title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
45.8M
source
stringclasses
5 values
__index_level_0__
int64
0
197k
ประเทศเกาหลีเหนือ
เกาหลีเหนือ (North Korea; ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea: DPRK; ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือเปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1905 และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองโซเวียตและสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เกาหลีเหนือปฏิเสธจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่สหประชาชาติอำนวยการ ซึ่งจัดที่กรุงโซลใน ค.ศ. 1948 และนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลเกาหลีแยกในเขตยึดครองทั้งสอง ทั้งเกาหลีเหนือและใต้ต่างอ้างอธิปไตยเหนือคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และนำไปสู่สงครามเกาหลีใน ค.ศ. 1950 ก่อนจะทำความตกลงสงบศึกชั่วคราวใน ค.ศ. 1953 แต่ทั้งสองยังถือว่าอยู่ในภาวะสงครามต่อกันและกันอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพแต่อย่างใด ทั้งสองรัฐได้รับการยอมรับเข้าสู่สหประชาชาติใน ค.ศ. 1991 เกาหลีเหนือเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้สหแนวร่วมนำโดยพรรคแรงงานเกาหลี รัฐบาลของประเทศเจริญตามอุดมการณ์จูเช (Juche) ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง พัฒนาโดยประธานาธิบดีของประเทศ คิม อิล-ซ็อง หลังเขาถึงแก่อสัญกรรม คิม อิล-ซ็องถูกประกาศให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของประเทศ จูเชจึงกลายมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน ค.ศ. 1972 แม้คิม อิล-ซ็องจะใช้ร่างเป็นนโยบายอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1955 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง ได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในประเทศ เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตถึงระหว่าง 9 แสนถึง 2 ล้านคน โดยเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ ผู้นำ คิม จ็อง-อิลประกาศใช้นโยบายซอนกุน (Songun) หรือ "ทหารมาก่อน" เพื่อเสริมสร้างประเทศและรัฐบาล องค์การต่างชาติหลายแห่งอธิบายเกาหลีเหนือว่าเป็นเผด็จการลัทธิสตาลินแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีลัทธิบูชาบุคคลต่อครอบครัวคิมและเป็นประเทศที่มีบันทึกสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมืองต่ำที่สุดในโลก แต่รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธความเชื่อมโยงนี้ เกาหลีเหนือเป็นชาติติดอาวุธมากที่สุดของโลก โดยมีบุคลากรทางทหารและกึ่งทหารสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีบุคลากรประจำการ กองหนุน และกำลังกึ่งทหารรวม 7.769 ล้านคน หรือประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด กองทัพประจำการซึ่งมีทหาร 1.28 ล้านนายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ประกอบด้วย 5% ของประชากรทั้งหมด ทั้งเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองและมีโครงการอวกาศที่ยังดำเนินอยู่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีได้รับการไต่สวนโดยสหประชาชาติ และการวิจารณ์จากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรวมถึงฮิวแมนไรท์วอทช์ นอกเหนือจากการเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เกาหลีเหนือยังเป็นสมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด กลุ่ม 77 และการประชุมภูมิภาคอาเซียน ปัญหาหลักของเกาหลีเหนือในปัจจุบันคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งที่ด้อยประสิทธิภาพ ความยากจน และการขาดแคลนอาหาร โดยในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1994−98 มีประชาชนเสียชีวิตจากความอดอยากหลายแสนคน == ภูมิศาสตร์ == คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร และกว้าง 300 กิโลเมตร ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทรเกาหลี พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูน ทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงาม ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขาตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลี โดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ณ เส้นขนานที่ 38 เหนือ คือ สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางตอนใต้ และเกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร เกาหลีเหนือมีสภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีปและภูมิอากาศแบบมหาสมุทรผสมผสานกัน แต่พื้นที่ประเทศส่วนใหญ่ประสบกับสภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีปที่ชื้น ฤดูหนาวมีอากาศแจ่มใสสลับกับพายุหิมะอันเป็นผลมาจากลมเหนือและลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดมาจากไซบีเรีย ฤดูร้อนมักจะเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุด ชื้นที่สุด และฝนตกมากที่สุดของปี เนื่องจากลมมรสุมใต้และตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดพาอากาศชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของฝนทั้งหมดเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูกาลเปลี่ยนผ่านระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยรายวันสำหรับเปียงยางอยู่ที่ -3 และ -13 °C (27 และ 9 °F) ในเดือนมกราคม และ 29 และ 20 °C (84 และ 68 °F) ในเดือนสิงหาคม == ประวัติศาสตร์ == === ยุคประวัติศาสตร์ === ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คือราชอาณาจักรโคกูรยอ ราชอาณาจักรแพ็กเจ และราชอาณาจักรชิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของแมนจูเรีย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร === หลังสงครามโลกครั้งที่สอง === ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในคาบสมุทรเกาหลี แต่ทั้งสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาไม่สามารถตกลงเรื่องการรวมชาติเกาหลีกันได้ แต่ละฝ่ายจึงประกาศสนับสนุนดินแดนในส่วนยึดครองของตน โดยเกาหลีใต้เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ส่วนเกาหลีเหนือเรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต === ยุคเอกราช === หลังจากเกาหลีเหนือได้แยกออกมาเป็นเอกราชแล้ว นาย คิม อิล-ซ็อง ก็ได้มีบทบาทสำคัญของการบริหารประเทศตลอดมา ในระหว่าง พ.ศ. 2491-2515 เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และต่อจากนั้นก็ได้ตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2537 แล้วบุตรชาย คิม จ็อง-อิล จึงได้ดำรงตำแหน่งสืบมาจนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2554 คิม จ็อง-อึน ผู้เป็นบุตรชายคนสุดท้องได้สืบทอดอำนาจเป็นผู้นำคนปัจจุบัน == การเมืองการปกครอง == === บริหาร === เกาหลีเหนือปกครองโดย เกาหลีเหนือเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปกครองโดยพรรคแรงงานแห่งเกาหลี มีประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ และมี คิม อิล-ซ็องและผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันคือนายคิม จ็อง-อึน เป็นผู้นำประเทศ เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช (Juche) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิล-ซ็อง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2491 โดยมีพรรคแรงงานแห่งเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก 687 คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จ็อง-อิล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 แสดงให้เห็นว่านายคิม จ็อง-อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จ็อง-อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมากขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อ 5 กันยายน 2541 การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่ 10 มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า นายคิม อิล-ซ็อง เป็นผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ และเป็นบรรพบุรุษแห่งสังคมนิยมของเกาหลี ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President) ยกเลิกระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข ให้ประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defense Commission) เป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศ โดยมีอำนาจปกครองด้าน การเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ ให้สภาบริหารสูงสุด (Presidium) ของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ (Supreme People's Assembly) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ อนึ่ง สภาประชาชนสูงสุดมีมติแต่งตั้งนายคิม ย็อง-นัม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ เมื่อ 3 กันยายน 2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยที่ประชุมฯ มีมติดังนี้ นาย คิม จ็อง-อิล ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลาโหม (Chairman of the National Defense Commission) นาย คิม ย็อง-นัม ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุด (President of the Presidium of the DPRK Supreme People's Assembly) นาย ปาร์ก ปงจู รมว.อุตสาหกรรมเคมี ดำรงตำแหน่ง นรม. สืบแทนนาย Hong Song Nam นาย แพ็ก นัมซุน ดำรงตำแหน่ง รมว.กต.ต่อไปทั้งนี้ นรม.คนใหม่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศให้มากยิ่งขึ้น สนับสนุนด้านการทหารอย่างเต็มที่ และส่งเสริมการรวมประเทศเกาหลีทั้งสอง อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 นายคิม จ็อง-อิล ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะอยู่บนขบวนรถไฟเตรียมเดินทางไปตรวจพื้นที่ภาคสนาม จากอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย และหัวใจวายในที่สุด ทำให้นาย คิม จอง อึน บุตรชายคนที่ 3 จะขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือในฐานะทายาททางการเมืองต่อไป === บริหาร === === ตุลาการ === === นโยบายต่างประเทศ === เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เป็นหลักและมักจะติดต่อกับประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ที่เป็นประชาธิปไตยด้วยความจำเป็นเท่านั้น สถานทูตต่างประเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับการรับรองจากเกาหลีเหนือนั้นตั้งอยู่ในปักกิ่งมากกว่าในเปียงยาง ในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 เกาหลีเหนือได้ดำเนินตามนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ สร้างความสัมพันธ์กับประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก และเข้าร่วมขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และ 1990 นโยบายต่างประเทศได้เข้าสู่ความวุ่นวายเป็นผลการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ปิดสถานทูตหลายแห่ง ในเวลาเดียวกัน เกาหลีเหนือพยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตลาดเสรีที่พัฒนาแล้ว เกาหลีเหนือเข้าร่วมสหประชาชาติในปี 1991 ร่วมกับเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือยังเป็นสมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, กลุ่ม 77 และฟอรัมภูมิภาคอาเซียน เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนซึ่งมักถูกมองว่าเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเกาหลีเหนือ แต่ความสัมพันธ์ได้ตึงเครียดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากความกังวลของจีนเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เริ่มดีขึ้นอีกครั้งและใกล้ชิดกันมากขึ้นโดยเฉพาะหลังจากนายสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเยือนเกาหลีเหนือในเดือนเมษายน 2019 ในปี 2015 เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 166 ประเทศและสถานทูตใน 47 ประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสิทธิมนุษยชนและสถานการณ์ทางการเมือง เกาหลีเหนือไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอาร์เจนตินา บอตสวานา เอสโตเนีย ฝรั่งเศส อิรัก อิสราเอล ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา ณ เดือนกันยายน 2017 ฝรั่งเศสและเอสโตเนียเป็นสองประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ประกาศจะไม่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือยังคงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพันธมิตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สังคมนิยมกับเวียดนาม ลาว ตลอดจนกับกัมพูชา ก่อนหน้านี้ชาวโลกตะวันตกมองเกาหลีเหนือว่าเป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้าย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการวางระเบิดย่างกุ้งปี 1983 และการทิ้งระเบิดในปี 1987 ของสายการบินเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2008 สหรัฐอเมริกาได้ถอดเกาหลีเหนือออกจากรายชื่อรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายหลังจากที่เปียงยางตกลงที่จะร่วมมือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์ของตน เกาหลีเหนือถูกกำหนดใหม่ให้เป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้ายโดยสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของ ดอนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2017 นอกจากนี้ การลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่นอย่างน้อย 13 คนโดยเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับญี่ปุ่น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ถือเป็นผู้นำสหรัฐคนแรกที่มาเยือนประเทศเกาหลีเหนือและได้เข้าพบกับผู้นำคิมในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2018 เพื่อหาข้อยุติร่วมกันในโครงการนิวเคลียร์ มีการลงนามข้อตกลงระหว่างสองประเทศที่สนับสนุนปฏิญญาพันนุนจ็อมปี 2017 ซึ่งลงนามโดยเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยให้คำมั่นว่าจะทำงานเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี พวกเขาพบกันที่ฮานอยตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2019 แต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2019 ทรัมป์ได้พบกับคิมพร้อมกับมุนแจอินที่เขตปลอดทหารเกาหลี อย่างไรก็ตาม การเจรจาสันติภาพระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐได้ยุติลงในเวลาต่อมา เนื่องจากเกาหลีเหนือยืนกรานที่จะไม่ยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ==== ความสัมพันธ์กับประเทศเกาหลีใต้ ==== เขตปลอดทหารของเกาหลีกับเกาหลีใต้ยังคงเป็นพรมแดนที่มีการป้องกันอย่างแน่นหนามากที่สุดในโลก แม้จะมีความขัดแย้งในอุดมการณ์เรื้อรังมายาวนาน และจากการรุกรานของเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ทำให้ทั้งสองประเทศยังอยู่ในภาวะสงคราม และแม้จะมีการเจรจาสงบศึกชั่วคราว แต่ทั้งสองชาติยังจริงจังกับการเจรจาเพื่อสันติอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน นโยบายของเกาหลีเหนือคือการแสวงหาการรวมชาติโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ผ่านโครงสร้างของรัฐบาลกลางที่รักษาความเป็นผู้นำและระบบของแต่ละฝ่าย ในขณะที่เกาหลีใต้มิอาจเลี่ยงการแทรกแซงของสหประชาชาติโดนเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาได้ ในปี 1972 ทั้งสองเกาหลีเห็นพ้องต้องกันในหลักการเพื่อให้เกิดการรวมกันอีกครั้งโดยสันติวิธีและปราศจากการแทรกแซงจากต่างประเทศ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1980 ผู้นำเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง ได้เสนอให้จัดตั้งสหพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ชื่อสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเกาหลี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของสองประเทศยังคงดีอยู่จนถึงต้นทศวรรษ 1990 โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เกาหลีเหนือเสนอให้การช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยแก่เกาหลีใต้ แม้ว่าข้อเสนอจะได้รับการต้อนรับในขั้นต้น แต่การพูดคุยได้ยุติลงและไม่มีความช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสองประเทศยังได้จัดงานรวมตัวของญาติกว่า 92 ครอบครัวที่แยกจากกันนับตั้งแต่แบ่งแยกประเทศเป็นระยะ ๆ การประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลี พ.ศ. 2561 ในวันที่ 27 เมษายน เป็นการพบกันระหว่างผู้นำสองประเทศ นับเป็นการประชุมครั้งที่สามและครั้งแรกในรอบกว่าสิบปี มีจุดประสงค์เพื่อวางแผนการปลดอาวุธนิวเคลียร์บริเวณคาบสมุทรเกาหลี โดยผู้นำสองประเทศร่วมลงนามใน ปฏิญญาพันมุนจ็อม โดยต้องการยุติสงครามเกาหลีอย่างเป็นทางการ ==== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ==== ประเทศไทย และเกาหลีเหนือมีการแลกเปลี่ยนการติดต่อและการดำเนินกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน โครงการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน กีฬา นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย - เกาหลีเหนือ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้น และประเทศไทยยังมี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีประจำประเทศไทย คนปัจจุบันได้แก่ นายคิม เช พง (H.E. Mr. Kim Je Bong) === กองทัพ === กองทัพเกาหลีเหนือหรือกองทัพประชาชนเกาหลี (KPA) คาดว่าจะประกอบด้วยทหารประจำการ 1,280,000 นาย และกำลังสำรองและกำลังกึ่งทหาร 6,300,000 นาย ทำให้เป็นหนึ่งในสถาบันทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยกองทัพประจำการที่ประกอบด้วย 5% ของประชากร KPA จึงเป็นกำลังทหารประจำการที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายอายุ 17-54 ปีรับใช้ในกองทัพประจำ และประมาณ 1 ในทุก ๆ 25 พลเมืองเป็นทหารเกณฑ์ การคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่อเกาหลีเหนือทำให้กองทัพซื้อหรือพัฒนาอุปกรณ์ที่ทันสมัยได้ยาก และยังคงต้องพึ่งพาวัสดุจากยุคสงครามเย็นที่ล้าสมัยเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากนโยบาย Songun ของเกาหลีเหนือ หรือนโยบาย "ทหารต้องมาก่อน" และจำนวนบุคลากรในกองกำลังติดอาวุธจำนวนมากกองทัพเกาหลีเหนือถูกมองว่าเป็นกำลังทหารที่น่าเกรงขาม กองทัพ KPA แบ่งออกเป็น 5 เหล่า ได้แก่ Ground Force, Navy, Air Force, Special Operations Force และ Rocket Force คำสั่งของ KPA ขึ้นกับคณะกรรมาธิการทหารกลางของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีและคณะกรรมการกิจการรัฐอิสระ ซึ่งควบคุมกระทรวงกองทัพบก ในบรรดาสาขาทั้งหมดของกองทัพเกาหลีเหนือ กองกำลังภาคพื้นดินเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยบุคลากรประมาณหนึ่งล้านนาย แบ่งออกเป็น 80 กองพลทหารราบ กองพลปืนใหญ่ 30 กองพลทหารปืนใหญ่ 25 กองพลสงครามพิเศษ 25 กองพลยานยนต์ 20 กองพันรถถัง 10 กอง และทหารรถถัง 7 นาย มีรถถัง 3,700 คัน รถหุ้มเกราะ 2,100 คัน และยานรบทหารราบ ปืนใหญ่ 17,900 ชิ้น ปืนต่อต้านอากาศยาน 11,000 กระบอก และขีปนาวุธต่อต้านรถถัง กองทัพอากาศคาดว่าจะมีเครื่องบินประมาณ 1,600 ลำ (ระหว่าง 545 - 810 ลำที่ทำหน้าที่ต่อสู้) ในขณะที่กองทัพเรือดำเนินการประมาณ 800 ลำ รวมถึงกองเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก หน่วยปฏิบัติการพิเศษของ KPA ยังเป็นหน่วยกองกำลังพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย เกาหลีเหนือเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ ในเดือนมกราคม 2018 การประเมินคลังอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออยู่ระหว่างระเบิด 15 ถึง 60 ลูก ซึ่งอาจรวมถึงระเบิดไฮโดรเจนด้วย ความสามารถในการจัดส่ง ให้บริการโดย Rocket Force ซึ่งมีขีปนาวุธจำนวน 1,000 ลูกที่มีพิสัยไกลถึง 11,900 กม. (7,400 ไมล์) จากการประเมินของเกาหลีใต้ในปี 2547 เกาหลีเหนือยังมีอาวุธเคมีจำนวนประมาณ 2,500–5,000 ตัน รวมถึงสารทำลายประสาท ตุ่มพอง เลือด และยาอาเจียน ตลอดจนความสามารถในการฝึกฝนและผลิตอาวุธชีวภาพ ได้แก่ แอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ และอหิวาตกโรค จากผลการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธ เกาหลีเหนือถูกคว่ำบาตรภายใต้มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ===ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน=== เกาหลีเหนือถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่ามีการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนที่แย่ที่สุดในโลก รัฐบาลเกาหลีเหนือถูกเรียกขานว่าเป็น "หนึ่งในกลุ่มคนที่โหดร้ายที่สุดในโลก" โดย ฮิวแมนไรตส์วอตช์ เนื่องจากข้อจำกัดที่เข้มงวดเกี่ยวกับเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของพวกเขา ประชากรเกาหลีเหนือได้รับการจัดการอย่างเข้มงวดโดยรัฐ และทุกด้านของชีวิตประจำวันอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคและการวางแผนของรัฐ การจ้างงานได้รับการจัดการโดยพรรคการเมืองบนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือทางการเมือง และการเดินทางถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยกระทรวงความมั่นคงของประชาชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรายงานข้อจำกัดที่รุนแรงเกี่ยวกับเสรีภาพในการสมาคม การแสดงออก และการเคลื่อนไหว การกักขังตามอำเภอใจ การทรมาน และการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เสียชีวิต และการประหารชีวิต กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐเข้าจับกุมและคุมขังผู้ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมทางการเมืองโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมโดยมิชอบด้วยกระบวนการยุติธรรม บุคคลที่ถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล เช่น ผู้วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นผู้นำของท่านผู้นำ หรือผู้ที่พยายามหนีออกนอกประเทศ จะถูกเนรเทศไปยังค่ายแรงงานโดยไม่มีการพิจารณาคดี และบ่อยครั้งไม่มีโอกาสได้รับการปล่อยตัวออกมา ผู้หญิงเกาหลีเหนือมักต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเพศ และการข่มขืนเป็นประจำ ผู้ชายที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ รวมทั้งตำรวจ เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ดูแลตลาด สามารถล่วงละเมิดผู้หญิงได้ตามความประสงค์และไม่ถูกดำเนินคดี โดยเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผู้หญิงที่ได้รับความคุ้มครองคือผู้ที่สามีหรือบิดาอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธข้อเรียกร้องการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเรียกพวกเขาว่า "การรณรงค์หาเสียง" ที่มุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในรายงานประจำปี 2014 ที่ส่งไปยังสหประชาชาติ เกาหลีเหนือได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องความโหดร้ายว่าเป็น "ข่าวลือ" == การแบ่งเขตการปกครอง == ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศเกาหลีเหนือแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provinces) 3 เขตพิเศษ (special regions) และ 2 เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง (directly-governed cities) ได้แก่ === จังหวัด === คังว็อน (Kangwŏndo: คังว็อนโด 강원도; 江原道) ชากัง (Chagang-do: ชากัง-โด; 자강도; 慈江道) พย็องอันใต้ (P'yŏngan-namdo: พย็องอัน-นัมโด; 평안남도; 平安南道) พย็องอันเหนือ (P'yŏngan-bukto: พย็องอัน-บุกโต; 평안북도; 平安北道) รยังกัง (Ryanggang-do: รยังกัง-โด; 량강도; 兩江道) ฮวังแฮใต้ (Hwanghae-namdo: ฮวังแฮ-นัมโด; 황해남도; 黃海南道) ฮวังแฮเหนือ (Hwanghae-bukto: ฮวังแฮ-บุกโต; 황해북도; 黃海北道) ฮัมกย็องใต้ (Hamgyŏng-namdo: ฮัมกย็อง-นัมโด; 함경남도; 咸鏡南道) ฮัมกย็องเหนือ (Hamgyŏng-bukto: ฮัมกย็อง-บุกโต; 함경북도; 咸鏡北道) === เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง === เปียงยาง (P'yŏngyang Chik'alshi: พย็องยังชีคัลชี; 평양직할시; 平壤直轄市) - สังเกตว่าเมืองนี้ได้จัดเป็นเมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง และไม่ใช่ "นครพิเศษ" เหมือนกรุงโซลในประเทศเกาหลีใต้ ราซ็อน (ราจิน-ซ็อนบง) (Rasŏn (Rajin-Sŏnbong) Chik'alshi: ราซ็อน (ราจิน-ซ็อนบง) ชีคัลชี; 라선(라진-선봉)특별시; 羅先(羅津-先鋒)特別市) === เมืองใหญ่สุด 10 อันดับแรก === == เศรษฐกิจ == เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ตามลัทธิชูเช (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ "ขบวนการม้าบินหมื่นลี้" (Chollima Movement) ในปี พ.ศ. 2501 ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ ในปี 2538 และ 2539 ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ต่อมาในปี 2540 เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารภาพในประเทศส่งผลให้ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในปี 2532-2533 ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับประเทศรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่น ๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย รัฐบาลเกาหลีเหนือได้พยายามหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้ ในปี 2534 ได้พยายามทดลองเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับจีน บริเวณใกล้พรมแดนจีนและรัสเซีย เรียกว่า Rajin-Sonbong Free Trade Zone (FTZ) เพื่อเป็นเขตผ่อนผันให้กับนักลงทุนต่างชาติผ่านเข้าออกได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา มีการลดภาษีศุลกากร และมีสิ่งจูงใจอื่น ๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยมาก เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูง การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงาน นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ค่อยแน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในเกาหลีเหนือ ตลอดจนปัญหาเรื่องนโยบายคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งความไม่พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ และการขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรม ในปี 2541 ได้เปิดให้บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้เข้าไปลงทุนโดยการนำนักท่องเที่ยวเข้าชมบริเวณเทือกเขา Kumgang โดยบริษัทฮุนไดต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือ เดือนละ 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้น้อยเกินคาด คือน้อยกว่า 4,000 คนต่อเดือนทำให้บริษัทฮุนไดขาดทุนอย่างนัก จนเมื่อเดือน มกราคม 2545 รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมนโยบายปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เมื่อเดือนกันยายน 2545 เกาหลีเหนือได้ประกาศให้เมืองชินอึยจู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีนตรงข้ามเมืองตานตงของมณฑลเหลียวหนิงมีแม่น้ำยาลูเป็นเส้นกั้นพรมแดนให้เป็นเขตบริหารพิเศษขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางโดยสามารถบัญญัติกฎหมายมีอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ระหว่างนายคิม จอง-อิล ผู้นำเกาหลีเหนือกับนายคิม แด-จุง อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในปี 2543 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีความพยายามร่วมกันในการส่งเสริมโครงการนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Gaeseong Industrial Complex- GIC) อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน เมื่อ 2 สิงหาคม 2545 เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก 2.2 วอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 200 วอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2546 ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.156 ล้านตันจากความต้องการบริโภค 5.1 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า 300 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย ล่าสุด จากการประชุมสภาประชาชนสูงสุด เมื่อ 11 เมษายน 2549 นโยบายทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อันเป็นยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือในการเพิ่มความสามารถในการผลิตและเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ตามหลักจูเช่ และเชื่อว่าเกาหลีเหนือจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือประกาศว่าการสร้าง ”ประเทศที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง” (Kangsong Taeguk-) จะต้องตั้งอยู่บนเสาหลักสำคัญ 3 ประการคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุดมการณ์ และการทหาร === การเกษตร === เกาหลีเหนือจัดพื้นที่การเกษตรเป็นคอมมูนเช่นเดียวกับจีน และมอบพื้นที่ขนาดเล็กใกล้คอมมูนให้เป็นแปลงเกษตรส่วนตัว ผลผลิตทางการเกษตรของเกาหลีเหนือ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี โค และสัตว์ปีก แต่เกือบทุกชนิดไม่พอเลี้ยงประชากรในประเทศ ส่วนใหญ่จึงต้องสั่งเข้าจากอดีตสหภาพโซเวียต พื้นที่ ของเกาหลีเหนือเพาะปลูกได้แค่ 20 เปอร์เซนต์ของประเทศเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาหลีเหนือล้อมรอบไปด้วยภูเขาจำนวนครึ่งกว่าประเทศ ใน 1 ปีสามารถเพาะปลูกได้แค่ 6 เดือน ส่วน 6 เดือนที่เหลือไม่สามารถเพาะปลูกได้เพราะอากาศหนาวติดลบ === การทำเหมืองแร่ === เกาหลีเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยถ่านหิน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ส่งเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้ประเทศอันดับหนึ่งนอกจากนี้ยังมี ตะกั่ว สังกะสี และเหล็ก === อุตสาหกรรม === เกาหลีเหนือมีอุตสาหกรรมหนักอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องจักรกล เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ และปุ๋ย เกาหลีเหนือสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 26 ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเท่านั้น ภาวะการขาดแคลนพลังงานของเกาหลีเหนือ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตได้เพียงร้อยละ 20 ของความสามารถในการผลิต ทั้งนี้ มีรายงานว่าระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาพย่ำแย่ ซึ่งหากสภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไป อาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายได้ และนำไปสู่การอพยพของชาวเกาหลีเหนือไปสู่จีนและเกาหลีใต้ === การท่องเที่ยว === การท่องเที่ยวในประเทศเกาหลีเหนือเริ่มเปิดให้กับชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศนี้ โดยเฉพาะธรรมชาติและวิถีชีวิตที่งดงาม แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวในเกาหลีเหนือนั้น ต้องเดินทางไปกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น โดยจะต้องซื้อทัวร์ผ่านบริษัทตัวแทน ก่อนจะไปยังประเทศนี้ได้และอยู่ในการควบคุมภายใต้รัฐบาล ==== สถานที่ท่องเที่ยว ==== == ประชากร == ประชากรศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 คาดการณ์ว่าประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็น 25.5 ล้านคนภายในปี 2000 และ 28 ล้านคนภายในปี 2010 แต่การเพิ่มขึ้นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นเนื่องจากความอดอยากของเกาหลีเหนือเริ่มขึ้นในปี 1995 เป็นเวลาสามปีและส่งผลให้ชาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตระหว่าง 240,000 ถึง 420,000 คน ผู้บริจาคระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มการขนส่งอาหารผ่านโครงการอาหารโลกในปี 1997 เพื่อต่อสู้กับความอดอยากในประเทศ แม้จะมีการลดความช่วยเหลือลงอย่างมากภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แต่สถานการณ์ก็ค่อย ๆ ดีขึ้น จำนวนเด็กที่ขาดสารอาหารลดลงจาก 60% ในปี 1998 เป็น 37% ในปี 2006 และ 28% ในปี 2013 แต่โครงการอาหารโลกรายงานว่ายังขาดความหลากหลายทางอาหารและการเข้าถึงไขมันและโปรตีนอย่างต่อเนื่อง ในช่วงกลางปี 2010 ภาวะขาดสารอาหารของเด็กเกาหลีเหนือต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ และใกล้เคียงกับประเทศกำลังพัฒนาในแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก สุขภาพและโภชนาการของเด็กมีตัวชี้วัดที่ดีกว่าในหลายประเทศในเอเชียอย่างมีนัยสำคัญ === เชื้อชาติ === ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลี แต่ก็มีชาวจีน 162,000 คน ชาวมองโกล 6,900 คน ชาวอังกฤษ 5,500 คน ชาวฝรั่งเศส 5,000 คน ชาวรัสเซีย 4,600 คนและชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ === ศาสนา === ในอดีตดินแดนเกาหลีเหนืออบอวลไปด้วยวัฒนธรรมของศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อ แม้ภายหลังจะมีการเข้ามาของศาสนาอื่นอย่างศาสนาคริสต์ และลัทธิชอนโดเกียว แต่ทุกศาสนาจะต้องได้รับการอนุญาตก่อน ส่วนใหญ่ประชากรของเกาหลีเหนือจะยินดีที่จะไม่นับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่ศาสนาจะถูกให้นิยามอยู่เสมอว่าเป็นอคติต่อสังคม และวัฒนธรรมทางศาสนาดั้งเดิมอย่างศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อจึงได้รับผลกระทบจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของชาวเกาหลีเหนือ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในเกาหลีเหนือได้รับการจัดการที่ดีกว่ากลุ่มที่นับถือศาสนาอื่นในประเทศ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ที่มักจะถูกรังแกโดยทางการ ในขณะที่ศาสนาพุทธได้รับทุนจากรัฐบาลไปส่งเสริมศาสนา เนื่องจากศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมของเกาหลีเป็นอย่างมาก จากการเฝ้าดูขององค์กรสิทธิมนุษยชน พบว่าเกาหลีเหนือได้ให้อิสระต่อกิจกรรมทางศาสนา ขณะที่รัฐบาลจะอุปถัมภ์กลุ่มศาสนาเท่านั้น สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิสระการนับถือศาสนาของเกาหลีเหนือมีการประมาณการกลุ่มผู้นับถือศาสนาต่างๆจากหน่วยข่าวกรองตามสภาพของเกาหลีเหนือในปัจจุบันดังนี้ ไม่นับถือศาสนา ประมาณ 15,460,000 คน (64.31% ของประชากร โดยส่วนใหญ่นับถือตามปรัชญาลัทธิจูเช) ผู้ศรัทธาตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ประมาณ 3,846,000 คน (16% ของประชากร) ลัทธิชอนโดเกียว ประมาณ 3,245,000 คน (13.50% ของประชากร) ศาสนาพุทธ ประมาณ 1,082,000 คน (4.50% ของประชากร) ศาสนาคริสต์ ประมาณ 406,000 คน (1.69% ของประชากร) ในกรุงเปียงยาง ถือเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางศาสนาคริสต์ของเกาหลีเหนือก่อนสงครามเกาหลี ปัจจุบันมีโบสถ์เพียงสี่โบสถ์ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดทำศาสนกิจได้ เพื่อเป็นจุดเด่นแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นเท่านั้น และผู้ที่ทำการในโบสถ์ เป็นสายลับเกาหลีเหนือที่สังกัดกับกองแนวร่วม ตัวเลขอย่างเป็นทางการของชาวคริสต์ในเกาหลีเหนือ ได้แก่ นิกายโปรเตสแตนต์มีจำนวนมากที่สุด 10,000 รองลงมาคือนิกายโรมันคาทอลิก 4,000 คน ตามที่องค์กร Open Door ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวคริสต์ ได้ให้ข้อมูลว่าทางการเกาหลีเหนือได้ทำการกลั่นแกล้งชาวคริสต์มากจนน่าแปลก องค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น องค์กรนิรโทษกรรมสากล ได้พุ่งความสนใจเกี่ยวกับการก่อกวนทางศาสนาในเกาหลีเหนือ === ภาษา === เกาหลีเหนือใช้ภาษาเกาหลีร่วมกับเกาหลีใต้ แม้ว่าจะมีความแตกต่างทางภาษาอยู่บ้าง ชาวเกาหลีเหนือเรียกภาษาถิ่นเปียงยางว่า munhwaŏ ("ภาษาวัฒนธรรม") เมื่อเทียบกับภาษาถิ่นของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะภาษาถิ่นโซลหรือ p'yojun'ŏ ("ภาษามาตรฐาน") === การศึกษา === สำมะโนประชากรปี 2008 ระบุว่าประชากรทั้งหมดเป็นผู้รู้หนังสือ การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาภาคบังคับนั้นเรียนฟรี 11 ปี ปัจจุบันเกาหลีเหนือมีโรงเรียนอนุบาล 14,000 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 4 ปี 4,800 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษา 6 ปี 4,700 แห่ง ผู้ชาย 77% และผู้หญิงอายุ 30-34 ปี 79% จบชั้นมัธยมศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอีก 300 แห่งให้การศึกษาระดับอุดมศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการภาคบังคับส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแต่เริ่มรับราชการทหารตามบังคับหรือไปทำงานในฟาร์มหรือโรงงานแทน ข้อบกพร่องหลักของการศึกษาระดับอุดมศึกษาคือการมีอยู่อย่างมากของวิชาเชิงอุดมการณ์ ซึ่งประกอบด้วย 50% ของหลักสูตรในสังคมศึกษาและ 20% ในด้านวิทยาศาสตร์ และความไม่สมดุลในหลักสูตร การศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้รับการเน้นอย่างมากในขณะที่สาขาสังคมศาสตร์ถูกละเลย การศึกษาภาษารัสเซียและภาษาอังกฤษเป็นภาคบังคับในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นตั้งแต่ปี 1978 === สาธารณสุข === ชาวเกาหลีเหนือมีอายุขัยเฉลี่ย 72.3 ปี ในปี 2019 เกาหลีเหนือจัดเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำ โครงสร้างสาเหตุการเสียชีวิตของเกาหลีเหนือ (2013) นั้นแตกต่างจากประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ แต่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยมีโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดและมะเร็ง คิดเป็น 84 เปอร์เซ็นต์ของการเสียชีวิตทั้งหมดในปี 2016 ตามรายงานของธนาคารโลกประจำปี 2559 (ตามการประมาณการของ WHO) มีเพียง 9.5% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่บันทึกไว้ในเกาหลีเหนือ ที่มีสาเหตุมาจากโรคติดต่อและสภาวะของมารดาก่อนคลอด และภาวะโภชนาการ ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขของเกาหลีใต้เล็กน้อย (10.1%) และหนึ่งในห้าของประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ (50.1%) แต่สูงกว่าประเทศที่มีรายได้สูง (6.7%) มีเพียง 1 ใน 10 สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตโดยรวมในเกาหลีเหนือที่มีสาเหตุมาจากโรคติดต่อ (การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง) ซึ่งเป็นโรคที่มีรายงานว่าลดลงร้อยละ 6 ตั้งแต่ปี 2007 ในปี 2013 มีรายงานว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคกลุ่มเดียวเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีเหนือ สาเหตุหลักสามประการของการเสียชีวิตในเกาหลีเหนือ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหัวใจขาดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อในเกาหลีเหนือ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของสังคมเมืองสูง สังคมสูงอายุ และอัตราการสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ชายที่สูง อัตราการเสียชีวิตของมารดาต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่นๆ แต่สูงกว่าเกาหลีใต้และประเทศที่มีรายได้สูงอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ 89 ต่อการเกิดหนึ่งแสนคน ในปี 2008 อัตราการเสียชีวิตของเด็กอยู่ที่ 45 ต่อ 1,000 == วัฒนธรรม == เดิมเกาหลีเหนือสมัยอาณาจักรนั้นได้ติดต่อกับจีน และญี่ปุ่น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงคือ จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ช่วยเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว ทั้งนี้เพราะมาจากอิทธิพลจากส่วนอื่นโลก หลังจากคาบสมุทรถูกแบ่งออกในปี 1945 วัฒนธรรมที่แตกต่างกันสองวัฒนธรรมได้ก่อตัวขึ้นจากมรดกร่วมกันของเกาหลี ชาวเกาหลีเหนือไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศเนื่องจากนโยบายปิดประเทศ มรดกเกาหลีได้รับการคุ้มครองและดูแลโดยรัฐ สถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัตถุที่มีความสำคัญระดับชาติกว่า 190 แห่งได้รับการจัดประเภทเป็นสมบัติของชาติของเกาหลีเหนือ ในขณะที่สิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าน้อยกว่า 1,800 รายการรวมอยู่ในรายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรม โบราณสถานและอนุสาวรีย์ในแกซองและคอมเพล็กซ์ของสุสานโคกูเรียวเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก === สถาปัตยกรรม === === การแต่งกาย === === อาหาร === อาหารเกาหลีมีวิวัฒนาการผ่านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองหลายศตวรรษ มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีเกษตรกรรมและชนเผ่าเร่ร่อนในสมัยโบราณทางตอนใต้ของแมนจูเรียและคาบสมุทรเกาหลี ผ่านปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและแนวโน้มทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ข้าวและกิมจิเป็นอาหารเกาหลีหลัก ในอาหารแบบดั้งเดิม พวกเขาจะมาพร้อมกับเครื่องเคียง (panch'an) และอาหารจานหลัก เช่น juk, pulgogi หรือก๋วยเตี๋ยว สุราโซจูเป็นสุราเกาหลีดั้งเดิมที่รู้จักกันดีที่สุด ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลีเหนือ Okryu-gwan ซึ่งตั้งอยู่ในเปียงยาง ขึ้นชื่อเรื่องบะหมี่เย็นแร็งมยอน อาหารอื่น ๆ ที่เสิร์ฟ ได้แก่ ซุปปลากระบอกสีเทากับข้าวต้ม ซุปซี่โครงเนื้อ แพนเค้กถั่วเขียว ซินโซลโล และอาหารที่ทำจากเต่าทะเล Okryu-gwan ส่งทีมวิจัยไปยังชนบทเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเกาหลีและแนะนำสูตรอาหารใหม่ เมืองในเอเชียบางแห่งมีสาขาของเครือร้านอาหารเปียงยางซึ่งพนักงานเสิร์ฟจะแสดงดนตรีและเต้นรำแบบเกาหลีเหนือ === สื่อมวลชน === ภาพยนตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดบางเรื่องมีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (An Jung-geun) หรือนิทานพื้นบ้าน (Hong Gildong) ภาพยนตร์ส่วนใหญ่มีโครงเรื่องโฆษณาชวนเชื่อที่คาดเดาได้ ซึ่งทำให้ภาพยนตร์เป็นความบันเทิงที่ไม่เป็นที่นิยม ผู้ชมจะดูเฉพาะภาพยนตร์ที่มีนักแสดงที่พวกเขาชื่นชอบเท่านั้น แม้ว่าภาพยนตร์ไททานิคปี 1997 จะมีการฉายให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเห็นบ่อยครั้งว่าเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมตะวันตก การเข้าถึงผลิตภัณฑ์สื่อต่างประเทศสามารถทำได้ผ่านการลักลอบนำเข้าดีวีดีและโทรทัศน์หรือวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ชายแดนอย่างผิดกฎหมาย ภาพยนตร์ตะวันตกเช่น The Interview, ไททานิค และ นางฟ้าชาร์ลี เป็นเพียงภาพยนตร์สองสามเรื่องที่ถูกลักลอบนำเข้ามาข้ามพรมแดนของเกาหลีเหนือ ทำให้เข้าถึงพลเมืองเกาหลีเหนือได้ สื่อเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลที่เข้มงวดที่สุดในโลก การเซ็นเซอร์ในเกาหลีเหนือครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดที่ผลิตโดยสื่อ เจ้าหน้าที่ของรัฐเฝ้าจับตาดูอย่างหนัก สื่อถูกใช้อย่างเข้มงวดเพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล ชาวเกาหลีเหนือไม่มีเสรีภาพในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสื่อทั้งหมดถูกควบคุมและกรองผ่านการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล เสรีภาพสื่อในปี 2017 อยู่อันดับที่ 180 จาก 180 ประเทศ สื่อทุกแห่งถูกบังคับทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล นักข่าวทุกคนเป็นสมาชิกพรรคของท่านผู้นำประเทศ และการฟังรายการออกอากาศจากต่างประเทศถือเป็นภัยคุกคามมีโทษถึงประหารชีวิต ผู้ให้บริการข่าวหลักคือสำนักข่าวกลางของเกาหลี หนังสือพิมพ์รายใหญ่ทั้งหมด 12 ฉบับและวารสาร 20 ฉบับ รวมทั้งโรดอง ซินมุน ได้รับการตีพิมพ์ในเมืองหลวงอย่างถูกกฎหมาย === กีฬา === โรงเรียนส่วนใหญ่มีการฝึกซ้อมประจำวันในด้านฟุตบอล บาสเกตบอล ปิงปอง ยิมนาสติก มวย และอื่นๆ ลีกฟุตบอลเกาหลีเหนือ DPR ได้รับความนิยมภายในประเทศและเกมต่าง ๆ มักถูกถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือได้ร่วมแข่งขันครั้งล่าสุดในฟุตบอลโลก 2010 รอบสุดท้าย ก่อนจะตกรอบแรกเมื่อแพ้ทั้งสามนัดกับบราซิล โปรตุเกส และไอวอรี่โคสต์ การแข่งขันฟุตบอลโลก 1966 พวกเขาประสบความสำเร็จมากกว่า โดยมีชัยชนะเหนืออิตาลี 1-0 อย่างน่าประทับใจ เกาหลีเหนือมีตัวแทนของชาติในการแข่งขันบาสเกตบอลระดับนานาชาติเช่นกัน ในเดือนธันวาคม 2013 อดีตนักบาสเกตบอลชื่อดังชาวอเมริกัน เดนนิส ร็อดแมน ไปเยือนเกาหลีเหนือเพื่อช่วยฝึกทีมชาติหลังจากที่เขาพัฒนาความสนิทกับ คิม จองอึน เกาหลีเหนือร่วมในกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี 1964 นักกีฬาชาวเกาหลีเหนือยังได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันทุกรายการในโอลิมปิกฤดูร้อนอีกด้วย นักยกน้ำหนัก คิม อึน-กุก ทำลายสถิติโลกประเภทชาย 62 กก. ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ลอนดอน นักกีฬาโอลิมปิกทุกคนที่ประสบความสำเร็จจะได้รับอพาร์ทเมนท์สุดหรูจากรัฐเพื่อเป็นเกียรติแก่ความสำเร็จของพวกเขา === วันหยุด === ==หมายเหตุ== == อ้างอิง == ==ข้อมูล== Armstrong, Charles K. "North Korea in 2016." Asian Survey 57.1 (2017): 119–27. abstract Hayes, Peter, and Roger Cavazos. "North Korea in 2015." Asian Survey 56.1 (2016): 68–77. abstract Hayes, Peter, and Roger Cavazos. "North Korea in 2014." Asian Survey 55.1 (2015): 119–31. abstract; also full text online , covers 1960s to 2010. Jackson, Van. "Deterring a Nuclear-Armed Adversary in a Contested Regional Order: The 'Trilemma' of US–North Korea Relations." Asia Policy 23.1 (2017): 97–103. online Lee, Hong Yung. "North Korea in 2013: Economy, Executions, and Nuclear Brinksmanship." Asian Survey 54.1 (2014): 89–100. online == แหล่งข้อมูลอื่น == === เว็บไซต์รัฐบาล === KCNA – website of the Korean Central News Agency Naenara – the official North Korean governmental portal Naenara DPRK Foreign Ministry – official north Korean foreign ministry website The Pyongyang Times – official foreign language newspaper of the DPRK === เว็บไซต์ทั่วไป === Official website of the DPR of Korea – Administered by the Korean Friendship Association 38North North Korea profile at BBC News North Korea – link collection (University of Colorado at Boulder Libraries GovPubs) NKnews – a news agency covering North Korean topics. Friend.com.kp – website of the Committee for Cultural Relations with Foreign Countries Korea Education Fund Rodong Sinmun – the newspaper of the Central Committee of the Workers' Party of Korea Rodong Sinmun Uriminzokkiri DPRK Portal United Nations Office of the High Commissioner for Human Rights – Report of the Commission of Inquiry on Human Rights in the Democratic People's Republic of Korea ก ก ก ก เผด็จการทหาร ก ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2491 อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น
thaiwikipedia
401
บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มนวนิยายประเภทจินตนิยาย (Speculative Fiction - กลายมาจาก SF ซึ่งเป็นอักษรย่อของ Science Fiction) ซึ่งประกอบด้วยสองผลลัพธ์หลัก ๆ ได้แก่ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ และ นิยายจินตนิมิต == ประเภท == === บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สุดขั้ว === บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สุดขั้ว (Hard Science Fiction) เป็นแนวหลักดั้งเดิมของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จริง ๆ ผู้วางรากฐานของนิยายแนวนี้ได้แก่ เอช. จี. เวลส์, โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์, อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เป็นต้น บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้นั้น เสนอมุมมองของสิ่งประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีบางอย่าง ที่มีแนวโน้มว่าสามารถเป็นไปได้จริงในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือแสดงสภาพสังคมในอนาคตอันใกล้ ตามหลักของอนาคตศาสตร์ (Futurology) และสาขาวิชาที่ใช้ในการมองอนาคตชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีประโยชน์มาก และสามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้จริง นักอนาคตศาสตร์และนักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ในเมืองไทยได้แก่ ชัยวัฒน์ คุประตกุล และวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ === บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน === บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน (Soft Science Fiction) มีรูปแบบหลากหลาย โดยมีความถูกต้องหรือความเป็นไปได้ของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ที่นำมาประกอบเรื่องอยู่ในระดับหนึ่ง อาจจะกล่าวถึงทฤษฎี หรือสิ่งประดิษฐ์ ต่าง ๆ ที่ผู้ประพันธ์จินตนาการขึ้นมาบ้าง แต่เป็นที่ยอมรับได้ของผู้อ่าน เสน่ห์ของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์แบบอ่อน คือความยืดหยุ่นของ ฉาก เนื้อเรื่อง และตัวละคร ซึ่งมีให้เล่นได้มากกว่าบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้ ในกลุ่มของนิยายชนิดนี้ ฉากที่มักจะปรากฏคืออนาคตหรืออดีต “อันไกลโพ้น” ซึ่งเอื้อต่อการประดิษฐ์โครงเรื่องของผู้เขียน การเดินทางผ่านเวลาเป็นไปได้อย่างอิสระ การเดินทางผ่านไฮเปอร์สเปซ มีการเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง ตัวอย่างบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อนมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น ชายในชุดแอสเบสโตส ไปจนถึง Stainless Steel Rat ซึ่งไม่ได้เน้นที่เทคโนโลยีมากนัก แต่เน้นที่ตัวเอกของเรื่องแทน (พระเอกเก่งจนเกินจริง แต่สนุกน่าติดตาม). นิยายชุดสถาบันสถาปนา ที่นักอ่านชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งนำเสนอถึงผลกระทบจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ต่อมนุษยชาติ อาจจัดอยู่ระหว่าง บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้ กับ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน === บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต === บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต (Science Fantasy) เป็น “ตัวเชื่อม” ระหว่างพื้นที่ที่ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ มาบรรจบกับ นิยายจินตนิมิต นิยายกลุ่มนี้ ไม่เน้นเรื่องความถูกต้อง ข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปได้ ของหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาประกอบตัวเนื้อเรื่อง แต่จะเน้นเรื่องความกลมกลืนของตัวเรื่อง บุคลิกและความสัมพันธ์ของตัวละคร ความสนุกสนานและน่าติดตาม สตาร์วอร์ส จัดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของนวบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต ซึ่งมักจะอาศัยฉากอวกาศและเทคโนโลยี เข้ามาจับตัวเรื่อง แต่โครงของเรื่องนั้น มีพ่อมด เจ้าชาย เจ้าหญิง ฮีโร และตัวร้าย (ดาร์ค ลอร์ด) เช่นเดียวกับนิยายจินตนิมิตอื่น ๆ == ดูเพิ่ม == ภาพยนตร์ไซไฟ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ISFDB ค้นหานักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ และผลงาน
thaiwikipedia
402
โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์
โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ (Robert A. Heinlein) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน มักถูกเรียกขานว่า "ประธานนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์" (dean of science fiction writers) นับว่าเป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลมากคนหนึ่ง ไฮน์ไลน์ กับ ไอแซค อสิมอฟ และ อาเทอร์ ซี. คลาร์ก ได้รับยกย่องว่าเป็น "Big Three" หรือพี่ใหญ่ทั้งสามแห่งวงการนิยายวิทยาศาสตร์ == ผลงาน == Stranger in a strange land (ได้ Hugo) - นิยายไซไฟที่ดังที่สุดในอเมริกาของไฮน์ไลน์ เป็นเรื่องราวออกแนวศาสนา เคยแปลในชื่อไทยว่า "เขามาจากดาวอังคาร" หลายสิบปีมาแล้ว แต่ฉบับแปลได้ทอนเนื้อหาออกไปมากทีเดียว The moon is a harsh mistress (ได้ Hugo) - แปลในชื่อไทยว่า จันทราปฏิวัติ / สนพ. ask media เรื่องออกแนว political sci-fi เกี่ยวกับการปฏิวัติของชาวจันทราเพื่อปลดแอกตนออกจากโลก Double star (ได้ Hugo) - เป็นเรื่องออกแนว political sci-fi เช่นเดียวกับจันทราปฏิวัติ Starship troopers (ได้ Hugo) - อีกเรื่องที่ดังมากๆ และถูกนำไปทำเป็นหนัง hollywood เนื้อเรื่องออกแนว military sci-fi Have space suit - will travel - แปลในชื่อไทยว่า ลุยอุตลุดไปกับชุดอวกาศ / สนพ. ask media ไฮน์ไลน์เขียนเรื่องแนวตะลุยอวกาศไว้หลายเรื่อง ซึ่งตัวเรื่องจะออกแนวเด็กกว่าแนวอื่นๆ ในนิยายของไฮน์ไลน์หลายๆ เรื่อง ได้ประดิษฐ์สำนวนที่ดังๆ และถูกใช้กันจนกลายเป็นสำนวนธรรมดา เช่น TANSTAAFL (there ain't no such thing as a free lunch) จากเรื่อง จันทราปฏิวัติ เป็นต้น == อ้างอิง == นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ นักเขียนชาวอเมริกัน บุคคลจากรัฐมิสซูรี
thaiwikipedia
403
กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์
กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ ตั้งขึ้นโดย ไอแซค อสิมอฟ เพื่อใช้กับหุ่นยนต์ ในนิยายวิทยาศาสตร์ของเขา. กฎเหล่านี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับหุ่นยนต์ในชีวิตจริงแต่อย่างใด. หุ่นยนต์มิอาจกระทำการอันตรายต่อผู้ที่เป็นมนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้ผู้ที่เป็นมนุษย์ตกอยู่ในอันตรายได้(A robot may not harm a human being, or, through inaction, allow a human being to come to harm.) หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งที่ได้รับจากผู้ที่เป็นมนุษย์ เว้นแต่คำสั่งนั้นๆ ขัดแย้งกับกฎข้อแรก(A robot must obey the orders given to it by human beings, except where such orders would conflict with the First Law.) หุ่นยนต์ต้องปกป้องสถานะความมีตัวตนของตนไว้ ตราบเท่าที่การกระทำนั้นมิได้ขัดแย้งต่อกฎข้อแรกหรือกฎข้อที่สอง(A robot must protect its own existence, as long as such protection does not conflict with the First or Second Law.) โดยกฎเหล่านี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในฉากเริ่มเรื่องของภาพยนตร์ ไอ โรบอท(I, Robot) อ้างอิงจาก คู่มือหุ่นยนต์ศาสตร์ ฉบับแก้ไขครั้งที่ 56 ค.ศ. 2058 ต่อมาในภายหลัง ได้มีการเพิ่มกฎข้อ 0 ลงไป คือ 0. หุ่นยนต์มิอาจกระทำการอันตรายต่อมนุษยชาติ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษยชาติตกอยู่ในอันตรายได้ (A robot may not injure humanity, or, through inaction, allow humanity to come to harm.) โดยการกระทำตามกฎข้อ 1, 2 และ 3 จะต้องไม่ขัดกับกฎข้อ 0 นี้ == วิวัฒนาการของกฎของหุ่นยนต์ == ค.ศ. 1890 บริษัทหุ่นยนต์และมนุษย์กลแห่งสหรัฐฯ ทำการดัดแปลงกฎข้อที่ 1 โดยระบุไว้เพียงแค่ว่า 1. หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ อ้างอิงจาก "เนสเตอร์ 10" (ข้าคือหุ่นยนต์ #1, แปลโดย ธีรวินท์) : "Little Lost Robot" (I, Robot) ค.ศ.1900 ซูซาน เคลวิน แสดงความคิดเห็นถึงการมีอยู่ของกฎข้อที่ศูนย์ขึ้นเป็นครั้งแรกว่า "เครื่องจักรจะต้องไม่ทำร้ายมนุษยชาติ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษยชาติต้องตกอยู่ในอันตราย" กฎข้อแรกถึงข้อที่สามควรถูกปรับเปลี่ยนตามให้สอดคล้องกัน อ้างอิงจาก "เครื่องจักร" (ข้าคือหุ่นยนต์ #1, แปลโดย ธีรวินท์) : "The Evitable Conflict" (I, Robot) ค.ศ. 1950 อีลีจาห์ เบลีย์ แย้งว่า กฎข้อที่หนึ่งมีข้อผิดพลาด และให้ความเห็นว่าน่าจะถูกระบุไว้ว่า "ภายใต้การรับรู้, หุ่นยนต์จะไม่ทำสิ่งใดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตราย" มากกว่า อ้างอิงจาก นครสุริยะ (แปลโดย ประหยัด โภคะฐิติยุกต์) : The Naked Sun ค.ศ. 2000 ห.จิสการ์ด เพิ่มกฎข้อที่ศูนย์ให้อยู่เหนือกฎของหุ่นยนต์ดั้งเดิมสามข้อ โดยระบุว่า "หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำร้ายมนุษยชาติ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษยชาติ ต้องตกอยู่ในอันตราย" กฎข้อแรกถึงข้อที่สามควรถูกปรับเปลี่ยนตามให้สอดคล้องกัน อ้างอิงจาก นครหุ่นยนต์ (แปลโดย ระเริงชัย) : Robot and Empire หลังสถาปนาแห่งปฐมภพ ภพมีชีวิต ปฐมภพ (หรือภพไกอา) ได้ปรับกฎข้อแรกให้สอดคล้องกับปรัชญาแห่งตน โดยระบุไว้ว่า "ปฐมภพจะต้องไม่ทำร้ายสิ่งมีชีวิต หรือนิ่งเฉยปล่อยให้สิ่งมีชีวิตตกอยู่ในอันตราย" อ้างอิงจาก สถาบันสถาปนาและปฐมภพ (แปลโดย ทศพล) : Foundation's Edge โดยในปัจจุบันได้มีการเติมตรรกะทางความคิดให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น โดยใช้ กฎเพียงข้อเดียวคือ รับรู้และทำตาม บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หุ่นยนต์ ไอแซค อสิมอฟ
thaiwikipedia
404
วอลเตอร์ เทวิส
วอลเตอร์ เทวิส (Walter Tevis) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐ เกิดเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928 ที่ซานฟรานซิสโก เสียชีวิตเมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1984 ด้วยโรคมะเร็งปอด ผลงานของเทวิส ที่มีแปลเป็นภาษาไทย คือเรื่อง The Man Who Fell to Earth แปลเป็นไทยในชื่อ บุรุษผู้มาจากต่างดาว นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ เสียชีวิตจากมะเร็งปอด
thaiwikipedia
405
ไมเคิล มัวร์ค็อก
ไมเคิล มัวร์ค็อก (Michael Moorcock) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ และนิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซี เกิดเมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) มไมเคิล มัวร์ค็อก์
thaiwikipedia
406
ประเทศเกาหลีใต้
เกาหลีใต้ (South Korea; ) ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า ฮันกุก มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; ) บางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้ เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมครึ่งส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือซึ่งถูกคั่นด้วยเขตปลอดทหารเกาหลี ทางตะวันตกล้อมรอบด้วยทะเลเหลือง และมีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ รัฐบาลเกาหลีใต้ยังอ้างสิทธิอันชอบธรรมในการครอบครองดินแดนบริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะใกล้เคียงทั้งหมด เกาหลีใต้มีประชากรประมาณ 52 ล้านคน ประชากรราว 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตกรุงโซลและกว่า 25 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเมืองหลวงและปริมณฑล (ซูโดกวอน) ซึ่งถือเป็นเขตมหานครมี่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก เกาหลีใต้มีเมืองหลวงคือกรุงโซล และเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ อินช็อน, ปูซาน และแทกู คาบสมุทรเกาหลีมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าหนึ่งล้านปี โดยเริ่มมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ช่วงยุคหินเก่าตอนต้น ซึ่งพบหลักฐานในบันทึกของจีนเมื่อต้นศตวรรษที่ 7 ภายหลังจากการรวมสามราชอาณาจักรเกาหลีในปลายศตวรรษที่ 7 เกาหลีถูกปกครองโดยราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 918–1392) และราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1392–1897) จักรวรรดิเกาหลีถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1910 และการปกครองของญี่ปุ่นได้สิ้นสุดลงหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมา ประเทศเกาหลีได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ บริเวณตอนเหนือซึ่งถูกครอบครองโดยสหภาพโซเวียตและทางใต้ที่ครอบครองโดยสหรัฐอเมริกา และภายหลังจากความล้มเหลวในการเจรจาเพื่อรวมประเทศ ดินแดนทางใต้ได้กลายเป็นสาธารณรัฐเกาหลีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1948 ในขณะที่ดินแดนดั้งเดิมได้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ใน ค.ศ. 1950 การรุกรานของเกาหลีเหนือก่อให้เกิดสงครามเกาหลี นำไปสู่การแทรกแซงของสหประชาชาติที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งสนับสนุนเกาหลีใต้ ในขณะที่เกาหลีเหนือได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต และภายหลังการลงนามสงบศึกใน ค.ศ. 1953 เศรษฐกิจของประเทศก็พัฒนาอย่างก้าวกระโดด จนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" โดยเกาหลีใต้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เฉลี่ยเติบโตเร็วที่สุดในโลกระหว่าง ค.ศ. 1980–90 และแม้จะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่เกาหลีใต้ก็สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องจนก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย โดยมีจุดเด่นในด้านการค้าระหว่างประเทศ และการบูรณาการเศรษฐกิจภายในประเทศสู่ระดับโลก ปัจจุบันเกาหลีใต้เป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลกและมีมูลค่าทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอันดับ 8 ของโลก การชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1987 นำไปสู่การสิ้นสุดของระบอบเผด็จการ ส่งผลให้เกาหลีใต้กลายเป็นหนึ่งในประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าที่สุดในทวีปเอเชียมาถึงปัจจุบัน และยังเป็นประเทศที่ให้เสรีภาพสื่อในระดับสูง เกาหลีใต้ถือเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาค มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด) และเป็นอันดับ 14 ตามอำนาจซื้อ เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เร็วที่สุดชาติหนึ่งของโลก รวมทั้งมีโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพสูงจากการมีรถไฟความเร็วสูงที่มีศักยภาพระดับโลก เกาหลีใต้ยังมีแรงงานทักษะสูง รวมทั้งเป็นหนึ่งในประเทศที่ประชากรมีการศึกษาสูงที่สุดในโลก และยังมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกาหลีใต้มีขนาดกองทัพใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในกองกำลังที่แข็งแกร่งที่สุด เกาหลีใต้มีอัตราการคาดหมายคงชีพสูง แต่ในปัจจุบันกำลังเผชิญวิกฤติการสังคมผู้สูงอายุ และอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา เกาหลีใต้มีชื่อเสียงในด้านวัฒนธรรมป๊อปที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านดนตรี (เคป็อป) ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่ากระแสเกาหลี เกาหลีใต้เป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, กลุ่ม 20, กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก และปารีสคลับ == นิรุกติศาสตร์ == ชื่อประเทศ Korea มีที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยอาณาจักรโคกูรยอ ซึ่งเป็นมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกในยุคนั้น เรียกดินแดนบริเวณคาบสมุทรเกาหลีที่ตนเองปกครองว่า Goryeo (Koryo) ต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ราชวงศ์โครยอ ได้ปกครองประเทศต่อและเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาติอื่น ๆ และพ่อค้าชาวเปอร์เซียที่มาเยือนดินแดนแห่งนี้ได้ออกเสียงคำว่า Goryeo เป็น Korea และใน ค.ศ. 1568 ชื่อประเทศเกาหลีได้ปรากฏอย่างเป็นทางการในแผนที่ของ เฟอร์เนา วาซ ดูราดู นักสำรวจชาวโปรตุเกส ในชื่อ "Conrai" ก่อนที่ ฌูเวา ไตไชรา อัลบือร์นัช จะเปลี่ยนกลับมาเป็น "Korea" อีกครั้งในปลายศตวรรษที่ 16 เพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียง และชาติตะวันตกได้ใช้ชื่อ Korea เพื่อเรียกประเทศเกาหลีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ราชวงศ์โชซ็อน ได้ปกครองประเทศต่อจากราชวงศ์โครยอ และตั้งชื่อดินแดนทั้งหมดว่า Joseon (โชซ็อน) ตามชื่อราชวงศ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น Daehan Jeguk ใน ค.ศ. 1897 ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโคจง โดยชื่อ Daehan มีที่มาจากคำว่า Samhan ซึ่งสื่อความหมายถึง สามราชอาณาจักรเกาหลี (จักรวรรดิโคกูรยอ, แพ็กเจ และชิลลา) แต่ในทางปฏิบัติแล้ว คนเกาหลีโดยทั่วไปยังเรียกประเทศตนเองว่าโชซ็อน แม้จะไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการในทางนิตินัย ต่อมา เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1910–1945 ตามสนธิสัญญาการรวมญี่ปุ่น-เกาหลี และภายหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1945 ดินแดนของเกาหลีได้ถูกแบ่งแยกใน ค.ศ. 1948 และภายหลังจากความล้มเหลวในการเจรจาเพื่อรวมประเทศ ดินแดนทางใต้ได้รับการตั้งชื่อในภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการว่า The Republic of Korea ซึ่งหมายถึง สาธารณรัฐเกาหลี == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้ง === เกาหลีใต้ครอบคลุมพื้นที่ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งทอดยาวประมาณ 1,100 กม. (680 ไมล์) จากแผ่นดินใหญ่ในทวีปเอเชีย คาบสมุทรนี้ประกอบด้วยภูเขาที่ขนาบข้างด้วยทะเลเหลืองทางทิศตะวันตก และทะเลญี่ปุ่นทางทิศตะวันออก ปลายด้านใต้อยู่ที่ช่องแคบเกาหลีและทะเลจีนตะวันออก แผ่นดินประเทศรวมทั้งหมู่เกาะทั้งหมดตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 33° ถึง 39°N และลองจิจูด 124° ถึง 130°E พื้นที่ทั้งหมดบริเวณนี้มีเนื้อที่ 100,032 ตารางกิโลเมตร (38,622.57 ตารางไมล์) เกาหลีใต้แบ่งออกเป็นสี่ภูมิภาคหลัก: ภาคตะวันออกของเทือกเขาสูงและที่ราบชายฝั่งแคบ; ภาคตะวันตกของที่ราบชายฝั่งทะเลกว้าง แอ่งน้ำ และเนินเขา พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาและหุบเขา และภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่ครอบงำโดยแอ่งกว้างของแม่น้ำนักดง เกาหลีใต้เป็นที่ตั้งของป่าไม้สำคัญสามแห่ง ได้แก่ ป่าผลัดใบของเกาหลีกลาง ป่าผสมผสานแมนจูเรีย และป่าดิบชื้นของเกาหลีใต้ ภูมิประเทศของเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ที่ราบลุ่มซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นสัดส่วนเพียง 30% ของพื้นที่ทั้งหมด บริเวณโดยรอบประเทศประกอบด้วยเกาะประมาณสามพันเกาะ ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกและใต้ของเกาหลีใต้ เมืองเชจูอยู่ห่างจากชายฝั่งทางใต้ของเกาหลีใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) ถือเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีพื้นที่ 1,845 ตารางกิโลเมตร (712 ตารางไมล์) เชจูยังเป็นที่ตั้งของจุดที่สูงที่สุดของเกาหลีใต้: Hallasan ภูเขาไฟที่ดับแล้วสูงถึง 1,950 เมตร (6,400 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล เกาะทางตะวันออกสุดของเกาหลีใต้ ได้แก่ เกาะอุลลึงโด (Ulleungdo) และ เลียนคอร์ทร็อคส์ (Liancourt Rocks (Dokdo/Takeshima)) ในขณะที่ มาราโด (Marado) และ Socotra Rock เป็นเกาะที่อยู่ทางใต้สุดของเกาหลีใต้ เกาหลีใต้มีอุทยานแห่งชาติ 20 แห่ง และสถานที่ทางธรรมชาติยอดนิยม เช่น ทุ่งชาโบซอง อุทยานระบบนิเวศอ่าวซุนชอน และอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจีริซาน === สภาพอากาศ === เกาหลีใต้มีมีภูมิอากาศแบบทวีปชื้นและภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้น และได้รับผลกระทบจากลมมรสุมเอเชียตะวันออก โดยมีปริมาณน้ำฝนมากขึ้นในฤดูร้อนในช่วงฤดูฝนสั้น ๆ ที่เรียกว่า jangma (장마) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคม ฤดูหนาวอาจมีอากาศหนาวจัดโดยอุณหภูมิต่ำสุดจะลดลงต่ำกว่า -20 °C (-4 °F) ในเขตพื้นที่ภายในประเทศของประเทศ: ในกรุงโซล ช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยมกราคมคือ −7 ถึง 1 °C (19 ถึง 34 °F) ) และช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 22 ถึง 30 °C (72 ถึง 86 °F) ฤดูหนาวอุณหภูมิจะสูงขึ้นตามแนวชายฝั่งทางใต้และต่ำกว่ามากในบริเวณภูเขาภายใน ฤดูร้อนอาจร้อนและชื้นจนรู้สึกไม่สบาย โดยมีอุณหภูมิเกิน 30 °C (86 °F) ในหลายพื้นที่ของประเทศ เกาหลีใต้มีสี่ฤดูกาลที่แตกต่างกัน ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิมักจะกินเวลาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม ฤดูร้อนตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกันยายน ฤดูใบไม้ร่วงตั้งแต่กลางเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน และฤดูหนาวตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม ทั้งสองฤดูถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวที่สุด ปริมาณน้ำฝนมีความเข้มข้นในช่วงฤดูร้อนของเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ชายฝั่งทางใต้อยู่ภายใต้พายุไต้ฝุ่นช่วงปลายฤดูร้อนซึ่งทำให้เกิดลมแรง ฝนตกหนัก และน้ำท่วมในบางครั้ง ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยแตกต่างกันไปจาก 1,370 มิลลิเมตร (54 นิ้ว) ในกรุงโซลถึง 1,470 มิลลิเมตร (58 นิ้ว) ในปูซาน == ประวัติศาสตร์ == === ยุคเผ่าและอาณาจักรโชซ็อนโบราณ === ในยุคแรกดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ เผ่าแรกที่ปรากฏคือเผ่าโชซ็อนโบราณ ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือ เรืองอำนาจในช่วงพ.ศ. 143 – 243 ส่วนเผ่าอื่นได้แก่เผ่าพูยอ อยู่บริเวณปากแม่น้ำซุงคารีทางแมนจูเรียเหนือ เผ่าโคกูรยออยู่ระหว่างแม่น้ำพมาก และแม่น้ำอัมนก เผ่าอกจออยู่บริเวณมณฑลฮัมกย็อง เผ่าทงเยอยู่บริเวณมณฑลคังว็อน และเผ่าสามฮั่นคือ มาฮั่น ชินฮั่น และพยอนฮั่น ที่อยู่บริเวณแม่น้ำฮั่นและแม่น้ำนักดง ทางภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ตำนานที่เป็นที่แพร่หลายในประเทศเกาหลีเล่าถึงกำเนิดของชนชาติตนว่า เจ้าชายฮวางวุง โอรสของเทพสูงสุดบนสวรรค์ลงมาสร้างเมืองที่ภูเขาแทแบ็ก ได้แต่งงานกับหญิงที่มีกำเนิดจากหมี มีโอรสชื่อตันกุน ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโชซ็อนโบราณ เมื่อ 1790 ปีก่อนพุทธศักราช ดินแดนคาบสมุทรเกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นจีนเมื่อ พ.ศ. 434 เมื่อจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้หรือกวนอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นยกทัพเข้ายึดครองดินแดนของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ และแบ่งเกาหลีเป็น 4 มณฑล คือ อาณาจักรนังนัง ชินบอน อิมดุน และฮย็อนโท อย่างไรก็ตาม จีนปกครองมณฑลนังนังอย่างจริงจังเพียงมณฑลเดียว มณฑลอื่น ๆ จึงค่อย ๆ แยกตัวเป็นเอกราช จน พ.ศ. 856 ชนเผ่าโคกูรยอเข้ายึดครองมณฑลนังนัง ขับไล่จีนออกไปได้สำเร็จ การตกเป็นเมืองขึ้นของจีนทำให้เกาหลีได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนมาก เช่นตัวอักษรและศาสนา (พุทธและขงจื๊อ) === ยุคสามอาณาจักร === ในยุคนี้คาบสมุทรเกาหลีถูกปกครองโดยสามอาณาจักรที่รุ่งเรืองนับพันปีบนคาบสมุทรเกาหลี คือ อาณาจักรโคกูรยอ มีพื้นที่ตั้งแต่บริเวณตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลีตอนใต้และตอนกลางของคาบสมุทรเหลียวตง เป็นอาณาจักรที่มีกองทัพที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าดงเมียงซอง เมื่อ 37 ปีก่อนคริสต์ศักราช เดิมโคกูรยอคืออาณาจักรพุกพูยอ พระเจ้าดงเมียงซองทรงเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรเป็นโคกูรยอ เมืองหลวงแห่งแรกคือ เมืองโจลบอน ในสมัยพระเจ้ายูริแห่งโคกูรยอได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองคุงแน และในสมัยพระเจ้าจางซูมหาราชได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองเปียงยาง อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 668 รัชสมัยพระเจ้าบอจาง จากการโจมตีของราชวงศ์ถังที่ปกครองประเทศจีนและอาณาจักรชิลลาที่อยู่ทางตอนใต้ อาณาจักรโคกูรยอมีอายุถึง 705 ปี อาณาจักรแพ็กเจ ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 18 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพระเจ้าอนจอซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าดงเมียงซอง พระมเหสีโซซอโนพระราชมารดาของพระเจ้าอนจอทรงคิดจะตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นทางตอนใต้ ขึ้นเป็นอาณาจักรพี่น้องกับอาณาจักรโคกูรยอจึงได้อพยพประชาชนมาจากโคกูรยอและรวบรวมชนเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกันก่อตั้งขึ้นเป็น อาณาจักรซิปเจ ปกครองโดยพระเจ้าอนจอภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรแพ็กเจ มีเมืองหลวงแห่งแรกคือเมืองวิรเย ในรัชสมัยพระเจ้ามุนจูได้ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองอุงจิน และในรัชสมัยพระเจ้าซองได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองซาบี อาณาจักรแพ็กเจล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 660 รัชสมัยพระเจ้าอึยจาจากการโจมตีของอาณาจักรชิลลา อาณาจักรแพ็กเจมีอายุถึง 678 ปี อาณาจักรชิลลา ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 57 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพระเจ้าฮยอกกอเซกษัตริย์พระองค์แรกแห่งชิลลา ทรงรวบรวมชนเผ่าต่าง ๆเข้าด้วยกันจนกลายเป็นอาณาจักรชิลลา มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคยองจู อาณาจักรชิลลาสามารถรวบรวมอาณาจักรแพ็กเจและอาณาจักรโคกูรยอเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ในปี ค.ศ. 668 รัชสมัยพระเจ้ามูยอล อาณาจักรคายา ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลีแถบแม่น้ำนักดง ประกอบด้วยห้าราชวงศ์ คือ ราชวงศ์กึมควันคายา ราชวงศ์โกรยองคายา ราชวงศ์พีฮวาคายา ราชวงศ์อาราคายา และราชวงศ์ซองซันคายา ราชวงศ์หลักคือราชวงศ์กึมควันคายา ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าซูโร เมื่อ 42 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีตำนานว่าพระชายาของพระเจ้าซูโรเป็นองค์หญิงที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียพระนามว่าองค์หญิงฮอฮวางอ๊ก ในรัชสมัยพระเจ้าคูฮย็องอาณาจักรคายาได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรชิลลาในรัชสมัยพระเจ้าบอปฮึง อาณาจักรคายามีอายุถึง 604 === ยุคอาณาจักรเหนือใต้ === เมื่อสิ้นสุดสมัย 3 อาณาจักรนั้น อาณาจักรชิลลาถือว่าเป็นผู้มีชัยเหนืออาณาจักรอื่นบนคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด ในทางประวัติศาสตร์ถือว่ายุคสมัยนี้ อาณาจักรชิลลาเป็นผู้รวบรวมแผ่นดินเกาหลีให้เป็นผืนเดียวกันได้เป็นครั้งแรกนับแต่ยุคสมัยดึกดำบรรพ์เป็นต้นมา จึงเรียกว่า ยุคชิลลารวมอาณาจักร ช่วงยุคสมัยนี้นับจากปีที่อาณาจักรโคกูรยอและอาณาจักรแพ็กเจล่มสลายลงไปใน พ.ศ. 1211 และสืบเนื่องไปจนถึง พ.ศ. 1478 แต่ที่จริงแล้ว อาณาจักรชิลลาไม่ได้ครอบครองดินแดนทั้งหมดไว้ ที่ครอบคลุมได้ทั้งหมดนั้นเพียงดินแดนทางตอนใต้เท่านั้น แม้แต่ดินแดนของโคกูรยอเดิม ชิลลาก็ได้มาเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่เพียงที่ต้องยกคาบสมุทรเหลียวตงให้กับจีน แต่ดินแดนทางเหนือจรดไปถึงแมนจูเรียตกอยู่ในการควบคุมของอาณาจักรเกิดใหม่อีกอาณาจักรหนึ่ง ชื่อว่า อาณาจักรพัลแฮ หรือเรียกว่า ป๋อไห่ ในชื่อเรียกตามภาษาจีน ในยุคสมัยนี้ นักประวัติศาสตร์บางท่านจึงจัดว่าเป็นยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี === ยุคสามอาณาจักรหลัง === หลังจากอาณาจักรพัลแฮถูกราชวงศ์เหลียวตีจนแตกนั้นประชาชนพากันอพยพลงใต้มาบริเวณอาณาจักรโคกุเรียวเดิม แล้วเชื้อพระวงศ์ของอาณาจักรพัลแฮ ก็สถาปนาอาณาจักรใหม่บริเวณอาณาจักรโคกุเรียวเดิม แล้วให้ชื่อว่า "อาณาจักรโคกูเรียวใหม่" แล้วสถาปนาตนเองป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้ากุงเย ส่วนชาวแพ็กเจที่อยู่ในอาณาจักรรวมชิลลาก็ได้ก่อกบฏต่ออาณาจักร มีหัวหน้าคือ คยอน ฮวอน แล้วไปตั้งถิ่นฐานที่บริเวณอาณาจักรแพ็กเจเดิม แล้วให้ชื่อว่า "อาณาจักรแพ็กเจใหม่" แล้วสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าคยอน ฮวอน แล้วทำการก่อกบฏต่ออาณาจักรรวมชิลลา ทำให้ชิลลาเกิดความระส่ำระส่าย จึงถือเป็นยุคสามอาณาจักรยุคหลัง === ยุคราชวงศ์โครยอ === วังฮูมาสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แทโจแห่งราชวงศ์โคเรียวเมื่อ พ.ศ. 1486 อาณาจักรนี้เจริญสูงสุดในสมัยกษัตริย์มุนจง ยุคนี้เป็นยุคที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา มีการทำสงครามกับพวกญี่ปุ่นและมองโกล ถูกจีนควบคุมในสมัยราชวงศ์หยวน จนเมื่ออำนาจของราชวงศ์หยวนอ่อนแอลง อาณาจักรโครยอต้องพบกับปัญหาโจรสลัดญี่ปุ่นและการรุกรานของราชวงศ์หมิง ในที่สุดทำให้ฝ่ายทหารมีอำนาจมากขึ้นจนนำไปสู่การยึดอำนาจของนายพล อีซองกเย และสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1935 === ยุคราชวงศ์โชซ็อน === นายพล ลี ซองเกสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แทโจแห่งราชวงศ์โชซ็อน ในสมัยนี้ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อให้เป็นลัทธิประจำชาติและเริ่มลดอิทธิพลของพุทธศาสนา สมัยกษัตริย์เซจงมหาราช ทรงประดิษฐ์อักษรฮันกึลขึ้นใช้แทนอักษรจีน === จักรวรรดิเกาหลี === จักรวรรดิเกาหลี หรือ แทฮันเจกุก (อังกฤษ: The Greater Korean Empire ; เกาหลี: 대한제국, ฮันจา: 大韓帝國, MC: Daehan Jeguk, MR: Taehan Chekuk) คือราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโกจง พร้อมกับการเปลี่ยนพระอิสริยยศจาก กษัตริย์ เป็น จักรพรรดิ โดยพระองค์มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี เพื่อให้ประเทศเอกราชจากจักรวรรดิชิง และยกสถานะของประเทศมีความเท่าเทียมกับจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าโดยพฤติการณ์แล้วสถานะของเกาหลีไม่ได้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิเลยก็ตาม จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี 1910 === เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น === เมื่อ ค.ศ. 1910 ญี่ปุ่นได้ผนวกเกาหลีเป็นทาสของตนตามสนธิสัญญาการรวมญี่ปุ่น-เกาหลี ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย เพราะมีการลงนามของกษัตริย์เกาหลี เกาหลีเป็นเมืองขึ้นจนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามเมื่อ 15 สิงหาคม 1945 ในระหว่างการปกครองของญี่ปุ่น มีการสร้างระบบคมนาคมแบบตะวันตก ส่วนใหญ่ล้วนทำเพื่อประโยชน์ของชาวเกาหลี ญี่ปุ่นยกเลิกราชวงศ์โชซ็อน ยุบพระราชวัง ช่วยปรับปรุงระบบภาษี ให้ส่งข้าวจากเกาหลีไปช่วยญี่ปุ่น มีการใช้แรงงานทาสในการสร้างถนนและทำเหมืองแร่ หลังการสวรรคตของกษัตริย์โกจง (Gojong) เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1918 ด้วยยาพิษ ทำให้เกิดการเรียกร้องเอกราชทั่วประเทศ เมื่อ 1 มีนาคม 1918 ผลจากการลุกฮือขึ้นเรียกร้องเอกราชทำให้ชาวเกาหลีราว 7,000 คนถูกฆ่าโดยทหารและตำรวจญี่ปุ่น ชาวคริสต์เกาหลีจำนวนมากถูกฆ่าหรือเผาในโบสถ์ระหว่างการเรียกร้องเอกราชมีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของเกาหลีที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หลังจากการเคลื่อนไหว 1 มีนาคม เพื่อต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น การลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ต่อไป เช่น การลุกฮือของนักศึกษาทั่วประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1929 จนนำไปสู่การประกาศกฎอัยการศึกเมื่อ ค.ศ. 1931 หลังจากเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1937 ญี่ปุ่นพยายามลบล้างความเป็นชาติของเกาหลี การสอนประวัติศาสตร์และภาษาเกาหลีในโรงเรียนถูกห้าม การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเกาหลีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ชาวเกาหลีถูกบังคับให้มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น สิ่งของมีค่าถุกนำออกจากเกาหลีไปยังญี่ปุ่น. หนังสือพิมพ์ถูกห้ามตีพิมพ์ด้วยภาษาเกาหลี หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จำนวนมากถูกเผาทำลาย ชาวเกาหลีจำนวนมากอพยพออกจากเกาหลีไปสู่แมนจูเรียและรัสเซีย ชาวเกาหลีในแมนจูเรียจัดตั้งขบวนการกู้เอกราชชื่อ "ทุงนิบกุน" (Dungnipgun) ขบวนการนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน ทำสงครามกองโจรกับกองทัพญี่ปุ่น กองทัพเหล่านี้ได้รวมตัวกันเป็นกองทัพปลดปล่อยเกาหลี เมื่อราว ค.ศ. 1940 เคลื่อนไหวในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวเกาหลีกว่าหมื่นคนเข้าร่วมในกองทัพปลดปล่อยประชาชนและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเกาหลีถูกบังคับให้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ชายชาวเกาหลีถูกเกณฑ์เข้าร่วมในกองทัพญี่ปุ่น ผู้หญิงจากจีนและเกาหลีราว 200,000 คน ถูกส่งตัวไปเป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่น === การแบ่งแยกประเทศ === หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง แนวโน้มของการแบ่งประเทศเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อ 8 กันยายน ค.ศ. 1943 เมื่อสหรัฐเข้าควบคุมภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี และโซเวียตเข้าควบคุมภาคเหนือ โดยใช้เส้นขนาน (ละติจูด,เส้นรุ้ง) ที่ 38 องศาเป็นเส้นแบ่ง รัฐบาลชั่วคราวถูกยกเลิกเพราะสหรัฐเห็นว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ ในครั้งแรกการแบ่งแยกนี้เป็นการชั่วคราว และจะให้เอกราชแก่เกาหลีเมื่อสี่ชาติมหาอำนาจคือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ และจีน จัดการปกครองในเกาหลีสำเร็จ ในการประชุมไคโรเมื่อ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 กำหนดให้เกาหลีเป็นชาติอิสระ และการประชุมล่าสุดที่ยัลตาในเดือนกุมภาพันธ์ 1945 ตกลงให้เกาหลีเป็นรัฐในอารักขาของชาติมหาอำนาจสี่ชาติ ต่อมา 9 สิงหาคม 1945 โซเวียตยกทัพจากไซบีเรียเข้าสู่เกาหลีโดยไม่มีการต่อต้าน ญี่ปุ่นยอมแพ้เมื่อ 15 สิงหาคม 1945 ในเดือนธันวาคม มีการประชุมที่มอสโกเพื่อตกลงเกี่ยวกับอนาคตของเกาหลี โดยกำหนดให้เป็นรัฐในอารักขา 5 ปี และรวมส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐและโซเวียตเข้าด้วยกัน มีการประชุมกันอีกครั้งที่กรุงโซลแต่องค์การตั้งประเทศใหม่ยังไม่ลุล่วง เดือนกันยายน 1947 สหรัฐส่งปัญหาเกาหลีเข้าสู่สหประชาชาติเพื่อให้เกาหลีเป็นรัฐเดียวที่มีเอกภาพ แต่ผลจากสงครามเย็นทำให้สหรัฐวางแผนคุ้มกันเกาหลีเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้เกิดการแยกประเทศเมื่อ ค.ศ. 1948 เกิดเป็นสองประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครองต่างกัน สหประชาชาติยอมรับสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) เป็นตัวแทนเกาหลีในสหประชาชาติเพียงรัฐเดียวเมื่อ 12 ธันวาคม 1948 สงครามเกาหลีระเบิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 1950 เมื่อเกาหลีเหนือยกทัพข้ามเส้นขนานที่ 38 องศาบุกเข้าโจมตีเกาหลีใต้ เป็นการยุติความพยายามในขณะนั้นที่จะรวมประเทศทั้งสองอย่างสันติ สงครามดำเนินไปจนมีข้อตกลงหยุดยิงเมื่อ 27 กรกฎาคม 1953 === ยุคเผด็จการหลังสงคราม (1960–1987) === ใน ค.ศ. 1960 เกิดเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนเมษายน จากความอ่อนแอของรัฐบาล อี ซึง-มัน เกิดวิกฤติการเมืองในประเทศ และนำไปสู่รัฐประหาร 16 พฤษภาคมโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ พัก จ็อง-ฮี ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อ เขากระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศโดยขยายการส่งออกด้วยกำไรมหาศาล แต่แลกมาด้วยการกดขี่ทางการเมืองและเสรีภาพของประชาชน พักถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงจากการปกครองแบบเผด็จการ และใน ค.ศ. 1972 รัฐบาลของเขาได้ตรารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง โดยมีการระบุให้เขาสามารถลงสมัครเลือกตั้งได้อีกโดยไม่จำกัดวาระดำรงตำแหน่ง หากก็นำมาซึ่งการพัฒนาสาธารณูปโภคในประเทศอย่างต่อเนื่อง พักได้พัฒนาระบบทางด่วนทั่วประเทศ รวมทั้งสร้างระบบรถไฟใต้ดินในกรุงโซล ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในระบบรถไฟใต้ดินที่ทันสมัยที่สุดในโลกมาถึงปัจจุบัน และรัฐบาลของเขายังวางรากฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวเพื่อให้รัฐบาลชุดต่อไปได้พัฒนาประเทศ ก่อนที่เขาจะถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1979 รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 17 ปี พลเอก ช็อน ดู-ฮวัน เป็นผู้นำรัฐประหารใน ค.ศ. 1979 และบังคับให้คณะรัฐมนตรีขยายกฎอัยการศึกไปทั่วประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยใช้บังคับกับเกาะเชจู กฎอัยการศึกขยายการปิดมหาวิทยาลัย การห้ามกิจกรรมทางการเมือง และระงับเสรีภาพสื่อ ก่อให้เกิดการประท้วงทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การประท้วงเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่เมืองควังจู และในที่สุดนำไปสู่ การก่อการกำเริบควังจู ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม ถึง 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ถือเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีร่วมสมัย นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเกาหลี ช็อน ดู-ฮวัน ได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายฉุกเฉินป้องกันราชอาณาจักรเพื่อทำการตอบโต้ และตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กันยายน 1980 และรัฐบาลของเขาปกครองเกาหลีใต้ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการจนถึงปี 1987 ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ทรมานนักศึกษานามว่า พัก ยอง-ชุล จนเสียชีวิต สมาคมนักบวชคาทอลิกเพื่อความยุติธรรม ได้เปิดเผยเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสาธารณชน ในที่สุด โน แท-อู อดีตบุคคลสำคัญในรัฐบาล ช็อน ดู-ฮวัน ประกาศปฏิญญา 6.29 นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป และเขาได้รับชัยชนะอย่างฉิวเฉียด ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 โดยในช่วงเวลานั้น กรุงโซลได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ได้รับการยกย่องว่าเป็นการพัฒนาภาพลักษณ์ของประเทศ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ === ยุคประชาธิปไตย (1997–ปัจจุบัน) === เกาหลีใต้ได้รับคำเชิญให้เป็นสมาชิกสหประชาชาติใน ค.ศ. 1991 การเปลี่ยนผ่านการปกครองระบอบเผด็จการไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1997 ภายใต้การบริหารประเทศของ คิม แด-จุง ซึ่งชนะการเลือกตั้ง และเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 8 ในเดือนกุมภาพันธ์ 1998 ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เนื่องจากเขาเคยเป็นอดีตนักโทษทางการเมืองซึ่งเคยต้องคำพิพากษาประหารชีวิต (ก่อนจะเปลี่ยนเป็นคำสั่งเนรเทศ) ในยุคเผด็จการทหาร วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ส่งผลกระทบรุนแรง กระนั้น นายคิมได้พาประเทศผ่านวิกฤติไปได้ โดยได้รับคำแนะนำจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ต่อมา เขาริเริ่มนโยบายซันไชน์ซึ่งเป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ การประชุมระดับผู้นำของสองประเทศจัดขึ้นที่กรุงเปียงยาง ส่งผลให้คิม แด-จุง ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปลายปีนั้น เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2002 ร่วมกับญี่ปุ่น ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศในทวีปเอเชียได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่นก็ตึงเครียดอีกครั้งสืบเนื่องจากการอ้างสิทธิ์ในอธิปไตยบริเวณเกาะเลียนคอร์ทร็อคส์ ต่อมา รัฐบาลอนุรักษ์นิยมนำโดย อี มย็อง-บัก ชนะการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2007 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 เรือรบ ROKS Cheonan ของเกาหลีใต้ถูกจมโดยเรือรบเกาหลีเหนือ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 46 ราย ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน การระดมยิงย็อนพย็อง ระหว่างทหารเกาหลีเหนือกับกองกำลังเกาหลีใต้ได้ปะทุขึ้น มีพลเรือนเสียชีวิต 4 ราย การขาดการตอบโต้ของรัฐบาลเกาหลีและการเพิกเฉยของสหประชาชาติสร้างเกิดความโกรธเคืองในหมู่ประชาชนชาวเกาหลีใต้ ใน ค.ศ. 2012 ได้มีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองของเกาหลีใต้ โดย พัก กึน-ฮเย เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เธอเป็นบุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี พัก จ็อง-ฮี เธอบริหารประเทศด้วยนโยบานอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารของพักถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตในวงกว้าง การติดสินบน และใช้อิทธิพลเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง โดยเฉพาะ เช ซุนซิล ซึ่งมีความสนิทสนมกับ พัก กึน-ฮเย นำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ ตามมาด้วยการถอดถอน พัก กึน-ฮเย จากตำแหน่ง โดยเธอถือเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกถอดถอนจากการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐสภาและการรับรองโดยศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ และนาย ฮวัง กโย-อัน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการในระหว่างรอการเลือกตั้งทั่วไป มุน แจ-อิน จากพรรคประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้ง และเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 12 อย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 นโยบายสำคัญของเขาคือการพัฒนาความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ เขาร่วมการประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 3 กับ คิม จ็อง อึน ในวันที่ 27 เมษายน 2018 ที่หมุ่บ้านปันมุนจอม ในเขตปลอดทหารเกาหลี และยังรักษาการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอย่างแข็งขัน และรัฐบาลของเขาประสบความสำเร็จในการนำเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 จัดขึ้นที่ พย็องชัง แต่การระบาดทั่วของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงตั้งแต่ ค.ศ. 2020 และถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากเป็นประวัติการณ์ ในปีเดียวกันนั้น เกาหลีใต้ยังได้รับการบันทึกว่ามีอัตราการเสียชีวิตของประชากรมากกว่าอัตราการเกิดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ == การเมืองการปกครอง == หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู ควังจู แตชอน) === รัฐธรรมนูญ === เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีช็อน ดู-ฮวัน ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐเกาหลีฉบับปัจจุบันคือ ฉบับที่ ๑๐ มีทั้งสิ้น ๑๐ หมวด ๑๓๐ มาตรา ประกอบด้วย หมวด ๑ บททั่วไป (มาตรา ๑ - ๙) หมวด ๒ หน้าที่และสิทธิของพลเมือง (มาตรา ๑๐ - ๓๙) หมวด ๓ รัฐสภา (มาตรา ๔๐ - ๖๕) หมวด ๔ รัฐบาล แบ่งเป็น ส่วนที่ ๑ ประธานาธิบดี (มาตรา ๖๖ - ๘๕) ส่วนที่ ๒ ฝ่ายบริหาร (มาตรา๘๖ - ๙๓) ส่วนที่ ๓ องค์กรของรัฐบาล (มาตรา ๙๔ - ๙๖) ส่วนที่ ๔ ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา ๙๗ - ๑๐๐) หมวด ๕ ศาล (มาตรา ๑๐๑ - ๑๑๐) หมวด ๖ ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๑๑๑ - ๑๑๓) หมวด ๗ กรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา ๑๑๔ - ๑๑๖) หมวด ๘ การปกครองท้องถิ่น (มาตรา ๑๑๗ - ๑๑๘) หมวด ๙ เศรษฐกิจ (มาตรา ๑๑๙ - ๑๒๗) หมวด ๑๐ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๑๒๘ - ๑๓๐) (แก้ไขล่าสุดเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๘๗ และประกาศใช้เมื่อ ๒๕ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๘๘) === ฝ่ายนิติบัญญัติ === รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา (National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 300 คน โดยสมาชิกจำนวน 246 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ สมาชิกจำนวน 54 คนมาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี สภาจะเลือกประธาน (Speaker) และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้ หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ โดยประธานฯและรองประธานรัฐสภานั้น จะมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี ซึ่งรัฐสภาชุดปัจจุบันคือสมัยที่ 20 มีนายชอง เซ กยุน เป็นประธานรัฐสภา รับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙ และมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี นายชอง เซ กยุน เป็นสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรค Minjoo Party (พรรคฝ่ารัฐบาล) และเป็นสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่สมัยที่ ๑๕ – ๒๐ จำนวนทั้งสิ้น ๖ สมัย และมีรองประธานรัฐสภาจำนวน ๒ คน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจากพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอย่างละ ๑ คน อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของเกาหลีใต้กำหนดให้สมาชิกรัฐสภาที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาจำเป็นต้องถอนตัวออกจากการสังกัดพรรคการเมืองเป็นการชั่วคราว (ข้อมูล เมื่อ 17 กันยายน 2017) === ฝ่ายบริหาร === ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง โดยมีวาระ 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการขยายอำนาจ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการ ศึก และมาตรการจำเป็นในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่ ยุน ซ็อก-ย็อล ดำรงตั้งแหน่งตั้งวันที่ 10 พฤษภาคม 2022 คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศ และการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ ฮัน ด็อก-ซู คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย === ฝ่ายตุลาการ === ประกอบไปด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยประธานาธิบดีแต่งตั้งประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา การพิจารณาของศาลกำหนดให้เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไปได้ ยกเว้นในกรณีที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเป็นเรื่องที่จะสร้างปัญหาในด้านความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อขวัญของประชาชน คำพิพากษาจำเป็นต้องปิดเป็นความลับ นอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และมีอำนาจในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นโมฆะ (โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญได้รับการร้องขอจากศาลชั้นต้นหรือจากกลุ่มบุคคลที่ข้อร้องเรียนได้รับการพิจารณาจากศาลชั้นต้น ให้พิจารณากฎหมายดังกล่าว) อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินความถูกต้องทางกฎหมายของกระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้พิพากษา รวมทั้งมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร หากพบว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย === กระทรวง === สาธารณรัฐเกาหลีมีกระทรวง 17 กระทรวง โดยแต่ละกระทรวงจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี และต้องรายงานงานต่าง ๆให้กับนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ในบางกระทรวงอาจมีหน่วยงานเทียบเท่าในสังกัด ซึ่งจะทำงานขึ้นตรงต่อทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐเกาหลีด้วย ==== รายชื่อกระทรวง ==== == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศเกาหลีใต้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด (도) 2 จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ (특별자치도) 6 มหานคร (광역시) 1 นครพิเศษ (특별시) และ 1 นครปกครองตนเองพิเศษ (특별자치시) == ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ == เกาหลีใต้รักษาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอีก 188 ประเทศ และเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี 1991 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเกาหลีใต้ นายบัน คี-มูน ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2016 นอกจากนี้ยังได้พัฒนาความเชื่อมโยงกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะสมาชิกอาเซียนบวกสาม ซึ่งเป็นคณะผู้สังเกตการณ์ และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ในเดือนพฤศจิกายน 2009 เกาหลีใต้เข้าร่วมคณะกรรมการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาของ OECD ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่อดีตประเทศผู้รับความช่วยเหลือเข้าร่วมกลุ่มในฐานะสมาชิกผู้บริจาค เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอด G-20 ในกรุงโซลในเดือนพฤศจิกายน 2010 ซึ่งเป็นปีที่เกาหลีใต้และสหภาพยุโรปได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า เกาหลีใต้ได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกับแคนาดาและออสเตรเลียในปี 2014 และอีกฉบับกับนิวซีแลนด์ในปี 2015 === เกาหลีเหนือ === ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างอ้างอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์เหนือบริเวณคาบสมุทรทั้งหมดและหมู่เกาะรอบนอก แม้จะมีความเป็นปฏิปักษ์ซึ่งกันและกัน แต่ความพยายามในการปรองดองยังคงดำเนินต่อไปนับตั้งแต่การแยกระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้หลังสงครามเกาหลี บุคคลสำคัญทางการเมืองเช่น คิม คู ทำงานเพื่อปรองดองรัฐบาลทั้งสองแม้หลังสงครามเกาหลี ด้วยความเกลียดชังอันยาวนานหลังสงครามเกาหลีระหว่างปี 1950 ถึง 1953 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อแสวงหาสันติภาพ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2007 มูฮยอน และผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จองอิล ได้ลงนามในข้อตกลงแปดประเด็นในประเด็นสันติภาพถาวร การเจรจาระดับสูง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การต่ออายุบริการรถไฟ การเดินทางบนทางหลวงและทางอากาศ และการร่วมเชียร์กีฬาโอลิมปิก === ญี่ปุ่น === เกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีนัก อันเนื่องมาจากความขัดแย้งตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ยังคงมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่สำคัญมาหลายร้อยปี โดยที่เกาหลีทำหน้าที่เปรียบเสมือนประตูการเดินทางสู่ทวีปเอเชียและญี่ปุ่น ประชากรเกาหลีส่วนมากยังคงฝังใจกับเหตุการณ์ที่บรรพบุรุษของตนถูกกระทำในศตวรรษที่ 20 จากเหตุการณ์การยึดครองเกาหลีของญี่ปุ่น ซึ่งคนเกาหลีโดยทั่วไปยังคงมีทัศนคติในแง่ลบต่อคนญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันญี่ปุ่นถือเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่อันดับสามของเกาหลีใต้ โดยมีปริมาณส่งออกกถึง 12% (46 พันล้านดอลลาร์) ในปี 2016 ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติก็ยังไม่สู้ดีนัก โดยไม่มีกิจกรรมทางการทูตระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการจนถึง ค.ศ. 1965 ทั้งสองชาติได้ร่วมลงนามใน สนธิสัญญาความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นต้องการยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งคู่และลดความตึงเครียดในอดีต ซึ่งในช่วงสงครามโลกนั้นประชากรเกาหลีหลายแสนรายถูกเกณฑ์ไปรับใช้จักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเพศชายจะถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงาน และเพศหญิงจะถูกใช้เพื่อระบายความต้องการทางเพศ === จีนและรัสเซีย === ในอดีต จักรวรรดิเกาหลีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชวงศ์จีน และบางอาณาจักรของเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของสาขาจักรวรรดิจีน ในปัจจุบัน ก่อนการก่อตัวของเกาหลีใต้ นักสู้อิสระของเกาหลีทำงานร่วมกับทหารจีนระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สาธารณรัฐประชาชนจีนยอมรับลัทธิเหมาในขณะที่เกาหลีใต้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา จีนได้ช่วยเหลือเกาหลีเหนือด้วยกำลังคนและเสบียงระหว่างสงครามเกาหลี และหลังจากนั้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเกาหลีใต้และจีนเกือบจะยุติลงโดยสมบูรณ์ ก่อนที่เกาหลีใต้และจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1992 ทั้งสองประเทศพยายามปรับปรุงความสัมพันธ์ทวิภาคีและยกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้าที่มีอายุ 40 ปี และความสัมพันธ์เกาหลีใต้-จีนก็ดีขึ้น อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1992 สาธารณรัฐเกาหลียุติความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เนื่องจากมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งไม่รับรองอธิปไตยของไต้หวัน จีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ โดยสินค้าส่งออกกว่า 26% นั้นส่งไปเกาหลีใต้ในปี 2016 มูลค่า 124 พันล้านดอลลาร์ เกาหลีใต้ยังเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 4 ของจีนด้วยมูลค่าการนำเข้า 93 พันล้านดอลลาร์ในปี 2016 เกาหลีใต้และรัสเซียเข้าร่วมการเจรจา 6 ฝ่ายเกี่ยวกับปัญหาการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ฝ่ายบริหารของเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มการบริโภคก๊าซธรรมชาติของเกาหลีใต้ แผนเหล่านี้รวมถึงการเปิดการเจรจาอีกครั้งเกี่ยวกับท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่มาจากรัสเซียและผ่านเกาหลีเหนือ ในเดือนมิถุนายน 2018 ประธานาธิบดีมุน แจ-อิน กลายเป็นผู้นำเกาหลีใต้คนแรกที่ได้กล่าวปราศรัยในรัฐสภารัสเซีย โดยเขาและประธานาธิบดีปูตินยังร่วมลงนามในเอกสารจัดตั้งเขตการค้าเสรี === สหภาพยุโรป === สหภาพยุโรป (อียู) และเกาหลีใต้เป็นคู่ค้าที่สำคัญ โดยได้เจรจาข้อตกลงการค้าเสรีมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว นับตั้งแต่เกาหลีใต้ถูกกำหนดให้เป็นหุ้นส่วนเขตกาค้าเสรี ซึ่งได้รับการอนุมัติในเดือนกันยายน 2010 และมีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2011 เกาหลีใต้เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 10 ของสหภาพยุโรป และสหภาพยุโรปได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเกาหลีใต้ การค้าของสหภาพยุโรปกับเกาหลีใต้มีมูลค่ารวมเกิน 90 พันล้านยูโรในปี 2015 และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 9.8% ระหว่างปี 2003 ถึง 2013 สหภาพยุโรปเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 1962 อย่างไรก็ตาม บริษัทในสหภาพยุโรปมีปัญหาสำคัญในการเข้าถึงและดำเนินการในตลาดเกาหลีใต้เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดและการทดสอบข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการมักสร้างอุปสรรคต่อการค้า ทั้งในการติดต่อกับเกาหลีใต้ตามเส้นทางปกติและผ่านเขตการค้าเสรีเกาหลี ซึ่งสหภาพยุโรปกำลังพยายามปรับปรุงสถานการณ์นี้ === สหรัฐอเมริกา === เกาหลีใต้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสหรัฐฯ ปกครองเกาหลีชั่วคราวเป็นเวลาสามปี (บริเวณส่วนใหญ่ในภาคใต้ โดยสหภาพโซเวียตมีส่วนร่วมในการปกครองเกาหลีเหนือ) เมื่อเริ่มสงครามเกาหลี กองกำลังสหรัฐฯ ถูกส่งไปเพื่อป้องกันการรุกรานจากเกาหลีเหนือทางใต้ และต่อมาได้ต่อสู้ในฐานะผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดของกองทหารของสหประชาชาติ การมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ มีความสำคัญในการป้องกันความพ่ายแพ้ของสาธารณรัฐเกาหลีจากกองกำลังทางเหนือ === ไทย === ดูบทความหลักที่: ความสัมพันธ์เกาหลีใต้–ไทย เกาหลีใต้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 โดยประเทศไทยสนับสนุนท่าทีของเกาหลีใต้ ในสังคมนานาชาติในฐานะประเทศพันธมิตรทางสงครามนับตั้งแต่การส่งกำลังช่วยรบในสงครามเกาหลี ในช่วงระหว่าง 7 พฤศจิกายน 2493 ถึง 17 กรกฎาคม 2496 ปัจุบันทั้งสองประเทศมีการพัฒนาความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม == กองทัพ == สืบเนื่องจากสถานการณ์ความตึงเครียดที่ยังไม่คลี่คลายกับเกาหลีเหนือ ได้กระตุ้นให้เกาหลีใต้จัดสรรงบประมาณกว่า 2.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม และกว่า 15% ของการใช้จ่ายทั้งหมดไปกับการใช้สอยด้านการทหาร เกาหลีใต้มีกำลังพลประจำการมากเป็นอันดับ 7 ของโลก (599,000 ในปี 2018) และจำนวนกองกำลังสำรองที่สูงที่สุดในโลก (3,100,000 ในปี 2018) และงบประมาณด้านการป้องกันประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 10 ณ ปี 2019 เกาหลีใต้มีงบประมาณด้านการป้องกันประเทศ 43.1 พันล้านดอลลาร์ กองทัพเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นกำลังทหารที่ทรงอิทธิพลที่สุดอันดับ 6 ของโลก ณ ปี 2020 โดยประกอบด้วยกองทัพบก (ROKA) กองทัพเรือ (ROKN) กองทัพอากาศ (ROKAF) และนาวิกโยธิน (ROKMC) และกองกำลังสำรอง กองกำลังเหล่านี้จำนวนมากกระจุกตัวอยู่ใกล้เขตปลอดทหารเกาหลี ผู้ชายเกาหลีใต้ทุกคนต้องรับราชการทหารตามรัฐธรรมนูญ โดยปกติแล้วเป็นระยะเวลา 18 เดือน นอกจากการรับราชการทหารตามภาคบังคับแล้วแล้ว ผู้ชายเกาหลีกว่า 1,800 คนจะได้รับเลือกเป็นประจำทุกปีเพื่อทำหน้าที่ในการมีส่วนร่วมในโครงการ KATUSA เพื่อซ้อมรบและเสริมกำลังร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ ในปี 2010 เกาหลีใต้ใช้จ่ายเงิน 1.68 ล้านล้านวอนในข้อตกลงแบ่งปันด้านกิจกรรมทางการทหารกับกองทัพสหรัฐฯ และให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่กองกำลังสหรัฐฯ ในการประจำการที่เกาหลี นอกเหนือจากงบประมาณ 29.6 ล้านล้านวอนสำหรับกองทัพของตน ในบางครั้ง เกาหลีใต้ได้ส่งกองกำลังไปต่างประเทศเพื่อช่วยเหลือกองกำลังอเมริกัน ได้เข้าร่วมในความขัดแย้งที่สำคัญส่วนใหญ่ที่สหรัฐอเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้ส่งทหาร 325,517 นายไปสู้รบร่วมกับทหารอเมริกัน ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ และเวียดนามใต้ในสงครามเวียดนาม ด้วยกำลังสูงสุด 50,000 นาย ในปี 2004 เกาหลีใต้ส่งทหาร 3,300 นายไปช่วยคุ้มกันในอิรัก และเป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่อันดับสามในกองกำลังผสม รองจากสหรัฐฯ และอังกฤษเท่านั้น ตั้งแต่ปี 2001 เกาหลีใต้ได้ส่งกำลังทหาร 24,000 นายในภูมิภาคตะวันออกกลางเพื่อสนับสนุนสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ตั้งแต่ปี 2007 มีการส่งกำลังทหารอีก 1,800 นายเพื่อเสริมกำลังกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเลบานอน == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจหลักในกลุ่ม 20 เป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีเศรษฐกิจที่มีรายได้สูง แบรนด์ดังของเกาหลีใต้ เช่น แอลจี อีเลคทรอนิคส์ และ ซัมซุง มีชื่อเสียงระดับนานาชาติในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอื่น ๆ การลงทุนด้านการศึกษาได้นำประเทศจากอัตราการไม่รู้หนังสือในอดีตไปสู่มหาอำนาจทางเทคโนโลยีระดับนานาชาติ เศรษฐกิจของประเทศได้ประโยชน์จากแรงงานที่มีทักษะสูงและเป็นหนึ่งในประเทศที่ประชาชนมีการศึกษามากที่สุดในโลก โดยมีประชากรส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960 ถึงปลายทศวรรษ 1990 และยังคงเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วที่เติบโตเร็วที่สุดในทศวรรษ 2000 ร่วมกับฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน เศรษฐกิจเกาหลีใต้ต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก และในปี 2014 เกาหลีใต้เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 5 และนำเข้ารายใหญ่อันดับ 7 ของโลก แม้ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะมีศักยภาพในการเติบโตสูงและมีเสถียรภาพทางโครงสร้างที่ชัดเจน แต่ประเทศก็ยังได้รับความเสียหายจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในตลาดหุ้น เนื่องจากการสู้รบของเกาหลีเหนือในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตทางทหารอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลเสียต่อตลาดการเงินของเกาหลีใต้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศชื่นชมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ต่อวิกฤตเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยอ้างถึงหนี้ของรัฐที่ต่ำและทุนสำรองทางการคลังที่สูงซึ่งสามารถระดมได้อย่างรวดเร็วเพื่อจัดการกับเหตุฉุกเฉินทางการเงิน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียในช่วงปลายทศวรรษ 1990 แต่เศรษฐกิจของเกาหลีใต้สามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและทำให้จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นสามเท่าในเวลาต่อมา นอกจากนี้ เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วไม่กี่ประเทศที่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยในช่วงวิกฤตการเงินโลกได้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 6.2% ในปี 2010 (เติบโตเร็วที่สุดในรอบแปดปีหลังจากการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ 7.2% ในปี 2002) และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำ === การท่องเที่ยว === ในปี 2016 นักท่องเที่ยวต่างชาติ 17 ล้านคนเดินทางมาเกาหลีใต้ หลายปีที่ผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรปและอเมริกา รัฐบาลเกาหลีใต้ตั้งเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 20 ล้านคนต่อปีภายในปี 2017 การท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ได้รับแรงผลักดันจากหลายปัจจัย รวมถึงความโดดเด่นของวัฒนธรรมป๊อปเกาหลี เช่น เพลงป๊อปของเกาหลีใต้และละครโทรทัศน์ ที่รู้จักกันในชื่อคลื่นเกาหลี หรือ (Hallyu) ได้รับความนิยมไปทั่วเอเชียตะวันออก สถาบันวิจัยฮุนไดรายงานว่ากระแสเกาหลีส่งผลกระทบโดยตรงในการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศผ่านความต้องการสินค้าและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออก ชาวจีนเป็นชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและทำการลงทุนในเกาหลีมากที่สุด และจำนวนนักท่องเที่ยวจีนได้เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่านับตั้งแต่ปี 2001 === การขนส่ง === เกาหลีใต้มีเครือข่ายการขนส่งที่ล้ำหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วยรถไฟความเร็วสูง ทางหลวง เส้นทางรถประจำทาง บริการเรือข้ามฟาก และเส้นทางทางอากาศที่ตัดผ่านทั่วประเทศ Korea Expressway Corporation เป็นบริษัทใหญ่ซึ่งดำเนินกิจกรรมทางด่วนและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบริการผู้โดยสาร Korail เป็นบริษัทใหญ่ในการให้บริการรถไฟประจำทุกเมืองสำคัญในเกาหลีใต้ มีการเชื่อมต่อทางรถไฟสองสาย ได้แก่ สาย Gyeongui และ Donghae Bukbu ไปยังเกาหลีเหนือ และยังมี KTX เป็นผู้ให้บริการความเร็วสูงตามเส้นทาง Gyeongbu และ Honam เมืองใหญ่ ๆ เช่น โซล ปูซาน อินชอน แทกู แทจอน และกวางจู มีระบบขนส่งมวลชนในเมือง ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้คือท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งให้บริการผู้โดยสาร 58 ล้านคนในปี 2016 ท่าอากาศยานนานาชาติอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ กิมโป ปูซาน และเชจู นอกจากนี้ยังมีสนามบินหลายแห่งที่สร้างขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายรัฐบาลแต่แทบจะไม่ได้ใช้เลย และยังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์อีกมากมายในประเทศ สายการบินแห่งชาติ โคเรียนแอร์ ให้บริการผู้โดยสารกว่า 26,800,000 คน รวมถึงผู้โดยสารระหว่างประเทศเกือบ 19,000,000 คนในปี 2016 สายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองได้แก่ เอเชียน่าแอร์ไลน์ ยังให้บริการทั้งเส้นทางในและต่างประเทศ สายการบินเกาหลีใต้ให้บริการเส้นทางระหว่างประเทศ 297 เส้นทาง สายการบินขนาดเล็ก เช่น เชจูแอร์ ให้บริการเส้นทางภายในประเทศด้วยค่าโดยสารที่ถูกกว่า == วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี == === ภาพรวม === การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเกาหลีใต้ในตอนแรกไม่ได้เกิดขึ้นมากนักเนื่องจากภาวะสงครามเกาหลี จนกระทั่งช่วงทศวรรษ 1960 ภายใต้การปกครองของ พัก จ็อง-ฮี เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วจากอุตสาหกรรมและบริษัท Chaebol เช่น ซัมซุง และ แอลจี นับตั้งแต่การพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีใต้เป็นอุตสาหกรรม เกาหลีใต้ได้ให้ความสำคัญกับบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรัฐบาล บริษัทเกาหลีใต้ ซัมซุง และแอลจี อยู่ในอันดับที่หนึ่งและสามของบริษัทโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2012 ตามลำดับ ประมาณ 90% ของชาวเกาหลีใต้มีโทรศัพท์มือถือ นอกเหนือจากการโทรออก/รับสายและการส่งข้อความแล้ว โทรศัพท์มือถือในประเทศยังนิยมใช้สำหรับการรับชม Digital Multimedia Broadcasting (DMB) หรือดูเว็บไซต์อย่างแพร่หลาย มีการขายโทรศัพท์ DMB มากกว่าหนึ่งล้านเครื่อง และผู้ให้บริการสื่อสารไร้สายรายใหญ่สามราย SK Telecom, KT และ LG U+ ให้ความครอบคลุมในเมืองใหญ่ ๆ และพื้นที่อื่น ๆ เกาหลีใต้มีความเร็วในการดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ตที่เร็วที่สุดในโลก โดยมีความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ย 25.3 Mbit/s เกาหลีใต้เป็นประเทศอันดับหนึ่งในกลุ่ม OECD ที่มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุด และได้รับการจัดอันดับให้เป็นชาติอันดับหนึ่งของโลกในการเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และวิทยาศาสตร์ในช่วงปี 2014-19 === ความปลอดภัยทางไซเบอร์ === หลังการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2013 โดยรัฐบาล สื่อ ข่าว สถานีโทรทัศน์ และเว็บไซต์ธนาคารถูกบุกรุก รัฐบาลแห่งชาติให้คำมั่นที่จะฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ 5,000 คนภายในปี 2017 รัฐบาลเกาหลีใต้ตำหนิเกาหลีเหนือสำหรับการโจมตีเหล่านี้ เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2009, 2011 และ 2015 แต่คณะรัฐบาลกรุงเปียงยางปฏิเสธข้อกล่าวหา ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2013 ได้มีการประกาศการแข่งขันด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมและหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ผู้ชนะได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 29 กันยายน และแบ่งเงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 80 ล้านวอน (74,000 เหรียญสหรัฐ) รัฐบาลเกาหลีใต้ยังคงใช้แนวทางในวงกว้างในการกำกับดูแลเนื้อหาออนไลน์ที่เฉพาะเจาะจง และกำหนดระดับการเซ็นเซอร์อย่างมากในวาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และในเว็บไซต์จำนวนมากที่รัฐบาลเห็นว่าล้มล้างหรือเป็นอันตรายต่อสังคม === อวกาศ === เกาหลีใต้ส่งดาวเทียม 10 ดวงตั้งแต่ปี 1992 ทั้งหมดใช้จรวดต่างประเทศและฐานยิงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ Arirang-1 ในปี 1999 และ Arirang-2 ในปี 2006 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านอวกาศกับรัสเซีย Arirang-1 หายไปในอวกาศในปี 2008 หลังจากปฏิบัติการมา 9 ปี ในเดือนเมษายน 2008 อี โซ-ย็อน กลายเป็นชาวเกาหลีคนแรกที่ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด TMA-12 ของรัสเซีย ในเดือนมิถุนายน 2009 ท่าอวกาศแห่งแรกของเกาหลีใต้ Naro Space Center สร้างเสร็จสมบูรณ์ที่จังหวัดช็อลลาใต้ แต่การเปิดตัวจรวดขนส่ง Naro-1 ในเดือนสิงหาคมเกิดความล้มเหลว ความพยายามครั้งที่สองในเดือนมิถุนายน 2010 ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นกัน ก่อนจะสำเร็จในครั้งที่สามในเดือนมกราคม 2013 ประสบความสำเร็จ รัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนา Naro-2 ภายในปี 2018 ความพยายามของเกาหลีใต้ในการสร้างยานยิงในอวกาศถูกทำลายเนื่องจากแรงกดดันทางการเมืองที่ยืดเยื้อจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ขัดขวางโครงการพัฒนาจรวดและขีปนาวุธของเกาหลีใต้มานานหลายทศวรรษ เนื่องจากเกรงว่าอาจมีการเชื่อมโยงกับขีปนาวุธทางการทหารที่เป็นความลับ เกาหลีใต้ได้ขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เช่น รัสเซีย ผ่านพันธกรณีของ MTCR เพื่อเสริมเทคโนโลยีการสร้างจรวดในประเทศที่ถูกจำกัดซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่สหรัฐ === หุ่นยนต์ === วิทยาการหุ่นยนต์รวมอยู่ในรายการโครงการวิจัยและพัฒนาหลักระดับประเทศในเกาหลีตั้งแต่ปี 2003 ในปี 2009 รัฐบาลได้ประกาศแผนการสร้างสวนหุ่นยนต์ในอินช็อนและมาซานด้วยเงินทุนทั้งภาครัฐและเอกชน ในปี 2005 สถาบันชั้นสูงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี (KAIST) ได้พัฒนา HUBO หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์เดินได้ตัวที่สองของโลก ทีมงานในสถาบันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งเกาหลีได้พัฒนาแอนดรอยด์เกาหลีตัวแรก Ever-1 ในเดือนพฤษภาคม 2006 Ever-1 ประสบความสำเร็จด้วยโมเดลที่ซับซ้อนมากขึ้นด้วยการเคลื่อนไหวและการมองเห็นที่ดีขึ้น แผนการสร้างหุ่นยนต์ช่วยสอนภาษาอังกฤษเพื่อชดเชยการขาดแคลนครูได้รับการประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 โดยหุ่นยนต์จะถูกนำไปใช้กับเด็กก่อนวัยเรียนและโรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ภายในปี 2013 วิทยาการหุ่นยนต์ยังรวมอยู่ในภาคความบันเทิงด้วย เทศกาลเกมหุ่นยนต์เกาหลีจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2004 เพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ === เทคโนโลยีชีวภาพ === ตั้งแต่ปี 1980 รัฐบาลเกาหลีได้ลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศ และภาคส่วนนี้คาดว่าจะเติบโตเป็น 6.5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2010 ภาคการแพทย์มีส่วนสำคัญในการผลิต ซึ่งรวมถึงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบและยาปฏิชีวนะ เมื่อเร็ว ๆ นี้ การวิจัยและพัฒนาด้านพันธุศาสตร์และการโคลนนิ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ด้วยการโคลนสุนัขที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกคือ Snuppy (ในปี 2005) และการโคลนหมาป่าสีเทาเพศเมียสองตัวที่ใกล้สูญพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลในปี 2007 การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดช่องว่างที่สำคัญในการควบคุมจริยธรรม ดังที่ปรากฏโดยกรณีการประพฤติผิดของ ฮวาง วู-ซุค ซึ่งฝ่าฝืนหลักจริยธรรมและสร้างความเสื่อมเสียแก่ประเทศ ตั้งแต่ปลายปี 2020 SK Bioscience Inc. (ส่วนหนึ่งของ SK Group) ได้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในสัดส่วนหลัก (หรือที่รู้จักในชื่อ COVID-19 Vaccine AstraZeneca) ภายใต้ใบอนุญาตจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และ แอสตร้าเซนเนก้าเพื่อจำหน่ายทั่วโลกผ่านโคแวกซ์ ภายใต้รับรองขององค์การอนามัยโลก ข้อตกลงล่าสุดกับ Novavax ได้ขยายการผลิตวัคซีนครั้งที่สองเป็น 40 ล้านโดสในปี 2022 ด้วยการลงทุน 450 ล้านดอลลาร์ในโรงงานในประเทศและต่างประเทศ == สิ่งแวดล้อม == ในช่วง 20 ปีแรกหลังการแยกประเทศ รัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ได้ใส่ใจการรักษาสิ่งแวดล้อมมากนัก การพัฒนาอุตสาหกรรมและผังเมืองโดยไม่ได้รับการตรวจสอบส่งผลให้เกิดการทำลายป่า และการทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หลายทศวรรษที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงการดำเนินโครงการเพื่อการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะเวลา 5 ปีมูลค่า 84 พันล้านดอลลาร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจบนพื้นที่สีเขียวเป็นการยกเครื่องเศรษฐกิจของเกาหลีใต้อย่างครอบคลุม โดยใช้จีดีพีเกือบสองเปอร์เซ็นต์ของประเทศ รวมถึงความพยายามต่าง ๆ เช่น เครือข่ายจักรยานทั่วประเทศ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม การลดยานพาหนะที่พึ่งพาน้ำมัน การสนับสนุนเวลาออมแสง และการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง เช่น ไฟแอลอีดี ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแสงสว่าง ในอนาคตเกาหลีใต้ยังมีแผนที่จะลดการใช้พลังงานลดจากปัจจุบันถึง 10 เท่า ในปี 2017 เกาหลีใต้เป็นผู้ปล่อยแก๊สคาร์บอนรายใหญ่อันดับ 7 ของโลกและเป็นผู้ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกต่อหัว ประธานาธิบดี มุน แจ-อิน ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เหลือศูนย์ในปี 2050 น้ำประปาของกรุงโซลเมืองหลวงของประเทศ สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัยแม้ในที่สาธารณะ รัฐบาลเกาหลีใต้ยังมีความพยายามพัฒนาโครงการปลูกป่าทั่วประเทศ และโครงการมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์อีกโครงการหนึ่งคือการฟื้นฟูคลองช็องกเยช็อน ซึ่งเป็นลำธารที่ไหลผ่านใจกลางกรุงโซลซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นสถานที่ก่อสร้างมอเตอร์เวย์ โดยในปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสถานที่พักผ่อนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกรุงโซล ความท้าทายสำคัญอีกประการหนึ่งคือการจัดการคุณภาพอากาศ โดยที่ฝนกรด ซัลเฟอร์ออกไซด์ และฝุ่นยังเป็นปัญหาในปัจจุบัน เกาหลีใต้มีคะแนนเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ปี 2019 ที่ 6.02/10 อยู่ในอันดับที่ 87 จาก 172 ประเทศทั่วโลก เกาหลีใต้ยังเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น อุทยานแห่งชาติฮัลลาซาน ตั้งอยู่ใจกลางเกาะเชจู เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเกาะ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก, อุทยานแห่งชาติซอรัคซาน และ อุทยานแห่งชาติบุคฮันซาน เกาหลีใต้ให้การสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมระดับสากลจากการมีส่วนร่วมในอนุสัญญาสำคัญ ได้แก่: พิธีสารว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมต่อสนธิสัญญาแอนตาร์กติก, ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก, อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ, พิธีสารเกียวโต, อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการกลายเป็นทะเลทราย, ไซเตส, อนุสัญญาว่าด้วยการแก้ไขสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการ, อนุสัญญาบาเซล, อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล, พิธีสารมอนทรีออล, อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ 1973 แก้ไขโดยพิธีสาร ค.ศ. 1978 และอนุสัญญาแรมซาร์ == ประชากร == ในเดือนเมษายน 2016 สำนักงานสถิติแห่งชาติคาดการณ์ว่าประชากรของเกาหลีใต้จะอยู่ที่ประมาณ 50.8 ล้านคน โดยประชากรวัยทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง เกาหลีใต้ขึ้นชื่อในเรื่องความหนาแน่นของประชากร ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 505 ต่อตารางกิโลเมตรในปี 2015 มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก 10 เท่า เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับสามของโลกในทางปฏิบัติ เนื่องจากที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศไม่เอื้ออำนวยเนื่องจากถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เกษตรกรรม ชาวเกาหลีใต้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมือง เนื่องจากการอพยพอย่างรวดเร็วจากชนบทในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 1970, 1980 และ 1990 กรุงโซลยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหลัก จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2005 โซลมีประชากร 10 ล้านคน เขตเมืองหลวงแห่งชาติโซลมีประชากร 24.5 ล้านคน (ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของเกาหลีใต้) ทำให้เป็นเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ ปูซาน (3.5 ล้าน) อินชอน (3.0 ล้าน) แทกู (2.5 ล้าน) แดจอน (1.4 ล้าน) กวางจู (1.4 ล้าน) และอุลซาน (1.1 ล้าน) เกาหลีใต้ถือเป็นหนึ่งในสังคมที่มีผู้อยู่อาศัยซึ่งเป็นเชื้อชาติเดียวกันมากที่สุดในโลก โดยที่ชาวเกาหลีมีสัดส่วนประมาณ 96% ของประชากรทั้งหมด จำนวนชาวต่างชาติได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ณ ปี 2016 เกาหลีใต้มีชาวต่างชาติ 1,413,758 คน คิดเป็น 2.75% ของประชากรรวม อย่างไรก็ตาม หลายคนยังถือเป็นชาวเกาหลีโดยกำเนิดแต่มีสัญชาติต่างประเทศ เช่น ผู้อพยพจากประเทศจีน (PRC) คิดเป็น 56.5% ของชาวต่างชาติ แต่ประมาณ 70% ของพลเมืองจีนในเกาหลีเป็น Joseonjok (조선족) ซึ่งเป็นพลเมืองที่มีเชื้อชาติเกาหลี สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีระบุว่า ครูสอนภาษาอังกฤษประมาณ 43,000 คนจากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษได้เข้ามาอาศัยอยู่ชั่วคราวในเกาหลี ปัจจุบัน เกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตของประชากรที่เกิดในต่างประเทศสูงที่สุด โดยมีชาวต่างประเทศประมาณ 30,000 คนได้รับสัญชาติเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2010 === ศาสนา === ประเทศเกาหลีใต้ไม่มีศาสนาประจำชาติ และประชาชนมีอิสระในการนับถือศาสนา ใน ค.ศ. 2005 ประชากรเกาหลีใต้เกือบครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธหรือคริสต์ ต่อมาในปี 2007 มีการสำรวจสำมะโนประชากร พบว่าร้อยละ 29.2 นับถือศาสนาคริสต์ (ในจำนวนนี้เป็นโปรเตสแตนต์ร้อยละ 18.3 และคาทอลิกร้อยละ 10.9) รองลงมาคือร้อยละ 22.8 นับถือศาสนาพุทธ ต่อมาในปี 2015 ผลการสำรวจสำมะโนครัวประชากรพบว่ามีประชากรที่ไม่นับถือศาสนามากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 56.9 นับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 27.6 (แบ่งเป็นโปรเตสแตนต์ร้อยละ 19.7 และคาทอลิกร้อยละ 7.9) และนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 15.5 นอกจากนี้ยังศาสนิกของศาสนาอิสลาม ซึ่งเข้าสู่เกาหลีครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 7 รวมทั้งลัทธิเกิดใหม่อย่างลัทธิช็อนโด และลัทธิว็อนบุล ทั้งยังมีการปฏิบัติศาสนกิจในลัทธิเชมัน ลัทธิดั้งเดิมของเกาหลีก่อนรับศาสนาอื่น ซึ่งนับถือเทพเจ้าผู้สร้างคือ ฮวันอิน (คือพระอินทร์ในพุทธศาสนา) ทั้งได้รับการนับถือในกลุ่มชาวคริสต์ทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ด้วย ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีศาสนิกมากที่สุดในเกาหลีใต้ มีศาสนิกชนราว 13.7 ล้านคน โดยประชากรราวสองในสามนิยมเข้าโบสถ์โปรเตสแตนต์ และประชากรร้อยละ 23 นิยมเข้าโบสถ์ของโรมันคาทอลิก อย่างไรก็ตามในช่วงปี 1980 ศาสนิกชนเข้าโบสถ์โปรเตสแตนต์ลดลง เพราะการขยายตัวของนิกายโรมันคาทอลิก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเกาหลีใต้ถือเป็นประเทศที่มีการส่งมิชชันนารีออกเผยแผ่ศาสนามากเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ศาสนาพุทธเข้ามามีบทบาทในเกาหลีตั้งแต่ พ.ศ. 915 จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี 2005 มีศาสนิกชนราว 10.7 ล้านคน ปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้ร้อยละ 90 นับถือนิกายโจ-กเย ซึ่งศาสนวัตถุของพุทธศาสนาจำนวนมากได้กลายเป็นสมบัติประจำชาติ ซึ่งตกทอดมาจากยุครัฐเหนือใต้ และยุคโครยอที่ศาสนาพุทธมีความเจริญจนถึงขีดสุด และภายหลังศาสนาพุทธได้อ่อนแอลงจากการปราบปรามของราชวงศ์โชซ็อนซึ่งนับถือลัทธิขงจื๊อ ศาสนาอิสลามเคยเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนเกาหลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ในยุครัฐเหนือใต้ แต่ผู้สืบเชื้อสายได้หันไปนับถือศาสนาพุทธหรือเชมันแทน เนื่องจากเกาหลีขาดการติดต่อกับโลกอาหรับ ปัจจุบันจากการเผยแผ่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีชาวมุสลิมสัญชาติเกาหลีใต้ราว 30,000-35,000 คน ขณะที่อิสลามิกชนส่วนใหญ่ราว 100,000 คนในเกาหลีใต้เป็นแรงงานชาวต่างชาติ อาทิ บังกลาเทศ และปากีสถาน === ภาษา === ภาษาเกาหลีเป็นภาษาราชการของเกาหลีใต้ โดยมีการยืมคำจากภาษาจีนจำนวนมาก ภาษาเกาหลีใช้ระบบการเขียนของชนพื้นเมืองที่เรียกว่าฮันกึล สร้างขึ้นในปี 1446 โดยกษัตริย์เซจอง เพื่อเป็นทางเลือกที่สะดวกแก่ตัวอักขระฮันจาจีนคลาสสิกที่เรียนรู้ได้ยากและไม่เข้ากับภาษาเกาหลีสมัยใหม่ เกาหลีใต้ยังคงใช้อักขระภาษาจีนฮันจาในบางพื้นที่ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์และเอกสารทางกฎหมาย หรือสื่อทางราชการ จากการที่มีระบบการศึกษาที่ก้าวหน้า และมีการพัฒนามากที่สุดชาติหนึ่งในเอเชีย ส่งผลให้ประชากรวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยทำงานส่วนมากสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เช่นกัน นอกจากนี้ เด็กเกาหลีหลายคนยังเลือกเรียนภาษาจีนกลางหรือภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ 3 และตามสถานที่สาธารณะมักจะมีป้ายบริการหลายภาษา ทั้งภาษาเกาหลี ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนกลาง === การศึกษา === รัฐบาลเกาหลีใต้ดูแลด้านการศึกษาของเด็กทุกคนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมปลายของเกาหลีใต้ส่วนใหญ่มีเครื่องแบบนักเรียน ซึ่งรับอิทธิพลมาจากเครื่องแบบชาติตะวันตก เครื่องแบบของเด็กชายมักประกอบด้วยกางเกงขายาวและเสื้อเชิ้ตสีขาว และเด็กหญิงสวมกระโปรงและเสื้อเชิ้ตสีขาว (เฉพาะในโรงเรียนมัธยม) และเกาหลีใต้มีจำนวนนักศึกษาต่างชาติเพิ่มเข้ามามากถึง 100,000 คน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีคะแนนความถนัดในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูงที่สุดชาติหนึ่งในบรรดาเด็กนักเรียนชาวเอเชีย (519 คะแนนตามค่าเฉลี่ย OECD) ซึ่งสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และแรงงานเกาหลีใต้ถือเป็นแรงงานที่มีการศึกษาสูงที่สุดชาติหนึ่งในทุกภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักในหลายทศวรรษที่ผ่านมาคือเด็กส่วนมากมีความเครียดจากภาวะการแข่งขันที่สูงในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยมีการรายงานถึงการอ่านหนังสือและเรียนกวดวิชามากเกินไป และยังนำไปสู่การฆ่าตัวตายในเด็กวัยเรียนเมื่อผิดหวังในการเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการ สภาวการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า "Education fever" การศึกษาถือเป็นรากฐานสำคัญสำหรับชาวเกาหลีใต้ เนื่องจากความสำเร็จในการศึกษาเป็นความภาคภูมิใจของครอบครัวและเป็นที่เชิดหน้าชูตาในสังคม และเป็นสิ่งจำเป็นในการปรับปรุงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำเป็นเครื่องหมายสูงสุดของศักดิ์ศรี สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม โอกาสการแต่งงาน การเลือกคู่ครอง และเส้นทางอาชีพที่มั่นคง การเข้าสู่สถาบันการศึกษาระดับสูงนำไปสู่งานที่ได้ค่าตอบแทนดี โดยเด็กจากสถาบันชั้นนำมักมีโอกาสเข้าทำงานกับองค์กรรัฐบาล ธนาคาร หรือกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น ซัมซุง, ฮุนได หรือ แอลจี อีเลคทรอนิคส์ ชีวิตของเด็กชาวเกาหลีใต้มักหมกมุ่นอยู่กับการศึกษา เนื่องจากแรงกดดันในการประสบความสำเร็จนั้นฝังรากลึกอยู่ในเด็กตั้งแต่อายุยังน้อย โดยมีค่านิยมในการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำสามอันดับแรกในเกาหลีใต้ ซึ่งมักเรียกกันว่า "SKY" ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล มหาวิทยาลัยเกาหลี และมหาวิทยาลัยยอนเซ === สุขภาพ === เกาหลีใต้มีระบบการรักษาพยาบาลที่เป็นสากล และดีที่สุดเป็นอันดับสองของโลกในปี 2019 แต่การฆ่าตัวตายยังเป็นปัญหาหลัก โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 10 ของโลกอ้างอิงจากองค์การอนามัยโลก และเกาหลีใต้มีอัตราการป่วยโรคซึมเศร้าสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ โรงพยาบาลในเกาหลีใต้มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ขั้นสูงและสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมใช้งาน นอกจากนี้ยังมีจำนวนเตียงในโรงพยาบาลมากเป็นอันดับสองของกลุ่มประเทศ OECD เกาหลีใต้มีอายุเฉลี่ยของประชากรสูงเป็นอันดับที่ 11 ของโลก (82.3 ปี) == วัฒนธรรม == วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเกาหลีใต้นั้นเหมือนเกาหลีเหนือเกือบจะทุกประการ แต่ทั้งสองชาติได้พัฒนารูปแบบวัฒนธรรมร่วมสมัยที่แตกต่างกันออกไปนับตั้งแต่การแบ่งแยกประเทศ ในอดีตนั้น วัฒนธรรมของเกาหลีได้รับอิทธิพลอย่างมากจากวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีน แต่ชาวเกาหลียุคก่อนก็ได้มีการประยุกต์เพื่อพัฒนาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากจีนมาถึงปัจจุบัน แม้จะได้รับการวิจารณ์ว่าเกาหลีใต้ลอกวัฒนธรรมมาจากจีน เกาหลีใต้มีแหล่งมรดกโลกที่รับรองโดยยูเนสโก 15 แห่ง (ปี 2021) โดยแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 13 แห่ง และทางธรรมชาติอีก 2 แห่ง กระทรวงวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และกีฬาของเกาหลีใต้มีการกระตุ้นการตื่นตัวทางวัฒนธรรมแก่ประชาชนผ่านการศึกษา การรณรงค์ และการระดมทุนสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมและการขยายตัวของเขตเมืองเกาหลีใต้ได้นำการเปลี่ยนแปลงมากมายมาสู่วิถีชีวิตของชาวเกาหลียุคใหม่ เศรษฐกิจและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดการกระจุกตัวของประชากรในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะกรุงโซล ผลการศึกษาของ Euromonitor ปี 2014 พบว่าชาวเกาหลีใต้เป็นชาติที่ดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดเป็นประจำทุกสัปดาห์เมื่อเทียบกับทุกประเทศในโลก ชาวเกาหลีใต้ดื่มเหล้าโดยเฉลี่ย 13.7 ช็อตต่อสัปดาห์ และจากงานวิจัยระบุว่า พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของชาวเกาหลีมากเป็นสองเท่าหากเทียบกับชาวรัสเซีย และมากว่าชาวอเมริกันถึงสี่เท่า === ศิลปะ === ศิลปะเกาหลีมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้เกิดแบบของตัวเอง ศิลปะเกาหลียกย่องธรรมชาติ และการใช้สีอ่อนและเรียบก็ปรากฏอยู่เสมอในภาพเขียนและเครื่องปั้นแบบเกาหลี วัฒนธรรมงานหัตกรรมพื้นบ้านคือศิลปะที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี งานไม้และเครื่องเขินของเกาหลีเป็นที่รู้จักกันดี โดยเน้นการออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอยและความเรียบง่าย สิ่งสะดุดตาในงานไม้เกาหลีคือศิลปะการประดับมุก งานหัตกรรมโลหะทำด้วยทอง ทำด้วยสำริด ทางด้านพระพุทธศาสนามีการสร้างพระพุทธรูปสำริด ระฆังวัดที่หล่อด้วยสำริด เอกลักษณ์ของระฆังเกาหลีคือรูปร่างการออกแบบและเสียง ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา เกาหลีเป็นประเทศที่เป็นที่ยอมรับในการพัฒนาศิลปะด้านนี้และเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงคือ ศิลาดล เป็นเครื่องเคลือบที่มีความสดใส ฝีมือประณีต นิยมเคลือบด้วยสีขาวซึ่งพัฒนาให้สวยงามในยุคโกเรียว เพื่อการอนุรักษ์สิ่งดีงามตั้งแต่อดีต ทางการเกาหลีได้จัดตั้งโครงการสมบัติประจำชาติเกาหลีใต้ขึ้น ศิลปะของนักปราชญ์ เดิมรูปแบบตัวอักษรเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นอักษรจีน ซึ่งเป็นตัวเขียนที่ยังใช้อยู่ในเอเชียตะวันออกร่วมพันปี แม้ว่าหลังจากที่เกาหลี ประดิษฐ์อักษรฮันกึล ใน ค.ศ. 1446 ตัวอักษรจีนยังคงใช้ในภาษาทางการ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพราะว่าตัวอักษรจีนมีอยู่นับหมื่นตัว แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน มีวิธีเขียนหลายแบบ หลายความหมาย การเรียนอ่านและการเขียนตัวอักษรจีนไม่ใชเรื่องง่าย ศิลปะการเขียนอักษรจีนได้เข้ามาในประเทศเกาหลีเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว การเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันเกาหลีเรียกว่า "บุดกึลซี" ต้องอาศัยปัจจัย 4 ของนักปราชญ์ ได้แก่ หมึก แท่งหินฝนหมึก พู่กันและกระดาษ ศิลปินเขียนพู่กันส่วนใหญ่มักเป็นทั้งนักปราชญ์และจิตรกร ศิลปินเหล่านี้อาจใช้พู่กันเล่มเดียวกันเขียนกลอนบรรยายภาพ ภาพวาดเกาหลี เป็นศิลปะที่มีธรรมเนียมนิยมของตนเองอย่างสมบูรณ์ จิตรกรรม ภาพจิตกรรมของเกาหลีมีมานานแล้ว สถาบันภาพวาดก่อตั้งขึ้นในยุคโกกุริวสถาบันแห่งนี้เน้นภาพวาดที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รูปแบบจิตรกรรมที่หลากหลายได้พัฒนาสืบต่อกันมาจนถึงสมัยโซชอน พร้อมนำรูปแบบศิลปะจีนแบบใหม่รวมทั้งเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตก มีการใช้สีสันสดใสในภาพที่วาดเกี่ยวกับศาสนานี้ === สถาปัตยกรรม === เนื่องจากประวัติศาสตร์อันวุ่นวายของเกาหลีใต้นับตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงการแบ่งแยกประเทศ การก่อสร้างและการทำลายล้างสถาปัตยกรรมและทรัพยากรในประเทศจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลให้เกิดการผสมผสานรูปแบบและการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ สถาปัตยกรรมดั้งเดิมของเกาหลีมีความโดดเด่นด้วยความกลมกลืนกับธรรมชาติ สถาปนิกโบราณใช้ระบบดั้งเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคามุงจากและพื้นทำความร้อนที่เรียกว่าออนโดล ผู้คนในชนชั้นสูงจะสร้างบ้านหลังใหญ่ด้วยหลังคากระเบื้องโค้งที่หรูหราพร้อมชายคายก สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมสามารถพบเห็นได้ในพระราชวังและวัดวาอาราม สถาปัตยกรรมตะวันตกเข้าสู่คาบสมุทรเกาหลีเป็นครั้งแรกเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 โบสถ์ สำนักงานกฎหมายต่างประเทศ โรงเรียนและอาคารมหาวิทยาลัยถูกสร้างขึ้นในรูปแบบใหม่ เป็นผลมาจากการครอบครองเกาหลีโดยญี่ปุ่น ระบอบอาณานิคมได้เข้าแทรกแซงมรดกทางสถาปัตยกรรมของเกาหลีและได้กำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่สไตล์ญี่ปุ่น ความรู้สึกต่อต้านญี่ปุ่นและสงครามเกาหลีนำไปสู่การทำลายสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นในช่วงเวลานั้น สถาปัตยกรรมเกาหลีเข้าสู่การพัฒนาในช่วงการฟื้นฟูหลังสงครามเกาหลี โดยผสมผสานแนวรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ด้วยแรงกระตุ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในทศวรรษ 1970 และ 1980 การพัฒนาขื้นใหม่นี้ทำให้เห็นรูปแบบใหม่ในการออกแบบสถาปัตยกรรม ภายหลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซลในปี 1988 เกาหลีใต้ได้สร้างรูปแบบที่หลากหลายในภูมิทัศน์ทางสถาปัตยกรรม โดยเริ่มเปิดรับสถาปนิกต่างชาติเข้ามาโดยเฉพาะชาวตะวันตก โดยผสมผสานปรัชญาดั้งเดิมของ "ความกลมกลืนกับธรรมชาติ" และการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วที่ประเทศได้ประสบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา === เครื่องแต่งกายประจำชาติ === ชาวเกาหลีมีชุดประจำชาติตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกว่า ฮันบก (ฮันหมายถึงชาวเกาหลี บกหมายถึงชุด รวมกันหมายถึงชุดของชาวเกาหลี) ฮันบกทั้งของผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะหลวม ๆ เพื่อความสะดวกสบายและคล่องแคล่วไม่ใช้กระดุมหรือตะขอ แต่จะใช้ผ้าผูกไว้แทน ชุดของผู้ชาย ข้างล่างประกอบด้วย "ปันซือ" แต่สมัยใหม่เรียกว่า "แพนที" ซึ่งหมายถึงกางเกงใน ชั้นนอกสวม "บาจี" เป็นกางเกงขายาวหลวม ๆรวบปลายขาไว้ด้วย "แทมิน" เป็นแถบผ้าใช้มัดขากางเกง"บันโซเม" เป็นเสื้อรัดรูปแขนสั้นไว้ข้างใน เสื้อนอกเรียกว่า "จอโกลี" เป็นเสื้อแขนยาวไม่มีปกไม่มีกระเป๋า ชุดของผู้หญิง ประกอบด้วย "แพนที" หรือกระโปรงที่อยู่ข้างใน ข้างบนใช้ "ซ็อกชีมา" เป็นแถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกไว้แทนเสื้อยกทรง ข้างนอกสวม "ชีมา" เป็นกระโปรงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ "จอโกรี" เป็นเสื้อนอกแขนยาว ฮันบกเป็นภาพรวมศิลปะของเกาหลีที่สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนของเกาหลี ราวกับถนนสายแฟชั่นของปารีส ฮันบกชุดแต่งกายประจำชาติของเกาหลีทำจากผ้าสีสันสดใส เนื้อผ้าจะขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของผู้ใส่ เด็กหญิงหรือหญิงสาวจะสวมกระโปรงสีแดงเสื้อสีเหลือง จะเปลี่ยนเป็นกระโปรงสีแดง เสื้อสีเขียวเมื่อแต่งงานแล้ว ส่วนหญิงสูงอายุอาจเลือกสีสันต่าง ๆ ที่สดใส และเลือกใช้เนื้อผ้าได้หลากหลาย ปัจจุบันชุดแต่งกายวัฒนธรรมเดิมจะใช้เฉพาะโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่ตามถนนหนทาง และรถไฟใต้ดินจะยังคงเห็นผู้คนสวมใส่กันอยู่บ้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังคงสวมใส่ชุดฮันบกอยู่ === วงการบันเทิง === เกาหลีใต้ยังมีอุตสาหกรรมบันเทิงที่เฟื่องฟู ซึ่งความบันเทิงของเกาหลีใต้ในแง่มุมต่าง ๆ รวมถึงละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลง ได้สร้างรายได้ทางการเงินที่สำคัญให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า "กระแสเกาหลี" ได้กวาดล้างหลายประเทศทั่วเอเชีย ทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีอำนาจรายใหญ่ในฐานะผู้ส่งออกวัฒนธรรมป๊อปและความบันเทิง แข่งขันกับประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ==== เพลง ==== ในปี 1992 เป็นจุดเปลี่ยนสำหรับกระแสความนิยมเพลงของเกาหลีใต้หรือที่เรียกว่า เคป็อป เนื่องจากแนวเพลงได้ปรับปรุงตัวเองจากการผสมผสานองค์ประกอบของแนวเพลงยอดนิยมจากทั่วโลกเช่นตะวันตก ดนตรีป็อป, แจ๊ส, ลาติน, คลาสสิค, ฮิปฮอป, ริทึมและบลูส์, แดนซ์อิเล็กทรอนิกส์, เร้กเก้, คันทรี, โฟล์ค และร็อค ที่อยู่บนรากฐานของดนตรีเกาหลีดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แนวเพลงป๊อป ฮิปฮอป ริทึมแอนด์บลูส์ ร็อค โฟล์ค อิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ได้กลายเป็นจุดเด่นในวงการเพลงเกาหลีใต้สมัยใหม่ ดาราและวงดนตรีเคป็อปเป็นที่รู้จักกันดีทั่วเอเชียและพบว่าชื่อเสียงระดับนานาชาติทำรายได้ส่งออกหลายล้านดอลลาร์ ศิลปินเคป๊อปจำนวนมากยังสามารถรักษาความนิยมในต่างประเทศได้โดยใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียออนไลน์ เช่น เว็บไซต์แบ่งปันวิดีโอ YouTube นักร้องชาวเกาหลีใต้ ไซ (PSY) กลายเป็นที่โด่งดังเมื่อเพลง "คังนัมสไตล์" ของเขาขึ้นอันดับ 1 ในชาร์ตเพลงระดับโลกในปี 2012 วงเคป๊อปและเกิร์ลกรุปที่มีชื่อเสียงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้แก่ บีทีเอส, แบล็กพิงก์, บิกแบง, เกิลส์เจเนอเรชัน, เอ็กโซ, ซูเปอร์จูเนียร์, ก็อตเซเวน, ชายนี และ 2PM' ==== โทรทัศน์ และภาพยนตร์ ==== ตั้งแต่ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องชีริ เด็ดหัวใจยอดจารชน ในปี 1999 อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีก็เริ่มเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ภาพยนตร์ในประเทศมีส่วนแบ่งการตลาดที่โดดเด่น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการมีอยู่ของโควตาจอที่กำหนดให้โรงภาพยนตร์ต้องฉายภาพยนตร์เกาหลีอย่างน้อย 73 วันต่อปี ชนชั้นปรสิต (Parasite) ปี 2019 ของ พง จุน-โฮ กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์เกาหลีที่โด่งดังระดับโลก และเป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกที่ได้รางวัลออสการ์ เช่นเดียวกับการเป็นภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศเรื่องแรกที่คว้ารางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในภาพยนตร์เอเชียที่ดีที่สุดตลอดกาล ละครโทรทัศน์เกาหลีได้รับความนิยมนอกประเทศเกาหลี และเป็นที่รู้จักในระดับสากล ละครหลายเรื่องมักจะเน้นเรื่องโรแมนติก เช่น เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา, หล่อน่ารักกับซูปเปอร์สตาร์น่าเลิฟ, จุ๊บหลอก ๆ อยากบอกว่ารัก, รักนี้ชั่วนิรันดร์, เพลงรักในสายลมหนาว และอีกมากมาย รวมถึงละครแนวอิงประวัติศาสตร์ก็มีกระแสตอบรับที่ดีหลายเรื่อง เช่น แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง ซึ่งสร้างกระแสนิยมอาหารเกาหลีไปทั่วเอเชียในช่วงที่ออกฉายรวมถึงในประเทศไทย ละครย้อนยุคแนวแฟนตาซี ตำนานจอมกษัตริย์เทพสวรรค์ ปลุกกระแสความสนใจด้านประวัติศาสตร์ในประเทศ รวมถึงละครแนวระทึกขวัญ/สยองขวัญอย่าง ผีดิบคลั่ง บัลลังก์เดือด ซีรีส์ดรามาแนวเอาชีวิตรอด สควิดเกม เล่นลุ้นตาย โดย ฮวัง ดง-ฮย็อก ได้รับการชื่นชมจากนักวิจารณ์และได้รับความสนใจจากนานาชาติอย่างกว้างขวางจากการเปิดตัว กลายเป็นซีรีส์ที่มีคนดูมากที่สุดของเน็ตฟลิกซ์ในช่วงเปิดตัว และมีผู้ชมมากกว่า 142 ล้านครัวเรือนในช่วง 4 สัปดาห์แรกนับตั้งแต่เปิดตัว นักแสดงเกาหลีมากมายมีชื่อเสียงระดับทวีปและมีผลงานที่ได้รับความนิยม เช่น กง ยู, อี มิน-โฮ, ฮย็อน บิน, ซง จุง-กี, ซอง เฮ เคียว, ไอยู, พัก มิน-ย็อง, ฮา จี-ว็อน และอีกมากมาย === อาหาร === อาหารเกาหลี เป็นอาหารประจำชาติของชาวเกาหลี แต่เดิมเกาหลีเป็นประเทศเกษตรกรรม และเพาะปลูกข้าวเป็นอาหารหลักมาตั้งแต่โบราณกาล ในสมัยนี้อาหารเกาหลีจะเป็นตำหรับซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อ ปลา พร้อมด้วยผักต่าง ๆ และอาหารหมักดองต่าง เช่น กิมจิช็อดกัล (젓갈 - อาหารทะเลหมักเกลือ และท็อนจัง (된장 - ถั่วเหลืองหมักเหลว)) วัตถุดิบหลักทุกชนิดขึ้นชื่อในรสชาติและมีคุณค่าทางโภชนาการ อาหารเกาหลีจะมีลักษณะเป็น หยิน-หยาง หลักคิดแบบ หยิน หยาง ตามการแพทย์แผนจีนนั้น ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้จะประกอบไปด้วยสองด้าน ซึ่งด้านทั้งสองจะอยู่ตรงข้ามกันแต่ต่างฝ่ายต่างต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยรักษาสมดุลให้กับร่างกาย เช่น ชาวเกาหลีนิยมรับประทาน ซัมเกทัง หรือซุปไก่โสม เพื่อเรียกกำลังในช่วงฤดูร้อน หรือหากอากาศหนาว ร่างกายต้องการอาหารเพื่อทำให้อบอุ่น ต้องกิน “ชินซอลโล” หรือหม้อร้อนที่ประกอบด้วยเนื้อปลา ผัก หรือเต้าหู้ จุดเด่นในการตั้งโต๊ะอาหารเกาหลีคืออาหารจานต่าง ๆ จะถูกนำมาจัดวางในคราวเดียวกัน โดยการปฏิบัติสืบทอดกันมา หากจะเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและญี่ปุ่น คนเกาหลีนิยมใช้ช้อนทานอาหารมากกว่าโดยเฉพาะเมื่อมีการเสิร์ฟน้ำซุป อาหารเกาหลีที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือกิมจิ (เกาหลี: 김치, MC: Gimchi, MR: Kimch'i คิมชี) ซึ่งเป็นผักดองที่เป็นเอกลักษณ์ และพีบิมบับ หรือ "ข้าวยำเกาหลี" มีลักษณะเป็นข้าวสวยโรยหน้าด้วยผักที่ปรุงแล้วนิยมทานร่วมกับไข่ดาว น้ำพริก ไข่ลวก และเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ คลุกให้เข้ากัน รวมทั้ง ต็อกโบกี หรือ เค้กข้าว-ผัด ทำมาจากแป้งต๊อกเนื้อนุ่ม ผัดกับซอสรสเผ็ด ใส่เครื่องเคียงเพิ่มทั้งผัก เนื้อสัตว์ ออมุก ไข่ต้มและชีส อาหารอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่ อาหารปิ้งย่าง (เนื้อสัตว์และอาหารทะเลนำไปย่างทานกับน้ำจิ้มรสชาติต่าง ๆ), ไก่ทอด, เกี๊ยวซ่าเกาหลี, ข้าวผัดเกาหลี หัวไชเท้าดอง และรามยอน (라면) หรือบะหมี่กึงสำเร็จรูปรสชาติต่าง ๆ โดยคนเกาหลีนิยมเติมผักและเนื้อสัตว์ลงไปด้วย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยอดนิยมของเกาหลี ได้แก่ โซจู มักกอลลี และบกบุนจาจู ชาวเกาหลีมีวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบที่เป็นเอกลักษณ์ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกโดยใช้ตะเกียบโลหะ ซึ่งมีหลักฐานการพบค้นพบในแหล่งโบราณคดีตั้งแต่สมัยโคกูรยอ === กีฬา === เทควันโดเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีต้นกำเนิดในเกาหลี ในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 และได้กลายเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง โดยกลายเป็นกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการในปี 2000 ศิลปะการป้องกันตัวอื่น ๆ ของเกาหลี ได้แก่ เทคคยอน ฮับกิโด ทังซูโด กุกซูลวอน คัมโด และซูบัก ฟุตบอลได้รับความนิยมมากเช่นกัน โพลล่าสุดระบุว่าแฟนกีฬาชาวเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ 41% ระบุตัวเองว่าเป็นแฟนฟุตบอล เกาหลีใต้มีลีกอาชีพที่มีชื่อเสียงได้แก่ เคลีก ทีมชาติเกาหลีใต้ถือเป็นทีมแรกในเอเชียที่เข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ในฟุตบอลโลก 2002 ซึ่งตนเองเป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่น และผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลกทุกสมัยนับตั้งแต่ปี 1986 และผ่านรอบแบ่งกลุ่มได้ 2 ครั้ง (2002 และ 2010) และในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ทีมฟุตบอลเกาหลีใต้ได้เหรียญทองแดง เบสบอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬาที่เล่นกันอย่างแพร่หลาย โดยได้รับการเผยแพร่ในเกาหลีครั้งแรกใน ค.ศ. 1905 โดยผลสำรวจบางแหล่งอ้างว่าเบสบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศแซงหน้าฟุตบอลในปัจจุบัน การเข้าชมและราคาตั๋วสำหรับการแข่งขันเบสบอลอาชีพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ลีกเบสบอลมืออาชีพ (เคบีโอลีก) มีทั้งหมด 10 ทีม ก่อตั้งขึ้นในปี 1982 เกาหลีใต้จบอันดับสามในเวิลด์เบสบอลคลาสสิกปี 2006 และอันดับสองในปี 2009 ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2010 ทีมเบสบอลเกาหลีคว้าเหรียญทอง ผู้เล่นเกาหลีหลายคนยังมีโอกาสได้ไปเล่นในเมเจอร์ลีกเบสบอลของสหรัฐ เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์มาสามสมัยในปี 1986 (โซล), 2002 (ปูซาน) และ 2014 (อินชอน) และเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฤดูหนาวในปี 1997, Asian Winter Games ในปี 1999 และ กีฬามหาวิทยาลัยโลกในปี 2003 และ 2015 ในปี 1988 เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงโซล โดยจบอันดับ 4 ในตารางเหรียญรวมโดยทำผลงานโดดเด่นในการยิงธนู ยิงปืน เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน สปีดสเก็ต แฮนด์บอล ฮ็อกกี้ มวยปล้ำ เบสบอล ยูโด เทควันโด และยกน้ำหนัก เกาหลีใต้ได้รับเหรียญรางวัลในโอลิมปิกฤดูหนาวมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ในโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2010 เกาหลีใต้อยู่ในอันดับห้าในการจัดอันดับเหรียญโดยรวม โดยมีความโดดเด่นในด้านสเก็ตความเร็วระยะสั้น สเก็ตเร็วและสเก็ตลีลาก็เป็นที่นิยมเช่นกัน และฮ็อกกี้น้ำแข็งเป็นกีฬาที่เกิดใหม่ โดยมี อันยัง ฮัลลา คว้าแชมป์เอเชียลีกครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2010 กรุงโซลเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันไตรกีฬาระดับสากล ซึ่งจัดโดยไตรกีฬาโลกในเดือนพฤษภาคม 2010 และการแข่งขันอีสปอร์ตได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นหลายปีที่ผ่านมา === วันหยุด === มีวันหยุดราชการอย่างเป็นทางการมากมายในเกาหลีใต้ หนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวเกาหลีได้แก่ วันปีใหม่เกาหลีหรือ ซอลลัล โดยมีการเฉลิมฉลองในวันแรกของปฏิทินจันทรคติของเกาหลี วันประกาศอิสรภาพของเกาหลีตรงกับวันที่ 1 มีนาคม และเป็นการรำลึกถึงขบวนการวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1919 วันแห่งความทรงจำมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 6 มิถุนายน และมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติแก่ชายและหญิงที่เสียชีวิตในขบวนการเอกราชของเกาหลีใต้ วันรัฐธรรมนูญคือวันที่ 17 กรกฎาคม และเป็นการเฉลิมฉลองการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี วันประกาศอิสรภาพคือ วันที่ 15 สิงหาคม เป็นการเฉลิมฉลองการปลดปล่อยของเกาหลีจากจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี 1945 ทุกวันที่ 15 ของเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ ชาวเกาหลีจะเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ ซึ่งชาวเกาหลีจะไปเยี่ยมบ้านเกิดของบรรพบุรุษและรับประทานอาหารเกาหลีแบบดั้งเดิม วันที่ 1 ตุลาคม มีการเฉลิมฉลองวันกองทัพเพื่อเป็นเกียรติแก่กองกำลังทหารของเกาหลีใต้ วันที่ 3 ตุลาคม เป็นวันสถาปนาแห่งชาติ หรือเรียกว่า วันฮันกึล วันที่ 9 ตุลาคม เป็นวันที่ระลึกถึงการประดิษฐ์อักษรฮันกึล ซึ่งเป็นอักษรพื้นเมืองของภาษาเกาหลี == เชิงอรรถ == ==อ้างอิง== == อ่านเพิ่ม == Lew, Yong Ick. The Making of the First Korean President: Syngman Rhee's Quest for Independence (University of Hawai'i Press; 2013); scholarly biography; 576 pages; == แหล่งข้อมูลอื่น == (Korea.net) Korea Tourism Guide website Korea National Statistical Office South Korea. The World Factbook. Central Intelligence Agency. A Country Study: South Korea in the Library of Congress Korea OECD South Korea profile from the BBC News South Korea Encyclopædia Britannica entry Key Development Forecasts for South Korea from International Futures ประเทศเกาหลีใต้ ก ก ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2491 อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น
