร้อมทั้งเร่งแก้ปัญหาในหลายด้าน อาทิ การยกระดับและพัฒนาคุณภาพ​การศึกษา การดูแลเด็กปฐมวัย การลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเท่าเทียมของโอกาส การบริหารจัดการน้ํา ลดความเสียหายจากภัยแล้ง การพักชําระหนี้เกษตรกร เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติให้ได้ ส่วนเงินกองทุนและสวัสดิการต่าง ๆ ที่รัฐจัดสรรให้ ขอให้ประชาชนขอให้ใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนพัฒนาตนเอง คิดใหม่ คิดให้เป็น เพื่อเป็นประชาชนคนไทยที่มีคุณภาพ ทําให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 12.5 ล้านไร่ มีประชากรประมาณ 1,700,000 คน แบ่งการปกครองเป็น 25 อําเภอ 204 ตําบล 2,066 หมู่บ้าน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 220,000 ล้านบาทเศษ โดยภาคบริการมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70 เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว อีกทั้ง มีพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ได้แก่ ข้าว ลําไย กาแฟ และพืชผักเมืองหนาว ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อเป็นนครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง ด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและมีมูลค่าสูง การค้าการลงทุน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถของประชาชน ซึ่งมีแนวทางหลักในการยกระดับศักยภาพและปรับปรุงฐานเศรษฐกิจเดิม มุ่งสร้างฐานเศรษฐกิจไปในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เชียงใหม่เป็นเมืองสุขภาพ และใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาที่สําคัญและความท้าทายหลายประการจากการรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม อาทิ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ําของประชาชน ที่อยู่ในชนบทพื้นที่ห่างไกล และข้อจํากัดในพื้นที่ทํากิน สําหรับในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จังหวัดเชียงใหม่ได้บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการพัฒนาความเจริญไปพร้อมกัน ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่​ชนบท ภายใต้นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของชาติ 20 ปี อันจะนําไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รวมทั้งได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เป็นสักขีพยานในการที่รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ทรัพยากรธรรมชาติและ​สิ่งแวดล้อม​ มอบหนังสือแสดงสิทธิโครงการป่าชุมชนให้แก่ผู้แทนชุมชน และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบสมุดบัตรประจําตัวผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินทํากินให้ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาลในลักษณะแปลงรวมให้กับประชาชน พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการแม่แจ่มโมเดล ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างยั่งยืนและครบวงจรด้วยกลไกประชารัฐ และนิทรรศการ​จากหน่วยงานและส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง Written byอรพรรณ ฤทธิ์มั่น Photo Creditยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editor
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18158
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลยืนยันกรณีตรวจสอบทุจริตเงินทอนวัดมีความคืบหน้า ย้ำหากพบเจ้าหน้าที่กระทำผิดต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย
วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2560 รัฐบาลยืนยันกรณีตรวจสอบทุจริตเงินทอนวัดมีความคืบหน้า ย้ําหากพบเจ้าหน้าที่กระทําผิดต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย รัฐบาลยืนยันกรณีตรวจสอบทุจริตเงินทอนวัดมีความคืบหน้า ย้ําหากพบเจ้าหน้าที่กระทําผิดต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย พร้อมกําชับปัดฝุ่น พศ. กอบกู้ความเชื่อมั่นจากประชาชน วันนี้ (16 ก.ย.60) พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดําเนินงานกรณีทุจริตเงินทอดวัด ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทั้งหมดคือ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กองบังคับการปราบปรามการกระทําความคิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ กําลังดําเนินงานสืบสวนตามอํานาจหน้าที่อย่างเร่งด่วน โดยให้สํานักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานกลางรวบรวมฐานข้อมูล เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ําซ้อน “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการว่า ในกรณีที่แต่ละหน่วยงานตรวจพบเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําความผิดให้ส่งเรื่องไปยัง สํานักงาน ป.ป.ช. หรือสํานักงาน ป.ป.ท. ตามเงื่อนไขที่กําหนดเป็นการด่วน พร้อมทั้งส่งเรื่องให้ศูนย์อํานวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เพื่อแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดดําเนินการทางวินัยทันที” นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําว่ากระบวนการตรวจสอบวัดและผู้เกี่ยวข้องยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการสอบสวนภายในสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะที่ดูแลรับผิดชอบวัดทั่วประเทศ มุ่งให้เกิดการสร้างความร่วมมือที่ดีกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะมหาเถรสมาคม ลดปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นและสร้างการยอมรับจากประชาชน ทั้งนี้ ผู้ที่จะมาทําหน้าที่เป็นผู้นําหน่วยคนใหม่นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ หน่วยงานภายนอก และเจ้าหน้าที่ใน พศ.เอง ร่วมทั้งทํางานร่วมกับทุกภาคส่วนได้อย่างใกล้ชิดและเป็นไปด้วยความราบรื่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน โดยเฉพาะภารกิจสําคัญ 4 เรื่องที่ได้ให้ข้อมูลไปก่อนหน้านี้ “สําหรับสถิติการตรวจสอบเบื้องต้นของแต่ละหน่วยงานนั้น ขณะนี้ ปปป.ดําเนินการแล้ว 79 เรื่อง สตง. 185 เรื่อง ป.ป.ท.46 เรื่อง กรมสอบสวนคดีพิเศษ 56 เรื่อง ป.ป.ช.60 เรื่อง ปปง. รับเรื่องต่อมาจาก ปปป. 12 เรื่อง และสตง. อีก 123 เรื่อง เพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงิน ทั้งนี้ เมื่อตัดเรื่องที่ซ้ําซ้อนกันออกแล้วจะมีจํานวนเรื่องที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วทั้งหมด 399 เรื่อง ส่วนเรื่องที่เข้าสู่ขั้นตอนการสั่งไต่สวนของ ป.ป.ช.แล้ว มี 2 เรื่อง และอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเสนอไต่สวนหรือไม่อีก 133 เรื่อง” ---------------- สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลยืนยันกรณีตรวจสอบทุจริตเงินทอนวัดมีความคืบหน้า ย้ำหากพบเจ้าหน้าที่กระทำผิดต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2560 รัฐบาลยืนยันกรณีตรวจสอบทุจริตเงินทอนวัดมีความคืบหน้า ย้ําหากพบเจ้าหน้าที่กระทําผิดต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย รัฐบาลยืนยันกรณีตรวจสอบทุจริตเงินทอนวัดมีความคืบหน้า ย้ําหากพบเจ้าหน้าที่กระทําผิดต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย พร้อมกําชับปัดฝุ่น พศ. กอบกู้ความเชื่อมั่นจากประชาชน วันนี้ (16 ก.ย.60) พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดําเนินงานกรณีทุจริตเงินทอดวัด ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทั้งหมดคือ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กองบังคับการปราบปรามการกระทําความคิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ กําลังดําเนินงานสืบสวนตามอํานาจหน้าที่อย่างเร่งด่วน โดยให้สํานักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานกลางรวบรวมฐานข้อมูล เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ําซ้อน “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการว่า ในกรณีที่แต่ละหน่วยงานตรวจพบเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําความผิดให้ส่งเรื่องไปยัง สํานักงาน ป.ป.ช. หรือสํานักงาน ป.ป.ท. ตามเงื่อนไขที่กําหนดเป็นการด่วน พร้อมทั้งส่งเรื่องให้ศูนย์อํานวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เพื่อแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดดําเนินการทางวินัยทันที” นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําว่ากระบวนการตรวจสอบวัดและผู้เกี่ยวข้องยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการสอบสวนภายในสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะที่ดูแลรับผิดชอบวัดทั่วประเทศ มุ่งให้เกิดการสร้างความร่วมมือที่ดีกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะมหาเถรสมาคม ลดปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นและสร้างการยอมรับจากประชาชน ทั้งนี้ ผู้ที่จะมาทําหน้าที่เป็นผู้นําหน่วยคนใหม่นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ หน่วยงานภายนอก และเจ้าหน้าที่ใน พศ.เอง ร่วมทั้งทํางานร่วมกับทุกภาคส่วนได้อย่างใกล้ชิดและเป็นไปด้วยความราบรื่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน โดยเฉพาะภารกิจสําคัญ 4 เรื่องที่ได้ให้ข้อมูลไปก่อนหน้านี้ “สําหรับสถิติการตรวจสอบเบื้องต้นของแต่ละหน่วยงานนั้น ขณะนี้ ปปป.ดําเนินการแล้ว 79 เรื่อง สตง. 185 เรื่อง ป.ป.ท.46 เรื่อง กรมสอบสวนคดีพิเศษ 56 เรื่อง ป.ป.ช.60 เรื่อง ปปง. รับเรื่องต่อมาจาก ปปป. 12 เรื่อง และสตง. อีก 123 เรื่อง เพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงิน ทั้งนี้ เมื่อตัดเรื่องที่ซ้ําซ้อนกันออกแล้วจะมีจํานวนเรื่องที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วทั้งหมด 399 เรื่อง ส่วนเรื่องที่เข้าสู่ขั้นตอนการสั่งไต่สวนของ ป.ป.ช.แล้ว มี 2 เรื่อง และอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเสนอไต่สวนหรือไม่อีก 133 เรื่อง” ---------------- สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6727
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560
วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560 ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560 ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560 วันนี้ (24 กรกฎาคม 2560) เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560 โดยมีคณะกรรมการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้มีการพิจารณาผลการดําเนินงานในภาพรวมของ ป.ยป. และคณะกรรมการภายใต้ ป.ย.ป. จํานวน 4 คณะ สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ 1. ทิศทางและบทบาทของ ป.ย.ป. ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รายงานว่า เมื่อกฎหมายทั้ง 2 ฉบับประกาศใช้บังคับแล้ว รัฐบาลจะต้องตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 คณะ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติอีกคณะเพื่อทําหน้าที่ยกร่างแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ โดยทั้ง 2 คณะ จะใช้เวลาในการยกร่างแผนปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติประมาณ 10 – 14 เดือน ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ป.ย.ป จึงจะเป็นต้องทําหน้าที่ต่อเพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลได้ดําเนินการมาก่อนหน้านี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเมื่อ คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนปฏิรูปประเทศ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติแล้ว จึงจะพิจารณาความจําเป็นในการคงอยู่ของ ป.ย.ป ต่อไป 2. ภาพรวมการขับเคลื่อน ป.ย.ป. 2.1 คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ(ตยศ.) รายงานความก้าวหน้ากลไกการดําเนินงานและ บทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติและคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและรับฟังความ คิดเห็นสรุปได้ดังนี้ (1) คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและรับฟังความคิดเห็น มีข้อเสนอแนะประเด็นเพิ่มเติมต่อสาระของร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ดังนี้ 1) ควรระบุเป้าหมายสุดท้ายและจุดเน้นการพัฒนาให้ชัดเจน เช่น การเป็นมหาอํานาจทางอาหาร การเป็นประเทศเศรษฐกิจชั้นนํา 1 ใน 3 เสือเอเชีย 2) มีกลไกในระดับพื้นที่และการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน รวมถึงเพิ่มกลไก “ประชารัฐ” เนื่องจากการดําเนินการหลายเรื่องจําเป็นต้องให้ภาคเอกชนและประชาชนสนับสนุน และ 3) จัดลําดับความสําคัญของงานกําหนดสัดส่วนทรัพยากร/งบประมาณ พร้อมทั้งกําหนดแนวทางการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่ออนาคตของประเทศไทยในระยะ 20 ปี ได้แก่ การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นระดับภาค รวม 4 ภาค โดยได้จัดในภาคกลางและภาคเหนือไปแล้ว (2) คณะอนุกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติมีแนวทางการดําเนินการโดยบูรณาการทั้งงานภารกิจประจํา (Fuction) และพื้นที่ (Area) จึงได้เชิญปลัดกระทรวงทั้ง 20 กระทรวงมานําเสนอยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัดทั้ง 18 กลุ่มจังหวัดมาน าเสนอยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด รวมทั้งเชิญคณะผู้บริหาร กทม. หารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปีแล้ว ทั้งนี้ รัฐบาลได้ดําเนินการต่าง ๆ ครอบคลุมยุทธศาสตร์ทุกด้านแล้ว เช่น ด้านการสาธารณสุขจะมีการพัฒนาคลินิกหมอครอบครัว ด้านคมนาคม มีการพัฒนาตั๋วร่วม รถเมล์ NGV การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อจัดสวัสดิการภาครัฐ ในส่วนของ สศช. ได้มีการเตรียมการเพื่อรองรับภารกิจการจัดทํายุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศแล้ว 2.2 คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ (1) การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกํากับการปฏิรูปกฎหมายซึ่ง ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ ได้รายงานสรุปได้ดังนี้ (1.1) ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพหรือการดําเนินงานธุรกิจของประชาชน อาทิ การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การขอใช้ไฟฟ้า การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชําระภาษีการค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง การแก้ปัญหาการล้มละลาย กฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาต (licenses) (1.2) ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่สร้างภาระโดยไม่จําเป็นต่อประชาชน อาทิ กฎหมายที่กําหนดขั้นตอนการจดแจ้งเกี่ยวกับการดําเนินชีวิตของประชาชน ตั้งแต่การเกิด การได้รับการดูแลสุขภาพ การขอใช้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น น้ําประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และการตาย (1.3) ตรวจสอบและติดตามกฎหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศ (1.4) เสนอกฎหมายที่จัดทํากฎหมายใหม่ที่จําเป็น (กฎหมายที่ต้องตราขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่จะทําให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายได้โดยง่าย) เช่น กฎหมายว่าด้วยการบูรณาการการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการทําประมวลกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกประชาชน (2) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ (Administrative Reform) เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้นําเสนอแผนการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินที่สําคัญ ได้แก่ (2.1) การปฏิรูปกฎหมาย (2.2) การยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน โดยมีแผนงานสําคัญ ๆ ที่จะผลักดันให้สําเร็จภายใน 6 เดือน และภายในปี 2560 เช่น การปรับลดระยะเวลาและขั้นตอนในการ บริการประชาชนให้ได้ 30 - 50% การจัดตั้งศูนย์รับคําขอนุญาต การปรับกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการ ประกอบธุรกิจให้เป็นดิจิทัล การเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อลดภาระในการยื่นเอกสารของ ประชาชน (2.3) การปฏิรูประบบตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ โดยให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูป (2.4) การปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลที่คล่องตัว โดยจะผลักดันให้ทุกหน่วยงานจัดทํา “แผนปฏิรูปองค์กร” ให้แล้วเสร็จภายใน 4เดือน มีแนวทาง คือ การทบทวนภารกิจภาครัฐ โดยรัฐควรทําเฉพาะภารกิจที่จําเป็น ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ โอนถ่ายงานให้ภาคเอกชนท้องถิ่น ปรับการทํางานเป็นดิจิทัล (2.5) การปฏิรูปการบริหารจัดการกําลังคน จะมีรูปแบบการบริหารกําลังคนและระบบการจ้างงานภาครัฐใหม่ที่เปิดกว้างและหลากหลายขึ้น สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญจากเอกชนและต่างประเทศเข้ามาในระบบได้ รวมทั้งกําหนดเส้นทางความก้าวหน้าของบุคลากรภาครัฐในแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน (2.6) การปฏิรูปงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง (2.7) การปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงการ Big Data (3) การปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้าง (Structural Reform) ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ รายงานความก้าวหน้าการดําเนินการ ดังนี้ (3.1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง : การปฏิรูประบบความมั่งคงทางอาหารทั้งในด้านการอนุรักษ์และเพิ่มพูนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และระบบอาหารปลอดภัย (Food Safety) ในระยะต่อไปจะมีการดําเนินงานในด้านความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ําและด้านผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (3.2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม :มีการดําเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) และสร้างความเชื่อมโยงกับ “การประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SEA: Strategic EnvironmentalAssessment) การปฏิรูประบบการบริหารจัดการระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั้งในเรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง การจัดการขยะชายฝั่งและเกาะ และการกําหนดเขตการใช้ประโยชน์ในทะเล (One Marine Map) การปฏิรูปการจัดการความขัดแย้งปัญหาที่ดิน – ป่าไม้ โดยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านป่าไม้ การออกกฎหมายป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลจัดการป่าอย่างยั่งยืนในระยะต่อไปจะมีการดําเนินงานปฏิรูปด้านการผังเมือง และด้านการจัดการขยะและสารเคมี (3.3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการลดความเหลื่อมล้ํา และสร้างความเป็นธรรมในสังคมการปฏิรูปการกระจายการถือครองที่ดิน (ตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ) โดยการจัดตั้งธนาคารที่ดิน คณะกรรมการนโยบาย ที่ดินแห่งชาติ และระบบภาษีที่ดินที่เป็นธรรมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยการจัดตั้งระบบยุติธรรมชุมชนการปฏิรูประบบการสอบสวน และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง การปฏิรูประบบภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ํา (3.4) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน : การปฏิรูประบบการศึกษาโดยเริ่มจากโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก และการศึกษาปฐมวัย การดําเนินงานปฏิรูปในทุกด้าน ได้มีการกําหนดหน่วยงานรับผิดชอบและกรอบเวลาดําเนินงานในแต่ละขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน เพื่อการเร่งรัดและติดตามผลการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ (4) การปฏิรูปเชิงพื้นที่และสังคม (Area Based Reform) ได้มีการดําเนินการดังนี้ (4.1) การดําเนินโครงการสานพลังเพื่อปฏิรูปพื้นที่และสังคม มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งจะนําไปสู่สัญญาประชาคม และวาระการปฏิรูปของพื้นที่โดยมีความคืบหน้าในการดําเนินการโดยได้สร้างความชัดเจนในแนวทางการขับเคลื่อนกับกระทรวงมหาดไทยการจัดทําฐานข้อมูลพื้นที่ตําบลเข้มแข็งเพื่อน าร่องในระยะแรก และการจัดทําเครื่องมือข้อมูลเพื่อจัดกระบวนการประชาสังคม (4.2) โครงการสานพลังคนรุ่นใหม่คืนถิ่นเพื่อปรับ Mind Set ไปสู่การเป็น Citizen Reform สร้างคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เช่น โครงการคนกล้าคืนถิ่น บัณฑิตคืนถิ่น เป็นต้น ในระยะต่อไปจะได้ขยายผลการดําเนินการและสร้างต้นแบบให้เป็น Change Agent ประจําตําบลและขยายผลลงสู่ชุมชนต่อไป (5) การปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปตํารวจ (5.1) การปฏิรูปการศึกษาได้กําหนดแนวทางและมาตรการแก้ปัญหาการศึกษา เช่น ความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ผู้สูงอายุ คนรุ่นใหม่ทิ้งถิ่น การผลิตคนไม่ได้ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน การปลูกจิตสํานึกของการเป็นพลเมืองไทย ทักษะการดํารงชีวิต การมีงานทําของบัณฑิต ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การมีวินัยในตนเอง (5.2) การปฏิรูปตํารวจได้แต่งตั้งอนุกร รมการ รวม 5 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล คณะอนุกรรมการด้านการบังคับใช้กฎหมายและระบบสอบสวนคดีอาญา คณะอนุกรรมการด้านหน้าที่ อํานาจ และภารกิจของตํารวจ คณะอนุกรรมการด้านการรับฟังความคิดเห็น และคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ โดย ที่ประชุมมีข้อสังเกต ดังนี้ (1) การปฏิรูปกฎหมายควรพิจารณาจัดทํากฎหมายที่สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสําคัญที่ต้องดําเนินการในระยะเร่งด่วน (2) การปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้าง ควรกําหนดให้มีการปฏิรูปด้านความมั่นคง เพื่อรองรับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ต่าง ๆ ด้วย (3) การปฏิรูปเชิงพื้นที่และสังคมควรลงพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลความเดือดร้อนและความต้องการเร่งด่วนของประชาชน และนํามาจัดทําเป็นแผนแม่บทว่า ใน 1 ปี จะต้องดําเนินโครงการ/กิจกรรมใดเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชน 2.3 คณะกรรมการตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้ดําเนินงาน (1) รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน รวม 15,692 คน (2) บูรณาการข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ และ (3) จัดทําร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง (1) ร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ มีจํานวน 10 ข้อ พร้อมทั้งผนวกประกอบร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ จํานวน 15 ข้อ มีสาระสําคัญเพื่อให้คนไทยทุกคน ได้ยึดถือเป็นกรอบแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สันติในอนาคต อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวคือ คนไทยทุกคนต้องเคารพกฎหมาย และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม รัฐบาล ประชาชน และทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาชาติบ้านเมืองในทุกมิติอย่างครบวงจร โดยมีเป้าหมายที่ประชาชนทั้งประเทศได้รับผลประโยชน์สูงสุดรวมทั้ง เกิดความสามัคคีปรองดอง ดํารงชีวิตตามศาสตร์พระราชา บนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดปัญหาความเหลื่อมล้ํา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป (2) การจัดงานแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ มีกําหนดจะจัดในวันเดียวกันในห้วงเวลาที่เหมาะสมพร้อมกันทั่วประเทศ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งนี้ ภายหลังการจัดงานแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ คณะกรรมการเตรียมการฯ มีแผนงานที่จะขยายผลการสร้างความสามัคคีปรองดองอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ ให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้รับทราบกรอบแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติในอนาคต ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ 10 ข้อ และแนวทางการแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ 2.4 คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ นายปกรณ์ นิลประพันธ์รองผู้อํานวยการสํานักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี(PMDU) ในฐานะเลขานุการ บยศ. ได้รายงานสรุปผลการดําเนินการของ บยศ. ที่ได้ปลดล็อค ขับเคลื่อน และเร่งรัดนโยบายสําคัญตาม Agenda โดยมีผลการดําเนินงานที่สําคัญ เช่น (1) การขับเคลื่อนเรื่องเร่งด่วนด้านคมนาคมขนส่งจะเปิดเดินรถเชื่อมสายสีน้ําเงิน – สีม่วงในเดือนสิงหาคม 2560 และในส่วนโครงการรถไฟไทย - จีนจะเริ่มก่อสร้างช่วงแรกในเดือนตุลาคม 2560 ส่วนการจัดตั้งAviation Hubอยู่ระหว่างเสนอ สงป. พิจารณางบฯ จัดจ้าง ทปษ. จัดทํา Master Plan และ EHIA คาดว่าจะใช้เวลาจัดทําแผนฯ 10 เดือน (2) การขับเคลื่อนด้านสาธารณสุขเปิดคลินิกหมอครอบครัวแล้ว 596 ทีมทั่วประเทศและเสนอตั้ง คกก. พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (3) การขับเคลื่อนด้านพลังงานได้มีคําสั่ง หน.คสช. ที่ 31/2560 เพื่อแก้ไขปัญหาบน พื้นที่ ส.ป.ก. ที่มีข้อพิพาทด้านกฎหมายให้กิจการปิโตรเลียม พลังงานทดแทน และเหมืองแร่ ดําเนินต่อไปได้ (4) ระบบและกลไกการกํากับติดตามประเมินผลโครงการตามแนวทางการสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจในประเทศ (Local Economy) ผ่านกลไก 18 กลุ่มจังหวัด เบิกจ่ายงบประมาณจากทั้งหมด 115,000 ล้านบาทให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด แล้ว 27,351 ล้านบาท (ร้อยละ 23.78) (5) การดําเนินการระบบการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)จัดตั้งคณะทํางานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาระบบ Big Data โดยเริ่มดําเนินโครงการนําร่องที่ จ.ชัยนาท และ จ.แม่ฮ่องสอนแล้ว (6) การปรับโครงสร้าง สศช. ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามมติ บยศ. และกําหนดแนวทางการปรับปรุงองค์กร ให้สามารถขับเคลื่อนภารกิจใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจงานด้านยุทธศาสตร์ชาติ/การปฏิรูปประเทศที่กําหนดในร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งนี้ บยศ. ได้กําหนดนโยบายสําคัญตาม Agenda ที่จะเร่งรัดขับเคลื่อนในระยะต่อไป ได้แก่ (1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา (2) การขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริม SMEs และ (3) การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของส่วนราชการ ที่ประชุมรับทราบ 3. การเตรียมความพร้อมและกลไกการรองรับภารกิจตามพระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 สศช. ได้รายงานเรื่อง การเตรียมการความพร้อมและกลไกการดําเนินงานของ สศช. เพื่อรองรับ ภารกิจยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ โดยอยู่ระหว่างการดําเนินการ การยกร่างระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการดําเนินงานด้านการประชุม การปฏิบัติหน้าที่ การจ้างที่ปรึกษา และการกําหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่น รวมทั้งปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ของสํานักงานฯ เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างตามภารกิจยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ตามที่คณะกรรมการ บยศ. เห็นชอบและที่คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนกรกฎาคม 2560 -------------------------------------------------------- ข้อมูลจากฝ่ายเลขานุการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560 วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560 ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560 ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560 วันนี้ (24 กรกฎาคม 2560) เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)ครั้งที่ 2/2560 โดยมีคณะกรรมการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้มีการพิจารณาผลการดําเนินงานในภาพรวมของ ป.ยป. และคณะกรรมการภายใต้ ป.ย.ป. จํานวน 4 คณะ สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ 1. ทิศทางและบทบาทของ ป.ย.ป. ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รายงานว่า เมื่อกฎหมายทั้ง 2 ฉบับประกาศใช้บังคับแล้ว รัฐบาลจะต้องตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 คณะ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติอีกคณะเพื่อทําหน้าที่ยกร่างแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ โดยทั้ง 2 คณะ จะใช้เวลาในการยกร่างแผนปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติประมาณ 10 – 14 เดือน ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ป.ย.ป จึงจะเป็นต้องทําหน้าที่ต่อเพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลได้ดําเนินการมาก่อนหน้านี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเมื่อ คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนปฏิรูปประเทศ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติแล้ว จึงจะพิจารณาความจําเป็นในการคงอยู่ของ ป.ย.ป ต่อไป 2. ภาพรวมการขับเคลื่อน ป.ย.ป. 2.1 คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ(ตยศ.) รายงานความก้าวหน้ากลไกการดําเนินงานและ บทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติและคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและรับฟังความ คิดเห็นสรุปได้ดังนี้ (1) คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและรับฟังความคิดเห็น มีข้อเสนอแนะประเด็นเพิ่มเติมต่อสาระของร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ดังนี้ 1) ควรระบุเป้าหมายสุดท้ายและจุดเน้นการพัฒนาให้ชัดเจน เช่น การเป็นมหาอํานาจทางอาหาร การเป็นประเทศเศรษฐกิจชั้นนํา 1 ใน 3 เสือเอเชีย 2) มีกลไกในระดับพื้นที่และการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน รวมถึงเพิ่มกลไก “ประชารัฐ” เนื่องจากการดําเนินการหลายเรื่องจําเป็นต้องให้ภาคเอกชนและประชาชนสนับสนุน และ 3) จัดลําดับความสําคัญของงานกําหนดสัดส่วนทรัพยากร/งบประมาณ พร้อมทั้งกําหนดแนวทางการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่ออนาคตของประเทศไทยในระยะ 20 ปี ได้แก่ การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นระดับภาค รวม 4 ภาค โดยได้จัดในภาคกลางและภาคเหนือไปแล้ว (2) คณะอนุกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติมีแนวทางการดําเนินการโดยบูรณาการทั้งงานภารกิจประจํา (Fuction) และพื้นที่ (Area) จึงได้เชิญปลัดกระทรวงทั้ง 20 กระทรวงมานําเสนอยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัดทั้ง 18 กลุ่มจังหวัดมาน าเสนอยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด รวมทั้งเชิญคณะผู้บริหาร กทม. หารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปีแล้ว ทั้งนี้ รัฐบาลได้ดําเนินการต่าง ๆ ครอบคลุมยุทธศาสตร์ทุกด้านแล้ว เช่น ด้านการสาธารณสุขจะมีการพัฒนาคลินิกหมอครอบครัว ด้านคมนาคม มีการพัฒนาตั๋วร่วม รถเมล์ NGV การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อจัดสวัสดิการภาครัฐ ในส่วนของ สศช. ได้มีการเตรียมการเพื่อรองรับภารกิจการจัดทํายุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศแล้ว 2.2 คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ (1) การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกํากับการปฏิรูปกฎหมายซึ่ง ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ ได้รายงานสรุปได้ดังนี้ (1.1) ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพหรือการดําเนินงานธุรกิจของประชาชน อาทิ การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การขอใช้ไฟฟ้า การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชําระภาษีการค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง การแก้ปัญหาการล้มละลาย กฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาต (licenses) (1.2) ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่สร้างภาระโดยไม่จําเป็นต่อประชาชน อาทิ กฎหมายที่กําหนดขั้นตอนการจดแจ้งเกี่ยวกับการดําเนินชีวิตของประชาชน ตั้งแต่การเกิด การได้รับการดูแลสุขภาพ การขอใช้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น น้ําประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และการตาย (1.3) ตรวจสอบและติดตามกฎหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศ (1.4) เสนอกฎหมายที่จัดทํากฎหมายใหม่ที่จําเป็น (กฎหมายที่ต้องตราขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่จะทําให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายได้โดยง่าย) เช่น กฎหมายว่าด้วยการบูรณาการการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการทําประมวลกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกประชาชน (2) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ (Administrative Reform) เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้นําเสนอแผนการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินที่สําคัญ ได้แก่ (2.1) การปฏิรูปกฎหมาย (2.2) การยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน โดยมีแผนงานสําคัญ ๆ ที่จะผลักดันให้สําเร็จภายใน 6 เดือน และภายในปี 2560 เช่น การปรับลดระยะเวลาและขั้นตอนในการ บริการประชาชนให้ได้ 30 - 50% การจัดตั้งศูนย์รับคําขอนุญาต การปรับกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการ ประกอบธุรกิจให้เป็นดิจิทัล การเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อลดภาระในการยื่นเอกสารของ ประชาชน (2.3) การปฏิรูประบบตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ โดยให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูป (2.4) การปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลที่คล่องตัว โดยจะผลักดันให้ทุกหน่วยงานจัดทํา “แผนปฏิรูปองค์กร” ให้แล้วเสร็จภายใน 4เดือน มีแนวทาง คือ การทบทวนภารกิจภาครัฐ โดยรัฐควรทําเฉพาะภารกิจที่จําเป็น ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ โอนถ่ายงานให้ภาคเอกชนท้องถิ่น ปรับการทํางานเป็นดิจิทัล (2.5) การปฏิรูปการบริหารจัดการกําลังคน จะมีรูปแบบการบริหารกําลังคนและระบบการจ้างงานภาครัฐใหม่ที่เปิดกว้างและหลากหลายขึ้น สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญจากเอกชนและต่างประเทศเข้ามาในระบบได้ รวมทั้งกําหนดเส้นทางความก้าวหน้าของบุคลากรภาครัฐในแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน (2.6) การปฏิรูปงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง (2.7) การปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงการ Big Data (3) การปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้าง (Structural Reform) ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ รายงานความก้าวหน้าการดําเนินการ ดังนี้ (3.1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง : การปฏิรูประบบความมั่งคงทางอาหารทั้งในด้านการอนุรักษ์และเพิ่มพูนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และระบบอาหารปลอดภัย (Food Safety) ในระยะต่อไปจะมีการดําเนินงานในด้านความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ําและด้านผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (3.2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม :มีการดําเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) และสร้างความเชื่อมโยงกับ “การประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SEA: Strategic EnvironmentalAssessment) การปฏิรูประบบการบริหารจัดการระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั้งในเรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง การจัดการขยะชายฝั่งและเกาะ และการกําหนดเขตการใช้ประโยชน์ในทะเล (One Marine Map) การปฏิรูปการจัดการความขัดแย้งปัญหาที่ดิน – ป่าไม้ โดยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านป่าไม้ การออกกฎหมายป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลจัดการป่าอย่างยั่งยืนในระยะต่อไปจะมีการดําเนินงานปฏิรูปด้านการผังเมือง และด้านการจัดการขยะและสารเคมี (3.3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการลดความเหลื่อมล้ํา และสร้างความเป็นธรรมในสังคมการปฏิรูปการกระจายการถือครองที่ดิน (ตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ) โดยการจัดตั้งธนาคารที่ดิน คณะกรรมการนโยบาย ที่ดินแห่งชาติ และระบบภาษีที่ดินที่เป็นธรรมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยการจัดตั้งระบบยุติธรรมชุมชนการปฏิรูประบบการสอบสวน และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง การปฏิรูประบบภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ํา (3.4) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน : การปฏิรูประบบการศึกษาโดยเริ่มจากโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก และการศึกษาปฐมวัย การดําเนินงานปฏิรูปในทุกด้าน ได้มีการกําหนดหน่วยงานรับผิดชอบและกรอบเวลาดําเนินงานในแต่ละขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน เพื่อการเร่งรัดและติดตามผลการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ (4) การปฏิรูปเชิงพื้นที่และสังคม (Area Based Reform) ได้มีการดําเนินการดังนี้ (4.1) การดําเนินโครงการสานพลังเพื่อปฏิรูปพื้นที่และสังคม มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งจะนําไปสู่สัญญาประชาคม และวาระการปฏิรูปของพื้นที่โดยมีความคืบหน้าในการดําเนินการโดยได้สร้างความชัดเจนในแนวทางการขับเคลื่อนกับกระทรวงมหาดไทยการจัดทําฐานข้อมูลพื้นที่ตําบลเข้มแข็งเพื่อน าร่องในระยะแรก และการจัดทําเครื่องมือข้อมูลเพื่อจัดกระบวนการประชาสังคม (4.2) โครงการสานพลังคนรุ่นใหม่คืนถิ่นเพื่อปรับ Mind Set ไปสู่การเป็น Citizen Reform สร้างคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เช่น โครงการคนกล้าคืนถิ่น บัณฑิตคืนถิ่น เป็นต้น ในระยะต่อไปจะได้ขยายผลการดําเนินการและสร้างต้นแบบให้เป็น Change Agent ประจําตําบลและขยายผลลงสู่ชุมชนต่อไป (5) การปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปตํารวจ (5.1) การปฏิรูปการศึกษาได้กําหนดแนวทางและมาตรการแก้ปัญหาการศึกษา เช่น ความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ผู้สูงอายุ คนรุ่นใหม่ทิ้งถิ่น การผลิตคนไม่ได้ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน การปลูกจิตสํานึกของการเป็นพลเมืองไทย ทักษะการดํารงชีวิต การมีงานทําของบัณฑิต ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การมีวินัยในตนเอง (5.2) การปฏิรูปตํารวจได้แต่งตั้งอนุกร รมการ รวม 5 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล คณะอนุกรรมการด้านการบังคับใช้กฎหมายและระบบสอบสวนคดีอาญา คณะอนุกรรมการด้านหน้าที่ อํานาจ และภารกิจของตํารวจ คณะอนุกรรมการด้านการรับฟังความคิดเห็น และคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ โดย ที่ประชุมมีข้อสังเกต ดังนี้ (1) การปฏิรูปกฎหมายควรพิจารณาจัดทํากฎหมายที่สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสําคัญที่ต้องดําเนินการในระยะเร่งด่วน (2) การปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้าง ควรกําหนดให้มีการปฏิรูปด้านความมั่นคง เพื่อรองรับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ต่าง ๆ ด้วย (3) การปฏิรูปเชิงพื้นที่และสังคมควรลงพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลความเดือดร้อนและความต้องการเร่งด่วนของประชาชน และนํามาจัดทําเป็นแผนแม่บทว่า ใน 1 ปี จะต้องดําเนินโครงการ/กิจกรรมใดเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชน 2.3 คณะกรรมการตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้ดําเนินงาน (1) รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน รวม 15,692 คน (2) บูรณาการข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ และ (3) จัดทําร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง (1) ร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ มีจํานวน 10 ข้อ พร้อมทั้งผนวกประกอบร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ จํานวน 15 ข้อ มีสาระสําคัญเพื่อให้คนไทยทุกคน ได้ยึดถือเป็นกรอบแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สันติในอนาคต อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวคือ คนไทยทุกคนต้องเคารพกฎหมาย และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม รัฐบาล ประชาชน และทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาชาติบ้านเมืองในทุกมิติอย่างครบวงจร โดยมีเป้าหมายที่ประชาชนทั้งประเทศได้รับผลประโยชน์สูงสุดรวมทั้ง เกิดความสามัคคีปรองดอง ดํารงชีวิตตามศาสตร์พระราชา บนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดปัญหาความเหลื่อมล้ํา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป (2) การจัดงานแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ มีกําหนดจะจัดในวันเดียวกันในห้วงเวลาที่เหมาะสมพร้อมกันทั่วประเทศ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งนี้ ภายหลังการจัดงานแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ คณะกรรมการเตรียมการฯ มีแผนงานที่จะขยายผลการสร้างความสามัคคีปรองดองอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ ให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้รับทราบกรอบแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติในอนาคต ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ 10 ข้อ และแนวทางการแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมฯ 2.4 คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ นายปกรณ์ นิลประพันธ์รองผู้อํานวยการสํานักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี(PMDU) ในฐานะเลขานุการ บยศ. ได้รายงานสรุปผลการดําเนินการของ บยศ. ที่ได้ปลดล็อค ขับเคลื่อน และเร่งรัดนโยบายสําคัญตาม Agenda โดยมีผลการดําเนินงานที่สําคัญ เช่น (1) การขับเคลื่อนเรื่องเร่งด่วนด้านคมนาคมขนส่งจะเปิดเดินรถเชื่อมสายสีน้ําเงิน – สีม่วงในเดือนสิงหาคม 2560 และในส่วนโครงการรถไฟไทย - จีนจะเริ่มก่อสร้างช่วงแรกในเดือนตุลาคม 2560 ส่วนการจัดตั้งAviation Hubอยู่ระหว่างเสนอ สงป. พิจารณางบฯ จัดจ้าง ทปษ. จัดทํา Master Plan และ EHIA คาดว่าจะใช้เวลาจัดทําแผนฯ 10 เดือน (2) การขับเคลื่อนด้านสาธารณสุขเปิดคลินิกหมอครอบครัวแล้ว 596 ทีมทั่วประเทศและเสนอตั้ง คกก. พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (3) การขับเคลื่อนด้านพลังงานได้มีคําสั่ง หน.คสช. ที่ 31/2560 เพื่อแก้ไขปัญหาบน พื้นที่ ส.ป.ก. ที่มีข้อพิพาทด้านกฎหมายให้กิจการปิโตรเลียม พลังงานทดแทน และเหมืองแร่ ดําเนินต่อไปได้ (4) ระบบและกลไกการกํากับติดตามประเมินผลโครงการตามแนวทางการสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจในประเทศ (Local Economy) ผ่านกลไก 18 กลุ่มจังหวัด เบิกจ่ายงบประมาณจากทั้งหมด 115,000 ล้านบาทให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด แล้ว 27,351 ล้านบาท (ร้อยละ 23.78) (5) การดําเนินการระบบการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)จัดตั้งคณะทํางานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาระบบ Big Data โดยเริ่มดําเนินโครงการนําร่องที่ จ.ชัยนาท และ จ.แม่ฮ่องสอนแล้ว (6) การปรับโครงสร้าง สศช. ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามมติ บยศ. และกําหนดแนวทางการปรับปรุงองค์กร ให้สามารถขับเคลื่อนภารกิจใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจงานด้านยุทธศาสตร์ชาติ/การปฏิรูปประเทศที่กําหนดในร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งนี้ บยศ. ได้กําหนดนโยบายสําคัญตาม Agenda ที่จะเร่งรัดขับเคลื่อนในระยะต่อไป ได้แก่ (1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา (2) การขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริม SMEs และ (3) การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของส่วนราชการ ที่ประชุมรับทราบ 3. การเตรียมความพร้อมและกลไกการรองรับภารกิจตามพระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 สศช. ได้รายงานเรื่อง การเตรียมการความพร้อมและกลไกการดําเนินงานของ สศช. เพื่อรองรับ ภารกิจยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ โดยอยู่ระหว่างการดําเนินการ การยกร่างระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการดําเนินงานด้านการประชุม การปฏิบัติหน้าที่ การจ้างที่ปรึกษา และการกําหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่น รวมทั้งปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ของสํานักงานฯ เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างตามภารกิจยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ตามที่คณะกรรมการ บยศ. เห็นชอบและที่คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนกรกฎาคม 2560 -------------------------------------------------------- ข้อมูลจากฝ่ายเลขานุการ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5433
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมสรรพากรร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงินและการยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้าด้วยกัน เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการและยกระดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ
วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 กรมสรรพากรร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงินและการยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้าด้วยกัน เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการและยกระดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ กรมสรรพากรร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงินสําหรับผู้ประกอบการที่นําส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงิน สําหรับผู้ประกอบการที่นําส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินทั้งสองหน่วยงานและยกระดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศ ตามรายงาน Ease of Doing Business ของธนาคารโลก โดยเป็นการเพิ่มช่องทางการนําส่งงบการเงินอีกช่องทางหนึ่ง วันนี้ (6 มีนาคม 2561) กรมสรรพากร โดย นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยนางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการรับและนําส่งข้อมูลงบการเงินให้กรมสรรพากรสําหรับผู้ประกอบการที่ยื่นงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร โดยมีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้เป็นการยกระดับความร่วมมือของหน่วยงานราชการและการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีความสะดวกมากขึ้น นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในการดําเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงิน จะทําให้ผู้ประกอบการที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร สามารถนําส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้อีกช่องทางหนึ่ง จากเดิมที่ผู้ประกอบการดังกล่าวสามารถยื่นงบการเงินได้เพียง 2 ช่องทาง คือ การยื่นงบการเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร และการยื่นงบการเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ซึ่งเป็นความตั้งใจของกรมสรรพากรที่มุ่งมั่นมอบบริการที่ดีเพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกได้มากที่สุด”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมสรรพากรร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงินและการยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้าด้วยกัน เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการและยกระดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 กรมสรรพากรร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงินและการยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้าด้วยกัน เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการและยกระดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ กรมสรรพากรร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงินสําหรับผู้ประกอบการที่นําส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงิน สําหรับผู้ประกอบการที่นําส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินทั้งสองหน่วยงานและยกระดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศ ตามรายงาน Ease of Doing Business ของธนาคารโลก โดยเป็นการเพิ่มช่องทางการนําส่งงบการเงินอีกช่องทางหนึ่ง วันนี้ (6 มีนาคม 2561) กรมสรรพากร โดย นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยนางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการรับและนําส่งข้อมูลงบการเงินให้กรมสรรพากรสําหรับผู้ประกอบการที่ยื่นงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร โดยมีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้เป็นการยกระดับความร่วมมือของหน่วยงานราชการและการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีความสะดวกมากขึ้น นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในการดําเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงิน จะทําให้ผู้ประกอบการที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร สามารถนําส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้อีกช่องทางหนึ่ง จากเดิมที่ผู้ประกอบการดังกล่าวสามารถยื่นงบการเงินได้เพียง 2 ช่องทาง คือ การยื่นงบการเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร และการยื่นงบการเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ซึ่งเป็นความตั้งใจของกรมสรรพากรที่มุ่งมั่นมอบบริการที่ดีเพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกได้มากที่สุด”
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10542
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท” แก่กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2561 ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท” แก่กํานัน-ผู้ใหญ่บ้าน ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท” แก่กํานัน-ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํานายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษ เรื่อง “'ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท กํานัน-ผู้ใหญ่บ้านคือข้าต่างพระเนตรพระกรรณ ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาประชาชน” แก่คณะกํานัน-ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑ จํานวน ๒๖๔ คน จาก ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ ณ วังวรดิศ ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ม.ล.ปนัดดาฯ กล่าวว่า “กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ถือเป็นข้าต่างพระเนตรพระกรรณของพระมหากษัตริย์ ด้วยพระองค์ท่านได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกําเนิดสถาบันกํานัน - ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ภาระหน้าที่ประการสําคัญ คือ การบําบัดทุกข์บํารุงสุข และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในระบบรัฐให้กับพี่น้องประชาชน ความรักเคารพในตัวท่านจึงนํามาซึ่งความรับผิดชอบอันปรากฏอยู่ตราบจนทุกวันนี้ในทั้ง ๗๖ จังหวัด ผู้เปรียบเสมือนเป็นญาติผู้ใหญ่และเป็นที่ไว้วางใจของผู้คนทั้งหมู่บ้าน ตําบล หรือกว้างใหญ่กว่านั้น ก็ด้วยคุณความดีที่เกิดขึ้นจากตัวท่าน หาใช่ต้องไปหาเสียงหาคะแนนแบบนักการเมือง การให้เกียรติและเชื่อมั่นศรัทธาในตัวท่านก่อให้เกิดความมั่นคงต่อระบบราชการที่เป็นภาพรวมของประเทศ ทั้งการปฏิบัติงานของข้าราชการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผมจึงใคร่กล่าวว่าความสง่างามของสถาบันกํานัน-ผู้ใหญ่บ้าน คือ ความเป็นข้าของแผ่นดินที่ชาวไทยทุกคนภาคภูมิใจ ท่านมิใช่นักการเมือง แต่เป็นผู้ทําหน้าที่บําบัดทุกข์บํารุงสุขประชาชนตามพระราชปณิธาน และร่วมกันดํารงรักษาประเทศ"
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท” แก่กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2561 ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท” แก่กํานัน-ผู้ใหญ่บ้าน ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท” แก่กํานัน-ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํานายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษ เรื่อง “'ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท กํานัน-ผู้ใหญ่บ้านคือข้าต่างพระเนตรพระกรรณ ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาประชาชน” แก่คณะกํานัน-ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑ จํานวน ๒๖๔ คน จาก ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ ณ วังวรดิศ ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ม.ล.ปนัดดาฯ กล่าวว่า “กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ถือเป็นข้าต่างพระเนตรพระกรรณของพระมหากษัตริย์ ด้วยพระองค์ท่านได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกําเนิดสถาบันกํานัน - ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ภาระหน้าที่ประการสําคัญ คือ การบําบัดทุกข์บํารุงสุข และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในระบบรัฐให้กับพี่น้องประชาชน ความรักเคารพในตัวท่านจึงนํามาซึ่งความรับผิดชอบอันปรากฏอยู่ตราบจนทุกวันนี้ในทั้ง ๗๖ จังหวัด ผู้เปรียบเสมือนเป็นญาติผู้ใหญ่และเป็นที่ไว้วางใจของผู้คนทั้งหมู่บ้าน ตําบล หรือกว้างใหญ่กว่านั้น ก็ด้วยคุณความดีที่เกิดขึ้นจากตัวท่าน หาใช่ต้องไปหาเสียงหาคะแนนแบบนักการเมือง การให้เกียรติและเชื่อมั่นศรัทธาในตัวท่านก่อให้เกิดความมั่นคงต่อระบบราชการที่เป็นภาพรวมของประเทศ ทั้งการปฏิบัติงานของข้าราชการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผมจึงใคร่กล่าวว่าความสง่างามของสถาบันกํานัน-ผู้ใหญ่บ้าน คือ ความเป็นข้าของแผ่นดินที่ชาวไทยทุกคนภาคภูมิใจ ท่านมิใช่นักการเมือง แต่เป็นผู้ทําหน้าที่บําบัดทุกข์บํารุงสุขประชาชนตามพระราชปณิธาน และร่วมกันดํารงรักษาประเทศ"
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14513
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จ.ปัตตานี อบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม 2561 จ.ปัตตานี อบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีร่วมกับโรงพยาบาลปัตตานี จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ สําหรับบุคลากรทางการแพทย์ จิตอาสาและประชาชนทั่วไป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระช สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีร่วมกับโรงพยาบาลปัตตานี จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ สําหรับบุคลากรทางการแพทย์ จิตอาสาและประชาชนทั่วไป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สําหรับจิตอาสาและประชาชนทั่วไป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จัดโดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีร่วมกับโรงพยาบาลปัตตานี มีบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสา และประชาชนในจังหวัดปัตตานี เข้ารับการอบรมเป็นจํานวนมากกว่า 500 คน ซึ่งความรู้ที่ได้รับจะติดตัวไปตลอดชีวิต สามารถไปช่วยชีวิตคนอื่นได้ นายแพทย์มรุต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้การช่วยชีวิต(CPR) ขั้นพื้นฐาน และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) สามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยทักษะที่ถูกต้อง เป็นกําลังสําคัญที่จะช่วยผู้ป่วยเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที ปลอดภัย และลดการเสียชีวิต ซึ่งภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันสามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา แต่ละปี มีคนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเฉลี่ย 1 ชั่วโมงละ 6 คน หากได้รับการช่วยเหลือล่าช้า โอกาสรอดชีวิตจะลดลง ร้อยละ7-10 ในแต่ละนาทีที่ผ่านไป โดยเซลล์ในร่างกายสามารถทนต่อการขาดเลือดและออกซิเจนได้เพียง 4 นาที โดยเฉพาะสมองที่เป็นอวัยวะสําคัญ แต่หากผู้ป่วยได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง และใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ภายในระยะเวลา 4 นาทีหลังจากหัวใจหยุดเต้น จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ************************************* 9 พฤษภาคม 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จ.ปัตตานี อบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม 2561 จ.ปัตตานี อบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีร่วมกับโรงพยาบาลปัตตานี จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ สําหรับบุคลากรทางการแพทย์ จิตอาสาและประชาชนทั่วไป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระช สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีร่วมกับโรงพยาบาลปัตตานี จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ สําหรับบุคลากรทางการแพทย์ จิตอาสาและประชาชนทั่วไป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สําหรับจิตอาสาและประชาชนทั่วไป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จัดโดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีร่วมกับโรงพยาบาลปัตตานี มีบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสา และประชาชนในจังหวัดปัตตานี เข้ารับการอบรมเป็นจํานวนมากกว่า 500 คน ซึ่งความรู้ที่ได้รับจะติดตัวไปตลอดชีวิต สามารถไปช่วยชีวิตคนอื่นได้ นายแพทย์มรุต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้การช่วยชีวิต(CPR) ขั้นพื้นฐาน และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) สามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยทักษะที่ถูกต้อง เป็นกําลังสําคัญที่จะช่วยผู้ป่วยเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที ปลอดภัย และลดการเสียชีวิต ซึ่งภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันสามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา แต่ละปี มีคนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเฉลี่ย 1 ชั่วโมงละ 6 คน หากได้รับการช่วยเหลือล่าช้า โอกาสรอดชีวิตจะลดลง ร้อยละ7-10 ในแต่ละนาทีที่ผ่านไป โดยเซลล์ในร่างกายสามารถทนต่อการขาดเลือดและออกซิเจนได้เพียง 4 นาที โดยเฉพาะสมองที่เป็นอวัยวะสําคัญ แต่หากผู้ป่วยได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง และใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ภายในระยะเวลา 4 นาทีหลังจากหัวใจหยุดเต้น จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ************************************* 9 พฤษภาคม 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12199
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ดิจิทัลฯ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การปรับตัวของนักธุรกิจเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ Digital Technology Thailand 4.0”
วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2560 รมว.ดิจิทัลฯ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การปรับตัวของนักธุรกิจเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ Digital Technology Thailand 4.0” รมว.ดิจิทัลฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัล หัวข้อ “การปรับตัวของนักธุรกิจเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ Digital Technology Thailand 4.0” โดยสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน และชมรมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีนรุ่นใหม่ จัดขึ้น ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาทดแทนแรงงานคนมากขึ้น สิ่งที่รัฐบาลให้ความสําคัญคือ ทรัพยากรบุคคล โดยภาครัฐได้มีการผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพ (Startup) ขึ้น และที่ผ่านมาสามารถสร้างทีมสตาร์ทอัพที่มีผลงานและนวัตกรรมดิจิทัลที่มีความพร้อมในเชิงพาณิชย์ เพื่อต่อยอดเข้าสู่ภาคธุรกิจและการลงทุนของภาคเอกชนที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม เปิดโลกทัศน์และเตรียมความพร้อมสู่ตลาดสากลให้กับสุดยอดสตาร์ทอัพไทย รวมถึงได้สร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้สตาร์ทอัพเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ผลักดันประเทศไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่พยายามขับเคลื่อนเรื่องสตาร์ทอัพเช่นกัน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 ณ ห้องดุสิตธานี ฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี เขตบางรัก กรุงเทพฯ **************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ดิจิทัลฯ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การปรับตัวของนักธุรกิจเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ Digital Technology Thailand 4.0” วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2560 รมว.ดิจิทัลฯ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การปรับตัวของนักธุรกิจเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ Digital Technology Thailand 4.0” รมว.ดิจิทัลฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัล หัวข้อ “การปรับตัวของนักธุรกิจเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ Digital Technology Thailand 4.0” โดยสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน และชมรมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีนรุ่นใหม่ จัดขึ้น ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาทดแทนแรงงานคนมากขึ้น สิ่งที่รัฐบาลให้ความสําคัญคือ ทรัพยากรบุคคล โดยภาครัฐได้มีการผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพ (Startup) ขึ้น และที่ผ่านมาสามารถสร้างทีมสตาร์ทอัพที่มีผลงานและนวัตกรรมดิจิทัลที่มีความพร้อมในเชิงพาณิชย์ เพื่อต่อยอดเข้าสู่ภาคธุรกิจและการลงทุนของภาคเอกชนที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม เปิดโลกทัศน์และเตรียมความพร้อมสู่ตลาดสากลให้กับสุดยอดสตาร์ทอัพไทย รวมถึงได้สร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้สตาร์ทอัพเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ผลักดันประเทศไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่พยายามขับเคลื่อนเรื่องสตาร์ทอัพเช่นกัน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 ณ ห้องดุสิตธานี ฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี เขตบางรัก กรุงเทพฯ **************************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8697
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมประชุมตรวจราชการแบบบูรณาการ รอบที่ 2 พื้นที่ภาคอีสาน
วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2561 ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมประชุมตรวจราชการแบบบูรณาการ รอบที่ 2 พื้นที่ภาคอีสาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: center; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} span.s1 {font-kerning: none} นางคนึงนิจ คชศิลา ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เข้าร่วมการประชุมตรวจราชการแบบบูรณาการ รอบที่ 2 ประจําปีงบประมาณ 2561 ระหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2561 ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร พร้อมทั้งได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากกรณีพื้นที่ริมตลิ่งถูกกระแสน้ํากัดเซาะทําให้บ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย บริเวณชุมชนริมแม่น้ําโขง หมู่บ้านท่าค้อ หมู่ 4 ตําบลท่าค้อ อําเภอเมือง และหมู่บ้านไชยบุรี หมู่ 1 ตําบลไชยบุรี อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ด้วย ทั้งนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้เสนอให้มีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายเน็ตประชารัฐ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ห่างไกล โดยจังหวัดนครพนมมีจุดให้บริการเน็ตประชารัฐ จํานวน 381 แห่ง จังหวัดมุกดาหาร จํานวน 202 แห่ง และจังหวัดสกลนคร จํานวน 520 แห่ง นอกจากนี้ได้เสนอแนะให้มีการบูรณาการหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมของแต่ละหน่วยงาน เพื่อลดความซ้ําซ้อนและต่อยอดความรู้ให้มีความยั่งยืน ตลอดจนขอให้ทั้ง 3 จังหวัดเตรียมความพร้อมในการทํา Big Data โดยรวบรวมข้อมูลสําคัญที่มีความจําเป็นต้องนํามาวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาจังหวัด รวมถึงการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อพัฒนานําไปสู่การเป็น Smart City ต่อไป ****************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมประชุมตรวจราชการแบบบูรณาการ รอบที่ 2 พื้นที่ภาคอีสาน วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2561 ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมประชุมตรวจราชการแบบบูรณาการ รอบที่ 2 พื้นที่ภาคอีสาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: center; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} span.s1 {font-kerning: none} นางคนึงนิจ คชศิลา ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เข้าร่วมการประชุมตรวจราชการแบบบูรณาการ รอบที่ 2 ประจําปีงบประมาณ 2561 ระหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2561 ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร พร้อมทั้งได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากกรณีพื้นที่ริมตลิ่งถูกกระแสน้ํากัดเซาะทําให้บ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย บริเวณชุมชนริมแม่น้ําโขง หมู่บ้านท่าค้อ หมู่ 4 ตําบลท่าค้อ อําเภอเมือง และหมู่บ้านไชยบุรี หมู่ 1 ตําบลไชยบุรี อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ด้วย ทั้งนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้เสนอให้มีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายเน็ตประชารัฐ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ห่างไกล โดยจังหวัดนครพนมมีจุดให้บริการเน็ตประชารัฐ จํานวน 381 แห่ง จังหวัดมุกดาหาร จํานวน 202 แห่ง และจังหวัดสกลนคร จํานวน 520 แห่ง นอกจากนี้ได้เสนอแนะให้มีการบูรณาการหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมของแต่ละหน่วยงาน เพื่อลดความซ้ําซ้อนและต่อยอดความรู้ให้มีความยั่งยืน ตลอดจนขอให้ทั้ง 3 จังหวัดเตรียมความพร้อมในการทํา Big Data โดยรวบรวมข้อมูลสําคัญที่มีความจําเป็นต้องนํามาวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาจังหวัด รวมถึงการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อพัฒนานําไปสู่การเป็น Smart City ต่อไป ****************************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14835
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รปอ.วรวรรณ ประชุมความคณะกรรมการกำกับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)แก่ประชาชน
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 รปอ.วรวรรณ ประชุมความคณะกรรมการกํากับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)แก่ประชาชน นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกํากับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)แก่ประชาชน ครั้งที่ 4/2563 วันนี้ (27 เม.ย. 63) นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกํากับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)แก่ประชาชน ครั้งที่ 4/2563 เพื่อแก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการดําเนินงาน โดยมีนายเดชา จาตุธนานันท์ นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รปอ.วรวรรณ ประชุมความคณะกรรมการกำกับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)แก่ประชาชน วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 รปอ.วรวรรณ ประชุมความคณะกรรมการกํากับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)แก่ประชาชน นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกํากับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)แก่ประชาชน ครั้งที่ 4/2563 วันนี้ (27 เม.ย. 63) นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกํากับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)แก่ประชาชน ครั้งที่ 4/2563 เพื่อแก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการดําเนินงาน โดยมีนายเดชา จาตุธนานันท์ นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29823
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ขสมก. เปิดเส้นทางเดินรถ สาย S 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง (ทางด่วน)
วันพุธที่ 7 มิถุนายน 2560 ขสมก. เปิดเส้นทางเดินรถ สาย S 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง (ทางด่วน) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กระทรวงคมนาคม เปิดเส้นทางเดินรถใหม่ สาย S 1 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปสนามหลวง เพื่ออํานวยความสะดวก และเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้อํานวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ขสมก. ได้เปิดเส้นทางเดินรถ สาย S 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง (ทางด่วน) อัตราค่าโดยสาร 60 บาท ตลอดเส้นทาง เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560 ระหว่างเวลา 06.00 - 20.00 น. เพื่ออํานวยความสะดวก และเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนในการเดินทาง โดยจัดรถให้บริการ 60 เที่ยวต่อวัน ผู้ใช้บริการสามารถขึ้นรถโดยสารในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ที่ บริเวณอาคารผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 1 ประตู 7 มีรายละเอียดเส้นทางเดินรถ ดังนี้ เที่ยวไป เริ่มต้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพฯ - ชลบุรีสายใหม่) - ทางด่วนศรีรัช - ลงด่านยมราช - ถนนหลานหลวง - สะพานขาว - แยกหลานหลวง - แยกผ่านฟ้า - ถนนราชดําเนินกลาง - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - แยกคอกวัว - ถนนตะนาว - ถนนสิบสามห้าง - ถนนพระสุเมรุ - แยกบางลําพู - ถนนจักรพงษ์ - วัดชนะสงคราม - ปากทางถนนข้าวสาร - ถนนเจ้าฟ้า - ลอดใต้สะพานพระปิ่นเกล้า - ถนนราชินี - สนามหลวง (ท่ารถอนุสาวรีย์ทหารอาสา) เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสนามหลวง (ท่ารถอนุสาวรีย์ทหารอาสา) -โรงละครแห่งชาติ - ถนนราชินี - ลอดใต้สะพานพระปิ่นเกล้า - ถนนพระอาทิตย์ - ป้อมพระสุเมรุ - ถนนพระสุเมรุ - แยกบางลําพู - ถนนจักรพงษ์ - วัดชนะสงคราม - ปากทางถนนข้าวสาร - ถนนราชดําเนินกลาง - กองสลากเดิม - แยกคอกวัว - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - กลับเส้นทางเดิม ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามเส้นทางรถเมล์ หรือแนะนําบริการได้ที่ www.bmta.co.th. Facebook bmta@bmta.co.th หรือศูนย์ call center 1348 ทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00 - 22.00 น.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ขสมก. เปิดเส้นทางเดินรถ สาย S 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง (ทางด่วน) วันพุธที่ 7 มิถุนายน 2560 ขสมก. เปิดเส้นทางเดินรถ สาย S 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง (ทางด่วน) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กระทรวงคมนาคม เปิดเส้นทางเดินรถใหม่ สาย S 1 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปสนามหลวง เพื่ออํานวยความสะดวก และเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้อํานวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ขสมก. ได้เปิดเส้นทางเดินรถ สาย S 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง (ทางด่วน) อัตราค่าโดยสาร 60 บาท ตลอดเส้นทาง เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560 ระหว่างเวลา 06.00 - 20.00 น. เพื่ออํานวยความสะดวก และเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนในการเดินทาง โดยจัดรถให้บริการ 60 เที่ยวต่อวัน ผู้ใช้บริการสามารถขึ้นรถโดยสารในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ที่ บริเวณอาคารผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 1 ประตู 7 มีรายละเอียดเส้นทางเดินรถ ดังนี้ เที่ยวไป เริ่มต้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพฯ - ชลบุรีสายใหม่) - ทางด่วนศรีรัช - ลงด่านยมราช - ถนนหลานหลวง - สะพานขาว - แยกหลานหลวง - แยกผ่านฟ้า - ถนนราชดําเนินกลาง - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - แยกคอกวัว - ถนนตะนาว - ถนนสิบสามห้าง - ถนนพระสุเมรุ - แยกบางลําพู - ถนนจักรพงษ์ - วัดชนะสงคราม - ปากทางถนนข้าวสาร - ถนนเจ้าฟ้า - ลอดใต้สะพานพระปิ่นเกล้า - ถนนราชินี - สนามหลวง (ท่ารถอนุสาวรีย์ทหารอาสา) เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสนามหลวง (ท่ารถอนุสาวรีย์ทหารอาสา) -โรงละครแห่งชาติ - ถนนราชินี - ลอดใต้สะพานพระปิ่นเกล้า - ถนนพระอาทิตย์ - ป้อมพระสุเมรุ - ถนนพระสุเมรุ - แยกบางลําพู - ถนนจักรพงษ์ - วัดชนะสงคราม - ปากทางถนนข้าวสาร - ถนนราชดําเนินกลาง - กองสลากเดิม - แยกคอกวัว - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - กลับเส้นทางเดิม ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามเส้นทางรถเมล์ หรือแนะนําบริการได้ที่ www.bmta.co.th. Facebook bmta@bmta.co.th หรือศูนย์ call center 1348 ทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00 - 22.00 น.
