title
stringlengths 1
182
| text
stringlengths 1
45.8M
| source
stringclasses 5
values | __index_level_0__
int64 0
197k
|
---|---|---|---|
แก้ว (พรรณไม้) | แก้ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม
ชื่อพื้นเมืองอื่น: กะมูนิง (มลายู ปัตตานี) แก้วขาว (กลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง) และ ตะไหลแก้ว (เหนือ)
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกลำต้นสีขาวปนเทา ลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาว การแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อเป็นแผง ออกใบเรียงสลับกัน ช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอด ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
== การกระจายพันธุ์ ==
แก้วมีถิ่นกำเนิดจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และออสเตรเลีย มันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศในทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาได้
== การปลูกเลี้ยง ==
สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี
การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก
การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
=== การดูแลรักษา ===
ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง ชอบดินร่วนซุย หรือดินร่วนทราย ต้องการแสงแดดจัด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอน
== วรรณกรรม ==
แก้วปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง นิราศธารทองแดง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย
นมตำเลียเรี่ยทางไป
หอมหวังวังเวงใจ
ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว
== ความเชื่อ ==
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิ่งที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรียบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้ว นอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะอาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ
== ดอกไม้และต้นไม้ประจำสถาบัน ==
ดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว
ดอกไม้ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร
ดอกไม้ประจำโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี
ดอกไม้ประจำโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง
ดอกไม้ประจำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
ต้นไม้ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ต้นไม้ประจำโรงเรียนกุลมาฒน์ธนบุรี
ต้นไม้ประจำโรงเรียนทวีธาภิเศก
ต้นไม้ประจำโรงเรียนเพชรพิทยาคม
ต้นไม้ประจำโรงเรียนสตรีนนทบุรี
ต้นไม้ประจำโรงเรียนสระแก้ว
ต้นไม้ประจำโรงเรียนสระหลวงพิทยาคม
ดอกไม้ประจำ โรงเรียนโยธินบำรุง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ดอกไม้ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
==ภาพ==
Orange Jasmine.JPG|ดอก
Starr_061105-9627_Murraya_paniculata.jpg|ดอกและใบ
Murraya paniculata line draing.gif|ภาพเส้นแสดงดอกและผล
Murraya paniculata fruits closeup.jpg|ผล
Starr_061105-9634_Murraya_paniculata.jpg|
Feuillage_de_Murraya_paniculata.jpg|กลุ่มใบ
== อ้างอิง ==
กแก้ว
กแก้ว
กแก้ว
กแก้ว | thaiwikipedia | 200 |
พุดทุ่ง | พุดทุ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Holarrhena densiflora Ridl.; Holarrhena curtisii King & Gamble) หรืออาจเรียกว่า พุดน้ำ, ถั่วหนู, หัสคุณใหญ่, หัสคุณเทศ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-5 ฟุต ลำต้นกลม ตั้งตรง เปลือกต้นของกิ่งก้าน และลำต้นมีสีน้ำตาลดำ ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายแหลม เนื้อหนา ดอกเป็นช่อกลีบสีขาวหนา ผลเป็นฝักกลมยาว
== การดูแลและขยายพันธุ์ ==
เป็นไม้ปลูกในที่มีแดด และต้องการดินชุ่ม เพราะมักเกิดในที่ลุ่มชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
== สรรพคุณทางยา ==
ลำต้นและรากมีรสร้อน ขับเลือดและหนองให้ตก ขับลม กระจายเลือดลม ขับพยาธิ
== อ้างอิง ==
ITIS 30124
วงศ์ตีนเป็ด
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้พุ่ม
สมุนไพร | thaiwikipedia | 201 |
วิทยาการสารสนเทศ | วิทยาการสารสนเทศ (information science) หรือ สารสนเทศศาสตร์ หรือ สารนิเทศศาสตร์ หรือ สนเทศศาสตร์ (informatics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศ ตั้งแต่การรับรู้, การทำความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, การเก็บ, การค้นคืน, การสื่อสาร สารสนเทศอย่างเป็นระบบ ในการศึกษาด้านวิทยาการสารสนเทศนั้น มีความจำเป็นต้องศึกษาวิชาในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วยเนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับประมวลผลสารสนเทศ
วิทยาการสารสนเทศนั้นยังสนใจกระบวนความคิดและสารสนเทศในเชิงประยุกต์ด้วย เช่น เรื่องของสารสนเทศในสิ่งมีชีวิตในประชานศาสตร์ (cognitive science) ซึ่งศึกษากระบวนความคิดและการทำงานของสมองของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างการประยุกต์วิทยาการสารสนเทศ อื่น ๆ เช่น ชีวสารสนเทศศาสตร์ ในกรณีนี้คือการศึกษาสารสนเทศทางชีววิทยา หรือ การศึกษาด้านวิทยาการสารสนเทศที่เกี่ยวกับการส่งสารสนเทศไปยังผู้รับสารด้วย ซึ่งคือบางส่วนของนิเทศศาสตร์
== นิยามอื่น ๆ ==
"วิทยาการสารสนเทศเป็นการศึกษาโครงสร้าง พฤติกรรม และการโต้ตอบ ระหว่างระบบที่คำนวณได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติและที่ถูกวิศวกรรมขึ้น" โดยสถาบันสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ
== ดูเพิ่ม ==
วิทยาการคอมพิวเตอร์
ปัญญาประดิษฐ์
เทคโนโลยีสารสนเทศ
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
วารสารศาสตร์สื่อประสม
วิทยาการข้อมูล
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Knowledge Map of Information Science
Journal of Information Science
Digital Library of Information Science and Technology open access archive for the Information Sciences
Current Information Science Research at U.S. Geological Survey
Introduction to Information Science
The Nitecki Trilogy
Information science at the University of California at Berkeley in the 1960s: a memoir of student days
Chronology of Information Science and Technology
LIBRES – Library and Information Science Research Electronic Journal -
Curtin University of Technology, Perth, Western Australia
Shared decision-making
สังคมศาสตร์ | thaiwikipedia | 202 |
โรโบคัพ | โรโบคัพ (Robocup) คือการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติระดับนานาชาติ จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นคว้าและพัฒนาศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (หุ่นยนต์) เริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
โรโบคัพซอกเกอร์ (RoboCup Soccer) - เป็นการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์
โรโบคัพเรสคิว (RoboCup Rescue) - หุ่นยนต์กู้ภัย
โรโบคัพจูเนียร์ (RoboCup Junoir) - หุ่นยนต์ของเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี
== สถานที่แข่งขันโรโบคัพ ==
== ดูเพิ่ม ==
อาซิโม
คิวริโอ
นาโอะ
วิทยาการหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์
กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์
การแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์ระหว่างประเทศ
เอบียูโรบอตคอนเทสต์
อาซิโม
ทฤษฎีระบบควบคุม
เมคคาทรอนิกส์
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
RoboCup Soccer - ฟุตบอลหุ่นยนต์โลก
* RoboCup German Open - การแข่งขันหุ่นยนต์ฟุตบอลระดับประเทศ ที่เยอรมัน
* Thailand RoboCup 2003 - การแข่งขันหุ่นยนต์ฟุตบอลระดับประเทศ ที่ประเทศไทย
Federation of International Robot-soccer Association (FIRA) - การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ระดับนานาชาติอีกรายการ
RoboCupRescue - การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย
* Thailand Rescue Robot Championship 2004 - การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยระดับประเทศ ที่ประเทศไทย
ทีมโรโบคัพ
* จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ไทย) - Plasma Z
** แชมป์ประเทศไทย ปี 2003, 2004, 2005, 2006, 2007, 2008
** รางวัลที่ 3 ของโลก (Small-size league) World RoboCup 2006
** ชนะเลิศ Small-size league - Technical Challenge World RoboCup 2006
** รองชนะเลิศ World RoboCup 2007 (Small-size league)
** แชมป์โลก World RoboCup 2008 (Small-size league)
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ไทย) - iRAP_PRO และ Independent
** แชมป์โลก World RoboCup 2006 (Robocup Rescue)
** แชมป์โลก World RoboCup 2007 (Robocup Rescue)
** แชมป์โลก World RoboCup 2009 (Robocup Rescue)
** แชมป์โลก World RoboCup 2010 (Robocup Rescue)
* จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ไทย) - Plasma RX
** แชมป์โลก World RoboCup 2008 (Robocup Rescue)
* มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ไทย) - Skuba
** รางวัลที่ 3 ของโลก (Small-size league) World RoboCup 2008
** รองชนะเลิศ Small-size league - Technical Challenge World RoboCup 2008
** แชมป์โลก World RoboCup 2009 (Small-size league)
** ชนะเลิศ Small-size league - Technical Challenge World RoboCup 2009
** Best Extended Team Description Paper (Small-size league) - World RoboCup 2009
** แชมป์ RoboCup China Open 2009 (Small-size league)
* มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ไทย) - อัศวินน้อย ไข่นุ้ย
* สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ไทย)
* Cornell University (สหรัฐ) - BigRed, แชมป์โลก ปี 2003 (ลีกขนาดเล็ก)
* Fraunhofer AiS (เยอรมัน)
* IU Bremen (เยอรมัน)
* Politecnico di Milano (อิตาลี)
* Philips
* RWTH-Aachen (เยอรมัน) - The AllemaniACs
* Swinburne University (ออสเตรเลีย)
* TU Darmstadt (เยอรมัน) - Dribbling Dackels (ลีกสี่ขา)
* TU Wien (เยอรมัน)
* Universidad de Chile (ชิลี)
* University of Freiburg (เยอรมัน)
* University of Pennsylvania (สหรัฐ) - รองแชมป์โลก ปี 2003 (ลีกสี่ขา)
* University of Queensland (ออสเตรเลีย) - RoboRoos, รองแชมป์โลก ปี 2003
* University of Tübingen (DE) - เทคนิคยอดเยี่ยม ปี 2003 (ลีกขนาดกลาง)
* UNSW (ออสเตรเลีย) - rUNSWift, แชมป์โลก ปี 2003 (ลีกสี่ขา)
หุ่นยนต์
การแข่งขันหุ่นยนต์ | thaiwikipedia | 203 |
เทคโนโลยีสารสนเทศ | เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่น โทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์
มนุษย์รู้จักการจัดเก็บ ค้นคืน จัดดำเนินการ และสื่อสารสารสนเทศมาตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียโดยชาวซูเมอร์ ซึ่งได้พัฒนาเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ศัพท์ ในความหมายสมัยใหม่ ปรากฏขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1958 ในงานพิมพ์ ฮาร์เวิร์ดบิซเนสรีวิว (Harvard Business Review) ซึ่งเขียนโดย และ โทมัส แอล. วิสเลอร์ โดยให้ความเห็นไว้ว่า "เทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นสิ่งเดียว เราจะเรียกมันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)" คำจำกัดความของศัพท์นี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีสามประเภท ได้แก่ เทคนิคเพื่อการประมวลผล การประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ และการจำลองความคิดในระดับที่สูงขึ้นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ =
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจแบ่งได้เป็นสี่ยุค ตามเทคโนโลยีการจัดเก็บและการประมวลผลที่ใช้ ได้แก่ ยุคก่อนเครื่องกล (3000 ปีก่อน ค.ศ. – คริสต์ทศวรรษ 1450) ยุคเครื่องกล (1450–1840) ยุคเครื่องกลไฟฟ้า (1840–1940) และยุคอิเล็กทรอนิกส์ (1940–ปัจจุบัน) บทความนี้จะให้ความสำคัญไปที่ยุคล่าสุด (ยุคอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเริ่มเมื่อประมาณคริสต์ทศวรรษ 1940
== ประวัติของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ==
บทความหลัก: ประวัติความเป็นมาของฮาร์ดแวร์การคำนวณ
อุปกรณ์ได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการคำนวณเป็นพัน ๆ ปีมาแล้ว น่าจะเป็นในรูปแบบของไม้หรือติ้วเพื่อบันทึกการนับ กลไก Antikythera สืบมาจากจุดเริ่มต้นของศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริศตศักราชโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่าเป็น คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อกที่ใช้กลไกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกัน และกลไกที่ใช้เฟืองที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกัน อุปกรณ์ที่ใช้เฟืองทีสามารถเทียบได้ไม่ได้เกิดขึ้นใน ยุโรปจนถึงศตวรรษที่ 16 และมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งปี ค.ศ. 1645 ที่เครื่องคิดเลขกลไกตัวแรกที่มีความสามารถในการดำเนินการคำนวณทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานทั้งสี่ได้รับการพัฒนา
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้รีเลย์หรือวาล์ว เริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1940 เครื่องกลไฟฟ้า Zuse Z3, เสร็จสมบูรณ์ใน ปี ค.ศ.1941, เป็นคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมได้เครื่องแรกของโลก และตามมาตรฐานที่ทันสมัย เป็นหนึ่งในเครื่องแรกที่อาจถูกพิจารณาว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์แบบเครื่องหนึ่ง เครื่อง Colossus, ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อถอดรหัสข้อความภาษาเยอรมัน, เป็นคอมพิวเตอร์ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ตัวแรก แม้ว่ามันจะโปรแกรมได้ มันก็ไม่ได้ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป มันถูกออกแบบมาเพื่อทำงานเพียงงานเดียว มันยังขาดความสามารถในการจัดเก็บโปรแกรมในหน่วยความจำอีกด้วย การเขียนโปรแกรม สามารถทำได้โดยใช้ปลั๊กและสวิทช์เพื่อเปลี่ยนแปลงการเดินสายไฟภายใน คอมพิวเตอร์ที่เก็บโปรแกรมได้แบบดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยและได้รับการยอมรับตัวแรก คือ Manchester Small-Scale Experimental Machine (SSEM) ซึ่งเริ่มใช้โปรแกรมแรกในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1948
การพัฒนาของทรานซิสเตอร์ในปลายปี ค.ศ. 1940 ที่ ห้องปฏิบัติการ Bell ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบรุ่นใหม่ใช้พลังงานที่ลดลงอย่างมาก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บโปรแกรมได้ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ตัวแรกชื่อ Ferranti Mark I ประกอบด้วย วาล์ว 4,050 ตัวและมี การใช้พลังงาน 25 กิโลวัตต์ เมื่อเปรียบเทียบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ตัวแรก, ที่ถูกพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยแห่งแมนเชสเตอร์และเปิดใช้งานในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1953, บริโภคพลังงานเพียง 150 วัตต์ในรุ่นสุดท้ายของมัน
โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกรอบงานบูรณาการภายใต้เครือข่ายดิจิตอลทำงานอยู่ โครงสร้างพื้นฐานนี้ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูล, เครื่องคอมพิวเตอร์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์จัดการฐานข้อมูลและระบบการกำกับดูแล
ในเทคโนโลยีสารสนเทศและบนอินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานเป็นฮาร์ดแวร์ทางกายภาพที่ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายตัวและผู้ใช้หลายคน โครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยสื่อการส่งผ่าน, รวมทั้งสายโทรศัพท์, สายเคเบิลทีวี, ดาวเทียมและเสาอากาศ และยังมีเราเตอร์หลายตัว ที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเทคโนโลยีการส่งผ่านทั้งหลายที่แตกต่างกัน
ในการใช้งานบางครั้ง โครงสร้างพื้นฐานหมายถึงการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ และไม่ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบางคน โครงสร้างพื้นฐานถูกมองว่าเป็นทุกอย่างที่สนับสนุนการไหลและการประมวลผลของข้อมูล
บริษัทโครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอินเทอร์เน็ต พวกเขามีอิทธิพลว่าที่ไหนบ้างต้องมีการเชื่อมโยง, ที่ไหนบ้างที่ข้อมูลจะต้องถูกทำให้สามารถเข้าถึงได้ และ จำนวนข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้และทำได้รวดเร็วได้อย่างไร
==การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์==
บทความหลัก: การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
===อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล===
บทความหลัก: Data storage device (Camin chuto)
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ระยะแรก เช่น Colossus ใช้เทปเจาะรู(เป็นกระดาษแถบยาวที่ข้อมูล ถูกแทนด้วยชุดของรู) เทคโนโลยีที่ปัจจุบันนี้ล้าสมัยไปแล้ว ที่จัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ย้อนหลังไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อรูปแบบหนึ่งของหน่วยความจำแบบ delay line (เมมโมรีแบบเข้าถึงโดยลำดับ) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลบล้างความยุ่งเหยิงจากสัญญาณเรดาร์ การใช้งานในทางปฏิบัติเป็นครั้งแรกเป็น delay line ปรอท อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิตอลแบบเข้าถึงโดยการสุ่มตัวแรกคือหลอดของ วิลเลียมส์ ที่มีมาตรฐานของหลอดรังสีแคโทด, แต่ข้อมูลที่เก็บไว้ในนั้นมีความผันผวน จะ ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและหายไปเมื่อไฟดับ รูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของตัวจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยไม่ผันผวนคือกลองแม่เหล็ก (magnetic drum) ที่ถูกคิดค้นใน ปี ค.ศ. 1932 และถูกใช้ในเครื่อง Ferranti Mark 1 ซึ่งเป็น คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์วัตถุประสงค์ทั่วไปที่ใช้ในเชิงพาณิชย์เครื่องแรกของโลก
ไอบีเอ็มเปิดตัวฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ตัวแรกในปี ค.ศ. 1956 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ 305 RAMAC ของพวกเขา ข้อมูลดิจิตอลส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะยังคงถูกเก็บไว้ในรูปสนามแม่เหล็กในฮาร์ดดิสก์ หรือในรูปแสงบนสื่อเช่น ซีดีรอม จนกระทั่งปี ค.ศ. 2002 ข้อมูลส่วนใหญ่ ถูกเก็บไว้บนอุปกรณ์แบบอนาล็อก แต่ในปีเดียวกัน ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลก็เกินอนาล็อกเป็นครั้งแรก ขณะที่ปี ค.ศ. 2007 เกือบ 94% ของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บทั่วโลกเป็นดิจิทัล: 52% ในฮาร์ดดิสก์, 28% บนอุปกรณ์แสง และ 11% ในเทปแม่เหล็กดิจิทัล คาดว่าความจุทั่วโลกในการจัดเก็บข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นจาก น้อยกว่า 3 exabytes ใน ค.ศ.1986 ไปเป็น 295 exabytes ในปี ค.ศ. 2007 เป็นสองเท่าทุก ๆ 3 ปี
===ฐานข้อมูล===
บทความหลัก: Database management system
ระบบการจัดการฐานข้อมูลเกิดขึ้นใน ปี ค.ศ.1960 เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลจำนวนมากได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว หนึ่งในระบบดังกล่าวแรกสุดเป็นระบบ Information Management System (IMS) ของไอบีเอ็ม, ซึ่งยังคงใช้งานอย่างกว้างขวางกว่า 40 ปีต่อมา IMS เก็บข้อมูลตามลำดับขั้น แต่ ในปี ค.ศ.1970 เท็ด Codd เสนอรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่สัมพันธ์เป็นทางเลือก อยู่บนพื้นฐานของการตั้งทฤษฎีและตรรกะ คำกริยาและแนวคิดที่คุ้นเคยของตาราง แถวและคอลัมน์ ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ในเชิงพาณิชย์ (relational database management system หรือ RDBMS) มีให้บริการเป็นครั้งแรกโดยบริษัท ออราเคิล ในปี ค.ศ.1980
ทุกระบบการจัดการฐานข้อมูลประกอบด้วยจำนวนขององค์ประกอบที่ร่วมกันยอมให้ข้อมูลที่พวกมันเก็บไว้สามารถเข้าถึงได้พร้อมกันโดยผู้ใช้หลายคนในขณะที่ยังรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลไว้ด้วย ลักษณะของฐานข้อมูลทั้งหมดเป็นโครงสร้างของข้อมูลที่พวกมันเก็บไว้ถูกกำหนดและจัดเก็บไว้แยกต่างหากจากข้อมูลของตัวมันเองในโครงสร้างแบบสกีมา
ภาษามาร์กอัปขยายได้ (XML ) ได้กลายเป็นรูปแบบที่นิยมสำหรับการแทนข้อมูลในหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าข้อมูล XML จะถูกเก็บไว้ในระบบไฟล์ปกติ มันจะถูกจัดเก็บโดยทั่วไปในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เพื่อใช้ประโยชน์จาก "การดำเนินงานที่แข็งแกร่งที่ถูกตรวจสอบโดยหลายปีความพยายามทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ" ของพวกเขา เนื่องจากการวิวัฒนาการของ Standard Generalized Markup Language ( SGML ) โครงสร้างที่มีพื้นฐานมาจากข้อความของ XML ได้เสนอข้อได้เปรียบของการเป็นทั้งเครื่องและสิ่งที่มนุษย์สามารถอ่านได้
===การค้นคืนข้อมูล===
รูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ได้แนะนำให้รู้จักการเขียนโปรแกรมอิสระภาษา ชื่อ Structured Query Language (SQL) ที่มีพื้นฐานจากพีชคณิตสัมพันธ์
คำว่า "ข้อมูล"และ"สารสนเทศ" ไม่ใช่คำเดียวกัน อะไรที่เก็บไว้เป็นข้อมูล แต่มันจะกลายเป็นสารสนเทศก็ต่อเมื่อ มันถูกจัดระเบียบและนำเสนอความหมาย ส่วนใหญ่ของข้อมูลดิจิตอลของโลกไม่มีโครงสร้างและถูกเก็บไว้ในหลายรูปแบบทางกายภาพที่แตกต่างกัน แม้จะอยู่ในองค์กรเดียวกันก็ตาม คลังข้อมูลเริ่มถูกพัฒนาในช่วงปี ค.ศ.1980 ที่จะรวมร้านค้าที่แตกต่างกันเหล่านี้ พวกมันมักจะมีข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งแหล่งภายนอกเช่น Internet, ที่ถูกจัดในลักษณะเพื่ออำนวยความสะดวกให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support system หรือ DSS)
===การส่งผ่านข้อมูล===
การส่งผ่านข้อมูลมี 3 มุมมอง ได้แก่ การส่ง, การแพร่ และการรับ มันสามารถจำแนกกว้าง ๆ เป็น การกระจายออกไปในสื่อที่ข้อมูลจะถูกส่งไปทิศทางเดียวลงไปท้ายน้ำหรือการสื่อสารโทรคมนาคมที่มี 2 ช่องทาง ไปทางต้นน้ำและปลายน้ำ
XML ถูกนำมาใช้งานมากขึ้นเพื่อเป็นวิธีการของแลกเปลี่ยนข้อมูลตั้งแต่ช่วงต้นยุค ค.ศ. 2000 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการปฏิสัมพันธ์แบบเครื่องต่อเครื่อง เช่น ผู้ที่เกี่ยวข้องในโพรโทคอลที่ใช้กับเว็บ เช่น SOAP ที่อธิบาย "ข้อมูลในการขนส่ง มากกว่า ... ข้อมูลที่พักอยู่" หนึ่งในความท้าทายของการใช้งานดังกล่าวเป็นการแปลงข้อมูลจากฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ให้เป็นโครงสร้าง (รักอิ๋ว) XML Document Object Model (DOM)
===การจัดดำเนินการข้อมูล===
ฮิลแบร์ต และ โลเปซ ระบุการก้าวแบบ exponential ของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ( ชนิดของกฎของมัวร์): ความสามารถในการประยุกต์ใช้เฉพาะงานของเครื่องเพื่อคำนวณข้อมูลต่อหัวจะประมาณสองเท่าทุก ๆ 14 เดือนระหว่างปี ค.ศ. 1986 ถึง ค.ศ. 2007 ความสามารถต่อหัวของเครื่องคอมพิวเตอร์วัตถุประสงค์ทั่วไปของโลกจะเป็นสองเท่าทุก ๆ 18 เดือนในช่วงสองทศวรรษเดียวกัน; ความสามารถในการสื่อสารโทรคมนาคมระดับโลกต่อหัวจะเป็นสองเท่าทุก ๆ 34 เดือน ความจุของตัวเก็บข้อมูลของโลกต่อหัวต้องการประมาณ 40 เดือนจึงจะเป็นสองเท่า (ทุก 3 ปี); และ ต่อหัวของข้อมูลที่กระจายไปในสื่อจะเป็นสองเท่าทุก ๆ 12.3 ปี
ข้อมูลจำนวนมหาศาลจะถูกเก็บไว้ทั่วโลกทุกวัน นอกจากมันจะสามารถถูกวิเคราะห์และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันจำเป็นที่จะถูกเก็บอยู่ในสิ่งที่ถูกเรียกว่า สุสานข้อมูล: "เป็นคลังเก็บข้อมูลที่ไม่ค่อยมีการเข้าเยี่ยมชม" เพื่อแก้ไขปัญหานั้น สาขาของเหมืองข้อมูล - "กระบวนการของการค้นพบรูปแบบที่น่าสนใจและ ความรู้จากข้อมูลจำนวนมาก" - เกิดขึ้นใน ช่วงปลายปี ค.ศ.1980
== มุมมองด้านวิชาการ ==
ในบริบททางวิชาการ สมาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็ม (ACM) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า "หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ให้ผู้ศึกษามีความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พร้อมรับความต้องการของธุรกิจ รัฐบาล บริการด้านสุขภาพ สถานศึกษา และองค์การอย่างอื่น ... ผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับองค์การ การผสมผสานผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้เข้ากับความต้องการและโครงสร้างพื้นฐานขององค์การ และการติดตั้ง ปรับแต่ง และบำรุงรักษาการใช้งานเหล่านั้นให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ขององค์การ"
===มุมมองด้านการพาณิชย์และการจ้างงาน===
ในบริบทของธุรกิจ สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (ITAA) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเป็น "การเรียน การออกแบบ การพัฒนา การประยุกต์ การทำให้เกิดผล การสนับสนุน และการจัดการระบบสารสนเทศที่อาศัยคอมพิวเตอร์" ความรับผิดชอบของงานเหล่านั้นในขอบข่ายรวมไปถึงการบริหารเครือข่าย การพัฒนาและการติดตั้งซอฟต์แวร์ และการวางแผนและจัดการวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยีขององค์การ อันประกอบด้วยการบำรุงรักษา การยกระดับ และการทดแทนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
มูลค่าทางธุรกิจของเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในการทำ automation ของขบวนการทางธุรกิจ, การจัดหาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ, การเชื่อมโยงธุรกิจกับลูกค้า, และการจัดหาเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ
===มุมมองด้านจริยธรรม===
บทความหลัก: (Information ethics)
สาขาจริยธรรมข้อมูลถูกจัดตั้งขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ Norbert Wiener ในปี ค.ศ.1940 บางส่วนของประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึง:
การละเมิดของลิขสิทธิ์โดยการดาวน์โหลดไฟล์ที่จัดเก็บไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์
นายจ้างทำการตรวจสอบอีเมลของพนักงานและการใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ
อีเมลที่ไม่พึงประสงค์
แฮกเกอร์เข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์
เว็บไซต์ที่ติดตั้งคุกกี้หรือสปายแวร์ในการตรวจสอบกิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้
== อ้างอิงและเชิงอรรถ ==
== ดูเพิ่ม ==
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology: ICT)
ระบบสารสนเทศ (information systems: IS)
การคอมพิวเตอร์ (computing)
วิทยาการสารสนเทศ (information science or informatics)
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science)
ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
สารสนเทศ (information)
ทฤษฎีสารสนเทศ (information theory)
ข้อมูล (data) | thaiwikipedia | 204 |
ใบระบาด | ใบระบาด (ชื่อสามัญ: Baby Wood Rose, Baby Hawaiian Woodrose, Elephant Climber, Elephant Creeper, Elephant Creeper Silver, Elephant Vine, Silver Morning, Silver Morning Glory, Morning Glory, Wood Rose, Woolly Morning Glory) ( (Burm.f.) Bojer) มีชื่อพื้นเมือง เช่น ผักบุ้งเงิน ผักระบาด หรือ เมืองมอน เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae)
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
พรรณไม้ในวงศ์ผักบุ้ง ลำต้นสีเขียว เลื้อยพันได้ ไม้เลื้อยอายุหลายปี ทอดเลื้อยได้ไกล 10 เมตร ทุกส่วนของใบระบาดมีน้ำยางสีขาว กิ่งอ่อนสีขาว มีขนสีขาวเงินปกคลุมหนาแน่น ใบสีเขียวเทา ใต้ใบและผิวนอกของกลีบดอกมีขนสีขาวแกมเงิน วงกลีบดอกรูปหลอด ภายในสีชมพูอมม่วงอ่อน ผลเป็นแบบกระเปาะมีกลีบเลี้ยงติด ลักษณะผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร เมล็ดสีดำ เป็นไม้พื้นเมืองของอินเดียมีชื่อในภาษาสันสกฤตว่า विधारा (Vidhara) มีการกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก รวมทั้งในฮาวายและประเทศแถบทะเลแคริบเบียน พบมากที่ฮาวาย สามารถกลายเป็นพืชรุกรานได้
== สารสำคัญ ==
มีสารเออร์โกลีนและเอไมด์ของกรดไลเซอร์กิก มีฤทธิ์หลอนประสาท ห้ามรับประทานใบและเมล็ด โดยใบห้ามนำมารับประทาน หากรับประทานใบเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง มึนงง ตาพร่า ส่วนเมล็ดถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้ประสาทหลอน
== บรรณานุกรม ==
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). "ใบระบาด (Bai Rabat)". หน้า 168.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). "ใบละบาท". หน้า 443-444.
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. "ใบระบาด". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.
ไม้ประดับออนไลน์. "ใบละบาท". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.maipradabonline.com.
==ระเบียงภาพ==
ไฟล์:ใบระบาด Argyreia nervosa (Burm. f.) Bojer. FAMILY CONVOLVULACEAE (5).jpg|thumb| ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ของใบระบาด
ไฟล์:ใบระบาด Argyreia nervosa (Burm. f.) Bojer. FAMILY CONVOLVULACEAE (4).jpg|thumb|ใบระบาด
ไฟล์:ใบระบาด Argyreia nervosa (Burm. f.) Bojer. FAMILY CONVOLVULACEAE (10).jpg|thumb|ใบระบาด
ไฟล์:ใบระบาด Argyreia nervosa (Burm. f.) Bojer. FAMILY CONVOLVULACEAE (11).jpg|thumb|ใบระบาด
== อ้างอิง ==
ใบระบาด จากโรงเรียนพหฤทัยคอนแวนต์
==แหล่งข้อมูลอื่น==
PLANTS database entry
Growing Hawaiian Baby Woodrose
Argyreia nervosa Flower & Leaf (Photos)
วงศ์ผักบุ้ง
ไม้ดอกไม้ประดับ
พืชมีพิษ | thaiwikipedia | 205 |
ผีเสื้อแสนสวย | ผีเสื้อแสนสวย เป็นไม้พุ่ม จะสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร พุ่มโปร่ง รูปทรงพุ่มกลม ขนาดพุ่มเป็นกอใหญ่ประมาณ 1 เมตร ลำต้นเมื่อแก่แล้วมีสีน้ำตาลเข้มไปสู่น้ำตาลอ่อน ลำต้นอ่อนออกเป็นสีเขียว ใบเขียวตลอดทั้งใบ ผิวสัมผัสหยาบ ดอกเป็นสีฟ้า กับสีฟ้าอ่อนจนแทบขาว เมื่อดอกบานออกมาจะเหมือนผีเสื้อ มีทั้งปีกบนสองปีก ปีกล่างสองปีกข้างลำตัว มีหนวดเป็นเกสรตัวผู้ที่ยาวอย่างอ่อนช้อย มีดอกตลอดทั้งปี ไม่มีกลิ่นหอม
ผีเสื้อแสนสวย ชอบดินร่วนเหนียว ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวันขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง เพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ควรปลูกเป็นกอละ 6 ต้นต่อตารางเมตร หรือ 3 ต้นต่อตารางเมตร หรือปลูกเป็นลำต้นเดี่ยวๆ เป็นแถวยาว
== ดูเพิ่ม ==
ผีเสื้อ (พรรณไม้)
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์กะเพรา | thaiwikipedia | 206 |
สายหยุด | สายหยุด หรือ สาวหยุด หรือ กาลัด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Desmos chinensisเป็นพืชมีดอกในวงศ์ Annonaceae เป็นไม้เลื้อยหรือไม้รอเลื้อยสูงได้ถึง 4 เมตร ดอกสีเขียวอมเหลือง คล้ายกับดอก Cananga odorata หรืออีลางอีลาง บางครั้งจึงเรียกอีลางอีลางแคระ. ดอกเมื่อแก่จัดจะกลายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรงโดยเฉพาะตอนเช้า พอถึงยามสายก็หมดกลิ่น
== อ้างอิง ==
ITIS 18092
วงศ์กระดังงา
ไม้ดอกไม้ประดับ
พรรณไม้ในวรรณคดี
ไม้เลื้อย | thaiwikipedia | 207 |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (King Mongkut's University of Technology Thonburi; อักษรย่อ: มจธ. – KMUTT) หรือนิยมเรียกโดยทั่วไปว่า บางมด (Bangmod) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับเลือกจากรัฐบาลให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research University) รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยที่ปรับเปลี่ยนสถานะจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ แห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเปิดสอนใน 8 คณะ, บัณฑิตวิทยาลัย 2 แห่ง สถาบันซึ่งดูแลและจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรเฉพาะทาง 1 แห่ง และวิทยาลัย 1 แห่ง โดยเปิดสอนทั้งหลักสูตรปกติ หลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติ ครอบคลุมในระดับปริญญาตรี, โท และเอก จัดการเรียนการสอนใน 3 พื้นที่การศึกษา และ 1 อาคาร คือ มจธ.บางมด, มจธ.บางขุนเทียน, มจธ.ราชบุรี และสำนักเคเอกซ์ (KX - Knowledge Exchange for Innovation)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วยพระนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และมีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน
มจธ. เป็นมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับโลก โดยเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 5 ปีซ้อน ในปี 2561 ถึง 2565 โดยสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก Times Higher Education และถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยีอันดับที่ 1 ของประเทศไทย 2 ปีซ้อน ในปี 2562 และ 2563 โดยการจัดอันดับของ U.S. News & World Report
== ประวัติ ==
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี " ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาเหตุในการก่อตั้งเนื่องมาจากในช่วงปี 2500 ประเทศไทยได้มีการขยายตัวอย่างมาก ประกอบกับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) ไม่มีที่ศึกษาต่อ เพราะมีมหาวิทยาลัยอยู่เพียง 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทางกระทรวงศึกษาธิการเห็นถึงความจำเป็นในการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ณ ตำบลบางมด อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี เป็นสถาบันที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษา (เทียบเท่าปริญาตรี) เป็นลำดับที่ 7 ในประเทศไทย รองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และวิทยาลัยวิชาการศึกษา ตามลำดับ
=== ช่วงเวลา ===
แบ่งได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้
==== วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (พ.ศ. 2503–2514) ====
วิทยาลัยเทคนิคธนบุรีได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ในสังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในระยะเริ่มแรก วิทยาลัยรับนักศึกษาโดยสอบตรงจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยมีหลักสูตร 3 ปี ใน 4 สาขาวิชา คือ
ช่างก่อสร้าง (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา)
ช่างไฟฟ้า (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า)
ช่างยนต์ (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล)
ช่างโลหะ (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)
วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เป็นวิทยาลัยเทคนิคแห่งที่ 5 ของประเทศ ก่อตั้งขึ้นหลังจากวิทยาลัยเทคนิค 4 แห่งแรก อันประกอบไปด้วยวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (พ.ศ. 2495), วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ (พ.ศ. 2497), วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. 2499) และวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ (พ.ศ. 2500) ซึ่งเป็นวิทยาลัยเทคนิคแห่งแรกและแห่งเดียวที่รับเฉพาะผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ มาเรียนต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
เมื่อ พ.ศ. 2505 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรีได้รับความช่วยเหลือจากยูเนสโก (UNESCO) และกองทุนพิเศษสหประชาชาติ โครงการมีระยะเวลา 5 ปี ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ให้มาช่วยดำเนินการสอน รวมทั้งให้ทุนการศึกษาเพิ่มเติมแก่อาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้แก่วิทยาลัย รวมทั้งวิทยาลัย จะรับนักศึกษาโดยได้เข้าร่วมกับ สภาการศึกษาแห่งชาติ ในการใช้ วิธีสอบคัดเลือกรวมเพื่อรับนักศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ (การสอบเอนทรานซ์) (โดยมี สถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ที่มีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ วิทยาลัย 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้จัดสอบร่วมกัน)
พ.ศ. 2506 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 4 คณะวิชา คือ
คณะวิชาช่างโยธา
คณะวิชาช่างไฟฟ้า
คณะวิชาช่างกล
คณะวิชาสามัญ
พ.ศ. 2507 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้ปรับปรุงหลักสูตรที่เปิดสอน คือ
หลักสูตรแผนกวิชาช่างก่อสร้าง (โยธา)
หลักสูตรแผนกวิชาช่างก่อสร้าง (สถาปัตย์)
หลักสูตรแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
หลักสูตรแผนกวิชาช่างยนต์
หลักสูตรแผนกวิชาช่างโลหะ
พ.ศ. 2508 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก (UNESCO) และ กองทุนพิเศษ สหประชาชาติ ต่ออีก โครงการมีระยะเวลา 4 ปี ในรูปแบบเดียวกับโครงการแรก คือมี ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา อบรมแก่อาจารย์ และอุปกรณ์การศึกษา ซึ่งได้ขยายเพิ่มการสอนในหลักสูตร ปทส. ต่อจาก ปวส. เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในสาขาช่างยนต์,ช่างโลหะ และปี พ.ศ. 2509 ในสาขาช่างโยธา,ช่างไฟฟ้า โดยความเห็นชอบของ กระทรวงศึกษาธิการ และ คณะรัฐมนตรี ให้ทำการเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) หลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 3 ปี รวมมีระยะเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบเท่าปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ใน 4 สาขา (โยธา,ไฟฟ้า,เครื่องกล,อุตสาหการ) ) รวมทั้งจัดตั้ง คณะวิชาฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง เป็นคณะที่ 5 ของ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี
พ.ศ. 2510 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เสนอโครงการ สถาบันเทคโนโลยีธนบุรี (Thonburi Institute of Technology) หรือ (TIT) และกระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติในหลักการ เมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ให้ขยายหลักสูตรการเรียนการสอนเป็น 5 ปี ต่อจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (ม.ศ.5)
==== สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี (พ.ศ. 2514–2529) ====
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าถูกสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2514 จากการรวมวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี โดยวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี มีสถานะเป็นวิทยาเขตหนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ใช้ชื่อว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี" และเปลี่ยนจากหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) มาเป็นหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ใน 4 สาขา (โยธา, ไฟฟ้า, เครื่องกล, อุตสาหการ) และให้เลิกรับนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2515 และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 7 ภาควิชา คือ
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์
ภาควิชาครุศาสตร์
พ.ศ. 2515 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 1 ให้กับผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2510-2514 ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515 โดย สำนักงาน ก.พ. ได้รับรอง ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (สาขา โยธา, ไฟฟ้ากำลัง, ไฟฟ้าสื่อสาร, เครื่องกล และ อุตสาหการ) ของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี
พ.ศ. 2517 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยระดับอุดมศึกษา เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมสังกัด และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 2 คณะ 8 ภาควิชา คือ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
# ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
# ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
# ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
# ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
# ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์
# ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
# ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์
# ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
==== สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (พ.ศ. 2529–2541) ====
พ.ศ. 2529 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
พ.ศ. 2532 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปรับหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี มาเป็นหลักสูตร 4 ปี
==== มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (พ.ศ. 2541–ปัจจุบัน) ====
พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 และได้เปลี่ยนสภาพเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการประกาศรายชื่อจาก กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้เป็น 1 ใน 9 แห่ง ของ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
=== ลำดับการจัดตั้ง ===
พ.ศ. 2503 จัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์
พ.ศ. 2517 จัดตั้ง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2519 จัดตั้ง คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ
พ.ศ. 2533 จัดตั้ง คณะวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์
พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
พ.ศ. 2538 จัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2538 จัดตั้ง สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
พ.ศ. 2545 จัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
พ.ศ. 2559 จัดตั้ง วิทยาลัยสหวิทยาการ
==พระราชวงศ์ กับมหาวิทยาลัย==
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การค้นพบสุริยุปราคามืดหมดดวงของพระองค์ท่าน เป็นการแสดงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ของคนไทยให้ชาวโลกประจักษ์ว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในการคำนวณ
ทรงกระทำตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และการที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้เช่นนี้นั้น แสดงว่าประเทศไทยจะต้องมีระบบเวลามาตรฐานและมีวิธีการรักษาเวลามาตรฐานแบบอารยประเทศที่เชื่อถือได้ ถึงขั้นนำมาวัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของโลกได้
การศึกษาในพระราชสำนัก จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ (สยามสามสมัยจากสายตาหมอบรัดเลย์) วันก่อนที่เจ้าฟ้าจะทรงลาผนวช พระองค์โปรดให้มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ที่ทรงสนิทสนมมาเป็นปีๆ เข้าเฝ้า ในระหว่างการเข้าเฝ้า พระองค์ตรัสอย่างไม่ถือพระองค์และให้รู้เป็นการภายใน สิ่งที่พระองค์ตรัสทำให้ความหวังที่จะเห็นสยามรุ่งเรืองในอนาคตฟื้นคืนมาอีก พระราชดำรัสที่ทำให้เราหูผึ่งก็คือ พระราชดำรัสที่จะให้มีชั้นเรียนขนาดใหญ่ให้หนุ่มสยามได้ศึกษาภาษาอังกฤษอย่างดี และจะทรงโปรดให้มีโรงเรียนมัธยมขึ้นในบางกอก ที่สอนทั้งภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์จากตะวันตกด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานที่ดินแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ ตำบล ราชบูรณะ เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๓ ตรงกับ
พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่ดินเลขที่ ๑๐๘ โฉนดเลขที่ ๑๒๘๖ พื้นที่ตามโฉนด ๒๕๖ ไร่ ๑ งาน ๙๖ ตารางวา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนาม "พระจอมเกล้า" เป็นชื่อของสถาบัน มีนามภาษาอังกฤษว่า “ King Mongkut's Institute of Technology Thonburi”
24 ตุลาคม 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 6
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ
ทรงพระเมตตามาก ได้ฉลองพระเดชพระคุณสนิทมากยิ่งกว่าพระองค์อื่น ๆ ด้วยพระปรีชาว่องไว ในราชกิจทั้งปวง และมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีกว้างขวางในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และทรงพระอุตสาหะดูแล บังคับบัญชาการฝ่ายใน ให้สำเร็จไปตามพระราชประสงค์ และราชประเพณี ทรงพระปรีชาสามารถในราชกิจเก่าใหม่ ตั้งพระราชหฤทัยจงรักภักดีเป็นอันมาก จึงมีพระบรมราชโองการทรงสถาปนา พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงเททองหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ทรงเปิดอาคารคณะพลังงานและวัสดุ อาคารภาควิชาเคมี และอาคารห้องสมุด
ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอบรรณสารสนเทศ
ทอดพระเนตรนิทรรศการ มจธ. กับมิติด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้และอยู่อาศัย และทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร ปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แขวงบางมด เขตทุ่งครุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดอาคารคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และงานครบรอบ 20 ปี ของสถาบันฯ
เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ ทรงเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 5 และทรงเปิดสำนักงานโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ภายใต้โครงการหลวง และโครงการพระราชดำริในความรับผิดชอบของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
18 สิงหาคม 2541 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
== วันสำคัญของมหาวิทยาลัย ==
=== วันสถาปนา ===
ตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ประกาศตั้ง “ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 รับผู้จบเตรียมอุดมศึกษา (ม.6 ปัจจุบัน) เฉพาะสาย วิทยาศาสตร์ ศึกษาต่อ 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ส. นับเป็นวิทยาลัยเทคนิค แห่งแรก ในประเทศไทย ณ ตำบลบางมด อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี
=== วันพระราชทานนาม ===
ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม ของทุกปี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนาม “ พระจอมเกล้า ” เป็นชื่อของสถาบัน มีนามภาษาอังกฤษว่า “ King Mongkut's Institute of Technology ” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513
=== วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ===
ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์"
=== วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ===
ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม ของทุกปี
เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
=== วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ===
ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี
เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บวงสรวงพระอริยพรหม และพระบรมราชานุสาวรีย์ ,ถวายบังคม และวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ,หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์,พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์
== สัญลักษณ์ ==
=== ตราสัญลักษณ์ ===
==== ตราประจำมหาวิทยาลัย ====
ลักษณะของตราเชิญมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ (ตราประจำพระองค์) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ลักษณะของตรา ประกอบด้วยลายกลางเป็นตราพระมหามงกุฎ ซึ่งนำมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม "มงกุฎ" และเป็นศิราภรณ์สำคัญหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ มีฉัตรบริวารขนาบอยู่บริเวณด้านข้างทั้งสอง โดยสัญลักษณ์ทั้งหมดจะอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น มีอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งแสดงนามมหาวิทยาลัย กำกับอยู่ภายในโค้งด้านล่างของวงกลม
==== ตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์ ====
เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2552 ประกอบด้วยสองส่วนคือ สัญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) และตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark)
สัญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) สื่อถึงความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย (Framing Vision) ที่จะก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาว มจธ. โดยรูปแบบของจุด หรือ Pixel ที่เรียงกันสามารถสื่อถึงความเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีได้อย่างร่วมสมัย ในขณะเดียวกันการเรียงกันเป็นเลขสี่ยังสามารถสื่อถึงความภาคภูมิใจในนามพระราชทาน
ตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark) เป็นการเรียงตัวกันอย่างสร้างสรรค์ (Creative & Constructive) สื่อถึงการไม่หยุดนิ่งและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การใช้ชื่อย่อตัวอักษรภาษาอังกฤษยังสื่อถึงวิสัยทัศน์ที่จะนำมหาวิทยาลัยก้าวไปสู่สากลอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยตราวิสัยทัศน์ เป็นตราที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดทอนรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ (LOGO) ให้ง่ายต่อการจดจำ, สร้างเอกลักษณ์ให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นตราสัญลักษณ์ที่สามารถใช้ได้ในทุก ๆ ที่ เช่น ขวดน้ำ มจธ., ใบปลิว, แก้วน้ำ, ของที่ระลึก รวมทั้งที่ ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้ตราพระลัญจกรซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระมหากษัตริย์
=== เพลงประจำมหาวิทยาลัย ===
เพลงพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2542 โดยนายก่อเกียรติ ชาตะนาวิน บทเพลงมีเนื้อร้องที่ครอบคลุมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
เพลงมาร์ชห้ามุ่ง เป็นเพลงประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยนายไกวัล กุลวัฒโนทัย บทเพลงที่สามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ห้ามุ่ง
เพลงลูกพระจอม เป็นเพลงประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2551 ขับร้องสู่สาธารณชนครั้งแรกในกิจกรรมถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหาพิชัยมงกุฎ ขับร้องโดยวงประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT Chorus)
เพลงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นเพลงประพันธ์ทำนองขึ้นโดยครูเอื้อ สุนทรสนานแห่งวงสุนทราภรณ์ คำร้องโดย ธาตรี เป็นบทเพลงประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
=== สีประจำมหาวิทยาลัย ===
สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสดและสีเหลือง
โดยสีแสดเป็นสีประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย พระผู้ทรงริเริ่มแนวคิดสมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย
ส่วนสีเหลืองเป็นสีประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระผู้ทรงพระราชทานนามมหาวิทยาลัย
และเมื่อรวมกันจึงเป็นสีที่แสดงถึงความจงรักภักดี และเป็นสีที่แสดงถึงความเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง ความแข็งแรง ทั้งเป็นสีที่กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นเปรียบเทียบได้กับเครื่องมือเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องมือเครื่องจักรทั้งหลาย ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
=== ดอกธรรมรักษา ===
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกธรรมรักษา เป็นไม้ดอกที่พบมากในบริเวณที่ตั้ง มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาลัย และมีสีของดอกที่คล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังมีนามที่เป็นมงคลต่อนักศึกษาและบุคลากรในด้านจริยธรรม กล่าวคือ สอดคล้องกับคติธรรมที่ว่า "ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม"
== การบริหารงาน ==
=== ผู้อำนวยการ หรือ อธิการบดี ===
=== นายกสภา ===
== หน่วยงานที่เปิดสอน ==
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
=== คณะ ===
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มี 12 หน่วยงานที่จัดทำการเรียนการสอน แบ่งเป็น 8 คณะ 1 สถาบัน 2 บัณฑิตวิทยาลัยและ 1 วิทยาลัยสหวิทยาการ ดังนี้
==== คณะวิศวกรรมศาสตร์ ====
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้ 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 7.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 8.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เปิดสอนมีสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด 1 ใน 3 ของประเทศไทย และในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมากที่สุดในประเทศไทย
หลักสูตรทั้งหมดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 57 สาขา สอนทั้งในหลักสูตรปกติ หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตร Residential College ของมหาวิทยาลัย Cambridge และ Oxford จากประเทศอังกฤษ อีกทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. คว้าอันดับ 1 ด้านวิศวกรรมศาสตร์ของไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดย U.S. News & World Report ประจำปี 2020 อีกด้วย
ประกอบด้วย 11 ภาควิชา
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมอุตสาหการและแมคคาทรอนิกส์
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ
วิศวกรรมอาหาร
==== คณะวิทยาศาสตร์ ====
คณะวิทยาศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดสอนในหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี โท และเอก และได้รับการจัดอันดับใหเป็น
ประกอบด้วย 4 ภาควิชา
คณิตศาสตร์
ฟิสิกส์
เคมี
จุลชีววิทยา
หลักสูตร
====คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ====
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นคณะทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติทุกสาขาวิชา ในระดับปริญญาตรี โท และเอก ครอบคลุมด้านสถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม ออกแบบอุตสาหกรรม ออกแบบนวัตกรรม รวมถึงออกแบบนิเทศน์ศิลป์
====คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ====
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 เดิมมีชื่อว่า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์
ภาควิชา
ครุศาสตร์เครื่องกล
ครุศาสตร์ไฟฟ้า
ครุศาสตร์โยธา
ครุศาสตร์อุตสาหการ
เทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตร
====คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ====
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทยด้วย
SIT KMUTT เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของประเทศไทย และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศครบถ้วนทั้ง ปริญญาตรี โท และเอก ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ
====คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ====
คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 เดิมมีชื่อว่า คณะพลังงานและวัสดุ นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เปิดหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
====คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี====
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
====คณะศิลปศาสตร์====
คณะศิลปศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
====สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม====
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ตามแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 7 เพื่อวิจัยพัฒนาการศึกษาระดับสูงทางด้านวิชาการหุ่นยนต์ และงานวิจัยทางด้านระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้บริการรับปรึกษาด้านอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศ
====บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม====
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี 2546 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ใน 4 สาขาวิชา ดังนี้
====บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม====
เปิดสอนระดับปริญญาโทและเอก
====วิทยาลัยสหวิทยาการ====
เปิดสอนระดับปริญญาตรี
== หน่วยงานทั่วไป ==
=== หน่วยงานภายใน ===
สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( สวท) จัดตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ตอนที่ 16 ก. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ คือ ให้สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ เพื่อเป็นแหล่งดำเนินการวิจัย การพัฒนาและการวิศวกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสหวิทยบริการ เพื่อสนองนโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเน้นนโยบายการพึ่งพาตนเอง สร้างขีดความสามารถของภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ประกอบด้วยศูนย์ต่างๆ ดังนี้
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยและบริการอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวเคมี
ศูนย์นวัตกรรมระบบ
ศูนย์นวัตกรรมนโยบาย
ศูนย์เทคโนโลยีซ่อมบำรุงรักษา
ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา
ศูนย์พัฒนาผลิตภาพอุตสาหกรรม (CIPD)
ศูนย์วิจัยและพัฒนาจราจรและขนส่ง ( ศพจ. )
ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ทางด้านอาคาร
ศูนย์วิศวกรรมอุณหภาพ
สำนักงานเทคโนโลยี SMEs
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม
สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
สถาบันการเรียนรู้
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
=== วิทยาเขต ===
มจธ.บางมด ตั้งอยู่เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 มีพื้นที่มากกว่า 134 ไร่ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 มจธ.บางมด เป็นพื้นที่หลักและศูนย์กลางในการบริหาร และการจัด การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
มจธ. (บางขุนเทียน) สวนอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย อยู่ห่างจาก มจธ. บางมด ประมาณ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 80 ไร่ ประกอบด้วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ และอาคารวิจัยและนวัตกรรม กระบวนการชีวภาพ นักศึกษาสามารถเดินทางไปมาระหว่าง มจธ. บางมด และ มจธ.บางขุนเทียน โดยรถโดยสารของมหาวิทยาลัยซึ่งมีให้บริการเดินรถตลอดทั้งวัน
มจธ. (ราชบุรี) เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนระบบ Residential College แห่งแรกของประเทศไทย มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาสติปัญญา และการพัฒนาคุณลักษณะการเป็นพลเมืองที่ดี ที่จะนำไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้านวิชาชีพ มีทักษะชีวิตและสังคม สามารถเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ในโจทย์และวิชาการแขนงต่างๆได้ มจธ. ราชบุรี ก่อตั้งขึ้น ณ ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 1,200 ไร่ ในปี พ.ศ. 2538 ตามนโยบายการขยายโอกาสอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค โดยผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี (หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล) และ ร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ พร้อมด้วยประชาชนใน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ให้การสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาเขต วิทยาเขตราชบุรี เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) ในปี พ.ศ. 2556 ได้เปิดสอนหลักสูตร Liberal Arts Engineer ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน) และวิศวกรรมอุตสาหการ
สำนักเคเอกซ์ หรือ KX - Knowledge Exchange for Innovation ตั้งอยู่ ถ.กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีเป้าหมายคือนำความรู้และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนทางความรู้เหมือนชื่ออาคาร Knowledge Exchange อาคารด้านในออกแบบโดยใช้แนวคิด Interlocking in Space คือ การเชื่อมพื้นที่แต่ละส่วนเข้าหากัน เพื่อให้ห้องกว้างขึ้น เป็นการใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักเคเอ็กซ์มีทั้งหมด 20 ชั้น ประกอบไปด้วย ห้องประชุม ห้องสัมมนา ห้องจัดงาน และ Co-Working Space ทุกส่วนถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานและเรียนรู้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ การเดินทางระหว่าง มจธ. บางมด และสำนักเคเอ็กซ์ สามารถใช้รถโดยสารของมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งมีรอบการใช้บริการตลอดทั้งวัน สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางมายังสำนักเคเอ็กซ์ โดยใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยลงที่สถานีวงเวียนใหญ่
== อันดับมหาวิทยาลัย ==
== บุคคลสำคัญ ==
=== คณะวิศวกรรมศาสตร์ ===
เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ชลิต แก้วจินดา (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ อดีตสมาชิกวุฒิสภา แบบสรรหา
บุญมาก ศิริเนาวกุล (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี
สามารถ พิริยะปัญญาพร (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี
สุรเดช จิรัฐิติเจริญ (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปราจีนบุรี
พล.อ.ราเมศว์ ดารามาศ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ทรงคุณวฺฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย
พล.อ.ท.พิชิต แรกชำนาญ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ทรงคุณวฺฒิพิเศษ กองทัพอากาศ
พล.ร.ท.สมภพ เสตะรุจิ (ศิษย์เก่า) อดีตเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ
พล.ร.ต.ปพนภพ สุวรรณวาทิน (ศิษย์เก่า) อดีตเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ
เพชรสมร วีระพัน (ศิษย์เก่า) (สัญชาติลาว) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ประเทศลาว
สุพจน์ ทรัพย์ล้อม (ศิษย์เก่า) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม
ชยธรรม์ พรหมศร (ศิษย์เก่า) ปลัดกระทรวงคมนาคม
วีระ เรืองสุขศรีวงศ์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
จำรูญ ตั้งไพศาลกิจ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
พีระพล สาครินทร์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
สมนึก บำรุงสาลี (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
มณฑล สุดประเสริฐ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
จุลภัทร แสงจันทร์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
กิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย
เสถียร เจริญเหรียญ (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบศีรีขันธ์
ปริญญา ยมะสมิต (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าการการประปานครหลวง
นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
ปรีชา อู่ทอง (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการองค์การตลาด
นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รศ.ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ (ศิษย์เก่า) อดีตนายกสภาวิศวกร
ผศ.ดร.ธเนศ วีระศิริ (ศิษย์เก่า) นายกสภาวิศวกร
สุมิท แช่มประสิทธิ์ (ศิษย์เก่า) เลขาธิการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิเศรษฐกิจพอเพียง
สมประสงค์ บุญยะชัย (ศิษย์เก่า) อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ชูโชค ศิวะคุณากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด หรือ CPAC
สมบัติ อนันตรัมพร (ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิงก์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
บุญยง ตันสกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. แรม จำกัด บริษัทในกลุ่ม บมจ.ซีพี ออลล์(CP All)
ปราโมทย์ ธีรกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฟร์พัฒนา จำกัด และ นายกสมาคมรับสร้างบ้านคนแรก
ธนวงษ์ อารีรัชชกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมีคอลล์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
กวี ชูกิจเกษม (ศิษย์เก่า) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด และ ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด
อรพงศ์ เทียนเงิน (ศิษย์เก่าโยธา) ผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Technology ธนาคารไทยพาณิชย์
รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย คนแรก
รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย (ศิษย์เก่า) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผศ.ดร.เฉลิม มัติโก (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
รศ.ดร.สมชาย ปฐมศิริ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ศ.ดร.ไพฑูรย์ ตันติเวชวุฒิกุล (ศิษย์เก่า) อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเคมี University of Regina ประเทศแคนาดา
ศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาและศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ศ.ดร.สำเริง จักรใจ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศรี (ศิษย์เก่า) และ รองอธิการบดี ด้านนวัตกรรมและพัฒนาระบบบริหาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ศ.ดร.อาษา ประทีปเสน (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ศ.ดร.สุทัศน์ ทิพย์ปรักมาศ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ดร.ตรีทศ เหล่าศิริหงษ์ทอง (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ดร.พานิช วุฒิพฤกษ์ (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล (ศิษย์เก่า) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว (บี้ The Star) (ศิษย์เก่า) นักร้อง และนักแสดง
=== คณะวิทยาศาสตร์ ===
เรืองวิทย์ ลิกค์ (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาตจำกัด(มหาชน)
ไอริณ ดำรงค์มงคลกุล (ศิษย์เก่า) พิธีกร และผู้ประกาศข่าว
=== คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ===
ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ (ศิษย์เก่า) อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
=== คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ===
ศิริศิลป์ โชติวิจิตร (กวาง AB Nornal) (ศิษย์เก่า) นักร้อง
=== คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ===
ธิดา ธัญญประเสริฐกุล (ศิษย์เก่า) นักแปล
=== คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ===
สุพจน์ เลียดประถม (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดตราด
อำนวย ทองสถิตย์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
ศ.ดร.ฐานิตย์ เมธิยานนท์ (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 126) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พระจอมเกล้าธนบุรี,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
พระจอมเกล้าธนบุรี
พระจอมเกล้าธนบุรี
สถานศึกษาในเขตทุ่งครุ
สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | thaiwikipedia | 208 |
เจริญ วัดอักษร | เจริญ วัดอักษร (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2510-21 มิถุนายน พ.ศ. 2547) อดีตประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก ตำบลบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแกนนำต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก
== ประวัติ ==
เจริญ วัดอักษร เป็นชาวประจวบคีรีขันธ์โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 เป็นบุตรคนที่ 8 ของนายชั้น และนางวิเชียร วัดอักษร เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 และกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันราชภัฏเพชรบุรี (ในปีที่เสียชีวิต)
เจริญ มีอาชีพค้าขายและธุรกิจบริการ มีร้านอาหาร ที่พักแบบชนบทอยู่ชายทะเล ต.บ่อนอก ชื่อร้านครัวชมวาฬ
== การคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ==
ในปี พ.ศ. 2538 เริ่มเข้ามาคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จนถูกขู่ฆ่าหลายครั้ง กระทั่งการคัดค้านของชาวบ้านประสบผลสำเร็จ รัฐบาลมีคำสั่งให้ย้ายโรงไฟฟ้าออกจากพื้นที่
"เจริญ เป็นคนที่มีเพื่อนฝูงมาก ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน และไม่ใช่นักเลง เคยเตือนเขาหลายครั้งว่าถ้าทำตรงนี้ก็ ต้องมีวันนี้เพราะมีตัวอย่างให้เห็น แต่เขาไม่ยอมถอย" พระครูวิชิตพัฒนวิธาน เจ้าอาวาสวัดสี่แยกบ่อนอก พี่ชายของเจริญ ให้ข้อมูล
จากความสำเร็จในการคัดค้านโรงไฟฟ้า เจริญ ได้รับเชิญให้เป็น วิทยากรเพื่อให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์แก่ชาวบ้านทั่วประเทศ และได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่มีนิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นอธิการบดี
เจริญ ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เวลา 21:30 น. บริเวณทางเดินเข้าบ้าน หลังเดินทางไปยื่นข้อมูลความผิดปกติ ในการออกเอกสารสิทธิที่ดินสาธารณะให้กับ คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เครือข่ายศิลปินได้แถลงข่าวที่ โรงหล่อแหลมสิงห์ ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ว่า มีมติจัดสร้างรูปหล่อเจริญ วัดอักษร เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนสติผู้มีอำนาจ และให้ประชาชนได้ระลึกถึงการต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดด้วยชีวิตของเขา โดยผู้ออกแบบคือ พิศาล ทิพารัตน์ และหล่อโดย นายแหลมสิงห์ ดิษฐพันธ์
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เจริญ วัดอักษร เว็บอุทิศ
"ไม่ต้องเอาความเจริญอย่างนั้นมาให้เรา" - บทสัมภาษณ์ 'เจริญ วัดอักษร' โดย ปxป เมื่อปี พ.ศ. 2544
แกะปมสังหาร “เจริญ วัดอักษร” โรงไฟฟ้า-ที่สาธารณะ - ผู้จัดการออนไลน์
ศพแล้วศพเล่า... รัฐไม่อาจจะปกป้อง ผู้ต่อสู้เพื่อรากหญ้าได้ - คอลัมน์ 'กาแฟดำ' กรุงเทพธุรกิจ
เพลงเจริญ วัดอักษร โดย พงสิทธิ์ คำภีร์
หนึ่งปีเจริญ บอกอะไรสังคมไทย - ThaiNGO.org
จาก “เจริญ วัดอักษร” ถึง “สุพล ศิริจันทร์” ขบวนการล้มตายของภาคประชาชนในยุคทุนธนาธิปไตย - ThaiNGO.org
นักอนุรักษ์ธรรมชาติ
การเมืองภาคประชาชน
บุคคลจากอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
ชาวไทยที่ถูกลอบสังหาร
บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
เสียชีวิตจากอาวุธปืน | thaiwikipedia | 209 |
นิติศาสตร์ | นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
== การศึกษานิติศาสตร์ ==
วิชานิติศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา ซึ่งอาจสามารถแบ่งออกได้เป็น
วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper) ได้แก่ การศึกษาตัวบทกฎหมายซึ่งเป็นเนื้อหากฎหมาย และนิติวิธีหรือวิธีการใช้กฎหมายเพื่อนำไปใช้ปรับใช้แก่คดีและประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย
นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) เป็นการศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์หรือในสังคม โดยไม่ประเมินคุณค่าว่าถูกหรือผิด เช่น วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย และวิชาสังคมวิทยากฎหมาย
นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values) เป็นการศึกษากฎหมายในเชิงวิจารณ์เปรียบเทียบและประเมินคุณค่า เช่น วิชากฎหมายเปรียบเทียบ และวิชานิติบัญญัติ
การศึกษากฎหมายในระดับที่มีความสัมพันธ์กับปรัชญา จะถูกเรียกว่าวิชา นิติปรัชญา หรือ philosophy of law
== การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย ==
ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมาได้มีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่โรงเรียนกฎหมายไม่ได้ยกฐานะ ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย
ในที่สุดจึงมีการออก "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนีติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม
กระทั่งปี พ.ศ. 2494 จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ขึ้นอีกครั้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามแผนกวิชานิติศาสตร์สังกัดคณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะได้มีการแยกการเรียนการสอนออกจากคณะรัฐศาสตร์อย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2501 และยกฐานะขึ้นเป็นคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515
ต่อมาในปีพ.ศ. 2514 ก็ได้มีการก่อตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้น จวบจนปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน
ต่อมาในปีพ.ศ. 2547ได้มีมาเปิดคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเอกชน เช่น มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ซึ่งเปิดได้ 6 วิทยาเขตด้วยกัน ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ นครศรีธรรมราช
=== นิติศาสตรบัณฑิต ===
นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) เป็นปริญญาหรือวุฒิทางการศึกษา ซึ่งผู้ที่ต้องการประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมาย เช่น ทนายความ ผู้พิพากษา อัยการ นิติกร จะต้องได้รับก่อนที่จะสามารถเริ่มเข้าสู่วิชาชีพด้านกฎหมาย โดยเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ใช้เพื่อเข้ารับการอบรมและสอบเพื่อเป็นทนายความหรือสอบเนติบัณฑิตไทย เพื่อที่จะมีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการต่อไป
โดยทั่วไปหลักสูตรจะใช้เวลาศึกษา 4 ปี วิชาที่ศึกษาจะเน้นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา กฎหมายปกครอง รัฐธรรมนูญ และกฎหมายวิชาเลือกอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้จุดเน้นของหลักสูตรอาจแตกต่างตามสถาบันการศึกษา
== ดูเพิ่ม ==
กฎหมาย
ปรัชญาสังคม
กฎหมาย
法哲学 | thaiwikipedia | 210 |
วิทยาการรหัสลับ | วิทยาการรหัสลับ (cryptography/cryptology) วิชาเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับคือการแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยข้อความลับคือข้อความที่ผู้อื่น นอกเหนือจากคู่สนทนาที่ต้องการ ไม่สามารถเข้าใจได้
มนุษย์ได้คิดค้นวิธีการรักษาความลับของเรามาตั้งนาน นับตั้งแต่สมัยจูเลียส ซีซาร์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเข้ารหัสลับและถอดรหัสลับ การเข้ารหัสแบบซีซ่าร์ทำได้โดยการนำตัวอักษรที่อยู่ถัดไปอีกสองตำแหน่งมาแทนที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเข้ารหัสคำว่า HELLO เราก็นำตัวอักษรที่ถัดจากตัว H ไปอีกสองตัวนั่นคือตัว J มาแทน ตัว E แทนด้วย G ตัว L แทนด้วย N ตัว O แทนด้วย Q ดังนั้นข้อความ HELLO จึงถูกแปลงให้เป็นคำว่า JGNNQ
การเข้ารหัสลับแตกต่างกับวิทยาการอำพรางข้อมูล ข้อมูลที่ถูกอำพรางนั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การเข้ารหัสลับจะเปลี่ยนแปลงข้อมูล
วิทยาการรหัสลับสมัยใหม่ (Modern Cryptography) เป็นวิชาการที่ใช้แนวทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยให้เฉพาะคู่สนทนาที่ต้องการสามารถอ่านเข้าใจได้เท่านั้น ขั้นตอนวิธีของการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ ได้แก่ Data Encryption Standard, Advanced Encryption Standard หรือ One-Time Padding ฯลฯ
หลักการเบื้องต้นของการเข้ารหัสลับ ประการแรกคือ ขั้นตอนวิธีต้องเป็นที่รู้โดยทั่วไป และประการต่อมา รหัสจะต้องใหม่เสมอ
== ระบบการเข้ารหัสข้อมูล ==
เป็นกระบวนการสำหรับการแปรรูปข้อมูลเล็กทรอนิกส์ธรรมดาให้อยู่ในรูปที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเข้ารหัสจะกระทำก่อนการจัดเก็บข้อมูลหรือก่อนการส่งข้อมูล โดยการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ธรรมดากับกุญแจ (key) ซึ่งเป็นตัวเลขสุ่มใดๆ มาผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ผลที่ได้ก็คือข้อมูลที่เข้ารหัส ขั้นตอนที่กล่าวมานี้จะเรียกว่า “การเข้ารหัส” (encryption) และเมื่อต้องการอ่านข้อมูล ก็นำเอาข้อมูลที่เข้ารหัสกับกุญแจมาผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือข้อมูลดั้งเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะเรียกว่า “การถอดรหัส” (decryption) ระบบเข้ารหัสสามารถแบ่งตามวิธีการใช้กุญแจได้เป็น 2 วิธีดังนี้
ระบบเข้ารหัสแบบกุญแจสมมาตร (symmetric-key cryptography) คือการเข้ารหัสข้อมูลด้วยกุญแจเดี่ยว ทั้งผู้ส่งและผู้รับ โดยวิธีการนี้ผู้รับกับผู้ส่งต้องตกลงกันก่อนว่าจะใช้รูปแบบไหนในการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งรูปแบบไหนในการเข้ารหัสข้อมูลที่ผู้รับกับผู้ส่งตกลงกันแท้ที่จริงก็คือ กุญแจลับ นั่นเอง เช่น ผู้ส่งกับผู้รับตกลงจะใช้เทคนิดการแทนที่ตัวอักษรที่อยู่ถัดไป 1 ตำแหน่ง เช่น ถ้าเห็นตัวอักษร A ก็ให้เปลี่ยนไปเป็น B หรือเห็นตัวอักษร B ก็ให้เปลี่ยนไปเป็น C เป็นต้น นั้นก็คือผู้ส่งกับผู้รับตกลงใช้รูปแบบนี้เป็นกุญแจลับ
ระบบเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร (asymmetric-key cryptography หรือ Public Key Technology) ระบบการเข้ารหัสแบบนี้ได้ถูกคิดค้นโดย นายวิทฟิลด์ ดิฟฟี (Whitfield Diffie) ซึ่งเป็นนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2518 โดยการเข้ารหัสแบบนี้จะใช้หลักกุญแจคู่ทำการเข้ารหัสและถอดรหัส โดยกุญแจคู่ที่ว่านี้จะประกอบไปด้วย กุญแจส่วนตัว (private key) และกุญแจสาธารณะ (public key) โดยหลักการทำงานจะทำดังนี้ ถ้าใช้กุญแจลูกใดเข้ารหัส ก็ต้องใช้กุญแจอีกลูกหนึ่งถอดรหัส สำหรับการเข้ารหัสและถอดรหัสด้วยกุญแจคู่นี้จะใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยโดยที่ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่นำมาใช้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะมีเฉพาะกุญแจคู่ของมันเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัสได้ ไม่สามารถนำกุญแจคู่อื่นมาถอดรหัสได้อย่างเด็ดขาด
== ดูเพิ่ม ==
การเข้ารหัส
เครื่องอินิกมา
การเข้ารหัสแบบกุญแจสมมาตร (Symmetric Key Cryptosystem)
การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร (Asymmetric Key Cryptosystem)
วิทยาการอำพรางข้อมูล
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ความรู้
วิทยาการเข้ารหัสลับ | thaiwikipedia | 211 |
จำปาเทศ | จำปาเทศ หรือ กระหนาย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในสกุลกะหนานปลิง เปลือกลำต้นสีเทาแตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดบิดเวียนตามยาว โคนลำต้นมักเป็นปุ่มเป็นโพรง แตกกิ่งจำนวนมาก กิ่งอ่อนยาว ปลายกิ่งห้อยลู่ กิ่งและก้านใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีขาว ผิวใบด้านบนเป็นมัน หลังใบมีขนละเอียดสีเทาหนาแน่น เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบเป็นสันนูนเด่นชัด โคนใบเว้าตื้นและเบี้ยวปลายใบแยกเป็นแฉก ออกดอกตามซอกใบบริเวณใกล้ปลายยอด กลีบเลี้ยงเป็นแผ่นหนาแข็ง กลีบดอกบาง สีขาว หอมเย็นตลอดวัน ออกดอกตลอดปี ผลเป็นทรงกระบอกสั้น เป็นเหลี่ยม มีขนบาง แก่แล้วแตก เมล็ดมีปีกเป็นแผ่นสีขาวออกดอกช่วงเมษายน–ตุลาคม
พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกโดยหมอคาร์ที่บริเวณใกล้ชายหาด อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันใช้เป็นไม้ประดับ การขยายพันธุ์ใช้วิธีตอนกิ่ง เพาะเมล็ด เปลือกใช้เป็นยาลดไข้
== บทกวีที่กล่าวถึง ==
และบทร้องเพลงพม่าห้าท่อน 3 ชั้น
== อ้างอิง ==
ป่าแม่คำมี: ความหลากหลายทางชีวภาพจากอดีตถึงปัจจุบัน. กทม. สำนักวิจัยและพัฒนาป่าไม้. 2556
สกุลกะหนานปลิง
ไม้ดอกไม้ประดับ
พรรณไม้ในวรรณคดี | thaiwikipedia | 212 |
สร้อยอินทนิล | สร้อยอินทนิล หรือ ช่ออินทนิล ช่องหูปากกา น้ำผึ้ง ปากกา ย่ำแย้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia grandiflora Roxb.ชื่อสามัญคือ Bengal Trumpet มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ พม่า และไทย ชอบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง อายุหลายปี ใช้ยอดเลื้อยพันได้ไกล 15-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปหัวใจหรือเว้าตื้น 5-7 แฉก กว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบหยักฟันเลื่อย ผิวใบสาก ดอกสีฟ้าอมม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบ ช่อดอกห้อยลงยาว 0.8-1 เมตร ใบประดับสีเขียวและมีสีแดงเรื่อ ดอกรูปแตร โคนกลีบเป็นหลอดสั้นสีเหลืองปลายแยก 5 แฉก รูปกลม โคนกลีบล่างอันกลางมีแต้มสีม่วงเข้ม ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 เซนติเมตร ปลูกได้ในดินทั่วไป ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำเถา หรือหน่อ เปลือกและรากนำมาตำพอกแก้อาการช้ำบวมและแผลอักเสบ ใบนำมาชงเป็นชาแก้ปวดท้อง
== อ้างอิง ==
ITIS 34350
สมุนไพร
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์เหงือกปลาหมอ
ไม้เลื้อย | thaiwikipedia | 213 |
กวีนิพนธ์ | กวีนิพนธ์ (poetry, poem, poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์
นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง
ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี
บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง
== องค์ประกอบของบทกวี ==
องค์ประกอบของบทกวี มี 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
1. ความรู้สึก สารหรือเรื่องที่ต้องการถ่ายทอด บทกวีที่ดีออกมาจากความรู้สึกของผู้เขียน ความรู้สึกอาจเกิดขึ้นโดยกะทันหันหลังจากไปกระทบบางสิ่งบางอย่าง ก่อเกิดแรงบันดาลใจ อาจรู้สึก เปี่ยมสุข เปี่ยมความหมาย หรือรู้สึกนิ่งลึกดิ่งจมในเหวหุบแห่งความเศร้า ฯลฯ
2. รูปแบบที่กวีเลือกในการนำเสนอ
== รูปแบบของกวีนิพนธ์ ==
แบ่งตามประเภทของกวีและวรรณกรรมที่ปรากฏเป็น 2 รูปแบบ คือ
กวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์
กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์
== กวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์ ==
กวีนิพนธ์ราชสำนัก (ดู ฉันทลักษณ์) ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
กวีนิพนธ์ท้องถิ่น ได้แก่ กานต์ กาบ (อีสาน) กอน (อีสาน) กาพย์ (เหนือ) ค่าว และแร็ป
== กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ หรือไร้การสัมผัส ==
ในช่วงที่การแต่งกลอนประเภทเคร่งฉันทลักษณ์และพราวสัมผัสถึงจุดอิ่มตัว บรรดากวีเริ่มแสวงหารูปแบบคำประพันธ์ใหม่ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเจ และสามารถสื่อ สาร ได้อย่างเสรี ไม่ติดในกรอบฉันทลักษณ์ จึงปรากฏรูปแบบกวีนิพนธ์ที่เรียกกันว่า กลอนเปล่า หรือ กวีนิพนธ์แบบไร้ฉันทลักษณ์ กวีนิพนธ์รูปแบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับในวงวรรณกรรมของไทยสูงสุด เมื่อหนังสือรวมบทกวี ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ของ ซะการีย์ยา อมตยา ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์อิสระ ได้รับการคัดเลือกให้ชนะเลิศรางวัลซีไรต์ ในปี พ.ศ. 2553
กลอนเปล่า เป็นคำประพันธ์ที่พัฒนามาจากฟรีเวิร์ส ( Blank Verse) ของตะวันตก เป็นกลอนในวรรณคดีอังกฤษที่ไม่มีการสัมผัสคำ แต่มีการเน้นเสียงในลักษณะ lambic Pentameter คือ 1 บาท แบ่งเป็น 5 จังหวะ จังหวะละ 2พยางค์ พยางค์แรกเสียงเบา (ลหุ) พยางค์หลังเสียงหนัก (ครุ) กลอนเปล่าได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของกวีนิพนธ์ประเภทบรรยายโวหารยาว ๆ (soliloquy) รวมทั้งงานด้านปรัชญาและการละคร นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา กลอนเปล่าปรากฏอยู่ทั่วไปในงานประพันธ์บทละครของเชคสเปียร์ โดยมักเป็นบทพูดของตัวละครที่มีบทบาทสำคัญ หรือมีฐานันดรสูงกว่าคนปกติ บทกวีมหากาพย์ Paradise Lost ของจอห์น มิลตัน ใช้รูบแบบฉันทลักษณ์ของกลอนเปล่าประพันธ์ทั้งหมด
กลอนเปล่าของไทย เริ่มนับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงนำกลอนเปล่าเข้ามาใช้ในไทย โดยใช้เป็นบทสนทนาที่แปลมาจากบทละครของเช็คเสปียร์ ต่อมา จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทร้อยกรองชื่อพิราบขาวในลักษณะของกลอนเปล่า แต่เป็นกลอนเปล่าที่เปลี่ยนแปลไปจากเดิมในความหมายจากตะวันตก ซึ่งทำให้มีผู้เรียกว่า กลอนปลือย
กลอนเปล่าและกลอนเปลือยที่ไทยใช้ จึงหมายถึงงานเขียนที่ผู้แต่งมุ่งประหยัดและพิถีพิถันในการใช้คำและที่สำคัญ คือ ผู้เขียนพยายามจัดถ้อยคำเป็นวรรค หรือเป็นรูปใดรูปหนึ่งคล้ายร้อยกรอง เพียงแต่ไม่มีสัมผัสบังคับเท่านั้น
วรรณรูป หรือกวีนิพนธ์รูปธรรม (Concrete Poetry) เป็นการผสมผสานทัศนศิลป์และวรรณศิลป์เข้าด้วยกัน กวีผู้โดดเด่นในเรื่องนี้ได้แก่ จ่าง แซ่ตั้ง ซึ่งใช้ความเป็นจิตรกรในการเขียนงานกวีนิพนธ์ งานวรรณรูปของเขามีทั้งแบบที่ใช้ถ้อยคำเรียงกันแบบกลอนเปล่า และแบบที่ใช้ถ้อยคำเรียงกันเป็นรูปภาพ งานวรรณรูปที่ปรากฏในปัจจุบันมิได้บ่งชัดว่าได้รับอิทธิพลจากชาติใด นับเป็นความริเริ่มของ จ่าง แซ่ตั้ง เลยทีเดียว
แคนโต้ จัดเป็นบทกวีประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นกลอนเปล่า 3 บรรทัด “แคนโต้” เป็นเพียงบทกวีที่ประกอบไปด้วยกลุ่มถ้อยคำสั้น ๆ แต่สิ่งที่น่าแปลกก็คือ เมื่อกลุ่มคำเหล่านี้ ถูกจัดเรียงเป็นสามบรรทัดแล้ว กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง เมื่อได้อ่านแคนโต้ของใครผู้ใดก็ตาม เป็นความยาวต่อเนื่องจำนวนมาก คุณจะกลายเป็นผู้ล่วงล้ำ เข้าไปรับรู้ถึงอารมณ์ และห้วงความคิดคำนึงของชีวิตใครผู้หนึ่ง ในลักษณะปะติดปะต่อ และในยามที่คุณเผชิญหน้ากับถ้อยคำสั้น ๆ เหล่านั้น คุณจะได้พบกับความหมายบางอย่าง ผ่านความอ่อนไหว จากชีวิตเล็ก ๆ บนโลกนี้
แคนโต้ เป็นบทกวีไทยร่วมสมัย เกิดขึ้นโดยคนไทย มีลักษณะเป็นลูกผสมระหว่างตะวันออกและตะวันตก รูปแบบคล้ายกวีไฮกุของญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ตรงที่ไฮกุจะเน้นไปทางการแสวงหาความหลุดพ้น แต่แคนโต้นั้นเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย
ในประเทศไทยมีผู้เขียนบทกวี 3 บรรทัดอยู่บ้างประปราย แต่คนที่นิยาม การรวมกลุ่มของบทกวี 3 บรรทัด ที่มีความยาวต่อเนื่อง 400 บทขึ้นไปว่า “แคนโต้”นั้น คือ ฟ้า พูลวรลักษณ์
จากแคนโต้หมายเลขหนึ่ง
บทที่ 1
บ้านของข้าเงียบสงับ
อยู่ในตรอก
ข้าไม่มีเพื่อนสักคน
ในการสื่อสารด้านอารมณ์ การเขียนกวีนิพนธ์มักมีรูปแบบที่สั้นและกระชับ หรืออาจมีการใช้การพ้องเสียงหรือการกล่าวซ้ำ ๆ เพื่อสร้างให้เกิดผลคล้ายดนตรีหรือคำพูดในพิธีกรรม คุณภาพของบทกวีมักขึ้นอยู่กับการสร้างให้เกิดมโนภาพ การเกี่ยวข้องกันของคำ และความไพเราะของภาษาที่ใช้
== ดูเพิ่ม ==
ฉันทลักษณ์
วรรณกรรม
== เชิงอรรถ ==
วรรณกรรมแบ่งตามประเภท | thaiwikipedia | 214 |
รายชื่อวรรณคดีไทย | รายชื่อวรรณคดีของไทย ซึ่งเป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมไทยที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์
วรรณคดีไทยเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ เป็นผลงานเขียนที่เกิดขึ้นก่อนสมัยรัชกาลที่ 7
== ก ==
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ โดย พระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์.
* กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ - สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
กลบทสิริวิบุลกิติ โดย หลวงศรีปรีชา
กากีกลอนสุภาพ (กากีคำกลอน) โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
* เห่เรื่องกากี - สุนทรภู่
กาพย์มหาชาติ โดย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง (กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง) โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์
กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
กาพย์เห่เรือ โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์
โคลงกำสรวลศรีปราชญ์ โดย ศรีปราชญ์
แก้วหน้าม้า โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
โกมินทร์
ไกรทอง โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
== ข ==
ขวานฟ้าหน้าดำ
ขุนช้างขุนแผน (นิทานพื้นบ้าน)
* บทเสภาขุนช้างขุนแผน โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและสุนทรภู่
== ค ==
โคบุตร โดย สุนทรภู่
* เห่เรื่องโคบุตร - สุนทรภู่
โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ โดย พระศรีมโหสถ
โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดย พระยาตรัง
โคลงทศรถสอนพระราม โดย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (หรืออาจเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
โคลงพาลีสอนน้อง โดย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (หรืออาจเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
โคลงทวาทศมาส โดย พระเยาวราช ขุนพรมมนตรี ขุนกวีราช ขุนสารประเสริฐ
โคลงนิราศพระยาตรัง (นิราศถลาง) โดยพระยาตรัง
โคลงนิราศรัตนะ โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โคลงนิราศหริภุญชัย สันนิษฐานว่าผู้แต่งชื่อทิพ หรือ ศรีทิพ
โคลงโลกนิติ โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
== ง ==
เงาะป่า
== จ ==
จันทโครพ
จินดามณี
== ช ==
ไชยเชษฐ์
ไชยทัต
== ด ==
ดาหลัง (อิเหนาใหญ่) โดยเจ้าฟ้ากุณฑล
* บทละครเรื่องดาหลัง - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
== ต ==
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) โดย พระมหาธรรมราชาที่ 1
ไตรภูมิโลกวินิจฉัย โดย พระยาธรรมปรีชา (แก้ว)
ตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สันนิษฐานว่าแต่งโดยท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (นางนพมาศ)
ทางน้ำ
== น ==
นันโทปนันทสูตรคำหลวง โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์
นิราศกวางตุ้ง (นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน) โดย พระยามหานุภาพ
นิราศเดือน โดย นายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร)
นิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย (โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย) โดย พระยาตรัง
นิราศถลาง (โคลงนิราศพระยาตรัง) โดย พระยาตรัง
นิราศทวาราวดี โดย หลวงจักรปาณี (มหาฤกษ์)
นิราศนครวัด โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
นิราศนครสวรรค์ โดยพระศรีมโหสถ
นิราศนรินทร์คำโคลง โดย นายนรินทรธิเบศร์
นิราศธารโศก (โคลงนิราศพระบาท)
นิราศพระแท่นดงรัง โดย นายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร)
นิราศพระบาท โดย สุนทรภู่
นิราศพระประธม โดย สุนทรภู่
นิราศภูเขาทอง โดย สุนทรภู่
นิราศเมืองแกลง โดย สุนทรภู่
นิราศเมืองเพชร โดย สุนทรภู่
นิราศลอนดอน โดย หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)
นิราศวัดเจ้าฟ้า โดย สุนทรภู่
นิราศสุพรรณ โดย สุนทรภู่ และนายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร)
นิราศอิเหนา โดย สุนทรภู่
นิทานทองอิน โดย นายแก้วนายขวัญ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
นิทานอิหร่านราชธรรม
นิพพานวังหน้า โดย พระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตร
== ป ==
ปุณโณวาทคำฉันท์
ปฐมสมโพธิกถา โดย [สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส]
ปลาบู่ทอง
== พ ==
พระไชยสุริยา (นิทานพื้นบ้าน)
* กาพย์พระไชยสุริยา - สุนทรภู่
พระนลคำฉันท์
พระนลคำหลวง
พระมะเหลเถไถ โดย คุณสุวรรณ
พระมาลัยคำหลวง โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์
พระรถคำฉันท์
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระเวสสันดร
พระสุธนคำฉันท์
พระอภัยมณี โดย สุนทรภู่
* เห่เรื่องพระอภัยมณี - สุนทรภู่
เพลงยาวถวายโอวาท โดย สุนทรภู่
เพลงยาวนมัสการพระบรมธาตุ นิราศไปตรัง
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
เพลงยาวพระยาตรัง
เพลงยาวของพระยามหานุภาพ โดย พระยามหานุภาพ
เพลงยาวหม่อมภิมเสน
พิกุลทอง
== ม ==
มณีพิชัย
มหาชาติคำฉันท์
มหาชาติคำหลวง โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์
มหาเวสสันดรชาดก (พระเวสสันดร)
มัทนะพาธา โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
มหามาศ
== ย ==
ยวนพ่ายโคลงดั้น
ยอพระกลิ่น
ยุขัน
== ร ==
ระเด่นลันได โดย พระมหามนตรี (ทรัพย์)
ราชสวัสดิ์
ราชาธิราช
ราชาพิลาปคำฉันท์ (นิราศษีดา) ไม่ปรากฏผู้แต่ง
รามเกียรติ์ (มีผู้ประพันธ์หลายท่านหลายสำนวน)
รำพันพิลาป (นิราศรำพึง) โดย สุนทรภู่
== ล ==
ลักษณวงศ์ (นิทานพื้นบ้าน)
* ลักษณวงศ์ - สุนทรภู่
ลิลิตนิทราชาคริต
ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ลิลิตพระลอ
ลิลิตเพชรมงกุฎ โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ลิลิตยวนพ่าย (ยวนพ่ายโคลงดั้น)
ลิลิตตะเลงพ่าย โดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ลิลิตศรีวิชัยชาดก โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ลิลิตโองการแช่งน้ำ (ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า, โองการแช่งน้ำ)
== ว ==
เวนิสวาณิช
วิวาห์พระสมุทร โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
== ศ ==
ศกุนตลา
ศรีธนญชัย
ศรีปราชญ์
== ส ==
สมบัติอมรินทร์คำกลอน
สมุทรโฆษคำฉันท์ โดยพระมหาราชครู ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสได้แต่งต่อจนสมบูรณ์
สรรพสิทธิ์คำฉันท์
สวัสดิรักษา โดย สุนทรภู่
สังข์ทอง
สังข์ศิลปชัย
สามก๊ก ฉบับแปลโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) (ถูกยกย่องเป็นยอดของร้อยแก้ว)
สามัคคีเภทคำฉันท์
สาวิตรี
สิงหไตรภพ นิทานพื้นบ้าน
* สิงหไตรภพ - สุนทรภู่
สุบินกุมาร
สุภาษิตพระร่วง (บัญญัติพระร่วง)
สุภาษิตสอนหญิง โดยสุนทรภู่
สุวรรณหงส์
เสือโคคำฉันท์
สมุทรโคดม
โสนน้อยเรือนงาม
== ห ==
หม่อมเป็ดสวรรค์
หลวิชัยคาวี
หัวใจชายหนุ่ม โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวใจนักรบ โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
== อ ==
อนิรุทธ์คำฉันท์ โดย ศรีปราชญ์
อภัยนุราช โดย สุนทรภู่
อาบูหะซัน
อิลราชคำฉันท์
อิเหนา โดยเจ้าฟ้ามงกุฎ
* อิเหนาคำฉันท์ - เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
* บทละครเรื่องอิเหนา - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
* บทละครเรื่องอิเหนา - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
* นิราศอิเหนา - สุนทรภู่
* อิเหนาคำฉันท์ - กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
อุณรุท โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
อุณรุทร้อยเรื่อง โดย คุณสุวรรณ
== อ้างอิง ==
เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทย'''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช (พิมพ์ครั้งที่ 12) พ.ศ. 2544.
รายชื่อเกี่ยวกับวรรณกรรมในประเทศไทย
รายชื่อ | thaiwikipedia | 215 |
แฟร็กทัล | แฟร็กทัล หรือ สาทิสรูป (fractal) ในปัจจุบันเป็นคำที่ใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิต ที่มีคุณสมบัติคล้ายตนเอง คือ ดูเหมือนกันไปหมด (เมื่อพิจารณาจากแง่ใดแง่หนึ่ง) ไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (โดยการส่องขยาย) หรือ สเกลใดก็ตาม
คำว่า แฟร็กทัล นี้ เบอนัว ม็องแดลโบรต เป็นคนบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1975 จากคำว่า fractus ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า แตก หรือ ร้าว
== ประวัติ ==
ได้มีการค้นพบสิ่งที่เรารู้จักกันในนามของแฟร็กทัลมานานก่อนที่คำว่า "แฟร็กทัล" จะได้รับการบัญญัติขึ้นมาใช้เรียกสิ่งเหล่านี้ ในปี ค.ศ. 1872 คาร์ล ไวเออร์ชตรัสส์ (Karl Weierstrass) ได้ยกตัวอย่างของฟังก์ชัน ที่มีคุณสมบัติ "everywhere continuous but nowhere differentiable" คือ มีความต่อเนื่องที่ทุกจุด แต่ไม่สามารถหาค่าอนุพันธ์ได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1904 เฮลเก ฟอน ค็อค (Helge von Koch) ได้ยกตัวอย่างทางเรขาคณิต ซึ่งได้รับการเรียกขานในปัจจุบันนี้ว่า "เกล็ดหิมะค็อค" (Koch snowflake) ต่อมาในปี ค.ศ. 1938 พอล ปีแอร์ ลาวี (Paul Pierre Lévy) ได้ทำการศึกษา รูปร่างของ กราฟ (curve และ surface) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ส่วนประกอบย่อย มีความเสมือนกับโครงสร้างโดยรวมของมัน คือ "Lévy C curve" และ "Lévy dragon curve"
เกออร์ก คันทอร์ (Georg Cantor) ก็ได้ยกตัวอย่างของ เซตย่อยของจำนวนจริง ซึ่งมีคุณสมบัติแฟร็กทัลนี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เซตคันทอร์ หรือ ฝุ่นคันทอร์ จากการศึกษาเซตคันทอร์นี้ นักคณิตศาสตร์ เช่น Constantin Carathéodory และ Felix Hausdorff ได้ขยายความแนวคิดเรื่อง มิติ (dimension) จากเดิมที่เป็นจำนวนเต็ม ให้ครอบคลุมถึงมิติที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม นอกจากนั้น นักคณิตศาสตร์อีกหลายคน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่น อองรี ปวงกาเร, เฟลิกซ์ คลิน (Felix Klein), ปิแอร์ ฟาตู (Pierre Fatou) และ กาสตง จูเลีย (Gaston Julia) ได้ศึกษาฟังก์ชันวนซ้ำ (Iterated function) ซึ่งมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับ คุณสมบัติความคล้ายตนเอง (self-similarity) แต่บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ได้เห็นถึงความสวยงามของภาพจาก itereated functions ที่เราได้เห็นกัน เนื่องจากการแสดงผลที่ต้องใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งพัฒนาขึ้นในภายหลัง
ในปี ค.ศ. 1960 เบอนัว ม็องแดลโบรต ได้ทำการศึกษาถึงคุณสมบัติความคล้ายตนเอง นี้ และตีพิมพ์บทความชื่อ How Long is the Coast of Britain? Statistical Self-Similarity and Fractional Dimension. แมนดัลบรอ ได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผลงานในเรื่องต่าง ๆ ในอดีต ซึ่งดูราวกับจะเป็นคนละเรื่องไม่มีความสัมพันธ์กัน เขาได้รวบรวมแนวความคิด และบัญญัติคำว่า แฟร็กทัล ขึ้น เพื่อใช้ระบุถึงวัตถุที่มีคุณสมบัติความคล้ายตนเอง
== คำจำกัดความ ==
แฟร็กทัล นั้นนอกจากเป็นวัตถุที่มี ความคล้ายตนเอง แล้วยังมีอีกคุณสมบัติหนึ่งคือ มีมิติเฮาส์ดอร์ฟ (Hausdorff) ไม่เป็นจำนวนเต็ม (นิยามโดย เบอนัว ม็องแดลโบรต ไว้ว่า A fractal is by definition a set for which the Hausdorff-Besicovitch dimension strictly exceeds the topological dimension.) แต่คำจำกัดความนี้ดูเหมือนจะมีปัญหาอยู่มาก เนื่องจาก ปรากฏว่ามีวัตถุที่มีรูปร่างเป็นแฟร็กทัล แต่ไม่ได้เป็นไปตามคุณสมบัติมิตินี้
คำจำกัดความของสิ่งที่เราเรียกว่า แฟร็กทัล นั้นจะค่อนข้างกำกวม ไม่ชัดเจนเนื่องจาก
สิ่งที่เราพิจารณาอยู่ในขอบข่ายของ แฟร็กทัล นั้นจะเป็นสิ่งที่ "irregular" หรือ ไม่สม่ำเสมอ คือไม่อยู่ในขอบข่ายที่จะพิจารณาด้วย เรขาคณิตแบบดั้งเดิมได้ แต่ว่าขอบข่ายของความไม่สม่ำเสมอที่เราพิจารณานั้น ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้
คุณสมบัติความคล้ายตนเอง นั้น มองได้หลายแง่มุม ความเหมือนนั้นเหมือนได้หลายแง่ เช่น นอกจากเหมือนกันทุกประการ ยังมีเหมือนในเชิงสถิติ และอื่น ๆ ซึ่งทำให้คำจำกัดความนั้นไม่สามารถระบุเด่นชัดลงไปได้
เมื่อมองในแง่ของการสร้างแฟร็กทัลโดยการใช้โครงสร้างทำซ้ำ หรือ recursive จะเห็นว่าเราสามารถจะระบุแฟร็กทัลนั้น ด้วยโครงสร้าง recursive ของมันได้ แต่ในความเป็นจริง มีเพียงบางแฟร็กทัลเท่านั้น ที่เราสามารถระบุด้วยโครงสร้าง recursive ได้
== ประเภทของแฟร็กทัลและตัวอย่าง ==
แฟร็กทัลสามารถจำแนกออกเป็นสามประเภทตามวิธีการสร้างดังนี้
แฟร็กทัลประเภทแรกมีรูปแบบการสร้างแบบง่าย ๆ โดยอาศัยหลักการวนซ้ำกฎเกณฑ์ที่กำหนดไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เช่น
เซตคันทอร์, ฝุ่นคันทอร์ และ ฟังก์ชันคันทอร์ ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในฟังก์ชันประเภทที่เรียกว่า Devil's staircase,
เส้นโค้งค็อค และ เกล็ดหิมะค็อค,
พรมซูร์พินสกี (Sierpinski carpet), สามเหลี่ยมซูร์พินสกี (Sierpinski triangle)
Space-filling curve หรือ Peano curve
และ เส้นโค้งมังกร เป็นต้น แฟร็กทัลประเภทนี้มีคุณสมบัติคล้ายตนเองอย่างสมบูรณ์ (exact self-similarity)
แฟร็กทัลอีกจำนวนหนึ่งมีที่มาจากการศึกษาทฤษฎีความอลวน เรียกว่า escape-time fractal ตัวอย่างเช่น เซตจูเลีย, เซตม็องแดลโบรต, แฟร็กทัล Burning Ship และ แฟร็กทัลไลยาปูนอฟ (Lyapunov) แฟร็กทัลสร้างจากวนซ้ำสมการ f_c(z) ไปเรื่อย ๆ หรือเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์คือ f_c(f_c(f_c(...))) และสร้างกราฟของค่าพารามิเตอร์ c หรือค่าเริ่มต้นของ z ที่ให้ผลลัพธ์ที่อลวน แฟร็กทัลเหล่านี้มักมีคุณสมบัติคล้ายตนเองที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ เมื่อขยายแฟร็กทัลดูส่วนที่เล็กลงจะพบว่ามีรูปร่างคล้ายแต่ไม่เหมือนรูปร่างของเดิมซะทีเดียว (quasi-self-similarity)
แฟร็กทัลประเภทสุดท้าย สร้างโดยกระบวนการสโตคาสติก หรือ การสุ่ม เช่น การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน ต้นไม้บราวเนียน เป็นต้น แฟร็กทัลลักษณะนี้ เฉพาะค่าทางสถิติของแฟร็กทัลที่สเกลต่าง ๆ เท่านั้นที่มีลักษณะเหมือนกัน (statistical self-similarity)
== แฟร็กทัลในธรรมชาติ ==
สิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับแฟร็กทัลสามารถพบได้ง่ายในธรรมชาติ ตัวอย่างสิ่งของที่มีคุณลักษณะความคล้ายตนเองในระดับหนึ่ง เช่น เมฆ เกล็ดหิมะ ภูเขา สายฟ้าในฟ้าผ่า การแตกสาขาของแม่น้ำ ปุ่มบนดอกกะหล่ำ การแตกแขนงของเส้นเลือดฝอย เป็นต้น ซึ่งเมื่อนำวัตถุนั้นมาขยายแล้วจะพบว่ามีรูปร่างคล้ายกับของเดิม แต่วัตถุในธรรมชาติก็มีข้อจำกัดคือเมื่อขยายมาก ๆ เช่น จนถึงระดับ เซลล์ หรือ โมเลกุล จะไม่เหลือคุณสมบัติความคล้ายตนเองเหลืออยู่
ต้นไม้และเฟิร์น ก็มีคุณสมบัติแฟร็กทัลในธรรมชาติของมัน เช่น กิ่งของต้นไม้ดูคล้ายต้นไม้ทั้งต้นแต่มีขนาดเล็กลง ส่วนย่อย ๆ ของใบเฟิร์นก็เช่นกัน ด้วยคุณสมบัติความคล้ายตนเองนี้ เราสามารถสร้างแบบจำลองของต้นไม้และในเฟิร์นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายโดยวิธีวนซ้ำ
== แฟร็กทัลในทางศิลปะ ==
แฟร็กทัลยังพบได้ในงานศิลปะ ตัวอย่างเช่นภาพเขียนของจิตรกรชาวอเมริกัน แจ็คสัน พอลล็อก (Jackson Pollock) ซึ่งดูผิวเผินจะประกอบด้วยหยดหมึกหรือแต้มหมึกที่ไม่เป็นระเบียบ แต่จากการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ก็พบรูปแบบของแฟร็กทัลในงานของเขา
แฟร็กทัลยังพบได้มากในศิลปะและสถาปัตยกรรมในแบบแอฟริกา เช่น บ้านรูปวงกลมเล็ก ๆ ตั้งเรียงกันเป็นรูปวงกลมใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้น บ้านรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กประกอบ เป็นต้น ลวดลายของรูปร่างหนึ่ง ๆ ในหลายสเกลยังพบในสิ่งทอ รูปปั้น หรือแม้กระทั่งทรงผมในแบบแอฟริกัน
ไฟล์:Glue1 800x600.jpg|แฟร็กทัลเกิดขึ้นเมื่อดึงแผ่นอคริลิกที่ติดกันด้วยกาวออกจากกัน
ไฟล์:Square1.jpg|การป้อนไฟฟ้าแรงสูงให้กับก้อนอคริลิกจนแตกให้เห็นรูปแฟร็กทัลที่เรียกว่า Lichtenberg figure
ไฟล์:Microwaved-DVD.jpg|แฟร็กทัลที่เกิดขึ้นจากรอยแตกบนผิวของแผ่นดีวีดีเมื่อโดนรังสีจากไมโครเวฟ
ไฟล์:Fractal Broccoli.jpg|กะหล่ำดอกเจดีย์มีลักษณะของแฟร็กทัล
ไฟล์:DLA Cluster.JPG|การงอกของผลึกทองแดงในสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตในการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
ไฟล์:Phoenix(Julia).gif|ภาพขยาย phoenix set
== การประยุกต์ใช้งาน ==
ทฤษฎีและผลจากการศึกษาแฟร็กทัล สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานหลาย ๆ ด้าน ตัวอย่างที่สำคัญเช่น
การสร้างภาพในคอมพิวเตอร์ สามารถใช้กฎเกณฑ์การเรียกตนเอง (recursion) มาเขียนโปรแกรมสร้างภาพของสิ่งต่าง ๆ ที่โดยธรรมชาติมีลักษณะใกล้เคียงแฟร็กทัล เช่น ต้นไม้ ภูเขา มาใส่ในเกมคอมพิวเตอร์ หรือสร้างเป็นฉากกราฟิกส์ในภาพยนตร์ โดยโปรแกรมที่เขียนจากหลักการเรียกตนเองมีขนาดเล็ก ในทางกลับกันเราสามารถใช้แฟล็กทัลมาประยุกต์กับการบีบอัดข้อมูลสัญญาณและภาพ โดยการหาค่าพารามิเตอร์ของสมการวนซ้ำที่ให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับสัญญาณหรือภาพที่ต้องการ และใช้ค่าพารามิเตอร์นั้นเป็นข้อมูลที่ถูกบีบแล้ว
เราสามารถใช้วนซ้ำมาสังเคราห์เสียงดนตรีแนวใหม่ สร้างงานศิลปะแปลกใหม่ ออกแบบแฟชั่น ลวดลายบนชุดพรางตัวของทหารนาวิกโยธินสหรัฐที่เรียกว่า MARPAT (MARine Disruptive PATtern) ซึ่งมีลวดลายไม่เป็นระเบียบ สามารถกลมกลืนกับธรรมชาติได้ดี ก็สร้างขึ้นจากหลักการแฟล็กทัล
รอยร้าวต่าง ๆ ลักษณะแตกแขนงย่อย ๆ ออกไปเหมือนแฟร็กทัล จึงมีประโยชน์ในการคาดคะเนการแตกหักในวิชากลศาสตร์ (Fracture mechanics) และใช้ในการศึกษาด้านแผ่นดินไหว (Seismology)
อีกตัวอย่างการใช้งาน คือ สายอากาศแบบแฟร็กทัล ที่มีขนาดเล็กแต่สามารถรับส่งคลื่นความถี่ได้หลากหลาย สายอากาศที่ใช้รับสัญญาณโทรทัศน์ ก็มีลักษณะความคล้ายตนเองเช่นเดียวกัน
== อ้างอิง ==
Fractal Geometry ที่ Yale University โดย Michael Frame, Benoit Mandelbrot, and Nial Neger
== ดูเพิ่ม ==
ทฤษฎีความอลวน
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
แฟร็กทัล ในเว็บ Mathworld
แฟร็กทัล ในเว็บ FAQS.org
=== โปรแกรมสร้างภาพแฟร็กทัล ===
Makin' Magic Fractals
Xaos - Realtime generator - Windows, Mac, Linux, etc
Fractint - available for most platforms
FLAM3 - Advanced iterated function system designer and renderer for all platforms
Sterling2 freeware fractal generator (Windows)
โครงสร้างทางคณิตศาสตร์
ทอพอโลยี | thaiwikipedia | 216 |
แพงพวยฝรั่ง | แพงพวยฝรั่ง เป็นพืชดอกถิ่นเดียวของประเทศมาดากัสการ์ ในธรรมชาติอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะการถางและเผาเพื่อการเกษตรกรรม แต่อย่างไรก็ตามมันกลับได้รับการปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในพื้นที่เขตร้อนทั่วโลก
แพงพวยฝรั่งเป็นไม้ไม่ผลัดใบพุ่มเตี้ยหรือพืชโตชั่วฤดูสูงประมาณ 1 ม. ใบเป็นรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ยาว 2.5–9 ซม. กว้าง 1–3.5 ซม. สีเขียวเป็นมัน ไม่มีขน เส้นกลางใบซีดและก้านใบสั้น ยาว 1–1.8 ซม. ดอกมีสีขาวถึงชมพูเข้ม มีสีแดงตรงกลางดอก ฐานดอกรูปหลอดยาว 2.5-3 ซม. วงกลีบดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2–5 ซม. มี 5 แฉก ผลเป็นผลแตกแนวเดียวยาว 2–4 ซม. กว้าง 3 มม.
แพงพวยฝรั่งมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ดังนี้: นมอิน (สุราษฎร์ธานี) ผักปอดบก (เหนือ) แพงพวยบก (กทม.)
==การขยายพันธุ์==
ทำได้ทั้งวิธีปักชำและเพาะเมล็ดแต่การเพาะเมล็ด จะทำได้ง่ายว่า ทำได้โดยการเพาะลงในกระบะหรือเพาะลงในแปลงเพาะปลูก เมล็ดจะงอกใน 5-7วัน แพงพวยฝรั่งนี้เป็นพืชที่ต้องการแสงและอากาศร้อนเนื่องจากเป็นพืชในเขตร้อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลาง โดยเฉพาะดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี เช่นดินร่วนปนทราย ซึ่งมันจะช่วยรากเจริญได้ดี เพราะหากดินระบายน้ำไม่ดี จะทำให้รากเน่าเนื่องจากรากไม่มีอากาศหายใจ
==การดูแลรักษา==
แพงพวยฝรั่งเป็นพืชที่ดูแลรักษาง่ายไม่พบว่ามีการรบกวนจากแมลงศัตรูพืช แพงพวยฝรั่งนี้จะชอบอยู่ในที่ที่มีแดดจัด การให้น้ำควรให้ในปริมาณพอสมควร ไม่แฉะมากเกินไป อาจจะมีการใส่ปุ๋ยในการบำรุงต้นบ้าง
==สรรพคุณทางยา==
ส่วนที่นำมาใช้ในการทำยาคือ ลำต้นและราก ซึ่งได้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า ลำต้นและรากนี้สามารถสร้างสารที่เรียกว่า อัลคาลอยด์ได้มากกว่า 55ชนิดอัลคาลอยด์ที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งได้ผลคือ วินบลาสทีน ( Vinblastine) และวินคริสทีน ( Vincristine) โดยสารทั้งสองชนิดนั้นสามารถนำมารักษาโรคมะเร็งเม็ดมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้ราก แก้บิด ขับพยาธิ ห้ามเลือด รักษามะเร็งในเม็ดเลือดและใบจะช่วยในการบำรุงหัวใจ ช่วยในการย่อย หรือใช้ทั้งต้นในการแก้เบาหวานความดัน แก้อาการตัวเหลืองอันเกิดพิษของสุรา
แพงพวยมีอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษสูง มีฤทธิ์หลอนประสาท
==พันธุ์ของแพงพวย==
1. Snowflakes มีพุ่มต้นสูง 10 นิ้ว ต้นสูงสม่ำเสมอกันหมด ดอกสีขาว
2. Little Bright สูง 10 นิ้ว ดอกสีขาว ใจกลางดอกสีแดง
3. Little Linda ต้นสุง 8-10 นิ้ว ดอกสีชมพูเข้มอมม่วง พุ่มต้นกระทัด และออกดอกมาก
4. Little Mixed มีหลายสีคละกัน
5. Little Pinkie ดอกสีชมพูเข้ม3.
6.Little Blanch สูง 10 นิ้ว ดอกสีขาว
7. Little Bright Eye สีชมพูมีแต้มสีแดง
8. Little Delicata สีขาวมีแต้มสีแดงเข้ม
9. Little Blanche สีขาว
10. Little Linda สีชมพูอมม่วง
11. Pretty in Rose สีชมพูอ่อน
12. Tropicana Blush สีแดงอ่อน
13. Tropicana Bright Eye สีชมพู
14. Tropicana Rose สีชมพูเข้ม
15. Tropicana Pink สีชมพูเข้ม
== อ้างอิง ==
Ref: ITIS 30124
พืชมีพิษ
วงศ์ตีนเป็ด
ไม้ดอกไม้ประดับ
สมุนไพรไทย
พืชที่ใช้ในอายุรเวท | thaiwikipedia | 217 |
กนู | โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เลย
พ.ศ. 2549 เคอร์เนลทางการของกนู คือ Hurd ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ผู้ใช้ระบบกนูส่วนใหญ่เลือกโดยใช้ลินุกซ์เป็นเคอร์เนล อย่างไรก็ตาม ระบบเหล่านั้นมักจะถูกเรียกว่า ลินุกซ์ ซึ่งถ้าจะให้ถูกต้องแล้ว ควรจะเรียกว่า ระบบกนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux systems) เพราะใช้ลินุกซ์เป็นเคอร์เนล ส่วนซอฟต์แวร์ส่วนอื่น ๆ มาจากโครงการกนู
โปรแกรมหลายตัวในโครงการ ก็ถูกปรับให้ทำงานในระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ได้ เช่น ไมโครซอฟท์วินโดวส์ บีเอสดี แมคโอเอส เป็นต้น
สัญญาอนุญาต GPL, LGPL และ GFDL ที่ใช้ในโครงการอื่น ๆ มากมาย ก็ริเริ่มจากกนู
== ประวัติ ==
กนูประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2526 ทางกลุ่มข่าว net.unix-wizards และ net.usoft การพัฒนาซอฟต์แวร์เริ่มต้นเมื่อ 5 มกราคม พ.ศ. 2527 เมื่อ สตอลแมน ลาออกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เพื่อไม่ให้มหาวิทยาลัยอ้างลิขสิทธิ์ในตัวซอฟต์แวร์และแทรกแซงการเผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์เสรี สำหรับชื่อ"กนู" นั้น สตอลแมน ได้แนวความคิดจากการเล่นคำแบบต่าง ๆ และจากเพลง The Gnu ของวง Flanders and Swann
เป้าหมายของโครงการก็คือสร้างระบบปฏิบัติการเสรีทั้งระบบ ที่ผู้ใช้สามารถศึกษาซอร์สโคด แก้ไขการทำงานของซอฟต์แวร์ และเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่แก้ไขต่อไปยังคนอื่นได้โดยเสรี เหมือนกับที่เคยเป็นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 และ 1970 แนวความคิดนี้นำออกตีพิมพ์เป็นบทความ GNU Manifesto ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ทางวารสาร Dr. Dobb's Journal of Software Tools
ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ต้องเริ่มต้นเขียนจากศูนย์ แต่ซอฟต์แวร์เสรีที่มีอยู่แล้วก็นำมาใช้ด้วย ตัวอย่าง เช่น ระบบเรียงพิมพ์ TeX และระบบ X Window System คนที่เขียนกนูส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร ซึ่งบางส่วนเขียนในเวลาว่าง บางส่วนว่าจ้างโดยบริษัท สถานศึกษา หรือ องค์กรไม่แสวงหากำไรอื่น ๆ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 สตอลแมน จัดตั้ง Free Software Foundation (FSF) FSF จ้างโปรแกรมเมอร์จำนวนหนึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์ทำจำเป็นสำหรับกนู ในช่วงสูงสุดเคยมีพนักงาน 15 คน FSF ยังเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์กนูบางตัว ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่เผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาต GPL บางส่วนใช้ LGPL หรือสัญญาอนุญาตอื่น ๆ
เนื่องจากในขณะนั้น ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมมากตัวหนึ่ง กนูจึงออกแบบให้คล้ายกับยูนิกซ์มาก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถย้ายไประบบกนูได้สะดวก ยูนิกซ์ยังมีโครงสร้างแบบโมดูล จึงสามารถพัฒนาโครงการกนูแยกกันเป็นส่วน ๆ ได้
เมื่อกนูเริ่มมีบทบาท ธุรกิจหลายรายหันมาสนับสนุนการพัฒนา หรือขายซอฟต์แวร์และบริการทางเทคนิก บริษัทที่มีชื่อและประสบความสำเร็จที่สุดก็คือ Cygnus Software ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Red Hat
== ดูเพิ่ม ==
สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู(GNU Free Documentation License (GFDL))
สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (GNU General Public License (GPL))
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เว็บไซต์โครงการกนู
เว็บไซต์โครงการกนูในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์บนยูนิกซ์
โครงการกนู | thaiwikipedia | 218 |
วีระ สมความคิด | วีระ สมความคิด (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500—)เป็นนักกฎหมายชาวไทย ระดมยื่นปปช.สอบ] เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) เป็นผู้ยื่นเรื่องกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร ต่อ ป.ป.ช. จนทำให้ ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่านายทักษิณมีความผิด จึงได้ทำการยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ศาลฎีกาฯได้ตัดสินว่านายทักษิณ มีความผิดให้ลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปี แต่นายทักษิณได้หลบหนีออกนอกประเทศไปก่อน จนคดีหมดอายุความ และยังไม่ได้กลับประเทศจนถึงทุกวันนี้
== ประวัติและบทบาททางการเมือง ==
วีระ สมความคิด จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 6 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ จากมหาวิทยาลัยรังสิต ในปลาย พ.ศ. 2551
มีบทบาททางการเมืองในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 ด้วยการเป็นประธานนักเรียน หลังจากนั้นได้เข้าร่วมในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 และพฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
ซึ่งหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา วีระได้ศึกษาธรรมะจากพุทธทาส โดยต่อมาได้อุปสมทบเป็นเวลา 5 ปี ได้ถือปฏิปทาของหลวงปู่ชา สุภัทโท, วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี, นอกจากนี้ยังเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์กัณหา สุขกาโม วัดแพร่ธรรมาราม จังหวัดแพร่ และเป็นลูกศิษย์ที่เหนียวแน่นของสมณะโพธิรักษ์ แห่งพุทธสถานสันติอโศก
อีกทั้งเป็นสมาชิกกลุ่มรวมพลังซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพรรคพลังธรรม และวีระได้เป็นสมาชิกพรรคพลังธรรม ปัจจุบันวีระไม่สังกัดพรรคการเมืองใด วีระเข้าร่วมการชุมนุมขับไล่พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่ง ใน พ.ศ. 2549 และการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ใน พ.ศ. 2551
เมื่อปี พ.ศ. 2549 วีระได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กรณีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กระทำความผิดตามกฎหมาย ปปช. มาตรา 100 ซึ่งต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ให้จำคุกพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นเวลา 2 ปี
ต่อมาในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552 วีระ สมความคิด, ไทกร พลสุวรรณ, อธิวัฒน์ บุญชาติ และสุนทร รักษ์รงค์ได้นำผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ จำนวน 4,000 คน เดินทางไปเขาพระวิหารเป็นครั้งที่ 2 เพื่ออ่านแถลงการณ์ทวงคืนดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทเขาพระวิหาร จนเกิดการปะทะกับชาวบ้านในพื้นที่ได้รับบาดเจ็บไปทั้ง 2 ฝ่าย
กลาง พ.ศ. 2553 หลังตั้งพรรคการเมืองใหม่แล้ว วีระได้ถอนตัวออกจากกลุ่มพันธมิตรฯ และยุติรายการทั้งหมดทาง ASTV โดยให้เหตุผลว่าไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ นอกจากนี้ยังต้องการทำงานอย่างเป็นอิสระ โดยไม่ถูกครอบงำและแทรกแซง
ในปี พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 86/2557 ให้เขาเข้ามารายงานตัวในวันที่ 7 กรกฎาคม พร้อมกับพลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 นายวีระ สมความคิด รายงานตัวกับตำรวจ ปอท.ตามหมายจับศาลอาญา รัชดาภิเษก ที่ จ.642 /2560 ข้อหากระทำผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ ต่อมาในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เขาเข้าพบพนักงานสอบสวน เนื่องจาก พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ฟ้องร้องเขาใน 3 ข้อหา ตำรวจออกหมายเรียกให้รับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. และยุยงปลุกปั่นในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561
ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 ตำรวจได้ออกหมายเรียกและแจ้งข้อกล่าวหาเขาในความผิดขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2558 และอีกหลายข้อหา เนื่องจากชุมนุมทางการเมืองเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561
=== เหตุถูกทหารกัมพูชาจับกุม ===
วีระ สมความคิด ได้เดินทางไปร่วมงานที่ชุมชน "บ้านสันปันน้ำ" ชายแดนพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งก่อตั้งโดยอธิวัฒน์ บุญชาติ เป็นเวทีสุดท้ายการถ่ายทอดสด ทาง FM.TV. ของเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ เป็นการออกรายการทางสื่อครั้งสุดท้ายก่อนจะถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พร้อมกับพวกจำนวน 7 คน ซึ่งเป็นสมาชิกของเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ที่แยกออกจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และบางส่วนเป็นญาติธรรมของพุทธสถานสันติอโศก พร้อมกับพนิช วิกิตเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ขณะลงพื้นที่ตรวจสอบที่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าทหารกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตไทย บริเวณอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โดยศาลเขตพนมเปญได้ตั้งข้อหาวีระและพวกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร ส่วนวีระและราตรีได้ถูกเพิ่มข้อหาจารกรรมข้อมูลเนื่องจากครอบครองอุปกรณ์กล้องบันทึกภาพและใช้อุปกรณ์ระหว่างการถูกจับกุม ด้านกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางเข้าพบฮอร์ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเจรจาในประเด็นดังกล่าว
ต่อมา ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวผู้ถูกจับกุม 5 คน ยกเว้นวีระกับราตรี โดยให้เหตุผลเรื่องความผิดต่อความมั่นคงของประเทศกัมพูชา ในการไต่สวนโดยศาลชั้นต้น กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 วีระได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา และยืนยันว่าขณะถูกจับกุมตนยังอยู่ในอาณาเขตประเทศไทย ศาลกัมพูชามีคำตัดสินในวันเดียวกันให้จำคุกวีระและราตรี ในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย บุกรุกเขตทหาร และจารกรรมข้อมูล เป็นเวลา 8 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ โดยไม่รอลงอาญา และให้ยื่นอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือน ซึ่งวีระไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ ในวาระพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอดีตพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ รัฐบาลกัมพูชาได้ขอพระราชทานอภัยโทษและปล่อยตัวราตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และลดโทษวีระลง 6 เดือน เป็นจำคุก 7 ปี 6 เดือน
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 วีระได้รับการพระราชทานอภัยโทษหลังจากสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนกัมพูชา และได้ยื่นข้อเสนอของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต่อรัฐบาลกัมพูชา
== บทบาทด้านอื่น ==
วีระยังเคยเป็นวิทยากรประจำรายการ "เวทีเสรี" ทางช่อง TTV 2 โดยเป็นวิทยากรประจำทุกวันพุธ และเป็นวิทยากรประจำรายการ "ค้นคนโกง" ทาง ASTV รวมทั้งรายการ "โกงได้ โกงดี" ทางสถานีโทรทัศน์เพื่อมนุษยชาติ (FM TV) ของพุทธสถานสันติอโศก โดยจัดเรื่อยมากระทั่งถูกจับกุม
== ดูเพิ่ม ==
คอร์รัปชันว็อทช์
การเมืองภาคประชาชน
หลักสูตร ปปร.9
หลักสูตร 4ส6
หลักสูตร ปธส.2
== อ้างอิง ==
การเมืองภาคประชาชน
บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
บุคคลจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พรรคพลังธรรม
พรรคเสรีรวมไทย
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรังสิต
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
คณะสามัคคีประชาชนเพื่อประเทศไทย
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บ.ม.
นักโทษของประเทศกัมพูชา | thaiwikipedia | 219 |
การเมืองภาคประชาชน | การเมืองภาคประชาชน คือ การเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะโดยตรง โดยไม่ผ่านทางตัวแทนของพรรคการเมือง หรือหน่วยงานราชการ การเมืองภาคประชาชนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งย้ำแนวคิดที่ว่า "การเมืองไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง" การเมืองภาคประชาชนเป็นคำจำกัดความโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
แบ่งพิจารณาได้ 3 แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
การริเริ่มกฎหมาย
การลงประชามติ
การถอดถอน
== อ้างอิง ==
การเลือกตั้ง กับ การเมืองภาคประชาชน ที่ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 254ดยกสยาด
การเมืองภาคประชาชน | thaiwikipedia | 220 |
เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน | เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2543 ตามมติของที่ประชุมข่ายประชาสังคมไทย ซึ่งมีจุดหมายร่วมกันในการผนึกกำลังของประชาชนเพื่อช่วยกันเฝ้าระวังและแก้ปัญหาการทุจริตในวงราชการ ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤตของชาติ ต่อมาจึงมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ณ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา
วัตถุประสงค์หลักของ คปต. คือ สร้างพลังประชาชนให้เข้มแข็งในการต่อต้านคอร์รัปชัน สร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน และสร้างวัฒนธรรมการบริโภคที่เหมาะสมในสังคมไทย โดยมีวิสัยทัศน์จะทำให้สังคมไทย มีสำนึกรังเกียจและรู้เท่าทันรูปแบบการคอร์รัปชันอันหลากหลาย มีค่านิยมการใช้อำนาจอย่างมีคุณธรรม ยกย่องคนดี และมีบรรยากาศและปัจจัยที่เอื้อต่อการคอร์รัปชันน้อยลง
กิจกรรมของ คปต. คือ ให้ความรู้และประสานกำลังของภาคประชาชน ในการติดตามการปฏิบัติงานของรัฐบาล หน่วยงานราชการ และองค์กรอิสระในการป้องกันและแก้ปัญหาคอร์รัปชัน (เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ลงมือหาข้อมูลการทุจริตและสนับสนุนสื่อมวลชนในการสืบสวน สร้างองค์ความรู้และความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ สร้างกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ลงโทษทางสังคมต่อผู้ทุจริต ยกย่องและปกป้องคนดี ส่งเสริมค่านิยมการบริโภคแบบพอเพียง และสร้างแบบอย่างการทำงานที่โปร่งใสภายในเครือข่ายและองค์กรสมาชิกเครือข่าย
หลักการดำเนินงานที่สำคัญของ คปต. คือ ต้องเป็นอิสระจากอำนาจรัฐและผลประโยชน์ต่าง ๆ ด้วยการทำงานอย่างโปร่งใส ดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และยึดถือหลักการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ บนพื้นฐานของความสมัครใจ และยอมรับความหลากหลาย
กลุ่มบุคคลและองค์กรผู้ริเริ่มก่อตั้ง คปต. บางส่วนได้แก่ ที่ประชุมข่ายประชาสังคม, องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย, สถาบันพระปกเกล้า, กลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน, มูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย, สมาพันธ์ประชาธิปไตย,กลุ่มพลังเงียบมหาชน, มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด, มูลนิธิสื่อสร้างสรรค์, สำนักข่าว INN และเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกัน, สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา, สภาทนายความ, คณะกรรมการการเลือกตั้ง, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.), ศ. น.พ. เสม พริ้งพวงแก้ว, พล.ต. จำลอง ศรีเมือง, โสภณ สุภาพงษ์, สัก กอแสงเรือง, ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, ดร. ณรงค์ โชควัฒนา, วีระ สมความคิด,พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ, น.พ. เหวง โตจิราการ ฯลฯ
== ดูเพิ่ม ==
การเมืองภาคประชาชน
วีระ สมความคิด อดีตเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน
คเรือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน | thaiwikipedia | 221 |
ประเทศฝรั่งเศส | ฝรั่งเศส (France; ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก มีประชากรราว 68 ล้านคน (ค.ศ. 2023) แบ่งการปกครองออกเป็น 18 แคว้น (รวมแคว้นโพ้นทะเล 5 แคว้น) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 643,801 ตารางกิโลเมตร ฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์รา และสเปน และยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ และเนื่องจากการมีดินแดนโพ้นทะเลในครอบครอง ทำให้ฝรั่งเศสมีเขตเวลาแตกต่างกันมากถึง 12 เขต มากกว่าทุกประเทศบนโลก รวมทั้งมีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) ฝรั่งเศสเป็นประเทศรัฐเดี่ยวโดยปกครองด้วยระบบกึ่งประธานาธิบดี เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือกรุงปารีสซึ่งถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของทวีปยุโรป และยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ เช่น ลียง, มาร์แซย์, ตูลูส, บอร์โด, ลีล, สทราซบูร์ และ นิส
ดินแดนของฝรั่งเศสเริ่มมีมนุษย์เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยยุคหินเก่า ชาวเคลต์ถือเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในยุคเหล็กรวมตัวกันในบริเวณที่เป็นประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน ก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะผนวกดินแดนแห่งนี้ในช่วง 51 ปีก่อนคริสตกาล และก่อให้เกิดวัฒนธรรมโรมันกอลซึ่งเป็นรากฐานของภาษาฝรั่งเศส ชาวแฟรงก์เดินทางมาถึงบริเวณนี้ใน ค.ศ. 476 และก่อตั้งราชอาณาจักรแฟรงก์ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ก่อนที่สนธิสัญญาแวร์เดิงจะแบ่งพื้นที่อาณาจักร และอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกได้กลายเป็นราชอาณาจักรฝรั่งเศสใน ค.ศ. 987
ฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจมาตั้งแต่สมัยกลาง และปกครองด้วยระบบฟิวดัล พระเจ้าฟีลิปที่ 2 เสริมสร้างอำนาจของราชวงศ์และยังขยายอาณาจักรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ราชอาณาจักรก็กลายเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรป ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 ถึงกลางศตวรรษที่ 15 ฝรั่งเศสเผชิญความขัดแย้งทางราชวงศ์นำไปสู่สงครามร้อยปี ก่อนจะเข้าสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งตามมาด้วยความเจริญทางศิลปะและวัฒนธรรม ในช่วงเวลานั้น ฝรั่งเศสยังทำสงครามกับชาติต่าง ๆ และมีการล่าอาณานิคมทั่วโลก และในศตวรรษที่ 20 พวกเขาเป็นชาติที่มีอาณานิคมมากเป็นอันดับสองของโลก ในศตวรรษที่ 16 สงครามศาสนาระหว่างชาวคาทอลิกและอูว์เกอโนทำให้ราชอาณาจักรอ่อนแอลง ก่อนจะกลับมาเป็นมหาอำนาจของยุโรปอีกครั้งในศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่หลังสิ้นสุดสงครามสามสิบปี ฝรั่งเศสต้องเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการทำสงครามอื่น ๆ (โดยเฉพาะความพ่ายแพ้ในสงครามเจ็ดปีและการมีส่วนร่วมในสงครามปฏิวัติอเมริกา) ทำให้ราชอาณาจักรระส่ำระส่ายอย่างหนักจนสิ้นสุดศตวรรษที่ 18 นำไปสู่การปฏิวัติใน ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปฏิรูประบอบเก่า การประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และกลายสภาพเป็นสาธารณรัฐสมัยใหม่ชาติแรก ๆ ในประวัติศาสตร์ และสร้างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองมาจนถึงทุกวันนี้
ฝรั่งเศสยังเป็นมหาอำนาจอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ภายใต้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงปราบปรามภูมิภาคอื่น ๆ ในยุโรปและสถาปนาจักรวรรดิที่หนึ่ง การล่มสลายของจักรวรรดินำไปสู่ช่วงเวลาแห่งความเสื่อมโทรมจนเกิดการก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 3 ระหว่างสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียใน ค.ศ. 1870 ทศวรรษต่อมาเป็นช่วงเวลาของความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู ที่เรียกว่ายุคสวยงาม ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในสมัยระหว่างสงคราม โดยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นหนึ่งในมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ถูกฝ่ายอักษะยึดครองใน ค.ศ. 1940 หลังจากการปลดแอกใน ค.ศ. 1944 สาธารณรัฐที่ 4 ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกยุบในช่วงสงครามแอลจีเรีย ก่อนที่สาธารณรัฐที่ 5 จะก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1958 โดย ชาร์ล เดอ โกล ประเทศแอลจีเรียและอาณานิคมของฝรั่งเศสส่วนใหญ่ได้รับอิสรภาพในทศวรรษที่ 1960 โดยยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับฝรั่งเศสมาถึงปัจจุบัน
ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของโลกทางศิลปะ แฟชั่น วิทยาศาสตร์ และปรัชญามาหลายศตวรรษ และมีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก รวมทั้งมีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก (89 ล้านคนใน ค.ศ. 2018) ฝรั่งเศสเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีระบบการศึกษา สาธารณสุข และระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังติดอันดับในแง่ของคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง ฝรั่งเศสมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลกโดยวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอันดับ 9 หากวัดตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ ฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิก รวมทั้งเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส, กลุ่ม 7, เนโท และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒ และยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอาวุธนิวเคลียร์
== นิรุกติศาสตร์ ==
คำว่า ฝรั่งเศส (France) มาจากคำในภาษาละตินว่า Francia ซึ่งแปลตามตรงว่า ดินแดนของชาวแฟรงก์ (Frankland) และมีหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานถึงที่มาของคำว่า แฟรงก์ (Franks) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคำในภาษาโปรโต-เยอรมันว่า Frankon ซึ่งแปลว่า หลาว หอก หรือทวนซึ่งเป็นอาวุธของพวกแฟรงก์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ฟรานซิสกา (Francisca)
อีกทฤษฎีหนึ่งตามหลักนิรุกติศาสตร์คือในภาษาเยอรมันโบราณ คำว่า แฟรงก์ แปลว่าอิสระ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นทาส โดยคำดังกล่าวยังคงปรากฏในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันในรูป ฟรังก์ (Franc) ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสกุลเงินยูโรในปี 2002 ในปัจจุบันประเทศเยอรมนียังเรียกประเทศฝรั่งเศสว่า Frankreich ซึ่งแปลว่า อาณาจักรของชาวแฟรงก์ อีกด้วย
== ภูมิศาสตร์ ==
ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปนั้นมีพื้นที่ 543,935 ตารางกิโลเมตร (210,013 ตารางไมล์) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งใหญ่กว่าประเทศสเปนเพียงเล็กน้อย ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลทางภาคใต้ตอนกลางและเทือกเขาพิเรนีสทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ ยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี
ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปยังมีแม่น้ำต่าง ๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำการอน แม่น้ำแซน และแม่น้ำโรนซึ่งแบ่งที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลออกจากเทือกเขาแอลป์อีกด้วย โดยไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่กามาร์ก ซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดในประเทศฝรั่งเศส (2 เมตร หรือ 6.5 ฟุต จากระดับน้ำทะเล) และยังมีกอร์ส (คอร์ซิกา) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเล (ไม่รวมดินแดนอาเดลี) คือ 674,843 ตารางกิโลเมตร (260,558 ตารางไมล์) นับเป็น 0.45% ของพื้นแผ่นดินโลกทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสครอบครองพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นอันดับสองของโลก ด้วยเนื้อที่ 11,035,000 ตารางกิโลเมตร (4,260,000 ตารางไมล์) นับเป็น 8% ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทั้งหมดในโลก ตามหลังสหรัฐไปเพียง 316,000 ตารางกิโลเมตร และนำประเทศออสเตรเลียกว่า 2,886,750 ตารางกิโลเมตร
ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่าง 41° and 50° เหนือ บนขอบทวีปยุโรปตะวันตกและตั้งอยู่ในภูมิอากาศเขตอบอุ่นเหนือ ทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีสภาพภูมิอากาศเขตอบอุ่น แต่กระนั้นภูมิประเทศและทะเลก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศเหมือนกัน ละติจูด ลองจิจูดและความสูงเหนือระดับน้ำทะเลทำให้ประเทศฝรั่งเศสมีภูมิอากาศแบบคละอีกด้วย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภาคตะวันตกส่วนมากจะมีปริมาณน้ำฝนสูง ฤดูหนาวไม่มากและฤดูร้อนเย็นสบาย ภายในประเทศภูมิอากาศจะเปลี่ยนไปทางภาคพื้นทวีปยุโรป อากาศร้อน มีมรสุมในฤดูร้อน ฤดูหนาวหนาวกว่าเดิมและมีฝนตกน้อย ส่วนภูมิอากาศเทือกเขาแอลป์และแถบบริเวณเทือกเขาอื่น ๆ ส่วนมากมักจะมีภูมิอากาศแถบเทือกเขา ด้วยอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งกว่า 150 วันต่อปีและปกคลุมด้วยหิมะกว่า 6 เดือน
ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (La Métropole หรือ France métropolitaine) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสก็ยังมีดินแดนที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน อเมริกาใต้ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ รวมทั้งบางส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย (การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ดู สนธิสัญญาแอนตาร์กติก)
== สภาพภูมิอากาศ ==
ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม – พฤษภาคม)
ช่วงเวลายอดนิยมของปีในการเยี่ยมชมเมืองหลวงของฝรั่งเศสฤดูใบไม้ผลิในปารีสเริ่มมีอากาศหนาวเย็นโดยมีอุณหภูมิสูงสุดทุกวันที่ประมาณ 54 ° F (12 ° C) ในเดือนมีนาคม ภายในเดือนพฤษภาคมอากาศจะอุ่นขึ้นถึง 68 ° F (20 ° C)
ฤดูร้อน (มิถุนายน – สิงหาคม)
ช่วงนี้เป็นฤดูท่องเที่ยวในปารีสที่สูงขึ้นและมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย คาดว่าจะมีอุณหภูมิสูงสุดทุกวันอย่างน้อย 83 ° F (25 ° C) พร้อมกับคืนที่รวดเร็วประมาณ 55 ° F (13 ° C)
ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน – ธันวาคม)
เนื่องจากชาวท้องถิ่นกลับมาจากช่วงวันหยุดฤดูร้อนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นจึงมีความคึกคักทั่วปารีสในฤดูใบไม้ร่วง อุณหภูมิจะเย็นลงเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนตุลาคม แต่ถ้าเก็บเสื้อแจ็คเก็ตฤดูใบไม้ร่วงเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินเล่นในย่านที่สวยงามและเดินเล่นริมแม่น้ำแซน เตรียมพร้อมสำหรับสายฝนที่เย็นจัดและมีลมแรงเป็นครั้งคราว อุณหภูมิสูงสุดรายวันอยู่ในช่วงใดก็ได้ตั้งแต่ 46 ° F (8 ° C) ถึง 62 ° F (17 ° C)
ฤดูหนาว (มกราคม – กุมภาพันธ์)
เรียกได้ว่าหนาวมากเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอากาศหนาว ที่สำคัญเป็นช่วงที่ตั๋วเครื่องบินและที่พักราคาถูกกว่าช่วงอื่น ๆ อาจต้องแบกกระเป๋าที่หนักไปด้วยเสื้อกันหนาวและอุปกรณ์กันหนาวต่าง ๆ แบบครบ เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ประมาณ 2 – 5 องศาเซลเซียส
== ประวัติศาสตร์ ==
ชาวฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกกอล (Gaul) ในศตวรรษที่ 1 จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศฝรั่งเศส หรือ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี
ราชสำนักฝรั่งเศสขึ้นสู่จุดสูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งในยุคนี้ฝรั่งเศสได้เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป และมีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจศิลปะ และ วัฒนธรรม ต่อยุโรปเป็นอย่างมาก
ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ใน ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง
ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ
ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
== การเมือง ==
สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 1958 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจให้ประธานาธิบดี
=== บริหาร ===
อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ปัจจุบันฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีคือ แอมานุแอล มาครง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 14 พฤษภาคม 2017 และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ ฌ็อง กัสแต็กซ์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2020
=== นิติบัญญัติ ===
รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)
=== ตุลาการ ===
=== สถานการณ์การเมือง ===
=== สิทธิมนุษยชน ===
=== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ===
ฝรั่งเศสเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติและยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และยังถือเป็นประเทศที่มีเครือข่ายสมาชิกองค์การระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกในสถาบันระหว่างประเทศมากกว่าประเทศอื่น ได้แก่ กลุ่ม 7 องค์การการค้าโลก สำนักเลขาธิการของชุมชนแปซิฟิก (SPC) และคณะกรรมาธิการมหาสมุทรอินเดีย (COI) และยังเป็นสมาชิกสมทบของ สมาคมรัฐแคริบเบียน (ACS) และเป็นสมาชิกหลักของ องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (OIF) ร่วมกับอีก 84 ประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศส
ในฐานะศูนย์กลางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สำคัญ ฝรั่งเศสมีคณะทูตที่ใหญ่เป็นอันดับสามในโลกรองจากจีนและสหรัฐซึ่งมีประชากรมากกว่าพวกเขามาก นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าภาพสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, ยูเนสโก, องค์การตำรวจอาชฐากรรมระหว่างประเทศ, สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ และ OIF
นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ฝรั่งเศสได้พัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเยอรมนีเพื่อร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนที่ทรงอิทธิพลที่สุดของสหภาพยุโรป ในทศวรรษที่ 1960 ฝรั่งเศสพยายามกีดกันอังกฤษออกจากกระบวนการรวมชาติของยุโรป โดยพยายามสร้างจุดยืนของตนเองในยุโรปภาคพื้นทวีป อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 1904 ฝรั่งเศสได้รักษา "สัมพันธภาพที่ดีอย่างจริงจัง" กับสหราชอาณาจักร และมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทหาร
ฝรั่งเศสเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (เนโท) แต่ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเดอโกล เขาทำการกีดกันตนเองจากการบัญชาการร่วมทางทหารกับเพื่อนสมาชิก และเพื่อรักษาเอกราชและความมั่นคงของฝรั่งเศส แต่ภายใต้การนำของนิโคลัส ซาร์โกซี ฝรั่งเศสกลับเข้าร่วมกองบัญชาการทหารร่วมของเนโทอีกครั้งในวันที่ 4 เมษายน 2009 ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ประเทศได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากการทดสอบนิวเคลียร์ใต้ดินในเฟรนช์พอลินีเซีย และฝรั่งเศสเป็นแกนนำในการต่อต้านการรุกรานอิรักโดยสหรัฐในปี 2003 อย่างรุนแรง
ฝรั่งเศสยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในกลุ่มประเทศอาณานิคมทวีปแอฟริกา (Françafrique) และได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและกองกำลังสำหรับภารกิจรักษาสันติภาพในไอวอรี่โคสต์และชาด
ในปี 2017 ฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้บริจาคเงินช่วยเหลือด้านการพัฒนารายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ซึ่งคิดเป็น 0.43% ของ GNP ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 12 ในกลุ่มประเทศ OECD ความช่วยเหลือจัดทำโดยหน่วยงานพัฒนาฝรั่งเศสของรัฐบาลซึ่งให้เงินสนับสนุนโครงการด้านมนุษยธรรมในอนุภูมิภาคทะเลทรายสะฮารา โดยเน้นที่ "การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และการศึกษา การดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสม และการรวมกลุ่มของหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย" และยังคงดำเนินนโยบายดังกล่าวอย่างแข็งขันถึงปัจจุบัน
==== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ====
ไทยและฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามประเทศใน พ.ศ. 2228 ต่อมาราชทูตสยาม (โกษาปาน) ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อ พ.ศ. 2229
ต่อมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี การค้า และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2399
ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งนายศรัณย์ เจริญสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ส่วนฝรั่งเศสได้แต่งตั้งให้ นายตีแยรี มาตู (Thierry Mathou) เป็นเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2563-ปัจจุบัน) นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการก่อตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองลียง และเมืองมาร์แซย์ ส่วนทางประเทศฝรั่งเศสก็ได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) และ เชียงราย
=== กองทัพ ===
กองทัพฝรั่งเศส (Forces armées françaises) เป็นกองกำลังทหารและกึ่งทหารของฝรั่งเศสภายใต้การสั่งการจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด ประกอบด้วย กองทัพบกฝรั่งเศส (Armée de Terre) กองทัพเรือฝรั่งเศส (Marine Nationale เดิมชื่อ Armée de Mer) กองทัพอากาศและอวกาศของฝรั่งเศส (Armée de l'Air et de l'Espace) และกองกำลังตำรวจพิเศษ (Gendarmerie nationale) ซึ่งทำหน้าที่ตำรวจพลเรือนในพื้นที่ชนบทของฝรั่งเศสด้วย พวกเขาเป็นหนึ่งในกองกำลังติดอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลกและใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป จากการศึกษาของ Crédit Suisse ในปี 2018 กองทัพฝรั่งเศสได้รับการจัดอันดับให้เป็นกองทัพที่ทรงอิทธิพลที่สุดอันดับที่ 6 ของโลก และทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรป รองจากรัสเซียเท่านั้น
นอกจากนี้ ในสถานการณ์พิเศษ กองทหารรักษาการณ์จะรวมตัวกับหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติ (Escadron Parachutiste d'Intervention de la Gendarmerie Nationale), กลุ่มการแทรกแซงระดับชาติ (Groupe d'Intervention de la Gendarmerie Nationale) และยังมี National Gendarmerie รับผิดชอบในการไต่สวนคดีอาญา รวมถึงหน่วยงานสำคัญซึ่งได้แก่ Mobile Brigades of the National Gendarmerie ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ฝรั่งเศสมีกองทหารพิเศษ คือ French Foreign Legion ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1830 ซึ่งประกอบด้วยชาวต่างชาติจากกว่า 140 ประเทศที่ยินดีรับใช้ในกองทัพฝรั่งเศสและกลายเป็นพลเมืองฝรั่งเศส มีเพียงสองประเทศในยุโรปเท่านั้น ที่มีกองทหารพิเศษจากอาสาสมัครต่างชาติเช่นนี้ได้แก่ สเปน (กองทหารต่างประเทศสเปนเรียกว่า Tercio ก่อตั้งขึ้นในปี 1920) และลักเซมเบิร์ก (ชาวต่างชาติสามารถรับใช้ในกองทัพแห่งชาติได้หากพวกเขาพูดภาษาลักเซมเบิร์กได้)
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ (Metropolitan France - "France métropolitaine, la Métropole, l'Hexagone") แบ่งการปกครองออกเป็น
13 แคว้น (regions - régions)
โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด
นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่
5 จังหวัดโพ้นทะเล (Départements d'outre-mers: DOM) ได้แก่ กัวเดอลุป (Guadeloupe) เฟรนช์เกียนา (French Guiana) มาร์ตีนิก (Martinique) เรอูว์นียง (Réunion) และมายอต (Mayotte) ทั้งห้าดินแดนมีฐานะเดียวกับแคว้นในฝรั่งเศสภาคพื้นทวีป (อย่างเดียวกับฮาวายที่มีฐานะเท่าเทียมกับรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐ) กล่าวคือ เป็นทั้งแคว้นและจังหวัดในเวลาเดียวกัน
4 เขตชุมชนโพ้นทะเล (Collectivités d'outre-mer) ได้แก่ แซงปีแยร์และมีเกอลง (Saint Pierre and Miquelon) วอลิสและฟูตูนา (Wallis and Futuna) แซ็ง-บาร์เตเลมี (Saint Barthélemy) และแซ็ง-มาร์แต็ง (Saint Martin)
1 ประเทศโพ้นทะเล (Pays d'outre-mer: POM) ดินแดนแห่งเดียวของฝรั่งเศสที่ได้รับการเรียกชื่อนี้คือ เฟรนช์โปลินีเซีย (French Polynesia) ซึ่งเคยเป็นดินแดนโพ้นทะเล (TOM) มาก่อน แต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะในวันที่ 28 มีนาคม 2003 โดยแบ่งออกเป็น 5 เขตบริหารย่อย
1 เขตชุมชนรูปแบบพิเศษ (Collectivité sui generis) คือ นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) เคยมีฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลมาจนถึงปี 1999 จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะ แบ่งออกเป็น 3 จังหวัด (provinces) ได้แก่ จังหวัดนอร์ ซูด และอีลลัวโยเต
1 ดินแดนโพ้นทะเล (Territoires d'outre-mer: TOM) คือ เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนส์ (French Southern and Antarctic Lands) โดยแบ่งออกเป็น 4 เขต (districts) ได้แก่ หมู่เกาะแกร์เกแลน (Kerguelen Islands) หมู่เกาะครอเซ (Crozet Islands) เกาะอัมสเตอร์ดัมและเกาะแซ็ง-ปอล (Amsterdam Island and Saint Paul Island) และอาเดลีแลนด์ (Adelie Land)
ดินแดน 5 เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งไม่มีผู้อาศัยอยู่อย่างถาวร รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะกระจายหรืออีลเซปาร์ส (Îles Éparses) ได้แก่ บาซัสดาอินเดีย (Bassas da India) ยูโรปา (Europa) ฌุอ็องเดอนอวา (Juan de Nova) โกลรีโอโซ (Glorioso) และตรอมแล็ง (Tromelin) ทั้งหมดถูกปกครองโดยจังหวัดโพ้นทะเลเรอูว์นียง
เกาะที่ไม่มีผู้อาศัย 1 แห่ง คือ เกาะกลีแปร์ตอน (Clipperton) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้ชายฝั่งประเทศเม็กซิโก ปกครองโดยข้าหลวงใหญ่สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำท้องถิ่นโพ้นทะเลเฟรนช์โปลินีเซีย
== เศรษฐกิจ ==
เมื่อวัดจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 10 ของโลกในปี 2008 และอันดับสองของยุโรปเมื่อวัดตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งใน 11 สมาชิกร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและเริ่มใช้เงินสกุลยูโรเมื่อปี 1999 และเริ่มใช้เหรียญและธนบัตรแทนสกุลฟรังก์ในอีกสามปีต่อมา ขณะที่มีบริษัทเอกชนในฝรั่งเศสมีจำนวนมาก รัฐบาลก็มีการตั้งรัฐวิสาหกิจและแทรกแซงเอกชนในบางครั้ง ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในระบบรถไฟ ไฟฟ้า อากาศยาน พลังงานนิวเคลียร์และโทรคมนาคม จึงนับได้ว่าฝรั่งเศสมีลักษณะเศรษฐกิจแบบผสม แม้ภาครัฐจะพยายามลดการแทรกแซงและมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชนอยู่เรื่อยมา
องค์การการค้าโลกเผยว่าฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 6 และเป็นผู้นำเข้าอันดับ 4 ของโลกในปี 2009 ประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นที่มาของความสำเร็จในการส่งออก ได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านการขนส่ง โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา การท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำหอมและเหล้า) รวมไปถึงภาคการเงิน ภาคธนาคาร และการประกันภัย สถาบันการเงินรายใหญ่ตั้งอยู่ในฝรั่งเศสรวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ปารีส (ปัจจุบันคือยูโรเน็กซต์ ปารีส) บริษัทประกันแอกซ่า ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ และธนาคารโซซิเอเต้ เจเนเรล
ในด้านการลงทุน ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศเป็นอันดับ 3 ของโลกเมื่อปี 2008 รองจากลักเซมเบิร์กและสหรัฐ มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 118 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส การค้นคว้าวิจัยขั้นสูง เทคโนโลยีชั้นสูงที่ก้าวหน้ามาก เสถียรภาพของค่าเงิน และการควบคุมต้นทุนการผลิต และในปีเดียวกันนั้น บริษัทฝรั่งเศสไปลงทุนในต่างประเทศสูงถึง 220 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 2004 ประเทศฝรั่งเศสเสียเปรียบดุลการค้าถึง 6.6 พันล้านยูโร ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกทางด้านสินค้าทุน (ส่วนมากจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์) และเป็นอันดับ 2 ในส่วนของภาคบริการและทางด้านเกษตรกรรม (โดยเฉพาะธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) ส่วนในระดับภูมิภาคยุโรป ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 70 (ร้อยละ 50 เฉพาะประเทศในยูโรโซน)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (PPP) ปี 2019 มีมูลค่า 3,062 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ปี 2019 คิดเป็นร้อยละ 1.3
=== เกษตรกรรม ===
เศรษฐกิจของฝรั่งเศสขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรอย่างมากมาตั้งแต่สมัยอดีต มีการใช้ปุ๋ยปรับสภาพดินและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ นโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรปยังช่วยให้ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรมากที่สุดในยุโรป คิดเป็นราวร้อยละ 20 ของสินค้าเกษตรในสหภาพยุโรป และคิดเป็นอันดับสามของโลก อาหารแปรรูปที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสได้แก่ ข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อโค เนื้อสุกร ตลอดจนไวน์โรเซ่ แชมเปญจน์ และไวน์บอร์โด ฝรั่งเศสมีจำนวนพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรกว่า 590,000 แห่ง มีประชากรในวัยทำงานในภาคการเกษตร 1,189,000 คน และมีพื้นที่เพาะปลูก 27,668,000 เฮกตาร์หรือเท่ากับร้อยละ 50.7 ของประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ โดยมีผลิตผลทางการเกษตรหลักดังนี้
ธัญพืช 69.7 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 37.6 ล้านตันเป็นข้าวสาลีและ 16.4 ล้านตันเป็นเมล็ดข้าวโพด ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปและเป็นอันดับ 5 ของโลก
ไวน์ 48 ล้านเฮกโตลิตร อันดับ 2 ของโลกและในสหภาพยุโรปรองจากประเทศอิตาลี
นม 22.2 ล้านลิตร อันดับ 2 ของสหภาพยุโรปรองจากประเทศเยอรมนีและเป็นอันดับ 5 ของโลก
หัวผักกาดหวาน 29.4 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของสหภาพยุโรปและอันดับ 2 ของโลก
เมล็ดพืชที่ให้น้ำมัน 6 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของสหภาพยุโรป
ส่วนด้านการทำปศุสัตว์และการผลิตเนื้อสัตว์นั้น มีดังนี้
โค จำนวน 19.2 ล้านตัว / เนื้อโค ปริมาณผลิต 1.8 ล้านตัน
สุกร จำนวน 15.2 ล้านตัว / เนื้อสุกร ปริมาณผลิต 2.3 ล้านตัน
แกะ จำนวน 8.9 ล้านตัว, แพะ จำนวน 1.2 ล้านตัว / เนื้อแพะและแกะ ปริมาณผลิต 1.3 ล้านตัน
เนื้อสัตว์ปีก ปริมาณผลิต 2.1 ล้านตัน
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ภายกลุ่มประชาคมยุโรปกว่าร้อยละ 58.6 ของการค้าทั้งหมดของประเทศฝรั่งเศสคือ ประเทศเยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สหราชอาณาจักร สเปนและอิตาลี ที่เหลือได้แก่ สหรัฐ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และแอลจีเรีย
=== พลังงาน ===
Électricité de France (EDF) บริษัทผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าหลักในฝรั่งเศส ยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลกอีกด้วย ในปี 2018 ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 20% ของสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ฝรั่งเศสเป็นประเทศปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เล็กที่สุดในบรรดาสมาชิกกลุ่ม 7 เนื่องจากมีการลงทุนอย่างหนักในด้านพลังงานนิวเคลียร์ ณ ปี 2016 ไฟฟ้า 72% ของประเทศผลิตขึ้นโดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 58 โรง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลก ฝรั่งเศสยังใช้เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น เขื่อน Eguzon, Étang de Soulcem และ Lac de Vouglans
=== การค้าต่างประเทศ ===
ในอดีตประเทศฝรั่งเศสขาดดุลการค้ามาโดยตลอดจนถึงปี 1982 ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ เช่น การไม่รวมอัตรารายได้กับดัชนีเงินเฟ้อ และการปรับความสามารถในการแข่งขันส่งผลให้สภาวะการค้าของประเทศฝรั่งเศสดีขึ้น และตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เปรียบดุลการค้าติดต่อกันเรื่อยมา โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้า คือ ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง ประเทศฝรั่งเศสทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญโดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเดิมถือว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศฝรั่งเศส แต่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นข้อได้เปรียบ และการส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเช่น เครื่องบินแอร์บัส และอุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) ได้ขยายตัวอย่างมากโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของประเทศฝรั่งเศสทั้งหมด
แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต คาดว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้เปรียบดุลการค้าลดลง เนื่องจากการถดถอยของอุปสงค์โลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย ในปี 1998 และการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐและสงครามในอิรัก
=== การท่องเที่ยว ===
จำนวน 81.9 ล้านคนนี้ ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อาศัยในประเทศฝรั่งเศสน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น ชาวยุโรปทางตอนเหนือที่เดินทางผ่านประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปประเทศสเปนหรืออิตาลีในฤดูร้อน ประเทศฝรั่งเศสมีสถานที่ท่องเที่ยวในทุก ๆ บรรยากาศไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยทะเล หาดทราย ป่า แม่น้ำ ภูเขา บ้านพักตากอากาศ ฯลฯ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมีดังนี้ หอไอเฟล (6.2 ล้าน), พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (5.7 ล้าน), พระราชวังแวร์ซายส์ (2.8 ล้าน), พิพิธภัณฑ์ออร์เซ (2.1 ล้าน), ประตูชัยฝรั่งเศส (1.2 ล้าน), ซองตร์ ปอมปิดู (1.2 ล้าน), มง-แซ็ง-มีแชล (1 ล้าน), พระราชวังช็องบอร์ (711,000), วิหารแซ็งต์-ชาแปล (683,000 , ชาโต ดู โอต์-โคนิคบูร์ก (549,000), ปุย เดอ โดม (5 แสน), พิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ (441,000) และการ์กาซอน (362,000)
ประเทศฝรั่งเศสมีโรงแรมกว่า 18,217 แห่ง สถานที่ตั้งแคมป์ 8,289 แห่ง หมู่บ้านตากอากาศ 1,001 แห่ง บ้านพักเยาวชน 188 แห่ง ที่พักราคาย่อมเยาในต่างจังหวัด 63,158 แห่ง ห้องพักพร้อมอาหารเช้าตามบ้านคนท้องถิ่น 31,013 ห้อง โดยประเทศฝรั่งเศสมีรายได้จากการท่องเที่ยว 32.8 พันล้านยูโร นับเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐและอิตาลี และมีดุลการท่องเที่ยวเกินดุลกว่า 9.8 พันล้านยูโร
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== คมนาคม และ โทรคมนาคม ===
==== คมนาคม ====
เครือข่ายระบบรางของฝรั่งเศสมีความยาวรวมถึง 29,473 กิโลเมตรในปี 2008 สูงสุดเป็นอันดับสองในยุโรปตะวันตกรองจากเยอรมนี ดำเนินการโดยแอ็สแอนเซแอ็ฟ และมีรถไฟความเร็วสูงตาลิส ยูโรสตาร์ เตเฌเวให้บริการในประเทศและเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านรอบด้านยกเว้นประเทศอันดอร์รา ในเมืองใหญ่มีระบบรถไฟใต้ดินให้บริการ อาทิ ปารีส ลียง มาร์แซย์ ตูลูซ และแรน ทั้งยังมีระบบรถรางให้บริการใน น็องต์ สทราซบูร์ บอร์โด เกรอนอบล์ และมงเปอลีเย
ส่วนถนนในฝรั่งเศสมีความยาวรวมกันถึง 1,027,183 กิโลเมตรนับว่ายาวที่สุดในทวีปยุโรป โดยปารีสมีเครือข่ายถนนและทางพิเศษที่หนาแน่นสูงกว่าส่วนอื่นของประเทศ เส้นทางถนนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านรอบด้าน ฝรั่งเศสไม่เก็บภาษีถนนประจำปีแต่จะเก็บค่าบริการในทางด่วนพิเศษหลายเส้นทาง มีตลาดรถยนต์ที่ใหญ่โดยรถยนต์ส่วนใหญ่ผลิตจากผู้ผลิตในประเทศอาทิ เรโนลต์ เปอโยต์ และซิตรอน
ฝรั่งเศสมีท่าอากาศยานมากถึง 464 แห่งในประเทศ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางทะเลเมดิเตอเรเนียน ฝรั่งเศสมีระบบคลองยาวราว 12,261 กิโลเมตร
==== โทรคมนาคม ====
=== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ===
ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญต่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตั้งแต่ยุคกลาง นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 ผู้ประสูติในฝรั่งเศสทรงเผยแพร่ลูกคิด ทรงกลมดาราศาสตร์ ระบบเลขอารบิก และนาฬิกาให้กับชาวยุโรปเหนือและตะวันตกได้รู้จักกันอีกครั้ง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งขึ้นและกลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกตะวันตกนับตั้งแต่นั้น ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เรอเน เดการ์ต ได้เผยแพร่หลักการค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบลซ ปัสกาล ร่วมพัฒนาทฤษฎีความน่าจะเป็นและกลศาสตร์ของไหล นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองกลายเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งยุคแห่งภูมิปัญญาของยุโรปนับตั้งแต่นั้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในฝรั่งเศสรวมทั้งปกป้องจิตวิญญาณของการวิจัย มีส่วนสำคัญในการบุกเบิกทางวิทยาศาสตร์ของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18
ในยุคเรืองปัญญา มีนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสที่ได้รับการยอมรับมากมาย อาทิ บุฟฟ่อน นักชีววิทยา อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีผู้ค้นพบหน้าที่ของออกซิเจนในการเผาไหม้ ตลอดจนดีเดอโรต์และดาลองแบร์ผู้เผยแพร่สารานุกรม หวังให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ที่เป็นประโยชน์ ใช้งานจริงในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมยังมีออกุสแต็ง-ฌ็อง แฟรแนลเป็นผู้คิดค้นเลนส์ยุคใหม่ นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนคิดค้นทฤษฎีเครื่องจักรความร้อน หลุยส์ ปาสเตอร์คิดค้นวิธีการฆ่าเชื้อและวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า โดยชื่อของนักวิทยาศาสตร์ของศตวรรษที่ 19 ที่มีชื่อเสียงจะได้รับการจารึกบนหอไอเฟล
สำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ อ็องรี ปวงกาเร นักคณิตศาสตร์ อ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล ปีแยร์ กูว์รี และมารี กูว์รี นักฟิสิกส์และเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม โปล แลงชเวน นักฟิสิกส์ และลุค มงตาญนิเยร์ นักชีววิทยาผู้ร่วมค้นพบเชื้อไวรัสเอดส์
ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในสี่ประเทศมหาอำนาจทางนิวเคลียร์ มีอาวุธนิวเคลียร์ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและเป็นผู้นำด้านการใช้นิวเคลียร์เพื่อกิจการพลเรือนฝรั่งเศสเป็นประเทศที่สามต่อจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐที่มีดาวเทียมในอวกาศและยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการอวกาศของยุโรป บริษัทแอร์บัสมีส่วนในการพัฒนาระบบอากาศยานสำหรับการทหารและพลเรือน และรัฐบาลฝรั่งเศสยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของโครงการวิจัยแสงซิงโครตรอนและองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป เมื่อนับจนถึงปี 2018 ฝรั่งเศสมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลมาแล้วรวม 69 คน
=== การศึกษา ===
หลักเกณฑ์ของระบบการศึกษาฝรั่งเศส ประกอบด้วยหลัก 4 ประการ ได้แก่
1. ความเท่าเทียมกันทางโอกาสในการเข้ารับการศึกษา
2. การไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ผิวพรรณ และฐานะทางสังคม
3. ความมีสถานะเป็นกลาง
4. ความไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด ๆ
นโยบายทางการศึกษา
ระบบการศึกษาของรัฐเป็นบริการที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เว้นแต่ค่าลงทะเบียนเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก การศึกษาภาคบังคับในฝรั่งเศส อยู่ในช่วงอายุระหว่างอายุ 6-16 ปี ระบบการศึกษาของรัฐรับเด็กเข้าศึกษา 80% ของจำนวนเด็กทั้งหมด ข้อบ่งชี้ถึงความมีเสรีภาพในการเรียนการสอน ประการหนึ่ง คือการเปิดโรงเรียน หรือสถานศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นเสรี ใครก็ตามสามารถเปิดโรงเรียน หรือสถานศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นเสรี ใครก็ตามสามารถเปิดหรือจัดการศึกษาได้ทั้งสิ้นและทุกระดับชั้นการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับระถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือแม้แต่ระดับอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้จะต้องรักษา หลักเกณฑ์ 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้นและรักษาเงื่อนไขทางด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยและการจัดระเบียบสาธารณะ
อดีตนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส ฟร็องซัว ฟียง (Mr. Francois Filllon) ได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2007 ในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาว่า จะเพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้แก่ประชาชนฝรั่งเศส โดยตั้งเป้าหมายให้ประชาชนร้อยละ 50 จบการศึกษา พร้อมทั้งตั้งงบประมาณระหว่างปี 2007-12 เพื่อการนี้จำนวน 5 พันล้านยูโร และจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยให้แก่สถาบันอุดมศึกษา คาดว่างบประมาณเพื่อการวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
=== สาธารณสุข ===
ฝรั่งเศสมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การอนามัยโลกเผยว่าฝรั่งเศสมีระบบสาธารณสุขที่ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกในปี 2000 ฝรั่งเศสใช้งบประมาณสูงถึง 11.6 ของจีดีพีกับระบบสาธารณสุขในปี 2011 หรือราว ๆ 4,086 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว สูงกว่าค่าเฉลี่ยชาติอื่น ๆ ของยุโรปมาก ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประมาณร้อยละ 77 อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐบาล
โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่นโรคมะเร็ง โรคเอดส์ หรือโรคซิสติก ไฟโบรซิส ได้รับการรักษาฟรี อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชาชนอยู่ที่ 78 ปีสำหรับเพศชาย และ 85 ปีสำหรับเพศหญิง นับว่าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของยุโรปและของโลก มีแพทย์ราว 3.22 คนต่อประชากร 1,000 คนในปี 2008
แม้คนทั่วไปจะมองว่าชาวฝรั่งเศสมีรูปร่างที่ผอม แต่ฝรั่งเศสกำลังประสบปัญหาประชากรมีโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปสู่ค่านิยมการบริโภคอาหารขยะ อัตราการเกิดโรคอ้วนยังถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับสหรัฐและยังต่ำสุดในยุโรป แต่เป็นประเด็นที่ภาครัฐให้ความสำคัญเมื่อเร็ว ๆ นี้
=== สวัสดิการสังคม ===
== ประชากร ==
=== เชื้อชาติ ===
ประชากรของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีประมาณ 67.15 ล้านคน (2017) โดยเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก หรืออันดับที่ 2 ของสหภาพยุโรป
ชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ผสมกับเชื้อสายโรมันและแฟรงก์ แต่ละท้องที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป เช่น วัฒนธรรมบริตันทางตะวันตก วัฒนธรรมอากิแตเนียทางตะวันตกเฉียงใต้แถบเทือกเขาพีเรเนส วัฒนธรรมอลามันน์ทางตะวันออกเฉียงเหนือใกล้พรมแดนเยอรมนี วัฒนธรรมสแกนดิเนเวียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และวัฒนธรรมลิกูเรียทางตะวันออกเฉียงใต้
คริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมของฝรั่งเศส ประมาณการกันว่าในเขตเมืองใหญ่ของฝรั่งเศสนั้นมีชาวผิวขาวร้อยละ 85 ชาวแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือร้อยละ 10 ชาวผิวดำร้อยละ 3.3 และชาวเอเชียอีกร้อยละ 1.7 ประชาชนชาวฝรั่งเศสร้อยละ 40 ในปัจจุบันสืบเชื้อสายจากการอพยพนับตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กลุ่มแรกราว 1.1 ล้านคนอพยพเข้ามาในช่วง ค.ศ. 1921 ถึง 1935 กลุ่มที่สองราว 1.6 ล้านคนเป็นชาวฝรั่งเศสโพ้นทะเลที่เดินทางกลับประเทศกลับอาณานิคมในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือประกาศเอกราชราว ค.ศ. 1960
ฝรั่งเศสยังคงเป็นจุดหมายของการอพยพ มีผู้อพยพอย่างถูกกฎหมายเข้ามาราว 200,00 ต่อปีและยังมีผู้ขอลี้ภัยอีกเป็นจำนวนมาก สถาบันสถิติและเศรษฐกิจแห่งชาติประมาณการไว้ว่าผู้อพยพที่เป็นลูกหลานของชาวฝรั่งเศสมี 6.5 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด) และไม่ได้มีเชื้อสายฝรั่งเศสมีราว 5 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 8 ของประชากรทั้งหมด) รวมแล้ว ประมาณหนึ่งในห้าของประชากรฝรั่งเศสเป็นลูกหลานของผู้อพยพ
=== เมืองใหญ่ ===
เมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากได้แก่ ปารีส มาร์แซย์ ลียง ลีล ตูลูซ นิส และน็องต์
=== ภาษา ===
รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส มาตรา 2 กำหนดให้ภาษาราชการคือ ภาษาฝรั่งเศส เป็นกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่มีรากมาจากภาษาละติน โดยมีสมาคมภาษาฝรั่งเศสเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านภาษาตั้งแต่ปี 1635 นอกจากนี้ ยังมีฝรั่งเศสยังมีคนพูดภาษาอุตซิตา ภาษาเบรอตาญ ภาษากาตาลา ภาษาเฟลมิช ภาษาบาสก์ และภาษาคอร์ซิกัน ที่พูดกันในท้องถิ่นด้วย
แม้รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้บังคับให้ประชาชนตีพิมพ์ผลงานเป็นภาษาฝรั่งเศส แต่ภาษาฝรั่งเศสยังมีความจำเป็นในการพาณิชย์และการทำงาน รัฐบาลฝรั่งเศสพยายามส่งเสริมให้ภาษาฝรั่งเศสได้รับการยอมรับในสหภาพยุโรปและทั่วโลก ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเคยเป็นภาษาที่พูดกันแพร่หลายในทางการทูตและเวทีระหว่างประเทศช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ เนื่องจากการเรืองอำนาจของสหรัฐในเวทีการเมืองโลก
กระนั้น ภาษาฝรั่งเศสยังเป็นภาษาที่มีผู้ศึกษามาเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในเขตอดีตอาณานิคมในแอฟริกา ประมาณการกันว่ามีคนพูดภาษาฝรั่งเศสได้รวม 300 ถึง 500 ล้านคนทั่วโลก หากนับภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สอง
=== ศาสนา ===
ฝรั่งเศสให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญโดยใช้หลักการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร
ผลสำรวจจากสถาบันมงตาญและสถาบันความเห็นสาธารณะฝรั่งเศสเผยว่า ชาวฝรั่งเศสร้อยละ 51.1 เป็นชาวคริสต์ ร้อยละ 39.6 ไม่นับถือศาสนาใด ร้อยละ 5.6 เป็นชาวมุสลิ ร้อยละ 2.5 นับถือศาสนาอื่น (เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกส์) และอีกร้อยละ 0.4 ยังไม่ตัดสินใจ ฝรั่งเศสมีชุมชนชาวยิงที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองจากอิสราเอลและสหรัฐ มีผู้นับถือศาสนายูดายนี้ราว ๆ 480,000 ถึง 600,000 คน
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสมากว่าพันปี มีศาสนสถานมากถึง 47,000 แห่งในประเทศ และราวร้อยละ 94 ของคริสตศาสนิกชนนับถือนิกายโรมันคาทอลิก สถานที่สำคัญและความเชื่อทางศาสนาคริสต์ถูกทำลายไปอย่างมากในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส จากนั้นเมื่อปี 1905 รัฐบาลได้ออกกฎหมายแยกศาสนจักรออกจากคริสตจักรอย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน รัฐบาลจึงห้ามไม่ให้กลุ่มศาสนาใดมีสิทธิพิเศษเหนือกว่ากลุ่มอื่นในสังคม ในขณะเดียวกัน องค์กรทางศาสนาก็ไม่ควรแทรกแซงทางการเมือง
=== กีฬา ===
ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกมากมาย อาทิ จักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ฟุตบอลโลก 1938 และ 1998 รักบี้ชิงแชมป์โลก 2007 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1960 1984 และ 2016 และฟุตบอลโลกหญิง 2019 สนามกีฬาสตาดเดอฟร็องส์ในเมืองแซ็ง-เดอนีเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส กีฬาที่ได้รับความนิยมในฝรั่งเศสได้แก่ ฟุตบอล ยูโด เทนนิส รักบี้ และเปตอง นอกจากนี้ รายการแข่งรถ 24 ชั่วโมง เลอม็อง ยังเป็นที่รู้จัก เช่นเดียวกับเทนนิสแกรนด์สแลมเฟรนช์โอเพ่น
ฝรั่งเศสมีสายสัมพันธ์ที่ยาวนานกับกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ก่อตั้งกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูร้อนสองครั้งในปี 1900 (กีฬาโอลิมปิกครั้งที่สอง) และ 1924 โดยทั้งสองครั้งจัดที่กรุงปารีส เป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูหนาวอีกสามครั้ง ในปี 1924 ที่ชามอนี ค.ศ. 1968 ที่เกรอนอบล์ และค.ศ.1992 ที่แอลเบอร์วีลล์ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลเคยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีสก่อนจะย้ายไปนครโลซานในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
==== ฟุตบอล ====
ทีมฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส มีฉายาว่า เลอเบลอส์ มีความหมายสื่อถึงธงชาติฝรั่งเศส ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในฝรั่งเศส มีนักกีฬาที่ลงทะเบียนถึง 1,800,000 คนและมีสโมสรมากถึง 18,000 สโมสร ทีมฟุตบอลประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยการขึ้นครองแชมป์โลกในปี 1998 และอีกครั้งในปี 2018 และได้รองแชมป์โลกในปี 2006 ส่วนในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ฝรั่งเศสชนะเลิศสองครั้งเมื่อปี 1984 และ 2000
ลีกสูงสุดของฟุตบอลฝรั่งเศสคือ ลีกเอิง ฝรั่งเศสผลิตนักฟุตบอลระดับโลกมาแล้วหลายราย เช่น ซีเนดีน ซีดาน เจ้าของรางวัลนักฟุตบอลยอดเยียมประจำปีของฟีฟ่า และมีแชล ปลาตีนี เจ้าของรางวัลบัลลงดอร์ 3 สมัย ตลอดจนฌุสต์ ฟงแตน เรมอง กอปา และตีแยรี อ็องรี
==== มวยสากล ====
== วัฒนธรรม ==
ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมตะวันตกมาหลายศตวรรษ ได้รับการขนานนำว่ามีมรดกทางวัฒนธรรมจำนวนมากและหลากหลาย
ความสำเร็จในการรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมเป็นผลงานที่สำคัญของกระทรวงวัฒนธรรมที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1959 มีการมอบเงินสนับสนุนจิตรกร ส่งเสริมวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก สนับสนุนการจัดเทศกาลและงานรื่นเริงทางวัฒนธรรมต่าง ๆ และบูรณะสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ฝรั่งเศสมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมมรดกทางวัฒนธรมเป็นจำนวนมาก มีพิพิธภัณฑ์กว่า 1,200 แห่งเปิดให้นักท่องเที่ยวกว่า 50 ล้านคนเข้ามาเยี่ยมชมเป็นประจำทุกปี มีแหล่งโบราณสถานแห่งชาติ 85 แห่งที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากรัฐบาล ฝรั่งเศสมีแหล่งมรดกโลกในประเทศมากถึง 39 แห่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก
=== สถาปัตยกรรม ===
ในยุคกลางมีการสร้างป้อมปราการและปราสาทขึ้นโดยขุนนางในระบบศักดินาขึ้นเป็นจำนวนมาก และบางส่วนยังหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันเช่น ปราสาทชินอง ปราสาทดองเกร์ส และปราสาทแห่งแวงเซน สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคนี้คือสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่ได้รับความนิยมทั่วยุโรปตะวันตก
สถาปัตยกรรมในยุคต่อมา คือ สถาปัตยกรรมกอทิก ถือกำเนิดขึ้นที่แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ของฝรั่งเศส เดิมมีชื่อเรียกสถาปัตยกรรมแบบนี้ว่า Opus Francigenum มีความหมายว่า งานแบบฝรั่งเศส เป็นสถาปัตยกรรมแบบแรกของฝรั่งเศสที่ได้รับการทำซ้ำไปทั่วยุโรป ฝรั่งเศสทางตอนเหนือมีอาคารและสิ่งก่อสร้างจำนวนมากที่เป็นแบบกอทิก อาทิ มหาวิหารแซ็ง-เดอนี อาสนวิหารชาทร์ อาสนวิหารอาเมียง และอาสนวิหารแร็งส์ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎของกษัตริย์ฝรั่งเศส นอกจากศาสนสถานแล้ว ยังมีอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เด่นชัดอีกมากมาย เช่น ปาแลเดปัป (วังพระสันตะปาปาแห่งอาวีญง)
ชัยชนะของฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมในฝรั่งเศส เป็นยุคกำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส มีจิตรกรจากอิตาลีจำนวนมากได้รับคำเชิญให้มาตกแต่งคฤหาสน์ของผู้มั่งคั่งในฝรั่งเศสโดยเฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำลัวร์ เช่น วังมงซอโร พระราชวังช็องบอร์ วังเชอนงโซ พระราชวังอ็องบวซ
หลังจากนั้น สถาปัตยกรรมบาโรก เข้ามามีบทบาทแทนที่กอทิก สถาปัตยกรรมที่เด่นชัดได้แก่ พระราชวังแวร์ซาย ปลัสสตานิสลัส(ในขณะนั้นยังไม่อยู่ในฝรั่งเศส) ฌูล อาร์ดวง-ม็องซาร์หนึ่งในผู้ออกแบบแวร์ซายกลายเป็นสถาปนิกผู้มีอิทธิพลในยุคนี้ เช่นเดียวกับเซบัสเตียง เลอ แพร็สทร์ เดอ โวบ็อง ผู้ออกแบบป้อมปราการที่มีประสิทธิภาพและมีชื่อเสียงด้านสถาปัตยกรรมทางการทหาร
หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลัทธิคลาสสิกใหม่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้นิยมสาธารณรัฐ มีการสร้างอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล (ประตูชัย) และโบสถ์ลามาดแลน อันเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมยุคจักรวรรดิฝรั่งเศส
ในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 มีการสร้างเมืองแบบสมัยใหม่ โรงโอเปเราการ์นีเยถูกสร้างขึ้นในแบบนีโอ-บาโรก มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกได้รับความนิยมเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในยุโรป โดยมีเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ต่อมา กุสตาฟ ไอเฟล ได้วางรางฐานของสะพานสมัยแบบใหม่ในฝรั่งเศส นำเสนอสิ่งก่อสร้างด้วยเหล็ก หนึ่งในนั้นที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดคือ หอไอเฟล
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เลอกอร์บูซีเย สถาปนิกชาวฝรั่งเศส-สวิส เป็นผู้ออกแบบสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในฝรั่งเศส มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมระหว่างสมัยเก่าและสมัยใหม่ เช่น พีระมิดลูฟวร์ อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสไม่นิยมสร้างตึกระฟ้าบดบังทัศนียภาพ ในกรุงปารีสมีข้อบังคับนับตั้งแต่ปี 1977 ห้ามมิให้มีอาคารสูงกว่า 37 เมตรก่อตั้งขึ้น อาคารสำนักงานจำนวนมากจึงมักตั้งอยู่ที่ลาเดฟ็องส์ เขตธุรกิจใหญ่ชานเมืองปารีสแทน สถาปนิกที่มีชื่อเสียงในยุคโมเดิร์นได้แก่ ฌ็อง นูแวล โดมินิก เปอร์โรลต์
=== วรรณกรรม ===
วรรณกรรมถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวฝรั่งเศสมานานนับสหัสวรรษ และยังเป็นเครื่องมือสะท้อนถึงประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่และความรุ่งเรื่องทางวัฒนธรรมของประเทศ วรรณคดีฝรั่งเศสที่เก่าแก่ที่สุดมีมาตั้งแต่ยุคกลาง โดยนักเขียนใช้การสะกดและไวยากรณ์ของตนเอง ผู้เขียนตำรายุคกลางของฝรั่งเศสบางคนไม่เป็นที่รู้จัก เช่น Tristan และ Iseult และ Lancelot-Grail ผู้เขียนคนอื่น ๆ เป็นที่รู้จัก เช่น Chrétien de Troyes และ Duke William IX of Aquitaine
กวีนิพนธ์และวรรณคดีฝรั่งเศสในยุคกลางส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานและความเชื่อดั้งเดิมของฝรั่งเศส เช่น บทเพลงแห่งโรแลนด์ และบทประพันธ์ต่าง ๆ Roman de Renart เขียนขึ้นในปี 1175 โดย Perrout de Saint Cloude บอกเล่าเรื่องราวของตัวละครในยุคกลาง Reynard ('the Fox') และเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของงานเขียนภาษาฝรั่งเศสยุคแรก ๆ นักเขียนคนสำคัญของศตวรรษที่ 16 คือ François Rabelais ซึ่งนวนิยายเรื่อง Gargantua และ Pantagruel ยังคงมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน Michel de Montaigne เป็นบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งของวรรณคดีฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษนั้น งานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา Essais ได้สร้างแนววรรณกรรมคล้ายการเขียนเรียงความ
=== ศิลปะ ===
ประเทศฝรั่งเศสถือว่าเป็นหนึ่งในชาติที่มีความสำคัญยาวนานต่อโลกศิลปะ อีกทั้งยังเป็นบ่อเกิดของศิลปินและกระแสทางศิลปะที่สำคัญของโลกมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่ายิ่งกรุงปารีส โดยปรากฏผลงานทางศิลปะตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆมากมาย ฝรั่งเศสเริ่มมีความก้าวหน้าด้านศิลปะหลังยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส (French Renaissance) ในศตวรรษที่ 15 ซึ่งส่วนมากได้รับอิทธิพลมาจากอิตาลี และเริ่มโดดเด่นขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 17 ในยุคบาโรก (Baroque) จนมีความเจริญรุ่งเรืองเหนือกว่าอิตาลีในยุคโรโกโก (Rococo) และยุคนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) ในช่วงศตวรรษที่ 18 ศูนย์กลางแห่งศิลปะของโลกเริ่มเคลื่อนย้ายจากอิตาลีมาสู่ฝรั่งเศส และตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาฝรั่งเศสถือว่ามีความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปะถึงขีดสุด ในยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ต่อเนื่องมาถึงยุคศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) ส่งผลให้กรุงปารีสได้กลายเป็นเมืองหลวงแห่งศิลปะของโลกไปโดยปริยาย
=== ปรัชญา ===
ลัทธิอัสมาจารย์ หรือวิธีคิดเชิงวิพากษ์ เป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในสมัยกลาง ก่อนที่มนุษยนิยมจะได้รับความนิยมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา นักปรัชญายุคใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลายคนกำเนิดที่ฝรั่งเศส เช่น เรอเน เดการ์ต แบลซ ปัสกาล และนิโกลา แมลบรันช์ โดยเดการ์ตเป็นผู้นำปรัชญาตะวันตกกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหลังยุคกรีกและโรมัน หนังสือของเดการ์ตมีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในยุโรปอีกมากมาย
นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสยังมีอิทธิพลอย่างมากในยุคเรืองปัญญา หนังสือจิตวิญญาณแห่งกฎหมายของมงแต็สกีเยอมีบทบาทต่อการเผยแพร่ประชาธิปไตยเสรีนิยม เน้นการแบ่งอำนาจการปกครอง ก่อนที่วอลแตร์จะมาต่อยอดด้วยการสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา เสรีภาพในการพูด
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวคิดปรัชญาของฝรั่งเศสเป็นรูปแบบการตอบสนองความหวาดระแวงในสังคมสืบเนื่องจากการปฏิวัติฝรั่งเศส นักปรัชญาผู้รักเหตุและผลเช่นวิกเตอร์ กูแซ็งและออกุสต์ กองต์ เรียกร้องให้มีการใช้จารีตสังคมแบบใหม่ แต่ถูกต่อต้านโดยนักคิดหลายคนเช่น โยเซฟ เดอ เมสตร์ ผู้กล่าวโทษว่านักปรัชญาสายเหตุผลนิยมพยายามต่อต้านธรรมเนียมที่ดีงามของสังคม กองต์กลายเป็นผู้ต่อตั้งลัทธิปฏิฐานนิยม (positivism) ที่ยึดถือแนวความคิดที่ว่าองคภาวะซึ่งสามารถสังเกตได้โดยตรงจากประสบการณ์เท่านั้น มุ่งสร้างทฤษฎีหรือกฎทั่วไปซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่าง ๆ
แนวคิดนี้ได้รับการต่อต้านในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการก่อตั้งแนวคิดนิยมจิตวิญญาณขึ้น เช่น แนวคิดของอ็องรี แบร์กซอน ผู้เชื่อว่าประสบการณ์และสัญชาติญาณมีความสำคัญกว่าการคิดแบบเหตุผลตามสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกเท่านั้น ขณะเดียวกัน การศึกษาทฤษฎีของธรรมชาติและความรู้ก็มีความเด่นชัดมากขึ้นในศตวรรษนี้ มีนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น อ็องรี ปวงกาเร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดของฌ็อง-ปอล ซาทร์ ผู้นิยมในปรากฏการณ์วิทยาและอัตถิภาวนิยม ได้รับความนิยมอย่างมาก นำมาสู่การกำเนิดของปรัชญาหลังสมัยใหม่ เช่น แนวคิดของมีแชล ฟูโก
=== ดนตรี ===
=== ภาพยนตร์ ===
นับตั้งแต่พี่น้อง Lumière ค้นพบการสร้างภาพยนตร์ใน 1895 ชาวฝรั่งเศสก็ชื่นชอบการชมภาพยนตร์อย่างมาก เทศกาลภาพยนตร์กานจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีนักแสดงจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ชั้นนำซึ่งมีผู้ชมจากทั่วโลกผลงานของ ฌ็อง-ลุก กอดาร์, ฟร็องซัว ทรูว์โฟ, ฌ็อง-ปีแยร์ เฌอเน และ ลุก แบซง ได้ถูกนำเสนอใน 5 ทวีปหลังจากที่ถูกฉายในโรงภาพยนตร์ประเทศฝรั่งเศสถึง 2,000 โรง
แม้ว่าตลาดภาพยนตร์ฝรั่งเศสจะถูกครอบงำโดยฮอลลีวูดมาหลายปี แต่ฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวในโลกที่ภาพยนตร์อเมริกันมีส่วนแบ่งรายได้น้อยที่สุดจากรายได้ทั้งหมด โดยอยู่ที่ 50% เทียบกับ 77% ในเยอรมนีและ 69% ในญี่ปุ่น ภาพยนตร์ฝรั่งเศสคิดเป็น 35% ของรายได้ภาพยนตร์ทั้งหมดของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดของรายได้จากภาพยนตร์ในประเทศที่พัฒนาแล้วนอกสหรัฐ เทียบกับ 14% ในสเปนและ 8% ในสหราชอาณาจักร ในปี 2013 ฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกภาพยนตร์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ วงการภาพยนตร์ฝรั่งเศสผลิตนักแสดงคุณภาพที่มีชื่อเสียงมากมายมายาวนาน เช่น มารียง กอตียาร์, กาทรีน เดอเนิฟว์, ออเดรย์ ตาตู, เลอา แซดู, เจอราร์ด เดอปาดิเอ, วินเซ็นต์ แคสเซล และ ฌ็อง กาแบ็ง
=== แฟชั่น ===
แฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมที่สำคัญของฝรั่งเศสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 โอตกูตูร์ หรือเสื้อผ้าชั้นสูงเริ่มต้นที่กรุงปารีสราว ค.ศ. 1857 ในปัจจุบัน ปารีสเป็นมหานครแฟชันเช่นเดียวกับลอนดอน มิลาน และนิวยอร์ก เป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์แฟชันชั้นนำมากมาย และคำว่า"โอตกูตูร์"เป็นคำที่ได้รับการสงวนไว้สำหรับงานฝีมือชั้นสูงในฝรั่งเศสเท่านั้นเพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของสินค้า
ความผูกพันระหว่างฝรั่งเศสกับแฟชั่นและสไตล์มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในสมัยนั้น อุตสาหกรรมสินค้าฟุ่มเฟือยอยู่ภายใต้การควบคุมของทางการ ราชวงศ์ฝรั่งเศสนับได้ว่าเป็นผู้กำหนดรสนิยมและสไตล์ของยุโรป อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสกลับมาทวงบทบาทด้านผู้นำแฟนชันอีกครั้งในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1860 ถึง 1960 โดยมีแบรนด์แฟชันชั้นนำก่อตั้งขึ้นมากมาย รวมทั้ง ชาแนล ดิออร์ และจิว็องชี น้ำหอมของฝรั่งเศสได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ช่วงความไม่สงบในประเทศฝรั่งเศส พฤษภาคม ปี 1968 เกิดการก่อต้าน"โอตกูตูร์"จากกลุ่มคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีการออกแบบเสื้อผ้ารูปแบบใหม่ที่พร้อมสวมใส่โดยอีฟว์ แซ็ง โลร็อง นำตลาดเสื้อผ้าเข้าสู่การผลิตแบบจำนวนมาก เกิดแบรนด์สินค้าที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นเป็นจำนวนมาก ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือยรวมตัวกันกลายเป็นบริษัทข้ามชาติ เช่น แอลวีเอ็มเอช
=== อาหาร ===
อาหารฝรั่งเศสได้รับการขนานนามว่ามีความปราณีตระดับแนวหน้าของโลก สูตรอาหารดั้งเดิมแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ทางตอนเหนือของประเทศนิยมใช้เนยเป็นไขมันประกอบอาหาร ส่วนทางใต้นิยมใช้น้ำมันมะกอก อาหารท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ กาสซูเลต์จากทางตะวันตกเฉียงใต้ ชูครูตการ์นี(เซาเออร์เคราท์พร้อมไส้กรอกและมันฝรั่ง)จากแคว้นอาลซัส กิชจากแคว้นลอแรน เนื้อบูร์กิญงจากแคว้นบูร์กอญ ทาเปอนาดจากพรอว็องส์ เป็นต้น เครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสคือ ไวน์ ไม่ว่าจะเป็นไวน์แชมเปญจน์ ไวน์บอร์โด ไวน์บูร์กอญ และไวน์โบโฌเลส์ นอกจากนี้ ชีสยังเป็นอาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศส มีมากมายกว่า 400 ชนิดแต่ที่เป็นที่รู้จักกันคือกาม็องแบร์ ร็อกฟอร์ และบรี
ในหนึ่งมื้ออาหารมักประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกเรียกว่า ออเดิร์ฟ (hors d'œuvre) หรือ อองเตร (entrée) มักเสิร์ฟเป็นไข่ตุ๋น ซุปล็อบสเตอร์ ฟัวกรา ซุปหัวหอม หรือคร็อก-เมอซีเยอ ส่วนที่สอง คือจานหลัก (plat principal) มักเป็นปอโตเฟอหรือสแต็กฟริต ปิดท้ายด้วยส่วนที่สามคือ ขนมหวาน (dessert) หรือชีสรวม (fromage) ขนมหวานของฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักได้แก่ มิลเฟย มาการง เอแกลร์ แครมบรูว์เล มูส เครป และกาเฟลิเยฌัว
คนฝรั่งเศสมองว่าอาหารคือองค์ประกอบที่สำคัญของคุณภาพชีวิต มิชลินไกด์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของฝรั่งเศสที่จะให้รางวัลดาวที่เรียกว่า"มิชลินสตาร์"แก่ร้านอาหารที่ได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดี การได้รับและเสียจำนวนดาวมีผลต่อชื่อเสียงและความสำเร็จของร้านอาหารอย่างมาก ร้านอาหารในฝรั่งเศสได้รับจำนวนดาวรวมกันมากถึง 620 ดวงเมื่อ พ.ศ. 2549 นับว่าสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในขณะนั้น นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังเป็นผู้ผลิตเบียร์และเหล้ารัมรายใหญ่ โดยมีแหล่งผลิตเบียร์อยู่ที่แคว้นอาลซัส (ร้อยละ 60 ของการผลิตทั้งประเทศ) แคว้นนอร์-ปาดกาแล และแคว้นลอแรน ส่วนแหล่งผลิตเหล้ารัมอยู่ที่เกาะเรอูนียง ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
=== สื่อสารมวลชน ===
หนังสือพิมพ์รายวันระดับประเทศที่ขายดีที่สุดของฝรั่เศสคือ เลอปารีเซียง (ยอดขายราว 460,000 ฉบับต่อวัน) เลอมงด์ และเลอฟิกาโร (ยอดขายราว 300,000 ฉบับต่อวัน) และยังมีหนังสือพิมพ์เลอกิ๊ปที่เน้นเนื้อหาด้านกีฬา แต่สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นที่มียอดจำหน่ายสูงสุดคือเวสต์ฟร็องส์ที่วางจำหน่ายทางตะวันตกของประเทศ มียอดขายสูงถึง 750,000 ฉบับต่อวัน
นิตยสารรายสัปดาห์ยังได้รับคามนิยมทั่วประเทศ มีมากกว่า 400 ชนิดครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลาย นิตยสารข่าวที่มีอิทธิพลสูงสุดคือ ลอบส์ (นิยมการเมืองฝ่ายซ้าย) เล็กซ์เพรส (เป็นกลาง) และเลอแปวง (นิยมการเมืองฝ่ายขวา) มียอดขายราว 400,000 ฉบับต่อสัปดาห์ แต่นิตยสารที่มียอดจำหน่ายสูงสุดคือนิตยสารรายเดือนสำหรับผู้หญิง เช่น มารี แคลร์ และแอล ซึ่งมีการตีพิมพ์ในต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม สำนักพิมพ์นิตยสารได้รับผลกระทบอย่างมากในปัจจุบันจากพฤติกรรมการอ่านของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หลายสำนักพิมพ์ต้องรับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาล
รัฐบาลฝรั่งเศสผูกขาดการกระจายเสียงทางโทรทัศน์และวิทยุจนถึงปี 1974 จากนั้นมีก่อตั้งองค์การกระจายเสียงวิทยุและแพร่ภาพโทรทัศน์แห่งฝรั่งเศส (ORTF) ขึ้นและแบ่งการดำเนินงานออกเป็นหน่วยงานย่อยหลายแห่ง แต่สถานีโทรทัศน์ 3 แห่งและสถานีวิทยุ 4 แห่งยังอยู่ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาล จากนั้นในปี 1981 รัฐบาลได้อนุญาตให้มีการเปิดเสรีการกระจายสัญญาณวิทยุในประเทศ เป็นการยุติบทบาทรัฐในการผูกขาดวิทยุอย่างเป็นทางการ ส่วนการแพร่ภาพโทรทัศน์นั้น รัฐบาลได้เปิดเสรีบางส่วน มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์อีกหลายแห่ง พัฒนาสื่อโทรทัศน์ไปพร้อม ๆ กัน
=== สังคม ===
ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีอิทธิพลกับเวทีโลกจากการสำรวจของสำนักข่าวบีบีซีเมื่อปี 2010 สังคมฝรั่งเศสมีความเปิดกว้างทางด้านศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ระบุในเอกสารเฉพาะสัญชาติแต่ไม่ระบุศาสนา การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่แทนแนวคิดแบบฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส เพลงชาติลามาร์แซแยซ และคำขวัญเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพเป็นสัญลักษณ์แทนประเทศฝรั่งเศสในสายตาของนานาประเทศ
สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของฝรั่งเศสอีกอย่างหนึ่งคือ ไก่ โดยมีประวัติย้อนกลับไปในสมัยโรมันที่ชาวโรมเรียกดินแดนชาวเคลต์แถบนี้ว่า กัลลุส ซึ่งมีความหมายแปลได้ทั้งว่า ไก่ และ ที่อยู่ของชาวกอล ไก่จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์ฝรั่งเศส กลุ่มปฏิวัติ และกลุ่มสาธารณรัฐ แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติ ใช้ในตราไปรษณียกรและเหรียญตรา
ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในผู้นำโลกที่ส่งเสริมด้านความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน คณะกรรมการบริหารในบริษัทร้อยละ 36.8 เป็นที่นั่งของสตรี นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ผลสำรวจเมื่อปี 2013 ชี้ว่าประชาชนชาวฝรั่งเศสร้อยละ 77 มองว่าการแต่งงานในเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่สังคมควรยอมรับ และฝรั่งเศสได้ออกกฎหมายรับรองเรื่องนี้ในปีเดียวกัน
ฝรั่งเศสยังมีบทบาทในการปกป้องสิ่งแวดล้อม เป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 นำมาสู่ความตกลงปารีส ที่กำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก
=== วันหยุด ===
วันหยุดราชการในประเทศฝรั่งเศส มี 11 วัน
วันหยุดในประเทศฝรั่งเศส:
== ดูเพิ่ม ==
การปฏิวัติฝรั่งเศส
รายพระนามกษัตริย์ และจักรพรรดิฝรั่งเศส
รายนามประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่
ชาวฝรั่งเศส
หอไอเฟล
ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
== อ่านเพิ่ม ==
"France." in Europe, edited by Ferdie McDonald and Claire Marsden, Dorling Kindersley, (Gale, 2010), pp. 144–217. online
=== หัวข้อ ===
Carls, Alice-Catherine. "France." in World Press Encyclopedia, edited by Amanda C. Quick, (2nd ed., vol. 1, Gale, 2003), pp. 314–337. online coverage of press and media
Chabal, Emile, ed. France since the 1970s: History, Politics and Memory in an Age of Uncertainty (2015) Excerpt
Gildea, Robert. France Since 1945 (2nd ed. Oxford University Press, 2002).