thaiwikipedia
407
ลิเทียม
ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุมีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ ตั้งอยู่ในกลุ่ม 1 ในกลุ่มโลหะอัลคาไล ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่อนนุ่ม และมีสีขาวเงิน ซึ่งถูกออกซิไดส์เร็วในอากาศและน้ำ ลิเทียมเป็นธาตุของแข็ง ที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน ในแบตเตอรี่ไฟฟ้า ถ่านไฟฉายและเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า "mood stabilizer" == คุณลักษณะพื้นฐาน == ลิเทียมเป็นโลหะที่เบาที่สุดในบรรดาโลหะทั้งหมด และมีความหนาแน่นเพียงครึ่งเท่าของน้ำ และลิเทียมยังมีคุณสมบัติของโลหะแอลคาไลน์เอิร์ธ ในหมู่ 2 ด้วย ลิเทียมเป็นโลหะสีเงิน อ่อนนิ่มมากจนตัดด้วยมีดที่คมได้ ลิเทียมมีคุณสมบัติอย่างโลหะแอลคาไลทั้งหมด นั่นคือ มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว และสามารถสูญเสียอิเล็กตรอนตัวนี้ไปเป็นไอออนบวก ทำให้มีอิเล็กตรอนในระดับชั้นพลังงานที่ไม่ครบถ้วน เนื่องจากกรณีดังกล่าว ทำให้ลิเทียมทำปฏิกิริยาในน้ำได้ง่าย และไม่ปรากฏโดยอิสระในธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ลิเทียมยังถือว่าทำปฏิกิริยายากกว่าโซเดียม ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีที่คล้ายกัน เมื่ออังลิเทียมไว้เหนือเปลวไฟ มันจะให้สีแดงเข้มออกมา แต่เมื่อเผาไหม้โดยตรง เปลวไฟจะเป็นสีขาวสว่างจ้า โลหะลิเทียมจะติดไฟและไหม้เมื่อกระทบกับออกซิเจนและน้ำ นอกจากนี้ยังนับเป็นโลหะเพียงชนิดเดียวที่ทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนที่อุณหภูมิห้อง ลิเทียมนั้นมีความจุความร้อนจำเพาะที่ 3,582 J/(kg·K) และมีช่วงอุณหภูมิที่กว้างเมื่ออยู่ในรูปของเหลว ซึ่งทำให้เป็นสารเคมีที่มีประโยชน์ใช้งานได้ ลิเทียมที่อยู่ในรูปโลหะบริสุทธิ์จะติดไฟได้ง่ายและระเบิดได้ค่อนข้างง่าย เมื่อแตะกับอากาศ และโดยเฉพาะกับน้ำ ไฟจากลิเทียมนั้นดับได้ยาก ต้องอาศัยสารเคมีเฉพาะที่ผลิตมาสำหรับการดับไฟนี้โดยตรง สำหรับโลหะลิเทียมยังสึกกร่อนง่าย และต้องจับต้องอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในรูปของสารประกอบที่ไม่ทำปฏิกิริยา เช่น แนพธา (naphtha) หรือไฮโดรคาร์บอน สารประกอบลิเทียมนั้นไม่มีบทบาทเชิงชีววิทยาในธรรมชาติ และถือว่าเป็นพิษพอสมควร เมื่อใช้เป็นยา จะต้องคอยตรวจสอบอย่างระมัดระวัง เพราะลิเทียมไอออน (Li+) จะทำให้เลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น == การประยุกต์ใช้ == เนื่องจากความร้อนจำเพาะที่สูงมากที่สุดในบรรดาของแข็งใด ๆ ทำให้มีการใช้ลิเทียมในการถ่ายเทความร้อน นอกจากนี้ยังใช้เป็นโลหะขั้วแอโนดของแบตเตอรีที่สำคัญ ทั้งนี้เพราะศักย์ทางไฟฟ้าเคมีที่สูงนั่นเอง ขณะเดียวกัน การที่มีน้ำหนักแห้งกว่าเซลล์มาตรฐานทั่วไป แบตเตอรีเหล่านี้จึงให้แรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่า (3 โวลต์ ขณะที่แบตเตอรีแบบอื่นให้แรงดัน 1.5 โวลต์) การใช้งานอื่น ๆ ได้แก่ เกลือลิเทียม เช่น ลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) ลิเทียมไซเตรต และ ลิเทียมโอโรเทต ถือเป็น mood stabilizers ที่ใช้ในการบำบัดอาการทางจิต (bipolar disorder) เนื่องจากไม่เหมือนกับยา mood altering อื่น ๆ ส่วนใหญ่ ที่รักษาทั้งอาการคลุ้มคลั่ง และอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ลิเทียมยังใช้เพื่อขยายผลยาต้านการซึมเศร้าอื่น ๆ ปริมาณลิเทียมที่ใช้ประโยชน์ได้นี้น้อยกว่าปริมาณที่เป็นพิษเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้จึงต้องตรวจสอบระดับลิเทียมในกระแสเลือดอย่างรอบคอบในช่วงการบำบัดรักษา ลิเทียมคลอไรด์ และ ลิเทียมโบรไมด์ นิยมใช้เป็นอุปกรณ์วัดความชื้นที่ดี และมักจะใช้เป็น desiccant ลิเทียมสเตียเรต (Lithium stearate) นิยมใช้ทั่วไปสำหรับเป็นสารหล่อลื่นอุณหภูมิสูงอย่างอเนกประสงค์ ลิเทียมเป็นตัวกระทำชนิดอัลลอย ที่ใช้เพื่อสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ ลิเทียมยังใช้เป็นฟลักซ์ เพื่อช่วยในการหลอมของโลหะในช่วงการเชื่อมและบัดกรี นอกจากนี้ยังลดการเกิดออกไซด์ในช่วงที่เชื่อม โดยการดูดซับสิ่งเจือปนไว้ คุณสมบัติการหลอมดังกล่าวยังมีความสำคัญในฐานะเป็นตัวเชื่อมประสาน สำหรับการผลิตเซรามิก วัสดุเคลือบ และเครื่องแก้ว บางครั้งมีการใช้ลิเทียมในเครื่องแก้วและเซรามิก รวมทั้งกระจกสำหรับทำกล้องโทรทรรศน์ขนาด 200 นิ้ว ที่ยอดเขาพาโลมาร์ด้วย ลิเทียมไฮดรอกไซด์นั้นใช้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศในยานอวกาศ และเรือดำน้ำ สำหรับไฮดรอกไซด์ของอัลคาไลอื่น ๆ นั้นจะดูดซับ CO2 ได้ แต่ลิเทียมไฮดรอกไซด์นั้นทำได้มากกว่า เพราะมีน้ำหนักโมเลกุลที่ต่ำกว่า มีการใช้อัลลอยของโลหะ ที่มีส่วนผสมของ อะลูมิเนียม แคดเมียม ทองแดง และแมงกานีส เพื่อผลิตชิ้นส่วนอากาศยานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง ลิเทียมไนโอเบต (Lithium niobate) มีการใช้อย่างกว้างขวางในตลาดเครื่องมือโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ และมอดูเลเตอร์แสง ลิเทียมไนโอเบตแบบสภาพไม่เชิงเส้นสูง ยังเป็นทางเลือกที่นิยมใช้สำหรับการประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ แบบไม่เชิงเส้น (non-linear application) ลิเทียมดิวเทอไรด์ (Lithium deuteride) ดิวเทอเรียมเป็นไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจน) เป็นเชื้อเพลิงแบบหลอมตัวในระเบิดไฮโดรเจน เมื่อถูกระดมยิงด้วยนิวตรอน ทั้งลิเทียม -6 และลิเทียม -7 จะผลิตไตรเทียมออกมา ไตรเทียมจะหลอมรวมตัวกับดิวเทอเรียม ในปฏิกิริยาฟิวชั่น ซึ่งทำได้ง่ายกว่า ลิเทียมใช้เป็นแหล่งกำเนิด อนุภาคแอลฟา หรือนิวคลีไอของลิเทียม เมื่อนิวคลีไอของลิเทียม -7 ถูกระดมยิงจากโปรตอนที่ถูกเร่ง นิวคลีไอบางตัวของลิเทียมจะแตกสลายเป็นโปรตอน 4 ตัว และนิวตรอน 4 ตัว และทำให้เกิดอนุภาคแอลฟา 2 ตัวด้วย นับเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ครั้งแรกที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยฝีมือของคอกรอฟต์ (Cockroft) และวอลตัน (Walton) เมื่อ ค.ศ. 1929 ลิเทียมไฮดรอกไซด์ (LiOH) เป็นสารประกอบที่สำคัญของลิเทียม ที่ได้มาจากลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) นับเป็นเบสที่แรง และเมื่อให้ความร้อนจากไขมัน มันจะทำให้เกิดสบู่ลิเทียมขึ้น สบู่ลิเทียมนี้มีความสามารถทำให้น้ำมันแข็งตัว และด้วยเหตุนี้ จึงนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อผลิตจาระบีสำหรับใช้ในการหล่อลื่นเครื่องยนต์ ลิเทียมไฮดรอกไซด์เป็นสารเคมีที่มีน้ำหนักเบาและมีประสิทธิภาพในการกรองให้อากาศบริสุทธิ์ ในพื้นที่จำกัด เช่น ยานอวกาศ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์สามารถทำให้เสียสุขภาพหรือเกิดพิษได้ ลิเทียมไฮดรอกไซด์จะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ โดยการเข้าทำปฏิกิริยาและเกิดเป็นลิเทียมคาร์บอเนต แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนเป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ทำให้อุปกรณ์ที่เคยใหญ่ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก รวมถึงมีระยะเวลาใช้งานก่อนจะประจุไฟใหม่ยาวนานขึ้นมาก แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนมีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า และยังมีการพยายามนำแบตเตอรีชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอวกาศ ด้านการทหาร ด้านการไฟฟ้าและสาธารณูปโภค == ประวัติ == สารเพทาไลต์ (Petalite) ซึ่งมีลิเทียมเป็นส่วนประกอบ ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิล ชื่อโฮเซ โบนิฟาเชียว เด อันดราดา เอ ซิลวา (José Bonifácio de Andrada e Silva) เมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ ขณะเดินทางไปยังสวีเดน ส่วนลิเทียมนั้นถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1817 โดย โยฮันน์ อาร์ฟเวดสัน (Johann Arfvedson) โดยเขาได้ค้นพบธาตุชนิดใหม่นี้ในแร่สปอดูมีน (spodumene) และเลปิโดไลต์ (lepidolite) ในสินแร่เพทาไลต์ (petalite) LiAl (Si2O5)2 ที่เขาวิเคราะห์ในช่วงที่ทำการสำรวจตามปกติจากแร่บางอย่างในเหมืองแห่งหนึ่งของเกาะอูโทของประเทศสวีเดน และเมื่อ ค.ศ. 1818 คริสเตียน กเมลิน (Christian Gmelin) เป็นคนแรกที่ได้สังเกตเห็นว่าเกลือลิเทียมจะให้เปลวไฟสีแดงเข้ม นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองพยายามที่จะแยกธาตุออกจากเกลือดังกล่าว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ การแยกธาตุลิเทียมยังไม่สำเร็จ กระทั่งวิลเลียม โทมัส เบรนด์ (William Thomas Brande) และเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี (Humphrey Davy) ได้ใช้วิธีการแยกสลายด้วยไฟฟ้ากับลิเทียมออกไซด์ เมื่อ ค.ศ. 1818 ต่อมา บุนเสน (Bunsen) และมาทีสเสน (Matiessen) ได้แยกโลหะส่วนใหญ่ออกด้วยการแยกสลายลิเทียมคลอไรด์ด้วยไฟฟ้า เมื่อ ค.ศ. 1855 สำหรับการผลิตโลหะลิเทียมในเชิงพาณิชย์เพิ่งประสบความสำเร็จ เมื่อ ค.ศ. 1923 โดยบริษัทแห่งหนึ่งของเยอรมนี ชื่อ เมทัลเกเซลชาฟท์ (Metallgesellschaft) ด้วยการใช้วิธีแยกสลายด้วยไฟฟ้าเช่นเดียวกัน แต่ใช้สารตั้งต้นเป็นลิเทียมคลอไรด์ และโพแตสเซียมคลอไรด์ที่หลอมละลาย เมื่อได้ธาตุบริสุทธิ์ออกมา ก็ได้ตั้งชื่อว่า ลิเทียม (กรีก λιθοσ (ลิธอส) หมายถึง หิน) เพราะค้นพบมาจากแร่ ขณะที่โลหะอัลคาไลอื่น ๆ ทั่วไป ค้นพบเป็นครั้งแรกจากเนื้อเยื่อของพืช == การปรากฏ == ในโลกมีลิเทียมแพร่หลาย แต่ไม่ปรากฏในธรรมชาติในรูปอิสระ เพราะความสามารถทำปฏิกิริยาที่สูงมาก จึงมักพบเป็นส่วนประกอบกับธาตุชนิดอื่น หรือสารประกอบอื่น ๆ ลิเทียมเป็นส่วนประกอบย่อยของหินอัคนีเกือบทุกชนิด และยังพบในแอ่งน้ำกร่อยในธรรมชาติจำนวนมากด้วย ลิเทียมนับเป็นธาตุที่พบได้มากเป็นอันดับที่ 31 โดยมีอยู่มากในแร่ต่าง ๆ เช่น สปอดูมีน เลปิโดไลต์ และแอมบลิโกไนต์ ในเปลือกโลกยังมีลิเทียมเป็นส่วนประกอบถึง 65 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm) นับตั้งแต่สิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่สอง มีการผลิตลิเทียมเพิ่มขึ้นมาก โลหะชนิดนี้ถูกแยกจากธาตุอื่น ๆ ในหินอัคนี และยังถูกสะกัดออกจากน้ำในน้ำพุแร่ต่าง ๆ แร่สำคัญที่มีลิเทียมเป็นส่วนประกอบได้แก่ เลปิโดไลต์ สปอดูมีน เปทาไลต์ และแอมบลิโกไนต์ ในสหรัฐอเมริกามีการค้นพบลิเทียมในแอ่งน้ำกร่อย ในรัฐเนวาดา ทุกวันนี้ลิเทียมที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ขุดได้มาจากแหล่งน้ำกร่อยในประเทศชิลี โลหะชนิดนี้ซึ่งมีสีเงิน เช่นเดียวกับโซเดียม โพแทสเซียม และโลหะอัลคาไลอื่น ๆ ถูกผลิตขึ้นด้วยการแยกสลายทางไฟฟ้า จากส่วนผสมของโพแตสเซียมคลอไรด์ และลิเทียมที่หลอมละลาย ลิเทียมในรูปโลหะบริสุทธิ์นั้นมีตลาดซื้อขายที่แคบ และข้อมูลด้านราคาก็หายาก เมื่อ ค.ศ. 1998 มีราคาอยู่ที่ 43 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนัก 1 ปอนด์ (หรือ 95 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม) ประเทศชิลีนับเป็นผู้ผลิตโลหะลิเทียมบริสุทธิ์รายใหญ่ของโลกในตอนนี้เพียงรายเดียว การแยก (* ข้างล่าง) : แคโทด: \mbox{Li}^{+}\mbox{*} + \mbox{e}^{-} \to \mbox{Li*} แอโนด: \mbox{Cl}^{-}\mbox{*} \to \frac{1}{2}\mbox{Cl}_2 (\mbox{gas}) + e^- == ไอโซโทป == ลิเทียมที่ปรากฏในธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยไอโซโทปที่เสถียร 2 ตัว คือ Li–6 และ Li–7 โดยที่ Li–7 มีอยู่เป็นสัดส่วนที่สูงกว่ามาก (92.5%) สำหรับไอโซโทปกัมมันตรังสีอื่น ๆ 7 ตัวนั้น ตัวที่เสถียรมากที่สุดคือ Li–8 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 838 มิลลิวินาที และ Li–9 มีค่าครึ่งชีวิต 178.3 มิลลิวินาที ส่วนไอโซโทปกัมมันตรังสีที่เหลือ มีครึ่งชีวิตน้อยกว่า 8.6 มิลลิวินาที สำหรับไอโซโทปที่มีครึ่งชีวิตสั้นที่สุด คือ 4Li ซึ่งสลายไปโดยการปลดปล่อยโปรตอน และมีครึ่งชีวิตเพียง 7.58043x10-23 วินาที ลิเทียม -7 นั้น นับเป็นธาตุเริ่มต้น (primordial elements) ที่เกิดขึ้นในช่วงบิกแบง (Big Bang nucleosynthesis) ไอโซโทปของลิเทียมจะแตกตัวอย่างชัดเจนในกระบวนการทางธรรมชาติที่หลากหลาย ได้แก่ การเกิดแร่ (การตกตะกอนทางเคมี) เมตาบอลิซึม การแลกเปลี่ยนไอออน (Li นั้นถูกใช้แทนแมกนีเซียม และเหล็กในแร่ดินรูปทรงแปดหน้า โดยที่ Li-6 นั้นมักพบได้มากกว่า Li-7) การกรองแบบ hyperfiltration และการเปลี่ยนแปลงของหิน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == USGS: ข้อมูลและสถิติ WebElements.com - ลิเทียม ธาตุลิเทียม สารประกอบลิเทียม โลหะแอลคาไล ธาตุเคมี ลิเทียม
thaiwikipedia
408
โรเจอร์ กายเคนดอล
โรเจอร์ กายเคนดอล (Roger Kuykendall) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ == แหล่งข้อมูลอื่น == ประวัติ โรเจอร์ กายเคนดอล ที่ Internet Speculative Fiction DataBase (ภาษาอังกฤษ) นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
409
อัลดัส ฮักซลีย์
อัลดัส เลโอนาร์ด ฮักซลีย์ (Aldous Leonard Huxley, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963)) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษ ที่อพยพไปสหรัฐอเมริกา เขาเป็นสมาชิกของครอบครัวฮักซลีย์อันโด่งดัง ที่มีนักคิดทางวิทยาศาสตร์หลายคน แม้จะเป็นที่รู้จักจากนวนิยายและความเรียงที่มีเนื้อหากว้างขวาง เขายังพิมพ์เรื่องสั้น, บทกวี และงานเขียนเชิงท่องเที่ยว ฮักซลีย์วิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ขนบธรรมเนียม ค่านิยม และแนวคิดของสังคม รวมถึงการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในทางที่ไม่ถูกต้องผ่านงานเขียนของเขา ในขณะที่สิ่งที่เขาสนใจในช่วงต้นอาจมองว่าเป็นแนว "มนุษย์นิยม" แต่ที่สุดแล้ว เขากลับมาสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวทาง "จิตวิญญาณ" เช่นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาเหนือคำอธิบาย และปรัชญาที่วางอยู่บนรากฐานของความเชื่อทางจิตวิญญาณ ซึ่งเขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้เช่นกัน ในช่วงท้ายของชีวิต เขาถูกจัดให้เป็น "ผู้นำของความคิดสมัยใหม่" โดยกลุ่มคนบางกลุ่ม == ผลงาน == Brave New World (แปลเป็นไทยในชื่อ โลกวิไลซ์) นักเขียน ชาวอังกฤษ อัลดัส ฮักซลีย์ อัลดัส ฮักซลีย์
thaiwikipedia
410
ภาษาลาว
ภาษาลาว (ລາວ, หรือ ພາສາລາວ, ) เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไทของชาวลาว โดยมีผู้พูดในประเทศลาว ซึ่งมีสถานะเป็นภาษาทางการของประชากรประมาณ 7 ล้านคน และในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีผู้พูดประมาณ 23 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เรียกเป็นภาษาอีสาน ภาษาลาวเป็นภาษากลางของพลเมืองในประเทศลาวที่มีภาษาอื่น ๆ ประมาณ 90 ภาษา โดยภาษาส่วนใหญ่ไม่มีความเกี่ยวโยงกับภาษานี้ ภาษาลาวเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และแยกหน่วยคำเหมือนกับภาษาตระกูลขร้า-ไทอื่น ๆ และภาษาจีนกับภาษาเวียดนาม ภาษานี้สามารถเข้าใจระหว่างกันกับภาษาไทยและภาษาอีสาน ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้เช่นกัน จนถึงขั้นที่ว่าผู้พูดสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ภาษาเหล่านี้เขียนด้วยอักษรที่ต่างกันแต่มีความคล้ายคลึงทางภาษาและก่อให้เกิดความต่อเนื่องของภาษา ถึงแม้ว่าภาษาลาวยังไม่มีรูปแบบมาตรฐานก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สำเนียงเวียงจันทน์กลายเป็นรูปแบบมาตรฐานโดยพฤตินัยในประเทศลาว และสำเนียงขอนแก่นกลายเป็นรูปแบบมาตรฐานโดยพฤตินัยในภาคอีสาน == การจำแนก == === สำเนียงภาษาถิ่น === สำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ: ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์, แขวงบอลิคำไซ; จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดบึงกาฬ, จังหวัดหนองบัวลำภู, และบางส่วนของจังหวัดขอนแก่น,จังหวัดอุดรธานี,จังหวัดกาฬสินธุ์) ภาษาลาวเหนือ (แขวงหลวงพระบาง, แขวงไชยบุรี, แขวงอุดมไซ, แขวงหลวงน้ำทา,แขวงบ่อแก้ว; จังหวัดเลย และบางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์,จังหวัดพิษณุโลก , จังหวัดเพชรบูรณ์ , จังหวัดขอนแก่น , จังหวัดชัยภูมิ , จังหวัดหนองคาย , จังหวัดอุดรธานี ) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (แขวงเชียงขวาง, แขวงหัวพัน บางส่วนของจังหวัดอุดรธานี,จังหวัดสกลนคร) ภาษาลาวกลาง (แขวงคำม่วน, แขวงสุวรรณเขต; จังหวัดสกลนคร, จังหวัดนครพนม, จังหวัดมุกดาหาร และบางส่วนของจังหวัดบึงกาฬ) ภาษาลาวใต้ (แขวงจำปาศักดิ์, แขวงสาละวัน, แขวงเซกอง, แขวงอัตตะปือ; จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดยโสธร, จังหวัดอำนาจเจริญ และบางส่วนของจังหวัดสุรินทร์) ภาษาลาวร้อยเอ็ดหรือภาษาอีสาน (ไม่มีใช้ในประเทศลาว) จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดกาฬสินธุ์, จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดบุรีรัมย์ และบางส่วนของจังหวัดหนองคาย, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดนครราชสีมา) ทางการประเทศลาวไม่ได้กำหนดให้สำเนียงถิ่นใดเป็นสำเนียงภาษากลาง แต่การใช้ภาษาลาวอย่างเป็นทางการ เช่น ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศลาว สถานีวิทยุแห่งประเทศลาว จะใช้สำเนียงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นสำเนียงของคนเมืองหลวง สามารถเข้าใจกันได้ทั่วประเทศ การเรียนภาษาลาวในประเทศลาวนั้น รัฐบาลลาวไม่ได้บังคับให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ แต่ให้สามารถใช้สำเนียงท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ แต่การเรียนภาษาลาวสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลลาวแนะนำให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ฉะนั้นประชาชนในประเทศลาวจึงพูดอ่านภาษาลาวเป็นสำเนียงท้องถิ่นของตน แต่ประชาชนก็สามารถฟังเข้าใจได้ทุกสำเนียงทั่วประเทศ แม้จะพูดภาษาต่างสำเนียงกันก็ตาม ส่วนในประเทศลาว นอกจากสำเนียงถิ่นใหญ่แล้วยังมีสำเนียงแตกออกไปอีกหลายสำเนียงย่อย เช่น ภาษาลาวใต้ถิ่นสาละวัน ภาษาลาวกลางถิ่นสุวรรณเขต สำเนียงย่อยถิ่นเมืองอาดสะพังทอง ถิ่นเมืองจำพอน ภาษาเวียงจันทน์ถิ่นเมืองปากงึม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาลาวใต้ถิ่นจำปาศักดิ์ในจังหวัดพระวิหาร สตึงแตรง และรัตนคีรีของประเทศกัมพูชาด้วย ในประเทศไทยจะพบภาษาลาวถิ่นอีสาน หรือถิ่นร้อยแก่นสารสินในฐานะภาษากลาง โดยสื่อส่วนใหญ่จะมาจากภาษาลาวถิ่นนี้ == ระบบเสียง == === พยัญชนะ === ==== พยัญชนะต้น ==== พยัญชนะต้นภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์มี 21 เสียงดังนี้ {|class="wikitable" style=text-align:center ! colspan=2| ! ริมฝีปากทั้งสอง ! ปุ่มเหงือก ! เพดานแข็ง ! เพดานอ่อน ! เส้นเสียง |- ! colspan=2| เสียงนาสิก | style="background-color: #ccf" | ມ, ໝ | style="background-color: #cfc" | ນ, ໜ | style="background-color: #fcf" | ຍ, ຫຍ | style="background-color: #fcc" | ງ, ຫງ | |- ! rowspan=3| เสียงกัก ! ก้อง | style="background-color: #ccf" | ບ | style="background-color: #cfc" | ດ | | | |- ! ไม่ก้อง ไม่มีลม | style="background-color: #ccf" | ປ | style="background-color: #cfc" | ຕ | | style="background-color: #fcc" | ກ | style="background-color: #ccc" | ອ* |- ! ไม่ก้อง พ่นลม | style="background-color: #ccf" | ຜ, ພ | style="background-color: #cfc" | ຖ, ທ | | style="background-color: #fcc" | ຂ, ຄ | |- ! colspan=2| เสียงระเบิด | | | style="background-color: #fcf" | ຈ | | |- ! colspan=2| เสียงแทรก | style="background-color: #ccf" | ຝ, ຟ | style="background-color: #cfc" | ສ, ຊ | | | style="background-color: #ccc" | ຫ, ຮ |- ! colspan=2| เสียงเปิด | | style="background-color: #cfc" | ຣ, ຫຼ | style="background-color: #fcf" | ຢ | style="background-color: #fcc" | ວ | |- ! colspan=2| เสียงเปิดข้างลิ้น | | style="background-color: #cfc" | ລ, ຫຼ | | | |} * ອ /ʔ/ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง - ຫຼ นั้น ส่วนใหญ่คือเสียง ຫລ แต่สามารถใช้กับ ຫຣ ได้ พยัญชนะต้นภาษาลาวสำเนียงขอนแก่นมี 20 เสียงดังนี้ {|class="wikitable" style=text-align:center ! colspan=2| ! ริมฝีปากทั้งสอง ! ปุ่มเหงือก ! เพดานแข็ง ! เพดานอ่อน ! เส้นเสียง |- ! colspan=2| เสียงนาสิก | style="background-color: #ccf" | ม | style="background-color: #cfc" | น | style="background-color: #fcf" | ญ | style="background-color: #fcc" | ง | |- ! rowspan=3| เสียงกัก ! ก้อง | style="background-color: #ccf" | บ | style="background-color: #cfc" | ด | | | |- ! ไม่ก้อง ไม่มีลม | style="background-color: #ccf" | ป | style="background-color: #cfc" | ต | | style="background-color: #fcc" | ก | style="background-color: #ccc" | อ* |- ! ไม่ก้อง พ่นลม | style="background-color: #ccf" | ผ, พ | style="background-color: #cfc" | ถ, ท | | style="background-color: #fcc" | ข, ค | |- ! colspan=2| เสียงระเบิด | | | style="background-color: #fcf" | จ | | |- ! colspan=2| เสียงแทรก | style="background-color: #ccf" | ฝ, ฟ | style="background-color: #cfc" | ส, ซ | | | style="background-color: #ccc" | ห, ฮ |- ! colspan=2| เสียงเปิด | style="background-color: #ccf" | ว | | style="background-color: #fcf" | ย | | |- ! colspan=2| เสียงเปิดข้างลิ้น | | style="background-color: #cfc" | ร, ล | | | |} ==== พยัญชนะสะกด ==== {|class="wikitable" !  !colspan="2"|ริมฝีปากทั้งสอง !colspan="1"|ริมฝีปากล่าง-ฟันบน !colspan="2"|ปุ่มเหงือก !colspan="1"|หลังปุ่มเหงือก !colspan="1"|เพดานแข็ง !colspan="2"|เพดานอ่อน !colspan="1"|เส้นเสียง |- !style="text-align: left;"|เสียงนาสิก |  | style = "text-align: center;background: #ccf;"|ມ |  |  | style = "text-align: center;background: #cfc;"|ນ |  |  |  | style = "text-align: center;background: #fcc;"|ງ |  |- !style="text-align: left;"|เสียงกัก | style = "text-align: center;background: #ccf;"|ບ |  |  | style = "text-align: center;background: #cfc;"|ດ |  |  |  | style = "text-align: center;background: #fcc;"|ກ |  | style = "text-align: center;background: #ccc;"|* |- !style="text-align: left;"|เสียงเปิด |  | style = "text-align: center;background: #cff;"|ວ |  | colspan = "2"|  |  | style = "text-align: center;background: #cff;"|ຍ | colspan = "2"|  |  |} * เสียงกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด === สระ === เสียงสระในภาษาลาวซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงสระภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้ ເxຍ (มีตัวสะกด: xຽx) ประสมจากสระ อี และ อา ເxືອ ประสมจากสระ อือ และ อา xົວ (มีตัวสะกด: xວx) ประสมจากสระ อู และ อา === เสียงวรรณยุกต์ === ภาษาลาวเวียงจันทน์มีระดับเสียงวรรณยุกต์ 6 ระดับ: Low (เอก) Mid (สามัญ) High (ตรี) Rising (จัตวา) High Falling (ใกล้เคียงกับโท) และ Low Falling (โท) ระดับเสียงจะแตกต่างกัน ไปตามชนพื้นเมืองของผู้พูดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวหลวงพระบางจะใช้ ระดับเสียงวรรณยุกต์ 5 ระดับ คือ กลางต่ำลงขึ้น ต่ำขึ้น กลางระดับ สูงขึ้น กลางขึ้น == ตัวอักษร == ภาษาลาวมีตัวอักษรที่ใช้เขียนอยู่สองแบบ คือ อักษรลาว ใช้เขียนเรื่องคดีทางโลกทั่วไป ปัจจุบันรัฐบาลลาวได้ปรับปรุงอักษรลาวเดิมให้ใช้เป็นอักษรทางการ (ในภาคอีสานของไทยยังคงใช้อยู่บ้างในเอกสารโบราณ เรียกชื่อว่า อักษรไทน้อย) == ตัวอย่างคำศัพท์ == ຂອບໃຈຫຼາຍໆເດີ (ขอบ ใจ หลาย หลาย เด้อ, ) ขอบคุณมาก ๆ ครับ/ค่ะ ຂ້ານ້ອຍເຮັດບໍ່ໄດ້ດອກ (ข้า น้อย เฮ็ด บ่อ ได้ ดอก, ) ผม/ดิฉันทำไม่ได้หรอก ໄຂປະຕູໃຫ້ແດ່ (ไข ปะ ตู ให้ แด่, ) เปิดประตูให้หน่อย ສະບາຍດີ (สะ บาย ดี, ) สวัสดี == อ้างอิง == ==อ่านเพิ่ม== Lew, Sigrid. 2013. "A linguistic analysis of the Lao writing system and its suitability for minority language orthographies". ANSI Z39.35-1979, System for the Romanization of Lao, Khmer, and Pali, . Hoshino, Tatsuo and Marcus, Russel. (1989). Lao for Beginners: An Introduction to the Spoken and Written Language of Laos. Tuttle Publishing. . Enfield, N. J. (2007). A Grammar of Lao. Berlin and New York: Mouton de Gruyter. . Cummings, Joe. (2002). Lao Phrasebook: A Language Survival Kit. Lonely Planet. . Mollerup, Asger. Thai–Isan–Lao Phrasebook. White Lotus, Bangkok, 2001. . Kerr, Allen. (1994). Lao–English Dictionary. White Lotus. . Simmala, Buasawan and Benjawan Poomsan Becker (2003), Lao for Beginners. Paiboon Publishing. สีเวียงแขก กอนนิวง (1999). หนังสือคู่มือเรียนภาษาลาวง่ายๆ เวียงจันทน์ : สำนักพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งรัฐ == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของลาว ยูนิโคด: Lao Omniglot: อักษรลาว Lao True Type Fonts ภาษาในประเทศลาว ลาว ลาว
thaiwikipedia
411
ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่น ๆ เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง นั้นมีเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ซึ่งประยุกต์เอาเทคนิคการอุปนัยของจอห์น สจวร์ต มิลล์ นักปรัชญาชื่อดังของอังกฤษ มาใช้ เครือข่ายประสาทเทียมก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่น ๆ ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอยหรือ การปรับเส้นโค้ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง == ประวัติ == แนวคิดเรื่องเครื่องจักรที่คิดได้และสิ่งมีชีวิตเทียมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เช่นหุ่นยนต์ทาลอสแห่งครีต อันเป็นหุ่นยนต์ทองแดงของเทพฮิฟีสตัส แหล่งอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกมักจะเชื่อเรื่องหุ่นยนต์ที่มีความคล้ายกับมนุษย์ เช่น ในอียิปต์และกรีซ ต่อมา ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และ 20 สิ่งมีชีวิตเทียมเริ่มปรากฏอย่างแพร่หลายในนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น แฟรงเกนสไตน์ของแมรี เชลลีย์ หรือ R.U.R.ของกาเรล ชาเปก แนวคิดเหล่านี้ผ่านการอภิปรายมาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแง่ของความหวัง ความกลัว หรือความกังวลด้านศีลธรรมเนื่องจากการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์ กลไกหรือการให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ การศึกษาด้านตรรกศาสตร์นำไปสู่การคิดค้นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลที่โปรแกรมได้โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ของแอลัน ทัวริงและคนอื่น ๆ ทฤษฎีการคำนวณของทัวริงชี้ว่า เครื่องจักรที่รู้จักการสลับตัวเลขระหว่าง 0 กับ 1 สามารถเข้าใจนิรนัยทางคณิตศาสตร์ได้ หลังจากนั้น การค้นพบทางด้านประสาทวิทยา ทฤษฎีสารสนเทศ และไซเบอร์เนติกส์ รวมทั้งทฤษฎีการคำนวณของทัวริง ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเริ่มสนใจพิจารณาความเป็นไปได้ของการสร้าง สมองอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นมาอย่างจริงจัง สาขาปัญญาประดิษฐ์นั้นเริ่มก่อตั้งขึ้นในที่ประชุมวิชาการที่วิทยาลัยดาร์ตมัธ สหรัฐอเมริกาในช่วงหน้าร้อน ค.ศ. 1956 โดยผู้ร่วมในการประชุมครั้งนั้น ได้แก่ จอห์น แม็กคาร์ธีย์ มาร์วิน มินสกี อัลเลน นิวเวลล์ อาเธอร์ ซามูเอล และเฮอร์เบิร์ต ไซมอน ที่ได้กลายมาเป็นผู้นำทางสาขาปัญญาประดิษฐ์ในอีกหลายสิบปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาของพวกเขาเหล่านี้เขียนโปรแกรมที่หลายคนทึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ที่สามารถเอาชนะคนเล่นหมากรุก แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคำด้วยพีชคณิต พิสูจน์ทฤษฎีทางตรรกวิทยา หรือแม้กระทั่งพูดภาษาอังกฤษได้ ผู้ก่อตั้งสาขาปัญญาประดิษฐ์กลุ่มนี้เชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีใหม่นี้มาก โดยเฮอร์เบิร์ต ไซมอนคาดว่าจะมีเครื่องจักรที่สามารถทำงานทุกอย่างได้เหมือนมนุษย์ภายใน 20 ปีข้างหน้า และมาร์วิน มินสกีก็เห็นพ้องโดยการเขียนว่า "เพียงชั่วอายุคน ปัญหาของการสร้างความฉลาดเทียมจะถูกแก้ไขอย่างยั่งยืน" อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้กลับไม่ได้พิจารณาถึงความยากของปัญหาที่จะพบมากนัก ในปี ค.ศ. 1974 เซอร์ เจมส์ ไลท์ฮิลล์ ได้เขียนวิพากษ์วิจารณ์สาขาปัญญาประดิษฐ์ ประกอบกับมีแรงกดดันจากสภาคองเกรสของสหรัฐฯให้ไปให้เงินสนับสนุนโครงการมีผลผลิตออกมาเป็นรูปธรรมมากกว่า ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรจึงได้ตัดงบประมาณการวิจัยที่ไร้ทิศทางของสาขาปัญญาประดิษฐไป จนเป็นยุคที่เรียกว่า หน้าหนาวของปัญญาประดิษฐ์ (AI winter) กินเวลาหลายปี ซึ่งโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์แต่ละโครงการนั้นหาเงินทุนสนับสนุนยากมาก ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ด้วยระบบที่ชื่อว่า ระบบผู้เชี่ยวชาญ อันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการหาคำตอบ อธิบายความไม่ชัดเจน ซึ่งปกตินั้นจะใช้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาตอบคำถามนั้น ในปี ค.ศ. 1985 ตลาดของปัญญาประดิษฐ์ทะยานขึ้นไปแตะระดับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน โครงการคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 5 ของญี่ปุ่นก็ได้จุดประกายให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรหันมาให้เงินทุนสนับสนุนงานวิจัยในสาขาปัญญาประดิษฐ์อีกครั้ง ในคริสต์ทศวรรษ 1990 และช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ปัญญาประดิษฐ์ประสบความสำเร็จอย่างสูงแม้ว่าจะมีหลายอย่างที่อยู่เบื้องหลัง มีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในด้านการขนส่ง การทำเหมืองข้อมูล การวินิจฉัยทางการแพทย์ และในอีกหลายสาขาหลายอุตสาหกรรม ความสำเร็จของปัญญาประดิษฐ์นั้นได้รับการผลักดันมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเรื่องของความเร็วของคอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลที่เร็วขึ้น (ตามกฎของมัวร์) การให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาย่อยบางปัญหา การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างปัญญาประดิษฐ์กับสาขาอื่น ๆ ที่ทำงานอยู่กับปัญญาที่คล้าย ๆ กัน ตลอดจนความมุ่งมั่นของนักวิจัยที่ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่มีหลักการ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 เครื่องดีปบลูของบริษัทไอบีเอ็ม กลายมาเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่สามารถเล่นหมากรุกเอาชนะ แกรี คาสปารอฟ แชมป์โลกในขณะนั้นได้ และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เครื่องวัตสันของบริษัทไอบีเอ็มก็สามารถเอาชนะแชมป์รายการตอบคำถามจีโอพาร์ดีได้แบบขาดลอย นอกจากนี้ เครื่องเล่นเกมอย่าง Kinect ก็ใช้เทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในการสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านทางการเคลื่อนไหวร่างกายใน 3 มิติเช่นกัน == นิยามของปัญญาประดิษฐ์ == มีคำนิยามของปัญญาประดิษฐ์มากมายหลากหลาย ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทโดยมองใน 2 มิติ ได้แก่ ระหว่าง นิยามที่เน้นระบบที่เลียนแบบมนุษย์ กับ นิยามที่เน้นระบบที่ระบบที่มีเหตุผล (แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนมนุษย์) ระหว่าง นิยามที่เน้นความคิดเป็นหลัก กับ นิยามที่เน้นการกระทำเป็นหลัก ปัจจุบันงานวิจัยหลัก ๆ ของปัญญาประดิษฐ์จะมีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก เนื่องจากการนำปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ไม่จำเป็นต้องอาศัยอารมณ์หรือความรู้สึกของมนุษย์ อย่างไรก็ตามนิยามทั้ง 4 ไม่ได้ต่างกันโดยสมบูรณ์ นิยามทั้ง 4 ต่างก็มีส่วนร่วมที่คาบเกี่ยวกันอยู่ นิยามดังกล่าวคือ ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans) # ปัญญาประดิษฐ์ คือ ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้ซึ่งเครื่องจักรที่มีสติปัญญาอย่างครบถ้วนและแท้จริง ("The exciting new effort to make computers think ... machines with minds, in the full and literal sense." [Haugeland, 1985]) # ปัญญาประดิษฐ์ คือ กลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ ("[The automation of] activities that we associate with human thinking, activities such as decision-making, problem solving, learning." [Bellman, 1978]) * หมายเหตุ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์ เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมองในสามมิติ ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) เราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans) # ปัญญาประดิษฐ์ คือ วิชาของการสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์ ("The art of creating machines that perform functions that requires intelligence when performed by people." [Kurzweil, 1990]) # ปัญญาประดิษฐ์ คือ การศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าในขณะนั้น ("The study of how to make computers do things at which, at the moment, people are better." [Rich and Knight, 1991]) * หมายเหตุ การกระทำเหมือนมนุษย์ เช่น ** สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ ** มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล ** เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ ** เรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally) # ปัญญาประดิษฐ์ คือ การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ ("The study of mental faculties through the use of computational model." [Charniak and McDermott, 1985]) # ปัญญาประดิษฐ์ คือ การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ ("The study of the computations that make it possible to perceive, reason, and act" [Winston, 1992]) * หมายเหตุ คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง เช่น ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally) # ปัญญาประดิษฐ์คือการศึกษาเพื่อออกแบบเอเจนต์ที่มีปัญญา ("Computational Intelligence is the study of the design of intelligent agents" [Poole et al., 1998]) # ปัญญาประดิษฐ์ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ("AI ... is concerned with intelligent behavior in artifacts" [Nilsson, 1998]) * หมายเหตุ กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น เอเจนต์ (โปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น เอเจนต์ในระบบขับรถอัตโนมัติ ที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ จึงจะเรียกได้ว่า เอเจนต์กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น เอเจนต์ในเกมหมากรุก ที่มีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ก็ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น == งานวิจัย == === เป้าหมาย === ปัญหาโดยทั่วไปของการจำลอง (หรือสร้าง) ปัญญาถูกแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ จำนวนมาก นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์พยายามศึกษาระบบย่อย ๆ เหล่านี้ โดยที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ ได้แก่ ====การนิรนาม การให้เหตุผล และการแก้ไขปัญหา (deduction, reasoning, problem solving)==== งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ในช่วงแรก ๆ นั้นเริ่มต้นมาจากการให้เหตุผลแบบทีละขั้น ๆ เป็นการให้เหตุผลแบบเดียวกับที่มนุษย์ใช้ในการไขปัญหาหรือหาข้อสรุปทางตรรกศาสตร์ เมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จในการจัดการกับความไม่แน่นอนหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลได้ โดยใช้หลักการของความน่าจะเป็นและเศรษฐศาสตร์ ความยากของสาขานี้คือ อัลกอริทึมส่วนใหญ่ต้องใช้การคำนวณและประมวลผลมหาศาล มักจะเป็นการคำนวณแบบสลับสับเปลี่ยนจำนวนมาก และทำให้คอมพิวเตอร์ต้องใช้หน่วยความจำมหาศาลเมื่อต้องแก้ปัญหาที่มีขนาดใหญ่มาก ดังนั้น งานวิจัยในสายนี้จึงมักมุ่งเน้นการหาอัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาอย่างมีประสิทธิภาพ มนุษย์มีความสามารถในการไขปัญหาอย่างรวดเร็ว สามารถตัดสินใจได้ตามสัญชาติญาณและมีความรวดเร็วกว่าความรู้สึกตามสามัญสำนึกและการอนุมานแบบทีละขั้นแบบที่งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ในช่วงแรกทำได้ ปัจจุบัน งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์เริ่มหันมาให้ความสนใจการแก้ไขปัญหาที่ย่อยไปกว่าเชิงสัญลักษณ์ หรือที่เรียกว่า sub-symbolic problem solving ไม่ว่าจะเป็น เอเยนต์ฝังตัว โครงข่ายประสาทเทียม หรือการใช้หลักการทางสถิติกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเลียนแบบธรรมชาติของมนุษย์ในการเดาอย่างมีหลักการทางความน่าจะเป็น เทคนิคที่นิยมใช้กันมากก็คือ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (logic programming) เมื่อเราแทนความรู้ของเครื่องด้วย first-order logic และ bayesian inference เมื่อเราแทนความรู้ของเครื่องด้วย bayesian networks ==== การแทนความรู้ ==== การแทนความรู้ (knowledge representation) เป็นหัวใจสำคัญของงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ เป็นการศึกษาด้านเก็บความรู้ (knowledge) ไว้ในเครื่องจักร เราเชื่อกันว่าหากจะให้เครื่องจักรแก้ไขปัญหาให้จะต้องใช้ความรู้จำนวนมหาศาลบนโลกนี้ สิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์ต้องการจะหาสัญลักษณ์มาแทนได้แก่ วัตถุ คุณสมบัติ ประเภท ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ เหตุการณ์ สถานะ และเวลา ตลอดจนเหตุและผล ความรู้เกี่ยวกับความรู้ (รู้ว่าคนอื่นรู้อะไร) และอื่น ๆ อีกมากมาย การแทน"สิ่งที่มีอยู่"นั้นเรียกว่าสาขาภววิทยา เป็นการแทนที่กลุ่มของวัตถุ ความสัมพันธ์ แนวคิด และอื่น ๆ บนเครื่องจักร ประเด็นสำคัญของการแทนความรู้ คือ ทำอย่างไรจะแสดงความรู้ได้อย่างกะทัดรัด ประหยัดหน่วยความจำ จะนำความรู้ที่เก็บไว้นี้ไปใช้ในการให้เหตุผลอย่างไร จะมีการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง ให้ความรู้ที่ได้อยู่ในรูปแบบความรู้ที่เราออกแบบไว้ได้อย่างไร การแทนความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก คือ ความรู้ที่แน่นอน (certain knowledge) เช่น การแทนความรู้ด้วยตรรกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น first-order logic หรือ propositional logic ความรู้ที่มีความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้อง (uncertain knowledge) เช่น ฟัซซี่ลอจิก (fuzzy logic) และเครือข่ายแบบเบย์ ( bayesian networks) ==== ระบบผู้เชี่ยวชาญ ==== ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) เป็นการศึกษาเรื่องสร้างระบบความรู้ของปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของระบบนี้คือ ทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา และคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ งานวิจัยด้านนี้มีจุดประสงค์หลักว่า เราไม่ต้องพึ่งมนุษย์ในการแก้ปัญหา แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้ว ระบบผู้เชี่ยวชาญยังต้องพึ่งมนุษย์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานในช่วงแรก การจะทำงานวิจัยเรื่องนี้ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การแทนความรู้, การให้เหตุผล และ การเรียนรู้ของเครื่อง ==== การวางแผนของเครื่อง (automated planning)==== เอเยนต์ฉลาดจะต้องมีความสามารถในการตั้งเป้าหมายและบรรลุเป้าหมายได้เอง จะต้องมีวิธีการนึกภาพของอนาคต (จะต้องสามารถมองเห็นสถานะต่าง ๆ บนโลกและสามารถคาดการณ์ได้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรได้) และสามารถที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีประโยชน์ (หรือมีค่า) มากที่สุดได้ ในปัญหาการวางแผนแบบยุคเก่านั้น เอเยนต์จะมีข้อสมมติฐานว่าเอเยนต์เป็นวัตถุเดียวที่มีการกระทำบนโลก แต่อย่างไรก็ตาม หากเอเยนต์ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุเดียวที่มีการกระทำ เอเยนต์จะต้องสืบให้แน่ใจอย่างซ้ำ ๆ ว่าโลกนั้นตรงกับตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ และจะต้องเปลี่ยนแปลงแผนที่วางไว้อย่างไร ทำให้เอเยนต์ยุคใหม่นี้จะต้องจัดการกับความไม่แน่นอนด้วย ปัจจุบัน ได้มีงานวิจัยสาขาการวางแผนของเอเยนต์หลายตัว ที่อาศัยความร่วมมือและการแข่งขันของเอเยนต์หลาย ๆ ตัวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่างขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการหรือความฉลาดแบบกลุ่ม ==== การเรียนรู้ของเครื่อง ==== การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เป็นการศึกษาอัลกอริทึมคอมพิวเตอร์ที่ขั้นตอนวิธีจะถูกปรับปรุงอย่างอัตโนมัติผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ เป็นหัวใจหลักของงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาขานี้มา การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (unsupervised learning) เป็นความสามารถในการหาแบบแผนบางอย่างจากข้อมูลที่เข้ามา ส่วนการเรียนรู้แบบมีผู้สอน (supervised learning) นั้นหมายถึงการแบ่งประเภทข้อมูลและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงตัวเลข ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูลนั้นใช้เพื่อกำหนดว่าของชิ้นใหม่ชิ้นหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเภทใดหลังจากที่ได้เรียนรู้ตัวอย่างสอนที่ระบุว่าของแต่ละอย่างควรจะอยู่ในประเภทใดมาแล้ว ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยนั้นพยายามจะสร้างฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลขาเข้ากับข้อมูลขาออก และทำนายว่าข้อมูลขาออกควรจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อข้อมูลขาเข้าเปลี่ยนแปลง ในการเรียนรู้แบบเสริมกำลัง (reinforcement learning) นั้น เอเยนต์จะได้รับรางวัลหากมีการตอบสนองที่ดีและถูกลงโทษหากมีการตอบสนองที่ไม่ดี เอเยนต์จะเรียนรู้จากรางวัลและการลงโทษนี้ในการสร้างกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ การเรียนรู้ทั้งสามแบบนี้สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยทฤษฎีการตัดสินใจ (decision theory) โดยใช้แนวคิดของประโยชน์ การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของอัลกอริทึมทางการเรียนรู้ของเครื่องจักรและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของอัลกอริทึมนั้นเป็นอีกหนึ่งสาขาทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์สายทฤษฎี การเรียนรู้ของเครื่องจักรถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาหุ่นยนต์เช่นกัน ทำให้หุ่นยนต์มีทักษะใหม่ ๆ ได้ ผ่านการสำรวจด้วยตนเอง การติดต่อกับผู้สอนที่เป็นมนุษย์ การเลียนแบบ และอื่น ๆ ==== การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ==== การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) คือการทำให้เครื่องมีความสามารถที่จะอ่านและเข้าใจภาษาที่มนุษย์พูดในชีวิตประจำวัน ระบบที่สามารถประมวลผลภาษาธรรมชาติได้มีประสิทธิภาพเพียงพอจะทำให้เรามีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่ใช้ภาษาธรรมชาติ และหาความรู้ได้โดยตรงจากแหล่งข้อมูลที่มนุษย์เขียน เช่น หนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยตรงกับการค้นข้อมูล (หรือการทำเหมืองข้อความ) การตอบคำถาม และการแปล วิธีการโดยทั่วไปของการประมวลผลและดึงเอาความหมายมาจากธรรมชาติ คือ การทำดัชนีความหมาย นอกจากนี้ การเพิ่มความเร็วในการประมวลผลและลดขนาดของข้อมูลที่จะจัดเก็บก็ทำให้การค้นหาดัชนีจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ==== การรับรู้ของเครื่อง ==== การรับรู้ของเครื่อง (machine perception) คือ ความสามารถในการอ่านข้อมูลขาเข้าจากเซนเซอร์ (เช่น กล้อง ไมโครโฟน เซนเซอร์สัมผัส โซนาร์ หรืออื่น ๆ ) เพื่อจะเข้าใจบริบทของโลกภายนอก ตัวอย่างของงานวิจัยด้านนี้ ได้แก่ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) การรู้จำคำพูด (speech recognition) การรู้จำใบหน้า (facial recognition) การรู้จำวัตถุ (object recognition) ==== การเคลื่อนไหวและการจัดการ (motion and manipulation) ==== สาขาวิทยาการหุ่นยนต์มีความคล้ายคลึงกับสาขาปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ต้องการความฉลาดเพื่อจัดการกับสิ่งต่าง ๆ เช่น การจัดการวัตถุ ระบบนำทาง การแก้ปัญหาย่อยเช่นการหาที่อยู่ตัวเองหรือหาที่อยู่ของสิ่งอื่น ๆ การทำแผนที่ การวางแผนการเคลื่อนไหวหรือเส้นทาง === เป้าหมายระยะยาว === เป้าหมายระยะยาวของปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ ความฉลาดทางสังคม ความคิดสร้างสรรค์ และความฉลาดทั่วไป ==== ความฉลาดทางสังคม (social intelligence) ==== การคำนวณเชิงอารมณ์ (affective computing) คือ การศึกษาและพัฒนาระบบและเครื่องมือที่สามารถรู้จำ แปรผล ประมวลผล และจำลองอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้ เป็นสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ จิตวิทยา และประชานศาสตร์ สาขานี้เริ่มต้นจากความต้องการทางปรัชญาที่อยากจะเข้าถึงอารมณ์ของมนุษย์ สาขาการคำนวณเชิงอารมณ์สมัยใหม่นี้เริ่มจากคำนิยามของ โรซาไลนด์ พิการ์ด นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ MIT ที่เริ่มใช้คำนี้ในผลงานวิจัยปี ค.ศ. 1995 เกี่ยวกับการคำนวณเชิงอารมณ์ แรงบันดาลใจของงานวิจัยสายนี้คือความต้องการที่จะจำลองความเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นของมนุษย์ ต้องการมีเครื่องจักรที่สามารถแปลผลสถานะของอารมณ์ของมนุษย์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ตอบสนองกับอารมณ์นั้น ๆ ของมนุษย์อย่างเหมาะสม อารมณ์และทักษะทางสังคมมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความฉลาดของเครื่องจักร ก่อนอื่น เครื่องจักรจะต้องทำนายการกระทำของคนอื่น ผ่านทางการเข้าใจจุดมุ่งหมายและสถานะของอารมณ์ผู้อื่น (ส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีเกม ทฤษฎีการตัดสินใจ ตลอดจนความสามารถในการสร้างแบบจำลองอารมณ์ของมนุษย์ และความสามารถในการตรวจจับอารมณ์ผู้อื่นของมนุษย์) นอกจากนี้ ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ที่ดีนั้น เครื่องจักรที่ฉลาดควรจะแสดงอารมณ์ออกมาด้วย แม้ว่าอารรมณ์นั้นจะไม่ได้เป็นอารมณ์ที่ตนรู้สึกจริง ๆ ก็ตาม ==== ความคิดสร้างสรรค์ (computational creativity) ==== สาขาย่อยของปัญญาประดิษฐ์สาขาหนึ่งต้องการจะสร้างความคิดสร้างสรรค์ ทั้งทางทฤษฎี (ในมุมมองทางปรัชญาและจิตวิทยา) และทางปฏิบัติ (ผ่านทางประยุกต์ใช้ระบบที่ให้ผลลัพธ์ที่ดูคล้ายความคิดสร้างสรรค์ หรือระบบที่สามารถตรวจจับและประเมินความคิดสร้างสรรค์ได้) ====ความฉลาดทั่วไป (general intelligence) ==== นักวิจัยทางปัญญาประดิษฐ์หลายคนเชื่อว่า สุดท้ายแล้ว งานวิจัยต่าง ๆ จะถูกรวมเข้าสู่เครื่องจักรกลายเป็นความฉลาดแบบทั่วไป (บางครั้งก็เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์แบบแข็ง (String AI)) เป็นการรวมเอาทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันและมีความสามารถมากกว่ามนุษย์ทุกคน นักวิจัยบางคนเชื่อว่าความฉลาดแบบนี้จะต้องมีคุณลักษณะทางมานุษยรูปนิยมบางอย่าง เช่น สำนึกประดิษฐ์ หรือ สมองประดิษฐ์ การวิจัยความฉลาดทั่วไปนั้นจะต้องแก้ปัญหาหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การแปลความหมายโดยเครื่องนั้นจะต้องให้เครื่องอ่านและเขียนข้อมูลภาษาธรรมชาติได้ทั้งสองภาษา ให้เหตุผล และรู้ว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไรกันอยู่ (การแทนความรู้) รวมทั้งจะต้องมีรู้ความตั้งใจของผู้เขียน (ความฉลาดทางสังคม) กล่าวคือ การแก้ปัญหาทางการวิจัยความฉลาดทั่วไปนั้น จะต้องแก้ปัญหาทางปัญญาประดิษฐ์หลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน === วิธีการ === ปัจจุบัน ยังไม่มีทฤษฎีหรือกระบวนทัศน์ใด ๆ ที่เป็นแนวทางที่ชัดเจนให้กับการวิจัยทางปัญญาประดิษฐ์ นักวิจัยบางคนก็ไม่เห็นด้วยกับบางเรื่อง ปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบก็ยังมีอยู่มากมาย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ควรจะมีพฤติกรรมคล้ายกับของจริงในธรรมชาติในทางจิตวิทยาหรือประสาทวิทยาหรือไม่ หรือ ชีววิทยาของร่างกายมนุษย์นั้นไม่ได้สัมพันธ์อะไรกับปัญญาประดิษฐ์แบบที่นกไม่ได้สัมพันธ์ใด ๆ กับอากาศยานหรือไม่ หรือ พฤติกรรมที่ฉลาดสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ เช่นในทางตรรกะได้หรือไม่ หรือ เราจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแก้ปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องให้ครบ หรือ ความฉลาดสามารถถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้สัญลักษณ์ขั้นสูงอย่างคำหรือแนวความคิดได้หรือไม่และจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลสัญลักษณ์ที่ย่อยไปกว่านั้นหรือไม่ ==== ไซเบอร์เนติกส์และการจำลองสมอง (cybernetics and brain simulation) ==== ในคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 นักวิทยาศาสตร์หลายคนพยายามจะหาความเชื่อมโยงระหว่างประสาทวิทยา ทฤษฎีสารสนเทศ และไซเบอร์เนติกส์ นักวิจัยบางคนได้สร้างเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อสร้างความฉลาดขั้นต้นขึ้นมา ปัจจุบันวิธีการนี้ได้ถูกล้มเลิกไปแล้ว ==== สัญลักษณ์ ==== หลังจากที่เริ่มมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ดิจิทัลขึ้นในราวคริสต์ทศวรรษ 1950 นักวิจัยทางปัญญาประดิษฐ์หลายคนก็เริ่มศึกษาดูความเป็นไปได้ที่จะลดรูปความฉลาดของมนุษย์ให้อยู่ในรูปสัญลักษณ์และการจัดการกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ศูนย์กลางของการวิจัยสาขานี้อยู่ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ แต่ละมหาวิทยาลัยได้สร้างแนวทางการวิจัยเป็นของตัวเอง จอห์น ฮากแลนด์ตั้งชื่อหลักการเหล่านี้ว่า GOFAI (Good Old-Fashioned Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบเก่า ต่อมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 งานวิจัยโดยการแทนสัญลักษณ์นี้เริ่มประสบความสำเร็จในการจำลองความคิดชั้นสูงของมนุษย์ในบางโปรแกรม หลังจากที่วิธีการที่ใช้ไซเบอร์เนติกส์หรือโครงข่ายประสาทเทียมถูกล้มเลิกไป นักวิจัยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 หันมาใช้หลักการทางสัญลักษณ์เพราะเชื่อว่าวิธีการนี้จะประสบความสำเร็จในการสร้างปัญญาประดิษฐ์ทั่วไปที่เชื่อว่าเป็นเป้าหมายของงานวิจัยสาขานี้ การจำลองการรับรู้ (cognitive simulation) นักเศรษฐศาสตร์อย่างเฮอร์เบิร์ต ไซมอนและอัลเลน นิวเวลล์ได้ศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของมนุษย์และพยายามทำให้มีระเบียบแบบแผน งานวิจัยของทั้งสองคนได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของสาขาของปัญญาประดิษฐ์ที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา การวิจัยดำเนินการ และวิทยาการจัดการในเวลาต่อมา งานวิจัยสายนี้ใช้ผลจากการทดลองทางจิตวิทยาในการพัฒนาโปรแกรมที่สามารถจำลองเทคนิคที่คนใช้เพื่อแก้ปัญหาได้ วิธีการเหล่านี้มีจุดเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน วิธีการเชิงตรรกะ (logic-based) จอห์น แม็กคาร์ธีย์ ใช้วิธีการที่แตกต่างไปจากวิธีของนิวเวลล์และไซมอน โดยรู้สึกว่าเครื่องจักรไม่จำเป็นต้องจำลองการคิดของมนุษย์ แต่ควรจะพยายามหาแก่นของการให้เหตุผลเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา ไม่ต้องสนใจว่าแต่ละคนจะใช้อัลกอรึทึมเดียวกันหรือไม่ ห้องปฏิบัติการวิจัยของเขาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเน้นเรื่องของการใช้ตรรกะบัญญัติ (formal logic) ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแทนความรู้ การวางแผน และการเรียนรู้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเอดินบะระและอีกหลายแห่งในยุโรปก็หันมาให้ความสนใจด้านการพัฒนาโปรแกรมเชิงตรรกะเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรล็อกหรือการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ วิธีการไม่ใช้ตรรกะ (anti-logic) ในขณะเดียวกัน นักวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เช่น มาร์วิน มินสกี และเซย์มัวร์ เพเพิร์ต) พบว่า การแก้ไขปัญหาบางอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์วิทัศน์และการประมวลผลภาษาธรรมชาติจำเป็นต้องมีวิธีการที่ไม่จำเป็นต้องเตรียมล่วงหน้า นักวิจัยได้อ้างว่า ไม่มีหลักการที่ง่ายหรือหลักการทั่วไป (อย่างเช่นตรรกะ) ที่จะจับต้องพฤติกรรมความฉลาดของสิ่งมีชีวิตได้ โรเจอร์ แชงก์ ได้ตั้งชื่อว่า หลักการแอนตีลอจิก หรือหลักการ"ไม่เรียบร้อย" (เพื่อให้ตรงข้ามกับความมีระเบียบเรียบร้อยที่คาร์เนกีเมลลอนและสแตนฟอร์ด) ตัวอย่างของงานวิจัยสายนี้เช่น ฐานความรู้เกี่ยวกับสามัญสำนึก อันเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างซับซ้อนในวงการปัญญาประดิษฐ์สมัยนั้น วิธีการเชิงความรู้ (knowledge-based) เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มมีความจำที่ใหญ่ขึ้นตั้งแต่ออกสู่ตลาดเมื่อราวปี ค.ศ. 1970 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเริ่มต้น 3 แห่งเริ่มหันมาสร้างความรู้สำหรับปัญญาประดิษฐ์ แนวคิดที่เปลี่ยนวงการนี้นำไปสู่การพัฒนาและการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ และเป็นรูปแบบของซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์แบบแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง การปฏิวัติวงการดังกล่าวนี้ได้รับแรงขับเคลื่อนมาจากแนวคิดที่ว่า การนำปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้นั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้ในปริมาณมหาศาล ==== สัญลักษณ์ย่อย (sub-symbolic) ==== หลังจากวิธีการเชิงสัญลักษณ์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์เริ่มหยุดชะงักในคริสต์ทศวรรษ 1980 นักวิจัยหลายคนก็เชื่อว่าระบบเชิงสัญลักษณ์ไม่น่าจะสามารถเลียนแบบกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญาของมนุษย์ได้ โดยเฉพาะการรับรู้ วิทยาการหุ่นยนต์ การเรียนรู้ และการรู้จำแบบ นักวิจัยหลายคนได้เสนอหลักการของ"สัญลักษณ์ย่อย"กับปัญหาทางปัญญาประดิษฐ์บางปัญหา วิธีการจากล่างขึ้นบน (bottom-up) นักวิจัยจากสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์ อาทิ รอดนีย์ บรูกส์ ปฏิเสธที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์เชิงสัญลักษณ์และหันมาใช้วิธีการทางวิศวกรรมที่จะทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวและอยู่รอดได้ งานวิจัยรูปแบบใหม่ในมุมมองแบบไม่อิงสัญลักษณ์นี้ทำให้งานวิจัยเชิงไซเบอร์เนติกส์ในยุค 1950 กลับมาอีกครั้ง และก่อให้เกิดการใช้ทฤษฎีควบคุมในสาขาปัญญาประดิษฐ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพัฒนา"จิตใจฝังตัว"ในสาขาของ cognitive science ที่อ้างอิงแนวคิดที่ว่า ความฉลาดชั้นสูงนั้นล้วนเป็นส่วนประกอบมาจากร่างกายส่วนล่าง (เช่น การเคลื่อนไหว การรับรู้ และการมองเห็นภาพ) ทั้งนั้น ความฉลาดด้านการคำนวณ หรือการคำนวณแบบอ่อน (computational intelligence and soft computing) กลางคริสต์ทศวรรษ 1980 เดวิด รูเมลฮาร์ต และนักวิจัยกลุ่มอื่นชุบชีวิตของสาขาโครงข่ายประสาทเทียมและศาสตร์การเชื่อมต่อขึ้นมาอีกครั้ง โครงข่ายประสาทเทียมถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการคำนวณแบบอ่อน อันเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่แก้ไม่ได้ด้วยการใช้ความแน่นอนทางตรรกะ แต่สามารถแก้ได้โดยใช้การประมาณคำตอบที่แม่นยำเพียงพอ หลักการอื่น ๆ ของการคำนวณแบบอ่อน ได้แก่ ระบบคลุมเคลือ (fuzzy system) การคำนวณเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary computation) และวิธีการอื่น ๆ ทางสถิติ ==== วิธีการทางสถิติ ==== ในคริสต์ทศวรรษ 1990 นักวิทยาศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ได้พัฒนาเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาย่อยบางอย่างได้ เครื่องมือเหล่านี้มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากในแง่ที่ว่า ผลสามารถวัดและประเมินได้อย่างชัดเจน จนเป็นหัวใจสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ในยุคหลังนี้ เนื่องจากวิธีการนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคณิตศาสตร์ จึงนำไปปรับใช้หรือพัฒนาร่วมกับหลักการในสาขาอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือการวิจัยดำเนินการ นักวิทยาศาสตร์ชื่อสจวร์ต รัสเซลล์และปีเตอร์ นอร์วิกอธิบายวิธีการนี้ไว้ว่าเป็น "การปฏิวัติ" และ "ความสำเร็จของความเป็นระเบียบ" อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับเทคนิคเหล่านี้โดยชี้ว่า เทคนิคเหล่านี้มีความเฉพาะเจาะจงกับบางปัญหามากเกินไป และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายระยะยาวในการสร้างความฉลาดทั่วไปได้ ปัจจุบันยังมีการถกเถียงกันอยู่เรื่องความเกี่ยวข้องและความถูกต้องของการใช้หลักการทางสถิติกับปัญญาประดิษฐ์ เช่น การถกเถียงกันระหว่างปีเตอร์ นอร์วิกกับโนม ชัมสกี ==== วิธีผสมผสาน ==== เอเยนต์ทรงปัญญา คือ ระบบที่สามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบข้างได้และเลือกปฏิบติตามวิธีที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด เอเยนต์ทรงปัญญาในรูปแบบที่ง่ายที่สุดคือโปรแกรมที่สามารถแก้ไขปัญหาบางอย่างได้ ส่วนเอเยนต์ที่ซับซ้อนกว่านั้นก็ได้แก่มนุษย์และการรวมกลุ่มของมนุษย์ มุมมองนี้ทำให้นักวิจัยสามารถศึกษาปัญหาแบบแยกเฉพาะส่วนและหาคำตอบที่มีประโยชน์และถูกต้องได้โดยไม่ต้องมีเป้าหมายรวมกันเพียงเป้าหมายเดียว เอเยนต์จะต้องแก้ปัญหาเฉพาะอย่างปัญหาหนึ่งได้โดยการใช้วิธีการที่ได้ผล เอเยนต์บางเอเยนต์อาจจะใช้วิธีการทางสัญลักษณ์ หรือบางตัวอาจจะใช้วิธีการทางตรรกะ โครงข่ายประสาทเทียม หรือวิธีการอื่น ๆ แนวความคิดนี้ทำให้นักวิจัยสามารถสื่อสารกับสาขาอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐศาสตร์หรือด้านทฤษฎีการตัดสินใจที่ใช้แนวคิดของเอเยนต์นามธรรมเช่นกัน แนวคิดเรื่องเอเยนต์ทรงปัญญานี้ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 นักวิจัยได้ออกแบบระบบเพื่อสร้างระบบฉลาดที่สามาาถติดต่อกับเอเยนต์ได้ผ่านทางระบบเอเยนต์หลายตัว ระบบดังกล่าวมีทั้งส่วนที่เป็นสัญลักษณ์และสัญลักษณ์ย่อย หรือเป็นระบบผสมผสาน (ไฮบริด) และการศึกษาระบบดังกล่าวนี้เรียกว่า การบูรณาการระบบปัญญาประดิษฐ์ === เครื่องมือ === หลังจากปัญญาประดิษฐ์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากประมาณ 50 ปี ได้มีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่ยากในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของวิธีการได้แก่ ==== การค้นหาและการหาค่าที่เหมาะที่สุด (search and optimization) ==== ปัญหาทางปัญญาประดิษฐ์หลาย ๆ ปัญหาถูกแก้ในรูปแบบของทฤษฎีที่ว่าด้วยการค้นหาคำตอบจากคำตอบที่เป็นไปได้หลาย ๆ คำตอบ การให้เหตุผลสามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นรูปแบบของการค้นหาได้ ตัวอย่างเช่น การพิสูจน์ทางตรรกะสามารถมองได้ว่าเป็นการค้นหาเส้นทางจากหลักฐานไปสู่ข้อสรุปได้ โดยผ่านขั้นตอนที่เรียกว่า การอนุมาน อัลกอริทึมทางวิทยาการหุ่นยนต์สำหรับการขยับข้อต่อและหยิบจับวัตถุก็ใช้วิธีการค้นหาสิ่งที่อยู่ภายในพื้นที่นั้น ๆ อัลกอริทึมทางด้านการเรียนรู้ของเครื่องหลาย ๆ อันก็ใช้วิธีการค้นหาบนคำตอบที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การค้นหาแบบธรรมดานั้นไม่ค่อยจะเพียงพอสำหรับปัญหาในโลกจริง เพราะส่วนที่จะต้องค้นหานั้นมีขนาดใหญ่มหาศาล ทำให้การค้นหาเป็นไปได้ช้าหรือไม่สามารถทำให้เสร็จได้เลย หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาคือการใช้ค่าฮิวริสติกเพื่อตัดตัวเลือกที่ไม่น่าจะพาไปสู่เป้าหมายได้ (เรียกว่าวิธีการตัดกิ่งในต้นไม้ค้นหา) ค่าฮิวริสติกนี้ทำให้โปรแกรมสามารถเดาได้คร่าว ๆ ว่าเส้นทางไหนที่น่าจะพาไปสู่คำตอบ และช่วยทำให้ขนาดของตัวอย่างที่จะต้องค้นหาเล็กลงด้วย การค้นหาเริ่มมีบทบาทเด่นชัดในคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยใช้ทฤษฎีการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดทางคณิตศาสตร์ ปัญหาหลาย ๆ อย่างก็สามารถเริ่มต้นการค้นหาได้ด้วยการเดาบางอย่าง จากนั้นก็ปรับวิธีการเดาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่จำเป็นต้องปรับอีกแล้ว อัลกอริทึมเหล่านี้สามารถเรียกให้เห็นภาพได้ง่าย ๆ ว่าเป็นการปีนเขา โดยเริ่มจากการค้นหาที่จุดสุ่มในที่ราบ จากนั้นก็ค่อย ๆ กระโดดและไต่เขาขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยใช้หลักการเดาว่าจุดไหนที่น่าจะทำให้เราปีนเขาขึ้นไป จนกระทั่งในที่สุดเราไปอยู่บนยอดสุดของภูเขา การคำนวณเชิงวิวัฒนาการก็ใช้หลักการของการหาค้นหาค่าที่เหมาะที่สุดเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เราอาจจะเริ่มต้นจากกลุ่มของสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่ง (สุ่มมา) จากนั้นก็ทำการวิวัฒนาการและผสมผสาน เลือกเอากลุ่มตัวอย่างที่ดีที่สุดเพื่ออยู่รอดต่อไปในรุ่น (การปรับการค้นหา) การคำนวณเชิงวิวัฒนาการมีหลายวิธี ได้แก่ ความฉลาดแบบกลุ่ม (swarm intelligence) หรือ ขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary algorithm) เช่น ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม ==== ตรรกะ (logic) ==== ในการแทนความรู้และการแก้ปัญหานั้นมีการใช้ตรรกะอย่างมาก แต่ตรรกะก็สามารถประยุกต์ใช้ได้กับปัญญาอื่นได้เช่นกัน เช่น อัลกอริทึม Satplan ก็ใช้ตรรกะในการวางแผน และการเรียนรู้ของเครื่องบางวิธีก็ใช้การโปรแกรมตรรกะเชิงอุปนัย ==== วิธีทางความน่าจะเป็นและการให้เหตุผลบนความไม่แน่นอน (probabilistic methods for uncertain reasoning) ==== ปัญหาหลายอย่างทางปัญญาประดิษฐ์ (ในการให้เหตุผล วางแผน เรียนรู้ รับรู้ และหุ่นยนต์) ต้องมีเอเยนต์ที่คอยจัดการกับความไม่สมบูรณ์หรือความไม่แน่นอนของข้อมูล นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ได้คิดค้นเครื่องมือหลายอย่างที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยใช้วิธีทางทฤษฎีความน่าจะเป็นและเศรษฐศาสตร์ เครือข่ายแบบเบย์ เป็นเครื่องมือทั่วไปเครื่องมือหนึ่งที่สามารถใช้แก้ปัญหาได้หลายปัญหา ไม่ว่าจะเป็น การให้เหตุผล (ใช้อัลกอริทึมการอนุมานแบบเบย์) การเรียนรู้ (ใช้อัลกอริทึมหาค่าคาดหวังที่มากที่สุด) การวางแผน (ใช้เครือข่ายการตัดสินใจ) และการรับรู้ (ใช้เครือข่ายแบบเบย์พลวัต) อัลกอริทึมทางความน่าจะเป็นก็สามารถใช้กับการกรอง การทำนาย การปรับให้ราบเรียบ และการหาคำอธิบายสายข้อมูล ช่วยระบบรับรู้ให้สามารถวิเคราะห์กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ (เช่น แบบจำลองมาร์คอฟซ่อนเร้น หรือ ตัวกรองคาลมาน) ในทางเศรษฐศาสตร์ แนวคิดหนึ่งที่ถือเป็นหัวใจหลักคือ ประโยชน์ สำหรับปัญญาประดิษฐ์ เราสามารถนำค่าของประโยชน์มาวัดได้ว่าของบางอย่างจะมีค่าต่อเอเยนต์ทรงปัญญาได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเครื่องมือคณิตศาสตร์ที่แม่นยำเพื่อวิเคราะห์ว่าเอเยนต์จะตัดสินใจและวางแผนได้อย่างไร โดยใช้วิธีของ Markov เครือข่ายการตัดสินใจแบบพลวัต ทฤษฎีเกม เป็นต้น ==== การจัดหมวดหมู่และการเรียนรู้ทางสถิติ (classifiers and statistical learning methods) ==== การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่ง่ายที่สุด อาจอยู่ในรูปแบบของ การจัดหมวดหมู่ ซึ่งเป็นการทำงานที่ใช้การจับคู่รูปแบบที่พบเข้ากับสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุด การจับคู่นั้นขึ้นอยู่กับตัวอย่างที่สอน จึงทำให้เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมากในการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างสอนเหล่านี้อาจจะมาจากการสังเกตการณ์หรือเป็นรูปแบบที่ชัดเจน ในการเรียนรู้แบบมีผู้สอนนั้น รูปแบบแต่ละอย่างจะถูกจัดกำหนดให้อยู่ในประเภทบางประเภทหรือกลุ่มบางกลุ่ม การสำรวจข้อมูลและการระบุข้อมูลให้เข้ากับกลุ่มนั้นเรียกกันว่า เซ็ตข้อมูล เมื่อมีการสำรวจข้อมูลใหม่เข้ามา ข้อมูลใหม่จะถูกจัดกลุ่มตามตัวอย่างที่เคยสอนมาแล้ว การจัดหมวดหมู่หรือกลุ่มนี้สามารถสอนกันได้หลายแบบ ไม่ว่าจะใช้วิธีการทางสถิติหรือทางการเรียนรู้ของเครื่อง วิธีการที่นิยมใช้ได้แก่ โครงข่ายประสาทเทียม วิธีเคอร์เนล support vector machine ขั้นตอนวิธีการค้นหาเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว โมเดลผสมแบบเกาส์ การจัดหมวดหมู่แบบเบย์ใหม่ และต้นไม้การตัดสินใจ ประสิทธิภาพของแต่ละเครื่องมือนั้นขึ้นอยู่กับงานที่ทำแต่ละงานและคุณสมบัติของข้อมูลที่เข้ามา โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีเครื่องมือใดที่ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดบนทุกปัญหา ==== โครงข่ายประสาทเทียม ==== การศึกษาโครงข่ายประสาทเทียม เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะมีงานวิจัยทางด้านปัญญาประดิษฐ์จากผลงานของวอลเตอร์ พิตต์สและวอร์เรน แม็กคัลลอช นอกจากนี้ยังมีแฟรงก์ โรเซนแบลตต์ที่คิดค้นเพอร์เซปตรอน และพอล เวอร์โบส์ผู้คิดค้นอัลกอริทึมการแพร่กระจายย้อนกลับ ประเภทของโครงข่ายนี้อาจะแบ่งเป็นแบบไม่เป็นวงวน และแบบเป็นวงวน โครงข่ายประสาทเทียมที่ได้รับความนิยมได้แก่เพอร์เซปตรอน โครงข่ายเพอร์เซปตรอนแบบหลายชั้น และโครงข่ายฟังก์ชันฐานรัศมี โครงข่ายประสาทเทียมสามารถปรับใช้งานได้กับการควบคุมที่ฉลาดเช่นกับหุ่นยนต์ หรือเพื่อการเรียนรู้ของเครื่องด้วยก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ หากโครงข่ายประสาทเทียมมีความทรงจำเชิงเวลาแล้วก็สามารถจำสร้างแบบจำลองเชิงโครงสร้างและวิธีการของนีโอคอร์เทกซ์ของสมองได้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นที่มาของสาขาการเรียนรู้เชิงลึกที่ได้รับความนิยมมากตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาจากผลงานของเจฟฟรีย์ ฮินตันและรูสลาน ซาลาคัตดินอฟ ==== ทฤษฎีควบคุม (control theory) ==== ทฤษฎีควบคุม เป็นลูกหลานของไซเบอร์เนติกส์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย โดยเฉพาะในทางวิทยาการหุ่นยนต์ ==== ภาษา (languages) ==== นักวิจัยทางปัญญาประดิษฐ์ได้พัฒนาภาษาพิเศษสำหรับงานวิจัย เช่น ภาษาลิสป์ และภาษาโปรล็อก == สาขาที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ == === สาขาที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน === ==== วิทยาการหุ่นยนต์ ==== การจะสร้างหุ่นยนต์ที่อาศัยอยู่กับมนุษย์ได้จริง ต้องใช้ความรู้ทางปัญญาประดิษฐ์ทั้งหมด นอกจากนั้นยังต้องใช้ความรู้อื่น ๆ ทางเครื่องกล เพื่อสร้างสรีระให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ในวงการวิทยการหุ่นยนต์ เขาก็ถือว่าปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาของเขาเช่นกัน ==== ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม ==== เป็นการประยุกต์นำแนวความคิดทางด้านการวิวัฒนาการที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาใช้ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนวิธีเชิงสุ่ม (stochastic) (ไม่ได้คำตอบเดิมทุกครั้งที่แก้ปัญหาเดิม) มักประยุกต์ใช้ในปัญหาการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด (optimization) ที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีมาตรฐานทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดที่นำเอาหลักการวิวัฒนาการมาใช้นี้ มีรูปแบบอื่นอีกหลายรูปแบบ เช่น การโปรแกรมเชิงพันธุกรรม (genetic programming) และ evolution strategy อย่างไรก็ตามเทคนิคเหล่านี้มีแนวความคิดหลักเหมือนกัน ต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น ==== โครงข่ายประสาทเทียม ==== ==== ชีวิตประดิษฐ์ (artificial life) ==== เป็นการศึกษาพฤติกรรมของชีวิตเทียมที่เราออกแบบและสร้างขึ้น ==== ปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย (distributed artificial intelligence) ==== === สาขาอื่นที่ยังไม่มีบทบาทมากนัก === ==== ความฉลาดแบบกลุ่ม ==== ==== Artificial being ==== == ดูเพิ่ม == ภาษาโปรล็อก ศัพท์ปัญญาประดิษฐ์ ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางปัญญาประดิษฐ์ == อ้างอิง == === หนังสือเรียน AI === The two most widely used textbooks in 2023. (See the Open Syllabus). These were the four the most widely used AI textbooks in 2008: Later editions. === ประวัติของ AI === === แหล่งที่มาอื่น === was introduced by Kunihiko Fukushima in 1980. | . Presidential Address to the Association for the Advancement of Artificial Intelligence. Later published as . AI & ML in Fusion AI & ML in Fusion, video lecture == อ่านเพิ่ม == Autor, David H., "Why Are There Still So Many Jobs? The History and Future of Workplace Automation" (2015) 29(3) Journal of Economic Perspectives 3. Boden, Margaret, Mind As Machine, Oxford University Press, 2006. Cukier, Kenneth, "Ready for Robots? How to Think about the Future of AI", Foreign Affairs, vol. 98, no. 4 (July/August 2019), pp. 192–98. George Dyson, historian of computing, writes (in what might be called "Dyson's Law") that "Any system simple enough to be understandable will not be complicated enough to behave intelligently, while any system complicated enough to behave intelligently will be too complicated to understand." (p. 197.) Computer scientist Alex Pentland writes: "Current AI machine-learning algorithms are, at their core, dead simple stupid. They work, but they work by brute force." (p. 198.) Domingos, Pedro, "Our Digital Doubles: AI will serve our species, not control it", Scientific American, vol. 319, no. 3 (September 2018), pp. 88–93. Gertner, Jon. (2023) "Wikipedia's Moment of Truth: Can the online encyclopedia help teach A.I. chatbots to get their facts right — without destroying itself in the process?" New York Times Magazine (July 18, 2023) online Johnston, John (2008) The Allure of Machinic Life: Cybernetics, Artificial Life, and the New AI, MIT Press. Gary Marcus, "Artificial Confidence: Even the newest, buzziest systems of artificial general intelligence are stymmied by the same old problems", Scientific American, vol. 327, no. 4 (October 2022), pp. 42–45. Introduced DQN, which produced human-level performance on some Atari games. Eka Roivainen, "AI's IQ: ChatGPT aced a [standard intelligence] test but showed that intelligence cannot be measured by IQ alone", Scientific American, vol. 329, no. 1 (July/August 2023), p. 7. "Despite its high IQ, ChatGPT fails at tasks that require real humanlike reasoning or an understanding of the physical and social world.... ChatGPT seemed unable to reason logically and tried to rely on its vast database of... facts derived from online texts." Ashish Vaswani, Noam Shazeer, Niki Parmar et al. "Attention is all you need." Advances in neural information processing systems 30 (2017). Seminal paper on transformers. รศ. ดร. บุญเสริม กิจศิริกุล (2003) "ปัญญาประดิษฐ์ เอกสารคำสอนวิชา 2110654", http://www.cp.eng.chula.ac.th/~boonserm/teaching/artificial.htm . รศ. ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา เอกสารการสอนเกี่ยวกับ โปรแกรมเชิงพันธุกรรม , ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง, http://www.cp.eng.chula.ac.th/~piak/ . == แหล่งข้อมูลอื่น == === ทั่วไป === AI web category on Open Directory Programming:AI @ Wikibooks.org University of Berkeley AI Resources linking to about 869 other WWW pages about AI เป็นแหล่งที่รวบรวมข้อมูลทาง internet เกี่ยวกับ AI ไว้มากที่สุดแหล่งหนึ่ง Loebner Prize website AIWiki - a wiki devoted to AI. AIAWiki - AI algorithms and research. Mindpixel "The Planet's Largest Artificial Intelligence Effort" OpenMind CommonSense "Teaching computers the stuff we all know" Artificially Intelligent Ouija Board - creative example of human-like AI Heuristics and AI in finance and investment SourceForge Open Source AI projects - 1139 projects Ethical and Social Implications of AI en Computerization AI algorithm implementations and demonstrations Marvin Minsky's Homepage Why Programming is a Good Medium for Expressing Poorly Understood and Sloppily Formulated Ideas === กลุ่มวิจัย === German Research Center for Artificial Intelligence หรือ DFKI AI Lab, Zurich Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory, MIT Department of Informatics, University of Sussex School of Informatics, the University of Edinburgh - มหาวิทยาลัยเอดินบะระ Knowledge Representation Laboratory - สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Intelligent Systems Laboratory (ISL) - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Knowledge Information & Data Management Laboratory (KIND) - ห้องวิจัยการจัดการข้อมูล, สารสนเทศ, และความรู้ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Image and Vision Computing Laboratory ห้องวิจัยการคำนวณภาพและวิทัศน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปิยณัฐ ประถมวงศ์. “การเป็นผู้กระทำร่วม: เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์.” ใน ชาญณรงค์ บุญหนุน, คงกฤช ไตรยวงค์ และพัชชล ดุรงค์กวิน (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 12 ‘อยู่ด้วยกัน’: โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอื่น. หน้า 114-133. ม.ป.ท., 2561. === หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ === American Association for Artificial Intelligence European Coordinating Committee for Artificial Intelligence The Association for Computational Linguistics Artificial Intelligence Student Union Association for Uncertainty in Artificial Intelligence Singularity Institute for Artificial Intelligence The Society for the Study of Artificial Intelligence and the Simulation of Behaviour (United Kingdom) ไซเบอร์เนติกส์ วิทยาศาสตร์รูปนัย เทคโนโลยีอุบัติใหม่
thaiwikipedia
412
การเรียนรู้ของเครื่อง
การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning - ML) เป็นการศึกษาอัลกอริทึมของคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนา การเรียนรู้ของเครื่องถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ โดยอัลกอริทึมสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากข้อมูลตัวอย่าง (เรียกว่า ข้อมูลสอน) เพื่อที่จะคาดการณ์หรือตัดสินใจได้อย่างชัดเจน การเรียนรู้ของเครื่องพัฒนามาจากการศึกษาการรู้จำแบบ เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการสร้างอัลกอริทึมที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลและทำนายข้อมูลได้ อัลกอริทึมนั้นจะทำงานโดยอาศัยโมเดลที่สร้างมาจากชุดข้อมูลตัวอย่างขาเข้าเพื่อการทำนายหรือตัดสินใจในภายหลัง แทนที่จะทำงานตามลำดับของคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ของเครื่องมีเกี่ยวข้องอย่างมากกับสถิติศาสตร์ เนื่องจากทั้งสองสาขาศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำนายเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับสาขาการหาค่าเหมาะที่สุดในทางคณิตศาสตร์ที่แงของวิธีการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ การเรียนรู้ของเครื่องสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกรองอีเมล์ขยะ การรู้จำตัวอักษร เครื่องมือค้นหา และคอมพิวเตอร์วิทัศน์ == ภาพรวม == อาเธอร์ ซามูเอล นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันได้ให้นิยามของการเรียนรู้ของเครื่องจักรไว้ในปี ค.ศ. 1959 ว่า "เป็นสาขาที่ให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการเรียนรู้โดยไม่ต้องโปรแกรมให้ชัดเจน" ทอม เอ็ม. มิตเชลล์ ได้ขยายนิยามอย่างเป็นทางการกว้าง ๆ ไว้ว่า "เราจะเรียกคอมพิวเตอร์โปรแกรมว่าได้เรียนรู้จากประสบการณ์ E เพื่อทำงาน T ได้โดยมีประสิทธิผล P เมื่อโปรแกรมนั้นสามารถทำงาน T ที่วัดผลด้วย P แล้วพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ E" คำนิยามนี้เป็นข้อจำกัดความที่มีชื่อเสียงเพราะเป็นการนิยามการเรียนรู้ของเครื่องจักรในแง่ของการดำเนินการมากกว่าในแง่ของความรู้สึกนึกคิด เปรียบเทียบคือ เป็นการเปลี่ยนคำถามของแอลัน ทัวริงที่เคยถามว่า "เครื่องจักรคิดได้หรือไม่" เป็นคำถามที่ว่า "เครื่องจักรจะทำงานที่พวกเราทำได้หรือไม่" == ประวัติและความสัมพันธ์กับสาขาอื่น == ศาสตร์ด้านการเรียนรู้ของเครื่องเติบโตไปพร้อม ๆ กับปัญญาประดิษฐ์ ในความจริงนั้น การเรียนรู้ของเครื่องมีมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของปัญญาประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์หลายคนสนใจการสร้างเครื่องจักรที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลได้ จึงเริ่มทดลองวิธีการหลาย ๆ อย่าง ที่เด่นชัดสุดคือ โครงข่ายประสาทเทียม และในเวลาต่อมา ได้มีการคิดค้นโมเดลเชิงเส้นทั่วไปจากหลักการทางสถิติศาสตร์ ไปจนถึงการพัฒนาวิธีการให้เหตุผลตามหลักความน่าจะเป็น โดยเฉพาะในการประยุกต์ด้านการวินิจฉัยโรคอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยในสายปัญญาประดิษฐ์ยุคต่อมาเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับตรรกศาสตร์และใช้วิธีการทางการแทนความรู้มากขึ้น จนทำให้ปัญญาประดิษฐ์เริ่มแยกตัวออกจากกับศาสตร์การเรียนรู้ของเครื่อง หลังจากนั้นเริ่มมีการใช้หลักการความน่าจะเป็นมากขึ้นในการดึงและการแทนข้อมูล ต่อมาในปี 1980 ระบบผู้เชี่ยวชาญเริ่มโดดเด่นในสายของปัญญาประดิษฐ์จนหมดยุคของการใช้หลักสถิติ มีงานวิจัยด้านการเรียนรู้เชิงสัญลักษณ์และบนพื้นฐานของฐานความรู้ออกมาเรื่อย ๆ จนกลายศาสตร์ด้านการโปรแกรมตรรกะเชิงอุปนัยได้ถือกำเนิดขึ้นมา แต่งานด้านสถิติก็ยังถือว่ามีบทบาทมากนอกสาขาของปัญญาประดิษฐ์ เช่น การรู้จำแบบและการค้นคืนสารสนเทศ นักวิจัยสายปัญญาประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ได้ทิ้งงานวิจัยด้านโครงข่ายประสาทเทียมไปในเวลาเดียวกัน แต่ก็ยังมีนักคณิตศาสตร์บางคน เช่น จอห์น ฮอปฟิลด์ เดวิด โรเมลฮาร์ต และเจฟฟรีย์ ฮินตันที่ยังพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมต่อไป จนกระทั่งได้ค้นพบหลักการการแพร่ย้อนกลับของโครงข่ายประสาทเทียม ที่ประสบความสำเร็จมากมายในเวลาต่อมา === ความสัมพันธ์กับการทำเหมืองข้อมูล === ส่วนการเรียนรู้ของเครื่องกับการทำเหมืองข้อมูลมักจะใช้วิธีการเหมือน ๆ กันและมีส่วนคาบเกี่ยวกันอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่แตกต่างระหว่างสองศาสตร์นี้คือ การเรียนรู้ของเครื่อง เน้นเรื่องการพยากรณ์ข้อมูลจากคุณสมบัติที่ "รู้" แล้วที่ได้เรียนรู้มาจากข้อมูลชุดสอน การทำเหมืองข้อมูล เน้นเรื่องการค้นหาคุณสมบัติที่ "ไม่รู้" จากข้อมูลที่ได้มา กล่าวได้ว่าเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อค้นหา "ความรู้" ในฐานข้อมูล สองศาสตร์นี้มีส่วนคาบเกี่ยวกันไม่น้อย คือ การทำเหมืองข้อมูลใช้วิธีการทางการเรียนรู้ของเครื่อง แต่มักจะมีเป้าหมายในใจที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย ส่วนการเรียนรู้ของเครื่องก็ใช้วิธีการของการทำเหมืองข้อมูลบางอย่าง เช่น การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน หรือขั้นตอนการเตรียมข้อมูลเพื่อปรับปรุงความถูกต้องของการเรียนรู้ บ่อยครั้งที่นักวิทยาศาสตร์ผสมสองสาขานี้เข้าด้วยกันด้วยเหตุผลที่ว่า ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ของเครื่องมักจะดีขึ้นหากมีความสามารถในการรู้ความรู้บางอย่าง ในขณะที่การค้นหาความรู้และการทำเหมืองข้อมูลนั้น กุญแจสำคัญคือการค้นหาความรู้ที่ไม่รู้มาก่อน หากมีการวัดประสิทธิภาพจากสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน วิธีการเรียนรู้แบบมีผู้สอนของการเรียนรู้ของเครื่อง ก็มักจะให้ผลได้ดีกว่าการใช้วิธีการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอนอย่างเดียว นั่นคือ === ความสัมพันธ์กับการหาค่าเหมาะที่สุด === การเรียนรู้ของเครื่องยังมีความคล้ายคลึงกับการหาค่าเหมาะที่สุด (optimization) นั่นคือ การเรียนรู้หลายอย่างมักจะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบของการหาค่าที่น้อยที่สุดของฟังก์ชันการสูญเสียบางอย่างจากข้อมูลชุดสอน ฟังก์ชันการสูญเสียหมายถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่พยากรณ์ไว้กับสิ่งที่เป็นจริง === ความสัมพันธ์กับสถิติศาสตร์ === การเรียนรู้ของเครื่องมีความสัมพันธ์กับสถิติศาสตร์อย่างใกล้ชิด ไมเคิล ไอ. จอร์แดน นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันชี้ว่าแนวคิดของการเรียนรู้ของเครื่องก็มาจากหลักการของทฤษฎีที่มีมาอย่างยาวนานของสถิติศาสตร์ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนมองว่า สถิติให้ความสำคัญกับข้อมูล ขณะที่การเรียนรู้ของเครื่องให้ความสำคัญกับอัลกอริทึมมากกว่า นักสถิติศาสตร์บางคนก็ยังปรับเอาหลักการของการเรียนรู้ของเครื่องไปใช้ นำไปสู่กับผสมผสานกันระหว่างสองศาสตร์ กลายเป็นศาสตร์ที่ชื่อ การเรียนรู้ทางสถิติ == ทฤษฎี == หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเครื่องคือ การทำให้โมเดลมีความครอบคลุม "ทั่วไป" (general) มากขึ้นจากประสบกาณ์ที่ได้มา การทำให้ทั่วไปมากขึ้นนี้จะทำให้เครื่องสามารถพยากรณ์หรือทำงานกับตัวอย่างข้อมูลที่ไม่เคยเห็นมาก่อนได้อย่างแม่นยำมากขึ้น บางครั้ง ข้อมูลชุดสอนก็มาจากการสุ่มและผู้เรียนรู้จะต้องทำให้โมเดลมีความครอบคลุมทั่วไปมากขึ้นเพื่อจะได้ทำการพยากรณ์ข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างถูกต้องเพียงพอ การวิเคราะห์เชิงคำนวณของการเรียนรู้ของเครื่อง และการวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้ เป็นอีกสาขาหนึ่งทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สายทฤษฎีที่รู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงคำนวณ อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีก็ไม่สามารถรับประกันประสิทธิภาพของอัลกอริทึมได้เพราะข้อมูลนั้นมีจำกัดและอนาคตมีความไม่แน่นอน แต่ทฤษฎีก็สามารถบอกขอบเขตบนความน่าจะเป็นได้ว่า ประสิทธิภาพน่าจะอยู่ในช่วงใด นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ยังได้ศึกษาดูต้นทุนทางเวลาและความเป็นไปได้ของการเรียนรู้ของเครื่องด้วย โดยการคำนวณที่ถือว่าเป็นไปได้ในการเรียนรู้นั้นจะต้องสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาโพลิโนเมียล == วิธีการเรียนรู้ == === ประเภทของการเรียนรู้ === การเรียนรู้ของเครื่อง สามารถแบ่งโดยกว้าง ๆ ได้เป็นหลายประเภท ตามประเภทของ "ข้อมูลฝึก" หรือ "ข้อมูลขาเข้า" และประเภทของงาน ได้ดังนี้ ==== การเรียนรู้แบบมีผู้สอน (supervised learning) - ==== ข้อมูลตัวอย่างและผลลัพธ์ที่ "ผู้สอน" ต้องการถูกป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เป้าหมายคือการสร้างกฎทั่วไปที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลขาเข้ากับขาออกได้ นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ความคล้าย (similarity and metric learning) โดยเครื่องจะมีตัวอย่างของคู่ที่ถูกมองว่าคล้ายมากและคู่ที่ถูกมองว่าคล้ายน้อย เครื่องจะต้องหาฟังก์ชันความคล้ายออกมาที่สามารถทำนายได้ว่าวัตถุใหม่นั้นมีความคล้ายมากน้อยเพียงใด มักใช้ในระบบแนะนำ (recommendation system) ==== การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (unsupervised learning) ==== ไม่มีการทำฉลากใด ๆ และให้คอมพิวเตอร์หาโครงสร้างของข้อมูลขาเข้าเอง วิธีการหลักที่นิยมใช้ได้แก่ การแบ่งกลุ่มข้อมูล อันเป็นการจัดกลุ่มของข้อมูลสำรวจให้ตกอยู่ในเซ็ตย่อย (เรียกว่า กลุ่ม หรือ cluster) โดยที่ข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันจะมีความคล้ายคลึงกันตามเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ ในข้อมูลที่อยู่คนละกลุ่มจะมีความแตกต่างกัน เทคนิคการแบ่งกลุ่มข้อมูลแต่ละเทคนิคก็มีสมมติฐานของโครงสร้างข้อมูลไม่เหมือนกัน โดยปกติแล้วมักจะมีการนิยาม การวัดค่าความเหมือน การเกาะกลุ่มภายใน และ การแยกกันระหว่างกลุ่ม ที่แตกต่างกัน การแบ่งกลุ่มข้อมูลจัดเป็นวิธีการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน และเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ==== การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง (reinforcement learning) ==== คอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาโดยคอมพิวเตอร์จะต้องทำงานบางอย่าง (เช่น ขับรถ) โดยที่ไม่มี "ผู้สอน" คอยบอกอย่างจริงจังว่าวิธีการที่ทำอยู่นั้นเข้าใกล้เป้าหมายแล้วหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เพื่อเล่นเกม การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง พิจารณาว่า เอเยนต์ ควรจะมี การกระทำ ใดใน สิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะได้ รางวัล สูงสุด อัลกอริทึมของการเรียนรู้แบบเสริมกำลังนี้พยายามจะหา นโยบาย ที่เชื่อมโยง สถานะ ของโลกเข้ากับการกระทำที่เอเยนต์ควรจะทำในสถานะนั้น ๆ การเรียนรู้แบบเสริมกำลังนี้มีความแตกต่างไปจากการเรียนรู้แบบมีผู้สอนตรงที่ว่า คอมพิวเตอร์จะไม่รู้เลยว่าอะไรถูกอะไรผิด กล่าวคือ ไม่มีการบอกอย่างชัดเจนว่าการกระทำใดยังไม่ดี ==== การเรียนรู้แบบกึ่งมีผู้สอน (semi supervised Learning) ==== เป็นการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งที่ระหว่างการเรียนรู้แบบมีผู้สอนกับการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน โดยที่ "ผู้สอน" จะไม่สอนอย่างสมบูรณ์ นั่นคือ บางข้อมูลในเซ็ตการสอนนั้นขาดข้อมูลขาออก ==== ทรานดักชัน (transduction) ==== เป็นกรณีพิเศษของการเรียนรู้แบบกึ่งมีผู้สอนคือใช้ชุดตัวอย่างที่มีทั้งฉลากและไม่มีฉลากในการเรียนรู้ แต่จุดประสงค์ไม่ใช่การสร้างแบบจำลอง แต่เป็นการใส่ฉลากให้กับตัวอย่างที่ไม่มีฉลากที่ใช้ในการฝึกสอน เนื่องจากการเรียนรู้แบบ ทรานดักชันไม่มีแบบจำลอง ผลการเรียนรู้จึงไม่สามารถนำไปใช้กับข้อมูลชุดใหม่ได้โดยตรง ==== การเรียนวิธีการเรียน (learning to learn, meta-learning) ==== เป็นวิธีที่จะเรียนวิธีการเรียนรู้ของตนเอง โดยปรับปรุงอคติแบบอุปนัยที่เป็นข้อสมมติฐานที่อัลกอริทึมใช้ในการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ==== การเรียนรู้ด้วยการแทน (representation learning) ==== การเรียนรู้บางอย่างโดยเฉพาะการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอนนั้นพยายามจะค้นหาการแทนข้อมูลขาเข้าที่ดีขึ้นเมื่อมีชุดข้อมูลฝึก ตัวอย่างของการเรียนรู้ด้วยการแทนนี้ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและการแบ่งกลุ่มข้อมูล อัลกอริทึมการเรียนรู้ด้วยการแทนมักจะเปลี่ยนข้อมูลไปในรูปแบบที่มีประโยชน์แต่ยังคงรักษาสารสนเทศของข้อมูลเอาไว้ มักใช้ในกระบวนการเตรียมข้อมูลก่อนจะแบ่งประเภทข้อมูลหรือพยากรณ์ ตัวอย่างอื่นของการเรียนรู้ด้วยการแทนได้แก่ การเรียนรู้เชิงลึก ==== การเรียนรู้พจนานุกรมแบบห่าง (sparse dictionary learning) ==== ==== กฎความสัมพันธ์ (association rule learning) ==== เป็นวิธีการหาความสัมพันธ์ที่น่าสนใจจากตัวแปรในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการโปรแกรมตรรกะเชิงอุปนัย เป็นวิธีการเรียนรู้จากกฎโดยใช้การโปรแกรมตรรกะ เมื่อมีข้อมูลเบื้องหลังและกลุ่มของตัวอย่างที่เป็นฐานข้อมูลตรรกะแล้ว โปรแกรมตรรกะเชิงอุปนัยจะหาโปรแกรมตรรกะที่ครอบคลุมตัวอย่างบวกแต่ไม่รอบคลุมตัวอย่างลบ === แบบจำลอง === การเรียนรู้ของเครื่องเกี่ยวข้องกับการสร้างแบบโมเดล (model) ซึ่งเกิดจากการสอนด้วยข้อมูลสอนและสามารถพยากรณ์ข้อมูลที่เข้ามาใหม่ได้ โมเดลมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ==== โครงข่ายประสาทเทียม (artificial neural networks) ==== โครงข่ายประสาทเทียม เป็นอัลกอริทึมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโครงสร้างและการทำงานของเซลล์ประสาทในสมอง การคำนวณของโครงข่ายประสาทเทียมถูกสร้างเป็นโครงสร้างของการเชื่อมต่อของประสาทเทียมแต่ละตัว ประมวลผลข้อมูลโดยหลักการการเชื่อมต่อ โครงข่ายประสาทเทียมสมัยใหม่เป็นเครื่องวิเคราะห์ทางสถิติที่ไม่เป็นเชิงเส้น มักใช้ในการจำลองความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างข้อมูลขาเข้าและขาออก เพื่อหารูปแบบจากข้อมูล หรือเพื่อหาโครงสร้างทางสถิติระหว่างตัวแปรที่สำรวจ ==== การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ (decision tree learning) ==== การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ใช้ต้นไม้ตัดสินใจในการสร้างโมเดลที่พยากรณ์ได้ ซึ่งจะเชื่อมโยงข้อมูลสังเกตการณ์เข้ากับข้อมูลปลายทาง ==== ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน (support vector machines) ==== ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน เป็นหนึ่งในวิธีการเรียนรู้แบบมีผู้สอน ใช้เพื่อการการแบ่งประเภทข้อมูลและการวิเคราะห์การถอดถอย เมื่อมีข้อมูลฝึกมาให้และแต่ละข้อมูลถูกจัดอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งจากสองประเภท ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนจะสร้างแบบจำลองที่สามารถพยากรณ์ได้ว่าตัวอย่างใหม่นี้จะตกอยู่ในกลุ่มใด ==== การวิเคราะห์ความถดถอย (regression analysis) ==== ==== เครือข่ายแบบเบย์ (Bayesian networks) ==== เครือข่ายแบบเบย์ เป็นโมเดลความน่าจะเป็นเชิงกราฟที่แทนกลุ่มของตัวแปรสุ่มและความเป็นอิสระแบบมีเงื่อนไขด้วยกราฟอวัฏจักรระบุทิศทาง ตัวอย่างเช่น เครือข่ายแบบเบย์สามารถใช้แทนความสัมพันธ์เชิงความน่าจะเป็นระหว่างอาการแสดงกับโรคได้ เมื่อมีอาการแสดง เครือข่ายจะคำนวณความน่าจะเป็นที่จะเป็นโรคแต่ละโรค มีหลายอัลกอริทึมที่สามารถอนุมานและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ==== ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (genetic algorithms) ==== ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม เป็นการค้นหาแบบฮิวริสติกที่เลียนแบบกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติในช่วงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยใช้เทคนิคการกลายพันธุ์ของยีนและการไขว้เปลี่ยนของโครโมโซมในการหาประชากรที่น่าจะอยู่รอดเพื่อพาไปสู่คำตอบของปัญหาได้ อัลกอริทึมนี้ได้รับความสนใจมากในสาขาการเรียนรู้ของเครื่องในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 และเทคนิคทางการเรียนรู้ของเครื่องก็ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมและขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการเช่นกัน == การประยุกต์ == การเรียนรู้ของเครื่อง สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น เว็บไซต์ปรับรูปแบบเองได้ (Adaptive website) การคำนวณเชิงอารมณ์ (affective computing) ชีวสารสนเทศศาสตร์ (bioinformatics) ส่วนต่อประสานสมอง–คอมพิวเตอร์ (brain–computer interface) เคมีสารสนเทศศาสตร์ (chemoinformatics) การจัดประเภทลำดับดีเอ็นเอ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) การตรวจจับการฉ้อโกงบัตรเครดิต (credit card fraud) การเล่นเกมกลยุทธ์ การค้นคืนสารสนเทศ (information retrieval) การตรวจสอบการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต การรับรู้ของเครื่อง (Machine perception) การวินิจฉัยทางการแพทย์ (medical diagnosis) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) การหาค่าเหมาะที่สุด (optimization) ระบบแนะนำ (recommender systems) ระบบเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ เสิร์ชเอนจิน (search engines) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering) การรู้จำเสียงพูด (speech recognition) == ซอฟต์แวร์ == === ซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ === CNTK Deeplearning4j Keras Caffe Mahout GNU Octave OpenNN Orange scikit-learn TensorFlow ROOT PyTorch Weka R === ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ที่มีรุ่นฟรีและโอเพนซอร์ซ === KNIME RapidMiner ===ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์=== Amazon Machine Learning Azure Machine Learning IBM Data Science Experience Google Prediction API IBM SPSS Modeler Mathematica MATLAB Microsoft Azure Neural Designer Oracle Data Mining SAS Enterprise Miner Splunk STATISTICA Data Miner == ดูเพิ่ม == ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) การทำเหมืองข้อมูล (Data mining) วิทยาการข้อมูล (Data science) == อ้างอิง == ไซเบอร์เนติกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี การเรียนรู้ของเครื่อง ปัญญาประดิษฐ์
thaiwikipedia
413
การเรียนรู้แบบมีผู้สอน
การเรียนรู้แบบมีผู้สอน (supervised learning)เป็นรูปแบบการเรียนรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ของเครื่องที่จับคู่ระหว่างข้อมูลนำเข้าและข้อมูลส่งออกตามพื้นฐานตัวอย่าง การทำงานอ้างอิงจากข้อมูลสอน (training data) ซึ่งประกอบด้วยชุดข้อมูลตัวอย่าง การเรียนรู้แบบมีผู้สอนเป็นเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องซึ่งสร้างฟังก์ชันจากข้อมูลสอน (training data) ข้อมูลสอนประกอบด้วยวัตถุเข้า (มักจะเป็น เวกเตอร์) และผลที่ต้องการ ผลจากการเรียนรู้จะเป็นฟังก์ชันที่อาจจะให้ค่าต่อเนื่อง (จะเรียกวิธีการว่า การถดถอย -- regression) หรือ ใช้ทำนายประเภทของวัตถุ (เรียกว่า การแบ่งประเภท -- classification) ภารกิจของเครื่องเรียนรู้แบบมีผู้สอนคือการทำนายค่าของฟังก์ชันจากวัตถุเข้าที่ถูกต้องโดยใช้ตัวอย่างสอนจำนวนน้อย (training examples -- คู่ของข้อมูลเข้าและผลที่เป็นเป้าหมาย) โดยเครื่องเรียนรู้จะต้องวางนัยทั่วไป (generalize) จากข้อมูลที่มีอยู่ไปยังกรณีที่ไม่เคยพบอย่างมีเหตุผล (ดู inductive bias) การแก้ปัญหาการเรียนรู้แบบมีผู้สอน (เช่น การเรียนรู้เพื่อรู้จำลายมือ) มีขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องพิจารณา ได้แก่ กำหนดชนิดของตัวอย่างสอน ก่อนจะเริ่มทำอย่างอื่น จะต้องตัดสินว่าข้อมูลชนิดใดที่จะใช้เป็นตัวอย่าง เช่นในกรณีการรู้จักลายมือ ตัวอย่างอาจจะเป็นตัวอักษรตัวเดียว คำ หรือบรรทัด เก็บตัวอย่าง ชุดตัวอย่างสอนจะต้องมีลักษณะเป็นตามที่ใช้จริง ดังนั้นชุดข้อมูลตัวอย่างและผลที่สอดคล้องจะต้องถูกจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญหรือจากการวัด กำหนดวิธีการแทนลักษณะ (feature) ของข้อมูลเข้า ความถูกต้องของฟังก์ชันจะขึ้นอยู่กับการแทนข้อมูลอย่างมาก โดยทั่วไปวัตถุเข้าจะถูกแปลงเป็นเวกเตอร์ของลักษณะ ใช้อธิบายวัตถุที่ต้องการแบ่งประเภท จำนวนลักษณะจะต้องไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดปัญหา Curse of dimensionality เนื่องจากมิติที่กว้างเกินไปจนทำให้มีพื้นที่ว่างมากจนเครื่องเรียนรู้ไม่สามารถวางนัยทั่วไปได้ แต่จำนวนลักษณะก็จะต้องมากพอที่จะทำให้สามารถทำนายผลได้แม่นยำ กำหนดโครงสร้างของฟังก์ชันที่ต้องการ และขั้นตอนวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้อง เช่น อาจจะต้องเลือกว่าจะใช้ ข่ายงานประสาทเทียม หรือ การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ทำการออกแบบให้สมบูรณ์ แล้วใช้ขั้นตอนวิธีการเรียนรู้กับตัวอย่างที่เก็บมา อาจจะปรับพารามิเตอร์ต่างๆ ของขั้นตอนวิธีให้เหมาะที่สุดโดยใช้ชุดย่อยของชุดตัวอย่าง (เรียกว่า ชุดตรวจสอบ -- validation set) หรือ ใช้การตรวจสอบไขว้ (cross-validation) หลังจากปรับค่าต่างๆ แล้ว อาจจะวัดประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีโดยใช้ชุดทดสอบ (test set) ซึ่งแยกต่างหากจากชุดสอน == อ้างอิง == การเรียนรู้ของเครื่อง
thaiwikipedia
414
การแบ่งประเภทข้อมูล
ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การแบ่งประเภทข้อมูล (data classification) เป็นปัญหาพื้นฐานของการเรียนรู้แบบมีผู้สอน โดยปัญหาคือการทำนายประเภทของวัตถุจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัตถุ ซึ่งการเรียนรู้แบบมีผู้สอนจะสร้างฟังก์ชันเชื่อมโยง ระหว่างคุณสมบัติของวัตถุ กับประเภทของวัตถุจากตัวอย่างสอน แล้วจึงใช้ฟังก์ชันนี้ทำนายประเภทของวัตถุที่ไม่เคยพบ เครื่องมือหรือขั้นตอนวิธีที่ใช้สำหรับการแบ่งประเภทข้อมูลเช่น โครงข่ายประสาทเทียม ต้นไมตัดสินใจ == นิยามของปัญหา == กำหนดตัวอย่างสอน E = \{(x_1,y_1), (x_2,y_2),\dots, (x_n,y_n) \} ให้ x_i เป็นเวกเตอร์แสดงคุณสมบัติของวัตถุ ซึ่ง x_i \in A_1 \times A_2 \times \cdots \times A_m โดยที่ A_i เป็นเซตจำกัดระบุคุณสมบัติ และ y \in C เป็นประเภทของวัตถุ ซึ่งกำหนดไว้ในเซตจำกัด C ต้องการหาฟังก์ชัน f (x) ซึ่งให้ค่า y จากเวกเตอร์ x ที่กำหนด โดยที่ความผิดพลาดของการทำนายตัวอย่างสอนมีค่าน้อยที่สุด หรือมีค่า e น้อยที่สุด โดยกำหนด e = \sum_{i=1}^{n} t (f(x_i),y_i) ซึ่ง t (a,b) = \begin{cases}0, \mbox{if } a=b \\ 1, \mbox{if }a \neq b \end{cases} การเรียนรู้ของเครื่อง การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล
thaiwikipedia
415
การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน
การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (unsupervised learning) เป็นเทคนิคหนึ่งของการเรียนรู้ของเครื่อง โดยการสร้างโมเดลที่เหมาะสมกับข้อมูล การเรียนรู้แบบนี้แตกต่างจากการเรียนรู้แบบมีผู้สอน คือ จะไม่มีการระบุผลที่ต้องการหรือประเภทไว้ก่อน การเรียนรู้แบบนี้จะพิจารณาวัตถุเป็นเซตของตัวแปรสุ่ม แล้วจึงสร้างโมเดลความหนาแน่นร่วมของชุดข้อมูล การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอนสามารถนำไปใช้ร่วมกับการอนุมานแบบเบย์ เพื่อหาความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขของตัวแปรสุ่มโดยกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องให้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการบีบอัดข้อมูล ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ขั้นตอนวิธีการบีบอัดข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ การแจกแจงความน่าจะเป็นของข้อมูลไม่อย่างชัดแจ้งก็โดยปริยาย การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอนในอีกรูปแบบหนึ่งคือการแบ่งกลุ่มข้อมูล โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น นอกจากนี้อาจจะดูได้จาก formal concept analysis การเรียนรู้ของเครื่อง
thaiwikipedia
416
การแบ่งกลุ่มข้อมูล
การแบ่งกลุ่มข้อมูล (data clustering) หรือ การวิเคราะห์คลัสเตอร์ (cluster analysis) เป็นวิธีการจัดกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน (เรียกว่า คลัสเตอร์) เป็นส่วนหลักของการการทำเหมืองข้อมูล การรู้จำแบบ, การวิเคราะห์ภาพ ชีวสารสนเทศศาสตร์ การบีบอัดข้อมูล คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ การเรียนรู้ของเครื่อง และใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การวิเคราะห์คลัสเตอร์ในตัวเองไม่ใช่อัลกอริทึมแต่เป็นการทำงานร่วมกันของอัลกอริทึมที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน ขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มจะอาศัยความเหมือน (similarity) หรือ ความใกล้ชิด (proximity) โดยจะแบ่งชุดข้อมูล (มักจะเป็นเวกเตอร์) ออกเป็นกลุ่ม (cluster) นำข้อมูลที่มีคุณลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายกันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน การคำนวณจากการวัดระยะระหว่างเวกเตอร์ของข้อมูลเข้า โดยใช้การวัดระยะแบบต่าง ๆ เช่น การวัดระยะแบบยูคลิด (Euclidean distance) การวัดระยะแบบแมนฮัตตัน (Manhattan distance) การวัดระยะแบบเชบิเชฟ (Chebychev distance) การวิเคราะห์คลัสเตอร์เริ่มมีการกล่าวถึงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 โดย ไดร์ฟเวอร์ และโครเบอร์ และมีการนำมาใช้งานในด้านจิตวิทยาในปี พ.ศ. 2481 การแบ่งกลุ่มข้อมูลจะแตกต่างจากการแบ่งประเภทข้อมูล (classification) โดยจะแบ่งกลุ่มข้อมูลจากความคล้าย โดยไม่มีการกำหนดประเภทของข้อมูลไว้ก่อน จึงกล่าวได้ว่าการแบ่งกลุ่มข้อมูล เป็นการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน ขั้นตอนวิธีการแบ่งกลุ่ม ได้แก่ k-means clustering, [clustering], self-organizing map (som) การแบ่งกลุ่มข้อมูลอาจใช้เป็นข้อตอนเบื้องต้นของการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยในการลดขนาดข้อมูล (แยกเป็นหลาย ๆ กลุ่มและคัดเฉพาะบางกลุ่มเพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป หรือแยกการวิเคราะห์ออกเป็นสำหรับแต่ละกลุ่ม) ก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการอื่นต่อไป ขั้นตอนวิธีในการแบ่งกลุ่มข้อมูล โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การแบ่งแบบเป็นลำดับขั้น (hierarchical) และ การแบ่งแบบตัดเป็นส่วน (partitional) การแบ่งแบบเป็นลำดับขั้นนั้น จะมีทำการแบ่งกลุ่มจากกลุ่มย่อยที่ถูกแบ่งไว้ก่อนหน้านั้นซ้ำหลายครั้ง ส่วนการแบ่งแบบตัดเป็นส่วนนั้น การแบ่งจะทำเพียงครั้งเดียว การแบ่งแบบเป็นลำดับขั้น จะมี 2 ลักษณะคือ แบบล่างขึ้นบน (bottom-up) หรือ เป็นการแบ่งแบบรวมกลุ่มจากกลุ่มย่อยให้ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กสุดคือในแต่ละกลุ่มมีข้อมูลเพียงตัวเดียว และ แบบบนลงล่าง (top-down) หรือ เป็นการแบ่งแบบกลุ่มจากกลุ่มใหญ่ให้ย่อยไปเรื่อย ๆ โดยเริ่มจากกลุ่มใหญ่ที่สุด คือกลุ่มเดียวมีข้อมูลทุกตัวอยู่ในกลุ่ม == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == การเรียนรู้ของเครื่อง การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล
thaiwikipedia
417
การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ
การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (Logic programming) เป็นแนวทางการเขียนโปรแกรม (programming paradigm) แบบหนึ่ง โดยกำหนดขอบเขตคุณลักษณะ (attribute) ของคำตอบ แทนที่จะกำหนดขั้นตอนที่ทำให้ได้คำตอบ ภาษาโปรแกรมสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะที่ใช้อย่างกว้างขวาง คือ ภาษาโปรล็อก (Prolog) อีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในเชิงการค้า คือ ภาษาเมอร์คิวรี (Mercury) การเขียนโปรแกรมแบบนี้มีหลักการคือ ความจริง + กฎ = ผลลัพธ์ หลักการอื่นที่แตกต่างให้ดู การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะแบบอุปนัย (Inductive logic programming) จุดประสงค์ของการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ คือ การนำตรรกศาสตร์เชิงรูปแบบ (formal logic) มาใช้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ นักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาพบว่าตรรกะเป็นเครื่องมือที่ดีในการขยายความเนื้อหาของทฤษฎี ปัญหาหลายๆ อย่างสามารถแสดงเป็นทฤษฎีได้อย่างเป็นธรรมชาติ การกล่าวว่าปัญหาต้องการวิธีการแก้ไขก็เหมือนกับการถามว่าสมมติฐานใหม่สอดคล้องกับทฤษฎีที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ตรรกศาสตร์กำหนดหนทางเพื่อพิสูจน์ว่าคำถามนั้นจริงหรือเท็จ และกระบวนการสร้างการพิสูจน์เป็นสิ่งที่รู้กันอย่างดีแล้ว ดังนั้นตรรกศาสตร์จึงเป็นทางที่เชื่อถือได้ในการหาคำตอบ และระบบการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะทำให้กระบวนการเหล่านี้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ การพัฒนาการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะนั้นให้อิทธิพลอย่างมากต่อปัญญาประดิษฐ์ แบบอย่างการเขียนโปรแกรม
thaiwikipedia
418
ต้นไม้ตัดสินใจ
การเรียนรู้แบบต้นไม้ตัดสินใจ (decision tree learning) เป็นหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ซึ่งใช้ในสถิติ, การเรียนรู้ของเครื่อง และการทำเหมืองข้อมูล โดยพิจารณาการสังเกตการแบ่งแยกข้อมูลโดยพิจารณาข้อมูล ในการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ต้นไม้ตัดสินใจ เป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ทำนายประเภทของวัตถุโดยพิจารณาจากลักษณะของวัตถุ บัพภายใน (inner node) ของต้นไม้จะแสดงตัวแปร ส่วนกิ่งจะแสดงค่าที่เป็นไปได้ของตัวแปร ส่วนบัพใบ (leaf node) จะแสดงประเภทของวัตถุ ต้นไม้ตัดสินใจที่บัพใบแสดงถึงข้อมูลที่เป็นข้อมูลไม่ต่อเนื่อง (discrete values) จะเรียกว่าต้นไม้ตัดสินใจแบบจำแนก (classification trees) และต้นไม้ตัดสินใจที่บัพใบเป็นข้อมูลต่อเนื่อง (continuous values) จะเรียกว่าต้นไม้ตัดสินใจแบบถดถอย (regression trees) ต้นไม้การตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ เป็นแผนผังต้นไม้ช่วยในการตัดสินใจ โดยแสดงถึงมูลค่าของทรัพยากรที่จะใช้ ความเสี่ยงในการลงทุนและผลลัพธ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้น ต้นไม้ตัดสินใจสร้างขึ้นเพื่อช่วยการตัดสินใจเพื่อใช้ในการสร้างแผนงาน นิยมใช้มากในการบริหารความเสี่ยง (risk management) ต้นไม้ตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการตัดสินใจ (decision theory) และ ทฤษฎีกราฟ ต้นไม้ตัดสินใจเป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการทำเหมืองข้อมูล == ลักษณะของต้นไม้การตัดสินใจ == ต้นไม้การตัดสินใจจะทำการจัดกลุ่ม (classify) ชุดข้อมูลนำเข้าในแต่ละกรณี (Instance) แต่ละบัพ (node) ของต้นไม้การตัดสินใจคือตัวแปร (attribute) ต่างๆของชุดข้อมูล เช่นหากต้องการตัดสินใจว่าจะไปเล่นกีฬาหรือไม่ก็จะมีตัวแปรต้นที่จะต้องพิจารณาคือ ทัศนียภาพ ลม ความชื้น อุณหภูมิ เป็นต้น และมีตัวแปรตามซึ่งเป็นผลลัพธ์จากต้นไม้คือการตัดสินใจว่าจะไปเล่นกีฬารึเปล่า ซึ่งแต่ละตัวแปรนั้นก็จะมีค่าของตัวเอง (value) เกิดเป็นชุดของตัวแปร-ค่าของตัวแปร (attribute-value pair) เช่น ทัศนียภาพเป็นตัวแปร ก็อาจมีค่าได้เป็น ฝนตก แดดออก หรือการตัดสินใจว่าจะไปเล่นกีฬารึเปล่านั้นก็อาจมีค่าได้เป็นใช่ กับ ไม่ใช่ เป็นต้น การทำนายประเภทด้วยต้นไม้ตัดสินใจ จะเริ่มจากบัพราก โดยทดสอบค่าตัวแปรของบัพ แล้วจึงตามกิ่งของต้นไม้ที่กำหนดค่า เพื่อไปยังบัพลูกถัดไป การทดสอบนี้จะกระทำไปจนกระทั่งเจอบัพใบซึ่งจะแสดงผลการทำนาย ต้นไม้ตัดสินใจนี้ใช้ทำนายว่าจะเล่นกีฬาหรือไม่ โดยพิจารณาจากลักษณะอากาศของวันนั้น โดยวัตถุที่ต้องการทำนายประเภท ประกอบด้วยลักษณะหรือตัวแปร 3 ตัว ได้แก่ ทัศนียภาพ ความชื้น และ กระแสลม ดังนั้น ถ้ากำหนดวันวันหนึ่งมีคุณลักษณะแสดงเป็นเวกเตอร์ เช่น [สภาพอากาศ=แดดออก, ความชื้น=สูง] การทำนายว่าจะเล่นกีฬาหรือไม่ จะเริ่มจากบัพราก โดยทดสอบค่าตัวแปร "สภาพอากาศ" ซึ่งมีค่าเท่ากับ "แดดออก" จึงไปทดสอบค่าตัวแปร "ความชื้น" ในบัพถัดไป ทำให้ได้ประเภทของวันนี้คือ "ไม่เล่นกีฬา" == ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับต้นไม้การตัดสินใจ == เนื่องจากต้นไม้การตัดสินใจเป็นต้นไม้ที่แต่ละกิ่งที่ออกมาจากบัพแทนค่าของข้อมูลที่เป็นไปได้ในบัพนั้น เนื่องจากต้นไม้มีจำนวนกิ่งที่จำกัด ดังนั้นค่าของตัวแปรที่เป็นไปได้จึงต้องจำกัดด้วย จึงต้องมีจำนวนตัวแปรที่จำกัด และนอกจากนั้นยังบังคับว่าค่าของตัวแปรนั้นต้องไม่ต่อเนื่องด้วย โดยข้อมูลที่เข้ามานั้นอาจมีความผิดพลาดได้บ้าง โดยต้นไม้การตัดสินใจจะมีกระบวนการที่จะไม่นำความผิดพลาดนั้นมาพิจารณาเรียกว่าการตัดแต่งกิ่ง (post-pruning) == ขั้นตอนวิธีการสร้างต้นไม้การตัดสินใจ == ในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาขั้นตอนวิธี (algorithm) ในการสอน (training) ต้นไม้การตัดสินใจมากมาย ซึ่งส่วนมากมาจากวิธีพื้นฐานวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการค้นหาแบบละโมภ (greedy search) จากบนลงล่าง (top-down) ชื่อว่า ID3 ซึ่งถูกพัฒนาโดย John Ross Quinlan ในปี 1986 เอนโทรปี (Entropy) ID3 นั้นสร้างต้นไม้การตัดสินใจจากบนลงล่างด้วยการถามว่าลักษณะใด (ขอใช้คำว่าลักษณะแทนตัวแปรต้น) ควรจะเป็นรากของต้นไม้การตัดสินใจต้นนี้ และถามซ้ำๆไปเรื่อยๆเพื่อหาต้นไม้ทั้งต้นด้วยการเขียนโปรแกรมด้วยความสัมพันธ์แบบเวียนเกิด (recursion) โดยในการเลือกว่าลักษณะใดดีที่สุดนั้นดูจากค่าของลักษณะเรียกว่าเกนความรู้ (Information gain) ก่อนที่จะรู้จักเกนความรู้จะต้องนิยามค่าหนึ่งที่ใช้บอกความไม่บริสุทธิ์ของข้อมูลก่อน เรียกว่าเอนโทรปี (Entropy) โดยนิยามเอนโทรปีของต้นไม้การตัดสินใจในตัวในเซตของตัวอย่าง S คือ E (S) ดังนี้ E (S) = - \sum^{n}_{j=1} p_{S} (j) \log_{2} p_{S} (j) เมื่อ S คือตัวอย่างที่ประกอบด้วยชุดของตัวแปรต้นและตัวแปรตามหลายๆกรณี p_{S} (j) คืออัตราส่วนของกรณีใน S ที่ตัวแปรตามหรือผลลัพธ์มีค่า j โดยสำหรับต้นไม้การตัดสินใจที่มีผลลัพธ์เป็นแค่เพียงค่าตรรกะ (boolean) ใช่กับไม่ใช่เหมือนกับที่ยกมาตอนต้นของบทความนั้น จะมีเอนโทรปีคือ E (S) = - p_{yes}log_{2} (p_{yes}) - p_{no}log_{2} (p_{no}) เมื่อพิจารณาเอนโทรปีแล้วจะเห็นว่าเอนโทรปีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 กับ 1 โดยจะมีค่าเป็นศูนย์เมื่อทุกๆกรณีมีผลลัพธ์เพียงแบบเดียว เช่น ใช่ทั้งหมด หรือ ไม่ใช่ทั้งหมด และจะมีค่ามากขึ้นเมื่อเริ่มมีค่าที่แตกต่างกันมากขึ้น หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งก็คือเอนโทรปีจะมีค่ามากขึ้นหากข้อมูลไม่บริสุทธิ์ และจะตัดสินใจได้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอะไรเมื่อเอนโทรปีเป็น 0 เท่านั้น เกนความรู้ (Information Gain) ซึ่งจากการนิยามเอนโทรปีข้างต้น ทำให้เราสามารถนิยามลักษณะของตัวแปรต้นที่ดีได้ โดยตัวแปร A จะเป็นตัวแปรต้นที่ดีก็ต่อเมื่อหากว่าแบ่งข้อมูลตัวอย่าง (Example) ออกเป็นชุดๆมีจำนวนชุดตามจำนวนค่าของ A ที่เป็นไปได้เพื่อให้แต่ละกรณี (Instance) ในชุดนั้นมีค่า A เพียงค่าเดียวและค่าเฉลี่ยของเอนโทรปีของชุดข้อมูลที่ถูกแบ่งออก (partition) มานั้นต่ำที่สุด เรียกค่าคาดหวังของการลดลงของเอนโทรปีหลังจากข้อมูลถูกแบ่งด้วย A ว่าเกนความรู้ของ A นิยามโดย Gain (S, A) = E (S) - \sum_{v=value (A)} \frac{|S_{v}|}{|S|}E (S_{v}) เมื่อ S คือตัวอย่างที่ประกอบด้วยชุดของตัวแปรต้นและตัวแปรตามหลายๆกรณี E คือเอนโทรปีของตัวอย่าง A คือตัวแปรต้นที่พิจารณา value (A) คือเซตของค่าของ A ที่เป็นไปได้ S_{v} คือตัวอย่างที่ A มีค่า v ทั้งหมด จะเห็นว่าหากเกนความรู้ของ A ยิ่งมากแสดงว่าหลังจากแบ่งตัวอย่าง S ด้วย A แล้วในแต่ละชุดที่แบ่งได้จะมี Entropy เข้าใกล้ศูนย์มากยิ่งขึ้น ทำให้ใกล้ที่จะตัดสินใจได้มากขึ้น เกนความรู้จึงเป็นค่าที่ดีที่จะบอกความดีของตัวแปรต้นที่นำมาพิจารณา การใช้ ID3 สอนต้นไม้การตัดสินใจ เมื่อเราสามารถบอกความดีของตัวแปรต้นได้จึงสามารถนำไปช่วยในการหาต้นไม้การตัดสินใจด้วย ID3 ได้โดยมีกระบวนการดังนี้ นำตัวแปรต้นที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ทั้งหมดมาหาเกนความรู้ เลือกตัวที่มีเกนสูงที่สุด สร้างต้นไม้ที่มีบัพรากเป็นของตัวแปรต้นตัวนั้น นำมาเขียนเป็นรหัสเทียม (pseudo code) ได้ดังนี้ โดยยกตัวอย่างมาเฉพาะกรณีที่ตัวแปรตามมีแค่เพียงใช่กับไม่ใช่เท่านั้น ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Examples คือตัวอย่างที่นำมาสอน Target_Attribute คือตัวแปรตาม Attribute คือตัวแปรต้น ID3 (Examples, Target_Attribute, Attributes) สร้างบัพซึ่งเป็นรากเปล่าๆสำหรับต้นไม้ ถ้าทุกตัวอย่างในต้นไม้มีค่าผลลัพธ์ของตัวแปรตามเป็นใช่ * return รากที่มีค่า + (ใช่) ถ้าทุกตัวอย่างในต้นไม้มีค่าผลลัพธ์ของตัวแปรตามเป็นไม่ใช่ * return รากที่มีค่า - (ไม่ใช่) ถ้าเซตของ Attribute เป็นเซตว่าง * return รากที่มีค่าเป็นค่าของ Target_Attribute ที่มีจำนวนมากที่สุดใน Examples ถ้ามิฉะนั้น เริ่ม * A = ตัวแปรต้นที่มีค่าของเกนความรู้สูงที่สุด * ให้รากที่ค่าเป็น A * สำหรับแต่ละค่าที่เป็นไปได้, v_i, ของ A, ** สร้างกิ่งต่อจากรากที่จะตัดสินใจมาทางนี้เมื่อ A = v_i ** สร้าง Examples (v_i) เป็นสับเซตของ Example ที่ A มีค่า v_i ** ถ้า Examples (v_i) เป็นเซตว่าง *** ต่อกิ่งนี้ด้วยบัพที่มีใบมีค่าเป็นค่าของ Target_Attribute ที่มีจำนวนมากที่สุดใน Examples ** มิฉะนั้น ต่อกิ่งนี้ด้วย ID3 (Examples (v_i), Target_Attribute, Attributes – {A}) จบ Return ราก == ต้นไม้การตัดสินใจกับการค้นหาสมมติฐาน == ID3 สามารถมองได้ว่าเป็นการค้นหาสมมติฐาน (hypothesis) จากสเปซของสมมติฐานทั้งหมด (hypothesis space) โดยที่สมมติฐานทั้งหมดคือต้นไม้การตัดสินใจทั้งหมดที่เป็นไปได้จากลักษณะต่างๆที่กำหนดมา ID3 ค้นหาต้นไม้จากรูปแบบง่ายไปสู่รูปแบบที่ซับซ้อน (simple-to-complex) ทั่วสเปซดังรูปด้านบน เริ่มจากต้นไม้ที่ว่างเปล่า และใส่รายละเอียดไปเรื่อยๆเพื่อให้สอดคล้องกับชุดข้อมูลที่นำมาเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ฟังก์ชันที่บอกแนวทางการเติบโตของต้นไม้คือเกนความรู้ เมื่อมอง ID3 ในมุมมองของการค้นหาแล้ว สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพและข้อจำกัดได้ดังนี้ เนื่องจากสเปซของสมมติฐานทั้งหมดประกอบด้วยต้นไม้การตัดสินใจทุกต้นจากลักษณะที่กำหนดให้ เพราะฉะนั้นต้นไม้ที่ไม่มีตัวแปรตามจึงเป็นสมาชิกของเซตนี้เช่นกัน ID3 สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะได้ผลออกเป็นต้นไม้แบบนั้นได้ ID3 จะสนใจเฉพาะสมมติฐานปัจจุบันเท่านั้น จึงหาสมมติฐานที่สอดคล้องกับปัญหาได้เพียงสมมติฐานเดียวเท่านั้น ไม่สามารถหาสมมติฐานทั้งหมดที่สอดคล้องได้ ID3 ในรูปแบบที่ไม่มีการแก้ไขไม่มีการค้นหาย้อนกลับ (backtracking) เมื่อเลือกตัวแปรต้นตัวใดเป็นบัพแล้ว จะไม่สนใจตัวแปรต้นตัวนี้อีก ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้อาจเป็นผลลัพธ์ที่ดี แต่ไม่ดีที่สุด ID3 ใช้ข้อมูลทางสถิติคือเกนความรู้ของข้อมูลทุกตัวมาพิจารณารวมกัน มีข้อดีคือจะสามารถลดความผิดพลาดจากข้อมูลนำเข้าบางตัวได้ในระดับหนึ่ง == ประเด็นอื่นๆของต้นไม้การตัดสินใจ == การหลีกเลี่ยงการจำกัดอยู่กับตัวอย่างที่นำมาสอนมากเกินไป (overfit) ของต้นไม้การตัดสินใจ ในหลายๆครั้งการเรียนรู้ด้วยต้นไม้การตัดสินใจทำให้ฟังก์ชันที่ได้ออกมาจำกัดอยู่กับข้อมูลที่นำมาสอน ตัวอย่างเช่น สมมติฐานสำหรับต้นไม้การตัดสินใจ h อัตราความถูกต้องในชุดที่นำมาสอนเป็น 90% แต่ในความเป็นจริงถูกต้อง 30% แต่สมมติฐานสำหรับต้นไม้การตัดสินใจ h' อัตราความถูกต้องในชุดที่นำมาสอนเป็น 70% แต่ในความเป็นจริงถูกต้อง 50% จะเรียนสมมติฐาน h ว่าโอเวอร์ฟิต (overfit) Overfitting data.jpg การเข้ากันมากเกินไปของข้อมูลเกิดได้ดังตัวอย่างด้านบน ในตอนแรกต้นไม้ยังว่างเปล่าแล้วค่อยๆมีบัพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามขั้นตอนวิธีการ ID3 ทำให้ความถูกต้องของข้อมูลในชุดที่นำมาเรียนรู้นั้นมากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ เมื่อพิจารณาความถูกต้องในข้อมูลจริงก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แต่เมื่อจำนวนบัพเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่งความถูกต้องในข้อมูลจริงกลับลดลง เรียกเหตุการณ์นี้ว่าการเข้ากันมากเกินไป อาจเกิดจากการที่มีบางตัวแปรต้นที่ต้นไม้การตัดสินใจนำมาพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวข้องน้อยมากกับตัวแปรตาม เมื่อนำตัวแปรนี้มาพิจารณาด้วยจึงเกิดการแบ่งส่วนของข้อมูลเพิ่มจึ้นโดยไม่จำเป็น ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าการเข้ากันมากเกินไปขึ้น ซึ่งมีกระบวนการการแก้ไขเหตุการณ์นี้ได้ด้วยสองวิธีคือ หยุดการโตของต้นไม้ก่อนจะเริ่มโอเวอร์ฟิต ให้ต้นไม้โอเวอร์ฟิตแล้วนำมาตัดแต่งภายหลัง (post-pruning) ซึ่งแบบแรกนั้นในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากกว่าแบบที่สองเพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไรควรจะหยุดการเจริญเติบโตของต้นไม้ จึงใช้วิธีที่สองมากกว่าซึ่งในวิธีที่สองนี้เริ่มต้นจะแบ่งตัวอย่าง (Example) ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนเรียนรู้สำหรับต้นไม้ (training set) ในส่วนนี้จะนำไปผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ID3 เพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโต ส่วนปรับปรุงต้นไม้ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น (validating set) ในส่วนนี้จะทำไปผ่านการตัดแต่งเพื่อหลีกเลี่ยงการโอเวอร์ฟิตของสมมติฐาน ส่วนทดสอบ (test set) ในส่วนนี้จะบอกประสิทธิภาพของต้นไม้ว่าดีเท่าใด ซึ่งในกระบวนการตัดแต่งนั้นจะพิจารณาบัพในต้นไม้ว่าหากตัดบัพใดทิ้งแล้วความแม่นยำใน validating set ไม่ลดลงก็จะตัดทิ้งและจะตัดไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่สามารถตัดทิ้งตามเงื่อนไขได้อีก การจัดการกับชุดข้อมูลที่นำมาเรียนรู้ที่ให้ค่าลักษณะของตัวแปรมาไม่ครบ ในบางกรณีข้อมูลที่มีให้มีบางตัวขาดหายไป เช่น การวิเคราะห์โรคของผู้ป่วยอาจต้องใช้ผลเลือดในการวิเคราะห์ แต่ไม่สามารถหามาได้ จึงอาจต้องประมาณผลเลือดโดยการประมาณวิธีหนึ่งคือการใช้ผลเลือดที่คนส่วนใหญ่เป็นมากที่สุดซึ่งถูกใช้โดย Mingers (1989) หรืออีกวิธีคือการวิเคราะห์อัตราส่วนซึ่งถ่วงน้ำหนักการตัดสินใจในแต่ละอย่างด้วยสถิติที่ผ่านมา วิธีนี้ถูกนำมาใช้ใน C4.5 โดย Quinlan (1993) การจัดการกับตัวแปรต้นที่มีค่าต่อเนื่อง เมื่อตัวแปรต้นมีค่าต่อเนื่องจำเป็นที่จะต้องมีการแบ่งค่าต่อเนื่องออกมาเป็นช่วงๆแบบไม่ต่อเนื่อง ซึ่งไม่ต่อเนื่องทำให้สามารถประมวลผลได้ด้วยต้นไม้การตัดสินใจ แต่หากต้องการข้อมูลนำเขาและส่งออกที่ต่อเนื่องจริงๆจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีอื่นๆ เช่น ข่ายงานประสาทเทียม (Neural Network) การจัดการกับตัวแปรต้นที่มีราคา ในปัญหาบางอย่างการที่จะหาตัวแปรต้นมาพิจารณานั้นจำเป็นที่จะต้องลงทุน เช่น การที่จะตรวจสอบว่าผู้ป่วยเป็นโรครึเปล่าอาจต้องรู้ ความดัน อุณหภูมิ ข้อมูลของเลือด ฟิลม์เอ็กซเรย์ ซึ่งข้อมูลจะได้มาเมื่อเสียต้นทุนไปจำนวนหนึ่ง ดังนั้นในการนิยามความดีของตัวแปรต้นที่เหมาะสมสำหรับการสร้างต้นไม้การตัดสินใจจำเป็นที่จะต้องเอาอีกปัจจัยคือ ราคา เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย ในปี 1990 Tan และ Schilimmer เสนอค่าความดีของตัวแปรต้นเพื่อใช้ประมวลผลกับการรับรู้ของหุ่นยนต์ผ่านทางเซนเซอร์คือ \frac{Gain^{2} (S, A)}{Cost (A)} == อ้างอิง == Mitchell, Tom. Machine Learning. McGraw-Hill, 1997, p. 52-80. == ดูเพิ่ม == การเรียนรู้ของเครื่อง การเรียนรู้แบบมีผู้สอน การแบ่งประเภทข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง การบริหาร การจัดการเชิงกลยุทธ์ ต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล)
thaiwikipedia
419
ภาษาพม่า
ภาษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (မြန်မာဘာသာ, ) เป็นภาษาตระกูลจีน-ทิเบตที่พูดกันในประเทศพม่า มีสถานะเป็นภาษาทางการและภาษาของชาวพม่าซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศ ใน ค.ศ. 2007 มีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ 33 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ใกล้ชิด และมีผู้พูดเป็นภาษาที่สอง 10 ล้านคน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่าและประเทศเพื่อนบ้าน ใน ค.ศ. 2014 ประชากรพม่ามี 36.39 ล้านคน และในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 มีประชากรประมาณ 38.2 ล้านคน ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ ลักษณะน้ำเสียง (รวมถึงทำเนียบภาษา) และเป็นภาษาเน้นพยางค์ == การจำแนก == ภาษาพม่าอยู่ในกลุ่มภาษาพม่าใต้ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต โดยภาษาพม่าเป็นภาษานอกกลุ่มภาษาจีนที่มีผู้พูดมากที่สุดในตระกูล ภาษานี้เป็นภาษาลำดับที่ 5 ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบตที่พัฒนาระบบการเขียนของตน ถัดจากอักษรจีน, อักษรปยู, อักษรทิเบต และอักษรตันกุต == ภาษาถิ่นและสำเนียง == ภาษาพม่ามาตรฐานคือสำเนียงย่างกุ้ง ภาษาถิ่นในพม่าภาคเหนือและภาคใต้จะต่างจากภาษากลาง ภาษาถิ่นในรัฐยะไข่ยังมีเสียง /ร/ แต่สำเนียงย่างกุ้งออกเสียงเป็น /ย/ ภาษาพม่าแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ระดับ คือระดับทางการใช้งานวรรณคดี งานราชการและวิทยุกระจายเสียง ระดับไม่เป็นทางการใช้ภายในครอบครัวและกับเพื่อน พระภิกษุชาวพม่ามักพูดกันเองด้วยภาษาบาลี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ == ระบบเสียง == === พยัญชนะ === หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาพม่ามีดังต่อไปนี้ === สระ === หน่วยเสียงสระในภาษาพม่ามีดังต่อไปนี้ === วรรณยุกต์ === โดยทั่วไปถือว่าภาษาพม่ามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง ในตารางข้างล่างนี้ สัญลักษณ์แทนวรรณยุกต์จะแสดงไว้เหนือสระ ดังตัวอย่าง {|class="wikitable" ! วรรณยุกต์ || ภาษาพม่า || สัทอักษรสากล(กำกับสระ a) || สัญลักษณ์(แสดงเหนือสระ a) || การทำงานของเส้นเสียง || ความสั้นยาว || ความเข้ม || ระดับเสียง |- | ต่ำ || နိမ့်သံ || || || ปกติ || ปกติ || ต่ำ || ต่ำ มักเลื่อนขึ้นเล็กน้อย |- | สูง || တက်သံ || || || บางครั้งมีลมแทรกเล็กน้อย || ยาว || สูง || สูง มักเลื่อนตกก่อนการหยุดเปล่งเสียงพูด |- | ต่ำลึก || သက်သံ || || || เกร็งหรือต่ำลึก บางครั้งมีการบีบที่เส้นเสียง || ปานกลาง || สูง || สูง มักเลื่อนตกเล็กน้อย |- | กัก || တိုင်သံ || || || สระค่อนกลาง มีการปิดเส้นเสียง || สั้น || สูง || สูง (ในคำเดี่ยว; อาจแปรไปตามสัทบริบท) |} == การถอดเป็นอักษรโรมัน == ภาษาพม่าไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน คำหลายคำสะกดต่างจากที่ออกเสียง เช่น คำว่าพระพุทธเจ้า ออกเสียงว่า pha-ya แต่เขียนว่า bu-ya การถอดภาษาพม่าเป็นอักษรโรมันจึงทำได้ยากแต่พอจะใช้การถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาบาลีมาเทียบเคียงได้ หรือบางครั้งอาจใช้ระบบเอ็มแอลซีทีเอส == ไวยากรณ์ == การเรียงคำเป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา ยกเว้นคำว่า ga (เป็น) ซึ่งจะวางต่อจากประธาน คำสรรพนามเปลี่ยนตามเพศและสถานะของผู้ฟัง เป็นภาษาพยางค์เดี่ยว แต่มีรากศัพท์และการเติมคำอุปสรรค การเรียงคำในประโยคไม่มีบุพบท สันธานแต่ใช้การเติมปัจจัย === คำคุณศัพท์ === คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม เช่น chuo-dé lu (สวยงาม + dé + คน = คนสวย) หรือตามหลังนาม เช่น lu chuo (คนสวย) การเปรียบเทียบใช้คำอุปสรรค à-คำคุณศัพท์-ปัจจัย zon คำคุณศัพท์บอกจำนวน ตามหลังคำนาม === คำกริยา === รากศัพท์ของคำกริยามักเติมปัจจัยอย่างน้อย 1 ตัว เพื่อบอกกาล ความสุภาพ รูปแบบกริยา เป็นต้น ไม่มีการใช้คำสันธาน รูปกริยาไม่เปลี่ยนตามบุคคล จำนวน หรือเพศของประธาน ตัวอย่างเช่น คำกริยา sá (กิน) เป็น sá-dè = กิน ปัจจัย dè ใช้แสดงปัจจุบันกาลหรือใช้เน้นย้ำ sá-gè-dè = กินแล้ว ปัจจัย gè/kè แสดงอดีตแต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ปัจจัย dè ในที่นี้เป็นการเน้นย้ำ sá-nei-dè = กำลังกิน nei เป็นอนุภาคแสดงว่าการกระทำนั้นกำลังเกิดขึ้น sá-bi = กำลังกินอยู่ ปัจจัย bi นี้ใช้กับการกระทำที่ประธานเริ่มกระทำและยังไม่เสร็จสิ้น sá-mè = จะกิน อนุภาค mè นี้ใช้แสดงอนาคตและยังไม่เกิดขึ้น sá-daw-mè = จะกิน (ในไม่ช้า) อนุภาค daw ใช้กับเหตุการณ์ที่ใกล้จะเกิดขึ้น === คำนาม === คำนามภาษาพม่าทำให้เป็นพหูพจน์โดยเติมปัจจัย dei (หรือ tei ถ้ามีเสียงตัวสะกด) อาจใช้ปัจจัย myà ที่แปลว่ามากได้ด้วย ตัวอย่างเช่น nwá = วัว nwá- dei = วัวหลายตัว จะไม่ใช้ปัจจัยแสดงพหูพจน์เมื่อมีการแสดงการนับคำนาม เช่น เด็ก 5 คน ใช้ว่า kelei (เด็ก) ngá (5) yauk (คน) === ลักษณนาม === ภาษาพม่ามีลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาจีน ภาษาไทย และภาษามลายู คำลักษณนามที่ใช้ทั่วไปได้แก่ bá ใช้กับคน (เฉพาะพระสงฆ์และแม่ชี) hli ใช้กับสิ่งที่เป็นชิ้น เช่น ขนมปัง kaung ใช้กับสัตว์ ku ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตโดยทั่วไป kwet ใช้กับสิ่งที่บรรจุของเหลวเช่น ถ้วย lóun ใช้กับวัตถุรุปกลม pyá ใช้กับวัตถุแบน sin หรือ zín ใช้กับสิ่งที่มีล้อ เช่นรถ su ใช้กับกลุ่ม ú ใช้กับคน (เป็นทางการ) yauk ใช้กับคน (ไม่เป็นทางการ) === คำสรรพนาม === คำสรรพนามที่เป็นรูปประธานใช้ขึ้นต้นประโยค รูปกรรมจะมีปัจจัย –go ต่อท้าย ตัวอย่างคำสรพนาม เช่น ฉัน เป็นทางการ ผู้ชายใช้ kyaw-naw ผู้หญิงใช้ kyaw-myaไม่เป็นทางการใช้ nga พูดกับพระสงฆ์ใช้ da-ga หรือ da-be-daw (หมายถึง นักเรียน) เธอ ไม่เป็นทางการใช้ nei หรือ min เป็นทางการใช้ a-shin หรือ ka-mya เรา ใช้ nga-do พวกคุณ ใช้ nei-do เขา ใช้ thu พวกเขา ใช้ thu-do มัน หรือ นั่น ใช้ (ai) ha == คำศัพท์ == คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ศัพท์เกี่ยวกับศาสนา การศึกษา ปรัชญา รัฐบาลและศิลปะ ได้มาจากภาษาบาลีเป็นส่วนใหญ่ คำยืมจากภาษาอังกฤษมักเกี่ยวกับธุรกิจหรือการปกครองสมัยใหม่ คำยืมจากภาษาฮินดีมักเกี่ยวกับอาหารและการปรุงอาหาร == ดูเพิ่ม == อักษรพม่า การทับศัพท์ภาษาพม่า == อ้างอิง == == อ่านเพิ่ม == * === บรรณานุกรม === == แหล่งข้อมูลอื่น == Omniglot: Burmese Language Learn Burmese online Online Burmese lessons Burmese language resources from SOAS Myanmar Unicode and NLP Research Center Myanmar 3 font and keyboard Burmese online dictionary (Unicode) Ayar Myanmar online dictionary Myanmar unicode character table Download KaNaungConverter_Window_Build200508.zip from the Kanaung project page and Unzip Ka Naung Converter Engine พม่า พม่า พม่า พม่า พม่า พม่า
thaiwikipedia
420
เบริลเลียม