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4339
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ให้กำลังใจน้องเมย์ รัชนก และนักตบลูกขนไก่ไทย หลังพ่ายคู่แข่งขันจากญี่ปุ่น ชี้ทำเต็มที่แล้วแม้ไม่ชนะแต่เป็นที่หนึ่งในหัวใจคนไทย ย้ำสู้ต่อไปเพื่ออนาคต
วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม 2561 นายกฯ ให้กําลังใจน้องเมย์ รัชนก และนักตบลูกขนไก่ไทย หลังพ่ายคู่แข่งขันจากญี่ปุ่น ชี้ทําเต็มที่แล้วแม้ไม่ชนะแต่เป็นที่หนึ่งในหัวใจคนไทย ย้ําสู้ต่อไปเพื่ออนาคต นายกฯ ให้กําลังใจน้องเมย์ รัชนก และนักตบลูกขนไก่ไทย หลังพ่ายคู่แข่งขันจากญี่ปุ่น ชี้ทําเต็มที่แล้วแม้ไม่ชนะแต่เป็นที่หนึ่งในหัวใจคนไทย ย้ําสู้ต่อไปเพื่ออนาคต วันที่ 26 พ.ค.61 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้กําลังใจน้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ นักกีฬาแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย หลังพ่ายให้แก่อากาเนะ ยามากูชิ นักกีฬาจากญี่ปุ่น ในการแข่งขันแบดมินตัน โททัล บีดับบลิวเอฟ โทมัส-อูเบอร์คัพ ไฟนอล 2018 ประเภททีมหญิง “อูเบอร์คัพ” รอบชิงชนะเลิศ “นายกฯ ได้ติดตามการแข่งขันของน้องเมย์และชื่นชมว่า ได้ทําหน้าที่อย่างเต็มที่ดีที่สุดแล้ว แม้จะไม่สามารถเอาชนะได้ แต่ก็เชื่อว่าคนไทยทุกคนคอยตามลุ้นและเชียร์ พร้อมทั้งยกให้น้องเมย์และนักกีฬาทุกคนเป็นที่หนึ่งในหัวใจอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันรายการนี้ที่นักกีฬาไทยสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้อีกด้วย” นายกรัฐมนตรียังได้ฝากให้กําลังใจน้องเมย์และนักกีฬาทีมชาติไทยทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันในรายการนี้ และรายการต่อ ๆ ไป โดยขอให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และสู้ต่อไปอย่างสุดความสามารถ เพื่อคว้าชัยชนะให้กับประเทศไทยและคนไทยทุกคน ----------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ให้กำลังใจน้องเมย์ รัชนก และนักตบลูกขนไก่ไทย หลังพ่ายคู่แข่งขันจากญี่ปุ่น ชี้ทำเต็มที่แล้วแม้ไม่ชนะแต่เป็นที่หนึ่งในหัวใจคนไทย ย้ำสู้ต่อไปเพื่ออนาคต วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม 2561 นายกฯ ให้กําลังใจน้องเมย์ รัชนก และนักตบลูกขนไก่ไทย หลังพ่ายคู่แข่งขันจากญี่ปุ่น ชี้ทําเต็มที่แล้วแม้ไม่ชนะแต่เป็นที่หนึ่งในหัวใจคนไทย ย้ําสู้ต่อไปเพื่ออนาคต นายกฯ ให้กําลังใจน้องเมย์ รัชนก และนักตบลูกขนไก่ไทย หลังพ่ายคู่แข่งขันจากญี่ปุ่น ชี้ทําเต็มที่แล้วแม้ไม่ชนะแต่เป็นที่หนึ่งในหัวใจคนไทย ย้ําสู้ต่อไปเพื่ออนาคต วันที่ 26 พ.ค.61 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้กําลังใจน้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ นักกีฬาแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย หลังพ่ายให้แก่อากาเนะ ยามากูชิ นักกีฬาจากญี่ปุ่น ในการแข่งขันแบดมินตัน โททัล บีดับบลิวเอฟ โทมัส-อูเบอร์คัพ ไฟนอล 2018 ประเภททีมหญิง “อูเบอร์คัพ” รอบชิงชนะเลิศ “นายกฯ ได้ติดตามการแข่งขันของน้องเมย์และชื่นชมว่า ได้ทําหน้าที่อย่างเต็มที่ดีที่สุดแล้ว แม้จะไม่สามารถเอาชนะได้ แต่ก็เชื่อว่าคนไทยทุกคนคอยตามลุ้นและเชียร์ พร้อมทั้งยกให้น้องเมย์และนักกีฬาทุกคนเป็นที่หนึ่งในหัวใจอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันรายการนี้ที่นักกีฬาไทยสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้อีกด้วย” นายกรัฐมนตรียังได้ฝากให้กําลังใจน้องเมย์และนักกีฬาทีมชาติไทยทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันในรายการนี้ และรายการต่อ ๆ ไป โดยขอให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และสู้ต่อไปอย่างสุดความสามารถ เพื่อคว้าชัยชนะให้กับประเทศไทยและคนไทยทุกคน ----------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตรวจเยี่ยมสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ณ อาคารสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 62 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตรวจเยี่ยมสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และมอบนโยบายเร่งขับเคลื่อนแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยตามนโยบายรัฐบาล โดยมีนายภิรมย์ พลวิเศษ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม และมีนายณัฐพล รังสิตพล ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ ณ อาคารสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตรวจเยี่ยมสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ณ อาคารสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 62 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตรวจเยี่ยมสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และมอบนโยบายเร่งขับเคลื่อนแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยตามนโยบายรัฐบาล โดยมีนายภิรมย์ พลวิเศษ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม และมีนายณัฐพล รังสิตพล ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ ณ อาคารสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22071
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. มอบ 4 ความสุข เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “พม. เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness)
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 พม. มอบ 4 ความสุข เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “พม. เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) พม. มอบ 4 ความสุข เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “พม. เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) วันนี้ (21 ธ.ค. 61) เวลา 13.30 น. นางสุภัชชา สุทธิพล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการแถลงข่าวการมอบของขวัญปีใหม่ ประจําปี 2562 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ภายใต้แนวคิด "พม.เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) ประกอบด้วย 4 ความสุข ดังนี้ 1. สุขถ้วนหน้า (Happy All) 2. สุขอาศัย (Happy Home) 3. สุขร่วมใจ (Happy Heart) และ 4. สุขยั่งยืน (Happy Time) รวมทั้งสิ้น 13 ของขวัญ เพื่อส่งความสุขให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ โดยมี นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) นางจินตนา จันทร์บํารุง รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) นางสาวสุดใจ สมัครัตน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) นางสาวพรรณทิพย์ เพชรมาก รองผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) นายกันตพงศ์ รังสีสว่าง ผู้อํานวยการกองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรและสถาบันครอบครัว (สค.) และนางสาวนภัส หลักคํา ผู้จัดการอาวุโส สํานักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) ร่วมแถลง ณ บริเวณโถง ชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ นางสุภัชชา กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ขับเคลื่อนงาน ตามภารกิจสําคัญที่มุ่งเน้นการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรมในสังคม สร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการและบริการของรัฐ สําหรับปีใหม่ 2562 ที่ใกล้มาถึง ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการส่งความสุข กระทรวง พม. ได้จัดเตรียมของขวัญปีใหม่ ประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด "พม.เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) เพื่อส่งความสุขให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ประกอบด้วย 4 ความสุข ดังนี้ 1. สุขถ้วนหน้า (Happy All) จํานวน 2 ของขวัญ ได้แก่ 1.1) “ทุกสิทธิคนพิการ ผ่านบัตร (ประชาชน) ใบเดียว : One Card All Rights” เพื่อให้คนพิการใช้บัตรประจําตัวประชาชนเพียงใบเดียวสําหรับการเข้ารับบริการกับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ 1.2) คงอัตราดอกเบี้ยสถานธนานุเคราะห์ ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ําสุดร้อยละ 25 สตางค์ต่อเดือน 2. สุขอาศัย (Happy Home) จํานวน 4 ของขวัญ ได้แก่ 2.1) มอบบ้านสร้างชุมชนไทยทุกคนมั่นคงเข้มแข็ง 2562 หลัง ให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ แบ่งเป็น บ้านมั่นคง 1,115 หลังคาเรือน บ้านพอเพียงชนบท 1,235 หลังคาเรือน และบ้านประชารัฐริมคลองลาดพร้าว 212 หลังคาเรือน 2.2) บ้านปันสุขเพื่อผู้สูงอายุ 1,000 หลัง ด้วยการปรับปรุง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย ประกอบด้วย ภาคกลาง 350 หลังคาเรือน ภาคใต้ 157 หลังคาเรือน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 260 หลังคาเรือน ภาคเหนือ 125 หลังคาเรือน ภาคตะวันออก 70 หลังคาเรือน และกรุงเทพมหานคร 38 หลังคาเรือน 2.3) ร่วมใจ สร้างไทย สร้างที่อยู่อาศัย ผู้ประสบภัย75 หลัง ให้แก่ผู้ประสบภัยดินโคลนถล่มในพื้นที่ตําบลบ่อเกลือเหนือ อําเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และ 2.4) Easy Home ซื้อง่ายจ่ายสบาย โดย ลด ราคาขายโครงการบ้านเอื้ออาทร 35 โครงการ ที่มีราคาขายระหว่าง 250,000 - 420,000 บาท แลก โครงการบ้านแลกบ้าน ให้กับลูกค้าที่ทําสัญญากับ กคช. โดย กคช. จะจัดหาที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า แจก ฟรีค่าเหล็กดัดมุ้งลวด สําหรับลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดโครงการบ้านเอื้ออาทรทุกโครงการ และโครงการเคหะชุมชน 4 โครงการ และ แถม ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์สําหรับทุกโครงการ นางสุภัชชา กล่าวเพิ่มเติมว่า 3. สุขร่วมใจ (Happy Heart) จํานวน 6 ของขวัญ ได้แก่ 3.1) เปิดตัวศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ เพื่อเป็นศูนย์กลางสําหรับจัดแสดงและถ่ายทอด เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแหล่งรวบรวมงานวิจัยและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ 3.2) ศาสนสถานเชื่อมบุญ เกื้อหนุนคนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อให้มีวัดต้นแบบทั่วประเทศที่เอื้อต่อคนพิการและผู้สูงอายุในการประกอบศาสนกิจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างเท่าเทียม โดยมีเป้าหมายคือวัดทั่วประเทศ 380 แห่ง 3.3) หนาวนี้ที่บนดอย ตามรอยภูมิวัฒนธรรม โดยลดราคาที่พัก Home Stay ตั้งแต่ 10 - 50 % พร้อมรับของที่ระลึกฟรี ณ จุด Checkpoint ที่ชุมชนราษฎรบนพื้นที่สูงใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลําพูน อุทัยธานี และตาก เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสให้กับชุมชนบนพื้นที่สูง3.4) พม. เชื่อมใจ แบ่งปันความสุขสู่สังคม ด้วย เมนู จับคู่-ผู้ให้ส่งใจมอบของขวัญ 2,562 ครัวเรือนทั่วประเทศ เป็นการจัดทําเมนูการให้ความช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก จากข้อมูล Family Data พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก 2,562 คน และส่งมอบของขวัญ 2,562 ชุด 3.5) สร้างพื้นที่เป้าหมายขจัดภัยความรุนแรง ด้วยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทําความรุนแรงในครอบครัวระดับตําบล (ศปก.ต) 1 จังหวัด 1 ศปก.ต. และ 3.6) เปิดตัวเว็บไซด์รวมใจยุติความรุนแรง เพื่อประกาศเจตนารมณ์และร่วมแสดงออกถึงการ “ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทําความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ” และ 4. สุขยั่งยืน (Happy Time) จํานวน 1 ของขวัญ คือ การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ เรื่อง "สังคมผู้สูงอายุ” โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุไทยเป็น Active Ageing ร่วมพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. มอบ 4 ความสุข เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “พม. เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 พม. มอบ 4 ความสุข เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “พม. เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) พม. มอบ 4 ความสุข เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “พม. เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) วันนี้ (21 ธ.ค. 61) เวลา 13.30 น. นางสุภัชชา สุทธิพล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการแถลงข่าวการมอบของขวัญปีใหม่ ประจําปี 2562 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ภายใต้แนวคิด "พม.เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) ประกอบด้วย 4 ความสุข ดังนี้ 1. สุขถ้วนหน้า (Happy All) 2. สุขอาศัย (Happy Home) 3. สุขร่วมใจ (Happy Heart) และ 4. สุขยั่งยืน (Happy Time) รวมทั้งสิ้น 13 ของขวัญ เพื่อส่งความสุขให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ โดยมี นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) นางจินตนา จันทร์บํารุง รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) นางสาวสุดใจ สมัครัตน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) นางสาวพรรณทิพย์ เพชรมาก รองผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) นายกันตพงศ์ รังสีสว่าง ผู้อํานวยการกองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรและสถาบันครอบครัว (สค.) และนางสาวนภัส หลักคํา ผู้จัดการอาวุโส สํานักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) ร่วมแถลง ณ บริเวณโถง ชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ นางสุภัชชา กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ขับเคลื่อนงาน ตามภารกิจสําคัญที่มุ่งเน้นการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรมในสังคม สร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการและบริการของรัฐ สําหรับปีใหม่ 2562 ที่ใกล้มาถึง ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการส่งความสุข กระทรวง พม. ได้จัดเตรียมของขวัญปีใหม่ ประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด "พม.เติมสุข ทั่วไทย 2562” (Fill with Happiness) เพื่อส่งความสุขให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ประกอบด้วย 4 ความสุข ดังนี้ 1. สุขถ้วนหน้า (Happy All) จํานวน 2 ของขวัญ ได้แก่ 1.1) “ทุกสิทธิคนพิการ ผ่านบัตร (ประชาชน) ใบเดียว : One Card All Rights” เพื่อให้คนพิการใช้บัตรประจําตัวประชาชนเพียงใบเดียวสําหรับการเข้ารับบริการกับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ 1.2) คงอัตราดอกเบี้ยสถานธนานุเคราะห์ ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ําสุดร้อยละ 25 สตางค์ต่อเดือน 2. สุขอาศัย (Happy Home) จํานวน 4 ของขวัญ ได้แก่ 2.1) มอบบ้านสร้างชุมชนไทยทุกคนมั่นคงเข้มแข็ง 2562 หลัง ให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ แบ่งเป็น บ้านมั่นคง 1,115 หลังคาเรือน บ้านพอเพียงชนบท 1,235 หลังคาเรือน และบ้านประชารัฐริมคลองลาดพร้าว 212 หลังคาเรือน 2.2) บ้านปันสุขเพื่อผู้สูงอายุ 1,000 หลัง ด้วยการปรับปรุง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย ประกอบด้วย ภาคกลาง 350 หลังคาเรือน ภาคใต้ 157 หลังคาเรือน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 260 หลังคาเรือน ภาคเหนือ 125 หลังคาเรือน ภาคตะวันออก 70 หลังคาเรือน และกรุงเทพมหานคร 38 หลังคาเรือน 2.3) ร่วมใจ สร้างไทย สร้างที่อยู่อาศัย ผู้ประสบภัย75 หลัง ให้แก่ผู้ประสบภัยดินโคลนถล่มในพื้นที่ตําบลบ่อเกลือเหนือ อําเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และ 2.4) Easy Home ซื้อง่ายจ่ายสบาย โดย ลด ราคาขายโครงการบ้านเอื้ออาทร 35 โครงการ ที่มีราคาขายระหว่าง 250,000 - 420,000 บาท แลก โครงการบ้านแลกบ้าน ให้กับลูกค้าที่ทําสัญญากับ กคช. โดย กคช. จะจัดหาที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า แจก ฟรีค่าเหล็กดัดมุ้งลวด สําหรับลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดโครงการบ้านเอื้ออาทรทุกโครงการ และโครงการเคหะชุมชน 4 โครงการ และ แถม ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์สําหรับทุกโครงการ นางสุภัชชา กล่าวเพิ่มเติมว่า 3. สุขร่วมใจ (Happy Heart) จํานวน 6 ของขวัญ ได้แก่ 3.1) เปิดตัวศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ เพื่อเป็นศูนย์กลางสําหรับจัดแสดงและถ่ายทอด เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแหล่งรวบรวมงานวิจัยและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ 3.2) ศาสนสถานเชื่อมบุญ เกื้อหนุนคนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อให้มีวัดต้นแบบทั่วประเทศที่เอื้อต่อคนพิการและผู้สูงอายุในการประกอบศาสนกิจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างเท่าเทียม โดยมีเป้าหมายคือวัดทั่วประเทศ 380 แห่ง 3.3) หนาวนี้ที่บนดอย ตามรอยภูมิวัฒนธรรม โดยลดราคาที่พัก Home Stay ตั้งแต่ 10 - 50 % พร้อมรับของที่ระลึกฟรี ณ จุด Checkpoint ที่ชุมชนราษฎรบนพื้นที่สูงใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลําพูน อุทัยธานี และตาก เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสให้กับชุมชนบนพื้นที่สูง3.4) พม. เชื่อมใจ แบ่งปันความสุขสู่สังคม ด้วย เมนู จับคู่-ผู้ให้ส่งใจมอบของขวัญ 2,562 ครัวเรือนทั่วประเทศ เป็นการจัดทําเมนูการให้ความช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก จากข้อมูล Family Data พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก 2,562 คน และส่งมอบของขวัญ 2,562 ชุด 3.5) สร้างพื้นที่เป้าหมายขจัดภัยความรุนแรง ด้วยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทําความรุนแรงในครอบครัวระดับตําบล (ศปก.ต) 1 จังหวัด 1 ศปก.ต. และ 3.6) เปิดตัวเว็บไซด์รวมใจยุติความรุนแรง เพื่อประกาศเจตนารมณ์และร่วมแสดงออกถึงการ “ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทําความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ” และ 4. สุขยั่งยืน (Happy Time) จํานวน 1 ของขวัญ คือ การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ เรื่อง "สังคมผู้สูงอายุ” โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุไทยเป็น Active Ageing ร่วมพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17671
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. แจ้งปิดสาขาในพื้นที่ กทม. พร้อมเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในการใช้บริการของลูกค้า ลดความเสี่ยงโควิด-19 [กระทรวงการคลัง]
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 ธ.ก.ส. แจ้งปิดสาขาในพื้นที่ กทม. พร้อมเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในการใช้บริการของลูกค้า ลดความเสี่ยงโควิด-19 [กระทรวงการคลัง] ธ.ก.ส. แจ้งปิดการให้บริการ ธ.ก.ส. สาขาในห้างสรรพสินค้าและบางสาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จํานวน 11 สาขา เป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่บัดนี้ถึง 12 เมษายน 2563 ธ.ก.ส. แจ้งปิดการให้บริการ ธ.ก.ส. สาขาในห้างสรรพสินค้าและบางสาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จํานวน 11 สาขา เป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่บัดนี้ถึง 12 เมษายน 2563 โดยลูกค้าสามารถใช้บริการทาง ธ.ก.ส. A-Mobile และช่องทางอื่น ๆ ได้ตามปกติ พร้อมเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการด้วยมาตรการความปลอดภัยและความสะอาดในพื้นที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 อันเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายที่มีการแพร่ระบาดได้ง่ายนั้น ธ.ก.ส. คํานึงถึงความปลอดภัยในการให้บริการและสุขภาพของลูกค้า จึงได้ขอปิดการให้บริการ ธ.ก.ส. สาขาในห้างสรรพสินค้าและบางสาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นการชั่วคราว จํานวน 11 สาขา ได้แก่ สาขาสยามสแควร์วัน บิ๊กซีดาวคะนอง เดอะสตรีท ดิโอลด์สยามพลาซ่า เดอะมอลล์ รามคําแหง แฮปปี้แลนด์ เดอะโคสท์บางนา สถานีขนส่งสายใต้ สถานีรถไฟฟ้า MRT พระราม 9 ขนส่งหมอชิต และตลาดยิ่งเจริญ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 12 เมษายน 2563 (หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง) ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถทําธุรกรรมผ่านช่องทางแอปพลิเคชันธ.ก.ส. A-Mobile เครื่อง ATM CDM เครื่องปรับสมุดบัญชี Banking Agent ทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-Eleven ตู้บุญเติม ตู้เติมสบาย ไปรษณีย์ไทยได้ตามปกติ หรือใช้บริการได้ที่สาขาอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยสามารถค้นหาที่ตั้งของสาขาที่เปิดให้บริการได้ทางเว็บไซต์ www.baac.or.th หรือสอบถามข้อมูลการให้บริการอื่น ๆ ได้ทาง Call Center 02 555 0555 นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังได้เพิ่มมาตรการความปลอดภัยในพื้นที่สาขาเพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้บริการของลูกค้าทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งจุดคัดกรอง การทําความสะอาดสถานที่และบริเวณจุดสัมผัสต่าง ๆ เช่น บานประตู เคาน์เตอร์ แป้นพิมพ์ และเครื่องถอน/ฝากเงิน เป็นต้น รวมถึงได้มีการจัดที่นั่งและที่พักคอยลูกค้าให้มีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ตามหลัก Social Distancing และหลีกเลี่ยงการหันหน้าเข้าหากัน เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค โดย ธ.ก.ส. พร้อมอยู่เคียงข้างลูกค้าทุกท่านให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปพร้อม ๆ กัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. แจ้งปิดสาขาในพื้นที่ กทม. พร้อมเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในการใช้บริการของลูกค้า ลดความเสี่ยงโควิด-19 [กระทรวงการคลัง] วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 ธ.ก.ส. แจ้งปิดสาขาในพื้นที่ กทม. พร้อมเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในการใช้บริการของลูกค้า ลดความเสี่ยงโควิด-19 [กระทรวงการคลัง] ธ.ก.ส. แจ้งปิดการให้บริการ ธ.ก.ส. สาขาในห้างสรรพสินค้าและบางสาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จํานวน 11 สาขา เป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่บัดนี้ถึง 12 เมษายน 2563 ธ.ก.ส. แจ้งปิดการให้บริการ ธ.ก.ส. สาขาในห้างสรรพสินค้าและบางสาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จํานวน 11 สาขา เป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่บัดนี้ถึง 12 เมษายน 2563 โดยลูกค้าสามารถใช้บริการทาง ธ.ก.ส. A-Mobile และช่องทางอื่น ๆ ได้ตามปกติ พร้อมเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการด้วยมาตรการความปลอดภัยและความสะอาดในพื้นที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 อันเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายที่มีการแพร่ระบาดได้ง่ายนั้น ธ.ก.ส. คํานึงถึงความปลอดภัยในการให้บริการและสุขภาพของลูกค้า จึงได้ขอปิดการให้บริการ ธ.ก.ส. สาขาในห้างสรรพสินค้าและบางสาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นการชั่วคราว จํานวน 11 สาขา ได้แก่ สาขาสยามสแควร์วัน บิ๊กซีดาวคะนอง เดอะสตรีท ดิโอลด์สยามพลาซ่า เดอะมอลล์ รามคําแหง แฮปปี้แลนด์ เดอะโคสท์บางนา สถานีขนส่งสายใต้ สถานีรถไฟฟ้า MRT พระราม 9 ขนส่งหมอชิต และตลาดยิ่งเจริญ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 12 เมษายน 2563 (หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง) ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถทําธุรกรรมผ่านช่องทางแอปพลิเคชันธ.ก.ส. A-Mobile เครื่อง ATM CDM เครื่องปรับสมุดบัญชี Banking Agent ทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-Eleven ตู้บุญเติม ตู้เติมสบาย ไปรษณีย์ไทยได้ตามปกติ หรือใช้บริการได้ที่สาขาอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยสามารถค้นหาที่ตั้งของสาขาที่เปิดให้บริการได้ทางเว็บไซต์ www.baac.or.th หรือสอบถามข้อมูลการให้บริการอื่น ๆ ได้ทาง Call Center 02 555 0555 นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังได้เพิ่มมาตรการความปลอดภัยในพื้นที่สาขาเพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้บริการของลูกค้าทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งจุดคัดกรอง การทําความสะอาดสถานที่และบริเวณจุดสัมผัสต่าง ๆ เช่น บานประตู เคาน์เตอร์ แป้นพิมพ์ และเครื่องถอน/ฝากเงิน เป็นต้น รวมถึงได้มีการจัดที่นั่งและที่พักคอยลูกค้าให้มีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ตามหลัก Social Distancing และหลีกเลี่ยงการหันหน้าเข้าหากัน เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค โดย ธ.ก.ส. พร้อมอยู่เคียงข้างลูกค้าทุกท่านให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปพร้อม ๆ กัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27696
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินแจ้งเลื่อนลงทะเบียนและยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉินเป็น 15 เม.ย.63 ช่วยผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 ออมสินแจ้งเลื่อนลงทะเบียนและยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉินเป็น 15 เม.ย.63 ช่วยผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ออมสินแจ้งเลื่อนลงทะเบียนและยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉินเป็น 15 เม.ย.63 ช่วยผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เกรงลูกค้าสับสนกับการลงทะเบียนรับ 5,000 บาท ของรัฐบาล ออมสินแจ้งเลื่อนลงทะเบียนและยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉินเป็น 15 เม.ย.63 ช่วยผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เกรงลูกค้าสับสนกับการลงทะเบียนรับ 5,000 บาท ของรัฐบาล ธนาคารออมสินเลื่อนเปิดรับลงทะเบียนพร้อมกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) “โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน (สําหรับผู้มีอาชีพอิสระ)” และ “โครงการสินเชื่อพิเศษ (สําหรับผู้มีรายได้ประจํา)” ตามมติ ครม. จากวันที่ 1 เม.ย.63 เป็น วันที่ 15 เม.ย.63 ย้ํา!!...ลงทะเบียนพร้อมกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ในเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th เท่านั้น ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารออมสินได้แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่อง เปิดให้บริการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) และ สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยเปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความจํานงใช้บริการผ่านเว็บไซต์ธนาคารออมสิน ในวันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป และ ให้เริ่มกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ธนาคารออมสิน ได้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป นั้น ธนาคารฯ ขอเลื่อนกําหนดการดังกล่าวเป็น เปิดให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบและต้องการเข้าโครงการสินเชื่อดังกล่าว เริ่มลงทะเบียนแจ้งความจํานงใช้บริการและกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ผ่านเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th เท่านั้น เนื่องจากเกรงว่าประชาชนจะเกิดความสับสนกับการลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือชดเชยรายได้จากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งกระทรวงการคลังได้เปิดรับลงทะเบียนเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา และกําลังดําเนินการอยู่ในขณะนี้ สําหรับ “โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน” ตามมติคณะรัฐมนตรีนั้น ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ให้บริการด้วย สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน (Flat Rate) ผ่อนชําระคืนนานถึง 2 ปี โดยไม่ต้องชําระเงินกู้ 6 งวดแรก ที่สําคัญคือไม่ต้องใช้หลักประกันใดๆ คุณสมบัติผู้กู้ มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถติดต่อได้ ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้เดือนละไม่เกิน 30,000 บาท ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่น พ่อค้าแม่ค้า คนขับรถโดยสารแท็กซี่-สามล้อ มัคคุเทศก์ เป็นต้น ขณะที่ “โครงการสินเชื่อพิเศษ” ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อเสริมสภาพคล่องชั่วคราวในการดํารงชีวิตแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ด้วย สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน (Flat Rate) ให้ผ่อนชําระคืนนานถึง 3 ปี โดยการค้ําประกันสามารถใข้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ําประกันก็ได้ เพียงมีอายุ 20 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถติดต่อได้ เป็นผู้มีรายได้ประจําแต่รายได้ลดลงหรือขาดรายได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และภัยอื่นๆ ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้ ธนาคารออมสินเปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินแจ้งเลื่อนลงทะเบียนและยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉินเป็น 15 เม.ย.63 ช่วยผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 ออมสินแจ้งเลื่อนลงทะเบียนและยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉินเป็น 15 เม.ย.63 ช่วยผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ออมสินแจ้งเลื่อนลงทะเบียนและยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉินเป็น 15 เม.ย.63 ช่วยผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เกรงลูกค้าสับสนกับการลงทะเบียนรับ 5,000 บาท ของรัฐบาล ออมสินแจ้งเลื่อนลงทะเบียนและยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉินเป็น 15 เม.ย.63 ช่วยผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เกรงลูกค้าสับสนกับการลงทะเบียนรับ 5,000 บาท ของรัฐบาล ธนาคารออมสินเลื่อนเปิดรับลงทะเบียนพร้อมกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) “โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน (สําหรับผู้มีอาชีพอิสระ)” และ “โครงการสินเชื่อพิเศษ (สําหรับผู้มีรายได้ประจํา)” ตามมติ ครม. จากวันที่ 1 เม.ย.63 เป็น วันที่ 15 เม.ย.63 ย้ํา!!...ลงทะเบียนพร้อมกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ในเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th เท่านั้น ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารออมสินได้แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่อง เปิดให้บริการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) และ สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยเปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความจํานงใช้บริการผ่านเว็บไซต์ธนาคารออมสิน ในวันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป และ ให้เริ่มกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ธนาคารออมสิน ได้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป นั้น ธนาคารฯ ขอเลื่อนกําหนดการดังกล่าวเป็น เปิดให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบและต้องการเข้าโครงการสินเชื่อดังกล่าว เริ่มลงทะเบียนแจ้งความจํานงใช้บริการและกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ผ่านเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th เท่านั้น เนื่องจากเกรงว่าประชาชนจะเกิดความสับสนกับการลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือชดเชยรายได้จากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งกระทรวงการคลังได้เปิดรับลงทะเบียนเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา และกําลังดําเนินการอยู่ในขณะนี้ สําหรับ “โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน” ตามมติคณะรัฐมนตรีนั้น ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ให้บริการด้วย สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน (Flat Rate) ผ่อนชําระคืนนานถึง 2 ปี โดยไม่ต้องชําระเงินกู้ 6 งวดแรก ที่สําคัญคือไม่ต้องใช้หลักประกันใดๆ คุณสมบัติผู้กู้ มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถติดต่อได้ ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้เดือนละไม่เกิน 30,000 บาท ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่น พ่อค้าแม่ค้า คนขับรถโดยสารแท็กซี่-สามล้อ มัคคุเทศก์ เป็นต้น ขณะที่ “โครงการสินเชื่อพิเศษ” ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อเสริมสภาพคล่องชั่วคราวในการดํารงชีวิตแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ด้วย สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับผู้มีรายได้ประจําที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน (Flat Rate) ให้ผ่อนชําระคืนนานถึง 3 ปี โดยการค้ําประกันสามารถใข้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ําประกันก็ได้ เพียงมีอายุ 20 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถติดต่อได้ เป็นผู้มีรายได้ประจําแต่รายได้ลดลงหรือขาดรายได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และภัยอื่นๆ ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้ ธนาคารออมสินเปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28138
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 12 มิถุนายน 2561
วันพุธที่ 13 มิถุนายน 2561 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 12 มิถุนายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 12 มิถุนายน 2561 วันพุธที่ 13 มิถุนายน 2561 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 12 มิถุนายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12977
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผยนายกรัฐมนตรีลงนาม แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ
วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 โฆษกรัฐบาลเผยนายกรัฐมนตรีลงนาม แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โฆษกรัฐบาลเผยนายกรัฐมนตรีลงนาม แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ วันนี้ (28 ม.ค. 63) เวลา 14.15 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวทําเนียบรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีแถลงแก่สื่อมวลชนว่า วันนี้ คณะรัฐมนตรีรับทราบคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ องค์ประกอบ ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ พร้อมด้วย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นรองประธาน นอกจากนี้ยังมีปลัดกระทรวงและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นกรรมการ มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการเตรียมความพร้อม ป้องกัน ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และกํากับดูแลให้บรรลุวัตถุประสงค์ รวมทั้งกําหนดมาตรการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและผู้ได้รับผลกระทบ อํานวยการจัดระบบประสานงานและสนับสนุนกลไกการเตรียมความพร้อมรวมทั้งการกํากับติดตามผลการดําเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วย ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กํากับดูแลกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นประธาน โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรียังย้ําว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสําคัญอย่างยิ่งในการแก้ทุกปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ยกระดับการดําเนินการแก้ปัญหาทั้งฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ภัยแล้ง รวมทั้งการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ให้มีศูนย์ปฏิบัติการกําหนดให้เป็นวาระฉุกเฉิน โดยมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขต้องแถลงข่าวทุกวัน เน้นเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบรวมถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องด้วย .................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผยนายกรัฐมนตรีลงนาม แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 โฆษกรัฐบาลเผยนายกรัฐมนตรีลงนาม แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โฆษกรัฐบาลเผยนายกรัฐมนตรีลงนาม แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ วันนี้ (28 ม.ค. 63) เวลา 14.15 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวทําเนียบรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีแถลงแก่สื่อมวลชนว่า วันนี้ คณะรัฐมนตรีรับทราบคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ องค์ประกอบ ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ พร้อมด้วย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นรองประธาน นอกจากนี้ยังมีปลัดกระทรวงและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นกรรมการ มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการเตรียมความพร้อม ป้องกัน ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และกํากับดูแลให้บรรลุวัตถุประสงค์ รวมทั้งกําหนดมาตรการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและผู้ได้รับผลกระทบ อํานวยการจัดระบบประสานงานและสนับสนุนกลไกการเตรียมความพร้อมรวมทั้งการกํากับติดตามผลการดําเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วย ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กํากับดูแลกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นประธาน โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรียังย้ําว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสําคัญอย่างยิ่งในการแก้ทุกปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ยกระดับการดําเนินการแก้ปัญหาทั้งฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ภัยแล้ง รวมทั้งการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ให้มีศูนย์ปฏิบัติการกําหนดให้เป็นวาระฉุกเฉิน โดยมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขต้องแถลงข่าวทุกวัน เน้นเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบรวมถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องด้วย .................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26123
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รพ.ด่านมะขามเตี้ย ใช้ ไอที บริการประชาชน สะดวก ลดแออัด ประชาชนพึงพอใจ ด้วยระบบ สมาร์ท ฮอสปิทัล
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2562 รพ.ด่านมะขามเตี้ย ใช้ ไอที บริการประชาชน สะดวก ลดแออัด ประชาชนพึงพอใจ ด้วยระบบ สมาร์ท ฮอสปิทัล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย พร้อมชื่นชมการนําเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบบริการประชาชน สู่การเป็น สมาร์ท ฮอสปิทัล ใช้ระบบเรียกคิวอัตโนมัติ รู้ลําดับคิวตัวเองผ่าน สมาร์ทโฟน จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยด้วยอิเลคโทรนิกส์ไฟล์ สะดวกรวดเร็ว ลดก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย พร้อมชื่นชมการนําเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบบริการประชาชน สู่การเป็น สมาร์ท ฮอสปิทัล ใช้ระบบเรียกคิวอัตโนมัติ รู้ลําดับคิวตัวเองผ่านสมาร์ทโฟน จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยด้วยอิเลคโทรนิกส์ไฟล์ สะดวกรวดเร็ว ลดการใช้กระดาษ ลดความแออัดและการรอคอยคิว วันนี้ (17 มกราคม 2562) นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผยภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ว่า ขอชื่นชมโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยได้นําเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับเปลี่ยนระบบการให้บริการทําให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว และจัดเก็บข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ตามนโยบายพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลในสังกัด ให้เป็น สมาร์ท ฮอสปิทัล (Smart Hospital) โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยได้นําเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบทั้ง 4 ด้านคือ Smart Appointment การนัดหมายผู้ป่วยลงทะเบียนตรวจล่วงหน้า Smart Service ระบบจัดการคิวอัตโนมัติ Smart Delivery การจ่ายยา จัดส่งยาผู้ป่วยถึงบ้าน Smart Intermediate Care การเชื่อมโยงข้อมูล แผนการรักษาผู้ป่วย Long Term Care เพื่อลดความจําเป็นในการมาโรงพยาบาล รวมถึงการส่งข้อมูลการรักษาอย่างต่อเนื่องไร้รอยต่อ นายแพทย์ไพศาล กล่าวต่อว่า จากการดําเนินงาน Smart Hospital ของโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยพบว่า ได้พัฒนาครอบคลุมในทุกด้าน อาทิ มีการโทรนัดตรวจล่วงหน้าในบริการทันตกรรม กายภาพบําบัด แพทย์แผนไทย การจัดการระบบคิวอัตโนมัติ ซึ่งผู้ป่วยสามารถรู้คิวการตรวจโดยการแสกน QR Code ทําให้ผู้ป่วยมีเวลาทํากิจกรรมอื่นได้ก่อน ลดการรอคอย ลดความแออัดหน้าห้องตรวจ การส่งหมอไปตรวจรักษาจ่ายยาผู้ป่วยถึงบ้าน เน้นในกลุ่มผู้ป่วยด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และการรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด จากโรงพยาบาลแม่ข่ายมาดูแล กายภาพบําบัด ฟื้นฟูสภาพก่อนส่งกลับบ้าน โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green and Clean Hospital) ใช้ระบบโซลาร์เซลล์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED ทําให้ประหยัดค่าไฟฟ้า ห้องฉุกเฉินใช้ประตูเลื่อนอัตโนมัติร่วมกับเซ็นเซอร์ โดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีน้ําดื่มบรรจุแก้วไว้บริการแก่ประชาชนตามจุดต่างๆ ของโรงพยาบาล จากผลการประเมินความพึงพอใจพบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่มีความสุข ทําให้การบริการดีขึ้น ************************************* 17 มกราคม 2562 ***********************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รพ.ด่านมะขามเตี้ย ใช้ ไอที บริการประชาชน สะดวก ลดแออัด ประชาชนพึงพอใจ ด้วยระบบ สมาร์ท ฮอสปิทัล วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2562 รพ.ด่านมะขามเตี้ย ใช้ ไอที บริการประชาชน สะดวก ลดแออัด ประชาชนพึงพอใจ ด้วยระบบ สมาร์ท ฮอสปิทัล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย พร้อมชื่นชมการนําเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบบริการประชาชน สู่การเป็น สมาร์ท ฮอสปิทัล ใช้ระบบเรียกคิวอัตโนมัติ รู้ลําดับคิวตัวเองผ่าน สมาร์ทโฟน จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยด้วยอิเลคโทรนิกส์ไฟล์ สะดวกรวดเร็ว ลดก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย พร้อมชื่นชมการนําเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบบริการประชาชน สู่การเป็น สมาร์ท ฮอสปิทัล ใช้ระบบเรียกคิวอัตโนมัติ รู้ลําดับคิวตัวเองผ่านสมาร์ทโฟน จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยด้วยอิเลคโทรนิกส์ไฟล์ สะดวกรวดเร็ว ลดการใช้กระดาษ ลดความแออัดและการรอคอยคิว วันนี้ (17 มกราคม 2562) นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผยภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ว่า ขอชื่นชมโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยได้นําเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับเปลี่ยนระบบการให้บริการทําให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว และจัดเก็บข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ตามนโยบายพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลในสังกัด ให้เป็น สมาร์ท ฮอสปิทัล (Smart Hospital) โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยได้นําเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบทั้ง 4 ด้านคือ Smart Appointment การนัดหมายผู้ป่วยลงทะเบียนตรวจล่วงหน้า Smart Service ระบบจัดการคิวอัตโนมัติ Smart Delivery การจ่ายยา จัดส่งยาผู้ป่วยถึงบ้าน Smart Intermediate Care การเชื่อมโยงข้อมูล แผนการรักษาผู้ป่วย Long Term Care เพื่อลดความจําเป็นในการมาโรงพยาบาล รวมถึงการส่งข้อมูลการรักษาอย่างต่อเนื่องไร้รอยต่อ นายแพทย์ไพศาล กล่าวต่อว่า จากการดําเนินงาน Smart Hospital ของโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยพบว่า ได้พัฒนาครอบคลุมในทุกด้าน อาทิ มีการโทรนัดตรวจล่วงหน้าในบริการทันตกรรม กายภาพบําบัด แพทย์แผนไทย การจัดการระบบคิวอัตโนมัติ ซึ่งผู้ป่วยสามารถรู้คิวการตรวจโดยการแสกน QR Code ทําให้ผู้ป่วยมีเวลาทํากิจกรรมอื่นได้ก่อน ลดการรอคอย ลดความแออัดหน้าห้องตรวจ การส่งหมอไปตรวจรักษาจ่ายยาผู้ป่วยถึงบ้าน เน้นในกลุ่มผู้ป่วยด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และการรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด จากโรงพยาบาลแม่ข่ายมาดูแล กายภาพบําบัด ฟื้นฟูสภาพก่อนส่งกลับบ้าน โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green and Clean Hospital) ใช้ระบบโซลาร์เซลล์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED ทําให้ประหยัดค่าไฟฟ้า ห้องฉุกเฉินใช้ประตูเลื่อนอัตโนมัติร่วมกับเซ็นเซอร์ โดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีน้ําดื่มบรรจุแก้วไว้บริการแก่ประชาชนตามจุดต่างๆ ของโรงพยาบาล จากผลการประเมินความพึงพอใจพบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่มีความสุข ทําให้การบริการดีขึ้น ************************************* 17 มกราคม 2562 ***********************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18189
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์อาหารที่วางขายในตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม ไม่ถูกสุขลักษณะ
วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2561 ชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์อาหารที่วางขายในตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม ไม่ถูกสุขลักษณะ ชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์อาหารที่วางขายในตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม ไม่ถูกสุขลักษณะ จากกรณีสื่อนําเสนอข่าวกรณี ผู้ค้าในตลาดร่มหุบ อําเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ภาพลักษณ์ หลังสื่อต่างประเทศเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ถึงบรรยากาศการค้าขายของตลาดร่มหุบ ซึ่งมีผู้ชมจํานวนหนึ่งแสดงความเห็นว่าอาหารที่วางขายอยู่ในตลาดมีโอกาสปนเปื้อนสิ่งสกปรก อีกทั้งการวางจําหน่ายสินค้ากับพื้นก็ไม่ถูกสุขลักษณะ จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลเรื่องความสะอาดบริเวณพื้นที่โดยรอบตลาด นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าว นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ให้ข้อเท็จจริง ดังนี้ 1. ตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม เป็นวิถีของท้องถิ่น มีมาเป็นเวลา 60-70 ปี โดยถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบ unseen หนึ่งของประเทศไทย และในช่วง 6-7 ปีหลัง มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาจํานวนมาก ประมาณ 3พันคนต่อวัน เพื่อที่จะเข้ามาชมวิถีชีวิตการค้าขายของตลาดร่มหุบ 2. ในกรณีสํานักข่าวต่างประเทศแห่งหนึ่งแจ้งว่า อาหารที่มีจําหน่ายไม่ถูกสุขลักษณะ ขอเรียนว่าอาหารที่นํามาจําหน่ายในตลาดร่มหุบ มี 2 ประเภท คือ 1) อาหารสด พืช ผัก ผลไม้ และ 2) อาหารแห้งโดยจะบรรจุใส่ในถุงอาหาร ซึ่งอาหารที่ซื้อจากตลาด จะต้องมีการนําไปล้างและปรุงสุกก่อนนํามารับประทาน ทั้งนี้ บริเวณตลาดไม่มีการจําหน่ายของที่ปรุงสุกขายแต่อย่างใด 3. เทศบาลเมืองสมุทรสงครามและแม่ค้า รวมทั้งสถานีรถไฟได้ดําเนินการเก็บขยะและล้างตลาดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ในแต่ละวันเมื่อแม่ค้าจําหน่วยสินค้าเสร็จสิ้น ในแต่ละแผงสินค้าได้มีการทําความสะอาดเป็นประจําอยู่แล้วทุกวัน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการดูแลและอํานวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยว และเตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยวที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทางจังหวัดสมุทรสงครามจะได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 9 เมษายน 2561 เพื่อดําเนินการ ดังนี้ 1) ขอความร่วมมือจากไกด์นําเที่ยวให้ชี้แจงกับนักท่องเที่ยวในกรณีช่วยกันดูแลความสะอาด โดยการทิ้งขยะในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้ 2) ให้แม่ค้าติดป้ายที่แผงร้านค้า เป็นภาษาอังกฤษ/จีน ซึ่งมีข้อความว่ารับฝากขยะทิ้ง โดยแม่ค้าจะรวบรวมนําไปทิ้งต่อไป 3) ทําความสะอาดตลาดทุก 3 วัน (จากเดิม 2 ครั้ง) 4) จัดบริเวณที่ทิ้งขยะเพิ่มเติม 5) จัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทิ้งขยะในบริเวณที่จัดไว้ให้เพื่อแยกขยะ นอกจากนี้ จังหวัดสมุทรสงคราม จะนําหลักเกณฑ์มาตรฐานตลาดสะอาดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและประเมินผลเพื่อพัฒนาตลาดให้ได้มาตรฐานอย่างยั่งยืนต่อไป. ครั้งที่ 80/2561 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร. 0-22224131-2
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์อาหารที่วางขายในตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม ไม่ถูกสุขลักษณะ วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2561 ชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์อาหารที่วางขายในตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม ไม่ถูกสุขลักษณะ ชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์อาหารที่วางขายในตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม ไม่ถูกสุขลักษณะ จากกรณีสื่อนําเสนอข่าวกรณี ผู้ค้าในตลาดร่มหุบ อําเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ภาพลักษณ์ หลังสื่อต่างประเทศเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ถึงบรรยากาศการค้าขายของตลาดร่มหุบ ซึ่งมีผู้ชมจํานวนหนึ่งแสดงความเห็นว่าอาหารที่วางขายอยู่ในตลาดมีโอกาสปนเปื้อนสิ่งสกปรก อีกทั้งการวางจําหน่ายสินค้ากับพื้นก็ไม่ถูกสุขลักษณะ จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลเรื่องความสะอาดบริเวณพื้นที่โดยรอบตลาด นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าว นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ให้ข้อเท็จจริง ดังนี้ 1. ตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม เป็นวิถีของท้องถิ่น มีมาเป็นเวลา 60-70 ปี โดยถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบ unseen หนึ่งของประเทศไทย และในช่วง 6-7 ปีหลัง มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาจํานวนมาก ประมาณ 3พันคนต่อวัน เพื่อที่จะเข้ามาชมวิถีชีวิตการค้าขายของตลาดร่มหุบ 2. ในกรณีสํานักข่าวต่างประเทศแห่งหนึ่งแจ้งว่า อาหารที่มีจําหน่ายไม่ถูกสุขลักษณะ ขอเรียนว่าอาหารที่นํามาจําหน่ายในตลาดร่มหุบ มี 2 ประเภท คือ 1) อาหารสด พืช ผัก ผลไม้ และ 2) อาหารแห้งโดยจะบรรจุใส่ในถุงอาหาร ซึ่งอาหารที่ซื้อจากตลาด จะต้องมีการนําไปล้างและปรุงสุกก่อนนํามารับประทาน ทั้งนี้ บริเวณตลาดไม่มีการจําหน่ายของที่ปรุงสุกขายแต่อย่างใด 3. เทศบาลเมืองสมุทรสงครามและแม่ค้า รวมทั้งสถานีรถไฟได้ดําเนินการเก็บขยะและล้างตลาดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ในแต่ละวันเมื่อแม่ค้าจําหน่วยสินค้าเสร็จสิ้น ในแต่ละแผงสินค้าได้มีการทําความสะอาดเป็นประจําอยู่แล้วทุกวัน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการดูแลและอํานวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยว และเตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยวที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทางจังหวัดสมุทรสงครามจะได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 9 เมษายน 2561 เพื่อดําเนินการ ดังนี้ 1) ขอความร่วมมือจากไกด์นําเที่ยวให้ชี้แจงกับนักท่องเที่ยวในกรณีช่วยกันดูแลความสะอาด โดยการทิ้งขยะในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้ 2) ให้แม่ค้าติดป้ายที่แผงร้านค้า เป็นภาษาอังกฤษ/จีน ซึ่งมีข้อความว่ารับฝากขยะทิ้ง โดยแม่ค้าจะรวบรวมนําไปทิ้งต่อไป 3) ทําความสะอาดตลาดทุก 3 วัน (จากเดิม 2 ครั้ง) 4) จัดบริเวณที่ทิ้งขยะเพิ่มเติม 5) จัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทิ้งขยะในบริเวณที่จัดไว้ให้เพื่อแยกขยะ นอกจากนี้ จังหวัดสมุทรสงคราม จะนําหลักเกณฑ์มาตรฐานตลาดสะอาดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและประเมินผลเพื่อพัฒนาตลาดให้ได้มาตรฐานอย่างยั่งยืนต่อไป. ครั้งที่ 80/2561 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร. 0-22224131-2
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11400
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. กำชับ จนท. เร่งช่วยเหลือ เด็กชายวัย 3 ขวบ ที่ถูกพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ที่ย่านธนบุรี กรุงเทพฯ
วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2560 ปลัด พม. กําชับ จนท. เร่งช่วยเหลือ เด็กชายวัย 3 ขวบ ที่ถูกพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงทําร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ที่ย่านธนบุรี กรุงเทพฯ ปลัด พม. กําชับ จนท. เร่งช่วยเหลือ เด็กชายวัย 3 ขวบ ที่ถูกพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงทําร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ที่ย่านธนบุรี กรุงเทพฯ และหญิงชราวัย 66 ปี อาศัยในเพิงไม้ที่ไม่มีไฟฟ้าและห้องน้ําใช้ กับหลานสาว 2 คน ที่จ.กระบี่ วันนี้ (16 มี.ค. 60) เวลา 08.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯนายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 593/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม นายไมตรี กล่าวว่า จากกรณี เด็กชายวัย 3 ขวบ อาศัยอยู่กับพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยง ในห้องเช่าชุมชนแออัดที่ย่านถนนเลียบทางรถไฟ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เนื่องจากแม่แท้ๆ ถูกดําเนินคดีจําคุก แต่เด็กชายมักถูกพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงทุบตี ทําร้ายร่างกายเป็นประจํา และใช้บุหรี่จี้ที่หลัง อีกทั้งยังไม่ให้กินข้าว ทําให้ต้องหนีออกมาขอข้าวเพื่อนบ้านกิน นั้น ตนได้กําชับ ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เร่งลงพื้นที่เยี่ยมเด็กชายดังกล่าวเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยเฉพาะเร่งเยียวยาและฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กชายดังกล่าวอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแล ในเรื่องการตรวจร่างกายและรักษาพยาบาลเด็กจากการถูกทําร้ายร่างกาย อีกทั้งร่วมหาแนวทางในการเลี้ยงดูเด็กชายดังกล่าวอย่างเหมาะสมในระยะยาวต่อไป นายไมตรี กล่าวต่อไปว่า จากกรณี หญิงชราวัย 66 ปี ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูหลานสาว 2 คน วัย 10 ขวบ และ 7 ขวบ ซึ่งป่วยเป็นโรคลมชัก ต้องอาศัยเรือของเพื่อนบ้านออกไปตกปลาและหาหอย เพื่อนํามาขายหาเลี้ยงครอบครัว มีรายได้เพียง วันละไม่กี่สิบบาท ซึ่งทั้ง 3 ชีวิต อาศัยในเพิงไม้สภาพเก่าใกล้ผุพัง มีขนาดเพียง 3 เมตร ไม่มีไฟฟ้าและห้องน้ําใช้ ที่อําเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกระบี่ (พมจ.กระบี่) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวดังกล่าว เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น และอุปกรณ์การเรียน รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลด้านสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว อาทิ การศึกษาเล่าเรียนอย่างต่อเนื่องของเด็กหญิงทั้งสองคน การตรวจและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาว การปรับปรุงซ่อมแซม ที่อยู่อาศัยให้มีสภาพแข็งแรง มั่นคง ถูกสุขลักษณะ เหมาะสมสําหรับการใช้ชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ และขอติดตั้งไฟฟ้าและน้ําประปาใช้ อีกทั้งแนะนําให้คําปรึกษาในเรื่องการส่งเสริมอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงสําหรับครอบครัวในระยะยาวต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. กำชับ จนท. เร่งช่วยเหลือ เด็กชายวัย 3 ขวบ ที่ถูกพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ที่ย่านธนบุรี กรุงเทพฯ วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2560 ปลัด พม. กําชับ จนท. เร่งช่วยเหลือ เด็กชายวัย 3 ขวบ ที่ถูกพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงทําร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ที่ย่านธนบุรี กรุงเทพฯ ปลัด พม. กําชับ จนท. เร่งช่วยเหลือ เด็กชายวัย 3 ขวบ ที่ถูกพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงทําร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ที่ย่านธนบุรี กรุงเทพฯ และหญิงชราวัย 66 ปี อาศัยในเพิงไม้ที่ไม่มีไฟฟ้าและห้องน้ําใช้ กับหลานสาว 2 คน ที่จ.กระบี่ วันนี้ (16 มี.ค. 60) เวลา 08.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯนายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 593/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม นายไมตรี กล่าวว่า จากกรณี เด็กชายวัย 3 ขวบ อาศัยอยู่กับพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยง ในห้องเช่าชุมชนแออัดที่ย่านถนนเลียบทางรถไฟ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เนื่องจากแม่แท้ๆ ถูกดําเนินคดีจําคุก แต่เด็กชายมักถูกพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงทุบตี ทําร้ายร่างกายเป็นประจํา และใช้บุหรี่จี้ที่หลัง อีกทั้งยังไม่ให้กินข้าว ทําให้ต้องหนีออกมาขอข้าวเพื่อนบ้านกิน นั้น ตนได้กําชับ ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เร่งลงพื้นที่เยี่ยมเด็กชายดังกล่าวเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยเฉพาะเร่งเยียวยาและฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กชายดังกล่าวอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแล ในเรื่องการตรวจร่างกายและรักษาพยาบาลเด็กจากการถูกทําร้ายร่างกาย อีกทั้งร่วมหาแนวทางในการเลี้ยงดูเด็กชายดังกล่าวอย่างเหมาะสมในระยะยาวต่อไป นายไมตรี กล่าวต่อไปว่า จากกรณี หญิงชราวัย 66 ปี ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูหลานสาว 2 คน วัย 10 ขวบ และ 7 ขวบ ซึ่งป่วยเป็นโรคลมชัก ต้องอาศัยเรือของเพื่อนบ้านออกไปตกปลาและหาหอย เพื่อนํามาขายหาเลี้ยงครอบครัว มีรายได้เพียง วันละไม่กี่สิบบาท ซึ่งทั้ง 3 ชีวิต อาศัยในเพิงไม้สภาพเก่าใกล้ผุพัง มีขนาดเพียง 3 เมตร ไม่มีไฟฟ้าและห้องน้ําใช้ ที่อําเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกระบี่ (พมจ.กระบี่) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวดังกล่าว เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น และอุปกรณ์การเรียน รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลด้านสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว อาทิ การศึกษาเล่าเรียนอย่างต่อเนื่องของเด็กหญิงทั้งสองคน การตรวจและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาว การปรับปรุงซ่อมแซม ที่อยู่อาศัยให้มีสภาพแข็งแรง มั่นคง ถูกสุขลักษณะ เหมาะสมสําหรับการใช้ชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ และขอติดตั้งไฟฟ้าและน้ําประปาใช้ อีกทั้งแนะนําให้คําปรึกษาในเรื่องการส่งเสริมอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงสําหรับครอบครัวในระยะยาวต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2425