Goodliffe, Gabriel, and Riccardo Brizzi, eds. France After 2012 (Bergham, 2015)
Haine, W. S. Culture and Customs of France (Greenwood Press, 2006).
Kelly, Michael, ed. French Culture and Society: The Essentials (Oxford University Press, 2001).
Raymond, Gino. Historical Dictionary of France (2nd ed. Scarecrow, 2008).
Jones, Colin. Cambridge Illustrated History of France (Cambridge University Press,1999)
Ancient maps of France from the Eran Laor Cartographic Collection, The National Library of Israel
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
France at Organisation for Economic Co-operation and Development
France at UCB Libraries GovPubs
France at the EU
Key Development Forecasts for France from International Futures
=== เศรษฐกิจ ===
OECD France statistics
=== รัฐบาล ===
France.fr (in English) Official French tourism website
Official Site of the Government
Official site of the French public service – Links to various administrations and institutions
Official site of the National Assembly
=== วัฒนธรรม ===
Contemporary French Civilization , journal, University of Illinois.
FranceGuide – Official website of the French Government Tourist Office
ประเทศฝรั่งเศส
ประเทศในระบบซีวิลลอว์
สาธารณรัฐ | thaiwikipedia | 222 |
ทวีปยุโรป | ยุโรป (Europe; อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") เป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและส่วนมากอยู่ในซีกโลกตะวันออก ทางทิศเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันออกติดกับทวีปเอเชีย ทางทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นอนุทวีปทางด้านตะวันตกของทวีปยูเรเชีย ตั้งแต่ประมาณ 1850 การแบ่งยุโรปกับเอเชียมักยึดตามสันปันน้ำของเทือกเขายูรัลและเทือกเขาคอเคซัส แม่น้ำยูรัล ทะเลแคสเปียน ทะเลดำและช่องแคบตุรกี แม้คำว่า "ทวีป" จะหมายถึงภูมิศาสตร์กายภาพของผืนดินขนาดใหญ่ที่ไม่มีการแบ่งอย่างแน่นอนและชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณชายแดนยุโรปกับเอเชียของยูเรเชียนั้นแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่งเขตแดน เส้นแบ่งเขตแดนของทวีปไม่ได้แบ่งตามเส้นแบ่งเขตแดนทางการเมืองทำให้ตุรกี รัสเซียและคาซัคสถานเป็นประเทศข้ามทวีป
ยุโรปมีพื้นที่ประมาณ 10,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2% ของผิวโลก (6.8% ของผืนดิน) ในทางการเมืองยุโรปมีรัฐอธิปไตยและเขตปกครองกว่า 50 รัฐ ซึ่งมีรัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุด โดยกินพื้นที่ทวีปยุโรป 39% และมีประชากรทั้งหมด 15% ของทวีป ใน ยุโรปมีประชากรประมาณ ล้านคน (หรือ 11% ของประชากรโลก) ภูมิอากาศยุโรปส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้ภายในทวีปจะมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อนแม้ในละติจูดเดียวกันในเอเชียกับอเมริกาเหนือจะมีสภาพอากาศที่รุนแรง ยุโรปภาคพื้นทวีปจะเห็นความแตกต่างตามฤดูกาลได้ชัดเจนกว่าบริเวณชายฝั่ง
ทวีปยุโรปโดยเฉพาะกรีซโบราณเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมตะวันตก การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ 476 และสมัยการย้ายถิ่นช่วงต่อมา เป็นจุดจบของสมัยโบราณและเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยกลาง มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ยุคแห่งการสำรวจ ศิลปะและวิทยาศาสตร์อันเป็นเป็นรากฐานนำไปสู่สมัยใหม่ ตั้งแต่ยุคแห่งการสำรวจเป็นต้นมานั้นยุโรปมีบทบาทสำคัญระดับโลกในด้านเศรษฐกิจ ระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 20 ประเทศในยุโรปมีอำนาจปกครองหลาย ๆ ครั้งในทวีปอเมริกา เกือบทั้งหมดของแอฟริกาและโอเชียเนียร่วมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชีย
ยุคเรืองปัญญาหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียนส่งผลให้เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักรช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมเป็นอย่างมากในยุโรปตะวันตกและขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งมีสมรภูมิส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรปนั้น ทำให้ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 สหภาพโซเวียตและสหรัฐขึ้นมามีอำนาจในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่มีอำนาจลดลง ระหว่างสงครามเย็นยุโรปถูกแบ่งด้วยม่านเหล็กระหว่างเนโททางตะวันตกกับกติกาสัญญาวอร์ซอในตะวันออก จนกระทั่งสิ้นสุดลงหลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1989และการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
ใน ค.ศ. 1949 สภายุโรปก่อตั้งขึ้นตามคำปราศรัยของ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ซึ่งมีแนวคิดในการรวมยุโรปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ทุกประเทศในยุโรปเป็นสมาชิกยกเว้นเบลารุส คาซัคสถานและนครรัฐวาติกัน การบูรณาการยุโรปอื่น ๆ อย่างการรวมกลุ่มโดยบางประเทศนำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งมีรูปแบบสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ สหภาพยุโรปก่อตั้งขึ้นในยุโรปตะวันตกแต่เริ่มเพิ่มสมาชิกในยุโรปตะวันออกตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ใช้สกุลเงินยูโรซึ่งชาวยุโรปนิยมใช้กันทั่วไป; และในเขตเชงเก้นของอียูจะยกเลิกการควบคุมชายแดนและการอพยพระหว่างประเทศสมาชิก เพลงประจำสหภาพยุโรปคือ "ปีติศังสกานท์" และมีวันยุโรปเพื่อการเฉลิมฉลองสันติภาพและเอกภาพประจำปีในทวีปยุโรป
== ประวัติศาสตร์ ==
== ประเทศ ==
ไม่รวมรัสเซียตะวันออกไกล
ข้อมูลการประเมินของสหประชาชาติ
== ภูมิศาสตร์ ==
=== ภูมิประเทศ ===
ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่ ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของเกาะอังกฤษ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
เขตที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบที่อยู่ระหว่างที่ราบกับเขตเทือกเขา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางของทวีป มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 25 ของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ภาคใต้ของเยอรมนีและโปแลนด์
เขตเทือกเขาแบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
* เทือกเขาภาคเหนือ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เทือกเขาแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในสกอตแลนด์ เวลส์ และเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งมีขนาดเตี้ยและเกิดขึ้นมานานแล้ว
* เทือกเขาภาคใต้ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเทือกเขานี้มีขนาดสูงและยังเป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบดี จึงเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟ
=== ภูมิอากาศ ===
เขตอากาศของทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็น 7 เขตดังนี้
เขตภูมิอากาศแบบทุนดรา หรืออากาศแบบขั้วโลก จะเป็นเขตอากาศที่หนาวเย็นจัดตลอดทั้งปี ส่วนฤดูร้อนสั้นประมาณ 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยของเขตนี้ เฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ มอสส์ ตะไคร่น้ำ เขตอากาศทุนดราของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและบริเวณทางเหนือสุดของประเทศรัสเซีย
เขตอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนมีระยะเวลายาวกว่าเขตภูมิอากาศแบบทุนดรา ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ คือ ป่าสนหรือป่าไทกา บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์
เขตอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น เพราะอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางทวีป จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทร พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบผสมกัน ส่วนบริเวณที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติจะเป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ ดินแดนของประเทศโปแลนด์ เช็กเกีย สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย
เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะของอากาศในเขตนี้ คือ ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด เพราะเขตนี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เขตนี้มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื้น ฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทั้งปีอยู่ที่ 750-1,500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ครอบคลุมบริเวณของประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เยอรมนี สหราชอาณาจักร และทางตอนใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน
เขตภูมิอากาศอบอุ่นชื้น ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ อากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศร้อน มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้เขตอบอุ่นหรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ออสเตรีย และฮังการี
เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีแสงแดดตลอดทั้งปี ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวจะมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี พืชพรรรณธรรมชาติเป็นเขตอบอุ่น เรียกว่า ป่าไม้เมดิเตอร์เรเนียน เช่น คอร์กโอ๊ก ส้ม มะนาว องุ่น มีป่าไม้มีหนามแหลม เรียกว่า ป่ามากี (maquis) บริเวณที่มีลักษณะอากาศแบบนี้ คือ บริเวณที่มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส เซอร์เบีย และกรีซ
เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะสำคัญของอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีปริมาณฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าขึ้นเบาบาง
=== ภูมิภาค ===
ทวีปยุโรป แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่
ยุโรปเหนือ ได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และสหราชอาณาจักร
ยุโรปตะวันตก ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี ลีชเทินชไตน์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์
ยุโรปตะวันออก ได้แก่ เบลารุส บัลแกเรีย เช็กเกีย ฮังการี มอลโดวา โปแลนด์ โรมาเนีย รัสเซีย สโลวาเกีย และยูเครน
ยุโรปใต้ ได้แก่ แอลเบเนีย อันดอร์รา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย กรีซ อิตาลี มาซิโดเนียเหนือ มอลตา โปรตุเกส ซานมารีโน สโลวีเนีย สเปน เซอร์เบีย มอนเตเนโกร และคอซอวอ
ดินแดนที่เป็นนครรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่นอีก 2 แห่ง คือ นครรัฐวาติกัน ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และโมนาโก ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในประเทศฝรั่งเศส ใกล้พรมแดนอิตาลี
== เมืองสำคัญ ==
ทวีปยุโรปมีหลายเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก ทวีปยุโรปจึงเป็นทวีปที่มีการคมนาคมที่สะดวกสบายเป็นอย่างมาก การคมนาคมส่วนใหญ่จะเป็นระบบราง เช่น รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการคมนาคมระหว่างเมืองและระหว่างประเทศ
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
การเพาะปลูก เขตเพาะปลูกอยู่ในยุโรปตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ของอังกฤษ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของฝรั่งเศส ตอนเหนือของเยอรมนี ยูเครน พืชที่สำคัญคือ
# ข้าวสาลี ปลูกได้มากที่สุดคือ ยูเครน รองลงไปคือ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โรมาเนีย บัลแกเรีย เยอรมนี ฮังการี
# ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ถั่ว มันฝรั่ง ปลูกได้โดยทั่วไป
# องุ่น ส้ม มะกอก มะนาว แอปเปิลและผลไม้ชนิดต่างๆ ปลูกได้มากเขตอากาศแบบเมดิเตอร์เนียน ได้แก่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน กรีซ
# ต้นแฟล็กซ์ ใช้ใบทำป่านลินิน ปลูกมากในโปแลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์
การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
# เขตทุนดรา มีการเลี้ยงกวางเรนเดียร์
# เขตทุ่งหญ้าสเตปป์ มีการเลี้ยงโคเนื้อ แพะ แกะ ม้า
# เขตเมดิเตอร์เรเนียน มีการเลี้ยงโคเนื้อ และแกะ
# เขตภูเขาสูง และที่ราบสูง มีการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม แกะ
# เขตอบอุ่นชื้นตอนเหนือของคาบสมุทรบอลข่าน มีการเลี้ยงสุกรด้วยข้าวโพด
# เขตภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก มีการทำฟาร์มโคนม
การทำป่าไม้ พบมากในประเทศฟินแลนด์ สวีเดน รัสเซีย นอร์เวย์ ในบริเวณป่าสน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ
การประมง แหล่งประมงที่สำคัญ ได้แก่
# ทะเลเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือบรรจบกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก เกิดเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลกเรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ ประเทศที่จับปลาได้มาก สหราชาอาณาจักร ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์
# บริเวณอ่าวบิสเคย์จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะบริเวณทะเลดำ ทะเลสาบแคสเปียนและแม่น้ำโวลกา มีการจับปลาสเตอร์เจียน มาทำเป็นไข่ปลาคาร์วียร์
การทำเหมืองแร่ ยุโรปเป็นทวีปที่มีแร่เหล็กและถ่านหินอุดมสมบูรณ์
# ถ่านหิน แหล่งสำคัญอยู่ทางภาคเหนือของสหราชอาณาจักร ภาคกลางของเบลเยียม ลุ่มแม่น้ำรูห์ของเยอรมนี ภาคใต้ของโปแลนด์ ภาคเหนือของเช็กเกีย สโลวาเกียยูเครน และรัสเซีย
# เหล็ก แหล่งสำคัญคือ
## แหล่งคิรูนาและเยลีวาร์ทางตอนเหนือของสวีเดน
## แหล่งคริวอยร็อกในยูเครน
## แหล่งลอเรนซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
# น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แหล่งสำคัญของยุโรปอยู่ในบริเวณทะเลเหนือ และรอบๆทะเลสาบแคสเปียน
# บอกไซต์ เมื่อนำถลุงแล้วได้อะลูมิเนียม แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส กลุ่มประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย ฮังการี เทือกเขาอูราลในรัสเซีย
# โพแทช ใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยและสบู่ แหล่งผลิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน รัสเซีย
อุตสาหกรรม ยุโรปได้ชื่อว่าเป็นทวีปอุตสาหกรรม เพราะเกือบทุกประเทศประชากร ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ส่วนยุโรปตะวันออกอยู่ใน รัสเซีย ยูเครน เบลารุส
การค้าขาย เนื่องจากยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ยุโรปมีการติดต่อค้าขายกับภูมิภาคอื่นและมีการตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น
#สหภาพยุโรป
# สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA-European Free Trade Association) ตลาดการค้าขายระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศต่างๆที่อยู่ในยุโรปและประเทศอเมริกาเหนือ
การคมนาคมขนส่ง ยุโรปเป็นทวีปที่มีการคมนาคมขนส่งเจริญก้าวหน้ามาก
# ทางรถยนต์ มีทางหลวงเชื่อมระหว่างเมือง เขตอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ มีระยะทางยาวประมาณ 1 ใน 5 ของทางรถยนต์ของโลก
# ทางรถไฟ ทวีปยุโรปมีทางรถไฟยาว 1 ใน 3 ของทางรถไฟในโลก ประเทศที่มีทางรถไฟยาวเมื่อเฉลี่ยต่อเนื้อที่แล้วมากที่สุด คือ เบลเยียม รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ เมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟคือ ปารีส ลอนดอน เบอร์ลิน วอร์ซอ มอสโก
# ทางอากาศ แต่ละประเทศต่างก็มีสายการบินเป็นของตนเอง ใช้ติดต่อระหว่างเมืองภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และระหว่างทวีป ศูนย์กลางการบินส่วนใหญ่เป็นเมืองหลวงของแต่ละประเทศ
# ทางน้ำ แม่น้ำสำคัญที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเซน แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโอเดอร์ และมีการขุดคลองเพื่อการคมนาคม เช่น คลองคีล ในเยอรมนี เชื่อมระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ คลองมีดีในฝรั่งเศสเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก
== เศรษฐกิจ ==
ทวีปยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจรุ่งเรืองมาก โดยมีการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่า กลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งมีบทบาทมากต่อเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ สมาชิกจี 8 จำนวน 8 ประเทศ มีสมาชิกอยู่ในทวีปยุโรปมากถึง 5 ประเทศ คือ รัสเซีย เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสหราชอาณาจักร
หลังเกิดวิกฤตการเงินโลก 2010 ที่ประเทศกรีซ ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงเหวอย่างหนัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มขาดสภาพคล่องทางการเงินจากปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น
== อ้างอิง ==
==ข้อมูล==
National Geographic Society (2005). National Geographic Visual History of the World. Washington, DC: National Geographic Society. .
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Council of Europe
European Union
The Columbia Gazetteer of the World Online Columbia University Press
"Introducing Europe" from Lonely Planet Travel Guides and Information
แผนที่ในอดีต
Borders in Europe 3000BC to the present Geacron Historical atlas
Online history of Europe in 21 maps
ยุโรป | thaiwikipedia | 223 |
พวงคราม | พวงคราม L. เป็นไม้เลื้อยที่มีเถาใหญ่แข็งแรง กิ่งก้านก็ค่อนข้างแข็ง เถาอ่อนก็มีขนแต่เมื่อเถาแก่ขนก็จะหายไปเปลือกของต้นหรือเถาเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อนเถา สามารถเลื้อยคลุมต้นไม้อื่นไปได้ไกลมากกว่า 20 ฟุต ใบเดี่ยว เรียงตรงช้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 8-11 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาแข็ง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่าและเป็นขุย ออกดอกตลอดปี จะมากช่วงหน้าแล้ง ดอกเป็นช่อสีม่วงคราม มี 5 กลีบ คล้ายรูปดาว 5 แฉก กลีบรูปขอบขนาน ด้านบนของกลีบจะมีขน โคนกลีบดอกเชื่อมต่อกันเป็นหลอด ภายในดอกมีเกสรตัวอยู่ 4-5 อัน มีก้านร่วมกับเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียมี 3 แฉก พวงครามมักจะออกดอกและบานพร้อมกันเต็มช่อ ดอกค่อนข้างดกและจะบานทนนานได้หลายวันมาก ผลสด ติดอยู่บนกลีบประดับ มีขนนุ่มปกคลุม มี 1 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การตอน และการปักชำกิ่ง
== อ้างอิง ==
ITIS 32064
http://seed.gettyfree.com/viewtopic.php?id=47
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้เลื้อย
วงศ์ผกากรอง | thaiwikipedia | 224 |
ไอส์ | ไอส์ (I"s) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนววัยรุ่น เขียนโดย มาซาคาสึ คัตสึระ (Masakazu Katsura) ฉบับภาษาญี่ปุ่นตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเนนจัมป์ระหว่าง พ.ศ. 2540-2542 (ค.ศ. 1997-1999) ในประเทศไทย ลิขสิทธิ์เป็นของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เคยตีพิมพ์เป็นตอนลงในนิตยสารซีคิดส์ ในช่วงที่เรื่องไอส์ ตีพิมพ์ในซีคิดส์นั้น ได้รับความนิยมจากนักอ่านไทยมาก ปัจจุบัน ไอส์ได้ถูกนำไปทำเป็นอนิเมะ เป็นเรื่องความรักของหนุ่มสาว ที่ตัวเอกมีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร I ทั้งหมด ชื่อเรื่องจึงหมายถึงตัวละครที่มีอักษร I หลายคน (I เติม s) ซึ่งเป็นคำที่อิโอริได้เขียนลงสมุดในช่วงต้นเรื่อง เป็นการ์ตูนเกี่ยวกับความรัก ตลก แกมทะลึ่งเล็กน้อย
== เนื้อเรื่อง ==
เซโตะ อิจิทากะ เด็กนักเรียนมัธยมที่ขี้อายเวลาเข้าหาเพศตรงข้าม ชอบทำอะไรตรงข้ามกับที่ตัวเองคิด และจะมานั่งนึกเสียใจทีหลัง แอบชอบ อิโอริ มาตลอด แต่ไม่กล้าพูด แต่วันหนึ่งถูกเข้าใจผิดเนื่องด้วยมีวัยรุ่นอันธพาลได้กล่าวถึงเรื่องด้านลบที่อิโอริได้ไปถ่ายแบบ แล้วยังต้องมาทำงานร่วมกัน ขณะที่ทั้งสองเริ่มที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน อากิบะ อิตซึกิ ก็ได้เข้ามาในชีวิตเพื่อทำตามคำสัญญาที่ได้ทำไว้กับอิจิทากะว่า จะแต่งงานกัน (ตัวละครหลักในเรื่อง ชื่อจะขึ้นด้วยตัวอักษร I)
== ตัวละคร ==
=== ตัวละครหลัก ===
เซโตะ อิจิทากะ เด็กนักเรียนมัธยมที่ขี้อายเวลาเข้าหาเพศตรงข้าม ชอบทำอะไรตรงข้ามกับที่ตัวเองคิด และจะมานั่งนึกเสียใจทีหลัง แอบชอบ อิโอริ มาตลอดแต่ไม่กล้าพูด มักแอบมองอยู่ไกลๆ
โยชิซึกิ อิโอริ สวย น่ารัก เรียบร้อย มีเสน่ห์ และเป็นมิตร อิโอริเป็นที่หมายปองของเพื่อนทุกคนในโรงเรียน ลึกๆแล้วเธอเองก็ชอบ อิจิทากะ เช่นกัน
อากิบะ อิตซึกิ สวย น่ารัก ไม่มีระเบียบ โวยวาย และเอาแต่ใจ อิตซึกิเป็นตัวละคนที่สร้างเมื่อเพื่อตรงข้ามกับอิโอริ เป็นเพื่อนสนิทสมัยเด็กกับอิจิทากะ
อิโซซากิ อิซูมิ หญิงสาวรุ่นน้องที่ชอบ เซโตะ มาก รู้จักกันครั้งแรกที่ทะเล ตอนที่อิซูมิ กำลังจะทิ้งแหวนที่แฟนเก่าให้
=== ตัวละครรอง ===
ไอโกะ อาโซอุ
เทราทานิ ยาสุมาสะ เพื่อนสนิทชายของเซโตะ
จุน โคชินาเอะ
นามิ ทาจิบะ (โรมาจิ: Tachiba Nami) เพื่อนสนิทหญิงของอิโอริ
=== ตัวละครอื่น ๆ ===
ยูกะ โมริซากิ
คิดะ โมคิจิ (โรมาจิ: Mohichi Kida}})
มาริโอเนต คิง (Marionette King)
เมียวโกะ (Myoko)
== รายชื่อตอน ==
== ดูเพิ่ม ==
เอชทู การ์ตูนญี่ปุ่นที่ตัวละครหลักทั้ง 3 ใช้ตัวอักษร เอช (H) ขึ้นต้น
การ์ตูนญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง | thaiwikipedia | 225 |
บุหงาส่าหรี | บุหงาส่าหรี หรือ บุหงาบาหลี (Florida fiddlewood, Spiny fiddlewood.[1]; ) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กอยู่ในวงศ์ Verbenaceae สูง 3-10 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. มีก้านใบสีส้ม มีช่อดอกสีขาว ยาว 10-20 ซม. ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกติดกัน ตอนปลายแยก 4-5 แฉก เมื่อดอกย่อยบาน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. มีกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางคืนถึงสาย ๆ ออกดอกตลอดปี ดูแลแบบแพเนล ขยายพันธุ์โดยปักชำกิ่งและตอนกิ่ง ใช้เป็นไม้ประดับ ดอกให้กลิ่นหอมมาก
== อ้างอิง ==
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Citharexylum_spinosum
ITIS 32064
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์ผกากรอง | thaiwikipedia | 226 |
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม | บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Joint Graduate School of Energy and Environment - JGSEE)
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) โดยความร่วมมือของกลุ่มสถาบันการศึกษาไทย 5 แห่ง เป็นบัณฑิตวิทยาลัยที่บริหารงานเป็นเอกเทศ มีเป้าหมายเป็นศูนย์วิจัย และให้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม
เปิดสอนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก การเรียนการสอนทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาสามารถเลือกที่จะทำวิทยานิพนธ์ กับอาจารย์ที่ปรึกษาในสถานศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยใดก็ได้
วิทยาลัยดำเนินงานโดยความความร่วมมือของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม | thaiwikipedia | 227 |
โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย | โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไทย (สบวท.; Thailand Graduate Institute of Science and Technology - TGIST) เป็นโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการสนับสนุน และการทำการวิจัย และพัฒนา
การดำเนินงานของ สบวท. ยึดหลักใหญ่ คือ ก่อให้เกิดทั้งความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาคน และการวิจัย ความเชื่อมโยงระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหน่วยงานภาคเอกชน และการดำเนินงานแบบ "เสมือนบวกจริง" กล่าวคือใช้เครือข่ายการสื่อสารทางไกล เช่น อินเทอร์เน็ต และดาวเทียม เป็นตัวประสานความเชื่อมโยงนั้น พร้อมไปกับการสร้างประสบการณ์จริงในการศึกษาและวิจัย
นอกจากนี้ สบวท. ยังเป็นแกนนำ ในการสนับสนุนให้เกิดการรวมพลังความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา และผลิตกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในลักษณะเครือข่าย เช่น ความร่วมมือที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่สำคัญ คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ซึ่งสามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ของ สวทช. บริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์ได้ อันจะทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน
==อ้างอิง==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
ทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ | thaiwikipedia | 228 |
นิติวิทยาศาสตร์ | นิติวิทยาศาสตร์ (forensic science) เป็นการนำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง มักเป็นการใช้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมี คอมพิวเตอร์ และกีฏวิทยา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อช่วยกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์หลักฐานและชี้นำไปสู่ผู้กระทำความผิดอาญาเล่เหลื่ยม
ปัจจุบันมีการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในต่างประเทศ เพื่อลดการโต้แย้งความหวาดระแวงระหว่างผู้ควบคุมกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหา เนื่องเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องหลักการและเหตุผลที่เป็นจริงสามารถพิสูจน์ได้ โดยนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความเกี่ยวเนื่องกับนิติเวชศาสตร์หรือการชันสูตรศพ สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
นิติพยาธิวิทยา (Forensic Pathology)
นิติเวชคลินิก (Clinical Forensic)
นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry)
นิติพิษวิทยา (Forensic Toxicology)
การพิสูจน์หลักฐาน (Criminalistic)
นิติวิทยาเซรุ่ม (Forensic Serology)
เวชศาสตร์จราจร (Traffic Medicine)
กฎหมายการแพทย์ (Medicial Law)
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
=== หนังสือและบทความ ===
Burney, Ian and Christopher Halim (eds.). Global Forensic Cultures: Making Fact and Justice in the Modern Era. Baltimore, MD: Johns Hopkins University Press, 2019.
Lim, Samson. Siam’s New Detectives: Visualizing Crime and Conspiracy in Modern Thailand. Honolulu, HI: University of Hawai’i Press, 2016.
=== เว็บไซต์ ===
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
พยาธิกายวิภาคศาสตร์
นิติศาสตร์
นิติเวชศาสตร์
นิติวิทยาศาสตร์ | thaiwikipedia | 229 |
รางจืด | รางจืด เป็นชื่อของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถาในวงศ์เหงือกปลาหมอ มีลักษณะเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถาจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องกลมมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ รางจืดได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งการถอนพิษ" มีสรรพคุณทางยาในด้านการถอนพิษต่าง ๆ หรือใช้เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ รวมถึงใช้เป็นยารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ
รางจืดมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ กำลังช้างเผือก เครือเขาเขียว ขอบชะนาง ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
== ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ==
ไม้เลื้อยหรือไม้เถา มีลักษณะเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ใบ จะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเรียวแหลม กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ส่วนดอกจะมีสีม่วงอมฟ้า ใบประดับ สีเขียวประสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ
== การปลูกเลี้ยง ==
thumb
นิยมใช้เถาในการปักชำ ในการชำเถา ให้เลือกเถาแก่มาตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ถ้าชำเถาในฤดูฝนจะออกรากเร็วกว่า
== สรรพคุณ ==
รากและใบ รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและรากใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ ยาพอกบาดแผล ใช้สำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลงเข้าไปเป็นการบรรเทาอาการก่อนถึงโรงพยาบาล แก้พิษแอลกอฮอล์ บรรเทาอาการเมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า จอลอดี่เดอ ตัดลำต้นเป็นชิ้นเล็กพกติดตัว เชื่อว่าป้องกันงูได้
== อ้างอิง ==
ITIS 34350
Burkill, I.H. (1966). “A Dictionary of the Economic Products of the Malay Peninsula. Volume II (I–Z)”. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Kuala Lumpur.
Chan, E.W.C., Lim, Y.Y. (2006). “Antioxidant activity of Thunbergia laurifolia tea”. Journal of Tropical Forest Science 18 (2): 130–136. http://info.frim.gov.my/cfdocs/infocenter_application/jtfsonline/jtfs/v18n2/130-136.pdf.
Kanchanapoom, T. et al. (2002). “Iridoid glucosides from Thunbergia laurifolia”. Phytochemistry 60: 769–771. doi:10.1016/S0031-9422(02)00139-5.
NRM (2003). “Thunbergia: Blue trumpet vine”. Natural Resources and Mines, Queensland. http://www.nrm.qld.gov.au/pests/environmental_weeds/weed_info_series.html.
Schonenberger, J. (1999). “Floral structure, development and diversity in Thunbergia (Acanthaceae)”. Botanical Journal of the Linnean Society 130: 1–36.
Starr, F. et al. (2003). “Thunbergia laurifolia”. http://www.hear.org/starr/hiplants/reports/pdf/thunbergia_laurifolia.pdf.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์เหงือกปลาหมอ
สมุนไพร | thaiwikipedia | 230 |
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ | บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library and information science: LIS) เป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ สิ่งพิมพ์, ข้อมูล, และสื่อ ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด รวมไปถึงการเรียนรู้ทางวิชาการ ในแง่ของทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ว่าผู้ใช้ใช้ระบบห้องสมุดและระบบการเรียนรู้อื่น ๆ อย่างไร
เป้าหมายหลักของ งานวิจัยด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มุ่งไปที่การจัดการองค์ความรู้ เพื่อการดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจรวมถึงหัวข้ออันได้แก่ การได้มา, การสร้างรายการชื่อ, การจัดหมวดหมู่, การเก็บรักษา, และ การดูแลข้อมูลและทรัพยากรห้องสมุด
การศึกษาอีกแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาเรื่องใกล้เคียงกัน แต่ได้พัฒนาไปอีกทาง คือ การศึกษาโครงสร้างของข้อมูล และ ทฤษฎีข้อมูล (Information Theory) ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับแนวคิดของข้อมูลสารสนเทศ
== ดูเพิ่ม ==
สารสนเทศศาสตร์
วารสารศาสตร์สื่อประสม
วิทยาการสารสนเทศ | thaiwikipedia | 231 |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (Rajamangala University of Technology) เป็นระบบมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีอยู่ 9 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ในชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548
ในปี 2549 ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สกอ. ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีเด่นในด้านการเรียนการสอน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการจัดอันดับดีเด่นในด้านการเกษตร
== ประวัติ ==
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ถือกำเนิดขึ้นจากการเรียกร้องของนักเรียนอาชีวศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518 ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองของสังคม จัดการศึกษาได้เพียงแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และการก้าวสู่ระดับปริญญาตรี จะต้องผ่านการสอบแข่งขันกับนักเรียนสายสามัญ ประกอบทั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง (ลาดกระบัง พระนครเหนือ และ บางมด) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการไปอยู่ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นรับเฉพาะนักเรียนสายสามัญ และการจัดการสอบแข่งขันที่ยากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษา อาทิ โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ตั้งอยู่ที่ ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาลัยช่างกลพระนครเหนือ ฯลฯ รวมตัวกันเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาให้ถึงระดับปริญญา
=== การจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษา ===
ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพ เทคโนโลยีและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ในช่วงแรกที่เปิดทำการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีปัญหาอุปสรรคนานัปการ อาทิ ขาดอาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอน บุคลากร ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศให้โอนบุคลากร ทรัพย์สิน สถาบันการอาชีวศึกษาที่สังกัด กรมอาชีวศึกษา 30 แห่ง ย้ายมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยเปลี่ยนจากวิทยาลัยมาเป็น "วิทยาเขต" ดังต่อไปนี้
=== การจัดตั้ง "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" ===
ในปี พ.ศ. 2531 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษา เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันราชมงคล
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงมีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทำการเรียนการสอนควบคู่กับทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อยมา อีกทั้งยังทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดตั้งวิทยาเขต จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ จังหวัดนครพนม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดปัตตานี แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด
ในปี พ.ศ. 2542 มีการแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ประกอบด้วย
สำนักงานอธิการบดี
คณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช
คณะเกษตรศาสตร์บางพระ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
คณะคหกรรมศาสตร์
คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์
คณะบริหารธุรกิจ
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร
คณะศิลปกรรม
คณะศิลปศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร
สถาบันวิจัยเคมี
สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบ
=== การยกฐานะ 9 มหาวิทยาลัย ===
สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยบริหารจัดการได้โดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและยกระดับสถานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับสูง ปริญญาโท เอก จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่งขึ้น โดยมีการรวมวิทยาเขตที่อยู่ใกล้เคียงกันจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง
จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งดังต่อไปนี้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
== สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ==
ไฟล์:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี rajamangala university of technology thanyaburi (6).jpg|ตราสัญลักษณ์ประติมากรรม
=== ตราสัญลักษณ์ประติมากรรม ===
ประติมากรรมรูปดอกบัวนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งความคิดความรู้สึกร่วมกันในอันที่จะช่วยกันพัฒนาการศึกษาด้านวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้าสืบไป รูปดอกบัวซ้อนกันขึ้น 3 ชั้น สื่อความหมายเพื่อให้เกิดความรู้สึกโปร่งเบามีกลีบบัว 8 เส้น เส้นทั้ง 8 หมายถึง มรรค 8 ประการ ส่วนยอดแหลมแทรกขึ้นสู่ฟ้า หมายถึง ผู้จะพบความสำเร็จได้จะต้องใช้ความพยายาม อย่างสูงสุด ในการผ่านแต่ละขั้นตอนการเรียนรู้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ได้รับพระราชทานนามสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อีกทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 9 พร้อม พระมหาพิชัยมงกุฎ มาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ทั้งนี้คณาจารย์และนักศึกษาต่างสำนักในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้
=== สีประจำมหาวิทยาลัย ===
แต่เดิม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้กำหนดให้สีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นสีประจำสถาบัน
สีเหลือง ( ) เป็นสีวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สีน้ำเงิน ( ) เป็นสีสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์
สืบเนื่องจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมีการปรับโครงสร้างตาม พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งจึงได้กำหนดสีประจำมหาวิทยาลัยดังนี้
สีน้ำเงิน ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สีเขียว ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
สีม่วง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
สีแดงเลือดนก ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
สีน้ำเงินเทอร์ควอยส์ (น้ำเงินทะเล) ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
สีทอง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
สีน้ำตาลทอง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สีเหลือง ( ) เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
สีแสด ( )เป็นสีประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
=== เพลง ===
สดุดีราชมงคล เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่ง ผู้แต่งคำร้องคือ คุณสมชาย จินดานนท์ แต่งทำนองโดยคณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เพลงสดุดีราชมงคล เป็นเพลงประจำสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม เมื่อสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่ง เพลงสดุดีราชมงคล ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งตามไปด้วย
== อันดับมหาวิทยาลัย ==
ตามการจัด อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จาก สกอ. ในปี 2549 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับการจัดอันดับที่โดดเด่น ดังนี้
* อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเกษตร - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
* อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเรียนการสอน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ผลการจัดอันดับ 4,000 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกโดย Webometrics ประจำเดือน มกราคม พ.ศ. 2559
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อันดับ 2,452 ของโลก - อันดับ 26 ของไทย
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อันดับ 2,517 ของโลก - อันดับ 28 ของไทย
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อันดับ 3,087 ของโลก - อันดับ 35 ของไทย
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อันดับ 3,100 ของโลก - อันดับ 36 ของไทย
== บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ==
สุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปิน (เพาะช่าง)
สมเศียร พานทอง (ชาย เมืองสิงห์) ศิลปิน (เพาะช่าง)
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ช่างหลวงประจำพระองค์ (ศิลปกรรมเพาะช่าง)
วสันต์ โชติกุล ศิลปิน (เพาะช่าง)
พิง ลำพระเพลิง ศิลปิน (เพาะช่าง)
อุดม แต้พานิช ศิลปิน (เพาะช่าง)
ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์ (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
วินัย พันธุรักษ์ (ดิ อิมพอสซิเบิ้ล) ศิลปิน (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
ยุรนันท์ ภมรมนตรี (แซม) ดารา (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
สุรักษ์ สุขเสวี นักแต่งเพลง (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
กุ้งนาง ปัทมสูต นักแสดง นักร้อง (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
นรีกระจ่าง คันธมาส (จุ๋ม โคโค่แจ๊ส) ศิลปิน (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
กกกร เบญจาธิกุล (โกโก้) (เจ๊เปีย สตรีเหล็ก) ดารา (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
เศกพล อุ่นสำราญ (โก้ มิสเตอร์แซกแมน) ศิลปิน (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
เกียรติกมล ล่าทา (ตุ้ย เอเอฟ 3) นักร้อง (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
สุธน บู่สามสาย (ตั้ม เดอะสตาร์ 10) นักร้อง (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
ภูษณุ วงศาวณิชชากร (ยุ่น) ดารา (พณิชยการพระนคร มทร.พระนคร)
วิเชษฐ์ เกษมทองศรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (วข.บพิตรพิมุข)
ตะวัน ศรีปาน นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติ (วข.นนทบุรี)
จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินคำเมือง (วข.ภาคพายัพ)
มนัสวิน นันทเสน มีชื่อเดิมว่า ศิริศักดิ์ นันทเสน หรือ ติ๊ก ชีโร่ ศิษย์เก่าแผนกวิชาศิลปกรรม (นักร้อง) (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ศิลปินนักร้อง (วข.ขอนแก่น)
อิศรา อนันตทัศน์ (สีเผือก คนด่านเกวียน) ศิลปินนักร้อง ศิษย์เก่าแผนกวิชาช่างกลเกษตร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับภาพยนตร์ ศิษย์เก่าสาขาวิชาสถาปัตยกรรม (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
ธนพล อินทฤทธิ์ (เสือ) ศิลปินนักร้อง ศิษย์เก่าแผนกวิชาสถาปัตยกรรม (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
มงคล อุทก (หว่อง คาราวาน) ศิลปินนักร้อง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
ทองกราน ทานา (อืด คาราวาน) ศิลปินนักร้อง ศิษย์เก่าแผนกวิชาศิลปกรรม (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (น้าหมู) ศิลปินนักร้อง ศิษย์เก่าแผนกวิชาศิลปกรรม (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม Miss Thailand Universe (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี)
เกียรติศักดิ์ ส่องแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี (อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มทร.ธัญบุรี)
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ==
จากคำกล่าวของท่าน ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาคนแรก เป็นผู้บุกเบิกสถาบันฯ อย่างแท้จริง ได้กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบันไว้ว่า
นับจากปีแรกที่ได้เริ่มสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2518 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษารุ่นแรก การได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด มีโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกับพระหัตถ์พระองค์เอง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร นำความปลื้มปิติยินดีมาสู่เหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา ผู้ปกครองบัณฑิต เป็นล้นพ้น และอีกสามครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2527 ปี พ.ศ. 2530 ในปี พ.ศ. 2531 เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ในปี พ.ศ. 2533 รวมเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง 4 ครั้ง
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2534 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน
=== ลำดับเหตุการณ์สำคัญพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ===
พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพร้อมสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 2 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 3 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 4 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ในนามสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และมีการเปลี่ยนมาใช้ชุดครุยวิทยฐานะของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแทนชุดครุยเดิม
พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพะราชดำเนินแทนพระองค์ฯ เป็นครั้งแรกและครั้งต่อ ๆ มา ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 5 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
พ.ศ. 2535 สภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ทูลเกล้าถวายปริญญาคหกรรมศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
พ.ศ. 2540 ย้ายสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร มาที่ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
พ.ศ. 2548 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 19 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2550 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 21 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พิธีพระราชทานปริญญาบัตรพร้อมเพรียงกันของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เปลี่ยนมาใช้ชุดครุยวิทยฐานะแทนครุยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
พ.ศ. 2551 (รับในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552) พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 22 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แต่ละมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(กรุงเทพ พระนคร อีสาน สุวรรณภูมิ ตะวันออก)เปลี่ยนมาใช้ครุยวิทยะฐานะของตนเอง ยกเว้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ล้านนา และรัตนโกสินทร์(ยังใช้ครุยสถาบันเดิมอยู่) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แยกออกไปจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมกันนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทูลเกล้าถวายปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2552 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 23 ประจำปีการศึกษา 2551 ในวันที่ 15 - 16 ธันวาคม 2552 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
พ.ศ. 2553 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 24 ประจำปีการศึกษา 2552 ในวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2553 ทั้งช่วงเช้า และช่วงบ่าย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
พ.ศ. 2555 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 25 ประจำปีการศึกษา 2553 ในวันที่ 23 - 25 เมษายน 2555 ทั้งช่วงเช้า และช่วงบ่าย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
พ.ศ. 2556 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 27 ประจำปีการศึกษา 2555 ในวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2556 ทั้งช่วงเช้า และช่วงบ่าย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
พ.ศ. 2557 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 28 ประจำปีการศึกษา 2556 ในวันที่ 15-19 ธันวาคม 2557 ทั้งช่วงเช้า และช่วงบ่าย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ครั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิต แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2559 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 29 ประจำปีการศึกษา 2557 ในวันที่ 5-9 กันยายน 2559 ทั้งช่วงเช้า และช่วงบ่าย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
พ.ศ. 2560 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 30 ประจำปีการศึกษา 2558 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 8 แห่ง วันที่ 20 - 24 มีนาคม 2560
พ.ศ. 2560 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 31 ประจำปีการศึกษา 2559 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 8 แห่ง วันที่ 20-24 พฤศจิกายน 2560
พ.ศ. 2561 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 32 ประจำปีการศึกษา 2560 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 8 แห่ง วันที่ 27-31 สิงหาคม 2561
พ.ศ. 2562 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 33 ประจำปีการศึกษา 2561 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 8 แห่ง วันที่ 19 - 23 สิงหาคม 2562
พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน แยกออกไปจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาจัดงานพระราชปริญญาบัตร ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดการเดิมจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2564 แต่ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (โควิด 19) ในประเทศไทย ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดงานพระราชปริญญาบัตร ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 จึงมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่รับพระราชปริญญาบัตร ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เหลือเพียง 6 แห่งในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเท่านั้น โดยกำหนดการเดิม พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 34 ประจำปีการศึกษา 2562 จะจัดขึ้นในวันที่ 19-23 สิงหาคม 2563 แต่ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (โควิด 19) ในประเทศไทย โดยมีการจัดในปี พ.ศ. 2565 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 34 ประจำปีการศึกษา 2562 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 6 แห่ง วันที่ 7-10 มีนาคม 2565
พ.ศ. 2565 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 35 ประจำปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 6 แห่ง วันที่ 21-24 มีนาคม 2565
พ.ศ. 2566 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 36 ประจำปีการศึกษา 2564 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 6 แห่ง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 1-3 มีนาคม 2566
พ.ศ. 2566 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 37 ประจำปีการศึกษา 2565 (6 มทร.) กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 20- 23 พฤศจิกายน 2566
== นายกสภามหาวิทยาลัย ==
นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งในยุคแรก คือ นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 คือ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะดำรงตำแหน่ง นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลด้วย เช่น ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ระหว่างปี 2543-2548 ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง (ในช่วงระหว่างการจัดตั้งมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2548-2549)
สืบเนื่องจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลปรับเปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง มีผลให้เกิดสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งมาตามลำดับ
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
พระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๓๒
พระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๘
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘ (จำนวน ๙ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)
ราชมงคล
ราชมงคล
องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2528
สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2548
สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2548 | thaiwikipedia | 232 |
เปรม ติณสูลานนท์ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) เป็นนักการเมืองและนายทหารชาวไทย เริ่มต้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ก่อนได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2523–2531) หลังจากนั้นเป็นประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วงระยะหนึ่งใน พ.ศ. 2559
บุคลิกส่วนตัวของพลเอก เปรม เป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก เปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
มีนักวิชาการและสื่อว่า พลเอก เปรม มีบทบาทในการเมืองไทย แม้รัฐบาลทหารหลังรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 ปฏิเสธข่าวนี้
== ประวัติ ==
พลเอก เปรม เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ณ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อ "เปรม" นั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล "ติณสูลานนท์" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2462 เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โท หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางออด วินิจทัณฑกรรม ชีวิตส่วนตัวพลเอกเปรมมิได้สมรสกับผู้ใด
พลเอก เปรม สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดบ่อยาง ศึกษาต่อมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ใน พ.ศ. 2478 ต่อมาจบมัธยมศึกษาปีที่ 7-8 แผนกวิทยาศาสตร์จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2479 เข้าศึกษาต่อนักเรียนนายร้อย ที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นคนหนึ่งคือ ร้อยเอก อำนวย ทวีสิน บิดาของเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 30
หลังจากนั้นพลเอก เปรม ได้สำเร็จการฝึกหลักสูตรนายทหารฝึกราชการ โรงเรียนนายทหารม้า ระดับผู้บังคับบัญชา พ.ศ. 2490 หลังจากนั้นก็ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ที่สหรัฐ หลักสูตรผู้บังคับกองพัน โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ พ.ศ. 2496, หลักสูตรพิเศษ วิทยาลัยการทัพบก พ.ศ. 2503 หลักสูตรวิทยาลัยอ้งกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 9 พ.ศ. 2509 และได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ เมื่อ 23 เมษายน พ.ศ. 2498 และยังได้วิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555
เมื่อจบการศึกษาใน พ.ศ. 2484 ได้เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485–2488 ที่เชียงตุง
== ราชการทหาร ==
ภายหลังสงคราม พลเอก เปรม รับราชการอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนทักกี พร้อมกับพลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอก วิจิตร สุขมาก เมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี
พลเอก เปรม ได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อ พ.ศ. 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้านี้ เขามักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ป๋า" และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า "ลูก" จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือ ป๋าเปรม และคนสนิทของท่านมักถูกเรียกว่า ลูกป๋า และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน
พลเอก เปรม ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ใน พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบก ใน พ.ศ. 2521
นอกจากยศพลเอกแล้ว พลเอก เปรม ได้รับพระราชทานยศพลเรือเอกของกองทัพเรือ และพลอากาศเอกของกองทัพอากาศ ด้วย จากการพระราชทานโปรดเกล้าฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529
== การเข้าร่วมงานทางการเมือง ==
พ.ศ. 2502 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พ.ศ. 2511 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2515 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร
== การเข้าร่วมทำรัฐประหาร ==
พลเอก เปรม ร่วมทำรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ซึ่งในขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งเป็น"แม่ทัพภาคที่ 2"
วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งในขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งเป็น"ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก"
== ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ==
พลเอก เปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี 2520 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2522
ในช่วงนั้น พลเอก เปรม ได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอก เกรียงศักดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 สภาผู้แทนราษฎรหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอก เปรม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง
พลเอก เปรม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากพลเอก เกรียงศักดิ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ซึ่งตลอดระยะเวลาของพลเอก เปรม ในการบริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย เช่น การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยอย่างได้ผล โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด
=== สมัยที่ 1 ===
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42: 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 29 เมษายน พ.ศ. 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526
=== สมัยที่ 2 ===
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43: 30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
=== สมัยที่ 3 ===
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44: 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เขาจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอก เปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการทั่วไป
ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอก เปรม ที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอก เปรม ปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก เปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
== บทบาทในวิกฤตการณ์การเมือง ==
หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549 มีนักวิชาการกล่าวหาพลเอก เปรม ว่าเกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548–2549 ที่นำไปสู่รัฐประหาร ซึ่งในเวลาพลบค่ำวันที่ 19 กันยายน ช่วงเดียวกับที่กำลังทหารหน่วยรบพิเศษจากจังหวัดลพบุรีเคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพมหานคร พลเอก เปรม เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า พลเอก เปรม เป็นผู้สั่งการรัฐประหารโดยนั่งบัญชาการอยู่ที่บ้านสี่เสาร์เทเวศร์ มีบทวิเคราะห์จากสำนักข่าว XFN-ASIA ระบุในเว็บไซต์นิตยสารฟอร์บ ว่า พลเอก เปรม เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองไทย พร้อมทั้งสนับสนุนให้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) รัฐประหารรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ฝ่ายรัฐบาลทหารว่า พลเอก เปรม ไม่เคยมีบทบาททางการเมือง
ในเวลาต่อมา มีการอ้างว่า พลเอก เปรม อาจมีบทบาทสำคัญในการเชิญพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตลูกน้อง มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย จนนักวิจารณ์บางคน กล่าวว่า สภาฯ ชุดนี้เต็มไปด้วย "ลูกป๋า"
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นปก. ชุมนุมประท้วงหน้าบ้านของพลเอก เปรม เพื่อเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เพราะเชื่อว่ามีบทบาททางการเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าสลายการชุมนุม มีการยิงแก๊สพริกไทยแล้วล้อมรถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงของแกนนำ ผู้ชุมนุมขว้างปาขวดพลาสติกและขวดแก้วใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เกิดการปะทะกันชุลมุนวุ่นวาย เจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บหลายคน ด้านแยกสี่เสาเทเวศร์ กลุ่ม นปก.ส่วนหนึ่งทุบทำลายซุ้มตำรวจจราจรและทุบรถส่องไฟและกระจายเสียงของตำรวจที่จอดไว้ รวมทั้งปล่อยลมยางรถยนต์ ในวันต่อมา พลเอกสนธิ พลเอกสุรยุทธ์ และคณะรัฐมนตรีไปเยี่ยมพลเอก เปรม เพื่อขอโทษที่ยอมให้มีการประท้วง
บางกอกพันดิท (Bangkok Pundit) เขียนในเอเชียคอร์เรสปอนเดนท์ว่า พลเอก เปรม เป็นผู้เล่นสำคัญในการเมืองไทยในหลายทศวรรษหลัง เจมส์ อ็อกคีย์ (James Ockey) ว่า "ก่อนรัฐบาลไทยรักไทยกำเนิดในปี 2544 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกแทบทุกคนในทศวรรษที่ผ่านมาเป็นอดีตผู้ช่วยของเปรม" แต่ "แน่นอนว่ายิ่งเปรมเกษียณนานเท่าไร อิทธิพลของเขาในกองทัพก็ยิ่งอ่อนลงเท่านั้น" เขามีอำนาจและอิทธิพลสูงสุดเมื่อรัฐประหารปี 2549 และยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างกองทัพและพระราชวัง ทว่า นับแต่ปี 2549 อำนาจของเขาและความสามารถมีอิทธิพลจางลงเมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาและบูรพาพยัคฆ์มีเส้นสายของตัวและสามารถเลี่ยงพลเอก เปรม ได้แล้ว Marwaan Macan-Markar เขียนว่า "ต่างกับสนธิ ประยุทธ์ยังไม่เป็นหนี้บุญคุณเครือข่ายอิทธิพลซึ่งเป็นผู้รักษาประตูสู่พระมหากษัตริย์แต่เดิม อันเป็นที่สถิตของอำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร" และ "บูรพาพยัคฆ์คืนชีพโดยทำลายสายการบังคับบัญชาเดิมซึ่งเป็นหนี้บุญคุณต่อพลเอก เปรม เขามีสามัคคีจิตของเขาเอง"
== ถึงแก่อสัญกรรม ==
พลเอก เปรม ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:09 น. ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในวันนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานโกศกุดั่นน้อย และฉัตรเครื่องตั้งประดับ พร้อมแตรงอน แตรฝรั่ง ปี่กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ทรงรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ และทรงให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเชิญพวงมาลาหลวงวางที่หน้าโกศศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานในวาระครบ 7 วัน นอกจากนี้ โปรดให้บำเพ็ญพระราชกุศล 15 วัน 50 วัน และ 100 วันตามลำดับ และให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 21 วันนับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เว้นวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ
ในวันที่ 10 และ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ รักษาการประธานองคมนตรี ร่วมพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพและวางพวงมาลา
ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จไปพระราชทานเพลิงศพพลเอก เปรม ที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันถัดมา โปรดให้ผู้แทนพระองค์ไปเก็บอัฐิ
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
=== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ===
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดต่าง ๆ ดังนี้
พ.ศ. 2493 – 80px เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
พ.ศ. 2500 – 80px เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
=== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ===
* พ.ศ. 2527 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยาง อมาตย์ มูเลีย ปังกวน เนการา ชั้นที่ 1
* พ.ศ. 2527 - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)
* พ.ศ. 2546 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นประถมาภรณ์
* พ.ศ. 2547 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นสูงสุด
* พ.ศ. ไม่ปรากฏ - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 1
* พ.ศ. ไม่ปรากฏ - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย
*พ.ศ. ไม่ปรากฏ - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1
* พ.ศ. ไม่ปรากฏ - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1
*พ.ศ. ไม่ปรากฏ - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นประถมาภรณ์
*พ.ศ. ไม่ปรากฏ - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์นิชาน เอ เควด เอ อาซาม
* พ.ศ. ไม่ปรากฏ - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์เงิน (พร้อมสายสะพาย)
== ลำดับสาแหรก ==
== ดูเพิ่ม ==
สะพานติณสูลานนท์
== เชิงอรรถ ==
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ชีวประวัติ พลเอก เปรม จาก เว็บสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
บุคคลจากอำเภอเมืองสงขลา
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย
องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
องคมนตรีในรัชกาลที่ 10
ทหารบกชาวไทย
ทหารเรือชาวไทย
ทหารอากาศชาวไทย
แม่ทัพภาคที่ 2
นายกรัฐมนตรีไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
บุคคลจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1 (ร.10)
ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย หลัง พ.ศ. 2544 | thaiwikipedia | 233 |
GNU | redirect กนู | thaiwikipedia | 234 |
อุนสุยอัน | อุนสุยอัน เป็นชาวมาเลเชีย แต่ได้มาอาศัยอยู่ที่ฮ่องกง ในอดีตเคยถูกไต้หวันปฏิเสธไม่ให้เข้าเมือง นักเขียนนิยายจีนกำลังภายใน, นามแฝง อุนเลี้ยงเง็ก
==ผลงาน==
ชุด นักสู้คะนองศึก
*นักสู้คะนองศึก
*ตำนานแห่งผู้กล้า
*หงสาฝ่ายุทธจักร
*กระบี่ท่องยุทธจักร
ชุด สี่ยอดมือปราบ
*ชุมนุมนครหลวง
**ชุมนุมนครหลวง เล่ม 1
***มือฆาตกร
***มือโลหิต
***มืออำมหิต
**ชุมนุมนครหลวง เล่ม 2
***มือหยกขาว
***ชุมนุมนครหลวง
**ได้รับสร้างเป็นละครโทรทัศน์และการ์ตูน มือปราบพญายม
*รอยสักกะโหลก
*
*
*ฝ่าความตาย
*ล้างรอยเลือด
*เชือดชีวิต
*มือเหล็กพิชิต
*ดาบฝันสลาย
*บุปผามหาภัย
ชุด ศาสตราวุธ
*ดาบเสียดฟ้า
*กระบี่เลือดเดือด
*ทวนทะลวงศึก
*เกาทัณฑ์รันทด
*กระบองเทิดฟ้า
*เศียรหมู่มังกร
*คู่อริใต้หล้า
*
ชุด พยากรณ์ประกาศิต
*พยากรณ์ประกาศิต เล่ม 1
**มัจจุราชมืด
**โฉมสะคราญมากสีสัน
*พยากรณ์ประกาศิต ตอน อานุภาพฟ้า เล่ม 2
**อานุภาพฟ้า
**แพทย์เหนือแพทย์
*
*พยากรณ์ประกาศิต ตอน เงากระบี่บุปผาร่วง เล่ม 3
**เงากระบี่บุปผาร่วง (คิ้วขนนกเขียว)
**นิ้วมือของคนตาย
**ศาลเจ้าลมหิมะ
**บันทึกรอยดาบ
*ได้รับสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ศึกเทพพยากรณ์พิชิตมาร
ชุด ผู้หาญกล้าภูษาขาว
*ผู้หาญกล้าภูษาขาว เล่ม 1
**มังกรผงาดพยัคฆ์ผยอง
**ตึกทดสอบกระบี่
**ศึกสะท้านเชียงอัน
*ผู้หาญกล้าภูษาขาว เล่ม 2
**ธวัชใหญ่ตะวันรอน
**หิมะน้อยชายแดนใต้
โฉมสะคราญ ปณิธาน จอมคน หรือ จอมยุทธ์โฉมสะคราญ
กวีในดงดาบ
จริยวีรชน
นักเขียนนิยายกำลังภายใน | thaiwikipedia | 235 |
ทฤษฎีระบบควบคุม | ทฤษฎีระบบควบคุม (control theory) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในที่นี้ การควบคุมหมายถึง การควบคุมระบบพลศาสตร์ ให้มีค่าเอาต์พุตที่ต้องการ โดยการป้อนค่าอินพุตที่เหมาะสมให้กับระบบ ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป เช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิห้องของเครื่องปรับอากาศ หรือ แม้แต่ลูกลอยในโถส้วม ที่เปิดน้ำปิดน้ำโดยอัตโนมัติเมื่อน้ำหมดและน้ำเต็ม
การควบคุมการขับเคลื่อนยานพาหนะ เช่น รถยนต์ ก็ถือเป็นการควบคุมชนิดหนึ่ง โดยผู้ขับขี่เป็นผู้ควบคุมทิศทางและความเร็ว ซึ่งระบบควบคุมประเภทที่ต้องมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องนี้ถือว่าเป็น ระบบควบคุมไม่อัตโนมัติ (manual control) แต่ทฤษฎีระบบควบคุมจะครอบคลุมเฉพาะการวิเคราะห์และออกแบบ ระบบควบคุมอัตโนมัติ (automatic control) เท่านั้น เช่น ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (cruise control)
ระบบควบคุมยังอาจแบ่งออกได้เป็นระบบควบคุมวงเปิด (open-loop control) คือ ระบบควบคุมที่ไม่ได้ใช้สัญญาณจากเอาต์พุต มาบ่งชี้ถึงลักษณะการควบคุม ส่วนระบบควบคุมวงปิด (closed-loop control) หรือ ระบบป้อนกลับ (feedback control) นั้นจะใช้ค่าที่วัดจากเอาต์พุต มาคำนวณค่าการควบคุม นอกจากนี้ยังอาจแบ่งได้ตามคุณลักษณะของระบบ เช่น เป็นเชิงเส้น (linear) / ไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear) , แปรเปลี่ยนตามเวลา (time-varying) / ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา (time-invariant) และเวลาต่อเนื่อง (Continuous time) / เวลาไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous time)
== ประวัติศาสตร์และการพัฒนาของทฤษฎีระบบควบคุม ==
=== ระบบควบคุมในยุคโบราณ ===
การใช้ระบบควบคุมวงปิด นั้นมีมาแต่โบราณกาล ตัวอย่างเช่น นาฬิกาน้ำของกรีก ซึ่งมีการใช้ลูกลอยในการควบคุมระดับน้ำในถัง อุปกรณ์ที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการใช้ระบบควบคุมป้อนกลับในวงการอุตสาหกรรม ก็คือ ลูกเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (centrifugal governor หรือเรียก fly-ball governor) ในการควบคุมความเร็วในการหมุน เครื่องจักรไอน้ำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย เจมส์ วัตต์ ในปี ค.ศ. 1788
=== จุดกำเนิดของทฤษฎีระบบควบคุม ===
แบบจำลองคณิตศาสตร์ของระบบควบคุม :
ในยุคก่อนหน้านี้ การออกแบบระบบควบคุมต่าง ๆ นั้น เป็นไปในลักษณะลองผิดลองถูก ไม่ได้มีการใช้คณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์ ออกแบบแต่อย่างใด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1840 นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ จอร์จ แอรี ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ควบคุมทิศทางของกล้องดูดาว โดยอุปกรณ์นี้จะหมุนกล้องดูดาว เพื่อชดเชยกับการหมุนของโลกโดยอัตโนมัติ ในระหว่างการออกแบบ แอรีได้สังเกตถึงความไม่เสถียร (instability) ของระบบป้อนกลับ จึงใช้สมการเชิงอนุพันธ์ในการจำลองและวิเคราะห์พฤติกรรมของระบบ การวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบนี้เป็นหัวใจสำคัญของทฤษฎีระบบควบคุม
ทฤษฎีเสถียรภาพ :
ในปี ค.ศ. 1868 เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ เป็นบุคคลแรก ที่ทำการศึกษาถึงเสถียรภาพของ ลูกเหวี่ยงหนีศูนย์กลางของ เจมส์ วัตต์ โดยใช้แบบจำลองสมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้น ทฤษฎีเสถียรภาพของระบบเชิงเส้นของแมกซ์เวลล์นี้ พิจารณาเสถียรภาพของระบบจาก รากของสมการคุณลักษณะ (characteristic equation) ของระบบ ต่อมาในปี ค.ศ. 1892 เลียปูนอฟได้ทำการศึกษาถึงเสถียรภาพของระบบไม่เป็นเขิงเส้น และสร้างทฤษฎีเสถียรภาพของเลียปูนอฟ (Lyapunov stability) แต่ทฤษฎีของเลียปูนอฟนี้เป็นทฤษฎีที่สำคัญที่ไม่ได้รับความสนใจ จนกระทั่งหลายสิบปีต่อมา
=== ระบบควบคุมแบบดั้งเดิม ===
ระบบควบคุมแบบดั้งเดิม (classical control) หมายถึง ระบบควบคุมที่ออกแบบและวิเคราะห์บนโดเมนความถี่ (หรือโดเมนการแปลงฟูรีเย) และโดเมนการแปลงลาปลาส โดยการใช้แบบจำลองในรูปของ ฟังก์ชันส่งผ่าน (transfer function) โดยไม่ได้ใช้ข้อมูลรายละเอียดของไดนามิกส์ภายในของระบบ (internal system dynamic)
พัฒนาการของทฤษฎีระบบควบคุมในช่วงนี้นั้น ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในทางทหารและทางระบบสื่อสาร อันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง และ การขยายตัวของโครงข่ายสื่อสารโทรศัพท์
พัฒนาการเพื่อใช้งานในระบบโครงข่ายโทรศัพท์ :
ในช่วงยุคที่มีการขยายตัวของระบบสื่อสารโทรศัพท์นั้น ระบบสื่อสารทางไกลมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ขยายสัญญาณด้วยหลอดสุญญากาศ ในปี ค.ศ. 1927 แนวความคิดและประโยชน์ของระบบป้อนกลับแบบลบ ได้ถูกนำเสนอในรูปของ อุปกรณ์ขยายสัญญาณป้อนกลับแบบลบ (negative feedback amplifier) โดย เอช. เอส. แบล็ก แต่การวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบขยายสัญญาณตามทฤษฎีของแมกซ์เวลล์ โดยใช้วิธีของ เราท์-ฮิวรวิทซ์ (Routh-Hurwitz) นั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความซับซ้อนของระบบ วิศวกรสื่อสารของ Bell Telephone Laboratories จึงได้นำเสนอการวิเคราะห์บนโดเมนความถี่ โดยในปี ค.ศ. 1932 แฮร์รี่ ไนควิสต์นำเสนอ เกณฑ์เสถียรภาพของไนควิสต์ (Nyquist stability criterion) ซึ่งใช้วิธีการพล็อตกราฟเชิงขั้ว ของผลตอบสนองความถี่ตลอดวงรอบ (loop frequency response) ของระบบ ต่อมาในปี ค.ศ. 1940 เฮนดริค โบดีได้นำเสนอวิธีการวิเคราะห์เสถียรภาพโดยขอบเขตอัตราขยาย (gain margin) และขอบเขตมุม (phase margin) จากกราฟระหว่างขนาดและมุม (phase) ของผลตอบสนองความถี่ เรียกว่า โบดีพล็อต (Bode plot)
พัฒนาการเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร :
ปัญหาหลายปํญหาในทางหทาร เช่น ปัญหาการนำร่องการเดินเรืออัตโนมัติ ปัญหาการเล็งเป้าโดยอัตโนมัติ นั้นเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เกิดการพัฒนาการทางทฤษฎีระบบควบคุมที่สำคัญหลายอย่าง ในปี ค.ศ. 1922 มินอร์สกี (N. Minorsky) ได้กำหนดและวิเคราะห์กฎของ ระบบควบคุมพีไอดี หรือ สัดส่วน-ปริพันธ์-อนุพันธ์ (proportional-integral-derivative) ซึ่งยังเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เพื่อใช้ในการนำร่องการเดินเรือ ปัญหาที่สำคัญในช่วงนั้นคือ การเล็งเป้าของปืนจากเรือหรือเครื่องบิน ซึ่งในปี ค.ศ. 1934 ฮาเซน (H.L. Házen) ได้บัญญัติคำสำหรับประเภทปัญหาการควบคุมกลไกนี้ว่า กลไกเซอร์โว (servomechanisms) การวิเคราะห์และออกแบบนั้นก็ใช้วิธีการบนโดเมนความถี่ จนกระทั่งในปีค.ศ. 1948 อีแวนส์ (W. R. Evans) ซึ่งทำงานกับปัญหาทางด้านการนำร่องและควบคุมเส้นทางบิน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นระบบที่ไม่เสถียร ได้ประสบกับปํญหาการวิเคราะห์เสถียรภาพบนโดเมนของความถี่ จึงได้หันกลับไปศึกษาถึงรากของสมการคุณลักษณะ ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์บนโดเมนการแปลงลาปลาส และได้พัฒนาวิธี ทางเดินราก (root locus) ในการออกแบบระบบ
=== ระบบควบคุมสมัยใหม่ ===
ระบบควบคุมสมัยใหม่ (modern control) หมายถึง ระบบควบคุมที่ไม่ได้ใช้เทคนิคในการออกแบบแบบดั้งเดิม คือ จากรากของสมการคุณลักษณะ และอยู่บนโดเมนความถี่ แต่เป็นการออกแบบ โดยมีพื้นฐานจากแบบจำลองสมการอนุพันธ์ของไดนามิกส์ของระบบ และเป็นการออกแบบอยู่บนโดเมนเวลา
แรงผลักดันของพัฒนาการจากระบบควบคุมแบบดั้งเดิม มาสู่ระบบควบคุมสมัยใหม่นี้ มีอยู่หลัก ๆ สองประการคือ
ข้อจำกัดของระบบควบคุมแบบดั้งเดิมต่องานด้านอวกาศยาน :
จากความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 ของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1957 นั้นกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวของการประยุกต์ใช้งานทางด้านอวกาศยาน ความสำเร็จของโซเวียตนั้นเนื่องมาจากพัฒนาการทางด้านทฤษฎีระบบควบคุมแบบไม่เป็นเชิงเส้น ซึ่งไม่ได้รับความสนใจมากนักจากประเทศตะวันตก เนื่องจากความล้มเหลวในการใช้เทคนิคต่าง ๆ ของระบบควบคุมแบบดั้งเดิม กับงานด้านอวกาศยาน ซึ่งระบบส่วนใหญ่นั้น เป็นระบบหลายตัวแปรแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear multivariable system) จึงมีการหันกลับมาพิจารณาการวิเคราะห์จากปัญหาดั้งเดิม ในรูปของแบบจำลองสมการอนุพันธ์ของระบบ
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับงานระบบควบคุม :
พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีต่าง ๆ ของระบบควบคุม เนื่องจากทำให้สามารถสร้างอุปกรณ์ควบคุมที่สามารถทำงานซับซ้อนได้ รวมทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณในการออกแบบกฎของการควบคุม ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบควบคุมแบบต่าง ๆ ขึ้นอย่างมากมาย
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีการพัฒนาทฤษฎีระบบควบคุม จากหลายแง่มุม
จากความพยายามในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นดิจิทัล เพื่อการควบคุมระบบซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นระบบอนาล็อก จึงส่งผลให้มีการพัฒนาทางทฤษฎีระบบควบคุมดิจิทัล (digital control) โดยในปี ค.ศ. 1952 จอห์น รากัซซินี (J.R. Ragazzini) , แฟรงคลิน (G Franklin) และ ซาเดห์ (L.A. Zadeh ผู้คิดค้นฟัซซี่ลอจิก) ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้พัฒนาทฤษฎีระบบแบบชักข้อมูล (sampled data systems) ขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมกระบวนการในอุตสาหกรรมนั้น ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1959 ที่ โรงกลั่นน้ำมัน พอร์ต อาเธอร์ (Port Arthur) ในรัฐเท็กซัส
นอกจากนั้นแล้วแนวความคิดของการควบคุมที่ซับซ้อนขึ้นโดยมีการรวม ข้อกำหนดความต้องการทางด้านประสิทธิภาพ (performance) ในการออกแบบระบบควบคุม ซึ่งเรียกว่า ระบบควบคุมแบบเหมาะสมที่สุด (optimal control) รากฐานของทฤษฎีระบบควบคุมแบบเหมาะสมที่สุดนี้มีมายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1696 จาก หลักของความเหมาะสมที่สุด (principle of optimality) ในปัญหา บราคิสโตโครน (Brachistochrone curve) และ แคลคูลัสของการแปรผัน (Calculus of variations) ในปีค.ศ. 1957 ริชาร์ด เบลแมน ได้ประยุกต์ใช้วิธีการกำหนดการพลวัตของเขาในการแก้ปัญหาระบบควบคุมแบบเหมาะสมที่สุด แบบเวลาไม่ต่อเนื่อง ต่อมาในปีค.ศ. 1958 พอนเทรียกิน (L.S. Pontryagin) ได้พัฒนา หลักการมากที่สุด (maximum principle หรือบางครั้งก็เรียก minimum principle) สำหรับแก้ปัญหาในรูปของแคลคูลัสของการแปรผัน แบบเวลาต่อเนื่อง
การสังเกตถึงผลกระทบของสัญญาณรบกวนต่อประสิทธิภาพของระบบควบคุมนั้นมีมาตั้งแต่ในช่วงระบบควบคุมยุคดั้งเดิม เช่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในการพัฒนาระบบควบคุมสำหรับเรดาร์ติดเครื่องบิน เพื่อควบคุมการยิง ที่ ห้องทดลองเรดิเอชัน (Radiation Lab) ที่ เอ็มไอที, ฮอลล์ (A.C. Hall) ได้ประสบปัญหาในการออกแบบ เขาได้สังเกตถึงผลกระทบจากการออกแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงสัญญาณรบกวนต่อประสิทธิภาพของระบบ ถึงแม้ว่าจะมีการคำนึงถึงผลกระทบของสัญญาณรบกวน แต่ก็ไม่ได้มีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของสัญญาณรบกวนในการวิเคราะห์แต่อย่างใด จนกระทั่ง นอร์เบิร์ต วีนเนอร์ ได้จำลองสัญญาณรบกวน โดยใช้แบบจำลองกระบวนการสตอแคสติก หรือ แบบจำลองทางสถิติ แบบเวลาต่อเนื่อง ในการพัฒนาระบบเล็งเป้าและควบคุมการยิงปืนต่อต้านอากาศยาน โดยใช้ข้อมูลจากเรดาร์ ซึ่งงานของเขาได้ถูกเก็บเป็นความลับ จนถึงปี ค.ศ. 1949 ในช่วงเดียวกันในปี ค.ศ. 1941 คอลโมโกรอฟ ก็ได้ทำการพัฒนาแบบจำลองสำหรับระบบเวลาไม่ต่อเนื่องขึ้น ระบบควบคุมที่ใช้แบบจำลองสคอแคสติกนี้ในการวิเคราะห์ จะเรียกว่า ระบบควบคุมสตอแคสติก (Stochastic control)
การวิเคราะห์และควบคุมระบบบนโดเมนเวลา โดยใช้แบบจำลองตัวแปรสถานะ หรือ แบบจำลองปริภูมิสถานะ (state space) นั้นเป็นหัวใจของทฤษฎีระบบควบคุมสมัยใหม่ รูดอล์ฟ อีมิว คาลมาน และ Bellman นั้นถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีระบบควบคุมโดยใช้แบบจำลองตัวแปรสถานะนี้ โดยที่ในปี ค.ศ. 1960 คาลมานได้นำทฤษฎีเสถียรภาพของเลียปูนอฟมาใช้ในการออกแบบระบบ ซึ่งเป็นผลให้ผลงานของเลียปูนอฟกลับมาได้รับความสนใจ นอกจากนี้แนวทางใหม่นี้ยังสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของตัวระบบได้ ได้แก่ สภาพควบคุมได้ (controllability) สภาพสังเกตได้ (observability) ผลสัมฤทธิ์เล็กสุดเฉพาะกลุ่ม (minimal realization) และยังนำไปสู่การออกแบบตัวควบคุมแบบใหม่ เช่น การวางขั้ว (pole placement) ตัวควบคุมอิงตัวสังเกต (observer-based controller) และตัวควบคุมกำลังสองเชิงเส้นเหมาะที่สุด (optimal linear quadratic regulator) คาลมานได้พัฒนาวิธีการออกแบบระบบควบคุมแบบเหมาะสมที่สุด จากแบบจำลองปริภูมิสถานะ ในรูปของปัญหาระบบเชิงเส้นคงค่าแบบเหมาะสมที่สุดตามสมการกำลังสอง หรือ LQR (linear quadratic regulator) ในปีเดียวกันนี้ คาลมานได้นำเสนอผลงานของเขาในการประยุกต์ใช้แบบจำลองตัวแปรสถานะนี้เข้ากับแนวความคิดทางด้านสตอแคสติกของวีนเนอร์ และคิดค้นสิ่งที่เรารู้จักกันในชื่อ ตัวกรองคาลมาน (Kalman filter) ขึ้นมา โดยการใช้งานจริงครั้งแรกของตัวกรองคาลมาน นั้นได้ถูกประยุกต์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนำร่องในโครงการอพอลโล ตั้งแต่นั้นมาตัวกรองคาลมานก็ได้ถูกประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
ในปัจจุบันแนวทางการวิเคราะห์และควบคุมระบบบนโดเมนเวลา โดยใช้แบบจำลองตัวแปรสถานะสามารถประยุกต์ใช้ได้กับงานวิศวกรรมห้วงอากาศอวกาศ (aerospace engineering) การควบคุมกระบวนการ (process control) และเศษฐมิติ (econometrics)
== ประเภทของปัญหาระบบควบคุม ==
ปัญหาของทฤษฎีระบบควบคุมนั้น สามารถแยกออกได้เป็นประเภทใหญ่ 2 ประเภท คือ
ปัญหาระบบคงค่า (regulator problem) คือ ปัญหาที่มีจุดประสงค์ของการควบคุม ให้เอาต์พุตของระบบมีค่าคงที่ ต้านทานการรบกวน (disturbance) ที่เข้ามาในระบบ และมีผลทำให้ระบบเปลี่ยนแปลง
ปัญหาระบบปรับค่าตาม (tracking หรือ servo problem) คือ ปัญหาที่มีจุดประสงค์ของการควบคุม ให้เอาต์พุตมีค่าเท่ากับสัญญาณอ้างอิง เมื่อสัญญาณอ้างอิงเปลี่ยนไป ระบบควบคุมจะทำการปรับให้ สัญญาณเอาต์พุตมีค่าตามสัญญาณอ้างอิง
== ประเภทของระบบ ==
เราอาจจะสามารถจำแนกประเภทของระบบได้หลายแบบตามแต่เงื่อนไขในการจำแนกระบบที่ใช้ แต่ในบริบทของทฤษฎีระบบควบคุมนั้น เรามักจำแนกระบบตามภาวะเชิงเส้น, การแปรเปลี่ยนตามเวลา และความต่อเนื่องโดเมนเวลา ดังต่อไปนี้ คือ
=== จำแนกตามภาวะเชิงเส้น ===
==== ระบบเชิงเส้น ====
ระบบเชิงเส้น (Linear Systems) คือระบบที่มีภาวะเชิงเส้น (Linearity) กล่าวคือ ถ้าให้ x_1 (t), x_2 (t) เป็นสัญญาณขาเข้าของระบบ และ y_i (t) = H \left \{ x_i (t) \right \} โดยที่ i \in \{1, 2\}เป็นสัญญาณขาออก ถ้าระบบมีภาวะเชิงเส้นแล้วจะต้องสอดคล้องกับคุณสมบัติดังนี้
\alpha y_1 (t) + \beta y_2 (t) = H \left \{ \alpha x_1 (t) + \beta x_2 (t) \right \}
\forall \alpha, \beta \in \mathbb R \,
หมายเหตุ: เราเรียกหลักการข้างต้นว่าหลักการซ้อนทับ (superposition)
==== ระบบไม่เชิงเส้น ====
ระบบไม่เชิงเส้น (Nonlinear Systems) คือระบบที่ไม่มีสมบัติภาวะเชิงเส้นดังกล่าว
=== จำแนกตามการแปรเปลี่ยนตามเวลา ===
==== ระบบไม่แปรเปลี่ยนตามเวลา ====
ระบบไม่แปรเปลี่ยนตามเวลา (Time-invariant system) คือระบบที่คุณสมบัติของระบบไม่เปลี่ยนไปเมื่อเวลาเปลี่ยนไป กล่าวคือ สมมุติว่าไม่มีความล่าช้าเกิดขึ้นในระบบ (ระบบรับสัญญาณขาเข้าแล้วสามารถให้สัญญาณขาออกได้ในทันที) ถ้าป้อนสัญญาณขาเข้า x (t) ที่เวลา t จะได้สัญญาณขาออกเป็น y (t) ที่เวลา t ดังนั้นหากป้อนสัญญาณขาเข้าเดิมที่เวลา t + \delta นั้นคือ x (t + \delta) สัญญาญาณขาออกผลลัพธ์ก็ต้องเป็น ค่าเดิม คือ y (t + \delta) เพียงแต่จะปรากฏที่เวลา t + \delta ตามเวลาที่ป้อนสัญญาณขาเข้า x (t + \delta)
==== ระบบแปรเปลี่ยนตามเวลา ====
ระบบแปรเปลี่ยนตามเวลา (Time-variant system) คือระบบที่จะปลี่ยนแปลงคุณสมบัติไปตามเวลา กล่าวคือ ถ้าป้อนสัญญาณขาเข้า x (t) ที่เวลา t แล้วจะได้สัญญาณขาออกเป็น y (t) ที่เวลา t ดังนั้นหากป้อนสัญญาณขาเข้าเดิมที่เวลา t + \delta นั้นคือ x (t + \delta) สัญญาณขาออกผลลัพธ์ จะไม่ได้ค่าเดิม คือ y (t + \delta) แต่จะเป็นค่าอื่นเพราะในช่วงเวลา \delta นั้นระบบได้เปลี่ยนคุณสมบัติไปแล้ว
=== จำแนกตามความต่อเนื่องโดเมนเวลา ===
==== ระบบเวลาต่อเนื่อง ====
ระบบเวลาต่อเนื่อง (Continuous time systems) คือระบบที่มีโดเมนเวลาเป็นสมาชิกเซตของจำนวนจริง กล่าวคือ t \in \ \mathbb R \,
==== ระบบเวลาวิยุต ====
ระบบเวลาวิยุต หรือ ระบบเวลาไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous time systems) คือระบบที่มีโดเมนเวลาเป็นสมาชิกเซตของจำนวนเต็ม (แม้ในบางครั้ง อาจจะไม่ใช้จำนวนเต็ม แต่ ถ้ากล่าวโดยไม่เสียนัยยะความเป็นทั่วไป เราสามารถแทนจำนวนเหล่านั้นที่แม้ไม่ใช้จำนวนเต็มได้ด้วย ดัชนีเวลา (time index) ที่เป็นจำนวนเต็มได้เสมอ) กล่าวคือ t \in \ \mathbb Z \,
หมายเหตุ เรามักจะใช้อักษร n หรือ k แทน t ในกรณีที่เป็นเวลาวิยุต
==== ระบบผสม ====
ระบบผสม (Hybrid systems) คือระบบที่โดเมนของเวลาต่อเนื่องเป็นช่วง ๆ กล่าวคือ มีทั้งช่วงที่ต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องในโดเมนของเวลา ตัวอย่างของระบบที่ศึกษากันคือ ระบบเชิงเส้นกระโดดแบบมาร์คอฟ (Markovian jump linear system : MJLS)
ในกรณีที่เป็น ระบบเชิงเส้นกระโดดแบบมาร์คอฟและเวลาไม่ต่อเนื่อง ระบบจะมีแบบจำลองดังต่อไปนี้
x (k + 1) = A_{r (k)}x (k) + B_{r (k)}u (k) + F_{r (k)}w (k)
y (k) = C_{r (k)}x (k) + G_{r (k)}v (k)
โดยที่
r (k) \in \{ 1, 2, 3, ...m\} เป็นตัวแปรสถานะของกระบวนการมาร์คอฟ (Markov process) ที่มีความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะเป็น Prob (r (k + 1) = j|r (k) = i) = q_{ij}
และเมทริกซ์ของระบบแปรเปลี่ยนขึ้นกับ r (k)
w (k) เป็นสัญญาณรบกวนที่มีต่อตัวระบบ
v (k) เป็นสัญญาณรบกวนที่มีการสังเกต (สัญญาณขาออก)
ส่วน x (k), y (k), A, B, C, D, F จะนิยามในส่วนของแบบจำลองปริภูมิสถานะ ต่อไป
== ทฤษฎีระบบควบคุมแบบดั้งเดิม ==
=== ระบบควบคุมวงปิด ===
เนื่องจากระบบควบคุมแบบวงเปิดมีปัญหาด้านเสถียรภาพของระบบเพราะไม่มีการป้อนกลับของสัญญาณขาออก ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้งานหลายอย่าง จึงมีความต้องการที่จะออกแบบระบบควบคุมที่สามารถตรวจจับความคลาด
เคลื่อนระหว่างสัญญาณขาออกและสัญญาณอ้างอิงได้ จึงได้มีการคิดค้นระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback control systems) หรือระบบควบคุมแบบวงปิด (Closed loop control systems) ขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิด
ขึ้นกับระบบควบคุมแบบวงเปิด โดยมีโครงสร้างดังในรูป
ระบบควบคุมแบบป้อนกลับมีความได้เปรียบเหนือกว่าระบบควบคุมแบบวงเปิด ดังต่อไปนี้
สามารถกำจัดการรบกวนได้ (อาทิ เช่น ผลจากแรงเสียดทานที่ไม่ได้รวมอยู่ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบ)
สามารถรับประกันสมรรถนะได้มากขึ้นแม้กับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มีตัวแปรที่มีความไม่แน่นอนอยู่ด้วย (อาทิ เช่น กรณีที่ผลจากการที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไม่สามารถอธิบายระบบได้อย่างสมบรูณแบบ)
ระบบที่ไม่มีเสถียรภาพโดยธรรมชาติอยู่แล้วสามารถทำให้มีเสถียรภาพได้หากติดตั้งตัวควบคุมที่เหมาะสม
ระบบมีความคงทนต่อความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นแม้ในกรณีที่พารามิเตอร์ของระบบมีการเปลี่ยนแปลง
ระบบสามารถปรับค่าสัญญาณขาออกตามสัญญาณอ้างอิงได้ดีมากขึ้นในปัญหาระบบปรับค่าตาม
ในบางระบบ ระบบควบคุมแบบวงปิดและวงเปิดจะใช้ควบคู่กัน โดยที่ในกรณีนี้ระบบวงเปิดจะเรียกว่า feedforward
=== ฟังก์ชันส่งผ่านของระบบวงปิด ===
ฟังก์ชันส่งผ่าน (transfer function) คือความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ที่ใช้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณขาออก (output signal) ต่อสัญญาณขาเข้า (input signal)
โดยฟังก์ชันส่งผ่านสามารถหาได้จากความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้
สมมุติให้ ตัวควบคุม C, ระบบพลวัต P, ตัวตรวจจับ F เป็นเชิงเส้น และ ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา (ฟังก์ชันส่งผ่านของ C (s) , P (s) , and F (s) ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา) และในที่นี้เราจะพิจารณาผลการแปลงการแปลงลาปลาสของฟังก์ชันส่งผ่านย่อย ๆ กล่าวคือ ฟังก์ชันส่งผ่านของ C (s) , P (s) , and F (s) ซึ่งการหาฟังก์ชันส่งผ่านหาได้ดังนี้
Y (s) = P (s) U (s) \, \!
U (s) = C (s) E (s) \, \!
E (s) = R (s) - F (s) Y (s).\, \!
แก้หา Y (s) ในรูปของ R (s) จะได้ว่า:
Y (s) = \left (\frac{P (s) C (s)}{1 + F (s) P (s) C (s)} \right) R (s) = H (s) R (s).
โดยที่ H (s) = \frac{P (s) C (s)}{1 + F (s) P (s) C (s)} เราจะเรียกว่า ฟังก์ชันส่งผ่านของระบบวงปิดของระบบ (closed-loop transfer function)
=== ตัวควบคุมพีไอดี ===
ตัวควบคุมพีไอดี หรือ ตัวควบคุมแบบสัดส่วน-ปริพันธ์-อนุพันธ์ เป็นตัวควบคุมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงและใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยในปัจจุบันยังมีการใช้งานในแวดวงอุตสาหกรรม จนไปถึงยานอวกาศ ทั้งนี้เพราะเป็นตัวคบคุมที่มีใช้งานกันมานานและจนได้รับความไว้วางในแง่ของประสิทธิภาพ อีกทั้งแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของมันก็เรียบง่ายและง่ายต่อการนำไปติดตั้ง
ตัวควบคุมพีไอดีมีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ดังต่อไปนี้
กำหนดให้ u (t) คือสัญญาณควบคุมที่จะส่งให้ตัวระบบ
และ y (t) คือสัญญาณขาออกที่ถูกวัดมาได้
และ r (t) คือสัญญาณอ้างอิง
สัญญาณความคลาดเคลื่อนคือ e (t) =r (t) - y (t) ดังนั้น
u (t) = K_P e (t) + K_I \int e (t) \text{d}t + K_D \frac{\text{d}}{\text{d}t}e (t).
สมรรถนะและเสถียรถาพของระบบจะถูกกำหนดโดยการปรับแต่งค่าพารามิเตอร์สามตัว คือ K_P, K_I และ K_D นอกเหนือจากการปรับแต่งค่าเหล่านี้หลังจากการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของตัวระบบแล้ว ในทางปฏิบัติ ยังนิยมปรับแต่งค่าโดยใช้หลักการของ Ziegler–Nichols หรือใช้ประสบการณ์ของวิศวกร โดยที่เสถียรภาพของระบบมักขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ K_P แต่เพียงอย่างเดียว ส่วน K_I มักส่งผลในแง่ของความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงฉับพลันต่อตัวระบบ และ K_D มักเกี่ยวกับรูปร่างของผลตอบสนอง
เมื่อพิจารณาบนโดเมนการแปลงลาปลาส จะได้ว่า
u (s) = K_P e (s) + K_I \frac{1}{s} e (s) + K_D s e (s)
u (s) = (K_P + K_I \frac{1}{s} + K_D s) e (s)
โดยจะเห็นได้ว่าฟังกชั่นส่งผ่านของตัวควบคุมพีไอดีคือ
C (s) = (K_P + K_I \frac{1}{s} + K_D s).
แม้ระบบควบคุมแบบดั้งเดิมที่ใช้ตัวควบคุมพีไอดีจะมีความสามารถที่ถูกปรับปรุงดีขึ้นมากกว่าระบบควบคุมแบบเปิดมาก แต่ก็ยังเหมาะแค่กับระบบที่มีสัญญาณเข้าทางเดียวและสัญญาณขาออกทางเดียว (Single-Input and Single-Output or SISO) และยังไม่สามารถใช้ควบคุมระบบที่มีความซับซ้อนสูงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบที่มีสัญญาณขาเข้าหลายทางและสัญญาณขาออกหลายทาง (Multiple-Input and Multiple-Output or MIMO)
== ทฤษฎีระบบควบคุมสมัยใหม่ ==
ระบบพลวัตส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมที่สามารถใช้สมการอนุพันธ์อันดับใด ๆ มาอธิบายได้ ในขณะเดียวกันสมการเชิงอนุพันธ์อันดับใด ๆ ก็สามารถลดอันดับให้เหลือเพียงสมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่งได้ จากความจริงตรงนี้จึงได้มีการเสนอวิธีการใหม่ในการวิเคราะห์และควบคุมระบบ ซึ่งจะวิเคราะห์บนโดเมนเวลาและได้มีการนำแบบจำลองปริภูมิสถานะ (state space) มาใช้ซึ่งจะอยู่ในรูปของสมการอนุพันธ์อันดับหนึ่งและแตกต่างจากระบบควบคุมแบบดั้งเดิมที่นิยมวิเคราะห์พฤติกรรมของระบบบนโดเมนความถี่ นอกจากนี้การนำแบบจำลองปริภูมิสถานะมาใช้ทำให้เราสามารถสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับระบบแบบสัญญาณขาเข้าหลายทางสัญญาณขาออกหลายทาง (MIMO) ได้โดยการกำหนดมิติของตัวแปรในสมการปริภูมิสถานะอย่างเหมาะสม
=== แบบจำลองปริภูมิสถานะ(state space) ===
==== กรณีระบบเชิงเส้น ====
กำหนดให้ระบบพลวัตมี p สัญญาณขาเข้า q สัญญาณขาออก และ n ตัวแปรสถานะ
สมการปริภูมิสถานะคือ:
\dot{\mathbf{x}} (t) = A (t) \mathbf{x} (t) + B (t) \mathbf{u} (t)
\mathbf{y} (t) = C (t) \mathbf{x} (t) + D (t) \mathbf{u} (t)
โดยที่:
\mathbf{x} (\cdot) คือ เวกเตอร์ของตัวแปรสถานะ (state vector) , \mathbf{x} (t) \in \mathbb{R}^n;
\mathbf{y} (\cdot) คือ เวกเตอร์ของสัญญาณขาออก (output vector) , \mathbf{y} (t) \in \mathbb{R}^q;
\mathbf{u} (\cdot) คือ เวกเตอร์ของสัญญาณขาเข้า หรือ เวกเตอร์ของสัญญาณควบคุม (input vector, control vector) , \mathbf{u} (t) \in \mathbb{R}^p;
A (\cdot) คือ เมทริกซ์ของตัวแปรสถานะ หรือ เมทริกซ์พลวัต (state matrix, dynamics matrix) , \operatorname{dim}[A (\cdot)] = n \times n,
B (\cdot) คือ เมทริกซ์ขาเข้า (input matrix) , \operatorname{dim}[B (\cdot)] = n \times p,
C (\cdot) คือ เมทริกซ์ขาออก (output matrix) , \operatorname{dim}[C (\cdot)] = q \times n,
D (\cdot) คือ เมทริกซ์ป้อนผ่าน (feedthrough (or feedforward) matrix) (ในกรณีที่ระบบไม่มีการป้อนสัญญาณขาเข้า, D (\cdot) เป็นเมทริกซ์ศูนย์), \operatorname{dim}[D (\cdot)] = q \times p,
\dot{\mathbf{x}} (t) := \frac{\operatorname{d}}{\operatorname{d}t} \mathbf{x} (t) .
โดยทั่วไปแล้ว เมทริกซ์ข้างต้นจะเป็นเมทริกซ์แปรผันตามเวลาได้ แต่ในกรณีเฉพาะที่ระบบไม่แปรผันตามเวลา (LTI) มักจะถูกนำมาศึกษาอยางแพร่หลายเพราะมีความซับซ้อนน้อยกว่าและเหมาะต่อการศึกษาในระดับพื้นฐาน นอกจากนี้ตัวแปรเวลาสามารถมีได้ทั้งแบบเวลาต่อเนื่อง (continuous time : t \in \mathbb{R}) และแบบเวลาวิยุต (ไม่ต่อเนื่อง) (discrete time : t \in \mathbb{Z}) โดยในกรณีของเวลาไม่ต่อเนื่องมักนิยมใช้ตัวแปร k นอกเหนื่อจากระบบแบบที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบผสมซึ่งเป็นระบบที่มีโดเมนของเวลาอยู่ทั้งบนแกนเวลาต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง
สมการปริภูมิสถานะ(state space equation)ข้างต้นหากพิจารณาตามโดเมนของเวลาจะมีรูปแบบต่าง ๆ กันดังต่อไปนี้ :
{| cellpadding="4"
|- valign="top"
| ชนิดของระบบ || แบบจำลองสมการปริภูมิสถานะ
|- valign="top"
| เวลาต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนแปรตามเวลา (Continuous time-invariant)|| \dot{\mathbf{x}} (t) = A \mathbf{x} (t) + B \mathbf{u} (t) \mathbf{y} (t) = C \mathbf{x} (t) + D \mathbf{u} (t)
|- valign="top"
| เวลาต่อเนื่องและเปลี่ยนแปรตามเวลา (Continuous time-variant) || \dot{\mathbf{x}} (t) = \mathbf{A} (t) \mathbf{x} (t) + \mathbf{B} (t) \mathbf{u} (t) \mathbf{y} (t) = \mathbf{C} (t) \mathbf{x} (t) + \mathbf{D} (t) \mathbf{u} (t)
|- valign="top"
| เวลาไม่ต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนแปรตามเวลา (Explicit discrete time-invariant) || \mathbf{x} (k+1) = A \mathbf{x} (k) + B \mathbf{u} (k) \mathbf{y} (k) = C \mathbf{x} (k) + D \mathbf{u} (k)
|- valign="top"
| เวลาไม่ต่อเนื่องและเปลี่ยนแปรตามเวลา (Explicit discrete time-variant) || \mathbf{x} (k+1) = \mathbf{A} (k) \mathbf{x} (k) + \mathbf{B} (k) \mathbf{u} (k) \mathbf{y} (k) = \mathbf{C} (k) \mathbf{x} (k) + \mathbf{D} (k) \mathbf{u} (k)
|- valign="top"
| โดเมนการแปลงการแปลงลาปลาสโดยที่เวลาต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนแปรตามเวลา (Laplace domain of continuous time-invariant) || s \mathbf{X} (s) = A \mathbf{X} (s) + B \mathbf{U} (s) \mathbf{Y} (s) = C \mathbf{X} (s) + D \mathbf{U} (s)
|- valign="top"
| โดเมน Z โดยที่เวลาไม่ต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนแปรตามเวลา (Z-domain of discrete time-invariant) || z \mathbf{X} (z) = A \mathbf{X} (z) + B \mathbf{U} (z) \mathbf{Y} (z) = C \mathbf{X} (z) + D \mathbf{U} (z)
|}
==== กรณีระบบไม่เชิงเส้น ====
\mathbf{\dot{x}} (t) = \mathbf{f} (t, x (t), u (t) )
\mathbf{y} (t) = \mathbf{h} (t, x (t), u (t) )
=== สภาพควบคุมได้ ===
สภาพควบคุมได้ (Controllability) จะบ่งบอกถึงความสามารถที่สัญญาณขาเข้าที่เป็นไปได้ (admissible inputs) จะสามารถขับเคลื่อนตัวแปรสถานะให้ไปถึงค่าใด ๆ ได้ในช่วงเวลาจำกัด (เวลาอันตะ) ไม่ว่าค่าเริ่มต้น (initial value) ของตัวแปรสถานะนั้น ๆ จะเป็นค่าอะไร ในกรณีระบบพลวัตเชิงเส้นเวลาต่อเนื่องไม่แปรผันตามเวลานั้นเงื่อนไขที่จะทำให้มีสภาพควบคุมได้ ก็ต่อเมื่อ
\operatorname{rank}\begin{bmatrix}B& AB& A^{2}B& ...& A^{n-1}B\end{bmatrix} = n
หมายเหตุ : ค่าลำดับขั้น (Rank) คือ ค่าซึ่งแสดงถึงจำนวนแถว (หรือหลัก) ในเมทริกซ์ที่มีความอิสระเชิงเส้น (linearly independent) ต่อกัน
=== สภาพสังเกตได้ ===
สภาพสังเกตได้ (Observability) เป็นสภาพที่บ่งบอกว่าระบบพลวัตมีความสามารถที่จะส่งผ่านข้อมูลของตัวแปรสถานะได้ดีแค่ไหนเมื่อพิจารณาจากสัญญาณขาออก สภาพควบคุมได้ และ สภาพสังเกตได้ เป็นสภาพคู่กันทางคณิตศาสตร์ (Duality) กล่าวคือ ในขณะที่ สภาพควบคุมได้ หมายถึง สภาพที่แสดงออกว่าสัญญาณขาเข้าสามารถขับเคลื่อนตัวแปรสถานะไปที่ค่าใด ๆ ที่ต้องการได้ แต่ สภาพสังเกตได้ จะเป็นสภาพที่แสดงออกถึงสัญญาณขาออก (output trajectory) จะให้ข้อมูลเพียงพอต่อการคาดคะเนค่าเริ่มต้นของตัวแปรสถานะของระบบได้
ในกรณีระบบพลวัตเชิงเส้นเวลาต่อเนื่องไม่แปรผันตามเวลานั้น เงื่อนไขที่จะทำให้มีสภาพสังเกตได้ได้ ก็ต่อเมื่อ
\operatorname{rank}\begin{bmatrix}C\\ CA\\ ...\\ CA^{n-1}\end{bmatrix} = n
=== การแยกตัวประกอบคาลมาน ===
การแยกตัวประกอบคาลมาน (Kalman decomposition) เป็นกระบวนการแยกส่วนประกอบของเมทริกซ์ในสมการปริภูมิสถานะของระบบเชิงเส้นไม่เปลี่ยนตามเวลา linear time-invariant (LTI) ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจำแนกได้ว่าส่วนใดในเมทริกซ์ของระบบ มีผลต่อ สภาพสังเกตได้ และสภาพควบคุมได้ ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์คุณลักษณะของระบบ
จากสมการปริภูมิสถานะของระบบข้างต้น จะเห็นได้ว่าพารามิเตอร์ที่กำหนดลักษณะของระบบ LTI สามารถเขียนโดยย่อได้เป็นเวกเตอร์ \, (A, B, C, D) ในที่นี้จะสมมุติว่าระบบมีมิติเป็น \, n.
การแยกตัวประกอบคาลมาน ถูกนิยามว่า คือ การแปลงเวกเตอร์ \, (A, B, C, D) ให้เป็น \, (\hat{A}, \hat{B}, \hat{C}, \hat{D}) โดยคูณเมทริกซ์การแปลง \, T ดังต่อไปนี้
\, {\hat{A}} = {T^{-1}}AT
\, {\hat{B}} = {T^{-1}}B
\, {\hat{C}} = CT
\, {\hat{D}} = D
โดยเมทริกซ์การแปลง \, T มีมิติ \, n \times n เป็นเมทริกซ์ผกผันได้ ถูกนิยามดังต่อไปนี้ ดังต่อไปนี้:
\, T = \begin{bmatrix} T_{r\overline{o}} & T_{ro} & T_{\overline{ro}} & T_{\overline{r}o}\end{bmatrix}
โดยที่
\, T_{r\overline{o}} เป็นเมทริกซ์ที่หลัก span ปริภูมิย่อย ของตัวแปรสถานะที่มีสถาพเข้าถึงได้ (reachable) และ ไม่มีสภาพสังเกตได้ (unobservable)
\, T_{ro} ถูกเลือกโดยที่หลักของ \, \begin{bmatrix} T_{r\overline{o}} & T_{ro}\end{bmatrix} เป็นฐานหลักของปริภูมิย่อยที่มีสภาพเข้าถึงได้ (reachable)
\, T_{\overline{ro}} ถูกเลือกโดยที่หลักของ \, \begin{bmatrix} T_{r\overline{o}} & T_{\overline{ro}}\end{bmatrix} เป็นฐานหลักของปริภูมิย่อยที่ไม่มีสภาพสังเกตได้ (unobservable)
\, T_{\overline{r}o} ถูกเลือกโดยที่ \, \begin{bmatrix} T_{r\overline{o}} & T_{ro} & T_{\overline{ro}} & T_{\overline{r}o}\end{bmatrix} ยังสามารถผกผันได้
จะเห็นได้ว่าโดยการสร้งเมทริกซ์ \, T ในลักษณะข้างต้น เมทริกซ์ \, T จึงผกผันได้ เป็นที่น่าสังเกตว่าเมทริกซ์ย่อยในเมทริกซ์ \, T นั้นสามารถเป็นเมทริกซ์ศูนย์ได้ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ระบบมีสภาพสังเกตได้และควบคุมได้ เมทริกซ์ \, T ลดรูปเหลือ \, T = T_{ro} โดยที่ เมทริกซ์ย่อยอื่นเป็นเมทริกซ์ศูนย์
==== รูปแบบมาตรฐาน ====
ระบบที่ได้รับการแปลงแล้ว \, (\hat{A}, \hat{B}, \hat{C}, \hat{D}) จะมีรูปแบบดังต่อไปนี้:
\, \hat{A} = \begin{bmatrix}A_{r\overline{o}} & A_{12} & A_{13} & A_{14} \\
0 & A_{ro} & 0 & A_{24} \\
0 & 0 & A_{\overline{ro}} & A_{34}\\
0 & 0 & 0 & A_{\overline{r}o}\end{bmatrix}
\, \hat{B} = \begin{bmatrix}B_{r\overline{o}} \\ B_{ro} \\ 0 \\ 0\end{bmatrix}
\, \hat{C} = \begin{bmatrix}0 & C_{ro} & 0 & C_{\overline{r}o}\end{bmatrix}
\, \hat{D} = D
โดยที่
ระบบย่อย \, (A_{ro}, B_{ro}, C_{ro}, D) มี สภาพเข้าถึงได้ และ สภาพสังเกตได้
ระบบย่อย \, \left (\begin{bmatrix}A_{r\overline{o}} & A_{12}\\ 0 & A_{ro}\end{bmatrix}, \begin{bmatrix}B_{r\overline{o}} \\ B_{ro}\end{bmatrix}, \begin{bmatrix}0 & C_{ro}\end{bmatrix}, D\right) มี สภาพเข้าถึงได้
ระบบย่อย \, \left (\begin{bmatrix}A_{ro} & A_{24}\\ 0 & A_{\overline{r}o}\end{bmatrix}, \begin{bmatrix}B_{ro} \\ 0 \end{bmatrix}, \begin{bmatrix}C_{ro} & C_{\overline{r}o}\end{bmatrix}, D\right) มี สภาพสังเกตได้
== บุคคลสำคัญในวงการทฤษฎีระบบควบคุม ==
อเล็กซานเดอร์ มิคาอิลโลวิช เลียปูนอฟ (ค.ศ. 1857 – ค.ศ. 1918) ในคริสต์ทศวรรษ 1890 นำเสนอเรื่องทฤษฎีเสถียรภาพของเลียปูนอฟ (Lyapunov stability) ซึ่งใช้วิเคราะห์ได้ทั้งระบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้นและเป็นทฤษฎีเสถียรภาพหลักในแขนงวิชาระบบควบคุมที่ยังใช้กันจนถึงถูกวันนี้
แฮโรลด์ สตีเฟน แบล็ก (ค.ศ. 1898 – ค.ศ. 1983), นำเสนอแนวคิดเรื่องการป้อนกลับแบบลบ (negative feedback amplifiers) ในปี ค.ศ. 1927 และพัฒนาตัวขยายสัญญาณป้อนกลับแบบลบที่เสถียร์ได้สำเร็จในคริสต์ทศวรรษ 1930
แฮร์รี่ ไนควิสต์ (ค.ศ. 1889 – ค.ศ. 1976) นำเสนอเกณฑ์เสถียรภาพของไนควิสต์ (Nyquist stability criterion) ในปี ค.ศ. 1932
ริชาร์ด เบลแมน (Richard Bellman) (ค.ศ. 1920 – ค.ศ. 1984) ได้ประยุกต์ใช้วิธีการ กำหนดการพลวัตของเขา ในการแก้ปัญหาระบบควบคุมแบบเหมาะสมที่สุด แบบเวลาไม่ต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 1957
อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ (ค.ศ. 1903 – ค.ศ. 1987) พัฒนา Wiener-Kolmogorov filter ในปี ค.ศ. 1941 (ช่วงเวลาเดียวกับนอร์เบิร์ต วีนเนอร์)
นอร์เบิร์ต วีนเนอร์ (Norbert Wiener) (ค.ศ. 1894 – ค.ศ. 1964) พัฒนา Wiener-Kolmogorov filter และนำเสนอศัพท์คำว่า cybernetics ในคริสต์ทศวรรษ 1940
จอห์น อาร์ รากัซซินี (ค.ศ. 1912 – ค.ศ. 1988) นำเสนอระบบควบคุมแบบดิจิทัล และการแปลง z (z-transform) ในคริสต์ทศวรรษ 1950
เลฟ พอนเทรียกิน (L.S. Pontryagin) (ค.ศ. 1908 – ค.ศ. 1988) หลักการมากที่สุด (maximum principle หรือบางครั้งก็เรียก minimum principle) สำหรับแก้ปัญหาในรูปของแคลคูลัสของการแปรผัน แบบเวลาต่อเนื่อง หลักการ แบง-แบง (bang-bang principle)
รูดอล์ฟ อีมิว คาลมาน (ค.ศ. 1930 – ปัจจุบัน) ผู้พัฒนาตัวกรองคานมานและเป็นผู้นำเสนอแบบจำลองปริภูมิสถานะ และนำเสนอแนวคิดเรื่องสภาพควบคุมได้และสภาพสังเกตได้ มาใช้ในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบ อันเป็นการนำองค์ความรู้ของทฤษฎีระบบควบคุมไปสู่ยุคใหม่ ที่เรียกว่า ทฤษฎีระบบควบคุมสมัยใหม่
== สาขาของทฤษฎีระบบควบคุม ==
ระบบควบคุมเชิงเส้น (linear control systems)
ระบบควบคุมไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear control systems)
ระบบควบคุมดิจิทัล (digital control systems)
ระบบควบคุมแบบเหมาะสมที่สุด (optimal control systems)
ระบบควบคุมสตอแคสติค (stochastic control systems)
ระบบควบคุมแบบคงทน (robust control systems)
ระบบควบคุมแบบปรับตัวได้ (adaptive control systems)
ระบบควบคุมแบบชาญฉลาด (intelligent control systems)
== ดูเพิ่ม ==
ตัวอย่างการประยุกต์ทฤษฎีระบบควบคุม
Automation
Deadbeat Controller
Distributed parameter systems
Fractional order control
H-infinity loop-shaping
Hierarchical control system
Model predictive control
Process control
Robust control
Servomechanism
แบบจำลองปริภูมิสถานะ
เพนดูลัมผกผัน (Inverted pendulum)
เพนดูลัมผกผันแบบฟูรุตะ (Furuta pendulum)
หุ่นยนต์
อาซิโม
คิวริโอ
วิทยาการหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์
เมคคาทรอนิกส์
หัวข้อที่น่าสนใจในทฤษฎีระบบควบคุม
Dual control theory
การประมาณค่าตัวแปรสถานะ
Filtering problem (stochastic processes)
linear-quadratic-Gaussian (LQG) control problem
Coefficient diagram method
Control reconfiguration
Feedback
H infinity
Hankel singular value
Krener's theorem
Lead-lag compensator
Minor loop feedback
Radial basis function
Root locus
Signal-flow graphs
Stable polynomial
Underactuation
ระบบควบคุมพีไอดี
การแปลงลาปลาส
การแปลง Z ขั้นสูง
ฟังก์ชันเลียปูนอฟ
สมการเลียปูนอฟ
การป้อนกลับสถานะแบบเต็ม
ดับเบิล อินทิเกรตเตอร์
ดูเพิ่มเติม
Automation and Remote Control
Bond graph
Control engineering
Controller (control theory)
Cybernetics
Perceptual Control Theory
Intelligent control
Mathematical system theory
Systems theory
People in systems and control
Time scale calculus
Negative feedback amplifier
Control-Feedback-Abort Loop
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
สื่อการสอนเกี่ยวกับทฤษฎีระบบควบคุม ของ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน
หนังสือ Robust Adaptive Control โดย Petros A. Ioannou
Franklin, G.F., Powel, J.D., and Emami-Naeini, A. Feedback Control of Dynamic Systems, 4thed., Prentice Hall 2002
Aström, K.J. Control System Design chap.1 preprint 2002
Lewis, F.L. Applied Optimal Control and Estimation Prentice Hall 1992
Bellman, R. "Eye of The Hurricane: an autobiography" World Scientific Publishing Co Pte Ltd. 1984
A New Approach to Linear Filtering and Prediction Problems, by R. E. Kalman, 1960
Katsuhiko Ogata, Modern control engineering (Edition 5), Prentice Hall, 2010, ISBN 0136156738,9780136156734
M.W. Spong and M. Vidyasagar. Dynamics and Control of Root Manipulators. John Wiley, 1989
เดวิด บรรเจิดพงศ์ชัย, ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "ระบบควบคุมพลวัต การวิเคราะห์ การออกแบบ และการประยุกต์ (Dynamical Control Systems Analysis, Design and Applications) " สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551 (ISBN 978-974-03-2205-4)
วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "การควบคุมระบบพลศาสตร์ (Control of Dynamic Systems) " สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2548 (ISBN 974-13-3393-5)
Kansas State University Control Lab
MIT Lecture Note on Dynamic Systems and Control by Munther Dahleh, Mohammed Dahleh, and George Verghese
ไซเบอร์เนติกส์
รทฤษฎีระบบควบคุม
ทฤษฎีระบบควบคุม
วิศวกรรมศาสตร์
คณิตศาสตร์ | thaiwikipedia | 236 |
STP | อักษรย่อ STP อาจหมายถึง:
อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ในวิชาเคมี หมายถึงสภาวะที่อุณหภูมิเท่ากับ 0 องศาเซลเซียส (273.15 เคลวิน) และความดันเท่ากับหนึ่งบรรยากาศ (นิยามไว้เท่ากับ 101.325 กิโลพาสคัล) ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิจุดเยือกแข็งของน้ำ และความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล โดยประมาณ
Straight Through Processing (การประมวลผลโดยตรง) เป็นศัพท์การธนาคาร หมายถึง การที่ธุรกรรมถูกประมวลเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนโดยอัตโนมัติ โดยไม่มีการแทรกหรือขัดจังหวะโดยคน
2,5-dimethoxy-4-methylamphetamine เป็นสารหลอนประสาทชนิดหนึ่ง ชื่ออื่นคือ DOM หรือ STP
Spanning Tree Protocol เป็นโพรโทคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ที่ไม่มีการวนกลับ สำหรับระบบเครือข่ายระยะใกล้ (แลน) หรือ bridged network
Shielded Twisted Pair สายไฟประเภทหนึ่ง ใช้ในการเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์ | thaiwikipedia | 237 |
มังกรอหังการหมาป่าคะนองศึก | มังกรอหังการหมาป่าคะนองศึก เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวแฟนตาซีอิงประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับเด็กมัธยมญี่ปุ่นสองคน ที่หลุดย้อนเวลาเข้าไปอยู่ในสมัยสามก๊กของจีน ในปี 2540 การ์ตูนเรื่องนี้ได้ชนะเลิศรางวัลโคดันชะมังงะ สำหรับโชเน็ง
ตัวเอกชื่อ "อามาจิ ชิโร่" หรือชื่อเรียกในสมัยของสามก๊กว่า "บุตรมังกร" และเพื่อนสมัยเด็กของเขา "มาซึมิ" ซึ่งถูกเรียกว่า"ธิดามังกร" ได้เป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของสงครามครั้งนี้ โดยจุดประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงนั้นคือการต่อกรกับเพชรฆาตหน้าหยกเพื่อช่วยมนุษย์จากการทำลายล้างให้หมดสิ้นไป
เรื่องและภาพ โดย โยชิโตะ ยามาฮาระ แปลเป็นไทยและจัดพิมพ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ
== เนื้อเรื่อง ==
== ตัวละคร ==
== รายชื่อตอน ==
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
kodanclub.com เรื่องราวของมังกรอหังการ
การ์ตูนญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง
ผลงานที่สร้างจากสามก๊ก | thaiwikipedia | 238 |
ประเทศทาจิกิสถาน | ทาจิกิสถาน (Tajikistan; Тоҷикистон; Таджикистан) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐทาจิกิสถาน (Republic of Tajikistan; Ҷумҳурии Тоҷикистон) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีพื้นที่ และประชากรประมาณ 9,537,645 คน มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
== ศัพทมูลวิทยา ==
ทาจิกิสถาน หมายถึง "ดินแดนของชาวทาจิก" โดยคำว่าทาจิกแปลว่า "ไม่ใช่เติร์ก" และ "-สถาน" เป็นคำลงท้ายภาษาเปอร์เซียที่มีความหมายว่า "ดินแดนของ" หรือ "ประเทศของ"
พจนานุกรมแอมีด หนึ่งในพจนานุกรมเปอร์เซียที่โดดเด่นที่สุด ให้คำนิยามทาจิกจากข้อมูลหลายแหล่งว่า:
ไม่ใช่ทั้งชาวอาหรับหรือเติร์ก เขาผู้พูดภาษาเปอร์เซีย ผู้ที่พูดภาษาเปอร์เซีย
เด็กที่เกิดในเปอร์เซีย และดังนั้นจึงพูดภาษาเปอร์เซีย
พจนานุกรมเก่าแก่อีกเล่มให้คำนิยามทาจิกว่า "ผู้ที่ไม่ใช่ชาวมองโกลหรือเติร์ก"
ในภาษาอังกฤษก่อน ค.ศ. 1991 ทาจิกิสถานมักเขียนในรูปของ Tadjikistan หรือ Tadzhikistan เนื่องจากการทับศัพท์คำว่า "Таджикистан" ในภาษารัสเซีย ไม่มีอักษร "j" เดี่ยวที่แสดงหน่วยเสียง และดังนั้นจึงเขียนเป็น หรือ dzh Tadzhikistan เป็นรูปเขียนหนึ่งที่นิยมเขียนกันมากที่สุด และถูกใช้อย่างกว้างขวางในวรรณกรรมอังกฤษที่นำข้อมูลมาจากรัสเซีย ส่วน "Tadjikistan" เป็นรูปการสะกดตามภาษาฝรั่งเศส และสามารถพบในข้อความภาษาอังกฤษบางส่วน ประเทศทาจิกิสถานเขียนในแบบอักษรเปอร์เซีย-อาหรับเป็น
== ประวัติศาสตร์ ==
=== รัสเซียทาจิกิสถาน ===
ลัทธิจักรวรรดินิยมรัสเซียนำไปสู่การพิชิตเอเชียกลางของจักรวรรดิรัสเซียในช่วงปลายยุคจักรวรรดิของศตวรรษที่ 19 ระหว่างปี พ.ศ. 2407 - 2428 รัสเซียค่อย ๆ เข้าควบคุมดินแดนทั้งหมดของเตอร์กิสถานรัสเซียส่วนทาจิกิสถานซึ่งถูกควบคุมโดยเอมิเรตแห่งบูคาราและคานาเตะแห่งโคกันด์ รัสเซียสนใจที่จะเข้าถึงแหล่งผลิตฝ้าย และในช่วงทศวรรษที่ 1870 พยายามที่จะเปลี่ยนการเพาะปลูกในภูมิภาคจากเมล็ดพืชเป็นฝ้าย (กลยุทธ์ที่ถูกคัดลอกและขยายโดยโซเวียตในภายหลัง) ในปี พ.ศ. 2428 ดินแดนของทาจิกิสถานถูกปกครองโดยจักรวรรดิรัสเซียหรือรัฐข้าราชบริพารเอมิเรตบูฆอรอ แต่ทาจิกิสถานรู้สึกได้ถึงอิทธิพลของรัสเซียเพียงเล็กน้อย
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พวกทาจิก ได้จัดตั้งตัวเองเป็นขบวนการทางสังคมอิสลามทั่วทั้งภูมิภาค แม้ว่าทาจิกจะเป็นผู้ที่สนับสนุนความทันสมัยและไม่จำเป็นต้องต่อต้านรัสเซีย แต่ชาวรัสเซียมองว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นภัยคุกคามเนื่องจากจักรวรรดิรัสเซียนับถือศาสนาคริสต์เป็นหลัก กองกำลังรัสเซียจำเป็นต้องฟื้นฟูคำสั่งซื้อในระหว่างการลุกฮือต่อต้านรัฐข่านโคกันด์ระหว่างปี พ.ศ. 2453 - 2456 ความรุนแรงเพิ่มเติมเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2459 เมื่อผู้ประท้วงโจมตีทหารรัสเซียในฆูจันด์จากการขู่บังคับเกณฑ์ทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แม้กองทัพรัสเซียจะนำฆูจันด์กลับอย่างรวดเร็ว ภายใต้การควบคุมการปะทะยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งปีในสถานที่ต่าง ๆ ในทาจิกิสถาน
=== สาธารณรัฐสหภาพโซเวียต ===
=== หลังได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต ===
ทาจิกิสถานได้ได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงแรก การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มชาตินิยม กลุ่มนีโอ-คอมมิวนิสต์ และกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 60,000 คน ต่อมากลุ่มอิสลามหัวรุนแรงได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิกิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) จึงมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี เอมอแมลี แรฮ์มอนอฟ กับนาย แซยิด แอบดุลลอห์ นูรี ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO)
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ทาจิกิสถานแบ่งออกเป็น 4 เขตการปกครองย่อย ได้แก่แคว้นซุฆด์กับฆัตลอน แคว้นปกครองตนเองเคอฮิสทอนีบาดัฆชอน และเขตภายใต้การบริหารของสาธารณรัฐ แต่ละแคว้นแบ่งออกเป็นอำเภอ (Ноҳия) ซึ่งแบ่งออกเป็น จามออัต (หน่วยปกครองตนเองระดับหมู่บ้าน) ประเทศทาจิกิสถานมี 58 อำเภอและ 367 จามออัต
== วัฒนธรรม ==
=== วันหยุด ===
1 มกราคม – วันปีใหม่ "Yangi Yil Bayrami"
14 มกราคม – วันกองทัพอุซเบกิสถาน Vatan Himoyachilari kuni
8 มีนาคม – วันสตรีสากล – "Xalqaro Xotin-Qizlar kuni"
21 มีนาคม – วันปีใหม่ของชาวเตอร์กิซ – "Navro'z Bayrami"
1 พฤษภาคม – วันแรงงานสากล
9 พฤษภาคม – ชัยชนะเหนือเยอรมนี – "Xotira va Qadirlash kuni"
1 กันยายน – วันประกาศเอกราช – "Mustaqillik kuni"
1 ตุลาคม – วันครู – "O'qituvchi va Murabbiylar"
8 ธันวาคม – วันรัฐธรรมนูญ – Konstitutsiya kuni
วันหยุดนอกเหนือจากทางราชการ
End of Ramazon Ramazon Hayit Eid al-Fitr
70 days later Qurbon Hayit Eid al-Adha
== อ้างอิง ==
== อ่านเพิ่ม ==
Kamoludin Abdullaev and Shahram Akbarzadeh, Historical Dictionary of Tajikistan, 3rd. ed., Rowman & Littlefield, 2018.
Shirin Akiner, Mohammad-Reza Djalili and Frederic Grare, eds., Tajikistan: The Trials of Independence, Routledge, 1998.
Richard Foltz, A History of the Tajiks: Iranians of the East, London: Bloomsbury Publishing, 2019.
Robert Middleton, Huw Thomas and Markus Hauser, Tajikistan and the High Pamirs, Hong Kong: Odyssey Books, 2008 .
Nahaylo, Bohdan and Victor Swoboda. Soviet Disunion: A History of the Nationalities problem in the USSR (1990) excerpt
Kirill Nourdhzanov and Christian Blauer, Tajikistan: A Political and Social History, Canberra: ANU E-Press, 2013.
Rashid, Ahmed. The Resurgence of Central Asia: Islam or Nationalism? (2017)
Smith, Graham, ed. The Nationalities Question in the Soviet Union (2nd ed. 1995)
Monica Whitlock, Land Beyond the River: The Untold Story of Central Asia, New York: St. Martin's Press, 2003.
Poopak NikTalab. Sarve Samarghand (Cedar of Samarkand), continuous interpretation of Rudaki's poems, Tehran 2020, Faradid Publications {Introduction}
Sharma, Raj Kumar, "Food Security and Political Stability in Tajikistan", New Delhi, Vij Books, 2018.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Tajikistan at UCB Libraries GovPubs
Tajikistan. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Tajikistan profile from the BBC News
Key Development Forecasts for Tajikistan from International Futures
รัฐในอดีตสหภาพโซเวียต
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534
ประเทศในเอเชียกลาง | thaiwikipedia | 239 |
มิตสึรุ อาดาจิ | อะดะจิ มิตสึรุ หรือ มิตสึรุ อาดาจิ เป็นนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ในเมืองอิเซซากิ จังหวัดกุมมะ หลังจากจบการศึกษาจากวิทยาลัยพาณิชย์มาเอบาชิ โรงเรียนประจำจังหวัดกุมมะ อาดาจิได้เขียนการ์ตูนเล่มแรกออกมาในปี พ.ศ. 2513 เรื่อง Kieta Bakuon (消えた爆音 ระเบิดที่หายไป) ซึ่งดัดแปลงมาจากการ์ตูนเรื่องดั้งเดิมของซาโตรุ โอซาวะ ได้รับการตีพิมพ์ใน Deluxe Shōnen Sunday ซึ่งเป็นนิตยสารมังงะของโชงากูกัง
อาดาจิเป็นที่รู้จักในไทยจากการ์ตูนรวมเล่มไพเรตสิบบาทเรื่อง ทัช (touch) โดย สนพ.วิบูลย์กิจ (ออกรายสะดวก) ด้วยลายเส้นที่บางพริ้ว ภาพสะอาดตา คล้ายการ์ตูนสำหรับผู้หญิง เนื้อเรื่องบางหน้าไม่มีคำพูด มีแต่ภาพสถานที่ ทิวทัศน์ ก้อนเมฆ ฯลฯ ตัวละครแสดงออกทางใบหน้า บางทีก็ไม่พูด คำพูดน้อยๆ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับกืฬาเบสบอล รวมถึงมีคำศัพท์เฉพาะกืฬา ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจกฏกติกาการลุ้น แต่ก็ทำให้คนหันมาสนใจการเล่นเบสบอล ซอฟต์บอลมากขึ้น ด้วยการติดตามเอาใจช่วยพระเอกนางเอก (ทั้งความรักและการแข่งขันกีฬา) บางคนก็ไม่ชอบเพราะต้องอ่านต่อเนื่องหลายเล่มจึงจะรู้เรื่อง แต่ถ้าลองอดทนอ่านจะเริ่มหลงรักเนื้อเรื่อง+ลายเส้น และติดตามผลงานตลอดไป และในช่วงนั้นก็มีเรื่อง Rough กีฬาว่ายน้ำ และ Slow Step กีฬาชกมวยและซอฟต์บอล ที่ออกมาให้ได้อ่านได้ลุ้นและมีผู้ติดตามผลงานมากยิ่งขึ้น
อาจารย์อาดาจิเป็น นักเขียนผู้ชื่นชอบการเขียนการ์ตูนกีฬา และชีวิตรักวัยรุ่น ผ่านการเล่าเรื่องด้วยภาพ ใช้คำบรรยายน้อย โครงเรื่องที่น่าติดตาม และการมองโลกในแง่มุมที่สวยงามอยู่เสมอ
== ประวัติย่อ ==
ก่อนปี 1969: อาดาจิเริ่มเขียนการ์ตูนส่งนิตยสาร COM
1969: จากการชักนำของพี่ชาย อาดาจิย้ายไปอยู่โตเกียว และเริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยของ อิชิอิ อิซามิ (Isami Ishii)
1970: อาดาจิออกผลงานเรื่องแรก "Kieta Bakuon" (消えた爆音 ระเบิดที่หายไป)
1981: เริ่มเขียนเรื่อง "ทัช"
1982: "ตราบตะวันไม่สิ้นแสง" ถูกนำมาทำเป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์
1983: อาดาจิได้รับรางวัล Shogakukan Manga Award ครั้งที่ 28 จากซีรีส์ "ทัช" และ "มิยูกิ"
1983: อนิเมะเรื่อง "มิยูกิ" ได้ถือกำเนิดขึ้น และภาพยนตร์จาก "มิยูกิ" ก็ได้ฤกษ์ฉายเช่นกัน
1985: อนิเมะเรื่อง "ทัช" ถือกำเนิดตามมา
1995: เช่นเดียวกับอนิเมะเรื่อง "เอชทู"
2005: "เอชทู" กลายเป็นละครดราม่าทางช่อง TBS
2005: ในที่สุด "ทัช" ก็กลายเป็นภาพยนตร์
2006: "ราฟ" กลายเป็นภาพยนตร์ตามมา
==ผลงาน==
เรียงตามลำดับที่ตีพิมพ์ ระยะเวลานับที่ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ.)