เบริลเลียม (Beryllium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Be และเลขอะตอม 4 เป็นธาตุไบวาเลนต์ที่มีพิษ น้ำหนักอะตอม 9.0122 amu จุดหลอมเหลว 1287°C จุดเดือด (โดยประมาณ) 2970°C ความหนาแน่น (จากการคำนวณ) 1.85 g/cm3 เลขออกซิเดชันสามัญ + 2 เบริลเลียมเป็นโลหะแอลคาไลน์เอิร์ธ มีสีเทาเหมือนเหล็ก แข็งแรง น้ำหนักเบา แต่เปราะ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นตัวที่ทำให้โลหะผสมแข็งขึ้น (โดยเฉพาะทองแดงเบริลเลียม) == รากศัพท์ == เดิม Louis-Nicolas Vauquelin ตั้งชื่อว่า กลูซิเนียม ( สัญลักษณ์อดีด Gl, glucinium ) มาจากภาษากรีก glykys แปลว่า “หวาน” เนื่องจากสารประกอบเบริลเลียมมีความหวาน ในปี ค.ศ. 1828 Martin Heinrich Klaproth ตั้งชื่อว่า เบริลเลียม ตามชื่อแร่ เบริล ( Beryl, ภาษากรีก Beryllos ) == การค้นพบ == ในการวิเคราะห์ช่วงแรก แร่เบริลกับมรกตพบสารที่คล้ายคลึงกัน จึงสรุปผิดเป็นอะลูมิเนียมซิลิเคต และนักแร่วิทยา René Just Haüy พบว่าแร่สองชนิตนี้มีโครงสร้างผลึกที่คล้ายกันมาก จึงพบนักเคมี Louis-Nicolas Vauquelin เพื่อวิเคราะห์แร่ทางเคมี  ในปี ค.ศ. 1797 Vauquelin แยกสารประกอบเบริลเลียมออกจากอะลูมิเนียมโดยนำแร่เบริลปฏิกิริยากับเบสจนเกิดการหลอมเหลวของอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ปี ค.ศ. 1828 Friedrich Wöhler และ Antoine Busy ต่างก็สามารถแยกธาตุเบริลเลียมด้วยวิธีปฏิกิริยาโลหะโพแทสเซียมกับเบริลเลียมคลอไรด์ BeCl2 + 2K -> 2KCl + Be วิธีนี้สามารถสร้างได้แค่เม็ดโลหะเบริลเลียมขนาดเล็กเนื่องจากผลิตโพแทสเซียมด้วยวิธีการแยกด้วยไฟฟ้าจากสารประกอบโพแทสเซียมจึงไม่สามารถสร้างแท่งโลหะเบริลเลียมด้วยวิธีหล่อหรือวิธีตีรูป ปี ค.ศ. 1898 Paul Lebeau เก็บตัวอย่างโลหะเบริลเลียมบริสุทธิ์ด้วยวิธีการแยกด้วยไฟฟ้าของสารละลายเบริลเลียมฟลูออไรด์และโซเดียมฟลูออไรด์ ในศตวรรษที่ 19 เมื่อพบสารประกอบเบริลลียมใหม่ นอกจากรายงานจุดหลอมเหลวกับค่าการละลายแล้วยังรายงานรสชาติเป็นเรื่องปกติ การผลิตเบริลเลียมมีตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่เริ่มผลิตปริมาณมากในต้นทศวรรษ 1930 ปริมาณผลิตของเบริลเลียมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากความต้องการของโลหะผสมเบริลเลียมที่แข็งแรงและสารเรืองแสงบนหลอดฟลูออเรสเซนต์เพิ่ม หลอดฟลูออเรสเซนต์ช่วงแรกใช้สารออร์โทซิงค์ซิลิเคตที่ผสมเบริลเลียมแต่หลังจากพบความเป็นพิษ ใช้สารประเภทฮาโลฟอสเฟตเป็นสารเรืองสารแทน การใช้เบริลเลียมในช่วงแรกยังใช้เป็นเบรกของเครื่องบินทหารเนื่องจากมีความแข็ง จุดหลอมแหลวสูง และมีความสามารถในการระบายความร้อนสูง แต่ด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจึงแทนเป็นวัสดุอื่น ๆ == ลักษณะ == เบริลเลียมผลิตจากแร่ธาตุอย่างแร่เบริล แร่เบริลเป็นแร่รัตนชาติที่มีชื่อเรียกอื่นว่า อะความารีน และ มรกต ตามสีที่เกิดจากสิ่งเจือปนในแร่ โครงสร้างผลึกที่เสถียรสุดในอุณหภูมิและความดันปกติคือ Hexagonal close-packed โลหะบริสุทธิ์มีสีเทาขาว และเมื่ออยู่ในอากาศจะเกิดชั้นออกไซด์ ทำให้อยู่อย่างเสถียร มีค่าความแข็งในระดับ 6 ถึง 7 ในมาตราโมสซึ่งแข็งและเปราะในอุณหภูมิห้อง และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความเหนียวจะเพิ่มขึ้น สามารถละลายในทั้งสภาวะกรดและเบส ไอโซโทปที่เสถียรของเบริลเลียมไม่ได้สังเคราะห์ด้วยการสังเคราะห์นิวเคลียสในดาวฤกษ์แต่สังเคราะห์จากการแตกเป็นเสี่ยงโดยรังสีคอสมิกของธาตุหนักอย่างคาร์บอนและไนโตรเจน ในตารางธาตุ เบริลเลียมจัดอยู่ในธาตุหมู่ 2 แต่มีสมบัติคล้ายกับอะลูมิเนียมที่อยู่ในธาตุหมู่ 13 มากกว่าแคลเซียมและสตรอนเซียมที่อยู่ในหมู่เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น แคลเซียมและสตรอนเซียมเมื่อตรวจสีเปลวไฟจะมีสีแต่เบริลเลียมไม่มีสี จึงมีบางครั้งไม่จัดเบริลเลียมอยู่ในธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท ถึงแม้จัดอย่ในธาตุหมู่ 2 นอกจากนั้นสารประกอบไบนารีของเบริลเลียมมีโครงสร้างคล้ายกับของสังกะสี === สมบัติทางกายภาพ === เบริลเลียมมีไอโซโทปที่เสถียรอยู่ 2 ไอโซโทป และในอุณหภูมิและความดันปกติ ( ที่อุณหภูมิและความดันปกติมาตรฐาน ) มีโครงสร้างผลึกที่เสถียรที่สุดคือ Hexagonal close-packed ซึ่งมีค่าคงที่แลตทิซเป็น a=2.268Å, b=3.594Å เมื่ออยู่ในสภาวะอุณหภูมิสูง โครงสร้างผลึกแบบ Body-centered cubic จะเสถียรมากที่สุด มีค่าความแข็งในระดับ 6 ถึง7 ในมาตราโมสเป็นค่าที่แข็งสุดในธาตุหมู่ 2 แต่เปราะจนสามารถทำเป็งผงโดยการทุบตีได้ อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความเหนียวจะเพิ่มขึ้น จึงมีความสามารถทางเครื่องกลสูง เหมาะสำหรับการใช้ในงานที่อุณหภูมิสูงอย่างเตาปฏิกรณ์ฟิวชั่น แต่ใช้ในงานเช่นนี้ กรณีอุณหภูมิต่ำกว่า 400°C สมบัติความเหนียวจะต่ำลงถึงขั้นมีปัญหาในการใช้งาน ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.816 จุดหลอมเหลวเท่ากับ 1,284°C จุดเดือดเท่ากับ 2,767°C เบริลเลียมมีค่ามอดูลัสของยังเท่ากับ 287GPa เป็นค่าที่มากกว่าค่ามอดูลัสของยังของเหล็กถึง 50 ดังนั้นมีความทนทานต่อการหักงอสูง ค่ามอดูลัสของยังที่สูงแสดงถึงความแข็งแกร่งของเบริลเลียมดีมาก และมีความเสถียรสูงในสภาวะที่ภารทางความร้อนมากจึงนิยมใช้เป็นชิ้นส่วนโครงสร้างของยานอวกาศและอากาศยาน นอกจากนั้นค่ามอดูลัสของยังที่สูงและเบริลเลียมมีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ทำให้สมบัติการนำเสียงสูงถึงประมาณ 12.9 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งค่านี้เปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อม จากสมบัตินี้นิยมใช้เป็นแผ่นสั่นของลำโพงหรือเครื่องเสียงอื่น ๆ === สมบัติทางเคมี === ธาตุเบริลเลียมมีความสามารถในการปฏิกิริยารีดักชันสูง ศักยภาพการเกิดรีดักชันE0มีค่าเท่ากับ -1.85V ซึ่งค่านี้เกิดจากแนวโน้มเกิดเป็นไอออนที่สูงกว่าอะลูมิเนียมจึงคาดว่ามีความสามารถในปฏิกิริยา แต่พื้นผิวจะเกิดชั้นออกไซด์ที่เสถียรจึงไม่เกิดปฏิกิริยากับน้ำและออกซิเจน แต่เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วจะเกิดปฏิกิริยาเผาไหม้และได้สารผสมเบริลเลียมออกไซด์และเบริลเลียมไนไตรด์ เบริลเลียมที่มีชั้นออกไซด์จะมีความต้านทานกับกรด แต่เมื่อเบริลเลียมที่เอาชั้นออกไซด์ออกแล้วปฏิกิริยากับกรดที่มีความสามารถในการออกซิเดชันน้อยจะเกิดปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว ถ้าปฏิกิริยากับกรดที่มีความสามารถในการออกซิเดชันมากจะปฏิกิริยาช้า และปฏิกิริยากับเบสแก่จะเกิดไอออน[Be(OH)4 ]^2-และแก๊สไฮโดรเจน ซึ่งมีสมบัติคล้ายกับอะลูมิเนียม เบริลเลียมยังสามารถปฏิกิริยากับน้ำเกิดไฮโดรเจนและเบริลเลียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเบริลเลียมไฮดรอกไซด์มีค่าการละลายต่ำและติดกับผิวเบริลเลียมจึงไม่เกิดปฏิกิริยาต่อเมื่อเบริลเลียมบริเวณพื้นผิวปฏิกิริยาทั้งหมด การจัดเรียงอิเล็กตรอนของเบลิเลียมคือ[He]2s2 เบริลเลียมมีพลังงานไอออไนเซชันสูงเมื่อเทียบกับขนาดอะตอม เบริลเลียมจึงยากที่จะเกิดเป็นไอออนและทำให้สารประกอบของเบริลเลียมเกิดพันธะโคเวเลนต์ สาเหตุอีกอย่างคือเกิดจากความหนาแน่นประจุสูง จากFajans' rules ไอออนบวกที่ขนาดเล็กและมีความหนาแน่นประจุสูงจะดึงเวเลนซ์อิเล็กตรอนของไอออนบวก ( เรียกว่าโพลาไรซ์ ) ทำให้เกิดพันธะโคเวเลนต์ เบริลเลียมมีขนาดเล็กและมีประจุ 2+ จึงเกิดพันธะโคเวเลนต์ ธาตุในคาบที่ 2 มีแนวโน้มของพลังงานไอออไนเซชันตามมวลอะตอม แต่เบริลเลียมมีพลังงานไอออไนเซชันสูงกว่าโบรอนที่มีมวลมากกว่า สาเหตุเกิดจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนของเบริลเลียมอยู่ในออร์บิทัล2s และเวเลนซ์อิเล็กตรอนของโบรอนอยู่ในออร์บิทัล2p อิเล็กตรอนในออร์บิทัล2pจะรับผลกระทบจากปรากฏการณ์การบังของอิเล็กตรอน(Shielding effect)ทำให้พลังงานไอออไนเซชันของอิเล็กตรอนในออร์บิทัล2pลดลง แต่อิเล้กตรอนในออร์บิทัล2sจะไม่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการดังกล่าวจึงมีพลังงานไอออไนเซชันมากกว่าอิเล็กตรอนในออร์บิทัล2p เป็นสาเหตุที่เบริลเลียมมีพลังงานไอออไนเซชันมากกว่าโบรอน สารเชิงซ้อนโคออร์ดิเนชันหรือไอออนเชิงซ้อนโคออร์ดิเนชันของเบริลเลียมส่วนใหญ่เกิด4พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ ยกตัวอย่างเช่น [Be(H2O)4]^2+, [BeX4]^2- EDTAจะเกิดเป็นลิแกนด์ของเบริลเลียมเกิดสารเชิงซ้อนทรงแปดหน้ามากกว่าลิแกนด์อื่นๆจึงนิยมใช้ในการวิเคราะห์สาร เช่น เมื่อเติมEDTAลงในสารเชิงซ้อนอะซิติลอะซิโตนกับเบริลเลียม EDTAจะเกิดสารเชิงซ้อนแทนที่อะซิติลอะซิโตนและอะซิติลอะซิโตนจะหลุดออก สามารถสกัดเบริลเลียมด้วยสารละลายได้ วิธีนี้อาจจะถูกรบกวนโดยไอออนบวกอื่นๆเช่นAl3+ == การประยุกต์ใช้ == ใช้ในหลอดไฟเรืองแสง สปริงนาฬิกาซึ่งต้องต้านอำนาจแม่เหล็ก และรับแรงแปรอยู่ตลอดเวลานั้น ทำจากทองแดงผสมเบริลเลียม (Beryllium-Coppers Alloys) โลหะผสมนิกเกิล–เบริลเลียม (Ni-Be Alloys) แข็งมาก ทนการกัดกร่อนได้ดี ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัด ใช้เป็นประโยชน์และวัตถุโครงสร้างของเท็คโนโลยีทางอวกาศ ใช้เป็นตัวโมเดอเรเตอร์ (moderator) และ reflector ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ใช้ทำหน้าต่างพิเศษสำหรับหลอดรังสี -X โลหะเจือ Be–Cu ใช้เติมในเชื้อเพลิงจรวด == ความอันตราย == เมื่อร่างกายได้รับเบริลเลียมจะมีความอันตรายจึงเป็นอุปสรรคต่อใช้ในเชิงพาณิชย์ เบริลเลียมมีการกัดกร่อนเนื้อเยื่อจนเกิดโรคเบริลเลียมเรื้อรังที่อันตรายถึงเสียชีวิต === ผลกระทบต่อร่างกาย === เบริลเลียมเป็นสารที่มีความอันตรายสูง ก่อโรคร้ายแรงต่อบริเวณปอดที่รู้จักกันในชื่อ Berylliosis โรคเบริลเลียมเรื้อรัง เบริลเลียมเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและเป็นสารกัดกร่อนเนื้อเยื่อ เมื่อสูดดมสารประกอบที่ลาลายได้จะก่อโรคเบริลเลียมเฉียบพลันเป็นโรคกลุ่มปอดบวมทางเคมีเมื่อสัมผัสกับผิวโดยตรงเกิดอักเสบ โรคเบริลเลียมเรื้อรัง (CBD) มีระยะฟักตัวตั้งแต่อาทิตย์ถึง 20 ปี อัตราเสียชีวิต 37%และถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์จะมีอัตรามากกว่า โดยทั่วไปแล้วโรคเบริลเลียมเรื้อรังเป็นโรคภูมิต้านตนเอง คาดมีคนที่รู้สึกโรคได้ต่ำกว่า 5% กลไกเกิดโรคคือ เบริลเลียมส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ทำให้ยับยั้งการแบ่งเซลและเมแทบอลิซึม โรคโรคเบริลเลียมเรื้อรังมีอาการคล้ายกับโรค Sarcoidosis จึงแยกโรคนี้เป็นสำคัญต่อการวินิฉัยโรค โดยทั่วไปแล้วโรคเบริลเลียมเฉียบพลันเป็นโรคปอดบวมทางเคมี มีกลไกเกิดโรคที่แตกต่างจากโรคเบริลเลียมเรื้อรังมีนิยามว่าเป็น "โรคปอดที่เกิดจากเบริลเลียมใน 1 ปี" และปริมาณเบริลเลียมที่ได้รับกับความหนักของอาการมีความสัมพันธ์กัน ทราบว่าเกิดโรคเมื่อมีความเข้มข้นเบริลเลียมสูงกว่า 1000μg/m3และ ไม่เกิดโรคเมื่อต่ำกว่า 100μg/m3 ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคโรคเบริลเลียมเฉียบพลันลดลงเนื่องจากมีการแก้ไขสภาพแวดล้อมการทำงานและตั้งเกณฑ์ แต่ยังเกิดโรคเบริลเลียมเรื้อรังจำนวนมากในอุตสาหกรรมที่ใช้เบริลเลียม พบว่ามีผู้ป่วยโรคในโรงงานที่รักษาเกณฑ์และคนที่ไม่ได้อยู่ในโรงงานยังได้รับเบริลเลียมจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล องกรณ์ IARC ภายใต้ WHO ประกาศว่าเบริลเลียมและสารประกอบเบริลเลียมเป็นสารก่อมะเร็ง (Type1) สำนักงานประเมินความอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและอนามัยรัฐแคลิฟอร์เนีย(OEHHA)ได้คำนวณค่าเกณฑ์ความปลอดภับว่า 1μg/L และหน่วยงานสารพิษและทะเบียนโรคได้คำณวนเกณฑ์ความเสี่ยงต่ำสุดเท่ากับ 0.002 mg/kg/วัน เบริลเลียมไม่ได้เมตาบอลิซึมในร่างกายจึงเมื่อเข้าไปแล้วถ่ายออกได้น้อยและส่วนใหญ่สะสมในกระดูกและถ่ายออกทางปัสสวะ === ประวัติศาสตร์โรคเบริลเลียม === ค.ศ. 1933 มีรายงานว่าปอดบวมทางเคมีครั้งแรกที่เยอรมนี และต่อมา ค.ศ. 1946 มีรายงานโรคเบริลเลียมเรื้อรังที่สหรัฐอเมริกา โรคนี้พบมากในโรงงานผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์และโรงงานสกัดเบริลเลียมใน ค.ศ. 1949 จึงยกเลิกใช้เบริลเลียมในการผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์และต้นทศวรรษ 1950 มีการตั้งเกณฑ์ความเข้มข้นสูงสุดเป็น 25μg/m3 มีการแก้ไขสภาพแวดล้อมดังกล่าว จำนวนผู้ป่วยโรคเบริลเลียมเฉียบพลันลดลงอย่างรวดเร็วแต่ยังมีการใช้เบริลเลียมในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์และอากาศยานและยานอวกาศ โลหะผสม การผลิตอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ. 1952 สหรัฐอเมริกาเริ่มมีระบบจดทะเบียนโรคเบริลเลียมและก่อนปี ค.ศ. 1983 ได้จด 888 อาการ ในระบบนี้มีเกณฑ์วินิฉัย 6 เกณฑ์และถ้าตรงกับ 3 เกณฑ์จะถูกวินิฉัยเป็นโรคเบริลเลียมเรื้อรัง ในปี ค.ศ. 2001 ใช้เกณฑ์ที่ 3 เกณฑ์คือตรวจสอบทางจุลพยาธิวิทยาโดยการตัดเนื้อเยื่อในปอดและตรวจ ตรวสสอบ lymphocyte blast–transformation และตรวจระยะเวลาที่อยู่กับเบริลเลียม เบริลเลียมนิยมใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยานิวเคลียร์ในระเบิดปรมณูจึงมีนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระเบิดปรมณูหลายคนเสียชีวิตด้วยโรคเบริลเลียมเช่น นักฟิสิกส์สหรัฐอเมริกา Herbert L. Anderson ที่เกี่ยวข้องกับโครงการแมนฮัตตัน === ความสามารถการระเบิด === เบริลเลียมมีชั้นออกไซด์ห่อหุ้มจึงเป็นโลหะที่ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา แต่มีสมบัติที่เมื่อเกิดติดไฟแล้วจะเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็วจึงมีความเสี่ยงต่อเกิดการระเบิดฝุ่นเมื่อมีผงเบริลเลียมกระจายในอากาศ == แหล่งข้อมูลอื่น == ATSDR Case Studies in Environmental Medicine: Beryllium Toxicity U.S. Department of Health and Human Services It's Elemental – Beryllium MSDS: ESPI Metals Beryllium at The Periodic Table of Videos (University of Nottingham) National Institute for Occupational Safety and Health – Beryllium Page National Supplemental Screening Program (Oak Ridge Associated Universities) == รายการอ้างอิง == วัสดุนิวเคลียร์ บเบริลเลียม บเบริลเลียม ธาตุเคมี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
thaiwikipedia
421
อภิธานศัพท์ปัญญาประดิษฐ์
== ABC == Artificial beings Artificial consciousness Artificial intelligence -- ปัญญาประดิษฐ์ Artificial life Artificial neural network -- ข่ายงานประสาทเทียม Automated planning Backward Propagation Bayesian methods Bayesian networks Classification -- การแบ่งประเภท หรือ การจำแนกประเภท Clustering -- การแบ่งกลุ่ม Combinatorial search Connectionism == DEF == Data mining -- การทำเหมืองข้อมูล Decision tree -- การตัดสินใจแบบลำดับขั้น Delta rule -- กฎเดลต้า Distributed AI Expert systems Feedforward network -- ข่ายงานป้อนไปหน้า Fuzzy electronics Fuzzy logic Fuzzy systems == GHI == Genetic algorithms -- ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม Genetic programming GOFAI Gradient descent -- การเคลื่อนลงตามความชัน == JKL == Knowledge representation Knowledge-based systems Learning -- การเรียนรู้ Logic programming -- การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ == MNO == Machine learning -- การเรียนรู้ของเครื่อง Neuron -- เซลล์ประสาท , นิวรอน Neural Networks -- ข่ายงานประสาทเทียม == PQRS == Pattern recognition Perceptron -- เพอร์เซปตรอน Philosophy Predicate -- ภาคแสดง , เพรดิเคต Predicate calculus -- แคลคูลัสภาคแสดง Reinforcement learning -- การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง Semi-supervised learning -- การเรียนรู้แบบกึ่งมีผู้สอน Simulated neural network State space search Strong AI Supervised learning -- การเรียนรู้แบบมีผู้สอน Swarm intelligence -- ความฉลาดแบบกลุ่ม == TUV == Turing test Unsupervised learning -- การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน == WXYZ == == อ้างอิง == ปัญญาประดิษฐ์
thaiwikipedia
422
ประเทศนิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองงา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นประเทศอิสระที่ใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และอยู่ภายใต้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นราชินีพระองค์เดียวกับที่ทรงปกครองประเทศอื่นในเครือจักรภพแห่งอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย ฟิจิ ฯลฯ นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของหมู่เกาะคุกและนีอูเอ ซึ่งเป็นพื้นที่ปกครองตนเองพิเศษโดยมีรัฐบาลราชอาณาจักรนิวซีแลนด์เป็นผู้ชี้แนะและปกครองโตเกเลาเป็นเมืองขึ้น พื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์มีภูมิอากาศเขตอบอุ่น และภูมิประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและความสวยงามทางธรรมชาติ เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์เน้นการค้าโดยมีฐานจากการเกษตร ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปนิยมการเดินทางเดินทางและสนับสนุนการร่วมมือกันระหว่างประเทศและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมภายนอกเป็นกิจกรรมที่นิยมกันโดยเฉพาะกีฬาต่าง ๆ คือ รักบี้ซึ่งเป็นกีฬาประจำชาติ คริกเกต และ เนตบอล รวมถึง กีฬาเอกซ์ตรีมสปอร์ตและการเดินไกล == การกำเนิดของนิวซีแลนด์ == นิวซีแลนด์ ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 60 ล้านปีก่อน ห่างจากการกำเนิดประเทศต่าง ๆ ในโลกดั้งเดิมเมื่อกว่า 200 ล้านปีก่อน ดินแดนของนิวซีแลนด์และทวีปอื่น ๆ ของโลกได้รวมตัวกันเป็นแผ่นดินใหญ่ในชื่อ กอนด์วานา ก่อนที่เมื่อ 83 ล้านปีก่อน ได้แยกตัวออกจากกันเป็นทวีปต่าง ๆ ในส่วนของนิวซีแลนด์ได้แยกตัวออกมาเป็นผืนแผ่นดินที่เป็นทวีปที่เรียกว่า ซีแลนเดีย มีขนาดเท่าประเทศอินเดียในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อ 60 ล้านปีก่อน ซีแลนเดียได้จมลงใต้ทะเลเช่นเดียวกับทวีปแอตแลนติส จนกระทั่งเมื่อ 24 ล้านปีก่อน เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเปลือกโลกใต้พิภพผลักดันให้แผ่นดินค่อย ๆ โผล่ขึ้นมาจากน้ำอย่างช้า ๆ จนเป็นประเทศนิวซีแลนด์อย่างในปัจจุบัน ปัจจุบัน ภาพถ่ายจากดาวเทียมเผยให้เห็นส่วนของซีแลนเดียที่จมลงใต้ทะเลลึกกว่า 5,000 ฟุต แต่ยังมีความเชื่อว่าซีแลนเดียไม่ได้จมน้ำทั้งหมด เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า บางส่วนของซีแลนเดียไม่ได้จมน้ำทั้งหมดและในปัจจุบันนิวซีแลนด์มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ปัจจุบัน นิวซีแลนด์อยู่ห่างจากออสเตรเลียทางตอนใต้ราว 1,000 ไมล์ แต่ทว่าความหลากหลายทางชีวภาพมีความแตกต่างจากออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เกิดจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เดินทางมาสู่นิวซีแลนด์ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นทวีปซีแลนเดีย จนกระทั่งเมื่อราว 700 ปีก่อน มนุษย์กลุ่มแรกก็เดินทางมาถึงนิวซีแลนด์คือชาวชาวมาวรี อันเป็นชนพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน == ภูมิศาสตร์ == ประเทศนิวซีแลนด์แบ่งออกเป็น 2 เกาะหลัก และเกาะเล็ก ๆ อีกหลายเกาะตั้งอยู่กลางกระแสน้ำแบ่งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ทางเหนือและทางใต้ของเกาะถูกแบ่งโดยช่องแคบคุกซึ่งมีความกว้าง 20 กิโลเมตร และเป็นจุดที่แคบที่สุดของเกาะ ปริมาณพื้นที่ของประเทศคือ 268,680 ตารางกิโลเมตร ( 103,738 ตารางไมล์ ) มีขนาดเล็กกว่าประเทศอิตาลีและประเทศญี่ปุ่นเล็กน้อย และเล็กกว่าสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ เกาะที่มีขนาดเล็กกว่าที่มีผู้คนอาศัยอยู่และมีความสำคัญประกอบไปด้วยเกาะสจวร์ต เกาะ Waiheke, เกาะเกรตแบร์ริเออร์ และเกาะแชทัม ประเทศนิวซีแลนด์มีแหล่งน้ำครอบคลุมทั่วประเทศและเป็นประเทศอันดับ 7 ของโลกที่มีพื้นที่ทางน้ำซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจครอบคลุมถึง 4 ล้านตารางกิโลเมตร ( 1.5 ล้านตารางไมล์ ) มากกว่าขนาดพื้นที่ดินถึง 15 เท่า จุดที่สูงที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์คือภูเขา Aoraki/Mount Cook ซึ่งมีความสูง 3754 เมตร ( 12,320 ฟุต ) มีจุดที่สูงที่สุด 18 แห่งที่มีความสูงเกิน 3,000 เมตร ( 10,000 ฟุต ) อยู่ทางใต้ของเกาะ ทางเหนือของเกาะมีพื้นที่ที่เป็นภูเขาน้อยกว่าทางใต้ แต่เป็นที่รู้กันว่าภูเขาเหล่านั้นเป็นภูเขาไฟ ภูเขาที่สูงที่สุดของเกาะทางเหนือคือภูเขา Mount Ruapehu ( 2,797 เมตร / 9,177 ฟุต ) และเป็นภูเขาไฟที่ยังประทุอยู่ มีพื้นที่หลายแห่งที่สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ === สภาพภูมิอากาศ === ประเทศนิวซีแลนด์มีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น เนื่องจากรับอิทธิพลของลมประจำ คือ ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ที่นำความชื้นจากทะเลเข้ามาทำให้ฝนตกอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะใต้ ซึ่งเป็นด้านที่รับลม ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม – พฤษภาคม ฤดูหนาว มิถุนายน – สิงหาคม ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน – พฤศจิกายน เนื่องจากตั้งอยู่ในโซนอากาศอบอุ่น ทำให้มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวไม่หนาวจัดมาก มีฝนตกตลอดปี ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก - ลมประจำที่พัดผ่าน คือลมฝ่ายตะวันตก - กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก อากาศแตกต่างกันดังนี้ - เกาะเหนือมีอากาศอบอุ่นชื้นทั่วเกาะ - เกาะใต้ชายฝั่งตะวันตกฝนชุกกว่าชายฝั่งตะวันออก - เกาะใต้ช่วงฤดูใบไม้ร่วงย่างเข้าสู่ฤดูหนาวจะมีหิมะปกคลุมอยู่ทั่ว และมีมากที่ Mt. Cook == ประวัติศาสตร์ == === ยุคก่อนประวัติศาสตร์ === === การตั้งถิ่นฐาน === นิวซีแลนด์นั้นเดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ ทวิน เจตด้า เปตโต้(Twin Jadda Phetto) ได้ล่องเรือเลียบมาทางออสเตรเลียและได้พบเกาะนิวซีแลนด์เข้า และได้พบกับชาวเมารีที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นมิตรจึงได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า Nieuw Zeeland หรือ New Zealand จากนั้นชื่อเสียงของนิวซีแลนด์ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรป เพราะมีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มาก ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้าง แต่โชคดีที่มีคนบนเรือสามารถพูดภาษาไวทิงกิได้บ้าง จึงเจรจากับชาวเมารีได้ และพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนับรบ จึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากทางยุโรป และต่อมาเมื่อชาวเมารีมีอาวุธมากจึงสู้รบกันจนชนเผ่าเมารีลดลง ทางอังกฤษจึงได้ส่งคนมาทำสัญญา ที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวตางี ขึ้น และส่งคนมาสำเร็จราชการแทนชื่อ วิลเลียม ฮอปสัน === การปกครองตนเอง === == การเมืองการปกครอง == นิวซีแลนด์มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐคือสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และมี Governor General เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในนิวซีแลนด์ รัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์เป็นกฎหมายที่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คือไม่มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่บัญญัติถึงระบบการเมืองการปกครองแต่จะมีกฎหมายอื่น ๆ หลายฉบับมาประกอบกันเช่น Constitution ACT 1986 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ได้รวบรวมเอาหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่มาบัญญัติไว้ด้วยพระราชบัญญัติเลือกตั้ง เป็นต้น แต่พระราชบัญญัติเหล่านี้ไม่มีบทบัญญัติ === บริหาร === === นิติบัญญัติ === ปัจจุบันการปกครองของรัฐบาลนิวซีแลนด์ปกครองภายใต้ระบบรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ระบบเวสต์มินสเตอร์) ซึ่งเป็นระบบที่ให้อำนาจตุลาการส่วนหนึ่งของฝ่ายตุลาการแก่ฝ่ายปกครอง และใช้ระบบ MMP (Mixed Member Proportion) ซึ่งเป็นระบบที่ให้สิทธิผู้เข้าเลือกตั้งเลือกพรรคและผู้นำของแต่ละพรรคในการเลือกตั้งรัฐบาล ซึ่งในอดีตเคยมีการใช้ระบบที่เรียกว่า FPP (First Past-the-Post) หรือระบบที่ผู้มาใช้สิทธิมีเพียง 1 เสียงในการเลือกตั้งรัฐบาลแต่ละครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับระบบปัจจุบันในประเทศไทย ระบบนี้ใช้จนถึงปี พ.ศ. 2537 และมีที่นั่งในรัฐสภาจำนวน 120 ที่นั่ง (+1 ประธานสภา) ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศนิวซีแลนด์คือ เจซินดา อาร์เดิร์น หัวหน้าพรรคเลเบอร์ === พรรคการเมืองปัจจุบัน === Green Party, Labour Party - พรรคฝ่ายค้าน, Mana Party, Māori Party - พรรคเมารีที่สมาชิกจะต้องเป็นลูกหลานของชนเผ่าเมารีเท่านั้น, National Party - พรรครัฐบาล, New Zealand First และ United Future === ตุลาการ === == การแบ่งเขตการปกครอง == เมื่อเริ่มตั้งถิ่นฐานนิวซีแลนด์ได้แบ่งเป็นจังหวัดต่าง ๆ (provinces) ซึ่งได้ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2419 เพื่อให้จัดการปกครองแบบศูนย์กลางเนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ทำให้นิวซีแลนด์ไม่มีการแบ่งการปกครองเป็นระดับรัฐ จังหวัด หรือเขต นอกจากรัฐบาลท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ความภูมิใจในระดับจังหวัดยังคงมีอยู่และมีการแข่งขันกันพัฒนาทั้งในทั้งด้านกีฬาและวัฒราตกแต่เดิมเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลท้องถิ่นของนิวซีแลนด์จึงได้ออกแบบตามโครงสร้างรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ โดยมีสภาท้องถิ่นระดับเมือง โบโร (borough) และเคาน์ตี (county) ตามเวลาที่เปลี่ยนไป บางสภาได้รวมกัน หรือเปลี่ยนอาณาเขตตามข้อตกลงร่วมกัน และมีการสร้างสภาแห่งใหม่บางแห่ง ใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลได้จัดรัฐบาลท้องถิ่นใหม่ทั้งหมด เป็นแบบ 2 ระดับ ในปัจจุบัน คือ สภาภูมิภาค (regional councils) และ สภาดินแดน (territorial authorities) ปัจจุบัน นิวซีแลนด์มีสภาภูมิภาค 12 แห่ง สำหรับการปกครองเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการขนส่ง และสภาดินแดน 74 แห่ง ที่ดูแลด้านสาธารณูปโภค การสร้างถนน การระบายน้ำเสีย การอนุญาตการก่อสร้าง และเรื่องอื่น ๆ ภายในท้องถิ่น สภาดินแดนมี 74 แห่ง แบ่งออกเป็นสภานคร (city council) 16 แห่ง สภาเขต (district council) 57 แห่ง และสภาหมู่เกาะแชทัม (Chatham Islands Council) สภาดินแดน 4 แห่ง (1 นครและ 3 เขต) และสภาหมู่เกาะแชทัมทำหน้าที่เช่นเดียวกับสภาภูมิภาค จึงเรียกว่า unitary authorities เขตของดินแดนไม่จัดเป็นเขตย่อยของเขตของสภาภูมิภาค และบางดินแดนมีการคร่อมเขตของสภาภูมิภาค thumb == กองทัพ == == เศรษฐกิจ == นิวซีแลนด์เป็นประเทศหนึ่งในเขตแปซิฟิกที่มีการทำอุตสาหกรรม เช่น การต่อเรือ โรงงานเบียร์ไวท์ โรงงานปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่การอุตสาหกรรมในนิวซีแลนด์มีน้อยมาก และ มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการทำผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมการขุดแร่ เช่น ถ่านหิน เหล็ก อุตสาหกรรมป่าไม้ และ ยังมีการเพาะปลูกที่ทำให้นิวซีแลนด์มีรายได้มากส่วนหนึ่ง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และ ผลไม้เช่น สตรอเบอรี่ และแอปเปิล เป็นต้น === การท่องเที่ยว === ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่มีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวมักเป็นการเที่ยวชมธรรมชาติที่หลากหลาย แบ่งเป็นเกาะใหญ่ 2 เกาะ == ประชากร == === เมืองใหญ่ === ===เชื้อชาติ=== มีประชากรอยู่จำนวน 4.693 ล้าน (2559) มีเชื้อชาติยุโรป 71.2%,เอเชีย 11.3%, เมารี 14.1%, ชนพื้นเมืองหมู่เกาะแปซิฟิก 7.6%, ตะวันออกกลางลาตินอเมริกา แอฟริกัน 1.1% อื่น ๆ 1.6% และที่ระบุไม่ได้ 5.4% == กีฬา == === ฟุตบอล === === รักบี้ === เป็นหนึ่งในกีฬาที่ชาวนิวซีแลนด์คลั่งไคล้มากที่สุด ออลแบล็ก (all black) เป็นทีมชาติรักบี้ของนิวซีแลนด์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก มีชื่อเสียงมากว่า 100 ปี หากวันไหนทีมออลแบล็กลงสนามแข่งขัน ชาวนิวซีแลนด์ไม่ว่าจะเชื้อชาติใดต่างก็จะหยุดงานเพื่อรอชม นอกจากนี้ก่อนจะเริ่มการแข่งขันทุกครั้ง นักกีฬาในทีมจะเต้นแบบนักรบเมารีที่เรียกว่า ฮากา เพื่อข่มขวัญคู่แข่ง == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == รัฐบาล New Zealand Government portal Ministry for Culture and Heritage – includes information on flag, anthems and coat of arms Statistics New Zealand การค้าระหว่างประเทศ World Bank Summary Trade Statistics New Zealand ด้านการท่องเที่ยว Official site of New Zealand Tourism อื่นๆ New Zealand from the BBC News Te Ara, The Encyclopedia of New Zealand NZHistory.net.nz New Zealand history website New Zealand OECD New Zealand, directory from UCB Libraries GovPubs New Zealand at Encyclopædia Britannica New Zealand weather Key Development Forecasts for New Zealand from International Futures นิวซีแลนด์ น นิวซีแลนด์ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2383 อดีตอาณานิคมของอังกฤษ กลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พอลินีเชีย
thaiwikipedia
423
การทำเหมืองข้อมูล
การทำเหมืองข้อมูล (data mining) เป็นกระบวนการในการค้นหารูปแบบในชุดข้อมูลขนาดใหญ่ โดยใช้วิธีการของการเรียนรู้ของเครื่อง สถิติ และระบบฐานข้อมูล การทำเหมืองข้อมูลเป็นขั้นตอนวิธีการในการ"การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล" (knowledge discovery in databases - KDD) การทำเหมืองข้อมูลเป็นเทคนิคเพื่อค้นหารูปแบบ (pattern) ของจากข้อมูลจำนวนมหาศาลโดยอัตโนมัติ โดยใช้ขั้นตอนวิธีจากวิชาสถิติ การเรียนรู้ของเครื่อง และ การรู้จำแบบ หรือในอีกนิยามหนึ่งการทำเหมืองข้อมูล คือ กระบวนการที่กระทำกับข้อมูล(โดยส่วนใหญ่จะมีจำนวนมาก) เพื่อค้นหารูปแบบ แนวทาง และความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น โดยอาศัยหลักสถิติ การรู้จำ การเรียนรู้ของเครื่อง และหลักคณิตศาสตร์ การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อมูลได้แก่ การขายปลีกและขายส่ง การธนาคาร การประดิษฐ์และการผลิต การประกันภัย การทำงานของตำรวจ การดูแลสุขภาพ การตลาด การใช้งานอินเทอร์เน็ต การศึกษา เป็นต้น == ความรู้ที่ได้ == ความรู้ที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูลมีหลายรูปแบบ ได้แก่ กฎความสัมพันธ์ (Association rule) : แสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์หรือวัตถุ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้กฎเชื่อมโยง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการขายสินค้า โดยเก็บข้อมูลจากระบบ ณ จุดขาย (POS) หรือร้านค้าออนไลน์ แล้วพิจารณาสินค้าที่ผู้ซื้อมักจะซื้อพร้อมกัน เช่น ถ้าพบว่าคนที่ซื้อเทปวิดีโอมักจะซื้อเทปกาวด้วย ร้านค้าก็อาจจะจัดร้านให้สินค้าสองอย่างอยู่ใกล้กัน เพื่อเพิ่มยอดขาย หรืออาจจะพบว่าหลังจากคนซื้อหนังสือ ก แล้ว มักจะซื้อหนังสือ ข ด้วย ก็สามารถนำความรู้นี้ไปแนะนำผู้ที่กำลังจะซื้อหนังสือ ก ได้ การจำแนกประเภทข้อมูล (Data classification) : หากฎเพื่อระบุประเภทของวัตถุจากคุณสมบัติของวัตถุ เช่น หาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจร่างกายต่าง ๆ กับการเกิดโรค โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยและการวินิจฉัยของแพทย์ที่เก็บไว้ เพื่อนำมาช่วยวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย หรือการวิจัยทางการแพทย์ ในทางธุรกิจจะใช้เพื่อดูคุณสมบัติของผู้ที่จะก่อหนี้ดีหรือหนี้เสีย เพื่อประกอบการพิจารณาการอนุมัติเงินกู้ การแบ่งกลุ่มข้อมูล (Data clustering) : แบ่งข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกันออกเป็นกลุ่ม แบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเดียวกันตามลักษณะอาการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของโรค โดยพิจารณาจากผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายคลึงกัน การสร้างมโนภาพ (Visualization): สร้างภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกที่สามารถนำเสนอข้อมูลมากมายอย่างครบถ้วนแทนการใช้ขัอความนำเสนอข้อมูลที่มากมาย เราอาจพบข้อมูลที่ซ้อนเร้นเมื่อดูข้อมูลชุดนั้นด้วยจินตทัศน์ == ขั้นตอนการทำเหมืองข้อมูล == ทำความเข้าใจปัญหา ทำความเข้าใจข้อมูล เตรียมข้อมูล สร้างแบบจำลอง ประเมิน นำไปใช้งาน == ประโยชน์จากการทำเหมืองข้อมูล == การทำเหมืองข้อมูล จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหลายฝ่าย และต้องอาศัยความรู้จำนวนมาก ถึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะสิ่งที่ได้จากขั้นตอนวิธีเป็นเพียงตัวเลข และข้อมูล ที่อาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลยก็เป็นได้ ผู้ที่ศึกษาการทำเหมืองข้อมูลจึงควรมีความรู้รอบด้านและต้องติดต่อกับทุก ๆ ฝ่าย เพื่อให้เข้าใจถึงขอบเขตของปัญหาโดยแท้จริงก่อน เพื่อให้การทำเหมืองข้อมูลเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง == ดูเพิ่ม == คลังข้อมูล (Data warehouse) การทำเหมืองข้อความ (Text mining) การทำเหมืองเว็บ (Web mining) ฐานข้อมูล (Database) == อ้างอิง == ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์
thaiwikipedia
424
แอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์
แอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์ (Advance Australia Fair) เป็นชื่อของเพลงชาติอย่างเป็นทางการของเครือรัฐออสเตรเลีย ประพันธ์ขึ้นราวปี พ.ศ. 2421 โดยปีเตอร์ ดอดส์ แมคคอร์มิค นักประพันธ์ชาวสกอตแลนด์ ผู้ใช้นามปากกาว่า อะมีคัส (แปลว่าเพื่อนในภาษาละติน) เพลงนี้ถูกขับร้องอยู่ในฐานะเพลงปลุกใจมาตลอดจนถึง พ.ศ. 2527 จึงได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการของเครือรัฐออสเตรเลีย โดยเพลงอื่นที่มีการลงคะแนนเสียงให้ใช้เป็นเพลงชาติด้วยแต่ไม่ได้รับเลือก ได้แก่ เพลงก็อดเซฟเดอะควีน ซึ่งใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของบรรดาประเทศในเครือจักรภพ และเพลงวอลต์ซิงมาทิลดาอันถือกันว่าเป็นเพลงชาติออสเตรเลียอย่างไม่เป็นทางการ เพลงปลุกใจและเพลงมาร์ชอื่นๆ ในออสเตรเลียนั้น มีหลายเพลงที่ได้รับอิทธิพลจาก "แอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์" เช่น เพลงคำนับสำหรับผู้สำเร็จราชการแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย เป็นต้น == เนื้อร้อง == === ต้นฉบับ === เนื้อร้องของเพลงนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย บางครั้งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญยิ่ง === ฉบับสหพันธรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2444 === ในปี พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นสมัยของสหพันธรัฐออสเตรเลีย (Federation of Australia) ได้มีการแก้ไขเนื้อร้องเพลงนี้ในส่วนของบทที่ 3 === ฉบับ พ.ศ. 2527=== เนื้อร้องเพลงแอดวานซ์ ออสเตรเลีย แฟร์ ฉบับนี้เป็นเพลงชาติฉบับราชการ มีการแก้ไขเนื้อร้องเดิมโดยแทนที่เนื้อร้องในบทที่ 2 บทที่ 3 และบทที่ 4 ทั้งหมดด้วยเนื้อร้องบทที่ 3 ของแอดวานซ์ ออสเตรเลีย แฟร์ ฉบับ พ.ศ. 2444 (มีการแก้ไขเพิ่มเติม) และวรรคแรกของเพลงในบทที่ 1 เปลี่ยนจาก "Australia's sons let us rejoice" เป็น "Australians all let us rejoice". เพลงชาติฉบับปัจจุบันเป็นฉบับราชการที่เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยแก้ไขเนื้อเพลงของเพลงแอดวานซ์ ออสเตรเลีย แฟร์ ฉบับปี 2527 ในวรรคแรกของเพลงในบทที่ 1 เปลี่ยนจาก "young and free" เป็น "one and free" === ฉบับสำนวนอะบอริจิน === == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == แหล่งรวบรวมข้อมูลและไฟล์เสียง เพลงชาติออสเตรเลีย "แอดวานซ์ ออสเตรเลีย แฟร์" (ขับร้อง-บรรเลง) เพลงชาติออสเตรเลีย (ขับร้อง) - Himnuszok เพลงชาติออสเตรเลีย "แอดวานซ์ ออสเตรเลีย แฟร์" ต้นฉบับเดิม พ.ศ. 2473 ขับร้องโดย ปีเตอร์ ดอว์สัน วีดิทัศน์ เพลงชาติออสเตรเลีย "แอดวานซ์ ออสเตรเลีย แฟร์" ฉบับขับร้องประสานเสียง จากสัญญาณเปิดสถานีโทรทัศน์แห่งชาติออสเตรเลีย (ABC) เพลงชาติออสเตรเลีย "แอดวานซ์ ออสเตรเลีย แฟร์" ฉบับบรรเลง จากสัญญาณเปิดสถานีโทรทัศน์แห่งชาติออสเตรเลีย (ABC) ออสเตรเลีย สัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลีย เพลงภาษาอังกฤษ
thaiwikipedia
425
ภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดในประเทศเกาหลีใต้และประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป (ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐ แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ในตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม == เกี่ยวกับชื่อ == คำว่า เกาหลี มาจากภาษาจีน โดยอักษรจีนคือ 高麗 (พินอิน: Gāo lí) ซึ่งหมายถึงประเทศโครยอ ซึ่งเป็นชื่อเก่าและปัจจุบันชาวเกาหลีมิได้ใช้ชื่อนี้แล้ว ในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้มีความแตกต่างกัน ในเกาหลีเหนือ ชาวเกาหลีเหนือส่วนใหญ่มักเรียกว่า โชซ็อนมัล (조선말) หรือหากเป็นทางการขึ้นจะเรียกว่า โชซอนอ (조선어) ในเกาหลีใต้ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกภาษาของตนว่า ฮันกุงมัล (한국말) หรือ ฮันกูกอ (한국어) หรือ กูกอ (국어; "ภาษาประจำชาติ") บางครั้งอาจเรียกในแบบภาษาพื้นเมืองหรือภาษาถิ่นว่า อูรีมัล (แปลว่า "ภาษาของเรา"; มาจากคำว่า 우리말 (เขียนติดกันในเกาหลีใต้) หรือ 우리 말 (เขียนแยกกันในเกาหลีเหนือ)) == สำเนียงท้องถิ่น == ภาษาเกาหลีมีสำเนียงท้องถิ่นมากมาย ภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีใต้คือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้ในพื้นที่บริเวณโซล และภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีเหนือคือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้บริเวณกรุงเปียงยาง สำเนียงท้องถิ่นโดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นสำเนียงท้องถิ่นบนเกาะเชจูที่มีความแตกต่างค่อนข้างมาก ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างสำเนียงท้องถิ่นแต่ละแห่งคือ การเน้นเสียง สำเนียงท้องถิ่นของโซลจะเน้นเสียงน้อยมาก และไม่ค่อยมีความสูงต่ำในการเปล่งเสียง ในทางกลับกัน สำเนียงท้องถิ่นของ คย็องซัง มีความสูงต่ำของการออกเสียงอย่างมากจนคล้ายกับภาษาทางยุโรป อย่างไรก็ตามเราสามารถจำแนกสำเนียงท้องถิ่นของภาษาเกาหลีออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ ได้ดังตาราง โดยพิจารณาจากขอบเขตของภูเขาและทะเล == อักษรเกาหลี == ดูบทความหลักที่ อักษรฮันกึล อักษรเกาหลี หรือ ฮันกึล โดยผิวเผินแล้ว อักษรฮันกึลคล้ายกับอักษรรูปภาพเหมือนอักษรจีน แต่จริง ๆ แล้ว อักษรฮันกึลอยู่ในระบบอักษรแทนเสียง (ตัวพยัญชนะเป็นอักษรรูปภาพเลียนแบบอวัยวะการออกเสียงในขณะที่ออกเสียงนั้นๆ สระเป็นอักษรรูปภาพใช้แนวคิดเชิงปรัชญา เกี่ยวกับ ท้องฟ้า พื้นดิน และมนุษย์) คือประกอบด้วยพยัญชนะและสระ ซึ่งมีทั้งหมด 24 ตัว ประกอบด้วย พยัญชนะ 14 ตัว คือ ㄱ (คีย็อก), ㄴ (นีอึน), ㄷ (ทีกึด), ㄹ (รีอึล), ㅁ (มีอึม), ㅂ (พีอึบ), ㅅ (ชีอด), ㅇ (อีอึง), ㅈ (ชีอึด), ㅊ (ชีอึด), ㅋ (คีอึก), ㅌ (ทีอึด), ㅍ (พีอึบ) และ ㅎ (ฮีอึด) สระ 10 ตัว คือ ㅏ (อา), ㅑ (ยา), ㅓ (ออ), ㅕ (ยอ), ㅗ (โอ), ㅛ (โย), ㅜ (อู), ㅠ (ยู), ㅡ (อือ) และ ㅣ (อี) พยัญชนะและสระดังกล่าวเรียกว่า พยัญชนะเดี่ยว และสระเดี่ยว ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เรียกว่าพยัญชนะซ้ำ และสระประสมด้วย คือ พยัญชนะซ้ำ 5 ตัว ได้แก่ ㄲ (ซังกีย็อก), ㄸ (ซังดีกึด), ㅃ (ซังบีอึบ), ㅆ (ซังชีอด) และ ㅉ (ซังจีอึด) สระประสม 11 ตัว ได้แก่ ㅐ (แอ), ㅒ (แย), ㅔ (เอ), ㅖ (เย), ㅚ (เว), ㅟ (วี), ㅘ (วา), ㅙ (แว), ㅝ (วอ), ㅞ (เว) และ ㅢ (อึย) อักษรเกาหลีมีลำดับการเขียนคล้ายอักษรจีน คือ ลากจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา นอกจากนี้การเขียนพยางค์หนึ่ง ๆ จะเริ่มเขียนจากพยัญชนะต้น ไปสระ และตัวสะกดตามลำดับ == เลขเกาหลี == ==สัทศาสตร์== ข้อมูลการเทียบเสียงต่อไปนี้เป็นเพียงการเทียบเสียงเบื้องต้น ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องมากนัก พยัญชนะทุกตัวในภาษาเกาหลีมีเสียงแตกต่างกัน แต่พบว่าบางครั้งการได้ยินของคนไทยไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้เหมือนคนเกาหลี เช่น คำว่า 자 (ja; ชา) กับ 차 (cha; ชา) เป็นต้น === พยัญชนะ === * หมายถึง พยัญชนะเสียงหนัก ** หมายถึง เสียงพยัญชนะที่มากับรูปสระ สำหรับ ㅇ เมื่อเป็นพยัญชนะต้นแต่มีคำอื่นมาก่อน จะนำพยัญชนะสะกดของคำก่อนหน้ามาเป็นเสียงพยัญชนะต้น ดูที่ การอ่านโยงเสียง ====ตัวอย่างคำศัพท์==== === สระ === (eo) ออกเสียง "ออ" ปากเหยียด บางตำราก็ใช้ "เออ" (oe) ออกเสียง "เอ" ปากห่อ สระเกาหลีไม่เหมือนภาษาไทยซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาวแยกกัน เช่น อิ กับ อี จะรวมเป็นสระเดียว คือ ㅣ แต่จะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวนั้นขึ้นอยู่กับการเน้นเสียง แม้คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านด้วยเสียงที่ต่างกัน ความหมายก็อาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ชาวเกาหลีส่วนใหญ่ออกเสียง "ออ" (เสียงยาว) เป็น "เออ" === ตัวสะกด === แม้พยัญชนะเกาหลีจะมีหลายตัว และแต่ละตัวเสียงแตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาใช้เป็นตัวสะกดแล้ว จะมีทั้งหมด 7 มาตราเท่านั้น ดังตาราง จะเห็นว่าคล้ายคลึงกับภาษาไทย โดยที่ต่างออกไปคือ เสียง [ㄹ] (ล) เมื่อนำไปเป็นตัวสะกดแล้วจะไม่ใช่เสียง [น] เช่นในภาษาไทย นอกจากนี้อาจพบตัวสะกดแบบที่มีพยัญชนะสะกดสองตัว เช่น 여덟, 앉다 ฯลฯ ตัวสะกดลักษณะนี้จะเลือกออกเสียงเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น และอีกตัวจะไม่ออกเสียง เช่น 여덟 อ่านว่า /ยอ-ด็อล/ ไม่ใช่ /ยอ-ด็อบ/ การที่จะทราบว่าตัวสะกดคู่จะออกเสียงพยัญชนะตัวใด แสดงดังตาราง อย่างไรก็ตามมีตัวสะกดคู่บางส่วนที่ออกเสียงไม่แน่นอนขึ้นกับคำ คือ ㄺ และ ㄼ {|class="wikitable" |- ! ตัวสะกด || พยัญชนะ || ตัวอย่างคำ || เสียงอ่านโดยประมาณ |- | กง ||ㅇ|| 성 || ซ็อง |- | กน ||ㄴ, ㄵ, ㄶ|| 원 || ว็อน |- | กม ||ㅁ, ㄻ|| 남 || นัม |- | กก ||ㄱ, ㄲ, ㅋ, ㄳ|| 밖 || พัก |- | กด ||ㄷ, ㅅ, ㅆ, ㅈ, ㅊ, ㅌ, ㅎ|| 이것 || อีก็อด |- | กบ ||ㅂ, ㅍ, ㅄ, ㄿ|| 십없다 || ชิบอ็อบตา |- | กล ||ㄹ, ㄽ, ㄾ, ㅀ || 팔 || พัล |- | ไม่แน่นอน || ㄺ, ㄼ || 여덟 || ยอด็อล |} === การอ่านโยงเสียง === ในพยางค์หนึ่งๆ กรณีที่พยัญชนะต้นเป็นตัวอีอึง (ㅇ) เสียงของมันอาจไม่ใช่เสียง "อ" แต่จะเป็นเสียงของตัวสะกดในพยางค์ก่อนหน้าแทน เช่น 직업 อ่านว่า /지겁/ (ชี-กอบ) ไม่ใช่ /직-업/ (ชิก-ออบ) 당신은 อ่านว่า /당시는/ (ทัง-ชี-นึน) ไม่ใช่ /당-신-은/ (ทัง-ชิน-อึน) ถ้าไม่มีคำใดมาก่อนจะออกเสียงคล้าย อ หรือถ้าคำก่อนหน้าไม่มีพยัญชนะสะกด จะออกเสียงเชื่อมสระเข้าด้วยกัน === กฎการอ่านแบบกลมกลืนเสียง* === ในพยางค์ใดที่ลงท้ายด้วยตัวสะกดและพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไปที่ติดกัน เสียงของตัวสะกดจะเปลี่ยนเพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน โดยจำแนกไว้เป็นกฎต่างๆดังต่อไปนี้ 1. พยางค์ใดลงท้ายด้วยตัวสะกดในแม่ /ㄱ/, /ㄷ/, /ㅂ/ และพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไปเป็นเสียงนาสิก เสียงตัวสะกดจะเปลี่ยนเป็น /ㅇ/, /ㄴ/, /ㅁ/ ตามลำดับ เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน ตัวอย่างเช่น 집는다 -> /짐는다/ เขียนว่า "ชิบนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "ชิมนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน 받는다 -> /반는다/ เขียนว่า "พัดนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "พันนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน 속는다 -> /송는다/ เขียนว่า "ซกนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "ซงนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน ที่คุ้นเคยกันดีได้แก่ ไวยากรณ์ลงท้ายประโยคอย่างสุภาพ "-습니다" ถึงแม้ว่าจะเขียนเป็น -ซึบนีดา แต่เพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เราก็จะอ่านว่า -ซึมนีดา == ตัวอย่างประโยคหรือวลีที่มักพบ == {|class="wikitable" !ประโยคภาษาเกาหลี !คำอ่านไทย !คำแปล |- |안녕하세요. |อัน-นยอง-ฮา-เซ-โย |สวัสดี |- |감사합니다./고맙습니다. |คัม-ซา-ฮัม-นิ-ดะ / โค-มับ-ซึม-นิ-ดะ |ขอบคุณ |- |사랑해. |ซา-รัง-แฮ |รัก |- |실례지만. |ชิล-รเย-จี-มัน |ขอโทษครับ |- |안녕히 주무세요. |อัน-นยอง-ฮี๊ จู-มู-เซ-โย |ราตรีสวัสดิ์ |- |만나서 반가워요. |มัน-นา-ซอ-พัน-กา-วอ-โย |ยินดีที่ได้รู้จัก |- |죄송합니다. 저 먼저 갑니다 |ชเว-ซง-ฮัม-นี-ดา. ชอ-มอน-จอ-กัม-นี-ดา. |ขอโทษครับ ผมไปก่อนนะครับ |- |} == ไวยากรณ์ == การวางคำในประโยคภาษาเกาหลีมีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียงในภาษาญี่ปุ่นและภาษาตุรกีรวมไปถึงภาษาในประเทศอินเดีย โดยเรียงลำดับคำในประโยคเป็น "ประธาน-กรรม-กริยา" ซึ่งแตกต่างกับประโยคในภาษาไทยที่เป็น "ประธาน-กริยา-กรรม" เช่นประโยค "ฉันกินข้าว" ในภาษาไทย จะเขียนลำดับเป็น "ฉันข้าวกิน" [나는 밥을 먹는다.] ในภาษาเกาหลี ภาษาเกาหลีมีคำช่วยเพื่อบอกหน้าที่ของคำต่างๆ ในประโยค เช่น เป็นคำช่วยที่ใช้วางหลังสถานที่เพื่อระบุตำแหน่ง และ 가 หรือ 를 เป็นคำช่วยที่วางหลังคำเพื่อระบุว่าคำนั้นเป็นประธานของประโยค เป็นต้น นอกจากนี้ภาษาเกาหลียังมีการผันรูปกริยาหลายรูปแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงกาลเทศะ เช่น ระดับความสุภาพและความเป็นทางการของประโยค สภาพกาลของประโยคว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน == การเทียบเสียง == ในภาษาเกาหลี ได้มีการกำหนดระบบในการถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมันไว้ โดยเป็นที่นิยมมาก 2 ระบบ คือ ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 ระบบที่ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศเกาหลีใต้ปัจจุบัน และ ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ ใช้ในประเทศเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการในปัจจุบัน และเคยใช้ในเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการในช่วง พ.ศ. 2527-2543 == อ้างอิง == Sohn, H.-M. (1999). The Korean Language. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-36943-5. Song, J.J. (2005). The Korean Language: Structure, Use and Context. London: Routledge. ISBN 0-415-32802-0. == หนังสืออ่านเพิ่ม == (Volume 4 of the London Oriental and African Language Library). Hulbert, Homer B. (1905): A Comparative Grammar of the Korean Language and the Dravidian Dialects in India. Seoul. Lee, Ki-Moon Lee and S. Robert Ramsey. A History of the Korean Language (Cambridge University Press; 2011) 352 pages. Martin, Samuel E. (1966): Lexical Evidence Relating Japanese to Korean. Language 42/2: 185–251. Martin, Samuel E. (1990): Morphological clues to the relationship of Japanese and Korean. In: Philip Baldi (ed.): Linguistic Change and Reconstruction Methodology. Trends in Linguistics: Studies and Monographs 45: 483-509. Miller, Roy Andrew (1971): Japanese and the Other Altaic Languages. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0-226-52719-0. Miller, Roy Andrew (1996): Languages and History: Japanese, Korean and Altaic. Oslo: Institute for Comparative Research in Human Culture. ISBN 974-8299-69-4. Ramstedt, G. J. (1928): Remarks on the Korean language. Mémoires de la Société Finno-Oigrienne 58. Rybatzki, Volker (2003): Middle Mongol. In: Juha Janhunen (ed.) (2003): The Mongolic languages. London: Routledge. ISBN 0-7007-1133-3: 47–82. Starostin, Sergei A.; Anna V. Dybo; Oleg A. Mudrak (2003): Etymological Dictionary of the Altaic Languages, 3 volumes. Leiden: Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-13153-1. Sohn, H.-M. (1999): The Korean Language. Cambridge: Cambridge University Press. Song, J.-J. (2005): The Korean Language: Structure, Use and Context. London: Routledge. Trask, R. L. (1996): Historical linguistics. Hodder Arnold. Vovin, Alexander: Koreo-Japonica. University of Hawai'i Press. Whitman, John B. (1985): The Phonological Basis for the Comparison of Japanese and Korean. Unpublished Harvard University Ph.D. dissertation. == ดูเพิ่ม == คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาเกาหลี การถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน ภาษาเกาหลีไซนิจิ ภาษาเกาหลีที่ใช้พูดในกลุ่มชาวเกาหลีที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น ซึ่งมีความใกล้เคียงกับภาษาเกาหลีทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี แต่ก็ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาญี่ปุ่น ภาษาโกรยอ-มาร์ (ซีริลลิก:Корё маль โกรยอมัล'') ภาษาเกาหลีที่ใช้พูดโดยชาวโกรยอ-ซารัม (ซีริลลิก: Корё сарам, ฮันกึล: 고려사람) ผู้สืบเชื้อสายเกาหลีในเอเชียกลาง ซึ่งส่วนใหญ่ถูกนำมาจากเกาหลีเหนือเพื่อนำมาใช้แรงงาน โดยภาษานี้ได้อักษรซีริลลิกในการเขียน ภาษาเกาหลีถิ่นจีน (จีน:中國朝鮮) เป็นกลุ่มชาวจีนเชื้อสายเกาหลีที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลีที่มีเขตแดนต่อกับเกาหลีเหนือ ใช้สำเนียงใกล้เคียงกับเกาหลีเหนือ == แหล่งข้อมูลอื่น == Linguistic and Philosophical Origins of the Korean Alphabet (Hangul) Sogang University free online Korean language and culture course Beginner's guide to Korean for English speakers U.S. Foreign Service Institute Korean basic course asianreadings.com, Korean readings with hover prompts Linguistic map of Korea dongsa.net, Korean verb conjugation tool Hanja Explorer, a tool to visualize and study Korean vocabulary เกาหลี
thaiwikipedia
426
ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม
ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (genetic algorithm) เป็นเทคนิคสำหรับค้นหาผลเฉลย (solutions) หรือคำตอบโดยประมาณของปัญหา โดยอาศัยหลักการจากทฤษฎีวิวัฒนาการจากชีววิทยา และ การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) นั่นคือ สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดจึงจะอยู่รอด กระบวนการคัดเลือกได้เปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ด้วยตัวปฏิบัติการทางพันธุกรรม (genetic operator) เช่น การสืบพันธุ์ (inheritance หรือ reproduction) , การกลายพันธุ์ (mutation) , การแลกเปลี่ยนยีน (recombination) ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมเป็นการจำลองทางคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาหาค่าเหมาะที่สุด (optimal solution) โดยการแทนคำตอบที่มีอยู่ให้อยู่ในลักษณะ โครโมโซม (chromosomes) แล้วปรับปรุงคำตอบแต่ละชุด (เรียกว่า individual) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิวัฒนาการ (evolutionary operation) การเปลี่ยนแปลงยีนแบบสุ่ม ด้วยตัวปฏิบัติการทางพันธุกรรม (evolutionary operator) เพื่อให้ได้คำตอบที่ดีขึ้น โดยทั่วไปจะแทนคำตอบด้วยเลขฐานสอง (สายอักขระของเลข 0 และ 1) การวิวัฒน์ (evolution) เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด (the fitness solution) จะเริ่มจากประชากรที่ได้จากการสุ่มทั้งหมดและจะทำเป็นรุ่น ๆ ในแต่ละรุ่นคำตอบหลายชุดจะถูกสุ่มเลือกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ หรือสับเปลี่ยนยีนระหว่างกัน จนได้ประชากรรุ่นใหม่ ที่มีค่าความเหมาะสม (fitness) มากขึ้น การวิวัฒน์นี้จะทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งพบคำตอบที่มีค่าความเหมาะสมตามต้องการ == ที่มา == ส่วนที่ถูกค้นพบมาในช่วงแรกสุดของสื่งที่เราเรียกในทุกวันนี้ว่าขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม นั้นเกิดในช่วงปลายปี 1950 เขียนโดยนักชีววิทยาด้านการวิวัฒนาการโดยที่ต้องการหารูปแบบของการวิวัฒนาการตามธรรมชาติ แต่มันก็ไม่ได้ถูกมองว่าสามารถนำไปใช้สำหรับการแก้ปัญหาในด้านอื่นๆได้ แต่ก็ไม่นานนักในปี 1962 นักวิจัยเช่น G.E.P. Box, G.J. Friedman, W.W. Bledsoe และ H.J. Bremermann ทั้งหมดได้ทำการพัฒนาขั้นตอนวิธี ต่างๆ ในการการเพิ่มประสิทธิภาพของฟังชั่น และ ปัญหาการเรียนรู้ของเครื่องเช่นเดียวกัน แต่งานวิจัยของพวกเค้าก็ได้รับการติดตามที่น้อย งานวิจัยที่ประสบความสำเร็จกว่าคืองานวิจัยในปี 1965 เมื่อ Ingo Rechenberg นำเสนอเทคนิคที่เค้าเรียกว่ากลยุทธ์การวิวัฒนาการถึงแม้ว่ามันจะคล้ายกับขั้นตอนวิธีของนักปีนเขามากกว่าวิธีเชิงพันธุกรรมก็ตาม โดยจะคล้ายคลึงกันแต่จะไม่มีการพลิตจำนวนประชากรออกมามากๆและไม่มีการไขว้เปลี่ยน (cross over) โดยที่รุ่นบรรพบุรุษจะทำการกลายพันธ์ (mutation) ออกมาหนึ่งตัวแล้วจากนั้นจะเลือกตัวที่ดีกว่านำไปเป็นบรรพบุรุษของการการกลายพันธ์ (mutation) ครั่งต่อไป และมีการพัฒนาจนมีการนำวิธีคิดแบบจำนวนประชากรมากๆ นำมาใช้เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น == หลักการออกแบบขั้นตอนวิธี == ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมนั้นจะเป็นการปรับเปลี่ยนยีนของโครโมโซมนั้นไปสู่ยีนของโครโมโซมที่ดีกว่าเดิม โดยหลักการทำงานนั้นเริ่มต้นมักจะเป็นการสุ่มยีนแต่ละตัวออกมาเป็นโครโมโซมเริ่มต้นในแต่ละรุ่นและจะทำการตรวจสอบค่าคุณภาพของโครโมโซมแต่ละตัวและทำการคัดเลือกตัวที่เหมาะสมออกมาโดยใช้ค่าความเหมาะสม (fitness) และทำให้เกิดการกลายพันธ์ (mutation) และการไขว้เปลี่ยน (cross over) ของโครโมโซมในโครโมโซมที่ได้เลือกออกมาโดยจะเป็นการสุ่มหลังจากที่เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำพันธุกรรมที่ได้ไปวนเข้ากระบวนการเดิมต่อไปเพื่อให้ได้โครโมโซมที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดออกมา โดยขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมนั้นจำเป็นต้องมี วิธีการแทนค่ายีนของผลลัพธ์ (genetic representation) วิธีการหาความเหมาะสม (fitness function) โดยทั่วไปแล้วการแทนค่ายีนนั้นจะใช้เป็นอาเรย์ของบิท (array of bits) แต่ก็สามารถใช้แบบอื่นๆตามรูปแบบของปัญหาที่ต้องการแก้ไขก็ได้เช่นกัน วิธีการหาความเหมาะสมนั้นจะใช้การแทนค่ายีนมาในการคำนวณเพื่อหาคุณภาพของยีนนั้นๆ และนำคุณภาพของยีนไปหาความเหมาะสมในรุ่นนั้นๆต่อไป === การกำหนดค่าเริ่มต้น === โดยส่วนใหญ่จะทำการสุ่มค่าผลลัพธ์ของคำตอบ (ยีน) โดยจำนวนของยีนเริ่มต้นนั้นจะขึ้นกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขว่าควรจะใช้จำนวนมากขนาดไหนแต่ตามปกติจำนวนจะประมาณหนึ่งร้อยไปจนถึงหนึ่งพันยีน และอาจจะทำการสุ่มโดยมีนัยสำคัญในการสุ่มเพื่อให้ค่าเข้าใกล้กับคำตอบได้แต่จะขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหานั้นๆ === การคัดเลือก === ระหว่างรุ่นของยีนแต่ละรุ่นนั้นจะมีการคัดเลือดยีนที่มีความเหมาะสมมากกว่าไปยังยีนรุ่นต่อไปโดยทำอย่างนี้เพื่อให้สามารถเข้าใกล้คำตอบของปัญหาได้มากยิ่งขึ้นโดยการคัดเลือกนั้นจะใช้การคัดเลือกโดยการใช้[ความเหมาะสม] (fitness-base) โดยการใช้ค่าของคุณภาพของยีนแต่ละตัวนำไปหาค่าความเหมาะสมได้จากกระบวนหาความเหมาะสม (fitness-function) ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละปัญหา หรืออาจจะใช้การสุ่มเพื่อให้เข้าถึงคำตอบได้แต่อาจจะใช้เวลาที่นานมากเกินไป === การผลิตรุ่นถัดไป === หลังจากการตัดเลือกยีนที่มีความเหมาะสมแล้วเราจะใช้ยีนเหล่านั้นในการสร้างยีนรุ่นถัดไป โดยจะใช้วิธีการทำให้เกิดการกลายพันธ์ (mutation) หรือการไขว้เปลี่ยน (cross over) โดยจะทำการคัดเลือกยีนออกมาเป็นคู่ๆแล้วทำวิธีดังที่ได้กล่าวมา ซึ่งตามทฤษฎีแล้วจะต้องได้ค่าเฉลี่ยของคุณภาพของยีนที่ดีขึ้นเนื่องจากได้ทำการคัดเลือกยีนที่มีคุณภาพดีจากรุ่นที่แล้วมาใช้นั้นเองจากการผลิตรุ่นถัดไปด้วยวิธีนี้จะทำให้ได้ยีนที่แตกต่างจากยีนเดิมและยังมีคุณภาพเฉลี่ยที่ดีขึ้นอีกด้วย วิธีการนำยีนสองตัวนั้นมาผลิตรุ่นถัดไปนั้นเป็นวิธีการเลียนแบบทางชีววิทยาแต่จากการวิจัยพบว่าถ้าใช้หลายๆยีนมาผลิตรุ่นถัดไปพบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าแบบคู่อีกด้วย === การจบการทำงาน === กระบวนการข้างต้นนี้จะวนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงเงื่อนไขในการจบการทำงานโดยส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้ พบผลลัพธ์ที่อยู่ในเกณฑ์พอใจแล้ว ถึงรุ่นสุดท้ายที่ได้กำหนดไว้แล้ว ทรัพยากรที่ใช้ในการคำนวณหมดแล้ว พบคำตอบที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว ตรวจสอบด้วยผู้ควบคุมเอง การนำเงื่อนไขต่างๆด้านบนต่างๆมาประยุกต์รวมกัน == รหัสเทียม == เลือกค่าเริ่มต้นของประชากรแต่ละตัว คำนวณค่าความเหมาะสมของประชากรแต่ละตัว ทำการคำนวณซ้ำในรอบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเลิกการทำงาน (ทรัพยากรหมด,ถึงค่าที่พอใจ,อื่นๆ) # เลือกยีนที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับที่ต้องการจากรุ่นปัจจุบัน # ทำการผลิตรุ่นใหม่โดยใช้วิธีการกลายพันธ์หรือการไขว้เปลี่ยนกับยีนที่ได้เลือกมา # คำนวณค่าความเหมาะสมของยีนที่จะเป็นรุ่นถัดไป # แทนค่าของยีนรุ่นถัดไปกับรุ่นเดิม == ขั้นตอนวิธีที่เกี่ยวข้อง == === ขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการ === (Evolutionary algorithm) เป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณโดยการวิวัฒนาการ และมีขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมเป็นส่วนย่อย === ความฉลาดแบบกลุ่ม === (Swarm intelligent) เป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณโดยการวิวัฒนาการ จะเป็นการสังเกตจากสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตเป็นฝูงหรือกลุ่ม ตัวอย่างเช่น ระบบอาณาจักรมด (Ant colony system) ซึ่งได้รับการดลใจจากการหาอาหารของมด, หน้าที่ต่างๆ ของมัน โดยใช้สารเคมีในตัวมันที่ทิ้งไว้, การทำให้เหมาะสมแบบกลุ่มอนุภาค (Particle Swarm Optimization) ซึ่งได้รับการดลใจจาก การหาอาหารของฝูงนก หรือ ฝูงปลา == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == En.Wikipedia Obitko.com Imperial College ขั้นตอนวิธีการค้นหา ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม การหาค่าเหมาะสมที่สุดทางคณิตศาสตร์ วิธีการหาค่าเหมาะสมที่สุด ไซเบอร์เนติกส์ Genetisk programmering#Genetisk algoritm
thaiwikipedia
427
ฮิคารุเซียนโกะ
ฮิคารุเซียนโกะ หรือ ฮิคารุ : เซียนโกะ เกมอัจฉริยะ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงเรื่องหนึ่ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมหมากกระดานที่ในญี่ปุ่นเรียกว่า โกะ แต่งเรื่องโดยยูมิ ฮตตะ และวาดภาพโดยทาเกชิ โอบาตะ และการ์ตูนชุดดังกล่าวได้รับรางวัลโชกาคุคังมังงะอะวอร์ด (Shogakukan Manga Award) สาขา โชเน็ง (Shōnen) ใน พ.ศ. 2542 ในญี่ปุ่น ฮิคารุเซียนโกะ เคยตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ส่วนในประเทศไทย ผู้ได้รับสิทธิ์ในการตีพิมพ์ได้แก่ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ โดยลงตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ในนิตยสารบูม ตั้งแต่ตอนแรกจนกระทั่งจบชุด และตีพิมพ์ในรูปแบบฉบับรวมเล่ม รวม 23 เล่มจบ ส่วนฉบับอนิเมะ ออกจำหน่ายในรูปแบบ VCD ลิขสิทธิ์โดย ไทก้า และเคยออกอากาศทางช่อง 3 ช่วงบ่ายโมงทุกวันเสาร์ โดยบริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด) ของพานทองแท้ ชินวัตร หนังสือการ์ตูนชุดดังกล่าวสร้างยอดจำหน่ายกว่า 22,000,000 เล่มในญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 หนังสือการ์ตูนเล่มที่ 22 ได้วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา และเล่ม 23 ซึ่งเป็นเล่มสุดท้าย กำหนดวางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคมที่สหรัฐอเมริกา == เนื้อเรื่อง == ฮิคารุ ชินโด (進藤ヒカル, ชินโด ฮิคารุ) นักเรียนชั้น ป.6 ได้พบกระดานโกะเก่าแก่ที่ห้องเก็บของที่บ้านคุณตาโดยบังเอิญ วินาทีนั้นวิญญาณของ ฟุจิวาระ โนะ ซาอิ ครูสอนโกะของจักรพรรดิสมัยเฮอังที่สิงอยู่ในกระดานนั้นได้ปรากฏกายขึ้นและย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ยังซอกมุมหนึ่งในจิตใต้สำนึกของฮิคารุแทน ด้วยความฝังใจอันลึกซื้งของซาอิที่มุ่งมั่นเข้าสู่ความเป็น "หัตถ์เทวะ" ทำให้ซาอิต้องผลักดันให้ฮิคารุก้าวเข้าสู่เส้นทางแห่งโกะจนได้มาพบกับ โทยะ อากิระ นักเรียนชั้นป.6 ผู้มีความสามารถในเชิงโกะเทียบเท่ามืออาชีพและได้เล่นโกะด้วยกัน ซาอิในคราบของฮิคารุได้แสดงฝีมืออันน่าทึ่งจนทำให้ฮิคารุกลายเป็นเป้าหมายของอากิระ ส่วนความมุ่งมั่นของอากิระก็ได้จุดประกายและกลายเป็นเป้าหมายของฮิคารุ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะตามอากิระให้ทันฮิคารุจึงปฏิเสธที่จะเดินหมากกับอากิระต่อไป แต่ได้ฝึกฝนตัวเองด้วยการเข้ามาอยู่ในชมรมโกะ โรงเรียน "ฮาเซะ" ตอนม.ต้นในทีมมี ซึซึอิ มิทานิ คาเนโกะ และ อาคาริ และจะลงแข่งขันในการแข่งขันใหญ่ระหว่างโรงเรียน ฝ่ายอากิระเมื่อทราบว่าฮิคารุปฏิเสธที่จะเดินหมากกับตนแต่จะลงแข่งใหญ่ จึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมโกะโรงเรียนไคโอเพื่อต้องการเดินหมากกับฮิคารุ แต่เมื่อได้เดินหมากด้วยกัน อากิระผิดหวังจนถึงขนาดล้มเลิกความคิดว่าฮิคารุเป็นเป้าหมายในเส้นทางโกะเนื่องจากฮิคารุเองก็ต้องการทราบระยะห่างของฝีมือระหว่างตนกับอากิระ จากนั้นอากิระก็ได้สอบเป็นมืออาชีพและเลิกสนใจฮิคารุ วันหนึ่งฮิคารุได้มาพบกับประธานชมรมโกะโรงเรียนไคโอโดยบังเอิญ หลังจากได้เดินกับฮิคารุหนึ่งกระดานเพื่อรับทราบระดับของฮิคารุแล้ว ได้ทำให้ฮิคารุตระหนักถึงเส้นทางที่อากิระกำลังก้าวเดิน เมื่อฮิคารุทราบถึงระยะห่างระหว่างตนเองและความแตกต่างในความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงจุดหมายกับอากิระแล้ว ทำให้ฮิคารุไปสอบอินเซย์ (ที่ฝึกโกะให้เป็นมืออาชีพ) และในที่สุดก็ได้เป็นมืออาชีพและได้ประลองกับอากิระอีกครั้งในฐานนะชินโด ฮิคารุ ไม่ใช่ซาอิในคราบของฮิคารุ == ตัวละคร == ชินโด ฮิคารุ - ตัวเอกของเรื่อง เกิดวันที่ 20 กันยายน ฮิคารุมักจะถูกออกแบบให้ใส่เสื้อที่แสดงเลข 5 ซึ่งเลขห้าในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่าโกะ ฟูจิวาระ โนะ ซาอิ - วิญญาณครูสอนโกะให้จักรพรรดิ์สมัยเฮอัน วันหนึ่งมีการประลองกันระหว่างครูสอนโกะสองคนขององค์จักรพรรดิ์ ระหว่างการแข่งขันอีกฝ่ายกระทำการโกง แต่ซาอิกลับถูกโยนความผิดให้ ทำให้จิตใจว้าวุ่นและพ่ายแพ้จึงโดนไล่ออกจากเมืองหลวง ด้วยความอับอายซาอิจึงปลิดชีพตนเอง แต่ความรู้สึกต้องการเล่นโกะมีมากนัก วิญญาณของซาอิจึงเข้าสิงในกระดานโกะ จนได้พบกับโทะระจิโร หรือ "ฮงอินโบ ชูซะกุ" และเล่นโกะเรื่อยมา จนในที่สุดชูซะกุได้จากไป ซาอิจึงสิงอยู่ในกระดานโกะต่อ จวบจนกระทั่งฮิคารุเข้าไปพบกับกระดานเก่าแก่ในห้องเก็บของ ซาอิจึงได้ปรากฏตัวอีกครั้ง ฟูจิซากิ อาคาริ - เพื่อนในวัยเด็กของฮิคารุ แม่ของเธอกับแม่ของฮิคารุเป็นเพื่อนกัน โทยะ อากิระ - คู่ปรับตลอดกาลของฮิคารุและลูกชายคนเดียวของ โทยะเมย์จิน (โทยะ โคโย) (โทยะ อากิโกะ) พ่อแม่ของอากิระ โค ยงฮา (고영하) - นักหมากล้อมตัวแทนทีมชาติเกาหลีใต้ อิสึมิ ชินอิจิโร่ รุ่นพี่อิเซย์ของฮิคารุ เสียสมาธิในการแข่งจนทำให้เดินผิดพลาดแล้วต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อฮิคารุไป เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้อิสึมิเสียความมั่นใจเป็นอย่างมาก พร้อมกับการสอบไม่ผ่านมืออาชีพ แต่อิสึมิก็สามารถสอบผ่านได้ในปีถัดมาโดยไม่ได้รับความพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว วายะ โยชิทากะ เพื่อนอินเซย์ของฮิคารุ สามารถสอบผ่านมืออาชีพพร้อมฮิคารุด้วยการชนะ ฟูคุ ที่ตนเองแพ้ทางตั้งแต่เรียนอินเซย์ โอจิ โคสึเกะ อินเซย์ฝีมือในระดับแนวหน้า สอบมืออาชีพผ่านด้วยการชนะทุกกระดาน แต่ก็ต้องมาแพ้กระดานสุดท้ายให้กับฮิคารุ โทยะ โคโย พ่อของโทยะอากิระ เคยครองตำแหน่งในมืออาชีพถึง 5 ตำแหน่ง (เมย์จิน โอสะ เท็นเง็น จูดัง โกะเซย์) ผู้ชายที่ซาอิคิดว่าฝีมือของเขาเข้าใกล้หัตถ์เทวะที่สุดในยุคนี้ ทั้งสองได้เผชิญหน้ากันในโกะทางอินเทอร์เน็ต ฝ่ายซาอิเป็นผู้ชนะ โทยะ โคโย เขาจึงประกาศลาออกจากวงการหมากล้อมมืออาชีพตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ == รายชื่อตอน == ==ภาพยนตร์== == รายชื่ออื่นๆ == เดธโน้ต ทาเกชิ โอบาตะ รายชื่อการ์ตูนญี่ปุ่น == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของชูเอชะ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของทีวีโตเกียว เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสตูดิโอปิเอโร อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2544 การ์ตูนญี่ปุ่นแนวจินตนิมิต หมากล้อม การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ อนิเมะและมังงะเกี่ยวกับกีฬา ทาเกชิ โอบาตะ ทีวีบี ปิเอโร (บริษัท) การ์ตูนญี่ปุ่นแนวก้าวผ่านวัย
thaiwikipedia
428
ภาษาโปรล็อก
ภาษาโปรล็อก (Prolog) เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ ได้ชื่อมาจาก PROgrammation en LOGique (logic programming) สร้างขึ้นโดย Alain Colmerauer ราว ค.ศ. 1972 ภาษาโปรล็อกเกิดจากความพยายามที่จะสร้างภาษาที่อาศัยวิธีการทางตรรกศาสตร์แทนที่จะกำหนดคำสั่งอย่างละเอียดให้กับคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรล็อกถูกนำไปใช้ในโปรแกรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ และภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) โดยเฉพาะการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ไวยากรณ์และความหมายของภาษานั้นเรียบง่ายและชัดเจน (เป้าหมายแรกของภาษาคือเป็นเครื่องมือสำหรับนักภาษาศาสตร์ที่ไม่รู้คอมพิวเตอร์) งานวิจัยจำนวนมากที่ทำให้เกิดการพัฒนาภาษาโปรล็อกในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากโครงการระบบคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (fifth generation computer systems project - FGCS) ซึ่งเลือกรูปแบบหนึ่งของภาษาโปรล็อกเป็นภาษาแก่น (Kernel Language) ของระบบปฏิบัติการ ภาษาโปรล็อกมีพื้นฐานมาจากแคลคูลัสภาคแสดง (predicate calculus) หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า แคลคูลัสภาคแสดงอันดับที่หนึ่ง (first-order predicate calculus) โดยจำกัดให้ใช้เฉพาะอนุประโยคของฮอร์น (Horn clause) การดำเนินการของโปรแกรมโปรล็อก ก็คือการประยุกต์วิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทโดยใช้รีโซลูชันอันดับหนึ่ง (first-order resolution) แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การทำให้เท่ากัน (unification), การเรียกซ้ำจากส่วนท้าย (tail recursion), การย้อนรอย (backtracking) == แบบชนิดข้อมูล == ภาษาโปรล็อกไม่มีแบบชนิดข้อมูลเหมือนกับภาษาโปรแกรมทั่ว ๆ ไป หัวข้อนี้จะพูดถึงศัพท์ของส่วนย่อยของภาษาแทน === อะตอม === อะตอม (atom) คือ ค่าคงที่ซึ่งเขียนแทนด้วยข้อความ โดยอะตอมคือลำดับที่ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข เส้นใต้อักขระ (underscores) และจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก โดยปกติแล้วถ้าต้องการอะตอมที่ใช้เครื่องหมายพิเศษ จะเขียนเครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว (') กำกับไว้ เช่น '+' เป็น อะตอม แต่ + เป็นตัวดำเนินการ === ตัวเลข === ระบบภาษาโปรล็อกส่วนใหญ่จะไม่แบ่งแยกระหว่างเลขจำนวนเต็ม กับเลขจำนวนจริง === ตัวแปร === ตัวแปรจะแสดงด้วยสายอักขระที่ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข และเส้นใต้อักษร โดยจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวแปรในภาษาโปรล็อกไม่ใช่ที่เก็บข้อมูล แต่จะมีลักษณะคล้ายรูปแบบ (pattern) ซึ่งกำหนดไว้ในเรื่องการทำให้เท่ากัน ตัวแปรนิรนาม (anonymous variable) จะเขียนโดยใช้ เครื่องหมายเส้นใต้อักษรเพียงตัวเดียว (_) === พจน์ === พจน์ (term) ใช้แทนข้อมูลที่มีความซับซ้อน ประกอบด้วย ส่วนหัว (head) เป็นอะตอม เรียกว่า ฟังก์เตอร์ (functor) และพารามิเตอร์ต่างๆ (ไม่กำหนดประเภท) จำนวนพารามิเตอร์จะเรียกว่า อะริดี (arity) พจน์สามารถเขียนแทนโดยใช้เพียงส่วนหัวและอะริดี โดยเขียนเป็น ฟังก์เตอร์/อะริตี === ลิสต์ === ลิสต์ไม่ใช่ข้อมูลแบบเดี่ยว แต่เป็นโครงสร้างที่นิยามแบบเรียกซ้ำ (โดยใช้พจน์ '.'/2) คือ อะตอม [] ใช้แทนลิสต์ว่าง ถ้า T เป็นลิสต์ และ H เป็นส่วนย่อย จะใช้พจน์ '.'(H,T) แทนลิสต์ ส่วนย่อยแรก เรียกว่าส่วนหัว (H) จะตามด้วยส่วนที่เหลือของลิสต์ ที่เรียกว่าส่วนหาง (T หรือ tail) เช่น ลิสต์ [1,2,3] จะเขียนแทนด้วย '.'(1, '.'(2, 3)) ตามไวยากรณ์ของภาษาแล้วอาจจะเขียนลิสต์ว่า [H|T] วิธีนี้เป็นที่นิยมมากกว่าการใช้ '.' การประมวลผลข้อมูลในลิสต์ จะทำโดยประมวลผลข้อมูลส่วนหัวก่อน แล้วค่อยทำส่วนที่เหลือ โดยใช้การเรียกซ้ำ ลิสต์สามารถเขียนได้หลายแบบ ตามความสะดวกของโปรแกรมเมอร์ เขียนส่วนย่อยทุกตัว: [abc, 1, f(x), Y, g(A,rst)] เขียนส่วนแรกตัวเดียว: [abc | L1] เขียนส่วนแรกหลายตัว: [abc, 1, f(x) | L2] เขียนเป็นการขยายของพจน์: '.'(abc, '.'(1, '.'(f(x), '.'(Y, '.'(g(A,rst), []))))) ในการใช้งานจริง ลิสต์ของโปรล็อกมีลักษณะคล้ายกับ ดักไทปปิง ของภาษาสมัยใหม่โดยทั่วไป หรืออาจกล่าวได้ว่า ดักไทปปิงได้นำเอาวิธีการของโปรล็อกไปใช้เนื่องจาก ภาษาโปรล็อก นั้นเกิดมาก่อนภาษาเหล่านั้น === สายอักขระ === สายอักขระจะเขียนอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศคู่ ซึ่งภายในจะแทนด้วยลิสต์ของรหัสแอสกี == ข้อเท็จจริง == การเขียนโปรแกรมภาษาโปรล็อกนั้น จะแตกต่างจากการใช้ภาษาเชิงกระบวนคำสั่ง (procedural langugage) โดยเริ่มจากการสร้างฐานข้อมูลข้อเท็จจริง (facts) และ กฎ (rules) จากนั้นจึงใช้การสอบถาม (queries) เพื่อหาคำตอบ หน่วยพื้นฐานของภาษาโปรล็อกคือ เพรดิเคต (predicate) ซึ่งใช้นิยามความจริง เพรดิเคตจะเขียนอยู่ในรูปพจน์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัว และอาร์กิวเมนต์ เช่น cat(tom). cat คือส่วนหัว และมีอาร์กิวเมนต์หนึ่งตัวคือ tom จากนั้นจะสามารถสอบถามโปรล็อกถึงความจริงนี้ได้ ?- cat(tom). yes. ?- cat(X). X = tom; no. โดยทั่วไป จะใช้เพรดิเคตนิยามความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่โปรแกรมรู้ แต่การใช้เพรดิเคตก็ต้องอาศัยข้อตกลงที่แน่นอน อย่างเพรดิตเคตในตัวอย่างข้างล่าง จะใช้แบบไหน เพื่อบอกว่า Pat เป็นพ่อของ Sally father(sally,pat). father(pat,sally). ทั้งสองกรณีมีส่วนหัวคือ father และอาร์กิวเมนต์คือ pat และ sally กรณีแรก sally มาก่อน ส่วนกรณีหลัง pat มาก่อน กรณีแรกเป็นตัวอย่างของการนิยามแบบ กริยา ประธาน กรรม ส่วนกรณีหลังจะเป็นแบบ กริยา กรรม ประธาน เนื่องจากระบบโปรล็อกไม่เข้าใขภาษาอังกฤษ ดังนั้นจึงสามารถใช้ได้ทั้งสองแบบ แต่ควรจะกำหนดรูปแบบที่แน่นอนในโปรแกรมเดียวกัน และควรหลีกเลี่ยงการเขียน เช่น father(pat,sally). father(jessica,james). มีเพรดิเคตหลายตัว ที่กำหนดไว้ในตัวภาษา เพื่อทำให้โปรแกรมสามารถทำงานต่างๆ ได้ (เช่น อินพุต/เอาต์พุต ใช้กราฟิก และสิ่งต่างๆ เพื่อติดต่อกับระบบปฏิบัติการ) เช่น เพรดิเคต write ใช้สำหรับแสดงผลออกจอ write('Hello'). จะแสดงคำว่า Hello บนจอ == กฎ == คำสั่งอีกรูปแบบหนึ่งของภาษาโปรล็อกคือ กฎ (rules) เช่น light(on) :- switch(on). เครื่องหมาย ":-" แปลว่า "ถ้า" กฎนี้หมายความว่า light(on) เป็นจริง ถ้า switch(on) เป็นจริง นอกจากนี้สามารถใช้ตัวแปรในกฎได้ โดยตัวแปรจะขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนค่าคงที่จะขึ้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น father(X,Y) :- parent(X,Y), male(X). หมายความว่า "ถ้าคนหนึ่งเป็นพ่อแม่ของอีกคนหนึ่งและเป็นผู้ชายแล้วคนนั้นจะเป็นพ่อ" (ใช้ "," แทน "และ") ลำดับการเขียนส่วนเหตุและผลจะตรงข้ามกับตรรกศาสตร์ทั่วไป แต่ก็สามารถเขียนส่วนผลหลาย ๆ ตัวในกฎเดียวกันได้ เช่น a,b,c :- d. จะเหมือนกับการเขียนกฎสามข้อ a :- d. b :- d. c :- d. แต่โปรล็อกไม่อนุญาตให้เขียนกฎว่า a;b :- c. ซึ่งแปลว่า "ถ้า c แล้ว a หรือ b" (ใช้ ";" แทน "หรือ") เพราะเป็นข้อจำกัดของอนุประโยคของฮอร์น == การประเมินค่า == เมื่อส่วนแปลคำสั่งของภาษาโปรล็อกได้รับการสอบถาม ก็จะค้นหาข้อเท็จจริงที่เข้ากันได้กับการสอบถามนั้น ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงอยู่ ก็จะลองตรวจสอบกฎที่ทำให้ได้ข้อเท็จจริง เช่น sibling(X,Y) :- parent(Z,X), parent(Z,Y). father(X,Y) :- parent(X,Y), male(X). mother(X,Y) :- parent(X,Y), female(X). parent(X,Y) :- father(X,Y). parent(X,Y) :- mother(X,Y). mother(trude, sally). father(tom, sally). father(tom, erica). father(mike, tom). male(tom). female(trude). male(mike). เมื่อสอบถามตามตัวอย่างต่อไป ก็จะได้ว่าจริง ?- sibling(sally, erica). yes. โปรแกรมจะหาคำตอบนี้เทียบกับกฎ sibling(X,Y) โดยเชื่อม (อย่างไม่เป็นทางการ คือ แทนที่) sally กับ X และ erica กับ Y และทำให้การสอบถามขยายไปยัง parent(Z,sally) และ parent(Z,erica) จากนั้นจึงหาพ่อแม่ทั้งหมดของ sally แต่ว่า parent(trude,sally) ใช้ไม่ได้ เพราะเมื่อแทน Z ด้วย trude จะได้ parent(trude,erica) แต่ไม่มีข้อเท็จจริงนี้อยู่ ระบบจึงลองแทน Z ด้วย tom จึงได้ว่า sally เป็นพี่น้องกับ erica คำสั่งต่อไป mother(X,Y) :- parent(X,Y), female(X). parent(X,Y) :- father(X,Y). ดูน่าสงสัย เพราะพ่อแม่ทุกคนไม่ได้เป็นพ่อ แต่พ่อเป็นพ่อแม่จริง และแม่คือพ่อแม่ที่เป็นผู้หญิง ถ้าจะบอกว่าพ่อทุกคนเป็นผู้ชาย ก็จะเขียนได้ว่า male(X) :- father(X,_). โดยไม่ต้องสนใจว่าลูกจะเป็นใคร จึงใช้ตัวแปรนิรนามซึ่งเขียนด้วยเส้นใต้อักษร === นิเสธ === การสอบถามจะเป็นเท็จ เมื่อไม่สามารถหาข้อเท็จจริงหรือกฎที่สนับสนุนการสอบถามนั้นได้ ลักษณะแบบนี้เรียกว่า ข้อสมมุติโลกปิด (Closed world assumption) ซึ่งก็คือสมมุติว่าทุกสิ่งที่ควรจะรู้เก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดที่อยู่ภายนอกขอบเขตนี้รวมถึงสิ่งที่ไม่รู้ หรืออีกนัยหนึ่ง ข้อเท็จจริงที่ยังไม่รู้ว่าเป็นจริง (หรือเท็จ) จะสมมุติว่าเป็นเท็จ ดังนั้นกฎเช่น legal(X) :- NOT illegal(X). จะหาค่าโดยค้นหาทุกสิ่งที่เป็น illegal และเปรียบเทียบกับ X ถ้าไม่พบ X ก็จะถือว่า X เป็น legal จะเรียกวิธีการนี้ว่า นิเสธโดยความขัดข้อง (Negation by failure) == การดำเนินการ == เนื่องจากภาษาโปรล็อกเป็นภาษาเชิงตรรกะ ดังนั้นในทางทฤษฎีแล้วจึงไม่จำเป็นต้องสนใจว่าโปรแกรมทำงานยังไง แต่การศึกษาการทำงานหรือขั้นตอนวิธีที่ใช้อนุมาณ จะช่วยป้องกันโปรแกรมที่ไม่ให้ทำงานเกินจำเป็น ตัวอย่างเช่น สามารถเขียนคำสั่งเพื่อนับจำนวนสมาชิกของลิสต์ได้ คือ elems([],0). elems([H|T], X) :- elems(T, Y), X is Y + 1. ถ้าจะอธิบายง่ายๆ ก็จะได้ว่า ลิสต์ว่าง จะมีจำนวนสมาชิกเท่ากับ 0 ถ้าลิสต์ไม่ว่าง จะได้จำนวนสมาชิกเท่ากับ Y+1 เมื่อ Y คือจำนวนสมาชิกส่วนที่เหลือเมื่อแยกส่วนหัวออก กรณีนี้แยกกรณีของส่วนเงื่อนไขของกฎออกจากกันได้ชัดเจน แต่ถ้าเป็นกรณีตัดสินใจว่าจะเล่นพนันหรือไม่ gamble(X) :- gotmoney(X). gamble(X) :- gotcredit(X), NOT gotmoney(X). ถ้ามีเงิน ก็จะเล่นพนันต่อ ถ้าไม่มีเงินแล้วก็ต้องกู้เงิน หรือถ้าเกิดวงเงินก็จะไม่เล่นต่อ gotmoney อาจจะเป็นเพรดิเคตที่ใช้เวลานานมาก เช่น อาจจะต้องต่อผ่านอินเทอร์เน็ตไปเช็คจำนวนเงินในบัญชีธนาคาร ซึ่ง gotcredit ก็ใช้เวลานานเช่นเดียวกัน ตามทฤษฎีแล้ว ระบบโปรล็อกอาจจะพิจารณากฎไม่เป็นไปตามลำดับ ดังนั้นจึงสามารถเขียนกฎกลับกันเป็น gamble(X) :- gotcredit(X), NOT gotmoney(X). gamble(X) :- gotmoney(X). ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ เนื่องจากเงื่อนไขทั้งสองแยกจากกัน แต่จะไม่จำเป็นต้องเช็คว่าจะกู้เงินได้หรือเปล่าเลย ถ้ารู้ว่ามียังมีเงินอยู่ ดังนั้นในทางปฏิบัติ ระบบโปรล็อกจะตรวจสอบกฎทั้งหมดก่อน และสามารถใช้ตัวตัด (cut operator -- ใช้เครื่องหมาย !) เพื่อบอกให้ตัวแปลคำสั่งหยุดหาตัวเลือกอื่นๆ หลังจากได้คำตอบแรกแล้ว เช่น gamble(X) :- gotmoney(X),!. gamble(X) :- gotcredit(X), NOT gotmoney(X). อย่างนี้เรียกว่าตัวตัดเขียว (green cut operator) ซึ่งจะบอกให้ตัวแปลคำสั่งหยุดหาตัวเลือกอื่นหลังจากตัวตัด ในกรณีที่ต้องการเงินจึงจะตรวจสอบกฎข้อที่สอง และจะพบว่า gotmoney ในกฎข้อที่สองไม่มีประโยชน์ เพราะรู้อยู่แล้วว่าไม่มีเงิน และระบบก็ไม่ตรวจสอบกฎข้อสองก่อน ดังนั้นจึงเขียนคำสั่งใหม่ได้ว่า gamble(X) :- gotmoney(X),!. gamble(X) :- gotcredit(X). อย่างนี้เรียกว่าตัวตัดแดง (red cut operator) เนื่องจากค่อนข้างอันตราย เพราะความถูกต้องจะขึ้นกับตำแหน่งที่ใช้ตัวตัดและลำดับของกฎ การตัดแปะที่ผิดพลาดอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ ถ้ากฎสลับกันก็จะกลายเป็นว่าจะกู้เงินเต็มที่ก่อน แล้วค่อยใช้เงินสดที่มีอยู่ == อินเตอร์พรีตเตอร์โปรล็อก == Turbo Prolog โดย บอร์แลนด์, ปัจจุบันโดย PDC (http://www.visual-prolog.com/ ) Open Prolog (http://www.cs.tcd.ie/open-prolog/) Ciao Prolog (http://www.clip.dia.fi.upm.es/Software/Ciao) GNU Prolog (http://gnu-prolog.inria.fr ) YAP Prolog (http://www.ncc.up.pt/~vsc/Yap ) SWI Prolog (http://www.swi-prolog.org) Visual Prolog (http://www.visual-prolog.com ) SICStus Prolog (http://www.sics.se/sicstus/) Amzi! Prolog (http://www.amzi.com/) B-Prolog (http://www.probp.com/) TuProlog (http://tuprolog.sourceforge.net/) XSB (http://xsb.sourceforge.net/) Trinc Prolog (http://www.trinc-prolog.com) Strawberry Prolog (http://www.dobrev.com/) == ส่วนขยาย == OW Prolog ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อเสริมสิ่งที่โปรล็อกขาดในด้านกราฟิกและการติดต่อ == อ้างอิง == Runnable examples A prolog interpreter that runs in the browser Prolog: The ISO standard Visual Prolog : An evolution of Turbo Prolog developed by Prolog Development Center at Denmark. Prolog Tutorial Learn Prolog Now! == หนังสืออ่านเพิ่มเติม == Leon Sterling and Ehud Shapiro (1994), "The Art of Prolog: Advanced Programming Techniques", (2nd Edition), The MIT Press, Massachusetts, ISBN 0-262-19338-8 Françis Giannesini et al. (1986), "PROLOG", Addison-Wesley, U.K., ISBN 0-201-12911-6 ตระกูลภาษาโปรล็อก มาตรฐานคอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
429
ยูนิโคด
ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2) == สมาคม Unicode == สมาคม Unicode เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ประสานงานการพัฒนา Unicode สมาชิกเต็มรูปแบบประกอบด้วยบริษัทซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์หลักส่วนใหญ่ที่มีความสนใจในมาตรฐานการประมวลผลข้อความ รวมถึง Adobe, Apple, Facebook, Google, IBM, Microsoft, Netflix และ SAP SE. สมาคมมีเป้าหมายที่ทะเยอทะยานในการแทนที่โครงร่างการเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วย Unicode และโครงร่าง Unicode Transformation Format (UTF) มาตรฐาน เนื่องจากโครงร่างที่มีอยู่จำนวนมากมีขนาดและขอบเขตที่จำกัดและไม่เข้ากันกับ multilingual สภาพแวดล้อม อักขระ Unicode ใช้กันอย่างแพร่หลายในการตกแต่งข้อความบนเครือข่ายสังคม สำหรับสิ่งนี้มีแอปพลิเคชั่นพิเศษที่แปลงตัวอักษรธรรมดาเป็นอักขระพิเศษ ==การเข้ารหัส== UTF-8 เข้ารหัสตัวอักษรเป็นข้อมูลหนึ่งถึงสี่ไบต์ตามลำดับของจุดรหัส ตารางต่อไปนี้แสดงโครงสร้างของการเข้ารหัส ตัว แทนบิตของจุดรหัส == รุ่นยูนิโคด == == บล็อกต่าง ๆ == == ข้อจำกัดและปัญหา == มีการวิจารณ์ยูนิโคดเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิค และข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ยูนิโคดได้กลายเป็นวิธีการเข้ารหัสที่ใช้กันมากที่สุดในการทำให้ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการใช้ได้หลายภาษาพร้อม ๆ กัน ระบบปฏิบัติการตระกูลวินโดวส์ ได้แก่วินโดวส์เอ็นที, วินโดวส์ 2000 และ วินโดวส์เอกซ์พี ใช้รหัสยูนิโคดแบบ UTF-16 ในการเข้ารหัสข้อความ ระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับยูนิกซ์ เช่น GNU/Linux BSD และ Mac OS X ก็ได้นำยูนิโคดแบบ UTF-8 มาใช้ เป็นพื้นฐานของการแทนข้อความที่มีหลายภาษา การรองรับภาษาไทยในยูนิโคด ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากว่าลำดับเรียงตัวอักษรนั้นไม่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นเพราะว่ายูนิโคดในส่วนภาษาไทยได้อ้างอิงรูปแบบเดิมจาก Thai Industry Standard 620 (TIS-620) ที่มีปัญหานี้เช่นกัน จึงทำให้การเทียบเรียงลำดับยูนิโคดยุ่งยากขึ้น == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == DecodeUnicode - Unicode WIKI, 50.000 gifs รหัสอักขระ การเรียงพิมพ์
thaiwikipedia
430
ประเทศมัลดีฟส์
มัลดีฟส์ (Maldives; ދިވެހިރާއްޖެ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives; ހިވެދި ގުޖޭއްރާ ޔާއްރިހޫމްޖު) เป็นประเทศที่มีพื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการังจำนวนมากในมหาสมุทรอินเดีย และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา == ภูมิศาสตร์ == ภูมิประเทศ พื้นที่ความยาวจากเหนือจรดใต้ 821 กิโลเมตร จากตะวันออกจรดตะวันตก 120 กิโลเมตร แต่เป็นพื้นที่ดินรวมเพียง 300 ตารางกิโลเมตรมีจุดสูงสุดเพียง 2.3 เมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการัง 26 กลุ่ม (atoll) รวม 1,190 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่เพียงประมาณ 200 เกาะ และได้รับการพัฒนาเป็นโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยว 74 เกาะ === สภาพอากาศ === ภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 27 – 30 เซลเซียส (18-90 ฟาเรนไฮต์) ตลอดทั้งปีช่วงที่ปราศจากมรสุม ได้แก่ ช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม === ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม === === ระบบนิเวศทางทะเล === === การพิทักษ์หมู่เกาะ === == ประวัติศาสตร์ == === ยุคโบราณ === === ศาสนาพุทธ === ชนพื้นเมืองพวกแรกที่อาศัยอยู่ในมัลดีฟส์ตั้งแต่ก่อนคริสตกาล คือ พวกดราวิเดียนและ สิงหล ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ชาวมัลดีฟส์โบราณจึงนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก === ศาสนาอิสลาม === ต่อมาในคริสต์ศวรรษที่ 12 มัลดีฟส์ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม และมีสุลต่านราชวงศ์ต่าง ๆ เป็นผู้ปกครองประเทศในยุคแรก ได้แก่ ราชวงศ์โสมวันสา (Somavansa) หรือ Malei มีสุลต่าน 16 พระองค์ ปกครองเป็นเวลา 169 ปี ราชวงศ์วีรุ อุมรุ (Veeru Umaru) มีสุลต่าน 5 พระองค์ ปกครองเป็นเวลา 75 ปี ราชวงศ์หิลาลิ (Hilali) มีสุลต่าน 25 พระองค์ ปกครองเป็นเวลา 170 ปี === การครอบครอง === ชาวโปรตุเกสได้พยายามเข้ายึดครองมัลดีฟส์ตั้งแต่คริสตวรรษที่ 13 และ ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1558 (พ.ศ. 2101) และได้ปกครองมัลดีฟส์อยู่เป็นเวลา 15 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1573 (พ.ศ. 2116) มีการสถาปนาการปกครองระบบสุลต่านขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการตั้งราชวงศ์อุทีมุ (Utheemu) ซึ่งมีสุลต่านในราชวงศ์ 5 พระองค์ ปกครองเป็นเวลา 121 ปี ในสมัยราชวงศ์นี้ มีการพัฒนาระบบการปกครอง การทหารและการเงินให้ดีขึ้น ต่อมามีราชวงศ์ปกครองอีก 3 ราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์อิสดู (Isdhoo), ราชวงศ์ดิยมิกิลิ (Dhiyamigili) และ ราชวงศ์หุราเก (Huraage) === ดินแดนในอารักขา === ในปี ค.ศ. 1887 (พ.ศ. 2430) สหราชอาณาจักรได้แผ่อิทธิพลในแถบมหาสมุทรอินเดีย สุลต่านมูฮัมหมัด มูอีนุดดีนที่ 2 (Muhammad Mueenudhdheen II) จึงได้ทำข้อความตกลงในวันที่16 ธันวาคม ค.ศ. 1887 กับอังกฤษ ซึ่งส่งผลให้มัลดีฟส์อยู่ภายใต้การอารักขาของสหราชอาณาจักร (Protection period) ในปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) อังกฤษให้เอกราชแก่ศรีลังกา มัลดีฟส์จึงแยกตัวออกจาก ศรีลังกา โดยยังคงสถานะเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) ได้มีการสถาปนาระบบสุลต่านขึ้นอีกครั้ง โดยมีการปกครองโดยรัฐสภา มีสภาสูงซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 80 คน และสภาล่างอีก 46 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 (พ.ศ. 2508) อังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่มัลดีฟส์ หลังจากเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษเป็นเวลา 79 ปี แต่อังกฤษยังคงเช่าเกาะกาน (Gan Island) ทางตอนใต้สุดของประเทศไว้เป็นฐานทัพถึงปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) === ศตวรรษที่ 21 === เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) มัลดีฟส์ยกเลิกระบบสุลต่านและได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีนาย อิบบราฮิม นาซีร์ เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของมัลดีฟส์และบริหารประเทศจนถึงปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) ต่อมา นาย เมามูน อับดุล กายูม ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบแทนจนกระทั่งปัจจุบัน โดยได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีติดต่อกับถึง 5 สมัย (สมัยละ 5 ปี) นับเป็นประมุขฝ่ายบริหารที่บริหารประเทศนานที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ == การเมืองการปกครอง == === บริหาร === ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี เป็นประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจสั่งการและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะผู้พิพากษา และ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Service) === นิติบัญญัติ === ฝ่ายนิติบัญญัติ มี 1 สภา เรียกว่า สภาประชาชนมัลดีฟส์ (Citizen Council) หรือมัจลิส (Majlis) สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง 40 คน และ ประธานาธิบดีแต่งตั้งอีก 8 คน ไม่มีพรรคการเมือง === ตุลาการ === ฝ่ายตุลาการ เป็นระบบศาลสูง (High Court) ระบบกฎหมายใช้กฎหมายอิสลามเป็นพื้นฐานผสมกับระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ === สิทธิมนุษยชน === === ต่างประเทศ === === กองทัพ === == การแบ่งเขตการปกครอง == แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 19 เขต (atoll) และ 1 เขตบริหารพิเศษ มี คาติป เป็นผู้ปกครองระดับเกาะ {| |- valign=top || ทิลธุนมทิ อุทุรุ (Thiladhunmathi Uthuru, Haa-Alif ฮา-อลิฟ) ทิลธุนมทิ เธคุนุ (Thiladhunmathi Dhekunu, Haa-Dhaalu ฮา-ธาลุ) มิลธุนมดุลุ อุทุรุ (Miladhunmadulu Uthuru, Shaviyani ชวิยนิ) มิลธุนมดุลุ เธคุนุ (Miladhunmadulu Dhekunu, Noonu นูนุ) มาลยสมดุลุ อุทุรุ (Maalhosmadulu Uthuru, Raa รา) มาลยสมดุลุ เธคุนุ (Maalhosmadulu Dhekunu, Baa บา) ฟาธิปปลยุ (Faadhippolhu, Lhaviyani ลยวิยนิ) มาเล (Malé Atoll, Kaafu คาฟุ) อริ อุทุรุ (Ari Atoll Uthuru, Alif-Alif อลิฟ-อลิฟ) อริ เธคุนุ (Ari Atoll Dheknu, Alif-Dhaal อลิฟ-ธาลุ) || เฟลิเธ่ (Felidhé Atoll, Vaavu วาวุ) มุลคุ (Mulaku Atoll, Meemu มีมุ) นิลันเธ่ อุทุรุ (Nilandhé Atoll Uthuru, Faafu ฟาฟุ) นิลันเธ่ เธคุนุ (Nilandhé Atoll Dhekunu, Dhaalu ธาลุ) กลยุมดุลุ (Kolhumadulu, Thaa ทา) หัธธุนมทิ (Hadhdhunmathi, Laamu ลามุ) หุวธุ อุทุรุ (Huvadhu Atoll Uthuru, Gaafu-Alif กาฟุ-อลิฟ) หุวธุ เธคุนุ (Huvadhu Atoll Dhekunu, Gaafu-Dhaalu กาฟุ-ธาลุ) ฟัว มุลคุ (Fua Mulaku, Ñaviyani ญวิยนิ) อัดดุ (Addu, Seenu สีนุ) |} == ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐมัลดีฟส์ == === ความสัมพันธ์ทางการทูต === ไทยกับมัลดีฟส์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับเอกอัครราชทูต เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2522 และมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาโดยตลอด ทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน ปัจจุบันมีสถานเอกอัครราชทูตมัลดีฟส์ประจำประเทศไทย ส่วนเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำมัลดีฟส์ === การแลกเปลี่ยนการเยือน === ฝ่ายไทย 21 – 23 พ.ย. 2528 ร.ต. ประพาส ลิมปะพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมัลดีฟส์อย่างเป็นทางการ 21 – 24 มี.ค. 2531 นายเทอดพงษ์ ไชยนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเยือนมัลดีฟส์ เพื่อร่วมการประชุมเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือทางวิชาการและงานพัฒนาด้านสาธารณสุข 6 – 8 เม.ย. 2543 นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เยือนมัลดีฟส์อย่างเป็นทางการ ฝ่ายมัลดีฟส์ 5 – 6 และ ประธานาธิบดีกายูมแวะเยือนไทยตามคำเชิญฝ่ายไทย 9 – 10 ธ.ค. 2528 5 – 9 มี.ค. 2533 ประธานาธิบดีกายูมเยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมระดับโลกเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชน (World Council on Education for All) === ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย – มัลดีฟส์ === การค้า การค้าระหว่างไทยกับมัลดีฟส์มีไม่มากนัก โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้าเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม สินค้าจากประเทศไทยเข้าสู่มัลดีฟส์มีปริมาณมากกว่าที่ปรากฏตามสถิติ เนื่องจากสินค้าไทยผ่านการ re-export ทางสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ข้าว และผลิตภัณฑ์เซรามิก สินค้านำเข้าที่สำคัญจากมัลดีฟส์มีเพียงสิ่งเดียว ได้แก่ ปลาทูน่าสด แช่แข็งและแช่เย็น การประมง ประเทศมัลดีฟส์เป็นแหล่งปลาทูน่าที่สำคัญในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศไทยยังไม่มีการติดต่อเพื่อทำประมงร่วมกับมัลดีฟส์ ทั้งระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน ฝ่ายไทยเคยส่งเรือวิจัยประมงของกรมประมงเดินทางไปทำการศึกษาและวิจัยด้านปลาทูน่าในมัลดีฟส์ในบางโอกาส นอกจากนี้ รัฐบาลมัลดีสฟ์ได้กำหนดเงื่อนไขที่จะเข้าไปจับปลาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของมัลดีฟส์ เช่น ต้องเสียค่าใบอนุญาต (license fee) ต้องจับปลาห่างฝั่งอย่างน้อย 75 ไมล์ และให้ผู้ได้รับอนุญาตจับปลาได้ไม่เกินปีละ 1.5 หมื่นตัน รวมทั้งทางการมัลดีฟส์ยังกำหนดให้ใช้วิธีการจับปลาแบบดั้งเดิมอีกด้วย ความตกลงทวิภาคีไทย – มัลดีฟส์ ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศไทย – มัลดีฟส์ ลงนามเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2532 ที่กรุงเทพฯ กำหนดให้สายการบินของแต่ละฝ่ายดำเนินบริการเดินอากาศในแต่ละทิศทาง โดยไม่จำกัดแบบของอากาศยาน ปัจจุบันมีสายการบินบางกอกแอร์เวย์สของประเทศไทยเปิดบริการเดินอากาศระหว่าง กรุงเทพฯ – มัลดีฟส์ ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 320 ไป-กลับ 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ความร่วมมือทางวิชาการ ในการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย – มัลดีฟส์ (Thai – Maldives Joint Commission on Economic and Technical Cooperation) ณ กรุงมาลี เมื่อปี 2535 และ 2536 รัฐบาลไทย (โดยกรมวิเทศสหการ) เริ่มให้ความช่วยเหลือแก่มัลดีฟส์อย่างจริงจัง ทั้งทางด้านสาธารณสุข ประมง เกษตร การท่องเที่ยว การบิน การให้ทุนศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยแก่นักเรียน/นักศึกษามัลดีฟส์ รวมทั้งจัดส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตเวชและการแพทย์ไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่มัลดีฟส์ตามโครงการ Thai Aid Programme โครงการ Third Country Training Programme และข้อตกลงในกรอบของความร่วมมือทางวิชาการ ฝ่ายไทย โดยกรมวิเทศสหการได้ให้ความช่วยเหลือ/ความร่วมมือทางวิชาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยจัดทำกรอบของแผนการให้ความช่วยเหลือ/ร่วมมือทางวิชาการ 3 ปี ระหว่างปี 2539-2541 และได้ขยายแผนดังกล่าวออกไปอีก 3 ปี ระหว่างปี 2542-2544 สินค้าที่ส่งออก ปลา เนื้อมะพร้าวแห้ง ปลาทูน่าสด แช่เย็นและแช่แข็ง == เศรษฐกิจ == ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สิงคโปร์ อินเดีย ศรีลังกา สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา เยอรมัน อังกฤษ ไทย === อุตสาหกรรมประมง === === การท่องเที่ยว === == โครงสร้างพื้นฐาน == === การคมนาคม และ โทรคมนาคม === === วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี === === การศึกษา === === สาธารณสุข === == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === ชนพื้นเมืองที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศมัลดีฟส์ คือกลุ่มผู้ใช้ตระกูลภาษาอินโด-อารยัน ซึ่งอพยพมาจากศรีลังกา เมื่อหลายศตวรรษแล้ว และเป็นบรรพบุรุษของชาวมัลดีฟส์ในปัจจุบันพยพเข้ามา ต่อมาในศตวรรษที่ 12 ก็มีชาวแอฟริกัน และชาวอาหรับ อพยพมาอยู่อาศัยกัน === ศาสนา === กลุ่มชนกลุ่มแรกของมัลดีฟส์ ช่วงแรกนั้น จะนับถือพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (ดูเพิ่มเติมได้ที่พุทธศาสนาในประเทศมัลดีฟส์) แต่ต่อมามีการเข้ารีตนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่จำนวนมาก และในปัจจุบันก็ได้เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมัลดีฟส์ ในร้อยละ 99 === เมืองใหญ่=== == วัฒนธรรม == === ดนตรี === === อาหาร === อาหารมัลดีฟส์ === วันหยุด === === กีฬา === == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ม ม เกาะในมหาสมุทรอินเดีย เกาะในทวีปเอเชีย รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2508 อดีตอาณานิคมของอังกฤษ
thaiwikipedia
431
ธาตุ
ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 มีการบ่งชี้ธาตุแล้ว 118 ธาตุ ล่าสุดคือ ออกาเนสซอน ใน พ.ศ. 2545 ในบรรดาธาตุที่รู้จักกัน 118 ธาตุนั้น มีเพียง 94 ธาตุแรกเท่านั้นที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนโลก และมี 80 ธาตุที่เสถียรหรือโดยพื้นฐานแล้วเสถียร ขณะที่ที่เหลือเป็นธาตุกัมมันตรังสี ซึ่งจะสลายตัวไปเป็นธาตุที่เบากว่าในระยะเวลาที่แตกต่างกันจากเสี้ยววินาทีไปจนถึงหลายพันล้านปี ธาตุใหม่ ๆ ซึ่งมีเลขอะตอมสูงกว่าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สังเคราะห์ขึ้นจากผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นธาตุที่พบได้มากที่สุดในเอกภพ อย่างไรก็ดี ออกซิเจนเป็นธาตุที่พบได้มากที่สุดในเปลือกโลก ประกอบกันเป็นครึ่งหนึ่งของมวลทั้งหมด แม้สสารเคมีทั้งหมดที่ทราบกันจะประกอบด้วยธาตุอันหลากหลายเหล่านี้ แต่สสารเคมีนั้นประกอบกันขึ้นเป็นเพียงราวร้อยละ 15 ของสสารทั้งหมดในเอกภพ ส่วนที่เหลือนั้นเป็นสสารมืด ซึ่งมิได้ประกอบด้วยธาตุเคมีที่มนุษย์รู้จัก เพราะไม่มีโปรตอน นิวตรอนหรืออิเล็กตรอน เชื่อกันว่าธาตุเคมีเกิดขึ้นจากกระบวนการของเอกภพหลายอย่าง รวมทั้งไฮโดรเจน ฮีเลียม และลิเทียม เบริลเลียมและโบรอนปริมาณน้อยกว่า เกิดขึ้นระหว่างบิกแบงและปฏิกิริยาการแตกเป็นเสี่ยงของรังสีคอสมิก (cosmic-ray spallation) การเกิดขึ้นของธาตุที่หนักขึ้นตั้งแต่คาร์บอนไปจนถึงธาตุที่หนักที่สุดนั้นเป็นผลจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ และมหานวดาราได้ทำให้ธาตุเหล่านี้มีสำหรับระบบสุริยะเนบิวลาและการก่อตัวของดาวเคราะห์ และเหตุการณ์ของเอกภพซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ซึ่งระเบิดธาตุที่สร้างขึ้นใหม่เหล่านี้จากดาวฤกษ์ออกสู่อวกาศ ขณะที่ธาตุส่วนใหญ่มักถูกมองว่าเสถียร แต่การแปรนิวเคลียส (nuclear transformation) ตามธรรมชาติของธาตุหนึ่งเป็นอีกธาตุหนึ่งนั้นยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี เช่นเดียวกับกระบวนการนิวเคลียร์อื่น ๆ เช่น การยิงรังสีคอสมิกและนิวเคลียร์ฟิชชันตามธรรมชาติของนิวเคลียสธาตุหนักหลายชนิด เมื่อธาตุแตกต่างกันสองธาตุรวมตัวกันทางเคมี โดยมีอะตอมยึดเข้าด้วยกันด้วยพันธะเคมี ผลที่ได้เรียกว่า สารประกอบเคมี สองในสามของธาตุเคมีที่พบได้บนโลกพบเฉพาะในรูปของสารประกอบ และในหลายกรณี หนึ่งในสามที่เหลือนั้นก็มักพบเป็นสารประกอบเป็นส่วนใหญ่ สารประกอบเคมีอาจประกอบด้วยธาตุที่รวมเข้าด้วยกันในสัดส่วนจำนวนเต็มแน่นอน ดังเช่น น้ำ เกลือแกง และแร่ อย่างควอตซ์ แคลไซต์ และแร่โลหะบางชนิด อย่างไรก็ดี พันธะเคมีของธาตุหลายประเภทส่งผลให้เกิดเป็นของแข็งผลึกและอัลลอยโลหะ ซึ่งไม่มีสูตรเคมีแน่นอน สสารของแข็งส่วนใหญ่บนโลกเป็นประเภทหลังนี้ คือ อะตอมก่อเป็นสสารของเปลือกโลก แมนเทิล และแก่นโลกชั้นในก่อสารประกอบเคมีที่มีองค์ประกอบหลากหลาย แต่ไม่มีสูตรเอมพิริคัลแน่ชัด ในการนำเสนอเหล่านี้ทั้งหมด คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของธาตุบริสุทธิ์แต่ละธาตุนั้นไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นเช่นนั้นแม้ธาตุที่เกิดในรูปไม่ผสม หากธาตุเหล่านี้เกิดเป็นสารผสม ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ขณะที่ธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งหมด 94 ธาตุ จะได้รับการบ่งชี้ในตัวอย่างแร่จากเปลือกโลก มีเพียงธาตุส่วนน้อยพบเป็นแร่ค่อนข้างบริสุทธิ์ที่สามารถรู้ได้ ส่วน "ธาตุธรรมชาติ" ที่หาพบได้ง่ายกว่า เช่น ทองแดง เงิน ทองคำ คาร์บอน (ในรูปถ่านหิน แกรไฟต์ หรือเพชร) กำมะถันและปรอท ธาตุเฉื่อยแทบทั้งหมด เช่น แก๊สเฉื่อยและโลหะมีสกุล มักพบบนโลกในรูปผสมทางเคมี เป็น สารประกอบเคมี ขณะที่ธาตุเคมีราว 32 ธาตุ พบบนโลกในรูปไม่ผสมตามธรรมชาติ แต่ธาตุเหล่านี้หลายชนิดเกิดเป็นสารผสม ตัวอย่างเช่น อากาศชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่เป็นสารผสมไนโตรเจน ออกซิเจนและอาร์กอน ธาตุของแข็งตามธรรมชาติยังมักเกิดเป็นสารผสมหลายชนิด เช่น อัลลอยของเหล็กและนิกเกิล ประวัติศาสตร์การค้นพบและการใช้ธาตุเคมีเริ่มขึ้นด้วยสังคมมนุษย์ยุคแรกเริ่มที่พบธาตุธรรมชาติอย่างทองแดงหรือทองคำ และสกัด (หลอม) เหล็กและโลหะอื่นบางชนิดจากแร่โลหะนั้น นักเล่นแร่แปรธาตุและนักเคมีภายหลังบ่งชี้ธาตุเพิ่มขึ้นอีกมาก ซึ่งธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกือบทั้งหมดเป็นที่ทราบกันใน ค.ศ. 1900 คุณสมบัติของธาตุเคมีมักสรุปโดยใช้ตารางธาตุ ซึ่งจัดธาตุเรียงตามเลขอะตอม แบ่งเป็นแถว ("คาบ") ซึ่งธาตุที่อยู่ในคอลัมน์ ("หมู่") เดียวกันจะมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเกิดเวียนซ้ำ เกือบทุกธาตุมีประโยชน์ใช้งานสำคัญต่อมนุษย์อย่างน้อยหนึ่งอย่าง ซึ่งอาจอยู่ในรูปบริสุทธิ์หรืออยู่ในสารประกอบเคมีหรือสารผสมหลายชนิด ยกเว้นธาตุกัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตสั้น ธาตุทั้งหมดหลังยูเรเนียม และรวมไปถึงอะเมริเซียม ปัจจุบันมีผลิตเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่มีความบริสุทธิ์สูง ประมาณยี่สิบสี่ธาตุมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ธาตุหายากส่วนใหญ่บนโลกไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (ยกเว้น เซเลเนียมหรือไอโอดีน) ขณะที่ธาตุส่วนน้อยที่พบได้ค่อนข้างทั่วไป (อะลูมิเนียมและไทเทเนียม) ไม่จำเป็น สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีความต้องการธาตุร่วมกัน แต่มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างพืชและสัตว์ ตัวอย่างเช่น สาหร่ายมหาสมุทรใช้โบรมีน แต่พืชบกและสัตว์ดูเหมือนไม่ต้องการเลย สัตว์ทุกชนิดต้องการโซเดียม แต่พืชบางชนิดไม่ต้องการ พืชต้องการโบรอนและซิลิกอน แต่สัตว์ไม่ต้องการหรืออาจต้องการในปริมาณเล็กน้อยมาก) มีเพียงหกธาตุ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน แคลเซียม และฟอสฟอรัส ประกอบกันขึ้นเป็นเกือบ 99% ของมวลร่างกายมนุษย์ นอกเหนือไปจากหกธาตุหลักซึ่งประกอบเป็นร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่นั้น มนุษย์ยังต้องการบริโภคธาตุอีกอย่างน้อยสิบสองธาตุ == สมบัติของธาตุในตารางธาตุ == ธาตุในหมู่ (group) เดียวกัน * จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด (valence electron) เท่ากัน * พลังงาน IE ลดลงจากบนลงล่าง * ค่า EN (electronegativity) ลดลงจากบนลงล่าง ธาตุในคาบ (period) เดียวกัน * จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด (valence electron) เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา * พลังงาน IE เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวายกเว้นหมู่ 2 สูงกว่าหมู่ 3 และ หมู่ 5 สูงกว่าหมู่ 6 * ค่า EN เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา == ดูเพิ่ม == รายชื่อธาตุเคมี == อ้างอิง ==
thaiwikipedia
432
กิโลกรัม
กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram : kg) เป็นหน่วยฐานของมวลตามระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (ระบบเอสไอ) ถูกใช้ทั่วไปในการวัดมวลทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการค้า ทั่วโลก นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า กิโล == หน่วยพหุคูณ == == นิยาม == กิโลกรัม ยังคงเป็นหน่วยเอสไอเพียงหน่วยเดียวที่นิยามโดยเทียบกับวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น แทนที่จะเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติพื้นฐานทางฟิสิกส์เช่นหน่วยอื่น ๆ เมื่อแรกเริ่มนั้น หนึ่งกิโลกรัม นิยามไว้เท่ากับมวลของน้ำบริสุทธิ์ ปริมาตรหนึ่งลิตร ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสและความดันบรรยากาศมาตรฐาน นิยามข้างต้นวัดให้แม่นยำได้ยาก เนื่องจากความหนาแน่นของน้ำขึ้นอยู่กับความดันบรรยากาศ และความดันนิยามโดยมีมวลเป็นองค์ประกอบ ทำให้เกิดการขึ้นแก่กันเป็นวงกลมในนิยามของกิโลกรัมข้างต้น เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น จึงได้มีการนิยามกิโลกรัมใหม่ให้เท่ากับมวลของมวลมาตรฐานอย่างเที่ยงตรง ซึ่งมวลมาตรฐานดังกล่าวสร้างขึ้นโดยให้มีมวลเทียบเท่ากับมวลในนิยามเดิม นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 เป็นต้นมา ระบบเอสไอนิยามให้มวลหนึ่งกิโลกรัมเท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม ซึ่งเป็นทรงกระบอกสร้างจากโลหะเจือแพลทินัม-อิริเดียม ความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลาง 39 มิลลิเมตร เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด (Bureau International des Poids et Mesures) ได้มีการสร้างสำเนาอย่างเป็นทางการของมวลต้นแบบระหว่างชาติฯ ขึ้นหลายชิ้นด้วยกันเพื่อใช้เป็นมวลต้นแบบแห่งชาติ ซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบกับมวลต้นแบบระหว่างชาติฯ ("Le Grand Kilo" เลอกรองกีโล) ประมาณทุก 10 ปี มวลต้นแบบระหว่างชาติฯ นั้นสร้างขึ้นราวคริสต์ทศวรรษ 1880 หากถือตามนิยาม ความคลาดเคลื่อนระหว่างการเปรียบเทียบซ้ำแต่ละครั้งของนิยามปัจจุบันจะต้องเป็นศูนย์ ทว่าในการถือปฏิบัติโดยทั่วไป ถือว่าความคลาดเคลื่อนดังกล่าวอยู่ในอันดับ 2 ไมโครกรัม ความคลาดเคลื่อนนี้พบจากการเปรียบเทียบมวลต้นแบบระหว่างชาติฯ กับมวลต้นแบบแห่งชาติทุกชิ้น เนื่องจากมวลต้นแบบแห่งชาติสร้างจากวัสดุเดียวกันและเก็บไว้ในสภาวะเดียวกัน จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าวได้ว่ามวลต้นแบบระหว่างชาติฯ มีความเสถียรของมวลมากหรือน้อยไปกว่ามวลสำเนาอย่างเป็นทางการชิ้นอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้การประมาณการความเสถียรของมวลต้นแบบระหว่างชาติฯ จึงสามารถกระทำได้ กระบวนวิธีเปรียบเทียบดังกล่าวนี้จะกระทำประมาณทุก 40 ปี ปัจจุบันเราพบว่ามวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัมสูญเสียมวลไปประมาณ 50 ไมโครกรัมตลอดระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสาเหตุนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด (จากรายงานในนิตยสาร แดร์-ชปีเกิล ปี 2003 ฉบับ 26) การที่มวลของมวลต้นแบบฯ เปลี่ยนแปรไปจนสังเกตได้นี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้มีการค้นหานิยามใหม่สำหรับกิโลกรัม เนื่องจากหากเราถือตามนิยามของกิโลกรัมในปัจจุบัน คำกล่าวที่ว่า "วัตถุใด ๆ ก็ตามในเอกภพ (เว้นแต่มวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม) ที่เมื่อ 100 ปีก่อนมีมวล 1 กิโลกรัม, และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นมา, ปัจจุบันจะมีมวลมากกว่าหนึ่งกิโลกรัมอยู่ 50 ไมโครกรัม" จะต้องนับว่าถูกต้องแม่นยำ เราจะเห็นว่าคำกล่าวข้างต้นขัดแย้งกับสามัญสำนึก นอกจากนี้ยังทำให้สูญเสียความมุ่งหมายในการนิยามหน่วยมาตรฐานของมวลไป เนื่องจากมาตรฐานไม่ควรเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ได้เมื่อเวลาผ่านไป ทำให้มีการประชุมกันของนักวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างนิยามใหม่ของ กิโลกรัม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 โดยนิยามใหม่ของกิโลกรัมคือ กิโลกรัมหรือสัญลักษณ์ kg นิยามโดย ค่าคงตัวของพลังค์ เป็น 6.626070150 คูณ 10 ยกกำลัง -34 โดยมีหน่วยเป็น Js ซึ่งเท่ากับ kg m^2 s^-1 โดยเมตรและวินาทีนิยามในเทอมของความเร็วของแสงและนาฬิกา Caesium standard ตามลำดับเป็นการเปลี่ยนการนิยามจากวัตถุทางกายภาพเปลี่ยนเป็นนิยามอิงกับค่าคงที่ทางฟิสิกส์ == อ้างอิง == หน่วยฐานเอสไอ หน่วยมวล หน่วยวัด หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ
thaiwikipedia
433
ดาวหาง
ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 มีรายงานการค้นพบดาวหางแล้ว 3,648 ดวง ในจำนวนนี้หลายร้อยดวงเป็นดาวหางคาบสั้น การค้นพบยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนที่ค้นพบแล้วเป็นแค่เศษเสี้ยวเพียงเล็กน้อยของจำนวนดาวหางทั้งหมดเท่านั้น วัตถุอวกาศที่มีลักษณะคล้ายกับดาวหางในระบบสุริยะรอบนอกอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านล้านชิ้น ดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีปรากฏโดยเฉลี่ยอย่างน้อยปีละหนึ่งดวง ในจำนวนนี้หลายดวงมองเห็นได้เพียงจาง ๆ เท่านั้น ดาวหางที่สว่างมากจนสามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้โดยง่ายมักเรียกว่าดาวหางใหญ่ (great comet) นอกจากนี้ยังมีดาวหางประเภทเฉียดดวงอาทิตย์ ซึ่งมักจะแตกสลายเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก ๆ อันเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงมหาศาล เป็นที่มาของฝนดาวตกต่าง ๆ และดาวหางอีกจำนวนนับพันดวงที่มีวงโคจรไม่เสถียร == ประวัติ == === ชื่อและสัญลักษณ์ === คำว่า "ดาวหาง" มีที่มาจากลักษณะปรากฏคล้ายหางสัตว์ ชื่อภาษาอังกฤษ comet มีรากศัพท์จากภาษาละตินว่า (κομήτης cometes) ซึ่งมาจากคำภาษากรีก komē มีความหมายว่า "เส้นผมจากศีรษะ" อริสโตเติลเป็นคนแรกที่ใช้ชื่อ komētēs กับดาวหาง เพื่อบรรยายว่ามันเป็น "ดาวที่มีผม" สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์สำหรับดาวหางคือ (☄) ซึ่งเป็นภาพวาดแผ่นกลมกับเส้นหางยาว ๆ เหมือนเส้นผม ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ เรียก "ดาวไม้กวาด" (彗星) เพราะรูปร่างของมันคล้ายไม้กวาดบ้าน === วงโคจรและต้นกำเนิด === ดาวหางมีคาบการโคจรที่แตกต่างกันหลายแบบ นับตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี ไปจนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี ขณะที่ดาวหางบางดวงเชื่อว่าผ่านเข้ามาถึงระบบสุริยะชั้นในเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก่อนจะเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่ห้วงอวกาศระหว่างดาว เชื่อกันว่า ดาวหางคาบสั้นมีต้นกำเนิดมาจากแถบไคเปอร์หรือแถบหินกระจาย ซึ่งอยู่ไกลออกไปจากวงโคจรของดาวเนปจูน ดาวหางคาบยาวมาจากห้วงอวกาศที่ไกลกว่านั้น เช่นจากกลุ่มเมฆน้ำแข็งซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนเศษซากที่หลงเหลืออยู่หลังจากการรวมตัวกันของเนบิวลาสุริยะ เมฆเหล่านี้เรียกว่า เมฆออร์ต ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ แจน ออร์ต เมฆออร์ตอยู่ในระยะที่ไกลออกไปจากแถบไคเปอร์ ดาวหางเหวี่ยงตัวเองจากขอบนอกของระบบสุริยะเข้ามาหาดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงอันยุ่งเหยิงของบรรดาดาวเคราะห์รอบนอก (ในกรณีของวัตถุจากแถบไคเปอร์) หรือจากดาวฤกษ์อื่นใกล้เคียง (ในกรณีของวัตถุจากเมฆออร์ต) หรือเป็นผลจากการกระทบกันเองระหว่างวัตถุในย่านเหล่านี้ ดาวหางแตกต่างจากดาวเคราะห์น้อย โดยสามารถสังเกตได้จากโคมา และหาง แม้ว่าดาวหางที่เก่าแก่มาก ๆ จะสูญเสียความสามารถในการระเหยของธาตุในตัวไปจนหมด ทำให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อย ทั้งนี้ เชื่อกันว่าดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดที่แตกต่างไปจากกำเนิดของดาวหาง เพราะดาวเคราะห์น้อยน่าจะก่อตัวอยู่ในบริเวณระบบสุริยะชั้นใน มิได้มาจากส่วนนอกของระบบสุริยะ แต่จากการค้นพบไม่นานมานี้ ทำให้การแยกแยะระหว่างดาวเคราะห์น้อยกับดาวหางไม่ชัดเจนนัก (ดูเพิ่มที่ เซนทอร์ และ คำจำกัดความของดาวเคราะห์น้อย) นับถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 มีรายงานการค้นพบดาวหางแล้วจำนวน 3,648 ดวง ในจำนวนนี้ 1,500 ดวงเป็นดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ตระกูลครอทซ์ และประมาณ 400 ดวงเป็นดาวหางคาบสั้น ตัวเลขนี้ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดี นี่แสดงให้เห็นถึงจำนวนประชากรเพียงส่วนเล็กน้อยของจำนวนดาวหางทั้งหมดเท่านั้น วัตถุคล้ายดาวหางทั้งหมดที่มีในระบบสุริยะชั้นนอกน่าจะมีอยู่เป็นจำนวนล้านล้านดวง จำนวนดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเฉลี่ยแล้วมีประมาณปีละ 1 ดวง แม้ว่าส่วนมากจะค่อนข้างจางแสงมากและไม่สวยงามน่าชม เมื่อมีการพบดาวหางสว่างมากหรือสวยงามโดดเด่นในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีผู้มองเห็นเป็นจำนวนมาก ๆ มักจะเรียกดาวหางเหล่านั้นว่า ดาวหางใหญ่ == ลักษณะทางกายภาพ == ลักษณะทางกายภาพของดาวหางสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนนิวเคลียส โคม่าและหาง นิวเคลียสของดาวหางมีขนาดตั้งแต่ 0.5 กิโลเมตรไปจนถึง 50 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยหินแข็ง ฝุ่น น้ำแข็ง และแก๊สแข็งเช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และแอมโมเนีย องค์ประกอบนี้มักนิยมเรียกกันว่า "ก้อนหิมะสกปรก" แม้จากการสังเกตเมื่อไม่นานมานี้พบว่าพื้นผิวของดาวหางนั้นแห้งและเป็นพื้นหิน สันนิษฐานว่าก้อนน้ำแข็งซ่อนอยู่ใต้เปลือก ในดาวหางยังมีสารประกอบอินทรีย์ปรากฏอยู่ด้วย นอกเหนือจากแก๊สหลายชนิดดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเมทานอล ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ฟอร์มัลดีไฮด์ เอทานอล และอีเทน บางทีก็มีโมเลกุลที่ซับซ้อนมากขึ้นเช่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนห่วงโซ่ยาว และกรดอะมิโน นอกจากนี้ จากการศึกษาดาวหางในย่านความถี่อัลตราไวโอเลต พบว่ามีชั้นของไฮโดรเจนห่อหุ้มดาวหางอีกชั้นหนึ่ง ไฮโดรเจนเหล่านี้เกิดจากไอน้ำที่แตกตัวอันเนื่องมาจากรังสีจากดวงอาทิตย์ นิวเคลียสของดาวหางมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นทรง เพราะมันไม่มีมวล (ซึ่งแปรผันกับแรงโน้มถ่วง) มากพอที่จะกลายเป็นทรงกลมได้ ในระบบสุริยะรอบนอก ดาวหางจะคงสภาพแช่แข็งและไม่สามารถสังเกตได้จากโลกหรือสังเกตได้ยากมาก เนื่องจากมันมีขนาดเล็กมาก (แต่ก็มีนิวเคลียสดาวหางบางดวงในแถบไคเปอร์ที่สามารถมองเห็นได้) เมื่อดาวหางเคลื่อนเข้ามาสู่ระบบสุริยะรอบใน ใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้น้ำแข็งและแก๊สแข็งระเหิดเป็นไอ และปล่อยแก๊สออกมาเกาะกลุ่มกับฝุ่นผงในอวกาศกลายเป็นม่านทรงกลมขนาดมหึมาล้อมรอบนิวเคลียส เรียกว่า โคม่า ซึ่งโคม่าอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึงหลายล้านกิโลเมตรก็ได้ แรงดันจากรังสีที่แผ่จากดวงอาทิตย์และลมสุริยะจะกระทำต่อโคม่านี้ ทำให้เกิดเป็นละอองขนาดใหญ่ลากยาวออกไปเป็นหาง ในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ กระแสฝุ่นและแก๊สทำให้เกิด "หาง" ในรูปแบบที่แตกต่างกัน คือ หางแก๊ส หรือ หางพลาสมา หรือ หางไอออน ประกอบด้วยไอออน และโมเลกุลที่ส่องสว่างโดยการเรืองแสง ถูกผลักออกไปโดยสนามแม่เหล็กในลมสุริยะ ดังนั้นความผันแปรของลมสุริยะจึงมีผลต่อการเปลี่ยนรูปร่างของหางแก๊สด้วย หางแก๊สจะอยู่ในระนาบวงโคจรของดาวหาง และชี้ไปในทิศเกือบตรงข้ามดวงอาทิตย์พอดี หางอีกชนิดหนึ่งคือ หางฝุ่น ประกอบด้วยฝุ่นหรืออนุภาคอื่น ๆ ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ถูกผลักออกจากดาวหางด้วยแรงดันจากการแผ่รังสี กลายเป็นหางที่มีรูปทรงห่อโค้งไปด้านหลัง ในขณะที่ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ หางของมันอาจยาวได้ถึงหลายร้อยล้านกิโลเมตร ความยาวของหางแก๊สเคยบันทึกได้สูงสุดมากกว่า 1 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร) ทั้งโคม่าและหางจะเรืองแสงได้จากดวงอาทิตย์ และสามารถมองเห็นได้จากโลกเมื่อดาวหางเคลื่อนเข้ามาสู่ระบบสุริยะชั้นใน ฝุ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ได้โดยตรง ขณะที่กลุ่มแก๊สเรืองแสงได้ด้วยการแตกตัวเป็นไอออน ดาวหางส่วนใหญ่จะมีความสว่างเพียงจาง ๆ ซึ่งจะมองเห็นได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ แต่ก็มีดาวหางจำนวนหนึ่งที่มีความสว่างพอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผ่านเข้ามาใกล้ทุก ๆ ทศวรรษ บางครั้งก็มีการระเบิดใหญ่ขึ้นแบบฉับพลันในกลุ่มแก๊สและฝุ่น ทำให้ขนาดของโคม่าขยายตัวขึ้นมากชั่วขณะหนึ่ง เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2550 กับดาวหางโฮมส์ ข้อมูลที่น่าพิศวงคือ นิวเคลียสของดาวหางนับเป็นวัตถุอวกาศที่มืดที่สุดพวกหนึ่งในบรรดาวัตถุในระบบสุริยะ ยานจอตโตพบว่านิวเคลียสของดาวหางฮัลเลย์มีความสามารถสะท้อนแสงเพียง 4% เท่านั้น ส่วนยานดีปสเปซ 1 พบว่าพื้นผิวของดาวหางโบร์เรลลีสามารถสะท้อนแสงได้ราว 2.4 ถึง 3% ขณะที่พื้นผิวยางมะตอยสามารถสะท้อนแสงได้ 7% คาดกันว่าสารประกอบอินทรีย์อันซับซ้อนของนิวเคลียสเหล่านั้นเป็นวัสดุที่มีพื้นผิวมืด ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้องค์ประกอบที่ระเหยง่ายกลายเป็นไอหายไป เหลือแต่สารประกอบอินทรีย์แบบห่วงโซ่ยาวซึ่งเป็นสสารมืดเหมือนอย่างน้ำมันดินหรือน้ำมันดิบ พื้นผิวที่มืดของดาวหางทำให้มันสามารถดูดซับความร้อนได้ดีและยิ่งระเหิดได้ง่ายขึ้น ในปี พ.ศ. 2539 มีการค้นพบว่าดาวหางปลดปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาด้วย ซึ่งทำให้เหล่านักวิจัยพากันประหลาดใจ เพราะไม่เคยคาดกันมาก่อนว่าจะมีการปล่อยรังสีเอกซ์จากดาวหาง เชื่อว่ารังสีเอกซ์เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างดาวหางกับลมสุริยะ ขณะที่ประจุไฟฟ้าศักย์สูงเคลื่อนผ่านบรรยากาศรอบดาวหางแล้วเกิดปะทะกับอะตอมและโมเลกุลของดาวหาง ในการปะทะนั้นไอออนได้จับกับอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่ง แล้วปล่อยรังสีเอกซ์รวมถึงโฟตอนที่ความถี่ระดับอัลตราไวโอเลตไกล == ลักษณะของวงโคจร == ดาวหางส่วนใหญ่มีวงโคจรเป็นวงรีที่เรียวมาก ๆ โดยมีปลายข้างหนึ่งของวงรีเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งทอดไกลออกไปยังด้านนอกของระบบสุริยะ สามารถแบ่งประเภทของดาวหางได้เป็นกลุ่มตามคาบการโคจร ยิ่งดาวหางมีคาบการโคจรยาวเท่าใด รูปวงรีก็จะยิ่งเรียวมากขึ้น ดาวหางคาบสั้น (Short-period comets) เป็นดาวหางที่มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์น้อยกว่า 200 ปี โดยทั่วไปมักมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบสุริยวิถี และเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับดาวเคราะห์ จุดปลายของวงรีอีกด้านที่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดมักอยู่ในแถบของดาวเคราะห์รอบนอกของระบบสุริยะ (ตั้งแต่ดาวพฤหัสบดีออกไป) ตัวอย่างเช่น ดาวหางฮัลเลย์มีจุดไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์อยู่ในบริเวณวงโคจรของดาวเนปจูน ส่วนดาวหางที่มีคาบโคจรสั้นกว่านั้นเช่นดาวหางเองเคอ (Comet Encke) มีจุดไกลที่สุดเพียงไม่เกินวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ดาวหางคาบสั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มดาวพฤหัสบดี (คาบโคจรไม่เกิน 20 ปี) และกลุ่มดาวหางฮัลเลย์ (คาบโคจรระหว่าง 20 ถึง 200 ปี) ดาวหางคาบยาว (Long-period comets) มีความรีของวงโคจรมากกว่า และมีคาบโคจรตั้งแต่ 200 ปีขึ้นไปจนถึงหลายพันหรือหลายล้านปี (ตามนิยามแล้ว ดาวหางเหล่านี้จะต้องยังคงอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ ดาวหางที่ถูกดีดออกจากระบบสุริยะหลังจากเคลื่อนผ่านดาวเคราะห์ขนาดใหญ่จะไม่นับว่าเป็นดาวหางที่มี "คาบโคจร" อีกต่อไป) จุดปลายของวงรีด้านที่ไกลจากดวงอาทิตย์จะอยู่นอกเขตแดนดาวเคราะห์รอบนอกออกไปอีก และระนาบโคจรของดาวหางกลุ่มนี้อาจไม่อยู่ในระนาบเดียวกับสุริยวิถีก็ได้ ดาวหางแบบปรากฏครั้งเดียว (Single-apparition comets) มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวหางคาบยาว แต่มักมีเส้นทางแบบพาราโบลาหรือไฮเพอร์โบลา ทำให้มันผ่านเข้ามาในระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว นักวิชาการบางคนใช้คำว่า "ดาวหางรายคาบ" (Periodic comet) สำหรับดาวหางใด ๆ ที่มีวงโคจรเป็นวงรี (ได้แก่ทั้งดาวหางคาบสั้นและดาวหางคาบยาว) แต่บางคนก็นับแต่เพียงดาวหางคาบสั้นเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน แม้คำว่า "ดาวหางแบบไม่มีคาบ" (non-periodic comet) จะมีความหมายเดียวกับดาวหางแบบปรากฏครั้งเดียว แต่นักวิชาการบางคนก็ใช้ในความหมายรวมถึงดาวหางคาบยาว หรือคาบยาวนานกว่า 200 ปีด้วย ในระยะหลังมีการค้นพบแถบดาวหางหลัก (Main-belt comets) ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งประเภทเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชนิด ดาวหางในกลุ่มนี้มีวงโคจรค่อนข้างกลมมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในระยะเดียวกันกับแถบดาวเคราะห์น้อย เมื่อดูจากลักษณะของวงโคจร เชื่อกันว่าดาวหางคาบสั้นน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากแถบไคเปอร์ซึ่งอยู่ในห้วงอวกาศแถบวงโคจรของดาวเนปจูน ส่วนดาวหางคาบยาวน่าจะมาจากแหล่งที่ไกลกว่านั้น เช่นในกลุ่มเมฆออร์ต (ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ เจน เฮนดริก ออร์ต ผู้ค้นพบ) เชื่อกันว่า มีวัตถุลักษณะคล้ายดาวหางจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงเกือบกลมในระยะวงโคจรราว ๆ นั้นอยู่แล้ว แต่อิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีแถบไคเปอร์) หรือแรงโน้มถ่วงจากดวงดาวอื่น (กรณีกลุ่มเมฆออร์ต) อาจส่งผลโดยบังเอิญทำให้วัตถุอวกาศในเขตนั้นเปลี่ยนวงโคจรกลายเป็นวงรีและเคลื่อนเข้าหาดวงอาทิตย์ จนกลายมาเป็นดาวหางที่เรามองเห็น แต่ทว่าการปรากฏของดาวหางใหม่ ๆ ตามสมมุติฐานข้อนี้ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ วงโคจรอันเป็นวงรีทำให้ดาวหางผ่านเข้าไปใกล้ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่บ่อยครั้ง ทำให้วงโคจรของดาวหางบิดเพี้ยนไป ดาวหางคาบสั้นมักมีจุดปลายสุดของวงโคจรด้านไกลดวงอาทิตย์อยู่ในรัศมีวงโคจรของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่นดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีมวลรวมมากกว่าดาวเคราะห์ที่เหลือทั้งหมดรวมกัน ในบางครั้งดาวหางคาบยาวก็อาจถูกแรงโน้มถ่วงรบกวนเส้นทางโคจรจนทำให้กลายมาเป็นดาวหางคาบสั้นได้ (ดาวหางฮัลเลย์อาจเป็นตัวอย่างหนึ่งของกรณีนี้) การเฝ้าสังเกตการณ์ในยุคแรกไม่ค่อยพบดาวหางที่มีวงโคจรแบบไฮเพอร์โบลา (หรือดาวหางแบบไม่มีคาบ) แต่ไม่มีดาวหางดวงใดจะรอดพ้นแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดีไปได้ หากดาวหางเคลื่อนไปในห้วงอวกาศระหว่างดาว มันจะต้องเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วในระดับเดียวกับความเร็วสัมพัทธ์ของดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ (ระดับหลายสิบกิโลเมตรต่อวินาที) เมื่อวัตถุเหล่านั้นเข้ามาในระบบสุริยะก็มักจะมีวิถีโคจรเป็นแบบไฮเพอร์โบลา จากการคำนวณอย่างหยาบ ๆ พบว่าจะมีดาวหางที่มีวงโคจรแบบไฮเพอร์โบลาเกิดขึ้นประมาณศตวรรษละสี่ดวง ปัจจุบัน ดาวหางรายคาบที่ค้นพบในศตวรรษที่แล้วจำนวนหนึ่งได้ "สูญหายไป" แต่วงโคจรของมันเท่าที่ตรวจวัดยังไม่ละเอียดดีพอสำหรับทำนายการปรากฏตัวในอนาคต อย่างไรก็ดี มีการค้นพบ "ดาวหางใหม่" บางดวง และเมื่อคำนวณวงโคจรของมันแล้ว อาจเป็นไปได้ว่ามันคือดาวหางเก่าที่ "สูญหายไป" นั่นเอง ตัวอย่างเช่นดาวหางเทมเพล-ซวิฟท์-ลีเนียร์ ซึ่งค้นพบในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้อีกหลังจากปี พ.ศ. 2451 เนื่องจากการรบกวนวงโคจรของดาวพฤหัสบดี กลับมาปรากฏตัวอีกครั้งโดยบังเอิญโดยโครงการลีเนียร์ (LINEAR; Lincoln Laboratory Near-Earth Asteroid Research project : โครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศสหรัฐฯ, นาซา และเอ็มไอที) ในปี พ.ศ. 2544 == จุดจบของดาวหาง == โดยทั่วไปเมื่อดาวหางโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปนานเข้า องค์ประกอบในนิวเคลียสที่ระเหิดง่ายจะค่อย ๆ ระเหิดหายไปจนหมด ดาวหางอาจสลายตัวกลายเป็นฝุ่นผง หรือกลายเป็นเศษซากก้อนหินดำมืด มีสภาพคล้ายกับดาวเคราะห์น้อย ดาวหางบางดวงก็แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ตัวอย่างเช่นดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ 3 ที่แตกเป็นเสี่ยงเมื่อปี พ.ศ. 2549 การแตกกระจายของดาวหางเกิดได้จากแรงโน้มถ่วงมหาศาลจากดวงอาทิตย์หรือดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ ทำให้เกิด "การระเบิด" ขององค์ประกอบที่ระเหิดได้ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน ดาวหางบางดวงมีจุดจบที่อลังการกว่านั้น เช่นพุ่งไปตกบนดวงอาทิตย์ หรือพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์หรือวัตถุอวกาศอื่น ๆ เชื่อกันว่าเหตุการณ์ที่ดาวหางพุ่งชนดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์เกิดขึ้นเป็นปกติมานานแล้วในช่วงเริ่มต้นของระบบสุริยะ หลุมบ่อขนาดใหญ่มากมายบนดวงจันทร์ก็สันนิษฐานว่าเกิดจากการพุ่งชนของดาวหาง การพุ่งชนของดาวหางครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 เมื่อดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 แตกเป็นเสี่ยง ๆ แล้วพุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดี ดาวหางและดาวเคราะห์น้อยหลายดวงเคยพุ่งชนโลกเมื่อยุคเริ่มแรก นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าการที่ดาวหางมากมายพุ่งชนโลกในวัยเยาว์ (เมื่อประมาณ 4 พันล้านปีก่อน) นำพาน้ำจำนวนมหาศาลซึ่งปัจจุบันกลายเป็นมหาสมุทรที่ปกคลุมผิวโลก แต่นักวิจัยบางคนยังตั้งข้อสงสัยต่อทฤษฎีนี้ การตรวจพบโมเลกุลอินทรีย์บนดาวหางทำให้เกิดแนวคิดขึ้นว่า ดาวหางหรือดาวตกอาจเป็นตัวนำ ชีวิต มายังโลก ปัจจุบันมีดาวหางจำนวนมากที่มีวงโคจรเข้าใกล้โลก แต่กระนั้นโอกาสที่โลกจะถูกชนด้วยดาวเคราะห์น้อยยังมีความเป็นไปได้มากกว่า นอกจากนี้ยังมีแนวคิดว่า นานมาแล้วดาวหางอาจเคยพุ่งชนดวงจันทร์ ทำให้เกิดน้ำปริมาณมากบนดวงจันทร์ของโลก ซึ่งปัจจุบันอาจหลงเหลืออยู่ในรูปของน้ำแข็งบนดวงจันทร์ == การตั้งชื่อดาวหาง == ตลอดสองร้อยปีที่ผ่านมา มีการตั้งชื่อให้แก่ดาวหางอยู่หลายวิธี เนื่องจากยังไม่มีระบบวิธีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ก่อนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดาวหางจะถูกเรียกชื่อตามปีที่มีการค้นพบ และบางครั้งก็มีคำขยายเพิ่มเติมสำหรับดาวหางที่สว่างเป็นพิเศษ เช่น "ดาวหางใหญ่แห่งปี 1680" (ดาวหางเคียช, Kirch) "ดาวหางใหญ่ในเดือนกันยายน 1882" และ "ดาวหางที่เห็นได้ในยามกลางวันปี 1910" (หรือ "ดาวหางใหญ่เดือนมกราคม 1910") เป็นต้น ในเวลาต่อมา เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ สามารถพิสูจน์ได้ว่าดาวหางที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 เป็นดาวหางดวงเดียวกัน และสามารถทำนายได้อย่างถูกต้องว่ามันจะหวนมาเยือนโลกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1759 หลังจากนั้นดาวหางดวงนั้นก็ได้ชื่อว่า ดาวหางฮัลเลย์ ด้วยวิธีเดียวกันนี้ ดาวหางที่สามารถทำนายรอบโคจรได้ในเวลาต่อมาเป็นดวงที่ 2 และ 3 จึงได้ชื่อว่า ดาวหางเองเคอ และดาวหางบีลา (Biela) ตามชื่อสกุลของนักดาราศาสตร์ที่คำนวณวงโคจรได้ถูกต้อง แทนชื่อเก่าดั้งเดิมของมัน หลังจากนั้นดาวหางรายคาบก็มักถูกตั้งชื่อตามนามสกุลของผู้ค้นพบ ยกเว้นดาวหางที่ปรากฏตัวเพียงครั้งเดียวยังคงมีชื่อเรียกเป็นปีที่ปรากฏตัวอยู่ดังเดิม ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิธีการตั้งชื่อดาวหางตามชื่อผู้ค้นพบกลายเป็นวิธีสามัญทั่วไป และยังคงใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดาวหางหนึ่งดวงจะตั้งชื่อตามผู้ค้นพบได้ถึงสามคน ในช่วงหลัง ๆ มีดาวหางหลายดวงที่ถูกค้นพบโดยเครื่องมือที่ควบคุมด้วยทีมนักดาราศาสตร์หลายคน ในกรณีเช่นนี้อาจตั้งชื่อดาวหางตามชื่อเครื่องมือตรวจวัดนั้นก็ได้ ตัวอย่างเช่น ดาวหางไอราส-อาราคี-อัลคอค (IRAS-Araki-Alcock) ค้นพบโดยทั้งดาวเทียมไอราส นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชื่อ เจนิชี อาราคี (Genichi Araki) และจอร์จ อัลคอค (George Alcock) ในอดีตถ้าผู้ค้นพบหรือกลุ่มผู้ค้นพบมีการค้นพบดาวหางมากกว่าหนึ่งดวง จะตั้งชื่อดาวหางตามด้วยชื่อผู้ค้นพบและต่อท้ายด้วยหมายเลข (สำหรับดาวหางรายคาบเท่านั้น) เช่น ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 1-9 เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีดาวหางจำนวนมากที่ค้นพบโดยเครื่องมือทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ (เช่นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ยานโซโฮค้นพบดาวหางเป็นดวงที่ 1,000) ทำให้วิธีการตั้งชื่อแบบนี้ไม่เหมาะสม แต่ก็ยังไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์อื่นใดขึ้นมาแทนที่เพื่อระบุชื่อเฉพาะให้แก่ดาวหาง แต่มีการใช้ระบบกำหนดชื่อชั่วคราวขึ้นมาใช้เพื่อป้องกันความสับสน แต่เดิมมาจนถึงปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ดาวหางที่ค้นพบใหม่จะได้รับชื่อชั่วคราวไปก่อนโดยใช้เลขปีคริสต์ศักราชที่ค้นพบ ตามด้วยอักษรโรมันตัวเล็ก เรียงตามลำดับการค้นพบในปีนั้น ๆ (ตัวอย่างเช่น ดาวหาง 1969 ไอ (หรือดาวหางเบนเน็ต) เป็นดาวหางดวงที่ 9 ที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1969) เมื่อดาวหางผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และสามารถคำนวณวงโคจรของมันได้แล้ว ดาวหางดวงนั้นจะได้รับชื่อถาวรเป็นเลขปีที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ตามด้วยเลขโรมันบอกลำดับการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในปีนั้น ๆ ดังนั้นดาวหาง 1969i จึงกลายไปเป็นดาวหาง 1970 II เนื่องจากมันเป็นดาวหางดวงที่สองที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในปี ค.ศ. 1970 แต่เมื่อมีการค้นพบดาวหางมากขึ้นเรื่อย ๆ วิธีการเช่นนี้จึงยุ่งยากมาก ในปี ค.ศ. 1994 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลจึงอนุมัติระบบการตั้งชื่อดาวหางแบบใหม่ โดยดาวหางจะมีชื่อเป็นเลขปีที่ค้นพบตามด้วยตัวอักษรระบุปักษ์ของเดือนที่ค้นพบ และหมายเลขบอกลำดับการค้นพบในเดือนนั้น (เป็นระบบการตั้งชื่อที่คล้ายคลึงกับระบบการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย) ดังนั้นดาวหางดวงที่สี่ที่ค้นพบในปักษ์หลังของเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จึงมีชื่อว่า 2006 D4 ทั้งนี้อาจมีอักษรนำเพื่อระบุประเภทของดาวหางนั้น เช่น พี/ หมายถึงดาวหางรายคาบ (ใช้กับดาวหางที่มีคาบโคจรน้อยกว่า 200 ปี หรือมีการสังเกตการณ์ที่ยืนยันได้โดยผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดมาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง) ซี/ หมายถึงดาวหางแบบไม่มีคาบ (ใช้กับดาวหางที่ไม่เข้าข่ายนิยามข้างต้น) เอกซ์/ หมายถึงดาวหางที่ยังไม่สามารถคำนวณวงโคจรที่แน่นอนได้ (มักเป็นดาวหางในประวัติศาสตร์) ดี/ หมายถึงดาวหางที่แตกสลายไปแล้วหรือสูญหายไป เอ/ หมายถึงวัตถุที่เข้าใจผิดว่าเป็นดาวหาง แต่ที่จริงเป็นดาวเคราะห์น้อย หลังการสังเกตการณ์เมื่อดาวหางผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดครั้งที่สอง ดาวหางรายคาบจะได้รับชื่อเพื่อระบุลำดับการค้นพบ ดังนั้น ดาวหางของเอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ซึ่งเป็นดาวหางที่มีการระบุว่ามีคาบโคจรเป็นดวงแรก จึงได้รับชื่อตามระบบใหม่นี้ว่า 1 พี/1682 คิว 1 ส่วนดาวหางเฮล-บอปป์ ได้ชื่อว่า ซี/1995 โอ 1 เป็นต้น มีวัตถุอวกาศอีกเพียง 5 ชิ้นที่ยังไม่สามารถแยกแยะประเภทได้ชัดเจน และยังอยู่ในรายชื่อของทั้งดาวหางและดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ 2060 ไครอน (95P/Chiron), 4015 วิลสัน-แฮร์ริงตัน (107P/Wilson-Harrington), 7968 เอลสท์-พิซซาโร (133P/Elst-Pizarro), 60558 เอคีคลัซ (174P/Echeclus) และ 118401 ลีเนียร์ (176P/LINEAR, LINEAR 52) == ประวัติการศึกษาดาวหาง == === การสังเกตการณ์ในยุคแรก === ก่อนจะมีการประดิษฐ์คิดค้นกล้องโทรทรรศน์ขึ้น ดาวหางดูเหมือนอยู่ ๆ ก็ปรากฏขึ้นมาบนท้องฟ้า จากนั้นใช้เวลาหลายวันจึงค่อย ๆ อันตรธานหายไป ผู้คนมักเชื่อว่าการปรากฏของดาวหางนำมาซึ่งลางร้ายต่อกษัตริย์หรือผู้นำของพวกเขา หรือนำเอาภัยพิบัติมาสู่ บางครั้งถึงกับทำนายว่าจะเป็นเหตุแห่งการสิ้นเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ บนโลก จากหลักฐานโบราณที่ค้นพบ เช่น กระดูกทำนายของชาวจีน ทำให้เราทราบว่ามนุษย์ได้สังเกตเห็นการปรากฏตัวของดาวหางมานานนับพันปีแล้ว นักวิชาการบางคนตีความว่า "ดวงดาวที่ร่วงหล่น" ดังปรากฏในมหากาพย์กิลกาเมช ในพระธรรมวิวรณ์ และในบันทึกของอินอค อาจจะหมายถึงดาวหางหรือดาวตกดวงใหญ่ก็ได้ ในบันทึกของอริสโตเติลเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศฉบับแรกของเขา ได้บรรยายถึงมุมมองเกี่ยวกับดาวหางที่ได้มีอิทธิพลอยู่เหนือแนวคิดของชาวตะวันตกมานานกว่าสองพันปีแล้ว อริสโตเติลไม่เห็นด้วยกับนักปรัชญายุคก่อนที่บอกว่าดาวหางคือดาวเคราะห์ หรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับดาวเคราะห์ เนื่องจากพื้นฐานแนวคิดที่ว่าดาวเคราะห์มีขอบข่ายการเคลื่อนที่อยู่บนจักรราศี ขณะที่ดาวหางปรากฏตัวขึ้น ณ จุดใดบนท้องฟ้าก็ได้ ตรงกันข้าม อริสโตเติลอธิบายว่า ดาวหางเป็นปรากฏการณ์ในบรรยากาศชั้นบน อันเป็นที่ซึ่งไออากาศร้อนและเย็นไปรวมตัวกันอยู่ และทำให้เกิดการลุกไหม้เป็นเปลวเพลิง เขาใช้แนวคิดนี้อธิบายสิ่งอื่นนอกจากดาวหาง เช่น ดาวตก แสงออโรรา หรือแม้แต่ทางช้างเผือกด้วย นักปรัชญายุคคลาสสิกบางคนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเช่นนี้ ซีนีกา นักปรัชญาชาวโรมัน ได้เฝ้าสังเกตการณ์ดาวหางและพบว่ามันเคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้าอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ถูกรบกวนจากกระแสลม มีลักษณะเหมือนวัตถุท้องฟ้ามากกว่าปรากฏการณ์ด้านดินฟ้าอากาศ ในขณะที่เขายอมรับว่าดาวเคราะห์เคลื่อนที่อยู่ภายในกลุ่มดาวจักรราศีเท่านั้น แต่เขาไม่เห็นเหตุผลที่วัตถุคล้ายดาวเคราะห์อื่น ๆ จะเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งอื่นๆ บนท้องฟ้าไม่ได้ เพราะความรู้ของมนุษยชาติเกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าในยุคนั้นยังน้อยอยู่มาก อย่างไรก็ดีแนวคิดของฝ่ายสนับสนุนอริสโตเติลเป็นที่ยอมรับมากกว่า และเป็นเช่นนั้นเรื่อยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 กว่าจะมีการพิสูจน์ได้ว่าดาวหางเป็นสิ่งซึ่งอยู่พ้นจากชั้นบรรยากาศของโลก พ.ศ. 2120 (ค.ศ. 1577) มีดาวหางสว่างมากดวงหนึ่งปรากฏบนท้องฟ้าเป็นเวลาหลายเดือน นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อทือโก ปราเออ ได้เปรียบเทียบผลการติดตามวัดเส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวหางระหว่างของเขาเองกับผลของคนอื่น ๆ ซึ่งมีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ห่างไกลกัน พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันทุกประการ ไม่มีแพรัลแลกซ์ แสดงว่าดาวหางจะต้องอยู่ห่างจากโลกไปเป็นระยะทางอย่างน้อยสี่เท่าของระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ บันทึกเกี่ยวกับการปรากฏตัวของดาวหางที่มีชื่อเสียงมากชิ้นหนึ่ง ได้แก่ภาพดาวหางฮัลเลย์บนผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงการปรากฏตัวของดาวหางในช่วงที่ชาวนอร์มันบุกโจมตีอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 === การศึกษาวงโคจร === แม้ดาวหางจะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวัตถุท้องฟ้า แต่การเคลื่อนที่ของมันบนท้องฟ้ายังเป็นหัวข้อถกเถียงกันต่อมาอีกนับศตวรรษ แม้เมื่อโยฮันเนิส เค็พเพลอร์ ได้พิสูจน์ในปี ค.ศ. 1609 แล้วว่าดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ในวงโคจรรูปวงรี แต่เขาก็ยังไม่แน่ใจว่ากฎเกณฑ์นี้จะใช้กับการเคลื่อนที่ของวัตถุอื่น ๆ ได้หรือไม่ เขาเชื่อว่าดาวหางเดินทางเป็นเส้นตรงไปท่ามกลางหมู่ดาวเคราะห์ กาลิเลโอ กาลิเลอี ผู้เชื่อมั่นในทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสอย่างแข็งขัน ก็ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของปราเออ และกลับเชื่อถือแนวคิดของอริสโตเติลมากกว่า ว่าดาวหางเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงผ่านไปในบรรยากาศชั้นบน บุคคลแรกที่เสนอแนวคิดว่ากฎของเค็พเพลอร์สามารถใช้ได้กับการเคลื่อนที่ของดาวหาง ได้แก่ วิลเลียม โลเวอร์ ในปี ค.ศ. 1610 หลายทศวรรษต่อจากนั้น นักดาราศาสตร์มากมายเช่น ปิแยร์ เปติต์ (Pierre Petit), โจวันนี โบเรลลิ (Giovanni Borelli), เอเดรียน โอโซต์ (Adrien Auzout), โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke), โจฮัน แบบติสต์ ไคแซท (Johann Baptist Cysat) และโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ต่างสนับสนุนว่าดาวหางเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์เป็นเส้นโค้งแบบวงรีหรือพาราโบลา ในขณะที่นักดาราศาสตร์อื่น ๆ เช่น คริสตียาน เฮยเคินส์ และโยฮันเนส เฮเวเลียส ยังคงสนับสนุนแนวคิดว่าดาวหางเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ข้อถกเถียงนี้คลี่คลายเมื่อดาวหางสว่างดวงหนึ่งถูกค้นพบโดย กอตฟรีด เคียช เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1680 นักดาราศาสตร์ทั่วทั้งยุโรปพากันติดตามเส้นการเดินทางของดาวหางดวงนี้เป็นเวลาหลายเดือน ปี ค.ศ. 1681 นักบวชชาวแซกซอนชื่อ จอร์จ ซามูเอล โดเฟล (Georg Samuel Doerfel) พิสูจน์ได้ว่าดาวหางเป็นวัตถุท้องฟ้าที่เคลื่อนที่บนเส้นทางพาราโบลา โดยมีดวงอาทิตย์เป็นจุดโฟกัส ต่อมาในปี 1687 ไอแซก นิวตัน ได้เขียนในหนังสือ Principia Mathematica พิสูจน์ว่าวัตถุที่เคลื่อนที่ไปภายใต้กฎกำลังสองผกผัน (inverse square law) ของแรงโน้มถ่วงในเอกภพ จะต้องมีเส้นทางเป็นวงรีเหมือนภาคตัดของกรวย เขายังพิสูจน์ได้ด้วยว่าเส้นทางดาวหางบนท้องฟ้าเข้ากันพอดีกับเส้นโค้งแบบพาราโบลา โดยใช้ดาวหางปี 1680 เป็นตัวอย่างการคำนวณ ปี ค.ศ. 1705 เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ได้นำวิธีคิดของนิวตันมาใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าแปลกประหลาดที่มีลักษณะคล้ายดาวหาง ปรากฏบนฟ้าระหว่างปี ค.ศ. 1337 - 1698 เขาสังเกตพบว่าในจำนวนนี้มีดาวหางสามดวง คือในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 มีลักษณะการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งที่ใกล้เคียงกันมาก เขาอธิบายว่าความแตกต่างของเส้นทางไปเล็กน้อยนั้นเกิดจากผลของแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ เมื่อเขาเชื่อมั่นว่าดาวหางทั้งสามนั้นเป็นดวงเดียวกัน จึงคำนวณและทำนายว่ามันจะต้องกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในราวปี ค.ศ. 1758-9 (ก่อนหน้านั้น โรเบิร์ต ฮุค เคยประกาศว่าดาวหางแห่งปี 1664 เป็นดวงเดียวกับปี 1618 และฌอง-โดมินิค กัสซีนี ก็คิดว่าดาวหางในปี 1557, 1665 และ 1680 เป็นดวงเดียวกัน แต่ทั้งสองคนคาดการณ์ผิด) การคำนวณของฮัลเลย์ได้รับการทบทวนจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส 3 คน คือ อเล็กซิส ไคลโรต์ (Alexis Clairaut), โจเซฟ ลาลังเด (Joseph Lalande), และ นิโคล-รีน เลอโปต์ (Nicole-Reine Lepaute), ได้ผลว่าดาวหางจะปรากฏตัวในปี ค.ศ. 1759 โดยมีความคลาดเคลื่อนเพียง 1 เดือน ครั้นเมื่อดาวหางกลับมาปรากฏตรงตามการคำนวณจริง ๆ ดาวหางดวงนั้นจึงได้ชื่อว่า ดาวหางฮัลเลย์ (ชื่อตามระบบการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการคือ 1 พี/ฮัลเลย์) มันจะมาปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 2061 ในบรรดาดาวหางคาบสั้นซึ่งมีการเฝ้าสังเกตการณ์หลายครั้งตามบันทึกประวัติศาสตร์ ดาวหางฮัลเลย์เป็นดาวหางที่โดดเด่นเป็นพิเศษ เพราะมันมีความสว่างมากจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อการพิสูจน์วงโคจรของดาวหางฮัลเลย์ทำได้สำเร็จ ก็มีการค้นพบดาวหางรายคาบเพิ่มขึ้นอีกมากมายด้วยกล้องโทรทรรศน์ ดาวหางดวงที่สองที่สามารถค้นพบคาบการโคจรคือดาวหางเองเคอ (ชื่อตามระบบอย่างเป็นทางการคือ 2P/Encke) ช่วงปี ค.ศ. 1819-1821 นายแพทย์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮัน ฟรานซ์ เองเคอ (Johann Franz Encke) ได้คำนวณวงโคจรของดาวหางที่ปรากฏตัวในปี 1786, 1795, 1805 และ 1818 และสรุปว่ามันเป็นดาวหางดวงเดียวกัน เขาสามารถทำนายการกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งได้อย่างถูกต้องในปี ค.ศ. 1822 ครั้นถึง ค.ศ. 1900 มีดาวหาง 17 ดวงที่ถูกเฝ้าสังเกตการณ์และพบว่ามันผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดมากกว่าหนึ่งครั้ง จึงจัดหมวดให้เป็นดาวหางรายคาบ เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 มีดาวหางรายคาบรวมแล้ว 175 ดวง แม้จะมีหลายดวงที่แตกสลายหรือสูญหายไปเสียแล้ว ในตารางประเภทวัตถุท้องฟ้า ดาวหางจะใช้สัญลักษณ์แทนที่ด้วย ☄ === การศึกษาลักษณะทางกายภาพ === ไอแซก นิวตัน ได้อธิบายลักษณะของดาวหางไว้ว่าเป็นวัตถุแข็งทนทานเคลื่อนที่ไปด้วยวงโคจรโค้งรี หางของมันเป็นแนวละอองไอบาง ๆ ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียส สามารถจุดติดไฟขึ้นได้ด้วยความร้อนจากดวงอาทิตย์ นิวตันสงสัยว่าดาวหางเป็นต้นกำเนิดขององค์ประกอบอันจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และยังเชื่อว่าไอระเหยของดาวหางเป็นต้นกำเนิดของน้ำบนดาวเคราะห์ (ซึ่งต่อมาทำให้เกิดดินจากการเติบโตและเน่าเปื่อยของพืช) ส่วนดวงอาทิตย์เป็นแหล่งเชื้อเพลิง ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์บางคนให้ข้อสมมุติฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์ประกอบทางกายภาพของดาวหาง ในปี ค.ศ. 1755 อิมมานูเอิล คานท์ สันนิษฐานว่าดาวหางประกอบด้วยสสารที่ระเหิดได้ง่าย การระเหิดเป็นไอทำให้มันส่องแสงสว่างเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ปี ค.ศ. 1836 นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ฟรีดริช วิลเฮล์ม เบสเซล ซึ่งได้เฝ้าสังเกตดาวหางฮัลเลย์ในปี 1835 ได้เสนอว่าแรงดันของแก๊สที่พวยพุ่งบนพื้นผิวเป็นแรงเคลื่อนสำคัญที่ทำให้วงโคจรของดาวหางเปลี่ยนแปลงไป และยังเสนอว่าการที่ดาวหางเองเคอเปลี่ยนแปลงทิศทางโคจรก็เนื่องมาจากกลไกนี้ อย่างไรก็ดี การค้นพบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาวหางได้บดบังสมมุติฐานเหล่านี้เป็นเวลาเกือบศตวรรษ ตลอดช่วง ค.ศ. 1864-1866 นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อจิโอวานนิ เชียพาเรลลิ คำนวณวงโคจรของดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseid) ความคล้ายกันของวงโคจร ทำให้เขาสันนิษฐานได้อย่างถูกต้องว่าฝนดาวตกเพอร์ซิอัสเป็นชิ้นส่วนที่เกิดจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล การเชื่อมโยงระหว่างดาวหางกับฝนดาวตกได้รับการยืนยันเมื่อเกิดฝนดาวตกกลุ่มใหญ่จากวงโคจรของดาวหางบีลาในปี 1872 ซึ่งตรวจพบว่าดาวหางได้แยกออกเป็นสองส่วนหลังการปรากฏตัวในปี ค.ศ. 1846 และไม่มีการพบอีกเลยหลังปี 1852 เมื่อนั้นจึงเกิดทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างของดาวหางว่าประกอบด้วย "กลุ่มเศษหิน" เคลือบด้านนอกไว้ด้วยชั้นน้ำแข็ง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 กลับพบว่าแบบจำลองนี้มีข้อบกพร่องบางประการ มันไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดวัตถุซึ่งประกอบด้วยเศษน้ำแข็งจึงสามารถเปล่งแสงสว่างจากการระเหยเป็นไอได้แม้จะผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์แล้วหลายครั้ง ปี ค.ศ. 1950 เฟร็ด ลอเรนซ์ วิปเปิล เสนอว่าดาวหางอาจไม่ใช่กลุ่มหินที่มีน้ำแข็งผสมอยู่ แต่มันน่าจะเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีฝุ่นและเศษหินผสมอยู่ แบบจำลอง "ก้อนหิมะสกปรก" กลายเป็นที่ยอมรับในเวลาต่อมา และได้รับการยืนยันเมื่อยานอวกาศหลายลำ (เช่น ยานจอตโต ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) และ ยานเวกา 1 กับ ยานเวกา 2 ของสหภาพโซเวียต) ได้แล่นผ่านเข้าไปในโคม่าของดาวหางฮัลเลย์ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) และสามารถถ่ายภาพนิวเคลียสของดาวหางกับการพวยพุ่งของแก๊สบนพื้นผิว ยานดีปสเปซ 1 ของสหรัฐอเมริกาแล่นผ่านนิวเคลียสของดาวหางโบร์เรลลีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) และยืนยันว่าลักษณะที่เกิดบนดาวหางฮัลเลย์ก็เกิดขึ้นบนดาวหางดวงอื่นด้วยเช่นกัน ยานสตาร์ดัสต์ ที่ขึ้นสู่อวกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ได้เก็บชิ้นส่วนจากโคม่าของดาวหางวิลด์ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2547 และนำตัวอย่างกลับมายังโลกเมื่อเดือนมกราคม 2549 คลอเดีย อเล็กซานเดอร์ นักวิทยาศาสตร์แห่งนาซาซึ่งศึกษารูปแบบโครงสร้างดาวหางมาเป็นเวลาหลายปี ได้รายงานในเว็บไซต์ space.com ถึงจำนวนลำของแก๊สที่มีอยู่มากมายจนน่าตื่นตะลึง การปรากฏของมันบนพื้นผิวด้านมืดและด้านสว่างของดาวหาง ความแรงของแก๊สที่สามารถยกหินก้อนใหญ่โยนออกจากพื้นผิวดาวหางได้อย่างง่ายดาย รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่านิวเคลียสของดาวหางวิลด์ 2 ไม่ได้ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ยึดกันอย่างหลวม ๆ โครงการอวกาศเมื่อเร็ว ๆ นี้และในอนาคตจะช่วยเผยข้อมูลให้เราเข้าใจธรรมชาติและองค์ประกอบของดาวหางได้มากขึ้น เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ยานดีปอิมแพ็กต์ ได้เจาะหลุมขนาดใหญ่บนดาวหางเทมเพล 1 เพื่อศึกษาโครงสร้างภายใน จากนั้นในปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) ยานโรเซตตา ของยุโรปจะเข้าสู่วงโคจรรอบดาวหางชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโค (Churyumov-Gerasimenko) โดยจะนำยานลูกขนาดเล็กลงจอดบนพื้นผิวของมัน === การถกเถียงเรื่ององค์ประกอบของดาวหาง === นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันต่อเนื่องมาโดยตลอดว่าในดาวหางหนึ่งดวงจะมีปริมาณน้ำแข็งอยู่มากเพียงใด พ.ศ. 2544 ทีม ดีปสเปซ 1 ขององค์การนาซาได้รับภาพความละเอียดสูงแสดงรายละเอียดพื้นผิวของดาวหางโบร์เรลลี พวกเขาประกาศว่าดาวหางโบร์เรลลีมีแก๊สพวยพุ่งขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งที่พื้นผิวนั้นทั้งร้อนและแห้ง ตรงข้ามกับสมมุติฐานว่ามีน้ำกับน้ำแข็งบนดาวหาง ดร.ลอเรนซ์ โซเดอร์บลอม แห่งสถาบันธรณีวิทยา สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "สเปกตรัมแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวหางนั้นร้อนและแห้ง น่าแปลกมากที่เรามองไม่เห็นร่องรอยของน้ำแข็งเลย" อย่างไรก็ดี เขาเสนอแนวคิดว่าน้ำแข็งอาจจะซ่อนอยู่ข้างใต้ชั้นผิวด้านนอกก็ได้ ข้อมูลจาก ยานดีปอิมแพกต์ แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบที่เป็นน้ำแข็งส่วนใหญ่ของดาวหางอยู่ข้างใต้พื้นผิว น้ำแข็งเหล่านี้เป็นที่มาของไอน้ำที่พวยพุ่งขึ้นและทำให้เกิดเป็นโคม่าของดาวหางเทมเพล 1 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ใหม่กว่าจากโครงการ สตาร์ดัสต์ แสดงให้เห็นว่าสสารที่เก็บได้จากหางของดาวหางวิลด์ 2 เป็นผลึกบางชนิดที่ "เกิดขึ้นได้ในเปลวไฟเท่านั้น" สสารเหล่านั้นยังบ่งชี้ว่า "ฝุ่นดาวหางประกอบด้วยสสารแบบเดียวกันกับดาวเคราะห์น้อย" ผลการสำรวจล่าสุด ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องหวนกลับมาคิดกันใหม่ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของดาวหางและความแตกต่างกับดาวเคราะห์น้อย == ประเภทดาวหางที่สำคัญ == === ดาวหางใหญ่ === แต่ละปีมีดาวหางขนาดเล็กมากมายหลายร้อยดวงผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน แต่มีเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้นที่สาธารณชนสามารถสังเกตได้ โดยเฉลี่ยทุก ๆ ทศวรรษจะมีดาวหางหนึ่งดวงที่สว่างมากพอจนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดาวหางเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มดาวหางใหญ่ (Great Comets) ในอดีตที่ผ่านมา ดาวหางที่สว่างมักทำให้เกิดการแตกตื่นคลุ้มคลั่งในหมู่ประชาชน เพราะเชื่อกันว่าเป็นลางร้ายนำมาซึ่งหายนะ ครั้นในระยะหลัง หลังจากดาวหางฮัลเลย์กลับมาเยือนในปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) และโลกได้เดินทางผ่านเข้าไปในหางของดาวหาง รายงานข่าวที่ผิดพลาดของหนังสือพิมพ์และสื่อมากมายทำให้เกิดความหวาดหวั่นเกี่ยวกับพิษของไซยาโนเจนและเชื้อโรคซึ่งอ้างว่าอาจคร่าชีวิตคนเป็นล้าน การปรากฏของดาวหางเฮล-บอปป์ในปี พ.ศ. 2540 ทำให้กลุ่มสาวกของลัทธิเฮเวนส์ เกต พากันฆ่าตัวตายไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่ยังคงมองดาวหางว่าเป็นสิ่งสวยงามน่าชม การคาดการณ์ว่าดาวหางดวงใดจะเป็นดาวหางใหญ่นั้นทำได้ยากมาก เพราะมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อความสว่างของดาวหาง และอาจทำให้การพยากรณ์คลาดเคลื่อนไปได้ โดยทั่วไปหากดาวหางมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก และไม่ถูกแสงอาทิตย์กลบเมื่อสังเกตจากโลก ก็มีแนวโน้มว่าดาวหางดวงนั้นจะเป็นดาวหางใหญ่ได้ อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2516 ดาวหางโคฮูเทค (Kohoutek) มีคุณสมบัติทุกประการที่จะเป็นดาวหางใหญ่ แต่มันก็ไม่ได้เป็น ดาวหางเวสต์ซึ่งปรากฏขึ้นสามปีหลังจากนั้น ท่ามกลางความคาดหวังที่น้อยกว่ามาก (อาจเป็นเพราะความล้มเหลวที่เกิดกับดาวหางโคฮูเทค นักดาราศาสตร์จึงระมัดระวังมากยิ่งขึ้นในการพยากรณ์ความสว่างของดาวหาง) แต่ดาวหางเวสต์ได้กลับกลายเป็นดาวหางที่สุกสว่างน่าประทับใจอย่างยิ่ง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงทิ้งห่าง ไม่มีดาวหางใหญ่ปรากฏขึ้นเลยเป็นเวลานานหลายปี จากนั้นก็ปรากฏดาวหางใหญ่สองดวงติด ๆ กัน คือดาวหางเฮียะกุตะเกะ (Hyakutake) ในปี พ.ศ. 2539 ตามด้วยดาวหางเฮล-บอปป์ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งสว่างสูงสุดในปีนั้น หลังจากที่ค้นพบก่อนหน้านั้นนานถึงสองปี ดาวหางใหญ่ดวงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือดาวหางแมกนอต สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 เป็นดาวหางที่สว่างที่สุดในรอบกว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่เห็นดาวหางดวงนี้ เนื่องจากมันมีตำแหน่งใกล้ขอบฟ้ามาก === ดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ === ดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ (Sungrazing comet) คือดาวหางที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเป็นพิเศษ บางครั้งเข้าใกล้เพียงไม่กี่พันกิโลเมตรจากพื้นผิวดวงอาทิตย์ ดาวหางขนาดเล็กอาจระเหิดหายไปเลยเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก ๆ แต่ถ้าดวงใหญ่สักหน่อยก็จะสามารถเคลื่อนผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดได้หลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่แล้วแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดวงอาทิตย์มักจะส่งผลให้มันแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ เสียมากกว่า ประมาณ 90% ของดาวหางประเภทนี้ที่สังเกตการณ์โดยยานโซโฮ มักเป็นดาวหางในตระกูลครอทซ์ (Kreutz) ซึ่งมีกำเนิดจากดาวหางขนาดยักษ์ดวงหนึ่งที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยระหว่างการเข้าสู่ระบบสุริยะชั้นในเป็นครั้งแรก ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นดาวหางทั่วไป ยังมีกลุ่มของดาวหางอีก 4 กลุ่มที่ถูกจัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ ดาวหางตระกูลครอต (Kracht), ครอต 2 เอ (Kracht 2a), มาร์สเดน (Marsden) และมีเยอร์ (Meyer) กลุ่มดาวหางมาร์สเดนและครอตต่างเกี่ยวข้องกับดาวหางมัคโฮลซ์ (96P/Machholz) ซึ่งเป็นดาวหางต้นกำเนิดของธารสะเก็ดดาวในฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids) และฝนดาวตกแกะ (Arietids) === ดาวหางที่ผิดปกติ === ในบรรดาดาวหางซึ่งเรารู้จักแล้วเป็นจำนวนนับพันดวง มีบางดวงที่เป็นดาวหางผิดปกติ ดาวหางเองเคอมีวงโคจรตั้งแต่เขตรอบนอกของแถบดาวเคราะห์น้อยเข้ามาจนถึงวงโคจรของดาวพุธ ขณะที่ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ (29P/Schwassmann-Wachmann) มีวงโคจรที่เคลื่อนอยู่ระหว่างดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เท่านั้น ดาวหาง 2060 ไครอน ซึ่งมีวงโคจรที่ไม่เสถียร เปลี่ยนแปรอยู่ระหว่างดาวเสาร์กับดาวยูเรนัส ถูกจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์น้อยเมื่อตอนที่ค้นพบครั้งแรก จนกระทั่งต่อมามีการค้นพบหางโคม่าอย่างจาง ๆ ในทำนองเดียวกัน ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 2 ก็ถูกจัดประเภทเริ่มต้นเป็นดาวเคราะห์น้อย 1990 UL3 คาดว่าดาวเคราะห์น้อยที่เข้ามาใกล้โลกประมาณ 6% เป็นนิวเคลียสของดาวหางที่หมดอายุ ไม่มีแก๊สหลงเหลืออยู่อีกต่อไปแล้ว มีการเฝ้าสังเกตดาวหางบางดวงไปจนกระทั่งถึงกาลแตกดับระหว่างเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ในจำนวนนี้รวมถึงดาวหางเวสต์และดาวหางอิเกะยะ-เซะกิ (Ikeya-Seki) ส่วนดาวหางบีลาเป็นตัวอย่างที่พิเศษ มันแตกออกเป็นสองส่วนระหว่างการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในปี ค.ศ. 1846 จากนั้นมีการสังเกตพบชิ้นส่วนทั้งสองแยกจากกันในปี ค.ศ. 1852 แล้วก็ไม่ได้พบกับมันอีกเลย แต่กลับพบฝนดาวตกที่งดงามน่าดูในปี ค.ศ. 1872 และ 1885 ซึ่งเป็นปีที่ดาวหางควรจะกลับมาปรากฏอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีฝนดาวตกขนาดเล็กในกลุ่มดาวแอนดรอเมดาเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นจังหวะที่โลกเคลื่อนที่ตัดผ่านวงโคจรของดาวหางบีลาพอดี การสูญสลายของดาวหางที่น่าจดจำอีกเหตุการณ์หนึ่งคือดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ซึ่งค้นพบในปี พ.ศ. 2536 ในตอนที่ค้นพบนั้นดาวหางกำลังอยู่ในวงโคจรแถวดาวพฤหัสบดี แล้วถูกแรงดึงดูดของดาวเคราะห์จับตัวไว้เมื่อมันเคลื่อนเข้าใกล้ในปี พ.ศ. 2535 การประจันหน้ากันครั้งนั้นทำให้ดาวหางแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ หลายร้อยชิ้น และใช้เวลาหกวันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 ที่ชิ้นส่วนทั้งหมดพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สังเกตเห็นการรวมตัวกันของวัตถุอวกาศสองชนิดในระบบสุริยะ นอกจากนี้ ยังมีข้อสันนิษฐานว่าวัตถุที่ทำให้เกิดเหตุระเบิดที่ทังกัสกาในปี ค.ศ. 1908 น่าจะเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของดาวหางเองเคอ == การเฝ้าดูดาวหาง == การค้นพบดาวหางดวงใหม่อาจเกิดได้จากการเฝ้าดูผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตา แต่กระนั้นนักดาราศาสตร์สมัครเล่นที่ไม่มีเครื่องมือตรวจดูท้องฟ้าก็ยังสามารถค้นพบดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ (Sungrazing comet) ได้แบบออนไลน์ โดยการดาวน์โหลดภาพถ่ายจากดาวเทียมสังเกตการณ์ของสถานีวิจัยต่าง ๆ เช่น ยานโซโฮ เป็นต้น การพบดาวหางบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าอาจเป็นไปได้ยากและไม่บ่อยนัก แต่หากใช้กล้องโทรทรรศน์แบบมือสมัครเล่น (ขนาด 50 มม.-100 ซม.) ก็สามารถเห็นภาพท้องฟ้าได้กระจ่างพอที่จะพบดาวหางได้ปีละหลายดวง บางครั้งอาจพบดาวหางมากกว่าหนึ่งดวงบนท้องฟ้าในเวลาเดียวกัน ซอฟต์แวร์ดาราศาสตร์โดยทั่วไปสามารถสร้างภาพเส้นทางโคจรของดาวหางที่รู้จักแล้วได้ ช่วยให้สามารถสังเกตดาวหางเปรียบเทียบกับวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ได้ แต่การสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวหางผ่านช่องมองอาจเป็นไปได้ยาก ในแต่ละคืนดาวหางอาจเคลื่อนตำแหน่งไปจากเดิมได้หลายองศาทีเดียว ดังนั้นผู้เฝ้าดูดาวหางจึงควรมีแผนที่ดาวไว้ด้วยสำหรับใช้ประกอบการสังเกตการณ์ ภาพการปรากฏตัวของดาวหางขึ้นกับปัจจัยมากมาย เช่นองค์ประกอบของดาวหางและระยะห่างจากดวงอาทิตย์ บรรดาสสารบนดาวหางจะระเหิดน้อยลงเมื่อมันเคลื่อนห่างออกจากดวงอาทิตย์ การเฝ้าสังเกตจึงทำได้ยากขึ้น ไม่เพียงเพราะระยะทางที่ห่างไกลขึ้นเท่านั้น แต่ความสว่างของดาวหางก็ลดลง และการส่องแสงของหางก็จางลงด้วย ดาวหางจะปรากฏอย่างงดงามเมื่อนิวเคลียสของมันสว่างจ้าและทอดหางเป็นแนวยาว บางครั้งต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กที่มีขอบเขตภาพกว้างขึ้น เพื่อให้มองเห็นภาพครบถ้วนชัดเจนที่สุด ดังนั้นเครื่องมือขนาดใหญ่สำหรับนักดูดาวสมัครเล่น (ช่องรับแสงตั้งแต่ 25 ซม.ขึ้นไป) ที่สามารถจับภาพวัตถุที่มีความสว่างต่ำมาก ๆ ได้ ก็อาจไม่ได้เปรียบอะไรมากนักในการดูดาวหาง โดยทั่วไปมีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางสวยงามจากกล้องดูดาวสมัครเล่นขนาดเล็ก (8-15 ซม.) มากกว่าจำนวนดาวหางที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเสียอีก == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ดาวหาง C/2001 RX14 (ลีเนียร์) ซึ่งอยู่ใกล้กาแลกซี่ NGC 3726 ภาพโดย SKY-MAP.ORG, SDSS. จับภาพเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2002 Cometography.com ภาพรวมเกี่ยวกับดาวหาง โดยเดวิด ยิวอิต Comets Page จาก โครงการสำรวจดวงอาทิตย์ขององค์การนาซา ESSAY ON COMETS , ผลงานที่ทำให้ ดร.เฟลโลเวส ได้รับรางวัลเป็นครั้งแรก ใช้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเอดินเบอร์กในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา เรียบเรียงโดย David Milne จัดพิมพ์โดย Edinburgh, Printed for A. Black; 1828. (a searchable facsimile at the University of Georgia Libraries; DjVu & layered PDF format) Everything you wanted to know about comets and asteroids (ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดาวหางและดาวเคราะห์น้อย) — โดยทีมงานเว็บ New Scientist. รายชื่อดาวหางที่ค้นพบใหม่ Comets at the Open Directory Project เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับดาวหาง ของคุณเซอิจิ โยชิดะ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุสสารที่เกี่ยวเนื่องกับดาวหาง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของดาวหางในปัจจุบันและในอดีต The Starry Mirror - ข่าวต่างๆ เกี่ยวกับดาวหาง สมาคมดาราศาสตร์ไทย ฝุ่น น้ำนอกโลก