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน มั่นใจมาตรการการควบคุมโควิด-19 ของไทย
วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563 อนุทิน มั่นใจมาตรการการควบคุมโควิด-19 ของไทย อนุทิน มั่นใจมาตรการการควบคุมโควิด-19 ของไทย วันนี้ (21 มีนาคม 2563) ที่สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจําประเทศไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย บรรยายสรุปสถานการณ์ และมาตรการของไทยในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ตามคําเชิญของเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจําประเทศไทย โดยมีเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรประจําประเทศไทย นักการทูตจากประเทศต่างๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมฟัง นายอนุทินกล่าวว่า ไทยมีความพร้อมรองรับจํานวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น สามารถบริหารจัดการทรัพยากร ทั้งสถานพยาบาล บุคลากร ห้องปฏิบัติการ และเวชภัณฑ์ รวมทั้งได้ประสานโรงพยาบาลเอกชนให้ความร่วมมือในการรับดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 นอกจากนี้ ไทยได้ประสานงานกับรัฐบาลจีนและญี่ปุ่น จัดซื้อยาแบบรัฐต่อรัฐ และได้รับการสนับสนุนด้านยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากภาคเอกชน Jack Ma Foundation โดยทีมงานของกระทรวงสาธารณสุขมีประสบการณ์การควบคุมโรคระบาด ทําตามนโยบายที่วางแผนทํางานล่วงหน้าก่อนสถานการณ์หนึ่งขั้น ทําให้องค์การอนามัยโลกและหลายประเทศเชื่อมั่นต่อมาตรการการควบคุมโรคของไทย และพร้อมให้การสนับสนุนการดําเนินงานของไทยด้วย “ชื่นชมและขอบคุณบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี เสียสละ และหัวใจสําคัญในการควบคุมการระบาดของโรคคือ ความร่วมมือของประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล และการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ซึ่งเป็นมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทั่วโลกยอมรับว่าสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อได้” นายอนุทินกล่าว สําหรับมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามประกาศของสถาบันการบินพลเรือนที่เอกอัครราชทูตหลายประเทศแสดงความกังวลนั้น จะนําเรื่องนี้ไปพิจารณา ซึ่งรัฐบาลไทยให้ความสําคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอันดับต้นๆ มีความรอบคอบในการออกมาตรการต่างๆ มุ่งเน้นการจัดการควบคุมการระบาดของโรคที่ขณะนี้เป็นการติดเชื้อภายในประเทศไทย ด้านนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ระบบสุขภาพของไทยมีความเข้มแข็ง ทั้งระบบการรักษา ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ มีสถานพยาบาลครอบคลุมทุกระดับ ทั้งในกรุงเทพ โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนทุกอําเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลทุกตําบล และระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค ซึ่งมีนักระบาดวิทยากระจายตัวอยู่ในทุกเขตสุขภาพ ทํางานอย่างรวดเร็ว นายแพทย์แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย ได้กล่าวว่า Covid-19 เป็นเชื้อไวรัสใหม่ ไม่มีระบบสุขภาพของประเทศใดในโลกเคยพบ และได้เตรียมการรับมือกับโรคนี้มาก่อน สิ่งที่ระบบสุขภาพของประเทศไทยดําเนินการจัดการกับการระบาดของ Covid-19 ถือว่าอยู่ในระดับดีเยี่ยม ด้วยการป้องกันการติดเชื้อ หากติดเชื้อก็ทําการรักษาเพื่อป้องการตาย การตอบสนองของระบบสุขภาพไทย (public health response) ต่อสถานการณ์ Covid-19 ที่ทําได้ดีเยี่ยมอยู่แล้วนั้น จําเป็นต้องทําอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ต้องทําการขยายลงไปในระดับภูมิภาคและจังหวัดต่างๆ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน มั่นใจมาตรการการควบคุมโควิด-19 ของไทย วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563 อนุทิน มั่นใจมาตรการการควบคุมโควิด-19 ของไทย อนุทิน มั่นใจมาตรการการควบคุมโควิด-19 ของไทย วันนี้ (21 มีนาคม 2563) ที่สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจําประเทศไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย บรรยายสรุปสถานการณ์ และมาตรการของไทยในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ตามคําเชิญของเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจําประเทศไทย โดยมีเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรประจําประเทศไทย นักการทูตจากประเทศต่างๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมฟัง นายอนุทินกล่าวว่า ไทยมีความพร้อมรองรับจํานวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น สามารถบริหารจัดการทรัพยากร ทั้งสถานพยาบาล บุคลากร ห้องปฏิบัติการ และเวชภัณฑ์ รวมทั้งได้ประสานโรงพยาบาลเอกชนให้ความร่วมมือในการรับดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 นอกจากนี้ ไทยได้ประสานงานกับรัฐบาลจีนและญี่ปุ่น จัดซื้อยาแบบรัฐต่อรัฐ และได้รับการสนับสนุนด้านยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากภาคเอกชน Jack Ma Foundation โดยทีมงานของกระทรวงสาธารณสุขมีประสบการณ์การควบคุมโรคระบาด ทําตามนโยบายที่วางแผนทํางานล่วงหน้าก่อนสถานการณ์หนึ่งขั้น ทําให้องค์การอนามัยโลกและหลายประเทศเชื่อมั่นต่อมาตรการการควบคุมโรคของไทย และพร้อมให้การสนับสนุนการดําเนินงานของไทยด้วย “ชื่นชมและขอบคุณบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี เสียสละ และหัวใจสําคัญในการควบคุมการระบาดของโรคคือ ความร่วมมือของประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล และการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ซึ่งเป็นมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทั่วโลกยอมรับว่าสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อได้” นายอนุทินกล่าว สําหรับมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามประกาศของสถาบันการบินพลเรือนที่เอกอัครราชทูตหลายประเทศแสดงความกังวลนั้น จะนําเรื่องนี้ไปพิจารณา ซึ่งรัฐบาลไทยให้ความสําคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอันดับต้นๆ มีความรอบคอบในการออกมาตรการต่างๆ มุ่งเน้นการจัดการควบคุมการระบาดของโรคที่ขณะนี้เป็นการติดเชื้อภายในประเทศไทย ด้านนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ระบบสุขภาพของไทยมีความเข้มแข็ง ทั้งระบบการรักษา ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ มีสถานพยาบาลครอบคลุมทุกระดับ ทั้งในกรุงเทพ โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนทุกอําเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลทุกตําบล และระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค ซึ่งมีนักระบาดวิทยากระจายตัวอยู่ในทุกเขตสุขภาพ ทํางานอย่างรวดเร็ว นายแพทย์แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย ได้กล่าวว่า Covid-19 เป็นเชื้อไวรัสใหม่ ไม่มีระบบสุขภาพของประเทศใดในโลกเคยพบ และได้เตรียมการรับมือกับโรคนี้มาก่อน สิ่งที่ระบบสุขภาพของประเทศไทยดําเนินการจัดการกับการระบาดของ Covid-19 ถือว่าอยู่ในระดับดีเยี่ยม ด้วยการป้องกันการติดเชื้อ หากติดเชื้อก็ทําการรักษาเพื่อป้องการตาย การตอบสนองของระบบสุขภาพไทย (public health response) ต่อสถานการณ์ Covid-19 ที่ทําได้ดีเยี่ยมอยู่แล้วนั้น จําเป็นต้องทําอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ต้องทําการขยายลงไปในระดับภูมิภาคและจังหวัดต่างๆ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27616
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมเตรียมความพร้อมการลงพื้นที่ ครม.สัญจร ครั้งที่ 1/2561
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมเตรียมความพร้อมการลงพื้นที่ ครม.สัญจร ครั้งที่ 1/2561 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมเตรียมความพร้อมการลงพื้นที่ ครม.สัญจร ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องประชุม สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตราด วันนี้ (25 มกราคม 2561) นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการครั้งที่ 1/2561 ในการตรวจราชการจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งชี้แจงนโยบาย Local Economy แก่สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในเขตพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจและผลักดันการดําเนินงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีอุตสาหกรรมจังหวัดตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด จันทบุรี ประธานสภาเกษตรจังหวัดจันทบุรี ตราด ผู้อํานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และ ผู้อํานวยการกองตรวจราชการ สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตราด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมเตรียมความพร้อมการลงพื้นที่ ครม.สัญจร ครั้งที่ 1/2561 วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมเตรียมความพร้อมการลงพื้นที่ ครม.สัญจร ครั้งที่ 1/2561 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมเตรียมความพร้อมการลงพื้นที่ ครม.สัญจร ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องประชุม สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตราด วันนี้ (25 มกราคม 2561) นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการครั้งที่ 1/2561 ในการตรวจราชการจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งชี้แจงนโยบาย Local Economy แก่สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในเขตพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจและผลักดันการดําเนินงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีอุตสาหกรรมจังหวัดตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด จันทบุรี ประธานสภาเกษตรจังหวัดจันทบุรี ตราด ผู้อํานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และ ผู้อํานวยการกองตรวจราชการ สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตราด
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9612
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. ประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ COVID-19 ให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ย กรอบวงเงินสินเชื่อลูกค้าธนาคาร 20,000 ล้านบาท
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 ธอส. ประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ COVID-19 ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ย กรอบวงเงินสินเชื่อลูกค้าธนาคาร 20,000 ล้านบาท ธอส.จัดทํา “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย” ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ย เพื่อให้ลูกค้ายังคงมีบ้านและมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในด้านที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดทํา “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย” ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น สงครามการค้า ภัยแล้ง จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ย เพื่อให้ลูกค้ายังคงมีบ้านและมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในด้านที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ประกอบด้วย 1.กรณีอยู่ระหว่างการใช้อัตราดอกเบี้ย Promotion ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ไม่เกิน 6 เดือน 2.กรณีพ้นระยะเวลาดอกเบี้ย Promotion หากเป็นลูกค้ารายย่อย / สวัสดิการ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MRR -1.25% ต่อปี ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือนไม่เกิน 6 เดือน กรณีเป็นลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อ/ปลูกสร้างแฟลต ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MLR -1.25% ต่อปี ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือนไม่เกิน 6 เดือน และ 3.กรณีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่รายได้ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่มเสี่ยงให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินงวดผ่อนชําระไม่เกิน 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 1.00% ต่อปี และให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมไปกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบด้านรายได้จากปัญหา ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีพันธกิจ “ทําให้คนไทยมีบ้าน” ที่ให้ความสําคัญกับการทําให้ลูกค้าประชาชนสามารถผ่อนชําระสินเชื่อบ้านกับธนาคารได้จนถึงวันที่ครบตามวงเงินในสัญญาเงินกู้เพื่อให้ลูกค้าได้มีบ้านเป็นของตนเองอย่างสมบูรณ์ จึงได้จัดทํามาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย กรอบวงเงินสินเชื่อลูกค้าธนาคาร 20,000 ล้านบาท เพื่อให้ลูกค้ามีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอในการดําเนินชีวิตประจําวันหรือดําเนินธุรกิจต่อไป และช่วยให้ฐานะการเงินของลูกค้าปรับตัวดีขึ้นจนมีความสามารถในการผ่อนชําระได้ต่อไป โดยลูกค้าที่มีสิทธิ์ขอใช้มาตรการต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น สงครามการค้า ภัยแล้ง จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยแสดงหลักฐานหรือเอกสาร หรือข้อมูลอื่นที่เชื่อมโยงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งครอบคลุมทั้งลูกค้าที่ยังมีสถานะปกติ และลูกค้าที่มีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL แบ่งเป็น 3 กรณี ประกอบด้วย 1.กรณีอยู่ระหว่างการใช้อัตราดอกเบี้ยตาม Promotion (ยื่นคําร้องได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563) ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน (ยกเว้นลูกค้าโครงการสินเชื่อตามที่ธนาคารกําหนด) และเมื่อผ่อนชําระครบตามเงื่อนไข สามารถกลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของสัญญาเดิม 2.กรณีพ้นระยะเวลาการใช้อัตราดอกเบี้ยตาม Promotion (ยื่นคําร้องได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563) ให้ผ่อนชําระ ดังนี้ (1) ลูกค้ารายย่อย / สวัสดิการ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MRR -1.25% ต่อปี ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และให้พักชําระดอกเบี้ยค้างเดิมไว้ก่อน (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. เท่ากับ 6.375 % ต่อปี) เมื่อผ่อนชําระครบตามเงื่อนไขให้กลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของสัญญาเดิม (2) ลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อ/ปลูกสร้างแฟลต ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MLR -1.25% ต่อปี ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และให้พักชําระดอกเบี้ยค้างเดิมไว้ก่อน (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ธอส. เท่ากับ 5.875 % ต่อปี) เมื่อผ่อนชําระครบตามเงื่อนไข สามารถกลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของสัญญาเดิม 3.กรณีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่รายได้ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินงวดผ่อนชําระไม่เกิน 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 1.00% ต่อปี และให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน เปิดให้ยื่นคําขอใช้มาตรการได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. ประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ COVID-19 ให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ย กรอบวงเงินสินเชื่อลูกค้าธนาคาร 20,000 ล้านบาท วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 ธอส. ประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ COVID-19 ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ย กรอบวงเงินสินเชื่อลูกค้าธนาคาร 20,000 ล้านบาท ธอส.จัดทํา “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย” ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ย เพื่อให้ลูกค้ายังคงมีบ้านและมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในด้านที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดทํา “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย” ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น สงครามการค้า ภัยแล้ง จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ย เพื่อให้ลูกค้ายังคงมีบ้านและมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในด้านที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ประกอบด้วย 1.กรณีอยู่ระหว่างการใช้อัตราดอกเบี้ย Promotion ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ไม่เกิน 6 เดือน 2.กรณีพ้นระยะเวลาดอกเบี้ย Promotion หากเป็นลูกค้ารายย่อย / สวัสดิการ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MRR -1.25% ต่อปี ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือนไม่เกิน 6 เดือน กรณีเป็นลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อ/ปลูกสร้างแฟลต ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MLR -1.25% ต่อปี ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือนไม่เกิน 6 เดือน และ 3.กรณีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่รายได้ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่มเสี่ยงให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินงวดผ่อนชําระไม่เกิน 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 1.00% ต่อปี และให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมไปกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบด้านรายได้จากปัญหา ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีพันธกิจ “ทําให้คนไทยมีบ้าน” ที่ให้ความสําคัญกับการทําให้ลูกค้าประชาชนสามารถผ่อนชําระสินเชื่อบ้านกับธนาคารได้จนถึงวันที่ครบตามวงเงินในสัญญาเงินกู้เพื่อให้ลูกค้าได้มีบ้านเป็นของตนเองอย่างสมบูรณ์ จึงได้จัดทํามาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย กรอบวงเงินสินเชื่อลูกค้าธนาคาร 20,000 ล้านบาท เพื่อให้ลูกค้ามีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอในการดําเนินชีวิตประจําวันหรือดําเนินธุรกิจต่อไป และช่วยให้ฐานะการเงินของลูกค้าปรับตัวดีขึ้นจนมีความสามารถในการผ่อนชําระได้ต่อไป โดยลูกค้าที่มีสิทธิ์ขอใช้มาตรการต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น สงครามการค้า ภัยแล้ง จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยแสดงหลักฐานหรือเอกสาร หรือข้อมูลอื่นที่เชื่อมโยงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งครอบคลุมทั้งลูกค้าที่ยังมีสถานะปกติ และลูกค้าที่มีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL แบ่งเป็น 3 กรณี ประกอบด้วย 1.กรณีอยู่ระหว่างการใช้อัตราดอกเบี้ยตาม Promotion (ยื่นคําร้องได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563) ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน (ยกเว้นลูกค้าโครงการสินเชื่อตามที่ธนาคารกําหนด) และเมื่อผ่อนชําระครบตามเงื่อนไข สามารถกลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของสัญญาเดิม 2.กรณีพ้นระยะเวลาการใช้อัตราดอกเบี้ยตาม Promotion (ยื่นคําร้องได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563) ให้ผ่อนชําระ ดังนี้ (1) ลูกค้ารายย่อย / สวัสดิการ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MRR -1.25% ต่อปี ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และให้พักชําระดอกเบี้ยค้างเดิมไว้ก่อน (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. เท่ากับ 6.375 % ต่อปี) เมื่อผ่อนชําระครบตามเงื่อนไขให้กลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของสัญญาเดิม (2) ลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อ/ปลูกสร้างแฟลต ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MLR -1.25% ต่อปี ให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และให้พักชําระดอกเบี้ยค้างเดิมไว้ก่อน (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ธอส. เท่ากับ 5.875 % ต่อปี) เมื่อผ่อนชําระครบตามเงื่อนไข สามารถกลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของสัญญาเดิม 3.กรณีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่รายได้ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินงวดผ่อนชําระไม่เกิน 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 1.00% ต่อปี และให้ชําระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน เปิดให้ยื่นคําขอใช้มาตรการได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26986
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วว. ต้อนรับคณะผู้บริหารเทศบาล ต.แสนสุข ในโอกาสเยี่ยมชมอาคารคัดแยกขยะ ต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี พร้อมหารือความร่วมมือการดำเนินโครงการนวัตอัตลักษณ์ เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะชุมชน อ
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 วว. ต้อนรับคณะผู้บริหารเทศบาล ต.แสนสุข ในโอกาสเยี่ยมชมอาคารคัดแยกขยะ ต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี พร้อมหารือความร่วมมือการดําเนินโครงการนวัตอัตลักษณ์ เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะชุมชน อ วว. ต้อนรับคณะผู้บริหารเทศบาล ต.แสนสุข ในโอกาสเยี่ยมชมอาคารคัดแยกขยะ ต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี พร้อมหารือความร่วมมือการดําเนินโครงการนวัตอัตลักษณ์ เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะชุมชน อย่างยั่งยืน นายเฉลิมชัย จีระพันธุ์ ผู้อํานวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ดร.เรวดี อนุวัฒนา นักวิจัยอาวุโส ศนพ. ร่วมต้อนรับ นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ เทศบาลตําบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี ในโอกาสเยี่ยมชมศึกษาดูงานเทคโนโลยีของ วว. ภายในอาคารคัดแยกขยะชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ตําบลตาลเดี่ยว จังหวัดสระบุรี เพื่อนําไปปรับใช้ในพื้นที่อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบคัดแยกขยะพร้อมระบบดับกลิ่นขยะ ระบบล้างถุงพลาสติก ระบบคัดแยกชนิดและสีพลาสติก โดยระบบ NIR และ Vision พร้อมระบบผลิตเกล็ดพลาสติก ระบบผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) และระบบผลิตก๊าซชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีการหารือความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการนวัตอัตลักษณ์ในพื้นที่ตําบลแสนสุขด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนอย่างยั่งยืน (วันที่ 10 มี.ค. 2563) อนึ่ง วว. ร่วมกับ อบต.ตาลเดี่ยว และจังหวัดสระบุรี ได้ดําเนินโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนโครงการใน 2 ด้าน ได้แก่ การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมสู่ชุมชน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างเครื่องจักรในการคัดแยกขยะระบบกึ่งอัตโนมัติที่รองรับการแก้ไขปัญหาทั้งขยะเก่าและขยะใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อแปรรูปขยะโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานสะอาด รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ รวมถึงลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการจัดการขยะภายในอาคารคัดแยกขยะ ประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีในการคัดแยกขยะระบบกึ่งอัตโนมัติ พร้อมระบบดับกลิ่นขยะด้วยโอโซนและสารดูดซับ 2. เทคโนโลยีในการคัดแยกชนิดและสีพลาสติกด้วยระบบ NIR และ Vision 3. เทคโนโลยีการบําบัดน้ําชะขยะด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ 4. เทคโนโลยีการทําความสะอาดก๊าซชีวภาพ ผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดถัง เพื่อใช้เป็นพลังงานความร้อน 5. เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะคุณภาพสูง (Refuse Derived Fuel, d-RDF) 6. เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วว. ต้อนรับคณะผู้บริหารเทศบาล ต.แสนสุข ในโอกาสเยี่ยมชมอาคารคัดแยกขยะ ต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี พร้อมหารือความร่วมมือการดำเนินโครงการนวัตอัตลักษณ์ เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะชุมชน อ วันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 วว. ต้อนรับคณะผู้บริหารเทศบาล ต.แสนสุข ในโอกาสเยี่ยมชมอาคารคัดแยกขยะ ต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี พร้อมหารือความร่วมมือการดําเนินโครงการนวัตอัตลักษณ์ เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะชุมชน อ วว. ต้อนรับคณะผู้บริหารเทศบาล ต.แสนสุข ในโอกาสเยี่ยมชมอาคารคัดแยกขยะ ต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี พร้อมหารือความร่วมมือการดําเนินโครงการนวัตอัตลักษณ์ เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะชุมชน อย่างยั่งยืน นายเฉลิมชัย จีระพันธุ์ ผู้อํานวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ดร.เรวดี อนุวัฒนา นักวิจัยอาวุโส ศนพ. ร่วมต้อนรับ นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ เทศบาลตําบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี ในโอกาสเยี่ยมชมศึกษาดูงานเทคโนโลยีของ วว. ภายในอาคารคัดแยกขยะชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ตําบลตาลเดี่ยว จังหวัดสระบุรี เพื่อนําไปปรับใช้ในพื้นที่อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบคัดแยกขยะพร้อมระบบดับกลิ่นขยะ ระบบล้างถุงพลาสติก ระบบคัดแยกชนิดและสีพลาสติก โดยระบบ NIR และ Vision พร้อมระบบผลิตเกล็ดพลาสติก ระบบผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) และระบบผลิตก๊าซชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีการหารือความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการนวัตอัตลักษณ์ในพื้นที่ตําบลแสนสุขด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนอย่างยั่งยืน (วันที่ 10 มี.ค. 2563) อนึ่ง วว. ร่วมกับ อบต.ตาลเดี่ยว และจังหวัดสระบุรี ได้ดําเนินโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนโครงการใน 2 ด้าน ได้แก่ การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมสู่ชุมชน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างเครื่องจักรในการคัดแยกขยะระบบกึ่งอัตโนมัติที่รองรับการแก้ไขปัญหาทั้งขยะเก่าและขยะใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อแปรรูปขยะโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานสะอาด รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ รวมถึงลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการจัดการขยะภายในอาคารคัดแยกขยะ ประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีในการคัดแยกขยะระบบกึ่งอัตโนมัติ พร้อมระบบดับกลิ่นขยะด้วยโอโซนและสารดูดซับ 2. เทคโนโลยีในการคัดแยกชนิดและสีพลาสติกด้วยระบบ NIR และ Vision 3. เทคโนโลยีการบําบัดน้ําชะขยะด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ 4. เทคโนโลยีการทําความสะอาดก๊าซชีวภาพ ผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดถัง เพื่อใช้เป็นพลังงานความร้อน 5. เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะคุณภาพสูง (Refuse Derived Fuel, d-RDF) 6. เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27805
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค. ยืนยันปริมาณยาในขณะนี้มีเพียงพอ แต่จำเป็นต้องชะลอจำนวนผู้ป่วยไม่ให้เพิ่มมากขึ้น ย้ำกระบวนการป้องกันการแพร่ระบาดไทยมีประสิทธิภาพ อัตราการเสียชีวิตไทยอยู่ในระดับต่ำ
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563 ศบค. ยืนยันปริมาณยาในขณะนี้มีเพียงพอ แต่จําเป็นต้องชะลอจํานวนผู้ป่วยไม่ให้เพิ่มมากขึ้น ย้ํากระบวนการป้องกันการแพร่ระบาดไทยมีประสิทธิภาพ อัตราการเสียชีวิตไทยอยู่ในระดับต่ํา ศบค. ยืนยันปริมาณยาในขณะนี้มีเพียงพอ แต่จําเป็นต้องชะลอจํานวนผู้ป่วยไม่ให้เพิ่มมากขึ้น ย้ํากระบวนการป้องกันการแพร่ระบาดไทยมีประสิทธิภาพ อัตราการเสียชีวิตไทยอยู่ในระดับต่ํา วันนี้ (9 เม.ย. 2563) เวลา 12.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในนามโฆษก ศบค. ตอบคําถามสื่อมวลชนสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเด็นสําคัญ ดังนี้ โฆษก ศบค. ได้ชี้แจงกรณีผู้ติดเชื้อต่างประเทศที่มีจํานวนเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเกี่ยวกับจํานวนยาและเวชภัณฑ์ว่าเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งมาตรการความช่วยเหลือคนไทยที่ยังตกค้างอยู่ในต่างประเทศ หลังจากมีการประกาศห้ามสายการบินเข้าประเทศไทย โดยยืนยันว่า ยาที่มีสํารองอยู่ขณะนี้จํานวน 400,000 กว่าเม็ด เพียงพอ อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับจํานวนของผู้ติดเชื้อว่าจะมีเพิ่มขึ้นหรือไม่ นอกจากนี้ รัฐบาลกําลังสร้างมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับช่วยเหลือประชาชนที่ยังคงตกค้างอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีสายการบินที่รอจะเข้ามาในประเทศไทยวันที่ 10 เมษายน 2563 นี้ โดยมีนักเรียน AFS จากประเทศสิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และรัสเซีย จํานวนกว่า 100 ราย ที่สะสมอยู่ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศดูแลเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ขอให้บุคคลที่ยังไม่ได้ออกจากประเทศนั้นๆ อยู่ในประเทศที่ตั้งก่อน เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหว เคลื่อนย้ายตัวขณะที่โรคกําลังระบาดอยู่ เพราะอาจจะไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการรวมตัวของกลุ่มคนจํานวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่อาจจะทําให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพิ่มขึ้นได้ โฆษก ศบค. ยังชี้แจงว่า กรณีที่มีผู้ทําการขนส่งเวชภัณฑ์ในช่วงเวลาเคอร์ฟิว เจอด่านตรวจและถูกดําเนินคดีนั้น หากอยู่ในเกณฑ์ของการขนส่งสินค้าอุปโภค บริโภค และเวชภัณฑ์ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจําด่านตรวจรับทราบได้ ทั้งนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเคยชี้แจงจะมีการผ่อนผันและประกาศภายหลัง เนื่องจากการขนส่งสินค้าอุปโภค บริโภคนั้นมีความจําเป็น และไม่ใช่การออกไปสังสรรค์หรือการกระทําผิดในช่วงเวลาเคอร์ฟิว ซึ่งเจ้าหน้าที่ตํารวจที่ปฏิบัติงานสามารถผ่อนปรนให้ได้ สําหรับกรณีเอกสารรับรองที่บางหน่วยงานจัดทําแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอแก่ผู้ที่มีความจําเป็นที่จะต้องสัญจรในช่วงเวลาเคอร์ฟิว และจะต้องไปขอเอกสารรับรองเพิ่มเติมจากสถานีตํารวจหรือสํานักงานเขต นั้น โฆษก ศบค. ขอให้ประชาชนยึดตามกฎกติกาในพื้นที่นั้น ๆ เช่น ตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ช่วงเวลาเคอร์ฟิวคือ 22.00 น. ถึง 04.00 น. แต่บางจังหวัดได้กําหนดให้ช่วงเวลาเคอร์ฟิวเป็น 21.00 น. ถึง 05.00 น. ดังนั้นประชาชนในพื้นที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการของจังหวัด หากมีข้อสงสัยขอให้สอบถามเจ้าหน้าที่ตํารวจที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อความแน่ใจ โฆษก ศบค. ยังขอความร่วมมือว่าหน้ากากอนามัยชนิด N95 เหมาะสมสําหรับบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ถึงแม้ว่าจะต้องดูแลผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ก็สามารถป้องกันได้ เพราะผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 นั้นอยู่ในการรักษาในสถานพยาบาลอยู่แล้ว สําหรับประชาชนทั่วไปขอให้ใช้หน้ากากผ้า หากประชาชนหลายคนซื้อหน้ากากอนามัยชนิด N95 ก็จะยิ่งทําให้หน้ากากมีราคาที่สูงขึ้น หายากมากขึ้น รวมถึงหากนําหน้ากากอนามัยชนิด N95 มาใช้ไม่ถูกวิธีก็ทําให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง โฆษก ศบค. ยังได้ตอบคําถามของผู้สื่อข่าวที่สงสัยว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อน้อยเนื่องจากว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อน หากเข้าฤดูฝนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จํานวนของผู้ป่วยอาจจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นนั้นว่า ยังไม่มีการยืนยันว่าฤดูกาลจะส่งผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ต้องติดตามต่อไป เพราะตามแนวโน้มในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นหน้าร้อนแต่ตัวเลขผู้ป่วยนั้นก็ยังไม่คงที่ ตอนท้ายโฆษก ศบค. ได้แสดงตัวเลขที่สะท้อนถึงการทํางานที่มีประสิทธิภาพ โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้อง จากรายงานอัตราการเสียชีวิตของ 10 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุด ณ วันที่ 8 เมษายน 63 อันดับ 1 ที่มีการเสียชีวิตสะสมสูงสุดคือ ประเทศอิตาลี 12.63 % สหราชอาณาจักร 11.03% สเปน 9.92 % เบลเยียม 9.5% ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าไทยทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ขณะที่อัตราการเสียชีวิตของไทยอยู่ที่ 1.26 % จึงอยากให้ทุกคนเชื่อมั่นกระบวนการที่ทํามา อีกหนึ่งตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับวงเงินที่ทั่วโลกใช้กระตุ้นเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เยอรมัน 21.8% มาเลเซีย 16.5% สเปน 16% สหราชอาณาจักร 15.8% ฝรั่งเศส 14.3% และประเทศไทยยังมากกว่าญี่ปุ่น 12% และประเทศไทยมากกว่าสหรัฐอเมริกา 10.7% เนื่องจากหลายประเทศมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าประเทศไทย เพราะฉะนั้นวงเงินใช้ในส่วนนี้มีจํากัด จึงขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล ------------------------------------------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค. ยืนยันปริมาณยาในขณะนี้มีเพียงพอ แต่จำเป็นต้องชะลอจำนวนผู้ป่วยไม่ให้เพิ่มมากขึ้น ย้ำกระบวนการป้องกันการแพร่ระบาดไทยมีประสิทธิภาพ อัตราการเสียชีวิตไทยอยู่ในระดับต่ำ วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563 ศบค. ยืนยันปริมาณยาในขณะนี้มีเพียงพอ แต่จําเป็นต้องชะลอจํานวนผู้ป่วยไม่ให้เพิ่มมากขึ้น ย้ํากระบวนการป้องกันการแพร่ระบาดไทยมีประสิทธิภาพ อัตราการเสียชีวิตไทยอยู่ในระดับต่ํา ศบค. ยืนยันปริมาณยาในขณะนี้มีเพียงพอ แต่จําเป็นต้องชะลอจํานวนผู้ป่วยไม่ให้เพิ่มมากขึ้น ย้ํากระบวนการป้องกันการแพร่ระบาดไทยมีประสิทธิภาพ อัตราการเสียชีวิตไทยอยู่ในระดับต่ํา วันนี้ (9 เม.ย. 2563) เวลา 12.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในนามโฆษก ศบค. ตอบคําถามสื่อมวลชนสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเด็นสําคัญ ดังนี้ โฆษก ศบค. ได้ชี้แจงกรณีผู้ติดเชื้อต่างประเทศที่มีจํานวนเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเกี่ยวกับจํานวนยาและเวชภัณฑ์ว่าเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งมาตรการความช่วยเหลือคนไทยที่ยังตกค้างอยู่ในต่างประเทศ หลังจากมีการประกาศห้ามสายการบินเข้าประเทศไทย โดยยืนยันว่า ยาที่มีสํารองอยู่ขณะนี้จํานวน 400,000 กว่าเม็ด เพียงพอ อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับจํานวนของผู้ติดเชื้อว่าจะมีเพิ่มขึ้นหรือไม่ นอกจากนี้ รัฐบาลกําลังสร้างมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับช่วยเหลือประชาชนที่ยังคงตกค้างอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีสายการบินที่รอจะเข้ามาในประเทศไทยวันที่ 10 เมษายน 2563 นี้ โดยมีนักเรียน AFS จากประเทศสิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และรัสเซีย จํานวนกว่า 100 ราย ที่สะสมอยู่ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศดูแลเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ขอให้บุคคลที่ยังไม่ได้ออกจากประเทศนั้นๆ อยู่ในประเทศที่ตั้งก่อน เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหว เคลื่อนย้ายตัวขณะที่โรคกําลังระบาดอยู่ เพราะอาจจะไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการรวมตัวของกลุ่มคนจํานวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่อาจจะทําให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพิ่มขึ้นได้ โฆษก ศบค. ยังชี้แจงว่า กรณีที่มีผู้ทําการขนส่งเวชภัณฑ์ในช่วงเวลาเคอร์ฟิว เจอด่านตรวจและถูกดําเนินคดีนั้น หากอยู่ในเกณฑ์ของการขนส่งสินค้าอุปโภค บริโภค และเวชภัณฑ์ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจําด่านตรวจรับทราบได้ ทั้งนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเคยชี้แจงจะมีการผ่อนผันและประกาศภายหลัง เนื่องจากการขนส่งสินค้าอุปโภค บริโภคนั้นมีความจําเป็น และไม่ใช่การออกไปสังสรรค์หรือการกระทําผิดในช่วงเวลาเคอร์ฟิว ซึ่งเจ้าหน้าที่ตํารวจที่ปฏิบัติงานสามารถผ่อนปรนให้ได้ สําหรับกรณีเอกสารรับรองที่บางหน่วยงานจัดทําแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอแก่ผู้ที่มีความจําเป็นที่จะต้องสัญจรในช่วงเวลาเคอร์ฟิว และจะต้องไปขอเอกสารรับรองเพิ่มเติมจากสถานีตํารวจหรือสํานักงานเขต นั้น โฆษก ศบค. ขอให้ประชาชนยึดตามกฎกติกาในพื้นที่นั้น ๆ เช่น ตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ช่วงเวลาเคอร์ฟิวคือ 22.00 น. ถึง 04.00 น. แต่บางจังหวัดได้กําหนดให้ช่วงเวลาเคอร์ฟิวเป็น 21.00 น. ถึง 05.00 น. ดังนั้นประชาชนในพื้นที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการของจังหวัด หากมีข้อสงสัยขอให้สอบถามเจ้าหน้าที่ตํารวจที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อความแน่ใจ โฆษก ศบค. ยังขอความร่วมมือว่าหน้ากากอนามัยชนิด N95 เหมาะสมสําหรับบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ถึงแม้ว่าจะต้องดูแลผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ก็สามารถป้องกันได้ เพราะผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 นั้นอยู่ในการรักษาในสถานพยาบาลอยู่แล้ว สําหรับประชาชนทั่วไปขอให้ใช้หน้ากากผ้า หากประชาชนหลายคนซื้อหน้ากากอนามัยชนิด N95 ก็จะยิ่งทําให้หน้ากากมีราคาที่สูงขึ้น หายากมากขึ้น รวมถึงหากนําหน้ากากอนามัยชนิด N95 มาใช้ไม่ถูกวิธีก็ทําให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง โฆษก ศบค. ยังได้ตอบคําถามของผู้สื่อข่าวที่สงสัยว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อน้อยเนื่องจากว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อน หากเข้าฤดูฝนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จํานวนของผู้ป่วยอาจจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นนั้นว่า ยังไม่มีการยืนยันว่าฤดูกาลจะส่งผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ต้องติดตามต่อไป เพราะตามแนวโน้มในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นหน้าร้อนแต่ตัวเลขผู้ป่วยนั้นก็ยังไม่คงที่ ตอนท้ายโฆษก ศบค. ได้แสดงตัวเลขที่สะท้อนถึงการทํางานที่มีประสิทธิภาพ โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้อง จากรายงานอัตราการเสียชีวิตของ 10 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุด ณ วันที่ 8 เมษายน 63 อันดับ 1 ที่มีการเสียชีวิตสะสมสูงสุดคือ ประเทศอิตาลี 12.63 % สหราชอาณาจักร 11.03% สเปน 9.92 % เบลเยียม 9.5% ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าไทยทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ขณะที่อัตราการเสียชีวิตของไทยอยู่ที่ 1.26 % จึงอยากให้ทุกคนเชื่อมั่นกระบวนการที่ทํามา อีกหนึ่งตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับวงเงินที่ทั่วโลกใช้กระตุ้นเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เยอรมัน 21.8% มาเลเซีย 16.5% สเปน 16% สหราชอาณาจักร 15.8% ฝรั่งเศส 14.3% และประเทศไทยยังมากกว่าญี่ปุ่น 12% และประเทศไทยมากกว่าสหรัฐอเมริกา 10.7% เนื่องจากหลายประเทศมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าประเทศไทย เพราะฉะนั้นวงเงินใช้ในส่วนนี้มีจํากัด จึงขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล ------------------------------------------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28713
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการจัดหางานชี้แจง การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา
วันพุธที่ 4 เมษายน 2561 กรมการจัดหางานชี้แจง การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา กรมการจัดหางานชี้แจง การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา วันที่ 29 มีนาคม 2561 นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ชี้แจงประเด็นการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ว่า พาสปอร์ตเล่มสีม่วง หรือหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เป็นเอกสารที่ทางการเมียนมาออกให้กับแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีอายุ 6 ปี นับแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ทางการเมียนมาไม่ออกหนังสือเดินทางชั่วคราวในลักษณะดังกล่าวให้กับแรงงานเมียนมาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติอีกต่อไปแล้ว แต่จะออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือ CI ให้กับแรงงานเมียนมาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ สําหรับแรงงานเมียนมาที่ยังถือหนังสือเดินทางชั่วคราวอยู่ สามารถขอรับการตรวจลงตรา (Visa) ประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และขออนุญาตทํางานได้ ทั้งนี้ ไม่เกิน 4 ปี หรือไม่เกินกว่าอายุของหนังสือเดินทางชั่วคราว หากทํางานครบกําหนด 4 ปีแล้ว ต้องเดินทางกลับประเทศ และหากประสงค์จะกลับเข้ามาทํางานในประเทศไทยอีก ต้องกลับเข้ามาทํางานตามระบบ MOU ซึ่งนายจ้างสามารถแจ้งความต้องการนําแรงงานต่างด้าวเข้ามาทํางานได้ ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัดสํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร 1- 10 ------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการจัดหางานชี้แจง การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา วันพุธที่ 4 เมษายน 2561 กรมการจัดหางานชี้แจง การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา กรมการจัดหางานชี้แจง การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา วันที่ 29 มีนาคม 2561 นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ชี้แจงประเด็นการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ว่า พาสปอร์ตเล่มสีม่วง หรือหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เป็นเอกสารที่ทางการเมียนมาออกให้กับแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีอายุ 6 ปี นับแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ทางการเมียนมาไม่ออกหนังสือเดินทางชั่วคราวในลักษณะดังกล่าวให้กับแรงงานเมียนมาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติอีกต่อไปแล้ว แต่จะออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือ CI ให้กับแรงงานเมียนมาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ สําหรับแรงงานเมียนมาที่ยังถือหนังสือเดินทางชั่วคราวอยู่ สามารถขอรับการตรวจลงตรา (Visa) ประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และขออนุญาตทํางานได้ ทั้งนี้ ไม่เกิน 4 ปี หรือไม่เกินกว่าอายุของหนังสือเดินทางชั่วคราว หากทํางานครบกําหนด 4 ปีแล้ว ต้องเดินทางกลับประเทศ และหากประสงค์จะกลับเข้ามาทํางานในประเทศไทยอีก ต้องกลับเข้ามาทํางานตามระบบ MOU ซึ่งนายจ้างสามารถแจ้งความต้องการนําแรงงานต่างด้าวเข้ามาทํางานได้ ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัดสํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร 1- 10 ------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11204
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน ประชุมร่วม CLMTV ขับเคลื่อนปฏิญญาเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ
วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2561 ก.แรงงาน ประชุมร่วม CLMTV ขับเคลื่อนปฏิญญาเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ “รองปลัดแรงงาน” เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม The 4th CLMTV ขับเคลื่อนปฏิญญาการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวและการคุ้มครองทางสังคม “รองปลัดแรงงาน” เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม The 4th CLMTV ขับเคลื่อนปฏิญญาการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวและการคุ้มครองทางสังคมในอนุภูมิภาค เมื่อวันที่ 19 - 21 สิงหาคม 2561 นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นายวิวัฒน์ ตังหงส์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม The 4th CLMTV Senior Labour Officials Meeting ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภายใต้หัวข้อหลัก “การคุ้มครองทางสังคม : การเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคมสําหรับแรงงานต่างด้าวในประเทศ CLMTV” ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงาน ผู้ทุพพลภาพ และกิจการสังคม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมี ผู้แทนจากสํานักงานประกันสังคมและสํานักงานปลัดกระทรวงแรงงานเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย สําหรับการประชุมตามกรอบความร่วมมือ CLMTV เป็นความริเริ่มของกระทรวงแรงงาน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานในเขตอนุภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือประเด็นที่ประเทศ CLMTV มีความสนใจร่วมกัน ขับเคลื่อนปฏิญญาร่วม CLMTV ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ และแสวงหาแนวทางเพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดทําความร่วมมือทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคีสําหรับการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคมเพื่อส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ การประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐของประเทศ CLMTV ผู้แทนสํานักเลขาธิการอาเซียน และผู้แทน ILO ทั้งสิ้น 20 คน นายวิวัฒน์ฯ กล่าวว่า สาระสําคัญของการประชุมฯ ประกอบด้วยการบรรยายภาพรวมสถานการณ์แรงงานต่างด้าวและการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมของอนุภูมิภาค CLMTV และการจัดทํางานวิจัยเกี่ยวกับการคุ้มครองทางสังคมสําหรับแรงงานต่างด้าวการอภิปรายเรื่องสถานการณ์ด้านประกันสังคมของประเทศ CLMTV การยกร่างข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคมและการทบทวนผลการดําเนินการของกรอบความร่วมมือดังกล่าวจากการประชุมครั้งที่ผ่านมาเพื่อกําหนดหัวข้อหลักของการประชุมในคราวต่อไป ทั้งนี้ ที่ประชุมให้ความสําคัญกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแรงงานต่างด้าวระหว่างกันในอนุภูมิภาค การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี การพิจารณาแก้ไขกฎหมายและนโยบายระดับประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือไตรภาคีในระดับประเทศและการขับเคลื่อนนโยบายประกันสังคมที่สอดคล้องกันในระดับภูมิภาค “ในตอนท้ายที่ประชุมรับทราบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส CLMTV ครั้งที่ 5 และ 6 และการประชุมระดับรัฐมนตรี CLMTV ครั้งที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2563 ของกัมพูชา โดยเน้นหัวข้อหลักเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคม ทั้งนี้จะแจ้งให้ประเทศสมาชิกทราบหัวข้อการประชุมและกําหนดการที่แน่ชัดต่อไป” นายวิวัฒน์ฯ กล่าวในท้ายสุด ----------------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ณัฏฐภัทร์ ชื่นเอี่ยม - ข่าว/ สํานักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยกลุ่มงานอาเซียน – ข้อมูล/ 21 สิงหาคม 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน ประชุมร่วม CLMTV ขับเคลื่อนปฏิญญาเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2561 ก.แรงงาน ประชุมร่วม CLMTV ขับเคลื่อนปฏิญญาเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ “รองปลัดแรงงาน” เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม The 4th CLMTV ขับเคลื่อนปฏิญญาการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวและการคุ้มครองทางสังคม “รองปลัดแรงงาน” เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม The 4th CLMTV ขับเคลื่อนปฏิญญาการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวและการคุ้มครองทางสังคมในอนุภูมิภาค เมื่อวันที่ 19 - 21 สิงหาคม 2561 นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นายวิวัฒน์ ตังหงส์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม The 4th CLMTV Senior Labour Officials Meeting ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภายใต้หัวข้อหลัก “การคุ้มครองทางสังคม : การเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคมสําหรับแรงงานต่างด้าวในประเทศ CLMTV” ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงาน ผู้ทุพพลภาพ และกิจการสังคม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมี ผู้แทนจากสํานักงานประกันสังคมและสํานักงานปลัดกระทรวงแรงงานเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย สําหรับการประชุมตามกรอบความร่วมมือ CLMTV เป็นความริเริ่มของกระทรวงแรงงาน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานในเขตอนุภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือประเด็นที่ประเทศ CLMTV มีความสนใจร่วมกัน ขับเคลื่อนปฏิญญาร่วม CLMTV ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปลอดภัยสู่การปฏิบัติ และแสวงหาแนวทางเพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดทําความร่วมมือทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคีสําหรับการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคมเพื่อส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ การประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐของประเทศ CLMTV ผู้แทนสํานักเลขาธิการอาเซียน และผู้แทน ILO ทั้งสิ้น 20 คน นายวิวัฒน์ฯ กล่าวว่า สาระสําคัญของการประชุมฯ ประกอบด้วยการบรรยายภาพรวมสถานการณ์แรงงานต่างด้าวและการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมของอนุภูมิภาค CLMTV และการจัดทํางานวิจัยเกี่ยวกับการคุ้มครองทางสังคมสําหรับแรงงานต่างด้าวการอภิปรายเรื่องสถานการณ์ด้านประกันสังคมของประเทศ CLMTV การยกร่างข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคมและการทบทวนผลการดําเนินการของกรอบความร่วมมือดังกล่าวจากการประชุมครั้งที่ผ่านมาเพื่อกําหนดหัวข้อหลักของการประชุมในคราวต่อไป ทั้งนี้ ที่ประชุมให้ความสําคัญกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแรงงานต่างด้าวระหว่างกันในอนุภูมิภาค การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี การพิจารณาแก้ไขกฎหมายและนโยบายระดับประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือไตรภาคีในระดับประเทศและการขับเคลื่อนนโยบายประกันสังคมที่สอดคล้องกันในระดับภูมิภาค “ในตอนท้ายที่ประชุมรับทราบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส CLMTV ครั้งที่ 5 และ 6 และการประชุมระดับรัฐมนตรี CLMTV ครั้งที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2563 ของกัมพูชา โดยเน้นหัวข้อหลักเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคม ทั้งนี้จะแจ้งให้ประเทศสมาชิกทราบหัวข้อการประชุมและกําหนดการที่แน่ชัดต่อไป” นายวิวัฒน์ฯ กล่าวในท้ายสุด ----------------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ณัฏฐภัทร์ ชื่นเอี่ยม - ข่าว/ สํานักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยกลุ่มงานอาเซียน – ข้อมูล/ 21 สิงหาคม 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14779
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การหยิบจับ ธนบัตร หรือเหรียญ มีโอกาสทำให้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่??
วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563 การหยิบจับ ธนบัตรหรือเหรียญมีโอกาสทําให้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่?? หยิบธนบัตรต่อกันติดเชื้อไวรัสฯ ได้จริงหรือ? Q: การหยิบจับ ธนบัตรหรือเหรียญมีโอกาสทําให้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่?? A: ได้ เพราะธนบัตรถือเป็นกระดาษในขณะที่เหรียญมีพื้นผิวสัมผัสดังนั้นมีโอกาสที่เชื้อไวรัสโควิด-19จะเกาะติดอยู่กับของทั้ง 2 ชนิด ลักษณะเดียวกับลูกบิดประตูปุ่มลิฟท์แป้นกดเอทีเอ็มโทรศัพท์ฯลฯ ดังนั้นหากสัมผัสสิ่งเหล่านี้อย่านํามือมาสัมผัสตาจมูกปากและให้ล้างมือทันทีภายหลังสัมผัส
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การหยิบจับ ธนบัตร หรือเหรียญ มีโอกาสทำให้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่?? วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563 การหยิบจับ ธนบัตรหรือเหรียญมีโอกาสทําให้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่?? หยิบธนบัตรต่อกันติดเชื้อไวรัสฯ ได้จริงหรือ? Q: การหยิบจับ ธนบัตรหรือเหรียญมีโอกาสทําให้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่?? A: ได้ เพราะธนบัตรถือเป็นกระดาษในขณะที่เหรียญมีพื้นผิวสัมผัสดังนั้นมีโอกาสที่เชื้อไวรัสโควิด-19จะเกาะติดอยู่กับของทั้ง 2 ชนิด ลักษณะเดียวกับลูกบิดประตูปุ่มลิฟท์แป้นกดเอทีเอ็มโทรศัพท์ฯลฯ ดังนั้นหากสัมผัสสิ่งเหล่านี้อย่านํามือมาสัมผัสตาจมูกปากและให้ล้างมือทันทีภายหลังสัมผัส
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27619
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 17 มิถุนายน 2563
วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 17 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 3 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,996 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.57 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 81 ราย หรือร้อยละ 2.58 ของผู้ป่ รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 17 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 3 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,996 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.57 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 81 ราย หรือร้อยละ 2.58 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,135 ราย จากสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ของประเทศไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสืบเนื่องมาจากความร่วมมือร่วมใจของประชาชน องค์กรทุกภาคส่วน ที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่ภาครัฐกําหนดอย่างเข้มแข็ง และรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เข้มมาตรการ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคทั้งในประเทศและผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ส่งผลให้ขณะนี้จํานวนผู้ติดเชื้อของประเทศไทยอยู่ในลําดับที่ 90 ของโลก อย่างไรก็ตามหลายประเทศทั่วโลกยังคงมีการระบาดของเชื้อโควิด 19 อยู่ และมีหลายประเทศที่สถานการณ์ของโรคดีขึ้นแล้วแต่กลับมาพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นกลุ่มก้อน จากสถานบันเทิง สถานที่แออัดมีคนรวมกันจํานวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าหากประชาชนประมาท ไม่ป้องกันตัวเอง ผู้ประกอบการ ร้านค้า อาคารสถานที่ ไม่เข้มงวดตามมาตรการป้องกันโรคอาจทําให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ได้อีกครั้ง ดังนั้น ทุกครั้งที่ออกนอกบ้านหรือเคหะสถานการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ยังมีความจําเป็นอย่างมาก ร่วมกับการล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสใบหน้า จมูก ปาก เว้นระยะห่างกัน 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการเข้าไปสถานที่แออัด คนรวมกันมาก ๆ เพื่อความปลอดภัย ที่สําคัญคือการลงทะเบียนเข้า-ออกสถานที่ ผ่านแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ทุกครั้ง เพราะหากพบผู้ติดเชื้อจะง่ายต่อการสอบสวนโรคและติดตามผู้สัมผัสเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังโรคได้รวดเร็ว นอกจากนี้หากป่วย มีไข้ อาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม หอบเหนื่อยให้หยุดพักรักษาตัว ไม่ออกไปในที่สาธารณะ ถ้าไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์ตรวจรักษา ****************************** 17 มิถุนายน 2563 ...................................................................