ยอดมนุษย์สายรุ้ง, อัยโนะ เซ็นชิ เรนโบว์แมน (レインボーマン) 1 เล่ม (1972-1973) แต่งเรื่องโดย คะวะอุจิ โคฮัง Kōhan Kawauchi
ลิตเติ้ลบอย (Little Boy リトル・ボーイ) 1974 แต่งเรื่องโดย ซะซะกิ มะโมะรุ Sasaki Mamoru
ข้าคือกันตะ (โอะร่ากันตาดะ おらあガン太だ) 1974-1975 แต่งเรื่องโดย ซะซะกิ มะโมะรุ Sasaki Mamoru
คิบะเซ็น (牙戦(きばせん) 1975 แต่งเรื่องโดย ไค ทะคิซะวะ Kai Takizawa
ฮิระฮิระคุง เซย์ชุนจิงกิ (ヒラヒラくん青春仁義) 1975-1978 แต่งเรื่องโดย ซะซะกิ มะโมะรุ Sasaki Mamoru
กล้าได้ต้องกล้าเสีย (กะมุชาระ, がむしゃら) 2 เล่ม 1976 แต่งเรื่องโดย จูโซ่ ยะมะซะกิ Juzo Yamasaki
จิตวิญญานโคชิเอ็ง (โคชิเอ็งทามาชี่ 甲子園魂) 1976-1977 แต่งเรื่องโดย ซะซะกิ มะโมะรุ Sasaki Mamoru
อา เซย์ชุนโนะโคชิเอ็ง (ああ!青春の甲子園) 7 เล่ม 1976
นะกิมูชิ โคชิเอ็ง (泣き虫甲子園) 1977 แต่งเรื่องโดย จูโซ่ ยะมะซะกิ Juzo Yamasaki
โอะฮิเคนะ สุตเต๊ะ ยาคิวจิงกิ (おひけェなすって!野球仁義) 1978-1979 แต่งเรื่องโดย ซะซะกิ มะโมะรุ Sasaki Mamoru
ไนน์ (ナイン -) 5 เล่ม (1978-1980)
ตราบตะวันไม่สิ้นแสง (ยูหิโยะโยโบเระ, 夕陽よ昇れ!!) 2 เล่ม (1979-1980)
สู้เค้าสิเปี๊ยก (โอะอิระ โฮคาโกะ วากะไทโช おいら放課後若大将) 2 เล่ม (1979-1980)
รักพลิกล๊อค (ฮิ อะตะริเรียวโค, 陽あたり良好!) 2 เล่ม (1979-1981)
มิยูกิ 12 เล่ม (1980-1984)
ทัช 26 เล่ม (1981-1986)
สโลว์ สเต็ป 7 เล่ม (1986-1991)
ราฟ 12 เล่ม (1987-1989)
พริกขี้หนูสีรุ้ง 11 เล่ม (1990-1992)
คุณพ่อที่รัก (1992-1997)
เอชทู 34 เล่ม (1992-1999)
พรอลวนคนอลเวง 5 เล่ม (2000-2001)
คัทซึ 16 เล่ม (2001-2005)
ครอสเกม (2005-2010)
ชอร์ตโปรแกรม 1,2 (1988, 1996) 2 เล่ม
Q แอนด์ A (2009-2012)
Over Fence (2011 – ปัจจุบัน)
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Adachi's work history - timeline for Mitsuru Adachi's works
นักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น
บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
บุคคลจากอิเซซากิ | thaiwikipedia | 240 |
กูรุ กูรุ คาถาพาต๊อง | กูรุ กูรุ คาถาพาต๊อง หรือ แม่มดจอมแก่น ; Magical Circle Guru Guru) เป็นการ์ตูนเล่มญี่ปุ่น ที่ดำเนินเนื้อเรื่องในลักษณะเกมอาร์พีจีทั่วไป คือมีผู้กล้าและผองเพื่อน เดินทางผจญภัยไปที่ต่างๆ ในโลกแฟนตาซี ในเรื่องตัวเอกคือ คูคูริ (Kukuri) สาวน้อยขี้อาย ผู้มีคาถาเรียกสัตว์ประหลาด โดยการวาดลวดลายวงกลมลงบนพื้น และ นิเค (Nike) หนุ่มจอมเกเร แถมนิสัยบ้าๆ บอๆ ที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีความสามารถอะไรเลย ยกเว้นความกล้าบ้าบิ่น และโชคเล็กๆ
ความสนุกของเรื่องนี้ก็คือ ผู้อ่านไม่สามารถคาดเดาเนื้อเรื่องอะไรได้เลย เรียกได้ว่าทุกอย่างดำเนินไปอย่างไร้เหตุผล แต่ก็ยังมีโครงเรื่องและการผูกเรื่องซ่อนอยู่ จัดอยู่ในประเภทการ์ตูนตลกได้. ลายเส้นของการ์ตูนเรื่องนี้ ผู้เขียน คือ ฮิโรยูกิ เอโต้ วาดออกมาได้อย่างน่ารัก ลายเส้นสะอาด การออกแบบเสื้อผ้า และสัตว์ประหลาดต่างๆ ในเรื่อง ก็ทำออกมาได้น่ารักปนตลกขบขัน ตามธีมของเรื่องในขณะนั้น พูดได้ว่าเป็นการ์ตูนที่ตัวเอกใช้เสื้อผ้าเปลืองที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว การ์ตูนเล่มฉบับแปลภาษาไทยจัดทำโดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจนอกจากนี้ยังมีทำเป็นการ์ตูนทีวีด้วย
กูรุ กูรุ คาถาพาต๊อง ยังถูกแปลในหลายๆ ประเทศได้แก่ ฮ่องกง (咕嚕咕嚕魔法陣) , ไต้หวัน (魔法陣天使) ,เกาหลีใต้ (마법진) 구루구루), อิตาลี (Guru guru il girotondo della magia)
== เนื้อเรื่อง ==
== ตัวละคร ==
== รายชื่อตอน ==
== เกม ==
Mahōjin Guru Guru (กูรุ กูรุ คาถาพาต๊อง) -SNES
Mahōjin Guru Guru 2 (กูรุ กูรุ คาถาพาต๊อง 2) - SNES
Doki Doki Densetsu Mahōjin Guru Guru (ตำนาน ตึกตักตึกตัก กูรุ กูรุ คาถาพาต๊อง) - Game Boy Color
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
AnimeInfo: Mahoujin Guru Guru
Guru Guru Park ทุกอย่างเกี่ยวกับ กูรุ กูรุ
SilverWynd's Guru Guru มีรูปจากการ์ตูนทีวี
การ์ตูนญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่นสำหรับเด็ก | thaiwikipedia | 241 |
มหาหงส์ | มหาหงส์ (J.G. Koenig;White Ginger) เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกัน ขิง ข่า และขมิ้น อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ หรือตามชายป่าใกล้ลำธาร เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไร พบขึ้นมากในภาคเหนือ มีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ สะเลเต หางหงส์ กระทายเหิน ตาห่าน เหินแก้ว และเหินดำ
ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นลำตรง สูง ๑-๒ ม. ใบจากโคนมีขนาดเล็ก และเรียงห่าง ๆ กัน ใบถี่ตรงใกล้ยอด รูปขอบขนานปลายแหลมหรือมนเล็กน้อย ยาว ๒๐-๓๐ ซม. กว้าง ๗-๑๐ ซม. ดอกออกที่ยอดเป็นช่อสั้น มีใบประดับสีเขียวรูปคล้ายเรือเรียงเป็นกระจุก ดอกมีสีขาวล้วน ขนาดประมาณ ๗ ซม.บานครั้งละ ๑-๓ ดอก โคนเป็นหลอดเล็ก ยาว ดอกมีกลิ่นหอมเย็น ในตำรากบิลว่านกล่าวว่าดอกว่านชนิดนี้มีกลิ่นหอมแรงกว่าว่านทั้งปวง ผลเป็นรูปรีขนาดประมาณปลายนิ้ว แตกเป็น ๓ พู ในธรรมชาติบานในช่วงฤดูฝน
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ขึ้นได้ดีทั่วประเทศ เหง้าบดผสมน้ำผึ้งใช้เป็นยาแก้กระษัย น้ำคั้นทาแก้ฟกช้ำ เชื่อว่าเป็นไม้มงคลทางเมตตามหานิยม ชาวไทใหญ่นิยมใช้ดอกมหาหงส์บูชาพระ ตำราว่านกล่าวว่า หากปลูกไว้กับบ้านเรือนจะเป็นสิริมงคลอย่างสูง
== อ้างอิง ==
วงศ์ขิง
ไม้ดอกไม้ประดับ
สมุนไพร | thaiwikipedia | 242 |
ทุเรียนเทศ | ทุเรียนเทศ หรือ ทุเรียนน้ำ ( L.) ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลดหรือหมากพิลด (ภาคอีสาน) ทุเรียนน้ำ (ภาคใต้) และ มะทุเรียน (ภาคเหนือ) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับน้อยหน่าและกระดังงา ใบเดี่ยว กลีบดอกแข็ง มีกลิ่นหอมตอนเช้า ผลมีรูปร่างคล้ายทุเรียน มีหนาม เปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแก่สีดำ ปลูกมากในแถบอเมริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพืชที่ชอบที่ที่มีความชื้นสูง
== การใช้ประโยชน์ ==
ทุเรียนเทศใช้กินเป็นผลไม้สด และนำมาแปรรูปเป็นผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ในมาเลเซียนำไปทำน้ำผลไม้กระป๋อง เวียดนามนิยมทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น เมล็ดมีพิษ ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง ในทางโภชนาการ ทุเรียนเทศมีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส วิตามินซี และวิตามินบี ผล ใบ และเมล็ดมีฤทธิ์ทางยา ใช้เป็นยาสมุนไพร ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียใช้ใบใช้ฆ่าแมลงขนาดเล็ก ผลใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร และมีสารต้านอนุมูลอิสระ
ในเม็กซิโกและโคลัมเบีย เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานและใช้ทำขนม เช่นเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม agua fresca ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ผสมนม ไอศกรีมทำจากทุเรียนเทศเป็นที่นิยม ในอินโดนีเซีย dodol sirsak ทำจากทุเรียนเทศโดยนำไปต้มในน้ำ เติมน้ำตาลจนกว่าจะแข็ง และนำไปทำน้ำผลไม้ปั่น ในฟิลิปปินส์เรียกทุเรียนเทศว่า guyabano ซึ่งน่าจะมาจากภาษาสเปน guanabana ซึ่งนิยมกินผลสุกและทำน้ำผลไม้ สมูทตี และไอศกรีม บางครั้งใช้ทำให้เนื้อนุ่ม ในเวียดนาม ทางภาคใต้เรียก mãng cầu Xiêm ส่วนทางภาคเหนือเรียก mãng cầu ใช้กินสดหรือทำสมูทตี นิยมนำเนื้อไปปั่นใส่นมข้น น้ำแข็งเกล็ดหรือทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น ในมาเลเซียและอินโดนีเซียนิยมกินเป็นผลไม้เช่นกัน ในไทยสมัยโบราณนิยมนำผลอ่อนไปแกงส้ม หรือเชื่อมแบบเชื่อมสาเก ผลสุกกินเป็นผลไม้
== การปลูกทุเรียนเทศ ==
การปลูกทุเรียนเทศ หรือทุเรียนน้ำนั้น สามารถทำได้ไม่ยาก เพราะทุเรียนน้ำนั้นใช้วิธีขยายพันธุ์โดยเมล็ด ซึ่งเพียงแค่นำเมล็ดมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1-2 วัน จากนั้นนำไปเพาะดินผสมปกติ ต้นทุเรียนเทศจะงอกขึ้นมาได้ภายใน 7 วัน แต่ต้นกล้าจะโตช้าและออกดอกเมื่อมีอายุ3 ปีขึ้นไป และจะติดผลในปีที่ 4 ได้ผลผลิตประมาณปีละ 1.5 - 2 ตัน/ไร่ หรือหากจะใช้วิธีขยายพันธุ์แบบเสียบยอดและทาบกิ่งก็สามารถทำได้ โดยต้นทุเรียนน้ำนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี
== ความเสี่ยง ==
มีงานวิจัยในแถบทะเลแคริบเบียนที่แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานทุเรียนเทศกับโรคพาร์คินสัน เพราะทุเรียนเทศมีannonacinซึ่งเป็นสาเหตุของโรคนี้สูง
มีการวิจัยออกมาว่าในประเทศที่มีการใช้เมล็ดเป็นยาพื้นเมืองฆ่าพยาธิ พบว่าคนเป็นพาร์คินสัน จึงควรเลี่ยงการกินเมล็ด
ในผลทุเรียนน้ำสด1ผล มีสารannonacin 15 milligrams และ1 กระป๋องของ น้ำผลไม้ที่ทำสำเร็จแล้วเพื่อการค้ามี annonacin 36 milligrams annonacin มีความเกี่ยวข้องกับ การเกิดแผลในสมอง ทำให้มีอาการแบบพาร์คินสัน จึงควรหลีกเลี่ยงการกินผลทุเรียนน้ำมากเกินไป
ทุเรียนเทศยังเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ในยาที่ขายในตลาดในชื่อ Triamazon. Triamazon นี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นยาในอังกฤษ
== รวมภาพ ==
ไฟล์:Soursop fruit.jpg
ไฟล์:Annona_muricata2.jpg
ไฟล์:Corossol.JPG
ไฟล์:Annona muricata.jpg
ไฟล์:Annona muricata (Soursop) - tree with fruits.jpg
ไฟล์:Annona muricata 1 (1).jpg
== อ้างอิง ==
นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ทุเรียนเทศ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 97
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Efficacy of soursop leaf quality - ใบทุเรียนเทศ มีสรรพคุณอะไรบ้าง
Description of soursop from Fruits of Warm Climates (1987, ISBN 0-9610184-1-0)
Sorting Annona names
Soursop / Guyabano Fruit Nutrition
Rain-tree: Annona muricata
Soursop List of Chemicals (Dr. Duke's)
สรรพคุณ ทุเรียนเทศ
ขาย ทุเรียนเทศ ทุเรียนน้ำ สมุนไพรรักษามะเร็ง
พืชที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ผลไม้
วงศ์กระดังง า
พืชมีพิษ
สมุนไพร | thaiwikipedia | 243 |
ลำโพงกาสลัก | ลำโพงกาสลัก (Thorn Apple; L.) หรือ มะเขือบ้าอินเดีย หรือ ลำโพงดอกชมพู เป็นพืชล้มลุก ประเภทเดียวกับมะเขือ ชื่อพื้นเมืองเช่น มะเขือบ้าดอกดำ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านใบมีสีม่วงเข้มดำมัน ใบเดี่ยว รูปไข่ สีเขียวเข้ม เรียงสลับกัน กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ ฐานหรือโคนใบมักไม่เสมอกัน ดอกมีสีม่วง ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น เมื่อดอกโตเต็มที่ปากดอกจะบานออกดูคล้ายรูปแตร ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกมักจะซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นพันธุ์ผสม ดอกจะซ้อนกัน 2 และ 4 ชั้น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ลำโพงจัดอยู่ในประเภทเป็นพืชที่มีพิษ มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย และชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีฤทธิ์หลอนประสาท
== ประโยชน์ ==
ใช้เป็นยาสมุนไพร โดยเมล็ดใช้หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน, ใช้ใบสดตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ใบและยอด มีสารอัลคาลอยด์เช่น ไฮออสไซยามีน และ ไฮออสซีน ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม ใช้แก้หอบหืดได้และดอกใช้สูบเพื่อแก้อาการหอบหืดได้
== อ้างอิง ==
ไม้ดี : "ลำโพงกาสลัก"เป็นยาทั้งต้น
จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 466 – 467
ไม้ดอกไม้ประดับ
พืชมีพิษ
สมุนไพร
วงศ์มะเขือ | thaiwikipedia | 244 |
มหาวิทยาลัยเอดินบะระ | มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (The University of Edinburgh; Universitas Academica Edinburgensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 ถือเป็นมหาวิทยาลัยลำดับที่ 4 ของสกอตแลนด์ รองจาก มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1410) มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451) และ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1495)
มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัยทางด้านการแพทย์ ตั้งอยู่ที่เมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศสก็อตแลนด์
เอดินบะระเป็นสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านวิจัย และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย Universitas 21 อีกด้วย
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มหาวิทยาลัยเอดินบะระได้กลายเป็นศูนย์กลางของยุครู้แจ้งของยุโรป (European Enlightenment) และกลายเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่สุดของทวีปยุโรปในทางปรัชญาและวิทยาการด้านการแพทย์
== ประวัติ ==
เอดินบะระเป็นหนึ่งในสี่มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของสกอตแลนด์ ซึ่งประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์, มหาวิทยาลัยกลาสโกว์, มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน, และ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (เรียงตามความเก่าแก่จากมากไปน้อย) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเมืองเอดินบะระ และนับเป็นมหาวิทยาลัยแรก ที่เงินทุนสนับสนุนมาจากสภาเมือง (แทนที่จะเป็นจากโบสถ์ดังเช่นมหาวิทยาลัยทั่วไปในสมัยนั้น). สาขาวิชาแรกที่เปิดสอนคือ กายวิภาคศาสตร์ และวิชาที่ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นวิชาศัลยกรรม จากนั้นก็ได้ขยายการเรียนการสอนไปสู่สาขาอื่น ๆ อาคารหลังแรกของมหาวิทยาลัย คือ โอลด์คอลเลจ (Old College) ตั้งอยู่บนถนนเซาท์บริดจ์ บริเวณเมืองเก่า (โอลด์ทาวน์; Old town) ของเมือง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์ และสำนักงานฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย)
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรครอบคลุมเกือบทุกสาขาวิชา ยกเว้นด้านเกษตรกรรม (วิทยาลัยเกษตรกรรมสก็อต มีอาคารตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาเขตคิงส์บิลดิ้งของมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย) และมีสำนักวิชาวิทยาการสารสนเทศที่ใหญ่มาก โดยเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในสาขานี้ โดยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์, ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ, ชีววิทยาระบบ, และวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี
== ที่ตั้ง ==
อาคารของมหาวิทยาลัยตั้งกระจายอยู่โดยรอบเมือง โดยมีสองวิทยาเขตใหญ่คือ จอร์จสแควร์ เป็นที่ตั้งของกลุ่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ คิงส์บิลดิ้ง เป็นที่ตั้งของกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีวิทยาเขตอื่น ๆ อีก ได้แก่ คณะเทววิทยา ที่ the Mound, คณะศึกษาศาสตร์ ที่ปลายถนนรอยัลไมล์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่ Summerhall ติดกับสวนสาธารณะ the Meadows, กลุ่มคณะแพทยศาสตร์ ที่ Little France, และ Pollock Halls ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา
== ชื่อเสียง ==
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย เดอะการ์เดียน ปี 2008 ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเอดินบะระไว้ดังนี้
ที่ 1 ของ UK ทางด้านคอมพิวเตอร์
ที่ 1 ของ UK ทางด้านฟิสิกส์
ที่ 2 ของ UK ทางด้านการแพทย์
ที่ 2 ของ UK ทางด้านสัตวแพทย์
ที่ 7 ของ UK โดยภาพรวม
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ เมื่อปี ค.ศ. 2005 (The 2005 Times Higher Education Supplement [THES] World University Rankings) จัดอันดับมหาวิทยาลัยเอดินบะระดังนี้:
ที่ 16 ของโลก ด้านชีวเวช
ที่ 14 ของโลก จากมุมมองของผู้จ้างงาน
ที่ 27 ของโลก ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ที่ 38 ของโลก ด้านวิทยาศาสตร์
ที่ 30 ของโลก โดยภาพรวม
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง (The Academic Ranking of World Universities 2005 [ARWU]) จัดอันดับมหาวิทยาลัยเอดินบะระดังนี้:
ที่ 5 ของสหราชอาณาจักร
ที่ 9 ของยุโรป
ที่ 47 ของโลก
ปี ค.ศ. 2005 มหาวิทยาลัยได้รับเลือกจากหนังสือพิมพ์ซันเดย์ไทมส์ (สหราชอาณาจักร) เป็นมหาวิทยาลัยสกอตแลนด์แห่งปี (Sunday Times Scottish University of the Year)
ปี ค.ศ. 2006 หนังสือแนะนำมหาวิทยาลัยโดยหนังสือพิมพ์ไทมส์ (สหราชอาณาจักร) (The Times Good University Guide 2006) จัดอันดับมหาวิทยาลัยเอดินบะระเป็นอันดับที่ 5 ของสหราชอาณาจักรในภาพรวม และอันดับที่ 4 ในด้านคุณภาพการเรียนการสอน
== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ==
เอดินบะระเป็นมหาวิทยาลัยที่มีศิษย์เก่าเป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรมากรองจากออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์
กอร์ดอน บราวน์ - นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
เซอร์อาร์เทอร์ โคนัน ดอยล์ - ผู้ประพันธ์เชอร์ล็อก โฮมส์
โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน - ผู้แต่ง Treasure Island และ Strange Case of Dr. Jekyll and Mr. Hyde
อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ - ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์เครื่องแรกของโลก
ชาลส์ ดาร์วิน - นักธรรมชาติวิทยา ผู้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการ
โจเซฟ ลิสเตอร์ (Joseph Lister) - ศัลยแพทย์ผู้วางรากฐานการผ่าตัดแบบปลอดเชื้อ
เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) - นักฟิสิกส์ บิดาแห่งทฤษฏีแม่เหล็กไฟฟ้า
วิลเลียม แรงไคน์ (William John Macquorn Rankine) - นักฟิสิกส์ผู้อุทิศผลงานสำคัญต่อเทอร์โมไดนามิคส์ อาทิ Rankine Cycle
เดวิด ฮูม (David Hume) - นักคิด นักปรัชญา และ นักเศรษฐศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของยุโรป
David MacRitchie - นักโบราณคดี
Stella Rimington - อดีตผู้อำนวยการ MI5 (หน่วยรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ของสหราชอาณาจักร)
Peter Roget - ผู้รวบรวมอภิธานศัพท์
วอลเตอร์ สกอตต์ (Sir Walter Scott) - นักเขียนและกวี
David Steel - หัวหน้าพรรคเสรีนิยม (British Liberal Party)
เจมส์ เฮกเตอร์ (James Hector) - นักธรณีวิทยา
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
สถาบันส่งเสริมการศึกษาต่อสกอตแลนด์
The University of Edinburgh มหาวิทยาลัยเอดินบะระ
Student newspaper หนังสือพิมพ์นักศึกษาของมหาวิทยาลัย
เอดินบะระ
เอดินบะระ
เอดินบะระ | thaiwikipedia | 245 |
บานบุรีแสด | บานบุรีแสด หรือ บานบุรีหอม มีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์ตั้งแต่คอสตาริกาในทวีปอเมริกาเหนือไปจนถึงบราซิลในทวีปอเมริกาใต้ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ดอกเป็นดอกช่อ ดอกย่อยรูปกรวย กลีบดอกสีเหลืองอมส้ม โคนกลีบเป็นสีส้ม ดอกมีกลิ่นหอมแรง ใช้เป็นไม้ประดับ
== อ้างอิง ==
วีรญา บุญเตี้ย และอัจฉรา ตีระวัฒนานนท์. ไม้เลื้อยประดับ. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน, หน้า 64.
วงศ์ตีนเป็ด
ไม้ดอกไม้ประดับ | thaiwikipedia | 246 |
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 53 ตามประวัติศาสตร์ไทย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ด้วยพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร จนสวรรคต เป็นประมุขแห่งรัฐที่ครองราชย์ยาวนานมากที่สุดตลอดกาลในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปเอเชีย พระองค์ยังเป็นประมุขแห่งรัฐที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลกในขณะทรงพระชนม์ นับตั้งแต่การสวรรคตของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะแห่งญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2532 กระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2559 อีกทั้งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดตลอดกาลอันดับที่ 3 ของโลก ด้วยระยะเวลาในราชสมบัติทั้งสิ้น 70 ปี 126 วัน
พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ที่โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น กบฏเมษาฮาวายใน พ.ศ. 2524 และกบฏทหารนอกราชการใน พ.ศ. 2528 กระนั้น ในสมัยของพระองค์ได้มีการทำรัฐประหารโดยทหารหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ใน พ.ศ. 2549 ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ทรงครองราชย์ มีนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่ง 30 คน โดยเริ่มต้นที่ปรีดี พนมยงค์ และสิ้นสุดลงที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่เคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ และผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี พ.ศ. 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์ ด้านสินทรัพย์ของพระองค์ นิตยสาร ฟอบส์ จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2556 เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 พระองค์มีพระราชทรัพย์ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ดูหมายเหตุด้านล่าง) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ใช้ทรัพย์สินเพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระองค์ผู้เดียว พระองค์ยังทรงอุทิศพระราชทรัพย์ในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ
== ปฐมวัย ==
=== พระราชสมภพ ===
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ อันเป็นที่ซึ่งพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ตะละภัฎ, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) มีพระนามเมื่อแรกประสูติอันปรากฏในสูติบัตรว่า "เบบี สงขลา" (Baby Songkla) ต่อมาคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เมื่อได้รับพระราชทานนาม มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"
พระนามภูมิพลอดุลเดชนั้นพระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเข้าพระทัยว่าได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ในระยะแรกพระนามของพระองค์สะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกด
พระนามของพระองค์มีความหมายว่า
ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"
เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา
=== การศึกษา ===
พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 4 พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ เอกอลนูแวลเดอลาซุอิสรอม็องด์ (École Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองชายี-ซูร์-โลซาน (Chailly-sur-Lausanne)
=== สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ===
เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ก็ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึง พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากโรงเรียนฌีมนาซกลาซิกก็องตอนาลเดอโลซาน (Gymnase Classique Cantonal de Lausanne) แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
== พระมหากษัตริย์ไทย ==
=== ต้นรัชกาลและราชาภิเษกสมรส ===
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในวันเดียวกัน รัฐสภาลงมติเป็นเอกฉันท์อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป จากนั้นทรงเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งในช่วงเวลานั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์และเสด็จพระราชดำเนินศึกษาต่อ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราวในครั้งแรก ซึ่งได้แก่ พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ), พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) และสงวน จูฑะเตมีย์ สมาชิกพฤฒสภา ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเล่าว่า ระหว่างประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ ดังที่ได้ตรัสตอบชายคนเดิมนั้นในอีก 20 ปีต่อมา
หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นธิดาของเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก ในขณะนั้น ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษาและ 15 พรรษาตามลำดับ ใน พ.ศ. 2490 พระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาแสดงความพอพระราชพฤทัยในรัฐประหารในปีนั้น ซึ่งเป็นรัฐประหารของฝ่ายกษัตริย์นิยม
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลังการถวายการรักษา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์พระเนตรขวาบอด จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ภายในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ในโอกาสนี้พระองค์ทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
=== ผนวช ===
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับฉายาว่า ภูมิพโลภิกขุ หลังจากนั้น พระองค์เสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวชนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน
ระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิบัติพระราชกิจ เช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า–เย็น ตลอดจนทรงสดับพระธรรมและพระวินัยนอกจากนี้ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพิเศษอื่น ๆ เช่นในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงร่วมสังฆกรรมในพิธีผนวชและอุปสมบทนาคหลวงในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในวันที่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับบิณฑบาต จากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย
อนึ่ง ในการทรงพระผนวชครั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌาจารย์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
=== ขัดแย้งกับรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ===
หลังจากรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ตามมาด้วยยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 เพื่อเป็นการลดอำนาจพระมหากษัตริย์ พระองค์เจ้าธานีนิวัตทรงบันทึกปฏิกิริยาของพระองค์ว่า "ท่านกริ้วมาก ทรงตำหนิหลวงพิบูลอย่างแรงหลายคำ ท่านว่าฉันไม่พอใจมากที่คุณหลวงทำเช่นนี้" ต่อมาทรงพยายามเจรจาต่อรองกับรัฐบาลขอให้เพิ่มเติมพระราชอำนาจบางอย่าง เช่น ให้ทรงเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้ ใน พ.ศ. 2496 พระองค์ขัดแย้งกับรัฐบาลเรื่องพระราชบัญญัติจำกัดการถือครองที่ดิน ทรงชะลอการลงพระปรมาภิไธย แต่สุดท้ายก็ผ่านเป็นกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 จอมพล แปลก ได้จัดให้พระองค์และ สมเด็จพระบรมราชินี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จเยือนภาคอีสานโดยทางรถไฟ ผลปรากฏชัดว่าพระองค์เป็น ที่นิยมของประชาชนจำนวน มาก ดังนั้น จอมพล แปลก จึงได้ตัดงบประมาณในการเสด็จ ครั้งต่อไป
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่น่าจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายคือการรื้อฟื้นคดีสวรรคต ร. 8 และแผนนำปรีดี พนมยงค์กลับประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2500 พระองค์และกลุ่มกษัตริย์นิยมเคลื่อนไหวเตรียมรัฐประหาร มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรว่า พระองค์ทรงพระราชทานเงินสนับสนุนแก่พรรคประชาธิปัตย์ 700,000 บาท และมีรายงานว่าพระองค์ทรงเสด็จฯ ไปบ้านพักของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชในยามวิกาลอย่างลับ ๆ อยู่เสมอ
โดยเฉพาะในโอกาสฉลองพุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์เสด็จมาทรงเป็นประธานซึ่งก็ทรงตอบรับเป็นที่เรียบร้อย แต่ครั้นถึงวันงานทรงพระประชวรปัจจุบันทันด่วน ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเป็นประธานเปิดพิธีเอง และในเดือนสิงหาคมปีดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาโจมตีรัฐบาลของจอมพล แปลก ว่าละเมิดพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งข่าวการระหองระแหงกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและรัฐบาลดังกล่าว ทำให้สาธารณะเริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากขึ้น
เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพล แปลก ได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อขอให้ทรงสนับสนุนรัฐบาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเตือนจอมพล แปลก ว่าขอให้ลาออกจากตำแหน่งเสียเพื่อมิให้เกิดรัฐประหาร แต่จอมพล แปลก ปฏิเสธ เย็นวันดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทันที และสองชั่วโมงหลังจากการประกาศยึดอำนาจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
=== สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ===
เมื่อรัฐบาลทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เถลิงอำนาจแล้ว รัฐบาลได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ โดยอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จออกประชาชนเป็นอันมาก ให้เสด็จประภาสในถิ่นทุรกันดาร และตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาที่พระองค์มีพระราชดำริริเริ่มด้วย โดยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศให้นำประเพณีหมอบกราบเข้าเฝ้า ซึ่งเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับมาใช้ใหม่ กับทั้งประกาศให้สถาปนาธรรมยุติกนิกายขึ้นซ้ำด้วย นอกจากนี้ นับตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 2475 สืบมา ประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคก็ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อถวายผ้าพระกฐิน
พิธีกรรมตามโบราณประเพณีหลายอย่างของราชวงศ์จักรี เช่นพิธีกรรมพืชมงคล ก็มีประกาศให้ฟื้นฟู วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม) ก็ได้รับการประกาศให้เป็นวันชาติไทย แทนที่วันที่ 24 มิถุนายน อันตรงกับวันที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จด้วย
เมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 สำนักพระราชวังก็มีประกาศให้จัดการไว้ทุกข์ในพระราชวังเป็นเวลายี่สิบเอ็ดวัน และศพจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระราชทานฉัตรห้าชั้น ซึ่งปรกติเป็นเครื่องยศของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า กางกั้นตลอดระยะเวลาไว้ศพ ทั้งนี้ พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) องคมนตรี ได้กล่าวต่อมาว่า ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เท่ากับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาก่อนเลย
=== สมัยรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ===
หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2506 จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดมา และจอมพล ถนอม กิตติขจร ก็สืบนโยบายราชานิยมของจอมพล สฤษดิ์ต่อมาอีกกว่าทศวรรษ ซึ่งเดือนตุลาคม 2516 ในการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาล และมีผู้ตายเป็นจำนวนมหาศาลอันเนื่องมาจากการปราบปรามของรัฐบาลนั้น พระองค์ได้มีพระบรมราชานุญาตให้เปิดพระทวารพระตำหนักจิตรลดารโหฐานรับผู้ชุมนุมที่หนีตายเข้ามา และพระราชทานพระราชโอกาสให้เหล่าผู้ชุมนุมเฝ้า ภายหลังจากที่มีพระบรมราชโองการก็ให้ทหารราชวัลลภรักษาพระองค์ถอดกระสุนออกจากปืนให้หมด ทุกคนที่เข้ามาต่างได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่อาหารไปจนถึงการได้รับการรักษาตามสมควร เหตุการณ์ 14 ตุลาแสดงภาพลักษณ์ว่าผลประโยชน์ของนักศึกษาตรงกับผลประโยชน์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พระองค์ยังทรงรู้สึกว่าขบวนการนักศึกษาจะต้องถูกควบคุม และการเดินขบวนอย่างเปิดเผยเป็นสิ่งผิด
=== ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน ===
ต่อมา ก็ทรงตั้ง สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้ลี้ภัยไปสหรัฐและสิงคโปร์ตามลำดับ ครั้งนั้น สัญญา ธรรมศักดิ์ จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนสำเร็จเป็นครั้งแรก แต่ท่ามกลางปัจจัยทั้งในและนอกประเทศทำให้เกิดการสมคบกันรัฐประหารรอบใหม่ ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ บุญชนะ อัตถากร เล่าว่าในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ นำความบ้านเมืองกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ว่าอาจมีความจำเป็นต้องรัฐประหาร บุญชนะบันทึกว่าสงัดได้สนทนากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนี้
สงัด: อยากได้พรจากพระโอษฐ์ให้ทางทหารดำเนินการได้ตามที่คิดไว้
ในหลวง: ให้คิดเอาเองว่า ควรจะทำอย่างไรต่อไป
...
สงัด: ถ้าทางทหารยึดอำนาจการปกครองได้แล้ว… ใครควรจะเป็นนายกรัฐมนตรี
ในหลวง: จะทำอะไรลงไปก็ควรปรึกษานักกฎหมาย คือ คุณธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษาศาลฎีกาเสียด้วย
การเดินทางกลับประเทศของจอมพล ถนอม โดยบวชเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร ก่อให้เกิดการประท้วงเป็นวงกว้างในช่วงเดือนกันยายน วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ไม่อาจจัดการอะไรได้ จึงขอลาออก และเมื่อเวลา 21.30 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปวัดบวรนิเวศ ไม่นานให้หลัง เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งกองกำลังติดอาวุธสังหารหมู่ผู้ประท้วงล้มตายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกล่าวหาว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าอยู่เบื้องหลัง "อาชญากรรม" ดังกล่าว สมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการและนักเคลื่อนไหว ถูกจำคุกฐานพิมพ์เผยแพร่บทความตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันในเหตุการณ์ อย่างไรก็ดี นักวิชาการต่างประเทศอธิบายว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนส่งเสริมเหตุการณ์ เช่น การสนับสนุนลูกเสือชาวบ้านและการเสด็จฯ เยี่ยมพระถนอม พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสปลายปีเดียวกันนั้นว่า "...ประชาชนคนไทยมีการแสดงออกชัดเจนขึ้น ว่าต้องการอะไร เมื่อแสดงออกมาเช่นนี้ ก็ทำให้รู้ใจกัน และสามารถช่วยกันทำ ช่วยกันสร้างสิ่งที่ต้องการ มีจะมีอุปสรรค แม้ความยากลำบากขัดขวางอยู่ก็ทำได้ ขอเพียงให้ร่วมมือ ร่วมใจกันจริง ๆ..."
=== สมัยรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ===
ในความโกลาหลครั้งนั้น ฝ่ายทหารก็เข้ายึดอำนาจอีกครั้ง และเสนอนามบุคคลสามคนให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย ประกอบ หุตะสิงห์ ประธานศาลฎีกา, ธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษาศาลฎีกา
พระองค์มีพระราชดำรัสในพิธีประดับยศนายทหารชั้นนายพล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ความตอนหนึ่งว่า
เดือนกันยายน 2520 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในจังหวัดภาคใต้
ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2520 เวลา 15.15 น. ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, สมเด็จพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ประทับบนพลับพลาที่ประทับ ซึ่งมีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จฯ ราว 30,000 คน ก็ได้มีราษฏรที่มาเฝ้ารับเสด็จฯ ไปหยิบไฟแช็คดังกล่าวเป็นเหตุให้ระเบิดลูกแรกเกิดระเบิดขึ้น ราษฏรต่างพากันแตกตื่นและเหยียบกับระเบิดลูกที่สอง ทำให้ระเบิดลูกที่สองเกิดระเบิดขึ้น ระเบิดลูกแรกห่างจากพลับพลาที่ประทับ 60.15 เมตร ห่างจากลาดพระบาท 5.20 เมตร และระเบิดลูกที่สองห่างจากพลับพลาที่ประทับ 105.15 เมตร ห่างจากลาดพระบาท 6.00 เมตร แรงระเบิดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 55 คน บาดเจ็บสาหัส 11 คน ขณะที่เกิดความโกลาหลนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชาลูกเสือชาวบ้านได้เข้าระงับควบคุมฝูงชนอย่างฉับพลัน มีการใช้เครื่องขยายเสียงแบบมือถือที่เตรียมไว้แล้วปลอบโยนประชาชนมิให้ตื่นตระหนกและให้อยู่กับที่ ขณะเดียวกันก็มีการลำเลียงผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาล ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์มิได้ทรงรับบาดเจ็บใด ๆ
ขณะเกิดเหตุนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยืนประทับอยู่กับที่และทอดพระเนตรมองเหตุการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ยืนรายล้อมถวายการอารักขา ในขณะที่พิธีการต้องหยุดชะงักชั่วครู่
ทั้งนี้ก่อนหน้าเหตุระเบิดราวๆ 20 ชั่วโมง ก็ได้มีตำรวจขับรถจักรยานยนต์ฝ่าสัญญาณไฟจราจรพุ่งชนรถยนต์พระที่นั่งจนเกิดไฟลุกท่วม
ภายหลังเกิดเหตุ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่อไป โดยมิได้แสดงพระอาการปริวิตกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมีพระราชดำรัสให้ทุกคนมีจิตใจเข้มแข็งไม่ตื่นเต้นต่อสถานการณ์ เมื่อจบคำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ซึ่งประทับอยู่ในพลับพลาฯ ทรงนำเหล่าราษฎรร้องเพลง “เราสู้” และภายหลังเสร็จพระราชกรณียกิจ เวลา 18.55 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลจังหวัดยะลา
ธานินทร์ กรัยวิเชียรมีแนวคิดขวาจัด ทำให้เหล่านักศึกษาหนีเข้าป่าไปรวมกลุ่มกับพวกคอมมิวนิสต์ รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงถูกรัฐประหารนำโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ใน พ.ศ. 2523 และคณะรัฐประหารก็ตั้งพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่
ขณะนั้น กองกำลังที่ต่อต้านรัฐบาลได้เข้ายึดกรุงเทพมหานคร พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่ กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งกองบัญชาการตอบโต้ และใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร การก่อการครั้งนี้จึงกลายเป็นกบฏที่รู้จักในชื่อ "กบฏเมษาฮาวาย" และนำไปสู่ "กบฏทหารนอกราชการ" ในเวลาต่อมา
=== พฤษภาทมิฬ ===
รัฐประหารของคณะทหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบเผด็จการทหารอีกครั้ง ซึ่งหลังคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว พรรคการเมืองที่มีจำนวนผู้แทนราษฎรมากที่สุดคือพรรคสามัคคีธรรม จำนวนเจ็ดสิบเก้าคน ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และมีการเตรียมเสนอ ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนราษฎรมากที่สุดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่ามาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แถลงว่า ณรงค์เป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด พลเอก สุจินดา คราประยูร หัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งเคยตกปากว่าจะไม่รับตำแหน่งใด ๆ ภายหลังจากเลือกตั้งอีกเพื่อตัดข้อครหาบทบาทของทหารในรัฐบาลพลเรือน กลับยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสร้างความไม่พอใจท่ามกลางประชาชนเป็นอันมาก นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน โดยมีร้อยตรี ฉลาด วรฉัตร และพลตรี จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม เป็นแกนนำ ซึ่งรัฐบาลของพลเอก สุจินดาได้สั่งให้ปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงโดดเฉียบขาด กลายเป็นเหตุการณ์นองเลือดในที่สุด และมีผู้คนเสียชีวิต เมื่อฝ่ายทหารเปิดการโจมตีผู้ชุมนุม เหตุการณ์ดิ่งสู่ความรุนแรงเรื่อย ๆ เมื่อกำลังทหารและตำรวจเข้าควบคุมกรุงเทพมหานครเต็มที่ และท่ามกลางเหตุการณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีพระบรมราชโองการเรียกพลเอก สุจินดา คราประยูร และหัวหน้ากลุ่มผู้ประท้วง (พลตรี จำลอง ศรีเมือง) เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ให้เฝ้า และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดการนี้ออกอากาศสดได้ ในภาพทางโทรทัศน์ พระองค์ทรงขอให้คู่กรณียุติความรุนแรงและนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่สันติซึ่งทั้ง พลเอก สุจินดา คราประยูร และ พลตรี จำลอง ศรีเมือง เห็นพ้องต้องกันในการที่จะให้รัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศในสถานการณ์ดังกล่าว ณ จุดสูงสุดของวิกฤติการณ์ ปรากฏภาพพลเอก สุจินดา คราประยูร และหัวหน้าผู้ประท้วง เฝ้าทูลละอองพระบาทโดยหมอบกราบ และที่สุดก็นำไปสู่การลาออกของพลเอก สุจินดา คราประยูร และการเลือกตั้งทั่วไป
=== รัฐประหาร พ.ศ. 2549 และ 2557 ===
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานสภาองคมนตรี และรัฐบุรุษ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อเวลา 00.19 น. วันพุธที่ 20 กันยายน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อันมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้สึกรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ประชาชนส่วนหนึ่งเคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ แม้หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้
นอกจากนี้ ในวันที่ 22 กันยายน โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก แพร่ภาพพิธีรับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก่พลเอก สนธิ ซึ่งมีข้อสังเกตว่าประกาศฉบับดังกล่าว มีพลเอก สนธิเอง ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พิธีรับพระบรมราชโองการนั้น จัดให้มีขึ้นต่อมาในภายหลัง
หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดย หัวหน้า คปค. ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติ ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้น จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี“
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้พระราชทานสัมภาษณ์ในรายการโดยอ้างว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเสียพระทัยต่อเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองและการเสียพระทัยจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองนำไปสู่พระอาการประชวรเป็นไข้ ใจความตอนหนึ่งว่า
อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมิได้ทรงตอบรับข้ออ้างของพระธิดาต่อสาธารณชนว่าเป็นจริงหรือเท็จนอกจากนี้พระองค์ก็ตรัสถึงการเมืองบ้างเล็กน้อยในบางโอกาส
ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พระองค์มีพิธีสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พระบรมราชโองการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นหัวใจสร้างความชอบธรรมแก่รัฐประหาร และถูกมองว่าเป็นการรับรองของพระองค์
=== พระพลานามัยปลายพระชนม์ ===
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระอาการประชวรเรื้อรังในส่วนของพระหทัยเต้นผิดปกติ มีสาเหตุจากการได้รับเชื้อไมโคพลาสมา ราวปี พ.ศ. 2530 เสด็จไปเยี่ยมประชาชนที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ คณะแพทย์ไม่อาจถวายการรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงถวายพระโอสถประคองพระอาการมาตลอด จนต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2538
นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเริ่มประชวร อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ พระองค์แปรพระราชฐานจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อให้คณะแพทย์ถวายการรักษา ต่อมาจนถึงเดิอนสิงหาคม พ.ศ. 2556 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเปลี่ยนพระอิริยาบถ
จนกระทั่งวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยทรงมีพระอาการไข้ คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เพื่อเปลี่ยนพระอิริยาบถอีกครั้ง แต่เสด็จฯ ไปประทับได้ไม่นาน ก็ทรงกลับมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ตลอดระยะเวลาที่ทรงประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 พระอาการประชวรได้ดีขึ้นและทรุดลงเป็นครั้งคราว โดยพระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายของพระองค์คือการพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้พิพากษาประจำศาลต่าง ๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และการปรากฏพระองค์ครั้งสุดท้ายคือการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559
=== เสด็จสวรรคต ===
ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อครั้งดำรงพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย คณะแพทย์จึงทำการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิต แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย พระอาการไม่คงที่ ก่อนที่พระอาการจะทรุดลงไปอีก มีการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระอาการประชวรได้ทรุดหนักลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อเวลา 15.52 น. รวมพระชนมายุ 88 พรรษา ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน 4 วัน
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปยังพระบรมมหาราชวัง มีพระราชพิธีถวายสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา มีการเชิญพระบรมศพลงสู่พระหีบ ประดิษฐานหลังพระแท่นแว่นฟ้าทอง ประกอบพระโกศทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง
รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา 30 วัน และให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่รัฐไว้ทุกข์ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
ต่อมาในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกนาถขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศ เรื่อง พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย คำอ่าน และสรรพนาม คำขึ้นต้น คำลงท้าย ในการกราบบังคมทูล กราบทูล ได้ระบุพระปรมาภิไธยอย่างย่อไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันสำคัญของชาติไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, วันชาติไทย และวันพ่อแห่งชาติ และเป็นวันหยุดราชการ
วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีได้กำหนดชื่อเรียกวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม ว่า วันนวมินทรมหาราช ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการมาก่อนแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560
== สถานะพระมหากษัตริย์ ==
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ จอมทัพไทย และอัครศาสนูปถัมภก และเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เดอะการ์เดียนรายงานเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ว่าในรัชสมัยของพระองค์ เกิดรัฐประหาร 15 ครั้ง เหตุการณ์กบฏ 9 ครั้ง เหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล 2 ครั้งได้แก่ เหตุการณ์ 14 ตุลา และพฤษภาทมิฬ รัฐธรรมนูญ 16 ฉบับ และการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรี 27 คน
ตามรัฐธรรมนูญไทย พระองค์ทรง "ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี" แต่พระองค์เคยมีพระราชดำรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2548 ว่า "...แต่ว่าความจริง ก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน แล้วก็ไม่กลัวถ้าใครจะวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้น ๆ จะได้รู้ เพราะว่าถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์เราก็กลัวเหมือนกัน ถ้าบอกไม่วิจารณ์แปลว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่ดี รู้ได้อย่างไร ถ้าเขาบอกว่า ไม่ให้วิจารณ์พระเจ้าอยู่หัว เพราะพระเจ้าอยู่หัวดีมาก ไม่ใช่อย่างนั้น ...ฉะนั้น ที่บอกว่าการวิจารณ์ เรียกว่าละเมิดพระมหากษัตริย์ ให้ละเมิดได้ แต่ถ้าเขาละเมิดผิด เขาก็ถูกประชาชนบ้อม คือ ขอให้รู้ว่าเขาวิจารณ์อย่างไร ถ้าเขาวิจารณ์ถูกก็ไม่ว่า แต่ถ้าวิจารณ์ผิด ไม่ดี แต่เมื่อบอกไม่ให้วิจารณ์ ละเมิดไม่ได้ เพราะ รัฐธรรมนูญว่ายังงั้น ลงท้าย พระมหากษัตริย์ก็เลยลำบาก แย่ อยู่ในฐานะลำบาก"
=== บทบาททางการเมืองไทย ===
ในทางกฎหมายพระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระราชอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าวไม่ได้ทำลายพระราชอำนาจโดยพฤตินัย ธงทอง จันทรางศุเขียนถึงพระราชอำนาจนี้ว่า "แม้ว่าพระราชอำนาจดังกล่าวจะมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตาม แต่ก็เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เข้าใจตรงกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีอยู่จริง และอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระราชอำนาจส่วนที่สำคัญที่สุดในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน" มีการสร้างพระราชอำนาจนำเกิดขึ้นผ่านการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระองค์ทรงมีบทบาทในการเมืองไทยหลายครั้ง ได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น กบฏยังเติร์ก ในปี พ.ศ. 2524 และ กบฏทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2528 กระนั้น ในสมัยของพระองค์ได้มีการทำรัฐประหารโดยทหารหลายคณะ บทบาททางการเมืองที่สำคัญของพระองค์ เช่น สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 และเมื่อรัฐบาลทหารของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เถลิงอำนาจ รัฐบาลได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ โดยอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จออกประชาชนเป็นอันมาก ให้เสด็จประภาสในถิ่นทุรกันดาร และตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาที่พระองค์มีพระราชดำริริเริ่มด้วย นอกจากนี้วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม) ก็ได้รับการประกาศให้เป็นวันชาติไทย แทนที่วันที่ 24 มิถุนายน อันตรงกับวันที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จด้วย ทั้งนี้ พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) องคมนตรี ได้กล่าวต่อมาว่า ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เท่ากับ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาก่อนเลย
และยังเป็นที่ทราบกันว่า พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในพฤษภาทมิฬ โดยมีพระบรมราชโองการเรียกพลเอก สุจินดา คราประยูร และหัวหน้ากลุ่มผู้ประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ให้เฝ้า และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดการนี้ออกอากาศสดได้ ในภาพทางโทรทัศน์ พระองค์ทรงขอให้คู่กรณียุติความรุนแรงและนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่สันติ ซึ่งทั้งพลเอก สุจินดา คราประยูร และพลตรี จำลอง ศรีเมือง เห็นพ้องต้องกันในการที่จะให้รัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศในสถานการณ์ดังกล่าว และที่สุดก็นำไปสู่การลาออกของพลเอก สุจินดา คราประยูร และการเลือกตั้งทั่วไป
ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 พระองค์ทรงให้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยบันทึกภาพและเสียงระหว่างการเข้าเฝ้าของพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน และคณะ นับว่าทรงให้ความเห็นชอบกับการโค่นทักษิณ ชินวัตรและรับรองรัฐบาลจากคณะรัฐประหาร หลังจากนั้นเป็นต้นมา มีการตั้งคำถามและการวิจารณ์บทบาทของพระองค์ในวิกฤตการณ์การเมืองไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสื่อนานาชาติ นอกจากนี้ พระองค์ก็ตรัสถึงการเมืองบ้างเล็กน้อยในบางโอกาส
=== อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ===
อำนาจตามรัฐธรรมนูญของพระองค์มักเป็นที่ถกเถียงกัน บางส่วนเพราะความเป็นที่นิยมอย่างล้นหลามของพระองค์และบางส่วนเป็นเพราะอำนาจของพระองค์มักถูกตีความขัดกันแม้จะมีนิยามอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นการแต่งตั้งจารุวรรณ เมณฑกาเป็นผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ทว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแต่งตั้งเธอขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐสภาเลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทนจารุวรรณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธเขา วุฒิสภาปฏิเสธลงคะแนนยกเลิกการยับยั้งของพระองค์ สุดท้ายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้จารุวรรณกลับเข้ารับตำแหน่ง หนังสือพิมพ์ผู้จัดการอธิบายว่ากรณีนี้เป็นความพยายามของวุฒิสภาเพื่อบีบบังคับให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทำตามความปรารถนาของพวกตน ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเฉพาะว่าพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจเงินแผ่นดินตามคำแนะนำของวุฒิสภา การพ้นจากตำแหน่งจึงต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยับยั้งกฎหมายน้อยครั้ง พอล แฮนด์ลีย์เขียนใน เดอะคิงเนเวอร์สไมล์ ว่าในปี พ.ศ. 2519 เมื่อรัฐสภาลงคะแนนเสียงเห็นชอบเพื่อขยายการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยสู่ระดับอำเภอ พระองค์ทรงปฏิเสธลงพระปรมาภิไธยกฎหมาย รัฐสภาไม่ยอมออกเสียงยกเลิกการยับยั้งของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยับยั้งกฎหมายปฏิรูปที่ดินที่รัฐสภาเห็นชอบสองครั้งก่อนทรงยินยอมลงพระปรมาภิไธย บางทีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไม่ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ยับยั้งการตรากฎหมาย เช่น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มาตรา 107 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วย แต่ก็ไม่ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งโดยตรง เพียงแต่มีพระราชกระแสท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า ไม่ทรงเห็นด้วยกับมาตรา 107 วรรค 2 แห่งร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะประธานองคมนตรีเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งขัดกับหลักที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งจะทำให้ประธานองคมนตรีอยู่ในสภาพเสมือนเป็นองค์กรทางการเมือง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญอภัยโทษอาชญากร แม้มีเกณฑ์หลายข้อสำหรับการได้รับพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งรวมอายุและโทษที่ยังเหลืออยู่ การอภัยโทษผู้ข่มขืนกระทำชำเราและช่างภาพเปลือยเด็กชาวออสเตรเลียผู้หนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดข้อโต้เถียง
=== ภาพลักษณ์ ===
พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระภัทรมหาราช" หมายความว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง" ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 มีการถวายใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช" และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช"
ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" ซึ่งคาดว่าย่อมาจาก "ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง" หรืออาจออกเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่า "เจ้านายผู้เป็นใหญ่"
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงออกผนวช ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ทรงสร้างพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง และนอกจากนี้ยังเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงเกื้อกูล ค้ำจุนทุกศาสนาอย่างเสมอภาค ทรงสนับสนุนพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อใช้แปลพระคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2505
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจัดตั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,741 โครงการ นอกจากนี้ยังเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญที่สุดจนทำให้พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทย คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระองค์ได้ปฏิบัติพระองค์เองเป็นแบบอย่าง โปรดให้มีการการปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิลขึ้นในสวนจิตรลดา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการประหยัด ตัวอย่างเช่น ทรงใช้ดินสอเดือนละ 1 แท่ง หรือการใช้ยาสีพระทนต์จดหมดหลอด นอกจากนั้นยังไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับใด ๆ เลย ยกเว้นแต่นาฬิกาข้อมือ
พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ โรงเรียน องค์การและมูลนิธิต่าง ๆ มากกว่า 1000 แห่ง ส่วนการพักผ่อนที่ทรงสนพระราชหฤทัยคือการเสด็จไปประทับ ณ วังไกลกังวลและสุนัขทรงเลี้ยง ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคุณทองแดง สุนัขพันธุ์ไทยซูเปอร์บาเซนจิ นอกจากนี้ ภาพพระราชอิริยาบถส่วนพระองค์ยามพักผ่อนและชีวิตประจำวันส่วนพระองค์ก็มีปรากฏให้เห็นอยู่เป็นครั้งคราว เช่น การที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสวยพระกระยาหารร่วมกัน
ความนิยมในพระองค์ปรากฏให้หลังเหตุจลาจลในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ปี พ.ศ. 2546 เมื่อผู้ประท้วงชาวไทยหลายร้อยคนซึ่งโกรธจากข่าวลือว่าผู้ก่อจลาจลชาวกัมพูชาย่ำพระบรมฉายาลักษณ์ ชุมนุมนอกสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาในกรุงเทพมหานคร สถานการณ์จบลงอย่างสันติก็เมื่อพลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์ บอกฝูงชนว่าเขาได้รับโทรศัพท์จากราชเลขานุการ อาสา สารสิน ถ่ายทอดว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงขอให้สงบ ฝูงชนจึงสลาย
== ชีวิตส่วนพระองค์ ==
=== กีฬา ===
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโปรดกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา ซึ่งพระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทองจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และเรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้าย คือ เมื่อปี พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13
=== ดนตรี ===
พระองค์ทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟน คราริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์ และเปียโน โปรดดนตรีแจ๊สเป็นอย่างมาก และพระองค์ได้ประพันธ์หลายเพลง เช่น เพลงพระราชนิพันธ์แสงเทียน เป็นเพลงแรก สายฝน ยามเย็น ใกล้รุ่ง ลมหนาว ยิ้มสู้ ค่ำแล้ว ไกลกังวล ความฝันอันสูงสุด และเราสู้ หรือพรปีใหม่ เป็นต้น พระองค์ทรงเคยมีกระแสพระราชดำรัสที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของดนตรี อันได้แก่ “ดนตรีทุกชนิดเป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่ง มนุษย์เกือบทั้งหมดชอบและรู้จักดนตรี ตั้งแต่เยาว์วัยคนเริ่มรู้จักดนตรีบ้างแล้ว ความรอบรู้ทางดนตรีอย่างกว้างขวางย่อมขึ้นกับเชาวน์ และสามารถในการแสดงของแต่ละคน อาศัยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าในระหว่างศิลปะนานาชนิด ดนตรีเป็นศิลปะที่แพร่หลายกว่าศิลปะอื่น ๆ และมีความสำคัญในด้านการศึกษาของประชาชนทุกประเทศด้วย” กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายหลังที่สถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนาทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรเกียรติคุณชั้นสูง ให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2507 โดยเป็นพระราชดำรัสตอบในภาษาเยอรมัน (ม.ล.เดช สนิทวงศ์ แปลและถ่ายทอดเป็นภาษาไทย)
=== พระราชทรัพย์ ===
พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น โดยแบ่งออกได้เป็นส่วน ๆ ได้โดยสังเขป คือทรัพย์สินส่วนพระองค์ พระคลังข้างที่ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งเพื่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 4,741 โครงการ มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาภายในประเทศในด้านกสิกรรม เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพ สาธารณูปโภค และการศึกษา
==== ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ====
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น โดยในปี 2550 พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอบส์ ให้เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มีทรัพย์สินราว 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ชี้แจงว่า บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่าทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริงมิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่นที่บทความดังกล่าวไม่ได้จัดอันดับ
===== รถยนต์พระที่นั่ง =====
มายบัค 62 สีครีม เลขทะเบียน ร.ย.ล.1 ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่ง โดยได้จัดซื้อมาใช้ แทนรถยนต์พระที่นั่ง โรลส์-รอยซ์ แฟนทอม ซิกซ์ (VI) ที่ใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งทรงมานานถึง 30 ปี
มายบัค 62 สีครีม เลขทะเบียน 1ด-1992 ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งสำรอง
คาดิลแลค ดีทีเอส เลขทะเบียน ร.ย.ล.960 ทรงใช้ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
มายบัค 62 สีน้ำเงิน ตัดด้วยสีทอง เลขทะเบียน 1ด-1991
โฟล์คสวาเกน คาราเวลล์ T5 TDi เลขทะเบียน 1ด-3901
โฟล์คสวาเกน คาราเวลล์ T5 TDi เลขทะเบียน 1ด-4901
โฟล์คสวาเกน คาราเวลล์ T4 TDi เลขทะเบียน 1ด-0968
==== การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ====
ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เฉพาะที่ถือครองหุ้นเกิน 0.5% (มูลค่า ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
=== พระพุทธรูปประจำพระองค์ ===
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายใต้ฉัตร 5 ชั้น หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว ความสูงยอดพระรัศมี 9 นิ้ว ทรงพัดแฉก หล่อด้วยเงิน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ส่วนพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ตั้งการฉลองสมโภชพระพุทธรูปประจำประชนมวาร ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเสร็จการแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ประดิษฐานไว้กับพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร ปัจจุบันอัญเชิญพระพุทธรูปประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชพิธีสงกรานต์ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ซึ่งเป็นปางประจำวันจันทร์
== พระราชกรณียกิจ ==
=== ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี ===
พ.ศ. 2503 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาใหม่หลังจากที่ได้เลิกร้างไปตั้งแต่ พ.ศ. 2479 และประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคก็ได้รับการฟื้นฟูเป็นครั้งแรกเพื่อถวายผ้าพระกฐิน
ทรงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ประวัติศาสตร์ไทย สถาปัตยกรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ การดนตรีและศิลปะอื่น ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรจัดทำโน้ตเพลงไทยตามระบบสากลและจัดพิมพ์ขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้อาจารย์และนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยหาระดับเฉลี่ยมาตรฐานของเครื่องดนตรีไทย ทรงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
ด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน เรื่อง ทองแดง เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง เป็นต้น
=== ด้านการพัฒนาชนบท ===
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ตลอดรัชสมัยไปกับการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2497 โดยเฉพาะในแทบที่ชนบททุรกันดาร เพื่อทรงเยี่ยมเยียน ซักถามเรื่องความเป็นอยู่และสารทุกข์สุกดิบของประชาชน นอกจากนี้พระองค์จะทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองด้วยแผนที่หรือเอกสารต่าง ๆ ทำให้ทรงรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน หลังจากนั้นพระองค์ก็จะทรงคิดค้นแนวทางพระราชดำริเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆในแต่ละพื้นที่
พระองค์จะทรงพัฒนาชนบทในรูปโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีจุดประสงค์ คือ การพัฒนาบทเพื่อให้ราษฎรในชนบทได้มีความเป็นอยู่ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพ เลี้ยงครอบครัวให้ดีขึ้น แนวพระราชดำริที่สำคัญในเรื่องการพัฒนาชนบท คือมีพระราชประสงค์ช่วยให้ชาวชนบทสามารถช่วยเหลือพึ่งตนเองได้ โดยการสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการผลิตให้แก่ราษฎรเหล่านั้น ทรงส่งเสริมให้ชาวชนบทมีความรู้ในการประกอบอาชีพตามแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ยังทรงหาทางนำเอาวิทยาการสมัยใหม่มาประยุกต์กับภูมิปัญญาชาวบ้าน
=== ด้านการเกษตรและชลประทาน ===
ในด้านชลประทาน พระองค์ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยทรงคิดค้นโครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน เมื่อคราวเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2538 พระองค์ทรงมีพระราชดำริเรื่องแก้มลิง ควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทย พระองค์ทรงประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ ๆ ตลอดจนการศึกษาแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว แต่เกษตรกรควรมีรายได้จากกิจกรรมอื่นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง พระองค์ยังทรงคิดค้นการแก้ปัญหาทรัพยากรทางการเกษตรหลายอย่างที่สำคัญ เช่น การแกล้งดิน เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวหรือดินเป็นกรด จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้ การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ พระองค์ทรงส่งเสริมการเลี้ยงปลานิล ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ขยายโครงการเพาะเลี้ยงและเผยแพร่พันธุ์ปลานิล เพื่อความยั่งยืนด้านอาหารให้แก่ประเทศโมซัมบิก ในช่วงปีที่ผ่านมา ทรงจัดตั้งโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อวิจัยพันธุ์ข้าว พันธุ์พืชและปศุสัตว์ รวมถึงการการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การผลิตเอทานอล แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล
=== ด้านการแพทย์ ===
โครงการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในระยะแรกล้วนแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุข ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่าง ๆ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ และล้วนเป็นอาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์พร้อมให้การรักษาพยาบาลราษฎรผู้ป่วยไข้
นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทานซึ่งเป็นพระราชดำริให้ทันตแพทย์อาสาสมัครเดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันโดยไม่คิดมูลค่า นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทางไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย
=== ด้านการศึกษา ===
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนแก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่าง ๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนำความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาบ้านเมือง
ส่วนในประเทศพระองค์ทรงให้การอุปถัมภ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการจัดการบริหารทางการศึกษา แบบให้เปล่าตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในลักษณะทั้งอยู่ประจำและไปกลับแบ่งเป็น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 26 โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำนวน 14 โรงเรียน
พระองค์ยังได้จัดสร้างโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเพื่อเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในวิชาการทุกสาขา ได้จัดทำหนังสือสารานุกรมไทยที่บรรจุความรู้ใน 7 สาขาวิชา โดยแต่ละเล่มได้จัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ตามพื้นฐานของตน
นอกจากนี้ตลอดรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่เหล่านิสิตผู้สำเร็จการศึกษา
=== ด้านการต่างประเทศ ===
ในระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม 27 ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่าง ๆ โดยทรงเสด็จเยือนประเทศเวียดนามใต้ อย่างเป็นทางการเป็นประเทศแรก อีกหนึ่งประเทศสำคัญที่พระองค์ได้เสด็จเยือนในช่วงเวลาดังกล่าวคือประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในการเสด็จประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งนั้น ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ขบวนพาเหรดของพระองค์ในนิวยอร์กมีผู้เฝ้าชมพระบารมีกว่า 750,000 คน นอกจากนี้ พระองค์ยังได้มีพระราชดำรัสต่อสภาคองเกรสแสดงจุดยืนว่าอเมริกาเป็นมหามิตรของไทย ซึ่งหลังจากการเสด็จเยือนประเทศแคนาดา เมื่อปี พ.ศ. 2510 พระองค์ก็มิได้ทรงเสด็จเยือนประเทศไหนอีกเลย กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ทรงเสด็จเยือนประเทศลาว ซึ่งนับเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นครั้งสุดท้ายของพระองค์
ในภายหลังพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินออกให้การต้อนรับราชอาคันตุกะจากประเทศต่าง ๆ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทยและถวายบังคมทูลลาเมื่อครบวาระ รวมทั้งพระองค์จะมีพระราชสานส์ถึงผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั้งการแสดงความยินดีและแสดงความเสียพระราชหฤทัย
=== โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ===
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นจากพระดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในประเทศทั้งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและแก้ไขปัญหาระยะยาวทรงเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ตลอดรัชสมัยมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหมด 4,741 โครงการ โดยมีหน่วยงานราชการที่ประสานงานโครงการ คือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โดยแต่ละโครงการจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป โครงการเพื่อการส่งเสริมและวิจัย เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา, มูลนิธิโครงการหลวง, โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โครงการเกี่ยวกับน้ำ เช่น โครงการแก้มลิง, โครงการฝนหลวง, กังหันชัยพัฒนา โครงการเกี่ยวกับการเกษตร เช่น โครงการแกล้งดิน โครงการอื่น ๆ เช่น โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะแถบชนบท นอกจากนี้โครงการหลวงยังได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขา Peace and International Understanding เมื่อ พ.ศ. 2531 อีกด้วย
== พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ ==
=== พระบรมราชอิสริยยศ ===
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
ภายหลังการสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
=== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ===
==== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ====
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่แผ่นดินของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และตามรัฐธรรมนูญของไทยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งปวง โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระองค์ได้รับ มีดังนี้
พ.ศ. 2507 – 80px เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1
=== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ===
==== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ภายใต้สุลต่านแห่งมาเลเซีย ====
=== รางวัล ===
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและเกียรติยศต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากบุคคลและคณะบุคคลในประเทศและต่างประเทศ อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจและพระราชอัธยาศัยในการแสวงหาความรู้ ที่สำคัญเป็นต้นว่า
ประธานรัฐสภายุโรปและสมาชิกร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรัฐสภายุโรป" (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2519)
ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติภาพของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลสันติภาพ" (9 กันยายน พ.ศ. 2529)
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำชนบทให้พัฒนา" (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2530)
ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองประกาศพระเกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม" (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน" (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล (International Society of Chemical Ecology) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ" (26 มกราคม พ.ศ. 2536)
หัวหน้าสาขาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด" สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ (30 ตุลาคม พ.ศ. 2536)
ผู้อำนวยการบริหารของยูเอ็นดีซีพี (UNDCP) แห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองคำสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด" (12 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร" (6 ธันวาคม พ.ศ. 2539)
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์" จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาตลอดพระชนม์ชีพ (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549)
ในปี พ.ศ. 2550 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) แถลงข่าวการทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา" (Global Leaders Award) โดยนายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ณ พระราชวังไกลกังวล ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เพื่อเทิดพระเกียรติที่ทรงมีบทบาทและผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่โดดเด่น และพระองค์ทรงเป็นผู้นำโลกคนแรกที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลดังกล่าว
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences-IUSS) นำโดยอดีตเลขาธิการสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) เป็นพระองค์แรกของโลก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้ที่ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 176 ฉบับ ใน พ.ศ. 2555 โดยทรงได้รับมอบถวายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
=== พระยศทหาร ===
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489: ร้อยโท
24 มีนาคม พ.ศ. 2493: จอมพลเรือ
26 มีนาคม พ.ศ. 2493: จอมพล, จอมพลอากาศ
== พระบรมราชานุสรณ์ ==
== พระราชสันตติวงศ์ ==
== พงศาวลี ==
== แผนผัง ==
== ดูเพิ่ม ==
รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย
ราชสกุลวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน
รายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกเรียงตามวันเสด็จขึ้นครองราชย์
รายพระนามพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ทั่วโลกตามระยะเวลาครองราชสมบัติ
การเสด็จออกมหาสมาคม ในรัชกาลที่ 9
ภูมิพลินทร์
== เชิงอรรถ ==
== อ้างอิง ==
=== บรรณานุกรม ===
ธนากิต, พระราชประวัติ 9 รัชกาลและพระบรมราชินี, สุวีริยาสาส์น, 2542, หน้า 383-427.
วิเชียร เกษประทุม, ราชาศัพท์และพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมพระราชวงศ์ โดยสังเขป, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา, 2546, หน้า 147-157.
พระเจ้าอยู่หัว, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2530.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
สำนักพระราชวัง
พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
สำนักราชเลขาธิการ
พระอัจฉริยภาพและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
The Sixtieth Anniversary Celebrations of His Majesty's Accession to the Throne - official website for the Diamond Jubilee
A Visionary Monarch - provides a lot of insights on his visions and contributions to the country.
The Golden Jubilee Network - has many subjects on Bhumibol, including his projects, speeches, and his royal new year card.
Supreme Artist - see works of art created by Bhumibol.
The King's Birthplace
Thai monarchy
Thailand’s Guiding Light
Thailand: How a 700-Year-Old System of Government Functions - article by David Lamb (LA Times staff writer) on Bhumibol
"'The King Never Smiles': L'etat, c'est moi", Sreeram Chaulia, worldpress.org, October 4, 2006
Far Eastern Economic Review, “The King’s Conglomerate”, June 1988. Contains an interview with Chirayu Isarangkun Na Ayuthaya, Crown Property Bureau
HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. The Story of Tongdaeng. Amarin Book, Bangkok. 2004. ISBN 9742729174
HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. The Story of Mahajanaka. Amarin Book, Bangkok. 1997. ISBN 9748364712
HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. The Story of Mahajanaka: Cartoon Edition. Amarin Book, Bangkok. 1999. ISBN 9742720746
HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. His Majesty the King's Photographs in the Development of the Country. Photographic Society of Thailand & Thai E, Bangkok. 1992. ISBN 9748880508
HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. Paintings by his Majesty the King: Special exhibition for the Rattanakosin Bicentennial Celebration at the National Gallery, Chao Fa Road, Bangkok, April 1-June 30, 1982. National Gallery, Bangkok. 1982. ASIN B0007CCDMO
HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand, Chaturong Pramkaew (Ed.). My Country Thailand...land of Everlasting Smile. Amarin Book, Bangkok. 1995. ISBN 9748363538
พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี
พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 20
พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 21
มหาราชแห่งประเทศไทย
พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์
เจ้าฟ้าชาย
พระองค์เจ้าชาย
ราชสกุลมหิดล
นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
นักกีฬาทีมชาติไทย
นักดนตรีชาวไทย
นักแต่งเพลงชาวไทย
นักถ่ายภาพชาวไทย
จิตรกรชาวไทย
นักเขียนชาวไทย
พุทธศาสนิกชนชาวไทย
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ม.ภ.
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก.
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร.
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.1
ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
บุคคลจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
ทหารบกชาวไทย
ทหารเรือชาวไทย
ทหารอากาศชาวไทย
ตำรวจชาวไทย
จอมพลชาวไทย
จอมพลเรือชาวไทย
จอมพลอากาศชาวไทย
คนพิการ
ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
พระกุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
ภูมิพลอดุลยเดช
บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516
บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย หลัง พ.ศ. 2544 | thaiwikipedia | 247 |
เข็มม่วง | เข็มม่วง (Violet Ixora; (Mast.) Lindau) เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) เป็นไม้ป่าในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคใต้ เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณเมตรเศษ ๆ ลำต้นเล็ก กิ่งก้านเปราะและมีสาขาไม่มากนัก ใบยาวรี ผิวใบสาก ออกเป็นคู่ตามข้อต้น ดอกออกเป็นช่อตั้งตามยอด สีม่วง คล้ายดอกเข็ม แต่ดอกไม่เกาะกลุ่มแน่นอย่างเข็ม ให้ดอกตลอดปี แต่โรยเร็ว ดอกมากในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์ด้วยการตอนหรือตัดกิ่งปักชำ เป็นไม้ประดับ
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
, 18 พฤศจิกายน 2547
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์เหงือกปลาหมอ | thaiwikipedia | 248 |
ประทัดไต้หวัน | ประทัดไต้หวัน หรือ ประทัดฟิลิปปินส์ (Scarlet bush, Firebush, Hummingbird Bush, Redhead) Jacq. เป็นพืชในวงศ์ Rubiaceae และเป็นไม่พุ่ม กิ่งสีน้ำตาลออกแดง ดอกเป็นหลอดเล็กแคบ สีส้มอมแดง ผลมีเนื้อนุ่ม สีดำ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ชอบแสงแดด มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่รัฐฟลอริดาทางตอนใต้ของสหรัฐ ไปจนถึงทางใต้ของอาร์เจนตินา
==การใช้ประโยชน์==
ฮัมมิงเบิร์ดและผีเสื้อเป็นสัตว์ที่มีบทบาทในการผสมเกสร ผลของประทัดไต้หวันมีรสเปรี้ยว กินได้ทั้งนกและคน ในเม็กซิโกมีการนำไปหมักเป็นเครื่องดื่มและใช้เป็นยาในทางสมุนไพรพื้นบ้าน มีสารออกฤทธิ์ทางยาหลายอย่างในประทัดไต้หวัน เช่น maruquine isomaruquine pteropodine isopteropodine palmirine rumberine seneciophylline และ stigmast-4-ene-3,6-dione เปลือกไม้มีแทนนิน แต่ยังไม่มีการศึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์ของพืชชนิดนี้
==อ้างอิง==
ประชิด วามานนท์. ไม้ประดับเพื่อการตกแต่ง. กทม. บ้านและสวน. 2550. หน้า 375
== ดูเพิ่ม ==
ประทัดจีน
เทียนประทัด
ไม้ดอกไม้ประดับ
พืชที่รับประทานได้
สมุนไพร
วงศ์เข็ม | thaiwikipedia | 249 |
ไข้หวัดนก | ไข้หวัดนก (Avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก โดยเริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460–2461 (ค.ศ.1918–1920) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่สเปน" (Spanish Flu)
เริ่มแพร่ระบาดจากฝั่งอาร์กติก และข้ามมาสู่ฝั่งแปซิฟิกภายในระยะเวลา 2 เดือน มีการประมาณผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 50–100 ล้านคน
หรือเท่ากับคนจำนวน 1 ใน 3 ของประชากรของทวีปยุโรป
ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500–2501 (ค.ศ.1957–1958) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่เอเซีย" (Asian Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1–4 ล้านคน
ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ.1968) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง" (Hong Kong Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1–4 ล้านคน
== เชื้อไข้หวัดนกแผ่ระบาดทั่วเอเชีย ==
=== ประเทศจีนและฮ่องกง ===
ต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และต่อมาพบนกกระยางป่วยในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยพบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานการระบาดที่ตลาดใหม่จินฮวาเขตลี่วาน เมืองกว่างโจว ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 114 ตัว และได้มีการฆ่าทำลายสัตว์ปีกอีก 518 ตัว
=== ประเทศเวียดนาม ===
มีนาคม พ.ศ. 2550 พบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในเป็ดอายุ 45 วัน ในจังหวัดหวิญล็อง บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยเป็ดเหล่านั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 และทางการเวียดนามได้สั่งฆ่าเป็ดไป 800 ตัว และสั่งฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ที่พบการระบาดซึ่งอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 140 กม.
พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พบการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มเป็ดอีกแห่งนอกเมืองหายฝ่อง ทำให้ลูกเป็ดอายุ 14 วัน ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีนล้มตาย 2,120 ตัว และผลตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 นับเป็นการระบาดของไข้หวัดนกครั้งที่ 2 ในพื้นที่ดังกล่าว และเวียดนามพบการติดเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกที่จังหวัดเหงะอาน ของเวียดนาม
=== ประเทศไทย ===
มีการระบาดมาสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยพบว่ามีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในปีนั้นกล่าวคือป่วย 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย ในปี พ.ศ. 2548 ป่วย 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปี พ.ศ. 2549 ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย โดยในปี พ.ศ. 2547 พบพื้นที่ระบาดมากที่สุดถึง 60 จังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 พบพื้นที่ระบาดรองลงมา 21 จังหวัด ในปี พ.ศ. 2549 พบเพียงสองจังหวัด ในปี พ.ศ. 2550 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัด และปีที่พบเป็นปีสุดท้ายได้แก่ พ.ศ. 2551 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุทัยธานี
=== ประเทศกัมพูชา ===
พบเด็กเสียชีวิตใน พ.ศ. 2555 หนึ่งราย โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2553 พบผู้ป่วย 10 ราย เสียชีวิตอีก 8 รายในช่วงเวลาดังกล่าว
=== ประเทศญี่ปุ่น ===
พบไวรัสไข้หวัดนก ในซาก " อินทรีเหยี่ยวภูเขา" มีผู้พบอินทรีตัวดังกล่าวมีอาการป่วย ที่หมู่บ้านซาการะ ในจังหวัดคุมาโมโตะ ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2550
== การตรวจวินิจฉัยโรค ==
ไข้หวัดนกในระยะแรกต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน 3–4 วันโดยวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 คือวิธีการเพาะแยกเชื้อไวรัสในไข่ไก่ฟักหรือเซลล์เพาะเลี้ยง เมื่อ พ.ศ. 2551 ทีมวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจสอบไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 ครอบคลุมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ต้นทุนการตรวจต่ำและรู้ผลภายใน 1 วันได้สำเร็จ นอกจากนี้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ยังได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักวิจัยชาวไทยเพื่อพัฒนาชุดตรวจวินัจฉัยไข้หวัดนกโดยใช้หลักการไบโอเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นชุดตรวจวินิจฉัยไข้หวัดนกที่มีความจำเพาะสูงกับไวรัสกลุ่ม H5 มีความไวสูงกว่าวิธีปัจจุบัน (IC) 100 เท่า ทราบผลภายใน 15 นาที และสามารถเก็บตัวอย่างได้นาน 1 เดือน ก่อนนำมาอ่านผลด้วยเครื่องตรวจวัดอีกด้วย
== วัคซีนป้องกัน ==
สหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนไข้หวัดนกตัวแรก โดยสร้างจากสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในคน เมื่อ พ.ศ. 2550 ในประเทศจีน พ.ศ. 2551 บริษัทชีวผลิตภัณฑ์เคอซิงปักกิ่ง ผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและใช้กับอาสาสมัครกว่า 500 ซึ่งยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล
== ไข้หวัดนกในคน ==
โดยปกติ ไข้หวัดนกไม่ติดต่อกับมนุษย์ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์คนจะติดไวรัส เรียกว่าไข้หวัดนกในคน มักเกิดขึ้นในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว จากอายุ 18–20 ปี และมีอัตราการตายสูงกว่า 60%
== การป้องกันโรค ==
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
ดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ
หมั่นล้างมือเป็นประจำเพื่อฆ่าเชื้อโรค และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
หากมีไข้สูง และเคยสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
== ดูเพิ่ม ==
ไข้หวัดใหญ่ในสุกร
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
โรครับจากสัตว์
สัตว์ปีก
ไข้หวัดใหญ่
จุลชีววิทยา
โรคติดเชื้อไวรัส | thaiwikipedia | 250 |
นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ | นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เนื้อหาเกี่ยวกับนินจา เรื่องและภาพโดยมาซาชิ คิชิโมโตะ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ลงในนิตยสาร "โชเน็งจัมป์" ในประเทศญี่ปุ่น โดยมีโครงเรื่องเดิมมาจากผลงานที่คิชิโมโตะเคยเสนอให้สำนักพิมพ์ในปี 2540 ซึ่งต่อมาได้ถูกสร้างเป็น อนิเมะ และ เกม หลายต่อหลายภาค
ส่วนในประเทศไทย นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ ตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์บูม ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัทเนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ส่วนหนังสือการ์ตูนมีทั้งหมด 72 เล่ม ส่วนภาคอนิเมะในชื่อไทยมี 2 ภาค คือ "นารูโตะ นินจาจอมคาถา" และ "นารูโตะ ตำนานวายุสลาตัน" เป็นลิขสิทธิ์ของ "โรส วิดีโอ" และเคยออกฉายทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ไทยพีบีเอส ในปัจจุบัน) และ ช่อง5 "นารูโตะ นินจาจอมคาถา" มีภาคมูฟวี่ 3 ภาค และ "นารูโตะ ตำนานวายุสลาตัน" มีภาคมูฟวี่ 8 ภาค และมีการฉายฉบับเสียงพากย์ภาษาไทย - อังกฤษผ่านทางช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ก (ทรูวิชั่นส์) โดยจะเรียกชื่อเรื่องว่า นารูโตะ และใช้ทีมพากย์ภาษาไทยของทางการ์ตูนเน็ตเวิร์ก เอง และช่องรายการดาวเทียม "Gang Cartoon Channel" ทีมพากษ์โรส วิดีโอ
นินจาคาถาโอ้โฮเฮะคือหนึ่งในการ์ตูนที่โด่งดังที่สุดของประเทศญี่ปุ่น และได้รับความนิยมประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในอเมริกาและยุโรป มีเนื้อหาเกี่ยวกับนินจา ศาสตร์เวทมนตร์ โดยมีกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นโบราณผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ปรัชญาและคำสอนที่กินใจ ปมฝังใจในวัยเด็กที่แตกต่างกันของแต่ละคนเชื่อมโยงสู่อตีตอย่างคาดไม่ถึง การเรียนรู้ถึงความเจ็บปวดของสงครามที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในจิตใจของมนุษย์
== เนื้อเรื่อง ==
== ตัวละคร ==
ทางผู้เขียนเรื่อง มาซาชิ คิชิโมโตะ และชูเอชะ ได้ออกหนังสือแนะนำตัวละครมา ในชื่อ ฮิเด็นโทโนะโชะ (秘伝・闘の書) ในภาคแรก
ในหนังสือจะมีการกล่าวถึงพื้นฐานและประวัติของตัวละครแต่ละตัว โดยในหนังสือตีพิมพ์ในภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด รายละเอียดในเล่ม หลายอย่าง เช่น วันเกิด กรุ๊ปเลือด อาหารที่ชอบ อาหารที่ไม่ชอบ งานอดิเรก ความสามารถ ตรรกะต่างๆ ระดับขั้นนินจาของทุกคน
และล่าสุดคือหนังสือฮิเด็นชาโนะโชะ (秘伝・者の書 ― キャラクターオフィシャルデータBOOK) ที่ละเอียดกว่าเล่มแรกมาก จะได้เห็นละเอียดความสามารถการเติบโตของตัวละครที่เพิ่มขึ้นจากภาคแรก
== รายชื่อตอนทั้งหมด ==
มังงะ
รายชื่อตอนนารูโตะ (มังงะ)
อนิเมะ
รายชื่อตอนนารูโตะ นินจาจอมคาถา
รายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตัน
นารูโตะ เน็กซ์ เจนเนเรชั่น
== ตอนพิเศษ ==
คาคาชิไกเดน มังงะ 6 ตอนจบ ภารกิจของคาคาชิกับเพื่อนร่วมทีมนำโดยโฮคาเงะรุ่นที่ 4 เหตุการณ์ตอนที่ได้รับเนตรวงแหวน จากอุจิวะ โอบิโตะเป็นเรื่องราวในช่วงก่อนตอนที่ 1 ช่วงปลายของสงครามนินจา แต่ในหนังสือการ์ตูนมาตีพิมพ์ในช่วงระหว่างภาคที่ 1 กับภาคที่ 2 (อนิเมะตอนที่ 339-340 ในภาค2)
=== ตอนพิเศษที่มีเฉพาะในภาพยนตร์การ์ตูนชุด ===
นี่เป็นรายชื่อตอนพิเศษของนารูโตะ นินจาจอมคาถา ที่มีเฉพาะในอนิเมะเท่านั้น ไม่มีในมังงะ
ภารกิจสืบข่าวที่หมู่บ้านโอโตะงาคุเระ และ ช่วย ซาซาเมะตามหาพี่ชายที่ถูกโอโรจิมารุจับตัวไป (ตอนที่ 136 - 141)
ภารกิจการตามล่าและการต่อสู้ระหว่าง มิซึกิ (อาจารย์ที่ปรากฏในตอนปฐมบทของนารูโตะ - ภายหลังไปฝักใฝ่โอโรจิมารู คล้ายกับซาซึเกะ) กับนารูโตะที่ร่วมมือกับอาจารย์อิรูกะ (ตอนที่ 142 - 147)
ภารกิจการตามล่าหาแมลงของทีมของฮินาตะ (นินจากลุ่ม 8) และการปะทะกันของตระกูลอะบุราเมะกับตระกูลแมลงอีกตระกูลชื่อคามิซึรุอิ (ตอนที่ 148 - 151)
ภารกิจกับกลุ่มของเนจิ การไปเยือนหมู่บ้านที่ตระกูลคุโรซึเกะ (หนึ่งในกลุ่มเจ็ดดาบนินจาแห่งคิริ) ที่มีการกดขี่ เมื่อทำผิดจะมีการฝังทั้งเป็น (อาจเรียกว่าเป็นงานศพของคนเป็น) เพื่อต่อสู้ปะทะกัน (ตอนที่ 152 - 157)
ภารกิจที่มอบให้รุ่นพี่ ๆ แห่งหมู่บ้านโคโนฮะงาคุเระ (รุ่นของนารูโตะและร็อกลี) พาพวกรุ่นน้อง ๆ (รุ่นของโคโนฮะมารู) ไปฝึกวิชากัน (ตอนที่ 158)
ภารกิจการตามล่าตัวอาชญากรชื่อ โกซุนคุงิ ร่วมทีมกับคิบะและฮินาตะ (ตอนที่ 159 - 160)
การบุกรุกเพื่อสืบข้อมูลจากหมู่บ้านโคโนฮะ (ตอน 161)
ภารกิจกับเนจิและเท็นเท็น ต่อสู้กับการความจริงเรื่อง"ผี" (ตอน 162 - 167)
ภารกิจช่วยลูกสาวร้านราเม็ง (ตอน 168)
ภารกิจหาความจริงเรื่อง มนุษย์ปลา กับ อดีตของอาจารย์อังโกะ (ตอน 169-173)
ภารกิจพาลูกเศรษฐีดู ชีวิตนินจาเต็มวัน (ตอน 174)
ภารกิจตามล่าหาขุมทรัพย์กับคิบะและฮินาตะ (ตอน 175-176)
ภารกิจระงับการเกิดสงครามกับจิไรยะ (ตอน 177)
ภารกิจคุ้มครองหินอุกกาบาตกับเนจิ ลี และเท็นๆ (ตอน 178-183)
ภารกิจช่วยไล่พิษเซรุ่มร้ายแรงในตัวอากามารุ และ คิบะได้ทำให้อากมารุกลับเป็นอย่างเดิม (ตอน 184)
ภารกิจช่าวยดูแลออนบะ ที่ติดอยู่ที่หลังของนารูโตะ และ ปล่อยมันกลับหาแม่ (ตอน 185)
ภารกิจช่วยไปงานศพแทนลูกชายเจ้าของไร่ซึ่งห้ามหัวเราะเด็ดขาด ตอนนี้ชิโนะหัวเราะครั้งแรก (ตอน 186)
ภารกิจช่วยคุ้มครองเจ้าหญิงแห่งแคว้นนะให้หลบหนี และต่อกรกับ 3 พี่น้องปีศาจ (ตอน 187-191)
ภารกิจให้อิโนะเข้าพิธีดูตัวแทนเจ้าหญิงที่หน้าตาเหมือนอิโนะเปี๊ยบแต่อ้วนกว่า (ตอน 192)
ภารกิจเป็นคู่ซ้อมให้ลี ที่โรงฝึก (ตอน 193)
ภารกิจปราสาทผีสิงต้องคำสาป (ตอน 194)
ภารกิจจัดการ 3 พี่น้องที่พ่อเป็นศัตรูของไก (ตอน 195-196)
ภารกิจกู้ระเบิดในโคโนฮะที่วางไว้เมื่อ 30 ปีก่อนและจัดการเกนโนมือวางกับดัก (ตอน 197-201)
ภารกิจ5อันดับฉากประทับใจ (ตอน202)
ภารกิจปกป้องยาคุโม่ ของทีมคุเรไนและนารูโตะ (ตอน 203-207)
ภารกิจปกป้องชามฟุโจทัตสึ (ตอน208)
ภารกิจคุ้มกันนักโทษไปเมืองหลวงกับซากุระและลี ซึ่งความจริงเป็นคนช่วยด็กไว้หลายคน (ตอน 209-212)
ภารกิจช่วย เมนมะ เด็กหนุ่มที่ความจำเสื่อมให้กลับมาจำได้อีกครั้งกับเนจิและเท็นเท็น (ตอน 213-215)
ภารกิจรวมพลไปช่วยกาอาระที่จะถูกแย่งพลังไป และนารุโตะออกเดินทาง (ตอน 216-220)
== ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว ==
นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ ได้ถูกจัดทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว สร้างโดยบริษัทโตโฮ กำกับโดยผู้กำกับเทนไซ โอกามูระ ฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่น 3 ภาค ภาคชิปปูเดนอีก 6 ภาค และในปัจจุบันเข้าฉายในประเทศไทย 6 ภาค
=== นารูโตะ เดอะมูฟวี่ ===
=== นารูโตะ ชิปปูเดน เดอะมูฟวี่ ===
== โอวีเอ ==
นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ ได้ถูกจัดทำเป็นโอวีเอ ดังนี้
== เพลงประกอบ ==
=== ภาคแรก ===
เพลงเปิดเรื่อง
Rocks (R★O★C★K★S, Rokusu) ขับร้องโดย Hound Dog (ตอนที่ 1-25)
Haruka Kanata (遥か彼方) ขับร้องโดย Asian Kung-Fu Generation (ตอนที่ 26-53)
Kanashimi wo Yasashisani (悲しみをやさしさに) ขับร้องโดย Little by Little (ตอนที่ 54-77)
GO!!! ขับร้องโดย Flow (ตอนที่ 78-103)
Seishun Kyosokyoku (青春狂騒曲) ขับร้องโดย Sambomaster (ตอนที่ 104-128)
No Boy, No Cry (ノーボーイ·ノークライ) ขับร้องโดย Stance Punks (ตอนที่ 129-153)
Namikaze Sateraito (波風サテライト) ขับร้องโดย Snowkel (ตอนที่ 154-178)
Re:member ขับร้องโดย Flow (ตอนที่ 179-202)
Yura Yura (ユラユラ) ขับร้องโดย Hearts Grow (ตอนที่ 203-220)
เพลงปิดเรื่อง
Wind ขับร้องโดย Akeboshi (ตอนที่ 1-25)
Harmonia ขับร้องโดย Rythem (ตอนที่ 26-51)
Viva★Rock ขับร้องโดย Orange Range (ตอนที่ 52-64)
ALIVE ขับร้องโดย RAICO (ตอนที่ 65-77)
Ima made Nando mo (今まで何度も) ขับร้องโดย The Massmissile (ตอนที่ 78-89)
Ryūsei ขับร้องโดย TiA (ตอนที่ 90-103)
Mountain A Go Go Two (マウンテン·ア·ゴーゴー·ツー) ขับร้องโดย Captain Straydum (ตอนที่ 104-115)
Hajimete Kimi to Shabetta (はじめて君としゃべった) ขับร้องโดย GaGaGa SP (ตอนที่ 116-128)
Nakushita Kotoba (失くした言葉) ขับร้องโดย No Regret Life (ตอนที่ 129-141)
Speed ขับร้องโดย Analog Fish (ตอนที่ 142-153)
Soba ni iru kara (そばにいるから) ขับร้องโดย Amadori (ตอนที่ 154-165)
Parade ขับร้องโดย Chaba (ตอนที่ 166-178)
Yellow Moon ขับร้องโดย Akeboshi (ตอนที่ 179-191)
Pinokio (ピノキオ) ขับร้องโดย Ore Ska Band (ตอนที่ 192-202)
Scenario ขับร้องโดย Saboten (ตอนที่ 203-220)
เพลงปิดภาพยนตร์
Home Sweet Home ขับร้องโดย Yuki Isoya (ภาพยนตร์ตอน นารูโตะ เดอะมูฟวี่ ศึกชิงเจ้าหญิงหิมะ)
Ding! Dong! Dang! ขับร้องโดย Tube (ภาพยนตร์ตอน นารูโตะ เดอะมูฟวี่ ศึกครั้งใหญ่ ผจญนครปิศาจใต้พิภพ)
Tsubomi (つぼみ) ขับร้องโดย Maria (ภาพยนตร์ตอน นารูโตะ เดอะมูฟวี่ เกาะเสี้ยวจันทรา)
=== ภาควายุสลาตัน ===
เพลงเปิดเรื่อง
Hero's Come Back!! ขับร้องโดย Nobodyknows (ตอนที่ 1-30)
Distance ขับร้องโดย Long Shot Party (ตอนที่ 31-53)
Blue Bird (ブルーバード) ขับร้องโดย Ikimono-gakari (ตอนที่ 54-77)
Closer ขับร้องโดย Joe Inoue (ตอนที่ 78-102)
Hotaru no Hikari (ホタルノヒカリ) ขับร้องโดย Ikimono-gakari (ตอนที่ 103-128)
Sign ขับร้องโดย FLOW (ตอนที่ 129-153)
Tōmei datta Sekai (透明だった世界) ขับร้องโดย Motohiro Hata (ตอนที่ 154- 179)
Diver ขับร้องโดย Nico Touches the Walls (ตอนที่ 180-205 )
Lovers ขับร้องโดย 7!! Seven Oops (ตอนที่ 206-230)
New Song ขับร้องโดย Tacica (ตอนที่ 231-256)
Assault Rock ขับร้องโดย THE CRO-MAGNONS (ตอนที่ 257-281)
Moshimo (もしも) ขับร้องโดย Daisuke (ตอนที่ 282-306)
Not Even Giving In To the Sudden Rain ขับร้องโดย NICO Touches the Walls (ตอนที่ 307-332)
Size of the Moon ขับร้องโดย Nogizaka46 (ตอนที่ 333-356)
Crimson Lotus ขับร้องโดย DOES (ตอนที่ 357-379)
Silhouette ขับร้องโดย KANA-BOON (ตอนที่ 380-405)
Wind ขับร้องโดย Yamazaru (ตอนที่ 406-431)
LINE ขับร้องโดย Sukima Switch (ตอนที่ 432-458)
Blood Circulator ขับร้องโดย Asian Kung-Fu Generation (ตอนที่ 459-479)
Empty Heart ขับร้องโดย Anly (ตอนที่ 480-500)
เพลงปิดเรื่อง
Nagareboshi Shooting Star (流れ星 〜Shooting Star〜) ขับร้องโดย Home Made Kazoku (ตอนที่ 1-18)
Michi: to you all (道 〜to you all) ขับร้องโดย Alüto (ตอนที่ 19-30)
Kimi Monogatari (キミモノガタリ) ขับร้องโดย Little by Little (ตอนที่ 31-41)
Mezamero! Yasei (目覚めろ!野性) ขับร้องโดย Matchy with Question? (ตอนที่ 42-53)
Sunao na Niji (素直な虹) ขับร้องโดย Surface (ตอนที่ 54-63)
Broken Youth ขับร้องโดย Nico Touches the Walls (ตอนที่ 64-77)
Long Kiss Good Bye ขับร้องโดย Halcali (ตอนที่ 78-90)
Bacchikoi!!! (バッチコイ!!!) ขับร้องโดย Dev Parade (ตอนที่ 91-102)
Shinkokyū (深呼吸) ขับร้องโดย Super Beaver (ตอนที่ 103-115)
My Answer ขับร้องโดย Seamo (ตอนที่ 116-128)
Omae dattanda (おまえだったんだ) ขับร้องโดย Kishidan (ตอนที่ 129-141)
For You ขับร้องโดย Azu (ตอนที่ 142-153)
Jitensha (自転車) ขับร้องโดย OreSkaBand (ตอนที่ 154-166 )
Utakata Hanabi (うたかた花火) ขับร้องโดย Supercell (ตอนที่ 167-179)
U can do it ขับร้องโดย Domino (ตอนที่ 180-190)
Mayonaka no Orchestra (真夜中の楽団) ขับร้องโดย Aqua Timez (ตอนที่ 191-205)
Freedom ขับร้องโดย Home Made Kazoku (ตอนที่ 206-218)
Shout Out Your Desires!!!! ขับร้องโดย OKAMOTO'S (ตอนที่ 219-230)
Place To Try ขับร้องโดย TOTALFAT (ตอนที่ 231-242)
By my Side ขับร้องโดย Hemenway (ตอนที่ 243-256)
Cascade ขับร้องโดย UNLIMITS (ตอนที่ 257-268)
Kono Koe Karashite ขับร้องโดย AISHA (ตอนที่ 269-281)
Mother ขับร้องโดย MUCC (ตอนที่ 282-295)
Sayonara Memory ขับร้องโดย 7!! Seven Oops (ตอนที่ 296-306)
I Can Hear ขับร้องโดย DISH// (ตอนที่ 307-319)
Carry Your Dreams ~The Crissroad of Beginnings~ ขับร้องโดย Rake (ตอนที่ 320-332)
Black Night Town ขับร้องโดย Akihisa Kondō (ตอนที่ 333-343)
Rainbow ขับร้องโดย Vacuum Hollow (ตอนที่ 344-356)
FLAME ขับร้องโดย DISH// (ตอนที่ 357-366)
Never Change feat.Lyu:Lyu ขับร้องโดย SHUN (ตอนที่ 367-379)
It’s Absolutely No Good ขับร้องโดย Shiori Tomita (ตอนที่ 380-393)
Spinning World ขับร้องโดย Diana Garnett (ตอนที่ 394-405)
A Promise That Doesn't Need Words ขับร้องโดย sana (ตอนที่ 406-417)
Rainbow's Sky ขับร้องโดย FLOW (ตอนที่ 418-431)
Troublemaker ขับร้องโดย KANIKAPILA (ตอนที่ 432-443)
Such You, Such Me ขับร้องโดย Thinking Dogs (ตอนที่ 444-454)
Blue Lullaby ขับร้องโดย Kuroneko Chelsea (ตอนที่ 455-466)
Pino and Amélie ขับร้องโดย Huwie Ishizaki (ตอนที่ 467-479)
Departure Song ขับร้องโดย AYUMIKURIKAMAKI (ตอนที่ 480-488)
Absolutely ขับร้องโดย Swimy (ตอนที่ 489-500)
เพลงปิดภาพยนตร์
Lie-Lie-Lie ขับร้องโดย DJ OZMA (ภาพยนตร์ตอน Naruto Shippūden the Movie)
No Rain No Rainbow ขับร้องโดย Home Made Kazoku (HOME MADE 家族) (ภาพยนตร์ตอน Naruto Shippūden 2: Bonds)
Dareka Ga ขับร้องโดย Puffy AmiYumi (ภาพยนตร์ตอน Naruto Shippūden 3: Inheritors of the Will of Fire)
If ขับร้องโดย Kana Nishino (西野 カナ) (ภาพยนตร์ตอน Naruto Shippūden 4: The Lost Tower)
Otakebi ขับร้องโดย yusuke (ภาพยนตร์ตอน Naruto Shippūden 5: Blood Prison)
Well Then, See You Tomorrow ขับร้องโดย Asian Kung-Fu Generation (ภาพยนตร์ตอน Naruto Shippūden 6: Road to Ninja)
Star Vessel ขับร้องโดย Sukima Switch (ภาพยนตร์ตอน The Last: Naruto the Movie)
Diver ขับร้องโดย KANA-BOON (ภาพยนตร์ตอน Boruto: Naruto the Movie)
=== โบรูโตะ ===
=== วิดีโอเกมส์ ===
== ดูเพิ่ม ==
ตัวละครทั้งหมด
ระดับชั้นนินจา
คาถา วิชานินจา และท่าไม้ตาย
ขีดจำกัดสายเลือด
ภูมิประเทศในเรื่อง
จักระ
กลุ่ม ตระกูล ทีมและหน่วย
==อ้างอิง==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เว็บเครือข่ายดีสนีย์อย่างเป็นทางการ
เว็บนารูโตะ ของโชเนนจัมป์
เว็บนารูโตะ ของทีวีโตเกียว
เว็บนารูโตะ Naruto in Thailand
เพจแฟนคลับนารูโตะ NIT
เว็บนารูโตะ NOP
เว็บนารูโตะ NCT
การ์ตูนญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง
อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2545
อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2550
ปิเอโร (บริษัท)
แอนิแมกซ์
รายการโทรทัศน์ช่องทีวีโตเกียว
รายการโทรทัศน์ช่อง 5
รายการโทรทัศน์ช่อง 9
รายการโทรทัศน์ช่องไอทีวี
รายการโทรทัศน์ช่องจีเอ็มเอ็ม 25
รายการโทรทัศน์ช่องโมโน 29
การ์ตูนญี่ปุ่นแนวก้าวผ่านวัย | thaiwikipedia | 251 |
ประเทศสเปน | สเปน (Spain; España, ) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรสเปน (Kingdom of Spain; Reino de España) เป็นประเทศทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรีย มีพรมแดนติดกับฝรั่งเศสทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวเทือกเขาพิรินี ทางทิศเหนือติดกับอันดอร์รา และอ่าวบิสเคย์ ทางทิศใต้ติดกับยิบรอลตาร์ และทางทิศตะวันตกติดกับโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก อาณาเขตของสเปนยังรวมถึงกานาเรียสในมหาสมุทรแอตแลนติก หมู่เกาะแบลีแอริกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งนครปกครองตนเองได้แก่ เซวตา และ เมลียา และดินแดนโพ้นทะเลบริเวณปลาซัสเดโซเบรานิอา ด้วยพื้นที่ 505,990 ตารางกิโลเมตร สเปนจึงเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปใต้ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรปตะวันตกและสหภาพยุโรป และเป็นอันดับ 4 ในทวีปยุโรป และด้วยประชากร 47 ล้านคน สเปนจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 6 ของยุโรป และเป็นอันดับ 4 ในสหภาพยุโรป เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือกรุงมาดริด และมีเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ บาร์เซโลนา, บาเลนเซีย, เซบิยา, ซาราโกซา, มาลากา, มูร์เซีย, ปัลมาเดมาจอร์กา และบิลเบาโอ มีภาษาราชการคือภาษาสเปน ซึ่งเป็นภาษาแม่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีผู้ใช้มากที่สุดในบรรดากลุ่มภาษาโรมานซ์
ปรากฎหลักฐานว่าชนเผ่าต่าง ๆ เช่น เคลต์ ไอบีเรียน โรมัน วิซิกอท และ มัวร์ เข้ามาตั้งรกรากในบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อมา ชาวเมดิเตอร์เรเนียน เช่น ฟินิเชีย และ กรีก ได้เข้ามาตั้งรกรากและทำการค้าบริเวณริมชายฝั่ง และชาวฟินิเซียตะวันตกได้ยึดครองบริเวณนี้ในช่วงเวลาสั้น ๆ และตั้งแต่ 218 ปีก่อนคริสต์ศักราช การล่าอาณานิคมของชาวโรมันในฮิสเปเนียได้เริ่มต้นขึ้น พวกเขาครอบครองดินแดนของสเปนในระยะเวลาอันรวดเร็ว และขับไล่ชาวฟินิเซียออกจากอาณาเขตในช่วง 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวโรมันได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่ารวมถึงภาษา ศาสนา กฎหมาย และการเมืองการปกครองเอาไว้ ฮิสเปเนียยังเป็นแหล่งกำเนิดของจักรพรรดิโรมัน เช่น จักรพรรดิไตรยานุส และ ฮาดริอานุส ฮิสปาเนียยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของโรมันจนกระทั่งการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลานี้ บริเวณคาบสมุทรถูกปกครองโดยกลุ่มชาติพันธุ์โบราณต่าง ๆ เช่น แวนดัล, วิซิกอท และ อลันส์ ในขณะที่ส่วนหนึ่งของชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตกเป็นของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก่อนที่ราชอาณาจักรวิซิกอทจะขึ้นมาเรืองอำนาจในบริเวณนี้
ในยุคกลาง อาณาจักรวิซิกอทถูกรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์รุกราน ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิมเป็นเวลากว่า 700 ปี ในช่วงเวลานั้น อัลอันดะลุสได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 โดยมีกอร์โดบาเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งมากที่สุดในยุโรป และอาณาจักรของชาวคริสเตียนยังได้ถือกำเนิดขึ้น เช่น เลออน, กัสติยา, อารากอน, นาวาร์ และโปรตุเกส ชาวมัวร์ยังคงหลงเหลืออยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียจนกระทั่งใน ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นปีที่ราชอาณาจักรกัสติยาและอารากอนสามารถขับไล่ชาวมัวร์ออกไปได้สำเร็จหลังจากเกิดกระบวนการพิชิตดินแดนคืนที่ยาวนานถึง 770 ปี การรวมราชวงศ์ครั้งใหม่ระหว่างราชบัลลังก์กัสติยาและราชบัลลังก์อารากอนถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสเปนในฐานะประเทศ
ในยุคแห่งการสำรวจระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 17 จักรวรรดิสเปนได้กลายเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยแผ่ขยายข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการค้าด้วยโลหะมีค่า การปฏิรูปราชวงศ์บูร์บงในศตวรรษที่ 18 รวมอำนาจการปกครองไว้บนแผ่นดินใหญ่ของสเปน ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม เช่น ศิลปะ วรรณกรรม อาหาร สถาปัตยกรรม และดนตรี เรียกว่ายุคทองของสเปนซึ่งขยายอิทธิพลไปทั่วโลก และส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกามาถึงปัจจุบัน ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคมส่งผลให้สเปนกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรป และขึ้นชื่อในด้านการล่าอาณานิคม แม้สเปนจะได้รับชัยชนะในสงครามคาบสมุทรในศตวรรษที่ 19 ทว่าความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างฝ่ายเสรีนิยมและสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม นำไปสู่ความเป็นอิสระของประเทศอาณานิคมส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สเปนมีการปกครองด้วยระบอบเผด็จการภายใต้การนำของฟรังโก ความขัดแย้งยังคงยืดเยื้อจนนำไปสู่สงครามกลางเมือง ก่อนที่ระบอบฟรังโกจะสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1975 ระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจของประเทศได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง ปัจจุบันสเปนกลายเป็นรัฐโลกวิสัยซึ่งปกครองโดยพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและรัฐสภา ที่มาจากการเลือกตั้งนับตั้งแต่มีการผ่านรัฐธรรมนูญเมื่อ ค.ศ. 1978
สเปนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีรายได้ต่อหัวของประชากรสูง โดยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของโลกทั้งในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ สเปนเป็นประเทศที่มีอัตราการคาดหมายคงชีพสูง และยังมีระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพติดอันดับโลก โดยขึ้นชื่อในด้านการปลูกถ่าย และการบริจาคอวัยวะ สเปนเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ, สหภาพยุโรป, ยูโรโซน, สภายุโรป, องค์การรัฐไอบีโร-อเมริกา, สหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน, องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา, องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, เขตเชงเกน และ องค์การการค้าโลก สเปนยังมีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก และมีนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นจุดหมายยอดนิยมของนักศึกษาแลกเปลี่ยนในโครงการเอรัสมุส
== ภูมิศาสตร์ ==
ประเทศสเปนมีเนื้อที่ 505,955 ตารางกิโลเมตร (194,884 ตารางไมล์) มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 51 ของโลก (รองจากประเทศไทย) มีขนาดพอ ๆ กับประเทศเติร์กเมนิสถาน และค่อนข้างจะใหญ่กว่ารัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา โดยนอกจากจะมีพื้นที่บนคาบสมุทรไอบีเรียแล้ว อาณาเขตของประเทศยังรวมไปถึงหมู่เกาะแบลีแอริกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กานาเรียสในมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองเซวตา และเมืองเมลียา ในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ (สเปนจึงมีอาณาเขตติดต่อกับโมร็อกโกด้วย) และเกาะเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ทางด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของช่องแคบยิบรอลตาร์ ที่เรียกว่า ปลาซัสเดโซเบรานิอา (Plazas de soberanía) เช่น เกาะชาฟารีนัส เกาะอัลโบรัง โขดหินเบเลซเดลาโกเมรา โขดหินอาลูเซมัส และเกาะเปเรฆิล ทางทิศเหนือในแนวเทือกเขาพิรินี เมืองเล็ก ๆ ที่เป็นดินแดนส่วนแยก (exclave) ชื่อ ยิบิอา (Llívia) ในแคว้นกาตาลุญญา มีดินแดนประเทศฝรั่งเศสล้อมรอบอยู่
=== ที่ตั้ง ===
ประเทศสเปน (แผ่นดินใหญ่) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปบนคาบสมุทรไอบีเรีย
ทิศเหนือ จรดทะเลกันตาเบรีย ประเทศฝรั่งเศส และประเทศอันดอร์รา
ทิศตะวันออก จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทิศใต้ จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบยิบรอลตาร์ และอ่าวกาดิซ
ทิศตะวันตก จรดประเทศโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก
=== เขตแดน ===
เขตแดนทางบก:
ทั้งหมด:
1,917.8 กิโลเมตร
ประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อ:
อันดอร์รา 63.7 กิโลเมตร, ฝรั่งเศส 623 กิโลเมตร, ยิบรอลตาร์ 1.2 กิโลเมตร, โปรตุเกส 1,214 กิโลเมตร, โมร็อกโก (เซวตา) 6.3 กิโลเมตร, โมร็อกโก (เมลียา) 9.6 กิโลเมตร
ชายฝั่งทะเล:
4,964 กิโลเมตร
การอ้างสิทธิ์ทางทะเล:
เขตนอกน่านน้ำอาณาเขต: 24 ไมล์ทะเล (44 กิโลเมตร)
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ:
200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) (เฉพาะในมหาสมุทรแอตแลนติก)
ทะเลอาณาเขต:
12 ไมล์ทะเล (22 กิโลเมตร)
ระดับความสูง:
จุดต่ำสุด:
มหาสมุทรแอตแลนติก 0 เมตร
จุดสูงสุด:
ยอดเขาเตย์เด (Pico del Teide) ในแคว้นกานาเรียส สูง 3,718 เมตร
หมายเหตุ ภูเขาที่สูงที่สุดในภาคพื้นทวีปของสเปนคือ มูลาเซน (Mulhacén) ในจังหวัดกรานาดา แคว้นอันดาลูซิอา สูง 3,481 เมตร
=== ลักษณะภูมิประเทศ ===
แผ่นดินใหญ่ของประเทศสเปนมีลักษณะเด่นคือ เป็นที่ราบสูงและแนวภูเขา เช่น เทือกเขาพิรินี ซิเอร์ราเนบาดา โดยมีแม่น้ำสายหลักหลายสายที่ไหลจากบริเวณที่สูงเหล่านี้ ได้แก่ แม่น้ำเทกัส (Tagus) แม่น้ำเอโบร (Ebro) แม่น้ำโดรู (Duero) แม่น้ำกัวเดียนา (Guadiana) และแม่น้ำกัวดัลกิบีร์ (Guadalquivir)
ส่วนที่ราบตะกอนน้ำพาพบได้ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล โดยที่มีใหญ่ที่สุดได้แก่ ที่ราบตะกอนน้ำพาของแม่น้ำกวาดัลกีวีร์ในแคว้นอันดาลูซิอา ส่วนในภาคตะวันออกจะมีที่ราบชนิดนี้บริเวณแม่น้ำขนาดกลาง เช่น แม่น้ำเซกูรา (Segura) แม่น้ำฆูการ์ (Júcar) แม่น้ำตูเรีย (Turia) เป็นต้น
=== ลักษณะภูมิอากาศ ===
เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสเปนเอง ที่ส่วนเหนือนั้นอยู่ในทิศทางของกระแสลมกรด รวมทั้งสภาพพื้นที่และภูเขา จึงทำให้ภูมิอากาศของประเทศนี้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก โดยแบ่งหยาบ ๆ ได้ตามบริเวณต่าง ๆ ต่อไปนี้ ภูมิอากาศ ตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น แต่เนื่องจากลักษณะของภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ อากาศของภูมิภาคต่างๆ จึงมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศ เช่น ภาคเหนือ มีสภาพอากาศของริมฝั่งทะเล ซึ่งโดยปกติในฤดูหนาวไม่หนาวจัด และเย็นสบายในฤดูร้อน แต่เป็นภาคที่ฝนตกฉุกและมีความชื้นสูง ส่วนภาคกลาง และภาคใต้ สภาพอากาศแห้ง ฝนตกน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด แต่ในฤดูหนาวไม่หนาวจัด
เขตภูมิอากาศหนาวแบบชื้นภาคพื้นทวีป ได้แก่บริเวณพื้นที่ตอนในของคาบสมุทร เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ มาดริด ( เขตภูมิอากาศนี้เป็นส่วนน้อยของประเทศสเปน )
เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กินพื้นที่ตั้งแต่ที่ราบอันดาลูซิอาตามชายฝั่งทางใต้และตะวันออก เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ บาร์เซโลนา
เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทร ได้แก่บริเวณแคว้นกาลิเซียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และชายฝั่งทะเลกันตาเบรีย (อ่าวบิสเคย์) ซึ่งมักเรียกบริเวณนี้ว่า "สเปนเขียว (Green Spain)" เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ บิลเบา
และสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศได้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้
ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนเหนือและตะวันออก (กาตาลุญญา บาเลนเซียภาคเหนือ และหมู่เกาะแบลีแอริก): ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัด สัมพันธ์กับอากาศที่อบอุ่นจนถึงเย็นในฤดูหนาว มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 600 มิลลิเมตรต่อปี ถือเป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกเฉียงใต้ (อาลิกันเต มูร์เซีย และอัลเมริอา): ฤดูร้อนมีอากาศร้อน ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นจนถึงเย็น กาโบเดกาตา (ได้รับรายงานว่าเป็นสถานที่ที่มีอากาศแห้งที่สุดในยุโรป) มีอากาศแห้งมากและกึ่งทะเลทรายอย่างแท้จริง ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีเพียง 150 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนใหญ่พื้นที่นี้จึงถูกจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบกึ่งแห้งแล้งตามเกณฑ์ปริมาณน้ำฝน
ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนใต้ (พื้นที่มาลากาและชายฝั่งของกรานาดา): ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวอากาศเย็นสบายไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 20 องศาเซลเซียสและมีอากาศชื้น มีลักษณะใกล้เคียงภูมิอากาศแบบกึ่งโซนร้อน
หุบเขากวาดัลกีวีร์ (เซบิยาและกอร์โดบา): ฤดูร้อนมีอากาศแห้งและร้อนจัด ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศเย็นสบายไม่หนาวจัด
ชายฝั่งแอตแลนติกตะวันตกเฉียงใต้ (กาดิซและอวยลวา): ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอากาศค่อนข้างสบาย ไม่รุนแรง อากาศชื้น
ที่ราบสูงภายใน: ฤดูหนาวอากาศหนาว (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพื้นที่) ฤดูร้อนอากาศร้อน มีลักษณะใกล้เคียงภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป และถือว่ามีอากาศแห้ง (ปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปี 400-600 มิลลิเมตร)
หุบเขาเอโบร (ซาราโกซา): ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด ส่วนฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น ใกล้เคียงกับภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีปเช่นกัน ถือว่ามีอากาศแห้งตามเกณฑ์ปริมาณน้ำฝน
ชายฝั่งแอตแลนติกเหนือ หรือ "สเปนเขียว" (กาลิเซีย อัสตูเรียส ชายฝั่งบาสก์): อากาศชื้นมาก (ปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปี 1,000 มิลลิเมตร และบางจุดมากกว่า 1,200 มิลลิเมตร) ส่วนฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย มักจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทร
เทือกเขาพิรินี: โดยรวมมีอากาศชื้น ฤดูร้อนมีอากาศเย็น ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น จุดสูงสุดของเทือกเขามีภูมิอากาศแบบแอลป์
กานาเรียส: เป็นเขตภูมิอากาศแบบกึ่งโซนร้อนตามเงื่อนไขของอุณหภูมิ โดยมีอากาศไม่หนาวจัดและค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี (18-24 องศาเซลเซียส; 64-75 องศาฟาเรนไฮต์) โดยในหมู่เกาะทางตะวันออกมีอากาศแบบทะเลทราย ส่วนในหมู่เกาะทางตะวันตกจะมีอากาศชื้น จากการศึกษาของโทมัส วิตมอร์ (Thomas Whitmore) หัวหน้าการวิจัยทางภูมิอากาศวิทยาที่มหาวิทยาลัย Syracuse สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมืองลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย (Las Palmas de Gran Canaria) มีภูมิอากาศที่ดีที่สุดในโลก
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ยุคก่อนประวัติศาสตร์และก่อนโรมัน ===
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์แรกสุดของมนุษย์วานรโฮมินิดส์ที่อาศัยอยู่ในยุโรปถูกค้นพบที่ถ้ำอาตาปูเอร์กา (Atapuerca) ในสเปน ซึ่งกลายเป็นกุญแจสำคัญของการศึกษาบรรพชีวินวิทยาของโลก เนื่องจากได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุประมาณ 1 ล้านปีที่นั่นด้วย
มนุษย์สมัยใหม่พวกโคร-มาญงได้เริ่มเข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียจากทางเหนือของเทือกเขาพิรินีเมื่อ 35,000 ปีมาแล้ว สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คือ ภาพวาดที่มีชื่อเสียงในถ้ำอัลตามีราทางภาคเหนือ เขียนขึ้นเมื่อ 15,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และได้รับการยกย่องร่วมกับภาพเขียนที่ปรากฏในถ้ำลาสโก ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของจิตรกรรมถ้ำ
วัฒนธรรมเมืองแรกเริ่มสุดที่ถูกอ้างถึงในเอกสารได้แก่ เมืองกึ่งโบราณทางภาคใต้ที่มีชื่อว่า ตาร์เตสโซส (Tartessos) มีอายุประมาณก่อน1,100 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ชาวฟีนิเชีย กรีก และคาร์เทจที่ท่องไปตามท้องทะเลได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหลายครั้งและได้ตั้งอาณานิคมการค้าขึ้นที่นั่นอยู่เป็นเวลาหลายศตวรรษ
ประมาณ 1,100 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ พ่อค้าชาวฟีนิเชียได้มาตั้งสถานีการค้าที่เมืองกาดีร์ (ปัจจุบันคือเมืองกาดิซ) ใกล้กับตาร์เตสโซส ในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช นิคมชาวกรีกแห่งแรก ๆ เช่น เอมโพเรียน (เอมปูเรียสในปัจจุบัน) เป็นต้น เกิดขึ้นตามชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก ส่วนชายฝั่งทางใต้เป็นนิคมฟีนิเชีย
เมื่อถึง 600 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ชาวคาร์เทจได้มาถึงไอบีเรียขณะที่เกิดการต่อสู้กับชาวกรีก (และชาวโรมันในเวลาต่อมา) เพื่อควบคุมบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก อาณานิคมคาร์เทจที่สำคัญที่สุดคือ คาร์ทาโกโนวา (Carthago Nova) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของเมืองการ์ตาเฆนาในปัจจุบัน ชาวคาร์เทจได้ครอบครองชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเวลาสั้น ๆ ในช่วงสงครามพิวนิก จนกระทั่งถูกชาวโรมันพิชิตและขับไล่ออกไปในที่สุด
ชนพื้นเมืองที่ชาวโรมันพบขณะที่ขยายอำนาจเข้าไปในบริเวณสเปนปัจจุบันนั้น คือพวกไอบีเรียน (Iberians) อาศัยอยู่ตั้งแต่ส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรตลอดจนถึงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพวกเคลต์ (Celts) ที่ส่วนใหญ่ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทร ส่วนทางตอนในซึ่งเป็นที่ที่ชนทั้งสองกลุ่มได้เข้ามาติดต่อกัน ได้เกิดกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมแบบผสมและเป็นลักษณะเฉพาะตัว คือ เคลติเบเรียน (Celtiberian)
=== การรุกรานของจักรวรรดิโรมันและชาวเยอรมัน ===
ชาวโรมันเข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียระหว่างสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 เมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ผนวกดินแดนนี้ให้อยู่ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิออกุสตุส หลังจากสงครามผ่านไปสองศตวรรษ ดินแดนของพวกไอบีเรียน เคลต์ กรีก ฟีนิเชีย และคาร์เทจ ได้กลายเป็นมณฑลฮิสปาเนีย ของจักรวรรดิโรมัน
ชาวโรมันได้พัฒนาส่งเสริมเมืองที่มีอยู่ก่อนแล้วในบริเวณนี้ เช่น ลิสบอน (โอลิสซีโป) และตาร์ราโกนา (ตาร์ราโก) และได้ตั้งเมืองซาราโกซา (ไกซาร์เรากุสตา) เมรีดา (เอากุสตาเอเมรีตา) และบาเลนเซีย (วาเลนเตีย) เศรษฐกิจของคาบสมุทรไอบีเรียขยายตัวขึ้นภายใต้การปกครองของโรมัน โดยฮิสปาเนียมีหน้าที่จัดส่งอาหาร น้ำมันมะกอก ไวน์ และโลหะให้กับโรม
ภาษาต่าง ๆ ของสเปนในปัจจุบันรวมทั้งศาสนาและข้อกฎหมายพื้นฐานต่างมีจุดกำเนิดในช่วงสมัยนี้ เป็นเวลาหลายศตวรรษที่การปกครองและการตั้งถิ่นฐานของโรมันอย่างไม่ขาดสายนั้นได้ทิ้งร่องรอยหยั่งลึกและทนทานไว้ในวัฒนธรรมสเปน
จักรวรรดิโรมันปกครองฮิสปาเนียอยู่ประมาณ 500 ปี เมื่อโรมันเสื่อมลง อนารยชนพวกแรกก็เริ่มเข้ารุกรานสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนเผ่ากอธ วิสิกอธ ซูเอบี อาลัน อัสดิง และแวนดัลได้ข้ามแนวเขาพิรินีเข้ามา ชนเผ่าเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นกำเนิดชาติพันธุ์เยอรมัน เหตุการณ์นี้นำไปสู่การก่อตั้งราชอาณาจักรซูเอบีในกัลไลเคียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และราชอาณาจักรวิซิกอทในส่วนที่เหลือ ภายหลังวิซิกอทซึ่งเป็นคริสเตียนได้ขยายอำนาจครอบคลุมคาบสมุทรไอบีเรียทั้งหมดไว้ได้และปกครองประมาณ 200 ปี อาร์ชรูปเกือกม้า (horseshoe arch) ที่มีชื่อเสียงและได้รับการดัดแปลงและปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์โดยชาวมุสลิมในสมัยหลังนั้นเป็นตัวอย่างดั้งเดิมของศิลปะวิซิกอท (Visigothic art)
=== สเปนมุสลิม ===
ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (ค.ศ. 711-718) กลุ่มคนที่พูดภาษาอาหรับจากแอฟริกาเหนือที่เรียกว่า มัวร์ (Moors) ได้เข้ายึดครองไอบีเรียอย่างรวดเร็วและปกครองอยู่เป็นเวลาถึง 800 ปี กลุ่มนี้เป็นชาวมุสลิม ดังนั้นสเปนมุสลิมจึงเป็นส่วนที่อยู่ทางตะวันตกไกลที่สุดของเขตอารยธรรมอิสลาม มีเพียงสามแคว้นเล็ก ๆ ทางภาคเหนือของสเปนเท่านั้นที่ยังมีเอกราชเป็นของตนเอง ได้แก่ อัสตูเรียส นาวาร์ และอารากอน ซึ่งได้กลายเป็นราชอาณาจักรไปภายหลัง
อารยธรรมอิสลามนี้มีความก้าวหน้าในด้านสถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง ชาวมัวร์ที่มีฐานะค่อนข้างร่ำรวยเนื่องจากควบคุมการค้าทองคำที่มาจากจักรวรรดิกานาในแอฟริกาตะวันตกได้สร้างสิ่งก่อสร้างสวยงามขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในแคว้นอันดาลูซิอาทางภาคใต้ของประเทศ เราจะพบเห็นสิ่งก่อสร้างของพวกมุสลิมที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในแคว้นนี้หลายแห่ง ส่วนภายนอกเขตเมือง ระบบการถือครองที่ดินในสมัยโรมันยังคงดำรงอยู่ไม่สลายไป เนื่องจากผู้ปกครองชาวมุสลิมไม่ได้เข้ามาข้องเกี่ยวมากนัก พืชผลและวิธีการใหม่ ๆ ทำให้เกษตรกรรมขยายพื้นที่ออกไปมากอย่างน่าทึ่ง
การค้าและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในแถบเมดิเตอร์เรเนียนเฟื่องฟูขึ้นในสมัยนี้ ชาวมุสลิมได้นำภูมิปัญญาต่าง ๆ ทั้งจากตะวันออกกลางและจากแอฟริกาเหนือเข้ามา นักปราชญ์ชาวมุสลิมและชาวยิวมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูและแผ่ขยายวัฒนธรรมยุคคลาสสิกในยุโรปตะวันตก เกิดการปะทะสังสรรค์ของวัฒนธรรมโรมันกับวัฒนธรรมยิวและมุสลิมในแนวทางที่ซับซ้อน ทำให้สเปนมีวัฒนธรรมที่มีลักษณะแตกต่างออกไป
ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม ชาวยิวและชาวคริสต์มีเสรีภาพในการนับถือและประกอบพิธีทางศาสนา แต่ก็มีการแบ่งแยกกันอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม หลังจากเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นต้นไป ภาคเหนือและภาคกลางของไอบีเรียก็กลับไปอยู่ในการปกครองของชาวคริสต์อีกครั้ง
=== การพิชิตดินแดนคืนและการรวมอาณาจักร ===
หลังจากการรุกรานของชาวมัวร์ 11 ปี ช่วงเวลาอันยาวนานในการขยายตัวของอาณาจักรคริสต์ที่เรียกว่า การพิชิตดินแดนคืน (Reconquista) ก็ได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 722 (พ.ศ. 1265) ด้วยความพ่ายแพ้ของพวกมุสลิมในยุทธการที่โกบาดองกา (Battle of Covadonga) และการก่อตัวของอาณาจักรอัสตูเรียส ต้นปี ค.ศ. 739 (พ.ศ. 1282) กองกำลังของมุสลิมของถูกผลักดันออกไปจากกาลิเซียซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลา (Santiago de Compostela) หนึ่งในสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาคริสต์ในยุคกลาง
และในไม่ช้า พื้นที่ภูเขาทางตอนเหนือและรอบ ๆ เมืองบาร์เซโลนาก็ถูกกองกำลังท้องถิ่นและกองกำลังของพวกแฟรงก์เข้ายึดได้และกลายเป็นฐานที่มั่นของชาวคริสต์ในสเปน รวมทั้งการยึดเมืองโตเลโดทางภาคกลางได้ในปี ค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) ทำให้ส่วนครึ่งเหนือของสเปนเป็นของชาวคริสต์ทั้งหมด
พอถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 จักรวรรดิมุสลิมภายใต้ราชวงศ์อัลโมราวิด (Almoravid) ซึ่งเคยขยายอาณาเขตไปได้ไกลถึงเมืองซาราโกซาก็เริ่มแตกแยก ที่มั่นต่าง ๆ ของชาวมัวร์ที่เคยแข็งแกร่งทางภาคใต้ก็ตกเป็นของชาวคริสต์สเปน เช่น เมืองกอร์โดบาถูกยึดได้ในปี ค.ศ. 1236 (พ.ศ. 1779) เมืองเซบิยาถูกยึดได้ในปี ค.ศ. 1248 (พ.ศ. 1791) เป็นต้น จากนั้นไม่กี่ปี ดินแดนเกือบทั้งหมดในคาบสมุทรไอบีเรียก็ถูกพิชิตกลับคืนมาได้สำเร็จ ยกเว้นอยู่เพียงเมืองกรานาดาเท่านั้นที่ยังคงเป็นดินแดนแทรกของพวกมุสลิม
ในปี ค.ศ. 1478 (พ.ศ. 2021) พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5 แห่งกัสติยาทรงสนับสนุนให้ก่อตั้งศาลศาสนาสเปน (Spanish Inquisition) และในปี ค.ศ. 1479 (พ.ศ. 2022) เมื่อพระองค์ (ซึ่งทรงราชาภิเษกสมรสและครองราชอาณาจักรกัสติยาร่วมกับสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1469) ได้ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ที่ราชอาณาจักรอารากอนสืบต่อจากพระราชบิดา (และทรงพระนามใหม่ว่าพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน) อาณาจักรคริสต์ทั้งสองแห่งจึงได้รวมเข้าด้วยกัน
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) กัสติยาและอารากอนสามารถยึดกรานาดา ดินแดนแห่งสุดท้ายของชาวมัวร์ในไอบีเรียได้สำเร็จ โบอับดิล (Boabdil) เจ้าชายมัวร์องค์สุดท้ายแห่งกรานาดายอมแพ้ต่อพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 ในวันที่ 2 มกราคม โดยสนธิสัญญากรานาดา ได้ยืนยันการผ่อนปรนทางศาสนาต่อชาวมุสลิม ในขณะที่ชาวยิวกว่า 2 แสนคนในสเปนถูกขับไล่ ออกไปในปีเดียวกันนั้นเอง
ในปีเดียวกัน (1492) สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 ก็ทรงสนับสนุนให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปทางทิศตะวันตก ซึ่งโคลัมบัสก็ได้ค้นพบโลกใหม่ (New World) ได้แก่ เกาะต่าง ๆ ในทะเลแคริบเบียนรวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ตามสนธิสัญญาตอร์เดซิยัส (Treaty of Tordesillas) ในปี ค.ศ. 1494 โลกได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนระหว่างโปรตุเกสและกัสติยาโดยมีแนวเหนือ-ใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นเส้นแบ่ง
เมื่อยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี ค.ศ. 1512 (พ.ศ. 2055) แล้ว คำว่า สเปน (Spain; España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้
=== สู่ตำแหน่งมหาอำนาจของโลก ===
การรวมเป็นหนึ่งเดียวของอาณาจักรกัสติยา เลออน อารากอน และนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่างรัชสมัยที่ยาวนานของกษัตริย์สเปนแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสองพระองค์ (พระเจ้าชาลส์ที่ 1 และพระเจ้าฟิลิปที่ 2) สเปนก็ได้ก้าวขึ้นมาถึงจุดสูงสุด โดยได้ส่งทหารและพ่อค้าจำนวนมากเข้าไปในทวีปอเมริกาเพื่อยึดครองดินแดนต่าง ๆ ในทวีปแห่งนั้นมาเป็นของตน มีอาณานิคมมากมายในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ตั้งแต่ชิลี อาร์เจนตินา ไปจนถึงเม็กซิโก บางรัฐของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน (ซึ่งได้แก่ ฟลอริดา แคลิฟอร์เนีย แอริโซนา นิวเม็กซิโก เท็กซัส รวมทั้งบางส่วนของโอคลาโฮมา โคโลราโด และไวโอมิง) การพิชิตจักรวรรดิต่าง ๆ และนำของมีค่ากลับมา ทำให้สเปนกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก โดยได้ครอบครองดินแดนเหล่านั้นอยู่เป็นเวลานานกว่า 300 ปี นอกจากนี้จักรวรรดิสเปนยังมีอาณานิคมในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในมหาสมุทรแปซิฟิก และได้ครอบครองจักรวรรดิโปรตุเกส อิตาลีตอนใต้ ซิซิลี บางส่วนของเยอรมนี เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ จักรวรรดิสเปนเป็นจักรวรรดิแห่งแรกที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน (The empire on which the sun never sets)
ช่วงนี้เป็นยุคแห่งการค้นพบ (Age of Discovery) มีการสำรวจดินแดนใหม่ การเปิดเส้นทางการค้าข้ามมหาสมุทร การยึดครองดินแดน และเป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิจักรวรรดินิยมในทวีปยุโรป พร้อม ๆ กับการนำเข้าโลหะ เครื่องเทศ พืชเกษตรใหม่ที่มีค่านั้น นักสำรวจชาวสเปนและพ่อค้าได้นำความรู้ติดตัวกลับมาด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงความคิดความเข้าใจของชาวยุโรปที่มีต่อโลกในเวลาต่อมา
ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 นี้ยังเป็นช่วงแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะและอักษรศาสตร์ในจักรวรรดิสเปน จึงเรียกว่าเป็นยุคทองของสเปน (Spanish Golden Age)
=== การเสื่อมอำนาจของสเปนในยุโรป ===
"การเสื่อมลงของสเปน" เป็นไปอย่างช้า ๆ เริ่มต้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีปัจจัยมาจากการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ประเด็นหลักคือความตึงเครียดเกี่ยวกับกำลังทหาร เป็นเวลานานที่กองทัพสเปนสามารถป้องกันไม่ให้จักรวรรดิฮาพส์บวร์คแตกแยกกระจัดกระจายได้ แต่ในที่สุดความเข้มแข็งนี้ก็พังทลายลง เมื่อสเปนต้องเสียเนเธอร์แลนด์ไปหลังจากสิ้นสุดสงครามสามสิบปี (Thirty Years War) และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1640 (พ.ศ. 2183) ความปราชัยของสเปนครั้งสำคัญก็คือ การเสียโปรตุเกสไป ซึ่งนั่นหมายถึงเสียบราซิลและฐานที่มั่นในแอฟริกาและอินเดียไปด้วย
เมื่อเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดปัญหาว่าใครควรจะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ จึงทำให้กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ทรงสู้รบกันในสงครามสืบราชสมบัติสเปน (War of the Spanish Succession) ในที่สุดสงครามนี้ก็ทำให้สเปนสูญเสียความเป็นจักรวรรดิและตำแหน่งผู้นำของยุโรปไป แม้ว่าจะยังคงมีดินแดนโพ้นทะเลอยู่ก็ตาม) และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ราชวงศ์ใหม่จากฝรั่งเศส คือ ราชวงศ์บูร์บง ได้รับการสถาปนาขึ้นในสเปนโดยกษัตริย์พระองค์แรก คือ พระเจ้าฟิลิปที่ 5 ในปี ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ทรงรวมราชอาณาจักรกัสติยาและอารากอนเข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรสเปน และทรงล้มล้างสิทธิพิเศษและกฎหมายปกครองตนเอง
ในศตวรรษนี้ การขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การเพิ่มมูลค่าทางการค้าและการผลิตอาหารค่อย ๆ ได้รับการฟื้นฟูขึ้น จำนวนประชากรในแคว้นกัสติยาก็เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ กษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงได้ใช้ระบบของฝรั่งเศสเพื่อพยายามทำให้การบริหารและเศรษฐกิจมีความทันสมัยยิ่งขึ้น เมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18 การค้าก็เริ่มมีความมั่นคงขึ้นในที่สุด ฐานะของสเปนในสายตานานาชาติดีขึ้น กำลังทหารของสเปนที่มีประสิทธิภาพยังได้ช่วยเหลือชาวอาณานิคมอังกฤษในสงครามประกาศเอกราชอเมริกัน (American War of Independence) อีกด้วย
=== การปกครองของนโปเลียนและผลสืบเนื่อง ===
สงครามกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) ทำให้ภายในประเทศเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างชัดเจนต่อพวกชั้นสูงที่นิยมวัฒนธรรมฝรั่งเศส สเปนทำสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1795 (พ.ศ. 2338) และในปีถัดมา ภายใต้การสนับสนุนของฝรั่งเศส สเปนก็ได้ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรกับโปรตุเกส ความหายนะทางเศรษฐกิจประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ นั้นทำให้กษัตริย์ของสเปนต้องทรงสละราชสมบัติ ซึ่งโจเซฟ โบนาปาร์ต พี่ชายของนโปเลียนก็ได้เข้ามามีอำนาจแทน
กษัตริย์ต่างชาติพระองค์ใหม่นี้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวสเปน ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) ชาวมาดริดเริ่มก่อการจลาจลชาตินิยมต่อต้านกองทัพฝรั่งเศส ซึ่งชาวสเปนเรียกว่าเป็น "สงครามประกาศเอกราชสเปน (Guerra de la Independencia Española)" ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า สงครามคาบสมุทร (Peninsular War) นโปเลียนได้เข้ามาแทรกแซงเป็นการส่วนตัวและสามารถปราบปรามกองทัพสเปนและอังกฤษ-โปรตุเกสลงได้ แต่การสู้รบแบบกองโจรของทหารสเปน รวมทั้งกำลังจากกองทัพอังกฤษ-โปรตุเกสที่นำโดยอาร์เทอร์ เวลเลสลีย์ ประกอบกับการที่นโปเลียนประสบความล้มเหลวในการรุกรานรัสเซีย (Invasion of Russia) ได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปจากสเปนได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์
การรุกรานของฝรั่งเศสยิ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของสเปน และยังทำให้ประเทศตกอยู่ในสภาวะไม่มั่นคงทางการเมืองอีกด้วย ช่องว่างแห่งอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) ถึงปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) ได้เปิดโอกาสให้ดินแดนต่าง ๆ มีอำนาจปกครองอย่างอิสระ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1809 (พ.ศ. 2352) อาณานิคมในทวีปอเมริกาเริ่มปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากการปกครองของสเปน และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1825 (พ.ศ. 2368) สเปนก็เสียอาณานิคมในลาตินอเมริกาไปทั้งหมด เหลือเพียงคิวบาและปวยร์โตรีโก
และเมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 สเปนก็สูญเสียดินแดนที่ยังเหลืออยู่ในทะเลแคริบเบียนและเอเชีย-แปซิฟิกไป ซึ่งได้แก่ คิวบา ปวยร์โตรีโก และสแปนิชอีสต์อินดีส (เฉพาะฟิลิปปินส์และกวม) ให้กับสหรัฐอเมริกา หลังจากถูกผลักดันให้สู้รบในสงครามสเปน-อเมริกัน (Spanish-American War) ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) อย่างไม่เจตนาและไม่สมัครใจ ต่อมาในปี ค.ศ. 1899 (พ.ศ. 2442) สเปนได้ขายดินแดนสแปนิชอีสต์อินดีสที่เหลือในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ หมู่เกาะมาเรียนา หมู่เกาะคาโรไลน์ และหมู่เกาะปาเลาให้กับเยอรมนี (ส่วนสแปนิชโมร็อกโก สแปนิชสะฮารา และสแปนิชกินีซึ่งเป็นอาณานิคมในทวีปแอฟริกาได้รับเอกราชในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20)
=== คริสต์ศตวรรษที่ 20 ===
ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสเปนก็ยังไม่อยู่ในความสงบเท่าใดนัก ชาวสเปนบางคนพยายามจะจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ) และผลักดันให้กษัตริย์ออกไปจากประเทศ อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ความขัดแย้งระหว่างชาวสเปนกลุ่มที่นิยมประชาธิปไตยกับชาวสเปนที่นิยมเผด็จการได้ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองสเปนขึ้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) ฝ่ายนิยมประชาธิปไตยพ่ายแพ้ และผู้นำเผด็จการที่มีชื่อว่า ฟรันซิสโก ฟรังโก ก็ได้เข้ามามีอำนาจในรัฐบาล
หลังจากจอมพลฟรังโกถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) เจ้าชายฆวน การ์โลส (Prince Juan Carlos) ผู้เป็นพระราชนัดดาของกษัตริย์สเปนที่ถูกผลักดันให้ออกจากประเทศ ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งสเปน จากการรับรองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน ปี ค.ศ. 1978 การเข้ามาของระบอบประชาธิปไตยได้ทำให้แคว้นบางแห่ง ได้แก่ ประเทศบาสก์และนาวาร์ ได้รับอัตตาณัติ (ความเป็นอิสระ) ทางการเงินอย่างสมบูรณ์ และแคว้นหลายแห่ง ได้แก่ บาสก์ กาตาลุญญา กาลิเซีย และอันดาลูซิอาก็ได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ซึ่งต่อมาก็ได้ขยายไปสู่แคว้นอื่น ๆ ในสเปนเช่นกัน ทำให้สเปนกลายเป็นเป็นประเทศที่มีการกระจายอำนาจทางการปกครองมากที่สุดในยุโรปตะวันตก แต่ในแคว้นประเทศบาสก์ยังคงมีลัทธิชาตินิยมหัวรุนแรงซึ่งสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายขององค์การเพื่อมาตุภูมิและอิสรภาพบาสก์หรือ "เอตา" (ETA) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1959 ให้ก่อวินาศกรรมเพื่อแยกแคว้นนี้เป็นประเทศเอกราช อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2011 กลุ่มนี้ก็ได้ประกาศวางอาวุธอย่างเป็นทางการ
ตั้งแต่รัฐธรรมนูญสเปนฉบับปัจจุบันผ่านความเห็นชอบในปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) ประเทศสเปนมีนายกรัฐมนตรี (Presidentes del Gobierno) มาแล้ว 5 คน ได้แก่
อาโดลโฟ ซัวเรซ กอนซาเลซ (Adolfo Suárez González) ค.ศ. 1977-1981 (พ.ศ. 2520-2524)
เลโอโปลโด กัลโบ โซเตโล อี บุสเตโล (Leopoldo Calvo Sotelo y Bustelo) ค.ศ. 1981-1982 (พ.ศ. 2524-2525)
เฟลิเป กอนซาเลซ มาร์เกซ (Felipe González Márquez) ค.ศ. 1982-1996 (พ.ศ. 2525-2539)
โฆเซ มาริอา อัซนาร์ โลเปซ (José María Aznar López) ค.ศ. 1996-2004 (พ.ศ. 2539-2547)
โฆเซ ลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร (José Luis Rodríguez Zapatero) ค.ศ. 2004-2011 (พ.ศ. 2547-2554)
มาเรียโน ราฆอย เบรย์ (Mariano Rajoy Brey) ค.ศ. 2011-2018 (พ.ศ. 2554-2561)
เปโดร ซันเชซ ค.ศ. 2018-ปัจจุบัน (พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน)
ทุกวันนี้ สเปนเป็นประเทศประชาธิปไตยสมัยใหม่ ทำธุรกิจติดต่อค้าขายกับหลายประเทศในโลก รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป และใช้สกุลเงินยูโรในฐานะสกุลเงินประจำชาติตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542
== การเมืองการปกครอง ==
ประเทศสเปนมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) หลังจากที่ถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยจอมพลฟรังโกมา 36 ปี (พ.ศ. 2482-2521) ในปี พ.ศ. 2521 เมื่อสเปนเปลี่ยนมาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน
=== ประมุขแห่งรัฐ ===
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของสเปน พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐและทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสเปน
มีพระราชอำนาจที่จะอนุมัติและประกาศใช้พระราชบัญญัติต่าง ๆ
เรียกประชุม ยุบรัฐสภา และประกาศให้มีการเลือกตั้ง
ทรงเสนอนามผู้ที่ทรงเห็นว่าสมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งทรงแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับราชการจะต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องผู้หนึ่ง ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และผู้รับสนองพระบรมราชโองการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในพระราชกรณียกิจนั้น ๆ
=== นิติบัญญัติ ===
รัฐสภาสเปนหรือกอร์เตสเฆเนราเลส (Cortes Generales) ทำหน้าที่ออกกฎหมายของรัฐ รวมทั้งให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับงบประมาณ ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล และใช้อำนาจอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
สภาผู้แทนราษฎร (Congress of Deputies; Congreso de los Diputados) ประกอบด้วยสมาชิกอย่างน้อย 300 คน และอย่างมาก 400 คน ขึ้นอยู่กับการแบ่งเขตเลือกตั้งและจำนวนพลเมือง ประเทศสเปนมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 350 คน ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี
วุฒิสภา (Senate; Senado) มีสมาชิกสภา 259 คน โดยในจำนวนนี้ 208 คนจะมาจากการเลือกตั้งเข้ามาโดยตรง และอีก 51 คนจะมาจากการแต่งตั้งของสภานิติบัญญัติของแคว้นปกครองตนเองแต่ละแห่ง สมาชิกวุฒิสภาสเปนดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปีเช่นเดียวกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎ
=== รัฐบาล ===
ตามรัฐธรรมนูญของสเปน รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจและหน้าที่ฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย เป็นผู้กำหนดและดำเนินนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการป้องกันประเทศ รัฐบาลประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี (President of the Government) รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้โดยกฎหมายในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์จะทรงปรึกษาหารือกับผู้แทนของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มีสมาชิกอยู่ในรัฐสภา แล้วเสนอชื่อผู้ที่เห็นสมควรได้รับการเลือกตั้งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอรับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (absolute majority) พระมหากษัตริย์จะได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องขอรับความไว้วางใจจากรัฐบาลอีก รัฐบาลมีวาระ 4 ปี หรือจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป
=== ตุลาการ ===
=== พรรคการเมือง ===
พรรคการเมืองที่สำคัญในสเปน ได้แก่
1. พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (Partido Socialista Obrero Español: PSOE) เป็นพรรคสังคมนิยมที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองไม่ซ้ายจัด ปัจจุบันมีเปโดร ซันเชซ เป็นเลขาธิการพรรค พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปนเป็นพรรคที่มีบทบาทสำคัญและเป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาลสเปนมานานถึง 14 ปีในสมัยแรก (ค.ศ. 1982-1996) โดยปัจจุบัน (การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2008) พรรคนี้มีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรสเปน 169 ที่นั่ง
2. พรรคประชาชน (Partido Popular: PP) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวาที่เคยเป็นพรรครัฐบาล หัวหน้าพรรค คือ นายมาเรียโน ราฆอย เบรย์ (Mariano Rajoy Brey) ปัจจุบันพรรคนี้เป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุด โดยมี 153 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรสเปน
3. พรรคปรับร่วมและสหภาพ (Convergència i Unió: CiU) เป็นพรรคจากแคว้นกาตาลุญญา มีนายอาร์ตูร์ มัส อี กาบาร์โร (Artur Mas i Gavarró) เป็นหัวหน้าพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 11 ที่นั่ง
4. พรรคชาตินิยมบาสก์ (Partido Nacionalista Vasco: EAJ/PNV) เป็นพรรคการเมืองของแคว้นประเทศบาสก์ มีนายอีญีโก อูร์กูยู (Iñigo Urkullu) เป็นหัวหน้าพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 6 ที่นั่ง
5. พรรคฝ่ายซ้ายสาธารณรัฐนิยมแห่งกาตาลุญญา (Esquerra Republicana de Catalunya: ERC) เป็นพรรคฝ่ายซ้ายที่มีแนวคิดให้แคว้นกาตาลุญญาเป็นเอกราชจากสเปน มีนายโชอัน ปูอิกเซร์โกส อี โบยชาซา (Joan Puigcercós i Boixassa) เป็นเลขาธิการพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 3 ที่นั่ง
6. พรรคฝ่ายซ้ายร่วม (Izquierda Unida: IU) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่แต่เดิมคือพรรคคอมมิวนิสต์ มีนายกัสปาร์ ยามาซาเรส ตรีโก (Gaspar Llamazares Trigo) เป็นเลขาธิการพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 2 ที่นั่ง
7. กลุ่มชาตินิยมกาลิเซีย (Bloque Nacionalista Galego: BNG) เป็นพันธมิตรทางการเมืองซึ่งเป็นตัวแทนจากแคว้นกาลิเซีย มีนายโชเซ มานวยล์ เบย์รัส (Xosé Manuel Beiras) เป็นหัวหน้ากลุ่ม ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 2 ที่นั่ง
8. พรรคผสมกานาเรียส (Coalición Canaria: CC) พรรคการเมืองชาตินิยมและเสรีนิยมจากแคว้นกานาเรียส มีนายโคเซ ตอร์เรส สติงกา (José Torres Stinga) เป็นหัวหน้าพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 2 ที่นั่ง
9. พรรคสหภาพ ก้าวหน้า และประชาธิปไตย (Unión, Progreso y Democracia: UPyD) เป็นพรรคการเมืองรัฐธรรมนูญนิยมและต่อต้านชาตินิยมที่เพิ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2007 โดยแกนนำพรรคมาจากแคว้นประเทศบาสก์และมีนางโรซา ดีเอซ (Rosa Díez) เป็นหัวหน้าพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 1 ที่นั่ง
10. พรรคนาฟาร์โรอาไบย์ (Nafarroa Bai: Na-Bai) เป็นพรรคชาตินิยมบาสก์จากแคว้นนาวาร์ ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 1 ที่นั่ง
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ดูบทความหลักที่ เขตการปกครองของสเปน
ประเทศสเปนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 แคว้นปกครองตนเอง (autonomous communities; comunidades autónomas) และ 2 นครปกครองตนเอง (autonomous cities; ciudades autónomas) แต่ละแคว้นจะแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น จังหวัด (provinces; provincias) รวมทั้งหมด 50 จังหวัด
=== แคว้นและนครปกครองตนเอง ===
ปัจจุบันประเทศสเปนได้ชื่อว่าเป็น "รัฐแห่งการปกครองตนเอง (State of Autonomies)" แม้ว่าโดยทางการจะถือว่าเป็นรัฐเดี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้วมีลักษณะเป็นรัฐรวมที่มีการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางอย่างมาก โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเปิดโอกาสให้แคว้นต่าง ๆ มีสิทธิในการปกครองตนเองได้ในระดับที่ต่างกันตามภูมิหลังการปกครองตนเองของแต่ละแคว้น เช่น ทุกแคว้นจะจัดการด้านสาธารณสุขและระบบการศึกษาของตนเอง บางแคว้น (เช่น ประเทศบาสก์และนาวาร์) มีหน้าที่จัดการด้านการเงินสาธารณะเพิ่มเติม ในแคว้นประเทศบาสก์และกาตาลุญญา หน่วยงานตำรวจของแคว้นจะมีบทบาทหน้าที่มากกว่าหน่วยงานตำรวจของส่วนกลาง เป็นต้น โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติของแต่ละแคว้นจะดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปีเช่นเดียวกับสมาชิกรัฐสภา โดยแคว้นปกครองตนเอง และนครปกครองตนเอง* (อยู่ในทวีปแอฟริกา) ของประเทศสเปน ประกอบด้วย
=== จังหวัด ===
นอกจากแคว้นปกครองตนเองดังกล่าวแล้ว สเปนยังแบ่งออกเป็น 50 จังหวัด โดยโครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างรองถัดจากระดับแคว้นปกครองตนเองลงไป (ย้อนไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2376) ดังนั้น แคว้นปกครองตนเองจึงเกิดขึ้นจากกลุ่มของจังหวัด (เช่น แคว้นเอซเตรมาดูราประกอบด้วยจังหวัดกาเซเรสและจังหวัดบาดาโฆซ) แต่แคว้นปกครองตนเองอัสตูเรียส หมู่เกาะแบลีแอริก กันตาเบรีย ลาริโอฆา นาวาร์ ภูมิภาคมูร์เซีย และมาดริด แต่ละแคว้นดังกล่าวจะมีอยู่เพียงจังหวัดเดียว และแต่เดิมจังหวัดในแคว้นต่าง ๆ มักจะถูกแบ่งลงไปเป็น โกมาร์กัส (comarcas) เป็นเขตทางประวัติศาสตร์ที่มีรูปแบบคล้ายกับเคาน์ตีในสหรัฐอเมริกา แต่ในบางแคว้นจะไม่มี เขตการบริหารระดับล่างสุดจริง ๆ แล้วคือ เทศบาล (municipalities; municipios)
=== บริเวณอำนาจอธิปไตย ===
ประเทศสเปนมีดินแดนส่วนแยกตั้งอยู่ริมและนอกชายฝั่งทวีปแอฟริกาที่มีชื่อเรียกว่า ปลาซัสเดโซเบรานิอา (plazas de soberanía; places of sovereignty) ได้แก่ เซวตาและเมลียา ซึ่งเป็นนครปกครองตนเอง มีสถานะอยู่ระหว่างระดับเมืองกับระดับแคว้น ส่วนหมู่เกาะชาฟารีนัส (Islas Chafarinas) โขดหินอาลูเซมัส (Peñón de Alhucemas) และโขดหินเบเลซเดลาโกเมรา (Peñón de Vélez de la Gomera) ต่างอยู่ภายใต้การบริหารของสเปน
=== ข้อพิพาทเรื่องดินแดน ===
==== ดินแดนที่สเปนอ้างสิทธิ์ ====
สเปนได้เรียกร้องให้มีการคืนยิบรอลตาร์ ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ใกล้จุดใต้สุดของคาบสมุทร ทางด้านตะวันออกของช่องแคบยิบรอลตาร์ ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ยิบรอลตาร์ถูกยึดครองระหว่างสงครามสืบราชสมบัติสเปน ในปี ค.ศ. 1704 และถูกยกให้อยู่ภายใต้การปกครองของบริเตนอย่างถาวรตามสนธิสัญญาอูเทรคท์ (Treaty of Utrecht) ค.ศ. 1713 ประชากรส่วนใหญ่ของยิบรอลตาร์ประมาณ 30,000 คนยังต้องการให้ยิบรอลตาร์เป็นของบริเตนอยู่ โดยมีการออกเสียงลงประชามติเพื่อยืนยัน สหประชาชาชาติได้เรียกสหราชอาณาจักรและสเปนให้มาทำข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ในขณะที่สเปนไม่ยอมรับเขตแดนนี้และมักจะมีการตรวจสอบการผ่านแดนอย่างเข้มงวดเสมอ โดยบ่อยครั้งที่มีการปิดชายแดนเพื่อที่จะกดดันยิบรอลตาร์ ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้าและแรงงานจากสเปน
นอกจากนั้นแล้ว การกำหนดเขตชายแดนตามสนธิสัญญาอูเทรคท์ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยสเปนยืนยันว่าสหราชอาณาจักรเข้าครอบครองดินแดนส่วนคอคอดซึ่งเป็นที่ตั้งสนามบินซึ่งเดิมไม่ได้รวมอยู่ในสนธิสัญญาดังกล่าว
==== ดินแดนของสเปนที่ประเทศอื่นอ้างสิทธิ์ ====
โมร็อกโกได้อ้างสิทธิ์เหนือเมืองเซวตา เมืองเมลียา โขดหินเบเลซ โขดหินอาลูเซมัส หมู่เกาะชาฟารีนัส และเกาะเปเรฆิล ทั้งหมดตั้งอยู่ชายฝั่งทางเหนือของทวีปแอฟริกา โดยโมร็อกโกชี้แจงว่าดินแดนดังกล่าวถูกยึดเอาไปในขณะที่โมร็อกโกไม่สามารถขัดขวางได้และไม่เคยลงนามในสนธิสัญญาใด ๆ เพื่อยกให้ไป (แต่ก็ยังไม่ปรากฏประเทศโมร็อกโกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดินแดนเหล่านั้นได้เข้าไปอยู่ในการครอบครองของสเปน) ส่วนสเปนก็อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศ ไม่สามารถแยกได้ ทั้งยังเป็นของสเปนหรือเชื่อมโยงกับสเปนมาตั้งแต่ก่อนการรุกรานของพวกมุสลิมในปี ค.ศ. 711 (สเปนกลับไปปกครองบริเวณเซวตาและเกาะเปเรฆิลอีกครั้งในปี ค.ศ. 1415 และได้ปกครองดินแดนส่วนที่เหลือด้วยเช่นกัน ในเวลาไม่กี่ปีหลังจากที่สามารถพิชิตเมืองกรานาดาได้เมื่อปี ค.ศ. 1492) สเปนยังกล่าวอีกด้วยว่าการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าวของโมร็อกโกนั้นเป็นเพียงการอ้างสิทธิ์ตามเขตภูมิศาสตร์เท่านั้น ลักษณะที่คล้ายกันในเรื่องการครอบครองดินแดนข้ามทวีปอย่างเช่นการเป็นเจ้าของคาบสมุทรไซนาย (ที่อยู่ในทวีปเอเชีย) ของอียิปต์ หรือการเป็นเจ้าของเมืองอิสตันบูล (อยู่ในทวีปยุโรป) ของตุรกี จึงมักถูกสเปนนำมาใช้สนับสนุนจุดยืนของตนเอง
ส่วนโปรตุเกสก็ไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของสเปนเหนือเมืองโอลีเบนซา (Olivenza) ในแคว้นเอซเตรมาดูรา โดยกล่าวว่าสนธิสัญญาเวียนนา (Treaty of Vienna) ซึ่งสเปนได้ลงนามไว้เมื่อปี ค.ศ. 1815 นั้น ได้กำหนดให้สเปนคืนดินแดนดังกล่าวให้โปรตุเกสด้วย แต่สเปนก็อ้างว่าสนธิสัญญาเวียนนาได้เปิดช่องให้ข้อกำหนดในสนธิสัญญาบาดาโฆซ (Treaty of Badajoz) ที่โปรตุเกสยกเมืองดังกล่าวให้สเปน "ตลอดไป (perpetual)" ในปี ค.ศ. 1801 ยังคงอยู่
== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ==
===ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป ===
=== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ===
==== ความสัมพันธ์ทางการทูต ====
สเปนเริ่มเข้ามาติดต่อกับไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และได้มีการทำสนธิสัญญาทางไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งถือเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ.1883) ไทยได้แต่งตั้งอัครราชทูตประจำประเทศยุโรปให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริดด้วย กระทั่งปี พ.ศ. 2504 ได้ยกระดับเป็นสถานเอกอัครราชทูต โดยได้ตั้งเอกอัครราชทูตไทยคนแรกไปประจำกรุงมาดริดเมื่อปี พ.ศ. 2506
และ แต่งตั้งนายมนู อมาตยกุล ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริดเป็นคนแรก โดยเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปนคนปัจจุบันคือ นายเกริกพันธุ์ ฤกษ์จำนง
==== ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ====
โดยทั่วไปการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสเปนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศในปัจจุบันยังมีไม่มากนัก เนื่องมาจากผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงก่อนหน้านี้ แต่แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของทั้งสองประเทศจะเป็นแรงจูงใจให้นักธุรกิจของทั้งสองประเทศหันมาค้าขายและลงทุนระหว่างกันมากขึ้น
== เศรษฐกิจ ==
=== โครงสร้างเศรษฐกิจ ===
สเปนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่มากที่สุดประเทศหนึ่งของยุโรป ในปี พ.ศ. 2548 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 1,123,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี พ.ศ. 2549 มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 27,542 ดอลลาร์สหรัฐ ตามการจัดอันดับของธนาคารโลกในปี พ.ศ. 2547 และ 2548 สเปนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก
=== การท่องเที่ยว ===
หลังจากนายพลฟรังโกถึงแก่อสัญกรรม สเปนก็กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่มีผู้ไปท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกรองจากฝรั่งเศส โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศถึงปีละ 52 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 46 พันล้านยูโร
สถานที่ท่องเที่ยวในสเปน ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุด สถานที่ที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น บีโกและโปนเตแบดราในแคว้นกาลิเซีย กอร์โดบา เซบิยา กรานาดา (สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม) มาลากา อวยลวา กาดิซ และอัลเมริอา (ชายหาด) ในแคว้นอันดาลูซิอา กาเซเรส กัวดาลูเป และเมรีดาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแคว้นเอซเตรมาดูรา ซาลามังกา โตเลโด และเซโกเบียเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญซึ่งมีชายหาดสวยงามมาก ได้แก่ รีอัสไบคัส (ในจังหวัดโปนเตแบดรา) ซาโลว์ เบนิดอร์ม มายอร์กา อีบีซา (หมู่เกาะแบลีแอริก) แคว้นกานาเรียส แคว้นบาเลนเซีย แคว้นกาตาลุญญา และสเปนเขียว (ทางภาคเหนือ)
สายการบินแห่งชาติของสเปนคือไอบีเรียแอร์ไลน์ (Iberia Airlines) รถไฟความเร็วสูง เช่น อาเบเอ (AVE: Alta Velocidad Española) มีความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ ตัลโก (Talgo) และยังมีถนนคุณภาพดีมุ่งสู่เมืองสำคัญในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== คมนาคม และ โทรคมนาคม ===
=== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ===
=== การศึกษา ===
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารอ่านและเขียนได้ 92.2% ของประชากรทั้งหมด (ชาย 94%
หญิง 90.5%) โดยมีมหาวิทยาลัยของรัฐที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดคือ National Autonomous University of Mexico (NAUM) ซึ่งก่อตั้งในปี 2094 (1551) และ มีนักศึกษาได้ 269,000 คน
=== สาธารณสุข ===
== ประชากรศาสตร์ ==
=== ประชากร ===
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ประเทศสเปนมีประชากร 44,108,530 คน ความหนาแน่นของประชากร 87.8 คนต่อตารางกิโลเมตร (220 คนต่อตารางไมล์) ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นประชากรของประเทศในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ และการกระจายตัวในแต่ละภูมิภาคก็ยังไม่เท่ากัน (ยกเว้นในจังหวัดที่อยู่รอบเมืองหลวงมาดริด) โดยบริเวณที่มีประชากรมากที่สุดจะอยู่ตามชายฝั่งทะเล
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 25 ปีหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อัตราการเกิดของประชากรได้ลดลงอย่างกะทันหัน โดยอัตราเจริญพันธุ์ของสเปนอยู่ที่ 1.29 (จำนวนบุตรที่ผู้หญิงจะมีโดยเฉลี่ยตลอดอายุขัย) ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำที่สุดในโลก ส่วนอัตราการรู้หนังสือในปี พ.ศ. 2546 ชาวสเปนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นร้อยละ 97.9 ของประชากรทั้งหมด
==== เมืองที่มีประชากรมากที่สุด (ไม่นับรวมในเขตมหานคร) ====
==== การย้ายถิ่นเข้า ====
ผู้ย้ายเข้ามาในสเปนส่วนใหญ่มาจากลาตินอเมริกา (ร้อยละ 38.75) ยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 16.33) มาเกร็บ (ร้อยละ 14.99) และแอฟริกากึ่งสะฮารา (ร้อยละ 4.08) นอกจากนี้ ยังมีผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยในสเปนที่เป็นชาวยุโรปประเทศอื่น ๆ อีกบ้างบริเวณชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและหมู่เกาะแบลีแอริก โดยมาใช้ชีวิตหลังปลดเกษียณหรือทำงานทางไกล
ข้อมูลจากรัฐบาลสเปน ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศสเปนมีผู้มีถิ่นที่อาศัยเป็นชาวต่างชาติ 3.7 ล้านคน ประมาณ 5 แสนคนเป็นชาวโมร็อกโก อีก 5 แสนคนเป็นชาวเอกวาดอร์ กว่า 2 แสนคนเป็นชาวโรมาเนีย และประมาณ 2 แสน 7 หมื่นคนเป็นชาวโคลอมเบีย ชุมชนต่างชาติที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ชาวอังกฤษ (ร้อยละ 6.09 ของผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยทั้งหมด) ชาวอาร์เจนตินา (ร้อยละ 6.10) ชาวเยอรมัน (ร้อยละ 3.58) และชาวโบลิเวีย (ร้อยละ 2.63) เฉพาะในปี พ.ศ. 2548 เพียงปีเดียว มีประชากรที่ย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศถึง 7 แสนคน
สเปนมีอัตราการเข้าเมืองมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากประเทศไซปรัส ซึ่งมีเหตุผลมาจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แนวพรมแดนที่ยังรั่วไหล การขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความเข้มแข็งของภาคเกษตรกรรมและภาคการก่อสร้างที่ต้องการแรงงานค่าจ้างต่ำเป็นจำนวนมาก
=== เชื้อชาติ ===
ประชากรสเปนส่วนใหญ่มีลักษณะผสมระหว่างชาติพันธุ์นอร์ดิกและชาติพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน ประกอบด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวสเปน มีจำนวนมากที่สุดประมาณร้อยละ 74 รองลงมาเป็นชาวกาตาลา ชาวกาลิเซีย และชาวบาสก์ตามลำดับ
=== ชนกลุ่มน้อย ===
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศสเปน คือ พวกคีตาโนส (Gitanos) ซึ่งเป็น ชาวยิปซีกลุ่มหนึ่ง
ประเทศสเปนเป็นแหล่งพักพิงของประชากรสายเลือดแอฟริกาจำนวนมาก ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากประชากรในอดีตอาณานิคม (โดยเฉพาะอิเควทอเรียลกินี) แต่ผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสเปนจากหลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกากึ่งสะฮาราและแคริบเบียนก็มีจำนวนสูงกว่า และยังมีชาวสเปนเชื้อสายเอเชียจำนวนมากพอสมควร ส่วนใหญ่จะมีสายเลือดชาวจีน ชาวฟิลิปิโน ชาวตะวันออกกลาง ชาวปากีสถาน และชาวอินเดีย ส่วนชาวสเปนสายเลือดลาตินอเมริกาก็มีจำนวนมากเช่นกันและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประชากรยิวกลุ่มที่สำคัญถูกขับไล่หรือถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาในปี ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) พร้อมกับการตั้งศาลศาสนาสเปน แต่หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวยิวบางส่วนก็ได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในสเปน โดยอพยพเข้ามาจากอดีตอาณานิคมสแปนิชโมร็อกโก หลบหนีการกวาดล้างจากพวกนาซี และอพยพมาจากอาร์เจนตินา ปัจจุบันนี้เมลียามีอัตราส่วนชาวยิว (และชาวมุสลิม) สูงที่สุดในประเทศ และกฎหมายของสเปนยังอนุญาตให้ชาวยิวกลุ่มเซฟาร์ดี (Sephardi Jews) สามารถอ้างสิทธิการเป็นพลเมืองของรัฐได้
=== ภาษา ===
แม้ว่ารัฐธรรมนูญของสเปนจะยืนยันอำนาจอธิปไตยของชาติก็ตาม แต่ก็ยังรับรองเชื้อชาติอื่น ๆ ที่มีมาในประวัติศาสตร์ด้วย
ภาษาสเปน/ภาษากัสติยา (Spanish/Castilian; español/castellano) เป็นภาษาทางการทั่วทั้งประเทศ แต่ในบางท้องถิ่นก็ยังใช้ภาษาถิ่นอื่น ๆ ซึ่งภาษาแรกที่ใช้พูดอีกด้วย รัฐธรรมนูญสเปนให้การรับรองภาษาท้องถิ่น (ที่อาจจะมี) ให้เป็นภาษาทางการร่วมตามแต่ละภูมิภาค โดยไม่ได้บอกชื่อภาษาไว้ ภาษาต่อไปนี้เป็นภาษาทางการร่วมกับภาษาสเปน (กัสติยา)
ภาษากาตาลา (Catalan; català) พูดในแคว้นกาตาลุญญา หมู่เกาะแบลีแอริก และบางส่วนของแคว้นบาเลนเซีย (เรียกว่าภาษาบาเลนเซีย)
ภาษากาลิเซีย (Galician; galego) พูดในแคว้นกาลิเซีย
ภาษาบาสก์ (Basque; euskara) พูดในแคว้นประเทศบาสก์และบางส่วนของแคว้นนาวาร์ ภาษานี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาอื่น ๆ เลย
ภาษาอุตซิตา (Occitan) (ภาษาถิ่นอารัน) พูดกันในอารัน แคว้นกาตาลุญญา
ทั้งภาษากาตาลา ภาษากาลิเซีย ภาษาอารัน (อุตซิตา) และภาษากัสติยาต่างสืบทอดมาจากภาษาละติน บางภาษาก็มีภาษาถิ่นของตนเอง ซึ่งภาษาถิ่นบางภาษาก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้พูดภาษาถิ่นนั้นให้เป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหากด้วย กรณีพิเศษได้แก่ ภาษาบาเลนเซีย (Valencian) เป็นชื่อที่เรียกภาษาถิ่นภาษาหนึ่งของภาษากาตาลา ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นภาษาทางการร่วมในแคว้นบาเลนเซีย
นอกจากนี้ ยังมีภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ คือ ภาษาอัสตูเรียส / เลออน (Asturian / Leonese) พูดกันในแคว้นอัสตูเรียสและบางส่วนของจังหวัดเลออน เมืองซาโมรา และเมืองซาลามังกา ภาษาเอซเตรมาดูรา (Extremaduran) ใช้กันในจังหวัดกาเซเรสและจังหวัดซาลามังกา (ทั้งสองภาษาดังกล่าวสืบทอดมาจากภาษาถิ่นในอดีตของภาษาอัสตูร์-เลออน) ภาษาอารากอน (Aragonese) มีผู้พูดกันในพื้นที่บางส่วนของแคว้นอารากอน; ภาษาฟาลา (Fala) ยังมีผู้พูดอยู่บ้างในหมู่บ้านสามแห่งของแคว้นเอซเตรมาดูรา และภาษาโปรตุเกส (ภาษาถิ่น) ที่ใช้กันในบางเมืองของแคว้นเอซเตรมาดูราและแคว้นกัสติยา-เลออน อย่างไรก็ตาม ภาษาเหล่านี้ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางราชการอย่างที่ภาษากาตาลา ภาษากาลิเซีย และภาษาบาสก์มี
ภาษาถิ่นอันดาลูซิอา (Andalusian dialect) หรือ อันดาลุซ (Andaluz) พูดในแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซิอาและยิบรอลตาร์ โดยมีความแตกต่างจากภาษากัสติยาในเรื่องการออกเสียงหลายประการ ซึ่งบางประการได้เข้าไปมีอิทธิพลในภาษาสเปนแบบลาตินอเมริกา ข้อแตกต่างเหล่านี้เห็นได้ในเรื่องสัทวิทยา (phonology) เช่นเดียวกับการใช้ทำนองเสียง (intonation) และคำศัพท์ (vocabulary)
ในย่านท่องเที่ยวตามชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและหมู่เกาะ นักท่องเที่ยว ผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ และผู้ทำงานท่องเที่ยวจะพูดภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน ผู้ย้ายถิ่นชาวแอฟริกาและผู้สืบเชื้อสายชนกลุ่มน้อยเหล่านั้นจะพูดภาษายุโรปที่เป็นทางการของบ้านเกิดพวกเขา (ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรตุเกส ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส หรือครีโอลท้องถิ่น)
=== ศาสนา ===
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ (เช่น เวิลด์แฟกต์บุ๊ก 2005 ของซีไอเอ ผลการสำรวจอย่างเป็นทางการของสเปน และแหล่งอื่น ๆ) ชาวสเปนร้อยละ 81-94 นับถือศาสนาคริสต์นิกายดังกล่าว ในขณะที่ประมาณร้อยละ 6-19 นับถือศาสนาอื่นหรือไม่นับถือศาสนาใดเลย อย่างไรก็ตาม ชาวสเปนจำนวนมากที่ระบุว่าตนเองเป็นชาวคาทอลิกเนื่องจากได้เข้าพิธีศีลล้างบาปเท่านั้น ไม่ได้เคร่งศาสนาเท่าใดนัก อีกการสำรวจหนึ่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) โดยศูนย์สืบสวนทางสังคมวิทยาสเปน แสดงให้เห็นว่าชาวสเปนร้อยละ 54 แทบจะไม่หรือไม่เคยไปโบสถ์เลย ในขณะที่ร้อยละ 15 ไปโบสถ์บางครั้งต่อปี ร้อยละ 10 ไปบางครั้งต่อเดือน และร้อยละ 19 ไปเป็นประจำทุกวันอาทิตย์หรือหลายครั้งต่อสัปดาห์
ชาวคริสต์โปรเตสแตนต์ก็มีเช่นกันในสเปน แต่มีจำนวนน้อยกว่า 5 หมื่นคน เช่น นิกายอีแวนเจลิคัล (Evangelism) ซึ่งนับถือกันในหมู่ชาวยิปซี นิกายมอร์มอน (Mormons) และลัทธิพยานพระยะโฮวาห์ (Jehovah's Witnesses)
คลื่นอพยพในระยะหลังได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมมากขึ้น ซึ่งมีประมาณ 1 ล้านคน ชาวมุสลิมไม่ได้อาศัยอยู่ในสเปนมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อย่างไรก็ตาม การขยายดินแดนอาณานิคมในแอฟริกาตอนเหนือและตะวันตกก็ได้ให้สถานะความเป็นพลเมืองสเปนแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในสแปนิชโมร็อกโกและสแปนิชสะฮารา ทุกวันนี้ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในสเปน รองจากศาสนาคริสต์ (นิกายโรมันคาทอลิก) โดยชาวมุสลิมในสเปนคิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด แต่ชาวลาตินอเมริกา ซึ่งมักจะนับถือคาทอลิกอย่างแรงกล้าและเข้ามาพร้อมกับกระแสการอพยพดังกล่าวนี้ ก็ช่วยเพิ่มจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ให้กับศาสนจักรเช่นกัน
ในทางปฏิบัติแล้ว ศาสนายูดายไม่ปรากฏในสเปนจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งชาวยิวได้รับอนุญาตให้กลับเข้าประเทศอีกครั้ง ปัจจุบันมีชาวยิวในสเปนประมาณ 5 หมื่นคน คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด เชื่อกันว่าสเปนมีชาวยิวประมาณร้อยละ 8 ในช่วงเวลาก่อนการจัดตั้งศาลไต่สวนทางศาสนา
== กีฬา ==
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ทัพนักกีฬาสเปนคว้าเหรียญรางวัลไปทั้งหมด 19 เหรียญ (3 เหรียญทอง 11 เหรียญเงิน และ 5 เหรียญทองแดง) อยู่ในอันดับที่ 20 และในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) นักกีฬาบาสเกตบอลของสเปนก็ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิปของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) ที่ประเทศญี่ปุ่น
=== ฟุตบอล ===
กีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศคือกีฬาฟุตบอลเช่นเดียวกับชาติอื่น ๆ ทั่วไปในยุโรป โดยมีลาลิกาเป็นลีกสำหรับฟุตบอลอาชีพของประเทศ สโมสรฟุตบอลใหญ่อย่างเรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด และบาร์เซโลนามักเป็นผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในการแข่งขันสืบต่อกันมา ฟุตบอลทีมชาติสเปนสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สเปนเคยได้แชมป์ฟุตบอลยูโรใน ค.ศ. 1964 และกลับมาครองแชมป์ฟุตบอลยุโรปอีกใน ค.ศ. 2008 เอาชนะทีมชาติเยอรมนีไปได้ในรอบชิงชนะเลิศ 1-0 โดยผู้ยิงประตูคือเฟร์นันโด ตอร์เรส และใน ค.ศ. 2010 ทีมชาติสเปนก็ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้เป็นสมัยแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยเอาชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 1-0 จากการยิงของอันเดรส อินิเอสตา ทำให้สเปนเป็นชาติที่ 8 ที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลก ทีมชาติสเปนยังสามารถป้องกันแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2012) เอาไว้ได้อีกหนึ่งสมัย โดยถล่มทีมชาติอิตาลีทีมร่วมกลุ่มไป 4-0 และยังสร้างสถิติใหม่ในรายการนี้มากมาย เช่น เป็นทีมแรกที่ถล่มคู่ต่อสู้ในนัดชิงชนะเลิศได้ขาดลอยที่สุด, เป็นทีมที่เสียประตูน้อยที่สุดตลอดการแข่งขัน (เสียไปเพียงหนึ่งประตูในนัดแรกของกลุ่มที่เสมออิตาลี 1-1) และเป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์รายการใหญ่ได้ถึงสามรายการติดต่อกัน (ฟุตบอลยูโร 2008, ฟุตบอลโลก 2010 และฟุตบอลยูโร 2012)
=== บาสเกตบอล ===
บาสเกตบอลถือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมรองจากฟุตบอลในสเปน โดยมีทีมใหญ่อย่างเรอัลมาดริดและบาร์เซโลนา ทีมบาสเกตบอลชุดใหญ่ของสเปนถือเป็นหนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จสูงในการแข่งขันระดับโลก โดยคว้าตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งชันชิงแชมป์โลก (FIBA World Cup) ได้ 2 สมัยใน ค.ศ. 2006 และ 2019 และเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 12 ครั้ง โดยสามารถคว้าเหรียญเงินได้ 3 สมัย (ค.ศ. 1984, 2008 และ 2012) รวมทั้งเหรียญทองแดงอีก 1 สมัย (ค.ศ. 2016) ทีมสเปนมีนักบาสเกตบอลระดับโลกที่ได้ร่วมเล่นอาชีพในการแข่งขันเอ็นบีเอมากมาย เช่น เปา กาซ็อล, มาร์ก กาซ็อล และริกี รูบิโอ
=== เทนนิส ===
ในด้านกีฬาเทนนิสนั้น สเปนคว้าตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันเดวิสคัพ (Davis Cup) ได้ถึง 6 สมัย (ค.ศ. 2000, 2004, 2008, 2009, 2011 และ 2019) โดยมีราฟาเอล นาดัล ผู้เล่นระดับโลกจากแคว้นแบลีแอริกอยู่ในตำแหน่งมือวางอันดับต้น ๆ ของโลกมาจนถึงปัจจุบัน
=== จักรยาน ===
การแข่งขันจักรยานก็ถือเป็นกีฬาหลักที่ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน มีการจัดการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศ คือ บูเอลตาเอสปัญญา และมิเกล อินดูไรน์ จากแคว้นนาวาร์ เป็นหนึ่งในชาวสเปนเพียงห้าคนที่คว้าชัยชนะในการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ที่มีชื่อเสียง
=== กีฬาสู้วัวกระทิง ===
กีฬาสู้วัวกระทิงเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสเปน แม้ว่าในช่วงหลังมานี้จะได้รับความสนใจลดลงบ้างและถูกองค์กรคุ้มครองสัตว์ต่าง ๆ ต่อต้าน กีฬานี้ก็ยังคงดำรงอยู่ได้อย่างดีในประเทศ การสู้วัวกระทิงมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8) และปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลก
=== กีฬาอื่น ๆ ===
กีฬาท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ เปโลตา (Pelota) ควบคู่กับไฮอาไล (Jai Alai) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเข้ามาในสเปนผ่านทางชาวมัวร์ นอกจากนี้ การแข่งขันกีฬาอื่น ๆ ในระดับนานาชาติ สเปนยังประสบความสำเร็จในกีฬากรีฑาระยะกลาง (middle distance running) กอล์ฟ และแฮนด์บอลอีกด้วย
== วัฒนธรรม ==
วัฒนธรรมสเปนมีรากฐานมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ อิทธิพลของชาวไอบีเรียนเดิมและชาวละตินในคาบสมุทรไอบีเรีย ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ศาสนาอิสลามของชาวมัวร์ ความตึงเครียดในระหว่างการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของแคว้นกัสติยา และชนกลุ่มน้อย นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ของชาติ รวมทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนยังมีบทบาทสำคัญในการก่อร่างวัฒนธรรมสเปนด้วย
=== ธรรมเนียม ===
ในขณะที่ ซิเอสตา (siesta) หรือการพักจากการทำงานตอนบ่าย 1-2 ชั่วโมงกำลังลดลงโดยทั่วไป การดำเนินชีวิตใน 1 วันของชาวสเปนก็ค่อย ๆ มีความใกล้เคียงกับระเบียบของประเทศในทวีปยุโรปทั่วไปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ร้านค้าและพิพิธภัณฑ์หลายแห่งยังคงแบ่งเวลาทำการออกเป็นสองช่วง โดยจะพักระหว่างนั้น 2-3 ชั่วโมง การเดินเล่น (paseo) ในช่วงเย็นหรือหัวค่ำยังเป็นสิ่งที่ผู้คนในเมืองเล็กหลาย ๆ เมืองกระทำกัน (รวมทั้งเมืองใหญ่ก็เช่นกัน) ส่วนเวลารับประทานอาหารเย็นก็เรียกได้ว่าช้าที่สุดในยุโรป กล่าวคือจะเริ่มรับประทานกันเวลา 21.00 น. หรือ 22.00 น. ดังนั้นชีวิตกลางคืนจึงเริ่มขึ้นช้าตามไปด้วย มีคลับเต้นรำมากมาย (แม้แต่ในเมืองเล็กบางเมือง) ที่เปิดตอนเวลาเที่ยงคืนจนถึงรุ่งเช้า
=== สถาปัตยกรรม ===
=== วรรณกรรม ===
=== อาหาร ===
อาหารสเปนประกอบด้วยอาหารหลายประเภท ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิอากาศ เช่น อาหารทะเลก็หาได้จากพื้นน้ำที่ล้อมรอบประเทศอยู่นั้น และเนื่องจากประเทศสเปนมีประวัติความเป็นมายาวนานรวมทั้งวัฒนธรรมที่แตกต่างกันซึ่งทยอยเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนนี้ อาหารสเปนจึงมีความหลากหลายอย่างยิ่ง แต่เครื่องปรุงและส่วนผสมต่าง ๆ เหล่านั้นก็ได้ประกอบกันขึ้นเป็นอาหารประจำชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์ พร้อมทั้งตำรับการประกอบอาหารและรสชาตินับพัน อิทธิพลส่วนมากในอาหารสเปนมาจากวัฒนธรรมยิวและมัวร์ ชาวมัวร์เป็นชาวมุสลิมจากแอฟริกาซึ่งเคยมีอำนาจปกครองสเปนอยู่หลายศตวรรษ และอาหารของชาวมัวร์ก็ยังคงมีรับประทานกันอยู่จนทุกวันนี้ ตัวอย่างอาหารสเปนที่มีชื่อเสียง เช่น
อาร์โรซเนโกร (Arroz Negro) ข้าวผัดอาหารทะเล ปรุงด้วยหมึกดำจากปลาหมึก
โกซีโด (Cocido) สตูว์เนื้อและถั่วหลากชนิด
โชรีโซ (Chorizo) ไส้กรอกรสจัด
ชูเลตียัส (Chuletillas) เนื้อแกะ (ที่เลี้ยงด้วยนม) ย่าง
กัซปาโช (Gazpacho) ซุปเย็น ประกอบด้วยขนมปังและมะเขือเทศเป็นหลัก
ฟาบาดาอัสตูเรียนา (Fabada Asturiana) สตูว์ถั่ว
คามอนเซร์ราโน (Jamón serrano) แฮมหมักบ่มเป็นปี
ปาเอยา (Paella) ข้าวผัดเนื้อหรืออาหารทะเลใส่หญ้าฝรั่นและน้ำมันมะกอก มีหลายประเภท
เปสไกย์โตฟรีโต (Pescaito Frito) เนื้อปลาหมักและนวดแล้วนำไปทอด เป็นอาหารจากเมืองมาลากาและภาคตะวันตกของแคว้นอันดาลูซิอา
ไข่เจียวสเปน (Tortilla de patatas) หรือ ตอร์ตียาเอสปาโญลา (tortilla española) ไข่เจียวใส่มันฝรั่งและหัวหอม
ตูร์รอน (Turrón) ขนมหวานมีอัลมอนด์และน้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบ รับประทานเฉพาะในวันคริสต์มาส
กาลามารี (Calamari) ปลาหมึกทอด
ฟีเดวา (Fideuà) บะหมี่จากเมืองบาเลนเซีย
ริโอฆา (Rioja) ไวน์จากแคว้นลาริโอฆา
ซังกรีอา (Sangría) ไวน์พันช์
=== ดนตรี ===
ชิ้นงานดนตรีของสเปนได้แก่ ดนตรีคลาสสิกตะวันตกและดนตรีคลาสสิกอันดาลูซิอา รวมทั้งอุตสาหกรรมดนตรีป็อปภายในประเทศ และดนตรีชาวบ้าน (folk music) นอกจากนี้ สเปนสมัยใหม่ยังมีผู้เล่นดนตรีแนวร็อกแอนด์โรล เฮฟวีเมทัล พังก์ร็อก และฮิปฮอปเป็นจำนวนมาก
ดนตรีชาวบ้านหรือโฟล์กมิวสิกของสเปนที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดน่าจะเป็น ฟลาเมงโก (flamenco) มีต้นกำเนิดจากในแคว้นอันดาลูซิอา รูปแบบของฟลาเมงโกได้ผลิตนักดนตรีชาวสเปนที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น นักร้องกามารอน เด ลา อิสลา (Camarón de la Isla) และนักกีตาร์การ์โลส มอนโตยา (Carlos Montoya)
นอกจากฟลาเมงโกแล้ว ดนตรีชาวบ้านของสเปนยังมีดนตรีตรีกีตีชา (trikitixa) และ แอกคอร์เดียน จากแคว้นประเทศบาสก์ ดนตรีไกย์ตา (gaita - ปี่สกอตชนิดหนึ่ง) จากแคว้นกาลิเซียและอัสตูเรียส และโคตา (jota) จากแคว้นอารากอน และแม้ว่าประเพณีท้องถิ่นบางอย่างจะสูญหายไปแล้ว แต่บางอย่างก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่และได้รับการประยุกต์ดัดแปลงให้ทันสมัยเข้ากับรูปแบบและเครื่องดนตรีใหม่ ๆ เช่น ดนตรีเคลติก (Celtic music) ของกาลิเซีย นิวฟลาเมงโก (New Flamenco) เป็นต้น
ดนตรีสมัยใหม่ที่แตกต่างออกไปจากแนวพื้นบ้านเริ่มปรากฏในสเปนประมาณปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) จากนั้น ดนตรีพ็อปแนวเย-เย (Ye-yé) ก็เป็นที่นิยม ตามด้วยเพลงพ็อปและร็อกนำเข้าจากสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอื่น ๆ ดนตรีสเปนทุกวันนี้ประกอบด้วยวงร็อกเป็นส่วนใหญ่ เช่น เอลกันโตเดลโลโก (El Canto Del Loco) และไดเกอส์ (Dikers) ดนตรีชนิดใหม่นี้ก็กำลังติดอันดับความนิยมในหลายชาร์ตของสเปน และน่าจะเป็นเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่ง
=== วันหยุด ===
ประเทศสเปนมีวันหยุดสำคัญทางราชการดังต่อไปนี้
1 มกราคม = วันขึ้นปีใหม่
6 มกราคม = วันฉลองเทศกาลเสด็จมาของพระเยซูคริสต์; Epiphany Day
10 เมษายน = วันศุกร์ก่อนวันอีสเตอร์; Good Friday
13 เมษายน = วันอีสเตอร์
1 พฤษภาคม = วันแรงงาน
24 มิถุนายน = วันสมโภชนักบุญยอห์น
15 สิงหาคม = วันอัสสัมชัญ; Assumption Day
12 ตุลาคม = วันชาติสเปน
1 พฤศจิกายน = วันระลึกถึงนักบุญ; All Saints Day
6 ธันวาคม = วันรัฐธรรมนูญ
8 ธันวาคม = วันสมโภชพระแม่มารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล
25 ธันวาคม = วันคริสต์มาส
อ้างอิงโดย: สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย (Embajada de España en Tailandia)
== การจัดอันดับนานาชาติ ==
อันดับที่ 40 จาก 139 ประเทศในดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก ใน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) จากการจัดอันดับของรีพอร์ตเตอส์วิทเอาต์บอร์เดอส์ (Reporters Without Borders)
อันดับที่ 10 จาก 111 ประเทศในดัชนีคุณภาพชีวิตทั่วโลก ใน ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) จากการจัดอันดับของ ดิอิคอโนมิสต์ (The Economist)
อันดับที่ 9 จาก 25 ประเทศในการจัดอันดับความสำคัญทางเศรษฐกิจของ เนชันมาสเตอร์ (Nation Master)
อันดับที่ 18 จาก 68 ประเทศในการจัดอันดับความสำเร็จทางเทคโนโลยีของ เนชันมาสเตอร์ (Nation Master)
== สื่อสารมวลชน==
=== ช่องสัญญาณโทรทัศน์แห่งชาติ (แอนะล็อก) ===
{|
|
ลาปรีเมรา (La Primera)
ลา 2 (La 2)
อันเตนา 3 (Antena 3)
|
ควาโตรเตเว (Cuatro TV)
เตเลซิงโก (Telecinco)
ลาเซซตา (LaSexta)
|}
=== ช่องสัญญาณโทรทัศน์ระดับภูมิภาค ===
{|
|
อารากอนเตเลบิซิออน (อารากอน)
เตอูเบปรินซิปาโดเดอัสตูเรียส (อัสตูเรียส)
กานัล 4 - กัสติยาอีเลออน (กัสติยาและเลออน)
เตเบ 3 (กาตาลุญญา)
เออุสกัลเตเลบิสตา (บาสก์)
กานัลซูร์ (อันดาลูซิอา)
เตเลมาดริด (มาดริด)
|
7 (มูร์เซีย)
กานัล 9 (บาเลนเซีย)
กัสติยา-ลามันชาเตเลบิซิออน (กัสติยา-ลามันชา)
เตเลบิซิออนกานาเรีย (กานาเรียส)
เตอูเบเฆ (กาลิเซีย)
อีเบ 3 (หมู่เกาะแบลีแอริก)
กานัลเอซเตรมาดูรา (เอซเตรมาดูรา)
|}
=== สถานีวิทยุ ===
{|
|
กาเดนาเซร์ (Cadena SER)
กาเดนาโกเป (Cadena COPE)
สถานีวิทยุแห่งชาติสเปน (Radio Nacional de España)
ออนดาเซโร (Onda Cero)
ปุนโตราดีโอ (Punto Radio)
|
กาเดนาเดียล (Cadena Dial)
กาเดนา 100 (Cadena 100)
โลส 40 ปรินซีปาเลส (Los 40 principales)
คิสส์เอฟเอ็ม (Kiss FM)
เอ็ม 80 เรดิโอ (m80 radio)
|}
=== หนังสือพิมพ์ ===
{|
|
เอลปาอิส (El País)
เอลมุนโด (El Mundo)
20 มีนูโตส (20 minutos)
เมโทรอินเตอร์เนชันแนล (เมโทร) (Metro International)
เก! (Qué!)