thaiwikipedia
434
ลมสุริยะ
ลมสุริยะ (solar wind) คือ กระแสของอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์สู่อวกาศ จึงมีชื่อในทฤษฎีว่า สุริยะ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอน ซึ่งมีพลังงานเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-100 eV กระแสอนุภาคเหล่านี้มีอุณหภูมิและความเร็วที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลา กระแสอนุภาคจะหลุดออกพ้นจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากมีพลังงานจลน์และอุณหภูมิโคโรนาที่สูงมาก ลมสุริยะทำให้เกิดเฮลิโอสเฟียร์ คือฟองอากาศขนาดใหญ่ในมวลสารระหว่างดาวที่ครอบคลุมระบบสุริยะเอาไว้ ลมสุริยะยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ พายุแม่เหล็กโลก (geomagnetic storm) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าบนโลกใช้การไม่ได้บางครั้งบางคราว, ออโรรา (หรือปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้) และหางพลาสมาของดาวหางที่จะชี้ออกไปจากดวงอาทิตย์เสมอ ==แหล่งข้อมูลอื่น== Sun|trek website แหล่งข้อมูลทางการศึกษาสำหรับครูและนักเรียน เกี่ยวกับดวงอาทิตย์และผลกระทบที่ดวงอาทิตย์มีต่อโลก ปฏิบัติการคลัสเตอร์ แสดงให้เห็นว่าลมสุริยะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างไร ปรากฏการณ์ของดวงอาทิตย์
thaiwikipedia
435
ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ
ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (International System of Units) หรือ ซิสแตแม็งแตร์นาซียอนาลดูว์นีเต (Système international d'unités: SI) เป็นระบบการวัดที่ปรับปรุงมาจากระบบเมตริก โดยเน้นการสร้างมาจากหน่วยฐานทั้งเจ็ดหน่วยและใช้ระบบเลขฐานสิบ ซึ่งถือว่าเป็นระบบการวัดที่ใช้แพร่หลายที่สุดในโลกทั้งในชีวิตประจำวันและทางวิทยาศาสตร์ ระบบเมตริกแต่เดิมนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม โดยระบบเอสไอได้รับการพัฒนามาจากระบบหน่วยเมตร-กิโลกรัม-วินาที (meter-kilogram-second: MKS) ในปี ค.ศ. 1960 และได้ปรับเปลี่ยนนิยามรวมถึงเพิ่มลดหน่วยฐานเอสไอมาตลอดตามการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการวัด เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงในการวัดมากขึ้น ระบบเอสไอเป็นระบบที่ใช้กันเกือบทั้งโลก มีเพียงสามประเทศที่ยังไม่ใช้หน่วยเอสไอเป็นมาตรฐานของหน่วยวัด ได้แก่ ไลบีเรีย พม่า และสหรัฐ แม้ในอังกฤษเองได้ยอมรับให้ใช้ระบบเอสไออย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่สามารถทดแทนระบบดั้งเดิมได้ทั้งหมด == ประวัติ == ระบบเมตริกถือกำเนิดขึ้นจากการรวบรวมหน่วยวัดต่าง ๆ โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการจากสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ให้สร้างระบบการวัดที่เป็นสากลและเหมาะสม (ซึ่งหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนั้นคือ อ็องตวน ลาวัวซีเย ผู้ได้รับฉายาว่าเป็น "บิดาแห่งเคมีสมัยใหม่") ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1793 สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ได้ให้นิยามของหน่วยเมตรใหม่และกำหนดความยาวมาตรฐานรวมถึงหน่วยวัดฐานสิบอื่น ๆ ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1795 ได้กำหนดหน่วยวัดมาตรฐานไว้ห้าหน่วยในกฎหมาย Loi du 18 germinal, an III ได้กำหนดนิยามของหน่วยกรัม ขึ้นมาแทนหน่วย grave ที่มีอยู่แต่เดิม จนในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1799 (ภายหลังการรัฐประหารของนโปเลียน 1 เดือน) ระบบเมตริกในฝรั่งเศสก็ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ความต้องการในการร่วมมือระหว่างประเทศในด้านมาตรวิทยานำไปสู่การเซ็นสนธิสัญญาเมตริก 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เกิดการจัดตั้งสำนักงานชั่ง ตวง วัดระหว่างประเทศ (BIPM) เพื่อกำหนดหน่วยวัดสากล คณะกรรมการมาตรวิทยาสากล (CIPM) และการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศ (CGPM) ซึ่งจัดประชุมทุก ๆ 4–6 ปี หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบมาตรวัดยังคงไม่เป็นมาตรฐาน ทั้งความหลากหลายที่เกิดจากระบบเมทริกเอง และความหลากหลายที่เกิดจากระบบมาตรวัดแบบดั้งเดิม ในการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 9 ในปี ค.ศ. 1948 จึงกำหนดให้คณะกรรมการมาตรวิทยาสากลสร้างหลักสูตรการศึกษาทางด้านมาตรวิทยาในระดับสากลขึ้นเพื่อใช้ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษา เพื่อที่จะสร้างหลักสูตรนี้ การประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 10 จึงเห็นสมควรที่จะสร้างระบบสากลขึ้นมาจากหน่วยฐานทั้งหก โดยเพิ่มการวัดอุณหภูมิและการส่องสว่างจากแต่เดิมที่สร้างหน่วยวัดแค่ระบบกลศาสตร์และแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่ เมตร กิโลกรัม วินาที แอมแปร์ องศาเคลวิน (ซึ่งภายหลังได้ตัดคำว่า "องศา" ทิ้งไป) และแคนเดลา การประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 11 ปี ค.ศ. 1960 จึงได้กำหนดชื่อระบบใหม่นี้ว่า "ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ" หรือที่ย่อเป็น "ระบบเอสไอ" จากชื่อระบบในภาษาฝรั่งเศสที่ว่า Système international d'unités และมีการเพิ่มหน่วยโมลเข้าเป็นหน่วยฐานในการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 14 ปี ค.ศ. 1971 == ระบบที่เกี่ยวข้อง == มาตรฐานระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศให้เป็นไปตามนี้ นิยามคำศัพท์ทางด้าน "ปริมาณ" "หน่วย" ไดเมนชัน ฯลฯ ในด้านมาตรวิทยาของระบบเอสไอเป็นไปตามศัพท์มาตรวิทยาสากล (International Vocabulary of Metrology: IVM) ปริมาณและสมการที่ใช้การนิยามระบบเอสไอถูกอ้างอิงไว้ในระบบของปริมาณระหว่างประเทศ (International System of Quantities: ISQ) และถูกระบุไว้ใน ISO/IEC 80000 == หน่วยเอสไอ == ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ ประกอบไปด้วยชุดของหน่วยวัดเอสไอ และชุดของคำนำหน้าเอสไอ หน่วยวัดเอสไอเองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หน่วยฐานเอสไอและหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ เราสามารถสร้างหน่วยอนุพัทธ์เอสไอได้ไม่จำกัดจากการนำหน่วยฐานเอสไอทั้งเจ็ดมาคูณหรือหารกัน ตัวอย่างเช่นหน่วยอนุพัทธ์ของเอสไอเกี่ยวกับความเร็วคือเมตรต่อวินาที (m/s) หน่วยอนุพัทธ์บางหน่วยอาจมีชื่อเฉพาะเนื่องจากมีการใช้บ่อย ๆ เช่นโอห์ม หน่วยของความต้านทานซึ่งมีสัญลักษณ์ Ω สามารถนิยามได้จาก Ω = m2·kg·s−3·A−2 อันมีผลมาจากนิยามเกี่ยวกับความต้านทานไฟฟ้าโดยตรง มีหน่วยพิเศษสองหน่วยคือเรเดียนและสเตอเรเดียน ที่เดิมถูกกำหนดให้เป็นหน่วยเสริม (supplement unit) ของระบบเอสไอ แต่ภายหลังได้รับการยกเลิกและจัดเป็นหน่วยอนุพัทธ์ประเภทหนึ่งที่ไร้มิติ (dimensionless) กล่าวคือไม่มีหน่วยแทน คำนำหน้าหน่วยเอสไอ(คำอุปสรรค)เป็นคำที่ใช้เติมข้างหน้าหน่วยเอสไอเพื่อสร้างพหุคูณของหน่วยเอสไอเดิม พหุคูณของหน่วยเอสไอจะเป็นสิบยกกำลังด้วยจำนวนเต็มเท่าต่าง ๆ และนอกเหนือจากสิบเท่า ร้อยเท่า ส่วนสิบเท่า และส่วนร้อยเท่าแล้วจะเป็นพหุคูณของพันเท่าและส่วนพันเท่าทั้งหมด {|class="wikitable" style="margin:1em auto 1em auto;line-height:1.4" |+ คำนำหน้าหน่วยเอสไอ |- style="font-size:90%" ! ชื่อ ! ! เดคา ! เฮกโต ! กิโล ! เมกะ ! จิกะกิกะ ! เทระ ! เพนตะ ! เอกซะ ! เซตตะ ! ยอตตะ |- style="font-size:90%" ! สัญลักษณ์ | | da | h | k | M | G | T | P | E | Z | Y |- style="font-size:90%" ! ตัวประกอบ | 100 | 101 | 102 | 103 | 106 | 109 | 1012 | 1015 | 1018 | 1021 | 1024 |- style="font-size:2px" !colspan="12"|   |- style="font-size:90%" ! ชื่อ ! ! เดซิ ! เซนติ ! มิลลิ ! ไมโคร ! นาโน ! พิโค ! เฟมโต ! อัตโต ! เซปโต ! ยอกโต |- style="font-size:90%" ! สัญลักษณ์ | | d | c | m | μ | n | p | f | a | z | y |- style="font-size:90%" ! ตัวประกอบ | 100 | 10−1 | 10−2 | 10−3 | 10−6 | 10−9 | 10−12 | 10−15 | 10−18 | 10−21 | 10−24 |} นอกเหนือจากหน่วยเอสไอแล้ว ยังมีชุดของหน่วยที่ไม่ได้เป็นหน่วยเอสไอ แต่ยอมรับให้ใช้ในระบบเอสไอได้ ซึ่งมักจะเป็นหน่วยที่ใช้เป็นประจำแต่ไม่ได้จัดอยู่ในหน่วยเอสไอ เช่น หน่วยลิตร เป็นต้น == การเขียนสัญลักษณ์ของปริมาณทางเอสไอ == ปริมาณจะถูกเขียนตัวเลขและตามด้วยเว้นวรรคหนึ่งครั้ง (ซึ่งถือว่าแทนการคูณ) แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ของหน่วยนั้น เช่น "2.21 kg", "", "22 K" ซึ่งรวมถึงหน่วยเปอร์เซ็นต์ (%) ข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้ได้แก่สัญลักษณ์ที่เป็นองศา ลิปดา และฟิลิปดา (°, ′ และ ″) ซึ่งจะเขียนติดกันไปโดยไม่ต้องเว้นวรรค หน่วยอนุพัทธ์ที่คูณกันจะเชื่อมกันด้วยจุดกลาง (·) หรือเว้นวรรคโดยไม่แยกบรรทัดเช่น "N·m" หรือ "N m" หน่วยอนุพัทธ์ที่หารกันจะเชื่อมกันด้วยเครื่องหมายทับ (⁄) หรือยกกำลังด้วยเลขติดลบ เช่นเมตรต่อวินาที สามารถเขียนในรูปแบบ "m⁄s", "m s−1", "m·s−1" หรือ \textstyle\frac{\mathrm{m}}{\mathrm{s}} โดยให้ใช้เครื่องหมายทับได้เพียงครั้งเดียวเช่น "kg⁄ (m·s2) " หรือ "kg·m−1·s−2" ก็ได้แต่ห้ามใช้ "kg⁄m⁄s2" ในคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์จะมีเครื่องหมาย / ซึ่งตรงกับรหัสยูนิโคดU+002F แต่ไม่ใช่เครื่องหมายทับที่ใช้กับหน่วยเอสไอซึ่งตรงกับรหัสยูนิโคด U+2044. สัญลักษณ์หน่วยจะถือความหมายเชิงคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ตัวย่อ จึงไม่ลงท้ายด้วยจุดมหัพภาค (.) สัญลักษณ์เขียนด้วยตัวอักษรภาษาโรมันตัวตรงเช่น m หรือ s เพื่อให้แตกต่างจากตัวแปรซึ่งมักจะใช้ตัวเอียงเช่น m แทนมวลหรือ s แทนระยะกระจัดตามข้อตกลงของมาตรฐานสากล กฎข้อนี้ขึ้นอยู่กับแบบอักษรที่ใช้ในข้อความข้างเคียง สัญลักษณ์ของหน่วยจะถูกเขียนในรูปตัวพิมพ์เล็กเช่น "m", "s", "mol" ยกเว้นแต่สัญลักษณ์ที่ย่อมาจากชื่อบุคคล เช่นหน่วยของความดันถูกตั้งตามแบลส ปาสกาล ดังนั้นสัญลักษณ์แทนจึงเขียนด้วย "Pa" ในขณะที่หน่วยเต็มจะเขียนด้วย pascal * ข้อยกเว้นสำหรับการเขียนตัวพิมพ์เล็กในสัญลักษณ์คือลิตร "l" ดูคล้ายกับเลข "1" หรือตัวไอใหญ่ ในหลายประเทศจึงแนะนำให้ใช้ "L" ซึ่งได้รับการยอมรับการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศในปี ค.ศ. 1979 ในญี่ปุ่นและกรีซใช้ตัวเอลหวัด (ℓ) แทนลิตร แต่ไม่ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐานแต่อย่างใด คำนำหน้าหน่วยให้เขียนติดกับหน่วยโดยไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนมาคั่นเช่น "k" ใน "km", "M" ใน "MPa", "G" ใน "GHz") และห้ามใช้คำนำหน้าหน่วยซ้อนกันเช่นห้ามใช้ กิโลกิโลเฮิรตซ์ แต่ต้องใช้ จิกะเฮิรตซ์ และหากคำนำหน้าหน่วยไม่พอ ให้ใช้สัญกรณ์วิทยาศาสตร์หรือคำนำหน้าหน่วยและตัวเลขที่เหมาะสมแทนเช่น 600 นาโนเมตร หรือ สัญลักษณ์คำหน้าหน่วยที่ใหญ่กว่า 103 (kilo) ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ สัญลักษณ์ของหน่วยจะไม่เป็นพหูพจน์เช่น "25 kg" ไม่ใช่ "25 kgs". มติในการการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศปี ค.ศ. 2003 กำหนดให้สัญลักษณ์ของแยกทศนิยมเป็นจุดมหัพภาค (.) หรือจุลภาค (, ) ก็ได้ โดยส่วนมากแล้วในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษและประเทศในเอเซียส่วนใหญ่มักใช้จุดมหัพภาค (.) แต่ประเทศในยุโรปภาคพื้นทวีปหลายประเทศมักใช้จุลภาค (, ) เราสามารถใช้การเว้นวรรคในการแยกเลขหลักพันเช่นหนึ่งล้านสามารถเขียนได้เป็น 1,000,000 เพื่อให้ต่างจากการใช้จุลภาคหรือมหัพภาคในการแยกทศนิยม และเพื่อให้แตกต่างจากประเทศที่ใช้การเว้นวรรคในการแยกคำ วรรคที่ใช้ในการแยกเลขหลักพันจะเล็กกว่าวรรคที่ใช้แยกคำเล็กน้อย (thin space) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ หน่วยวัด หน่วยเอสไอ มาตรฐานสากล ระบบหน่วย
thaiwikipedia
436
ประเทศปากีสถาน
ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และจีน และประเทศถูกแยกออกจากทาจิกิสถานด้วยฉนวนวาคานทางทิศเหนือ และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำโอมาน มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามใหญ่เป็นอันดับที่สอง (รองจากอินโดนีเซีย) และเป็นสมาชิกที่สำคัญขององค์การความร่วมมืออิสลาม และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" มีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซีย ในขณะเดียวกันก็มาจากการนำอักษรแรกของชื่อดินแดนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นประเทศปากีสถานขึ้นมา คือ ปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) อิสลามาบาด (Islamabad) สินธ์ (Sindh) และบาโลชิสถาน (BaluchisTAN) == ภูมิศาสตร์ == สภาพภูมิอากาศของประเทศปากีสถานแตกต่างกันออกไปตามสภาพที่ตั้ง มีตั้งแต่อากาศร้อนจัดจนถึงอากาศหนาวจัดในตอนเหนือของประเทศ ในตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและเย็นลงในฤดูหนาวส่วนทางตอนเหนือจะมีอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในฤดูหนาวจึงมีหิมะปกคลุมอยู่ทั่วไปปริมาณน้ำฝนที่ตกค่อนข้างมากยกเว้นทางตอนใต้ของประเทศติดกับทะเลอาหรับและมหาสมุทรอินเดียแต่มีฝนตกน้อยเนื่องจากพื้นที่เป็นทะเลทรายไม่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเลย == ประวัติศาสตร์ == === ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และ ยุคสัมริด === === อาณานิคมสหราชอาณาจักร === === ยุคเอกราช === ปากีสถานเคยเป็นรัฐหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ ปัญหาข้อขัดแย้งมาจากส่วนใหญ่ในอินเดียจะมีชาวฮินดูมาก แต่ปากีสถานและบังกลาเทศมีชาวมุสลิมมากกว่า ซึ่งสองศาสนานี้ขัดแย้งกันจึงเกิดการแยกประเทศกันเป็นปากีสถานตะวันตก (ปากีสถานปัจจุบัน) และปากีสถานตะวันออก (บังกลาเทศ) ภายหลังพื้นที่ปากีสถานตะวันออกซึ่งไม่ได้ถูกดูแลพัฒนาจากรัฐบาลนักจึงได้ประกาศเอกราชเป็นประเทศบังกลาเทศ ในปี ค.ศ. 1971 == การเมืองการปกครอง == ปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม มีประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศปากีสถานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ แคว้น (province) และดินแดน (territory) ดังนี้ แคว้น 1. แคว้นบาโลชิสถาน (Balochistan) 2. แคว้นสินธ์ (Sindh) 3. แคว้นปัญจาบ (Punjab) 4. แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา (Khyber Pakhtunkhwa) เดิมชื่อ "ชายแดนตอนเหนือ-ตะวันตก" (North-West Frontier) ดินแดน 5. อิสลามาบาดแคพิทัลเทร์ริทอรี (Islamabad Capital Territory) ที่ตั้งกรุงอิสลามาบาด เมืองหลวงของประเทศ 6. อาซาดจัมมูโอกัชมีร์ (Azad Jammu and Kashmir) หรือ "อาซาดกัชมีร์" (Azad Kashmir) เป็นเขตปกครองตนเอง 7. กิลกิต-บัลติสถาน (Gilgit-Baltistan) เดิมชื่อ "พื้นที่ทางเหนือ" (Northern Areas) เป็นเขตปกครองตนเอง == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === มีการประมาณประชากรของปากีสถานในปี พ.ศ. 2552 ประมาณ 180,800,000 คน โดยชาวปัญจาบเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ มีจำนวนกว่าร้อยละ 60-70 รองลงมาเป็นพวกซินด์ และปาทาน นอกจากนี้ยังมีประชากรกลุ่มอื่น อย่างชาวอัฟกันอพยพ, บัลติ, เคอร์ดิสถาน, กัศมีร์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังอย่าง ชาวปากีสถานเชื้อสายจีน และชาวปากีสถานเชื้อสายไทย ประชากรกว่าร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม โดยส่วนใหญ่เป็นซุนนีย์ ส่วนร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นชีอะห์ มีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่บ้าง แต่มีอยู่ประปราย และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง === ศาสนา === ประเทศปากีสถาน จัดว่าเป็นประเทศสังคมมุสลิม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์มากเป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผู้นับถือนิกายซุนนีย์ร้อยละ 75 และนิกายชีอะห์ร้อยละ 20 โดยสามารถจำแนกจำนวนศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ ได้ดังนี้ ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือ 173,000,000 คน (ร้อยละ 96) (ประมาณร้อยละ 70 นับถือนิกายซุนนีย์ ส่วนอีกร้อยละ 20 นับถือนิกายชีอะห์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีผู้นับถือ 3,200,000 คน (ร้อยละ 1.85) ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือ 2,800,000 คน (ร้อยละ 1.6) ศาสนาซิกข์ มีผู้นับถือประมาณ 20,000 คน (ร้อยละ 0.01) ศาสนาพุทธ มีผู้นับถือประมาณ 20,000 คน (ร้อยละ 0.01) นอกจากนี้ยังมีศาสนิกชนในศาสนาอื่น ที่ไม่ได้รวมในที่นี้ได้แก่ ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (ชาวปาร์ซี),ลัทธิอาหมัด, ศาสนาพุทธ(ส่วนมากพบในเขตบัลติสถาน), ศาสนายูดาย, ศาสนาบาไฮ และนับถือผี (มีมากในกาลาชา ในเขตชิลทรัล) == วัฒนธรรม == === อาหาร === วัฒนธรรมของชาวปากีสถานแสดงให้เห็นถึงอย่างแท้จริง ผู้ที่มาเยือนจะพบหลักฐานถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวปากีสถาน ศิลปกรรมของชาวปากีสถานมีรูปแบบทั้งที่เป็นศิลปกรรมทางศาสนา เช่น พรมขนสัตว์ เครื่องทองเหลือง และรูปแกะสลัก เป็นต้นทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำมีประวัติอันยาวนาน การฟ้อนรำเป็นการฟ้อนของชาวปากีสถานโดยเฉพาะ สถานที่สำคัญในประเทศปากีสถานมีอยู่มากมาย เช่น เมืองโมเฮนโจดาโร เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ ส่วนโบราณสถานของศาสนามีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ที่เมืองลาฮอร์ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง เช่น ค่ายทหารเมืองลาฮอร์ และมัสยิดบาสชาฮิซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิออรังเซ็บ มัสยิดบาสชาฮินี้กว้างเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ปากีสถานยังมีสถานที่อื่นที่นาสนใจอีกมาก ควรจะไปเที่ยวดินแดนทางภาคเหนือซึ่งเป็นขุนเขา มีหิมะปกคลุมตลอดฤดูหนาว ลักษณะทางสังคมส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม ยังยึดจารีตและวัฒนธรรมมุสลิมอย่างเคร่งครัดในการดำรงชีพ แต่ภายหลังเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงมีการเปลี่ยนไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกบ้าง เช่น ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมทางการเมือง งานสวัสดิการสังคม และมีการเรียกร้องสิทธิสตรีให้ทัดเทียมกับบุรุษ โดยจะต้องอยู่ในกรอบวัฒนธรรมอิสลาม == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ประเทศปากีสถาน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ ป ป ปากีสถาน รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490 อดีตอาณานิคมของอังกฤษ
thaiwikipedia
437
เพอร์เซปตรอน
เพอร์เซปตรอน (perceptron) เป็นข่ายงานประสาทเทียมประเภทหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1957 โดย แฟรงค์ โรเซนบลัทท์ ที่ Cornell Aeronautical Laboratory เพอร์เซปตรอนประกอบด้วยเซลล์ประสาทเทียม หรือนิวรอน อย่างน้อยหนึ่งชั้น, อินพุตจะถูกส่งตรงไปยังเอาต์พุต โดยผ่านชุดค่าน้ำหนัก, ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถพิจารณาว่าเป็นข่ายงานป้อนไปหน้า (feedforward network) แบบพื้นฐานที่สุด. นิวรอนแต่ละตัวจะคำนวณผลรวมถ่วงน้ำหนักจากอินพุต, ซึ่งก็คือผลรวมของผลคูณระหว่างค่าอินพุตกับค่าน้ำหนักของแต่ละตัว, ถ้าค่าที่ได้จากการคำนวณนี้ มากกว่าขีดแบ่ง (threshold) นิวรอนก็จะให้ค่าเอาต์พุตเท่ากับ 1, ถ้าน้อยกว่าก็จะให้ค่า -1. เพื่อให้ง่ายจึงมักจะกำหนดให้ขีดแบ่ง เป็นค่าน้ำหนักตัวหนึ่งของอินพุตที่เป็นค่าคงที่, โดยฟังก์ชันค่าขีดแบ่งจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ 0. นิวรอนที่ใช้ฟังก์ชันกระตุ้น (activation function) แบบนี้ อาจจะเรียกว่า นิวรอนแบบแมคคัลลอค-พิตส์ (McCulloch-Pitts neurons) หรือ นิวรอนขีดแบ่ง (threshold neurons) ในเอกสารทางวิชาการส่วนใหญ่ มักจะใช้คำว่า เพอร์เซปทรอน เมื่อพูดถึงข่ายงานที่ประกอบด้วยนิวรอนแบบนี้เพียงหน่วยเดียว ขั้นตอนวิธีการเรียนรู้อย่างง่าย ที่สามารถนำมาใช้กับเพอร์เซปตรอน จะเรียกว่า กฎเดลต้า (delta-rule) โดยจะคำนวณค่าความผิดพลาดระหว่างเอาต์พุตที่ได้ กับเอาต์พุตของตัวอย่าง แล้วนำค่าที่ได้ไปปรับค่าน้ำหนัก โดยนำไปใช้ในรูปแบบของการเคลื่อนลงตามความชัน (gradient descent) แม้ว่าในช่วงแรกเพอร์เซปตรอนจะทำงานได้ตามที่ต้องการ แต่ต่อมาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถสอนให้เพอร์เซปตรอนอย่างง่าย รู้จำรูปแบบต่างๆ หลายแบบ ทำให้งานวิจัยทางด้านนี้หยุดนิ่งไปหลายปี จนกระทั่งมีการค้นพบว่าข่ายงานประสาทแบบสามชั้นหรือมากกว่า ให้ผลที่ดีกว่าเพอร์เซปตรอนอย่างมาก เพอร์เซปตรอนอย่างง่าย ที่ประกอบด้วยหนึ่งหรือสองชั้นนั้น สามารถเรียนรู้เฉพาะรูปแบบที่สามารถแบ่งแยกเชิงเส้น (linearly separable) ซึ่งใน ค.ศ. 1969 บทความที่มีชื่อเสียง ที่มีชื่อว่า Perceptrons โดย มาร์วิน มินสกี (Marvin Minsky) และ เซมัวร์ พาเพอรท์ (Seymour Papert) แสดงให้เห็นว่า ไม่สามารถใช้ข่ายงานแบบนี้เรียนรู้ฟังก์ชัน XOR และพวกเขาก็ได้คาดเดา (อย่างผิดพลาด) ว่าจะได้ผลเหมือนกัน แม้ว่าจะใช้ข่ายงานที่มีสามชั้นหรือมากกว่า การค้นพบในทศวรรษ 1980 ว่าข่ายงานประสาทหลายชั้น (multi-layer neural network) ไม่กระทบกับปัญหานี้ (ในความเป็นจริง) ทำให้งานวิจัยด้านนี้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง == อ้างอิง == Rosenblatt, Frank (1958), The Perceptron: A Probabilistic Model for Information Storage and Organization in the Brain, Cornell Aeronautical Laboratory, Psychological Review, v65, No. 6, pp. 386-408. Minsky M L and Papert S A 1969 Perceptrons (Cambridge, MA: MIT Press) == แหล่งข้อมูลอื่น == History of perceptrons Mathematics of perceptrons พเอร์เซปตรอน
thaiwikipedia
438
ไมเคิล ชารา
ไมเคิล ชารา (Michael Shaara) (เกิด พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ นิยายกีฬา และนิยายประวัติศาสตร์ ชาราเริ่มขายนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยหลังจากนั้นได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ มหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดาสเตต (Florida State University) ผลงานที่มีชื่อเสียงของชาราได้แก่ Battle of Gettysburg, The Killer Angels ชาราได้รับรางวัล Pulitzer Prize ในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ชาราเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในปี พ.ศ. 2531 ลูกชายของชารา เจฟฟรี ชารา (Jeffrey Shaara) ยังเป็นนักเขียนนิยายประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง โดยเขียนเรื่องราวภาคต่อจากงานเขียนของบิดา ผลงานที่มีชื่อเสียงคือ The Killer Angels และ Gods and Generals นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
439
แซมวล ยูด
แซมวล ยูด (Samuel Youd) เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2465 ที่แคว้นแลงคาเชอร์ เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ใช้นามปากกา จอห์น คริสโตเฟอร์ (John Christopher) และนามปากกาอื่น ๆ ในการเขียนผลงาน == อ้างอิง == ประวัติที่ isdfb นักเขียนชาวอังกฤษ นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
440
ออร์สัน สก็อต การ์ด
ออร์สัน สก็อต การ์ด (Orson Scott Card) นักเขียนที่มีผลงานสม่ำเสมอ ในหลาย ๆ ประเภท รวมถึงนิยายวิทยาศาสตร์ การ์ดเริ่มอาชีพนักเขียนของเขาด้วยการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ (เช่น Hot Sleep และ Capitol) (1 มีนาคม พ.ศ.2494) หลังจากนั้นมักเป็นนิยายแฟนตาซี (Songmaster) เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากผลงานเรื่อง เกมพลิกโลก (Ender's Game) ที่เป็นหนึ่งในนิยายวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนับตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 ทั้ง เกมพลิกโลก และนิยายภาคต่อ วาทกะแด่ผู้ล่วงลับ (Speaker for the Dead) ได้รับทั้งรางวัลฮิวโกและรางวัลเนบิวลา ทำให้การ์ดเป็นนักเขียนคนเดียว (เท่าที่ทราบจนถึงปี พ.ศ. 2550) ที่ชนะรางวัลสูงสุดของนิยายวิทยาศาสตร์สองรางวัลพร้อมกันในปีติดกัน การ์ดได้เขียนเรื่องราวต่อเนื่องกันเป็นลำดับ ด้วยเรื่อง Xenocide, Children of the Mind, Ender's Shadow, Shadow of the Hegemon, Shadow Puppets, และในปี พ.ศ. 2548 เรื่อง Shadow of the Giant การ์ดได้ประกาศว่า เกมพลิกโลก จะได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ (ดู เกมพลิกโลก (ภาพยนตร์)). เขาได้ฉีกตัวเองไปเขียนนิยายร่วมสมัยเช่น Lost Boys, Treasure Box และ Enchantment รวมถึงได้แสดงความสามารถรอบตัวโดยดัดแปลงภาพยนตร์เรื่อง The Abyss ของผู้กำกับชื่อดัง James Cameron ให้เป็นนวนิยาย แต่งประวัติศาสตร์ทางเลือกชุด The Tales of Alvin Maker (เรื่องราวเกี่ยวกับอเมริกาที่มีเวทมนตร์คาถาจริง) และ Pastwatch อีกทั้งร่วมเขียนหนังสือการ์ตูนแนวนิยายวิทยาศาสตร์ การเขียนของเขาเต็มไปด้วยการสร้างตัวละครอย่างละเอียด และประเด็นด้านศีลธรรม ดังที่การ์ดได้กล่าวไว้ว่า "เราแคร์ในเรื่องประเด็นด้านศีลธรรม ความสูงส่งทางจริยธรรม ความถูกต้อง ความสุข และความดี—ซึ่งเป็นประเด็นที่มีผลในโลกของความเป็นจริง แต่เป็นสิ่งที่สามารถกล่าวถึงได้ในระดับแก่นแท้ แค่ในนิยายเท่านั้น" นักเขียนชาวอเมริกัน นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ บุคคลจากรัฐวอชิงตัน บุคคลจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา
thaiwikipedia
441
อี.บี. ไวท์
เอลวิน บรูกส์ "อี.บี." ไวท์ (Elwyn Brooks "E.B." White) (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นนักประพันธ์ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงที่สุดจากงานเขียน "The Elements of Style" และหนังสือสำหรับเด็กสามเรื่อง ที่ถือกันว่าเป็นผลงานอมตะ คือ Stuart Little (สจ๊วต ลิตเติ้ล) (พ.ศ. 2488) Charlotte's Web (แมงมุมเพื่อนรัก) (พ.ศ. 2495) และ The Trumpet of the Swan (เสียงรักจากทรัมเป็ตหงส์) (พ.ศ. 2513) เอลวิน ไวท์เกิดที่เมาท์เวอร์นอน นิวยอร์ก เป็นลูกชายของซามูเอล ไวท์ซึ่งทำอาชีพทำเปียโน อายุ 45 ปี และเจซซี่ ไวท์ อายุ 41 ปี เอลวินเป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัวใหญ่ที่อบอุ่นครอบครัวนี้ ในวัยเด็ก เขาเป็นคนขี้กลัว กลัวการไปโรงเรียน กลัวทุก ๆ อย่าง เขาจึงมีเพื่อนรักเป็นหนังสือและสัตว์เลี้ยง เขาชอบอ่านและเขียนหนังสือตั้งแต่เด็ก อ่านหนังสือออกก่อนเข้าโรงเรียน เขาเริ่มเขียนไดอารี่ตอนอายุ 8 ปี ตอนอายุ 9 ปี เขาส่งบทกลอนเข้าประกวดและได้รางวัลชนะเลิศ หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล ในปี ค.ศ. 1912 เขาก็เริ่มทำงานหลาย ๆ อย่าง เช่น นักข่าวหนังสือพิมพ์ และเขียนบทความข่าวให้สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งภายหลังถูกไล่ออก ในปี ค.ศ. 1923 เขากลับมาที่รัฐนิวยอร์กอีกครั้ง เพื่อทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายผลิตและผู้เขียนโฆษณา ก่อนจะเข้าร่วมทำงานกับสำนักพิมพ์นิตยสารที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ที่ชื่อว่า New Yorker ซึ่งทำให้เขาได้พบกับภรรยา แคธเทอรีน แองเจิล ซึ่งทำงานในตำแหน่งบรรณาธิการนิตยสาร พวกเขาแต่งงานในปี ค.ศ. 1929 เขาทำงานเกี่ยวกับงานเขียนมาเรื่อย ๆ นับจากนั้น เขาเขียนหนังสือหลายเล่ม ซึ่งส่วนมากเป็นที่นิยมและขายดี ในปี ค.ศ. 1939 เขาย้ายไปอยู่ในฟาร์ม ที่นอร์ธบรูคลิน แต่ก็ยังคงทำงานด้านงานเขียนและเริ่มทำงานอย่างอื่นน้อยลง ในปี ค.ศ. 1985 เอลวิน ไวท์เสียชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ เขาได้รับรางวัลเหรียญทองสำหรับบทความและบทวิจารณ์จากสถาบันศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ, รางวัลพิเศษของพูลิตเซอร์ ในปี ค.ศ. 1978, เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากเจ็ดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของอเมริกันและเป็นสมาชิกของสมาคมวัฒนธรรมอเมริกัน, วรรณกรรมรางวัลนิวเบอรี นิตยสารไทม์ ยกย่องให้เป็นหนังสือเด็กที่ดีที่สุดในรอบศตวรรษ นักเขียนชาวอเมริกัน บุคคลจากรัฐนิวยอร์ก นักข่าวชายชาวอเมริกัน
thaiwikipedia
442
เอ็ดมุนด์ คูเปอร์
เอ็ดมุนด์ คูเปอร์ (Edmund Cooper) (เกิดเมื่อ 30 เมษายน ค.ศ. 1926 - เสียชีวิต 11 มีนาคม ค.ศ. 1982) เป็นกวีและนักเขียนชาวอังกฤษ มีผลงานนิยายวิทยาศาสตร์และนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนราว 20 เรื่อง และเรื่องสั้นกว่า 40 เรื่อง ตีพิมพ์ผลงานโดยใช้ชื่อจริงและนามปากกา นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
443
ดาเนียล คีย์
ดาเนียล คีย์ (Daniel Keyes) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐ เป็นที่รู้จักจากผลงานการประพันธ์ชิ้นเอกเรื่องดอกไม้สำหรับอัลเจอนอน == แหล่งข้อมูลอื่น == Danielkeyesauthor.com นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
444
โบรอน
โบรอน (Boron) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ B และเลขอะตอม 5 เป็นธาตุที่มี 3 วาเลนซ์อิเล็กตรอน และเป็นกึ่งโลหะ == รากศัพท์ == ชื่อโบรอนมีรากศัพท์จากภาษาอาหรับ بورق (buraq) หรือ ภาษาเปอร์เซีย بوره (burah) ทั้งคู่นี้มีความหมายว่าบอแรกซ์ == ลักษณะ == โบรอนบริสุทธิ์เป็นของแข็งที่มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง แข็งและเปราะ เป็นธาตุกึ่งโลหะที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างธาตุโลหะและธาตุอโลหะ โบรอนถูกค้นพบในปีค.ศ. 1808 โดยความร่วมมือกันของ โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก และ หลุยส์ ฌัก เธนาด์, และ ฮัมฟรี เดวี ค้นพบเองในปีเดียวกัน ธาตุโบรอนมีสมบัติคล้ายกับธาตุหมู่ 14 อย่างคาร์บอนและซิลิคอน มากกว่าธาตุหมู่ 13 ที่เป็นหมู่เดียวกันอย่างอะลูมิเนียม ผลึกโบรอนไม่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาและทนทานต่อกรดสูง ไม่ถูกกัดกร่อนโดยกรดไฮโดรฟลูออริก โดยทั่วไปแล้วสารประกอบโบรอนมีค่าออกซิเดชัน +3 อย่างเช่น สารประกอบเฮไลด์ที่มีความสมบัติเป็นกรดลิวอิส, สารประกอบโบเรตที่พบในแร่โบเรต โบเรนที่มีพันธะพิเศษเรียก 3c–2e bond โบรอนมีไอโซโทป 13 ไอโซโทปและในธรรมชาติมี 11B 80.1% และ 10B 19.9% โบรอนมีปริมาณในเปลือกโลกค่อนข้างต่ำ แต่มีการรวมตัวเป็นแร่ขนาดใหญ่ ง่ายต่อการขุดมาใช้จึงมีประวัติการใช้มาตั้งแต่นาน อดีตใช้เป็นสารเคลือบเครื่องปั้นดินเผา ปัจจุบันนิยมใช้ในการผลิตแก้วถึงร้อยละ 60 ในปริมาณบริโภคปี 2011 อื่น ๆ ใช้เป็นสารผสมในคอนดักเตอร์ อุปกรณ์เครื่องเสียงและยาฆ่าแมลง โบรอนเป็นธาตุที่ต้องการสำหรับพืชเพื่อรักษาผนังเซลล์ เมื่อขาดแคลนจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต โบรอนคาดว่าเป็นธาตุที่ต้องการสำหรับสัตว์เหมือนกันแต่ยังไม่ทราบหน้าที่อย่างชัดเจน สำหรับมนุษย์และสัตว์ โบรอนไม่เป็นพิษเหมือนเกลือแกงแต่สำหรับพืชเมื่อปลูกบนดินที่มีโบรอนสูงจะเกิดการตายเฉพาะส่วนบริเวณใบ และเป็นพิษต่อแมลง == ประวัติ == มนุษย์รู้จักสารประกอบโบรอนตั้งแต่เมื่อหลายพันปีก่อน บอแรกซ์ที่พบในทะเลทรายบริเวณทิเบตตะวันตกเรียกว่า tincal ในภาษาสันสกฤต ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่จีนใช้บอแรกซ์เป็นสารเคลื่อบเครื่องปั้นดินเผา ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มาร์โก โปโลนำเครื่องปั้นดินเผาที่มีบอแรกซ์เคลือบอยู่กลับประเทศอิตาลี ประมาณปี ค.ศ. 1600 ใช้เป็นสารเร่งการหลอมในโลหวิทยาโดย Agricola ปี ค.ศ. 1774 พบโบเรตในไอน้ำใต้พิภพที่ Larderello ใกล้ ฟลอเรนซ์ แคว้นตอสกานา ประเทศอิตาลี จึงมีโรงงานผลิตโบแรตและเป็นแหล่งผลิตโบแรตสำคัญ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พบบริเวณแร่บอแรกซ์ขนากใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาและเป็นแหล่งผลิตบอแรกซ์แทน หลังผลิตบอแรกซ์จบแล้วที่ Larderello มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพแทน แร่ที่มีโบรอนเป็นองค์ประกอบมีแร่ Sassolite พบที่ Sasso Pisano ประเทศอิตาลี Sassolite เป็นใช้เป็นแหล่งผลิตบอแรกซ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1827 จนถึงปี ค.ศ. 1872 แต่หลังจากนั้นใช้ของสหรัฐอเมริกาแทนเช่นกัน สารประกอบโบรอนไม่นิยมมีการใช้จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่เมื่อบริษัท Pacific Coast Borax Company ของ Francis Marion Smith ผลิตสารประกอบโบรอนในราคาถูกและจำนวนมาก และเมื่อมีการผลิตแก้วในปริมาณมากแล้วบอแรกซ์ถูกบริโภคจำนวนมากในอุตสาหกรรมแก้ว รายงานวิจัยในสมัยแรกมีรายงานผลิตโบเรตจากปฏิกิริยาระหว่างบอแรกซ์และกรดซัลฟูริกในปี ค.ศ. 1702, รายงานปฏิกิริยาเปลวไฟเป็นสีเขียวในปี ค.ศ. 1741, รายงานผลิตบอแรกซ์จากปฏิกิริยาระหว่างโบเรตและโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทีม โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก และ หลุยส์ ฌัก เธนาด์ 2 คนและ ฮัมฟรี เดวี สามารถแยกโบรอนบริสุทธิ์ แต่ก่อนหน้านี้ไม่ยอมรับว่าเป็นธาตุบริสุทธิ์ ใน ค.ศ. 1808 ฮัมฟรี เดวี รายงานว่าเมื่อนำสารละลายโบเรตแยกด้วยไฟฟ้า เกิดตะกอนสีน้ำตาลบริเวณขั้วไฟฟ้า หลังจากนั้น ฮัมฟรี เดวี ใช้วิธีรีดิวซ์โบรอนด้วยโพแทสเซียมแทนการแยกด้วยไฟฟ้าและแยกโบรอนจำนวนพอสมควรที่จะตรวจสอบว่าเป็นธาตุ ฮัมฟรี เดวี ตั้งชื่อธาตุนี้ว่า "boracium" โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก และ หลุยส์ ฌัก เธนาด์ ใช้วิธีรีดิวซ์โบรอนด้วยเหล็กในอุณหภูมิสูงและพวกเขานำโบรอนออกซิไดซ์ด้วยออกซิเจน ได้โบเรตเพื่อแสดงว่าโบเรตเป็นสารประกอบของโบรอน ในปีค.ศ.1824 Jöns Jacob Berzelius ได้ตรวจสอบสมบัติเป็นธาตุของโบรอน หลังจากนั้นมีหลายนักเคมีพยายามแยกโบรอนบริสุทธิ์แต่ส่วนใหญ่มีความบริสุทธิ์ต่ำกว่า 85% คนที่แยกโบรอนบริสุทธิ์คือนักเคมีชาวสหรัฐอเมริกา Ezekiel Weintraub ด้วยวิธีนำโบรอนไตรคลอไรด์รีดิวซ์ด้วยไฮโดรเจนบนอาร์คไฟฟ้าในปี ค.ศ. 1909 == สมบัติ == === สมบัติทางกายภาพและทางเคมี === โบรอนมีหลายอัญรูป สมบัติละเอียดจะแตกต่างกันในแต่ละอัญรูป แต่โดยรวมแล้วเป็นของแข็งที่แข็งและเปราะ จุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง ตัวอย่างเช่น จุดหลอมเหลวของโบรอนอสัณฐานคือ 2,300℃ และ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนคือ 2,180℃ จุดเดือดของ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนคือ 3,650℃ โบรอนอสัณฐานจะระเหิดที่ 2,550℃ ความแข็งของ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนอยู่ระดับ 9.3 บนมาตราโมส ความถ่วงจำเพาะของα-รอมโบฮีดรัลโบรอนและ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนมีค่า 2.46 และ 2.35 ตามลำดับ โบรอนบริสุทธิ์เป็นกึงโลหะที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างธาตุโลหะและธาตุอโลหะ โบรอนมีสมบัติพันธะโคเวเลนต์ที่เสถียรคล้ายกับคาร์บอนและซิลิคอนที่อยู่ในธาตุหมู่ 14 มากกว่า อะลูมิเนียมและแกลเลียมที่อยู่หมู่ 13 เดียวกันกับโบรอน เนื่องจากพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่งของโบรอนมีค่าสูงถึง 8.296eV จึงเป็นไอออนได้ยากและไฮบริดออร์บิทัล sp2 มีพลังงานต่ำกว่าออร์บิทัล 2s22p1โบรอนบริสุทธิ์มีพันธะโคเวเลนต์ที่แข็งแรงระหว่างโบรอนจึงขาดอิเล็กตรอนอิสระเพื่อแสดงสมบัติการนำไฟฟ้า เป็นเหตุผลอธิบายสมบัติกึ่งโลหะของโบรอนที่นำไฟไฟ้าแต่นำได้น้อย และเนื่องจากเหตุผลดังกล่าวโบรอนมีสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ ผลึกโบรอนไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา ทนต่อการต้มด้วยไฮโดรฟลูออริกและไฮโดรคลอริก ผงโบรอนสามารถถูกกัดกร่อนโดยการต้มด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้มข้น กรดไนตริกเข้มข้น กรดซัลฟูริก หรือโครมิค เลขออกซิเดชันของโบรอนขึ้นอยู่กับผลึก รัศมีผลึก ความบริสุทธิ์ และอุณหภูมิ โบรอนไม่ปฏิกิริยากับออกซิเจนในอุณหภูมิห้อง แต่ปฏิกิริยาในอุณหภูมิสูงได้ผลิตภัณฑ์คือโบรอนออกไซด์ 4B +3O2 ->2B2O3 เมื่อโบรอนปฏิกิริยาฮาโลจิเนชันได้สารประกอบไตรเฮไลด์ 2B +3Br2 -> 2BBr3 โดยทั่วไปแล้วโบรอนไตรคลอไรด์จะผลิตจากโบรอนออกไซด์ === สารประกอบ === โดยปกติแล้วสารประกอบโบรอนมีเลขออกซิเดชัน +3 เช่น สารประกอบออกไซด์ สารประกอบซัลไฟด์, สารประกอบไนไตรด์,และสารประกอบเฮไลด์ สารประกอบไตรเฮไลด์มีโครสร้างสามเหลี่ยมแบนราบ และสารประกอบประเภทนี้มีอิเล็กตรอนบนโบรอนแค่ 6 อิเล็กตรอนจึงไม่เป็นไปตามก็ออกเตตจึงมีสมบัติเป็นกรดลิวอิสและปฏิกิริยาทันทีกับสารให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอย่างเบสลิวอิส ยกตัวอย่างเช่น โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF3) ปฏิกิริยากับฟลูออไรด์ไอออน(F−) ได้เตตระฟลูออโรโบเรตไอออน (BF4−) โบรอนไตรฟลูออไรด์ใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สารประกอบไตรเฮไลด์สามารถปฏิกิริยากับน้ำได้กรดโบริก โบรอนสามารถพบเป็นสารประกอบออกไซด์ที่มีเลขออกซิเดชัน +3 ในธรรมชาติ บางครั้งเกิดพันธะกับธาตุอื่น ๆ ในแร่โบเรตกว่า 100 ชนิดโบรอนมีเลขออกซิเดชัน +3 แร่โบแรตมีส่วนคล้ายกับแร่ซิลิเกตหลายประการแต่โครงสร้างของแร่ซิลิเกตมีหน่วยย่อยเป็น SiO4 ที่มีรูปร่างทรงสี่หน้า ต่างจากโบเรตที่มี BO4 และ BO3 ที่มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้าและสามเหลี่ยมแบนราบตามลำดับ ยกตัวอย่าง บอแรกซ์ที่เป็นหนึ่งในแร่โบแรตนั้นมีเตตระโบเรตไอออน ในเตตระโบเรตไออนโบรอนมีรูปร่างสองชนิตคือทรงสี่หน้าและสามเหลี่ยมแบนราบ โบรอนที่มีรูปร่างทรงสี่หน้ามีประจุติดลบ ประจุลบนี้จะดุลกับไอออนบวกอื่น ๆ เช่น โซเดียมไอออน(Na+)ที่อยู่ในแร่ ==== โบเรน ==== โบเรนเป็นสารประกอบระหว่างโบรอนกับไฮโดรเจน สามารถเขียนสูตรโครงสร้างเป็น BxHy ในโบเรนมีพันธะสะพานไฮโดรเจนอย่าง B-H-B จึงไม่สามารถอธิบายพันธะด้วยวิธีคิดเลขออกซิเดชัน แต่เกิดเป็นพันธะพิเศษเรียก 3c–2e bond โครงสร้างโบเรนสามารถมีหน่อยย่อยเป็นทรงยี่สิบหน้าและเมื่อโบเรนมีโบรอนลดลง หากโครงสร้างโดยลบโบรอนออก โบรอนมีหลายไอโซเมอร์เช่น ไดไฮโดรเดคะโบเรนประกอบจากกลุ่มโบรอน 5 อะตอม 2 กลุ่ม และสามารถมีไอโซเมอร์ได้ 3 แบบเนื่องจากวิธีเกิดพันธะระหว่าง 2 กลุ่ม โบเรนที่เล็กที่สุดคือBH3แต่ไม่สามารถแยกออกได้ ใช้ไดโบเรน(B2H6)เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โบเรนต่าง ๆ แทน โบเรนทีร่มีจำนวนโบรอนน้อยว่องไวต่ออากาศและสามารถเกิดเปฏิกิริยาเผาไหม้แต่ตั้งแต่โบเรนที่มีโบรอน 5 อะตอมขึ้นไปจะเสถียรต่ออากาศ มีโบเรนที่สำคัญมีเพนตะโบเรน B5H9 และเดคะโบเรน B10H14 ทั้งสองนี้สามารถสังเคราะห์จากการสลายตัวด้วยความร้อนของไดโบเรนB2H6 มีหลายโบเรนไอออนที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น เตตระไฮโดรโบเรตไอออนและอนุพันธ์นิยมใช้เป็นเกลือรีดิวซ์ และไอออนที่มีจำนวนโบรอนมากอย่าง [B12H12]2−นิยมใช้ในการวิจัย อนุพันธ์ของโบเรนมีคาร์บาโบเรน (carbaborane) ที่มีหมู่ CH แทนที่ BH− ในโบเรนที่เป็นไอโซอิเล็กทรอนิกกัน สังเคราะห์ด้วยการปฏิกิริยาระหว่างโบเรนและอะเซทิลีน นอกจากนั้นยังสามารถเกิดอนุพันธ์เฮเทโรโบเรนกับกำมะถัน, ฟอสฟอรัส, อาร์เซนิกแทนที่โบรอนเหมือนคาร์บอนเช่นกัน คาร์บาโบเรนปฏิกิริยากับเบสแก่ได้คาร์บาโบเรนแอนไอออนเช่น B9C2H112− มีโครงสร้างคล้าย cyclopentadienyl anion([C5H5]−)และเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะทรานซิชัน ธาตุฮาโลเจน เอมีน และหมู่แอลคิลต่าง ๆ สามารถแทนที่ไฮโดรเจนได้ผลิตภัณฑ์เป็นอนุพันธ์ของโบเรน ==== โบรอนไนไตรด์ ==== โบรอนไนไตรด์มีโครงสร้างหลายรูปแบบคล้ายอัญรูปของคาร์บอนอย่าง เพชรและคาร์บอนนาโนทูป โบรอนไนไตรด์ที่มีโครงสร้างเดียวกับเพชรเรียกว่าคิวบิกโบรอนไนไตรด์หรือโบราโซน โบรอนอยู่ต่ำแหน่งเดียวกับคาร์บอนบนทรงสี่หน้าในเพชร ใน 4 B-N พันธะมี 1 พันธะเป็นพันธะโคออร์ดิเนต หมายความว่า โบรอนสร้างพันธะโคเวเลนต์กับไนโตรเจน 3 อะตอม และเกิดออร์บิทัลว่าง 1 อร์บิทัล จากนั้นอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของไนโตรเจนทำงานเป็นเบสลิวอิส สร้างพันธะกับออร์บิทัลว่างของโบรอนได้พัทธะที่ 4 ของพันธะ B-N คิวบิกโบรอนไนไตรด์มีความแข็งใกล้กับเพชรจึงนิยมใช้เป็นสารบดวาว ==== สารประกอบระว่างโลหะและโบรอน ==== โบรอนสามารถเกิดสารประกอบกับธาตุหลายชนิต โดยเฉพาะสารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนส่วนใหญ่มีสัมบัติทางโลหะจึงนิยมใช้เป็นโลหะผสมโบรอน ถึงแม้โบรอนไม่ใช้ธาตุโลหะ สารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนทั่วไปมีสมบัติแข็งแรง จุดหลอมเหลวสูง ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา สารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์ได้โดยหลอมละลายโบรอนกับโลหะด้วยกัน อย่างเหล็กโบไรด์และโครเมียมโบไรด์ใช้วิธีริดิวซ์เช่นวิธีเทอร์ไมท์ที่สามารถสังเคราะห์ได้ปริมาณมากแต่มีสิ่งเจือปนผสม สารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนจะไม่พบปริมาณสารสัมพันธ์ระหว่างอะตอมโบรอนและอะตอมโลหะเนื่องจากเกิดโครงสร้างที่โบรอนเข้าไปในช่องว่างของโครงสร้างโลหะ หรือโลหะเข้าไปในช่องว่างของโครงสร้างโบรอน สารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนที่สำคัญมีเหล็กโบไรด์ ( Ferroboron ) เช่น Fe2BやFeB、Fe2B5 เหล็กโบไรด์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเหล็ก, การหลอมเหล็กและการเชื่อมเหล็ก โบรอนยังสามารถเกิดสารประกอบกับโลหะหลายชนิดนอกจากสารประกอบไบนารี อย่างเช่น Nd2Fe14B เป็นสารประกอบระหว่างนีโอดิเมียม เหล็กและโบรอน ใช้เป็นแม่เหล็กนิโอดิเมียมที่มีสนามแม่เหล็กแรง === อัญรูป === โบรอนทึ 7 อัญรูปและมีโครงสร้างเป็นผลึกหรืออสันฐาน อัญรูปหลัก ๆ มี α-รอมโบฮีดรัลโบรอน β-รอมโบฮีดรัลโบรอน β-เตตร้าโกนัลโบรอน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมพิเศษเกิดอัญรูปอื่นเช่น α-เตตร้าโกนัลโบรอนและ γ-ออร์โธรอมบิกโบรอน อัญรูปแบบอสันฐานรู้ว่ามีรูปคล้ายแก้วและรูปผงละเอียด อัญรูปที่มีความเสถียรมากที่สุดในสภาวะมาตรฐานคือ β-รอมโบฮีดรัลโบรอน และอัญรูปอื่นมีความเสถียรเช่นกัน มีรายงานอย่างน้อย 14 อัญรูปแต่นอกจาก 7 อัญรูปที่กล่าวข้างต้นไม่มีหลักฐานชัดเจนหรือมีหลักฐานไม่เพียงพอ คาดว่าอัญรูปเหล่านั้นไม่ได้เป็นอัญรูปเดียวแต่เป็นโครงสร้างที่เกิดจากหลายอัญรูปผสมกันหรือมีสิ่งเจือปน === ไอโซโทป === โบรอนในธรรมชาติมา 2 ไอโซโทปที่เสถียรคือ 11B 80.1% และ 10B 19.9% ผลต่างระหว่างอัตราส่วนพบในธรรมชาติ 11B/10B และ อัตราส่วนวัดได้จริง 11B/10B ถูกนิยามว่า δ11B มีหน่วยเป็น ‰ ( ในพันส่วน ) มีค่ากว้างตั้งแต่ -16 ถึง +59 จากธรรมชาติ ปัจจุบันทราบไอโซโทปโบรอน 13 ไอโซโทป 7B มีเวลาครึ่งชีวิตน้อยที่สุดมีครึ่งชีวิต 3.5×10−22 วินาทีสลายโดยเกิดการปล่อยโปรตอนหรือการสลายให้อนุภาคแอลฟา การแยกไอโซโทปของโบรอนใช้วิธีควบคุมปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนระหว่าง B(OH)3 และ [B(OH)4]- หรือไอโซโทปยังสามารถแยกกันได้ในผลึกแร่จากบริเวณระบบไฮโดรเทอร์มอลและหินแปรไฮโดรเทอร์มอล อย่างเช่น ดินเหนียวบนหินแปรไฮโดรเทอร์มอลพบไอออน[B(OH)4]- มากแสดงถึงมีการกำจัดไอออนออกจากน้ำทะเล ทำให้มีความเข้มข้นของ B(OH)3 มากกว่าเมื่อเทียบกับน้ำทะเลบริเวณเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรและเปลือกโลกภาคพื้นทวีป ไอโซโทป 17B เป็นเอ็กโซติกไอโซโทปที่มีฮาโลนิวตรอน ดังนั้น มีรัศมีนิวเคลียสใหญ่กว่าคาดการณ์โดยโมเดลหยดน้ำ 10B เหมาะสำหรับเป็นวัสดุดูดรังสีนิวตรอน 10B ในธรรมชาติมีเพียงประมาณร้อยละ 20 ของโบรอนทั้งหมด ดังนั้นในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์นำโบรอนธรรมชาติแยกไอโซโทปและใช้ 10B บริสุทธิ์ที่ได้ ส่วนเกิดผลพลอยได้เป็น 11B บริสุทธิ์ที่มีคุณค่าต่ำ == อุตสาหกรรมการผลิต == ในการผลิตสารประกอบโบรอนจะไม่ผ่านโบรอนบริสุทธิ์เนื่องจากใช้โบเรตที่หาได้ง่ายกว่าแทน วิธีสังเคราะห์ธาตุโบรอนในอดีด ใช้วิธีนำโบเรตรีดิวซ์ด้วยโลหะแมกนีเซียมและอะลูมิเนียม แต่วิธีนี้ไม่สามารถเก็บโบรอนบริสุทธิ์มีสารประกอบโลหะโบรอนผสมอยู่ โบรอนบริสุทธ์นั้นสามารถสังเคราะห์ได้โดยวิธีใช้โบรอนเฮไลด์ที่ระเหิยได้ง่ายรีดิวซ์ด้วยแก๊สไฮโดรเจนในอุณหภูมิสูง โบรอนความบริสุทธิ์สูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมสารกึงตัวนำสังเคราะห์จากการสลายตัวของไดโบเรนในอุณหภูมิสูง จากนั้นนำไปบริสุทธิ์ด้วยวิธี Zone melting หรือ Czochralski method 10B ที่เป็นไอโซโทปของโบรอนมีความสามารถในการดูดนิวตรอนแต่มีอัตราส่วนโบรอนในธรรมชาติแค่ประมานร้อยละ 20 ของโบรอนทั้งหมดจึงต้องแยกไอโซโทปให้ 10B เข้มข้นมากขึ้น มีวิธีต่างๆเช่น วิธีกลั่นและวิธีแลกเปลี่ยน ในวิธีกลั่นใช้กลั่นอุณหภูมิต่ำโดยใช้โบรอนเฮไลด์ที่มีจุดเดือดต่ำ ในวิธีแลกเปลี่ยนใช้การแลกเปลี่ยนระหว่างของเหลวและแก๊สของออร์เกโนโบโรฟลูออไรด์ และมีการคิดค้นวิธี 2 วิธีนี้รวมกันเป็นวิธีกลั่นแลกเปลี่ยน ปัจจุบันการผลิตโบรอนเข้มข้นนั้นส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้ === แนวโน้มการตลาด === ค.ศ.2014มีปริมาณการผลิตแร่ทั่วโลก 3.72ล้านตันและ1.77ล้านตันผลิตที่ประเทศตุรกี ปีค.ศ.2008 ปริมาณการผลิตของโบเรตทั่วโลกต่ำกว่า 2.00 ล้านตันต่อปี แต่ปีค.ศ.2012 เพิ่มขึ้นถึง 2.20 ล้านตันต่อปี ปีค.ศ.2015 กรมสำรวจธรณีของU.S. รายงาน Mineral Commodity Summaries คาดว่าปริมาณอุปสงค์ของโบเรตจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในเอเชียและอเมริกาใต้ และในยุโรป เกณฑืการก่อสร้างเข้มงวดขึ้นเพื่อประหยัดพลังงานและแก้ไขปํญหาโลกร้อน จึงอุปสงค์ของโบรอนเพื่อผลิตกระจกกันร้อนจะเพิ่มขึ้น อุปสงค์เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ทำให้การผลิตโบเรตทั้วโลกเพิ่มขึ้นตามด้วย แร่ธาตุหลักๆที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมคือ แร่ Colemanite, แร่ Ulexite, แร่ Kernite, และบอแรกซ์ 4แร่นี้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโบรอนถึงร้อยละ 90 ของทั้งหมด แร่ธาตุเหล่านี้แยกหน้าที่การผลิตโดยปริมาณโซเดียมในแร่ อย่างเช่น แร่ Ulexite, บอแรกซ์ เป็นสารตั้งต้นของโบเรต, โซเดียมเตตระโบเรตตามลำดับ หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากโบรอนมีแก้ว โบรอนที่นำไปในต้องมีปริมาณโซเดียมต่ำจึงนิยมใช้แร่ Colemanite ที่เป็นเกลือแคลเซียม อีก 3 แร่เป็นเกลือโซเดียม แต่แร่ Colemanite มีสารเจือปนเป็น อาร์เซนิก ปริมาณมากจึงปัจจุบันมีปัญหากำจัดเนื่องจากเกณฑ์เข้มงวดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริเวณเมือง Magdalena รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกามีแร่ Colemanite คุณภาพสูงแต่ด้วยปัญหาอาร์เซนิกจึงมีการเลื่อนก่อสร้างเหมืองแร่หลายครั้ง ปัญหาอาร์เซนิกนี้เป็นหนึ่งในสาเหตูทำให้อุปทานการผลิตลดลง ผู้ผลิตรายใหญ่ของโบรอนมี 2 บริษัทคือ บริษัท Rio Tinto Group ในสหรัฐอเมริกา และ รัฐวิสาหกิจ Eti Mine Works ของตุรกี Rio Tinto ผลิตบอแรกซ์และแร่ Kerniteจากเหมืองที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีค.ศ.2012 ผลิตโบรอนร้อยละ 25 ของทั่วโลกจากเหมืองนี้ Eti มีสิทธิ์ขุดแร่โบรอนทั้วประเทศตุรกีและปีค.ศ.2012 ผลิตโบรอนประมาณร้อยละ 50 ของทั่วโลก ในประเทศจีนคาดว่ามีแร่โบรอนอยู่ 32.00ล้านตัน แต่แร่ที่พบในอเมริกาและตุรกีมี B2O3 อยู่ร้อยละ 25-30 ส่วนแร่ที่พบในประเทศจีน้ป็นแร่ที่ด้อยคุณภาพ มี B2O3 อยู่ร้อยละ 8.4 ประเทศจีนจึงเพิ่มปริมาณโซเดียมเตตระโบเรตนำเข้า100เท่าในระหว่างปี 2000 ถึง 2005 เพื่อตอบสนองความต้องการโบเรตที่มีคุณภาพสูง ในช่วงเวลาเดียวกันปริมาณโบเรตนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ต่อปี Mineral Commodity Summaries (2015) ที่กรมสำรวจธรณีของU.S. รายงาน คาดว่า ประเทศจีนเพิ่มปริมาณนำเข้าอย่างต่อเนื่องหลังปี 2015 == การนำไปใช้ประโยชน์ == ไม่ค่อยนิยมใช้ธาตุโบรอนอย่างเดียวแต่นิยมใช้เป็นรูปสารประกอบและโลหะผสมต่าง ๆ กรณีใช้ในชีวิตประจำวันนิยมใช้ในรูป โบเรตและบอแรกซ์ บอแรกซ์ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตแก้ว วัตถุกันเสีย ตัวรีดิวซ์ของโลหะ สารการเชื่อม สารบดวาว และสารควบคุมไฟต่าง ๆ ในการโรงเรียนบางครังมีการทดลองสร้างสไลม์ด้วยบอแรกซ์และผงซักฟอก เกลือโบเรตและเกลือเปอร์โบเรตใช้เป็นสารล้างตา ยาบริเวณช่องปาก สารกำจัดแมลงสาบต่าง ๆ === แก้วและเซรามิก === แก้วเป็นผลิตภัณฑ์หลักของโบรอน ร้อยละ 60 ของปริมาณบริโภคในปี 2011 ใช้เพื่อการผลิตแก้วรวมเส้นใยแก้ว แก้วโบโรซิลิเกตทั่วไปมีส่วนผสมของโบรอนออกไซด์อยู่ร้อยละ 5–30 มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวจากความร้อนต่ำจึงทนทานต่อความร้อน อีกทั้งเมื่อผสมโบรอนในแก้วจะเพิ่มสภาพคล่องของเหลวดังนั้นพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตแก้ว เครื่องหมายการค้าหลักของแก้วโบโรซิลิเกตมี Pyrex และ Duran จากความสมารถทนทานต่อความร้อนนิยมใช้เป็นอุปกรณ์การทดลอง อุปกรณ์ทำอาหาร จานทนความร้อน เส้นใยโบรอนมีน้ำหนักเบาและแข็งแรงจึงใช้เป็นสารเพิ่มความแข็งแรงของวัสดุผสมอย่างพลาสติกผสมเส้นใย นิยมใช้เป็นโครงสร้างในด้านการบินและอวกาศ ในชีวิตประจำวันใช้ในด้านกีฬาอย่างไม้กอล์ฟ เบ็ดตกปลา ยังใช้เป็นวัสดุฉนวนและวัสดุทนไฟ ร้อยละ 45 ของปริมาณบริโภคโบรอนใช้เพื่อผลิตเส้นใยแก้ว เส้นใยแก้วนี้ผลิตโดยนำโบรอนทับซ้อนบนเส้นใยทังสเตนด้วยวิธี chemical vapor deposition === เครื่องเสียง === มีความหนาแน่นต่ำ ค่ามอดูลัสของยังสูง และความเร็วเสียงเร็วถึง 16,200 m/s ซึ่งเป็น 2.6 เท่าของอะลูมิเนียมจึงเหมาะสำหรับวัสดุเครื่องเสียงมากกว่าเบริลเลียมแต่มีจุดเดือดสูงและมีความยืดหยุนต่ำมากจึงเป็นวัสดุที่แปรยาก เริ่มมีการใช้หลังทศวรรษที่ 1980 เข็มเครื่องเล่นจานเสียงของ Denon, Audio-Technica Diatone ใช้โบรอนคาร์ไบด์เป็นแผ่นสั่นในลำโพงเสียงสูง-กลาง === สารกึ่งตัวนำ === โบรอนใช้เป็นสารเร่งสารกึ่งตัวนำอย่างซิลิคอน เจอร์เมเนียม ซิลิคอนคาร์ไบด์ โบรอนมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ 3 จึงเป็นโฮลในการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนจากธาตุโฮสท์ที่มี 4 อิเล็กตรอนอย่างซิลิคอนดังนั้นสร้างสารกึ่งตัวนำประเภทพี วิธีเร่งด้วยโบรอน เดิมใช้กระจายอะตอมในอุณหภูมิสูง วิธีนี้สามารถใช้สารตั้งต้นเป็นโบรอนออกไซด์ที่เป็นของแข็ง โบรอนไตรโบรไมด์ที่เป็นของเหลว,และโบรอนไตรฟลูออไรด์หรือไดโบเรนที่เป็นแก๊สได้ แต่หลังทศวรรษที่1970นิยมใช้วิธีฉีดไอออนที่ใช้โบรอนไตรฟลูออไรด์ โบรอนไตรคลอไรด์เป็นสารประกอบที่สำคัญในการผลิตการกึ่งตัวนำแต่ไม่ได้ใช้เป็นสารเร่ง แต่ใช้ในการสลักด้วยพลาสมาของโลหะและโลหะออกไซด์ === แม่เหล็ก === โบรอนเป็นหนึ่งในธาตุที่ประกอบแม่เหล็กนิโอดิเมียมซึ่งเป็นแม่เหล็กถาวรที่แรงที่สุด มีโบรอนอยู่ประมาณร้อยละ 1 ในแม่เหล็กนิโอดิเมียม แม่เหล็กนิโอดิเมียมนิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบกราฟิกส์ในการแพทย์เช่นการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก มอเตอร์และตัวกระตุ้นให้ทำงานขนาดเล็กเช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดีใช้แม่เหล็กนิโอดิเมียมเพื่อให้ระบบอ่านข้อมูลเล็กลง และใช้แม่เหล็กนิโอดิเมียมในลำโพงให้ขนาดเล็กลงกับโทรศัพท์มือถือ === พลังงานนิวเคลียร์ === ในไอโซโทปของโบรอน 10B มีพื้นที่ดูดกลืนนิวตรอนขนาดใหญ่ ใช้สมบัตินี้เป็นแท่งควบคุมในเตาปฏิกรณ์เพื่อดูดนิวตรอน โบเรตที่เป็นสารประกอบใช้ผสมลงในน้ำหล่อเย็นปฐมภูมิของเตาปฏิกรณ์แบบเพิ่มความดันเพื่อควบคุมปฏิกิริยา ใช้โลหะผสมโบรอนในภาชนะเก็บสารกัมมันตรังสี === สิ่งมีชีวิต === เป็นหนึ่งในธาตุต้องการของพืชและร้อยละ 98 อยู่ในผนังเซลล์จึงคาดว่าเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ผนังเซลล์ การรักษาผนังเซลล์ การส่งออกน้ำตาลผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ การสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก เป็นโคเอนไซม์ แต่ยังไม่ชัดเจน สารที่นำพาโบรอนถูกระบุครั้งแรกในปี 2002 ส่วนโบรอนเข้มข้นสูงจะยับยั้งการเจริญของพืชจึงเนื้อดินที่มีโบรอนสูงอย่างออสเตรเลียตอนใต้ยากต่อทำการเกษตร กำลังวิจัยการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อทนต่อโบรอน == หน้าที่ทางชีววิทยา == โบรอนเป็นแร่ธาตุที่สังคัญต่อผนังเซลล์ ถ้าเนื้อดินขาดโบรอนจะก่อภาวะเลี้ยงไม่โตทั่วพืช แต่ความเข้นข้นโบรอนในเนื้อดินเกิน 1 ppm ก็เกิดอาการตายเฉพาะส่วนของใบและปลายยิ่งพืชที่อ่อนไหวต่อโบรอนจะเกิดอาการเมื่อเกิน 0.8 ppm ถ้าเกิน 1.8 ppm จะเกิดอาการทุกพืชรวมพืชทนโบรอนและเมื่อเกิน 2.0 ppm เกือบจะไม่มีพืชไหนเจริญได้อย่างปกติและบางส่วนไม่สามารถมีชีวิตได้ เมื่อโบรอนในเนื้อเยื่อเกิน 200 ppm จะเริ่มมีอาการดังกล่าว โบรอนคาดว่าเป็นธาตุที่จำเป็นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่ไม่ทราบหน้าที่ของโบรอนอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นหนูที่ก่อให้เกิดโรคขาดโบรอนโดยการให้อาหารสกัดโบรอนออกและกรองฝุ่นในอากาศออกมีผลกระทบต่อขนตัวโบรอนจึงเป็นธาตุจำเป็นต่อรักษาร่างการของหนูและปริมาณต้องการคาดว่าน้อยมาก หลังปี ค.ศ. 1989 มีการโต้เถียงกันว่าโบรอนเป็นแร่ธาตุที่มีหน้าที่ทางชีววิทยาในสัตว์รวมมนุษย์ กระทรวงการเกษตรของสหรัฐอเมริกาทดลงให้โบรอน 3 mg ต่อวันกับผู้หญิงวัยทอง ผลที่ออกมาคือลดการถ่ายเทแคลเซียมร้อยละ 44 กระตุ้นเอสโตรเจนและวิตามิน D และมีโอกาสสามารถควบคุมโรคกระดูกพรุนแต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าผลกระทบดังกล่าวเป็นเพราะหน้าที่ทางแร่ธาตุ หรือหน้าที่ทางยา สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกากล่าวว่า "มนุษย์ปกติควรรับโบรอนระหว่าง 2.1 ถึง 4.3 mg ต่อวัน" === ปัญหาสุขภาพและความเป็นพิษ === ธาตุโบรอน โบรอนออกไซด์ โบเรต เกลือโบเรตและออร์เกโนโบรอนส่วนใหญ่ ไม่เป็นพิษฉับพลันต่อมนุษย์เหมือนเกลือแกง LD50 ต่อสัตว์มีค่า ประมาณ 6 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมและสารที่มี LD50 สูงกว่า 2 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมเป็นไม่เป็นพิษ ยังไม่ทราบปริมาณต่ำที่สุดถึงแก่กรรม มีรายงานว่ารับโบรอน 4 กรัมต่อวันคาดว่าเกินปริมาณนั้นจะเป็นพิษต่อร่างกาย ถ้ารับ 0.5 กรัมต่อวันติดต่อกัน 50 วัน เกิดอาการท้องผูกและปัญหาทางระบบย่อยอาหาร ในการบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอนจะได้รับโบเรต 20 กรัมโดยไม่เกิดอาการอื่น ๆ สัตว์ประเภทปลาสามารถดำรงชีวิตในสาละลายโบเรตอิ่มตัว 30 นาทีและสามารถมีชีวิตได้นานกว่าเมื่ออยู่ในสารละลายโซเดียมโบเรต โบเรตมีความเป็นพิษต่อแมลงสูงกว่าสัตว์จึงนิยมใช้เป็นยาฆ่าแมลง โบรอนไฮไดรด์อย่างโบเรนและแก๊สที่คล้ายกันมีความเป็นพิษ โบรอนนั้นไม่เป็นพิษเหมือนโบรอนและสารประกอบอื่น ๆ แต่เกิดจากโครงสร้างทางเคมี โบเรนเป็นสารไวไฟและเป็นพิษจึงต้องระมัดระวังในการใช้ โซเดียมโบรอนไฮไดรด์เป็นสารริดิวซ์ที่แรง สามารถปฏิกิริยากับน้ำ กรด สารออกซิไดซ์อย่างรุนแรงและเสี่ยงต่อไฟไหม้และระเบิด โบรอนเฮไรด์มีฤทธิ์กัดกร่อน == รายการอ้างอิง == บโบรอน บโบรอน
thaiwikipedia
445
เซนต์เซย์ย่า
เซนต์เซย์ย่า เป็นชื่อของหนังสือการ์ตูน ซึ่งแต่งขึ้นโดย มาซามิ คูรูมาดะ ซึ่งใช้กลุ่มดาวม้าบินมาเป็นตัวเอกของเรื่อง เนื่องจากม้าบินกำลังอยู่ในท่าทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ตรงกับภาพลักษณ์ของตัวเอกที่เขาได้คิดไว้นั่นเอง โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหนุ่ม 5 คนที่เรียกว่า เซนต์ (saint) ต่อสู้โดยใช้ร่างกายของตนเองเป็นอาวุธเพื่อปกป้องคิโดะ ซาโอริ ผู้เป็นอวตารของเทพีอะธีนา และต่อสู้กับทัพศัตรูแห่งความชั่วร้าย ในโลกร่วมสมัยที่มีบรรยากาศของเทพปกรณัมกรีก ในประเทศญี่ปุ่น เซนต์เซย์ย่าลงตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ และออกเป็นหนังสือรวมเล่มจำนวน 28 เล่มจบ ส่วนในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจได้รับสิทธิ์ในการตีพิมพ์ฉบับรวมเล่ม นอกจากภาคหลักแล้ว เซนต์เซย์ย่ายังได้รับการแต่งภาคเสริมขึ้นอีกหลายภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาค Episode G , Next Dimension และ The Lost Canvas เซนต์เซย์ย่าถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของอนิเมะ และออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยบริษัท โตเอแอนิเมชัน ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีจนได้ออกอากาศติดต่อกันนานเกือบ 3 ปี นอกจากนี้ยังได้แพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ ทั้งในแถบเอเชียด้วยกัน เช่น ประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีการนำเซนต์เซย์ย่ามาออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2531 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดยใช้ชื่อว่า "เซย่า เทพบุตรหมัดดาวหาง" จากนั้นก็ได้ออกอากาศซ้ำอีกในปี พ.ศ. 2547 ทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซี (ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน) และมีการนำออกวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีโดย บริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด ด้วย นอกจากนี้เซนต์เซย์ย่ายังได้รับการดัดแปลงเป็นสื่อในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ภาพยนตร์ ละครเวที เกม และของเล่นต่าง ๆ == ประวัติ == ในขณะที่ มาซามิ คุรุมาดะ กำลังวางเค้าโครงเนื้อเรื่องของผลงานเรื่องใหม่อยู่ เขาก็ได้พบภาพของ "ฝนดาวตกสิงโต" เข้า ฝนดาวตกจำนวนมหาศาลที่ตกลงมาจากท้องฟ้านั้น ดูคล้ายกับลักษณะของเซนต์มาก คุรุมาดะจึงคิดจะออกแบบให้ตัวเอกของเรื่องเป็นราศีสิงห์ แต่หลังจากได้ค้นข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม เขาก็พบกลุ่มดาวม้าบิน ซึ่งม้าบินหรือเพกาซัสที่กำลังอยู่ในท่าทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ตรงกับภาพลักษณ์ของตัวเอกที่คุรุมาดะกำหนดเอาไว้เป็นอย่างมาก เขาจึงตัดสินใจเลือกเพกาซัสให้เป็นกลุ่มดาวประจำตัวเอก และนำลักษณะของฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต (Leonids) มาเป็นต้นแบบของท่าไม้ตายของตัวเอก แล้วคุรุมาดะก็ตั้งชื่อให้กับตัวเอกของเรื่องว่า "เซย์ย่า" เมื่อวางเค้าโครงเรื่องเสร็จ คุรุมาดะก็เลือกกลุ่มดาวขึ้นมา 10 กลุ่มดาว (จากทั้งหมด 88 กลุ่มดาว) และกำหนดให้เป็นบรอนซ์เซนต์ทั้ง 10 คน ส่วนกลุ่มดาวอื่นๆ ที่เหลืออีก 78 กลุ่มดาว ก็ได้รับการออกแบบให้เป็นเซนต์ในระดับต่างๆ ซึ่งมีความสามารถที่แตกต่างกันไป == ความนิยม == เซนต์เซย์ย่าเป็นหนึ่งในผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาในช่วงยุคทองของนิตยสารจัมป์รายสัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการ์ตูนดังๆ ในยุค'80 ตีพิมพ์อยู่หลายเรื่อง เช่น ดราก้อนบอล ฤทธิ์หมัดดาวเหนือ คินนิคุแมน โรงเรียนลูกผู้ชาย และซิตี้ฮันเตอร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มนักรบเด็กหนุ่มห้าคน (เซนต์) ซึ่งต่อสู้โดยใช้ร่างกายของตนเองเป็นอาวุธ ในโลกร่วมสมัยที่มีบรรยากาศของเทพปกรณัมกรีก เด็กหนุ่มทั้งห้าคนนี้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปกป้อง คิโดะ ซาโอริ ผู้เป็นอวตารของเทพีเอเธนา เทพีแห่งปัญญาและสงคราม และต่อสู้กับทัพศัตรูแห่งความชั่วร้าย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากทั้งผู้ชมที่เป็นผู้ชายและผู้หญิง ต่อมาเมื่อถูกสร้างเป็นอนิเมะออกอากาศทางโทรทัศน์ ก็มีกระแสตอบรับที่ดีจนได้ออกอากาศติดต่อกันนานเกือบ 3 ปี ส่งผลให้สินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับเซนต์เซย์ย่า เช่น วิดีโอภาพยนตร์การ์ตูน ซอฟต์แวร์เกม หุ่นฟิกเกอร์และหุ่นเหล็กในรูปแบบต่างๆ ที่ผลิตโดยบริษัทบันไดในช่วงนั้น ได้รับความนิยมและขายดีเป็นอย่างมากทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันยังได้มีการผลิตของเล่นที่เรียกว่า เซนต์คลอธมิธ ซึ่งเป็นเหมือนกับหุ่นแอคชันฟิกเกอร์รุ่นปรับปรุงใหม่ออกมาวางจำหน่ายอีกด้วย นอกจากนี้ เซนต์เซย์ย่า ยังได้สร้างอิทธิพลให้แก่การ์ตูนญี่ปุ่นในยุคต่อมาอย่าง ซามูไรทรูปเปอร์ ที่สร้างโดยซันไรส์ ในปี พ.ศ. 2531 และศึกเทพสวรรค์ ชูราโตะ ที่สร้างโดยทัตสึโนโกะ ในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งแนวเรื่องของผลงานทั้ง 2 ที่กล่าวมา ต่างก็เน้นในด้านการต่อสู้และมิตรภาพของเหล่าเด็กหนุ่มที่สวมชุดเกราะ โดยรูปแบบของเกราะจะแยกชิ้นส่วนมาประกอบเข้ากับร่างกายเช่นเดียวกับในเรื่องเซนต์เซย์ย่า ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากในประเทศไทยแล้ว เซนต์เซย์ย่ายังได้ไปแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ ทั้งในแถบเอเชียด้วยกัน เช่น ประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกฟากของทวีปอย่างแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมไปถึงลาตินอเมริกา โดยถึงแม้ว่าในแถบยุโรปจะมีความเข้มงวดเกี่ยวกับฉากต่อสู้ที่มีความรุนแรงในเรื่อง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เซนต์เซย์ย่าเสื่อมความนิยมลงแต่อย่างใด เพราะหลังจากที่แพร่ภาพจบชุด ยังถูกนำกลับมาฉายใหม่อีกหลายครั้ง ส่วนที่ประเทศเม็กซิโกในแถบละตินอเมริกา ก็ได้มีการแพร่ภาพเรื่องเซนต์เซย์ย่าถึง 14 ครั้งด้วยกัน และจากการถูกนำไปแพร่ภาพในหลายๆ ประเทศ ทำให้ชื่อเรื่อง เซนต์เซย์ย่า ได้รับการตั้งขึ้นใหม่ตามภาษาและวัฒนธรรมของบางประเทศ เช่น ช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์กในสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า "Knights of the Zodiac" ภาษาฝรั่งเศสใช้ชื่อว่า "Les Chevaliers du Zodiaque" ภาษาอิตาลีใช้ชื่อว่า "I Cavalieri dello zodiaco" ภาษาโปรตุเกสใช้ชื่อว่า "Os Cavaleiros do Zodíaco" ภาษาโปแลนด์ใช้ชื่อว่า "Rycerze Zodiaku" เป็นต้น == เนื้อเรื่อง == เนื้อเรื่องของเซนต์เซย์ย่านั้น ในฉบับมังกะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ภาค ด้วยกัน ได้แก่ ภาคศึก12 ราศีภาคโพไซดอน และภาคฮาเดส แต่ในอนิเมะนั้น ได้เพิ่มภาคแอสการ์ดเข้ามา ซึ่งเป็นภาครอยต่อระหว่าง ภาคศึก 12 ราศีและภาคโพไซดอน และภายหลังได้เพิ่มเนื้อเรื่องต่อออกไปอีกในภาควิญญาณแห่งโกลด์ นอกจากนี้ ยังได้มีการแต่งเนื้อเรื่องเพิ่มขึ้นมาในภายหลังอีกหลายภาคด้วยกัน สำหรับเนื้อเรื่องย่อของภาคต่าง ๆ มีดังนี้ === ภาคศึก 12 ราศี (Sanctuary Chapter) === ณ แซงทัวรี่ อาเธน่ากลับมาเกิดใหม่ตามยุคสมัย เคียวโก(แอเรียส ชิออน)จึงจัดการเลือกให้ 1 ในโกลด์เซนต์มาเป็นเคียวโก ซึ่งตัวเต็งคือ ไอโอลอสกับซากะ แต่ซากะที่กลัวถึงอีกบุคลิกในตัวจึงหนีหายสาปสูญไป ทำให้ไอโอลอสเป็นผู้ถูกเลือก แต่ไอโอลอสก็ปฏิเสธ วันหนึ่ง ที่สตาร์ฮิล ซากะไปถามสาเหตุจากเคียวโก จนรู้ว่าเคียวโกเกรงกลัวถึงจิตใจชั่วร้ายในตัวซากะ ทำให้ซากะฆ่าเคียวโกกับสวมรอย หวังฆ่าอาเทน่า แต่ไอโอลอสช่วยไว้ทัน แต่ก็ถูกไล่ล่าจนเสียชีวิต ก่อนตายได้ฝากอาเทน่าและชุดคล็อธซาจิทาเรียสไว้กับคิโด มิสึมาสะเป็นผู้ดูแล เนื้อเรื่องหลังจากนั้นของภาคแซงค์ทัวรี อาจจะแบ่งย่อย ๆ ได้เป็น ศึกกาแล็คเซียนวอร์ส เริ่มต้นจากการคัดเลือกเหล่าเด็กกำพร้า 100 คน จากสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ถูกเกณฑ์ส่งไปฝึกฝนเพื่อให้ได้เป็นเซนต์จากที่ต่างๆ ทั่วโลก ใครที่ฝึกสำเร็จได้เป็นบรอนซ์เซนต์ (Bronze saint) เพียง 10 คนเท่านั้น หลังจากนั้น คิโดะ ซาโอริจึงได้จัดการประลองขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า "ศึกกาแล็คเซียนวอร์ส" ซึ่งเป็นการประลองระหว่างบรอนซ์เซนต์ทั้ง 10 คน เพื่อหาผู้ชนะที่จะได้ครอบครองชุดคล็อธซาจิทาเรียส ในระหว่างการต่อสู่ระหว่างเหล่าเซนต์นั้น ฟินิกซ์ อิคคิ บรอนซ์เซนต์คนที่ 10 ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นมา พร้อมกับเหล่าแบล็คเซนต์ แล้วได้ขโมยชิ้นส่วนของชุดคล็อธซาจิทาเรียสไป ดังนั้น พวกเซย์ย่าจึงมีหน้าที่ที่จะต้องนำชุดคล็อธซาจิททาเรียสกลับคืนมาให้ได้ การต่อสู้กับแบล็คเซนต์ หลังจากที่แบล็กเซนต์ได้ขโมยเอาชุดคล็อธซาจิททาเรียส พวกเซย์ย่าได้เดินทางไปยังภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งเป็นฐานใหม่ของพวกแบล็คเซนต์ที่นำโดยอิคคิ พวกเซย์ย่าสู้ชนะ นำชุดคล็อธซาจิทาเรียสกลับคืนมาได้ หลังจากการต่อสู้นั้น ภูเขาฟูจิก็ได้ถล่มลงมาซึ่งเป็นฝีมือของซิลเวอร์เซนต์ (Silver Saint) ที่ได้รับคำสั่งจากเคียวโกให้มากำจัดพวกเซย์ย่า นั่นเอง แต่พวกเซย์ย่าที่รอดตาย จากความช่วยเหลือของ แอเรียส มู การต่อสู้กับซิลเวอร์เซนต์ เคียวโกได้ส่งซิลเวอร์เซนต์มากมายกำจัดพวกเซย์ย่าแต่ล้มเหลวตลอด ซึ่งมีมารีนและไชน่าที่ได้ให้ความช่วยเหลือพวกเซย์ย่าในการต่อสู้ครั้งนี้ด้วย เคียวโกจึงได้ส่งโกลด์เซนต์ (Gold Saint) ไอโอเลีย มากำจัดเซย์ย่า ซึ่งจากการเดินทางมากำจัดเซย์ย่าในครั้งนี้ ทำให้ไอโอเลียได้รู้ความจริงว่าคิโดะ ซาโอรินั้น เป็นร่างจุติของอาเทน่าที่ไอโอลอสได้ช่วยชีวิตไว้เมื่อ 13 ปีก่อนนั่นเอง การต่อสู้กับเหล่าโกลด์เซนต์ อาเทน่าตัดสินใจเดินทางไปยังแซงค์ทัวรี่เพื่อเข้าพบเคียวโก แต่อาเทน่าได้ถูกลูกศรทองคำของซิลเวอร์เซนต์ ซาจิตต้า เทรมี่ ปักเข้าที่หัวใจ ซึ่งพวกเซย์ย่าจะต้องบุกเข้าไปยัง 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่ภายใน 12 ชั่วโมง เพื่อพาเคียวโกมารักษา แต่การจะฝ่าปราสาท 12 ราศี นั้นจะต้องสู้กับเหล่าโกลด์เซนต์ 12 คนเป็นผู้ดูแลประจำแต่ละปราสาท ซึ่งไม่มีใครทำได้ตั้งแต่สมัยเทพนิยาย อย่างไรก็ตาม แอเรียส มู ได้ใช้เวลา 1 ชม.ซ่อมคลอธให้กับแนะนำให้พวกเซย์ย่าปลุกพลังเซเว่นเซนส์ (Seventh Sense) ซึ่งเป็นพลังคอสโม่สูงสุดขึ้นมา พวกเซย์ย่าสามารถปลุกพลังเซเว่นเซนส์และผ่านปราสาททั้ง 12 แห่ง กับเอาชนะเคียวโกตัวปลอม (เจมินี่ ซากะ) จนไปถึงเทวสถานอาเทน่าและใช้โล่ที่รูปปั้นอาเทน่ากับใช้แสงสะท้อนไปสาดส่องช่วยชีวิตคิโดะ ซาโอริเอาไว้ได้ กับสาดส่องใส่ตัวซากะเพื่อรักษากับกำจัดจิตใจชั่วร้ายไป ในการต่อสู้ครั้งนี้ทำให้โกลด์เซนต์บางส่วนได้เสียชีวิตไป ได้แก่ เจมินี่ ซากะ, แคนเซอร์ เดธมาสค์, แคปริคอร์น ชูร่า, อควอเรียส คามิว และ พิสซิส อโฟรดิเท ส่วนเหล่าโกลด์เซนต์ที่เหลือก็ได้ถวายความจงรักภักดีต่ออาเทน่า กับเรื่องของไอโอลอสพ้นผิดไป === ภาคศึกอัศวินแห่งแอสการ์ด === ภาคศึกอัศวินแห่งแอสการ์ด เป็นเนื้อเรื่องที่แต่งขึ้นมาสำหรับภาคอนิเมะ ไม่มีในมังงะ โดยเนื้อเรื่องเริ่มขึ้นหลังเสร็จสิ้นจากศึก 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่ โดยโพราลิส ฮิลด้า ผู้ปกครองแคว้นแอสการ์ด ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าโอดีน ถูกอำนาจของ "แหวนนีเบอลุง" เข้าครอบงำ ซึ่งทำให้ฮิลด้ามีความต้องการที่จะครอบครองแซงค์ทัวรี่และพื้นพิภพทั้งหมด โดยมีก็อดวอริเออร์ทั้ง 7 เป็นผู้คุ้มครอง โดยอาเทน่าได้เดินทางมายังแอสการ์ดเนื่องจากรับรู้ถึงสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และได้เสียสละตนทำหน้าที่ยับยั้งการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก เพื่อช่วยโลกและอาเทน่าพวกเซย์ย่าจึงต้องรวบรวมโอดีนแซฟไฟร์ซึ่งจะได้มาโดยการกำจัดเหล่าก็อดวอริเออร์ทั้ง 7 คน เพื่อนำมาใช้ถอดแหวนนีเบอลุงออกจากนิ้วของฮิลด้าให้ได้ภายในเวลาครึ่งวัน หลังจากที่พวกเซย์ย่าสามารถโค่นก็อดวอริเออร์ทั้ง 7 คนและรวบรวมโอดีนแซฟไฟร์ครบ 7 เม็ดแล้ว เซย์ย่าก็ได้ใช้โอดีนแซฟไฟร์ปลุก "ชุดโอดีนโร้บ" ขึ้นและใช้ดาบของโอดีนโร้บทำลายแหวนนีเบอลุงที่นิ้วของฮิลด้าได้สำเร็จ โดยที่แท้จริงแล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นเป็นแผนของเจ้าสมุทรโพไซดอนนั่นเอง === ภาคศึกเจ้าสมุทรโพไซดอน === ด้วยอำนาจของเทพสมุทรโพไซดอนได้ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนักจนน้ำท่วมทั่วโลก เพื่อกำจัดมนุษย์ และสร้างยูโธเปียขึ้นปกครองมาใหม่อีกครั้ง เพื่อยุติภัยพิบัติครั้งนี้ อาเทน่าจึงได้เดินทางไปพบโพไซดอนที่วิหารใต้ท้องมหาสมุทร และได้เสียสละตัวเองเข้าไปในเสาเมนเบรดวินเนอร์เพื่อรองรับน้ำฝนจากบนโลกให้มาตกภายในเสานี้เท่านั้น พวกเซย์ย่าที่ฟื้นตัวจากโคม่า ได้คลอธใหม่ที่อาบเลือดโกลด์เซนต์ จึงต้องช่วยอาเทน่าให้ออกมาจากเสาเมนเบรดวินเนอร์ให้ได้ก่อนที่อาเทน่าจะจมน้ำตาย โดยการกำจัดเหล่ามารีเนอร์ทั้ง 7 คน รวมทั้งโค่นเสาค้ำมหาสมุทรที่เหล่ามารีเนอร์คุ้มครองอยู่ด้วย โดยใช้อาวุธของชุดคล็อธไลบร้า พอโค่นมารีเนอร์กับทำลายเสาค้ำมหาสมุทรทั้ง 7 ต้นได้แล้ว จึงบุกเข้าไปยังวิหารโพไซดอนเพื่อทำลายเสาเมนเบรดวินเนอร์ แต่ถูกโพไซดอนขัดขวางไว้ ซึ่งเหล่าโกลด์เซ็นต์ได้ส่งชุดคล็อธซาจิททาเรียส ชุดคล็อธไลบร้า และชุดคล็อธอควอเรียสมาช่วยเหลือ พวกเซย์ย่าได้รวมรวบพลังไปยังลูกธนูของซาจิททาเรียสแล้วยิงเข้าใส่จูเลี่ยน โซโรสำเร็จทำให้โพไซดอนในตัวตื่นขึ้นมา หลังจากนั้นก็ได้เข้าทำลายเสาเมนเบรดวินเนอร์และช่วยเหลืออาเทน่าได้สำเร็จ อาเทน่าจึงใช้คนโทกักวิญญาณของโพไซดอนไว้อีกครั้งหนึ่ง === ภาคศึกเทพเจ้าฮาเดส === เนื้อเรื่องของภาคฮาเดสนั้นเริ่มต้นจากพลังของอาเทน่าที่ใช้ผนึกเหล่าสเป็คเตอร์ไว้หลังจากการต่อสู้ในสงครามศักดิ์สิทธิ์เมื่อ 243 ปีก่อนนั้น ได้เสื่อมลง ซึ่งทำให้เหล่าสเป็คเตอร์ภายใต้การนำของฮาเดส เทพเจ้าแห่งยมโลก (โลกหลังความตาย) ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง เนื้อเรื่องหลังจากนั้นของภาคศึกเทพเจ้าฮาเดส อาจแบ่งย่อยได้ ดังนี้ ภาคแซงก์ทัวรี่' (The Hades Chapter - Sanctuary) หลังจากจบศึกโพไซดอน พวกเซย์ย่าถูกสั่งห้ามเข้าแซงทัวรี่เนื่องจากปกป้องอาเทน่ามามาก แต่พวกเซย์ย่าก็ไม่ยอมกับพยายามเข้ามา หลังจากการคืนชีพของเหล่าสเป็คเตอร์ภายใต้การนำของฮาเดสนั้น ฮาเดสได้ใช้พลังทำให้เหล่าโกลด์เซนต์กับเคียวโกที่เสียชีวิตไปแล้ว ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง โดยจะมีเวลาอยู่บนโลกได้ 12 ชั่วโมงเพื่อไปนำศีรษะของอาเทน่ามาให้ตน เหล่าโกลด์เซนต์ภายใต้การนำของแอเรียส ชิออนซึ่งเป็นอดีตเคียวโก จึงได้บุกเข้า 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่เพื่อขึ้นไปยังวิหารอาเทน่า ในระหว่างการต่อสู้นั้น ทอรัส อัลเดบารัน และ เวอร์โก้ ชากะ ได้เสียชีวิตลง แต่ชากะได้เขียนคำว่า "อารายาชิกิ" ลงบนกลีบดอกไม้ให้พัดพาไปถึงอาเทน่า โดยต้องการบอกให้อาเทน่าเข้าใจถึงการตายของเขาในครั้งนี้เพื่อทำการปลุกสัมผัสที่ 8 หรือ เอทเซนส์ (Eighth Sense) ซึ่งจะทำให้มนุษย์ที่ยังมีชีวิตสามารถลงไปยังยมโลกได้ เมื่ออาเทน่าทราบถึงเจตนาของชากะ จึงได้สั่งให้นำพวก เซ็นต์เจมินี่ คาน่อน น้องฝาแฝดของ เซ็นต์จิมินี่ ซากะ มาพบตน และได้ใช้กริชทองคำที่ซากะเคยคิดใช้สังหารอาเทน่าเมื่อ 13 ปีก่อนปลิดชีพตนเอง หลังจากนั้น แอเรียส ชิออนได้มาถึงกับเศร้าใจ พวกเซย์ย่าที่พึ่งตามมาถึงได้ฟังความจริงจากชิออนว่า เจตนาที่แท้จริงของเหล่าโกลด์เซนต์ที่คืนชีพมาในครั้งนี้ก็เพื่อใช้เลือดของอาเทน่าปลุกชุดคล็อธแห่งอาเทน่านั่นเอง หลังจากการตายของอาเทน่านั้น ชิออนได้สั่งการในฐานะเคียวโกให้พวกเซย์ย่า ตามเหล่าโกลด์เซนต์ที่เหลือได้บุกไปยังปราสาทฮาเดส และพวกเซย์ย่าได้ปลุกสัมผัสที่ 8 ขึ้นมาเพื่อลงไปยังยมโลกทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สำเร็จ ภาคยมโลก (The Hades Chapter - Inferno) หลังจากเข้าสู่ยมโลก พวกเซย์ย่าได้แยกเป็น 2 กลุ่ม โดยเซย์ย่าและชุนได้เดินทางไปด้วยกัน ส่วนชิริวและเฮียวกะก็แยกไปอีกเส้นทาง โดยทั้ง 2 กลุ่มเดินทางมุ่งไปยังนรกขุมต่าง ๆ และได้กำจัดเหล่าสเป็คเตอร์ประจำขุมนรกต่าง ๆ ลง เซย์ย่าและชุนได้พบกับไลรา โอฟี ซิลเวอร์เซนต์อีกคนที่พลังเทียบเท่าโกลด์เซ็นต์แต่ต้องอยู่ในนรกเพื่อบรรเลงพิณให้ฮาเดสฟัง ด้วยความช่วยเหลือของโอฟี ทำให้เซย์ย่าและชุนบุกเข้าถึงปราสาทที่พักของฮาเดสได้ แต่เหตุการณ์กลับพลิกผันโดยชุนได้กลายเป็นร่างสถิตของฮาเดส แต่ด้วยความช่วยเหลือของอาเทน่าทำให้วิญญาณของฮาเดสที่เข้าสิงร่างของชุนนั้นกลับไปสู่เอลิเชี่ยน อาเทน่าจึงตามฮาเดสไปสู่เอริเชี่ยน ทว่าพวกเซย์ย่าไม่สามารถไปสู่เอริเชี่ยนได้เพราะมีกำแพงวิปโยคขวางกั้นอยู่ พวกเซย์ย่าพยายามจะทำลายกำแพงนั้นแต่ไร้ผล และในขณะนั้นเอง วิญญาณของโกลด์เซนต์ทั้ง 7 คนที่เสียชีวิตไปแล้วก็ได้ปรากฏตัวขึ้นที่ด้านหน้าของกำแพงวิปโยค เมื่อเห็นดังนั้น โกลด์เซนต์อีก 5 คนที่ยังมีชีวิตได้แก่ โดโก มู มิโร่ ไอโอเลีย และชากะ จึงได้เสียสละชีวิตของตนไปพร้อมกับวิญญาณของเพื่อนโกลด์เซนต์ทั้ง 7 เพื่อทำลายกำแพงนั้นลง ทำให้พวกเซย์ย่าสามารถเดินทางไปยังเอลิเชี่ยนได้ ภาคเอลิเชี่ยน (The Hades Chapter - Elysion) หลังจากเซย์ย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน และอิคคิ เดินทางมาสู่เอลิเชี่ยนแล้ว ได้ต่อสู้กับทานาทอสและฮิปนอส ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ยอมสยบแก่ฮาเดส พวกเซย์ย่าไม่สามารถสู้กับทานาทอส ขนาดโกลด์คลอธที่ข้ามผ่านเอลิเชี่ยนเพราะโพไซดอนไม่อยากให้โลกนั้นดับสูญจึงช่วยได้แค่ส่งโกลด์คลอธกับพวกเซย์ย่า แต่ก็ยังถูกทำลายอย่างง่ายดาย แต่ด้วยเลือดของอาเทน่าทำให้เศษชุดบรอนต์คล็อธที่แตกละเอียดของทั้ง 5 คนกลับคืนชีพอีกครั้งกลายเป็น "ชุดก็อดคล็อธ" ทำให้พวกเซย์ย่าสามารถกำจัดทานาทอสและฮิปนอสลงได้ หลังจากนั้นพวกเซย์ย่าจึงได้ต่อสู้กับฮาเดส และสามารถมอบชุดคล็อธให้อาเทน่าสวมได้สำเร็จ อาเทน่าจึงใช้คทาทองคำของตนกำจัดฮาเดสลงได้ในที่สุด === ภาควิญญาณแห่งโกลด์ === ในภาคนี้จะดำเนินเรื่องต่อจากภาคฮาเดสบทอินเฟอร์โน่ และดำเนินพร้อมกับบทเอลิเชี่ยน โดยภาคนี้เหล่าโกลด์เซนต์จะรับบทเป็นตัวละครหลักโดยมีเลโอ ไอโอเลีย เป็นพระเอก โดยเรื่องเริ่มขึ้นหลังจากเหล่าโกลด์เซนต์ทั้ง 12 เสียชีวิตจากการยิงศรทองระเบิดหน้ากำแพงวิปโยคเพื่อเปิดทางให้พวกเซย่าผ่านไป พวกเขาก็ถูกคืนชีพโดยฝีมือใครบางคนที่มาโผล่แอสการ์ด โดยพวกเขาทุกคนต้องหาคำตอบว่าถูกคืนชีพมาเพื่ออะไร เกิดอะไรขึ้นกับที่แอสการ์ด โดยภาคนี้จะแสดงให้เห็นถึงการร่วมต่อสู้ร่วมกันของเหล่าโกลด์เซนต์ทั้ง 12 === ภาคเสริมอื่น ๆ === นอกจากนี้ ยังมีการแต่งเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่ในช่วงหลัง โดยเนื้อเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่นี้ จะเป็นการกล่าวถึงช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการดำเนินเรื่องในภาคหลัก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ ภาค Episode G เป็นฉบับมังงะที่ทำขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนผู้วาดภาพเป็น เมกุมุ โอคาดะ คนแต่งยังคงเป็นคุรุมาดะเช่นเดิม แต่จริงๆแล้วคุรุมาดะไม่ได้แต่งเนื้อเรื่องให้โดยตรง เพราะคุรุมาดะเพียงแค่ให้สิทธิ์และเป็นที่ปรึกษาด้านการเขียนในช่วงแรกเท่านั้น เนื้อหาและแนวคิดโดยหลักๆของภาคนี้มาจากตัวผู้วาดภาพเองทั้งสิ้น โดยกล่าวถึงเรื่องราวในอดีตเมื่อ 7 ปีก่อนที่เนื้อเรื่องของภาคหลักจะเริ่มต้นขึ้น เกี่ยวกับศึกระหว่างโกลด์เซนต์ กับเหล่าเทพ ไททัน ซึ่งฟื้นคืนชีพขึ้นมา ตัวเอกของภาคนี้คือ เลโอ ไอโอเลีย ในวัยหนุ่ม ผู้ยังมีความเป็นขบถในตัวสูง และไม่ลงรอยกับแซงค์ทัวรี่ จากเหตุการณ์ที่พี่ชายถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ และถูกสังหารโดยโกลด์เซนต์ด้วยกันเอง ภาค Next Dimension เป็นภาคที่แต่งและวาดขึ้นใหม่โดยตัวคุรุมาดะเอง ขณะนี้กำลังลงตีพิมพ์อยู่ในนิตยสารโชเน็นแชมเปี้ยนของญี่ปุ่น โดยลงเป็นหน้าสีทั้งตอน แบบนานๆ ออกหน เรื่องราวจะสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องในตอนท้ายของภาคเจ้านรกฮาเดส เพราะเป็นภาคหลักอย่างเป็นทางการ กล่าวย้อนความไปถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ เมื่อ 243 ปีก่อน ตัวเอกของภาคนี้คือ บรอนซ์เซนต์ เพกาซัส เท็นมะ ผู้พบว่า อาโรน เพื่อนรักของตน กลับกลายเป็นร่างทรงของฮาเดส ภาค The Lost Canvas เป็นภาคที่คุรุมาดะไม่ได้เป็นผู้แต่งเรื่องโดยตรง เพียงแต่ให้สิทธิ์ในการเขียนและเป็นที่ปรึกษาในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนั้นเป็นการนำเค้าโครงเรื่องเดิมมาตีความและแต่งเติมโดย ชิโอริ เทชิโรงิ ที่เป็นผู้วาดภาพล้วนๆ โดยกล่าวถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ครั้งก่อน และตัวเอกคือ เพกาซัส เท็นมะ เช่นเดียวกับภาค Next Dimension แต่มีการดำเนินเรื่องแตกต่างกัน เหตุเกิดในทวีปยุโรป ช่วงศตวรรษที่ 18 ไลบร้า โดโก สืบหาร่องรอยของฮาเดส จนมาถึงเมืองหนึ่ง ณ ที่นั้น เท็นมะ เด็กหนุ่มเชื้อสายญี่ปุ่น ผู้มีฝีมือด้านต่อยตี กับ อาโรน เด็กหนุ่มจิตใจดี ที่รักและเล่าเรียนการวาดภาพ อาศัยอยู่ร่วมกับเด็กๆ ในย่านคนยากไร้ โดโกเห็นแววในตัวเท็นมะ จึงชักชวนไปรับการฝึกฝนเพื่อเป็นเซนต์ที่แซงค์ทัวรี่ ขณะอยู่ที่นั่น เท็นมะพบว่า เทพีอาเทน่าที่เหล่าเซนต์ปฏิญาณจะภักดีด้วยนั้น หาใช่ใครอื่น แต่เป็น ซาช่า น้องสาวของอาโรน ที่เคยเติบโตมาในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าพร้อมกับพวกเขานั่นเอง ขณะเดียวกัน อาโรน ซึ่งกำลังรอคอยการกลับมาของเพื่อนอยู่ที่บ้านเกิด กลับค่อยๆ ถูกแพนโดร่าชักนำให้โอบรับความมืด ในฐานะร่างทรงของฮาเดส สงครามศักดิ์สิทธิ์จึงได้เปิดม่านขึ้น พร้อมกับความสัมพันธ์ที่ถูกชะตากรรมเล่นตลกของทั้งสาม ภาค Saintia Shou เป็นภาคสปินออฟของภาคหลักของคุรุมาดะ ผู้วาด ชิมากิ คุโอริ แต่งเรื่องและตีความตามแบบของตนเอง โดยที่คุรุมาดะไม่ได้แต่งเนื้อเรื่องให้แม้แต่น้อย แต่ก็ยังอ้างอิงภาคหลักของคุรุมาดะ และเป็นครั้งแรกของซีรีส์นี้ที่ใช้นางเอกเป็นหญิงในการดำเนินเรื่อง เนื้อเรื่องเป็นเหตุการณ์ก่อนช่วงศึกช่วงกาแล็คเชี่ยนวอร์ส จนไปถึงช่วงหลังจบเหตุการณ์ปราสาท 12 ราศี ตัวเอกคือโชวโกะ เด็กสาวที่เทพีเอรีสหมายตาให้เป็นร่างภาชนะ แต่ถูกเหล่าเซนต์คอยขัดขวางมาตลอด และต้องเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์ที่ทำให้เคียวโกะ พี่สาวตนต้องถูกเอรีสสิงร่าง จนทำให้โชวโกะตัดสินใจเป็นเซนต์เพื่อนำพี่สาวกลับคืนมา ภาค โอเมก้า เป็นแอนิเมชันที่ออกฉายในวันที่ 4 เมษายนปี พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 ผลิตโดยโตเอะ ออกแบบตัวละครโดย โยชิฮิโกะ อุมาโคชิ ไดเรคเตอร์อนิเมชุดนี้กล่าวว่าเนื้อเรื่องของภาคนี้เป็นอนาคตแบบหนึ่งของภาคหลักเท่านั้น โดยโตเอะตั้งใจให้เป็นอีกจักรวาลหนึ่งของเซย์ย่าที่เริ่มนับจากหนึ่งใหม่หมด เรื่องราวกล่าวถึงเหตุการณ์ต่อจากภาคหลักในอีก 13 ปีให้หลัง ดำเนินเรื่องโดยพระเอกคือ เพกาซัส โควกะ และตัวละครชุดใหม่เกือบทั้งหมด แต่ก็ยังมีตัวละครจากภาคหลักมาปรากฏตัวด้วย ภาค Legend of Sanctuary เป็นแอนิเมชันเรื่องยาวที่เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2010 โดยเริ่มพร้อมๆกับภาคโอเมก้า ในการฉลองอายุ 25 ปีของซีรีส์นี้และเป็นครั้งแรกของซีรีส์นี้ที่ใช้ CG ในการสร้างทั้งหมด โดยออกฉายในโรงภาพยนตร์ของญี่ปุ่นวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ครั้งนี้เป็นการกลับมาเขียนบทของคุรุมาดะ มาซามิอีกครั้ง หลังจากเคยมีปัญหากับโตเอะจนทำให้คุรุมาดะถอนตัวจากการเขียนบทในภาคสวรรค์ ในภาคนี้คุรุมาดะเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ทั้งหมด กำกับและออกแบบตัวละครโดยซาโต้ เคย์อิจิ ซึ่งตัวละครต่างๆ ทั้งหน้าตาและชุดเกราะของภาคนี้ได้ทำการออกแบบใหม่หมด ส่วนนักพากย์นั้นก็ใช้นักพากย์ชุดใหม่ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาคก่อนๆ ทางด้านเนื้อเรื่องนั้นได้หยิบเอาเนื้อหาในช่วงศึก 12 ปราสาท ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในซีรีส์มาตีความใหม่ แต่ครั้งนี้คุรุมาดะได้รีบู๊ตเนื้อหาใหม่ทั้งหมด ให้เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยาวเกือบ 2 ชั่วโมงตามความประสงค์ของเจ้าตัวที่เคยกล่าวว่าอยากจะทำเนื้อหาของเซย์ย่าใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคใดๆ เลย และเป็นความตั้งใจของโตเอะที่ต้องการขยายแบรนด์เซย์ย่าให้ก้าวต่อไปในอนาคตด้วย == ตัวละคร == ดูบทความหลักที่ ตัวละครในเซนต์เซย์ย่า ตัวละครหลักของเซนย์เซย์ย่านั้น ได้แก่ อาเทน่าและเซนต์แห่งอาเทน่า โดยเซนต์แห่งอาเทน่าแต่ละคนนั้นจะมีกลุ่มดาวคุ้มครองประจำตัวและมีจำนวน 88 คนเท่ากับจำนวนกลุ่มดาวบนท้องฟ้า สามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ บรอนซ์เซนต์ ซิลเวอร์เซนต์ และโกลด์เซนต์ เซนต์แห่งอาเทน่ามีหน้าที่ปกป้องอาเทน่า ซึ่งทรงรังเกียจการใช้อาวุธ ดังนั้น เหล่าเซนต์จึงต้องพยายามฝึกฝนร่างกายของตนเพื่อใช้เป็นอาวุธแทน โดยหมัดของเซนต์นั้นสามารถแหวกฟ้าและการเตะของเซนต์นั้นก็สามารถทลายพื้นดินได้เช่นกัน == เกราะ == เกราะของนักรบในเนื้อเรื่อง ที่นักรบประจำเทพฝ่ายไหนใส่กัน แต่ในกรณีเทพไม่จำเป็นต้องใส่เกราะก็มีพลังมากอยู่แล้ว ถึงกับมีเกราะเป็นเหมือนเสื้อผ้า แต่เทพบางองค์ใส่เกราะออกรบจะมีพลังมากก็มี คลอธ (聖衣 ; Cloth) เครื่องป้องกันร่างกายของเหล่าเซนต์แห่งอาเทน่า ปกติจะมีรูปร่างต้นแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของกลุ่มดาว แต่พอถึงเวลาทำการต่อสู้ คลอธจะทำปฏิกริริยาเมื่อเจ้าของเร่งคอสโมใส่ตัวคลอธแยกชิ้นส่วนออกมาประกอบเป็นเกาะเข้ากับร่างของเจ้าของ ประสิทธิผลของคลอธจะขึ้นอยู่กับพลังคอสโมของเซนต์ผู้ใช้แต่ละคนด้วย อ้างอิงได้จากตอนที่เซย์ย่าสวมคลอธครั้งแรกแล้วบ่นว่า เป็นเกราะที่ไม่มีประโยชน์ใช้ป้องกันอะไรไม่ได้เลย จนมารีนให้เร่งพลังคอสโม จึงสามารถสะบัดหลุดจากการจับกุมของเหล่าทหารแห่งแซงค์ทัวรี่ได้ เมื่อถอดคลอธออกจากตัว คลอธจะกลับมารวมตัวกันกับมีกล่องคลอธปิดเอาไว้ โดยปกติแล้ว ถ้าหากคลอธได้รับความเสียหายเล็กน้อยจากการต่อสู้ ก็จะซ่อมแซมตัวเองได้ ทว่าหากได้รับความเสียหายอย่างหนักก็แตกหักจนซ่อมตัวเองไม่ได้ = พลังในการฟื้นฟูตัวเองของคลอธนั้นหายไปแล้ว แต่ก็เป็นสื่อเร่งคอสโมโจมตีได้เหมือนเดิม แต่ด้วยว่าตอนคลอธปกตินิดนึง แค่ต้องเร่งคอสโมให้แรงกว่าเดิมเท่านั้น ซึ่งการจะให้คลอธมีพลังฟื้นตัวอีกที กับคลอธที่พังถูกซ่อมแซมอีกครั้ง คือ จำต้องใช้เลือดจำนวนมากของเซนต์(อ้างอิงจากตอนที่ชิริวเอาคลอธไปให้มูซ่อม)แต่ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว แค่บริจากเลือดเซนต์ออกมา 1 ถุง นำไปราดคลอธพัง กับให้พวกช่างซ่อมคลอธทำการซ่อมตีรูปขึ้นมาใหม่ คลอธถูกซ่อมจนมีรูปลักษณ์ใหม่นิดหน่อย กับมีพลังคอสโมเพิ่มขึ้น แต่ชุดคลอธ เกราะส่วนตัวที่เป็นมงกุฎหรือหน้ากากให้เซนต์ใส่คือเครื่องประดับ ถึงมีใส่หรือไม่ ก็สู้ได้อยู่ แต่สำหรับคลอธฟีนิกซ์ถือเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากเป็นคลอธแค่ 1 ในบรรดาคลอธทั้งหมด ที่ซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพได้เอง แม้จะถูกทำลายจนแหลกเป็นผุยผง ถ้าคลอธที่พังได้รับเลือดจากเซนต์ที่ยศสูงกว่า เช่น คลอธบรอนซ์ได้รับเลือดจาก ซิลเวอร์หรือโกลด์เซนต์ คลอธจะเปลี่ยนสีไปตามเลือดของเซนต์ยศนั้นคือ ซิลเวอร์คือสีเงิน โกลด์คือสีทอง เมื่อเซนต์ที่สวมคลอธนั้นอยู่ตอนนั้นเร่งคลอสโมถึงขีดสุด สีคลอธจะเปลี่ยนไป อย่างบรอนต์คลอธอาบเลือดซิลเวอร์หรือโกลด์ เร่งคอสโมระดับเซเวนเซนต์ สีจะเปลี่ยนเป็นเงินหรือทอง กับมีคุณสมติแร่เหมือนเงินกับทอง แต่อ่อนกว่าของคลอธยศสูงของจริง แต่พอคลอธนั้นได้รับเลือดของอาเทน่า แม้แค่นิดนึง คลอธจะฟื้นตัวแม้ว่าจะพังกับแตกหักจนเสียหายเกินไปก็จะฟื้นฟูทันที โดยเมื่อคลอธนั้นประสานกับเซนต์ที่เร่งคอสโมระดับเอ้กเซน จะทำให้เปลี่ยนเป็นก๊อดคลอธได้ แต่พอถอดคลอธออกเมื่อไหร่จะคลายตัวทันที เป็นคลอธที่แตกร้าวดังเดิม(ก่อนซ่อมด้วยเลือดอาเทน่า) แต่ก็เร่งคอสโมถึงระดับเอ้กกเซนต์ให้เป็นก็อดคลอธได้ตลอดตอนใช้เท่านั้น แต่ถ้าผ่านไป 200 กว่าปี(พลังจากเลือดอาเทน่ายุคนั้นจะหมดอายุ) จนอาเทน่ากลับมาเกิดใหม่ ต้องได้รับเลือดของอาเทน่าใหม่อีกทีกับเร่งคอสโมระดับเอ้กเซนถึงจะเป็นก๊อดคลอธได้ คลอธของเซนต์แห่งอาเทน่า สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ * บรอนซ์คลอธ (Bronze Cloth) เป็นคลอธระดับต่ำสุดในคลอธทั้งหมด ไม่มีสีที่ตายตัว แต่เนื่องจากเป็นทองแดงอะตอมจึงสามารถเคลื่อนตัวได้จนถึงจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ -150℃ * ซิลเวอร์คลอธ (Silver Cloth) เป็นคลอธของซิลเวอร์เซนต์ มักมีโทนสีออกไปทางสีเงินเนื่องจากเป็นเกราะที่ทำจากเงิน อะตอมจึงสามารถเคลื่อนตัวได้จนถึงจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ -200℃ * โกลด์คลอธ (Gold Cloth) คลอธสีทองซึ่งมีระดับสูงสุด สวมใส่โดยโกลด์เซนต์ทั้ง 12 คน มีลักษณะเป็นตัวแทนตามจักรราศี อะตอมจึงสามารถเคลื่อนตัวได้จนถึงจุดเยือกแข็งที่ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273.15℃) นอกจากนี้ คลอธยังสามารถพัฒนาได้ด้วยการรับเอาเลือดที่ประกอบด้วยพลังคอสโมของเหล่าเซนต์ในระดับต่างๆ เช่น คลอธที่ใช้ในศึกอัสการ์ด ที่มีความสามารถเทียบเท่าเกราะทอง เนื่องจากได้รับเลือดของเหล่าโกลด์เซนต์ รวมถึงเกราะแห่งเทพ(ก็อดคลอธ)ในศึกเจ้านรกที่เอลิเชี่ยน ที่พัฒนาขึ้นจากเลือดของอาเทน่า รวมทั้งยังมีคลอธของเทพีอาเทน่าเอง สำหรับชุดคลอธแบบอื่นๆ ได้แก่ * แบล็กคลอธ (Black Cloth) เป็นคลอธที่สวมใส่โดยเหล่าแบล็กเซนต์ ว่ากันว่าถูกค้นพบที่เกาะเดธควีน ซึ่งคลอธที่แบล็คเซน์เหมือนคลอธของเซนต์ แต่ต่างกันตรงที่เป็นสีดำสนิทกับมีจำนานออกถมไป คือคลอธของเซนต์นอกรีตที่ทำผิดกฏจนถูกเนรเทศ * สตีลคลอธ (Steel Cloth) เป็นคลอธที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ โดย ศจ. อาซาโมริ แห่งมูลนิธิกราด สวมใส่โดยเหล่าสตีลเซนต์ มีต้นแบบมาจากสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ นกทูแคน (สกายคลอธ) หมาจิ้งจอก (แลนด์คลอธ) และปลากระโทงแทง (มารีนคลอธ) แม้จะไม่สามารถช่วยให้ใช้พลังคอสโมได้เหมือนกับคลอธของเซนต์แห่งอาเทน่า แต่เนื่องด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งลงไป จึงทำให้มีประสิทธิภาพมากพอๆ กับบรอนซ์คลอธ ก็อดโร้บ (神闘衣 ; God Robe) : สวมใส่โดยก็อดวอริเออร์แห่งแอสการ์ดทั้ง 8 คน มีลักษณะเป็นตัวแทนสัตว์ตามเทพนิยายนอร์ส ในก็อดโร้บแต่ละชุดจะมีหินที่เรียกว่า โอดินแซฟไฟร์ ซึ่งเป็นเหมือนชีวิตของก็อดวอริเออร์ฝังอยู่ด้วย โดยหากนำโอดินแซฟไฟร์ทั้ง 7 เม็ด จากก็อดวอริเออร์ทั้ง 7 (ไม่นับรวม อัลกอร์ นักรบเงาแห่งดาวเซต้า) ไปแสดงต่อหน้ารูปปั้นเทพโอดิน ชุดเกราะแห่งเทพโอดิน "โอดินโร้บ" ก็จะปรากฏออกมา สเกล (鱗衣 ; Scale) : ชุดเกราะที่เจ้าสมุทรโพไซดอนเป็นผู้สร้างขึ้น สวมใส่โดยมารีนเนอร์แห่งโพไซดอน โดยมีลักษณะเป็นตัวแทนสัตว์ทะเล สัตว์ประหลาด และบุคคลในเทพนิยายที่เกี่ยวกับทะเล ทำด้วยแร่โอริคัลคุม ในนครแอตแลนติส มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโกลด์คลอธ แต่สีจะค่อนออกไปทางสีส้มหรือทองแดงมากกว่า เซอร์พริส (冥衣 ; Surplice) : สวมใส่โดยสเปกเตอร์แห่งฮาเดส ที่ทำจากแร่แห่งยมโลก มักออกแบบมาจากสัตว์ที่น่ากลัว นอกจากเซอร์พริสทั้ง 108 ชุด ยังมีชุดของ ราดาแมนทีส มีนอส ไออาคอส ฮาเดส ธานาทอส ฮิปนอส และโกลด์เซนต์ที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใส่คลอธสีดำอีก 6 คน โซม่า (楚真 ; Soma) : สวมใส่โดยเหล่าเทพไททัน มีทั้งหมด 12 ชุด ออกแบบให้มีรูปลักษณ์เป็นอาวุธชนิดต่างๆ ชุดจะมีสีน้ำเงินเข้มออกม่วง เป็นชุดที่พระแม่ธรณี ไกอา มอบให้กับเหล่าไททัน ในคราที่โค่นล้มยูเรนัสในอดีตกาล กลอรี่ (天衣 ; Glory) : สวมใส่โดยเหล่าแองเจิลแห่งอาร์เทมิส ชุดจะไม่ค่อยครอบคลุมทั้งร่าง คือค่อนข้างจะเน้นคล่องตัวเป็นหลัก สีของชุดไม่แน่นอน ลีฟ (邪霊衣 ; Leaf) : สวมใส่โดยเหล่าดรายแอดแห่งเอรีส ชุดมีลักษณะของพืชและดอกไม้ชนิดต่างๆ ผู้สวมใส่โดยมากเป็นสตรี == เซนต์เซย์ย่าในรูปแบบต่าง ๆ == === ฉบับหนังสือการ์ตูน === ดูเพิ่ม เซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส เซนต์เซย์ย่าฉบับหนังสือการ์ตูนชุดแรกนั้น มาซามิ คุรุมาดะ เป็นผู้แต่งเซนต์เซย์ย่าและวาดลายเส้นด้วยตัวเอง เขาตั้งใจที่จะให้เซนต์เซย์ย่าเป็นผลงานชิ้นเอกของตัวเอง โดยเซนต์เซย์ย่าเริ่มลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ สำนักพิมพ์ชูเอฉะ และออกจำหน่ายเป็นหนังสือฉบับรวมเล่ม รวมทั้งสิ้น 28 เล่มจบ ซึ่งสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคแซงค์ทัวรี่ ภาคโปเซดอน และภาคฮาเดส ในประเทศไทย เซนต์เซย์ย่าได้ตีพิมพ์เล่มแรก เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2543 และเล่มสุดท้ายสำหรับการตีพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ชูเอฉะเพื่อจัดทำเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากประสบความสำเร็จจากเซนต์เซย์ย่าชุดแรกแล้ว มาซามิ คุรุมาดะ ได้แต่ง "เซนต์เซย์ย่า Episode G" ขึ้นมา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ของเหล่าโกลด์เซนต์กับพวกไททัน โดยระยะเวลาของภาคนี้จะย้อนกลับไป 7 ปี นับจากยุคของเซย์ย่า โดยมี เลโอ ไอโอเลีย โกลด์เซนต์ราศีสิงห์ เป็นพระเอกของเรื่อง ความหมายของ G ในตอนนี้นั้น คือ Gold saint นั่นเอง ถึงแม้ว่าเนื้อเรื่องของเซนต์เซย์ย่าในตอนนี้จะแต่งขึ้นโดยมาซามิ คุรุมาดะ แต่ผู้ที่วาดลายเส้นนั้น คือ เมกุมุ โอคาดะ จึงทำให้ลายเส้นของภาคนี้ต่างออกไปจากภาคที่แล้ว ส่วนสาเหตุในการเปลี่ยนผู้วาดนั้นไม่ทราบอย่างแน่ชัด ซึ่งเมกุมุ โอคาดะได้กล่าวถึงการที่เขารับหน้าที่ในการวาดลายเส้นสำหรับเซนต์เซย์ย่า Episode G ว่า เขารู้สึกดีใจมาก เพราะนึกไม่ถึงว่านักเขียนคนอื่นจะได้เขียน และนับเป็นครั้งแรกที่เขาได้เขียนการ์ตูนโดยไม่ต้องคิดพลอตเรื่อง อย่างไรก็ตาม ลายเส้นของเมกุมุ โอคาดะก็ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นลายเส้นที่ออกแนวผู้หญิงมาก แต่ด้วยเนื้อหาและลายเส้นที่วาดได้ละเอียดก็ทำให้ภาคนี้ได้รับความนิยมที่ดีขึ้น เซนต์เซย์ย่า Episode G ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2546 สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์อาคิตะ เพื่อจัดทำเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปัจจุบัน (เม.ย. 2551) ตีพิมพ์ออกมาแล้วเป็นจำนวน 4 เล่ม นอกจาก เซนต์เซย์ย่า Episode G แล้ว มาซามิ คุรุมาดะ ยังได้แต่งเซนต์เซย์ย่าตอนใหม่อีก ได้แก่ เซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส โดยมีชิโอริ เทชิโรงิ เป็นผู้วาดลายเส้น ซึ่งเทชิโรงิได้กล่าวความรู้สึกเมื่อได้รับทราบว่าตนเองจะได้เป็นผู้วาดเซนต์เซย์ย่าภาคนี้ว่า "ในตอนที่มีการพูดถึงงานนี้ ฉันถึงกับร้องไห้ออกมาและก็โทรศัพท์ไปหาเพื่อน เนื่องจากรู้ว่าตนเองจะได้เขียนเรื่องเซนต์เซย์ย่า แถมคุณคุรุมาดะยังมาหาด้วยตัวเองเลยด้วย ในชีวิตฉันคงจะไม่มีงานใดพิเศษสุดเท่ากับงานชิ้นนี้อีกแล้ว" สำหรับเนื้อหาของตอนนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์สงครามศักดิ์สิทธิ์ระหว่างอาเทน่ากับฮาเดสเมื่อ 243 ปีก่อน โดยได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2550 สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์อาคิตะเพื่อจัดทำเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากฉบับหนังสือการ์ตูนที่มีการรวมเล่มออกมาแล้วดังที่กล่าวมา มาซามิ คุรุมาดะ ยังได้แต่ง "เซนต์เซย์ย่า Next Dimension" ขึ้นมาอีกภาค และเป็นผู้วาดลายเส้นเอง โดยเซนต์เซย์ย่าในภาคนี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์การต่อสู้ระหว่างพวกเซย์ย่าและฮาเดส ซึ่งทำให้ฮาเดสนึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 243 ปีก่อน ว่าเขาได้เคยพบกับเซนต์เพกาซัสมาก่อนแล้วนั่นเอง ในประเทศญี่ปุ่น เซนต์เซย์ย่า Next dimension ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกลงในลงนิตยสารการ์ตูน โชเน็นแชมเปี้ยน ฉบับที่ 22-23 และตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารฉบับเดียวกันเป็นระยะ ๆ สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปัจจุบันพิมพ์ออกมาทั้งหมดในไทยถึงเล่มที่ 5 เล่ม (เป็น 4 สีทั้งเล่ม ราคาเล่มละ 150 บาท) ปัจจุบันที่ญี่ปุ่น หรือประเทศอื่นๆออกถึงเล่ม 10 (ส่วนในไทยคาดว่าจะ..ไม่ได้พิมพ์ต่อแล้ว...) === ฉบับโทรทัศน์ === เซนต์เซย์ย่าได้รับการสร้างเป็นอนิเมะ โดยบริษัทโตเอแอนิเมชัน และออกอากาศทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกวันเสาร์ เวลา 19.00 - 19.30 น. ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ถึง 1 เมษายน พ.ศ. 2532 มีความยาวตอนละ 20 นาทีโดยประมาณ เซนต์เซย์ย่าฉบับโทรทัศน์นั้น แบ่งเป็น 5 ภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาค 1 เซนต์แห่งอาธีน่า (ตอนที่ 1-22) ภาค 2 นักรบเกราะเงิน (ตอนที่ 23-40) ภาค 3 ปราสาท 12 ราศี (ตอนที่ 41-74) ภาค 4 อัศวินแห่งแอสการ์ด (ตอนที่ 75-99) และภาค 5 เจ้าสมุทรโปเซดอน (ตอนที่ 100-114) รวม 114 ตอนจบ โดยเนื้อเรื่องหลักนั้นนำมาจากฉบับหนังสือการ์ตูน แต่ได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเข้าไป โดยเฉพาะภาค "อัศวินแห่งแอสการ์ด" นั้นเป็นภาคที่แต่งขึ้นใหม่ ซึ่งไม่มีในเซนต์เซย์ย่าฉบับหนังสือการ์ตูน นอกจากนี้ชุดคล็อธของเซนต์บางคน เช่น เหล่าบรอนซ์เซนต์ ยังมีความแตกต่างจากฉบับหนังสือการ์ตูน สำหรับประเทศไทย เซนต์เซย์ย่าเคยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อว่า "เซย่า เทพบุตรหมัดดาวหาง" ซึ่งได้ออกอากาศซ้ำหลายครั้งทางช่อง 3 ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ก็ได้มีการนำมาออกอากาศซ้ำอีกครั้งทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซี หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน และออกวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีโดยบริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด จำนวน 57 แผ่นจบ ต่อมาได้มีการผลิตและออกวางจำหน่ายอีกครั้งในรูปแบบ DVD โดย DEX คาดว่าจะมีจำนวน 23 แผ่นจบ ==== รายชื่อตอนฉบับโทรทัศน์ ==== เซนต์เซย์ย่าฉบับโทรทัศน์ แบ่งออกเป็นภาคต่าง ๆ รวม 114 ตอน ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้ {| | valign = top| 1. คืนชีพขึ้นมา !..ตำนานแห่งผู้กล้า 2. จงมอดไหม้ !..หมัดดาวตกเพกาซัส 3. ซิกนัส..นักรบแห่งทุ่งน้ำแข็ง 4. ดราก้อน..หมัดและโล่ผู้ไร้พ่าย 5. คืนชีพอย่างปาฏิหาริย์.. 6. ฟีนิกส์..นักรบผู้มาจากนรก 7. โกลด์คลอธที่ถูกขโมย 8. จัดการเหล่าแบล็คฟีนิกส์ 9. จตุรเทพแบล็คเซนต์ปรากฏกาย 10. หลุมศพของเหล่าคลอธ 11. ศึกละเลงเลือด ! หมัดมรณะดำ 12. จับไว้ ! เนบิวล่าเชนแห่งมิตรภาพ 13. มอดไหม้เข้า..หมัดพลังเพลิง..! 14. หมัดมายาฟีนิกส์ที่ถูกทำลาย 15. เผยปริศนาของอิคคิ..! 16. หมัดสายฟ้าของโดคลาเทส 17. ช่วยเหลือคุณหนู..ซาโอริ 18. โกสท์เซนต์แห่งกาลิบออกอาละวาด 19. ศึกล้างเลือด ณ เกาะปิศาจ 20. จงต่อสู้! การล้างแค้นของไชน่า 21. ศึกปะทะออโรร่า 22. คืนชีพจากเปลวเพลิง อิคคิผู้เป็นอมตะ 23. ซิลเวอร์เซนต์ มือสังหารผู้ทรนง 24. โบยบินไปเพกาซัส..ดุจดั่งดาวหาง 25. จงสู้..เพื่ออาเธน่า! 26. สตีลเซนต์..มิตรหรือศัตรู..? 27. โล่เมดูซ่า..เซย์ย่ากลายเป็นหิน 28. ดราก้อน..ไม้ตายสละชีวิต 29. อันตราย..ฝูงกาเข้าทำร้ายซาโอริ 30. ลุกไหม้..คอสโม่แห่งความรัก 31. หมัดมายา..เส้นแบ่งของความเป็นความตาย 32. เกาะเดธควีนระเบิด 33. เสือปะทะมังกร น้ำตาของดราก้อน 34. ลาก่อนสหาย.. หลับให้สบายเถอะ 35. เปิดเถอะดวงตาของมังกร 36. เปิดเผยโกลด์คลอธทั้ง 12 37. หน้ากากแสนเศร้า..รักหรือตาย? 38. ปะทะโกลด์เซนต์ | valign = top| :39. หมัดเหนือความเร็วเสียง :40. ไป..การเดินทางของพวกเรา..! :41. เปิดศึกแซงทัวรี่…อาเธน่าอันตราย :42. สุดยอดคอสโม เซเว่นเซนส์…! :43. บิ๊กแบง การต่อสู้ที่ปราสาททอรัส :44. ปราสาทเจมินี่..วงกตของแสงและเงา :45. ประตูสู่ต่างมิติ..! :46. ตั้งรับและโจมตี..เนบิวล่าเชน..! :47. ลาก่อนเฮียวกะ ผู้กล้าเอ๋ยจงหลับใหล! :48. ดราก้อน คืนชีพจากความตาย :49. ความรัก.. คำภาวนาของชุนเรย์ :50. คอสโม่แห่งความโกรธของชิริว!! :51. ราชสีห์ทองเผยเขี้ยวเล็บ!! :52. อาเรส.. หมัดมายาปีศาจ :53. คาชิออส ลูกผู้ชายตายเพื่อรัก :54. อิคคิ..วิหคอมตะคืนชีพ :55. สายสัมพันธ์ของมิตรภาพ เสียงของอาเธน่า :56. ชากะ..บุรุษผู้ใกล้เคียงพระเจ้า :57. ความหวาดกลัวไร้รูป..ชากะลืมตา :58. อิคคิ..สละชีวิตเพื่อมิตรภาพ :59. จงฟื้นเถอะ หงส์ขาว! :60. เฮียวกะคืนชีพ ชีวิตต่อชีวิต! :61. สยบหรือตาย ตราบใดที่ปีกนี้ยังอยู่ :62. ก้าวต่อไปเฮียวกะ ผู้กล้าที่ทรนง :63. โกลด์คลอธแห่งแซงทัวรี่ !! :64. เด็กหนุ่มทั้งหลาย ขอฝากอาเธน่าไว้กับพวกเจ้า :65. ดาบศักดิ์สิทธิ์ ชูร่าปะทะดราก้อน! :66. ชิริว ผู้กลายเป็นดวงดาว.. :67. ลาก่อน อาจารย์ข้า สหายข้า.. :68. นักรบผู้งดงาม อโฟรดิเท :69. เดมอนโรส..กลิ่นหอมมรณะ! :70. หลับอย่างสงบชุน..รอยยิ้มครั้งสุดท้าย :71. นาฬีกาที่มอดดับ..ร่างจริงของเคียวโก :72. ไปเลยเซย์ย่า.. มิตรภาพจากผองเพื่อน :73. มาเถอะสหาย..ต่อหน้าอาเธน่า..! :74. นักรบแห่งแดนเหนือ ก็อดวอริเออร์ในตำนาน | valign = top| :75. ฮิลด้า เทพธิดาที่ถูกมารร้ายล่อลวง :76. มนุษย์ยักษ์ทอร์ คอสโม่แห่งความแค้น! :77. น้ำตาผู้กล้า..สละชีพเพื่อฮิลด้า :78. เขี้ยวเงิน..สุนัขป่าแห่งแดนเหนือเฟนริล :79. ชะตาแสนเศร้าของสุนัขป่าแดนเหนือ :80. หายลับไปในทุ่มน้ำแข็ง..เสียงหอนที่แสนเศร้า :81. เฟลียร์..ศึกที่มีรักเป็นเดิมพัน! :82. หงส์ขาวโบยบิน นรกแห่งความร้อนท่ามกลางน้ำแข็ง :83. เสียงดนตรีปริศนา..บทนำแห่งความตายของชุน :84. สัญญาณแห่งความตาย.. สตริงเกอร์รีเควี่ยม!! :85. ผู้กล้าแสนเศร้า..ความอาฆาตที่เย็นเฉียบ :86. วิหคอมตะ..ปีกที่ลุกไหม้เป็นสีแดงฉาน :87. อเมธิสต์ที่ชั่วร้าย..สุสานของเหล่าเซนต์ :88. ดาบเพลิง..ความทะเยอทะยานที่น่ากลัว :89. เครื่องบูชาของปีศาจ..ป่าวิญญาณ :90. อย่าหันกลับมา..คอสโมของมังกรทะยาน :91. สู้สิชุน..ปริศนาที่ซ่อนไว้ในเขี้ยวเสือดำ :92. บุกเลยชุน..สุดยอดเนบิวล่าสตอร์ม :93. บั๊ด..ดาวคู่แฝดแห่งโชคชะตา :94. สายสัมพันธ์พี่น้อง..จงหลับใหลให้สงบเถอะชิด :95. ผู้กล้าแห่งเกียรติยศ..อัศวินแห่งตำนาน :96. มังกระปะทะมังกร ชัยชนะเสี้ยววินาที :97. ไซเรน ท่วงทำนองแห่งความตายที่ไพเราะ :98. ปาฏิหาริย์บังเกิด..โอดีนโรป :99. อาเธน่า..คำภาวนาที่สูงส่งชั่วนิรันดร์ :100. เทพสมุทรโพไซดอน สงครามศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง :101. บุกตะลุย! เสายักษ์ค้ำมหาสมุทรทั้ง 7 :102. ประกายศักดิ์สิทธิ์ บรอนซ์คลอธสีทอง :103. ชุนอันตราย..เขี้ยวของสัตว์ร้ายที่น่ากลัว :104. โค่นสัตว์ร้าย โซ่ทองคำไร้พ่าย :105. เอกซ์คาลิเบอร์ วิญญาณของชูร่าที่มือขวา :106. ฝันร้าย การพบกันอีกครั้งของความตาย :107. มารจำแลง..ริมนาเดสผู้อำมหิต :108. ไอแซ็ค...บุรุษผู้มีหัวใจน้ำแข็ง :109. สู้เขานะกิกิ..การต่อสู้ที่แสนเศร้า :110. จงฟัง! เสียงเพลงของอาเธน่า :111. สหาย.. เพื่อนร่วมเป็นร่วมตาย :112. วิญญาณสองดวง! ปริศนาการคืนชีพของโพไซดอน :113. ยิงโพไซดอน ฤทธิ์ศรทองคำ :114. ดาวแห่งมิตรภาพส่องประกาย ตำนานของเด็กหนุ่มอันเป็นนิรันดร์ |} === ฉบับภาพยนตร์ === นอกจากฉบับที่ออกฉายทางโทรทัศน์แล้ว เซนต์เซย์ย่า ยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนสำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ด้วย จนถึงปัจจุบัน เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ออกฉายแล้วจำนวน 5 ภาค โดยภาคสงครามเทพีอีริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ เป็นฉบับภาพยนตร์ที่มีการออกฉายเป็นภาคแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และฉบับภาพยนตร์ล่าสุด คือ ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์ ซึ่งออกฉายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 อย่างไรก็ตาม เนื้อเรื่องของฉบับภาพยนตร์ใน 4 ภาคแรก ได้แก่ ภาคสงครามเทพีเอริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ ภาคสงครามเทพเจ้าโอดีนแห่งแอสการ์ด ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล และภาคสงครามครั้งสุดท้าย ความทะเยอทะยานของลูซิเฟอร์นั้นไม่ได้แต่งขึ้นโดยมะซะมิ คุรุมะดะ เรื่องราวและตัวละครต่าง ๆ จึงอาจจะมีความขัดแย้ง และไม่ต่อเนื่องกับรายละเอียดของเซนต์เซย์ย่าฉบับหนังสือการ์ตูน แต่ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์นั้น เป็นฉบับภาพยนตร์ภาคเดียวที่แต่งขึ้นโดยมะซะมิ คุรุมะดะ เป็นการเกริ่นถึงเรื่องราวภายหลังจากสงครามศักดิ์สิทธิ์กับฮาเดสเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีการคาดหมายว่า การที่มะซะมิ คุรุมะดะ แต่งภาพยนตร์ฉบับนี้ขึ้นมานั้น เขาอาจจะแต่งเซนต์เซย์ย่าในภาคต่อไป คือ ภาคสวรรค์ หรือ Tenkai hen ขึ้นมาในภายหน้านั่นเอง เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์นั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ==== ภาคสงครามเทพีเอริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ ==== เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามเทพีอีริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Legend of the Golden Apple ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "เอริส เทพีแห่งความชั่วร้าย" ซึ่งต้องการกำจัดอาเธน่า และทำลายโลก ได้เข้าสิงร่างของ "เอรี่" ผู้ดูแลสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และได้ปลุกเหล่าเซนต์ขึ้นมา 5 คน ได้แก่ ออร์เฟอุสแห่งกลุ่มดาวพิณ หยางแห่งกลุ่มดาวโล่ มายาแห่งกลุ่มดาวลูกธนู จากัวร์แห่งกลุ่มดาวนายพราน และไครส์แห่งกลุ่มดาวกางเขนใต้ เพื่อการคืนชีพอย่างสมบูรณ์ของเอริส เอริสได้ลักพาตัวของอาเทน่ามาเพื่อดูดเอาพลังชีวิตของอาเทน่าโดยใช้แอบเปิ้ลทองคำ หลังจากนั้น พวกเซย์ย่าจึงเดินทางมาช่วยเหลืออาเทน่า โดยได้ทำลายแอปเปิ้ลทองคำ ทำให้เอริสสลายไปในที่สุด ==== ภาคสงครามเทพเจ้าโอดีนแห่งแอสการ์ด ==== เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามเทพเจ้าโอดีนแห่งแอสการ์ด หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Heated Battle of the Gods ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2531 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การหายตัวไปของเฮียวกะ หลังจากเดินทางไปยังแอสการ์ด ดินแดงแห่งขั้วโลกเหนือ อาเทน่าและพวกเซย์ย่าจึงเดินทางไปยังแอสการ์ด โดยได้เข้าพบกับ “โดลบาล ผู้ปกครองแห่งแอสการ์ด” เพื่อถามหาข่าวของเฮียวกะ ระหว่างนั้น อาเทน่าได้รู้ถึงเจตนาของโดลบาลว่าต้องการจะครอบครองแซงชัวรี่และโลก ดังนั้น โดลบาลจึงจับอาเทน่าไปตรึงไว้ที่รูปปั้นของเทพโอดีน เพื่อช่วยอาเทน่าพวกเซย์ย่าจึงได้ต่อสู้กับเหล่าก็อดวอริเออร์ หรือเหล่านักรบแห่งแอสการ์ด แต่สุดท้ายโดลบาลก็ถูกกำจัดลง และดินแดนแอสการ์ดก็กลายเป็นดินแดนที่มีความอบอุ่นอีกครั้ง ==== ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล ==== เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Legend of Crimson Youth ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "อาเบล เทพแห่งสุริยะ" ผู้เป็นเสมือนพี่ชายของอาเทน่า ซึ่งต้องการให้โลกกลับมาสู่ยุคของเทพเจ้าอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออาเทน่ารู้ถึงจุดประสงค์ของอาเบลก็พยายามขัดขวางเจตนาของอาเบลเพียงลำพังโดยการขับไล่พวกเซย์ย่าไม่ให้มาเกี่ยวข้องกับตน แต่อาเทน่าก็ถูกอาเบลสังหารเสียก่อน พวกเซย์ย่ารู้สึกว่ามีอะไรแอบแฝงอยู่จึงได้เดินทางมายังวิหารแห่งสุริยเทพ และต้องช่วยอาเทน่าให้ได้ก่อนที่วิญญาณของอาเทน่าจะเดินทางไปสู่หลุมดำนิรกาล เซย์ย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน และอิคคิ ได้ต่อสู้กับเหล่าโคโรน่าเซนต์ และเหล่าโกลด์เซนต์ที่ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งโดยอำนาจของอาเบล ในที่สุด ด้วยพลังคอสโม่ของพวกเซย์ย่าจึงสามารถปลุกอาเทน่าขึ้นมาอีกครั้ง และสังหารอาเบลลงได้โดยใช้ลูกศรทองคำแห่งชุดคลอธซาจิททาเรียส ==== ภาคสงครามครั้งสุดท้าย ความทะเยอทะยานของลูซิเฟอร์ ==== เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามครั้งสุดท้าย ความทะเยอทะยานของลูซิเฟอร์ หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Warriors of the Final Holy Battle ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2532 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "ลูซิเฟอร์ บุตรแห่งเทพเจ้า" ที่มีความชั่วร้ายจนถูกลงโทษให้ไปอยู่ในนรก แต่ฟื้นคืนชีพกลับขึ้นมาอีกครั้งโดยพลังของเอริส อาเบล และโพไซดอน เพื่อต้องการครอบครองโลกและสังหารอาเทน่า ลูซิเฟอร์และ 4 เทพอสูร เดินทางมายังแซงทัวรี่ พร้อมทั้งได้โจมตีเหล่าโกลด์เซนต์และพวกเซย์ย่าจนได้รับบาดเจ็บ อาเทน่าจึงตัดสินใจเดินทางไปยังวิหารของลูซิเฟอร์เพียงลำพังเพื่อใช้ชีวิตของตนปกป้องโลกเอาไว้ พวกเซย์ย่าจึงเดินทางไปช่วยโดยต่อสู้กับเหล่า 4 เทพอสูร และสามารถกำจัดลูซิเฟอร์ลงได้ ==== ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์ ==== เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์ หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Heaven Chapter ~ Overture ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ เหล่าเทพเจ้าแห่งสวรรค์ซึ่งไม่พอใจที่เหล่าเซนต์แห่งอาเทน่าบังอาจโค่นล้มบรรดาเทพต่าง ๆ ลง ดังนั้นจึงส่ง "อาร์เทมิส เทพแห่งดวงจันทร์" พร้อมนักรบแห่งแองเจิ้ล ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อกำจัดเซนต์แห่งอาเทน่า อาเทน่าซึ่งไม่ต้องการให้พวกเซย์ย่าต้องต่อสู้อีกครั้งจึงได้ยกการปกครองพื้นปฐพีให้อาร์เทมิส พร้อมทั้งยอมรับการลงทัณฑ์จากสวรรค์แทนเหล่าเซนต์แห่งอาเทน่า หลังจากนั้น เหล่าเซนต์แห่งอาเทน่าก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของแซงชัวรี่ที่เกิดขึ้น และได้เข้าต่อสู้กับเหล่าแองเจิ้ลเพื่อช่วยเหลืออาเทน่า อาร์เทมิสซึ่งพบว่าอาเทน่าต้องการขัดขืนคำสั่งสวรรค์โดยการแอบช่วยเหลือพวกเซย์ย่า จึงต้องการสังหารอาเทน่าเสีย แต่เซย์ย่าได้เข้ามาขัดขวาง และทันใดนั้น "อะพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์" ก็ปรากฏตัวขึ้นมา === ฉบับโอวีเอ === ปี พ.ศ. 2545 เซนต์เซย์ย่า ถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมะอีกครั้งในรูปแบบโอวีเอ โดยนำเอาเนื้อเรื่องฉบับการ์ตูนตั้งแต่เล่มที่ 19 -28 มาสร้างและออกฉายทางสถานีโทรทัศน์เคเบิล สกายเพอร์เฟกต์ทีวี โดยใช้ชื่อว่า "เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ แซงก์ทัวรี่" ซึ่งเป็นเรื่องราวในช่วงแรกของภาคเจ้านรกฮาเดส มีความยาว 13 ตอน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2548 ทางโตเอแอนิเมชันก็สร้างภาคต่อตามมาในชื่อว่า "เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ อินเฟอร์โน่" ครึ่งแรกมีความยาว 6 ตอน ส่วนครึ่งหลัง สร้างขึ้นและออกอากาศในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 โดยมีความยาว 6 ตอนเช่นเดียวกัน สำหรับภาคสุดท้าย "เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ เอลิเชียน" ก็มีความยาว 6 ตอน และออกอากาศในเดือนมีนาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งถือเป็นการปิดฉากภาคฮาเดสอย่างสมบูรณ์ ในประเทศไทย "เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ แซงก์ทัวรี่" ได้รับลิขสิทธิ์และวางจำหน่ายโดย บริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด ส่วน "เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ อินเฟอร์โน" และ "เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ เอลิเชียน" ได้รับลิขสิทธิ์และวางจำหน่ายโดย DEX ==== รายชื่อตอนฉบับโอวีเอ ==== หมายเหตุ อ้างอิงจากวีซีดีฉบับลิขสิทธิ์ของการ์ตูนอินเตอร์ อ้างอิงจากวีซีดีฉบับลิขสิทธิ์ของ DEX == เพลงประกอบ == ฉบับโทรทัศน์ ตอนที่ 1 - 73 เพลงเปิด : "เพกาซัสแฟนตาซี" (ペガサス幻想(ファンタジー)) ขับร้องโดย โนบูโอะ ยามาดะ วง MAKE-UP เพลงปิด : "เอเอ็น บลู" (永遠ブルー หรือ Blue Forever) ขับร้องโดยวง MAKE-UP ฉบับโทรทัศน์ ตอนที่ 74 - 114 เพลงเปิด : "โซลเยอร์ดรีม" (聖闘士神話(ソルジャードリーム) ขับร้องโดย ฮิโรโนบุ คาเงยามะ และวง BROADWAY เพลงปิด : "ยูเมะทาบิบิโตะ" (夢旅人 หรือ Blue Dream) ขับร้องโดย ฮิโรโนบุ คาเงยามะ และวง BROADWAY ฉบับโอวีเอ เดอะฮาเดส แชปเตอร์แซงก์ทัวรี่ ตอนที่ 1 - 13 เพลงเปิด : "จิคิวงิ" (地球ぎ) ขับร้องโดย ยูมิ มัตสึซาวะ เพลงปิด : "คิมิ โตะ โอนาจิ อาโอโซระ" (君と同じ青空) ขับร้องโดย ยูมิ มัตสึซาวะ ฉบับโอวีเอ เดอะฮาเดส แชปเตอร์อินเฟอร์โน ตอนที่ 1 - 12 เพลงเปิด : "เมงามิ โนะ เซนชิ ~เพกาซัสฟอร์เอฟเวอร์~" (女神の戦士~Pegasus Forever~) ขับร้องโดย มารีน่า เดล เรย์ เพลงปิด : "ทาคุสุ โมโนะ เอะ ~มายเดียร์~" (託す者へ~My Dear~) ขับร้องโดย ยูมิ มัตสึซาวะ ฉบับโอวีเอ เดอะฮาเดส แชปเตอร์เอลีเซี่ยน ตอนที่ 1 - 6 เพลงเปิด :"เมงามิ โนะ เซนชิ ~เพกาซัสฟอร์เอฟเวอร์~" (女神の戦士~Pegasus Forever~) ขับร้องโดย มารีน่า เดล เรย์ เพลงปิด :"คามิ โนะ โซโนะ ~เดล เรกโน~" (神の園~デル・レグノ~) ขับร้องโดย ยูโกะ อิชิบากิ == ผู้ให้เสียงตัวละคร == === ผู้ให้เสียงตัวละครหลัก === === การเปลี่ยนตัวผู้ให้เสียงตัวละคร === ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ได้มีข่าวออกมาว่า เซนต์เซย์ย่า ภาคศึกเจ้านรกฮาเดส เดอะแชปเตอร์อินเฟอร์โน ที่กำลังจะออกอากาศทางช่องเคเบิล สกายเพอร์เฟกต์ทีวี ในเดือนธันวาคม จะมีการเปลี่ยนตัวผู้ให้เสียงตัวละครหลักทั้ง 6 ได้แก่ เซย์ย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน อิคคิ และซาโอริ เป็นนักพากย์ชุดใหม่ทั้งหมด ซึ่งแม้ว่าในขณะนั้น ข่าวจะยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่ก็สร้างความไม่พอใจให้แก่แฟน ๆ ของเซนต์เซย์ย่าเป็นอย่างมาก จนเกิดกระแสต่อต้านอย่างหนัก โดยมีแฟนๆ จากทั้งในและต่างประเทศเข้าไปโพสต์ข้อความลง BBS ในโฮมเพจของ โทรุ ฟุรุยะ ผู้พากย์เสียงเซย์ย่าคนเดิม เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการเรียกร้องให้ทางผู้สร้างพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนตัวนักพากย์อีกครั้ง โดยให้ความเห็นว่า อย่างน้อยถ้าจะเปลี่ยน ก็จะน่าจะเปลี่ยนหลังจากที่ภาคฮาเดสจบชุดไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีการเปิดเว็บไซต์รวบรวมรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนนักพากย์ในครั้งนี้อีกด้วย แต่ในที่สุดทางเว็บไซต์ของโตเอแอนิเมชัน ก็ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่าจะเปลี่ยนตัวนักพากย์ตัวละครหลักทั้ง 6 คนจริง ๆ และจากกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงของแฟน ๆ ทำให้ มาซามิ คุรุมาดะ ผู้แต่งเรื่อง ต้องออกมาชี้แจงเหตุผลว่า ใจจริงแล้วเขาเองก็อยากให้นักพากย์ชุดเดิมพากย์ต่อไปเหมือนกัน แต่นอกจาก โทรุ ฟุรุยะ ผู้พากย์เสียงเซย์ย่าแล้ว คุณภาพเสียงของนักพากย์ตัวละครหลักอีก 5 คนได้ตกลงไปมาก ฟังดูไม่สดใสเหมือนเก่า ประกอบกับการที่ได้เห็นนักพากย์รุ่นใหม่เข้ามาพากย์เสียงของโกลด์เซนต์บางคนแทนนักพากย์รุ่นเก่า เขาจึงต้องการให้เปลี่ยนนักพากย์ทั้ง 5 คนบ้าง โดยเหลือไว้เพียงแค่ฟุรุยะคนเดียว ซึ่งคุรุมาดะได้พูดคุยกับฟุรุยะเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงเกลี้ยกล่อมหลายครั้งแล้ว แต่ฟุรุยะก็ยังคงยืนยันว่าจะพากย์กับทีมพากย์ชุดเดิมเท่านั้น หากมีการเปลี่ยนตัวนักพากย์ชุดเดิมแม้แต่คนเดียว เขาก็จะไม่ขอพากย์เสียงเซย์ย่าอีกต่อไปเช่นกัน เรื่องนี้จึงทำให้คุรุมาดะรู้สึกหนักใจไม่น้อย แต่สุดท้ายเมื่อทางทีมงานได้มีมติแน่ชัดว่าจะเปลี่ยนตัวนักพากย์หลักทั้ง 5 คน ฟุรุยะจึงขอถอนตัวออกไปด้วยตามที่เขาได้พูดไว้ ทำให้กลายเป็นต้องเปลี่ยนนักพากย์ใหม่หมดทั้งชุด ดังที่ได้กล่าวมา == ละครเพลง == ปี พ.ศ. 2534 เซนต์เซย์ย่าได้ถูกสร้างเป็นละครเพลงในนามของ "บันไดซูเปอร์มิวสิคัล" ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทบันไดและทีวีอาซาฮี โดยมีนักแสดงหลักคือกลุ่มนักร้องวัยรุ่น วง SMAP และวง TOKIO การแสดงละครเพลงชุดนี้จะดำเนินเรื่องโดยใช้เนื้อหาในภาคโปเซดอน และได้เปิดการแสดงตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน พ.ศ. 2534 === รายชื่อนักแสดงหลัก === เพกาซัส เซย์ย่า : มาซาฮิโระ นากาอิ (SMAP) ดราก้อน ชิริว : สึโยชิ คูซานางิ (SMAP) ซิกนัส เฮียวงะ : คัตสึยูกิ โมริ (SMAP) อันโดรเมด้า ชุน : ชิงโง คาโทริ (SMAP) ฟินิกซ์ อิคคิ : โกโร อินางากิ (SMAP) เจ้าสมุทรโปเซดอน / จูเลียน โซโล : ทากูยะ คิมูระ (SMAP) อาริเอส มู : ชิเงะรุ โจชิมะ (TOKIO) เวอร์โก้ ชากะ : ไทจิ โคกูบุน (TOKIO) สกอร์เปี้ยน มิโร : มาซาฮิโระ มัตสึโอกะ (TOKIO) ทอรัส อัลเดบารัน : ทัตสึยะ ยามากูจิ (TOKIO) เลโอ ไอโอเรีย : ฮิโรมู โคจิมะ (TOKIO) อาเทน่า : ชิโนบุ นากายามะ ซีดราก้อน คาน่อน : ทาเกชิ มายะ ไซเรน โซเรนต์ : ยู ไดกิ เมอร์เมด เททิส : เมงูมิ ยูกิ == เกม == แฟมิคอม เซนต์เซย์ย่า ตำนานชุดทอง (聖闘士星矢 黄金伝説) ออกจำหน่ายเมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2530 โดยบันได เซนต์เซย์ย่า ตำนานชุดทอง ภาคสมบูรณ์ (聖闘士星矢 黄金伝説 完結編) ออกจำหน่ายเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยบันได เกมบอย เซนต์พาราไดซ์ เหล่านักรบที่แข็งแกร่งที่สุด (聖闘士★セイントパラダイス~最強の戦士たち) ออกจำหน่ายเมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 โดยบันได วันเดอร์สวอนคัลเลอร์ เซนต์เซย์ย่า ตำนานชุดทอง เพอร์เฟกต์อีดิชั่น (聖闘士星矢 黄金伝説編 Perfect Edition) ออกจำหน่ายเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยบันได เพลย์สเตชัน 2 เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดส แชปเตอร์แซงก์ทัวรี่ (聖闘士星矢 聖域十二宮編) ออกจำหน่ายเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบันได เซนต์เซย์ย่า เดอะฮาเดส แชปเตอร์อินเฟอร์โน (聖闘士星矢 冥王ハーデス十二宮編) ออกจำหน่ายเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยแนมโคบันได == ของเล่น == === เซนต์คลอธซีรีส์ === เซนต์คลอธซีรีส์ คือ ของเล่นในรูปแบบตุ๊กตาที่นำมาสวมชุดเกราะได้ ผลิตโดยบริษัทบันได ในช่วงปลายของยุค 1980 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2532) ลักษณะของของเล่นจะเป็นหุ่นรูปคนที่มีข้อต่ออยู่หลายจุด ทำให้สามารถจัดท่าทางต่าง ๆ ได้ และมีชิ้นส่วนของชุดเกราะซึ่งแยกมาให้เป็นชิ้น ๆ เพื่อประกอบเข้ากับตัวของหุ่น จนมีลักษณะเหมือนกับเซนต์ในภาพยนตร์การ์ตูน อีกทั้งยังสามารถนำชิ้นส่วนของชุดเกราะไปประกอบเป็นรูปลักษณ์ประจำกลุ่มดาวต่าง ๆ ที่เป็นต้นแบบของชุดเกราะนั้น ๆ เหมือนกับในภาพยนตร์การ์ตูนด้วย บริษัทบันไดได้ออกวางจำหน่ายของเล่นชุดนี้ออกมาหลายตัวด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มบรอนซ์เซนต์ แบล็กเซนต์ สตีลเซนต์ โกลด์เซนต์ ก๊อดวอริเออร์ในภาคแอสการ์ด และมารีนเนอร์ในภาคโปเซดอน ส่วนซิลเวอร์เซนต์มีออกมาวางจำหน่ายเพียงตัวเดียวคือ อีเกิ้ล มารีน ยิ่งไปกว่านั้นในประเทศญี่ปุ่นยังเคยมีการจัดแคมเปญพิเศษ 5 ครั้ง เพื่อแจกของเล่นชุดผลิตจำนวนจำกัด ได้แก่ ชุดโกลด์คลอธซาจิททาเรียสปลอม, กล่องใส่ชุดเซนต์, หุ่นเคียวโกอาเรส พร้อมบัลลังก์, ชุดโอดีนโร้บ และชุดบรอนซ์คลอธเวอร์ชันสีดำ ซึ่งต้องส่งชิ้นส่วนที่อยู่ด้านหลังกล่องของเล่นไปร่วมสนุกกับทางบริษัท โดยทางบริษัทจะใช้วิธีจับสลากหาผู้โชคดีที่จะได้รับรางวัลเหล่านั้น แต่ต่อมาในช่วงยุค 2000 (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2552) บริษัทในประเทศไต้หวันก็ได้ทำการผลิตของเล่นเลียนแบบชุดซาจิททาเรียสปลอม หุ่นเคียวโกอาเรส และชุดโอดีนโร้บ จากแคมเปญพิเศษนี้ออกมาวางจำหน่าย ภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 2547 ของเล่นชุดเซนต์คลอธซีรีส์ ได้ถูกนำมาผลิตซ้ำและออกวางจำหน่ายใหม่อีกครั้งโดยบริษัทบันไดฮ่องกง ส่วนในประเทศไทย มีบริษัทดรีมทอยเป็นตัวแทนจำหน่าย === กาชาปอง === กาชาปอง คือ หุ่นโมเดลยางขนาดเล็ก ที่ถูกบรรจุอยู่ในภาชนะรูปไข่หรือแคปซูล ซึ่งมีความสวยงามสมจริงในระดับหนึ่ง ของเล่นชนิดนี้มีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเราหยอดเหรียญลงในตู้ของเล่นที่บรรจุอยู่ในแคปซูลก็จะร่วงหล่นลงมา ในประมาณปลายปี พ.ศ. 2546 บริษัท บิ๊กวัน ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยอบ่างเป็นทางการโดยได้นำเข้าสินค้าในรูปแบบของตู้กดหยอดเหรียญมาจัดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ ทั่วประเทศ ==== ลำดับการวางจำหน่ายกาชาปองเซนต์เซย์ย่า ==== พฤษภาคม พ.ศ. 2545 : บรอนซ์เซนต์ คลอธแรก จำนวน 5 ตัว ได้แก่ เพกาซัส เซย์ย่า, ดราก้อน ชิริว, ซิกนัส เฮียวกะ, อันโดรเมด้า ชุน และ ฟีนิกซ์ อิคคิ มกราคม พ.ศ. 2546 : บรอนซ์เซนต์ และโกลด์เซนต์ จำนวน 6 ตัว ได้แก่ เพกาซัส เซย์ย่า, ดราก้อน ชิริว, แอเรียส มู, ทอรัส อัลเดบารัน, เจมินี่ ซากะ และ แคนเซอร์ เดธมาสค์ พฤษภาคม พ.ศ. 2546 : บรอนซ์เซนต์ และโกลด์เซนต์ จำนวน 6 ตัว ได้แก่ อันโดรเมด้า ชุน, ฟีนิกซ์ อิคคิ, เลโอ ไอโอเลีย, เวอร์โก้ ชากะ, ไลบร้า โดโก, สกอร์เปี้ยน มิโร กันยายน พ.ศ. 2546 : บรอนซ์เซนต์ และโกลด์เซนต์ จำนวน 6 ตัว ได้แก่ ซิกนัส เฮียวกะ, ซาจิททาเรียส เซย่า, ซาจิททาเรียส ไอโอลอส, แคปริคอร์น ชูร่า, อควอเรียส คามิว และ พิสซิส อโฟรดิตี้ มกราคม พ.ศ. 2547 : บรอนซ์เซนต์ (คลอธสีทอง) และอาเธน่า จำนวน 6 ตัว ได้แก่ เพกาซัส เซย์ย่า, ดราก้อน ชิริว, ซิกนัส เฮียวกะ, อันโดรเมด้า ชุน, ฟีนิกซ์ อิคคิ และอาเธน่า กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 : โกลด์เซนต์ 12 ราศี (ผลิตใหม่) จำนวน 12 ตัว ได้แก่ แอเรียส มู, ทอรัส อัลเดบารัน, เจมินี่ ซากะ, แคนเซอร์ เดธมาสค์, เลโอ ไอโอเลีย, เวอร์โก้ ชากะ, ไลบร้า โดโก, สกอร์เปี้ยน มิโร, ซาจิททาเรียส ไอโอลอส, แคปริคอร์น ชูร่า, อควอเรียส คามิวและ พิสซิส อโฟรดิตี้ พฤษภาคม พ.ศ. 2547 : โปเซดอน บรอนซ์เซนต์สวมโกลด์คลอธ และตัวละครภาคสวรรค์ จำนวน 6 ตัว ได้แก่ โปเซดอน, ซาจิททาเรียส เซย่า, อควอเรียส เฮียวกะ, ไลบร้า ชิริว, เซย่าสวมคลอธใหม่ภาคสวรรค์ และ อิคารอส โทมะ === เซนต์คลอธมิธ === ในปี พ.ศ. 2546 บริษัทบันได ได้ผลิตสินค้าของเล่นเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบตุ๊กตาสวมชุดเกราะขึ้นมาอีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า "เซนต์คลอธมิธ" ซึ่งเป็นการดัดแปลงและพัฒนาจากของเล่นชุดเก่าอย่างเซนต์คลอธซีรีส์ ทำให้ตัวหุ่นกับชุดเกราะมีความสวยงาม และสมจริงมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบกล่องที่ใช้บรรจุใหม่ให้มีลักษณะใกล้เคียงกับกล่องใส่ชุดคลอธของเหล่าเซนต์ด้วย โดยทางบริษัทบันไดยังคงทำการผลิตเซนต์คลอธมิธของตัวละครต่างๆ ในเรื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน และมีบริษัทดรีมทอยเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ==== ลำดับการวางจำหน่ายเซนต์คลอธมิธ ==== ตุลาคม พ.ศ. 2546 : เพกาซัส เซย์ย่า (คลอธ 2nd) ธันวาคม พ.ศ. 2546 : ดราก้อน ชิริว (คลอธ 2nd) มกราคม พ.ศ. 2547 : ซิกนัส เฮียวกะ(คลอธ 2nd) กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 : อันโดรเมด้า ชุน (คลอธ 2nd) มีนาคม พ.ศ. 2547 : ฟีนิกซ์ อิคคิ (คลอธ 2nd) เมษายน พ.ศ. 2547 : เลโอ ไอโอเรีย มิถุนายน พ.ศ. 2547 : อควอเรียส คามิว สิงหาคม พ.ศ. 2547 : เวอร์โก้ ชากะ ตุลาคม พ.ศ. 2547 : ซาจิททาเรียส ไอโอลอส ธันวาคม พ.ศ. 2547 : แคปริคอร์น ชูร่า มกราคม พ.ศ. 2548 : ไวเวิร์น ราดาเมนทีส กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 : ไลบร้า โดโก มีนาคม พ.ศ. 2548 : เพกาซัส เซย์ย่า (คลอธ 3rd) เมษายน พ.ศ. 2548 : แคนเซอร์ เดธมาสค์ มิถุนายน พ.ศ. 2548 : แอเรียส มู กันยายน พ.ศ. 2548 : สกอร์เปี้ยน มิโร กันยายน พ.ศ. 2548 : ดราก้อน ชิริว (คลอธ 3rd) ตุลาคม พ.ศ. 2548 : ทอรัส อัลเดบารัน พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 : แคมเปญ 2005 เคียวโก ชีออน พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 : ยูนิคอร์น จาบุ พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 : ไฮดรา อิจิ ธันวาคม พ.ศ. 2548 : เจมินี่ ซากะ / เคียวโก อาเรส กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 : พิสซิส อโฟรดิตี้ มีนาคม พ.ศ. 2549 : ซิกนัส เฮียวกะ (คลอธ 3rd) เมษายน พ.ศ. 2549 : ไลโอเน็ต บัน เมษายน พ.ศ. 2549 : วูล์ฟ นาจิ พฤษภาคม พ.ศ. 2549 : การูด้า ไออาคอส มิถุนายน พ.ศ. 2549 : ไลร่า โอฟี่ สิงหาคม พ.ศ. 2549 : อันโดรเมด้า ชุน (คลอธ 3rd) กันยายน พ.ศ. 2549 : โดเบ ซิกฟรีด ตุลาคม พ.ศ. 2549 : แบร์ เงกิ พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 : กริฟฟอน มินอส พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 : แคมเปญ 2006 แพนโดร่า ธันวาคม พ.ศ. 2549 : คราเก้น ไอแซ็ค กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 : ซีดราก้อน คาน่อน มีนาคม พ.ศ. 2550 : Appendix Bust เพกาซัส เซย์ย่า (คลอธ 3rd) มีนาคม พ.ศ. 2550 : Appendix Bust ไวเวิร์น ราดาแมนทีส มีนาคม พ.ศ. 2550 : Appendix Bust เจมินี่ ซากะ/เจมินี่ คาน่อน มีนาคม พ.ศ. 2550 : Appendix Bust เวอร์โก้ ชากะ มีนาคม พ.ศ. 2550 : ฟินิกส์ อิคคิ (คลอธ 3rd) มิถุนายน พ.ศ. 2550 : อาริเอส ชิออน (เซอร์พลีส) สิงหาคม พ.ศ. 2550 : ไซเรน โซเลนต์ กันยายน พ.ศ. 2550 : มิซาร์ ชิด กันยายน พ.ศ. 2550 : แคมเปญ 2007 ฮาเดส ชุน ตุลาคม พ.ศ. 2550 : คริวซาโอล กฤษณะ พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 : Appendix Plain Cloth เพกาซัส เซย์ย่า พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 : Appendix Plain Cloth ดราก้อน ชิริว พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 : แคมเปญฟิกเกอร์โอ คริสตัลเซนต์ ธันวาคม พ.ศ. 2550 : เมรัค ฮาเก้น ธันวาคม พ.ศ. 2550 : Boxset บรอนซ์คลอธ 2nd มกราคม พ.ศ. 2551 : ซีฮอร์ส ไบรอัน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 : Appendix Bust เลโอ ไอโอเรีย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 : Appendix Bust แอเรียส มู มีนาคม พ.ศ. 2551 : Limited เพกาซัส เซย์ย่า คลอธ3rd (เวอร์ชันทองคำ) มีนาคม พ.ศ. 2551 : เทพมรณะ ทานาทอส มีนาคม พ.ศ. 2551 : Limited เคียวโก ชีออน (เสื้อคลุมสีขาว) และ อาริเอส ชิออน (เซอร์พลีสสีดำ) เมษายน พ.ศ. 2551 : เบเนทนาช มีเมย์ พฤษภาคม พ.ศ. 2551 : สคิวล่า อิโอ มิถุนายน พ.ศ. 2551 : เพกาซัส เซย์ย่า (ก็อดคลอธ) สิงหาคม พ.ศ. 2551 : ลิมนาเดส คาสะ กันยายน พ.ศ. 2551 : โปเซดอน จูเลี่ยน โซโล พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 : แอริออธ เฟนริล ธันวาคม พ.ศ. 2551 : เทพนิทรา ฮิปนอส มกราคม พ.ศ. 2552 : แคปริคอร์น ชูร่า (เซอร์พลีส) มกราคม พ.ศ. 2552 : Appendix Bust สกอร์เปี้ยน มิโร กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 : แคมเปญ 2009 อาเธน่า คิโดะ ซาโอริ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 : Appendix Bust อควอเรียส คามิว กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 : อควอเรียส คามิว (เซอร์พลีส) มีนาคม พ.ศ. 2552 : เจมินี่ ซากะ (เซอร์พลีส) เมษายน พ.ศ. 2552 : เพกาซัส เซย์ย่า (คลอธแตก) เมษายน พ.ศ. 2552 : Appendix Bust เจมินี่ ซากะ (OCE) เมษายน พ.ศ. 2552 : Limited เพกาซัส เซย์ย่า (ก๊อดคลอธ) (OCE) มิถุนายน พ.ศ. 2552 : เม็กเรซ อัลเบริช กรกฎาคม พ.ศ. 2552 : อันโดรเมด้า ชุน (ก๊อดคลอธ) สิงหาคม พ.ศ. 2552 : เพกาซัส เท็มมะ (Lost Canvas) กันยายน พ.ศ. 2552 : เฟคด้า ธอร์ ตุลาคม พ.ศ. 2552 : เพกาซัส เซย์ย่า (คลอธ 3rd) (OCE) พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 : Appendix Bust สกอร์เปี้ยน มิโร และ เวอร์โก้ ชากะ (OCE) พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 : เบนนู คางาโฮะ (LC) ธันวาคม พ.ศ. 2552 : เพกาซัส เซย์ย่า (โอดินโรป) มกราคม พ.ศ. 2553 : แคนเซอร์ เดธมาสค์ (เซอร์พลีส) มกราคม พ.ศ. 2553 : อัลกอร์ บั๊ด กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 : แคมเปญ 2010 โพราลิส ฮิลด้า กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 : เพอร์เซอุส อัลกอร์ มีนาคม พ.ศ. 2553 : ดราก้อน ชิริว (ก๊อดคลอธ) มีนาคม พ.ศ. 2553 : อันโดรเมด้า ชุน (ก๊อดคลอธ OCE) มีนาคม พ.ศ. 2553 : เพกาซัส เซย์ย่า (Power of Gold) พฤษภาคม พ.ศ. 2553 : ลิซาร์ด มิสตี้ มิถุนายน พ.ศ. 2553 : เพกาซัส เซย์ย่า (คลอธแรก) *หมายเหตุ OCE = Original Color Edition * LC = Lost Canvas === พีวีซีฟิกเกอร์ Excellent Model === Excellent Model คือ หุ่นเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบของ พีวีซีฟิกเกอร์ ซึ่งถอดประกอบไม่ได้ สูงประมาณ 20 เซนติเมตร ถูกผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2550โดยบริษัท เมการ์เฮาส์''' และมีบริษัทดรีมทอยเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เช่นเดียวกับสินค้า เซนต์คลอธมิธ โดยในช่วงแรกได้กำหนดการวางจำหน่ายชุดแรกในเดือนเมษายน แต่ในตอนหลังได้เลื่อนไปเดือนพฤษภาคม และได้ออกวางจำหน่ายจริงในเดือนมิถุนายน ==== ลำดับการวางจำหน่าย พีวีซีฟิกเกอร์ Excellent Model ==== พฤษภาคม พ.ศ. 2550 : ดราก้อน ชิริว สูง 21 เซนติเมตร พฤษภาคม พ.ศ. 2550 : เพกาซัส เซย์ย่า สูง 18 เซนติเมตร พฤษภาคม พ.ศ. 2550 : อาเธน่า ซาโอริ สูง 20 เซนติเมตร == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ไทยเซนต์เซย์ย่า เว็บเซนต์เซย์ย่าไทยแฟนคลับ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของชูเอฉะ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโตเอ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการภาคฮาเดส เว็บไซต์อย่างเป็นทางการภาคโหมโรง เว็บไซต์อย่างเป็นทางการภาคฮาเดส เดอะแชปเตอร์อินเฟอร์โน เว็บไซต์อย่างเป็นทางการภาคโอเมกา เซนต์เซย์ย่าเน็ตเวิร์ก st-seiya.net การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ ตัวละครที่เป็นอัศวิน อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2529 โทเอแอนิเมชัน ทูนามิ รายการโทรทัศน์ช่อง 3 รายการโทรทัศน์ช่อง 5 ตัวละครกลุ่มห้า
thaiwikipedia
446
โครงข่ายประสาทเทียม
โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial neural networks: ANN) หรือ ข่ายงานประสาทเทียม (Connectionist systems) คือระบบคอมพิวเตอร์จากโมเดลทางคณิตศาสตร์ เพื่อจำลองการทำงานโครงข่ายประสาทชีวภาพที่อยู่ในสมองของสัตว์ โครงข่ายประสาทเทียมสามารถเรียนรู้ที่จะทำงานที่มอบหมายได้ จากการเรียนรู้ผ่านตัวอย่าง โดยไม่ถูกโปรแกรมด้วยกฎเกณฑ์ตายตัวแบบระบบอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น ในการประมวลผลภาพ คอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยระบบโครงข่ายประสาทเทียมจะเรียนรู้การจำแนกรูปภาพแมวได้จากการให้ตัวอย่างรูปภาพที่กำกับโดยผู้เขียนโปรแกรมว่า “เป็นแมว” หรือ “ไม่เป็นแมว” จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ระบุภาพแมวในตัวอย่างรูปภาพอื่น ๆ โปรแกรมโครงข่ายประสาทเทียมสามารถแยกแยะรูปภาพแมวได้โดยปราศจากการความรู้ก่อนหน้า ว่า ”แมว” คืออะไร (อาทิ แมวมีขน มีหูแหลม มีเขี้ยว มีหาง) แทนที่จะใช้ความรู้ดังกล่าว โครงข่ายประสาทเทียมทำการระบุตัวแมวโดยอัตโนมัติด้วยการระบุลักษณะเฉพาะ จากชุดตัวอย่างที่เคยได้ประมวลผล แนวคิดเริ่มต้นของเทคนิคนี้ได้มาจากการศึกษาโครงข่ายไฟฟ้าชีวภาพ (bioelectric network) ในสมอง ซึ่งประกอบด้วย เซลล์ประสาท (neurons) และ จุดประสานประสาท (synapses) ตามโมเดลนี้ ข่ายงานประสาทเกิดจากการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท จนเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน การประมวลผลต่าง ๆ ของโครงข่ายประสาทเทียมเกิดขึ้นในหน่วยประมวลผลย่อย เรียกว่า โหนด (node) ซึ่งโหนดเป็นการจำลองลักษณะการทำงานมาจากเซลล์การส่งสัญญาณ ระหว่างโหนดที่เชื่อมต่อกัน จำลองมาจากการเชื่อมต่อของใยประสาท และแกนประสาทในระบบประสาทของสมองมนุษย์ภายในโหนด จุดเชื่อมต่อแต่ละจุด มีความคล้ายคลึงกับจุดประสานประสาท (Synapses) ในสมอง มีความสามารถในการส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาทเซลล์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับมันได้ ในการสร้างระบบโครงข่ายประสาทเทียม เอาต์พุตของแต่ละเซลล์ประสาทจะมาจากการคำนวณผลรวมของอินพุต ด้วยฟังก์ชันการแปลง (transfer function) ซึ่งทำหน้าที่รวมค่าเชิงตัวเลขจากเอาต์พุตของเซลล์ประสาทเทียม แล้วทำการตัดสินใจว่าจะส่งสัญญาณเอาต์พุตออกไปในรูปใด ฟังก์ชันการแปลงอาจเป็นฟังก์ชันเส้นตรงหรือไม่ก็ได้ โครงข่ายประสาทเทียม ประกอบไปด้วย จุดเชื่อมต่อ (Connections) ซึ่งสามารถเรียกสั้น ๆ ได้ว่า เอจ (Edge), เมื่อโครงข่ายประสาทมีการเรียนรู้ จะเกิดค่าน้ำหนักขึ้น, ค่าน้ำหนัก (weights) คือ สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ของโครงข่ายประสาทเทียม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ค่าความรู้ (knowledge) ค่านี้จะถูกเก็บเป็นทักษะเพื่อใช้ในการจดจำข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในรูปแบบเดียวกัน จุดประสงค์ดั้งเดิมของการสร้างโครงข่ายประสาทเทียม คือการแก้ปัญหาแบบเดียวกับที่สมองมนุษย์สามารถทำได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป จุดประสงค์ของการสร้างโครงข่ายประสาทเทียมก็ได้เบี่ยงเบนเปลี่ยนไปเป็นการทำงานที่เฉพาะเจาะจง แทนจุดประสงค์เดิมในการสร้างสมองเทียม, ปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมกับงานหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น คอมพิวเตอร์วิทัศน์, การรู้จำคำพูด, การแปลภาษา, การกรองเนื้อหาโซเชียลมีเดีย, การเล่นเกม, การวินิจฉัยโรค และกิจกรรมบางอย่างที่ไม่คิดว่าปัญญาประดิษฐ์จะทำได้ เช่น การวาดภาพ, การประพันธ์เพลง และ การประพันธ์บทกวี == โครงสร้าง == นักวิจัยส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นตรงกันว่าข่ายงานประสาทเทียมมีโครงสร้างแตกต่างจากข่ายงานในสมอง แต่ก็ยังเหมือนสมอง ในแง่ที่ว่าข่ายงานประสาทเทียม คือการรวมกลุ่มแบบขนานของหน่วยประมวลผลย่อยๆ และการเชื่อมต่อนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสติปัญญาของข่ายงาน เมื่อพิจารณาขนาดแล้ว สมองมีขนาดใหญ่กว่าข่ายงานประสาทเทียมอย่างมาก รวมทั้งเซลล์ประสาทยังมีความซับซ้อนกว่าหน่วยย่อยของข่ายงาน อย่างไรก็ดีหน้าที่สำคัญของสมอง เช่นการเรียนรู้ ยังคงสามารถถูกจำลองขึ้นอย่างง่ายด้วยข่ายงานประสาท === โมเดล === ข่ายงานประสาทแบบป้อนไปหน้า (feedforward) ประกอบด้วยเซตของบัพ (node) ซึ่งอาจจะถูกกำหนดให้เป็นบัพอินพุต (input nodes) บัพเอาต์พุต (output nodes) หรือ บัพอยู่ระหว่างกลางซึ่งเรียกว่า บัพฮิดเดน (hidden nodes) มีการเชื่อมต่อระหว่างบัพ (หรือนิวรอน) โดยกำหนดค่าน้ำหนัก (weight) กำกับอยู่ที่เส้นเชื่อมทุกเส้น เมื่อข่ายงานเริ่มทำงาน จะมีการกำหนดค่าให้แก่บัพอินพุต โดยค่าเหล่านี้ อาจจะได้มาจากการกำหนดโดยมนุษย์ จากเซนเซอร์ที่วัดค่าต่างๆ หรือผลจากโปรแกรมอื่นๆ จากนั้นบัพอินพุต จะส่งค่าที่ได้รับ ไปตามเส้นเชื่อมขาออก โดยที่ค่าที่ส่งออกไปจะถูกคูณกับค่าน้ำหนักของเส้นเชื่อม บัพในชั้นถัดไปจะรับค่า ซึ่งเป็นผลรวมจากบัพต่างๆ แล้วจึงคำนวณผลอย่างง่าย โดยทั่วไปจะใช้ฟังก์ชันซิกมอยด์ (sigmoid function) แล้วส่งค่าไปยังชั้นถัดไป การคำนวณเช่นนี้จะเกิดขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละชั้น จนถึงบัพเอาต์พุต โดยในยุคแรก (ราว ค.ศ. 1970) จำนวนชั้นจะถูกกำหนดไว้เป็นค่าคงที่ แต่ในปัจจุบันมีการนำขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม มาช่วยออกแบบโครงสร้างของข่ายงาน ดู นิวโรอีโวลูชัน (Neuroevolution) == ประเภทของข่ายงานประสาทเทียม == === เพอร์เซ็ปตรอนหลายชั้น (multi-layer perceptron) === โครงข่ายประสาทเทียมแบบ MLP เป็นรูปแบบหนึ่งของโครงข่ายประสาทเทียมที่มีโครงสร้างเป็นแบบหลายๆชั้น ใช้สำหรับงานที่มีความซับซ้อนได้ผลเป็นอย่างดี โดยมีกระบวนการฝึกฝนเป็นแบบมีผู้สอน (Supervise) และใช้ขั้นตอนการส่งค่าย้อนกลับ (Backpropagation) สำหรับการฝึกฝนกระบวนการส่งค่าย้อนกลับ ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อยคือ การส่งผ่านไปข้างหน้า (Forward Pass) การส่งผ่านย้อนกลับ (Backward Pass) สำหรับการส่งผ่านไปข้างหน้า ข้อมูลจะผ่านเข้าโครงข่ายประสาทเทียมที่ชั้นข้อ มูลเข้า และจะส่งผ่าน จากอีกชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่งจนกระทั่งถึงชั้นข้อมูลออก ส่วนการส่งผ่านย้อนกลับค่าน้ำหนักการเชื่อมต่อจะถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกฎการแก้ข้อผิดพลาด (Error-Correction) คือผลต่างของผลตอบที่แท้จริง (Actual Response) กับผลตอบเป้าหมาย (Target Response) เกิดเป็นสัญญาณผิดพลาด (Error Signal) ซึ่งสัญญาณผิดพลาดนี้จะถูกส่งย้อนกลับเข้าสู่โครงข่ายประสาทเทียมในทิศทางตรงกันข้ามกับการเชื่อมต่อ และค่าน้ำหนักของการเชื่อมต่อจะถูกปรับจนกระทั่งผลตอบที่แท้จริงเข้าใกล้ผลตอบเป้าหมาย สัญญาณที่มีโครงข่ายประสาทเทียมแบบ MLP มี 2 ประเภทคือ Function Signal และ Error Signal 1.2.1. Function Signal เป็นสัญญาณเข้าที่มาจากโหนดในชั้นก่อนหน้า และจะส่งผ่านไปข้างหน้าจากโหนดหนึ่งไปสู่อีกโหนดหนึ่ง 1.2.2. Error Signal เป็นสัญญาณย้อนกลับที่เกิดขึ้นที่โหนดในชั้นข้อมูลออกของโครงข่ายประสาทเทียม และถูกส่งผ่านย้อนกลับจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง หลักการทำงานของ MLP คือในแต่ละชั้นของชั้นซ่อนตัว (Hidden Layer) จะมีฟังก์ชันสำหรับคำนวณเมื่อได้รับสัญญาณ (Output) จากโหนดในชั้นก่อนหน้านี้ เรียกว่า Activation Function โดยในแต่ละชั้นไม่จำเป็นต้องเป็นฟังก์ชันเดียวกันก็ได้ ชั้นซ่อนตัวนั้นมีหน้าที่สำคัญคือ จะพยายามแปลงข้อมูลที่เข้ามาในชั้น (Layer) นั้นๆให้สามารถแยกแยะความแตกต่างโดยใช้เส้นตรงเส้นเดียว (Linearly Separable) และก่อนที่ข้อมูลจะถูกส่งไปถึงชั้นข้อมูลออก (Output Layer) ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ชั้นซ่อนตัวมากกว่า 1 ชั้นในการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูป Linearly Separable ในการคำนวณหา Output ในปัญหาการจำแนกทำได้โดยการใส่ข้อมูล Input เข้าไปในโครงข่ายประสาทเทียมที่เราได้ทำการหาไว้แล้ว จากนั้นให้ทำการเปรียบเทียบค่าของ Output ใน Output Layer และให้ทำการเลือกค่าของ Output ที่มีค่าสูงกว่า (Neuron ที่มีค่าสูงกว่า) และทำการรับค่าของพยากรณ์ที่ตรงกับ Neuron ที่เลือก และให้นำค่าของ มาเปรียบเทียบกับค่าที่ยอมรับได้ หากค่าของ อยู่ในช่วงที่รับได้ (Error น้อยกว่า Error ที่เรากำหนด) ก็ให้ทำการรับข้อมูลชุดถัดไป แต่หากค่าของ มากกว่าค่าที่ยอมรับได้ ให้ทำการปรับค่าน้ำหนักและ Biased ตามขั้นตอนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อทำการปรับน้ำหนักเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการรับข้อมูลชุดถัดไปและทำตามขั้นตอนซ้ำอีกรอบจนกระทั่งถึงข้อมูลชุดสุดท้าย และเมื่อทำข้อมูลชุดสุดท้ายเสร็จจะนับเป็น 1 รอบของการคำนวณ (1 Epoch) จากนั้นจะทำการหาค่าผิดพลาดรวมเฉลี่ย จากค่าเฉลี่ยของ ที่ได้เก็บค่าเอาไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าค่า โดยเฉลี่ยในการจำแนกนั้น มีค่าน้อยกว่าค่าผิดพลาดที่ยอมรับได้หรือไม่ ถ้าใช่แสดงว่าโครงข่ายประสาทเทียมที่สร้างขึ้นนั้นสามารถให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องของทุกๆข้อมูลแล้ว จึงทำการจบการเรียนรู้ได้ แต่ถ้าไม่ใช่ ให้กลับไปทำตามขั้นตอนแรก โดยเริ่มรับข้อมูลชุดที่ 1 ใหม่ === โครงข่ายฮอปฟิลด์ (Hopfield network) === โครงข่ายฮอปฟิลด์ บางครั้งเรียกว่า Hebb’s Rule เป็นวิธีการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวข้องของกับการจัดกลุ่มของข้อมูลโดยอาศัยต้นแบบมาจากระบบประสาท คือ เซลล์ใดๆที่อยู่ใกล้กันและสามารถกระตุ้นเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงแบบซ้ำๆ ต่อเนื่องกันจนเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับเซลล์ตนเองและเซลล์ใกล้เคียงจะถือว่า เซลล์ทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์ที่สนับสนุนกัน ส่งผลให้ทั้งคู่สามารถจะเจริญเติบโตไปด้วยกันได้ Hebb’s Rule จะเกี่ยวของกับความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล 2 ชุดที่สนับสนุนกันจนทำให้น้ำหนักของข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าค่าน้ำหนักดังกล่าวสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพใน Hebb’s Rule แต่ละ Node ของชั้น Input Layer จะเชื่อมโยงกับทุก Node ของชั้น Output Layer อย่างสมบูรณ์ดังนั้นการทำงานของวิธีนี้จึงอาศัยรูปแบบจาก Input เป็นหลักโดยการ Mapping ระหว่าง Input Pattern กับ Recalled Pattern (Output Pattern ที่สามารถกลับสู่ Input Pattern ได้) ซึ่งได้จากการพิจารณาข้อมูลที่อยู่ใกล้เคียงแต่การ Mapping มีข้อเสียคือสามารถ Mapping ได้เฉพาะข้อมูลที่สัมพันธ์กันในแบบ Orthogonal (แบบตั้งฉาก) ผลลัพธ์ในการ Mapping ด้วย Hebb’s Rule === ประเภทอื่น === เพอร์เซ็ปตรอนชั้นเดียว (single-layer perceptron) โครงข่ายแบบวนซ้ำ (recurrent network) แผนผังจัดระเบียบเองได้ (self-organizing map) เครื่องจักรโบลทซ์แมน (Boltzmann machine) กลไกแบบคณะกรรมการ (committee of machines) โครงข่ายความสัมพันธ์ (associative Neural Network-ASNN) โครงข่ายกึ่งสำเร็จรูป (instantaneously trained networks) โครงข่ายแบบยิงกระตุ้น (spiking neural networks) == อ้างอิง == Cybenko, G.V. (1989). Approximation by Superpositions of a Sigmoidal function, Mathematics of Control, Signals, and Systems, Vol. 2 pp. 303–314. electronic version Duda, R.O., Hart, P.E., Stork, D.G. (2001) Pattern classification (2nd edition), Wiley, ISBN 0-471-05669-3 Gurney, K. (1997) An Introduction to Neural Networks London: Routledge. ISBN 1-85728-673-1 (hardback) or ISBN 1-85728-503-4 (paperback) Haykin, S. (1999) Neural Networks: A Comprehensive Foundation, Prentice Hall, ISBN 0-13-273350-1 Fahlman, S, Lebiere, C (1991). The Cascade-Correlation Learning Architecture, created for National Science Foundation, Contract Number EET-8716324, and Defense Advanced Research Projects Agency (DOD), ARPA Order No. 4976 under Contract F33615-87-C-1499. electronic version Hertz, J., Palmer, R.G., Krogh. A.S. (1990) Introduction to the theory of neural computation, Perseus Books. ISBN 0-201-51560-1 == แหล่งข้อมูลอื่น == โครงข่ายประสาทเทียม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โครงข่ายประสาทเทียม สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประวัติความเป็นมาของโครงข่ายประสาทเทียม สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน การแทนความรู้ ปัญญาประดิษฐ์ แบบจำลอง