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 17 มิถุนายน 2563 วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 17 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 3 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,996 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.57 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 81 ราย หรือร้อยละ 2.58 ของผู้ป่ รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 17 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 3 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,996 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.57 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 81 ราย หรือร้อยละ 2.58 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,135 ราย จากสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ของประเทศไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสืบเนื่องมาจากความร่วมมือร่วมใจของประชาชน องค์กรทุกภาคส่วน ที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่ภาครัฐกําหนดอย่างเข้มแข็ง และรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เข้มมาตรการ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคทั้งในประเทศและผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ส่งผลให้ขณะนี้จํานวนผู้ติดเชื้อของประเทศไทยอยู่ในลําดับที่ 90 ของโลก อย่างไรก็ตามหลายประเทศทั่วโลกยังคงมีการระบาดของเชื้อโควิด 19 อยู่ และมีหลายประเทศที่สถานการณ์ของโรคดีขึ้นแล้วแต่กลับมาพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นกลุ่มก้อน จากสถานบันเทิง สถานที่แออัดมีคนรวมกันจํานวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าหากประชาชนประมาท ไม่ป้องกันตัวเอง ผู้ประกอบการ ร้านค้า อาคารสถานที่ ไม่เข้มงวดตามมาตรการป้องกันโรคอาจทําให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ได้อีกครั้ง ดังนั้น ทุกครั้งที่ออกนอกบ้านหรือเคหะสถานการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ยังมีความจําเป็นอย่างมาก ร่วมกับการล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสใบหน้า จมูก ปาก เว้นระยะห่างกัน 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการเข้าไปสถานที่แออัด คนรวมกันมาก ๆ เพื่อความปลอดภัย ที่สําคัญคือการลงทะเบียนเข้า-ออกสถานที่ ผ่านแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ทุกครั้ง เพราะหากพบผู้ติดเชื้อจะง่ายต่อการสอบสวนโรคและติดตามผู้สัมผัสเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังโรคได้รวดเร็ว นอกจากนี้หากป่วย มีไข้ อาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม หอบเหนื่อยให้หยุดพักรักษาตัว ไม่ออกไปในที่สาธารณะ ถ้าไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์ตรวจรักษา ****************************** 17 มิถุนายน 2563 ...................................................................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32436
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ธนาคารออมสิน เผยภาพรวมการออมของประเทศเพิ่มขึ้นส่วนประชาชนฐานราก เน้นออมเงินเพียงระยะสั้นไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ธนาคารออมสิน เผยภาพรวมการออมของประเทศเพิ่มขึ้นส่วนประชาชนฐานราก เน้นออมเงินเพียงระยะสั้นไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ทําการวิจัยและสํารวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานราก จากการศึกษาพบว่า ภาพรวมการออมของประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันออมแห่งชาติ ประจําปี 2561 ในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ทําการวิจัยและสํารวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานราก จากการศึกษาพบว่า ภาพรวมการออมของประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 มีปริมาณการออมเบื้องต้นของประเทศอยู่ที่ 5.4 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 12.9 คิดเป็นร้อยละ 34.8 ของ GDP ซึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกันถือว่าอยู่ในระดับต้นๆ โดยมีการออมในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ พันธบัตร ประกันชีวิต เป็นต้น สําหรับเงินฝากที่อยู่ในสถาบันการเงิน (ณ เดือนสิงหาคม 2561) อยู่ที่ 17.9 ล้านล้านบาท เป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 13.2 ล้านล้านบาท และธนาคารเฉพาะกิจ 4.7 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 3.8 และ 6.2 ตามลําดับ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ธนาคารออมสิน คาดว่าในระยะต่อไปตัวเลขการออมของประเทศจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากการเร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Megaproject) ที่ต้องการเม็ดเงินลงทุนจํานวนมาก สําหรับการออมของประชาชนฐานราก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ได้ทําการสํารวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานราก จากกลุ่มตัวอย่างประชาชน ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาททั่วประเทศจํานวน 2,150 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนฐานราก ร้อยละ 32.2 มีเงินออม โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 56.9 ของผู้ที่มีเงินออม มีการออมแบบ รายเดือน จํานวนเงินออมเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500 บาทต่อเดือน สําหรับวัตถุประสงค์การออมของประชาชนฐานราก พบว่า 3 อันดับแรก ออมเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน/เจ็บป่วย (ร้อยละ 71.7) สํารองไว้ใช้ (ร้อยละ 67.0) และเป็นทุนประกอบอาชีพ (ร้อยละ 39.3) เป็นที่น่าสังเกตว่าประชาชนฐานรากที่มีการออมเพื่อใช้ยามเกษียณมีเพียงร้อยละ 23.5 เมื่อสํารวจลักษณะการออมและการลงทุนที่มีในปัจจุบันของประชาชนฐานราก พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการออม/การลงทุน 3 อันดับแรก คือ ฝากไว้กับธนาคาร (ร้อยละ 80.3) เก็บไว้ที่บ้าน/ครัวเรือน (ร้อยละ 22.9) และ เล่นแชร์ (ร้อยละ 8.5) ส่วนเป้าหมายการออม/การลงทุนในอนาคต พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.2 มีการตั้งเป้าหมายที่จะออมเงิน/ลงทุน โดยมีเป้าหมาย 3 อันดับแรก คือ สํารองไว้ยามฉุกเฉิน (ร้อยละ 29.7) เพื่อการศึกษา (ร้อยละ 29.1) และใช้จ่ายยามเจ็บป่วย (ร้อยละ 27.5) อุปสรรคสําคัญที่ไม่สามารถ ออมเงินได้ คือ ไม่มีเงินเหลือไว้ออม (ร้อยละ 52.3) มีเหตุจําเป็นต้องใช้เงิน (ร้อยละ 24.2) และมีภาระหนี้สิน (ร้อยละ 18.6) เมื่อสอบถามถึงช่องทางในการทําธุรกรรมการฝากเงิน พบว่า 3 อันดับแรก คือ สาขาของธนาคาร (ร้อยละ 89.8) เครื่องฝากเงินสด (ร้อยละ 68.8) และ Mobile/ Internet Banking (ฝากโอน) (ร้อยละ 18.4) ทั้งนี้ จากผลสํารวจจะเห็นว่ากลุ่มคนฐานรากยังคงนิยมใช้บริการผ่านบุคคลที่สาขาของธนาคารซึ่งเป็นเหตุผลสําคัญที่ทําให้ธนาคารออมสินไม่มีนโยบายลดจํานวนสาขาลง เพื่อรองรับการให้บริการกับลูกค้าและประชาชนในทุกพื้นที่ต่อไป สําหรับความคิดเห็นของประชาชนฐานรากกับ “บัญชีเงินฝากพื้นฐาน” พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 92.3 คิดว่าการเปิดบัญชีเงินฝากพื้นฐานเป็นเรื่องที่ดีเพราะ ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า/รายปีของการใช้บัตร ATM ช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีเงินออม และไม่กําหนดเงินฝากขั้นต่ํา ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.7 เห็นว่าไม่ควรกําหนดเรื่องเกณฑ์อายุ เกณฑ์รายได้ และควรจ่ายดอกเบี้ยพิเศษกว่าปกติ เป็นต้น จากข้อมูลข้างต้น พบว่า ประชาชนฐานรากที่มีเงินออมมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 32.2 โดยส่วนใหญ่มีการออมแบบรายเดือน สําหรับวัตถุประสงค์ในการออม กว่าร้อยละ 70 ออมไว้เพื่อใช้ยามฉุกเฉิน/เจ็บป่วย และมีเพียง 1 ใน 4 ที่ออมเพื่อใช้ในยามเกษียณ อย่างไรก็ดี อุปสรรคสําคัญที่ทําให้ประชาชนฐานรากไม่สามารถเก็บออมได้ คือไม่มีเงินเหลือพอที่จะเก็บออม ซึ่งเป็นปัญหาสําคัญที่รัฐบาลได้พยายามหาทางแก้ไข และสร้างให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงาน และสถาบันต่างๆ อาทิ กองทุนการออมแห่งชาติ และการเปิดบัญชีเงินฝากพื้นฐานสําหรับผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการออม และมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการออมมากมาย เหมาะสมกับทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยเกษียณ โดยล่าสุดธนาคารได้เพิ่มช่องทางบริการเงินฝากผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-11 ทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นธนาคารแรก เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และมีช่องทางในการออมได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถเริ่มใช้บริการดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2561 ซึ่งตรงกับวันออมแห่งชาติ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ธนาคารออมสิน เผยภาพรวมการออมของประเทศเพิ่มขึ้นส่วนประชาชนฐานราก เน้นออมเงินเพียงระยะสั้นไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ธนาคารออมสิน เผยภาพรวมการออมของประเทศเพิ่มขึ้นส่วนประชาชนฐานราก เน้นออมเงินเพียงระยะสั้นไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ทําการวิจัยและสํารวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานราก จากการศึกษาพบว่า ภาพรวมการออมของประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันออมแห่งชาติ ประจําปี 2561 ในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ทําการวิจัยและสํารวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานราก จากการศึกษาพบว่า ภาพรวมการออมของประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 มีปริมาณการออมเบื้องต้นของประเทศอยู่ที่ 5.4 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 12.9 คิดเป็นร้อยละ 34.8 ของ GDP ซึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกันถือว่าอยู่ในระดับต้นๆ โดยมีการออมในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ พันธบัตร ประกันชีวิต เป็นต้น สําหรับเงินฝากที่อยู่ในสถาบันการเงิน (ณ เดือนสิงหาคม 2561) อยู่ที่ 17.9 ล้านล้านบาท เป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 13.2 ล้านล้านบาท และธนาคารเฉพาะกิจ 4.7 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 3.8 และ 6.2 ตามลําดับ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ธนาคารออมสิน คาดว่าในระยะต่อไปตัวเลขการออมของประเทศจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากการเร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Megaproject) ที่ต้องการเม็ดเงินลงทุนจํานวนมาก สําหรับการออมของประชาชนฐานราก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ได้ทําการสํารวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานราก จากกลุ่มตัวอย่างประชาชน ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาททั่วประเทศจํานวน 2,150 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนฐานราก ร้อยละ 32.2 มีเงินออม โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 56.9 ของผู้ที่มีเงินออม มีการออมแบบ รายเดือน จํานวนเงินออมเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500 บาทต่อเดือน สําหรับวัตถุประสงค์การออมของประชาชนฐานราก พบว่า 3 อันดับแรก ออมเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน/เจ็บป่วย (ร้อยละ 71.7) สํารองไว้ใช้ (ร้อยละ 67.0) และเป็นทุนประกอบอาชีพ (ร้อยละ 39.3) เป็นที่น่าสังเกตว่าประชาชนฐานรากที่มีการออมเพื่อใช้ยามเกษียณมีเพียงร้อยละ 23.5 เมื่อสํารวจลักษณะการออมและการลงทุนที่มีในปัจจุบันของประชาชนฐานราก พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการออม/การลงทุน 3 อันดับแรก คือ ฝากไว้กับธนาคาร (ร้อยละ 80.3) เก็บไว้ที่บ้าน/ครัวเรือน (ร้อยละ 22.9) และ เล่นแชร์ (ร้อยละ 8.5) ส่วนเป้าหมายการออม/การลงทุนในอนาคต พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.2 มีการตั้งเป้าหมายที่จะออมเงิน/ลงทุน โดยมีเป้าหมาย 3 อันดับแรก คือ สํารองไว้ยามฉุกเฉิน (ร้อยละ 29.7) เพื่อการศึกษา (ร้อยละ 29.1) และใช้จ่ายยามเจ็บป่วย (ร้อยละ 27.5) อุปสรรคสําคัญที่ไม่สามารถ ออมเงินได้ คือ ไม่มีเงินเหลือไว้ออม (ร้อยละ 52.3) มีเหตุจําเป็นต้องใช้เงิน (ร้อยละ 24.2) และมีภาระหนี้สิน (ร้อยละ 18.6) เมื่อสอบถามถึงช่องทางในการทําธุรกรรมการฝากเงิน พบว่า 3 อันดับแรก คือ สาขาของธนาคาร (ร้อยละ 89.8) เครื่องฝากเงินสด (ร้อยละ 68.8) และ Mobile/ Internet Banking (ฝากโอน) (ร้อยละ 18.4) ทั้งนี้ จากผลสํารวจจะเห็นว่ากลุ่มคนฐานรากยังคงนิยมใช้บริการผ่านบุคคลที่สาขาของธนาคารซึ่งเป็นเหตุผลสําคัญที่ทําให้ธนาคารออมสินไม่มีนโยบายลดจํานวนสาขาลง เพื่อรองรับการให้บริการกับลูกค้าและประชาชนในทุกพื้นที่ต่อไป สําหรับความคิดเห็นของประชาชนฐานรากกับ “บัญชีเงินฝากพื้นฐาน” พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 92.3 คิดว่าการเปิดบัญชีเงินฝากพื้นฐานเป็นเรื่องที่ดีเพราะ ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า/รายปีของการใช้บัตร ATM ช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีเงินออม และไม่กําหนดเงินฝากขั้นต่ํา ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.7 เห็นว่าไม่ควรกําหนดเรื่องเกณฑ์อายุ เกณฑ์รายได้ และควรจ่ายดอกเบี้ยพิเศษกว่าปกติ เป็นต้น จากข้อมูลข้างต้น พบว่า ประชาชนฐานรากที่มีเงินออมมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 32.2 โดยส่วนใหญ่มีการออมแบบรายเดือน สําหรับวัตถุประสงค์ในการออม กว่าร้อยละ 70 ออมไว้เพื่อใช้ยามฉุกเฉิน/เจ็บป่วย และมีเพียง 1 ใน 4 ที่ออมเพื่อใช้ในยามเกษียณ อย่างไรก็ดี อุปสรรคสําคัญที่ทําให้ประชาชนฐานรากไม่สามารถเก็บออมได้ คือไม่มีเงินเหลือพอที่จะเก็บออม ซึ่งเป็นปัญหาสําคัญที่รัฐบาลได้พยายามหาทางแก้ไข และสร้างให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงาน และสถาบันต่างๆ อาทิ กองทุนการออมแห่งชาติ และการเปิดบัญชีเงินฝากพื้นฐานสําหรับผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการออม และมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการออมมากมาย เหมาะสมกับทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยเกษียณ โดยล่าสุดธนาคารได้เพิ่มช่องทางบริการเงินฝากผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-11 ทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นธนาคารแรก เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และมีช่องทางในการออมได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถเริ่มใช้บริการดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2561 ซึ่งตรงกับวันออมแห่งชาติ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16434
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน และเตรียมความพร้อมในงานพระราชพิธีพระบรมศพฯ
วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2560 รองนายกรัฐมนตรีประชุมติดตามความคืบหน้าการดําเนินงาน และเตรียมความพร้อมในงานพระราชพิธีพระบรมศพฯ รองนายกรัฐมนตรีประชุมติดตามความคืบหน้าการดําเนินงาน และเตรียมความพร้อมในงานพระราชพิธีพระบรมศพฯ วันนี้ (วันที่ 21 กันยายน 2560) เวลา 16.00 น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศและบูรณะปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประชุมติดตามความคืบหน้าการดําเนินงาน และเตรียมความพร้อมในงานพระราชพิธีพระบรมศพฯ โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ห้องดํารงราชานุภาพ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตพระนคร หลังจากนั้นไปตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างพระเมรุมาศ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน และเตรียมความพร้อมในงานพระราชพิธีพระบรมศพฯ วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2560 รองนายกรัฐมนตรีประชุมติดตามความคืบหน้าการดําเนินงาน และเตรียมความพร้อมในงานพระราชพิธีพระบรมศพฯ รองนายกรัฐมนตรีประชุมติดตามความคืบหน้าการดําเนินงาน และเตรียมความพร้อมในงานพระราชพิธีพระบรมศพฯ วันนี้ (วันที่ 21 กันยายน 2560) เวลา 16.00 น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศและบูรณะปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประชุมติดตามความคืบหน้าการดําเนินงาน และเตรียมความพร้อมในงานพระราชพิธีพระบรมศพฯ โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ห้องดํารงราชานุภาพ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตพระนคร หลังจากนั้นไปตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างพระเมรุมาศ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6862
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ใน State Quarantine ทุกรายไม่แสดงอาการ พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ใน State Quarantine ทุกรายไม่แสดงอาการ พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ใน State Quarantine ทุกรายไม่แสดงอาการ พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้ (19 มิถุนายน 2563) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจําวันและมาตรการในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในไทย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ 5 ราย อยู่สถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ ผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,146 ราย สถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 209 ราย ผู้ที่หายป่วยแล้ว 3,008 ราย รักษาหายเพิ่ม 11 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 80 ราย ผู้เสียชีวิตยังคงที่ 58 ราย ผู้ป่วยรายใหม่เป็นนักศึกษาชายไทย อายุ 23-26 ปี เดินทางมาถึงไทยวันที่ 12 มิถุนายน และเข้าพัก State Quarantine ที่กรุงเทพมหานคร ทุกรายไม่มีอาการ ในส่วนของคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่มีการรายงานว่าติดเชื้อมาจากประเทศต้นทาง ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. – 5 เม.ย. 63 มีประเทศอังกฤษ 104 ราย อินโดนีเซีย 55 ราย มาเลเซีย 51 ราย กัมพูชา 26 ราย ญี่ปุ่น 16 ราย ปากีสถาน 15 ราย ทั้งนี้ รัฐได้ดําเนินการเฝ้าระวังและกักกัน จึงทําให้อัตราการติดเชื้อในประเทศลดน้อยลงจนกระทั่งเป็น 0 หลายวันที่ผ่านมา 2. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ของโลก สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของโลก พบผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยู่ที่ 8,578,052 ราย จํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 141,744 ราย ผู้ป่วยอาการหนัก 54,561 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6 จํานวนผู้ที่หายแล้ว 4,530,261 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.8 และจํานวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 456,284 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.3 โดยสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันสะสมเป็นอันดับที่ 1 ของโลก รองมาคือบราซิล รัสเซียและอินเดียตามลําดับ ปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 91 ของโลก ประเด็นที่น่าสนใจในต่างประเทศ ได้แก่ เยอรมนีได้สั่งระงับการปฏิบัติงานของโรงงานแปรรูปเนื้อแห่งหนึ่งในเมือง กือเทอร์สโลห์ หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทําให้มีผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 650 ราย หลายพันคนได้ถูกขอให้กักตัวอยู่แต่ในบ้าน รวมทั้งปิดโรงเรียนและศูนย์ดูแลเด็กจนถึงสิ้นเดือนนี้ ขณะที่อังกฤษยังพบผู้ติดเชื้อ 58 รายที่ติดมาจากโรงฆ่าไก่สองแห่งในเวลส์ ซึ่งส่งไก่สดไปยังซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร 3. การดําเนินการตามมาตรการ แผนการนําคนไทยกลับจากต่างประเทศวันนี้ มีคนไทยเดินทางกลับมาจากไต้หวัน 130 คน แคนาดา 117 คน สิงคโปร์ 50 คน เกาหลีใต้ 200 คน และเมียนมา 3 คน พรุ่งนี้จะมีผู้เดินทางกลับจากเยอรมนี 146 คน บรูไนฯ 44 คน เกาหลีใต้ 180 คน สหรัฐอเมริกา 133 คน โดยแผนเที่ยวบินนําคนไทยที่ตกค้างกลับไทยในวันที่ 21 มิถุนายน มี 5 เที่ยวบิน ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ ยูเครน จีน และ บาห์เรน วันที่ 22 มิถุนายน 5 เที่ยวบิน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย เนปาล ออสเตรีย/ฮังการี และสิงคโปร์ วันที่ 23 มิถุนายน 3 เที่ยวบิน ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น วันที่ 24 มิถุนายน 3 เที่ยวบิน ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย และซูดาน/อียิปต์ วันที่ 25 มิถุนายน 6 เที่ยวบิน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 2 เที่ยวบิน บังกลาเทศ มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ และอิหร่าน/อิรัก และวันที่ 26 มิถุนายน 3 เที่ยวบิน ได้แก่ สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ และฮ่องกง สําหรับรายงานผู้เดินทางกลับเข้าประเทศผ่านจุดผ่านแดนทางบกเดินทางจากมาเลเซีย 168 คน เมียนมา 1 คน สปป.ลาว 9 คน และกัมพูชา 13 คน รวม 191 คน โฆษก ศบค. กล่าวชื่นชมจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้ใช้พื้นที่หอพักนักศึกษา ของสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี ให้เป็น Local Quarantine ให้คนไทยที่เดินทางกลับจากสปป.ลาว ได้เข้ากักตัว และตั้งแต่ 3 เมษายน – 18 มิถุนายน ยอดคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศที่ต้องกักกันตัวในที่กักกันของรัฐจัดให้ (State Quarantine และ Local Quarantine) มีจํานวน 42,667 ราย กลับบ้านแล้ว 32,163 ราย ผู้เข้ากักกันปัจจุบัน 10,504 ราย พบผู้ติดเชื้อจากสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 119 ราย รักษาหายและกลับบ้านได้แล้ว 119 ราย สรุปการใช้งาน www.ไทยชนะ.com ยอดสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการมีผู้ใช้งาน 28,266,972 คน ร้านค้าลงทะเบียน 201,011 ร้าน ลงทะเบียนใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ 351,716 คน โดยสัดส่วนการเช็คอิน/เช็คเอาท์ผ่านแพลตฟอร์มไทยชนะอยู่ที่ร้อยละ 56 ผ่านแอพพลิเคชันไทยชนะร้อยละ 88 สําหรับ 5 จังหวัด ที่มีสัดส่วนการประเมินกิจการ/กิจกรรมสูงสุด ได้แก่ ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และนนทบุรี ตามลําดับ รายงานผลตรวจแพลตฟอร์มไทยชนะตามรายประเภทกิจการ/กิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 9-18 มิถุนายน 63 พบว่า กิจการกิจกรรมที่มีแพลตฟอร์มไทยชนะมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก ขนส่งสาธารณะ และโรงภาพยนตร์ ตามลําดับ และกิจการ/กิจกรรมที่มีแพลตฟอร์มไทยชนะน้อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ลีลาศ สถานดูแลเด็ก/ผู้สูงอายุ สถานศึกษา กีฬาทางน้ํา และสวนสาธารณะ ตามลําดับ ขอความร่วมมือให้มีการใช้แพลตฟอร์มไทยชนะให้มากขึ้นด้วย ------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ใน State Quarantine ทุกรายไม่แสดงอาการ พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ใน State Quarantine ทุกรายไม่แสดงอาการ พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โฆษก ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ใน State Quarantine ทุกรายไม่แสดงอาการ พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้ (19 มิถุนายน 2563) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจําวันและมาตรการในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในไทย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ 5 ราย อยู่สถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ ผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,146 ราย สถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 209 ราย ผู้ที่หายป่วยแล้ว 3,008 ราย รักษาหายเพิ่ม 11 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 80 ราย ผู้เสียชีวิตยังคงที่ 58 ราย ผู้ป่วยรายใหม่เป็นนักศึกษาชายไทย อายุ 23-26 ปี เดินทางมาถึงไทยวันที่ 12 มิถุนายน และเข้าพัก State Quarantine ที่กรุงเทพมหานคร ทุกรายไม่มีอาการ ในส่วนของคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่มีการรายงานว่าติดเชื้อมาจากประเทศต้นทาง ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. – 5 เม.ย. 63 มีประเทศอังกฤษ 104 ราย อินโดนีเซีย 55 ราย มาเลเซีย 51 ราย กัมพูชา 26 ราย ญี่ปุ่น 16 ราย ปากีสถาน 15 ราย ทั้งนี้ รัฐได้ดําเนินการเฝ้าระวังและกักกัน จึงทําให้อัตราการติดเชื้อในประเทศลดน้อยลงจนกระทั่งเป็น 0 หลายวันที่ผ่านมา 2. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ของโลก สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของโลก พบผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยู่ที่ 8,578,052 ราย จํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 141,744 ราย ผู้ป่วยอาการหนัก 54,561 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6 จํานวนผู้ที่หายแล้ว 4,530,261 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.8 และจํานวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 456,284 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.3 โดยสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันสะสมเป็นอันดับที่ 1 ของโลก รองมาคือบราซิล รัสเซียและอินเดียตามลําดับ ปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 91 ของโลก ประเด็นที่น่าสนใจในต่างประเทศ ได้แก่ เยอรมนีได้สั่งระงับการปฏิบัติงานของโรงงานแปรรูปเนื้อแห่งหนึ่งในเมือง กือเทอร์สโลห์ หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทําให้มีผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 650 ราย หลายพันคนได้ถูกขอให้กักตัวอยู่แต่ในบ้าน รวมทั้งปิดโรงเรียนและศูนย์ดูแลเด็กจนถึงสิ้นเดือนนี้ ขณะที่อังกฤษยังพบผู้ติดเชื้อ 58 รายที่ติดมาจากโรงฆ่าไก่สองแห่งในเวลส์ ซึ่งส่งไก่สดไปยังซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร 3. การดําเนินการตามมาตรการ แผนการนําคนไทยกลับจากต่างประเทศวันนี้ มีคนไทยเดินทางกลับมาจากไต้หวัน 130 คน แคนาดา 117 คน สิงคโปร์ 50 คน เกาหลีใต้ 200 คน และเมียนมา 3 คน พรุ่งนี้จะมีผู้เดินทางกลับจากเยอรมนี 146 คน บรูไนฯ 44 คน เกาหลีใต้ 180 คน สหรัฐอเมริกา 133 คน โดยแผนเที่ยวบินนําคนไทยที่ตกค้างกลับไทยในวันที่ 21 มิถุนายน มี 5 เที่ยวบิน ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ ยูเครน จีน และ บาห์เรน วันที่ 22 มิถุนายน 5 เที่ยวบิน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย เนปาล ออสเตรีย/ฮังการี และสิงคโปร์ วันที่ 23 มิถุนายน 3 เที่ยวบิน ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น วันที่ 24 มิถุนายน 3 เที่ยวบิน ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย และซูดาน/อียิปต์ วันที่ 25 มิถุนายน 6 เที่ยวบิน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 2 เที่ยวบิน บังกลาเทศ มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ และอิหร่าน/อิรัก และวันที่ 26 มิถุนายน 3 เที่ยวบิน ได้แก่ สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ และฮ่องกง สําหรับรายงานผู้เดินทางกลับเข้าประเทศผ่านจุดผ่านแดนทางบกเดินทางจากมาเลเซีย 168 คน เมียนมา 1 คน สปป.ลาว 9 คน และกัมพูชา 13 คน รวม 191 คน โฆษก ศบค. กล่าวชื่นชมจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้ใช้พื้นที่หอพักนักศึกษา ของสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี ให้เป็น Local Quarantine ให้คนไทยที่เดินทางกลับจากสปป.ลาว ได้เข้ากักตัว และตั้งแต่ 3 เมษายน – 18 มิถุนายน ยอดคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศที่ต้องกักกันตัวในที่กักกันของรัฐจัดให้ (State Quarantine และ Local Quarantine) มีจํานวน 42,667 ราย กลับบ้านแล้ว 32,163 ราย ผู้เข้ากักกันปัจจุบัน 10,504 ราย พบผู้ติดเชื้อจากสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 119 ราย รักษาหายและกลับบ้านได้แล้ว 119 ราย สรุปการใช้งาน www.ไทยชนะ.com ยอดสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการมีผู้ใช้งาน 28,266,972 คน ร้านค้าลงทะเบียน 201,011 ร้าน ลงทะเบียนใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ 351,716 คน โดยสัดส่วนการเช็คอิน/เช็คเอาท์ผ่านแพลตฟอร์มไทยชนะอยู่ที่ร้อยละ 56 ผ่านแอพพลิเคชันไทยชนะร้อยละ 88 สําหรับ 5 จังหวัด ที่มีสัดส่วนการประเมินกิจการ/กิจกรรมสูงสุด ได้แก่ ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และนนทบุรี ตามลําดับ รายงานผลตรวจแพลตฟอร์มไทยชนะตามรายประเภทกิจการ/กิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 9-18 มิถุนายน 63 พบว่า กิจการกิจกรรมที่มีแพลตฟอร์มไทยชนะมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก ขนส่งสาธารณะ และโรงภาพยนตร์ ตามลําดับ และกิจการ/กิจกรรมที่มีแพลตฟอร์มไทยชนะน้อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ลีลาศ สถานดูแลเด็ก/ผู้สูงอายุ สถานศึกษา กีฬาทางน้ํา และสวนสาธารณะ ตามลําดับ ขอความร่วมมือให้มีการใช้แพลตฟอร์มไทยชนะให้มากขึ้นด้วย ------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32524
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส.เผย 9 เดือนแรกปี 2562 ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 148,693 ล้านบาท คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฯ ดันสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้า 203,000 ล้านบาท
วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ธอส.เผย 9 เดือนแรกปี 2562 ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 148,693 ล้านบาท คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฯ ดันสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้า 203,000 ล้านบาท ผลการดําเนินงาน 9 เดือนแรกปี 2562 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปล่อยสินเชื่อใหม่ 148,693 ล้านบาท 106,285 บัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อปล่อยใหม่วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท 73,395 ราย เทียบกับ ณ สิ้นปี 2561 มียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1,173,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.18% ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เผยผลการดําเนินงาน 9 เดือนแรกปี 2562 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 148,693 ล้านบาท 106,285 บัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อปล่อยใหม่วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท 73,395 ราย เทียบกับ ณ สิ้นปี 2561 มียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1,173,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.18% สินทรัพย์รวม 1,229,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.65% เงินฝากรวม 985,154 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.32% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จํานวน 54,451 ล้านบาท คิดเป็น 4.64% ของยอดสินเชื่อรวม ล่าสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 สินเชื่อใหม่แตะ 165,642 ล้านบาท คิดเป็น 78.94% ของเป้าหมาย 203,000 ล้านบาท มั่นใจสิ้นปีทําได้ตามเป้า หลังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการดําเนินงาน 9 เดือนแรกของปี 2562 ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ว่า ธนาคารยังคงเป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทสําคัญในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ความมั่นคงในสถาบันครอบครัว ด้วยการสร้างโอกาสในการทําให้คนไทยได้มีบ้านโดยปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 148,693 ล้านบาท 106,285 บัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อปล่อยใหม่วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลางจํานวน 73,395 ราย ทําให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/2562 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2561 ธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 1,173,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.18% มีสินทรัพย์รวม 1,229,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.65% เงินฝากรวม 984,154 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.32% มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จํานวน 54,451 ล้านบาท คิดเป็น 4.64% ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 0.47% และมีกําไรสุทธิ 10,319 ล้านบาท ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ยังอยู่ที่ระดับแข็งแกร่งมากที่ 14.66% ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ํา ที่กําหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ล่าสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้แล้วจํานวน 165,642 ล้านบาท คิดเป็น 78.94% ของเป้าหมายสินเชื่อปล่อยใหม่ ณ สิ้นปี 2562 ที่กําหนดไว้จํานวน 203,000 ล้านบาท และมั่นใจว่าธนาคารจะสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้าหมายเนื่องจาก โดยมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฯ ของ ธอส. ประชารัฐ ทําให้คนไทยมีบ้านได้จริง กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.50% ต่อปี นาน 3 ปีแรก ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ําที่สุดในตลาดขณะนี้ กรณีกู้ 1 ล้านบาท เวลา 3 ปีแรก ผ่อนชําระเพียง 3,300 บาทต่องวดเท่านั้น เทียบกับเงินงวดผ่อนชําระของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปกติในช่วง 3 ปีแรก วงเงินกู้ 1 ล้านบาท จะประหยัดเงินงวดได้จํานวนถึง 80,400 บาท โดยคาดว่าจะมียอดยื่นกู้ถึง 30,000 ล้านบาทได้ภายในเดือนธันวาคม 2562 “การที่รัฐบาลมีมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์จาก 2 % เหลือ 0.01 % และลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจํานองจาก 1 % เหลือ 0.01 % ซึ่งล่าสุดประกาศกระทรวงมหาดไทยในเรื่องดังกล่าวได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้วไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนที่อยากมีบ้านตัดสินใจได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายในด้านค่าธรรมเนียมลดลง อาทิ กรณีกู้ 3 ล้านบาทเดิมต้องชําระค่าจดทะเบียนการโอนและจดทะเบียนจํานองรวมกว่า 90,000 บาท ก็จะลดเหลือเพียง 600 บาทเท่านั้น รวมถึงแรงสนับสนุนจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะเร่งจัดทําโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปี ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้การปล่อยสินเชื่อใหม่ของธนาคารเป็นไปตามเป้าหมาย 203,000 ล้านบาท ได้อย่างแน่นอน”นายฉัตรชัยกล่าว นายฉัตรชัยยังกล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่กฎกระทรวง ฉบับที่ 352 (พ.ศ.2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งลงนามโดยนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 โดยมีสาระสําคัญคือ ให้เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของ ธอส. (ไม่รวมถึงดอกเบี้ยซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก)ที่ออกจําหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป และดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ของ ธอส. ที่คํานวณตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อสนับสนุนภารกิจของ ธอส. ในการให้สินเชื่อโครงการต่าง ๆ “เชื่อว่าการที่ดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของ ธอส. ได้รับยกเว้นไม่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะยิ่งช่วยให้ได้รับความสนใจจากผู้ที่ต้องการออมเงินกับ ธอส. มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะได้รับผลตอบแทนดีและมีโอกาสถูกรางวัลสูงแล้ว ยังได้มีส่วนในการสร้างโอกาสให้คนไทยมีบ้านได้ง่ายขึ้นอีกด้วยซึ่งสาเหตุสําคัญที่ทําให้ธนาคารสามารถมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฯ ของ ธอส. ประชารัฐ ทําให้คนไทยมีบ้านได้จริง กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ํา 2.50% ต่อปี คงที่ได้นานถึง 3 ปีแรกได้ เพราะการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายสลากออมทรัพย์มาปล่อยสินเชื่อโดยตรงทั้งสลากรุ่นที่ 1 ชุดวิมานเมฆ หน่วยละ 1 ล้านบาท ที่มีลูกค้าให้ความสนใจจับจองเป็นเจ้าของครบทุกหน่วยที่ธนาคารเปิดจําหน่ายทั้ง 27,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับสลากออมทรัพย์ ธอส. รุ่นที่ 2 ชุดพราวพิมาน มูลค่าหน่วยละ 10 ล้านบาท จํานวน 3,000 หน่วย รวมเป็นจํานวนเงิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งพบว่ามีลูกค้าแสดงความสนใจเป็นจํานวนมากเช่นกัน”นายฉัตรชัยกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารจะเริ่มเปิดจําหน่ายสลากออมทรัพย์ ธอส. รุ่นที่ 2 ชุดพราวพิมานตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2562 - 15 มกราคม 2563 โดยคาดว่าจะสามารถจําหน่ายหมดทั้ง 30,000 ล้านบาทเช่นกัน เนื่องจากเป็นสลากที่มีจุดเด่นและแตกต่างจากสลากที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน ทั้งการเป็นสลากเลี่ยมทองซูเปอร์พรีเมี่ยมที่จะออกรางวัลไตรมาสละ 1 ครั้ง ครั้งละ 3 รางวัล มูลค่ารางวัลละ 3 ล้านบาท คิดเป็นโอกาสในการถูกรางวัล 0.1% และพิเศษ!! เฉพาะในเดือนกันยายน 2563 และกันยายน 2564 ยังได้สิทธิ์ลุ้นรับรางวัลพิเศษมูลค่า 100,000 บาท เพิ่มอีกจํานวนถึง 30 รางวัล/เดือน คิดเป็นโอกาสในการถูกรางวัลพิเศษสูงถึง 1% หากฝากครบ 2 ปี รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหน่วยละ 240,000 บาท หรือคิดเป็น 1.2% ต่อปี เริ่มออกรางวัลครั้งแรก 17 มกราคม 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส.เผย 9 เดือนแรกปี 2562 ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 148,693 ล้านบาท คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฯ ดันสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้า 203,000 ล้านบาท วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ธอส.เผย 9 เดือนแรกปี 2562 ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 148,693 ล้านบาท คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฯ ดันสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้า 203,000 ล้านบาท ผลการดําเนินงาน 9 เดือนแรกปี 2562 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปล่อยสินเชื่อใหม่ 148,693 ล้านบาท 106,285 บัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อปล่อยใหม่วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท 73,395 ราย เทียบกับ ณ สิ้นปี 2561 มียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1,173,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.18% ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เผยผลการดําเนินงาน 9 เดือนแรกปี 2562 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 148,693 ล้านบาท 106,285 บัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อปล่อยใหม่วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท 73,395 ราย เทียบกับ ณ สิ้นปี 2561 มียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1,173,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.18% สินทรัพย์รวม 1,229,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.65% เงินฝากรวม 985,154 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.32% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จํานวน 54,451 ล้านบาท คิดเป็น 4.64% ของยอดสินเชื่อรวม ล่าสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 สินเชื่อใหม่แตะ 165,642 ล้านบาท คิดเป็น 78.94% ของเป้าหมาย 203,000 ล้านบาท มั่นใจสิ้นปีทําได้ตามเป้า หลังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการดําเนินงาน 9 เดือนแรกของปี 2562 ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ว่า ธนาคารยังคงเป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทสําคัญในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ความมั่นคงในสถาบันครอบครัว ด้วยการสร้างโอกาสในการทําให้คนไทยได้มีบ้านโดยปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 148,693 ล้านบาท 106,285 บัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อปล่อยใหม่วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลางจํานวน 73,395 ราย ทําให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/2562 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2561 ธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 1,173,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.18% มีสินทรัพย์รวม 1,229,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.65% เงินฝากรวม 984,154 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.32% มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จํานวน 54,451 ล้านบาท คิดเป็น 4.64% ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 0.47% และมีกําไรสุทธิ 10,319 ล้านบาท ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ยังอยู่ที่ระดับแข็งแกร่งมากที่ 14.66% ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ํา ที่กําหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ล่าสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้แล้วจํานวน 165,642 ล้านบาท คิดเป็น 78.94% ของเป้าหมายสินเชื่อปล่อยใหม่ ณ สิ้นปี 2562 ที่กําหนดไว้จํานวน 203,000 ล้านบาท และมั่นใจว่าธนาคารจะสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้าหมายเนื่องจาก โดยมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฯ ของ ธอส. ประชารัฐ ทําให้คนไทยมีบ้านได้จริง กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.50% ต่อปี นาน 3 ปีแรก ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ําที่สุดในตลาดขณะนี้ กรณีกู้ 1 ล้านบาท เวลา 3 ปีแรก ผ่อนชําระเพียง 3,300 บาทต่องวดเท่านั้น เทียบกับเงินงวดผ่อนชําระของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปกติในช่วง 3 ปีแรก วงเงินกู้ 1 ล้านบาท จะประหยัดเงินงวดได้จํานวนถึง 80,400 บาท โดยคาดว่าจะมียอดยื่นกู้ถึง 30,000 ล้านบาทได้ภายในเดือนธันวาคม 2562 “การที่รัฐบาลมีมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์จาก 2 % เหลือ 0.01 % และลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจํานองจาก 1 % เหลือ 0.01 % ซึ่งล่าสุดประกาศกระทรวงมหาดไทยในเรื่องดังกล่าวได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้วไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนที่อยากมีบ้านตัดสินใจได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายในด้านค่าธรรมเนียมลดลง อาทิ กรณีกู้ 3 ล้านบาทเดิมต้องชําระค่าจดทะเบียนการโอนและจดทะเบียนจํานองรวมกว่า 90,000 บาท ก็จะลดเหลือเพียง 600 บาทเท่านั้น รวมถึงแรงสนับสนุนจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะเร่งจัดทําโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปี ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้การปล่อยสินเชื่อใหม่ของธนาคารเป็นไปตามเป้าหมาย 203,000 ล้านบาท ได้อย่างแน่นอน”นายฉัตรชัยกล่าว นายฉัตรชัยยังกล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่กฎกระทรวง ฉบับที่ 352 (พ.ศ.2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งลงนามโดยนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 โดยมีสาระสําคัญคือ ให้เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของ ธอส. (ไม่รวมถึงดอกเบี้ยซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก)ที่ออกจําหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป และดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ของ ธอส. ที่คํานวณตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อสนับสนุนภารกิจของ ธอส. ในการให้สินเชื่อโครงการต่าง ๆ “เชื่อว่าการที่ดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของ ธอส. ได้รับยกเว้นไม่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะยิ่งช่วยให้ได้รับความสนใจจากผู้ที่ต้องการออมเงินกับ ธอส. มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะได้รับผลตอบแทนดีและมีโอกาสถูกรางวัลสูงแล้ว ยังได้มีส่วนในการสร้างโอกาสให้คนไทยมีบ้านได้ง่ายขึ้นอีกด้วยซึ่งสาเหตุสําคัญที่ทําให้ธนาคารสามารถมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฯ ของ ธอส. ประชารัฐ ทําให้คนไทยมีบ้านได้จริง กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ํา 2.50% ต่อปี คงที่ได้นานถึง 3 ปีแรกได้ เพราะการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายสลากออมทรัพย์มาปล่อยสินเชื่อโดยตรงทั้งสลากรุ่นที่ 1 ชุดวิมานเมฆ หน่วยละ 1 ล้านบาท ที่มีลูกค้าให้ความสนใจจับจองเป็นเจ้าของครบทุกหน่วยที่ธนาคารเปิดจําหน่ายทั้ง 27,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับสลากออมทรัพย์ ธอส. รุ่นที่ 2 ชุดพราวพิมาน มูลค่าหน่วยละ 10 ล้านบาท จํานวน 3,000 หน่วย รวมเป็นจํานวนเงิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งพบว่ามีลูกค้าแสดงความสนใจเป็นจํานวนมากเช่นกัน”นายฉัตรชัยกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารจะเริ่มเปิดจําหน่ายสลากออมทรัพย์ ธอส. รุ่นที่ 2 ชุดพราวพิมานตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2562 - 15 มกราคม 2563 โดยคาดว่าจะสามารถจําหน่ายหมดทั้ง 30,000 ล้านบาทเช่นกัน เนื่องจากเป็นสลากที่มีจุดเด่นและแตกต่างจากสลากที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน ทั้งการเป็นสลากเลี่ยมทองซูเปอร์พรีเมี่ยมที่จะออกรางวัลไตรมาสละ 1 ครั้ง ครั้งละ 3 รางวัล มูลค่ารางวัลละ 3 ล้านบาท คิดเป็นโอกาสในการถูกรางวัล 0.1% และพิเศษ!! เฉพาะในเดือนกันยายน 2563 และกันยายน 2564 ยังได้สิทธิ์ลุ้นรับรางวัลพิเศษมูลค่า 100,000 บาท เพิ่มอีกจํานวนถึง 30 รางวัล/เดือน คิดเป็นโอกาสในการถูกรางวัลพิเศษสูงถึง 1% หากฝากครบ 2 ปี รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหน่วยละ 240,000 บาท หรือคิดเป็น 1.2% ต่อปี เริ่มออกรางวัลครั้งแรก 17 มกราคม 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24311
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน กระตุ้นตลาดอีกระลอก ลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR และ MOR เหลือ 7.00% พร้อมเสนอ “โครงการลดดอกเบี้ยให้ประชาชนรายย่อย” คืนดอกเบี้ย 30% ให้ลูกค้าเงินกู้
วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560 ออมสิน กระตุ้นตลาดอีกระลอก ลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR และ MOR เหลือ 7.00% พร้อมเสนอ “โครงการลดดอกเบี้ยให้ประชาชนรายย่อย” คืนดอกเบี้ย 30% ให้ลูกค้าเงินกู้ ธนาคารออมสินได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี หรือ MOR จาก 7.125% ต่อปี และ 7.10% ต่อปี ตามลําดับ ลงเหลือ 7.00% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ําเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม โดยในครั้งนี้ ธนาคารออมสินได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี หรือ MOR จาก 7.125% ต่อปี และ 7.10% ต่อปี ตามลําดับ ลงเหลือ 7.00% ต่อปี เท่ากัน เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และช่วยลดภาระให้แก่ลูกค้าสินเชื่อ SMEs สินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อบุคคลของธนาคารฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารออมสินได้ให้ความสําคัญกับเรื่องดังกล่าวโดยมีการกําหนดอัตราดอกเบี้ย MRR ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ย MRR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ซึ่งได้มีการปรับลดล่วงหน้ามาก่อนสถาบันการเงินอื่นครั้งหนึ่งแล้วเมื่อต้นปี 2560 และหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ยังคงทําให้ธนาคารออมสินมีอัตราดอกเบี้ย MRR และ MOR ต่ําที่สุดเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของระบบธนาคารพาณิชย์เช่นเดิมต่อไป หน่วย : ร้อยละต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารออมสิน เฉลี่ย 4 ธ.พ. ขนาดใหญ่* เฉลี่ย 7 ธ.พ.ขนาดกลาง และขนาดใหญ่** เดิม เปลี่ยนแปลง หลังปรับ MOR 7.100 -0.100 7.000 7.059 7.226 MRR 7.125 -0.125 7.000 7.184 7.423 นายชาติชาย กล่าวต่อไปว่า ธนาคารฯ มีนโยบายที่จะดําเนินโครงการลดดอกเบี้ยให้ประชาชนรายย่อย สําหรับลูกค้าธนาคารฯ ที่ประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจ ทําให้ความสามารถในการหารายได้ลดลง โดยจะช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่มีวงเงินกู้รวม รายละไม่เกิน 300,000 บาท เป็นลูกค้าที่ผ่อนชําระเงินกู้รายเดือนเป็นปกติครบถ้วนตามเงื่อนไข ซึ่งธนาคารฯ คืนดอกเบี้ยให้ 30% ของดอกเบี้ยที่ชําระมา เช่น เสียดอกเบี้ยอยู่ในอัตรา 7.0% จะได้คืน 2.1% ซึ่งนับว่ามากกว่าที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในครั้งนี้มาก โดยจะทําการโอนเงินคืนเข้าบัญชีลูกค้าในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ถึง มกราคม 2561 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีลูกค้าที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าโครงการนี้ได้ประมาณ 950,000 ราย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงการคลัง ก่อนจะดําเนินการต่อไป ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสินทุกช่องทาง ได้แก่ Website : www.gsb.or.th, Facebook : GSB Society, Official Line : GSB ธนาคารออมสิน หรือหากมี ข้อสงสัย ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน กระตุ้นตลาดอีกระลอก ลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR และ MOR เหลือ 7.00% พร้อมเสนอ “โครงการลดดอกเบี้ยให้ประชาชนรายย่อย” คืนดอกเบี้ย 30% ให้ลูกค้าเงินกู้ วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560 ออมสิน กระตุ้นตลาดอีกระลอก ลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR และ MOR เหลือ 7.00% พร้อมเสนอ “โครงการลดดอกเบี้ยให้ประชาชนรายย่อย” คืนดอกเบี้ย 30% ให้ลูกค้าเงินกู้ ธนาคารออมสินได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี หรือ MOR จาก 7.125% ต่อปี และ 7.10% ต่อปี ตามลําดับ ลงเหลือ 7.00% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ําเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม โดยในครั้งนี้ ธนาคารออมสินได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี หรือ MOR จาก 7.125% ต่อปี และ 7.10% ต่อปี ตามลําดับ ลงเหลือ 7.00% ต่อปี เท่ากัน เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และช่วยลดภาระให้แก่ลูกค้าสินเชื่อ SMEs สินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อบุคคลของธนาคารฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารออมสินได้ให้ความสําคัญกับเรื่องดังกล่าวโดยมีการกําหนดอัตราดอกเบี้ย MRR ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ย MRR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ซึ่งได้มีการปรับลดล่วงหน้ามาก่อนสถาบันการเงินอื่นครั้งหนึ่งแล้วเมื่อต้นปี 2560 และหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ยังคงทําให้ธนาคารออมสินมีอัตราดอกเบี้ย MRR และ MOR ต่ําที่สุดเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของระบบธนาคารพาณิชย์เช่นเดิมต่อไป หน่วย : ร้อยละต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารออมสิน เฉลี่ย 4 ธ.พ. ขนาดใหญ่* เฉลี่ย 7 ธ.พ.ขนาดกลาง และขนาดใหญ่** เดิม เปลี่ยนแปลง หลังปรับ MOR 7.100 -0.100 7.000 7.059 7.226 MRR 7.125 -0.125 7.000 7.184 7.423 นายชาติชาย กล่าวต่อไปว่า ธนาคารฯ มีนโยบายที่จะดําเนินโครงการลดดอกเบี้ยให้ประชาชนรายย่อย สําหรับลูกค้าธนาคารฯ ที่ประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจ ทําให้ความสามารถในการหารายได้ลดลง โดยจะช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่มีวงเงินกู้รวม รายละไม่เกิน 300,000 บาท เป็นลูกค้าที่ผ่อนชําระเงินกู้รายเดือนเป็นปกติครบถ้วนตามเงื่อนไข ซึ่งธนาคารฯ คืนดอกเบี้ยให้ 30% ของดอกเบี้ยที่ชําระมา เช่น เสียดอกเบี้ยอยู่ในอัตรา 7.0% จะได้คืน 2.1% ซึ่งนับว่ามากกว่าที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในครั้งนี้มาก โดยจะทําการโอนเงินคืนเข้าบัญชีลูกค้าในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ถึง มกราคม 2561 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีลูกค้าที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าโครงการนี้ได้ประมาณ 950,000 ราย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงการคลัง ก่อนจะดําเนินการต่อไป ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสินทุกช่องทาง ได้แก่ Website : www.gsb.or.th, Facebook : GSB Society, Official Line : GSB ธนาคารออมสิน หรือหากมี ข้อสงสัย ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3854
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเตรียมพิจารณาข้อเสนอชาวใต้ ชูริเวียราเมืองไทย พร้อมยกระดับการพัฒนารอบด้าน เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561 รัฐบาลเตรียมพิจารณาข้อเสนอชาวใต้ ชูริเวียราเมืองไทย พร้อมยกระดับการพัฒนารอบด้าน เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน รัฐบาลเตรียมพิจารณาข้อเสนอชาวใต้ ชูริเวียราเมืองไทย พร้อมยกระดับการพัฒนารอบด้าน เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมพิจารณาข้อเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและอันดามันในระหว่างการลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ 20 - 21 ส.ค.นี้ ที่ จ.ระนองและชุมพร "ประเด็นหลักที่จะพิจารณาคือ 1. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม การค้าการลงทุน และการค้าชายแดน เช่น การก่อสร้างและพัฒนาถนนเลียบชายฝั่งอ่าวไทย (Thailand Rivera) การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ พัฒนาท่าเรือ ขยายสนามบินหาดใหญ่ เป็นต้น 2. การพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เช่น ส่งเสริมความปลอดภัยแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว 3. การยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น จัดตั้ง Oil Palm City จัดตั้งเมืองนวัตกรรมและออกแบบไม้ยางพารา เป็นต้น 4. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (OTOP Academy) 5. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ขุดลอกร่องน้ํา แก้ปัญหาอุทกภัย จัดหาแหล่งน้ําเพื่ออุปโภคและบริโภค เป็นต้น สําหรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีในวันที่ 20 ส.ค.61 ที่ จ.ระนอง จะติดตามผลการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและแพทย์ทางเลือก (บ่อน้ําพุร้อน) การพัฒนาท่าเรือและการฟื้นฟูท้องทะเลโดยใช้ปะการังเทียม ส่วนที่จังหวัดชุมพร จะติดตามการบริหารจัดการน้ํา เพื่อแก้ปัญหาน้ําท่วมน้ําแล้ง และการจัดสรรน้ําเพื่อการเกษตร รวมทั้งการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร "นายกฯ เน้นย้ําว่า ภาคใต้มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาหลายด้าน รัฐบาลจึงจะลงไปช่วยต่อยอดและสนับสนุนให้ชาวใต้ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นภารกิจหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่ลงไปเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือหาเสียงแต่อย่างใด" ....................................... สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเตรียมพิจารณาข้อเสนอชาวใต้ ชูริเวียราเมืองไทย พร้อมยกระดับการพัฒนารอบด้าน เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561 รัฐบาลเตรียมพิจารณาข้อเสนอชาวใต้ ชูริเวียราเมืองไทย พร้อมยกระดับการพัฒนารอบด้าน เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน รัฐบาลเตรียมพิจารณาข้อเสนอชาวใต้ ชูริเวียราเมืองไทย พร้อมยกระดับการพัฒนารอบด้าน เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมพิจารณาข้อเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและอันดามันในระหว่างการลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ 20 - 21 ส.ค.นี้ ที่ จ.ระนองและชุมพร "ประเด็นหลักที่จะพิจารณาคือ 1. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม การค้าการลงทุน และการค้าชายแดน เช่น การก่อสร้างและพัฒนาถนนเลียบชายฝั่งอ่าวไทย (Thailand Rivera) การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ พัฒนาท่าเรือ ขยายสนามบินหาดใหญ่ เป็นต้น 2. การพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เช่น ส่งเสริมความปลอดภัยแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว 3. การยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น จัดตั้ง Oil Palm City จัดตั้งเมืองนวัตกรรมและออกแบบไม้ยางพารา เป็นต้น 4. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (OTOP Academy) 5. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ขุดลอกร่องน้ํา แก้ปัญหาอุทกภัย จัดหาแหล่งน้ําเพื่ออุปโภคและบริโภค เป็นต้น สําหรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีในวันที่ 20 ส.ค.61 ที่ จ.ระนอง จะติดตามผลการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและแพทย์ทางเลือก (บ่อน้ําพุร้อน) การพัฒนาท่าเรือและการฟื้นฟูท้องทะเลโดยใช้ปะการังเทียม ส่วนที่จังหวัดชุมพร จะติดตามการบริหารจัดการน้ํา เพื่อแก้ปัญหาน้ําท่วมน้ําแล้ง และการจัดสรรน้ําเพื่อการเกษตร รวมทั้งการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร "นายกฯ เน้นย้ําว่า ภาคใต้มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาหลายด้าน รัฐบาลจึงจะลงไปช่วยต่อยอดและสนับสนุนให้ชาวใต้ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นภารกิจหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่ลงไปเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือหาเสียงแต่อย่างใด" ....................................... สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14711
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​ แก้ปัญหาค้ามนุษย์ย้ำร่วมกันตัดวงจร รุกค้นหาและช่วยเหลือเหยื่อ เข้มมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันเชิงรุกกับกลุ่มเด็กและสตรีมากขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2561 ​ แก้ปัญหาค้ามนุษย์ย้ําร่วมกันตัดวงจร รุกค้นหาและช่วยเหลือเหยื่อ เข้มมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันเชิงรุกกับกลุ่มเด็กและสตรีมากขึ้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ณ ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ 19 ธ.ค.61 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ณ ศาลาว่าการกลาโหม โดยได้ร่วมกันพิจารณา ขับเคลื่อนแก้ปัญหาและการจัดทํารายงานผลการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจําปี 61 เพื่อจัดส่งให้ สหรัฐอเมริกา โดยสรุปภาพรวมการดําเนินงาน จํานวนคดีค้ามนุษย์ในปี 60 - 61 มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับ ปี 58 - 59 สถิติคดีด้านการบังคับใช้แรงงานเพิ่มขึ้น จากนโยบายรัฐบาลและมาตรการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง สามารถทําลายเครือข่ายกลุ่มผู้มีอิทธิพล ช่วยเหลือผู้เสียหายและดําเนินคดีกับผู้กับผู้ต้องหาได้เพิ่มมากขึ้น มีการลงโทษ และดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทําผิดอย่างเด็ดขาด และมีการอายัดทรัพย์สิน มูลค่ากว่า 471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยรูปแบบการค้ามนุษย์ที่พบมาก ได้แก่ การค้าประเวณี การบังคับใช้แรงงาน และ ขอทาน เป็นต้น พล.อ.ประวิตร ได้แสดงความขอบคุณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( พม. ) ตํารวจ รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันขับเคลื่อนแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ตามนโยบายของรัฐบาลตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เป็นผลให้การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น พร้อมกล่าวย้ําว่า อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาระยะยาว มีความจําเป็นต้องเพิ่มบทบาทความร่วมมือกับมิตรประเทศและ องค์กรพัฒนาเอกชน NGOs มากขึ้น รวมทั้งต้องพัฒนาระบบงานและกลไกบริหารจัดการ ที่มุ่งเน้น ประสิทธิภาพ คุณภาพและความยั่งยืน ควบคู่ไปกับ การเพิ่มความเข้มข้นดําเนินงานมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันเชิงรุกให้ครอบคลุมเป้าหมายในทุกพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะ กลุ่มเสี่ยงในเด็กและสตรี ทั้งการค้าประเวณีเด็ก การกดขี่ใช้แรงงานเด็กที่เป็นอันตรายต่อพัฒนาการเด็กอย่างร้ายแรง การนําคนมาขอทาน รวมทั้งการใช้แรงงานบังคับในภาคประมงและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน ขอให้ พม.และตํารวจ ให้ความสําคัญกับมาตรการเชิงรุก ในการค้นหาและช่วยเหลือเหยื่อออกมาจากวงจรการค้ามนุษย์ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นกับผู้กระทําผิดในทุกราย ควบคู่ไปกับ การสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับเครือข่ายผู้ประกอบการและภาคประชาชนมากขึ้น เพื่อร่วมแจ้งเบาะแส และแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ที่มุ่งสู่ความยั่งยืนร่วมกัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​ แก้ปัญหาค้ามนุษย์ย้ำร่วมกันตัดวงจร รุกค้นหาและช่วยเหลือเหยื่อ เข้มมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันเชิงรุกกับกลุ่มเด็กและสตรีมากขึ้น วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2561 ​ แก้ปัญหาค้ามนุษย์ย้ําร่วมกันตัดวงจร รุกค้นหาและช่วยเหลือเหยื่อ เข้มมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันเชิงรุกกับกลุ่มเด็กและสตรีมากขึ้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ณ ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ 19 ธ.ค.61 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ณ ศาลาว่าการกลาโหม โดยได้ร่วมกันพิจารณา ขับเคลื่อนแก้ปัญหาและการจัดทํารายงานผลการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจําปี 61 เพื่อจัดส่งให้ สหรัฐอเมริกา โดยสรุปภาพรวมการดําเนินงาน จํานวนคดีค้ามนุษย์ในปี 60 - 61 มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับ ปี 58 - 59 สถิติคดีด้านการบังคับใช้แรงงานเพิ่มขึ้น จากนโยบายรัฐบาลและมาตรการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง สามารถทําลายเครือข่ายกลุ่มผู้มีอิทธิพล ช่วยเหลือผู้เสียหายและดําเนินคดีกับผู้กับผู้ต้องหาได้เพิ่มมากขึ้น มีการลงโทษ และดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทําผิดอย่างเด็ดขาด และมีการอายัดทรัพย์สิน มูลค่ากว่า 471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยรูปแบบการค้ามนุษย์ที่พบมาก ได้แก่ การค้าประเวณี การบังคับใช้แรงงาน และ ขอทาน เป็นต้น พล.อ.ประวิตร ได้แสดงความขอบคุณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( พม. ) ตํารวจ รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันขับเคลื่อนแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ตามนโยบายของรัฐบาลตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เป็นผลให้การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น พร้อมกล่าวย้ําว่า อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาระยะยาว มีความจําเป็นต้องเพิ่มบทบาทความร่วมมือกับมิตรประเทศและ องค์กรพัฒนาเอกชน NGOs มากขึ้น รวมทั้งต้องพัฒนาระบบงานและกลไกบริหารจัดการ ที่มุ่งเน้น ประสิทธิภาพ คุณภาพและความยั่งยืน ควบคู่ไปกับ การเพิ่มความเข้มข้นดําเนินงานมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันเชิงรุกให้ครอบคลุมเป้าหมายในทุกพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะ กลุ่มเสี่ยงในเด็กและสตรี ทั้งการค้าประเวณีเด็ก การกดขี่ใช้แรงงานเด็กที่เป็นอันตรายต่อพัฒนาการเด็กอย่างร้ายแรง การนําคนมาขอทาน รวมทั้งการใช้แรงงานบังคับในภาคประมงและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน ขอให้ พม.และตํารวจ ให้ความสําคัญกับมาตรการเชิงรุก ในการค้นหาและช่วยเหลือเหยื่อออกมาจากวงจรการค้ามนุษย์ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นกับผู้กระทําผิดในทุกราย ควบคู่ไปกับ การสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับเครือข่ายผู้ประกอบการและภาคประชาชนมากขึ้น เพื่อร่วมแจ้งเบาะแส และแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ที่มุ่งสู่ความยั่งยืนร่วมกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17625