อาดีเอเน (ADN)
เดียรีโอเดนาบาร์รา (Diario de Navarra)
อาเบเซ (ABC)
ลาราซอน (La Razón)
ลาบังกวาร์เดีย (La Vanguardia)
เอลเปรีโอดีโกเดกาตาลูญา (El Periódico de Cataluña)
ลาโวซเดกาลิเซีย (La Voz de Galicia)
เอลกอร์เรโอ (El Correo)
|
ลาโอปีนีออน (La Opinión)
ลาเบร์ดัด (La Verdad)
เอรัลโดเดอารากอน (Heraldo de Aragón)
การา (Gara)
มาร์กา (Marca)
อัส (AS)
ฟาโรเดบีโก (Faro de Vigo)
ลานวยบาเอสปัญญา (La Nueva España)
เอลอีเดอัลกาเยโก (El Ideal Gallego)
เอลนอร์เตเดกัสตียา (El Norte de Castilla)
ลาโบซเดอัลเมริอา (La Voz de Almería)
กานาเรียส 7 (Canarias7)
|}
== ดูเพิ่ม ==
จักรวรรดิสเปน
ภาษาสเปน
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน
ฟุตบอลทีมชาติสเปน
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
=== ผลงานที่อ้างอิง ===
== อ่านเพิ่ม ==
Carr, Raymond, ed. Spain: a history. Oxford University Press, USA, 2000.
Callaghan O.F Joseph. A History of Medieval Spain Cornell University Press 1983
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Spain. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Spain from UCB Libraries GovPubs
Spain from the BBC News
Key Development Forecasts for Spain from International Futures
รัฐบาล
E-Government portal for Spain
แผนที่
การท่องเที่ยว
Official tourism portal for Spain
ส
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ส | thaiwikipedia | 253 |
วัคซีน | วัคซีน (vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้
วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย
คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox
== ประวัติ ==
ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1770 เอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ทราบเรื่องของสตรีผู้เลี้ยงวัวที่ไม่เคยป่วยด้วยโรคฝีดาษเลย ภายหลังเธอป่วยด้วยโรค cowpox ซึ่งเธอติดเชื้อดังกล่าวจากวัวที่เธอเลี้ยง และเป็นโรคที่อาการไม่รุนแรงนักในมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1796 เจนเนอร์สกัดนำเชื้อ cowpox จากสตรีผู้นั้นแล้วให้แก่เด็กชายวัย 8 ปี หลังจากนั้น 6 สัปดาห์เขาได้ให้เชื้อฝีดาษ (small pox) แก่เด็กชายผู้นั้น พบว่าเด็กชายไม่ป่วยหรือมีอาการสำแดงถึงโรคฝีดาษ ต่อมาได้มีการทดลองเพิ่มเติมถึงประสิทธิภาพวิธีการนี้ในทารก เมื่อพบว่าวิธีการนี้ปลอดภัยกว่าการปลูกฝีอย่างมาก ภายหลังได้มีการนำความคิดนี้ไปใช้อย่างกว้างขวางทั่วอังกฤษและวิธีการปลูกฝีถูกสั่งห้ามในปี ค.ศ. 1840 หลุยส์ ปาสเตอร์ได้นำแนวความคิดของเจนเนอร์ไปประยุกต์กับวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคจากสัตว์ปีกจำพวกเป็ด-ไก่ โดยเขาแยกเชื้อและนำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์ลงและฉีดเข้ากับเด็กผลปรากฏว่าเด็กมีแนวโน้มต้านทานต่อเชื้ออหิวาตกโรค ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานต่อการผลิตวัคซีนในระยะหลัง ต่อมาในราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 วัคซีนได้รับการผลักดันจนมีความสำคัญระดับชาติซึ่งมีกฎหมายวัคซีนบังคับขึ้นใช้ในหลายประเทศ และมีการแจกจ่ายวัคซีนต่าง ๆ ไปทั่วโรค อาทิ วัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ, โรคโปลิโอ, โรคไอกรน เป็นต้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการพัฒนาวัคซีนและประสบความสำเร็จมากมาย อาทิ โรคคอตีบ, โรคหัด, โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน โดยวัคซีนเหล่านี้ส่วนมากได้ใช้องค์ความรู้และแนวคิดการพัฒนามาจากวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในคริสต์ศตวรรษที่ 1950 และการพัฒนาวัคซีนโรคฝีดาษในราวคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 ปัจจุบันมีการพัฒนากระบวนการผลิตวัคซีนโดยอาศัยองค์ความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุลและเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์พัฒนาวัคซีนขึ้น อาทิ recombinant hepatitis B vaccine ซึ่งถือเป็นวัคซีนรุ่นที่สอง และในอนาคตมีความพยายามพัฒนาวัคซีนขึ้นโดยการสังเคราะห์แอนติเจนผ่านกระบวนการทางเคมีและฟิสิกส์ในหลอดทดลอง (in vitro) โดยผลิตซับยูนิตวัคซีน อาทิ peptide synthetic vaccine หรืออาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุลร่วมกัน อาทิ แอนแทรกซ์วัคซีนและ recombinant synthetic เพื่อป้องกันโรคเอดส์ อย่างไรก็ดีวัคซีนในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมถึงโรคสำคัญอีกหลายโรค อาทิ โรคมาลาเรียและโรคเอดส์
== ชนิดของวัคซีน ==
วัคซีนในปัจจุบันสามารถแบ่งได้สองเกณฑ์จำแนกคือ เกณฑ์จำแนกทางการให้ยา แบ่งได้สองประเภทคือการกินและการฉีด อีกเกณฑ์จำแนกคือลักษณะของแอนติเจนที่ให้ซึ่งแบ่งออกได้เป็นวัคซีนชนิดเป็นและชนิดตาย รวมถึงยังมีทอกซอยด์อีกด้วย
=== ชนิดตัวตาย ===
วัคซีนชนิดตัวตาย (Killed Vaccine) เป็นวัคซีนวิธีการแรก ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตวัคซีน ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ตายทั้งตัวหรือส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นแอนติเจน อาทิ แคปซูล ฟิลิ หรือไรโบโซม วัคซีนชนิดนี้ผ่านการเลี้ยงเชื้อในสภาวะที่มีความรุนแรงสูงและนำจุลินทรีย์มาฆ่าด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การใช้ความร้อน, การใช้แสงอัลตราไวโอเลต และการใช้สารเคมีอย่างฟีนอลหรือฟอร์มาลิน การใช้วัคซีนชนิดนี้ต้องมีขนาดการใช้สูงเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ตายแล้วและไม่อาจเพิ่มปริมาณในร่างกายผู้ให้วัคซีนได้ รวมถึงการออกฤทธิ์วัคซีนประเภทนี้จะสั้นซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการใช้สารจำพวกแอตจูแวนต์ (Adjuvant) หรือใช้วิธีการฉีดกระตุ้นให้ระดับแอนติบอดีสูงพอที่จะป้องกันโรคได้
วัคซีนตัวตายทำนำส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลินทรีย์มาทำเป็นวัคซีนนั้นเรียกว่าซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) สามารถแบ่งตามลักษณะการได้มาของแอนติเจนอาทิการสกัดแอนติเจน (antigen extract), การผลิตแอนติเจนโดยกระบวนการเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์ และการสังเคราะห์แอนติเจนในหลอดทดลอง นอกจากนี้ยังมีการนำยีนของเชื้อที่ก่อโรคมาสกัดนำยีนควบคุมลักษณะการสร้างแอนติเจนมากระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีขึ้น ซึ่งยีนนั้นจะมีส่วนของโปรตีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคโดยการนำยีนสอดแทรกเข้าไปในดีเอ็นเอของเชื้อก่อโรคนั้นด้วย
อนึ่ง ทอกซอยด์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อันเป็นพิษของแบคทีเรียก็ได้จัดกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนชนิดตัวตายด้วย โดยนำสารพิษ (toxin) มาทำให้ความเป็นพิษหมดไปแต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของโรคได้ซึ่งจะเป็นส่วนของสารประเภทโปรตีนในทอกซิน การหมดพิษไปของทอกซินอาจตั้งทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือการใช้ความร้อนและสารเคมีในเชิงเภสัชอุตสาหกรรม การใช้วิธีการทำให้หมดฤทธิ์วิธีการใดจำเป็นต้องตระหนักถึงความทนสภาพของแอนติเจนที่จะไม่หมดฤทธิ์ตามพิษนั้นไปด้วย ทอกซอยด์ที่ได้นิยมนำไปตกตะกอนด้วยอะลัมเพื่อให้ดูดซึมในร่างกายอย่างช้า ๆ โดยฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ ปัจจุบันมีทอกซอย์ด์สองชนิดเท่านั้นคือทอกซอยด์ป้องกันโรคคอตีบ และโรคบาดทะยัก
=== ชนิดตัวเป็น ===
วัคซีนชนิดตัวเป็น (Live Attenuated Vaccine) ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตแต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ไม่ก่อโรคในร่างกายมนุษย์แต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้โดยการคัดเลือกตัวผ่าเหล่าของจุลินทรีย์ที่มีความรุนแรงต่ำโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ อาทิ การทำให้แห้ง, การเลี้ยงในสภาวะผิดปกตินอกโฮสต์, การเลี้ยงจนอ่อนฤทธิ์และการใช้เทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์เข้าร่วม ซึ่งข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ประการหนึ่งคือการสามารถเจริญและเพิ่มจำนวนในร่างกายได้ ทำให้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นเวลานานและระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่าในวัคซีนชนิดตัวตาย สามารถให้ในปริมาณที่น้อยได้และยังเป็นการเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติอีกด้วย
อย่างไรก็ดีวัคซีนชนิดตัวเป็นยังมีปัญหาหลายประการ อาทิ ความรุนแรงในการอ่อนฤทธิ์ของไวรัสคือต้องมีขนาดพอเหมาะ ความรุนแรงต่ำต้องไม่ต่ำจนกระทั่งไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ คือสูญเสียคุณสมบัติแอนติเจน และเชื้อผ่าเหล่าที่ได้รับการคัดเลือกจำต้องมีความคงตัว นอกจากนี้ปัญหาการปนเปื้อนไวรัสจากการเลี้ยงเชื้อในสภาวะอื่นอาจมีไวรัสปะปนในเซลล์ที่นำมาเลี้ยง อาทิ WI-38 ซึ่งเป็นเซลล์ของมนุษย์นำมาเลี้ยงแทนเซลล์เนื้อไตลิงที่มีปัญหาการปนเปื้อนไวรัสสูง หากแต่ยังมิได้รับการยอมรับในหลายประเทศ
การให้วัคซีนชนิดตัวเป็นสองชนิดขึ้นไปในเวลาใกล้เคียงกันอาจก่อให้เกิดปัญหา "Interference Phenomenon" ขึ้น จากการไม่ตอบสนองตอบของร่างกายต่อวัคซีนตัวหลังที่ให้ เพราะวัตซีนตัวแรกก่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายที่ออกฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อไวรัสอย่างไม่จำเพาะเจาะจงทำให้ป้องกันวัคซีนตัวหลังที่ให้ด้วย นอกจากนี้การเก็บรักษาวัคซีนประเภทนี้ต้องเก็บในตู้เย็นหรือที่ควบคุมอุณหภูมิในช่วง 2-8 องศาเซลเซียสเท่านั้น
===ชนิดหน่วยย่อย===
วัคซีนหน่วยย่อย (subunit vaccine) ใช้ชิ้นส่วนบางส่วนของเชื้อมาเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างเช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีใช้โปรตีนผิวของตัวไวรัส (ก่อนหน้านี้ทำโดยสกัดจากเลือดของผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรัง แต่ปัจจุบันผลิตจากยีสต์ที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม) เป็นต้น
== ปฏิกิริยาในร่างกาย ==
=== ระบบภูมิคุ้มกัน ===
เมื่อให้วัคซีนแก่ร่างกายแล้วนั้น แอนติเจนซึ่งอยู่ในวัคซีนจะเป็นสิ่งชักนำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค เมื่อแอนติเจนจับเข้ากับตัวรับ (receptor) ณ บริเวณเซลล์ epithelium แล้ว ร่างกายจะตอบสนองขั้นพื้นฐานด้วยกลไกภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่ไม่จำเพาะโรค (natural immunity) โดยหลั่งอินเตอร์เฟียรอน (interferon) เพื่อยับยั้งไม่ให้สามารถติดเชื้อไปยังเซลล์ข้างเคียงได้ และใช้ natural killer cell (NK cell) ในการกำจัดเชื้อ หลังจากนั้นจะเหนี่ยวนำระบบภูมิคุ้มกันโดยสร้างแอนติบอดี และการตอบสนองโดยทีเซลล์ (T cell) การตอบสนองบริเวณทีเซลล์จะเป็นหน่วยบันทึกความจำแอนติเจนโดย Memory T cell ซึ่งทำให้การกำจัดเชื้อที่มีแอนติเจนดังกล่าวในครั้งต่อไปเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
มีรายงานการให้วัคซีนสองชนิดขึ้นไปพร้อมกันทำให้เกิดการรบกวนการทำงานของวัคซีน ซึ่งเกิดขึ้นกับวัคซีนชนิดตัวเป็นโดยส่วนใหญ่ ซึ่งพบครั้งแรกกับวัคซีนป้องกันโปลิโอ จากการศึกษาพบว่าเกิดจากการที่ร่างกายมีกลไกตามธรรมชาติที่ไม่จำเพาะต่อโรคทำให้ป้องกันการติดเชื้อหรือแอนติเจนอื่น ๆ ที่ได้รับภายหลังด้วย
=== ประสิทธิผล ===
การให้วัคซีนไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าผู้ที่ได้รับจะไม่ได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วยโรคนั้น ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปเฉพาะบุคคล ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีนซึ่งอาจตอบสนองในระดับต่ำกว่าบุคคลทั่วไป อาทิ ในผู้ป่วยที่ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ใช้สารเสตียรอยด์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรืออาจเกิดเนื่องมาจากบุคคลมีปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งมีจำนวนบีเซลล์ (B cell) ไม่เพียงพอเนื่องจากบีเซลล์จะมีบทบาทในการเหนี่ยวนำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อแอนติเจนนั้น ๆ นอกจากนี้ในบางกรณีผู้ได้รับวัคซีนเกิดการเหนี่ยวนำในร่างกายให้มีการสร้างแอนติบอดีแล้ว แต่แอนติบอดีไม่ตอบสนองหรือตอบสนองต่ำเกินกว่าที่จะต่อสู้กับแอนติเจนซึ่งผลสุดท้ายจะก่อโรคนั้นแทน
เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของวัคซีน จึงมีการผสมแอนตูแวนต์อาทิ อะลูมิเนียมแอตจูแวนต์ซึ่งใช้ได้เฉพาะวัคซีนเท่านั้น การใช้วัคซีนในปริมาณมากจะใช้ในบางกรณี เช่น ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ระดับการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่ำลง ทั้งนี้ประสิทธิผลของวัคซีนขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่ตัวเชื้อที่นำมาผลิตวัคซีน, ความเข้มข้นของวัคซีน, การเก็บรักษาวัคซีน, ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นต้น ทำให้การใช้วัคซีนในกรณีต้องทำการคำนวณปริมาณการใช้ยาที่จำเพาะกับบุคคล ซึ่งส่วนมากจะทำให้วัคซีนมีฤทธิ์ต่ำ
== กำหนดการให้วัคซีน ==
เพื่อให้การป้องกันโรคโดยใช้วัคซีนมีประสิทธิผลสูงสุด การให้วัคซีนในเด็กจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการให้วัคซีนเนื่องจากในวัยเด็กจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่เพียงพอและอยู่ในระหว่างการพัฒนา ทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีนสูง กำหนดการให้วัคซีนแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในสหรัฐอเมริกามีคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านภูมิคุ้มกันร่างกายแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิดเอ, โรคตับอักเสบชนิดบี, โปลิโอ, คางทูม, โรคคอตีบ, โรคบาดทะยัก, โรคไอกรน, HiB, อหิวาตกโรค, โรคหวัด, ไวรัสโรตา, โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ โรคปอดบวม ปริมาณวัคซีนที่มาก (24 เข็มเมื่ออายุ 2 ปี) ทำให้เกิดปัญหาการได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด จึงได้มีการนำวัคซีนหลายชนิดมารวมกันเพื่อลดจำนวนครั้งการให้วัคซีน นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำการฉีดวัคซีนให้กับบุคคลอายุอื่น ๆ อาทิ คางทูม, บาดทะยัก, ไข้หวัด และปอดบวม ในสตรีมีครรภ์จะได้รับการตรวจโรคหัดเยอรมัน ในกลุ่มผู้สูงอายุจำเป็นต้องใช้วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมและโรคไข้หวัดในปริมาณสูง
ในประเทศไทยมีการกำหนดการให้วัคซีนคล้ายคลึงกันแต่มีการเพิ่มวัคซีนป้องกันวัณโรค ซีจี ป้องกันวัณโรคและไข้ไทฟอยด์เพิ่มเติม และมีข้อแนะนำการให้วัคซีนกันบาดทะยักทุก 10 ปี
สำหรับกำหนดการให้วัคซีนตัวหลักสำหรับเด็กในประเทศไทย เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงต่อการติดโรคระบาด มีดังนี้ วัคซีนบีซีจี ไวรัสตับอักเสบบี คอตีบ-บาดทะยัก โปลิโอ หัดเยอรมัน ไข้สมองอักเสบ ในส่วนของวัคซีนตัวเสริมที่ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปฉีดเพิ่มเติม ได้แก่ อีสุกอีใส ตับอักเสบเอ ไข้หวัดใหญ่ มะเร็งปากมดลูก(เพศหญิง) วัคซีน IPD และวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยแนะนำผู้ปกครองทุกท่านให้สังเกตอาการทางร่างกายของบุตรหลานก่อนว่าพร้อมหรือสมควรได้รับวัคซีนหรือไม่ เช่น มีโรคประจำตัว หรือมีประวัติการแก้วัคซีนหรือไม่ รวมถึงหลังฉัดวัคซีน ให้สังเกตอาการของเด็กอย่างน้อย 30 นาที ว่ามีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้นกับร่างกายหรือไม่
== เภสัชภัณฑ์และระบบขนส่ง ==
=== การผลิตและเภสัชตำรับ ===
การผลิตวัคซีนประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย เริ่มจากการที่เชื้อจะสร้างแอนติเจนขึ้น หลังจากนั้นนำเชื้อที่ได้มาเพาะเลี้ยงในเซลล์ปฐมภูมิ อาทิ ไข่ไก่ (เช่นเชื้อโรคไข้หวัด) หรือการนำไปเพาะเลี้ยงอย่างต่อเนื่องในเซลล์มนุษย์ (เช่นเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ) แบคทีเรียจะเจริญเติบโตภายในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (เช่นเชื้อ Haemophilus influenzae ชนิดบี) หรือบางครั้งอาจได้โปรตีนจากการเพิ่มจำนวน (recombinant) จากไวรัสและแบคทีเรียในยีสต์, แบคทีเรีย และเซลล์เพาะเลี้ยง หลังจากแอนติเจนถูกสร้างขึ้นแล้ว ก็จะถูกแยกออกจากเซลล์ที่ใช้ในการสร้างซึ่งในบางกรณีอาจต้องการไวรัสที่ถูกยับยั้ง หรือกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ต่อไป รีคอมบีแนนต์โปรตีนที่ได้ต้องผ่านกระบวนการอาทิอัลตราฟิลเตรชัน (ultrafiltration) และโครมาโทกราฟฟีแบบคอลัมน์ (column chromatography) สุดท้ายวัคซีนจะถูกสร้างขึ้นโดยการเติมสารจำพวกแอตจูแวนต์, สารเพิ่มความคงตัว และสารกันบูด สารพวกแอตจูแวนต์ช่วยเพิ่มระยะเวลาการตอบสนองต่อแอนติเจนของร่างกาย สารเพิ่มความคงตัวจะช่วยให้ยามีอายุการใช้ยาวนานขึ้นร่วมกับสารกันบูดที่ใช้ผสมในส่วนประกอบตำรับยาที่เป็นหลายโดส และป้องกันผลอันมิพึงประสงค์จากปฏิกิริยาระหว่างวัคซีนบางชนิด อาทิ การติดเชื้อจำพวก Staphylococcus ก่อให้เกิดโรคคอตีบเนื่องมาจากส่วนผสมของสารกันบูดไม่เพียงพอ นอกจากนี้ในบางตำรับต้องผสมสารอื่นๆเพิ่มเติม สารที่นิยมได้แก่พวกอะลูมิเนียมซึ่งทำหน้าที่เป็นแอตจูแวนต์, ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเติบโตของเชื้อในวัคซีนขณะทำการเก็บรักษา, ฟอร์มาลดีไฮด์ทำหน้าที่ยับยั้งแบคทีเรียที่พบในผลิตภัณฑ์พวกทอกซอยด์, ไทโอเมอร์ซัลเป็นสารกันบูดสำหรับวัคซีนหลายโดส อย่างไรก็ดี การผลิตวัคซีนร่วมยังคงมีความยากในการผลิตและพัฒนา เนื่องจากฤทธิ์ที่เข้ากันไม่ได้และปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและส่วนผสมที่เกี่ยวข้อง
เทคนิคการผลิตวัคซีนได้รับการพัฒนาขึ้น การเพาะเลี้ยงในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเลี้ยงแบบดั้งเดิมหรือในเซลล์ไข่ เนื่องมาจากผลิตภัณฑ์ทีได้จะมีประสิทธิภาพมากกว่าขณะที่ปัญหาการปนเปื้อนจะน้อยกว่า มีการคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์ที่ใช้ป้องกันโรคพันธุกรรมจะเติบโตขึ้นจากการใช้ทอกซอยด์ของไวรัสและแบคทีเรีย การให้วัคซีนหลายชนิดร่วมกันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อลดปริมาณแอนติเจน อย่างไรก็ดีต้องมีการป้องกันผลอันไม่พึงประสงค์จากปฏิกิริยาโดยใช้รูปแบบโมเลกุลทีเกี่ยวข้องกับเชื้อโรค (pathogen-associated molecular pattern)
=== ระบบขนส่ง ===
ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบการขนส่งวัคซีนให้วัคซีนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันประกอบด้วยวิธีการใช้ไลโปโซมและ ISCOM (สารประกอบกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน) พัฒนาการล่าสุดของเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนคือการให้วัคซีนด้วยวิธีการรับประทาน วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอได้รับการทดสอบจากอาสาสมัครปรากฏผลบวกในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคโปลิโอในร่างกาย การให้วัคซีนในทางปากจะปราศจากซึ่งความเสี่ยงการปนเปื้อนในกระแสเลือด วัคซีนที่ให้ด้วยวิธีการนี้จะมีลักษณะคล้ายของแข็งที่มีความคงตัวสูงและไม่จำเป็นต้องเก็บด้วยการแช่แข็ง ความคงตัวในลักษณะนี้จะลดความต้องการของอุณหภูมิในการเก็บรักษายาอันจำเพาะตั้งแต่การผลิตจนกระทั่งการให้วัคซีน (cold chain) นอกจากนี้ยังลดตุ้นทุนการผลิตวัคซีน นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก (microneedle) ซึ่งอยู่ในช่วงการพัฒนาซึ่งเป็นการให้วัคซีนผ่านผิวหนัง
นอกจากการพัฒนาระบบข่นส่งข้างต้นแล้ว ยังมีการวิจัยวัคซีนโดยใช้พลาสมิดเป็นระบบขนส่งซึ่งอยู่ในช่วงการศึกษาชั้นพรีคลินิก อย่างไรก็ตาม พบว่าเมื่อศึกษาในมนุษย์แล้วให้ผลที่ต่ำกว่าซึ่งเกิดมาจากความไร้ความสามารถที่จะให้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องทางคลินิก ประสิทธิภาพโดยรวมของการสร้างภูมิคุ้มกันพลาสมิดดีเอ็นเอ ขึ้นอยู่กับการเพิ่มการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของพลาสมิด ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวเนื่องกับการกระตุ้นอย่างจำเพาะอีกด้วย
== เศรษฐศาสตร์การพัฒนา ==
หนึ่งในความท้าทายในการพัฒนาการผลิตวัคซีนในเชิงเศรษฐศาสตร์คือการผลิตวัคซีนให้กับโรคที่ต้องการอย่างเอชไอวี, มาลาเรีย และวัณโรค ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่ในประเทศยากจน บริษัทยาและบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีแรงจูงใจเพียงเล็กน้อยในการผลิตวัคซีนเหล่านี้เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้จะไม่คุ้มทุน หรือในประเทศร่ำรวยก็จะให้ผลตอบแทนต่ำและมีปัจจัยเสี่ยงทางการเงินมาก
การพัฒนาวัคซีนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมาจากการผลักดันจากกองทุนภาครัฐ, มหาวิทยาลัย และองค์กรไม่แสวงผลกำไร วัคซีนหลายชนิดมีราคาต้นทุนที่สูงแต่มีประโยชน์ในด้านสาธารณสุขอย่างยิ่ง วัคซีนจำนวนมากถูกพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะวัคซีนที่ให้ในเด็กวัยก่อนเข้าเรียน บางทีอาจเนื่องมาจากการสนับสนุนของภาครัฐมากกว่าแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ
นักวิจัยจำนวนมากและผู้กำหนดนโยบายเรียกร้องให้มีแนวทางต่างกันโดยใช้กระบวนการ "ดึง" เพื่อใช้แรงจูงใจเป็นแรงขับเคลื่อนในภาคเภสัชอุตสาหกรรม อาทิ รางวัล, สิทธิประโยชน์ด้านภาษี หรือภาระผูกพันในตลาดล่วงหน้า เพื่อให้มั่นใจถึงรายได้เพื่อให้การพัฒนาวัคซีนเชื้อเอชไอวีประสบความสำเร็จ หากนโยบายได้รับการออกมาที่ดี ก็จะเป็นหลักประกันการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนเมื่อวัคซีนได้รับการพัฒนาแล้ว
== ข้อโต้แย้ง ==
การให้วัคซีนก่อให้เกิดข้อโต้แย้งและข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่การรณรงค์การให้วัคซีนครั้งแรก แม้ว่าประโยชน์ในการป้องกันโรคของวัคซีนแต่การให้วัคซีนบางครั้งก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ต่อระบบภูมิคุ้มกันจากการให้วัคซีน มีข้อพิพาทเกิดขึ้นในเรื่องของคุณธรรม-จริยธรรมรวมถึงความปลอดภัยในการให้วัคซีน บางข้อพิพาทกล่าวว่าวัคซีนมีประสิทธิผลไม่เพียงพอในการป้องกันโรค หรือการศึกษาความปลอดภัยในการใช้วัคซีนยังไม่เพียงพอ ในบางศาสนาไม่อนุญาตให้ฉีดวัคซีน และกลุ่มการเมืองบางกลุ่มต่อต้านการบังคับการฉีดวัคซีนว่าขัดต่ออิสรภาพของปัจเจกชน ในด้านการตอบสนองมีข้อกังวลเรื่องการแพร่กระจายข่าวไม่เพียงพอในด้านความเสี่ยงจากการใช้วัคซีน อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตไม่เพียงแค่เด็กที่บิดามารดาปฏิเสธการรับวัคซีนเท่านั้น แต่ในเด็กอื่น ๆ ก็ปฏิเสธการรับวัคซีนเช่นกันด้วยเหตุผลว่า ยังเด็กเกินไปในการรับวัคซีน ซึ่งอาจติดเชื้อได้จากการไม่ได้รับวัคซีน การตอบสนองที่มากเกินไปเป็นอีกหนึ่งข้อกังวลซึ่งเป็นข้อมูลเท็จที่แพร่กระจายโดยทั่วไปว่าวัคซีนอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
== การใช้งานในสัตวแพทย์ ==
การให้วัคซีนในด้านสัตวแพทย์ถูกใช้เพื่อรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อสู่มนุษย์
== ดูเพิ่ม ==
ระบบภูมิคุ้มกัน
ภูมิคุ้มกันวิทยา
ข้อถกเถียงเรื่องวัคซีน
การเกิดลิ่มเลือดและสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดภายหลังการได้รับวัคซีน
การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
WHO Vaccine preventable diseases and immunization
World Health Organization position papers on vaccines
The History of Vaccines โดย College of Physicians of Philadelphia
แพทยศาสตร์
เภสัชกรรม
การให้วัคซีน
โรคติดเชื้อ
วิทยาไวรัส
จุลชีววิทยา
วิทยาภูมิคุ้มกัน
วัคซีน | thaiwikipedia | 254 |
ประเทศมาเลเซีย | มาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไย (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก
มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี พ.ศ. 2489 มาลายาถูกปรับโครงสร้างเป็นสหพันธรัฐมาลายาในปี พ.ศ. 2491 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 มาลายารวมกับบอร์เนียวเหนือ ซาราวัก และสิงคโปร์เป็นมาเลเซียเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2506 แต่ไม่ถึงสองปีถัดมา คือในปี พ.ศ. 2508 สิงคโปร์ก็ถูกขับออกจากสหพันธ์
มาเลเซียเป็นประเทศพหุชาติพันธุ์และพหุวัฒนธรรมซึ่งมีบทบาทอย่างมากในด้านการเมือง ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดมีเชื้อสายมลายู โดยมีชนกลุ่มน้อยกลุ่มสำคัญคือ ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และชนพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มต่าง ๆ รัฐธรรมนูญประกาศให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ก็ยังให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม ระบบรัฐบาลมีรูปแบบคล้ายคลึงกับระบบรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ ระบบกฎหมายมีพื้นฐานอยู่บนระบบคอมมอนลอว์ ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์หรือที่เรียกว่ายังดีเปอร์ตวนอากง ทรงได้รับเลือกจากบรรดาเจ้าผู้ครองรัฐในมาเลเซียตะวันตก 9 รัฐ โดยทรงดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ส่วนหัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี
นับตั้งแต่ได้รับเอกราช มาเลเซียเป็นประเทศที่มีประวัติทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย โดยมีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.5 ต่อปีเป็นเวลาเกือบ 50 ปี ระบบเศรษฐกิจแต่เดิมได้รับการขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ แต่ก็กำลังขยายตัวในภาควิทยาศาสตร์ การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทุกวันนี้ มาเลเซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รองจากอินโดนีเซียและไทย) เป็นสมาชิกจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และองค์การความร่วมมืออิสลาม และเป็นสมาชิกของความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก เครือจักรภพแห่งชาติ และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ===
ประเทศมาเลเซียปัจจุบันไม่ค่อยมีหลักฐานแสดงความยิ่งใหญ่ในอดีตเหมือนประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างที่ กัมพูชามีเมืองพระนคร อินโดนีเซียมีโบโรบูดูร์ หลักฐานทางโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดที่พบได้แก่ กะโหลกศีรษะมนุษย์ ยุคโฮโมเซเปียน ในถ้ำนียะห์ รัฐซาราวัก โรงเครื่องมือหินที่พบในโกตาตัมปัน รัฐเปรัก หลักฐานดังกล่าวบ่งชี้ว่ามนุษย์ในยุคแรกเริ่มของบริเวณนี้เป็นนักล่าสัตว์ และผู้เพาะปลูกเร่ร่อนของ ยุคหินกลาง อาศัยอยู่ตามเพิงหินและถ้ำในภูเขาหินปูนของคาบสมุทร ใช้เครื่องมือหินตัดบดและล่าสัตว์ป่า ราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีกลุ่มคนยุคหินใหม่อพยพมาจากจีนตอนใต้เข้ามาสู่บริเวณนี้ และด้วยความที่มีเครื่องมือทันสมัยกว่า รู้จักวิธีเพาะปลูก ในที่สุดจึงขับไล่พวกที่มาอยู่ก่อนเข้าไปในภูเขาและป่าชั้นในของแหลมมลายู หลังจากนั้นราว 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก็มีกลุ่มคนยุคเหล็กและยุคสำริด ใช้โลหะเป็นอาวุธ รู้จักค้าขาย ก็มาขับไล่พวกเดิมให้อยู่ในป่าลึกเข้าไปอีก พวกที่มาใหม่นี้ต่อมากลายเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของชาวมาเลเซียในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของมาเลเซียในยุคโบราณมีไม่มากนัก นักประวัติศาสตร์จึงมักถือเอาช่วงเวลาที่ มะละกา ปรากฏตัวขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญทางชายฝั่งคาบสมุทรมลายูเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์มาเลเซีย
พงศาวดารมลายูกล่าวว่ากษัตริย์ปรเมศวรเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองนี้ตามชื่อต้นมะละกา ( A Malaka tree-ต้นมะขามป้อม) ซึ่งในขณะที่พระองค์ทรงพักผ่อนใต้ร่มต้นไม้นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นกระจงหันเตะสุนัขล่าสัตว์ แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่นี้ แม้แต่สัตว์ก็ยังมีเลือดนักสู้ จึงนับเป็นลางที่ดีที่ทำให้พระองค์ตัดสินใจตั้งหลักปักฐานที่นี่ และสร้างมะละกาให้กลายเป็นอาณาจักรชายฝั่งทะเลที่รุ่งเรืองต่อมา อีกคำสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่ามะละกามาจากคำอาหรับที่ว่า มะละกัด (Malakat) หรือศูนย์กลางการค้าอันเป็นชื่อที่พ่อค้ามักใช้เรียกเกาะวอเตอร์ (Water Island) ที่อยู่ใกล้ ๆ นานแล้ว
=== มะละกาจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย ===
มะละกาเป็นเมืองท่าสำคัญ ก่อตั้งขึ้นประมาณ ค.ศ. 1400 ตั้งอยู่บนช่องแคบมะละกาซึ่งคร่อมเส้นทางการค้าสำคัญทางทะเลจากตะวันออกสู่ตะวันตก ระหว่างสองเมืองสำคัญอย่างจีนกับอินเดีย ถือเป็นท่าเรือที่ดีเพราะไม่มีป่าโกงกาง น้ำลึกพอให้เรือเทียบท่าและมีเกาะสุมาตราเป็นที่กำบังพายุ
== การเมืองการปกครอง ==
มาเลเซียมีการปกครองแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางทำหน้าที่ดูแลเรื่องสำคัญ ๆ เช่น การต่างประเทศ การป้องกันประเทศ ความมั่นคง ตุลาการ การคลัง และอื่น ๆ ขณะที่ในแต่ละรัฐมีรัฐบาลของรัฐดูแลด้านศาสนา ประเพณี สังคม เกษตรกรรม การคมนาคมภายในรัฐ บางรัฐเช่นกลันตัน มีระบบราชการในรูปแบบของตนเอง นอกจากนี้ในแต่ละรัฐจะมีสภาแห่งรัฐที่มาจากการเลือกตั้งทุก ๆ 5 ปี เหมือนกันหมด
=== ประมุข ===
สมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาจากการเลือกตั้งสุลต่าน 9 รัฐ ได้แก่ ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง เซอลาโงร์ เกอดะฮ์ กลันตัน เนอเกอรีเซิมบีลัน เปรัก และปะลิส ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี ส่วนอีก 4 รัฐ คือ ปีนัง มะละกา ซาบะฮ์ และซาราวัก ไม่มีสุลต่านปกครอง
ตามปกติสุลต่านที่มีอาวุโสสุงสุดจะได้รับเลือก โดยต้องได้เสียงมากกว่าครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังอาจได้รับเลือกเข้ามาเป็นสมัยที่ 2 อีกได้ หากสุลต่านจากรัฐอื่น ๆ ได้ดำรงตำแหน่งยังดีเปอร์ตวนอากงเรียบร้อยแล้ว
อำนาจส่วนใหญ่ของยังดีเปอร์ตวนอากงเกี่ยวข้องกับพิธีการต่าง ๆ นอกจากนั้นมีอำนาจในทางบริหาร และนิติบัญญัติ คือ กฎหมายที่ออกมาจะต้องประกาศใช้ ถูกยับยั้ง หรือ ได้รับการแก้ไขในนามพระองค์ มีอำนาจเกี่ยวกับการกำหนดสมัยประชุมสภา แต่งตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก หรือที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีอำนาจอภัยโทษ แต่งตั้งประธานศาลและผู้พิพากษาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐบาล นอกจากนี้ยังสามารถประกาศภาวะฉุกเฉิน พอเสียชีวิต โดยถ้ารัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็น ยังดี เปอร์ตวน อากง จะเป็นผู้ประกาศพระบรมราชโองการ และเมื่อประกาศใช้แล้วจะไม่มีพระบรมราชโองการใดมาเปลี่ยนแปลงได้
=== ฝ่ายบริหาร ===
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำสูงสุด มาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่สมาชิกได้รับเลือกเข้ามานั่งในสภามากที่สุด หรืออาจเป็นหัวหน้าพรรคที่เป็นแกนนำในสภาผู้แทนราษฎร ผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นพลเมืองของสหพันธรัฐโดยกำเนิดเท่านั้น และต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสุงสุดในระบบราชการ รวมทั้งมีหน้าที่ถวายคำแนะนำชี้แจงนโยบายการปกครองและการบริหารรัฐให้แก่ยังดีเปอร์ตวนอากง ส่วนรองหัวหน้าพรรคจะได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีไปด้วย ถือเป็นผู้มีอำนาจรองจากนายกรัฐมนตรีและเป็นบุคคลที่จะสืบทอดอำนาจต่อจากนายกรัฐมนตรี
ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี มีกลุ่มผู้ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินคือคณะรัฐมนตรี โดยมีการเลือกรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ เอาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งด้วยระบบการเมืองของมาเลเซียที่มีพรรคร่วมรัฐบาลจำนวนมาก อีกทั้งหลายพรรคตั้งขึ้นมาโดยอาศัยเชื้อชาติ ศาสนา การเลือกสรรบุคคลจึงเป็นเรื่องยากเพราะต้องคำนึงถึงอัตราส่วนตัวแทนพรรค และตัวบุคคลว่าจะทำงานร่วมกันกับตัวแทนของเชื้อชาติอื่น ๆ ได้หรือไม่
=== ฝ่ายนิติบัญญัติ ===
องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติของมาเลเซียคือรัฐสภา รัฐสภาจะทำหน้าพิจารณากฎหมายต่าง ๆ และทำการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ รวมถึงตรวจสอบนโยบายของรัฐบาล กฎหมายต่าง ๆ ที่ออกโดยรัฐสภาของมาเลเซียประกอบด้วยสองสภาได้แก่
1.เดวัน รักยัต (Dewan Rakyat) หรือสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิก 222 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป โดยจะมีการเลือกตั้งทุก 5 ปี
2.เดวัน เนกรา (Dewan Negara) หรือวุฒิสภา มีสมาชิก 70 คน โดยเลือกตั้งสมาชิกก 26 คนมาจาก ทั้ง 13 รัฐ รัฐละ 2 คน ส่วนอีก 44 คนมาจากการแต่งตั้งโดย ยัง ดี-เปอร์ตวน อากง ภายใต้คำแนะนำของนายกรัฐมนตรี อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี
อำนาจทางการเมืองจะอยู่กับ เดวัน รักยัต ในขณะที่ เดวัน เนกรามีอำนาจยับยั้งกฎหมายต่าง ๆ ได้ เพื่อเป็ยการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
==== พรรคการเมือง ====
=== ฝ่ายตุลาการ ===
สถาบันทางตุลาการทั้งประเทศยกเว้นศาลอิสลาม อยู่ภายใต้ระบบสหพันธรัฐ อำนาจตุลาการเป็นอิสระมาก ปราศจากการควบคุมหรือแทรกแซงโดยฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ
สถาบันตุลาการสูงสุดหรือศาลฎีกา ทำหน้าที่รับข้อพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงคอยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างรัฐกับรัฐด้วย จากศาลสูงสุดไล่ลงมาเป็นขั้น ๆ จนถึงระดับท้องถิ่นมีศาลประเภทต่าง ๆ ที่ประชาชนสามารถร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมได้ ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมจะมีศาลอิสลามและศาลของชนพื้นเมืองเป็นฝ่ายพิจารณา นอกจากนี้ยังมีศาลประเภทอื่น ๆ เช่น ศาลสูง (ศาลรองจากศาลสูงสุด) ศาลเฉพาะ (ศาลที่ทำคดีอาญามีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี กับศาลแพ่งที่ต้องคืนทรัพย์ไม่เกิน 2 หมื่นริงกิต) ศาลแขวง (ศาลที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งที่มีโทษสถานเบา) ศาลท้องถิ่น (ศาลที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีที่มีการกระทำความผิดเล็กน้อย เน้นการรอมชอม) ศาลเด็ก (ศาลที่พิจารณาคดีของบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี) เป็นต้น
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศสหพันธรัฐ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ และ 3 ดินแดนสหพันธ์ โดย 11 รัฐ กับ 2 ดินแดนสหพันธ์ อยู่ในมาเลเซียตะวันตก และอีก 2 รัฐ กับ 1 ดินแดนสหพันธ์ อยู่ในมาเลเซียตะวันออก แต่ละรัฐแบ่งเป็นเขต แต่ละเขตแบ่งเป็นมูกิม (mukim) ในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก เขตในรัฐจะถูกจัดกลุ่มโดยบาฮาเกียน (ภาษามลายู: Bahagian, division)
ดินแดนสหพันธ์เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครองโดยตรง ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง), ปูตราจายา (เมืองราชการ) และลาบวน (ศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศนอกชายฝั่ง) โดยทั้งกัวลาลัมเปอร์และปูตราจายาอยู่ในพื้นที่รัฐเซอลาโงร์ ส่วนลาบวนอยู่ใกล้รัฐซาบะฮ์
== ต่างประเทศ ==
=== ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย ===
==== ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป ====
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 และมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กัวลาลัมเปอร์ เอกอัครราชทูต ณ กัวลาลัมเปอร์ คนปัจจุบันคือ นายกฤต ไกรจิตติ ซึ่งเดินทางไปรับหน้าที่เมื่อวันที่ 2 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย 2 แห่ง ได้แก่ (1) สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และ (2) สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู สำหรับส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ของไทย ซึ่งตั้งสำนักงานในมาเลเซียได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารทั้งสามเหล่าทัพ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน และสำนักงานประสานงานตำรวจ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มาเลเซีย
มาเลเซียมีสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย ได้แก่ ดาโต๊ะ นาซีระห์ บินตี ฮุสซัยน์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และมีสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา และกงสุญใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา ได้แก่ นายไฟซัล แอต มุฮัมมัด ไฟซัล บิน ราซาลี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก ได้แก่ (1) การดำเนินความร่วมมือภายใต้กลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย (Joint Commission : JC) คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (Joint Development Strategy : JDS) คณะกรรมการด้านความมั่นคง ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee : HLC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee : RBC) ซึ่งทั้ง 3 ระดับเป็นกรอบความร่วมมือของฝ่ายทหารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคง และความร่วมมือชายแดน คณะกรรมการด้านความมั่นคงกรอบอื่น ๆ เฉพาะเรื่อง อาทิ คณะกรรมการร่วมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และความร่วมมือในกรอบ Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) และอาเซียน และ (2) ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนร่วมกัน การร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศและการเสริมสร้างมาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures) บนพื้นฐานของกรอบ 3Es ได้แก่ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการประกอบกิจการ (Entrepreneurship)
==== ความสัมพันธ์ด้านการเมือง ====
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีพลวัตร รวมทั้งตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงการมี “จุดมุ่งหมาย” ร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีเพื่อสนับสนุนความเชื่อมโยงในอาเซียนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
==== ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง ====
กองทัพไทยกับมาเลเซียมีการฝึกทางทหารระหว่างกันเป็นประจำ ได้แก่ (1) LAND EX THAMAL ซึ่งเป็นการฝึกประจำปีเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2536 (2) THALAY LAUT ซึ่งมีการฝึกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยไทยกับมาเลเซียสลับกันเป็นเจ้าภาพ (3) SEA EX THAMAL เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีพื้นที่ฝึกบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการร่วมชายแดนทางทะเลระหว่างไทย–มาเลเซียทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน (4) AIR THAMAL เป็นการฝึกการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีตามบริเวณชายแดนไทย–มาเลเซีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 โดยทำการฝึกทุกปี ประกอบด้วยการฝึกภาคสนามสลับกับการฝึกปัญหาที่บังคับการ และสลับกันเป็นเจ้าภาพ และ (5) JCEX THAMAL เป็นการฝึกร่วม/ผสมภายใต้กรอบการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน
อนึ่ง เมื่อวันที่ 3–7 มีนาคม พ.ศ. 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซียและผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซียเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารและเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยประจำปี พ.ศ. 2555 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี และเมื่อวันที่ 17–19 เมษายน พ.ศ. 2555 รองผู้บัญชาการทหารบกและผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงกลาโหมได้เดินทางเยือนมาเลเซียเพื่อเข้าร่วม Defence Services Asia – DSA 2012) ครั้งที่ 13 และมาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการระดับสูงไทย–มาเลเซีย (HLC) ครั้งที่ 28 ระหว่างวันที่ 14–16 พฤษภาคม 2555 ที่กัวลาลัมเปอร์ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
==== ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ====
การค้า
ในปี 2554 มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 การค้ารวมระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่า 24,724.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (749,626.68 ล้านบาท) ไทยส่งออก 12,398.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (373,606.62 ล้านบาท) และนำเข้า 12,326.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (376,020.05 ล้านบาท) โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 72.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เสียเปรียบดุลการค้าเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,4613.43 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.10 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้ารวมปี 2553 การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่า 18,688.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (560,654.99 ล้านบาท) โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 6,602.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (198,073.34 ล้านบาท) ทั้งนี้ การค้าชายแดนประกอบเป็นสัดส่วนร้อยละ 74 ของการค้ารวมระหว่างไทยกับมาเลเซีย
สินค้าส่งออกของไทยไปมาเลเซีย ได้แก่ ยางพารา คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซียประกอบด้วย น้ำมันดิบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน น้ำมันสำเร็จรูป สินแร่และโลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
การลงทุน
ในปี 2554 มาเลเซียลงทุนในไทยจำนวน 34 โครงการ มีมูลค่า 6,135 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสาขาการบริการยานยนต์ การเกษตร และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 21 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 3,863 ล้านบาท มาเลเซียสนใจมาลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปยางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมาเลเซียมีศักยภาพในการลงทุน และการลงทุนในไทยจะช่วยลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากไทยมีแรงงานและอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ดีกว่ามาเลเซีย ทั้งนี้ Malaysia Industrial Development Authority (MIDA) อนุมัติส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่มีภาคการลงทุนของไทยลงทุนด้วยจำนวน 3 โครงการ มีมูลค่า 2,415 ล้านบาท นักลงทุนไทยที่สนใจไปลงทุนในมาเลเซียได้แก่ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท เครือซีเมนต์ไทย กลุ่มบริษัทสามารถ และร้านอาหารไทย
การท่องเที่ยว
ในปี 2554 มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่งจำนวน 2.47 ล้านคน ขณะที่มีนักท่องเที่ยวไทยไปมาเลเซียจำนวน 1.52 ล้านคน
แรงงานไทย
ปัจจุบัน มีแรงงานไทยในมาเลเซียประมาณ 210,000 คน โดยเป็นแรงงานถูกกฎหมายประมาณ 6,600 คน ทั้งนี้ ในปี 2553 มีแรงงานต่างชาติที่ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในมาเลเซียจำนวน 458,698 คน โดยแรงงานจากอินโดนีเซียจัดเป็นลำดับหนึ่ง ร้อยละ 55.81 และแรงงานไทยจัดอยู่ในลำดับ 9 ร้อยละ 1.45 มาเลเซียมีความต้องการแรงงานไทยสาขาก่อสร้าง งานนวดแผนไทย งานบริการ การเกษตรชายแดน อุตสาหกรรมและงานแม่บ้าน ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นบังคับใช้ ค่าจ้างขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ไทยกับมาเลเซียมีความร่วมมือด้านแรงงานในกรอบคณะทำงานร่วมด้านความร่วมมือแรงงานภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย-มาเลเซีย
==== ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม ====
ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียประกอบด้วย (1) กลุ่มแรงงานไทยในร้านต้มยำของมาเลเซีย (ร้านอาหารไทย) จำนวนมากกว่า 10,000 คน และ (2) กลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งศึกษาระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลายในโรงเรียนสอนศาสนาของรัฐบาลมาเลเซียจำนวน 350 คน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวไทยอาศัยอยู่ใน 4 มณฑลในภาคใต้ตอนล่างของสยาม เนื่องจากเมื่อปี 2452 รัฐบาลสยามตกลงมอบ 4 มณฑลให้อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษกับการให้อังกฤษยอมรับอธิปไตยของสยามในส่วนอื่นของประเทศ คนเหล่านี้จึงตกค้างและกลายเป็นพลเมืองของมาเลเซียในปัจจุบัน คนสยามดังกล่าวมีการสืบทอดวัฒนธรรมไทย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา ออกพรรษา กฐิน และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาสื่อสารในท้องถิ่น
==== ความร่วมมือทางวิชาการ ====
ไทยและมาเลเซียมีความร่วมมือทางวิชาการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างไทยกับมาเลเซีย ลงนามเมื่อ 21 สิงหาคม 2550 และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับมาเลเซีย ลงนามเมื่อ 19 มกราคม 2554 ซึ่งดำเนินความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของไทยและมาเลเซีย การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา และการให้ทุนการศึกษา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการไทย–มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Think Tank and Scholar Network) โดยมีศูนย์ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Institute of Strategic and International Studies ของมาเลเซียเป็นผู้ประสานงานหลัก
== กองทัพ ==
กองทัพมาเลเซียประกอบด้วย กองทัพเรือมาเลเซีย,กองทัพมาเลเซียและกองทัพอากาศมาเลเซีย ไม่มีการเกณฑ์ทหารและอายุที่กำหนดสำหรับการเกณฑ์ทหารโดยสมัครใจคือ 18 ปี โดยใช้งบประมาณเป็น 1.5% ของ GDP ของประเทศและใช้กำลังของกองทัพเป็น 1.23% ของกำลังคนของมาเลเชีย
== เศรษฐกิจ ==
=== โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ===
ตั้งแต่สมัยอาณานิคม การส่งออกดีบุก ยางพารา และน้ำมันปาล์มก็เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียมาโดยตลอดเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลอาณานิคม รวมทั้งชาวยุโรปด้วย
เมื่อถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกพร้อมควบคุมประเทศ อุตสาหกรรมดีบุก ยางพาราและนำมันปาล์มต่างซบเซาลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางพารายังต้องแข่งกันกับยางสังเคราะห์ที่เติบโตขึ้นในช่วงสงคราม อย่างไรก็ตามเมื่อสงครามสิ้นสุด ทั้งยางพาราและน้ำมันปาล์มก็กลับมาเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ยางธรรมชาติได้รับการพิสูจน์ว่าดีกว่ายางสังเคราะห์ แม้ว่าสวนยางจะประสบความยุ่งยากบ้างในช่วงที่มลายาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในปี ค.ศ. 1948 – 1960 ส่วนปาล์มก็มีการปลูกไปทั่วในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 ทั้งยังมีเงินทุนหลั่งไหลเข้ามา พร้อม ๆ กับเป็นช่วงที่ตลาดการค้าโพ้นทะเลเฟื่องฟู ทำให้มาเลเซียกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงนั้น ต่างกับดีบุกที่มีการส่งออกมาตรการประหยัดการใช้ดีบุก ส่งผลให้ราคาดีบุกขึ้น ๆ ลง ๆ จนผลสุดท้ายอุตสาหกรรมนี้ลดความสำคัญลงไป นอกจากนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญขณะนั้นยังได้แก่ ไม้ซุงจากเกาะบอร์เนียวเหนือ และพืชเชิงพานิชย์ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะพร้าวแห้ง ปอมะนิลา โกโก้
การกำหนดแนวทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเจริญเติบโตของประเทศไปพร้อมกับการแก้ปัญหาสังคมและการเมืองถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีขึ้นตั้งแต่ยังเป็นสหพันธ์มลายาฉบับแรก ๆ (ช่วงปี ค.ศ. 1956–1960) เน้นการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ พยายามผลักดันอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าแต่ไม่ค่อยได้ผล เพราะตลาดการค้าในประเทศยังเล็กมาก นอกจากนี้ยังมีเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยพยายามทำให้รายได้กระจายไปสู่ประชากรอย่างทั่วถึง ให้ทุกคนมีงานทำ
ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศมาเลเซีย ได้แก่ การว่างงานและความยากจน โดยเฉพาะกลุ่มชาวมลายูในชนบท รัฐบาลจึงพยายามพัฒนาที่ดินและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ถนนหนทาง โรงเรียน สถานพยาบาล ระบบชลประทาน แต่ก็ช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่ชาวจีนซึ่งถือว่าเป็นคนมาอยู่ใหม่ ไม่ใช่เจ้าของที่กลับขยันขันแข้ง เข้ามาหักร้างถางพง และมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าชาวมลายูที่อยู่มาก่อน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างชาวมลายูกับชาวจีนขณะนั้น ทำให้บางคนถึงกับคิดว่าในอนาคตชาวจีนจะควบคุมประเทศ ในขณะที่ชาวมลายูจะถูกไล่เข้าป่าดงดิบซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ
หลังจากได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1957 เศรษฐกิจของมาเลเซียก็เติบโตขึ้น แล้วเริ่มเปลี่ยนจากการทำดีบุกกับยางพาราเป็นหลักไปเป็นทำอุตสาหกรรมที่หลากหลายและทันสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาใหญ่ที่คุกคามเศรษฐกิจคือ ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติซึ่งเกิดปะทุขึ้นรุนแรงจนนำไปสู่จลาจลในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1969 รัฐบาลซึ่งขณะนั้นนำโดยพรรคอัมโนจึงคิดนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy-NEP) ออกมาแก้ปัญหา นำออกมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1970 โดยเนื้อหาสำคัญคือ ให้สิทธิพิเศษแก่พวก "ภูมิบุตร" หรือพลเมืองเชื้อสายมลายูเช่น กำหนดสัดส่วนข้าราชการส่วนใหญ่ให้เป็นชาวมลายู ให้สิทธิการเข้าเรียน จัดแบ่งที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพานิชย์ให้แก่พลเมืองเชื้อสายมลายูก่อนพลเมืองเชื้อสายจีนหรืออินเดีย
นโยบายดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของมาเลเซียดีขึ้น สัดส่วนผู้ถือหุ้นชาวมลายูในบริษัทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ระหว่างปี ค.ศ. 1997 - 1998 ที่ทำให้การถือหุ้นตกไปอยู่ในมือชาวต่างชาติ รวมทั้งชาวมลายูเองก็มักลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไรในระยะสั้น มีวัฒนธรรมการเล่นพวกพ้องที่เป็นผลมาจากนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยม ช่วงนั้นมาเลเซียได้รู้วิธีการจัดการและกลลยุทธ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีส่วนช่วยให้มาเลเซียปรับตัวได้ดีเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกอีกครั้งในปี ค.ศ. 2008-2009 โดยเศรษฐกิจมาเลเซียหดตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม พลเมืองของประเทศมาเลเซียทั้งเชื้อชาติมลายู อินเดียและจีน ส่วนหนึ่งเห็นว่าควรยกเลิก NEP ไป เพราะเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติ ส่วนนักลงทุนต่างชาติตะวันตกเห็นว่า NEP มีผลเสีย เนื่องจากทำให้พวกภูมิบุตรเอาแต่รอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล บ้างก็วิจารณ์กันว่าแท้จริงแล้ว NEP อาจมีเพื่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของพรรคอัมโน เนื่องจากเป็นนโยบายที่อำนวยผลประโยชน์ต่อพลเมืองเชื้อสายมลายู ซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของพรรค
ในปี ค.ศ. 2010 เศรษฐกิจมาเลเซียเจริญเติบโตอย่างมาก ธนาคารของมาเลเซียมีเงินทุนที่มั่นคง ใช้การบริการแบบอนุรักษนิยม ไม่มีนโยบายให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งสัมพันธ์กับวิกฤติซับไพร์ที่เกิดในอเมริกา ธนาคารแห่งชาติมีนโยบายรักษาสภาพคล่องในการลงทุน ห้ามลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงตามระแสการลงทุนในต่างประเทศ ทำให้มาเลเซียเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงและหนี้ต่างประเทศต่ำ
ในที่สุดปี ค.ศ. 2010 นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค ที่มาจากพรรคอัมโนได้ยกเลิกข้อบังคับสิทธิพิเศษแก่ชาวมลายูในด้านต่าง ๆ รวมถึงทางด้านเศรษฐกิจ เช่น กำหนดให้บริษัทที่จะระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์จะต้องมีชาวมลายูถือหุ้นอย่างน้อย ร้อยละ 30 และประกาศต้นแบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Model-NEM) ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Transformation Program-ETP) หลักการสำคัญของ NEM ได้แก่ การเพิ่มรายได้ให้ประชาชน กระจายรายได้และผลประโยชน์ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน และให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายหรือการลงทุนต่าง ๆ ภายใต้ NEM จึงต้องคำนึงถืองผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
มาเลเซียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค มุ่งให้ความสำคัญแก่อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันชีวภาพ เครื่องสำอาง และพลาสติก อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซพลังงานธรรมชาติ อุตสาหกรรมภาคบริการ เกษตรกรรม พลังงานทางเลือก รวมถึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อย่าง เพลง ภาพยนตร์ ศิลปะ และการแสดงด้วย นอกจากนี้ยังมีการวางแผนที่จะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ รวมถึงเป็นศูนย์ทางการเงินของอิสลาม
ยุทธศาสตร์ของ NEM
เพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของมาเลเซียบรรลุเป้าหมาย จึงได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ NEM 8 ประการขึ้นมา ได้แก่
ผลักดันให้ภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เพิ่มคุณภาพของแรงงานชาวมาเลเซีย และลดการพึ่งพาแรงงานต่างชาติ
ส่งเสริมการแข่งขันภายในมาเลเซีย
สร้างความแข้มแข็งให้ระบบราชการ
ให้สิทธิพิเศษสำหรับผู้ด้อยโอกาศอย่างโปร่งใส และเป็นมิตรกับระบบตลาด
สร้างความรู้และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ส่งเสริมปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
โครงการ FELDA จัดสรรที่ดินแก่ชาวมลายู
เป็นหนึ่งในโครงการที่รัฐบาลที่คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของชาวมลายูในชนบท คือโครงการ FELDA (Federal Land Development Authority) โครงการนี้จะให้ทุนแก่เจ้าของสวนยางรายย่อย โดยจะช่วยอุดหนุนสำหรับปลูกต้นยางที่มีผลผลิตสูงและต้านทางโรคได้มาก ในโครงการนี้ผู้รับเหมาจะต้องถางที่ดินระหว่าง 1,600–2,000 เฮกตาร์ให้โล่งแล้วปลูกยาง จากนั้นแบ่งที่ดินออกเป็นระหว่าง 3.2–4 เฮกตาร์เพื่อจัดสรรให้แก่ชาวมลายู ชาวมลายูเหล่านี้จะได้รับปุ๋ยและเงินยังชีพช่วยเหลือขึ้นอยู่กับผลงานรายวันในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สุดท้ายแล้วค่าใช้จ่ายในกาพัฒนาที่ดินต้องคืนให้แก่รัฐภายใน 10–15 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ยางพาราจะโตเต็มที่พอดี แม้แผนโครงการ FELDA แต่สุดท้ายก็มีชาวมลายูเข้าร่วมเพียงเล็กน้อย และบางคนยังคัดค้านโครงการนี้อีกด้วย
มาเลเซีย ก้าวสู่ความเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมฮาลาล
อุตสาหกรรมอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากในมาเลเซีย คืออุตสาหกรรมฮาลาล ซึ่งไม่ได้หมายถึงอาหารอิสลามเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสินค้าประเภทอื่น เช่น ยา เครื่องสำอาง ของใช้ประเภทสบู่ ยาสีฟัน เครื่องหนัง ฯลฯ และเกี่ยวข้องกับการบริการ เช่น การจัดเลี้ยง โรงแรม การฝึกอบรม ธนาคาร สื่อสารมวลชน โลจิสติกส์ และท่องเที่ยวด้วย มาเลเซียวางเป้าหมายให้อุตสาหกรรมฮาลาลของตนเป็นศูนย์กลางของโลก โดยมีการจัดตั้ง Halal Industry Development Corporation-HDC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 ให้เป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล HDC ได้จัดทำ The Halal Industry Master Plan สำหรับปี ค.ศ. 2008–2020 โดยจัดแผนการดำเนินงานเป็น 3 ระยะได้แก่
- มุ่งเตรียมความพรอมให้มาเลเซียก้าวไปเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล โดย HDC จะเป็นหน่วยงานหลักที่ช่วยส่งเสริม ผลักดัน และให้การสนับสนุนการค้า การลงทุนในอุตสาหกรรมฮาลาล และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- มุ่งเน้นความสนใจไปที่ธุรกิจส่วนประกอบอาหาร อาหารแปรรูป และเครื่องใช้ส่วนตัว ให้การพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมและการทำการตลาด
- ระยะนี้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมฮาลาล จากระดับท้องถิ่นสู่ผู้นำในระดับสากล รวมถึงการก่อตั้งศูนย์วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฮาลาล ผดดยระยะที่สามนี้วางแผนอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 2015–2020
ทรัพยากรที่สำคัญ ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ไม้สัก
อุตสาหกรรมหลัก อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ไม้ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ปิโตเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยาง น้ำมันปาล์ม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
ตลาดส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
=== การท่องเที่ยว ===
ในปี 2559 มาเลเซียมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 26,757,392 คนเพิ่มขึ้น 4.0% จาก 25,721,251 คนในปี 2558 โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน ไทย บรูไน และอินเดีย ตามลำดับ
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== การคมนาคม และ โทรคมนาคม ===
==== เส้นทางคมนาคม ====
==== โทรคมนาคม ====
=== การศึกษา ===
=== สาธารณสุข ===
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เชื้อชาติ ===
ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบะฮ์มีอยู่ร้อยละ 11 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือ | thaiwikipedia | 255 |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology; อักษรย่อ: มทส. – SUT) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 โดยได้มีการยกฐานะจาก "วิทยาลัยสุรนารี" ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดนครราชสีมา และเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้ทำการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ใน 8 สำนักวิชาและ 1 สถาบันสมทบ โดยมีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 49 หลักสูตร ปริญญาโท 36 หลักสูตร และปริญญาเอก 29 หลักสูตร (ข้อมูลในปีการศึกษา 2563) มีนักศึกษากว่า 17,000 คน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารียังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกคิดเป็นร้อยละสูงที่สุดในประเทศไทย (ร้อยละ 80.21) และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยต่อหัวคณาจารย์สูงที่สุดในประเทศไทย "ที่ 1"
== ประวัติ ==
วิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 รัฐบาลมีนโยบายกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นใน พ.ศ. 2527ทบวงมหาวิทยาลัยจึงเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ในส่วนภูมิภาค 5 แห่ง ได้แก่ภาคเหนือ 1 แห่ง ภาคใต้ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้จัดตั้งวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา โดยวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้ใช้ชื่อว่า“ วิทยาลัยสุรนารี ”และเลือกพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยบ้านยาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 7,000 ไร่ เป็นที่ตั้ง
ต่อมารัฐบาลซึ่งมีชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความจำเป็นในการเร่งรัดจัดตั้งมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นในส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีศักยภาพและความพร้อมที่จะสนองความต้องการของการพัฒนาประเทศในภูมิภาคต่างๆ ดังนั้นคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2531 จึงมีมติให้ยกฐานะวิทยาลัยในภูมิภาคทั้ง 5 แห่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศพร้อมกันนี้ได้อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสุรนารีโดยมีปลัดทบวงมหาวิทยาลัย (ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน) เป็นประธานคณะกรรมการฯ ได้จัดทำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเสนอต่อรัฐบาล พร้อมทั้งเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมพ.ศ. 2532
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติดังกล่าว และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2533 ให้ยกฐานะ "วิทยาลัยสุรนารี" ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและถือเอาวันที่ 27 กรกฎาคม 2533 เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยในช่วงเดือนกรกฎาคม 2533 - พฤษภาคม 2536 มหาวิทยาลัยได้พัฒนาที่ทำการโดยจัดจ้างก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างและจัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2533 อาคารและสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่แล้วเสร็จทันการเปิดดำเนินการรับนักศึกษาในเดือนพฤษภาคมโดยมีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้านเป็นอธิการบดีผู้ก่อตั้ง
ในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 3 ด้านการวิจัย (ดีเลิศ) และ อันดับที่ 7 ด้านการเรียนการสอน (ดีเยี่ยม) ของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา (สมศ.) ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย ให้เป็นอันดับหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยของรัฐ และเป็นอันดับที่สองของประเทศ
มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงมากทางด้านสาขาวิชาฟิสิกส์ โดยได้รับการจัดอันดับจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศต่อเนื่องทั้งในปี พ.ศ. 2550 และ 2553 นอกจากนี้สาขาวิชาอื่นที่มีได้รับการจัดอันดับในเกณฑ์สูงได้แก่ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก และสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับอย่างกว้างจากวงการอุตสาหกรรม โดยได้เปิดสอนสาขาวิชาต่าง ๆ ทางด้านวิศวกรรมหลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย
มหาวิทยาลัยได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับการรับเลือก ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงเก่าแก่อื่น ๆ และได้รับการจัดอันดับการมีงานทำและศึกษาต่อของบัณฑิตร้อยละ 96 ซึ่งสูงที่สุดในประเทศ
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อยู่ในอันดับที่ 958 ของโลก และอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2558 ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 2 ร่วมของประเทศไทยและที่ 601-800 ร่วมของโลก ตามการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของนิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชัน, ตีพิมพ์งานวิจัยในนิตยสาร Nature มี Nature Index ลำดับ 2 ของประเทศและ Nature Publishing Index เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นต้นแบบของการจัดการสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ซึ่งจัดให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งภาคการศึกษา ผลการดำเนินงานพบว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ช่วยให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีอัตราการได้งานทำสูงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และในปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยได้รับเลือกจากคณะกรรมการสมาคมสหกิจศึกษาโลกให้เป็นสำนักงานสำนักงานสหกิจศึกษาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ 2.88 จากคะแนนเต็ม 3 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในกลุ่มการผลิตบัณฑิตและวิจัยในรอบการประเมินที่ 2 เท่ากับ 4.76 จากคะแนนเต็ม 5 อยู่ในระดับดีมาก
ปี พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัย จัดตั้ง ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โดยสรุปแล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อปีพุทธศักราช 2533 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติแห่งแรกของไทย และเป็นมหาวิทยาลัยรัฐลำดับที่ 16 ของประเทศ
== สัญลักษณ์ ==
ตราท้าวสุรนารี คือ ตราประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สื่อความหมายถึง ปรัชญาและภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเน้น ความ เคารพ และศรัทธาต่อท้าวสุรนารี ในฐานะวีรสตรีแห่งชาติ ด้านล่างเป็นภาพเส้นโค้งงอนหงายขนาบ 2 ข้างของภาพข้างละ 4 เส้น เกยและเชื่อมต่อกันเสมือนหนึ่งกระเบื้องมุงหลังคาคร่อมภาพ มีความหมายดังนี้
ภาพท้าวสุรนารี สื่อความหมายถึง ปรัชญา และ ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเน้น ความ เคารพ และศรัทธาต่อท้าวสุรนารี ในฐานะวีรสตรีแห่งชาติ
ภาพเส้นโค้งงอนหงายขนาบ 2 ข้างของภาพข้างละ 4 เส้น เกยและเชื่อมต่อกันเสมือนหนึ่งกระเบื้องมุงหลังคาคร่อมภาพ สื่อความหมายถึง ความสำเร็จทางเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องกัน และความเจริญก้าวหน้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด
ภาพเชิงนามธรรมของพืชพรรณและเฟืองจักร สื่อความหมายถึง การเกษตร และอุตสาหกรรม
ความหมายโดยรวม คือ ปรัชญาและภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเน้น ความ เคารพ และศรัทธาต่อท้าวสุรนารี ในฐานะวีรสตรีแห่งชาติ
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นปีบทอง
สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสด - ทอง
สีแสด หมายถึง สีประจำจังหวัดนครราชสีมา, สีธงประจำกองเสือป่านครราชสีมา ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครู
สีทอง หมายถึง เป็นสีแห่งความรุ่งเรืองรุ่งโรจน์ และศรัทธา
== การศึกษา ==
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ การบริหารการศึกษาดำเนินการโดย 8 คณะ 1 สถาบันสมทบ และ 1 สถาบันวิจัย ประกอบไปด้วย
=== สำนักวิชา ===
====กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี====
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
สำนักวิชาศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล
====กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ====
สำนักวิชาแพทยศาสตร์
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์
สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
====กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์====
สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม
=== โรงเรียน ===
โรงเรียนสุรวิวัฒน์
สถานศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและภาษา
=== สถาบันสมทบ ===
สถาบันการบินพลเรือน
=== ศูนย์/สถาบัน ===
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ศูนย์กิจการนานาชาติ
ศูนย์คอมพิวเตอร์
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์บริการการศึกษา
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ
=== การรับนักศึกษา ===
1. รอบที่ 1 Portfolio
2. รอบที่ 2 โควตา
3. รอบที่ 3 Admission 1
4. รอบที่ 4 Admission 2
5. รอบที่ 5 รับตรง
6. สมัครเพื่อขอรับทุนการศึกษา
7. รับโอนจากสถาบันอื่น
8. กลับเข้าศึกษาใหม่
=== สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ===
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเปิดสอนหลักสูตรสหกิจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นแห่งแรกของโลกในปีการศึกษา 2556 หลักสูตรสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีบูรณาการการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีในสถานศึกษา กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเสมือนเป็นพนักงาน อย่างน้อย 16 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์จากการทำงานจริงเป็นหลักหรือโครงงานพิเศษที่มีประโยชน์กับสถานประกอบการ เช่น การปรับปรุง การเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการแก้ปัญหากระบวนการทำงาน ซึ่งช่วยเสริมสร้างให้นักศึกษามีทักษะการทำงาน ทักษะด้านสังคม มีความพร้อมด้านงานอาชีพ และมีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารียังคงธำรงไว้ซึ่งการเป็นต้นแบบและผู้นำด้านสหกิจศึกษาของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และในปี 2563 มีจำนวนตำแหน่งงานที่ถูกเสนอจากสถานประกอบการมากกว่า 7,126 ตำแหน่งงาน
ไฟล์:Laan Yaa.JPG|ลานสัญลักษณ์
ไฟล์:หอสุรนภา มุมมองจากหน้าสุรนิทัศน์.JPG|หอสุรนภามุมมองหน้าสุรนิทัศน์
ไฟล์:SUT_Hospital.jpg|โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาแพทยศาสตร์
ไฟล์:สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน).JPG|อาคารวิจัยแสงซินโครตรอน
=== การก่อตั้งสำนักวิชา ===
==เพลงมหาวิทยาลัย==
มาร์ชสุรนารี
มาร์ชมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปีบทอง
ราตรีบีปทอง
ลาร่มปีบทอง
วันลา
รักแสดทอง
รำวงลูกสุรนารี
ยืนดีต้อนรับน้องใหม่
แสดงทองนำชัย
พลัง มทส
WE CHEER SUT
น้ำใจนักกีฬา
== อันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย ==
===การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย===
เมื่อ พ.ศ. 2549 สกอ. ได้ประกาศ 50 อันดับมหาวิทยาลัยด้านวิจัย และด้านการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 7 ด้านการเรียนการสอนและลำดับที่ 3 ด้านการวิจัย
===อันดับมหาวิทยาลัย===
นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่
====การจัดอันดับโดย Webometrics====
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ รอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 7 ของประเทศไทย 261 ของทวีปเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 1200 ของโลก
==== การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking ====
เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ในรอบ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 180 ของโลก
====การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking====
อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษา Scimago Institutions Rankings 2020 ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งผลการจัดอันดับประเภทภาพรวม (Overall Rank) ปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยในไทยติดอันดับจำนวน 26 แห่ง โดยผลการจัดอันดับ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ติดอันดับที่ 10 ของไทย อันดับที่ 752 ของโลก
1. ด้านการวิจัย ติดอันดับที่ 12 ของไทย อันดับที่ 451 ของโลก
2. ด้านนวัตกรรม ติดอันดับที่ 8 ของไทย อันดับที่ 480 ของโลก
3. ด้านสังคม ติดอันดับที่ 8 ของไทย อันดับที่ 228 ของโลก
Scimago Institutions Rankings เป็นการจัดอันดับจากองค์การในประเทศสเปน ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาจากผลงาน 3 ด้าน
==== การจัดอันดับโดย uniRank ====
uniRank เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานไม่แสวงหากำไร IREG Observatory ที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการศึกษาจากหลายสถาบัน และจดทะเบียนหน่วยงานอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม อันดับของ uniRank จะอาศัยการรวบรวมข้อมูลตัววัดเว็บ (web metrics) 5 ฐานข้อมูลได้แก่ 1. Moz Domain Authority 2. Alexa Global Rank 3. SimilarWeb Global Rank 4. Majestic Referring Domains 5. Majestic Trust Flow โดยการจัดอันดับประจำปี ค.ศ. 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีอยู่ในอันดับที่ 12 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 1,405 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก
====การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance====
อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 8 ของประเทศไทย และอันดับ 1385 ของโลก ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม B โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง
== หน่วยงานภายใน ==
=== สภามหาวิทยาลัย ===
สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
หน่วยตรวจสอบภายใน
=== สำนักงานอธิการบดี ===
ส่วนส่งเสริมวิชาการ
งานประกันคุณภาพการศึกษา
ส่วนสารบรรณและนิติการ
ส่วนการเจ้าหน้าที่
ส่วนการเงินและบัญชี
ส่วนอาคารสถานที่
ส่วนพัสดุ
ส่วนแผนงาน
ส่วนกิจการนักศึกษา
* องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
** สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา
** องค์การบริหาร องค์การนักศึกษา
ส่วนประชาสัมพันธ์
สถานกีฬาและสุขภาพ
สถานพัฒนาคณาจารย์
สถานส่งเสริมและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
หน่วยประสานงาน มทส. กทม.
=== หน่วยวิสาหกิจ ===
เทคโนธานี
* อุทยานการเรียนรู้สิรินธร
** อุทยานผีเสื้อ
** ห้องไทยศึกษานิทัศน์
** พิพิธภัณฑเทคโนโลยีไทยโบราณ
** เมืองจราจรจำลอง
* โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์
* โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
* ศูนย์วิจัยมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สุรสัมนาคาร ศูนย์ประชุมสัมมนา
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
=== หน่วยงานอื่น ===
โครงการจัดรูปแบบการบริหารวิชาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลรูปใหม่ / DIGITECH
สโมสรเทคโนโลยีสุรนารี
สมาคมเทคโนโลยีสุรนารี
สหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สมาคมสหกิจศึกษาไทย
=== หน่วยงานในอนาคต ===
โครงการจัดตั้งสถานีวิจัยและพัฒนาการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
โครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดอุดรธานี
== ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ ==
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่างประเทศภายใต้ข้อตกลงประเภทต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา และดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนความร่วมมือภายใต้ข้อตกลงกับสถาบันและองค์กรในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ได้ขยายเครือข่ายทางวิชาการสู่ระดับนานาชาติกับสถาบันและองค์กรทุกทวีปทั่วโลก จำนวน 99 แห่ง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยลงนามข้อตกลงแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่างประเทศ จำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย
Institut National Supérieur des sciences agronomiques, del'alimentation et de l'envirnnement (Agrosup Dijon)
Université Grenoble Alpes
Research Center for Appropriate Technology Indonesian Institute of Science
Universitas Indonesia
Akita University
Hokkaido University, Japan
Kyoto Institute of Technology
Kyushu University
University of Shizuoka
Yamaguchi University
The University of Malaya
Universiti Tunku Abdul Rahman
National Kaohsiung University of Hospitality and Tourism
Myddelton College
The University of Arizona
Vietnam National University Ho Chi Minh City - University of Science
== การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมและองค์กรนานาชาติ ==
สมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL)
สมาคมมหาวิทยาลัยแห่งเอเชียและแปซิฟิก Association of Universities of Asia and the Pacific (AUAP)
สมาคมมหาวิทยาลัยระหว่างประเทศ International Association of Universities (IAU)
สมาคมสหกิจศึกษาโลก World Association of Cooperative Education (WACE)
เครือข่ายมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN-European Academic University Network (ASEA-UNINET)
The World Technology Universities Network (WTUN)
Asia Technological University Network (ATU-Net)
Southeast Asia and Taiwan Universities (SATU)
== ความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศ ==
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการดำเนินกิจกรรมร่วมกับสถาบันและองค์กรในประเทศภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือหลายด้าน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จำนวน 17 ความร่วมมือ ประกอบด้วย
ความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) กับบริษัทผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วมจำกัด
ความร่วมมือด้านการพัฒนาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทบิ๊กเทคอินโนเวชั่น จำกัด และบริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษากับบริษัทจัดหางานจ๊อบบีเค ดอตคอม จำกัด
ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร ซีพีเอฟ จำกัด
ความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทโกรกรีน โซลูชันส์
ความร่วมมือวิจัยและพัฒนากับบริษัทเอี่ยมธงชัยอุตสาหกรรม
ความร่วมมือการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยกับสำนักงานวิจัยการเกษตร
ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทไอดา เมดิคอล จำกัด และมูลนิธิวิจัยและบริการการศึกษาเพื่อสาธารณะ
ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท อัลฟ่า อิมพอร์ต เอ็กพอร์ต ประเทศไทย จำกัด
ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทน้ำตาลสุรินทร์ จำกัด
ความร่วมมืองานวิจัยด้านอาหารและที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเนื้อไก่ให้เป็นเนื้อเชิงหน้าที่ (functional meat) กับบริษัท PS Nutrition จำกัด
ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ฮิตาชิ คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ความร่วมมือทางวิชาการ 4 เรื่อง (สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์)
== ชีวิตในมหาวิทยาลัย ==
=== การเดินทางมายังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ===
โดยรถยนต์
สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทางคือ จากกรุงเทพมหานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ขับตามเส้นทางจนถึงสะพานต่างระดับบริเวณสามแยกปักธงชัย (ก่อนถึงตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ 5 กม.) จากนั้นขึ้นสะพานตรงไปยัง อ.ปักธงชัย อีกประมาณ 7 กม. ทางเข้ามหาวิทยาลัยจะอยู่ทางด้านขวามือ รวมระยะทาง 259 กิโลเมตร อีกเส้นทาง คือ จากกรุงเทพมหานครใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัย มายังนครราชสีมา ก่อนถึงนครราชสีมาประมาณ 20 กม. จะมีทางเข้ามหาวิทยาลัยอยู่ทางด้านซ้ายมือ รวมระยะทาง 273 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
โดยรถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งตะวันออก เฉียงเหนือ ไปนครราชสีมาทุกวัน ท่านสามารถลงรถได้ที่สามแยกปักธงชัย และขึ้นรถเมล์สาย มทส เข้ามายัง มทส (มีรถเมล์ 2 สายคือ สาย มทส - เทคโนโลยีราชมงคล สีเหลือง ขาว และสายหัวทะเล - มทส สีม่วงขาว ราคาค่าโดยสาร 14 บาท)
โดยรถไฟ
มีรถไฟออกจาสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย
== รายนามอธิการบดี ==
== หน่วยงานของรัฐที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัย ==
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
== ศิษย์เก่าและบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ==
ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน (อธิการบดีผู้ก่อตั้ง, นายกสภามหาวิทยาลัย) อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ศาสตราจารย์ ดร. ประสาท สืบค้า (อธิการบดี) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย, อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์) ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)
รองศาสตราจารย์ ดร. ไทย ทิพย์สุวรรณกุล (อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาทั่วไป) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศาสตราจารย์ มนัส สถิรจินดา (อดีตหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ) ผู้ก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะแห่งประเทศไทย, นักโลหะวิทยาดีเด่น ประจำปี 2550
ศาสตราจารย์ ดร. สราวุฒิ สุจิตจร (อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)
ศาสตราจารย์ ดร. Joewono Widjaja (อาจารย์ประจำสาขาวิชาเลเซอร์และโฟโตนิกส์) รางวัล Galileo Galilei 2008 ด้าน Optics and Photonics
ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์) Corbett Prize for Young Scientist 2005, นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554, รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2548
ศาสตราจารย์ ดร. สันติ แม้นศิริ (หัวหน้าสาขาวิชาฟิสิกส์) รางวัล TWAS Prize Young Scientists in Thailand สาขาฟิสิกส์ พ.ศ. 2552 จาก Thrid World Academy of Sciences, รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2550
รองศาสตราจารย์ ดร. พวงรัตน์ ไพเราะ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์) รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2549
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวัฒน์ มีวาสนา (อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์) รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2555
นางสาว ชาลิตา แย้มวัณณังค์ (ศิษย์เก่าสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ) Miss Universe Thailand 2013
ไพศาล ธัญธาดาลักษณ์ (ศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) นักกีฬาหมากล้อมทีมชาติไทย
สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล(ศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
== ภาพถ่ายของมหาวิทยาลัย ==
ภาพถ่ายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทั้งในอดีดและปัจจุบันที่อยู่ในวิกิพีเดีย สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน
ไฟล์:ภาพมุมมองจากฝั่งตะวันออก ลอดซุ้มโครงสร้าง หอสุรนภา.JPG|หอสุรนภามุมมองลอดซุ้มโครงสร้าง
ไฟล์:หอสุรนภามุมมองลอดซุ้มโครงสร้าง.jpg|หอสุรนภาตอนเย็น
ไฟล์:หอสุรนภารวมโครงสร้างเหล็ก.jpg|หอสุรนภาและซุ้มโครงสร้างเหล็ก
ไฟล์:สุรนิทัศน์มุมมองจากล่างขึ้นบน.JPG|สุรนิทัศน์มุมมองจากล่างขึ้นบน
ไฟล์:เทคโนสุรนารี.jpg|ลานเท้าสุรนารีภายในมหาวิทยาลัย
ไฟล์:SUTH.jpg|โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ไฟล์:โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย.JPG|โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ไฟล์:อุโมงค์ต้นไม้.jpg|อุโมงค์ต้นไม้
ไฟล์:อุโมงค์ต้นไม้ มทส.jpg|อุโมงค์ต้นไม้ในบรรยากาศหมอกลงจัด
ไฟล์:อาคารวิชาการ 2.jpg|อาคารวิชาการ 2
ไฟล์:หอประวัติ.JPG|หอประวัติมหาวิทยาลัย
ไฟล์:บรรยากาศมหาวิทยาลัยจากมุมมองอาคารเครื่องมือ 11.jpg|บรรยากาศมองจากอาคารเครื่องมือ 11
== อ้างอิง ==
== ดูเพิ่ม ==
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โรงเรียนสุรวิวัฒน์
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
แผนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [http://archives.sut.ac.th/sut_archive/memorialHall_flashFullscreen?src=sut3d.swf]
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สุรนารี,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา
สมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สถานศึกษาในอำเภอเมืองนครราชสีมา
สถานที่ที่ตั้งชื่อตามนามของบุคคลสำคัญของไทย | thaiwikipedia | 256 |
วิกิพีเดีย | วิกิพีเดีย ( หรือ ) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 35 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.9 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 วิกิพีเดียมี 286 รุ่นภาษา และได้กลายมาเป็นงานอ้างอิงทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต จนถูกจัดเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอันดับที่ 6 ตามการจัดอันดับของอเล็กซา ด้วยจำนวนผู้อ่านกว่า 365 ล้านคน มีการประเมินว่าวิกิพีเดียมีการเรียกดูหน้าถึง 2,700 ล้านครั้งต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว
วิกิพีเดียเปิดตัวในปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์และแลร์รี แซงเจอร์ คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยแลร์รี แซงเจอร์ มาจากการผสมคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่แบบมีส่วนร่วม เป็นคำในภาษาฮาวายที่แปลว่า "เร็ว" และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม
มีการกล่าวถึงวิกิพีเดียอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ความแตกต่างกับรูปแบบการจัดทำสารานุกรมแบบเก่าที่มีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดทำขึ้น และการรวบรวมเนื้อหาที่ไม่เป็นวิชาการไว้เป็นจำนวนมาก ครั้งเมื่อนิตยสารไทม์จัดให้ "คุณ" (You) เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ. 2549 อันเป็นการยอมรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ของผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลก ก็ได้อ้างถึงวิกิพีเดียว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริการเว็บ 2.0 เช่นเดียวกับยูทูบ มายสเปซ และเฟซบุ๊ก บางคนลงความเห็นว่าวิกิพีเดียมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงสารานุกรมอ้างอิงเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข่าวที่อัปเดตอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะมักพบเหตุการณ์ปัจจุบันถูกสร้างเป็นบทความในวิกิพีเดียอย่างรวดเร็ว นักเรียนนักศึกษายังได้รับคำสั่งให้เขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อฝึกอธิบายแนวคิดที่เข้าใจยากให้ผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษามาก่อนเข้าใจได้ชัดเจนและรัดกุม
แม้ว่าวิกิพีเดียจะมีนโยบายอย่างการพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูลและมุมมองที่เป็นกลาง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านความลำเอียงอย่างเป็นระบบและความไม่สอดคล้องกันของบทความ อีกทั้งการให้น้ำหนักแก่วัฒนธรรมสมัยนิยมมากเกินไปจนไม่เหมาะสม และระบุว่า วิกิพีเดียมักใช้กระบวนการมติเอกฉันท์ในการปรับปรุง ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลก็ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การวิจารณ์อื่นยังมุ่งประเด็นไปยังการก่อกวนและการเพิ่มข้อมูลที่หลอกลวงหรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ ถึงกระนั้นก็ตาม ผลงานวิชาการเสนอว่าการก่อกวนในวิกิพีเดียเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และจากการวิจัยของวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า บทความวิทยาศาสตร์จากวิกิพีเดียที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมีระดับความถูกต้องใกล้เคียงกับสารานุกรมบริตานิกา และทั้งสองมีอัตรา "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ใกล้เคียงกัน
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิ และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
== ประวัติ ==
วิกิพีเดียเริ่มขึ้นจากเป็นโครงการเพิ่มเติมของนูพีเดีย โครงการสารานุกรมเสรีออนไลน์ภาษาอังกฤษ ซึ่งบทความในนูพีเดียนั้นเขียนขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญและได้รับการตรวจสอบภายใต้กระบวนการที่เป็นทางการ นูพีเดียก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2543 บริหารงานโดยบริษัทเว็บท่า โบมิส บุคคลสำคัญที่มีส่วนสร้างนูพีเดีย ได้แก่ จิมมี เวลส์ ผู้บริหารระดับสูงของโบมิส และแลร์รี แซงเจอร์ บรรณาธิการบริหารของนูพีเดียและวิกิพีเดียในเวลาต่อมา แต่เดิมข้อความในนูพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเนื้อหาเปิดของนูพีเดียเอง แล้วค่อยเปลี่ยนมาใช้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ก่อนหน้าที่วิกิพีเดียจะถูกก่อตั้งขึ้น โดยการผลักดันของริชาร์ด สตอลล์แมน
แลร์รี แซงเจอร์และจิมมี เวลส์ร่วมกันก่อตั้งวิกิพีเดีย เวลส์ได้ความชอบจากการกำหนดเป้าหมายในการสร้างสารานุกรมที่สามารถแก้ไขได้อย่างเปิดเผย ส่วนแซงเจอร์มักได้รับความชอบในด้านยุทธศาสตร์การใช้วิกิเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2544 แลร์รี แซงเจอร์เสนอบนจดหมายกลุ่มนูพีเดียในการสร้างวิกิเป็นโครงการ "ตัวป้อน" สำหรับนูพีเดีย วิกิพีเดียเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นรุ่นภาษาอังกฤษเพียงรุ่นเดียวภายใต้ชื่อโดเมน www.wikipedia.com และมีการประกาศทางจดหมายกลุ่มนูพีเดียโดยแซงเจอร์ นโยบาย "มุมมองที่เป็นกลาง" ของวิกิพีเดียมีการประมวลขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนแรกหลังเปิดตัว และมีใจความคล้ายกับนโยบาย "ไม่มีอคติ" ของนูพีเดียก่อนหน้านี้ แต่นอกเหนือจากนี้ เดิมวิกิพีเดียมีกฎค่อนข้างน้อยและดำเนินการเป็นเอกเทศจากนูพีเดีย
ผู้เขียนวิกิพีเดียในช่วงแรกมาจากนูพีเดีย การโพสต์สแลชดอต และดัชนีเว็บเสิร์ชเอนจิน วิกิพีเดียมีบทความประมาณ 20,000 บทความ ใน 18 ภาษา เมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2544 ต่อมาวิกิพีเดียเพิ่มรุ่นภาษาเป็น 26 ภาษา เมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2545, 46 ภาษา ในปลายปี พ.ศ. 2546 และ 161 ภาษา ก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2547 นูพีเดียและวิกิพีเดียยังคงเปิดให้บริการอยู่ทั้งคู่จนกระทั่งเซิร์ฟเวอร์ของนูพีเดียถูกปิดตัวลงอย่างถาวรใน พ.ศ. 2546 และเนื้อหาถูกรวมเข้ากับวิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีบทความเกินสองล้านบทความเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550 ทำให้วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดทำขึ้น แซงหน้าสารานุกรมหย่งเล่อ (พ.ศ. 1950) ที่ถือครองสถิติมาเป็นเวลา 600 ปีพอดี
ผู้ใช้จากวิกิพีเดียภาษาสเปนบางส่วนแตกสาขาวิกิพีเดียออกไปสร้างเป็นเอนซีโกลเปเดียลีเบร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 โดยให้เหตุผลว่า กลัวว่าจะมีการโฆษณาเชิงพาณิชย์และการขาดการควบคุมในวิกิพีเดียที่สามารถรู้ได้ว่ามีวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นศูนย์กลาง ในปีเดียวกัน เวลส์ประกาศว่าวิกิพีเดียจะไม่มีการโฆษณา และเว็บไซต์ได้เปลี่ยนชื่อโดเมนเป็น wikipedia.org โครงการสารานุกรมวิกิอื่นมีการริเริ่มขึ้นจำนวนมาก ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แนวคิดที่แตกต่างกันในรูปแบบการแก้ไขอย่างเปิดเผยและมุมมองเป็นกลางของวิกิพีเดีย วิกิอินโฟไม่มีการควบคุมเรื่องมุมมองเป็นกลางและอนุญาตให้นำเนื้อหาที่เป็นงานค้นคว้าต้นฉบับมาลงได้ โครงการใหม่ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิกิพีเดีย อย่างเช่น ซิติเซนเดียม สคอลาร์พีเดีย คอนเซอร์เวพีเดีย และโนลของกูเกิล ที่ซึ่งบทความมีลักษณะเป็นเรียงความมากกว่าเล็กน้อย ได้เริ่มต้นตั้งคำถามถึงข้อจำกัดที่สัมผัสได้ของวิกิพีเดีย อาทิ นโยบายด้านการกลั่นกรอง งานค้นคว้าต้นฉบับ และการโฆษณาเชิงพาณิชย์
แม้ว่าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะมีจำนวนบทความแตะระดับสามล้านบทความเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 แต่อัตราการเติบโตของรุ่นภาษาอังกฤษ ในแง่ของจำนวนบทความและผู้ร่วมพัฒนา ปรากฏว่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี พ.ศ. 2550 ในปี พ.ศ. 2549 วิกิพีเดียมีบทความใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1,800 บทความต่อวัน แต่ในปี พ.ศ. 2553 ค่าเฉลี่ยดังกล่าวลดลงเหลือ 1,000 บทความต่อวันเท่านั้น ทีมศึกษาจากศูนย์วิจัยพาโลอัลโตให้เหตุผลว่าแนวโน้มดังกล่าวเป็นผลมาจากการกีดกันที่เพิ่มมากขึ้นของโครงการ ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ประจำมีอัตราการแก้ไขถูกย้อนกลับหรือถูกลบออกสูงกว่ากลุ่มผู้ใช้ประจำและมีประสบการณ์มากกว่าอย่างมาก หรือที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "คาบาล" ทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้นที่จะขยายและรักษาฐานผู้ใช้ใหม่เอาไว้ในระยะยาวได้ ทั้งยังทำให้การสร้างบทความใหม่ซบเซาลง ส่วนการศึกษาอื่น ๆ ได้เสนอแนะว่าอัตราการเติบโตนั้นเริ่มลดลงตามธรรมชาติ เนื่องจากบทความที่เข้าถึงได้ง่ายและมีความสำคัญ เช่น ประเทศจีน มีผู้สร้างขึ้นแล้วในวิกิพีเดีย
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจัดทำโดยเฟลีเป ออร์เตกา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเรย์ ฮวน การ์โลส ในมาดริด พบว่า วิกิพีเดียรุ่นภาษาอังกฤษสูญเสียฐานผู้พัฒนาไปกว่า 49,000 คน ในช่วงไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2552 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี พ.ศ. 2551 ที่สูญเสียฐานอาสาสมัครไปเพียง 4,900 คน เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานว่า "จำนวนอาสาสมัครออนไลน์ผู้เขียน แก้ไข และตรวจตรา [วิกิพีเดีย] นับล้านคน กำลังถอนตัวออกไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน" ขอบเขตของกฎการแก้ไขและกรณีพิพาทเกี่ยวกับเนื้อหาเหล่านี้เป็นเหตุผลที่อาสาสมัครมีแนวโน้มหดหายลงตามที่บทความดังกล่าวอ้าง ด้านจิมมี เวลส์แย้งข้อมูลดังกล่าว โดยปฏิเสธการสูญเสียฐานอาสาสมัครและตั้งคำถามถึงขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการศึกษา
== ลักษณะสารานุกรม ==
=== การแก้ไข ===
วิกิพีเดียดำเนินการด้วยรูปแบบการแก้ไข "วิกิ" ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งแตกต่างไปจากรูปแบบสารานุกรมในอดีต ทุกบทความสามารถแก้ไขได้โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีผู้ใช้ก่อน ยกเว้นบางหน้าที่มีการก่อกวนอย่างต่อเนื่อง แต่ทุกคนก็ยังสามารถสร้างบทความใหม่ได้ ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของบทความในวิกิพีเดีย หรือมีบทความอยู่ภายใต้การกลั่นกรองของผู้มีอำนาจใด ๆ แต่บทความจะตกลงกันโดยมติเอกฉันท์
เมื่อบทความมีการเปลี่ยนแปลง การแก้ไขนั้นจะแสดงผลทันทีโดยปราศจากการตรวจทาน ไม่ว่าการแก้ไขนั้นจะมีข้อบกพร่อง เป็นข้อมูลที่ผิด หรือการแก้ไขไร้สาระ ขณะที่วิกิพีเดียบางภาษานอกเหนือไปจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ซึ่งการควบคุมบริหารไม่ขึ้นต่อกัน สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวได้อย่างเสรี ยกตัวอย่างเช่น วิกิพีเดียรุ่นภาษาเยอรมันบำรุงรักษาระบบ "รุ่นเสถียร" ของบทความ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นรุ่นบทความที่ผ่านการตรวจทานแล้วเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 มีการประกาศว่าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะยกเลิกการจำกัดการแก้ไขอย่างเข้มงวดจากบทความที่ "เป็นที่ถกเถียงกัน" หรือมีแนวโน้มว่าจะถูกก่อกวน โดยใช้การตรวจสอบแทนการจำกัดการแก้ไขสำหรับผู้ใช้ใหม่หรือไม่ได้ลงทะเบียน โดยจะมี "ระบบใหม่ ที่เรียกว่า 'การแก้ไขที่กำลังพิจารณา'" ซึ่งจิมมี เวลส์ให้สัมภาษณ์แก่บีบีซีว่า จะเป็นการทำให้วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ "เปิดบทความให้ทุกคนแก้ไขได้หลังถูกห้ามมาหลายปี" ระบบ "การแก้ไขที่กำลังพิจารณา" เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน การแก้ไขต่อบทความบางส่วนจะ "ต้องได้รับการทบทวนจากผู้พัฒนาวิกิพีเดียที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนจึงจะแสดงผล" เวลส์ไม่เห็นด้วยกับระบบของวิกิพีเดียภาษาเยอรมันที่ต้องให้ตรวจสอบการแก้ไขในทุกบทความ โดยอธิบายว่ามัน "ทั้งไม่จำเป็นและไม่เป็นที่ต้องการ" เขาเสริมอีกว่า ผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดียภาษาเยอรมัน "กำลังจะเฝ้ามองระบบของรุ่นภาษาอังกฤษอย่างใกล้ชิด และผมมั่นใจว่าอย่างน้อยพวกเขาจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงหากผลลัพธ์ออกมาดี"
ผู้ร่วมพัฒนา ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ ต่างก็สามารถใช้ประโยชน์ได้จากคุณลักษณะซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้โดยซอฟต์แวร์ที่วิกิพีเดียทำงานอยู่ หน้า "ประวัติ" ที่ปรากฏในบทความทุกบทจะบันทึกรุ่นในอดีตทั้งหมดของแต่ละบทความ ถึงแม้ว่าประวัติส่วนที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ข่มขู่จะดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือข้อมูลที่ละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกนำออกหลังจากนั้น คุณลักษณะดังกล่าวทำให้เป็นการง่ายที่จะเปรียบเทียบทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ย้อนการแก้ไขที่ถูกพิจารณาว่าไม่พึงประสงค์ หรือเรียกคืนเนื้อหาที่หายไป หน้า "อภิปราย" ของแต่ละบทความใช้เพื่อเป็นประสานงานระหว่างผู้ร่วมแก้ไขหลายคน ผู้แก้ไขเป็นประจำมักจะ "เฝ้าดู" บทความที่พวกเขาสนใจ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะสามารถติดตามการแก้ไขล่าสุดของบทความนั้น ๆ ได้โดยง่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตบอต ได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อย้อนการก่อกวนทันทีที่เกิดขึ้น หรืออาจใช้เพื่อคำสะกดผิดที่พบบ่อย และปัญหาด้านการจัดรูปแบบ หรือเพื่อสร้างบทความใหม่ อย่างเช่น สร้างเอ็นทรีภูมิศาสตร์ในรูปแบบมาตรฐานจากข้อมูลสถิติ
บทความในวิกิพีเดียจัดอยู่ในสามแนวทาง ตามสถานะการพัฒนา สาระสำคัญของหัวเรื่อง และระดับการเข้าถึงที่จำเป็นต่อการแก้ไข สถานะบทความที่มีการพัฒนาสูงสุด จะเรียกว่า "บทความคัดสรร" ซึ่งก็คือ บทความที่ได้รับการเห็นชอบจากผู้แก้ไขวิกิพีเดียว่าจะแสดงในหน้าหลักของวิกิพีเดีย นักวิจัย จาโคโม โปเดอรี พบว่าบทความมีแนวโน้มว่าจะได้รับสถานะบทความคัดสรรถ้าเป็นงานเขียนอย่างละเอียดถี่ถ้วนของผู้แก้ไขจำนวนน้อย ใน พ.ศ. 2550 ในการเตรียมการจัดทำวิกิพีเดียรุ่นตีพิมพ์ วิกิพีเดียภาษาอังกฤษได้ริเริ่มเกณฑ์การประเมินเพื่อตัดสินคุณภาพของบทความ
โครงการวิกิเป็นแหล่งสำหรับกลุ่มผู้แก้ไขที่จะร่วมมือประสานงานกันในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ หน้าอภิปรายของโครงการวิกิมักจะใช้เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบทความต่าง ๆ วิกิพีเดียยังได้คงรูปแบบของการเขียนที่เรียกว่า คู่มือในการเขียน ซึ่งกำหนดเงื่อนไข อย่างเช่น ในประโยคแรกของแต่ละบทความ หัวเรื่องของบทความหรือชื่ออื่นที่เรียกหัวเรื่องนั้นควรจะทำเป็นตัวหนา
=== ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ===
เนื้อหาในวิกิพีเดียอยู่ภายใต้กฎหมาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายลิขสิทธิ์) ของสหรัฐอเมริกาและของรัฐฟลอริดา อันเป็นที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์วิกิพีเดียส่วนใหญ่ นอกจากนี้ หลักการแก้ไขวิกิพีเดียถูกรวบรวมไว้ใน "ห้าเสาหลัก" และนโยบายและแนวปฏิบัติจำนวนหนึ่งที่เจตนาเพื่อปรับรูปแบบของเนื้อหาให้เหมาะสม ระเบียบเหล่านี้จะถูกเก็บในรูปแบบวิกิ และชุมชนผู้ใช้วิกิพีเดียสามารถเขียนและทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติเหล่านี้ การบังคับใช้กฎโดยการลบหรือแก้ไขเนื้อหาบทความที่ไม่เป็นไปตามนั้น กฎระเบียบของวิกิพีเดียภาษาอื่นเริ่มต้นจากการแปลกฎระเบียบของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษแล้วอาจมีส่วนต่อขยายแตกต่างกันไป กฎระเบียบเหล่านี้โดยทั่วไปมีความคล้ายกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด
ตามระเบียบของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษและภาษาไทย เนื้อหาที่ควรแก่การเก็บไว้บนวิกิพีเดียจะต้องเป็นเรื่องที่เป็นสารานุกรมและไม่ใช่บทความประเภทที่คล้ายกับพจนานุกรม หัวเรื่องควรจะเป็นไปตามมาตรฐานของวิกิพีเดียด้าน "ความโดดเด่น" ด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วหมายความว่า หัวเรื่องนั้นจะต้องได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ เช่น สื่อกระแสหลัก หรือวารสารวิชาการที่สำคัญ รวมถึงจะต้องไม่มีส่วนได้เสียกับหัวเรื่องด้วย นอกเหนือจากนั้น วิกิพีเดียจะต้องเผยแพร่เฉพาะความรู้ที่ได้รับการยอมรับเท่านั้น หรือกล่าวได้ว่าจะไม่มีการนำเสนอข้อมูลใหม่หรืองานค้นคว้าต้นฉบับ การอ้างข้อมูลซึ่งอาจถูกคัดค้านได้จำเป็นต้องมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเป็นแหล่งอ้างอิงยืนยัน มีการกล่าวอยู่บ่อยครั้งในหมู่ผู้แก้ไขวิกิพีเดียว่า "พิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ใช่ความจริง" เพื่อแสดงแนวคิดที่ว่าผู้อ่านเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของบทความและตีความด้วยตนเอง ไม่ใช่ตัวสารานุกรมที่เป็นผู้รับผิดชอบ ท้ายที่สุดคือ วิกิพีเดียจะต้องไม่เลือกข้าง ความคิดเห็นและมุมมองทั้งหมดซึ่งยกมาจากแหล่งข้อมูลอื่นนั้น จำต้องมีอยู่ในบทความโดยเสมอกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง
วิกิพีเดียมีหลายวิธีในการจัดการกับข้อพิพาท วัฏจักร "กล้า ย้อน อภิปราย" เกิดขึ้นเป็นบางครั้ง โดยเป็นกรณีที่ผู้ใช้คนหนึ่งได้ทำการแก้ไข ขณะที่ผู้ใช้อีกคนหนึ่งย้อนการแก้ไขนั้น และประเด็นดังกล่าวได้รับการอภิปรายในหน้าอภิปรายอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะให้ได้รับมติประชาคมที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ประเด็นปัญหาหนึ่ง ๆ สามารถถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันที่ศาลาชุมชน หรือขอความเห็นเพื่อรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของผู้ใช้คนอื่น นอกจากนี้ ยังมีหน้าสำหรับให้ผู้ใช้รายงานความไม่สุภาพ ไม่เป็นอารยะ หรืออุปสรรคในการสื่อสารกับผู้ใช้คนอื่นด้วย
ผลวิเคราะห์ทางสถิติบ่งชี้ว่าการแก้ไขข้อพิพาทของวิกิพีเดียนั้นมักจะละเลยเนื้อหาความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้และมุ่งไปยังความประพฤติของผู้ใช้มากกว่า จึงไม่ค่อยแก้ไขข้อพิพาทหรือสร้างสันติระหว่างผู้ใช้ที่ขัดแย้งกันได้มากนัก แต่เป็นไปเพื่อยุติปัญหาโดยเร็วโดยกีดกันผู้ใช้สร้างปัญหาออก และดึงเอาผู้ใช้ที่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์กลับเข้ามามีส่วนร่วม แนวทางแก้ไขเช่นนี้รวมไปถึงการแบนผู้ใช้จากวิกิพีเดีย (ประมาณ 15.7% ของกรณีทั้งหมด) ปรามหัวข้อที่ขัดแย้ง (23.4%) แบนบทความ (43.3%) และการเตือนกับคอยตรวจสอบความประพฤติ (63.2%) การแบนจากวิกิพีเดียตลอดกาลจำกัดอยู่เฉพาะกรณีที่มีการปลอมเป็นผู้อื่นและมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ขณะที่การเตือนมักใช้สำหรับเตือนเรื่องพฤติกรรมการแก้ไขและพฤติกรรมที่ค้านต่อมติส่วนใหญ่ มากกว่าจะใช้กับพฤติกรรมที่ต่อต้านสังคม
=== สัญญาอนุญาตเนื้อหา ===
ข้อความทั้งหมดในวิกิพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (GDFL) สัญญาอนุญาตกอปปีเลฟต์ซึ่งอนุญาตให้มีการแจกจ่าย ดัดแปลงงานเขียน และนำเนื้อหาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ขณะที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานยังคงถือครองลิขสิทธิ์ผลงานของตนอยู่ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 เมื่อวิกิพีเดียเปลี่ยนไปใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน (CC-by-SA) 3.0 วิกิพีเดียได้ดำเนินการเปลี่ยนไปใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แทน GFDL นั้น เพราะเดิม GFDL ถูกออกแบบมาสำหรับคู่มือซอฟต์แวร์ และถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสมสำหรับงานอ้างอิงออนไลน์ และสัญญาอนุญาตทั้งสองนี้ไม่สามารถใช้แทนกันได้
ตามคำร้องขอของมูลนิธิวิกิมีเดีย ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (FSF) ได้ออกรุ่นใหม่ของ GFDL ซึ่งออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสให้วิกิพีเดียเปลี่ยนสัญญาอนุญาตเนื้อหาของตนเป็น CC-BY-SA ภายในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเฉพาะ วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องได้จัดการลงมติทุกโครงการเพื่อตัดสินใจว่าจะทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาอนุญาตหรือไม่ การลงมติมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 9-30 เมษายน ซึ่งผลออกมาว่าร้อยละ 75.8 เห็นด้วย ร้อยละ 10.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 13.7 ไม่มีความคิดเห็น และหลังจากการลงมติดังกล่าว คณะกรรมการจัดการมูลนิธิได้ลงคะแนนเสียงเปลี่ยนไปใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งมีผลนับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การจัดการไฟล์สื่อ (เช่น ไฟล์ภาพ) แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่นภาษา ทั้งนี้ เนื่องจากความแตกต่างของกฎหมายลิขสิทธิ์ในแต่ละประเทศ ยกตัวอย่างเช่น การอ้างนำไปใช้งานโดยชอบธรรมไม่มีอยู่ในกฎหมายลิขสิทธิ์ญี่ปุ่น ไฟล์สื่อซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเนื้อหาเสรีจะถูกแบ่งกันใช้ทั่วรุ่นภาษาโดยคลังสื่อวิกิมีเดียคอมมอนส์ โครงการซึ่งบริหารจัดการโดยมูลนิธิวิกิมีเดียเช่นเดียวกัน
=== การนำเนื้อหาไปใช้ใหม่ ===
เนื่องจากเนื้อหาวิกิพีเดียเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตเสรี ทุกคนจึงสามารถแจกจ่ายเนื้อหานี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เนื้อหาของวิกิพีเดียถูกนำไปตีพิมพ์ในหลายรูปแบบ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ นอกเหนือไปจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย
เว็บไซต์: มีมิเรอร์ไซต์หลายพันแห่งที่นำเนื้อหาจากวิกิพีเดียไปลง โดยมีเว็บสองเว็บที่สำคัญ ซึ่งรวบรวมเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ ด้วย คือ Reference.com และ Answers.com อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ วาพีเดีย ซึ่งเริ่มแสดงเนื้อหาวิกิพีเดียในรูปแบบที่สามารถใช้งานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนที่วิกิพีเดียจะเริ่มดำเนินการเอง
เสิร์ชเอนจิน: เว็บเสิร์ชเอนจินบางแห่งยังแสดงผลเนื้อหาจากวิกิพีเดียบนผลการค้นหาด้วย ตัวอย่างเช่น Bing.com และดั๊กดั๊กโก
วิกิอื่น: วิกิบางเว็บ ซึ่งที่สำคัญได้แก่เอนซีโกรเปเดียลีเบรและซิติเซนเดียม เริ่มต้นเป็นการแตกสาขาของเนื้อหาวิกิพีเดีย ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ดีบีพีเดีย ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2550 เป็นโครงการซึ่งคัดลอกข้อมูลมาจากกล่องข้อมูลและการประกาศหมวดหมู่ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และทำให้ข้อมูลนั้นสามารถเข้าถึงได้ในรูปแบบอาร์ดีเอฟ ซีแมนติกเว็บที่สามารถสืบค้นได้ ความเป็นไปได้ดังกล่าวถูกเสนอให้วิกิพีเดียส่งออกข้อมูลโดยตรงในรูปแบบซีแมนติก ซึ่งทำได้โดยการใช้ส่วนขยายซีแมนติกมีเดียวิกิ การส่งออกข้อมูลดังกล่าวยังสามารถช่วยให้วิกิพีเดียนำข้อมูลของเว็บเองไปใช้ใหม่ได้ ทั้งระหว่างบทความในวิกิพีเดียภาษาเดียวกันและวิกิพีเดียคนละภาษา
แผ่นบันทึกข้อมูลและดีวีดี: การรวบรวมบทความวิกิพีเดียยังพบได้ในรูปแบบแผ่นบันทึกข้อมูลด้วย รุ่นภาษาอังกฤษ ชุดข้อมูลซีดีวิกิพีเดีย 2006 ซึ่งประกอบด้วยบทความประมาณ 2,000 บทความ รุ่นภาษาโปแลนด์บรรจุบทความถึงเกือบ 240,000 บทความ นอกจากนี้ยังมีชุดภาษาเยอรมันอีกด้วย ล่าสุด มีโครงการพัฒนาวิกิพีเดียเพื่อนำไปใช้ในเครื่องไอพ็อด นอกจากนี้ "วิกิพีเดียสำหรับโรงเรียน" ซึ่งเป็นซีรีส์ซีดีและดีวีดีวิกิพีเดีย ผลิตโดยชาววิกิพีเดียและองค์กรการกุศลเอสโอเอสชิลเดรน ซึ่งเป็นงานไม่คิดค่าใช้จ่าย ตรวจสอบด้วยมือ และคัดสรรโดยไม่เกี่ยวกับการค้าจากวิกิพีเดีย มีเป้าหมายไปยังหลักสูตรแห่งชาติของสหราชอาณาจักรและมีเจตนาที่จะให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษทั่วโลก โครงการดังกล่าวสามารถเข้าถึงได้ออนไลน์ สารานุกรมที่มีเนื้อหาเทียบเท่ากันจะมีความหนาประมาณ 20 เล่ม
หนังสือ: ยังมีความพยายามที่จะนำบทความวิกิพีเดียที่ถูกเลือกตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ได้มีคำสั่งพิมพ์หนังสือหลายหมื่นเล่ม ซึ่งลอกเนื้อหามาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย และฝรั่งเศส ซึ่งตีพิมพ์โดยบริษัทอเมริกัน บุ๊กแอลแอลซี และบริษัทสาขาสามแห่งในประเทศมอริเชียส ของสำนักพิมพ์เยอรมัน เฟาเดเอ็ม
=== การป้องกันการแก้ไขที่ไม่พึงประสงค์ ===
รูปแบบการแก้ไขซึ่งมีธรรมชาติเปิดกว้างตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์หลักของวิกิพีเดีย ตัวอย่างเช่น ผู้อ่านไม่อาจมั่นใจได้เลยว่าบทความนั้นไม่มีการสอดแทรกเนื้อหาข้อมูลผิด ๆ หรือนำข้อมูลที่สำคัญออก อดีตบรรณาธิการบริหารของสารานุกรมบริตานิกา รอเบิร์ต แมคเฮนรี เคยอธิบายถึงปัญหาดังกล่าวว่า
อย่างไรก็ตาม การลบส่วนที่เป็นการก่อกวนที่เห็นได้อย่างชัดเจนออกจากบทความนั้นสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากมีการเก็บบันทึกรุ่นก่อนหน้าทั้งหมดของบทความไว้ ในทางปฏิบัติแล้ว เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการตรวจจับและแก้ไขการก่อกวนนั้นกินเวลาสั้นมาก ปกติแล้วจะกินเวลาไม่กี่นาที แต่มีกรณีที่รู้กันทั่วอยู่กรณีหนึ่งเมื่อมีการเพิ่มข้อมูลผิด ๆ ลงในบทความชีวประวัติของนักการเมืองอเมริกัน จอห์น ซีเจนทาเลอร์ โดยไม่ถูกตรวจพบเลยเป็นเวลานานถึงสี่เดือน เขาเรียกวิกิพีเดียว่าเป็น "เครื่องมือวิจัยที่บกพร่องและไร้ความรับผิดชอบ" จอห์น ซีเจนทาเลอร์ ผู้ก่อตั้งผู้อำนวยการกองบรรณาธิการของยูเอสเอทูเดย์ และผู้ก่อตั้งฟรีดอมฟอรัมเฟิสท์อะเมนด์เมนท์เซ็นเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ได้โทรศัพท์ไปหาจิมมี เวลส์ และถามเขาว่าเวลส์รู้เห็นกับผู้ที่สอดแทรกข้อมูลที่ผิดหรือไม่ เวลส์ตอบว่าเขาไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม ตัวผู้กระทำได้ถูกตามจนพบในภายหลัง เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของเว็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพิสูจน์ยืนยันได้ของบทความชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดให้รัดกุมยิ่งขึ้น
โครงสร้างที่เปิดเผยของวิกิพีเดียทำให้ตกเป็นเป้าการก่อกวนของเกรียน (troll) ได้ง่าย รวมทั้งการสแปม และผู้ต้องการเรียกร้องความสนใจ การเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองในบทความโดยองค์กร ซึ่งรวมไปถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาและกลุ่มความสนใจพิเศษอื่น ๆ ก็ได้ถูกพบด้วย แม้แต่องค์กรอย่างเช่น ไมโครซอฟท์ ยังเสนอเงินจูงใจเพื่อให้มีการปรับปรุงบางบทความอีกด้วย ประเด็นดังกล่าวถูกนำไปเขียนล้อเลียนเป็นอย่างมาก
กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นคือ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 เมื่อเว็บไซต์วิกิสแกนเนอร์ได้เริ่มแกะรอยแหล่งที่มาของการแก้ไขวิกิพีเดียโดยผู้ใช้ปกปิดตนเองซึ่งไม่มีบัญชีผู้ใช้วิกิพีเดีย โปรแกรมได้เปิดเผยว่าการแก้ไขเหล่านี้จำนวนมากเป็นของบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งปรับเปลี่ยนเนื้อหาในบทความที่เกี่ยวข้องกับตัวองค์กร บุคลากรหรือผลงานขององค์กรนั้น
ในทางปฏิบัติแล้ว วิกิพีเดียมีการป้องกันจากการโจมตีโดยระบบและเทคนิคอันหลากหลาย ซึ่งรวมไปถึงผู้ใช้ที่คอยตรวจสอบหน้าและการแก้ไข (อาทิ รายการเฝ้าดู และหน้าปรับปรุงล่าสุด) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือบอต ซึ่งได้รับการออกแบบมาอย่างระมัดระวังเพื่อพยายามตรวจจับการโจมตีและแก้ไขการก่อกวนเหล่านี้โดยอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ มีตัวกรองที่คอยเตือนผู้ใช้ถึงการแก้ไขที่ไม่พึงประสงค์ การบล็อกการเพิ่มลิงก์ไปยังเว็บไซต์บางเว็บ การบล็อกแก้ไขจากบัญชีผู้ใช้บางบัญชี หมายเลขไอพีหรือช่วงไอพีหนึ่ง ๆ
สำหรับหน้าที่ถูกโจมตีอย่างหนัก บทความบางบทอาจถูกกึ่งล็อกเพื่อให้เฉพาะบัญชีผู้ใช้ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขได้ หรือสำหรับบางกรณีที่มีข้อพิพาทกันหนักขึ้น อาจมีการล็อกถึงขั้นที่ว่ามีเฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่จะสามารถแก้ไขบทความได้ การล็อกเป็นมาตรการที่ใช้ไม่บ่อยครั้งนัก และโดยทั่วไปแล้วจะกินเวลาไม่นาน เฉพาะเมื่อการกระทำนั้นมีแนวโน้มว่าจะยังดำเนินต่อไปเท่านั้น
=== ความครอบคลุมของเนื้อหา ===
วิกิพีเดียตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสร้างบทสรุปความรู้ทั้งหมดของมนุษย์ในรูปแบบสารานุกรมออนไลน์ โดยมีหัวข้อความรู้แต่ละหัวข้อครอบคลุมหนึ่งบทความอย่างเป็นสารานุกรม เนื่องจากวิกิพีเดียมีเนื้อที่ไม่จำกัดอย่างแท้จริง จึงสามารถบรรจุเนื้อหาได้มากกว่าสารานุกรมตีพิมพ์แบบเก่าทุกเล่มที่เคยมีมา นอกจากนี้ยังบรรจุสื่อหรือเนื้อหาที่บางคนอาจมองว่าน่ารังเกียจ ก้าวร้าว หรือลามกอนาจาร วิกิพีเดียแสดงจุดยืนชัดเจนว่านโยบายดังกล่าวมิได้มีไว้เป็นข้อโต้เถียงกัน และนโยบายดังกล่าวบางครั้งก็พิสูจน์แล้วว่าก่อให้เกิดการโต้แย้งกันขึ้นบ่อยครั้ง อย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2551 วิกิพีเดียปฏิเสธรับการร้องเรียนออนไลน์ต่อต้านการสอดแทรกเนื้อหาที่กล่าวถึงภาพวาดนบีมุฮัมมัดในรุ่นภาษาอังกฤษ โดยอ้างนโยบายดังกล่าว การมีอยู่ของสื่อที่อ่อนไหวทางการเมืองในวิกิพีเดียนำไปสู่การบล็อกการเข้าถึงวิกิพีเดียของสาธารณรัฐประชาชนจีน และอาจรวมไปถึงมูลนิธิเฝ้าระวังภัยอินเทอร์เน็ต
จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 วิกิพีเดียมีบทความเนื้อหาครอบคลุมถึงสถานที่เกือบครึ่งล้านแห่งบนโลก อย่างไรก็ตาม งานวิจัยซึ่งดำเนินการโดยสถาบันอินเทอร์เน็ตออกซฟอร์ดได้แสดงให้เห็นว่า บทความภูมิศาสตร์นี้กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ไม่เสมอกันอย่างมาก บทความส่วนใหญ่เขียนเกี่ยวกับอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียตะวันออก และมีส่วนน้อยมากที่กล่าวถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา รวมไปถึงส่วนใหญ่ของแอฟริกา
การศึกษาวิจัยเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนและศูนย์วิจัยพาโลอัลโต ได้จำแนกจำนวนบทความแบ่งตามประเภท ตลอดจนอัตราการเพิ่มจำนวน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ถึงมกราคม พ.ศ. 2551 ไว้ดังนี้
ศิลปวัฒนธรรม: 30% (210%)
ชีวประวัติและบุคคล: 15% (97%)
ภูมิศาสตร์และสถานที่: 14% (52%)
สังคมและสังคมศาสตร์: 12% (83%)
ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์: 11% (143%)
ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์กายภาพ: 9% (213%)
เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์: 4% (−6%)
ศาสนาและระบบความเชื่อ: 2% (38%)
สุขภาพ: 2% (42%)
คณิตศาสตร์และตรรกะ: 1% (146%)
ความคิดและปรัชญา: 1% (160%)
อย่างไรก็ดี พึงตระหนักจำนวนเหล่านี้หมายถึงจำนวนบทความ ซึ่งบางบทความอาจจะสั้นมาก ขณะที่บางบทความอาจมีความยาวมากก็ได้
การครอบคลุมที่แน่นอนของวิกิพีเดียยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องของผู้ร่วมพัฒนา และความไม่เห็นด้วยว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรจะมีในวิกิพีเดียหรือไม่ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
=== คุณภาพงานเขียน ===
เนื่องจากโดยปกติแล้วผู้ร่วมพัฒนาจะเรียบเรียงเนื้อหาเป็นส่วนน้อย ๆ มากกว่าแก้ไขปรับปรุงบทความทั้งบท จึงเป็นไปได้ที่ในบทความเดียวกันหนึ่ง ๆ จะมีเนื้อหาคุณภาพสูงและต่ำผสมปนเปกันอยู่ บางครั้งนักวิจารณ์ว่าการแก้ไขโดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนั้นทำให้คุณภาพของงานต่ำ ตัวอย่างเช่น รอย โรเซนซไวก์ เคยวิจารณ์การเรียบเรียงภาษาและการที่ไม่สามารถแยกแยะสิ่งสำคัญแท้จริงกับสิ่งที่เพียงแต่น่าดึงดูดใจเท่านั้น เขากล่าวว่าวิกิพีเดีย "แม่นยำอย่างน่าประหลาดใจในการรายงานชื่อ วันที่ และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สหรัฐ" (ซึ่งเป็นขอบเขตการศึกษาของโรเซนซไวก์) และข้อเท็จจริงที่ผิดพลาดเล็กน้อยนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะเนื้อหา "มีน้อยและไม่ต่อเนื่องกัน" และเนื้อหาบางส่วน "แค่ย้ำความเชื่อผิด ๆ ที่ยึดถือกันอย่างกว้างขวางเท่านั้น" ซึ่งยังได้ปรากฏซ้ำใน เอ็นคาร์ตา และ บริตานิกา เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เขามีข้อวิจารณ์หนึ่งข้อใหญ่
เขายังเปรียบเทียบเนื้อหาของอับราฮัม ลินคอล์นในวิกิพีเดียกับที่เขียนโดยนักประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองอเมริกัน เจมส์ แมคเฟียร์สัน ใน ชีวประวัติแห่งชาติอเมริกันออนไลน์ เขากล่าวว่า ทั้งสองมีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลอย่างสำคัญ และครอบคลุมช่วงชีวิตหลักของลินคอล์นอย่างครบถ้วน แต่เขายกย่องแมคเฟียร์สันว่า "มีการใส่บริบทมากกว่า ... มีศิลปะในการหยิบยกคำคมที่สะท้อนถึงน้ำเสียงของลินคอล์น ... และ ... ความสามารถในการถ่ายทอดข้อความอันลึกซึ้งด้วยถ้อยคำเพียงไม่กี่คำ" ในทางกลับกัน เขาได้ยกตัวอย่างสำนวนของวิกิพีเดียซึ่งเขาพบว่า "ทั้งเยิ่นเย้อและน่าเบื่อ" โรเซนซไวก์วิจารณ์ต่อไป โดยเปรียบเทียบ "การตัดสินใจอย่างมีทักษะและความมั่นใจของนักประวัติศาสตร์ผู้ช่ำชอง" ซึ่งแสดงโดยแมคเฟียร์สันและคณะกับ "คำโบราณ" ของวิกิพีเดีย (ซึ่งเขาเปรียบเทียบประเด็นนี้กับนิตยสารอเมริกันเฮอริเทจ) และกล่าวว่าขณะที่วิกิพีเดียมักจะอ้างแหล่งอ้างอิงจำนวนมาก แต่แหล่งอ้างอิงเหล่านั้นก็ไม่ใช่ที่ดีที่สุด
โรเซนซไวก์ยังได้วิจารณ์ "การเขียนคลุมเครือ ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากนโยบาย NPOV [มุมมองที่เป็นกลาง] หมายความว่าเป็นการยากที่จะแยกแยะทัศนะการให้ความหมายโดยรวมในประวัติวิกิพีเดีย ยกตัวอย่างเช่น เขาอ้างบทสรุปของบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับวิลเลียม คลาร์ก ควินทริลล์ ซึ่งเนื้อหาของบทความโดยทั่วไปนั้นกล่าวยกย่องบุคคลผู้นี้ เขาได้ชี้ให้เห็นบทสรุปที่คลุมเครือ ที่ว่า "นักประวัติศาสตร์บางคน ... จดจำเขาในฐานะนักฉวยโอกาส คนนอกกฎหมายกระหายเลือด ขณะที่คนอื่นยังคงมองเขาว่าเป็นทหารผู้กล้าหาญและวีรบุรุษของคนท้องถิ่น"
เสียงวิจารณ์อื่น ๆ ได้โจมตีประเด็นปัญหาที่คล้ายกันที่ว่า แม้บทความวิกิพีเดียจำนวนมากจะมีข้อเท็จจริงถูกต้องแม่นยำ แต่ก็มักเขียนในรูปแบบที่เลวจนเกือบอ่านไม่ได้ นักวิจารณ์วิกิพีเดียขาประจำ แอนดริว ออร์ลอว์สกี ให้ความเห็นว่า "ต่อให้บทความวิกิพีเดียจะมีข้อเท็จจริงถูกต้อง 100 เปอร์เซนต์ และข้อเท็จจริงเหล่านั้นถูกเลือกมาอย่างระมัดระวังแล้วก็ตาม แต่บ่อยครั้งที่อ่านแล้วราวกับว่าเนื้อหานั้นถูกแปลมาจากภาษาอื่นแล้วแปลต่อเป็นภาษาที่สาม โดยเปลี่ยนตัวผู้แปลที่ไม่รู้หนังสือในแต่ละขั้น" การศึกษาบทความมะเร็งโดยยาคอฟ ลอว์เรนซ์ แห่งศูนย์มะเร็งคิมเมล มหาวิทยาลัยโทมัส เจฟเฟอร์สัน พบว่าเนื้อหานั้นส่วนใหญ่มีข้อเท็จจริงถูกต้อง แต่เนื้อหานั้นเขียนด้วยภาษาระดับมหาวิทยาลัย ขณะที่กระทู้ข้อมูลแพทย์ใช้ภาษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขากล่าวว่า "การที่วิกิพีเดียขาดความเรียบง่ายในการใช้ภาษานี้อาจสะท้อนถึงผู้เขียนที่หลากหลายและการแก้ไขส่งเดช" ดิอีโคโนมิสต์ ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้อ่านอาจสังเกตคุณภาพการเขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อเป็นแนวทางได้ เพราะ "ภาษาเขียนที่ไม่ประณีตและตึงตังมักจะสะท้อนแนวคิดที่ยุ่งเหยิงและข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์" การศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยวารสารเนเจอร์ ได้เปรียบเทียบเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ของวิกิพีเดียกับเนื้อหาแบบเดียวกันของสารานุกรมบริตานิกา โดยสรุปว่า ความถูกต้องของข้อมูลในวิกิพีเดียนั้นใกล้เคียงกับของบริตานิกา แต่โครงสร้างบทความวิกิพีเดียนั้นมักจะไม่ดี
=== ความน่าเชื่อถือ ===
ผลที่ตามมาจากโครงสร้างที่เปิดกว้างให้แก้ไขได้ของวิกิพีเดียนั้น ทำให้วิกิพีเดีย "ไม่มีการรับประกันถึงความถูกต้อง" ของเนื้อหา เพราะในท้ายที่สุดแล้วไม่มีผู้ใดรับผิดชอบต่อข้อความใด ๆ ที่ปรากฏอยู่บนเว็บ ได้มีความกังวลซึ่งมุ่งประเด็นไปยังการขาดความตรวจสอบได้อันเป็นผลมาจากการปิดบังชื่อของผู้ใช้ การสอดแทรกข้อมูลปลอม การก่อกวน และปัญหาที่คล้ายกัน
วิกิพีเดียถูกกล่าวหาว่านำเสนอเนื้อหาที่ลำเอียงอย่างเป็นระบบและมีความไม่สอดคล้องกัน นักวิจารณ์ให้เหตุผลว่า ธรรมชาติที่เปิดของวิกิพีเดียและการไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงอย่างเหมาะสมในเนื้อหาจำนวนมาก ทำให้มันไม่น่าเชื่อถือ นักวิจารณ์อีกกลุ่มแนะว่า โดยปกติแล้ววิกิพีเดียนั้นเชื่อถือได้ แต่ก็ไม่แน่หากคิดเฉพาะความน่าเชื่อถือของบทความใดบทความหนึ่งเป็นการเฉพาะ บรรณาธิการของงานอ้างอิงแบบเก่า อย่างเช่น สารานุกรมบริตานิกาได้ตั้งคำถามถึงประโยชน์ใช้สอยของโครงการและสถานะความเป็นสารานุกรม อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากไม่สนับสนุนให้นักเรียนอ้างอิงสารานุกรมใด ๆ ในงานวิชาการ และให้ใช้งานจากแหล่งปฐมภูมิมากกว่า บางรายระบุเป็นการเฉพาะว่าห้ามอ้างอิงวิกิพีเดีย ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย จิมมี เวลส์ เน้นว่าสารานุกรมชนิดใด ๆ นั้นโดยปกติแล้วไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และไม่ควรวางใจว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้
อย่างไรก็ตาม การสำรวจซึ่งรายงานในวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 เสนอว่าบทความวิทยาศาสตร์วิกิพีเดียมีระดับความถูกต้องแม่นยำใกล้เคียงกับของสารานุกรมบริตานิกา และมีระดับ "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ที่ใกล้เคียงกัน การอ้างดังกล่าวได้ถูกคัดค้านโดยสารานุกรมบริตานิกา
นักเศรษฐศาสตร์ ไทเลอร์ โคเวน เขียนว่า "ถ้าผมต้องเดาว่าระหว่างวิกิพีเดียหรือบทความเศรษฐศาสตร์ระดับกลางในฐานข้อมูลระดับชาติว่าอย่างไหนมีความถูกต้องมากกว่ากัน ผมคิดไม่นานก็ตัดสินใจได้ว่าผมจะเลือกวิกิพีเดีย" เขาให้ความเห็นว่างานอ้างอิงแบบเก่าที่ไม่ใช่บันเทิงคดีนั้นประสบปัญหาลำเอียงอย่างเป็นระบบด้วยกันทั้งสิ้น ข้อมูลใหม่ ๆ มักจะได้รับรายงานมากเกินงามในบทความวารสาร และข้อมูลเกี่ยวข้องกันก็ได้เผยแพร่ในรายงานข่าว อย่างไรก็ตาม เขายังได้เตือนว่าข้อผิดพลาดนั้นมักพบได้บ่อยบนอินเทอร์เน็ต และว่านักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจะต้องตื่นตัวในการแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 บทความในหนังสือพิมพ์เดอะฮาร์วาร์ดคริมสัน รายงานว่าศาสตราจารย์บางคนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใส่วิกิพีเดียเข้าไปในบทคัดย่อของตนด้วย แต่มีความไม่ลงรอยกันในความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้วิกิพีเดีย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 อดีตประธานสมาคมหอสมุดอเมริกัน ไมเคิล กอร์แมน ประณามวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับกูเกิล โดยกล่าวว่า นักวิชาการผู้สนับสนุนการใช้วิกิพีเดียนั้น "มีสติปัญญาเท่ากับนักโภชนาการที่แนะนำให้คนกินบิ๊กแม็คกับอาหารทุกรายการอย่างต่อเนื่อง" เขากล่าวต่อว่า "รุ่นของคนมีปัญญาเฉื่อยชาผู้ไม่สามารถก้าวข้ามอินเทอร์เน็ตได้" กำลังถูกผลิตจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เขายังตำหนิว่าแหล่งข้อมูลที่เป็นเว็บนั้นทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่ขวนขวายที่จะเรียนรู้จากข้อมูลที่สืบค้นได้ยากกว่าซึ่งมักพบเฉพาะในเอกสารตีพิมพ์หรือเว็บไซต์ที่บอกรับเป็นสมาชิกเท่านั้น ในบทความเดียวกัน เจนนี ฟราย นักวิจัยแห่งสถาบันอินเทอร์เน็ตออกซฟอร์ด ให้ความเห็นเกี่ยวกับนักวิชาการซึ่งอ้างวิกิพีเดีย โดยกล่าวว่า
=== เนื้อหาเกี่ยวกับเพศ ===
วิกิพีเดียถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการอนุญาตให้มีเนื้อหากราฟิกเกี่ยวกับเพศบนเว็บ อย่างเช่น ภาพและวิดีโอการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและการหลั่งน้ำอสุจิ เช่นเดียวกับภาพถ่ายจากภาพยนตร์ลามกฮาร์ดคอร์ที่พบในบทความ นักรณรงค์คุ้มครองเด็กกล่าวว่าเนื้อหากราฟิกเกี่ยวกับเพศนั้นปรากฏอยู่ในหลายหน้าของวิกิพีเดีย และแสดงโดยไม่มีการเตือนใด ๆ หรือการพิสูจน์อายุ
บทความวิกิพีเดีย เวอร์จินคิลเลอร์ อัลบั้มเพลงเมื่อปี พ.ศ. 2519 จากวงดนตรีเฮฟวีเมทัลสัญชาติเยอรมัน สกอร์เปียนส์ ซึ่งแสดงภาพของปกอัลบั้มดั้งเดิม ที่เป็นรูปเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์เปลือย ปกที่ออกมาเดิมนั้นทำให้เกิดการโต้เถียงกันและทำให้ปกอัลบั้มถูกเปลี่ยนในหลายประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 การเข้าถึงบทความดังกล่าวในวิกิพีเดียถูกบล็อกเป็นเวลาสี่วันโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักร หลังได้รับรายงานจากสาธารณชนว่าเป็นภาพลามกเด็ก มูลนิธิเฝ้าระวังอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรและไม่อิงการเมือง วิจารณ์การแทรกรูปในเว็บว่า "น่ารังเกียจ"
เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 แลร์รี แซงเจอร์ เขียนจดหมายถึงสำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา โดยสรุปความกังวลของเขาว่าหมวดหมู่ภาพสองหมวดในวิกิมีเดียคอมมอนส์มีภาพลามกเด็ก และขัดต่อกฎหมายความลามกกลางสหรัฐ ภายหลังแซงเจอร์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคใคร่เด็กและมีรูปหนึ่งเกี่ยวกับโลลิคอน ไม่ใช่เด็กจริง แต่ก็กล่าวว่ารูปเหล่านี้เป็น "การแสดงความลามกของการข่มเหงทางเพศของเด็ก" ภายใต้รัฐบัญญัติคุ้มครอง (PROTECT Act) พ.ศ. 2546 กฎหมายดังกล่าวห้ามภาพลามกเด็กและภาพการ์ตูนและภาพวาดของเด็กที่จัดว่าลามกอนาจารภายใต้กฎหมายสหรัฐ แซงเจอร์ยังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเข้าถึงภาพเหล่านี้ในวิกิพีเดียจากโรงเรียน วิกิพีเดียปฏิเสธคำกล่าวหาของแซงเจอร์อย่างแข็งขัน โฆษกมูลนิธิวิกิมีเดีย เจย์ วัลสช์ กล่าวว่า วิกิพีเดียไม่มี "สื่อที่เราเห็นว่าผิดกฎหมาย หากเราพบ เราจะนำมันออก" หลังจากการร้องเรียนของแซงเจอร์ เวลส์ได้ลบภาพเกี่ยวกับเพศโดยไม่ได้ปรึกษากับชุมชนวิกิพีเดียก่อน หลังจากผู้ร่วมแก้ไขบางคนอาสาที่จะดูแลเว็บแย้งว่าการตัดสินใจดังกล่าวกระทำอย่างเร่งรีบเกินไป เวลส์จึงสละอำนาจบางส่วนที่มีจนถึงขณะนั้นเนื่องจากสถานะผู้ร่วมก่อตั้งของเขา เขาเขียนข้อความถึงบัญชีจ่าหน้ามูลนิธิวิกิมีเดียว่า การกระทำดังกล่าว "เป็นประโยชน์ที่จะกระตุ้นการอภิปรายนี้ให้เกี่ยวกับประเด็นเนื้อหา/ปรัชญาอย่างแท้จริง มากกว่าเกี่ยวกับผมและว่าผมตอบโต้เร็วเพียงใด"
=== ความเป็นส่วนตัว ===
ความกังวลหนึ่งในกรณีของวิกิพีเดียนี้คือสิทธิของปัจเจกชนที่จะยังคงความเป็นส่วนตัว มากกว่าที่จะเป็น "บุคคลสาธารณะ" ในมุมมองของกฎหมาย ซึ่งกรณีนี้ก็คล้ายกับการต่อสู้ระหว่างสิทธิที่จะไม่เปิดเผยตัวตนในไซเบอร์สเปซกับสิทธิที่จะไม่เปิดเผยตัวตนในชีวิตจริง วิกิพีเดียว็อตช์โต้แย้งว่า "วิกิพีเดียอาจเป็นภัยคุกคามต่อทุกคนที่ให้ความสำคัญแก่ความเป็นส่วนตัว" และ "ระดับภาวะรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นในโครงสร้างวิกิพีเดีย" จะเป็น "ขั้นแรกสู่การแก้ไขปัญหาความเป็นส่วนตัว"
ในปี พ.ศ. 2548 อะแจ็งเซอ ฟร็องเซ-แพร็ส ยกคำกล่าวของเดเนียล บรานต์ เจ้าของวิกิพีเดียว็อตช์ ซึ่งกล่าวว่า "ปัญหาพื้นฐานคือไม่มีผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นถึงผู้บริหารของมูลนิธิวิกิมีเดียก็ตาม และอาสาสมัครผู้เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย ถือว่าตนเองรับผิดชอบต่อเนื้อหา"
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ศาลเยอรมนีมีคำสั่งให้ปิดวิกิพีเดียภาษาเยอรมันในเยอรมนีเนื่องจากเว็บได้กล่าวถึงชื่อเต็มของบอริส ฟลอริซิก หรือ "ทรอน" แฮ็กเกอร์ที่เสียชีวิตแล้ว ซึ่งอดีตเคยเข้ากับคาออสคอมพิวเตอร์คลับ ยิ่งไปกว่านั้น ศาลยังสั่งให้ยูอาร์แอลภายใต้โดเมน .de ของเยอรมนี (http://www.wikipedia.de/) ต้องไม่รีไดเร็กไปยังเซิร์ฟเวอร์ของสารานุกรมในรัฐฟลอริดาที่ http://de.wikipedia.org แม้ว่าผู้อ่านในเยอรมนีจะยังสามารถใช้ยูอาร์แอลที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้โดยตรงเช่นเดิม และไม่ได้ปิดกั้นผู้อ่านเหล่านั้นในการเข้าถึงวิกิพีเดียแต่อย่างใด คำสั่งศาลออกมาหลังจากคดีความซึ่งผู้ปกครองของทรอนฟ้องร้องโดยขอให้ศาลนำนามสกุลของบุตรชายออกจากวิกิพีเดีย วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้มีการพิพากษาแก้ต่อวิกิมีเดียดอยทช์ลันด์ โดยศาลปฏิเสธสิทธิการคงความเป็นส่วนตัวของทรอนหรือการละเมิดสิทธิผู้ปกครองของเขา โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลรัฐเบอร์ลิน แต่ศาลปฏิเสธไม่รับฟ้องเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549
=== ประชาคม ===
ประชาคมวิกิพีเดียถูกอธิบายว่า "เหมือนกับลัทธิ" ถึงแม้ว่าคำดังกล่าวจะไม่ได้มีความหมายโดยนัยในทางลบเพียงอย่างเดียวก็ตาม และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าล้มเหลวในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ไม่มีประสบการณ์ เพราะถึงแม้ว่าผู้ใช้เหล่านี้จะได้รับการต้อนรับจากสมาชิก แต่ผู้ใช้มือใหม่นั้นมักถูกบอกให้อ่านนโยบายด้วยตนเองเพื่อเรียนรู้แนวทางวิกิพีเดีย
==== โครงสร้างอำนาจ ====
ประชาคมวิกิพีเดียได้ทำให้เกิด "ระบอบสถาบันเชิงพฤตินัย" ขึ้น ซึ่งรวมไปถึง "โครงสร้างอำนาจอันเด่นชัดที่ทำให้ผู้ดูแลระบบอาสาสมัครมีอำนาจควบคุมการแก้ไขเนื้อหา" ผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงดีในประชาคมสามารถเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งในหน้าที่บริการหลายระดับ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ "ผู้ดูแลระบบ" กลุ่มผู้ใช้ที่มีเอกสิทธิ์จากความสามารถในการลบหน้า ล็อกบทความจากการแก้ไขในกรณีการก่อกวนหรือมีข้อพิพาทในการเพิ่มเนื้อหา และบล็อกผู้ใช้จากการแก้ไข ถึงแม้จะได้ชื่อว่าผู้ดูแลระบบแต่พวกเขาไม่มีสิทธิพิเศษใด ๆ ในการตัดสินใจ โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีบทบาทจำกัดเพียงการแก้ไขซึ่งส่งผลกระทบวงกว้างต่อทั้งโครงการ ซึ่งผู้ใช้ธรรมดาจะไม่ได้รับอนุญาตให้แก้ไขในสิ่งเหล่านี้ รวมไปถึงการบล็อกผู้ใช้ที่ก่อปัญหา (อย่างเช่นการก่อกวน)
==== ผู้ร่วมแก้ไข ====
วิกิพีเดียไม่มีข้อกำหนดให้ผู้ใช้ต้องแสดงตัว อย่างไรก็ตาม ขณะที่วิกิพีเดียเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยรูปแบบการสร้างสารานุกรมแบบใหม่ คำถามที่ว่า "ใครเขียนวิกิพีเดีย" จึงกลายมาเป็นหนึ่งในคำถามเกี่ยวกับโครงการที่ถูกถามบ่อย ๆ และถูกเปรียบเทียบกับโครงการเว็บ 2.0 อื่น อย่างเช่น ดิกก์ จิมมี เวลส์ ตอบคำถามนี้เพียงว่า "ประชาคมแห่งหนึ่ง ... กลุ่มอาสาสมัครผู้อุทิศตัวไม่กี่ร้อยคน" เป็นผู้ร่วมพัฒนาวิกิพีเดียส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ วิกิพีเดียจึง "ไม่ต่างอะไรกับองค์กรแบบเก่าทั่วไป" เวลส์ได้ศึกษาและพบว่ากว่า 50% ของการแก้ไขทั้งหมดเกิดขึ้นจากผู้ใช้เพียง 0.7 % (เวลานั้นมีอยู่ 524 คน) ต่อมาอารอน สวาร์ตซ์ได้โต้แย้งวิธีการประเมินการร่วมพัฒนาดังกล่าวโดยชี้ให้เห็นว่าหลายบทความที่เขาสุ่มตัวอย่างขึ้นมานั้นมีเนื้อหาส่วนใหญ่ (คิดตามจำนวนตัวอักษร) เขียนขึ้นโดยผู้ใช้ที่มีจำนวนการแก้ไขรวมน้อย การศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยนักวิจัยจากวิทยาลัยดาร์ตมัธ ค้นพบว่า "ผู้ใช้วิกิพีเดียนิรนามและขาจร ... เป็นแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือพอ ๆ กับผู้ร่วมแก้ไขซึ่งลงทะเบียนกับเว็บ" แม้ว่าผู้ใช้บางคนจะเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ที่ตนเขียนก็ตาม แต่วิกิพีเดียมีข้อกำหนดให้พวกเขาต้องมีแหล่งข้อมูลตีพิมพ์และสามารถใช้ยืนยันได้ประกอบการแก้ไขด้วย หากใช้มติเอกฉันท์เหนือแหล่งอ้างอิงจะถูกเรียกว่าเป็น "การต่อต้านอภิชนนิยม" (anti-elitism)
ปี พ.ศ. 2546 นักศึกษาปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ แอนเดรีย ซิฟโฟลิลลิ ทำการศึกษาวิกิพีเดียในฐานะชุมชนและให้เหตุผลว่า การมีต้นทุนในการเข้าร่วมกับซอฟต์แวร์วิกิที่ต่ำนั้นเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาแบบร่วมมือกัน และแนวทาง "การสรรสร้างอย่างสร้างสรรค์" นี้เองที่กระตุ้นให้เกิดการร่วมมือ ในหนังสือ อนาคตของอินเทอร์เน็ตและจะหยุดมันได้อย่างไร (The Future of the Internet and How to Stop It) เมื่อปี พ.ศ. 2551 โจนาธาน ซิตเทรน แห่งสถาบันอินเทอร์เน็ตออกซฟอร์ดและศูนย์เพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคมเบิร์กแมนของวิทยาลัยกฎหมายฮาร์วาร์ด ได้ยกความสำเร็จของวิกิพีเดียเป็นกรณีศึกษาว่าการร่วมแก้ไขอย่างเปิดเผยนั้นส่งผลให้เกิดนวัตกรรมบนเว็บได้อย่างไร การศึกษาในปีเดียวกันยังพบว่าผู้ใช้วิกิพีเดียมีความเปิดเผยและเป็นมิตรน้อยกว่า แม้จะมีความรอบคอบมากกว่าผู้ที่ไม่ใช่ผู้ใช้วิกิพีเดีย การศึกษาในปี พ.ศ. 2552 ยังแนะว่ามี "หลักฐานว่าชุมชนวิกิพีเดียต่อต้านเนื้อหาใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น"
ในวาระที่วิกิพีเดียเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีการก่อตั้ง เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้ตีพิมพ์คอลัมน์เกี่ยวกับการสำรวจวิกิพีเดียในเวลานั้น โดยรายงานว่า การศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสหประชาชาติและมหาวิทยาลัยมาสตริกช์ พบว่าผู้ร่วมแก้ไขวิกิพีเดียเพียง 13% เท่านั้นที่เป็นหญิง อายุเฉลี่ยของผู้ร่วมแก้ไขอยู่ในช่วงกลาง 20-30 ปี และยังได้หมายเหตุด้วยว่า การสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้ร่วมแก้ไขน้อยกว่า 15% จากทั้งหมดหลายแสนคนนั้นเป็นหญิง ซู การ์ดเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเห็นสัดส่วนผู้หญิงที่ร่วมแก้ไขเพิ่มขึ้นเป็น 25% ภายในปี พ.ศ. 2558
==== ปฏิสัมพันธ์ ====
ผู้ใช้วิกิพีเดียมักมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้คนอื่นผ่านทางหน้า 'อภิปราย' ซึ่งเป็นหน้าแบบวิกิที่เชื่อมโยงกับบทความ เช่นเดียวกับหน้าพูดคุยของผู้ใช้แต่ละคนและหน้าพูดคุยอื่น ๆ ที่ช่วยในการจัดการเว็บ ผู้ใช้อาศัยหน้าเหล่านี้เพื่อแสวงหาข้อยุติเกี่ยวกับเนื้อหาที่ควรมีของบทความ การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของเว็บ และดำเนินการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาภายในประชาคม
==== การตระหนักถึงคุณค่า ====
บางครั้งชาววิกิพีเดียให้รางวัลชาววิกิพีเดียคนอื่นด้วยการมอบ "ดาวเกียรติยศ" (barnstar) สำหรับผลงานที่ดี สัญลักษณ์แสดงความชื่นชมเป็นการส่วนตัวเหล่านี้มอบแก่งานทรงคุณค่าจำนวนมากมายนอกเหนือไปจากเพียงการแก้ไขอย่างง่าย ๆ แต่รวมถึงการให้สนับสนุนแก่ชุมชน การทำหน้าที่ดูแลระบบ และการร่วมอภิปรายและออกเสียง นักวิจัยได้วิเคราะห์ปรากฏการณ์บาร์นสตาร์นี้เพื่อค้นหาว่ามันจะมีความหมายอย่างไรในการทำให้ประชาคมอื่น ๆ เข้ามามีส่วนในความร่วมมืออย่างกว้างขวาง
==== ผู้ใช้ใหม่ ====
60% ของผู้ใช้ลงทะเบียนทำการแก้ไขเพียงครั้งเดียวในรอบ 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่การแก้ไขครั้งแรก คำอธิบายที่เป็นไปได้คือ ผู้ใช้เหล่านี้ลงทะเบียนด้วยจุดประสงค์เดียว หรือรู้สึกกลัวจากประสบการณ์ที่ได้รับ โกลด์แมน เขียนไว้ว่า การที่ผู้ใช้ไม่สามารถปฏิบัติตามวัฒนธรรมบางอย่างของวิกิพีเดีย เช่น ลงชื่อในหน้าอภิปราย เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าพวกเขาเป็นคนนอกวิกิพีเดีย ซึ่งทำให้คนในวิกิพีเดียเพ่งเล็งว่าการแก้ไขของผู้ใช้เหล่านี้เป็นภัยคุกคาม การเข้ามาเป็นคนในของวิกิพีเดียนั้นต้องเสียต้นทุนไม่น้อย ผู้ใช้จะถูกคาดหวังให้สร้างหน้าผู้ใช้ เรียนรู้โค้ดเทคโนโลยีเฉพาะของวิกิพีเดีย เสนอกระบวนการแก้ไขข้อพิพาท และเรียนรู้ "วัฒนธรรมที่อยู่ระหว่างเรื่องขำขันวงในและการอ้างอิงภายใน" จนผู้ใช้ไม่ล็อกอินอาจรู้สึกว่าตนเป็นพลเมืองชั้นสองในวิกิพีเดีย เนื่องจาก "ผู้ร่วมแก้ไขได้รับความยอมรับนับถือจากสมาชิกชุมชนวิกิ ผู้สนใจต่อการรักษาคุณภาพของการสร้างผลงานโดยไม่เปลี่ยนแปลง บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของพวกเขา" แต่จากประวัติการแก้ไขของหมายเลขไอพีทำให้ไม่มีความจำเป็นว่าจะต้องยกเครดิตให้ หรือประณามกล่าวโทษผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ
=== รุ่นภาษา ===
ปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมด 285 ภาษา โดยในจำนวนนี้มีสี่ภาษาที่มีบทความมากกว่า 1 ล้านเรื่อง ได้แก่ วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาดัตช์, 6 ภาษามีบทความมากกว่า 700,000 เรื่อง, 40 ภาษามีบทความมากกว่า 100,000 เรื่อง และ 109 ภาษา มีบทความมากกว่า 10,000 เรื่อง วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นวิกิพีเดียภาษาที่มีบทความมากที่สุด กว่า 4 ล้านบทความ ตามข้อมูลของอเล็กซา ซับโดเมนรุ่นภาษาอังกฤษนั้นมีสัดส่วนการเข้าชมคิดเป็นอย่างน้อย 54% ของวิกิพีเดียทุกภาษา โดยที่เหลือนั้นแบ่งเป็นวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ (ภาษาญี่ปุ่น 10%, ภาษาเยอรมัน 8%, ภาษาสเปน 5%, ฯลฯ)
เนื่องจากผู้ใช้ทั่วโลกร่วมกันสร้างวิกิพีเดียผ่านทางเว็บไซต์ ดังนั้น แม้แต่ในวิกิพีเดียภาษาเดียวกันจึงอาจเกิดปัญหาการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกัน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยปรากฏในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น ความแตกต่างด้านตัวสะกดในภาษาถิ่นสำเนียงอังกฤษบริติชและอังกฤษอเมริกัน (ตัวอย่างเช่น colour และ color) รวมไปถึงเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นจากมุมมองที่ต่างกัน และถึงแม้ว่าวิกิพีเดียหลายภาษาจะยึดตามหลักนโยบายสากล อย่างเช่น "มุมมองเป็นกลาง" แต่ก็อาจยึดหลักแตกต่างกันในนโยบายและการปฏิบัติในบางข้อ ที่สำคัญคือ ภาพที่ไม่ได้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเสรีจะถูกใช้โดยอ้างว่าเป็นการใช้โดยชอบธรรมได้หรือไม่
อย่างไรก็ตามแม้ว่าวิกิพีเดียในแต่ละภาษามีการบริหารไม่ขึ้นต่อกัน ทางมูลนิธิได้มีการตั้งเว็บไซต์เมต้าวิกิใช้เป็นศูนย์กลางการประสานงานของวิกิพีเดียแต่ละภาษา เช่นการให้บริการข้อมูลด้านสถิติ แสดงรายชื่อบทความพื้นฐานที่วิกิพีเดียแต่ละรุ่นภาษาควรมี ซึ่งรายการดังกล่าวครอบคลุมเนื้อหาพื้นฐานแบ่งตามหัวเรื่อง อันประกอบด้วย ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อาหารและเครื่องดื่ม และคณิตศาสตร์ ส่วนที่เหลือนั้น มักปรากฏบ่อยครั้งว่าบทความที่เกี่ยวข้องกับรุ่นภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะจะไม่ปรากฏในวิกิพีเดียภาษาอื่น อาทิ บทความเกี่ยวกับเมืองเล็ก ๆ ในสหรัฐอเมริกาจะพบได้เฉพาะในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเท่านั้น เช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทยที่จะพบในวิกิพีเดียภาษาไทยเท่านั้น
บทความแปลยังคิดเป็นสัดส่วนน้อยในวิกิพีเดียหลายรุ่นภาษา เนื่องจากไม่อนุญาตให้แปลบทความอัตโนมัติทั้งหมด ส่วนการเชื่อมโยงบทความในแต่ละภาษาเข้าด้วยกันผ่านทางลิงก์ที่เรียกว่า "อินเตอร์วิกิ" ซึ่งเป็นบทความที่มีในวิกิพีเดียมากกว่าหนึ่งรุ่นภาษาขึ้นไป
== การดำเนินการ ==
=== มูลนิธิวิกิมีเดียและสาขาวิกิมีเดีย ===
วิกิพีเดียดำเนินการและได้รับสนับสนุนเงินทุนโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งยังได้ดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียอีกจำนวนหนึ่ง อาทิ วิกิพจนานุกรมและวิกิตำรา สาขาวิกิมีเดีย สมาคมผู้ใช้และผู้สนับสนุนโครงการวิกิมีเดียท้องถิ่น ยังได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการอีกด้วย
=== ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ===
วิกิพีเดียทำงานด้วยแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์พิเศษที่มีชื่อว่า มีเดียวิกิ ที่เป็นลักษณะโอเพนซอร์ซและซอฟต์แวร์เสรีแบบพิเศษ ทำงานผ่านการบริหารเว็บไซต์ที่เรียกว่าวิกิ ตัวซอฟต์แวร์เขียนขึ้นด้วยภาษาพีเอชพีที่ทำงานร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ตัวซอฟต์แวร์รวมคุณลักษณะด้านการเขียนโปรแกรมหลายอย่างเข้าไว้ด้วยกัน อย่างเช่น ภาษาแมโคร ตัวแปร และการรีไดเร็กยูอาร์แอล มีเดียวิกิอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและใช้ในโครงการวิกิมีเดียทั้งหมด เช่นเดียวกับโครงการวิกิอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ในช่วงแรก วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อยูสม็อดวิกิที่เขียนขึ้นในภาษาเพิร์ล โดยคลิฟฟอร์ด อดัมส์ (ระยะที่ 1) ซึ่งเดิมต้องใช้คาเมลเคสในการสร้างไฮเปอร์ลิงก์บทความ ส่วนลิงก์บทความที่เป็นวงเล็บคู่เข้ามาในภายหลัง จนกระทั่งเดือนมกราคม 2545 (ระยะที่ 2) วิกิพีเดียเปลี่ยนมาใช้เอนจินพีเอชพีวิกิร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ซึ่งซอฟต์แวร์นี้สร้างขึ้นเฉพาะสำหรับวิกิพีเดียโดยแมกนัส มันสเก ซอฟต์แวร์ระยะที่ 2 นี้ถูกดัดแปรบ่อยครั้งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ต่อมาในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน (ระยะที่ 3) วิกิพีเดียได้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งเดิมเขียนขึ้นโดยลี แดเนียล คร็อกเกอร์ ส่วนขยายวิกิจำนวนมากถูกติดตั้ง เพื่อเพิ่มระดับขีดความสามารถของซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 ส่วนขยายลูซีนถูกเพิ่มเข้าไปในการค้นหาเดิมของมีเดียวิกิ และวิกิพีเดียเปลี่ยนจากมายเอสคิวแอลเป็นลูซีนสำหรับการค้นหา ปัจจุบันวิกิพีเดียใช้ลูซีนเสิร์ช 2.1 ซึ่งเขียนขึ้นด้วยภาษาจาวา และดำเนินการบนลูซีนไลบรารี 2.3
วิกิพีเดียทำงานบนคลัสเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอูบุนตู) และเครื่องโอเพนโซลาริสจำนวนหนึ่งสำหรับระบบแฟ้มเซตตะไบต์ ในช่วงระยะแรกวิกิพีเดียเก็บข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เดี่ยวจนกระทั่งได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมมัลติไทเออร์ และจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 300 แห่งในฟลอริดา และ 44 แห่งในอัมสเตอร์ดัม โครงแบบนี้รวมไปถึงเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลหลักหนึ่งเครื่องที่ทำงานโดยใช้มายเอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลรองอีกหลายเครื่อง เว็บเซิร์ฟเวอร์ 21 เครื่องซึ่งทำงานบนอะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์สควิดแคชอีก 7 เครื่อง
วิกิพีเดียมีการเรียกใช้งานประมาณ 25,000 ถึง 60,000 หน้าต่อวินาที ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแต่ละวัน การเรียกใช้หน้านั้นจะถูกส่งไปยังชั้นฟรอนต์เอนด์ของเซิร์ฟเวอร์สควิดแคช สถิติเพิ่มเติมนั้นจะสามารถเข้าถึงได้โดยขึ้นอยู่กับการติดตามเข้าถึงวิกิพีเดีย 3 เดือนที่เปิดเผยต่อสาธารณะ การเรียกใช้งานที่ไม่สามารถดึงข้อมูลมาจากสควิดแคชได้ จะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์โหลดสมดุลซึ่งทำงานบนซอฟต์แวร์ลีนุกซ์เวอชวลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะส่งการเรียกใช้ต่อไปยังหนึ่งในเว็บเซิร์ฟเวอร์อะแพชีสำหรับหน้าที่ถูกแสดงจากฐานข้อมูล เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งหน้าตามที่ถูกเรียกใช้นั้น แสดงหน้าสำหรับทุกรุ่นภาษาของวิกิพีเดีย และเพื่อเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น หน้าต่าง ๆ จะถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำแคชแบบกระจายจนกว่าจะใช้งานไม่ได้ ซึ่งทำให้หน้าที่กำลังแสดงนั้นถูกข้ามไปทั้งหมด เป็นการเข้าถึงหน้าที่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด คลัสเตอร์ขนาดใหญ่กว่าสองแห่งในเนเธอร์แลนด์และเกาหลี จัดการกับการเข้าชมวิกิพีเดียส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
=== รุ่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ===
เดิมสื่อกลางของวิกิพีเดียที่จะให้ผู้ใช้อ่านและแก้ไขเนื้อหานั้นจะต้องใช้เว็บเบราว์เซอร์มาตรฐานใด ๆ ผ่านการติดต่ออินเทอร์เน็ตตายตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวิกิพีเดียสามารถเข้าถึงได้จากโมบายล์เว็บแล้ว
การเข้าถึงวิกิพีเดียจากมือถือสามารถกระทำได้นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2547 ผ่านไวร์เลสแอปพลิเคชันโพรโทคอล (WAP) ผ่านบริการวาพีเดีย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 วิกิพีเดียภาษาอังกฤษได้เปิดตัว en.mobile.wikipedia.org เว็บไซต์อย่างเป็นทางการสำหรับอุปกรณ์ไร้สาย เมื่อปี พ.ศ. 2552 บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ที่ยูอาร์แอล en.m.wikipedia.org ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ทันสมัยขึ้น อย่างเช่น ไอโฟน อุปกรณ์แอนดรอยด์ หรือปาล์มพรี นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นอีกมากที่จะเข้าถึงวิกิพีเดียได้โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์และแอปพลิเคชันหลายอย่างได้ปรับปรุงการแสดงผลเนื้อหาวิกิพีเดียสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ขณะที่บางอย่างยังได้เพิ่มคุณลักษณะอื่นเข้าไปด้วย อย่างเช่น การใช้เมทาเดตาวิกิพีเดีย อย่างเช่น ภูมิสารสนเทศ
== ผลกระทบ ==
=== ความสำคัญทางวัฒนธรรม ===
นอกจากวิกิพีเดียจะมีจำนวนบทความเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว วิกิพีเดียยังได้รับสถานะเป็นเว็บไซต์อ้างอิงทั่วไปอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 ตามข้อมูลของอเล็กซาและคอมสกอร์ วิกิพีเดียเป็นหนึ่งในสิบเว็บไซต์ที่มีการเข้าชมมากที่สุดทั่วโลก การเติบโตของวิกิพีเดียนั้นเป็นผลมาจากการปรากฏเป็นผลการค้นหาลำดับแรกในกูเกิล ราว 50% ของการเยี่ยมชมวิกิพีเดียจากเสิร์ชเอนจินมาจากกูเกิล และมีสัดส่วนค่อนข้างมากที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางวิชาการ จำนวนผู้อ่านวิกิพีเดียทั่วโลกแตะระดับ 365 ล้านคนเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 โครงการอินเทอร์เน็ตพิวและอเมริกันไลฟ์พบว่าราวหนึ่งในสามของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกาปรึกษาวิกิพีเดีย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ประมาณการว่าวิกิพีเดียมีมูลค่าการตลาด 580 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หากปล่อยให้มีการโฆษณาบนเว็บ
เนื้อหาวิกิพีเดียยังได้ถูกใช้ในการศึกษาวิชาการ หนังสือ การประชุมและคดีความในศาล เว็บไซต์ของรัฐสภาแคนาดาอ้างถึงบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับการแต่งงานของคู่สมรสเพศเดียวกันในส่วน "ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง" ของรายการ "อ่านเพิ่มเติม" ในพระราชบัญญัติการสมรส วิกิพีเดียถูกนำไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลมากขึ้นโดยองค์กร อย่างเช่น ศาลกลางสหรัฐและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก ถึงแม้ว่ามักจะใช้กับข้อมูลสนับสนุนมากกว่าข้อมูลในส่วนสำคัญก็ตาม เนื้อหาที่ปรากฏในวิกิพีเดียยังถูกใช้เป็นแหล่งข้อมูลและมีการอ้างอิงในรายงานของหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐบางฉบับอีกด้วย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 วารสารทางวิทยาศาสตร์ อาร์เอ็นเอไบโอโลจี ได้เริ่มส่วนใหม่เพื่ออธิบายรายละเอียดของครอบครัวโมเลกุลอาร์เอ็นเอ และกำหนดให้ผู้เขียนในส่วนนี้ส่งบทความฉบับร่างก่อนจะตีพิมพ์บนวิกิพีเดีย
วิกิพีเดียยังได้ถูกใช้เป็นแหล่งข้อมูลในแวดวงวารสารศาสตร์ด้วย โดยไม่ได้แสดงแหล่งที่มาบ่อยครั้ง และมีผู้สื่อข่าวหลายคนถูกปลดออกจากงานเนื่องจากโจรกรรมผลงานจากวิกิพีเดีย
เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550 นักการเมืองอิตาลี ฟรันโก กริลลินี ได้ตั้งกระทู้ถามในรัฐสภากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและกิจกรรมวัฒนธรรม ถึงความจำเป็นของเสรีภาพทางสถาปัตยกรรม เขาว่า การขาดเสรีภาพดังกล่าวบีบมิให้วิกิพีเดียแสดงภาพสิ่งก่อสร้างและผลงานศิลปะอิตาลีสมัยใหม่ทั้งหมด และอ้างว่านี่เป็นการทำลายรายได้ที่มาจากการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง
หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ รายงานว่า วิกิพีเดียเป็นจุดรวมความสนใจในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008 บทความของรอยเตอร์ชิ้นหนึ่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 รายงานปรากฏการณ์ล่าสุดที่ว่าบทความวิกิพีเดียชี้ความโดดเด่นของบุคคลได้
=== รางวัล ===
วิกิพีเดียได้รับสองรางวัลใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 รางวัลแรกเป็นรางวัลโกลเดนนิกาสำหรับประชาคมดิจิตอลจากการประกวดปรีซ์อาร์สอิเล็กโทรนิกา เป็นเงินรางวัลมูลค่า 10,000 ยูโร และได้รับเชิญให้เข้าร่วมเทศกาลพีเออีไซเบอร์อาร์ตสในออสเตรีย ปีเดียวกัน รางวัลที่สองเป็นรางวัลเว็บบีจากการตัดสินของคณะกรรมการในหมวดหมู่ "ประชาคม" เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 วิกิพีเดียยังได้รับรางวัลอันดับแบรนด์สูงสุดอันดับที่สี่โดยผู้อ่าน brandchannel.com โดยได้รับผลโหวต 15% สำหรับคำถามที่ว่า "แบรนด์ใดมีผลกระทบต่อชีวิตของเรามากที่สุดในปี พ.ศ. 2549" และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 วิกิพีเดียได้รับรางวัล "งานเพื่อการให้ความรู้" ของควอดริกา
== โครงการอื่น ==
มีสารานุกรมมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบที่สาธารณะเป็นผู้เขียนเนื้อหาหลายโครงการเกิดขึ้นก่อนหน้าวิกิพีเดียจะถูกก่อตั้งขึ้น สารานุกรมประเภทนี้โครงการแรกคือ โครงการดูมส์เดย์บีบีซี พ.ศ. 2529 ซึ่งรวบรวมข้อความและภาพถ่ายจากผู้ร่วมพัฒนามากกว่า 1 ล้านคนในสหราชอาณาจักร และครอบคลุมเนื้อหาประเภทภูมิศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักร นี่เป็นสารานุกรมมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบโครงการแรก และยังเป็นเอกสารมัลติมีเดียสำคัญชิ้นแรกที่เชื่อมโยงด้วยลิงก์ภายใน โดยบทความส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ผ่านแผนที่เชิงโต้ตอบในสหราชอาณาจักร อินเตอร์เฟซผู้ใช้และเนื้อหาโครงการดูมส์เดย์บางส่วนถูกลอกขึ้นสู่เว็บไซต์จนถึงปี พ.ศ. 2551 หนึ่งในสารานุกรมออนไลน์ยุคเริ่มแรก ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวบรวมเนื้อหาที่สาธารณะเป็นผู้เขียนขึ้น ที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ h2g2 ที่ดักลาส อดัมส์เป็นผู้สร้างขึ้น และดำเนินงานโดยบีบีซี โครงการ h2g2 ค่อนข้างไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์มากนัก โดยเน้นบทความที่ให้ความรู้และข้อมูล ทั้งสองโครงการนี้มีความคล้ายคลึงกับวิกิพีเดีย แต่ยังไม่มีโครงการใดที่ให้โอกาสด้านการแก้ไขแก่ผู้ใช้สาธารณะอย่างเต็มที่ โครงการไม่ใช่วิกิที่คล้ายกัน โครงการกนูพีเดีย ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับนูพีเดียในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวถอนตัวออกไปและผู้สร้างโครงการ ริชาร์ด สตอลล์แมน ได้ให้ความช่วยเหลือแก่วิกิพีเดียแทน
มูลนิธิวิกิพีเดียยังได้จัดตั้งโครงการอื่นที่ใช้ซอฟต์แวร์เดียวกันนอกเหนือไปจากการจัดทำสารานุกรม โดยมีโครงการแรกสุดคือ "In Memoriam: September 11 Wiki" ที่เริ่มสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 แต่ได้ปิดตัวลงเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 โครงการวิกิพจนานุกรมที่ยังคงใช้งานจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะจัดการข้อมูลในลักษณะพจนานุกรม เริ่มเปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 ตามมาด้วยโครงการวิกิคำคม ที่เป็นการรวบรวมคำคมของบุคคลต่าง ๆ ถูกตั้งขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากวิกิมีเดียก่อตั้งขึ้น และวิกิตำรา แหล่งรวบรวมหนังสือเรียนเสรีและข้อความอธิบายประกอบที่ร่วมกันเขียนขึ้น หลังจากนั้น วิกิมีเดียได้เริ่มต้นโครงการอื่นอีกหลายโครงการ รวมทั้งวิกิวิทยาลัย โครงการสำหรับสร้างสื่อการเรียนรู้เสรีและการจัดหากิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ แต่ไม่มีโครงการพี่น้องอื่นใดจะมีความสำเร็จเทียบได้กับวิกิพีเดีย
วิกิพีเดียหลายภาษายังได้จัดให้มีโต๊ะบริการอ้างอิง ที่ซึ่งอาสาสมัครจะตอบคำถามของสาธารณชน ตามผลการศึกษาในวารสารเอกสารการวิจัย คุณภาพของโต๊ะบริการอ้างอิงของวิกิพีเดียสามารถเทียบได้กับโต๊ะบริการอ้างอิงของห้องสมุดมาตรฐาน โดยมีความถูกต้องของข้อมูล 55%
มีเว็บไซต์อื่นอีกหลายเว็บไซต์ที่มุ่งพัฒนาฐานความรู้แบบร่วมมือทั้งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวิกิพีเดียหรือเป็นแรงบันดาลใจแก่วิกิพีเดีย โครงการสารานุกรมบางโครงการไม่มีกระบวนการตรวจทานเนื้อหาอย่างเป็นทางการคล้ายกับวิกิพีเดีย ขณะที่บางโครงการใช้ระบบการทบทวนที่คล้ายกับสารานุกรมดั้งเดิม สารานุกรมออนไลน์ที่ทำงานบนวิกิ ซิติเซนเดียม เริ่มต้นจากผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย แลร์รี แซงเจอร์ ในความพยายามที่จะสร้างวิกิพีเดียที่ "เป็นมิตรต่อผู้เชี่ยวชาญ" ตัวอย่างโครงการสารานุกรมออนไลน์อื่น เช่น ไป่ตู้ไป่เคอ หรือคลังปัญญาไทย
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
== ดูเพิ่ม ==
วิกิพีเดียภาษาไทย
รายชื่อวิกิพีเดียภาษาต่าง ๆ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Wikipedia
Wikipedia mobile phone portal
รวมเว็บไซต์เกี่ยวกับวิกิพีเดีย จากดีมอซ
โครงการร่วมมือ
ชุมชนเสมือน
สารานุกรมออนไลน์
สารานุกรมเสรี
เว็บ 2.0
โครงการของมูลนิธิวิกิมีเดีย
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ | thaiwikipedia | 257 |
ประเทศกัมพูชา | กัมพูชา (កម្ពុជា, กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា, พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 15 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือมากกว่า 97% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี
ใน พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราบดาภิเษกตนเป็นพระมหากษัตริย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิขะแมร์ อำนาจและความมั่งคังมหาศาลของจักรวรรดิขะแมร์ที่มีพระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติสืบต่อกันมานั้นได้มีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลากว่า 600 ปี กัมพูชาถูกปกครองเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กัมพูชาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2496 สงครามเวียดนามได้ขยายเข้าสู่กัมพูชา ทำให้เขมรแดงขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งยึดกรุงพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 ก่อนจะผงาดขึ้นอีกหลายปีให้หลังภายในเขตอิทธิพลสังคมนิยมเป็นสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชากระทั่ง พ.ศ. 2536 ภายหลังสนธิสัญญาสันติภาพปารีส พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นการยุติสงครามกับเวียดนามอย่างเป็นทางการ กัมพูชาถูกควบคุมโดยสหประชาชาติในช่วงสั้น ๆ (พ.ศ. 2535-2536) หลังจากหลายปีแห่งการโดดเดี่ยว ชาติซึ่งเสียหายจากสงครามก็ได้รวมเข้าด้วยกันอีกครั้งภายใต้ระบอบราชาธิปไตยในปีเดียวกันนั้นเอง
ในการบูรณะประเทศหลังสงครามกลางเมืองนานหลายทศวรรษ กัมพูชามีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ ประเทศกัมพูชาได้มีหนึ่งในบันทึกเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6.0% เป็นเวลานาน 10 ปี ภาคสิ่งทอ เกษตรกรรม ก่อสร้าง เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและการค้าระหว่างประเทศ ใน พ.ศ. 2548 มีการพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชา การขุดเจาะเชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2556 รายได้จากน้ำมันสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างมาก
กัมพูชาเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก องค์การการค้าโลก ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และ องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ตามรายงานขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง ปัญหาหลักของประเทศคือความยากจน การทุจริต การขาดเสรีภาพทางการเมือง อัตราการพัฒนามนุษย์ต่ำ และความอดอยากสูง
== นิรุกติศาสตร์ ==
Cambodia และ Kâmpŭchéa (កម្ពុជា ) เป็นชื่อประเทศในภาษาอังกฤษและภาษาเขมรซึ่งทั้งสองคำมาจากการแผลงคำในภาษาฝรั่งเศส Cambodge ซึ่งชาวฝรั่งเศสใช้เรียกดินแดนจักรวรรดิจักรเขมรในยุคโบราณ และชาติตะวันตกอื่น ๆ เริ่มมีการกล่าวถึงชื่อประเทศกัมพูชาตั้งแต่ ค.ศ. 1524 เมื่ออันโตนิโอ พิกาเฟตตา (นักสำรวจชาวอิตาลีที่ติดตามเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ในการแล่นเรือรอบโลก) มีการอ้างถึงชื่อประเทศกัมพูชาในบันทึกการเดินทางของเขาในชื่อ Camogia และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนได้เรียกคำนี้ว่า Cambodia
ชาวกัมพูชาส่วนมากนิยมเรียกประเทศตนเองว่า Srok Khmer (ស្រុកខ្មែរ Srŏk Khmêr, ออกเสียงว่า [srok kʰmae]; หมายถึง "ดินแดนแห่งเขมร") และนับตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมเป็นต้นมา ชื่อ Cambodia เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไปในกลุ่มประเทศโลกตะวันตก ในขณะที่ Kampuchea เป็นที่นิยมมากว่าในกลุ่มชาติตะวันออก
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ประวัติศาสตร์ยุคแรกของกัมพูชา ===
ความรู้เกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ของกัมพูชานั้นมีอยู่น้อยมาก แหล่งโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดของกัมพูชาที่ค้นพบในปัจจุบัน คือ ถ้ำ แลง สแปน (Laang Spean) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าผู้คนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล และแหล่งโบราณคดีสำโรง เซน (Samrong Sen) ซึ่งเชื่อว่าเริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราว 230 ถึง 500 ปีก่อนคริสตกาล
ชาวกัมพูชาเริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกข้าวได้ตั้งแต่เมื่อราว 2,000 ก่อนคริสตกาล สามารถทำเครื่องมือจากเหล็กได้ตั้งแต่ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าที่อิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียจะแผ่นเข้ามาถึงดินแดนแถบนี้ ในราวปีที่ 100 ก่อนคริสตกาล
หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าพื้นที่หลายส่วนของดินแดนประเทศกัมพูชาในปัจจุบันเริ่มมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่เมื่อราวสหัสวรรษแรกและสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล โดยจัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ ซึ่งผู้คนกลุ่มนี้อาจอพยพมาจากทางพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ในก่อนช่วงคริสต์ศตวรรษแรก ผู้คนในแถบได้มีวิวัฒนาการสู่การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการจัดโครงสร้างของสังคมอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้สามารถพัฒนาทักษะวิทยาการต่าง ๆ ได้ก้าวหน้ากว่ายุคก่อน ๆ เป็นอย่างมาก กลุ่มที่มีพัฒนาการก้าวหน้าที่สุดอาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่ง ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง สามารถเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงปศุสัตว์ได้ นักประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่า ผู้คนกลุ่มนี้ได้ตั้งหลักแหล่งอาศัยก่อนหน้าผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน คือ เวียดนาม ไทย และลาว
ผู้คนกลุ่มนี้อาจจัดอยู่ในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) หรืออย่างน้อยก็มีความสัมพันธ์กับบรรพบุรุษของมนุษย์กลุ่มดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ทั่วไปในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาะแก่งต่าง ๆ ของมหาสมุทรแปซิฟิกในปัจจุบัน ผู้คนเหล่านี้มีความรู้ในงานโลหะ เช่นเหล็กและสำริด โดยเป็นเป็นทักษะที่คิดค้นขึ้นเอง งานวิจัยในปัจจุบันได้ค้นว่า ชาวกัมพูชาในยุคนี้สามารถปรับปรุงสภาพภูมิประเทศมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ โดยปรากฏรูปแบบเป็นพื้นที่รูปวงกลมขนาดใหญ่
=== อาณาจักรฟูนัน ===
อาณาจักรฟูนันเป็นรัฐที่รุ่งเรืองอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 – 6 ที่ตั้งของรัฐอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ฟูนานรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรัฐชลประทานภายในแผ่นดินที่ประชาชนดำรงชีพด้วยการเกษตร โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฟูนานยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายต่างประเทศ ฟูนาน จึงมีรายได้จากการค้าขาย การเดินเรืออีกด้วย
เรื่องราวของรัฐฟูนาน ทราบจากบันทึกของชาวจีนที่เดินทางมาแถบนี้ ได้เขียนเล่าถึงความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ในชุมชนที่มีระเบียบ มีคุณธรรม มีการปกครองระบอบกษัตริย์ มีเมืองต่าง ๆ มาขึ้นด้วยหลายเมือง มีวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนเอง มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ ทั้งในทวีปเอเชียด้วยกัน และโลกตะวันตก ชนชั้นสูงเป็นพวกมาลาโยโพลีนีเซียน ชาวจีนว่าพวกชนชั้นพื้นเมืองของฟูนันหน้าตาน่าเกลียด ตัวเล็ก ผมหยิก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซียน ฟูนานมีประวัติความเป็นมา เริ่มจากการรวมตัวกันของผู้คน เป็นชุมชนเล็กขนาดหมู่บ้าน จากหมู่บ้านพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐ วิธีการพัฒนาจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐมีปัจจัยและขั้นตอนหลายประการ
=== อาณาจักรเจนละ (อาณาจักรอิศานปุระ) ===
ในระหว่าง พ.ศ. 1170-1250 นั้นอาณาจักรเขมรมีกษัตริย์ครองราชย์คือ พระเจ้าภววรมันที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าภววรมันที่ 2 ยุคนี้ได้สร้างศิลปเขมรแบบไพรกเมง ขึ้นระหว่างพ.ศ. 1180-1250 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 นั้นอาณาจักรเจนฬา (เจนละ) นั้นได้แตกแยกเป็นพวกเจนละบกคืออยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้ และพวกเจนละน้ำ อยู่ในดินแดนลาวตอนกลาง พ.ศ. 1250-1350 ยุคนี้ได้มีการสร้างศิลปเขมรแบบกำพงพระขึ้น
อาณาจักรเขมรนั้นล่มสลายมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าปรเมศวร พ.ศ. 1345-1393 พระองค์ได้รวบรวมพวกเจนละบกและพวกเจนละน้ำเป็นอาณาจักรใหม่โดยรับเอาลัทธไศเลนทร์หรือ เทวราชาเข้ามาทำการสถานปนาอาณาจักรใหม่ขึ้น โดยทำการสร้างราชธานีขึ้นใหม่หลายแห่งและสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัยเป็นการใหญ่ ซึ่งมีเหตุการณ์ย้ายราชธานีขึ้นหลายครั้งจนกว่าจะลงตัวที่เมืองหริหราลัยราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรเขมร ต่อมาคือ เมืองยโศธรปุระ และ เมืองนครธมในที่สุด ด้วยเหตุนี้อาณาจักรเขมรสมัยนี้จึงรุ่งเรืองด้วยการสร้างราชธานีขึ้นหลายแห่งและมีปราสาทหินที่เป็นศิลปะเขมรเกิดขึ้นหลายแบบ กล่าวคือ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 นั้นพระองค์ได้ทำการสร้างเมืองอินทรปุระเป็นราชธานี ขึ้นที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงจาม สร้างเมืองหริหราลัยหรือร่อลวย เป็นราชธานี สร้างเมืองอมเรนทรปุระ เป็นราชธานี และสร้างเมืองมเหนทรบรรพต หรือ พนมกุเลนเป็นราชธานี ยุคนี้ได้สร้างศิลปเขมรแบบกุเลนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1370-1420
เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระโอรสได้ครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 หรือ พระเจ้าวิษณุโลก ครองราชย์ พ.ศ. 1393-1420 พระองค์ได้กลับมาใช้เมืองหริหราลัยหรือร่อลอย เป็นราชธานี ต่อมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าอิศวรโลก ครองราชย์ พ.ศ. 1420-1432 ยุคนี้ได้สร้างศิลปะเขมรแบบพระโคขึ้นในพ.ศ. 1420-1440
ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าบรมศิวโลก พระโอรสของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์เป็นกษัตริย์เขมรในพ.ศ. 1432-1443 นั้น พระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครแห่งแรกขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง เมื่อ พ.ศ. 1436 ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือทะเลสาบเมืองเสียมราฐ เมืองนี้คนไทยเรียก เสียมราฐ การสร้างปราสาทหินขึ้นบนเขาพนมบาเค็งนั้น เป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่แผ่อิทธิพลเข้ามายังดินแดนแถบนี้ ซึ่งถูกสมมติขึ้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อนั้น นับเป็นศิลปะเขมรแบบบาเค็ง
เมืองยโศธรปุระ ราชธานีแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาคือ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้ารุทรโลก พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ. 1443-1456 และพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าบรมรุทรโลก พระอนุชาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ. 1456-1468 จึงเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแผ่นดิน
ในที่สุดพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 หรือพระเจ้าบรมศิวบท ซึ่งเป็นน้องเขยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรเขมรใน พ.ศ. 1471-1485 พระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นที่เมืองโฉกการยกยาร์หรือเกาะแกร์ และพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2หรือพระเจ้าพรหมโลก พระโอรสขององค์ได้ครองราชย์ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 1485-1487 ยุคนี้ได้สร้างศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ พ.ศ. 1465-1490 ต่อมาพระเจ้าราเชนทรวรมัน หรือพระเจ้าศิวโลก พระนัดดาของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ครองราชย์ใน พ.ศ. 1487-1511 ได้ย้ายราชธานีมาที่เมืองยโศธรปุระ หรือเมืองพระนครแห่งแรก ยุคนี้ได้สร้างศิลปะเขมรแบบแปรรูป พ.ศ. 1490-1510
เมืองยโศธรปุระ ราชธานีเก่าแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาหลายพระองค์ ได้แก่
- พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 หรือพระบรมวีรโลก ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ครองราชย์ พ.ศ. 1511-1544 สมัยนี้สร้างศิลปะเขมรแบบบันทายศรี พ.ศ. 1510-1550 ขึ้น
- พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 พระนัดดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ครองราชย์ พ.ศ. 1544 สร้างศิลปะเขมรแบบคลังขึ้น พ.ศ. 1510-1560
- พระเจ้าชัยวีรวรมัน ครองราชย์ พ.ศ. 1545 (สวรรคต พ.ศ. 1553)
- พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ. 1545-1593สมัยนี้พระองค์ได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่ และน่าจะมีการสร้างเมืองพระนครขึ้นใหม่เป็นแห่งที่สองเป็นยุคที่สร้างศิลปแบบปาบวนขึ้นใช้ใน พ.ศ. 1560-1630 เมืองพระนครแห่งที่สองนี้ ยังไม่มีรายละเอียด จึงสรุปไม่ได้ว่าอยู่ที่ใด
ในดินแดนพายัพนั้น เดิมหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติลาว ครั้นเมื่อเขมรมีอำนาจขยายอาณาจักรมาสู่ดินแดนพายัพ จึงตั้งเมืองละโว้ให้เจ้านครเขมรคอยดูแล และพระนางจามเทวีพระธิดาของเจ้าผู้ครองเมืองละโว้ได้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงของเขมรละโว้ พระธิดาเจ้าผู้ครองเมืองนี้จึงได้ปกครองพวกลาวทั้งปวงในมณฑลพายัพ เมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) จึงเป็นเมืองลูกหลวงของเขมรละโว้ ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ดูแลดินแดนพายัพ ต่อมาได้ตั้งเมืองนครเขลางค์ (เมืองลำปาง) ขึ้นและปกครองร่วมกัน
=== จักรวรรดิเขมร ===
จักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13
=== ยุคมืดของกัมพูชา ===
ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดนประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
=== อาณานิคมของฝรั่งเศส ===
กัมพูชาตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาอารักขาระหว่างฝรั่งเศส-กัมพูชาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 ในสมัยพระนโรดม โดยสยามพยามยามคัดค้านแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ในช่วงแรก ฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการภายในมากนัก และช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์ของกัมพูชา โดยช่วยปราบกบฏต่าง ๆ จน พ.ศ. 2426 - 2427 หลังจากยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด โดยพยายามลิดรอนอำนาจของกษัตริย์และยกเลิกระบบไพร่ทาส ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนอย่างรุนแรง จนต้องเจรจากับพระนโรดม กษัตริย์ในขณะนั้น ให้ประกาศสันติภาพ และระงับการแทรกแซงกัมพูชา จนกระทั่งพระนโรดมสวรรคต ฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้พระสีสุวัตถ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสเข้าปกครองกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในเวียดนาม โดยปรับปรุงการเก็บภาษี ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวกัมพูชา และยังนำชาวเวียดนามเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในระบบราชการของฝรั่งเศส และเป็นแรงงานทางด้านเกษตรกรรม
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงกลางปี พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนเข้าสู่กัมพูชาแต่ยอมให้รัฐบาลวิชีปกครองดังเดิม รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เรียกร้องดินแดนบางส่วนในลาวและกัมพูชาคืนจากฝรั่งเศสจนนำไปสู่กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสที่เริ่มขึ้นเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในที่สุด ญี่ปุ่นเข้ามาไกล่เกลี่ยโดยที่ไทยได้จังหวัดพระตะบอง เสียมราฐและบางส่วนของจังหวัดสตึงแตรง ยกเว้นปราสาทนครวัดยังอยู่ในเขตแดนของฝรั่งเศส พระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์กษัตริย์กัมพูชาสิ้นพระชนม์หลังกรณีพิพาทนี้ไม่นาน ฝรั่งเศสเลือกพระนโรดม สีหนุขึ้นเป็นกษัตริย์ทั้งที่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมา ญี่ปุ่นได้สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2488 กัมพูชาได้ประกาศเอกราชภายใต้วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น โดยมีพระนโรดม สีหนุเป็นประมุขรัฐ หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ามาในพนมเปญ สถาปนาอำนาจของฝรั่งเศสในกัมพูชาอีก
รัฐบาลฝรั่งเศสอิสระได้ตัดสินใจที่จะรวมอินโดจีนเข้ากับสหภาพฝรั่งเศส ในพนมเปญ พระนโรดม สีหนุพยายามเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องเอกราชที่สมบูรณ์ ในขณะที่กลุ่มต่อต้านที่เรียกตนเองว่าเขมรอิสระ ได้ใช้การสู้รบแบบกองโจรตามแนวชายแดน โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มฝ่ายซ้ายทั้งที่นิยมและไม่นิยมเวียดนาม รวมทั้งกลุ่มเขมรเสรีซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านราชวงศ์ของเซิง งอกทัญด้วย ใน พ.ศ. 2489 ฝรั่งเศสยอมให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองในกัมพูชา และให้มีการเลือกตั้งภายในประเทศ พระนโรดม สีหนุยังคงต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้กัมพูชาเป็นอิสระจากสหภาพฝรั่งเศส จนฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง จึงยอมมอบเอกราชให้แก่กัมพูชา
=== ราชอาณาจักรกัมพูชาหลังเอกราช===
หลังการประชุมเจนีวาได้มีการเลือกตั้งขึ้นในประเทศกัมพูชาใน พ.ศ. 2498 โดยมีคณะกรรมการควบคุมนานาชาติเป็นผู้สังเกตการณ์ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2498 พระนโรดม สีหนุได้ประกาศสละราชสมบัติให้พระบิดาของพระองค์คือพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต และทรงตั้งพรรคการเมืองขึ้นคือพรรคสังคมราษฎร์นิยมหรือระบอบสังคม สมาชิกส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา ซึ่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วยความรุนแรง แต่ก็มีสมาชิกฝ่ายซ้ายภายในพรรค เช่น เขียว สัมพัน ฮู ยวน เพื่อถ่วงดุลกับฝ่ายขวา การเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2498 พรรคสังคมชนะการเลือกตั้งโดยได้ 83% ของที่นั่งทั้งหมดในสภา
นอกจากนั้น พระนโรดม สีหนุ ยังดำเนินนโยบายที่จะดึงฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวากลุ่มต่าง ๆ ให้เข้าร่วมกับระบอบสังคมของพระองค์ และกดดันผู้ที่ไม่ยอมเข้าร่วมกับพระองค์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นต้นไป องค์กรที่ต่อต้านระบอบของพระนโรดม สีหนุถูกผลักดันให้กลายเป็นองค์กรใต้ดิน พรรคที่เป็นเอกเทศของฝ่ายซ้าย เช่น กรมประชาชนกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตี สถานีวิทยุแห่งชาติได้ออกประกาศว่ากรมประชาชนเป็นหุ่นเชิดของเวียดนาม มีการติดโปสเตอร์ต่อต้านกรมประชาชนโดยทั่วไป หนังสือพิมพ์ของฝ่ายต่อต้านพระองค์ เช่น หนังสือพิมพ์ l'Observateur และหนังสือพิมพ์อื่นที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันถูกสั่งปิดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2506 พระนโรดม สีหนุได้ประกาศชื่อของฝ่ายซ้ายจำนวน 34 คน ว่าเป็นพวกขี้ขลาด หลอกลวง ก่อวินาศกรรม หัวหน้ากบฏ และเป็นคนทรยศ ผลที่ตามมาทำให้ขบวนการฝ่ายซ้ายต้องออกจากเมืองหลวงไปตั้งมั่นในชนบท
การดำเนินนโยบายต่างประเทศของพระนโรดม สีหนุ เป็นการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่มีแนวโน้มเป็นปฏิปักษ์กับไทยและเวียดนามใต้ ในขณะที่เป็นมิตรกับจีนและสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม กัมพูชาในสมัยนี้มีกรณีพิพาทกับไทย ทั้งกรณีพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร และการกวาดล้างชาวไทยเกาะกงในจังหวัดเกาะกง การปกครองระบอบสังคมของพระองค์สิ้นสุดลงเมื่อถูกรัฐประหาร โดยลน นล เมื่อ พ.ศ. 2513 ซึ่งได้จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรขึ้นแทน พระนโรดม สีหนุต้องลี้ภัยไปจัดตั้งรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาพลัดถิ่น ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
=== สาธารณรัฐเขมรและสงคราม ===
สงครามกลางเมืองกัมพูชา เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (เขมรแดง) สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) และเวียดกงฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) อีกฝ่ายหนึ่ง
สงครามนี้ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากอิทธิพลและการกระทำของพันธมิตรคู่สงคราม การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของกองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) เป็นไปเพื่อป้องกันฐานที่มั่นทางตะวันออกของกัมพูชา ซึ่งหากเสียไปการดำเนินความพยายามทางทหารในเวียดนามใต้จะยากขึ้น หรัฐประหาร 18 มีนาคม พ.ศ. 2513 ทำให้รัฐบาลนิยมอเมริกาและต่อต้านเวียดนามเถลิงอำนาจ และยุติความเป็นกลางในสงครามเวียดนาม กองทัพเวียดนามเหนือจึงถูกคุกคามจากทั้งรัฐบาลกัมพูชาใหม่ที่ไม่เป็นมิตรทางตะวันตก และกองกำลังสหรัฐและเวียดนามใต้ในเวียดนามทางตะวันออก
หลังจากการสู้รบผ่านไป 5 ปี รัฐบาลฝ่ายสาธารณรัฐเขมรพ่ายแพ้เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 และเขมรแดงได้ประกาศตั้งกัมพูชาประชาธิปไตย ความขัดแย้งนี้แม้จะเป็นการสู้รบในประเทศ แต่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเวียดนาม (พ.ศ. 2502 – 2518) และมีความเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างราชอาณาจักรลาว เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ สงครามกลางเมืองนี้นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา
=== กัมพูชาประชาธิปไตยและเขมรแดง ===
กัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea; Kampuchea démocratique; កម្ពុជាប្រជាធិបតេយ្យ อ่านว่า ก็อมปูเจียประเจียทิปะเต็ย) คือชื่อของประเทศกัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2522 ซึ่งเกิดจากการโค่นล้มรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรของนายพลลอลนอล และได้จัดปกครองในรูปแบบรัฐคอมมิวนิสต์โดยพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาหรือเขมรแดง ในสมัยนี้องค์กรของรัฐบาลจะถูกอ้างถึงในชื่อ "อังการ์เลอ" (អង្គការលើ; องฺคการเลี - องค์การบน หรือ หน่วยเหนือ) ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชานั้น แกนนำของพรรคให้เรียกชื่อว่า "อังการ์ปะเดะวัด" (អង្គការបដិវត្ត; องฺคการปฏิวัตฺติ - องค์การปฏิวัติ) โดยผู้นำสูงสุดของประเทศที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดคือนายพล พต ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของเขมรแดงด้วย
ในปี พ.ศ. 2522 กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาภายใต้การนำของเฮง สัมริน และกองทัพเวียดนามได้รุกเข้ามาทางชายแดนตอนใต้ของกัมพูชาและสามารถโค่นล้มรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยได้สำเร็จ พร้อมทั้งได้จัดการปกครองประเทศใหม่ในชื่อ สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา กองทัพเขมรแดงจึงได้ถอยร่นไปตั้งมั่นในทางภาคเหนือของประเทศและยังคงจัดรูปแบบการปกครองตามระบบของกัมพูชาประชาธิปไตยเดิมต่อไป
=== สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ===
สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา (People's Republic of Kampuchea; PRK; សាធារណរដ្ឋប្រជាមានិតកម្ពុជា สาธารณรฏฺฐปฺรชามานิตฺกมฺพูชา) เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งในกัมพูชาโดยแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นกลุ่มของกัมพูชาฝ่ายซ้ายที่อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มของเขมรแดง ล้มล้างรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของพล พต โดยร่วมมือกับกองทัพของเวียดนาม ทำให้เกิดการรุกรานเวียดนามของกัมพูชา เพื่อผลักดันกองทัพเขมรแดงออกไปจากพนมเปญ มีเวียดนามและสหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรที่สำคัญ
สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากจีน อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่นั่งในสหประชาชาติของประเทศกัมพูชาในขณะนั้นเป็นของแนวร่วมเขมรสามฝ่ายที่จัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งกลุ่มเขมรแดงของพล พตเข้าร่วมกับกลุ่มที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์อีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของนโรดม สีหนุ และซอน ซาน อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้ประกาศเป็นรัฐบาลของกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2522-2536 โดยมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่จำกัด
สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกัมพูชา (State of Cambodia (SOC); រដ្ឋកម្ពុជា) ในช่วงสี่ปีสุดท้าย เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนานาชาติ ในขณะเดียวกันได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงระบบจากระบบรัฐเดียวไปสู่การฟื้นฟูราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ในช่วง พ.ศ. 2522 - 2534 โดยนิยมลัทธิมากซ์-เลนินแบบสหภาพโซเวียต การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศกำลังอ่อนแอ จากการทำลายล้างของระบอบเขมรแดง และเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนามที่เข้ามาแทรกแซงทางเศรษฐกิจ จนรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเป็นรัฐที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่ก็ฟื้นฟูและสร้างชาติกัมพูชาได้ใหม่
=== กัมพูชายุคใหม่ ===
หลังการล่มสลายของกัมพูชาประชาธิปไตย กัมพูชาตกอยู่ภายใต้การรุกรานของเวียดนามและรัฐบาลที่นิยมฮานอยซึ่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา สงครามกลางเมืองหลัง พ.ศ. 2523 เป็นการสู้รบระหว่างกองทัพประชาชนปฏิวัติกัมพูชาของรัฐบาลกับแนวร่วมเขมรสามฝ่ายซึ่งถือเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของกลุ่มต่างๆสามกลุ่มคือ พรรคฟุนซินเปกของพระนโรดม สีหนุ พรรคกัมพูชาประชาธิปไตยหรือเขมรแดง และแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร มีการเจรจาสันติภาพตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และนำไปสู่การประชุมสันติภาพที่ปารีสเพื่อสงบศึกใน พ.ศ. 2534 ในที่สุดมีการจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติใน พ.ศ. 2536 เพื่อเริ่มต้นฟื้นฟูประเทศ พระนโรดม สีหนุกลับมาเป็นกษัตริย์อีกครั้ง มีการจัดตั้งรัฐบาลผสม หลังจากมีการเลือกตั้งโดยปกติใน พ.ศ. 2541 การเมืองมีความมั่นคงขึ้น หลังการล่มสลายของเขมรแดง ใน พ.ศ. 2541
===การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์===
ในปี พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุได้รับอัญเชิญให้เสด็จกลับกัมพูชาและได้มีการฟื้นฟูในฐานะพระมหากษัตริย์ของกัมพูชา แต่อำนาจทั้งหมดอยู่ในมือของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นหลังจากการเลือกตั้งที่ได้รับการสนับสนุนจาก UNTAC เสถียรภาพที่เกิดขึ้นหลังจากความขัดแย้งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดยการทำรัฐประหารซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนร่วมกับพรรคที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ในรัฐบาล หลังจากที่รัฐบาลสามารถรักษาเสถียรภาพภายใต้การบริหารของสมเด็จฮุนเซนแล้วกัมพูชาก็ได้รับการยอมรับเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาความพยายามในการฟื้นฟูได้ก้าวหน้าและนำไปสู่ความมั่นคงทางการเมืองผ่านประชาธิปไตยระบบการเมืองหลายพรรคภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้ว่าการปกครองของฮุนเซนจะถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการคอรัปชั่น, พลเมืองกัมพูชาส่วนใหญ่ในช่วงปี 2000 ยังคงได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล การสัมภาษณ์ชาวเขมรในชนบทในปี 2551 แสดงให้เห็นว่าสถานะที่มั่นคงต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
== การเมืองการปกครอง ==
สภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของสมเด็จฮุน เซน และพรรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC) ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญ ๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาพิพากษาโทษ เป็นต้น
กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพูชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพูชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณชนและนานาชาติ เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค อย่างไรก็ดี ในด้านความมั่นคง มีปรากฏการณ์ใหม่ คือ ได้เกิดกลุ่มติดอาวุธที่มีวัตถุประสงค์จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ที่สำคัญคือ Cambodian Freedom Fighters (CFF) ซึ่งมีชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันเป็นหัวหน้า กลุ่มดังกล่าวได้ก่อการร้ายขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 แต่รัฐบาลกัมพูชาสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิพากษาตัวผู้กระทำผิด
===รัฐบาล===
นายกรัฐมนตรีกัมพูชาถือเป็นหัวหน้าฝ้ายบริการในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ส่วนองค์พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา (ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี) ทรงเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำและโดยความเห็นชอบของรัฐสภา นายกรัฐมนตรีและผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะใช้อำนาจบริหารประเทศ
ในปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีแห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชามีทั้งสิ้น 36 คน โดยมี สมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแณต เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 36 แห่งพระราชอาณาจักร ต่อจากสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน
=== พระมหากษัตริย์ ===
สถาบันพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ องค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขที่เคารพสักการะ ไม่มีพระราชอำนาจปกครองโดยตรง ทรงยึดถือหลัก "ให้ทรงปกเกล้า แต่ไม่ทรงปกครอง" คล้ายกับระบบพระมหากษัตริย์ในสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ อย่างเป็นทางการและเป็นสัญลักษณ์แห่งสัญลักษณ์ของสันติภาพ เสถียรภาพและสวัสดิภาพของชาติและชาวเขมร ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของกัมพูชา
สถาบันพระมหากษัตริย์กัมพูชาถือเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในทวีปเอเชียรองจากญี่ปุ่น (จักรพรรดิญี่ปุ่น) พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 114 (รัชกาลที่ 114) ทรงสืบพระราชสันตติวงศ์มาจากราชวงศ์วรมัน
==== การสืบราชสันตติวงศ์ ====
ระบบกษัตริย์ของกัมพูชาไม่เหมือนกับระบบกษัตริย์ส่วนใหญ่ในประเทศอื่น ๆ ที่ราชบัลลังก์จะตกไปสู่ผู้มีลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับถัดไป (ผู้ที่มีศักดิ์สูงสุดในราชวงศ์ หรือพระราชโอรสองค์โตของกษัตริย์พระองค์ก่อน เป็นต้น) และพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถเลือกผู้ที่จะมาสืบราชสันตติวงศ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นั้นคือ กรมปรึกษาราชบัลลังก์ (Royal Council of the Throne) ซึ่งมีสมาชิกดังนี้
นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ประธานรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ประธานพฤฒสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
รองประธานรัฐสภาคนที่หนึ่ง
รองประธานรัฐสภาคนที่สอง
รองประธานพฤฒสภาคนที่หนึ่ง
รองประธานพฤฒสภาคนที่สอง
สมเด็จพระสังฆราชในศาสนาพุทธ ฝ่ายคณะสงฆ์มหานิกาย
สมเด็จพระสังฆราชในศาสนาพุทธ ฝ่ายคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
กรมปรึกษาราชบัลลังก์จะจัดการประชุมในสัปดาห์ที่พระมหากษัตริย์สวรรคตหรือไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ต่อไป และเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จากรายชื่อผู้มีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ และเป็นสมาชิกราชวงศ์
===ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ===
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของพระราชอาณาจักรกัมพูชาได้ถูกบริหารจัดการโดยกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาภายใต้การดูแลของ ฯพณฯ ท่านปรัก สุคน
พระราชอาณาจักรกัมพูชายังเป็นประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ, ธนาคารโลก, และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นประเทศสมาชิกของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB), สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), และได้เข้าร่วมองค์การการค้าโลก ในปี ค.ศ. 2004 และในปี ค.ศ. 2005 กัมพูชาได้เข้าร่วมประชุมพิธีการสถาปนา การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่ได้จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย
กัมพูชาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับหลายประเทศและได้มีสถานทูตต่างประเทศ 20 แห่งในประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียหลายประเทศและประเทศที่มีบทบาทสำคัญในระหว่างการเจรจาสันติภาพที่ปารีสรวมถึงสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, แคนาดา, จีน, สหภาพยุโรป (EU),ญี่ปุ่นและรัสเซีย อันเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทำให้องค์กรการกุศลต่าง ๆ ได้ช่วยเหลือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม,เศรษฐกิจและวิศวกรรมโยธา
ในขณะที่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ได้ผ่านไปแล้วข้อพิพาทชายแดนระหว่างกัมพูชาและประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีอยู่ มีความขัดแย้งในหมู่เกาะนอกชายฝั่งและบางส่วนของเขตแดนกับเวียดนามและเขตแดนทางทะเลที่ไม่ได้กำหนด กัมพูชาและไทยก็มีปัญหาความขัดแย้งชายแดนด้วยการปะทะทางการทหารในกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชาในปี ค.ศ. 2008 ที่เกิดขึ้นใกล้บริเวณปราสาทพระวิหาร นำไปสู่การเสื่อมสภาพในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย อย่างไรก็ตามดินแดนพิพาทส่วนใหญ่เป็นของกัมพูชา แต่การรวมกันของไทยที่ไม่เคารพกฎหมายระหว่างประเทศการสร้างกองทหารของไทยในพื้นที่และการขาดทรัพยากรสำหรับกองทัพกัมพูชาได้ทิ้งสถานการณ์ไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962
===กองทัพ===
กองทัพพระราชอาณาจักรกัมพูชา มีชื่อทางการว่า (กองยุทธพลเขมรภูมินท์) ประกอบไปด้วย กองทัพบกกัมพูชา, กองทัพเรือกัมพูชา, กองทัพอากาศกัมพูชาและกองราชอาวุธหัตถ์ จัดตั้งโดยกระทรวงกลาโหมแห่งชาติพระราชอาณาจักรอยู่ภายใต้คำสั่งของ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาและมีองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหมุนีทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพและมีนายกรัฐมนตรีสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
การริเริ่มโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ได้รับการปรับปรุงในต้นปี ค.ศ. 2000 เป็นการนำเสนอที่สำคัญสำหรับการปรับโครงสร้างองค์กรทหารกัมพูชา สิ่งนี้เห็นว่ากระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานย่อยสามแห่งที่รับผิดชอบด้านโลจิสติกส์และการเงินวัสดุและบริการด้านเทคนิคและบริการด้านการป้องกันภายใต้กองบัญชาการสูงสุด (HCHQ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคือ สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ เตียบัญได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979
ในปี ค.ศ. 2010 กองกำลังทหารกัมพูชาประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่ประจำการประมาณ 102,000 คน (200,000 กองพลสำรอง) ยอดการใช้จ่ายทางทหารของกัมพูชาอยู่ที่ 3% ของ GDP ของประเทศ จำนวนกำลังพลทหารของกองราชอาวุธหัตถ์อยู่ที่ 7,000 คน หน้าที่ด้านกิจการภายในพระราชอาณาจักรของกองทัพ ได้แก่ การจัดหาความปลอดภัยและความสงบสุขของประชาชน, การตรวจสอบและป้องกันอาชญากรรมองค์กรการก่อการร้ายและกลุ่มความรุนแรงอื่น ๆ ; เพื่อปกป้องทรัพย์สินของรัฐและเอกชน เพื่อช่วยเหลือและช่วยเหลือพลเรือนและกองกำลังฉุกเฉินอื่น ๆ ในกรณีฉุกเฉิน, ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและความขัดแย้งทางอาวุธ
สมเด็จฮุนเซนได้สะสมอำนาจอย่างมากในกัมพูชารวมถึง "กองกำลังป้องกัน" ที่ดูเหมือนว่าจะเทียบเคียงความสามารถของหน่วยทหารปกติของประเทศ ซึ่งมักถูกใช้โดยฮุนเซนเพื่อระงับการต่อต้านทางการเมือง พระราชอาณาจักรกัมพูชายังได้ลงนามในสนธิสัญญาขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์
== ภูมิศาสตร์ ==
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม
กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย
เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
=== แม่น้ำและทะเลสาบ ===
แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร
แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร
แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระมหาราชวัง กรุงพนมเปญ ความยาว 80 กิโลเมตร
ทะเลสาบโตนเลสาบ อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด
=== ภูเขา ===
ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น
=== ป่าไม้ ===
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่นส่วนในลาวนั้นก็ตกกำลังอยู่สภาวะเดียวกัน
=== ภูมิอากาศ ===
มีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุด เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
เมืองหลวง (ราชธานี) และจังหวัด (เขต) เป็นเขตการปกครองระดับแรกสุดของประเทศกัมพูชา แบ่งเป็น 25 จังหวัด (รวมเมืองหลวง) แต่ละจังหวัดจะแบ่งเป็นเทศบาลและอำเภอ ซึ่งเป็นเขตการปกครองระดับที่สอง มีทั้งหมด 159 อำเภอ และ 26 เทศบาล แต่ละอำเภอและเทศบาลแบ่งเป็นตำบล และแต่ละตำบลแบ่งเป็นหมู่บ้าน
!จังหวัดของประเทศกัมพูชา600px
|}
== เศรษฐกิจ ==
พระราชอาณาจักรกัมพูชา ใช้สกุลเงิน เรียลกัมพูชา เป็นหน่วยสกุลเงินประจำชาติ
เศรษฐกิจในพระราชอาณาจักรได้รับการชี้นำและบริหารโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและพระคลัง คือ ดร. หลวงเศรษฐการ อุน พรมนนิโรธ อุนพรมนนิโรธได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013
ธนาคารแห่งชาติพระราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นธนาคารกลางของพระราชอาณาจักรและให้การกำกับดูแลภาคการธนาคารของประเทศและรับผิดชอบส่วนหนึ่งในการเพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศ ระหว่างปี ค.ศ. 2010 ถึง ค.ศ. 2012 จำนวนธนาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมและสถาบันการเงินขนาดเล็กเพิ่มขึ้นจาก 31 หน่วยงานที่ครอบคลุมเป็นสถาบันมากกว่า 70 แห่งซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การเติบโตในภาคการธนาคารและการเงินของกัมพูชา
เศรษฐกิจในพระราชอาณาจักรกัมพูชาที่สำคัญประกอบไปด้วย
เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค
การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือโดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
การทำเหมืองแร่ ยังไม่ค่อยสำคัญ
อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า
ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ
แต่การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาได้เติบโตอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะในช่วงปี 2540-2541 กัมพูชาต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนตัวออกจากประเทศกัมพูชา ส่งผลให้การฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากปี 2542 สถานการณ์การเมืองกัมพูชาเริ่มมีความมั่นคงพอสมควร และนับเป็นปีแรกที่กัมพูชามีสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในหมดไป ปัจจุบัน กัมพูชากำลังพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2543 - กันยายน 2548) ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในเกณฑ์ร้อยละ 6-7 ต่อปี ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาในอดีตที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ดังนี้
สินค้าเกษตรกรรมถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศประมาณร้อยละ 43 ของ GDP มาจากข้าวและปศุสัตว์ ส่วนการประมงและป่าไม้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 สินค้าเกษตรที่ส่งออกได้แก่ข้าว ไม้ และยางพารา รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ทั่วไปกัมพูชามีสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ไม้ ยางพารา ข้าว และปลา สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บุหรี่ ทอง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องยนต์
เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2546 คาดการณ์โดย The Economist Intelligence Unit (EIU) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 5.0 % และ International Monetary Fund (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจขยายตัว 4.7 % เทียบกับที่ขยายตัวราว 5.5 % ในปี 2545 ปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ได้แก่ รายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การก่อความไม่สงบ โดยมีการเผาสถานทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เกิดปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง (SARS) ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในกัมพูชา (หลังการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 ที่ผ่านมา) ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัยและ ปัญหาการเมืองที่ยังคงไร้เสถียรภาพ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ถึงแม้ว่าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 สภาแห่งชาติของกัมพูชา (The National Assembly) ได้อนุมัติการออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการลงทุนฉบับลงวันที่ 5 สิงหาคม 2534 (Law on the Amendment to the Law on Investment of the Kingdom of Cambodia) เพื่อเอื้อสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ ส่วนภาคธุรกิจก่อสร้างยังคงอยู่ในภาวะซบเซา
ปี 2547 EIU และ IMF คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 % - 5.8 % ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 5.5 % - 6.0 % เนื่องจากรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับเมื่อเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศเพิ่มโควตานำเข้าสิ่งทอสำหรับปี 2547 ให้กัมพูชาเพิ่มขึ้นอีก 14 % ซึ่งคาดว่าจะทำให้กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และภาคธุรกิจก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และจากการที่กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิก ใหม่ของ WTO อย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ทำให้กัมพูชามีพันธกรณีที่ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาเพื่อส่งออก เนื่องจากกัมพูชายังมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อ EIU และ IMF คาดว่าปี 2547 กัมพูชาจะมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 % - 3.5 % จากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยราว 1.3 % - 2.6 % ในปี 2546 เนื่องจากราคาอาหารในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก (ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, 2547)
=== การท่องเที่ยว ===
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้มาเยือนจากต่างประเทศในปี 2018 มีจำนวนถึงหกล้านคน เพิ่มขึ้นสิบเท่านับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 การท่องเที่ยวกระตุ้นการจ้างงานกว่า 26% ในประเทศ ซึ่งคิดเป็น 2.5 ล้านอัตราสำหรับชาวกัมพูชา นอกจากพนมเปญและนครวัดแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ เมืองพระสีหนุทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีชายหาดยอดนิยมหลายแห่ง และพระตะบองทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งทั้งสองแห่งนี้เป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับนักเดินทางแบ็คแพ็คซึ่งเป็นส่วนสำคัญของผู้มาเยือนกัมพูชา พื้นที่รอบ ๆ กำปอตและแกบรวมถึงสถานีโบกอร์ฮิลล์ก็เป็นที่สนใจของผู้มาเยือนเช่นกัน การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1993 ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในปี 2018 ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน รายรับจากการท่องเที่ยวเกิน 4.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018 คิดเป็นเกือบสิบเปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของราชอาณาจักร อุทยานประวัติศาสตร์นครวัดในจังหวัดเสียมราฐ ชายหาดในพระสีหนุ เมืองหลวงพนมเปญ และกาสิโน 150 แห่งของกัมพูชา (เพิ่มขึ้นจากเพียง 57 แห่งในปี 2014) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
== ประชากร ==
ในปี พ.ศ. 2556 ประเทศกัมพูชามีประชากร 15,205,539 คน กว่าร้อยละ 90 มีเชื้อสายเขมรและพูดภาษาเขมรอันเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศได้แก่ชาวเวียดนาม ร้อยละ 5 และชาวจีน ร้อยละ 1 นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายไทยในจังหวัดเกาะกง ชาวจามในจังหวัดกำปงจามและจังหวัดกระแจะ ชาวลาวในจังหวัดรัตนคีรีและจังหวัดสตึงแตรง และชนเผ่าทางตอนเหนือต่อชายแดนประเทศลาวที่เรียกรวม ๆ ว่า แขมรเลอ
อัตราการเกิดของประชากรเท่ากับ 25.4 ต่อ 1,000 คน อัตราการเติบโตของประชากรเท่ากับ 1.7% สูงกว่าของประเทศไทย, เกาหลีใต้ และอินเดียอย่างมีนัยยะสำคัญ
=== ภาษา ===
ภาษาราชการของกัมพูชาคือ ภาษาเขมร อันเป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร อันเป็นภาษากลุ่มย่อยของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสในกลุ่มชาวเขมรผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาษาราชการหลักของอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ปัจจุบันภาษาฝรั่งเศสยังถูกจัดอยู่ในการเรียนการสอนในโรงเรียนบางแห่ง และบางมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลฝรั่งเศสให้การสนับสนุน ซึ่งภาษาฝรั่งเศสได้ตกทอดจากยุคอาณานิคมมาถึงในยุคปัจจุบันและยังมีใช้ในรัฐบาลบางวาระโดยเฉพาะในศาล
ในอดีตปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลกัมพูชาเคยประกาศห้ามมิให้บุคคลเชื้อสายไทยพูดภาษาไทย และห้ามมีหนังสือไทยไว้ในบ้าน หากเจ้าหน้าที่ค้นพบจะถูกทำลายให้สิ้นซาก โดยเฉพาะหากพูดภาษาไทยจะถูกปรับคำละ 25 เรียล และเพิ่มขึ้นเป็น 50 เรียลในปีต่อมา เพื่อตอบโต้รัฐบาลไทยในคดีเขาพระวิหาร
=== ศาสนา ===
ประเทศกัมพูชา มีศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ที่มีศาสนิกชนกว่าร้อยละ 95 ถือเป็นศาสนาที่แข็งแกร่งและเป็นที่แพร่หลายในทุกจังหวัด มีอารามในพุทธศาสนา 4,392 แห่งทั่วประเทศ ชาวเขมรมีความผูกพันกับพุทธศาสนามากทั้งประเพณีและวัฒนธรรม แม้ศาสนาพุทธรวมถึงศาสนาอื่น ๆ จะถูกยกเลิกในช่วงปี ค.ศ. 1970 แต่ก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ในกลุ่มชนเชื้อสายจีน ยังมีการนับถือควบคู่กันระหว่างมหายานกับลัทธิเต๋า
ศาสนาอิสลาม เป็นที่ยอมรับนับถือในชุมชนที่มีเชื้อสายจามและมลายู มีศาสนิกชนราว 300,000 คน ในจังหวัดกำปงจามมีโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามจำนวนหลายแห่ง ส่วนศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ตามด้วยนิกายโปรเตสแตนต์ มีชาวคาทอลิกราว 20,000 คนหรือร้อยละ 0.15 นอกจากนี้ยังมีนิกายอื่น ๆ เช่น แบปทิสต์ เมทอดิสต์ พยานพระยะโฮวา และมอรมอน
=== การศึกษา ===
กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬา มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการศึกษาระดับชาติในประเทศกัมพูชา ระบบการศึกษาของกัมพูชามีการกระจายอำนาจอย่างมาก โดยมีการดูแลในสามระดับได้แก่ ส่วนกลาง ระดับจังหวัด และเขต ซึ่งรับผิดชอบในการบริหารจัดการ รัฐธรรมนูญของกัมพูชาประกาศใช้การศึกษาภาคบังคับฟรีเป็นเวลาเก้าปี รับรองสิทธิสากลในการศึกษาคุณภาพขั้นพื้นฐาน สำมะโนกัมพูชาปี 2019 ประมาณการว่า 88.5% ของประชากรเป็นผู้รู้หนังสือ (91.1% ของผู้ชายและ 86.2% ของผู้หญิง) เยาวชนชาย (15–24 ปี) มีอัตราการอ่านออกเขียนได้ 89% เทียบกับ 86% ในผู้หญิง
=== สุขภาพ ===
ชาวกัมพูชามีอายุขัยเฉลี่ย 75 ปีในปี 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 55 ปี การดูแลสุขภาพมีทั้งภาครัฐและเอกชน และการวิจัยพบว่าความไว้วางใจในผู้ให้บริการด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงการรับบริการดูแลสุขภาพในชนบทกัมพูชา รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มคุณภาพการดูแลสุขภาพในประเทศโดยสร้างความตระหนักเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรีย และโรคอื่น ๆอัตราการเสียชีวิตของทารกในกัมพูชาลดลงจาก 86 ต่อการเกิด 1,000 คนในปี 1998 เป็น 24 ในปี 2018 ในจังหวัดที่ประขากรมีสุขภาพที่แย่ที่สุด รัตนคีรี พบว่ามี 22.9% ของเด็กเสียชีวิตก่อนอายุห้าปี กัมพูชาเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีทุ่นระเบิดมากที่สุดในโลก ตามการประมาณการ ทุ่นระเบิดที่ยังไม่ได้ระเบิดมีส่วนทำให้พลเรือนเสียชีวิตกว่า 60,000 ราย และบาดเจ็บหรือบาดเจ็บอีกหลายพันคนตั้งแต่ปี 1970 จำนวนผู้เสียชีวิตจากทุ่นระเบิดที่รายงานลดลงอย่างมากจาก 800 คนในปี 2005 เป็น 111 คนในปี 2013 (เสียชีวิต 22 คนและบาดเจ็บ 89 คน) ผู้รอดชีวิตจากทุ่นระเบิดมักจะต้องตัดแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือมากกว่านั้น รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าประเทศจะปลอดจากทุ่นระเบิดภายในปี 2020 แต่ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงเด็กกำพร้าและจำนวนผู้พิการทางร่างกาย คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกัมพูชาไปอีกหลายปี
== วัฒนธรรม ==
ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมกัมพูชา ได้แก่ พุทธศาสนานิกายเถรวาท ศาสนาฮินดู ลัทธิล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส วัฒนธรรมอังกอร์ และโลกาภิวัตน์สมัยใหม่ กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์กัมพูชามีหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมกัมพูชา วัฒนธรรมกัมพูชาไม่เพียงแต่รวมวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยในที่ราบลุ่มเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวเขากว่า 20 เผ่าที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เรียกขานว่าแขมรเลอ (Khmer Loeu) ซึ่งเป็นคำที่สมเด็จนโรดม สีหนุ บัญญัติขึ้นเพื่อส่งเสริมความสามัคคีระหว่างชาวเขาและชาวลุ่มน้ำ ชาวกัมพูชาในชนบทสวมผ้าพันคอแบบกรอมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเสื้อผ้ากัมพูชา
ซัมเปี๊ยะห์ เป็นคำทักทายแบบกัมพูชาดั้งเดิมหรือวิธีการแสดงความเคารพต่อผู้อื่น วัฒนธรรมกัมพูชาที่พัฒนาและเผยแพร่โดยอาณาจักรเขมรมีรูปแบบการฟ้อนรำ สถาปัตยกรรม และประติมากรรมที่โดดเด่น ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนกับลาวและไทยที่อยู่ใกล้เคียงตลอดประวัติศาสตร์ นครวัด (นครวัด แปลว่า "เมือง" และวัด แปลว่า "วัด") เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมเขมรที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดในสมัยนครวัด พร้อมด้วยวัดอื่น ๆ อีกหลายร้อยแห่งที่มีการค้นพบรอบ ๆ ภูมิภาค
บุญอมตูก (เทศกาลน้ำและพระจันทร์ของกัมพูชา) การแข่งขันพายเรือประจำปีเป็นเทศกาลประจำชาติกัมพูชาที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุด จัดขึ้นในช่วงปลายฤดูฝนเมื่อแม่น้ำโขงเริ่มจมกลับสู่ระดับปกติทำให้แม่น้ำโตนเลสาบไหลย้อนกลับได้ ประมาณ 10% ของประชากรกัมพูชาเข้าร่วมกิจกรรมนี้ในแต่ละปีเพื่อขอบคุณดวงจันทร์ ชมดอกไม้ไฟ รับประทานอาหาร และเข้าร่วมการแข่งเรือในบรรยากาศแบบงานรื่นเริง กีฬายอดนิยม ได้แก่ ฟุตบอล เตะทราย และหมากรุก ตามปฏิทินสุริยคติคลาสสิกของอินเดียและพุทธศาสนานิกายเถรวาท ปีใหม่กัมพูชาเป็นวันหยุดสำคัญที่จัดขึ้นในเดือนเมษายน
ทุกปี ชาวกัมพูชาจะไปเยี่ยมชมเจดีย์ทั่วประเทศเพื่อเฉลิมฉลองวันบรรพบุรุษ ในช่วงเทศกาล 15 วัน ผู้คนจะสวดมนต์และอาหารให้กับวิญญาณของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว สำหรับชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ เป็นเวลาที่ต้องระลึกถึงญาติพี่น้องซึ่งเสียชีวิตระหว่างการปกครองของเขมรแดง ค.ศ. 1975-1979
=== อาหาร ===
ข้าวเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลาจากแม่น้ำโขงและโตนเลสาบก็เป็นส่วนสำคัญของอาหารเช่นกัน อุปทานของปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาสำหรับอาหารและการค้า ณ ปี 2000 คือ 20 กิโลกรัม (44 ปอนด์) ต่อคนหรือ 2 ออนซ์ต่อวันต่อคน ปลาบางชนิดสามารถถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้ได้นานขึ้น อาหารของกัมพูชาประกอบด้วยผลไม้เมืองร้อน ซุป และก๋วยเตี๋ยว ส่วนผสมหลักคือ มะกรูด ตะไคร้ กระเทียม น้ำปลา ซีอิ๊ว มะขาม ขิง ซอสหอยนางรม กะทิ และพริกไทยดำ อาหารบางอย่าง ได้แก่ น้ำบาลโชค (នំបញ្ចុក), ปลาอามก (អាម៉ុកត្រី) และ aping (អាពីង) ได้รับความนิยม กัมพูชายังขึ้นชื่อในด้านการมีอาหารข้างทางที่หลากหลายซึ่งได้รับความนิยมสูง อิทธิพลของชาวฝรั่งเศสที่มีต่ออาหารกัมพูชา ได้แก่ แกงเผ็ดกัมพูชากับขนมปังบาแกตต์ปิ้ง ขนมปังบาแกตต์ที่ปิ้งแล้วจุ่มลงในแกงและรับประทาน แกงเผ็ดกัมพูชายังนิยมทานกับข้าวและวุ้นเส้น อาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กุ้ยเตียว ก็คือ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำหมูใส่กระเทียมเจียว หอมใหญ่ หัวหอมใหญ่ ที่อาจมีท็อปปิ้งต่าง ๆ เช่น ลูกชิ้น กุ้ง ตับหมู หรือผักกาดหอม พริกไทยกำปอตขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในโลกและมักทานพร้อมกับปูและปลาหมึกในร้านอาหารริมแม่น้ำ
ชาวกัมพูชาดื่มชาในปริมาณมาก ซึ่งปลูกในจังหวัดมณฑลคีรีและรอบ ๆ te krolap เป็นชาที่เข้มข้น ทำจากการใส่น้ำและใบชาจำนวนมากลงในแก้วขนาดเล็ก วางจานรองไว้ด้านบน แล้วพลิกสิ่งทั้งหมดกลับหัวเพื่อชง ก่อนจะจะถูกเทลงในถ้วยอีกใบและเติมน้ำตาลในปริมาณมาก แต่ไม่ใส่นม ชามะนาว te kdau kroch chhma ทำจากชาจีนฝุ่นแดงและน้ำมะนาว ให้ความสดชื่นทั้งร้อนและเย็น และโดยทั่วไปจะเสิร์ฟพร้อมกับน้ำตาลในปริมาณมาก ในส่วนของกาแฟ เมล็ดกาแฟมักจะนำเข้าจากประเทศลาวและเวียดนาม แม้ว่ากาแฟที่ผลิตในประเทศจากจังหวัดรัตนคีรีและจังหวัดมณฑุลคีรีจะสามารถพบได้ในบางพื้นที่ กาแฟกัมพูชามักคั่วด้วยเนยและน้ำตาล รวมทั้งส่วนผสมอื่น ๆ ตั้งแต่เหล้ารัมไปจนถึงไขมันหมู ทำให้เครื่องดื่มมีกลิ่นแปลก ๆ แต่เป็นเอกลักษณ์ กัมพูชามีโรงเบียร์อุตสาหกรรมหลายแห่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดพระสีหนุและพนมเปญ นอกจากนี้ยังมีโรงเบียร์ขนาดเล็กจำนวนมากในพนมเปญและเสียมราฐ ระหว่างปี 2014 ถึงปี 2018 จำนวนโรงเบียร์คราฟต์เพิ่มขึ้นจากสองเป็นเก้าแห่ง ณ ปี 2019 มีโรงเบียร์หรือโรงเบียร์ขนาดเล็ก 12 แห่งในกัมพูชา ไวน์ข้าวเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยอดนิยม และมักจะผสมกับผลไม้หรือสมุนไพร
=== กีฬา ===
ฟุตบอล เป็นหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ฟุตบอลถูกเผยแพร่ในกัมพูชาโดยชาวฝรั่งเศสและกลายเป็นที่นิยมในหมู่ชาวบ้านทั่วไป ฟุตบอลทีมชาติกัมพูชาครองอันดับที่ 4 ในเอเชียนคัพ 1972 แต่การพัฒนาได้ชะลอตัวลงตั้งแต่เกิดสงครามกลางเมือง กีฬาตะวันตก เช่น บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เพาะกาย กีฬาฮอกกี้ รักบี้ยูเนี่ยน กอล์ฟ และเบสบอล กำลังได้รับความนิยม วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศ กีฬาพื้นเมืองรวมถึงการแข่งเรือแบบดั้งเดิม รวมถึง การแข่งควาย Pradal Serey มวยปล้ำแบบดั้งเดิมของเขมร และ Bokator กัมพูชาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ในกีฬาขี่ม้า
=== ศิลปะการแสดง ===
การเต้นรำของกัมพูชาสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก: นาฏศิลป์ท้องถิ่น นาฏศิลป์พื้นบ้าน และนาฏศิลป์ทั่วไป ต้นกำเนิดที่แท้จริงของนาฏศิลป์กัมพูชาเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ นักวิชาการพื้นเมืองส่วนใหญ่สันนิษฐานว่าการเต้นรำสมัยใหม่ย้อนไปในสมัยของพระนคร โดยเห็นความคล้ายคลึงกันในการแกะสลักของวัดในสมัยนั้น ขณะที่คนอื่น ๆ เชื่อว่ารูปแบบการรำสมัยใหม่ได้เรียนรู้ (หรือเรียนรู้ใหม่) จากนักเต้นในราชสำนักสยามใน ค.ศ. 1800 นาฏศิลป์เขมรเป็นรูปแบบของศิลปะการแสดงที่มีสไตล์ซึ่งจัดตั้งขึ้นในราชสำนักของกัมพูชาซึ่งจัดแสดงเพื่อความบันเทิงและเพื่อวัตถุประสงค์ในพิธีการ การเต้นรำเป็นกิจกรรมโดยชายและหญิงที่แต่งกายอย่างประณีตและได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีในโอกาสสาธารณะ หรือเพื่อสร้างเรื่องราวดั้งเดิมและบทกวีมหากาพย์ เช่น ละโคนโขล ที่มักนำบทในวรรณคดีอย่าง เรียมเกร์ เวอร์ชันเขมรของรามเกียรติ์มาละเล่น โดยมักรู้จักกันอย่างเป็นทางการในชื่อ ระบำพระราชทรัพย์ (របាំព្រះរាជទ្រព្ "โรงละครแห่งความมั่งคั่งของราชวงศ์") ถูกกำหนดให้เป็นเพลงของวงดนตรีพร้อมด้วยนักร้องนำ นอกจากนี้นาฏศิลป์ในราชสำนักกัมพูชายังมีการแสดงอย่างระบำเทพอัปสรา ที่นักแสดงมักจะแต่งกายอย่างนางอัปสรในยุคจักรวรรดิเขมรโบราณ
ส่วนการเต้นรำพื้นบ้านกัมพูชามักแสดงกับดนตรีมาโฮริ เป็นการเฉลิมฉลองกลุ่มวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ของกัมพูชา การเต้นรำพื้นบ้านมีถิ่นกำเนิดในหมู่บ้านและส่วนใหญ่ทำโดยชาวบ้าน การเต้นรำเข้าสังคมคือการเต้นรำของแขกในงานเลี้ยง งานเลี้ยง หรืองานสังสรรค์ทางสังคมอื่น ๆ ที่ไม่เป็นทางการ การเต้นรำทางสังคมแบบดั้งเดิมของกัมพูชามีความคล้ายคลึงกับการเต้นรำของประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างเช่น รำวงร่มวงษ์ รวมทั้งศรวรรณและลำลีฟ การเต้นรำยอดนิยมของชาวตะวันตกสมัยใหม่ ได้แก่ Cha-cha, Bolero และ Madison ก็มีอิทธิพลต่อสังคมกัมพูชาเช่นกัน
=== ดนตรี ===
ดนตรีกัมพูชาดั้งเดิมมีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรเขมร ระบำของราชวงศ์ เช่น ระบำอัปสราเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมกัมพูชา เช่นเดียวกับระบำ Mahori รูปแบบดนตรีในชนบท ได้แก่ Chapei และ Ayai เป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นเก่าและส่วนใหญ่มักจะเป็นการแสดงเดี่ยวของนักดนตรีชายด้วยกีตาร์กัมพูชา (chapei) เนื้อเพลงมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับศีลธรรมหรือศาสนา
ดนตรียอดนิยมของกัมพูชาแสดงด้วยเครื่องดนตรีสไตล์ตะวันตกหรือผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีดั้งเดิมและดนตรีตะวันตก เพลงแดนซ์แต่งขึ้นในสไตล์เฉพาะสำหรับการเต้นรำทางสังคม เพลงของนักร้องประสานเสียง สิน ศรีสมุทร, รส เสรีสุทธา และ แปน รอน ในทศวรรษที่ 1960 ถึง 1970 ถือเป็นเพลงป๊อปคลาสสิกของกัมพูชา ในยุคเขมรแดง นักร้องคลาสสิกและเป็นที่นิยมมากมายในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ถูกสังหาร อดอยากจนเสียชีวิต หรือถูกบังคับใช้งานหนักจนตาย และมาสเตอร์เทปดั้งเดิมจำนวนมากจากยุคนั้นสูญหายหรือถูกทำลาย ในช่วงทศวรรษ 1980 แก้ว สุทัต (ผู้ลี้ภัยที่อพยพไปตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกา) และคนอื่น ๆ ได้สืบทอดมรดกของนักร้องคลาสสิก ซึ่งได้ทำเพลงยอดนิยมสมัยใหม่
ส่วนด้านดนตรีสมัยใหม่ผสมผสานกับดนตรีพื้นบ้านเขมรโบราณที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ วัณณ์ดา (VannDa) เป็นศิลปินแร็ปและฮิปฮอปที่ผสมผสานกับดนตรีพื้นบ้านเขมรโบราณ ผลงานเขาซึ่งเป็นที่รู้จักจากเพลง Time To Rise และ Queen Bee ในปี ค.ศ. 2021 , วง KMENG Khmer ที่ออกผลงานเพลงเศรษฐี (សេដ្ឋី) และ โขกเจิง (ខកជើង) ในปี ค.ศ. 2023 และ Pou Khlaing KHMER ในเพลง (NekaNe 2023) នឹកនា 2023 ทั้งนี้ยังมี ตอน จันสีมา (Ton Chanseyma) ศิลปินฮิปฮอปและป็อปกัมพูชาที่มีผลงานเพลง Cambodia Pride
== อ้างอิง ==
=== บรรณานุกรม ===
Deth, Sok Udom, and Serkan Bulut, eds. Cambodia's Foreign Relations in Regional and Global Contexts (Konrad-Adenauer-Stiftung, 2017; comprehensive coverage) full book online free.
* Path Kosal, "Introduction: Cambodia’s Political History and Foreign Relations, 1945–1998" pp 1–26
Strangio, Sebastian (20 ตุลาคม 2020). Cambodia: From Pol Pot to Hun Sen and Beyond. Yale University Press. .
Un, Kheang. Cambodia: Return to Authoritarianism (2019) excerpt
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Cambodia. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Cambodia from UCB Libraries GovPubs
Cambodia profile from the BBC News
Cambodia at Encyclopædia Britannica
Key Development Forecasts for Cambodia จาก International Futures
ประเทศกัมพูชา จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
รัฐบาล
King of Cambodia, Norodom Sihanouk Official website of former King Norodom Sihanouk
Official Royal Government of Cambodia Website (English Version)
Ministry of Foreign Affairs and International Cooperation
Ministry of Tourism
ประชาสังคม
Cooperation Committee for Cambodia)
Cambodian Human Rights and Development Association
Cambodian Center for Human Rights
Cambodian League for the Promotion and Defense of Human Rights
Action IEC Working For Cambodian Community Education Through Media and Culture
Freedom in the World 2011: Cambodia
Freedom of the Press 2011: Cambodia
ก
ก
อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศส
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2496
ก | thaiwikipedia | 258 |
ซี (ภาษาโปรแกรม) | ภาษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512–2516 (ค.ศ. 1969–1973) โดยเดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์
ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก
ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของ ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี
ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อมา พ.ศ. 2532 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ตีพิมพ์มาตรฐานสำหรับภาษาซีขึ้นมา เรียกกันว่า ภาษาแอนซีซี (ANSI C) หรือ ภาษาซี89 (C89) ในปีถัดมา องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้อนุมัติให้ข้อกำหนดเดียวกันนี้เป็นมาตรฐานสากล เรียกกันว่า ภาษาซี90 (C90) ในเวลาต่อมาอีก องค์การฯ ก็ได้เผยแพร่ส่วนขยายมาตรฐานเพื่อรองรับสากลวิวัตน์ (internationalization) เมื่อ พ.ศ. 2538 และมาตรฐานที่ตรวจชำระใหม่เมื่อ พ.ศ. 2542 เรียกกันว่า ภาษาซี99 (C99) มาตรฐานรุ่นปัจจุบันก็ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 เรียกกันว่า ภาษาซี12 (C12)
== การออกแบบ ==
ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ในการมีปฏิสัมพันธ์เช่น เชิงคำสั่ง (หรือเชิงกระบวนงาน) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้แปลด้วยตัวแปลโปรแกรมแบบการเชื่อมโยงที่ตรงไปตรงมา สามารถเข้าถึงหน่วยความจำในระดับล่าง เพื่อใช้งานสร้างภาษาที่จับคู่อย่างมีประสิทธิภาพกับชุดคำสั่งเครื่อง และแทบไม่ต้องการสนับสนุนใด ๆ
ขณะทำงาน ภาษาซีจึงเป็นประโยชน์สำหรับหลายโปรแกรมที่ก่อนหน้านี้เคยเขียนในภาษาแอสเซมบลีมาก่อน
หากคำนึงถึงความสามารถในระดับล่าง ภาษานี้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อส่งเสริมการเขียนโปรแกรมที่ขึ้นอยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง (machine-independent) โปรแกรมภาษาซีที่เขียนขึ้นตามมาตรฐานและเคลื่อนย้ายได้ สามารถแปลได้บนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยแก้ไขรหัสต้นฉบับเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องแก้ไขเลย ภาษานี้สามารถใช้ได้บนแพลตฟอร์มได้หลากหลายตั้งแต่ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝังตัวไปจนถึง | thaiwikipedia | 259 |
ประเทศลาว | ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดกับจีน ทางทิศเหนือ ติดกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดกับไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเวียงจันทน์
ลาวเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 โดยเคยเป็นหนึ่งในอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาค จึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าทางบกและร่ำรวยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม หลังจากช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งภายในอาณาจักรล้านช้างได้แยกออกเป็นสามส่วนได้แก่ หลวงพระบาง, เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ก่อนจะตกเป็นประเทศราชของสยามในปี ค.ศ. 1778 ยาวนานนับศตวรรษจนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ใน ค.ศ. 1893 ทำให้ดินแดนลาวทั้งหมดได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสและได้รวมตัวกันเป็นประเทศลาวใน ค.ศ. 1949 หลังจากการยึดครองของญี่ปุ่น แต่ถูกฝรั่งเศสยึดครองอีกครั้งกระทั่งได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1953 ราชอาณาจักรลาวได้กำเนิดขึ้นโดยปกครองแบบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ต่อมาลาวได้เผชิญกับสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต ต่อสู้กับรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์และได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรลาวทำให้ลาวต้องเข้าไปเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ มีการก่อรัฐประหารและการปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารอยู่หลายครั้งเช่น การรัฐประหารของภูมี หน่อสวรรค์และกองแล วีระสาน การที่ราชอาณาจักรลาวเข้าไปพัวพันกับยาเสพติดของซีไอเอและการเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับกลุ่มทหารและสถาบันพระมหากษัตริย์จนขัดกับหลักการประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 ขบวนการนักศึกษา 21 องค์กรที่ไม่พอใจการปกครองของราชอาณาจักรลาวได้จัดชุมนุมในเวียงจันทน์เพื่อเรียกร้องให้ล้มเลิกสถาบันกษัตริย์
หลังสงครามเวียดนามยุติลงใน ค.ศ. 1975 เหล่าขบวนการนักศึกษา 21 องค์กรได้หันไปร่วมมือกับ"ปะเทดลาว" ขบวนการปฏิวัติของฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ได้ครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จและสงครามกลางเมืองได้ยุติลง ประกอบกับกระแสเรียกร้องของเหล่าประชาชนและนักศึกษาได้มีการลงมติล้มเลิกระบอบกษัตริย์อย่างถาวร สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาในฐานะพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายถูกเชิญเข้าค่ายกักกันในเวียงไซ และสวรรคตอย่างเป็นปริศนา มีการเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์และสถาปนาประเทศเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ซึ่งในช่วงแรกลาวต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียตจนกระทั่งล่มสลายใน ค.ศ. 1991
ประเทศลาวมีส่วนร่วมในข้อตกลงการค้าเอเชียแปซิฟิก การประชุมสุดยอดอาเซียน การประชุมเอเชียตะวันออก และสมัครเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ก่อนจะได้รับการตอบรับใน ค.ศ. 2013 ลาวเป็นประเทศที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง มีการสร้างเขื่อนโดยผลิตจากพลังงานน้ำและส่งขายไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่น ไทย, จีน และเวียดนาม ในด้านเทคโนโลยีนั้น ลาวได้เปิดให้บริการ 4 จี เป็นประเทศที่ 2 ของอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ มาตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ลาวยังเป็นประเทศที่เป็นจุดเชื่อมต่อของการคมนาคมโดยรถไฟไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านจากการมีทางรถไฟสายสำคัญ 4 แห่ง ซึ่งล่าสุดได้มีการเปิดใช้ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ใน ค.ศ. 2021 ลาวยังถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดชาติหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิค โดยมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เฉลี่ย 7.4% นับตั้งแต่ ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา
แม้ปัจจุบันลาวจะเป็นประเทศที่มีการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วแต่การปกครองแบบสาธารณรัฐสังคมนิยมพรรคเดียวตามอุดมการณ์ของลัทธิมากซ์-เลนิน นำโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ทำให้ยังคงได้รับการวิจารณ์จากนานาชาติในด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศอันนำไปสู่ความยากจน, ความเหลื่อมล้ำทางสังคม, การจำกัดเสรีภาพพลเมือง และการกดขี่ชนกลุ่มน้อยซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญ กว่า 53% ของประชากรลาวอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ราบลุ่ม ลาวถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีทั้งชาวมอญ, กัมพูชา และเผ่าม้งอาศัยอยู่ตามหุบเขาทั่วประเทศ
== ศัพทมูลวิทยา ==
คำว่า (Laos) ในภาษาอังกฤษ ได้รับการบัญญัติโดยฝรั่งเศสซึ่งรวมราชอาณาจักรลาวทั้งสามในอินโดจีนของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1893 และตั้งชื่อประเทศเป็นรูปพหุพจน์ตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีมากที่สุดคือชาวลาว ในภาษาอังกฤษ อักษร 's' เป็นอักษรที่ต้องออกเสียงและไม่ใช่อักษรเงียบ ในภาษาลาว ชื่อประเทศคือเมืองลาว (ເມືອງລາວ) หรือ ปะเทดลาว (ປະເທດລາວ) ทั้งสองคำหมายถึง 'ประเทศลาว'
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ช่วงต้น ===
มีการค้นพบกะโหลกศีรษะมนุษย์ยุคโบราณในปี 2009 ที่ถ้ำผาลิงในเทือกเขาอันนัมทางตอนเหนือของลาว โดยกะโหลกศีรษะนี้มีอายุราว 46,000 ปี จึงกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์มนุษย์สมัยใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการค้นพบโบราณวัตถุจากหินที่สันนิษฐานว่าร่วมสมัยเดียวกับช่วงปลายสมัยไพลสโตซีนทางตอนเหนือของลาว หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นถึงสภาพสังคมเกษตรกรรมที่พัฒนาขึ้นในช่วงสหัสวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล หลุมศพและสุสานประเภทอื่น ๆ บ่งบอกถึงสภาพสังคมอันซับซ้อน มีการค้นพบเครื่องสัมฤทธิ์ในช่วง 1500 ปีก่อนคริสตกาล และเครื่องมือเหล็กในช่วง 700 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของลาวได้มีการติดต่อกับอารยธรรมอื่น ๆ เช่น อารยธรรมจีนและอินเดีย เป็นต้น ตามหลักฐานทางภาษาและประวัติศาสตร์อื่น ๆ กลุ่มชนเผ่าที่พูดภาษาไทได้อพยพจากกว่างซีไปยังดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้หรือดินแดนสมัยใหม่ของลาวและไทยในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 และ 10
=== ยุคล้านช้าง ===
ประเทศลาวมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานจนถึงสมัยอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งสถาปนาขึ้นในช่วงคริสต์ศวรรษ 14 โดยเจ้าชายฟ้างุ้ม ซึ่งพระองค์ถูกเนรเทศออกจากจักรวรรดิเขมร เจ้าชายฟ้างุ่มพร้อมทหารเขมร 10,000 นาย พิชิตดินแดนของลาวหลายแห่งในแถบลุ่มแม่น้ำโขง จนในที่สุดก็สามารถยึดครองเวียงจันทน์ได้ พระเจ้าฟ้างุ้มสืบสายมาจากกษัตริย์ลาวที่สืบสายอันยาวนานจากขุนบรม พระองค์ทำให้พระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำอาณาจักร และเป็นรัชสมัยของพระองค์เป็นยุคที่ล้านช้างเจริญรุ่งเรือง ในเวลาต่อมา เสนาอำมาตย์ใหญ่ไม่สามารถทานทนต่อการประพฤติตนของพระองค์ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ถูกขับออกจากเวียงจันทน์ และเสด็จลี้ภัยไปอยู่บริเวณจังหวัดน่านของไทยในปัจจุบันในปี 1373 ซึ่งเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชบุตรองค์โตของพระองค์ ท้าวอุ่นเฮือน เสด็จขึ้นครองราชย์ภายใต้พระนาม "พระเจ้าสามแสนไท" และครองราชย์ยาวนานถึง 43 ปี อาณาจักรล้านช้างกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญในรัชสมัยของพระเจ้าสามแสนไท แต่ภายหลังจากพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1421 ล้านช้างก็เริ่มเสื่อมอำนาจลงและเกิดความวุ่นวายยาวนานเป็นศตวรรษ
ในปี 1520 พระยาโพธิสาลราชขึ้นครองราชย์และทรงย้ายราชธานีจากเชียงทองมายังเวียงจันทน์เพื่อหลีกเลี่ยงการรุกรานของพม่า ต่อมาสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชขึ้นครองราชย์ในปี 1548 ภายหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาของพระองค์ โดยพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างธาตุหลวง ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติลาว พระไชยเชษฐาธิราชเสด็จสวรรคตระหว่างที่พระองค์ทรงเดินทัพไปปราบกบฏในกัมพูชา และล้านช้างก็เกิดการโกลาหลไม่มั่นคงกว่าเจ็ดสิบปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรุกรานของพม่าและสงครามกลางเมือง
ในปี 1637 เมื่อพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชขึ้นครองราชย์ อาณาจักรล้านช้างได้ขยายอาณาเขตได้อย่างกว้างขวาง ทำให้รัชสมัยของพระองค์จึงถูกมองว่าเป็นยุคทองของประเทศลาว อย่างไรก็ตาม พระองค์เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาทสืบราชสมบัติ จึงทำให้อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนในช่วงระหว่างปี 1763 จนถึง 1769 เมื่อกองทัพพม่าได้เข้ารุกรานทางตอนเหนือของลาวและหลวงพระบาง ในขณะที่จำปาศักดิ์ตกเป็นประเทศราชภายใต้การปกครองของสยาม
เจ้าอนุวงศ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเวียงจันทน์โดยสยาม พระองค์ทรงสนับสนุนการฟื้นฟูศิลปกรรมและวรรณคดีลาว และได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์อันดีกับหลวงพระบาง อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยแรงผลักดันของเวียดนาม จึงทำให้พระองค์กระทำการกบฏต่อสยามในปี 1826 แต่กบฏครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ และเวียงจันทน์ถูกทำลายอย่างย่อยยับ เจ้าอนุวงศ์ถูกคุมตัวมายังกรุงเทพในฐานะนักโทษ จนในที่สุดพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ที่นั่น
การทัพทางทหารของสยามในลาวเมื่อปี 1876 ได้รับการอธิบายโดยชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในสยามว่า "เป็นการกวาดต้อนทาสขนานใหญ่"
=== พรรคประชาชนสมัยอาณานิคม การประกาศเอกราช และสงครามกลางเมือง ===
ในปี ค.ศ. 1893 สยามได้เกิดข้อขัดแย้งกับฝรั่งเศสในเรื่องอำนาจเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จากการใช้เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวีกงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ดินแดนลาวเกือบทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศฝรั่งเศสในปีนั้นและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังดินแดนลาวส่วนอื่นที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ตกเป็นของฝรั่งเศสอีกในปี ค.ศ. 1907
==== ราชอาณาจักรลาว====
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่น ๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่ เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี ค.ศ. 1949 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1953 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์ โดยมี เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว
ค.ศ. 1959 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการประเทศลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี ค.ศ. 1961 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหารรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องกลายเป็นสมรภูมิลับของสงครามเวียดนาม และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการรัฐประหารและสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ ภายใต้การแทรกแซงของชาติต่าง ๆ ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1975 พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและเวียดนามเหนือ โดยการนำของเจ้าสุภานุวงศ์ ก็ยึดอำนาจรัฐจากรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของ เจ้าสุวรรณภูมา พระเชษฐา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ และได้เรียกร้องให้เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาทรงยินยอมสละราชสมบัติ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาจึงทรงยินยอมสละราชสมบัติ คณะปฏิวัติลาวจึงประกาศสถาปนาประเทศลาวเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 โดยยังคงแต่ตั้งให้อดีตเจ้ามหาชีวิตเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลระบอบใหม่
=== สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ===
ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1975 กองประชุมผู้แทนทั่วประเทศที่นครหลวงเวียงจันทน์ มีผู้แทนเข้าร่วม 264 คน พิจารณารับรองประกาศยุบรัฐบาลชั่วคราวแห่งชาติ และพิจารณาเรื่องต่าง ๆ กองประชุมมีมติเอาธงดวงเดือนของขบวนการลาวอิสระเป็นธงชาติลาว เปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ ยกเลิกระบอบราชาธิปไตยและสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ยกเลิกบรรดาศักดิ์และฐานันดรศักดิ์ของเหล่าเชื้อพระวงศ์ เลิกการใช้คำราชาศัพท์ที่แย่งแยกชนชั้น แต่งตั้งเจ้าสุภานุวงศ์เป็นประธานประเทศ, ท่านไกสอน พมวิหาน เป็นนายกรัฐมนตรี, เจ้าศรีสว่างวัฒนา เป็นที่ปรึกษาสูงสุดของประธานประเทศ, เจ้าสุวรรณภูมา เป็นที่ปรึกษาสูงสุดของรัฐบาล และมีมติอื่น ๆ ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 และปิดกองประชุมด้วยผลสำเร็จ แต่ภายหลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวก็ได้กุมตัวอดีตเจ้ามหาชีวิต,พระมเหสีและอดีตพระบรมวงศานุวงศ์ราชวงศ์ล้านช้าง ไปคุมขังในค่ายกักกัน เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง และต่อมาทุกพระองค์ต่างสิ้นพระชนม์ด้วยโรคมาลาเรีย และยังมีการจับกุมนักการเมือง ข้าราชการในระบอบเก่า รวมทั้งประชาชนลาวจำนวนมากเข้าค่ายกักกัน ส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคขาดสารอาหารและถูกยิงทิ้ง ระหว่างสงครามกลางเมืองมีผู้เสียชีวิตระหว่าง 20,000 ถึง 62,000 คน ฝ่ายนิยมเจ้าที่ยังจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ต่างลี้ภัยออกนอกประเทศไปตั้งรัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นในสหรัฐ เพื่อหวังฟื้นฟูระบอบกษัตริย์อีกครั้ง แต่ไม่มีประเทศใดรับรอง
ประเทศลาวลงนามความตกลงยกสิทธิประจำกองทัพและแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อสนับสนุนในการบริหารประเทศแก่เวียดนาม ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดนี้มีการลงนามเป็นสนธิสัญญาอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1977 ซึ่งเวียดนามไม่เพียงแต่ชี้นำนโยบายต่างประเทศของลาวเท่านั้น แต่ยังให้เวียดนามเข้ามาข้องแวะในชีวิตการเมืองและเศรษฐกิจทุกส่วนของลาว ใน ค.ศ. 1979 เวียดนามขอให้ทางการลาวยุติความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ถูกโดดเดี่ยวทางการค้าทั้งจากจีน สหรัฐและประเทศอื่น ในปีนั้น เวียดนามีทหารประจำการในลาว 50,000 นาย และมีข้าราชการพลเรือนเวียดนาม 6,000 คน
ความขัดแย้งระหว่างกบฏม้งและ สปป.ลาว ดำเนินไปในพื้นที่สำคัญของลาว รวมทั้งเขตทหารปิด Saysaboune, เขตทหารปิด Xaisamboune และแขวงเชียงขวาง ระหว่าง ค.ศ. 1975 ถึง 1996 สหรัฐย้ายถิ่นผู้ลี้ภัยชาวลาวประมาณ 250,000 คน และม้ง 130,000 คนในประเทศไทย
== ภูมิศาสตร์ ==
=== ที่ตั้งและอาณาเขต ===
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 ตารางกิโลเมตร โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (423 กิโลเมตร)
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
ทิศใต้ ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร
=== ลักษณะภูมิประเทศ ===
ภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่าง ๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสุวรรณเขต ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาศักดิ์ทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศ คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่น ๆ ยังได้แก่
แม่น้ำอู (พงสาลี-หลวงพระบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 353 กิโลเมตร
แม่น้ำเซบั้งเหียง (สุวรรณเขต) ยาว 338 กิโลเมตร
แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 523กิโลเมตร
แม่น้ำเซกอง (สาละวัน-เซกอง-อัตตะปือ) ยาว 320 กิโลเมตร
แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สุวรรณเขต) ยาว 239 กิโลเมตร
แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร
แม่น้ำเซโดน (สาละวัน-จำปาศักดิ์) ยาว 192 กิโลเมตร
แม่น้ำเซละนอง (สุวรรณเขต) ยาว 115 กิโลเมตร
แม่น้ำกะดิ่ง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร
แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร
=== ลักษณะภูมิอากาศ ===
ประเทศลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือและเขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300-2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3-6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70-85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10-25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเชียงขวาง แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยบุรี ได้รับเพียงแค่ 100-150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันทน์และแขวงสุวรรณเขตในช่วง 150-200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
== การเมืองการปกครอง ==
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 ประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือ ดร.ทองลุน สีสุลิด (ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง) ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนาย สอนไซ สีพันดอน
=== บริหาร ===
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานประเทศโดยผ่านการอนุมัติจากสภาแห่งชาติ
=== นิติบัญญัติ ===
สภาแห่งชาติลาว เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของลาว มีอำนาจในการเห็นชอบตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ อาทิ ประธานประเทศ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี และยังถือเป็นองค์กรตัวแทนของประชาชน เป็นองค์การตัวแทนแห่งสิทธิ อำนาจ และ ผลประโยชน์ของประชาชน เป็นองค์การอำนาจแห่งรัฐ และเป็นองค์การนิติบัญญัติที่มี สิทธิพิจารณาข้อตัดสินใจหรือปัญหาสำคัญของชาติ รวมทั้ง ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐบาล ศาลประชาชน และ องค์การอัยการประชาชน
=== ตุลาการ ===
ศาลประชาชนของลาวเป็นองค์กรตุลาการ ที่ได้รับการแต่งตั้งและเห็นชอบจากสภาแห่งชาติลาว
=== สถาบันการเมืองที่สำคัญ ===
แนวลาวสร้างชาติ
องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว (สหพันธ์เยาวชน) สหพันธ์แม่หญิงลาว (สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว (สหพันธ์กรรมกร) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
=== การจัดตั้งและการบริหาร ===
หลายหมู่บ้านรวมกันเป็น เมือง (ก่อนหน้านี้จัดให้หลายหมู่บ้านรวมกันเป็น ตาแสง มีตาแสงเป็นผู้ปกครอง หลายตาแสงรวมกันจึงเรียกว่า เมือง)
หลายเมืองรวมกันเป็น แขวง
"คณะกรรมการปกครองหมู่บ้าน" มี นายบ้าน เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารของหมู่บ้าน
"คณะกรรมการปกครองเมือง" มี เจ้าเมือง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารเมือง
"คณะกรรมการปกครองแขวง" มี เจ้าแขวง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารแขวง
"คณะกรรมการปกครองนครหลวง" มี เจ้าครองนครหลวง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารนครหลวง
=== กระทรวง ===
ประเทศลาวมีทั้งหมด 17 กระทรวง และ 4 องค์กรเทียบเท่า ได้แก่
=== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ===
ในปัจจุบัน ลาวมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับรัสเซียจากการที่สหภาพโซเวียตเคยให้ความช่วยเหลือลาวตั้งแต่สงครามกลางเมือง โดยลาวพึ่งพาโซเวียตในแง่เศรษฐกิจมายาวนานจนกระทั่งการล่มสลายของจักรวรรดิ ลาวยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเวียดนามในแง่การทูต การเมือง การทหาร และการค้า โดยเวียดนามเป็นหนึ่งในชาติในภูมิภาคอาเซียนที่นำเข้ากระแสไฟฟ้าจากลาว โดยทั้งสองประเทศมีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพในปี 1977
ลาวยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามกลางเมือง และได้มีการอนุมัติอย่างเป็นทางการผ่านกฎหมายของสภาคองเกรส ในสมัยของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ลาวเข้าเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในเดือนกรกฎาคม 1997 และเข้ากับองค์การการค้าโลกในปี 2016 และในปี 2005 ลาวได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งแรก
=== กองทัพ ===
กองทัพประชาชนลาว (ກອງທັບປະຊາຊົນລາວ) เป็นกองทัพของประเทศลาว โดยแบ่งออกเป็น 3 เหล่าทัพหลัก คือ กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ กองทัพประชาชนลาวอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงป้องกันประเทศ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศเป็นผู้สั่งการ และมีประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในปี 2563 กองทัพประชาชนลาวมีกำลังทหารประมาณร่วม 30,000 นาย โดยเป็นทหารบก 26,000 นาย และทหารอากาศ 4,000 นาย
=== ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ===
การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงเป็นปัญหาสำคัญในลาว ในดัชนีประชาธิปไตยของนักเศรษฐศาสตร์ปี 2016 ลาวจัดเป็นประเทศที่มี "ระบอบเผด็จการ" ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศอาเซียนที่อยู่ในการศึกษานี้ ผู้สนับสนุนภาคประชาสังคมที่มีชื่อเสียง นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้คัดค้านทางการเมืองและศาสนา และผู้ลี้ภัยชาวม้งหายตัวไปจากฝีมือกองกำลังทหารและความมั่นคงของลาว แต่เห็นได้ชัดว่ารัฐธรรมนูญของลาวที่ประกาศใช้ในปี 1991 และแก้ไขในปี 2003 มีมาตรการป้องกันสำหรับสิทธิมนุษยชน ตัวอย่างเช่น มาตรา 8 ทำให้ต่างชาติเริ่มเชื่อมั่นว่าลาวเป็นรัฐข้ามชาติและมุ่งมั่นที่จะสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการพูด และเสรีภาพในการกดและการชุมนุม เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2009 ลาวให้สัตยาบันในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในการมุ่งเน้นไปที่การบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และการลดความยากจน
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวมักฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญของตนเองและหลักนิติธรรมที่เคยให้ไว้ เนื่องจากฝ่ายตุลาการและผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองประเทศและมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหาร อ้างอิงจากองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร/องค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) เช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮิวแมนไรตส์วอตช์ และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สิทธิมนุษยชนในลาวยังเป็นปัญหาที่ร้ายแรง การละเมิดต่าง ๆ เช่น การกักขังหน่วงเหนี่ยว การหายตัวไปของสตรี การจำกัดเสรีภาพในการพูด การล่วงละเมิดในเรือนจำ และการละเมิดอื่น ๆ ยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แสดงความกังวลเกี่ยวกับบันทึกการให้สัตยาบันของรัฐบาลลาวเกี่ยวกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและการขาดความร่วมมือกับกลไกและมาตรการด้านกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ทั้งส่งผลกระทบในทางลบต่อสิทธิมนุษยชน องค์กรยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก สภาพเรือนจำที่ย่ำแย่ การจำกัดเสรีภาพในการนับถือศาสนา การคุ้มครองผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัย และโทษประหารชีวิตที่ทารุณ
ในเดือนตุลาคม 1999 เยาวชน 30 คนถูกจับในข้อหาพยายามแสดงโปสเตอร์เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมอย่างสันติในประเทศลาว พวกเขา 5 คนถูกจับกุมและถูกตัดสินจำคุกสูงสุด 10 ปีในข้อหากบฏ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในเดือนตุลาคม 2009 โดยยังไม่ทราบที่อยู่ที่แน่ชัดของพวกเขาในปัจจุบันและหลายคนถูกระบุเป็นบุคคลหายสาบสูญนับตั้งแต่พ้นโทษจากเรือนจำ แต่รัฐบาลได้มีการรายงานในภายหลังซึ่งขัดแย้งกับเรื่องนี้ โดยอ้างว่าพวกเขาถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ต่อมา ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ผู้ต้องขังสองคนได้รับการปล่อยตัวในที่สุดหลังจากจำคุกเป็นเวลา 17 ปี ในขณะที่คนที่เหลือยังไม่ทราบชะตากรรม
ตามการประมาณการ ผู้คนประมาณ 300,000 คนหลบหนีมาที่ประเทศไทยอันเป็นผลมาจากการปราบปรามของรัฐบาล โดยมีชาวม้ง 100,000 คน คิดเป็น 30% ของประชากรม้งทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 ราย จากการทำสงครามกลางเมือง ลาวเป็นประเทศต้นทางของผู้ถูกค้ามนุษย์ทางเพศ พลเมืองจำนวนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กหญิงจากทุกกลุ่มชาติพันธุ์และชาวต่างชาติตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ในลาว
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ประเทศลาวแบ่งเป็น 17 แขวง และ 1 นครหลวง (ได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์) แขวงแต่ละแขวงจะแบ่งเป็นเมือง ซึ่งจะมีหนึ่งเมืองเป็นเมืองหลวงของแขวงเรียกว่า เมืองเอก
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 ได้มีการยุบเขตพิเศษไชยสมบูรณ์อย่างเป็นทางการตามดำรัสนายกรัฐมนตรี (คำสั่งนายกรัฐมนตรี) เลขที่ 10/ນຍ. ลงวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1995 โดยเมืองท่าโทมถูกรวมกับแขวงเชียงขวาง และเมืองไชยสมบูรณ์ถูกรวมกับแขวงเวียงจันทน์
ต่อมาในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ทางการลาวได้จัดตั้งแขวงใหม่ในบริเวณที่เคยเป็นเขตพิเศษไชยสมบูรณ์เดิมกับ 2 หมู่บ้านจากเมืองวังเวียงในแขวงเวียงจันทน์ โดยใช้ชื่อว่า "แขวงไชยสมบูรณ์" แบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 5 เมือง ได้แก่ เมืองอะนุวง (เดิมชื่อเมืองไชยสมบูรณ์) เมืองห่ม เมืองท่าทูม เมืองล่องสาน และเมืองล่องแจ้ง
!เขตการปกครองระดับบนสุดของประเทศลาว450px
|}
== เศรษฐกิจ ==
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 1986 ประเทศลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 1986 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2005 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขที่สำคัญได้แก่ ปัญหาราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดดุลการค้าในอัตราสูง ค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิปซัม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
=== การลงทุน ===
การลงทุน รัฐบาลได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาศักดิ์ และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2003 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2004 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2005 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน ฯลฯ
=== ตลาดหลักทรัพย์ ===
ลาวกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 (10-10-10) เป็นวันเปิดดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ลาว โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินจากประเทศไทย และได้ช่วยเหลือ5บริษัทจากประเทศเกาหลี เปิดทำการจริงในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2011 จะมีบริษัทแรกเข้าจดทะเบียนประมาณ 5 บริษัท
=== โครงการความร่วมมือในภูมิภาคใกล้เคียง ===
อาเซียน ลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 1997 ได้เป็นประธาน คณะกรรมการประจำอาเซียนเมื่อกรกฎาคม 2004
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS)
ความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต
=== การนำเข้าและการส่งออก ===
สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาวได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ส่วนการนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค
=== การท่องเที่ยว ===
การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างรวดเร็วจาก 80,000 คนในปี ค.ศ. 1990 เป็นจำนวน 1.876 ล้านคนในปี 2010 การท่องเที่ยวคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 679.1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศในปี 2010 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5857 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี ค.ศ. 2020 รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติและสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวคาดว่าจะเติบโต 15.5% ของยอดการส่งออกหรือ 270.3 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2010 และจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 484.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (12.5 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด) ในปี 2020
หลวงพระบางและปราสาทหินวัดพูเป็นทั้งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เทศกาลที่สำคัญ ได้แก่ วันขึ้นปีใหม่ลาวซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันที่ 13-15 เมษายน สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติลาว หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนกำลังทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์ที่วางไว้ในแผนยุทธศาสตร์และปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติของประเทศ ซึ่งรวมถึงการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของการท่องเที่ยว เพิ่มความตระหนักในความสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ จัดหาแหล่งรายได้เพื่อการอนุรักษ์ รักษา และจัดการเครือข่ายพื้นที่คุ้มครองของลาวและแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และเน้นความจำเป็นในการกำหนดเขตท่องเที่ยวและแผนการจัดการสถานที่ที่จะพัฒนาเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
=== โครงสร้างพื้นฐาน ===
ท่ากาศยานหลักของประเทศ คือ ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไตของเวียงจันทน์ และท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติปากเซมีเที่ยวบินระหว่างประเทศจำนวนน้อย สายการบินประจำชาติ คือ การบินลาว สายการบินอื่น ๆ ไดแก่ บางกอกแอร์เวย์ เวียดนามแอร์ไลน์ แอร์เอเชีย การบินไทย และไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์
ประเทศลาวมีทางรถไฟระยะสั้น ซึ่งเชื่อมต่อเวียงจันทน์กับประเทศไทยด้วยสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ถนนสายหลักในประเทศลาวมีการเชื่อมต่อไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะทางหลวงหมายเลข 13 ซึ่งได้รับการปรับปรุงในไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากถนนสายหลักยังเดินทางด้วยถนนลูกรัง ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้ตลอดทั้งปี
ในปี ค.ศ. 2021 ประเทศลาวได้เปิดทางรถไฟสายจีน–ลาว หรือ "ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น" โดยเชื่อมทางรถไฟลาวกับทางรถไฟของประเทศจีน ทางรถไฟมีเส้นทางเวียงจันทน์ไปถึงหลวงพระบาง ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง
==== สื่อสารมวลชน ====
สื่อในประเทศลาวล้วนอยู่ในความดูแลของรัฐโดยตรง รัฐบาลลาวมีสำนักข่าวสารประเทศลาว (ขปล.) เป็นสำนักข่าวแห่งชาติที่เผยแพร่ข่าวของรัฐ ส่วนหนังสือพิมพ์ภาษาลาวที่สำคัญในประเทศได้แก่ หนังสือพิมพ์ประชาชนซึ่งเป็นกระบอกเสียงของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศอีก 2 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์ (Vientiane Times) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และหนังสือพิมพ์ "เลอเรนอวาเตอร์" (Le Rénovateur) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่งเศส
ในประเทศลาวยังไม่มีสถานีโทรทัศน์อย่างเป็นทางการ โดยปัจจุบันนี้มีสถานีโทรทัศน์ที่กำลังทดลองออกอากาศ คือ สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศลาว (ທຊລ.) ซี่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐ ออกอากาศผ่านเครือข่ายสถานีในประเทศ มีสถานีส่งต่อในประเทศไทยในชุมชนลาว และออกอากาศทางดาวเทียมไทยคม 5 นอกจากนี้ยังมีลาวสตาร์แชนแนล ที่ออกอากาศผ่านดาวเทียมจากประเทศไทย
ด้านการใช้อินเทอร์เน็ต ตามหัวเมืองใหญ่และนครหลวงมีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟโดยทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวก็ได้มีการตรวจพิจารณาเนื้อหาและการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด เนื่องจากเป็นประเทศที่ปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์
=== ทรัพยากรน้ำ ===
ลาวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เอง โดยใช้พลังงานน้ำ ตามข้อมูลของธนาคารโลกที่ดำเนินการในปี 2014 ลาวได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDG) ในด้านน้ำและการสุขาภิบาลเกี่ยวกับโครงการติดตามตรวจสอบร่วมของยูนิเซฟ/WHO อย่างไรก็ตาม ณ ปี 2018 มีประชากรลาวประมาณ 1.9 ล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำที่ได้รับการปรับปรุง และ 2.4 ล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบสุขาภิบาลที่ดีขึ้น
ลาวมีความก้าวหน้าในการเพิ่มการเข้าถึงการสุขาภิบาล ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชนบท ทำให้การลงทุนด้านสุขอนามัยทำได้ยาก ในปี 1990 มีเพียง 8% ของประชากรในชนบทเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงการสุขาภิบาลที่ดีขึ้น การเข้าถึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 10 เปอร์เซ็นต์ในปี 1995 เป็น 38 เปอร์เซ็นต์ในปี 2008 ระหว่างปี 1995 ถึง 2008 ผู้คนอีกประมาณ 1,232,900 คนเข้าถึงการสุขาภิบาลที่ดีขึ้นในพื้นที่ชนบท ความก้าวหน้าของลาวมีความโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาที่คล้ายคลึงกัน ทางการลาวได้พัฒนากรอบการกำกับดูแลที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับสัญญาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ลงนามกับวิสาหกิจขนาดเล็ก ควบคู่ไปกับกฎระเบียบทั่วไปของรัฐวิสาหกิจด้านน้ำ
== ประชากรศาสตร์ ==
ประชากรลาวประมาณ 7.57 ล้านคนในปี 2021 กระจายไปทั่วประเทศอย่างไม่เท่าเทียมกัน คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหุบเขาของแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา แขวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด มีประชากรประมาณ 706,000 คนในปี 2022
=== เชื้อชาติ ===
ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นพวกไทขาว ไทดำ และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณภูเขา ได้แก่ ม้ง เย้า และข่า
=== ศาสนา ===
จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2010 ประเทศลาวมีผู้นับถือศาสนา 7.2 ล้านคน โดยแบ่งได้ดังนี้ | thaiwikipedia | 260 |
ภาษาสเปน | ภาษาสเปน (español) หรือ ภาษากัสติยา (castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น
มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคน โดยเม็กซิโกเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้พูดภาษานี้มากที่สุด นอกจากนี้ ภาษาสเปนยังเป็นภาษาที่มีผู้เรียนมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากภาษาอังกฤษ มีผู้เรียนภาษานี้อย่างน้อย 17.8 ล้านคน ขณะที่แหล่งข้อมูลบางแห่งกล่าวว่า มีผู้เรียนภาษานี้กว่า 46 ล้านคนกระจายอยู่ใน 90 ประเทศ
ภาษาสเปนมีต้นกำเนิดจากภาษาละตินชาวบ้านที่พัฒนามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 (เช่นเดียวกับภาษาอื่นในกลุ่มภาษาโรมานซ์) หลังจากจักรวรรดิโรมันล่มสลายลง ดินแดนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิต่างแยกไปอยู่ใต้การปกครองของชนกลุ่มต่าง ๆ กัน ภาษานี้จึงถูกตัดขาดออกจากภาษาถิ่นของภาษาละตินในดินแดนอื่น ๆ และมีวิวัฒนาการอย่างช้า ๆ จนเกิดเป็นภาษาละตินใหม่ต่างหากอีกภาษาหนึ่ง แต่เนื่องจากได้รับการเผยแพร่ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้เป็นเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน ภาษาสเปนจึงกลายเป็นภาษาละตินใหม่ที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน
== ชื่อภาษาและที่มา ==
ชาวสเปนมักเรียกภาษาของตนว่า ภาษาสเปน (español) เมื่อนำภาษานี้ไปเปรียบเทียบกับภาษาของชาติอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ แต่จะเรียกว่า ภาษากัสติยา (castellano) [= ภาษาของแคว้นกัสติยา] เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับภาษาในประเทศสเปนภาษาอื่น ๆ (เช่น ภาษากาลิเซีย ภาษาบาสก์ และภาษากาตาลา) หรือแม้กระทั่งการนำไปเทียบกับบรรดาภาษาพื้นเมืองของประเทศในลาตินอเมริกาบางประเทศ ด้วยวิธีนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน ค.ศ. 1978 จึงใช้คำว่า "ภาษากัสติยา" (castellano) เพื่อนิยามภาษาราชการของประเทศ ซึ่งตรงข้ามกับ "ภาษาของสเปนภาษาอื่น ๆ" (las demás lenguas españolas) ตามมาตรา 3 ดังนี้
El castellano es la lengua española oficial del Estado. (…) Las demás lenguas españolas serán también oficiales en las respectivas Comunidades Autónomas…
ภาษากัสติยาเป็นภาษาสเปนทางการของทั้งรัฐ (…) ภาษาสเปนภาษาอื่น ๆ จะมีสถานะทางการเช่นกันในแคว้นปกครองตนเองตามลำดับ (ต่อไปนี้…)
นักนิรุกติศาสตร์บางคนใช้ชื่อ "Castilian" เมื่อกล่าวถึงภาษาที่ใช้กันในภูมิภาคกัสติยาสมัยกลางเท่านั้น โดยเห็นว่า "Spanish" ควรนำมาใช้เรียกภาษานี้ในสมัยใหม่จะดีกว่า ภาษาถิ่นย่อยของภาษาสเปนที่พูดกันทางตอนเหนือของแคว้นกัสติยาในปัจจุบันเอง บางครั้งก็ยังเรียกว่า "Castilian" ภาษาถิ่นนี้แตกต่างจากภาษาถิ่นในภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศสเปน (เช่นในแคว้นอันดาลูซิอาหรือกรุงมาดริดเป็นต้น) โดยในประเทศสเปนถือว่าเป็นภาษาเดียวกับภาษาสเปนมาตรฐานอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม คำ castellano ยังใช้กันเป็นวงกว้างเพื่อเรียกภาษาสเปนทั้งหมดในลาตินอเมริกา เนื่องจากผู้พูดภาษาสเปนบางคนจัดว่า castellano เป็นคำกลาง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการเมืองหรือลัทธิใด (เหมือนกับ "Spanish" ในฐานะคำหนึ่งของภาษาอังกฤษ) ชาวลาตินอเมริกาจึงมักใช้คำนี้ในการแบ่งแยกความหลากหลายของภาษาสเปนในแบบของพวกเขาว่า ไม่เหมือนกันกับความหลากหลายของภาษาสเปนที่ใช้กันในประเทศสเปนเอง
คำว่า español ที่ถูกนำมาเปลี่ยนแปลงรูปตามกฎทางไวยากรณ์และสัทวิทยา (การศึกษาเกี่ยวกับเสียงในภาษา) ของแต่ภาษาเพื่อใช้เรียกชาวสเปนและภาษาของพวกเขานั้น มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาละตินว่า "ฮิสปานิโอลุส" (Hispaniolus) [= ชาวฮิสปาเนียน้อย] รูปคำดังกล่าวได้วิวัฒนาการมาเป็น Spaniolus (ในช่วงเวลานั้น ตัว H ในภาษาละตินจะหายไปในการสนทนาปกติ คำนี้จึงออกเสียงว่า "อิสปานิโอลู" [ispa'niolu]) และสระ [i] (ใช้ในภาษาพูดของละตินเพื่อความรื่นหู) ก็ถูกเปิดเป็นสระ [e] จึงทำให้คำนี้มีรูปเขียนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
== ประวัติ ==
ชาวโรมันจากคาบสมุทรอิตาลีได้นำภาษาละตินเข้ามาใช้บนคาบสมุทรไอบีเรียนับตั้งแต่สมัยสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 เมื่อ 218 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ภาษาเคลติเบเรียน ภาษาบาสก์ และภาษาโบราณอื่น ๆ บนคาบสมุทร เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การติดต่อระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ ในจักรวรรดิจึงถูกตัดขาดออกจากกัน ส่งผลให้อิทธิพลของภาษาละตินชั้นสูงที่มีต่อชาวบ้านทั่วไปค่อย ๆ ลดลง จนเหลือเพียงภาษาละตินสามัญซึ่งเป็นภาษาพูดเท่านั้นที่ทหารและชาวบ้านทั่วไปยังคงใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันอยู่
ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ชาวมัวร์จากแอฟริกาเหนือได้เข้ารุกรานและครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียต่อจากชาววิซิกอท การทำสงครามเพื่อผนวกและยึดดินแดนคืนจึงดำเนินไปอย่างยาวนาน พื้นที่บนคาบสมุทรจึงถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยปริยาย ในเขตอัลอันดะลุสใช้ภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ แต่ก็มีผู้ใช้ภาษาโมซาราบิก (เป็นภาษาโรมานซ์ภาษาหนึ่ง แต่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ) อยู่ด้วย ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือที่ยังคงเป็นเขตอิทธิพลของชาวคริสต์นั้น ภาษาพูดละตินในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้มีพัฒนาการทางโครงสร้างที่แตกต่างจากกันมากขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มกลายเป็นภาษาถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นกาตาลา, นาวาร์-อารากอน, กัสติยา, อัสตูร์-เลออน หรือกาลิเซีย-โปรตุเกส โดยภาษาเหล่านี้มีชื่อเรียกโดยรวมว่า "โรมานซ์"
ภาษาโรมานซ์กัสติยาซึ่งเป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของภาษาสเปนนั้นถือกำเนิดจากภาษาละตินสามัญที่ใช้กันในแถบทิวเขากันตาเบรีย (พื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างจังหวัดอาลาบา, กันตาเบรีย, บูร์โกส, โซเรีย และลาริโอฆา ทางตอนเหนือของสเปนปัจจุบัน ขณะนั้นเป็นเขตของแคว้นกัสติยา) โดยรับอิทธิพลบางอย่างจากภาษาบาสก์และภาษาของชาววิซิกอท หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเก่าแก่ที่สุดมีชื่อว่า จดหมายเหตุบัลปูเอสตา (Cartularios de Valpuesta) พบที่โบสถ์แห่งหนึ่งในจังหวัดบูร์โกส เป็นเอกสารที่บันทึกลักษณะและศัพท์ของภาษาโรมานซ์ (ที่จะพัฒนามาเป็นภาษากัสติยา) ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไว้
ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ได้เกิดกระบวนการกลมกลืนและปรับระดับทางภาษาขึ้นระหว่างภาษาโรมานซ์ที่ใช้กันในตอนกลางของคาบสมุทร ได้แก่ อัสตูร์-เลออน, กัสติยา และนาวาร์-อารากอน นำไปสู่การก่อรูปแบบของภาษาที่ผู้คนบนคาบสมุทรนี้จะใช้ร่วมกันต่อไป นั่นคือ ภาษาสเปน อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานที่มีมาแต่เดิมว่า ภาษาสเปนพัฒนามาจากภาษากัสติยาเป็นหลักและอาจจะได้รับอิทธิพลจากภาษาข้างเคียงมาบ้างเท่านั้น
เมื่อการพิชิตดินแดนคืนจากชาวมุสลิม (ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8) มีความคืบหน้าไปมากในยุคกลางตอนปลาย ภาษาโรมานซ์ต่าง ๆ จากทางเหนือก็ถูกนำลงมาเผยแพร่ทางตอนกลางและตอนล่างของคาบสมุทรไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะภาษากัสติยาซึ่งเข้าไปแทนที่หรือส่งอิทธิพลต่อภาษาในท้องถิ่นต่าง ๆ และในขณะเดียวกันก็ได้ยืมศัพท์เป็นจำนวนมากจากภาษาอาหรับ และจากภาษาโมซาราบิกของชาวคริสต์และชาวยิวที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของชาวมัวร์ด้วย (แต่ภาษาเหล่านี้ได้สูญไปจากคาบสมุทรไอบีเรียตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16)
ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 อาณาจักรกัสติยาได้กลายเป็นผู้นำทางการเมืองและวัฒนธรรมเหนืออาณาจักรอื่น ๆ บนคาบสมุทร สถานการณ์นี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการวางมาตรฐานภาษากัสติยาเป็นภาษาเขียนอีกทางหนึ่ง เห็นได้ชัดในรัชสมัยของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 พระองค์ทรงรวบรวมนักเขียนและปราชญ์จากเมืองต่าง ๆ มาประชุมกันในราชสำนักเพื่อเขียนและแปลเอกสารที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ดาราศาสตร์ และกฎหมาย โดยผลงานต่าง ๆ ได้รับการบันทึกลงเป็นภาษากัสติยาแทนภาษาละติน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เหล่านั้นได้มากขึ้น
ต่อมาในปี ค.ศ. 1492 เอลิโอ อันโตนิโอ เด เนบริฆา ได้แต่งตำราอธิบายโครงสร้าง คำศัพท์ และวิธีการสอนภาษากัสติยาที่เมืองซาลามังกา มีชื่อว่า ไวยากรณ์ภาษากัสติยา (Gramática de la Lengua Castellana) นับว่าเป็นตำราไวยากรณ์ภาษาแรกในยุโรป เกร็ดที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งมีอยู่ว่า เมื่อเนบรีคาเสนอตำราดังกล่าวแด่สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 พระองค์มีพระราชดำรัสถามว่าผลงานชิ้นนี้มีประโยชน์อย่างไร เขาได้ทูลตอบว่า ภาษาถือเป็นเครื่องมือของจักรวรรดิ
ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเสียงขนานใหญ่ในภาษาสเปนเช่นเดียวกับภาษาอื่นในกลุ่มโรมานซ์ กล่าวคือ เสียงพยัญชนะบางเสียงได้สูญหายไป มีเสียงพยัญชนะใหม่ปรากฏขึ้น ส่วนเสียงพยัญชนะเสียดแทรกที่มีฐานอยู่ที่ปุ่มเหงือก ฟัน และเพดานแข็ง (ส่วนหน้า) บางเสียงได้ถูกกลืนเข้ากับเสียงอื่น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นผลให้ภาษาสเปนมีระบบเสียงพยัญชนะใกล้เคียงกับที่ปรากฏในปัจจุบัน
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 นักสำรวจและนักล่าอาณานิคมได้นำภาษาสเปนเข้าไปเผยแพร่และใช้ในดินแดนทวีปอเมริกาและสแปนิชอีสต์อินดีสอย่างต่อเนื่องนานนับร้อยปี จนภาษานี้ได้กลายเป็นหนึ่งในภาษาหลักที่ใช้ผู้คนในทวีปดังกล่าวใช้สื่อสารกันมาจนถึงทุกวันนี้ และในเวลาต่อมา ภาษาสเปนก็ถูกนำไปใช้เป็นครั้งแรกในอิเควทอเรียลกินี เวสเทิร์นสะฮารา รวมไปถึงพื้นที่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิสเปนมาก่อนเลย เช่น ในย่านสแปนิชฮาร์เล็มของนครนิวยอร์ก
ปัจจุบันภาษาสเปนที่ใช้กันในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกมีความหลากหลายอย่างมากทั้งในด้านการออกเสียงและด้านคำศัพท์ แม้ว่าจะมีโครงสร้างหลักร่วมกันเป็นภาษาละตินก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อกับภาษาพื้นเมืองของแต่ละท้องที่เป็นเวลานาน เช่น ภาษาไอมารา, ชิบชา, กวารานี, มาปูเช, มายา, นาวัตล์, เกชัว, ตาอีโน และตากาล็อก ทำให้ผู้ใช้ภาษาสเปนมีแนวโน้มที่จะรับเอาชุดความคิดและลักษณะที่ปรากฏในภาษาเหล่านั้นเข้ามาใช้ โดยเฉพาะคำศัพท์ ซึ่งหลายครั้งไม่เพียงมีอิทธิพลต่อภาษาสเปนในพื้นที่ที่สัมผัสภาษานั้นโดยตรงเท่านั้น แต่ยังส่งอิทธิพลต่อวงคำศัพท์ภาษาสเปนทั่วโลกด้วย
=== ลักษณะเฉพาะ ===
สิ่งบ่งชี้ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของภาษาสเปนก็คือ การเปลี่ยนเสียงสระเดี่ยวที่มาจากภาษาละติน ได้แก่ สระ ‹› และสระ ‹› ให้กลายเป็นเสียงสระประสมสองเสียง (diphthong) คือสระ ‹ie› และสระ ‹ue› ตามลำดับเมื่อสระทั้งสองอยู่ในตำแหน่งที่ลงเสียงหนักภายในคำ การกลายเสียงที่คล้ายกันนี้ยังสามารถพบได้ในภาษาโรมานซ์อื่น ๆ แต่สำหรับภาษาสเปน ลักษณะเหล่านี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ละติน > สเปน piedra; อิตาลี pietra; ฝรั่งเศส pierre; โรมาเนีย piatrǎ; โปรตุเกส/กาลิเซีย pedra; กาตาลา pedra ‘ก้อนหิน’
ละติน > สเปน muere; อิตาลี muore; ฝรั่งเศส meurt / muert; โรมาเนีย moare; โปรตุเกส/กาลิเซีย morre; กาตาลา mor ‘เขาตาย’
ลักษณะแปลกอีกอย่างหนึ่งของภาษาสเปนยุคแรกที่ไม่พบในภาษาอื่นที่พัฒนามาจากภาษาละติน (ยกเว้นภาษาถิ่นแกสกันของภาษาอุตซิตา ซึ่งเป็นไปได้ว่าภาษาทั้งสองได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาสก์ซึ่งเป็นภาษาพื้นเดิมและมีเขตผู้ใช้ภาษาอยู่ติดต่อกัน) คือการกลายรูปพยัญชนะจาก ‹› ต้นคำ เป็น ‹h› เมื่อใดก็ตามที่ ‹› ตัวนั้นนำหน้าสระเดี่ยวที่จะไม่พัฒนามาเป็นสระประสมในภาษาสเปน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ละติน > อิตาลี figlio; โปรตุเกส filho; ฝรั่งเศส fils; อุตซิตา filh (แต่ แกสกัน hilh); สเปน hijo (แต่ ลาดิโน fijo) ‘ลูกชาย’
ละติน > ลาดิโน favlar; โปรตุเกส falar; สเปน hablar ‘พูด’
แต่ ละติน > อิตาลี fuoco; โปรตุเกส fogo; สเปน/ลาดิโน fuego ‘ไฟ’
พยัญชนะควบกล้ำบางตัวในภาษาละติน เช่น ‹›, ‹›, ‹›, ‹› เมื่อมีวิวัฒนาการไปเป็นส่วนหนึ่งของภาษาต่าง ๆ ในกลุ่มโรมานซ์ยังเกิดผลแตกต่างกันอย่างเป็นเอกลักษณ์ในภาษาเหล่านี้ด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ละติน , (รูปกรรม), > ลาดิโน lyamar, flama, pleno; สเปน llamar, llama, lleno (แต่ภาษาสเปนก็มีรูป clamar, flama, pleno ด้วย); โปรตุเกส chamar, chama, cheio
ละติน (รูปกรรม), , > ลาดิโน ocho, noche, muncho; สเปน ocho, noche, mucho; โปรตุเกส oito, noite, muito; กาลิเซีย oito, noite, moito
== การจำแนกและภาษาร่วมตระกูล ==
ภาษาสเปนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาษาอื่น ๆ ในกลุ่มไอบีเรียตะวันตก ได้แก่ ภาษาอัสตูเรียส ภาษากาลิเซีย ภาษาลาดิโน ภาษาอัสตูเรียส-เลออน และภาษาโปรตุเกส ส่วนภาษากาตาลาแม้จะมีเขตผู้ใช้ภาษาอยู่ในประเทศสเปน แต่เนื่องจากเป็นภาษาในกลุ่มไอบีเรียตะวันออกและแสดงลักษณะหลายประการของกลุ่มภาษาโรมานซ์กอล จึงมีความใกล้เคียงกับภาษาอุตซิตามากกว่ากับภาษาสเปน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือมากกว่าที่ภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกสใกล้เคียงกันเสียอีก
ภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกสมีระบบไวยากรณ์และคำศัพท์คล้ายคลึงกัน และยังมีประวัติความเป็นมาร่วมกันในด้านอิทธิพลจากภาษาอาหรับในยุคที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไอบีเรียตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวมุสลิมอีกด้วย โดยความใกล้เคียงของศัพท์ของภาษาทั้งสองอยู่ที่ประมาณร้อยละ 89
=== ภาษาลาดิโน ===
ภาษาลาดิโน (Ladino) เป็นภาษายิว-สเปน (Judaeo-Spanish) ที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสเปนโบราณและมีความใกล้เคียงกับภาษาสเปนสมัยใหม่มากกว่าภาษาอื่น ผู้พูดภาษานี้เป็นผู้ที่สืบทอดเชื้อสายมาจากชาวยิวเซฟาร์ดี (Sephardic Jews) ที่ถูกขับไล่ออกไปจากสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ทุกวันนี้ผู้พูดภาษาลาดิโนแทบจะเหลือเพียงชาวยิวเซฟาร์ดีที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศตุรกี กรีซ คาบสมุทรบอลข่าน และลาตินอเมริกา ภาษานี้ไม่มีคำศัพท์อเมริกันพื้นเมืองซึ่งส่งอิทธิพลต่อภาษาสเปนในสมัยที่สเปนยังมีอาณานิคมที่ทวีปนั้นและยังรักษาคำศัพท์โบราณที่สูญหายไปแล้วจากภาษาสเปนมาตรฐาน อย่างไรก็ตามในภาษานี้ยังปรากฏคำศัพท์ที่ไม่พบในภาษากัสติยามาตรฐาน ได้แก่ คำศัพท์จากภาษาฮีบรู ภาษาตุรกี และจากภาษาอื่น ๆ ในที่ที่ชาวยิวเซฟาร์ดีเข้าไปตั้งถิ่นฐานปะปนอยู่ด้วย
ภาษาลาดิโนอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญสิ้นไป เพราะผู้ใช้ภาษานี้ในปัจจุบันเป็นผู้สูงอายุซึ่งไม่ได้ถ่ายทอดภาษานี้ไปสู่รุ่นลูกหลาน ส่วนชุมชนเซฟาร์ดีในลาตินอเมริกา ความเสี่ยงที่จะภาษานี้จะสูญไปยังมีเหตุผลมาจากการถูกกลืนเข้ากับภาษาสเปนสมัยใหม่อีกด้วย
ภาษาถิ่นที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาลาดิโนคือภาษาฮาเกเตีย (Haketia) ซึ่งเป็นภาษายิว-สเปนทางภาคเหนือของประเทศโมร็อกโก ภาษานี้ก็มีแนวโน้มที่จะถูกกลืนเข้ากับภาษาสเปนสมัยใหม่เช่นกันในสมัยที่สเปนเข้าครอบครองบริเวณดังกล่าว
=== การเปรียบเทียบคำศัพท์ ===
ภาษาสเปนและภาษาอิตาลีมีระบบสัทวิทยา (เสียงในภาษา) ที่คล้ายคลึงกันมากและไม่มีความแตกต่างกันนักในระบบไวยากรณ์ อีกทั้งในปัจจุบันภาษาที่สองยังมีความใกล้เคียงของศัพท์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 82 ดังนั้น ผู้ใช้ภาษาสเปนและผู้ใช้ภาษาอิตาลีจึงสามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ในระดับที่ต่างกันออกไป ความใกล้เคียงของศัพท์ระหว่างภาษาสเปนกับภาษาโปรตุเกสนั้นอยู่ที่ร้อยละ 89 แต่ความไม่แน่นอนของกฎการออกเสียงในภาษาโปรตุเกสทำให้ผู้ใช้ภาษาสเปนเข้าใจภาษานี้ได้น้อยกว่าที่เข้าใจภาษาอิตาลี ส่วนความเข้าใจกันได้ระหว่างภาษาสเปนกับภาษาฝรั่งเศสและภาษาโรมาเนียมีน้อยกว่า (มีความใกล้เคียงของศัพท์อยู่ที่ร้อยละ 75 และร้อยละ 71 ตามลำดับ) ความเข้าใจภาษาสเปนของผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสที่ไม่เคยเรียนภาษาสเปนมาก่อนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 45 อย่างไรก็ตาม ระบบการเขียนที่มีลักษณะร่วมกันของภาษาในกลุ่มโรมานซ์ทำให้ผู้ใช้ภาษาของแต่ละภาษาในกลุ่มนี้นิยมสื่อสารกับผู้ใช้ภาษาอื่น ๆ (ในกลุ่มเดียวกัน) ด้วยการอ่านเอาความมากกว่าการใช้คำพูดสนทนา
1. หรือ nós outros ในภาษาโปรตุเกสสมัยใหม่ (ยุคต้น)
2. noi altri ในภาษาถิ่นใต้ของอิตาลี
3. หรือ nous autres
== ความแพร่หลายในพื้นที่ต่าง ๆ ==
ทุกวันนี้ ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศสเปน เกือบทุกประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา รวมทั้งประเทศอิเควทอเรียลกินีในทวีปแอฟริกาด้วย สรุปแล้วมี 20 ประเทศกับอีก 1 ดินแดนที่มีประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษานี้เป็นภาษาหลัก ซึ่งเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในภูมิภาคฮิสแปนิกอเมริกา ปัจจุบันประเทศเม็กซิโกเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้ภาษาสเปนมากที่สุดในโลก คิดเป็นเกือบหนึ่งในสามของจำนวนผู้ใช้ภาษาสเปนทั้งหมดบนโลก
จากสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกในปี ค.ศ. 2007 ปรากฏว่าภาษาสเปนเป็นภาษาที่ใช้กันในอินเทอร์เน็ตมากเป็นอันดับที่สามรองจากภาษาอังกฤษและภาษาจีน
== ระบบการเขียน ==
=== ตัวอักษร ===
ภาษาสเปนใช้อักษรละตินในการเขียนเช่นเดียวกับภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป แต่จะมีอักขระเพิ่มขึ้นมาหนึ่งตัวคือ ‹ñ› หรือเรียกว่า "เอเญ" นอกจากนี้ยังมีทวิอักษร ‹ch› "เช" และ ‹ll› "เอเย" โดยถือว่าทั้งสองเป็นตัวอักษรในชุดตัวอักษรสเปนอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1803 เนื่องจากใช้แทนเสียงที่ไม่ใช่เสียงเดียวกับเสียงตัวอักษรที่ประกอบขึ้นเป็นตัวมันเอง กล่าวคือ ‹ñ› แทนหน่วยเสียง , ‹ch› แทนหน่วยเสียง และ ‹ll› แทนหน่วยเสียง หรือ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แม้ทวิอักษร ‹rr› "เอเรโดเบล" หรือเรียกอย่างง่ายว่า "เอร์เร" (คนละตัวกับ ‹r› "เอเร") จะแทนหน่วยเสียงต่างหากเช่นกันคือ แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรต่างหากเหมือน ‹ch› และ ‹ll›
ในการประชุมครั้งที่ 10 ของสมาคมบัณฑิตยสถานภาษาสเปนซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมาดริดเมื่อปี ค.ศ. 1994 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการใช้ชุดตัวอักษรละตินแบบสากลตามที่องค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กรร้องขอ ส่งผลให้ทวิอักษร ‹ch› และ ‹ll› ไม่ถือเป็นตัวอักษรโดด ๆ แต่ถือเป็นพยัญชนะซ้อน เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นและการเรียงลำดับคำในพจนานุกรม คำต่าง ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย ‹ch› จึงถูกนำไปจัดเรียงอยู่ระหว่างคำที่ขึ้นต้นด้วย ‹ce› และ ‹ci› แทน ต่างจากเดิมที่ถูกจัดไว้ต่อจากคำที่ขึ้นต้นด้วย ‹cz› ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วย ‹ll› ก็ถูกจัดอยู่ระหว่างคำที่ขึ้นต้นด้วย ‹li› และ ‹lo› เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปครั้งนั้นมีผลเฉพาะต่อการเรียงลำดับคำตามตัวอักษรเท่านั้น ไม่มีผลต่อชุดตัวอักษรสเปนซึ่งทวิอักษร ‹ch› และ ‹ll› ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในนั้นอยู่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2010 หนังสือคู่มืออักขรวิธีภาษาสเปน (Ortografía de la lengua española) ซึ่งจัดทำโดยราชบัณฑิตยสถานสเปนร่วมกับสมาคมบัณฑิตยสถานภาษาสเปนได้ตัด ‹ch› และ ‹ll› ออกจากชุดตัวอักษรอย่างสมบูรณ์
ดังนั้น ชุดตัวอักษรสเปนในปัจจุบันจึงประกอบด้วยตัวอักษร 27 ตัว ได้แก่
:::::::a, b, c, d, e, f, g, h, i, j, k, l, m, n, ñ, o, p, q, r, s, t, u, v, w, x, y, z
=== เครื่องหมายอื่น ๆ ===
คำสเปนแท้จะมีการลงน้ำหนักที่พยางค์ก่อนพยางค์สุดท้ายของคำ หากคำนั้นลงท้ายด้วยสระ (ไม่รวม ‹y›) หรือลงท้ายด้วยพยัญชนะ ‹n› หรือ ‹s› นอกนั้นจะลงน้ำหนักที่พยางค์สุดท้าย แต่ถ้าตำแหน่งที่ลงน้ำหนักในคำไม่เป็นไปตามกฎดังกล่าว สระในพยางค์ที่ถูกเน้นก็จะมีเครื่องหมายลงน้ำหนักเด่นชัด (acute accent) กำกับไว้ข้างบน เช่น página, décimo, jamón, tailandés และ árbol แต่เครื่องหมายลงน้ำหนักมักจะถูกละบ่อยครั้งเมื่อสระที่มันกำกับเสียงหนักอยู่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ (ในยุคแรก ๆ คอมพิวเตอร์บางเครื่องสามารถพิมพ์ได้เฉพาะตัวพิมพ์เล็กที่มีเครื่องหมายนี้กำกับเท่านั้น) ซึ่งราชบัณฑิตยสถานสเปนก็แนะนำไม่ให้ทำเช่นนั้น
นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องหมายลงน้ำหนักเด่นชัดเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างคำพ้องเสียง เช่น ระหว่าง el (คำกำกับนามเพศชาย ชี้เฉพาะ) กับ él (‘เขา’ สรรพนามบุรุษที่ 3 เอกพจน์ รูปประธาน) หรือระหว่าง te (‘เธอ’ สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์ รูปกรรม) de (‘แห่ง’ หรือ ‘จาก’) และ se (สรรพนามสะท้อน) กับ té (‘น้ำชา’) dé (‘ให้’) และ sé (‘ฉันรู้’ หรือ ‘จงเป็น...’)
ในภาษาสเปน จะมีการลงน้ำหนักสรรพนามคำถามต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น qué (‘อะไร’), cuál (‘อันไหน’), dónde (‘ที่ไหน’), quién (‘ใคร’) ทั้งที่อยู่ในประโยคคำถามตรง (direct questions) และประโยคคำถามอ้อม (indirect questions) ส่วนคำระบุเฉพาะ (demonstratives) เช่น ése, éste, aquél และอื่น ๆ จะลงน้ำหนักเมื่อใช้เป็นสรรพนาม
คำสันธาน o (‘หรือ’) แต่เดิมจะเขียนโดยใส่เครื่องหมายลงน้ำหนักเมื่ออยู่ระหว่างจำนวนที่เป็นตัวเลข เพื่อไม่ให้สับสนกับเลขศูนย์ เช่น 10 ó 20 จะอ่านว่า diez o veinte (‘10 หรือ 20’) ไม่ใช่ diez mil veinte (‘10,020’) จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2010 ราชบัณฑิตยสถานสเปนและสมาคมบัณฑิตยสถานภาษาสเปนได้กำหนดว่าไม่ต้องใส่เครื่องหมายลงน้ำหนักบนคำสันธานนี้แล้ว เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่พยางค์ที่ลงน้ำหนักในประโยค และในทางปฏิบัติก็ไม่พบว่าเกิดความเข้าใจสับสนระหว่างตัว o กับเลขศูนย์ในบริบทนี้แต่อย่างใด
ในบางกรณี เมื่อตัวอักษร ‹u› อยู่ระหว่างพยัญชนะ ‹g› กับสระหน้า (‹e, i›) จะต้องใส่เครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับเป็น ‹ü› เพื่อบอกว่าเราต้องออกเสียง u ตัวนี้ด้วย (ปกติตัว ‹u› จะทำหน้าที่กันไม่ให้ ‹g› ที่จะประกอบขึ้นเป็นพยางค์กับสระ ‹e› หรือ ‹i› ออกเสียงเป็น เราจึงไม่ออกเสียงสระ ‹u› ในตำแหน่งนี้) เช่น cigüeña (‘นกกระสา’) จะออกเสียงว่า [ซี.กฺเว.ญา] แต่ถ้าสะกดว่า *cigueña จะต้องออกเสียงเป็น [ซี.เก.ญา] นอกจากนี้ เรายังอาจพบเครื่องหมายเสริมสัทอักษรดังกล่าวบนสระ ‹i› และ ‹u› ได้ในกวีนิพนธ์ต่าง ๆ เนื่องจากผู้แต่งต้องการแยกสระประสม (ซึ่งปกตินับเป็นหนึ่งพยางค์) ออกเป็นสองพยางค์ เพื่อให้มีจำนวนพยางค์ในวรรคตรงตามที่ฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ชนิดนั้น ๆ บังคับไว้พอดี เช่น ruido มีสองพยางค์คือ rui-do [รุยโด] แต่ ruïdo มีสามพยางค์คือ ru-ï-do [รูอีโด]
อีกประการหนึ่ง การเขียนประโยคคำถามจะขึ้นต้นด้วยปรัศนีหัวกลับ ‹¿› ส่วนประโยคอุทานก็จะขึ้นต้นด้วยอัศเจรีย์หัวกลับ ‹¡› เครื่องหมายพิเศษสองตัวนี้ช่วยให้เราอ่านประโยคคำถามและประโยคอุทาน (ซึ่งจะแสดงออกให้ทราบได้ด้วยการใช้ทำนองเสียงแบบต่าง ๆ เมื่อสนทนาเท่านั้น) ได้ง่ายขึ้น โดยเราจะทราบได้ตั้งแต่แรกว่าประโยคยาว ๆ ที่อ่านอยู่เป็นประโยคแบบใด (บอกเล่า คำถาม หรืออุทาน) ในภาษาอื่นไม่จำเป็นต้องใช้ ‹¿› และ ‹¡› เนื่องจากมีระบบวากยสัมพันธ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความกำกวมในการอ่าน เพราะโดยทั่วไปแล้ว การสร้างประโยคบอกเล่ามักจะนำประธานมาไว้ต้นประโยคแล้วจึงตามด้วยกริยา เราจะย้ายกริยามาไว้ต้นประโยคแล้วตามด้วยประธานก็ต่อเมื่อทำเป็นประโยคคำถาม แต่ในภาษาสเปน เราสามารถเรียงลำดับโดยให้กริยามาก่อนประธานได้เป็นปกติ ไม่ว่าในประโยคบอกเล่าหรือประโยคคำถาม และมักจะละประธานออกไปด้วย (เช่น Is he coming tomorrow?, Vient-il demain?, Kommt er morgen? และ ¿Viene mañana?)