thaiwikipedia
447
คาร์บอน
คาร์บอน (อังกฤษ: Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป: เพชร โครงสร้างยึดเหนี่ยว: 4 อิเล็กตรอนใน sp3–orbital แบบ 3 มิติ แกรไฟต์ (หนึ่งในสารที่อ่อนที่สุด) โครงสร้างยึดเหนี่ยว: 3 อิเล็กตรอนใน sp2–orbital 2 มิติ และ 1 อิเล็กตรอนใน p-orbital ฟูลเลอไรต์ (หรือ ฟูลเลอรีน) คือโมเลกุลขนาดนาโนเมตร ในรูปแบบที่เรียบง่าย คาร์บอน 60 อะตอมจะเรียงตัวคล้ายกับชั้นแกรไฟต์ Lamp black ประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นแกรไฟต์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะกระจายสุ่ม จึงมีโครงสร้างไอโซโทรปิก Glassy carbon มีโครงสร้างไอโซโทรปิกและมีความแข็งพอ ๆ กับกระจก ซึ่งต่างจากแกรไฟต์ที่ชั้นแกรไฟต์ไม่ได้เรียงซ้อนกันเหมือนกระดาษเรียบ ๆ แต่เรียงเหมือนกับกระดาษที่ขยำแล้ว คาร์บอนไฟเบอร์มีลักษณะคล้ายกับ glassy carbon ภายใต้การผลิตแบบพิเศษ (การยืดไฟเบอร์อินทรีย์และการทำเป็นคาร์บอน) ทำให้สามารถจัดระนาบคาร์บอนในทิศทางของไฟเบอร์ได้ ในทิศตั้งฉากกับแกนไฟเบอร์ ไม่มีการตั้งระนาบของคาร์บอน ทำให้ไฟเบอร์ที่ได้มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กกล้า คาร์บอนปรากฏในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเป็นพื้นฐานของอินทรีย์เคมี นอกจากนี้ อโลหะนี้มีคุณสมบัติทางเคมีที่สามารถทำพันธะกับตัวเอง และธาตุอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เกิดได้เป็นสารประกอบเกือบ 10 ล้านกว่าชนิด เมื่อรวมกับออกซิเจน จะเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อรวมกับไฮโดรเจน จะเกิดเป็นสารประกอบต่าง ๆ ที่เรียกรวม ๆ ว่าไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจำเป็นต่ออุตสาหกรรมในรูปแบบของเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อรวมกับทั้งไฮโดรเจนและออกซิเจน สามารถจะเกิดเป็นสารประกอบได้หลายประเภท เช่น กรดไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อชีวิต และเอสเทอร์ ซึ่งให้รสชาติแก่ผลไม้หลายชนิด ไอโซโทป คาร์บอน-14 ใช้ในการวัดอายุโดยใช้กัมมันตภาพรังสี == อ้างอิง == คาร์บอน อโลหะ ธาตุเคมี
thaiwikipedia
448
ประเทศอัฟกานิสถาน
อัฟกานิสถาน (Afghanistan; ดารี/افغانستان) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน (Islamic Emirate of Afghanistan; د افغانستان اسلامي امارت; امارت اسلامی افغانستان) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และทิศตะวันออกติดกับปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน มีอาณาเขต 652,000 ตารางกิโลเมตร มีกรุงคาบูลเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรประมาณ 40 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ปาทาน ทาจิก ฮาซาราและอุซเบก บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาอย่างน้อย 50,000 ปี จนมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอยู่ถาวรในบริเวณเมื่อ 9,000 ปีมาแล้ว ก่อนค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นอารยธรรมสินธุ อารยธรรมอ็อกซัสและอารยธรรมเฮลมันด์ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ชาวอินโด-อารยันย้ายเข้ามา ตามด้วยความเจริญของวัฒนธรรม Yaz I ยุคเหล็ก (ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน ค.ศ.) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมที่มีกล่าวถึงใน Avesta คัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ บริเวณนี้ได้ตกเป็นของเปอร์เซียในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ไปจนถึงแม่น้ำสินธุ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาอำราจบุกครองดินแดนดังกล่าวในศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. อาณาจักรกรีก-แบ็กเทรียเป็นปลายตะวันออกสุดของอารยธรรมกรีก ต่อมาดินแดนนี้ถูกพิชิตโดยอินเดียสมัยราชวงศ์เมารยะ ทำให้ศาสนาพุทธและฮินดูแพร่หลายในพื้นที่นี้หลายศตวรรษ พระเจ้ากนิษกะแห่งจักรวรรดิกุษาณะมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายมหายานเข้าสู่ประเทศจีนและเอเชียกลาง หลังจากนั้นมีราชวงศ์ที่นับถือพุทธปกครองดินแดนแถบนี้มาอีกหลายราชวงศ์ ศาสนาอิสลามเข้าสู่บริเวณนี้ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 แต่มีการเผยแผ่ศาสนาอย่างจริงจังระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 และมีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์อยู่อีกหลายครั้ง ประวัติศาสตร์การเมืองของรัฐอัฟกานิสถานสมัยใหม่เริ่มต้นจากราชวงศ์ Hotak ซึ่งประกาศเอกราชในอัฟกานิสถานตอนใต้ใน ค.ศ. 1709 ต่อมามีการตั้งอาณาจักรดูรานีใน ค.ศ. 1747 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อัฟกานิสถานเป็นรัฐกันชนใน "เกมใหญ่" ระหว่างจักรวรรดิบริติชและรัสเซีย ในสงครามอังกฤษ-อัฟกันครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1839 ถึง 1842) กองทัพบริติชจากอินเดียเข้าควบคุมอัฟกานิสถานได้ แต่สุดท้ายเป็นฝ่ายแพ้ หลังสงครามอังกฤษ-อัฟกันครั้งที่สามใน ค.ศ. 1919 อัฟกานิสถานจึงปลอดจากอิทธิพลของต่างชาติ และได้เป็นราชาธิปไตยภายใต้พระเจ้าอมานุลเลาะห์ แต่ใน ค.ศ. 1973 มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ใน ค.ศ. 1978 หลังมีรัฐประหารครั้งที่สอง อัฟกานิสถานกลายเป็นรัฐสังคมนิยม และถูกสหภาพโซเวียตรุกรานในสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ต่อกบฏมุญาฮิดีน หลังจากที่สหภาพโซเวียตถอนกำลังออกไป กลุ่มตอลิบานซึ่งเป็นพวกอิสลามมูลวิวัติก็ได้เข้ายึดครองประเทศใน ค.ศ. 1996 และปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ทำให้มีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรีในอัฟกานิสถานอย่างรุนแรง ต่อมากลุ่มตอลิบานถูกโค่นจากอำนาจหลังจากที่สหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองครองใน ค.ศ. 2001 แต่ยังควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้ เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของอัฟกานิสถานต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมากมาก ทำให้มีการเรียกอัฟกานิสถานว่าเป็น"รัฐบริวารของสหรัฐฯ" หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนกำลังออกไป ก็มีการรุกครั้งใหญ่ของตอลิบานใน ค.ศ. 2021 ส่งผลให้ตอลีบานหวนคืนสู่อำนาจอีกครั้ง อัฟกานิสถานมีระดับการก่อการร้าย ความยากจน จำกัดสิทธิสตรีโดย ตาลีบัน ภาวะทุพโภชนาการเด็กและการฉ้อราษฎร์บังหลวงสูง เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 96 ของโลก โดยมีจีดีพีมูลค่า 72,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มีจีดีพีต่อหัวต่ำมาก อยู่อันดับที่ 169 จาก 186 ประเทศใน ค.ศ. 2018 อัฟกานิสถานยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญรวมถึง ลิเทียม เหล็ก สังกะสี และ ทองแดง และเป็นหนึ่งประเทศผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ของโลก และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การความร่วมมืออิสลาม == นิรุกติศาสตร์ == นักวิชาการบางส่วนได้เสนอสมมติฐานว่ารากศัพท์ของชื่อ "Afghān" มีที่มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า Aśvakan หรือ Assakan ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเทือกเขาฮินดูกูชตั้งแต่สมัยโบราณ โดยคำว่า Aśvakan มีความหมายตรงตัวว่า "คนขี่ม้า", "คนเลี้ยงม้า" และ "ทหารม้า" (มาจากคำว่า aśva หรือ aspa ในภาษาสันสกฤต และ Avestan ซึ่งแปลว่า "ม้า") อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางราย เช่น อิบราฮิม ข่าน แย้งว่า คำว่า "Afghān" เป็นคำในภาษาแบกเตรีย ในอดีตชื่อ "อัฟกัน" เป็นชื่อที่ใช้สื่อถึงชาวปาทาน ชื่อ "Afġān" ซึ่งเป็นภาษาอาหรับและเปอร์เซียได้รับการรับรองครั้งแรกในหนังสือภูมิศาสตร์ Hudud al-'Alam ในศตวรรษที่ 10 ส่วนท้ายของชื่อที่ว่า "-stan" เป็นคำต่อท้ายในภาษาเปอร์เซียซึ่งแปลว่า "สถานที่" ดังนั้น "อัฟกานิสถาน" จึงมีความหมายตรงตัวว่า "ดินแดนแห่งอัฟกัน" หรือ "ดินแดนแห่งปัชตุน" อ้างอิงจากสารานุกรมอิสลามฉบับที่สาม นอกจากนี้ ที่มาของชื่ออัฟกานิสถาน (Afghānistān, land of the Afghans/Pashtuns, afāghina, sing. afghan) สามารถสืบไปถึงต้นศตวรรษที่ 8 ถึง ศตวรรษที่ 14 ในฐานะที่เป็นบริเวณที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของอาณาจักรของราชวงศ์ Kartids ต่อมา ชื่อนี้ถูกใช้เพื่อกล่าวถึงภูมิภาคในอาณาจักรอิหร่านซาฟาวิด และจักรวรรดิโมกุลซึ่งมีชาวอัฟกันเข้าไปตั้งถิ่นฐาน == ภูมิศาสตร์ == อัฟกานิสถานตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 33 องศาเหนือ และลองจิจูด 65 องศาตะวันออก มีพื้นที่ 647,500 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงในเขตเทือกเขาฮินดูกูซ จุดที่ต่ำสุดอยู่ที่แม่น้ำอมู สูง 258 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ประเทศอัฟกานิสถานไม่มีทางออกสู่ทะเล คำว่า "แสตน" (Stan) หมายถึงที่ดินหรือดินแดน ดังนั้น ชื่อของประเทศอัฟกานิสถานจึงหมายหมายความว่า ดินแดนของชาวอัฟกาน นอกจากนี้ คำว่า "แสตน" ยังใช้ในชื่อของเคอร์ดิสถาน อุซเบกิสถาน และประเทศในแถบเอเชียกลางอื่น ๆ อีกด้วย == ประวัติศาสตร์ == พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) อังกฤษได้สถาปนาอับดุรเราะฮฺมาน เป็นอะมีร หลังจากที่ได้มีการรบราฆ่าฟัน ระหว่างเผ่าต่าง ๆ ในอัฟกานิสถานมาเป็นเวลานาน พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) อับดุรเราะฮฺมาน เสียชีวิต บุตรชายชื่อ ฮะบีบุลลอหฺ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) ฮะบีบุลลอหฺ ถูกสังหาร น้องชายชื่อ นัศรุลลอหฺ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นอะมีร แต่ถูก อะมานุลลอหฺ บุตรชายของ ฮะบีบุลลอหฺ ขับไล่ แล้วขึ้นปกครองแทน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) ขบวนการพวกเคร่งศาสนา ก่อการปฏิวัติ อะมีร ฮะบีบุลลอฮฺ หลบหนีออกนอกประเทศ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น บาชา อี ซาเกา นายทหารของเผ่าตาจิก ได้นำพลทหารเข้ายึดกรุงคาบูล เป็นเวลาหลายเดือน ต่อมาญาติคนหนึ่งของ อะมีร ฮะบีบุลลอหฺ ปราบปรามจนถูกสังหาร แล้วญาติคนนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ มีนามว่า นาดีร ชาหฺ พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) กษัตริย์ นาดีร ชาหฺ ถูกสังหาร บุตรชายชื่อ ซอหิร ชาหฺ ขึ้นเป็นกษัตริย์ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ดาวูด ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของกษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ ก่อการปฏิวัติ กษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ หนีไปลี้ภัยในอิตาลี ดาวูดสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ดาวูด ถูกสังหาร หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ นำโดย นูร มุฮัมมัด ฏอรอกี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ฏอรอกี ถูกสังหาร และ ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี * เดือนธันวาคม ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน ถูกสังหาร โดยกองทัพที่ถูกส่งเข้ามาจากสหภาพโซเวียต บาบรัก การ์มาล ขึ้นเป็นประธานาธิบดี * บาบรัก การ์มาล ถูกถอดออกจากตำแหน่ง และหนีไปสหภาพโซเวียต นะญีบุลลอหฺ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) พวกมุจาหิดีนอิสลาม ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี ซิบฆอตุลลอหฺ มุจัดดิดี เป็นประธานาธิบดี ต่อมา บุรฮานุดดีน ร่อบบบานี ขึ้นเป็นประธานาธิบดี สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) กลุ่มตอลิบานยึดกรุงคาบูลได้ อัฟกานิสถานเคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน ระหว่างการยึดครองของสหภาพโซเวียต ปี 2522 - 2532 ได้เกิดขบวนการต่อต้านระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมในนามกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งได้โค่นล้มรัฐบาลที่เข้าข้างสหภาพโซเวียตได้สำเร็จในปี 2535 แต่กลับไม่สามารถร่วมกันปกครองประเทศได้ เพราะเกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ได้รับการศึกษาจากปากีสถานได้รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังตอลิบานขึ้น และมีความเข้มแข็งจนสามารถยึดกรุงคาบูลได้ในปี 2539 ตั้งรัฐบาลตอลิบานขึ้นปกครองประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่จนถึงปี 2544 หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน ในปี 2544 สหรัฐฯ ได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีอัฟกานิสถานเพื่อโค่นล้มรัฐบาลตอลิบาน และมุ่งที่จะจับนายอุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama Bin laden) ซึ่งสหรัฐฯ สามารถโค่นล้มรัฐบาลตอลิบานได้สำเร็จในปลายปี 2544 และสหรัฐฯ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในอัฟกานิสถาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในอัฟกานิสถานมาโดยตลอด กระทั่งเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 สหรัฐอเมริกาโดยการนำของรัฐบาลนายโจ ไบเดิน ได้ทำการถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน กลุ่มตอลิบานจึงใช้โอกาสในการเข้าบุกอัฟกานิสถานอีกครั้ง และสามารถเข้ายึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2564 === การบริหาร === ฝ่ายนิติบัญญัติ มีรัฐสภา (National Assembly) ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ 1) สภาผู้แทนราษฎร (House of People หรือ Wolesi Jirga) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 249 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี และ 2) สภาอาวุโส (House of Elders หรือ Meshrano Jirga) มีสมาชิก 102 คน ซึ่งแบ่งการสรรหาออกเป็น 3 วิธี ในจำนวนที่เท่า ๆ กัน โดยสมาชิก 34 คนได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี สมาชิกอีก 34 คน ได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 3 ปี และสมาชิกอีก 34 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี นอกจากนี้ อาจมีการประชุมใหญ่ของผู้แทนทุกภาคส่วนที่เรียกว่า Loya Jirga ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจากทั้งสองสภา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่นี้จะจัดขึ้นเฉพาะกรณีที่ต้องพิจารณาประเด็นระดับชาติเท่านั้น คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับเอกราช อธิปไตยของชาติ และเกี่ยวกับดินแดน รวมถึงการฟ้องร้องประธานาธิบดี ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรองประธานาธิบดี 2 คน ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งโดยการรับเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี และประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Hamid Karzai ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญให้อำนาจประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมบริหารประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 25 คน ตามรัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขและผู้นำในการบริหารประเทศ มีการกระจายอำนาจการปกครองออกเป็นจังหวัด แบ่งออกเป็น 34 จังหวัด (Province) อย่างไรก็ตาม ในแง่การบริหารจัดการระบบการปกครองภายในประเทศยังไม่ดีนัก เนื่องจากเพิ่งฟื้นตัวจากสงคราม และอำนาจของรัฐบาลกลางยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงพื้นที่ห่างไกล ==== กระทรวง ==== ฝ่ายตุลาการ ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้อัฟกานิสถานมีศาลฎีกา (Supreme Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Stera Mahkama มีผู้พิพากษาจำนวน 9 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและต้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ดำรงตำแหน่งวาระ 10 ปี รองลงมามีศาลสูง (High Court) และศาลอุทธรณ์ (Appeals Court) ด้วย === การบริหารระดับจังหวัด === แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดหน่วยงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น คือ คณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) และคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) แล้ว แต่ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ระบบการบริหารการปกครองของอัฟกานิสถานยังจัดการได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเป็นระบบที่วางขึ้นใหม่ และอำนาจของรัฐบาลกลางยังอ่อนแอ ความเชื่อมโยงของการบริหารอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางจึงยังขาดความชัดเจน == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศอัฟกานิสถานแบ่งออกเป็น 34 จังหวัด หรือเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า เวลายัต (welayat) ได้แก่ บาดัคชาน บาดกิส บักลาน บัลข์ บามียัน ไดกอนดี ฟาราห์ ฟาร์ยาบ กัซนี กาวร์ เฮลมันด์ เฮราต เจาซ์จัน คาบูล กันดะฮาร์ กาปิซา คอสต์ โกนาร์ กอนดอซ ลักมาน เลาการ์ นันการ์ฮาร์ นิมรุซ นูเรสถาน โอรุซกัน ปักเตีย ปักติกา ปันจ์ชีร์ ปาร์วัน ซามันกัน ซารีโปล ตาคาร์ วาร์ดัก ซาโบล == เศรษฐกิจ == ประเทศอัฟกานิสถาน นอกจากถูกจัดให้เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียแล้ว ยังครองอันดับ 1 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกอีกด้วย นักวิเคราะห์ชี้ว่า สาเหตุที่ประเทศอัฟกานิสถานมีฐานะยากจนมากที่สุดมีปัจจัยหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ ประชากรในอัฟกานิสถานว่างงานกว่า 35%, กว่า 36% มีความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานของโลก, 2 ใน 3 ของประชากรมีชีวิตอยู่ด้วยรายได้ที่น้อยกว่าวันละ 2 ดอลล่าสหรัฐ, เป็นประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม และรายได้หลักประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศมาจากการลักลอบค้ายาเสพติด เช่น กัญชา ฝิ่น เป็นต้น === เกษตรกรรม === ส่วนใหญ่เป็นแบบยังชีพและเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน พืชสำคัญที่ปลูกคือข้าวสาลี ฝ้าย และมีชื่อเสียงในการผลิตฝิ่นเพื่อผลิตยาเสพติด === ทรัพยากรธรรมชาติ === มีก๊าซธรรมชาติพบที่เมืองชีเบอร์กานใกล้พรมแดนประเทศเติร์กเมนิสถาน แหล่งผลิตก๊าซที่สำคัญของประเทศคือ ควาเจะห์ ราวัช และยาติม ตัก นอกจากนี้มีแหล่งน้ำมันที่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมาใช้ และแหล่งถ่านหินในจังหวัดบากลานและจังหวัดบาลัก แร่ธาตุที่สำคัญ พบแร่เหล็กที่หัจญีกัต ใกล้กรุงคาบูล แร่ทองแดงพบที่อายนัก แร่ยูเรเนียมพบที่ ควาเจะห์ ราวัช อัญมณีในจังหวัดบาดักชาน และแร่อื่น ๆ อีกมาก === การท่องเที่ยว === == ประชากรศาสตร์ == ใน ค.ศ. 2019 มีการประมาณการประชากรอัฟกานิสถานโดยสำนักงานสถิติและข้อมูลอัฟกานิสถานว่ามี 32.9 ล้านคน ในขณะที่สหประชาชาติประมาณการที่มากกว่า 38.0 ล้านคน ใน ค.ศ. 1979 มีรายงานประชากรทั้งประเทศที่ประมาณ 15.5 ล้านคน ประมาณร้อยละ 23.9 อาศัยอยู่ในเมือง ร้อยละ 71.4 อาศัยอยู่ในชนบท และร้อยละ 4.7 เป็นชนร่อนเร่ อัตราการเติบโตของประชากรในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.37 ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราสูงสุดที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา ถ้าอัตรายังคงเท่าเดิม คาดว่าจะมีประชากรใน ค.ศ. 2050 อยู่ที่ 82 ล้านคน ประชากรในอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อมีสงครามกลางเมืองที่ทำให้ประชากรหลายล้านคนหนีไปต่างประเทศ เช่นปากีสถาน นับแต่นั้นมา ผู้คนนับล้านได้เดินทางกลับมาและสภาพสงครามมีส่วนทำให้ประเทศมีอัตราการเจริญพันธุ์สูงที่สุดที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา สัมประสิทธิ์จีนีของประเทศใน ค.ศ. 2008 อยู่ที่ 27.8 === ชาติพันธุ์และภาษา === ประชากรอัฟกานิสถานแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ชาติพันธุ์ โดยชาวปาทานเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีร้อยละ 39 (ข้อมูลการวิจัยทางสังคมวิทยาใน ค.ศ. 2019 โดยThe Asia Foundation) ตามมาด้วยชาวทาจิก ซึ่งมีร้อยละ 37 ของประชากรทั้งประเทศ โดยทั่วไป มีการแบ่งสามกลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศได้แก่ชาวทาจิก, ชาวแฮซอเร และชาวอุซเบก ส่วนอีก 10 กลุ่มชาติพันธุ์ต่างได้รับการยอมรับและถูกกล่าวถึงในเพลงชาติสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ภาษาราชการของประเทศอัฟกานิสถานคือภาษาดารีและภาษาปาทาน เป็นเรื่องทั่วไปมากที่ผู้คนสามารถพูดสองภาษาได้ โดยมีภาษาดารีเป็นภาษากลางในคาบูลกับภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ส่วนภาษาปาทานเป็นภาษาแม่ของชาวปาทาน ถึงแม้ว่าชาวปาทานหลายคนสามารถพูดภาษาดารีได้คล่อง และชนชาติอื่นสามารถพูดภาษาปาทานได้ และแม้ว่าชาวปาทานมีอิทธิพลในการเมืองอัฟกันมาหลายศตวรรษ ภาษาดารีก็ยังคงเป็นภาษาหลักในรัฐบาลและราชการ รายงานจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ภาษาดารีมีผู้พูดร้อยละ 78 (L1 + L2) และทำหน้าที่เป็นภาษากลาง ในขณะที่ภาษาปาทานมีผู้พูดร้อยละ 50, อุซเบกร้อยละ 10, อังกฤษร้อยละ 5, เติร์กเมนร้อยละ 2%, อูรดูร้อยละ 2, ปาซายีร้อยละ 1, นูริสถานร้อยละ 1, อาหรับร้อยละ 1 และบาโลจร้อยละ 1 (ประมาณการ ค.ศ. 2021) ข้อมูลทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วมีมากกว่า 100% เพราะประชากรในประเทศหลายคนสามารถพูดสองภาษาและมีการอนุญาตให้เลือกได้มากกว่าหนึ่งภาษา เมื่อกล่าวถึงภาษาต่างประเทศในหมู่ประชาชน มีหลายคนสามารถพูดหรือเข้าใจภาษาฮินดูสตานี (อูรดู-ฮินดี) เพราะบางส่วนกลับมาจากปากีสถาน และความนิยมภาพยนตร์บอลลีวูดตามลำดับ ประชากรบางส่วนเข้าใจภาษาอังกฤษ และได้รับความนิยมตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 2000 ชาวอัฟกันบางส่วนสามารถพูดภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในโรงเรียนรัฐเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1980 === ศาสนา === ประชากรอัฟกันประมาณร้อยละ 99.7 นับถือศาสนาอิสลาม และส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนีมัซฮับฮะนะฟี รายงานจากสำนักวิจัยพิว มุสลิมมากถึงร้อยละ 90 นับถือนิกายซุนนี, ร้อยละ 7 นับถือนิกายชีอะฮ์ และร้อยละ 3 ไม่สังกัดนิกาย ซีไอเอแฟกต์บุ๊กประมาณการว่ามีมุสลิมมากถึงร้อยละ 89.7 นับถือนิกายซุนนีหรือนับถือนิกายชีอะฮ์มากถึงร้อยละ 15 ดร. เมฮร์ดอด อีแซดีประมาณการว่าร้อยละ 70 ของประชากรนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี, ร้อยละ 25 นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์, ร้อยละ 4.5 นับถือนิกายชีอะฮ์แบบอิสมาอีลียะฮ์ และร้อยละ 0.5 นับถือศาสนาอื่น มีชาวอัฟกันที่นับถือศาสนาซิกข์และฮินดูในเมืองหลักบางส่วน (เช่นคาบูล, จะลาลลาบาด, กัซนี, กันดะฮาร์) ที่มีคุรุทวาราและมณเฑียรเป็นของตนเอง รายงานจากดอยช์ เวเลย์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 มีผู้นับถืออยู่ในเมือง 250 คน ส่วน 67 อพยพไปประเทศอินเดียแล้ว ประเทศนี้เคยมีสังคมชาวยิวขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่อยู่ในเฮรัตและคาบูล ต่อมาจึงต้อบังคับงย้ายที่อยู่เนื่องจากสงครามนานนับทศวรรษและการกดขี่ทางศาสนา ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 สังคมทั้งหมดอพยพไปที่อิสราเอลและสหรัฐแล้ว ยกเว้นเพียงคนเดียวที่มีชื่อว่าซับโลน ซีมินตอฟ ซึ่งยังคงทำหน้าที่ดูแลโบสถ์ยิวแห่งเดียวในประเทศ หลังการยึดครองครั้งที่สองของตอลิบาน เขาจึงออกจากประเทศไปที่สหรัฐ ชาวอัฟกันที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งมีจำนวน 500–8,000 คน นับถือศาสนาอย่างลับ ๆ เนื่องจากการต่อต้านทางสังคมที่รุนแรง และไม่มีโบสถ์สาธารณะเลย === การแปลงเป็นเมือง === == วัฒนธรรม == === เทศกาล === แม้จะเป็นประเทศที่ยากจน แต่ชาวอัฟกันก็ยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญทางศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะเทศกาลรอมฏอน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของการถือศีลอดอันศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจะไปเยี่ยมเพื่อนหรือครอบครัวและรับประทานอาหารฉลองร่วมกัน ศิลปะแกรเต้นรำ attan ยังคงเฟื่องฟูในอัฟกานิสถาน === อาหาร === === สือสารมวลชน === === กีฬา === === วันหยุด === ==หมายเหตุ== ==อ้างอิง== == บรรณานุกรม == == แหล่งข้อมูลอื่น == Office of the President Afghanistan. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Research Guide to Afghanistan ประเทศอัฟกานิสถาน อ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 รัฐบาลอัฟกานิสถาน อ อาณาเขตซึ่งถูกพิพาทในทวีปเอเชีย
thaiwikipedia
449
ธุรกิจ
ธุรกิจ เป็นองค์การที่เกี่ยวข้องกับสินค้า บริการ หรือทั้งสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค ธุรกิจนั้นโดดเด่นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งธุรกิจส่วนมากมีเอกชนเป็นเจ้าของ และบริหารจัดการเพื่อให้ได้กำไร และเพิ่มความมั่งคั่งแก่เจ้าของธุรกิจ ธุรกิจยังอาจเป็นประเภทไม่แสวงหาผลกำไรหรือมีรัฐเป็นเจ้าของก็ได้ ธุรกิจที่มีหลายปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของอาจเรียกว่า บริษัท แม้คำว่า "บริษัท" จะมีความหมายที่เจาะจงกว่านั้น คำว่า "ธุรกิจ" มีความหมายครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการค้าอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ ตัวองค์กรการค้า, อุตสาหกรรม หรือบริษัท หรือที่เรียกกันว่า "องค์กรธุรกิจ" กิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้า, อาชีพ และอุตสาหกรรม เช่นในคำพูด "ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามสภาพตลาด" ส่วนของกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ เช่น "ธุรกิจเพลง" หรือ "ธุรกิจคอมพิวเตอร์" (ดู อุตสาหกรรม) บทความนี้จะเน้นไปที่ความหมายอันแรก แต่ก็จะมีลิงก์ไปยังหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจและการบริหารจัดการตามความหมายที่สองด้วยเช่นกัน == ประเภทขององค์กรธุรกิจ == มีวิธีการแยกแยะประเภทขององค์กรธุรกิจได้หลากหลายแบบ วิธีหนึ่งที่ใช้กันโดยทั่วไป คือ ดูจากกิจกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้กับองค์กรธุรกิจนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิต - ผลิตสินค้าจากวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน เช่น ผลิตกระดาษ, เหล็กกล้า หรือการประกอบรถยนต์จากชิ้นส่วนต่าง ๆ ธุรกิจบริการ - ให้บริการแรงงาน, ความรู้ หรือสินค้าที่จับต้องไม่ได้ มีรายได้จากการคิดค่าแรงงานหรือค่าบริการ เช่น การทาสีบ้าน, ให้คำปรึกษา และร้านอาหาร ร้านค้าปลีกและผู้จัดจำหน่าย - เป็นพ่อค้าคนกลางที่รับสินค้าจากผู้ผลิตมาจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะด้วยการจำหน่ายหน้าร้าน, คลังสินค้า หรือผ่านแค็ตตาล็อกก็ตาม ธุรกิจเกษตรกรรมและเหมืองแร่ - ผลิตวัตถุดิบต้นน้ำ เช่น พืชพรรณธรรมชาติ และแร่ต่าง ๆ สถาบันการเงิน - รวมถึงธนาคาร และบริษัทที่สร้างผลกำไรผ่านการลงทุน และการบริหารเงินทุน ธุรกิจสารสนเทศ - มีรายได้จากการขายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึง ผู้ผลิตภาพยนตร์, สำนักพิมพ์ และบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ สาธารณูปโภค - ให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ประปา, ไฟฟ้า, กำจัดขยะ โดยมากจะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือสัมปทาน อสังหาริมทรัพย์ - สร้างรายได้จากการขาย, ให้เช่า, พัฒนา และบริหาร ที่ดิน, บ้าน และอาคารต่าง ๆ ธุรกิจขนส่ง - บริการนำส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มีรายได้จากค่าขนส่ง ธุรกิจรถยนต์ - องค์กรธุรกิจที่ดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า การขาย การซ่อม และการบริการ ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นในการแสวงหาผลกำไร ธุรกิจที่ปรึกษาธุรกิจ - ให้บริการที่ปรึกษาธุรกิจ โดยมีรูปแบบการคิดค่าบริการเป็นแบบรายเดือนหรือคิดตามมูลค่างาน เช่น ที่ปรึกษาด้านการเงิน ที่ปรึกษาด้านการตลาด ที่ปรึกษาการวางแผนธุรกิจ == ธุรกิจกับภาครัฐ == กฎหมายส่วนใหญ่จะกำหนดรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่สามารถก่อตั้งได้ ภายใต้กำกับของกฎหมายการค้าหรือกฎหมายพาณิชย์ รูปแบบองค์กรทั่ว ๆ ไป ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว, ห้างหุ้นส่วน, และบริษัท == ธุรกิจกับการจัดการ == การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจ เรียกว่า การจัดการ ซึ่งแยกย่อยได้เป็นสาขาหลัก ๆ ได้แก่ การบัญชี, การเงิน, การตลาด, การวางแผนธุรกิจ, ทรัพยากรบุคคล, การจัดการเชิงกลยุทธ์, การผลิต, การบริการ และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
thaiwikipedia
450
เพลงชาติลาว
เพลงชาติลาว หรือ เพงซาดลาวในภาษาลาว (ลาว: ເພງຊາດລາວ) เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน เพลงชาติได้แต่งขึ้นทั้งส่วนคำร้องฉบับแรกสุด ประพันธ์โดย มหาพูมี จิตตะพง และ ทำนองเรียบเรียงเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดย ดร.ทองดี สุนทอรวิจิตร์ (ດຣ.ທອງດີ ສຸນທອຣວິຈິຕຣ໌: พ.ศ. 2448 - 2511) อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศลาวซึ่งอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศสในเวลานั้น กำลังมีการตื่นตัวในจิตสำนึกชาตินิยมมากขึ้น โดยฝรั่งเศสเป็นผู้ให้การส่งเสริม เพื่อต่อต้านแนวคิดมหาอาณาจักรไทย (ภาษาลาวเรียกว่า "ลัทธิไทยใหญ่") ของรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามในเวลานั้น เพื่อไม่ให้ลาวหันกลับไปรวมหรือพึ่งพาไทยให้ปลดแอกจากฝรั่งเศส ส่วนผู้ประพันธ์บทร้องคือ มหาพูมี (ไม่มีนามสกุล) สันนิษฐานว่าเขียนขึนในระยะเวลาเดียวกัน เพลงชาติลาวฉบับที่มหาพูมีได้แต่งคำร้อง ได้เริ่มใช้เป็นเพลงชาติของประเทศลาวสืบมาตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ต่อเนื่องมาถึงสมัยพระราชอาณาจักรลาว (ตั้งแต่ พ.ศ. 2492) จนถึงปี พ.ศ. 2518 เมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ชนะสงครามกลางเมืองและเข้ากุมอำนาจรัฐได้สำเร็จ และ สามารถล้มล้างรัฐบาลระบอบกษัตริย์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2518 เนื้อร้องของเพลงชาติลาวสมัยราชอาณาจักรที่ประพันธ์โดยมหาพูมี จึงถูกยกเลิก และได้มีการเปลี่ยนเนื้อเพลงเป็นฉบับที่แต่งโดยนายสีซะนะ สีสาน (ສີຊະນະ ສີສານ) โดยประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เนื้อเพลงชาติฉบับดังกล่าวได้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2531 รัฐบาลลาวจึงได้รับรองเพลงชาติซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเพลงบ้างเล็กน้อยมาเป็นเนื้อร้องฉบับปัจจุบัน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉบับลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564 == เนื้อร้อง == === สมัยสปป. ลาว (2518 - ปัจจุบัน) === ทำนอง: ทองดี สุนทอนวิจิด คำร้อง: สีซะนะ สีสาน === เพลงชาติและสรรเสริญพระบารมี พระราชอาณาจักรลาว (พ.ศ. 2484-2518) === ทำนอง: ทองดี สุนทอรวิจิตร์ คำร้อง: มหาพูมี == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == แหล่งรวบรวมข้อมูลและไฟล์เสียง เพลงชาติลาวสมัยราชอาณาจักร เพลงชาติลาว จากเว็บไซต์สำนักข่าวสารประเทศลาว (ขปล.) เนื้อเพลงชาติลาวและไฟล์เสียง (midi) ที่ nationalanthems.info วีดิทัศน์ ลาว พเลงชาติลาว
thaiwikipedia
451
บาท (สกุลเงิน)
เงินบาท (ตัวละติน: Baht; สัญลักษณ์: ฿; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ32,000 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 32,000 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ ตามข้อมูลของสมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments) == ประวัติศาสตร์ == ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านั้นเงินตราไทยใช้ระบบดังนี้ {|| class="wikitable" !|หน่วยเงิน||มูลค่า||หมายเหตุ |- || 1 หาบ||80 ชั่ง = 6,400 บาท || |- || 1 ชั่ง||20 ตำลึง = 80 บาท || |- || 1 ตำลึง||4 บาท || |- || 1 บาท||1 บาท = 100 สตางค์ || |- || 1 มายน หรือ 1 มะยง|| บาท = 50 สตางค์ || ปัจจุบันยังมีการเรียกเหรียญมูลค่านี้ว่า เหรียญสองสลึง |- || 1 สลึง|| บาท = 25 สตางค์ || ปัจจุบันยังมีการเรียกเหรียญมูลค่านี้ว่า เหรียญสลึง |- || 1 เฟื้อง|| บาท = 12.5 สตางค์ || |- || 1 ซีก หรือ 1 สิ้ก|| บาท = 6.25 สตางค์ || |- || 1 เสี้ยว 1 เซี่ยว หรือ 1 ไพ|| บาท = 3.125 สตางค์|| |- || 1 อัฐ|| บาท = 1.5625 สตางค์ || |- || 1 โสฬส หรือ โสฬศ|| บาท = 0.78125 สตางค์ || |- || 1 เบี้ย|| บาท = 0.015625 สตางค์ || |} == เหรียญ == ในปัจจุบันมีการผลิตเหรียญกษาปณ์อยู่ทั้งหมด 9 ชนิดคือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้เกิดปัญหาราคาวัตถุดิบในการผลิตเหรียญสูงกว่าราคาเหรียญ ทำให้เกิดการลักลอบหลอมเหรียญไปขาย หรือบางครั้งก็เกิดปัญหาการใช้เหรียญผิด เพราะรูปร่างและสีของเหรียญบางชนิดนั้นคล้ายกัน (เช่น เหรียญ 1 บาท กับ เหรียญ 2 บาท แบบเก่า) ดังนั้น ใน พ.ศ. 2552 กระทรวงการคลัง ได้เปลี่ยนแปลงวัตถุดิบในการผลิตเหรียญบางชนิด เพื่อป้องกันการหลอมเหรียญ สร้างความแตกต่างของเหรียญ และลดความยุ่งยากในการใช้เหรียญเป็นดังนี้ ===เหรียญของเงินบาทไทย=== {|class="wikitable" style="font-size: 90%" !colspan="9"|การหมุนเวียนของเงินตรา |- !rowspan="2"|มูลค่า !!colspan="3"| ตัวแปรทางเทคนิค !!colspan="2"| คำบรรยาย !!rowspan="2"| ปีที่ผลิตครั้งแรก |- ! เส้นผ่าศูนย์กลาง !! มวล !! องค์ประกอบ !! ด้านหน้า !! ด้านหลัง |- |rowspan=2|เหรียญ 1 สตางค์ 1 |rowspan=2|15 มิลลิเมตร |rowspan=2|0.5 กรัม |97.5% Al, 2.5% Mg |rowspan="18"|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |rowspan=2|วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร, จังหวัดลำพูน |พ.ศ. 2530 (1987) |- |99% Aluminium |พ.ศ. 2551 (2008) |- |rowspan=2|เหรียญ 5 สตางค์ 1 |16 มิลลิเมตร |rowspan=2|0.6 กรัม |97.5% Al, 2.5% Mg |rowspan=2|วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร, จังหวัดนครปฐม |พ.ศ. 2530 (1987) |- |16.5 มิลลิเมตร |99% Al |พ.ศ. 2551 (2008) |- |rowspan=2|เหรียญ 10 สตางค์ 1 |rowspan=2|17.5 มิลลิเมตร |rowspan=2|0.8 กรัม |97.5% Al, 2.5% Mg |rowspan=2|วัดพระธาตุเชิงชุม, จังหวัดสกลนคร |พ.ศ. 2530 (1987) |- |99% Al |พ.ศ. 2551 (2008) |- ||เหรียญ 25 สตางค์ |16 มิลลิเมตร |1.9 กรัม |อะลูมีเนียมบรอนซ์ |rowspan=2|วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร, จังหวัดนครศรีธรรมราช |พ.ศ. 2530 (1987) |- ||เหรียญ 25 สตางค์ (แบบ 2) |16 มิลลิเมตร |1.9 กรัม |ทองแดง ชุบ เหล็ก |พ.ศ. 2551 (2008) |- ||เหรียญ 50 สตางค์ |18 มิลลิเมตร |2.4 กรัม |อะลูมีเนียมบรอนซ์ |rowspan=2|วัดพระธาตุดอยสุเทพ, จังหวัดเชียงใหม่ |พ.ศ. 2530 (1987) |- ||เหรียญ 50 สตางค์ (แบบ 2) |18 มิลลิเมตร |2.4 กรัม |ทองแดง ชุบ เหล็ก |พ.ศ. 2551 (2008) |- |rowspan=2|เหรียญ 1 บาท |rowspan=2|20 มิลลิเมตร |3.4 กรัม |คิวโปรนิกเกิล |rowspan=2|วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, กรุงเทพมหานคร |พ.ศ. 2529 (1986) |- |3 กรัม |นิกเกิล ชุบ เหล็ก |พ.ศ. 2551 (2008) |- |rowspan=2|เหรียญ 2 บาท |21.75 มิลลิเมตร |4.4 กรัม |นิกเกิล ชุบ เหล็กคาร์บอนต่ำ |rowspan=2|วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, กรุงเทพมหานคร |พ.ศ. 2548 (2005) |- |21.75 มิลลิเมตร |4 กรัม ||อะลูมีเนียมบรอนซ์ |พ.ศ. 2551 (2008) |- |rowspan=2|เหรียญ 5 บาท |rowspan=2|24 มิลลิเมตร |7.5 กรัม |rowspan=2|คิวโปรนิกเกิล หุ้ม ทองแดง |rowspan=2|วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร, กรุงเทพมหานคร |พ.ศ. 2531 (1988) |- |6 กรัม |พ.ศ. 2551 (2008) |- |เหรียญ 10 บาท ||26 มิลลิเมตร |rowspan=2|8.5 กรัม |rowspan=2|วงแหวน: คิวโปรนิกเกิลตรงกลาง: อะลูมีเนียมบรอนซ์ |rowspan=2|วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ||พ.ศ. 2531 (1988) |- |เหรียญ 10 บาท (แบบ 2) |26 มิลลิเมตร |พ.ศ. 2551 (2008) |} {|class="wikitable" style="font-size: 90%" !colspan="9"|การหมุนเวียนของเงินตรา |- !rowspan="2"|มูลค่า !!colspan="3"| ตัวแปรทางเทคนิค !!colspan="2"| คำบรรยาย !!rowspan="2"| ปีที่ผลิตครั้งแรก |- ! เส้นผ่าศูนย์กลาง !! มวล !! องค์ประกอบ !! ด้านหน้า !! ด้านหลัง |- |rowspan=2|เหรียญ 1 สตางค์ 1 |rowspan=2|15 มิลลิเมตร |rowspan=2|0.5 กรัม |97.5% Al, 2.5% Mg |rowspan="18"|พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |rowspan=18|ตราสัญลักษณ์ ว.ป.ร. |rowspan=18|พ.ศ. 2561 (2018) |- |99% Aluminium |- |rowspan=2|เหรียญ 5 สตางค์ 1 |16 มิลลิเมตร |rowspan=2|0.6 กรัม |97.5% Al, 2.5% Mg |- |16.5 มิลลิเมตร |99% Al |- |rowspan=2|เหรียญ 10 สตางค์ 1 |rowspan=2|17.5 มิลลิเมตร |rowspan=2|0.8 กรัม |97.5% Al, 2.5% Mg |- |99% Al |- ||เหรียญ 25 สตางค์ |16 มิลลิเมตร |1.9 กรัม |อะลูมีเนียมบรอนซ์ |- ||เหรียญ 25 สตางค์ (แบบ 2) |16 มิลลิเมตร |1.9 กรัม |ทองแดง ชุบ เหล็ก |- ||เหรียญ 50 สตางค์ |18 มิลลิเมตร |2.4 กรัม |อะลูมีเนียมบรอนซ์ |- ||เหรียญ 50 สตางค์ (แบบ 2) |18 มิลลิเมตร |2.4 กรัม |ทองแดง ชุบ เหล็ก |- |rowspan=2|เหรียญ 1 บาท |rowspan=2|20 มิลลิเมตร |3.4 กรัม |คิวโปรนิกเกิล |- |3 กรัม |นิกเกิล ชุบ เหล็ก |- |rowspan=2|เหรียญ 2 บาท |21.75 มิลลิเมตร |4.4 กรัม |นิกเกิล ชุบ เหล็กคาร์บอนต่ำ |- |21.75 มิลลิเมตร |4 กรัม ||อะลูมีเนียมบรอนซ์ |- |rowspan=2|เหรียญ 5 บาท |rowspan=2|24 มิลลิเมตร |7.5 กรัม |rowspan=2|คิวโปรนิกเกิล หุ้ม ทองแดง |- |6 กรัม |- |เหรียญ 10 บาท ||26 มิลลิเมตร |rowspan=2|8.5 กรัม |rowspan=2|วงแหวน: คิวโปรนิกเกิลตรงกลาง: อะลูมีเนียมบรอนซ์ |- |เหรียญ 10 บาท (แบบ 2) |26 มิลลิเมตร |} == ธนบัตร == นับ แต่เริ่มนำธนบัตรออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2445 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้นำธนบัตรออกใช้รวมทั้งสิ้น 17 แบบ ซึ่งแบ่งเป็นธนบัตรก่อนจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 1-10 รวมทั้งธนบัตรแบบพิเศษ และธนบัตรที่ผลิตจากโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11-17 ธนบัตร ที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่หลายชนิดเป็นธนบัตรที่ระลึกที่มีจำนวนจำกัด และไม่ถูกใช้ในการหมุนเวียนทั่วไป เช่น ธนบัตรที่ระลึกมูลค่า 60 บาท เป็นต้น ส่วนธนบัตรที่ถูกใช้หมุนเวียนทั่วไป และยังมีการผลิตอยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน มี 5 ชนิด ได้แก่ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1000 บาท {|class="wikitable" style="font-size: 90%" !colspan="9"|ธนบัตรแบบ 15 [http://www.bot.or.th/English/Banknotes/HistoryANdSeriesOfBanknotes/Pages/Current_Series_of_Banknotes.aspx] |- ! colspan="2" |ภาพประธาน !rowspan="2"|ชนิดราคา !!rowspan="2"| ขนาด !!rowspan="2"| สี !!colspan="2"| คำอธิบาย !!rowspan="2"| วันประกาศออกใช้ !!rowspan="2"| วันจ่ายแลก |- !ด้านหน้า !ด้านหลัง ! ภาพด้านหน้า !! ภาพด้านหลัง |- | | |ธนบัตร 20 บาท||138 × 72 มม.||เขียว |rowspan="5"| พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และภาพสะพานพระราม 8 || 12 กุมภาพันธ์ 2546 || 3 มีนาคม 2546 |- | | |ธนบัตร 50 บาท||144 × 72 มม.||ฟ้า || พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์ และภาพพระปฐมเจดีย์ || 19 มีนาคม 2547 || 1 ตุลาคม 2547 |- | | |ธนบัตร 100 บาท||150 × 72 มม.||แดง || พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบเต็มยศทหารเรือ และภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส || 5 กันยายน 2548 ||21 ตุลาคม 2548 |- | | |ธนบัตร 500 บาท||156 × 72 มม.||ม่วง || พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร และภาพเรือสำเภา || 24 กรกฎาคม 2544 ||1 สิงหาคม 2544 |- | | |ธนบัตร 1000 บาท||162 × 72 มม.||น้ำตาล || พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ||29 กรกฎาคม 2548 ||25 พฤศจิกายน 2548 |} {|class="wikitable" style="font-size: 90%" !colspan="9"|ธนบัตรแบบ 16 ** |- ! colspan="2" |ภาพประธาน !rowspan="2"| ชนิดราคา !!rowspan="2"| ขนาด !!rowspan="2"| สี !!colspan="2"| คำอธิบาย !!rowspan="2"| วันประกาศออกใช้ !!rowspan="2"| วันจ่ายแลก |- !ด้านหน้า !ด้านหลัง ! ภาพด้านหน้า !! ภาพด้านหลัง |- | | |ธนบัตร 20 บาท||138 × 72 มม.||เขียว |rowspan="5"|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ || พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย ภาพศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ภาพลายสือไทย ภาพทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ภาพกระดิ่ง และภาพเครื่องสังคโลก||2 พฤศจิกายน 2555 || 1 เมษายน 2556 |- | | |ธนบัตร 50 บาท||144 × 72 มม.||ฟ้า || พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล ||24 มิถุนายน 2554 || 18 มกราคม 2555 |- | | |ธนบัตร 100 บาท||150 x 72 มม.||แดง ||พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาพทรงเกลี้ยกล่อมให้ประชาชนรวมกำลังกันต่อสู่กู้อิสรภาพ ภาพท้องพระโรงพระราชวังกรุงธนบุรี ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงม้าพระที่นั่งออกศึก และภาพป้อมวิไชยประสิทธิ์ ||27 ธันวาคม 2557 || 26 กุมภาพันธ์ 2558 |- | | |ธนบัตร 500 บาท||156 x 72 มม.||ม่วง ||พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ภาพป้อมพระสุเมรุ ||27 ธันวาคม 2556 || 12 พฤษภาคม 2557 |- | | |ธนบัตร 1000 บาท||162 x 72 มม.||น้ำตาล ||พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม้าพระที่นั่ง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม และภาพการเลิกทาส || 17 สิงหาคม 2558 || 21 สิงหาคม 2558 |- |} {|class="wikitable" style="font-size: 90%" ! colspan="9" |ธนบัตรแบบ 17 |- ! colspan="2" |ภาพประธาน !rowspan="2"|ชนิดราคา !!rowspan="2"| ขนาด !!rowspan="2"| สี !!colspan="2"| คำอธิบาย !!rowspan="2"| วันประกาศออกใช้ !!rowspan="2"| วันจ่ายแลก |- ! ด้านหน้า ! ด้านหลัง ! ภาพด้านหน้า !! ภาพด้านหลัง |- | | |ธนบัตร 20 บาท||138 × 72 มม.||เขียว |rowspan="6"| พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ |rowspan="2"| พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย || 8 มีนาคม 2561 || 6 เมษายน 2561 |- | | |ธนบัตร 20 บาท||138 × 72 มม.||เขียว || 20 มกราคม 2565 || 24 มีนาคม 2565 |- | | |ธนบัตร 50 บาท||144 × 72 มม.||ฟ้า || พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว || 8 มีนาคม 2561 || 6 เมษายน 2561 |- | | |ธนบัตร 100 บาท||150 × 72 มม.||แดง || พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว || 8 มีนาคม 2561 ||6 เมษายน 2561 |- | | |ธนบัตร 500 บาท||156 × 72 มม.||ม่วง || พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล || 8 มีนาคม 2561 ||28 กรกฎาคม 2561 |- | | |ธนบัตร 1000 บาท||162 × 72 มม.||น้ำตาล || พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว|| 8 มีนาคม 2561 ||28 กรกฎาคม 2561 |} == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == เหรียญ ธนบัตร เศรษฐกิจไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย == แหล่งข้อมูลอื่น == สำนักกษาปณ์ ข้อมูลของเหรียญจากกรมธนารักษ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ข้อมูลของธนบัตรจากธนาคารแห่งประเทศไทย สกุลเงินเอเชีย
thaiwikipedia
452
ริงกิต
ริงกิตมาเลเซีย (Ringgit Malaysia; สัญลักษณ์: RM; รหัส: MYR; อดีตมีชื่อว่า ดอลลาร์มาเลเซีย) เป็นสกุลเงินตราของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น == ศัพทมูลวิทยา == คำว่า ringgit ในภาษามลายูแปลว่า "เป็นหยัก ๆ" เดิมใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ในเหรียญเงินของดอลลาร์สเปนที่ใช้แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 เพราะสเปนควบคุมฟิลิปปินส์ในฐานะส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมสเปน ส่วนโปรตุเกสมีอิทธิพลในบริเวณมะละกา และสหภาพไอบีเรีย ปัจจุบัน คำว่า ริงกิต มีความหมายเฉพาะสกุลเงินเท่านั้น เนื่องจากมรดกร่วมกันของสกุลเงินสมัยใหม่ทั้งสาม ทำให้ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนถูกเรียกเป็น ริงกิต ในภาษามลายู (สกุลเงินอย่างดอลลาร์สหรัฐและดอลลาร์ออสเตรเลียถูกเรียกเป็น โดลาร์) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันดอลลาร์สิงคโปร์มักถูกเรียกเป็น โดลาร์ ในภาษามลายูก็ตาม == ประวัติ == ใน พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) แต่ใน พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงใน พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า ชื่อภาษามลายู คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามลายู อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533 == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Current Banknote Series – page listing current banknotes on the Central Bank of Malaysia website Historical banknotes of Malaysia สกุลเงินเอเชีย เศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย
thaiwikipedia
453
บาท
บาท อาจหมายถึง บาท - สกุลเงินตราของประเทศไทย บาท - หน่วยมาตราชั่งน้ำหนักโบราณของประเทศไทย มีค่าโดยประมาณเท่ากับน้ำหนักของมวลประมาณ 15.2 กรัม (15.16-15.244 กรัม) ใช้เป็นหน่วยชั่งของโลหะมีค่ารวมถึงสมุนไพรในประเทศไทย บาท - ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ มีขนาดรองจากบทหรือเท่ากับบท ขึ้นอยู่กับประเภทของร้อยกรอง บาท - หมายถึงเท้า ใช้เป็นคำราชาศัพท์ บาท - 1 บาท= 6 นาที ดังนั้น ใน 1 ชั่วโมง= คือ 10 บาท = 10 ช่วงเวลา ซึ่งเป็นการคำนวณเพื่อใช้ในการวางฤกษ์ของโหรโบราณในสมัยที่ระบบนาฬิกายัง ไม่แพร่หลาย โดยยังใช้วิธีการวัดเงาแดด และใช้นาฬิกา (กะโหลกมะพร้าวหรือกะลามะพร้าว ด้านที่มีรู) ลอยน้ำประกอบ
thaiwikipedia
454
เพลงชาติ
เพลงชาติ (national anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ เพลงชาติสามารถแสดงถึงความเป็นชาติของประชาชนในชาตินั้น ๆ ได้ เพลงชาติสามารถแสดงถึงฐานะทางการเมืองว่า เป็นประเทศที่มีเอกราช ไม่ขึ้นแก่ใคร เพลงชาติเป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายประจำชาติ เพลงชาติเป็นกลิ่นไอทางศิลปวัฒนธรรมของประชาชนในกลุ่มชนชาตินั้น ๆ == การเกิดของเพลงชาติ == เพลงชาติมีที่มาได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ เพลงชาติเกิดจากเพลงที่ประชาชนนิยม: เพลงชาติประเภทนี้เกิดจากเพลงที่คนนิยมร้องทั่วไปไปในทุกโอกาส เป็นเพลงที่ประชาชนมีความศรัทธานิยมชมชอบ เช่น เพลงก็อดเซฟเดอะควีน (God Save The Queen) ของสหราชอาณาจักร เพลง ลันด์เดอร์แบร์เกอ ลันด์อัมชโตรเมอ ของประเทศออสเตรีย เป็นต้น เพลงชาติเกิดจากความกดดันทางการเมือง : โดยเหตุที่เพลงเป็นเครื่องมือประกอบกิจกรรมทางการเมืองมาตลอด เพลงชาติประเภทนี้จึงเกิดขึ้นจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางการปกครองและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น เพลงลามาร์แซแยส (La Marseillaise) ของประเทศฝรั่งเศส เพลงชาติไทยของประเทศไทย ฯลฯ เพลงชาติที่เกิดขึ้นโดยลัทธิชาตินิยม : เพลงชาติประเภทนี้เริ่มเกิดขึ้นในยุคโรแมนติก โดยคีตกวีชาวรัสเซียชื่อ ไมเคิล อิแวนโนวิช กลินกา ได้ประพันธ์เพลงเกี่ยวกับการต่อสู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออุปรากรเรื่อง "A Life for the Tsar" เพื่อปลุกเร้าให้ชาวรัสเซียเกิดความรักชาติ บทเพลงเหล่านี้ได้กระตุ้นให้กลุ่มคนต่าง ๆ เกิดความคิดชาตินิยมที่จะใช้เพลงชาติเป็นเครื่องหมายแบ่งแยกดินแดน ศาสนา เชื้อชาติ และผลประโยชน์ออกจากกัน แนวคิดดังกล่าวนี้ได้แผ่ขยายไปยังยังกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และเกิดบทเพลงปลุกเร้าให้เกิดความรักชาติขึ้นจำนวนมากจากคีตกวีต่าง ๆ ทั้งนี้ งานเพลงหลายชิ้นไม่ได้เป็นเพลงชาติโดยตรง แต่ก็กระตุ้นให้เกิดความคิดรักชาติตามลัทธิชาตินิยม และทำให้กลุ่มนักการปกครองทั้งหลายสนใจที่จะมีเพลงประจำชาติเฉพาะขึ้นมา == การใช้ == เพลงชาติถูกนำไปใช้ในบริบทต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยมักมีการนำไปบรรเลงในวันหยุดและเทศกาลสำคัญของชาติ และมีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมกีฬาอย่างใกล้ชิด ในการแข่งขันกีฬาอย่างเช่นกีฬาโอลิมปิกนั้น จะมีการบรรเลงเพลงชาติเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ชนะเลิศและได้รับเหรียญทองในพิธีมอบเหรียญรางวัล และยังใช้บรรเลงก่อนเริ่มการแข่งขันกีฬาด้วย ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวนี้เริ่มมีขึ้นในการแข่งขันเบสบอลในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สำหรับในประเทศอื่น ๆ การใช้เพลงชาตินั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับสถานะความเป็นรัฐชาติต่อประเทศนั้น ๆ ด้วย เช่น ในกรณีของไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) คณะกรรมการโอลิมปิกสากลไม่ได้ยอมรับว่าไต้หวันมีสถานะเป็นรัฐชาติที่มีเอกราชเป็นของตนเอง และต้องใช้ชื่อประเทศในแข่งขันกีฬาว่า "จีนไทเป" ไต้หวันจึงต้องใช้เพลงธงชาติ ( กั๋วฉีเกอ; National Banner Song) เป็นเพลงสำหรับไต้หวันในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นต้น ในบางประเทศก็มีการบรรเลงและขับร้องเพลงชาติก่อนเข้าเรียน เพื่อเป็นเครื่องฝึกหัดให้เด็กเกิดความคิดรักชาติ หลายประเทศก็มีความนิยมในการบรรเลงเพลงชาติก่อนการเล่นหรือแสดงมหรสพต่าง ๆ อันรวมถึงการฉายภาพยนตร์ สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์หลายแห่งก็ใช้เพลงชาติเป็นเครื่องบอกสัญญาณการเปิดและปิดสถานีในแต่ละวัน กรณีดังกล่าวนี้สำหรับประเทศไทย จะนิยมบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนการเริ่มมหรสพหรือการฉายภาพยนตร์ และเป็นสัญญาณบอกการเปิดหรือปิดสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ส่วนเพลงชาตินอกจากจะบรรเลงเพื่อการเคารพธงชาติในเวลา 8.00 น. และ 18.00 น. แล้ว ยังใช้เป็นสัญญาณบอกการเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยด้วย == เนื้อร้อง == โดยทั่วไปแล้ว เพลงชาติของเกือบทุกประเทศย่อมมีเนื้อร้องประกอบทำนองอยู่เสมอ ยกเว้นในบางประเทศที่ไม่มีการใช้เนื้อร้องฉบับราชการ เช่น บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สเปน ซานมาริโน เป็นต้น ในจำนวนของเพลงชาติที่มีเนื้อร้องประกอบนั้น มีอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งน้อยมากที่เป็นผลงานของนักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ดังนี้ เพลง "ชนะ คณะ มนะ" ผลงานของรพินทรนาถ ฐากูร ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2454 รัฐบาลอินเดียนำมาใช้เป็นเพลงชาติเมื่อ พ.ศ. 2493 (บทประพันธ์เดิมเป็นภาษาเบงกอล แต่ขับร้องในฐานะเพลงชาติด้วยภาษาฮินดี) เพลง "อามาร์ โชนาร์ บังกลา" ("Amar Shonar Bangla") ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของรพินทรนาถ ฐากูร ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2449 รัฐบาลบังคลาเทศนำมาใช้เป็นเพลงชาติเมื่อ พ.ศ. 2515 บทกวี "ยา, วีเอลสเกอร์เดทเทลันเดท" (Ja, vi elsker dette landet - ใช่แล้ว เรารักแผ่นดินนี้) ประพันธ์โดย บียอร์สเตียร์เน มาร์ตินุส บียอร์สัน ในระหว่างปี พ.ศ. 2402 และ พ.ศ. 2411 เรียบเรียงทำนองเพลงโดย ริคาร์ด นอร์ราค และ มีการบรรเลงครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 == เพลงประจำชาติ == สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงเพลงประจำชาติไว้ในหนังสือ "เพลงชาติ" ของตนว่า == ดูเพิ่ม == รายชื่อเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Himnuszok national-anthems.net ข้อมูลเพลงชาติต่างประเทศ (ภาษาไทย)
thaiwikipedia
455
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; Schweiz; Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นรัฐชาติที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลอันตั้งอยู่ในยุโรปตะวันตก มีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลีชเทินชไตน์ มีเมืองหลวงโดยพฤตินัยคือกรุงแบร์น และมีประชากรราว 8.5 ล้านคน ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของสวิตเซอร์แลนด์อยู่ระหว่างที่ราบสูงสวิส เทือกเขาแอลป์ และเทือกเขาฌูว์รา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 41,285 ตารางกิโลเมตร (15,940 ตารางไมล์) โดยมีพื้นที่ที่เป็นแผ่นดิน 39,997 ตารางกิโลเมตร (15,443 ตารางไมล์) แม้ว่าเทือกเขาแอลป์จะครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ประชากรเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในที่ราบสูง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ซือริช เจนีวา และบาเซิล เมืองเหล่านี้เป็นที่ตั้งของสำนักงานองค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น องค์การการค้าโลก องค์การอนามัยโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) สหประชาชาติ และธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (บีไอเอส) นอกจากนี้ ท่าอากาศยานหลักของประเทศก็ตั้งอยู่ในเมืองเหล่านี้เช่นกัน สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่วางตัวเป็นกลางทางการเมืองมาหลายศตวรรษ การก่อตั้งสมาพันธรัฐสวิสเก่าเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยกลางซึ่งเป็นผลมาจากชัยชนะทางการทหารที่มีต่อออสเตรียและดัชชีบูร์กอญ ความเป็นอิสระของสวิสจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลิน ในปี ค.ศ. 1648 กฎบัตรของรัฐบาลกลางถือเป็นเอกสารสำคัญซึ่งรับรองการก่อตั้งประเทศและมีการเฉลิมฉลองในวันชาติจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่การปฏิรูปประเทศในศตวรรษที่ 16 สวิตเซอร์แลนด์ยังคงวางตัวเป็นกลางด้านสงคราม และปราศจากสงครามระหว่างประเทศนับตั้งแต่ ค.ศ. 1815 และไม่ได้เข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติจนกระทั่ง ค.ศ. 2002 อย่างไรก็ตาม สวิตเซอร์แลนด์ได้ดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศอย่างแข็งขันและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสันติภาพทั่วโลก สวิตเซอร์แลนด์เป็นแหล่งกำเนิดของสภากาชาดซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรด้านมนุษยธรรมที่เก่าแก่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของสมาคมการค้าเสรียุโรป แต่ไม่ได้เข้าร่วมสหภาพยุโรป เขตเศรษฐกิจยุโรป และยูโรโซน แต่ยังคงมีส่วนร่วมในพื้นที่เชงเกนและการค้าในยุโรปผ่านสนธิสัญญาทวิภาคี สวิตเซอร์แลนด์ประกอบไปด้วยภูมิภาคที่มีความแตกต่างภาษาและวัฒนธรรมสี่ภูมิภาคหลัก ได้แก่ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษารูมันช์ โดยประชากรส่วนใหญ่จะพูดภาษาเยอรมัน ทว่าอัตลักษณ์ประจำชาติสวิสก็มีรากฐานมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และค่านิยมร่วมกันโดยสะท้อนให้เห็นจากระบอบสหพันธรัฐ การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง และเทือกเขาแอลป์ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แทนความหลากหลายของเชื้อชาติต่าง ๆ ในภูมิภาค อัตลักษณ์นี้แผ่ขยายไปยัง ภาษา กลุ่มชาติพันธุ์ และศาสนา สวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีความมั่งคั่งสูงที่สุดชาติหนึ่ง และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงเป็นอันดับที่ 8 ของโลก และยังมีระบบการจัดเก็บภาษีและระบบสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพสูง โดยมีระบบการศึกษา การสาธารณสุข การคมนาคม และสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ และมีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง เมืองสำคัญได้แก่ ซือริช เจนีวา และบาเซิล ล้วนติดอันดับเมืองที่มีคุณภาพชีวิตประชากรสูง แม้จะมีค่าครองชีพที่สูงที่สุดในโลกก็ตาม ใน ค.ศ. 2020 สถาบันการจัดการนานาชาติได้จัดอันดับให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศอันดับหนึ่งซึ่งดึงดูดแรงงานที่มีทักษะในการเข้ามาทำงาน และสภาเศรษฐกิจโลกได้จัดอันดับให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีอัตราการแข่งขันสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก == ศัพทมูลวิทยา == ชื่อประเทศ Switzerland ในภาษาอังกฤษเกิดจากการควบคำว่า Switzer ซึ่งเป็นคำเก่าแก่ที่ใช้เรียกชาวสวิสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 เข้ากับคำว่า land จึงมีความหมายตรงตัวว่า "ดินแดนแห่งชาวสวิส" ส่วนคำคุณศัพท์ Swiss ในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า Suisse ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่นกัน คำว่า Switzer มาจากคำในภาษาถิ่นของเยอรมนีว่า Schwiizer ซึ่งใช้หมายถึงบุคคลที่มาจากเมืองชวีทซ์ เมืองหลวงของรัฐชวีทซ์ในสวิตเซอร์แลนด์และภูมิภาคใกล้เคียงซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของสมาพันธรัฐสวิสเก่า ชาวสวิสเริ่มใช้ชื่อดังกล่าวเรียกตนเองภายหลังสงครามสเวเบียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยใช้ร่วมกับศัพท์ Eidgenossen ซึ่งหมายถึง "สมาพันธรัฐ" รหัสข้อมูลของประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ (ตัว CH) ย่อมาจากวลี Confoederatio Helvetica ในภาษาละติน (แปลว่า "สมาพันธรัฐเฮลเวติก") ภูมินาม Schwyz ปรากฏหลักฐานยืนยันการใช้เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 972 ในรูปสะกด Suittes ในภาษาเยอรมันสูงเก่า ซึ่งอาจเกี่ยวข้องคำว่า swedan ซึ่งแปลว่า "เผา" (เทียบนอร์สเก่า svíða "เผา") ซึ่งหมายถึงพื้นที่ป่าที่ถูกเผาทำลายเพื่อสร้างเมืองใหม่ ในช่วงแรก ชื่อ Schwyz นี้ใช้เพื่อสื่อถึงพื้นที่ที่รัฐดังกล่าวมีอำนาจปกครอง และหลังจากสงครามสเวเบียใน ค.ศ. 1499 ก็เริ่มมีการนำมาใช้เพื่อกล่าวถึงดินแดนทั้งหมดของสมาพันธ์ ชื่อประเทศในภาษาเยอรมันแบบสวิสว่า Schwiiz มีเสียงพ้องกับชื่อของรัฐชวีทซ์และเมืองหลวง จึงต้องแยกให้ต่างกันโดยใช้คำกำกับนามชี้เฉพาะ (เรียกสมาพันธ์ทั้งมวลว่า d'Schwiiz และเรียกรัฐและเมืองชวีทซ์ว่า Schwyz) ชื่อประเทศในภาษาละตินว่า Confoederatio Helvetica เป็นคำสร้างใหม่และเริ่มมีการนำมาใช้ภายหลังการก่อตั้งสมาพันธรัฐใน ค.ศ. 1848 ซึ่งมีประวัติสืบไปถึงสมัยของสาธารณรัฐเฮลเวติกซึ่งถือเป็น "สาธารณรัฐพี่น้อง" ของฝรั่งเศสในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส โดยคำว่า Helvetica มาจากคำว่า Helvetii ซึ่งเป็นชื่อเรียกชนเผ่ากอลเก่าแก่ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงสวิสก่อนสมัยจักรวรรดิโรมัน แฮ็ลเวติอา (Helvetia) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า โกงฟ็อยแดราติโอแฮ็ลเวติกา เป็นชื่อสตรีซึ่งเปรียบเสมือนบุคลาธิษฐานของชาติ มีที่มาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยโยฮัน คัสพาร์ ไวเซินบัค ในอุปมานิทัศน์มักบรรยายถึงลักษณะของแฮ็ลเวติอาว่ามักสวมชุดยาว ถือหอกและโล่ที่ประดับด้วยธงชาติสวิส และไว้ผมถักเปีย == ภูมิศาสตร์ == === ภูมิประเทศ === พื้นที่มากกว่า 70% เป็นเขตภูเขา คือ เทือกเขาแอลป์ มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำโรน แม่น้ำตีชีโน และแม่น้ำอิน ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมีเพียงหินแกรนิต หินปูน และหินที่ใช้ในการก่อสร้างเท่านั้น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีขนาดค่อนข้างเล็กและไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางของทวีปยุโรปและมีพรมแดนติดกับหลายประเทศด้วยกัน สวิสเซอร์แลนด์ได้รับสมญานามว่า "หลังคาแห่งทวีปยุโรป" เนื่องด้วยมีเทือกเขาสูงสลับแซมด้วยดงดอกไม้ป่าและทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ และยังมีภูเขาใหญ่น้อยสลับกับป่าไม้ที่แทรกตัวอยู่ตามเนินเขา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีพื้นที่ประมาณ 41,287 ตารางกิโลเมตร และเป็นประเทศที่มีทะเลสาบมาก ลักษณะของภูมิประเทศจึงไม่ค่อยมีพื้นที่ราบ === ภูมิอากาศ === ภูมิอากาศแบบสวิสโดยทั่วไปมีอุณหภูมิปานกลาง แต่อาจแตกต่างกันมากระหว่างท้องที่ ตั้งแต่สภาพน้ำแข็งบนยอดเขาไปจนถึงภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่นทางตอนใต้ ฤดูร้อนมักจะอบอุ่นและชื้นในบางครั้งโดยมีฝนตกเป็นระยะ ๆ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ ฤดูหนาวจะมีอากาศชื้นโดยเฉพาะบนภูเขาอาจมีหิมะตกกินเวลานานเป็นสัปดาห์ ในขณะที่พื้นที่ด้านล่างมักจะประสบกับการผกผัน ของสภาพอากาศในช่วงเวลาเหล่านี้ และอาจมองไม่เห็นดวงอาทิตย์เป็นเวลาหลายสัปดาห์ == ประวัติศาสตร์ == === ยุคก่อนประวัติศาสตร์ === เมื่อ 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกกลุ่มนักล่าสัตว์และกลุ่มคนเร่ร่อนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ (Alp) ซึ่งในปัจจุบันก็คือพื้นที่บริเวณ Graubünden ใจกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ต่อมาก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อย ๆ ตามพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบต่าง ๆ จนกระทั่งเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราชชนเผ่าเคลต์ (Celt คือกลุ่มชนชาติที่พูดภาษากลุ่มเคลต์) ได้เริ่มย้ายถิ่นฐานจากทางเยอรมนีตอนใต้ เข้าไปสู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบในตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น โดยทางด้านตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่อยู่อาศัยของพวก Raetia ส่วนทางด้านตะวันตกถูกครอบครองโดยชาว Helvetii นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่น ๆ ที่กระจัดกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกเป็นจำนวนมาก คือ ชนเผ่า Lepontier ทางแคว้น Tessin ชนเผ่า Seduner ในเขต Wallis และทะเลสาบเจนีวา ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันในประมาณ 58 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชนเผ่าโรมันภายใต้การนำของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้เข้าโจมตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่น ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ช่วงนี้เองที่ได้เริ่มที่การก่อสร้างถนนหนทางและระบบผังเมืองขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น ในบริเวณเมืองบาเซิล, คูร์, เจนีวา, ซือริช ในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Avenches ในช่วงปลายของยุคสมัยโรมัน ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ศาสนาคริสต์ได้เผยแผ่เข้ามาในเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ได้มีการตั้งตำแหน่งบิชอป ขึ้นตามเมืองต่าง ๆ และเชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็ล่มสลายลงในช่วงนี้เอง หลังจากที่อาณาจักรโรมันค่อย ๆ เริ่มเสื่อมลง พวกชาวเยอรมันเผ่าต่าง ๆ ก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเข้ามาในเขตนี้แทน โดยชนเผ่าเบอร์กันดี เข้ามายึดครองบริเวณทางแถบ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ บริเวณแม่น้ำโรน และทะเลสาบเจนีวา ส่วนพวกอลามานนิค ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ (Rhein) ส่วนการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อย ๆ โดยพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในเขตเมืองต่าง ๆ รวมทั้งยังมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองซังคท์กัลเลิน และ ซือริช เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรของจักรรรดิชาร์ลมาญแห่งเยอรมันหรือเรียกว่าเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโรมันในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด) ก็ได้มีการนำระบบกฎหมายต่าง ๆ เข้ามาใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการร่างสนธิสัญญาเวอร์ดัน ขึ้นใน ค.ศ. 834 โดยพื้นที่บริเวณตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (Burgundain) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์โลทาร์ที่ 1 และทางด้านตะวันออก (Alamannic) อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ลุดวิจชาวเยอรมัน ในศตวรรษที่ 10 เมื่อระบบการปกครองแบบใช้กฎหมายเสื่อมลง พวกชนเผ่าแมกยาร์ (Magyar) ก็เข้ามาทำลายเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของเผ่าเบอร์กันดี และ อลามันนิค แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ออตโตที่ 1 ทำสงครามชนะพวกชนเผ่าแมกยาร์ใน ค.ศ. 955 ก็มีการรวมพื้นที่บริเวณของ 2 ชนเผ่าเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อีกครั้ง และยังได้มีการรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อาณาจักรนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Habsburg dynasty) ไปจนกระทั่งกษัตริย์รูดอล์ฟ ที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1291 === ยุคของอดีตสมาพันธรัฐสวิส === ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นช่วงของการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือสมาพันธรัฐสวิสอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1291 เมื่อรัฐ 3 รัฐในเขตเทือกเขาแอลป์ คือ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Conferderation หรือที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Alte Eidgenossenschaft) ซึ่งการรวมกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อต้องการแยกออกเป็นประเทศ แต่เพียงเพื่อต้องการจะต่อต้านอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก อย่างไรก็ตามการรวมกลุ่มครั้งนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ฮับส์บวร์กและมีการทำสงครามกันเรื่อยมา ในปี1315 กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นทหารของสวิสในสมัยนั้นก็ทำสงครามชนะทหารของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในสงคราม Morgaten หลังจากนั้นเมือง Zürich, Lucerne, Glarus, Zug และ Bern ก็ได้เข้าร่วมเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส และได้มีการเรียกชื่อกลุ่มการรวมตัวของรัฐ 8 รัฐนี้ว่า Schwyz ภายหลังจากการรวมตัวนี้แล้ว ก็ยังคงมีการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ อยู่เรื่อย ๆ จนเมื่อสิ้นสุด ค.ศ. 1513 ก็มีรัฐเข้าร่วมทั้งหมด 13 รัฐ ภายหลังจากที่มีการรวมตัวกันใน ค.ศ. 1513 แล้ว ก็ยังคงมีการทำสงครามกันภายในพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจุจบันอยู่เรื่อย ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสงครามทางศาสนา แต่สงครามที่ยาวนานที่สุด คือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years´War ค.ศ. 1618-48) ซึ่งในช่วงแรกของสงครามนี้เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกกับโปรแตสแตนท์ แต่ต่อมาสงครามได้ขยายวงกว้างไปเป็นสงครามการขยายอำนาจภายในทวีปยุโรป สงคราม 30 ปีสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศสันติภาพ Peace of Westphalia และสืบเนื่องมาจาก Peace of Westphalia นี้เอง ประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ประกาศแยกตัวออกจากอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1648 ในยุคที่ราชวงศ์ของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ยุโรป กองทัพของนโปเลียน (Napolean Bonaparte) ก็เข้าครอบครองสวิตเซอร์แลนด์และสถาปนาเป็นสาธารณรัฐเฮลเวติก ใน ค.ศ. 1798 ทำให้ดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาใน ค.ศ. 1803 ภายใต้การปกครองของนโปเลียนได้มีการรวบรวมรัฐต่าง ๆ ในสมาพันธรัฐสวิสอีกครั้งนอกจากนั้นยังได้สถาปนาเขต 6 เขต คือ ขึ้นเป็นรัฐใหม่ ใน ค.ศ. 1815 ได้มีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นมาใหม่ ที่คองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ขึ้น โดยมีการเพิ่มจำนวนรัฐเข้าไปอีก 3 รัฐ ในคองเกรสนี้เองได้มีการลงนามให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง คือเป็นการประกาศว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไม่ให้มีการทำสงครามกันระหว่างฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรีย และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1848 (Fereral Constitution) ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุให้เมือง Bern เป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐ โดยมีภาษาที่ใช้เป็นภาษาทางการ 3 ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี === ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 === ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางด้านการทหาร บทบาทสำคัญเพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็คือการส่งสภากาชาดเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อสงครามโลกผ่านพ้นไป กลิ่นอายแห่งสงครามกลับทำให้เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ตกต่ำลง และเริ่มฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วง ค.ศ. 1930 ยุคนี้ยังเป็นยุคแห่งการถือกำเนิดของศิลปินชื่อดังอีกด้วย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นครเจนีวาได้กลายเป็นที่ตั้งของสันนิบาตชาติ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะวางตัวเป็นกลาง นาซีเยอรมนีได้วางแผนที่จะยึดประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อเส้นทางในเทือกเขาแอลป์ระหว่างเยอรมนี-อิตาลี แต่ทางสวิตเซอร์แลนด์ได้ตักเตือนว่า ถ้ากองทัพเยอรมันบุกเข้ามายังสวิตเซอร์แลนด์ ประชาชนทั้งหมดจะลุกขึ้นต่อต้านอย่างถึงที่สุดเพราะประชาชนชาวสวิตนั้นได้เป็นทหารกันหมดแล้วและพร้อมจะระดมพลได้ทุกเมื่อ นอกจากนั้นจะระเบิดทำลายถนนเส้นทางอีกด้วย จึงทำให้นาซีเยอรมันต้องยกเลิกโจมตีไปทำให้สวิตเซอร์แลนด์สามารถรักษาความเป็นกลางและเอกราชไว้ได้ตลอดมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับมีบทบาทสำคัญในทางด้านเศรษฐกิจในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คือธนาคารของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้กลายเป็นสถานที่เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเงินผิดกฎหมายของพวกนาซีเยอรมัน ครั้งหนึ่ง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เคยมีความพยายามที่จะส่งกองทัพเยอรมันบุกสวิตเซอร์แลนด์ แม้สวิตเซอร์แลนด์จะประกาศความเป็นกลางมาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม ปฏิบัติการดังกล่าว เรียกกันว่า Operation Tannenbaum มีความพยายามตั้งแต่ ค.ศ. 1940-1944 แต่ไม่เคยมีการบุกจริง มีเพียงความเห็นของฝั่งเยอรมนีที่มองว่า ระบอบการเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ เป็นพวกอนาธิปไตยที่น่ารังเกียจ และพวกเขาคืออีกหนึ่งศัตรูที่แท้จริงของเยอรมนี เป็นสิวเสี้ยนบนใบหน้าของยุโรป และพวกเขาลืมไปแล้วพวกเขาคือส่วนหนึ่งของเรา (ชนเชื้อสายเยอรมันเป็นหนึ่งในเชื้อสายสำคัญของชาวสวิตเซอร์แลนด์) ในความเป็นจริง สวิตเซอร์แลนด์ก็มีการเตรียมรับมือกับเยอรมนีเช่นกัน เห็นได้จากค่าใช้จ่ายทางการทหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ภายหลังจากที่นาซีขึ้นครองอำนาจในเยอรมนีแล้วจาก 15 ล้านฟรังค์ เป็น 90 ล้านฟรังค์ อย่างไรก็ตาม การรบไม่เคยเกิดขึ้นจริง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศในสวิตเซอร์แลนด์ที่ยากต่อการส่งกำลังรบ รวมทั้งความวุ่นวายในแนวรบอื่น ๆ อีกทั้งความไม่แน่นอนของอิตาลี ซึ่งต่อมาถูกกองกำลังสัมพันธมิตรบุกโจมตีจากทางใต้ ทำให้แผนการ Tannenbaum ถูกยกเลิกไปในที่สุด === ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 === ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1945 ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ขึ้น โดยมีสำนักงานใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา และสำนักงานภาคพื้นยุโรปที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ในอาคารที่เคยเป็นที่ตั้งของ สันนิบาตชาติ เดิม) ประเทศหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติแต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านกลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมัยแรก เนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์ยืนยันยึดมั่นในหลักการความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด โดยองค์การสากลแห่งแรกที่สวิสเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือองค์การ UNESCO ซึ่งเข้าร่วมใน ค.ศ. 1948 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อ ค.ศ. 2002 ต่อมาใน ค.ศ. 2005 ประชาชนชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ลงประชามติเพื่อให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นประเทศในสนธิสัญญาเช็งเก็น (Schengen Agreement) ตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาเช็งเก็น นักท่องเที่ยวที่มีใบอนุญาตเช็งเก็น (Schengen Visa) แบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเช็งเก็นสามารถเดินทางเข้าออกประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มเช็งเก็นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าของประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันประเทศในกลุ่มเช็งเก็นมีด้วยกันทั้งหมด 27 ประเทศรวมทั้ง ประเทศเบลเยียม, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศอิตาลี, ประเทศลักเซมเบิร์ก, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศกรีซ, ประเทศโปรตุเกส, ประเทศสเปน, ประเทศเยอรมนี, ประเทศออสเตรีย, ประเทศฟินแลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศไอซ์แลนด์, ประเทศมอลตา, สาธารณรัฐเช็ก, ประเทศเอสโตเนีย, ประเทศฮังการี, ประเทศโปแลนด์, ประเทศสโลวาเกีย, ประเทศสโลวีเนีย, ประเทศลัตเวีย, ประเทศลิทัวเนีย ประเทศโมนาโก และ ประเทศโครเอเชีย == การเมืองการปกครอง == แต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูญและรัฐบาลท้องถิ่นของตนเองโดยมีอิสระจากการบริหารราชการของส่วนกลาง อำนาจนิติบัญญัติของสมาพันธ์ฯ อยู่ที่รัฐสภาแห่งสมาพันธ์ (Federal Assembly) === บริหาร === ในการบริหารราชการส่วนกลาง อำนาจบริหารจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรีเรียกว่า the Federal Council ซึ่งมีสมาชิกเรียกว่า Federal Councillor (มนตรีแห่งสมาพันธ์) มีทั้งหมด 7 คน ทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานในหน่วยงานระดับกระทรวง 7 แห่ง รัฐสภาแห่งสมาพันธ์เป็นผู้เลือกมนตรีแห่งสมาพันธ์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และในจำนวนมนตรีแห่งสมาพันธ์ทั้ง 7 คน จะได้รับเลือกจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ผลัดเปลี่ยนกันครั้งละหนึ่งคน เพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี โดยมีสถานะเป็น “the first among equals” ดังนั้น ประธานาธิบดีสวิสจึงไม่มีการเยือนต่างประเทศในฐานะประมุขแห่งรัฐ === นิติบัญญัติ === ซึ่งประกอบด้วยสภาแห่งชาติ (National Council) และ สภาแห่งรัฐ (Council of States) ทั้งสองสภามีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันสภาแห่งชาติ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงมีจำนวน 200 คน แต่ละรัฐจะมีจำนวนผู้แทนของตนมากน้อยตามจำนวนประชากร (1:34,000) แต่อย่างน้อยที่สุด แต่ละรัฐจะมีผู้แทน 1 คน สภาแห่งรัฐ มีจำนวนสมาชิก 46 คน โดยแต่ละรัฐมีผู้แทน 2 คน การดำเนินงานที่สำคัญของรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ กระทำผ่าน standing committees ด้านต่าง ๆ อาทิ การคลัง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และการวิจัย การทหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การคมนาคม พลังงาน ฯลฯ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา สวิตเซอร์แลนด์ได้ปกครองและบริหารโดยพรรคการเมืองหลัก 4 พรรค ได้แก่ พรรค Radical Democratic (RDP) พรรค Social Democratic Party (SDP) พรรค Christian Democratic People’s Party (CDP) และพรรค Swiss People’s Party (SVP) ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า แต่ละพรรคจะได้รับจัดสรรตำแหน่งมนตรีของสมาพันธ์พรรคละ 2 คน ยกเว้น Swiss People’s Party ได้ 1 คน นอกจากนั้น ผู้จะดำรงตำแหน่งมนตรีแห่งสมาพันธ์จะมาจาก Canton เดียวกันเกิน 1 คนไม่ได้ และเป็น ธรรมเนียมว่าจะต้องมีผู้แทนจาก 3 Canton หลัก ได้แก่ Zurich, Berne และ Vaud แห่งละ 1 คน ลักษณะพิเศษของระบบประชาธิปไตยแบบสวิสคือ อำนาจสูงสุดในทางนิติบัญญัติมิได้อยู่ที่สภาแต่อยู่ที่ประชาชนโดยตรง เพราะตามรัฐธรรมนูญประชาชนมีสิทธิในการออกเสียงประชามติ (referendum) และการริเริ่ม (initiative) กล่าวคือ กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์แล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย จะต้องรอให้ครบ 90 วันเสียก่อน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้านโดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อให้มีการจัดทำประชามติ ส่วนอำนาจในการริเริ่มของประชาชนจะสามารถใช้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 100,000 คน เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ === ตุลาการ === ด้านอำนาจตุลาการ ศาลชั้นต้นและศาลชั้นกลางจะเป็นศาลของรัฐ โดยใช้กฎหมายสมาพันธ์ร่วมด้วย และ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาโดยตรง แม้แต่ผู้พิพากษาสมทบก็อาจเป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ได้รับเลือกจากคนในท้องถิ่น ส่วนศาลฎีกาแห่งสมาพันธ์ (Federal Supreme Court) มี ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโลซานน์ เพื่อเน้นการแบ่งแยกอำนาจจากรัฐบาลกลางที่กรุงแบร์น ศาลฎีกาเป็นทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา ประกอบด้วยผู้พิพากษาประมาณ 30 คน ที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ === การแบ่งเขตการปกครอง === นับตั้งแต่ ค.ศ. 1848 สวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มใช้ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่มีลักษณะการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ อยู่ภายใต้รัฐบาลกลาง เรียกว่า สมาพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วย 26 รัฐ (Kanton; canton; cantone) ได้แก่ รัฐเหล่านี้มีประชากรเป็นจำนวนระหว่าง 15,000 คน (รัฐอัพเพินท์เซ็ลอินเนอร์โรเดิน) และ 1,253,500 คน (รัฐซือริช) และมีขนาดพื้นที่ระหว่าง 37 ตารางกิโลเมตร (รัฐบาเซิล-ชตัดท์) และ 7,105 ตารางกิโลเมตร (รัฐเกราบึนเดิน) รัฐแต่ละแห่งจะมี เทศบาล (communes, Gemeinden) รวมทั้งหมด 2,889 เขตเทศบาล ชื่อต่อไปนี้เป็นเขตปกครองที่มีดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์โอบล้อมอยู่: บือซิงเงิน (Büsingen) เป็นดินแดนของประเทศเยอรมนี และกัมปีโอเนดีอิตาเลีย (Campione d'Italia) เป็นดินแดนของประเทศอิตาลี === ประชาธิปไตยโดยตรง === ประชาธิปไตยโดยตรงและสหพันธรัฐ เป็นเอกลักษณ์ของระบบการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์ ประชาชนชาวสวิสแต่ละคนจะอยู่ใต้การปกครอง 3 ระดับ คือ เทศบาล รัฐ/แคนทอน และสหพันธรัฐ รัฐธรรมนูญปี 2391/2542 ได้กำหนดกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงหลายอย่าง การปกครองแบบนี้บางครั้งจึงเรียกว่า "ประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง" หรือ "ประชาธิปไตยโดยตรงแบบมีผู้แทน" กลไกเยี่ยงนี้ในระดับสหพันธรัฐที่เรียกว่า "สิทธิประชาชน" (popular rights, Volksrechte, droits populaires, Diritti popolari) รวมสิทธิการเสนอ "การริเริ่มเปลี่ยนรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐโดยประชาชน" และ "การขอ/ลงประชามติ" ที่สามารถล้มกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาได้ กระบวนการนี้ทำให้ประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจต่อสู้กับกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา ถ้าสามารถรวบรวมลายเซ็น 50,000 รายหลังจากที่กฎหมายประกาศใช้เป็นทางการภายใน 100 วัน ถ้าสำเร็จ ก็จะมีการจัดให้ออกเสียงทั้งประเทศ ที่ประชาชนจะตัดสินโดยเสียงข้างมากว่า จะยอมรับหรือไม่ยอมรับกฎหมาย รัฐ 8 รัฐร่วมกันยังสามารถร้องให้มีการลงประชามติต่อกฎหมายของสหพันธรัฐได้ด้วย โดยคล้าย ๆ กัน การริเริ่มเปลี่ยนรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐโดยประชาชนอนุญาตให้ประชาชนร้องให้ลงประชามติเพื่อเพิ่มบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ถ้าสามารถรวบรวมลายเซ็น 100,000 รายได้ภายใน 18 เดือน แต่รัฐบาลทั้งฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติก็สามารถเสนอการเพิ่มบทบัญญัติตอบโต้เคียงคู่กับที่ประชาชนเสนอ โดยประชาชนจะบ่งความชอบใจในบัตรเลือกตั้งเผื่อกรณีที่ข้อเสนอของประชาชนและข้อเสนอตอบโต้ทั้งสองได้คะแนนเสียงยอมรับเหมือนกัน การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเสนอโดยประชาชนหรือรัฐสภา ต้องได้คะแนนเสียงข้างมากจากทั้งประชาชนทั่วประเทศและรัฐทุกรัฐ === นโยบายต่างประเทศ === ก่อนปี 1980 นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ยึดหลักการ 4 ประการ คือ ความเป็นกลาง (neutrality) ความมีน้ำหนึ่งใจเดียว (solidarity) ความเป็นสากล (universality) และความเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (availability) ต่อมาเมื่อกิจการต่างประเทศเริ่มมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจการสาขาอื่น ๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ การเงิน สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย และการที่โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และหน่วยงานหรือ องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มมีบทบาทในกิจการต่างประเทศมากขึ้น ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศ และได้จัดทำสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 90 ซึ่งได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐบาลในปี 1993 นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์สำหรับปี 2002 สรุปได้ดังนี้ ==== การเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ==== สวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญลำดับแรกต่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญขององค์การสหประชาชาติ ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสี่พรรค ได้ให้ความเห็นชอบต่อการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าว และได้จัดการลงประชามติทั่วประเทศในวันที่ 3 มีนาคม 2002 โดยก่อนหน้านั้นเมื่อเดือนมีนาคม 1986 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ แต่ประชาชนสวิสส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงจะเสียความเป็นกลางซึ่งเป็นนโยบายหลักของประเทศตลอดมา แต่ในการลงประชามติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2002 เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนสวิสและเสียงส่วนใหญ่ของรัฐ (Canton) ได้ลงมติให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติของสมาพันธรัฐสวิส โดยผู้ลงมติเห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 54.61 ผู้ลงมติไม่เห็นด้วยร้อยละ 45.39 และรัฐ (Canton) ที่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยมีจำนวน 12 รัฐ จากจำนวนรัฐ ทั้งหมด 23 รัฐ การลง ประชามติครั้งนี้มีประชาชนออกมาใช้สิทธิร้อยละ 57.7 ทั้งนี้ สมาพันธรัฐสวิสได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก สหประชาชาติอย่างเป็นทางการและได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในช่วงการประชุมสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 57 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 ==== การเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรป ==== รัฐบาลสวิสชุดปัจจุบันได้ประกาศเป็นนโยบายแน่ชัดที่จะเข้าไปมีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศให้มากขึ้น อาทิ การจะเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และการพยายามจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์จะไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป ในปี ค.ศ. 1992 สวิตเซอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรียุโรป (European Economic Area) แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ รัฐบาลจึงหาทางออกโดยการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 เพื่อทำความตกลงทวิภาคีใน 7 สาขา คือ การเคลื่อนย้ายบุคคลและแรงงานเสรี การวิจัย การขนส่งทางบก การบิน การเปิดเสรีทางการค้า การให้สิทธิภาคเอกชนของประเทศสหภาพยุโรปและ สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปประมูลหรือดำเนินกิจกรรมที่เป็นการจัดซื้อโดยรัฐในอีกประเทศหนึ่งได้เท่าเทียมคนชาติ การลดอุปสรรคการค้าระหว่างกัน และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 1999 สวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปได้ ลงนามความตกลงดังกล่าวซึ่งสภาแห่งชาติของสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้สัตยาบันความตกลงฯ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 1999 และผ่านการลงประชามติจากประชาชนร้อยละ 62.7 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2000 รวมทั้งได้ผ่านการให้สัตยาบันจากรัฐสภาเบลเยี่ยมเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศสุดท้ายแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2001 ซึ่งหลังจากนั้น รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มการเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรปอีก 10 สาขา คือ การบริการ การจ่ายเงินบำนาญ การแปรรูปสินค้าเกษตร สิ่งแวดล้อม สถิติ การศึกษา กิจการเยาวชน บัญชีเงินฝากธนาคาร ความร่วมมือเพื่อต่อต้านการฉ้อโกง และความร่วมมือด้านการศาสนา กิจการตำรวจและการอพยพย้ายถิ่นฐาน อย่างไรก็ตาม มีกระแสเรียกร้องให้เปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปโดยทันทีเพื่อเร่งรัดการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรัฐบาลสวิสไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องนี้ เนื่องจากเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์จะพร้อมเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปในช่วงระหว่างปี 2004-2007 และอาจพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหลังปี 2010 แต่เมื่อมีประชาชน 100,000 คน เข้าชื่อเรียกร้องให้จัดการลงประชามติ รัฐบาลสวิสก็ได้จัดการลงประชามติขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2001 ผลปรากฏว่าประชาชนกว่าร้อยละ 76.7 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สนับสนุนการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรป จะเป็นชาวสวิสในเขตสวิส ฝรั่งเศส ในขณะที่ชาวสวิสเยอรมันเกินร้อยละ 85 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย ==== ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ==== รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเอเชียแปซิฟิก ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และได้เริ่มมิติใหม่ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยี แต่ นาย Deiss ได้ยอมรับว่ารัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์มีบทบาทแข็งขันในการช่วยเหลือพัฒนาประเทศเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน เนปาล ภูฐาน อินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียกลาง เช่น คีร์กิซสถาน ซึ่งความช่วยเหลือส่วนใหญ่จะทำในกรอบความร่วมมือพหุภาคีภายใต้องค์การระหว่างประเทศ และมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ (pool of experts) กว่า 600 คน ซึ่งพร้อมจะเดินทางไปให้ความร่วมมือช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี สำหรับอัฟกานิสถานนั้น สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปมีบทบาททั้งในการเจรจาด้านการเมืองและได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์การกาชาดสากล (ICRC) เป็นมูลค่ากว่า 17 ล้านฟรังค์สวิสในปี 2001 โดยให้ความสำคัญกับการ ช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของสตรี แต่จะไม่เข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพ และในครึ่งแรกของปี 2002 สวิตเซอร์แลนด์กำหนดจะเปิดสำนักงานติดต่อ (coordination Office) ที่กรุงคาบูล แต่ในขณะนี้ยังใช้ช่องทางการติดต่อผ่านสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำปากีสถาน === กองทัพ === กองกำลังสวิสประกอบด้วยกองทัพบกและกองทัพอากาศ ซึ่งมาจากทหารเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 20 ถึง 34 ปี (ในกรณีพิเศษไม่เกิน 50 ปี) สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลจึงไม่มีกองทัพเรือ อย่างไรก็ตามในทะเลสาบที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านจะใช้เรือลาดตระเวนทางทหารติดอาวุธเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยมีกฎหมายห้ามมิให้พลเมืองสวิสรับราชการในกองทัพต่างประเทศยกเว้น Swiss Guards of the Vatican หรือเว้นแต่เป็นพลเมืองสองสัญชาติในต่างประเทศและอาศัยอยู่ที่นั่น รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์มีกฎหมายอนุญาตให้ทหารทุกคนสามารถเก็บอาวุธไว้ ณ ที่พักอาศัยของตนเองได้ และถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกองกำลังอาสาเพศหญิง ซึ่งประชากรหญิงหลายคนสมัครใจเข้าร่วมกองทัพสวิสโดยทุกปีจะมีผู้เข้ารับการฝึก ณ ค่ายทหารประมาณ 20,000 คนเป็นระยะเวลา 18 ถึง 21 สัปดาห์ == เศรษฐกิจ == === ภาวะเศรษฐกิจ === ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 - 20 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลงจากร้อยละ 60 ของปี 1850 เหลือเพียงร้อยละ 30 ในปี 1911 และตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา มีแรงงานเพียงร้อยละ 5 ที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทตั้งแต่ปี 1880 และภาคบริการเริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี 1991-96 เป็นผลจากมาตรการทางการเงินที่เข้มงวด ของสวิตเซอร์แลนด์เองและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของสวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงปี 1997-99 สภาวะเศรษฐกิจสวิตเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี มาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ธนาคารชาติสวิสนำมาใช้ทำให้ค่าของเงินฟรังก์สวิตลดลงเกือบร้อยละ 10 รวมทั้งสภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยที่เอื้อให้การส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันภาวะการจ้างงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นก็ช่วยให้การบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นด้วย แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะมีค่าจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับสามของประเทศอุตสาหกรรมรองจากเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ แรงงานที่มีคุณภาพสูง บวกกับต้นทุนทางสังคมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงสุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ในปี 2000 ภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์มีการจ้างงานกว่าสองในสามของการจ้างงานทั้งหมด รายได้ประชาชาติกว่าสองในสามมาจากภาคบริการ ที่สำคัญได้แก่ ภาคบริการผู้ผลิต อาทิ บริการด้านการเงิน การประกันภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งทำรายได้ถึงหนึ่งในสาม ภาคบริการการจำหน่าย เช่น การค้า การขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ภาคบริการสังคม เช่น สุขภาพ การศึกษา ภาคราชการ บริการด้านวัฒนธรรม และ การพักผ่อน ภาคบริการบุคคล (personal services) อาทิ การท่องเที่ยว บริการต่าง ๆ สำหรับครัวเรือน และบริการรายบุคคลอื่น ๆ ภาคอุตสาหกรรมของสวิตเซอร์แลนด์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แม้ประเทศจะมีขนาดเล็กแต่มีบริษัทข้ามชาติมากมายที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ อาทิ ด้านอาหาร (Nestle) เวชภัณฑ์ (Novartis, Roche) วิศวกรรม (ABB) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ ทำรายได้จากการส่งออกสูงสุดของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคการผลิตสินค้าพวกเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและเครื่องเหล็ก การแข็งค่าของเงินฟรังก์ทำให้ภาคอุตสาหกรรมพยายามลดค่าใช้จ่ายโดยการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพสูงมากขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของสวิตเซอร์แลนด์เป็นอุตสาหกรรมที่ดีที่สุดในโลก ปัจจุบันสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่ง ในปี 2000 GDP ต่อหัว สูงถึง 33,464 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นที่สามของโลกรองจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา การเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 3.4 ในปี 2000 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบสิบปี ปี 2000 เศรษฐกิจสวิสเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมาเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และการอ่อนค่าเงินฟรังก์สวิส GDP ในปี 2543 มีอัตราร้อยละ 3.4 การส่งออกเพิ่มเป็นสองเท่าในขณะที่การนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มเป็นร้อยละ 10.3 (เทียบกับร้อยละ 9 ของปี 1999) ส่วนอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 2 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.6 กระทรวงการคลังรายงานว่า ในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2001 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 คิดเป็นมูลค่า 88,533 ล้านฟรังก์ และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 คิดเป็นมูลค่า 88,719 ฟรังก์ ขาดดุลการค้า 90.5 ล้านฟรังก์ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา === การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจปี 2000 === ธนาคาร UBS ประเมินว่า เศรษฐกิจสวิสจะเติบโตร้อยละ 1 ในปี 2002 แต่สมาพันธรัฐสวิสจะไม่ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเหมือนช่วงครึ่งแรกของ ค.ศ. 2001 ทั้งนี้ เป็นผลจากนโยบายและการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและทันการณ์ของธนาคารชาติสวิสและเนื่องจากตลาดแรงงานมีความยืดหยุ่นสูง ในไตรมาสที่สองของ ค.ศ. 2001 GDP ของสมาพันธรัฐสวิสเติบโตร้อยละ 1.7 โดยเฉลี่ยการเติบโตในแต่ละไตรมาสอยู่ประมาณร้อยละ 1.5 – 2 ซึ่งสูงกว่าเยอรมนี (-0.1) ฝรั่งเศส (1) และอิตาลี (0.1) แต่ตัวเลขการ เติบโตในครึ่งแรกของปี 2001 และดัชนีต่าง ๆ ชี้ว่าการเติบโตเริ่มช้าลง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มลดลงในไตรมาสที่สองเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าเงินฟรังก์สวิสสูงขึ้นและกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มในอัตราที่ต่ำ UBS คาดว่าปี 2002 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเหลือเพียงร้อยละ 1 และอัตราเงินเฟ้อ ค.ศ. 2002 จะเท่ากับร้อยละ 1 เพราะปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ราคาสินค้าจะไม่สูงขึ้นมาก อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง อัตราการเพิ่มค่าจ้างแรงงานก็จะช้าลง และเงินฟรังก์สวิสที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากราคาสินค้าเข้าที่เพิ่มขึ้น === การพัฒนาทางเศรษฐกิจ === สวิตเซอร์แลนด์ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศเป็นภูเขา เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น ที่สามารถทำการเพาะปลูก ซึ่งผลิตผลการเกษตรสามารถรองรับความต้องการด้านอาหารของประเทศได้เกินกว่าครึ่งหนึ่ง แต่สวิสขาดแคลนวัตถุดิบ จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกกลับไปในรูปของผลิตภัณฑ์คุณภาพ จึงต้องนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ คู่ค้าสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ได้แก่สมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development – OECD) เศรษฐกิจสวิสผูกพันกับเศรษฐกิจยุโรปอย่างมากโดยเฉพาะเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์นำเข้าจากสหภาพยุโรปร้อยละ 63 (เยอรมนีร้อยละ 23) และส่งออกไปสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 80 (เยอรมนีร้อยละ 33) สวิตเซอร์แลนด์ขาดดุลการค้าตลอดมาเว้นแต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าลดลง แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะขาดดุลการค้ากับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) แต่สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลการค้าจากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเช่น สเปน โปรตุเกส และประเทศกำลังพัฒนา เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางเวชกรรม นาฬิกา และอัญมณี เป็นสินค้าส่งออกหลักของสวิตเซอร์แลนด์ สินค้านำเข้าหลักได้แก่เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า นาฬิกา เคมีภัณฑ์ ผลผลิตทางการเกษตร โลหะ สิ่งทอ และเครื่องแต่งกาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้แรงงานที่มีคุณภาพสูงของตนแปรรูปให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง การส่งออกภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปี 1996-1999 เพิ่มประมาณร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของการส่งออกทั้งหมด การท่องเที่ยวก็เป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมบริการ สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ประชาชาติสูงสุดของโลก การได้ดุลจำนวนมากนี้เป็นผลจากการทำธุรกรรมด้านบริการ โดยเฉพาะภาคการเงิน บริษัทสวิสลงทุนในต่างประเทศมากกว่าบริษัทต่างประเทศมาลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์ประมาณ 2.5 เท่า การลงทุนทางตรงของสวิตเซอร์แลนด์ในต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ในขณะที่สหภาพยุโรปมีสัดส่วนการลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์เป็นสองในสามของการลงทุนต่างประเทศในสวิตเซอร์แลนด์ === การท่องเที่ยว === == โครงสร้างพื้นฐาน == === คมนาคม และ โทรคมนาคม === สวิตเซอร์แลนด์มีเครือข่ายถนนและทางรถไฟหนาแน่น เครือข่ายการขนส่งโดยรถไฟสาธารณะมีมีจุดเดินทางขนส่งผู้โดยสาร ความยาวรวม 24,500 กิโลเมตรและมีสถานีและจุดจอดมากกว่า 2600 แห่งทั่วประเทศ การข้ามเทือกเขาแอลป์เป็นเส้นทางสำคัญสำหรับการคมนาคมของยุโรปเนื่องจากเทือกเขาแอลป์แยกยุโรปเหนือออกจากยุโรปใต้ นักท่องเที่ยวมักเดินทางข้ามบริเวณนี้เนื่องจากมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก เครือข่ายถนนของสวิสได้รับทุนจากค่าผ่านทางถนน และภาษีรถยนต์ ระบบมอเตอร์เวย์ของสวิสต้องซื้อภาษีถนน - ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 40 ฟรังก์สวิส เพื่อใช้สัญจรทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถบรรทุก เครือข่ายมอเตอร์เวย์ของสวิสมีความยาวรวม 1,638 กิโลเมตร (ณ ปี 2000) และมีพื้นที่ 41,290 กม.2 - มีความหนาแน่นของมอเตอร์เวย์ที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ท่าอากาศยานซือริช เป็นประตูการบินระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์รองรับผู้โดยสาร 24.9 ล้านคนในปี 2013 สนามบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองได้แก่ Geneva Cointrin ในกรุงเจนีวารองรับผู้โดยสาร 14.4 ล้านคน (2013) และอันดับสามคือ EuroAirport Basel Mulhouse Freiburg ในบาเซิล มีสายการบินประจำชาติคือ สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (Swiss International Air Lines) เป็นบริษัทลูกของสายการบินลุฟต์ฮันซา มีฐานการบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานซือริช ให้บริการสู่จุดหมายปลายทางในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชีย สวิสอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นหนึ่งปีหลังจากสายการบินสวิสแอร์ล้มละลายเมื่อปี 2001 === วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี === === สาธารณสุข === ชาวสวิสมักซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทประกันเอกชนซึ่งมีคุณภาพสูง และมีรายงานว่าผู้ป่วยโดยทั่วไปพอใจกับคุณภาพประกันเหล่านี้ ในปี 2012 อายุเฉลี่ยของประชากรคือ 80.4 ปีสำหรับผู้ชายและ 84.7 ปีสำหรับผู้หญิง ซึ่งมากที่สุดในโลก สวิตเซอร์แลนด์มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพคิดเป็น 11.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ปี 2010) เทียบเท่ากับเยอรมนีและฝรั่งเศส (11.6%) และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป และเป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา (17.6%) และการใช้จ่ายด้านสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อนับตั้งแต่ปี 1990 โดยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคุณภาพการสาธารณสุขที่ดีที่สุดชาติหนึ่ง มีการรายงานว่าประมาณหนึ่งในหกของชาวสวิสป่วยเป็นโรคซึมเศร้า === การศึกษา === ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ถูกกล่าวถึงว่ามีระบบการศึกษาที่ดีแห่งหนึ่งของโลกเนื่องจากรัฐแต่ละรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริการทางศึกษา ระดับอนุบาล มัธยมศึกษา มหาวิทยาลัย ทำให้การศึกษานี้อาจจะแตกต่างกันในระหว่างรัฐ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีมหาวิทยาลัยรวม 11 แห่ง ซึ่ง 9 แห่งดำเนินการโดยรัฐต่าง ๆ อีก 2 แห่งดำเนินการโดยสมาพันธรัฐ โดยแบ่งระดับการศึกษาออกดังต่อไปนี้: 1. ระดับอนุบาล เด็ก ๆ ชาวสวิสไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าเรียนระดับอนุบาลหรือผู้ปกครองอาจจะให้บุตรหลานเข้าเรียนระดับอนุบาลเป็นเวลา 1 ปีหรือ 2 ปีก็ได้ 2. ระดับประถมศึกษา เป็นระบบการศึกษาภาคบังคับ โดยก่อนที่นักเรียนจะเข้าเรียนโรงเรียนประถมศึกษา นักเรียนส่วนใหญ่มักจะเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลก่อน 3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยทั่วไปจะต่อจากประถมศึกษาอีก 3 ปี (เกรด 7 ถึงเกรด 9) แต่ในบางรัฐระดับนี้จะต่อจากประถมศึกษาอีก 5 ปี โดยเริ่มต้นที่เกรด 5 และบางรัฐจะต่อจากประถมศึกษาอีก 4 ปี (โดยเริ่มต้นที่เกรด 6) ในระดับนี้จะให้การศึกษาโดยทั่วไป และเตรียมตัวสำหรับนักเรียนที่จะเข้าเรียนการศึกษาสายอาชีวะระดับพื้นฐาน หรือสำหรับนักเรียนที่จะโอนเข้าสู่โรงเรียนสายสามัญในระดับมัธยมปลาย 4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับนี้จะแยกระหว่างนักเรียนที่ต้องการเรียนสายสามัญและสายอาชีวะ โดยนักเรียนที่เรียนสายสามัญจะเลือกเรียนได้ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (Matura School / Gymnasien) หรือโรงเรียนเฉพาะทาง (Specialised Middle Schools / Fachmittelschulen) ส่วนนักเรียนที่ต้องการจะมุ่งสู่สายอาชีพโดยตรงจะเข้าสู่การศึกษาในสายอาชีวะซึ่งระบบการศึกษาอาชีวะจะขึ้นตรงต่อกฎหมายตามรัฐบาลกลางของประเทศ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (Matura School / Gymnasien) ตั้งอยู่ในรัฐทุกรัฐของประเทศ นักเรียนจะเริ่มสมัครเรียนได้เมื่อจบเกรด 9 หรือเกรด 10 (อายุ 13/14 ปี) จากนั้นจึงเรียนต่อ 4 ปีในกรณีส่วนใหญ่ และในบางรัฐที่ใช้ภาษาเยอรมันในการสื่อสารอาจะมีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่เริ่มตั้งแต่เกรด 7 (Langzeitgymnasium; ใช้ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี) หลังจากผ่านการสอบในระดับเตรียมอุดมศึกษาแล้ว นักเรียนจะได้รับใบรับรองจากทางโรงเรียนซึ่งสามารถนำใบรับรองนี้เป็นเอกสารในการเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือมหาวิทยาลัยครู โรงเรียนเฉพาะทาง (Specialised Middle Schools / Fachmittelschulen) เป็นโรงเรียนทางด้านสายสามัญซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและในระดับการศึกษาทางอาชีพ ซึ่งเหมาะสำหรับนักเรียนที่จะเตรียมตัวเข้าเรียนในระดับสายอาชีพในวิทยาลัยอาชีวะระดับสูง และในมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยสาขาที่เข้าเรียนได้แก่ สาขาสุขภาพและการทำงานเพื่อสังคม, การศึกษาและการออกแบบ, ศิลปะ โดยจะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 3 ปี 5. ระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระดับอาชีวะขั้นสูง (Higher Vocational Education and Training) ให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษานอกมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการศึกษาในสวิสซึ่งหาได้ยากในประเทศอื่น ๆ โดยหลักสูตรการเรียนจะเป็นสายอาชีพและบทบาทความเป็นผู้นำ เพื่อฝึกพนักงานและบุคคลที่ผ่านการศึกษาอาชีวะระดับพื้นฐานแล้ว == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2012 ประชากรประมาณ 8.703 ล้านคน เป็นชาวสวิตเยอรมันร้อยละ 65 สวิตฝรั่งเศสร้อยละ 18 สวิตอิตาเลียน ร้อยละ 10 รูมันช์ ร้อยละ 1 อื่น ๆ ร้อยละ 9 === ศาสนา === ประชาชนร้อยละ 48 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 44 นับถือนิกายโปรเตสแตนท์ ร้อยละ 8 นับถือศาสนาอื่น ๆ === ภาษา === ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีภาษาราชการทั้งสิ้น 4 ภาษาได้แก่ ภาษาเยอรมัน (ร้อยละ 64) เป็นภาษาที่มีการพูดกว้างขวางที่สุดในประเทศ ทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 19 รัฐใน 26 รัฐ, ภาษาฝรั่งเศส (ร้อยละ 19) คนส่วนใหญ่ที่พูดภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้นจะอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศ โดยมี 4 รัฐด้วยกันคือ เจนีวา, ฌูรา, นิดวัลเดิน และโว และมีอีก 3 รัฐ (แบร์น, ฟรีบูร์ และวาเล) ที่ใช้ทั้งภาษาเยอรมันและฝรั่งเศสในการสื่อสาร, ภาษาอิตาลี (ร้อยละ 8) ทางภาคใต้ในรัฐตีชีโน และอีก 4 หมู่บ้านทางใต้ของรัฐเกราบึนเดิน และภาษารูมันช์ (ร้อยละ 1) (Rhaeto-Romanic – ภาษาละตินโบราณ) ส่วนใหญ่ใช้ในรัฐเกราบึนเดินซึ่งใช้ภาษาในการสื่อสารมากถึง 3 ภาษา (ภาษารูมันช์, ภาษาเยอรมัน และภาษาอิตาลี) ภาษารูมันช์นั้นคล้ายกับภาษาอิตาลีและฝรั่งเศสซึ่งมีรากฐานของภาษามาจากละติน นอกจากนี้สวิตเซอร์แลนด์ยังถือว่าเป็นชาติที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี == วัฒนธรรม == === แหล่งมรดกโลก === ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญและได้รับการจัดให้เป็นมรดกโลกทั้งสิ้น 12 แห่ง โดยแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ คอนแวนต์นักบุญจอห์นของคณะเบเนดิกตินที่มึชไตร์, คอนแวนต์แซ็ง-กาล, กรุงแบร์น (เมืองหลวงของประเทศ), ปราสาทสามหลัง กำแพง และแนวป้องกันของเมืองตลาดนัดแห่งเบลลินโซนา, ลาโว ไร่องุ่นขั้นบันได, ทางรถไฟสายรีเชียในภูมิทัศน์แม่น้ำอัลบูลา / แบร์นีนา, ลาโช-เดอ-ฟง, แหล่งที่อยู่อาศัยแบบเรือนยกพื้นยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยรอบเทือกเขาแอลป์ และงานสถาปัตยกรรมของเลอกอร์บูซีเย นอกจากนี้ยังมีมรดกโลกทางธรรมชาติอีก 3 แห่งได้แก่ ยุงเฟรา-อาเลทช์ ภูเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์, มอนเตซานจอร์โจ และแอ่งแปรสันฐานซาร์โดนา ===สถาปัตยกรรม === สถาปัตยกรรมถือได้ว่าเป็นจุดเด่นอีกด้านหนึ่งของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและยังคงความสมบูรณ์แบบ สถาปัตยกรรมโกธิคตามโบสถ์ในเมืองต่าง ๆ เช่น โบสถ์เมืองแบร์นเป็นต้น นอกจากนั้นยังมีสถาปัตยกรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอก ซึ่งสามารถพบเห็นได้บริเวณทะเลสาบเจนีวาซึ่งมีพื้นที่ติดกับประเทศฝรั่งเศส ===ดนตรี === === วรรณกรรม === เนื่องจากสมาพันธรัฐซึ่งก่อตั้งในปี 1291 เกือบทั้งหมดประกอบด้วยภูมิภาคที่พูดภาษาเยอรมัน วรรณคดีรูปแบบแรกสุดจึงเป็นภาษาเยอรมัน ในศตวรรษที่ 18 ฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาที่ทันสมัยในแบร์นและที่อื่น ๆ ในบรรดานักเขียนคลาสสิกของวรรณคดีเยอรมันสวิส ผู้ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ได้แก่ Jeremias Gotthelf (1797–1854) และ Gottfried Keller (1819–1890) รวมถึงผู้ประพันธ์วรรณคดีสวิสในศตวรรษที่ 20 คือ Max Frisch (1911–91) และ Friedrich Dürrenmatt (1921–90) วรรณกรรมเยาวชนที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ ไฮดี้ เรื่องราวของเด็กกำพร้าที่อาศัยอยู่กับคุณปู่ของเธอในเทือกเขาแอลป์ เป็นหนึ่งในหนังสือเด็กที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ Johanna Spyri (1827–1901) ผู้แต่งได้เขียนหนังสือเล่มอื่น ๆ อีกหลายเล่มในเนื้อหาที่มีลักษณะคล้ายกัน === กีฬา === การเล่นสกี สโนว์บอร์ด และการปีนเขาเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ ธรรมชาติของประเทศมีความเหมาะสมเป็นพิเศษสำหรับกิจกรรมดังกล่าว การแข่งขันสกีระดับโลกครั้งแรกจัดขึ้นที่ Mürren (1931) และ St. Moritz (1934) และยังเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่สองในปี 1928 และครั้งที่ห้าในปี 1948 กีฬาที่มีคนดูมากที่สุด ได้แก่ ฟุตบอล ฮ็อกกี้น้ำแข็ง สกีอัลไพน์ "ชวิงเก้น" และเทนนิส โดยมีนักเทนนิสที่มีชื่อเสียงระดับโลกและประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์คือ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ อดีตมือวางอันดับหนึ่งของโลกซึ่งชนะเลิศแกรนด์สแลม 20 สมัย และยังเป็นเจ้าของสถิติโลกมากมาย เช่น การครองตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งจำนวน 237 สัปดาห์ติดต่อกัน และชนะเลิศแกรนด์สแลมวิมเบิลดัน 8 สมัย และมีนักเทนนิสที่มีชื่อเสียงอีกได้แก่ สตาน วาวรีงกา และ มาร์ติน่า ฮินกิส ซึ่งเคยชนะเลิศแกรนด์สแลม ทีมเทนนิสชายของสวิตเซอร์แลนด์ยังเคยคว้าแชมป์โลกในรายการเดวิสคัพ 1 สมัยในปี 2014 สำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติและฮ็อกกี้น้ำแข็ง (FIFA และ IIHF) ตั้งอยู่ในซือริช สำนักงานใหญ่ของสหพันธ์กีฬานานาชาติหลายแห่งยังตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ เช่น คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) พิพิธภัณฑ์โอลิมปิกของ IOC และศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา (CAS) ตั้งอยู่ในโลซาน สวิตเซอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1954 และเป็นเจ้าภาพร่วมกับออสเตรียในการแข่งขันยูโร 2008 ลีกอาชีพสูงสุดคือ Swiss Super League และประเทศนี้ยังเป็นที่ตั้งของสนามฟุตบอลที่สูงที่สุดของยุโรปที่ความสูง 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ชื่อว่า Ottmar Hitzfeld Stadium ทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์เคยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 11 สมัย และเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย 3 ครั้ง และยังมีส่วนร่วมในฟุตบอลยูโรอีก 5 สมัย มีสโมสรชั้นนำได้แก่ สโมสรบาเซิล, สโมสรลูเซิร์น และ เบเอ็สเซ ยังบอยส์ กีฬาอื่นที่กระจายตัวตามท้องถื่น ได้แก่ มวยปล้ำสวิสหรือ "ชวิงเกน" เป็นประเพณีเก่าแก่จากเขตภาคกลางในชนบทและถือว่าเป็นกีฬาประจำชาติโดยคนบางกลุ่ม รวมถึง Hornussen เป็นกีฬาพื้นเมืองของสวิสอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเปรียบเสมือนการผสมผสานระหว่างเบสบอลกับกอล์ฟ (ใช้ไม้ตีลูกเพื่อทำคะแนน) ===อาหาร === สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางด้านอาหารมาจากหลากหลายเชื้อชาติ เช่น อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส และเป็นประเทศที่ผลิตนมและชีสที่ได้คุณภาพระดับโลก ทำให้อาหารของที่นี่จะมีเนยและชีสเป็นส่วนประกอบในเกือบทุกเมนู อาหารของสวิตเซอร์แลนด์จะเน้นที่รสชาติที่ดีเลิศที่มาจากคุณภาพที่ดีของวัตถุดิบ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในอดีตเป็นเมืองเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกมันฝรั่งและการทำชีส ซึ่งชีสสวิสที่มีชื่อเสียงอย่างมาก นั่นคือ Emmental Cheese, Gruyère, Vacherin, และ Appenzeller นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบที่มีชื่อเสียงอย่างมากนั่นคือช็อคโกแล็ต ช็อคโกแล็ตสวิสมีหลากหลายขนาด, รูปร่าง และกลิ่น และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในช็อคโกแล็ตที่ดีที่สุดในโลกด้วยการควบคุมคุณภาพในโรงงานผลิตและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทางสมาคมผู้ผลิตช็อคโกแล็ตสวิส (Chocosuisse) เคยกล่าวไว้ว่าชาวสวิสเป็นผู้ที่บริโภคช็อคโกแล็ตมากที่สุดในโลก สวิตเซอร์แลนด์มีอาหารที่มีชือเสียงระดับมากมาย เช่น ฟงดูว์ชีส (Cheese Fondue), โรสตี (Rösti, มันฝรั่งหั่นฝอย ผสมกับชีสที่ละลายแล้ว), Basler Leckerli (ขนมของเมือง Basel บิสกิสแบบดั้งเดิมของประเทศสวิตเซอร์แลนด์), Zürcher Geschnetzeltes (เนื้อลูกวัวย่าง), พายตับบด,พายเนื้อบด (Luzerner Chugelipastete) == หมายเหตุและอ้างอิง == === หมายเหตุ === === อ้างอิง === == บรรณานุกรม == Church, Clive H. (2004) The Politics and Government of Switzerland. Palgrave Macmillan. . Dalton, O.M. (1927) The History of the Franks, by Gregory of Tours. Oxford: The Clarendon Press. Fahrni, Dieter. (2003) An Outline History of Switzerland. From the Origins to the Present Day. 8th enlarged edition. Pro Helvetia, Zürich. von Matt, Peter: Das Kalb vor der Gotthardpost. Zur Literatur und Politik in der Schweiz. Carl Hanser Verlag, München, 2012, , S. 127–138. Historical Dictionary of Switzerland. Published electronically (1998–) and in print (2002–) simultaneously in three of the national languages of Switzerland: DHS/HLS/DSS online edition in German, French and Italian == แหล่งข้อมูลอื่น == The Federal Authorities of the Swiss Confederation Tourism ส ประเทศในระบบซีวิลลอว์ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ส
thaiwikipedia
456
ภาษาทมิฬ
ภาษาทมิฬ (தமிழ், , , ) เป็นภาษาดราวิเดียนคลาสสิกที่พูดโดยชาวทมิฬในอนุทวีปอินเดีย และชาวมัวร์ศรีลังกา ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการในรัฐทมิฬนาฑูของประเทศอินเดีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ และในดินแดนสหภาพปุฑุเจรี ภาษานี้ยังเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในรัฐอินเดียตอนใต้ 4 รัฐ คือ รัฐเกรละ, รัฐกรณาฏกะ, รัฐอานธรประเทศ และรัฐเตลังคานา กับดินแดนสหภาพหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ นอกจากนี้ ยังมีผู้พูดเป็นชาวทมิฬพลัดถิ่นในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย, พม่า, แอฟริกาใต้, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ, แคนาดา, ออสเตรเลีย และมอริเชียส ภาษานี้ได้รับการบรรจุลงในหนึ่ง 22 ภาษาในกำหนดของรัฐธรรมนูญอินเดีย ภาษาทมิฬเป็นภาษาแรกที่ได้รับการจัดประเภทเป็นภาษาคลาสสิกของอินเดีย ภาษาทมิฬเป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกที่คงอยู่นานที่สุดในโลก A. K. Ramanujan กล่าวถึงภาษานี้เป็น "ภาษาเดียวในอินเดียสมัยใหม่ที่สืบต่ออย่างต่อเนื่องจากอดีต" รูปแบบและคุณภาพของวรรณกรรมทมิฬคลาสสิกทำให้มีการกล่าวถึงเป็น "หนึ่งในธรรมเนียมและวรรณกรรมคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก" โดยมีการบันทึกวรรณกรรมทมิฬมากกว่า 2000 ปี Sangam literature วรรณกรรมภาษาทมิฬยุคแรกสุด มีอายุ 300 ปีก่อนคริสตศักราชถึง ค.ศ. 300 มีวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน บันทึกคำจารึกแรกสุดที่พบบนศิลาจารึกและศิลาวีรบุรุษ สืบต้นตอประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช กรมสำรวจโบราณคดีแห่งอินเดียระบุว่าจากจารึกที่พบ 100,000 อัน มี 6,000 อันอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู และในจำนวนนั้นส่วนใหญเขียนด้วยภาษาทมิฬ โดยมีภาษาอื่น ๆ เพียงประมาณ 5% นอกจากนี้ ยังมีผู้พบจารึกภาษาทมิฬที่เขียนด้วยอักษรพราหมีในประเทศศรีลังกา และในสินค้าที่ประเทศไทยและอียิปต์ เอกสารตัวเขียนแรกสุดสองอันจากอินเดีย ที่ทางความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโกให้การยอมรับและบรรจุใน ค.ศ. 1997 และ 2005 เขียนด้วยภาษาทมิฬ ใน ค.ศ. 1578 มิชชันนารีชาวโปรตุเกสตีพิมพ์ Thambiran Vanakkam หนังสือสวดมนต์ภาษาทมิฬในอักษรทมิฬเก่า ทำให้ภาษาทมิฬเป็นภาษาอินเดียภาษาแรกที่มีการพิมพ์และตีพิมพ์ Tamil Lexicon ที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยมัทราส เป็นหนึ่งในพจนานุกรมรุ่นแรกในบรรดาภาษาอินเดีย ตามรายงานจากการสำราจใน ค.ศ. 2001 มีหนังสือพิมพ์ 1,863 ฉบับที่ตีพิมพ์ในภาษาทมิฬ ในจำนวนนี้มี 353 ฉบับที่ตีพิมพ์ทุกวัน == การจัดอันดับ == ภาษาทมิฬอยู่ในสาขาทางใต้ของตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นตระกูลที่มีภาษาประมาณ 26 ภาษาในอนุทวีปอินเดีย และยังจัดเป็นส่วนหนึ่งของภาษากลุ่มทมิฬ เนื่องจากเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์-ภาษาประมาณ 35 กลุ่ม เช่น Irula และ Yerukula (ดู SIL Ethnologue) ญาติหลักที่ใกล้ชิดที่สุดของภาษาทมิฬคือภาษามลยาฬัม โดยสองภาษานี้เริ่มแยกจากกันประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงแม้ว่าความแตกต่างหลายอย่างระหว่างภาษาทมิฬและมลยาฬัมแสดงให้เห็นถึงการแยกในอดีตของภาษาย่อยตะวันตก ภาษามลยาฬัมยังไม่เป็นภาษาของตนเองจนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือ 14 == ประวัติ == Bhadriraju Krishnamurti รายงานว่า ภาษาทมิฬสืบทอดจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม จากการฟื้นฟูทางภาษาศาสตร์ (Linguistic reconstruction) กล่าวแนะว่าภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมมีผู้พูดประมาณสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชในภูมิภาครอบ ๆ ลุ่มแม่น้ำโคทาวรีตอนล่างในคาบสมุทรอินเดีย พยานวัตถุในบริเวณนั้นกล่าวแนะว่าผู้พูดภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมมีวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับยุคหินใหม่ในอินเดียตอนใต้ บันทึกแรกสุดในภาษาทมิฬเก่าคือจารึกสั้นใน 905 ถึง 696 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่ Adichanallur ในบรรดาภาษาอินเดีย ภาษาทมิฬมีวรรณคดีอินเดียที่ไม่ใช่ภาษาสันสกฤตที่เก่าแก่ที่สุด นักวิชาการแบ่งประวัติภาษานี้ออกเป็นสามช่วง: ทมิฬเก่า (600 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 700), ทมิฬกลาง (ค.ศ. 700 – 1600) และทมิฬใหม่ (ค.ศ. 1600 – ปัจจุบัน) ใยเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 จากการขุดค้นที่ Quseir-al-Qadim เผยให้เห็นเครื่องปั้นดินเผาอียิปต์ที่มีจารึกภาษาทมิฬพราหมีที่สืบต้นกำเนิดถึงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช มีจำนวนคำยืมภาษาทมิฬในภาษาฮีบรูไบเบิลปรากฎอย่างชัดเจนที่สืบถึงก่อน 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นการรับรองภาษาที่เก่าแก่ที่สุด จอห์น กายกล่าวว่า ภาษาทมิฬเคยเป็นภาษากลางของนักเดินเรือจากอินเดียช่วงแรก ในช่วง ค.ศ. 2017 ถึง 2018 มีการพบโบราณวัตถุ 5,820 ชิ่นที่ Keezhadi โดยมีการส่งโบราณวัตถุไปยัง Beta Analytic ที่ไมแอมี รัฐฟลอริดา เพื่อหาปีที่ผลิตด้วย Accelerator Mass Spectrometry (AMS) ตัวอย่างหนึ่งมีจารึกภาษาทมิฬ-พราหมีที่อ้างว่าสร้างขึ้นประมาณ 580 ปีก่อนคริสต์ศักราช === ตำนาน === รายงานจากตำนานฮินดู พระศิวะทรงสร้างชาวทมิฬ หรือในบุคลาธิษฐานของ Tamil Thāi (มารดาทมิฬ) พระมุรุกันได้รับการยกย่องเป็นเทพของชาวทมิฬ กับฤๅษี Agastya นำภาษานี้ให้กับประชาชน === ภาษาทมิฬโบราณ === จารึกภาษาทมิฬที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 243 เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมีที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ไวยากรณ์ที่เก่าที่สุดคือ โตลกาปปิยัม (Tolkāppiyam) ซึ่งบรรยายเกี่ยวกับกวีและไวยากรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคคลาสสิกของภาษานี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 243 – 1043 วรรณคดีในยุคสันคัม พบบทกวีกว่า 50,000 บรรทัด เขียนโดยกวี 473 คน รวมทั้งกวีที่เป็นสตรีด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการขับร้อง ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ === ภาษาทมิฬยุคกลาง === ยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือรามายณะภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19–21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็นสันสกฤตมากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา === ภาษาทมิฬยุคใหม่ === ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดขบวนการทมิฬบริสุทธิ์เรียกร้องให้นำส่วนที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ออกไปจากภาษาทมิฬ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคดราวิเดียนและนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชของทมิฬ มีการแทนที่คำยืมจากภาษาสันสกฤตด้วยคำจากภาษาทมิฬที่มีความหมายเหมือนกัน == การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ == ภาษาทมิฬเป็นภาษาหลักในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดียและจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และใช้พูดโดยชนกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่อื่น ๆ ของทั้งสองประเทศนี้ เช่น รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ รัฐอานธรประเทศ และรัฐมหาราษฏระของอินเดีย รวมทั้งโคลอมโบและทางตะวันออกของศรีลังกา จากการอพยพของสมัยอาณานิคมทำให้ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาทมิฬกระจายไปในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม แอฟริกาใต้ และมอริเชียส นอกจากนั้นยังพบบ้างในกายอานา ฟีจี ซูรินาม ตรินิแดดและโตเบโก คนเหล่านี้เป็นคนที่พูดภาษาทมิฬมาก่อน แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปพูดภาษาอื่น และยังมีผู้อพยพจากอินเดียและศรีลังกาไปอยู่ที่แคนาดา สหรัฐ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันตก == สถานะทางกฎหมาย == ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑู และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาในกำหนดรายการที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย ภาษานี้เป็นภาษาราชการร่วมในดินแดนสหภาพปุฑุเจรีและหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ภาษาทมิฬยังเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศศรีลังการ่วมกับภาษาสิงหล ภาษาทมิฬเคยมีสถานะทางการในรัฐหรยาณา ถึงแม้ว่าจะไม่มีผู้พูดภาษาทมิฬในรัฐนี้ ภายหลังเปลี่ยนไปใช้ภาษาปัญจาบใน ค.ศ. 2010 ในประเทศมาเลเซีย มีโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล 543 แห่งสอนเป็นภาษาทมิฬ นอกจากนี้ หลังการจัดตั้งสถานะทางกฎหมายสำหรับภาษาคลาสสิกโดยรัฐบาลอินเดียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 และหลังการรณรงค์ทางการเมืองที่สมาคมทมิฬบางส่วนสนับสนุน ภาษาทมิฬกลายเป็นภาษาแรกที่ได้รับการยอมรับเป็นภาษาคลาสสิกตามกฎหมายของอินเดีย ซึ่งประกาศโดยอับดุล กลาม ประธานาธิบดีอินเดียที่มีชาวทมิฬเอง ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2004 == สำเนียง == === ความแปรผันของคำยืม === สำเนียงของภาษาทมิฬในรัฐเกรละมีคำยืมจากภาษามลยาฬัมมาก และได้รับอิทธิพลจากการเรียงประโยคของภาษามลยาฬัม สำเนียงของกลุ่มผู้นับถือนิกายไวษณพ ซึ่งอพยพไปอยู่รัฐกรณาฏกะได้พัฒนาสำเนียงเป็นของตนเอง ภาษาทมิฬในศรีลังกามีคำยืมจากภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกสและภาษาดัตช์ด้วย === ความผันแปรของท้องถิ่น === ความแตกต่างของภาษาทมิฬขึ้นกับการเปลี่ยยนแปลงการออกเสียงที่ต่างไปจากภาษาทมิฬโบราณ เช่นคำว่า ที่นี่ (iṅku) ในสำเนียงคลาสสิกกลายเป็น iṅkū ในสำเนียงโกนคู inga ในสำเนียงธันชวูร์ และ iṅkai ในบางสำเนียงของศรีลังกา คำว่า iṅkaṇ ในภาษาทมิฬโบราณเป็นแหล่งที่มาของ iṅkane ในสำเนียงติรูเนลเวลี ภาษาทมิฬโบราณ iṅkaṭṭu เป็นที่มาของ iṅkuṭṭu ในสำเนียงมาดูไร และ iṅkaṭe ในสำเนียงทางเหนืออื่น ๆ แม้ว่าปัจจุบันในโจอิมบาตอเรจะเป็นปกติที่จะได้ยิน akkaṭṭa ซึ่งหมายถึงสถานที่นี้ สำเนียงของภาษาทมิฬไม่ได้ต่างกันทางด้านคำศัพท์มากนัก สำเนียงในศรีลังกายังคงรักษาคำศัพท์และรูปแบบไวยากรณ์ที่ไม่พบในการพูดในชีวิตประจำวันในอินเดียและใช้คำบางคำต่างไปบ้าง == ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน == ภาษาทมิฬมีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น รูปแบบวรรณคดีคลาสสิกที่มาจากภาษายุคโบราณ (สันกัตตามิฬ) รูปแบบการเขียนสมัยใหม่และเป็นทางการ (เจนตามิฬ) และรูปแบบสมัยใหม่สำหรับการพูด (โกฎูนตามิฬ) แต่ละรูปแบบอาจมีลักษณะร่วมกัน เช่น เป็นไปได้ที่จะเขียนแบบเจนตามิฬโดยใช้รูปศัพท์ที่ต่ำกว่า เรียกเจญกัตตามิฬ หรือใช้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งกับโกฎูนตามิฬ ในปัจจุบัน เจนตามิฬเป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในการเขียนและพูดอย่างเป็นทางการและเป็นภาษาในตำรา โกฎูนตามิฬเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเริ่มนำมาใช้ในภาพยนตร์และการหาเสียงของนักการเมืองทำให้เกิดการพูดแบบมาตรฐานที่ไม่เป็นทางการขึ้น ในอินเดีย มาตรฐานของโกฎูนตามิฬขึ้นกับการพูดของผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์และระดับการศึกษา แต่ได้รับอิทธิพลจากสำเนียงธันชวูร์และมาดูไร ส่วนในศรีลังกามาตรฐานขึ้นกับสำเนียงจาฟนา == ระบบการเขียน == อักษรทมิฬมีสระ 12 ตัว พยัญชนะ 18 ตัวและเครื่องหมายพิเศษคืออายตัม สระและพยัญชนะประสมกันได้รูปแบบผสม 216 แบบ ทำให้มีทั้งหมด 247 แบบ พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็น /อะ/ ซึ่งเอาออกได้โดยเติมปุลลิซึ่งเป็นจุดอยู่ใต้พยัญชนะ ไม่มีการแยกเสียงโฆษะและอโฆษะ นอกจากอักษรมาตรฐานแล้ว ยังมีอักษรอีก 6 ตัวมาจากอักษรครันถ์ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในหมู่ชาวทมิฬ และใช้แสดงเสียงที่ไม่ใช่เสียงพื้นฐานของภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต ภาษาปรากฤต และภาษาอื่น ๆ === สระ === สระในภาษาทมิฬเรียกอูยิเรฬุตตุ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น (กุริล) 5 เสียง เสียงยาว 5 เสียงและสระประสม (/ไอ/และ/เอา/) และสระที่ถูกทำให้สั้น (กุรริยัล) 3 เสียง สระเสียงยาว (เนฏิล) มีเสียงยาวเป็นสองเท่าของสระเสียงสั้น สระประสมออกเสียงเป็น 1.5 เท่าของสระเสียงสั้น แต่ในตำราไวยากรณ์มักเอาไปรวมกับสระเสียงยาว === พยัญชนะ === พยัญชนะในภาษาทมิฬเรียกว่าเมยเยฬุตตุ แบ่งเป็นสามหมวดคือ เสียงหนัก (วาลิณัม) เสียงเบาหรือเสียงนาสิก (เมลลิณัม) และเสียงกลาง (อิฏายิณัม) ภาษาทมิฬต่างจากภาษาอื่นๆในอินเดียที่ไม่แยกเสียงมีลมและไม่มีลม เสียงนาสิกส่วนมากเป็นเสียงโฆษะ ภาษาทมิฬมีเสียงม้วนลิ้น (ฬ) ซึ่งในตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วยกันพบในภาษามลยาฬัม หายไปจากการออกเสียงภาษากันนาดาเมื่อราว พ.ศ. 1543 แต่ยังมีอักษรใช้อยู่ และไม่พบในภาษาเตลูกู === อายตัม === ในภาษาทมิฬคลาสสิก มีหน่วยเสียงอายตัม เขียนเป็น ‘ஃ' ซึ่งไวยากรณ์ในยุคนั้นแยกเป็นหน่วยเสียงหนึ่ง แต่พบน้อยในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ในตำราไวยากรณ์ยุคคลาสสิกกล่าวว่าอายตัมเปลี่ยนเสียงที่เข้ารวมด้วยให้เป็นเสียงจากเส้นเสียงหรือใช้เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ ส่วนในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ใช้เปลี่ยน pa เป็น fa เมื่อเขียนภาษาอังกฤษด้วยอักษรทมิฬ === ตัวเลขและเครื่องหมายอื่น ๆ === == ไวยากรณ์ == บทความหลัก:ไวยากรณ์ภาษาทมิฬ ไวยากรณ์ภาษาทมิฬส่วนใหญ่ได้บรรยายไว้ในตำราไวยากรณ์เก่าสุด "โตลกาปปิยัม" การเขียนภาษาทมิฬสมัยใหม่ใช้ตามตำราไวยากรณ์ เมื่อราว พ.ศ. 1800 Nannūl ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากโตลกาปปิยัมบ้าง ภาษาทมิฬโบราณแบ่งเป็น5ส่วนคือ eluttu, col, porul, yāppu และ ani สองส่วนหลังมักใช้ในวรรณคดี ภาษาทมิฬเป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับตระกูลภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ คำภาษาทมิฬประกอบด้วยรากศัพท์ ซึ่งจะต่อท้ายด้วยปัจจัย 1 ตัวหรือมากกว่า ปัจจัยเหล่านี้มีทั้งที่เปลี่ยนความหมายหรือชนิดของคำ และปัจจัยที่แสดงการผันตามบุคคล จำนวน มาลาและกาล ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความยาวของการเติมปัจจัย ทำให้มีการสร้างคำขนาดยาว ประกอบด้วยปัจจัยหลายตัวได้ == คำศัพท์ == คำศัพท์ภาษาทมิฬสมัยใหม่ ส่วนมากมาจากภาษาทมิฬโบราณ คำยืมจากภาษาสันสกฤตพบได้ทั่วไป นอกจากนั้นมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขายในอดีต ตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 25 เริ่มมีคำยืมจากภาษาอังกฤษโดยเฉพาะศัพท์เทคนิค มีการกำหนดศัพท์เทคนิคที่มาจากภาษาทมิฬเช่นกันโดยรัฐบาลศรีลังกาหรือมหาวิทยาลัยทมิฬวิชัล == ตัวอย่าง == นี่คือตัวอย่างข้อความภาษาทมิฬแบบเขียนในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1: ภาษาทมิฬในอักษรทมิฬ: உறுப்புரை 1: மனிதப் பிறவியினர் சகலரும் சுதந்திரமாகவே பிறக்கின்றனர்; அவர்கள் மதிப்பிலும், உரிமைகளிலும் சமமானவர்கள், அவர்கள் நியாயத்தையும் மனச்சாட்சியையும் இயற்பண்பாகப் பெற்றவர்கள். அவர்கள் ஒருவருடனொருவர் சகோதர உணர்வுப் பாங்கில் நடந்துகொள்ளல் வேண்டும்.। ถอดเป็นอักษรโรมัน: Uṟuppurai 1: Maṉitap piṟaviyiṉar cakalarum cutantiramākavē piṟakkiṉṟaṉar; avarkaḷ matippilum, urimaikaḷilum camamāṉavarkaḷ, avarkaḷ niyāyattaiyum maṉaccāṭciyaiyum iyaṟpaṇpākap peṟṟavarkaḷ. Avarkaḷ oruvaruṭaṉoruvar cakōtara uṇarvup pāṅkil naṭantukoḷḷal vēṇṭum. สัทอักษรสากล: แปล: ข้อ 1: มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ == อ้างอิง == == ข้อมูล == ==อ่านเพิ่ม== Fabricius, Johann Philip (1933 and 1972), Tamil and English Dictionary. based on J.P. Fabricius Malabar-English Dictionary, 3rd and 4th Edition Revised and Enlarged by David Bexell. Evangelical Lutheran Mission Publishing House, Tranquebar; called Tranquebar Dictionary. == แหล่งข้อมูลอื่น == ภาษาทมิฬ ใน Encyclopædia Britannica Tamil Language & Literature ทมิฬ ทมิฬ ตระกูลภาษาดราวิเดียน ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ ทมิฬ
thaiwikipedia
457
ประเทศตุรกี