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ครั้งที่ 2/2560
วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2560 การสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ครั้งที่ 2/2560 สศค. จะจัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาคครั้งที่ 2/2560 ในวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ โรงแรม ดี วารี เอ็กเพรส ฮิลล์ไซด์ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะจัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาคครั้งที่ 2/2560 ในวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ โรงแรม ดี วารี เอ็กเพรส ฮิลล์ไซด์ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นเวทีในการขยายบทบาท เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์ภารกิจของ สศค. ทั้งในด้านนโยบายและผลงานวิชาการไปสู่ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน ประชาชนในส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป การสัมมนาในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงเช้า จะเป็นการเสวนาในหัวข้อ “ประเทศไทย 4.0 โอกาสและความพร้อมของภูมิภาค” โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1) ดร. ปราโมทย์ เพชรศาสตร์ ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน 3) นายพงศ์นคร โภชากรณ์ สํานักนโยบายภาษี สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมี ดร. นรพัชร์ อัศววัลลภ สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้ดําเนินรายการ ขณะที่ใน ช่วงบ่ายจะเป็นการเสวนาในหัวข้อ “รู้ลึก รู้ทัน การเงินฐานราก” ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1) นายชลังค์ ลอยสูงวงศ์ ผู้อํานวยการสํานักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) นายอํานวย สุดกระแส ปราชญ์ชุมชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) นางสาวเอม เจริญทองตระกูล สํานักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ร่วมเป็นวิทยากร และดําเนินรายการโดย ดร. สุมาพร มานะสันต์ สํานักกฎหมาย สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สศค. ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fpo.go.th คณะโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3236 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ครั้งที่ 2/2560 วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2560 การสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ครั้งที่ 2/2560 สศค. จะจัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาคครั้งที่ 2/2560 ในวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ โรงแรม ดี วารี เอ็กเพรส ฮิลล์ไซด์ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะจัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาคครั้งที่ 2/2560 ในวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ โรงแรม ดี วารี เอ็กเพรส ฮิลล์ไซด์ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นเวทีในการขยายบทบาท เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์ภารกิจของ สศค. ทั้งในด้านนโยบายและผลงานวิชาการไปสู่ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน ประชาชนในส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป การสัมมนาในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงเช้า จะเป็นการเสวนาในหัวข้อ “ประเทศไทย 4.0 โอกาสและความพร้อมของภูมิภาค” โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1) ดร. ปราโมทย์ เพชรศาสตร์ ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน 3) นายพงศ์นคร โภชากรณ์ สํานักนโยบายภาษี สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมี ดร. นรพัชร์ อัศววัลลภ สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้ดําเนินรายการ ขณะที่ใน ช่วงบ่ายจะเป็นการเสวนาในหัวข้อ “รู้ลึก รู้ทัน การเงินฐานราก” ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1) นายชลังค์ ลอยสูงวงศ์ ผู้อํานวยการสํานักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) นายอํานวย สุดกระแส ปราชญ์ชุมชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) นางสาวเอม เจริญทองตระกูล สํานักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ร่วมเป็นวิทยากร และดําเนินรายการโดย ดร. สุมาพร มานะสันต์ สํานักกฎหมาย สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สศค. ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fpo.go.th คณะโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3236 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2372
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.แถลงข่าวจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560
วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2560 ศธ.แถลงข่าวจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการร่วมแถลงข่าวการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2560 ภายใต้คําขวัญ “ดินแดนแห่งความสุข ตามรอยศาสตร์ของพระราชา” โดยมีดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ พ.ต.อ.มนตรี เทศขัน ผู้กํากับการสถานีตํารวจนครบาลดุสิตนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียน ผู้ปกครอง และสื่อมวลชน เข้าร่วมกว่า 200 คน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์รมว.ศึกษาธิการกล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการในฐานะเป็นหน่วยงานแกนนําหลักในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้นับเป็นครั้งที่ 62 จึงเตรียมจัดกิจกรรมฉลองวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 ภายใต้แนวคิด “ดินแดนแห่งความสุข ตามรอยศาสตร์ของพระราชา” เพื่อให้เด็กไทยยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสําคัญของเด็กและเยาวชน ตลอดจนให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของตน มีระเบียบวินัย มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งเป็นการเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็กด้วย ส่วนคําขวัญวันเด็กในปีนี้นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบคําขวัญไว้ว่า“เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง”เพื่อต้องการให้ประชาชนได้เห็นความสําคัญและความต้องการของเด็ก กระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทของตนและเตรียมพร้อมเป็นกําลังของชาติในอนาคต ที่จะนําพาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคงต่อไป งานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 กระทรวงศึกษาธิการกําหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 ณ สนามเสือป่า สํานักพระราชวัง ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ภายใต้แนวคิด “ดินแดนแห่งความสุข ตามรอยศาสตร์ของพระราชา”โดยความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนร่วมเปิดบูธกิจกรรมกว่า 223 บูธ เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์อันจะสร้างความประทับใจจากความสุขที่ไม่รู้ลืมจากแผ่นดินของพ่อ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่ผู้ใหญ่ควรสร้างการรับรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทยได้สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณตลอดไป นอกจากกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการยังได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกในงานวันเด็กแห่งชาติประจําปี 2560 ใช้ชื่อว่า “ต้นกล้าของพ่อ” จํานวน 300,000 เล่ม จําหน่ายราคาเล่มละ 15 บาท โดยเนื้อหาประกอบด้วย ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, การเล่าประสบการณ์, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, สํานึกรักบ้านเกิด เป็นต้น ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวถึงกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดกิจกรรม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยในกิจกรรมส่วนกลาง ประกอบด้วย - กิจกรรมการนําเด็กและเยาวชนดีเด่นและนําชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ประจําปี 2560โดยมีเด็กและเยาวชน จํานวน 779 คน ที่จะเข้าเยี่ยมคารวะและรับโล่รางวัลจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันพุธที่ 11 มกราคม 2560 ที่ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล - กิจกรรมการฉลองวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560ในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 เวลา 08.00 - 16.30 น. ที่สนามเสือป่า สํานักพระราชวัง โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับเชิญเป็นประธานเปิดงาน ในเวลา 08.30 น. โดยจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ดินแดนแห่งความสุข ตามรอยศาสตร์ของพระราชา” เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และลงมือทําผ่านกิจกรรมที่น้อมนําแนวพระราชดําริและคําสอนของพ่อหลวงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดํารงชีวิต ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมกันเปิดบูธกว่า 20 หน่วยงาน 233 บูธ โดยแบ่งเป็น 6 สถานี คือ สถานีที่ 1 เวทีกลาง (Main Stage)เป็นสถานีกิจกรรมหลัก ประกอบด้วยกิจกรรมพิธีเปิดงาน สัมภาษณ์พูดคุยกับศิลปินดารา การแสดง ฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องพระมหาชนก เป็นต้น สถานีที่ 2 สถานีพระอัจฉริยภาพ (King Bhumibol Adulyadej’s Talents)เน้นการแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อาทิ ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านงานศิลปะวาดภาพ/ถ่ายภาพ ด้านภาษา และด้านวรรณกรรม สถานีที่ 3 สถานีพอเพียง (Philosophy of Sufficiency Economy)เน้นกิจกรรมเรียนรู้เข้าใจรูปแบบและความหมายของความพอเพียง ความพอมี พอกิน พอใช้ในทุกรูปแบบการดํารงชีวิต สถานีที่ 4 สถานีนวัตกรรม (Innovation)เน้นกิจกรรมแสดงพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย ด้านการทรงงานประดิษฐ์ คิดค้นต่าง ๆ อาทิ เรือใบ กังหันน้ําชัยพัฒนา เป็นต้น สถานีที่ 5 สถานีธรรมมะจากพระราชา (King Bhumibol Adulyadej’s Dhamma)เน้นกิจกรรมให้ความรู้เรื่องของธรรมะของพระราชา ด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาจนรอบรู้หลักธรรมอย่างละเอียด แจ่มแจ้ง และลึกซึ้ง โดยมีกิจกรรม อาทิ การฝึกจิตโดยพระอาจารย์ ธัมมทีโป ภิกขุ กิจกรรมรับฟังธรรมจากพระราชา จากพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก สหรัฐอเมริกา เป็นต้น สถานีที่ 6 สถานีอิงลิชฟอร์ ฟัน (English for Fun)เน้นกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนจากตําราและในโรงเรียน จากการเรียนรู้การใช้ชีวิต โดยมีกิจกรรม อาทิ เกม Crossword ตอบปัญหาและเล่นเกม กิจกรรมสนทนากับครูสอนภาษาอังกฤษชื่อดัง แอนดรูว์ บิ๊ก เป็นต้น โดยมีไฮไลท์ภายในงาน คือนายกรัฐมนตรีแจกของขวัญให้เด็ก, การเขียนไปรษณียบัตร “คําสัญญา..ทําดีถวายในหลวงรัชกาลที่ 9” และเขียนชื่อ-ที่อยู่ส่งกลับให้ตัวเอง กิจกรรมเวทีกลาง เช่น การฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องพระมหาชนก เป็นต้น พ.ต.อ.มนตรี เทศขัน ผู้กํากับการสถานีตํารวจนครบาลดุสิตกล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อมสําหรับการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้เข้าร่วมงานอย่างเต็มอัตรากําลัง โดยจัดกําลังเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกทั้งภายในและโดยรอบบริเวณงานตลอดช่วงของการจัดงาน ทั้งนี้ขอความร่วมมือพ่อแม่ ผู้ปกครอง เขียนชื่อบุตรหลานพร้อมเบอร์ติดต่อไว้กับตัวเด็ก เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกรณีเกิดเหตุพลัดหลงกันด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.แถลงข่าวจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2560 ศธ.แถลงข่าวจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการร่วมแถลงข่าวการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2560 ภายใต้คําขวัญ “ดินแดนแห่งความสุข ตามรอยศาสตร์ของพระราชา” โดยมีดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ พ.ต.อ.มนตรี เทศขัน ผู้กํากับการสถานีตํารวจนครบาลดุสิตนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียน ผู้ปกครอง และสื่อมวลชน เข้าร่วมกว่า 200 คน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์รมว.ศึกษาธิการกล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการในฐานะเป็นหน่วยงานแกนนําหลักในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้นับเป็นครั้งที่ 62 จึงเตรียมจัดกิจกรรมฉลองวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 ภายใต้แนวคิด “ดินแดนแห่งความสุข ตามรอยศาสตร์ของพระราชา” เพื่อให้เด็กไทยยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสําคัญของเด็กและเยาวชน ตลอดจนให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของตน มีระเบียบวินัย มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งเป็นการเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็กด้วย ส่วนคําขวัญวันเด็กในปีนี้นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบคําขวัญไว้ว่า“เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง”เพื่อต้องการให้ประชาชนได้เห็นความสําคัญและความต้องการของเด็ก กระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทของตนและเตรียมพร้อมเป็นกําลังของชาติในอนาคต ที่จะนําพาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคงต่อไป งานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 กระทรวงศึกษาธิการกําหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 ณ สนามเสือป่า สํานักพระราชวัง ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ภายใต้แนวคิด “ดินแดนแห่งความสุข ตามรอยศาสตร์ของพระราชา”โดยความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนร่วมเปิดบูธกิจกรรมกว่า 223 บูธ เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์อันจะสร้างความประทับใจจากความสุขที่ไม่รู้ลืมจากแผ่นดินของพ่อ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่ผู้ใหญ่ควรสร้างการรับรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทยได้สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณตลอดไป นอกจากกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการยังได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกในงานวันเด็กแห่งชาติประจําปี 2560 ใช้ชื่อว่า “ต้นกล้าของพ่อ” จํานวน 300,000 เล่ม จําหน่ายราคาเล่มละ 15 บาท โดยเนื้อหาประกอบด้วย ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, การเล่าประสบการณ์, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, สํานึกรักบ้านเกิด เป็นต้น ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวถึงกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดกิจกรรม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยในกิจกรรมส่วนกลาง ประกอบด้วย - กิจกรรมการนําเด็กและเยาวชนดีเด่นและนําชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ประจําปี 2560โดยมีเด็กและเยาวชน จํานวน 779 คน ที่จะเข้าเยี่ยมคารวะและรับโล่รางวัลจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันพุธที่ 11 มกราคม 2560 ที่ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล - กิจกรรมการฉลองวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560ในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 เวลา 08.00 - 16.30 น. ที่สนามเสือป่า สํานักพระราชวัง โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับเชิญเป็นประธานเปิดงาน ในเวลา 08.30 น. โดยจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ดินแดนแห่งความสุข ตามรอยศาสตร์ของพระราชา” เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และลงมือทําผ่านกิจกรรมที่น้อมนําแนวพระราชดําริและคําสอนของพ่อหลวงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดํารงชีวิต ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมกันเปิดบูธกว่า 20 หน่วยงาน 233 บูธ โดยแบ่งเป็น 6 สถานี คือ สถานีที่ 1 เวทีกลาง (Main Stage)เป็นสถานีกิจกรรมหลัก ประกอบด้วยกิจกรรมพิธีเปิดงาน สัมภาษณ์พูดคุยกับศิลปินดารา การแสดง ฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องพระมหาชนก เป็นต้น สถานีที่ 2 สถานีพระอัจฉริยภาพ (King Bhumibol Adulyadej’s Talents)เน้นการแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อาทิ ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านงานศิลปะวาดภาพ/ถ่ายภาพ ด้านภาษา และด้านวรรณกรรม สถานีที่ 3 สถานีพอเพียง (Philosophy of Sufficiency Economy)เน้นกิจกรรมเรียนรู้เข้าใจรูปแบบและความหมายของความพอเพียง ความพอมี พอกิน พอใช้ในทุกรูปแบบการดํารงชีวิต สถานีที่ 4 สถานีนวัตกรรม (Innovation)เน้นกิจกรรมแสดงพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย ด้านการทรงงานประดิษฐ์ คิดค้นต่าง ๆ อาทิ เรือใบ กังหันน้ําชัยพัฒนา เป็นต้น สถานีที่ 5 สถานีธรรมมะจากพระราชา (King Bhumibol Adulyadej’s Dhamma)เน้นกิจกรรมให้ความรู้เรื่องของธรรมะของพระราชา ด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาจนรอบรู้หลักธรรมอย่างละเอียด แจ่มแจ้ง และลึกซึ้ง โดยมีกิจกรรม อาทิ การฝึกจิตโดยพระอาจารย์ ธัมมทีโป ภิกขุ กิจกรรมรับฟังธรรมจากพระราชา จากพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก สหรัฐอเมริกา เป็นต้น สถานีที่ 6 สถานีอิงลิชฟอร์ ฟัน (English for Fun)เน้นกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนจากตําราและในโรงเรียน จากการเรียนรู้การใช้ชีวิต โดยมีกิจกรรม อาทิ เกม Crossword ตอบปัญหาและเล่นเกม กิจกรรมสนทนากับครูสอนภาษาอังกฤษชื่อดัง แอนดรูว์ บิ๊ก เป็นต้น โดยมีไฮไลท์ภายในงาน คือนายกรัฐมนตรีแจกของขวัญให้เด็ก, การเขียนไปรษณียบัตร “คําสัญญา..ทําดีถวายในหลวงรัชกาลที่ 9” และเขียนชื่อ-ที่อยู่ส่งกลับให้ตัวเอง กิจกรรมเวทีกลาง เช่น การฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องพระมหาชนก เป็นต้น พ.ต.อ.มนตรี เทศขัน ผู้กํากับการสถานีตํารวจนครบาลดุสิตกล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อมสําหรับการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้เข้าร่วมงานอย่างเต็มอัตรากําลัง โดยจัดกําลังเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกทั้งภายในและโดยรอบบริเวณงานตลอดช่วงของการจัดงาน ทั้งนี้ขอความร่วมมือพ่อแม่ ผู้ปกครอง เขียนชื่อบุตรหลานพร้อมเบอร์ติดต่อไว้กับตัวเด็ก เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกรณีเกิดเหตุพลัดหลงกันด้วย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1218
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลจัด State / Local Quarantine กว่า 1,200 แห่งกักสังเกตอาการผู้กลับจากต่างประเทศ 14 วัน [กระทรวงสาธารณสุข]
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2563 รัฐบาลจัด State / Local Quarantine กว่า 1,200 แห่งกักสังเกตอาการผู้กลับจากต่างประเทศ 14 วัน [กระทรวงสาธารณสุข] รัฐบาลจัด State / Local Quarantine กว่า 1,200 แห่งกักสังเกตอาการผู้กลับจากต่างประเทศ 14 วัน รัฐบาลไทย จัดพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine/ Local Quarantine) สังเกตอาการผู้เดินทางกลับต่างประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน รวม 1,206 แห่งทั่วประเทศ ป้องกันการแพร่กระจายโรคโควิด-19 วันนี้ (23 เมษายน 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เอนกมุ่งอ้อมกลาง ผู้อํานวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กล่าวว่า รัฐบาล ให้ความสําคัญในการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ได้มอบให้กระทรวงกลาโหม มหาดไทย และสาธารณสุข ร่วมกันจัดพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine/ Local Quarantine) เป็นสถานที่สําหรับเฝ้าสังเกตอาการผู้ที่กักกันโรคหลังจากกลับจากการเดินทางต่างประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงกลาโหม ดูแล State Quarantine ในกทม. และร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จัดเป็น Local Quarantine ในต่างจังหวัด ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ปัจจุบัน มี state Quarantine ที่มีผู้เข้าพักจํานวน 10 แห่ง ใน กทม. และ 4 แห่งที่ต่างจังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี และนครปฐม จนถึงปัจจุบันมีผู้ถูกกักกันเข้าพักสังเกตอาการสะสม 1,478 คน พบการติดเชื้อ 9 ราย ส่วน Local Quarantine มีจํานวน 1,192 แห่งกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีผู้ถูกกักกันรวม 3,506 ราย พบการติดเชื้อ 62 ราย สําหรับแนวทางการดําเนินงานใน State Quarantine กระทรวงกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และมีบุคลากรจากกรมควบคุมโรคเป็นผู้สนับสนุนการดําเนินงานให้คําปรึกษาด้านการป้องกัน ควบคุมโรค เฝ้าระวังติดตามอาการ และคัดกรองผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค ภายใต้การสั่งการจากผู้บัญชาการเหตุการณ์และหัวหน้าทีม รวมทั้งกรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต และกรมอนามัย ให้การสนับสนุนบุคลากรร่วมดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้กักกันโรคจะได้รับการดูแลจากทางเจ้าหน้าที่ ตรวจเช็คสุขภาพประจําวัน มีทีมให้คําแนะนําและประสานงานตลอด 24 ชั่วโมง ณ สถานที่กักกันนั้นๆ และจ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลจัด State / Local Quarantine กว่า 1,200 แห่งกักสังเกตอาการผู้กลับจากต่างประเทศ 14 วัน [กระทรวงสาธารณสุข] วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2563 รัฐบาลจัด State / Local Quarantine กว่า 1,200 แห่งกักสังเกตอาการผู้กลับจากต่างประเทศ 14 วัน [กระทรวงสาธารณสุข] รัฐบาลจัด State / Local Quarantine กว่า 1,200 แห่งกักสังเกตอาการผู้กลับจากต่างประเทศ 14 วัน รัฐบาลไทย จัดพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine/ Local Quarantine) สังเกตอาการผู้เดินทางกลับต่างประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน รวม 1,206 แห่งทั่วประเทศ ป้องกันการแพร่กระจายโรคโควิด-19 วันนี้ (23 เมษายน 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เอนกมุ่งอ้อมกลาง ผู้อํานวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กล่าวว่า รัฐบาล ให้ความสําคัญในการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ได้มอบให้กระทรวงกลาโหม มหาดไทย และสาธารณสุข ร่วมกันจัดพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine/ Local Quarantine) เป็นสถานที่สําหรับเฝ้าสังเกตอาการผู้ที่กักกันโรคหลังจากกลับจากการเดินทางต่างประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงกลาโหม ดูแล State Quarantine ในกทม. และร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จัดเป็น Local Quarantine ในต่างจังหวัด ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ปัจจุบัน มี state Quarantine ที่มีผู้เข้าพักจํานวน 10 แห่ง ใน กทม. และ 4 แห่งที่ต่างจังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี และนครปฐม จนถึงปัจจุบันมีผู้ถูกกักกันเข้าพักสังเกตอาการสะสม 1,478 คน พบการติดเชื้อ 9 ราย ส่วน Local Quarantine มีจํานวน 1,192 แห่งกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีผู้ถูกกักกันรวม 3,506 ราย พบการติดเชื้อ 62 ราย สําหรับแนวทางการดําเนินงานใน State Quarantine กระทรวงกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และมีบุคลากรจากกรมควบคุมโรคเป็นผู้สนับสนุนการดําเนินงานให้คําปรึกษาด้านการป้องกัน ควบคุมโรค เฝ้าระวังติดตามอาการ และคัดกรองผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค ภายใต้การสั่งการจากผู้บัญชาการเหตุการณ์และหัวหน้าทีม รวมทั้งกรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต และกรมอนามัย ให้การสนับสนุนบุคลากรร่วมดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้กักกันโรคจะได้รับการดูแลจากทางเจ้าหน้าที่ ตรวจเช็คสุขภาพประจําวัน มีทีมให้คําแนะนําและประสานงานตลอด 24 ชั่วโมง ณ สถานที่กักกันนั้นๆ และจ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29611
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ประชุมมอบหมายการปฏิบัติงานและลงนามบันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้ปฏิบัติงานในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพ
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ทส. ประชุมมอบหมายการปฏิบัติงานและลงนามบันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้ปฏิบัติงานในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพ ทส. จัดประชุมเพื่อมอบหมายการปฏิบัติงานและลงนามบันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้ปฏิบัติงานในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมทั้งเสวนาในหัวข้อ “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ สัตว์ป่าอยู่ได้” โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายเดโช ไชยทัพ รองเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเหนือ นายสมหมาย ทรัพย์รังสิกุล แกนนํากลุ่มต้นทะเล บ้านหม่องกั๊วะ อําเภออุ้มผาง ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง หัวใจของงานรักษาป่า, สิทธิชุมชนกับการร่วมกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติในผืนป่าอนุรักษ์, แนวคิดสามประสานการทํางานจากประชาชน ท้องถิ่น และราชการ รวมถึงเสียงจากคนที่อยู่ต้นทะเล ทั้งนี้ เพื่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการพื้นที่ป่า เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยมี นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เป็นผู้ดําเนินรายการ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จํากัด นอกจากนี้ ภายในงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในการรับ – มอบ บันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้ปฏิบัติงานในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพ ระหว่าง อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับ สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์และหัวหน้าพื้นที่อนุรักษ์ อีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ประชุมมอบหมายการปฏิบัติงานและลงนามบันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้ปฏิบัติงานในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพ วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ทส. ประชุมมอบหมายการปฏิบัติงานและลงนามบันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้ปฏิบัติงานในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพ ทส. จัดประชุมเพื่อมอบหมายการปฏิบัติงานและลงนามบันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้ปฏิบัติงานในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมทั้งเสวนาในหัวข้อ “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ สัตว์ป่าอยู่ได้” โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายเดโช ไชยทัพ รองเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเหนือ นายสมหมาย ทรัพย์รังสิกุล แกนนํากลุ่มต้นทะเล บ้านหม่องกั๊วะ อําเภออุ้มผาง ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง หัวใจของงานรักษาป่า, สิทธิชุมชนกับการร่วมกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติในผืนป่าอนุรักษ์, แนวคิดสามประสานการทํางานจากประชาชน ท้องถิ่น และราชการ รวมถึงเสียงจากคนที่อยู่ต้นทะเล ทั้งนี้ เพื่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการพื้นที่ป่า เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยมี นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เป็นผู้ดําเนินรายการ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จํากัด นอกจากนี้ ภายในงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในการรับ – มอบ บันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้ปฏิบัติงานในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพ ระหว่าง อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับ สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์และหัวหน้าพื้นที่อนุรักษ์ อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18710
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมศุลกากรจับกุมสินค้าแบรนด์เนม และบุหรี่ สุรา ไวน์ ลักลอบหนีศุลกากร มูลค่ากว่า 15 ล้านบาท
วันพุธที่ 27 กันยายน 2560 กรมศุลกากรจับกุมสินค้าแบรนด์เนม และบุหรี่ สุรา ไวน์ ลักลอบหนีศุลกากร มูลค่ากว่า 15 ล้านบาท วันนี้ (วันพุธที่ 27 กันยายน 2560) เวลา 13.30 น. ณ สนามฟุตซอล กรมศุลกากร นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงข่าวกรมศุลกากรจับกุมสินค้าแบรนด์เนม บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลักลอบหนีศุลกากร มูลค่าของกลางรวมทั้งสิ้นกว่า 15 ล้านบาท ตามที่กรมศุลกากรได้มีนโยบายในการปกป้องสังคม และสร้างความเป็นธรรมทางการค้าและการจัดเก็บภาษีอากร รวมทั้งขจัดอิทธิพลกลุ่มขบวนการลักลอบค้าของเถื่อน นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร จึงได้สั่งการให้ นายชัยยุทธ คําคุณ รองอธิบดี รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร มอบหมายให้ นายวรวุฒิ วิบูลย์ศิริชัย ผู้อํานวยการสํานักสืบสวนและปราบปราม เข้มงวด ในการตรวจสอบสินค้าลักลอบหนีศุลกากร รวมถึงแหล่งรับซื้อ เพื่อปราบปรามขบวนการลักลอบนําเข้ามา ในราชอาณาจักร ซึ่งทําผิดกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ดําเนินการวางแผนจับกุมสินค้าแบรนด์เนมและบุหรี่ สุรา ไวน์ลักลอบหนีศุลกากรในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560 เวลาประมาณ 01.30 น. เจ้าหน้าที่ศุลกากรชุดสืบสวนและปราบปรามพิเศษ สํานักสืบสวนและปราบปราม (สสป.) นําโดย นายชนินทร์ ศุภรินทร์ ได้เข้าทําการตรวจค้นรถกระบะบรรทุก ยี่ห้อ TOYOTA หมายเลขทะเบียน 1ฒพ1610 กทม. จากการสืบสวนหาข้อมูลทางการข่าว ทราบว่ามีขบวนการลักลอบนําเข้าสินค้าแบรนด์เนม ใช้วิธีการตบตาเจ้าหน้าที่โดยการทําใบขนสินค้าถ่ายลํา มัดลวดตีตราจากต้นทางสํานักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ประเทศกัมพูชา แต่กลับขับออกนอกเส้นทาง จากการตรวจค้นรถกระบะดังกล่าวเจ้าหน้าที่พบสินค้าแบรนด์เนมประเภทเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และอื่นๆ จํานวนมาก ไม่ปรากฏหลักฐาน การปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรโดยถูกต้อง และในวันเดียวกันได้ขยายผลการจับกุม โดยทําการขอหมายค้นจากศาลอาญาธนบุรี เพื่อเข้าตรวจค้นบ้านที่เก็บสินค้าย่านแสมดํา จากการตรวจค้นพบสินค้าแบรนด์เนมประเภทเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และอื่นๆ ลักลอบหนีศุลกากรจํานวนมากอยู่ภายในบ้านหลังดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงทําการยึดสินค้าที่ตรวจพบทั้งหมดส่งกรมศุลกากร เพื่อดําเนินการตามกฎหมายต่อไป รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 2,500,000 บาท และจากการที่กรมสรรพสามิตได้ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ส่งผลให้ราคาขายปลีกภายในประเทศปรับราคาสูงขึ้น ประกอบกับข้อมูลทางการข่าวทําให้ทราบว่ามีขบวนการลักลอบนําสินค้าบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากประเทศมาเลเซียเข้ามาจําหน่ายในประเทศไทยนั้น เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2560 เวลาประมาณ 12.00 น. เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนและปราบปรามพิเศษ สสป. ร่วมกับ เจ้าหน้าที่หน่วยสืบสวนปราบปรามสงขลา สสป. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร ศภ.4 สนธิกําลังกับเจ้าหน้าที่ทหาร บก.ควบคุม มทบ.42 เข้าตรวจค้นโกดังจํานวน 2 แห่ง ในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผลการตรวจค้นพบ บุหรี่จํานวน 600 หีบ (6,000,000 มวน) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ สุรา ไวน์ เบียร์ จํานวน 3,902 ขวด รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 12,745,000 บาท กรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากรฐานลักลอบหรือรับซื้อหรือรับไว้ด้วยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ของต้องห้าม ต้องกํากัด หรือของที่ไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันมีเจตนา ฉ้อภาษีของรัฐ อันเป็นความผิดตามนัย มาตรา ๒๗ , ๒๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ ประกอบกับมาตรา ๑๖, ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๔๘๒ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อนึ่ง กรมศุลกากรมีสถิติการจับกุมสินค้าลักลอบศุลกากรประเภทสุรา ไวน์ต่างประเทศ ตั้งแต่ เดือนต.ค. 59 – ปัจจุบัน จํานวน 332 ราย ปริมาณ 26,997 ขวด รวมมูลค่า 19,176,095 บาท และบุหรี่ จํานวน 679 ราย ปริมาณ 38,349,863 มวน มูลค่า 154,774,062 บาท การปฏิบัติการตรวจค้นจับกุมสินค้าลักลอบตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นตามนโยบายของกรมศุลกากร และยังเป็นการให้ความคุ้มครองกับกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่สุจริตและประกอบอาชีพอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมศุลกากรจับกุมสินค้าแบรนด์เนม และบุหรี่ สุรา ไวน์ ลักลอบหนีศุลกากร มูลค่ากว่า 15 ล้านบาท วันพุธที่ 27 กันยายน 2560 กรมศุลกากรจับกุมสินค้าแบรนด์เนม และบุหรี่ สุรา ไวน์ ลักลอบหนีศุลกากร มูลค่ากว่า 15 ล้านบาท วันนี้ (วันพุธที่ 27 กันยายน 2560) เวลา 13.30 น. ณ สนามฟุตซอล กรมศุลกากร นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงข่าวกรมศุลกากรจับกุมสินค้าแบรนด์เนม บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลักลอบหนีศุลกากร มูลค่าของกลางรวมทั้งสิ้นกว่า 15 ล้านบาท ตามที่กรมศุลกากรได้มีนโยบายในการปกป้องสังคม และสร้างความเป็นธรรมทางการค้าและการจัดเก็บภาษีอากร รวมทั้งขจัดอิทธิพลกลุ่มขบวนการลักลอบค้าของเถื่อน นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร จึงได้สั่งการให้ นายชัยยุทธ คําคุณ รองอธิบดี รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร มอบหมายให้ นายวรวุฒิ วิบูลย์ศิริชัย ผู้อํานวยการสํานักสืบสวนและปราบปราม เข้มงวด ในการตรวจสอบสินค้าลักลอบหนีศุลกากร รวมถึงแหล่งรับซื้อ เพื่อปราบปรามขบวนการลักลอบนําเข้ามา ในราชอาณาจักร ซึ่งทําผิดกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ดําเนินการวางแผนจับกุมสินค้าแบรนด์เนมและบุหรี่ สุรา ไวน์ลักลอบหนีศุลกากรในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560 เวลาประมาณ 01.30 น. เจ้าหน้าที่ศุลกากรชุดสืบสวนและปราบปรามพิเศษ สํานักสืบสวนและปราบปราม (สสป.) นําโดย นายชนินทร์ ศุภรินทร์ ได้เข้าทําการตรวจค้นรถกระบะบรรทุก ยี่ห้อ TOYOTA หมายเลขทะเบียน 1ฒพ1610 กทม. จากการสืบสวนหาข้อมูลทางการข่าว ทราบว่ามีขบวนการลักลอบนําเข้าสินค้าแบรนด์เนม ใช้วิธีการตบตาเจ้าหน้าที่โดยการทําใบขนสินค้าถ่ายลํา มัดลวดตีตราจากต้นทางสํานักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ประเทศกัมพูชา แต่กลับขับออกนอกเส้นทาง จากการตรวจค้นรถกระบะดังกล่าวเจ้าหน้าที่พบสินค้าแบรนด์เนมประเภทเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และอื่นๆ จํานวนมาก ไม่ปรากฏหลักฐาน การปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรโดยถูกต้อง และในวันเดียวกันได้ขยายผลการจับกุม โดยทําการขอหมายค้นจากศาลอาญาธนบุรี เพื่อเข้าตรวจค้นบ้านที่เก็บสินค้าย่านแสมดํา จากการตรวจค้นพบสินค้าแบรนด์เนมประเภทเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และอื่นๆ ลักลอบหนีศุลกากรจํานวนมากอยู่ภายในบ้านหลังดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงทําการยึดสินค้าที่ตรวจพบทั้งหมดส่งกรมศุลกากร เพื่อดําเนินการตามกฎหมายต่อไป รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 2,500,000 บาท และจากการที่กรมสรรพสามิตได้ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ส่งผลให้ราคาขายปลีกภายในประเทศปรับราคาสูงขึ้น ประกอบกับข้อมูลทางการข่าวทําให้ทราบว่ามีขบวนการลักลอบนําสินค้าบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากประเทศมาเลเซียเข้ามาจําหน่ายในประเทศไทยนั้น เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2560 เวลาประมาณ 12.00 น. เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนและปราบปรามพิเศษ สสป. ร่วมกับ เจ้าหน้าที่หน่วยสืบสวนปราบปรามสงขลา สสป. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร ศภ.4 สนธิกําลังกับเจ้าหน้าที่ทหาร บก.ควบคุม มทบ.42 เข้าตรวจค้นโกดังจํานวน 2 แห่ง ในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผลการตรวจค้นพบ บุหรี่จํานวน 600 หีบ (6,000,000 มวน) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ สุรา ไวน์ เบียร์ จํานวน 3,902 ขวด รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 12,745,000 บาท กรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากรฐานลักลอบหรือรับซื้อหรือรับไว้ด้วยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ของต้องห้าม ต้องกํากัด หรือของที่ไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันมีเจตนา ฉ้อภาษีของรัฐ อันเป็นความผิดตามนัย มาตรา ๒๗ , ๒๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ ประกอบกับมาตรา ๑๖, ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๔๘๒ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อนึ่ง กรมศุลกากรมีสถิติการจับกุมสินค้าลักลอบศุลกากรประเภทสุรา ไวน์ต่างประเทศ ตั้งแต่ เดือนต.ค. 59 – ปัจจุบัน จํานวน 332 ราย ปริมาณ 26,997 ขวด รวมมูลค่า 19,176,095 บาท และบุหรี่ จํานวน 679 ราย ปริมาณ 38,349,863 มวน มูลค่า 154,774,062 บาท การปฏิบัติการตรวจค้นจับกุมสินค้าลักลอบตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นตามนโยบายของกรมศุลกากร และยังเป็นการให้ความคุ้มครองกับกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่สุจริตและประกอบอาชีพอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7013
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมท่าอากาศยานเพิ่มการตรวจเข้มเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อด้วยตู้พ่นฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 [กระทรวงคมนาคม]
วันพุธที่ 29 เมษายน 2563 กรมท่าอากาศยานเพิ่มการตรวจเข้มเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อด้วยตู้พ่นฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 [กระทรวงคมนาคม] กรมท่าอากาศยานเพิ่มการตรวจเข้มเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อด้วยตู้พ่นฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 นายทวี เกศิสําอาง อธิบดีกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กรมท่าอากาศยาน (ทย.) เพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID–19 แก่เจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อราชการ โดยติดตั้งเครื่องพ่นฆ่าเชื้ออเนกประสงค์แบบละอองน้ํา และติดตั้งกล้องตรวจจับอุณหภูมิความร้อนร่างกายที่สามารถแสดงผลภาพบุคคลที่ตรวจจับความร้อนก่อนเข้าอาคารทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองให้มีความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นแก่เจ้าหน้าที่และผู้มาติดต่อราชการมากยิ่งขึ้น ตั้งจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ พร้อมกําชับให้เจ้าหน้าที่ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ กําหนดระยะห่างการใช้ลิฟต์ (Social distancing) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 เพิ่มความถี่ในการทําความสะอาดจุดที่สัมผัสบ่อยโดยใช้น้ํายาทําความสะอาดและแอลกอฮอล์ทุกครั้ง นอกจากนี้ ทย. ได้รับการประสานงานจาก บริษัท โตโยต้า กรุงไทย จํากัด เข้ามาฉีดพ่นฆ่าเชื้อไวรัส COVID–19 รถยนต์ที่ใช้ในราชการและรถของเจ้าหน้าที่ทุกคันเพื่อลดความเสี่ยงและการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสด้วย สําหรับการให้บริการของสายการบินต่าง ๆ หลังจากหยุดบินชั่วคราว ณ ท่าอากาศยานในสังกัด ทย. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ได้กําชับให้เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัด โดยตรวจคัดกรองผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออก พร้อมให้ผู้โดยสารกรอกใบรายละเอียดการเดินทาง (แบบ ต.8-คค) จัดเก้าอี้เว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ กําหนดจุดยืนในขณะตรวจบัตรโดยสาร แจ้งให้ผู้โดยสารทุกคนใส่หน้ากากอนามัยตลอดการใช้บริการ จัดจุดบริการเจลแอลกอฮอล์แก่ผู้โดยสาร ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เกี่ยวกับการป้องกันตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เพิ่มรอบการทําความสะอาดให้มากขึ้นโดยใช้น้ํายาฆ่าเชื้อเช็ดทําความสะอาดเก้าอี้ ราวบันได รวมถึงอุปกรณ์การปฏิบัติงาน สุขภัณฑ์ และพ่นน้ํายาฆ่าเชื้อในบริเวณต่าง ๆ ที่มีการใช้งานของอาคารท่าอากาศยานเมื่อหมดเที่ยวบิน ทย. ตระหนักถึงความปลอดภัยสูงสุดเพื่อให้ผู้โดยสารมั่นใจในการเดินทางผ่านท่าอากาศยานในสังกัด ทย. กระทรวงคมนาคม 28 เมษายน 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมท่าอากาศยานเพิ่มการตรวจเข้มเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อด้วยตู้พ่นฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 [กระทรวงคมนาคม] วันพุธที่ 29 เมษายน 2563 กรมท่าอากาศยานเพิ่มการตรวจเข้มเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อด้วยตู้พ่นฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 [กระทรวงคมนาคม] กรมท่าอากาศยานเพิ่มการตรวจเข้มเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อด้วยตู้พ่นฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 นายทวี เกศิสําอาง อธิบดีกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กรมท่าอากาศยาน (ทย.) เพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID–19 แก่เจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อราชการ โดยติดตั้งเครื่องพ่นฆ่าเชื้ออเนกประสงค์แบบละอองน้ํา และติดตั้งกล้องตรวจจับอุณหภูมิความร้อนร่างกายที่สามารถแสดงผลภาพบุคคลที่ตรวจจับความร้อนก่อนเข้าอาคารทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองให้มีความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นแก่เจ้าหน้าที่และผู้มาติดต่อราชการมากยิ่งขึ้น ตั้งจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ พร้อมกําชับให้เจ้าหน้าที่ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ กําหนดระยะห่างการใช้ลิฟต์ (Social distancing) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 เพิ่มความถี่ในการทําความสะอาดจุดที่สัมผัสบ่อยโดยใช้น้ํายาทําความสะอาดและแอลกอฮอล์ทุกครั้ง นอกจากนี้ ทย. ได้รับการประสานงานจาก บริษัท โตโยต้า กรุงไทย จํากัด เข้ามาฉีดพ่นฆ่าเชื้อไวรัส COVID–19 รถยนต์ที่ใช้ในราชการและรถของเจ้าหน้าที่ทุกคันเพื่อลดความเสี่ยงและการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสด้วย สําหรับการให้บริการของสายการบินต่าง ๆ หลังจากหยุดบินชั่วคราว ณ ท่าอากาศยานในสังกัด ทย. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ได้กําชับให้เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัด โดยตรวจคัดกรองผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออก พร้อมให้ผู้โดยสารกรอกใบรายละเอียดการเดินทาง (แบบ ต.8-คค) จัดเก้าอี้เว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ กําหนดจุดยืนในขณะตรวจบัตรโดยสาร แจ้งให้ผู้โดยสารทุกคนใส่หน้ากากอนามัยตลอดการใช้บริการ จัดจุดบริการเจลแอลกอฮอล์แก่ผู้โดยสาร ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เกี่ยวกับการป้องกันตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เพิ่มรอบการทําความสะอาดให้มากขึ้นโดยใช้น้ํายาฆ่าเชื้อเช็ดทําความสะอาดเก้าอี้ ราวบันได รวมถึงอุปกรณ์การปฏิบัติงาน สุขภัณฑ์ และพ่นน้ํายาฆ่าเชื้อในบริเวณต่าง ๆ ที่มีการใช้งานของอาคารท่าอากาศยานเมื่อหมดเที่ยวบิน ทย. ตระหนักถึงความปลอดภัยสูงสุดเพื่อให้ผู้โดยสารมั่นใจในการเดินทางผ่านท่าอากาศยานในสังกัด ทย. กระทรวงคมนาคม 28 เมษายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29991
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น ติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมพบปะให้กำลังใจ และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น ติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมพบปะให้กําลังใจ และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น ติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมพบปะให้กําลังใจ และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย วันนี้ (‪7 กันยายน 2562‬) ‪เวลา 10.00 น.‬ ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ พร้อมพบปะให้กําลังใจ และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุโพดุล ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม - 2 กันยายน 2562 ทําให้พื้นที่ 9 อําเภอได้รับผลกระทบ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 217,353 คน คิดเป็น 44,570 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหาย 253 หลังคาเรือน โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวให้กําลังผู้ประสบภัยว่า รัฐบาลภายใต้การนําของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในพื้นที่น้ําท่วม โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการกําชับให้ส่วนราชการดูแลประชาชนให้ดีที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน รองนายกรัฐมนตรีย้ําว่า การลงพื้นที่ของตนเองและคณะในวันนี้ มาเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น รัฐบาลได้มีการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาวไว้แล้วเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งตนเองและรัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ําท่วม โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เร่งสํารวจความเสียหาย เพื่อช่วยเหลือเยียวยาอย่างเร่งด่วน พร้อมกําชับให้ส่วนราชการเร่งฟื้นฟูซ่อมแซมบ้านเรือนให้สามารถเข้าพักอาศัยรวมถึงถนนหนทางให้กลับคืนสู่สภาพเดิม สามารถใช้งานได้เร็วที่สุด โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวให้กําลังผู้ปฎิบัติงานทุกภาคส่วนที่มีความเสียสละตั้งใจทํางานช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในการทํางานพร้อมฝากชาวขอนแก่นให้รัก สามัคคี ปรองดองกันเช่นนี้ตลอดไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจทํางานให้ประชาชนกินดีอยู่ดี แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนจึงจะประสบความสําเร็จ -------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น ติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมพบปะให้กำลังใจ และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น ติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมพบปะให้กําลังใจ และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น ติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมพบปะให้กําลังใจ และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย วันนี้ (‪7 กันยายน 2562‬) ‪เวลา 10.00 น.‬ ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ พร้อมพบปะให้กําลังใจ และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุโพดุล ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม - 2 กันยายน 2562 ทําให้พื้นที่ 9 อําเภอได้รับผลกระทบ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 217,353 คน คิดเป็น 44,570 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหาย 253 หลังคาเรือน โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวให้กําลังผู้ประสบภัยว่า รัฐบาลภายใต้การนําของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในพื้นที่น้ําท่วม โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการกําชับให้ส่วนราชการดูแลประชาชนให้ดีที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน รองนายกรัฐมนตรีย้ําว่า การลงพื้นที่ของตนเองและคณะในวันนี้ มาเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น รัฐบาลได้มีการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาวไว้แล้วเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งตนเองและรัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ําท่วม โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เร่งสํารวจความเสียหาย เพื่อช่วยเหลือเยียวยาอย่างเร่งด่วน พร้อมกําชับให้ส่วนราชการเร่งฟื้นฟูซ่อมแซมบ้านเรือนให้สามารถเข้าพักอาศัยรวมถึงถนนหนทางให้กลับคืนสู่สภาพเดิม สามารถใช้งานได้เร็วที่สุด โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวให้กําลังผู้ปฎิบัติงานทุกภาคส่วนที่มีความเสียสละตั้งใจทํางานช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในการทํางานพร้อมฝากชาวขอนแก่นให้รัก สามัคคี ปรองดองกันเช่นนี้ตลอดไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจทํางานให้ประชาชนกินดีอยู่ดี แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนจึงจะประสบความสําเร็จ -------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22883
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. รับมอบข้าวสาร หน้ากากอนามัยแบบผ้า และแอลกอฮอล์ จากศิษย์เก่าคณะวิศวฯ สจล. รุ่น 29 และ 32 [กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์]
วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2563 พม. รับมอบข้าวสาร หน้ากากอนามัยแบบผ้า และแอลกอฮอล์ จากศิษย์เก่าคณะวิศวฯ สจล. รุ่น 29 และ 32 [กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์] พม. รับมอบข้าวสาร หน้ากากอนามัยแบบผ้า และแอลกอฮอล์ จากศิษย์เก่าคณะวิศวฯ สจล. รุ่น 29 และ 32 เพื่อส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายในความดูแลทั่วประเทศ ร่วมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 63 เวลา 13.30 น. ที่บริเวณโถงชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) รับมอบข้าวสาร เครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น หน้ากากอนามัยแบบผ้าผ้า และแอลกอฮอล์จากคณะผู้แทนศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รุ่น 29 (ทีมเชียร์-รักบี้-โดม) และรุ่น 32 เพื่อมอบให้กับศูนย์รับบริจาคกระทรวง พม. นําไปใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายในความดูแลของกระทรวง พม. ตั้งแต่เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม นายจุติ กล่าวว่า ปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในความดูแลของกระทรวง พม. และวันนี้ (1 เม.ย.63) มีผู้แทนศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รุ่น 29 (ทีมเชียร์-รักบี้-โดม) นําโดยนายทศพล ผลมั่ง นายสุรชาติ สุวรรณโฆษิต และนายชัยพจน์ ตันตระวิวัฒน์ ได้นําเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น ได้แก่ 1) ข้าวสาร จํานวน 8 ตัน 2) อาหารแห้ง(น้ําพริก) จํานวน 1,080 กระปุก และ 3) ชุด PPE จํานวน 20 ชุด พร้อมทั้งแอลกอฮอล์ 95% จํานวน 500 ลิตร และหน้ากากอนามัยแบบผ้า จํานวน 200 ชิ้น มามอบให้ศูนย์รับบริจาค กระทรวง พม. นําไปใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายในความดูแลของกระทรวง พม. ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สําหรับกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง อีกทั้งใช้สําหรับการดํารงชีวิตเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคให้กับกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. สามารถบริจาคได้ที่ศูนย์รับบริจาคกระทรวง พม. หรือติดต่อศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร.1300 นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กระทรวง พม. ได้ร่วมกับโรงพยาบาลวิภารามชัยปราการ จังหวัดสมุทรปราการที่จะเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนของการเคหะแห่งชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และมีโอกาสขยายไปในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งนับเป็นก้าวแรกและเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ภาคเอกชนกับภาครัฐได้ร่วมมือกัน และฝ่าฟันวิกฤตินี้ไปด้วยกัน ทั้งนี้ ตนขอขอบคุณโรงพยาบาลวิภารามชัยปราการที่เข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้น และจะมีโครงการดี ๆ อย่างนี้อีก เพื่อที่ประเทศไทยจะได้ฟื้นและเดินหน้าต่อไปได้ และขอให้มั่นใจได้ว่าของเหล่านี้จะถึงมือเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเปราะบางอย่างแน่นอน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. รับมอบข้าวสาร หน้ากากอนามัยแบบผ้า และแอลกอฮอล์ จากศิษย์เก่าคณะวิศวฯ สจล. รุ่น 29 และ 32 [กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์] วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2563 พม. รับมอบข้าวสาร หน้ากากอนามัยแบบผ้า และแอลกอฮอล์ จากศิษย์เก่าคณะวิศวฯ สจล. รุ่น 29 และ 32 [กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์] พม. รับมอบข้าวสาร หน้ากากอนามัยแบบผ้า และแอลกอฮอล์ จากศิษย์เก่าคณะวิศวฯ สจล. รุ่น 29 และ 32 เพื่อส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายในความดูแลทั่วประเทศ ร่วมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 63 เวลา 13.30 น. ที่บริเวณโถงชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) รับมอบข้าวสาร เครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น หน้ากากอนามัยแบบผ้าผ้า และแอลกอฮอล์จากคณะผู้แทนศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รุ่น 29 (ทีมเชียร์-รักบี้-โดม) และรุ่น 32 เพื่อมอบให้กับศูนย์รับบริจาคกระทรวง พม. นําไปใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายในความดูแลของกระทรวง พม. ตั้งแต่เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม นายจุติ กล่าวว่า ปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในความดูแลของกระทรวง พม. และวันนี้ (1 เม.ย.63) มีผู้แทนศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รุ่น 29 (ทีมเชียร์-รักบี้-โดม) นําโดยนายทศพล ผลมั่ง นายสุรชาติ สุวรรณโฆษิต และนายชัยพจน์ ตันตระวิวัฒน์ ได้นําเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น ได้แก่ 1) ข้าวสาร จํานวน 8 ตัน 2) อาหารแห้ง(น้ําพริก) จํานวน 1,080 กระปุก และ 3) ชุด PPE จํานวน 20 ชุด พร้อมทั้งแอลกอฮอล์ 95% จํานวน 500 ลิตร และหน้ากากอนามัยแบบผ้า จํานวน 200 ชิ้น มามอบให้ศูนย์รับบริจาค กระทรวง พม. นําไปใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายในความดูแลของกระทรวง พม. ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สําหรับกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง อีกทั้งใช้สําหรับการดํารงชีวิตเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคให้กับกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. สามารถบริจาคได้ที่ศูนย์รับบริจาคกระทรวง พม. หรือติดต่อศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร.1300 นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กระทรวง พม. ได้ร่วมกับโรงพยาบาลวิภารามชัยปราการ จังหวัดสมุทรปราการที่จะเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนของการเคหะแห่งชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และมีโอกาสขยายไปในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งนับเป็นก้าวแรกและเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ภาคเอกชนกับภาครัฐได้ร่วมมือกัน และฝ่าฟันวิกฤตินี้ไปด้วยกัน ทั้งนี้ ตนขอขอบคุณโรงพยาบาลวิภารามชัยปราการที่เข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้น และจะมีโครงการดี ๆ อย่างนี้อีก เพื่อที่ประเทศไทยจะได้ฟื้นและเดินหน้าต่อไปได้ และขอให้มั่นใจได้ว่าของเหล่านี้จะถึงมือเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเปราะบางอย่างแน่นอน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28307
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561
วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2561 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีทําบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีทําบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 วันนี้ (12 สิงหาคม 2561) เวลา 06.30 น. ณ บริเวณท้องสนามหลวง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 โดยมีนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา คณะองคมนตรีและคู่สมรส ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา ประธานองค์กรอิสระและ คู่สมรส คณะรัฐมนตรีและคู่สมรส เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการในพระองค์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติหัวหน้าหน่วยงานอิสระ เข้าร่วมพิธีทําบุญตักบาตรฯ ตามลําดับพิธีดังนี้ นายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จากนั้น นายกรัฐมนตรีเปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ จํานวน 10 รูป ให้ศีล เจ้าหน้าที่กล่าวคําถวายสังฆทาน จากนั้น นายกรัฐมนตรีและภริยา องคมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา และส่วนราชการในพระองค์ ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ จํานวน 10 รูป พระสงฆ์อนุโมทนา นายกรัฐมนตรีกรวดน้ํารับพร จากนั้นในเวลา 07.00 น. นายกรัฐมนตรีและภริยา และผู้เข้าร่วมพิธี ร่วมตักบาตรพระสงฆ์ จํานวน 243 รูป เสร็จพิธี นายกรัฐมนตรีและภริยาเดินทางกลับ ......... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2561 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีทําบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีทําบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 วันนี้ (12 สิงหาคม 2561) เวลา 06.30 น. ณ บริเวณท้องสนามหลวง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 โดยมีนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา คณะองคมนตรีและคู่สมรส ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา ประธานองค์กรอิสระและ คู่สมรส คณะรัฐมนตรีและคู่สมรส เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการในพระองค์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติหัวหน้าหน่วยงานอิสระ เข้าร่วมพิธีทําบุญตักบาตรฯ ตามลําดับพิธีดังนี้ นายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จากนั้น นายกรัฐมนตรีเปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ จํานวน 10 รูป ให้ศีล เจ้าหน้าที่กล่าวคําถวายสังฆทาน จากนั้น นายกรัฐมนตรีและภริยา องคมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา และส่วนราชการในพระองค์ ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ จํานวน 10 รูป พระสงฆ์อนุโมทนา นายกรัฐมนตรีกรวดน้ํารับพร จากนั้นในเวลา 07.00 น. นายกรัฐมนตรีและภริยา และผู้เข้าร่วมพิธี ร่วมตักบาตรพระสงฆ์ จํานวน 243 รูป เสร็จพิธี นายกรัฐมนตรีและภริยาเดินทางกลับ ......... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14549
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคีแรงงาน หาแนวทางแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านแรงงาน
วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2561 กสร. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคีแรงงาน หาแนวทางแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดประชุมภาคีแรงงาน เชิญนายจ้าง ลูกจ้าง สหภาพแรงงาน และองค์กรด้านแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ หาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร. ได้จัดให้มีการประชุมภาคีแรงงาน ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนนายจ้าง สถานประกอบกิจการในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จํานวน 30 คน ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการพูดคุยถึงสถานการณ์การแจ้งข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การเกิดข้อพิพาทและข้อขัดแย้งด้านแรงงาน รวมทั้งแนวทางแก้ไข ทั้งนี้กสร.ได้ส่งเสริมให้นําการบริหารแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนายจ้าง ลูกจ้าง ไปปรับใช้ในการลดข้อขัดแย้ง และส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการ รวมทั้งจะได้ติดตามผลการดําเนินการเพื่อสรุปวิเคราะห์เพื่อจัดทําแนวทางป้องกันแก้ไขร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องต่อไป อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาและส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ จังหวัดสมุทรปราการขึ้นตั้งแต่ปี 2546 โดยมีภารกิจด้านวิชาการและเป็นศูนย์เครือข่ายประสานงานการพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ การให้บริการข้อมูลด้านแรงงานแก่ผู้ใช้แรงงานและบุคคลทั่วไปโดยมีกิจกรรมสําคัญประการหนึ่งที่ศูนย์ฯ ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่องคือ การจัดประชุมเครือข่ายภาคีแรงงานซึ่งประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้าง สหภาพแรงงาน และองค์กรด้านแรงงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานรวมถึงแนวทางในการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องกับบริบทด้านแรงงาน สังคม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคีแรงงาน หาแนวทางแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านแรงงาน วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2561 กสร. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคีแรงงาน หาแนวทางแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดประชุมภาคีแรงงาน เชิญนายจ้าง ลูกจ้าง สหภาพแรงงาน และองค์กรด้านแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ หาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร. ได้จัดให้มีการประชุมภาคีแรงงาน ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนนายจ้าง สถานประกอบกิจการในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จํานวน 30 คน ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการพูดคุยถึงสถานการณ์การแจ้งข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การเกิดข้อพิพาทและข้อขัดแย้งด้านแรงงาน รวมทั้งแนวทางแก้ไข ทั้งนี้กสร.ได้ส่งเสริมให้นําการบริหารแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนายจ้าง ลูกจ้าง ไปปรับใช้ในการลดข้อขัดแย้ง และส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการ รวมทั้งจะได้ติดตามผลการดําเนินการเพื่อสรุปวิเคราะห์เพื่อจัดทําแนวทางป้องกันแก้ไขร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องต่อไป อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาและส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ จังหวัดสมุทรปราการขึ้นตั้งแต่ปี 2546 โดยมีภารกิจด้านวิชาการและเป็นศูนย์เครือข่ายประสานงานการพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ การให้บริการข้อมูลด้านแรงงานแก่ผู้ใช้แรงงานและบุคคลทั่วไปโดยมีกิจกรรมสําคัญประการหนึ่งที่ศูนย์ฯ ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่องคือ การจัดประชุมเครือข่ายภาคีแรงงานซึ่งประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้าง สหภาพแรงงาน และองค์กรด้านแรงงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานรวมถึงแนวทางในการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องกับบริบทด้านแรงงาน สังคม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12627
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 พร้อมทีม One Home กทม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือครอบครัวหญิงวัย 45 ปี อัมพฤกษ์ครึ่งซีก ที่มีลูกชายพิการทางการเรียนรู้ ที่ย่านดอนเมือง กทม.