== สัทวิทยา ==
การออกเสียงคำส่วนใหญ่ในภาษาสเปนจะสามารถทราบได้จากตัวสะกดอยู่แล้ว เนื่องจากพยัญชนะ/สระหนึ่งตัวส่วนใหญ่จะแทนเสียงเพียงเสียงเดียว ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ในตำแหน่งใดหรือกับพยัญชนะ/สระใดก็ตาม ยกเว้นบางหน่วยเสียง (phoneme) ที่หากปรากฏในตำแหน่งที่ต่างกันจะมีเสียงแปร (allophone) เกิดขึ้น ซึ่งยังมีลักษณะการออกเสียงใกล้เคียงกับหน่วยเสียงหลัก แต่นอกจากเสียงสระและพยัญชนะแล้ว การลงน้ำหนักพยางค์ (accentuation) และการใช้ทำนองเสียง (intonation) แบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อการออกเสียงเพื่อสื่อสาร ในภาษาสเปนมีจำนวนคำที่ต้องลงน้ำหนักที่พยางค์รองสุดท้ายมากที่สุด รองลงมาเป็นคำที่ต้องลงน้ำหนักที่พยางค์สุดท้ายและคำที่ต้องลงน้ำหนักที่พยางค์ที่สาม (นับจากพยางค์สุดท้าย) ตามลำดับ
ลักษณะเฉพาะตัวทางสัทวิทยาของภาษาสเปนที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาษาละตินได้แก่ การกลายเสียงพยัญชนะไม่ก้องระหว่างสระเป็นเสียงก้อง (เช่น ละติน > สเปน vida; ละติน > สเปน lobo; ละติน > สเปน lago), การกลายเสียงสระเดี่ยว e และ o ในพยางค์เน้นเป็นสระประสม (เช่น ละติน > สเปน tierra; ละติน > สเปน nuevo) และการกลายเสียงพยัญชนะที่ซ้ำเสียงกันต่อเนื่องเป็นเสียงพยัญชนะเพดานแข็ง (เช่น ละติน > สเปน año ; ละติน > สเปน caballo ) เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทางเสียงทำนองนี้ก็เกิดขึ้นเช่นกันในภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาอื่น ๆ หลังจากการสถาปนาราชบัณฑิตยสถานสเปนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ระบบการเขียนของภาษาสเปนจึงได้รับการดัดแปลงให้ง่ายขึ้นโดยอิงรูปแบบทางสัทศาสตร์เป็นหลัก
=== เสียงสระ ===
หน่วยเสียงสระสเปน
ภาษาสเปนมีหน่วยเสียงสระ 5 หน่วยเสียง ได้แก่ , , , และ สระทุกตัวสามารถปรากฏทั้งในตำแหน่งที่รับและไม่ได้รับการลงเสียงหนักในพยางค์ โดยปกติเสียงสระ และ เป็นสระลิ้นระดับกลาง (mid vowel) กล่าวคือ ลิ้นไม่ยกสูงขึ้นไปใกล้เพดานปากและไม่ลดต่ำลงจนห่างจากเพดานปากมากเกินไป แต่ในการออกเสียงจริง บางครั้งลิ้นอาจลดต่ำลงอีกจากตำแหน่งปกติจนทำให้สระทั้งสองเกือบกลายเป็นสระ [เอะ+แอะ] และ [เอาะ] ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสระรวมทั้งพยัญชนะที่นำหน้าและ/หรือตามหลังมันในคำต่าง ๆ แต่เราไม่ถือว่าเสียงสระเหล่านี้เป็นหน่วยเสียงหลักต่างหากในภาษาสเปน เนื่องจากไม่ทำให้ความหมายของคำแตกต่างไปจากหน่วยเสียงสระเดิม นั่นหมายความว่าเสียงเหล่านี้ยังคงเป็นเสียงย่อย (allophone) ของหน่วยเสียง และ ตามลำดับ ต่างจากภาษาพี่น้องอย่างกาตาลา โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอิตาลีที่มี และ เป็นหน่วยเสียงเอกเทศ เพราะทั้งหมดมีความสำคัญต่อการจำแนกความหมายของคำ
=== เสียงพยัญชนะ ===
ปัจจุบันระบบเสียงในหลายสำเนียงของภาษาสเปนประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะอย่างน้อย 17 หน่วยเสียง ได้แก่ , , , , , , , , , , , , , , , , แต่ในแถบเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้จะปรากฏหน่วยเสียง เพิ่มขึ้นเป็น 18 หน่วยเสียง และในหลายพื้นที่ของประเทศสเปนจะปรากฏหน่วยเสียง และ เพิ่มขึ้นอีกรวมเป็น 19 หน่วยเสียง รายการหน่วยเสียงพยัญชนะสเปนในตารางข้างล่างนี้แสดงหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในสำเนียงดังกล่าวไว้ด้วยโดยมีเครื่องหมายดอกจันกำกับอยู่ ตัวสัทอักษรที่ปรากฏในวงเล็บคือเสียงย่อยที่สำคัญ ส่วนตัวสัทอักษรที่ปรากฏเป็นคู่ในช่องเดียวกันแสดงว่า ทั้งสองมีตำแหน่งเกิดเสียงและลักษณะการออกเสียงร่วมกัน แต่ตัวซ้ายจะเป็นเสียงไม่ก้อง ตัวขวาจะเป็นเสียงก้อง
=== การลงน้ำหนักพยางค์ ===
ภาษาสเปนเป็นภาษาหนึ่งที่มีการลงน้ำหนักพยางค์และการใช้ทำนองเสียง ในคำสเปนส่วนใหญ่ น้ำหนักจะตกอยู่ที่พยางค์ใดพยางค์หนึ่งในสามพยางค์สุดท้ายของคำ แต่มีข้อยกเว้นคืออาจจะตกที่พยางค์ที่สี่หรือห้านับจากพยางค์สุดท้ายซึ่งเป็นกรณีพบไม่บ่อยนัก โดยแนวโน้มในการลงน้ำหนักพยางค์ของคำสเปนมีดังต่อไปนี้ (ลงน้ำหนักที่พยางค์ที่เป็นตัวหนา)
คำที่ลงน้ำหนักที่พยางค์รองสุดท้าย ได้แก่ คำที่ลงท้ายด้วยสระหรือพยัญชนะ ‹n› และ ‹s› เช่น copa, cine, todo, luchan, gracias เป็นต้น ทั้งนี้ ยกเว้นในกรณีที่ ‹s› มีพยัญชนะอื่นนำหน้าอยู่ คำนั้นจะลงน้ำหนักที่พยางค์สุดท้าย
คำที่ลงน้ำหนักที่พยางค์สุดท้าย ได้แก่ คำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวอื่น ๆ นอกเหนือจาก ‹n› และ ‹s› เช่น Madrid, igual, llamar, virrey, veraz เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงคำที่ลงท้ายด้วย ‹s› แต่มีพยัญชนะอื่นนำหน้า ‹s› ตัวนั้นอยู่ด้วย เช่น robots, zigzags เป็นต้น
คำที่มีการลงน้ำหนักที่พยางค์อื่น ๆ นอกเหนือจากสองพยางค์สุดท้าย หรือมีการลงน้ำหนักที่พยางค์ใดพยางค์หนึ่งในสองพยางค์นี้แต่ไม่เป็นไปตามกฎข้างบน จะมีเครื่องหมายลงน้ำหนักเด่นชัด (acute accent) กำกับไว้บนสระของพยางค์นั้น เช่น café, clímax, débil, fórceps, razón, yóquey, veintitrés, sábado เป็นต้น
คำที่ลงน้ำหนักที่พยางค์ที่สามจากท้ายคำ เช่น dígame, párrafo, helicóptero เป็นต้น
คำที่ลงน้ำหนักที่พยางค์ที่สี่หรือห้าจากท้ายคำ มักจะเป็นคำที่ในรูปประโยคคำสั่ง (imperative) หรือรูปกริยาเป็นนาม (gerund) ที่สร้างขึ้นโดยนำรูปติด (clitic) ซึ่งเป็นสรรพนามกรรมตรงและกรรมรองมาต่อท้ายรูปกริยาแท้โดยไม่เว้นวรรค แต่ตำแหน่งลงเสียงหนักจะอยู่ในคำกริยาเหมือนเดิม ไม่เลื่อนไปอยู่ที่กรรมตรงหรือกรรมรองไม่ว่าจะลงท้ายด้วยสระหรือพยัญชนะตัวใดก็ตาม เช่น cómetelo, guardándoselos, llévesemela เป็นต้น หรือเกิดกับคำกริยาวิเศษณ์บางคำที่สร้างขึ้นโดยใช้หน่วยคำเติมหลัง -mente ต่อท้ายคำคุณศัพท์ที่มีตำแหน่งลงเสียงหนักผิดปกติอยู่แล้ว เช่น difícil > difícilmente, rápido > rápidamente เป็นต้น
นอกจากข้อยกเว้นต่าง ๆ ของแนวโน้มในการลงน้ำหนักพยางค์แล้ว ยังมีคู่เทียบเสียง (minimal pair) อีกเป็นจำนวนมากที่มีความแตกต่างกันในเรื่องการลงน้ำหนักพยางค์เท่านั้น เช่น sábana (‘ผ้าปูที่นอน’) และ sabana (‘ทุ่งหญ้าสะวันนา’) หรือ límite (‘เขตแดน’), limite (‘[ที่] เขา/เธอจำกัด’) และ limité (‘ฉันจำกัด’) เป็นต้น
== ไวยากรณ์ ==
ภาษาสเปนจะจัดอยู่ในกลุ่มภาษาวิภัตติปัจจัย (inflected language) กล่าวคือ ในการสร้างประโยคหนึ่ง ๆ จะนิยมใช้การผันคำเพื่อบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต่าง ๆ ภายในประโยคนั้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากจะใช้การผันคำซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของภาษากลุ่มนี้แล้ว ในภาษาสเปนยังมีการใช้คำบุพบทซึ่งเป็นคำนามธรรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปได้เพื่อบ่งชี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวอีกด้วย และเนื่องจากภาษานี้มีระบบการจำแนกรูปกรรมของสกรรมกริยา (ซึ่งจะใช้รูปการกกรรม) ให้แตกต่างจากรูปประธานทั้งของสกรรมกริยาและของอกรรมกริยา (ซึ่งจะใช้รูปการกประธานทั้งคู่) จึงจัดเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษากรรมการก (nominative–accusative language) เช่นเดียวกับภาษาส่วนใหญ่ของตระกูลอินโด-ยุโรเปียน
=== ระบบหน่วยคำ ===
==== การผันคำ ====
ตามที่กล่าวแล้วว่าภาษาสเปนเป็นภาษาวิภัตติปัจจัย คำต่าง ๆ ในภาษานี้จึงประกอบขึ้นจากการเพิ่มหน่วยคำวิภัตติปัจจัยหรือหน่วยคำผัน (inflectional morpheme) เข้าไปที่รากศัพท์ (root) [หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยศัพท์ (lexeme)] หน่วยคำผันเป็นหน่วยคำที่ทำหน้าที่แสดงลักษณะทางไวยากรณ์ของรากศัพท์เท่านั้น ไม่ทำให้ความหมายของรากศัพท์เปลี่ยนไป โดยหน่วยคำผันสำหรับการกระจายคำกริยา ได้แก่ หน่วยคำที่แสดงมาลา (mood) กาล (tense) วาจก (voice) การณ์ลักษณะ (aspect) บุรุษ (person) และพจน์ (number) เป็นต้น และหน่วยคำผันสำหรับการผันคำนาม คำสรรพนาม คำคุณศัพท์ และตัวกำหนด (determiner) ได้แก่ หน่วยคำที่แสดงเพศ (gender) และพจน์ เป็นต้น
จากภาพทางขวามือ รากศัพท์ gat- ซึ่งมีความหมายว่าแมว เมื่อเติมหน่วยคำผันต่อท้าย รากศัพท์นี้จึงมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงแปลว่าแมวเช่นเดิม ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น หน่วยคำผันเหล่านั้นได้แก่ (หน่วยคำแสดงเพศชาย), (หน่วยคำแสดงเพศหญิง), (หน่วยคำแสดงพหูพจน์) และ -Ø (หน่วยคำแสดงเอกพจน์ ซึ่งแม้เราจะมองไม่เห็นแต่ก็ถือว่ามีส่วนในการแสดงความหมาย)
ชนิดของคำในภาษาสเปนที่มีรูปผันหลากหลาย ได้แก่ สรรพนามและกริยา
===== สรรพนาม =====
สรรพนามสำคัญในภาษาสเปน ได้แก่ yo (ฉัน), tú (เธอ), usted (คุณ), él (เขา), ella (หล่อน), ello (มัน/สิ่งนั้น), nosotros (พวกเรา), vosotros (พวกเธอ), ustedes (พวกคุณ), ellos (พวกเขา), ellas (พวกหล่อน), esto (สิ่งนี้), eso (สิ่งนั้น), aquello (สิ่งโน้น) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สรรพนามหลายตัวมีพิสัยในการใช้งานค่อนข้างแตกต่างจากสรรพนามในภาษาอังกฤษ โดยปกติแล้วบุรุษสรรพนามจะถูกละไปเนื่องจากรูปการผันของคำกริยาที่แตกต่างกันสามารถบอกให้ทราบได้อยู่แล้วว่ากำลังสื่อถึงประธานตัวใด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราพบบุรุษสรรพนามตัวใดก็ตามปรากฏในภาษาเขียนหรือแม้กระทั่งในภาษาพูด ส่วนใหญ่เป็นเพราะผู้ส่งสารต้องการเน้นสรรพนามตัวนั้นหรือกันไม่ให้ผู้รับสารสับสนจากรูปผันกริยาที่ซ้ำกันในบางกรณี
บุรุษสรรพนามสเปนผันตามพจน์ บุรุษ และการกต่าง ๆ
พจน์ (Número)
บุรุษ (Persona)
การก (Caso)
ประธาน (กรรตุการก) / เรียกขาน (สัมโพธนาการก)(nominativo / vocativo)
กรรมตรง (กรรมการก)(acusativo)
กรรมรอง (สัมปทานการก)(dativo)
กรรมของคำบุพบท (อธิกรณการก, หลังคำบุพบท)(preposicional)
ผู้ร่วม (หลัง con (กับ)) (con + สรรพนาม)(comitativo)
เอกพจน์
ที่ 1yomeme
míconmigo (con + mí)
ที่ 2tú (tuteo)tete
ticontigo (con + ti)
vos (voseo)te/os/voste/os/vos
voscon vos
ที่ 3él, ella, ello, usted*se, lo, lale
sí**, él, ella, ellocon él/ella/usted*, consigo** (con + sí)
พหูพจน์ (พวก..., ...ทั้งหลาย)
ที่ 1nosotros, nosotrasnosnos
nosotros, nosotrascon nosotros/nosotras
ที่ 2vosotros, vosotras***os/vosos/vos
vosotros, vosotras***con vosotros/vosotras***
ที่ 3ellos, ellas, ustedes*se, los, lasles
sí, ellos, ellascon ellos/ellas/ustedes*
หมายเหตุ
รูปย่อของสรรพนาม usted คือ Ud., Vd., U. หรือ V. ส่วนรูปย่อของสรรพนาม ustedes คือ Uds. หรือ Vds. ทั้งหมดต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เสมอ
*สรรพนาม sí ในการกกรรมของบุพบทเป็นสรรพนามสะท้อน (reflexive pronoun) เสมอ แต่จะมีรูปไม่สอดคล้องกับรูปสรรพนามเดียวกันในการกประธาน กล่าวคือ ประธาน él mismo, ella misma และ ellos mismos ("ตัวเขาเอง", "ตัวเธอเอง", "ตัวพวกเขาเอง") เมื่อตามหลังบุพบท en, para เป็นต้น ก็จะเปลี่ยนรูปเป็น en sí, para sí ยกเว้นตามหลังบุพบท con จะเปลี่ยนรูปเป็น consigo (ไม่เกี่ยวข้องกับการกผู้ร่วม)
**สรรพนาม vosotros/-as ("พวกเธอ") มีที่ใช้เฉพาะในประเทศสเปนเท่านั้น ส่วนในทวีปอเมริกา รวมทั้งบางส่วนของแคว้นอันดาลูซิอาและแคว้นกานาเรียสจะใช้สรรพนาม ustedes ทั้งในความหมายว่า "พวกคุณ" และ "พวกเธอ"
===== กริยา =====
การใช้คำกริยาสเปนเป็นเรื่องที่ซับซ้อนที่สุดเรื่องหนึ่งของไวยากรณ์สเปน ระบบกริยาจะแบ่งออกเป็น 14 กาลแตกต่างกัน (กาลในที่นี้เป็นคำรวมหมายถึงทั้งกาลและมาลา) ซึ่งยังแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อยได้แก่ กาลเดี่ยว (simple tense) 7 กาล และกาลประสมหรือกาลสมบูรณ์ (compound tense; perfect tense) 7 กาล โดยในกาลประสมจำเป็นต้องใช้คำกริยาช่วย haber ร่วมกับรูปกริยาขยายแบบอดีต (past participle)
กริยาสเปนจะผันไปในหมวดหมู่ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งตามลักษณะการแสดงเนื้อความของตัวกริยาเอง หมวดหมู่เหล่านั้นเรียกว่ามาลา ในภาษาสเปนได้แก่ นิเทศมาลาหรือมาลาบอกเล่า (indicative), ปริกัลปมาลาหรือสมมุติมาลา (subjunctive) และอาณัติมาลาหรือมาลาคำสั่ง (imperative) ส่วนรูปกริยาไม่ระบุประธาน (formas no personales) ที่ตำราไวยากรณ์เก่าจัดเป็นอีกมาลาหนึ่งนั้นประกอบด้วยรูปกริยาไม่แท้ 3 รูป ซึ่งกริยาทุกตัวจะมีรูปกริยาเหล่านี้ ได้แก่ รูปกริยากลาง (infinitive), รูปกริยาเป็นนาม (gerund) และรูปกริยาขยายแบบอดีต (past participle) รูปกริยาไม่แท้ตัวหลังสุดนี้สามารถผันตามเพศและพจน์ของคำนามได้เหมือนกับคำคุณศัพท์ ดังนั้นมันจึงมีรูปผันที่เป็นไปได้อีก 4 รูป คือ เพศชาย เอกพจน์, เพศหญิง เอกพจน์, เพศชาย พหูพจน์ และเพศหญิง พหูพจน์ นอกจากนี้ยังมีรูปผันอีกรูปหนึ่งที่เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า รูปกริยาขยายแบบปัจจุบัน (present participle) แต่โดยทั่วไปจะถือว่ารูปนี้เป็นคำคุณศัพท์ที่ถูกแปลงมาจากคำกริยามากกว่าจะเป็นรูปหนึ่งของคำกริยา
กริยาจำนวนมากที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นกริยาที่ผันแบบผิดปกติ ส่วนกริยาที่เหลือจะจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสามกลุ่มซึ่งมีรูปกริยากลางลงท้ายด้วย -ar, -er และ -ir ตามลำดับ ทั้งนี้ กริยาในแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบการผันแบบเดียวกัน กริยาที่ลงท้ายด้วย -ar เป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุด และกริยาที่เกิดขึ้นใหม่ในภาษาสเปนก็มักจะมีส่วนท้ายเป็น -ar ด้วย ส่วนกลุ่มกริยาที่ลงท้ายด้วย -er และ -ir จะมีคำกริยาในกลุ่มของตัวเองน้อยกว่าและการผันกริยามักจะมีลักษณะผิดปกติมากกว่ากริยาในกลุ่มที่ลงท้ายด้วย -ar
ในมาลาบอกเล่าจะมีกาลทั้งหมด 7 กาลซึ่งพอจะเทียบกับกาลที่มีอยู่ในภาษาอังกฤษได้บ้างไม่มากก็น้อย เช่น ปัจจุบันกาล (I walk, I do walk), อดีตกาล (-ed หรือ did), กาลไม่สมบูรณ์ (was, were, หรือ used to), กาลสมบูรณ์ (I have _____), อนาคตกาล (will) และประโยคเงื่อนไข (would) เป็นต้น สิ่งที่ยากก็คือ แต่ละกาลจะมีรูปผันกริยาที่แตกต่างกันไปตามประธาน ซึ่งไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะง่ายกว่าในเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น กริยา eat เมื่อผันตามปัจจุบันกาลจะมีรูปที่เป็นไปได้อยู่ 2 รูป นั่นคือ eat และ eats ขณะที่ภาษาสเปน กริยา comer ("กิน") ในกาลเดียวกันจะมีรูปผันที่เป็นไปได้ถึง 6 รูป
ส่วนเติมข้างท้ายของกริยาในมาลาและกาลต่าง ๆ
=== วากยสัมพันธ์ ===
ลักษณะทางวากยสัมพันธ์ของภาษาสเปนโดยรวมเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม มีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา มีการใช้คำบุพบท ในประโยคหนึ่ง ๆ มักจะวางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม (แต่ไม่เสมอไป) นอกจากนี้ ภาษาสเปนยังเป็นภาษาละสรรพนาม (pro-drop language) กล่าวคือสามารถละประธานของประโยคได้เมื่อไม่จำเป็นทั้งในการสนทนาและการเขียน
== คำศัพท์ ==
{| style = align="left" border="2" cellpadding="4" cellspacing="0" class="bonita" style="margin: 0.5em 0.5em 0.5em 1em; padding: 0.5em; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; border-collapse: collapse; font-size: 95%;"
|+ ตัวอย่างคำสเปนที่มาจากภาษาอาหรับ
! คำสเปน !! คำอาหรับ !! ความหมาย
|-
| aceite || azzayt || น้ำมัน
|-
| aceituna || zaytūnah || มะกอก
|-
| alcalde || qāḍī ("ผู้พิพากษา") || นายกเทศมนตรี
|-
| alcohol || kuḥl || แอลกอฮอล์
|-
| aldea || ḍay‘ah || หมู่บ้าน
|-
| almohada || miẖaddah || หมอน
|-
| alquiler || kirā' || การเช่า
|-
| asesino || ḥaššāšīn("คนติดกัญชา") || ผู้ลอบสังหาร
|-
| azafrán || za‘farān || หญ้าฝรั่น
|-
| espinaca || isbānaẖ || ผักโขม
|-
| hasta || ḥattá || จนกระทั่ง
|-
| jazmín || yāsamīn || มะลิ
|-
| marfil || ‘aẓm alfíl || งาช้าง
|-
| rehén || rihān || ตัวประกัน, เชลย
|-
| zanahoria || safunnárya || แครอต
|}
คำศัพท์ภาษาสเปนที่ใช้ในชีวิตประจำวันประมาณร้อยละ 94 มีที่มาจากภาษาละติน ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติและไม่น่าแปลกใจเนื่องจากภาษานี้เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาโรมานซ์ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับภาษาอื่น ภาษาสเปนยังมีคำยืมจากภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ภาษาสเปนและบรรพบุรุษของผู้ใช้ภาษาสเปนได้เข้าไปมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วยอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลากว่าพันปี
ในภาษาสเปน ปรากฏคำศัพท์จำนวนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาของกลุ่มคนสมัยก่อนโรมันบนคาบสมุทรไอบีเรีย (ภาษาไอบีเรีย, บาสก์, เคลต์ หรือตาร์เตสโซส) เช่น gordo ("อ้วน"), izquierdo ("ซ้าย"), nava ("ที่ราบลุ่มระหว่างภูเขา"), conejo ("กระต่าย")
ภาษาของชาววิซิกอท (ชนเผ่าเยอรมันที่ปกครองคาบสมุทรไอบีเรียต่อจากจักรวรรดิโรมัน) ก็มีอิทธิพลต่อคลังคำศัพท์ภาษาสเปนอยู่ไม่น้อย ตัวอย่างได้แก่ ชื่อแรกเกิดทางศาสนาคริสต์ เช่น Enrique, Gonzalo, Rodrigo เป็นต้น นามสกุลที่มาจากชื่อเหล่านั้น คือ Enríquez, González และ Rodríguez คำศัพท์บางคำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น brotar ("งอก/ออกดอก"), ganar ("ชนะ"), ganso ("ห่าน"), ropa ("เสื้อผ้า") คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการทหาร เช่น yelmo ("หมวกเหล็กที่ใส่กับชุดเกราะ"), espía ("สายลับ"), guerra ("สงคราม") เป็นต้น รวมทั้งหน่วยคำเติมหลัง -engo เช่นในคำว่า realengo ("ของรัฐ") เป็นต้น
นอกจากนี้ การครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลาเกือบ 800 ปีของชาวมุสลิมยังเปิดโอกาสให้ภาษาสเปนรับคำศัพท์จำนวนมากจากภาษาอาหรับเข้ามาใช้ โดยเฉพาะคำที่ขึ้นต้นด้วย al- แม้กระทั่งหน่วยคำเติมหลัง -í ที่ใช้แสดงสัญชาติของประเทศหรือดินแดนบางแห่งก็มีที่มาจากภาษานี้เช่นกัน ตัวอย่างได้แก่ ceutí ("ชาวเซวตา"), iraquí ("ชาวอิรัก"), israelí ("ชาวอิสราเอล") เป็นต้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการยืมคำศัพท์ในแวดวงศิลปะจากภาษาอิตาลีมาใช้ในภาษาสเปน รวมทั้งมีการยืมคำศัพท์จากภาษาชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาอีกด้วย เช่น ภาษานาวัตล์ ภาษาอาราวัก และภาษาเกชัว เป็นต้น ซึ่งส่วนมากเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับพืช ประเพณี หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับดินแดนนั้น ได้แก่ batata ("มันเทศ"), papa ("มันฝรั่ง"), yuca ("มันสำปะหลัง"), cacique ("ผู้มีอำนาจในท้องถิ่น"), huracán ("เฮอร์ริเคน"), cacao ("โกโก้"), chocolate ("ช็อกโกแลต") เป็นต้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เริ่มมีความนิยมในการใช้ศัพท์สูงและสำนวนโวหารที่มีความหมายและโครงสร้างไวยากรณ์ซับซ้อน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากงานเขียนในรูปแบบดังกล่าวของลุยส์ เด กองโกรา กวียุคบารอกของสเปน จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงมีการยืมคำศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสมาใช้ โดยเฉพาะคำที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่น การทำอาหาร และการปกครองของชนชั้นขุนนาง เช่น pantalón ("กางเกงขายาว"), puré ("ซุปเคี่ยวเปื่อยแล้วกรอง"), tisú ("ผ้าเส้นทองหรือเงิน"), menú ("รายการอาหาร"), maniquí ("หุ่น"), restorán/restaurante ("ภัตตาคาร"), buró ("โต๊ะทำงาน/คณะกรรมการบริหาร"), carné ("บัตรประจำตัว"), gala ("ชุดหรูหรา"), bricolaje ("งานช่างในบ้านที่ทำได้ด้วยตัวเอง") เป็นต้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยังคงมีการนำคำศัพท์ใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในภาษาสเปนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคำศัพท์จากภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน แต่ก็มีคำศัพท์จากภาษาอิตาลีเข้ามาอีกครั้งเช่นกันในสาขาการทำอาหารและการดนตรี (โดยเฉพาะการแสดงอุปรากร) เช่น batuta ("ไม้บาตอง"), soprano ("โซปราโน"), piano เป็นต้น และตั้งแต่เริ่มคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คลังคำศัพท์ของภาษาสเปนได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษอย่างมากในทุกสาขา โดยเฉพาะด้านธุรกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ดนตรี และการกีฬา เช่น marketing, quasar, Internet, software, rock, reggae, set, penalti, fútbol, windsurf เป็นต้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ราชบัณฑิตยสถานสเปนได้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำยืมและคำทับศัพท์โดยใช้ตัวสะกดตามภาษาต้นฉบับ แต่กำหนดให้ใช้คำแปลตรงตัวของคำที่ยืมมานั้น หรือใช้ตัวสะกดที่สอดคล้องกับอักขรวิธีดั้งเดิมของภาษาสเปนและยังออกเสียงได้ใกล้เคียงกับเสียงในภาษาต้นฉบับแทน เช่น zum แทน zoom, correo electrónico แทน e-mail, fútbol แทน football, escáner แทน scanner, mercadotecnia แทน marketing เป็นต้น แม้ว่าข้อเสนอดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่จะได้รับการตอบรับอย่างดีจากสังคม แต่บางคำที่เคยเสนอให้ใช้ เช่น "cadi" แทน caddie, "best-séller" แทน best seller, "yaz" แทน jazz เป็นต้น กลับไม่ได้รับการยอมรับและหายไปจากพจนานุกรมในที่สุด
โดยทั่วไปในปัจจุบัน ภาษาสเปนในทวีปอเมริกา (โดยเฉพาะประเทศเม็กซิโก) มักมีการยืมคำศัพท์หรือรูปแบบโครงสร้างของคำศัพท์และสำนวนต่าง ๆ มาจากภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ เนื่องจากมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ภาษาสเปนในประเทศสเปน จะนิยมโครงสร้างคำศัพท์จากภาษาของประเทศเพื่อนบ้านอย่างฝรั่งเศสมากกว่า ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ภาษาสเปนบนคาบสมุทรไอบีเรียจะเรียกคอมพิวเตอร์ว่า ordenador โดยยืมรูปคำ ordinateur จากภาษาฝรั่งเศสมาปรับใช้ ตรงข้ามกับผู้ใช้ภาษาสเปนในทวีปอเมริกา กล่าวคือ จะใช้คำว่า computadora หรือ computador ซึ่งเป็นการดัดแปลงรูปคำของคำว่า computer นั่นเอง
== การแปร ==
=== สัทวิทยา ===
ภาษาสเปนที่ใช้ในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศสเปนประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะ 19 ตัว (ตามที่กล่าวไปแล้ว) แต่ภาษาสเปนที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ จะมีหน่วยเสียงพยัญชนะเพียง 17 หน่วยเสียง และบางแห่งมี 18 หน่วยเสียง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเสียงแปรอีกเป็นจำนวนมาก ความแตกต่างที่สำคัญในด้านสัทวิทยาระหว่างภาษาสเปนในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากความแตกต่างเรื่องเสียงพยัญชนะนั้นมีดังต่อไปนี้
การแทนเสียง หรือ ท้ายพยางค์ด้วยเสียง ในภาษาสเปนมาตรฐานของประเทศสเปน อาร์เจนตินา โคลอมเบีย และเม็กซิโก พยัญชนะ ‹n› ท้ายพยางค์จะออกเสียงเป็นเสียงนาสิก ปุ่มเหงือก เช่น pan ออกเสียง ปัน , bien ออกเสียง เบียน เป็นต้น แต่ในสำเนียงอื่น ๆ จะออกเสียงเป็นเสียงนาสิก เพดานอ่อน ดังนั้นคำว่า pan จึงออกเสียงเป็น ปัง และ bien ออกเสียงเป็น เบียง การออกเสียง ‹n› ท้ายพยางค์เป็นเสียงเพดานอ่อนนี้พบได้ทั่วไปในพื้นที่หลายส่วนของสเปน (กาลิเซีย เลออน อัสตูเรียส ภูมิภาคมูร์เซีย เอซเตรมาดูรา และอันดาลูซิอา) และยังเป็นลักษณะเด่นของภาษาสเปนในหลายพื้นที่ของทวีปอเมริกา ตั้งแต่ภูมิภาคแคริบเบียนทั้งหมด อเมริกากลาง พื้นที่ชายฝั่งของโคลอมเบีย เวเนซุเอลา พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอกวาดอร์ เปรู ไปจนถึงภาคเหนือของชิลี นอกจากนี้ในเอกวาดอร์ เปรู เวเนซุเอลา (ยกเว้นแถบเทือกเขาแอนดีส) และสาธารณรัฐโดมินิกัน ไม่ว่า หรือ ที่อยู่ท้ายพยางค์และ/หรือนำหน้าพยัญชนะตัวอื่นจะออกเสียงเป็น เช่นกัน ดังนั้นคำว่า ambientación จึงออกเสียง อังเบียงตาสิย็อง ในพื้นที่ดังกล่าว
การแทนที่เสียง ด้วยเสียง ในประเทศสเปน (ยกเว้นแคว้นกานาเรียสและแคว้นอันดาลูซิอา) จะแยกความแตกต่างระหว่างเสียง (เขียนแทนด้วย ‹z› หรือ ‹c› เมื่ออยู่หน้า ‹e› และ ‹i›) กับเสียง เช่น casa (‘บ้าน’) ออกเสียง , caza (‘การล่าสัตว์’) ออกเสียง ขณะที่ในแคว้นกานาเรียส แคว้นอันดาลูซิอา และทวีปอเมริกาจะไม่มีความแตกต่างดังกล่าว เช่น casa และ caza จะออกเสียงว่า ทั้งคู่
การออกเสียง โดยใช้ฐานกรณ์ที่แตกต่างกัน ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาและภาคใต้ของประเทศสเปน หน่วยเสียงพยัญชนะ จะเป็นเสียงจากฐานปุ่มเหงือกกับปลายลิ้น (lamino-alveolar) ขณะที่ในภาคเหนือและภาคกลางของสเปนรวมทั้งแถบเทือกเขาแอนดีสในโคลอมเบีย เปรู และโบลิเวีย จะเป็นเสียงจากฐานปุ่มเหงือกกับปลายสุดลิ้น (apico-alveolar)
การสูญเสียง ท้ายพยางค์ การไม่ออกเสียง ท้ายพยางค์ (คล้ายกับกระบวนการที่เกิดกับภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง) เป็นปรากฏการณ์ที่พบทั่วไปในพื้นที่ราบแทบทุกแห่งของประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา พื้นที่ที่ไม่เกิดปรากฏการณ์นี้ได้แก่ ประเทศเม็กซิโก (ยกเว้นพื้นที่ชายฝั่งทะเลแคริบเบียนบางแห่ง) ภาคเหนือของสเปน (แต่เริ่มจะพบมากขึ้นแล้ว) และบริเวณแนวเทือกเขาแอนดีส (โดยเฉพาะในโคลอมเบีย เอกวาดอร์ แถบชายฝั่งของเปรู และโบลิเวีย)
การแทนเสียง ด้วยเสียง | thaiwikipedia | 261 |
ประเทศโมนาโก | ราชรัฐโมนาโก (Principauté de Monaco) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โมนาโก (Monaco มอนาโก) เป็นนครรัฐในยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่บริเวณเฟรนช์ริวีเอราทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประเทศเอกราชที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของโลก มีขนาดเพียง 2.02 ตารางกิโลเมตรแต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก ราว 19,009 คนต่อตารางกิโลเมตรในปี ค.ศ. 2018
แขวงที่มีประชากรมากที่สุดคือมงเต-การ์โล โมนาโกเป็นหนึ่งในประเทศที่ค่าครองชีพแพงและประชากรร่ำรวยที่สุดในโลก ประชากรราว 30 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดเป็นมหาเศรษฐีหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐจากการสำรวจเมื่อ ค.ศ. 2014
โมนาโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 แห่งราชวงศ์กรีมัลดีทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศสและเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ ยังมีคนพูดภาษาถิ่นโมนาโก ภาษาอิตาลี และภาษาอังกฤษกันทั่วไป
โมนาโกได้รับการรับรองเอกราชอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-โมนาโก ค.ศ. 1861 เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1993 แม้โมนาโกจะเป็นประเทศเอกราช แต่การป้องกันประเทศอยู่ในความรับผิดชอบของฝรั่งเศสโดยโมนาโกมีกองกำลังป้องกันตัวเองเพียง 2 กองทัพเท่านั้น
เศรษฐกิจของโมนาโกรุ่งเรืองอย่างมากนับตั้งแต่ช่วงหลังคริสต์ศตวรษที่ 19 หลังจากการเปิดบ่อนคาสิโนแห่งแรกในมงเต-การ์โล และมีการสร้างทางรถไฟเชื่อมกับกรุงปารีส อากาศที่อบอุ่น ทิวทัศน์ที่สวยงาม และแหล่งบันเทิงสำหรับนักพนันได้ถึงดูดเม็ดเงินมหาศาลจากนักท่องเที่ยว สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ
ปัจจุบัน โมนาโกกลายเป็นศูนย์กลางด้านธนาคารและหันมาเน้นการดำเนินเศรษฐกิจภาคบริการและอุตสาหกกรมขนาดเล็ก ไม่สร้างมลภาวะ และมีมูลค่าเพิ่มสูง โมนาโกมีชื่อเสียงจากการเป็นดินแดนภาษีต่ำ ไม่เก็บภาษีรายได้ มีภาษีธุรกิจที่ต่ำ และยังเป็นหนึ่งในสถานที่จัดแข่งขันรถสูตรหนึ่ง เป็นบ้านเกิดของชาร์ล เลอแคร์ นักแข่งของทีมสกูเดเรียแฟร์รารี นอกจากนี้ สโมสรฟุตบอลอาแอ็ส มอนาโกที่แข่งขันอยู่ในลีกเอิงฝรั่งเศสก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก ครองแชมป์ลีกสูงสุดได้หลายครั้ง
โมนาโกไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ แต่ปรับใช้นโยบายของสหภาพยุโรปบางประการเช่นเรื่องศุลกากรและด่านตรวจคนเข้าเมือง โมนาโกใช้เงินสกุลยูโร เข้าร่วมสภายุโรปเมื่อปี ค.ศ. 2004 และเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส
== ประวัติศาสตร์ ==
ชื่อของโมนาโกปรากฏขึ้นตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาลในชื่อ โมโนอิกอส (Monoikos) มาจากการประสบคำว่า โมนอส (monos) ที่หมายถึง โดดเดี่ยว และ โออิกอส (oikos) ซึ่งหมายถึงบ้าน รวมแล้ว มีความหมายถึง บ้านโดดเดี่ยว น่าจะสื่อถึงวิธีการอยู่อาศัยของชาวพื้นเมืองในสมัยนั้นที่อาศัยอยู่เป็นบ้านโดดเดี่ยวแยกกันกับเพื่อนบ้าน
=== ยุคกลาง ===
โมนาโก เป็นอาณานิคมหนึ่งของสาธารณรัฐเจนัวเมื่อ ค.ศ. 1215 ต่อมาในปี ค.ศ. 1297 ฟร็องซัว กรีมัลดี เจ้าที่ดินในจากเจนัวยุคศักดินาบุกเข้ายึดป้อมปราการโมนาโกบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยการปลอมตัวเป็นบาทหลวง แล้วนำกองกำลังขนาดย่อมเข้าไปในดินแดนแห่งนั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการครอบครองอาณาจักรโมนาโกของตระกูลกรีมัลดีตั้งแต่นั้นมา
ตระกูลกรีมัลดีครองโมนาโกอยู่ได้เพียงสี่ปี ก็ถูกขับกองทัพเจนัวออกจากดินแดนนั้นไป ชาร์ลส์ กรีมัลดี หวนกลับมาครอบครองดินแดนโมนาโกได้อีกในปี ค.ศ. 1331 แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นลอร์ดแห่งโมนาโกและขยายดินแดนออกไปยังเมืองม็องตงและโรเกอบรูน และสร้างโมนาโกจนยิ่งใหญ่ กลายเป็นเมืองท่าสำคัญ สำหรับการค้าและฐานทัพเรือสำคัญของยุโรป
หลังจากนั้นได้มีการสืบทอดตำแหน่งลอร์ดแห่งโมนาโกเรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ. 1489 พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และดุ๊กแห่งซาวอยจึงได้ทรงรับรองความเป็นเอกราชของโมนาโก ต่อมาในปี ค.ศ. 1512 พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสก็ทรงรับรองการเป็นพันธมิตรถาวรระหว่างโมนาโกกับฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงยุคการปกครองของลอร์ดออกุสติน โมนาโกกลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางในราชสำนักฝรั่งเศส ทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง จนกระทั่งจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีพระบัญชาให้โมนาโกอยู่ภายใต้อารักขาของสเปนการปกครองโดยลอร์ดแห่งโมนาโกดำเนินเรื่อยมา จนถึงช่วงศตวรรษที่ 15 เมื่อจอห์น กรีมัลดี ลอร์ดแห่งโมนาโกได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสืบสันตติวงศ์ขึ้น นับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในการสืบราชสมบัติของโมนาโก
เจ้าผู้ครองนครยุคแรกนั้น ยังใช้ฐานันดรศักดิ์ว่า ลอร์ด มาจนถึงกระทั่งปี ค.ศ. 1612 ลอร์ดโอโนเร่ที่ 2 แห่งกรีมัลดี ลอร์ดแห่งโมนาโกจึงได้เปลี่ยนชื่อฐานันดรศักดิ์เป็น เจ้าชาย แห่งโมนาโก เพื่อให้มีวินัยถึงการเป็นรัฐและอิสรภาพ ซึ่งได้รับการยอมรับจากฝรั่งเศสและสเปน เนื่องจากขณะนั้นโมนาโกยังอยู่ในอารักขาของสเปน
เจ้าชายโอโนเร่ที่ 2 กรีมัลดี ยังดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับประเทศฝรั่งเศส จนพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 หลุยส์ อิบโปลิบเตแห่งฝรั่งเศส ยอมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือและป้องกันการรุกรานจากฝรั่งเศส ถือเป็นการยืนยันและยอมรับความเป็นเอกราชของโมนาโก ไม่ขึ้นตรงต่อฝรั่งเศสอีกต่อไป แต่สเปนยังไม่ยินยอม เป็นเหตุให้เจ้าชายพระองค์นี้ ทรงประกาศสงครามกับสเปนและได้รับชัยชนะเป็นอิสระจากสเปน ในปี ค.ศ. 1641
อย่างไรก็ตามการสืบสันตติวงศ์นี้ ขาดช่วงลงเมื่อเจ้าชายอังตวนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1731 โดยไม่มีพระโอรส มีแต่พระธิดาเท่านั้น แต่พระธิดาองค์โต หลุยส์ อิบโปลิบเต ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ ยากส์ ฟร็องซัวร์ เลโอเนอร์ เดอ มาติยง ทายาทตระกูลขุนนางแห่งแคว้นนอร์ม็องดี ในปี ค.ศ. 1715 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าชายแห่งโมนาโก ทรงพระนามว่า เจ้าชาย ยากส์ที่ 1
=== คริสต์ศตวรรษที่ 19 ===
กองทัพปฏิวัติของฝรั่งเศสเข้ายึดโมนาโกเมื่อปี ค.ศ. 1793 ตกเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศสจนถึงปี ค.ศ. 1814 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนแพ้สงคราม ราชวงศ์กรีมัลดีกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ มติจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนากำหนดให้โมนาโกอยู่ภายใต้การอารักขาของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย ในช่วงนี้ ชาวเมืองม็องตงและโรเกอบรูน-กัป-มาร์แต็งที่อยู่ภายใต้ตระกูลกรีมัลดีมานาน 500 ปีไม่พอใจที่ถูกเก็บภาษีอย่างหนัก จึงได้ประกาศอิสรภาพจากโมนาโก หวังจะรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของซาร์ดิเนีย แต่ฝรั่งเศสไม่เห็นด้วย
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1860 ซาร์ดิเนียถูกบีบให้คืนโมนาโก เคาน์ตีนิสที่อยู่รอบโมนาโก (และดัชชีซาวอย) ให้กับฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาตูริน โมนาโกจึงอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ฝรั่งเศสเข้ายึดครองม็องตงและโรเกอบรูน-กัป-มาร์แต็งแลกกับการไม่ต้องจ่ายค่าปรับนับสี่ล้านฟรังก์ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-โมนาโก เมื่อปี ค.ศ. 1861 รับรองเอกราชของโมนาโกอย่างเป็นทางการ ดินแดนที่เสียไปนี้คิดเป็นร้อยละ 95 ของอาณาเขตเดิม ทำให้โมนาโกสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล เจ้าชายชาร์ลที่ 3 แห่งโมนาโกและพระมารดาจึงได้ตั้งบ่อนคาสิโนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า มงเต-การ์โล (Monte Carlo) มีความหมายว่า ภูเขาชาร์ลส์ ซึ่งมาจากพระนามของเจ้าชายนั่นเอง ธุรกิจคาสิโนประสบความสำเร็จอย่างมาก กลายเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินจากมหาเศรษฐีที่หวังจะมาใช้เงินและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ความสำเร็จนี้ทำให้โมนาโกยกเลิกการเก็บภาษีจากประชาชนนปี ค.ศ. 1869
=== คริสต์ศตวรรษที่ 20 ===
ราชวงศ์กรีมัลดีปกครองโมนาโกในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาจนถึง ค.ศ. 1910 จึงเกิดการปฏิวัติโมนาโกขึ้น มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ในปีต่อมาและได้จำกัดอำนาจการบริหารของราชวงศ์ลง ต่อมาในปี ค.ศ. 1918 มีการลงนามในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-โมนาโกขึ้นอีกครั้งระบุให้ฝรั่งเศสให้ความคุ้มครองทางทหารแก่โมนาโก ท่าทีระหว่างประเทศของโมนาโกขึ้นกับผลประโยชน์ทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม โมนาโกถูกกองทัพอิตาลีเข้ายึดครองในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อด้วยการยึดครองของพรรคนาซีเยอรมนี และได้รับอิสรภาพในเวลาต่อมา
ปี ค.ศ. 1949 เจ้าชายเรนิเยที่ 3 เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากเจ้าชายหลุยส์ที่ 2 ทรงเป็นประมุขแห่งโมนาโกที่ทำให้ราชวงศ์โมนาโกกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เพราะการเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับดาราภาพยนตร์สาวชาวอเมริกัน เกรซ เคลลี เมื่อ ปี ค.ศ. 1956
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1962 โมนาโกยกเลิกโทษประหารชีวิต ให้สิทธิสตรีในการเลือกตั้ง และก่อตั้งศาลสูสุดแห่งโมนาโกเพื่อรับรองเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน โมนาโกเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1993 โดยมีสิทธิออกเสียงเต็ม
=== คริสต์ศตวรรษที่ 21 ===
สนธิสัญญาฉบับใหม่ระหว่างฝรั่งเศสกับโมนาโกที่ลงนามเมื่อ ค.ศ. 2002 ระบุว่า หากราชวงศ์กรีมัลดีไม่มีทายาทเมื่อสืบราชสันตติวงศ์ ราชรัฐจะยังคงเป็นอิสระแทนที่จะรวมกับฝรั่งเศส แต่การป้องกันประเทศยังเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝรั่งเศสอยู่
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2005 เจ้าชายเรนิเยที่ 3 ทรงมีพระชนมายุมากเกินกว่าจะบริหารราชการแผ่นดินได้ จึงทรงสละราชสมบัติให้กับพระราชโอรสพระองค์เดียวนั่นคือเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 หกวันต่อมา เจ้าชายเรนิเยที่ 3 เสด็จสวรรคตหลังครองราชบังลังก์นานถึง 56 ปี ทรงเป็นประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของโมนาโก เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าชายแห่งราชรัฐโมนาโก โดยมีการสวมมงกุฎอย่างเป็นทางการวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 หลังพ้นช่วงไว้ทุกข์
ในปี ค.ศ. 2015 โมนาโกมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการขยายดินแดนด้วยการระบายน้ำทะเลออก เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบ้านและพื้นที่สีเขียวในบางพื้นที่ วางงบประมาณไว้ 1 พันล้านยูโรและตั้งเป้าจะสร้างอพาร์ทเมนต์ สวนสาธารณะ ร้านค้า และสำนักงานในพื้นที่ 6 เฮกเตอร์ใกล้กับแขวงลาร์วอโต
==การปกครอง==
=== การเมืองการปกครอง ===
โมนาโกปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่พ.ศ. 2454 มีเจ้าชายเป็นประมุขแห่งรัฐ พระองค์ปัจจุบันคือเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 หัวหน้ารัฐบาลของโมนาโกคือมีนีสตร์เดตา (Ministre d'Etat) แต่งตั้งโดยพระประมุข เป็นผู้นำของคณะที่ปรึกษารัฐบาล
คณะที่ปรึกษารัฐบาล ประกอบด้วย ที่ปรึกษารัฐบาล 5 คน ดูแล 5 กรม (Département) ได้แก่
กรมมหาดไทย (Département de l'Intérieur)
กรมการคลังและเศรษฐกิจ (Département des Finances et de l'Economie)
กรมการสังคมและสาธารณสุข (Département des Affaires Sociales et de la Santé)
กรมการพัสดุ สิ่งแวดล้อม และผังเมือง (Département de l'Equipement, de l'Environnement et de l'Urbanisme)
กรมการต่างประเทศ (Département des Relations Extérieures)
อำนาจนิติบัญญัติของราชรัฐ อยู่ที่พระประมุขและคณะกรรมการแห่งชาติ (Conseil National) กรมการตุลาการ (Direction des Services Judiciaires) มีลักษณะใกล้เคียงกับกระทรวงยุติธรรม ดูแลกิจการศาล โดยเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร โดยตัดสินคดีในพระนามของประมุข
=== เขตการปกครอง ===
ฌาร์แด็งแอกซอติก
ฟงวีแยย์
มงเต-การ์โล
มอนาโก-วีล
ราแว็งเดอแซ็งต์-เดว็อต
ลากงดามีน
ลาร์วอโต
ลารุส
เลมอเนอแกตี
=== ความมั่นคง ===
การป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของฝรั่งเศส โมนาโกไม่มีกองทัพเรือหรือกองทัพอากาศ แต่มีจำนวนตำรวจต่อประชากรหรือต่อพื้นที่มากที่สุดในโลก (ตำรวจ 515 นายต่อประชากรทั้งหมดประมาณ 36,000 คน) กองตำรวจยังมีหน่วยพิเศษไว้ลาดตระเวนทางน้ำอีกด้วย
กองทัพบกของโมนาโกมีขนาดเล็ก มีทั้งหมดสองกอง กองหนึ่งมีหน้าที่ถวายความปลอดภัยต่อเจ้าชายและพระราชวังโมนาโก-วิลล์ เรียกว่า บรรษัทกองไรเฟิลในพระองค์ (Compagnie des Carabiniers du Prince) นอกจากนี้ยังมีกองทหารติดอาวุธขนาดเล็ก (Sapeurs-Pompiers) รักษาความมั่นคงสำหรับพลเรือน
== ภูมิศาสตร์ ==
โมนาโกเป็นรัฐเอกราช ประกอบไปด้วย 5 กาติเยร์ (quartiers) และ 10 แขวง (ward) ตั้งอยู่ในบริเวณเฟรนช์ริวีเอราทางยุโรปตะวันตก มีชายแดนติดกับฝรั่งเศสทั้งสามด้วย และอีกด้านหนึ่งติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดกึ่งกลางประเทศอยู่ห่างจากชายแดนอิตาลี 16 กิโลเมตร และห่างจากเมืองนิสของฝรั่งเศส 13 กิโลเมตร
โมนาโกมีพื้นที่ 2.02 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอยู่อาศัย 38,400 คน ทำให้เป็นประเทศที่เล็กเป็นอันดับสองของโลกและมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในโลก พรมแดนประเทศทางบกยาวเพียง 5.47 กิโลเมตร และพรมแดนทางชายฝั่งยาว 3.83 กิโลเมตร มีน่านน้ำกว้างออกไปในทะเลอีก 22 กิโลเมตร
จุดที่สูงสุดของประเทศคือ เชอแมงเดอเรวัวร์ส ในแขวงเลอเรวัวร์ส สูงจากระดับน้ำทะเล 164.4 เมตร ส่วนจุดที่ต่ำที่สุดของประเทศคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
=== สถาปัตยกรรม ===
ในบรรดาสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบของโมนาโก สถาปัตยกรรมที่เด่นชัดคือแบบเบลล์เอป็อกที่ได้รับความนิยมช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในแขวงมงเต-การ์โล กาสิโนและโรงโอเปราแห่งมงเต-การ์โลเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของศิลปะประเภทนี้ สร้างขึ้นโดยชาร์ล กานิเยร์ และฌูลส์ ดูตรู มีการตกแต่งหอคอย ระเบียง ยอดแหลมของอาคาร เซรามิกหลากสี และรูปปั้นประดับเสา สิ่งประดับต่าง ๆ ผสมเข้ากันอย่างลงตัว สร้างความประทับใจ ความรู้สึกหรูหรา โอ่โถง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโมนาโก ศิลปะแบบฝรั่งเศส อิตาลี และสเปนเข้ามามีอิทธิพลกับการสร้างคฤหาสน์และอพาร์ทเมนต์ ในรัชสมัยของเจ้าชายเรนิเยที่ 3 มีกฎหมายห้ามสร้างอาคารสูงภายในราชรัฐ แต่ในรัชสมัยต่อมาของเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 มีการยกเลิกกฎนี้ ผลที่เกิดขึ้นคือมีการรื้อถอนมรดกทางสถาปัตยกรรมมากมายเพื่อสร้างตึกสูง ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้
== เศรษฐกิจ ==
โมนาโกมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว 153,177 ดอลลาร์สหรัฐสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก อัตราการว่างงานมีเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ แรงงาน 48,000 ชีวิตเดินทางข้ามมาจากฝรั่งเศสและอิตาลีทุก ๆ วัน โมนาโกเป็นประเทศที่มีอัตราความยากจนต่ำที่สุดในโลก มีจำนวนมหาเศรษฐีเงินล้านและระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหัวประชากรสูงที่สุดในโลก มีตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่แพงที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2012 ที่ดินมีราคาถึง 58,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตร
แหล่งรายได้สำคัญของโมนาโกคือการท่องเที่ยว ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเดิมพันในกาสิโนและพักผ่อนในสภาพอากาศที่อุ่นสบายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางธนาคารที่ใหญ่ มีเงินหมุนเวียนถึง 100 พันล้านยูโร ธนาคารในโมนาโกเน้นการให้บริการลูกค้ารายใหญ่และบริการจัดการทรัพย์สินและความมั่งคั่ง ราชรัฐยังหวังจะขยายภาคเศรษฐกิจไปสู่อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ไม่สร้างมลพิษ และมีมูลค่าสูง เช่นอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
รัฐบาลยังคงผูกขาดการค้าในหลายภาคส่วน เช่น บุหรี่และไปรษณีย์ เครือข่ายโทรคมนาคมเคยเป็นของรัฐแต่ปัจจุบันรัฐถือครองหุ้นส่วนเพียง 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัท Cable & Wireless Communications 49 เปอร์เซ็นต์ และธนาคาร Compagnie Monégasque de Banque อีก 6 เปอร์เซ็นต์ ยังคงเป็นเครือข่ายเดียวที่ให้บริการในประเทศ
มาตรฐานการครองชีพของโมนาโกนับว่าสูงเทียบเท่ากับเมืองใหญ่ของฝรั่งเศส ปัจจุบัน โมนาโกไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่มีระบบศุลกากรร่วมกับฝรั่งเศส ใช้เงินสกุลยูโรเช่นเดียวกับฝรั่งเศส
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
รัฐบาล
เว็บไซต์ทางการของรัฐบาล
เว็บไซต์ทางการของสำนักพระราชวังโมนาโก
Chief of State and Cabinet Members
Monaco Statistics Pocket – Edition 2014
ข้อมูลทั่วไป
Monaco. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Monaco from UCB Libraries GovPubs
Monaco from the BBC News
MonacoDailyNews – Latest Daily News English-language Monaco news source and publisher of daily newsletter Good Morning Monaco.
Monaco information about Monaco
History of Monaco: Primary documents
Google Earth view
การท่องเที่ยว
เว็บไซต์ทางการของการท่องเที่ยว
อื่น ๆ
Order of the doctors of Monaco
Monacolife.net English news portal
The Monaco Times – a regular feature in The Riviera Times is the English language newspaper for the French – Italian Riviera and the Principality of Monaco provides monthly local news and information about the business, art and culture, people and lifestyle, events and also the real estate market.
Monaco-IQ Monaco information and news aggregator
ประชากร
ม
ม
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13
ม | thaiwikipedia | 262 |
กรมปศุสัตว์ | กรมปศุสัตว์ (Department of Livestock Development) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งด้านสุขภาพ การบำบัดโรค การบำรุงพันธุ์ การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ โรคระบาดสัตว์ การปศุสัตว์ ไปจนถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์
== ประวัติ ==
ในปี พ.ศ. 2447 ได้มีการเริ่มกิจการทางสาขาสัตวแพทย์ขึ้นใน "กรมช่างไหม" กระทรวงเกษตราธิการในสมัยนั้น โดยได้มีการเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 กรมช่างไหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเพาะปลูก" ซึ่งได้มีการจัดตั้งกิจการผสมสัตว์ และกิจการแผนกรักษาสัตว์ขึ้นในกรม
ในปี พ.ศ. 2474 ได้โอนกรมเพาะปลูกไปร่วมกิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ โดยจัดตั้งขึ้นเป็น "กรมตรวจกสิกรรม" สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ได้แยกกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมออกเป็นกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรพาณิชย์ซึ่งต่อมากระทรวงเกษตรพาณิชย์ได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเศรษฐการ และในส่วนกรมตรวจกสิกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตร" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตรและการประมง"
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมการปศุสัตว์" สังกัดกระทรวงเกษตร (เปลี่ยนชื่อจากกระทรวงเกษตราธิการ) และในปลายปี พ.ศ. 2495 ได้ย้ายที่ตั้งกรมจากข้างป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ มาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ และในปีถัดมาคือในวันที่ 26 ธันวาคม 2496 กรมการปศุสัตว์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมปศุสัตว์" ดังเช่นในปัจจุบัน
== อำนาจและหน้าที่ ==
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถาน พยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการผลิตและจัดหาชีวภัณฑ์และเวชภัณฑ์ เพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคสัตว์ ตลอดจนผลิตและจัดหาน้ำเชื้อเพื่อใช้ในการผสมเทียม
ดำเนินการด้านปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์ ด้านสุขภาพสัตว์ และด้านบำบัดโรคสัตว์ ตลอดจนการแปรรูปเนื้อสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเลี้ยงสัตว์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ควบคุมคุณภาพเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ และผลิตผลจากสัตว์เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล
ปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
== หน่วยงานในสังกัด ==
สำนักงานเลขานุการกรม
กองการเจ้าหน้าที่
กองคลัง
กองความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ
กองแผนงาน
กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
สำนักกฎหมาย
สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์
สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์
สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
กองควบคุมอาหารและยาสัตว์
กองสารวัตรและกักกัน
กองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ
กลุ่มพัฒนาวิชาการ
กลุ่มพัฒนาระบบริหาร
กลุ่มตรวจสอบภายใน
สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร
สำนักงานปศุสัตว์เขต 1
สำนักงานปศุสัตว์เขต 2
สำนักงานปศุสัตว์เขต 3
สำนักงานปศุสัตว์เขต 4
สำนักงานปศุสัตว์เขต 5
สำนักงานปศุสัตว์เขต 6
สำนักงานปศุสัตว์เขต 7
สำนักงานปศุสัตว์เขต 8
สำนักงานปศุสัตว์เขต 9
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
กรมปศุสัตว์
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๙)
ปศุสัตว์
หน่วยงานของรัฐบาลไทยในเขตราชเทวี
องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2485
ปศุสัตว์ | thaiwikipedia | 263 |
ประเทศพม่า | พม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ, , มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร พม่าจึงเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่ที่สุดในแผ่นดินคาบสมุทรอินโดจีน พม่ามีประชากรราว 54 ล้านคน มีเมืองหลวงคือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุดคือ ย่างกุ้ง
อารยธรรมช่วงต้นของพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และเป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงสั้น ๆ ต่อมา ในต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์โก้นบองได้ปกครองพื้นที่พม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ก่อนจะได้รับเอกราชในปี 2491 โดยในช่วงช่วงแรกมีการปกครองแบบชาติประชาธิปไตย และหลังรัฐประหารใน พ.ศ. 2505 พม่าอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหาร พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าโดยนายพลเนวี่นมีบทบาทนำในการปกครองประเทศ การก่อการกำเริบ 8888 ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการเมืองของประเทศ แม้กองทัพจะยังมีบทบาทสำคัญจนถึงปัจจุบัน
พม่าต้องเผชิญกับการต่อสู้ชาติพันธุ์ที่รุนแรงมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยังดำเนินอยู่ยาวนานที่สุดสงครามหนึ่งของโลก สหประชาชาติและอีกหลายองค์การรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ในปี 2554 มีการยุบคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองอย่างเป็นทางการหลังการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลในนามพลเรือน แต่อดีตผู้นำทหารยังมีอำนาจภายในประเทศโดยผู้นำพรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังเป็นอดีตนายทหารระดับสูง กองทัพพม่าดำเนินการสละการควบคุมรัฐบาล รวมถึงการปล่อยตัวอองซานซูจีและนักโทษทางการเมือง มีการปรับปรุงสิทธิมนุษยชนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จนนำไปสู่การผ่อนปรนการลงโทษทางการค้าและเศรษฐกิจอื่น ๆ ทว่ายังมีการวิจารณ์การปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยโรฮีนจาของรัฐบาลและการสนองต่อการปะทะกันทางศาสนา ซึ่งความขัดแย้งยังเรื้อรังมาถึงปัจจุบัน แม้ว่านางซูจีจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2563 ทว่ากองทัพพม่าได้ก่อรัฐประหารอีกครั้งในปี 2564 รัฐบาลทหารได้จับกุมและตั้งข้อหาทางอาญานางซูจีอีกครั้งในความผิดฐานทุจริตและฝ่าฝืนกฎระเบียบในช่วงโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ได้มีการตั้งข้อสังเกตจากนานาชาติว่าการตั้งข้อหาดังกล่าวล้วนเกิดจากเหตุจูงใจทางการเมือง การรัฐประหารครั้งล่าสุดยังนำไปสู่การประท้วงในพ.ศ. 2564–65 และลุกลามกลายเป็นสงครามกลางเมืองโดยกองทัพได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม
พม่าเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2540 และยังเป็นสมาชิกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และบิมสเทค แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติ แม้จะเคยเป็นประเทศอาณานิคมของสหราชอาณาจักร และยังเป็นประเทศคู่เจรจาที่สำคัญในองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ ประเทศพม่าอุดมด้วยหยก อัญมณี น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และทรัพยากรแร่อื่น ๆ ทั้งยังขึ้นชื่อในด้านพลังงานทดแทน และมีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดในบรรดากลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในปี 2556 จีดีพี (ราคาตลาด) อยู่ที่ 56,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีดีพี (อำนาจซื้อ) อยู่ที่ 221,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุดในโลก เนื่องจากภาคเศรษฐกิจส่วนใหญ่ถูกผู้สนับสนุนอดีตรัฐบาลทหารควบคุม พม่ายังมีระดับการพัฒนามนุษย์ต่ำโดยอยู่อันดับที่ 147 จาก 189 ประเทศจากดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2563 นับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา มีประชากรเมียนมาอย่างน้อยหลายแสนรายต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่น สืบเนื่องจากความรุนแรงในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่มีการรัฐประหาร และมีประชากรราวสามล้านคนต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน
== นิรุกติศาสตร์ ==
ชื่อประเทศของพม่าทั้ง Myanmar และ Burma เป็นที่ถกเถียงกันมาหลายทศวรรษ โดยทั้งสองชื่อต่างก็ได้รับความนิยมทั้งในบริบททางการรวมถึงการใช้ทั่วไป ทั้งสองคำมาจากการแผลงคำในภาษาพม่า Mranma และ Mramma ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในพม่ามายาวนาน และหลักฐานบางชิ้นยังชี้ให้เห็นว่าชื่อทั้งสองมีที่มาจากภาษาสันสกฤต Brahma Desha (ब्रह्मादेश/ब्रह्मावर्त) ซึ่งสื่อถึงพระพรหม
ในปี 2532 รัฐบาลทหารได้มีมติให้ใช้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า Myanmar รวมถึงให้ใช้ชื่อนี้ในการอ้างถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์โดยย้อนไปตั้งแต่ยุคการปกครองของสหราชอาณาจักร แต่ชื่อดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก โดยกลุ่มชาติพันธุ์ภายในประเทศรวมถึงชาติอื่น ๆ ที่ต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการทหารของพม่ายังคงใช้ชื่อ Burma ต่อ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและผู้นำประเทศได้ใช้ชื่อ Myanmar เพื่อแทนตัวเองในการติดต่อกับต่างชาติทุกโอกาสมานับตั้งแต่นั้น
ในเดือนเมษายน 2559 ไม่นานหลังการเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ อองซานซูจีได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโดยเธอกล่าวว่า "ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เนื่องจากไม่มีการบัญญัติอย่างตายตัวในรัฐธรรมนูญของประเทศเราที่ระบุว่าต้องใช้ชื่อใดระหว่างสองชื่อนี้" เธอยังกล่าวอีกว่า "ฉันมักจะใช้ชื่อ Burma เพราะความเคยชิน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องทำเช่นนั้น และฉันยินดีที่จะใช้คำว่า Myanmar ให้บ่อยขึ้นเพื่อให้รัฐบาลสบายใจ"
ชื่อเต็มของประเทศคือ "สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา" (ပြည်ထောင်စုသမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, Pyihtaungsu Thamada Myanma Naingngantaw, อ่านว่า [pjìdàʊɴzṵ θàɴməda̰ mjəmà nàɪɴŋàɴdɔ̀]) หรือที่บางประเทศเรียกอย่างย่อว่า "สหภาพพม่า" (Union of Burma) เชื่อกันว่ามีที่มาตั้งแต่สมัยพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และแม้ว่ารัฐบาลพม่าจะใช้ชื่อ Myanmar เป็นหลัก แต่รัฐบาลของชาติตะวันตกหลายประเทศ เช่น สหรัฐ ยังนิยมเรียกประเทศพม่าว่า Burma ในปัจจุบัน โดยในเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐใช้คำว่า Burma และมีการใส่ (Myanmar) ต่อท้ายในวงเล็บกำกับไว้ด้วย รวมถึงเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊กของซีไอเอก็มีการระบุชื่อประเทศเป็น Burma ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เช่นกัน รัฐบาลแคนาดาเคยใช้คำว่า Burma ในช่วงที่พม่าถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น Myanmar ในเดือนสิงหาคม 2563
โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีการบัญญัติวิธีการออกเสียงชื่อประเทศพม่าในภาษาอังกฤษอย่างตายตัว และนักภาษาศาสตร์สมัยใหม่กล่าวว่า พบการออกเสียงที่แตกต่างกันอย่างน้อย 9 แบบ โดยการออกเสียง 2 พยางค์นั้นพบบ่อยครั้งในพจนานุกรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐ ยกเว้นฉบับคอลลินส์ (Collins English Dictionary) ซึ่งออกเสียงสามพยางค์ (mjænˈmɑːr/, /ˈmjænmɑːr/, /ˌmjɑːnˈmɑːr/) พจนานุกรมจากแหล่งอื่นมีการออกเสียงสามพยางค์บ้าง เช่น /ˈmiː.ənmɑːr/, /miˈænmɑːr/, /ˌmaɪ.ənˈmɑːr/, /maɪˈɑːnmɑːr/, /ˈmaɪ.ænmɑːr/.
== ประวัติศาสตร์ ==
ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่ชาวมอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน, อินเดีย, บังกลาเทศ, ลาว และไทย
=== มอญ ===
มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าเมื่อราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่กลุ่มชนแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ในดินแดนพม่าก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรสุธรรมวดี อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณเมืองสะเทิม ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่า
=== ปยู ===
ชาวปยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เบะตะโน่ (Beikthano) และฮะลี่น (Halin) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวปยู 18 เมือง และชาวปยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าปยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวปยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวปยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี
นครรัฐของชาวปยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองฮะลี่น อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวปยูอีก
=== อาณาจักรพุกาม ===
ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อย ๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Pagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวปยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจานซิต้า (พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสิธู (พ.ศ. 1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คืออาณาจักรเขมรและอาณาจักรพุกาม
อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อย ๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านรสีหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยุนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามที่งาซองจาน (Ngasaunggyan) ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านรสีหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832
=== อังวะและหงสาวดี ===
หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070
สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยมะกะโทหรือพระเจ้าฟ้ารั่ว เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา
=== ราชวงศ์ตองอู ===
พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เมืองตองอูเข้มแข็งขึ้นมาในรัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) และได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของชาวมอญ
ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ การเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป ทำให้พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ตีและย้ายเมืองหลวงจากตองอูมาอยู่ที่เมืองหงสาวดีซึ่งเป็นเมืองของชาวมอญ เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้าและการกดให้ชาวมอญอยู่ภายใต้อำนาจ พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย) ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาและสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ในรัชสมัยของพระองค์พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็ประกาศตนเป็นอิสระภายในเวลาต่อมาไม่นาน
เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะเนาะเพะลูน พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าตาลูน ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ
=== ราชวงศ์โก้นบอง ===
ราชวงศ์โก้นบอง หรือ ราชวงศ์อลองพญา ได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว พระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญทางใต้ได้ในปี 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรีพระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์สวรรคตระหว่างการสู้รบ พระเจ้ามังระ (ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319) พระราชโอรส ได้โปรดให้ส่งทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี 2309 ซึ่งประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานจากจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ช่วงปี 2309–2312) ทำให้ความพยายามในการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ต้องยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าปดุง (ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ และตะนาวศรีเข้ามาไว้ได้ในปี 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าจักกายแมง (ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2383) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ นำทัพเข้ารุกรานแคว้นมณีปุระและอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น
=== สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักร ===
สืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี 2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญารานตะโบกับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม, มณีปุระ, ยะไข่ และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษก็เริ่มต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้นเพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญารานตะโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้อังกฤษได้ผนวกดินแดนทางใต้เข้าไว้กับตน โดยเรียกดินแดนดังกล่าวใหม่ว่าพม่าตอนล่าง สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าพุกามแมง (ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนามัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอกขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้
รัชสมัยต่อมา พระเจ้าสีป่อ (ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปี 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้ทั้งหมด
=== เอกราช ===
พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดต่อกับพวกทะขิ่น ซึ่งเป็นองค์กรของนักชาตินิยมในพม่า มีออง ซาน ผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกทะขิ่นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้วกลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกทะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ
เมื่อคณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485 อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League: AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2490 ขณะที่เดินออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออู นุ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์
เมื่อพม่าได้รับเอกราชแล้ว มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหภาพพม่า โดยมี เจ้าส่วยแต้ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก และ มี อู นุ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก โดยพม่าไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ เครือจักรภพแห่งชาติ เหมือนกับประเทศอดีตอาณานิคมของสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่ รัฐสภาซึ่งเป็นระบบสองสภาถูกจัดตั้งขึ้น และมีการเลือกตั้งระบบหลายพรรคเกิดขึ้นในปี 2494, 2495, 2499 และ 2503
ในปี 2504 นาย อู้ตั่น ซึ่งขณะนั้นดำรวตำแหน่งเป็นผู้แทนถาวรของสหภาพพม่าประจำองค์การสหประชาชาติ ได้รับการรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เป็นคนแรกของเอเชีย โดยดำรงตำแหน่งถึง 10 ปี
=== ระบอบทหาร ===
ใน พ.ศ. 2501 ประเทศพม่าประสบความล้มเหลวในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ นอกจากนั้น สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ยังแตกแยกออกเป็นสองส่วน กลุ่มหนึ่งนำโดยอู นุและติน อีกกลุ่มนำโดยบะส่วยและจอเย่ง แม้อูนุจะประสบความสำเร็จในการนำประชาธิปไตยเข้าสู่ยะไข่โดยอูเซนดา แต่เกิดปัญหากับชาวปะโอ ชาวมอญ และชาวไทใหญ่ ปัญหาเหล่านี้ทำให้รัฐสภาไม่มีเสถียรภาพ แม้อูนุจะผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจโดยได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วมสหชาติ
กองทัพได้เจรจาปัญหาเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่ากับรัฐบาลของอูนุ ทำให้อูนุเชิญเน วิน ผู้บัญชาการทหารเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล กลุ่มแนวร่วมสหชาติถูกจับกุม 400 คน และมี 153 คนถูกส่งไปยังหมู่เกาะโกโกในทะเลอันดามัน ในกลุ่มที่ถูกจับกุมมีอองทาน พี่ชายของอองซานด้วย หนังสือพิมพ์ Botahtaung Kyemon Rangoon Daily ถูกสั่งปิด
รัฐบาลของเน วินประสบความสำเร็จในการทำให้สถานการณ์มั่นคงและเกิดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2503 ซึ่งพรรคสหภาพของอูนุได้เสียงข้างมาก แต่เสถียรภาพไม่ได้เกิดขึ้นนาน เมื่อขบวนการสหพันธ์ฉานนำโดยเจ้าส่วยใต้ เจ้าฟ้าเมืองยองห้วยที่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของพม่า ต้องการสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ที่ขอแยกตัวออกไปได้เมื่อรวมตัวเป็นสหภาพครบสิบปี เน วิน พยายามลดตำแหน่งเจ้าฟ้าของไทใหญ่โดยแลกกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ใน พ.ศ. 2502 ในที่สุด เน วินได้ก่อรัฐประหารในวัที่ 2 มีนาคม 2505 อูนุและอีกหลายคนถูกจับกุม เจ้าส่วยใต้ถูกยิงเสียชีวิต เจ้าจาแสง เจ้าฟ้าเมืองตี่บอหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยที่จุดตรวจใกล้ตองจี
ภายหลังจากการรัฐประหาร พม่าถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร นำโดยคณะปฏิวัติของเน วิน สังคมทั้งหมดถูกควบคุมและอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ผ่านรูปแบบสังคมนิยม ซึ่งดัดแปลงมาจากแนวคิดของสหภาพโซเวียต และ การวางแผนจากส่วนกลาง
รัฐธรรมนูญใหม่แห่ง สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ได้ถูกประกาศใช้ปี 2517 ในช่วงเวลานั้นพม่าถูกปกครองโดยระบบพรรคการเมืองเดียว คือ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า นำโดยเน วิน และ อดีตนายทหารหลายนาย จนกระทั่งถึงปี 2531 ซึ่งนับว่าในขณะนั้น พม่าได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก
มีการปฏิวัติระดับชาติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2531 การปฏิวัติเริ่มในวันที่ 8 สิงหาคม 2531 (ค.ศ. 1988) และจากวันที่นี้ (8-8-88) ทำให้เหตุการณ์นี้มักเป็นที่รู้จักในชื่อ "การก่อการปฏิวัติ 8888" ประเทศพม่าปกครองด้วยพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า ที่มีพรรคการเมืองเดียวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 การปกครองเน้นชาตินิยมและรัฐเข้าควบคุมการวางแผนทุกประการ การลุกฮือเริ่มต้นจากนักศึกษาในเมืองย่างกุ้งเมื่อ 8 สิงหาคม ข่าวการประท้วงของนักศึกษาได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ต่อมามีประชาชนเรือนแสนที่เป็นพระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แม่บ้านและหมอ ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครอง รัฐบาลได้มีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ในวันที่ 18 กันยายน เกิดการรัฐประหารและทหารได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง มีการจัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ซึ่งเป็นองค์กรที่เปลี่ยนรูปมาจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า หลังจากที่ได้ประกาศกฏอัยการศึก ได้เกิดการประท้วงที่รุนแรงขึ้น นักศึกษา พระสงฆ์และนักเรียนราวพันคนถูกสังหาร และมีประชาชนอีก 500 คนถูกฆ่าในการประท้วงนอกสถานทูตสหรัฐอเมริกา นักศึกษาบางส่วนได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย ในขณะที่ในพม่ารายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 350 คน ในวันที่ 21 กันยายน รัฐบาลได้เข้ามาปกครองประเทศและขบวนการต่อต้านได้สลายตัวไปในเดือนตุลาคม เมื่อสิ้นปี 2531 เชื่อว่าผู้เสียชีวิตร่วมหมื่นคนและสูญหายอีกจำนวนมากจากปฏิบัติการทางทหารระหว่างการก่อการปฏิวัติ
การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบเท่าตัว และขึ้นราคาก๊าซหุงต้มถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองปะโคะกู ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมและมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป สื่อมวลชนบางแห่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า Saffron Revolution หรือ การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์
คณะพระภิกษุ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพอย่างสูงจากชาวพม่า ประกาศ "ปฐม นิคหกรรม" ไม่รับบิณฑบาตจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงด้วยตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี 2531 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ในการใช้กำลังทหารเข้าสลายการประท้วง
=== ปัจจุบัน ===
รัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพได้ประกาศ "แนวทางปฏิบัติสู่ประชาธิปไตย" ตั้งแต่ปี 2536 แต่กระบวนการนี้ดูเหมือนจะหยุดชะงักหลายครั้ง กระทั่งในปี 2551 รัฐบาลได้ตีพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติฉบับใหม่ และจัดให้มีการลงประชามติระดับชาติ (ที่มีข้อบกพร่อง) รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้การเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติที่มีอำนาจแต่งตั้งประธานาธิบดีในขณะเดียวกันก็สร้างความมั่นใจในการควบคุมกองทัพในทุกระดับ
การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2553 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี ถูกคว่ำบาตรโดยสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย พรรคสหสามัคคีและการพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพประกาศชัยชนะ โดยอ้างว่าได้รับการสนับสนุนจากคะแนนเสียงร้อยละ 80 อย่างไรก็ตาม มีการกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่ามีการทุจริตการเลือกตั้ง ต่อมาได้มีการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายพลเต้นเซนเป็นประธานาธิบดี นำไปสู่กิจกรรมทางประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเปิดการค้าและการปฏิรูปในประเทศจนถึงปี 2554 รวมถึงการปล่อยตัวนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยจากการถูกกักบริเวณในบ้าน การจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การอนุญาตให้มีการนิรโทษกรรมทั่วไปสำหรับนักโทษการเมืองมากกว่า 200 คน การตรากฎหมายแรงงานใหม่ที่อนุญาตให้มีสหภาพแรงงาน และการนัดหยุดงาน การผ่อนคลายการเซ็นเซอร์สื่อ และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับสกุลเงิน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สหรัฐฯมีแผนพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับพม่า โดยส่ง นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มาเยือนพม่าในเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งถือเป็นการเยือนพม่าครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในรอบกว่าห้าสิบปี ซึ่งได้เข้าพบประธานาธิบดีเต้นเซนและผู้นำฝ่ายค้านอองซานซูจี ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2555 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยชนะ 43 ที่นั่งจากทั้งหมด 45 ที่นั่ง และยังเป็นครั้งแรกที่ผู้แทนจากต่างประเทศได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบกระบวนการลงคะแนนเสียงในพม่า
==== การเลือกตั้งทั่วไป 2558 และการเลือกตั้งรัฐสภา 2563 ====
มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่มีการแข่งขันอย่างเปิดเผยในพม่านับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2533 (ซึ่งถูกยกเลิก) และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยได้ที่นั่งข้างมากในทั้งสองสภา ซึ่งเพียงพอที่จะรับรองได้ว่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะได้เป็นประธานาธิบดี ในขณะที่ผู้นำพรรคอย่างอองซานซูจี ถูกห้ามดำรงแหน่งประธานาธิบดีซึ่งมีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญ รัฐสภาชุดใหม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และในวันที่ 15 มีนาคม ทีนจอ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี โดยเขาเป็นบุคคลพลเรือนคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่รัฐประหารในปี 2505 ต่อมา เมื่อวันที่ 6 เมษายน อองซานซูจีเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐซึ่งเป็นตำแหน่งที่เพิ่งมีการแต่งตั้งเป็นครั้งแรก โดยมีหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรี
ในการเลือกตั้งรัฐสภาในปี 2563 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางอองซานซูจี ได้เข้าแข่งขันกับพรรคการเมืองเล็ก ๆ หลายพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ซึ่งสนับสนุนโดยกองทัพ พรรคการเมืองและบุคคลอื่น ๆ ที่เป็นพันธมิตรกับชนกลุ่มน้อยเฉพาะก็ลงสมัครรับตำแหน่งเช่นกัน พรรคของนางซูจีชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 อย่างถล่มทลาย และชนะการเลือกตั้งในทั้งสองสภาอีกครั้งโดยชนะ 396 ที่นั่งจาก 476 ที่นั่งในรัฐสภา พรรคสหสามัคคีซึ่งถือเป็นตัวแทนของกองทัพ ประสบความพ่ายแพ้อย่าง "อัปยศ" ยิ่งกว่าในปี 2555 โดยได้ที่นั่งเพียง 33 ที่นั่งจาก 476 ที่นั่ง แต่นายทหารระดับสูงปฏิเสธผลการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยมีทหารเป็นผู้สังเกตการณ์แทน พรรคการเมืองเล็ก ๆ อีกกว่า 90 พรรคร่วมคัดค้านการลงคะแนนเสียง รวมถึงอีกกว่า 15 พรรคที่ร้องเรียนการกระทำดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งประกาศว่าไม่มีสิ่งผิดปกติที่สำคัญในการลงคะแนนเสียง กองทัพได้เรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งสหภาพเมียนมา (UEC) และรัฐบาลตรวจสอบผลการเลือกตั้ง แต่คณะกรรมาธิการปฏิเสธข้อเรียกร้องเนื่องจากไม่มีหลักฐานใด ๆ แต่กองทัพยังคงไม่ยอมรับ และขู่ว่าจะทำการตอบโต้ในเร็ววัน
==== รัฐประหาร 2564 ====
ในช่วงเช้าของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นวันที่รัฐสภามีการประชุม กองทัพพม่ามอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มี่นอองไลง์ เข้าควบคุมประเทศ และประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลาหนึ่งปีและมีการปิดพรมแดน จำกัดการเดินทางและการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศ กองทัพประกาศว่าจะแทนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีอยู่ด้วยคณะกรรมการการชุดใหม่ และสื่อทางการทหารระบุว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ภายในหนึ่งปี แม้ว่ากองทัพจะหลีกเลี่ยงการให้คำมั่นอย่างเป็นทางการ ที่ปรึกษาของรัฐ อองซานซูจี และประธานาธิบดี วี่น-มหยิ่น ถูกกักบริเวณในบ้าน และทหารได้เริ่มยื่นฟ้องหลายข้อหากับพวกเขา ทหารขับไล่สมาชิกรัฐสภาพรรคสันนิบาตแห่งชาติออกจากกรุงเนปิดอว์ภายในวันที่ 15 มีนาคม ผู้นำทางทหารโดยกลุ่มของมี่นอองไลง์ยังคงขยายกฎอัยการศึกไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของย่างกุ้ง ในขณะที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้สังหารผู้คนไป 38 คนในวันเดียว
ในวันที่สองของการทำรัฐประหาร ผู้ประท้วงหลายพันคนเดินขบวนตามถนนในเมืองใหญ่ รวมถึงนครย่างกุ้ง และการประท้วงบริเวณอื่น ๆ ก็ปะทุทั่วประเทศ ส่งผลให้การค้าและการขนส่งหยุดชะงัก แม้ว่ากองทัพจะจับกุมและสังหารผู้ประท้วง แต่สัปดาห์แรกของการทำรัฐประหารพบว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งรวมถึงกลุ่มข้าราชการ ครู นักศึกษา คนงาน พระ และผู้นำทางศาสนา แม้แต่ชนกลุ่มน้อย การรัฐประหารถูกประณามทันทีโดยเลขาธิการสหประชาชาติและผู้นำของประเทศประชาธิปไตย ซึ่งรวมถึงประธานาธิบดี โจ ไบเดิน แห่งสหรัฐอเมริกา ผู้นำทางการเมืองของยุโรปตะวันตก และชาติประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอื่น ๆ ทั่วโลกที่เรียกร้องหรือกระตุ้นให้ปล่อยตัวผู้นำเชลย และหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยในทันที สหรัฐฯ ขู่คว่ำบาตรกองทัพและผู้นำรวมถึงการ "ระงับ" ทรัพย์สินมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ รัสเซีย เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ และจีน ละเว้นจากการวิจารณ์การรัฐประหาร ผู้แทนของรัสเซียและจีนได้หารือกับผู้นำกองทัพพม่าเพียงไม่กี่วันก่อนรัฐประหาร การสมรู้ร่วมคิดที่เป็นไปได้ของพวกเขาทำให้ผู้ประท้วงในพม่าไม่พอใจ
== ภูมิศาสตร์ ==
ประเทศพม่า ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 29° เหนือ และลองติจูด 92° และ 102° ตะวันออก
ประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกับบังกลาเทศยาว 271 กิโลเมตร (168 ไมล์) ติดกับอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือยาว 1,468 กิโลเมตร (912 ไมล์) พรมแดนทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนานของจีนยาว 2,129 กิโลเมตร (1,323 ไมล์) ติดกับลาวยาว 238 กิโลเมตร (148 ไมล์) และติดกับไทยยาว 2,416 กิโลเมตร (1,501 ไมล์) พม่ามีแนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทางตะวันตกเฉียงใต้และใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของพรมแดนทั้งหมด
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
ประเทศพม่าแบ่งเขตการปกครองในระดับภูมิภาคออกเป็น 7 ภาค (တိုင်းဒေသကြီး) สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พม่า และ 7 รัฐ (ပြည်နယ်) สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 1 ดินแดนสหภาพ (ပြည်တောင်စုနယ်မြေ) ได้แก่
=== อากาศ ===
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเขตร้อนทรอปิกออฟแคนเซอร์และเส้นศูนย์สูตร ตั้งอยู่ในเขตมรสุมของเอเชีย โดยบริเวณชายฝั่งจะมีปริมาณน้ำน้ำฝนมากกว่า 5,000 มม. (196.9 นิ้ว) ต่อปี ปริมาณน้ำฝนรายปีในภูมิภาคอยู่ที่ประมาณ 2,500 มม. (98.4 นิ้ว) ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยในเขตแห้งแล้งในภาคกลางน้อยกว่า 1,000 มม. (39.4 นิ้ว) ภาคเหนือของประเทศจะอากาศเย็นที่สุด โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 °C (70 °F) บริเวณชายฝั่งและบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32 °C (89.6 °F)
=== สิ่งแวดล้อม ===
พม่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพด้วยพืชมากกว่า 16,000 ชนิด, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 314 ชนิด, นก 1,131 ชนิด, สัตว์เลื้อยคลาน 293 ชนิด และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 139 ชนิด รวมถึงพืชพรรณเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน พื้นที่ชุ่มน้ำที่ถูกน้ำท่วมตามฤดูกาล พม่ามีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่ยังไม่ถูกทำลายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ระบบนิเวศที่เหลืออยู่ในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาการคุกคามจากมนุษย์ ที่ดินของพม่ามากกว่าหนึ่งในสามได้ถูกแปลงเป็นระบบนิเวศของมนุษย์ในช่วง 2-3 ศตวรรษที่ผ่านมา และเกือบครึ่งหนึ่งของระบบนิเวศกำลังถูกคุกคาม
พม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด สิ่งนี้ก่อให้เกิดความท้าทายทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล พม่ามีคะแนนเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ปี 2562 ที่ 7.18/10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 49 ของโลกจาก 172 ประเทศ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าของพม่ามีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศส่วนใหญ่ ป่าไม้ รวมถึงการเติบโตอย่างหนาแน่นในเขตร้อนและไม้สักอันมีค่าในภูมิภาคตอนล่างซึ่งรอบคลุมพื้นที่กว่า 49% ของประเทศกำลังประสบภาวะวิกฤติ การทำลายป่านำไปสู่กฎหมายป่าไม้ฉบับใหม่ปี 2538 มีผลบังคับใช้และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในปัจจุบัน
สัตว์ป่าทั่วไป โดยเฉพาะเสือโคร่ง พบได้น้อยในพม่า สัตว์ที่พบได้ในตอนบนของประเทศเช่น แรด ควายป่า เสือดาวลายเมฆ หมูป่า กวาง ละมั่ง และช้าง ซึ่งบางที่มีการเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมไม้แปรรูป สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กยังมีอยู่มากมายตั้งแต่ชะนีและลิงไปจนถึงค้างคาวแม่ไก่ นกมีมากกว่า 800 สายพันธุ์ รวมทั้งนกแก้ว นกขุนทอง นกยูง นกป่าแดง นกทอผ้า อีกา นกกระสา และนกเค้าแมว สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ จระเข้ ตุ๊กแก งูเห่า งูเหลือมพม่า และเต่า ปลาน้ำจืดหลายร้อยสายพันธุ์มีความหลากหลาย อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ
== รัฐบาลและการเมือง ==
ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก
สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในพม่า รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การข่มขืน แรงงานเด็ก ทาส การค้ามนุษย์ และการขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปีหลัง พม่าและผู้นำทหารได้ผ่อนปรนต่อนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยและกำลังพัฒนาความสัมพันธ์อย่างช้า ๆ กับมหาอำนาจและสหประชาชาติ
พม่าดำเนินการทางนิตินัยในฐานะสาธารณรัฐที่มีการรวมตัวและเป็นอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 รัฐบาลพลเรือนที่นำโดยอองซานซูจี ถูกกองทัพพม่าขับไล่และก่อรัฐประหาร กองทัพประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลาหนึ่งปี และมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มี่นอองไลง์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีของพม่าจะทำหน้าที่เป็นประมุข และประธานสภาบริหารแห่งรัฐทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยพฤตินัย สมัชชาสหภาพแรงงานรัฐธรรมนูญของพม่าซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ถูกร่างโดยผู้ปกครองทหารและตีพิมพ์ในเดือนกันยายน 2551 พม่าปกครองด้วยระบบรัฐสภาที่มีสภานิติบัญญัติแบบสองสภา (โดยมีประธานาธิบดีบริหารรับผิดชอบสภานิติบัญญัติ) สมาชิกสภานิติบัญญัติที่ได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพ และสมาชิกที่เหลือได้รับเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป สภานิติบัญญัติเรียกว่าสภาแห่งสหภาพ (Assembly of the Union) ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรแห่งสัญชาติ 224 ที่นั่งและสภาผู้แทนราษฎรล่าง 440 ที่นั่ง สภาสูงประกอบด้วยสมาชิก 168 คนที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงและ 56 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพพม่า สภาล่างประกอบด้วยสมาชิก 330 คนที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงและ 110 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพ
=== นโยบายต่างประเทศ ===
ในอดีต พม่ามีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับชาติตะวันตก แต่สถานการณ์ก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่การปฏิรูปหลังการเลือกตั้งในปี 2553 หลังจากหลายปีของการแยกตัวทางการทูตและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการทหาร สหรัฐฯ ได้ผ่อนปรนมาตรการช่วยเหลือต่างประเทศแก่พม่าในเดือนพฤศจิกายน 2554 และประกาศการเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้งในวันที่ 13 มกราคม 2555 สหภาพยุโรปได้คว่ำบาตรพม่า รวมถึงการคว่ำบาตรอาวุธ การยุติสิทธิพิเศษทางการค้าและการระงับความช่วยเหลือทั้งหมด ยกเว้นความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2555 เดวิด แคเมรอน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่า
แม้จะแยกตัวจากชาติตะวันตก แต่โดยทั่วไปแล้วบริษัทในเอเชียยังคงเต็มใจที่จะลงทุนในประเทศต่อไปและมีการวางแผนเริ่มลงทุนใหม่ในอนาคต โดยเฉพาะการลงทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ พม่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดียและจีน โดยมีบริษัทอินเดียและจีนหลายแห่งที่ดำเนินงานในประเทศ ภายใต้นโยบาย Look East ของอินเดีย ความร่วมมือระหว่างอินเดียและพม่ารวมถึงการสำรวจระยะไกล การสำรวจน้ำมันและก๊าซ เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงานน้ำ และการก่อสร้างท่าเรือและอาคาร
ในปี 2551 อินเดียระงับความช่วยเหลือทางทหารแก่พม่าสืบเนื่องจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลเผด็จการ ถึงแม้ว่าอินเดียจะยังรักษาความสัมพันธ์ทางการค้ากับพม่าอยู่ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างพม่าและเบลารุสเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 เมื่อนายกรัฐมนตรี มิคาอิล มยาสนิโควิช แห่งเบลารุสและภรรยาของเขา ลุดมิลา มาเยือนกรุงเนปยีดอ ในวันเดียวกับที่พม่าได้รับการเยือนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ซึ่งเข้าพบผู้นำฝ่ายค้านประชาธิปไตยของอองซานซูจี ทั้งสองชาติยังความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไปในเดือนกันยายน 2555 เมื่ออองซานซูจีเยือนสหรัฐอเมริกา
ในเดือนพฤษภาคม 2556 เต้นเซนกลายเป็นประธานาธิบดีพม่าคนแรกที่ไปเยือนทำเนียบขาวในรอบ 47 ปี ผู้นำพม่าคนสุดท้ายที่ไปเยือนทำเนียบขาวคือพลเอกเนวี่นในเดือนกันยายน 2509 ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ยกย่องอดีตนายพลเรื่องการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ และการยุติความตึงเครียดระหว่างพม่าและสหรัฐอเมริกา นักเคลื่อนไหวทางการเมืองคัดค้านการเยือนดังกล่าวเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า แต่โอบามารับรองเต้นเซนว่าพม่าจะได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ผู้นำทั้งสองหารือถึงการปล่อยตัวนักโทษการเมืองเพิ่ม การปรับโครงสร้างการปฏิรูปการเมืองและหลักนิติธรรม และการยุติความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในพม่า รัฐบาลทั้งสองตกลงที่จะลงนามในข้อตกลงกรอบการค้าและการลงทุนทวิภาคีในวันที่ 21 พฤษภาคม 2556
=== กองทัพ ===
พม่าได้รับความช่วยเหลือทางทหารมากมายจากจีนในอดีต พม่าเป็นสมาชิกของอาเซียนมาตั้งแต่ปี 2540 แม้ว่าจะเลิกดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2549 แต่ก็เป็นประธานการประชุมและเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดในปี 2557 ในเดือนพฤศจิกายน 2551 สถานการณ์ทางการเมืองของพม่ากับบังคลาเทศเพื่อนบ้านเริ่มตึงเครียดเมื่อพวกเขาเริ่มค้นหาก๊าซธรรมชาติในอ่าวเบงกอลที่มีข้อพิพาท ความขัดแย้งรอบด้านด้านประชากรโรฮีนจายังคงเป็นปัญหาระหว่างบังกลาเทศและพม่า กองกำลังติดอาวุธของพม่าเรียกว่ากองทัพพม่าซึ่งมีจำนวน 488,000 คน กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ พม่าอยู่ในอันดับสิบสองของโลกสำหรับจำนวนทหารประจำการที่ประจำการอยู่ กองทัพมีอิทธิพลอย่างมากในพม่า โดยตำแหน่งรัฐมนตรีและกระทรวงระดับสูงทั้งหมดมักเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการสำหรับการใช้จ่ายทางทหาร การประมาณการแตกต่างกันอย่างมากเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่แน่นอน แต่ค่าใช้จ่ายของกองกำลังทหารของพม่านั้นสูง พม่านำเข้าอาวุธส่วนใหญ่จากรัสเซีย ยูเครน จีน และอินเดีย
พม่าอยู่ระหว่างการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการวิจัยใกล้กับพินอูลวินด้วยความช่วยเหลือจากรัสเซีย พม่าเป็นหนึ่งในผู้ลงนามในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ตั้งแต่ปี 2535 และเป็นสมาชิกของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ตั้งแต่ปี 2500 รัฐบาลทหารได้แจ้ง IAEA ในเดือนกันยายน 2540 ถึงความตั้งใจที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์ในปี 2553 พม่าถูกตั้งข้อสงสัยว่าใช้ทีมก่อสร้างของเกาหลีเหนือเพื่อสร้างฐานป้องกันขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ ณ ปี 2562 สำนักงานควบคุมอาวุธแห่งสหรัฐอเมริกาประเมินว่าพม่าไม่ได้ละเมิดพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ แต่รัฐบาลพม่ามีประวัติความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับโครงการและเป้าหมายด้านนิวเคลียร์
=== ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ===
เป็นที่วิจารณ์กันโดยทั่วไประบอบทหารในพม่า (พ.ศ. 2505-53) เป็นระบอบที่กดขี่ประชาชนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ซาแมนธา พาวเวอร์ ผู้ช่วยพิเศษของประธานาธิบดี บารัก โอบามา หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน เขียนบนบล็อกของทำเนียบขาวก่อนการเยือนของประธานาธิบดีว่า “การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อพลเรือนในหลายภูมิภาคยังดำเนินต่อไป รวมถึงต่อผู้หญิงและเด็ก” สมาชิกของสหประชาชาติและองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรายใหญ่ได้ออกรายงานซ้ำ ๆ และสม่ำเสมอเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแพร่หลาย
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าเคารพสิทธิมนุษยชนหลายครั้ง และในเดือนพฤศจิกายน 2552 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ลงมติ "ประณามอย่างรุนแรงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบ" และเรียกร้องให้กองทัพพม่าดำเนินการ "ใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรม"
องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึง ฮิวแมนไรตส์วอตช์, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และ สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน ได้จัดทำเอกสารและประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในวงกว้างในพม่าหลายครั้ง รายงาน The Freedom in the World 2011 โดย Freedom House ระบุว่า "รัฐบาลเผด็จการทหารได้ ... ปราบปรามสิทธิขั้นพื้นฐานเกือบทั้งหมด และกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยไม่ต้องรับโทษ" ในเดือนกรกฎาคม 2556 สมาคมช่วยเหลือผู้ต้องขังทางการเมืองระบุว่ามีนักโทษการเมืองประมาณ 100 คนถูกคุมขังในเรือนจำพม่า หลักฐานที่รวบรวมโดยนักวิจัยชาวอังกฤษตีพิมพ์ในปี 2548 เกี่ยวกับการกดขี่ชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม เช่น กะเหรี่ยง และฉาน
=== การบังคับเยาวชนไปเป็นทหาร ===
ทหารเด็กมีบทบาทสำคัญในกองทัพพม่าจนถึงประมาณปี 2555 สำนักข่าวอิสระรายงานเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 ว่า "เด็ก ๆ ถูกขายเป็นทหารเกณฑ์ในกองทัพพม่าด้วยเงินเพียง 40 ดอลลาร์และข้าวหนึ่งถุงหรือน้ำมันหนึ่งกระป๋อง" ราธิกา คูมารัสวามี ผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติของเลขาธิการเพื่อเด็กและความขัดแย้งทางอาวุธซึ่งลาออกจากตำแหน่งในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ได้พบกับตัวแทนของรัฐบาลพม่าในเดือนกรกฎาคม 2555 และกล่าวว่าเธอหวังว่ารัฐบาลจะลงนามแผนปฏิบัติการจะ "ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลง"
ในเดือนกันยายน 2555 กองทัพพม่าปล่อยทหารเด็ก 42 นาย และองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้พบกับตัวแทนของรัฐบาลและกองทัพกะชีนอิสระเพื่อประกันการปล่อยตัวทหารเพิ่มเติม ตามรายงานของ ซาแมนธา พาวเวอร์ คณะผู้แทนของสหรัฐฯ ได้หยิบยกประเด็นเรื่องทหารเด็กกับรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2555 อย่างไรก็ตาม เธอไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าของรัฐบาลในการปฏิรูปในด้านนี้
=== ชาวโรฮีนจา ===
ชาวโรฮีนจาต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องจากระบอบการปกครองของพม่าที่ปฏิเสธที่จะยอมรับว่าพวกเขาเป็นพลเมืองพม่า (แม้ว่าบางคนจะอาศัยอยู่ในพม่ามานานกว่าสามชั่วอายุคน) ชาวโรฮีนจาถูกปฏิเสธไม่ให้สัญชาติพม่าตั้งแต่มีการตรากฎหมายในปี 2525 ระบอบการปกครองของพม่าพยายามบังคับขับไล่ชาวโรฮีนจาและมีการขับไล่ชาวประมาณครึ่งหนึ่งจากจำนวน 800,000 คนออกจากพม่า ในขณะที่ชาวโรฮีนจาได้รับการอธิบายว่าเป็น "ชนกลุ่มน้อยที่เป็นที่ต้อนรับน้อยที่สุดของโลก" และ "ชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ข่มเหงมากที่สุดของโลก"
ชาวโรฮีนจาไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ ถูกห้ามไม่ให้ถือครองที่ดิน และต้องลงนามในคำมั่นสัญญาว่าจะมีบุตรไม่เกินสองคน ณ เดือนกรกฎาคม 2555 รัฐบาลพม่าไม่รวมชนกลุ่มน้อยโรฮีนญาซึ่งจัดเป็นชาวเบงกาลีมุสลิมที่ไร้สัญชาติจากบังกลาเทศตั้งแต่ปี 2525 ในรายการของรัฐบาลที่มีเชื้อชาติมากกว่า 130 ชาติพันธุ์ ดังนั้น รัฐบาลจึงระบุว่าพวกเขาไม่มีสิทธิ์ขอสัญชาติพม่า ในปี 2550 ศาสตราจารย์ บาสซัม ตีบี ชาวเยอรมัน เสนอว่าความขัดแย้งโรฮีนจาอาจขับเคลื่อนโดยวาระทางการเมืองของอิสลามิสต์เพื่อกำหนดกฎหมายทางศาสนา ในขณะที่สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเช่นกัน เช่น ความขุ่นเคืองที่คงอยู่ต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่น และการยึดครองพม่าในสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงเวลานี้ อังกฤษได้เป็นพันธมิตรกับชาวโรฮีนจาและต่อสู้กับรัฐบาลหุ่นเชิดของพม่า (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบามาร์ญี่ปุ่น) ที่ช่วยก่อตั้งกองทัพพม่า ที่มีอำนาจมายาวนานยกเว้นในช่วง 5 ปี (2559 - 2564)
== เศรษฐกิจ ==
ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กำหนดการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า
ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่เลวร้ายที่สุดในโลก องค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อันดับที่ 190 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย
ประเทศพม่ามี เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก
ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก
การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง
อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า
=== การคมนาคม ===
การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ
ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ ถนนพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองหมู่แจ้ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากหมู่แจ้ถึงคุนหมิง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ หงสาวดี-ตองอู-ปยี่นมะน่า-เมะทีลา-มัณฑะเลย์-สี่ป้อ-ล่าเสี้ยว-แสนหวี-หมู่แจ้ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล ส่วนทางรถไฟของพม่าได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2481
การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด
=== สกุลเงิน ===
สกุลเงินของประเทศพม่า คือ จัต (Kyat) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 43.19 จัตต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,390.91 จัตต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2563)
=== เกษตรกรรม ===
สินค้าเกษตรที่สำคัญคือข้าว ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 60% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดของประเทศ ข้าวคิดเป็น 97% ของการผลิตเมล็ดพืชอาหารทั้งหมดโดยน้ำหนัก โดยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ 52 พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ออกจำหน่ายในประเทศระหว่างปี 2509-2540 ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวของประเทศเป็น 14 ล้านตันในปี 2530 และ 19 ล้านตันในปี 2539 โดยในปี 2531 มีการปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ครึ่งหนึ่งของนาข้าวของประเทศ รวมทั้งร้อยละ 98 ของพื้นที่ชลประทาน ในปี 2551 ผลผลิตข้าวคิดเป็นประมาณ 50 ล้านตัน
=== อุตสาหกรรมสำคัญ ===
พม่าผลิตอัญมณีล้ำค่า เช่น ทับทิม ไพลิน ไข่มุก และหยก ทับทิมที่มีมูลค่าสูงสุดกว่า 90% ของทับทิมที่ขายทั่วโลกมาจากพม่าซึ่งหินสีแดงได้รับการยกย่องในด้านความบริสุทธิ์และสีสันสวยงาม ประเทศไทยซื้ออัญมณีส่วนใหญ่มาจาก "หุบเขาแห่งทับทิม" พื้นที่ภูเขา โม่โกะ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางเหนือ 200 กม. (120 ไมล์) ขึ้นชื่อเรื่องทับทิมสีเลือดของนกพิราบและไพลินสีน้ำเงินที่หายาก
บริษัทเครื่องประดับในสหรัฐอเมริกาและยุโรปหลายแห่ง รวมถึง Bulgari, Tiffany และ Cartier ปฏิเสธที่จะนำเข้าอัญมณีเหล่านี้โดยอิงจากรายงานสภาพการทำงานที่น่าสงสารในเหมือง ฮิวแมนไรตส์วอตช์ สนับสนุนการห้ามซื้ออัญมณีพม่าโดยสมบูรณ์ตามรายงานเหล่านี้ และเนื่องจากผลกำไรเกือบทั้งหมดตกเป็นของรัฐบาลเผด็จการ เนื่องจากกิจกรรมการขุดส่วนใหญ่ในประเทศเป็นกิจการของรัฐบาล รัฐบาลพม่าควบคุมการค้าอัญมณีด้วยการเป็นเจ้าของโดยตรงหรือโดยการร่วมทุนกับเจ้าของเหมืองส่วนตัว ธาตุแรร์เอิร์ธเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญเช่นกัน เนื่องจากพม่าจัดหาแร่หายากประมาณ 10% ของโลก ความขัดแย้งในรัฐคะฉิ่นได้คุกคามการปฏิบัติงานของทุ่นระเบิด ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564
อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ สินค้าเกษตร สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากไม้ วัสดุก่อสร้าง อัญมณี โลหะ น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ สมาคมวิศวกรรมแห่งพม่าได้ระบุสถานที่อย่างน้อย 39 แห่งที่สามารถผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพได้ และแหล่งกักเก็บความร้อนใต้พิภพเหล่านี้บางแห่งตั้งอยู่ใกล้กับย่างกุ้งซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญสำหรับการผลิตไฟฟ้า
=== การท่องเที่ยว ===
รัฐบาลได้รายได้จากบริการการท่องเที่ยวของภาคเอกชน สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมได้แก่เมืองใหญ่ เช่น ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ สถานที่ทางศาสนาในรัฐมอญ พินดายา พะโค และพะอาน เส้นทางศึกษาธรรมชาติในทะเลสาบอี้นเล่ เชียงตุง, ปูดาโอ, ปยีนอู้ลวีน เมืองโบราณเช่นพุกามและมเยาะอู้ เช่นเดียวกับชายหาดในนาบูเล อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 คณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวพม่าได้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นคุ้มครองนักท่องเที่ยวและจำกัด "การติดต่อที่ไม่จำเป็น" ระหว่างชาวต่างชาติกับชาวพม่า
วิธีที่นิยมมากที่สุดสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศคือทางอากาศ ตามเว็บไซต์ Lonely Planet การเดินทางเข้าสู่พม่ามีปัญหาสำคัญได้แก่: "ไม่มีบริการรถประจำทางหรือรถไฟเชื่อมต่อพม่ากับประเทศอื่น และไม่สามารถเดินทางโดยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ข้ามพรมแดน - แต่ต้องเดินข้ามมาเท่านั้น" พวกเขากล่าวเพิ่มเติมว่า "เป็นไปไม่ได้สำหรับชาวต่างชาติที่จะไป/กลับจากพม่าโดยทางทะเลหรือแม่น้ำ" มีการผ่านแดนไม่กี่แห่งที่อนุญาตให้ยานพาหนะส่วนตัวผ่านได้ เช่น พรมแดนระหว่างรุ่ยลี่ (จีน) ไปยัง หมู่แจ้ พรมแดนระหว่าง Htee Kee (พม่า) และด่านพุน้ำร้อน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นพรมแดนที่ตรงที่สุดระหว่างทวายและกาญจนบุรี และชายแดนระหว่างเมียวดี และแม่สอด ประเทศไทย บริษัทท่องเที่ยวอย่างน้อยหนึ่งแห่งประสบความสำเร็จในการดำเนินการเส้นทางการค้าทางบกผ่านพรมแดนเหล่านี้ตั้งแต่ปี 2556
==ประชากรศาสตร์==
ผลการสำรวจสำมะโนประชากรพม่า พ.ศ. 2557 พบว่ามีประชากรทั้งหมด 51,419,420 คน ตัวเลขนี้รวมบุคคลประมาณ 1,206,353 คนในบางส่วนของรัฐยะไข่ตอนเหนือ รัฐกะชีน และรัฐกะเหรี่ยงบุคคลที่อยู่นอกประเทศในช่วงเวลาของการสำรวจสำมะโนประชากรจะไม่รวมอยู่ในตัวเลขเหล่านี้ มีแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนจากพม่าในประเทศไทยกว่า 600,000 คน และอีกหลายล้านคนทำงานอย่างผิดกฎหมาย พลเมืองพม่าคิดเป็น 80% ของแรงงานข้ามชาติทั้งหมดในประเทศไทย ความหนาแน่นของประชากรของประเทศอยู่ที่ 76 ต่อตารางกิโลเมตร (200/ตร.ไมล์) ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อัตราการเจริญพันธุ์ของพม่า ณ ปี 2554 อยู่ที่ 2.23 ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยเล็กน้อย และต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน เช่น กัมพูชา (3.18) และลาว (4.41) ภาวะเจริญพันธุ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในทศวรรษ 2000 จากอัตรา 4.7 เด็กต่อผู้หญิงหนึ่งคนในปี 1983 ลดลงเหลือ 2.4 ในปี 2001 แม้จะไม่มีนโยบายด้านประชากรของประเทศก็ตาม และอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำในเขตเมือง
=== เมืองใหญ่สุด ===
=== เชื้อชาติ ===
จำนวนประชากรประมาณ 53,582,855 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68% ไทใหญ่ 10% กะเหรี่ยง 7% ยะไข่ 3.5% จีน 3% มอญ 2% กะชีน 1.5% อินเดีย 2% ชีน 1% คะยา 0.8% เชื้อชาติอื่น ๆ 5%
=== ศาสนา ===
ในปี ค.ศ. 2014 ประเทศพม่ามีประชากรที่นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ | thaiwikipedia | 264 |
มหาประชาฤทธีฉันท์ | มหาประชาฤทธีฉันท์
==แผนผัง==
Mahachun.png
เมื่อถึงตอนจบเรื่องแล้วให้ใช้
Mahachun2.png
(ในที่นี้ ตัววงกลมหมายถึง ครุ ตัววงกลมมีขีดผ่ากลาง หมายถึง ลหุ)
==ความหมาย==
มหาประชาฤทธีฉันท์ หมายถึง ฉันท์อันมีเสียงกึกก้องดั่งมหาประชาชนผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินได้ประกาศเสียง
==หลักเกณฑ์==
ห้ามใช้ เอกโทษ โทโทษ
ห้ามแต่งสรรเสริญจ้าว, นายทุน หรือพวกผู้กดขี่ทั้งหลาย ยกเว้นเล่าเรื่องตำนาน
==ตัวอย่าง==
ครั้นมหาประชาธะชาวปราชญ์.....สิก่ออำนาจ.........ประกาศผล
ปืนประโคมสิสุ่มตะคุ่มยล........ลุแลค่นชน.........ผู้ชั่วช้า
อันหทัยริรวนสงวนหา..........มิพบพานพา........ธรรมาชน
เราสิหวังจะปลด ธ แอกทน......ริทุกผู้คน..........เสียสมสา
เมื่อลุแก่วราประชาชน.........จะกู่ร่ำรณ..........-รงค์ประสงค์ชัย
==ดูเพิ่ม==
ฉันท์
อินทรวิเชียรฉันท์
สาลินีฉันท์
วสันตดิลกฉันท์
สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
ฉันท์ | thaiwikipedia | 265 |
เลือกที่จะไม่เลือก | เลือกที่จะไม่เลือก หรือชื่อในการประชาสัมพันธ์ว่า vote no vote เป็นการรณรงค์ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิโดยไม่เลือกผู้ใดเป็นตัวแทน (กากากบาทในช่อง "ไม่ออกคะแนนเสียง") เพื่อส่งสัญญาณให้พรรคการเมืองและนักการเมือง พิถีพิถันในการเสนอบุคคลและนโยบายมากขึ้น นับเป็นปฏิบัติการทางการเมืองของภาคประชาชน เพื่อเพิ่มอำนาจของประชาชนในการเลือกตั้งและทางการเมือง
การรณรงค์เลือกที่จะไม่เลือกสำหรับการเลือกตั้งในประเทศไทยนั้น มีหลักฐานว่าเริ่มมาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2543 แต่การเลือกตั้งครั้งที่คะแนนเสียงไม่เลือกมีผลอย่างชัดเจนนั้น คือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งในหลายเขตเลือกตั้ง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ (ประเทศไทย คะแนน "ไม่เลือก" มีสูงกว่าคะแนนของผู้สมัครที่ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง ก่อให้เกิดคำถามถึงความชอบธรรมและความสง่างามของตำแหน่งผู้แทนราษฎร และในเขตที่มีผู้สมัครรายเดียวบางเขต คะแนน "ไม่เลือก" ก็ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากผู้สมัครรายเดียวนั้น ได้คะแนนไม่ถึง 20% ของผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด ตามกำหนดของกฎหมายเลือกตั้ง
== การวิพากษ์วิจารณ์ ==
โครงการ "เลือกที่จะไม่เลือก" ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้ประชาชน "รู้สึก" ว่าได้มีส่วนร่วมในการปกครอง แต่ไม่มีการศึกษาข้อมูลของผู้รับสมัครเลือกตั้ง ซึ่งทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตย เนื่องจากประชาชนไม่ได้ทำอะไร
==แหล่งข้อมูลอื่น==
เลือกที่จะไม่เลือก โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, มติชนรายวัน, วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
การเมืองภาคประชาชนหลังการเลือกตั้ง - ข้อเสนอเพื่อปฏิบัติการทางการเมืองของภาคประชาชนหลังเลือกตั้ง
'ความเห็นต่อการรณรงค์ "เลือกที่จะไม่เลือก"' โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน
Vote No Vote: เลือกที่จะไม่เลือก - เว็บไซต์รณรงค์
ลืเอกที่จะม่ไลืเอก | thaiwikipedia | 266 |
ประเทศเวียดนาม | เวียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่รวม 311,699 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 96 ล้านคนใน พ.ศ. 2562 จึงถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 15 ของโลก และเป็นอันดับ 9 ของเอเชีย มีพรมแดนติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ, ประเทศลาว และประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย ทางทิศตะวันออกและใต้ มีเมืองหลวงคือฮานอย และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือนครโฮจิมินห์ (เดิมชื่อว่า ไซ่ง่อน)
ดินแดนของเวียดนามเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินเก่า ผู้คนเข้ามาตั้งรกรากและรวมตัวกันเป็นรัฐต่าง ๆ บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงซึ่งเป็นที่ตั้งของภูมิภาคทางเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน ดินแดนส่วนใหญ่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิจีนกว่าพันปี ตั้งแต่ 111 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 939 ราชวงศ์ฮั่นผนวกดินแดนตอนเหนือและตอนกลางเข้าด้วยกัน รัฐแรกเริ่มของเวียดนามก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 939 ภายหลังเวียดนามชนะจีน (มองโกล) ในยุทธนาวีแม่น้ำบักดั่ง เวียดนามและจักรพรรดิเวียดนามก็เจริญรุ่งเรืองและเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เหงียนถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองดินแดนนี้ จนกระทั่งตกเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และภายหลังการปฏิวัติเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองทัพประชาชนในนาม เหวียตมิญ นำโดยโฮจิมินห์ มีบทบาทในการนำเวียดนามปลดแอกจากฝรั่งเศส
เวียดนามต้องเผชิญกับสงครามที่ยืดเยื้อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสกลับมาเถลิงอำนาจอีกครั้งในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง ซึ่งจบลงด้วยชัยของเวียดนามในปี 2497 กระนั้น สงครามเวียดนามได้ปะทุขึ้นไม่นานหลังจากนั้น โดยประเทศเวียดนามถูกแยกเป็นสองส่วนคือ เวียดนามเหนือ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน และ เวียดนามใต้ (สาธารณรัฐเวียดนาม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยเวียดนามเหนือนำไปสู่การสิ้นสุดของสงคราม กรุงไซ่ง่อนได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโฮจิมินห์ ในขณะที่ฮานอยซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ ได้กลายเป็นเมืองหลวงของเวียดนามหลังจากการรวมประเทศในปี 2519 ซึ่งดินแดนทั้งหมดได้รวมกันกลายเป็นรัฐสังคมนิยมในชื่อ "สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม" พรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาทนำทางการเมือง สิ่งนี้นำไปสู่การวิจารณ์จากนานาชาติรวมถึงการคว่ำบาตรจากโลกตะวันตก สงครามกัมพูชา–เวียดนาม และ สงครามจีน–เวียดนาม ทำให้ประเทศเสื่อมโทรมมากขึ้น ก่อนที่นโยบายโด๋ยเม้ยในปี 2529 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จะช่วยให้เศรษฐกิจประเทศเริ่มฟื้นตัว โดยยึดรูปแบบตามการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้เวียดนามกลายสภาพเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาค และเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเมืองในเวทีโลกมากขึ้น
ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศกำลังพัฒนา โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 และหากวัดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ คาดว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะทัดเทียมกับประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2593 อย่างไรก็ดี ประชากรจำนวนมากยังประสบกับความยากจน และเวียดนามยังเผชิญความโดดเดี่ยวทางการเมือง ปัญหาสำคัญได้แก่ การทุจริตทางการเมือง รวมถึงการให้เสรีภาพสื่อและสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำ ใน พ.ศ. 2543 ได้มีการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ เวียดนามเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก, ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และ องค์การการค้าโลก และยังเคยมีบทบาทในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
== ชื่อ ==
คำว่า "เวียดนาม" หรือ "เหวียดนาม" (Việt Nam, , เหวียดนาม) คืออีกชื่อหนึ่งของ "นามเหวียด" (Nam Việt นามเหวียด; ; แปลว่า "เวียดใต้") โดยเป็นชื่อที่เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เจี่ยว (Nhà Triệu; 家趙, หญ่าเจี่ยว) ในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล หรือช่วงระหว่างปีพ.ศ. 344 ถึง 443 คำว่า "เหวียด" (Việt)' เดิมเป็นชื่อย่อของ บั๊กเหวียด (Bách Việt บ๊าก เหฺวียด; ; แปลว่า "ร้อยเวียด") ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มชนที่เคยอาศัยอยู่บริเวณทางใต้ของจีนและทางเหนือของเวียดนาม
== ประวัติศาสตร์ ==
=== สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ===
เป็นอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในเวียดนามมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริด และชุมชนโบราณที่ดงเซิน เขตเมืองแทงหวา ทางใต้ของปากแม่น้ำแดง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่ามองโกลอยด์เหนือจากจีนและใต้ ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่าอาณาจักรวันลาง มีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปีเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์
=== สมัยประวัติศาสตร์ ===
เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังจากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซีซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิให้เป็นหนึ่งเดียว โดยได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือ นามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่า เจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่าง ๆ ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้งเช่น:
วีรสตรีในนาม ฮายบาจึง ได้นำกองกำลังต่อต้านการปกครองของจีน แต่ปราชัยในอีก 3 ปีต่อมาและตกเป็นส่วนหนึ่งของจีน
นักโทษปัญญาชนชาวจีนนามว่า หลีโบน ร่วมมือกับปัญญาชนชาวเวียดนามร่วมทำการปฏิวัติ ก่อตั้งราชวงค์หลี ขนานนามแคว้นว่า วันซวน แต่พ่ายแพ้ในที่สุด
การปกครองของจีนในเวียดนามขาดตอนเป็นระยะตามสถานการณ์ในจีนเอง ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวพื้นเมืองในเวียดนามตั้งตนเป็นอิสระ ในช่วงเวลาที่เวียดนามอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ถาง พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่เวียดนาม เมืองต้าหลอหรือฮานอย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการค้าการเดินทางของชาวจีนและอินเดีย พระสงฆ์และนักบวชในลัทธิเต๋าจากจีนเดินทางเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้ ต่อมาราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนชื่อเขตปกครองนี้ใหม่ว่า อันหนาน (หรืออันนัม ในสำเนียงเวียดนาม) หลังปราบกบฏชาวพื้นเมืองได้ แต่ถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จีนครอบครองดินแดนแห่งนี้
พ.ศ. 1498 - 1510 ราชวงศ์โง--หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถางของจีน นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด หลังจากจักรพรรดิสวรรคต อาณาจักรแตกแยกออกเป็น 12 แคว้น มีผู้นำของตนไม่ขึ้นตรงต่อกัน
พ.ศ. 1511 - 1523 ราชวงศ์ดิงห์--ขุนศึกดิงห์โบะหลิง แม่ทัพของราชวงศ์โง สามารถรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เปลียนชื่อประเทศเป็น
ไดโก่เวียด เริ่มสร้างระบบการปกครองแบบจีนมากกว่ายุคก่อนหน้า และตั้งตนเป็น จักรพรรดิดิงห์เตียน หรือ ดิงห์เตียนหว่าง เสมือนจักรพรรดิจิ๋นซีผู้รวบรวมจีน ถือเป็นการเริ่มใช้ตำแหน่งจักรพรรดิหรือ หว่างเด๋ ในเวียดนามเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 1524-1552 ราชวงศ์เตี่ยนเลหรือเลยุคแรก--มเหสีของจักรพรรดิดิงห์โบะหลิง ได้ขับไล่รัชทายาทราชวงศ์ดิงห์ สถาปนาพระสวามีใหม่คือขุนศึกเลหว่านเป็นจักรพรรดิเลด่ายแห่ง โดยพยายามสร้างความมั่นคงด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ่งของจีนและปราบปรามกบฏภายใน แต่ก็ไม่รอดพ้นการรัฐประหาร สมัยนี้พุทธศาสนาและลัทธิเต๋ารุ่งเรืองมากและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนชั้นสูงมาก
=== ราชวงศ์ยุคใหม่ ===
พ.ศ. 1552-1768 ราชวงศ์หลี--หลี กง อ่วนมีอำนาจในราชสำนักฮวาลือ เมื่อขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่ ทังลอง (ฮานอย) ทรงสร้างวัดขึ้น 150 แห่ง ในปี 1070 นำระบบการสอบจอหงวนมาใช้ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวันเหมียว ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีขงจื้อ เพื่อสอบเข้ารับราชการในระบบจอหงวน แต่ขุนนางยังมีจำนวนน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายผู้มีอิทธิพลในหัวเมือง ต่อมาทรงพระนามว่า หลีไถโต๋ สมัยหลีเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองและสังคมมาก ที่ปรึกษาราชการในบางสมัยเป็นพระสงฆ์ จักรพรรดิราชวงศ์หลีช่วงหลังสร้างวัดขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง และสละราชสมบัติออกผนวช เป็นสาเหตุให้การบริหารราชการเริ่มตกอยู่ในอำนาจของเครือญาติพระชายามาจากตระกูลที่มั่งคั่งในหัวเมือง ผู้ปกครององค์สุดท้ายเป็นเด็กหญิงที่ได้รับการตั้งเป็นจักรพรรดินี พระนามว่าหลีเจี่ยว การบริหารราชการตกอยู่ในอำนาจของญาติวงศ์พระชนนีซึ่งเป็นขุนศึกมีกองกำลังทหารอยู่ในมือ เช่นเจิ่นถูโดะ ซึ่งก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากราชวงศ์หลีในที่สุด
พ.ศ. 1768-1943 ราชวงศ์เจิ่น--เจิ่นถูโดะญาติของพระชายาจักรพรรดิก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจท่ามกลางสถานการณ์กบฏและการรุกรานจากข้าศึกต่างชาติ จากนั้นได้อภิเษกสมรสกับพระนางเจียว ฮว่าง จักรพรรดินีองศ์สุดท้ายของราชวงศ์หลีแล้วยกหลานขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์เจิ่น สมัยเจิ่นเวียดนามต้องเผชิญกับศึกสงครามโดยตลอด ที่ร้ายแรงที่สุดคือการรุกรานจากพวกมองโกลและจัมปา สมัยเจิ่นก็เริ่มให้ความสำคัญกับอารยธรรมจีนมากกว่ายุคก่อนหน้าโดยเฉพาะด้านภูมิปัญญาและอักษรศาสตร์ รวมถึงการบริหารราชการแบบจีน ในสมัยนี้มีการประมวลพงศาวดารชาติเป็นครั้งแรก ชื่อว่า ด่ายเหวียตสือกี๋ หรือ บันทึกประวัติศาสตร์มหาอาณาจักรเวียด โดยราชบัณฑิต เลวันฮึว นอกจากนี้ยังเริ่มมีการประดิษฐ์อักษรของเวียดนามที่เรียกว่า อักษรโนม ขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 1943-1971 ราชวงศ์โห่--โห่กุ๊ยลี ญาติของพระชายาจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่น สร้างฐานอำนาจของตนด้วยการเป็นแม่ทัพทำศึกกับพวกจามทางใต้ ต่อมาก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่นและพยายามกำจัดเชื้อสายราชวงศ์ที่หลงเหลืออยู่ จากนั้นขึ้นครองราชย์ ตั้งทายาทของตนเป็นจักรพรรดิต่อมา ราชนิกูลราชวงศ์เจิ่นได้ขอความช่วยเหลือไปยังจีน ทำให้จีนส่งกองทัพเข้ามาล้มล้าง ราชวงศ์โห่ แต่สุดท้ายก็ไม่มอบอำนาจให้แก่ราชวงศ์เจิ่น และยึดครองเวียดนามแทนที่
การกู้เอกราชและก่อตั้ง ราชวงศ์เล (ยุคหลัง) พ.ศ. 1971-2331 เล่เหล่ย ชาวเมืองแทงหวา ทางใต้ของฮานอย ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกตั้งตนขึ้นเป็นผู้นำเวียดนาม ขับไล่จีนออกจากเวียดนามได้สำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 1971 เลเหล่ยขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ สถาปนา ราชวงศ์เล ขึ้น มีราชธานีที่ฮานอยหรือทังลองและราชธานีอีกแห่งคือที่เมืองแทงหวา (ทันห์ว้า) หรือ ราชธานีตะวันตก ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของเลเหล่ยและตระกูลเล ต่อมาเลเหล่ยได้รับการถวายพระนามว่า เลไถโต๋
ราชวงศ์เลช่วงแรกเป็นช่วงสร้างความมั่นคงและฟื้นฟูประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะในสมัยเลไถโต๋หรือเลเหล่ย เช่นการสร้างระบบราชการ จัดสอบคัดเลือกขุนนาง ตรากฎหมายใหม่ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ฟื้นฟูการเกษตร รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนทำให้เวียดนามเข้าสู่ยุคสงบสุขปลอดจากสงครามอีกครั้ง
หลังสมัยเลเหล่ย เริ่มเกิดความขัดแย้งระหว่างขุนนางพลเรือนกับบรรดาขุนศึกที่ร่วมทัพกับเลเหล่ยในการสู้รบกับจีน ความขัดแย้งบานปลายจนนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวกในหมู่ข้าราชสำนัก จนเกิดการรัฐประหารครั้งแรกของราชวงศ์เลใน พ.ศ. 2002 มีการประหารพระชนนีและจักรพรรดิขณะนั้น ต่อมาบรรดาขุนนางจึงสนับสนุนให้ราชนิกูลอีกพระองค์หนึ่งมาเป็นจักรพรรดิแทน ต่อมาคือจักรพรรดิเลแถงตง (พ.ศ. 2003-2040)
รัชกาลจักรพรรดิเลแถงตงถือว่ายาวนานและรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เวียดนาม มีการปฏิรูปประเทศหลายด้านโดยยึดรูปแบบจีนมากกว่าเดิม ทั้งระบบการสอบรับราชการที่จัดสอบครบสามระดับตั้งแต่อำเภอจนถึงราชธานี จำนวนขุนนางเพิ่มขึ้นทวีคูณและทำให้ระบบราชการขยายตัวมากกว่ายุคสมัยก่อนหน้า นอกจากนั้นยังมีการประมวลกฎหมายใหม่พระองค์ทรงสร้างเวียดนามให้เป็นมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่มักขัดแย้งกับเวียดนามคือจัมปาและลาว อิทธิพลของเวียดนามรับรู้ไปจนถึงหัวเมืองเผ่าไทในจีนตอนใต้และล้านนา หลังรัชกาลนี้ราชวงศ์เลเริ่มประสบปัญหาความขัดแย้งในหมู่ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ ปัญหาเศรษฐกิจจนที่สุดก็ถูกรัฐประหารโดยขุนศึกหมักดังซุง ในปี พ.ศ. 2071 เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์เลหลบหนีด้วยการช่วยเหลือของขุนศึกตระกูลเหวียนและจิ่ง ที่มีอิทธิพลในราชสำนักมาแต่แรก
ราชวงศ์เลเริ่มการฟื้นฟูกอบกู้อำนาจคืนโดยมีแม่ทัพเป็นคนตระกูลเหวียนและจิ่ง ทำสงครามกับราชวงศ์หมักจนถึงปี พ.ศ. 2136 จึงสามารถยึดเมืองทังลองคืนได้และฟื้นฟูราชวงศ์เลปกครองเวียดนามต่อไป
=== ยุคแตกแยกเหนือ-ใต้ ===
หลังการฟื้นฟูราชวงศ์เลขึ้นได้ ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการ และให้ขุนศึกตระกูลเหวียนไปปกครองเขตชายแดนใต้บริเวณเมืองด่งเหยลงไปถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็น เจ้าสืบตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ในตระกูลของตนเอง ขุนศึกตระกูลเหวียนจึงประกาศไม่ยอมรับการปกครองของตระกูลจิ่งจนเกิดสงครามครั้งใหม่ต่อมาอีกหลายสิบปี เวียดนามแบ่งแยกเป็นสองส่วน ส่วนเหนือ คือ เวียดนามเหนือ อยู่ในการปกครองของราชวงศ์เลและเจ้าตระกูลจิ่ง มีศูนย์กลางที่ทังลอง ส่วนใต้ คือ เวียดนามใต้ มีตระกูลเหวียนปกครอง มีศุนย์กลางที่เมืองฝูซวนหรือเว้ในปัจจุบันตลอดมา
=== จักรวรรดิเวียดนาม ===
พ.ศ. 2316 เกิดกบฏนำโดยชาวนาสามพี่น้องที่หมู่บ้านเตยเซินขึ้นในเขตเมืองบิ่งดิ่ง เขตปกครองของตระกูลเหวียน และสามารถยึดเมืองฝูซวนได้ องค์ชายเหงวียนแอ๋ง เชื้อสายตระกูลเหวียนหลบหนีลงใต้ออกจากเวียดนามไปจนถึงกรุงเทพฯ ก่อนกลับมารวบรวมกำลังเอาชนะพวกเตยเซินได้
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน (องเชียงสือ) ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในปี พ.ศ. 2345 สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้ แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ฮานอย
จักรวรรดิเวียดนาม (พ.ศ. 2345 -2488)
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือจักรพรรดิยาลอง จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์เหวียนเริ่มฟื้นฟูประเทศ เวียดนามมีอาณาเขตใกล้เคียงกับปัจจุบัน ดินแดนภาคใต้ขยายไปถึงปากแม่น้ำโขงและชายฝั่งอ่าวไทย ทรงรักษาสัมพันธ์กับชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสที่ช่วยรบกับพวกเตยเซิน นายช่างชาวฝรั่งเศสช่วยออกแบบพระราชวังที่เว้ และ ป้อมปราการเมืองไซ่ง่อน
ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง จักรพรรดิองค์ที่สอง ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม ขยายแสนานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชาหลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง
สมัยนี้เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4 คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ. 2401 เรือรบของกองทัพเรือฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง (หรือตูราน) ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย
ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขงและยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพทหางทหารที่เหนือกว่าได้ ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาอันนัม ในตอนกลาง และ เขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ และเวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นสัญลักษณ์ อำนาจในการบริหารการคลัง การทหาร และ การทูตเป็นของฝรั่งเศส ถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น
=== ยุคอาณานิคม ===
ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศส ที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท
=== ยุคเอกราช ===
พ.ศ. 2488 โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยอมรับเอกราชของเวียดนาม แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์ ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)
=== สงครามเวียดนาม ===
เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา (เวียดกง) ในการทำสงคราม
การรบส่วนใหญ่กลายเป็นการรบระหว่างทหารสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรจากต่างประเทศ กับกองกำลังเวียดกงและเวียดนามเหนือ ทั้งในชนบทและการโจมตีในเมือง แม้สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเทแสนยานุภาพอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจทำให้สงครามยุติลงได้ หลังการรุกโจมตีครั้งใหญ่ของเวียดนามเหนือและเวียดกงในปี พ.ศ. 2511 ที่เมืองเว้และเมืองหลักอื่น ๆ ในเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาเริ่มเตรียมการถอนกำลังจากเวียดนามใต้และให้เวียดนามใต้ทำสงครามโดยลำพัง
สหรัฐอเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น
== หน่วยงานราชการและการเมือง ==
1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่
กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
กลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” (peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก
2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี
3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญ ๆ คือ
รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม
เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา
การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม)
การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ
เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ 15 คน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน
4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง
=== การทหาร ===
=== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ===
ตามเอกสารของสภาแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม:พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ การเปิดการกระจายความหลากหลายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบพหุภาคีการประสานงานระหว่างประเทศเชิงรุกกับคติ "เวียดนามยินดีที่จะเป็นเพื่อนและพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของทุกประเทศในประชาคมโลกที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ สันติภาพความเป็นอิสระและการพัฒนา "
เวียดนามเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยฯพณฯประธานาธิบดีเดยเหม่ยอย่างเป็นทางการเวียดนามได้ปรับความสัมพันธ์กับจีนในปี พ.ศ. 2535 และสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2538 เข้าร่วมอาเซียนในปีเดียวกันนั้นเอง
ปัจจุบันเวียดนามได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 180 ประเทศ (รวมถึง 43 ประเทศในเอเชีย, 47 ประเทศในยุโรป, 11 ประเทศในโอเชียเนีย, 29 ประเทศในอเมริกา, 50 ประเทศในแอฟริกา) ทุกทวีป (เอเชีย - แปซิฟิก: 33 ประเทศ, ยุโรป: 46 ประเทศ, อเมริกา: 28 ประเทศ, แอฟริกา: 47 ประเทศ,และ ตะวันออกกลาง: 16 ประเทศ), รวมถึงทุกประเทศที่สำคัญและศูนย์กลางทางการเมืองของ โลก เวียดนามยังเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ 63 แห่งและมีความสัมพันธ์กับองค์กรพัฒนาเอกชนมากกว่า 650 องค์กร ในเวลาเดียวกันเวียดนามมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับ 165 ประเทศและดินแดน ในสหประชาชาติเวียดนามทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการ ECOSOC สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ UNDP UNFPA และ UPU
บทบาทภายนอกของเวียดนามในชีวิตทางการเมืองระหว่างประเทศได้รับการแสดงผ่านองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการประชุมระดับนานาชาติหลายครั้งในเมืองหลวงของกรุงฮานอย
ในปี พ.ศ. 2540 จัดประชุมสุดยอดชุมชนฝรั่งเศส
ในปี พ.ศ. 2541 มีการประชุมสุดยอดอาเซียน
ในปี พ.ศ. 2546 จัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับความร่วมมือและการพัฒนาในเวียดนามและแอฟริกา
ในปี พ.ศ. 2547 การประชุมสุดยอด ASEM จัดขึ้นในเดือนตุลาคม
ในปี พ.ศ. 2549 จัดประชุมสุดยอดเอเปคในเดือนพฤศจิกายน
ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาเวียดนามได้กลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 150 ขององค์การการค้าโลก (WTO) อย่างเป็นทางการ นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในกระบวนการของการรวมเข้ากับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ในปี พ.ศ. 2550 เป็นเจ้าภาพการคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กได้รับการโหวตอย่างเป็นทางการเวียดนามได้รับเลือกอย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวาระปี พ.ศ. 2551-2552 .
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 เวียดนามถือว่าบทบาทของประธานอาเซียนและในปีนั้นมีการประชุมระดับภูมิภาคจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กได้ลงคะแนนในการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของเวียดนามเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) อย่างเป็นทางการปี 2016-2018
ในปี พ.ศ. 2559 จัดโอลิมปิกสากลชีวภาพ
ในปี พ.ศ. 2560 จัดการประชุมสุดยอดเอเปคในเดือนพฤศจิกายน
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
== ภูมิศาสตร์ ==
เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000 สายพันธุ์
=== ลักษณะภูมิประเทศ ===
มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต)
=== ลักษณะภูมิอากาศ ===
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส
=== ชายแดน ===
ทั้งหมด 4,638 กิโลเมตร (2,883 ไมล์) โดยติดกับประเทศกัมพูชา 1,228 กิโลเมตร (763 ไมล์) ประเทศจีน 1,281 กิโลเมตร (796 ไมล์) และประเทศลาว 2,130 กิโลเมตร (1,324 ไมล์)
== เศรษฐกิจ ==
===เกษตรกรรม===
มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์
===อุตสาหกรรม===
อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
=== สถานการณ์เศรษฐกิจ ===
เวียดนามมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004
แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991
=== เหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ===
การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเวียดนามมองว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการปรับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และการปรับนโยบายต่างประเทศ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจากสมาชิกต่าง ๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด
เวียดนามให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและระบบเศรษฐกิจของโลก การเป็นสมาชิกของอาเซียนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู้การเป็นสมาชิกของ APEC และ WTO ได้ในที่สุด
ในฐานะของสมาชิกอาเซียน เวียดนามหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนกับประเทศอาเซียนทั้งหลาย ขณะเดียวกันในขณะที่การค้าภายในกลุ่มอาเซียนกำลังขยายตัว เวียดนามก็ได้ตระเตรียมและปรับทิศทางการส่งออกของตนที่จะไปสู่ตลาดอาเซียนนี้อย่างจริงจังมากขึ้น การนำเข้าของเวียดนามจากอาเซียนในขณะนี้เป็นครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมดของทั้งหมดของเวียดนาม และประมาณร้อยละ 30 ของการค้าทั้งหมดของเวียดนามที่มีกับอาเซียนนอกจากนี้ เวียดนามยังหวังว่าตนจะได้รับสิทธิพิเศษ GSP อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และเวียดนามยังจะเป็นจุดส่งออกที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ
ในด้านการลงทุน ทั้งเวียดนามและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าไปลงทุนในเวียดนามโดยเวียดนามจะสามารถดูดซึมเทคนิค วิทยาการและเทคโนโลยีที่ผ่านมากับการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการร่วมทุน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการผลิตของเวียดนาม และขณะเดียวกัน นับตั้งแต่เวียดนามเปิดประเทศและประกาศกฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็ให้ความสนใจลพยายามแสวงหาโอกาสเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทั้งนี้เพราะอาเซียนก็สนใจในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกันทั้งด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 73 ล้านคน มีความสมบูรณ์ทางทรัพยาธรรมชาติ มีแรงงานที่มีศักยภาพและมีราคาถูก การมีเวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจะทำให้อาเซียนมีประชากรเพิ่มเป็น 420 ล้านคน และจะมีผลผลิตมวลรวมภายในถึง 500 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ อันจะทำให้อาเซียนมีศักยภาพในการขยายตัวกางเศรษฐกิจได้มากขึ้นไปอีก
ในปัจจุบัน ประเทศที่ได้รับการอนุมัติด้วยมูลค่าลงทุนมากที่สุดได้แก่สิงคโปร์ ซึ่งมีโครงการการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจำนวนโครงการ ด้วยมูลค่า 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวียดนามคิดได้เป็นร้อยละ 27.69 ของมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิ้นในเวียดนาม กล่าวคือในมูลค่า 8.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิน 29.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการทั้งสิ้น 337 โครงการ โดยมาเลเซียลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ไทยลงทุนเป็นอันดับ 3 ประเภทของการลงทุนที่สมาชิกอาเซียนดำเนินการในเวียดนาม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้างสำนักงาน ที่อยู่อาศัย การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและการแปรรูปอาหาร เวียดนามหวังว่าการลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนนี้จะมีส่วนช่วยถ่วงดุลการลงทุนจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น
ในขณะเดียวกันในส่วนของอาเซียน เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้อาเซียนยินดีรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกก็คือ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนของเวียดนามนั้นจะมีผลไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอีกทั้งอำนาจในการต่อรองทางการเมืองทั้งหลายต่างก็มีผลประโยชน์ที่สอดคล้องกัน ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจร่วมกันอันนำไปสู่การยอมรับในที่สุด
=== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ===
เวียดนามมีพื้นฐานของนักปราชญ์ตั้งแต่ยุคโบราณ มีการสั่งสมความรู้ทั้งด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จนเป็นที่เลื่องลือ โดยในปัจจุบันเวียดนามเริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยี ในปี 2553 เวียดนามมีงบประมาณทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่ที่ 0.45% ของ GDP
=== การขนส่ง ===
====อากาศ====
เวียดนามมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (Nội Bai) ในกรุงฮานอย, ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Tần Sơn Nhất) ในนครโฮจิมินห์, โครงการท่าอากาศยานนานาชาติล็องถั่ญ (Long Thánh) ในจังหวัดด่งนาย, ท่าอากาศยานจูลาย (Chu Lai) ในจังหวัดกว๋างนาม และท่าอากาศยานนานาชาติดานัง (Đà Nẵng) ในนครดานัง
====ถนน====
ในปี 2553 ระบบถนนของเวียดนามมีความยาวรวมประมาณ 188,744 กิโลเมตร (117,280 ไมล์) โดยมี 93,535 กิโลเมตร (58,120 ไมล์) เป็นถนนลาดยาง
====ทางรถไฟ====
ทางรถไฟในเวียดนาม ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกับประเทศจีน และมีเครือข่ายในประเทศเท่านั้น ยังไม่มีทางเชื่อมต่อกับลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนี้กำลังวางแผนก่อสร้าง
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เชื้อชาติ ===
มีจำนวน 84.23 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 253 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นชาวญวนร้อยละ 86 (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย ชาวไท เหมื่อง ฮั้ว (จีน) ชาวเขมร นุง ชาวม้ง
=== ภาษา ===
การสื่อสารใช้ภาษาเวียดนาม ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (Quốc ngữ) แทนตัวอักษรจีน (Chữ Nôm) ในการเขียนภาษาเวียดนาม
=== ศาสนา ===
จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2557 ประเทศเวียดนามมีประชากรนับถือศาสนา 90 ล้านคน แบ่งได้ดังนี้ | thaiwikipedia | 267 |
เวียดนาม (แก้ความกำกวม) | เวียดนาม หรือ ญวน อาจหมายถึง:
ประเทศเวียดนาม - ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษาเวียดนาม - ภาษาที่ใช้พูดเป็นหลักในประเทศเวียดนาม และในกลุ่มคนเวียดนามในส่วนอื่นของโลก
ชาวเวียดนาม - คนที่เกิดและโตในประเทศเวียดนาม | thaiwikipedia | 268 |
ประเทศอินโดนีเซีย | อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีรียัน (Papua) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ ประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ได้แก่ สิงคโปร์, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ออสเตรเลีย, ปาเลา, และอินเดีย (หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์) อินโดนีเซียยังเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 14 ของโลกด้วยพื้นที่ 1,904,569 ตารางกิโลเมตร (735,358 ตารางไมล์) และมีประชากรราว 278 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก โดยกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในหมู่เกาะชวา และยังเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
อินโดนีเซียเป็นสาธารณรัฐที่มีรัฐธรรมนูญซึ่งมีสภานิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้ง และมีทั้งสิ้น 38 จังหวัด โดย 9 จังหวัดมีสถานะพิเศษ กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศเป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสองของโลก อินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่มีพื้นที่ป่าไม้ที่กว้างใหญ่และเต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และยังเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุดในโลก (ประมาณ 17,000 เกาะ)
หมู่เกาะทั้งหมดของอินโดนีเซียเป็นดินแดนการค้าหลักในภูมิภาคมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 เริ่มต้นตั้งแต่อาณาจักรศรีวิชัยและต่อมาจนถึงอาณาจักรมัชปาหิตซึ่งทำการค้ากับชาวจีนแผ่นดินใหญ่และพ่อค้าจากอนุทวีปอินเดีย ส่งผลให้ประชากรท้องถิ่นค่อย ๆ ซึมซับอิทธิพลจากต่างประเทศตั้งแต่ศตวรรษแรก ๆ และได้มีการแผ่ขยายของศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาจนเกิดความเจริญรุ่งเรือง ต่อมา พ่อค้านิกายซุนนีและลัทธิศูฟีได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่และได้มีอิทธิพลต่อคนในสังคมจนกลายเป็นศาสนาหลักมาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่เข้าสู่สังคมโดยนักสำรวจชาวยุโรป ชาวดัตช์ถือเป็นมหาอำนาจหลักที่ยึดครองดินแดนแห่งนี้ตลอด 350 ปี แม้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะได้รับการรุกรานจาก โปรตุเกส อังกฤษ และ ฝรั่งเศสบ้าง แนวความคิดการสร้างชาติและการปลดแอกตนเองของชาวอินโดนีเซียในฐานะรัฐชาติได้ปรากฏขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และจบลงด้วยการประกาศอิสรภาพใน ค.ศ. 1945 ตามด้วยการประกาศรับรองอธิปไตยอย่างเป็นทางการจากเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1949 ภายหลังจากความขัดแย้งทางการทหารและการทูตระหว่างสองประเทศ ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่าน อินโดนีเซียต้องเผชิญเหตุการณ์มากมาย อาทิ การทุจริตในประเทศ ความขัดแย้งทางการเมือง การแบ่งแยกดินแดน ภัยธรรมชาติ และความผันผวนของเศรษฐกิจ
อินโดนีเซียประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาพื้นเมืองหลายร้อยกลุ่ม โดยชาวชวาเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด และยังมีพหุนิยมทางศาสนา ตามคำขวัญที่ว่า "Bhinneka Tunggal Ika" ("Unity in Diversity" ซึ่งหมายถึง "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย") ซึ่งกำหนดโดยภาษาประจำชาติ เศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 16 ของโลกโดยวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอันดับ 7 ของโลกโดยวัดจากภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ อินโดนีเซียยังถือเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศอำนาจปานกลางของโลก และยังเป็นสมาชิกขององค์กรพหุภาคีหลายแห่ง รวมถึงองค์การสหประชาชาติ, องค์การการค้าโลก, กลุ่ม 20, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และองค์การความร่วมมืออิสลาม
== นิรุกติศาสตร์ ==
ชื่อประเทศ Indonesia มีที่มาจากภาษากรีกยุคโบราณคำว่า อินดอส (Ἰνδός) และเนซอส (νῆσος) ซึ่งหมายถึง "หมู่เกาะอินเดีย" ซึ่งชื่อ Indonesia เริ่มมีการใช้ในกลุ่มชาติตะวันตกตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อนการก่อตั้งรัฐอินโดนีเซีย และใน ค.ศ. 1850 จอร์จ วินด์เซอร์ เอิร์ล นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้บัญญัติคำศัพท์ใหม่ Indunesians หมายถึง "หมู่เกาะอินเดียหรือหมู่เกาะมลายู"
ตั้งแต่ ค.ศ. 1900 ชื่อ Indonesia เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยมีการใช้ทั้งในแวดวงวิชาการและสื่อมวลชน โดย อาด็อล์ฟ บาสเตียน นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมันถือเป็นผู้เผยแพร่ชื่อ Indonesia ให้เป็นที่รู้จักผ่านหนังสือ Indonesien oder die Inseln des Malayischen Archipels
== ประวัติ ==
อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม 1942 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดิญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชในปี 1945 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ ระหว่างการเรียกร้องเอกราชทำให้เกิดผู้นำในการเรียกร้องหลายท่านที่ควรค่าแก่การยกย่องดังที่พบในรายนามวีรบุรุษแห่งชาติ (อินโดนีเซีย) เช่น กี ฮาจาร์ เดเวนตารา (Ki Hajar Dewantara) จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกาจาตี (Linggadjati Agreement) เมื่อปี 1946 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม 1949 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอีรียันตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอีรียันตะวันตกและให้ชาวอีรียันตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอีรียันตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอีรียันตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม 1963
== ภูมิศาสตร์==
อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,826,440 ตารางกิโลเมตร มีประมาณ 17,000 เกาะ พื้นที่กว่า 70% ไม่มีผู้คนอาศัย มีภูเขาสูงตามเทือกเขาที่มีความสูงมากอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนองบึงใช้ประโยชน์ไม่ได้
ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะหลัก 5 เกาะคือ นิวกินี, ชวา, กาลีมันตัน, ซูลาเวซี และสุมาตรา เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะสุมาตรา ส่วนเกาะชวาเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะหลักทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรกว่า 200 ล้านคนอาศัยอยู่บนเกาะนี้และเป็นที่ตั้งกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นเมืองหลวง หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์-เลสเต
=== ภูมิอากาศ ===
ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม - ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน - เมษายน) อินโดนีเซียมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่
บางภูมิภาค เช่น บอร์เนียวและสุมาตรา พบความแตกต่างเพียงเล็กน้อยของปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิระหว่างฤดูกาล ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ เช่น นูซาเต็งการา พบความแตกต่างที่เด่นชัดกว่ามากระหว่างความแห้งแล้งในฤดูแล้งและน้ำในฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนแตกต่างกันไปตามภูมิภาค โดยส่วนใหญ่อยู่ในสุมาตราตะวันตก ชวา และภายในของภาคกาลิมันตันและปาปัว และน้อยกว่าในพื้นที่ใกล้ออสเตรเลีย เช่น เกาะนูซาเต็งการา ซึ่งมีแนวโน้มจะแห้งแล้งกว่า ความชื้นของเกาะโดยรอบค่อนข้างสูงโดยอยู่ระหว่าง 70 ถึง 90% มีลมกำลังปานกลางและคาดการณ์ได้โดยทั่วไป โดยมรสุมมักจะพัดมาจากทิศใต้และทิศตะวันออกในเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม และจากตะวันตกเฉียงเหนือในเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม พายุไต้ฝุ่นและพายุขนาดใหญ่ก่อให้เกิดอันตรายเพียงเล็กน้อยต่อนักเรือ ในขณะที่อันตรายที่สำคัญมาจากกระแสน้ำเชี่ยวกราก เช่น ช่องแคบลอมบอกและช่องแคบซาเป
=== ปัญหาในปัจจุบัน ===
งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า สภาพที่ตั้งของเกาะทั้งหมดในประเทศก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเฉียบพลัน และในปัจจุบันการปล่อยมลพิษขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในประเทศทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1 °C (2 °F) ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ก่อให้เกิดภาวะแล้ง การขาดอาหาร ปัญหาต่อภาคการเกษตร และไฟป่าในหลายภูมิภาค นอกจากนี้จากการที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทุกปีซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง และประชาชนที่อาศัยในภูมิภาคที่ยากจนและห่างไกลตัวเมืองมีโอกาสจะประสบปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นมากที่สุด
== การเมืองการปกครอง ==
ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ ภายหลังการหมดอำนาจของประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ในปี 1998 โครงสร้างทางการเมืองและการปกครองได้รับการปฏิรูปอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับที่ปรับปรุงอำนาจของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ โดยมีการกระจายอำนาจให้กับหน่วยงานระดับภูมิภาคต่าง ๆ ในขณะที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นรัฐรวม ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซียทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลในเวลาเดียวกัน และมีอำนาจสั่งการผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังติดอาวุธแห่งชาติอินโดนีเซีย (Tentara Nasional Indonesia, TNI) และผู้อำนวยการฝ่ายธรรมาภิบาลภายในประเทศ รวมทั้งการกำหนดนโยบาย และบริหารด้านการต่างประเทศ ประธานาธิบดีอาจดำรงตำแหน่งสูงสุดสองวาระ ไม่เกิน 5 ปีติดต่อกัน
ผู้แทนสูงสุดในระดับชาติคือสภาที่ปรึกษาประชาชน (Majelis Permusyawaratan Rakyat, MPR) หน้าที่หลักของคือการสนับสนุนและแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกำหนดโครงร่างของนโยบายของรัฐ MPR สภาผู้แทนราษฎรของประเทศ (Dewan Perwakilan Rakyat, DPR) ประกอบด้วยสมาชิก 575 คน และสภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Dewan Perwakilan Daerah, DPD) มีจำนวน 136 คน
=== การเลือกตั้งและพรรคการเมือง ===
ตั้งแต่ปี 1999 อินโดนีเซียมีพรรคการเมืองหลายพรรคในการลงรับสมัครเลือกตั้ง โดยไม่ปรากฏว่ามีพรรคการเมืองใดที่สามารถชนะที่นั่งเสียงข้างมากในสภาแต่เพียงผู้เดียวได้ พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้ (PDI-P) ซึ่งได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งปี 2019 เป็นพรรคของ โจโก วีโดโด ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน พรรคที่โดดเด่นอื่น ๆ ได้แก่ กลการ์ หรือ พรรคกลุ่มการทำงาน (Golkar), พรรคขบวนการอินโดนีเซียยิ่งใหญ่ (Gerindra), พรรคประชาธิปไตย และพรรคยุติธรรมรุ่งเรือง (PKS)
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 38 จังหวัด (provinsi) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่
เกาะสุมาตรา
* จังหวัดอาเจะฮ์* - บันดาอาเจะฮ์
* จังหวัดสุมาตราเหนือ - เมดัน
* จังหวัดสุมาตราใต้ - ปาเล็มบัง
* จังหวัดสุมาตราตะวันตก - ปาดัง
* จังหวัดรีเยา - เปอกันบารู
* จังหวัดเกอปูเลาวันรีเยา - ตันจุงปีนัง
* จังหวัดจัมบี - จัมบี
* จังหวัดเกอปูเลาวันบังกาเบอลีตุง - ปังกัลปีนัง
* จังหวัดเบิงกูลู - เบิงกูลู
* จังหวัดลัมปุง - บันดาร์ลัมปุง
เกาะชวา
* เขตนครหลวงพิเศษจาการ์ตา
* จังหวัดชวากลาง - เซอมารัง
* จังหวัดชวาตะวันออก - ซูราบายา
* จังหวัดชวาตะวันตก - บันดุง
* จังหวัดบันเติน - เซรัง
* เขตพิเศษยกยาการ์ตา - ยกยาการ์ตา
หมู่เกาะซุนดาน้อย
* จังหวัดบาหลี - เด็นปาซาร์
* จังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก - กูปัง
* จังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก - มาตารัม
||
เกาะบอร์เนียว
* จังหวัดกาลีมันตันเหนือ - ตันจุงเซอโลร์
* จังหวัดกาลีมันตันกลาง - ปาลังการายา
* จังหวัดกาลีมันตันใต้ - บันจาร์บารู
* จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก - ซามารินดา
* จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก - ปนตียานัก
เกาะซูลาเวซี
* จังหวัดโก-รนตาโล - โก-รนตาโล
* จังหวัดซูลาเวซีเหนือ - มานาโด
* จังหวัดซูลาเวซีกลาง - ปาลู
* จังหวัดซูลาเวซีใต้ - มากัซซาร์
* จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ - เกินดารี
* จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก - มามูจู
หมู่เกาะโมลุกกะ
* จังหวัดมาลูกู - อัมบน
* จังหวัดมาลูกูเหนือ - โซฟีฟี
เกาะนิวกินี
* จังหวัดปาปัว - จายาปูรา
* จังหวัดปาปัวที่สูง - วาเมนา
* จังหวัดปาปัวใต้ - เมอเราเก
* จังหวัดปาปัวกลาง - นาบีเร
* จังหวัดปาปัวตะวันตก - มาโน-กวารี
* จังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้ - โซรง
=== นโยบายต่างประเทศ ===
อินโดนีเซียมีคณะทูตใน 132 ประเทศ และสถานทูตกว่า 95 แห่งทั่วโลก ประเทศยึดมั่นในนโยบายต่างประเทศที่ "เสรีอย่างแข็งขัน" โดยแสวงหาบทบาทในระดับภูมิภาคและเวทีโลกตามสมควร แต่หลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างประเทศ อินโดนีเซียเป็นสมรภูมิสำคัญในช่วงสงครามเย็น ปัจจุบันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านและเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เช่นเดียวกับโลกมุสลิมส่วนใหญ่ อินโดนีเซียไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลและสนับสนุนปาเลสไตน์อย่างแข็งขัน อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางส่วนได้ชี้ให้เห็นว่าอินโดนีเซียมีความผูกพันกับอิสราเอลแม้จะไม่แสดงออกชัดเจน โดยมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกันหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าอาวุธปืนที่ผลิตจากอิสราเอล
อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี 1950 และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) และองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) อินโดนีเซียเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน กลุ่มแคนส์ องค์การการค้าโลก (WTO) และเป็นสมาชิกโอเปกเป็นครั้งคราว สืบเนื่องจากความขัดแย้งทางการทหารระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย ส่งผลให้อินโดนีเซียถอนตัวจากสหประชาชาติหลังการเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก่อนจะกลับมาเข้าร่วมอีกครั้งใน 18 เดือนต่อมา นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสหประชาชาติที่ประเทศสมาชิกมีการถอนตัว อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศผู้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1966 อินโดนีเซียได้จัดตั้งโครงการความช่วยเหลือในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในปลายปี 2019
=== กองทัพ ===
กองทัพอินโดนีเซีย (TNI) รวมถึงกองทัพบก (TNI–AD) กองทัพเรือ (TNI–AL ซึ่งรวมถึงนาวิกโยธิน) และกองทัพอากาศ (TNI–AU) กองทัพมีบุคลากรประจำการอยู่ประมาณ 400,000 นาย การใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศในงบประมาณของประเทศอยู่ที่ 0.7% ของ GDP ในปี 2018 กองทัพของประเทศก่อตั้งขึ้นในช่วงการปฏิวัติแห่งชาติของชาวอินโดนีเซียเมื่อทำสงครามกองโจรพร้อมกับกองทหารอาสาสมัครที่ไม่เป็นทางการตั้งแต่นั้นมา โดยมุ่งเป้าไปที่การรักษาเสถียรภาพภายในประเทศและขัดขวางการคุกคามจากต่างประเทศ กองทัพมีอิทธิพลทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ การปฏิรูปการเมืองในปี 1998 ได้ลดบทบาทของ TNI ลง อย่างไรก็ตาม พวกเขายังมีอิทธิพลทางการเมืองอยู่
นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ประเทศได้ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อต่อต้านการก่อความไม่สงบในท้องถิ่นและขบวนการแบ่งแยกดินแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเจะห์และปาปัว ได้นำไปสู่ความขัดแย้งทางอาวุธและการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการรายงานระดับความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ลดลงตั้งแต่ปี 2004
== เศรษฐกิจ ==
=== โครงสร้าง ===
เศรษฐกิจของอินโดนีเซียเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นแหล่งสำคัญที่สุดในการทำรายได้ให้อินโดนีเซีย นับแต่ยุคหลังได้รับเอกราชตลอดมา ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียได้นำรายได้มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการขนส่งและการคมนาคมสร้างฐานอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง มุ่งหวังสร้างความแข็งแกร่งให้กับการอุตสาหกรรมของประเทศ ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในตลาดโลกในช่วงระหว่างปี 1980–84 ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซีย รัฐบาลจึงหันมาส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตเพื่อลดการพึ่งพา รายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ แร่โลหะที่มีค่า สินค้าอุตสาหกรรม ต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาภาคเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้อินโดนีเซียมีข้าวเพียงพอสำหรับเลี้ยงตนเองได้โดยไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไป ยกเว้นบางปีที่ผลผลิตข้าวไม่ดี ขณะเดียวกันรายได้จากการ ส่งออกสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะสินค้า อุตสาหกรรมได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญในปัจจุบัน โดยคิดเป็นร้อยละ 75 ของสินค้าออก ทั้งหมด
ในด้านอุตสาหกรรม อินโดนีเซียได้พัฒนาอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมต่อเรือที่จาการ์ตา สุราบายา เซอมารัง และอัมบอยนา อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ชนิดต่าง ๆ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมกระจก
เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ รัฐบาลอินโดนีเซียได้พยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเรื่องเศรษฐกิจการค้า การเงิน การธนาคาร และการลงทุน เพื่อให้มีความเสรีและสะดวก ยิ่งขึ้น การผ่อนคลายรูปแบบของเศรษฐกิจที่มีรัฐควบคุมอยู่มาก เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนต่างชาติเข้ามาลงทุนในกิจการหลาย ๆ ภาคที่เคยจำกัดไว้ รวมทั้งด้านสาธารณูปโภค อาทิ การพัฒนาแหล่งพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม เป็นต้น
ดังนั้น เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจึงมีการขยายตัวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความมั่นคงทางการเมือง ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และค่าจ้างแรงงานไม่สูงมาก ล้วนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการลงทุนของต่างชาติ อย่างไรก็ตาม การประกอบการที่ดำเนินแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การกู้ยืมเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากภายนอกเพื่อลงทุนในกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การผลิตและประกอบการที่ไม่มีการแข่งขันเนื่องจากได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตประเทศอื่นได้
การไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการโยกย้ายเงินทุน การโจมตีค่าเงินในภูมิภาค หนี้สินต่างประเทศ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย รวมทั้งในอินโดนีเซียในช่วงปี 1997–98 ก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ซึ่งอินโดนีเซียต้องพึ่งพากู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก
สินค้าออกที่สำคัญของอินโดนีเซีย นอกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว ได้แก่ ไม้อัดพลายวูด เสื้อผ้า ผ้าผืน ยางแปรรูป รองเท้า อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะและผลิตผลทางการเกษตร ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ส่วน สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ รถยนต์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเกาหลีใต้
=== การคมนาคม ===
การคมนาคมในอินโดนีเซียได้รับอิทธิพลจากทรัพยากรและประชากรของชาติหมู่เกาะนี้ โดยเฉพาะการขนส่งประชากรกว่า 250 ล้านคน แค่เฉพาะบนเกาะชวาอย่างเดียว การขนส่งในประเทศมีแนวโน้มจะเป็นแบบเกื้อกูลช่วยเหลือกันมากกว่าเป็นการแข่งขันในเชิงเศรษฐกิจ ในปี 2016 เม็ดเงินจากการคมนาคมขนส่งอย่างเดียวคิดเป็น 5.2% ของจีดีพี
ระบบถนนทั้งประเทศมีความยาวรวม (2016) โดยจาการ์ตามีระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษที่ขึ้นชื่อว่ามีเส้นทางเดินรถยาวที่สุดในโลก "ทรานส์จาการ์ตา" (TransJakarta)
ด้วยระยะทาง ใน 13 สายที่วิ่งจนถึงชานเมืองจาการ์ตา รถสามล้อ เช่น bajaj, becak และแท็กซี่แบบแบ่งกัน (share taxi) เช่น Angkot และ Metromini เป็นรูปแบบการขนส่งท้องถิ่นที่พบได้ทั่วไปในประเทศ ระบบการขนส่งทางรางส่วนมากกระจุกตัวอยู่ในชวา ทั้งขนส่งผู้โดยสารและสินค้า สำหรับรถไฟฟ้าและโมโนเรลกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในจาการ์ตาและปาเล็มบัง ภายใต้ชื่อ MRT และ LRT นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงซึ่งประกาศในปี 2015 ถือเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้
ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียคือ ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารผ่านเข้าออกมากที่สุดในซีกโลกใต้ ราว 63 ล้านคน ในปี 2017 โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติงูระฮ์ ไร และ ท่าอากาศยานนานาชาติจ็วนดา มีผู้โดยสารเข้าออกมากที่สุดรองลงมาตามลำดับ สายการบินประจำชาติ "การูดาอินโดนีเซีย" เปิดตัวในปี 1949 ในปัจจุบันสายการบินชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก และเป็นสมาชิกของสกายทีม ส่วนการคมนาคมทางน้ำมีท่าเรือตันจัง ปริอ็อก เป็นท่าสำคัญที่มีการใช้งานเยอะที่สุดและขึ้นชื่อว่าทันสมัยที่สุดในประเทศ รองรับการขนส่งสินค้ามากกว่า 50% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมดของประเทศ
=== วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ===
งบประมาณแผ่นดินที่ใช้ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติถือว่าต่ำ น้อยกว่า 0.1% ของจีดีพีในปี 2017 อินโดนีเซียจึงถือว่าไม่ใช่ประเทศที่เป็นผู้นำด้านนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม
อินโดนีเซียมีภูมิปัญญาพื้นบ้านอันช่วยให้การดำรงชีวิตของชาวพื้นเมืองสะดวกสบายขึ้นและเป็นที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะภูมิปัญญาพื้นบ้านในการสร้างนาขั้นบันไดที่เรียกว่า เตอราเซอร์ และเรือไม้ของชาวบูกิสและชาวมากัสซาร์ ที่เรียกว่าเรือ "ปีนีซี"
อินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่มีการพัฒนาและคิดค้นอากาศยานในการทหารเป็นของตนเองมาเป็นเวลานาน ในปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียยังเป็นผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ส่งออกให้กับโบอิ้ง และ แอร์บัส อินโดนีเซียยังเคยเข้าร่วมโครงการของเกาหลีใต้ในการคิดค้นและสร้างเครื่องบินเจ็ตไล่ล่า รุ่นที่ 5 KAI KF-X.