ประเทศตุรกี หรือ ประเทศทูร์เคีย (Turkey, Türkiye; Türkiye, ) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี หรือ สาธารณรัฐทูร์เคีย (Republic of Türkiye; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีในยูเรเชีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีพื้นที่ส่วนน้อยในอีสต์เทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและประเทศอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน ประเทศอาร์มีเนีย และดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของประเทศอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะรา และดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซกับอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกีตั้งอยู่ ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง โดยเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีเมืองหลวงคืออังการา ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจคืออิสตันบูล (เคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิออตโตมันจนถึง ค.ศ. 1923) ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนีย และเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต ค.ศ. 1071 รัฐสุลต่านรูมเซลจุคปกครองอานาโตเลียจนมองโกลบุกครองใน ค.ศ. 1243 ซึ่งสลายเป็นเบย์ลิก (beylik) เติร์กเล็ก ๆ หลายแห่ง ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออตโตมันรวมอานาโตเลียและสร้างจักรวรรดิซึ่งกินพื้นที่กว้างใหญ่ของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ กลายเป็นมหาอำนาจในทวีปยูเรเชียและทวีปแอฟริการะหว่างสมัยใหม่ตอนต้น จักรวรรดิเรืองอำนาจถึงขีดสุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 17 โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างรัชกาลสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกร หลังการล้อมเวียนนาครั้งที่สองของออตโตมันใน ค.ศ. 1683 และการสิ้นสุดมหาสงครามเติร์กใน ค.ศ. 1699 จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ระยะเสื่อมอันยาวนาน การปฏิรูปแทนซิมัตในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมุ่งทำให้รัฐออตโตมันทันสมัย ไม่เพียงพอในหลายสาขาและไม่อาจหยุดยั้งการสลายของจักวรรดิได้ จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเข้ากับฝ่ายมหาอำนาจกลางและแพ้ในที่สุด ระหว่างสงคราม รัฐบาลออตโตมันก่อความป่าเถื่อนใหญ่หลวง กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อพลเมืองอาร์มีเนีย อัสซีเรีย และกรีกพอนทัส หลังสงคราม ดินแดนและประชาชนกลุ่มใหญ่ซึ่งเดิมประกอบเป็นจักรวรรดิออตโตมันถูกแบ่งเป็นหลายรัฐใหม่ สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี (ค.ศ. 1919–1922) ซึ่งมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค และเพื่อนร่วมงานของเขาในอานาโตเลียเป็นผู้เริ่ม ส่งผลให้มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1923 โดยอาทาทืร์คเป็นประธานาธิบดีคนแรก แม้จะเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ในปัจจุบันตุรกีถือเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียตะวันตก และเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เศรษฐกิจของประเทศจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่และเป็นผู้นำการเติบโตในภูมิภาค เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 20 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และใหญ่เป็นอันดับที่ 11 โดยภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ ตุรกีเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และเป็นสมาชิกรุ่นแรกของ เนโท, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในทะเลดำ, องค์การความร่วมมืออิสลาม และกลุ่ม 20 หลังจากกลายเป็นหนึ่งในสมาชิกรุ่นแรกของสภายุโรปใน ค.ศ. 1950 ตุรกีเข้าร่วมสหภาพศุลกากรของสหภาพยุโรปใน ค.ศ. 1995 และเริ่มการเจรจาภาคยานุวัติกับสหภาพยุโรปใน ค.ศ. 2005 == นิรุกติศาสตร์ == ชื่อประเทศ Turkey ในภาษาอังกฤษ (มาจากคำในภาษาละตินสมัยกลาง Turchia/Turquia) แปลว่า "ดินแดนของชาวเติร์ก" ในภาษาอังกฤษสมัยกลางมีการเรียกประเทศตุรกีว่า Turkye ซึ่งปรากฏครั้งแรกในงานประพันธ์ The Book of the Duchess ของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ ส่วนรูปสะกดปัจจุบันสามารถสืบไปถึง ค.ศ. 1719 ชื่อประเทศตุรกีปรากฏในข้อมูลโลกตะวันตกหลังสงครามครูเสด ในข้อมูลอาหรับช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 turkiyya มีความหมายตรงข้ามกับ turkmaniyya (Turkomania) ซึ่งในความหมายโดยกว้าง น่าจะเข้าใจเป็นโอคุซ อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ใช้ชื่อภูมิภาคนี้เป็น as barr al-Turkiyya al-ma'ruf bi-bilad al-Rum ("ดินแดนตุรกีที่มีชื่อว่าดินแดนรูม") บางครั้ง รัฐสุลต่านมัมลูกยังมีอีกชื่อว่า อัดเดาละตุตตุรกียะฮ์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 รัฐบาลได้เปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนพยายามที่จะยื่นคำร้องต่อสหประชาชาติให้เปลี่ยนชื่อทางการในภาษาอังกฤษไปเป็น "สาธารณรัฐทือร์คีแย" เพื่อสะท้อนถึงมรดกได้ดียิ่งขึ้นและหลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงกับไก่งวง ซึ่งมีต้นตอมาจากชื่อของประเทศเช่นกัน อีกเหตุผลหนึ่งเนื่องจากคำว่า turkey ในภาษาอังกฤษยังมีความหมายว่า สิ่งที่ล้มเหลวอย่างรุนแรง คนเซ่อ หรือคนโง่ มีรายงานในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 ว่ารัฐบาลวางแผนที่จะส่งชื่อ ทือร์คีแย ให้กับสหประชาชาติ เมฟลึท ชาวูโชลู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งจดหมายถึงสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 เพื่อขอให้ใช้ ทือร์คีแย แทน ทางสหประชาชาติตอบตกลงและดำเนินการตามคำร้องขอทันที ส่วนหนึ่งของโครงการเปลี่ยนชื่อประเทศนี้จะมีการพิมพ์วลี Made in Türkiye ("ผลิตในทือร์คีแย") บนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกทุกชนิดด้วย และในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 ได้มีการออกโครงการที่มีคำพูดติดปากว่า Hello Türkiye ("สวัสดีทือร์คีแย") ส่วนในภาษาไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีมติให้เรียกชื่อประเทศนี้ว่า "ตุรกี" หรือ "ทูร์เคีย" ได้ทั้งคู่ == ภูมิศาสตร์ == === ภูมิประเทศ === ตุรกีเป็นประเทศสองทวีปที่มีดินแดนอยู่ทั้งในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ตุรกีในฝั่งเอเชียซึ่งครอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอานาโตเลีย นับเป็นพื้นที่ร้อยละ 97 ของประเทศ และถูกแยกจากตุรกีฝั่งยุโรปด้วยช่องแคบบอสพอรัส ทะเลมาร์มะรา และช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (ซึ่งรวมกันเป็นพื้นน้ำที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ตุรกีในฝั่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 3 ของทั้งประเทศ ดินแดนของตุรกีมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวมากกว่า 1,600 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 800 กิโลเมตร ตุรกีมีพื้นที่ (รวมทะเลสาบ) ประมาณ 783,562 ตารางกิโลเมตร ตุรกีถูกล้อมรอบด้วยทะเลสามด้าน ได้แก่ทะเลอีเจียนทางตะวันตก ทะเลดำทางเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ นอกจากนี้ ยังมีทะเลมาร์มะราในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ ตุรกีฝั่งเอเชียที่มักเรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ประกอบด้วยที่ราบสูงในตอนกลางของประเทศ อยู่ระหว่างเทือกเขาทะเลดำตะวันออกและเกอรอลูทางตอนเหนือกับเทือกเขาเทารัสทางตอนใต้ และมีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่ง ทางตะวันออกของตุรกีมีลักษณะเป็นภูเขาและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสายเช่น แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำอารัส นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบวัน และยอดเขาอารารัด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของตุรกีที่ 5,165 เมตร สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายพันปี และยังคงปรากฏให้เห็นในปัจจุบันในรูปของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และภูเขาไฟระเบิดในบางครั้ง ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์ก็เกิดจากแนวแยกของเปลือกโลกที่วางตัวผ่านตุรกีทำให้เกิดทะเลดำขึ้น ทางตอนเหนือของประเทศมีแนวแยกแผ่นดินไหววางตัวในแนวตะวันตกไปยังตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2542 === ภูมิอากาศ === ชายฝั่งด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กล่าวคือหน้าร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก เทือกเขาที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งเป็นตัวกั้นทำให้ภูมิอากาศตอนกลางของประเทศเป็นแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างฤดูอย่างเห็นได้ชัด ฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงตอนกลางหนาวมาก อุณหภูมิลดลงถึง -30 ถึง -40℃ อาจมีหิมะปกคลุมนานถึง 4 เดือนต่อปี ฝั่งตะวันตกมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวต่ำกว่า 1℃ ฤดูร้อนร้อนและแห้งแล้ง ในตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 30℃ ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 400 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณจริงแตกต่างกันไปตามระดับความสูง บริเวณที่แห้งแล้งที่สุดคือที่ราบกอนยาและที่ราบมาลาตยาซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยนต่อปีต่ำกว่า 300 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนมากที่สุดคือเดือนพฤษภาคม และเดือนที่แล้งที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม == ประวัติศาสตร์ == === ก่อนสมัยเติร์ก === คาบสมุทรอานาโตเลีย (หรือที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี เป็นดินแดนที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องมายาวนานเพราะอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในตอนต้นของยุคหินใหม่ เช่น ชาตัลเฮอยืค (Çatalhöyük), ชาเยอนู (Çayönü), เนวาลี โจลี (Nevali Cori), ฮาจิลาร์ (Hacilar), เกอเบกลี เทเป (Göbekli Tepe) และ เมร์ซิน (Mersin) นับได้ว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก การตั้งถิ่นฐานในเมืองทรอยเริ่มต้นในยุคหินใหม่และต่อเนื่องไปถึงยุคเหล็ก ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ ชาวอานาโตเลียใช้ภาษาอินโดยูโรเปียน, ภาษาเซมิติก และภาษาคาร์ตเวเลียน และยังมีภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา นักวิชาการบางคนเสนอว่าอานาโตเลียเป็นศูนย์กลางที่ภาษากลุ่มอินโดยูโรเปียนนั้นกระจายออกไป จักรวรรดิแห่งแรกของบริเวณอานาโตเลียคือจักรวรรดิของชาวอิไตต์ ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นประมาณศตวรรษที่ 13 ถึง 18 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น อาณาจักรฟรีเจียซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์ตีอุมมีอำนาจขึ้นมาแทนจนกระทั่งถูกทำลายโดยชาวคิมเมอเรียในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล แต่ชาวคิมเมอเรียก็พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรลีเดียซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซาร์ดีสในเวลาต่อมา ลีเดียเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยและเป็นผู้คิดค้นเหรียญกษาปณ์ ประมาณ 1200 ปีก่อนคริสตกาล ชายฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียถูกครอบครองโดยชาวกรีกไอโอเลียนและอีโอเนียน ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอาเคเมนิดสามารถพิชิตพื้นที่ทั้งหมดได้ในศตวรรษที่ 5 ถึง 6 ก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้ก็ตกเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 334 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียจึงถูกแบ่งออกเป็นดินแดนเฮลเลนิสติกขนาดเล็กหลายแห่ง (รวมทั้ง บิทูเนีย คัปปาโดเกีย แพร์กามอน และพอนตุส) ซึ่งดินแดนเหล่านี้ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันในกลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ใน ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เลือกเมืองไบแซนเทียมให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมัน และตั้งชื่อให้ว่า โรมใหม่ (ภายหลังกลายเป็นคอนสแตนติโนเปิล และอิสตันบูล) หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมลง เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ === สมัยเติร์กและจักรวรรดิออตโตมัน === ตระกูลเซลจุกเป็นสาขาหนึ่งของโอกุสเติร์ก ซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของทะเลแคสเปียนและทะเลอารัล ในคริสต์วรรษที่ 10 พวกเซลจุกเริ่มอพยพออกจากบ้านเกิดมาทางตะวันออกของอานาโตเลีย ซึ่งในที่สุดกลายเป็นดินแดนแห่งใหม่ของเผ่าโอกุสเติร์ก หลังจากสงครามแมนซิเกิร์ตในปี 1071 ชัยชนะของเซลจุกในครั้งนี้ทำให้เกิดสุลต่านเซลจุกในอานาโตเลีย ซึ่งเป็นเสมือนอาณาจักรย่อยของอาณาจักรเซลจุกซึ่งปกครองบางส่วนของเอเชียกลาง อิหร่าน อานาโตเลีย และตะวันออกกลาง == การเมืองการปกครอง == === บริหาร === ตุรกีปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2466 การเป็นรัฐโลกวิสัยเป็นส่วนสำคัญของการเมืองตุรกี ประมุขแห่งรัฐของตุรกีคือประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปี ไม่เกินสองสมัยติดต่อกัน === นิติบัญญัติ === ตุรกีจัดการเลือกตั้งรัฐสภาภายใต้ระบอบประธานาธิบดีเป็นครั้งแรก เมื่อ 24 มิถุนายน 2561 มีการปรับเพิ่มจำนวนสภาแห่งชาติ (Grand National Assembly) จาก 550 คน เป็น 600 คน และ กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 4 ปี เป็น 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการเลือกตั้งและวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปจะจัดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2566 พรรคการเมืองที่สำคัญคือ 1) พรรค Justice and Development (AK) 2) พรรค Nationalist Movement Party (MHP) แนวชาตินิยม 3) พรรค Republican People’s Party (CHP) 4) พรรค İYİ Party 5) Felicity Party และ 6) พรรค Peoples’ Democratic Party (HDP) พรรคของชาวเคิร์ด === ตุลาการ === ประกอบด้วย 1) ศาลยุติธรรมทั่วไปทำหน้าที่เช่นเดียวกับศาลชั้นต้นจะมีอยู่ในทุกเมือง 2) ศาลอุทธรณ์สำหรับคดีอาญาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาสำหรับอุทธรณ์คดีด้านการปกครอง หรือคดีภาครัฐ และ 3) ศาลสูงสุดทำหน้าที่เช่นเดียวกับศาลฎีกา === การแบ่งเขตการปกครอง === ตุรกีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 81 จังหวัด (il) ได้แก่ {| border="0" |----- | อาดานา (Adana) อาดือยามัน (Adıyaman) อัฟยองคาราฮีซาร์ (Afyonkarahisar) อารือ (Ağrı) อักซารัย (Aksaray) อามัสยา (Amasya) อังการา (Ankara) อันทัลยา (Antalya) อาร์ดาฮัน (Ardahan) อาร์ตวิน (Artvin) อัยดึน (Aydın) บาลือเคซีร์ (Balıkesir) บาร์ทึน (Bartın) บัตมัน (Batman) บัยบูร์ท (Bayburt) บีเลจิค (Bilecik) บิงเกิล (Bingöl) บิตลิส (Bitlis) โบลู (Bolu) บูร์ดูร์ (Burdur) บูร์ซา (Bursa) ชานักคาแล (Çanakkale) ชังคือรือ (Çankırı) โชรุม (Çorum) เดนิซลี (Denizli) ดียาร์บาคือร์ (Diyarbakır) ดึซแจ (Düzce) | เอดีร์แน (Edirne) เอลาซือ (Elazığ) แอร์ซินจัน (Erzincan) แอร์ซูรุม (Erzurum) เอสคีเชฮีร์ (Eskişehir) กาซีอันเท็พ (Gaziantep) กีเรซุน (Giresun) กือมึชฮาแน (Gümüshane) ฮักชารี (Hakkari) ฮาทัย (Hatay) อือดือร์ (Iğdır) อึสพาร์ทา (Isparta) อิสตันบูล (İstanbul) อิซมีร์ (İzmir) คาฮ์รามันมารัช (Kahramanmaraş) คาราบึค (Karabük) คารามัน (Karaman) คาร์ส (Kars) คัสทาโมนู (Kastamonu) คัยเซรี (Kayseri) คีลิส (Kilis) คือรึกคาแล (Kırıkkale) คืร์กลาเรลี (Kırklareli) คือร์เชฮีร์ (Kırşehir) โคจาเอลี (Kocaeli) คอนยา (Konya) คือทาฮ์ยา (Kütahya) | มาลัตยา (Malatya) มานีซา (Manisa) มาร์ดิน (Mardin) แมร์ซิน (Mersin) มูลา (Muğla) มุช (Muş) เนฟเชฮีร์ (Nevşehir) นีแด (Niğde) ออร์ดู (Ordu) ออสมานีแย (Osmaniye) รีแซ (Rize) ซาคาร์ยา (Sakarya) ซัมซุน (Samsun) ชันลืออูร์ฟา (Şanlıurfa) ซีอีร์ท (Siirt) ซีนอพ (Sinop) ชือร์นัค (Şırnak) ซีวัส (Sivas) เทคีร์ดา (Tekirdağ) โทคัท (Tokat) ทรับซอน (Trabzon) ทุนเจลี (Tunceli) อูชัค (Uşak) วาน (Van) ยาโลวา (Yalova) ยอซกัท (Yozgat) ซองกุลดัค (Zonguldak) |} === ต่างประเทศ === ตุรกีเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ (1945), OECD (1961), องค์การความร่วมมืออิสลาม (1969), OSCE (1973), ECO (1985), BSEC (1992), D-8 (1997) และ กลุ่ม 20 (1999) ตุรกีเป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 1951–1952, 1954–1955, 1961 และ 2009–2010 และในปี 2556 ได้เข้าเป็นสมาชิกของ ACD ความสัมพันธ์กับยุโรปถือเป็นส่วนสำคัญของนโยบายต่างประเทศของตุรกี ตุรกีกลายเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแรก ๆ ของสภายุโรปในปี 2493 สมัครเป็นสมาชิกร่วมของ EEC (ผู้บุกเบิกสหภาพยุโรป) ในปี 2502 และเข้าเป็นสมาชิกสมทบในปี 2506 หลังจากการเจรจาทางการเมืองหลายทศวรรษ ตุรกีสมัครเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ ของ EEC ในปี 2530 เข้าเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรปตะวันตกในปี 2535 เข้าร่วมสหภาพศุลกากรของสหภาพยุโรปในปี 2538 และได้รับการเจรจาการภาคยานุวัติอย่างเป็นทางการกับสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2548 การสนับสนุนของตุรกีสำหรับนอร์เทิร์นไซปรัสในข้อพิพาทไซปรัสทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับสหภาพยุโรปซับซ้อนและยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเสนอราคาเพื่อเข้าร่วมสหภาพยุโรปของประเทศ การกำหนดลักษณะอื่น ๆ ของนโยบายต่างประเทศของตุรกีคือการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา การประกาศของประธานาธิบดีทรูแมนในปี 1947 ได้ประกาศเจตนารมณ์ของชาวอเมริกันที่จะรับประกันความมั่นคงของตุรกีและกรีซในช่วงสงครามเย็น และส่งผลให้เกิดการสนับสนุนทางการทหารและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในวงกว้าง ใน ค.ศ. 1948 ทั้งสองประเทศรวมอยู่ในแผนมาร์แชลและ OEEC เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุโรปขึ้นใหม่ ภัยคุกคามทั่วไปที่เกิดขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็นนำไปสู่การเป็นสมาชิกของเนโทของตุรกีในปี 1952 จากนั้น ตุรกีได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทูตของสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมถึงประเด็นสำคัญ ๆ เช่น การเสนอราคาของประเทศที่จะเข้าร่วมสหภาพยุโรป ภายหลังสงครามเย็น ตุรกีมีความใกล้ชิดกับชาติตะวันออกกลาง คอเคซัส และบอลข่าน === กองทัพ === กองทัพตุรกี (Turkish Armed Forces-TSK) มีกำลังพล จำนวน 355,200 นาย แบ่งเป็น กองทัพบก 260,200 นาย, กองทัพเรือ 45,000 นาย, กองทัพอากาศ 50,000 นาย และกองกำลังสำรอง 378,700 นาย (2018) งบประมาณด้านการทหารเมื่อปี 2017 เท่ากับ 2.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ความพยายามทำรัฐประหารในตุรกีเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 ส่งผลต่อสถานะของกองทัพและนำไปสู่ความพยายามปฏิรูปกองทัพเพื่อลดอำนาจของกองทัพ และเพิ่มอำนาจของพลเรือน == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === นับตั้งแต่การเป็นสาธารณรัฐ ตุรกีได้มีแนวทางเข้าหาการนิยมอำนาจรัฐ โดยมีการควบคุมจากรัฐบาลในด้านการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน การค้าต่างประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังปี 2526 ตุรกีเริ่มมีการปฏิรูป นำโดยนายกรัฐมนตรีตุรกุต เออซัล ตั้งใจปรับจากเศรษฐกิจแบบอำนาจรัฐเป็นแบบของตลาดและภาคเอกชนมากขึ้น การปฏิรูปนี้ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็สะดุดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติทางการเงินในปี 2537 2542 และ 2544 เป็นผลให้มีการเจริญเติบโตของจีดีพีเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี 2524 ถึง 2546 อยู่ที่ 4 เปอร์เซนต์ การขาดหายของการปฏิรูปเพิ่มเติม กอปรกับการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและคอร์รัปชัน ทำให้เกิดเงินเฟ้อสูง ภาคการธนาคารที่อ่อนแอ และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของตุรกีขับเคลื่อนโดยภาคอุตสาหกรรมและการบริการเป็นหลัก แต่ภาคการเกษตรยังมีสัดส่วนสูงถึง 25% ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้การค้าโลกหยุดชะงัก เกิดสภาวะเงินทุนไหลออก กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงในไตรมาส 2 กระทบต่อภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การเข้าถึงบริการทางการเงิน เสถียรภาพของค่าเงิน อัตราการจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อของตุรกี โดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของตุรกีจะหดตัว 3.8% ในปี 2563 === สถานการณ์สำคัญ === นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2544 และการปฏิรูปที่เริ่มโดยรัฐมนตรีคลังในขณะนั้น เกมัล เดร์วึช อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเหลือเป็นเลขหลักเดียว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานลดลง ไอเอ็มเอฟพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2551 ของตุรกีไว้ที่ 6 เปอร์เซนต์ ตุรกีได้พยายามเปิดกว้างระบบตลาดมากขึ้นผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยลดการควบคุมจากรัฐบาลด้านการค้าต่างประเทศและการลงทุน และการแปรรูปอุตสาหกรรมของรัฐ การเปิดเสรีในหลายด้านไปสู่ภาคเอกชนและต่างประเทศได้ดำเนินต่อไปท่ามกลางการโต้เถียงทางการเมือง === การท่องเที่ยว === นักท่องเที่ยวในตุรกีเพิ่มขึ้นเกือบทุกปีในศตวรรษที่ 21 และเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของตุรกีสนับสนุนการท่องเที่ยวตุรกีภายใต้โครงการ Turkey Home ตุรกีเป็นหนึ่งในสิบประเทศปลายทางชั้นนำของโลก โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาจากยุโรปเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุด โดยเฉพาะเยอรมนีและรัสเซียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2019 ตุรกีอยู่ในอันดับที่หกของโลกในแง่ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือน โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 51.2 ล้านคน ตุรกีมีมรดกโลกขององค์การยูเนสโก 19 แห่ง == โครงสร้างพื้นฐาน == === คมนาคม และ โทรคมนาคม === ด้านการขนส่ง มีท่าอากาศยาน 98 แห่ง เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 22 แห่ง โดยตุรกีเริ่มเปิดใช้ท่าอากาศยานนานาชาติ Istanbul New Airport ที่อิสตันบูล และรัฐบาลตั้งเป้าให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในแง่จำนวนผู้โดยสารที่รองรับได้ในแต่ละปี และหากเปิดครบทั้งโครงการในปี 2571 จะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 200 ล้านคน ตุรกียังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 20 แห่ง และท่าเรือ 629 แห่ง เส้นทางรถไฟระยะทาง 10,315 กม. ถนนระยะทาง 247,553 กม. สายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์ เป็นสายการบินประจำชาติของตุรกีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 และยังมีสายการบินอื่น ๆ อีกหลายแห่งดำเนินการในประเทศ สะพาน Bosphorus (1973), Fatih Sultan Mehmet Bridge (1988) และ Yavuz Sultan Selim Bridge (2016) เป็นสะพานแขวนสามสะพานที่เชื่อมระหว่างชายฝั่งยุโรปและเอเชียของช่องแคบบอสฟอรัส สะพาน Osman Gazi (2016) เชื่อมต่อชายฝั่งทางเหนือและใต้ของอ่าว İzmit และสะพานชานัคคาเล 1915 บนช่องแคบดาร์ดาแนลที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียจะกลายเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกเมื่อสร้างเสร็จ === วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี === ตุรกีมีความเชี่ยวชาญในด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาการค้าน้ำมัน การบริหาร จัดการท่อขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศ และกำลังผลักดันสู่การเป็น Energy Corridor ด้านการบริหารจัดการ ท่อขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีท่อลำเลียงก๊าซ ระยะทาง 12,874 กม. ท่อลำเลียงน้ำมัน ระยะทาง 3,038 กม. ตลอดจนมีความชำนาญด้านอุตสาหกรรมก่อสร้าง และยานยนต์ === พลังงาน === ท่อส่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมากครอบคลุมอาณาเขตของประเทศ ท่อส่งน้ำมันบากู-ทบิลิซี-ซีฮาน ซึ่งเป็นท่อส่งน้ำมันที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เปิดตัวในปี 2005 The Blue Stream ซึ่งเป็นท่อส่งก๊าซข้ามทะเลดำรายใหญ่ ส่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปยังตุรกี ท่อส่งใต้ทะเล Turkish Stream ซึ่งมีกำลังการผลิตปีละประมาณ 63 พันล้านลูกบาศก์เมตร (2,200 พันล้านลูกบาศก์ฟุต) ทำให้ตุรกีสามารถขายก๊าซไปยังรัสเซียและส่วนอื่น ๆ ของยุโรปได้ ในปี 2018 ตุรกีใช้พลังงานหลัก 1,700 เทราวัตต์ต่อชั่วโมง (TW/h) ต่อปี หรือน้อยกว่า 20 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง (MW/h) ต่อคนเล็กน้อย ส่วนใหญ่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นำเข้า แม้ว่านโยบายพลังงานของตุรกีจะรวมถึงการลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ถ่านหินในตุรกีเป็นเหตุผลเดียวที่ใหญ่ที่สุดที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกของตุรกีถึง 1% ของทั้งหมดทั่วโลก พลังงานหมุนเวียนในตุรกีกำลังเพิ่มขึ้นและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Akkuyu กำลังถูกสร้างขึ้นบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ถึงแม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะผลิตไฟฟ้าได้เกินระดับประเทศก็ยังได้รับเงินอุดหนุน ตุรกีมีการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพโดยตรงสูงสุดเป็นอันดับห้าของโลก === การสาธารณสุข === กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการระบบสาธารณสุขสากลมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นที่รู้จักในชื่อประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Genel Sağlık Sigortası) ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากการเรียกเก็บภาษีจากนายจ้าง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 5% เงินทุนภาครัฐครอบคลุมประมาณ 75.2% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ แม้จะมีการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมในฐานะส่วนแบ่งของ GDP ในปี 2018 นั้นต่ำที่สุดในบรรดาประเทศในกลุ่ม OECD ที่ 6.3% ของ GDP เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 9.3% อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 78.6 ปี (75.9 สำหรับผู้ชายและ 81.3 สำหรับผู้หญิง) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรปที่ 81 ปี ตุรกีมีอัตราโรคอ้วนสูงที่สุดในโลก โดยเกือบหนึ่งในสาม (29.5%) ของประชากรผู้ใหญ่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ 30 หรือสูงกว่า มลพิษทางอากาศในตุรกีเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งในประเทศ ตุรกีได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพสร้างรายได้ให้ตุรกีสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2019 รายได้ 60% มาจากการทำศัลยกรรมพลาสติก และผู้ป่วยทั้งหมด 662,087 รายได้รับบริการในประเทศเมื่อปีที่แล้วภายใต้ขอบเขตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ === การศึกษา === การศึกษาในประเทศตุรกีเป็นแบบภาคบังคับ และไม่เก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี อัตราการรู้หนังสือคือร้อยละ 95.3 ในผู้ชาย ร้อยละ 79.6 ในผู้หญิง และเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.4 การที่อัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงต่ำกว่าชายเป็นเพราะในเขตชนบทยังคงมีแนวความคิดแบบเก่าที่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ == ประชากรศาสตร์ == === เมืองใหญ่สุด 20 อันดับแรก === === เชื้อชาติ === ในปี พ.ศ. 2550 ตุรกีมีประชากร 70.5 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.04 ต่อปี ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 92 คนต่อตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละจังหวัดแตกต่างกันตั้งแต่ 11 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในตุนเจลี) จนถึง 2,420 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในอิสตันบูล) ค่ามัธยฐานของอายุประชากรคือ 28.3 จากข้อมูลของทางการในปี พ.ศ. 2548 อายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรทั้งหมดคือ 71.3 ปี ประชากรส่วนใหญ่ของตุรกีมีเชื้อสายตุรกี ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 ถึง 55 ล้านคน ชนชาติอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ชาวเคิร์ด, เซอร์ซาสเซียน, ซาซา บอสเนีย, จอร์เจีย, อัลเบเนีย, โรมา (ยิปซี), อาหรับ และอีก 3 ชนชาติที่ได้รับการยอมรับจากทางการได้แก่พวกกรีก, อาร์มีเนีย และยิว ในบรรดาชนชาติเหล่านี้ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวเคิร์ด (ประมาณ 12.5 ล้านคน) ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวตุรกีจำนวนมากอพยพไปยังยุโรปตะวันตก (โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตก) เนื่องจากความต้องการแรงงานในยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดชุมชนชาวตุรกีนอกประเทศขึ้น แต่ในระยะหลังตุรกีกลับกลายเป็นจุดหมายของผู้อพยพจากประเทศข้างเคียง ซึ่งมีทั้งผู้อพยพที่ปักหลักอยู่ในประเทศตุรกี และผู้ที่ใช้ตุรกีเป็นทางผ่านต่อไปยังประเทศกลุ่มยุโรป === ภาษา === ประเทศตุรกีมีภาษาทางการเพียงภาษาเดียวคือภาษาตุรกี ซึ่งภาษาตุรกียังเป็นภาษาที่พูดในหลายพื้นที่ในยุโรป เช่นไซปรัส ทางตอนใต้ของคอซอวอ มาเซโดเนีย และพื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย กรีซ โรมาเนีย และเซอร์เบีย นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ใช้ภาษาตุรกีมากกว่า 2 ล้านคนอาศัยอยู่ในเยอรมนี และมีกลุ่มผู้ใช้ภาษาตุรกีในประเทศออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร === ศาสนา === ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม (31,129,845 คน) ที่เหลือเป็นคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์โธดอกซ์ (143,251) คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (25,833 คน) คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (22,983 คน) และยิว (38,267 คน) == วัฒนธรรม == รากฐานทางสังคมของตุรกีมีลักษณะเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้ชายทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทั้งในส่วนของรัฐบาลและภาคเอกชน แต่ผู้ชายก็ยังมีความคิดว่าผู้หญิงด้อยกว่าทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์ ตุรกีมีวัฒนธรรมที่หลากหลายมากที่ผสมผสานองค์ประกอบต่าง ๆ ของเติร์ก อนาโตเลีย ออตโตมัน (ซึ่งเป็นความต่อเนื่องของทั้งวัฒนธรรมกรีก-โรมันและอิสลาม) วัฒนธรรมตุรกีเป็นผลผลิตจากความพยายามในการเป็นรัฐตะวันตกที่ "ทันสมัย" โดยที่ยังคงรักษาคุณค่าทางศาสนาและประวัติศาสตร์แบบดั้งเดิมไว้ === ศิลปกรรม === โดยทั่วไปในความคิดแบบตะวันตก เป็นที่ยอมรับกันว่าจิตรกรรมแบบตุรกีเริ่มเฟื่องฟูในกลางคริสต์ศตวรรศที่ 19 สถาบันจิตรกรรมแห่งแรกของตุรกีคือมหาวิทยาลัยเทคนิคตุรกี (ในขณะนั้นคือ สถาบันวิศวกรรมศาสตร์กองทัพอิมพีเรียล) ซึ่งเปิดสอนในปี 1793 เพื่อจุดมุ่งหมายเชิงการใช้งานมากกว่า ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การวาดมนุษย์ตามอย่างตะวันตกเริ่มแพร่หลายโดยเฉพาะกับ Osman Hamdi Bey ลัทธิประทับใจ รวมทั้งศิลปะยุคใหม่เริ่มเข้ามากับ Halil Pasha ศิลปินตุรกียุคใหม่ที่ถูกส่งไปเล่าเรียนในยุโรปเมื่อปี 1926 กลับมาพร้อมกับแนวศิลปะร่วมสมัยทั้ง ฟอวิสซึม คิวบิซึม และ เอ็กซ์เพรชชั่นนิสซึม ต่อมาศิลปินได้รวมกันจัดตั้ง "Group D" ซึ่งประกอบด้วยจิตรกรที่นำโดย Abidin Dino, Cemal Tollu, Fikret Mualla, Fahrünnisa Zeid, Bedri Rahmi Eyüboğlu, Adnan Çoker และ Burhan Doğançay ผู้นำเสนอเทรนด์ใหม่ที่จะคงอยู่ในจิตรกรรมตะวันตกไปอีกสามทศวรรษ นอกจาก Group D แล้วยังมีการเคลื่อนไหวอื่น ๆ อีก เช่น "Yeniler Grubu" (ผู้มาใหม่) ราวปลายทศวรรษ 1930s, "On'lar Grubu" (กลุ่มสิบคน) ในทศวรรษ 1940s, "Yeni Dal Grubu" (กลุ่มสาขาใหม่) ในทศวรรษ 1950s และ "Siyah Kalem Grubu" (กลุ่มปากกาดำ) ในทศวรรษ 1960s พรมตุรกี เป็นศิลปกรรมท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่ตุรกียุคก่อนอิสลาม ยิ่งผ่านกาลเวลามาเท่าไร พรมตุรกีก็ยิ่งมีการผสมผสานวัฒนธรรมใหม่ ๆ มากขึ้นเท่านั้น สังเกตได้จากกลิ่นอายและงานออกแบบที่มีความเป็นไบแซนไทน์ อนาโตเลีย อาร์เมเนีย ฯลฯ ล้วนทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละถิ่น จนกระทั่งหลังศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ พรมตุรกีจึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศิลปะอิสลาม จุลจิตรกรรมแบบตุรกี (Turkish miniature) เป็นงานศิลป์ชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากธรรมเนียมจุลจิตรกรรมแบบเปอร์เชีย การวาดลวดลายขนาดจิ๋วซึ่งเรียกว่า taswir หรือ nakish พบในวัฒนธรรมออตโตมัน และเรียกสตูดิโอที่ทำชิ้นงานว่า Nakkashanesโดยทั่วไปแล้วจุลจิตรกรรมหนึ่งภาพอาจต้องใช้จิตรกรมากกว่าหนึ่งคน เพื่อร่างโครงสร้าง จัดองค์ประกอบ ลงสี ตกแต่งและเก็บรายละเอียด ยังรวมไปถึงขั้นตอนการเขียนคัลลิกราฟี ก่อนที่จะรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือหรือเอกสารหนึ่งหน้า การสร้างลวดลายหินอ่อนบนกระดาษแบบตุรกี (Turkish paper marbling) ก็เป็นอีกจิตรกรรมที่เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จัก มักพบใช้ในการตกแต่งขอบกระดาษในหนังสือหรือเอกสาร หรือใช้สร้างแม่ลาย (mortif) "Hartif" === ดนตรี === === อาหาร === ชาวตุรกีภูมิใจในอาหารของตนเองมาก อาหารตุรกีนั้นมีอิทธิพลของอาหรับ กรีก ยุโรปตะวันออกผสานอยู่ด้วย แม้ว่าอาหารจำพวกฟาสต์ฟู้ดจะเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่อาหารท้องถิ่นแบบดั้งเดิมยังคงเป็นเสน่ห์ดึงดูดผู้คนจากทุกมุมโลกในปัจจุบัน อาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ กะบาบ เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงสุกต่าง ๆ ที่มีต้นกำเนิดมาจากอาหารตะวันออกกลาง มีทั้งที่เป็นเนื้อชิ้นใหญ่ เนื้อหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เนื้อแล่เป็นชิ้นบาง และเนื้อบด ส่วนใหญ่ใช้หัวหอมหั่นเป็นเครื่องเคียงนอกเหนือจากผักและวัตถุดิบอื่น ๆ หาทานได้ทั่วทุกภูมิภาคของตุรกี อาหารที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ได้แก่ เบยิน ทาวาซึ (สมองแกะทอด) เบอเรค (แป้งม้วนใส่ผักหรือเนยแข็งชิ้นเล็ก ๆ) คาซึค (แตงกวาและโยเกิร์ตกระเทียม) และสลัดผักต่าง ๆ รวมถึงซุปตุรกีหรือที่เรียกว่า อิสเคมเบ ซึ่งเป็นซุปเครื่องในใส่กระเทียม อาหารจานหลักเป็นจำพวกเนื้อปลานั้นค่อนข้างแพงหากไม่ได้อยู่ในฤดูกาลแต่มีรสชาติดี โดยเฉพาะในอิสตันบลูหรือตามแถบชายฝั่ง ปลาที่พบอยู่บ่อย ๆ ในเมนูคือ คิลิช (ปลาดาบ), ไคลคาน (ปลาเทอร์บอต), เลฟเรค (ปลาซีเบส), ปาลามุท (ปลาทูน่า) และลูเฟอ (ปลาบลูฟิช) ส่วนเนื้อนั้นปกติจะเป็นเนื้อลูกแกะ, เนื้อไก่ หรือเนื้อวัวปรุงกับผักต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีซิสเกบาบีหรือเนื้อเสียบเหล็กย่าง ส่วนเนื้อหมูนั้นหารับประทานได้ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ฮอลิเดย์ วิลเลจ และร้านขายของชำสำหรับตลาดระดับสูง === สถาปัตยกรรม === ประเทศตุรกีเป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปีก่อนคริสตกาล ความโดดเด่นคือมีสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันออกแบบออตโตมันกับศิลปะตะวันตกแบบกรีก-โรมันได้อย่างลงตัว สถาปัตยกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมีมากมาย เช่น: พิพิธภัณฑ์ฮายาโซฟีอา: เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ที่ยิ่งใหญ่และสวยงามที่สุดในเมืองอิสตันบูล เดิมเคยเป็นโบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ สร้างโดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งไบแซนไทน์ ต่อมาใน ค.ศ. 1453 จักรวรรดิออตโตมันมีชัยชนะเหนือจักรวรรดิไบแซนไทน์ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงดัดแปลงโบสถ์ให้เป็นสุเหร่าแทน โดยสุเหร่าฮายาโซฟีอาเป็นสุเหร่าหลักของเมืองอิสตันบูลยาวนานกว่า 500 ปี ก่อนรัฐบาลตุรกีจะดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ใน ค.ศ. 1935 ความโดดเด่นของที่นี่คือยอดโดมขนาดใหญ่และความงดงามของสถาปัตยกรรมการตกแต่งที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไบแซนไทน์กับศิลปะออตโตมันเข้าด้วยกัน สุเหร่าสุลต่านอาห์เหม็ดที่ 1 หรือสุเหร่าสีน้ำเงิน: ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ฮาเกียโซเฟีย เริ่มก่อสร้างใน ค.ศ. 1609 เนื่องจากสุลต่านอาห์เหม็ดที่ 1 ต้องการสร้างสุเหร่าศิลปะตะวันออกแบบออตโตมันให้ใหญ่กว่าโบสถ์ฮาเกียโซเฟีย โดยสร้างหันหน้าเข้าหากันแต่อยู่คนละฝั่งเพื่อประชันความยิ่งใหญ่และสวยงาม เอกลักษณ์ของสุเหร่าแห่งนี้คือด้านในสุเหร่าประดับด้วยกระเบื้องสีฟ้าทั้งหมดยามต้องแสงจึงสวยงามมาก ทั้งยังมีลานด้านหน้าที่กว้างที่สุดในกลุ่มสุเหร่าแบบออตโตมันและมีหอสวดมนต์อยู่ถึง 7 หอ Grand Bazaar ตลาดแกรนด์บาซาร์: เป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศตุรกี มีความเป็นมายาวนานกว่า 1,000 ปี นอกจากจะเก่าแก่ที่สุดแล้ว ยังเป็นตลาดในร่มสถาปัตยกรรมแบบออตโตมันที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลกอีกด้วย ภายในตลาดแกรนด์บาซาร์มีร้านค้ามากกว่า 4,000 ร้าน มีทางเข้ามากกว่า 21 ทาง แบ่งออกเป็นโซนตามประเภทสินค้าชัดเจน สินค้าหลัก ๆ ที่ขายในนี้คือ เครื่องเงิน พรม สิ่งทอ เสื้อผ้า วัตถุโบราณ ทองคำ และของที่ระลึก === กีฬา === ==== ฟุตบอล ==== ฟุตบอลเป็นหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศ ตุรกีมีลีกอาชีพที่มีชื่อเสียงคือ ซือเปร์ลีก มีสโมสรชื่อดัง อาทิ กาลาทาซาไร, เฟแนร์บาห์แช, อิสตันบูล บาซัคเซเฮอร์ และเบชิกทัช แม้จะไม่เคยชนะเลิศการแข่งขันรายการใหญ่ แต่ฟุตบอลทีมชาติตุรกีก็มีส่วนร่วมในการแข่งขันรายการสำคัญทั้งฟุตบอลโลก และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป โดยเคยผ่านเข้าเล่นในรอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2 ครั้ง และมีผลงานที่ดีที่สุดคือการคว้าอันดับสามในฟุตบอลโลก 2002 เอาชนะเกาหลีใต้เจ้าภาพร่วมได้ และผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 5 ครั้ง ผลงานดีที่สุดคือรอบรองชนะเลิศในปี 2008 ==== วอลเลย์บอล ==== ตุรกียังขึ้นชื่อในเรื่องของกีฬาวอลเลย์บอล โดยเฉพาะทีมหญิง วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติตุรกี มีส่วนร่วมในการแข่งขันนานาชาติ โดยเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อน 2 สมัย และคว้าอันดับ 5 ในโอลิมปิก 2020 เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก 4 สมัย คว้าอันดับ 6 ในปี 2010 ปัจจุบันทีมหญิงของตุรกีอยู่ในอันดับ 4 ของโลกตามการจัดอันดับของ เอฟไอวีบี ในขณะที่ทีมชายเคยเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก 3 ครั้ง และยังไม่เคยเข้าร่วมโอลิมปิก === วันหยุด === == เชิงอรรถ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Official website of the Presidency of the Republic of Turkey Turkey from UCB Libraries GovPubs Turkey profile from the BBC News Turkey at Encyclopædia Britannica Turkey's Official Tourism Portal Key Development Forecasts for Turkey from International Futures ต รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2466 ต
thaiwikipedia
458
จาวา (ภาษาโปรแกรม)
จาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้ == จุดมุ่งหมาย == จุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการ ในการพัฒนาจาวา คือ ใช้ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (สถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ) เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย == จาวาแพลตฟอร์ม และ ภาษาจาวา == เนื่องจากชื่อที่เหมือนกัน และการเรียกขานที่มักจะพูดถึงพร้อมกันบ่อยๆ ทำให้คนทั่วไป มักสับสนว่า ภาษาจาวา และ จาวาแพลตฟอร์ม เป็นสิ่งเดียวกัน ในความเป็นจริงนั้น ทั้งสองสิ่ง แม้จะทำงานเสริมกัน แต่ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกัน โดย ภาษาจาวานั้น คือภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น ส่วน จาวาแพลตฟอร์มนั้น คือสภาพแวดล้อมสำหรับการใช้งานโปรแกรมจาวา โดยมีองค์ประกอบหลักคือ จาวาเวอร์ชวลแมชีน (Java virtual machine) และ ไลบรารีมาตรฐานจาวา (Java standard library) โปรแกรมที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์มนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสร้างด้วยภาษาจาวา เช่น อาจจะใช้ ภาษาไพทอน (Python) หรือ ภาษาอื่นๆ ก็ได้ ส่วนภาษาจาวานั้น ก็สามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแพลตฟอร์มอื่นได้เช่นเดียวกัน เช่น คอมไพเลอร์ gcj สามารถคอมไพล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวา ให้ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้ จาวาเวอร์ชวลแมชีน == ประวัติ == === รุ่นต่าง ๆ ของภาษาจาวา === 1.0 (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด 1.1 (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม inner class 1.2 (4 ธันวาคม, ค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "จาวา 2" แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง 1.3 (8 พฤษภาคม, ค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย 1.4 (13 กุมภาพันธ์, ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005) 5.0 (29 กันยายน, ค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics 6.0 (11 ธันวาคม, ค.ศ. 2006) — รหัส [https://mustang.dev.java.net/ Mustang เป็นรุ่นในการพัฒนาของ Java SDK 6.0 ที่ออกมาให้ทดลองใช้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 7.0 — รหัส Dolphin กำลังพัฒนา [http://weblogs.java.net/blog/editors/archives/2004/09/evolving_a_lang.html] 8.0เริ่มใช้แล้ว == ตัวอย่าง == // ประกาศ class public class MyClass { // ประกาศ Method ชื่อ main เพราะ java จะเรียกหา Method main เป็น Method แรก public static void main(String[] args) { System.out.println("Hello World!"); // แสดงข้อความว่า Hello World! System.out.println(5+9);//นำ 5+9 มาคำนวณแล้วแสดงออกทางหน้าจอ } } == ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง == รายชื่อของซอฟต์แวร์เสรีที่เกี่ยวข้องกับจาวา === คอมไพเลอร์และเวอร์ชวลแมชีน === JDK คอมไพเลอร์มาตรฐานของซัน ไมโครซิสเต็มส์ GCJ คอมไพเลอร์ภาษาจาวาของโครงการ GCC หรือ GNU Compiler Collection Jikes คอมไพเลอร์ที่เดิมพัฒนาโดยไอบีเอ็ม GNU Classpath ชุดไลบรารีสำหรับจาวาแพลตฟอร์ม โอเพนซอร์ส Kaffe SableVM IKVM คอมไพเลอร์ภาษาจาวาบน .NET แพลตฟอร์ม SuperWaba JRockit JDK พัฒนาโดย บีอีเอ ซิสเต็มส์ === สภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนา (IDE) === BlueJ เป็น IDE ที่เหมาะกับการศึกษา โดยเน้นที่แนวคิดเรื่องการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ฺBorland JBuilder Eclipse โอเพนซอร์ส IntelliJ IDEA JDeveloper ของบริษัทออราเคิล JEdit (เป็นเอดิเตอร์ แต่สามารถติดตั้งปลั๊กอินเพื่อเพิ่มความสามารถด้าน IDE ได้) JLab ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟรีและเล็กเหมาะกับการศึกษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติ่มที่ http://www.cp.eng.chula.ac.th/~somchai/JLab/ NetBeans โอเพนซอร์ส Rational Application Developer ของไอบีเอ็ม Sun Java Studio ของซัน ไมโครซิสเต็มส์ ฺVisual Age ของไอบีเอ็ม (ปัจจุบันเลิกพัฒนาแล้ว ถูกแทนที่ด้วย Rational Application Developer) ฺVisual Cafe' ของบริษัท Symantec WebSphere Studio Application Developer ของไอบีเอ็ม ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย Rational Application Developer == ดูเพิ่ม == RTSJ เรียลไทม์สเปคซิฟิเคชั่นสำหรับJava == แหล่งข้อมูลอื่น == java.com ข้อมูลจาวา สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป java.sun.com ข้อมูลจาวา สำหรับนักพัฒนา แพลตฟอร์มจาวา ตระกูลภาษาซี ซันไมโครซิสเต็มส์ ภาษาโปรแกรมในภาวะพร้อมกัน ภาษาโปรแกรมแบบคลาส ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ภาษาโปรแกรมใน JVM ภาษาโปรแกรมที่มีชนิดข้อมูลแบบอพลวัต
thaiwikipedia
459
ซันไมโครซิสเต็มส์
ซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems) เป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ สารกึ่งตัวนำและซอฟต์แวร์ ที่ตั้งอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์ เมืองแซนตาแคลรา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์เด่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปของซัน ได้แก่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชัน ที่ใช้หน่วยประมวลผลสปาร์ค (SPARC), ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris), ระบบไฟล์บนเครือข่าย NFS, และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจาวา และแพลตฟอร์มจาวา นอกจากนี้ ซันยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของ โครงการโอเพ่นออฟฟิศดอทอ็อก (OpenOffice.org) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานแบบโอเพนซอร์ส วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552, มีการประกาศว่าออราเคิลคอร์ปอเรชัน จะเข้าซื้อกิจการซันไมโครซิสเต็มส์ ในมูลค่า 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ การเข้าซื้อสำเร็จในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553 == แหล่งข้อมูลอื่น == Sun Microsystems, Inc. Sun Microsystems - Asia South Region == อ้างอิง == บริษัทคอมพิวเตอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย บริษัทของสหรัฐ บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2525
thaiwikipedia
460
หมู่เกาะโซโลมอน
หมู่เกาะโซโลมอน (Solomon Islands) เป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศปาปัวนิวกินี และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 990 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกัน 28,000 ตารางกิโลเมตร == ประวัติศาสตร์ == หมู่เกาะโซโลมอน สันนิษฐานว่ามีคนอาศัยอยู่คนเกาะนี้มาแล้วเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว หมู่เกาะนี้ถูกค้นพบเมื่อปี 1568 โดยชาวสเปนชื่อ กัปตันAlvaro de Mendana หลังจากนั้นมาเกาะโซโลมอน ก็ไม่มีใครเข้าไปเลยเป็นเวลากว่า 200 ปี ในปี 1886 ประเทศอังกฤษ กับ เยอรมนี ได้มีการแบ่งแยกดินแดนของเกาะโซโลมอน แต่ต่อมาภายหลังประเทศ สหราชอาณาจักรอังกฤษได้เป็นผู้ถือครองเกาะแห่งนี้แต่เพียงผู้เดียว ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โซโลมอนเป็นที่หมายปองของคู่สงคราม เพราะเป็นจุดพักระหว่างทางของการขนส่งสินค้าในมหาสมุทรแปซิฟิค และ มีทะเลล้อมรอบ จึงรบเพียงแค่ทางเรือ และ ทางอากาศ โดยมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และ อุดมสมบูรณ์จึงได้ชื่อว่า Pearl of Pacific (ไข่มุกแห่งแปซิฟิค) โดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกรุกเข้ามาในเกาะนี้ช่วงต้นของสงคราม แต่กองทัพสหราชอาณาจักรก็สามารถยึดครองดินแดนกลับมาได้อีกครั้งในปี 1945 ในปี 1976 เกาะแห่งนี้กลายเป็นดินแดนที่สามารถปกครองตนเองได้และได้รับเอกราช ในวันที่ 7 กรกฎาคม 1978 และได้เข้าเป็นภาคีสหประชาชาติเมื่อ 19 กันยายน 1978 == การเมืองการปกครอง == === นิติบัญญัติ === อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาแห่งชาติ ซึ่งเป็นสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 30-50 คน โดยกระจายอำนาจ แบ่งเป็น 4 ภาค แต่ละภาคมีสภาปกครองท้องถิ่น 8 แห่ง สมาชิกสภาปกครองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง == การแบ่งเขตการปกครอง == หมู่เกาะโซโลมอนแบ่งเป็น 9 จังหวัด (provinces) และ 1 เขตเมืองหลวง*: จังหวัดกัวดัลคะแนล (Guadalcanal) จังหวัดชอยซิวล์ (เลารู) (Choiseul, Lauru) จังหวัดเซนทรัล (Central) จังหวัดเตโมตู (Temotu) จังหวัดมากิรา (Makira) จังหวัดมาไลตา (Malaita) จังหวัดเรนเนลล์และเบลโลนา (Rennell and Bellona) จังหวัดเวสเทิร์น (Western) จังหวัดอิซาเบล (Isabel) โฮนีอารา* (Honiara) == เศรษฐกิจ == เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นหลัก ประมาณร้อยละ 90 ของจำนวนประชากร มีอาชีพกสิกรรม ทำป่าไม้ และประมง มีรายได้จากการส่งออกประมาณปีละ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอนพยายามชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เข้าไปร่วมทุนในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การผลิตไม้แปรรูปเพื่อส่งออก การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น รัฐบาลได้วางกฎเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการ ลงทุน โดยการลดภาษีการค้า ยกเว้นภาษีวัตถุดิบและเครื่องจักรกลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเวลา 5 ปี และไม่มีข้อห้ามสำหรับการส่งผลกำไรออกนอกประเทศ == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === ประกอบด้วยชาวเมลานีเซียซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีชาวไมโครนีเซีย ยุโรปและเอเชียเล็กน้อย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอังกลิเคน ร้อยละ 34 โรมันคาทอลิก ร้อยละ 19 และอีวันเจลิคอน ร้อยละ 24 == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == รัฐบาล คณะรัฐมนตรีหมู่เกาะโซโลมอน กระทรวงพาณิชย์ แรงงาน และ อุตสาหกรรม Chief of State and Cabinet Members ข้อมูลทั่วไป Solomon Islands from UCB Libraries GovPubs การศึกษา ด้านการท่องเที่ยว หมู่เกาะโซโลมอน ซ ประเทศที่เป็นเกาะ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2521 อดีตอาณานิคมของอังกฤษ กลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง
thaiwikipedia
461
กลุ่มภาษาจีน
ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ == ภาษาพูดของจีน == แผนที่ด้านขวาแสดงพื้นที่ที่มีประชาชนพูด ทั้งภาษาและสำเนียงภาษาจีนต่างกันในประเทศจีน โดยพื้นฐาน เราอาจแบ่งกลุ่มภาษาจีนออกเป็น 7 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามจำนวนประชากรที่พูดได้ ดังนี้ จีนกลาง หรือ ภาษาฮั่น หรือ แมนดาริน (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà กวานฮว่า, คำแปล: ภาษาทางการ) หรือ สำเนียงทางเหนือ (จีน: 北方方言, พินอิน:Běifāngfāngyán เป่ยฟังฟังเอี๋ยน) ง่อ (จีนตัวเต็ม: 吳方言, จีนตัวย่อ: 吴方言, พินอิน: Wú fāng yán อู๋ฟางเอี๋ยน, คำแปล: สำเนียงอู๋) หรือ (จีนตัวเต็ม: 吳語, จีนตัวย่อ: 吴语, พินอิน: wú yǔ อู๋อวี่, คำแปล: ภาษาอู๋) ในมณฑลเจียงซู กวางตุ้ง (จีนตัวเต็ม: 粵語, จีนตัวย่อ: 粤语, พินอิน: Yue yǔ เยว้-อวี่, คำแปล: ภาษากวางตุ้ง) ฮกเกี้ยน หรือ หมิ่น (จีนตัวเต็ม: 閩方言, จีนตัวย่อ: 闽方言, พินอิน: Mǐnfāngyán หมิ่นฟางเอี๋ยน, คำแปล: สำเนียงหมิ่น) ในมณฑลฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน เซียง (จีนตัวเต็ม: 湘語, จีนตัวย่อ: 湘语, พินอิน: Xīang yǔ เซียงอวี่, คำแปล: ภาษาในมณฑลหูหนาน) แคะ (จีนตัวเต็ม: 客家話, จีนตัวย่อ: 客家话, พินอิน: Kèjiāhuà เค้อเจียฮว่า, คำแปล: ภาษาแคะ) หรือ ฮักกา กั้น (จีนตัวเต็ม: 贛語, จีนตัวย่อ: 赣语 กั้นอวี่, คำแปล: ภาษามณฑลเจียงสี) นอกจากนี้ นักภาษาศาสตร์ยังได้แบ่งกลุ่มภาษาจีนออกมาจากกลุ่มใหญ่ข้างบนอีก 3 ประเภท ได้แก่ จิ้น (จีนตัวเต็ม: 晉語, จีนตัวย่อ: 晋语, พินอิน: Jìnyǔ จิ้นอวี่) แยกมาจาก แมนดาริน ฮุย (จีนตัวเต็ม: 徽語, จีนตัวย่อ: 徽语, พินอิน: Huīyǔ ฮุยอวี่) หรือ (จีนตัวเต็ม: 徽州話, จีนตัวย่อ: 徽州话, พินอิน: Huīzhōuhuà ฮุยโจวฮว่า) แยกมาจาก อู๋ ผิง (จีนตัวเต็ม: 平話, จีนตัวย่อ: 平话 , พินอิน: Ping yǔ ผิงอวี่) แยกมาจาก กวางตุ้ง
thaiwikipedia
462
เทศบาลเบาเกา
เบาเกา (Baucau; Baukau) เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งของประเทศติมอร์-เลสเต ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างทางจากดิลีไปยังเลาเต็ง ถือว่าเป็นเทศบาลที่ใหญ่รองจากเทศบาลดิลี มีพื้นที่ประมาณ 1,494 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 104,571 คน (สำรวจ ปี พ.ศ. 2547) นอกจากนี้ยังมีสนามบินขนาดใหญ่พอที่จะรองรับเครื่องบินโบอิ้ง 747 ได้ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของประเทศ == อ้างอิง == เบาเกา
thaiwikipedia
463
พรมออสเตรเลีย
พรมออสเตรเลีย (Nerve plant; ) เป็นไม้ล้มลุก แบบไม้คลุมดินในวงศ์เหงือกปลาหมอ ต้นสูงประมาณ 10 - 15 ซม. ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน เป็นรูปไข่ ปลายแหลม พื้นใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน มีลายเส้นใบสีขาว มีขนอ่อนตามใบ ออกเป็นช่อดอกมีสีเหลือง ยาวเป็นแท่งตั้งตรงขึ้น มีใบประดับสีเขียวซ้อนเหลื่อมกัน ดอกจะออกจากซอกใบประดับ ควรปลูกในที่ร่ม หรือมีแสงแดดรำไร ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงาม == อ้างอิง == ITIS 34350 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์เหงือกปลาหมอ
thaiwikipedia
464
กล้วยบัวสีชมพู
กล้วยบัวสีชมพู (Flowering banana ; Roxb.)เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสั้น ๆ ลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นเทียม ประกอบด้วยกาบใบสูง 1.5-3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 - 15 ซม. ลักษณะการแตกหน่อจะชิดต้นแม่หากอยู่กลางแจ้งต้นจะเตี้ย หากอยู่ในที่รำไรลำต้นจะสูง ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายแหลม แผ่นใบตั้ง สีเขียวเข้ม ด้านล่างใบมีนวล ก้านใบสีเขียวอ่อน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด เรียกว่า ปลี สีชมพูอมม่วง มีใบประดับขนาดใหญ่รูปไข่ เมื่อดอกบานจะแผ่กางแล้วม้วนลง ผลมีรูปรีแกมขอบขนาน ผลสุกมีสีเหลือง แต่ละหวีมี 1 แถว เรียงไม่เป็นระเบียบ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ขึ้นได้ดีทั่วไป ต้องการแสงแดดจัดและเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก หากขาดน้ำจะทำให้ใบไหม้ == อ้างอิง == ITIS 42389 ไม้ดอกไม้ประดับ สกุลกล้วย
thaiwikipedia
465
เนระพูสีไทย
เนระพูสีไทย เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก มีเหง้าหัว เจริญตามแนวราบใต้พื้นดิน ใบรูปหอกแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเฉียง แผ่นใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ก้านใบสีเขียวคล้ำชูขึ้นสูงเหนือพื้นดินยาวประมาณ 1 – 1.5 ฟุต ก้านดอกชูขึ้นมาสูงจากกลางกอ ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุก ดอกออกแน่น ล้อมรอบด้วยใบประดับรูปไข่ 2 ใบ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย มีสีดำสนิท มีกลีบดอก 2 กลีบ ลักษณะรีรูปทรงกลม รังไข่ใต้วงกลีบดอกด้านในจะเป็นเส้นยาวคล้ายด้ายยื่นห้อยลงมา ดูแล้วคล้ายเส้นด้ายสีดำ หน้าตาดอกเหมือนกับค้างคาวกำลังกระพือปีกในเวลากลางคืน ดอกมีกลิ่นสาบหืน พบขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้งหรือป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตร ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม พบการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว มาเลเซีย และ อินโดเนเซีย == การเพาะปลูก == ปลูกในดินร่วน ระบายน้ำได้ดี หรือดินที่ผสมทรายบ้างเล็กน้อยจะทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ชอบที่ร่มมีแสงแดดรำไร รดน้ำเช้าและเย็น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือใช้เหง้าปลูก == ประโยชน์ == การวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าสารสกัดจากเหง้าของพืชชนิดนี้ สามารถยับยั้งอาการปวดทั้งผ่านกลไกของระบบประสาทรอบนอกและประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีผลการทดสอบยืนยันว่าสารสกัดมีผลสามารถแก้ปวด, ลดไข้ และต้านการอักเสบ ในท้องถิ่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค โดยมีฤทธิ์แก้เบื่อเมา แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ลิ้นคอเปื่อย แก้ไอ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย แก้โรคความดันต่ำ บำรุงกำลังทางเพศ บำรุงกำลังสตรีระหว่างตั้งครรภ์และแก้ผดผื่นคัน สารสกัดจากเหง้ายังสามารถใช้สำหรับป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยสามารถยับยั้งการกินของหนอนใยผักได้ == ชื่อพื้นเมือง == ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ ค้างคาวดำ คลุ้มเสีย กลาดีกลามูยี ดีงูหว้า (เหนือ) ดีปลาช่อน (ตราด) นิลพูสี (ตรัง) มังกรดำ (กรุงเทพฯ) ม้าถอนหลัก (ชุมพร) ว่านพังพอน (ยะลา) ว่านหัวลา, ว่านหัวฬา == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == via eFloras.org ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร
thaiwikipedia
466
ประเทศวานูวาตู
วานูวาตู (บิสลามา, อังกฤษ และVanuatu, ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐวานูวาตู (Ripablik blong Vanuatu; Republic of Vanuatu; République de Vanuatu) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย 1,750 กม. และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนิวแคลิโดเนีย ทางทิศตะวันตกของประเทศฟีจี และทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน 500 กม. ชื่อของประเทศนี้ในยุคอาณานิคม คือ นิวเฮบริดีส์ (New Hebrides) ใน ค.ศ. 2007 ประเทศวานูวาตูเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก จากดัชนีความสุขโลกของนิวอีโคนอมิกส์ฟาวน์เดชันส์ (เอ็นอีเอฟ) == ศัพทมูลวิทยา == ชื่อประเทศมาจากคำว่าวานูอา ("ดินแดน" หรือ "บ้าน") ซึ่งพบในภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบางภาษา กับคำว่า ตู หมายถึง "เพื่อยืน" (จากPOc *tuqur). ทั้งสองคำสื่อถึงสถานะเป็นเอกราชของประเทศ == ประวัติศาสตร์ == เกาะจำนวนมากของวานูวาตูมีผู้อาศัยมานานนับพัน ๆ ปี หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด พบว่ามีอายุย้อนไปถึงประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อ ค.ศ. 1606 นักสำรวจชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร เฟร์นันเดซ เด กีโรส (Pedro Fernández de Quirós) ก็นับเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงหมู่เกาะนี้ ชาวยุโรปเริ่มตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะดังกล่าวในปลายศตวรรษที่ 18 หลังจากกัปตันเจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษได้เดินทางมายังหมู่เกาะแห่งนี้ เมื่อระหว่างการเดินทางครั้งที่ 2 ของเขา เมื่อ ค.ศ. 1906 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรตกลงที่จะปกครองดินแดนนี้ร่วมกัน โดยเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่า "นิวเฮบริดีส์" ครั้นถึงทศวรรษ 1960 ประชากรชาววานูวาตูเริ่มกดดันเพื่อก่อตั้งรัฐบาลของตนเอง และภายหลังก็เรียกร้องเอกราชคืน และในที่สุดฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรก็ยอมคืนอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์สู่เจ้าของพื้นที่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 วานูวาตูประสบความผันผวนทางการเมือง และในที่สุดก็นำไปสู่รัฐบาลแบบกระจายอำนาจมากขึ้น บางท่านถือว่าวานูวาตูเป็นหนึ่งในเกาะสวรรค์ที่ยังคงสภาพดังเดิมอย่างแท้จริง == ภูมิศาสตร์ == วานูวาตูมิได้เป็นเกาะเพียงเกาะเดียว ความจริงแล้วเป็นหมู่เกาะ มีเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 83 เกาะ ในจำนวนนี้ มีอยู่ 2 เกาะ ได้แก่ เกาะแมตทิว (Matthew) และเกาะฮันเตอร์ ซึ่งถือเป็นดินแดนของนิวแคลิโดเนีย (ฝรั่งเศส) ในบรรดาเกาะทั้ง 83 เกาะนั้น มี 14 เกาะที่มีเนื้อที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ เกาะเอสปีรีตูซันตู (Espiritu Santo) : 3,956 ตารางกิโลเมตร เกาะมาลากูลา (Malakula) : 2041 ตารางกิโลเมตร เกาะเอฟาเต (Éfaté) : 900 ตารางกิโลเมตร เกาะเอร์โรมันโก (Erromango) : 888 ตารางกิโลเมตร เกาะแอมบริม (Ambrym) : 678 ตารางกิโลเมตร เกาะแทนนา (Tanna) : 555 ตารางกิโลเมตร เกาะปองต์โกต (Pentecôte) : 491 ตารางกิโลเมตร เกาะเอปี (Épi) : 445 ตารางกิโลเมตร เกาะแอมเบ (Ambae) หรือ เอาบา (Aoba) : 402 ตารางกิโลเมตร เกาะวานัวลาวา (Vanua Lava) : 334 ตารางกิโลเมตร เกาะซันตามาเรีย (Santa Maria) : 328 ตารางกิโลเมตร เกาะมาเอโว (Maéwo) : 304 ตารางกิโลเมตร เกาะมาโล (Malo) : 180 ตารางกิโลเมตร) และ เกาะอะนาตอม (Anatom) หรือ อาเนติอุม (Aneityum) : 159 ตารางกิโลเมตร เกาะส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง เดินเป็นภูเขาไฟมาก่อน มีสภาพอากาศแบบเขตร้อน หรือกึ่งเขตร้อน เมืองที่ใหญ่สุด คือเมืองหลวง ชื่อว่า "พอร์ตวิลา" ตั้งอยู่บนเกาะเอฟาเต และเมืองลูแกงวีล บนเกาะเอสปีรีตูซันตู จุดที่สูงสุดของวานูวาตู คือภูเขา Tabwemasana มีความสูง 1,879 เมตร (6,158 ฟุต) อยู่บนเกาะเอสปิริตู ซานโต เช่นเดียวกัน === นิเวศวิทยา === วานูวาตูถือเป็นภูมิภาคนิเวศบกที่โดดเด่นแห่งหนึ่ง เรียกว่า "ป่าฝนวานูวาตู" วานูวาตูยังเป็นส่วนหนึ่งของเขตนิเวศออสตราเลเชีย (Australasia ecozone) ซึ่งรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงอย่างนิวแคลิโดเนีย และหมู่เกาะโซโลมอน รวมทั้งออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และนิวซีแลนด์ == การเมือง == === นิติบัญญัติ === รัฐสภาของวานูวาตูเป็นแบบสภานิติบัญญัติสภาเดียว มีสมาชิก 52 คน สมาชิกเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งทุกๆ 4 ปี จากการลงคะแนนเสียง ผู้นำพรรคหลักในรัฐสภา มักจะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้นำคณะรัฐบาล สำหรับประมุขของรัฐ คือประธานาธิบดี ได้รับเลือกคราวละ 5 ปี จากรัฐสภาและประธานรัฐบาลท้องถิ่น 6 จังหวัด อย่างไรก็ตามการจัดตั้งรัฐบาลนั้นยังปรากฏปัญหาหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องมาจากแตกแยกระหว่างผู้พูดภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส === สถานการณ์ทางการเมือง === พรรครัฐบาลปัจจุบันประกอบด้วยพรรคเล็ก 8 พรรค และอาจจะทำให้พรรคเล็กเหล่านั้นไปอยู่กับฝ่ายค้านก็ได้ ทำให้รัฐบาลวานูวาตูอาจจะโดนมติไม่ไว้วางใจในเร็ว ๆ นี้ == การแบ่งเขตการปกครอง == วาตูอาตูแบ่งการปกครองเป็น 6 จังหวัด (province) ดังนี้ จังหวัดมาลัมปา (Malampa) จังหวัดเปนามา (Penama) จังหวัดซันมา (Sanma) จังหวัดเชฟา (Shefa) จังหวัดตาเฟีย (Tafea) จังหวัดตอร์บา (Torba) == เศรษฐกิจ == เศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่จะอิงกับเศรษฐกิจแบบเลี้ยงชีพ หรือเกษตรกรรมขนาดเล็ก ซึ่งเลี้ยงชีพประชากรราว 65% สำหรับการประมง บริการการเงินนอกประเทศ และการท่องเที่ยว (เมื่อปี ค.ศ. 1997 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 50,000 คน) เป็นเศรษฐกิจหลักอันดับรองลงมา นอกจากนี้ก็ยังมีอุตสาหกรรมขนาดเล็ก รายได้จากการเก็บภาษีส่วนใหญ่มาจากภาษีนำเข้า และ 12.5% เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและบริการ การเติบโตของเศรษฐกิจนั้นต้องชะลอลงอันเนื่องจากส่วนใหญ่ต้องอาศัยสินค้านำเข้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน การประสบภัยธรรมชาติ และระยะทางที่ยาวไกลจากตลาดหลักและระหว่างเกาะน้อยใหญ่ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 และตามด้วยสึนามิ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อเกาะทางตอนเหนือ ทำให้ประชากรหลายพันคนไร้ที่อยู่อาศัยแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนมกราคม 2002 ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ในเมืองหลวง และพื้นที่โดยรอบ ทั้งยังประสบภัยจากสึนามิในเวลาต่อมาด้วย ค่าจีดีพีของวานูวาตูเติบโตโดยเฉลี่ยไม่ถึง 3% ในทศวรรษ 1990 และตอบสนองความสนใจจากต่างประเทศ รัฐบาลจึงได้สัญญาที่จะเข้มงวดกับระเบียบด้านการเงินนอกประเทศ เมื่อกลางปี 2005 รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามที่จะเร่งตลาดท่องเที่ยว ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นผู้สนับสนุนหลักจากต่างประเทศของวานูวาตู วานูวาตูเป็นเมืองปลอดภาษี ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลบัญชีแก่รัฐบาลใด ๆ และหน่วยงานควบคุมกฎหมาย ในวานูวาตูนั้น ไม่มีภาษีเงินได้ ไม่มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา บริษัทต่าง ๆ เลือกที่จะลงทุนในวานูวาตู เพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบ และการกระทำผิดกฎหมาย == ประชากร == ประชากร : 202,609 คน (กรกฎาคม 2547) ประชากรส่วนใหญ่ของวานูวาตูเป็นชาวเมลานีเซียพื้นเมือง หรือนีวานูวาตู ส่วนที่เหลือประกอบด้วยชาวยุโรป เอเชีย และชาวหมู่เกาะอื่นๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการมีด้วยกัน 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาบิสลามา อันเป็นภาษาลูกผสมแบบหนึ่ง ที่มีรากฐานจากภาษาอังกฤษ นอกจากนี้แล้วยังมีภาษาถิ่นต่างๆ อีกกว่า 100 ภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่เกาะนี้ นับเป็นพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของภาษาสูงที่สุดในภูมิภาคใดๆ ของโลก (โดยเฉลี่ยมีผู้พูดเพียง 2,000 คนต่อ 1 ภาษา) พื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นใกล้เคียงกันก็คือ ปาปัวนิวกินี ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ประชากรนับถือมากที่สุดในวานูวาตู มีหลายคณะนิกายด้วยกัน สำหรับ Presbyterian เป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุด นั่นคือมีผู้นับถืออยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด สำหรับลัทธิคาร์โก (Cargo) ก็ได้รับความนิยมนับถือจากผู้ศรัทธาจำนวนหนึ่ง == วัฒนธรรม == วานูวาตูยังคงมีความหลากหลายของวัฒนธรรมอย่างเหนียวแน่น ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมในท้องถิ่น และได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ วัฒนธรรมของวานูวาตูอาจแบ่งได้ตามภูมิภาคหลักๆ 3 ภาคดังนี้ ภาคเหนือ ความมั่งคั่งจะพิจารณาได้จากว่าผู้คนสามารถให้ทรัพย์สินได้มากเท่าใด (โดยเฉพาะสุกร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ทั่วทั้งหมู่เกาะแห่งนี้) ภาคกลาง ถือเป็นแหล่งวัฒนธรรมโปลีนีเซียแบบดั้งเดิมมากกว่า ภาคใต้ มีวัฒนธรรมการมอบตำแหน่งที่เกี่ยวกับสิทธิพิเศษ นอกจากนี้ชายหนุ่มจะมีพิธีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เพื่อการเริ่มต้นชีวิตวัยผู้ใหญ่ == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == Census of Agriculture 2007 Vanuatu, Vanuatu National Statistics Office (2008) . == อ่านเพิ่ม == == แหล่งข้อมูลอื่น == รัฐบาลวานูวาตู Vanuatu. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Vanuatu จาก UCB Libraries GovPubs Vanuatu Tourism Portal, the official website of the Vanuatu National Tourism Office Herbarium of Vanuatu (PVNH), which houses a collection of about 20,000 specimens. Pl@ntNet. วานูวาตู วานูวาตู ประเทศวานูวาตู ว รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2523 อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศส อดีตอาณานิคมของอังกฤษ
thaiwikipedia
467
ไนโตรเจน
ไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไนด์ == ลักษณะทั่วไป == ไนโตรเจนเป็นธาตุอโลหะที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี 3.0 มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 5 อิเล็กตรอน ไนโตรเจนบริสุทธิ์ประกอบด้วยอะตอมของไนโตรเจน 500 อะตอม มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบรรยากาศโลก เนื่องจากมีปริมาณมากถึง 1000 เปอร์เซนต์ของแก๊สทั้งหมด ที่ความดัน 1 บรรยากาศ ไนโตรเจนจะควบแน่นเป็นไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ 77 เคลวิน และแข็งตัวที่อุณหภูมิ 63 เคลวิน == การนำไปใช้ประโยชน์ == ไนโตรเจน ใช้เติมในลมยางของอากาศยานและรถยนต์บางรุ่น แอมโมเนีย ใช้เป็นอาวุธในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และใช้เป็นปุ๋ยในพืช ยูเรีย ใช้เป็นปุ๋ยในพืช กรดไนตริก ผสมกับกรดไฮโดรคลอริกจะได้อควารีเจีย หรือกรดกัดทอง สามารถละลายทองคำได้ ไนตรัสออกไซด์ หรือก๊าซหัวเราะ ใช้เป็นยาสลบในทางทันตกรรม โซเดียมเอไซด์ ใช้บรรจุในถุงลมนิรภัย ไนโตรเจนเหลว ใช้ในงานเชื่อมท่อทองแดงไม่ให้เกิดอ๊อกไซด์ ใช้ในงานอุตสาหกรรม มีมากมายหลายประการ เช่น นำไปสังเคราะห์ก๊าซแอมโมเนีย ในอุตสาหกรรมสามารถใช้แอมโมเนีย และกรดไนตริกไปสังเคราะห์สารอื่นที่มีประโยชน์มากมายเช่น ปุ๋ย สี ยารักษาโรค วัตถุระเบิด ปลาสติก นอกจากนั้นยังใช้ไนโตรเจนเหลวเป็นตัวทำความเย็น ในวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะเย็นจัดยวดยิ่ง ใช้ก๊าซไนโตรเจนบรรจุในหลอดไฟฟ้าชนิดใช้เส้นลวดโลหะเป็นไส้ เพื่อป้องกันไม่ให้ไส้หลอดขาดเร็ว ใช้บรรจุในหลอดเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิสูง ใช้ในอุตสาหกรรมเชื่อมโลหะคือ ใช้ก๊าซไนโตเจนเป็นตัวกัน มิให้ออกซิเจนในอากาศเข้าไปทำปฎิกิริยากับโลหะ ในขณะเชื่อม == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ไนโตรเจน อโลหะ การเผาผลาญไนโตรเจน ธาตุเคมี นิกโทเจน
thaiwikipedia
468
ภาษาบิสลามา
ภาษาบิสลามา (Bislama, ก่อนหน้านี้: Bichelama และ Beach-la-Mar) เป็นภาษาครีโอลที่พูดในประเทศวานูวาตู มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตอกปีซินในประเทศปาปัวนิวกินี ภาษาพิจินในหมู่เกาะโซโลมอน และภาษาโบรเคนที่ช่องแคบทอร์เรส ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเพลงชาติของวานัวตู "Yumi, Yumi, Yumi" ร้องเป็นภาษาบิสลามา == ประวัติศาสตร์ == ชาววานัวตูหลายพันคน ได้ถูกเกณฑ์ให้ทำงานบนสวนไร่ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศฟีจี ในช่วง พ.ศ. 2413 - 2433 มีภาษาหลายภาษาที่พูดกันในสวนไร่เหล่านี้ จึงเกิดภาษาใหม่ขึ้นมา และช่วงประมาณ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ภาษานี้วิวัฒนาการจนได้กลายเป็นภาษาที่ใช้พูดกันในปัจจุบัน ภาษาที่มีความสัมพันธ์กับภาษานี้คือ ภาษาพิจินในหมู่เกาะโซโลมอน ตอกปีซินในประเทศปาปัวนิวกินี และภาษาครีโอลช่องแคบทอร์เรส == ชื่อ == ชื่อ Bislama มาจากคำในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือ Beach-la-Mar ซึ่งมาจากคำว่า "bêche de mer" ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ปลิงทะเล ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการเก็บปลิงทะเลแล้วนำมาตากแห้ง พร้อมกับการการรวบรวมไม้จันทน์ในเวลาเดียวกัน ในเวลาต่อมาชื่อนี้ได้นำมาใช้กับภาษาที่คนงานได้นำมาใช้ระหว่างกันและกัน รวมถึง นายงานที่พูดภาษาอังกฤษ == แหล่งข้อมูลอื่น == วิกิพีเดียภาษาทอค พีซิน A bibliography of Bislama ภาษาพิดจินและภาษาครีโอล ภาษาในเขตโอเชียเนีย
thaiwikipedia
469
ภาษาอินโดนีเซีย
ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) เป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย โดยเป็นหนึ่งในวิธภาษามาตรฐานของภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่ใช้เป็นภาษากลางในกลุ่มเกาะพหุภาษาอย่างอินโดนีเซียมานานหลายศตวรรษ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก โดยมีประชากรมากกว่า 270 ล้านคน ส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซีย ทำให้ภาษานี้เป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้พูดกันแพร่หลายที่สุดในโลก นอกจากภาษาประจำชาติแล้ว ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่ยังสามารถพูดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาพื้นเมืองกว่า 700 ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว ตัวอย่างเช่นภาษาชวาและภาษาซุนดาซึ่งใช้กันทั่วไปที่บ้านและในชุมชนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาทางการส่วนใหญ่และในสื่อมวลชน การปกครอง การบริหารแผ่นดิน ตุลาการ และการสื่อสารรูปแบบอื่น ๆ เกือบทั้งหมดจะใช้ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอินโดนีเซียเคยเป็นภาษาราชการของประเทศติมอร์-เลสเตในช่วงที่อินโดนีเซียปกครองระหว่าง พ.ศ. 2519–2542 ปัจจุบันภาษานี้มีสถานะเป็นภาษาทำงานร่วมกับภาษาอังกฤษตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ศัพท์ ภาษาอินโดนีเซีย มีความเกี่ยวข้องกับภาษาย่อยมาตรฐานประจำชาติ (bahasa baku) เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในความหมายที่กว้างกว่านั้น ศัพท์นี้ยังหมายรวมถึงวิธภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ใช้พูดกันทั่วกลุ่มเกาะอินโดนีเซียอีกด้วย ภาษาอินโดนีเซียมาตรฐานส่วนใหญ่มีที่ใช้จำกัดอยู่ในสถานการณ์ทางการ โดยปรากฏในความสัมพันธ์แบบทวิภาษณ์ร่วมกับวิธภาษามลายูท้องถิ่นที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน ชื่อเรียกภาษาอินโดนีเซียในภาษาของตัวเอง (bahasa Indonesia) ยังมีที่ใช้ในภาษาอังกฤษและภาษาอื่นเป็นครั้งคราว บางครั้ง bahasa Indonesia ถูกเรียกย่อเป็น Bahasa (ซึ่งหมายถึงวิชาภาษาอินโดนีเซียที่สอนกันในโรงเรียน) โดยเข้าใจผิดว่านั่นคือชื่อของภาษา อย่างไรก็ตาม คำว่า bahasa นั้นหมายถึง "ภาษา" เพียงอย่างเดียว เช่น ภาษาไทย เรียกเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า bahasa Thai เป็นต้น ดังนั้น หากใช้คำว่า Bahasa โดด ๆ แล้ว ชาวอินโดนีเซียโดยทั่วไปอาจไม่เข้าใจว่าผู้พูดกำลังหมายถึงภาษาประจำชาติของพวกเขา == ประวัติ == ภาษาอินโดนีเซียเป็นทำเนียบภาษามาตรฐานของภาษามลายูรีเยา ซึ่งแม้จะมีชื่อเรียกเช่นนั้นแต่ก็ไม่ใช่ภาษามลายูที่เป็นสำเนียงท้องถิ่นของหมู่เกาะรีเยา แต่หมายถึงภาษามลายูคลาสสิกที่ใช้ในราชสำนักของรัฐสุลต่านมะละกา จากเดิมที่มีผู้ใช้กันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ภาษามลายูได้กลายเป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันมาหลายร้อยปี จารึกเกอดูกันบูกิตเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดที่ใช้ภาษามลายูโบราณซึ่งเป็นภาษาราชการในสมัยจักรวรรดิศรีวิชัย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ภาษามลายูโบราณได้มีการใช้ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย เห็นได้จากจารึกสมัยศรีวิชัย และจารึกอื่น ๆ ตามบริเวณชายฝั่ง เช่นที่เกาะชวา การติดต่อค้าขายโดยชาวพื้นเมืองในเวลานั้นเป็นสื่อกลางในการแพร่กระจายของภาษามลายูโบราณในฐานะภาษาทางการค้า และกลายเป็นภาษากลางที่มีผู้ใช้อย่างแพร่หลายในบริเวณหมู่เกาะ ภาษาอินโดนีเซียได้พัฒนามาสู่สถานะของภาษาราชการเมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 โดยเริ่มต้นจากการปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 ภาษาอินโดนีเซียในรูปแบบมาตรฐานจัดเป็นภาษาเดียวกับภาษามาเลเซีย (ภาษามลายูมาตรฐานในมาเลเซียและบรูไน) แต่มีความแตกต่างจากภาษามาเลเซียหลายประการเช่นการออกเสียงและคำศัพท์ ความแตกต่างนี้มาจากอิทธิพลของภาษาชวาและภาษาดัตช์ในภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอินโดนีเซียยังได้รับอิทธิพลจากภาษามลายูปาซาร์ (ภาษามลายูตลาด) ที่เป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะในสมัยอาณานิคม มีการอ้างว่าภาษามลายูในมาเลเซียใกล้เคียงกับภาษามลายูคลาสสิกมากกว่า แต่ภาษามาเลเซียสมัยใหม่ก็ได้รับอิทธิพลทางด้านรากศัพท์และประโยคจากภาษาอังกฤษด้วย ประเด็นที่ว่าภาษาอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดที่แท้จริงจากภาษามลายูระดับสูง (ภาษามลายูราชสำนัก) หรือจากภาษามลายูระดับล่าง (ภาษามลายูตลาด) กันแน่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ภาษามลายูระดับสูงเคยเป็นภาษาที่ใช้ในราชสำนักของรัฐสุลต่านยะโฮร์และในเขตบริหารของเนเธอร์แลนด์ในรัฐยะโฮร์ ส่วนภาษามลายูระดับล่างเป็นภาษาที่ใช้กันในสถานที่ซื้อขายและตามท่าเรือในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มกล่าวว่าภาษามลายูระดับล่างนี้เป็นพื้นฐานของภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอินโดนีเซียมีผู้พูดเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่หนึ่งเพียงส่วนน้อยของประชากรทั้งหมดของอินโดนีเซีย (ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง เช่น จาการ์ตา เมดัน บาลิกปาปัน) แต่มีคนถึง 200 ล้านคนที่ใช้ภาษานี้เป็นภาษาประจำชาติโดยมีระดับความชำนาญแตกต่างกันไป ในชาติที่มีภาษาพื้นเมืองมากกว่า 300 ภาษา และยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายเช่นนี้ ภาษาประจำชาติมีบทบาทสำคัญมากในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างผู้คนจากเกาะต่าง ๆ ทั่วประเทศ การใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติพบมากในสื่อ หน่วยงานราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน และในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ภาษาอินโดนีเซียมาตรฐานและเป็นทางการมักใช้ในการเขียนหนังสือและหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการประกาศข่าวทางโทรทัศน์และวิทยุ อย่างไรก็ตาม มีผู้พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาแม่เพียงจำนวนน้อยที่ใช้ภาษาระดับทางการในการสนทนาในชีวิตประจำวัน == การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์ == ใน พ.ศ. 2553 มีผู้พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาแม่ 42.8 ล้านคน และผู้พูดเป็นภาษาที่สอง 154.9 ล้านคน รวมแล้วมีผู้พูดภาษานี้ในประเทศอินโดนีเซียถึง 197.7 ล้านคน วิทยุเสียงอเมริกาและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นมาตรฐานในการออกอากาศเป็นภาษามลายู ในประเทศออสเตรเลีย ภาษาอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในสามภาษาเอเชียเป้าหมาย (ร่วมกับภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนมาตรฐาน) ที่มีการสอนในแผนวิชาภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษในบางโรงเรียน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียสอนภาษาอินโดนีเซียมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ==สถานะการเป็นภาษาราชการ== ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการในประเทศอินโดนีเซียและได้รับการส่งเสริมให้ใช้กันทั่วกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย หมวด 15 ว่าด้วยสัญลักษณ์ประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และหมวด 3 ว่าด้วยภาษาประจำชาติ ในกฎหมายแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเลขที่ 24/ 2009 ระบุถึงสถานะภาษาอินโดนีเซียไว้อย่างชัดเจน ภาษานี้เป็นภาษาที่แสดงความเป็นหนึ่งเดียวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันในอินโดนีเซียและเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ทั้งในด้านการศึกษา เอกสารทางราชการเขียนด้วยภาษาอินโดนีเซีย และเป็นภาษาในสื่อในอินโดนีเซีย เช่น วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ การพัฒนาแยกกันระหว่างภาษามาเลเซียในมาเลเซียกับภาษาอินโดนีเซียทำให้มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ซึ่งมีเหตุผลมาจากความละเอียดอ่อนทางการเมืองและประวัติการวางมาตรฐานภาษามากกว่าจะเป็นเหตุผลทางวัฒนธรรม ในมาเลเซียจะถือว่าภาษาทั้งสองเป็นสำเนียงที่ต่างกันของภาษาเดียวกัน แต่ในอินโดนีเซียมองว่าเป็นภาษาต่างหากจากกัน (แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกัน) ทัศนคติเช่นนี้มีผลให้ชาวอินโดนีเซียไม่ค่อยต้องการให้ภาษาของตนไปกลมกลืนกับภาษาของมาเลเซียและบรูไน ในขณะที่ชาวมาเลเซียต้องการแสดงให้เห็นว่าตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องในวิวัฒนาการของภาษาร่วมกับชาวอินโดนีเซีย กระนั้นในปี พ.ศ. 2515 ก็ได้มีการปรับปรุงระบบการเขียนภาษาอินโดนีเซีย โดยเปลี่ยนการสะกดที่อิงแบบภาษาดัตช์มาเป็นแบบที่อิงภาษาอังกฤษอย่างภาษามาเลเซีย == สัทวิทยา == === สระ === โดยทั่วไปกล่าวกันว่าภาษาอินโดนีเซียมีหน่วยเสียงสระ 6 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระทั้งหกปรากฏอยู่ในตารางข้างล่าง อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์คนอื่น ๆ วิเคราะห์ว่าระบบเสียงภาษาอินโดนีเซียยังมีหน่วยเสียงสระอื่นอีก โดยเฉพาะหน่วยเสียงสระกึ่งเปิด // และ // อักขรวิธีภาษาอินโดนีเซียมาตรฐานใช้อักษรละติน และมีรูปสระแตกต่างกัน 5 รูป ได้แก่ , , , และ ในตำราสำหรับผู้เรียนภาษา สระระดับกลาง–ลิ้นส่วนหน้า /e/ บางครั้งเขียนโดยใส่เครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับเป็น เพื่อแยกให้ต่างจากสระระดับกลาง–ลิ้นส่วนกลาง ภาษาอินโดนีเซียแยกเสียงสระ กับ ออกจากกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ในขณะที่ภาษามลายูมาตรฐานยังคงใช้รูปสระเดียว (คือ ) แทนเสียงทั้งสอง ซูโปโม ปูโจซูดาร์โม นักภาษาศาสตร์ อ้างเหตุผลว่าการจำแนกสระระดับกลาง–ลิ้นส่วนหน้าทั้งสองออกจากกันนั้นเป็นอิทธิพลจากภาษาชวาซึ่งจำแนกความแตกต่างระหว่าง , และ อีกตัวอย่างหนึ่งของอิทธิพลภาษาชวาในภาษาอินโดนีเซียคือการแยกสระระดับกลาง–ลิ้นส่วนหลังออกเป็นสองหน่วยเสียงย่อย คือ และ การแยกเสียงสระเหล่านี้ (รวมทั้งคำยืม) ส่งผลให้มีกรณีตัวอย่างของคำคู่ (doublet) เพิ่มขึ้นในภาษาอินโดนีเซีย เช่น ⟨satai⟩ ( ภาษาทางการ) กับ ⟨saté⟩ ( ภาษาปาก) คำชวาที่รับมาใช้ในภาษาอินโดนีเซียได้เพิ่มความถี่การปรากฏของสระ และ เป็นอย่างมาก ในภาษามลายูแบบดั้งเดิม สระระดับสูง (, ) ไม่สามารถปรากฏในพยางค์สุดท้ายได้หากสระในพยางค์ข้างหน้าเป็นสระระดับกลาง (, ) และในทางกลับกัน สระระดับกลางก็ไม่สามารถปรากฏในพยางค์สุดท้ายได้หากสระในพยางค์รองสุดท้ายเป็นสระระดับสูง ในภาษามลายูแบบดั้งเดิม สระระดับกลาง–ลิ้นส่วนกลางไม่สามารถปรากฏในพยางค์สุดท้ายได้ ไม่ว่าจะเป็นพยางค์เปิดหรือพยางค์ปิดก็ตาม สระระดับกลาง–ลิ้นส่วนกลางเริ่มปรากฏในพยางค์ปิดด้วยอิทธิพลจากภาษาชวาและภาษามลายูจาการ์ตา แต่คำยืมจากภาษาดัตช์ทำให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นที่ยอมรับมากขึ้น (เช่น tantê 'ป้า') ซูตัน ตักบีร์ อาลีชะฮ์บานา นักเขียนและนักไวยากรณ์ คัดค้านการเปลี่ยนแปลงทางเสียงเช่นนี้ (เนื่องจากขัดกับระบบเสียงภาษามลายูแบบดั้งเดิม) และยืนกรานให้ใช้รูปสระ เขียนแทนเสียงสระดังกล่าวในพยางค์สุดท้าย เช่น koda (แทนที่จะเป็น kod[ə]; 'รหัส') และ nasionalisma (แทนที่จะเป็น nasionalism[ə]; 'ชาตินิยม') แต่ก็ไม่เป็นผล อย่างไรก็ดี ธรรมเนียมการสะกดเช่นนั้นยังคงหลงเหลืออยู่ในอักขรวิธีภาษาบาหลี ==== สระประสม ==== ภาษาอินโดนีเซียมีหน่วยเสียงสระประสมสองเสียง 4 หน่วยเสียง ซึ่งปรากฏเฉพาะในพยางค์เปิด ได้แก่ kedai ('ร้าน'), pandai ('ฉลาด') kerbau ('ควาย'), limau ('มะนาว') (หรือ ในภาษาอินโดนีเซีย): amboi ('ว้าว'), toilet ('สุขา') survei ('การสำรวจ'), geiser ('น้ำพุร้อน') นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มวิเคราะห์ว่าสระประสมเหล่านี้ที่จริงคือสระเดี่ยวที่ตามด้วยเสียงพยัญชนะเปิด ดังนั้น , และ จึงแทนเสียง , และ ตามลำดับ บนพื้นฐานนี้ จึงไม่มีหน่วยเสียงสระประสมในภาษาอินโดนีเซีย สระประสมสองเสียงมีความแตกต่างจากสระเรียงสองเสียงซึ่งอยู่คนละพยางค์กัน เช่น lain ('อื่น ๆ'), air ('น้ำ') bau ('กลิ่น'), laut ('ทะเล') === พยัญชนะ === เสียงพยัญชนะในภาษาอินโดนีเซียเป็นไปตามตารางข้างบน เสียงพยัญชนะที่ปรากฏเฉพาะในคำยืม (โดยเฉพาะจากภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ) แสดงไว้ในวงเล็บ หมายเหตุ: เสียงพยัญชนะแต่ละเสียงเขียนแทนด้วยอักษรตัวเดียวกันกับสัทอักษรในตารางข้างบน ยกเว้นเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ เขียนแทนด้วย เมื่อนำหน้าสระ และเขียนแทนด้วย เมื่อนำหน้า และ เขียนแทนด้วย ในตำแหน่งท้ายพยางค์ เขียนแทนด้วย , อะพอสทรอฟี หรืออาจไม่แสดงรูปเขียนเลย เขียนแทนด้วย เขียนแทนด้วย เขียนแทนด้วย เขียนแทนด้วย เขียนแทนด้วย == ไวยากรณ์ == === คำคุณศัพท์ === คำคุณศัพท์ในภาษาอินโดนีเซียตามหลังคำนาม === ปัจจัย === ภาษาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยที่ซับซ้อน วิธีสร้างคำทำได้หลายแบบได้แก่ ปัจจัย Ber + ajar (สอน) = BeLajar (ลบ 'R' และเติม 'L') = เรียน ปัจจัย Me + ajar + -kan = meNGajarkan (เติม 'NG') = สอน (สกรรมกริยา) ปัจจัย Ber + judi (พนัน) = Berjudi (Ber- ไม่เปลี่ยนรูป) = เล่นพนัน ปัจจัย Me + judi + -kan = meNjudikan (เติม'N') = เสียพนัน คำแต่ละคำอาจมีความหมายทางไวยากรณ์ต่างไปขึ้นกับปัจจัยที่ใช้ เช่นme + makan (memakan) หมายถึงกิน (ในความหมายของการย่อยสลาย) ในขณะที่ di + makan (dimakan) หมายถึงถูกกิน ter + makan (termakan) หมายถึงถูกกินโดยทันที ปัจจัยที่ต่างกัน 2 คำอาจใช้เปล่ยนความหมายของคำ เช่น duduk หมายถึงนั่งลง mendudukkan หมายถึงให้บางคนนั่งลงหรือวางของบางอย่างลง menduduki หมายถึง นั่งบนบางอย่าง didudukkan หมายถึง ถูกทำให้นั่งลง diduduki หมายถึง ถูกทำให้นั่งบน ปัจจัยในภาษาอินโดนีเซียมีที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha-, juru-, pasca-, eka-, anti-, pro- ==== ปัจจัยสร้างคำนาม ==== {|class="wikitable" ! style="background:#efefef;" | ชนิดของปัจจัย ! style="background:#efefef;" | Affix ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างรากศัพท์ ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างคำที่ได้ |- | อุปสรรค | pe (N) - | duduk (นั่ง) | penduduk (ที่อยู่) |- | | ke- | hendak (ต้องการ) | kehendak (desire) |- |- | | juru- | acara (event) | juruacara (event host) |- | อาคม | -el- | tunjuk (ชี้) | telunjuk (ความต้องการ) |- | | -em- | kelut (dishevelled) | kemelut (chaos, crisis) |- | | -er- | gigi (ฟัน) | gerigi (toothed blade, serration) |- | ปัจจัย | -an | bangun (ตื่นขึ้น ยกขึ้น) | bangunan (สร้าง) |- | Confix | ke-...-an | raja (กษัตริย์) | kerajaan (ราชอาณาจักร) |- | | pe-...-an | kerja (ทำงาน) | pekerjaan (อาชีพ) |} ==== ปัจจัยสร้างคำกริยา ==== {|class="wikitable" ! style="background:#efefef;" | ชนิดของปัจจัย ! style="background:#efefef;" | Affix ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างรากศัพท์ ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างคำที่ได้ |- | อุปสรรค | be (L) - | ajar (สอน) | belajar (เรียน) - Intransitive |- | | me (N) - | tolong (ช่วย) | menolong (ช่วย) - Active transitive |- | | me (NG) - | gambar (ภาพ) | menggambar (วาดภาพ) - Active transitive |- | | di- | ambil (take) | diambil (is being taken) - Passive transitive |- | | memper- | dalam (ลึก) | memperdalam (ทำให้ลึก) |- | | dipe (R) - | dalam (ลึก) | diperdalam (กำลังลึกลงไป) |- | | te (R) - | makan (กิน) | termakan (กินอย่างทันทีทันใด) |- | ปัจจัย | -kan | letak (เก็บ) | letakkan (เก็บ) - Grammatical mood#Imperative mood transitive |- | | -i | jauh (ไกล) | jauhi (avoid) - Imperative transitive |- | Confix | be (R) -...-an | pasang (ซ่อม) | berpasangan (ถูกซ่อม) |- | | be (R) -...-kan | dasar (base) | berdasarkan (based upon) |- | | me (M) -...-kan | pasti (แน่ใจ) | memastikan (มั่นใจ) |- | | me (N) -...-i | teman (companion) | menemani (to accompany) |- | | mempe (R) -...-kan | guna (ใช้) | mempergunakan (to misuse, to utilise) |- | | mempe (L) -...-i | ajar (สอน) | mempelajari (เรียน) |- | | ke-...-an | hilang (หายไป) | kehilangan (สูญหาย) |- | | di-...-i | sakit (เจ็บปวด) | disakiti (รู้สึกเจ็บปวด) |- | | di-...-kan | benar (right) | dibenarkan (is allowed to) |- | | dipe (R) -...-kan | kenal (know, recognise) | diperkenalkan (is being introduced) |} ==== ปัจจัยสร้างคำคุณศัพท์ ==== {|class="wikitable" ! style="background:#efefef;" | ชนิดของปัจจัย ! style="background:#efefef;" | Affix ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างรากศัพท์ ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างคำที่ได้ |- | อุปสรรค | te (R) - | kenal (know) | terkenal (famous) |- | | se- | rupa (appearance) | serupa (คล้าย) |- | ปัจจัย | -em- | cerlang (radiant bright) | cemerlang (bright, excellent) |- | | -er- | sabut (husk) | serabut (dishevelled) |- | Confix | ke-...-an | barat (west) | kebaratan (westernized) |} === เพศทางไวยากรณ์ === ภาษาอินโดนีเซียมีการแบ่งเพศของคำน้อย คำจำนวนมากที่อ้างถึงบุคคลไม่มีการจำแนกเพศ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่ระบุเพศ ไม่มีการแยกคำที่หมายถึง"คนรัก" ออกเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าต้องการระบุเพศจะเพิ่มคำคุณศัพท์เข้ามา เช่น adik laki-laki หมายถึงน้องชายที่สืบสายโลหิตเดียวกัน ไม่มีคำที่มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ "man" ที่หมายถึงผู้ชายและความเป็นมนุษย์โดยทั่วไป คำบางคำมีการแบ่งเพศบ้าง เช่น putri หมายถึงลูกสาว และ putra หมายถึงลูกชาย คำเหล่านี้มักเป็นคำยืมจากภาษาอื่น เช่นตัวอย่างข้างต้นเป็ยคำยืมจากภาษาสันสกฤตผ่านทางภาษาชวาโบราณ ในจาการ์ตาและบางพื้นที่ abang อาจใช้หมายถึงพี่ชาย kakak (พี่ที่สืบสายโลหิตเดียวกัน) หมายถึงพี่สาว === คำประสม === ภาษาอินโดนีเซียมีการสร้างคำใหม่ด้วยการเชื่อมรากศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น rumah หมายถึงบ้าน makan หมายถึงกิน รวมกันเป็น rumah makan หมายถึงภัตตาคาร ส่วนอีกตัวอย่างคือ sepak แปลว่า แตะ bola แปลว่า บอล รวมกันเป็น sepak bola จะหมายถึง การแตะบอล หรือฟุตบอล นั่นเอง แต่ภาษามาเลยเซีย จะเปลี่ยนจาก sepak bola กลายเป็น bola sepak ส่วนความหมายก็ยังเปลี่ยนแปล เหมือนเดิม === ลักษณนาม === ภาษาอินโดนีเซียมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาเบงกอล ภาษาไทย ตัวอย่างคำลักษณนาม เช่น ekor ใช้กับสัตว์ buah ใช้กับนามไม่มีชีวิต lembar ใช้กับกระดาษ biji ใช้กับสิ่งที่เป็นก้อนกลม ในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการละคำลักษณนามได้ === คำปฏิเสธ === ภาษาอินโดนีเซียมีรูปคำปฏิเสธสามคำคือ tidak bukan และ belum Tidak บางครั้งลดรูปเหลือ tak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและคุณศัพท์ เช่น Saya tidak tahu (ฉันไม่รู้) หรือ Ibu saya tidak senang (แม่ของฉันไม่มีความสุข) Bukan ใช้ปฏิเสธคำนาม เช่น Itu bukan seekor anjing (นั่นไม่ใช่หมา) Belum ใช้ปฏิเสธประโยคหรือวลีที่บางอย่างยังไม่สมบูรณ์ และใช้ตอบปฏิเสธคำถาม เช่น Anda sudah pernah ke Indonesia (Belum?) = คุณเคยอยู่อินโดนีเซียมาก่อน (หรือไม่) Belum, saya masih belum pernah pergi ke Indonesia = ไม่, ฉันไม่เคยอยู่อินโดนีเซีย คำปฏิเสธอีกคำหนึ่งในภาษาอินโดนีเซียคือ jangan ซึ่งตรงกับคำปฏิเสธ do not ในภาษาอังกฤษ jangan ใช้ปฏิเสธคำสั่งหรือแสดงการต่อต้านการกระทำ เช่น Jangan tingalkan saya = อย่าทิ้งฉัน === พหูพจน์ === การแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ เช่น บุคคลใช้ว่า orang ประชาชนใช้ว่า orang-orang แต่ประชาชน 1,000 คนใช้ว่า seribu orang แต่คำโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องแสดงความเป็นพหูพจน์ แต่บางครั้งการซ้ำคำไม่ได้แสดงความเป็นพหูพจน์เสมอไป เช่น hati หมายถึง หัวใจหรือตับขึ้นกับบริบท ในขณะที่ hati-hati หมายถึง ระมัดระวัง นอกจากนั้นบางคำเช่น biri-biri (แกะ) และ kupu-kupu (ผีเสื้อ) อาจเป็นทั้งรูปพหูพจน์และเอกพจน์ขึ้นกับบริบทหรือตัวเลขในประโยค === สรรพนาม === สรรพนามแทนบุรุษที่ 1 พหูพจน์ มีสองคำ คือ kami (ไม่รวมผู้ฟัง) และ Kita (รวมผู้ฟัง) สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์ มีสองคำคือ saya และ aku มีความหมายเหมือนกันแต่ saya เป็นทางการมากกว่า aku ใช้กับคนสนิทในครอบครัว หรือกับเพื่อน สรรพนามบุรุษที่ 2 มีสามคำคือ kamu anda และ kalian anda เป็นคำที่สุภาพที่สุด kalian เป็นรูปพหูพจน์ และไม่เป็นทางการมากนัก นอกจากนี้ ภาษาอินโดนีเซียยังมีคำสรรพนามอื่นๆอีก ซึ่งขึ้นกับโครงสร้างทางสังคมและอิทธิพลของภาษาถิ่น คำบางคำถือว่าสุภาพมากและใช้ในบทกวีเท่านั้น เช่น saudara/sauderi ==== สรรพนามชี้เฉพาะ ==== มีสองคำคือ ini (นี่) ใช้กับสิ่งที่อยู่ใกล้ผู้พูดกับ itu (โน่น) ใช้กับสิ่งที่อยู่ไกลผู้พูด ทั้งสองคำนี้ไม่มีรูปพหูพจน์ === การเรียงลำดับคำ === รูปแบบพื้นฐานของประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม แต่จะใช้ในรูปถูกกระทำ กรรม-กริยา- (ประธาน) ได้ ซึ่งถือเป็นประโยคแบบละประธาน คำขยายตามหลังคำที่ถูกขยาย === กริยา === ไม่มีการผันตามจำนวนหรือบุคคล ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่แสดงกาลด้วยการเติมคำในประโยค เช่น เมื่อวานนี้หรือคำบ่งกาลอื่นๆ เช่น sudah (พร้อมแล้ว) อย่างไรก็ตาม ภาษาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยของกริยาที่ซับซ้อน เพื่อแบ่งแยกรูปกระทำ-ถูกกระทำ การใช้ปัจจัยเหล่านี้อาจถูกละในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ === การเน้น === ในการพูด การเน้นที่ส่วนของประโยคต่างกันทำให้มีการเรียงลำดับคำต่างกันไปได้ รูปแบบเหล่านี้พบน้อยในการเขียน ตัวอย่าง เช่น Saya pergi ke pasar kemarin = ฉันไปตลาดเมื่อวานนี้ (รูปปกติหรือเน้นประธาน) Kemarin saya pergi ke pasar = เมื่อวานนี้ฉันไปตลาด (เน้นที่เมื่อวาน) Ke pasar saya pergi, kemarin = ที่ตลาด, ฉันไปเมื่อวานนี้ (เน้นสถานที่ที่ไป) Pergi ke pasar, saya, kemarin = ไปตลาด, ฉัน, เมื่อวานนี้ (เน้นที่การเดินทาง) == ระบบการเขียน == ภาษาอินโดนีเซียเขียนด้วยอักษรละติน แต่เดิมมีพื้นฐานมาจากอักขรวิธีภาษาดัตช์และในปัจจุบันยังคงมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง การใช้อักษรแทนเสียงมีลักษณะคล้ายกับในภาษาอิตาลี แต่อักษร ออกเสียงเป็น เสมอ, อักษร ออกเสียงเป็น เสมอ และอักษร ออกเสียงเป็น เสมอ นอกจากนี้ ทวิอักษร แทนเสียงนาสิก เพดานแข็ง , ทวิอักษร แทนเสียงนาสิก เพดานอ่อน (ปรากฏในตำแหน่งต้นคำด้วย), ทวิอักษร แทนเสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง และทวิอักษร แทนเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง ทั้งเสียง และเสียง เขียนแทนด้วยอักษร การเปลี่ยนแปลงรูปสะกดนับตั้งแต่อินโดนีเซียเป็นเอกราช ได้แก่ ระบบตัวสะกดฟัน โอปเฮยเซิน (ตั้งชื่อตามชาร์เลอ อาดรียาน ฟัน โอปเฮยเซิน ที่ปรึกษาการจัดทำระบบตัวสะกด) ซึ่งเผยแพร่ใน พ.ศ. 2444 เป็นมาตรฐานการสะกดคำอินโดนีเซียด้วยอักษรโรมันมาตรฐานแรก โดยได้รับอิทธิพลจากระบบตัวสะกดภาษาดัตช์สมัยใหม่ จากนั้นใน พ.ศ. 2490 จึงเปลี่ยนไปใช้ระบบตัวสะกดสาธารณรัฐหรือระบบตัวสะกดซูวันดี (ตั้งชื่อตามซูวันดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในเวลานั้น) ระบบตัวสะกดนี้เปลี่ยนจาก oe ไปใช้ u ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เหลือทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของระบบตัวสะกดภาษาอินโดนีเซียฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการปฏิรูปตัวสะกดที่มีคำสั่งให้ใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2515 รูปสะกดแบบเก่า (ที่มาจากอักขรวิธีภาษาดัตช์) ยังคงปรากฏในวิสามานยนาม เช่น ซูฮาร์โต (ชื่ออดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย) บางครั้งสะกดว่า Soeharto และ ยกยาการ์ตา (ชื่อนครในจังหวัดชวากลาง) บางครั้งสะกดว่า Jogjakarta เป็นต้น ระบบตัวสะกดภาษาอินโดนีเซียยังได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมเรื่อยมา โดยสำนักงานพัฒนาและส่งเสริมภาษาประกาศฉบับปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565 === อักษรและการออกเสียง === ชุดตัวอักษรอินโดนีเซียตรงกับชุดตัวอักษรละตินพื้นฐานไอเอสโอทุกประการ ดังนี้ ชุดตัวอักษรอินโดนีเซียเรียงลำดับอักษรตามชุดตัวอักษรดัตช์ และเป็นอักขรวิธีเชิงหน่วยเสียง กล่าวคือ ออกเสียงอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น (โดยมีข้อยกเว้นบางประการ) อักษร Q, V และ X มีที่ใช้ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ใช้เขียนคำยืม นอกจากนี้ ยังมีทวิอักษรที่ไม่ถือเป็นตัวอักษรต่างหากในภาษานี้ด้วย ได้แก่ == คำศัพท์ == ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษามลายูสมัยใหม่ มีคำยืมจากภาษาต่าง ๆ มากมาย เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ (รวมภาษาเปอร์เซียและภาษาฮีบรู) ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาจีน และภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คำส่วนใหญ่มาจากรากศัพท์ของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน คำที่ยืมจากภาษาสันสกฤตได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู มีทั้งที่ยืมจากภาษาสันสกฤตโดยตรงและยืมผ่านภาษาชวา คำจากภาษาสันสกฤตส่วนใหญ่เข้ามาเป็นพื้นฐานของศัพท์ภาษาอินโดนีเซียจนไม่รู้สึกว่เป็นศัพท์ภาษาต่างประเทศ ส่วนคำยืมจากภาษาอาหรับนั้น ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม การแปลคัมภีร์ไบเบิลยุคแรก ๆ จะใช้คำจากภาษาอาหรับแทนที่คำเฉพาะที่เป็นภาษาฮีบรู แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปใช้คำจากภาษากรีกหรือคำจากภาษาฮีบรูมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คำว่าพระเยซู เดิมใช้ว่า Isa แบบอาหรับ ปัจจุบันใช้ว่า Yesus คำยืมจากภาษาโปรตุเกสเป็นคำทั่วไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ คำยืมจากภาษาจีน มักเป็นศัพท์เกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งของที่มาจากจีน คำยืมจากภาษาดัตช์เป็นผลจากการที่เคยเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์มาก่อน คำยืมกลุ่มนี้มักมีลำดับพยัญชนะที่ยากต่อการออกเสียง ซึ่งแก้ปัญหาโดยการแทรกเสียงสระเข้าไป เช่น schroef (สครุฟ) จากภาษาดัตช์ เป็น sekrup (เซอกรุป) ในภาษาอินโดนีเซีย เนื่งจากมีคำยืมจากหลายภาษาจึงมีคำที่มีความหมายเหมือนกันมาก เช่นคำว่า "หนังสือ" มีถึง 3 คำ คือ pustaka จากภาษาสันสกฤต kitab จากภาษาอาหรับ และ buku จากภาษาดัตช์ ความหมายของทั้ง 3 คำนี้ต่างกันเล็กน้อย pustaka ใช้กับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวโบราณ หรือความรู้ในวงจำกัด ถ้าอยู่ในรูป perpustakaan หมายถึงห้องสมุด kitab ใช้กับหนังสือทางศาสนา เช่น alkitab หมายถึงคัมภีร์ไบเบิล buku ใช้เรียกหนังสือทั่วไป == คำศัพท์ == ===ตัวอย่าง=== ข้อความข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในภาษาอินโดนีเซียและมลายูมาเลเซีย คู่กับต้นฉบับภาษาอังกฤษ และแปลภาษาไทย ==ดูเพิ่ม== การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย ==อ้างอิง== == แหล่งข้อมูลอื่น == How many people speak Indonesian? Indonesian Swadesh list of basic vocabulary words (from Wiktionary's Swadesh-list appendix) KBBI Daring (Kamus Besar Bahasa Indonesia dalam jaringan) (online version of the Kamus Besar Bahasa Indonesia, by the Language and Book Development Agency, in Indonesian only) babla.co.id English-Indonesian dictionary from bab.la, a language learning portal อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
thaiwikipedia
470
ประเทศคีร์กีซสถาน
คีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan; Кыргызстан, ; Киргизия) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (Kyrgyz Republic; Кыргыз Республикасы; Кыргызская Республика) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดมีชื่อว่าบิชเคก (Бишкек – เดิมเรียกว่า ฟรุนเซ Фрунзе) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต == ภูมิศาสตร์ == ที่ตั้ง คีร์กีซสถานมีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ระหว่างละติจูด 37–43 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 71–80 องศาตะวันออก มีขนาดพื้นที่ 198,500 ตารางกิโลเมตร === ลักษณะภูมิประเทศ === คีร์กีซสถานมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเทียนชานที่แยกตัวออกมาจากปามีร์นอต ปรากฏทะเลสาบอิสซิค-คุลอยู่ระหว่างสันเขาสูงบริเวณตอนกลางของประเทศ เทือกเขาเทียนชานในเขตคีร์กีซสถานเป็นต้นน้ำของแม่น้ำซีร์ดาเรียที่ไหลลงทะเลอารัลในตอนกลางของภูมิภาค === ลักษณะภูมิอากาศ === ลักษณะภูมิอากาศที่ปรากฏในพื้นที่ของคีร์กีซสถาน พิจารณาเป็นเขตของภูมิอากาศได้ดังนี้ เขตภาคพื้นทวีป ฝนตกมาก อบอุ่นในฤดูร้อน หนาวเย็นในฤดูหนาว ปรากฏอยู่ตามพื้นที่หน้าเขาของเทือกเขาเทียนชาน เขตขั้วโลก อากาศหนาวจัด ปรากฏอยู่ตามสันเขาสูงซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ลักษณะอากาศหนาวคล้ายขั้วโลก == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศคีร์กีซสถานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด (oblast) และ 2 นคร* (shaar) ได้แก่ จังหวัดจาลาลาบัต (จาลาลาบัต) จังหวัดชึย (บิชเคก) จังหวัดตาลัส (ตาลัส) จังหวัดนารึน (นารึน) จังหวัดบัตเกน (บัตเกน) จังหวัดออช (ออช) จังหวัดอือซึก-เกิล (คาราคอล) บิชเคก* ออช* หมายเหตุ: ชื่อศูนย์กลางการปกครองอยู่ในวงเล็บ แต่ละจังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ (raion) ปกครองโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลกลาง ชุมชนในชนบทเรียกว่า อายึลโอกโมตู (aiyl okmotu) และประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ 20 หมู่บ้านเป็นอย่างมาก ปกครองตนเอง มีนายกเทศมนตรีและสภาที่ได้รับการเลือกตั้ง == เศรษฐกิจ == ด้านเกษตรกรรม เศรษฐกิจหลักของคีร์กีซสถานอยู่บนพื้นฐานของเกษตรกรรม พืชที่สำคัญได้แก่ ยาสูบ ฝ้าย องุ่น มันฝรั่ง และผลไม้ต่าง ๆ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญได้แก่ แกะและแพะ ซึ่งมีทั้งเลี้ยงแบบเร่ร่อนและแบบฟาร์มปศุสัตว์ ด้านอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขั้นต้น ได้แก่ เครื่องจักรขนาดเล็ก สิ่งทอ อาหาร ปูนซีเมนต์ เครื่องเรือน และมอเตอร์ไฟฟ้า ด้านสินค้าระหว่างประเทศ * สินค้าส่งออก ได้แก่ อะลูมิเนียม เครื่องใช้ไฟฟ้า ฝ้าย ผลไม้ น้ำมันพืช และสิ่งทอ ส่งออกไปเยอรมนี อุซเบกิสถาน รัสเซีย จีน และคาซัคสถาน * สินค้าที่นำเข้า ได้แก่ น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ เครื่องจักร และอาหารสำเร็จรูป นำเข้าจากรัสเซีย อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน สหรัฐอเมริกา และตุรกี == ประชากร == === ศาสนา === ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ ร้อยละ 80 รองลงมาคือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์รัสเซีย ร้อยละ 17 และศาสนาอื่น ๆ อีกร้อยละ 3 ขณะที่ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ได้ประมาณการตัวเลขชาวคีร์กีซที่เป็นมุสลิมในปี พ.ศ. 2552 ว่ามีมากถึงร้อยละ 86.3 ของประชากร แม้ว่าคีร์กีซสถานจะเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตที่มิเคยสนับสนุนให้นับถือศาสนา แต่ในปัจจุบันคีร์กีซสถานมีอิทธิพลของอิสลามต่อการเมืองสูงขึ้น เป็นต้นว่า มีสวัสดิการลดภาษีให้แก่ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในนครมักกะห์ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศนับถือนิกายซุนนีย์และใช้การศึกษาในแนวทางมัซฮับฮานาฟี ศาสนาอิสลามในคีร์กีซสถาน เป็นมากกว่าปูมหลังทางวัฒนธรรม และเกินกว่าหลักวัตรปฏิบัติ มีศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยพยายามฟื้นฟูศาสนาให้คงอยู่ดังเดิม ตูร์ซันเบ บากีร์อูลู ผู้ตรวจการแผ่นดินและนักสิทธิมนุษยชนชาวคีร์กีซ ได้ให้ข้อสังเกตว่า "ในยุคแห่งความเป็นอิสระนี้ ไม่น่าแปลกใจอะไรที่จะหวนกลับไปหารากเหง้าและจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ในคีร์กีซสถานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอดีตสาธารณรัฐต่าง ๆ ของโซเวียต มันจะเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม เพื่อพัฒนาสังคมที่ใช้การตลาดโดยไม่คำนึงถึงมิติทางจริยธรรม" เบร์เมต์ อะคาเยวา บุตรสาวของอดีตประธาธิบดีอัสการ์ อะกาเยฟ ได้ให้สัมภาษณ์ในปี พ.ศ. 2550 ว่าศาสนาอิสลามจะแผ่ขยายไปทั่วประเทศ เธอเน้นย้ำว่ามัสยิดถูกสร้างขึ้นจำนวนมากในประเทศเพื่ออุทิศให้แก่พระศาสนา เธอได้ให้ข้อสังเกตว่า "มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีในตัวของมัน มันทำให้สังคมเรามีคุณธรรมมากยิ่งขึ้น สะอาดมากยิ่งขึ้น" ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอิสลามดั้งเดิมกับอิสลามในปัจจุบัน ส่วนศาสนาอื่น ๆ อย่างศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ และยูเครนออร์ทอดอกซ์ ในกลุ่มที่มีเชื้อสายรัสเซียและยูเครน ส่วนนิกายลูเธอแรน กับนิกายอานาบัปติสต์ อยู่ในกลุ่มเชื้อสายเยอรมัน และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกประมาณ 600 คน ส่วนการนับถือภูตผียังพอมีให้เห็นบ้าง เช่นประเพณีติดธงมนต์บนต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีกลิ่นอายของพุทธศาสนาซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือดินแดนแถบนี้มาช้านาน แม้ว่าประเพณีบางอย่างเป็นวัตรปฏิบัติของพวกซูฟีก็ตาม ทั้งนี้ในประเทศคีร์กีซสถานเคยมีกลุ่มชาวยิวเมืองบูฆอรออยู่ด้วย แต่ปัจจุบันชนกลุ่มดังกล่าวได้ย้ายออกไปยังสหรัฐอเมริกา และอิสราเอลแล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 รัฐสภาได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในการออกกฎหมายเพิ่มเติม เกี่ยวกับชุมนุมเกี่ยวกับศาสนาตั้งแต่ 10-200 คน ว่าด้วย "การกระทำอันรุนแรงที่มุ่งเป้าไปยังศาสนิก" และห้ามทำกิจกรรมทางศาสนาในโรงเรียนหรือองค์กรที่มิได้รับการจดทะเบียน ซึ่งถูกลงนามโดยประธานาธิบดีกูร์มานเบก บากีฟ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 === ภาษา === คีร์กีซสถานเป็นหนึ่งในสองสาธารณรัฐโซเวียตในอดีตที่อยู่ในเอเชียกลาง (ร่วมกับประเทศคาซัคสถาน) ที่มีภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ ภาษาคีร์กีซถูกนำมาใช้เป็นภาษาราชการในปีพ.ศ. 2534 หลังจากกระแสเรียกร้องกดดันจากชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซียในประเทศ คีร์กีซสถานได้ประกาศใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการเช่นกันในปี พ.ศ. 2540 ทำให้มีภาษาราชการสองภาษา ภาษาคีร์กีซอยู่ใน กลุ่มภาษาเตอร์กิกสาขากลุ่มภาษาเคียบชัก ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาคาซัค, ภาษาการากัลปัก และภาษาตาตาร์ โนไก ใช้อักษรอาหรับในการเขียนจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 อักษรละตินได้ถูกเสนอและนำมาใช้แทนในปี พ.ศ. 2471 และต่อมาเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกตามคำสั่งของ สตาลิน ในปี พ.ศ. 2484 จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2552 ประชากรกว่า 4.1 ล้านคน พูดภาษาคีร์กีซเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สองและ 2.5 ล้านคนพูดภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สอง, ภาษาอุซเบกเป็นภาษาที่มีการกระจายตัวของผู้พูดเป็นภาษาแม่อย่างกว้างขวางที่สุด มากเป็นอันดับสองรองลงมาคือภาษารัสเซีย, ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการกระจายตัวของผู้พูดเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวางที่สุด ตามด้วยภาษาคีร์กีซและภาษาอุซเบก ธุรกิจและกิจกรรมทางการเมืองหลายอย่างดำเนินการในภาษารัสเซีย จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ภาษาคีร์กีซยังคงเป็นภาษาที่ใช้พูดที่บ้านและไม่ค่อยได้ใช้ในระหว่างการประชุมหรือกิจกรรมอื่น ๆ อย่างไรก็ตามการประชุมรัฐสภา ในระยะหลังนี้ส่วนใหญ่จะดำเนินการในภาษาคีร์กีซพร้อมทั้งมีล่ามทำการแปลสำหรับผู้ที่ไม่ได้พูดคีร์กีซ == อ้างอิง == ==อ่านเพิ่ม== Historical Dictionary of Kyrgyzstan by Rafis Abazov Kyrgyzstan: Central Asia's Island of Democracy? by John Anderson Kyrgyzstan: The Growth and Influence of Islam in the Nations of Asia and Central Asia by Daniel E. Harmon Lonely Planet Guide: Central Asia by Paul Clammer, Michael Kohn and Bradley Mayhew Odyssey Guide: Kyrgyz Republic by Ceri Fairclough, Rowan Stewart and Susie Weldon Politics of Language in the Ex-Soviet Muslim States: Azerbaijan, Uzbekistan, Kazakhstan, Kyrgyzstan, Turkmenistan and Tajikistan by Jacob M. Landau and Barbara Kellner-Heinkele. Ann Arbor, University of Michigan Press, 2001. Kyrgyzstan: Traditions of Nomads by V. Kadyrov, Rarity Ltd., Bishkek, 2005. Cities in Kyrgyzstan Bishkek city of Kyrgyzstan Osh city of Kyrgyzstan Jalal-Abad city of Kyrgyzstan == แหล่งข้อมูลอื่น == รัฐบาล เว็บไซต์ทางการประธานาธิบดีคีร์กีซสถาน เว็บไซต์ทางการรัฐบาลคีร์กีซสถาน เว็บไซต์ทางการรัฐสภาคีร์กีซสถาน Laws of the Kyrgyz Republic ข้อมูลทั่วไป Country Profile from BBC News Kyrgyzstan. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Kyrgyzstan at UCB Libraries GovPubs Kyrgyz Publishing and Bibliography Key Development Forecasts for Kyrgyzstan from International Futures แผนที่ รัฐในอดีตสหภาพโซเวียต ค คีร์กีซสถาน รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 ประเทศในเอเชียกลาง
thaiwikipedia
471
จิตวิทยา
จิตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม == บทนำ == จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้ === ภาษาทางจิตวิทยา === จิตวิทยาก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกับศาสตร์อื่น ๆ คำศัพท์บางส่วนประกอบด้วยคำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คำศัพท์บางคำก็เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่คุ้นเคย ถึงแม้ศัพท์บางคำจะเป็นที่เข้าใจ และคุ้นเคยของคนทั่วไป แต่นักจิตวิทยาก็ได้ให้ความหมายเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการศึกษาจิตวิทยา === ปัญหาและการเลือกปัญหาของนักจิตวิทยา === เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป กระบวนการทางจิตวิทยา เริ่มจากการเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจึง สังเกต ศึกษา หรือทดลอง อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา แล้วทำการรวบรวม เรียบเรียง และตีความข้อเท็จจริงที่ได้ หากนักจิตวิทยาพบแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่กำหนด และสามารถนำมาสัมพันธ์ เกี่ยวข้องเป็นคำตอบของคำถามกว้าง ๆ ได้ นักจิตวิทยาก็จะสนใจ และลงมือศึกษาทันที แต่บางครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว นักจิตวิทยาได้แบ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาทางจิตวิทยาออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มแรกเห็นว่า การเลือกปัญหานั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าของนักจิตวิทยา กลุ่มที่สองนั้นกลับเห็นว่า การเลือกปัญหาและการตั้งคำถามควรจะเป็นไปตามทฤษฎี และกลุ่มหลังเห็นว่าความอยากรู้อยากเห็นที่เกิดขึ้นเอง เป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุดสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเรามองโดยรวมแล้ว จะเห็นว่าทั้งความอยากรู้อยากเห็นและทฤษฎี ต่างก็มีส่วนช่วยในการสังเกต อธิบาย และตีความข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพราะทฤษฎีนั้นมีบทบาทที่ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่สังเกต และชี้ให้เห็นคำถามใหม่ ๆ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นทฤษฎีจึงมีประโยชน์และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับทั่วไปและทั่วโลกก็ต่างกันยอมรับ == ทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยา == ในทางจิตวิทยานั้นมีทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยาอยู่มากมาย หลักนั้นมี ทฤษฎีความสับสน คือ ผู้ป่วยนั้นจะเกิดความสับสนและแปรปรวนทางด้านอารมณ์ เกิดจากความไม่แน่นอนของจิต ซึ่งส่วนมากอาการที่แสดงออกมักจะเป็นการทำสิ่งที่ไม่ค่อยปกติ กังวล ไม่แน่นอน และอื่นๆ ทฤษฎีการปฏิเสธ คือ การที่ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตใจซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางบ้าน, ปัญหาทางด้านสังคม ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะโยนเอาปัญหาที่ตัวเองมีอยู่ให้กับผู้อื่น เนื่องจากการที่ไม่สามารถยอมรับปัญหาเหล่านั้นได้ โดยมากแล้วปัญหาเหล่านี้มักจะหายในระยะเวลาไม่นานนัก แต่หากยังมีอยู่ควรพบจิตแพทย์--ดร.แอล.ดี.ชลิปป === วิธีการทางวิทยาศาสตร์ === เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิธีการทางจิตวิทยาประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ขั้นการสังเกตองค์ประกอบหรือตัวแปรที่สำคัญ ๆ อย่างมีระบบ และขั้นการรวบรวมและตีความข้อมูลที่ได้มา ซึ่งการดำเนินการสังเกตอย่างมีระบบ คือ ความพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของอคติหรือความลำเอียงของผู้สังเกต และสามารถรับรองได้ว่า การสังเกตนั้นสามารถกระทำซ้ำได้ วิธีการสังเกตอย่างมีระบบนั้น มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดลอง (experimental method) โดยสร้างสถานการณ์ ขึ้นเพื่อสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามมา และวิธีการหาความสัมพันธ์ (correlation method) โดยการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ === วิธีการทดลอง === ผู้สังเกตจะถูกเรียกว่าผู้ทดลองที่จะสร้างสภาวะหรือตัวแปรขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลกระทบต่อ ตัวแปรอื่น ๆ อาจเป็นการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น แล้วรายงานผลการทดลอง หรือผลจากการรวบรวมและตีความหมายของการเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง วิธีการนี้นิยมกระทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ เพราะสามารถควบคุมตัวแปรหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ หรือให้เหลือน้อยที่สุด อีกทั้งการสังเกตก็ สามารถกระทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น และ ตัวแปรตาม ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลจากการกระทำกับตัวแปรอิสระ หลังจากได้ทราบผลจากการทดลองแล้ว ผู้ทดลองต้องทำการสรุปแล้วรายงานผลการทดลองให้ผู้อื่นทราบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือทำการศึกษาต่อยอดความรู้ออกไป === วิธีการหาความสัมพันธ์ === วิธีการหาความสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยที่ไม่ได้เจาะจงว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลเหนือตัวแปรใด ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient correlation) ซึ่งจะมีค่าระหว่าง -1.00 ถึง 1.00 วิธีการหาความสัมพันธ์ มีดังต่อไปนี้ วิธีวัดทางจิตวิทยา (Psychometric techniques) ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาและแบบสอบถาม เพื่อวัด ความแตกต่างของลักษณะต่างๆของบุคคล หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ใช้ใน งานวิจัยด้านหาความสัมพันธ์สามารถทดสอบตัวแปรอิสระได้เป็นรายๆไป ดังนั้น วิธีวัดทางจิตวิทยานี้จึงแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ด้วยผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถามนั่นเอง การสังเกตในสภาพธรรมชาติ (Naturalistic Observation) การสังเกตในสภาพธรรมชาติจะให้ข้อ เท็จจริงได้มากกว่า เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต เพื่อให้พฤติกรรม ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติโดยแท้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกตระยะหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจค่อนข้างยาวนาน การสังเกตด้วยวิธีการทางคลีนิค (Clinical Method of Observation) เป็นการศึกษาประวัติรายบุคคล (กรณีศึกษา) ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจประวัติความเป็นมา พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงพื้นฐานของการ เกิดพฤติกรรม เพื่อใช้ประกอบการบำบัดรักษาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิธีการสังเกตดังกล่าวอาจเกิดผิดพลาดด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและได้รับการฝึกฝนอย่างดี โดยเฉพาะการสังเกตวิธีทางคลีนิค ที่ไม่สามารถกระทำซ้ำได้ ทั้งวิธีการทดลองและวิธีการหาความสัมพันธ์ต่างก็มีประโยชน์และความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่หลายๆ ครั้งที่มีการผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อการศึกษาที่ละเอียดหลายๆด้าน และเป็นประโยชน์ในทางจิตวิทยามากยิ่งขึ้น == โครงสร้างของจิตวิทยา == จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น === ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับศาสตร์อื่น === จิตวิทยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับวิชาจิตเวชศาสตร์ (อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ คือสาขาที่ว่าด้วยการรักษาจิตใจ) และกับศาสตร์ทางชีววิทยา ซึ่งได้แก่ สรีรวิทยา ประสาทวิทยาและชีวเคมี พฤติกรรม ของบุคคลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากบุคคลนั้นโดยตรงก่อน ทั้งทางด้านพันธุกรรม ระดับวุฒิภาวะ และสภาพการ เคลื่อนไหวของร่างกาย และปัจจุบันก็สัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยมานุษยวิทยาศึกษาจุดกำเนิด ของมนุษย์ และการสืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่วนด้านสังคมวิทยาจะเน้น ศึกษากลุ่มสังคมมากกว่าตัวบุคคล โดยศึกษาการปะทะสังสรรค์ของแต่ละบุคคลในกลุ่ม และศึกษาอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อ แต่ละบุคคล == จิตวิเคราะห์ == จิตแพทย์ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว คือ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ ได้พัฒนาวิธีการบำบัดทางจิตเรียกว่าจิตวิเคราะห์ การศึกษาของฟร็อยท์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจจิตไร้สำนึก การเจ็บป่วยทางจิต และจิตพยาธิวิทยา ทฤษฎีของฟร็อยท์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ และได้กลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเรื่องที่เขาศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ การเก็บกดอารมณ์ทางเพศ และจิตไร้สำนึก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม แต่ฟร็อยท์ก็สามารถทำให้การศึกษาของเขาเป็นประเด็นสำหรับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพได้ == ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา == จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา == การขยายตัวทางจิตวิทยา == ห้องปฏิบัติการทดลองทางจิตวิทยาห้องแรก ถูกสร้างขึ้นโดย Wilhelm Wundt ในปี ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลพ์ซิจ ประเทศเยอรมนี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้น คือ กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism) การศึกษาจิตต้องศึกษาส่วนย่อย ๆ ที่ประกอบขึ้นมา ใช้วิธีการพื้นฐานทางจิตวิทยา คือ การสังเกตตนเอง หรือที่เรียกว่า การตรวจพินิจจิต (Introspection) ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ปรากฏออกมา ให้เห็น ในช่วงเวลาเดียวกัน ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ (Sigmund Freud) ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟร็อยท์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จอห์น บี วัตสัน (John B.Watson) ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจในปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ (Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามากขึ้น == จิตวิทยาในประเทศไทย == สำหรับประเทศไทย การศึกษาทางด้านจิตวิทยาในระดับอุมดมศึกษานั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว ซึ่งสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ได้มีการจัดตั้งหลักสูตรจิตวิทยาในระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาปนาเป็นภาควิชาหนึ่งในคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts) ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2507 โดยภาควิชาจิตวิทยาฯ ได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนจากสมาคมฟุลไบรท์ไทย หรือ Thai Fulbright Association (TFA) ทำให้หลักสูตรดังกล่าวมีมาตรฐาน มีความทันสมัย ทัดเทียมกับหลักสูตรการศึกษาจิตวิทยาในต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2489 ด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดตั้ง สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป ปัจจุบันการเรียนรู้ศาสตร์ด้านจิตวิทยาในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เนื่องจากองค์ความรู้ต่างๆด้านจิตวิทยานำไปประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานและการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็น นักธุรกิจ การทำงานด้านการสื่อสารและการโฆษณา วิศวกร นักพัฒนาธุรกิจ นักพัฒนาองค์การ ครู ที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจ สถาปนิก นักเขียน นักแสดง เป็นต้น นับว่าเป็นอีกศาสตร์ที่ช่วยให้บุคคล สังคม และประเทศชาติเติบโต == การก่อตั้งสมาคมจิตวิทยาในประเทศไทย == === สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย (เขียนโดย รศ. ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา) === เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2504 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย ผู้เป็น อาจารย์จิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในช่วงนั้น เป็นนายกสมาคมคนแรก (พ.ศ. 2504-2506) ต่อมาศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสพ รัตนากร ผู้เป็นแพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยาและจิตวิทยาคนแรกของไทยได้รับหน้าที่ เป็นนายกสมาคมฯคนที่ 2 มาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ถึง 2531 จนมาถึงรองศาสตราจารย์ ดร. ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก สมาคมฯ คนที่ 3 ปรากฏว่าในช่วงนั้นต้องมีการดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมใหม่ เนื่องจากตาม ระเบียบการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพของราชการ ซึ่งขณะนั้นกระทรวงวัฒนธรรมรับผิดชอบดูแลอยู่ สถานภาพ ของสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทยได้สิ้นสุดไปแล้ว นายกสมาคมคนที่ 3 ได้พยายามดำเนินการจดทะเบียน จัดตั้งสมาคมจนเรียบร้อยเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2536 แล้วจึงจัดการเลือกตั้งนายกสมาคมฯ คนที่4 ซึ่ง ได้แก่ศาสตราจารย์ ดร.ดวงเดือน พันธุมนาวินมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 – 2558 เป็นเวลา 22 ปี ได้มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ ของประเทศ คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในช่วง 8 ปีหลัง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย (มจร.) ทำหน้าที่บริหารงานสมาคมฯ ต่อเนื่องกันด้วยดีตลอดมา แต่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2559 เมื่อมี การเตรียมจัดงานครบรอบสถาปนาสมาคม 55 ปี ก็ได้พบหลักฐานทางราชการว่า ชื่อนายกสมาคมจิตวิทยา แห่งประเทศไทยที่เป็นทางการในเอกสารราชการยังเป็น นางประสาร มาลากุล ณ อยุธยา ผู้จดทะเบียน จัดตั้งสมาคมฯ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2536 อยู่ ดังนั้นจึงเป็นเหตุจำเป็นที่ผู้ซึ่งมีนามปรากฏเป็นทางการยัง ต้องรับผิดชอบทำหน้าที่บริหารงานและดำเนินการต่อทะเบียนสมาคมฯ ให้เรียบร้อยต่อไป ในปัจจุบัน นางประสาร มาลากุล ณ อยุธยา จึงทำหน้าที่นายกสมาคมฯ และได้ดำเนินการแต่งตั้ง กรรมการอำนวยการเลือกตั้งกรรมการกลาง และว่าที่นายกสมาคมฯ สำหรับวาระ พ.ศ. 2559-2560 ครบถ้วน ตามระเบียบการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย ฉบับที่จดทะเบียนไว้และใช้อยู่ในปัจจุบัน === สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกแห่งประเทศไทย (สุพิน พรพิพัฒน์กุล, 2554) === นับตั้งแต่สำนักงานข้าราชการพลเรือนได้กำหนดให้มีตำแหน่งนักจิตวิทยาขึ้นในประเทศไทยในปีพุทธศักราช 2506 เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบันนับรวมได้48 ปี กล่าวคือ กระบวนการพัฒนาบทบาทหน้าที่ทางด้านจิตวิทยาคลินิกเริ่มเติบโตขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยมีอาจารย์สมทรง สุวรรณเลิศ ( สกุลเดิม บุนนาค) ซึ่งดำรงตำแหน่งนักจิตวิทยาท่านแรกที่ได้วางรากฐานสาขาจิตวิทยาคลินิก ซึ่งเป็นทั้งแม่แบบ และผู้หล่อหลอมให้วิชาชีพนักจิตวิทยาคลินิกมีความเป็นวิชาชีพที่แท้จริง ด้วยความสำนึกและเคร่งครัดในจรรยาบรรณ คำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิชาการในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างใจเป็นกลาง เป็นสิ่งที่มีการปลูกฝังกันมาตั้งแต่เริ่มต้นและมีการถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พุทธศักราช 2512 เริ่มมีการก่อตั้งชมรมนักจิตวิทยาคลินิกขึ้น โดยมีอาจารย์สมทรง สุวรรณเลิศ เป็นประธานชมรมฯ กิจกรรมที่ทำต่อเนื่องกันมาทุกปี คือ การประชุมวิชาการประจำปี รวม 7 ครั้ง และเริ่มมีการจัดทำวารสารชมรมนักจิตวิทยาคลินิก โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Journal of The Clinical Psychologist Club มีกำหนดออก ปีละ 3 ฉบับ ฉบับแรกที่ออกเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2513 การออกวารสารชมรมนักจิตวิทยาคลินิก มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางจิตวิทยาคลินิก จิตเวช และศาสตร์ใกล้เคียงอื่น ๆ รวมถึงการรายงานข่าวความเคลื่อนไหวในวงการจิตวิทยาคลินิก ซึ่งก็มีผลงานใหม่ ๆ ด้านจิตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิตที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนลงตีพิมพ์ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานหรือองค์กรอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2519 ชมรมนักจิตวิทยาคลินิก เลื่อนฐานะจากชมรม ฯ ขึ้นมาเป็นสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยโดยใช้อักษรย่อว่า ส.น.ค.ท. และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Thai Psychologist Association ( TPA) โดยมีนางสาวอุ่นเรือน อำไพพัสตร์ เป็นนายกสมาคม ฯ และนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ศาสตราจารย์หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร แพทย์หญิงคุณหญิงสุภา มาลากุล และนายแพทย์ประสิทธิ์ หะรินสุต มาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในขณะนั้น ส่วนที่ปรึกษาก็ยังคงได้รับความกรุณาจากนักจิตวิทยาอาวุโสคือ นางสมทรง สุวรรณเลิศ และนายณรงค์ศักดิ์ ตะละภัฏ และมีคณะกรรมการอำนวยการบริหารงานของสมาคม ฯ วาระละ 2 ปี ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อวารสารใหม่มาเป็นวารสารจิตวิทยาคลินิก โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Journal of Clinical Psychology" มาจนถึงปัจจุบัน และได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับการพัฒนาการทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำวารสารสมาคม ฯ ดังนี้คือ 1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิก 2. ส่งเสริมและดูแลคุณภาพงานด้านจิตวิทยาคลินิกและจิตวิทยาแก่สมาชิกทั้งด้านการปฏิบัติและวิชาการ 3. เพื่อร่วมมือกันผลิตผลงานการวิจัยทางด้านจิตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิตให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน 4. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านจิตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิตแก่ประชาชน 5. ร่วมมือกับสมาคมและสถาบันอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ 6. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เนื่องจากวิชาชีพจิตวิทยาคลินิกมีลักษณะการทำงานที่มีแนวปฏิบัติแตกต่างจากวิชาชีพจิตวิทยาสาขาอื่น โดยเฉพาะในด้านการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา และเพื่อธำรงไว้ถึงความตระหนักในบทบาทวิชาชีพ ในปีเดียวกัน สมาคมฯ จึงได้มีการประกาศจรรยาบรรณของนักจิตวิทยาคลินิกและจัดพิมพ์เผยแพร่แก่สมาชิกสมาคม ในปี 2526 และในปีพุทธศักราช 2534 สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกได้มีการทบทวนบทบาทและจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของวิชาชีพจิตวิทยาคลินิกใหม่ให้ชัดเจนขึ้น โดยกองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ในขณะนั้น และได้มีการปรับปรุงหลายครั้งหลายสมัยต่อเนื่องกันมาเพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล และเป็นหลักประกันคุณภาพการให้บริการของนักจิตวิทยาคลินิก ในปีพุทธศักราช 2546 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2546 ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งเหตุผลหนึ่งในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาหนึ่งที่กระทำต่อมนุษย์โดยตรง การวินิจฉัย การบำบัดความผิดปกติทางจิตอันเนื่องมาจากภาวะทางจิตใจ บุคลิกภาพ เชาวน์ปัญญา อารมณ์ พฤติกรรมการปรับตัว ความเครียด หรือพฤติกรรมผิดปกติอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพทางสมอง ด้วยวิธีเฉพาะทางจิตวิทยาคลินิก อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่มารับบริการ จึงถือได้ว่าเป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นับวันบทบาทของสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกจึงมีเพิ่มขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางในการพัฒนาวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก รวมทั้งการดูแลนักจิตวิทยาคลินิก และในปีปัจจุบันมีนักจิตวิทยาคลินิกที่ผ่านการสอบและได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิกมีจำนวนทั้งสิ้น 480 ราย === สมาคมจิตวิทยาการปรึกษาในประเทศไทย === มีการก่อตั้งชมรมนักจิตวิทยาการปรึกษาในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2559 เป็นการรวมตัวนักจิตวิทยาการปรึกษาจำนวนหนึ่งที่เห็นความสำคัญของศาสตร์จิตวิทยา และมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมจิตวิทยาการปรึกษาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ส่งเสริมความเป็นวิชาชีพจิตวิทยาการปรึกษาให้ก้าวหน้า ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้วิชาการเกี่ยวกับวิชาชีพจิตวิทยาการปรึกษา ส่งเสริมความสามัคคี ความเอื้ออาทร และเชิดชูเกียรติสมาชิก ส่งเสริม สนับสนุน ร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง == อ้างอิง == บังอร ชินกุลกิจนิวัฒน์. "บทแนะนำจิตวิทยา (Introduction to Psychology)" ใน จำรอง เงินดี และทิพย์วัลย์ สุรินยา (บรรณาธิการ). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . 2545. หลุย จำปาเทศ. จิตวิทยาการจูงใจ. ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 2533. หลุย จำปาเทศ. จิตวิทยาการบริหาร. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 2542. หลุย จำปาเทศ. จิตวิทยาสัมพันธ์. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 2533. ประวัติศาสตร์ของต้นกำเนิดภาควิชาจิตวิทยาแห่งแรกของประเทศไทย. ออนไลน์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2555) == ดูเพิ่ม == คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลไกการป้องกันตนเอง จิตวิทยาภาษาศาสตร์ == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ ๕๐ ปี จิตวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน จิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนังสือจิตวิทยา
thaiwikipedia
472
ภาษาเบงกอล
ภาษาเบงกอล (বাংলা, บังลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดียซึ่งติดกับบังกลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังกลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกอล ในภาษาอังกฤษคำว่า Bengali เป็นคำที่ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกอลเองเรียกภาษาว่า Bangla bhasa: บังลา ภาษา (বাংলা ভাষা) ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาเบงกอล ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางาลี (বাঙালি); ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกอลเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bonggo: บองกอ (বঙ্গ) ในภาษาเบงกอล; "Bangladesh: บังลาเทศ" (বাংলাদেশ) เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bangla: ปอศชิม บังลา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bangla: ปูร์บอ บังลา) กลายเป็นประเทศบังกลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกอลมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ให้สหประชาชาตินำภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว 6 ภาษา คือภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษาจีน และภาษาอาหรับ == ประวัติ == ภาษาเบงกอลเป็นภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออก พัฒนามาจากภาษาในยุคกลางคือภาษาปรากฤตมคธและภาษาไมถิลี ซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมที่เคยมีบันทึกในบริเวณนี้และเป็นภาษาในสมัยพุทธกาลด้วย ภาษาเหล่านี้ต่อมาพัฒนาไปเป็นภาษาอรธามคธี และพัฒนาต่อไปเป็นกลุ่มภาษาอปภรัมสะ ภาษากลุ่มนี้ที่ใช้พูดทางตะวันออกคือภาษาปุรวี อปภรัมสะ ได้พัฒนาต่อไปเป็นสำเนียงท้องถิ่นสามกลุ่มคือ ภาษาพิหาร ภาษาโอริยา และภาษาเบงกอล-อัสสัม ในส่วนของภาษาเบงกอลนั้น แบ่งเป็นสามช่วงคือ ภาษาเบงกอลโบราณ (พ.ศ. 1443/1543 – 1943) เอกสารที่สำคัญได้แก่ จรรยปทะ เกิดการใช้สรรพนาม Ami, tumi การผันกริยาด้วย -ila, -iba ภาษาโอริยาและภาษาอัสสัมแยกออกไปในช่วงนี้ ภาษาเบงกอลยุคกลาง (พ.ศ. 1943 – 2343) เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาเบงกอลใหม่ (หลัง พ.ศ. 2343) ทำให้การผันคำนาม คำกริยาสั้นลง ภาษาเบงกอลได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมากขึ้นในยุคกลาง ภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ในเอเชียใต้ เช่น ภาษาปัญจาบ ภาษาสินธี และภาษาคุชราตได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก ซึ่งต่างจากภาษาเบงกอลและภาษาไมถิลี ที่ยังรักษารากศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตไว้ได้ ไวยากรณ์และพจนานุกรมภาษาเบงกอลฉบับแรกจัดทำขึ้นโดยมิชชันนารีชาวโปรตุเกสระหว่าง พ.ศ. 2277 - 2285 เมื่อดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันได้รับเอกราชในฐานะปากีสถานตะวันออกที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถานได้มีการจัดตั้งขบวนการภาษาเบงกอลเมื่อ พ.ศ. 2494 – 2495 เพื่อเรียกร้องให้ใช้ภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการในปากีสถานตะวันออก ซึ่งในขณะนั้น มีภาษาอูรดูเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียว ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 นักศึกษาที่ประท้วงถูกเผาโดยทหารและตำรวจในมหาวิทยาลัยธากา ทำให้นักศึกษาสามคนและประชาชนจำนวนมากถูกฆ่า ต่อมา ใน พ.ศ. 2542 สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 21 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันสากลแห่งภาษาแม่ เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว. == ไวยากรณ์ == คำนามในภาษาเบงกอลไม่มีการกำหนดเพศ ทำให้มีการผันคำน้อย คำคุณศัพท์ คำนาม และสรรพนามมี 4 การก คำกริยามีรูปแบบการผันมาก แต่ต่างจากภาษาฮินดีที่ไม่มีการผันคำกริยาตามเพศ === การเรียงลำดับคำ === ภาษาเบงกอลเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา เชื่อมคำในประโยคด้วยปรบท คำคุณศัพท์ จำนวนและการกแสดงความเป็นเจ้าของนำหน้าคำนาม คำถามแบบใช่/ไม่ใช่ ไม่ต้องมีการเปลี่ยนลำดับคำในประโยค === คำนาม === คำนามและคำสรรพนามมีการผันตามการกจำนวน 4 การกคือ ประธาน กรรม ความเป็นเจ้าของและแสดงตำแหน่ง มีการเติมคำนำหน้านามชี้เฉพาะได้แก่ -টা -ţa (เอกพจน์) หรือ -গুলা -gula (พหูพจน์) นามมีการผันตามจำนวนด้วย ภาษาเบงกอลมีลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนและภาษาไทย ลักษณนามที่ใช้โดยทั่วไปคือ -টা –ţa แต่มีลักษณนามบางคำใช้กับนามเฉพาะ เช่น -জন –jon ใช้กับคน === คำกริยา === คำกริยาแบ่งได้เป็นสองระดับคือคือกริยาแท้และกริยาไม่แท้ กริยาไม่แท้ไม่มีการผันตามกาลของบุคคล ในขณะที่กริยาแท้มีการผันตามจุดมุ่งหมาย กาล และบุคคลแต่ไม่ผันตามจำนวน นอกจากนั้น ภาษาเบงกอลมีความต่างจากภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันอื่น ๆ คือสามารถละกริยาที่เป็น verb to be แบบที่พบในภาษารัสเซียและภาษาฮังการี == คำศัพท์ == ในภาษาเบงกอลมีคำศัพท์มากกว่า 100,000 คำ โดยครึ่งหนึ่งเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต ราว 20% มีรากศัพท์ร่วมกับภาษาสันสกฤต ที่เหลือเป็นคำยืมจากภาษาอื่นโดยเฉพาะภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก อย่างไรก็ตาม ในภาษาเบงกอลสมัยใหม่ นิยมใช้ศัพท์ที่มีรากศัพท์ร่วมกับภาษาสันสกฤต มากกว่าคำที่ยืมจากภาษาสันสกฤต ส่วนคำยืมมีที่ใช้น้อยลง ในบริเวณเบงกอลเป็นบริเวณที่มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากมาย ทั้งชาวยุโรป อินเดียสมัยราชวงศ์โมกุล ชาวอาหรับ ชาวเติร์ก ชาวเปอร์เซีย ชาวอัฟกัน และชาวเอเชียตะวันออก ภาษาเบงกอลจึงมีคำยืมจากภาษาของกลุ่มชนเหล่านี้ ซึ่งต่างกันไปตามระดับของความใกล้ชิดในการติดต่อ มีการยืมคำจากภาษาของเพื่อนบ้าน เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอัสสัม และภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติกโดยเฉพาะภาษาสันตาลี การรุกรานของเปอร์เซียและตะวันออกกลางทำให้มีคำยืมจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาตุรกี และภาษาปาทาน ในสมัยอาณานิคม ภาษาเบงกอลได้รับอิทธิพลจากภาษาในยุโรป เช่น ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาดัตช์ และภาษาอังกฤษ == ระบบการเขียน == ภาษาเบงกอลเขียนด้วยอักษรเบงกอลซึ่งเป็นอักษรนครีตะวันออกชนิดหนึ่ง ใช้แพร่หลายในบังกลาเทศและอินเดียตะวันออก พัฒนามาจากอักษรพราหมี อักษรเบงกอลมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรโอริยา อักษรเบงกอลนี้เมื่อมีการปรับปรุงเล็กน้อย จะใช้เขียนภาษาอื่นอีกหลายภาษา เช่นภาษาอัสสัม ภาษามณีปุรี และภาษาสิลเหต การถอดอักษรเบงกอลเป็นอักษร ใช้ตามระบบของภาษาสันสกฤตหรือภาษาในประเทศอินเดียรวมทั้งหอสมุดแห่งชาติกัลกัตตา == เสียง == ในทางสัทศาสตร์ ภาษาเบงกอลมีพยัญชนะ 29 เสียง และสระ 14 เสียงรวมทั้งสระนาสิก 7 เสียง มีเสียงสระประสมมาก การเน้นเสียงมักเน้นที่พยางค์แรกของคำ ความสั้นยาวของเสียงสระไม่มีความสำคัญในภาษาเบงกอล == การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ == ภาษาเบงกอลเป็นภาษาที่ใช้พูดเป็นภาษาแม่ทางตะวันออกของเอเชียใต้ ในบริเวณที่เรียกเบงกอล ในปัจจุบัน คือประเทศบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย รวมทั้งบางส่วนในรัฐอัสสัม นอกจากนั้น ยังมีผู้พูดภาษาเบงกอลในตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ == สถานการณ์เป็นภาษาราชการ == ภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการของประเทศบังกลาเทศ และเป็นภาษาราชการในรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐตรีปุระในอินเดีย และเป็นภาษาหลักในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ เป็นภาษาราชการร่วมของรัฐอัสสัม == สำเนียง == มีความผันแปรในแต่ละท้องถิ่นที่พูดภาษาเบงกอล โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้สี่กลุ่มคือ ราธ พังคะ กามรูป และวเรนทระ สำเนียงทางตะวันตกเฉียงใต้หรือราธเป็นพื้นฐานของภาษาเบงกอลมาตรฐาน ส่วนสำเนียงทางตะวันออกจะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาทิเบต-พม่ามาก ทำให้บางสำเนียงมีความแตกต่างของเสียงวรรณยุกต์ในสำเนียงในบริเวณจิตตะกองและจักมา บางสำเนียงถูกจัดเป็นภาษาเอกเทศต่างหากเช่นภาษาฮาชอง แม้จะคล้ายกับภาษาเบงกอลสำเนียงทางเหนือ ระหว่างการจัดมาตรฐานภาษาเบงกอลในพุทธศตวรรษ 24-25 ศูนย์กลางของวัฒนธรรมเบงกอลอยู่ที่กัลกัตตา ทำให้สำเนียงทางตะวันตกตอนกลางกลายเป็นสำเนียงมาตรฐานทั้งในเบงกอลตะวันตกและบังกลาเทศ แต่ภาษาเบงกอลในสองบริเวณนี้ก็มีการใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกัน แม้จะเป็นคำศัพท์ในภาษาเบงกอลเดิมเหมือนกัน เช่น คำว่าเกลือ ทางตะวันตกใช้ noon ส่วนทางตะวันออกใช้ lôbon == รูปแบบของภาษาพูดและภาษาเขียน == ภาษาเบงกอลเป็นภาษาที่มีความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาเขียนมีสองแบบคือ สาธุภาษา ((সাধুভাষা) เป็นรูปแบบการเขียนที่มีการผันคำกริยาแบบยาว และใช้ศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤต เพลงชาติเป็นตัวอย่างการใช้สาธุภาษา แต่รูปแบบการเขียนสมัยใหม่ ไม่นิยมใช้สาธุภาษา ชลติภาษา (চলতিভাষা) เป็นรูปแบบการเขียนภาษาเบงกอลสมัยใหม่ ที่ใช้กริยาในรูปสั้น และเป็นภาษามาตรฐานในปัจจุบัน เริ่มใช้เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 สำเนียงที่ใช้เป็นพื้นฐานคือสำเนียงในศานติปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ภาษาพูดของภาษาเบงกอลมีความหลากหลายเช่นเดียวกัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเบงกอลตะวันตกรวมทั้งในกัลกัตตาพูดสำเนียงมาตรฐานของภาษาเบงกอล ส่วนอื่น ๆ ของเบงกอลตะวันตกและทางตะวันตกของบังกลาเทศพูดสำเนียงที่มีความแตกต่างไปเล็กน้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในบังกลาเทศพูดสำเนียงที่ต่างไปจากภาษามาตรฐานโดยเฉพาะบริเวณจิตตะกอง นอกจากนั้น ชาวเบงกอลที่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามใช้ภาษาที่ต่างกัน ผู้นับถือศาสนาฮินดูนิยมใช้ศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤต ส่วนมุสลิมนิยมใช้ศัพท์ที่มาจากภาษาอาหรับและเปอร์เซียแม้จะมีความหมายเหมือนกัน เช่น สวัสดี: nômoshkar (สันสกฤต) กับ assalamualaikum/slamalikum (อาหรับ) เชื้อเชิญ: nimontron/nimontonno (สันสกฤต) กับ daoat (อาหรับ) น้ำ : jol (สันสกฤต) กับ pani (สันสกฤต) พ่อ : baba (เปอร์เซีย) corresponds to abbu/abba (อาหรับ) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ดาวน์โหลดฟอนต์เบงกอล เบงกอล เบงกอล เบงกอล เบงกอล
thaiwikipedia
473
ออกซิเจน
ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพืช == ประวัติ == === การทดลองในยุคแรก === ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 โรเบิร์ต บอยล์ ได้พิสูจน์ว่าออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเผาไหม้ โดยนักเคมีชาวอังกฤษ จอห์น มาร์โยว์ (1541–1679) ได้ปรับปรุงการทดลองนี้โดยผลการทดลองพบว่า ไฟต้องการอากาศเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า ไนโตรออเรียส (nitroaereus)ซึ่งในการทดลองหนึ่ง เขาพบว่าออกซิเจนแทรกเข้าไปในภาชนะปิดบนน้ำ ที่มีหนูและเทียนไขอยู่ในภาชนะดังกล่าว ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น และแทนที่ 1 ใน 4 ของปริมาตรอากาศก่อนดับเทียน ซึ่งจากการทดลองดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่า ไนโตรออเรียสถูกใช้ในกระบวนการหายใจ และการเผาไหม้ มาร์โยว์พบว่า น้ำหนักของพลวงจะเพิ่มขึ้นเมื่อให้ความร้อน และอนุมานได้ว่า ไนโตรออเรียสต้องการรวมตัวกับสารดังกล่าวซึ่งเขาคิดว่า ปอดสามารถแยกไนโตรออเรียสจากอากาศ และเข้าสู่เลือด อีกทั้งมีผลต่อความอบอุ่นของสัตว์และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยเป็นผลจากปฏิกิริยาของไนโตรออเรียสกับสารบางชนิดในร่างกาย ซึ่งรายงานการทดลองเหล่านี้ และแนวคิดดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1668 เรื่อง "แทรคทาทุส ดูโอ" (Tractatus duo) ในหนังสือ "ดี เรสไพราติโอน" (De respiratione) == แหล่งกำเนิด == ออกซิเจน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญและมีปริมาณเป็นอันดับ 2 ในส่วนประกอบของบรรยากาศโลกคือมีประมาณ 20.947% โดยปริมาตร == สารประกอบออกซิเจน == เนื่องด้วยค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี ของออกซิเจน จะเกิดพันธะเคมี กับธาตุอื่น ๆ ได้เกือบหมด (และนี่คือจุดเริ่มต้นของคำจำกัดความว่า ออกซิเดชัน) มีเพียงแก๊สมีสกุลเท่านั้นที่หนีรอดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันไปได้ และออกไซด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ ไดไฮโดรเจนโมโนออกไซด์ หรือ น้ำ (H2O) สารประกอบออกซิเจนกับธาตุต่างๆ น้ำ (Water-H2O) ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide-H2O2) สนิม (iron oxide-Fe2O3) คาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide-CO2), แอลกอฮอล์ (alcohol-R-OH), อัลดีไฮด์ (aldehyde-R-CHO), กรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid-R-COOH). ซิลิเกต (SI1O1) คลอเรต (chlorate-ClO3−), เปอร์คลอเรต (perchlorate-ClO4−), โครเมต (chromate-CrO42−), ไดโครเมต (dichromate-Cr2O72−), เปอร์แมงกาเนต (permanganate-MnO4−), and ไนเตรต (nitrate-NO3−) เป็นออกซิไดซิ่งเอเจนต์อย่างแรง โอโซน (Ozone-O3) เกิดขึ้นโดยการปลดปล่อยไฟฟ้าสถิตที่อยู่ในโมเลกุลของออกซิเจน 2 โมเลกุลของออกซิเจน (O2) 2 ซึ่งพบในส่วนประกอบย่อยของออกซิเจนเหลว อีพอกไซด์ (Epoxide) เป็น อีเทอร์ ซึ่งออกซิเจนอะตอมเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวน 3 อะตอม สารคอปเปอร์ซัลเฟต (CUSO4) == การใช้ == === ทางการแพทย์ === ใช้ทางการแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตทำให้ต้องหยิบเครื่องช่วยหายใจมาช่วยผู้ป่วย == ดูเพิ่ม == การทดสอบของวิงเคลอร์เพื่อหาออกซิเจนที่ละลายในน้ำ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำจืด การเผาไหม้ ออกซิเดชัน ความหายนะของออกซิเจนในทางธรณีวิทยา พืชออกซิเจน เครื่องตรวจจับออกซิเจน สารประกอบออกซิเจน เนบิวเลียม การสูญเสียออกซิเจนในระบบนิเวศของน้ำ ชั้นโอโซน == อ้างอิง == Los Alamos National Laboratory - Oxygen Nist atomic spectra database Nuclides and Isotopes Fourteenth Edition: Chart of the Nuclides, General Electric Company, 1989 == แหล่งข้อมูลอื่น == Priestley Society, Dedicated to Joseph Priestley the man who discovered oxygen Joseph Priestley Information Website, about the man who discovered oxygen Los Alamos National Laboratory - Oxygen WebElements.com - Oxygen It's Elemental - Oxygen Oxygen Toxicity Oxygen (O2) Properties, Uses, Applications Computational Chemistry Wiki ตัวออกซิไดซ์ ออกซิเจน อโลหะ น้ำ แคลโคเจน สารเคมีสำหรับเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
thaiwikipedia
474
เหรินหมินปี้