วันพุธที่ 25 เมษายน 2561 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 พร้อมทีม One Home กทม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือครอบครัวหญิงวัย 45 ปี อัมพฤกษ์ครึ่งซีก ที่มีลูกชายพิการทางการเรียนรู้ ที่ย่านดอนเมือง กทม. ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 พร้อมทีม One Home กทม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือครอบครัวหญิงวัย 45 ปี อัมพฤกษ์ครึ่งซีก ที่มีลูกชายพิการทางการเรียนรู้ ที่ย่านดอนเมือง กทม. วันนี้ (25 เม.ย.61) เวลา 14.30 น. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน 1300 และทีม One Home กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านพร้อมให้ความช่วยเหลือตามภารกิจของกระทรวง พม. กรณี ครอบครัวหญิงอายุ 45 ปี ที่พิการทางการเคลื่อนไหว เนื่องจากป่วยเป็นอัมพฤกษ์ซีกซ้าย และลูกชายอายุ 14 ปี ที่พิการทางการเรียนรู้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทําให้ผู้เป็นแม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ย่านดอนเมือง กรุงเทพฯ จากกรณีหญิงวัย 45 ปี ที่พิการทางการเคลื่อนไหว เนื่องจากป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ส่งผลให้เป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีกซ้าย ซึ่งหญิงคนดังกล่าวเคยประกอบอาชีพรับจ้างซักรีด แต่ปัจจุบันไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อีกทั้งสามีได้แยกทางกับสามี และมีบุตรชายหนึ่งคนอายุ 14 ปี พิการทางการเรียนรู้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยทั้ง 2 ชีวิตพักอาศัยอยู่ในบ้านของผู้รับอุปการะรายหนึ่ง มีเพียงเบี้ยความพิการใช้ประทังชีวิต รายได้ไม่พียงพอค่าใช้จ่าย ที่ย่านดอนเมือง กรุงเทพฯ นั้น กระทรวง พม. พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 และทีม One Home กรุงเทพมหานคร ได้แก่ กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวหญิงดังกล่าว เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคม อีกทั้งเร่งดําเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจกระทรวง พม. ทั้งนี้ หน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ได้ดําเนินการช่วยเหลือครอบครัวหญิงดังกล่าว อาทิ 1) พส. ได้มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวยากจน พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคสําหรับใช้ในชีวิตประจําวัน และประสานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในพื้นที่ เพื่อเยี่ยมบ้านเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 2) ดย. มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็นและ 3) พก. ให้การช่วยเหลือตามสิทธิสวัสดิการ และการสงเคราะห์ครอบครัว อีกทั้งประสานความร่วมมือไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร เขตดอนเมือง กทม. เพื่อติดตามดูแลและให้คําแนะนําเรื่องการดูแลคนพิการ สําหรับแนวทางการช่วยเหลือในระยะต่อไป ทีม One Home กรุงเทพมหานคร จะร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือดูแลในเรื่องการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมให้กับครอบครัวดังกล่าว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมั่นคงในระยะยาวต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 พร้อมทีม One Home กทม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือครอบครัวหญิงวัย 45 ปี อัมพฤกษ์ครึ่งซีก ที่มีลูกชายพิการทางการเรียนรู้ ที่ย่านดอนเมือง กทม. วันพุธที่ 25 เมษายน 2561 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 พร้อมทีม One Home กทม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือครอบครัวหญิงวัย 45 ปี อัมพฤกษ์ครึ่งซีก ที่มีลูกชายพิการทางการเรียนรู้ ที่ย่านดอนเมือง กทม. ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 พร้อมทีม One Home กทม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือครอบครัวหญิงวัย 45 ปี อัมพฤกษ์ครึ่งซีก ที่มีลูกชายพิการทางการเรียนรู้ ที่ย่านดอนเมือง กทม. วันนี้ (25 เม.ย.61) เวลา 14.30 น. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน 1300 และทีม One Home กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านพร้อมให้ความช่วยเหลือตามภารกิจของกระทรวง พม. กรณี ครอบครัวหญิงอายุ 45 ปี ที่พิการทางการเคลื่อนไหว เนื่องจากป่วยเป็นอัมพฤกษ์ซีกซ้าย และลูกชายอายุ 14 ปี ที่พิการทางการเรียนรู้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทําให้ผู้เป็นแม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ย่านดอนเมือง กรุงเทพฯ จากกรณีหญิงวัย 45 ปี ที่พิการทางการเคลื่อนไหว เนื่องจากป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ส่งผลให้เป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีกซ้าย ซึ่งหญิงคนดังกล่าวเคยประกอบอาชีพรับจ้างซักรีด แต่ปัจจุบันไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อีกทั้งสามีได้แยกทางกับสามี และมีบุตรชายหนึ่งคนอายุ 14 ปี พิการทางการเรียนรู้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยทั้ง 2 ชีวิตพักอาศัยอยู่ในบ้านของผู้รับอุปการะรายหนึ่ง มีเพียงเบี้ยความพิการใช้ประทังชีวิต รายได้ไม่พียงพอค่าใช้จ่าย ที่ย่านดอนเมือง กรุงเทพฯ นั้น กระทรวง พม. พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 และทีม One Home กรุงเทพมหานคร ได้แก่ กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวหญิงดังกล่าว เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคม อีกทั้งเร่งดําเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจกระทรวง พม. ทั้งนี้ หน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ได้ดําเนินการช่วยเหลือครอบครัวหญิงดังกล่าว อาทิ 1) พส. ได้มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวยากจน พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคสําหรับใช้ในชีวิตประจําวัน และประสานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในพื้นที่ เพื่อเยี่ยมบ้านเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 2) ดย. มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็นและ 3) พก. ให้การช่วยเหลือตามสิทธิสวัสดิการ และการสงเคราะห์ครอบครัว อีกทั้งประสานความร่วมมือไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร เขตดอนเมือง กทม. เพื่อติดตามดูแลและให้คําแนะนําเรื่องการดูแลคนพิการ สําหรับแนวทางการช่วยเหลือในระยะต่อไป ทีม One Home กรุงเทพมหานคร จะร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือดูแลในเรื่องการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมให้กับครอบครัวดังกล่าว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมั่นคงในระยะยาวต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11764
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี นำเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลออกกำลังกาย เป็นตัวอย่างในการเสริมสร้างร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ในทุกวัย
วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 นายกรัฐมนตรี นําเจ้าหน้าที่ทําเนียบรัฐบาลออกกําลังกาย เป็นตัวอย่างในการเสริมสร้างร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ในทุกวัย นายกรัฐมนตรี นําเจ้าหน้าที่ทําเนียบรัฐบาลร่วมกันออกกําลังกายเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ วันนี้ (8 กุมภาพันธ์2560)เวลา15.30น. ณ บริเวณด้านหน้าสนามหญ้าตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นําเจ้าหน้าที่ทําเนียบรัฐบาลร่วมกันออกกําลังกายเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งยังทําให้มีสุขภาพจิตใจที่ดี เกิดผลดีในการดําเนินชีวิตประจําวันอย่างสดชื่น อารมณ์ดี คนในครอบครัวและเพื่อนร่วมงานมีความสุขอีกด้วย โดยมี พลเอก วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และผู้บริหารหน่วยงานภายในทําเนียบรัฐบาล ร่วมออกกําลังกายด้วย เนื่องจากปฏิบัติภารกิจที่จะต้องทุ่มเททั้งกําลังกายและสติปัญญาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี จึงเลือกเล่นกีฬาเตะตะกร้อวงในแบบผ่อนคลายคล้ายสัปดาห์ที่แล้ว ที่เน้นความสามัคคีและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น แต่ในสัปดาห์นี้เป็นการออกกําลังกายในรูปแบบการแข่งขันกับตัวเอง โดยการนับจํานวนครั้ง ในการรับ-ส่งลูก สลับกับไปมาระหว่างผู้เล่นโดยไม่ให้ตกลงสู่พื้นดิน ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจะต้องใช้ทักษะและพื้นฐานความชํานาญในกีฬาประเภทนี้ด้วย อาศัยความสามัคคีร่วมกันรับ-ส่งลูกให้ได้จํานวนครั้งมากที่สุดโดยไม่ทําให้ลูกตกลงสู่พื้นดิน แต่ก็จะมีการแทรกด้วยการพูดคลายเครียดกันอย่างเป็นกันเอง โดย นายกรัฐมนตรี ได้แสดงออกให้เห็นถึงความผ่อนคลายระหว่างการเล่นกีฬาดังกล่าวอย่างชัดเจน ด้วยท่าทางที่ร่าเริง สดชื่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลของการออกกําลังกายเป็นประจําทุกสัปดาห์ อีกทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสริมสร้างร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงสมบูรณ์ โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อวัยอีกด้วย จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ออกกําลังกายร่วมกันในวันนี้ ก่อนขอเปลี่ยนตัวเพื่อไปปฏิบัติภารกิจ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ต่อไป --------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโษฆก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี นำเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลออกกำลังกาย เป็นตัวอย่างในการเสริมสร้างร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ในทุกวัย วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 นายกรัฐมนตรี นําเจ้าหน้าที่ทําเนียบรัฐบาลออกกําลังกาย เป็นตัวอย่างในการเสริมสร้างร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ในทุกวัย นายกรัฐมนตรี นําเจ้าหน้าที่ทําเนียบรัฐบาลร่วมกันออกกําลังกายเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ วันนี้ (8 กุมภาพันธ์2560)เวลา15.30น. ณ บริเวณด้านหน้าสนามหญ้าตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นําเจ้าหน้าที่ทําเนียบรัฐบาลร่วมกันออกกําลังกายเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งยังทําให้มีสุขภาพจิตใจที่ดี เกิดผลดีในการดําเนินชีวิตประจําวันอย่างสดชื่น อารมณ์ดี คนในครอบครัวและเพื่อนร่วมงานมีความสุขอีกด้วย โดยมี พลเอก วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และผู้บริหารหน่วยงานภายในทําเนียบรัฐบาล ร่วมออกกําลังกายด้วย เนื่องจากปฏิบัติภารกิจที่จะต้องทุ่มเททั้งกําลังกายและสติปัญญาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี จึงเลือกเล่นกีฬาเตะตะกร้อวงในแบบผ่อนคลายคล้ายสัปดาห์ที่แล้ว ที่เน้นความสามัคคีและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น แต่ในสัปดาห์นี้เป็นการออกกําลังกายในรูปแบบการแข่งขันกับตัวเอง โดยการนับจํานวนครั้ง ในการรับ-ส่งลูก สลับกับไปมาระหว่างผู้เล่นโดยไม่ให้ตกลงสู่พื้นดิน ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจะต้องใช้ทักษะและพื้นฐานความชํานาญในกีฬาประเภทนี้ด้วย อาศัยความสามัคคีร่วมกันรับ-ส่งลูกให้ได้จํานวนครั้งมากที่สุดโดยไม่ทําให้ลูกตกลงสู่พื้นดิน แต่ก็จะมีการแทรกด้วยการพูดคลายเครียดกันอย่างเป็นกันเอง โดย นายกรัฐมนตรี ได้แสดงออกให้เห็นถึงความผ่อนคลายระหว่างการเล่นกีฬาดังกล่าวอย่างชัดเจน ด้วยท่าทางที่ร่าเริง สดชื่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลของการออกกําลังกายเป็นประจําทุกสัปดาห์ อีกทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสริมสร้างร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงสมบูรณ์ โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อวัยอีกด้วย จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ออกกําลังกายร่วมกันในวันนี้ ก่อนขอเปลี่ยนตัวเพื่อไปปฏิบัติภารกิจ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ต่อไป --------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโษฆก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1789
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์ล้ำ ผลักดันนวัตกรรมไทย ไต่อันดับโลก
วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2560 พาณิชย์ล้ํา ผลักดันนวัตกรรมไทย ไต่อันดับโลก นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้รับรายงานคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่า WIPO ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลของสหรัฐฯ และสถาบันบริหารธุรกิจ INSEAD รายงานดัชนีชี้วัดความสามารถด้านนวัตกรรม The Global Innovation Index (GII) ประจําปี 2560 ครั้งที่ 10 ภายใต้ Theme “Innovation Feeding the World” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอันดับผลการดําเนินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมของ 127 ประเทศ ใช้ตัวชี้วัด 81 ตัว เน้นความสําคัญเรื่องภาคการเกษตรและอาหาร เนื่องจากปัจจุบันโลกมีประชากรเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น แต่มีทรัพยากรที่จํากัดจึงจําเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการ รวมทั้ง แก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นวัตกรรมจึงถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สําคัญโดยจะส่งผลในระยะยาว นอกจากนี้ รายงานฯ ยังได้มีการเสนอระบบ “Digital Agriculture” และ “Smart Agriculture” ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและสร้างแบบจําลองทางธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการในระดับโลกได้ โดยการพัฒนาศักยภาพเป็นปัจจัยสําคัญหนึ่งในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งจํานวนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิทธิบัตรสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการ ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ในปี 2560 ประเทศไทยมีความสามารถด้านนวัตกรรมในภาพรวมสูงขึ้น ผลการจัดอันดับดีขึ้นทั้งโดยคะแนนและอันดับ โดยคะแนนภาพรวมในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 37.57 เปรียบเทียบกับ 36.51 ในปี 2559และมีอันดับเลื่อนขึ้นจาก 52 ในปี 2559 เป็น 51 จาก 127 ประเทศ ในปี 2560 ซึ่งตั้งแต่ปี 2558 – 2560 ไทยมีอันดับดีขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 เนื่องจากอันดับที่เพิ่มขึ้นของปัจจัยผลผลิตจากการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี และผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งไทยมีจํานวนการยื่นคําขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสูงสุดในกลุ่มอาเซียน และมีจํานวนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นอันดับที่ 2 รองจากเวียดนาม ตลอดจนเป็นประเทศ อันดับที่ 5 ของโลกที่มีการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ และเป็นอันดับที่ 6 ในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคธุรกิจ โดยสวิตเซอร์แลนด์ยังคงเป็นอันดับ 1 ด้านผู้นํานวัตกรรมโลกอย่างต่อเนื่อง โดยมีคะแนนรวมทั้งหมด 67.69 คะแนน รองลงมาคือ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐฯ และ สหราชอาณาจักร ตามลําดับ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นประเทศที่มีรายได้สูง (High Income: HI) ในส่วนของโซนทวีปเอเชียและแปซิฟิก พบว่า ประเทศที่มีนวัตกรรมค่อนข้างสูง ได้แก่ สิงคโปร์ (ลําดับที่ 7) เกาหลีใต้ (ลําดับที่ 11) ญี่ปุ่น (ลําดับที่ 14) ฮ่องกง (ลําดับที่ 16) นิวซีแลนด์ (ลําดับที่ 21) สาธารณรัฐประชาชนจีน (ลําดับที่ 22) และออสเตรเลีย (ลําดับที่ 23) ส่วนใน ASEAN มีประเทศที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ที่เป็นผู้นําด้านนวัตกรรมเพียงประเทศเดียว คือ สิงคโปร์ (อันดับที่ 7) รองลงมา คือ มาเลเซีย (อันดับที่ 37) และเวียดนาม (อันดับที่ 47) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่ารายงานดัชนี GII เป็นการรายงานสําคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศในด้านการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศ ภูมิภาคและโลก ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ใช้กลยุทธ์ “การตลาดนําการผลิต” เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความรู้ ความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และตราสินค้า เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ไทยต่อไปในอนาคตและก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์ล้ำ ผลักดันนวัตกรรมไทย ไต่อันดับโลก วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2560 พาณิชย์ล้ํา ผลักดันนวัตกรรมไทย ไต่อันดับโลก นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้รับรายงานคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่า WIPO ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลของสหรัฐฯ และสถาบันบริหารธุรกิจ INSEAD รายงานดัชนีชี้วัดความสามารถด้านนวัตกรรม The Global Innovation Index (GII) ประจําปี 2560 ครั้งที่ 10 ภายใต้ Theme “Innovation Feeding the World” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอันดับผลการดําเนินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมของ 127 ประเทศ ใช้ตัวชี้วัด 81 ตัว เน้นความสําคัญเรื่องภาคการเกษตรและอาหาร เนื่องจากปัจจุบันโลกมีประชากรเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น แต่มีทรัพยากรที่จํากัดจึงจําเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการ รวมทั้ง แก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นวัตกรรมจึงถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สําคัญโดยจะส่งผลในระยะยาว นอกจากนี้ รายงานฯ ยังได้มีการเสนอระบบ “Digital Agriculture” และ “Smart Agriculture” ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและสร้างแบบจําลองทางธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการในระดับโลกได้ โดยการพัฒนาศักยภาพเป็นปัจจัยสําคัญหนึ่งในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งจํานวนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิทธิบัตรสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการ ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ในปี 2560 ประเทศไทยมีความสามารถด้านนวัตกรรมในภาพรวมสูงขึ้น ผลการจัดอันดับดีขึ้นทั้งโดยคะแนนและอันดับ โดยคะแนนภาพรวมในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 37.57 เปรียบเทียบกับ 36.51 ในปี 2559และมีอันดับเลื่อนขึ้นจาก 52 ในปี 2559 เป็น 51 จาก 127 ประเทศ ในปี 2560 ซึ่งตั้งแต่ปี 2558 – 2560 ไทยมีอันดับดีขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 เนื่องจากอันดับที่เพิ่มขึ้นของปัจจัยผลผลิตจากการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี และผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งไทยมีจํานวนการยื่นคําขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสูงสุดในกลุ่มอาเซียน และมีจํานวนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นอันดับที่ 2 รองจากเวียดนาม ตลอดจนเป็นประเทศ อันดับที่ 5 ของโลกที่มีการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ และเป็นอันดับที่ 6 ในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคธุรกิจ โดยสวิตเซอร์แลนด์ยังคงเป็นอันดับ 1 ด้านผู้นํานวัตกรรมโลกอย่างต่อเนื่อง โดยมีคะแนนรวมทั้งหมด 67.69 คะแนน รองลงมาคือ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐฯ และ สหราชอาณาจักร ตามลําดับ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นประเทศที่มีรายได้สูง (High Income: HI) ในส่วนของโซนทวีปเอเชียและแปซิฟิก พบว่า ประเทศที่มีนวัตกรรมค่อนข้างสูง ได้แก่ สิงคโปร์ (ลําดับที่ 7) เกาหลีใต้ (ลําดับที่ 11) ญี่ปุ่น (ลําดับที่ 14) ฮ่องกง (ลําดับที่ 16) นิวซีแลนด์ (ลําดับที่ 21) สาธารณรัฐประชาชนจีน (ลําดับที่ 22) และออสเตรเลีย (ลําดับที่ 23) ส่วนใน ASEAN มีประเทศที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ที่เป็นผู้นําด้านนวัตกรรมเพียงประเทศเดียว คือ สิงคโปร์ (อันดับที่ 7) รองลงมา คือ มาเลเซีย (อันดับที่ 37) และเวียดนาม (อันดับที่ 47) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่ารายงานดัชนี GII เป็นการรายงานสําคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศในด้านการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศ ภูมิภาคและโลก ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ใช้กลยุทธ์ “การตลาดนําการผลิต” เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความรู้ ความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และตราสินค้า เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ไทยต่อไปในอนาคตและก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5696
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลชวนเที่ยวงาน อุ่นไอรัก คลายความหนาว
วันพุธที่ 28 มีนาคม 2561 รัฐบาลชวนเที่ยวงาน อุ่นไอรัก คลายความหนาว เพื่อให้คนไทย ได้สัมผัสวิถีความเป็นไทยแบบย้อนยุค ร่วมอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม การละเล่น ตลอดจนการแต่งกายแบบไทยอันงดงาม ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมชมงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” โดยแต่งกายชุดไทยหรือชุดสุภาพ เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศวิถีชีวิตชาวไทยแบบย้อนยุค ขนบธรรมเนียม อาหาร ศิลปวัฒนธรรม ท่ามกลางสวนดอกไม้อันงดงาม ประกอบด้วยโซนต่าง ๆ ได้แก่ โซนที่1 นิทรรศการนําเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่5 และรัชกาลที่ 9 โซนที่2 ร้านค้าในพระบรมวงศานุวงศ์ และร้านมูลนิธิต่าง ๆ โซนที่3 ร้านอาหารและร้านค้าสืบสานชุมชน วิถีไทย โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสร้างความสุข ส่งเสริมให้คนไทยรักและภาคภูมิใจในความเป็นชาติ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ตั้งแต่บัดนี้ – 11 มี.ค. 61 ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า กทม. ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลชวนเที่ยวงาน อุ่นไอรัก คลายความหนาว วันพุธที่ 28 มีนาคม 2561 รัฐบาลชวนเที่ยวงาน อุ่นไอรัก คลายความหนาว เพื่อให้คนไทย ได้สัมผัสวิถีความเป็นไทยแบบย้อนยุค ร่วมอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม การละเล่น ตลอดจนการแต่งกายแบบไทยอันงดงาม ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมชมงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” โดยแต่งกายชุดไทยหรือชุดสุภาพ เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศวิถีชีวิตชาวไทยแบบย้อนยุค ขนบธรรมเนียม อาหาร ศิลปวัฒนธรรม ท่ามกลางสวนดอกไม้อันงดงาม ประกอบด้วยโซนต่าง ๆ ได้แก่ โซนที่1 นิทรรศการนําเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่5 และรัชกาลที่ 9 โซนที่2 ร้านค้าในพระบรมวงศานุวงศ์ และร้านมูลนิธิต่าง ๆ โซนที่3 ร้านอาหารและร้านค้าสืบสานชุมชน วิถีไทย โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสร้างความสุข ส่งเสริมให้คนไทยรักและภาคภูมิใจในความเป็นชาติ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ตั้งแต่บัดนี้ – 11 มี.ค. 61 ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า กทม. ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10324
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลด้านประกันภัยเพื่อรับมือกับการฉ้อฉลประกันภัยยุคดิจิทัลเทคโนโลยี
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560 คปภ. เพิ่มประสิทธิภาพการกํากับดูแลด้านประกันภัยเพื่อรับมือกับการฉ้อฉลประกันภัยยุคดิจิทัลเทคโนโลยี • เดินหน้ากระชับความร่วมมือระดับทวิภาคีกับหน่วยงานกํากับธุรกิจประกันภัยหลายประเทศในเวทีการประชุมประจําปีสมาคมผู้กํากับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติครั้งที่ 24 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พร้อมด้วยคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมประจําปีสมาคมผู้กํากับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ ครั้งที่ 24 (24th IAIS Annual Conference) ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2560 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีสมาคมหน่วยงานกํากับธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors : IAIS) เป็นเจ้าภาพร่วมกับธนาคารกลางแห่งประเทศมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia : BNM) ซึ่งถือเป็นครั้งสําคัญที่ IAIS เลือกจัดประชุมในภูมิภาคเอเซียน โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านมาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย และทราบความคืบหน้าการดําเนินการต่างๆ ของสมาคมฯ ซึ่งผลสรุปการประชุมที่สําคัญคือ การให้ความเห็นชอบมาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจระดับสากล (Insurance Core Principles) ที่มีการปรับปรุงให้เข้มข้นขึ้นในหลายด้าน ได้แก่ การประกันภัยต่อ และการกํากับดูแลพฤติกรรมตลาด (Market conduct) และยังมีประเด็นการหารือด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนามาตรฐานการกํากับดูแล การส่งเสริมความรู้ด้านการเงินแก่ผู้บริโภค การส่งเสริมการเข้าถึงด้านการประกันภัย และการนําเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคประกันภัย เป็นต้น ในโอกาสเดียวกันนี้ได้ร่วมประชุมทวิภาคีกับ Mr. Muhammad Bin Ibrahim ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งประเทศมาเลเซีย (BNM) พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงของ BNM โดยได้มีการหารือในหลายประเด็น อาทิ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยตะกะฟุล การเปิดเสรีอัตราเบี้ยประกันภัย รวมถึงประสบการณ์เข้ารับการประเมินภาคการเงิน (FSAP) นอกจากนี้ สํานักงาน คปภ. และ BNM จะยกระดับความร่วมมือโดยจะจัดทําบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการกํากับดูแลและการส่งเสริมการให้ความรู้ระหว่างกัน ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2560 ทั้งนี้ประเทศมาเลเซียถือเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีโครงสร้างตลาดประกันภัยที่คล้ายคลึงกับประเทศไทยค่อนข้างมาก ดังนั้นความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมประกันภัยของทั้งสองประเทศ จากนั้นตนและคณะได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของ Insurance Authority (IA) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เกี่ยวกับมาตรการการกํากับดูแลคนกลางประกันภัยและการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องที่ สํานักงาน คปภ. และหน่วยงานกํากับดูแลทั่วโลกให้ความสําคัญเป็นอันดับต้นๆ การประสานความร่วมมือในการกํากับกลุ่มธุรกิจประกันภัย และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยการอํานวยความสะดวกในการให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจแก่ผู้เล่นรายใหม่ที่ต้องการทําธุรกิจประกันภัยออนไลน์โดยเฉพาะ รวมถึงได้หารือเกี่ยวกับการจัดทําบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างหน่วยงานทั้งสอง นอกจากนี้ตนและคณะยังได้หารือกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกําหนดมาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย ได้แก่ เลขาธิการสมาคม IAIS และประธานสมาคมนายทะเบียนประกันภัยแห่งสหรัฐอเมริกา (National Association of Insurance Commissioners) โดยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการกํากับดูแลในประเทศเกิดใหม่ อาทิ การกํากับคนกลางประกันภัยการฉ้อฉล และการกํากับกลุ่มธุรกิจประกันภัย “การเข้าร่วมประชุมและพบปะหน่วยงานในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศในครั้งนี้ นับเป็นการประชุมระดับนานาชาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปี ภายใต้ธีม “Insurance Supervision : Looking Beyond...” ซึ่งหน่วยงานกํากับธุรกิจประกันภัยทั่วโลกอันรวมถึงสํานักงาน คปภ. ได้ร่วมกันกําหนดมาตรฐานการกํากับดูแลสากล ที่ประเทศสมาชิกจะยึดถือในการกําหนดกฎระเบียบและแนวปฏิบัติสําหรับธุรกิจประกันภัย และส่งเสริมความร่วมมือในการกํากับธุรกิจประกันภัยต่อไป”เลขาธิการ คปภ.กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลด้านประกันภัยเพื่อรับมือกับการฉ้อฉลประกันภัยยุคดิจิทัลเทคโนโลยี วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560 คปภ. เพิ่มประสิทธิภาพการกํากับดูแลด้านประกันภัยเพื่อรับมือกับการฉ้อฉลประกันภัยยุคดิจิทัลเทคโนโลยี • เดินหน้ากระชับความร่วมมือระดับทวิภาคีกับหน่วยงานกํากับธุรกิจประกันภัยหลายประเทศในเวทีการประชุมประจําปีสมาคมผู้กํากับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติครั้งที่ 24 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พร้อมด้วยคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมประจําปีสมาคมผู้กํากับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ ครั้งที่ 24 (24th IAIS Annual Conference) ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2560 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีสมาคมหน่วยงานกํากับธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors : IAIS) เป็นเจ้าภาพร่วมกับธนาคารกลางแห่งประเทศมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia : BNM) ซึ่งถือเป็นครั้งสําคัญที่ IAIS เลือกจัดประชุมในภูมิภาคเอเซียน โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านมาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย และทราบความคืบหน้าการดําเนินการต่างๆ ของสมาคมฯ ซึ่งผลสรุปการประชุมที่สําคัญคือ การให้ความเห็นชอบมาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจระดับสากล (Insurance Core Principles) ที่มีการปรับปรุงให้เข้มข้นขึ้นในหลายด้าน ได้แก่ การประกันภัยต่อ และการกํากับดูแลพฤติกรรมตลาด (Market conduct) และยังมีประเด็นการหารือด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนามาตรฐานการกํากับดูแล การส่งเสริมความรู้ด้านการเงินแก่ผู้บริโภค การส่งเสริมการเข้าถึงด้านการประกันภัย และการนําเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคประกันภัย เป็นต้น ในโอกาสเดียวกันนี้ได้ร่วมประชุมทวิภาคีกับ Mr. Muhammad Bin Ibrahim ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งประเทศมาเลเซีย (BNM) พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงของ BNM โดยได้มีการหารือในหลายประเด็น อาทิ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยตะกะฟุล การเปิดเสรีอัตราเบี้ยประกันภัย รวมถึงประสบการณ์เข้ารับการประเมินภาคการเงิน (FSAP) นอกจากนี้ สํานักงาน คปภ. และ BNM จะยกระดับความร่วมมือโดยจะจัดทําบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการกํากับดูแลและการส่งเสริมการให้ความรู้ระหว่างกัน ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2560 ทั้งนี้ประเทศมาเลเซียถือเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีโครงสร้างตลาดประกันภัยที่คล้ายคลึงกับประเทศไทยค่อนข้างมาก ดังนั้นความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมประกันภัยของทั้งสองประเทศ จากนั้นตนและคณะได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของ Insurance Authority (IA) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เกี่ยวกับมาตรการการกํากับดูแลคนกลางประกันภัยและการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องที่ สํานักงาน คปภ. และหน่วยงานกํากับดูแลทั่วโลกให้ความสําคัญเป็นอันดับต้นๆ การประสานความร่วมมือในการกํากับกลุ่มธุรกิจประกันภัย และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยการอํานวยความสะดวกในการให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจแก่ผู้เล่นรายใหม่ที่ต้องการทําธุรกิจประกันภัยออนไลน์โดยเฉพาะ รวมถึงได้หารือเกี่ยวกับการจัดทําบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างหน่วยงานทั้งสอง นอกจากนี้ตนและคณะยังได้หารือกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกําหนดมาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย ได้แก่ เลขาธิการสมาคม IAIS และประธานสมาคมนายทะเบียนประกันภัยแห่งสหรัฐอเมริกา (National Association of Insurance Commissioners) โดยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการกํากับดูแลในประเทศเกิดใหม่ อาทิ การกํากับคนกลางประกันภัยการฉ้อฉล และการกํากับกลุ่มธุรกิจประกันภัย “การเข้าร่วมประชุมและพบปะหน่วยงานในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศในครั้งนี้ นับเป็นการประชุมระดับนานาชาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปี ภายใต้ธีม “Insurance Supervision : Looking Beyond...” ซึ่งหน่วยงานกํากับธุรกิจประกันภัยทั่วโลกอันรวมถึงสํานักงาน คปภ. ได้ร่วมกันกําหนดมาตรฐานการกํากับดูแลสากล ที่ประเทศสมาชิกจะยึดถือในการกําหนดกฎระเบียบและแนวปฏิบัติสําหรับธุรกิจประกันภัย และส่งเสริมความร่วมมือในการกํากับธุรกิจประกันภัยต่อไป”เลขาธิการ คปภ.กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8038
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พบปะกลุ่มสมัชชาคนจน สรุปผลการแก้ไขปัญหา สมัชชาพอใจเตรียมเดินทางกลับภูมิลำเนาวันนี้
วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562 รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พบปะกลุ่มสมัชชาคนจน สรุปผลการแก้ไขปัญหา สมัชชาพอใจเตรียมเดินทางกลับภูมิลําเนาวันนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พบปะกลุ่มสมัชชาคนจน สรุปผลการแก้ไขปัญหา สมัชชาพอใจเตรียมเดินทางกลับภูมิลําเนาวันนี้ วันนี้ (23 ตุลาคม 2562) เวลา 15.00 น. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายณัฏฐชัย ศรีรุ่งสุขพินิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายธงชัย ลืออดุลย์ เลขานุการรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เดินทางพบปะกลุ่มสมัชชาคนจนที่รวมตัวกันบริเวณถนนลูกหลวง ข้างกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับรายงานว่ากลุ่มสมัชชาคนจนทยอยเก็บของเพื่อเตรียมตัวเดินทางกลับ หลังจากได้รับทราบผลสรุปจากทางรัฐบาล ซึ่งรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แถลงสรุปผลการเจรจาแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน โดยมีเนื้อหาระบุ ดังนี้ 1. รัฐบาลได้รับทราบปัญหาข้อร้องเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบายของสมัชชาคนจน ซึ่งได้ดําเนินการแก้ไขปัญหาในทันที และจะขับเคลื่อนผลักดันการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไป 2. รัฐบาลร่วมกับสมัชชาคนจนได้จัดทําบันทึกข้อตกลงซึ่งมีกรอบเวลาร่วมกันในการดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งจะได้นําผลการจัดทําบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนําเรียนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งต่อไป 3. สําหรับข้อเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสมัชชาคนจนตามร่างคําสั่งที่สมัชชาคนจนเสนอไว้ จะได้เร่งดําเนินการนํากราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป 4. สําหรับเรื่องที่สมัชชามีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง คือ การผ่อนผันให้ทํากินในที่ดินเดิมของสมัชชาคนจนนั้น ในเรื่องนี้ได้มีบันทึกความเข้าใจระหว่างสมัชชาคนจนและรัฐบาล ซึ่งได้เห็นชอบตามความในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวแล้ว และจะนําเรียนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งต่อไป จากผลการแถลงพบกว่ากลุ่มสมัชชาคนจนมีความพอใจ และยืนยันจะทยอยเก็บของเดินทางกลับภูมิลําเนา ทั้งนี้ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) ได้สนับสนุนรถบัสจํานวน 12 คัน เพื่อส่งกลุ่มสมัชชาคนจนกลับภูมิลําเนา
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พบปะกลุ่มสมัชชาคนจน สรุปผลการแก้ไขปัญหา สมัชชาพอใจเตรียมเดินทางกลับภูมิลำเนาวันนี้ วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562 รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พบปะกลุ่มสมัชชาคนจน สรุปผลการแก้ไขปัญหา สมัชชาพอใจเตรียมเดินทางกลับภูมิลําเนาวันนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พบปะกลุ่มสมัชชาคนจน สรุปผลการแก้ไขปัญหา สมัชชาพอใจเตรียมเดินทางกลับภูมิลําเนาวันนี้ วันนี้ (23 ตุลาคม 2562) เวลา 15.00 น. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายณัฏฐชัย ศรีรุ่งสุขพินิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายธงชัย ลืออดุลย์ เลขานุการรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เดินทางพบปะกลุ่มสมัชชาคนจนที่รวมตัวกันบริเวณถนนลูกหลวง ข้างกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับรายงานว่ากลุ่มสมัชชาคนจนทยอยเก็บของเพื่อเตรียมตัวเดินทางกลับ หลังจากได้รับทราบผลสรุปจากทางรัฐบาล ซึ่งรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แถลงสรุปผลการเจรจาแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน โดยมีเนื้อหาระบุ ดังนี้ 1. รัฐบาลได้รับทราบปัญหาข้อร้องเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบายของสมัชชาคนจน ซึ่งได้ดําเนินการแก้ไขปัญหาในทันที และจะขับเคลื่อนผลักดันการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไป 2. รัฐบาลร่วมกับสมัชชาคนจนได้จัดทําบันทึกข้อตกลงซึ่งมีกรอบเวลาร่วมกันในการดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งจะได้นําผลการจัดทําบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนําเรียนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งต่อไป 3. สําหรับข้อเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสมัชชาคนจนตามร่างคําสั่งที่สมัชชาคนจนเสนอไว้ จะได้เร่งดําเนินการนํากราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป 4. สําหรับเรื่องที่สมัชชามีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง คือ การผ่อนผันให้ทํากินในที่ดินเดิมของสมัชชาคนจนนั้น ในเรื่องนี้ได้มีบันทึกความเข้าใจระหว่างสมัชชาคนจนและรัฐบาล ซึ่งได้เห็นชอบตามความในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวแล้ว และจะนําเรียนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งต่อไป จากผลการแถลงพบกว่ากลุ่มสมัชชาคนจนมีความพอใจ และยืนยันจะทยอยเก็บของเดินทางกลับภูมิลําเนา ทั้งนี้ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) ได้สนับสนุนรถบัสจํานวน 12 คัน เพื่อส่งกลุ่มสมัชชาคนจนกลับภูมิลําเนา
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24011
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2560 ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ สบน.)ด้เสนอแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่ง ครม.ได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2559 ปัจจุบันคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จและยืนยันร่างฯ ไปยังสํานักเลขาธิการ ครม.เรียบร้อยแล้ว นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ แถลงว่า สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เสนอแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ปัจจุบันคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จและยืนยันร่างฯ ไปยังสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการส่งเรื่องไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาต่อไป สําหรับสาระสําคัญของการแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะในครั้งนี้มี 3 ประเด็นหลักๆ คือ ประเด็นที่ 1 : แก้ไขขอบเขตและนิยามให้ชัดเจน (1) แก้ไขนิยาม “หนี้สาธารณะ” โดยกําหนดให้ชัดเจนว่าไม่นับรวมหนี้ของหน่วยงานภาคการเงิน (Financial Sector) ซึ่งได้แก่หนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทําธุรกิจบริหารสินทรัพย์และธุรกิจประกันสินเชื่อที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกัน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย (2) แก้ไขนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” โดยตัดรัฐวิสาหกิจประเภท (ค) ซึ่งได้แก่ บริษัทจํากัดและบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจประเภท (ก) และ/หรือ (ข) ออก โดยการแก้ไขดังกล่าวจะสอดคล้องกับนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตามร่าง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. .... ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วเช่นกัน ประเด็น 2 : ปรับปรุงมาตรการกํากับดูแลหนี้สาธารณะให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยมีการเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ (เพิ่มผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อให้ สคร. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจโดยตรงเข้ามามีส่วนร่วมพิจารณากลั่นกรองแผนการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทําให้การบริหารหนี้สาธารณะในภาพรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับแผนการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ในส่วนของหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหนี้ของหน่วยงานภาคการเงิน (Financial Sector) ที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกัน ซึ่งไม่ได้นับรวมเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ. ได้เพิ่มอํานาจให้ สบน. ในการวิเคราะห์ติดตามสถานะหนี้ดังกล่าว เพื่อให้เห็นภาพรวมการก่อหนี้ของประเทศ ประเด็น 3 : ปรับปรุงการดําเนินงานของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ (กองทุนฯ) เนื่องจากภายใต้กฎหมายปัจจุบันกําหนดขอบเขตการลงทุนของกองทุนฯ ไว้ค่อนข้างจํากัด จึงได้เสนอให้ขยายกรอบการลงทุนให้สามารถลงทุนในตราสารของ ธปท. และทําธุรกรรม Reverse Repo ตราสารหนี้ ธปท. ได้ ซึ่งจะทําให้กองทุนฯ มีทางเลือกในการลงทุน (asset universe) ได้มากขึ้น การแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะในครั้งนี้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะที่ได้กําหนดขอบเขตของ “หนี้สาธารณะ” ครอบคลุมเฉพาะหนี้เงินกู้ที่เกิดจากการดําเนินงานของภาคการคลัง (Fiscal Operation) เท่านั้น ไม่รวมหนี้ของหน่วยงานภาคการเงิน (Financial Operation) เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวถือเป็นตัวกลางในระบบเศรษฐกิจ (Financial Intermediary) ซึ่งการดําเนินงานมิใช่เพื่อการใช้จ่ายหรือลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) แตกต่างจากการดําเนินงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินนโยบายที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ความเป็นอยู่ของประชาชน และ GDP ของประเทศ สําหรับหนี้เงินกู้ของ ธปท. ไม่ถูกนับเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะมาตั้งแต่แรก เพราะขณะนั้น ธปท. มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ทําธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยกระทรวงการคลังมิได้ค้ําประกัน แต่เนื่องจากในปี 2551 ธปท. มีการแก้ไขกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย ทําให้ ธปท. เปลี่ยนสถานะจาก “รัฐวิสาหกิจ” มาเป็น “หน่วยงานของรัฐ” ส่งผลกระทบต่อสถานะและการนับหนี้ของ ธปท. ภายใต้กฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ จึงจําเป็นต้องแก้ไขกฎหมายประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนและเป็นไปตามเจตนารมณ์เดิมของกฎหมาย และโดยหลักการแล้ว หนี้เงินกู้ของ ธปท. เกิดขึ้นจากการออกพันธบัตรและการดูดซับสภาพคล่องของระบบการเงินเพื่อดําเนินนโยบายการเงินในฐานะธนาคารกลาง ซึ่งการไม่นับหนี้ของ ธปท. เป็นหนี้สาธารณะนั้นสอดคล้องกับหลักปฏิบัติของประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่นับหนี้ของธนาคารกลางเป็นหนี้สาธารณะ (Public Debt) เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีการรายงานสถานะหนี้ตามกฎหมายและประชาชนได้รับทราบข้อมูล ที่ผ่านมา สบน. ได้มีการรายงานข้อมูลหนี้ของ ธปท. ในหมายเหตุของรายงานสถานะหนี้สาธารณะรายเดือน (โดยไม่นับรวมในยอดหนี้สาธารณะ) ซึ่งปัจจุบัน ธปท. มีหนี้เงินกู้จํานวน 4.26 ล้านล้านบาท (ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560) ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะในครั้งนี้จึงเป็นไปตามหลักสากล สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กําหนดมาตั้งแต่แรก คณะโฆษกสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5520
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2560 ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ สบน.)ด้เสนอแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่ง ครม.ได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2559 ปัจจุบันคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จและยืนยันร่างฯ ไปยังสํานักเลขาธิการ ครม.เรียบร้อยแล้ว นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ แถลงว่า สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เสนอแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ปัจจุบันคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จและยืนยันร่างฯ ไปยังสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการส่งเรื่องไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาต่อไป สําหรับสาระสําคัญของการแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะในครั้งนี้มี 3 ประเด็นหลักๆ คือ ประเด็นที่ 1 : แก้ไขขอบเขตและนิยามให้ชัดเจน (1) แก้ไขนิยาม “หนี้สาธารณะ” โดยกําหนดให้ชัดเจนว่าไม่นับรวมหนี้ของหน่วยงานภาคการเงิน (Financial Sector) ซึ่งได้แก่หนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทําธุรกิจบริหารสินทรัพย์และธุรกิจประกันสินเชื่อที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกัน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย (2) แก้ไขนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” โดยตัดรัฐวิสาหกิจประเภท (ค) ซึ่งได้แก่ บริษัทจํากัดและบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจประเภท (ก) และ/หรือ (ข) ออก โดยการแก้ไขดังกล่าวจะสอดคล้องกับนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตามร่าง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. .... ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วเช่นกัน ประเด็น 2 : ปรับปรุงมาตรการกํากับดูแลหนี้สาธารณะให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยมีการเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ (เพิ่มผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อให้ สคร. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจโดยตรงเข้ามามีส่วนร่วมพิจารณากลั่นกรองแผนการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทําให้การบริหารหนี้สาธารณะในภาพรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับแผนการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ในส่วนของหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหนี้ของหน่วยงานภาคการเงิน (Financial Sector) ที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกัน ซึ่งไม่ได้นับรวมเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ. ได้เพิ่มอํานาจให้ สบน. ในการวิเคราะห์ติดตามสถานะหนี้ดังกล่าว เพื่อให้เห็นภาพรวมการก่อหนี้ของประเทศ ประเด็น 3 : ปรับปรุงการดําเนินงานของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ (กองทุนฯ) เนื่องจากภายใต้กฎหมายปัจจุบันกําหนดขอบเขตการลงทุนของกองทุนฯ ไว้ค่อนข้างจํากัด จึงได้เสนอให้ขยายกรอบการลงทุนให้สามารถลงทุนในตราสารของ ธปท. และทําธุรกรรม Reverse Repo ตราสารหนี้ ธปท. ได้ ซึ่งจะทําให้กองทุนฯ มีทางเลือกในการลงทุน (asset universe) ได้มากขึ้น การแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะในครั้งนี้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะที่ได้กําหนดขอบเขตของ “หนี้สาธารณะ” ครอบคลุมเฉพาะหนี้เงินกู้ที่เกิดจากการดําเนินงานของภาคการคลัง (Fiscal Operation) เท่านั้น ไม่รวมหนี้ของหน่วยงานภาคการเงิน (Financial Operation) เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวถือเป็นตัวกลางในระบบเศรษฐกิจ (Financial Intermediary) ซึ่งการดําเนินงานมิใช่เพื่อการใช้จ่ายหรือลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) แตกต่างจากการดําเนินงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินนโยบายที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ความเป็นอยู่ของประชาชน และ GDP ของประเทศ สําหรับหนี้เงินกู้ของ ธปท. ไม่ถูกนับเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะมาตั้งแต่แรก เพราะขณะนั้น ธปท. มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ทําธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยกระทรวงการคลังมิได้ค้ําประกัน แต่เนื่องจากในปี 2551 ธปท. มีการแก้ไขกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย ทําให้ ธปท. เปลี่ยนสถานะจาก “รัฐวิสาหกิจ” มาเป็น “หน่วยงานของรัฐ” ส่งผลกระทบต่อสถานะและการนับหนี้ของ ธปท. ภายใต้กฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ จึงจําเป็นต้องแก้ไขกฎหมายประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนและเป็นไปตามเจตนารมณ์เดิมของกฎหมาย และโดยหลักการแล้ว หนี้เงินกู้ของ ธปท. เกิดขึ้นจากการออกพันธบัตรและการดูดซับสภาพคล่องของระบบการเงินเพื่อดําเนินนโยบายการเงินในฐานะธนาคารกลาง ซึ่งการไม่นับหนี้ของ ธปท. เป็นหนี้สาธารณะนั้นสอดคล้องกับหลักปฏิบัติของประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่นับหนี้ของธนาคารกลางเป็นหนี้สาธารณะ (Public Debt) เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีการรายงานสถานะหนี้ตามกฎหมายและประชาชนได้รับทราบข้อมูล ที่ผ่านมา สบน. ได้มีการรายงานข้อมูลหนี้ของ ธปท. ในหมายเหตุของรายงานสถานะหนี้สาธารณะรายเดือน (โดยไม่นับรวมในยอดหนี้สาธารณะ) ซึ่งปัจจุบัน ธปท. มีหนี้เงินกู้จํานวน 4.26 ล้านล้านบาท (ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560) ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะในครั้งนี้จึงเป็นไปตามหลักสากล สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กําหนดมาตั้งแต่แรก คณะโฆษกสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5520
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5251
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับมอบสิ่งของบริจาคจากเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อแบ่งปันน้ำใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID - 19 "ส่งต่อกำลังใจ คืออัตลักษณ์ของคนไทย"
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563 นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับมอบสิ่งของบริจาคจากเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อแบ่งปันน้ําใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID - 19 "ส่งต่อกําลังใจ คืออัตลักษณ์ของคนไทย" นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับมอบสิ่งของบริจาคจากเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อแบ่งปันน้ําใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID - 19 "ส่งต่อกําลังใจ คืออัตลักษณ์ของคนไทย" วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับมอบสิ่งของบริจาคจากเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อแบ่งปันน้ําใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID - 19 "ส่งต่อกําลังใจ คืออัตลักษณ์ของคนไทย" โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมร่วมบริจาค ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับมอบสิ่งของบริจาคจากเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อแบ่งปันน้ำใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID - 19 "ส่งต่อกำลังใจ คืออัตลักษณ์ของคนไทย" วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563 นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับมอบสิ่งของบริจาคจากเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อแบ่งปันน้ําใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID - 19 "ส่งต่อกําลังใจ คืออัตลักษณ์ของคนไทย" นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับมอบสิ่งของบริจาคจากเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อแบ่งปันน้ําใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID - 19 "ส่งต่อกําลังใจ คืออัตลักษณ์ของคนไทย" วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับมอบสิ่งของบริจาคจากเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อแบ่งปันน้ําใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID - 19 "ส่งต่อกําลังใจ คืออัตลักษณ์ของคนไทย" โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมร่วมบริจาค ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29281
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเผยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือทีมหมูป่าฯ 13 ชีวิต พร้อมทรงมอบแนวทางปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2561 รัฐบาลเผยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือทีมหมูป่าฯ 13 ชีวิต พร้อมทรงมอบแนวทางปฏิบัติภารกิจให้สําเร็จลุล่วงด้วยดี นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือทีมหมูป่าฯ 13 ชีวิต พร้อมทรงมอบแนวทางปฏิบัติภารกิจให้สําเร็จลุล่วงด้วยดี วันนี้ (3 ก.ค.61) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือเยาวชนและโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมี่ โดยรับสั่งว่า การชมเชยเบื้องต้นเป็นสิ่งที่ดีแต่ขอให้รักษาสติ สมาธิ ปัญญาในการปฎิบัติภารกิจ โดยภารกิจ จะสําเร็จเรียบร้อยก็ต่อเมื่อทุกคนออกมาและกลับสู่ครอบครัวด้วยความปลอดภัย ความสําเร็จที่เกิดขึ้นมาจากการวางแผนทํางานอย่างเป็นระบบ มีความสามัคคีเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันทั้งคนไทยและต่างชาติที่มาร่วมภารกิจหรือส่งกําลังใจมาช่วย การนําคณะออกจากถ้ําต้องคิดและวางแผนให้ดี คํานึงถึงสุขภาพและภาวะจิตใจก่อนนําตัวออกมา ต้องใช้ดุลพินิจ วุฒิภาวะ ศรัทธา และฉันทะที่ถูกต้อง หาวิธีการนําตัวออกมาอย่างปลอดภัย รอบคอบ ไม่ประมาท อย่าให้เกิดการบาดเจ็บหรือการสูญเสียทั้งคณะเด็กและคณะผู้ช่วยเหลือ จากนั้นจึงส่งตัวเข้ารับการเช็คสภาพร่างกาย ณ โรงพยาบาลให้เรียบร้อยและส่งกลับสู่ครอบครัว ส่วนบริเวณถ้ําหลวง ให้ฟื้นฟูพื้นที่และจัดระบบความปลอดภัยให้รัดกุม นอกจากนี้ ทรงรับสั่งว่า ทําอะไรต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ ตระหนักถึงความเป็นมาและนําประสบการณ์ไปปรับใช้ นําบทเรียนนี้ไปใช้ในการวางแผนระบบแจ้งเตือนภัยต่าง ๆ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการแจ้งเตือนและช่วยชีวิตที่ทันสมัย พร้อมทั้งให้หน่วยงานบริหารจัดการน้ําไปประเมินสถานการณ์ เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ โดยทําแผนเผชิญเหตุ วิธีป้องกัน และแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ส่วนชาวต่างประเทศที่มาร่วมปฎิบัติภารกิจครั้งนี้ให้ดูแลให้ดี เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้พาท่องเที่ยวต้อนรับอย่างดีโดยทรงรับเป็นอาคันตุกะของพระองค์ จนกว่าจะเดินทางกลับ หลังจากนี้จะทรงมีพระราชกระแสขอบใจ ชื่นชม ชมเชยทุกหน่วยงานทั้งของไทยและต่างประเทศ ตลอดจนประชาชนชาวไทยและต่างประเทศทั่วโลกต่อไป ____________________ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเผยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือทีมหมูป่าฯ 13 ชีวิต พร้อมทรงมอบแนวทางปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2561 รัฐบาลเผยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือทีมหมูป่าฯ 13 ชีวิต พร้อมทรงมอบแนวทางปฏิบัติภารกิจให้สําเร็จลุล่วงด้วยดี นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือทีมหมูป่าฯ 13 ชีวิต พร้อมทรงมอบแนวทางปฏิบัติภารกิจให้สําเร็จลุล่วงด้วยดี วันนี้ (3 ก.ค.61) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือเยาวชนและโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมี่ โดยรับสั่งว่า การชมเชยเบื้องต้นเป็นสิ่งที่ดีแต่ขอให้รักษาสติ สมาธิ ปัญญาในการปฎิบัติภารกิจ โดยภารกิจ จะสําเร็จเรียบร้อยก็ต่อเมื่อทุกคนออกมาและกลับสู่ครอบครัวด้วยความปลอดภัย ความสําเร็จที่เกิดขึ้นมาจากการวางแผนทํางานอย่างเป็นระบบ มีความสามัคคีเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันทั้งคนไทยและต่างชาติที่มาร่วมภารกิจหรือส่งกําลังใจมาช่วย การนําคณะออกจากถ้ําต้องคิดและวางแผนให้ดี คํานึงถึงสุขภาพและภาวะจิตใจก่อนนําตัวออกมา ต้องใช้ดุลพินิจ วุฒิภาวะ ศรัทธา และฉันทะที่ถูกต้อง หาวิธีการนําตัวออกมาอย่างปลอดภัย รอบคอบ ไม่ประมาท อย่าให้เกิดการบาดเจ็บหรือการสูญเสียทั้งคณะเด็กและคณะผู้ช่วยเหลือ จากนั้นจึงส่งตัวเข้ารับการเช็คสภาพร่างกาย ณ โรงพยาบาลให้เรียบร้อยและส่งกลับสู่ครอบครัว ส่วนบริเวณถ้ําหลวง ให้ฟื้นฟูพื้นที่และจัดระบบความปลอดภัยให้รัดกุม นอกจากนี้ ทรงรับสั่งว่า ทําอะไรต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ ตระหนักถึงความเป็นมาและนําประสบการณ์ไปปรับใช้ นําบทเรียนนี้ไปใช้ในการวางแผนระบบแจ้งเตือนภัยต่าง ๆ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการแจ้งเตือนและช่วยชีวิตที่ทันสมัย พร้อมทั้งให้หน่วยงานบริหารจัดการน้ําไปประเมินสถานการณ์ เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ โดยทําแผนเผชิญเหตุ วิธีป้องกัน และแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ส่วนชาวต่างประเทศที่มาร่วมปฎิบัติภารกิจครั้งนี้ให้ดูแลให้ดี เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้พาท่องเที่ยวต้อนรับอย่างดีโดยทรงรับเป็นอาคันตุกะของพระองค์ จนกว่าจะเดินทางกลับ หลังจากนี้จะทรงมีพระราชกระแสขอบใจ ชื่นชม ชมเชยทุกหน่วยงานทั้งของไทยและต่างประเทศ ตลอดจนประชาชนชาวไทยและต่างประเทศทั่วโลกต่อไป ____________________ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอจัดสัมมนาชักจูงการลงทุน ณ ไต้หวัน
วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 บีโอไอจัดสัมมนาชักจูงการลงทุน ณ ไต้หวัน บีโอไอจัดสัมมนาชักจูงการลงทุน ณ ไต้หวัน เมื่อเร็วๆนี้ สํานักงานเศรษฐกิจการลงทุนต่างประเทศ ณ กรุงไทเป (บีโอไอ กรุงไทเป) จัดสัมมนาเพื่อชักชวนการลงทุน เรื่อง “Thailand New Investment Promotion Strategies for Smart Electronics Industry” โดย นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) บรรยายเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน ศักยภาพและโอกาสของประเทศไทยในการรองรับการลงทุนจากไต้หวัน โดยมีนักลงทุนสนใจร่วมงานกว่า 150 คน ณ กรุงไทเป ไต้หวัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอจัดสัมมนาชักจูงการลงทุน ณ ไต้หวัน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 บีโอไอจัดสัมมนาชักจูงการลงทุน ณ ไต้หวัน บีโอไอจัดสัมมนาชักจูงการลงทุน ณ ไต้หวัน เมื่อเร็วๆนี้ สํานักงานเศรษฐกิจการลงทุนต่างประเทศ ณ กรุงไทเป (บีโอไอ กรุงไทเป) จัดสัมมนาเพื่อชักชวนการลงทุน เรื่อง “Thailand New Investment Promotion Strategies for Smart Electronics Industry” โดย นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) บรรยายเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน ศักยภาพและโอกาสของประเทศไทยในการรองรับการลงทุนจากไต้หวัน โดยมีนักลงทุนสนใจร่วมงานกว่า 150 คน ณ กรุงไทเป ไต้หวัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25410
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยยกระดับคุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด-19 หยุดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ [กระทรวงการคลัง]
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2563 กรุงไทยยกระดับคุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด-19 หยุดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ [กระทรวงการคลัง] ธนาคารกรุงไทย ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะความปลอดภัยของลูกค้าและประชาชน ตลอดจนลดความเสี่ยงการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารกรุงไทย ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะความปลอดภัยของลูกค้าและประชาชน ตลอดจนลดความเสี่ยงการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารกรุงไทยจึงได้ประกาศหยุดการให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สาขา และปิดสํานักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX Booth) ทั่วประเทศ จํานวน 53 แห่ง ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ของวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยลูกค้ายังคงสามารถใช้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วยบัตรกรุงไทยทราเวลการ์ด ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ได้ตามปกติ ทั้งนี้ ธนาคารได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบแล้ว สําหรับพนักงานที่ปฎิบัติงานด้านแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารให้หยุดงานและอยู่ในที่พักเป็นระยะเวลา 14 วัน (Self-quarantine at home) ตามแนวทางปฏิบัติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ในปัจจุบัน ธนาคารยังไม่พบพนักงานติดเชื้อ COVID-19 และยังคงเฝ้าระวังและปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มข้นและใกล้ชิดต่อไป ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด โทร.0-2208-4174-7
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยยกระดับคุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด-19 หยุดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ [กระทรวงการคลัง] วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2563 กรุงไทยยกระดับคุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด-19 หยุดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ [กระทรวงการคลัง] ธนาคารกรุงไทย ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะความปลอดภัยของลูกค้าและประชาชน ตลอดจนลดความเสี่ยงการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารกรุงไทย ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะความปลอดภัยของลูกค้าและประชาชน ตลอดจนลดความเสี่ยงการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารกรุงไทยจึงได้ประกาศหยุดการให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สาขา และปิดสํานักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX Booth) ทั่วประเทศ จํานวน 53 แห่ง ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ของวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยลูกค้ายังคงสามารถใช้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วยบัตรกรุงไทยทราเวลการ์ด ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ได้ตามปกติ ทั้งนี้ ธนาคารได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบแล้ว สําหรับพนักงานที่ปฎิบัติงานด้านแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารให้หยุดงานและอยู่ในที่พักเป็นระยะเวลา 14 วัน (Self-quarantine at home) ตามแนวทางปฏิบัติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ในปัจจุบัน ธนาคารยังไม่พบพนักงานติดเชื้อ COVID-19 และยังคงเฝ้าระวังและปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มข้นและใกล้ชิดต่อไป ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด โทร.0-2208-4174-7
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27293
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เน้นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และอาหารที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2560 นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เน้นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และอาหารที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค นายกรัฐมนตรี ส่งเสริมการเกษตรที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ พร้อมสนับสนุนการจัดทําบัญชีครัวเรือน ควบคู่กับนําหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดําเนินชีวิต อันจะนําไปสู่การแก้ปัญหา ลดความเหลื่อมล้ําในสังคมและประชาชนในท้องถิ่นให้มีรายได้มากขึ้น วันนี้ (24 พ.ค.60) เวลา 13.30 น. ณ ตลาดเกษตร บริเวณหน้าคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ อาทิ นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอก วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และพลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเยี่ยมชมตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ตลาดเกษตร ม.อ.) ทั้งในส่วนของตลาดนัดเกษตรกร โซนผักและผลไม้ และโซนอาหารว่าง พร้อมชมผลงานวิจัยของคณาจารย์คณะทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงดวงสาคูโดยใช้ทางปาล์ม เห็ดหลินจือแดงอบแห้ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อกล้วยเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ อาทิ กล้วยน้ําว้ากาบขาว กล้วยหอมเขียว กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ และกล้วยหิน เป็นต้น โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เดินพบปะทักทายพ่อค้า แม่ค้า และผู้ประกอบการในตลาดเกษตรฯ พร้อมรับชมกิจกรรมการออกกําลังกายของกลุ่มผู้ค้ามาซึ่งร่วมกันเต้น Chicken Dance ที่สอดรับรับกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนหันมาออกกําลังกาย เพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ โดยมี คณะบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักศึกษา ให้การต้อนรับด้วย จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณผู้จัดการตลาด และคณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ให้ความสําคัญกับการพัฒนาวิธีคิดให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็ง (เป็นนักธุรกิจด้านเกษตร) ควบคู่ไปกับการพัฒนาบริหารจัดการตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ตลาดเกษตร ม.อ.) จนประสบความสําเร็จได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นในคุณภาพของสิ้นค้าและผลิตภัณฑ์ที่นํามาจําหน่ายในตลาด พร้อมชื่นชมถึงความพยายามและตั้งใจจริงของทุกฝายในการดูแลช่วยเกษตรกรได้มีตลาดจําหน่ายสินค้าในราคาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อขยายและยกระดับไปจําหน่ายในตลาดพรีเมี่ยม ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนขอให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และหลากหลายแทนการปลูกพืชเชิงเดียวเพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งสอดคล้องและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาด อุปสงค์และอุปทานมีความสมดุล ป้องกันแก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาดและราคาตกต่ํา ขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้ทําการเกษตรที่สามารถเลี้ยงตนเองได้และอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างกัน และจัดทําบัญชีครัวเรือนอย่างเป็นระบบเพื่อให้การบริหารจัดการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขอให้น้อมนําแนวทางหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชและศาสตร์ของพระราชามาปฏิบัติในการดําเนินชีวิต ซึ่งจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาการลดความเหลื่อมล้ําในสังคมและประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้มากขึ้นอีกทั้งเสนอแนะให้ประชาชนลดการใช้ถุงพลาสติกให้น้อยลงเพื่อลดปริมาณขยะจากพลาสติกที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สําหรับตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ตลาดเกษตร ม.อ.) เปิดให้บริการครั้งแรก ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานจัดการผลประโยชน์ทางวิชาการ ฝ่ายวิจัยและบริการกลาง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเปิดให้บริการอย่างยาวนาน เป็นระยะกว่า 16 ปี โดยมีความประสงค์ที่จะสร้าง “ศูนย์กลาง” ในการให้บริการจําหน่ายผลิตผลที่ได้รับจากการเรียน การสอน และงานวิจัยของคณะทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง ปัจจุบันให้เกษตรกรและผู้ประกอบการแท้จริงได้มาจําหน่วยสินค้าด้วยตนเอง ทั้งอาหาร ผักผลไม้ ตลอดจนขนมและเครื่องดื่มต่าง ๆ ซึ่งการดําเนินงานของตลาดให้ความสําคัญกับความเป็นเจ้าของตลาดของเกษตรกร โดยทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดูแล ปรับปรุง บริหารตลาด รวมทั้งมีรูปแบบการดําเนินงานในลักษณะประชารัฐ ที่หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุข/พาณิชย์จังหวัด ตลอดจนภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนอาคาร/อุปกรณ์/สินค้า ภายในตลาด โดยจุดเด่นเน้นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และอาหารที่มีความปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค (3 ปลอดภัย ได้แก่ อาหารปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย เกษตรกรปลอดภัย) ซึ่งอาหารที่จําหน่ายมีคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารโดยเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สามารถย่อยสลายได้ และได้รับรางวัลตลาดปลอดโฟม 100 % จากกรมอนามัย และเป็นตลาดที่ไม่ใช้ลวดเย็บกระดาษ เย็บบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุอาหาร ขณะที่ผู้จําหน่ายสินค้า ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารเบื้องต้น 100% รวมทั้งเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการมีสุขภาพพลานามัยที่ดี เช่น กิจกรรมแกว่งแขน เต้นประกอบเพลง Chicken Dance ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการออมเงิน และมีการลดปริมาณขยะในตลาดผ่านกิจกรรมธนาคารขยะโดยผู้ประกอบการสามารถแยกขยะที่นําไปกลับมาใช้ใหม่ได้ นํามาขายในกิจกรรมฯ เพื่อสะสมเป็นเงินออม ส่วนแนวทางการพัฒนา/ต่อยอด เพื่อให้ตลาดมีความสมบูรณ์แบบ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพ เช่น หลังคากันแดด/ฝน ห้องน้ํา ทางเดิน เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาหรือยกระดับผู้ค้าในตลาด การเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวหรือกลุ่มเป้าหมายตลาด โดยจะมีการเชื่อมโยงระหว่างตลาดเกษตร ม.อ. กับกระทรวงพาณิชย์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในด้านการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาใช้บริการตลาดเกษตร ม.อ. เพิ่มมากขึ้น และในอนาคตคณะทรัพยากรธรรมชาติจะมีการจัดทํากิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้งนี้ ตลาดดังกล่าวมีผู้ค้าประมาณ 171 ราย จํานวน 185 ร้านค้า ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมและจับจ่ายซื้อของในตลาดเฉลี่ยประมาณวันละ 7,000 – 8,000 คน ปัจจุบัน ตลาดเกษตร ม.อ. เปิดทําการทุกวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 14.30 -19.30 น. แบ่งเป็น 3 โซน คือโซนอาหารว่าง โซนผักผลไม้และอาหารสุขภาพ และโซนอาหารคาวและอาหารทะเล โดยรายได้ของผู้จําหน่ายสินค้าเกษตรในตลาดเกษตร มอ. ปี 2559 รายได้เฉลี่ยต่อราย 4,820 บาท/วัน 53,016 บาท/เดือน 583,200 บาท/ปี มีเงินทุนหมุนเวียนในตลาดต่อวันประมาณ 834,000 บาท เฉลี่ยต่อเดือน 9,172,000 บาท และต่อปี 100,830,000 บาท ขณะที่รายได้ผู้จําหน่ายสินค้าในตลาดนัดเกษตรกร ปี 2559 มียอดจําหน่ายตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2557 - 30 เมษายน 2560 มียอดรวมประมาณ 5,157,000 บาท โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมจําหน่าย 12 กลุ่มเครื่อข่าย และมีรายได้เฉลี่ยต่อวันของแต่ละเครือข่ายประมาณ 3,743 บาท --------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เน้นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และอาหารที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2560 นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เน้นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และอาหารที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค นายกรัฐมนตรี ส่งเสริมการเกษตรที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ พร้อมสนับสนุนการจัดทําบัญชีครัวเรือน ควบคู่กับนําหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดําเนินชีวิต อันจะนําไปสู่การแก้ปัญหา ลดความเหลื่อมล้ําในสังคมและประชาชนในท้องถิ่นให้มีรายได้มากขึ้น วันนี้ (24 พ.ค.60) เวลา 13.30 น. ณ ตลาดเกษตร บริเวณหน้าคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ อาทิ นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอก วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และพลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเยี่ยมชมตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ตลาดเกษตร ม.อ.) ทั้งในส่วนของตลาดนัดเกษตรกร โซนผักและผลไม้ และโซนอาหารว่าง พร้อมชมผลงานวิจัยของคณาจารย์คณะทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงดวงสาคูโดยใช้ทางปาล์ม เห็ดหลินจือแดงอบแห้ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อกล้วยเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ อาทิ กล้วยน้ําว้ากาบขาว กล้วยหอมเขียว กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ และกล้วยหิน เป็นต้น โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เดินพบปะทักทายพ่อค้า แม่ค้า และผู้ประกอบการในตลาดเกษตรฯ พร้อมรับชมกิจกรรมการออกกําลังกายของกลุ่มผู้ค้ามาซึ่งร่วมกันเต้น Chicken Dance ที่สอดรับรับกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนหันมาออกกําลังกาย เพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ โดยมี คณะบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักศึกษา ให้การต้อนรับด้วย จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณผู้จัดการตลาด และคณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ให้ความสําคัญกับการพัฒนาวิธีคิดให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็ง (เป็นนักธุรกิจด้านเกษตร) ควบคู่ไปกับการพัฒนาบริหารจัดการตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ตลาดเกษตร ม.อ.) จนประสบความสําเร็จได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นในคุณภาพของสิ้นค้าและผลิตภัณฑ์ที่นํามาจําหน่ายในตลาด พร้อมชื่นชมถึงความพยายามและตั้งใจจริงของทุกฝายในการดูแลช่วยเกษตรกรได้มีตลาดจําหน่ายสินค้าในราคาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อขยายและยกระดับไปจําหน่ายในตลาดพรีเมี่ยม ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนขอให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และหลากหลายแทนการปลูกพืชเชิงเดียวเพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งสอดคล้องและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาด อุปสงค์และอุปทานมีความสมดุล ป้องกันแก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาดและราคาตกต่ํา ขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้ทําการเกษตรที่สามารถเลี้ยงตนเองได้และอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างกัน และจัดทําบัญชีครัวเรือนอย่างเป็นระบบเพื่อให้การบริหารจัดการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขอให้น้อมนําแนวทางหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชและศาสตร์ของพระราชามาปฏิบัติในการดําเนินชีวิต ซึ่งจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาการลดความเหลื่อมล้ําในสังคมและประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้มากขึ้นอีกทั้งเสนอแนะให้ประชาชนลดการใช้ถุงพลาสติกให้น้อยลงเพื่อลดปริมาณขยะจากพลาสติกที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สําหรับตลาดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ตลาดเกษตร ม.อ.) เปิดให้บริการครั้งแรก ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานจัดการผลประโยชน์ทางวิชาการ ฝ่ายวิจัยและบริการกลาง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเปิดให้บริการอย่างยาวนาน เป็นระยะกว่า 16 ปี โดยมีความประสงค์ที่จะสร้าง “ศูนย์กลาง” ในการให้บริการจําหน่ายผลิตผลที่ได้รับจากการเรียน การสอน และงานวิจัยของคณะทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง ปัจจุบันให้เกษตรกรและผู้ประกอบการแท้จริงได้มาจําหน่วยสินค้าด้วยตนเอง ทั้งอาหาร ผักผลไม้ ตลอดจนขนมและเครื่องดื่มต่าง ๆ ซึ่งการดําเนินงานของตลาดให้ความสําคัญกับความเป็นเจ้าของตลาดของเกษตรกร โดยทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดูแล ปรับปรุง บริหารตลาด รวมทั้งมีรูปแบบการดําเนินงานในลักษณะประชารัฐ ที่หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุข/พาณิชย์จังหวัด ตลอดจนภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนอาคาร/อุปกรณ์/สินค้า ภายในตลาด โดยจุดเด่นเน้นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และอาหารที่มีความปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค (3 ปลอดภัย ได้แก่ อาหารปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย เกษตรกรปลอดภัย) ซึ่งอาหารที่จําหน่ายมีคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารโดยเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สามารถย่อยสลายได้ และได้รับรางวัลตลาดปลอดโฟม 100 % จากกรมอนามัย และเป็นตลาดที่ไม่ใช้ลวดเย็บกระดาษ เย็บบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุอาหาร ขณะที่ผู้จําหน่ายสินค้า ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารเบื้องต้น 100% รวมทั้งเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการมีสุขภาพพลานามัยที่ดี เช่น กิจกรรมแกว่งแขน เต้นประกอบเพลง Chicken Dance ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการออมเงิน และมีการลดปริมาณขยะในตลาดผ่านกิจกรรมธนาคารขยะโดยผู้ประกอบการสามารถแยกขยะที่นําไปกลับมาใช้ใหม่ได้ นํามาขายในกิจกรรมฯ เพื่อสะสมเป็นเงินออม ส่วนแนวทางการพัฒนา/ต่อยอด เพื่อให้ตลาดมีความสมบูรณ์แบบ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพ เช่น หลังคากันแดด/ฝน ห้องน้ํา ทางเดิน เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาหรือยกระดับผู้ค้าในตลาด การเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวหรือกลุ่มเป้าหมายตลาด โดยจะมีการเชื่อมโยงระหว่างตลาดเกษตร ม.อ. กับกระทรวงพาณิชย์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในด้านการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาใช้บริการตลาดเกษตร ม.อ. เพิ่มมากขึ้น และในอนาคตคณะทรัพยากรธรรมชาติจะมีการจัดทํากิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้งนี้ ตลาดดังกล่าวมีผู้ค้าประมาณ 171 ราย จํานวน 185 ร้านค้า ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมและจับจ่ายซื้อของในตลาดเฉลี่ยประมาณวันละ 7,000 – 8,000 คน ปัจจุบัน ตลาดเกษตร ม.อ. เปิดทําการทุกวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 14.30 -19.30 น. แบ่งเป็น 3 โซน คือโซนอาหารว่าง โซนผักผลไม้และอาหารสุขภาพ และโซนอาหารคาวและอาหารทะเล โดยรายได้ของผู้จําหน่ายสินค้าเกษตรในตลาดเกษตร มอ. ปี 2559 รายได้เฉลี่ยต่อราย 4,820 บาท/วัน 53,016 บาท/เดือน 583,200 บาท/ปี มีเงินทุนหมุนเวียนในตลาดต่อวันประมาณ 834,000 บาท เฉลี่ยต่อเดือน 9,172,000 บาท และต่อปี 100,830,000 บาท ขณะที่รายได้ผู้จําหน่ายสินค้าในตลาดนัดเกษตรกร ปี 2559 มียอดจําหน่ายตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2557 - 30 เมษายน 2560 มียอดรวมประมาณ 5,157,000 บาท โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมจําหน่าย 12 กลุ่มเครื่อข่าย และมีรายได้เฉลี่ยต่อวันของแต่ละเครือข่ายประมาณ 3,743 บาท --------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3991
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.นำดอกกล้วยไม้มอบ ครม. เพื่อร่วมระลึกพระคุณครู
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2561 ศธ.นําดอกกล้วยไม้มอบ ครม. เพื่อร่วมระลึกพระคุณครู นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ. พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. และผู้บริหารสํานักงานเลขาธิการคุรุสภา นําคณะนักเรียน นักศึกษา ศิลปินดารา อาทิ พัดชา AF ตุ้ย AF เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 08.45 น. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ.พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. และผู้บริหารสํานักงานเลขาธิการคุรุสภา นําคณะนักเรียน นักศึกษา ศิลปินดารา อาทิ พัดชา AF ตุ้ย AF เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อมอบดอกกล้วยไม้ ดอกไม้ประจําวันครู และซีดีเพลง "เทิดเกียรติคุณครู" พร้อมรายงานความก้าวหน้าการจัดพิธีการงานวันครู ซึ่งได้เรียนเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และร่วมรําลึกถึงพระคุณครู กลับไปคารวะครู เนื่องในโอกาสวันครูครั้งที่ 62 พ.ศ.2561 ในวันที่ 16 มกราคมนี้ ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายกรัฐมนตรีได้พูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า ครูมีความสําคัญต่อการศึกษามาช้านาน และเรื่องของ "ศรัทธา" ก็มีความสําคัญในการสั่งสอนและสร้างการเรียนรู้ให้กับศิษย์ จึงขอให้ครูทุกคนมีศรัทธาในตัวเอง ส่วนนักเรียนนักศึกษาเอง ก็ต้องศรัทธาในตัวครู ตลอดจนองค์ความรู้ที่ครูอาจารย์ประสิทธิ์ประสาทให้ด้วยเช่นกัน นวรัตน์ รามสูต: สรุป ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สํานักงานรัฐมนตรี: รายงาน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.นำดอกกล้วยไม้มอบ ครม. เพื่อร่วมระลึกพระคุณครู วันอังคารที่ 9 มกราคม 2561 ศธ.นําดอกกล้วยไม้มอบ ครม. เพื่อร่วมระลึกพระคุณครู นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ. พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. และผู้บริหารสํานักงานเลขาธิการคุรุสภา นําคณะนักเรียน นักศึกษา ศิลปินดารา อาทิ พัดชา AF ตุ้ย AF เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 08.45 น. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ.พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. และผู้บริหารสํานักงานเลขาธิการคุรุสภา นําคณะนักเรียน นักศึกษา ศิลปินดารา อาทิ พัดชา AF ตุ้ย AF เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อมอบดอกกล้วยไม้ ดอกไม้ประจําวันครู และซีดีเพลง "เทิดเกียรติคุณครู" พร้อมรายงานความก้าวหน้าการจัดพิธีการงานวันครู ซึ่งได้เรียนเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และร่วมรําลึกถึงพระคุณครู กลับไปคารวะครู เนื่องในโอกาสวันครูครั้งที่ 62 พ.ศ.2561 ในวันที่ 16 มกราคมนี้ ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายกรัฐมนตรีได้พูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า ครูมีความสําคัญต่อการศึกษามาช้านาน และเรื่องของ "ศรัทธา" ก็มีความสําคัญในการสั่งสอนและสร้างการเรียนรู้ให้กับศิษย์ จึงขอให้ครูทุกคนมีศรัทธาในตัวเอง ส่วนนักเรียนนักศึกษาเอง ก็ต้องศรัทธาในตัวครู ตลอดจนองค์ความรู้ที่ครูอาจารย์ประสิทธิ์ประสาทให้ด้วยเช่นกัน นวรัตน์ รามสูต: สรุป ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สํานักงานรัฐมนตรี: รายงาน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9259
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.ออกกฎกระทรวงกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนตามหลักสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของกฎหมายสัญชาติ
วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560 มท.ออกกฎกระทรวงกําหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนตามหลักสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของกฎหมายสัญชาติ กระทรวงมหาดไทย ออกกําหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนตามหลักสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของกฎหมายสัญชาติ วันนี้ (4 ก.ย. 60)นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงกําหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ.2560 ออกตามความในมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 85 ก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติและสถานะของเด็กและบุคคลผู้ไร้สัญชาติที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยให้สิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องถูกดําเนินคดีในข้อหาเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสําคัญ ดังนี้ ข้อ 1กําหนดคํานิยาม “เด็กกําพร้า” หมายความว่า เด็กซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้สัญชาติไทย และบิดาและมารดาของเด็กนั้นเสียชีวิต หรือไม่ปรากฏบิดาและมารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดาและมารดาของเด็กนั้นได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในความอุปการะของบุคคลหรือสถานสงเคราะห์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือเป็นเด็กเร่ร่อน ข้อ 2กําหนดให้ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้มีฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกับบิดาหรือมารดาในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้นั้นมากกว่า ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยยกเว้น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ผู้เกิดจากบิดาและมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้มีฐานะเช่นเดียวกับบิดาและมารดา และผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมบิดาหรือมารดา กรณีที่ 2 เด็กกําพร้าซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีหนังสือรับรอง ให้ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ข้อ 3ในกรณีที่ฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยของบิดาและมารดา หรือบิดาหรือมารดาตามข้อ 2 สิ้นสุดลง ให้ฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยนั้นสิ้นสุดลงด้วย เว้นแต่ผู้นั้นมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้คงฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อไปได้ ได้แก่ 1) มีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี หรือบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ยกเว้นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับการพิสูจน์หรือรับรองจากต่างประเทศว่าเป็นคนสัญชาติของประเทศนั้นและสมัครใจที่จะกลับออกไปนอกราชอาณาจักร 2) ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศที่บิดาหรือมารดามีหรือเคยมีภูมิลําเนาหรือเคยอาศัยอยู่ได้ตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด 3) มีผู้ปกครอง สามี ภรรยา หรือบุตร เป็นผู้มีสัญชาติไทย 4) มีภูมิลําเนาเป็นหลักแหล่งในราชอาณาจักรและพํานักอยู่ในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและได้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กําหนด 5) อยู่ระหว่างการศึกษาในสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง 6) เป็นผู้ที่ได้ทําคุณประโยชน์ให้แก่สังคมตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกําหนด นอกจากนี้ ในกฎกระทรวงฯ ได้ระบุถึงลักษณะที่อาจทําให้ถูกเพิกถอนฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ตามความในข้อ 4ระบุว่า ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยและมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี อาจถูกเพิกถอนฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรได้ เมื่อปรากฏว่า 1) กระทําการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐหรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติหรือ 2) กระทําการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายโดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ อาจสั่งเพิกถอนฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยของบุคคล หรือสั่งให้ผู้นั้นอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความมั่นคง ประโยชน์ของรัฐ และสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ปลัดกระทรวงมหาดไทยกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานในภารกิจของฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง และฝ่ายทะเบียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง จึงได้สั่งการให้ทุกจังหวัดแจ้งให้อําเภอ (สํานักทะเบียนอําเภอ) รวมทั้งประสานกรุงเทพมหานครแจ้งสํานักงานเขตทุกเขต (สํานักทะเบียนเขต) และสํานักทะเบียนทุกแห่งในพื้นที่รับผิดชอบ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว โดยเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ได้แจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัด สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เพื่อทราบและถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป. ครั้งที่ 127/2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.ออกกฎกระทรวงกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนตามหลักสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของกฎหมายสัญชาติ วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560 มท.ออกกฎกระทรวงกําหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนตามหลักสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของกฎหมายสัญชาติ กระทรวงมหาดไทย ออกกําหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนตามหลักสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของกฎหมายสัญชาติ วันนี้ (4 ก.ย. 60)นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงกําหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ.2560 ออกตามความในมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 85 ก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติและสถานะของเด็กและบุคคลผู้ไร้สัญชาติที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยให้สิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องถูกดําเนินคดีในข้อหาเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสําคัญ ดังนี้ ข้อ 1กําหนดคํานิยาม “เด็กกําพร้า” หมายความว่า เด็กซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้สัญชาติไทย และบิดาและมารดาของเด็กนั้นเสียชีวิต หรือไม่ปรากฏบิดาและมารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดาและมารดาของเด็กนั้นได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในความอุปการะของบุคคลหรือสถานสงเคราะห์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือเป็นเด็กเร่ร่อน ข้อ 2กําหนดให้ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้มีฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกับบิดาหรือมารดาในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้นั้นมากกว่า ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยยกเว้น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ผู้เกิดจากบิดาและมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้มีฐานะเช่นเดียวกับบิดาและมารดา และผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมบิดาหรือมารดา กรณีที่ 2 เด็กกําพร้าซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีหนังสือรับรอง ให้ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ข้อ 3ในกรณีที่ฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยของบิดาและมารดา หรือบิดาหรือมารดาตามข้อ 2 สิ้นสุดลง ให้ฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยนั้นสิ้นสุดลงด้วย เว้นแต่ผู้นั้นมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้คงฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อไปได้ ได้แก่ 1) มีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี หรือบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ยกเว้นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับการพิสูจน์หรือรับรองจากต่างประเทศว่าเป็นคนสัญชาติของประเทศนั้นและสมัครใจที่จะกลับออกไปนอกราชอาณาจักร 2) ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศที่บิดาหรือมารดามีหรือเคยมีภูมิลําเนาหรือเคยอาศัยอยู่ได้ตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด 3) มีผู้ปกครอง สามี ภรรยา หรือบุตร เป็นผู้มีสัญชาติไทย 4) มีภูมิลําเนาเป็นหลักแหล่งในราชอาณาจักรและพํานักอยู่ในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและได้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กําหนด 5) อยู่ระหว่างการศึกษาในสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง 6) เป็นผู้ที่ได้ทําคุณประโยชน์ให้แก่สังคมตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกําหนด นอกจากนี้ ในกฎกระทรวงฯ ได้ระบุถึงลักษณะที่อาจทําให้ถูกเพิกถอนฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ตามความในข้อ 4ระบุว่า ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยและมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี อาจถูกเพิกถอนฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรได้ เมื่อปรากฏว่า 1) กระทําการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐหรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติหรือ 2) กระทําการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายโดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ อาจสั่งเพิกถอนฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยของบุคคล หรือสั่งให้ผู้นั้นอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความมั่นคง ประโยชน์ของรัฐ และสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ปลัดกระทรวงมหาดไทยกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานในภารกิจของฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง และฝ่ายทะเบียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง จึงได้สั่งการให้ทุกจังหวัดแจ้งให้อําเภอ (สํานักทะเบียนอําเภอ) รวมทั้งประสานกรุงเทพมหานครแจ้งสํานักงานเขตทุกเขต (สํานักทะเบียนเขต) และสํานักทะเบียนทุกแห่งในพื้นที่รับผิดชอบ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว โดยเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ได้แจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัด สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เพื่อทราบและถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป. ครั้งที่ 127/2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6417
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างบ้านชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร คลองเปรมประชากร พร้อมมอบทะเบียนบ้านใหม่ให้กับชาวชุมชน
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2563 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างบ้านชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร คลองเปรมประชากร พร้อมมอบทะเบียนบ้านใหม่ให้กับชาวชุมชน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างบ้านชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร คลองเปรมประชากร พร้อมมอบทะเบียนบ้านใหม่ให้กับชาวชุมชน เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 63 เวลา 14.30 น. ที่ชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบทะเบียนบ้านให้ชาวชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร โดยมี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พลโท ธรรมนูญ วิถี แม่ทัพภาคที่ 1 นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อํานวยการสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชาวชุมชนกว่า 200 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะ ลงเรือที่ท่าเรือวัดเสมียนนารี เพื่อตรวจความคืบหน้าการปรับทัศนียภาพคลองเปรมประชากร พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการงานพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลองเปรมประชากร ก่อนจะเป็นประธานในการมอบทะเบียนบ้าน จํานวน 20 หลัง ในเฟสแรก ซึ่งชุมชนประชาร่วมใจ 2 เป็นชุมชนแรกจาก 32 ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร และอีก 6 หมู่ในจังหวัดปทุมธานี รวมกลุ่มเป้าหมายการดําเนินการโครงการที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากรทั้งสิ้น 6,386 ครัวเรือน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 ซึ่งเห็นชอบแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยประกอบด้วยการดําเนินงาน 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างเขื่อนและอุโมงค์ระบายน้ํา ดําเนินการโดยสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย (2) การพัฒนาชุมชนริมคลองหรือการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (3) การสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับประชาชน ซึ่งเป็นภารกิจร่วมของทุกหน่วยงาน โดยการสนับสนุนของกองทัพภาคที่ 1 (4) กฎหมายและการขับเคลื่อนงาน การพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากรใช้แนวทางโครงการบ้านมั่นคงของ พอช. โดยให้ชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อเป็นกลไกในการบริหารโครงการ เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ บริหารงบประมาณที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ ทั้งงบอุดหนุนและการใช้สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านจาก พอช. บริหารจัดการสินเชื่อของสมาชิกรายครัวเรือน และบริหารชุมชนในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้นอกจาก พอช.แล้ว ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้การพัฒนาที่อยู่อาศัยสําเร็จได้ตามแผน ได้แก่ กรมธนารักษ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ จังหวัดปทุมธานี สํานักงานเขตที่ดูแลพื้นที่ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง โดยมีกองทัพภาคที่ 1 ให้การสนับสนุนในการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน นอกจากนี้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในการลงเสาเอกบ้านเฟสแรก (โซน 4) จํานวน 20 หลัง ปัจจุบันชุมชนก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ 20 หลัง ซึ่งสมาชิกจะเริ่มเข้าอยู่อาศัยตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2563 ส่วนที่เหลืออีก 173 หลัง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2563 จํานวน 164 หลัง และเดือนธันวาคม 2563 จํานวน 9 หลัง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับชาวชุมชน ถือเป็นวันดีอีกวันหนึ่งที่ได้ร่วมเป็นเกียรติในการมอบทะเบียนบ้านให้กับสมาชิกชุมชนริมคลองเปรมประชากร จํานวน 20 ครัวเรือน ดังนั้น การจัดกิจกรรมในวันนี้ ถือว่าเป็นก้าวสําคัญนําไปสู่การพัฒนาพื้นที่ เป็นการแสดงความร่วมมือ ร่วมแรงและร่วมใจและทําให้ประชาชนมีความสุขตามความตั้งใจของรัฐบาลที่ผลักดันนโยบายรัฐบาลในเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับคนชุมชนริมคลอง ชุมชนประชาร่วมใจ 2 ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากรซึ่งเปลี่ยนจากผู้รุกล้ําลําน้ําสาธารณะมาเป็นผู้อยู่อาศัยที่ถูกต้องตามกฎหมาย และรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในเรื่องการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนจากฐานราก การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้ชาวบ้านมีที่อยู่อย่างถูกกฎหมาย ถือเป็นการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ นอกจากการปลูกสร้างบ้านแล้วชุมชนยังมีแผนที่จะพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และจะเป็นส่วนสําคัญที่จะทําให้คลองเปรมประชากรได้กลับมาทําหน้าที่คลองสายหลักและมีสภาพแวดล้อมที่ดี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างบ้านชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร คลองเปรมประชากร พร้อมมอบทะเบียนบ้านใหม่ให้กับชาวชุมชน วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2563 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างบ้านชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร คลองเปรมประชากร พร้อมมอบทะเบียนบ้านใหม่ให้กับชาวชุมชน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างบ้านชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร คลองเปรมประชากร พร้อมมอบทะเบียนบ้านใหม่ให้กับชาวชุมชน เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 63 เวลา 14.30 น. ที่ชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบทะเบียนบ้านให้ชาวชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร โดยมี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พลโท ธรรมนูญ วิถี แม่ทัพภาคที่ 1 นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อํานวยการสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชาวชุมชนกว่า 200 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะ ลงเรือที่ท่าเรือวัดเสมียนนารี เพื่อตรวจความคืบหน้าการปรับทัศนียภาพคลองเปรมประชากร พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการงานพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลองเปรมประชากร ก่อนจะเป็นประธานในการมอบทะเบียนบ้าน จํานวน 20 หลัง ในเฟสแรก ซึ่งชุมชนประชาร่วมใจ 2 เป็นชุมชนแรกจาก 32 ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร และอีก 6 หมู่ในจังหวัดปทุมธานี รวมกลุ่มเป้าหมายการดําเนินการโครงการที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากรทั้งสิ้น 6,386 ครัวเรือน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 ซึ่งเห็นชอบแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยประกอบด้วยการดําเนินงาน 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างเขื่อนและอุโมงค์ระบายน้ํา ดําเนินการโดยสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย (2) การพัฒนาชุมชนริมคลองหรือการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (3) การสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับประชาชน ซึ่งเป็นภารกิจร่วมของทุกหน่วยงาน โดยการสนับสนุนของกองทัพภาคที่ 1 (4) กฎหมายและการขับเคลื่อนงาน การพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากรใช้แนวทางโครงการบ้านมั่นคงของ พอช. โดยให้ชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อเป็นกลไกในการบริหารโครงการ เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ บริหารงบประมาณที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ ทั้งงบอุดหนุนและการใช้สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านจาก พอช. บริหารจัดการสินเชื่อของสมาชิกรายครัวเรือน และบริหารชุมชนในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้นอกจาก พอช.แล้ว ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้การพัฒนาที่อยู่อาศัยสําเร็จได้ตามแผน ได้แก่ กรมธนารักษ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ จังหวัดปทุมธานี สํานักงานเขตที่ดูแลพื้นที่ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง โดยมีกองทัพภาคที่ 1 ให้การสนับสนุนในการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน นอกจากนี้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในการลงเสาเอกบ้านเฟสแรก (โซน 4) จํานวน 20 หลัง ปัจจุบันชุมชนก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ 20 หลัง ซึ่งสมาชิกจะเริ่มเข้าอยู่อาศัยตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2563 ส่วนที่เหลืออีก 173 หลัง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2563 จํานวน 164 หลัง และเดือนธันวาคม 2563 จํานวน 9 หลัง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับชาวชุมชน ถือเป็นวันดีอีกวันหนึ่งที่ได้ร่วมเป็นเกียรติในการมอบทะเบียนบ้านให้กับสมาชิกชุมชนริมคลองเปรมประชากร จํานวน 20 ครัวเรือน ดังนั้น การจัดกิจกรรมในวันนี้ ถือว่าเป็นก้าวสําคัญนําไปสู่การพัฒนาพื้นที่ เป็นการแสดงความร่วมมือ ร่วมแรงและร่วมใจและทําให้ประชาชนมีความสุขตามความตั้งใจของรัฐบาลที่ผลักดันนโยบายรัฐบาลในเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับคนชุมชนริมคลอง ชุมชนประชาร่วมใจ 2 ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากรซึ่งเปลี่ยนจากผู้รุกล้ําลําน้ําสาธารณะมาเป็นผู้อยู่อาศัยที่ถูกต้องตามกฎหมาย และรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในเรื่องการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนจากฐานราก การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้ชาวบ้านมีที่อยู่อย่างถูกกฎหมาย ถือเป็นการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ นอกจากการปลูกสร้างบ้านแล้วชุมชนยังมีแผนที่จะพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และจะเป็นส่วนสําคัญที่จะทําให้คลองเปรมประชากรได้กลับมาทําหน้าที่คลองสายหลักและมีสภาพแวดล้อมที่ดี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33686
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพร้อมรับฟังแนวทางการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวแม่ฮ่องสอน
วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริพร้อมรับฟังแนวทางการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวแม่ฮ่องสอน นายกรัฐมนตรีแนะเกษตรกรแม่ฮ่องสอนปลูกพืชแบบผสมผสานและรวมกลุ่มทําเกษตรแปลงใหญ่แบบครบวงจร เพื่อแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร วันนี้ (17 มกราคม 2560) เวลา 12.00 น. ณ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ําปายตามพระราชดําริ (ท่าโป่งแดง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะเยี่ยมชมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และรับฟังข้อเสนอของชาวแม่ฮ่องสอน เรื่อง แนวทางการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ชาวแม่ฮ่องสอนจากตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ 1.กลุ่มคนอยู่ร่วมกับป่า 2.กลุ่มโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ตามพระราชดําริฯ 3.กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ 4.กลุ่มผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากวนเกษตร (กล้วยไม้ บุก กาแฟ พืชสมุนไพร ถั่ว) 5.กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากขนแกะ และ 6.กลุ่มสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ภายหลังการเยี่ยมชม และรับฟังข้อเสนอของชาวแม่ฮ่องสอนจากกลุ่มตัวแทนต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การมาพบปะในครั้งนี้เพื่อมาเยี่ยมเยียนในฐานะพี่น้อง และคนในครอบครัว ไม่ได้หวังผลทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในทุกมิติให้เกิดเป็นรูปธรรม อาจจะไม่ทันใจประชาชนบ้างแต่จะมีความยั่งยืนในอนาคต นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า เมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 กว่า40 ปีที่ผ่านมา ทําให้ได้เห็นโครงการต่าง ๆ ที่ทรงริเริ่ม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลายด้าน รัฐบาลนี้จึงสานต่อเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวบรวมละเอียด และเสนอเพื่อขอเข้ารับการสนับสนุนจากภาครัฐ และมอบให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและลงมาตรวจพื้นที่ในวันนี้ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับไปดูแลเพื่อให้การช่วยเหลือทางด้านเทคนิค กระบวนการผลิต และช่วยส่งเสริมด้านการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน พร้อมแนะนําเกษตรกรว่าไม่ควรปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่ควรปลูกพืชแบบผสมผสาน อีกทั้ง ควรมีการรวมกลุ่มทําเกษตรแปลงใหญ่แบบครบวงจรเพื่อแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตร จากนั้น นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะเดินทางต่อไปยังศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นประธานการประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาแม่ฮ่องสอน .................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพร้อมรับฟังแนวทางการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวแม่ฮ่องสอน วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริพร้อมรับฟังแนวทางการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวแม่ฮ่องสอน นายกรัฐมนตรีแนะเกษตรกรแม่ฮ่องสอนปลูกพืชแบบผสมผสานและรวมกลุ่มทําเกษตรแปลงใหญ่แบบครบวงจร เพื่อแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร วันนี้ (17 มกราคม 2560) เวลา 12.00 น. ณ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ําปายตามพระราชดําริ (ท่าโป่งแดง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะเยี่ยมชมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และรับฟังข้อเสนอของชาวแม่ฮ่องสอน เรื่อง แนวทางการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ชาวแม่ฮ่องสอนจากตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ 1.กลุ่มคนอยู่ร่วมกับป่า 2.กลุ่มโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ตามพระราชดําริฯ 3.กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ 4.กลุ่มผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากวนเกษตร (กล้วยไม้ บุก กาแฟ พืชสมุนไพร ถั่ว) 5.กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากขนแกะ และ 6.กลุ่มสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ภายหลังการเยี่ยมชม และรับฟังข้อเสนอของชาวแม่ฮ่องสอนจากกลุ่มตัวแทนต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การมาพบปะในครั้งนี้เพื่อมาเยี่ยมเยียนในฐานะพี่น้อง และคนในครอบครัว ไม่ได้หวังผลทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในทุกมิติให้เกิดเป็นรูปธรรม อาจจะไม่ทันใจประชาชนบ้างแต่จะมีความยั่งยืนในอนาคต นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า เมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 กว่า40 ปีที่ผ่านมา ทําให้ได้เห็นโครงการต่าง ๆ ที่ทรงริเริ่ม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลายด้าน รัฐบาลนี้จึงสานต่อเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวบรวมละเอียด และเสนอเพื่อขอเข้ารับการสนับสนุนจากภาครัฐ และมอบให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและลงมาตรวจพื้นที่ในวันนี้ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับไปดูแลเพื่อให้การช่วยเหลือทางด้านเทคนิค กระบวนการผลิต และช่วยส่งเสริมด้านการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน พร้อมแนะนําเกษตรกรว่าไม่ควรปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่ควรปลูกพืชแบบผสมผสาน อีกทั้ง ควรมีการรวมกลุ่มทําเกษตรแปลงใหญ่แบบครบวงจรเพื่อแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตร จากนั้น นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะเดินทางต่อไปยังศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นประธานการประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาแม่ฮ่องสอน .................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9433
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 เวลา 20.15 น. ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีร่วมแสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้ชนะการโหวตจากเวทีTravel Bulletin เรียกว่ารางวัลSTAR AWARDS2018 ซึ่งบรรดาผู้ประกอบการท่องเที่ยวในสหราชอาณาจักรยกให้ประเทศไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ดีทีสุด อีกทั้งยังเป็นลําดับที่ 2 ในประเภท“หลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์”เพื่อสนับสนุนกิจกรรมและ บริการด้านการท่องเที่ยวทั้งนี้Travel Bulletinเป็นนิตยสารชั้นนําในสหราชอาณาจักร ที่นําเสนอข่าวสารในแวดวงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตลอดจนการจัดทํากิจกรรมการฝึกอบรมต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า หลังจากที่ประเทศไทยได้รับการโหวต ให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดจากนิตยสารท่องเที่ยวชั้นนําสหรัฐฯ นอกจากจะช่วยตลาดภายในประเทศแล้ว ยังมีการส่งเสริมให้ไทยเที่ยวไทย ซึ่งเป็นอีกนโยบายที่รัฐบาลให้ความสําคัญมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ลงท้องถิ่นให้มากที่สุด พร้อมทั้งเกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในทุกระดับ ตลอดจนห่วงโซ่อุปทานได้แก่ นโยบาย“เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีได้”ตลอดปี 2561โดยพี่น้องประชาชนสามารถนําค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอาหารและค่าที่พัก ในการท่องเที่ยว 55 เมืองรอง มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000บาทต่อคน ซึ่งเหลือระยะเวลาอีกประมาณ 4 เดือน สําหรับการสํารวจปฏิทินท่องเที่ยวหรือหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและเทศกาลที่สําคัญ ๆ ของแต่ละจังหวัด รวมทั้งความสะอาดของห้องน้ําและสถานที่ท่องเที่ยวให้พร้อมต้อนรับผู้มาเยือน ทั้งนี้จะได้สร้างความประทับใจ จนอยากกลับมาเยือนใหม่ สําหรับด้านการกระจายรายได้และการส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่น นอกจากการท่องเที่ยวแล้วรัฐบาลยังส่งเสริมวงจรเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้กระจายไปทั่วทั้งประเทศ โดยส่งเสริมการตั้งตลาดประชารัฐเพื่อให้เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มีสถานประกอบการได้มีพื้นที่ค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าในตลาดประชารัฐ 10 ประเภท จากหลายกระทรวง กว่า 6,600 แห่งทั่วไทย รวมทั้งเป็นแหล่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร สินค้าชุมชนต่าง ๆ อีกด้วย และตลอดระยะเวลา 8 เดือน ได้มีผู้ผลิตเกษตรกรและผู้ประกอบการ มาลงทะเบียนเพื่อนําสินค้ามาขายในตลาด กว่า 1 แสนราย ซึ่งรับการจัดสรรพื้นที่จําหน่ายแล้ว กว่า 96,000 ราย (หรือ ร้อยละ 91) ส่งผลให้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ฐานรากได้กว่า 1,200 ล้านบาท หรือสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เฉลี่ยกว่า 1,800 บาท ต่อเดือน อีกทั้งตลาดประชารัฐจะเป็นตลาดต้นแบบในอนาคต ที่จะเน้นการสร้างมาตรฐานใหม่ โดยมีการตรวจมาตรฐานเป็นระยะ ๆ ซึ่งปัจจุบันได้มีตลาดที่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลระดับดีมากและระดับดีร้อยละ 37 โดยมีเพียงร้อยละ 19 ที่ต้องได้รับการปรับปรุงต่อไป นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมเยาวชนไทยที่สามารถเป็นเจ้าเหรียญทอง ในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 2 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งมีเยาวชนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม 300 กว่าคน เป็นเยาวชนไทย 52 คน แข่งขันกันใน 26 สาขา 6 กลุ่มสาขาอาชีพ ได้แก่ กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีการสื่อสาร แฟชั่นและครีเอทีฟ ขนส่งและโลจิสติกส์ เทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร รวมทั้งกลุ่มสาขาบริการส่วนบุคคลและสังคมโดยครั้งนี้เยาวชนของไทยสามารถคว้าเหรียญทองทั้งหมด 16 เหรียญ เหรียญเงิน 4 เหรียญเหรียญทองแดง 3 เหรียญ และเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมอีก 13 เหรียญ รวมทั้งหมด 36 รางวัล ตามลําดับ นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ําว่า เนื่องในวันที่ 24 กันยายน 2561 ถือเป็นวันมหิดล หรือวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกที่ได้ทรงมีคุณูปการต่อปวงชน ชาวไทย โดยได้ประกอบพระราชกรณียกิจมากมายที่เป็นประโยชน์ แก่วงการแพทย์และการสาธารณสุข ของประเทศไทย พร้อมช่วยเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์อีกทั้งได้ทรงพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์และการสาธารณสุขไทย ให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ตอนท้ายของรายการฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงอีกหนึ่งกิจกรรม เพื่อเป็นการน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมราชชนกที่มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างใหญ่หลวง จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกันบริจาคเงินเพื่อนําไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์ผ่าตัดตา พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อดูเนื้อเยื่อขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องเอกซเรย์ที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัด และกล้องส่องทางเดินอาหาร เพื่อช่วยให้การรักษาแก่ผู้ป่วยด้อยโอกาสที่โรงพยาบาลศิริราช โดยทางกลุ่มนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล รวมทั้งคณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะออกรับบริจาค พร้อมกับมอบ “ธงวันมหิดล” ให้เป็นที่ระลึกแก่พี่น้องประชาชนทุกภาคส่วนที่มีจิตอันเป็นกุศลร่วมบริจาคทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง หรือผู้ที่สนใจสามารถร่วมเป็นผู้ให้ในครั้งนี้ได้ที่ “ศิริราชมูลนิธิ” ภายในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ......................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 เวลา 20.15 น. ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีร่วมแสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้ชนะการโหวตจากเวทีTravel Bulletin เรียกว่ารางวัลSTAR AWARDS2018 ซึ่งบรรดาผู้ประกอบการท่องเที่ยวในสหราชอาณาจักรยกให้ประเทศไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ดีทีสุด อีกทั้งยังเป็นลําดับที่ 2 ในประเภท“หลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์”เพื่อสนับสนุนกิจกรรมและ บริการด้านการท่องเที่ยวทั้งนี้Travel Bulletinเป็นนิตยสารชั้นนําในสหราชอาณาจักร ที่นําเสนอข่าวสารในแวดวงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตลอดจนการจัดทํากิจกรรมการฝึกอบรมต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า หลังจากที่ประเทศไทยได้รับการโหวต ให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดจากนิตยสารท่องเที่ยวชั้นนําสหรัฐฯ นอกจากจะช่วยตลาดภายในประเทศแล้ว ยังมีการส่งเสริมให้ไทยเที่ยวไทย ซึ่งเป็นอีกนโยบายที่รัฐบาลให้ความสําคัญมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ลงท้องถิ่นให้มากที่สุด พร้อมทั้งเกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในทุกระดับ ตลอดจนห่วงโซ่อุปทานได้แก่ นโยบาย“เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีได้”ตลอดปี 2561โดยพี่น้องประชาชนสามารถนําค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอาหารและค่าที่พัก ในการท่องเที่ยว 55 เมืองรอง มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000บาทต่อคน ซึ่งเหลือระยะเวลาอีกประมาณ 4 เดือน สําหรับการสํารวจปฏิทินท่องเที่ยวหรือหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและเทศกาลที่สําคัญ ๆ ของแต่ละจังหวัด รวมทั้งความสะอาดของห้องน้ําและสถานที่ท่องเที่ยวให้พร้อมต้อนรับผู้มาเยือน ทั้งนี้จะได้สร้างความประทับใจ จนอยากกลับมาเยือนใหม่ สําหรับด้านการกระจายรายได้และการส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่น นอกจากการท่องเที่ยวแล้วรัฐบาลยังส่งเสริมวงจรเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้กระจายไปทั่วทั้งประเทศ โดยส่งเสริมการตั้งตลาดประชารัฐเพื่อให้เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มีสถานประกอบการได้มีพื้นที่ค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าในตลาดประชารัฐ 10 ประเภท จากหลายกระทรวง กว่า 6,600 แห่งทั่วไทย รวมทั้งเป็นแหล่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร สินค้าชุมชนต่าง ๆ อีกด้วย และตลอดระยะเวลา 8 เดือน ได้มีผู้ผลิตเกษตรกรและผู้ประกอบการ มาลงทะเบียนเพื่อนําสินค้ามาขายในตลาด กว่า 1 แสนราย ซึ่งรับการจัดสรรพื้นที่จําหน่ายแล้ว กว่า 96,000 ราย (หรือ ร้อยละ 91) ส่งผลให้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ฐานรากได้กว่า 1,200 ล้านบาท หรือสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เฉลี่ยกว่า 1,800 บาท ต่อเดือน อีกทั้งตลาดประชารัฐจะเป็นตลาดต้นแบบในอนาคต ที่จะเน้นการสร้างมาตรฐานใหม่ โดยมีการตรวจมาตรฐานเป็นระยะ ๆ ซึ่งปัจจุบันได้มีตลาดที่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลระดับดีมากและระดับดีร้อยละ 37 โดยมีเพียงร้อยละ 19 ที่ต้องได้รับการปรับปรุงต่อไป นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมเยาวชนไทยที่สามารถเป็นเจ้าเหรียญทอง ในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 2 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งมีเยาวชนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม 300 กว่าคน เป็นเยาวชนไทย 52 คน แข่งขันกันใน 26 สาขา 6 กลุ่มสาขาอาชีพ ได้แก่ กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีการสื่อสาร แฟชั่นและครีเอทีฟ ขนส่งและโลจิสติกส์ เทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร รวมทั้งกลุ่มสาขาบริการส่วนบุคคลและสังคมโดยครั้งนี้เยาวชนของไทยสามารถคว้าเหรียญทองทั้งหมด 16 เหรียญ เหรียญเงิน 4 เหรียญเหรียญทองแดง 3 เหรียญ และเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมอีก 13 เหรียญ รวมทั้งหมด 36 รางวัล ตามลําดับ นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ําว่า เนื่องในวันที่ 24 กันยายน 2561 ถือเป็นวันมหิดล หรือวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกที่ได้ทรงมีคุณูปการต่อปวงชน ชาวไทย โดยได้ประกอบพระราชกรณียกิจมากมายที่เป็นประโยชน์ แก่วงการแพทย์และการสาธารณสุข ของประเทศไทย พร้อมช่วยเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์อีกทั้งได้ทรงพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์และการสาธารณสุขไทย ให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ตอนท้ายของรายการฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงอีกหนึ่งกิจกรรม เพื่อเป็นการน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมราชชนกที่มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างใหญ่หลวง จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกันบริจาคเงินเพื่อนําไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์ผ่าตัดตา พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อดูเนื้อเยื่อขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องเอกซเรย์ที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัด และกล้องส่องทางเดินอาหาร เพื่อช่วยให้การรักษาแก่ผู้ป่วยด้อยโอกาสที่โรงพยาบาลศิริราช โดยทางกลุ่มนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล รวมทั้งคณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะออกรับบริจาค พร้อมกับมอบ “ธงวันมหิดล” ให้เป็นที่ระลึกแก่พี่น้องประชาชนทุกภาคส่วนที่มีจิตอันเป็นกุศลร่วมบริจาคทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง หรือผู้ที่สนใจสามารถร่วมเป็นผู้ให้ในครั้งนี้ได้ที่ “ศิริราชมูลนิธิ” ภายในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ......................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15398
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK จับมือพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน จับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์เชื่อมผู้ส่งออก SMEs ไทยกับผู้นำเข้าใน CLMV และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 EXIM BANK จับมือพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน จับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์เชื่อมผู้ส่งออก SMEs ไทยกับผู้นําเข้าใน CLMV และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน EXIM BANK ร่วมกับ ธ.ก.ส. วว. และภาคีเครือข่ายพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชน จัดโครงการ “Global Business Matching 2020 : เปิดโลกการค้า เจรจาธุรกิจ พิชิตตลาดส่งออก” ณ โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 จับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และภาคีเครือข่ายพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กระทรวงสาธารณสุข และองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) จัดโครงการ “Global Business Matching 2020 : เปิดโลกการค้า เจรจาธุรกิจ พิชิตตลาดส่งออก” ณ โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 จับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching) เพื่อให้ผู้ส่งออก SMEs ไทยในภาคการเกษตรตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา เริ่มต้นหรือขยายการส่งออกไปยังตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ซึ่งยังมีกําลังซื้อและความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยอีกมาก ท่ามกลางการปรับตัวของผู้บริโภคและภาคธุรกิจจากผลกระทบของโควิด-19 เป็นการส่งเสริมการจ้างงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรของไทย ขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและการพัฒนาประเทศของไทยและภูมิภาคอาเซียน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. และประธานกรรมการ EXIM BANK กล่าวว่า จากเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับภาคการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สําคัญมีมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นําไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม โดยก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นสัดส่วนถึง 30% ของกําลังแรงงานทั้งประเทศ ครอบคลุมกว่า 6.4 ล้านครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่กว่า 40% ของประเทศไทย EXIM BANK จึงร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจในครั้งนี้ “ต่อยอด” จากกิจกรรมที่ได้ดําเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมาในการ “บ่มเพาะ” ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ภาคการเกษตรของไทยให้สามารถผลิตและส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตร และ “ยกระดับ” โดยประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในกระบวนการผลิตที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มและได้มาตรฐานสากล ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ช่วยให้สินค้าส่งออกของไทยแข่งขันได้และขยายตลาดในภูมิภาคได้มากขึ้น ภายใต้โครงการนี้ EXIM BANK ร่วมกับ ธ.ก.ส. และ วว. ดําเนินการ “บ่มเพาะ ยกระดับ และต่อยอด” อุตสาหกรรมเกษตรของไทยให้ส่งออกและแข่งขันได้ในตลาดการค้าโลก โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน กล่าวคือ ธ.ก.ส. พัฒนาเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร และผู้ประกอบการ SMEs ที่มีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้สามารถจําหน่ายได้ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรโดยความร่วมมือกับพันธมิตรเครือข่าย วว. นําความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs เกษตร ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล ขณะที่ EXIM BANK จะสนับสนุนใน 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลความรู้ บริการทางการเงินทั้งสินเชื่อและประกันความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ และเครือข่ายธุรกิจ ขณะที่ภาคีเครือข่ายพันธมิตรร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อยกระดับผู้ผลิตภาคการเกษตรให้ผันตัวเป็นผู้ส่งออกที่สามารถส่งมอบสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยเฉพาะใน CLMV และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ได้อย่างประสบความสําเร็จ ด้วยเครือข่ายทางธุรกิจที่เชื่อมโยงครบวงจร ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ส่งออและผู้ซื้อในต่างประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2562 ที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบความสําเร็จในการจับคู่ธุรกิจให้ผู้ประกอบการ SMEs ภาคการเกษตรส่งออกไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศเป็นมูลค่าการส่งออกรวมกว่า 500 ล้านบาท นับเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ ควบคู่กับการส่งเสริมภาคการเกษตรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างสมดุลและยั่งยืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 4120-4 EXIM Thailand Joins Hands with Public and Private Alliances in Online Business Matching between Thai SME Exporters and Importers in CLMV and Other ASEAN Countries Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand) has collaborated with Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC), Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR) and such affiliated network partners from the public and private sectors as the Federation of Thai Industries (F.T.I.), Office of Small and Medium Enterprises Promotion (OSMEP), Office of Agricultural Economics (OAE) of Ministry of Agriculture and Cooperatives, Department of Medical Sciences (DMSc) of Ministry of Public Health, and Hong Kong Trade Development Council (HKTDC) in launching the “Global Business Matching 2020: Open the World of Trade, Match Business, Penetrate Export Markets” program at Sofitel Bangkok Sukhumvit Hotel on August 7, 2020. Under the program, online business matching will be driven for Thai SME exporters in the agricultural sector throughout the business chain from upstream and midstream to downstream businesses aiming to start up or expand export to CLMV (Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam) and elsewhere in ASEAN where there is still high purchasing power and demand for Thai goods amid COVID-19 business disruption with which consumers and business sectors alike have to cope. This leads to the creation of jobs and valued-added agricultural products of Thailand that help drive the export growth and national development of Thailand and ASEAN countries. Mr. Supant Mongkolsuthree, Chairman of F.T.I. and EXIM Thailand, said that this program had been initiated with the common goal of uplifting Thai agricultural sector. This sector is the country’s key economic driver worth more than 1.2 trillion baht, representing 10% of the GDP and contributing to social and economic growth with labor employment of 30% of the country’s labor force for more than 6.4 million households and over 40% of the areas nationwide. EXIM Thailand has collaborated with its alliances in business matching activities as an “extension” from those duly carried out since 2019 to “incubate” SMEs in the farm sector through knowledge provision for enhancement of their capabilities so that they can produce and export farm-related products and “upgrade” their products by applying science, technologies and innovations in the production process to add value to the products to meet international standards and respond to demand of today consumers, and that they are empowered to better compete and expand their markets in the region to a greater extent. Under this program, EXIM Thailand, BAAC and TISTR “incubate, upgrade and extend” Thai agricultural sector with a view to expanding export and boosting competitiveness in the global trade markets, leveraging on each institution’s expertise. BAAC develops farmers, community enterprises, agricultural cooperatives and SMEs so that their farm products are marketable and salable with focus on enhancing efficiency of farm product value chain in collaboration with such alliance as TISTR. TISTR supports and promotes agricultural SMEs by applying know-how derived from scientific research, technology and innovation to the development of farm product and production process standards toward international standards. EXIM Thailand provides supports in three areas, i.e. knowledge base, credit and international trade insurance facilities, and business networking. Meanwhile, affiliated network partners support holding of activities to uplift agricultural SMEs’ capabilities and turn them into exporters who can deliver value-added goods to buyers abroad, particularly those in CLMV and others across ASEAN. The success of these endeavors is expected based on the integrated business networking from producers to exporters and buyers overseas. The achievement of this program in 2019 was reflected in the successful business matching of Thai agricultural SME exporters with foreign buyers recording export value of more than 500 million baht. The program thus represents comprehensive cooperation between the public and private sectors to build new exporters in conjunction with promotion of Thai farm sector toward sustainable growth, and drive Thai and ASEAN economic and social growth as well as environmental strength on a balanced and sustainable basis. For further information, please contact Sustainable Development and Corporate Communication Department Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 4120-4 https://bit.ly/2Dmmx86