เหรินหมินปี้ (จีนตัวย่อ: 人民币 ; จีนตัวเต็ม: 人民幣 ; พินอิน: rénmínbì ; ตามตัวอักษรหมายถึง "เงินตราของประชาชน") เป็นเงินตราอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดย ธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน (People's Bank of China) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเงินตราของ จีนแผ่นดินใหญ่ ตัวย่อใน ISO 4217 คือ CNY == หน่วยเงินของเหรินหมินปี้ == หน่วยเงินพื้นฐานของเหรินหมินปี้ คือ หยวน (yuán) โดยทั่วไปจะเขียนโดยใช้อักษร 元 แต่ตามแบบแผนแล้ว จะใช้ตัวอักษร 圆 เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ในบางครั้งชื่อของเงินตรา (เหรินหมินปี้) ก็สับสนกับคำที่ใช้เรียกหน่วยเงิน (หยวน) และในบางโอกาส หยวนก็ถูกเรียกเป็น ดอลลาร์ และคำย่อ RMB¥ บางครั้งก็เขียนเป็น CN$ == ดูเพิ่ม == เศรษฐกิจจีน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ Renminbi สกุลเงินเอเชีย ประเทศจีน
thaiwikipedia
475
รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน
"บางชื่ออาจจะไม่ทราบว่ามันคืออะไร หรือใช้อย่างไร ทางบทความนี้ต้องขอความร่วมมือในการแก้ใขด้วย" ของวิเศษของโดราเอมอน เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋า 4 มิติที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon FanClub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น หมายเหตุ: ชื่อของวิเศษ [เล่มที่หนังสือการ์ตูนปรากฏครั้งแรก, ฉบับภาพยนตร์, ฉบับอื่นๆ ] รายละเอียด(ตอนที่ใช้) == ของวิเศษที่นำมาใช้บ่อยครั้ง == กระเป๋ามิติที่ 4 มีคุณสมบัติเหมือนกับกระเป๋า 4 มิติของ Doraemon จึงนำมาใช้แทนกันได้ เพียงคิดว่าต้องการของวิเศษชิ้นใด ของชิ้นนั้นก็จะออกมา แต่มักไม่เป็นไปตามที่คิดเวลาลนลาน กระเป๋าสำรองจะเชื่อมกับกระเป๋าหน้าท้องของโดราเอมอน เวลาโนบิตะล้วงกระเป๋าสำรองแล้วใช้มือคลำหาของวิเศษในกระเป๋าสำรองไปมา หลายๆครั้ง โดราเอมอนจะรู้สึกจั๊กจี้ที่หน้าท้อง ใส่ของเข้าไปเท่าไหร่ก็ได้ เนื่องจากกระเป๋าใบนี้เชื่อมกับห้วงมิติที่ 4 จึงใส่ของเข้าไปได้ไม่จำกัด แม้แต่โดราเอมอนหรือโนบิตะก็สามารถเข้าไปอยู่ในกระเป๋าได้ คอปเตอร์ไม้ไผ่ [1,พิเศษ 1] คอปเตอร์ไม้ไผ่เป็นของวิเศษที่ช่วยให้บินได้ ควรติดบนศีรษะก่อนกดสวิตช์ มิฉะนั้นคอปเตอร์ไม้ไผ่จะบินหนี คอปเตอร์ไม้ไผ่ของมินิโดราไม่สามารถนำมาใช้กับคนได้ คอปเตอร์ไม้ไผ่จะติดไว้ตรงไหนก็ได้ แต่ถ้าติดไว้ที่ก้น ก็อาจร่วงลงมาจากกางเกงได้ ไทม์แมชชีน (Time Machine) ใช้เดินทางไปยังอดีตหรืออนาคต เวลาใช้งานต้องคอยบังคับให้ดี มิฉะนั้นมันอาจพาไปผิดที่ผิดเวลาได้ ลิ้นชักโต๊ะของโนบิตะเป็นทางเข้าออกไทม์แมชชีนด้วยนะ ประตูไปที่ไหนก็ได้ แค่บอกสถานที่ที่ต้องการไปและเปิดประตู สถานที่นั้นก็จะปรากฏตรงหน้า เชื่อมต่อกับสถานที่ที่เราอยากจะไป แต่ต้องระวังอย่าเผลอเข้าไปตอนที่ชิซุกะจังอาบน้ำเชียวนะ ประตูล็อก ประตูนี้มีกุญแจล็อกด้วย ดังนั้นต้องระวังอย่าทำกุญแจหายนะ สถานที่ที่ไปไม่ได้ ออกไปนอกอวกาศที่ไกลมากๆ เช่น ดาวที่อยู่ห่างโลกมากกว่า 10 ปีแสง อดีตอันแสนไกล เราย้อนกลับไปยุคไดโนเสาร์ไม่ได้ เพราะไม่มีแผนที่ของยุคนั้น "ไฟฉายย่อส่วน" แสงจากไฟฉายนี้จะทำให้ทุกสิ่งมีขนาดเล็กลง ฤทธิ์ของไฟฉายย่อส่วน มีเวลาจำกัดนะ เมื่อเวลาผ่านไป ฤทธิ์ของไฟฉายจะหมดลง ทำให้ตัวกลับใหญ่เหมือนเดิม ถ้าโดนแสงจากไฟฉายย่อส่วนของมินิโดรา ขนาดจะเล็กกระจิ๋วหลิวเลย "ขนมดังโงะตราโมโมทาโร่" ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ประเภทใดก็ตาม ถ้าได้กินขนมนี้จะเชื่อฟังเราทุกอย่าง สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่กินได้ทุกชนิด อาจใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์กินยาก เช่น ผสมในนมให้ลูกช้างกิน เวลาไปยุคดึกดำบรรพ์ ก็ให้ไดโนเสาร์กินได้ กินแทนขนมก็ยังได้ กินแทนอาหารว่างเวลาหิว == ก == กรรไกรตัดเงา กรรไกรเล่มนี้ใช้ตัดเงาออกมาเป็นมนุษย์เงาได้และติดให้เป็นเหมือนเดิมด้วยกาววิเศษ แต่มีฤทธิ์เพียง 30 นาทีเท่านั้น ถ้าไม่ติดเงากลับเป็นเหมือนเดิม คุณจะกลายเป็นมนุษย์เงาแทน (เมื่อใกล้จะหมดฤทธิ์ ผู้ใช้ก็จะเริ่มดำเหมือนเงาขึ้นเรื่อยๆ) (ตอน เก็บเงา) กรรไกรตัดสารพัดพื้นผิว ไม่ว่า ผิวจะมีลักษณะอย่างไร ก็จะสามารถตัดออกมาได้ และสามารถก็อปปี้ออกมาได้ แต่ต้องห้ามเลยเขตเด็ดขาด กรรไกรตัดสินใจ เมื่อได้ยินเสียงจากกรรไกรเล่มนี้แล้ว จะทำให้กล้าตัดสินใจในเรื่องที่กำลังลังเลอยู่ (ตอน ครูคริสติเน่ ยอดฮิต!) กรรไกรเป็นจริง ถ้าใช้มันแล้วของที่จะคาดฝันจะเป็นจริง แต่เล็กมาก (ตอน กรรไกรเป็นจริง) กระจกเข้าไปข้างใน ถ้าคุณเข้าไปในกระจกนี้ คุณก็จะสามารถไปยังโลกกระจกที่ด้านซ้ายขวาจะกลับกันและไม่มีใครอาศัยอยู่ (ตอน โลกในกระจก) กระจกทำนายชะตาสิ่งของ [43] ใช้สำหรับการทำนายว่าสิ่งของในอีกไม่นานจะเป็นอย่างไร (ตอน หมอดูแม่นๆ) กระจกเปลี่ยนตัว แค่นำกระจกไปเล็งบริเวณคนที่อยากเปลี่ยน ก็สามารถเปลี่ยนได้โดยการกดปุ่มสีแดง แต่ถ้ากดปุ่มสีเขียวก็จะคืนร่างเดิม กระจกเลียนแบบ [5] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "กระจกเพิ่มพูล") คุณสามารถหยิบของที่เป็นเงาสะท้อนในกระจกออกมาได้ แต่ถ้าเปิดทิ้งไว้ เงาของคุณจะออกมาจากกระจก (ตอน โนบิตะในกระจก) กระจกส่องภาพไกล [14] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "กระจกส่องปรากฏไกล") ภาพที่สะท้อนบนกระจกนี้ จะสะท้อนบนกระจกบานอื่นในบริเวณรอบข้างด้วย (ซึ่งโดราเอมอนบอกว่าเป็นของวิเศษที่หาประโยชน์ไม่ได้ แต่โนบิตะหาวิธีใช้ด้วยการดัดแปลงเป็นกระจกโฆษณา และไปโฆษณาให้ร้านขายขนมที่ขายไม่ค่อยดีแห่งหนึ่ง) (ตอน โฆษณาด้วยกระจก) กระดาษขนของสะดวก เพียงแค่นำสิ่งของที่ต้องการทิ้งไปอยู่ในกระดาษแผ่นนี้ แต่สามารถนำออกมาได้โดยตีที่หน้าหลังของกระดาษ สาเหตุของชื่อ "กระดาษขนของสะดวก" ก็เพราะเมื่อยกกระดาษขณะมีของอยู่ข้องในออกมาแล้วจะรู้สึกว่าน้ำหนักเบา นิยมใช้สำหรับการนำสิ่งของที่มีน้ำหนักมาไปไว้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กระดาษบูชา เป็นกระดาษสีขาว ถ้าหากคุณบูชามัน มันจะปกป้องคุ้มครองคุณ (ตอน กระดาษบูชาของฉัน) กระดาษทำสัญญา เขียนสิ่งที่ต้องการ เอาไปแปะที่หลัง ก็จะสามารถทำตามสิ่งที่เขียนไว้ กระดาษหุ่นยนต์ [11] หากคุณตัดเป็นรูปอะไร ก็จะสามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนของจริง (ตอน กระดาษหุ่นยนต์) กระบอกดูดน้ำหนัก ถูกผลิตเพื่อดูดมวลน้ำหนักมากให้เข้าไปอยู่ในกระบอก โดยต้องปรับน้ำหนักที่ต้องการดูด แล้วกดปุ่มสีแดง และเล็งเป้าหมายก่อนที่จะยิง เพื่อทำการดูดน้ำหนัก แต่ต้องระมัดระวังในการใช้ เพราะถ้าหากกดปุ่มสีเขียวจะกลับกลายเป็นเพิ่มน้ำหนัก กระป๋อง 4 ฤดูกาล เมื่อคุณเปิดกระป๋องนี้แล้ว จะมีฤดูกาลต่างๆ มาให้สัมผัสเป็นเวลา 8 ชั่วโมง (ตอน กระป๋องฤดูกาล) กระป๋องตัวแทน กระป๋องจะมีลักษณะเป็นกระป๋องแบนๆเปิดแล้วรูปเราจะปรากฏลอยออกมาจากกระป๋องจะเหมือนเราทุกประการ (ตอน กระป๋องตัวแทน) กระป๋องไม้สวนชีวภาพ [43] ไม่มีข้อมูล(ตอน ดื่มกินและชมดอกไม้บาน) กระเป๋าคุณหมอ ถ้ามืกล่องนี้ ไม่ว่าใครก็เป็นหมอได้ กระเป๋าส่งมาให้ [11, พิเศษ 14] แค่คิดว่าคุณต้องการอะไร ก็สามารถหยิบสิ่งที่คุณต้องการจากระยะไกลได้ หากคุณลืมของไว้ที่ไหนจะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะสามารถหยิบมาได้โดยไม่จำเป็นต้องไปถึงที่ที่ลืมของไว้ (ตอน กระเป๋าส่งมาให้) กล่องเก็บค่าปรับ [5] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "กล่องปรับเงิน") เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กเคลื่อนที่ด้วยล้อ เมื่อเด็กคนไหนทำผิดและถูกดุ กล่องนี้จะไปเก็บค่าปรับทันที 100 เยน โดยจะล้วงเงินจากกระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋าเงิน ถ้าคนนั้นไม่มีเงินก็จะเอาเงินจากกระปุกออมสินมาจ่ายค่าปรับแทน (ตอน กล่องเก็บค่าปรับ) กล่องของชอบ กล่องนี้สามารถกลายเป็นของที่มีรูปร่างทรงสี่เหลี่ยมอะไรก็ได้ เพียงพูดว่าต้องการให้เป็นอะไรเท่านั้น (ตอน สมัยก่อนโชคดี) กล่องจัดสรรครอบครัว [3] ให้เลือกรูปแม่ลูกออกมา 2 ใบ แล้วใส่ลงไปในกล่องนี้ ครอบครัวเราก็จะมีสมาชิกตามนั้น (ตอน มาเปลี่ยนแม่กันเถอะ) กล้องแช่แข็งชั่วขณะ เป็นกล้องถ่ายรูปไม่ว่าจะถ่ายรูปอะไรมันจะหยุดในทันที และหยุดไปเรื่อยๆจนกว่าจะถ่ายรูปสิ่งนั้นอีกครั้ง (ตอน ทำให้เจ้าหมอนั่นแข็งไปเลย) กล้องตุ๊กตาลงยันต์ [4] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "กล้องต้องคำสาป") ดูภายนอกเหมือนเป็นกล้องธรรมดาที่สามารถถ่ายรูปคนออกมาเป็นตุ๊กตาได้ แต่จริงๆแล้วเป็นกล้องที่มีความน่ากลัวมาก เนื่องจากตุ๊กตาจะเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของคนที่ถูกถ่าย หากทำอะไรกับตุ๊กตา เช่น นำไปเผาไฟ ตัวคนที่ถูกถ่ายก็จะรู้สึกร้อนเหมือนถูกไฟเผาไปด้วย พูดง่ายๆมีคุณสมบัติเดียวกับตุ๊กตาวูดูนอกจากนี้เวลากดชัตเตอร์ก็จะมีเสียงคล้ายฟ้าผ่าดังสนั่นหวั่นไหว ซึ่งมีแต่คนที่เป็นผู้ถ่ายเท่านั้นที่จะได้ยิน (ตอน กล้องตุ๊กตาลงยันต์) กล้องถ่ายอดีต ถ้าถ่ายรูปบริเวณนั้นๆ ก็จะมีภาพในเวลาอดีตด้วยแผ่นกระดาษ (ตอน กล้องถ่ายอดีต) กล้องทำที่ติดเสื้อ [5] หากคุณถ่ายวัตถุอะไรก็ตาม จะออกมาเป็นที่ติดเสื้อหรือเข็มกลัด (ตอน มาทำเข็มกลัดกันเถอะ) กล่องทิ้งระยะเวลา [30] ถ้าอยู่กับกล่องนี้ คนรอบข้างจะรู้สึกว่าไม่ได้เจอเรามานาน สามารถปรับระยะเวลาที่ไม่ได้เจอได้ และยังใช้กับสิ่งของได้อีกด้วย (ตอน กล่องทิ้งระยะเวลา) กล้องเปลี่ยนชุด [3,พิเศษ 1] เป็นกล้องไว้ใช้สำหรับเปลี่ยนชุดในแบบที่เราต้องการ วิธีใช้คือ เพียงแค่วาดแบบเสื้อหรือหารูปเสื้อผ้าแล้วใส่เข้าไปในกล้อง แล้วถ่ายไปยังคนที่ต้องการเปลี่ยนชุด เท่านี้เราก็จะได้ชุดที่เราต้องการ ถ้าไม่มีรูปชุดแต่กลับถ่าย ก็จะเปลือยเสมอไป (ตอน กล้องเปลี่ยนเสื้อ) กล้องเปลี่ยนเป็นแบบจำลอง [29] เป็นกล้องที่สามารถทำแบบจำลองจากวัตถุที่ถ่ายมาได้ (ตอน หุ่นจำลองหนีกันหมด) กล่องฝึกฝนพลังเอสปา กล่องนี้ใช้สำหรับฝึกฝนพลังจิต 3 แบบ คือ พลังเคลื่อนย้ายสิ่งของ พลังมองทะลุ พลังเคลื่อนที่ในพริบตา จำเป็นต้องใช้เวลาฝึกทุกวันวันละ 3 ชั่วโมงเป็นเวลา 3 ปีจึงจะสำเร็จ จึงไม่เหมาะกับคนที่นิสัยขี้เกียจและเบื่อง่าย (ตอน พลังพิเศษสายไป 10 นาที) กล่องเพลงกลับบ้าน [11] หากคุณได้ยินเสียงจากกล่องนี้เมื่อไร จะรู้สึกอยากกลับบ้านทันที (ตอน วิธีไล่แขกน่ารำคาญกลับ) กล่องหวาดผวา ภายในกล่องจะบรรจุของจำลองสิ่งที่น่ากลัวมากมาย (ตอน โรคกลัว OI) กล่องอากาศ เป็นเครื่องมือที่สามารถเปลื่ยนสภาพอากาศได้ เพียงแค่ใส่การ์ดอากาศที่เราต้องการลงไป อากาศก็จะเป็นไปตามการ์ดที่เราใส่ กล่องเอื้ออาทร (มีด้วยเหรอ!!) ไม่ว่าใครก็ตามที่เห็นกล่องเอื้ออาทรจะต้องอยากใส่เงินลงไปในกล่อง โดยไม่มีทางปฏิเสธได้อย่างเด็ดขาด กล้องและแผนที่โพลาแมพ [27] เป็นแผนที่มาพร้อมกล่องที่มีขาตั้งและใต้กล่องจะมีสิ่งของคล้ายปากกาอันใหญ่ๆ สมมุติเราส่องแผนที่โตเกียวทาวเวอร์มันก็ปรากฏรูปโตเกียวทาวเวอร์ขึ้นมา (ตอน กล้องและแผนที่โพลาแมพ) กล้องส่องทางไกลมือหยิบ [13] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "กล้องส่องคว้าของ") เป็นกล้องส่องทางไกลที่สามารถหยิบของจากที่ไกลๆ ได้ (ตอน กล้องส่องทางไกลมือหยิบ) กล้องส่องทางไกลวาบหวิว [4] เป็นกล้องส่องทางไกลที่สามารถมองทะลุได้ทุกอย่าง ทุกสถานที่ (ตอน กล้องส่องทางไกลวาบหวิว) กล้องหกด้าน [พิเศษ 3] เป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพถ่ายที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในมุมมองอื่น (ตอน กล้องหกด้าน) กล้องหลังเวลา [12] เป็นกล้องถ่ายภาพที่สามารถถ่ายย้อนกลับไปในอดีตได้ เพียงแค่หมุนปุ่มเพื่อเลือกเวลาที่ต้องการ จากนั้นก็ถ่ายไปยังสถานที่ที่ต้องการ ภาพขณะเวลาที่เลือกไว้ก็จะออกมา เหมือนกับกล้องโพลารอยด์ (ตอน กล้องหลังเวลา) กล้องเอกชเรย์ XYZ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "กล้องรังสี XYZ") กล้องวิเศษนี้สามารถถ่ายสิ่งที่อยู่ข้างในได้ แต่ถ้าเป็นมนุษย์ มันจะเห็นสิ่งลามกอนาจารได้อย่างง่ายดาย (ศร)กลับตาลปัตร [4] มีลักษณะเหมือนลูกศร 2 หัว หากนำหัวลูกศรไปแตะกับอะไร ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของสิ่งนั้นๆ กลับตาลปัตรไปหมด เช่น บุหรี่กลายเป็นยิ่งสูบยิ่งยาว ตู้เย็นกลายเป็นตู้ร้อน เครื่องดูดฝุ่นกลายเป็นเครื่องพ่นฝุ่น ฯลฯ แต่สามารถทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ด้วยการนำหัวลูกศรอีกข้างไปแตะอีกครั้ง (ตอน กลับตาลปัตร) กองทหารเด็กเล่น [4] เป็นกองทหารตัวเล็กๆ ขนาดเท่าตุ๊กตาของเล่น มีจำนวน 5 ตัว ถึงแม้จะตัวเล็ก แต่ก็มีฝีมือการรบเยี่ยมยอดไม่แพ้ทหารจริง และสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งได้อย่างเคร่งครัด แต่บางครั้งก็อาจทำตามคำสั่งเคร่งครัดมากเกินไปจนอาจทำให้เกิดเรื่องเดือดร้อนตามมาในภายหลัง (ตอน กองทหารเด็กเล่น) ก๊อปปี้สามมิติ เป็นกระดาษที่นำไปแปะกับสิ่งของอะไร ก็จะกลายเป็นของนั้นๆ แต่ถ้าถูกเจาะจะสลายทันที กอเอี๊ยะกลับหน้ากลับหลัง [12] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "แผ่นเผยความในใจ") เมื่อคุณติดไว้ที่หลัง จะทำให้เปิดเผยเรื่องที่แอบทำลับหลังให้คนอื่นรู้ได้ (ตอน กอเอี๊ยะกลับหน้ากลับหลัง) กับแกล้มเมาแอ๋ หากคุณทานกับแกล้มนี้เข้าไป ถึงจะดื่มน้ำเปล่า น้ำนั้นก็จะกลายเป็นเหล้าทันที เหมาะสำหรับคนที่อยากดื่มเหล้าแต่ไม่มีเงินซื้อมาดื่ม (ตอน กับแกล้มคนชรา) กางเกงทาร์ซาน [31] ถ้าคุณใส่แล้ว จะสามารถเล่นอะไรก็เล่นได้เก่ง และสามารถเรียกสัตว์ได้ด้วย (ตอน กางเกงทาร์ซาน) กางเกงวอร์มบังคับทำ ถ้าใส่แล้วคุณจะต้องวิ่งให้ได้ 10 กิโลเมตร โดยไม่มีทางหยุดได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม (ตอน กางเกงวอร์มบังคับทำ) ก๊าชทำให้เมฆแข็งตัว เพียงฉีดเข้าไปแล้วเมฆจะสามารถแข็งตัวได้เอง กาน้ำบันทึกเสียง [4] เป็นของวิเศษรูปร่างเหมือนกาน้ำที่สามารถอัดเสียงได้เหมือนเครื่องบันทึกเทป โดยจะอัดไว้ในรูปแบบของลูกโป่ง เมื่อตีลูกโป่งให้แตก เสียงที่ถูกคุณบันทึกไว้ก็จะดังออกมา (ตอน กาน้ำบันทึกเสียง) กาวอวกาศ [38] เป็นกาวที่เมื่อไปทากับอะไรก็จะสามารถติดบนอากาศได้ (ในโดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ ตอน โนบิตะ ผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์ สามารถนำกาวอวกาศ(ในเรื่องจะเรียกว่า"กาวติดอากาศ")มาทาบนอากาศได้) (ตอน ท้องฟ้ายามค่ำคืน ระยิบระยับ) เกมกุ๊กกู๋ เกมกุ๊กกู๋มีลักษณะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์สองหน้าจอ โดยหน้าจอบนจะระบุว่าเราต้องการอะไร ส่วนหน้าจอล่างจะระบุว่าสิ่งที่เราอยากได้มีที่ไหน โดยวิธีการที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการผ่านการดึงออกมาจากหน้าจอล่างก็คือ "ขึ้นๆ ลงๆ ซ้ายขวาๆ เอ บี" ซึ่งเป็นสูตรโกงเกมค่ายโคนามิในเครื่องแฟมิคอมแต่บางคนยังไม่รู้ว่ามันหมายถึงอะไร แม้แต่ตัวโดราเอมอนเอง นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราไม่เคยเห็นโดเรม่อนนำออกมาใช้เลยแม้แต่ตอนเดียว เกมเทวดา [36] เมื่อคุณเอาวงแหวนเอาไว้บนหัวและเอากล่องใส่เงินแขวนคอไว้ พอใครเอาเงินใส่กล่องแล้วอธิษฐานแล้ว ถ้าวงแหวนส่องแสงแล้วเราก็แค่พูดว่า "สมปรารถนา" เราก็จะสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาได้ (ตอน เล่นเป็นเทวดา) เกมสร้างอาณาจักรของตนเอง ในชุดมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างอาณาจักรของตนเอง เช่น ธงชาติ ทางเข้า-ออกอาณาจักร ปากกาเขียนเขตแดน พาสปอร์ต บัตรประจำตัวต่างประเทศ เครื่องมือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หุ่นกองกำลังป้องกันประเทศ โดยมีเราเป็นเจ้าของอาณาจักร บางครั้งเรียกว่า "เครื่องสร้างประเทศตามใจชอบ" (ตอน อุปกรณ์สร้างประเทศ) แก๊สแก้นิสัยไม่ดี แก๊สนี้จะทำให้รู้จุดบกพร่องของคุณ (ตอน ก๊าซแก้นิสัยที่ไม่ดี) แก๊สเชื่อมน้ำทะเลกับมโนภาพ [41] สัตว์น้ำที่ได้รับแก๊สนี้จะมามารถว่ายอยู่บนน้ำมโนภาพได้ (ตอน เมืองยามดึกอยู่ใต้ท้องทะเล) แก๊สดำดิน หากฉีดแก๊สนี้ไปที่ใคร คนๆ นั้น จะสามารถเคลื่อนไหวในดินได้ดั่งใจ แก๊สทัศนาอาหาร เพียงแค่พ่นแก๊สนี้ลงบนภาพอาหารหรือของกิน เพียงแค่จ้องมองภาพก็สามารถทำให้อิ่มได้ (ตอน ปากกับตากินได้เหมือนกัน) แก๊สทุกหนแห่ง ถ้าเดินเข้าไปในควันแก๊สนี้ จะสามารถไปที่ต่างๆได้แต่มักจะไม่ตรงตามที่เราต้องมากนักเพราะคุณภาพต่ำมาก พอประตูไปที่ไหนก็ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น จึงได้ยกเลิกการผลิตของวิเศษชิ้นนี้ในที่สุด แก๊สบทละครโอเวอร์ เป็นแก๊สที่ทำให้เรื่องธรรมดาๆ เวอร์ขึ้นมา รวมทั้งคนรอบข้างก็จะปรุงแต่งช่วยให้เร้าใจขึ้นด้วย (ตอน แก๊สบทละครโอเวอร์) แก๊สผูกขาด [42] ไม่มีข้อมูล(ตอน แก๊สผูกขาด) แก๊สรับช่วง [41] พอคุณกดปุ่ม แก๊สก็จะออกมา แล้วยื่นมือเข้าไป แล้วมือเราจะเป็นเหมือนถุงมือพลาสติก จากนั้น ให้เราทำอะไรก็ได้ไปพลางๆ แล้วรีบชักถุงมือนั้นออก ก็จะมีมือทำต่อแทนให้เรา สะดวกมากเวลาเรามีธุระด่วน (ตอน ฝากทำต่อ) แก๊สเร้าใจ [36] ไม่มีข้อมูล แก๊สลอยตุ๊บป่อง [26] ไม่มีข้อมูล(ตอน แก๊สลอยตุ๊บป่อง) แก๊สลอยน้ำ [14] พอพ่นแก๊สนี้ออกไป เมฆก็จะกลายเป็นน้ำลอยอยู่บนฟ้า (ตอน สระว่ายน้ำในเมฆ) แก๊สสร้างน้ำ พอพ่นแก๊สนี้ออกไป เมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าก็จะกลายเป็นหยดน้ำ แก๊สสวนดอกไม้ ถ้าพ่นออกไป เมล็ดเล็กๆ จะกระจายออกไป แล้วตาจะงอก ใบจะโผล่ ดอกไม้จะเบ่งบาน แค่นี้ก็กลายเป็นสวนดอกไม้ แก๊สสารภาพ หากฉีดแก๊สนี้ไปที่ใคร คนๆ นั้นจะสารภาพความในใจออกมาทันที == ข == ขนมปังช่วยจำ [2] ดูรายละเอียดที่ ขนมปังช่วยจำ(ตอน ขนมปังช่วยจำ) ขนมหมาหลงทาง [14] หากคุณกินขนมนี้เข้าไปแล้วจะหาทางกลับบ้านไม่ถูก เหมือนสุนัขข้างถนน (ตอน บ้านไกลออกไปทุกทีๆ) ขลุ่ยใบแฝด เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับคีโบและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ถ้าเป่าก็จะมีลมขึ้นมาทันที (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ฉบับหนังสือการ์ตูน ตอน โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา) ขลุ่ยเปลี่ยนใจ เสียงที่ออกจากขลุ่ยนี้ จะทำให้ประสาทเพี้ยนไป คิดอะไรไว้จะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม (ตอน กลับหัวกลับหาง) เข็มกลัดซาบซึ้ง เพียงติดเข็มกลัดนี้ที่หน้าอกถ้ามีใครทำอะไรให้ไม่ว่าจะเป็นเรี่องเล็กหรือเรื่องใหญ่แค่ไหนก็จะซาบซึ้งสุดๆ แบบว่าขอบใจจริงๆ แต่ถ้าติดเข็มกลัดกลับหลังปุ๊บ จะขี้บ่นไม่เลิก เข็มกลัดทดสอบคู่รัก ถ้าหากไม่แน่ใจว่าแต่งงานกับคนนี้แล้วจะรักกันตลอดไปหรือไม่ ก็สามารถใช้เข็มกลัดคู่นี้ทดสอบได้ เข็มกลัดเพื่อนคู่ใจ หากท่านนำเข็มกลัดรูปนั้นๆ กับเพื่อนที่ต้องการ ก็จะสามารถขอความช่วยเหลือได้ แม้แต่เรื่องฉุกเฉิน ก็จะมีแสงปรากฏขึ้นมา (ตอน เข็มกลัดเพื่อนคู่ใจ) เข็มกลัดเลือกที่รักมักที่ชัง หากคุณติดเข็มกลัดนี้จะมีแต่คนเอ็นดูและเข้าข้างเราตลอดเวลาจนเป็นความลำเอียง (ตอน ต้นไม้เลือกที่รักมักที่ชัง) เข็มกลัดและไมค์ชมรมความคิดความเชื่อ เมื่อติดเข็มกลัดแล้วพูดความเชื่อลงไปในไมค์ (เช่น โลกแบน โลกกลวง ผีมีจริง) เราจะเห็นความเชื่อนั้นๆ[23](ตอน เข็มกลัดสมาชิกชมรมต่างความคิด) เข็มกลัดแสดงละคร ไม่ว่าจะกล้าหรือไม่กล้าแสดงละคร เข็มกลัดนี้สามารถทำให้คุณแสดงละครได้ เข็มกลัด 4 ฤดู หากคุณชอบฤดูไหน ก็หมุนไปที่ฤดูนั้นแล้วบรรยากาศรอบตัวคุณก็จะเปลี่ยนฤดูได้ดั่งใจ (ตอน เข็มกลัด 4 ฤดู) เข็มขัดเวลา เข็มขัดนี้สามารถย้อนเวลาได้เหมือนไทม์แมชชีนแต่มันเปลี่ยนแค่ยุคสมัย สถานที่ไม่เปลี่ยน (ตอน เรื่องติดเกาะในอดีตอันไกลโพ้นและตอนคาชิโคชิ) เข็มเร่งฮอร์โมน ถ้าหากฉีดเข็มนี้เข้าไปในต้นไม้ละก็ มันก็จะให้ผลที่กินได้อร่อยมากๆ ไขลานเร็วจี๋ นำไปติดที่หลังแล้วหมุน 3 รอบ จะทำให้เคลื่อนไหวได้เร็วจี๋ แต่ถ้าหมุนเกิน 3 รอบขึ้นไปจะทำให้เร็วจนเกิดอุบัติเหตุแทน(ตอน ไขลานเร็วจี๋) ไข่เกิดเป็นสัตว์แทน [43] แค่นำคนที่ต้องการแปลงร่างเป็นสัตว์เข้าไปอยู่ในไข่ คนนั้นก็จะเป็นสัตว์ตามที่คุณเลือกไว้ (ตอน ไม่ต้องการโนบิตะที่เป็นแมวหรือฮะ) ไข่ตรึงใจ เป็นไข่คล้ายๆแคปซูลข้างในกลวงเปิดได้ถ้าคุณนำคนเข้าไปรอสัก 15 นาทีคนที่อยู่ข้างในจะออกมาเห็นหน้าใครเป็นคนแรกจะรักติดตรึงใจไปตลอดกาล[37](ตอน ชิซุจังในไข่) ไข่นกกาเหว่า คุณต้องนำไข่ใส่กระเป๋าแล้วเดินเข้าบ้านไหนก็ได้ เจ้าของบ้านจะเลี้ยงดูปูเสื่อคุณอย่างกับลูกในใส้จนกว่าจะนำไข่ออกจากกระเป๋า[27](ตอน ไข่นกกาเหว่า) ไข่มุกสำเร็จรูป [38] อะไรก็ตามที่ใส่เข้าไปในนี้ จะกลายเป็นไข่มุกทันที ไข่ประสบการณ์เทพนิยาย ภายในมีเมล็ดเทพนิยายเมื่อนำไปฝังในบริเวณที่จุดเริ่มต้นของเรื่องจะเกิดประสบการณ์นั้นทันที (ตอนเจ้าหญิงคางูยะที่โนบิตะดูแล) ขวดนำทาง ขวดนี้จะพาคุณไปยังจุดหมายแค่จับปากขวดไว้ตัวเราก็จะเข้าไปในขวดแล้วลอยไปตามน้ำไปยังจุดหมายที่เราต้องการ ข้าวเหนียวจับเงา ใช้จับเงาที่ถูกตัดไป (ตอนกรรไกรตัดเงา) == ค == คบเพลิงแห่งเวลา ทำให้เห็นการไหลของเวลา ถ้าคุณใช้กับคนที่ไม่รู้คุณค่าของเวลา มันจะทำให้คนที่ไม่รู้คุณค่าของเวลากลับตัวได้ (ตอน เวลาไหลไปๆ) ครอบครัวเคลื่อนที่(ตราประทับ) ถูกทำเพื่อให้ท่านสามารถพูดคุยกับคนในครอบครัวได้ โดยนิ้วโป้งคือคุณพ่อ นิ้วชี้คือคุณแม่ นิ้วกลางคือพี่ชายหรือน้องชาย นิ้วนางคือพี่สาวหรือน้องสาว แต่ถ้าปั้มที่นิ้วก้อยจะเป็นตัวเอง ครีมตรงกันข้าม [1]ถ้าทาครีมนี้แล้ว เมื่อไปจับของที่ร้อน จะรู้สึกเย็น และถ้าเป็นของเย็น จะรู้สึกร้อน (ตอน หิมะร้อนร้อนจ้า) ครีมใต้ทะเลลึก [4,พิเศษ1] ทาครีมนี้ให้ทั่วตัว ไม่ว่าจะดำน้ำลงไปลึกแค่ไหน ตัวจะไม่ถูกกดตามแรงดันน้ำ ใช้กับน้ำเย็นก็ได้ (ตอน ผจญภัยใต้ทะเลลึก) ครีมมนุษย์หมาป่า [11] ถ้าทาครีมนี้แล้วเห็นของกลมๆ จะกลายเป็นมนุษย์หมาป่าทันที แต่ผ่านไปสักครู่หนึ่งก็หมดฤทธิ์ (ตอน ครีมมนุษย์หมาป่า) ครีมสัตว์เลี้ยง [37] ทาที่ก้อนหิน แล้วขัดดีๆ จะกลายเป็นสัตว์เลี้ยงของเราได้ ยิ่งขัดก็ยิ่งเชื่อง (ตอน เรื่องของก้อนหินที่น่ารัก) คู่หูดวงอาทิตย์และลมเหนือ จะช่วยถอดสิ่งที่อยู่กับตัวผู้ที่เราต้องการได้(ตอน ซูเนโอะไปร้านเสริมสวย) คลื่นเสียงเคลื่อนไหวตุ๊กตา [43] ใช้สิ่งนี้ใส่สิ่งของที่รูปร่างเหมือนสัตว์โมเดลของของก็จะเปลี่ยนไปแต่เลียนแบบได้แค่ชั่วคราว (ตอน แจ็ค เบ็ตตี้ และเจอนี่) ค้อนขอพร เมื่อเคาะที่หัวแล้วขอพรจะได้ในสิ่งที่ต้องการ แต่มักจะมีผลข้างเคียงหรือผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยน่าพอใจ (ตอน ค้อนขอพร) ค้อนตุ๊กตาต่อ ถ้าเอาค้อนนี้ไปทุบคน หรือสิ่งของ ส่วนนั้นก็จะแยกออกมา และสามารถต่อกลับเข้าไปเหมือนเดิมได้ (ตอน ก้นซึเนะโอะหายสาบสูญ) ค้อนเปลี่ยนขนาด เป็นหนึ่งในอุปกรณ์วิเศษชนิดหนึ่ง ถ้าชูลงที่ด้านสีชมพูจะเล็กลง ส่วนด้านสีฟ้าจะทำให้ใหญ่แบบปกติ ค้อนแบ่งภาค ใช้แบ่งร่างตามความต้องการของใจ ใช้หลัก "แบ่งใจ แบ่งกาย" ถ้าใจไม่ค่อยอยากจะทำ ร่างที่แบ่งออกมาจะมีสีจางกว่าร่างจริง ค้อนแยกร่าง เมื่อใช้ค้อนนี้เคาะที่ตัว จะประกฎร่างอีกร่างหนึ่งขึ้นมา ค้อนแห่งความหลัง [5] เมื่อทุบศีรษะแล้วความทรงจำจะปรากฏเป็นภาพขึ้นมาผ่านทางดวงตา (ตอน ค้อนแห่งความหลัง) คัตเตอร์ตัดวิว [42] สามารถตัดวิวที่เราชอบไปไว้ที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าตัดรูปคน ก็จะเคลื่อนไหวเหมือนของจริง (ตอน คัตเตอร์ตัดวิว) คันเบ็ดยกของสบาย [38] หากคุณใช้สิ่งนี้เกี่ยวกับอะไรแล้วสามารถยกของสิ่งนั่นได้สบาย (ตอน คันเบ็ดยกของสบาย) คูปองสั่งหนังสืออนาคต สามารถสั่งซื้อหนังสือในอนาคตได้ เพียงแค่คุณเขียนหนังสือที่อยากได้ แล้วนำไปใส่ในตู้ไปรษณีย์ แล้วหนังสือที่เราอยากได้ก็จะส่งมาให้คุณ (ตอน คูปองหนังสืออนาคต) เครื่องเก็บและฉายภาพเงา สามารถดูเงาของใครก็ได้ ด้วยการดูดเงาของสิ่งของหรือคน แล้วนำมาฉายที่ผนัง (ตอน เครื่องเก็บและฉายภาพเงา) เครื่องแกะรอยผู้ส่งไปรษณีย์ [15] เครื่องนี้มีลักษณะเป็นตู้ไปรษณีย์ขนาดเล็ก แค่คุณนำจดหมายมาใส่ในช่อง สิ่งนี้จะช่วยบอกข้อมูลและที่อยู่ของผู้ส่งมาได้ มีประโยชน์มากในการใช้ตรวจสอบกับจดหมายที่ไม่ระบุที่อยู่อย่างชัดเจน เครื่องโกหกที่เป็นจริง [4] เป็นของวิเศษที่มีลักษณะเป็นปากแหลมๆ คล้ายปากนก ถ้านำมาติดที่ปาก ไม่ว่าจะพูดโกหกเรื่องอะไร ก็จะกลายเป็นความจริงไปหมดทุกเรื่อง (ตอน โกหกที่เป็นจริง) เครื่องกำเนิดไต้ฝุ่น [14] เครื่องนี้สามารถทำให้เกิดความกดอากาศต่ำเกิดเป็นพายุไต้ฝุ่น และยังสามารถควบคุมพายุในทิศทางที่ต้องการได้ (ตอน เครื่องกำเนิดไต้ฝุ่น) เครื่องค้นหาภาพนึกคิด เพียงนำสายคาดไปคาดบนศีรษะ เมื่อคิดสิ่งของที่หายแล้ว จะมีการบอกว่าสิ่งของนั้นๆ อยู่ที่ไหน เครื่องควบคุมกล้ามเนื้อ ให้ยิงเครื่องรับสัญญาณไปที่ผู้รับ จากนั้นสวมแผงควบคุมไว้บนศีรษะเรา ผู้รับสัญญาณจะเคลื่อนไหวตามที่เราคิดไว้เหมือนกัน เครื่องควบคุมประสาทการเคลื่อนไหว [42] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องควบคุมประสาทการเคลื่อนไหว) เครื่องจองล่วงหน้า (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "เครื่องสั่งจอง") ถ้าอยากจองของที่ต้องการหรืออยากทำอะไรล่วงหน้า ให้เขียนไว้ในบัตร แล้วใส่ในเครื่องนี้ (ตอน โดรายากิและภาพยนตร์จองไว้แล้ว) เครื่องฉายภาพตัดขวาง [36] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องฉายภาพถ่ายรังสี) เครื่องซักผ้าหอมสะอาด ไม่ใช้ผงซักฝอก หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม หากใส่เสื้อผ้าสกปรกลงไปในเครื่อง ก็จะหอม และสะอาด เครื่องดื่มช่างไม้ ถ้าดื่มเข้าไปแล้ว มือกับนิ้วจะกลายเป็นเครื่องมือช่างไม้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เครื่องดื่มแดนร้าง หากใครดื่มแล้ว จะไม่มีใครอยู่รอบคุณเลย [38](ตอน เครื่องดื่มแดนร้าง) เครื่องดูดฝน ในวันฝนตก ถ้าใช้เครื่องนี้ มันจะดูดฝนที่ตกลงมา รอบๆ ตัวเราไปหมด ทีนี้เราก็ไม่เปียกฝนแล้ว เครื่องดูดเมฆ ถ้าผูกไว้กับตัว ก็จะดูดเมฆไปหมดประดุจเครื่องดูดฝุ่น เครื่องตรวจวัดอายุ ถ้าหากชี้ไปที่ใคร เราจะรู้ถึงอายุของสิ่งของ สถานที่ สัตว์หรือคนทันที เครื่องทดสอบความฝัน [พิเศษ 2] เรื่องนี้สามารถวิ่งและหยิกแก้มเราไปพร้อมๆ กัน เพื่อทดสอบว่า "ไม่ได้ฝันไป" เครื่องทำไข่ เครื่องนี้จะทำให้ของทุกอย่างที่ใส่ลงไปในช่องรับไข่กลายเป็นไข่ เครื่องทำเมฆ ของวิเศษที่สามารถทำเมฆได้ โดยขึ้นโครงลวด สามารถดัดเป็นรูปอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ แล้วนำปุยเมฆซึ่งมีลักษณะเป็นลูกกลมๆ ใส่ลงไปในเครื่องทำเมฆแล้วนำมาพ่นที่โครง โครงลวดที่ดัดไว้จะมีปุยเมฆมาห่อหุ้ม เหมือนเมฆที่อยู่บนท้องฟ้า เราสามารถที่จะนั่งอยู่บนก้อนเมฆได้ ถ้าต้องการให้เมฆลอยก็ติดใบพัดไว้ เมฆก็จะลอยได้ (ตอน เมฆที่สร้างด้วยมือสนุกเนอะ) เครื่องทำหุ่นยนต์ ถ้าติดของวิเศษชิ้นนี้ไว้ที่สิ่งของใด สิ่งนั้นจะกลายเป็นหุ่นยนต์ทันที (ตอน การจลาจลของเครื่องทำหุ่นยนต์) เครื่องทำให้รู้คุณค่า ถ้ากดปุ่มสีแดงแล้วพูดอะไรก็ได้ จะทำให้เรารู้ถึงคุณค่าของสิ่งนั้นๆ เช่น ถ้าพูดว่า "อาหาร" ก็จะทำให้อดอาหารจนรู้คุณค่า ถ้าอยากจะหยุด ก็กดปุ่มสีขาว (ตอน เครื่องทำให้รู้คุณค่า) เครื่องบรรลุความหวัง [42] เพียงพูดสิ่งที่เราต้องการให้เป็นจริงกับเครื่องนี้ แล้วหมุนปรับระดับความหวัง (มีตั้งแต่ความหวังต่ำถึงความหวังสูง) เครื่องนี้จะทำให้ความฝันและ/หรือความต้องการของเราเป็นจริง แต่ถ้าให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจสำหรับคุณแล้วล่ะก็ สามารถแก้ไขด้วยการปรับระดับให้ลดลงหรือสูงขึ้นได้ (ตอน ทำเกินไปแล้ว! เครื่องบรรลุความหวัง) เครื่องนอนกลางวัน เครื่องนี้จะเปลี่ยนพลังงานจากการนอนกลางวันให้เป็นพลังงานไฟฟ้า (ตอน พลังงานไฟฟ้าโนบิตะ นอนผลิตไฟ) เครื่องบันทึกประสบการณ์ [31] ไม่มีข้อมูล(ตอน สนุกด้วยเครื่องบันทึกประสบการณ์) เครื่องประดิษฐ์ [30] เป็นเครื่องที่สอนเราสร้างเครื่องมือตามที่เราต้องการ โดยแค่พูดว่าอยากได้เครื่องมืออะไร ก็จะมีคู่มือการทำออกมาให้ (ตอน ประดิษฐ์ด้วยเครื่องประดิษฐ์) เครื่องปรับความสูง ถ้าใช้เครื่องนี้ละก็ จะปรับความสูงให้เราอยู่สูงเท่าไรก็ได้ แล้วเราก็จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างล่างทั้งหมด เครื่องปริ๊นท์เอนกประสงค์ [43] ไม่มีข้อมูล เครื่องปรุงสร้างผลิตภัณฑ์จากน้ำ [23] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องปรุงสร้างผลิตภัณฑ์จากน้ำ) เครื่องเปลี่ยนความรู้สึกของบ้าน [31]เมื่อนำแผ่นอารมณ์ใดใส่ลงไปในเครี่อง บ้านก็จะเปลี่ยนไปตามอารมณ์นั้น (ตอน บ้านสุขสำราญพานทุกข์) เครื่องเปลี่ยนเป็นของเล่นแกล้งคน [36] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องเปลี่ยนเป็นของเล่นแกล้งคน) เครื่องปั๊มร่างกาย [12] ทำให้ร่างกายบางส่วนพองใหญ่ขึ้นได้ เมื่อเอาออกก็จะแฟบลงทันที (ตอน ยักษ์ออกมาแล้ว) เครื่องเปลี่ยนวิวฝาผนัง [31] ถ้ากดสวิตซ์ ก็จะมีวิวขึ้นมาเอง (ตอน เครื่องเปลี่ยนวิวที่ฝาผนัง) เครื่องเปลี่ยนวิวหน้าต่าง ภาพที่เห็นจากหน้าต่างบ้านอื่นๆ สามารถดูได้จากหน้าต่างบานนี้ ไม่ว่าที่ไหนจากหน้าแบบใดก็ดูได้ (ตอน บอกลากับกระจก) เครื่องแปลงเป็นระบบเครื่องกล เป็นเครื่องที่สามารถเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาเป็นเครื่องกลที่กำหนดได้ (ปรากฏในรวมเล่มฉบับที่ 29) (ตอน เครื่องแปลงเป็นระบบเครื่องกล) เครื่องผลิตก้อนอากาศ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "เครื่องสร้างบล็อกอากาศ")เครื่องนี้จะช่วยอัดอากาศให้เป็นก้อน มีฤทธิ์แค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น เครื่องผลิตลูกอมเส้นเสียง พออัดเสียงเข้าไป ก็จะกลายเป็นลูกอมออกมา ถ้าอมเข้าไป เราก็จะพูดเป็นเสียงของคนๆ นั้น (ตอน อมลูกอมแล้วกลายเป็นนักร้องซะเลย) เครื่องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่รู้ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "เครื่องเผชิญหน้าสิ่งที่ไม่คาดฝัน") มนุษย์ต่างดาวที่ได้รับสัญญาณซึ่งออกจากเครื่องนี้ไป ไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน UFO จะบินมา แต่ถ้าหากเรียกมาโดยไม่มีธุรกิจอาจจะเกิดสงครามอวกาศได้ (ตอน เครื่องเผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้) เครื่องฝึกหลบภัย [11] เครื่องนี้มีไว้สำหรับซ้อมการหนีภัยที่กำลังจะมาถึง (ตอน เครื่องฝึกหลบภัย) เครื่องพิมพ์พลังสูง เป็นของวิเศษที่สามารถตกแต่ง ดัดแปลง และสั่งพิมพ์ภาพถ่ายได้ตามใจนึก (ตอน เครื่องพิมพ์พลังสูง) เครื่องเพาะโคลน ใช้สำหรับการก๊อบปี้สิ่งมีชีวิต โดยอาศัยตัวอย่างจากร่างต้นแบบ (ตอน ไจแอนท์เด็กดี นอนเสียนะ) เครื่องร่อนรุ่นเล็ก [30] เป็นเครื่องร่อนที่แม้แต่เด็กเล็กก็เล่นได้อย่างปลอดภัย (ตอน เครื่องร่อนรุ่นเล็ก) เครื่องรับซื้อของคืนอัตโนมัติ [29] เมื่อใส่สิ่งของเข้าไป เครื่องจะตีราคาออกมาเป็นเงิน (ตอน เครื่องรับซื้อของคืนอัตโนมัติ) เครื่องรางช่วยลูกช้างด้วย ไม่มีข้อมูล เครื่องเล่นเกมของจริง ใช้สำหรับเล่นเกมกับคนจริงๆ คนที่โดนใช้จะกลายเป็นเกมให้คุณเล่น (ตอน เครื่องเล่นเกมของจริง) เครื่องเล่นฝัน [38] เมื่อใส่เทปไปในเครื่องแล้วนอนลงจะฝันเห็นเรื่องแบบนั้น มีเทปวิดีโอหลายชนิด เช่น หนังคาวบอย และอื่นๆอีกมาก (ตอน เครื่องเล่นฝัน) เครื่องวาดภาพทุกเวลาทุกสถานที่ [41] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องวาดภาพทุกเวลาทุกสถานที่) เครื่องส่งก๊อปปี้ [29] ไม่มีข้อมูล(ตอน ซึบาซะจังมาที่บ้าน) เครื่องส่งคลื่นเขย่าประสาท เป็นเครื่องที่ใช้เสียงในการทำให้ปลวก ตัวเห็บ แมลงสาบ ออกไปจากบ้าน (ตอน เครื่องส่งคลื่นเขย่าประสาท) เครื่องส่งพลังชั้นสาย หรือ แว่นตา คือของวิเศษชนิดหนึ่งที่สามารถมีพลังมากกว่าคนอื่นเป็น 100 เท่า (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอน ชุดโดเรมี ตอน ออโรร่า ย้อนอตีด เปลี่ยนประวัติศาสตร์) เครื่องสปาย [1] มีลูกตา และหูที่สามารถลอยไปสอดแนมเป้าหมายที่ต้องการได้ในระยะไกล และนำภาพและเสียงกลับมายังมอนิเตอร์รูปหัวคน (ตอน แผนสปายลับสุดยอด) เครื่องสร้างคลื่นรบกวน ถูกผลิตเพื่อไล่หนู แมลงสาบได้ แต่ต้องใช้เสียงดังในการกำจัด เช่น เสียงเพลงของไจแอนท์ เครื่องสร้างตึกด้วยน้ำ เป็นเครื่องที่สามารถสร้างสิ่งปลูปสร้างต่างๆได้เพียงใช้แค่น้ำและแบบแปลน เครื่องสอดใส่ตัวแสดงนำ ถ้ากดสวิตช์ไปที่ตัวแสดงนำของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น นิตยสาร การ์ตูน หรือข่าว เราก็สามารถเป็นตัวนำได้ (ตอน เครื่องสอดใส่ตัวแสดงนำ) เครื่องสัญญารับล่วงหน้า [พิเศษ 3] ถ้าสัญญาไว้กับเครื่องนี้ ก็สามารถแสดงผลลัพธ์ให้ได้ก่อนล่วงหน้า แต่ต้องทำตามสัญญาด้วย เช่น ถ้าคืนนี้สัญญาว่าพรุ่งนี้จะต้องได้กินข้าวแน่ คืนนี้ขอให้อิ่มก่อน เราก็จะอิ่ม เมื่อถึงพรุ่งนี้ เราก็ต้องกินข้าวในส่วนของเมื่อวานด้วย เครื่องสั่งของทางโทรศัพท์ [30] ถ้าติดไว้ที่หูโทรคัพท์(ด้านที่พูด) จะสามารถส่งของไปยังผู้รับ หรือจะรับของจากผู้ส่งผ่านทางโทรศัพท์ได้ (ตอน คนโทรศัพท์กวนเมืองกลางดึก) เครื่องสั่นคลอนความมั่นใจ [37] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องสั่นคลอนความมั่นใจ) เครื่องสับเปลี่ยนที่ ใช้ชอล์กขีดเป็นรูปวงกลม แล้วใช้เครื่องนี้หาสถานที่ที่ต้องจะสับเปลี่ยน จากนั้นกดปุ่ม แล้วภายในวงกลมที่เราขีดไว้จะเป็นสถานที่เราเลือกแทน เครื่องสับเปลี่ยนร่าง [11] ใช้สลับร่างกายบางส่วนของคนสองคนได้ เช่น หัว มือ หรือขา (ตอน เล่นสับเปลี่ยนชิ้นส่วนของร่างกาย) เครื่องสารพัดดูด [42] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องสารพัดดูด) เครื่องหมายบอกยศ เป็นเครื่องหมายที่ใช้บอกยศของคนที่ติด คนที่ยศต่ำกว่าเราจะไม่กล้าหาเรื่องแน่นอน (ตอน เครื่องหมายบอกยศ) เครื่องหมายห้าม ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ห้ามไม่ให้ทำได้ แค่เขียนสิ่งที่จะห้ามลงไปแล้วปักไว้ (ตอน เครื่องหมายห้าม) เคสหลับไปทำไป [38]เขียนเรื่องที่จะทำใส่กระดาษแล้วใส่ในเคสสอดใต้หมอนก็จะละเมอทำเรื่องนั้น (ตอน เคสหลับไปทำไป) แคตตาล็อกห้องตามสั่ง ภายในแคตตาล๊อกมีห้องต่างๆ ให้เลือกตามชอบ มีประตูกระดาษและประตูเชื่อมต่อห้อง สามารถจำกัดห้องและคนได้(ตอน แคตตาล็อกห้องตามสั่ง) แคปซูลกาลเวลา ใส่อะไรลงไปไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร ก็ยังคงเหมือนเดิม แคปซูลแคมป์ปิคนิค [พิเศษ 1] พอปักลงในพื้นดิน จะกลายเป็นที่พักสำหรับแคมป์ ข้างในจัดไว้พร้อมสรรพ แคปซูลลูกข่าง [พิเศษ 2] สามารถใช้อำพรางตัวได้ บังคับให้กลิ้งโดยควบคุมความเร็วได้ และห้องควบคุมภายในไม่หมุนตามไปด้วย แคมปิ้งเซ็ตรูปบ้านนก เป็นบ้านนกขนาดเล็ก มาพร้อมกับลิฟต์เมื่อขึ้นแล้วตัวเราจะเล็กลง นำมาใช้ครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค == จ == จมูกดมกลิ่น เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการตามหาบุคคลที่ต้องการ จรวดนำวิถีมิสไซล์ [12] จรวดนี้ เพียงแค่เล็งเป้าหมายไว้ มันก็จะไล่ตามไปโจมตีให้ได้(ตอน จรวดมิสไซล์ไล่มาแล้ว) จรวดไปรษณีย์ [5] สามารถใส่ของอะไรลงไปในจรวดไปรษณีย์ก็ได้ แล้วจ่าหน้าที่อยู่ จะถูกส่งไปให้ถึงที่ทางอากาศแบบจรวด(ตอน ฮานาโอะ) จรวดนำทาง จรวดนี้ สามารถนำทางคุณได้ จอบจอมพลัง จอบนี้จะช่วยเพิ่มพลังในการขุดดินได้ถึง 100 เท่าทีเดียว จักรยานมิติที่ 4 [5] เป็นจักรยานสามล้อที่มีนาฬิกาปลุก เทอร์โมมิเตอร์ ปฏิทิน ที่เหลาดินสอ มีจมูกดมกลิ่น และเข้าสู่มิติที่ 4 ได้ วิ่งได้ถึง 100 เมตรต่อวินาที(ตอน จักรยานมิติที่ 4) จานกัปปะ เพียงแค่สวมจานกัปปะ ก็สามารถเป็นกัปปะได้ในทันที จุดหลุมดำ ถ้าคุณกินเข้าไปแล้ว จะดูดทุกสิ่งทุกอย่างในกระเพาะ(ตอน หลุมดำของโนบิตะ) == ช == ช่องความฝัน เปิดสวิทซ์แล้วสามารถรับชมความฝันของคนอื่นได้ แต่สามารถเปลี่ยนช่องได้ โดยการปรับทิศทางและระยะที่ต้องการ นิยมสำหรับคนอยากดูทีวียามดึก ช่องส่องเวลา [36] เครื่องนี้สามารถเหตุการณ์ในอดีตได้โดยไม่ใช้ไทม์ทีวี (รายละเอียดดูที่หมวด ท ,ตอน ช่องส่องเวลา) ชอร์ตคัตเตอร์ มีใบมีดสำหรับกรีดฝาผนังแบบต่าง เพื่อให้ตัวเราสามารถเข้าไปยังมิติของสถานที่ต่างๆ ได้โดยการพูดถึงสถานที่ๆอยากไป ถ้าเอามาปิดจะสังเกตเป็นแค่ฝาผนังธรรมดา แต่ถ้าใช้เยอะจะไม่มีใบมีด แต่มิติของสถานที่ต่างๆ มีความยืดหยุ่นสูง พอผ่านระยะเวลาสักพักหนึ่ง มันก็จะแยกออกจากกันและจะกลับเป็นเหมือนเดิม และทางผ่านก็จะหายไป ชอล์กค้นหาโลหะ คุณต้องขีดเส้นไว้ที่พื้น แล้วหลังจากนั้นถ้าสิ่งที่มีโลหะมาทับเส้นที่เราขีดไว้ ก็จะส่งสัญญาณเตือน ช้างดูดสารพัดสิ่ง เพียงสั่งสิ่งที่ต้องการดูด ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะงานเล็กถึงงานใหญ่ ส่วนตรงหางก็สามารถดึงได้ แต่เป็นการนำสิ่งที่ดูดออกมา ชาผจญภัย เมื่อคุณจิบชาคุณจะต้องผจญภัยเบาๆ 5 นาที ถ้าดื่ม 1 แก้ว จะได้ผจญภัยโหดๆ 10 นาทีถ้าดื่มหมดเหยือกได้ผจญภัยหลาย 10ชั่วโมงเลยทีเดียว[36](ตอน ผจญภัยด้วยชาผจญภัย) ชิปจับจอง เมื่อเราติดชิปที่ของขาย โรงหนัง โทรทัศน์ ฯลฯ ชิปนี้จะทำให้เรามีสิทธิในสิ่งนั้นอย่างเต็มที่[36](ตอน ชิปจับจอง) ชิพกลับตาลปัตร ถ้าหากแปะที่ตัวใคร นิสัยของคนๆ นั้นจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ชิพนี้จะมีคุณสมบัติติดตัวคนที่เสียงดัง ชุดเครื่องมือสายลับ ตากับหูของชุดเครื่องมือสายลับนี้จะบินไปยังจุดเกิดเหตุ แล้วส่งภาพมาที่จอให้เราดู ชุดงานอดิเรกวันอาทิตย์ เริ่มจากปูพื้นนาทองม้วนที่ผสมปุ๋ยเสร็จสรรพไว้กลางห้อง จากนั้นปักกล้าผสมแคปซูลลงไปแล้วยิงพระอาทิตย์ถั่วกับเมฆฝน คราวนี้คุณก็ทำนาปลูกข้าวในห้องได้แล้ว(ตอน ทำนาบนผื่นเสื่อ) ชุดดำดิน ชุดนี้จะช่วยให้คุณดำลงไปได้ทุกที่ยกเว้นดำน้ำ ไม่ว่าจะดำลงไปในพื้นเสื่อหรือพื้นไม้ได้อย่างอิสรเสรี แต่จะดำดินได้ฉลุยที่สุด ชุดยานพาหนะ มีชุดยานพาหนะที่สามารถใช้ได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ถึงกล่องบรรจุจะเล็ก แต่เมื่อนำออกมาจากกล่องจะใหญ่ทันที ชุดเรือดำน้ำวิทยุบังคับ [26] ไม่มีข้อมูล(ตอน ปล่อยเรือดำน้ำจับหอยร้อยรู) ชุดเล่นเกมผจญภัยอวกาศ [29] เหมือนเกมส์บันไดงูปกติ แต่ตัวคนจะเข้าไปอยู่ในเกมส์จริงๆ(ตอน เล่นผจญภัยอวกาศ) ชุดสร้างความตื่นเต้นระหว่างไปโรงเรียน เป็นอุปกรณ์วิเศษที่สามารถสร้างความตื่นเต้นระหว่างเดินทาง ซึ่งสิ่งเหล่านั้น คือเครื่องเล่นสวนสนุกที่อยู่ในไข่ เช่น รถไฟเหาะ ม้าหมุน ฯลฯ แต่สามารถกระเทาะได้ ชุดสร้างโลก [5] สามารถสร้างโมเดลโลกขนาดเล็กที่มีวิวัฒนาการเหมือนจริง และสามารถเข้าไปในโลกนั้นได้จริงๆ ผ่านจอภาพ(ตอน วิธีสร้างโลก) ชุดหุ่นยนต์ลูกโป่ง ต้องถ่ายรูปสิ่งต่างๆ ด้วยกล้องก่อน แล้วจึงมีลูกโป่งออกมา แต่เมื่อเป่าจะสามารถเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ และต้องสวมเสาอากาศเพื่อบังคับหุ่นยนต์ แต่สามารถทำลายได้โดยนำเข็มมาเจาะให้แตก ชุดอวกาศแบบรับประทาน [พิเศษ 2] ถ้ากินเข้าไปแล้ว สามารถสร้างออกซิเจนในร่างกายได้ และจะมีเยื่อหุ้มอยู่ภายนอกเหมือนอย่างกับชุดอวกาศ เชือกกันน้ำ ถ้าใครมีเชือกนี้ล้อมตัวรอบตัวเรา จะทำให้น้ำไม่สามารถเข้ามาถึงตัวเราได้ เชือกดูแล [27] เครื่องมือชนิดนี้เปรียบเสมือนกับคุณหมอที่บ้านก็ว่าได้(ตอน เพื่อนตัวผอมๆ ยาวๆ) เชือกบ่วงบาศก์ สามารถหยิบจับสิ่งของได้ทุกชนิด แม้ว่าต้องมีการพูดถึงสิ่งที่ต้องการเอามา เชือก (เล่น) รถไฟ [พิเศษ 3] เมื่อเข้าไปในเชือกและวิ่งพร้อมกัน จะสามารถทำความเร็วได้เท่ารถไฟ เชือกแห่งความเที่ยงธรรม เป็นเม็ดกลมในโหลแก้วถ้าเราหยิบเม็ดนั้นขึ้นมาแล้วรดน้ำไปมันจะเหมือนหนอนและมุดหายลงไปในดินถ้าเกิดมีใครทำความผิด (ไม่ว่าจะตามกฎหมาย หลักธรรม ศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม) มันจะรัดคนนั้นไว้เพื่อเป็นการลงโทษส่วนความหนักเบาขึ้นอยู่กับความผิด[23](ตอน เชือกแห่งความเที่ยงธรรมที่น่าสะพรึงกลัว) โชคดีที่ตื่นอยู่ [23] ไม่มีข้อมูล(ตอน โชคดีที่ตื่นอยู่) == ซ == ซาลาเปาเหมือนสัตว์เลี้ยง [12] ถ้าคุณกินเข้าไป หน้าของคุณก็จะเหมือนสัตว์เลี้ยง แต่ถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณกิน หน้าก็จะเหมือนเจ้าของ(ตอน ซาลาเปาเหมือนสัตว์เลี้ยง) ซิปวิเศษ เพียงติดซิปอันนี้ไว้ก็รูดเปิดเข้าไปได้ทุกที่ 555 ซีเนรามัน [5] เป็นยาเม็ด ถ้ากินเข้าไปแล้ว จะมีความรู้สึกว่าบริเวณรอบๆ จะขยายออกไปจนสุดลูกหูลูกตา(ตอน สระว่ายน้ำที่กว้างเหมือนมหาสมุทร) ซานตาเมล์ ถูกพบในตอน คริสต์มาสของโดเรม่อนกับโนบิตะ คุณสมบัติของของวิเศษนี้คึอ พอเขียนชื่อ ที่อยู่ อายุ และของขวัญที่อยากได้ลงไปในไปรษณีย์บัตร ซานตาจะนำมาให้ในคืนคริสต์มาสอีฟ == ด == ดวงตา 1 ล้านโวลต์ พอคุณแปะก็จะทำให้คนอื่นหลงรัก ดอกไม้ลบความจำ ถ้าใครดมดอกไม้นี้เข้าไป จะทำให้ลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่จะทำแค่ชั่วคราว โดยที่ปรากฏในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค ได้ถูกใช้เพื่อให้ยามที่เฝ้าซูเนะโอะและไจแอนท์ภายในห้องขังลืมเรื่องกฎหมายของเบิร์ดโดเปีย (คิบิ) ดังโงะ (ตรา) โมโมทาโร่ [16,พิเศษ 1] ดูรายละเอียดที่ ดังโงะโมโมทาโร่(ตอน ทาร์ซานอวกาศ) ดาบแบ่งครึ่ง [42] ใช้ดาบนี้แบ่งหนึ่งกล่องใบก็จะกลายเป็นกล่องสองใบขนาดลดลงครึ่งนึงถ้าผ่าทีวีก็จะดูได้เหมือนเดิมแต่มีทีวีสองเครื่องขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง(ตอน ครึ่งของครึ่งของครึ่ง) ด้ายผูกมัด [31] เมื่อเอาไปมัดตรงใดตรงหนึ่งตัวเราจะมีอาการเคลื่อนไหวคล้อยตามสิ่งนั้นๆ (ตอน ด้ายผูกมัดกระชับร่าง) ดวงดาวภาวนา ถ้าขอสิ่งใดจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา แต่ดาวขอพรนั้น เพราะด้วยความชำรุดทำให้หูฟังไม่ชัดและเข้าใจผิด ทำให้ในบางครั้งอาจจะส่งอย่างอื่นให้เราแทน เพราะสิ่งที่เราต้องการ (ในภาษาญี่ปุ่น) นั้น เป็นคำพ้องเสียงกับของที่ส่งมา จึงควรระมัดระวัง(ตอน ดาวขอพร) ดาวเทียมถ่ายทอดอากาศ [26] ไม่มีข้อมูล(ตอน ดาวเทียมถ่ายทอดอากาศ) ดาวเทียมส่วนบุคคล [พิเศษ 3] ดาวเทียมจะโคจรไปรอบโลกแล้วส่งภาพถ่ายมาที่เครื่องควบคุม สามารถเปลี่ยนวงโคจรได้ ดินสอเขียนเงิน [25] เมื่อเขียนจำนวนเงินลงบนกระดาษแล้ว กระดาษแผ่นนั้นจะกลายเป็นเงินได้(ตอน ร่ำรวยด้วยดินสอ) ดินสอคอมพิวเตอร์ [1] เมื่อใช้ดินสอนี้จะสามารถเขียนคำตอบให้กับคำถามได้โดยอัตโนมัติ เหมาะกับใช้ในการทำการบ้าน หรือในการสอบ(ตอน ขอให้ได้ร้อยคะแนนสักครั้งในชีวิต) ดินแห่งจิตใจ [26] ถ้าโปรยรอบๆ สถานที่ๆ มีต้นไม้ ก็จะมีชีวิตขึ้นมาเอง(ตอน ป่าไม้มีชีวิต) โดราโบรท ถึงเป็นเพียงแค่เรือคายัคธรรมดา แต่สามารถนั่งได้ถึง 5 คน ดวงอาทิตย์มินิ ให้แสงสว่างได้เวลาอยู่ในที่มืด == ต == ต้นคริสต์มาสสำเร็จรูป[5] ใส่เม็ดคริสต์มาสสำเร็จรูปลงในกระถางก็สามารถเปลี่ยนเป็นต้นคริสต์มาสได้ในทันที(ตอน สีแรงโน้มถ่วง) ต้นไม้ให้ที่พักพิง [31]สำหรับต้องการที่อยู่อาศัย เพียงเราปักลงไปหน้าบ้านกับหลังที่เราอยากอยู่ด้วย จะสามารถอาศัยบ้านคนอื่นได้(ตอน ต้นไม้ให้ที่พักพิง) ต้นไม้อพาร์ตเม้นท์เด็กเล่น ปลูกต้นอ่อนไว้ 10 นาที จากนั้นไปปักดิน รากของมันจะแผ่สาขาออกเป็นห้องต่างๆ ให้เรา แต่มีฤทธิ์แค่ 1 วันเท่านั้น(ตอน อพาร์ตเม้นท์ต้นไม้) ตลับแพนโดรา เป็นเครื่องมือที่ช่วยฝึกความตั้งใจให้เราแข็งแกร่งได้ ถ้าใครกดปุ่มที่ตลับนี้ จากนี้ไป 24 ชั่วโมงห้ามเปิดกล่อง มิฉะนั้นผีที่น่ากลัวจะมาหลอกหลอนคุณ(ตอน ผีแพนดอรา) ตะเกียงอะลาบิน [1] เมื่อถูตะเกียงจะมียักษ์เป็นควันออกมา สามารถสั่งให้ทำตามคำสั่งได้ทุกอย่าง(ตอน โนบิตะกับตะเกียงวิเศษ) ตัง กับดักทีวี [26]เป็นไม้ยาวๆมียางเหนียวที่ปลายไม้ยื่นเข้าไปในโฆษณาในโทรทัศน์ เราก็จะได้ของออกมาได้(ตอน ตัง กับดักทีวี) ตาข่ายจับดาว [38]เป็นตาข่ายจับดาวที่เกิดจากการกระทบกันระหว่างสิ่งของอย่างรุนแรง (ที่ว่าโดนทุบหัวแล้วร้อง"โอย เห็นดาวเลย") และเราก็ได้ดาวในตาข่ายนั้น(ตอน ท้องฟ้ายามค่ำคืน ระยิบระยับ) ตารางกำหนดอากาศ [12] ใช้กำหนดอากาศให้เป็นไปตามที่ต้องการได้(ตอน ตารางกำหนดอากาศ) ตาและปากทำงานนอกสถานที่ [41] ใช้ดูหรือฟังสิ่งต่างๆจากจุดอื่นได้(ตอน ตาและปากทำงานนอกสถานที่) ตาวิเศษ[4] เพียงปรับเวลาที่ต้องการดูเหตุการณ์ในอดีตหรืออนาคตก็จะสามารถดูได้ทันที(ตอน วันหายนะของโลก) ตึกเสริมมิติที่สี่ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นปัจจุบันเรียกว่า "บล็อกไม้สี่มิติ") [27] ลักษณะของของชิ้นนี้เป็นบล็อก ซึ่งถ้าเราต่อบล็อกเข้าไปจะทำให้ที่อยู่อาศัยสูงขึ้น แต่ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้(ตอน ตึกเสริมมิติที่สี่) ตู้ขายของอัตโนมัติไทม์แมชชีน [11] คุณสามารถใช้เครื่องนี้ซื้อของจากอดีตหรืออนาคตได้ โดยที่ราคาเป็นของยุคนั้นๆ เช่น 1 บาท ซื้อดินสอได้ 25 แท่ง(ตอน ตู้ขายของอัตโนมัติไทม์แมชชีน) ตู้ติ๊ต่าง [11] ถ้าอยากให้โลกเป็นอย่างไร ก็พูดในตู้นี้ แล้วโลกก็จะเป็นไปตามที่พูดไว้(ตอน ตู้ติ๊ต่าง) เตนท์สามเหลี่ยม เป็นเตนท์สำหรับคนนอนดิ้นโดยเฉพาะ เพราะเป็นทรงสามเหลี่ยมทั้งสี่ด้าน หากดิ้นยังไงเตนท์ก็ไม่พัง ตาดูภาพโป๊ [29] ไม่มีข้อมูล (ตอน ไม้กระดานเจาะรูแอบดู) เต้าเจี้ยวลำบาก ถ้าคุณกินเข้าไปละก็ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ยากลำบากไปหมด(ตอน เต้าเจี้ยวลำบาก) แตรวิเศษ [41] ถ้าหันแตรไปเป่าใส่ใคร คนๆ นั้นก็จะไปภูเขาลึก และจะไม่มีทางกลับมาได้อีก แต่ถ้าเป่าแตรสลับทาง ทุกๆ อย่างก็จะกลับมา(ตอน แตรวิเศษ) == ถ == ถังประกอบภาพ [4] เป็นของวิเศษที่สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนอวัยวะบนใบหน้าคน ทั้งหู ตา จมูก ปาก หน้าตา และทรงผมได้ตามต้องการ โดยการเลือกรหัสชิ้นส่วนจากรูปถ่ายใบหน้าคนมากมาย และเมื่อกดปุ่มตามหมายเลขรหัส ใบหน้าของผู้ใช้ก็จะเปลี่ยนไปตามชิ้นส่วนที่เลือกไว้ ถังลูกสูบพลังงานอารมณ์ [42] ไม่มีข้อมูล ถุงปลอดภัย ถ้าอยู่ในถุงใบนี้ละก็ ต่อให้ข้างนอกเกิดเหตุการณ์รุนแรงแค่ไหนก็ไม่สะดุ้งสะเทือน ถุงมือจั๊กจี้ เมื่อใส่ถุงมือนี้แล้ว สามารถทำให้ผู้อื่นเกิดอาการจั๊กจี้ได้ ถึงแม้จะไม่โดนตัวก็ตาม แต่ต้องอยู่ภายในรัศมี 5 เมตรเท่านั้น ถุงมือเชียร์ลีดเดอร์ โยนถุงมือนี้ให้ผู้หญิงแล้วไม่ว่าผู้โยนจะทำอะไรก็จะชนะหมดเลย[23] ถุงมือซูเปอร์ [พิเศษ 3] เมื่อใส่แล้วมือจะมีพลังกำลังมาก ถุงมือแตะ ถ้าคุณทำความผิด แล้วใส่ถุงมือนี้ไปแตะคนอื่น คนๆ นั้นก็จะถูกด่าแทนเรา ถุงมือทำให้เชื่อง ถึงแม้จะเป็นเป็นสัตว์ป่าดุร้ายแค่ไหน ถ้าเจอถุงมือข้างนี้เกาใต้คางละก็ สัตว์ตัวนั้นจะเชื่องทันที ถุงมือนักฝึกสัตว์ ถ้าคุณกลัวสัตว์ชนิดไหนคุณแค่ใส่ถุงมือคุณแล้วนำไปลูบคางสัตว์หรือคนนั้นก็จะเชื่องเหมือนสัตว์ที่เชื่องและเชื่อเราแต่มีผลแค่ 5 นาที == ท == ทาโร่เถรตรง ใครก็ตามที่ถือทาโร่เถรตรงไว้ในมือทาโร่จะพูดทุกอย่างที่เราคิดออกมา ที่คาดหัวเด็กดี ถ้าคุณบ่นว่าหนาวเมื่อไร จะโดนบีบหัวปูด ไม่สามารถถอดเองได้ ต้องให้คนอื่นถอดให้ เทียนไขไม่ปฏิเสธ [11] เมื่อรับไปแล้วและถูกขออะไรก็ไม่มีทางปฏิเสธได้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ [5] เป็นเหมือนโทรศัพท์กระป๋องเด็กเล่น ถ้าพูดคำว่า สวัสดี แล้วตัวเราจะไปเข้าไปในกระป๋องไปหาฝ่ายตรงข้าม โทรศัพท์ส่งของ [พิเศษ 3] สามารถขออะไรก็ได้ทางโทรศัพท์เครื่องนี้ ถ้าขอแล้วจะไม่มีทางปฏิเสธ ไม่ว่าอะไรไม่ว่าที่ไหนก็ส่งมาให้ได้ โทรศัพท์สั่งจอง [43] ถ้าหยิบและคุยว่าจะจองอะไร ก็จะเป็นจริง โทรศัพท์อัดเสียงทับ [37] ถ้านำไปแปะกับคนๆ นั้นแล้ว จะสามารถพูดคุยตามผู้ใช้โดยไม่มีใครรู้ ไทม์ก๊อปปี้ [43] ดูรายระเอียดที่ก๊อปปี้สามมิติ (หมวด ก) ไทม์แคปซูล [26] ไม่มีข้อมูล ไทม์ทีวี [1] สามารถดูเหตุการณ์ในอดีตหรืออนาคตได้(ปัจจุบันจะเรียกว่า"ทีวีกาลเวลา") ไทม์เทเลโฟน [24] สามารถโทรศัพท์ไปคุยกับคนในอดีตและอนาคตได้ ไทม์สโคประบบเปลี่ยน ใช้ส่องเหตุการณ์ในอนาคตและจำลองการตัดสินใจได้ == ธ == ธงสัญลักษณ์ความจริง [26] ถ้าปักธงไว้ตรงไหนก็ได้ ก็จะสามารถชวนได้โดยมิได้นัดหมาย ธูปสยองขวัญ เมื่อจุดธูปแล้วใครได้รับควันธูปจะรู้สึกเหมือนสยองอยู่ตลอดเวลา ธนูไปไหนก็ได้ หรือธนูขนส่ง มีลักษณะเป็นธนูคู่กับเป้า จะมีเป้าและธนูตามสีต่างๆ เมื่อเราเอาเป้าสีต่างๆนั้นไปวางตามสถานที่ต่างๆ พอเรายิงธนูสีนั้นออกไป มันจะพาเราไปยังจุดที่เป้าอยู่ == น == นกเตือนความจำ [12] เพียงติดนกตัวนี้ไว้กับตัวท่าน ก็หมดปัญหาเรื่องลืมของ เพราะมันจะคอยร้องเตือนว่า "ลืมของ" ติดต่อกัน 3 ครั้ง นักล้มรับจ้าง (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "มือปืนสั่งล้ม") เพียงแค่หยอดเหรียญ 10 เยน ลงที่ช่องกลางหลัง แล้วเอ่ยชื่อศัตรูคู่แค้นเท่านั้น นักล้มรับจ้างของท่านจะไปถล่มคู่แค้นให้ 3 ครั้ง แต่ถ้าเปลี่ยนใจยกเลิกคำสั่งละก็ ต้องหยอดเงินเพิ่ม 100 เยน นาฬิกาทรายคลุ้มคลั่ง ถ้าตั้งนาฬิกาทรายนี้ไว้ข้างๆ ตัว ไม่ว่าจะทำลายอะไรหรือพังข้าวของรุนแรงแค่ไหน เพียงแค่พลิกนาฬิกากลับหัวกลับหาง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะกลับเป็นเหมือนเดิม ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เมื่อใช้ครบ 4 ครั้ง นาฬิกาก็จะเสีย และไม่สามารถทำให้สิ่งของที่ถูกทำลายกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อีก (ปรากฏในรวมเล่มฉบับที่ 44) นาฬิกาแปะติดสามเท่า เมื่อแปะนี้ติดร่างกายเวลาจะช้าลงสามเท่าในขณะที่ท่านเร็วกว่าโลกปัจจุบันที่ช้าลง วันหนึ่งของผู้ที่ติดนาฬิกานี้จะเป็น 72 ชั่วโมง[23] นาฬิกาแปะติดหนึ่งในสาม เมื่อแปะนี้ติดร่างกายท่านเวลาจะเร็วขึ้นสามเท่าในขณะที่ท่านจะช้ากว่าโลกที่เร็วขึ้น วันหนึ่งของผู้ที่ติดนาฬิกานี้จะเป็น 8 ชั่วโมง[23] น้ำมันโลกกลับหัวกลับหาง ถ้าทาน้ำมันนี้ลงไปบนพื้นผิวเรียบๆ ที่ไม่ใช่กระจก แต่สะท้อนแสงได้เหมือนกับกระจก เราก็จะเข้าไปอยู่โลกที่กลับซ้ายเป็นขวาและไม่มีใครอาศัยอยู่ได้ น้ำยาเสียงแมลง เพียงหยดน้ำหวานจากดอกไม้นี้ไป ไม่ว่าแมลงอะไรก็ร้องเสียงเพราะทั้งนั้น น้ำยารักการอ่าน เมื่อราดน้ำยานี้ลงบนหนังสือที่ไม่สนุกและน่าเบื่อเพียงใด ก็จะทำให้คนอ่านรู้สึกสนุกและอ่านต่อจนวางไม่ลง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีนิสัยรักการอ่าน น้ำยาล่องหน เมื่อฉีดแล้วจะทำให้มองไม่เห็นภายในทันที แต่มีฤทธิ์เพียง 4 นาที (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน สงครามอวกาศ) น้ำยาหายตัว ถ้าดื่มเข้าไปแล้ว ร่างกายจะสลายกลายเป็นน้ำ สามารถหนีได้ทุกซอกทุกมุม น้ำยาสลับชายหญิง ถ้าฉีดเข้าไป ชายจะมีนิสัยเหมือนผู้หญิงและผู้หญิงจะนิสัยเหมือนผู้ชาย น้ำยาทำเหมืองแร่ ขุดหลุมแล้วหย่อนของที่ต้องการทำเป็นเหมืองลงหลุม แล้วเทน้ำยาตามลงไป เช้าวันรุ่งขึ้นก็ลงไปขุดจะมีของที่เราใส่ลงไปมากมาย น้ำยาทำให้พืชมีชีวิต ถ้าราดบนต้นอ่อนละก็จะเคลื่อนไหวได้ในทันที แต่ระยะเวลาออกฤทธิ์จะแตกต่างกันตามปริมาณของน้ำยา โดยที่ปรากฏในตอน ลาก่อนคีโบ เมื่อเทออกมาแล้ว ออกฤทธิ์ทันที แต่ที่ปรากฏในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา ต้องใช้เวลา 1 คืน ในการออกฤทธิ์ นาฬิกาหมายกำหนดการ เพียงเขียนสิ่งที่ต้องทำลงตารางแล้วสอดเข้าไปในนาฬิกา ทำให้สามารถทำตามกำหนดการได้ทันที แต่มีผลกับผู้ใส่ตารางกำหนดการ (ตอน นาฬิกาหมายกำหนดการ) นาฬิกาเร่งเวลา เพียงหมุนเข็มนาฬิกาแล้วเวลาจะเดินเร็ว แต่สามารถย้อนเวลาได้ นาฬิกาหยุดเวลา ใช้สำหรับหยุดเวลา นกภาษี เก็บภาษีคนทุกคนที่เรากำหนด และเปลี่ยนอัตราได้ == บ == บ่อกระจก ในบ่อนี้ทุกอย่างจะเหมือนโลกจริงๆแต่กลับด้านจากซ้ายเป็นขวา บ่อคนตัดฟืน โยนของเก่าลงไปแล้วหุ่นเทพยดาก็จะโผล่ขึ้นมา ถ้าไม่โกหก ก็จะได้ของใหม่เป็นการตอบแทน บอลลูนไซส์มินิ มาพร้อมกับเครื่องพ่นไอและฐานจอด บอลลูนสามารถลอยได้ต่อแม้มีการนำอุปกรณ์ติดไฟได้ เช่น ธูป ไม่เว้นแต่ยากันยุงแบบขดยังได้เลย แต่อย่าละเลยให้ธูปตกหล่นจากบอลลูน มิฉะนั้นบอลลูนจะตกหล่นทันที บอลลูนประหยัดพลังงาน เพียงใช้ไฟแช็กก็สามารถลอยได้ บ้านกระดาษพับ [26] แค่ขยายให้เป็นบ้านก็จะน่าอยู่มากทดแทนบ้านตึก บ้านดักขโมย [14] หากใครเข้าไปใกล้ก็จะถูกดูดเข้าไปและออกมาไม่ได้ บ้านเปลือกหอย [9] ถ้าเข้าไปข้างในแล้วใครก็ยุ่งกับเราไม่ได้ ภายในบ้าน แม้จะเป็นเปลือกหอยแต่ก็อยู่ได้สบายและมีเครื่องปรับอากาศ บ็ยไบน์ เมื่อเหยาะลงขนมหรือสิ่งของต่างๆ แล้วมันจะเพิ่มจำนวนในทันที โดยในทุกๆ 5 นาทีจะออกมา 1 เท่าของสิ่งที่ได้เหยาะลงไป โดย 5 นาทีแรกจะออกมา 2 ชิ้น และอีก 5 นาทีจะเพิ่มอีก 2 ชิ้น กลายเป็น 4 ชิ้น แต่หากไม่รีบกำจัดจะทำให้สิ่งที่เหยาะลงไปเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวถึงขั้นท่วมโลกได้ภายใน 1 วัน ดังนั้น หากไม่รีบกำจัดจะกลายเป็นปัญหาระดับโลก บิสกิตแปลงร่าง [1] กินคุกกี้รูปสัตว์พวกนี้แล้วจะแปลงร่างกลายเป็นสัตว์ตัวนั้นทันที สามารถเลียนเสียงของสัตว์ที่แปลงร่างได้อีกด้วย แต่จะมีฤทธิ์อยู่แค่ 5 นาทีเท่านั้น บิลแก้แค้น [38] ไม่มีข้อมูล บุ้งหม่ำมิติ บุ้งตัวนี้ชอบกินมิติเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้เกิดช่องโผล่ไปได้ทุกที่ เบ็ดเทียมตา [31] ไม่มีข้อมูล ใบไม้ร่ายเวทย์ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "ใบโดรน (โด-รน)") วางใบไม้ร่ายเวทย์ไว้บนหัวสุนัขที่ไม่มีความสุขหรือหวาดกลัว มนต์ฮึดสู้จะแผ่รัศมีออกมาทำให้รู้จักป้องกันตัว บัตรโทรจิตมิตรภาพ จะเห็นมากในโดราเอมอนกับแก๊งป่วน วิธีใช้ก็คือ ถ้ามีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ก็ชูขึ้นมา ทุกคนถ้าได้เห็นแสงแล้ว นั่นคือสัญญานฉุกเฉิน ก็จะไปช่วยงานทันที บัตรผ่านผู้ยิ่งใหญ่ (All Mightypass)บัตรผ่านเข้าไปในสถานที่ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถ เครื่องบินนั่งได้ฟรี ทำเนียบนายกรัฐมนตรี แม้แต่ตู้เซฟในธนาคาร บัตรฟรีสารพัด เมื่อแสดงบัตรนี้สามารถใช้บริการหรือซื้อของได้ฟรี แต่ต้องใช้ให้ทันเวลาหมดอายุ เพราะถ้าหากเลยเวลาแล้วถือว่าหมดสิทธิ บัตรเบิกเงินสด แค่พูดผ่านช่องตรงกลาง เงินของคนที่อยู่อีกข้างก็จะไหลออกมา ถ้าเขาไม่มีเงินก็จะดึงเงินในอนาคตของเขามาให้แทน บัตรปีศาจ เมื่อเขย่าการ์ดนี้แล้ว จะมีเงินไหลออกมา 300 เยน แต่ส่วนสูงจะลดลง 1 มิลลิเมตรเป็นการแลกเปลี่ยน บัตรเข้าแดนมหัศจรรย์ [39] เป็นสถานที่พักผ่อนของคนในศตวรรษที่ 22 โดยต้องแสดงบัตรและแปลงร่างเป็นสัตว์ต่างๆ ก่อนจะเข้าไปเล่น == ป == ปกหนังสือมนุษย์ [27] ไม่มีข้อมูล ปฏิทินที่ผันแปรง่าย [41] ไม่มีข้อมูล ปฏิทินมาตรฐานญี่ปุ่น [14] ท่านสามารถกำหนดวันหยุดราชการของญี่ปุ่นได้ด้วยตนเอง ด้วยการนำสติ๊กเกอร์รูปสัญลักษณ์ประเทศญี่ปุ่นติดลงในวันที่ต้องการ และเขียนชื่อวันหยุดราชการ ก็สามารถทำให้เป็นวันหยุดราชการได้ ประตูไปที่ไหนก็ได้ ดูรายระเอียดที่ ประตูทุกหนแห่ง ประตูขออาศัย เป็นประตูที่สามารถสร้างห้องใหม่ได้ในชั่วพริบตา แต่เพื่อเป็นการปกปิดผู้คน ต้องเอาประตูออกจากฝาผนังด้วย ประตูเวลา [31] เพียงเปิดในจุดกิ่งกลาง เวลาจะมีมาก แต่ถ้าปิด เวลาจะหยุดได้ตามคาดหมาย ปลอกแขนดุผู้ใหญ่ เพียงสวมปลอกแขนนี้ก็สามารถสั่งสอนผู้ใหญ่ได้ แต่ห้ามใช้กับเด็ก (ตอน ปลอกแขนดุผู้ใหญ่) ปลอกแขนทดสอบอาชีพ เมื่อเขียนอาชีพที่ต้องการลงไปและสวมไว้ จะทำให้ทดลองเป็นอาชีพนั้นได้ชั่วคราว ปลอกคอเรียกหา [14] ถ้าเรียกชื่อคนหรือสัตว์ที่ใส่ปลอกคอนี้ ก็จะมาหาทันที ปล่องไฟซานตาครอส เขียนสิ่งที่อยากได้บนกระดาษใส่ลงไป ท่านจะได้รับในสิ่งที่ท่านต้องการ แต่ถ้าหากท่านเขียนแล้วใส่ปล่องไฟในทางกลับด้าน ท่านก็จะโดนเอาของนั้นๆ ไปแทนและอดได้ในสิ่งที่ต้องการ ปลาดุกแผ่นดินไหว [26] ถ้าปลานี้ไปอยู่ที่ใคร ถ้าคนๆ นั้นพูดว่า แผ่นดินไหวเมื่อไหร่ คนๆ นั้นก็จะรู้สึกว่าแผ่นดินไหวจริงๆ ป้อมปืนใหญ่ไร้เทียมทาน [38]เป็นป้อมปืนใหญ่ที่เจ้าของควบคุได้เพียงคนเดียวสั่งให้ยิงใครก็ได้ผู้ถูกยิงไม่สามารถหลบหรือป้องกันได้ ปั๊มซิมุเลเตอร์ผิวน้ำมโนภาพ [41] (จากที่ปรากฏในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน สงครามเงือกใต้สมุทร) มีวิธีใช้คือถ้าใส่แว่นมองน้ำสมมุติ ก็จะเปียกน้ำเสมอไป ส่วนผู้ใช้จะเคลื่อนไหวโดยใช้มือ แต่ถ้าไม่ทำอะไรก็จะทำด้วยตัวมันเอง ปั้มแก๊สสะดือ ถ้าอยากให้ทุกข์หายไป ท่านสามารถปลดเสื้อนำแก๊สสะดือมาสูปที่สะดือ เท่านี้ทุกข์จะกลายเป็นสุข (ตอน สุขด้วยแก๊สสะดือ) ปากกาขนหัวลุก เพียงเขียนสิ่งที่ต้องการลงกระดาษแล้วเอาไปแปะคนใดคนหนึ่ง อีกคนก็จะกลัวทันที ปากกาเขียนจดหมายตัวอย่าง [23] คุณสามารถเขียนข้อความเพื่อคัดลอกลงกระดาษแผ่นใหม่ ปากกาเขียนใบหน้า ไว้ใช้สำหรับตกแต่งใบหน้าของคุณ ปากกาความลับ [14] เป็นปากกาที่ใช้เก็บความลับ ผู้ที่จ่าหน้าไว้เท่านั้นจึงจะเห็นข้อความ เหมาะสำหรับเวลาต้องการเก็บความลับ พีระมิดขนาดพกพา เพียงนำไปไว้บนศีรษะ เราสามารถทำงานได้หลายอย่าง ซึ่งจะช่วยในการดึงพลังของพีระมิดออกมา ปีกผีเสื้อหรรษา เพียงติดปีกนี้ไว้ที่กลางหลังเราก็จะโบยบินได้เหมือนผีเสื้อ ปืนกาลเวลา หากยิงคนที่ถูกยิงนั้นจะหายไปตามเวลาที่กำหนด ปืนคล้อยตาม [38] ไม่มีข้อมูล ปืนช็อค [พิเศษ3] สิ่งที่ยิงออกมาจากปืนจะเป็นกระแสไฟฟ้า นิยมใช้ในสถานการณ์คับขัน ปืนดูดความง่วง [38] ถ้าท่านยิงปืนที่คนนอนอยู่ ก็จะตื่นโดยไม่รู้ สดชื่น แต่ถ้ายิงคนเล่น (ในปืนยังมีความง่วงของคนใดคนหนึ่ง) ก็จะหลับทันที (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ฉบับการ์ตูน ตอน โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา ปืนปรับสภาพ (หรือลำแสงปรับสภาพ)[พิเศษ4] เมื่อยิงแสงจากปืนนี้ใส่คนจะทำให้คนๆ นั้นไปที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าในน้ำหรืออวกาศ ปืนเปลี่ยนเทหวัตถุ [38] ถ้ายิงที่วัตถุนั้นๆ ก็จะเปลี่ยนไปเลย ปืนฟองสบู่ พอยิงแล้วจะขังคนที่ถูกยิงไว้ในฟองสบู่ แต่ถ้าท่านเข้าไปอยู่ในฟองสบู่ซะเอง ก็เดินเล่นกลางอากาศได้ ปืนแม่นเป้า ถึงจะยิงแย่อย่างไรก็สามารถไปที่เป้าได้อย่างแม่นยำ ปืนวิวัฒนาการบางส่วน [29] ถ้ากดปุ่มควบคุมก็สามารถปรับวิวัฒนาการได้สมใจนึก เช่น ปรักให้สุนัขเหมือนคน ปืนสลับตำแหน่ง [44] เมื่อยิงออกไปแล้ว จะทำให้ตำแหน่งของผู้ยิง สลับกับผู้ที่ถูกยิง สมมุติเช่น ท่านกำลังยืนหัวเราะเยาะเพื่อนของท่านที่โดนผลักตกน้ำ พอเพื่อนของท่านยิงปืนใส่ท่าน ตำแหน่งของทั้งคู่ก็จะสลับสับเปลี่ยนกัน กลายเป็นท่านไปตกอยู่ในน้ำแทน ปืนแห่งโชค [4] มีลักษณะเป็นปืนลูกโม่ มีกระสุนอยู่ 4 ลูก เป็นลูกสีแดง 3 ลูก และลูกสีดำ 1 ลูก หากถูกยิงด้วยลูกสีแดง จะทำให้โชคดีไปตลอดทั้งวัน แต่ตรงกันข้าม ถ้าถูกยิงด้วยลูกสีดำ ก็จะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งวัน เรียกได้ว่าเป็นการวัดดวงในอัตรา 3 ต่อ 1 ทั้งนี้เวลาจะยิงท่านต้องใส่กระสุนให้ครบทั้ง 4 ลูก หากเอาลูกใดลูกหนึ่งออก ปืนก็จะไม่มีฤทธิ์ ปืนใหญ่ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น [6] ท่านสามารถยิงคนในปืนใหญ่ไปที่ไหนก็ได้ ปืนใหญ่อัดอากาศ [พิเศษ2] เป็นปืนใหญ่ใส่ที่แขน ใช้การอัดตัวของอากาศแทนลูกกระสูนของปืนใหญ่ นิยมใช้ในสถานการณ์คับขัน แป้งดำดิน เมื่อทาแล้วจะสามารถเคลื่อนไหวในดินได้ แต่อย่าให้จมดิน เพราะต้องขุดให้ขึ้นมา == ผ == ผงจมดิน โปรยลงสิ่งที่ต้องการฝัง ก็สามารถจมดินได้สมใจนึก ผงดินน้ำมัน ผงมหัศจรรย์นี้จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างยืดหยุ่นได้เหมือนดินน้ำมัน ผงโรยใช้กับน้ำ ผงนี้สามารถเปลี่ยนคุณสมบัติได้ทุกรูปแบบ เช่น ดินเหนียว ฟองน้ำ โฟม พลาสติก เหล็ก แต่มีอยู่ผงหนึ่งใช้สำหรับคืนคุณสมบัติน้ำให้เป็นของเหลว ผ้ากันภัย,ผ้าคลุมโบกพริ้ว [5,พิเศษ1] เมื่อสลัดผ้านี้ ของทุกสิ่งทุกอย่าง หรือแม้แต่ลมหรือไฟฟ้า ก็จะสะท้อนกลับไป ผ้าคลุมกาลเวลา [2] ใช้สำหรับคลุม สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งของ เพื่อย้อนหรือเร่งเวลาสิ่งนั้นให้เปลี่ยนสภาพไปตามกาลเวลาที่ต้องการ ผ้าคลุมซูเปอร์แมน เมื่อสวมเข้าไปแล้ว ก็จะสามารถกลายเป็น "ซูเปอร์แมน" ได้ในทันที โดยผ้าคลุมนี้สามารถลอยได้โดยต้องมีการเป่าขลุ่ยเพื่อเรียกซูเปอร์แมน และต้องปฏิบัติภารกิจให้ได้ 100 อย่าง ไม่ว่ากำลังจะทำอะไร เช่น กินข้าว อาบน้ำ ฯลฯ มิฉะนั้นจะไม่สามารถจะแกะออกได้ (ตอน ซูเปอร์ไจแอนท์) ผ้าคลุมโต๊ะอาหารสารพัดนึก [พลัส 1] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นปัจจุบันเรียกว่า ชุดโต๊ะนักกิน)มีลักษณะเป็นผ้าธรรมดาแต่ถ้าวางบนโต๊ะจะทำอาหารอย่างที่เราต้องการเพียงสั่งไปที่ผ้า แต่ถ้าไม่รับประทานถือว่าเป็นการเสียของ(ตอน ผ้าคลุมโต๊ะอาหารสารพัดนึก ) ผ้าคลุมเรียกสัตว์ร้าย [พิเศษ 3] เมื่อติดผ้าคลุมนี้แล้ว แสงที่ออกมาจากผ้าคลุมจะยั่วสัตว์ร้ายให้โมโหแล้วเรียกเข้ามาหา ผ้าคลุมล่องหน [1] เมื่อคลุมผ้าคลุมนี้ จะไม่มีใครเห็นสิ่งที่คลุมด้วยผ้าคลุมนี้ไว้ ผ้าคลุมสลับวัตถุ [41] ไม่มีข้อมูล ผ้ารัดหัวเด็กดี [14] ไม่ว่าคุณทำอะไรๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องดีไปหมด ผ้าห่อของฝาก [37] ขอของฝากอะไรก็ได้ ให้ใครก็ได้ แต่ไม่ใช่ให้ตัวเอง (ตอน ผ้าห่อของที่ระลึก) ผ้าผันคอเหาะเหิน[14]สามารถลอยได้โดยไม่ใช้คอปเตอร์ไม้ไผ่และไม่มีการแบตหมด(เดอะมูฟวี่ ตอน บุกอาณาจักรเมฆ กับ โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ (ที่ซิซุกะใช้ตอนหากระดิ่ง)) ผีตั้งเวลา [36] ไม่มีข้อมูล ผีตากแห้ง [12] พอใส่น้ำก็จะพองตัวเป็นผี ผีสารพัดประโยชน์ เพียงแค่โยนลูกหินที่อยู่ภายในกล่อง ผีชนิดต่างๆ ก็จะสามารถช่วยเหลือกันได้ ผึ้งสงบสติอารมณ์ [36] ไม่มีข้อมูล "ผึ้งเงิน" คอยเก็บเงินที่ตกอยู่ริมทางมาให้ ผู้เล่นขนาดจิ๋ว [พิเศษ2] พอกดปุ่มก็จะกลายเป็นเหมือนคนที่กด เล่นเบสบอลได้ด้วย แผ่นดินฟ้าอากาศ [26] ไม่มีข้อมูล แผนที่และเปลี่ยนภูมิอากาศ เขียนสถานที่ๆ ต้องการแลกเปลี่ยนแล้วนำวงแหวนสีแดงไปครอบตรงบริเวณที่ต้องการ เท่านี้อากาศจะถูกและเปลี่ยนเฉพาะที่ == พ == พจนานุกรมคาถา ถึงไม่มีตัวอักษร แต่สามารถเขียนคาถาร่ายมนต์ลงไปได้ และเมื่อท่องคาถานั้นก็จะร่ายเวทมนตร์ได้ตามที่เขียนไว้ พรมขอทานอัตโนมัติ ถ้าคุณกดปุ่มที่พรมนี้ จะทำให้เราเริ่มทำธุรกิจขอทานได้ พรมบางเหินเวหา [29] ไม่มีข้อมูล พรมนาข้าว ดูรายระเอียดที่ ชุดงานอดิเรกวันอาทิตย์ (หมวด ช) พริกไทยหัวเราะ เมื่อโปรยไปยังคนๆ ใดคนๆ หนึ่ง จะเกิดอาการหัวเราะออกมาในทันที พริกไทยอร่อยเหาะ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นปัจจุบันเรียกว่า ผงปรุงรสเด็กดีวัยเจริญเติบโต)เมื่อใส่ในอาหาร อาหารจะอร่อยมาก แต่ถ้าหากผงไปโดนใครคนหนึ่ง ก็จะมีคนจ้องรับประทานคนๆ นั้น (ตอน สตูไจแอนท์) พลั่วง่ายดาย สามารถขุดดินได้ง่ายยังกับตัดเต้าหู้ พัดใบกล้วย [38] เป็นพัดที่สามารถปรับระดับความแรงของลมได้(ถึงแม้ว่าจะพับเบาๆหรือล้มในขณะที่ยังถึอสิ่งนี้อยู่ ก็จะเกิดลมตามความแรงของลมที่ได้ตั้งไว้ ดังนั้นควรระวังไว้) เพชรแห่งความโชคร้าย ใครที่มีเพชรเม็ดนี้ไว้ในครอบครองจะโชคร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า แพชูชีพ [พิเศษ2] แพขนาดจิ๋ว เมื่อโดนน้ำจะขยายตัวออก ใช้เป็นที่พักชั่วคราวได้ แพลูกโป่ง เพียงเป่าแพนี้ก็สามารถขยายตัวและนั่งได้ แพลเนทาเรี่ยม [6] ใช้ฉายภาพสถานที่ต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศ ไพ่แห่งความสุข สามารถขออะไรก็ได้ เมื่อคำขอเป็นจริงแล้วไพ่จะหายไปหนึ่งใบ ถ้าขอพรจนเหลือใบสุดท้ายคือโจ๊กเกอร์ ความโชคร้ายจะย้อนกลับทวีคูณ และถ้าได้ใช้ไปครั้งนึงแล้วไม่สามารถทิ้ง ยกเว้นโอนให้คนอื่น ไพ่ทารอท จริงๆ แล้ว คืออุปกรณ์วิเศษของโดราเหม็ด รุ่น 3 ถ้าโยนและพูดคาถาว่า "โดรามีเรีย โทราโทเรีย ขอคำทำนายด้วยจ้า" คำทำนนายก็จะขึ้นมาเอง (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนแอนด์เดอะแก็งค์ ตอน โจรลึกลับโดราแปง สารท้าประลองปริศนา) == ฟ == ฟองสบู่สำนึกผิด เพียงเป่าตรงที่มีแป้นสีดำ ฟองสบู่จะออกมาตามปริมาณการเป่าของคนเป่า เมื่อโดนฟองสบู่นี้ที่ใคร จะมีอาการรู้สึกผิดถึงขั้นหดหู่ใจ มีฤทธิ์อยู่สักพักจึงหมดฤทธิ์ ไฟฉายขยายส่วน ดูรายละเอียดที่ ไฟฉายขยายส่วน ไฟฉายเปลี่ยนน้ำหนัก [26] ไม่มีข้อมูล ไฟฉายย่อส่วน,ลำแสงย่อส่วน [พิเศษ3] เป็นไฟฉายที่เมื่อฉายแสงไปที่วัตถุใดๆ จะมีขนาดย่อลงไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ฉายแสงนั้น ไฟฉายลอกคราบ [14] ใช้ลอกคราบตัวเองและใส่ลม จะได้หุ่นจำลองมาอีกร่างหนึ่ง ไฟฉายเพิ่มคุณภาพ ใช้ฉายวัสตุที่คุณภาพต่ำ เช่นปีกผ้าของโนบิตะ (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค) ไฟฉายหรูหรา เพียงแค่ฉายไปยังสิ่งที่ต้องการ ก็จะสามารถหรูหราในทันที พอผ่านเวลาสักพักก็จะคืนร่างเป็นเหมือนเดิม ไฟแช็กนักเขียนบทแสดง ถ้าเขียนสิ่งใดๆ ใส่ลงไปในเครื่องนี้ คนก็จะทำงานให้ตามที่เขียนไว้ ไฟฉายแสงจันทร์ ใช้แปลงเป็นหมาป่า == ภ == ภูเขาเสียงสะท้อน เสียงที่ตะโกนไปเมื่อหลายชั่วโมงก่อน จะสะท้อนออกมาให้ได้ยิน ภูเขาเสียงสะท้อน รุ่นปรับปรุง สามารถสะท้อนแสงเลเซอร์ ระเบิด ฯลฯ ภูผา == ม == มินิโดราเอมอน (ミニドラえもん) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "มินิโดรา" จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในของวิเศษของโดราเอมอน ซึ่งก็คือโดราเอมอนรุ่นจิ๋วนั่นเอง แต่ละตัวจะมีสีต่างกัน มีความคิดอ่านเป็นของตัวเอง จะพูดคุยกับโดราเอมอนผ่านภาษาของมินิโดราเอง หน้าที่หลักก็คอยช่วยเหลืองานทุกอย่างของโดราเอมอน มอนิเตอร์ความรู้สึก [37] ไม่มีข้อมูล มันเผาดนตรี [4] เมื่อทานมันเผานี้เข้าไป จะทำให้ผายลมออกมาเป็นเสียงเพลงที่ไพเราะ แต่ถ้าทานมากเกินไป จะไม่สามารถบังคับแรงลมที่ผายออกมาได้ ม้าชี้ชะตา [44] หากถูกม้าตัวนี้เตะ ก็จะทำให้เกิดเรื่องดีขึ้นหลังจากที่เจอเรื่องร้ายมา แต่ถ้าเจอเรื่องดีมาแล้วถูกเตะ ก็จะต้องเจอกับเรื่องร้ายทันที ในกรณีที่ถูกเตะครั้งแรกแล้วได้เจอเรื่องดี หากถูกเตะเข้าอีกครั้งก็จะเจอเรื่องร้ายทันทีเช่นกัน แต่ถ้าจับม้าไว้ไม่ให้เตะเป็นระยะเวลา 10 นาทีได้ก็จะปลอดภัย ม้าไม้ไผ่ [1] เป็นสัตว์ในโลกอนาคตเป็นการผสมกันระหว่างม้าและต้นไม้ไผ่ในศตวรรษที่ 21 วิ่งได้เร็วมาก มาร์คเกอร์แมลง [41] ไม่มีข้อมูล มิเตอร์ความรู้สึกหนักเบา [41] มันจะสามารถปรับร่างกายของคนได้ (ปรากฏครั้งแรกในตอน มิเตอร์ความรู้สึกหนักเบา) มือควบคุมเมทริกซ์ เพียงแค่สวมมือควบคุมนี้ คุณจะสามารถควมคุมการเคลื่อนไหวของคนอื่นได้โดยเส้นด้ายที่มองไม่เห็น มือมายากล [13] เพียงแค่สวมมือมายากลเท่านั้น คุณจะสามารถควมคุมการเคลื่อนไหวของคนอื่นได้แม้ว่าตัวจะอยู่ห่างกัน เมกาเมกเกอร์ เพียงแค่ใส่แบบแปลนและวัตถุดิบเข้าไปในเครื่อง เท่านี้ เราก็จะได้สิ่งที่เราต้องการ เมฆฟ้าร้อง เมฆดำขนาดเล็ก เมื่อดึงเชือกจะเกิดไฟฟ้าแรงสูงเป็นเสียงฟ้าร้อง เมล็ดต้นคริสต์มาสสำเร็จรูป เพียงเพาะเมล็ดนี้ลงไปในดิน ต้นคริสต์มาสที่เต็มไปด้วยของขวัญจะงอกออกมา แมลงโค้งคำนับ [1] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นใหม่ๆ นั้น เรียกว่า "ตั๊กแตนโค้งคำนับ") แมลงจะเข้าไปในจมูกแล้วทำให้รู้สึกสำนึกผิดในสิ่งที่ตัวเองทำ และต้องโค้งคำนับขอโทษ วิธีแก้คือใช้้พริกไทยทำให้จามไล่แมลงออกจากจมูก แมลงลางสังหรณ์ [12] ถ้าเกิดลางสังหรณ์ขึ้นมา มันจะไปเกาะที่หัว แล้วลางสังหรณ์ก็จะกลายเป็นจริง แม่เหล็กดูดเครื่องทำหุ่นยนต์กลับ ถ้าไม่ต้องการให้สิ่งที่เราติดเครื่องทำหุ่นไว้ไม่ขยับอีก สามารถทำได้โดยนำแม่เหล็กนี้ไปดูดเครื่องทำหุ่นยนต์ แม่เหล็กดูดสารพัดสิ่ง เพียงเล็งไปที่สิ่งที่ต้องการแล้วกดปุ่มเพื่อดูด ถ้าจะคลายก็กดปุ่มเดียวกับตอนดูดเข้ามา ไม้กระดานเจาะรูแอบดู [29] เมื่อเอานิ้วเจาะไม้กระดานนี้แล้วก็สามารถแอบดูในสถานที่ที่เราต้องการแอบดูได้ ไมค์กลับตาลปัตร [38] ไม่มีข้อมูล ไมค์บันทึกกระแสจิต [14] ให้คุณวางไว้บนลิ้น จะสามารถส่งกระแสจิตอัดข้อความลงเทปได้ ไมค์แปล็บๆ [9] ถ้าพูดอะไรลงไปในไมค์นี้ คนที่ฟังอยู่ก็จะรู้สึกซาบซึ้งทันที ไม้เท้าคนขี้ลืม [37] เมื่อนำไปแตะที่หัวแล้ว จะทำให้หลงลืมเรื่องต่างๆ ได้ ไม้เท้ายุคหิน ถ้ากดสวิตซ์ที่ไม้นี้แล้ว ร่างกายจะอุ่นขึ้นทันที ไม้เท้าโมเสส [31] ถ้ากดสวิตซ์ที่ไม้นี้ น้ำจะแยกเป็น 2 ฝั่ง ตรงกลางน้ำจะแห้ง ดั่งในตำนานของโมเสสที่แยกน้ำได้ ไม้เท้าสกีลิฟท์ [37] ไม่มีข้อมูล ไม้เท้าหมูโปร่งใส เพียงกดปุ่มตรงกลางหน้า จะสามารถส่องหาสิ่งของได้ แต่ต้องระวังการใช้ให้มาก เพราะถ้าหากเผลอไปส่องตรงหน้าอกผู้หญิง อวัยวะเพศชายและหญิง หรือก้นจะเป็นปัญหาทันที ไม้พลองซ่อนหา [42]เมื่อกดปุ่มบนไม้พลองแล้วถือไว้จะทำให้ไม่มีใครมองเห็นเรา == ย == ยาแก้โรคสารพัดนึก ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร ยานี้ช่วยรักษาให้หายได้หมดทุกโรค ยกเว้นโรคชราและการเสียชีวิตโดยธรรมชาติ ยาโกหก 800 (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นกลางๆ นั้น ในตอน โดเรม่อนกลับโลกอนาคต เรียกว่า "น้ำยาโกหกสารพัด") ถ้าท่านทานยานี้แล้ว คำพูดที่ออกมาก็จะไม่เป็นจริง เช่น วันนี้อากาศปลอดโปร่งแจ่มใส่ กลายเป็นฝนฝ้าคะนอง (ตอน โดราเอมอนกลับมาแล้ว) ยางลบ ลบหน้า สิ่งนี้มีไว้ใช้สำหรับลบใบหน้าของคน แล้วเขียนใหม่ด้วยปากกาวิเศษ ยางลบโลก ใช้สำหรับลบพื้นที่ของโลก เช่น ภูเขา ใช้คู่กับกล้องและแผนที่โพลาแมพ ยาเจคัล แอนด์ ไฮด์ ทำให้นิสัยเปลี่ยนไปเป็นคนละคน 1 เม็ด มีฤทธิ์นาน 10 นาที ยาช้า (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นใหม่ๆ นั้น เรียกว่า "น้ำหอมชะลอ") [5] ถ้ากินเข้าไปแล้ว (ถ้าแบบที่วงเล็บแรกใช้ฉีด) จะทำให้การเคลื่อนไหวและจิตใจช้าลง ยาเชิญชวน [31] บิดยามาครึ่งเม็ด แล้วให้คนที่เราต้องการมากิน เขาก็จะมา ยาทำให้กลับมาใหม่ [36] ไม่มีข้อมูล ยานซาฟารี [26] ยานลำนี้จะสามารถไปที่สวนสัตว์สมมุติในศตวรรษที่ 22 ได้ (ปรากฏครั้งแรกในตอน ผจญภัยในสวนสัตว์สมมุติ) ยาเบาหวิว [11] หากคุณกินแล้ว ร่างกายจะเบากว่าอากาศ ทำให้บินได้ ยาเปลี่ยนสถานะ เป็นยาที่เมื่อกินเข้าไป หนึ่งเม็ดสามารถทำให้เปลี่ยนเป็นของเหลว และถ้ากินเข้าไปสองเม็ดจะทำให้กลายเป็นแก๊ส เมื่อผ่านไป1ชั่วฏมงจะทำให้กลับสู่สภาพเดิม ยาปั้นเสียงเป็นตัว [12] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "น้ำยาสร้างก้อนเสียง") ถ้าดื่มเข้าไปแล้ว เวลาตะโกนอะไรออกมามันจะกลายเป็นตัวอักษรลอยละลิ่ว ยาปีศาจ [29] ไม่มีข้อมูล ยาฝันตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่ชีวิตจริงเผชิญแต่สิ่งร้ายๆกินยานี่ก่อนนอนจะทำให้ฝันดีตรงกันข้ามกับชีวิตจริงในทางกลับกันชีวิตเรามีแต่สิ่งดีๆกินยานี่ก่อนนอนจะฝันร้าย [36] ยาเพิ่มจำนวน ถ้าหยอดยานี้ลงไปในสิ่งของ ทุกๆ 5 นาที มันจะเพิ่มเป็น 2 เท่า ยาทูคา ทูคา มาจากคำในภาษาญี่ปุ่นว่า คู่หูทูคา ต้องหักเม็ดยาครึ่งหนึ่ง แล้วตัวเอง และอีกฝ่ายกิน เพียงพูดว่า ทู หรือ คา ก็จะเข้าใจเหมือนเป็นคนเดียวกัน ยารู้ใจ เป็นยาคล้ายแคปซูลแบ่งแคปซูลออกแบ่งให้คนที่จะพูดด้วยหนึ่งส่วนและอีกส่วนกินเองคำพูดจะถูกย่อให้เหลือแต่คำว่า "รู้" "ใจ"และเราก็จะคุยกันรู้เรื่อง[42] ยาเร็ว (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นใหม่ๆ นั้น เรียกว่า "น้ำหอมเร่ง") [5] ถ้ากินเข้าไปแล้ว (ถ้าแบบที่วงเล็บแรกใช้ฉีด) จะทำให้การเคลื่อนไหวและจิตใจเร็วขึ้น ยาสกัดดัดแปลงพืช นัมเบอร์ทู [พิเศษ 3] ฉีดยานี้ใส่ต้นไม้แล้วจะทำให้ต้นไม้ยืดกิ่งก้านแล้วขดเป็นวง สร้างที่พักได้ ยาสกัดดัดแปลงพืช นัมเบอร์วัน [พิเศษ 3] ฉีดยานี้ใส่ต้นไม้แล้วจะทำให้ต้นไม้นั้นออกผลเป็นอาหารสำเร็จรูป ยาแห่งมิตรภาพ [4] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "แคปซูลเพื่อนรัก") เป็นของวิเศษที่ใช้สร้างเพื่อน โดยการนำ "สติ๊กเกอร์แห่งมิตรภาพ" ที่มีลักษณะเป็นรูปหัวใจไปติดไว้กับคนที่เราอยากเป็นเพื่อนด้วย แล้วเพื่อนคนนั้นก็จะเกิดความรู้สึกผูกพันและยินดีทำทุกอย่างเพื่อเรา ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกัน เราก็จะสามารถควบคุมเพื่อนคนนั้นให้ทำอะไรตามต้องการได้ด้วย "เครื่องควบคุม" ยาอดอาหาร เป็นยาที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะไม่สามารถกินอะไรได้เป็นของวิเศษที่โดราเอมอนเอาออกมาเพื่อให้โนบิตะรู้ถึงคุณค่าของอาหาร ยาอมแมลง (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นใหม่ๆ นั้น เรียกว่า "ยาเม็ดพลังแมลง") ถ้ากินยานี้เข้าไปแล้ว ในวันแรกคุณจะมีพฤติกรรรมเหมือนแมลง และวันถัดไปคุณก็มีพลังแมลง เหมือนโมฮัมหมัด อาลี แต่มีข้อเสียคือ คุณจะกลัวกรงจับแมลงและยาฆ่าแมลง ใยแมงมุมทั่วทิศ พอติดจุ๊บใยแมงมุมไว้ที่ก้นแล้วเกร็งลมปราณ เส้นใยแมงมุมจะออกมา ทีนี้เราก็เดินไปไหนมาไหนบนใยแมงมุมได้สบาย == ร == รถบักกี้ [พิเศษ 4] รถคันนี้สามารถวิ่งในน้ำได้ รถสำรวจใต้ดิน [5] สามารถสำรวจสิ่งที่อยู่ใต้ดินได้โดยการขุดลงไปใสใต้ดินด้วยส่วนหัวที่เป็นสว่าน ร่มค้างคาว ร่มชนิดนี้สะดวกมากเวลาเราเดินแล้วเมื่อย เพราะว่าร่มนี้จะบินตลอดเวลา ร่มตะกั่ว เป็นร่มที่ใช้ฝึกความอดทนและแข็งแรงของแขน ร่มฝนตก ถ้าใครกางร่มคันนี้ ฝนจะตกใส่คนที่กางร่มเท่านั้น ร่มมาราธอน ถ้าใครกางร่มคันนี้ ก็จะวิ่งไม่หยุดเฉพาะคนที่กางร่มเท่านั้น ร่มหาคน ถ้าอยากหาคนหายสาบสูญไป ก็ใช้ร่มนี้ช่วยบอกทางไปหาคนๆ นั้นได้ โดยบอกคนที่เราต้องการ รองเท้าเข้าหนังสือภาพ เมื่อใส่รองเท้านี้แล้ว คุณจะสามารถเข้าไปในหนังสือนิทานได้ อีกทั้งยังเปลี่ยนเนื้อหาของนิทานได้ด้วย ระเบิดทำลายล้างโลก เป็นระเบิดที่สามารถทำลายโลกทั้งใบได้ ระเบิดเวลาบ้า [41]เป็นระเบิดเวลา หากระเบิดไปติดอยู่กับใครแล้วระเบิด คนคนนั้นก็จะทำในสิ่งที่ไร้สาระและติ๊งต๊อง ระเบิดเสมอภาค [26]จรวดระเบิดอย่างหนึ่ง ใช้ทำให้ทุกคนทำอะไรเหมือนกันกับคนที่ปล่อยจรวดออกมา รังนกสารพัดนึก [พิเศษ 2] ใช้เป็นรังให้นกมาอาศัยอยู่ ภายในจะปรับขนาดได้เองตามความใหญ่ของนก รัฐสภาเคลื่อนที่ อุปกรณ์นี้ เป็นรัฐสภาที่ทำให้กฎหมายที่คุณกำหนดขึ้นเป็นความจริงไปทั่วประเทศ โดยคุณต้องร่างกฎหมายแล้วใส่ลงในช่องของของวิเศษชิ้นนี้ เช่นเราเขียนว่า "พ.ร.บ. ลดราคาสินค้าเหลือครึ่งหนึ่งของราคาจริง" มันก็จะเป็นไปตามนั้น รัดเกล้าหงอคง เป็นอุปกรณ์วิเศษที่มีที่มาจากรัดเกล้าบนหัวของซุนหงอคง โดยเมื่อพูดว่า "รัดเกล้า" จะรู้สึกถูกบีบศีรษะ ต้องให้ผู้อื่นถอดให้ รัศมีป้องกัน [31] เป็นอุปกรณ์ของตำรวจโลกอนาคต ใช้ป้องกันอันตราย ร้านขายสินค้าราคา 10 เยน [44] มีลักษณะเป็นร้านขายของเล็กๆ เหมือนกับของเล่น เมื่อเขียนชื่อร้านอะไรก็ได้ลงไปบนแผ่นป้าย แล้วนำแผ่นป้ายไปแปะที่หัวร้านพร้อมกับหยอดเงิน 10 เยน ก็จะสามารถซื้ออะไรได้ทุกอย่างในราคาแค่ 10 เยน รีโมทมนุษย์ [43] ไม่มีข้อมูล เรือดำน้ำ(ขยายขนาดได้) เรือลำนี้สามารถจัมพ์ไปจากน้ำแรกถึงน้ำที่สองได้ (ตอน เที่ยวทะเลด้วยเรือดำน้ำ) เรือทวนน้ำ [พิเศษ3] เรือลำนี้จะไหลทวนกระแสน้ำขึ้นไปเหมือนอย่างปลาคาร์ปที่ว่ายขึ้นน้ำตก นิกระแสน้ำแรงก็นิเร็ว == ล == ลวดขุดตรงนี้ซิ [5] เส้นลวดที่สามารถใช้ในการหาของที่หายได้ลึกถึงใต้ดิน เช่นเหรียญ 100 เยนที่ทำตกในสนามหญ้า ลานสกีฉบับกระเป๋า อยู่ในห้องก็เล่นสกีได้ด้วยลานสกีรุ่นชักรอก ลานสกีในกล่อง พอสร้างลานสกีในกล่องแล้ว เราก็ย่อตัวคนให้เล็กลงแล้วเข้าไปสนุกได้เต็มที่ ลำโพงคำพูดเป็นจริง [37] นำไปไว้ในปาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก เมื่อพูดเรื่องอะไร ก็จะเป็นจริง ลำแสงถนน [26] ไม่มีข้อมูล ลิปสติกปากหวาน [1] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า "ลิปสติกประจบเก่ง") เมื่อทาลิปสติกที่ริมฝีปาก ไม่ว่าจะกล่าวอะไรแม้แต่ในทางลบ ผู้ฟังก็จะชื่นชมในคำพูดนั้น ลิปสติกชวนเทลาะ เมื่อทาลิปสติกที่ริมฝีปาก ไม่ว่าจะกล่าวอะไร ก็จะชวนเทลาะทันที ลิฟต์ทันใจ [พิเศษ3] เมื่อยิงปลายเชือกไปติดไว้ในที่สูงๆ ก็จะสามารถใช้ลิฟต์ได้ทันที ลิฟท์เพลท เป็นลิฟท์ที่มีแค่กระดานแผ่นเดียว เมื่อบอกชื่อชั้นจะลอยขึ้นไปในความสูงของชั้นนั้นๆทันที[37] ลิฟต์สี่มิติ มีรีโมทคอนโทลสามารถขึ้นท้องฟ้าหรือลงใต้ดินได้ ลูกกวาดถ่วงเวลา ลูกอมนี้จะช่วยให้เสียงเดินทางช้ากว่าปกติ 10 นาที ลูกกวาดไม่อยากได้เงิน อมลูกกวาดนี้แล้ว จะไม่อยากได้เงิน ถึงขนาดไม่อยากเห็นเลย ลูกกวาดอยากให้เงิน อมลูกกวาดนี้เข้าไป จะอยากแจกเงินขึ้นมาทันที ลูกเกาลัดเลื่อนกำหนด จะช่วยเลื่อนเวลาโชคร้ายออกไป แต่ก็หนีไม่พ้น หรือใช้เลื่อนเวลาโชคดีให้มาหาเร็วขึ้น[43] ลูกแก้วจมน้ำ ปรากฏครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค ซึ่งนำมาใช้เพื่อให้โต๊ะที่ยามเฝ้าซูเนะโอะและไจแอนท์ภายในห้องขังจมลงพื้นดิน ลูกข่างมหัศจรรย์ [23] ไม่มีข้อมูล ลูกไม้โทรจิต ถ้ากินเข้าไป ถึงไม่พูด สิ่งที่เราคิดก็สื่อไปถึงคนๆ นั้นได้ ลูกหินเปลี่ยนร่าง 7 สี เพียงบอกสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนร่าง เมื่อโยนลงไปแล้ว จะเปลี่ยนร่างในทันที มีฤทธิ์เพียง 3 นาที ลูกอมทำนายฝัน [43]เมื่อกินเข้าไปแล้วนอน จะฝันเห็นอนาคต แต่ต้องตีความให้ได้ ลูกอมเป็นจริง เมื่อกินเข้าเวลาพูดอะไรก็จะเป็นจริงทุกอย่าง โลชั่นวิ่งเร็ว ถ้าทาที่ขา จะวิ่งได้เร็วสุดๆ แต่มีฤทธิ์เพียงแป๊บเดียว (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน สงครามอวกาศ) ลูกอ๊อดตัวโน้ตเมื่อร้องเนื้อเพลงให้ฟัง ลูกอ๊อดจะแต่งทำนองเพลงให้ แลคเกอร์เก็บของเข้าที่* เมื่อฉีดแล้วของจะถูกซ่อนหายไป แลคเกอร์เปิดที่ซ่อน* เมื่อฉีดแล้วของจะออกมาจากที่ซ่อน (*หมายเหตุ : ปรากฏครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค) == ว == วงดนตรีเสริมอารมณ์ [14] ทำอะไรๆ ก็จะเข้าถึงอารมณ์เต็มที่ วงแหวนพระเจ้า เพียงจับวงแหวนนี้ให้ลอยอยู่บนศีรษะ ใครๆ ก็จะพากันเคารพนับถือ วงแหวนมิตรภาพ [38] ถ้าปูแล้วเชิญคนที่อยากต้องการ มายืนที่วงแหวนนี้ ก็จะยินดีอย่างสูง ว่าวลอยคน นี่เป็นว่าที่จะขัดขวางแรงดึงดูดของโลก วางว่าไว้บนพื้น แล้วขึ้นไปยืนบนว่าว ตัวเราจะลอยขึ้นไปได้ วิดีโอดาราจำเป็น [37] เมื่อคุณใช้กล้องนี้ถ่ายภาพใครมันก็จะแกล้งคนนั้นๆเหมือนอยู่ในรายการประเภทแอบถ่ายแกล้งคน แต่ต้องถือป้ายรายการที่แถมมาให้ดูด้วยไม่งั้นคนที่ถูกถ่ายจะโกรธ วิดิโอดึงความทรงจำ เพียงนำหัวกล้องไปจ่อตรงสมอง แล้วปรับเวลาตามความเหมาะสม และมีการฉายภาพ โดยระหว่างการฉายภาพ เราสามารถปรับทิศทางได้ วิดีโอตัวจริง [23] ไม่มีข้อมูล วิดีโอน้ำ [26] แค่เอาน้ำมาใส่ในวิดิโอนี้ คุณก็จะสามารถเห็นอดีตของน้ำนั้นได้ วิดีโอเปลี่ยนบทบาท [23] จริงๆ แล้วคือเทปวิดีโอธรรมดาเอง แต่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถเปลี่ยนบทบาทจากคนนั้นเป็นทีละคนทันที วิทยุขายของเก่า สามารถซื้อหรือแลกเปลี่ยนของเก่าได้ และทำให้เป็นของใหม่ได้ แต่จะออกมาล้ำสมัยกว่ายุคปัจจุบัน เหมาะสำหรับการสะสมของเก่าอย่างยิ่ง วุ้นแปลภาษา [พิเศษ 3,12] หากทานวุ้นแปลภาษาจะสามารถฟังคนที่พูดภาษาอื่นรู้เรื่อง รวมทั้งสามารถสื่อสารกับคนๆ นั้นได้ด้วย แว่นตาหลากอารมณ์ ใส่แล้วกดปุ่มที่อยู่ตรงขาแว่นข้างซ้ายมือ จะสามารถเห็นอิริยาบถได้ ตัวเราก็เช่นกัน โดยปุ่มดังกล่าวสามารถแสดงความรู้สึกได้หลายระดับ เช่น สีเขียวคือความยินดี สีแดงคืออาการโกรธ สีน้ำเงินคือความโศกเศร้า และสีเหลืองคือความสนุกสนาน แว่นสะกดจิต [11] แค่คุณใส่ก็สามารถสะกดจิตได้ แว่นสัมผัสน้ำมโนภาพ [41] หากคุณใส่แว่นตานี้แล้ว มันจะสามารถเห็นน้ำได้อย่างระเอียด (ปรากฏครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน สงครามเงือกใต้สมุทร) แว่นตาเพิ่มความเร็ว แว่นที่สวมแล้วจะรู้สึกว่า ทำทุกอย่างเร็วไปหมด ซึ่งเป็นเพียงภาพเสมือนที่ให้ความรู้สึกสนุกกับความเร็วนั้นทั้งๆ ที่ ความเร็วจริงยังคงเป็นปกติ ไว รัสแฟชั่นฮิต [6] เพียงคุณโปรยเชื้อไวรัสนี้ออกไปเท่านั้น ถ้าอยากให้อะไรฮิต ก็สามารถทำได้ แต่ต้องไม่ลามกเกินไป ไม่ฉะนั้น คนที่ติดเชื้อจะอายจนไม่กล้าออกบ้าน และตัวไวรัสจะมีผลกับคนแพร่เชื้อในวันต่อไป == ศ == ศรกามเทพ ถ้ายิงศรนี้ไปถูกใคร คนๆ นั้นจะรักคนยิงทันที ถ้าศรไปปักกับคนที่เราไม่ต้องการให้ไปดึงลูกศรออก ฤทธิ์ก็จะหายไป ศาลบนบานสละกิเลส เป็นศาลาทึบมีรูให้เราเขียนสิ่งที่เราชอบ (อาหาร การกระทำ บุคคล) ลงไปแล้วขอพรจะได้ผลตามคำขอพรแต่เราต้องสละไม่ทำสิ่งที่ชอบเป็นเวลา 1 ปี[42] ศรกลับตาลปัตร ถ้านำด้านสีดำเตะที่สิ่งของ สิ่งนั้นก็จะกลับตาลปัตร เช่น ยางลบยิ่งลบก็ยิ่งดำ แก้ไขได้โดยนำด้านสีขาวเตะสิ่งของที่ถูกเตะ == ส == สกีทุกฤดู นี่เป็นแผ่นสกีรุ่นพิเศษ ที่จะพ่นหิมะเทียมออกมาจากส่วนหัว ทีนี้ถ้าหิมะไม่ตก ก็ยังเล่นสกีได้ สติ๊กเกอร์ป้องกันภัย [38] ไม่มีข้อมูล สติ๊กเกอร์พรีเมี่ยม เมื่อติดสติ๊กเกอร์นี้แล้วสิ่งของต่างๆ ก็จะเป็นของพรีเมี่ยม แต่จะไม่มีผลเมื่อถูกน้ำล้าง สติ๊กเกอร์พี่น้อง พอติดสติกเกอร์นี้ปุ๊บ 2 คนจะกลายเป็นพี่น้องกันทันที สติ๊กเกอร์มองทะลุ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นที่ 2 เรียกว่า "สติ๊กเกอร์โปร่งใส) [23] เพียงนำไปแปะตรงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น สมุด หนังสือ ก็สามารถมองทะลุได้ แต่ห้ามใช้กับคน สติ๊กเกอร์รับรู้จิตใจ เพียงเขียนสิ่งที่ต้องการรับรู้จิตใจ แล้วเอาไปแปะตรงหน้าอกตัวเอง ก็จะสามารถรับรู้จิตใจของสิ่งนั้นๆ ใด และเมื่อแกะออก ตัวเราก็จะออกมา สถานีโทรทัศน์เคลื่อนที่ พอติดสวิตซ์แทรกแซงไว้ที่ทีวี แล้วไปอยู่หน้ากล้องปุ๊บหน้าเราก็จะไปออกทีวีได้ สนามเบสบอลขนาดจิ๋ว [พิเศษ 2] ใช้คู่กับ ผู้เล่นขนาดจิ๋วโดยฝีมือการเล่นจะเหมือนกับคนที่กด สปาร์ต้าโค้ช [41] หากรู้สึกว่าจะจมน้ำลึกแล้วควรใช้สปาร์ต้าโคช์เพื่อเป็นยานชูชีพ สมองก๊อปปี้ [43] ไม่มีข้อมูล สมใจนึก [36] เป็นยาพิเศษ ถ้าบอกว่าอยากเห็นอะไร ก็จะเห็นของจริง (เฉพาะคนที่กินยาเข้าไป) สมุดให้คำปรึกษา เป็นคอมพิวเตอร์คอนโทล เพียงเราเขียนสิ่งที่ต้องการช่วยเหลือ คำตอบจะออกมา สมุนไพรหลับปุ๋ย เพียงนำไปให้คนที่ต้องการดม คนๆ นั้นจะมีอาการอยากหลับในทันที และมีฤทธิ์ถึงเช้า แต่ห้ามใช้ในตอนกลางคืน เพราะหากใช้จะทำให้ฮึกเฮิมกว่าเดิม ที่กล่าวข้างต้นนี้คือการใช้เฉพาะตอนกลางวัน สายคาดสีดำ [5] ถ้าคาดเอวไว้ ใครก็ตามที่เข้ามาแตะต้องจะถูกทุ่มกระเด็นไปเลย สารเลียนแบบ ถ้าใส่ลงไปในอาหารที่รสชาติห่วยแตก มันก็จะออกมาหน้าเหมือนของจริงทุกอย่าง แต่รสชาติจะอร่อยเป็นเลิศ สารเหลวละลายหลุมดำ [26] ไม่มีข้อมูล สารานุกรมอวกาศ นิตยสารอัตโนมัติเล่มนี้เราสามารถดูและฟังสิ่งที่ต้องการได้ สีเทียนเหมือนเปี๊ยบ(ในสารานุกรมของวิเศษเรียกว่า สีเทียนพิลึก) [3] เมื่อใช้สีเทียนนี้วาดรูปอะไร ของที่เราวาดจะเปลี่ยนไปเหมือนรูปที่เราวาด สีเทียนอากาศ สีเทียนนี้ใช้วาดรูปในอากาศได้สบาย สเปรย์ช่วยให้เห็นว่าเก่ง [43] ไม่มีข้อมูล สเปรย์เรียกของกลับบ้าน [41] ถ้าฉีดที่ของประเภทขยะ มันจะกลับไปหาเจ้าของได้อย่างอิสระเลย (ปรากฏครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา) สเปรย์สัตว์สงวนนานาชาติ เมื่อสเปรย์ใส่แล้ว จะทำให้กลายเป็นสัตว์สงวน ไม่มีศัตรูคุกคาม และได้รับการดูแลอย่างดี สเปรย์แสดงภาพตอนต่อไป [5] (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ จะเรียกว่า สเปรย์ต่อเนื่อง)เพียงฉีดเสปรย์นี้ลงบนภาพที่วาดไว้ครึ่งๆ กลางๆ เท่านั้น ภาพเต็มของมันจะปรากฏออกมาให้เห็น สีโปร่งใส พอทาสีนี้ให้ทั่วตัวปุ๊บ ร่างกายเราจะโปร่งใสทันที สีแรงโน้มถ่วง,สีแรงดึงดูด [5,พิเศษ3] ทาที่ไหน บริเวณตรงนั้นจะกลายเป็นด้านล่างเพราะเกิดแรงโน้มถ่วงในบริเวณนั้น เสาอากาศพยากรณ์ [11] พอติดไว้ อะไรจะเกิดขึ้นก็จะเตือนล่วงหน้า และจะเตรียมพร้อมให้ เสื้อคลุมเกินความจริง [13] เมื่อใส่แล้วจะเห็นอะไรๆ เกินความเป็นจริงไปหมด เช่น เห็นสุนัขเป็นสิงโต เสื้อยุคหิน ถ้าใส่แล้ว ร่างกายจะอุ่นขึ้นทันที แสงกลับสภาพเดิม [1] เพียงฉายแสงไปที่วัตถุที่เสียหาย ก็สามารถทำให้กลับมาในสภาพเดิมได้ เช่นแจกันที่แตก ก็สามารถกลับสภาพเป็นเหมือนใหม่ แสงแช่แข็ง [38] ไม่มีข้อมูล แสงออกไข่ [38] ถ้าฉายแสงที่สิ่งของต่างๆ ก็จะมีไข่ออกมา แสตมป์โรคกลัว ทำให้คนเป็นโรคกลัว ยกตัวอย่าง ถ้าวาดวงกลมแล้วแสตมป์ใส่ใคร คนนั้นจะกลัววัตถุรูปร่างกลมๆทุกชนิด แส้เทวทัณฑ์ เมื่อฟาดใส่ตอนทำเรื่องไม่ดี ก็จะได้รับผลตามแทนสาสมกับความผิดครั้งนั้น สวิทซ์เผด็จการ เมื่อกดปุ่มแล้ว คนที่เราเรียกชื่อตอนกดปุ่มจะหายไป เป็นเครื่องสอนจอมเผด็จการให้เข้าใจ == ห == หญ้าเลี้ยงขนม [24] ไม่ว่าขนมอะไรก็ชอบหญ้าชนิดนี้กันทั้งนั้น ยิ่งกิน ขนมก็ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้น หน่อสนประดับ ถ้าเราปลูกหน่ออ่อนนี้ไว้ในฤดูใบไม้ผลิ พอถึงปีใหม่มันจะกลายเป็นหน่อสนประดับต้อนรับปีใหม่ หนามเสร็จสมบูรณ์ [43] ไม่มีข้อมูล หนังสือเดินทางของมารร้าย ถ้าให้ใครดูแล้ว จะขออนุญาตให้ทำชั่วแบบไหนก็ได้ ในความจริงแล้วเป็นหนังสือเดินทางที่น่ากลัวมาก หนังสือทำโมเดลกระดาษ ถ้าท่านใช้กรรไกรตัดกับสิ่งที่ต้องการ มันก็จะเสมือนจริง หนังสือภาพถ่ายทอดความจริง หนังสือนี้สามารถถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ได้คล้ายกับภาพยนตร์ หมวกก้อนหินริมทาง [4] เมื่อสวมหมวกนี้แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหนก็ไม่มีใครให้ความสนใจ เหมือนกับก้อนหินที่ตกอยู่ริมทาง เป็นของวิเศษที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ ใน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เวลาที่ต้องหนีจากศัตรูตัวร้าย หมวกกะจิดริด หมวกนี้มีขนาดเล็ก ถ้าคุณสวมหมวกนี้เข้า ตัวจะเล็กลงทันที หมวกคนส่งของ [44] หากใครได้สวมหมวกนี้ก็จะกลายเป็นคนส่งของ ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะกลายเป็นการส่งของไปโดยอัตโนมัติ หมวกช่วยเหลือ [26] ไม่มีข้อมูล หมวกตั้งแคมป์ [พิเศษ 3] เมื่อกดปุ่มบนหมวก หมวกจะขยายออกเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทางเข้าออกอยู่ด้านบนเพื่อป้องกันสัตว์ร้าย หมวกนักขว้างมือฉมัง [6] เมื่อสวมหมวกนี้ ไม่ว่าขว้างอะไรก็จะถูกเป้าที่ต้องการเสมอไม่ว่าจะฝีมือแย่แค่ไหน หมวกมั่นใจ ถ้าใครสวมหมวกใบนี้ละก็ จะรู้สึกว่าโลกนี้เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียว หมวกยืนฝัน พอสวมเครื่องนี้ไว้บนศีรษะ แล้วก็จะสนุกกับความฝันได้ทุกรูปแบบ คุณอยากฝันแบบไหน ก็ปรับได้ตามใจชอบ หมวกสำรวจอวกาศ เมื่อสวมหมวกนี้แล้ว จะเห็นทิวทัศน์ที่เป็นอวกาศ หมวกแฟชั่น Bird Cap เป็นหมวกที่มีรูปร่างเป็นรูปนก เมื่อสวมหมวกแล้ว จะมีปีกงอกออกมาจากหลัง และจะสามารถบินได้ จะเป็นปีกของพันธุ์อะไรก็ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่สวมอยู่ ปรากฏครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอนโนบิตะและอัศวินแดนวิหค เพื่อใช้พรางตัวโดราเอมอน โนบิตะ ชิซุกะ ไจแอนท์ และซูเนโอะ เพื่อไม่ให้กลุ่มต่อต้านมนุษย์ในเบิร์ดโดเปียจำได้ว่าเป็นมนุษย์ หมอนความฝัน ถ้าหมุนลูกบิดให้ตรงกับวัน เวลา เดือน หรือปีที่ต้องการ ท่านสามารถฝันเห็นเหตุการณ์นั้นๆ ได้เลย หมัดแก้แค้น หมัดเทียมนี้จะช่วยแก้แค้นคนที่แกล้งเราให้หนักมากขึ้น 3 เท่า หมากฝรั่งตัวตายตัวแทน [6] ถ้ามีเรื่องลำบากใจ ไม่รู้จะพูดยังไง หมากฝรั่งตัวตายตัวแทนช่วยคุณได้ เพียงแค่เคี้ยวไป พูดข้อความที่ต้องการไป แล้วโยนไปแปะคนที่ต้องการให้พูดแทน หมากฝรั่งแบ่งปัน [11] ถ้าแบ่งหมากฝรั่งครึ่งหนึ่งให้อีกคนปุ๊บ ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งทานอะไร เราก็จะอิ่มไปด้วยครึ่งหนึ่ง หลอดอากาศ,จุกสูดอากาศ [พิเศษ1] ใส่ไว้ในจมูกจะทำให้หายใจในน้ำและในอวกาศได้ หลอดจรวด เมื่อใส่เข้าไปในปาก แล้วเป่าลมออกมา จะมีแรงเท่ากับก๊าซของจรวดออกมา สามารถปรับทิศทางและความแรงของลมเป่า ก็จะสามารถไปในท้องฟ้าได้อย่างอิสระ หลอดดูดแตงโม นี่คือหลอดชนิดพิเศษ จะดูดแต่เนื้อและน้ำแตงโมหวานๆ ออกมาเท่านั้น หลุมดำขนาดจิ๋ว [26] ไม่มีข้อมูล หลุมเด้งดึ๋ง ถ้าตกลงไปในนี้เราจะถูกเด้งดึ๋งออกมา ต่างไปจากหลุมพรางสำเร็จรูป หลุมทิ้งขยะลับ [36] รูปลักษณ์เหมือนจานบิน หากท่านตกลงไป นั่นคือไทม์แมชชีนขยะนั่นเอง ห่วงแปลงร่าง [41] นิยมใช้กับการ์ด ถ้าใส่การ์ดลงไปในช่อง มันจะแปลงร่างได้ มีฤทธิ์แค่ 15 นาที (ตอน สัตว์ประหลาดยักษ์บนเกาะร้าง) ห่วงผ่านตลอด ใช้ผ่านกำแพง ผนัง หรือสิ่งกีดขวางไปได้ทุกที่ โดยแปะห่วงนี้เข้ากับผนังหรือกำแพง จะเกิดเป็นโพรงขึ้นชั่วคราวทำให้สามารถลอดผ่านไปได้ ห่วงยางหม่ำได้ พอกินห่วงยางเข้าไป มันจะไปพองในท้อง รับรองว่าไม่จมน้ำ ห้างสรรพสินค้าที่บ้าน [23] ไม่มีข้อมูล หินแรงตั้งใจที่หนักแน่น [43] ไม่มีข้อมูล หุ่นยนต์ทำความสะอาด มันจะมีเครื่องทำความสะอาดสารพัดนึก เร็ว และสะดวกด้วย หุ่นยนต์บ้าน ถ้าติดตั้งไว้ใจกลางบ้านของเรา บ้านนี้จะกลายเป็นหุ่นยนต์ทันที หุ่นยนต์ปลอมตัว [1] สามารถให้เปลี่ยนร่างให้เหมือนกับร่างเป้าหมาย และสามารถบังคับเสียงพูดผ่านไมค์ลอยได้ (แต่ในรุ่นแรกๆ หุ่นจะพูดได้เอง) หุ่นยนต์ปลุกผักสารพัดนึก ถ้าท่านกดปุ่มขุด มันก็จะขุดเป็นแปลงปลูกผัก ถ้ากดปุ่มเมฆฝน มันก็จะฝนตกขึ้นมา (เฉพาะส่วน) หุ่นยนต์สำเร็จรูป [29] ไม่มีข้อมูล หุ่นยนต์หมากรุก ถึงไม่มีคู่เล่น เราก็เล่นกับเครื่องนี้ได้ แถมปรับระดับฝีมือได้อีกต่างหาก อยากจะแข่งกับเซียนหรืออยากจะแข่งกับหมู ก็เลือกได้ตามใจชอบ เหรียญทองกาฝาก ถ้าเอาไปติดไว้ที่หลัง ใครเดินผ่านมาก็สามารถไปเกาะหลังของคนๆ นั้น ได้ == อ == ออดเรียกตัว เมื่อต้องการเรียกใคร ให้เรากดปุ่ม คนๆนั้นจะมาทันที ไม่ว่าเขาจะทำอะไรอยู่ก็ตาม อัลบั้มอนาคต เป็นของวิเศษที่ทำให้รู้ถึงอนาคตของคนในเวลาข้างหน้า อาหารของปลาบินได้ ถ้าปลากินอาหารนี้เข้าไปปุ๊บ มันจะขึ้นไปแหวกว่ายในอากาศได้ อาหารเข้มข้น อาหารกึ่งเหลวอัดกระป๋องนี้ มีความเข้มข้นมาก ทาน 1 กระป๋องเหมือนทานข้าวไป 30 จาน และอาหารชนิดนี้สามารถทานในน้ำได้ อาหารแมวกวัก ให้อาหารนี่ไม่ว่าแมวตัวไหนพันธุ์อะไรก็สามารถเรียกคนที่ผ่านไปมาให้เข้าไปหาได้ (เรียกได้สามคนต่ออาหาร1ชิ้น) [37] อุโมงค์กัลลิเวอร์ [4] เป็นอุโมงค์ที่ใช้ย่อขนาดตัวให้เล็กลง หากต้องการให้กลับเป็นอย่างเดิมเพียงเดินกลับอีกด้านเท่านั้น == ฮ == ฮีทเตอร์อุ่นใจ ถ้าสวมที่ข้อมือแล้วจะทำให้อุ่นขึ้น สำหรับใช้ในฤดูหนาว แฮงไกรเดอร์ ไม่มีข้อมูล'' ตอน แฮงไกรเดอร์สำหรับเด็ก == อ้างอิง == ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ, โดราเอมอน, สำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์, 2537, ฉบับที่ 1-45 ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ, สารานุกรมของวิเศษในกระเป๋าโดเรมอน, สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์, 2546 รายชื่อของวิเศษจากโดราเอมอน เล่ม 1 - 45 ของวิเศษของโดราเอมอน
thaiwikipedia
476
ประเทศอิหร่าน
อิหร่าน (ایران, ) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนียและประเทศอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและประเทศอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่าง ๆ มากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), เคิร์ด (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลาไมต์และเอลาไมต์ใน 3200–2800 ปีก่อน ค.ศ. ชาวมีดส์ (Medes) อิหร่านรวบรวมพื้นที่เป็นจักรวรรดิแห่งแรก ๆ ใน 625 ปีก่อน ค.ศ. หลังจากนั้นมีดส์กลายเป็นชาติวัฒนธรรมและการเมืองที่ครอบงำในภูมิภาค อิหร่านเรืองอำนาจถึงขีดสุดระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิดซึ่งพระเจ้าไซรัสมหาราชทรงก่อตั้งใน 550 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งเมื่อแผ่อาณาเขตไพศาลที่สุดนั้นล้วนกินส่วนสำคัญของโลกโบราณ ตั้งแต่บางส่วนของคาบสมุทรบอลข่าน (เธรซ มาซิโดเนีย บัลแกเรีย พีโอเนีย) และยุโรปตะวันออกทางทิศตะวันตก จดลุ่มแม่น้ำสินธุทางทิศตะวันออก ทำให้เป็นจักรวรรดิใหญ่สุดในโลกในขณะนั้น จักรวรรดิล่มสลายใน 330 ปีก่อน ค.ศ. ให้หลังการพิชิตของอเล็กซานเดอร์มหาราช จักรวรรดิพาร์เธียกำเนิดขึ้นจากเถ้าถ่านแล้วต่อด้วยราชวงศ์แซสซานิดใน ค.ศ. 224 ซึ่งอิหร่านกลายเป็นชาตินำในโลกอีกครั้ง ร่วมกับจักรวรรดิโรมัน-ไบแซนไทน์ เป็นเวลากว่าสี่ศตวรรษ ค.ศ. 633 มุสลิมรอชิดีน (Rashidun) บุกครองอิหร่านและพิชิตได้ใน ค.ศ. 651 ซึ่งเข้าแทนที่ความเชื่อพื้นเมืองศาสนามาณีกีและศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นส่วนใหญ่ อิหร่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อยุคทองอิสลาม โดยผลิตนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ศิลปินและนักคิดทรงอิทธิพลจำนวนมาก การสถาปนาราชวงศ์ซาฟาวิดใน ค.ศ. 1501 ซึ่งส่งเสริมนิกายอิสนาอะชะรียะห์ (Twelver) เป็นศาสนาประจำชาติ เป็นเครื่องหมายจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์อิหร่านและมุสลิม เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1736 ภายใต้ชาห์นาเดอร์ อิหร่านมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดนับแต่จักรวรรดิแซสซานิด โดยเป็นจักรวรรดิที่แย้งได้ว่าทรงอำนาจที่สุดในโลกในเวลานั้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 อิหร่านเสียดินแดนหลายส่วนในคอเคซัสซึ่งถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของมโนทัศน์อิหร่านหลายศตวรรษแก่จักรวรรดิรัสเซียเพื่อนบ้าน ความไม่สงบของประชาชนลงเอยด้วยการปฏิวัติรัฐธรรมนูญเปอร์เซีย ค.ศ. 1906 ซึ่งสถาปนาราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและมาฮ์จิส (Majles) หรือรัฐสภาแห่งแรกของประเทศ หลังรัฐประหารที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาปลุกปั่นใน ค.ศ. 1953 อิหร่านค่อย ๆ กลายเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกที่เหลือ ยังเป็นฆราวาส แต่เป็นอัตตาณัติเพิ่มขึ้น ๆ ความเห็นแย้งที่เพิ่มขึ้นต่ออิทธิพลของต่างประเทศและการกดขี่ทางการเมืองลงเอยด้วยการปฏิวัติ ค.ศ. 1979 ซึ่งทำให้มีการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1979 กรุงเตหะรานเป็นเมืองหลวงและนครใหญ่สุดของประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชั้นนำ ประเทศอิหร่านเป็นประเทศนำภูมิภาคและอำนาจปานกลางที่สำคัญ มีอิทธิพลพอสมควรในความมั่นคงทางพลังงานระหว่างประเทศและเศรษฐกิจโลกจากการมีปริมาณเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์สำรองขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองมากที่สุดในโลกและมีน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วมากที่สุดเป็นอันดับสี่ มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศสะท้อนบางส่วนจากการมีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 19 แห่ง ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในทวีปเอเชียและ 12 ในโลก ประเทศอิหร่านเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ องค์การความร่วมมือเศรษฐกิจ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด องค์การความร่วมมืออิสลามและโอเปก ระบบการเมืองของประเทศยึดตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1979 ซึ่งมีส่วนที่เป็นประชาธิปไตยระบบรัฐสภากับเทวาธิปไตยโดยนักนิติศาสตร์อิสลามภายใต้มโนทัศน์ผู้นำสูงสุด เป็นประเทศพหุวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยหลายกลุ่มชาติพันธุ์และภาษา โดยผู้อยู่อาศัยส่วนมากนับถือนิกายชีอะฮ์อย่างเป็นทางการและภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ == ประวัติศาสตร์ == === ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตอนต้น === หลังจากความระส่ำระสายของราชวงศ์กอญัร เปอร์เซียได้ตกอยู่ภายใต้ของมหาอำนาจต่างประเทศ โดยเฉพาะรัสเซียและอังกฤษ ตั้งแต่ในรัชสมัยของฟัฏอาลี ชาห์ ชาห์องค์ที่สองแห่งราชวงศ์กอญัร ได้ทำสงครามกับรัสเซียถึง 2 ครั้ง และต้องเสียดินแดนแถบเทือกเขาคอเคซัสทั้งหมด แม้แต่ประเทศอังกฤษมีผลประโยชน์จำนวนมากในเปอร์เซียอย่างการขุดเจาะน้ำมันที่ขุดพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 วัฒนธรรมตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมาก ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเปอร์เซีย เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจของมหาอำนาจตะวันตกหลายประเทศ ทั้งรัสเซีย, อังกฤษ, ออตโตมัน, เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดกระแสต่อต้านที่กว้างขวางของประชาชนชาวเปอร์เซีย เพื่อปกป้องผลประโยชน์และเอกราชของประเทศ จนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 เรซา ข่าน ผู้บัญชาการกองพันน้อยคอสแซคได้นำกองทัพบุกเข้าเมืองหลวงได้ยึดอำนาจและทำการรัฐประหาร หลังการรัฐประหารพระเจ้าอะหมัด ชาห์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์กอญัรได้แต่งตั้งนายตะบาตะบาอี เป็นนายกรัฐมนตรี และเรซา ข่าน เป็นนายกรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม === ยุคปัจจุบัน === จนในปี ค.ศ. 1923 พระเจ้าอะหมัด ชาห์ได้เสด็จไปประทับในยุโรปและไม่เดินทางกลับมายังอิหร่านเลย เรซา ข่าน อดีตรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม ได้ยึดอำนาจจากราชวงศ์กอญัรและประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ปาห์ลาวี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1925 เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ปะทุขึ้น กองทัพพันธมิตรจึงได้ตัดสินใจบุกอิหร่าน ซึ่งขณะนั้นอิหร่านมีความสัมพันธ์อันดีกับเยอรมนี โดยกองทัพสหราชอาณาจักรได้บุกยึดภาคใต้ของอิหร่าน และ กองทัพสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดทางตอนเหนือของอิหร่าน ประเทศอิหร่านจึงถูกปกครองโดยกองทัพสัมพันธมิตร กษัตริย์เรซาจึงถูกบีบบังคับให้สละราชสมบัติ เพื่อให้พระโอรสองค์ใหญ่คือ โมฮัมหมัด เรซา ข่านขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ประเทศอิหร่านหลังจากนั้นจึงมีความสัมพันธ์อันดีประเทศตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1951 เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนอิหร่านกำลังตื่นตัวเรื่องชาตินิยม ในพฤษภาคมปีเดียวกันนั้นเอง ดร.มุฮัมหมัด มูซัดเดก ผู้นำคนหนึ่งในขบวนการชาตินิยมอิหร่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นนายมูซัดเดกได้ดำเนินการยึดบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านออยล์ซึ่งเป็นของอังกฤษเป็นของรัฐ ทำให้ต่างชาติมีมาตรการตอบโต้บอยคอตน้ำมันอิหร่าน ในวันที่ 22 ตุลาคมปีเดียวกัน รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ ขณะเดียวกันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปั่นป่วน และเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว และเกิดความวุ่นวายมากขึ้น เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1953 ชาห์โมฮัมหมัดเรซา และราชินีได้เสด็จออกนอกประเทศ 3 วันหลังจากนั้นนายพลซาเฮดีประกาศตนเป็นนายกรัฐมนตรี และเข้าควบคุมอำนาจมูซัดเดก และคณะรัฐบาลของเขาถูกจับกุม ชาห์โมฮัมหมัดเรซาเสด็จฯ กลับอิหร่านและทำการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีนโยบายนิยมตะวันตก อิหร่านได้ทำการเปิดสัมพันธไมตรีกับการทูตกับอังกฤษใหม่อีกครั้ง และมีการเจรจาตกลงกับบริษัทน้ำมันอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 เป็นต้นมา ชาห์โมฮัมหมัดเรซาได้เริ่มมีบทบาทในการบริหารประเทศมากขึ้น และพาประเทศเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปี ค.ศ. 1963 ชาห์ได้เริ่มโครงการสำคัญหลายอย่างเพื่อพัฒนาอิหร่านให้ก้าวหน้า อาทิเช่น การปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเลือกตั้ง การให้สิทธิแก่สตรี การตั้งหน่วยการศึกษา การจัดตั้งหน่วยอนามัย การพัฒนาการเกษตร การโอนป่าเป็นของรัฐเป็นต้น ซึ่งรัฐบาลอิหร่านเรียกโครงการเหล่านี้ว่า "การปฏิวัติขาว" เพราะเป็นการปฏิวัติที่ไม่เสียเลือดเนื้อ การลงมติในสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างเสรี ความขัดแย้งเรื่องนี้รุนแรงเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1963 หลังปราศรัยโจมตีรัฐบาล ท่านโคมัยนีก็ถูกจับไปขังคุกที่กรุงเตหะราน ผลของการจับโคมัยนีทำให้ประชาชนโกรธแค้นมาก และพากันออกมาเดินขบวนเต็มไปหมดในถนนทุกสาย เหตุการณ์ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี ลุกลามรุนแรงถึงขั้นนองเลือด จนกลายเป็นจุดหักมุมของประวัติศาสตร์อิหร่าน รัฐบาลตัดสินใจเนรเทศโคมัยนีออกนอกประเทศในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1964 โดยให้ไปอยู่ตุรกี และต่อมาย้ายไปอยู่เมืองนาจาฟในอิรัก รวมเป็นเวลาถึง 13 ปี โดยหวังว่าจะทำให้ความนิยมในตัวโคมัยนีจางหายไป ==== การปฏิวัติอิสลาม ==== ความไม่พอใจของประชาชนเริ่มถึงจุดระเบิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1978 ซึ่งตรงกับเดือนรอมฎอน ได้เกิดเหตุไฟไหม้รุนแรงในโรงภาพยนตร์ที่เมืองอะบาดาน มีผู้เสียชีวิต 387 คน รัฐบาลได้ออกข่าวว่าพวกศาสนานิยมหัวรุนแรงเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทว่าเมื่อตำรวจไม่สามารถหาผู้กระทำผิดได้ก็ทำให้ประชาชนเคียดแค้นรัฐบาล และเกิดการประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ส่วนคู่ปรับของชาห์คืออายะตุลลอฮ์ โคมัยนี แม้จะถูกเนรเทศไปยังประเทศอิรัก 12 ปี และภายหลังถูกรัฐบาลอิรักขอร้องให้ออกไปนอกประเทศ โคมัยนีจึงได้อพยพไปอยู่ฝรั่งเศส แต่โคมัยนีก็ใช้การอัดเสียงใส่เทปคาสเซตได้ทำการอัดซ้ำและทำการเผยแพร่แก่นักศึกษาประชาชน และลุกลามถึงนักศึกษาอิหร่านในต่างประเทศด้วย หลังโศกนาฏกรรมที่เมืองออบอดอน ประชาชนในเตหะรานได้รวมกันประท้วงชาห์ เผาธงชาติ ถือป้ายข้อความ "แยงกี้ โกโฮม" "ชาห์ต้องลาออก" และ "โคมัยนีต้องปกครองอิหร่าน" มีสตรีแต่งกายด้วยชุดดำสวมคลุมศีรษะจำนวนมาเข้าร่วมขบวนด้วย ขบวนได้ปะทะกับทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บหลายคน หลังจากเหตุการณ์นี้ ก็เกิดเหตุการณ์ประท้วงระลอกแล้วระลอกเล่าตามหัวเมืองอื่น กรรมกรนับแสนคนนัดหยุดงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ บรรดาครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ต่างเข้าร่วมกันประท้วง การประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1978 ซึ่งเป็นวันรำลึกถึงการเสียชีวิตของอิหม่ามฮุเซน วันนั้นประชาชนนับล้านได้ออกมาชุมนุมกันบนท้องถนนและที่สาธารณะ มีการชูรูปโคมัยนี มีการตะโกนด่าทออเมริกา และเรียกร้องรัฐอิสลาม การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นอีกที่เมืองมาชาดมีการลุกฮือเผาบ้านของชาวอเมริกัน ตลอดจนกิจการต่าง ๆ ของชาวตะวันตก ทหารได้สกัดกั้นและทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อย เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตจนรัฐบาลอเมริกา และยุโรปสั่งให้คนของตนออกจากอิหร่าน ความตึงเครียดที่กดดันทำให้ชาห์ทำตามคำแนะนำของอเมริกา โดยการเสด็จออกนอกประเทศพร้อมครอบครัว เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1979 โดยที่รัฐบาลของนายชาห์ปูร์ บัคเตียร์ ได้ออกประกาศว่า พระองค์มิได้สละบัลลังก์แต่อย่างใด และแล้วในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โคมัยนีพร้อมผู้ช่วยราว 500 คน และนักหนังสือพิมพ์อีก 150 คน ได้โดยสารเครื่องบินโบอิ้ง 747 ของสายการบินฝรั่งเศสกลับสู่อิหร่าน โดยมีประชาชนต้อนรับอย่างเนืองแน่น แม้ระยะแรกกองทัพบกประกาศว่าพร้อมหลั่งเลือดเพื่อค้ำบัลลังก์ชาห์ หรือหนุนรัฐบาลนายบัคเตียร์ ภายหลังกองทัพบกได้วางตัวเป็นกลาง ประชาชนฝ่ายโคมัยนีจึงได้เข้าควบคุมเตหะรานไว้ได้โดยบุกยึดที่ทำการรัฐบาล กระทรวงทบวงกรม ตึกรัฐสภา และสถานีตำรวจไว้ได้หมด ต่อมารัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากโคมัยนีก็เข้ารับหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศ และนำอิหร่านเข้าสู่การปกครองของรัฐอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีผู้นำสูงสุดคือ อิหม่ามโคมัยนี เรียกว่า ฟากิฮ์ หรือ รอฮ์บัรร์ ถือเป็นผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณมีอำนาจครอบคลุมทั้งการเมืองและการปกครองทั้งหมด ==== หลังการปฏิวัติอิสลาม ==== == การเมืองการปกครอง == === บริหาร === ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้ ผู้นำสูงสุด (Rahbar) : ผู้นำสูงสุดอิหร่านคนปัจจุบันคือ อะลี คอเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor) : เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้ รองประธานาธิบดี : มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ === นิติบัญญัติ === สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis) ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร == ภูมิศาสตร์ == ลักษณะภูมิประเทศมากกว่าร้อยละ 95 เป็นที่สูงในลักษณะของเทือกเขาสูงและที่ราบสูง เทือกเขาสูงที่ปรากฏในอิหร่านมี 2 เทือกเขาคือ เทือกเขาเอลบูร์ซทางตอนเหนือวางตัวขนานกับชายฝั่งทะเลแคสเปียน และเทือกเขาแซกรอส วางตัวขนานกับอ่าวเปอร์เซีย เทือกเขาทั้งสองวางตัวแยกออกมาจากอาร์มีเนียนนอต ขณะที่ที่ราบสูงจะอยู่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบผืนใหญ่ครอบคลุมพื้นเกือบทั้งประเทศต่อเนื่องเข้าไปถึงอัฟกานิสถานและปากีสถาน ส่วนภูมิประเทศชายฝั่งจะปรากฏอยู่ 2 บริเวณคือ ตอนเหนือเป็นชายฝั่งทะเลแคสเปียน ส่วนด้านตะวันตกเฉียงใต้และด้านใต้เป็นชายฝั่งราบของทะเลบริเวณอ่าวเปอร์เซีย Piranshahr city เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของอิหร่านที่มีประวัติยาวนานถึง 8000 ปี === การแบ่งเขตการปกครอง === ประเทศอิหร่านแบ่งออกเป็น 31 จังหวัด (provinces - ostanha) แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (استاندار ostāndār) {| |valign="top" width=0%| จังหวัดเตหะราน จังหวัดโกม จังหวัดแมร์แคซี จังหวัดแกซวีน จังหวัดกีลอน จังหวัดแอร์แดบีล จังหวัดแซนจอน จังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก จังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันตก จังหวัดเคอร์ดิสถาน จังหวัดแฮเมดอน จังหวัดเคร์มอนชอฮ์ จังหวัดอีลอม จังหวัดโลเรสถาน จังหวัดฆูเซสถาน จังหวัดแชฮอร์แมฮอลและแบฆทียอรี |valign="top" width=0%| จังหวัดโคฮ์กีรูเยและบูเยแรฮ์มอด จังหวัดบูเชฮร์ จังหวัดฟอร์ส โฮร์โมซกอน จังหวัดซีสถานและบาโลชิสถาน จังหวัดเคร์มอน จังหวัดแยซด์ จังหวัดเอสแฟฮอน จังหวัดเซมนอน จังหวัดมอแซนแดรอน จังหวัดโกเลสถาน จังหวัดโฆรอซอนเหนือ จังหวัดโฆรอซอนแรแซวี จังหวัดโฆรอซอนใต้ จังหวัดแอลโบร์ซ |} == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === === พลังงาน === อิหร่านมีปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองมากเป็นอันดับสองของโลก และมีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับสามของโลก เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดอันดับสองของโอเปก และมีศักยภาพจะกลายมาเป็นมหาอำนาจด้านพลังงานของโลก ใน พ.ศ. 2548 อิหร่านใช้เงิน 4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐนำเข้าเชื้อเพลิง เพราะการใช้พลังงานในประเทศอย่างผิดกฎหมายและขาดประสิทธิภาพ ผลผลิตอุตสาหกรรมน้ำมันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ล้านบาร์เรล (640,000 ลูกบาศก์เมตร) ต่อวัน ใน พ.ศ. 2548 เทียบกับในอดีตที่เคยมีผลผลิตสูงสุดที่ 6 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อ พ.ศ. 2517 ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมเริ่มขาดประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะความล้าหลังของเทคโนโลยี มีการเจาะหลุมสำรวจเพียงไม่กี่หลุมในปีนั้น ใน พ.ศ. 2547 แก๊สธรรมชาติสำรองในอิหร่านสัดส่วนมากยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ การเพิ่มสถานีไฟฟ้ากำลังน้ำและการปรับปรุงคุณภาพของโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงแบบเก่า ได้เพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็น 33,000 เมกะวัตต์ ในจำนวนนั้น ราว 75% ใช้แก๊สธรรมชาติ, 18% ใช้น้ำมัน และ 7% ใช้ไฟฟ้าพลังน้ำ ใน พ.ศ. 2547 อิหร่านเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานลมและความร้อนใต้พิภพเป็นแห่งแรก และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แห่งแรกเริ่มปฏิบัติการใน พ.ศ. 2552 แนวโน้มลักษณะประชากรและการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมที่มีมากขึ้นส่งผลให้ความต้องการกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี เป้าหมายของรัฐบาลที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้วันละ 53,000 เมกะวัตต์ ภายใน พ.ศ. 2553 โดยการสร้างโรงไฟฟ้าพลังแก๊สและเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำและพลังงานนิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์‎ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกในอิหร่านที่บูเชห์ เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554 == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === อิหร่านเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและศาสนา แต่ทั้งหมดนั้นได้หลอมรวมกันอยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรมเปอร์เซีย ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนั้นใช้ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาถิ่นอื่น ๆ นั้น ภาษาอาเซอร์ไบจานเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด นอกจากนี้ภาษาอาหรับยังพบได้ทั่วไปทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ตัวเลขการประมาณการกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอิหร่านนั้นยังไม่มีตัวเลขที่เป็นทางการ แต่เว็บไซต์ Factbook ของซีไอเอ ได้มีตัวเลขการประมาณการประชากรตามกลุ่มเชื้อชาติดังนี้ ชาวเปอร์เซียร้อยละ 51 ชาวอาเซอร์ไบจานร้อยละ 24 ชาวกิลัคและมาซันดารานร้อยละ 8 ชาวเคิร์ดร้อยละ 7 ชาวอิหร่านเชื้อสายอาหรับร้อยละ 3 ชาวบาลูจีร้อยละ 2 ชาวลูร์ร้อยละ 2 ชาวเติร์กเมนร้อยละ 2 ส่วนชาวลัค กัชไก อาร์มีเนีย อิหร่านเชื้อสายยิว จอร์เจีย อัสซีเรีย อะดืยเก ตาต มันดีน ยิปซี บราฮุย ฮาซารา คาซัค และอื่น ๆ คิดรวมกันเป็นร้อยละ 1 ของประชากรทั้งประเทศ === ภาษา === อย่างไรก็ตามในรายงานดังกล่าวได้มีการรายงานว่ามีการใช้ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ร้อยละ 58 ภาษาอาเซอร์ไบจานร้อยละ 26 ภาษาเคิร์ดร้อยละ 9 ภาษาลูร์ร้อยละ 3 ภาษาบาลูจีร้อยละ 1 ภาษาอาหรับร้อยละ 1 และภาษาอื่น ๆ รวมกันร้อยละ 2 ของประชากร ขณะที่ตัวเลขการประมาณการกลุ่มชาติพันธุ์จากหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้มีการประมาณการไว้คือ ชาวเปอร์เซียร้อยละ 65 ชาวอาเซอร์ไบจานร้อยละ 16 ชาวเคิร์ดร้อยละ 7 ชาวลูร์ร้อยละ 6 ชาวเปอร์เซียเชื้อสายอาหรับร้อยละ 2 ชาวบาลูจีร้อยละ 2 ชาวเติร์กเมนร้อยละ 1 ชนกลุ่มน้อยที่มาจากกลุ่มภาษาเติร์กกิก คือ กัชไก ร้อยละ 1 และกลุ่มที่มิได้มาจากกลุ่มภาษาอิหร่านหรือเติร์กกิก ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย และจอร์เจีย น้อยกว่าร้อยละ 1 ส่วนด้านการใช้ภาษาในรายงานดังกล่าวได้รายงานผลที่แตกต่างออกไปจากรายงานชิ้นแรกคือ ประชากรใช้ภาษาเปอร์เซียซึ่งเป็นภาษาราชการเป็นภาษาแม่โดยน้อยกว่าร้อยละ 65 ของประชากร และใช้เป็นภาษาที่สองซึ่งถือเป็นสัดส่วนขนาดใหญ่คือร้อยละ 35 === ศาสนา === ประเทศอิหร่านมีศาสนาประจำชาติคือ ศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์อิสนาอะชะรียะห์ (Ithnā‘ashariyyah) ซึ่งมีศาสนิกชนร้อยละ 90-95 ของประชากร ส่วนศาสนาอิสลามนิกายซุนนี มีร้อยละ 4-8 ซึ่งศาสนิกชนส่วนใหญ่เป็นชาวเคิร์ดและชาวบาลูจี ส่วนอีกร้อยละ 2 คือศาสนิกชนนอกศาสนาอิสลามถือเป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ศาสนาบาไฮ ศาสนาพื้นเมืองของชาวมันเดียน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพื้นเมืองของชาวยัซดาน ศาสนายาร์ซาน ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนายูดาห์ และศาสนาคริสต์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์, ยูดาห์ และคริสต์ นั้นเป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และได้รับการสงวนสิทธิ์ที่นั่งในรัฐสภาด้วย อย่างไรก็ตาม ศาสนาที่มีศาสนิกชนจำนวนมากที่สุดในหมู่ศาสนิกชนนอกศาสนาอิสลามคือ ศาสนาบาไฮ แต่ศาสนาบาไฮกลับมิได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และได้รับการกดขี่ข่มเหงเนือง ๆ ตั้งแต่การดำรงอยู่ของศาสนานี้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ได้มีการจัดการกับศาสนิกชนของศาสนาบาไฮ เช่น การลิดรอนสิทธิพลเรือน และเสรีภาพของชาวบาไฮ รวมไปถึงการจำกัดสิทธิในการเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการจ้างงาน == วัฒนธรรม == วัฒนธรรมอิหร่านเป็นวัฒนธรรมผสมผสาน ระหว่างยุคก่อนอิสลามและยุคอิสลามเข้าไว้ด้วยกัน วัฒนธรรมอิหร่านถือเป็นวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นในตะวันออกกลางและในเอเชียกลาง และมีความรุ่งเรืองมายาวนานกว่าสองพันปี โดยเฉพาะยุคซาสซานิยะห์ ถือเป็ยุคที่มีความสำคัญของอิหร่านที่มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีน โรมัน และอินเดียเข้าไว้ด้วยกัน และมีอิทธิพลต่อยุโรปตะวันตกและแอฟริกา ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวมีบทบาทโดดเด่นก่อให้เกิดศิลปะยุคกลางทั้งในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวได้ถูกยกยอดไปที่วัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งกลายเป็นการเรียนรู้แบบอิสลามที่ทำให้เกิดความเจริญทางด้านภาษาศาสตร์, วรรณคดี นิติศาสตร์ ปรัชญา การแพทย์ สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางส่วนได้ก่อกำเนิดจากยุคซาสซานียะห์และเผยแพร่ไปสู่โลกมุสลิมภายนอก วัฒนธรรมอิสลามได้แทรกซึมเข้าสู่วัฒนธรรมของอิหร่านอย่างแพร่หลาย ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการระลึกถึงอิหม่ามฮุเซนในวันอาชูรอ ซึ่งมีการรวมตัวของชาวอิหร่านมุสลิม ชาวคริสต์อาร์มีเนีย และชาวโซโรอัสเตอร์ที่มีส่วนร่วมในการไว้ทุกข์ให้กับผู้พลีชีพในการสู้รบที่กัรบาละห์ และวิถีชีวิตของชาวอิหร่านในยุคปัจจุบันก็ยังคงอิงอยู่กับศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ และสิ่งต่าง ๆ ยังคอยย้ำเตือนให้ชาวอิหร่านระลึกถึงประเพณีและวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองของตน === สถาปัตยกรรม === ประวัติความเป็นมาของสถาปัตยกรรมในอิหร่านย้อนกลับไปถึงยุคเจ็ดพันปีก่อนคริสตกาล ชาวอิหร่านเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ใช้คณิตศาสตร์ เรขาคณิต และดาราศาสตร์ในงานทางสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมอิหร่านแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทั้งโครงสร้างและสุนทรียศาสตร์ ซึ่งค่อย ๆ พัฒนาและเชื่อมโยงกับขนบธรรมเนียมและประสบการณ์ที่สั่งสมมา อิหร่านอยู่ในอันดับที่เจ็ดในรายชื่อประเทศที่ยูเนสโกประกาศว่า มีซากปรักหักพังทางโบราณคดีและแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ที่สุดจากยุคโบราณ ตามธรรมเนียมแล้ว บรรทัดฐานการก่อสร้างสถาปัตยกรรมตามแนวทางของอิหร่านนั้นเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล "โดยที่มนุษย์ถูกนำเข้ามาในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมกับพลังแห่งสวรรค์" ชุดรูปแบบนี้ไม่เพียง แต่ให้ความเป็นเอกภาพและต่อเนื่องกับสถาปัตยกรรมของเปอร์เซียเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งกำเนิดของความรู้สึกร่วมของสังคมด้วยเช่นกัน ตามที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีชาวเปอร์เซีย อาเธอร์ อูฟาม โปป (Arthur Upham Pope) กล่าว ศิลปะของชาวอิหร่านที่สูงที่สุดนั้น นิยามในความหมายที่เหมาะสมว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมเสมอ ความสูงสุดของสถาปัตยกรรมนั้นใช้กับทั้งช่วงยุคก่อนและหลังอิสลาม === สิ่งทอ === การทอพรมของอิหร่านมีต้นกำเนิดในยุคสำริด และเป็นหนึ่งในผลงานศิลปะที่โดดเด่นที่สุดของอิหร่าน อิหร่านเป็นผู้ผลิตและส่งออกพรมทอมือรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยผลิตได้สามในสี่ของผลผลิตทั้งหมดและมีส่วนแบ่ง 30% ของตลาดส่งออกโลก === ดนตรี === ดนตรีของอิหร่านความสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีในแถบตะวันออกกลางและเอเชียกลาง รวมไปถึงแถบอนุทวีปอินเดีย แม้บางส่วนจะมาจากแอฟริกา และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็มีการหลั่งไหลเข้ามาของดนตรีตะวันตก เพลงของอิหร่านจะใช้ทักษะการใช้เสียงผ่านช่องปาก, การฟัง และการเรียนรู้ นักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงก่อนการปฏิวัติคือ ฆามัรอัลโมลูก วาซิรี ผู้ที่ได้สมญานาม "ราชินีเพลงแห่งเปอร์เซีย" ถือเป็นนักร้องหญิงคนแรกของอิหร่านที่ปราศจากฮิญาบ ตามพระราชประสงค์ในชาห์เรซา ปาห์ลาวี แต่ภายหลังการปฏิวัติอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี เคยกล่าวถึงดนตรีตะวันตกว่ามีอิทธิพลทำลายจิตใจมนุษย์ เพราะมันทำให้เพลิดเพลิน ทำให้มีความสุข หลอนจิตใจให้ยินดี ซึ่งก็เหมือนยาเสพติดนั่นเอง ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะหานักร้องหญิงอิหร่าน เพลงที่นักร้องหญิงอิหร่านร้องส่วนใหญ่ก็เป็นเทปที่อัดก่อนการปฏิวัติทั้งสิ้น และนักร้องก็เสียชีวิตไปแล้ว เพลงที่มีผู้หญิงร้องของอิหร่านมีสองประเภท คือ บทกลอนหรือนิทานโบราณของกวีเปอร์เซียที่บรรยายถึงธรรมชาติ และอีกประเภทคือเพลงรักที่อัดก่อนการปฏิวัติ สำหรับเพลงสมัยใหม่ที่ขับร้องโดยนักร้องหญิงนั้นถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ก็มีการผลิตกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันนอกประเทศ โดยอัดแผ่นในตุรกีหรือสหรัฐอเมริกา และลักลอบเข้าประเทศแล้วซื้อขายกันในตลาดมืด และชาวอิหร่านเองก็นิยมฟังเพลงเหล่านี้มาก === อาหาร === อาหารอิหร่านมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคเช่นเดียวกับวัฒนธรรมภายในประเทศ แต่ส่วนประกอบหลักของอาหารอิหร่าน ได้แก่ ข้าว, เนื้อไก่หรือปลา มีผักอย่างหัวหอมบาง, ผัก, ถั่ว และสมุนไพร อาหารของอิหร่านเช่น กะบาบ ซึ่งเป็นอาหารที่พบได้ทั่วไปตั้งแต่ระดับภัตตาคารจนถึงร้านอาหารขนาดเล็กก็ยังมีกะบาบขายเช่นกัน ในอิหร่านมีกะบาบหลากหลายชนิดตั้งแต่เนื้อวัว อูฐ แกะ แพะ ไก่ ปลา กุ้ง นำมาปรุงรสด้วยเครื่องเทศแล้วหมักจนได้ที่จึงเสียบเข้ากับไม้หรือโลหะย่างกับถ่าน โดยเฉพาะหากเป็นเนื้อวัว แพะ แกะ หรืออูฐ จะหมักร่วมกับมะนาว เกลือ และหัวหอมใหญ่ มีรสชาติออกเปรี้ยวเค็มเล็กน้อย ส่วนมัสมั่นและกุรหม่าในอิหร่านนั้นจะมีลักษณะคล้ายสตู เรียกว่า โคเรช (Khoresh) ซึ่งใส่ทั้งเนื้อและผักหั่นชิ้นเล็ก ๆ ใส่เครื่องเทศเล็กน้อย กับผลไม้ตามฤดูกาล และเมื่อใส่ผักผลไม้ชนิดใดก็จะเรียกตามชื่อนั้น เช่น ใส่ฟักทองจะเรียกว่า โคเรชเบฮ์ หรือหากใส่กระเจี๊ยบจะเรียกว่า โคเรชบามิเยฮ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามอิทธิพลของอาหารอิหร่านได้ตกทอดสู่อนุทวีปอินเดีย โดยเฉพาะราชสำนักโมกุล แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ยังได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของอิหร่านมาเป็นเวลานานเช่นกัน ดังที่ปรากฏในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ความว่า {|align="center" |- |- | ๏ มัสมั่นแกงแก้วตา | หอมยี่หร่ารสร้อนแรง |- | ชายใดได้กลืนแกง | แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา |} เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอาจทรงรับรู้หรือเสวยอาหารดังกล่าวจากกลุ่มชาวเปอร์เซีย และมีพระมเหสีที่สืบเชื้อสายจากชาวเปอร์เซียอย่าง เจ้าจอมมารดาเรียม ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านสุลัยมานแห่งสงขลา และเจ้าจอมจีบ ธิดาพระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) ที่สืบเชื้อสายจากเฉกอะหมัด ในรัชสมัยของพระองค์นี้เองก็ได้มีการแห่ตุ้มบุดและแขกเจ้าเซ็นลุยไฟแสดงให้ทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ถึงสองครั้ง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของราชสำนักกับชาวเปอร์เซียในไทย === วันหยุด === ในวันปีใหม่ของชาวอิหร่าน หรือ วันเนารูซ จะเริ่มขึ้นทุกวันที่ 21 มีนาคม ถือเป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิของอิหร่าน นอกจากที่อิหร่านแล้วยังมีการเฉลิมฉลองกันในประเทศเพื่อนบ้านอย่างอัฟกานิสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถาน ซึ่งก่อนหน้านี้วันเนารูซยังเคยจัดขึ้นในประเทศจอร์เจียและอาร์มีเนีย แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว นอกจากนี้ยังมีการเฉลิมฉลองวันเนารูซในหมู่ชาวเคิร์ดในอิรักและชาวเคิร์ดในอานาโตเลียอีกด้วย วันเนารูซได้รับการจัดไว้ในทะเบียนรายชื่อของมรดกชิ้นเอกแบบปากต่อปากที่ไม่มีตัวตนของมนุษย์ (Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) และอธิบายว่า ปีใหม่เปอร์เซีย โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ใน ค.ศ. 2009 === กีฬา === ประเทศอิหร่านเป็นประเทศต้นกำเนิดของกีฬาโปโล ซึ่งเป็นที่รู้จักในภาษาท้องถิ่นว่า čowgān มีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรไมเดสโบราณ นอกจากนี้ อิหร่านยังมีกีฬาประจำชาติ คือ มวยปล้ำฟรีสไตล์ ซึ่งอิหร่านเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการแข่งขันชิงแชมป์โลก ชาวอิหร่านเรียกกีฬามวยปล้ำของตนเองว่า košti e pahlevāni ซึ่งยูเนสโกได้ให้การรับรองในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมด้วยแล้ว ด้วยความที่ประเทศอิหร่านมีพื้นที่เทือกเขาสูงจำนวนมาก ทำให้มีการเล่นกีฬาสกี สโนว์บอร์ด การเดินเขา การปีนเขา และการปีนหินผาจำนวนมาก อิหร่านมีสถานที่ตั้งของรีสอร์ทสกีที่มีชื่อเสียงในเมืองโทชาล ดิซิน และ เชมชัค ทั้งสามเมืองอยู่ห่างจากเมืองหลวง กรุงเตหะราน เพียงสามชั่วโมง ชาวอิหร่านมีความชื่นชอบกีฬาฟุตบอล ทีมชาติอิหร่านเป็นแชมป์เอเชียนคัพ 3 สมัย ได้ชื่อว่าเป็นทีมชาติที่ดีที่สุดในเอเชีย อีกทั้งยังรั้งอันดับ 1 ของทวีป และรั้งอันดับ 22 ของฟีฟ่าแรงค์กิ้ง (จากการจัดอันดับเมื่อเดือนกันยายน 2021) == อ้างอิง == ประเทศอิหร่าน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ === บรรณานุกรม === Iran: A Country Study. 2008, Washington, DC: Library of Congress, 354 pp. จักรพันธ์ กังวาฬ. และคนอื่น ๆ. กรุ่นกลิ่นอารยธรรมเปอร์เซียในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. Foltz, Richard (2016). Iran in World History. Oxford University Press. == แหล่งข้อมูลอื่น == The e-office of the Supreme Leader of Iran The President of Iran Iran.ir Iran. The World Factbook. Central Intelligence Agency. อิหร่าน รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2522 อ
thaiwikipedia
477
ภาษาเยอรมัน
ภาษาเยอรมัน (German; Deutsch|links=no) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐ) รวมถึงบางประเทศในลาตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา บราซิล โดยเฉพาะในรัฐฮิวกรังจีดูซูว รัฐซังตากาตารีนา รัฐปารานา และรัฐเอชปีรีตูซังตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐ และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป == ระบบเขียน == ภาษาเยอรมันใช้อักษรละตินในการเขียนเช่นเดียวกับภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป และมีอักขระพิเศษอีก 4 ตัว เป็นสระที่มีอุมเลาท์ (umlaut) 3 ตัว ได้แก่ ä ö และ ü กับอักษรเอสเซ็ท ß แต่สำหรับภาษาเยอรมันมาตรฐานของประเทศสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ไม่ใช้ตัว ß เลย โดยจะใช้ ss แทน ß ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย เพราะมีระบบเขียนที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ เช่น อักขระที่มีอุมเลาท์ข้างต้น การใช้อักษรตัวใหญ่เริ่มต้นคำนามทุกคำ (ซึ่งเป็นระเบียบที่เคยแพร่หลายในยุโรปเหนือแต่ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่ภาษา โดยเยอรมันเป็นภาษาที่ใหญ่ที่สุดที่ยังคงทำเช่นนี้) และการเขียนคำประสมติดกันโดยไม่เว้นวรรค (ต่างจากภาษาอังกฤษที่เวลานำคำนามมาประสมกันจะเว้นวรรคคั่น) ทำให้ภาษาเยอรมันสามารถมีคำประสมที่ยาวมาก ตัวอย่างเช่น คำเยอรมันที่ยาวที่สุดที่เคยมีการตีพิมพ์ คือ Donaudampfschiffahrtselektrizitätenhauptbetriebswerkbauunterbeamtengesellschaft มี 79 ตัวอักษร อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกในการอ่าน คำที่ประสมจากคำนามมากกว่า 3-4 คำถือว่าพบได้ยาก นอกเหนือจากบริบทอารมณ์ขัน ก่อนการปฏิรูประบบเขียนภาษาเยอรมัน ค.ศ.1996 อักษร ß ใช้แทน ss หลังสระเสียงยาวหรือสระประสม ก่อนพยัญชนะ และท้ายคำหรือหน่วยคำ หลังการปฏิรูปไปแล้ว จะใช้ ß แทน ss เฉพาะหลังสระเสียงยาวหรือสระประสมเท่านั้น เนื่องจากตัว ß ไม่สามารถเริ่มต้นคำได้ ในอดีตจึงไม่เคยมีการคิดตัวอักษร ß ตัวใหญ่ขึ้นใช้ เมื่อจำเป็นต้องใช้ ß ตัวใหญ่ (เช่นเมื่อใช้ตัวใหญ่ทั้งคำ) ก็จะใช้ SS แทน เช่นคำว่า Maßband ("ตลับเมตร") เขียนตัวใหญ่เป็น MASSBAND ยกเว้นในชื่อที่เป็นอักษรตัวใหญ่ในเอกสารราชการ อนุโลมให้คง ß ตัวเล็กเอาไว้เพื่อป้องกันความสับสน (เช่น "KREßLEIN" ไม่ใช่ "KRESSLEIN") จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2017 ได้มีการบรรจุอักษร ẞ เป็นอักษรตัวใหญ่ของ ß ลงในระบบเขียน หากไม่สะดวกที่จะพิมพ์สระอุมเลาท์ (ä ö ü) ทั่วไปสามารถใช้ ae oe ue แทน และใช้ ss แทน ß ในทำนองเดียวกัน แต่หากสามารถพิมพ์ได้ก็ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากวิธีการนี้ถือเป็นเพียงวิธีการเฉพาะหน้า มิใช่การเขียนที่ถูกต้องตามระเบียบ ในการจัดลำดับคำในพจนานุกรม ไม่มีระเบียบที่เป็นสากลว่าควรจัดตัวอักษรที่มีอุมเลาท์อย่างไร ในสมุดโทรศัพท์มักมองอักษรอุมเลาท์ว่าเป็นสระฐานกับตัว e เช่น Ärzte อยู่หลัง Adressenverlage แต่มาก่อน Anlagenbauer เพราะมอง Ärzte เป็น Aerzte ส่วนในพจนานุกรมมักจัดคำที่มีอุมเลาท์ไว้หลังคำที่เหมือนกันที่ไม่มีอุมเลาท์ เช่น Ärzte มาหลัง Arzt แต่ก่อน Ass และก็มีพจนานุกรมบางฉบับจะเอาคำที่มีอุมเลาท์ทุกคำไปต่อท้ายสุด คือทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย Ä จะอยู่เป็นหมวดแยกหลังทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย A นอกจากนี้พจนานุกรมเก่าแก่บางฉบับจะแยกเอา Sch และ St ไปเป็นหมวดแยกหลังหมวด S แต่โดยทั่วไปจะถือว่าเป็น S+C+H และ S+T การใช้เครื่องหมายคำพูดในภาษาเยอรมัน นิยมใช้เครื่องหมายกลับด้านออก เช่น „Guten Morgen!“ == สัทวิทยา == === เสียงสระ === เสียงสระภาษาเยอรมัน (นอกเหนือสระประสม) สามารถมีเสียงสั้นหรือยาวได้ ดังนี้ เสียง ออกเสียงเป็น ในพยางค์ที่ลงน้ำหนัก แต่เป็น เมื่อไม่ลงน้ำหนัก เสียง ที่สั้นและลงน้ำหนัก ตรงกับรูปเขียนทั้ง e กับ ä เช่น hätte ("จะมี") กับ Kette ("โซ่") คล้องจองกัน โดยทั่วไปแล้วสระเสียงสั้นจะเป็นสระเปิด และเสียงยาวเป็นสระปิด เว้นแต่เสียง อันเป็นสระเปิดเสียงยาว ตรงกับรูปสระ ä แต่ในภาษาเยอรมันมาตรฐานบางสำเนียง เสียง กับ ได้หลอมรวมกันเป็นเสียง เสียงเดียว ข้อยกเว้นนี้จึงไม่มี ในกรณีของสำเนียงเหล่านี้ จะมีคู่ของคำพ้องเสียงเช่น Bären/Beeren ("หมี/เบอร์รี่") หรือ Ähre/Ehre ("รวงข้าว/เกียรติยศ") ในภาษาเยอรมันมาตรฐานหลายสำเนียง เสียง ที่ไม่ลงน้ำหนัก จะไม่เป็นเสียง แต่เป็นสระ การสังเกตว่ารูปสระแต่ละตัว ออกเสียงสั้นหรือเสียงยาว ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ก็มีหลักการเหล่านี้: หากสระ (ยกเว้น i) อยู่ท้ายสุดพยางค์ หรือตามหลังด้วยพยัญชนะตัวเดียว มักออกเสียงยาว (เช่น Hof ) หากสระตามด้วยตัว h และ สระ i ที่ตามด้วย e จะออกเสียงยาว หากสระตามด้วยพยัญชนะคู่ (เช่น ff ss หรือ tt) ทวิอักษร ck tz หรือพยัญชนะผสม (เช่น st หรือ nd) มักออกเสียงสั้นแทบจะเสมอ (เช่น hoffen ) ซึ่งพยัญชนะคู่ในภาษาเยอรมันใช้เพื่อแสดงความยาวสระในลักษณะนี้เท่านั้น ตัวพยัญชนะเสียงไม่เปลี่ยนไป หลักเหล่านี้ล้วนมีข้อยกเว้น เช่น hat
thaiwikipedia
478
สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์
หมู่เกาะมาร์แชลล์ (Marshall Islands; มาร์แชลล์: Aelōn̄ in M̧ajeļ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ (Republic of the Marshall Islands; มาร์แชลล์: Aolepān Aorōkin M̧ajeļ) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศนาอูรูและประเทศคิริบาส ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไมโครนีเซียและอยู่ทางใต้ของเกาะเวกของสหรัฐอเมริกา == ภูมิศาสตร์ == ประเทศประกอบด้วย 29 หมู่เกาะ และ 5 เกาะเดี่ยว หมู่เกาะและเกาะเดี่ยวที่สำคัญที่สุดแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ แนวเกาะราตัก (Ratak Chain) และ แนวเกาะราลิก (Ralik Chain) (หมายถึงแนวเกาะ "ดวงอาทิตย์ขึ้น" และ "ดวงอาทิตย์ตก") 2 ใน 3 ของประชากรอาศัยบนมาจูโร (เมืองหลวง) และ เอเบเย (Ebeye) หมู่เกาะทางด้านนอกมีคนอาศัยอยู่น้อย เนื่องจากไม่มีโอกาสทางการงานและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ภูมิอากาศร้อนชื้น มีฤดูฝนช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน มีไต้ฝุ่นเป็นครั้งคราว == ประวัติศาสตร์ == === ประกาศอิสรภาพ === ภายใต้ความตกลงร่วมกับสหรัฐอเมริกา (Compact of Free Association) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ทำให้สหรัฐฯ ยุติการปกครองหมู่เกาะมาร์แชลล์ในฐานะเป็นดินแดนในอารักขาของสหประชาชาติ โดยมีสถานะเป็นรัฐอิสระที่มีอธิปไตยปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2529 สามารถกำหนดนโยบายภายในและต่างประเทศ ยกเว้นด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจของสหรัฐฯ ซึ่งมีบทบาทให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ หมู่เกาะมาร์แชลล์เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2534 == การเมืองการปกครอง == ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญเป็นแบบ Semi - Westminster โดยรวมเอา หลักการของทั้งรัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา รัฐสภามีสองสภา == การแบ่งเขตการปกครอง == หมู่เกาะมาร์แชลล์แบ่งเป็นเขตทางนิติบัญญัติ 24 เขต ซึ่งเป็นไปตามเกาะและหมู่เกาะที่มีคนอาศัยอยู่ รายละเอียดอยู่ในภูมิศาสตร์ ไอลิงกิเนอะทอลล์ (Ailinginae Atoll, ไม่มีคนอาศัย) ไอลิงลัปลัปอะทอลล์ (Ailinglaplap Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) ไอลุกอะทอลล์ (Ailuk Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) อาร์โนอะทอลล์ (Arno Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) อาวร์อะทอลล์ (Aur Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) บิคาร์อะทอลล์ (Bikar Atoll หรือ Bikaar; ไม่มีคนอาศัย) บิกีนีอะทอลล์ (Bikini Atoll) โบคักอะทอลล์ (Bokak Atoll, ไม่มีคนอาศัย) เอบอนอะทอลล์ (Ebon Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) เอเนเวตักอะทอลล์ (Enewetak Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) เอริคุบอะทอลล์ (Erikub Atoll, ไม่มีคนอาศัย) เกาะจาบัต (Jabat Island, เขตทางนิติบัญญัติ) จาลูอิตอะทอลล์ (Jaluit Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) เกาะเจโม (Jemo Island, ไม่มีคนอาศัย) เกาะคิลิ (Kili Island, เขตทางนิติบัญญัติ) ควาจาเลนอะทอลล์ (Kwajalein Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) ลาเออะทอลล์ (Lae Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) เกาะลิบ (Lib Island, เขตทางนิติบัญญัติ) ลิเคียปอะทอลล์ (Likiep Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) มาจูโรอะทอลล์ (Majuro Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) มาโลเอลัปอะทอลล์ (Maloelap Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) เกาะเมจิต (Mejit Island, เขตทางนิติบัญญัติ) มิลิอะทอลล์ (Mili Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) นาดิกดิกอะทอลล์ หรือนอกซ์ (Nadikdik Atoll หรือ Knox; ไม่มีคนอาศัย) นามอริกอะทอลล์ หรือนัมดริก (Namorik Atoll หรือ Namdrik; เขตทางนิติบัญญัติ) นามูอะทอลล์ (Namu Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) รองเกลัปอะทอลล์ (Rongelap Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) รองเกริกอะทอลล์ (Rongerik Atoll, ไม่มีคนอาศัย) โตเกอะทอลล์ (Toke Atoll, ไม่มีคนอาศัย) อูจาเออะทอลล์ (Ujae Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) อูเจลังอะทอลล์ (Ujelang Atoll, ไม่มีคนอาศัย) อูติริกอะทอลล์ หรือ อูตริก (Utirik Atoll หรือ Utrik; เขตทางนิติบัญญัติ) โวโทอะทอลล์ (Wotho Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) วอตเจอะทอลล์ (Wotje Atoll, เขตทางนิติบัญญัติ) อะทอลล์ (Atoll) = หมู่เกาะปะการัง == เศรษฐกิจ == ความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจ ศักยภาพทางเศรษฐกิจของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรในทะเล แร่ธาตุ และแหล่งท่องเที่ยว แต่เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากรที่มีคุณภาพ หมู่เกาะมาร์แชลล์จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้เต็มที่ หมู่เกาะมาร์แชลล์ประสบปัญหาด้านการเงินมาตั้งแต่ปี 2534 รัฐบาลได้แก้ไขโดยออกพันธบัตรเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายและชำระหนี้สินซึ่งมีสูงถึง 143 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ทำให้เกิดภาวะวิกฤตขึ้นในปี 2539 รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น จึงต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ในภาคเกษตรกรรม ผลผลิตทางเกษตรมักอยู่ที่ไร่ขนาดเล็ก มีบริเวณเพาะปลูกน้อย ดินไม่มีคุณภาพ และขาดเกษตรกรที่มีความชำนาญ ทำให้การเกษตรไม่พัฒนาเท่าที่ควร พืชผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ มะพร้าว มะเขือเทศ แตง ฯลฯ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก คือ งานหัตถกรรม ปลาที่ผ่านกระบวนการแปรรูป และ เนื้อมะพร้าวแห้ง ด้านการประมง หมู่เกาะมาร์แชลล์มีทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาทูน่า เปลือกหอย และไข่มุกดำ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา บริษัทของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เข้าไปจับปลาทูน่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม แม้จะมีวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ แต่หมู่เกาะมาร์แชลล์ก็ยังมีความต้องการที่จะนำเข้าปลากระป๋องเป็นจำนวนมากเช่นกัน == ประชากรศาสตร์ == ส่วนใหญ่เป็นชาวไมโครนีเซียมีประมาณเท่ากับไมโครนีเซีย 0.1 เช่นกัน สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์ == เชิงอรรถ == == อ้างอิง == == นามานุกรม == รายละเอียดสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ == หนังสืออ่านเพิ่ม == Barker, H. M. (2004). Bravo for the Marshallese: Regaining Control in a Post-nuclear, Post-colonial World. Belmont, California: Thomson/Wadsworth. Rudiak-Gould, P. (2009). Surviving Paradise: One Year on a Disappearing Island. New York: Union Square Press. Niedenthal, J. (2001). For the Good of Mankind: A History of the People of Bikini and Their Islands. Majuro, Marshall Islands: Bravo Publishers. Carucci, L. M. (1997). Nuclear Nativity: Rituals of Renewal and Empowerment in the Marshall Islands. DeKalb: Northern Illinois University Press. Hein, J. R., F. L. Wong, and D. L. Mosier (2007). Bathymetry of the Republic of the Marshall Islands and Vicinity [Miscellaneous Field Studies; Map-MF-2324]. Reston, VA: U.S. Department of the Interior, U.S. Geological Survey. Woodard, Colin (2000). Ocean's End: Travels Through Endangered Seas. New York: Basic Books. (Contains extended account of sea-level rise threat and the legacy of U.S. Atomic testing.) == แหล่งข้อมูลอื่น == รัฐบาล Embassy of the Republic of the Marshall Islands Washington, DC official government site Chief of State and Cabinet Members ข้อมูลทั่วไป Country Profile from New Internationalist Marshall Islands from UCB Libraries GovPubs Marshall Islands from the BBC News สื่อสารมวลชน Marshall Islands Journal Weekly independent national newspaper อื่นๆ Digital Micronesia – Marshalls by Dirk HR Spennemann, Associate Professor in Cultural Heritage Management Plants & Environments of the Marshall Islands Book turned website by Dr. Mark Merlin of the University of Hawaii Atomic Testing Information Pictures of victims of U.S. nuclear testing in the Marshall Islands on Nuclear Files.org "Kenner hearing: Marshall Islands-flagged rig in Gulf oil spill was reviewed in February" NOAA's National Weather Service – Marshall Islands หมู่เกาะมาร์แชลล์ ม หมู่เกาะมาร์แชลล์ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2529 อดีตอาณานิคมของเยอรมนี อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น อดีตอาณานิคมในเขตโอเชียเนีย แปซิฟิกใต้ในอาณัติ
thaiwikipedia
479
อักษรพม่า
อักษรพม่า (မြန်မာအက္ခရာ) เป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี ใช้ในประเทศพม่าสำหรับการเขียนภาษาพม่า ในสมัยโบราณ การเขียนอักษรพม่าจะกระทำโดยการจารลงในใบลาน ตัวอักษรพม่าจึงมีลักษณะโค้งกลมเพื่อหลบร่องใบลาน อักษรพม่าเขียนจากซ้ายไปขวาเหมือนอักษรไทย และอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ โดยมีพยัญชนะ 33 ตัว ตั้งแต่ (กะ) ถึง (อะ) ซึ่งเสียงของพยัญชนะจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสระที่เขียนเหนือ, ใต้, หรือข้าง ๆ พยัญชนะ เหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าใกล้เคียงกับอักษรมอญมาก แต่วิธีการออกเสียงเมื่อประสมสระต่างกัน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของทั้ง 2 ภาษา เช่นภาษาพม่ามีวรรณยุกต์แต่ภาษามอญไม่มี กล่าวกันว่าพม่ารับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเมื่อเข้าครอบครองอาณาจักรมอญโบราณ ในทำนองเดียวกันเมื่อพม่าเข้าครอบครองอาณาจักรไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ได้นำอักษรพม่าบางตัวไปเขียนภาษาบาลีเพราะอักษรไทใหญ่มีไม่พอ == อักษรพม่า == {|class="wikitable" style="text-align: center; width:70%;" |- !rowspan="2" width="6%" | ชื่อวรรค !! colspan="10" | วรรค |- ! width="20%" colspan="2"| สิถิล !! width="20%" colspan="2"| ธนิต !! width="32%" colspan="4"| โฆษะ !! width="20%" colspan="2"| นาสิก |- | rowspan="2"| กัณฐชะวรรค กะ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ก | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ข | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ค (ออกเสียง ก ก้อง) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ฆ (ออกเสียง ก ก้อง) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ง |- |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |- | rowspan="2"| ตาลุชะวรรค จะ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , จ (ออกเสียง ซ) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ฉ (ออกเสียง ซ พ่นลม) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ช (ออกเสียง ซ ก้อง) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ฌ (ออกเสียง ซ ก้อง) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ญ (ออกเสียง ย นาสิก) |- |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |- | rowspan="2"| มุทธชะวรรค ฏะ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ฏ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ฐ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ฑ (ออกเสียง ด) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ฒ (ออกเสียง ด) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ณ |- |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |- | rowspan="2"| ทันตชะวรรค ตะ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ต | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ถ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ท (ออกเสียง ด) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ธ (ออกเสียง ด) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , น |- |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |- | rowspan="2"| โอฏฐชะวรรค ปะ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ป | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ผ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , พ (ออกเสียง บ) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ภ (ออกเสียง บ) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ม |- |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |- ! colspan="11" | เศษวรรค |- | rowspan="4"| อวรรค | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ย | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ร (ออกเสียง ย ในสำเนียงกลาง) | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ล | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ว | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ส (ออกเสียง ซ แลบลิ้น) |- |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |colspan="2"| |- | colspan="2" width="16%" rowspan="2" | | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ห | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , ฬ | bgcolor="#cccccc" width="8%" style="font-size:30px;"| | width="8%"| , อ | colspan="2" width="16%" rowspan="2" | |- |colspan="2"|
thaiwikipedia
480
คัทซึ
คัทซึ (KATSU!) การ์ตูนญี่ปุ่นแนวชกมวยเรื่องล่าสุดของอาดาจิ มิซึรุ ในประเทศญี่ปุ่น ตีพิมพ์ในนิตยสาร Shonen Sunday ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ส่วนในประเทศไทย ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร นีออซ (Neoz) ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และตีพิมพ์รวมเล่มออกมาแล้ว 15 เล่ม (ข้อมูล เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550) คัทซึ (KATSU!) ตีพิมพ์ออกจำหน่ายในญี่ปุ่นแล้ว 16 เล่ม == เนื้อเรื่อง == เนื้อเรื่องเกี่ยวกับซาโตยามะ คัตสึกิ (Katsuki) หลงรักเพื่อนร่วมห้องที่ชื่อคล้ายกัน คาสึกิ (Katsuki) โดยลงทุนไปฝึกมวยที่ค่ายของพ่อของเธอ คัตสึกิค่อยๆ ค้นพบความจริงเกี่ยวความหลังของพ่อซึ่งเป็นอดีตนักมวยนั้นแท้จริงเป็นพ่อเลี้ยง และค้นพบความสามารถด้านชกมวยที่ตนเองมีอยู่ โดยพบว่าแท้จริงแล้วเขาได้สูญเสียพ่อผู้ให้กำเนิดไปแล้ว ซึ่งเขาก็เป็นนักมวยเช่นเดียวกัน คัตสึกิได้ตัดสินใจหันมาเอาดีทางด้านชกมวยระดับมัธยมปลาย แต่ก็ต้องเจอกับคู่แข่งมากมายรวมทั้งอดีตมือขว้างอันดับ 1 แห่งโคชิเอ็ง ผู้ก้าวมายังวงการมวยด้วยผลงานชนิดที่ใครต่อใครต้องหันมาจับตามอง ที่สำคัญคู่ปรับตัวฉกาจยังเปิดศึกนอกสังเวียนกับคัตสึกิเมื่อมาปิ๊งผู้หญิงคนเดียวกัน ซึ่งก็คือคาสึกิอีกด้วย == ตัวละคร == ซาโตยามะ คัทสึกิ มิซึทานิ คาสึกิ มิซากิ ชินอิจิ แรบบิท ซากางูจิ == รายชื่อตอน == การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ อนิเมะและมังงะเกี่ยวกับกีฬา‎
thaiwikipedia
481
จังหวัดสมุทรปราการ
สมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมีการทำนา, ประมง และอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ, วัดอโศการาม, วัดบางพลีใหญ่, วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร, วัดโปรดเกศเชษฐาราม, ศาลพระเสื้อเมือง, พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ, เมืองโบราณ, สถานตากอากาศบางปู, ป้อมพระจุลจอมเกล้า, สวางคนิวาส, ป้อมแผลงไฟฟ้า, ฟาร์มจระเข้ ฯลฯ == ประวัติ == ===สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา=== เมื่อประมาณ 2000-3000 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ของอ่าวไทยกินลึกมาถึงจังหวัดราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สระบุรี นครนายก และชลบุรี ส่วนพื้นที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหม่นั้นเป็นพื้นที่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพ และสมุทรปราการ เกิดขึ้นจากตะกอนที่แม่น้ำหลายสายพัดพามาที่ปากอ่าวไทยแล้วทับถมกันนานนับพันปีจนกลายเป็นแผ่นดิน ยังไม่ปรากฏชื่อเมืองสมุทรปราการในประวัติศาสตร์ จะมีแต่เมืองพระประแดง ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่ขอมสร้างขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของขอมซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีหน้าที่ต้องแจ้งข่าวสารไปให้ราชธานีที่ขอมตั้งไว้ที่ลพบุรี (ละโว้) สันนิษฐานว่าเมืองพระประแดงจะยังคงเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้มาจนตลอดสมัยสุโขทัย ===สมัยกรุงศรีอยุธยา=== เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมืองพระประแดงมีสถานะเป็นเมืองประเทศราช ทางทิศใต้ของราชธานี เป็นเมืองป้อมปราการด่านชั้นใน เมืองพระประแดงเดิมนั้นในปัจจุบันอยู่ในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร นับแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองทั่วอาณาจักร เมืองสมุทรปราการจัดอยู่ในกลุ่มหัวเมืองชั้นที่สี่หรือ เมืองน้อย ที่มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ปกครองเมือง ดังปรากฏใน พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองในกฎหมายตราสามดวงว่า ขุนนาง ที่ปกครองเมืองสมุทรปราการหรือปากน้ำคือ "พระสมุทประการ" พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2041 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการขุดลอกคลองสำโรงเนื่องจากคลองตื้นเขิน เรือใหญ่เดินทางไปมาผ่านคลองสำโรงไม่สะดวก และมีการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ได้แก่ พระยาแสนตาและพระยาบาทสังขกร ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีคนอาศัยอยู่บริเวณคลองสำโรงมานานแล้ว และเป็นไปได้ว่าชุมชนบริเวณคลองสำโรงจะเป็นชุมชนแรกของบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนนี้เรียกว่า บางเจ้าพระยา ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์ในพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำ โดยแม่น้ำได้พัดพาตะกอนมาทับถมเพิ่มขึ้นเรือย ๆ ทำให้เมืองพระประแดง (เก่า) ที่อยู่ตรงเขตพระโขนง อยู่ห่างจากปากแม่น้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นให้เป็นหัวเมืองหน้าด่านทางใต้ ณ บริเวณฝั่งใต้ของคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้น เรียกว่า นิวอัมสเตอร์ดัม และเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงแต่งสมณทูตไปลังกากล่าวว่าออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตำบลบางปลากดแสดงว่าที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มากอาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ส่วนเมืองพระประแดงก็หมดความสำคัญลง และถูกยุบในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเหตุการณ์บันทึกว่า เมื่อ พ.ศ. 2173 พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรเกิดขัดใจกับไทยถึงขั้นต่อสู้กันบริเวณปากน้ำ ญี่ปุ่นหนีไปได้ และไปอาศัยอยู่ที่เมืองเขมร ชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 อีกเหตุการณ์ เมื่อ พ.ศ. 2207 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงดำเนินกิจการค้าอย่างกว้างขวางให้คนจีนมาประจำหน้าที่ในเรือสินค้าหลวง จนทำให้ผู้ค้าของฮอลันดาไม่พอใจ หาว่าไทยทำการค้าผูกขาด ฮอลันดาจึงเลิกกิจการค้าจากกรุงศรีอยุธยา แล้วเอาเรือรบมาปิดอ่าวไทย ทั้งยังจับเรือสินค้าหลวงของไทยไปริบบ้าง ทำลายบ้าง ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงดำเนินวิเทโศบายผูกมิตรกับฝรั่งเศส และเมื่อ พ.ศ. 2231 ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ไทยเกิดต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เข้ามารักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์ (อยู่ที่เมืองธนบุรี) ไทยได้ตั้งค่ายรายปืนที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา เมืองสมุทรปราการ และจับเรือที่ฝรั่งเศสคุมมาได้สองลำ ===สมัยกรุงธนบุรี=== ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตำบลบางเมืองในเขตเมืองสมุทรปราการ วัดและบ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้างอยู่พักหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้บ้านเมืองเอาไว้ได้ ผู้คนในเมืองสมุทรปราการที่อพยพหนีภัยสงคราม จึงได้กลับมาตั้งถิ่นฐานเดิม พระองค์ทรงรื้อกำแพงเมืองพระประแดงเดิมที่ตั้งอยู่เขตราษฎร์บูรณะในปัจจุบัน ไปก่อกำแพงพระราชวังธนบุรีและที่อื่น ๆ ===สมัยรัตนโกสินทร์=== ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะสร้าง เมืองพระประแดงขึ้นเป็นเมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันศัตรูซึ่งมาทางทะเลแต่พระองค์ทรงสร้างเพียงป้อมขึ้นไว้ทางฝั่งตะวันออก 1 ป้อม เรียกว่า ป้อมวิทยาคม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตำบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือของข้าศึกต่อจากรัชกาลที่ 1 ป้อมฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อมมหาสังหาร ป้อมศัตรูพินาศ ป้อมจักร์กรด และป้อมพระจันทร์ พระอาทิตย์ ป้อมทางฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย ป้อมปีศาจสิง ป้อมราหูจร และป้อมวิทยาคม และใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ำด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ำ" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ำเข้ามาราว 6 กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงขนานนามเมืองพระประแดงว่า เมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 11 ค่ำ พ.ศ. 2358 แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครัวมอญ เมืองปทุมธานี ให้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ เมืองนี้ และทรงแต่งตั้งสมิงทอมา บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ซึ่งเป็นพระยาราม น้องเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) เป็นพระยานครเขื่อนขันธ์รามัญราชชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม เป็นผู้รักษาเมือง พ.ศ. 2362 มีการจัดการสร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ โดยทรงกำหนดเขตให้ตรงบริเวณพื้นที่ที่ชาวบ้าน เรียกว่า บางเจ้าพระยา (เป็นเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กับตำบลบางเมืองในปัจจุบัน) อยู่ระหว่างปากคลองปากน้ำคลองมหาวงศ์ มีป้อมปราการเป็นเมืองหน้าศึก 6 ป้อมปราการ คือ ป้อมประโคนชัย อยู่ที่ปากคลองปากน้ำ ป้อมนารายณ์ปราบศึก อยู่ในตำบลบางเมือง ป้อมปราการ อยู่ในตำบลบางเมือง ป้อมกายสิทธิ์ ในตำบลบางเมือง ทางฝั่งขวาของแม่เจ้าพระยา (ตะวันตก) มีป้อมนาคราช และสร้างป้อมขึ้นบนเกาะนั้น เรียกว่า ป้อมผีเสื้อสมุทร และในครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองปากลัด ในเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นมาด้วย ในการสร้างเมืองสมุทรปราการใหม่นี้ ได้สร้างเสร็จเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 พ.ศ. 2365 โดยทำพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปราบกบฏเวียงจันทน์เสร็จแล้วจะทำสงครามกับญวน พระองค์จึงโปรดให้สร้างป้อมเพิ่มเติมที่เมืองสมุทรปราการ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2371 ชื่อป้อมปีกกาต่อจากป้อมประโคมชัยของเดิม, ป้อมตรีเพ็ชร์ สร้างที่บางจะเกรง (บางนาเกรงในปัจจุบัน) เหนือเมืองขึ้นไป พ.ศ. 2377 สร้างป้อมที่บางปลากด ทางฝั่งตะวันตกข้างเหนือเมืองสมุทรปราการ ชื่อป้อมคงกระพัน ในปีมะเส็ง พ.ศ. 2388 สร้างป้อมเพิ่มเติมที่เมืองสมุทรปราการ คือ ทำป้อมปีกกาต่อป้อมนาคราช เรียกว่า ป้อมปีกกาพับสมุทร ถึงปีวอก พ.ศ. 2391 สร้างป้อมใหญ่ขึ้นที่ตำบลมหาวงษ์ ทางฝั่งตะวันออกอีกหนึ่งป้อม เป็นป้อมที่ตั้งของแม่ทัพ ชื่อป้อมเสือซ่อนเล็บ สังฆราชปาเลอกัวบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่พำนักอยู่ในสยามช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงต้นสมัยรัชกาลที่ 4 ระบุว่า ในเมืองสมุทรปราการ (หรือเมืองปากลัดหรือเมืองปากน้ำ) มีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ 6,000–7,000 คน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นเป็นที่ประทับบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นเกียรติแก่พระสมุทรเจดีย์ที่ทรงบูรณะและเสริมให้แลเห็นเด่นชัด สิ่งก่อสร้างที่เหลือมาในสมัยหลัง คือ พระที่นั่งสมุทาภิมุข อยู่ใกล้สถานีรถรางสายปากน้ำ และพระที่นั่งสุขไสยาศน์ ซึ่งเคยใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข แต่ปัจจุบันได้รื้อถอนหมดสิ้นแล้ว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มสร้างป้อมเพิ่มที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทหารเรือเป็นผู้อำนวยการสร้างและดูแลตั้งแต่ พ.ศ. 2427 เป็นต้นมา แล้วเสร็จราวกลางปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) พระราชทานนามว่า ป้อมพระจุลจอมเกล้า เมื่อเปิดเพียงสองเดือนเศษ เกิดเหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเย็นวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 เป็นเหตุให้ไทยเสียดินแดนเป็นครั้งที่ 7 (เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส) ต่อมาเมืองสมุทรปราการและเมืองนครเขื่อนขันธ์ ได้รวมเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเทพ ขึ้นต่อกระทรวงนครบาลแทน ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ. 114 พ.ศ. 2449 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองขึ้นเป็นจังหวัด เมืองสมุทรปราการเปลี่ยนสถานะเป็นจังหวัดสมุทรปราการ และเมืองพระประแดงเป็นจังหวัดพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการในตอนนั้นมี 4 อำเภอ คือเมือง, บางเหี้ย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบางบ่อ), บางพลี และเกาะสีชัง (ลดฐานะลงมาเป็นกิ่งอำเภอในภายหลัง เพราะพลเมืองน้อย) และจังหวัดพระประแดง มี 3 อำเภอ คือ เมือง, ราษฎร์บูรณะ และพระโขนง ต่อมาในรัชกาลที่ 7 อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจึงยุบจังหวัดพระประแดงลงมาเป็นอำเภอหนึ่งให้ขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี และอำเภอพระโขนงไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2485 ได้ออกพระราชบัญญัติยุบจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดอื่น ๆ อีก 4 จังหวัดไปรวมเป็นจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี แต่ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เป็นจังหวัดสมุทรปราการตราบจนทุกวันนี้ == ภูมิศาสตร์ == ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตจรดอำเภอและจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางนา เขตประเวศ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนคร) อำเภอเมืองฉะเชิงเทราและอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน เขตทุ่งครุ เขตราษฎร์บูรณะ (ฝั่งธนบุรี) เขตยานนาวา เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนคร) ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย แม่น้าเจ้าพระยาไหลผ่านอ้าเภอพระประแดง อ้าเภอพระสมุทรเจดีย์และอ้าเภอเมืองสมุทรปราการ ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร คลองธรรมชาติมีจ้านวน 542 คลอง ความยาวคลองรวมทั้งสิ้น 1,553 กิโลเมตร ประกอบด้วย คลองธรรมชาติฝั่งตะวันออก จ้านวน 335 คลอง ความยาวรวม 1,168 กิโลเมตร และคลองธรรมชาติฝั่งตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยา จ้านวน 200 คลอง ความยาวรวม 385 กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กิโลเมตร เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา นำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำแต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง == สัญลักษณ์ประจำจังหวัด == อักษรย่อ: จังหวัดสมุทรปราการใช้อักษรย่อ สป ตราประจำจังหวัด: พระสมุทรเจดีย์ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นโพทะเล (Thespesia populnea) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกดาวเรือง (Tagetes erecta) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาสลิด (Trichopodus pectoralis) คำขวัญประจำจังหวัด: ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม ไฟล์:Seal Samut Prakan.png|ตราประจำจังหวัดสมุทรปราการ ไฟล์:Milo closeup.jpg|ต้นโพทะเล ต้นไม้ประจำจังหวัด ไฟล์:Tagetes x erecta1.jpg|ดอกดาวเรือง ดอกไม้ประจำจังหวัด ไฟล์:Trichopodus pectoralis.jpg|ปลาสลิด สัตว์น้ำประจำจังหวัด == การเมืองการปกครอง == === การบริหารราชการส่วนภูมิภาค === จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการประกอบไปด้วย อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางเสาธง === การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น === พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 49 แห่ง ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, เทศบาลนคร 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 7 แห่ง, เทศบาลตำบล 14 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง จำแนกได้ดังนี้ {|class="wikitable" style="line-height:137%" |+ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ |- ! rowspan=2 | ลำดับ !! rowspan=2|ชื่อเทศบาล !! rowspan=2 |พื้นที่ (ตร.กม.) !! rowspan=2 |ตั้งเมื่อ(พ.ศ.) !! rowspan=2 |อำเภอ !! colspan=3 |ครอบคลุมตำบล !! rowspan=2|ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2561) |- ! width="9%"|ทั้งตำบล !! width="9%"|บางส่วน !! width="9%"|รวม |-align="center" |- ! colspan="9" | เทศบาลนคร |-align="center" | 1 ||  เทศบาลนครสมุทรปราการ||7.33 || 2542 || เมืองสมุทรปราการ || 1 || - || 1 ||51,495 |-align="center" ! colspan="9" | เทศบาลเมือง |-align="center" | 2 (1) ||  เทศบาลเมืองพระประแดง|| 0.61 || 2480 || พระประแดง || 1 || - || 1 || 9,462 |-align="center" | 3 (2) ||  เทศบาลเมืองลัดหลวง|| 15.50 || 2545 || พระประแดง || 3 || - || 3 || 72,263 |-align="center" | 4 (3) ||  เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ|| 9.30 || 2550 || เมืองสมุทรปราการ || - || 1 || 1 || 33,101 |-align="center" | 5 (4) ||  เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย|| 25.50 ||2552 || พระประแดง|| 5 || - || 5 || 73,805 |-align="center" | 6 (5) ||  เทศบาลเมืองบางแก้ว|| 24.69 ||2562 || บางพลี || 1 || - || 1 || 56,949 |-align="center" | 7 (6) ||  เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่|| 20.32 ||2562 || เมืองสมุทรปราการ || - || 1 || 1 || 46,759 |-align="center" | 8 (7) ||  เทศบาลเมืองแพรกษา|| 12.59||2563 || เมืองสมุทรปราการ || - || 1 || 1 || 37,252 |-align="center" ! colspan="13" | เทศบาลตำบล |-align="center" | 9 (1) ||  เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ|| || 2538 || เมืองสมุทรปราการ || - || 3 || 3 || 29,977 |-align="center" | 10 (2) ||  เทศบาลตำบลบางปู|| || 2542 || เมืองสมุทรปราการ|| 4 || - || 4 || 119,760 |-align="center" | 11 (3) ||  เทศบาลตำบลแพรกษา|| || 2542 || เมืองสมุทรปราการ || - || 2 || 2 || 27,305 |-align="center" | 12 (4) ||  เทศบาลตำบลด่านสำโรง|| || 2542 || เมืองสมุทรปราการ || -|| 1 ||1 || 55,826 |-align="center" | 13 (5) ||  เทศบาลตำบลบางเมือง|| || 2542 || เมืองสมุทรปราการ || - || 3 || 3 || 101,232 |-align="center" | 14 (6) ||  เทศบาลตำบลบางบ่อ|| || 2542 || บางบ่อ || - || 1 || 1 || 6,496 |-align="center" | 15 (7) ||  เทศบาลตำบลคลองสวน|| || 2542 || บางบ่อ || 1 || -|| 1 || 3,201 |-align="center" | 16 (8) ||  เทศบาลตำบลคลองด่าน|| || 2542 || บางบ่อ || - || 1 || 1 || 11,530 |-align="center" | 17 (9) ||  เทศบาลตำบลบางพลี|| || 2542 || บางพลี|| - || 3|| 3 || 11,965 |-align="center" | 18 (10) ||  เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์|| || 2542 || พระสมุทรเจดีย์ || 1 ||- || 1|| 12,612 |-align="center" | 19 (11) ||  เทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า|| || 2542 || พระสมุทรเจดีย์ || - || 2|| 2 || 20,968 |-align="center" | 20 (12) ||  เทศบาลตำบลบางเสาธง|| || 2542 || บางเสาธง || - || 2 || 2 || 22,660 |-align="center" | 21 (13) ||  เทศบาลตำบลบางพลีน้อย|| || 2554 || บางบ่อ || 1 || - || 1 || 9,086 |-align="center" | 22 (14) ||  เทศบาลตำบลเทพารักษ์|| || 2562 || เมืองสมุทรปราการ || - || 1 || 1 || 22,300 |} === รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด === == ประชากร == จากข้อมูล พ.ศ. 2560 จังหวัดสมุทรปราการมีจ้านวนครัวเรือนทั้งหมด 733,098 ครัวเรือน โดยเป็นครัวเรือนเกษตร 11,304 ครัวเรือน จ้านวนประชากรรวมทั้งสิ้น 1,310,766 คน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดสมุทรปราการ (GPP) มีมูลค่าเท่ากับ 691,888 ล้านบาท อยู่ในล้าดับที่ 4 ของประเทศ และล้าดับที่ 4 ของภาคกลาง โดยมีสัดส่วนมูลค่านอกภาคการเกษตรร้อยละ 99.64 และภาคเกษตรร้อยละ 0.36 โดยมีรายได้เฉลี่ย 28,712 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ชาวสมุทรปราการมีกลุ่มทางชาติพันธุ์หลากหลาย ได้แก่ กลุ่มคนไทยพื้นเมือง มลายู ลาว มอญ จีน เป็นต้น กลุ่มมอญเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างชุมชนเมืองหน้าด่านป้องกันศึกทางทะเล กลุ่มลาวที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยสงครามแถบคลองมหาวงษ์และส่วนใหญ่ย้ายกลับไปอยู่แถบนครนายก กลุ่มมลายูมุสลิมที่เข้ามาทำการเกษตรและเป็นแรงงานในการขุดคลองเพื่อชลประทาน กลุ่มคนจีนที่เข้ามาค้าขาย มีชุมชนมอญขนาดใหญ่ที่พระประแดง ต่อมาได้ขยายการตั้งถิ่นฐานไปยังอำเภอบางพลีและอำเภอบางบ่อมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ในอำเภอพระประแดงมีวัดทรงธรรม และวัดคันลัด เป็นศูนย์กลางชุมชน กลุ่มชาวไทยเชื้อสายมอญเหล่านี้ยังสามารถรักษาความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้ได้จนถึงปัจจุบัน ส่วนชาวจีนตั้งรกรากค้าขายริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเมืองสมุทรปราการและริมคลองสำโรงและคลองสาขา มีศาลเจ้าจีนและเจว็ดไม้ ได้แก่ ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อบางพลีใหญ่ และศาลเจ้าตั้วปุนเถ่ากง เมื่อมีการขยายเมืองศาลเจ้าจึงเปลี่ยนมาอยู่ริมถนนแทน บางแห่งที่สร้างใหม่สร้างโดยชาวจีนไต้หวันที่เข้ามาทำโรงงานอุตสาหกรรม == เทศกาลและงานประเพณี == งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ จะจัดขึ้นในวันแรม 5 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลา 12 วัน 12 คืน งานเทศกาลสงกรานต์พระประแดง เป็นงานประเพณีของชาวมอญ โดยวันที่ 13–15 เมษายน เป็นกิจกรรมทางศาสนา หลังจากนั้น 7 วัน จะเป็นกิจกรรมรื่นเริง ประกวดนางสงกรานต์ กลางคืนเล่นสะบ้ามอญตามบ่อนต่างๆ รุ่งเช้ามีการสาดน้ำ ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ แห่นางสงกรานต์ ขบวนแห่ประกอบด้วยกลองยาว หนุ่มสาวถือโหลใส่ปลา กรงนก ตามด้วยรถขบวนสาวงาม ก่อนถึงท้ายขบวนเป็นนางสงกรานต์นั่งบนรูปสัตว์ประจำปี ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของอำเภอบางพลีที่เคยมีบึงใหญ่และมีดอกบัวขึ้นอยู่มากมาย โดยวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ตั้งแต่ตอนเย็นหรือค่ำ ชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระประแดงจะชักชวนญาติมิตรเพื่อนฝูงพากันลงเรือ นำเครื่องดนตรีร้องรำทำเพลงเป็นที่สนุกครึกครื้นทั้งคืน พายมาตามลำน้ำเจ้าพระยา บางลำก็เข้าตามลำคลองจนเข้าสู่คลองสำโรงมุ่งตรงไปหมู่บ้านบางพลีใหญ่ รุ่งเช้า ชาวบางพลีจะเตรียมหาดอกบัวหลวงไว้ให้ผู้มาเยือน ได้นำดอกบัวไปนมัสการหลวงพ่อโตพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่วัดบางพลีใหญ่ใน และนำดอกบัวอีกส่วนหนึ่งเตรียมไว้ให้ชาวมอญนำกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด การให้และการรับทำกันอย่างสุภาพ โดยรับส่งและรับกันมือต่อมือ ก่อนจะให้ต้องมีการอธิษฐานและผู้รับต้องพนมมือไหว้ขอบคุณ ส่วนผู้คุ้นเคยก็จะโยนดอกบัวให้กันถือเป็นคนกันเองเมื่อนานไปก็กลายเป็นความนิยม ประเพณีแห่หลวงปู่ปาน เป็นงานประจำปีของชาวอำเภอบางบ่อ ทั้ง 8 ตำบลร่วมแรงร่วมใจกันจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อปาน จัดขึ้นทุกปีขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 ในพิธีการชาวบ้านจะตั้งขบวนแห่หลวงพ่อปานไปที่ปากอ่าว หลังจากนั้นจะแล่นเรือวนปากอ่าว 3 รอบ ก่อนจะแจกธงหลวงพ่อปานให้แก่ชาวบ้าน และอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ทั่วสมุทรปราการ งานแห่เจ้าพ่อทัพ สำโรง เป็นงานประจำปีในท้องถิ่นชาวจีนที่ตำบลสำโรงเหนือ ทุกปีจะมีการจัดแห่เจ้าพ่อทัพขึ้นราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ ขบวนเหล่านี้จะหยุดเมื่อผ่านร้านค้าให้เชิดสิงโตเข้าร้าน เจ้าของร้านจะจุดประทัดรับและร่วมทำบุญ แห่ไปจนถึงตลาดปู่เจ้าสมิงพรายแล้วกลับที่เดิม มีการเฉลิมฉลอง 3 วัน 3 คืน มีการเล่นงิ้ว ประมูลผลไม้ และเครื่องเซ่นกลับไปบูชาเป็นสิริมงคลในการค้าขาย เมื่อเสร็จงานจะอัญเชิญกระถางธูปและเจ้าพ่อกลับไปยังศาลเดิม == การคมนาคม == ในจังหวัดสมุทรปราการ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลและรถประจำทาง โดยจุดรถประจำทางที่สำคัญได้แก่ บริเวณ บางนา สำโรง ปากน้ำ บางพลี และพระประแดง สำหรับการโดยสารทางเรือ ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือโดยสารเลียบแม่น้ำ ขึ้นได้ที่ท่าน้ำปากน้ำ และมีการโดยสารข้ามแม่น้ำหลายจุด รวมทั้งบริเวณท่าน้ำพระประแดงมีท่าแพสำหรับบรรทุกรถข้ามแม่น้ำ การเดินทางทางอากาศผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนสายสำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท ตอนกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ) ระยะทาง 25 กิโลเมตร ถนนเทพรัตน ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ถนนศรีนครินทร์ ถนนปานวิถี ถนนเพชรหึงส์ และถนนสุขสวัสดิ์ จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีลำคลองหลายสาย สายสำคัญ ได้แก่ คลองสำโรง คลองสรรพสามิต คลองด่าน คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต คลองจระเข้ คลองบางน้ำจืด คลองบางโฉลง คลองบางปลา คลองบางปลาร้า คลองบางปิ้ง คลองบางพลี คลองบางปลากด คลองลัดโพธิ์ และคลองลัดหลวง นอกจากนั้น จังหวัดสมุทรปราการยังมีโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่ต่อเนื่องออกมาจากกรุงเทพมหานครถึง 4 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ชั้นใต้ดินของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 (รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ) บนถนนสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง บริเวณถนนศรีนครินทร์ และถนนเทพารักษ์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน บนถนนสุขสวัสดิ์ (กำลังก่อสร้าง) == การศึกษา == จากข้อมูลปีการศึกษา 2560 จังหวัดสมุทรปราการมีโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 276 แห่ง มีสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นจำนวน 121 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียน 26 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 95 แห่ง จากข้อมูล 100 อันดับโรงเรียนคุณภาพที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2561 จากหนังสือวารสาร สมองการศึกษา โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการที่ติดอันดับ ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ มีสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งหมด 8 แห่ง โดยแบ่งเป็นภาครัฐ 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี วิทยาเขตสมุทรปราการ ในอำเภอบางพลี , ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี สังกัดกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม, โรงเรียนนายเรือ สังกัดกองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม, สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคเอกชน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ (บางนา) ในอำเภอบางเสาธง, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในอำเภอบางพลี, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ในอำเภอบางพลีและ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ในอำเภอบางพลี สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ มีจำนวน 11 แห่ง โดยแบ่งเป็นภาครัฐจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ, วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก สมุทรปราการ ในอำเภอบางบ่อ, วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ, วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ และภาคเอกชน 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยี บริหารธุรกิจสมุทรปราการ ในอำเภอบางพลี, โรงเรียนเกริกวิทยาลัย ในอำเภอบางพลี, วิทยาลัยเทคโนโลยี สมุทรปราการ (ช.เทค) ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ, วิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิบริหารธุรกิจ ในอำเภอบางพลี, วิทยาลัยไทยโกลบอลบริหารธุรกิจ ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ, วิทยาลัยเกวลินบริหารธุรกิจ ในอำเภอบางเสาธง และวิทยาลัยเทคโนโลยี ไทย-ไต้หวัน (BBI) ในอำเภอบางพลี == การท่องเที่ยว == สมุทรปราการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง ได้แก่ ฟาร์มจระเข้ และเมืองโบราณ นอกจากนี้ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ หรือที่เรียกกันว่า "งานเจดีย์" เป็นเวลา 12 วัน 12 คืน ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นบริเวณใจกลางเมืองของตัวอำเภอเมืองสมุทรปราการ โดยจะมีการปิดถนนเริ่มต้นบริเวณศาลากลางจังหวัด มีการจัดตั้งร้านขายของ, ร้านอาหาร, การละเล่น, ชิงช้าสวรรค์, ม้าหมุน และงานโชว์ต่างๆ รวมถึงของหลายหลายมาวางขาย นอกจากที่กล่าวมา ยังมีสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่อไปนี้ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง – แหล่งรวมอาหารพื้นบ้านรวมถึงที่พักผ่อนหย่อนใจ เปิดเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ตลาดน้ำโบราณบางพลี บ้านสาขลา – หมู่บ้านทางวัฒนธรรมเก่าแก่ สมัยสุโขทัย ป้อมพระจุลจอมเกล้า – ป้อมปืนที่สำคัญสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองโบราณ – พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่จำลองสถานที่สำคัญและโบราณสถานในเมืองไทย พระสมุทรเจดีย์ – โบราณสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ– ประติมากรรมทองแดงรูปช้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ฟาร์มจระเข้ – ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ สถานตากอากาศบางปู – สถานพักผ่อนหย่อนใจและเป็นศูนย์รวมของฝูงนกนางนวล หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน – พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสมุทรปราการและประชาชนทั่วไปนับถือ โครงการลูกพระดาบส สมุทรปราการ ตามพระราชดำริ – สถานที่ศึกษาดูงาน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อุทยานการเรียนรู้อ่าวไทย – อุทยานการเรียนรู้อ่าวไทยและหอชมเมืองสมุทรปราการ หลวงพ่อเขียวสุโข วัดหัวคู้ - พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจระเข้น้อย และพระเจ้าตากสินมหาราช วัดกาหลง มีหลวงพ่อดำกับหลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ คู่เมืองบางบ่อ == บุคคลที่มีชื่อเสียง == สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) – สมเด็จพระราชาคณะ อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุง ศรีวิไล – นักแสดง นักการเมือง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 5 คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ – นักแสดง พิธีกร นาม ยิ้มแย้ม – ประธานคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ปัญญา ถนอมรอด – ประธานศาลฎีกา เมืองทอง สมยาประเสริฐ – นักร้อง สดใส รุ่งโพธิ์ทอง – นักร้อง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร – ราชบัณฑิต แพทย์ดีเด่น และหนึ่งในแพทย์ผู้ชันสูตรพระบรมศพรัชกาลที่ 8 สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ – อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยและอดีตโค้ชทีมเมืองทองยูไนเต็ด อภิเชษฐ์ พุฒตาล – อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย วัฒนา อัศวเหม – อดีตประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม – อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ อำนวย รัศมิทัต – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ธนภณ คารมปราชญ์ – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ภัทรวดี อภิเด่นเลิศนภาลัย – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ธนภัท ธญธนพัต – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ บุญเกิด ธรรมวาสี – นักวิชาการ ผู้คิดค้นเกมอักษรไขว้ภาษาไทย อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ – นักร้องวง D2B รำลึก ธีรพงษ์ – นักกีฬาหมากรุกไทย และครูหมากรุกไทยชื่อดัง สิทธิชัย สุวรประทีป – นักกรีฑาทีมชาติไทย เหรียญชัย สีหะวงษ์ – นักกรีฑาทีมชาติไทย อัญชะลี ไพรีรัก − สื่อมวลชน ฝนทิพย์ วัชรตระกูล – มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2553 นักแสดง พรรัมภา สุขได้พึ่ง – นักแสดง อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 1 ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 2 อนุสรา ยังตรง – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 3 วรชัย เหมะ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 4 พิมพ์ ญาดา – นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย สลิลทิพย์ สุขวัฒน์ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 5 เรวดี รัศมิทัศ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 6 ประชา ประสพดี – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 7 ธนากร ศรีบรรจง – นักแสดงตลกเดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ศิรชัช เจียรถาวร – นักแสดง พิชชาภา พันธุมจินดา – นักแสดง นางแบบ วโรดม เข็มมณฑา – นักแสดง นักร้อง ดีเจ อิทธิพัทธ์ ฐานิตย์ – นักแสดง นายแบบ สารัช อยู่เย็น – นักฟุตบอลทีมชาติไทย ธนบูรณ์ เกษารัตน์ – นักฟุตบอลทีมชาติไทย ณพสิน แสงสุวรรณ – นักร้อง อนุชิต สพันธุ์พงษ์ – นักร้อง นักแสดง กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล – นักร้อง สิริการย์ ชินวัชร์สุวรรณ – นักร้อง จณิสตา ตันศิริ – นักร้อง นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล – นักร้อง นักแสดง พิธีกร ภูษิตา วัฒนากรแก้ว – นักร้อง วาฤทธิ์ สมน้อย – อดีตเยาวชนในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == รายชื่อวัดในจังหวัดสมุทรปราการ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ รายชื่อป้อมยุทธนาวีในจังหวัดสมุทรปราการ รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดสมุทรปราการ == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เว็บไซต์เพื่อการท่องเที่ยวสมุทรปราการ จังหวัดริมฝั่งอ่าวไทย อ่าวกรุงเทพ
thaiwikipedia
482
ประเทศปาเลา
ปาเลา (Palau; ปาเลา: Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (Republic of Palau; ปาเลา: Beluu er a Belau) เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเกาะ 340 เกาะทางตะวันตกของหมู่เกาะแคโรไลน์ เนื้อที่รวมประมาณ 466 ตารางกิโลเมตร เกาะที่มีประชากรมากที่สุดคือคอรอร์ เมื่องหลวงชื่อเงรุลมุด มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับประเทศไมโครนีเชียทางตะวันออก ประเทศอินโดนีเซียทางใต้ และประเทศฟิลิปปินส์ทางตะวันออกเฉียงหนือ ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก == ประวัติศาสตร์ == สันนิษฐานว่าชนพื้นเมืองของปาเลาเป็นพวกที่อพยพมาจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ส่วนชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงปาเลาเป็นชาวสเปน แต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานจริงจังจนกระทั่งเรือของอังกฤษอัปปางนอกฝั่งปาเลา จึงทำให้ชาวอังกฤษเริ่มรู้จักเกาะนี้ และกลายเป็นคู่ค้าหลัก ในขณะเดียวกันโรคติดต่อที่มาจากชาวยุโรปก็คร่าชีวิตชาวเกาะเป็นจำนวนมาก ต่อมาชาวสเปนได้มีอำนาจเหนือปาเลา แต่ภายหลังได้ขายหมู่เกาะนี้ให้แก่เยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและบุกเข้ายึดครองปาเลาให้อยู่ภายใต้อำนาจจักรวรรดิญี่ปุ่นและได้โยกย้ายประชากรให้ไปอาศัยอยู่เกาะต่าง ๆ ของปาเลา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปาเลาจึงกลายเป็นสนามรบระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามสหรัฐอเมริกาเริ่มมีอำนาจแทนญี่ปุ่น ปาเลาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเกือบทุกด้าน หลังจากได้รับเอกราช ก็ยังได้รับการช่วยเหลือทางการเงินและการป้องกันจากสหรัฐอเมริกา == การเมือง == ปาเลามีประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นทั้งประมุขของประเทศและหัวหน้าคณะรัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี == การแบ่งเขตการปกครอง == ปาเลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 16 หน่วยย่อย เรียกว่ารัฐ (states): กายาเงล (Kayangel) คอรอร์ (Koror) งเอซาร์ (Ngchesar) งัตปัง (Ngatpang) งาร์เอลอง (Ngarchelong) งาร์ดเมา (Ngardmau) งาราร์ด (Ngaraard) งีวัล (Ngiwal) เงเรมเลงุย (Ngeremlengui) ซอนโซรัล (Sonsoral) เปเลลิว (Peleliu) เมเลเกอ็อก (Melekeok) อาเงาร์ (Angaur) ไอเมลีก (Aimeliik) ไอไร (Airai) ฮาโตโบเฮย์ (Hatobohei) == ภูมิศาสตร์ == === ภูมิประเทศ === ประกอบด้วยหมู่เกาะ 26 เกาะ และมีเกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ 300 เกาะ === ภูมิอากาศ === ฝนตกชุก และอากาศร้อนตลอดปี == เศรษฐกิจ == ปาเลาเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมาตรฐานชีวิตที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีการกระจุกตัวของรายได้ ทั้งนี้ รายได้หลักมาจากการ ท่องเที่ยว เกษตรกรรม การประมง โดยรัฐบาลเป็นผู้สร้างและจ้างงานหลัก ปาเลายังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจากสหรัฐฯ และการประกอบธุรกิจจากนักลงทุนสหรัฐฯ ซึ่งทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับสหพันธรัฐไมโครนีเซีย == ประชากร == ปาเลา ร้อยละ 70 ชาวเอเชีย ร้อยละ 28 อื่น ๆ ร้อยละ 2 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ประชากรรู้หนังสือร้อยละ 98 ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองร้อยละ 71 == วัฒนธรรม == เป็นแบบวัฒนธรรมแบบชาวไมโครนีเซีย และก็ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกเป็นอย่างมากแม้กระทั่งภาษาพูด และศาสนา ในฐานะอดีตเคยเป็นเมืองขึ้น ส่วนญี่ปุ่นเองก็มีส่วนสร้างวัฒนธรรมของชาวปาเลา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ส่วนมากพูดกันในเกาะอาเงาร์ == อ้างอิง == ประเทศในเขตโอเชียเนีย ป ป รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2537 อดีตอาณานิคมของสเปน อดีตอาณานิคมของเยอรมนี อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น อดีตอาณานิคมในเขตโอเชียเนีย แปซิฟิกใต้ในอาณัติ กลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
thaiwikipedia
483
ภาษาจีนกลาง
ภาษาจีนกลาง (; Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก == ภาษาจีนกลาง == ภาษาจีนกลาง เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกภาษาหลักของจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกภาษานี้ว่า ฮวา-ยวี่ (อักษรจีน: 华语/華語) แปลว่าภาษาฮวา ซึ่งคำว่า ฮวา หรือ ฮวาเยริน (อักษรจีน: 华人/華人) เป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกตัวเองในปัจจุบัน สำหรับประเทศจีนจะเรียกภาษานี้ว่า ฮั่นยวี่ (อักษรจีน: 汉语/漢語) แปลว่า ภาษาฮั่น อันเป็นภาษาของชาวฮั่น ภาษาอังกฤษเรียกภาษานี้ว่า Mandarin (แมนดาริน) ซึ่งมีรากจากคำในภาษาโปรตุเกสว่า Mandarim (มันดาริม), จากคำในภาษามลายูว่า Menteri (เมินเตอรี), และจากคำในภาษาสันสกฤตว่า Mantrin (มันตริน) หรือเทียบตรงกับคำไทยว่า มนตรี และคำว่า กว่านฮว่า (อักษรจีน: 官话/官話) กว่าน (อักษรจีน: 官) แปลว่าราชสำนักและ ฮว่า (อักษรจีน: 话/話) แปลว่าพูด เป็นชื่อโบราณที่ใช้เรียกภาษานี้ ปัจจุบันใช้ในเชิงวิชาการเพื่อแยกว่าไม่ใช่ภาษาจีนกลุ่มอื่นเช่น ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษากวางตุ้ง เป็นต้น ในวงแคบคำว่า ภาษาจีนกลาง ในทางภาษาจีนกลางเองเรียก ผู่ทงฮว่า (普通话) หมายถึงภาษาจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในประเทศจีน และ กว๋ออวี่ (國語) หมายถึงภาษาจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในประเทศไต้หวันและใช้เป็นภาษากลางในกลุ่มจีนโพ้นทะเลในประเทศมาเลเซีย, สิงค์โปร์ เป็นต้น ในวงกว้างคำว่า เป่ยฟางฮว่า (北方話; "ภาษาพูดทางเหนือ") คือคำประเภทที่ประกอบด้วยภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษาจีนที่ใช้ในทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งความหมายนี้มักจะพบในบริบททางวิชาการ และจะใช้ความหมายนี้ในบทความนี้ โดยที่ผู่ทงฮว่าและกั๋วอวี่ จะใช้ชื่อจีนเรียก รวมถึงใช้ "ภาษาจีนกลางมาตรฐาน" และ "ภาษาจีนมาตรฐาน" เรียกภาษาประเภทเป่ยฟางฮว่ามีคนพูดมากกว่าภาษาอื่น ๆ และเป่ยฟางฮว่าก็เป็นพื้นฐานของผู่ทงฮว่าและกั่วอวี่ด้วย อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า เป่ยฟางฮว่าครอบคลุมภาษาย่อยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ แนวคิดเป่ยฟางฮว่าส่วนใหญ่ ไม่ใช้นอกวงการวิชาการเป็นคำที่ใช้อธิบายตัวเอง เมื่อให้อธิบายชนิดของภาษาพูดที่ใช้ คนจีนที่พูดชนิดของเป่ยฟางฮว่าจะอธิบายตามชนิดของภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาเสฉวนหรือภาษาจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนมักจะถือชนิดของภาษาจีนกลางที่พูด เป็นส่วนหนึ่งของการระบุมณฑลที่อาศัยอยู่ อย่างไรก็ดี แทบจะไม่มีอะไรที่สามารถระบุได้โดยทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดของภาษาพูดทางเหนือ เหมือนกับภาษาอื่น ๆ การจัดภาษาจีนกลางเป็นภาษาเดียวหรือเป็นภาษาย่อย ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ หมายเหตุ: ภาษาจีนกลางชนิดที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า ผู่ทงฮว่า (Putonghua, 普通话) และ กั๋วอวี่ (Guoyu, 國語) แต่มักจะเรียกรวม ๆ ในภาษาอังกฤษว่า Mandarin, คำว่า "ผู่ทงฮว่า" ในภาษาอังกฤษเรียกแบบเต็ม ว่า Standard Chinese หรือ Standard Mandarin และ "กั๋วอวี่" เรียกว่า Standard Taiwanese Mandarin == ภาษาถิ่น == นักภาษาศาสตร์หลี่หยง ได้จำแนกภาษาจีนกลางไว้ทั้งหมดเป็นแปดถิ่นใหญ่ โดยแบ่งเอาไว้ดังนี้ == อ้างอิง == จีนกลาง Hochchinesisch صينية مندرين Houkinäsisch Guók-ngṳ̄ Mandarínština Hochchinesisch Norma ĉina lingvo Standertmandarynsk Mandarin Chadjinit Zimanê çînî Mandarin estandard Lenga putonghua Hoochchinesisk 國語
thaiwikipedia
484
อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน
อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน เป็นชื่อหนังสือการ์ตูนและอนิเมะซึ่งแต่งโดย รูมิโกะ ทากาฮาชิ == เนื้อเรื่อง == อินุยาฉะ เป็นลูกครึ่งอสูรซึ่งเกิดจากพ่อผู้เป็นจอมขุนพลสุนัขอสูรผู้ยิ่งใหญ่ แต่มีแม่เป็นมนุษย์ จึงทำให้อินุยาฉะมีปมด้อยและไม่เป็นที่ยอมรับทั้งจากบรรดาปีศาจหรือมนุษย์ธรรมดา จากการไม่เป็นที่ยอมรับนั้นเองที่เป็นเหตุผลให้เขาต้องการลูกแก้วสี่วิญญาณ(ลูกแก้วอสูร)เพื่อที่จะกลายเป็นอสูรอย่างเต็มตัว แต่การที่จะได้ลูกแก้วมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะลูกแก้วดังกล่าวได้รับการพิทักษ์จาก คิเคียว ผู้เป็นมิโกะศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ดังนั้นเขาและคิเคียวจึงมีเหตุให้ต้องประฝีมือกันอยู่เนื่อง ๆ แต่ว่าอินุยาฉะก็ทำร้ายคิเคียวไม่ลงดังเช่นที่คิเคียวก็ไม่ยอมทำร้ายอินุยาฉะเช่นเดียวกันเนื่องจากคนทั้งคู่ต่างก็มีใจให้กัน ต่อมาคิเคียวและอินุยาฉะได้คุยกันถึงการตัดสินใจมอบลูกแก้วให้อินุยาฉะได้อธิษฐานให้ตนเองกลายเป็นมนุษย์เต็มตัวเพื่อที่พวกเขาจะได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างคนธรรมดา แต่เหตุการณ์ได้กลับตาลปัตรในรุ่งอรุณของวันที่คิเคียวต้องส่งมอบลูกแก้วสี่วิญญาณให้กับชายคนรัก เพราะโจรป่าโอนิงุโมะ ผู้รวมร่างกับปีศาจจนกลายเป็น นาราคุ (นาราคุ แปลว่า นรก) มีความต้องการในตัวคิเคียวจึงทำให้ทั้งคู่ผิดใจกันด้วยการปลอมตัวเป็นคนทั้งสองให้ต่างฝ่ายต่างลอบทำร้ายซึ่งกันและกัน ในที่สุดอินุยาฉะก็พลาดท่าถูกคิเคียวยิงด้วยธนูปิดผนึกตรึงไว้ที่ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ส่วนตัวเธอเองพร้อมกับรอยบาดแผลที่สาหัส ได้สั่งเสียก่อนตายกับ คาเอเดะ ผู้เป็นน้องสาวของเธอว่าให้เผาลูกแก้วสี่วิญญาณไปพร้อมกับร่างกายของเธอเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแก้วตกไปอยู่ในมือของปีศาจอีกต่อไป ต่อมาเมื่อเวลาได้ล่วงเลยมา 500 ปีจนถึงยุคปัจจุบัน คาโงเมะ สาวน้อยวัยมัธยมต้นไม่เคยรู้มาก่อนว่าตนเองเป็นวิญญาณที่กลับมาเกิดใหม่ของคิเคียว จนกระทั่งในวันที่เธอมีอายุครบ 15 ปี คาโงเมะได้ถูกปีศาจตะขาบลากพาตัวไปทางบ่อน้ำแห้งที่เรียกกันว่าบ่อกลืนกระดูก ไปในยุคแห่งสงคราม(ยุคของอินุยาฉะ)สมัยที่ยังคงมีการอยู่ร่วมโลกกันของปีศาจภูติพรายเทพอสูรกับมนุษย์ที่มีการต่อสู้กันเพื่ออำนาจและความอยู่รอด ในระหว่างการหลบหนีปีศาจตนดังกล่าวนี้เองทำให้คาโงเมะได้พบกับอินุยาฉะและได้ปลุกเขาให้ตื่นจากการหลับไหลนานถึง 50 ปี อีกทั้งได้ค้นพบว่าในร่างกายของตัวเธอเองนั้นมีลูกแก้วสี่วิญญาณที่สมควรจะหายไปตั้งแต่ถูกเผาไปพร้อมกับร่างกายของคิเคียวในเวลาหลายสิบปีก่อนหน้านี้ เรื่องราวแห่งโชคชะตาดูจะไม่จบอยู่แค่นั้นเพราะหลังจากที่ข้ามผ่านเวลามาในโลกแห่งอดีตได้ไม่นานนัก ลูกแก้วสี่วิญญาณก็ได้แตกกระจายออกเป็นเสี่ยง ๆ ชิ้นส่วนของลูกแก้วนั้นกระจัดกระจายไปไกลเป็นสิบหรือร้อยชิ้นก็สุดจะคาดเดา คาโงเมะและอินุยาฉะจึงจำต้องจับคู่กันเพื่อตามหาเศษลูกแก้วให้กลับมารวมกันให้ได้ก่อนที่คนชั่วและปีศาจร้ายจะได้มันไว้ในครอบครอง และนั่นเองคือจุดเริ่มต้นให้ศึกชิงลูกแก้วสี่วิญญาณได้เปิดฉากขึ้น และการเดินทางที่ยาวนานเสี่ยงอันตรายที่มาพร้อมกับการต่อสู้อันดุเดือดเพื่อรวบรวมเศษลูกแก้วที่กลายเป็นการเดินทางไปปราบนาราคุโดยปริยายนั้นเองที่ได้ก่อร่างสร้างเรื่องราวแห่งมิตรภาพ ความรัก และการค้นพบตัวเองของลูกครึ่งปีศาจผู้นี้ อินุยาฉะได้ต่อสู้กับ เส็ตโชมารู พี่ชายต่างมารดาที่เป็นอสูรเต็มตัว เพื่อแย่งชิง ดาบเขี้ยวอสูร ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากเขี้ยวของท่านพ่อ ต่อมาอินุยาฉะได้ครอบครองดาบเล่มนี้และใช้ดาบเขี้ยวอสูรเป็นอาวุธคู่กายเพื่อช่วยในการรวบรวมเศษลูกแก้วสี่วิญญาณตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อีกทั้งในการผจญภัยครั้งนี้อินุยาฉะ คาโงเมะ ทั้งสองได้ร่วมทางไปกับ ชิปโป ลูกของปีศาจจิ้งจอกซึ่งพ่อถูกฆ่าตายโดยปีศาจอสูรสายฟ้า, มิตรแท้อย่าง มิโรคุ นักบวชทุศีลจอมลามกที่มีช่องว่างแห่งลมที่มือขวา, และ ซังโกะ ลูกหัวหน้าหมู่บ้านนักปราบปิศาจ ที่มากับ คิราร่า ปีศาจแมวสองหางที่เป็นพาหนะคู่ใจ (ปีศาจแมวตัวนี้เคยเป็นแมวคู่ใจของมิโดริโกะมาก่อน) จนกระทั่งได้จัดการกับนาราคุ และร่างแบ่งภาคของนาราคุที่ฝากความแค้นให้กับทุกคนได้ในที่สุด นอกจากนี้แล้วอินุยาฉะยังต้องพบเจอกับเรื่องราวของความรักความผูกพันระหว่างเขากับคาโงเมะที่แทรกเข้ามาในการเดินทางครั้งนี้อีกด้วย == สื่อ == === มังงะ === พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2551 จำนวน 558 ตอน รวม 56 เล่ม [ผลงานเขียน] รูมิโกะ ทากาฮาชิ [ตีพิมพ์] ญี่ปุ่น: นิตยสาร โชเน็งซันเดย์ และ สำนักพิมพ์ โชงะกุกัง , ไทย: สำนักพิมพ์ สยามอินเตอร์คอมิกส์ 犬夜叉 อินุยาฉะเริ่มตอนแรกเมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และต่อเนื่องปิดฉากตอนสุดท้ายลงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2556 อินุยาฉะ ตอนที่ 559 それ以来 "Sore Irai" บทส่งท้ายของ 犬夜叉 อินุยาฉะบทพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ Heroes Come Back ที่รวบรวมเรื่องสั้นจากนักเขียนการ์ตูนมังงะเรื่องที่อวสานไปแล้ว กลับมาในการระดมทุนเพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือฟื้นฟูความเสียหายจากในปี พ.ศ. 2554 ที่มีการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ [ผลงานเขียน] รูมิโกะ ทากาฮาชิ [ตีพิมพ์] ญี่ปุ่น: นิตยสารรายสัปดาห์ โชเน็งซันเดย์ === อนิเมะ : ซีรีส์ === [ผลงานเขียน] รูมิโกะ ทากาฮาชิ [กำกับ] มาซาชิ อิเคดะ และ ยาสุนาโอะ อาโอกิ [ผลิต] สตูดิโอ ซันไรส์ ==== อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ==== อนิเมะอินุยาฉะ 犬夜叉 ปี 1 ถึง ปี 4 จำนวน 167 ตอน ในประเทศไทยได้รับลิขสิทธิ์พากษ์เสียงและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ทีไอจีเอ จำกัด (TIGA) ปี 1 ตอนที่ 1 - 26 ปี 2 ตอนที่ 27 - 52 ปี 3 ตอนที่ 53 - 104 ปี 4 ตอนที่ 105 - 167 ==== อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ปัจฉิมบท ==== อนิเมะ ปี5 จำนวน 26 ตอน โดยทางญี่ปุ่นในมังงะฉบับที่ 34 ของโชเน็งซันเดย์ ซึ่งตีพิมพ์ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่ากำลังจะทำการสร้างเป็นอนิเมะจำนวน 26 ตอน ในเล่ม 36 ไปจนถึงตอนท้ายของมังงะโดยจะมีการผลิตจากสตูดิโอผู้ผลิตเดียวกันกับอนิเมะอินุยาฉะตอนก่อนหน้า สัปดาห์ต่อมา วิซมีเดีย (Viz Media) ประกาศว่าได้รับอนุญาตให้ปรับใช้ชื่อเรื่องแบบใหม่เป็น 犬夜叉 完結編 "InuYasha: Kanketsu-hen" / InuYasha: The Final Act และออกอากาศครั้งแรกทางช่องโทรทัศน์ภายในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2553 ในประเทศไทยได้รับลิขสิทธิ์พากษ์เสียงและจัดจำหน่ายโดย บริษัท โรส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Rose) ปี 5 ตอนที่ 168 - 193 (1 - 26 ) อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ออกอากาศทางฟรีทีวี ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในช่วงโมเดิร์นไนน์การ์ตูน เวลา 09.30-10.00 น. โดยเริ่มออกอากาศปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 แต่พอถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ก็ถูกยุติการออกอากาศ (โดยนำเรื่อง มุซาชิ เซียนเบ็ดยอดอัจฉริยะมาออกอากาศแทน) หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2548 อินุยาฉะก็กลับมาออกอากาศอีกครั้ง จนถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และออกอากาศต่อเนื่องอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 หลังจากที่ห่างหายไป 4 ปี และออกอากาศอีกครั้งกับ อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ปัจฉิมบท , ออกอากาศครั้งล่าสุดทาง เอ็มคอตแฟมิลี (MCOT Family) ทีวีดิจิตัล ช่อง 14 ในช่วงเอ็มคอตคิดคลับ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-17.30 น. ต่อเนื่องจนจบภาคปัจฉิมบทไปเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561 === อนิเมะ : โอวีเอ === OVAs (The Original Video Animations) เรื่องราวของโอวีเออินุยาฉะ เป็น 1 ในชุดเซต 3 เรื่องในงานอนิเมะที่จัดสร้างและจัดวางจำหน่ายในหมวดหมู่รูมิกเวิลด์ ได้แก่ โอวีเออนิเมะไตเติ้ลตอนสั้น ชื่อ "It's a Rumic World!" ที่รวมตัวละครเอกพระนางทั้งสามเรื่อง ลามู รันม่า และอินุยาฉะ ในการฉลองโชเน็งซันเดย์ครบรอบ 50 ปี และฉลองการสร้างผลงานเขียนของรูมิโกะ ทากาฮาชิ ครบ 30 ปี ในปี พ.ศ. 2551 และโอวีเออนิเมะอินุยาฉะ ความยาว 30 นาที ชื่อ 犬夜叉 黒い鉄砕牙 "INUYASHA - KUROI TESSAIGA" ซึ่งจัดจำหน่ายครั้งแรก พ.ศ. 2553 ในงานนิทรรศการ TAKAHASHI RUMIKO EXHIBITION ทั้งในรูปแบบ ดีวีดี (DVD) และบลูเรย์ (Blu-ray) เนื้อเรื่องส่วนนี้ภายหลังจัดสร้างรวมอยู่ในอนิเมะภาคปัจฉิมบท === อนิเมะ : ภาพยนตร์ === === ดราม่าซีดี === Drama CD (Compact Disc) งานสื่อด้านเสียง เป็นสื่อหนึ่งที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นโดยใช้นักพากย์ซึ่งรับบทเป็นตัวละครนั้น ๆ ในเนื้อเรื่องพากษ์เสียงประกอบกับซาวด์แทร็คเช่นเดียวกับขั้นตอนการพากษ์ในการสร้างงานอนิเมะ เพียงแต่เป็นรูปแบบดำเนินเนื้อเรื่องโดยใช้เสียงล้วนไม่มีภาพเคลื่อนไหวประกอบการแสดง ชิ้นงานดราม่าซีดีลิขสิทธิ์ ของ 犬夜叉 อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ฉบับ ดราม่าซีดี ผลิตและปล่อยตัวในชื่อ Inuyasha drama CD - Shi wo onsen shiritori Inuyasha drama CD - Aka to Shiro no Utagassen Inuyasha drama CD - Jigoku de Matteta Shichinintai Inuyasha drama CD - Taketori no Okina wa Kyoubou jatta Inuyasha drama CD - Sengoku o Togi Zoushi Sesshoumaru Inuyasha drama CD - Aka to Shiro no Uta Gassen Inuyasha version Inuyasha drama CD - Aka to Shiro no Uta Gassen Sesshoumaru version และดราม่าซีดีที่เป็นการดำเนินเรื่องราวต่อเนื่องจากฉากจบของฉบับมังงะและอนิเมะ ใน Inuyasha CD Drama - Asatte === นวนิยาย === หนังสือ 小説犬夜叉 (少年サンデーコミックススペシャル)/ InuYasha Novel : Shonen Sunday Comics Special Shousetsu Inuyasha ภายในมี 11 บท ซึ่งนวนิยายเล่มนี้เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยถึงประวัติภายในครอบครัวฮิงุราชิของคาโกเมะ ตีพิมพ์จัดจำหน่ายในภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 1 : วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่วางจำหน่ายในตลาดยุโรป [เขียน] โทโมโกะ คอนปารุ (Tomoko Konparu) [ภาพ] รูมิโกะ ทากาฮาชิ == เพลงประกอบ == ==== เพลงเปิดอนิเมะ: ซีรีส์ ==== เพลง Change the World ศิลปิน V6 (ตอนที่ 1 - 34) เพลง I Am ศิลปิน Hitomi (ตอนที่ 35 - 64) เพลง 終わりない夢 "Owarinai Yume" ศิลปิน Nanase Aikawa (ตอนที่ 65 - 95) เพลง Grip! ศิลปิน Every Little Thing (ตอนที่ 96 - 127) เพลง One Day, One Dream ศิลปิน Tackey & Tsubasa (ตอนที่ 128 - 153) เพลง Angelus / アンジェラス "Anjerasu" ศิลปิน Hitomi Shimatani (ตอนที่ 154 - 167) เพลง A Future Without You / 君がいない未来 "Kimi ga Inai Mirai" ศิลปิน Do As Infinity (ตอนที่ 168 - 193 / The Final Act ตอนที่ 1-26) ==== เพลงปิดอนิเมะ: ซีรีส์ ==== เพลง My Will ศิลปิน Dream (ตอนที่ 1 - 20 ) เพลง Deep Forest / 深い森 "Fukai Mori" ศิลปิน Do As Infinity (ตอนที่ 21 - 41) เพลง Dearest ศิลปิน Ayumi Hamasaki (ตอนที่ 42 - 60) เพลง Every Heart / ミンナノキモチ "Minna no Kimochi" ศิลปิน BoA (ตอนที่ 61 - 85) เพลง Song of Truth / 真実の詩 "Shinjitsu no Uta" ศิลปิน Do As Infinity (ตอนที่ 86 - 108) เพลง イタズラなKISS "Itazura na Kiss" ศิลปิน Day After Tomorrow (ตอนที่ 109 - 127) เพลง Come ศิลปิน Namie Amuro (ตอนที่ 128 - 146) เพลง Change the World ศิลปิน V6 (ตอนที่ 147 - 148 TV Special) เพลง Brand-New World ศิลปิน V6 (ตอนที่ 149 - 165) เพลง My Will ศิลปิน Dream (ตอนที่ 166 - 167 TV Special ) เพลง With You ศิลปิน AAA (ตอนที่ 168 - 176 / The Final Act ตอนที่ 1 – 9) เพลง Diamond ศิลปิน Alan (ตอนที่ 177 - 184 / The Final Act ตอนที่ 10 – 17) เพลง 遠い道の先で "Tooi Michi no Saki de" ศิลปิน Ai Takekawa (ตอนที่ 185 - 193 / The Final Act ตอนที่ 18 – 26) ==== เพลงปิดอนิเมะ: ภาพยนตร์ ==== เพลง no more words ศิลปิน Ayumi Hamasaki (เดอะมูฟวี่1 อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน: สัมผัสรักข้ามเวลา) เพลง Yura Yura ศิลปิน Every Little Thing (เดอะมูฟวี่2 อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน: ปราสาทดินแดนแห่งกระจก) เพลง Four Seasons ศิลปิน Namie Amuro (เดอะมูฟวี่3 อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน: อภินิหารดาบครองฟ้าดิน) เพลง Paradise / 楽園 "Rakuen" ศิลปิน Do As Infinity (เดอะมูฟวี่4 อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน: เปลวเพลิงแห่งเกาะลี้ลับ) ==== เพลงเสริม ==== เพลง Ai no Uta ศิลปิน Every Little Thing (เดอะมูฟวี่2 อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน: ปราสาทดินแดนแห่งกระจก) เพลง 卒業~さよならは明日のために "Sotsugyou ~ Sayonara wa Ashita no Tame ni" ศิลปิน Tackey & Tsubasa (ตอนที่ 124) ==== ดนตรีเพลงประกอบ ==== OST (Original Soundtrack) / BGM (Background Music) สร้างสรรค์ทำนองและอำนวยเพลง คาโอรุ วาดะ (Kaoru Wada) เผยแพร่โดย เอเว็กซ์โหมด (Avex Mode) INUYASHA OST เพลงธีมคาแรคเตอร์ Inuyasha Theme - Half Demon Kagome Theme - Across the Time Sesshomaru Theme - Demon Shippo Theme - Little Fox Demon Naraku Theme - Evil Demon Kikyo Theme - The Misfortunate Priestess Miroku Theme - Delinquent Monk Sango Theme - Exterminator Kohaku Theme Totosai Theme - Swordsmith Myoga Theme - Old Flea Hojo Theme - Cheer Up! Kouga Theme - Demon Wolf Tribe Kagura Theme - Wind Sorceress Tsubaki Theme - Dark Priestess Bankotsu Theme - The Band of Seven's Leader Jakotsu Theme - Slashing Commander Suikotsu Theme - Two-Faced Renkotsu Theme - Wicked Heart Ginkotsu Theme - Heavy Tank Hakudoshi Theme - The White Kid Saimyosho Theme - Hell Bug Tanuki Hachiemon Theme - Miroku's Bro Kagome and InuYasha Theme Kagome and Inuyasha II Theme Rin and Sesshomaru Theme InuYasha Music Orchestra - ปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ศุกร์ที่ 28 สิงหาคม เปิดการแสดงเวลา 20.00 นาฬิกา - ที่ฮอลล์ดนตรี ケルン・フィルハーモニーホール ธีมหลักอินุยาฉะถูกนำมาใช้ในการแสดงสดอีกครั้งในคอนเสิร์ตวงออร์เคสตรา WDRケルン放送管弦楽団「日本の響き—和田薫の音楽」公演 บทเพลง Original Soundtrack ของเรื่องอินุยาฉะ เพลงธีม เพลงเปิด เพลงปิด เพลงเสริม อย่างยิ่งกับบทเพลงที่โดดเด่นอย่างมากหลายเพลง ค่อนข้างได้รับความนิยมจากผู้ชมผู้ฟังในหลายประเทศในการหยิบยกบทเพลงไปใช้นำเสนอการแสดงดนตรี ทั้งที่เป็นทางการและที่ไม่เป็นทางการ โดย วงออร์เคสตรา วงรวมอิสระ และนักดนดรีเดี่ยว ด้วยเครื่องดนตรีอาทิ ฮาร์ป กู่เจิง กู่ฉิน เอ้อหู ขลุ่ย ฟลูต เปียโน กีต้าร์ ไวโอลิน และเผยแพร่ผลงานแพร่หลายผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค ==== เพลงตัวละคร (คาแรคเตอร์ขับร้อง) ==== Inuyasha feat. Kagome - Aoki Yasei o Daite ( 蒼き野生を抱いて ) - ศิลปินนักพากษ์ Kappei Yamaguchi feat. Satsuki Yukino Miroku feat. Sango & Shippo - Kaze no Naka e ( 風のなかへ ) - ศิลปินนักพากษ์ Koji Tsujitani feat. Houko Kuwashima & Kumiko Watanabe Sesshoumaru feat. Jaken & Rin - Gou ( 業 ) - ศิลปินนักพากษ์ Ken Narita feat. Yuuichi Nagashima & Mamiko Noto Naraku - Rakujitsu ( 落日 ) - ศิลปินนักพากษ์ Toshiyuki Morikawa Kagome Higurashi - Tatta Hitotsu no Yakusoku ( たったひとつの約束 ) - ศิลปินนักพากษ์ Satsuki Yukino Bankotsu & Jakotsu - Abarero!! ( 暴れろ!! ) - ศิลปินนักพากษ์ Takeshi Kusao & Ai Orikasa ==== อัลบั้มเพลง ==== 1. อัลบั้มเพลง ทีวี อนิเมะ ซาวด์แทร็ค พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) TV OST Vol.1「犬夜叉」オリジナル・サウンドトラック~音楽篇 ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) TV OST Vol.2「犬夜叉」オリジナル・サウンドトラック~音楽篇 弐 ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) TV OST Vol.3「犬夜叉」オリジナル・サウンドトラック~音楽篇 参 ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) 2. อัลบั้มเพลง ภาพยนตร์ อนิเมะ ซาวด์แทร็ค พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - Movie 1 OST 映画「犬夜叉 時代を越える想い」音楽篇 ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - Movie 2 OST 映画「犬夜叉 鏡の中の夢幻城」音楽篇 ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - Movie 3 OST 映画「犬夜叉 天下覇道の剣」音楽篇 ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - Movie 4 OST 映画「犬夜叉 紅蓮の蓬莱島」音楽篇 ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) 3. อัลบั้มเพลง แบบอื่น พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) wind: Symphonic Theme Collection /「犬夜叉」インストゥルメンタルアルバム~wind-犬夜叉 交響連歌-Symphonic theme collection ประเภท Symphony พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) Best of Inuyasha / 百花繚乱 -犬夜叉 テーマ全集- ประเภท JPOP (Japanese Pop), OST (Original Soundtrack) พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) Best of Inuyasha II / 清風明月 -犬夜叉テーマ全集 弐- ประเภท JPOP (Japanese Pop), OST (Original Soundtrack) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) Best of TV BGM /「犬夜叉」音楽撰集 ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) Best of Movie BGM /「犬夜叉」音楽撰集-映画篇-ประเภท OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) Best Song History /「犬夜叉」ベストソング ヒストリー ประเภท JPOP (Japanese Pop), OST (Original Soundtrack), BGM (Background Music) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) Kimi ga Inai Mirai ~Do As x InuYasha SPECIAL SINGLE~ (君がいない未来 ~Do As × 犬夜叉 SPECIAL SINGLE~) ประเภท JPOP (Japanese Pop) == เสียงตอบรับ == ซีรีส์ชุดหนังสือการ์ตูนอินุยาฉะ「犬夜叉」ได้รับรางวัล โชงะกุกังมังงะอวอร์ด (Shogakukan Manga Award) ในสาขา โชเน็ง (Shōnen) ในปี พ.ศ. 2544 และภายในปีเดียวกัน ตัวละครเอกของเรื่อง อินุยาฉะ ได้รับอันดับ 1 จากการโหวต ประเภทตัวละครชายยอดเยี่ยม ในการประกาศรางวัล อนิเมะกรังด์ปรีซ์ (Anime Grand Prix) ครั้งที่ 24 ซึ่งจัดโดยนิตยสารอะนิเมจ ต่อมา พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2546 อินุยาฉะได้รับรางวัล โตเกียวอนิเมะอวอร์ด (Tokyo Anime Award) ในหมวดหมู่ อนิเมะโทรทัศน์แห่งปี ซ้อนสองปี อินุยาฉะเป็นที่รักของแฟน ๆ เป็นเวลายาวนานโดยไม่คำนึงถึงเพศทั้งชายหญิง หนังสือการ์ตูนมังงะของอินุยาฉะมียอดจำหน่ายมากกว่า 40 ล้านเล่ม อินุยาฉะเป็นแฟรนไชส์ซีรีส์ที่โดดเด่นมีชื่อเสียงอย่างมากและยังคงดึงดูดจินตนาการจากผู้ชมผู้อ่านทั่วโลก ด้วยการนำเสนอเนื้อเรื่องผ่านการข้ามยุคสมัยไปกลับของคาโงเมะจากปัจจุบัน กลับไปสู่ช่วงเวลาประวัติศาสตร์ ช่วงยุคแห่งสงคราม ที่อินุยาฉะอยู่ ซึ่งมีช่องว่างทางประวัติศาสตร์และความลึกลับ ได้พบเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ไปพร้อมกับตัวละครที่โดดเด่นบนพื้นภูมิทัศน์ที่หลากหลายมีลักษณะเฉพาะ เรื่องราวของอินุยาฉะมีความน่าค้นหานอกจากความสนุกสนานแฝงแง่คิดของมิติการกระทำ หยั่งรากให้ได้พบแม้แต่ตัวละครซึ่งหลายคนให้ความเห็นว่าสมควรเรียกได้ว่าทรงคุณค่าหาได้ยาก ทั้งชีวิตประจำวันของเหล่าตัวละครยังได้นำเสนอไปถึงวัฒนธรรม การแต่งกาย คติธรรมรูปแบบการใช้ชีวิตไปจนถึงความเชื่อ ความลี้ลับหรือโยไค( 妖怪 ) อันมีอยู่ในบันทึกตำนานอสูรภูติผีปีศาจในญี่ปุ่น ออกมาโลดแล่นมีบทบาทผสมผสานในงานจินตนิมิตอันรังสรรค์ขึ้นใหม่อย่างแนบเนียนกลมกลืน สีสันโทนของเรื่องอินุยาฉะทั้งการเปลี่ยนแปลงจากตอนต้นไปสู่จุดสุดท้ายของแต่ละตัวละครยังคงตราตรึงกินลึกถึงความน่าสนใจในเชิงที่ล้ำลึกสำหรับผู้คนที่ได้สัมผัสรับชมมาถึงในทุกวันนี้ ในส่วนของผู้ชมผู้อ่านที่ฟันฝ่าอุปสรรคทุกด่านมาได้จนบทจบของเรื่องนั้นอินจนมีเป็นประโยคเช่นที่ว่า "โลกของอินุยาฉะเหมือนเป็นโลกที่มีอยู่จริง" อนึ่งเมื่อผู้ติดตามชม/ผู้ติดตามอ่าน หักใจดูจนครบจบตอนสุดท้ายเสร็จสิ้น มักจะ เว้นช่วงพัก แล้วเริ่มทยอย ดู/อ่าน วนลูปรอบใหม่อีกครั้ง (อาจด้วยความรักชมชอบในตัวละคร ชื่นชมในการดำเนินเรื่อง ต้องการทำความเข้าใจเนื้อหามากขึ้นหรือด้วยความพึงพอใจอื่น ๆ ) สำหรับในประเทศไทย หนังสือการ์ตูน อินุยาฉะ เริ่มตีพิมพ์ภายหลังจากญี่ปุ่นไม่นานในชื่อ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน โดย สยามอินเตอร์คอมิกส์ โดยจนถึงปัจจุบันมีการตีพิมพ์ไปแล้ว 2 ปก ส่วนอนิเมะมีการออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และมีการวางจำหน่ายเป็นวีซีดีและดีวีดีลิขสิทธิ์โดยบริษัท ทีไอจีเอ จำกัด (ไทก้า) จากตอนที่ 1 - 167 และภาคปัจฉิมบท โดย บริษัท โรสมีเดีย (โรส) นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 ยังมีการวางแผงดีวีดีภาพยนตร์เทพอสูรจิ้งจอกเงิน เดอะมูฟวี่ เปลวเพลิงแห่งเกาะลี้ลับ โดยบริษัท ทีไอจีเอ จำกัด (ไทก้า) และจากช่วงปี พ.ศ. 2562 สามารถรับชมอินุยาฉะ ซีซั่น 1-2 ได้ทางเน็ตฟลิกซ์ ถัดมาช่วงปี พ.ศ. 2563 สามารถรับชมตอนที่ 1 - 167 ได้ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันทรูไอดี (TrueID) และทางแอปพลิเคชันวิดีโอสตรีมมิ่ง POPS App ในรูปแบบของเสียงพากษ์ญี่ปุ่น-คำบรรยายไทย อีกทั้งสามารถรับชมอินุยาฉะ ปี 1 ถึง ปี 5 ฉบับเสียงพากษ์ไทยได้ผ่านไลน์ทีวี (LINE TV) อีกด้วย, ณ ปัจจุบันนับตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2564 ยังสามารถค้นหารับชม อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน เดอะมูฟวี่ 1 ถึง 4 และปี 5 ได้ผ่านทางแอปพลิเคชันปีลีปีลี (bilibili) ต้นปี พ.ศ. 2565 อินุยาฉะอนิเมะซีรีส์สามารถรับชมทุกภาคได้ทางเน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ในระบบสมาชิก ช่องทางรับชมนี้แบ่งเป็นภายใต้ชื่อเรื่อง อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ซึ่งมี 6 ซีซั่น กับ อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ปัจฉิมบท 1 ซีซั่น และรับชมได้ในหมวดอนิเมะที่แอปพลิเคชันและเว็บไซต์วีทีวี (WeTV) โดยช่องทางนี้แบ่งเป็น อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน(2000) กับ อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ปัจฉิมบท(2009) รวม 193 ตอนจบ == ภาคแยก == === สปินออฟ ของอินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน : อนิเมะ === 半妖の夜叉姫 "ฮันโย โนะ ยาฉะฮิเมะ" หรือในชื่อภาษาไทยที่ช่องลิขสิทธิ์คือ เจ้าหญิงครึ่งอสูร เป็นภาคแยก (Spin-Off) ของรุ่นลูก ลูกสาวของอินุยาฉะและลูกสาวฝาแฝดของเส็ตโชมารู กลางปี พ.ศ. 2563 เดือนพฤษภาคม สตูดิโอซันไรส์และสำนักพิมพ์โชงะกุกังประกาศการตัดสินใจจัดสร้างอนิเมะซีรีส์ภาคต่อเนื่องจาก 「犬夜叉」 "อินุยาฉะ" ในเรื่องราวของเด็กสาวทั้งสามในรุ่นลูก 「半妖の夜叉姫」 "ฮันโย โนะ ยาฉะฮิเมะ" เว็บไซต์อย่างเป็นทางการได้เปิดทำการขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคมปีเดียวกัน ตัวละครหลักของภาคนี้ คือ โทวะ ลูกสาวครึ่งอสูรอายุ 14 ปี ของเส็ตโชมารู เป็นนักเรียนมัธยมต้นอยู่ในช่วงยุคเรวะ กับ เซ็ตสึนะ พี่น้องฝาแฝดที่เป็นนักล่าโยไคอยู่ในยุคเซ็งโงกุ และลูกพี่ลูกน้อง โมโรฮะ ลูกเสี้ยวอสูรกับมนุษย์ อายุ 14 ปี ลูกสาวของอินุยาฉะกับคาโงเมะ เนื้อเรื่องเล่าถึงโทวะและเซ็ตสึนะ ในช่วงที่คู่แฝดยังเป็นเด็กเล็กวัย 4 ขวบ ทั้งสองได้ถูกแยกออกจากกันเพราะไฟป่า โทวะได้ไปพบเข้ากับอุโมงค์เส้นทางซึ่งได้ส่งเธอข้ามผ่านกาลอวกาศของห้วงเวลาจากยุคสงครามมายังยุคเรวะซึ่งเป็นสมัยญี่ปุ่นปัจจุบันและได้ ฮิงุราชิ โซตะ น้องชายของคาโงเมะรับเลี้ยงดูในฐานะลูกสาวของบ้าน ฮิงุราชิ โทวะ เติบโตมาอย่างเก่งกาจในศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ เธอย้ายโรงเรียนครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยนิสัยเห็นคนเลวเป็นไม่ได้โทวะจะต้องแบทเทิลเสมอ ในระหว่างเรียนและพยายามกลับไปสู่ที่ที่จากมาโทวะแต่งตัวด้วยชุดแบบบุรุษด้วยชุดผู้ชายง่ายต่อการต่อสู้ 10 ปีให้หลังอุโมงค์ข้ามกาลเวลาได้เปิดขึ้นอีกครั้ง พี่น้องฝาแฝดจึงได้กลับมาพบหน้ากัน แต่ทางเซ็ตสึนะน้องคู่แฝดเธอผู้มีนิสัยสงบนิ่งต่อเรื่องราวต่าง ๆ กลับลืมเรื่องราวของโทวะไปจนหมดด้วยเหตุผลใดบางอย่าง จากนั้นได้พบกับโมโรฮะนักล่าเงินรางวัลผู้มีบุคลิกร่าเริงสดใสที่อาศัยอยู่ด้วยตัวเองตั้งแต่เด็กไม่ค่อยรู้จักพ่อแม่ตนเอง การเดินทางข้ามกาลเวลาและการผจญภัยครั้งใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น กำหนดการเริ่มออกอากาศช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020) ช่วงเย็นวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม เวลา 17:00 นาฬิกา 30 นาที(ไม่รวมบางพื้นที่) ตามเวลาญี่ปุ่น ทางวิซมีเดีย (Viz Media) ได้ประกาศได้รับสิทธิ์การฉายอนิเมะภาคนี้ในแบบระบบดิจิทัลในทวีปอเมริกาเหนือและลาตินอเมริกา ส่วนในฝั่งเอเชีย มีเดียลิงก์ (Medialink) ได้สิทธิ์การออกอากาศ และภาคของเหล่าลูกสาวนี้ในไทยสามารถรับชมได้ผ่านช่องอนิเมะลิขสิทธิ์ อาทิ ช่อง Ani-One หรือในชื่อเต็ม Ani-One動漫專區 ทางยูทูบ (Youtube) ซึ่งมีเขตการสตรีมมิ่งเขตประเทศไทยร่วมอยู่ด้วย โดยกำหนดสตรีมมิ่งออกอากาศเรื่อง ยาฉะฮิเมะ: เจ้าหญิงครึ่งอสูร (半妖の夜叉姫 "ฮันโย โนะ ยาฉะฮิเมะ") บนช่องวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ทุกวันเสาร์ 18:00 นาฬิกา(UTC+8) หรือในเวลา 17:00 นาฬิกา ตามเวลาที่ประเทศไทย และอีกช่องทางการรับชม ยาฉะฮิเมะ: เจ้าหญิงครึ่งอสูร สามารถรับชมได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน bilibili ทั้งนี้ทั้งสองช่องลิขสิทธิ์นี้มีการเผยแพร่ภาพในลักษณะเสียงพากษ์ญี่ปุ่น-คำบรรยายไทย == ไลฟ์แอคชั่น == Inuyasha Live-Action งานละครเวทีลิขสิทธิ์ ปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - Inuyasha Live-Action Play ปี พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - Inuyasha Live-Action Stage Play 2017 [กำกับละครเวที] คายาโนะ อิซามุ [เขียนบท] มัตสึมุระ ทาเคชิ เปิดแสดงในวันที่ 6 ถึง 15 เมษายน ที่โรงละคร The Galaxy ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และในปีเดียวกัน Fuji TV TWO ได้นำละครเวที Inuyasha Live-Action Stage Play 2017 ที่สร้างจากการ์ตูนมังงะเรื่อง Inuyasha หรือ อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน มาฉายทางโทรทัศน์ โดยนำเทปบันทึกการแสดงรอบแรกสุดมาลงจอออกอากาศวันที่ 2 มิถุนายน เวลา 9:00 นาฬิกา == เกม == ตัวเกมในส่วนที่มีเสียงพากษ์คาแรคเตอร์ตัวละคร ให้เสียงโดยนักพากษ์ชุดเดียวกับฉบับอินุยาฉะอนิเมะ {| class ="wikitable" |+ การเชื่อมโยงนำเข้าคาแรคเตอร์ตัวละครอินุยาฉะในเกมอื่น ลิขสิทธิ์ รูมิโกะ ทากาฮาชิ / โชงะกุกัง, โยมิอุริทีวี, ซันไรส์ ลิขสิทธิ์ถูกต้อง ! scope ="col" width="220px"| X ! scope ="col" width="480px" | 《犬夜叉》 "INUYASHA" อินุยาฉะ ! scope ="col" width="400px" | ข้อมูลเบื้องต้น ! scope ="col" width="90px" | ( Official ) เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ! scope ="col" width="80px"| แพลตฟอร์ม ! scope ="col" width="80px"| ประเภท |- ! scope = "row" width="150px"| LINE Rangers ไลน์เรนเจอร์ | ตัวละคร "อินุยาฉะ" ทักษะ:แผลแห่งลม กลายร่างปีศาจ, ท่าโจมตีปกติ:กรงเล็บคร่าวิญญาณ "เส็ตโชมารู" ทักษะ:จันทร์เสี้ยวปรภพ ดาบเขี้ยวฟ้าฟื้น, ท่าโจมตีปกติ:แส้พลัง "คาโงเมะ" ทักษะ:ธนูของคาโงเมะ จักรยานจู่โจม, ท่าโจมตีปกติ:ยิงธนู "คิเคียว" ทักษะ:ธนูของคิเคียว แมลงส่งวิญญาณ, ท่าโจมตีปกติ: ยิงธนู "นาราคุ" ทักษะ:หนวด เขตอาคม, ท่าโจมตีปกติ:บงการไซเมียวโช ความสามารถ:เทพพิทักษ์ สร้างร่างโคลน | อีเว้นท์พิเศษ โคลาโบ กาชา เรนเจอร์และเกียร์ ลิมิเต็ด ◕ระยะเวลา 30 พ.ค. จนถึงก่อนช่วงซ่อมบำรุงฐานทัพ 29 มิ.ย. 2561 〖 เรนเจอร์ 〗 สเตจจุติ นาราคุ กาชา อินุยาฉะ & คาโงเมะ 31 พ.ค. 10:00 น. - 15 มิ.ย. 9:59 น. กาชา เส็ตโชมารู & คิเคียว 15 มิ.ย. 10:00 น. - 29 มิ.ย. 9:59 น. กาชาพ้อยท์สะสม 200 พ้อยท์ สามารถใช้สุ่ม 1 อินุยาฉะ เส็ตโชมารู คาโงเมะ คิเคียว ตลอดอีเว้นท์〖 เกียร์ 〗กาชา ศรศักดิ์สิทธิ์ ดาบเขี้ยวฟ้าฟื้น ดาบเขี้ยวอสูร ชุดเส็ตโชมารู ชุดนักเรียนคาโงเมะ เสื้อขนหนูไฟ ประคำสะกดวิญญาณ จักรยานของคาโงเมะ จาเก็น (สติ๊กเกอร์ไลน์ อินุยาฉะ เงื่อนไขเคลียร์ 10 สเตจ /ฟรี อายุใช้งาน 3เดือน) | พ.ศ. 2561 | ﹙ Online ﹚ Mobile/MOBI ( iOS และ ANDROID 8.0 ขึ้นไป ) | Defense Battle Game |- ! scope = "row" width="150px"| 《陰陽師》 "Onmyoji" องเมียวจิ | ตัวละคร "อินุยาฉะ"     "เส็ตโชมารู" "คิเคียว" | ครอสโอเวอร์อีเว้นท์ คาแรคเตอร์ตัวละครจากงานเรื่องอินุยาฉะ เข้าสู่โลกเฮอัง , กิจกรรมมีทั้งหมด 3 ครั้ง (เซิร์ฟเวอร์ไทยไม่มีกิจกรรมครั้งที่ 3 เนื่องจากเกมนี้ในเวอร์ชันไทยได้ยุติการเปิดให้บริการ) 〖 ชิกิงามิ ระดับ SSR 〗 เงื่อนไขอัญเชิญ เลือก อินุยาฉะ/เส็ตโชมารู/คิเคียว ที่กระดิ่งลม Limited Edition ซึ่งแขวนอยู่ด้านบนศาลเจ้า(ปลดล็อกศาลเจ้าเมื่อองเมียวจิ Lv. 15 ขึ้นไป) เปิดยันต์ สุ่มได้รับเศษชิ้นส่วน สะสมเศษชิ้นส่วนครบ 50 ชิ้น แลกหนึ่งการอัญเชิญ ▣ เซิร์ฟเวอร์หลัก Onmyoji (เวอร์ชันภาษาอังกฤษ) •กิจกรรมครั้งแรก• ชิกิงามิ อินุยาฉะและเส็ตโชมารู ◕ระยะเวลา หลังจากการอัปเดตระบบวันที่ 18 ก.ค. - 31 ก.ค. 2561 เวลา 11:59 น. •กิจกรรมครั้งที่ 2• ชิกิงามิ อินุยาฉะ เส็ตโชมารูและคิเคียว ◕ระยะเวลา หลังจากการอัปเดตระบบวันที่ 12 ธ.ค. - 19 ธ.ค. 2561 เวลา 23:59 น. •กิจกรรมครั้งสุดท้าย• ชิกิงามิ อินุยาฉะ เส็ตโชมารูและคิเคียว สกินอินุยาฉะ “Scar of the Wind” สกินเส็ตโชมารู "Demonic Aura" สกินคิเคียว "Fall Bellflower" ◕ระยะเวลา หลังจากการอัปเดตระบบวันที่ 13 มี.ค. - 19 มี.ค. 2562 เวลา 11:59 น. ▣ เซิร์ฟเวอร์ไทย Onmyoji องเมียวจิ •กิจกรรมครั้งแรก• ชิกิงามิ อินุยาฉะและเส็ตโชมารุ ◕ระยะเวลา หลังจากการปรับปรุงระบบวันที่ 18 ก.ค. - 31 ก.ค. 2561 เวลา 23:59 น. •กิจกรรมครั้งที่ 2• ชิกิงามิ อินุยาฉะ เส็ตโชมารุและคิเคียว ◕ระยะเวลา หลังจากการปรับปรุงระบบวันที่ 26 ธ.ค. 2561 - 8 ม.ค. 2562 เวลา 23:59 น. (เฟซบุ๊กการีน่าองเมียวจิไทยแลนด์ จัดกิจกรรม •กิจกรรมครั้งแรก• ﹢ ประกวดแฟนอาร์ต ﹢ ผู้เล่นองเมียวจิที่ร่วมลงทะเบียนล่วงหน้าครบ 10,000 คนรับ 5 ยันต์แตกหัก 50,000 คนรับ 100 เสบียง 20,000 เหรียญทอง 100,000 คนรับ 3 ชิ้นส่วนตัวละครอินุยาฉะและเส็ตโชมารู﹙✓﹚ อีกทั้งเปิดโหวตเลือกทีมตัวละครที่ต้องการระหว่าง อินุยาฉะ และ เส็ตโชมารู *ผลการโหวตไม่มีผลต่อรางวัล (เป็นการโหวตตัวละครที่ชื่นชอบและต้องการ) ﹢ กดไลค์และแชร์โพสต์ครบ 9,999 รับ All SSR Rate up X2.5 ทั้งเซิร์ฟเวอร์﹙✓﹚และพิเศษเพียงคอมเม้นท์เรื่องราวหรือความทรงจำดี ๆ ที่มีต่ออินุยาฉะหรือเส็ตโชมารู 1 ผู้โชคดีรับ 1 ชิกิงามิลิมิเต็ดอิดิชั่นนี้ ) •กิจกรรมครั้งที่ 2• กดไลค์และแชร์โพสต์ครบ 3,000 รับยันต์ลึกลับ 1 ใบยกเซิร์ฟเวอร์ และลุ้นรับรางวัลพิเศษจากทีมงานเพียงคอมเม้นท์ใต้โพสต์ ในหัวข้อ"ท่านองเมียวจิอยากได้ชิกิงามิตัวไหนมากที่สุดระหว่าง อินุยาฉะ เส็ตโชมารุและคิเคียว เพราะอะไร" พร้อมใส่เลขไอดี ) | พ.ศ. 2561 ประกาศการร่วมมือ 05/61 | ﹙ Online ﹚ Mobile/MOBI ( iOS และ ANDROID 8.0 ขึ้นไป ) | Turn-Based RPG |- ! scope = "row" width="150px"| 《决战!平安京》 Onmyoji Arena องเมียวจิอารีน่า | ตัวละคร "อินุยาฉะ"     "เส็ตโชมารู" "คิเคียว" | ครอสโอเวอร์อีเว้นท์ กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ ฉลองครึ่งปี , กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบปี และ กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ ครั้งสุดท้าย เฮอังเกียวอารีน่า 〖 ชิกิงามิ 〗 •กิจกรรมฉลองครึ่งปี• เงื่อนไข สะสม 4 โคมไฟเทศกาล แลกรับ 1 เศษชิ้นส่วน อินุยาฉะ/เส็ตโชมารู และสามารถแชร์ลิงก์คำเชิญให้เพื่อน ๆ ช่วยสนับสนุนเศษชิ้นส่วนอินุยาฉะจากหน้ากิจกรรมอยู่เคียงข้างเธอ แลกโคมไฟเทศกาลเป็นเศษชิ้นส่วน เก็บสะสมชิ้นส่วนในการอัญเชิญชิกิงามิครบ 50 'ปลุกวิญญาณ' อินุยาฉะ/เส็ตโชมารู ที่หน้ากิจกรรม InuYasha Crossover ◕ช่วงเวลาแลก 20 ก.ค. ถึง 9 ส.ค. 2561 •กิจกรรมเฉลิมฉลองวันครบรอบ(ฉลองสันติสุข) • เงื่อนไข สะสม 3 ไพ่ดอกไม้เฉลิมฉลอง แลก 1 เศษชิ้นส่วน อินุยาฉะ/เส็ตโชมารู/คิเคียว โดยสามารถแชร์ลิงก์คำเชิญให้เพื่อน ๆ ช่วยสนับสนุนเศษชิ้นส่วนและรับไอเทมที่หน้ากิจกรรมในบ้าน ผู้พิทักษ์หยกสี่วิญญาณ(หรือในเนื้อเรื่อง ลูกแก้วสี่วิญญาณ) แลกไพ่ดอกไม้เฉลิมฉลองเป็นเศษชิ้นส่วน เก็บสะสมชิ้นส่วนในการอัญเชิญชิกิงามิครบ 50 'ปลุกวิญญาณ' ที่หน้ากิจกรรมในบ้าน วิญญาณ Evolved เลือกอัญเชิญ อินุยาฉะ/เส็ตโชมารู/คิเคียว ◕ช่วงเวลาแลก 11 ถึง 31 ม.ค. 2562 •กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ซีซั่น 3 • เงื่อนไข สะสม 3 กลีบซากุระ แลก 1 การ์ดซากุระ ในหน้ากิจกรรมในบ้าน ช่อซากุระ ใช้ 1 การ์ดซากุระ แลกรับ 1 เศษชิ้นส่วนเลือกอัญเชิญ อินุยาฉะ/เส็ตโชมารู/คิเคียว เก็บสะสมชิ้นส่วนครบ 50 เรียกอัญเชิญที่หน้ากิจกรรมในบ้าน บทสรุปสุดท้าย และนอกจากนี้สามารถใช้ การ์ดซากุระ แลกเปลี่ยน กรอบรูป(โปรไฟล์ไอดีเกม)เฉพาะกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ของอินุยาฉะ ◕ช่วงเวลาแลก 19 เม.ย. ถึง 9 พ.ค. 2562 (เฟสบุ๊คองเมียวจิอารีน่า แจกรางวัลแฟนเพจ •กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์• ﹢ แชร์โพสต์สุ่มเลือก 1 ผู้โชคดี รับลายเซ็นนักพากษ์ คัปเปย์ ยามากุจิ ผู้ให้เสียงพากย์คาแรคเตอร์อินุยาฉะ ﹢ แชร์โพสต์สุ่มเลือก 1 ผู้โชคดี รับลายเซ็นนักพากษ์ เคน นาริตะ ผู้ให้เสียงพากย์คาแรคเตอร์เส็ตโชมารู •กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ ครั้งที่ 2• ﹢ แชร์โพสต์สุ่มเลือก 1 ผู้โชคดี รับลายเซ็นนักพากษ์ โนริโกะ ฮิดากะ ผู้ให้เสียงพากย์คาแรคเตอร์คิเคียว ) | พ.ศ. 2561 ประกาศการร่วมมือ 06/61 | ﹙ Online ﹚ Mobile/MOBI ( iOS และ ANDROID 10.0 ขึ้นไป ) | Multiplayer online battle arena / MOBA |- ! scope = "row" width="150px"| バクレツモンスター Bakuretsu Monster | ตัวละคร "อินุยาฉะ"     "คาโงเมะ" "เส็ตโชมารู" | อีเว้นท์พิเศษ การร่วมกันของ เกม Bakuretsu Monster กับ อนิเมะทีวี อินุยาฉะ ลักษณะตัวละคร กาชา (เกมในญี่ปุ่น) ◕ระยะเวลากิจกรรม 28 ก.พ. (วันพฤหัสบดี) 16:00 น. - 3/7 (วันพุธ) 15:59 น. 2562 | พ.ศ. 2562 ประกาศการร่วมมือ 02/62 | ﹙ Online ﹚ Mobile/MOBI ( เวอร์ชัน iOS และ Android ที่กำหนด 4.4 ขึ้นไป ) | Action Battle |- ! scope = "row" | | | | | | |- |} == ดูเพิ่ม == • รายชื่อตัวละครในอินุยาฉะ • รายชื่อตอนในอินุยาฉะอนิเมะซีรีส์ == การดัดแปลง == ภาพยนตร์ซีรีส์ สร้างโดยบริษัทภาพยนตร์ซีรีส์ของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งได้รับลิขสิทธิ์จากอาจารย์รูมิโกะ ทากาฮาชิ ในการใช้ โครงเรื่อง ของ 犬夜叉 "Inuyasha" นำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์แนวกำลังภายใน-แฟนตาซี ในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) [เจ้าของบทเดิม] รูมิโกะ ทากาฮาชิ , [เขียนบทใหม่] บทโทรทัศน์ หม่า กวงหยง โดยชื่อตัวละครลักษณะคาแรคเตอร์นิสัยสาเหตุที่มาพื้นฐานอายุการแต่งตัวได้มีการปรับแปลงเป็นฉบับที่มีความเป็นละครทีวีจีน ในตัวเรื่อง 女媧傳說之靈珠 / The Holy Pearl /อภินิหารดาบมังกรสะท้านพิภพ หรือ อภินิหาร 9 มุกล่าทะลุเวลา == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อินุยาฉะอย่างเป็นทางการของโชเน็งซันเดย์ เว็บไซต์อินุยาฉะอย่างเป็นทางการของซันไรส์ เว็บไซต์อินุยาฉะภาคปัจฉิมบทอย่างเป็นทางการของซันไรส์ เว็บไซต์อินุยาฉะอย่างเป็นทางการของโยมิอุริทีวี เว็บไซต์อินุยาฉะอย่างเป็นทางการของวิซมีเดีย เว็บไซต์ฮันโยโนะยาฉะฮิเมะอย่างเป็นทางการ ข้อมูลมังงะอินุยาฉะที่อนิเมะนิวส์เน็ตเวิร์ก ข้อมูลอนิเมะอินุยาฉะที่อนิเมะนิวส์เน็ตเวิร์ก ข้อมูลอนิเมะอินุยาฉะภาคปัจฉิมบทที่อนิเมะนิวส์เน็ตเวิร์ก อินุยาฉะในเว็บไซต์การข่าวผลงานการ์ตูนของรูมิโกะ ทากาฮาชิรูมิคเวิลด์(แฟนคลับ) อินุยาฉะคลับไทยแลนด์ - ชมรมคนรักอินุยาฉะ อินุยาฉะแฟนเพจที่เฟสบุ๊ค อ อ อ‎ การ์ตูนญี่ปุ่นแนวผจญภัย อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2543 อ มังงะของสำนักพิมพ์โชงากูกัง ท ทูนามิ
thaiwikipedia
485
รูปียะฮ์
รูปียะฮ์ (rupiah) เป็นหน่วยเงินของประเทศอินโดนีเซีย (รหัสหน่วยเงิน: IDR) ชื่อมาจากหน่วยเงินของอินเดีย รูปี อินโดนีเซียได้ใช้เงินกิลเดอร์ดัตช์ระหว่าง พ.ศ. 2153 ถึง พ.ศ. 2360 ซึ่งมีการออกเงินกิลเดอร์อินเดียตะวันออก เงินรูปียะฮ์ออกใช้เป็นครั้งแรกระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังจากสงครามสิ้นสุดลง ธนาคารชวาได้ออก รูปียะฮ์ชวา มาแทนที่ชั่วคราว กิลเดอร์นีกา (NICA gulden) ของประเทศเนเธอร์แลนด์ และหน่วยเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองกำลังโจรก็ใช้กันทั่วหมู่เกาะด้วยเช่นกัน 4 ปีหลังจากประกาศเอกราช ได้มีการนำรูปียะฮ์อินโดนีเซียออกมาใช้ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 เป็นหน่วยเงินประจำชาติสกุลใหม่ หมู่เกาะรีเยาและเกาะนิวกินีในส่วนของประเทศอินโดนีเซีย (อีเรียนบารัต) ก็มีการออกรูปียะฮ์ของตัวเองเช่นกัน แต่ต่อมาได้รวมเข้ากับรูปียะฮ์ของชาติเมื่อ พ.ศ. 2507 และ พ.ศ. 2514 ตามลำดับ หลังจากที่มีการลดค่าจากภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ได้มีการออกรูปียะฮ์ใหม่ (New Rupiah) โดยมีอัตราแลกเปลี่ยน 1000 รูปียะฮ์เก่า เป็น 1 รูปียะฮ์ใหม่ วิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียเมื่อ พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดการลดค่ารูปียะฮ์ถึงร้อยละ 35 ในช่วงเวลาเพียงข้ามคืน และนำไปสู่การโค่นล้มซูฮาร์โต เงินรูปียะฮ์สามารถแลกได้อย่างอิสระ แต่มีอัตราแลกเปลี่ยนมีค่าปรับเพิ่มเติม เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อสูงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564, 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับประมาณ 14,255.39 รูปียะฮ์ และ 1 หยวนจีน เท่ากับประมาณ 2,237.51 รูปียะฮ์ และ 1 ยูโร เท่ากับประมาณ 16,098.48 รูปียะฮ์ และ 1 บาทไทย เท่ากับประมาณ 422.35 รูปียะฮ์ == แหล่งข้อมูลอื่น == อัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด สกุลเงินเอเชีย ประเทศอินโดนีเซีย
thaiwikipedia
486
ภาษาเตตุน
เตตุน (Tetun, ) หรือ เตตุง (Tetum, ) เป็นภาษาประจำชาติของประเทศติมอร์-เลสเต เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่มีคำจำนวนมากมาจากภาษาโปรตุเกส รวมถึงภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย == ประวัติ == เตตุนเกิดเป็นภาษาสำหรับการติดต่อในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากที่ได้กลายเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกส ภาษาหลักของภาษานี้ เป็นภาษาที่ใช้ในเมืองหลวงดิลี เรียกว่า เตตุน-ปราซา: Tetun-Prasa ส่วนรูปแบบพื้นเมืองที่ใช้พูดในชนบทเรียกว่า เตตุน-เตริก: Tetun-Terik ถึงแม้ว่า ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการของติมอร์ของโปรตุเกส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกในสมัยนั้น เตตุน-ปราซา เป็นภาษา lingua franca ที่ใช้กันเป็นหลัก ซึ่งยืมคำมาจากโปรตุเกสเป็นอย่างมาก เมื่อประเทศอินโดนีเซียบุกเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดที่ 27 ของสาธารณรัฐ ได้มีการห้ามใช้ภาษาโปรตุเกส อย่างไรก็ดี แทนที่ศาสนจักรนิกายคาทอลิก จะนำภาษาอินโดนีเซียมาใช้ในพิธีสวดมนต์ ก็ได้นำภาษาเตตุนมาใช้แทน ทำให้เป็นจุดรวมของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและชาติ == ไวยากรณ์ == ไวยากรณ์ของภาษาเตตุนไม่ซับซ้อน ไม่มีการแบ่งเพศ ไม่มีการผันคำกริยา ไม่มีคำนำหน้านามชี้เฉพาะ ไม่มีคำกริยาที่ตรงกับ verb to be ของภาษาอังกฤษ แต่มีคำ la'ós (แปลว่าไม่เป็น) ซึ่งแสดงความปฏิเสธ Timor-oan la'ós Indonézia-oan.= ชาวติมอร์ไม่ได้เป็นชาวอินโดนีเซีย Lia-indonézia la'ós sira-nia lian. = ภาษาอินโดนีเซียไม่ใช่ภาษาของเรา maka (ผู้ซึ่ง ที่ซึ่ง) ใช้เป็นคำคุณศัพท์ได้ เช่น Xanana Gusmão maka ita-nia Prezidente. = นี่คือ ซานานา กุสเมา ผู้เป็นประธานาธิบดีของเรา João maka gosta serveja. = จอห์นเป็นคนคนหนึ่งซึ่งชอบเบียร์ คำถามใช่/ไม่ใช่ สร้างโดยใช้คำ ka (หรือ) หรือ ka lae (หรือไม่) O bulak ka? = คุณบ้าหรือเปล่า O gosta ha'u ka lae? = คุณไม่ชอบฉันหรือ รูปพหูพจน์ไม่นิยมใช้กับคำนาม ยกเว้นมีคำว่า sitra (พวกเขา) อยู่ด้วย เช่น fetu = ผู้หญิง (1 คน) fetu sitra = ผู้หญิง (หลายคน) ในกรณีของคำที่มาจากภาษาโปรตุเกส มีการแยกรูปพหูพจน์ (ลงท้ายด้วย s) เช่น Estadus Unidus = สหรัฐอเมริกา Nasoens Unidas = สหภาพแห่งชาติ เปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำนาม เติมคำ oan เช่น malae = ต่างชาติ malae-oan = ชาวต่างชาติ ในทำนองเดียวกัน ชาวติมอร์เขียนว่า Timor-oan เมื่อกล่าวถึงประเทศของชาวติมอร์ใช้ Rai-Timor ไม่แสดงรูปอดีตเว้นแต่มีคำบ่งชี้ เช่น ona (แล้ว) เช่น Ha'u han = ฉันกิน Ha'u han etu = ฉันกินข้าว (ปัจจุบัน/อดีต) Ha'u han etu ona = ฉันกินข้าวแล้ว (อดีต/ปัจจุบันสมบูรณ์) ภาษาเตตุนมีคำว่า"เรา" 2 คำแบบเดียวกับภาษามลายู คือ ami (ไม่รวมผู้ฟัง) และ ita (รวมผู้ฟัง) เช่น ami-nia karreta = รถของเรา ita-nia rain = ประเทศของเรา คำว่า nia แสดงถึงเหตุการณ์ที่ยังดำเนินอยู่ การแสดงความเป็นเจ้าของใช้คำว่า nian เช่น povu Timór Lorosa'e nian = ประชาชนของติมอร์-เลสเต คำกริยาสร้างโดยใช้คำอุปสรรค "ha-" หรือ "hak-" นำหน้านามหรือคุณศัพท์ เช่น habeen - ทำให้เป็นของเหลว ละลาย- จาก been (ของเหลว) habulak - ขับอย่างบ้าคลั่ง- จาก bulak (บ้า) hamanas - ให้ความร้อน- จาก manas (ร้อน) ในภาษาเตตุนไม่มีรูปประธานถูกกระทำ แต่คำอุปสรรค "na-" หรือ "nak-" ใช้เปลี่ยนรูปกริยาจากสกรรมกริยาเป็นอกรรมกริยา เช่น nabeen - (ถูก) ทำให้เหลว nabulak - (ถูก) ขับอย่างบ้าคลั่ง namanas - (ถูก) ทำให้ร้อน == ข้อความพื้นฐาน == Bondia - "สวัสดี (ตอนเช้า)" (จากภาษาโปรตุเกส Bom dia). Di'ak ka lae? - "เป็นอย่างไรบ้าง?" (แปลตรงตัว "คุณรู้สึกดีหรือไม่?") Ha'u di'ak - "ฉันสบายดี" Obrigadu/Obrigada - "ขอบคุณ", พูดโดยผู้ชาย/ผู้หญิง (จากภาษาโปรตุเกส Obrigado/Obrigada). Ita bele ko'alia Tetun? - "คุณพูดภาษาเตตุนได้ไหม?" Loos - "ใช่" Lae - "ไม่" Ha'u' [la] komprende - "ฉัน (ไม่) เข้าใจ" (จากภาษาโปรตุเกส compreender). == อ้างอิง == National Institute of Linguistics, National University of East Timor (Archived) includes several bilingual Tetum dictionaries, and articles about Tetum Hull, Geoffrey, Standard Tetum-English Dictionary 2nd Ed, Allen & Unwin Publishers Official Web Gateway to the Government of Timor-Leste – Religion & Language The standard orthography of the Tetum language (PDF) Matadalan Ortografiku ba Lia-Tetun - Tetum Spelling Guide Damien LEIRIS - Personal approach of the Tetum language (PDF) Colonization, Decolonization and Integration: Language Policies in East Timor, Indonesia, by Nancy Melissa Lutz Current Language Issues in East Timor (Dr. Geoffrey Hull) ==แหล่งข้อมูลอื่น== Peace Corps East Timor Tetun Language Manual (2011, 2nd edition; 2015, 3rd edition) Intensive Tetun language courses at Dili Institute of Technology Pictures from a Portuguese language course, using Tetum, published in the East Timorese newspaper Lia Foun in Díli (from Wikimedia Commons) Tetun website with sound files Teach yourself Tetum... an interview with some information on the history of Tetum Wordfinder (Tetun/English minidictionary) and other publications available from Dili Damien LEIRIS - Personal approach of the Tetum language (PDF) Tetun dictionary Tetum illustrated dictionary Dili Institute of Technology Institute of Technology website A Traveller's Dictionary in Tetun-English and English-Tetun includes some information on grammar, based on the Tetun-Terik dialect Sebastião Aparício da Silva Project for the Protection and Promotion of East Timorese Languages Suara Timor Lorosae Daily newspaper in Tetum and Indonesian Jornal Nacional Semanário Tetum page Tetum dictionaries Tetun 1, Tetun 2 Tetun writing courses for East Timorese university students, by Catharina Williams-van Klinken, Dili Institute of Technology Talk Tetum in Timor VisitEastTimor.com Travel Guide help you to talk in East Timor Robert Blust's [notes on Tetun] are archived with Kaipuleohone เตตุน เตตุน
thaiwikipedia
487
ตระกูลภาษา
ตระกูลภาษา หรือ กลุ่มภาษา เป็นกลุ่มของภาษาที่มีวิวัฒนาการสืบทอดมาจากภาษาบรรพบุรุษร่วมกัน ตระกูลภาษาสามารถแบ่งย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก ซึ่งมักจะเรียกหน่วยย่อยว่า "สาขา" เนื่องจากประวัติของกลุ่มภาษามักจะเขียนเป็นแผนผังต้นไม้ ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาบรรพบุรุษมักจะไม่เป็นที่รู้จักโดยตรง เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะมีประวัติของการเขียนสั้นมาก อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาษาบรรพบุรุษโดยใช้วิธีการของภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ซึ่งพยายามที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาหลายภาษาว่าบรรพบุรุษร่วมกันหรือไม่ และภาษาบรรพบุรุษมีลักษณะอย่างไร บรรพบุรุษของกลุ่มภาษาที่สืบสร้างขึ้นด้วยวิธีทางภาษาศาสตร์นี้ เรียกว่า ภาษาดั้งเดิม (proto-language) เช่น ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม เป็นภาษาที่สันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษร่วมกันของภาษาต่างๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาที่ไม่สามารถจัดได้อย่างแน่นอนลงไปในกลุ่มภาษาใด ๆ เรียกว่า ภาษาโดดเดี่ยว == ภาษาธรรมชาติ == === ตระกูลใหญ่ ๆ ของภาษา (จัดกลุ่มตามภูมิศาสตร์ โดยไม่คำนึงความสัมพันธ์ระหว่างตระกูล) === ในรายชื่อดังต่อไปนี้ ชื่อที่มี "เครื่องหมาย" ข้างหน้า เป็นกลุ่มภาษาที่รู้จัก หัวข้อทางภูมิศาสตร์ข้างบนใช้สำหรับการจัดกลุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ในกลุ่มที่สามารถเข้าใจง่ายกว่ารายชื่อของกลุ่มภาษาที่เป็นอิสระกันที่ไม่มีโครงสร้าง อย่างเดียวความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ สะดวกสำหรับการทำเช่นนี้ อย่างไรก็ดี หัวข้อเหล่านี้ไม่เป็นการแนะนำเกี่ยวกับการจัดตระกูลใหญ่ ("super-families") จากกลุ่มที่ได้กล่าวไว้ ==== กลุ่มภาษาในแอฟริกาและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ==== ตระกูลภาษาแอฟโร-เอเชียติก (ฮามิโต-เซไมติก) ตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก ตระกูลภาษาไนโล-ซาฮารัน ตระกูลภาษาคอยซัน ==== กลุ่มภาษาในยุโรป และ เอเชียเหนือ ตะวันตก และใต้ ==== ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตระกูลภาษาดราวิเดียน (บางคนรวมตระกูลภาษาดราวิเดียน ในตระกูลที่ใหญ่กว่า คือ ตระกูลภาษาเอลาโม-ดราวิเดียน) ตระกูลภาษาคอเคเซียน (โดยทั่วไปมักจะคิดเป็น 2 กลุ่มแยกกันคือ คอเคเซียนเหนือ และ คอเคเซียนใต้) ตระกูลภาษาอัลไตอิก (ถกเถียง) ตระกูลภาษายูราลิก ตระกูลภาษาฮูร์โร-ยูราร์เตียน (สูญพันธุ์) ตระกูลภาษายูคากีร์ (บางคนรวมกลุ่มบูคากีร์กับกลุ่มยูราลิก) ตระกูลภาษาชูคอตโก-คัมชัตกัน ตระกูลภาษาเยนิเซ-ออสต์ยัก ตระกูลภาษาอันดามัน ==== กลุ่มภาษาในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบแปซิฟิก ==== ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (มาลาโย-โพลีนีเซียน) ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (บางคนรวม ขร้า-ไท กับ ม้ง-เมี่ยน กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต) ตระกูลภาษาขร้า-ไท ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ภาษาพื้นเมืองในออสเตรเลีย (มีหลายตระกูล) ภาษากลุ่มปาปัว (มีหลายตระกูล) ==== กลุ่มภาษาในทวีปอเมริกา ==== บทความหลัก: ภาษาอเมริกันพื้นเมือง ตระกูลภาษาคาดโดอัน (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาคาตูคินัน (อเมริกาใต้) (3) ตระกูลภาษาคาริบ (อเมริกาใต้) (29) ตระกูลภาษาคาฮัวพานัน (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาเคเรส (อเมริกาเหนือ) (2) ตระกูลภาษาเคชวน (อเมริกาใต้) (46) ตระกูลภาษาเคียววา-ทาโนอัน (อเมริกาเหนือ) (6) ตระกูลภาษาจิวาโรอัน (อเมริกาใต้) (4) ตระกูลภาษาชอน (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาชาปากูรา-วานฮัม (อเมริกาใต้) (5) ตระกูลภาษาชาลิชัน (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาชิบชัน (อเมริกากลาง, อเมริกาใต้) (22) ตระกูลภาษาชูมาช (อเมริกาเหนือ) (7) ตระกูลภาษาโชโก (อเมริกาใต้) (10) ตระกูลภาษาซาปาโรอัน (อเมริกาใต้) (7) ตระกูลภาษาซามูโคอัน (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาซาลิวัน (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาซิวอัน (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาทาคานัน (อเมริกาใต้) (6) ตระกูลภาษาทูคาโนอัน (อเมริกาใต้) (25) ตระกูลภาษาทูปิ (อเมริกาใต้) (70) ตระกูลภาษานัมบิกวารัน (อเมริกาใต้) (5) ตระกูลภาษานา-เดเน (อาธาบัสกัน) (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาบาร์บาโคอัน (อเมริกาใต้) (7) ตระกูลภาษาพาโนอัน (อเมริกาใต้) (30) ตระกูลภาษาเพซัน (อเมริกาใต้) (1) ตระกูลภาษาเพนูเตียน (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาเพบา-ยากวน (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษามัสโคเจียน (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษามัสคอยอัน (อเมริกาใต้) (5) ตระกูลภาษามาโคร-เก (อเมริกาใต้) (32) ตระกูลภาษามาคุ (อเมริกาใต้) (6) ตระกูลภาษามาตาโก-ไกวกูรู (อเมริกาใต้) (11) ตระกูลภาษามายัน (อเมริกาเหนือ), (อเมริกากลาง) ตระกูลภาษามิเซ-โซเก (อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง) ตระกูลภาษามิซูมัลปัน (อเมริกากลาง) ตระกูลภาษามูรา (อเมริกาใต้) (1) ตระกูลภาษาโมเซเตนัน (อเมริกาใต้) (1) ตระกูลภาษายาโนมัม (อเมริกาใต้) (4) ตระกูลภาษาลูเล-วิเลลา (อเมริกาใต้) (1) ตระกูลภาษาวิโตโตอัน (อเมริกาใต้) (6) ตระกูลภาษาอเรากาเนียน (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาอเราอัน (อเมริกาใต้) (8) ตระกูลภาษาอราวาคัน (อเมริกาใต้, แคริบเบียน) (60) ตระกูลภาษาอรูตานิ-ซาเป (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาอลากาลูหัน (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาอัลจิก (รวมถึง อัลกอนเควียน) (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาอิโรควอยอัน (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาอินุอิต-อลิวต์ (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาอูโต-แอ็ซเทกัน (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาโอโต-มังเกวียน (อเมริกากลาง) ตระกูลภาษาไอมาราน (อเมริกาใต้) (3) ตระกูลภาษาฮัวเวียน (อเมริกาเหนือ) ตระกูลภาษาฮารากมเบต (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาฮูรุ-ชิปายา (อเมริกาใต้) (2) ตระกูลภาษาโฮคัน (อเมริกาเหนือ) === กลุ่มภาษา super-families ที่เสนอมา=== ตระกูลภาษาออสตริก ตระกูลภาษาอินโด-แปซิฟิก ตระกูลภาษายูรัล-อัลไตอิก โปรโต-ปอนติก ตระกูลภาษาอิเบโร-คอเคเซียน ตระกูลภาษาอลาโรเดียน ตระกูลภาษาอเมรินด์ ตระกูลภาษามาโคร-ซิวอัน ตระกูลภาษาคองโก-ซาฮารัน Super-Families ที่รวมถึง ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน * ตระกูลภาษายูเรเชียติก * ตระกูลภาษานอสเตรียติก * ตระกูลภาษาโปรโต-เวิลด์ === ภาษาครีโอล ภาษาพิดจิน และภาษาสำหรับการค้า === ภาษาชาบากาโน - ภาษาครีโอลที่มีพื้นฐานจากภาษาสเปน พูดในตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ภาษาชีนุก จาร์กอน ภาษาซังโก ตระกูลภาษาบิสลามิก * ภาษาบิสลามา * ภาษาโบรเคน * ภาษาพีจอน * ตอกปีซิน ตระกูลภาษาครีโอลโปรตุเกส ภาษาลิงกวาฟรังกา ภาษาครีโอลอังกฤษฮาวาย ภาษาฮีรีโมตู ภาษาครีโอลเฮติ === ภาษาโดดเดี่ยว: Isolate Languages === === ภาษามือ === ภาษามืออเมริกัน (American Sign Language, ASL) ภาษามือออสลาน (Auslan) ใช้ในประเทศออสเตรเลีย ภาษามืออังกฤษ (British Sign Language, BSL) ภาษามือดัตช์ (Dutch Sign Language, NGT) ภาษามือควีเบก (Quebec Sign Language, LSQ) ภาษามือฝรั่งเศส (French Sign Language, LSF) ภาษามือเฟลมิช (Flemish Sign Language Vlaamse Gebarentaal, VGT) ภาษามือเยอรมัน (German Sign Language, Deutsche Gebärdensprache, DGS) ภาษามือเยอรมัน-สวิส (German-Swiss Sign Language, Deutschschweizer Gebärdensprache, DSGS) ภาษามือไอริช (Irish Sign Language. ISL) ภาษามือนิคารากัว (Nicaraguan Sign Language, LSN) ภาษามือไต้หวัน (Taiwanese Sign Language, TSL) === ภาษาธรรมชาติอื่น ๆ ที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ === ภาษาใกล้สูญ ภาษาสูญแล้ว == ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาธรรมชาติ == นอกจากภาษาที่ได้กล่าวไว้ข้างบน ซึ่งเกิดมาจากความสามารถในการพูดสื่อสารกันได้แล้ว ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติที่สำคัญของภาษาเหล่านั้นด้วย ภาษาที่สร้างขึ้น ภาษาโปรแกรม == แหล่งข้อมูลอื่น == http://www.ethnologue.com/web.asp http://www.unilang2.org/main/families.php http://gebaren.ugent.be/
thaiwikipedia
488
กระดุมทองเลื้อย
กระดุมทองเลื้อย หรือ เบญจมาศเครือ (Singapore daisy) เป็นไม้ประดับหรือพืชคลุมดิน ในวงศ์ Asteraceae ขยายพันธุ์โดยการปักชำ == อ้างอิง == ITIS 35420 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ทานตะวัน
thaiwikipedia
489
กระดุมเงิน
กระดุมเงิน เป็นไม้พุ่มคลุมดิน สูงไม่เกิน 50 ซม. มีดอกขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกสีขาวเกสรสีเหลืองอมส้ม ใบเรียวยาวแหลม ชอบแดดจัด ชอบน้ำ == อ้างอิง == ITIS 35420 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ทานตะวัน
thaiwikipedia
490
คัดเค้า
คัดเค้า (Randia siamensis; ) ดอกมีลักษณะเมื่อแรกบานจะเป็นสีขาว บานประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนจะกลายเป็นสีเหลือง ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น แต่จะทยอยบาน ดอกมีกลิ่นหอมมาก ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์เข็ม
thaiwikipedia
491
สกุลแคทลียา (กล้วยไม้)
แคทลียา (ชื่อสามัญ: Cattleya ) เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์กล้วยไม้ 'มี 113 สปีชีส์ แพร่กระจายจากคอสตาริกาไปจนถึงอาร์เจนตินา สกุลนี้ตั้งชื่อเมื่อ พ.ศ. 2367 โดย John Lindley ตามชื่อของ Sir William Cattley ผู้ได้รับและเป็นคนแรกที่ปลูก Cattleya labiata จนออกดอก William Swainson ได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ในบราซิลเมื่อ พ.ศ. 2350 และส่งมาจำแนกชนิดที่ Glasgow Botanic Gardens และส่งพืชนั้นไปให้ Cattley ผู้ที่สามารถปลูกจนพืชนี้ออกดอกได้ในกลาสโกว์ กล้วยไม้สกุลแคทลียา ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในสมัย รัชกาลที่ 5 โดยเฮนรี อาลาบาศเตอร์ โดยนำเข้ามาปลูกในพระราชอุทยานสราญรมย์ ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ไม้ดอกไม้ประดับ สกุลแคทลียา (กล้วยไม้)
thaiwikipedia
492
ดาวกระจาย (C. sulphureus)
ดาวกระจาย (Sulfur Cosmos หรือ Yellow Cosmos) เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด C. sulphureus Cav. ในสกุล Cosmos วงศ์ Compositae ดอกสีเหลือง ชื่อพื้นเมืองว่า ดาวเรืองพม่า คำแพ คำเมืองไหว และคำอังวะ ไฟล์:Fleur violette sur fond orange.jpg ไฟล์:Yellow flower family-1.jpg ไฟล์:Arya-kenikir sulfur-cosmos-graha nuansa-2019-01.jpg ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ทานตะวัน
thaiwikipedia
493
พรมกำมะหยี่
พรมกำมะหยี่ ((Hook.) Hanst) เป็นพืชท้องถิ่นในโคลอมเบีย เวเนซุเอลา และบราซิล ใบย่น สีน้ำตาลแดง เส้นใบสีเทาเงิน ดอกสีแดง รูปกรวย แบ่งย่อยได้หลายสายพันธุ์ นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดินหรือปลูกในกระถางแขวน == อ้างอิง == ITIS 34085 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ว่านไก่แดง
thaiwikipedia
494
พลับพลึงแดง
พลับพลึงแดง หรือ พลับพลึงดอกแดง เป็นพืชล้มลุกอยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE ดอกเป็นสีม่วงแดงและมีขนาดใหญ่กว่าดอกพลับพลึงดอกขาวเล็กน้อยกลีบดอกด้านในออก สีขาวอมชมพู ด้านนอกตรงกลางกลีบเป็นสีม่วงแดงตามขอบกลีบเป็นสีขาว เกสรตัวผู้สีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ และปักชำหัว ใบนำเอามาย่างไฟ พันแก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ขัดยอก ใช้อยู่ไฟหลังคลอด ต้มรับประทานทำให้อาเจียน มีรสขม ในอินเดียใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ รักษาโรค เกี่ยวกับน้ำดี เมล็ดเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ เป็นยาบำรุง == อ้างอิง == ITIS 182711 วงศ์พลับพลึง สมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
495
ประเทศเติร์กเมนิสถาน
เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan; Türkmenistan, ) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน โดยมีอาชกาบัตเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรในประเทศประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในเอเชียกลาง และมีประชากรเบาบางมากที่สุดในเอเชีย เติร์กเมนิสถานเป็นทางแยกของอารยธรรมมานานนับศตวรรษ โดยเมิร์ฟเป็นหนึ่งในเมืองโอเอซิสที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียกลาง และเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในยุคกลาง เมิร์ฟถือเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ของโลกอิสลามและเป็นจุดหยุดสำคัญบนเส้นทางสายไหม ต่อมาถูกผนวกโดยจักรวรรดิรัสเซียใน ค.ศ. 1881 ซึ่งมีขบวนการต่อต้านบอลเชวิคในเอเชียกลาง ใน ค.ศ. 1925 เติร์กเมนิสถานกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แล้วเป็นเอกราชหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 เติร์เมนิสถานมีก๊าซธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ทะเลทรายการากุมหรือทะเลทรายดำ จาก ค.ศ. 1993 ถึง 2017 พลเมืองในประเทศได้รับไฟฟ้า น้ำ และก๊าซธรรมชาติจากรัฐบาลโดยไม่คิดเงิน ประเทศนี้ได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมากจากสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่ โดยปัญหาส่วนใหญ่คือการดูแลชนกลุ่มน้อย, เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพทางศาสนา หลังเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 รัฐเอกราชเติร์กเมนิสถานถูกปกครองโดยผู้ปกคอรงเผด็จการสองคน ได้แก่ประธานาธิบดีตลอดชีพซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ (มีอีกชื่อว่า ทืร์กเมนบาชือ หรือ "หัวหน้าของชาวเติร์กเมนทั้งปวง") จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2006 กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์กลายเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2007 หลังชนะการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย (เขาเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีและรักษาการประธานาธิบดี) การใช้บทลงโทษด้วยการประหารชีวิตถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2008 == การแบ่งเขตการปกครอง == ดูเพิ่มที่อำเภอของประเทศเติร์กเมนิสถานและ OpenStreetMap Wiki: Turkmenistan Geoname Changes ประเทศเติร์กเมนิสถานแบ่งออกเป็น 5 จังหวัด (welaýat) และ 1 เมืองหลวง (şäher) แต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นอำเภอ (etrap) ซึ่งอาจเป็นทั้งเทศมณฑลหรือเมือง ตามรายงานจากรัฐธรรมนูญเติร์กเมนิสถาน (มาตราที่ 16 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2008; มาตราที่ 47 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 1992) บางเมืองมีสถานะ จังหวัด หรือ อำเภอ == เศรษฐกิจ == เศรษฐกิจหลักของเติร์กเมนิสถานอยู่บนพื้นฐานอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ขณะที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ สิ่งทอและอาหาร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ฝ้ายและธัญพืช สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นปศุสัตว์ ได้แก่ แพะ โค และสัตว์ปีก == ประชากร == === ศาสนา === ชาวเติร์กเมนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 85% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาบาไฮ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และไสยศาสตร์ 5% === ภาษา === เติร์กเมนิสถานเป็นภาษาราชการและมีการใช้ภาษารัสเซียอย่างกว้างขวาง == อ้างอิง == == อ่านเพิ่ม == == แหล่งข้อมูลอื่น == Turkmenistan. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Modern Turkmenistan photos Turkmenistan at UCB Libraries GovPubs Turkmenistan profile from the BBC News OpenStreetMap online atlas of Turkmenistan OpenStreetMap wiki article on Turkmenistan Key Development Forecasts for Turkmenistan from International Futures รัฐบาล Turkmenistan government information portal Chief of State and Cabinet Members Tourism Committee of Turkmenistan อื่น ๆ "Chronicles of Turkmenistan". Publication of Turkmen Initiative for Human Rights. Official photo gallery from Turkmenistan and Ashgabat daily news and analysis in Turkish English and Turkmen ต รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 ประเทศในเอเชียกลาง รัฐในอดีตสหภาพโซเวียต ต
thaiwikipedia
496
ประเทศไมโครนีเชีย
ไมโครนีเชีย (Micronesia) หรือ สหพันธรัฐไมโครนีเชีย (Federated States of Micronesia) เป็นรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีความสัมพันธ์เสรีกับสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปาปัวนิวกินี ประเทศไมโครนีเชียจัดอยู่ในภูมิภาคไมโครนีเชีย ซึ่งประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ หลายร้อยเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ 5 ประเทศกับ 2 ดินแดน คำว่า Micronesia มักจะนำมาใช้เรียกเป็นชื่อประเทศ อย่างไรก็ดี ไมโครนีเชียก็เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน ไมโครนีเชียในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งเป็นดินแดนภาวะพึ่งพิงขององค์การสหประชาชาติภายใต้การบริหารของสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2522 ไมโครนีเชียได้นำรัฐธรรมนูญมาใช้ และในพ.ศ. 2529 ได้รับเอกราชภายใต้สัญญาความสัมพันธ์เสรี (Compact of Free Association) กับสหรัฐอเมริกา ปัญหาในปัจจุบันคือ อัตราการว่างงานสูง การประมงมากเกินไป และการพึ่งพาสหรัฐมากเกินไป == ประวัติศาสตร์ == ชาวยุโรปไม่ค่อยสนใจหมู่เกาะแคโรไลน์มากนัก เนื่องจากมีคุณค่าทางเศรษฐกิจน้อย เมื่อเทียบกับดินแดนอื่น ๆ ที่มีอยู่ที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมาชาวอังกฤษและอเมริกันมาล่าวาฬ พวกนี้เข้ามาข่มเหงและนำโรคระบาดสู่ชนพื้นเมือง กลุ่มเกาะแคโรไลน์ตกเป็นอาณานิคมของหลายชาติ ตั้งแต่ สเปน ต่อมาเป็นของเยอรมันและญี่ปุ่น และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นของสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2522 == การเมือง == ระบอบสหพันธรัฐ คณะรัฐมนตรีมี 14 ที่นั่ง 4 ที่นั่งมาจากผู้แทนจาก 4 รัฐ มีวาระ 4 ปี และอีก 10 คน มีวาระ 2 ปี == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศไมโครนีเชียแบ่งการปกครองเป็น 4 รัฐ เรียงจากด้านตะวันตกไปตะวันออก ดังนี้ == ภูมิศาสตร์ == ไมโครนีเชีย ประกอบด้วยเกาะมากมายที่เกิดจากการแตกต่างกันไปทั้งเกาะภูเขาไฟ เกาะปะการัง ซึ่งรวมกันเรียกว่ากลุ่มเกาะแคโรไลน์ == เศรษฐกิจ == เศรษฐกิจของไมโครนีเชียจำเป็นต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดสรรเงินช่วยเหลือให้ภายใต้กรอบความตกลง (Compact of Free Association) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคบริการ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไมโครนีเชียประกอบไปด้วย การทำฟาร์ม การทำประมง รายได้จากการทำแร่บางส่วน ซึ่งไม่รวมแร่ฟอสเฟตและเครื่องปั้นดินเผาสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไมโครนีเชียไม่มีสินค้าหลักที่จะนำรายได้เข้าประเทศ และต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศ เป็นมูลค่าประมาณ 67.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี รายได้รัฐบาลมาจากเงินให้เปล่าจากต่างประเทศ และค่าธรรมเนียมจากการให้สัมปทานประมง อย่างไรก็ตาม ไมโครนีเชีย มีพื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตร (มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 5.7 ของพื้นที่ทั้งหมด) แต่ไม่ได้พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังขาดโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รัฐบาลปัจจุบันจึงเน้นการพัฒนาการเกษตร การประมง และการท่องเที่ยวเพื่อทำรายได้ให้ประเทศ == วัฒนธรรม == เป็นวัฒนธรรมชาวเกาะ การแต่งกายไม่ว่าชายหรือหญิงเปลือยท่อนบน ท่อนล่างนุ่งผ้าคล้ายกระโปรง ชาวเกาะสืบทอดภูมิปัญญาการต่อเรือแคนูไว้ใช้เองมานานับร้อย ๆ ปี เรือแคนูขนาดเล็กใช้ฝีพาย แต่เรือแคนูออกทะเลจะกางใบแล่นด้วยลม การไปมาหาสู่ใช้วิธีเดินและเรือ การมาเยือนผู้มาเยือนต้องมีของมาฝากเจ้าบ้าน == อ้างอิง == ===ข้อมูล=== == แหล่งข้อมลอื่น == รัฐบาล Government of the Federated States of Micronesia Chief of State and Cabinet Members ข้อมูลทั่วไป Federated States of Micronesia. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Federated States of Micronesia from UCB Libraries GovPubs Micronesia from the BBC News Jane's Federated States of Micronesia Home Page Trust Territory of the Pacific Archives at the University of Hawaii Pacific Islands Legal Information Institute - Federated States of Micronesia Nature.org - Micronesia environmental conservation myMicronesia.com Online resource center about the islands of Micronesia. Provides free listings and links to all Micronesian businesses, as well as civic, cultural, health and educational organizations. Habele.org - Outer Islands Information about the remote islands and atolls outside the four state capitals of Micronesia from an educational nonprofit. Development Forecasts for Federated States of Micronesia สื่อข่าว The Kaselehlie Press – The Kaselehlie Press is a Pohnpei-based newspaper that covers stories throughout the FSM. Pohnpei (Spanish) แผนที่ Nan Madol islet complex Provides computer based reconstruction of the main islets and features การเดินทาง Travel Overview of Micronesia Yap Visitors Bureau สภาพอากาศ NOAA's National Weather Service - Chuuk, FSM NOAA's National Weather Service - Pohnpei & Kosrae, FSM NOAA's National Weather Service - Yap, FSM ประเทศในเขตโอเชียเนีย ม ประเทศที่เป็นเกาะ ประเทศไมโครนีเชีย รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2529 อดีตอาณานิคมของสเปน อดีตอาณานิคมของเยอรมนี อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น
thaiwikipedia
497
ภาษาตากาล็อก
ภาษาตากาล็อก (อักษรไบบายิน: ᜏᜒᜃᜅ᜔ ᜆᜄᜎᜓᜄ᜔) เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟีจี ภาษามาวรี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า == ระบบเสียง == ภาษาตากาล็อกมีหน่วยเสียง 21 เสียง เป็นเสียงพยัญชนะ 16 เสียง เสียงสระ 5 เสียง ก่อนการเข้ามาของชาวสเปน ภาษาตากาล็อกมีเสียงสระเพียง 3 เสียง คือ /a/, /i/, และ /u/ มีคำยืมจากภาษาสเปนจึงเพิ่มสระอีก 2 เสียง คือ /ε/ และ /o/ นอกจากนั้นมีสระประสมเพิ่มอีก 4 เสียงคือ /aI/, /oI/, /aU/ และ /iU/ พยัญชนะในภาษาตากาล็อกไม่มีเสียงลมแทรก มีการเน้นเสียงหนักภายในคำที่ทำให้เสียงสระยาวขึ้นด้วย == ไวยากรณ์ == บทความหลัก: ไวยากรณ์ภาษาตากาล็อก ภาษาตากาล็อกเรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม มีระบบการผันคำกริยาที่ซับซ้อนกว่าคำนาม คำขยายเรียงก่อนหรือหลังคำที่ถูกขยายก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะใช้คำเชื่อมต่างกัน == ประวัติ == คำว่าตากาล็อกมาจาก taga-ilog โดย taga หมายถึงท้องถิ่นของ และ ilog หมายถึงแม่น้ำ รวมแล้วหมายถึงผู้อาศัยอยู่กับแม่น้ำ ไม่มีตัวอย่างการเขียนของภาษาตากาล็อก ก่อนการมาถึงของสเปนในพุทธศตวรรษที่ 21 เหลืออยู่เลย ประวัติศาสตร์ของภาษาจึงเหลืออยู่น้อยมาก คาดว่าภาษานี้กำเนิดในฟิลิปปินส์ตอนกลางจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมินดาเนาหรือวิซายาตะวันออก หนังสือเล่มแรกที่เขียนด้วยภาษาตากาล็อกคือ Doctrina Cristiana ใน พ.ศ. 2136 โดยในหนังสือเล่มนี้เขียนด้วยภาษาสเปนและภาษาตากาล็อก 2 รูปแบบคือใช้อักษรละตินและอักษรบายบายิน ในช่วงที่สเปนยึดครองอยู่ 333 ปี มีไวยากรณ์และพจนานุกรมเขียนโดยบาทหลวงชาวสเปน ใน พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้างภาษาประจำชาติโดยสถาบันภาษาแห่งชาติโดยใช้ภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐาน ภาษาประจำชาติที่เคยตั้งชื่อว่า Wikang pambansa (ภาษาแห่งชาติ) โดยประธานาธิบดีมานูเอล เอเล. เกซอนเมื่อ พ.ศ. 2482 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปีโนใน พ.ศ. 2502 แต่การเปลี่ยนชื่อนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาตากาล็อก โดยเฉพาะผู้พูดภาษาเซบัวโน ใน พ.ศ. 2514 เกิดหัวข้อทางด้านภาษาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติจากภาษาปิลิปีโนเป็นภาษาฟิลิปปินส์ โดยภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาที่ผสมลักษณะของภาษาตากาล็อกสำเนียงลูซอนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน == การจัดจำแนก == ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาในกลุ่มฟิลิปปินส์กลาง ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียอื่น ๆ เช่น ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และภาษาไปวัน มีความสัมพันธ์กับภาษาที่พูดในบิกอลและวิซายาเช่น ภาษาบิโกล ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาวาไร-วาไร และภาษาเซบัวโน ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาตากาล็อกที่สำคัญได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษามลายูโบราณ และภาษาทมิฬ == การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ == ส่วนที่เป็นบ้านเกิดของภาษาตากาล็อกหรือ katagalugan ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของเกาะลูซอน โดยเฉพาะในเอาโรรา บาตายัน บาตังกัส บูลาจัน ลามารีนเหนือ กาบิเต ลากูนา เมโทรมะนิลา นูเอบาเอซิฮา เกซอน และริซัล ภาษาตากาล็อกใช้พูดเป็นภาษาแม่โดยผู้ที่อยู่ในเกาะลูบัว มารินดูเก ทางเหนือและทางตะวันตกของมินโดโร มีผู้พูดประมาณ 64.3 ล้านคน ผู้พุดภาษาตากาล็อกยังแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ทั่วโลก แต่มีการใช้น้อยในการสื่อสารระหว่างชนกลุ่มน้อยในฟิลิปปินส์ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา == ระบบการเขียน == === อักษรบายบายิน === ภาษาตากาล็อกเคยเขียนด้วยอักษรบายบายินก่อนการเข้ามาของสเปน ในศตวรรษที่ 16 อักษรนี้ประกอบด้วยสระ 3 ตัว และพยัญชนะ 14 ตัว เมื่อเทียบกับตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรนี้มีความคล้ายคลึงกับอักษรกวิโบราณของชวา ซึ่งเชื่อว่าสืบทอดมาจากอักษรบูกิสในซูลาเวซี ต่อมาอักษรนี้ได้เลิกใช้ไป เพราะนิยมใช้อักษรละตินที่เข้ามาในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปน อักษรบายบายินถูกกำหนดด้วยยูนิโคด รุ่น 3.2 ในช่วง 1700-171F ด้วยชื่อ "Tagalog". {| border="1" cellpadding="3" style="border-collapse: collapse;text-align:center;" |- | a || e/i || o/u |} {| border="1" cellpadding="3" style="border-collapse: collapse;text-align:center;" |- | ka || ga || nga |- | ta || da/ra || na |- | pa || ba || ma |} {| border="1" cellpadding="3" style="border-collapse: collapse;text-align:center;" |- | ya || la || wa || sa || ha |} {| |----- | valign="top" | vowels | valign="top" | b | valign="top" | k | valign="top" | d/r | valign="top" | g | valign="top" | h | valign="top" | l | valign="top" | m | valign="top" | n | valign="top" | ng | valign="top" | p | valign="top" | s | valign="top" | t | valign="top" | w | valign="top" | y | valign="top" | |} === อักษรละติน === ในช่วงศตวรรษที่ 20 ภาษาตากาล็อกเขียนด้วยอักษรละติน โดยใช้ระบบการออกเสียงของภาษาสเปน เมื่อระบบภาษาประจำชาติได้พัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากภาษาตากาล็อก Lope K. Santos ได้พัฒนาตัวอักษรใหม่ประกอบด้วยอักษร 20 ตัว === ng และ mga === เครื่องหมาย ng และรูปพหูพจน์ mga เป็นตัวย่อ ออกเสียงว่า นัง และมางา ตามลำดับหมายถึง ของ เมื่อ == สถานะการเป็นภาษาราชการ == ภาษาตากาล็อกถูกประกาศให้เป็นภาษาราชการเมื่อโดยสถาบันไบก์นาบาโตเมื่อ พ.ศ. 2440 ใน พ.ศ. 2478 ได้ยกเลิกการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ และได้พัฒนาภาษาราชการใหม่ขึ้นมา หลังจากการประชุมของสถาบันภาษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 7 คน จากส่วนต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ได้เลือกภาษาตากาล็อกให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอนได้ประกาศเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ว่าได้เลือกภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ต่อมา ใน พ.ศ. 2482 ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอน ได้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติ ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาตากาล็อกว่า วีกัง ปัมบันซา (ภาษาประจำชาติ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปีโน ในปีเดียวกัน ใน พ.ศ. 2516 ได้ประกาศยกเลิกการใช้ภาษาปิลิปีโนเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาภาษาประจำชาติขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาฟิลิปปินส์ == ความแตกต่างระหว่างภาษาฟิลิปปินส์กับภาษาตากาล็อก == คำว่าฟิลิปปินส์และตากาล็อกเป็นชื่อของภาษาที่ใกล้เคียงกัน อาจจะหมายถึงภาษาเดียวกันหรือคนละภาษาก็ได้ ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 30% ของประชากร 84 ล้านคน และเป็นภาษาที่สองของประชากรอีกราว 80% ส่วนภาษาตากาล็อกมีสถานะเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตากาล็อกโดยผู้พูดเป็นภาษาแม่น้อยกว่าภาษาฟิลิปปินส์ เพราะผู้ที่ไม่ใช่ชาวตากาล็อกซึ่งอยุ่ห่างออกไปจากเขตของชาวตากาล็อกคือภาคกลางและภาคใต้ของเกาะลูซอน ใช้ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาแม่แต่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวตากาล็อกด้วย โดยทั่วไปผู้ที่พูดภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาแม่จะไม่มีใครพูดว่าใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่สอง แต่มักถือว่าเป็นผู้พูดของทั้งสองภาษา ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่การเขียนและการแปรผันของคำศัพท์มากกว่า ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาราชการในโรงเรียนและใช้ในสื่อต่าง ๆ แต่มีความสำคัญน้อยกว่าภาษาอังกฤษ รวมทั้งในการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์แต่ถือว่าคู่คี่กับภาษาอังกฤษในด้านการค้าขายและการติดต่อราชการ ภาษาฟิลิปปินส์ใช้เป็นภาษากลางทั่วประเทศฟิลิปปินส์โดยเฉพาะการบริการสาธารณะในเขตที่ไม่ใช้ภาษาตากาล็อก ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่เก่ากว่า มีศูนย์กลางอยู่ในเขตของชาวตากาล็อกในเกาะลูซอน ภาษาฟิลิปปินส์มีประวัติย้อนหลังไปเพียง พ.ศ. 2473 ในชื่อภาษาปิลิปีโนซึ่งขณะนั้นยังไม่ต่างจากภาษาตากาล็อกมากนัก ความแตกต่างเริ่มชัดเจนเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเป็นภาษาราชการเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษาฟิลิปปินส์มีอักษร 28 ตัว (รวม "ng" ที่ถือเป็นอักษรเดี่ยวและอักษรที่มาจากภาษาสเปน ñ) และมีระบบของหน่วยเสียงและคำยืมที่เปิดกว้างสำหรับคำยืมจากภาษาต่างชาติและภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ ภาษาตากาล็อกมีอักษร 20 ตัว (ไม่มี c, f, j, q, v, x, z; แต่ใช้ "ng" เป็นอักษรเดี่ยว) และระบบของหน่วยเสียงที่ไม่เปิดกว้างสำหรับภาษาอื่นนอกจากภาษาละตินของวาติกัน เนื่องจากตากาล็อกเป็นชื่อของกลุ่มชนด้วย จึงมีความอ่อนไหวทางการเมืองหากจะกล่าวว่าภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาเดียวกับภาษาตากาล็อกคำว่าฟิลิปปินส์เป็นคำที่เป็นกลางโดยมาจากชื่อของประเทศไม่ได้มาจากชื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาษาฟิลิปปินส์มีบทบาทเป็นภาษากลางในบริเวณที่เคยใช้ภาษาอื่น ๆ มาก่อน เช่น ในเกาะมินดาเนาที่เคยใช้ภาษาเซบัวโนเป็นภาษากลางและเมืองบากุยโอที่เคยใช้ภาษาอีโลกาโนเป็นภาษากลาง เนื่องจากภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาในโรงเรียน การศึกษาจะทำให้ช่องว่างระหว่างภาษาตากาล็อกกับภาษาฟิลิปปินส์ห่างไกลกันยิ่งขึ้น == คำศัพท์และคำยืม == คำศัพท์ภาษาตากาล็อกส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากคำศัพท์ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีคำยืมจากภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษามลายู ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษากาปัมปางัน ภาษาทมิฬ และภาษาอื่น ๆ ในตระกูลออสโตรนีเซียน เนื่องจากมีการค้าขายระหว่างเม็กซิโกและมะนิลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21- 24 ทำให้มีคำยืมจากภาษาของชาวอินเดียนแดงในภาษาตากาล็อกด้วย ภาษาอังกฤษได้ยืมคำจากภาษาตากาล็อกมาใช้ด้วยเช่นกัน เช่น == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Tagalog dictionary Calderon's English-Spanish-Tagalog dictionary for cell phone and PDA L-Lingo Tagalog Free 40 lesson online Tagalog Web Application A Handbook and Grammar of the Tagalog Language by W.E.W. MacKinlay, 1905. Tagalog Translator Online Online dictionary for translating Tagalog from/to English, including expressions and latest headlines regarding the Philippines. Online E-book of Spanish-Tagalog Manual of Conversation published in Manila in 1874 by V.M. de Abella Online E-book of Doctrina Christiana in Old Tagalog and Old Spanish, the first book published in the Philippines. Manila. 1593 Online E-book of Buhay na Nasapit ni Anselmo at ni Elisa: Sa Ciudad nang Ulma sacop nang Reinong Alemania, published in 1905 Online E-book of Arte de la Lengua Tagala y Manual Tagalog by Sebastián de Totanes published in Binondo, Manila in 1865. Free translator/dictionary application English-Tagalog / Tagalog-English, including tourist info Philippines ตากาล็อก ตากาล็อก ตากาล็อก
thaiwikipedia
498
จังหวัดมุกดาหาร
มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจาก จังหวัดนครพนม ประมาณ 108 กิโลเมตร และ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 650 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย เป็นจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญของอิสานภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขง หอแก้วมุกดาหารและสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย == ประวัติศาสตร์ == กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ภายหลังจากที่พระยาสุริยวงศาสิ้นพระชนม์ กรุงเวียงจันทน์เกิดการระส่ำระสายแย่งชิงอำนาจราชสมบัติกัน ฝ่ายยึดอำนาจได้ก็ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามให้หมดสิ้นไป กลุ่มพระยาแสน (พญาเมืองจันทน์) ยึดครองเวียงจันทน์ได้ เจ้าศรีวิชัย กษัตริย์อาณาจักร์ล้านช้าง พระองค์ที่ 30 (พ.ศ. 2176-2179 รวมระยะเวลาครองราชย์ได้ 3 ปี) พระราชนัดดาในพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช กษัตริย์ล้านช้าง พระองค์ที่ 26 ไม่สามารถครองราชย์ต่อได้ เนื่องจากเกิดการยึดอำนาจ พระองค์จึงพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์หลบหนีภัยไปพึ่งบารมีอยู่กับ "เจ้าราชครูโพนสะเม็ก" หรือ "ญาคูขี้หอม" ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ของกรุงเวียงจันทน์ ในสมัยนั้นเทียบเท่ากับสมเด็จพระสังฆราช มีคนเคารพนับถือสักการะมากที่สุด อยู่ที่วัด "โพนสะเม็ก" ใกล้กรุงเวียงจันทน์ ในการหลบหนีครั้งนี้ เจ้าศรีวิชัยได้นำบุตรไปด้วย 2 คน คือ ๑. เจ้าแก้วมงคล ได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุ เรียนพระอรรถธรรมกัมมัฎฐานจนแตกฉานแล้วสึกออกมา จนคนเรียกว่า "อาจารย์แก้ว" หรือ "แก้วบูโฮม" ๒. เจ้าจันทร์สุริยวงศ์ ภายหลังจากการอพยพมาพึ่งเจ้าราชครูหลวง เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่หนีราชภัย จึงมีการเปลี่ยนพระนามเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเป้าหมายถูกลอบสังหารจากฝ่ายยึดอำนาจ พระยาแสนเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ได้คิดที่จะกำจัดเชื้อพระวงศ์ของพระสุริยวงศาที่หนีกันมาพึ่งบารมีของเจ้าราชครูโพนสะเม็กอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเจ้าราชครูฯ ซึ่งมีผู้ให้ความเคารพนับถือมากด้วย และเนื่องจากโพนสะเม็กและกรุงเวียงจันทน์อยู่ใกล้กันมาก เจ้าราชครูโพนสะเม็กเกรงว่าเชื้อพระวงศ์ที่อพยพมาพึ่งบารมีจะได้รับอันตราย จึงวางแผนการอพยพออกจากรุงเวียงจันทน์ไปทางใต้เพื่อหาที่อยู่ใหม่ พ.ศ. 2232 เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้ขออนุญาตพระยาเมืองแสนเดินทางไปบูรณปฏิสังขรณ์ "พระธาตุพนม" ซึ่งชำรุดมาก ในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้จะได้นำชาวเวียงจันทน์และช่าง จำนวน 3,000 คน ร่วมเดินทางไปด้วย เมื่อได้รับอนุญาตก็พากันอพยพเดินทางล่องน้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง ในการอพยพคราวนี้เชื้อพระวงศ์ก็ได้หลบหนีออกมาด้วย ครั้นเดินทางมาถึงพระธาตุพนมก็เริ่มลงมือบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ. 2233 ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมคราวนี้นั้น เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้บูรณะตั้งแต่ขั้นที่ 2 ขึ้นไปจนสุดยอดพระธาตุ เล่ากันว่า เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้ไปขุดเอาโลหะชนิดหนึ่งคล้ายตะกั่วหรือเงิน ซึ่งไทยล้านช้างเรียกเหล็กเปียก ไทยใต้เรียกเหล็กไหล มาเป็นโลหะหล่อเป็นโบกสวมลงในปูนที่ยอดพระธาตุ สถานที่ขุดนั้นอยู่ที่ภูเหล็กใกล้บ้านดอนข้าวหลาม ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม อยู่ทางใต้ของพระธาตุพนม ประมาณ 8 กม. ปัจจุบันยังมีหลุมและรอยขุดอยู่ ภูนั้นเป็นภูเขาศิลาแลงเตี้ยเป็นเนินสูงจากทุ่งนา พ.ศ. 2336 หลังจากที่ เจ้าราชครูโพนสะเม็ก บูรณะพระธาตุพนมเสร็จแล้วก็ได้แบ่งครอบครัวจำนวนหนึ่งให้อยู่อุปัฎฐากพระธาตุ นอกนั้นก็อพยพไปทางใต้ตามลำน้ำโขงเพื่อตั้งบ้านเรือนต่อไป กล่าวถึง นางเภา และ นางแพง(แม่ญิง) ผู้ครองเมืองกาลจำบากนาคบุรีศรี ได้ทราบข่าวว่าเจ้าราชครูโพนสะเม็กพำนักอยู่ที่เกาะแดง ท่านเป็นพระเถระที่มีคนเคารพสักการะมาก ไปที่ใดก็สร้างพระพุทธรูปวิหหาร เกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยท้าวพญาแสน ไปนิมนต์อาราธนาท่านขอให้พำนักอยู่ที่เมืองเพื่อทำนุบำรุงศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองต่อไป ท่านราชครูโพนสะเม็กก็ไม่ขัดศรัทธา ครั้นอยู่ต่อมานางแพงพร้อมด้วยมุขมนตรีประชาราษฎรทั้งปวงมีความเลื่อมใสศรัทธาและเคารพนับถือเจ้าราชครูฯมากยิ่งขึ้น จึงพร้อมกันถวายทั้งพุทธจักรและอาณาจักรให้ราชครูฯ ปกครองทั้งสิ้น นครจำบากนาคบุรีศรีเป็นพระปกครอง พ.ศ. 2256 ท่านราชครูฯ ได้ใช้วิธีปกครองโดยทางธรรมแต่ไม่สำเร็จเรียบร้อย การชำระความตามอาญาแผ่นดินก็จะผิดวินัยพระ เมื่อพิจารณาแล้วจึงเห็นว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าองค์หล่อ หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (อพยพหลบหนีเมื่อคราวมาบูรณะพระธาตุพนม) เป็นเชื้อกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์โดยแท้จริง จึงได้เชิญมาเป็นประมุขฝ่ายอาณาจักร ถวายนามว่า "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร" และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่จาก กาลจำบากนาคบุรี เป็น "นครจำปาศักดิ์" แยกออกจากอาณาเขตของกรุงเวียงจันทน์ เมื่อ "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร"ได้ปกครองนครจำปาศักดิ์แล้ว ก็มอบอำนาจให้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมีอำนาจฝ่ายพุทธจักรปกครองสงฆ์ที่นครจำปาศักดิ์ จนท่านราชครูหลวงฯ อายุได้ 90 ปี ก็มรณภาพโดยโรคชรา (พ.ศ. 2263) ต่อมา พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้แต่งตั้งให้ เจ้าแก้วมงคลอพยพไพร่พลลงไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ ต่อมาคือเมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทษราช (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ซึ่งต่อมาลูกหลานของท่านได้แยกออกไปปกครองหัวเมืองอีสานหลายหัวเมืองทั่วภาคอีสาน เช่น เมืองร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ ชนบท ขอนแก่น เป็นต้น ส่วนเจ้าจันทรสุริยวงศ์ให้อพยพไพร่พลไปสร้างเมืองหลวงโพนสิมร้างที่เมืองสุวรรณเขต อยู่แถวบริเวณพระธาตุอิงฮัง (แขวงสุวรรณเขตในปัจจุบัน) ซึ่งตรงกับปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังจากเจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์พิราลัยแล้ว พระโอรสทั้ง 2 พระองค์ได้แยกย้ายกันออกไปปกครองบ้านเมืองแถบริมฝั่งแม่น้ำโขงและแผ่นดินภาคอีสาน ได้แก่ เจ้าราชาบุตรโคตร (ท้าวราชบุตรโคตร) ได้อพยพไพร่พลจากเวียงดงเขนยและเมืองแก้งกอก ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มาตั้งเมืองที่บ้านดอนตาล เรียกว่า เมืองดอนตาล) และ ฝ่ายพระอนุชาคือ เจ้าจันทกินนรี (ท้าวกินรี) ได้ครองเมืองโพนสิมต่อจากพระบิดา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2310 ได้มีนายพรานในหมู่บ้านข้ามลำน้ำโขงมาทางฝั่งขวาของปากห้วยบังมุก และได้พบเมืองร้าง วัดร้าง และต้นตาลจำนวน 7 ยอดอยู่ริมฝั่งโขง เห็นว่าเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณฝั่งซ้ายที่พวกตนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากอุดมไปด้วยปลา ที่ดิน และทรัพยากรต่าง ๆ จึงกลับไปรายงานให้เจ้าจันทกินรีทราบ เจ้าจันทกินรีจึงพาพรรคพวกข้ามน้ำโขงมาและพิเคราะห์ดูว่าที่ตั้งบริเวณนี้คงเป็นเมืองโบราณมาก่อน และประทับใจในความอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะตั้งถิ่นฐาน จึงได้พากันอพยพจากบ้านหลวงโพนสินมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบริเวณปากห้วยบังมุกที่นายพรานเป็นผู้พบ ในขณะที่กำลังจัดเตรียมพื้นที่เพื่อตั้งเมืองใหม่ ได้พบพระพุทธรูป 2 องค์อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง พระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อด้วยเหล็กเนื้อดี จึงได้พร้อมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณวัดร้างริมฝั่งโขง และขนานนามว่า วัดศรีมุงคุณ (ศรีมงคล) รวมทั้งก่อสร้างกุฏิวิหารขึ้น พร้อมอัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสององค์ขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหาร แต่ปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์เล็ก เกิดปาฎิหาริย์กลับลงไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่ตั้งเดิมหลายครั้ง และค่อย ๆ จมหายลงไปใต้ดิน คงเห็นแต่ยอดพระเกศโผล่ขึ้นมาให้เห็น จึงมีการสร้างแท่นสักการะบูชาครอบไว้ในบริเวณนั้น และขนานนามพระพุทธรูปองค์นั้นว่า พระหลุบเหล็ก ปัจจุบันบริเวณที่พระหลุบเหล็กจมดินได้ถูกกระแสน้ำเซาะตลิ่งโขงพังลงไปหมดแล้ว (คงเหลือแต่แท่นสักการะบูชาที่ยกเข้ามาเก็บรักษาไว้หน้าพระวิหารของวัดศรีมงคลใต้ในปัจจุบัน) ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ก่ออิฐถือปูน ชาวเมืองได้ขนานนามว่า "พระเจ้าองค์หลวง" เป็นพระประธานของวัดศรีมุงคุณ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดศรีมงคลใต้ ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดมุกดาหารนับแต่นั้นมา ในเวลาต่อมา มักมีผู้พบเห็นแก้วดวงหนึ่งมีสีสดใสเป็นประกายลอยออกจากต้นตาลริมฝั่งโขง และลอยไปตามลำน้ำโขงทุกคืน จนถึงช่วงใกล้สว่างจึงลอยกลับมาที่ต้นตาลเช่นเดิม เจ้าจันทกินรีจึงได้ขนานนามแก้วดวงนี้ว่า แก้วมุกดาหาร เนื่องจากได้ตั้งเมืองขึ้นริมฝั่งโขงตรงปากห้วยบังมุกอีกทั้งได้มีผู้พบเห็นไข่มุกในแม่น้ำโขงอีกด้วย และให้ขนานนามเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า เมืองมุกดาหาร ตั้งแต่เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1132 (พ.ศ. 2313) มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงรวมถึงแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว ครั้นถึงสมัยอาณาจักรธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้แผ่แสนยานุภาพขึ้นมาถึงแถบลุ่มแม่น้ำโขง กระทั่ง พ.ศ. 2321 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นมาปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยในสองฝั่งแม่น้ำโขง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เจ้าจันทกินรี เป็น พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารคนแรก เดิมทีเมืองมุกดาหารเคยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลอุดร ก่อนจะกลายเป็นอำเภอหนึ่งในเมืองนครพนมใน พ.ศ. 2450 (ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดใน พ.ศ. 2459) และได้แยกออกเป็น จังหวัดมุกดาหาร อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 ใน พ.ศ. 2549 สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของไทยและแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาวได้เปิดดำเนินการ == อาณาเขตติดต่อ == ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสะหวันนะเขด ประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดกาฬสินธุ์ == สภาพทางภูมิศาสตร์ == ด้านตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ ด้านตะวันตกเป็นผืนป่าบนทิวเขาภูพาน ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว == หน่วยการปกครอง == === การปกครองส่วนภูมิภาค === การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 53 ตำบล 526 หมู่บ้าน === การปกครองส่วนท้องถิ่น === แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 30 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 24 เทศบาลตำบล {| |--- valign=top || อำเภอเมืองมุกดาหาร เทศบาลเมืองมุกดาหาร เทศบาลตำบลดงเย็น เทศบาลตำบลคำอาฮวน เทศบาลตำบลมุก เทศบาลตำบลบางทรายใหญ่ เทศบาลตำบลโพนทราย เทศบาลตำบลผึ่งแดด เทศบาลตำบลคำป่าหลาย เทศบาลตำบลดงมอน เทศบาลตำบลนาโสก เทศบาลตำบลนาสีนวน || อำเภอนิคมคำสร้อย เทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย เทศบาลตำบลร่มเกล้า อำเภอดอนตาล เทศบาลตำบลดอนตาล เทศบาลตำบลบ้านแก้ง เทศบาลตำบลดอนตาลผาสุก อำเภอดงหลวง เทศบาลตำบลดงหลวง เทศบาลตำบลหนองแคน เทศบาลตำบลกกตูม || อำเภอคำชะอี เทศบาลตำบลคำชะอี อำเภอหว้านใหญ่ เทศบาลตำบลหว้านใหญ่ เทศบาลตำบลชะโนด อำเภอหนองสูง เทศบาลตำบลภูวง เทศบาลตำบลบ้านเป้า เทศบาลตำบลหนองสูงเหนือ |} == รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด == === ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร === == การศึกษา == ===ระดับอาชีวศึกษา=== ====อาชีวศึกษารัฐ==== วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร วิทยาลัยการอาชีพนิคมคำสร้อย วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการดอนตาล วิทยาลัยการอาชีพคำชะอี ====อาชีวศึกษาเอกชน==== วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการดงหลวง วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย มุกดาหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีมุกดาหาร ===ระดับอุดมศึกษา=== ====สถาบันอุดมศึกษารัฐ==== วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร ====สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา==== สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร == สถานที่สำคัญ == หอแก้วมุกดาหาร ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง วัดศรีมงคลใต้ วัดศรีบุญเรือง สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) หอยสมัยหิน กลองมโหระทึก ฐานปฏิบัติการวรพัฒน์ วัดภูด่านแต้ วัดภูพระบาทแก่นจันทน์ อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก วัดบรรพตคิรี น้ำตกตาดโดน หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แก่งกะเบา (พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช) วัดมโนภิรมย์ วัดพระศรีมหาโพธิ์ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ (พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช) น้ำตกถ้ำไทร,น้ำตกผาเจิ่น,จุดชมวิวผากิ่ว อำเภอนิคมคำสร้อย (ภายในวนอุทยานดงบังอี) ตลาดอินโดจีน (ถนนคนเดินตลาดอินโดจีน) ตลาดราตรี ถนนคนเดินลานสนุกมุกดาหาร พญาอนันตนาคราช วัดเวฬุวนาราม (วัดภูผาเจี๊ยะ) ไร่ภาสทอง สวนน้ำมุกดาหาร & สวนยิ้มแย้ม สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี วัดดานพระอินทร์ (รวมพญานาค) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม (วัดหลวงปู่จาม) ทุ่งกังหันลมร่มเกล้าวินด์ มุกดาหาร === สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ === อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านคอนสาย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมืองมุกดาหาร อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านหนองเม็ก ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,ยโสธร,อำนาจเจริญ) อุทยานแห่งชาติภูผายล/ห้วยหวด ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหวด ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร(สกลนคร,นครพนม,มุกดาหาร) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯตั้งอยูที่อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,กาฬสินธุ์) วนอุทยานดงบังอี ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯตั้งอยู่ที่ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด(ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์,มุกดาหาร) == เทศกาล == เทศกาลตรุษจีน-เวียดนาม จังหวัดมุกดาหาร เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลแข่งเรือ มหกรรมวิ่ง มุกดาหาร-สะหวันนะเขต งานมหัศจรรย์มุกดาหาร 3 พิภพ == สัญลักษณ์ประจำจังหวัด == ตราประจำจังหวัด: รูปปราสาทสองนางสถิตย์ ประดิษฐานแก้วมณีมุกดาหาร ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima) สัตว์ประจำจังหวัด: แมวดาว (Leopard cat) คำขวัญประจำจังหวัด: หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน == การคมนาคม == === รถยนต์ === มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 650 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อำเภอบ้านไผ่-มหาสารคาม-อำเภอยางตลาด-กาฬสินธุ์-อำเภอคำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด-เลี้ยวขวาผ่านอำเภอประทาย-อำเภอพุทไธสง-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย–อำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล-อำเภอกุดชุม-อำเภอเลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่จังหวัดมุกดาหาร === รถโดยสารประจำทาง === มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด เช่น กรุงเทพฯ - มุกดาหาร กรุงเทพฯ - มุกดาหาร นครราชสีมา - มุกดาหาร ขอนแก่น - มุกดาหาร มุกดาหาร - ระยอง มุกดาหาร - พัทยา - ระยอง มุกดาหาร - หัวหิน มุกดาหาร - แม่สอด === ทางอากาศ === ในปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารยังไม่มีท่าอากาศยาน จึงต้องใช้บริการท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง ได้แก่ ท่าอากาศยานนครพนม เดินทาง 1 ชม. 50 นาที (120 กม.) ท่าอากาศยานสกลนคร เดินทาง 1 ชม. 55 นาที (124 กม.) ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี เดินทาง 2 ชม. 29 นาที (169.7 กม.) โดยปกติชาวจังหวัดมุกดาหาร จะให้ท่าอากาศยานนครพนมเป็นหลักในการเดินทาง เพราะความสะดวกในการเดินทางและระบบขนส่งสาธารณะ รถตู้ ท่าอากาศยานนครพนม - บขส.จังหวัดมุกดาหาร บขส.จังหวัดนครพนม - บขส.จังหวัดมุกดาหาร (ไปกลับ) ในปี 2561 กรมท่าอากาศยาน ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้ใช้งบประมาณ 6 ล้านบาทในการสำรวจพื้นที่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างท่าอากาศยานในจังหวัดมุกดาหาร หากสร้างสำเร็จจะกลายเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 30 ของประเทศไทย การสำรวจดังกล่าวแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2562 และอยู่ในระหว่างดำเนินการขั้นตอนต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 5 พันล้านบาทในการก่อสร้าง === รถไฟ === ในปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารยังไม่มีระบบขนส่งทางราง โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างสำหรับ โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ทางคู่ บ้านไผ่ มุกดาหาร นครพนม มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2570 === รถโดยสารระหว่างประเทศ === มุกดาหาร - สะหวันนะเขต บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด === การคมนาคมภายในตัวจังหวัดมุกดาหาร === รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา) แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์ === ระยะห่างจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ === อำเภอนิคมคำสร้อย 29 กิโลเมตร อำเภอหว้านใหญ่ 32 กิโลเมตร อำเภอดอนตาล 34 กิโลเมตร อำเภอคำชะอี 38 กิโลเมตร อำเภอหนองสูง 53 กิโลเมตร อำเภอดงหลวง 55 กิโลเมตร === จุดผ่านแดนที่ติดต่อกับประเทศลาว === จุดผ่านแดนถาวร ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 ระหว่างอำเภอเมืองมุกดาหารและนครไกสอน พมวิหาน แขวงสุวรรณเขต จุดผ่านแดนถาวร ท่าเรือเทศบาลเมืองมุกดาหาร ระหว่างอำเภอเมืองมุกดาหารและนครไกสอน พมวิหาน แขวงสุวรรณเขต == บุคคลสำคัญ == จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11 == บุคคลที่มีชื่อเสียง == === พระเถระ/ภิกษุสามเณร === === นักแสดง === ศรุชา เพชรโรจน์ === นักร้อง === นิว มุกดา อดีตนักร้องเพลงลูกทุ่ง นุชรียา มุกดา (เปียโน) นักร้องเพลงลูกทุ่ง == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) รายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหาร รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดมุกดาหาร == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด สัญญา ชีวะประเสริฐ. (2555). ความทรงจำของเมืองสองฝั่งแม่น้ำโขง: มุกดาหาร และสะหวันนะเขด. วารสารประวัติศาสตร์ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). หน้า 49-60. จังหวัดมุกดาหาร - อีสานร้อยแปด
thaiwikipedia
499
ภาษาโปรตุเกส
ภาษาโปรตุเกส (português, ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสได้รับการขนานนามว่าเป็น A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูวิช วัช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ อุชลูซีอาดัช) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซียู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones == การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์ == ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาแรกของประเทศแองโกลา ประเทศบราซิล ประเทศโปรตุเกส และประเทศเซาตูเมและปรินซิปีและเป็นภาษาที่ใช้กว้างขวางมากที่สุดในประเทศโมแซมบิก นอกจากนี้ยังเป็นภาษาราชการของประเทศติมอร์-เลสเต (ร่วมกับภาษาเตตุน) และของมาเก๊า (ร่วมกับภาษาจีน) ภาษาโปรตุเกสมีการพูดกว้างขวาง แต่ไม่ใช่ภาษาราชการในประเทศอันดอร์รา ประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศนามิเบีย และประเทศปารากวัย ภาษาครีโอลโปรตุเกสเป็นภาษาแม่ของประเทศกาบูเวร์ดีและบางส่วนของประชากรของประเทศกินี-บิสเซา ชาวกาบูเวร์ดีส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาโปรตุเกสมาตรฐานได้ด้วย และใช้ในระดับภาษาของท้องถิ่น ชุมชนผู้อพยพที่สามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ปรากฏอยู่ในหลายเมืองทั่วโลก เช่น มอนทรีออลและโทรอนโตในประเทศแคนาดา; ปารีสในประเทศฝรั่งเศส; อาซุนซิออนในประเทศปารากวัย; บอสตัน นิวเบ็ดฟอร์ด เคปค็อด ฟอลล์ริเวอร์ โฮโนลูลู ฮิวสตัน นวร์ก นครนิวยอร์ก ออร์แลนโด ไมแอมี พรอวิเดนซ์ แซคราเมนโตในสหรัฐอเมริกา; บัวโนสไอเรส ในประเทศอาร์เจนตินา อุรุกวัย และในประเทศญี่ปุ่น ประเทศอื่น ๆ ที่สามารถพบผู้ที่พูดภาษาโปรตุเกสได้ รวมถึงอันดอร์รา เบลเยียม เบอร์มิวดา สวิตเซอร์แลนด์ และบางชุมชนในประเทศอินเดีย เช่นกัว มีผู้พูดภาษาโปรตุเกส ประมาณ 187 ล้านคนในอเมริกาใต้ 17 ล้านคนในแอฟริกา 12 ล้านคนในยุโรป 2 ล้านคนในอเมริกาเหนือ และ 610,000 คนในเอเชีย โปรตุเกส โปรตุเกส โปรตุเกส โปรตุเกส โปรตุเกส โปรตุเกส โปรตุเกส โปรตุเกส โปรตุเกส โปรตุเกส
thaiwikipedia
500