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK จับมือพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน จับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์เชื่อมผู้ส่งออก SMEs ไทยกับผู้นำเข้าใน CLMV และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 EXIM BANK จับมือพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน จับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์เชื่อมผู้ส่งออก SMEs ไทยกับผู้นําเข้าใน CLMV และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน EXIM BANK ร่วมกับ ธ.ก.ส. วว. และภาคีเครือข่ายพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชน จัดโครงการ “Global Business Matching 2020 : เปิดโลกการค้า เจรจาธุรกิจ พิชิตตลาดส่งออก” ณ โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 จับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และภาคีเครือข่ายพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กระทรวงสาธารณสุข และองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) จัดโครงการ “Global Business Matching 2020 : เปิดโลกการค้า เจรจาธุรกิจ พิชิตตลาดส่งออก” ณ โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 จับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching) เพื่อให้ผู้ส่งออก SMEs ไทยในภาคการเกษตรตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา เริ่มต้นหรือขยายการส่งออกไปยังตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ซึ่งยังมีกําลังซื้อและความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยอีกมาก ท่ามกลางการปรับตัวของผู้บริโภคและภาคธุรกิจจากผลกระทบของโควิด-19 เป็นการส่งเสริมการจ้างงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรของไทย ขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและการพัฒนาประเทศของไทยและภูมิภาคอาเซียน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. และประธานกรรมการ EXIM BANK กล่าวว่า จากเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับภาคการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สําคัญมีมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นําไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม โดยก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นสัดส่วนถึง 30% ของกําลังแรงงานทั้งประเทศ ครอบคลุมกว่า 6.4 ล้านครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่กว่า 40% ของประเทศไทย EXIM BANK จึงร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจในครั้งนี้ “ต่อยอด” จากกิจกรรมที่ได้ดําเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมาในการ “บ่มเพาะ” ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ภาคการเกษตรของไทยให้สามารถผลิตและส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตร และ “ยกระดับ” โดยประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในกระบวนการผลิตที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มและได้มาตรฐานสากล ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ช่วยให้สินค้าส่งออกของไทยแข่งขันได้และขยายตลาดในภูมิภาคได้มากขึ้น ภายใต้โครงการนี้ EXIM BANK ร่วมกับ ธ.ก.ส. และ วว. ดําเนินการ “บ่มเพาะ ยกระดับ และต่อยอด” อุตสาหกรรมเกษตรของไทยให้ส่งออกและแข่งขันได้ในตลาดการค้าโลก โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน กล่าวคือ ธ.ก.ส. พัฒนาเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร และผู้ประกอบการ SMEs ที่มีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้สามารถจําหน่ายได้ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรโดยความร่วมมือกับพันธมิตรเครือข่าย วว. นําความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs เกษตร ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล ขณะที่ EXIM BANK จะสนับสนุนใน 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลความรู้ บริการทางการเงินทั้งสินเชื่อและประกันความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ และเครือข่ายธุรกิจ ขณะที่ภาคีเครือข่ายพันธมิตรร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อยกระดับผู้ผลิตภาคการเกษตรให้ผันตัวเป็นผู้ส่งออกที่สามารถส่งมอบสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยเฉพาะใน CLMV และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ได้อย่างประสบความสําเร็จ ด้วยเครือข่ายทางธุรกิจที่เชื่อมโยงครบวงจร ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ส่งออและผู้ซื้อในต่างประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2562 ที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบความสําเร็จในการจับคู่ธุรกิจให้ผู้ประกอบการ SMEs ภาคการเกษตรส่งออกไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศเป็นมูลค่าการส่งออกรวมกว่า 500 ล้านบาท นับเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ ควบคู่กับการส่งเสริมภาคการเกษตรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างสมดุลและยั่งยืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 4120-4 EXIM Thailand Joins Hands with Public and Private Alliances in Online Business Matching between Thai SME Exporters and Importers in CLMV and Other ASEAN Countries Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand) has collaborated with Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC), Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR) and such affiliated network partners from the public and private sectors as the Federation of Thai Industries (F.T.I.), Office of Small and Medium Enterprises Promotion (OSMEP), Office of Agricultural Economics (OAE) of Ministry of Agriculture and Cooperatives, Department of Medical Sciences (DMSc) of Ministry of Public Health, and Hong Kong Trade Development Council (HKTDC) in launching the “Global Business Matching 2020: Open the World of Trade, Match Business, Penetrate Export Markets” program at Sofitel Bangkok Sukhumvit Hotel on August 7, 2020. Under the program, online business matching will be driven for Thai SME exporters in the agricultural sector throughout the business chain from upstream and midstream to downstream businesses aiming to start up or expand export to CLMV (Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam) and elsewhere in ASEAN where there is still high purchasing power and demand for Thai goods amid COVID-19 business disruption with which consumers and business sectors alike have to cope. This leads to the creation of jobs and valued-added agricultural products of Thailand that help drive the export growth and national development of Thailand and ASEAN countries. Mr. Supant Mongkolsuthree, Chairman of F.T.I. and EXIM Thailand, said that this program had been initiated with the common goal of uplifting Thai agricultural sector. This sector is the country’s key economic driver worth more than 1.2 trillion baht, representing 10% of the GDP and contributing to social and economic growth with labor employment of 30% of the country’s labor force for more than 6.4 million households and over 40% of the areas nationwide. EXIM Thailand has collaborated with its alliances in business matching activities as an “extension” from those duly carried out since 2019 to “incubate” SMEs in the farm sector through knowledge provision for enhancement of their capabilities so that they can produce and export farm-related products and “upgrade” their products by applying science, technologies and innovations in the production process to add value to the products to meet international standards and respond to demand of today consumers, and that they are empowered to better compete and expand their markets in the region to a greater extent. Under this program, EXIM Thailand, BAAC and TISTR “incubate, upgrade and extend” Thai agricultural sector with a view to expanding export and boosting competitiveness in the global trade markets, leveraging on each institution’s expertise. BAAC develops farmers, community enterprises, agricultural cooperatives and SMEs so that their farm products are marketable and salable with focus on enhancing efficiency of farm product value chain in collaboration with such alliance as TISTR. TISTR supports and promotes agricultural SMEs by applying know-how derived from scientific research, technology and innovation to the development of farm product and production process standards toward international standards. EXIM Thailand provides supports in three areas, i.e. knowledge base, credit and international trade insurance facilities, and business networking. Meanwhile, affiliated network partners support holding of activities to uplift agricultural SMEs’ capabilities and turn them into exporters who can deliver value-added goods to buyers abroad, particularly those in CLMV and others across ASEAN. The success of these endeavors is expected based on the integrated business networking from producers to exporters and buyers overseas. The achievement of this program in 2019 was reflected in the successful business matching of Thai agricultural SME exporters with foreign buyers recording export value of more than 500 million baht. The program thus represents comprehensive cooperation between the public and private sectors to build new exporters in conjunction with promotion of Thai farm sector toward sustainable growth, and drive Thai and ASEAN economic and social growth as well as environmental strength on a balanced and sustainable basis. For further information, please contact Sustainable Development and Corporate Communication Department Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 4120-4 https://bit.ly/2Dmmx86
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34023
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรี สมชายฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมและให้คำปรึกษาถึงแนวทางการดำเนินการของหมู่บ้าน CIV ชุมชนบ้านดงน้อย จ.มหาสารคาม
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 รัฐมนตรี สมชายฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมและให้คําปรึกษาถึงแนวทางการดําเนินการของหมู่บ้าน CIV ชุมชนบ้านดงน้อย จ.มหาสารคาม นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมและให้คําปรึกษาถึงแนวทางการดําเนินการของหมู่บ้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) มหาสารคาม : วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 10.30 น. นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภานุวัตน์ ตริยางกรูศรี นายเอกภัทร วังสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมและให้คําปรึกษาถึงแนวทางการดําเนินการของหมู่บ้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) โดยได้เยี่ยมชมชุมชนบ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตําบลพระธาตุ อําเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นชุมชนที่รักษาวัฒนธรรม ยึดมั่นประเพณีและพิธีกรรมตามวิถีความเชื่อของชุมชน เช่น การเลี้ยงปู่ตา จัดขึ้นเพื่อขอบคุณและบูชาผีปู่ตาที่ดูแลคุ้มครองหมู่บ้านให้อยู่เป็นสุข ประเพณีและพิธีกรรมเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและการยึดมั่นในขนบธรรมเนียนวัฒนธรรมของชาวบ้านดงน้อยได้อย่างชัดเจน ชุมชนบ้านดงน้อย เป็นหนึ่งในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV)” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่พลิกโฉมการท่องเที่ยวและการสร้างสรรค์สินค้าผ่านการดึงเสน่ห์วิถีชุมชน โดยได้ประยุกต์นําทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาผสานกับเทคโนโลยี นวัตกรรม ก่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านดงน้อยมีบ้านพักโฮมสเตย์ที่สามารถสัมผัสได้ถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ชาวนครจําปาศรีในบรรยากาศหมู่บ้านที่เปี่ยมด้วยมิตรไมตรีใกล้ชิดผืนป่า สัมผัสวิถีชาวบ้านอย่างใกล้ชิดด้วยพิธีบายศรีสู่ขวัญ ชมการแสดงศิลปกรรมพื้นบ้าน ฟังเสียงพิณ โปงลางและการแสดงฟ้อนจําปาศรีที่ถือเป็นอัตลักษณ์ชุมชนของชาวบ้านดงน้อย ชมแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติร่วมปลูกต้นยางนาที่เป็นต้นไม้ประจําหมู่บ้าน พร้อมทั้งเข้าชมฐานการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือ กระเป๋าผ้า การแปรรูปตุ๊กตาของที่ระลึกจากไม้ การทําขนมและอาหารพื้นถิ่น เลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทําจากผ้าทอมือ กระเป๋าที่แปรรูปจากผ้าตุ๊กตาของที่ระลึกจากไม้ ชิมขนมไทยที่ทําโดยกลุ่มชาวบ้าน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย #หมู่บ้านCIV #กระทรวงอุตสาหกรรม #industryprmoi
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรี สมชายฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมและให้คำปรึกษาถึงแนวทางการดำเนินการของหมู่บ้าน CIV ชุมชนบ้านดงน้อย จ.มหาสารคาม วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 รัฐมนตรี สมชายฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมและให้คําปรึกษาถึงแนวทางการดําเนินการของหมู่บ้าน CIV ชุมชนบ้านดงน้อย จ.มหาสารคาม นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมและให้คําปรึกษาถึงแนวทางการดําเนินการของหมู่บ้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) มหาสารคาม : วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 10.30 น. นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภานุวัตน์ ตริยางกรูศรี นายเอกภัทร วังสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมและให้คําปรึกษาถึงแนวทางการดําเนินการของหมู่บ้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) โดยได้เยี่ยมชมชุมชนบ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตําบลพระธาตุ อําเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นชุมชนที่รักษาวัฒนธรรม ยึดมั่นประเพณีและพิธีกรรมตามวิถีความเชื่อของชุมชน เช่น การเลี้ยงปู่ตา จัดขึ้นเพื่อขอบคุณและบูชาผีปู่ตาที่ดูแลคุ้มครองหมู่บ้านให้อยู่เป็นสุข ประเพณีและพิธีกรรมเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและการยึดมั่นในขนบธรรมเนียนวัฒนธรรมของชาวบ้านดงน้อยได้อย่างชัดเจน ชุมชนบ้านดงน้อย เป็นหนึ่งในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV)” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่พลิกโฉมการท่องเที่ยวและการสร้างสรรค์สินค้าผ่านการดึงเสน่ห์วิถีชุมชน โดยได้ประยุกต์นําทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาผสานกับเทคโนโลยี นวัตกรรม ก่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านดงน้อยมีบ้านพักโฮมสเตย์ที่สามารถสัมผัสได้ถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ชาวนครจําปาศรีในบรรยากาศหมู่บ้านที่เปี่ยมด้วยมิตรไมตรีใกล้ชิดผืนป่า สัมผัสวิถีชาวบ้านอย่างใกล้ชิดด้วยพิธีบายศรีสู่ขวัญ ชมการแสดงศิลปกรรมพื้นบ้าน ฟังเสียงพิณ โปงลางและการแสดงฟ้อนจําปาศรีที่ถือเป็นอัตลักษณ์ชุมชนของชาวบ้านดงน้อย ชมแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติร่วมปลูกต้นยางนาที่เป็นต้นไม้ประจําหมู่บ้าน พร้อมทั้งเข้าชมฐานการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือ กระเป๋าผ้า การแปรรูปตุ๊กตาของที่ระลึกจากไม้ การทําขนมและอาหารพื้นถิ่น เลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทําจากผ้าทอมือ กระเป๋าที่แปรรูปจากผ้าตุ๊กตาของที่ระลึกจากไม้ ชิมขนมไทยที่ทําโดยกลุ่มชาวบ้าน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย #หมู่บ้านCIV #กระทรวงอุตสาหกรรม #industryprmoi
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18525
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มติ กคศ.ที่ประชุม (29 มีนาคม 2560) เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการสอบครูผู้ช่วย
วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560 มติ กคศ.ที่ประชุม (29 มีนาคม 2560) เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการสอบครูผู้ช่วย เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการสอบครูผู้ช่วย 1. การนับหน่วยกิต กรณีชื่อวิชาเอกไม่ตรงกัน ให้นับ30หน่วยกิต(คงเดิม) แต่ไม่ต้องพิจารณาว่าต้องได้เกรดCในวิชาที่มานับหน่วยกิต (มติใหม่) 2. การใช้เอกสารรับรองในการประกอบวิชาชีพ ที่คุรุสภาเคยออกให้4ใบ - เดิม แจ้งว่าใช้ได้ 3ใบ - แนวปฏิบัติเพิ่มเติม ใช้ได้ทั้ง4ใบ 3.สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาในปีนี้ และอยู่ระหว่างที่มหาวิทยาลัยขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ใช้หลักฐานการขอขึ้นทะเบียนที่สามารถPrint out จากเว็บฯคุรุสภาแทนได้ และให้รับรองสําเนาถูกต้อง คุรุสภาจะออกหลักฐานใบรับรองตัวจริงให้ภายในวันที่4 เม.ย.60 ก่อนเที่ยงคืน ดังนั้นกศจ.อาจอํานวยความสะดวกให้สมัครก่อนกรณีที่ยังไม่มีหลักฐานใดๆ แล้วจึงให้ส่งเอกสารมาภายหลัง แต่ทั้งนี้เอกสารทุกรายการต้องออกไม่หลังวันที่4 เม.ย.60
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มติ กคศ.ที่ประชุม (29 มีนาคม 2560) เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการสอบครูผู้ช่วย วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560 มติ กคศ.ที่ประชุม (29 มีนาคม 2560) เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการสอบครูผู้ช่วย เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการสอบครูผู้ช่วย 1. การนับหน่วยกิต กรณีชื่อวิชาเอกไม่ตรงกัน ให้นับ30หน่วยกิต(คงเดิม) แต่ไม่ต้องพิจารณาว่าต้องได้เกรดCในวิชาที่มานับหน่วยกิต (มติใหม่) 2. การใช้เอกสารรับรองในการประกอบวิชาชีพ ที่คุรุสภาเคยออกให้4ใบ - เดิม แจ้งว่าใช้ได้ 3ใบ - แนวปฏิบัติเพิ่มเติม ใช้ได้ทั้ง4ใบ 3.สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาในปีนี้ และอยู่ระหว่างที่มหาวิทยาลัยขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ใช้หลักฐานการขอขึ้นทะเบียนที่สามารถPrint out จากเว็บฯคุรุสภาแทนได้ และให้รับรองสําเนาถูกต้อง คุรุสภาจะออกหลักฐานใบรับรองตัวจริงให้ภายในวันที่4 เม.ย.60 ก่อนเที่ยงคืน ดังนั้นกศจ.อาจอํานวยความสะดวกให้สมัครก่อนกรณีที่ยังไม่มีหลักฐานใดๆ แล้วจึงให้ส่งเอกสารมาภายหลัง แต่ทั้งนี้เอกสารทุกรายการต้องออกไม่หลังวันที่4 เม.ย.60
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2725
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีระบุ หลักการใช้จ่ายเงินชัดเจน “รักษา/เยียวยา/ฟื้นฟู” ยึดกฎหมาย ไม่ซ้ำซ้อน หวังช่วยเหลือการดำรงชีวิตของประชาชน ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2563 นายกรัฐมนตรีระบุ หลักการใช้จ่ายเงินชัดเจน “รักษา/เยียวยา/ฟื้นฟู” ยึดกฎหมาย ไม่ซ้ําซ้อน หวังช่วยเหลือการดํารงชีวิตของประชาชน ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 นายกรัฐมนตรีระบุ หลักการใช้จ่ายเงินชัดเจน “รักษา/เยียวยา/ฟื้นฟู” ยึดกฎหมาย ไม่ซ้ําซ้อน หวังช่วยเหลือการดํารงชีวิตของประชาชน ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 วันนี้ (28 พ.ค.63) เวลา 16.15 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจําปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงการช่วยเหลือคนไทยกลับจากต่างประเทศ การช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา มาตรการช่วยเหลือ SMEsการแก้ไขปัญหาภาคใต้ และ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นที่จะต้องทยอยนําคนไทยในต่างประเทศเดินทางกลับไทยว่า รัฐบาลจําเป็นต้องให้คนไทยในต่างประเทศทยอยเดินทางกลับไทยผ่านช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและเข้าสู่สถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ โดยรัฐเป็นผู้ดูแลทั้งหมด ซึ่งไม่สนับสนุนการลักลอบข้ามแดนผ่านแดน แต่ก็ได้มีมาตรการผ่อนปรน เช่น การลดค่าปรับจาก 2,000 บาท เหลือ 800 บาท ในส่วนการจะเพิ่มจํานวนผู้เข้ามาจากต่างประเทศต้องคํานึงให้เพียงพอกับขีดความสามารถในการจัดสถานที่กักกันที่ควบคุมทั้งของรัฐและภาคเอกชน รวมทั้งขีดความความสามารถในการรักษาด้วย ขอยืนยันว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะรัฐบาลถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย เพราะเป็นกฎหมายของคนทั้งประเทศ นายกรัฐมนตรีย้ําว่า เข้าใจถึงความยากลําบากของพี่น้องประชาชนและพร้อมจะดูแลการจ่ายเงินให้เหมาะสม รวมทั้งสิทธิประโยชน์ของ อสม. ด้วย ขณะนี้ยังไม่มีการใช้เงินงบประมาณ 45,000 ล้านบาท เพราะเตรียมพร้อมไว้สําหรับมาตรการสาธารณสุขที่อาจจะยืดยาวต่อไป ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเฝ้าระวังมิให้เกิดการทุจริต นายกรัฐมนตรีย้ําว่าทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษี สําหรับการใช้หนี้ ต้องพยายามทําหนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ให้ประเทศก้าวหน้า เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิตมากขึ้น เพื่อมีกําลังทรัพย์มาเสียภาษี ซึ่งหนี้จํานวนนี้ก็ไม่ได้เกิดในสมัยรัฐบาลชุดนี้แต่สะสมมาก่อนหน้าแล้ว 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ รัฐบาลทําให้จนเหลือ 41 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่กลับขึ้นถึง 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ เพราะจะนําเงินจํานวนนี้มาเพื่อรักษา เยียวยา ฟื้นฟู ให้ประเทศเข้มแข็งขึ้นต่อไป โดยกําหนดกรอบวิธีการบริหารชัดเจนตามกฎหมาย การจะให้รัฐบาลจ่ายเงินให้เร็วก็ต้องลงทะเบียนถูกต้อง รัฐบาลพร้อมจ่ายเงินทั้งหมดแต่ต้องไม่ซ้ําซ้อน เพราะเงินจํานวนนี้ให้เพื่อการดํารงชีพช่วงเกิดสถานการณ์โควิด เป็นเงินดํารงชีพ 3 เดือน สําหรับหลักคิดของรัฐบาลถ้าจะใช้เงินมาก ก็ต้องคิดว่าจะหาเงินมาจากไหนอย่างไร เรียนรู้การปรับเปลี่ยนพัฒนาตนเองด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวมีความเข้าใจและเห็นใจนักศึกษา พยายามหาทางทยอยให้การช่วยเหลือทีละส่วน เช่น คนที่อยู่ในระบบ คนที่ขึ้นทะเบียน เพื่อลดจํานวนการใช้จ่ายลง รวมทั้งมอบนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการ ไปพิจารณาการสอนการเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งโรงเรียนยังเปิดไม่ได้ เพื่อไม่ให้นักเรียนลืมโรงเรียน ลืมการเรียน จึงให้มีการเรียนออนไลน์ เรียนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดูแลค่าใช้จ่าย นายกรัฐมนตรีชี้แจงความจําเป็นของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 นั้นมอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปพิจารณาซึ่งแต่ละจังหวัดอาจมีผลกระทบจากโควิด-19 แตกต่างกัน จึงจําเป็นต้องมีกฎหมายกลางให้การดูแล ปฏิบัติและข้อห้ามต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน หากไม่มีการใช้กฎหมายกลางจะเกิดความสับสนอลหม่าน ทั้งนี้ การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ได้ผลลัพธ์ที่ดี มีคนป่วยไม่มาก ผู้ติดเชื้อน้อยลง แต่รัฐบาลยังไม่สามารถวางใจสถานการณ์เพราะไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไรจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียืนยันให้ความสําคัญในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ โดยแยกการบริหารภาคเป็น 6 ภาค และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอีก 1 ภาค มีโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจใหม่ภาคใต้ มีการสร้างความเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ส่วนที่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินภาคใต้ เพราะสถานการณ์ยังไม่ยุติ ยังคงมีการลักลอบทําร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์และเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินภาคใต้นั้น ไม่ได้ห้ามการเดินทางของประชาชน จะใช้เฉพาะมีเหตุจําเป็นเพราะต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของคนจํานวนมาก มีการปรับใช้ตามความหนักเบา นายกรัฐมนตรียืนยันไม่ต้องการให้ธุรกิจปิดกิจการหรือเลิกการจ้างงาน รัฐบาลจึงมีมาตรการช่วยเหลือ SMEs ให้ฟื้นฟูศักยภาพกลับให้ได้รวดเร็ว เมื่อเปิดกิจการต้องมีรายได้กลับเข้ามา สําหรับ SMEs ที่กําลังจะล้มก็มีแผนการฟื้นฟู รวมทั้งดูแลสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการใหม่ที่ยังไม่เข้มแข็งด้วย ด้วยการใช้งบประมาณปี 63 – 65 โดยมีกองทุนเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ กองทุน SMEs รวมทั้งให้ SMEs เข้าถึงอีกหลายกองทุน ขณะเดียวกันก็ปรับความรู้ การทําบัญชี ระบบภาษี นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า หากทุกคนช่วยกัน โดยไม่ถือว่าเป็นฝ่ายใด เพื่อส่งต่อวันนี้เพื่อให้เข้มแข็งต่อไปในวันหน้า ประเทศไทยก็จะไปข้างหน้าได้ ---------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีระบุ หลักการใช้จ่ายเงินชัดเจน “รักษา/เยียวยา/ฟื้นฟู” ยึดกฎหมาย ไม่ซ้ำซ้อน หวังช่วยเหลือการดำรงชีวิตของประชาชน ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2563 นายกรัฐมนตรีระบุ หลักการใช้จ่ายเงินชัดเจน “รักษา/เยียวยา/ฟื้นฟู” ยึดกฎหมาย ไม่ซ้ําซ้อน หวังช่วยเหลือการดํารงชีวิตของประชาชน ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 นายกรัฐมนตรีระบุ หลักการใช้จ่ายเงินชัดเจน “รักษา/เยียวยา/ฟื้นฟู” ยึดกฎหมาย ไม่ซ้ําซ้อน หวังช่วยเหลือการดํารงชีวิตของประชาชน ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 วันนี้ (28 พ.ค.63) เวลา 16.15 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจําปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงการช่วยเหลือคนไทยกลับจากต่างประเทศ การช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา มาตรการช่วยเหลือ SMEsการแก้ไขปัญหาภาคใต้ และ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นที่จะต้องทยอยนําคนไทยในต่างประเทศเดินทางกลับไทยว่า รัฐบาลจําเป็นต้องให้คนไทยในต่างประเทศทยอยเดินทางกลับไทยผ่านช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและเข้าสู่สถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ โดยรัฐเป็นผู้ดูแลทั้งหมด ซึ่งไม่สนับสนุนการลักลอบข้ามแดนผ่านแดน แต่ก็ได้มีมาตรการผ่อนปรน เช่น การลดค่าปรับจาก 2,000 บาท เหลือ 800 บาท ในส่วนการจะเพิ่มจํานวนผู้เข้ามาจากต่างประเทศต้องคํานึงให้เพียงพอกับขีดความสามารถในการจัดสถานที่กักกันที่ควบคุมทั้งของรัฐและภาคเอกชน รวมทั้งขีดความความสามารถในการรักษาด้วย ขอยืนยันว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะรัฐบาลถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย เพราะเป็นกฎหมายของคนทั้งประเทศ นายกรัฐมนตรีย้ําว่า เข้าใจถึงความยากลําบากของพี่น้องประชาชนและพร้อมจะดูแลการจ่ายเงินให้เหมาะสม รวมทั้งสิทธิประโยชน์ของ อสม. ด้วย ขณะนี้ยังไม่มีการใช้เงินงบประมาณ 45,000 ล้านบาท เพราะเตรียมพร้อมไว้สําหรับมาตรการสาธารณสุขที่อาจจะยืดยาวต่อไป ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเฝ้าระวังมิให้เกิดการทุจริต นายกรัฐมนตรีย้ําว่าทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษี สําหรับการใช้หนี้ ต้องพยายามทําหนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ให้ประเทศก้าวหน้า เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิตมากขึ้น เพื่อมีกําลังทรัพย์มาเสียภาษี ซึ่งหนี้จํานวนนี้ก็ไม่ได้เกิดในสมัยรัฐบาลชุดนี้แต่สะสมมาก่อนหน้าแล้ว 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ รัฐบาลทําให้จนเหลือ 41 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่กลับขึ้นถึง 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ เพราะจะนําเงินจํานวนนี้มาเพื่อรักษา เยียวยา ฟื้นฟู ให้ประเทศเข้มแข็งขึ้นต่อไป โดยกําหนดกรอบวิธีการบริหารชัดเจนตามกฎหมาย การจะให้รัฐบาลจ่ายเงินให้เร็วก็ต้องลงทะเบียนถูกต้อง รัฐบาลพร้อมจ่ายเงินทั้งหมดแต่ต้องไม่ซ้ําซ้อน เพราะเงินจํานวนนี้ให้เพื่อการดํารงชีพช่วงเกิดสถานการณ์โควิด เป็นเงินดํารงชีพ 3 เดือน สําหรับหลักคิดของรัฐบาลถ้าจะใช้เงินมาก ก็ต้องคิดว่าจะหาเงินมาจากไหนอย่างไร เรียนรู้การปรับเปลี่ยนพัฒนาตนเองด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวมีความเข้าใจและเห็นใจนักศึกษา พยายามหาทางทยอยให้การช่วยเหลือทีละส่วน เช่น คนที่อยู่ในระบบ คนที่ขึ้นทะเบียน เพื่อลดจํานวนการใช้จ่ายลง รวมทั้งมอบนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการ ไปพิจารณาการสอนการเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งโรงเรียนยังเปิดไม่ได้ เพื่อไม่ให้นักเรียนลืมโรงเรียน ลืมการเรียน จึงให้มีการเรียนออนไลน์ เรียนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดูแลค่าใช้จ่าย นายกรัฐมนตรีชี้แจงความจําเป็นของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 นั้นมอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปพิจารณาซึ่งแต่ละจังหวัดอาจมีผลกระทบจากโควิด-19 แตกต่างกัน จึงจําเป็นต้องมีกฎหมายกลางให้การดูแล ปฏิบัติและข้อห้ามต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน หากไม่มีการใช้กฎหมายกลางจะเกิดความสับสนอลหม่าน ทั้งนี้ การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ได้ผลลัพธ์ที่ดี มีคนป่วยไม่มาก ผู้ติดเชื้อน้อยลง แต่รัฐบาลยังไม่สามารถวางใจสถานการณ์เพราะไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไรจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียืนยันให้ความสําคัญในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ โดยแยกการบริหารภาคเป็น 6 ภาค และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอีก 1 ภาค มีโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจใหม่ภาคใต้ มีการสร้างความเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ส่วนที่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินภาคใต้ เพราะสถานการณ์ยังไม่ยุติ ยังคงมีการลักลอบทําร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์และเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินภาคใต้นั้น ไม่ได้ห้ามการเดินทางของประชาชน จะใช้เฉพาะมีเหตุจําเป็นเพราะต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของคนจํานวนมาก มีการปรับใช้ตามความหนักเบา นายกรัฐมนตรียืนยันไม่ต้องการให้ธุรกิจปิดกิจการหรือเลิกการจ้างงาน รัฐบาลจึงมีมาตรการช่วยเหลือ SMEs ให้ฟื้นฟูศักยภาพกลับให้ได้รวดเร็ว เมื่อเปิดกิจการต้องมีรายได้กลับเข้ามา สําหรับ SMEs ที่กําลังจะล้มก็มีแผนการฟื้นฟู รวมทั้งดูแลสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการใหม่ที่ยังไม่เข้มแข็งด้วย ด้วยการใช้งบประมาณปี 63 – 65 โดยมีกองทุนเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ กองทุน SMEs รวมทั้งให้ SMEs เข้าถึงอีกหลายกองทุน ขณะเดียวกันก็ปรับความรู้ การทําบัญชี ระบบภาษี นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า หากทุกคนช่วยกัน โดยไม่ถือว่าเป็นฝ่ายใด เพื่อส่งต่อวันนี้เพื่อให้เข้มแข็งต่อไปในวันหน้า ประเทศไทยก็จะไปข้างหน้าได้ ---------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31647
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562
วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2562 ทส.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 ทส.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 ทส.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 วันที่ 5 ธันวาคม 2562 เวลาประมาณ 10.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงฯ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 เพื่อแสดงออกถึง ความจงรักภักดีและน้อมรําลึกในพระ มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และภริยา ประธานในพิธี นําคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ชมนิทรรศการอนุรักษ์ดิน กระบวนการทําดินปุ๋ย ร่วมทําดินปุ๋ยบํารุงต้นไม้ และแจกจ่ายดินปุ๋ยให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อนําไปบํารุงต้นไม้ในหน่วยงาน และบริเวณท้องสนามหลวง เสร็จแล้ว เยี่ยมชมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบริการประชาชน บริเวณ "ชุมชนต้นแบบแห่งความดี...วิถีไทยในแบบพ่อ" โดยโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยปลัดกระทรวงฯ ร่วมแจกกล้าไม้ ให้แก่ประชาชนที่มาร่วมงาน ณ บูธกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2562 ทส.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 ทส.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 ทส.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 วันที่ 5 ธันวาคม 2562 เวลาประมาณ 10.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงฯ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2562 เพื่อแสดงออกถึง ความจงรักภักดีและน้อมรําลึกในพระ มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และภริยา ประธานในพิธี นําคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ชมนิทรรศการอนุรักษ์ดิน กระบวนการทําดินปุ๋ย ร่วมทําดินปุ๋ยบํารุงต้นไม้ และแจกจ่ายดินปุ๋ยให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อนําไปบํารุงต้นไม้ในหน่วยงาน และบริเวณท้องสนามหลวง เสร็จแล้ว เยี่ยมชมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบริการประชาชน บริเวณ "ชุมชนต้นแบบแห่งความดี...วิถีไทยในแบบพ่อ" โดยโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยปลัดกระทรวงฯ ร่วมแจกกล้าไม้ ให้แก่ประชาชนที่มาร่วมงาน ณ บูธกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25082
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีและภริยา ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปีพุทธศักราช 2562
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2562 นายกรัฐมนตรีและภริยา ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจําปีพุทธศักราช 2562 นายกรัฐมนตรีและภริยา ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจําปีพุทธศักราช 2562 วันนี้ (12 สิงหาคม 2562) เวลา 08.00 น. ณ ห้องแดง อาคารหน่วยราชการในพระองค์ 904 ในพระบรมมหาราชวัง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจําปีพุทธศักราช 2562 เมื่อนายกรัฐมนตรีและภริยาเดินทางถึงห้องแดง นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรีและภริยา ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จากนั้น นายกรัฐมนตรีถวายแจกันดอกไม้ จํานวน 2 แจกัน ในนามนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และในนามของนายกรัฐมนตรีและภริยา ณ โต๊ะด้านหน้าพระฉายาลักษณ์ฯ แล้วภริยานายกรัฐมนตรีถวายแจกันดอกไม้ ในนามคู่สมรสคณะรัฐมนตรี ณ โต๊ะด้านหน้าพระฉายาลักษณ์ฯ จากนั้น นายกรัฐมนตรีและภริยาลงนามถวายพระพร นายกรัฐมนตรีและภริยา รองนายกรัฐมนตรีและภริยา ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์ฯ เสร็จพิธี --------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีและภริยา ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปีพุทธศักราช 2562 วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2562 นายกรัฐมนตรีและภริยา ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจําปีพุทธศักราช 2562 นายกรัฐมนตรีและภริยา ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจําปีพุทธศักราช 2562 วันนี้ (12 สิงหาคม 2562) เวลา 08.00 น. ณ ห้องแดง อาคารหน่วยราชการในพระองค์ 904 ในพระบรมมหาราชวัง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจําปีพุทธศักราช 2562 เมื่อนายกรัฐมนตรีและภริยาเดินทางถึงห้องแดง นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรีและภริยา ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จากนั้น นายกรัฐมนตรีถวายแจกันดอกไม้ จํานวน 2 แจกัน ในนามนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และในนามของนายกรัฐมนตรีและภริยา ณ โต๊ะด้านหน้าพระฉายาลักษณ์ฯ แล้วภริยานายกรัฐมนตรีถวายแจกันดอกไม้ ในนามคู่สมรสคณะรัฐมนตรี ณ โต๊ะด้านหน้าพระฉายาลักษณ์ฯ จากนั้น นายกรัฐมนตรีและภริยาลงนามถวายพระพร นายกรัฐมนตรีและภริยา รองนายกรัฐมนตรีและภริยา ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์ฯ เสร็จพิธี --------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22152
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การท่าเรือแห่งประเทศไทยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งท่าเทียบเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสำราญ
วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2560 การท่าเรือแห่งประเทศไทยดําเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งท่าเทียบเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสําราญ เรือเอก สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อํานวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้จ้างกิจการค้าร่วม ดับบลิวอี แอนด์ เอ็นเอเอ ดําเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น เพื่อจัดตั้งท่าเทียบเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสําราญ บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) รวมทั้งพื้นที่อื่นในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ํา โดยการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ําในภูมิภาคอาเซียน เพื่อช่วยสร้างรายได้ประชากร กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รองรับการให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับรูปแบบการเดินทางโดยเรือสําราญ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ คาดว่าจะทราบพื้นที่สําหรับจัดตั้งท่าเทียบเรือฯ ภายในปี 2561 แผนจัดตั้งท่าเทียบเรือฯ ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการขยายกิจการท่าเรือและธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวทางเรือในระยะยาว และเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ํา การเพิ่มท่าเทียบเรือสําราญให้สามารถรองรับเรือสําราญขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบของท่าเรือหลัก (Home Port) และท่าเรือแวะพัก (Port of Call) ซึ่งปัจจุบัน กทท. มีท่าเรือสําหรับรองรับเรือสําราญ จํานวน 2 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรือ A1 ณ ทลฉ. และบริเวณท่าเทียบเรือ OB ณ ทกท. ทั้งนี้ กทท. จะศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ โอกาสทางธุรกิจ ความคุ้มค่าการลงทุน และการวางแผนทางธุรกิจ เพื่อประกอบการบูรณาการแผนพัฒนาการสร้างท่าเทียบเรือสําราญต่อไป กทท. มั่นใจว่าท่าเทียบเรือฯ ที่จะดําเนินการในอนาคต จะมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และสาธารณูปโภคที่สะดวกครบครัน ปลอดภัย เพื่อรองรับการให้บริการเรือสําราญ การขนส่งนักท่องเที่ยวเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นในได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่สายการเดินเรือจะพิจารณาคัดเลือกท่าเทียบเรือ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางเรือของอาเซียน และจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การท่าเรือแห่งประเทศไทยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งท่าเทียบเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสำราญ วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2560 การท่าเรือแห่งประเทศไทยดําเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งท่าเทียบเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสําราญ เรือเอก สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อํานวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้จ้างกิจการค้าร่วม ดับบลิวอี แอนด์ เอ็นเอเอ ดําเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น เพื่อจัดตั้งท่าเทียบเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสําราญ บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) รวมทั้งพื้นที่อื่นในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ํา โดยการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ําในภูมิภาคอาเซียน เพื่อช่วยสร้างรายได้ประชากร กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รองรับการให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับรูปแบบการเดินทางโดยเรือสําราญ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ คาดว่าจะทราบพื้นที่สําหรับจัดตั้งท่าเทียบเรือฯ ภายในปี 2561 แผนจัดตั้งท่าเทียบเรือฯ ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการขยายกิจการท่าเรือและธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวทางเรือในระยะยาว และเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ํา การเพิ่มท่าเทียบเรือสําราญให้สามารถรองรับเรือสําราญขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบของท่าเรือหลัก (Home Port) และท่าเรือแวะพัก (Port of Call) ซึ่งปัจจุบัน กทท. มีท่าเรือสําหรับรองรับเรือสําราญ จํานวน 2 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรือ A1 ณ ทลฉ. และบริเวณท่าเทียบเรือ OB ณ ทกท. ทั้งนี้ กทท. จะศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ โอกาสทางธุรกิจ ความคุ้มค่าการลงทุน และการวางแผนทางธุรกิจ เพื่อประกอบการบูรณาการแผนพัฒนาการสร้างท่าเทียบเรือสําราญต่อไป กทท. มั่นใจว่าท่าเทียบเรือฯ ที่จะดําเนินการในอนาคต จะมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และสาธารณูปโภคที่สะดวกครบครัน ปลอดภัย เพื่อรองรับการให้บริการเรือสําราญ การขนส่งนักท่องเที่ยวเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นในได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่สายการเดินเรือจะพิจารณาคัดเลือกท่าเทียบเรือ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางเรือของอาเซียน และจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3967
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.อยุธยา ตรวจติดตามโครงการส่งเสริมพลังงานชุมชน
วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.อยุธยา ตรวจติดตามโครงการส่งเสริมพลังงานชุมชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจติดตามการใช้งบประมาณ Block Grant ส่งเสริมโครงการพลังงานทดทนชุมชน โครงการระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาท วันนี้ (18 กันยายน 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจติดตามการใช้งบประมาณ Block Grant ส่งเสริมโครงการพลังงานทดทนชุมชน โครงการระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดําเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ํามันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จํากัด อําเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้ เป็นการติดตามการส่งเสริมพลังงานทดแทนในชุมชนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับภาคเกษตรกรด้วยพลังงานสะอาด ภายใต้งบประมาณโครงการพลังงานชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2558 (Block Grant) และเยี่ยมชมศักยภาพการดําเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ํามันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จํากัด อําเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ โดยโครงการระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาทอ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นโครงการที่ดําเนินการตามยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานปี 2557 – 2561 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ํา เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างยั่งยืน โครงการดังกล่าว สามารถจัดสรรน้ําเพื่อใช้ในการเกษตรให้กับเกษตรกรครอบคลุมพื้นที่หมู่ 4 5 6 และ 7 จํานวน 320 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4,900 ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรประกอบอาชีพทํานา ปีละ 3 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการสูบน้ําประมาณปีละ 3.6 ล้านบาท แต่ภายหลังจากทําการติดตั้งระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยท่อพญานาคจํานวน 10 ชุด ทําให้ชุมชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ําประมาณปีละ 1.15 ล้านบาท นอกเหนือจากประโยชน์เรื่องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแล้ว โครงการระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ ยังส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการใช้น้ํามันเพื่อการสูบน้ําในการทํานาข้าวระยะยาว ต่อยอดเป็นตําบลต้นแบบพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของจังหวัด ตลอดจนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน และการสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงการเยี่ยมชมศักยภาพการดําเนินงานของโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จํากัด (BBF) อําเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ของ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จํากัด (BBF) เป็นการประกอบกิจการพลังงานที่สอดคล้องแนวนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 30% ในปี 2579 นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสําคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ํามันในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากมีการรับวัตถุดิบน้ํามันปาล์มจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทฯ ได้ผลิตน้ํามันไบโอดีเซล B100 เพื่อเป็นส่วนผสมของน้ํามันไบโอดีเซล ตามนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีกําลังการผลิต 810,000 ลิตรต่อวัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.อยุธยา ตรวจติดตามโครงการส่งเสริมพลังงานชุมชน วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.อยุธยา ตรวจติดตามโครงการส่งเสริมพลังงานชุมชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจติดตามการใช้งบประมาณ Block Grant ส่งเสริมโครงการพลังงานทดทนชุมชน โครงการระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาท วันนี้ (18 กันยายน 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจติดตามการใช้งบประมาณ Block Grant ส่งเสริมโครงการพลังงานทดทนชุมชน โครงการระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดําเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ํามันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จํากัด อําเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้ เป็นการติดตามการส่งเสริมพลังงานทดแทนในชุมชนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับภาคเกษตรกรด้วยพลังงานสะอาด ภายใต้งบประมาณโครงการพลังงานชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2558 (Block Grant) และเยี่ยมชมศักยภาพการดําเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ํามันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จํากัด อําเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ โดยโครงการระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาทอ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นโครงการที่ดําเนินการตามยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานปี 2557 – 2561 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ํา เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างยั่งยืน โครงการดังกล่าว สามารถจัดสรรน้ําเพื่อใช้ในการเกษตรให้กับเกษตรกรครอบคลุมพื้นที่หมู่ 4 5 6 และ 7 จํานวน 320 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4,900 ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรประกอบอาชีพทํานา ปีละ 3 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการสูบน้ําประมาณปีละ 3.6 ล้านบาท แต่ภายหลังจากทําการติดตั้งระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยท่อพญานาคจํานวน 10 ชุด ทําให้ชุมชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ําประมาณปีละ 1.15 ล้านบาท นอกเหนือจากประโยชน์เรื่องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแล้ว โครงการระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ ยังส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการใช้น้ํามันเพื่อการสูบน้ําในการทํานาข้าวระยะยาว ต่อยอดเป็นตําบลต้นแบบพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของจังหวัด ตลอดจนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน และการสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงการเยี่ยมชมศักยภาพการดําเนินงานของโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จํากัด (BBF) อําเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ของ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จํากัด (BBF) เป็นการประกอบกิจการพลังงานที่สอดคล้องแนวนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 30% ในปี 2579 นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสําคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ํามันในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากมีการรับวัตถุดิบน้ํามันปาล์มจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทฯ ได้ผลิตน้ํามันไบโอดีเซล B100 เพื่อเป็นส่วนผสมของน้ํามันไบโอดีเซล ตามนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีกําลังการผลิต 810,000 ลิตรต่อวัน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6767
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมอบ รอง นรม. พลเอกประวิตร ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เร่งกำหนดแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋ว สั่งกรมอนามัยแจ้งเตือนประชาชน 3 ช่วงเวลาต่อวัน
วันพุธที่ 22 มกราคม 2563 นายกรัฐมนตรีมอบ รอง นรม. พลเอกประวิตร ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เร่งกําหนดแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋ว สั่งกรมอนามัยแจ้งเตือนประชาชน 3 ช่วงเวลาต่อวัน นายกรัฐมนตรีมอบ รอง นรม. พลเอกประวิตร ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เร่งกําหนดแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋ว สั่งกรมอนามัยแจ้งเตือนประชาชน 3 ช่วงเวลาต่อวัน วันนี้ (22 ม.ค. 63) เวลา 10.30 ณ หน้าห้องสื่อมวลชนประจําทําเนียบรัฐบาล ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อสื่อมวลถึงสถานการณ์ปัญหาฝุ่นจิ๋วที่มีค่าเกินมาตรฐาน เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในขณะนี้ว่า พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ความสําคัญและติดตามการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีค่าเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะแสดงความห่วงใยถึงผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน จึงได้ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เร่งประชุมโดยมอบหมายให้พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณเป็นประธานการประชุมในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค. 63) ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเร่งกําหนดแนวทางและแผนปฏิบัติแก้ไขปัญหาฝุ่นให้เป็นวาระแห่งชาติในการ โดยเชิญภาคเอกชนและนักวิชาการเข้าร่วมการประชุมหารือด้วย พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังได้แถลงต่ออีกว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นดําเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองมาอย่างต่อเนื่อง เช่น กรมการขนส่งทางบก และ กองบังคับการตํารวจราจร ได้ตรวจสอบ ตรวจจับรถยนต์สาธารณะและรถยนต์ส่วนตัวที่มีค่าควันดําเกินมาตราฐาน ทั้งเตือนและปรับ เพื่อลดแหล่งกําเนิดของปัญหาฝุ่นควันที่มาจากท่อรถยนต์ รวมทั้งมาตรการอื่นๆ อาทิ การห้ามเผาอ้อย หรือจะออกมาตรการด้านภาษีเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนรถหรือเครื่องยนต์ที่ลดปริมาณควันพิษ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวในช่วงท้ายว่า นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําถึงการดูแลปัญหาสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้ง ผู้สูงวัย สตรีมีครรภ์ และเด็กเล็ก พร้อมกําชับให้กรมอนามัยเพิ่มความถี่ในการแจ้งเตือนประชาชนทั้งช่วงเช้า กลางวัน และเย็นถึงแนวการป้องกัน เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย การดื่มน้ําในปริมาณที่พอเหมาะ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่ง ................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมอบ รอง นรม. พลเอกประวิตร ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เร่งกำหนดแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋ว สั่งกรมอนามัยแจ้งเตือนประชาชน 3 ช่วงเวลาต่อวัน วันพุธที่ 22 มกราคม 2563 นายกรัฐมนตรีมอบ รอง นรม. พลเอกประวิตร ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เร่งกําหนดแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋ว สั่งกรมอนามัยแจ้งเตือนประชาชน 3 ช่วงเวลาต่อวัน นายกรัฐมนตรีมอบ รอง นรม. พลเอกประวิตร ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เร่งกําหนดแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋ว สั่งกรมอนามัยแจ้งเตือนประชาชน 3 ช่วงเวลาต่อวัน วันนี้ (22 ม.ค. 63) เวลา 10.30 ณ หน้าห้องสื่อมวลชนประจําทําเนียบรัฐบาล ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อสื่อมวลถึงสถานการณ์ปัญหาฝุ่นจิ๋วที่มีค่าเกินมาตรฐาน เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในขณะนี้ว่า พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ความสําคัญและติดตามการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีค่าเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะแสดงความห่วงใยถึงผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน จึงได้ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เร่งประชุมโดยมอบหมายให้พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณเป็นประธานการประชุมในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค. 63) ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเร่งกําหนดแนวทางและแผนปฏิบัติแก้ไขปัญหาฝุ่นให้เป็นวาระแห่งชาติในการ โดยเชิญภาคเอกชนและนักวิชาการเข้าร่วมการประชุมหารือด้วย พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังได้แถลงต่ออีกว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นดําเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองมาอย่างต่อเนื่อง เช่น กรมการขนส่งทางบก และ กองบังคับการตํารวจราจร ได้ตรวจสอบ ตรวจจับรถยนต์สาธารณะและรถยนต์ส่วนตัวที่มีค่าควันดําเกินมาตราฐาน ทั้งเตือนและปรับ เพื่อลดแหล่งกําเนิดของปัญหาฝุ่นควันที่มาจากท่อรถยนต์ รวมทั้งมาตรการอื่นๆ อาทิ การห้ามเผาอ้อย หรือจะออกมาตรการด้านภาษีเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนรถหรือเครื่องยนต์ที่ลดปริมาณควันพิษ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวในช่วงท้ายว่า นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําถึงการดูแลปัญหาสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้ง ผู้สูงวัย สตรีมีครรภ์ และเด็กเล็ก พร้อมกําชับให้กรมอนามัยเพิ่มความถี่ในการแจ้งเตือนประชาชนทั้งช่วงเช้า กลางวัน และเย็นถึงแนวการป้องกัน เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย การดื่มน้ําในปริมาณที่พอเหมาะ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่ง ................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25970
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนรม. พลเอกประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 1/2561
วันพุธที่ 10 มกราคม 2561 รองนรม. พลเอกประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 1/2561 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบอนุมัติทุนดําเนินการตั้งเป็นเงินสํารอง เพื่อจัดซื้อม้าสําหรับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ พร้อมเห็นชอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ปี’62 วันนี้(10มกราคม2561)เวลา10.00น.ณห้องประชุม301ตึกบัญชาการ1ทําเนียบรัฐบาลพลเอกประวิตรวงษ์สุวรรณเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบอนุมัติทุนดําเนินการตั้งเป็นเงินสํารองเพื่อจัดซื้อม้าสําหรับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบสรุปผลการดําเนินงานตัวชี้วัดระดับความสําเร็จในการพัฒนานักกีฬาโดยบริหารจัดการการเก็บตัวฝึกซ้อมให้ได้มาตรฐานประจําปี2560 ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมทั้งมีมติเห็นชอบแผนพัฒนาศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ (NTC High Performance) ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสามารถแข่งขันกันนักกีฬาต่างประเทศได้ ซึ่งสนองตอบนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอนท้ายของการประชุม ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาจังหวัดที่เสนอขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่35 (พ.ศ. 2562) จํานวน3จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับคัดเลือก ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ .................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนรม. พลเอกประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 1/2561 วันพุธที่ 10 มกราคม 2561 รองนรม. พลเอกประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 1/2561 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบอนุมัติทุนดําเนินการตั้งเป็นเงินสํารอง เพื่อจัดซื้อม้าสําหรับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ พร้อมเห็นชอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ปี’62 วันนี้(10มกราคม2561)เวลา10.00น.ณห้องประชุม301ตึกบัญชาการ1ทําเนียบรัฐบาลพลเอกประวิตรวงษ์สุวรรณเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบอนุมัติทุนดําเนินการตั้งเป็นเงินสํารองเพื่อจัดซื้อม้าสําหรับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบสรุปผลการดําเนินงานตัวชี้วัดระดับความสําเร็จในการพัฒนานักกีฬาโดยบริหารจัดการการเก็บตัวฝึกซ้อมให้ได้มาตรฐานประจําปี2560 ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมทั้งมีมติเห็นชอบแผนพัฒนาศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ (NTC High Performance) ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสามารถแข่งขันกันนักกีฬาต่างประเทศได้ ซึ่งสนองตอบนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอนท้ายของการประชุม ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาจังหวัดที่เสนอขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่35 (พ.ศ. 2562) จํานวน3จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับคัดเลือก ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ .................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9287
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอผลักดันลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
วันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2561 บีโอไอผลักดันลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน บีโอไอ รุกสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่นลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หรือ SEZ จัดสัมมนา ชี้ช่องขอรับส่งเสริมในกลุ่มกิจการที่บีโอไอเปิดให้ส่งเสริมเฉพาะในพื้นที่ SEZ นายเศกสรรค์ เรืองโวหาร ผู้อํานวยการกองประสานและพัฒนาปัจจัยการลงทุน สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 นี้ บีโอไอจะร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี จัดสัมมนา หัวข้อ “บีโอไอ กับการเพิ่มศักยภาพการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” โดยจะเป็นการให้ข้อมูลถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หรือ SEZ (Special Economic Zone) มาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนอื่น ๆ ภายในงานสัมมนา จะมีการบรรยายพิเศษจากบีโอไอในหัวข้อ “บีโอไอกับการเพิ่มศักยภาพการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0” และการบรรยายหัวข้อ “ความก้าวหน้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทย”โดยผู้เชี่ยวชาญจากสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการบรรยายหัวข้อ“ความพร้อมของจังหวัดกาญจนบุรีในการรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” จากรองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี สําหรับ จังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดพื้นที่รองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ระยะที่ 2 ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลมุ่งหวังสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้การลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภายใต้สิทธิประโยชน์จากบีโอไอจะต้องลงทุนใน 10 จังหวัด และต้องอยู่ในตําบลและอําเภอที่กําหนดโดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นสําหรับการผลิตเพื่อการส่งออก 5 ปี รวมถึงการผ่อนผันให้ใช้แรงงานต่างด้าว เป็นต้น นอกจากนี้ยังกําหนดกิจการเป้าหมาย 13 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย (1) อุตสาหกรรมการเกษตรและประมง (2) เซรามิกส์ (3) สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง (4) เครื่องเรือน (5) อัญมณี และเครื่องประดับ (6) เครื่องมือแพทย์ (7) ยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน (8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (9) พลาสติก (10) ยา (11) โลจิสติกส์ (12) นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และ (13) กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว “ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจะได้ทราบทิศทางนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ๆ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีได้โดยตรง ซึ่งการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมีบางกลุ่มประเภทกิจการที่ไม่ให้ส่งเสริมในพื้นที่อื่น แต่เปิดให้ส่งเสริมเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเท่านั้น อาทิ บรรจุภัณฑ์พลาสติก กล่องกระดาษ วัสดุก่อสร้าง และกิจการผลิตสบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน และเครื่องสําอาง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนผลิตสินค้าสําหรับตลาดประเทศเพื่อนบ้านโดยจะต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน ภายใน 30 ธันวาคม 2561” นายเศกสรรค์ กล่าว นายเศกสรรค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีโครงสร้างการผลิตหลักในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม การค้าชายแดนที่เติบโต ขณะเดียวกันยังมีพื้นที่ป่าไม้และการทําเกษตร ปัจจุบันมีศักยภาพการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยว ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2556-2560) บีโอไออนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีแล้ว จํานวน 53 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 26,000 ล้านบาท กิจการที่ลงทุนสูงสุด ได้แก่ กิจการกลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ รองมา คือ กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการด้านบริการและสาธารณูปโภค กิจการแร่ เซรามิกส์ และโลหะ รวมถึง กิจการเครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง ตามลําดับ ****************************************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอผลักดันลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน วันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2561 บีโอไอผลักดันลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน บีโอไอ รุกสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่นลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หรือ SEZ จัดสัมมนา ชี้ช่องขอรับส่งเสริมในกลุ่มกิจการที่บีโอไอเปิดให้ส่งเสริมเฉพาะในพื้นที่ SEZ นายเศกสรรค์ เรืองโวหาร ผู้อํานวยการกองประสานและพัฒนาปัจจัยการลงทุน สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 นี้ บีโอไอจะร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี จัดสัมมนา หัวข้อ “บีโอไอ กับการเพิ่มศักยภาพการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” โดยจะเป็นการให้ข้อมูลถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หรือ SEZ (Special Economic Zone) มาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนอื่น ๆ ภายในงานสัมมนา จะมีการบรรยายพิเศษจากบีโอไอในหัวข้อ “บีโอไอกับการเพิ่มศักยภาพการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0” และการบรรยายหัวข้อ “ความก้าวหน้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทย”โดยผู้เชี่ยวชาญจากสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการบรรยายหัวข้อ“ความพร้อมของจังหวัดกาญจนบุรีในการรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” จากรองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี สําหรับ จังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดพื้นที่รองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ระยะที่ 2 ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลมุ่งหวังสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้การลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภายใต้สิทธิประโยชน์จากบีโอไอจะต้องลงทุนใน 10 จังหวัด และต้องอยู่ในตําบลและอําเภอที่กําหนดโดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นสําหรับการผลิตเพื่อการส่งออก 5 ปี รวมถึงการผ่อนผันให้ใช้แรงงานต่างด้าว เป็นต้น นอกจากนี้ยังกําหนดกิจการเป้าหมาย 13 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย (1) อุตสาหกรรมการเกษตรและประมง (2) เซรามิกส์ (3) สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง (4) เครื่องเรือน (5) อัญมณี และเครื่องประดับ (6) เครื่องมือแพทย์ (7) ยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน (8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (9) พลาสติก (10) ยา (11) โลจิสติกส์ (12) นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และ (13) กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว “ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจะได้ทราบทิศทางนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ๆ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีได้โดยตรง ซึ่งการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมีบางกลุ่มประเภทกิจการที่ไม่ให้ส่งเสริมในพื้นที่อื่น แต่เปิดให้ส่งเสริมเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเท่านั้น อาทิ บรรจุภัณฑ์พลาสติก กล่องกระดาษ วัสดุก่อสร้าง และกิจการผลิตสบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน และเครื่องสําอาง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนผลิตสินค้าสําหรับตลาดประเทศเพื่อนบ้านโดยจะต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน ภายใน 30 ธันวาคม 2561” นายเศกสรรค์ กล่าว นายเศกสรรค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีโครงสร้างการผลิตหลักในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม การค้าชายแดนที่เติบโต ขณะเดียวกันยังมีพื้นที่ป่าไม้และการทําเกษตร ปัจจุบันมีศักยภาพการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยว ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2556-2560) บีโอไออนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีแล้ว จํานวน 53 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 26,000 ล้านบาท กิจการที่ลงทุนสูงสุด ได้แก่ กิจการกลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ รองมา คือ กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการด้านบริการและสาธารณูปโภค กิจการแร่ เซรามิกส์ และโลหะ รวมถึง กิจการเครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง ตามลําดับ ****************************************************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11807
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-MOU ส่งเสริมสอนภาษาเกาหลี
วันพุธที่ 4 กันยายน 2562 MOU ส่งเสริมสอนภาษาเกาหลี นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ Ms.Yoo Eun-hae รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลี ระหว่าง ศธ.ไทย และ ศธ.แห่งสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2562 ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทําเนียบรัฐบาล นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ Ms.Yoo Eun-hae รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลี ระหว่าง ศธ.ไทย และ ศธ.แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสที่ H.E. Mr. Moon Jae-in ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลี ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทย และ กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Memorandum of Understanding between the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Education of the Republic of Korea on Cooperation in the Field of Korean Language Education) มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการดําเนินความร่วมมือด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในสถานศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทย อาทิ การฝึกอบรมครูสอนภาษาเกาหลีชาวไทย การพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาเกาหลี ตําราเรียนและสื่อการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนการสอนภาษาเกาหลี การจัดส่งครูชาวเกาหลีมาสอนในโรงเรียนของไทย รวมถึงการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐเกาหลี สําหรับความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีนั้น ได้ดําเนินความร่วมมือภายใต้กิจกรรมหลายรูปแบบ อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การแลกเปลี่ยนครู นักเรียน และนักศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเกาหลี ตลอดจนทุนรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีมอบให้แก่นักเรียนนักศึกษาของไทยเพื่อไปศึกษาต่อเป็นประจําทุกปี โดยล่าสุดได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลี โดยปลัดกระทรวงศึกษาธิการของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ณ ทําเนียบรัฐบาล อรพรรณ ฤทธิ์มั่น: สรุป นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง/กราฟิก ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ ขอบคุณข้อมูล: สํานักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.: รายงาน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-MOU ส่งเสริมสอนภาษาเกาหลี วันพุธที่ 4 กันยายน 2562 MOU ส่งเสริมสอนภาษาเกาหลี นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ Ms.Yoo Eun-hae รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลี ระหว่าง ศธ.ไทย และ ศธ.แห่งสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2562 ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทําเนียบรัฐบาล นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ Ms.Yoo Eun-hae รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลี ระหว่าง ศธ.ไทย และ ศธ.แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสที่ H.E. Mr. Moon Jae-in ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลี ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทย และ กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Memorandum of Understanding between the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Education of the Republic of Korea on Cooperation in the Field of Korean Language Education) มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการดําเนินความร่วมมือด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในสถานศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทย อาทิ การฝึกอบรมครูสอนภาษาเกาหลีชาวไทย การพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาเกาหลี ตําราเรียนและสื่อการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนการสอนภาษาเกาหลี การจัดส่งครูชาวเกาหลีมาสอนในโรงเรียนของไทย รวมถึงการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐเกาหลี สําหรับความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีนั้น ได้ดําเนินความร่วมมือภายใต้กิจกรรมหลายรูปแบบ อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การแลกเปลี่ยนครู นักเรียน และนักศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเกาหลี ตลอดจนทุนรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีมอบให้แก่นักเรียนนักศึกษาของไทยเพื่อไปศึกษาต่อเป็นประจําทุกปี โดยล่าสุดได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลี โดยปลัดกระทรวงศึกษาธิการของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ณ ทําเนียบรัฐบาล อรพรรณ ฤทธิ์มั่น: สรุป นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง/กราฟิก ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ ขอบคุณข้อมูล: สํานักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.: รายงาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22769