อินโดนีเซียยังมีโครงการและหน่วยงานด้านอวกาศของตนเอง สถาบันด้านการบินและอวกาศแห่งชาติ (Lembaga Penerbangan dan Antariksa Nasional, LAPAN) ซึ่งในราวทศวรรศปี 1970 อินโดนีเซียเป็นชาติกำลังพัฒนาชาติแรกที่ได้ส่งระบบดาวเทียมขึ้นไปโคจร ชื่อว่าปาลาปา อันเป็นกลุ่มดาวเทียมสื่อสารที่อินโดแซต อูเรอดู เป็นเจ้าของ ดาวเทียมดวงแรกของโครงการ ปาลาปา เอ 1 ได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรในอวกาศเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 1976 จากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบันมีดาวเทียมกลุ่มปาลาปา รวม 16 ดวงที่ถูกส่งไปโคจร และ LAPAN ยังยืนยันไม่หยุดพัฒนาเท่านี้ และแสดงเจตจำนงที่จะส่งดาวเทียมจากฐานในประเทศภายในปี 2040
=== พลังงาน ===
ในปี 2017 อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่อันดับที่ 9 ของโลกด้วยปริมาณ 4,200 เทราวัตต์-ชั่วโมง (14.2 พันล้านหน่วยความร้อนของอังกฤษ) และผู้ใช้พลังงานรายใหญ่ที่สุดอันดับที่ 15 ด้วยจำนวน 2,100 เทราวัตต์ต่อชั่วโมง (7.1 พันล้านหน่วยความร้อนของอังกฤษ) ประเทศมีแหล่งพลังงานมากมาย รวมถึงน้ำมันสำรองทั่วไปและก๊าซธรรมชาติ 22 พันล้านบาร์เรล (3.5 พันล้านลูกบาศก์เมตร) (ซึ่งสามารถกู้คืนได้ประมาณ 4 พันล้านบาร์เรล) 8 พันล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันจากแก๊สมีเทนจากถ่านหิน (CBM) และถ่านหินที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ 28 พันล้านตัน ในขณะที่การพึ่งพาถ่านหินในประเทศและน้ำมันนำเข้าเพิ่มขึ้น
รัฐบาลอินโดนีเซียเล็งเห็นถึงประโยชน์ในด้านพลังงานทดแทน โดยที่กระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำเป็นแหล่งพลังงานที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้ ประเทศยังมีศักยภาพในการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล และการจัดการน้ำในมหาสมุทรอีกด้วย อินโดนีเซียตั้งเป้าที่จะใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 23% ภายในปี 2025 และ 31% ภายในปี 2050 ณ ปี 2015 กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งในประเทศทั้งหมดของอินโดนีเซียอยู่ที่ 55,528.51 เมกะวัตต์
เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศได้แก่ Jatiluhur มีหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนด้านพลังงานในประเทศ รวมถึงการจัดหาไฟฟ้าพลังน้ำ การจัดหาน้ำ การควบคุมน้ำท่วม การชลประทาน และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เขื่อนถมดินสูง 105 ม. (344 ฟุต) และรองรับอ่างเก็บน้ำ 3.0 พันล้านลูกบาศก์เมตร (2.4 ล้านเอเคอร์) ช่วยในการส่งน้ำไปยังกรุงจาการ์ตา และมีกำลังการผลิตติดตั้ง 186.5 เมกะวัตต์
=== การท่องเที่ยว ===
รายได้จากภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 28.2 พันล้าน ดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2017 อินโดนีเซียมีนักท่องเที่ยวจำนวน 14.04 ล้านคน เพิมขึ้นราว 21.8% จากปี 2016 โดยเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินราว 2,009 ดอลล่าร์สหรัฐต่อคน นักท่องเที่ยวกลุ่มหลักได้แก่ชาวจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2011 กระทรวงการท่องเที่ยว (อินโดนีเซีย) ได้ประกาศสโลแกนการท่องเที่ยวคือ อินโดนีเซียมหัศจรรย์ (Wonderful Indonesia) ซึ่งยังคงใช้มาจนปัจจุบัน สถานที่ท่องเที่ยวในอินโดนีเซียมีทั้งเชิงสิ่งแวดล้อม เช่น ชายหาดและทะเลที่ขึ้นชื่อและป่าดงดิบจำนวนมากทั่วประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่นแหล่งมรดกโลกสำคัญ อย่าง บุโรพุทโธ และ ปรัมบานัน
แหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอินโดนีเซีย หมู่เกาะทั้งหมดมีการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิอากาศเขตร้อน หมู่เกาะที่กว้างใหญ่ และชายหาดที่ทอดยาว และมรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนานที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของอินโดนีเซีล้วยดึงดูดนักท่องเที่ยวปริมาณมาก อินโดนีเซียยังมีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี โดยมีป่าฝนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 57% ของพื้นที่อินโดนีเซีย (225 ล้านเอเคอร์) ป่าไม้บนเกาะสุมาตราและกาลิมันตันเป็นตัวอย่างของจุดหมายปลายทางยอดนิยม เช่น เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุรังอุตัง นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีแนวชายฝั่งที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีความยาวกว่า 54,716 กิโลเมตร (33,999 ไมล์)
อินโดนีเซียมีแหล่งมรดกโลกรับรองโดยองค์การยูเนสโก 9 แห่ง รวมทั้งอุทยานแห่งชาติโกโมโดและเหมืองถ่านหินซาวาลุนโต และอีก 19 รายการในรายชื่อที่รอการขึ้นทะเบียนในอนาคต ซึ่งรวมถึงอุทยานแห่งชาติบูนาเกนและหมู่เกาะราชาอัมปัต สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ มรดกอาณานิคมของ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ในเมืองเก่าของจาการ์ตาและเซอมารัง และพระราชวังของ Pagaruyung และยกยาการ์ตา
== ความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ==
ด้วยขนาด ภูมิอากาศ และสภาพทางภูมิศาสตร์ของหมู่เกาะของอินโดนีเซียส่งผลให้เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากสุดองโลก และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศที่มีความหลากหลายขนาดใหญ่ที่ระบุโดย Conservation International พืชและสัตว์คือส่วนผสมของสายพันธุ์เอเชียและออสตราเลเซียน หมู่เกาะซุนดาเชลฟ์ (สุมาตรา ชวา บอร์เนียว และบาหลี) ครั้งหนึ่งเคยเชื่อมโยงกับเอเชียแผ่นดินใหญ่และมีสัตว์เอเชียมากมาย สปีชีส์ขนาดใหญ่ เช่น เสือโคร่งสุมาตรา, แรด, อุรังอุตัง, ช้างเอเชีย และเสือดาว ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่มากมายทางตะวันออกของเกาะบาหลี แต่ได้ลดลงอย่างมากด้วยฝีมือมนุษย์ และบางชนิดได้สูญพันธุ์แล้ว เช่น เสือโคร่งบาหลี หลังจากการแยกตัวจากผืนแผ่นดินทวีปมาเป็นเวลานานบริเวณ สุลาเวสี นูซาเต็งการา และมาลูกูได้พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ ปาปัวเป็นส่วนหนึ่งของผืนดินของออสเตรเลียและเป็นที่อยู่ของสัตว์และพืชพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งนกกว่า 600 สายพันธุ์
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สองรองจากออสเตรเลียในแง่ของจำนวนสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น โดย 36% ของนก 1,531 สายพันธุ์ และ 39% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 515 สายพันธุ์ถือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น อินโดนีเซียทะเลเขตร้อนล้อมรอบชายฝั่งทะเล 80,000 กิโลเมตร (50,000 ไมล์) และมีระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่หลากหลาย รวมทั้งชายหาด เนินทราย ปากน้ำ ป่าชายเลน แนวปะการัง หญ้าทะเล โคลนชายฝั่ง ที่ราบน้ำขึ้นน้ำลง สาหร่าย และระบบนิเวศของเกาะเล็ก ๆ อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายของปะการัง โดยกว่า 1,650 สายพันธุ์สามารถพบได้ในภาคตะวันออกของอินโดนีเซียเท่านั้น
นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ บรรยายถึงเส้นแบ่ง (เส้นวอลเลซ) ระหว่างการกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เอเชียและออสตราเลเซียนของอินโดนีเซีย ตามแนวขอบของ Sunda Shelf ระหว่างกาลิมันตันและสุลาเวสี และตามช่องแคบลอมบอกที่ลึกระหว่างลอมบอกและบาหลี พืชและสัตว์ต่าง ๆ ทางตะวันตกของแนวเส้นนี้มักเป็นสายพันธุ์เอเชีย ขณะที่ทางตะวันออกจากลอมบอก มีความเป็นออสเตรเลียมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดแนวเวเบอร์ ในหนังสือของเขาในปี 1869 วอลเลซได้บรรยายถึงสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมายที่มีลักษณะเฉพาะในพื้นที่นี้ บริเวณหมู่เกาะระหว่างแนวของเทือกเขากับนิวกินีปัจจุบันเรียกว่าวอลเลเซีย
ด้วยขนาดประชากรที่เพิ่มสูง และการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง ปัญหาเกิดจากการบริหารที่อ่อนแอและการมีทรัพยากรไม่เพียงพอ ปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ การทำลายพื้นที่พรุ การตัดไม้ทำลายป่า (ทำให้เกิดหมอกควันปกคลุมทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลมากเกินไป มลพิษทางอากาศ การจัดการขยะและน้ำเสียที่ด้อยคุณภาพ มีส่วนทำให้อินโดนีเซียอยู่ในอันดับต่ำ (อันดับที่ 116 จาก 180 ประเทศ) ในดัชนีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมปี 2020 ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
ในปี 2018 ป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 49.7% ของพื้นที่ประเทศ ลดลงจาก 87% ในปี 1950 เริ่มต้นในปี 1970 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การผลิตไม้ซุง พื้นที่เพาะปลูกและเกษตรกรรมต่าง ๆ มีผลต่อการตัดไม้ทำลายป่าส่วนใหญ่ในอินโดนีเซีย ทำให้อินโดนีเซียเป็นแหล่งปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังคุกคามการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 140 สายพันธุ์ถูกคุกคาม และอีก 15 สายพันธุ์กำลังเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ รวมถึงนกบาหลี อุรังอุตังสุมาตรา และแรดชวา
== ประชากรศาสตร์ ==
การสำรวจสำมะโนประชากรปี 2020 บันทึกประชากรของอินโดนีเซียไว้ที่ 270.2 ล้านคน ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก โดยมีอัตราการเติบโตของประชากรระดับปานกลางที่ 1.3% ชวาเป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และกว่า 56% ของประชากรในประเทศอาศัยอยู่ในเกาะชวา ความหนาแน่นของประชากรคือ 141 คนต่อตารางกิโลเมตร (365 ต่อตารางไมล์) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 88 ของโลก รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าจำนวนประชากรจะเติบโตเป็น 295 ล้านคนภายในปี 2573 และ 321 ล้านคนภายในปี 2593
ประชากรประมาณ 54.7% อาศัยอยู่ในเขตเมือง จาการ์ตาเป็นเมืองหลวงของประเทศและเป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก โดยมีประชากรมากกว่า 34 ล้านคน ชาวอินโดนีเซียประมาณ 8 ล้านคนอาศัยอยู่ต่างประเทศ ส่วนใหญ่ตั้งรกรากอยู่ในมาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย
=== เชื้อชาติ ===
ชาวอินโดนีเซียส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าที่พูดตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ภาษาของกลุ่มชนดังกล่าวสามารถที่จะสืบค้นย้อนไปถึงภาษาออสโตรเนเชียนดั้งเดิม ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีต้นกำเนิดในไต้หวัน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชนเผ่าที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เผ่าเมลาเนเซียน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะปาปัว ภาคตะวันออก ของประเทศอินโดนีเซีย ชาวชวา คือ กลุ่มชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งมีอยู่ราว 42% ของจำนวนประชากร เป็นกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนชาติหลัก ๆ ที่มีจำนวนพอ ๆ กับชาวชวา เช่น ชาวซุนดา ชาวมลายู และชาวมาดูรา จิตสำนึกของความเป็น ชาวอินโดนีเซีย จะขนานควบคู่ไปกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตนเองอย่างเหนียวแน่น ความตึงเครียดทางสังคม ศาสนา และเชื้อชาติ เป็นสิ่งที่เคยกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง อันน่าสะพรึงกลัวมาแล้ว ชาวอินโดนิเซียเชื้อสายจีน เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง มีจำนวนราว ๆ ร้อยละ 3-4 ของจำนวนประชากรอินโดนีเซีย
=== ศาสนา ===
ในปี 2018 ประเทศอินโดนีเซียมีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ | thaiwikipedia | 269 |
ประเทศบรูไน | บรูไน (Brunei) หรือ เนอการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam, ยาวี: نڬارا بروني دارالسلام, แปลว่า ประเทศบรูไนนครรัฐแห่งสันติภาพ) เป็นรัฐเอกราชบนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวักของมาเลเซียตะวันออก บรูไนเป็นประเทศเดียวที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่บนเกาะบอร์เนียว ส่วนพื้นที่ที่เหลือของเกาะถูกแบ่งเป็นของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประเทศบรูไนมีประชากรประมาณ คนใน
ประเทศบรูไนเจริญถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านโบลเกียห์ที่ปกครองจักรวรรดิบรูไนช่วง พ.ศ. 2028 - 2071 โดยกล่าวกันว่าสามารถควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวได้ อาทิพื้นที่ในปัจจุบันของรัฐซาราวัก รัฐซาบะฮ์ กลุ่มเกาะซูลูทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว มะนิลาและหมู่เกาะที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ต่อมาใน พ.ศ. 2064 เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันมาพบกับบรูไน และใน พ.ศ. 2121 บรูไนต่อสู้กับสเปนในสงครามกัสติยา
ในช่วงศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิบรูไนเริ่มเสื่อมอำนาจ สุลต่านยอมยกซาราวัก (กูชิง) ให้เจมส์ บรูก และแต่งตั้งให้เป็นรายาแห่งซาราวัก จากนั้นซาราวักก็ตกเป็นของบริษัทบริษัทเอ็นบีซีซีของอังกฤษ ใน พ.ศ. 2431 บรูไนได้กลายเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษและได้รับมอบหมายให้เป็นพลเมืองอังกฤษในฐานะผู้บริหารอาณานิคมใน พ.ศ. 2449 หลังจากนั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดครองบรูไน พ.ศ. 2502 มีการเขียนกฎหมายสูงสุดฉบับใหม่ขึ้น และใน พ.ศ. 2505 การประท้วงขนาดเล็กที่ต่อต้านระบอบกษัตริย์สิ้นสุดลงด้วยความช่วยเหลือของอังกฤษ
บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาร์เรล/วัน)
== ภูมิศาสตร์ ==
ประเทศบรูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและด้านตะวันออกโดยที่ประชากรร้อยละ 97 อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตก และมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออก ซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเติมบูรง เมืองหลัก ๆ ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เซอรีเบอกาวัน เมืองท่ามัวรา และเซอเรีย
ภูมิอากาศในบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกมาก
== ประวัติศาสตร์ ==
บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ
หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และเนเธอร์แลนด์ได้แผ่อำนาจเข้ามา
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่กองทัพบกอังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
== การเมืองการปกครอง ==
รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งแก้ไขล่าสุดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมลายูตั้งแต่กำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายซุนนี นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
นโยบายหลักของบรูไน ได้แก่การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ ทั้งนี้ บรูไนมีที่ตั้งที่ถูกโอบล้อมโดยมาเลเซีย และมีอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่อยู่ทางใต้ บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็ก และมีอาณาเขตติดกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่
นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดอย่างมาก จนปัจจุบันพรรคการเมือง ได้แก่ Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาทมากนัก เนื่องจากรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่าง ๆ อาทิ กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ (Internal Security Act (ISA)) ห้ามการชุมนุมทางการเมือง และสามารถถอดถอนการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ (ซึ่งมีเป็นจำนวนกว่าครึ่งของประชากรบรูไนทั้งหมด) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าพรรคการเมืองไม่มีความจำเป็น เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 ได้มีการจัดการประชุมของสภาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บรูไนประกาศเอกราช
=== บริหาร ===
สุลต่านเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาลในบรูไน โดยใช้อำนาจเด็ดขาดและอำนาจบริหารเต็มที่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญปี 2502 สุลต่านทรงแต่งตั้ง ห้าสภาคือ องคมนตรีสภา สันตติวงศ์สภา ศาสนาสภา รัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติ
=== นิติบัญญัติ ===
ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2502 มีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ (มาเลย์: Majlis Mesyuarat Negera) แต่มีการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวที่เคยเกิดขึ้นในปี 2505 ในไม่นานหลังจากการเลือกตั้งสภาก็เลือนหายไปตามประกาศภาวะฉุกเฉิน สภาได้รับการแต่งตั้งโดยคำสั่งของสุลต่าน ในปี 2547 สุลต่านประกาศว่าสำหรับการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งต่อไปจะมีการเลือกตั้ง 15 จาก 20 ที่นั่ง อย่างไรก็ตามไม่มีการกำหนดวันที่สำหรับการเลือกตั้ง
ปัจจุบันสภานิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวน 20 คนและมีอำนาจในการให้คำปรึกษาเท่านั้น
=== ตุลาการ ===
ระบบยุติธรรมในบรูไนมีรากฐานมาจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ โดยเป็นระบบกฎหมายคู่
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
ประเทศบรูไนแบ่งการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 4 เขต (daerah) ดังนี้
เขตบรูไน-มัวรา (Brunei-Muara)
เขตเบอไลต์ (Belait)
เขตตูตง (Tutong)
เขตเติมบูรง (Temburong)
=== เมืองใหญ่สุด ===
=== สิทธิมนุษยชน ===
สิทธิมนุษยชนในบรูไนถูกกำกับโดยระบบยุติธรรมแบบศาสนาอิสลาม
=== การต่างประเทศ ===
จนกระทั่งปี 1979 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของบรูไนได้รับการจัดการโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร หลังจากได้รับเอกราชในปี 1984 การต่างประเทศนี้ได้รับการยกระดับเป็นระดับรัฐมนตรีและเป็นที่รู้จักในนามกระทรวงการต่างประเทศ
นโยบายต่างประเทศของบรูไนอย่างเป็นทางการมีดังนี้
การเคารพซึ่งกันและกันของอธิปไตยเหนือดินแดนความซื่อสัตย์และความเป็นอิสระของผู้อื่น
การบำรุงรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรในหมู่ประชาชาติ
การไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และ
การบำรุงรักษาและการส่งเสริมสันติภาพความมั่นคงและความมั่นคงในภูมิภาค
ด้วยความผูกพันดั้งเดิมกับสหราชอาณาจักรบรูไนก็กลายเป็นสมาชิกคนที่ 49 ของเครือจักรภพทันทีในวันประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 หนึ่งในโครงการริเริ่มแรกที่มีต่อความสัมพันธ์ในภูมิภาคที่ดีขึ้นบรูไนได้เข้าร่วมกับอาเซียนในวันที่ 7 มกราคม 2527 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่หก เพื่อให้บรรลุถึงการยอมรับอำนาจอธิปไตยและความเป็นอิสระมันได้เข้าร่วมสหประชาชาติในฐานะสมาชิกเต็มรูปแบบในวันที่ 21 กันยายนของปีเดียวกัน
ในฐานะประเทศอิสลามบรูไนก็กลายเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบขององค์กรการประชุมอิสลาม (ปัจจุบันเป็นองค์กรความร่วมมืออิสลาม) ในเดือนมกราคม 2527 ในการประชุมสุดยอดอิสลามครั้งที่สี่ที่จัดขึ้นในโมร็อกโก
หลังจากเข้าร่วมในเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก (APEC) ในปี 2532 บรูไนได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2543 และการประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน (ARF) ในเดือนกรกฎาคม 2545 บรูไนเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน BIMP-EAGA ซึ่งก่อตั้งขึ้นในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีครั้งแรกในเมืองดาเวาประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537
บรูไนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ ในเดือนเมษายน 2552 บรูไนและฟิลิปปินส์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่พยายามกระชับความร่วมมือทวิภาคีของทั้งสองประเทศในด้านการเกษตรและการค้าและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
บรูไนเคยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2556 นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนในปีเดียวกัน
=== การทหาร ===
กองทัพบรูไน (Royal Brunei Armed Forces หรือ RBAF) มีกำลังพลเพียง 7,000 นาย และกำลังสำรอง 700 นาย โดยแบ่งเป็นกองทัพบก 4,900 นาย กองทัพเรือ 1,000 นาย และกองทัพอากาศ 1,200 นาย
อย่างไรก็ดี สุลต่านยังมีกองทหารกูรข่าของพระองค์เอง เรียกว่า Gurkha Reserve Unit (GRU) จำนวน 2,500 นาย และกองทหารกูรข่าของอังกฤษ (British Gurkha) รวมกำลังพล 1,000 คน ประจำอยู่ที่เมืองเซอเรีย เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่บ่อน้ำมัน และกิจการผลิตน้ำมันของกองทัพบรูไน Brunei Shell Petroleum โดยรัฐบาลบรูไนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
== เศรษฐกิจ ==
ประเทศบรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและแก๊สธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอี่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลต่านบรูไนได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง
การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้งความหวังว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เล่าเรียนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วย
=== อุตสาหกรรม ===
บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร และปลากระป๋อง
=== แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ===
ปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง จากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของบรูไนจะหมดลงในราวปี พ.ศ. 2558 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่
จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน) ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทมากขึ้น ในการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นนโยบายให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขยายฐานการจัดเก็บภาษี
ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทคมนาคม หรือธุรกิจสายการบินต่าง ๆ
แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP) ที่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 มีสาระสำคัญ ได้แก่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี - GDP) ที่ร้อยละ 5–6 โดยตั้งวงเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินตามแผนฯ ไว้ 7.3 พันล้านดอลลาร์บรูไน ซึ่งคาดว่ากลยุทธ์ทางการพัฒนาใหม่นี้ จะช่วยให้รัฐบาลสร้างสมดุลของงบประมาณได้ดีขึ้น สามารถกำหนดมาตรการในการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างความแข็งแกร่งและการขยายตัวให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ รัฐบาลบรูไนยังยึดแนวคิดของวิธีการปกครองที่ดี (Good Governance) รวมทั้งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเอกชน
ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้า และสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียน และนานาประเทศ
พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism -SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของโครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei Indonesia Malaysia Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA)
สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐาน นอกจากนี้ จากการที่บรูไนได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติ (Brunei International Financial Center : BIFC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประเทศ ในด้านการบริการการเงินในระดับนานาชาติ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างงานให้กับประชาชน
=== การท่องเที่ยว ===
บรูไนเป็นประเทศที่เริ่มหันมาพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวอย่างจริงจังในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในปี 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางมาถึงบรูไนดารุสซาลามผ่านสนามบินนานาชาติบรูไนมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 258,955 คนเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวน 218,809 คนในปี 2559 เพิ่มขึ้น 18.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ความสำเร็จครั้งนี้เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ 10% จากปีที่แล้วและนับเป็นสถิติที่สูงที่สุดของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาตินับตั้งแต่ปี 2554 ที่จำนวนนักท่องเที่ยว 242,061 คน
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== การคมนาคม===
ในประเทศเชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายถนนระยะทาง 2,800 กิโลเมตร (1,700 ไมล์) ทางหลวงระยะทาง 135 กิโลเมตร (84 ไมล์) จากเมือง Muara ไปยัง Kuala Belait กำลังได้รับการพัฒนาต่อเติมเป็นถนนสองเลน
บรูไนสามารถเดินทางโดยเครื่องบินทะเลและการขนส่งทางบก ท่าอากาศยานนานาชาติบรูไนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของประเทศ สายการบินรอยัลบรูไน เป็นสายการบินแห่งชาติ มีสนามบินอีกแห่งหนึ่งคือสนามบิน Anduki ที่ตั้งอยู่ใน Seria ท่าเรือเฟอร์รี่ที่ Muara ให้บริการเชื่อมต่อไปยังลาบวน (มาเลเซีย) เป็นประจำ เรือเร็วให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปยังเขต Temburong ทางหลวงสายหลักที่วิ่งข้ามประเทศบรูไนคือทางหลวง Tutong-Muara เครือข่ายถนนของประเทศได้รับการพัฒนาอย่างดี บรูไนมีท่าเรือหลักอยู่ที่ Muara
สนามบินในบรูไนกำลังได้รับการยกระดับอย่างกว้างขวาง สนามบินนานาชาติจางีเป็นที่ปรึกษาด้านการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทันสมัยซึ่งปัจจุบันมีต้นทุนการวางแผนอยู่ที่ 150 ล้านดอลลาร์ โครงการนี้มีกำหนดจะเพิ่มพื้นที่พื้นใหม่ 14,000 ตารางเมตร (150,000 ตารางฟุต) และมีอาคารผู้โดยสารและโถงผู้โดยสารขาเข้าใหม่ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการนี้ความจุผู้โดยสารประจำปีของสนามบินคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 1.5 เป็น 3 ล้านคน
ด้วยรถยนต์ส่วนตัวหนึ่งคันสำหรับทุก ๆ 2.09 คนบรูไนมีอัตราการเป็นเจ้าของรถยนต์ที่สูงที่สุดในโลก นี่เป็นผลมาจากการที่ไม่มีระบบการขนส่งที่ครอบคลุมภาษีนำเข้าต่ำและราคาน้ำมันไร้สารตะกั่วต่ำเพียง 0.53 ดอลลาร์ต่อลิตร
ถนนสายใหม่ระยะทาง 30 กม. (19 ไมล์) ซึ่งเชื่อมต่อกับเขต Muara และ Temburong ของบรูไนมีกำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2562 สิบสี่กิโลเมตร (9 ไมล์) ของถนนสายนี้จะข้ามอ่าวบรูไน ใช้งบประมาณก่อสร้างสะพานคือ 1.6 พันล้านดอลลาร์
=== การศึกษา ===
การศึกษาในบรูไนถูกกำกับโดยกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงศาสนา มีการสอนศาสนาอิสลามและมีการเน้นการสอนภาษามาเลย์และภาษาอังกฤษ
=== สาธารณสุข ===
บรูไนมีโรงพยาบาลที่ดำเนินการโดยรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีศูนย์สุขภาพไม่ต่ำกว่า 16 แห่งและคลินิกสุขภาพ 10 แห่ง
การดูแลสุขภาพในบรูไนมีค่าใช้จ่าย 1 ดอลล่าร์บรูไน และฟรีสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เชื้อชาติ ===
ในปี ค.ศ. 2007 ประเทศบรูไนมีประชากรประมาณ 423,196 คน เป็นเชื้อชาติมลายู 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น ๆ 67,424 คน (18%)
อัตราการเพิ่มประชากรเฉลี่ยปีละ 3.5 %
=== ศาสนา ===
ในปี ค.ศ. 2011 ประเทศบรูไนมีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ | thaiwikipedia | 270 |
ไข่ดาว (พรรณไม้) | ไข่ดาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Oncoba spinosa Forsk) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2 - 3 เมตร มีดอกสีขาว กลีบดอกบางกลม หรือรูปไข่ กว้าง 2 - 3 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้เส้นเล็กๆ สีเหลืองจำนวนมากอยู่กลางดอก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์สนุ่น | thaiwikipedia | 271 |
ลูกปืนใหญ่ (พืช) | ลูกปืนใหญ่ หรือ สาละลังกา (Cannonball tree) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
ลูกปืนใหญ่เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา ดอกสีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกแข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็นมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่
== ประวัติ ==
ลูกปืนใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู, โคลัมเบีย, บราซิล และประเทศใกล้เคียง ในปี พ.ศ. 2424 สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าลูกปืนใหญ่จากตรินิแดดและโตเบโก ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกา แต่ชาวศรีลังกากลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของลูกปืนใหญ่ ส่วนมากอ้างว่านำมาจากอินเดีย และที่เรียกเพราะซาลเพราะเชื่อว่าก้านชูอับเรณูที่เชื่อมกันเป็นรูปผืนผ้าตัวงอเป็นตัว U นอน ปุ่มตรงกลางเปรียบเสมือนพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน มีเกสรสีเหลืองรายล้อมเปรียบเสมือนพระสงฆ์สาวกห้อมล้อมอยู่ ส่วนด้านบนเป็นที่บังแดดและน้ำค้างประดับด้วยดอกไม้ เนื่องจากมีดอกตลอดปีประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนาน ชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ
ลูกปืนใหญ่มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดีย และต่างจากสาละอย่างสิ้นเชิงทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์ จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย (Sal of India) และลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree)
อนึ่ง ลูกปืนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากลูกปืนใหญ่มีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของของลูกปืนใหญ่มีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อม ๆ ซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้
== ต้นไม้ประจำสถาบัน ==
เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยชินวัตรและในอดีตเคยเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นต้นราชพฤกษ์แล้ว)
เป็นต้นไม้ประจำ โรงเรียนสารวิทยา
เป็นต้นไม้ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นต้นไม้ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมมราชชนนี แพร่
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
19537.โพธิญาณพฤกษา : ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)
ไม้ดอกไม้ประดับ
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
วงศ์จิก | thaiwikipedia | 272 |
เสลดพังพอน | เสลดพังพอนตัวผู้ หรือ ชองระอา ชื่ออื่น พิมเสนต้น (ภาคกลาง) ทองระอา ช้องระอา ลิ้นงูเห่า คันชั่ง (ตาก) อังกาบ อังกาบเมือง (ไทย) ก้านชั่ง (พายัพ) เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) เป็นไม้พุ่ม สีเขียวน้ำตาล สูงเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะเรียงแคบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นกลางใบมีสีแดง โคนก้านใบมีหนามสีม่วง ดอกช่อสีส้มเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ
เสลดพังพอน เป็นพืชสมุนไพร ใบใช้พอกฝี แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ช้ำบวม ทั้งต้นใช้แก้ปวดฟัน น้ำคั้นจากใบใช้แก้อาการปวดจากเงี่ยงปลาแทง แก้ปวดฟัน เหงือกบวม ริดสีดวงทวาร ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้ใบสดกำจัดหูด
== อ้างอิง ==
ITIS 34350
[http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_20_7.htm]
ไม้ดอกไม้ประดับ
สกุลอังกาบ
สมุนไพร | thaiwikipedia | 273 |
ประเทศสิงคโปร์ | สิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และเป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 1 องศา หรือประมาณ 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะโฮร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงเป็นอันดับสองของโลก แม้จะเต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวตามการจัดระบบผังเมือง และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง อันเป็นผลมาจากอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศ มีภาษาราชการสี่ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษามลายู, ภาษาจีนกลาง และ ภาษาทมิฬ โดยภาษาอังกฤษมีบทบาทหลักเป็นภาษากลางที่ใช้สื่อสารทั่วไป โดยเฉพาะในการบริการสาธารณะ และนับตั้งแต่ก่อต้ังประเทศ แนวคิดพหุนิยมทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมีอิทธิพลอย่างสูงจนถึงปัจจุบัน โดยมีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญและมีบทบาทในการกำหนดนโยบายการศึกษา การเมือง และคุณภาพชีวิตประชากร
หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะโฮร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย
ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับสี่และเป็นหนึ่งในห้าท่าที่วุ่นวายที่สุด เศรษฐกิจซึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์และมีความหลากหลายอาศัยการค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556 ในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ประเทศสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกแต่มีความเหลื่อมล้ำของรายได้รุนแรงที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับสูงในแง่การศึกษา สาธารณสุขและความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เกือบ 5.5 ล้านคน ซึ่งกว่า 2 ล้านคนมีสัญชาติต่างชาติ แม้สิงคโปร์จะมีความหลากหลาย แต่เชื้อชาติเอเชียมีมากที่สุด 75% ของประชากรเป็นชาวจีน โดยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวมลายู ชาวอินเดียและชาวยูเรเชีย มีภาษาราชการสี่ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนกลาง และภาษาทมิฬ และประเทศสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมผ่านนโยบายทางการต่าง ๆ อีกด้วย
ประเทศสิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา รัฐเดี่ยว และใช้ระบบหลายพรรคการเมือง โดยมีการปกครองสภาเดี่ยวระบบเวสต์มินสเตอร์ พรรคกิจประชาชนชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่เริ่มการปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2502 ภาวะครอบงำของพรรคกิจประชาชน ประกอบกับระดับเสรีภาพสื่อต่ำและการปราบปรามเสรีภาพพลเมืองและสิทธิการเมืองนำให้ประเทศสิงคโปร์ถูกจัดเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ (flawed democracy) ประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และสมาชิกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศสิงคโปร์นำให้มันมีอิทธิพลอย่างสำคัญในกิจการโลก นำให้นักวิเคราะห์บางส่วนระบุว่าเป็นอำนาจปานกลาง (middle power)
== ภูมิศาสตร์ ==
ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลางเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์ และภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ ชายฝั่งทะเลมักจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ต้องมีการถมทะเล
=== ภูมิอากาศ ===
ประเทศสิงคโปร์มีภูมิอากาศ แบบร้อนชื้นเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสภาพอากาศของประเทศสิงคโปร์ ก็จะคล้ายคลึงกับสภาพอากาศทางภาคใต้ของประเทศไทย กล่าวคือ อากาศจะร้อนและเปียกชื้นทั้งปี และจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นระหว่างอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส และต่ำสุด 23 องศาเซลเซียส
ประเทศสิงค์โปรมี 2 ฤดูได้แก่
ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนตุลาคม
ฤดูฝน จะอยู่ในช่วง เดือนพฤศจิกายน - เดือนมกราคม
ประเทศสิงคโปร์มีสภาพภูมิอากาศคงที่ มีอุณหภูมิสม่ำเสมอและมีฝนตกชุก สิงคโปร์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสภาพภูมิอากาศแบบป่าเขตร้อน ไม่มีการแบ่งฤดูเหมือนประเทศอื่น ๆ ที่มีการแบ่งเป็น ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วง หรือ ฤดูหนาว ด้วยความที่สิงคโปร์มีภูมิอากาศที่คงที่
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ช่วงต้น ===
ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ก่อนศตวรรษที่ 14 มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชปาหิตแห่งชวา ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของราช-อาณาจักรสยาม จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498 และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่ 17
สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดของแหลมมาลายู เป็นสถานที่พักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา
=== ยุคแห่งการล่าอาณานิคม ===
ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มายึดครองไป เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้และก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี ค.ศ. 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlement) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังและมะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงได้ขับไล่อังกฤษออกจากสิงคโปร์และเข้าไปยึดครองแทน
=== อาณานิคมแบบเอกเทศ ===
ค.ศ. 1946 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crown colony) เมื่ออังกฤษกลับมาควบคุมสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1942-1946)
=== การรวมชาติเข้ากับมาเลเซีย ===
เมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงขอรวมชาติเข้ากับมลายูกลายเป็นสหภาพมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติ ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาในชื่อ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อแยกตัวออกมาแล้วพรรคกิจประชาชนก็ครองประเทศมาตลอดจนถึงทุกวันนี้
== การเมืองการปกครอง ==
ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากส่วนกลางมาปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี 1948 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี ค.ศ. 1955 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน
ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ (1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี 1955-1956 (2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี ค.ศ. 1956-1959 และ (3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลี กวน ยูได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี 1963-1965 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาลายา และอยู่ได้เพียง 2 ปี
นับจากปี ค.ศ. 1965 เมืองสิงคโปร์ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยปกครองในรูปของสาธารณรัฐ หลังจากนั้นสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเป็นเวลาถึง 25 ปี ซึ่งก็คือ นาย ลี กวน ยู ทั้งนี้เป็นเพราะพรรคกิจประชา (PAP: People’ Action Party) ซึ่งนาย ลี เป็นผู้ก่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 นั้นมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อม
ทศวรรษ 1990 เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนการปกครองสิงคโปร์จากผู้นำกลุ่มเก่า (Old Guards) เป็นผู้นำรุ่นใหม่ (New Guards) นายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong) ได้รับการคัดเลือกจากพรรคกิจประชาและคณะรัฐมนตรี ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 นาย ลี กวน ยู ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และในปี ค.ศ. 1993 สิงคโปร์เริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีแบบใหม่ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
ปัจจุบันปี ค.ศ. 2006 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อเลือกผู้นำคนใหม่และทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป แต่อย่างไรก็ดี พรรคกิจประชาก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นเหมือนอย่างเดิม โดยพรรค PAP ได้รับที่นั่งในฝ่ายรัฐบาล 82 ที่นั่งจาก 84 ที่นั่ง ซึ่งเท่ากับสมัยนายโก๊ะ จ๊กตงได้รับในปี พ.ศ. 2544 แต่ได้คะแนนเสียงลดลงจากสมัยแรกที่ได้ 75.3 เป็น66.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรัฐบาลนี้ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของนาย ลี เซียน ลุง สมัยที่สองซึ่งรัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันในเรื่องปัญหาคนยากไร้ ผู้สูงอายุและคนว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นาย ลี เซียน ลุงจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น เขาได้เน้นโยบายแบ่งปันรายได้ผนวกกับความอ่อนแอและแตกแยกของพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรค PAP ได้ครองอำนาจสืบทอดมาเป็นเวลา 4 ทศวรรษ
=== บริหาร ===
ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นางฮาลิมาห์ ยาคอบ เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 ส่วนนายกรัฐมนตรีคือ นายลี เซียน ลุง ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายโก๊ะ จ๊กตง และนายลี กวน ยูซึ่งมีฐานะเป็นบิดาของนาย ลี เซียน ลุง สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางพิธีการ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขทางด้านบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เพราะนับแต่ตั้งประเทศเป็นต้นมา มีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก และมีการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างค่อนข้างเข้มงวด
=== นิติบัญญัติ ===
รัฐสภาทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐบาล พรรคกิจประชาชนได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา
=== ตุลาการ ===
สถาบันตุลาการของสิงคโปร์อยู่ภายใต้ระบบสาธารณรัฐ อำนาจตุลาการนั้นเป็นอิสระมาก ปราศจากการควบคุมและแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีการแบ่งศาลเป็น 2 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น กับศาลสูงสุด
ระบบกฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ใช้แบบคอมมอนลอว์เนื่องจากอาณานิคมของ สหราชอาณาจักรมากก่อนจึงได้รับอิทธิพลด้านกฎหมายมาด้วย
=== สิทธิมนุษยชน ===
สิทธิมนุษยชนในสิงคโปร์ถูกจำกัดอย่างมาก ทั้งในการควบคุมสื่อและกฎหมายที่เข้มงวด
== กองทัพ ==
กองทัพอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพสิงคโปร์นั้น ประกอบไปด้วยสามเหล่าทัพ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพดินแดนของสิงคโปร์จากภัยคุกคามภายนอก
== เศรษฐกิจ ==
กิจกรรมที่สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจในสิงคโปร์
การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด
อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า
=== สถานการณ์เศรษฐกิจ ===
สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก
=== การท่องเที่ยว ===
ในปี 2017 สิงคโปร์มีนักท่องเที่ยวที่มาเยือน 17,422,826 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน, อินโดนีเซีย, อินเดีย, มาเลเซีย และออสเตรเลีย ตามลำดับ
==== สถานที่ท่องเที่ยว ====
หากแบ่งตามภูมิศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวภายในประเทศสิงคโปร์ มีดังนี้
ภาคตะวันออก - Katong, Pasir Ris, Changi/Pulau Ubin
ภาคตะวันตก - Kent Ridge, Mount Faber, Bukit Timah
ภาคเหนือ - Thomson, Lim Chu Kang/Tengah
ภาคกลาง - Balestier, Chinatown, แม่น้ำสิงคโปร์
สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมักอยู่ในตอนกลาง ได้แก่ พื้นที่บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) , อาคารโรงละคร Esplanade ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่, สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำ บริเวณพื้นที่ริมน้ำ ได้แก่ Clarke Quay, Boat Quay, ย่านไชน่าทาวน์ (China Town) , ย่าน Little India, ย่านชอปปิ้ง บนถนน Orchard
ส่วนบริเวณเมืองรอบนอกนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวกระจายอยู่โดยรอบ สามารถเข้าถึงได้โดยรถไฟ MRT และ รถประจำทาง ได้แก่ เกาะเซนโตซา (Sentosa Island) บริเวณ Harbour Front, สวนสัตว์กลางคืน (Night Safari), สวนนกจูร่ง (Jurong Birdpark) เป็นต้น
ไฟล์:Indian_temple_singapore1.JPG|รูปปั้นหน้าวัด แสดงถึงวัฒนธรรมอินเดีย
ไฟล์:Chinatown_singapore2.JPG|สถาปัตยกรรมแบบจีนที่มีการอนุรักษ์ไว้ บริเวณย่านไชน่าทาวน์
ไฟล์:Saint Andrew's Cathedral, Singapore 2.JPG|มหาวิหารเซนต์แอนดรู.
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== การคมนาคม ===
ที่ตั้งของสิงคโปร์เป็นเส้นทางระหว่างทวีปยุโรป และเอเซียตะวันตก กับภาคพื้นตะวันออกไกล รวมทั้งภาคพื้นแปซิฟิค ทำให้สิงคโปร์เป็นชุมทางของเส้นทางเดินเรือ และสายการบินระหว่างประเทศ และเป็นแหล่งชุมนุมการค้าขาย ปัจจุบันสิงคโปร์ มีท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเซีย รองจากโยโกฮามาของญี่ปุ่น และเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้ามาก เป็นอันดับสามของโลก
การขนส่งทางบก สิงคโปร์มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ 900 ตารางกิโลเมตร แต่ถนนที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ประมาณ 1,300 กิโลเมตร นอกจากถนนแล้ว ยังมีทางรถไฟอยู่สองสาย มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร ได้มีการสร้างทางรถไฟสายสิงคโปร์ - กรันจิ เมื่อปี พ.ศ. 2446 สมัยรัฐบาลสเตรตส์เซตเทิลเมนต์โดยมีการเดินรถจากสถานีแทงค์โรค ไปยังวู๊ดแลนด์ และมีบริการแพขนานยนต์ ข้ามฟากไปเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากแผ่นดินใหญ่ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 การรถไฟแห่งสหพันธ์มลายู ได้รับซื้อกิจการนี้แล้วปรับปรุง ให้เริ่มจากสถานีบูกิตบันยัง ถึงสถานีตันหยงปาการ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ได้มีการเริ่มสร้างถนนข้ามช่องยะโฮร์ เพื่อให้ทางรถไฟติดต่อถึงกัน ทางรถไฟสายหลัก ข้ามถนนข้ามช่องยะโฮร์มาเลเซีย ตัดกลางประเทศ ลงสู่ใต้ถึงสถานีปลายทาง ที่ใกล้ท่าเรือเคปเปล โดยมีทางแยกเลยเข้าไปในท่าเรือเคปเปลด้วย ทางรถไฟอีกสายหนึ่ง แยกจากสายแรกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ รถไฟสายนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลมาเลเซีย การเดินทางไปในสถานีรถไฟ เพื่อโดยสารถือว่าเป็นการเดินทางผ่านประเทศ ต้องมีการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือเอกสารอย่างอื่นทำนองเดียวกัน
การขนส่งทางน้ำ มีการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ทางน้ำชายฝั่งและทางน้ำระหว่างประเทศ ทางน้ำภายในประเทศ มีใช้อยู่ในวงจำกัด และไม่ค่อยสะดวก เพราะสิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ และมีแนวชายฝั่งสั้น ภายในเกาะเองก็มีแม่น้ำสายสั้น ๆ และไม่ติดต่อถึงกัน รวมทั้งยังตื้นเขินมาก จึงต้องจำกัดเวลา ในการใช้คือ ในช่วงเวลาน้ำขึ้นเท่านั้น ทางน้ำชายฝั่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะเฉพาะของตนเองคือ ใช้เรือเล็ก ท่าเรือเล็ก ๆ ที่มีจำนวนมากมาย เส้นทางเดินเรือสั้น การให้บริการไม่เป็นประจำ เรือที่เดินตามบริเวณชายฝั่ง มีหลายบริษัท และมีบริษัทที่ให้บริการเป็นประจำไปยังท่าเรืออินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออก และตะวันตก และไทย ทางน้ำระหว่างประเทศ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนเรือของสิงคโปร์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2509 และได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุญาตให้มีการจดทะเบียนเรือ ซึ่งเจ้าของอยู่ในต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยมีความมุ่งหมายจะชักจูงเรือสินค้าต่างชาติ ที่ไปจดทะเบียนเป็นเรือสัญชาติไซบีเรีย และปานามา ให้สนใจโอนสัญชาติเป็นเรือสิงคโปร์ได้ ท่าเรือแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 ได้มีการปรัปปรุงท่าเรือสิงคโปร์ ให้สามารถรับเรือคอนเทนเนอร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และสามารถอำนวยความสะดวก ให้กับเรือบรรทุกน้ำมันขนาดสองแสนตัน หรือมากกว่า ท่าเรือ แต่เดิมใช้ท่าเรือเคปเปล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสิงคโปร์ และมีเกาะเซนโตซา กับเกาะบรานี เป็นที่กำบังลม ต่อมาบริเวณของการท่าเรือ ได้ขยายออกไปจนเกินอาณาบริเวณ ทั้งพื้นที่บนฝั่ง และในทะเลรวม 538 ตารางกิโลเมตร ท่าเรือสิงคโปร์ มีทั้งท่าเรือน้ำลึกตรงที่ท่าเรือเคปเปล มาจนถึงตันจงปาการ์ ท่าเรือสิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของเกาะ เลียมริมฝั่งตะวันตก เรื่อยไปจนถึงฝั่งตะวันออกของเกาะทีซันไจ มาตา อิกาน บีคอน เขตการค้าเสรี ทางการสิงคโปร์ ได้ประกาศเขตการค้าเสรี เมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามบริเวณท่าเรือ ตั้งแต่เตล๊อก อาเยอร์เบซิน จนถึงจาร์ดินสเตปส์ กับจูร่ง ในบริเวณนี้ทางการได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ สายการเดินเรือแห่งชาติ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 บริษัทนี้เป็นสมาชิกของชมรมเดินเรือแห่งตะวันออกไกล เมื่อปี พ.ศ. 2512
การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เริ่มมีสายการบินทำการค้าสายแรก เมื่อปี พ.ศ. 2473 เป็นของบริษัทดัทช์อิสท์อินเดีย และในปี พ.ศ. 2478 สายการบินแควนตัส ได้เปิดการบินระหว่างสิงคโปร์ กับออสเตรเลีย ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ท่าอากาศยานสากล เดิมอยู่ที่ปายาเลบาร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางวิ่งยาวประมาณ 4,000 เมตร สามารถรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทุกขนาดและทุกแบบ ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าอากาศยานนานานชาติ ที่จัดส่งทันสมัยมากคือ ท่าอากาศยานนานาชาติจางี มีขีดความสามารถในการรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ และการให้บริการพร้อม ๆ กันถึง 45 เครื่อง มีการสร้างทางวิ่งที่สองบนพื้นที่ ที่ได้จากการถมทะเล สายการบินแห่งชาติ เดิมสิงคโปร์ มีสายการบินร่วมกับมาเลเซียใช้ชื่อว่า มาเลเซีย - สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Malasia - Singapore Airlines) ต่อมาเมื่อได้แยกประเทศกันแล้ว ก็ได้แยกสายการบินออกจากกันด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2515 สายการบินของสิงคโปร์ใช้ชื่อว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines SIA)
=== การศึกษา ===
ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า นักเรียนแต่ละคนนั้นมีความถนัดและความสนใจแตกต่างกันไป ดังนั้นสิงคโปร์จึงมีการจัดระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นเพื่อให้นักเรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่
==== การศึกษาก่อนวัยเรียน ====
การศึกษาก่อนวัยเรียน ได้แก่ การศึกษาในชั้นอนุบาลและการดูแลเด็กโดยศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โดยจะรับนักเรียนอายุ 3-6 ปี โรงเรียนอนุบาลในสิงคโปร์จะมีกระทรวงศึกษาธิการควบคุม และมีมูลนิธิของชุมชน หน่วยงานทางศาสนา และองค์กรทางธุรกิจและสังคมทำหน้าที่บริหาร
โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่จะทำการเรียนการสอน 5 วันต่อสัปดาห์ และแบ่งการเรียนเป็นสองช่วงในแต่ละวัน ช่วงหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งถึง 4 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะสอนโดยใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาที่สอง ยกเว้นในโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียนของชาวต่างชาติที่เข้ามาเปิดสอนในสิงคโปร์
การรับสมัครเรียนโรงเรียนอนุบาลและศูนย์ดูแลเด็กเล็กในสิงคโปร์แต่ละแห่งจะมีระยะเวลาต่างกันไปไม่แน่นอน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเปิดรับสมัครนักเรียนตลอดทั้งปี ผู้ปกครองจึงควรติดต่อทางโรงเรียนโดยตรงเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับ การรับสมัคร หลักสูตรการเรียนการสอน และเรื่องอื่น ๆ
==== ประถมศึกษา ====
เด็กทุกคนในสิงคโปร์จะต้องใช้เวลาเรียน 6 ปีในระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยการเรียนชั้นประถมต้น (foundation stage) 4 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และชั้นประถมปลาย (orientation stage) อีก 2 ปี ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6
ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน วิชาหลักที่ได้เรียนคือ วิชาภาษาอังกฤษ ภาษาท้องถิ่น (Mother Tongue อันได้แก่ ภาษาจีน มลายู หรือทมิฬ ตามเชื้อชาติของตนเอง) คณิตศาสตร์ และวิชาเสริม อันได้แก่ ดนตรี ศิลปะหัตถกรรม สุขศึกษา และสังคมศึกษา ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์จะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้นไป และเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในตัวนักเรียนและทดสอบความถนัดของนักเรียนให้ตรงกับแผนการเรียนในระดับมัธยม ทุกคนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะต้องทำข้อสอบ Primary School Leaving Examination (PSLE) ให้ผ่านเพื่อจบการศึกษาระดับประถม
หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของสิงคโปร์ได้รับการยอมรับและนำไปเป็นตัวอย่างการเรียนการสอนจากนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน
==== มัธยมศึกษา ====
โรงเรียนมัธยมศึกษาในสิงคโปร์มีหลายรูปแบบ ทั้งที่ให้ทุนทั้งหมดโดยรัฐบาล หรือเพียงส่วนเดียว หรือนักเรียนเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด นักเรียนในแผนการเรียนพิเศษ (Special และ Express) จะใช้เวลาเรียนเพียง 4 ปี ขณะที่นักเรียนในแผนการเรียนปกติ (Normal) จะใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยนักเรียนในแผนการเรียนพิเศษจะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Ordinary’ (GCE ‘O’ Level) เมื่อเรียนครบ 4 ปี ส่วนนักเรียนหลักสูตรปกติที่ใช้เวลาเรียน 5 ปีนั้น จะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Normal’ (GCE ‘N’ Level) เมื่อถึงปีที่ 4 ก่อน แล้วจึงจะสามารถสอบ GCE ‘O’ Level เมื่อเรียนจบปีที่ 5
หลักสูตรวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะประกอบด้วย วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาแม่ (จีน มลายู หรือทมิฬ) วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนทางสายศิลป์ วิทยาศาสตร์ ธุรกิจการค้าหรือสายวิชาชีพ
หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในสิงคโปร์ได้รับการยอมรับในระดับโลกว่า ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน
==== จูเนียร์ คอลเลจ / เตรียมอุดมศึกษา (Junior College) ====
เมื่อนักเรียนสอบ GCE ‘O’ Level ได้สำเร็จแล้ว นักเรียนสามารถเลือกสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับจูเนียร์ คอลเลจเป็นเวลา 2 ปี หรือศึกษาที่สถาบันกลางการศึกษา (centralised institute) เป็นเวลา 3 ปี เพื่อเตรียมศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย จูเนียร์ คอลเลจและสถาบันกลางการศึกษาจะสอนทุกอย่างเพื่อเตรียมตัวให้นักเรียนเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ หลักสูตรหลักแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ วิชาความรู้ทั่วไป (General Paper) และภาษาแม่ เมื่อเรียนจบจูเนียร์ คอลเลจ นักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Advanced’ (GCE ‘A’ Level) โดยเลือกวิชาสอบสูงสุดได้ 4 วิชา จากวิชาในหมวดศิลปะ วิทยาศาสตร์และธุรกิจการค้า
การรับนักเรียนต่างชาติก็ขึ้นอยู่กับที่นั่งว่างในโรงเรียนเช่นกัน
==== โพลีเทคนิค (Polytechnic) ====
หลักสูตรโพลีเทคนิคสร้างขึ้นเพื่ออบรมหลักสูตรที่หลากหลายให้แก่นักศึกษาที่ต้องการฝึกฝีมือในระดับประกาศนียบัตรและอนุปริญญา ในขณะนี้ สิงคโปร์มีสถาบันโพลีเทคนิค 5 แห่ง ได้แก่ Nanyang Polytechnic, Ngee Ann Polytechnic, Republic Polytechnic, Singapore Polytechnic, Temasek Polytechnic
สถาบันเหล่านี้มีหลักสูตรการสอนมากมายที่มุ่งเน้นให้สามารถไปประกอบอาชีพในอนาคต เช่น วิศวกรรม บริหารธุรกิจ การสื่อสารมวลชน การออกแบบดีไซน์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรเฉพาะทางอย่างเช่น การวัดสายตา วิศวกรรมทางทะเล การศึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือ พยาบาล การเลี้ยงดูเด็กอ่อน และการทำภาพยนตร์ นักเรียนที่จบการศึกษาในจากโพลีเทคนิคเป็นที่นิยมของบริษัทต่าง ๆ เพราะได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งเศรษฐกิจใหม่
สถาบันเทคนิคศึกษา
สถาบันเทคนิคการศึกษา (Institute of Technical Education – ITE) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาและต้องการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและความรู้ทางอุตสาหกรรมแขนงต่าง ๆ นอกจากโปรแกรมฝึกอบรมเต็มเวลาสำหรับนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาแล้ว และยังมีโปรแกรมสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกด้วย
==== มหาวิทยาลัย (Universities) ====
ในสิงคโปร์มีมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่
มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)
Nanyang Technological University (NTU)
Singapore Management University (SMU)
Singapore University of Technology and Design (SUTD)
มหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งได้ผลิตนักศึกษาปริญญาที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับมากมาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยทั้งหมดยังให้โอกาสแก่นักศึกษาที่มีความรู้แต่ขาดทุนทรัพย์ โดยการให้ทุนเพื่อศึกษาและการวิจัยในระดับปริญญาโท
มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ก่อตั้งในปีค.ศ. 1905 เปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมานาน เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี กฎหมาย ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ และแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1981 เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนและการวิจัยด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ต่อมาได้ร่วมกับวิทยาลัยครู (National Institute Education – NIE) เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาการบัญชี บริหารธุรกิจและสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (SMU) ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแต่บริหารจัดการแบบเอกชน เน้นการเรียนการสอนด้านธุรกิจการจัดการ
Singapore University of Technology and Design (SUTD) ก่อตั้งขึ้นในปี 2011
====== มหาวิทยาลัยนานาชาติในสิงคโปร์ ======
นอกจากมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์เองแล้ว สิงคโปร์ยังมีมหาวิทยาลัยนานาชาติระดับโลกมาเปิดสาขาหลายสถาบัน อาทิ มหาวิทยาลัย INSEAD ซึ่งติด 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก และได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณศูนย์วิทยาศาสตร์ นับเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยทางด้านธุรกิจนานาชาติมาตั้งวิทยาเขตเต็มรูปแบบในเอเชีย และในปี ค.ศ. 2000 University of Chicago Graduate School of Business ได้มาเปิดคณะธุรกิจและเลือกสิงคโปร์เป็นวิทยาเขตถาวรแห่งแรกในเอเชียเช่นกัน
สถาบันการศึกษาเอกชน
ในสิงคโปร์คุณสามารถเลือกได้ว่าอยากเรียนสถาบันการศึกษาเอกชนแบบไหน เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาเอกชนมากมายที่เปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ กันไปมากกว่า 300 สถาบัน ตั้งแต่ ธุรกิจ เทคโนโลยี ศิลปะ จนถึงโรงเรียนสอนภาษา เพื่อตอบสนองความต้องการของคนสิงคโปร์เองและนักเรียนจากต่างชาติ นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนหลักสูตรระดับใดได้ในสถาบันการศึกษาเอกชน ตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตร อนุปริญญา จนถึงปริญญาระดับต่าง ๆ โดยที่สถาบันการศึกษาเอกชนในสิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยพันธมิตรมากมายจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย จึงทำให้นักเรียนได้สัมผัสกับบรรยากาศและสิ่งอำนวยความสะดวกที่พรั่งพร้อม อย่างไรก็ดี เนื่องจากแต่ละสถาบันจัดรับสมัครและการสอบขึ้นเอง นักเรียนจึงต้องติดต่อกับแต่ละโรงเรียนโดยตรงหากสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมและเมื่อสนใจในสถาบันการศึกษาเอกชนใด คุณต้องมั่นใจก่อนเลือกเรียนว่าหลักสูตรนั้น ๆ ครอบคลุมทุกอย่างที่คุณต้องการไม่ว่าจะเป็น
หลักสูตรวิชา :
ประกาศนียบัตรที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียน เช่น ห้องเรียน ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
บริการสำหรับนักเรียนต่างชาติ เช่น การอำนวยความสะดวกในการทำวีซ่า การปฐมนิเทศและอาจารย์–ที่ปรึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ เป็นต้น
โรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนที่สอนหลักสูตรต่างประเทศหรือโรงเรียนนานาชาติได้เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ศึกษาหาความรู้ในแบบเดียวกับประเทศต้นกำเนิดของโรงเรียน โรงเรียนเหล่านี้จดทะเบียนถูกต้องกับกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์ และมีการวางแนวทางหลักสูตรการศึกษาเหมือนกับโรงเรียนในประเทศนั้น โดยปกติโรงเรียนนานาชาติที่เข้ามาเปิดในสิงคโปร์จะมีทั้งนักเรียนจากต่างประเทศและชาวต่างชาติจากชาตินั้น ๆ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในสิงคโปร์เป็นการชั่วคราว บางโรงเรียนจะกำหนดคุณสมบัติขั้นต้นของนักเรียนที่มาสมัครเช่น สัญชาติ หรือความสามารถทางด้านภาษา ค่าเล่าเรียนในแต่ละปีจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงเรียน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4,600-14,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี สำหรับชั้นเรียนเด็กเล็ก และ 6,000-18,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี สำหรับชั้นเรียนเด็กโต ทั้งนี้ การจัดสอบและการปิดเทอมก็แตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียนด้วยเช่นกัน
โรงเรียนชั้นนำสองแห่งของสิงคโปร์ นั่นคือ Anglo-Chinese School (ACS) และ Hwa Chong Institution ได้ก่อตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนขึ้นโดยเริ่มรับนักเรียนเข้าศึกษาครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548
โรงเรียนทั้งสองแห่งที่จัดตั้งขึ้นนั้น ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับหลังจบระดับมัธยมศึกษาACS Internationalจะมีหลักสูตร GCSE นานาชาติและหลักสูตรอนุปริญญาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายนานาชาติ (International Baccalaureate Diploma Programme) ขณะที่ Hwa Chong Internationalจะมีหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา และก่อนมหาวิทยาลัยซึ่งจะได้รับ ประกาศนียบัตร GCE A Level ในขั้นสูงสุด
=== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ===
ประเทศสิงคโปร์มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของเอเชีย มีการพัฒนาอยู่เสมอ มีการสร้างเสริมพัฒนารการให้กับเยาวชน อีกทั้งแห่งให้ความรู้ที่ดีเยี่ยม ทั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์สิงคโปร์ (Singapore Science Centre) ที่มีชื่อเสียง ห้องสมุดดิจิตอล ศูนย์เรียนรู้ไอที และยังมี Funan IT Mall ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์ไอทีที่ทันสมัยที่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า City Hall
ในการปฏิรูปการศึกษา สิงคโปร์ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เพื่อผลักดันการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินงานและการสนับสนุนอย่างจริงจัง จนเป็นผลให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ในระยะแรกผู้นำสิงคโปร์ได้ใช้การศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการสร้างชาติ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ สร้างกำลังคนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจแล้ว ในระยะต่อมาเมื่อประเทศมีความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ จึงได้ใช้การปฏิรูปการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศในระดับที่สูงขึ้น โดยกำหนดแนวนโยบาย เป้าหมายและมาตรการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การปฏิบัติ
ในปัจจุบันและอนาคต สิงคโปร์ได้มุ่งสู่การปฏิรูปการศึกษาที่ท้าทายมากขึ้นและมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่มีพลัง มีการกำหนดวิสัยทัศน์แผนยุทธศาสตร์ แผน โครงการ และมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะการจัดตั้งองค์กรเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา
=== สาธารณสุข ===
=== สวัสดิการสังคม ===
== ประชากร ==
=== เชื้อชาติ ===
สิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาค และเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาค เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนประชากรประมาณ 5,543,494 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2013) ประกอบด้วยชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน-อังกฤษ-ดัตซ์-โปรตุเกส (76.5%) ชาวมลายู (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)
=== ศาสนา ===
ในปี ค.ศ. 2010 ประเทศสิงคโปร์มีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ | thaiwikipedia | 274 |
ประเทศฟิลิปปินส์ | ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก
ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนแห่งไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี พ.ศ. 2556 ยังมีชาวฟิลิปปินส์อีกประมาณ 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในต่างประเทศ รวมแล้วถือเป็นกลุ่มคนพลัดถิ่นที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมปรากฏให้เห็นตลอดทั้งหมู่เกาะ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในหมู่เกาะแห่งนี้คือกลุ่มชนนิกรีโต ตามมาด้วยกลุ่มชนออสโตรนีเซียนที่อพยพเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาวจีน มลายู อินเดีย และอาหรับ จากนั้นก็เกิดนครรัฐทางทะเลขึ้นมาหลายแห่งภายใต้การปกครองของดาตู ลากัน ราชา หรือสุลต่าน
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ได้มาขึ้นฝั่งที่เกาะโฮโมนโฮน (ใกล้กับเกาะซามาร์) ในปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1521) นับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งอิทธิพลและอำนาจของสเปน ในปี พ.ศ. 2085 (ค.ศ. 1542) นักสำรวจชาวสเปนชื่อ รุย โลเปซ เด บิยาโลโบส ได้ตั้งชื่อเกาะซามาร์และเลเตรวมกันว่า "หมู่เกาะเฟลีเป" หรือ "อิสลัสฟิลิปินัส" (Islas Filipinas) เพื่อเป็นเกียรติแด่เจ้าชายเฟลีเปแห่งอัสตูเรียส (ต่อมา อิสลัสฟิลิปินัสได้กลายเป็นชื่อเรียกกลุ่มเกาะทั้งหมด) ในปี พ.ศ. 2108 (ค.ศ. 1565) มิเกล โลเปซ เด เลกัซปี ได้จัดตั้งนิคมสเปนแห่งแรกบนเกาะเซบู ฟิลิปปินส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิสเปนเป็นเวลานานกว่า 300 ปี ส่งผลให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกลายเป็นศาสนาหลักของผู้คนในหมู่เกาะ ในช่วงเวลานี้ มะนิลามีฐานะเป็นศูนย์กลางการบริหารของจักรวรรดิสเปนในเอเชีย และยังเป็นศูนย์กลางทางทิศตะวันตกของการค้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเชื่อมโยงเอเชียเข้ากับเมืองอากาปุลโกในอเมริกาผ่านทางเรือใบมะนิลา
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 (ปีท้าย ๆ ของคริสต์ศตวรรษที่ 19) ความพยายามต่อต้านการปกครองของสเปนได้ปะทุขึ้นเป็นการปฏิวัติฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ได้รับการสถาปนาขึ้นแต่ก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน เพราะสเปนได้ยกฟิลิปปินส์ให้แก่สหรัฐอเมริกาหลังจากแพ้สงครามสเปน-สหรัฐอเมริกา ความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลปฏิวัติกับสหรัฐอเมริกาก่อให้เกิดสงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐอเมริกาอันนองเลือด โดยกองทัพสหรัฐเป็นฝ่ายมีชัย นอกเหนือจากช่วงที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองแล้ว สหรัฐอเมริกาสามารถรักษาอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะนี้ไว้ได้จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อฟิลิปปินส์ได้รับการรับรองว่าเป็นประเทศเอกราช ตั้งแต่นั้นมา ฟิลิปปินส์ก็ประสบความวุ่นวายทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งรวมถึงการล้มล้างผู้เผด็จการโดยการปฏิวัติที่ปราศจากความรุนแรง
ฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ปัจจุบันประเทศนี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นตลาดเกิดใหม่ (emerging market) และเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากระบบที่พึ่งพิงภาคเกษตรกรรมเป็นระบบที่พึ่งพิงภาคบริการและภาคการผลิตมากขึ้น
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ===
หลักฐานทางโบราณคดีและโบราณชีววิทยาบ่งบอกว่ามีมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ เคยอาศัยอยู่ในเกาะปาลาวันตั้งแต่ประมาณ 50,000 ปีก่อน ชนเผ่าที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่บนเกาะฟอร์โมซา (Formasa) หรือไต้หวันในปัจจุบันได้อพยพโดยทางเรือเข้ามาตั้งรกรากในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และจัดตั้งเส้นทางเครือข่ายการค้ากับเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เหลือทั้งหมดตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล สภาพดั่งเดิมของฟิลิปปินส์ อยู่ในสภาพของยุคหินใหม่ ยังไม่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีน ดังเช่นประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเป็นชนเชื้อสายอินโดนีเซีย – มลายูซึ่งอพยพเข้ามาตั่งถิ่นฐานบริเวณเกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ การมาตั้งถิ่นฐานนั้น มาโดยเรือเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มแยกย้ายไปตั้งหมู่บ้านเรียกว่า บารังไก (Barangay) ตามชื่อเรือที่ใช้อพยพมา มีหัวหน้าหมู่บ้านเรียกว่า ดาดู (Datu) ซึ่งเคยเป็นกัปตันเรือ การตั้งหมู่บ้านจะกระจายไปตามเกาะ ทำให้การติดต่อระหว่างกันไม่ค่อยมี ส่วนในด้านการปกครองนั้นเป็นแบบพ่อปกครองลูก โครงสร้างทางการปกครองเป็นแบบง่าย ๆ มี 4 ชนชั้นคือ ดาตู และครอบครัว ขุนนาง อิสระชน ทาส ในส่วนของกฎหมายและกฎระเบียบการปกครองนั้นยังไม่มี สถาบันที่สำคัญคือ ศาสนา ซึ่งมีพ่อมดหมอผีเป็นผู้มีอิทธิพลในสังคม จากการนับถือศาสนาเป็นแบบ นับถือภูตผี บูชาธรรมชาติ พวกเขาเชื่อว่ามีพระผู้สร้างโลกสูงสุด คือ บาฮารา (Bathala) และบาอารามีสาวก ฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว เรียกว่า ดิวาทาส (Diwatas) เป็นผู้กำหนดการประกอบพิธีบวงสรวง เทพฝ่ายดีและฝ่ายชั่วคือ พ่อมด หมอผี ว่าจะประกอบพิธีเมื่อไหร่ ที่ใด สถานที่ประกอบพิธีนั้นไม่มีเฉพาะ พ่อมด หมอผีจะเป็นผู้กำหนด ที่เป็นดังนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพธรรมชาติของหมู่เกาะ ซึ่งฟิลิปปินส์นั้นมีภัยธรรมชาติอยู่เนือง ๆ จึงทำให้พ่อมด หมอผีมีอิทธิพลต่อประชาชนมาก และมากกว่าหรือเท่ากับดาตู อีกทั้งยังได้รับค่าประกอบพิธี เครื่องเซ่นสังเวยจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ทางด้านเศรษฐกิจนั้น ประชาชนทำการเกษตรและการประมง ไม่มีการค้าขาย มีแต่การแลกเปลี่ยนสินค้า และไม่มีการใช้เงินตรา นาน ๆ ครั้งจะมีพ่อค้าต่างชาติแวะมาจอดเรือแลกเปลี่ยนสินค้า
=== ยุคของอิสลาม ===
นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ศาสนาอิสลามได้แผ่เข้าสู่หมู่เกาะทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์หรือมานบูลาส แล้วครั้นถึงปี ค.ศ. 1380 ชาวมุสลิมก็สามารถสถาปนารัฐอิสลามขึ้นในหมู่เกาะซูลู โดยมีนักเผยแผ่ศาสนาที่ชื่อ ชันค์ ชะรีฟ กะรีม มัคดุม เข้ามาเผยแผ่อิสลามในหมู่เกาะต่างๆ ของซูลู ก่อนหน้านั้นเป็นเวลานาน จนกระทั่ง ซัยยิด อบูบักร อิบนุ ชะรีฟ มุฮำหมัด อิบนิ อะลี อิบนี ซัยบิลอาบีดีน ได้เดินทางจากรัฐสุลต่านแห่งยะโฮร์ (Johor) มายังหมู่เกาะซูลูในราวปี ค.ศ. 1450 ซัยยิด อบูบักรได้มาถึงซูลูหลังจากรายา บะกินดา จากมินังกะเบา สุมาตรา ได้ลงพำนัก และเผยแผ่ศาสนาอิสลามในหมู่เกาะซูลูเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ซัยยิด อบูบักรได้สมรสกับบุตรีของรายาบะกินดา ที่มีนามว่า ประไหมสุหรี เมื่อรายาบะกินดา สิ้นชีวิต ซัยยิด อบูบักร ก็กลายเป็นผู้สืบทอดอำนาจและได้รับการขนานนามว่า สุลต่านแห่งซูลู
=== ยุคอาณานิคมสเปน ===
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน มาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) มีเกล โลเปซ เด เลกัซปี มาถึงฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) และตั้งชุมชนชาวสเปนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การตั้งอาณานิคมในเวลาต่อมา หลังจากนั้น นักบวชศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้แปรศาสนาของชาวเกาะทั้งหมดให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ในช่วง 300 ปีนับจากนั้น กองทัพสเปนได้ต่อสู้กับเหตุการณ์กบฏต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากชนพื้นเมืองและจากชาติอื่นที่พยายามเข้ามาครอบครองอาณานิคม ซึ่งได้แก่ อังกฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และโปรตุเกส สเปนสูญเสียไปมากที่สุดในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ใต้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ (New Spain) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) ถึงปี ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) และนับจากนั้นฟิลิปปินส์ก็อยู่ใต้การปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน (Manila Galleon) จากฟิลิปปินส์ไปเม็กซิโก เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เปิดตัวเองเข้าสู่การค้าโลกในปี ค.ศ. 1834
=== รัฐอารักขาของสหรัฐอเมริกา ===
== ด้านการเมืองการปกครอง ==
=== บริหารงานจากการปกครอง ===
=== นิติบัญญัตติ ===
=== ตุลาการ ===
=== สิทธิมนุษยชน ===
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ปัจจุบันมี 82 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไก (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด
ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง
หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองบังซาโมโรในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเอง ไม่ได้ให้ผู้อื่นปกครอง
=== เขตและจังหวัด ===
{|class="toccolours" style="margin:auto;background:none;text-align:left;font-size:95%;white-space:nowrap;"
! style="text-align:center;background-color:#E6CEF2;" | เขตบริหาร
! style="text-align:center;background-color:#E6CEF2;font-style:italic;" | เขตปกครองตนเอง
|-style="vertical-align:top;line-height:1.15em;"
|
อีโลโคส (เขตที่ 1)
ลัมบักนางคากายัน (เขตที่ 2)
กิตนางลูโซน (เขตที่ 3)
คาลาบาร์โซน (เขตที่ 4-เอ)
เขตตากาล็อกตะวันตกเฉียงใต้ (เขตมีมาโรปา)
บีโคล (เขตที่ 5)
คันลูรังคาบีซายาอัน (เขตที่ 6)
กิตนางคาบีซายาอัน (เขตที่ 7)
ซีลางังคาบีซายาอัน (เขตที่ 8)
ตังไวนางซัมบวงกา (เขตที่ 9)
ฮีลากังมินดาเนา (เขตที่ 10)
ดาเบา (เขตที่ 11)
โซกซาร์เจน (เขตที่ 12)
เขตบริหารคารากา (เขตที่ 13)
เขตบริหารคอร์ดิลเยรา
เขตนครหลวงแห่งชาติ
|
เขตปกครองตนเองบังซาโมโรในมินดาเนามุสลิม
|-
! colspan=2 style="text-align:center;background-color:#E6CEF2;" | จังหวัด
|-style="vertical-align:top;line-height:1.15em;"
| colspan=3 |
กีมารัส
คากายัน
คาตันดัวเนส
คาบีเต
คาปิซ
คาปูลูอังดีนากัต
คามารีเนสซูร์ (ตีโมกคามารีเนส)
คามารีเนสนอร์เต (ฮีลากังคามารีเนส)
คามีกิน
คาลิงกา
คีรีโน
เกซอน
โคตาบาโต
ซอร์โซโกน
ซัมบวงกาซีบูไก
ซัมบวงกาเดลซูร์ (ตีโมกซัมบวงกา)
ซัมบวงกาเดลนอร์เต (ฮีลากังซัมบวงกา)
ซัมบาเลส
ซามาร์
ซารังกานี
ซีกีฮอร์
ซีลางังซามาร์
ซุลตันคูดารัต
ซูรีเกาเดลซูร์ (ตีโมกซูรีเกา)
ซูรีเกาเดลนอร์เต (ฮีลากังซูรีเกา)
ซูลู
เซบู
ดาเวาเดลซูร์ (ตีโมกดาเบา)
ดาเวาเดลนอร์เต (ฮีลากังดาเบา)
ดาเวาเดโอโร
ดาเวาโอกซีเดนตัล (คันลูรังดาเบา)
ดาเวาโอเรียนตัล (ซีลางังดาเบา)
ตาร์ลัก
ตาวี-ตาวี
ตีโมกโคตาบาโต
ตีโมกเลเต (คาตีมูกังเลเต)
นูเอวาวิซคายา
นูเอวาเอซีฮา
เนโกรสโอกซีเดนตัล (คันลูรังเนโกรส)
เนโกรสโอเรียนตัล (ซีลางังเนโกรส)
บาซีลัน
บาตังกัส
บาตาเนส
บาตาอัน
บีลีรัน
บูคิดโนน
บูลาคัน
บูลูบุนดูคิน
เบงเก็ต
โบโฮล
ปังกาซีนัน
ปัมปังกา
ปาลาวัน
มัสบาเต
มากินดาเนาเดลซูร์
มากินดาเนาเดลนอร์เต
มารินดูเก
มีซามิสโอกซีเดนตัล (คันลูรังมีซามิส)
มีซามิสโอเรียนตัล (ซีลางังมีซามิส)
รีซัล
โรมโบลน
ลากูนา
ลาเนาเดลซูร์ (ตีโมกลาเนา)
ลาเนาเดลนอร์เต (ฮีลากังลาเนา)
ลาอูนยอน
เลเต
อักลัน
อันตีเก
อัลไบ
อาบรา
อาปาเยา
อีซาเบลา
อีฟูเกา
อีโลอีโล
เอาโรรา
อากูซันเดลซูร์ (ตีโมกอากูซัน)
อากูซันเดลนอร์เต (ฮีลากังอากูซัน)
อีโลโคสซูร์ (ตีโมกอีโลโคส)
อีโลโคสนอร์เต (ฮีลากังอีโลโคส)
โอกซีเดนตัลมินโดโร (คันลูรังมินโดโร)
โอเรียนตัลมินโดโร (ซีลางังมินโดโร)
ฮีลากังซามาร์
|}
== ภูมิศาสตร์ ==
ฟิลิปปินส์เป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ มีเนื้อที่ทั้งหมด (รวมพื้นผิวแหล่งน้ำภายในแผ่นดิน) ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) ชายฝั่งทะเลยาว 36,289 กิโลเมตร (22,549 ไมล์) ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ฟิลิปปินส์มีที่ตั้งซึ่งกำหนดโดยพิกัดภูมิศาสตร์คือ ระหว่างลองจิจูด 116° 40' ตะวันออก ถึง 126° 34' ตะวันออก กับละติจูด 4° 40' เหนือ ถึง 21° 10' เหนือ มีอาณาเขตจรดทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก จรดทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก และจรดทะเลเซเลบีสทางทิศใต้ เกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยกิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และไต้หวันตั้งอยู่ทางทิศเหนือโดยตรง หมู่เกาะโมลุกกะและเกาะซูลาเวซีตั้งอยู่ทางทิศใต้-ตะวันตกเฉียงใต้ และปาเลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะ
เกาะต่าง ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากภูเขาไฟและถูกปกคลุมด้วยป่าดิบชื้น ภูเขาที่สูงที่สุดคือภูเขาอาโป มีความสูงถึง 2,954 เมตร (9,692 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลและตั้งอยู่ที่เกาะมินดาเนา ร่องลึกแกละทีอาในร่องลึกฟิลิปปินส์เป็นจุดที่ลึกที่สุดของประเทศและลึกที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ร่องลึกดังกล่าวตั้งอยู่ในทะเลฟิลิปปิน
แม่น้ำที่ยาวที่สุดคือแม่น้ำคากายันในภาคเหนือของเกาะลูซอน อ่าวมะนิลา (ชายฝั่งของอ่าวเป็นที่ตั้งของกรุงมะนิลาเมืองหลวง) เชื่อมต่อกับลากูนาเดบาอี (ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์) ผ่านแม่น้ำปาซิก อ่าวซูบิก อ่าวดาเบา และอ่าวโมโรเป็นอ่าวอื่น ๆ ที่สำคัญ ช่องแคบซันฮัวนีโคแยกเกาะซามาร์และเกาะเลเตออกจากกัน แต่ก็มีสะพานซันฮัวนีโคข้ามเหนือช่องแคบ
เนื่องจากตั้งอยู่บนขอบตะวันตกของวงแหวนไฟแปซิฟิก ฟิลิปปินส์จึงต้องเผชิญกับกิจกรรมแผ่นดินไหวและภูเขาไฟบ่อยครั้ง เนินใต้สมุทรเบ็นนัมในทะเลฟิลิปปิน (ทางทิศตะวันออกของกลุ่มเกาะ) เป็นภูมิภาคใต้สมุทรที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในเขตมุดตัวของเปลือกโลก มีการตรวจพบแผ่นดินไหวประมาณ 20 ครั้งต่อวัน แต่การสั่นสะเทือนส่วนใหญ่เบาเกินกว่าที่มนุษย์จะรู้สึกได้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นที่เกาะลูซอนเมื่อปี ค.ศ. 1990
ในฟิลิปปินส์มีภูเขาไฟที่มีพลังอยู่หลายลูก เช่น ภูเขาไฟมาโยน ภูเขาปีนาตูโบ ภูเขาไฟตาอัล เป็นต้น การปะทุของภูเขาปีนาตูโบในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1991 ถือเป็นการปะทุที่รุนแรงที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นทุกแห่งจะมีความรุนแรงหรือมีอำนาจทำลายล้างเสมอไป มรดกที่สงบเงียบแห่งหนึ่งจากความปั่นป่วนทางธรณีวิทยาคือแม่น้ำใต้ดินปูเวร์โตปรินเซซาซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่สำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ แหล่งมรดกโลกแห่งนี้ยังมีระบบนิเวศจากภูเขาสู่ทะเลที่สมบูรณ์และมีป่าไม้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียอีกด้วย
เนื่องจากธรรมชาติของเกาะต่าง ๆ เป็นภูเขาไฟ ฟิลิปปินส์จึงมีทรัพยากรแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ มีผู้ประมาณว่าประเทศนี้มีแหล่งแร่ทองคำใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากแอฟริกาใต้ และเป็นแหล่งแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยนิกเกิล โครไมต์ และสังกะสี อย่างไรก็ตาม การจัดการที่ไม่ดี ความหนาแน่นสูงของประชากร และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมทำให้ยังไม่มีการนำทรัพยากรส่วนใหญ่ขึ้นมาใช้ พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นผลผลิตจากกิจกรรมภูเขาไฟที่ฟิลิปปินส์สามารถควบคุมจัดการจนได้ผลสำเร็จมากกว่า โดยในปัจจุบัน ประเทศนี้เป็นผู้ผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 18 ของประเทศ
ไฟล์:Mount Pinatubo 20081229 01.jpg|ภูเขาปีนาตูโบ
ไฟล์:Bohol Hills, Chocolate Hills 3, Philippines.jpg|เนินเขาช็อกโกแลต ในเกาะโบโฮล
ไฟล์:Big lagoon entrance, Miniloc island - panoramio.jpg|เอลนีโด ในเกาะปาลาวัน
ไฟล์:Taal Volcano aerial 2013.jpg|ภูเขาไฟตาอัล ภูเขาไฟมีพลังที่เล็กที่สุดในโลก
ไฟล์:View south of the northern Sierra Madre from peak of Mt. Cagua - ZooKeys-266-001-g007.jpg|ทิวเขาซีเยร์รามาเดร
ไฟล์:FvfBokod0174 03.JPG|ป่าสนเขาเขตร้อนลูซอน
=== ความหลากหลายทางชีวภาพ ===
ป่าดิบชื้นและชายฝั่งทะเลที่กว้างขวางของฟิลิปปินส์ทำให้กลุ่มเกาะนี้เป็นแหล่งรวมนก พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตในทะเลหลากชนิด ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) เราสามารถพบสัตว์บกที่มีกระดูกสันหลังได้ถึงประมาณ 1,100 ชนิด ซึ่งรวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 100 ชนิด และนกกว่า 170 ชนิดที่คาดกันว่าไม่อาศัยอยู่ที่อื่น ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีอัตราการค้นพบสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีการค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใหม่ 16 ชนิดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ อัตราสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นของฟิลิปปินส์จึงเพิ่มสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มต่อไป ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพื้นถิ่นฟิลิปปินส์ได้แก่ อีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hermaphroditus) แมวดาววิซายัส (Prionailurus javanensis rabori) พะยูน (Dugong dugon) และทาร์เซียร์ฟิลิปปิน (Tarsius syrichta) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเกาะโบโฮล เป็นต้น
แม้ว่าบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์จะไม่มีผู้ล่าเหยื่อเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ แต่ก็มีสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่อยู่บางชนิด เช่น งูเหลือม งูเห่า รวมทั้งจระเข้น้ำเค็มขนาดยักษ์ จระเข้น้ำเค็มในที่เลี้ยงตัวใหญ่ที่สุดในโลกมีชื่อว่า โลลอง ถูกจับได้ในเกาะมินดาเนาทางตอนใต้ของประเทศ
นกประจำชาติที่รู้จักกันในชื่อนกอินทรีฟิลิปปิน (Pithecophaga jefferyi) มีลำตัวยาวที่สุดในบรรดานกอินทรีชนิดใด ๆ
น่านน้ำอาณาเขตของฟิลิปปินส์ครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวางถึง 2,200,000 ตารางกิโลเมตร (849,425 ตารางไมล์) เป็นแหล่งกำเนิดชีวิตในท้องทะเลที่มีลักษณะเฉพาะและมีความหลากหลายอันเป็นส่วนสำคัญของสามเหลี่ยมปะการัง ประมาณกันว่ามีชนิดปะการังและปลาทะเลทั้งสิ้น 500 และ 2,400 ชนิดตามลำดับ สถิติใหม่ และการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ได้เพิ่มตัวเลขเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะของทรัพยากรทางทะเลในฟิลิปปินส์ได้อย่างชัดเจน พืดหินปะการังตุบบาตาฮาในทะเลซูลูได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1993 นอกจากนี้ น่านน้ำฟิลิปปินส์ยังเอื้อต่อการเจริญเติบโตของปู หอยมุก และสาหร่ายทะเล
ด้วยชนิดพืชประมาณ 13,500 ชนิด ซึ่ง 3,200 ชนิดในจำนวนนี้พบเฉพาะในกลุ่มเกาะนี้เท่านั้น ป่าดิบชื้นของฟิลิปปินส์จึงมีพรรณพืชหลากหลายซึ่งรวมถึงกล้วยไม้และบัวผุดหายากหลายพันธุ์ การทำลายป่าซึ่งมักเป็นผลจากการทำไม้ผิดกฎหมายถือเป็นปัญหาร้ายแรงของฟิลิปปินส์ พื้นที่ป่าลดลงจากร้อยละ 70 ของพื้นที่บนบกทั้งหมดของประเทศในปี ค.ศ. 1900 เหลือเพียงประมาณร้อยละ 18.3 ในปี ค.ศ. 1999 สิ่งมีชีวิตจำนวนมากตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ และมีนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งฟิลิปปินส์) ต้องเผชิญกับอัตราการสูญพันธุ์ที่รุนแรงถึงร้อยละ 20 เมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 21
=== ภูมิอากาศ ===
ฟิลิปปินส์อยู่ในเขตภูมิอากาศภาคพื้นสมุทรเขตร้อนซึ่งโดยปกติจะมีอากาศร้อนและชื้น มีฤดูกาล 3 ฤดูกาล ได้แก่ ตักอีนิต (tag-init) หรือ ตักอาเรา (tag-araw) ซึ่งเป็นฤดูร้อนหรือฤดูที่มีอากาศแห้งร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ตักอูลัน (tag-ulan) หรือฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน และ ตักลามิก (taglamig) หรือฤดูที่มีอากาศแห้งเย็นตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม) มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นว่า ฮากาบัต (habagat) และลมแห้งของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน) มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นว่า อามีฮัน (amihan) อุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ในพิสัยตั้งแต่ 21 องศาเซลเซียส (70 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง 32 องศาเซลเซียส (90 องศาฟาเรนไฮต์) แต่อาจเย็นหรือร้อนกว่านี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล เดือนที่มีอากาศเย็นที่สุดคือเดือนมกราคม ส่วนเดือนที่มีอากาศอบอุ่นที่สุดคือเดือนพฤษภาคม
อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ประมาณ 26.6 องศาเซลเซียส (79.9 องศาฟาเรนไฮต์) ทั้งนี้ ทำเลที่ตั้งในแง่ละติจูดและลองจิจูดไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาอุณหภูมิ เพราะไม่ว่าจะอยู่เหนือสุด ใต้สุด ตะวันออกสุด หรือตะวันตกสุดของประเทศ อุณหภูมิที่ระดับน้ำทะเลก็มีแนวโน้มที่จะอยู่ในพิสัยเดียวกัน ระดับความสูงของพื้นที่มักจะส่งผลต่ออุณหภูมิมากกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของเมืองบากีโยที่ระดับความสูง 1,500 เมตร (4,900 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลคือ 18.3 องศาเซลเซียส (64.9 องศาฟาเรนไฮต์) ทำให้เมืองนี้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมในฤดูร้อน
เนื่องจากตั้งอยู่ในแดนไต้ฝุ่น เกาะส่วนใหญ่ของฟิลิปปินส์จึงมีฝนตกกระหน่ำและพายุฟ้าคะนองตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี ในแต่ละปีจะมีไต้ฝุ่นประมาณ 19 ลูกเข้าสู่เขตความรับผิดชอบของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ฟิลิปปินส์ โดยมี 8-9 ลูกในจำนวนนี้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง ปริมาณน้ำฝนรายปีตรวจวัดได้สูงถึง 5,000 มิลลิเมตร (200 นิ้ว) ในเขตชายฝั่งตะวันออกซึ่งมีสภาพเป็นภูเขา แต่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร (39 นิ้ว) ในหุบเขาบางแห่งที่มีที่กำบัง
พายุหมุนเขตร้อนที่ทำให้ฝนตกมากที่สุดในฟิลิปปินส์เท่าที่ทราบกันคือพายุหมุนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1911 ซึ่งส่งอิทธิพลให้เกิดฝนตกหนักปริมาณถึง 1,168 มิลลิเมตร (46 นิ้ว) ภายในเวลา 24 ชั่วโมงที่เมืองบากีโย อนึ่ง บักโย (bagyo) เป็นคำในภาษาฟิลิปปินส์ที่ใช้เรียกพายุหมุนเขตร้อน
== เศรษฐกิจ ==
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 34 ของโลก โดยในปี ค.ศ. 2017 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด) โดยประมาณอยู่ที่ 348,593 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกหลักได้แก่ ผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนำและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ บริภัณฑ์ขนส่ง เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันมะพร้าว และผลไม้ คู่ค้ารายใหญ่ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง เยอรมนี ไต้หวัน และไทย หน่วยเงินตราของประเทศคือเปโซฟิลิปปินส์
ในฐานะประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ระบบเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ได้เปลี่ยนผ่านจากระบบที่พึ่งพิงเกษตรกรรมไปสู่ระบบที่เน้นการบริการและการผลิตมากขึ้น จากจำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมดประมาณ 40.81 ภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนการจ้างงานคิดเป็นร้อยละ 30 และสร้างมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 14 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการจ้างงานร้อยละ 14 และสร้างมูลค่าร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 47 เป็นแรงงานในภาคบริการซึ่งสร้างมูลค่าร้อยละ 56 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
อัตราการว่างงานของฟิลิปปินส์ ณ วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2014 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ในขณะเดียวกัน เนื่องจากสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานมีราคาถูกลง อัตราเงินเฟ้อจึงขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 3.7 ในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 มีมูลค่า 83,201 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราส่วนหนี้สินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 78 ในปี ค.ศ. 2004 มาอยู่ที่ร้อยละ 38.1 ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 ฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้นำเข้าสุทธิ แต่ก็เป็นประเทศเจ้าหนี้เช่นกัน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ได้รับการจัดให้เป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นรองเพียงญี่ปุ่นเท่านั้น จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษ 1960 สมรรถนะทางเศรษฐกิจของประเทศจึงเริ่มถูกแซง เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะชะงักงันภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของประธานาธิบดีเฟร์ดีนันด์ มาร์โคส เนื่องจากระบอบมาร์โคสได้บ่มเพาะปัญหาการจัดการเศรษฐกิจที่ไม่ดีและความผันผวนทางการเมืองเอาไว้ ระบบเศรษฐกิจเติบโตทางอย่างเชื่องช้าและประสบภาวะถดถอยเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษ 1990 จึงเริ่มฟื้นตัวตามแผนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย ค.ศ. 1997 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ค่าเงินเปโซลดลงอย่างต่อเนื่องและราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตกลงมาหลายจุดในช่วงแรกของวิกฤตการณ์ แต่ผลกระทบที่ฟิลิปปินส์ได้รับนั้นไม่หนักเท่าในประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนโยบายการคลังแบบอนุรักษนิยมของรัฐบาล และบางส่วนเป็นผลมาจากการเฝ้าระวังและการควบคุมดูแลทางการเงินเป็นเวลาหลายสิบปีโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในขณะที่บรรดาประเทศเพื่อนบ้านได้ใช้เงินมหาศาลเพื่อกระตุ้นความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จากนั้นเป็นต้นมาระบบเศรษฐกิจก็ส่งสัญญาณกระเตื้องขึ้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโตขึ้นร้อยละ 6.4 ในปี ค.ศ. 2004 และร้อยละ 7.1 ในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดในรอบสามทศวรรษ อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายปีโดยเฉลี่ยต่อหัวในช่วงปี ค.ศ. 1966–2007 อยู่ที่ร้อยละ 1.45 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยร้อยละ 5.96 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกโดยรวม รายได้ต่อวันของประชากรฟิลิปปินส์ร้อยละ 45 ยังคงน้อยกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐ
การส่งเงินกลับของแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างมาก โดยมีมูลค่าเกินกว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในฐานะแหล่งเงินตราต่างประเทศ การส่งเงินกลับประเทศขึ้นสู่จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2010 โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ในปี ค.ศ. 2012 และในปี ค.ศ. 2014 ฟิลิปปินส์ได้รับเงินส่งกลับจากแรงงานในต่างประเทศทั้งสิ้น 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาในระดับภูมิภาคยังไม่เท่าเทียมกัน โดยมากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ยังกระจุกตัวอยู่ที่เกาะลูซอน (โดยเฉพาะเมโทรมะนิลา) จึงต้องแลกมากับโอกาสในการพัฒนาภูมิภาคอื่น ๆ แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินมาตรการกระจายความเจริญด้วยการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศแล้วก็ตาม ถึงจะมีข้อจำกัดต่าง ๆ แต่อุตสาหกรรมบริการ เช่น การท่องเที่ยว การจ้างคนนอกทำกระบวนการธุรกิจ ก็ได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีโอกาสดีที่สุดสำหรับการเติบโตของประเทศ
สถาบันการเงินโกลด์แมนซากส์ได้รวมฟิลิปปินส์อยู่ในรายชื่อ "11 ประเทศถัดไป" ที่มีศักยภาพสูงที่จะมีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 แต่จีนและอินเดียก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นกัน โกลด์แมนซากส์ยังคาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 20 ของโลก ส่วนธนาคารเอชเอสบีซีก็คาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 เศรษฐกิจของประเทศนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย และที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศสมาชิกธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ องค์การการค้าโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองมันดาลูโยง) แผนโคลัมโบ กลุ่ม 77 และกลุ่ม 24 ในบรรดากลุ่มและสถาบันความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ
=== การท่องเที่ยว ===
ภาคการเดินทางและท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ โดยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ระบบเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปี ค.ศ. 2013 และสร้างตำแหน่งงาน 1,226,500 ตำแหน่ง หรือร้อยละ 3.2 ของการจ้างงานทั้งหมด ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 ฟิลิปปินส์ได้ต้อนรับผู้มาเยือนชาวต่างชาติทั้งหมด 2,882,737 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.43 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ค.ศ. 2016) ผู้มาเยือนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้รวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.72 ในขณะที่ผู้มาเยือนจากทวีปอเมริกาและจากทวีปยุโรปมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 18.52 และร้อยละ 11.26 ตามลำดับ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการและส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์คือกระทรวงการท่องเที่ยว
ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศเป็นหนึ่งในบรรดาจุดดึงดูดความสนใจหลัก ๆ ของการท่องเที่ยว โดยมีชายหาด ภูเขา ป่าดิบชื้น เกาะ และจุดดำน้ำอยู่ในบรรดาสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เนื่องจากฟิลิปปินส์มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นกลุ่มของเกาะประมาณ 7,500 เกาะ จึงมีชายหาด ถ้ำ และการก่อตัวของหินรูปทรงแปลกตามากมาย โบราไคซึ่งมีหาดทรายขาวสะอาดได้รับการลงคะแนนจากผู้อ่านนิตยสารแทรเวลแอนด์เลเชอร์ให้เป็นเกาะที่ดีที่สุดในโลกประจำปี ค.ศ. 2012 จุดเด่นด้านการท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ นาขั้นบันไดบานาเวในจังหวัดอีฟูเกา นครประวัติศาสตร์วีกันในจังหวัดตีโมกอีโลโคส เนินเขาช็อกโกแลตในจังหวัดโบโฮล กางเขนของมาเจลลันในจังหวัดเซบู และพืดหินปะการังตุบบาตาฮาในจังหวัดปาลาวัน
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== การคมนาคม และ โทรคมนาคม ===
==== เส้นทางคมนาคม ====
==== โทรคมนาคม ====
=== การศึกษา ===
นโยบายทางการศึกษาในยุคที่เป็นอาณานิคมของสเปน
หลังจากที่ฟิลิปปินส์ตกเป็นอาณานิคมของสเปนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1571 ระบบการศึกษาในฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากนโยบายของจักรวรรดิสเปน สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาในสมัยนั้น คือ ระบบการศึกษาแบบคาทอลิก โดยศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาระบบการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยภายในฟิลิปปินส์ เพราะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของสเปนในการเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในฟิลิปปินส์
ปัจจัยที่ส่งผลให้ศาสนจักรโรมันคาทอลิกประสบความสำเร็จในการปฏิรูประบบการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์คือ ปัจจัยด้านการถือครองที่ดิน เหตุเพราะศาสนาโรมันคาทอลิกถือครองที่ดินเป็นจำนวนมากภายในฟิลิปปินส์ ซึ่งส่งผลให้นักบวชนิกายโรมันคาทอลิกมีอิทธิพลและมีอำนาจมากในการปฏิรูประบบการศึกษา และประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกภายในฟิลิปปินส์
ทั้งนี้ ระบบการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในปี ค.ศ.1863 ผ่านกฎหมายการศึกษา (Educational Decree) ที่เน้นให้ระบบการศึกษาภายในประเทศมีความเป็นระบบ มีหลักสูตรที่มีมาตรฐาน และก่อตั้งโรงเรียนเพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับประชาชนทั่วไปภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบการศึกษาของคนในประเทศยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ชายและผู้หญิง และความเหลื่อมล้ำระหว่างครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและยากจน
นอกเหนือจากศาสนาและระบบการศึกษาที่เป็นระบบ ภาษาสเปนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สเปนได้ทิ้งไว้แก่ประเทศอาณานิคม ซึ่งเห็นได้จากร่องรอยของมรดกทางภาษาสเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาตากาล็อกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาสเปน เช่นเดียวกับการตั้งชื่อคนในประเทศ ถนนหนทาง หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์ที่ยังคงถูกเรียกขานเป็นภาษาสเปนจนถึงปัจจุบัน
นโยบายทางการศึกษาในยุคที่เป็นอาณานิคมของสหรัฐ
ในการปฏิรูประบบการศึกษาภายในฟิลิปปินส์ภายใต้อาณานิคมของสหรัฐ ยุทธศาสตร์สำคัญของสหรัฐ คือ ความพยายามที่จะทำให้ชาวฟิลิปปินส์มีความเป็นอเมริกันมากขึ้น (Americanization) ผ่านนโยบายการศึกษาที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน
ตลอดระยะเวลาที่สหรัฐปกครองฟิลิปปินส์ มีการสนับสนุนให้ใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น เพื่อลดบทบาทการใช้ภาษาท้องถิ่น โดยกว่า 5 ทศวรรษของระบบการศึกษาแบบอเมริกัน นักเรียนฟิลิปปินส์ต้องศึกษาบทประพันธ์ของกวีตะวันตกชื่อดังมากมาย อาทิ วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ เป็นต้น ส่งผลทำให้ชาวฟิลิปปินส์ให้ความสนใจกับวรรณคดีท้องถิ่นน้อยลง และใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนและในชีวิตประจำวันมากขึ้น
ถึงแม้ว่าสหรัฐ พยายามสอดแทรกวรรณกรรมตะวันตกในชีวิตประจำวันของชาวฟิลิปปินส์ แต่เมื่อเทียบกับยุคที่สเปนปกครองฟิลิปปินส์ก่อนหน้านั้น ถือได้ว่าชาวฟิลิปปินส์มีเสรีภาพในการแสดงผลงานด้านบทประพันธ์ กลอน และวารสารต่าง ๆ ในภาษาท้องถิ่นมากกว่าในยุคที่เป็นอาณานิคมของสเปน
อย่างไรก็ตาม ผลงานวรรณกรรมของชาวฟิลิปปินส์กลับไม่ได้รับการบรรจุในวิชาภาษาและวรรณคดีในชั้นเรียนเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลทำให้ระบบการศึกษาแบบอเมริกันแตกต่างจากระบบการศึกษาในยุคที่เป็นอาณานิคมของสเปนโดยสิ้นเชิง นั่นคือ ชาวฟิลิปปินส์ในยุคที่ถูกปกครองโดยสหรัฐ ไม่มีโอกาสได้เรียนภาษาประจำชาติของตัวเอง เพราะภาษาท้องถิ่นถูกใช้เป็นเพียงตัวช่วยในการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เท่านั้น อีกทั้งสหรัฐยังผูกขาดการใช้ภาษาอังกฤษในระบบการศึกษา จวบจน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ญี่ปุ่นไม่ได้มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาภายในประเทศฟิลิปปินส์
นโยบายการศึกษาภายหลังยุคที่เป็นอาณานิคมของสหรัฐจวบจนปัจจุบัน
ภายหลังจากที่ฟิลิปปินส์มีอิสระในการกำหนดนโยบายการศึกษาแล้ว ฟิลิปปินส์ยังคงให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษในระบบการศึกษา พิจารณาได้จากรัฐธรรมนูญของประเทศฟิลิปปินส์ฉบับปี ค.ศ.1987 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ภาษาทางการที่ใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียนคือภาษาฟิลิปปินส์และภาษาอังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการของฟิลิปปินส์ได้กำหนดให้ใช้ภาษาทั้งสองในวิชาที่แตกต่างกันในการเรียนการสอน
ในปัจจุบัน นโยบายการศึกษาของฟิลิปปินส์ยังคงเป็นไปในรูปแบบอเมริกันที่เน้นภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน ในขณะเดียวกันสถาบันทางการศึกษาหลายต่อหลายแห่งยังคงขึ้นตรงต่อระบบการศึกษาแบบคาทอลิก อาทิ มหาวิทยาลัย ดา ลา ซาน (De La Salle University) และมหาวิทยาลัย อาเตเนโอ เด มานิล่า (Ateneo de Manila University) เป็นต้น
โดยสรุป การที่นโยบายทางการศึกษาของฟิลิปปินส์ถูกควบคุมโดยประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างสเปนและ สหรัฐ ส่งผลดีและผลเสียแตกต่างกันไป
ผลดีสำหรับฟิลิปปินส์คือ ระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์มีคุณภาพ มีมาตรฐานและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ผ่านการปฏิรูปทางการศึกษาของสเปน รวมไปถึงการที่ประชาชนภายในประเทศมีระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่สูงขึ้นภายใต้ระบบการศึกษาแบบอเมริกัน
ผลเสียภายใต้การปกครองโดยสเปนและสหรัฐ คือ การถูกลิดรอนอิสรภาพในการกำหนดทิศทางทางการศึกษาด้วยตัวเอง อาทิ ประชาชนฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลและกฎเกณฑ์ต่างๆ ภายใต้ระบบการศึกษาแบบคาทอลิก หรือการที่เอกลักษณ์ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมและภาษาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และให้ความสำคัญที่น้อยลงภายใต้ระบบการศึกษาแบบอเมริกัน
=== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ===
=== สาธารณสุข ===
=== สวัสดิการสังคม ===
== ประชากรศาสตร์ ==
มีปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในเกาะมินดาเนา ซึ่งต้องการแยกตัวเป็นอิสระ เรียกว่า "แนวปลดปล่อยแห่งชาติโมโร"
=== ภาษา ===
มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปปินส์และภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ
โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษา ตากาล็อก
=== ศาสนา ===
ในปี ค.ศ. 2014 ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือ แบ่งได้ดังนี้ | thaiwikipedia | 275 |
พยับหมอก | พยับหมอก (cape leadwort, white plumbago; ) หรือ เจตมูลเพลิงฝรั่ง เป็นพืชในวงศ์ Plumbaginaceae มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวสด ผิวใบด้านล่างมีขนอ่อน สากระคายมือ ดอกสีขาวปนฟ้าอมเทา ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง กลางกลีบดอกคล้ายกับเป็นร่อง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก มีรยางค์เล็ก ๆ ยื่นออกมา ปลายแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร
พยับหมอกนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทุกส่วนของพยับหมอกมีสารพลัมบาจิน (plumbagin) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านมะเร็งและบำรุงหัวใจ แต่หากถูกผิวหนังจะทำให้พุพอง
== ดูเพิ่ม ==
เจตมูลเพลิงแดง
เจตมูลเพลิงขาว
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์เจตมูลเพลิง | thaiwikipedia | 276 |
พลับพลึงตีนเป็ด | พลับพลึงตีนเป็ด เป็นพืชตระกูล AMARYLLIDACEAE พบทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีหัวอยู่ใต้ดินลำต้นกลมสูงประมาณ 30 ซม. ใบเป็นรูปแถบแคบเรียวแหลม ออกตรงข้ามกันสองข้าง ขอบใบเรียบ อวบน้ำ ดอกเป็นช่อกระจุกโปร่งมี 8 - 10 ดอก แต่ละดอกมีระยางค์ที่เกิดจาก ก้านเกสรเพศผู้ ที่เชื่อมติดกันเป็นวงคล้ายถ้วย บานตอนกลางคืน - เช้า มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลสดสีเขียว รูปร่างค่อนข้างกลม แก่จะเป็นสีน้ำตาล เมล็ดรูปร่างกลม ๆ เล็ก แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อปลูก มีประโยชน์ โดยใช้ใบนำเอามาย่างไฟพันแก้ฟกช้ำ บวม เคล็ดขัดยอก ใช้อยู่ไฟหลังคลอด หัวมีรสขม ในอินเดียใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี
Hymenocallis acutifolia (Herb. ex Sims) Sweet
Hymenocallis araniflora T.M.Howard
Hymenocallis arenicola Northr.
Hymenocallis astrostephana T.M.Howard
Hymenocallis azteciana Traub
Hymenocallis baumlii Ravenna
Hymenocallis bolivariana Traub
Hymenocallis caribaea (L.) Herb.
Hymenocallis choctawensis Traub
Hymenocallis choretis Hemsl.
Hymenocallis cleo Ravenna
Hymenocallis clivorum Laferr.
Hymenocallis concinna Baker
Hymenocallis cordifolia Micheli
Hymenocallis coronaria (Leconte) Kunth
Hymenocallis crassifolia Herb.
Hymenocallis durangoensis T.M.Howard
Hymenocallis duvalensis Traub ex Laferr.
Hymenocallis eucharidifolia Baker
Hymenocallis fragrans (Salisb.) Salisb.
Hymenocallis franklinensis Ger.L.Sm.
Hymenocallis gholsonii G.Lom.Sm. & Garland
Hymenocallis glauca (Zucc.) M.Roem.
Hymenocallis godfreyi G.L.Sm. & Darst
Hymenocallis graminifolia Greenm.
Hymenocallis guatemalensis Traub
Hymenocallis guerreroensis T.M.Howard
Hymenocallis harrisiana Herb.
Hymenocallis henryae Traub
Hymenocallis howardii Bauml
Hymenocallis imperialis T.M.Howard
Hymenocallis incaica Ravenna
Hymenocallis jaliscensis M.E.Jones
Hymenocallis latifolia (Mill.) M.Roem.
Hymenocallis leavenworthii (Standl. & Steyerm.) Bauml
Hymenocallis lehmilleri T.M.Howard
Hymenocallis limaensis Traub
Hymenocallis liriosme (Raf.) Shinners
Hymenocallis littoralis (Jacq.) Salisb.
Hymenocallis lobata Klotzsch
Hymenocallis longibracteata Hochr.
Hymenocallis maximilianii T.M.Howard
Hymenocallis multiflora Vargas
Hymenocallis occidentalis (Leconte) Kunth
Hymenocallis ornata (C.D.Bouché) M.Roem.
Hymenocallis ovata (Mill.) M.Roem.
Hymenocallis palmeri S.Watson
Hymenocallis partita Ravenna
Hymenocallis phalangidis Bauml
Hymenocallis pimana Laferr.
Hymenocallis portamonetensis Ravenna
Hymenocallis praticola Britton & P.Wilson
Hymenocallis proterantha Bauml
Hymenocallis pumila Bauml
Hymenocallis puntagordensis Traub
Hymenocallis pygmaea Traub
Hymenocallis rotata (Ker Gawl.) Herb.
Hymenocallis schizostephana Worsley
Hymenocallis sonorensis Standl.
Hymenocallis speciosa (L.f. ex Salisb.) Salisb.
Hymenocallis tridentata Small
Hymenocallis tubiflora Salisb.
Hymenocallis venezuelensis Traub
Hymenocallis woelfleana T.M.Howard
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์พลับพลึง
สมุนไพร | thaiwikipedia | 277 |
พิลังกาสา | พิลังกาสา เป็นไม้ขนาดเล็กพบในป่าผลัดใบและป่าดิบในที่สูง เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ขอบใบเรียบ ไม่มีต่อม ใบแก่หนาและเหนียว ดอกสีชมพูเป็นช่อแน่น ผลขนาดเล็กสีแดงหรือดำ เนื้อบาง มีเมล็ดเดียว พบในประเทศไทย เวียดนาม จีนตอนใต้และพม่า
==ลักษณะ==
พิลังกาสาเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก และมีความสูง 1–4 เมตร และอาจสูงได้ถึง 10 เมตร ลักษณะของลำต้นตั้งตรง มีกิ่งก้านกลม หรือเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนสีน้ำตาลแดง แตกกิ่งก้านสาขารอบ ๆ ต้น
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5–5 เซนติเมตร ยาว 6–12 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงมน โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบและขอบใบเรียบ แผ่นใบมีต่อม เห็นเป็นจุด ๆ กระจายอยู่ทั่วไป ใบหนามัน ก้านใบสั้น สีแดง เส้นใบมองเห็นไม่ค่อยชัดเจน
ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือยอด ช่อละ 4–8 ดอก กลีบดอกสีขาวแกมชมพู ก้านช่อดอกยาว 1.5–2.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 8–15 มิลลิเมตร ติดกันที่โคนเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกรูปใบหอก ปลายกลีบดอกแหลม กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลโตเท่าเม็ดนุ่น ผลอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ผลรูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 6 มิลลิเมตร ผลอ่อนจะมีสีแดง และเมื่อสุกมีสีม่วงเข้ม เมล็ดเดี่ยว กลม
==การกระจายพันธุ์==
พบตามป่าดงดิบเขาทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบในประเทศไทย อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไทย, มาเลเซีย
==ประโยชน์==
ใบ มีรสเฝื่อนร้อน แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ
ราก มีรสเฝื่อนเมาเปรี้ยว ตำกับสุราเอาน้ำรับประทาน เอากากพอกปิดแผล ถอนพิษงู แก้กามโรคและหนองใน
ต้น แก้โรคเรื้อน
ดอก มีรสเฝื่อนขม ฆ่าเชื้อโรค
เมล็ด แก้ลมพิษ
ผล มีรสร้อน ฝาด แก้ไข้ ท้องเสีย แก้ลมพิษ แก้ธาตุพิการ แก้ซาง
==อ้างอิง==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์ข้าวสารหลวง | thaiwikipedia | 278 |
ต้อยติ่ง | thumb
ต้อยติ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ruellia tuberosa) เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กเป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) เติบโตได้ดีทั้งกลางแจ้งและในร่ม ต้นเจริญเต็มที่สูง 6½ นิ้ว ใบกลมรี ตาแตกยอดได้สี่ข้าง ออกดอกสีม่วงน้ำเงินเฉพาะตอนฤดูฝน เมื่อผสมเกสรแล้วจะให้เมล็ด ประมาณ 25-32 เมล็ดอยู่ในฝัก เมื่อฝักแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ พอฝักโดนน้ำ (โดยธรรมชาติคือน้ำฝน) ก็จะแตกออกทำให้เมล็ดกระเด็นไปตกที่อื่น ซึ่งเป็นเทคนิคของการขยายพันธุ์ (เด็ก ๆ ชอบเล่นโดยนำฝักแก่ใส่ลงในน้ำให้แตก) ชื่ออื่นที่เรียกเช่น อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ, minnieroot, popping pod, cracker plant เป็นต้น
รากของต้อยติ่งสามารถใช้เป็นยารักษาโรคไต โรคไอกรน หรือแม้แต่เป็นยาขับเลือด ถ้าใช้ในปริมาณที่เจือจางก็สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ ส่วนใบของต้อยติ่งสามารถใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ หรือใช้พอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ แต่ต้อยติ่งมักจะถูกถอนทิ้งเพราะคนคิดว่าเป็นวัชพืช
== อ้างอิง ==
RUELLIA TUBEROSA L. - MINNIEROOT.
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์เหงือกปลาหมอ
สมุนไพร | thaiwikipedia | 279 |
ทองอุไร | ทองอุไร (Yellow elder, Trumpetbush, Trumpetflower, Yellow trumpet-flower, Yellow trumpetbush; ) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 2-4 เมตร ลำต้นเล็ก แผ่กิ่งด้านบนเป็นพุ่มกลม โปร่ง ใบประกอบขนนกมีใบย่อยที่ปลายสุด จำนวน 7-11 ใบ สีเขียวอ่อน ขอบใบย่อยหยิกเป็นฟันเลื่อย ผิวสัมผัสละเอียด ลำต้นสีน้ำตาลนวลตลอดทั้งต้น ก้านใบช่อดอกอ่อนเป็นสีเขียว ดอกสีเหลืองสด มีรูปลักษณ์คลายระฆัง หรือแตร หรือทรัมเป็ต ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกดกมาก กลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวยยาว 3-4 เซนติเมตร ปลายกลีบมี 5 กลีบ มีลักษณะกลมเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบเลี้ยงเป็นรูปกระดิ่งสีเหลือง แยก 5 แฉกกลีบดอกปลายแยก 5 กลีบรับกัน เกสรตัวผู้ เติบโตได้ดีในดินร่วนทุกชนิด ที่ความชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี แสงแดดจัดเต็มวัน
ทองอุไรดอกสีเหลืองสดใส ปลูกง่าย เกิดง่าย ในเขตร้อนทั่วไป ไม่ควรปลูกในที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง นิยมปลูกข้างถนน เกาะกลางถนน และเหมาะสำหรับปลูกมุมใดมุมหนึ่งของบ้านที่แดดถึง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
== อ้างอิง ==
ITIS 34305
วงศ์แคหางค่าง
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ยืนต้น | thaiwikipedia | 280 |
ภาษาอังกฤษ | ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ
ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค
ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรป
ภาษาอังกฤษยังได้รับอิทธิพลเพิ่มจากภาษานอร์สเก่าเพราะการบุกครองของไวกิ้งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10
การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทำให้ภาษาอังกฤษยืมคำมาจากภาษานอร์มันอย่างมาก และสัญนิยมคำศัพท์และการสะกดเริ่มให้ลักษณะความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาโรมานซ์ แก่ภาษาที่ต่อมากลายเป็นภาษาอังกฤษกลาง การเลื่อนสระครั้งใหญ่ (Great Vowel Shift) ซึ่งเริ่มขึ้นทางตอนใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการกำเนิดของภาษาอังกฤษใหม่จากภาษาอังกฤษกลาง
เนื่องจากการกลมกลืนคำจากภาษาอื่นมากมายตลอดประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษใหม่จึงมีคำศัพท์ใหญ่มาก โดยมีการสะกดที่ซับซ้อนและไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสระ ภาษาอังกฤษใหม่ไม่เพียงแต่กลมกลืนคำจากภาษาอื่นของยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมภาษาอื่นทั่วโลกด้วย พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดแสดงรายการคำไว้กว่า 250,000 คำ ซึ่งยังไม่รวมศัพท์เทคนิค วิทยาศาสตร์และสแลง
==ความสำคัญ ==
ภาษาอังกฤษใหม่ ที่บางครั้งมีผู้อธิบายว่าเป็นภาษากลางภาษาแรกของโลก เป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดหรือในบางกรณี เป็นภาษาระหว่างประเทศที่ต้องใช้ในการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจ การเดินเรือ การบิน การบันเทิง วิทยุและการทูต ภาษาอังกฤษเริ่มแพร่ออกนอกหมู่เกาะอังกฤษจากการเติบโตของจักรวรรดิอังกฤษ และเมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาษาอังกฤษก็ไปทั่วโลกอย่างแท้จริง หลังการยึดอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาเด่นในสหรัฐอเมริกาแคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาและสถานภาพอภิมหาอำนาจตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยิ่งเร่งการแพร่ของภาษาไปทั่วโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเด่นของผู้ได้รับรางวัลโนเบลทางวิทยาศาสตร์แทนภาษาเยอรมันในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเด่นเทียบเท่าและอาจแซงหน้าภาษาฝรั่งเศสในทางการทูตตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19
ความรู้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานกลายเป็นสิ่งจำเป็นในหลายสาขา อาชีพและวิชาชีพ เช่น แพทยศาสตร์และวิชาการคอมพิวเตอร์ ผลคือ กว่าหนึ่งพันล้านคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างน้อยในระดับพื้นฐาน และยังเป็นหนึ่งในหกภาษาราชการของสหประชาชาติ
ผลกระทบหนึ่งของการเติบโตของภาษาอังกฤษ คือ การลดความหลากหลายทางภาษาพื้นเมืองในหลายส่วนของโลก อิทธิพลของภาษาอังกฤษยังมีบทบาทสำคัญในการลดจำนวนภาษา ในทางตรงข้าม ความหลากหลายภายในโดยธรรมชาติของภาษาอังกฤษ ร่วมกับภาษาผสม (creole) และภาษาแก้ขัด (pidgin) มีศักยะผลิตภาษาใหม่ที่แยกกันชัดเจนจากภาษาอังกฤษตามกาล
== ประวัติ ==
== การกระจายทางภูมิศาสตร์ ==
มีผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่งราว 360 ล้านคน ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษอาจเป็นภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน อย่างไรก็ดี เมื่อรวมผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และมิใช่ภาษาแม่แล้ว ภาษาอังกฤษก็อาจเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก แม้อาจน้อยกว่าผู้พูดภาษาจีนรวมกัน (ขึ้นอยู่กับว่านับรวมเป็น "ภาษา" หรือนับแยกเป็น "ภาษาถิ่น")
การประมาณซึ่งรวมผู้พูดเป็นภาษาที่สองนั้นแปรผันอย่างมากตั้งแต่ 470 ล้านคน ถึงกว่าหนึ่งพันล้านคน ขึ้นอยู่กับว่านิยามและวัดการรู้หนังสือหรือความชำนาญอย่างไร เดวิด คริสทอล (David Crystal) ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ คำนวณว่าผู้ที่พูดมิใช่ภาษาแม่นั้นมีมากกว่าผู้พูดเป็นภาษาแม่เป็นสัดส่วน 3 ต่อ 1
ประเทศที่มีประชากรผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่มากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (226 ล้านคน) สหราชอาณาจักร (61 ล้านคน) แคนาดา (18.2 ล้านคน) ออสเตรเลีย (15.5 ล้านคน) ไนจีเรีย (3-5 ล้านคน) ไอร์แลนด์ (3.8 ล้านคน) แอฟริกาใต้ (3.7 ล้านคน) และนิวซีแลนด์ (3.6 ล้านคน) ตามลำดับ ข้อมูลมาจากสำมะโนปี 2549
หลายประเทศ อย่างฟิลิปปินส์ จาเมกาและไนจีเรียยังมีผู้พูดภาษาถิ่นต่อเนื่อง (dialect continuum) เป็นภาษาแม่อีกหลายล้านคน ซึ่งมีตั้งแต่ภาษาครีโอล (creole language) อิงภาษาอังกฤษไปจนถึงภาษาอังกฤษรุ่นที่เป็นมาตรฐานมากกว่า ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมากที่สุด คริสทอลอ้างว่า เมื่อรวมผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และไม่เป็นภาษาแม่รวมกัน ปัจจุบัน ประเทศอินเดียมีประชากรที่พูดหรือเข้าใจภาษาอังกฤษมากกว่าประเทศใดในโลก
=== ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสากล ===
ภาษาอังกฤษมักถูกเรียกว่าเป็น "ภาษาสากล" เพราะมีการพูดอย่างกว้างขวาง และแม้จะมิใช่ภาษาราชการในประเทศส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบัน มีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุด ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของการสื่อสารการบินและในทะเล ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอีกหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการศึกษาเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุดในสหภาพยุโรป ถึง 89% ในเด็กวัยเรียน นำหน้าภาษาฝรั่งเศสที่ 32% ขณะที่การรับรู้ประโยชน์ของภาษาต่างประเทศในบรรดาชาวยุโรป คือ 68% สนับสนุนภาษาอังกฤษ มากกว่าภาษาฝรั่งเศสที่ 25% ในบรรดาบางประเทศสหภาพยุโรปที่ไม่พูดภาษาอังกฤษ ประชากรผู้ใหญ่จำนวนมากอ้างว่าสามารถสนทนาภาษาอังกฤษได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สวีเดน 85%, เดนมาร์ก 83%, เนเธอร์แลนด์ 79%, ลักเซมเบิร์ก 66% และในฟินแลนด์ สโลวีเนีย ออสเตรเลีย เบลเยียมและเยอรมนี กว่า 50% ในปี 2555 หากไม่นับผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ชาวยุโรป 38% มองว่าตนสามารถพูดภาษาอังกฤษ แต่ชาวญี่ปุ่นเพียง 3% ที่มองเช่นนั้น
หนังสือ นิตยสารและหนังสือพิมพ์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก และภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในแวดวงวิทยาศาสตร์ โดยดัชนีการอ้างอิงวิทยาศาสตร์รายงานเมื่อปี 2540 ว่า บทความของดัชนีฯ 95% เขียนในภาษาอังกฤษ แม้เพียงครึ่งหนึ่งจะมาจากผู้ประพันธ์ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ
วรรณกรรมภาษาอังกฤษคิดเป็น 28% ของวรรณกรรมทั้งหมดที่ตีพิมพ์ทั่วโลก และคิดเป็น 30% ของเนื้อหาเว็บในปี 2554 (จาก 50% ในปี 2543)
การใช้ภาษาอังกฤษที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกนี้ได้มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อภาษาอื่นจำนวนมาก จนนำไปสู่ภาษาเปลี่ยนหรือกระทั่งภาษาตาย และการอ้างจักรวรรดินิยมทางภาษา ภาษาอังกฤษเองก็เปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากขึ้น เพราะความหลากหลายในภูมิภาคป้อนกลับไปยังภาษาโดยรวมเช่นกัน
== ระบบการเขียน ==
พยัญชนะอังกฤษสมัยใหม่ประกอบด้วยอักษร 26 ตัว ได้แก่ a, b, c, d, e, f, g, | thaiwikipedia | 281 |
ประเทศติมอร์-เลสเต | ติมอร์-เลสเต, ตีโมร์-แลชต์ (Timor-Leste, ) หรือ ติมอร์ตะวันออก (Timór Lorosa'e) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยตีโมร์-แลชต์ (República Democrática de Timor-Leste; Repúblika Demokrátika Timór-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเทศบาลโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย
แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า ตีโมร์-แลชต์ ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส มีดอกไม้ประจำชาติคือดอกกุหลาบ
== ภูมิศาสตร์ ==
ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตา ของประเทศอินโดนีเซียไปทางตะวันออกประมาณ 2,100 กิโลเมตร ประเทศติมอร์ตะวันออกประกอบไปด้วยดินแดนส่วนปลายด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ และมีดินแดนส่วนแยกเทศบาลโอเอกูซีที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของติมอร์ตะวันตกซึ่งอยู่ในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย
=== ภูมิอากาศ ===
ประเทศติมอร์-เลสเตมีเพียงสองฤดูเช่นเดียวกับทางภาคใต้ของประเทศไทย คือมีฤดูฝนและฤดูร้อน ภูมิอากาศบางแห่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา ด้วยเหตุที่ได้รับลมแล้งจากทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทรัพยากรทางธรรมชาติของติมอร์ตะวันออกคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีมากไม่แพ้ประเทศบรูไนที่อยู่ในทะเลลึกที่เรียกว่า Timor Gap ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด และปศุสัตว์ที่สำคัญได้แก่ โค กระบือ แกะ ม้า และทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย
== ประวัติศาสตร์ ==
=== อาณานิคมโปรตุเกส ===
ดินแดนติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520)
=== การอ้างสิทธิ์เรียกร้องเอกราช ===
ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมตาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 ริมทะเลกรุงดิลี โดยผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปยังสุสานซานตาครูซจำนวนผู้ร่วมชุมนุมจึงมีมากขึ้น และการชุมนุมก็เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องเอกราช โดยมีนายชานานา กุฌเมา เป็นผู้นำที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย
อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย (militia) ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
=== วิกฤตการเมือง พ.ศ. 2548 ===
ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์-เลสเตเมื่อเดือนเมษายน พ. หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์-เลสเต 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง
การต่อสู้อันรุนแรงทหารที่สนับสนุนรัฐบาลกับทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์-เลสเต ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิมและกบฏติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารมายังติมอร์-เลสเตเพื่อปราบปรามความไม่สงบ
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรตีลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดี ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
== การปกครอง ==
ปัจจุบันประเทศติมอร์-เลสเตมีการปกครองในระบอบของประชาธิปไตย แต่ด้วยความที่เป็นประเทศใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับเหตุการณ์สงครามกลางเมือง และการรุกรานจากประเทศอื่น เพื่อให้การดำเนินการในติมอร์ตะวันออกเป็นไปโดยสงบ องค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการเพื่อสนับสนุนภารกิจของในติมอร์ตะวันออก (United Nation Mission of Support in East Timor: UNMISET) เป็นหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ในติมอร์-เลสเตให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ติมอร์-เลสเตแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 เทศบาล (município; munisípiu) ดังนี้
กอวาลีมา
ดิลี
เบาเกา
โบโบนารู
มานาตูตู
มานูฟาฮี
ลีกีซา
เลาเต็ง
วีเกเก
เอร์เมรา
โอเอกูซี
ไอนารู
ไอเลอู
== เศรษฐกิจ ==
=== สถานการณ์เศรษฐกิจ ===
ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์-เลสเตที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การทำประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์-เลสเตยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์-เลสเตยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึงอุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุนในติมอร์-เลสเต และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์-เลสเตนำเข้าจากออสเตรเลีย เพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูตที่ปฏิบัติงานในติมอร์-เลสเต
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== เส้นทางคมนาคม ===
ท่าอากาศยานนานาชาติประธานาธิบดีนีกูเลา ลูบาตู (Aeroporto Internacional Presidente Nicolau Lobato) เป็นสนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียวในติมอร์-เลสเต และท่าเรือติมอร์และท่าเรือดิลี ท่าเรือสำคัญของประเทศ
=== การศึกษา ===
การศึกษาของติมอร์-เลสเตเป็นไปตามโครงสร้าง 6-3-3 มีระดับการศึกษาตั้งแต่ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย ทั้งนี้รัฐได้จัดสวัสดิการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่เยาวชนในระดับประถมศึกษา (EDUCATION POLICY AND DATA CENTER, 2012)
== ประชากร ==
=== ภาษา ===
ภาษาที่มีถึง 30 กลุ่ม โดยต่างคนต่างอยู่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวติมอร์เชื้อสายจีน และคนไทยในกรุงดิลี ส่วนภาษาทางการนั้นไม่เป็นที่ตกลงแน่นอนว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในติมอร์-เลสเต คือ ภาษาเตตุน ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ โดยสองภาษาหลังนี้ทางการถือเป็นภาษาปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
=== ศาสนา ===
ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศติมอร์-เลสเตนับถือศาสนาคริสต์ โดยแยกเป็นสองนิกายหลัก คือ นิกายโรมันคาทอลิก มีศาสนิกกว่าร้อยละ 96 ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์นั้นมีร้อยละ 2.2 มีส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบซุนนี นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และอื่น ๆ
=== วัฒนธรรม ===
ประชาชนชาวติมอร์-เลสเตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบท โดยส่วนมากยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและพึ่งพาตนเอง มีการศึกษาต่ำ มีการจับปลาและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนส่วนใหญ่ค้าขายไม่เป็น ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล แต่ชาวติมอร์-เลสเตนั้นมีความเคารพในระบบอาวุโส มีระบบเครือญาติที่แข็งแกร่ง รักพวกพ้อง รักขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยสตรีชาวติมอร์-เลสเตนั้นจะทำงานหนักในขณะที่บุรุษมักไม่ค่อยช่วยงานบ้าน
== อ้างอิง ==
==บรรณานุกรม==
Cashmore, Ellis (1988). Dictionary of Race and Ethnic Relations. New York: Routledge.
Charny, Israel W. Encyclopedia of Genocide Volume I. Denver: Abc Clio.
Hägerdal, Hans (2012), Lords of the Land, Lords of the Sea; Conflict and Adaptation in Early Colonial Timor, 1600–1800. Oapen.org
Levinson, David. Ethnic Relations. Denver: Abc Clio.
Rudolph, Joseph R. Encyclopedia of Modern Ethnic Conflicts. Westport: Greenwood P, 2003. 101–106.
Shelton, Dinah. Encyclopedia of Genocide and Crimes Against Humanity. Thompson Gale.
Taylor, John G. (1999). East Timor: The Price of Freedom. Australia: Pluto Press. .
East Timor: a bibliography, a bibliographic reference, Jean A. Berlie, launched by PM Xanana Gusmão, Indes Savantes editor, Paris, France, published in 2001. , .
East Timor, politics and elections (in Chinese)/ 东帝汶政治与选举 (2001–2006): 国家建设及前景展望, Jean A. Berlie, Institute of Southeast Asian Studies of Jinan University editor, Jinan, China, published in 2007.
Mats Lundahl and Fredrik Sjöholm. 2019. The Creation of the East Timorese Economy. Springer.
==แหล่งข้อมูลอื่น==
รัฐบาล
เว็บไซต์ทางการของรัฐบาลติมอร์-เลสเต
เว็บไซต์ทางการของการท่องเที่ยวติมอร์-เลสเต
Chief of State and Cabinet Members
ข้อมูลทั่วไป
Timor-Leste. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
East Timor from UCB Libraries GovPubs
East Timor at Encyclopædia Britannica
East Timor profile BBC News
Key Development Forecasts for Timor-Leste from International Futures
Timor Leste Studies Association
ต
ต
ต
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2545
อดีตอาณานิคมของโปรตุเกส
เกาะติมอร์
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร | thaiwikipedia | 282 |
ประเทศปาปัวนิวกินี | ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea; Papua Niugini; Papua Niu Gini) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี (Independent State of Papua New Guinea; Independen Stet bilong Papua Niugini; Independen Stet bilong Papua Niu Gini) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน มีเมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้คือพอร์ตมอร์สบี เป็นประเทศเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกด้วยพื้นที่ และเป็นประเทศสังเกตการณ์ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตั้งแต่ ค.ศ. 1976
หลังจากถูกปกครองโดยมหาอำนาจภายนอก 3 ชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2427 ปาปัวนิวกินีได้ก่อตั้งอธิปไตยของตนขึ้นในปี 2518 หลังอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรเลียร่วม 60 ปี ซึ่งเริ่มในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปาปัวนิวกินีได้กลายเป็นอาณาจักรที่เป็นอิสระในปี 2518 โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุข และกลายเป็นสมาชิกของเครือจักรภพ
ปาปัวนิวกินีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก โดยมีภาษาในประเทศเท่าที่รู้จักถึง 851 ภาษา ในจำนวนนี้มี 11 ภาษาที่ไม่มีผู้พูดอีกต่อไป และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่ชนบทมากที่สุด เนื่องจากมีเพียง 13.25% ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในใจกลางเมืองใน ค.ศ. 2019 ประชากรส่วนใหญ่มากกว่า 8,000,000 คนอาศัยอยู่ในชุมชนต่าง ๆ ซึ่งมีความหลากหลายพอ ๆ กับภาษา ประเทศนี้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการสำรวจน้อยที่สุดในเชิงวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ และเป็นที่เชื่อกันว่ายังมีชนเผ่าท้องถิ่นรวมถึงพันธุ์พืชและสัตว์ที่ยังไม่ได้รับการค้นพบจำนวนมาก
ปาปัวนิวกินีจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนาโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เกือบ 40% ของประชากรใช้ชีวิตตามธรรมชาติโดยไม่สามารถเข้าถึงโลกภายนอกได้ คนส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการทำฟาร์ม ค้าขาย และเกษตรกรรม วิถีชีวิตทางสังคมของพวกเขาผสมผสานศาสนาดั้งเดิมเข้ากับแนวปฏิบัติสมัยใหม่ รัฐบาลปกป้องและให้ความสำคัญต่อชีวิตในชุมชนท้องถิ่น ปาปัวนิวกีนิเป็นสมาชิกของ ประชาคมแปซิฟิก, The Pacific Islands Forum และเครือจักรภพแห่งประชาชาติ
== นิรุกติศาสตร์ ==
ศัพท์ papua มีที่มาจากศัพท์พื้นเมืองเก่าที่ไม่ทราบต้นกำเนิด ส่วน "New Guinea" (Nueva Guinea) เป็นศัพท์บัญญัติที่ Yñigo Ortiz de Retez นักสำรวจจักรวรรดิสเปนสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1545 เนื่องจากเขาสังเกตเห็นว่าผู้คนในเกาะนี้มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมคล้ายกับผู้คนที่เขาเคยเห็นบริเวณชายฝั่งกินีของทวีปแอฟริกา และคำว่า กินี ยังมีรากศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกส Guiné ซึ่งหมายถึง "ดินแดนแห่งคนผิวดำ"
== ประวัติศาสตร์ ==
หลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า มนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนิวกินีประมาณ 42,000 ถึง 45,000 ปีก่อน คาดว่าเป็นกลุ่มคนที่เป็นลูกหลานของผู้อพยพออกจากทวีปแอฟริกา นักเดินเรือชาวโปรตุเกสและสเปนเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาในดินแดนแห่งนี้
ในปี 2427 (ค.ศ. 1884) เยอรมนีได้เข้ายึดภาคตะวันออกเหนือของเกาะ รวมทั้งเกาะบูเกนวิลล์ (Bougainville) และในปี 2531 (ค.ศ. 1888) สหราชอาณาจักรได้เข้ายึดครองในส่วนใต้ของเกาะ เรียกว่า British New Guinea ส่วนเยอรมนีเข้าครอบครองส่วนเหนือของเกาะอย่างสมบูรณ์ในปี 2442 (ค.ศ. 1899) และเรียกส่วนนี้ว่า German New Guinea จากนั้นในปี 2457 (ค.ศ. 1914) กองทัพออสเตรเลียได้เข้ายึดครองส่วนที่เป็น German New Guinea และปกครองเกาะทั้งสองส่วนจนกระทั่งปี 2484 (ค.ศ. 1941) ญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดและเป็นผู้ปกครองเกาะจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 (ค.ศ. 1945) จากนั้น ในปี 2492 (ค.ศ. 1949) ปาปัวและนิวกินีตกอยู่ในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติภายใต้ The Papua and New Guinea Act โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ดูแล และเรียกดินแดนนี้ว่า Territory of Papua and New Guinea ต่อมา ในปี 2515 (ค.ศ. 1972) ได้เปลี่ยนชื่อเป็นปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea) พร้อมทั้งจัดการเลือกตั้งคณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคือ Sir Micheal Somare ซึ่งเป็นผู้นำในการเรียกร้องเอกราชจากออสเตรเลีย และทำให้ปาปัวนิวกินีได้รับเอกราชในปี 2518 (ค.ศ. 1975)
== การเมือง ==
ระบบรัฐสภาเป็นแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเดียว เรียกว่า “รัฐสภาแห่งชาติ” (National Parliament) ปัจจุบันมีสมาชิก 109 คน โดย 89 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (open electorates) และที่เหลืออีก 20 คน มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด (provincial electorates) วาระ 5 ปี
รูปแบบการปกครอง แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับชาติ (National) ระดับจังหวัด (Provincial) และระดับท้องถิ่น (Local) รัฐบาลท้องถิ่น (Provincial Government) ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง โดยรัฐบาลกลางจะแทรกแซงกิจการด้านการบริหาร การคลัง และอื่น ๆ เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่น ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการโดยอิสระ
== ภูมิศาสตร์ ==
ด้วยขนาด ทำให้ปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 54 ของโลก และประเทศที่เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ตั้งอยู่ทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทิศตะวันตกติดกับประเทศอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีมีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ และมีภูเขาและภูเขาไฟจำนวนมาก พื้นที่ราบเป็นป่าดิบชื้น และทุ่งหญ้าสะวันนา พืชสำคัญคือ มะพร้าว ปาล์ม และเตย
== เศรษฐกิจประเทศ ==
ปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล ทองคำ ทองแดง น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ รายได้หลักของประเทศขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการประมง เหมืองทองแดง เหมืองทองคำ และการท่องเที่ยว ส่วนด้านเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกกาแฟ โกโก้ และมะพร้าว ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศนิวซีแลนด์ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ กาแฟ ทองแดง ซุง กาแฟ และสัตว์ทะเล ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนประกอบรถยนต์ อาหาร และเชื้อเพลิง
รัฐบาลควบคุมสถานะการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจได้รับผลดีจากผลผลิตเหมืองแร่ที่เพิ่มขึ้น และราคาสินค้าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ ทอง น้ำมันดิบ ทองแท่ง เป็นผลให้การส่งออกในช่วงไตรมาสของปีขยายตัวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปีก่อน และคาดว่าในปีนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลและเศรษฐกิจโดยรวมจะเติบโตในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม ในเดือน มี.ค. 2549 UN ได้เสนอปรับสถานะการพัฒนาของปาปัวนิวกินีจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ซึ่ง นรม. Sir Michael ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว
รัฐบาลพยายามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ขยายการส่งออก (Export-led economy) แสวงหาความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย (look north) และมีบทบาทนำในกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก (Work Pacific) การลงนามความตกลงทางการค้ากับนิวซีแลนด์เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ทำให้ปาปัวนิวกินีส่งออกสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว เผือก ขิง ไปยังตลาดนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ ปาปัวนิวกินียังได้รับโควตาการส่งออกปลาทูน่าไปยังตลาด EU เพิ่มขึ้น ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าของเอเปกครั้งที่ 12 ปาปัวนิวกินีตอบรับที่จะยกเลิกการอุดหนุนสินค้าส่งออกทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2556
== ประชากร ==
ปาปัวนิวกินี ประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวเมลานีเชีย ปาปัว เนกริด ไมโครนีเชีย และพอลินีเชีย
มีภาษาทางการเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากเคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ แต่มีคนพูดได้น้อย ส่วนมากจะพูดตอกปีซินซึ่งเป็นภาษาครีโอล แต่อย่างไรก็ตาม ประชากรประเทศนี้มีประมาณ 5 ล้านคน และมีภาษามากกว่า 800 ภาษา
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นหลัก แต่ก็มีลัทธิศาสนาตามความเชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย
อายุขัยเฉลี่ยในปาปัวนิวกินีคือ 64 ปีสำหรับผู้ชาย และ 68 ปีสำหรับผู้หญิง การใช้จ่ายของรัฐบาลในด้านสุขภาพในปี 2014 คิดเป็น 9.5% ของการใช้จ่ายทั้งหมด มีแพทย์ห้าคนต่อประชากร 100,000 คนในช่วงต้นทศวรรษ 2000 อัตราการตายของมารดาในปี 2010 ต่อการเกิด 100,000 คนในปาปัวนิวกินีคือ 250 เมื่อเปรียบเทียบกับ 311.9 ในปี 2551 และ 476.3 ในปี 2533 อัตราการเสียชีวิตอายุต่ำกว่า 5 ปี ต่อการเกิด 1,000 คนคือ 69
ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศขาดโอกาสทางการศึกษา และเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือต่ำเป็นอันดับต้น ๆ
== วัฒนธรรม ==
ประเทศปาปัวนิวกินีประกอบไปด้วยชนเผ่าเป็นจำนวนมาก มีภาษากว่า 800 ภาษาทำให้มีสังคมแบบชนเผ่าอย่างมากในประเทศ ทำให้มีประเพณีที่แตกต่างกันถึง 200 ประเพณี เช่น
เหล่าชาวบ้านชนเผ่าซิมบูรวมตัวกันแปลงร่างเป็นมนุษย์โคลน มาร่วมงานเทศกาลแสดงวัฒนธรรมประจำปี ครั้งที่ 46 ในเมืองเมาท์ ฮาเกน งานนี้เป็นการรวมตัวของชนเผ่าในประเทศปาปัวนิวกินีทั้งหมด ที่จะนำเอกลักษณ์และความโดดเด่นเฉพาะตัวมาแสดงแลกเปลี่ยนกัน ถือว่าเป็นงานรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดงานหนึ่งของโลก
อาหารของปาปัวนิวกินีเป็นอาหารที่หลากหลายแบบดั้งเดิมที่พบในภาคตะวันออกของเกาะนิวกินี ประชากรประมาณ 80% พึ่งพาการเกษตรแบบยังชีพดังนั้น พลังงานอาหารและโปรตีนที่บริโภคในปาปัวนิวกินีมีการผลิตในท้องถิ่นในขณะที่มีการนำเข้าที่สมดุล อาหารหลักในปาปัวนิวกินีรวมถึงพืชรากกล้วยและสาคู และอาหารทะเลโดยเฉพาะปลาดิบ
==การคมนาคม==
การคมนาคมในประเทศปาปัวนิวกินีถูกจำกัดอย่างมากด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขา การเดินทางด้วยเครื่องบินจึงเป็นการเดินทางที่สำคัญในปาปัวนิวกินี เมืองหลวงพอร์ตมอร์สบีไม่มีถนนเชื่อมต่อถึงเมืองใหญ่อื่นๆ และหลายหมู่บ้านบนภูเขาสามารถเดินทางไปได้ด้วยเครื่องบินเล็กหรือเดินเท้าเท่านั้น
ท่าอากาศยานนานาชาติแจ็คสันส์เป็นท่าอากาศยานหลักของปาปัวนิวกินี อยู่ห่างจากพอร์ตมอร์สบี 8 กิโลเมตร ประเทศปาปัวนิวกินีมีสนามบิน 561 สนามบิน โดยมีเพียง 21 สนามบินที่ลาดยาง
ประเทศปาปัวนิวกินีมีถนนทั้งหมด 9,349 กิโลเมตรโดยมากกว่าครึ่งไม่ได้ลาดยาง ทางหลวงที่ยาวที่สุดในปาปัวนิวกินียาว 700 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างเมือง Lae ที่ชายฝั่งกับเมือง Tari บนภูเขา
ท่าเรือหลักของประเทศอยู่เมืองพอร์ตมอร์สบี และ Lae
== อ้างอิง ==
==ข้อมูล==
==อ่านเพิ่ม==
Biskup, Peter, B. Jinks and H. Nelson. A Short History of New Guinea (1970)
Connell, John. Papua New Guinea: The Struggle for Development (1997) online
Dorney, Sean. Papua New Guinea: People, Politics and History since 1975 (1990)
Dorney, Sean. The Sandline Affair: Politics and Mercenaries and the Bougainville Crisis (1998)
Dorney, Sean. The Embarrassed Colonialist (2016)
Gash, Noel. A Pictorial History of New Guinea (1975)
Golson, Jack. 50,000 years of New Guinea history (1966)
Griffin, James. Papua New Guinea: A political history (1979)
Institute of National Affairs. PNG at 40 Symposium: Learning from the Past and Engaging with the Future (2015)
Knauft, Bruce M. South Coast New Guinea Cultures: History, Comparison, Dialectic (1993) excerpt and text search
McCosker, Anne. Masked Eden: A History of the Australians in New Guinea (1998)
Mckinnon, Rowan, et al. Papua New Guinea & Solomon Islands (Country Travel Guide) (2008) excerpt and text search
Rynkiewich, Michael and Roland Seib eds. Politics in Papua New Guinea. Continuities, Changes and Challenges (2000)
Waiko. John. Short History of Papua New Guinea (1993)
Waiko, John Dademo. Papua New Guinea: A History of Our Times (2003)
Zimmer-Tamakoshi, Laura. Modern Papua New Guinea (1998) online
=== ข้อมูลปฐมภูมิ ===
Jinks, Brian, ed. Readings in New Guinea history (1973)
Tim Flannery Throwim' Way Leg: Tree-Kangaroos, Possums, and Penis Gourds (2000) memoir excerpt and text search
Malinowski, Bronislaw. Argonauts of the Western Pacific: An Account of Native Enterprise and Adventure in the Archipelagoes of Melanesian New Guinea (2002) famous anthropological account of the Trobriand Islanders; based on field work in 1910s online
Visser, Leontine, ed. Governing New Guinea: An Oral History of Papuan Administrators, 1950–1990 (2012)
Whitaker, J.L. et al. eds. Documents and readings in New Guinea history: Pre-history to 1889 (1975)
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
=== รัฐบาล ===
นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี
รัฐสภาแห่งชาติปาปัวกินี
National Economic & Fiscal Commission
=== ข้อมูลทั่วไป ===
Papua New Guinea. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Papua New Guinea at UCB Libraries GovPubs.
ปาปัวนิวกินี
ป
ปาปัวนิวกินี
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร | thaiwikipedia | 283 |
ประเทศบังกลาเทศ | บังกลาเทศ (বাংলাদেশ บังลาเทศ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล มีประชากรราว 165 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับแปดของโลก ด้วยพื้นที่ 148,460 ตารางกิโลเมตร (57,320 ตารางไมล์) บังกลาเทศจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุดในโลก มีอาณาเขตติดกับอินเดียทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และตะวันตก ติดกับพม่าทางตะวันออกเฉียงใต้ และติดอ่าวเบงกอลทางทิศใต้ เมืองหลวงของประเทศคือธากาซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศ โดยมีจิตตะกองเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองซึ่งเป็นท่าเรือที่คับคั่งมากที่สุดในอ่าวเบงกอล ภาษาราชการคือภาษาเบงกอลซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" หมายถึง "ประเทศแห่งเบงกอล"
ดินแดนของบังกลาเทศเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นเบงกอลก่อนจะแยกตัวออกมาจากการแบ่งแยกอินเดียใน พ.ศ. 2490 ชาวมุสลิมเบงกาลีเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แคว้นเบงกอลในอดีตเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญของอนุทวีปอินเดีย โดยเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณมากมาย อาทิ วานกา ปันดรา คงคาริได เกาดา และ หริกาลา ราชวงศ์โมริยะ จักรวรรดิคุปตะ จักรวรรดิปาละ ราชวงศ์เสนะ อาณาจักรจันดรา และอาณาจักรเทวา เคยเป็นผู้ปกครองในบริเวณนี้ ก่อนที่การพิชิตเบงกอลของชาวมุสลิมจะเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 1747 เมื่อ มูฮัมหมัด บิน บัคติยาร์ คัลจี แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์กูริดพิชิตดินแดนทางเหนือของเบงกอลตามด้วยการรุกรานทิเบต และดินแดนทั้งหมดกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดลีสุลต่าน นครรัฐสามแห่งถือกำเนิดขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้นำแห่งลัทธิศูฟี ได้แก่ สุลต่าน บาลคี, ชาห์ จาลาล และชาห์ มัคดัม รูโปส มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาและวัฒนธรรมของชาวมุสลิม ต่อมา ดินแดนส่วนใหญ่รวมตัวกันเป็นอาณาจักรสุลต่านแห่งเบงกอล ในศตวรรษที่ 14 ถึง 16 ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโมกุล รัฐเบงกอลตะวันออกเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องโดยเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิมบริเวณอนุทวีป และดึงดูดพ่อค้าจากทั่วโลก ในช่วงเวลานี้ ชนชั้นสูงชาวเบงกาลีถือเป็นหนึ่งในกลุ่มสังคมที่มีฐานะมั่งคั่งที่สุดในโลกจากการมีพันธมิตรทางการค้าจำนวนมาก รายได้หลักมาจากการค้าผ้าทอมัสลินที่มีชื่อเสียง อาณาจักรยังเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องในช่วงศตวรรษที่ 18 ต่อมาใน พ.ศ. 2300 การทรยศของ มีร์ จาฟาร์ นำไปสู่การสิ้นอำนาจของ ศรีรัช อุดดอลา สหราชอาณาจักรในนามบริษัทอินเดียตะวันออกเข้ามาเรืองอำนาจในภูมิภาคเอเชียใต้ ภูมิภาคเบงกอลกลายเป็นหน่วยการปกครองที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองและมณฑลของบริติชอินเดีย การก่อตั้งรัฐเบงกอลตะวันออกและรัฐอัสสัมใน พ.ศ. 2448 เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งประเทศ และในปี 2483 นายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งรัฐเบงกอลได้สนับสนุน มติละฮอร์ หรือที่รู้จักกันในนาม "มติแห่งปากีสถาน" ด้วยปณิธานในการสร้างรัฐบริเวณตะวันออกของภูมิภาคเอเชียใต้ นายกรัฐมนตรีแห่งเบงกอลยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐอธิปไตยของชาวเบงกาลี ก่อนจะมีการแบ่งแยกดินแดน การลงประชามติและการแบ่งแยกดินแดนโดยอิงเส้นแรดคลิฟฟ์ได้กำหนดเขตแดนของบังกลาเทศในปัจจุบัน
ในปี 2490 เบงกอลตะวันออกกลายเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดของปากีสถานในเครือจักรภพ ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นปากีสถานตะวันออกโดยมีธากาเป็นเมืองหลวง เหตุการณ์สำคัญ ได้แก่ ขบวนการภาษาเบงกาลีปี 2495, การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติของเบงกาลีตะวันออกปี 2497, การรัฐประหารของปากีสถานปี 2501, การเคลื่อนไหวหกจุดในปี 2509 และการเลือกตั้งทั่วไปของปากีสถานในปี 2513 ส่งผลให้ลัทธิชาตินิยมเบงกาลีและขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นในปากีสถานตะวันออก การปฏิเสธการถ่ายโอนอำนาจของรัฐบาลเผด็จการไปยังสันนิบาตอวามีซึ่งนำโดย ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน นำไปสู่สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในปี 2514 และจบลงด้วยชัยชนะของขบวนการปฏิวัติซึ่งได้รับความช่วยเหลือทางอาวุธจากอินเดีย ทว่าความขัดแย้งยังทวีความรุนแรงต่อเนื่องนำไปสู่พันธุฆาตครั้งใหญ่ และการสังหารหมู่พลเรือนเบงกาลี รัฐใหม่ของบังกลาเทศกลายสภาพเป็นรัฐโลกวิสัยแห่งแรกในเอเชียใต้ตามรัฐธรรมนูญในปี 2515 ศาสนาอิสลามได้รับการประกาศให้เป็นศาสนาประจำชาติในปี 2531
บังกลาเทศเป็นประเทศอำนาจปานกลางในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชียใต้ และมีกองทัพที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในภูมิภาคและอันดับแปดของโลก จากการมีบทบาทสำคัญในการร่วมรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ บังกลาเทศยังมีกองกำลังกึ่งทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมมากเป็นอันดับสามของโลก บังกลาเทศเป็นรัฐเดี่ยวด้วยระบบรัฐสภา และปกครองแบบสาธารณรัฐโดยอิงตามระบบเวสต์มินสเตอร์ ชาวเบงกอลเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศโดยคิดเป็นอัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 99 ประเทศประกอบไปด้วย 8 ภาค 64 อำเภอ และ 495 ตำบล และถือเป็นหนึ่งในที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสืบเนื่องจากการกวาดล้างชาวโรฮีนจา ปัญหาสำคัญในปัจจุบันคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และยังเป็นสมาชิกของบิมสเทค รวมทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในองค์การความร่วมมืออิสลาม และเครือจักรภพแห่งประชาชาติ
== ประวัติศาสตร์ ==
ดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป (อินเดีย) เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนามาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2300 อังกฤษได้เข้าไปยึดครองชมพูทวีป และดินแดนแห่งนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเกือบ 200 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ดินแดนแถบนี้ได้รับเอกราช แต่บังกลาเทศก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน เรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก
ต่อมาชาวเบงกอลในปากีสถานตะวันออก ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก เนื่องจากถูกแสวงหาประโยชน์และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก นอกจากนี้ปากีสถานทั้งสองยังมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติอีกด้วย ชาวเบงกอลจึงจัดตั้งสันนิบาตอวามีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกอล โดยมีนายชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน เป็นหัวหน้า
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514 ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทำให้ปากีสถานตะวันตกส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปราม อินเดียได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ในที่สุดฝ่ายปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้ในการรบ และยินยอมให้เอกราชแก่บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514
ในระยะแรก บังกลาเทศปกครองโดยระบอบประธานาธิบดี มีนายชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน หัวหน้าสันนิบาตอวามีเป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารคนแรก (Father of the Nation) ประธานาธิบดี นายชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสาย และเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2525 – 2533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง
ในปี พ.ศ. 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 นาง Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วยสันนิบาตอวามี (AL), พรรค Jatiya Party (JP), และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดีชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน) ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาล และเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP
ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการ หรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรี และนาย Latifur Rahman ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันเดียวกัน นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ซึ่งคณะที่ปรึกษาดังกล่าวได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 16 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
== ภูมิศาสตร์ ==
=== ภูมิประเทศ ===
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำคงคาและแม่น้ำพรหมบุตร
=== ภูมิอากาศ ===
อยู่ในเขตมรสุม เมืองร้อน ฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนมากถึง 5,690 มิลลิเมตร/ปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม พื้นที่ราบลุ่มหลายแห่งมักจะประสบปัญหาอุทกภัยอยู่เสมอ
แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) ฤดูร้อน (มีนาคม-มิถุนายน) และฤดูฝน (กรกฎาคม-ตุลาคม)
อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม ประมาณ 5.5°C - 14.4°C
อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 29.9°C - 36.8°C
ความชื้นในกรุงธากาช่วงฤดูฝนสูงมาก
== การเมือง ==
=== ฝ่ายนิติบัญญัติ ===
บังกลาเทศมีเพียงสภาเดียว คือ Jatiya Sangsad หรือสภาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 300 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี โดยมี Barrister Muhammad Jamiruddin Sircar เป็นประธานสภาแห่งชาติคนปัจจุบัน (โดยประธานสภาจะดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการประธานาธิบดี หากประธานาธิบดีไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้)
=== ฝ่ายบริหาร ===
ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกสรรโดยรัฐสภา และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี มีบทบาทหน้าที่ในด้านพิธีการ มีอำนาจในการแต่งตั้งรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะผู้พิพากษาและคณะผู้พิพากษา แต่เมื่ออยู่ในฐานะผู้รักษาการขณะที่ไม่มีรัฐบาล ประธานาธิบดีจะมีอำนาจเพิ่มขึ้นในการควบคุมกระทรวงกลาโหมและสามารถประกาศกฎอัยการศึก รวมทั้งสามารถยุบสภาฯ ตามที่ได้รับการเสนอโดยนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการได้ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. Iajuddin Ahmed ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545
พรรคที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภาจะได้รับโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลก่อน โดยหัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากจะได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ล่าสุดพรรค Bangladesh Nationalist Party นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 และได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ปัจจุบันมีรัฐบาลรักษาการโดยมี ดร. Fakhruddin Ahmed ดำรงตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ (Chief of Caretaker Government) เพื่อดูแลกระทรวงต่างๆ และเตรียมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550
=== ฝ่ายตุลาการ ===
บังกลาเทศใช้ระบบศาลแบบอังกฤษ โดยมีทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา โดยศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลสูงสุดซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนคือ Appellate Division และ High Court Division และยังมีศาลระดับล่างได้แก่ district courts thana courts และ village courts นอกจากนี้ยังมีศาลพิเศษอื่นๆ เช่น ศาลครอบครัว ศาลแรงงาน เป็นต้น
=== พัฒนาการทางการเมืองของบังกลาเทศภายหลังเอกราช ===
ประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายและเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2525 – 2533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง
ในปี 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี 2535
นาง Khaledia Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้านซึ่งประกอบด้วยพรรค Awami League พรรค Jatiya Party (JP) และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman) ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาลและเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการหรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรีและนาย Latifur Rahman ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พรรค BNP ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งและ นาง Khaleda Zia ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
=== สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ===
ตามที่รัฐบาลบังกลาเทศของนาง Khaleda Zia ได้สิ้นสุดวาระการบริหารประเทศเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ประธานาธิบดีแต่งตั้งอดีตประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเพื่อจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านได้คัดค้านการแต่งตั้งดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าประธานศาลฎีกามีความใกล้ชิดกับพรรครัฐบาล ประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed ได้ตัดสินใจเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเองท่ามกลางเสียงคัดค้านของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลรักษาการและคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง และได้นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการจลาจล และการถอนตัวจากการเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในที่สุดประธานาธิบดีจึงได้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) และลาออกจากตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งประกาศเลื่อนการเลือกตั้งซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด
นาย Fakhruddin Ahmed อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งบังกลาเทศได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการต่อจากประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยมีภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลรักษาการชุดใหม่ คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ และจัดการเลือกตั้งที่ บริสุทธิ์ยุติธรรมให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและนอกประเทศ โดยจะดำเนินการดังนี้
แยกศาลยุติธรรมออกจากฝ่ายการเมือง
ปรับปรุงบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ถูกต้อง
ปฏิรูปคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นและกลุ่มอิทธิพล
ทำให้ระบบราชการปลอดจากการครอบงำทางการเมือง
ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลรักษาการของบังกลาเทศจะใช้เวลาในการปฏิรูปการเมืองประมาณ 6 – 9 เดือนก่อนที่จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่
=== นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ===
บังกลาเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีพรรคสำคัญ 2 พรรคคือพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) และพรรค Awami League (AL) โดยที่ทั้งสองพรรคได้ผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้านตลอดมา
=== ด้านความมั่นคง ===
รัฐบาลบังกลาเทศที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อปราบปรามการก่อการร้าย เช่น การจับกุมการค้าอาวุธที่ผิดกฎหมาย การจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกระบุแน่ชัดว่าเป็นผู้ก่อการร้าย การประกาศว่ารัฐบาลจะไม่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้าย การปราบปรามกิจกรรมการก่อการร้ายในสถานศึกษา การจัดการประชุมระดับชาติเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย การสืบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดต่าง ๆ และการจัดตั้งการปฏิบัติการ “Operation Clean Heart” ซึ่ง เป็นการรวมกองกำลังทหารร่วมกับตำรวจในการจับกุมผู้ต้องสงสัยเรื่องการก่อการร้ายทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลชุดที่ผ่านมายังประกาศที่จะยกเลิกกฎหมายต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งออกโดยรัฐบาลในอดีต อย่างไรก็ดี นโยบายการปราบปรามการก่อการร้ายได้ถูกวิพากษ์วิจารย์จากพรรคฝ่ายค้าน นักศึกษา และประชาชนว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกระทำไปเพื่อจำกัดบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล
=== ด้านต่างประเทศ ===
รัฐบาลชุดล่าสุดได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งเสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบมุ่งตะวันออก (Look East) โดยการกระชับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย พม่า และสมาชิกอาเซียน ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของนโยบายต่างประเทศบังกลาเทศ การเดินทางเยือนภูมิภาคเอเชียของนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศอย่างต่อเนื่อง นับเป็นประจักษ์พยานที่ดีต่อการเสริมสร้างนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสนับสนุนผลประโยชน์ของบังกลาเทศในประเทศใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งการดำเนินนโยบายแบบมุ่งตะวันออกของบังกลาเทศนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการลดอิทธิพลของอินเดียที่มีต่อบังกลาเทศลงด้วยนอกจากนี้ บังกลาเทศมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจบังกลาเทศในด้านพลังงาน การส่งออกแรงงาน และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศ และในฐานะที่เป็นประเทศ OIC ปัจจุบัน บังกลาเทศเป็นสมาชิก BIMSTEC ACD SAARC NAM และ ARF และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการสนับสนุนภารกิจการรักษาสันติภาพ มีทหารบังกลาเทศจำนวน 9,758 ราย ปฏิบัติใน 12 ภารกิจทั่วโลก (ร้อยละ 14 ของกองกำลังรักษาสันติภาพทั้งหมด) ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของบังกลาเทศในทางที่ดี
== เขตการปกครอง ==
เขตการปกครองของประเทศบังกลาเทศแบ่งออกเป็น 8 ภาค (বিভাগ) ชื่อภาคตั้งตามชื่อเมืองที่เป็นเมืองหลักของฝ่ายบริหาร มีดังต่อไปนี้
ภาคขุลนา (খুলনা)
ภาคจิตตะกอง (চট্টগ্রাম)
ภาคธากา (ঢাকা)
ภาคบอรีชัล (বরিশাল)
ภาคมัยมันสิงห์ (ময়মনসিংহ)
ภาครังปุระ (রংপুর)
ภาคราชชาฮี (রাজশাহী)
ภาคสิเลฏ (সিলেট)
== เศรษฐกิจ ==
ประเทศบังกลาเทศตั้งอยู่ริมอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียอยู่เสมอ เศรษฐกิจของบังกลาเทศจึงขึ้นอยู่กับการเพาะปลุกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะปอกระเจา ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการถักกระสอบ แต่เนื่องจากบังกลาเทศมักประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ เนื่องจากเป็นจุดที่พายุไซโคลนเข้ามากที่สุดในบรรดาประเทศในเอเชียใต้ ทำให้การเพาะปลูกของบังกลาเทศก็ไม่ค่อยดีนัก ด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมของบังกลาเทศส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตร เช่น สิ่งทอซึ่งส่งออกเป็นอับดับสองของโลกรองจากจีน กระดาษ น้ำตาล เป็นต้น
* สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า ปอกระเจา เครื่อแต่งกาย อาหารทะเลและปลาแช่แข็ง ประเทศผู้ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี
* สินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า ปิโตรเลียม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน
สกุลเงินที่ใช้ : คือ ตากา
แม้บังกลาเทศจะเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) แต่ก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งไทยไม่ควรมองข้าม โดยเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรทางทะเล พร้อมกันนี้ยังสามารถเป็นตลาดสินค้าต่าง ๆ ของไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจบริการจะทำรายได้ให้กับบังกลาเทศคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของ GDP แต่ประชาชนบังกลาเทศส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน และประกอบอาชีพการเกษตร รัฐบาลบังกลาเทศเน้นในเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom) โดยใช้การทูตเชิงเศรษฐกิจ (economic diplomacy) ให้ความสำคัญกับการดึงการลงทุนจากต่างชาติ (อนุญาตให้คนต่างชาติลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมดเช่นเดียวกับชาวบังกลาเทศ) รวมทั้งการเรียกความเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดหุ้นของนักลงทุนทั้งภายในและจากต่างประเทศให้กลับคืนมา กระตุ้นการส่งออกโดยเฉพาะการเพิ่มโควตาการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังต่างประเทศ การส่งเสริมให้แรงงานบังกลาเทศไปทำงานในต่างประเทศ และการทบทวนเรื่องการให้ visa on arrival กับประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
=== การค้า ===
บังกลาเทศยึดหลักเศรษฐกิจการตลาด มีนโยบายส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ดี โดยที่การส่งออกของบังกลาเทศขึ้นอยู่กับสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดและมีตลาดส่งออกที่จำกัดเพียงไม่กี่ประเทศ (โดยร้อยละ 76 ของการส่งออกทั้งหมดเป็นสินค้าสิ่งทอที่ส่งไปยุโรป) จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายให้กับตัวสินค้าและหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกให้มากที่สุดและลดการขาดดุลการค้า บังกลาเทศพึ่งพาการนำเข้าจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ มีมูลค่าถึงปีละ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลล่าสุดได้มั่งเน้นนโยบายที่จะหันไปค้าขายกับประเทศอื่นๆ ให้มากขึ้น เพื่อลดการพิ่งพาอินเดียลง สวนปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ได้แก่ การห้ามนำเข้าหรือการจำกัดโควตาข้าวและน้ำตาล รวมทั้งปัญหาด้านการขนส่ง เป็นต้น ระบบพิธีการศุลกากรมาตรการที่มิใช่ทางภาษี เช่น การห้ามนำเข้าหรือจำกัดโควตา
=== การลงทุน ===
ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 บังกลาเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายหลายประการเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของต่างชาติ อนุญาตให้ส่งผลกำไรและรายได้ออกไปต่างประเทศได้โดยเสรี และมีมาตรการให้ความสำคัญกับบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศ เป็นต้น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศ รองลงมา คือ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร
อุตสาหกรรมที่ควรเข้าไปลงทุน ได้แก่ ด้านการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีมากถึง 11 ล้านล้านตารางฟุต ด้านสาธารณูปโภค ด้านประมง (แต่ปัจจุบันรัฐบาลบังกลาเทศยังไม่มีนโยบายที่จะเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในการจับปลาในบังกลาเทศ) การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้านอุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้า เครื่องหนัง อุตสาหกรรมเบา ด้านบริการต่าง ๆ และด้านการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคขั้นพื้นฐาน
อุปสรรคที่สำคัญที่ขัดขวางการลงทุน ได้แก่ การประสบภัยจากพายุไซโคลนและอุทกภัยบ่อยครั้ง การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ และปัญหาการเมืองภายในประเทศโดยเฉพาะการเดินขบวนประท้วง (hartal) ของพรรคฝ่ายค้านที่มีอยู่เป็นประจำ
=== คมนาคม ===
ทางบก
Bangladesh Telecom Regulatory Commission กำกับดูแลกิจการรถไฟ มีทางรถไฟความยาว 2,745 กม. ทางหลวง 201,182 กม.
ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Pipelines) 1,250 กม.
ทางน้ำ
ท่าเรือทางทะเล ตั้งอยู่ที่ Chittagong และ Mongla
ท่าเรือทางน้ำภายในประเทศ ที่สำคัญตั้งอยู่ที่ Dhaka, Chanpur, Barisal
== ประชากร ==
ประชากรมีประมาณ 164 ล้านคน (ค.ศ. 2017) มีอัตราการเติบโต 1.42% ความหนาแนนของประชากร 889 คน ต่อ ตร.กม. ซึ่งหนาแน่นมาก ส่วนใหญ่อาศับอยู่ในชนบท แต่ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเกิดของประชากรในพื้นที่เมืองมีมากกว่าในชนบท
พลเมืองมีการศึกษา 65% อ่านออกเขียนได้ 41.1% (ข้อมูลจาก UNESCO ค.ศ. 2000-2004)
=== ศาสนา ===
ประชากรบังกลาเทศ นับถือศาสนาอิสลาม 90.5% ศาสนาฮินดู 8.5% ศาสนาคริสต์ 0.4% ศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ในจิตตะกอง 0.6% พุทธศาสนาในประเทศบังกลาเทศ ตระกูลชาวพุทธสืบเนื่องมานานคือชาวพุทธที่ราบ ตระกูลบารัว และ ชาวพุทธภูเขา จักมา,กัลมา
== ดูเพิ่ม ==
พุทธศาสนาในประเทศบังกลาเทศ
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
รัฐบาล
Official Site of Bangladesh Investment Development Authority
ข้อมูลทั่วไป
Bangladesh. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Bangladesh from the BBC News
Bangladesh from UCB Libraries GovPubs
Key Development Forecasts for Bangladesh from International Futures
บ
บ
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514
อดีตอาณานิคมของอังกฤษ | thaiwikipedia | 284 |
ภาษาฝรั่งเศส | ภาษาฝรั่งเศส (français, ; หรือ langue française, ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน สืบทอดมาจากภาษาละตินสามัญในจักรวรรดิโรมันเช่นเดียวกับภาษากลุ่มโรมานซ์ทั้งหมด ภาษาฝรั่งเศสวิวัฒนาการมาจากภาษาโรมานซ์กอลซึ่งเป็นภาษาละตินที่พูดกันในกอล (โดยเฉพาะกอลตอนบน) ภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษานี้คือล็องก์ดอยล์ (กลุ่มของภาษาที่พูดกันในตอนเหนือประเทศฝรั่งเศสและตอนใต้ของประเทศเบลเยียมในอดีต ซึ่งถูกแทนที่ด้วยภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมากในเวลาต่อมา) ภาษาฝรั่งเศสยังได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มเคลต์ในแกลเลียเบลจิกาและภาษาแฟรงก์ (ภาษากลุ่มเจอร์แมนิก) ของชาวแฟรงก์หลังสมัยโรมัน
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการใน 28 ประเทศในหลายทวีป ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (อออิฟ) ภาษาฝรั่งเศสยังเป็นหนึ่งในหกภาษาทางการของสหประชาชาติ และเป็นภาษาแม่ (ตามจำนวนผู้พูด) ในฝรั่งเศส; แคนาดา (โดยเฉพาะรัฐควิเบก, รัฐออนแทรีโอ และรัฐนิวบรันสวิก); เบลเยียม (แคว้นวอลลูนและภูมิภาคเมืองหลวงบรัสเซลส์); ภาคตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (รอม็องดี); ส่วนหนึ่งของลักเซมเบิร์ก; ส่วนหนึ่งของสหรัฐ (รัฐลุยเซียนา, รัฐเมน, รัฐนิวแฮมป์เชียร์ และรัฐเวอร์มอนต์); โมนาโก; แคว้นวัลเลดาออสตาในอิตาลี และอื่น ๆ
ใน ค.ศ. 2015 ประมาณร้อยละ 40 ของประชากรที่พูดภาษาฝรั่งเศส (รวมผู้พูดภาษาที่สองและผู้พูดได้บางส่วน) อาศัยอยู่ในทวีปยุโรป, ร้อยละ 36 อยู่ในแอฟริกาใต้สะฮาราและมหาสมุทรอินเดีย, ร้อยละ 15 อยู่ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง, ร้อยละ 8 อยู่ในทวีปอเมริกา และร้อยละ 1 ในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป ประมาณหนึ่งในห้าของชาวยุโรปที่พูดภาษาอื่นเป็นภาษาแม่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง สถาบันทั้งหมดของสหภาพยุโรปใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทำงานร่วมกับภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน และในบางสถาบันใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทำงานเพียงภาษาเดียว (เช่นศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป) ภาษาฝรั่งเศสยังเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 18 ของโลก ภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นภาษาที่มีการเรียนรู้มากเป็นอันดับ 2 หรือ 3 ทั่วโลก (มีผู้เรียนประมาณ 120 ล้านคน) ลัทธิอาณานิคมของฝรั่งเศสและเบลเยียมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาส่งผลให้ภาษาฝรั่งเศสเริ่มกระจายไปในทวีปอเมริกา, แอฟริกา และเอเชีย ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สองส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกาที่พูดภาษาฝรั่งเศส ได้แก่ กาบอง, แอลจีเรีย, โมร็อกโก, ตูนิเซีย, มอริเชียส, เซเนกัล และโกตดิวัวร์
ภาษาฝรั่งเศสมีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 76 ล้านคน โดยมีผู้พูดอย่างคล่องแคล่วในชีวิตประจำวันประมาณ 235 ล้านคน และผู้พูดเป็นภาษาที่สอง 77–110 ล้านคนในระดับความคล่องแคล่วที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา อออิฟรายงานว่าประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลก "สามารถพูดภาษานี้ได้" โดยไม่ระบุเกณฑ์การประมาณหรือกลุ่มบุคคลที่สำรวจ รายงานจากการฉายภาพประชากรของมหาวิทยาลัยลาวาลและเครือข่ายประชากรศาสตร์แห่งสมาคมมหาวิทยาลัยที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสคาดว่าในอนาคตอาจจะมีจำนวนผู้พูดภาษาฝรั่งเศสสูงถึงประมาณ 500 ล้านคนใน ค.ศ. 2025 และ 650 ล้านคนใน ค.ศ. 2050 อออิฟประมาณการว่าจะมีผู้พูดถึง 700 ล้านใน ค.ศ. 2050 โดยร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในแอฟริกา
ภาษาฝรั่งเศสมีประวัติศาสตร์อย่างยาวนานว่าเป็นภาษาระหว่างประเทศในวรรณกรรมและวิทยาศาสตร์ และเป็นภาษาแรกหรือภาษาที่สองในหลายองค์กร เช่น สหประชาชาติ, สหภาพยุโรป, เนโท, องค์การการค้าโลก, คณะกรรมการโอลิมปิกสากล และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ใน ค.ศ. 2011 บลูมเบิร์กบิสเนสวีก จัดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่เหมาะแก่การทำธุรกิจมากที่สุดเป็นอันดับสาม เป็นรองเพียงภาษาอังกฤษและภาษาจีนมาตรฐาน
== ประวัติ ==
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั้งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเคลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ
หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกล
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย
=== ยุคอาณาจักรแฟรงก์ ===
หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ประมาณ ร้อยละ 60
=== ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง ===
นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก
Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ภาษา Langue d'oïl เติบโตต่อมาจนกลายเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า ช่วงระยะเวลาของภาษาฝรั่งเศสเก่าอยู่ระหว่าง ศตวรรษที่ 8 กับ ศตวรรษที่ 14 ภาษาฝรั่งเศสเก่ามีลักษณะร่วมกันหลายอย่างกับภาษาลาติน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลำดับคำในประโยคซึ่งมีอิสระสูงเหมือนภาษาลาติน และต่างกับการบังคับทางไวยกรณ์ของภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl
=== ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ===
นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า คือ "คำปฏิญาณแห่งสตราสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385
ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่าง ๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (ลากาเดมีฟร็องแซซ หรือ บัณฑิตยสถานฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับสำนักงานราชบัณฑิตยสภาของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด
ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี
== ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ==
ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น
=== สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส ===
ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้
=== สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา ===
ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่าง ๆ ของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่าง ๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ใน พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก
=== สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ===
ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษารูมันช์
== ดูเพิ่ม ==
การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส
วรรณกรรมฝรั่งเศส
== อ้างอิง ==
==อ่านเพิ่ม==
Nadeau, Jean-Benoît, and Julie Barlow (2006). The Story of French. (First U.S. ed.) New York: St. Martin's Press. .
Ursula Reutner (2017). Manuel des francophonies. Berlin/Boston: de Gruyter. .
==แหล่งข้อมูลอื่น==
===องค์กร===
Fondation Alliance française: an international organisation for the promotion of French language and culture
Agence de promotion du FLE: Agency for promoting French as a foreign language
===บทเรียน===
Français interactif: interactive French program, University of Texas at Austin
Tex's French Grammar, University of Texas at Austin
Lingopolo French
French lessons in London, The Language machine
===พจนานุรมออนไลน์===
Oxford Dictionaries French Dictionary
Collins Online English↔French Dictionary
Centre national de ressources textuelles et lexicales: monolingual dictionaries (including the Trésor de la langue française), language corpora, etc.
===ไวยากรณ์===
==== กริยา ====
French verb conjugation at Verbix
===พจนานุกรม===
Swadesh list in English and French
====ตัวเลข====
====หนังสือ====
La langue française dans le monde 2010(Full book freely accessible)
====บทความ====
"The status of French in the world". Ministry of Foreign Affairs (France)
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส | thaiwikipedia | 285 |
ประเทศจีน | สาธารณรัฐประชาชนจีน (; People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก กว่า 1,400 ล้านคน โดยเป็นรองเพียงอินเดีย จีนมีพื้นที่กว่า 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงคือปักกิ่ง ในขณะที่เมืองที่มีประชากรมากที่สุดและเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจคือเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน), 5 เขตปกครองตนเอง, 4 นครปกครองโดยตรง (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง), และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ฮ่องกงและมาเก๊า จีนยังมีพรมแดนทางบกติดกับประเทศอื่น ๆ มากถึง 14 ประเทศ ถือเป็นหนึ่งในสองประเทศที่มีพรมแดนติดประเทศอื่นมากที่สุดเท่ากับรัสเซีย
ดินแดนของประเทศจีนเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหินเก่า ราชวงศ์แรก ๆ ในประวัติศาสตร์ อาทิ ราชวงศ์ชาง และ ราชวงศ์โจว เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ปลายสหัสวรรษที่สองก่อนคริสตศักราช ในช่วงศตวรรษที่สามถึงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตศักราช ราชวงศ์โจวต้องเผชิญความขัดแย้งที่สำคัญ ในช่วงเวลาดังกล่าวยังเป็นต้นกำเนิดของปรัชญาและวรรณกรรมคลาสสิก จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ ก่อนจะรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกภายใต้จักรพรรดิในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล และอยู่ภายใต้การปกครองโดยอีกหลายราชวงศ์ อาทิ ราชวงศ์ฮั่น, ราชวงศ์ถัง, ราชวงศ์หมิง และ ราชวงศ์ชิง ในยุคนี้ยังเป็นจุดกำเนิดของเหตุการณ์สำคัญ อาทิ การประดิษฐ์ดินปืนและกระดาษ, การถือกำเนิดของเส้นทางสายไหม และการสร้างกำแพงเมืองจีน วัฒนธรรมจีนรวมถึงภาษา, ประเพณี, สถาปัตยกรรม, ปรัชญา มีอิทธิพลสูงต่อเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกในช่วงเวลานี้ ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ต้องเผชิญความขัดแย้งภายในรวมถึงภัยคุกคามภายนอกในยุคล่าอาณานิคมจากโลกตะวันตกนำไปสู่สงครามสำคัญหลายครั้ง
การปกครองโดยราชวงศ์สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1912 ด้วยการสละราชสมบัติของจักรพรรดิผู่อี๋ พร้อมกับการสถาปนาสาธารณรัฐจีนโดยพรรคก๊กมินตั๋ง ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นยุคสมัยแห่งความแตกแยก และสงครามกลางเมืองซึ่งแบ่งประเทศออกเป็นค่ายการเมืองสองค่ายหลักคือ ก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 1927 ตามมาด้วยสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองใน ค.ศ. 1937 ซึ่งกินเวลาในไปถึง ค.ศ. 1945 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองสงครามกลางเมืองยุติลงชั่วคราว และจีนต้องพบกับเหตุการณ์รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โดยกองทัพญี่ปุ่นจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่หนานจิง ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสองชาติมาถึงปัจจุบัน ความเป็นปฏิปักษ์ส่วนใหญ่สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1949 เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมือง และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนสาธารณรัฐจีนซึ่งอยู่ภายใต้การนำของก๊กมินตั๋งได้ย้ายเมืองหลวงไปยังไทเปบนเกาะไต้หวัน นับแต่นั้นมา สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งทางการเมือง กับสาธารณรัฐจีนเหนือปัญหาอธิปไตยและสถานะทางการเมืองของไต้หวัน การปกครองในช่วงแรกในระบอบคอมมิวนิสต์เป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า ทว่ากลับส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างมากและเป็นยุคที่ประชาชนเผชิญความอดอยากมากที่สุดครั้งหนึ่ง ในระหว่าง ค.ศ. 1966 – 1976 เป็นทศวรรษแห่งการปฏิวัติทางวัฒนธรรมนำโดย เหมา เจ๋อตง นำไปสู่ความสูญเสียครั้งใหญ่และการกวาดล้างโดยรัฐบาล การปฏิรูปเศรษฐกิจโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ทว่าการปฏิรูปทางการเมืองต้องหยุดชะงักลงสืบเนื่องจากการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินซึ่งจบลงด้วยการสังหารหมู่ แม้จะเผชิญกับความขัดแย้งหลายครั้ง แต่เศรษฐกิจก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
จีนมีสภาพเป็นรัฐเดี่ยวปกครองด้วยระบบพรรคการเมืองเดียว เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งขององค์กรสำคัญหลายแห่งในภูมิภาค อาทิ ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย, กองทุนเส้นทางสายไหม และ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค รวมทั้งเป็นสมาชิกของบริกส์, กลุ่ม 20, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก และ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก จีนได้รับการจัดอันดับต่ำในแง่ประชาธิปไตย, การทุจริต, สิทธิมนุษยชน, เสรีภาพสื่อ และความแตกต่างทางชาติพันธุ์ นับตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจเมื่อ ค.ศ. 1978 จีนกลายเป็นหนึ่งในชาติที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดในโลก โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับสองของโลก และเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกทั้งในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาด และความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ จีนได้รับการจัดให้เป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันจีนถือเป็นชาติมหาอำนาจของโลก
== ภูมิศาสตร์ ==
ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออก บนฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ดินประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีพื้นที่บนบกมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก และถูกพิจารณาว่ามีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อมูลขนาดนี้เกี่ยวข้องกับ (ก) ความถูกต้องของการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของจีน อย่างเช่น อัคสัยจินและดินแดนทรานส์คอราคอรัม (ซึ่งอินเดียอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งสองด้วยเช่นกัน) และ (ข) วิธีการคำนวณขนาดทั้งหมดโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งหนังสือความจริงของโลกระบุไว้ที่ 9,826,630 กม.2 และสารานุกรมบริตานิการะบุไว้ที่ 9,522,055 กม.2 สถิติพื้นที่นี้ยังไม่นับรวมดินแดน 1,000 ตารางกิโลเมตรซึ่งผนวกเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยรัฐสภาทาจิกิสถานเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งยุติข้อพิพาทด้านดินแดนที่ยาวนานนับศตวรรษ
ประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อกับ 14 ประเทศ มากกว่าประเทศอื่นใดในโลก (เท่ากับรัสเซีย) เรียงตามเข็มนาฬิกาได้แก่ ประเทศเวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย ภูฏาน เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ นอกเหนือจากนี้ พรมแดนระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐจีนตั้งอยู่ในน่านน้ำอาณาเขต ประเทศจีนมีพรมแดนทางบกยาว 22,117 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในโลก
ดินแดนจีนตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 18° และ 54° เหนือ และลองติจูด 73° และ 135° ตะวันออก ประกอบด้วยลักษณะภูมิภาพหลายแบบ ทางตะวันออก ตามแนวชายฝั่งที่ติดกับทะเลเหลืองและทะเลจีนตะวันออก เป็นที่ราบลุ่มตะกอนน้ำพาซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นและกว้างขวาง ขณะที่ตามชายขอบของที่ราบสูงมองโกเลียในทางตอนเหนือนั้นเป็นทุ่งหญ้า ตอนใต้ของจีนนั้นเป็นดินแดนหุบเขาและแนวเทือกเขาระดับต่ำเป็นจำนวนมาก ทางตอนกลาง-ตะวันตกนั้นเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของแม่น้ำสองสายหลักของจีน ได้แก่ แม่น้ำหวงและแม่น้ำแยงซี ส่วนแม่น้ำอื่นที่สำคัญของจีนได้แก่ แม่น้ำซี แม่น้ำโขง แม่น้ำพรหมบุตร และแม่น้ำอามูร์ ทางตะวันตกนั้น เป็นเทือกเขาสำคัญ ที่โดดเด่นคือ เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมีจุดสูงสุดของจีนอยู่ทางครึ่งตะวันออกของยอดเขาเอเวอร์เรสต์ และที่ราบสูงอยู่ท่ามกลางภูมิภาพแห้งแล้ง อย่างเช่น ทะเลทรายทากลามากันและทะเลทรายโกบี
ประเด็นปัญหาใหญ่ประการหนึ่งคือการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของทะเลทราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลทรายโกบี ถึงแม้ว่าแนวต้นไม้กำบั้งซึ่งปลูกไว้ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 จะช่วยลดความถี่ของการเกิดพายุทรายขึ้นได้ แต่ภัยแล้งที่ยาวนานขึ้นและวิธีการทางเกษตรกรรมที่เลวส่งผลทำให้เกิดพายุฝุ่นขึ้นทางตอนเหนือของจีนทุกฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นจึงแพร่กระจายต่อไปยังส่วนอื่นของเอเชียตะวันออก รวมทั้งเกาหลีและญี่ปุ่น ตามข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อมจีน (SEPA) ประเทศจีนกำลังกลายสภาพเป็นทะเลทรายราว 4,000 กม.2 ต่อปี น้ำ การกัดเซาะ และการควบคุมมลพิษได้กลายมาเป็นประเด็นที่สำคัญในความสัมพันธ์ของจีนกับต่างประเทศ ธารน้ำแข็งที่กำลังละลายในเทือกเขาหิมาลัยยังได้นำไปสู่การขาดแคลนน้ำในประชากรจีนนับหลายร้อยล้านคน
ประเทศจีนมีสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่เป็นฤดูแล้งและฤดูมรสุมชื้น ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิในฤดูหนาวและฤดูร้อน ในฤดูหนาว ลมทางเหนือซึ่งพัดลงมาจากละติจูดสูงทำให้เกิดความหนาวเย็นและแห้งแล้ง ขณะที่ในฤดูร้อน ลมทางใต้ซึ่งพัดมาจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ละติจูดต่ำจะอบอุ่นและชุ่มชื้น ลักษณะภูมิอากาศในจีนแตกต่างกันมากในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากภูมิลักษณ์อันกว้างขวางและซับซ้อนของประเทศ
=== ความหลากหลายทางชีวภาพ ===
จีนเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และตั้งอยู่ในสองเขตชีวภาพสำคัญของโลก เขตชีวภาพพาลีอาร์กติกและเขตชีวภาพอินโดมาลายา โดยการนับจำนวนชนิดของสัตว์และพืชมีท่อน้ำเลี้ยง มีมากกว่า 34,687 สายพันธุ์ ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากเป็นอันดับสามของโลก รองจากบราซิลและโคลอมเบีย ในเขตพาลีอาร์กติกพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอย่างเช่น ม้า อูฐ สมเสร็จ และหนูเจอร์บัว ส่วนสปีชีส์ที่พบในเขตอินโดมาลายาเช่น แมวดาว ตุ่นพงสาลี กระแต ไปจนถึงลิงและเอปหลายสปีชีส์ สัตว์บางชนิดพบในเขตชีวภาพทั้งสองเนื่องจากการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติและการอพยพ และกวางหรือแอนติโลป หมี หมาป่า สุกรและสัตว์ฟันแทะสามารถพบได้ในทุกสภาพแวดล้อมทางภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน แพนด้ายักษ์ที่มีชื่อเสียงนั้นพบได้ในบริเวณจำกัดตามแม่น้ำแยงซี ประเทศจีนกำลังประสบปัญหาที่กำลังดำเนินอยู่ในด้านการค้าสปีชีส์ใกล้สูญพันธุ์ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีกฎหมายห้ามกิจกรรมดังกล่าวแล้วก็ตาม
ประเทศจีนมีป่าหลายประเภท ขอบเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือนั้นมีภูเขาและป่าสนเขตอากาศหนาว ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์บางสปีชีส์ รวมไปถึง มูสและหมีดำเอเชีย นอกจากนี้ยังมีนกอีกราว 120 ชนิด ป่าสนชื้นมีชั้นไม้พุ่มเป็นไผ่ แทนที่โดยกุหลาบพันปีกลุ่มไม้จำพวกสนและยิวบนภูเขาที่สูงกว่า ป่าใต้เขตร้อน ซึ่งพบมากทางตอนกลางและตอนใต้ของจีน พบพรรณพืชจำนวนน่าพิศวงถึง 146,000 สปีชีส์ ป่าฝนเขตร้อนและป่าดิบแล้ง ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีขอบเขตเพียงมณฑลยูนนานและเกาะไหหนาน แต่มีพรรณพืชและพันธุ์สัตว์คิดเป็นหนึ่งในสี่ของทั้งหมดที่พบในประเทศจีน
=== สิ่งแวดล้อม ===
ประเทศจีนมีการวางกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติบางฉบับ เช่น กฎหมายป้องกันสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2522 ซึ่งส่วนใหญ่ยึดแบบมาจากกฎหมายสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งแวดล้อมยังคงเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ข้อบังคับนั้นค่อนข้างที่จะเข้มงวด แต่การบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้ยังคงไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากชุมชนหรือรัฐบาลท้องถิ่นมักจะปล่อยปละละเลยอยู่บ่อยครั้ง ขณะที่มุ่งให้ความสนใจกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่า หลังจากกฎหมายมีผลใช้บังคับมานาน 12 ปี มีนครเพียงแห่งเดียวในจีนเท่านั้นที่กำลังมีความพยายามที่จะบำบัดน้ำเสีย
ส่วนหนึ่งของรายจ่ายที่จีนต้องเสียเพื่อแลกกับความเฟื่องฟูที่เพิ่มขึ้นนั้นคือควมเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ตามข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรน้ำ ชาวจีนราว 300 ล้านคนกำลังดื่มน้ำที่ไม่ปลอดภัยสำหรับบริโภค ซึ่งทำให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำที่กำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ 400 จาก 600 นครทั่วประเทศกำลังขาดแคลนน้ำ
อย่างไรก็ตาม ด้วยเงินกว่า 34,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ลงทุนในเทคโนโลยีสะอาดใน พ.ศ. 2552 ทำให้ประเทศจีนเป็นประเทศผู้นำการลงทุนเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ประเทศจีนผลิตกังหันลมและแผงสุริยะต่อปีมากที่สุดในโลก
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ===
จีนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีหลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ยุคแรกอาศัยอยู่บริเวณที่เป็นประเทศจีนเมื่อ 2.25 ล้านปีมาแล้ว ฟอสซิลของมนุษย์ปักกิ่งซึ่งถือเป็นโฮโมอิเร็กตัส กลุ่มแรก ๆ ที่ริเริ่มการใช้ไฟถูกค้นพบในถ้ำแห่งหนึ่งบริเวณเขตฟางซานทางตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง มีอายุระหว่าง 680,000 ถึง 780,000 ปีก่อน ในขณะที่ซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ (มีอายุ 125,000–80,000 ปีก่อน) ถูกค้นพบในถ้ำในมณฑลหูหนาน
=== การปกครองในยุคแรก ===
ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์พบว่า ราชวงศ์แรกที่ปกครองประเทศจีนคือราชวงศ์เซี่ย ในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล มีอายุอยู่ได้ราว 500 ปี ราชวงศ์เซี่ยถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการเมืองของจีนที่มีพื้นฐานมาจากราชวงศ์ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขซึ่งกินเวลานานนับพันปี ราชวงศ์ซางที่สืบต่อมาจากราชวงศ์แรกสุดได้รับการยืนยันจากบันทึกร่วมสมัย โดยปกครองที่ราบแม่น้ำฮวงโหทางตะวันออกของจีนตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตศักราช อักษรกระดูกออราเคิล (ตั้งแต่ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตศักราช) แสดงถึงรูปแบบการเขียนภาษาจีนที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ และเป็นต้นกำเนิดโดยตรงของตัวอักษรจีนสมัยใหม่
ราชวงศ์ซางถูกโค่นล้มโดยราชวงศ์โจวเริ่มประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึง 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี ในยุคนั้นเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน โดยเป็นยุคถือกำเนิดของการกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ ซุนวู เป็นต้น ความขัดแย้งภายในโดยขุนศึกศักดินาก่อให้เกิดการสู้รบกันอยู่เนือง ๆ ซึ่งกินเวลาหลายศตวรรษเรียกว่า ยุครณรัฐ นักปราชญ์มีโอกาสเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปรัชญา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และการปกครอง ในยุคนั้นยังมีรัฐมหาอำนาจหลักอีก 7 รัฐที่เหลืออยู่
=== จักรวรรดิจีน ===
ยุคสงครามสิ้นสุดลงในช่วงปี 221 ก่อนคริสตศักราช หลังจากที่รัฐฉินพิชิตอาณาจักรที่เหลืออีก 6 อาณาจักร รวมจีนเข้าด้วยกันอีกครั้ง และสถาปนาระบบการปกครองแบบเผด็จการที่โดดเด่น จิ๋นซีฮ่องเต้ สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฉิน ตามมาด้วยประกาศใช้การปฏิรูปกฎหมายฉินทั่วประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบังคับกำหนดมาตรฐานของตัวอักษรจีน การวัด ความกว้างของถนน (เช่น ความยาวของเพลารถเข็น) และสกุลเงิน ราชวงศ์ของพระองค์ยังพิชิตชนเผ่าเย่ว์ในกวางสี กวางตุ้ง และเวียดนามตอนเหนือด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายการปกครองแบบเผด็จการนำไปสู่การต่อต้านและการก่อกบฎ ราชวงศ์ฉินดำรงอยู่เพียงสิบห้าปีสิ้นสุดลงด้วยการสวรรคตของพระองค์
ภายหลังสงครามฉู่–ฮั่น ที่แพร่ขยายออกไปในระหว่างที่หอสมุดจักรพรรดิที่เสียนหยางถูกเผา ราชวงศ์ฮั่นได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อปกครองจีนระหว่างปีคริสตศักราช 206 ถึงคริสตศักราช 220 และได้สร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์เป็นที่จดจำในชาติพันธุ์วิทยาของชาวจีนฮั่นสมัยใหม่ มีการขยายอาณาเขตของจักรวรรดิอย่างมาก ไปถึงบริเวณเอเชียกลาง มองโกเลีย เกาหลีใต้ และยูนนาน และการฟื้นฟูกวางตุ้งรวมถึงเวียดนามตอนเหนือ การมีส่วนร่วมของราชวงศ์ฮั่นในเอเชียกลาง ก่อให้เกิดการสร้างเส้นทางสายไหมอันเลื่องชื่อ แทนที่เส้นทางเดิมเหนือเทือกเขาหิมาลัยไปยังอินเดีย และจีนฮั่นได้กลายเป็นชาติที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกยุคโบราณ แม้ว่าราชวงศ์ฮั่นจะกระจายอำนาจในช่วงแรก และการละทิ้งปรัชญาฉินแห่งลัทธิเคร่งครัดเพื่อสนับสนุนลัทธิขงจื๊ออย่างเป็นทางการ แต่นโยบายที่เคร่งครัดในราชวงศ์ฉินยังคงถูกใช้งานโดยชาวฮั่นและผู้สืบทอดในรุ่นต่อ ๆ มา
ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น อยู่ในรัชกาลอันวุ่นวายของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น ในช่วงนี้ บ้านเมืองปั่นป่วนเพราะกบฏโพกผ้าเหลือง (ค.ศ. 184–205) สถาบันต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็ถูกขุนศึกตั๋งโต๊ะล้มล้างจนแตกแยกออกเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่อยู่ใต้การปกครองของขุนศึก เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ยุคสามก๊ก เป็นยุคที่นองเลือดที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน เหตุการณ์สำคัญมากมายในช่วงเวลานี้ได้มีอิทธิพลมาถึงปีจจุบันและได้รับการบอกเล่าเรื่องราวผ่านวรรณกรรมหลายรูปแบบ ซึ่งได้กลายมาเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน ราชวงศ์จิ้น ถูกก่อตั้งสถาปนาโดยซือหม่าหยานหรือสุมาเอี๋ยน มีอายุอยู่ระหว่าง ค.ศ. 266 ถึง ค.ศ. 420 ราชวงศ์จิ้นมีมาก่อนยุคสมัยสามก๊ก และถูกรับช่วงต่อโดยสิบหกอาณาจักรในแผ่นดินจีนตอนเหนือ จักรพรรดิหลิวซ่งอู่ ได้ทำการปลด จักรพรรดิจิ้นกง ลงจากราชบัลลังก์ทำให้ราชวงศ์จิ้นตะวันออกสิ้นสุดลงพร้อมกับสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิหลิวซ่ง ตามมาด้วยการสืบราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิหลิวซ่งเฉ่า และผู้สืบทอดอีกมากมายซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ โดยทั้งสองพื้นที่กลับมารวมกันอีกครั้งในที่สุดโดยราชวงศ์สุยใน ค.ศ. 581 ยุคนี้มีเหตุการณ์สำคัญ อาทิ การฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นให้กลับมามีอำนาจ การปฏิรูปการเกษตร เศรษฐกิจ และระบบการตรวจสอบจักรวรรดิ การสร้างคลองขนาดใหญ่ และอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ก็ล่มสลายอันเป็นผลมาจากสงครามอาณาจักรโคกูรยอ
ภายใต้การสืบทอดของราชวงศ์ถังและซ่ง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมของจีนได้เจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุดในยุคทอง ราชวงศ์ถังยังคงควบคุมภูมิภาคตะวันตกและเส้นทางสายไหม ซึ่งนำพ่อค้าชาวจีนเดินทางไปไกลถึงเมโสโปเตเมียและทวีปแอฟริกา และทำให้เมืองฉางอานหลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและวัฒนธรรมที่มีความเป็นสากล ก่อนจะถูกโค่นล้มโดยกบฏอันหลู่ซานหรือที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์จีนในชื่อกบฏอัน-ซือในศตวรรษที่ 8 ในปี 907 ราชวงศ์ถังล่มสลายไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อทหารผู้ปกครองในท้องถิ่นไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความวุ่นวายได้ ราชวงศ์ซ่งยุติสถานการณ์การแบ่งแยกดินแดนใน ค.ศ. 960 นำไปสู่ความสมดุลแห่งอำนาจในยุคห้าวงศ์สิบรัฐ ยุคราชวงศ์ซ่งเป็นผู้ปกครองรัฐกลุ่มแรกในประวัติศาสตร์โลก ที่ออกธนบัตรเป็นแผ่นกระดาษ และจัดตั้งกองทัพเรือถาวรซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมการต่อเรือที่พัฒนาแล้วพร้อมกับการค้าทางทะเล
ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 10 ถึงศตวรรษที่ 11 ประชากรของจีนเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเป็นประมาณ 100 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเพราะการขยายการเพาะปลูกข้าวในภาคกลางและตอนใต้ของจีน และการผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ราชวงศ์ซ่งยังเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูของลัทธิขงจื๊อ เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของพุทธศาสนาในสมัยถัง และความเจริญรุ่งเรืองของปรัชญาและศิลปะ อย่างไรก็ตาม ความอ่อนแอทางทหารของกองทัพซ่งถูกท้าทายโดยชาวนฺหวี่เจิน ราชวงศ์จิน จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง เสด็จขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1100 เมืองหลวงอย่างไคเฟิงถูกยึดรองในระหว่างสงครามจิน-ซ่ง การพิชิตจีนของมองโกลเริ่มต้นใน ค.ศ. 1205 ด้วยการพิชิตเซี่ยตะวันตกอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยเจงกิส ข่าน ต่อมา กุบไล ข่าน สามารถเอาชนะราชวงศ์ซ่งของจีน และยึดครองปักกิ่ง และปกครองประเทศจีน ก่อนการรุกรานมองโกล ประชากรของจีนซ่งมีประชากร 120 ล้านคน ลดลงเหลือ 60 ล้านคนจากการสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 1300 ในเวลาต่อมาได้เกิดกบฏโพกผ้าแดง ระหว่าง ค.ศ. 1351 ถึง 1368 จนนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์หยวนในที่สุด ราชวงส์หมิงถูกก่อตั้งขึ้น เป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น
ในช่วงแรกของการปกครอง ราชวงศ์หมิงได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองไปที่ปักกิ่งแทนที่เมืองหลวงเก่าอย่างหนานจิง เมื่อระบบทุนนิยมเริ่มขยายตัว นักปรัชญา เช่น หวัง หยางหมิง ได้วิพากษ์วิจารณ์และขยายลัทธิขงจื้อใหม่ด้วยแนวคิดเรื่องปัจเจกนิยมและความเท่าเทียมกันของสี่อาชีพ ชนชั้นนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่รัฐ กลายเป็นกำลังสนับสนุนในภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์และนำไปสู่ขบวนการคว่ำบาตรภาษี รวมทั้งเกิดความอดอยาก และเหตุการณ์สำคัญในการป้องกันจากการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–1598) และการรุกรานของราชวงศ์จินยุคหลัง ใน ค.ศ. 1644 ปักกิ่งถูกยึดครองโดยกองกำลังกบฏชาวนาที่นำโดยหลี่ จื้อเฉิง จนได้รับฉายาว่า "กษัตริย์ผู้กล้า" ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นกษัตริย์ จักรพรรดิฉงเจิน เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 9 และองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิง จีนต้องประสบภาวะภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ในช่วงเวลาดังกล่าว กระทั่งใน ค.ศ. 1644 หลี่จื้อเฉิง อดีตนายทหารผู้น้อย เริ่มรวบรวมสมัครพรรคพวกก่อการต่อต้านราชสำนักขึ้นจนสามารถยึดเมืองซีอานได้ตั้งตนเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซุ่น จักรพรรดิฉงเจินทรงทำอัตวินิบาตกรรม
ในเวลาต่อมา เข้าสู่ยุคของราชวงศ์ชิง ถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ. 1636 ถึง ค.ศ. 1912 ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ จักรพรรดิแมนจูทรงให้การอุปถัมภ์ศาสนาพุทธแบบทิเบต ราชวงศ์ชิงปกครองโดยใช้รูปแบบขงจื๊อ ในปลายสมัยของราชวงศ์ชิงถือว่าได้เป็นยุคตกต่ำ เกิดการฉ้อโกง การแก่งแย่งอำนาจ และความอดอยากของประชาชน อีกทั้งยังต้องเผชิญการคุกคามจากภายนอกในยุคล่าอาณานิคมโดยชาติตะวันตก โดยมีจักรวรรดิอังกฤษเป็นชาติแรก อังกฤษได้นำฝิ่นมามอมเมาชาวจีนทำให้ราชสำนักชิงอ่อนแอ และนำไปสู่สงครามฝิ่น ความพ่ายแพ้ของราชวงศ์ชิงทำให้ต้องสูญเสียเกาะฮ่องกงให้แก่อังกฤษ และยังตามมาด้วการถูกบังคับให้ทำสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ความพ่ายแพ้ในพ่ายแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ยังนำไปสู่การสูญเสียเกาะไต้หวันให้แก่ญี่ปุ่น
=== สาธารณรัฐจีน (1912-1949) ===
จากเหตุการณ์ความไม่สงบมากมาย ทำให้การปกครองระส่ำระส่ายอย่างหนักนำไปสู่การล้มสลายของราชวงศ์ การปฏิวัติซินไฮ่ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (สิ้นสุดลงในปี พ.ศ 2455) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง
แม้ว่าหลังจากเริ่มก่อการ ซุนยัดเซ็นจะต้องลี้ภัยออกไปต่างประเทศ แต่ซุนยัดเซ็นก็เดินทางไปในหลายประเทศเพื่อขอระดมทุนสนับสนุนจากคนจีนโพ้นทะเลและนายทุนในต่างแดน โดยมี หวงซิง สหายร่วมอุดมการณ์ของซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำทหารทหาร ออกปฏิบัติการอยู่ภายในประเทศอีกหลายครั้ง สุดท้ายแล้วการปฏิวัติซินไฮ่ก็ส่งผลสะเทือนใหญ่หลวงที่ทำให้ประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด
โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้ หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่าน่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีนในเวลานั้น ขณะที่ผู้นำประเทศในเวลานั้นคือจักรพรรดิชาวแมนจูกลับไม่มีอำนาจและกำลังพอที่จะบริหารประเทศให้ดีขึ้นได้ แล้วยังถูกประชาชนมองว่าราชวงศ์ของชาวแมนจูได้แสวงหาประโยชน์จากคนจีน ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีการแย่งชิงอำนาจในกลุ่มเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนาง เหล่าขุนศึก ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และ ญี่ปุ่น
จีนได้ทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจต่อระบอบการปกครองของราชวงศ์ชิง
=== สาธารณรัฐประชาชนจีน ===
การสู้รบส่วนใหญ่ในสงครามกลางเมืองจีนยุติลงในปี พ.ศ. 2492 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ และพรรคก๊กมินตั๋งต้องล่าถอยไปยังเกาะไต้หวัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่เรียกว่า "จีนคอมมิวนิสต์" หรือ "จีนแดง"
แผนเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า นโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ล้านคน ใน พ.ศ. 2509 เหมาและพันธมิตรทางการเมืองได้เริ่มการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งกินเวลาจนกระทั่งเหมาถึงแก่อสัญกรรมในอีกหนึ่งทศวรรษถัดมา การปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากการแย่งชิงอำนาจภายในพรรคและความกลัวสหภาพโซเวียต นำไปสู่ความวุ่นวายครั้งใหญ่ในสังคมจีน ใน พ.ศ. 2505 ช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตเลวร้ายลงมากที่สุด เหมาและโจว เอินไหล พบกับริชาร์ด นิกสันในกรุงปักกิ่งเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกันนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแทนที่สาธารณรัฐจีน และเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
=== การปฏิรูปและประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ===
หลังจากเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2519 และการจับกุมตัวแก๊งออฟโฟร์ ซึ่งถูกประณามว่าเป็นผู้ที่ใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าเหตุระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิงได้แย่งชิงอำนาจจากทายาททางการเมืองที่เหมาวางตัวไว้ หัว กั๋วเฟิง อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นประธานพรรคหรือประมุขแห่งรัฐ ในทางปฏิบัติแล้ว เติ้งเป็นผู้นำสูงสุดของจีนในเวลานั้น อิทธิพลของเขาภายในพรรคนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ หลังจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ได้ผ่อนปรนการควบคุมเหนือชีวิตประจำวันของพลเมืองและคอมมูนถูกยุบโดยชาวนาจำนวนมากได้รับที่ดินเช่า ซึ่งได้เป็นการเพิ่มสิ่งจูงใจและผลผลิตทางเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงจีนจากระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางมาเป็นเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีสภาพเป็นตลาดเปิดเพิ่มมากขึ้น หรือที่บางคนเรียกว่า "ตลาดสังคมนิยม" และพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เรียกมันอย่างเป็นทางการว่า "สังคมนิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีน" สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525
ในปี พ.ศ. 2532 การเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทางการผู้สนับสนุนการปฏิรูป หู ย่าวปัง เป็นการจุดชนวนการชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 อย่างไรก็ตาม การชุมนุมดังกล่าวถูกปราบปรามลงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานอย่างกว้างขวางและนำไปสู่การประณามและการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลจีน
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน และนายกรัฐมนตรีจู หรงจี สองอดีตนายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ เป็นผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีนภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ภายใต้การบริหารงานเป็นระยะเวลาสิบปีของทั้งสอง สมรรถนะทางเศรษฐกิจของจีนได้ช่วยยกระดับฐานะของชาวนาประมาณ 150 ล้านคนขึ้นจากความยากจนและรักษาอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไว้ที่ 11.2% ต่อปี จีนเข้าร่วมกับองค์การการค้าโลกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2544
ถึงแม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจีนได้เริ่มวิตกกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้จะมีผลกระทบในด้านลบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความกังวลคือบางภาคส่วนของสังคมไม่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเพียงพอ ตัวอย่างหนึ่งคือช่องว่างใหญ่ระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท ดังนั้น ภายใต้เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดปัจจุบัน ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา และนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เริ่มดำเนินนโยบายเพื่อที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาของการแจกจ่ายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม แต่ผลที่ออกมานั้นยังสามารถพบเห็นได้ ชาวนามากกว่า 40 ล้านคนถูกบังคับให้ย้ายออกจากที่ดินของตน ซึ่งเป็นเหตุปกติธรรมดาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงและการจลาจลกว่า 87,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2548 สำหรับประชากรส่วนใหญ่ของจีนแล้ว มาตรฐานการดำเนินชีวิตมองเห็นได้ว่ามีการพัฒนาอย่างมาก และเริ่มมีเสรีภาพมากขึ้น แต่การควบคุมทางการเมืองยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เช่นเดียวกับความยากจนในชนบท
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สี จิ้นผิงปกครองประเทศนับแต่ปี 2012 และมุ่งดำเนินการความพยายามขนานใหญ่เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจจีน (ซึ่งประสบปัญหาจากความไม่มั่นคงทางโครงสร้างและความเติบโตที่ชะลอตัวลง) และยังปฏิรูปนโยบายบุตรคนเดียวและระบบการลงโทษ ตลอดจนการกวาดล้างการฉ้อราษฎร์บังหลวงครั้งใหญ่ ในปี 2013 ประเทศจีนเริ่มต้นข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง ซึ่งเป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก
การระบาดทั่วของโควิด-19 ทั่วโลกมีต้นกำเนิดในอู่ฮั่นและมีการระบุครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2019 รัฐบาลจีนตอบสนองด้วยยุทธศาสตร์โควิดเป็นศูนย์ (zero-COVID) นับเป็นไม่กี่ประเทศในโลกที่ใช้แนวทางดังกล่าว เศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัวกว้างขวางขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยระหว่างการระบาดทั่ว โดยมีการสร้างงานที่มั่นคงและการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศเป็นประวัติการณ์ แต่การบริโภคค้าปลีกยังคงต่ำกว่าคาด
== การเมือง ==
รัฐธรรมนูญจีนระบุว่าประเทศจีน "เป็นรัฐสังคมนิยมที่ปกครองโดยระบอบเผด็จการประชาธิปไตยประชาชนซึ่งมีชนชั้นกรรมกรเป็นผู้นำ และตั้งอยู่บนพันธมิตรของกรรมกรและเกษตรกร" และสถาบันของรัฐ "จักนำหลักการประชาธิปไตยรวมศูนย์ไปปฏิบัติ" ประเทศจีนเป็นรัฐสังคมนิยมประเทศเดียวในโลกที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ปกครอง มีผู้อธิบายรัฐบาลจีนอย่างหลากหลายว่าเป็นคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมบ้าง แต่ยังมีอธิบายว่าเป็นอำนาจนิยม และบรรษัทนิยม ซึ่งมีการจำกัดในหลายด้าน ที่เด่นชัดคือการขัดขวางการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเสรี เสรีภาพสื่อ เสรีภาพในการชุมนุม สิทธิการมีบุตร การก่องตั้งองค์การทางสังคมอย่างเสรี และเสรีภาพในการนับถือศาสนา
แม้พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะอธิบายประเทศจีนว่าเป็น "ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือสังคมนิยม" แต่ภายนอกประเทศมักอธิบายประเทศจีนว่าเป็นรัฐสอดแนมอำนาจนิยมและเผด็จการ ผู้นำจีนเรียกระบบการเมือง อุดมการณ์และเศรษฐกิจว่าเป็น "ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ" "เผด็จการประชาธิปไตยประชาชน" "สังคมนิยมที่มีลักษณะจีน" และ "เศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม" ตามลำดับ
=== พรรคคอมมิวนิสต์จีน ===
นับแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ส่วนสำคัญของรัฐธรรมนูญจีนประกาศว่า "ลักษณะที่นิยามสังคมนิยมที่มีลักษณะจีนคือผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน" การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2018 ได้กำหนดสถานภาพรัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพฤตินัยของจีนไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลขาธิการพรรค (หัวหน้าพรรค) มีอำนาจสูงสุดและมีอำนาจหน้าที่เหนือรัฐและรัฐบาล และยังเป็นผู้นำสูงสุดอย่างไม่เป็นทางการด้วย เลขาธิการคนปัจจุบัน คือ สี จิ้นผิง ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2012 และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในวันที่ 25 ตุลาคม 2017 ระบบการเลือกตั้งของพรรคเป็นแบบพีระมิด สภาประชาชนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภาประชาชนระดับสูงขึ้นไปจนถึงสภาประชาชนแห่งชาติมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมของสภาประชาชนระดับต่ำกว่าหนึ่งระดับ มีพรรคการเมืองอีก 8 พรรคที่มีผู้แทนในสภาประชาชนแห่งชาติและการประชุมปรึกษาหารือการเมืองประชาชนจีน (CPPCC) จีนสนับสนุนหลักการ "ประชาธิปไตยรวมศูนย์" ของลัทธิเลนิน แต่นักวิจารณ์เรียกสภาประชาชนนี้ว่าเป็นองค์กร "ตรายาง"
ด้วยเหตุที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพปลดปล่อยประชาชนเลื่อนขั้นตามหลักอาวุโส จึงเป็นไปได้ที่จะแบ่งแยกผู้นำจีนออกเป็นรุ่น ๆ ในวจนิพนธ์อย่างเป็นทางการ จะมีการระบุผู้นำแต่ละกลุ่มกับส่วนขยายของอุดมการณ์ของพรรคต่างกัน นักประวัติศาสตร์ศึกษาการพัฒนาของการปกครองประเทศจีนแต่ละยุคโดยเรียกว่าเป็น "รุ่น" ต่าง ๆ
=== การปกครอง ===
ประเทศจีนเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวที่มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้นำ สภาประชาชนแห่งชาติในปี 2018 แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของประเทศเพื่อยกเลิกข้อจำกัดการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนสองสมัย ทำให้ผู้นำมีสิทธิดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีน (และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ได้ไม่มีกำหนดวาระ ทำให้ถูกวิจารณ์ว่าสร้างการปกครองแบบเผด็จการ ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐในนาม มาจากการเลือกตั้งของสภาประชาชนแห่งชาติ ประธานาธิบดีจีนคนปัจจุบัน คือ สี จิ้นผิง ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล เป็นหัวหน้าคณะมนตรีรัฐกิจอันประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรี 4 คน และหัวหน้ากระทรวงและคณะกรรมาธิการต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ หลี่ เค่อเฉียง ซึ่งยังเป็นสมาชิกอาวุโสของคณะกรรมการประจำคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นองค์กรวินิจฉัยสั่งการระดับบนสุดโดยพฤตินัยของจีน
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจการปกครองเหนือ 22 มณฑล และถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลที่ 23 ของตน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีอำนาจการปกครองเหนือไต้หวันซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน การอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนถูกคัดค้านโดยสาธารณรัฐจีน นอกจากนี้ยังแบ่งเขตการปกครองเป็นเขตปกครองตนเอง 5 แห่ง แต่ละแห่งมีชื่อตามชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่นั้น นครปกครองโดยตรง 4 แห่ง และเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง ซึ่งมีสิทธิ์ปกครองตนเองอยู่ในระดับหนึ่ง ดินแดนเหล่านี้อาจถูกเรียกรวมกันว่า "จีนแผ่นดินใหญ่" ซึ่งมักยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า
== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ==
จีนมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 179 รัฐ และมีคณะผู้แทนทางทูตใน 174 ประเทศ นับตั้งแต่ปี 2019 จีนมีเครือข่ายทางการทูตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นสมาชิกกลุ่ม 20 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ประเทศจีนยึดหลักการนโยบายจีนเดียว กล่าวคือ นโยบายที่ยืนยันว่ามีเพียงรัฐรัฐเดียวที่ใช้ชื่อว่าจีน ซึ่งขัดต่อความคิดที่ว่ามีสองรัฐ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หลายรัฐปฏิบัติตามนโยบายจีนเดียว แต่ความหมายไม่เหมือนกัน เจ้าหน้าที่จีนได้ประท้วงหลายครั้งเมื่อต่างประเทศโดยเฉพาะโลกตะวันตกมีกิจกรรมทางการทูตต่อไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ นโยบายการต่างประเทศของจีนในปัจจุบันส่วนใหญ่มีรายงานว่าอิงหลักการห้าประการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และยังขับเคลื่อนด้วยแนวคิด "ความสามัคคีที่ปราศจากความเท่าเทียมกัน" ซึ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างรัฐต่าง ๆ แม้จะมีความแตกต่างทางอุดมการณ์ก็ตาม
จีนได้แก้ไขพรมแดนทางบกกับ 12 ประเทศจาก 14 ประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้ดำเนินการประนีประนอมอย่างมากในประเทศส่วนใหญ่แล้ว ปัจจุบันจีนมีพรมแดนทางบกที่เป็นข้อพิพาทกับอินเดียและภูฏาน นอกจากนี้ จีนยังมีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาททางทะเลกับหลายประเทศเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของเกาะเล็กๆ หลายแห่งในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ เช่น หินโซโคตรา กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ และหมู่เกาะทะเลจีนใต้ทั้งหมด จีนมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐและญี่ปุ่น
=== ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย ===
การทูต
ทางการไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศดำเนินมาด้วยความราบรื่นบนพื้นฐานของความเสมอภาค เคารพซึ่งกันและกัน ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน และอยู่ภายใต้หลักการของผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง สันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาค ความร่วมมือกันของทั้ง 2 ได้ดำเนินมาอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นเมื่อจีนสามารถได้สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนทุกประเทศแล้ว ความสำคัญของประเทศไทยต่อจีนในทางยุทธศาสตร์ได้ลดลงไปจากเดิม ความสัมพันธ์ในปัจจุบันจึงได้เน้นด้านการค้าและเศรษฐกิจบนพื้นฐานของผลประโยชน์ต่างตอบแทนเป็นหลัก
ไทยและจีนไม่มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งใด ๆ ที่ตกทอดมาจากประวัติศาสตร์ การไปมาหาสู่ของผู้นำระดับสูงสุดก็ได้เป็นไปอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะการเสด็จฯ เยือนจีนอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2543 การเสด็จฯ เยือนจีนของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนของสองประเทศอีกด้วย
การเมือง
ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย - จีน มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นในทุกด้าน ทั้งกรอบทวิภาคี พหุภาคี และเวทีภูมิภาค เช่น การประชุมอาเซียนและจีน อาเซียน + 3 ARF ASEM เป็นต้น ในการเยือนจีนเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 ทางไทยและจีนต่างเห็นพ้องที่จะมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์และขอบข่ายความร่วมมือระหว่างกันให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในลักษณะของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ การเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีประสบความสำเร็จหลายด้าน เช่น ความร่วมมือด้านยาเสพติด ด้านการเงิน การคลัง พาณิชย์นาวี รวมทั้งได้ลงนามความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างไทย - จีน และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย - จีน
เมื่อปี 2548 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 30 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างปไทยและจีน ทั้งสองประเทศจะมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและใกล้ชิดกันเป็นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศ อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับผู้นำ โดยนายกรัฐมนตรีไทย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางเยือนจีน อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อร่วมฉลองในกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทย และรัฐบาลจีนร่วมกันจัดขึ้นที่ประเทศจีน การจัดกิจกรรมฉลองร่วม การจัดทำหนังสือที่ระลึก การจัดงานสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน และการแลกเปลี่ยนเยาวชน เป็นต้น
ล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนนครหนานหนิง เมื่อวันที่ 30 – 31 ตุลาคม 2549 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนสมัยพิเศษ ที่จัดขึ้นในโอกาสที่อาเซียนและจีนฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 15 ปี โดยได้พบหารือกับผู้นำระดับรัฐบาลและระดับท้องถิ่นของจีน รวมถึงผู้นำอีก 9 ประเทศของอาเซียน ซึ่งการเยือนประสบผลสำเร็จอย่างดี
เศรษฐกิจและการค้า
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ได้มีการลงนามความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย -จีน ซึ่งช่วยลดอุปสรรคด้านภาษีในการค้าสินค้าผักและผลไม้ (สินค้าพิกัดภาษี 07 08) ทั้งประเทศไทย และ จีน มีความพร้อมในการลดภาษีอยู่แล้ว ซึ่งได้มีผลยกเว้นภาษีสำหรับสินค้า 116 รายการ ในพิกัดภาษี 07 08 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546
การค้าไทย และ จีน ในปี 2548 มีมูลค่า 20,343.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.31 ประเทศไทยส่งออก 9,183.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 11,159.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การค้าไทย และ จีน ในปี 2549 มีมูลค่า 25,154.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.75 ประเทศไทยส่งออก 11,708.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 13,445.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าที่ทางการจีนนำเข้าจากไทยที่สำคัญมากที่สุดคือ สายอากาศและเครื่องสะท้อนสัญญาณทางอากาศ พลาสติก มันสำปะหลัง คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ แผงวงจรไฟฟ้า ไม้ที่เลื่อยแล้ว ส่วนสินค้าที่จีนส่งออกมาไทยที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์แผ่นเหล็กรีดร้อน เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เงิน ตะกั่ว
การลงทุนของไทยในจีนเมื่อปี 2548 ไทยลงทุนในจีนรวม 95.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ธัญพืช ฟาร์มสัตว์ มอเตอร์ไซค์ โรงแรม ร้านอาหาร การนวดแผนไทย ส่วนการลงทุนของจีนในไทยในปีเดีวกัน จีนลงทุนในไทยรวม 2,286 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก และอุตสาหกรรมโลหะพื้นฐานการลงทุนที่จีนได้รับอนุมัติจากรัฐบาลจีนมีจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ ประกอบด้วยกิจการก่อสร้าง การค้า ธนาคาร การแปรรูปโลหะ การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ สายการบิน เครื่องจักร ร้านอาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
การทหาร
การท่องเที่ยว
== กองทัพ ==
กองทัพปลดปล่อยประชาชน ถือเป็นหนึ่งในกองทัพที่ทรงพลังที่สุดในโลก และมียุทโธปกรณ์ที่มีความทันสมัยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประกอบด้วยกองกำลังภาคพื้นดิน (PLAGF) กองทัพเรือ (PLAN) กองทัพอากาศ (PLAAF) กองกำลังจรวด (PLARF) และกองกำลังสนับสนุนเชิงยุทธศาสตร์ (PLASSF) มีบุคลากรประจำการเกือบ 2.2 ล้านคนซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก ถือครองคลังอาวุธนิวเคลียร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก งบประมาณทางการทหารอย่างเป็นทางการของจีนสำหรับปี 2022 มีมูลค่ารวม 230 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.45 ล้านล้านหยวน) ซึ่งมากเป็นอันดับสองของโลก แม้ว่าจะประมาณการว่ารายจ่ายจริงในปีนั้นอยู่ที่ 292 พันล้านดอลลาร์สหรัฐก็ตาม
การใช้จ่ายทางทหารตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2021 มีมูลค่าเฉลี่ย 215 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีหรือ 1.7 เปอร์เซ็นต์ของอัตราจีดีพีรองจากสหรัฐเพียง 734 พันล้านดอลลาร์ต่อปีหรือ 3.6 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
== เศรษฐกิจ ==
=== ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ===
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2492 จนถึงปลาย พ.ศ. 2521 สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางเหมือนโซเวียต ไม่มีภาคเอกชนหรือระบอบทุนนิยม เหมา เจ๋อตง เริ่มใช้นโยบายก้าวกระโดดไกล เพื่อผลักดันประเทศให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่ทันสมัยและก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม แต่นโยบายนี้กลับถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวทั้งทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม หลังจากที่เหมาเสียชีวิตและสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้นำจีนรุ่นใหม่ได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจและใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบผสม
ตั้งแต่เริ่มมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในปี 2521 เศรษฐกิจของจีนซึ่งนำโดยการลงทุนและการส่งออก เติบโตขึ้นถึง 70 เท่า และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุด ปัจจุบัน จีนมีจีดีพี (nominal) สูงเป็นอันดับสามของโลกที่ 30 ล้านล้านหยวน (4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่รายได้ต่อหัวมีค่าเฉลี่ยเพียง 3,300 ดอลลาร์สหรัฐ จึงยังคงตามหลังประเทศอื่นอีกนับร้อย อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ มีอัตราส่วนร้อยละ 11.3, 48.6 และ 40.1 ตามลำดับ และหากวัดด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ จีนจะมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น จีนเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกและเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าสูงเป็นอันดับสามรองจาก สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 2.56 ล้านล้านดอลลาร์ มูลค่าการส่งออก 1.43 ล้านล้านดอลลาร์ (อันดับสอง) และมูลค่าการนำเข้า 1.13 ล้านล้านดอลลาร์ (อันดับสาม) จีนมีมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก (มากกว่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์) และเป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมของการลงทุนจากต่างชาติ โดยสามารถดึงเงินลงทุนมากกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2550 เพียงปีเดียว
ประเทศจีนเป็นผู้ผลิตหมายเลข 1 ของโลกนับแต่ปี 2010 แซงหน้าสหรัฐซึ่งเป็นหมายเลข 1 ของโลกมาสองร้อยปี ประเทศจีนยังเป็นผู้ผลิตไฮเทคอันดับ 2 ของโลกนับแต่ปี 2012 จากข้อมูลของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ จีนยังเป็นตลาดค้าปลีกใหญ่สุดอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ ประเทศจีนยังเป็นผู้นำของโลกด้านอีคอมเมิร์ซ โดยคิดเป็นสัดส่นวตลาด 40% ของโลกในปี 2016 และกว่า 50% ในปี 2019 ประเทศจีนเป็นผู้นำด้านพาหนะไฟฟ้า การผลิตและการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอิน (BEV และ PHEV) เกินกึ่งหนึ่งของโลกในปี 2018
แหล่งข้อมูลต่างประเทศและจีนบางส่วนอ้างว่าสถิติอย่างเป็นทางการของรัฐบาลจีนระบุความเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนสูงกว่าจริง แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่ระบุว่าความเติบโตสูงกว่าตัวเลขอย่างเป็นทางการเช่นกัน
ประเทศจีนมีเศรษฐกิจไม่เป็นทางการขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นจากการเปิดเศรษฐกิจของประเทศ เศรษฐกิจส่วนนี้สร้างการจ้างงานและรายได้ แต่มีปัญหาเรื่องการไม่เป็นที่ยอมรับและมีผลิตภาพต่ำกว่า จีนกลายเป็นประเทศการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2013 เมื่อวัดจากผลรวมของการนำเข้าและส่งออก รวมถึงผู้นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นประมาณ 45% ของตลาดสินค้าทางทะเล ในปี 2016 จีนเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดใน 124 ประเทศอื่น ๆ จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยมีมูลค่าการค้ารวม 669.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 คิดเป็น 20% ของการค้าทั้งหมดของอาเซียน
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== การคมนาคม และ โทรคมนาคม ===
==== คมนาคม ====
นับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 เครือข่ายถนนระดับชาติของจีนได้ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญผ่านการสร้างเครือข่ายทางหลวงและทางด่วนแห่งชาติ ในปี 2018 ทางด่วนในประเทศจีน มีความยาวรวม 161,000 กม. (100,000 ไมล์) ทำให้เป็นระบบทางหลวงที่ยาวที่สุดในโลก ประเทศจีนมีตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้าสหรัฐอเมริกาทั้งในด้านยอดขการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ ประเทศนี้ยังกลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่อันดับสองของโลกในปี 2022 รองจากญี่ปุ่น ต่อมาในช่วงต้นปี 2023 จีนแซงหน้าญี่ปุ่น กลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก ผลข้างเคียงจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของเครือข่ายถนนของจีนทำให้อุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรจะลดลง 20% ระหว่างปี 2007 ถึง 2017 ในเขตเมือง จักรยานยังคงเป็นพาหนะหลักในการเดินทางทั่วไป แม้ว่ารถยนต์จะแพร่หลายมากขึ้นก็ตาม ในปี 2012 มีจักรยานประมาณ 470 ล้านคันในประเทศจีน การรถไฟของจีน ซึ่งดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจ China State Railway Group Company เป็นหนึ่งในเส้นทางที่มีผู้คนพลุกพล่านที่สุดในโลก โดยรองรับปริมาณการจราจรทางรถไฟถึงหนึ่งในสี่ของโลกบนเส้นทางเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ของเส้นทางทั่วโลกในปี 2006 ในปี 2021 ประเทศจีนมีทางรถไฟ 150,000 กม. (93,206 ไมล์) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ยาวเป็นอันดับสองของโลก
ระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) ของจีนเริ่มก่อสร้างเมื่อต้นในทศวรรษ 2000 และในสิ้นปี 2022 รถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนมีเส้นทางเฉพาะถึง 42,000 กิโลเมตร (26,098 ไมล์) ทำให้กลายเป็นเครือข่ายที่ยาวที่สุดในโลก บริการบนเส้นทางปักกิ่ง–เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง–เทียนจิน และเฉิงตู–ฉงชิ่งมีความเร็วสูงสุด 350 กม./ชม. (217 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทำให้เป็นบริการรถไฟความเร็วสูงแบบธรรมดาที่เร็วที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้โดยสารมากกว่า 2.29 พันล้านคนต่อปีในปี 2019 จึงเป็นสถานีที่พลุกพล่านที่สุดในโลก รถไฟแม็กเลฟเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีความเร็วถึง 431 กม./ชม. (268 ไมล์ต่อชั่วโมง) เป็นบริการรถไฟเชิงพาณิชย์ที่เร็วที่สุดในโลก
ตั้งแต่ปี 2000 การเติบโตของระบบขนส่งด่วนในเมืองต่าง ๆ ของจีนได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เมืองต่าง ๆ มีระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่ใช้งานอยู่ และอีก 39 เมืองได้รับการอนุมัติระบบรถไฟใต้ดินแล้ว ในปี 2020 จีนมีระบบรถไฟใต้ดินที่ยาวที่สุดในโลก 5 แห่ง โดยมีเครือข่ายในเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง กวางโจว เฉิงตู และเชินเจิ้นเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด จีนมีท่าอากาศยานกว่า 241 แห่งใน ค.ศ. 2021 ประเทศจีนมีท่าเรือมากกว่า 2,000 แห่ง โดยประมาณ 130 แห่งเปิดให้บริการการขนส่งจากต่างประเทศ
==== โทรคมนาคม ====
จีนเป็นตลาดโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และปัจจุบันมีจำนวนโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานมากที่สุดในโลก โดยมีสมาชิกลงทะเบียนมากกว่า 1.69 พันล้านราย ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและบรอดแบนด์มากที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 1.05 พันล้านคนตั้งแต่ปี 2021 เทียบเท่ากับประมาณ 73.7% ของประชากร และเกือบทั้งหมดเป็นมือถือเช่นกัน ภายในปี 2018 จีนมีผู้ใช้ เครือข่าย 4G มากกว่า 1 พันล้านคน คิดเป็น 40% ของทั้งหมดทั่วโลก จีนมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้าน 5G ภายในปลายปี 2018 จีนได้เริ่มการทดลอง 5G เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ณ เดือนมีนาคม 2022 จีนมีผู้ใช้ 5G มากกว่า 500 ล้านรายและติดตั้งสถานีฐาน 1.45 ล้านแห่ง
จีนได้พัฒนาระบบนำทางด้วยดาวเทียมของตนเองซึ่งมีชื่อว่า BeiDou ซึ่งเริ่มให้บริการนำทางเชิงพาณิชย์ทั่วเอเชียในปี 2012 รวมถึงบริการทั่วโลกภายในสิ้นปี 2018
=== วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ===
นับตั้งแต่สิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม รัฐบาลจีนได้ใช้เงินลงทุนมหาศาลในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันจีนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจที่เป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์แทบจะเรียกได้ว่าทัดเทียมสหรัฐในด้านการวิจัย จีนมีค่าใช้จ่ายอย่างเป็นทางการประมาณ 2.4% ของจีดีพีรยมในประเทศเพื่อการวิจัยและพัฒนาใน ค.ศ. 2020 ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 377.8 พันล้านดอลลาร์ จากข้อมูลของตัวชี้วัดทรัพย์สินทางปัญญาโลก จีนได้รับการยื่นคำขอมากกว่าสหรัฐ ในปี 2018 และ 2019 และติดอันดับ 1 ของโลกในด้านสิทธิบัตร โมเดลอรรถประโยชน์ เครื่องหมายการค้า การออกแบบอุตสาหกรรม และการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ในปี 2021 ได้รับการจัดอันดับที่ 11 ในดัชนีนวัตกรรมระดับโลกในปี 2022 ซึ่งพัฒนาขึ้นอย่างมากจากอันดับที่ 35 ในปี 2013 ประเทศจีนยังเต็มไปด้วยนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของจีนได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลรวดเร็วที่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เหล่านี้อาศัยส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งออกแบบในต่างประเทศซึ่งนำเข้าจากนอกประเทศจีน นอกจากนี้ จีนยังประสบปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีหลายอย่างภายในประเทศ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัยที่สุด และเครื่องยนต์อากาศยานไอพ่นที่เชื่อถือได้
==== อวกาศ ====
โครงการอวกาศของจีนเริ่มต้นใน ค.ศ. 1958 ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีบางส่วนจากสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม จีนไม่ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมดวงแรกของประเทศจนกระทั่งปี 1970 ด้วย ดาวเทียมตงฟังหง 1 ซึ่งทำให้จีนเป็นประเทศที่ห้าที่ปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ในปี 2003 จีนกลายเป็นประเทศที่สามในโลกที่ส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศอย่างเป็นอิสระด้วยกระสวยอวกาศเสินโจว 5 ในปี 2023 มีชาวจีน 18 คนได้เดินทางสู่อวกาศ โดยมีนักบินอวกาศสตรีจำนวนสองคนด้วย ในปี 2011 จีนได้เปิดตัวสถานีอวกาศทดสอบแห่งแรกในชื่อ เทียนกง-1 ในปี 2013 หุ่นยนต์โรเวอร์ของจีนประสบความสำเร็จในการแตะพื้นผิวดวงจันทร์โดยเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจฉางเออ 3
ในปี 2019 จีนกลายเป็นประเทศแรกที่ส่งยานสำรวจฉางเออ 4 ลงจอดบนอีกฟากหนึ่งของดวงจันทร์ ต่อมา ในปี 2020 ฉางเออ 5 สามารถส่งตัวอย่างดวงจันทร์กลับมายังโลกได้สำเร็จ ส่งผลให้จีนเป็นประเทศที่สามที่สามารถส่งตัวอย่างดังกล่าวได้ ต่อจากสหรัฐและสหภาพโซเวียต ในปี 2021 จีนกลายเป็นประเทศที่สามที่ส่งยานอวกาศลงจอดบนดาวอังคาร และเป็นประเทศที่สองที่ส่งยานสำรวจบนดาวอังคาร ต่อจากสหรัฐอเมริกา สถานีอวกาศเทียนกง เป็นสถานีอวกาศระยะยาวแห่งแรกของจีนและเป็นแกนหลักของ "ขั้นตอนที่สาม" ของโครงการอวกาศจีน ดำเนินการโดยองค์การอวกาศแห่งประเทศจีน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 จีนประกาศแผนการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ภายใน ค.ศ. 2030
=== สาธารณสุข ===
คณะกรรมการวางแผนสุขภาพและครอบครัวแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการท้องถิ่น ทำหน้าที่ดูแลความต้องการด้านสุขภาพของประชากรชาวจีน การให้ความสำคัญกับสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกันถือเป็นนโยบายด้านสุขภาพของจีนมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1950 ในเวลานั้น พรรคคอมมิวนิสต์ได้เริ่มโครงการรณรงค์สุขภาพซึ่งมุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงสุขอนามัย ตลอดจนการรักษาและป้องกันโรคต่าง ๆ โรคต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ และไข้ดำแดง ซึ่งก่อนหน้านี้แพร่หลายในประเทศจีน แทบจะถูกกำจัดหมดสิ้นโดยการรณรงค์ครั้งนี้ นับตั้งแต่ เติ้ง เสี่ยวผิง เริ่มดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจใน ค.ศ. 1978 สุขภาพของประชาชนชาวจีนดีขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีโภชนาการที่ดีขึ้น แม้ว่าบริการสาธารณสุขฟรีจำนวนมากในชนบทจะหายไปก็ตาม ในปี 2009 รัฐบาลได้เริ่มโครงการริเริ่มด้านการดูแลสุขภาพขนาดใหญ่ในระยะเวลา 3 ปี มูลค่า 124 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การรณรงค์ดังกล่าวส่งผลให้ประชากรจีน 95% มีประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน
ในปี 2022 อัตราการคาดหมายคงชีพของชาวจีนอยู่ที่ 78 ปี และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดอยู่ที่ 5 ต่อพันคน (ในปี 2021) ทั้งสองด้านมีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 อัตราการแคระแกรน ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ ลดลงจาก 33.1% ในปี 1990 เป็น 9.9% ในปี 2010 แม้จะมีการปรับปรุงด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญและการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ขั้นสูง จีนก็ประสบปัญหาด้านสาธารณสุขที่เกิดขึ้นหลายประการ เช่น โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากมลพิษทางอากาศที่แพร่หลาย ผู้สูบบุหรี่หลายร้อยล้านคน และการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนในกลุ่มเยาวชนในเมือง
ประชากรจำนวนมากและเมืองที่มีประชากรหนาแน่นของจีนทำให้เกิดการระบาดของโรคร้ายแรงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น การระบาดของโรคซาร์สในปี 2003 แม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะควบคุมได้ก็ตาม ในปี 2010 มลพิษทางอากาศทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 1.2 ล้านคนในประเทศจีน การระบาดทั่วของโควิด-19 ถูกพบครั้งแรกในนครอู่ฮั่นเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 มีการศึกษาเพิ่มเติมทั่วโลกเกี่ยวกับแหล่งที่มาที่เป็นไปได้ของไวรัส เจ้าหน้าที่สหรัฐ ระบุว่า รัฐบาลจีนปกปิดขอบเขตของการระบาดก่อนที่จะกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ในระดับสากล
== ประชากร ==
=== เชื้อชาติ ===
จีนเป็นประเทศเอกภาพที่มีหลายชนชาติ รัฐบาลจีนดำเนินนโยบายทางชนชาติที่ให้ ชนชาติต่าง ๆ มีความเสมอภาค สมานสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและขนบธรรมเนียมของชนชาติส่วนน้อยระบบปกครองตนเองในเขตชนชาติส่วนน้อยเป็นระบบการเมืองอันสำคัญอย่างหนึ่งของจีน คือ ให้ท้องที่ที่มีชนชาติส่วนน้อยต่าง ๆ อยู่รวม ๆ กันใช้ระบบปกครองตนเอง ตั้งองค์กรปกครองตนเองและใช้สิทธิอำนาจปกครองตนเอง ภายใต้การนำที่เป็นเอกภาพ ของรัฐ รัฐประกันให้ท้องที่ที่ปกครองตนเองปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของรัฐตามสภาพที่เป็นจริงในท้องถิ่นของตน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ บุคลากรทางวิชาการและ กรรมกรทางเทคนิคชนิดต่าง ๆ ของชนชาติส่วนน้อยเป็นจำนวนมาก ประชาชน ชนชาติต่าง ๆ ในท้องที่ที่ปกครองตนเองกับประชาชนทั่วปแระเทศรวมศูนย์กำลังดำเนิน การสร้างสรรค์สังคมนิยมที่ทันสมัย เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในท้องที่ที่ ปก ครองตนเองให้เร็วขึ้นและสร้างสรรค์ท้องที่ที่ปกครองตนเองของชนชาติส่วนน้อยที่สมานสามัคคีกันและเจริญรุ่งเรือง ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ระหว่างการปฏิบัติเป็นเวลาหลายสิบปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ของจีนได้ก่อรูปขึ้นซึ่งทรรศนะและนโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาทางชนชาติหลายประการที่สำคัญได้แก่
การกำเนิด การพัฒนาและการสูญสลายของชนชาตินั้นเป็นกระบวนการทาง ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัญหาชนชาติจะดำรงอยู่เป็นเวลานาน
ระยะสังคมนิยมเป็นระยะที่ชนชาติต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาและเจริญรุ่งเรือง ปัจจัย ร่วมกันระหว่างชนชาติต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ลักษณะพิเศษและข้อ แตกต่างระหว่างชนชาติต่าง ๆ จะดำรงอยู่ต่อไป
ปัญหาชนชาติเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทั่วสังคม มีแต่แก้ปัญหาทั่วสังคมให้ลุล่วง ไปเท่านั้น ปัญหาทางชนชาติจึงจะได้รับการแก้ไขอย่างมีขั้นตอน มีแต่ในภารกิจร่วมกัน ที่สร้างสรรค์สังคมนิยมเท่านั้น ปัญหาทางชนชาติของจีนในปัจจุบันจึงจะได้รับการ แก้ไขอย่างมีขั้นตอนได้
ชนชาติต่าง ๆ ไม่ว่ามีประชากรมากหรือน้อย มีประวัติยาวหรือสั้นและมีระดับ การพัฒนาสูงหรือต่ำ ต่างก็เคยสร้างคุณูปการเพื่ออารยธรรมของปิตุภูมิ จึงควรมีความ เสมอภาคทั้งนั้น ควรเสริมสร้างความสามัคคีอันยิ่งใหญ่ระหว่างประชาชนชนชาติต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและรักษาเอกภาพแห่งชาติ
การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างขนานใหญ่เป็นภาระหน้าที่มูลฐานแห่งสังคมนิยม และก็ เป็นภาระหน้าที่มูลฐานของงานชนชาติของจีนในขั้นตอนปัจจุบัน ชนชาติต่าง ๆ ต้องช่วย เหลือซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุซึ่งความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
การปกครองตนเองในเขตชนชาติส่วนน้อยเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีต่อทฤษฎีชนชาติของลัทธิมาร์กซ และเป็นระบอบมูลฐานในการแก้ปัญหาชนชาติของจีนการพยายามสร้างขบวนเจ้าหน้าที่ชนชาติส่วนน้อยขนาดใหญ่ขนาดหนึ่งที่มีทั้งคุณธรรม และขีดความสามารถเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในการทำงานทางชนชาติให้ดีและแก้ปัญหาทางชนชาติให้ลุล่วงไปปัญหาทางชนชาติกับปัญหาทางศาสนามักจะผสมผสานอยู่ด้วยกันในท้องที่บาง แห่ง ขณะจัดการกับปัญหาทางชนชาติ ยังต้องสังเกตปฏิบัติตามนโยบายทางศาสนา ของรัฐอย่างทั่วด้านและถูกต้องนอกจากนี้ ในขณะเดียวกันกับที่พยายามส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษาตลอดจนภารกิจอื่น ๆ ของเขตชนชาติส่วนน้อย ยกระดับชีวิตทาง วัตถุและวัฒนธรรมของประชาชนชนชาติส่วนน้อยอันไพศาลซึ่งรวมทั้งชาวศาสนาด้วยให้สูงขึ้น รัฐบาลจีนยังสนใจเคารพความเชื่อถือทางศาสนาของชนชาติส่วนน้อยและรักษา มรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติส่วนน้อยเป็นพิเศษ สำรวจ เก็บสะสม ศึกษา จัดให้เป็น ระเบียบและจัดพิมพ์จำหน่ายมรดกทางวัฒนธรรมและศิลปะพื้นเมืองของชนชาติต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งวัฒนธรรมทางศาสนาด้วย รัฐบาลยังได้ลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อซ่อมแซม วัดวาอารามและสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาอันสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในเขตชนชาติส่วนน้อย
=== ศาสนา ===
ประชาชนจีนมีทั้งสิ้น 56 ชนเผ่า ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนับถือนิกายมหายานและวัชรยานโดยนับถือปนไปกับลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋ากว่า 300 ล้านคน นอกนั้นนับถือนิกายเถรวาท มีนับถือศาสนาอิสลามกว่า 11 ล้านคน และนับถือศาสนาคริสต์อีก5.2 ล้านคน
=== ภาษา ===
ภาษาจีนเป็นภาษาเก่าแก่และเป็นภาษาที่คนใช้มากที่สุดภาษาหนึ่ง เป็นภาษาหลักที่คนจีนใช้กันอยู่ ภาษามาตาฐานของภาษาจีน คือ ภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวฮั่นใช้กันโดยทั่วไปเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ และในชนเผ่าต่าง ๆ ของจีน
แม้ชาวจีนทุกคนสามารถใช้ภาษาจีนได้ แต่จากการที่ประเทศจีนมีอาณาเขตที่กว้างขวางทำให้ท้องถิ่นต่าง ๆ มีภาษาพูดที่แตกต่างกัน โดยภาษาพูดที่ใช้กันในแต่ละท้องถื่นคือ ภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อกันเฉพาะในท้องถื่น ภาษาท้องถื่นของจีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายภาษา เช่น ภาษาเหนือ ภาษาอู๋ ภาษาเซียง ภาษาก้าน ภาษาแคะ ภาษาหมิ่น ภาษาเย่ว์ ทั้งหมดนี้ภาษาเหนือเป็นภาษาที่มีการใช้กันมากที่สุด
=== การศึกษา ===
ตั้งแต่ปี 1986 การศึกษาภาคบังคับในประเทศจีนประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งรวมกันมีระยะเวลาเก้าปี ในปี 2021 นักเรียนประมาณ 91.4 เปอร์เซ็นต์ศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสามปี ในปี 2020 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 58.42 ได้ลงทะเบียนเรียนในระดับอุดมศึกษา มีการศึกษาด้านอาชีวศึกษาสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาทั่วประเทศ นักเรียนชาวจีนมากกว่า 10 ล้านคนสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศทุกปี
ประเทศจีนมีระบบการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีนักเรียนประมาณ 282 ล้านคน และครูเต็มเวลา 17.32 ล้านคนในโรงเรียนมากกว่า 530,000 แห่ง การลงทุนด้านการศึกษาต่อปีเพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2003 เป็นมากกว่า 817 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายด้านการศึกษายังคงไม่เท่าเทียมกัน ในปี 2010 ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อปีต่อนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงปักกิ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 20,023 เยน ในขณะที่ในกุ้ยโจว ซึ่งเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งในจีนมีค่าใช้จ่ายเพียง 3,204 เยนเท่านั้น การศึกษาภาคบังคับโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในประเทศจีนประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีอายุระหว่าง 6 ถึง 15 ปี ในปี 2021 อัตราส่วนการลงทะเบียนสำเร็จการศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคับสูงถึงร้อยละ 95.4 และชาวจีนประมาณ 91.4% ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
อัตราการรู้หนังสือของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเพียง 20% ในปี 1949 และ 65.5% ในปี 1979 ถึง 97% ของประชากรที่มีอายุเกิน 15 ปีในปี 2020 ในปีเดียวกันนั้น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เจียงซู และเจ้อเจียง ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศจีน ได้รับการจัดอันดับให้สูงที่สุดในโลกในการจัดอันดับโครงการประเมินนักศึกษานานาชาติสำหรับทั้งสามประเภท ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทักษะทางการอ่าน ในปี 2021 จีนมีมหาวิทยาลัยมากกว่า 3,000 แห่ง โดยมีนักศึกษามากกว่า 44.3 ล้านคนลงทะเบียนเรียนในจีนแผ่นดินใหญ่ และพลเมืองจีน 240 ล้านคนได้รับการศึกษาระดับสูง ทำให้จีนกลายเป็นระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2021 จีนมีจำนวนมหาวิทยาลัยชั้นนำมากเป็นอันดับสองของโลก (สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย) ปัจจุบัน จีนเป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาในแง่ของการเป็นตัวแทนในรายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำ 200 แห่งตามการจัดอันดับทางวิชาการของมหาวิทยาลัยโลก
ในปี 2022 มหาวิทยาลัยสองแห่งในจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก โดยมีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (อันดับที่ 12) และมหาวิทยาลัยชิงหฺวา (อันดับที่ 14) และมหาวิทยาลัยอีกสามแห่งที่อยู่ใน 50 อันดับแรกของโลก
=== เมืองใหญ่ ===
ดูรายชื่อทั้งหมดที่รายชื่อเมืองในจีนเรียงตามจำนวนประชากร อันดับเมืองขนาดใหญ่ 20 เมืองแรก จัดอันดับตามจำนวนประชากร
=== กีฬา ===
จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประวัติศาสตร์ทางการกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีหลักฐานว่าการยิงธนูมีต้นกำเนิดตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจวตะวันตก กีฬาอย่างชู่จฺวีซึ่งเป็นกีฬาที่เป็นต้นแบบของการเล่นฟุตบอลในประเทศ มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ราชวงศ์แรก ๆ ของประเทศเช่นกัน การฝีกฝนสมรรถภาพทางกายได้รับการปฏิบัติอย่างกว้างขวางในวัฒนธรรมจีน โดยการออกกำลังกายในตอนเช้า เช่น ชี่กง และไท่เก๊ก ก็มีการฝึกกันอย่างแพร่หลาย และโรงยิมและฟิตเนสกำลังได้รับความนิยมไปทั่วประเทศในปัจจุบัน ปัจจุบันบาสเก็ตบอลเป็นกีฬาสำหรับผู้ชมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศจีน การแข่งขันลีกโดยสมาคมบาสเกตบอลจีน และ สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ นักบาสเกตบอลชาวจีนบางรายมีชื่อเสียงระดับโลก เช่น เหยา หมิง และ อี้ เจี้ยนเหลียน ลีกฟุตบอลอาชีพของจีน ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อไชนีสซูเปอร์ลีก ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 เป็นตลาดฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออก
กีฬายอดนิยมอื่นๆ ในประเทศ ได้แก่ ศิลปะการต่อสู้ เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน ว่ายน้ำ และสนุกเกอร์ เกมกระดานเช่น หมากล้อม (เรียกว่า wéiqí ในภาษาจีน), หมากรุกจีน, ไพ่นกกระจอก ก็มีการเล่นในระดับมืออาชีพเช่นกัน ประเทศจีนยังเป็นศูนย์รวมของการปั่นจักรยาน โดยในปี 2012 มีจักรยานประมาณ 470 ล้านคันทั่วประเทศ กีฬาแบบดั้งเดิมอีกมากมาย เช่น การแข่งเรือมังกร มวยปล้ำสไตล์มองโกเลีย และการแข่งม้าก็เป็นที่นิยมเช่นกัน
จีนมีส่วนร่วมในกีฬาโอลิมปิกมาตั้งแต่ ค.ศ. 1932 โดยเข้าร่วมในฐานะสาธารณรัฐประชาชนจีนในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 จีนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งนักกีฬาได้รับเหรียญทอง 48 เหรียญ ซึ่งถือเป็นจำนวนเหรียญทองสูงสุดของประเทศที่เข้าร่วมในปีนั้น จีนยังได้รับเหรียญรางวัลมากที่สุดในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 โดยได้เหรียญทั้งหมด 231 เหรียญรวม และ 95 เหรียญทอง กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2011 จัดขึ้นที่เชินเจิ้น รวมถึง โอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014 ที่หนานจิง
== วัฒนธรรม ==
=== สถาปัตยกรรม ===
ปรมาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมและผลงานชิ้นเอกจำนวนมากเกิดขึ้นในประเทศจีนโบราณ โดยสร้างพระราชวัง สุสาน วัด สวน และ บ้านเรือน มากมาย สถาปัตยกรรมของจีนมีอายุเก่าแก่เทียบเท่ากับอารยธรรมจีน ชุมชนแรก ๆ ที่สามารถระบุได้ในวัฒนธรรมว่าเป็นชาวจีนนั้น ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบบริเวณแม่น้ำฮวงโห สถาปัตยกรรมจีน เป็นศูนย์รวมของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีการพัฒนามานานกว่าพันปีในประเทศจีน และยังคงเป็นแหล่งที่มาของอิทธิพลต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออก ในยุคแรก ชาวจีนเน้นการสร้างสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย การเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง สถาปัตยกรรมจีนมีอิทธิพลสำคัญต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และมองโกเลีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์
สถาปัตยกรรมจีนมีลักษณะเฉพาะคือสมมาตรทวิภาคี การใช้พื้นที่เปิดโล่ง ฮวงจุ้ย (เช่น ลำดับชั้นทิศทาง) การเน้นเส้นแนวนอน และการพาดพิงถึงองค์ประกอบทางจักรวาลวิทยา ตำนาน หรือองค์ประกอบสัญลักษณ์ทั่วไปต่าง ๆ สถาปัตยกรรมจีนมักแบ่งโครงสร้างตามประเภท ตั้งแต่เจดีย์ไปจนถึงพระราชวัง สถาปัตยกรรมจีนแตกต่างกันไปตามสถานะ เช่น โครงสร้างที่สร้างขึ้นสำหรับจักรพรรดิ สามัญชน หรือเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา สถาปัตยกรรมจีนรูปแบบอื่น ๆ แสดงให้เห็นในรูปแบบพื้นถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันและมรดกทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน เช่น บ้านไม้ค้ำทางตอนใต้ อาคารเหยาตงทางตะวันตกเฉียงเหนือ อาคารกระโจม และอาคารสีเหอหยวนทางตอนเหนือ
=== วรรณกรรม ===
วรรณกรรมจีนมีพื้นฐานมาจากวรรณกรรมของราชวงศ์โจว ตำราในยุคแรก ๆ ที่สำคัญที่สุดบางเล่ม ได้แก่ อี้จิง นอกจากนี้ สี่สุดยอดวรรณกรรมจีน ได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมเรื่องอื่น ๆ ของประเทศ หลี่ ไป๋ และ ตู้ ฝู่ เป็นผู้บุกเบิกวรรณกรรมแนวรักโรแมนติกและศิลปะสัจนิยมตามลำดับ งานเขียนสำคัญอย่าง ฉื่อจี้ สะท้อนขอบเขตโดยรวมของประเพณีประวัติศาสตร์ในประเทศซึ่งเรียกว่าประวัติศาสตร์ยี่สิบสี่ ควบคู่ไปกับตำนานและนิทานพื้นบ้านของจีน นิยายคลาสสิกของจีนได้รับแรงผลักดันจากชนชั้นแรงงานที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในสมัยราชวงศ์หมิง นิยายคลาสสิกของจีนได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากนิยายอิงประวัติศาสตร์ เมือง เทพเจ้า และปีศาจ โดยนำเสนอสะท้อนผ่านนวนิยายคลาสสิกสี่เล่ม ได้แก่ ซ้องกั๋ง, สามก๊ก, ไซอิ๋ว และ ความฝันในหอแดง บันเทิงคดีกำลังภายในโดยกิมย้ง และเนีย อู้เซ็ง มีชื่อเสียงไปทั่วโลกในด้านวรรณกรรมสมัยนิยมในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก หู ชิห์ และ หลู่ ซฺวิ่น เป็นผู้เขียนวรรณคดีจีนสมัยใหม่ รวมทั้งวรรณคดีคลาสสิกจีน วรรณกรรมหลากหลายประเภท เช่น บทกวีหมอก วรรณกรรมแผลเป็น นวนิยายสำหรับผู้ใหญ่ และวรรณกรรมซุนเกน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสัจนิยมเวทมนตร์ ถือกำเนิดขึ้นหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม มั่วเหยียน นักเขียนวรรณกรรมซุนเชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 2012
=== ดนตรี และ นาฎศิลป์ ===
=== อาหาร ===
อาหารจีนถือว่ามีความหลากหลายมาก ได้รับอิทธิพลจากความแตกต่างทางภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์โดยมีประวัติศาสตร์มานานนับพันปี และเป็นประเทศต้นกำเนิดของอาหารหลักแปดอย่าง ได้แก่ อาหารเสฉวน, อาหารกวางตุ้ง, อาหารเจียงซู, อาหารชานตง, อาหารฝูเจี้ยน, อาหารหูหนาน, อาหารอานฮุย และอาหารเจ้อเจียง อาหารจีนได้รับการยอมรับว่ามีรสชาติดีอันเป็นผลจากวัตถุดิบและกรรมวิธีในการปรุง และยังมีชือเสียงในด้านศาสตร์การแพทย์โดยการใช้อาหารบำบัด โดยทั่วไป อาหารหลักชาวจีนทางตอนใต้คือข้าวทาง และ ขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีส่วนอาหารหลักทางตอนเหนือของบะหมี่ อาหารของคนทั่วไปในยุคก่อนสมัยใหม่ส่วนใหญ่เป็นธัญพืชและผักธรรมดา โดยสงวนเนื้อสัตว์ไว้สำหรับโอกาสพิเศษ ผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้และนมถั่วเหลือง ยังคงเป็นแหล่งโปรตีนยอดนิยม
ปัจจุบันเนื้อหมูเป็นเนื้อสัตว์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในจีน โดยคิดเป็นประมาณสามในสี่ของการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งหมดของประเทศ แม้ว่าเนื้อหมูจะครองส่วนแบ่งมากที่สุดในตลาดเนื้อสัตว์ แต่ก็มีอาหารมังสวิรัติและอาหารมุสลิมแบบจีนที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อหมูรวมอยู่ด้วย ในส่วนของอาหารทางตอนใต้ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลและมีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่า จึงมีอาหารทะเลและผักหลากหลายชนิด อาหารจีนจำนวนมาก เช่น อาหารฮ่องกง และอาหารจีนแบบอเมริกัน เกิดขึ้นในประเทศโดยได้รับอิทธิพลจากชาวจีนพลัดถิ่น
=== สื่อสารมวลชน ===
=== วันหยุด ===
วันขึ้นปีใหม่ (元旦)
วันตรุษจีน (春节)
วันเช็งเม้ง (清明节)
วันแรงงาน (劳动节)
วันไหว้บะจ่าง (端午节)
วันไหว้พระจันทร์ (中秋节)
วันชาติ (国庆节)
== ดูเพิ่ม ==
ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในจีน
พุทธศาสนาในประเทศจีน
ศิลปวัฒนธรรมจีน
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
== หนังสืออ่านเพิ่ม ==
Farah, Paolo, Five Years of China’s WTO Membership. EU and US Perspectives on China’s Compliance with Transparency Commitments and the Transitional Review Mechanism, Legal Issues of Economic Integration, Kluwer Law International, Volume 33, Number 3, pp. 263–304, 2006. Abstract.
Heilig, Gerhard K., China Bibliography – Online .'' 2006, 2007.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ประเทศจีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีน
จ
จ
จ
จ
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 | thaiwikipedia | 286 |
วงศ์โคลงเคลง | วงศ์โคลงเคลง หรือ (Melastoma) เป็นชื่อวงศ์พรรณไม้ จำพวก โคลงเคลง จุกนารี และแปร้น้ำเงิน ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ใบเป็นใบเดี่ยวติดตรงข้าม กลีบดอกเด่นชัด รังไข่เชื่อมติดกับฐานดอก มีระยางค์ยื่นออกมาตรงโคนอับเรณู
== ลักษณะประจำวงศ์ ==
วงศ์โคลงเคลงเป็นวงศ์ของไม้พุ่ม ไม้ต้น ไม้ล้มลุก หรือไม้เลื้อย ซึ่งไม่มีหูใบ ใบเป็นใบเดี่ยวติดตรงข้าม บางทีพบมีหลายใบติดรอบข้อ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 3, 4 หรือ 5 กลีบ แกนอับเรณูยืดยาวหรือเป็นรยางค์ อับเรณูแตกโดยมีรูที่ปลาย รังไข่ติดใต้วงกลีบหรือกึ่งใต้วงกลีบมี 4 หรือ 5 ช่อง ไข่อ่อนจำนวนมากติดที่แกนผนังรังไข่ ผลแห้งแบบแก่แตก หรือผลมีเนื้อหลายเมล็ด
== อนุกรมวิธาน ==
ภายใต้ระบบการจัดประเภท APG III เจ็ดสกุลจากวงศ์พลองเหมือด (Memecylaceae) ถูกรวมอยู่ในสกุลนี้แล้ว
== ชนิดและการกระจายพันธุ์ ==
กระจายพันธุ์ในเขตร้อน ทั่วโลกพบ 211 สกุล ในประเทศไทยพบ 15 สกุล ได้แก่
สกุลโคลงเคลง (Melastoma) เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง เช่น
* โคลงเคลง Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum L.
* มังเคร่ช้าง Melastoma sanguineum Sims.
* โคลงเคลงผลแห้ง Melastoma pellrgrinianum (Boissieu) F. K. Mey
* โคลงเคลงยวน Melastoma saigonense (Kuntze) Merr.
สกุลโคลงเคลงขนต่อม (Clidemia) ไม้พุ่ม ขึ้นเป็นวัชพืชโดยเฉพาะคาบสมุทรมลายาและทางภาคใต้ของประเทศไทย พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว คือ
* โคลงเคลงขนต่อม Clidemia hirta (L.) D. Don
สกุลเคลงแดง (Medinilla) ไม้พุ่มอิงอาศัย ทั่วโลกมีสมาชิกประมาณ 150 ชนิด ในไทยมีประมาณ 8–9 ชนิด ได้แก่
* เคลงแดง Medinilla curtisii Hook.f.
* เคลงใบเวียน Medinilla radicans (Blume) Blume
* เคลงย้อย Medinilla alpestris (Jack) Blume
* เคลงหิน Medinilla rubicunda (Jack) Blume
* Medinilla laurifolia (Blume) Blume
* Medinilla clarkei King
* Medinilla scortechnii King
* Medinilla speciosa (Reinw. ex Blume) Blume
* เคลงแสด Medinilla succulenta (Blume) Blume
สกุลพลอง (Memecylon) ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็กมีเนื้อไม้ เช่น
* พลองขี้ควาย Memecylon caeruleum Jack
สกุลเอนอ้า (Osbeckia) ไม้พุ่ม ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ในประเทศไทยพบ 7 ชนิด ได้แก่
* เอนอ้าขายาว Osbeckia aspericaulis Hooh.f. ex Triana
* เอนอ้า Osbeckia chinensis L.
* โคลงเคลงตัวผู้ Osbeckia cochinchinensis Cogn.
* เอนอ้าน้ำ Osbeckia nepalensis Hook. f.
* เอนอ้าขนแข็ง Osbeckia setoso-annulata Geddes
* เอนอ้าขน หรือ จุกนารี Osbeckia stellata Buch.-Ham. ex Ker Gawl.
* เอนอ้าหิน Osbeckia thorelii Guillaumin
สกุลเคลง (Pachycentria) ไม้พุ่มอิงอาศัย ทั่วโลกมีสมาชิกประมาณ 8 ชนิด ในไทยมี 3 ชนิด ได้แก่
* เคลงกนก Pachycentria varingifolia (Blume) Blume
* เคลงก้านแดง Pachycentria constricta (Blume) Blume
* เคลงก้านแดง Pachycentria pulverulenta (Jack) Clausing
สกุลเครือปลาซิว (Pseudodissochaeta) ไม้พุ่มอิงอาศัย เช่น
* เครือปลาซิว Pseudodissochaeta septentrionalis (W.W. Sm.) M.P. Nayar
สกุลก้ามกุ้ง (Phyllagathis) ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ไม่มีลำต้น มีเหง้าใต้ดิน มักพบบนก้อนกินริมลำธารที่มีความชื้น ในป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยพบ 5 ชนิด ได้แก่
* ก้ามกุ้งขน Phyllagathis hispida King
* ก้ามกุ้งใบกลม Phyllagathis rotundifolia (Jack) Blume
* ก้ามกุ้งสยาม Phyllagathis siamensis Cellin. & S. S.Renner
* ก้ามกุ้งหัว Phyllagathis tuberosa (Hansen) Cellin. & S. S.Renner
* ก้ามกุ้งภูวัว Phyllagathis nanakorniana Wangwasit, Norsaengsri & Cellin.
สกุลแปร้ (:Sonerila) ไม้ล้มลุก มักบนลานหินที่มีมอสส์ ตามป่าดิบชื้น เช่น
* แปร้น้ำเงิน Sonerila maculata Roxb.
* ดรุณี Sonerila moluccana Roxb.
* พันซี Sonerila erecta Jack
* สาวน้ำตก Sonerila calophylla Ridl.
* สาวสวรรค์ Sonerila helferi C.B. Clarke
=== สกุลอื่น ๆ ===
== อ้างอิง ==
=== บรรณานุกรม ===
.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
วงศ์โคลงเคลง | thaiwikipedia | 287 |
อังกาบสีปูน | อังกาบสีปูน ( หรือ เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) ไม้พุ่มคลุมดินขนาดเล็ก เป็นกิ่งทอดเลื้อย สูง 15 - 40 ซม. ใบรูปไข่ ปลายแหลม ยาว 2 - 4 ซม. มีสีเขียวเป็นมัน ดอกมีสีแดงอมส้ม คล้ายสีปูนแดงที่กินกับหมาก กลีบดอกกลมมน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือปักชำ ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงามได้ทั้งในที่ร่มรำไร และกลางแจ้ง
== อ้างอิง ==
ITIS 34350
ไม้ดอกไม้ประดับ
สกุลอังกาบ | thaiwikipedia | 288 |
เชอร์รีสเปน | เชอร์รีสเปน หรือ อาเซโรลา เป็นไม้ผลเมืองร้อน ต้นเป็นกึ่งพุ่มกึ่งต้นไม้ขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Malpighiaceae มีชื่อสามัญคือ Acerola, Barbados Cherry, West Indian Cherry และ Wild Crapemyrtle.
== การกระจายพันธุ์ ==
เชอร์รีสเปนสามารถพบในทางตอนใต้ของสหรัฐ (ตอนใต้ของรัฐฟลอริดา และต่ำกว่า Rio Grande Valley ของรัฐเท็กซัส), ประเทศเม็กซิโก, อเมริกากลาง, แคริบเบียน และทวีปอเมริกาใต้ และทางใต้ไปไกลถึงประเทศเปรูและรัฐบาเยียในประเทศบราซิล มีการปลูกเลี้ยงในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก รวมถึงแคว้นกานาเรียสของประเทศสเปน, ประเทศกานา, ประเทศเอธิโอเปีย, ประเทศมาดากัสการ์, แซนซิบาร์ของประเทศแทนซาเนีย, ประเทศศรีลังกา, ประเทศไต้หวัน, ประเทศอินเดีย, เกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย, รัฐฮาวายของสหรัฐ และประเทศออสเตรเลีย
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
เชอร์รีสเปนเป็นไม้พุ่มหรือต้นไม้ขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีกิ่งมากบนลำต้นสั้น สูง 2-3 เมตร บางครั้งสูงถึง 6 เมตร ใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ยาว2-8 ซม.กว้าง 1-4 ซม. ก้านใบสั้น ขอบใบเป็นคลื่น บนแผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกมี 2 เพศในดอกเดียว มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. มี 5 กลีบ มีสีชมพูเข้มถึงแดง กลีบดอก้ป็นชายครุย, มี 10 เกสรเพศผู้, และมีต่อม 6-10 ต่อมบนวงกลีบเลี้ยง มี 3-5 ดอกต่อหนึ่งช่อดอก ไร้ก้านหรือก้านดอกสั้นๆตามซอกช่อกระจุก ผลเมล็ดเดียวแข็ง มีสีแดงสว่าง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 ซม. หนัก 3-5 ก. ผลอยู่เป็นคู่หรือกลุ่ม 3 ผล แต่ละผลมี 3 พูบรรจุเมล็ดรูปสามเหลี่ยม 3 เมล็ด ผลมีวิตามินซีสูง มีรสเปรี้ยว แต่บางครั้งมีรสหวาน
== อ้างอิง ==
ไม้ดอกไม้ประดับ
วงศ์โนรา | thaiwikipedia | 289 |
ประเทศอินเดีย | อินเดีย (India) หรือ ภารัต (भारत, ถอดอักษรเทวนาครีเป็นไทย ภารต, ออกเสียง ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India, भारत गणराज्य, ภารตคณราชย) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ กินพื้นที่ส่วนใหญ่ในอนุทวีปอินเดีย เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก และยังเป็นประเทศประชาธิปไตยใหญ่ที่สุดในโลกและมีประชากรมากที่สุดในโลก (ประมาณ 1,400 ล้านคน) มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก และยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก มีเมืองหลวงคือนิวเดลี
มนุษย์ยุคใหม่เริ่มเข้ามาตั้งรกรากในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณ 55,000 ปีที่แล้ว โดยเลี้ยงชีพด้วยการทำเกษตรกรรมและล่าสัตว์ และอนุทวีปอินเดียถือเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากที่สุดรองจากทวีปแอฟริกา ผู้คนเริ่มรวมตัวกันเป็นสังคมเมื่อ 9,000 ปีที่แล้วบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ประมาณ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม ได้แพร่กระจายไปยังอินเดียจากแถบตะวันตกเฉียงเหนือ และประมาณ 400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช อิทธิพลของศาสนาฮินดูได้ก่อให้เกิดระบบชนชั้นวรรณะในอินเดีย ตามมาด้วยการแพร่หลายของศาสนาพุทธและศาสนาเชน การรวมกลุ่มทางการเมืองก่อให้เกิดราชวงศ์โมริยะและจักรวรรดิคุปตะซึ่งตั้งอยู่ในลุ่มน้ำคงคา ในยุคนั้นเพศชายมีบทบาทหลักในการพัฒนาประเทศ แต่สตรีเพศยังคงถูกจำกัดเสรีภาพในสังคม วิถีชีวิตในสังคมของประชากรในอินเดียตอนใต้ยังได้ขยายอิทธิพลไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งวัฒนธรรมทางศาสนาและภาษาตระกูลดราวิเดียน
ในยุคกลางตอนต้น ศาสนาคริสต์, อิสลาม, ยูดายห์ และซาราธุสตรา ได้รับอิทธิพลมาจากชายฝั่งทางใต้และตะวันตกของอินเดีย กองทัพมุสลิมจากเอเชียกลางเข้ายึดที่ราบทางเหนือของอินเดียและได้ก่อตั้งรัฐสุลต่านเดลี และผนวกอินเดียตอนเหนือเข้าสู่เครือข่ายสากลของอิสลามยุคกลาง ในศตวรรษที่ 15 จักรวรรดิวิชัยนครได้สร้างวัฒนธรรมฮินดูผสมผสานขึ้นในอินเดียตอนใต้ ศาสนาซิกข์ได้ถือกำเนิดขึ้นในรัฐปัญจาบ ต่อมาใน ค.ศ. 1526 จักรวรรดิโมกุลได้ปกครองประเทศเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ และทิ้งมรดกทางสถาปัตยกรรมอันล้ำค่าเอาไว้ถึงปัจจุบัน ต่อมา การปกครองของบริษัทในอินเดียโดยสหราชอาณาจักรได้เข้ามามีบทบาทหลัก ส่งผลให้อินเดียกลายเป็นประเทศอาณานิคมที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ระดับโลกแต่ยังคงรักษาอำนาจอธิปไตยของตนไว้ การปกครองของบริติชราชเริ่มต้นใน ค.ศ. 1858 และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคใหม่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการศึกษาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ต่อมา ขบวนการชาตินิยมได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีอุดมการณ์ในการต่อต้านการปกครองของต่างชาติ ซึ่งนำไปสู่การยุติการปกครองของอังกฤษใน ค.ศ. 1947 จักรวรรดิบริติชอินเดียนถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาจักรอิสระได้แก่ อาณาจักรฮินดูที่ส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย และปากีสถานซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมท่ามกลางการอพยพของประชากรจำนวนมากซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทวีปเอเชีย
อินเดียเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ปกครองด้วยระบบรัฐสภาแบบประชาธิปไตย เป็นสังคมพหุนิยมซึ่งประกอบไปด้วยความหลากหลายทางภาษาและเชื้อชาติ ประชากรของอินเดียเพิ่มขึ้นจาก 361 ล้านคนใน ค.ศ. 1951 เป็น 1.2 พันล้านใน ค.ศ. 2011 ในช่วงเวลาเดียวกัน รายได้ต่อหัวของประชากรได้เพิ่มขึ้นจาก 64 ดอลลาร์ เป็น 1,498 ดอลลาร์ต่อปี และอัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นจาก 16.6% เป็น 74% จากการเป็นประเทศที่ยากจนใน ค.ศ. 1951 อินเดียได้กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากการมีกลุ่มชนชั้นกลางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในประเทศ อินเดียยังมีโครงการอวกาศซึ่งรวมถึงภารกิจนอกโลกทั้งที่วางแผนไว้และสำเร็จแล้วหลายภารกิจ และยังมีชื่อเสียงในด้านวงการบันเทิง รวมทั้งคำสอนทางจิตวิญญาณและศาสนาของอินเดียได้มีบทบาทต่อวัฒนธรรมโลก อินเดียได้ลดอัตราความยากจนลงอย่างมาก แม้ว่าจะต้องแลกมาด้วยความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมที่เพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน อินเดียมีค่าใช้จ่ายด้านการทหารสูง และมีปัญหาข้อพิพาทบริเวณแคชเมียร์กับปากีสถานและจีนมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ปัญหาหลักในปัจจุบันของอินเดีย ได้แก่ ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ, ภาวะทุพโภชนาการในเด็ก และระดับมลพิษทางอากาศที่เพิ่มสูงขึ้น อินเดียยังมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์โดยพื้นที่ป่าไม้คิดเป็นเนื้อที่กว่า 21.7% ของประเทศ และมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด
== นิรุกติศาสตร์ ==
อ้างอิงจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษของอ็อกซ์ฟอร์ด (ฉบับที่สาม ปี 2009) ชื่อประเทศ "อินเดีย" มาจากภาษาละติน India ซึ่งหมายถึงภูมิภาคเอเชียใต้และภูมิภาคอื่น ๆ ทางตะวันออก และบางหลักฐานยังชี้ให้เห็นว่าคำนี้มีที่มาจากภาษากรีกคอยนี Ἰνδία; และภาษากรีกโบราณ Ἰνδός ซึ่งใช้เรียกบริเวณตะวันออกของอาณาจักร และยังหมายถึง "ชาวสินธุ" ซึ่งเป็นการกล่าวถึงผู้คนบริเวณอนุทวีปอินเดียที่เข้ามาตั้งรกรากบริเวณแม่น้ำสินธุ
นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า Hindustan ซึ่งเป็นภาษาเปอร์เซียกลาง เพื่อใช้เรียกประเทศอินเดียซึ่งเริ่มมีการใช้ในสมัยจักรวรรดิโมกุล โดยคำว่า Hindustan มีความหมายหลากหลาย แต่นักภาษาศาสตร์สากลได้นิยามว่าหมายถึงภูมิภาคทั้งหมดที่ครอบคลุมบริเวณอินเดียตอนเหนือและประเทศปากีสถานในปัจจุบัน แต่ในบางครั้งคำนี้สามารถสื่อถึงแผ่นดินอินเดียทั้งประเทศได้เช่นกัน
== ภูมิศาสตร์ ==
ประเทศอินเดียเกิดขึ้นบนอนุทวีปอินเดีย (Indian subcontinent) ซึ่งตั้งอยู่บนบริเวณแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian tectonic plate) ซึ่งในอดีตนั้นเคยเชื่อมอยู่กับแผ่นออสเตรเลีย การรวมตัวทางภูมิศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอินเดียนั้นเกิดขึ้นราว 75 ล้านปีก่อน เมื่ออนุทวีปอินเดียซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแห่งตอนใต้ คือ มหาทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ได้เริ่มเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่บริเวณมหาสมุทรอินเดียซึ่งในขณะนั้นยังไม่เกิดขึ้น โดยกินเวลารวมทั้งหมดประมาณ 55 ล้านปี หลังจากนั้นอนุทวีปอินเดียนได้ชนเข้ากับแผ่นทวีปยูเรเชีย อันเป็นที่มาของการเกิดเทือกเขาที่มีความสูงที่สุดในโลก คือ เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตอนใต้ของเทือกเขาซึ่งเคยเป็นท้องทะเลอันกว้างขวางได้ค่อย ๆ กลายมาเป็นผืนดินราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา (Indo-Gangetic Plain) ทางภาคตะวันตกนั้นติดกับทะเลทรายธาร์ ซึ่งถูกกั้นกลางด้วยทิวเขาอะราวัลลี
อนุทวีปอินเดียนั้นได้คงอยู่จนกลายมาเป็นคาบสมุทรอินเดียในปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดทางธรณีวิทยา และยังเป็นบริเวณที่มีความคงที่ทางภูมิศาสตร์ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย โดยกินพื้นที่กว้างขวางจรดเทือกเขาสัทปุระ (Satpura) ทางตอนใต้ และเทือกเขาผิงอ ในภาคกลางของอินเดีย โดยมีลักษณะคู่ขนานกันไปจรดชายฝั่งทะเลอาหรับในรัฐคุชราตทางทิศตะวันตก และที่ราบสูงโชตนาคปุระ (Chota Nagpur Plateau) ที่เต็มไปด้วยแร่รัตนชาติในรัฐฌาร์ขัณฑ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนทิศใต้นั้นประกอบด้วยแผ่นดินคาบสมุทรบนที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Plateau) ซึ่งถูกขนาบโดยเทือกเขาริมทะเลทั้งสองฝั่งที่เรียกว่า เทือกเขากัทส์ทิศตะวันตก และตะวันออก(Western and Eastern Ghats) ในบริเวณนี้จะพบหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งมีอายุถึง 1 พันล้านปี
ชายฝั่งของอินเดียนั้นมีระยะทางประมาณ แบ่งเป็นระยะทางบนคาบสมุทรอินเดีย และ ในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และลักษทวีป จากแผนที่ทะเลของอินเดียนั้น ชายฝั่งบนแผ่นดินใหญ่ของอินเดียประกอบด้วยหาดทรายถึง 43% กรวดและหิน 11% รวมถึงหน้าผา และ 46% เป็นดินเลนและโคลน
แม่น้ำในอินเดียแบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทคือ แม่น้ำจากเทือกเขาเอเวอเรส แม่น้ำคาบสมุทรเดคคาน แม่น้ำชายฝั่ง และแม่น้ำในดินแดนภายในแม่น้ำหิมาลัย ปกติจะเกิดจากน้ำที่ละลายมาจากหิมะ ในภาคเหนือของอินเดีย ดังนั้น แม่น้ำเหล่านี้จะมีน้ำไหลเต็มที่อยู่ตลอดเวลา และมีความลาดชันค่อนข้างต่ำ ในฤดูมรสุมเมื่อฝนตกมาก แม่น้ำเหล่านี้จะรับน้ำไว้ได้ไม่หมด จึงทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่อยู่เสมอ ส่วนแม่น้ำในคาบสมุทรเดคคาน โดยปกติได้น้ำจากน้ำฝน ดังนั้นปริมาณน้ำในแม่น้ำดังกล่าว จึงมักจะมากน้อยไม่แน่นอน อีกทั้งมีความลาดชันลดหลั่นลง จึงรับน้ำได้มาก และช่วยระบายน้ำในฤดูมรสุมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำย่อย ๆ ซึ่งไม่มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำทั้งสองประเภทดังกล่าว และอยู่ตามชายฝั่งโดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก จะมีเส้นทางสั้น ๆ และมีขนาดแคบ จึงรับน้ำได้ในปริมาณจำกัด สำหรับแม่น้ำในดินแดนภายใน เป็นลำน้ำเล็ก ๆ ไม่มีทางออกทะเล ปลายทางของแม่น้ำหากไม่ไหลลงแอ่งน้ำ ทะเลสาบ ก็จะเหือดแห้งไปในทะเลทรายธาร์
ระบบแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียคือ แม่น้ำคงคา (Ganges) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย แม่น้ำสาขาในระบบแม่น้ำคงคาคือ แม่น้ำยมนา แม่น้ำกากรา แม่น้ำกันดัค และแม่น้ำโคสิ บริเวณผืนดินที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาจัดได้ว่ามีความอุดมสมบูรณ์ และกว้างใหญ่ที่สุด โดยเป็นบริเวณกว้างถึงหนึ่งในสี่ของประเทศ นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งมีความสำคัญรองลงมา มีสาขามากมาย ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดีย โดยไปสุดที่อ่าวเบงกอลเช่นเดียวกับแม่น้ำคงคา
ส่วนลุ่มน้ำของระบบแม่น้ำอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ รองลงมาได้แก่ ลุ่มแม่น้ำโคธาวารีนาเลีย (Godavari) ในเขตที่ราบสูงเดคคาน ระบบน้ำตาปี (Tapi) ในภาคเหนือ และระบบน้ำเพนเนอร์ (Penner) ในภาคใต้ การที่อินเดียถูกแวดล้อมด้วยพรมแดนธรรมชาติรอบด้าน คือมีทั้งภูเขาและฝั่งทะเลเป็นพรมแดน ได้แยกอินเดียออกจากส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย ทำให้อินเดียตั้งอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง ซึ่งนับว่ามีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อวิถีชีวิตของชาวอินเดีย ทำให้ชาวอินเดียมีอารยธรรมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะของตนเองโดยเฉพาะ และในโอกาสเดียวกัน พรมแดนธรรมชาติดังกล่าว ช่วยให้สามารถรักษาวัฒนธรรมของตนให้สืบเนื่องตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน
สภาพอากาศของอินเดียนั้นได้รับอิทธิพลจากสองแหล่งใหญ่ ๆ คือเทือกเขาหิมาลัย และทะเลทรายธาร์ ทำให้มีทั้งฤดูร้อนอันอบอุ่น และฤดูหนาวที่มีมรสุม เทือกเขาหิมาลัยนั้นมีบทบาทมากในการป้องกันลมพัดลงลาดเขา (Katabatic wind) ทำให้บริเวณส่วนใหญ่ของประเทศนั้นอบอุ่นกว่าประเทศอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ในละติจูดเดียวกัน ส่วนทะเลทรายธาร์นั้นก็มีบทบาทในการขับเคลื่อนความชื้นของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลมมรสุมนี้เองที่ทำให้ทุกปี ๆ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมนั้นมีฝนกรดตกในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ
จากการแบ่งเขตภูมิอากาศนั้น อินเดียประกอบด้วยภูมิอากาศหลัก ๆ 4 แบบได้แก่ แบบเขตร้อนชื้น (tropical wet), แบบเขตร้อนแห้งแล้ง (tropical dry), แบบอบอุ่นชื้น (subtropical humid), และแบบเทือกเขาสูง (montanr)
== ประวัติศาสตร์ ==
ประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดียมีต้นกำเนิดมาจากลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมแรกของอินเดียที่รุ่งเรืองเมื่อประมาณ 2,600 ปีถึง 1,900 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาเมื่อประมาณ 2,000 ถึง 15,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอินโด-อารยันจากเอเชียกลางอพยพ เข้ามาในอินเดีย และพบกับอารยธรรมสินธุ ทั้งสองอารยธรรมได้ผสมผสานรวมกันเป็นอารยธรรมพระเวทโดยหลักฐานที่สำคัญที่สุดของอารยธรรมนี้คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนาในภาษาสันสกฤต และเป็นรากฐานของศาสนาฮินดู ระบบกฎหมายและการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมมเนียมประเพณีของ ชาวอินเดีย อันเป็นที่มาของชื่อยุคพระเวทคัมภีร์ฤคเวทเป็นพระเวทที่เก่าแก่ที่สุด ต่อมาจึงมีคัมภีร์ยชุรเวท สามเวทอาถรรพเวท และมหากาพย์ทั้งหลายซึ่งได้แก่ รามายณะและมหาภารตะ ซึ่งถือกำเนิดในช่วงประมาณพุทธกาลตอนปลายสมัยพระเวท ชาวอารยันในอินเดียอยู่กันเป็นเผ่า เลี้ยงสัตว์เร่ร่อน แต่ต่อมาเริ่มรู้จักเพาะปลูกตั้งรกราก มีการค้าขายทำให้บางเผ่ารวบรวมตั้งตนเป็นอาณาจักรใหญ่ได้และเริ่มมีระบบวรรณะชัดเจน
ต่อมา อารยธรรมอิสลามได้เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในอินเดียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยพ่อค้ามุสลิมจากตะวันออกกลางและจักรวรรดิอาหรับได้ส่งกองทัพมาโจมตีแคว้นซินด์ (ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน) จักรวรรดิที่มีความยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น คือ จักรวรรดิโมกุล (คริสต์ศตวรรษที่ 16-18) เป็นสมัยที่มีการแพร่ขยายอิทธิพลวัฒนธรรมโมกุลอย่างกว้างขวางทั้งในด้านการปกครอง ภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และศาสนาอิสลาม
ในสมัยของจักรพรรดิออรังเซพ (Aurangzeb) ซึ่งเป็นผู้เคร่งศาสนาอิสลามได้ออกกฎหมายที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมและเป็นเหตุให้ชาวอินเดียต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิเมื่อสิ้นอำนาจของพระองค์ จักรวรรดิโมกุลก็ค่อย ๆแตกแยกและเสื่อมลง เป็นโอกาสให้อังกฤษเข้ามามีอำนาจแทนที่อังกฤษเริ่มเข้าไปมีอิทธิพลในอนุทวีปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเข้าไปการค้าขายพร้อม ๆ กับการเข้าไปครอบครองดินแดนและแทรกแซงการเมืองท้องถิ่น
จนกระทั่งอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในปี 1877 โดยมีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดินีแห่งอินเดีย หลังจากการรณรงค์ต่อสู้กับการปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลานาน ภายใต้การนำของมหาตมา คานธี และ ชวาหะร์ลาล เนห์รู อินเดียจึงได้รับเอกราชและร่วมเป็นสมาชิกอยู่ภายใต้เครือจักรภพเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2490 โดยยังมีพระมหากษัตริย์ของอังกฤษเป็นประมุข และทรงแต่งตั้งข้าหลวงใหญ่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม 1947 ได้มีการสถาปนาสาธารณรัฐอินเดียโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และนายชวาหะร์ลาล เนห์รู ดำรงตำแหน่งประธานมนตรีคนแรก
== การเมืองการปกครอง ==
=== บริหาร ===
การปกครองของอินเดียเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา แยกศาสนาออกจากการเมือง แบ่งอำนาจการปกครองเป็นสาธารณรัฐ (Secular Democratic Republic with a parliamentary system) แบ่งเป็น 29 รัฐ และดินแดนสหภาพ (Union Territories) อีก 7 เขต
การปกครองของอินเดียมีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บท มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และประมุขของฝ่ายบริหารตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่ประธานมนตรี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย ราม นาถ โกวินท์ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2017 ในฐานะประธานาธิบดีคนที่ 13 ส่วนประธานมนตรีคนปัจจุบันคือนายนเรนทระ โมที (Narendra Modi) เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2014 ในฐานะประธานมนตรีคนที่ 15 โดยประธานมนตรี เป็นผู้ที่มีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยการเสนอแนะของประธานมนตรี คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการ (Cabinet Ministers) รัฐมนตรีที่ขึ้นตรงต่อประธานมนตรี (Ministers of State – Independent Charge) และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (Ministers of State)
รัฐบาลอินเดียชุดปัจจุบันมี 66 คน ประกอบด้วย ประธานมนตรี 1 คน รัฐมนตรีว่าการ (Cabinet Ministers) 26 คน และรัฐมนตรีที่ขึ้นตรงต่อประธานมนตรี (Ministers of State with Independent Charge) และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (Ministers of State) 39 คน รวม 66 คน
=== นิติบัญญัติ ===
ระบบรัฐสภา ประกอบด้วยราชยสภา (Rajya Sabha) เป็นสภาสูง มีสมาชิกจำนวน 245 คน สมาชิกส่วนใหญ่ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม อีกส่วนมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และโลกสภา (Lok Sabha) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกจำนวน 545 คน สมาชิกจำนวน 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี จากกลุ่มอินโด-อารยันในประเทศอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา
=== ตุลาการ ===
อำนาจตุลาการเป็นอำนาจอิสระ ไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ปกป้องและตีความรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลสูงสุดของประเทศ ผู้พิพากษาประจำศาลฎีกา มีจำนวนไม่เกิน 25 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ในระดับรัฐ มีศาลสูง (High Court) ของตนเองเป็นศาลสูงสุดของแต่ละรัฐ รองลงมาเป็นศาลย่อย (Subordinate Courts) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ อย่างไรก็ตาม อำนาจตุลาการของรัฐอยู่ภายใต้ศาลฎีกาซึ่งมีอำนาจสูงสุด
ศาลอินเดียแบ่งเป็นสามชั้น ประกอบด้วย ศาลสูงสุด (Supreme Court) นำโดย ประธานศาลสูงสุดแห่งอินเดีย (Chief Justice of India), ศาลสูง (High Courts) ยี่สิบเอ็ดศาล เป็นศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นอีกจำนวนมาก ศาลสูงสุดมีเขตอำนาจชำระคดีเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐาน, ข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับส่วนกลาง และคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลสูง กับทั้งการตีความรัฐธรรมนูญ
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
อินเดียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 28 รัฐ (States) (ซึ่งแบ่งย่อยลงเป็นเขต) และ 9 ดินแดนสหภาพ (Union Territories) ได้แก่
รัฐ
{| border=0
|- valign=top
||
1. อานธรประเทศ
2. อรุณาจัลประเทศ
3. อัสสัม
4. พิหาร
5. ฉัตตีสครห์
6. กัว
7. คุชราต
8. หรยาณา
9. หิมาจัลประเทศ
10. ฌาร์ขัณฑ์
11. กรณาฏกะ
12. เกรละ
13. มัธยประเทศ
||
14. มหาราษฏระ
15. มณีปุระ
16. เมฆาลัย
17. มิโซรัม
18. นาคาแลนด์
19. โอริศา
20. ปัญจาบ
21. ราชสถาน
22. สิกขิม
23. ทมิฬนาฑู
24. เตลังคานา
25. ตริปุระ
26. อุตตรประเทศ
27. อุตตราขัณฑ์
28. เบงกอลตะวันตก
||
ดินแดนสหภาพ
A. หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์
B. จัณฑีครห์
C. ดาดราและนครหเวลี
C. ดามันและดีอู
D. ชัมมูและกัศมีร์ (ดินแดนสหภาพ)
E. ลาดัก
F. ลักษทวีป
G. เดลี
H. ปุทุจเจรี
|}
=== นโยบายต่างประเทศ ===
ในปี 1950 อินเดียสนับสนุนการปลดปล่อยอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชียอย่างแข็งขัน และมีบทบาทสำคัญในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด อินเดียมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับเพื่อนบ้านอย่างปากีสถาน ทั้งสองประเทศได้ทำสงครามกันถึง 4 ครั้ง: ในปี 1947, 1965, 1971 และ 1999 สงครามเกิดขึ้นในพื้นที่พิพาทของแคชเมียร์ ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 กองทัพอินเดียเข้าแทรกแซงในต่างประเทศสองครั้งตามคำเชิญของประเทศเจ้าภาพ ได้แก่ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพในศรีลังการะหว่างปี 1987 และ 1990; และการแทรกแซงทางอาวุธเพื่อป้องกันความพยายามก่อรัฐประหารในมัลดีฟส์ในปี 1988 หลังสงครามกับปากีสถานในปี 1965 อินเดียเริ่มสานสัมพันธ์ทางการทหารและเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 สหภาพโซเวียตเป็นผู้จัดหาอาวุธรายใหญ่ที่สุด นอกเหนือจากความสัมพันธ์พิเศษกับรัสเซียอย่างต่อเนื่องแล้ว อินเดียยังมีความสัมพันธ์ด้านการป้องกันประเทศกับอิสราเอลและฝรั่งเศสในวงกว้าง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สมาคมดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค และองค์การการค้าโลก ประเทศได้จัดหาบุคลากรทางทหารและตำรวจ 100,000 นายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ 35 แห่งทั่ว 4 ทวีป อินเดียเข้าร่วมในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก G8+5 และฟอรัมพหุภาคีอื่น ๆ อินเดียมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับประเทศต่าง ๆ ในอเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกา
อินเดียทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกในปี 1974 และทำการทดสอบใต้ดินเพิ่มเติมในปี 1998 แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์และการคว่ำบาตรทางทหาร อินเดียไม่ได้ลงนามทั้งสนธิสัญญาห้ามทดสอบนิวเคลียร์อย่างครอบคลุมหรือสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยพิจารณาว่าทั้งสองสนธิสัญญามีข้อบกพร่อง นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น อินเดียได้เพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ และการทหารกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ในปี 2008 มีการลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์พลเรือนระหว่างอินเดียและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าอินเดียจะมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในขณะนั้นและไม่ได้เข้าร่วมสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ แต่ก็ได้รับการยกเว้นจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศและกลุ่มซัพพลายเออร์นิวเคลียร์ ซึ่งยุติข้อจำกัดก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์และการพาณิชย์ของอินเดีย เป็นผลให้อินเดียกลายเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์โดยพฤตินัยชาติที่ 6 ต่อมาอินเดียได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์พลเรือนกับรัสเซีย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และแคนาดา
=== กองทัพ ===
ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังติดอาวุธของประเทศ ด้วยกองกำลังประจำการ 1.45 ล้านนาย พวกเขาเป็นกองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ประกอบด้วยกองทัพอินเดีย กองทัพเรืออินเดีย กองทัพอากาศอินเดีย และหน่วยยามฝั่งอินเดีย งบประมาณการป้องกันประเทศอย่างเป็นทางการของอินเดียในปี 2011 อยู่ที่ 36.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.83% ของจีดีพี สำหรับปีงบประมาณระหว่างปี 2012-2013 มีงบประมาณ 40.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติแห่งสตอกโฮล์ม (SIPRI) ในปี 2008 ค่าใช้จ่ายทางการทหารประจำปีของอินเดียในแง่ของกำลังซื้ออยู่ที่ 72.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2011 งบประมาณการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้น 11.6% แม้ว่าจะไม่รวมเงินทุนที่เข้าถึงกองทัพผ่านหน่วยงานอื่นของรัฐบาล
ในปี 2012 อินเดียเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก ระหว่างปี 2007 ถึง 2011 คิดเป็น 10% ของเงินทุนที่ใช้ในการซื้ออาวุธระหว่างประเทศ ค่าใช้จ่ายทางทหารส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การป้องกันประเทศปากีสถานและต่อต้านอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ในเดือนพฤษภาคม 2017 องค์การวิจัยอวกาศของอินเดียได้เปิดตัวดาวเทียมเอเชียใต้ ซึ่งเป็นของขวัญจากอินเดียไปยังประเทศในกลุ่ม SAARC ที่อยู่ใกล้เคียง ในเดือนตุลาคม 2018 อินเดียได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 5.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 400 พันล้านดอลลาร์) กับรัสเซียเพื่อจัดหาระบบป้องกันขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ S-400 Triumf 4 ระบบ ซึ่งเป็นระบบป้องกันขีปนาวุธพิสัยไกลที่ทันสมัยที่สุดของรัสเซีย
== เศรษฐกิจ ==
=== โครงสร้างเศรษฐกิจ ===
เศรษฐกิจของอินเดียมีขนาดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกเมื่อวัดด้วยค่าจีดีพี และเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อเทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ หลังจากที่ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งโดยนักสังคมนิยมเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เศรษฐกิจของประเทศหลังจากได้รับเอกราช อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยกิจกรรมตลาดเสรีซึ่งริเริ่มในปี 1990 เพื่อการแข่งขันกับนานาชาติและการลงทุนจากต่างประเทศ อินเดียเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าเกิดใหม่โดยมีจำนวนประชากรมหาศาล เช่นเดียวกับทรัพยากรทางธรรมชาติและบุคลากรมืออาชีพมีทักษะที่เพิ่มมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านได้ทำนายว่าในปี 2020 อินเดียจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก
อินเดียอยู่ภายใต้นโยบายซึ่งตั้งบนพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย นับจากปี 1947 ถึง 1991 เศรษฐกิจอินเดียมีลักษณะของข้อบังคับขยาย ลัทธิคุ้มครอง การถือกรรมสิทธิ์โดยเอกชน การคอรัปชั่นและการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ จนกระทั่งเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 1991 ซึ่งมีการเปิดโอกาสเสรีทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งผลให้ประเทศเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของตลาดเศรษฐกิจแทน การฟื้นฟูการปฏิรูปเศรษฐกิจและนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในช่วงทศวรรษ 2000 ได้เร่งให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วยิ่งขึ้น ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เมืองต่าง ๆ ในอินเดียได้เริ่มเปิดเสรีในข้อบังคับเกี่ยวกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2008 อินเดียเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดอันดับสองของโลก อย่างไรก็ตาม ในปี 2009 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียกลับลดลงอย่างมากเหลือ 6.8 เปอร์เซนต์ ตลอดจนโครงการฟื้นฟูการขาดดุลปีงบประมาณครั้งใหญ่ที่ 6.8 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นระดับสูงที่สุดของโลก
แรงงานชาวอินเดียจำนวน 522 ล้านคนเป็นแรงงานที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ณ ปี 2017 ภาคบริการคิดเป็น 55.6% ของจีดีพีภาคอุตสาหกรรม 26.3% และภาคเกษตร 18.1% การส่งเงินตราต่างประเทศของอินเดียจำนวน 70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2014 ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลกนั้นมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยมีชาวอินเดีย 25 ล้านคนที่ทำงานในต่างประเทศ สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี เมล็ดพืชน้ำมัน ฝ้าย ปอกระเจา ชา อ้อย และมันฝรั่ง อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ สิ่งทอ โทรคมนาคม เคมีภัณฑ์ ยา เทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร เหล็ก อุปกรณ์การขนส่ง ซีเมนต์ เหมืองแร่ ปิโตรเลียม เครื่องจักร และซอฟต์แวร์ ในปี 2006 ส่วนแบ่งการค้าภายนอกในจีดีพีของอินเดียอยู่ที่ 24% เพิ่มขึ้นจาก 6% ในปี 1985 และในปี 2008 ส่วนแบ่งการค้าโลกของอินเดียอยู่ที่ 1.68% ในปี 2011 อินเดียเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับ 10 ของโลกและส่งออกรายใหญ่ที่สุดอันดับ 19 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าสิ่งทอ เครื่องเพชรพลอย ซอฟต์แวร์ สินค้าวิศวกรรม เคมีภัณฑ์ และเครื่องหนัง สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักร อัญมณี ปุ๋ย และเคมีภัณฑ์ ระหว่างปี 2001 ถึง 2011 สัดส่วนของสินค้าปิโตรเคมีและวิศวกรรมในการส่งออกทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 14% เป็น 42% อินเดียเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน
=== พลังงาน ===
กำลังการผลิตของอินเดียในการผลิตพลังงานไฟฟ้าคือ 300 กิกะวัตต์ ซึ่งจำนวนกว่า 42 กิกะวัตต์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การใช้ถ่านหินของประเทศเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกโดยอินเดีย แต่อินเดียก็เป้นหนึ่งในประเทศที่รณรงค์การใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างกว้างขวาง อินเดียปล่อยแก๊สเรือนกระจกเป็นประมาณ 7% ของปริมาณก๊าซทั่วโลก ซึ่งเท่ากับประมาณ 2.5 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคนต่อปี ซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยโลก การเพิ่มการเข้าถึงไฟฟ้าและการปรุงอาหารที่สะอาดด้วยแก๊สปิโตรเลียมเหลวมีความสำคัญต่อพลังงานในอินเดียปัจจุบัน
=== การท่องเที่ยว ===
การท่องเที่ยวในประเทศอินเดียเป็นส่วนสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศอินเดียที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกคำนวณว่าธุรกิจการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับอินเดีย หรือ 9.2% ของจีดีพีประเทศในปี 2018 และทำให้เกิดอาชีพกับผู้คน 42.673 ล้านคน, 8.1% ของการจ้างงานทั้งหมด มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นสูงถึง 6.9% หรือ ภายในปี 2028 (9.9% ของจีดีพี) ในเดือนตุลาคม 2015 การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศอินเดียมีมูค่าประมาณการอยู่ที่สามพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าจะโตขึ้นถึง 7–8 พันล้านดอลล่าร์ในปี 2020 ในปี 2014 มีผู้ป่วยต่างชาติ 184,298 รายเข้ามาในประเทศอินเดียเพื่อเข้ารับการรักษา
ในปี 2017 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 10 ล้านคนเดินทางเข้ามาในอินเดีย เทียบกับจำนวน 8.89 ล้านคนในปี 2016 หรือคิดเป็นการเติบโต 15.6% ในขณะที่นักท่องเที่ยวภายในประเทศเดินทางไปตามรัฐและยูทีต่าง ๆ อยู่ที่ 1,036.35 ล้านคนในปี 2012 เติบโตขึ้น 16.5% จากปี 2011 ในปี 2014 รัฐที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการท่องเที่ยวคือรัฐทมิฬนาฑู, รัฐมหาราษฏระ และรัฐอุตตรประเทศ และมีเมืองเดลี, มุมไบ, เจนไน, อัคระ และไชปุระ เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากที่สุดห้าอันดับของประเทศ ในปี 2015 นอกจากนี้ในระดับโลก เมืองเดลี อยู่อันดับที่ 28 ขำองจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขาเข้า ตามด้วย มุมไบ ที่อันดับ 30, เจนไน ที่อันดับ 43, อัคระ ที่อันดับ 45, ไชปุระ ที่อันดับ 52 และ โกลกาตา ที่อันดับ 90 ของโลก โดยมีกระทรวงการท่องเที่ยวเป็นหน่วยงานรัฐบาลที่กำหนดและดำเนินนโยบายพัฒนาการท่องเที่ยว ภายใต้แคมเปญ อินเคร็ดดิเบิล อินเดีย (Incredible India)
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เชื้อชาติ ===
ประชากรอินเดียมี 1.408 พันล้านคน
โดยมีเชื้อชาติ อินโด-อารยัน ร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ 25 มองโกลอยด์ ร้อยละ 2 และอื่น ๆ ร้อยละ 1 อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 1.8 (ค.ศ. 1999) และอัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 52.1
=== ระบบชั้นชั้นวรรณะ ===
ตั้งแต่สมัยโบราณวรรณะที่สำคัญของอินเดียมี 4 วรรณะ ได้แก่
วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ปัจจุบันอาจตีความไปถึงนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และนักการเมือง
วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ นักรบ ซึ่งอาจรวมไปถึงข้าราชการ
วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า และ นักธุรกิจ
วรรณะศูทร ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา กรรมกร และคนยากจน
โดยทั่วไปแล้วสามวรรณะแรกนั้นเปรียบเสมือนชนชั้นปกครอง และวรรณะศูทรเปรียบได้กับผู้ถูกปกครอง นอกจากนี้ในสังคมของชาวฮินดูยังมีการแบ่งวรรณะที่ต่ำที่สุด คือ ชนชั้นจัณฑาล หรือที่รู้จักกันในชื่อยุคใหม่ว่า "ดาลิต" มีความหมายว่า "ผู้เป็นที่รักของพระเจ้า" ซึ่งเป็นชนนั้นที่ถูกเลือกปฏิบัติและมีสิทธิเสรีภาพทางสังคมน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม กฎหมายในสังคมยุคใหม่ของอินเดียได้มีการลดช่องว่างทางสังคมดังกล่าวลง โดยมีการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา เช่นการกำหนดโควตาให้นักศึกษาชนชั้นดาลิตเข้าศึกษาโดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก, การเลือกประกอบอาชีพ ตลอดจนสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักในทางปฏิบัติ
=== ภาษา ===
ในปัจจุบัน อินเดียมีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน ประชากรเหล่านี้มีความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม มีภาษาหลักใช้พูดถึง 16 ภาษา เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอังกฤษ ภาษาเบงกอล ภาษาอูรดู ฯลฯ และมีภาษาถิ่นมากกว่า 100 ภาษา ภาษาฮินดี ถือว่าเป็นภาษาประจำชาติ เพราะคนอินเดียกว่าร้อยละ 30 ใช้ภาษานี้ คนอินเดียที่อาศัยอยู่รัฐทางตอนเหนือและรัฐทางตอนใต้นอกจากจะใช้ภาษาที่แตกต่างกันแล้ว การแต่งกาย การรับประทานอาหารก็แตกต่างกันออกไปด้วย
=== ศาสนา ===
ประเทศอินเดียมีความหลากหลายในศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ และการปฏิบัติ โดยทางการแล้วประเทศอินเดียเป็นรัฐฆราวาส (secular state) และไม่มีศาสนาประจำชาติ อนุทวีปอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาที่สำคัญของโลกสี่ศาสนา ได้แก่ ศาสนาฮินดู, ศาสนาเชน, ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์ ข้อมูลจากสำมะโนประชากรปี 2011 ระบุว่าประชากรอินเดีย 79.8% นับถือศาสนาฮินดู, 14.2% นับถือศาสนาอิสลาม, 2.3% นับถือศาสนาคริสต์, 1.7% นับถือศาสนาซิกข์, 0.7% ศาสนาพุทธ และ 0.37% นับถือศาสนาไชนะ ทั้งศาสนาโซโรอัสเตอร์, Sanamahism และ ศาสนายูดาย ล้วนมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ในประเทศอินเดีย และมีผู้นับถืออยู่ศาสนาละหลายพันคน ประเทศอินเดียมีประชากรที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มากที่สุดในโลก (ทั้ง ปาร์ซี (parsi) และ อิรานี (irani)) และยังมีประชากรที่นับถือศาสนาบาไฮมากที่สุดในโลกเช่นกัน ถึงแม้ทั้งสองศาสนานี้จะเติบโตขึ้นในแถบเปอร์เซียก็ตาม ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดีย ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมมาตลอด ความหลากหลายทางศาสนาและการยอมรับความต่างทางศาสนา (Religious toleration) ล้วนปรากฏในประเทศทั้งในทางกฎหมายและทางธรรมเนียมปฏิบัติ ในรัฐธรรมนูญอินเดียได้รับรองเสรีภาพทางศาสนาให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอินเดีย
==== เทพเจ้าในความเชื่อของชาวอินเดีย ====
ในบรรดาเรื่องราวของเทพเจ้าของชนชาติทั้งหลายนั้น เทพเจ้าของอินเดียนับว่ามีเรื่องราวและประวัติความเป็นมาที่ซับซ้อนมากกว่าชาติอื่น ๆ และกล่าวกันว่าตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ชนชาติอริยกะ หรืออินเดียอิหร่านที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีการนับถือเทพเจ้าและมีคัมภีร์พระเวทเกิดขึ้น พวกอริยกะ หรืออารยันนั้นแต่เดิมนั้นนับถือธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ท้องฟ้า ลม และไฟ ต่อมามีการกำหนดให้ปวงเทพเกิดมีหน้าที่กันขึ้น โดยตั้งชื่อตามสิ่งที่เป็นธรรมชาตินั้น ๆแล้วก็เกิดมีหัวหน้าเทพเจ้าขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์ จากหลักฐานโบราณที่เป็นจารึกบนแผ่นดินเหนียวอายุราว 1,400 ปี ก่อนคริสตกาล เรียกว่าแผ่นจารึก โบกาซ คุย หรือจารึก เทเรีย ซึ่งขุดพบที่ตำบลดังกล่าว ของดินแดนแคปปาโดเซีย ในตุรกี จารึกนี้ ได้ออกนามเทพเจ้าเป็นพยานถึง 4 องค์ ได้แก่ พระอินทร์ (lndra) เทพเจ้าแห่งพลัง มิทระ (Mitra) พระวรุณ (Varuna)และ นาสัตย์ (Nasatya) คือ พระนาสัตย์อัศวิน (Asvins)
บางตำราได้กล่าวว่า เทพเจ้าดั้งเดิมของพวกอริยกะนั้นได้แก่ พระอินทร์ พระสาวิตรี พระวรุณ และพระยม บ้างก็กล่าวว่า เทพเจ้าที่เก่าที่สุด คือ พระอินทร์ พระพฤหัสบดี พระวรุณ และพระยม
=== ปัญหาสังคม ===
แม้จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อินเดียยังคงเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคม ในปี 2006 อินเดียมีจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของธนาคารโลกมากที่สุดที่ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน สัดส่วนลดลงจาก 60% ในปี 1981 เป็น 42% ในปี 2005 30.7% ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีของอินเดียมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ตามรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรในปี 2015 ประชากร 15% ขาดสารอาหาร โครงการอาหารกลางวันของชาติพยายามที่จะลดอัตราเหล่านี้ลง ตามรายงานของมูลนิธิ Walk Free Foundation ประจำปี 2016 มีคนประมาณ 18.3 ล้านคนในอินเดีย หรือ 1.4% ของประชากรตกเป็นทาสแรงงาน เช่น แรงงานเด็ก การค้ามนุษย์ และการบังคับขอทาน เป็นต้น จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2011 มีแรงงานเด็ก 10.1 ล้านคนในประเทศ ลดลง 2.6 ล้านคนจาก 12.6 ล้านคนในปี 2001 ตั้งแต่ปี 1991 ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐต่าง ๆ ของอินเดียเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศสุทธิต่อหัวของรัฐที่ร่ำรวยที่สุดในปี 2007 นั้น มีมูลค่ามากกว่า 3.2 เท่าของบริเวณที่ยากจนที่สุด
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== โทรคมนาคม ===
=== การศึกษา ===
การศึกษาในประเทศอินเดียนั้นดำเนินการผ่านทางโรงเรียนรัฐ (ซึ่งบริหารจัดการในสามระดับ: รัฐบาลกลาง, รัฐ และ ท้องถิ่น) และโรงเรียนเอกชน ภายใต้หลายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอินเดีย การศึกษาภาคบังคับโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเยาวชนอายุ 6 ถึง 14 ปี อัตราส่วนของโรงเรียนรัฐบาลต่อโรงเรียนเอกชนในประเทศอินเดียอยู่ที่ 7:5 โดยประเทศอินเดียนั้นได้ดำเนินการเพิ่มอัตราการเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษามาตลอด ในปี 2011 พบว่าราว 75% ของประชากรอินเดียที่อายุ 7 ถึง 10 ปีสามารถอ่านออกเขียนได้ (literate) การพัฒนาระบบการศึกษาในประเทศอินเดียถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ ถึงแม้สัดส่วนการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประชากรอินเดียนั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ผ่านมา มีสัดส่วนผู้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งประเทศอยู๋ที่ 24% ในปี 2013 แต่อินเดียก็ยังไม่ได้เข้าใกล้อัตราส่วนการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่น ๆ เลย
ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีระบบโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ พบว่านักเรียน 29% ที่อายุ 6 ถึง 14 ปี ศึกษาระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน ในขณะที่โรงเรียนเทคนิกจำนวนมากก็เป็นโรงเรียนเอกชนเช่นกัน ตลาดการศึกษาเอกชนในประเทศอินเดียมีรายได้อยู่ที่ 450 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2008
ข้อมูลจากรายงานสถานะการศึกษาประจำปี (Annual Status of Education Report: ASER) ปี 2012 ระบุว่าเยาวชนอายุ 6-14 ปีในพื้นที่ชนบท 96.5% ได้เข้าสมัครเรียนระบบการศึกษา นับเป็นปีที่ 4 ที่สัดส่วนนี้สูงเกิน 96% ประเทศอินเดียสามารถคงสัดส่วนการเข้าสู่ระบบการศึกษาของนักเรียนอายุ 6-14 ไว้ที่ประมาณ 95% ตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2014 ข้อมูลจาก ASER เมื่อปี 2018 พบว่ามีเยาวชนเพียง 2.8% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา อีกรายงานหนึ่งจากปี 2013 ระบุว่ามีนักเรียนจำนวน 229 ล้านคนเข้าศึกษาในโรงเรียนที่ได้รับการรับรองทั่วประเทศ ในระดับประถม 1-7 (Class I - XII) นับว่าเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคนจากปี 2002 และพบว่าในเด็กผู้หญิงนั้นเพิ่มขึ้นถึง 19% ในขณะที่ในเชิงปริมาณ ประเทศอินเดียกำลังเข้าใกล้การครอบคลุมการศึกษาได้ทั่วถึงทั้งประชากรของประเทศ (universal education) แต่คุณภาพของการศึกษาในประเทศอินเดียนั้นเป็นที่ตั้งคำถามอย่างมาก โดยเฉพาะในโรงเรียนของรัฐบาล ถึงแม้นักเรียนมากกว่า 95% จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา แต่พบว่าในระดับมัธยมศึกษา มีเยาวชนอินเดียเพียง 40% เท่านั้นที่เข้าศึกษาต่อในเกรด 9-12 (Grades 9-12) หรือเทียบเท่ากับ ม.3-6 ในระบบการศึกษาไทย
นับตั้งแต่ปี 2000 ธนาคารโลกได้อุดหนุนทุน 2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐให้กับการศึกษาในประเทศอินเดีย เหตุผลบางประการที่ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาในประเทศอินเดียมีระดับที่ต่ำอาจมาจากการขาดแคลนครู อาจารย์
=== สาธารณสุข ===
== วัฒนธรรม ==
ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอินเดียยาวนานกว่า 4,500 ปี ในช่วงสมัยพระเวท (1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้มีการวางรากฐานของปรัชญาฮินดู ตำนาน เทววิทยา และวรรณกรรม ตลอดจนความเชื่อและการปฏิบัติมากมายที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ธรรมะ กรรม โยคะ และโมกษะก่อตั้งขึ้น อินเดียมีชื่อเสียงในด้านความหลากหลายทางศาสนา โดยมีศาสนาฮินดู พุทธ ซิกข์ อิสลาม คริสต์ และศาสนาเชนเป็นศาสนาหลักของประเทศ ศาสนาฮินดู ได้รับการหล่อหลอมโดยสำนักคิดทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง รวมทั้งพวกอุปนิษัท โยคะสูตร ขบวนการภักติ และตามปรัชญาของพุทธศาสนา
=== ศิลปะ ===
ประเทศอินเดียเป็นดินแดนอารยธรรมแห่งหนึ่งของโลกที่มีการรับอารยธรรมจากภายนอกและเผยแพร่ อารยธรรมไปสู่ดินแดนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศ อินเดียได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากต่างประเทศ 4 ครั้ง คือ ครั้งที่หนึ่ง ประมาณ 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช อิทธิ พลจากประเทศเมโสโปเตเมียได้แพร่เข้ามาในลุ่มแม่น้ำสินธุจนถึงประมาณ 1,000 ปีก่อนพุทธศักราช เมื่อชาว อารยันได้บุกรุกอินเดียและทำลายอารยธรรมดั้งเดิม ครั้งที่สอง ราวพุทธศตวรรษที่ 3 ได้รับอิทธิพลศิลปะจาก อิหร่านและกรีก ครั้งที่สามพุทธศตวรรษที่ 6 ได้รับอิทธิพลของกรีกและโรมันเข้ามามีบทบาทต่อศิลปอินเดีย และครั้งที่ 4 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 กลุ่มมุสลิมซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้รุกรานอินเดียและพุทธศตวรรษที่ 21 ราชวงศ์ โมกุลเข้าครอบครองอินเดีย
ศิลปะอินเดีย ประกอบด้วยศิลปะหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ จิตรกรรม, ประติมากรรม, เครื่องปั้นดินเผาและ ศิลปะสิ่งทอ เช่น ผ้าไหมทอ
=== สถาปัตยกรรม ===
สถาปัตยกรรมอินเดียเป็นสถาปัตยกรรมที่มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ของชาติอินเดีย, วัฒนธรรมอินเดีย และ ศาสนาที่เกิดขึ้นในอินเดีย ซึ่งมีการวิวัฒนาการและพัฒนา แตกต่างกันไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ได้รับอิทธิพลจากภายนอกในแต่ละยุค ทั้ง กรีก, โรมัน, เปอร์เซีย และ อิสลาม ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมยุคก่อน ๆ และงานศิลปะที่อุทิศเพื่อกษัตริย์และศาสนาอย่างลงตัว
สถาปัตยกรรมอินเดียส่วนใหญ่รวมทั้งทัชมาฮาล ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมโมกุล และสถาปัตยกรรมอินเดียใต้ ผสมผสานประเพณีท้องถิ่นโบราณเข้ากับรูปแบบที่นำเข้ามา สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็มีอิทธิพลในระดับภูมิภาคเช่นกัน ชาวอินเดียใช้รูปทรงเรขาคณิตที่แม่นยำและการจัดแนวทิศทางเพื่อสะท้อนให้เห็นโครงสร้างของจักรวาล เช่นการสร้างวัดฮินดู ทัชมาฮาลซึ่งสร้างขึ้นในเมืองอัคราระหว่างปี 1631 ถึง 1648 ตามคำสั่งของจักรพรรดิ ชาห์ จาฮัน เพื่อระลึกถึงพระชายา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกว่าเป็น "อัญมณีแห่งศิลปะมุสลิมในอินเดียและเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกของมรดกโลก" สถาปัตยกรรมฟื้นฟูอินโด-ซาราเซนิก ซึ่งพัฒนาโดยชาวอังกฤษในปลายศตวรรษที่ 19 ได้นำสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลามเข้ามาใช้และพบเห็นได้ในสถานที่สำคัญทั่วไป
=== การแต่งกาย ===
ชาวอินเดียโบราณ สตรีจะนิยมสวมเสื้อแขนยาว แบบชาวจีน แต่ตัวสั้น เพื่อเห็นหน้าท้อง นุ่งกางเกงขาลีบด้านใน ใช้ผ้าบาง ๆ เช่น ฝ้ายลินิน มัสลิน ห่มอีกชิ้น ถ้าเป็นชาวพื้นเมืองจะนุ่งส่าหรี หรือกระโปรงจีบดอกสีแดง หรือนุ่งกางเกงขาว ขายาว ส่วนชายนุ่งผ้าขาวใส่เสื้อแขนยาว ไว้หนวดเครา โพกผ้า
ชุดสตรีที่สวมใส่กันทั้งประเทศได้แก่ ส่าหรี มีลักษณะเป็นผ้าผืนเดียวยาว 6 หลา การสวมใส่ส่าหรีนั้นจะผูกรอบเอวและผูกเป็นปมที่ปลายด้านหนึ่ง พันรอบลำตัวส่วนล่าง และพันรอบไหล่ และในรูปแบบที่ทันสมัยกว่าส่าหรีจะถูกใช้เพื่อคลุมศีรษะ รวมถึงใบหน้า เป็นผ้าคลุม มักถูกนำมารวมกับกระโปรงชั้นและสอดเข้าไปในแถบเอวเพื่อการยึดที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมักสวมใส่กับเสื้อเบลาส์อินเดียหรือ choli ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสื้อผ้าส่วนบนของลำตัวซึ่งเป็นส่วนปลายของส่าหรี เพื่อปิดบังรูปร่างส่วนบนของร่างกาย
สำหรับผู้ชาย จะสวมผ้าที่สั้นกว่า คือ dhoti ทำหน้าที่เป็นเสื้อผ้าท่อนล่าง ผูกรอบเอวและพันไว้ ทางตอนใต้ของอินเดียมักจะพันรอบลำตัวส่วนล่าง ส่วนบนซุกไว้ในขอบเอว ในภาคเหนือของอินเดีย ยังพันรอบขาแต่ละข้างอีก 1 ครั้ง ก่อนจะยกขึ้นผ่านขาไปซุกที่ด้านหลัง รูปแบบอื่น ๆ ของเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเย็บหรือการตัดเย็บ ได้แก่ แชดดาร์ (ผ้าคลุมไหล่ที่สวมใส่โดยทั้งสองเพศเพื่อคลุมร่างกายส่วนบนในช่วงที่อากาศหนาวเย็น หรือผ้าคลุมศีรษะขนาดใหญ่ที่ผู้หญิงสวมใส่สำหรับครอบศีรษะหรือคลุมศีรษะ) และผ้าปากรี ( ผ้าโพกหัวหรือผ้าพันคอที่พันรอบศีรษะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีหรือเพื่อกันแสงแดดหรือความหนาวเย็น)
=== วรรณกรรม ===
วรรณกรรมอินเดียได้รับการยอมรับว่ามีอิทธิพลในแง่คำสอนและวัฒนธรรมต่อโลกมาอย่างยาวนาน และมักสะท้อนประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อทางศาสนาสอดแทรกลงไปในวรรณกรรมทุกเรื่อง โดยมีสองมหากาพย์วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ รามายณะ และ มหาภารตะ ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ปุราณะและเรื่องอื่น ๆที่เกี่ยวกับธรรมเนียมกษัตริย์ การสืบราชวงศ์ตามแบบธรรมเนียมโบราณของราชวงศ์ในลุ่มแม่น้ำคงคา วรรณกรรมอินเดียยังมีอิทธิพลต่อชีวิตชาวบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย โดยการเล่า การอ่านนิทานแสดงเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในวรรณกรรม การแสดงหุ่นกระบอก หนัง ละครที่มีเนื้อหาของวรรณกรรม รามายณะ มหากาพย์ และชาดกในโอกาสต่าง ๆ
=== อาหาร ===
อาหารอินเดียเป็นชื่อเรียกโดยรวมของอาหารในอนุทวีปอินเดียซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือใช้เครื่องเทศ สมุนไพรและผักหรือผลไม้มาก มีทั้งพืชผักที่ปลูกในประเทศอินเดียและจากที่อื่น ๆ นิยมกินอาหารมังสวิรัติในสังคมชาวอินเดีย แต่ละครอบครัวจะเลือกสรรและพัฒนาเทคนิคการทำอาหารทำให้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางด้านประชากรในอินเดีย ความเชื่อของชาวฮินดูและวัฒนธรรมมีบทบาทต่อวิวัฒนาการของอาหารอินเดียมาก แต่ในภาพรวม อาหารทั่วประเทศอินเดียพัฒนามาจากปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมทั้งจากชาวมองโกลและยุโรปทำให้ได้อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การค้าเครื่องเทศระหว่างอินเดียและยุโรปเป็นตัวเร่งหลักสำหรับการค้นพบอินเดียของชาวยุโรป ยุคอาณานิคมได้ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างอาหารยุโรปกับอาหารอินเดียเพิ่มความยืดหยุ่นทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น อาหารอินเดียมีอิทธิพลต่ออาหารทั่วโลกโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะแคริบเบียน
ด้วยความที่ประเทศอินเดียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และความหลากหลายของภูมิศาสตร์จึงส่งผลให้มีวิถีชีวิตและการกินอาหารนั้นแตกต่างที่อาจจะมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิศาสตร์ เช่น ทางภาคเหนือของอินเดียมีความหนาวเย็น การเลี้ยงแกะจึงเป็นที่นิยมและนำมาเป็นอาหาร ในส่วนของคาร์โบไฮเดรตนั่นนิยมกินเป็นโรตี หรือจาปาตี
อาหารอินเดียมีจุดเด่นในการใช้เครื่องเทศ ซึ่งมีประวัติมายาวนานกว่า 7,000 ปี เครื่องเทศเหล่านี้รู้จักกันดีในนาม มาซาล่า (Masala) เป็นเครื่องแกงชนิดแห้ง ใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิดหรือแม้กระทั่งนำมาโรยข้าวรับประทาน ข้าวของชาวอินเดียจะมีลักษณะเรียวยาวกว่าปกติเรียกว่า ข้าวบัสมาตี (Basmati) มีรสชาติดี แต่ราคาค่อนข้างสูง ตามร้านอาหารจึงเห็นข้าวเหมือนที่รับประทานกันในประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ส่วนใหญ่ชาวอินเดียนิยมทานแผ่นแป้งสุกที่มีทั้งแบบปิ้ง แบบนาบกระทะ และแบบทอด จำพวก โรตี (Roti) จาปาตี (Chapati) พารัตทา (Paratha) นาน (Nan) และปาปัด (Papad) อนึ่ง อาหารของชาวอินเดียมีข้อแตกต่างระหว่างพื้นที่ โดยชาวเหนือนิยมใช้ เนยใส (Ghee) ในการทำอาหาร สีสันที่แดงจัดจ้านมาจากมะเขือเทศมากกว่าพริก รสชาติของอาหารเหนือจึงไม่เผ็ดร้อนมากนัก แต่จะหอมเครื่องเทศ ชาวเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแคชเมียร์จะนิยมใช้ แซฟฟรอน (Saffron) ซึ่งเป็นเครื่องเทศที่มีราคาสูงในการประกอบอาหาร ในขณะที่ชาวใต้นิยมใช้กะทิ และพริกในการปรุงอาหาร อาหารชาวใต้จึงค่อนข้างเผ็ด อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียโดยทั่วไปนิยมทานเผ็ด
=== กีฬา ===
คริกเกตเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอินเดีย การแข่งขันในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ พรีเมียร์ลีกอินเดียซึ่งเป็นลีกคริกเก็ตที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกและอยู่ในอันดับ 6 ในบรรดาลีกกีฬาที่ได้รับความนิยมทั้งหมดจากแฟนกีฬาโลก กีฬาพื้นเมืองดั้งเดิมหลายอย่างยังคงได้รับความนิยม เช่น กาบัดดีเปห์ลวานี และกิลลิดันดา ศิลปะการต่อสู้แบบเอเชียรูปแบบแรก ๆ เช่น กาลาริปปายัตตุ มุสตี ยุดธา สิลัมบัม และมาร์มาอดี มีต้นกำเนิดในอินเดีย และยังมีหมากรุกซึ่งมีถิ่นกำเนิดในอินเดียกำลังกลับมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายด้วยจำนวนปรมาจารย์ชาวอินเดียที่เพิ่มสูงขึ้น
จากผลงานของทีมเทนนิสเดวิสคัพในรายการชิงแชมป์โลก Davis Cup และนักเทนนิสชาวอินเดียคนอื่น ๆ ที่พัฒนาฝีมือขึ้นมาในช่วงต้นทศวรรษ 2010 ทำให้เทนนิสเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศ อินเดียยังผลิตนักกีฬายิงปืนหลายคน และได้รับรางวัลหลายเหรียญจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันยิงปืนโลก และเกมเครือจักรภพ กีฬาอื่น ๆ ที่ชาวอินเดียประสบความสำเร็จในระดับสากล ได้แก่ แบดมินตัน (ไซนา เนห์วาล และพี วี สินธุเป็นผู้เล่นแบดมินตันหญิงอันดับต้น ๆ ของโลก) มวย และมวยปล้ำ ฟุตบอลเป็นที่นิยมในรัฐเบงกอลตะวันตก กัว รัฐทมิฬนาฑู เกรละ และรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีลีกการแข่งขันในประเทศคือ Indian Super League
=== วันหยุด ===
เนื่องจากประเทศอินเดียถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง และมีการเฉลิมฉลองเทศกาลและวันหยุดต่าง ๆ อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ตามในประเทศอินเดียมีวันหยุดราชการ (national holidays) แค่สามวันเท่านั้น คือ วันสาธารณรัฐ (Republic Day) 26 มกราคม, วันเอกราช (Independence Day) 15 สิงหาคม และ คานธีชยันตี (Gandhi Jayanti) 2 ตุลาคม
รัฐแต่ละรัฐจะมีเทศกาลท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปตามศาสนาและภาษาหลักของรัฐนั้น ๆ เทศกาลฮินดูที่เป็นที่นิยมสูง เช่น มกรสังกรานติ, โปนคัล (Pongal), มหาศิวาราตรี, โอนาม (Onam), ชันมาษตมี (Janmashtami), สรัสวตีบูชา, ทีปวลี, คเณศจตุรถี, รักษาพันธาน (Raksha Bandhan), โหลี, ทุรคาบูชา, นวราตรี ส่วนเทศกาลของศาสนาเชน เช่น มหาวีระชนมะกัลยนกะ (Mahavir Janma Kalyanak) และ ปรยุษัน (Paryushan) เทศกาลของศาสนาซิกข์ เช่น คุรุนานักชยันตี และ วิสาขี เทศกาลมุสลิม เช่น อีดิลฟิดรีย์, อีดุลอัฎหา, เมาลิด (Mawlid), มุฮัรรอม เทศกาลในศาสนาพุทธ เช่น อามเพฑกรชยันตี, พุทธชยันตี, วันธรรมจักรปราวตาน (Dhammachakra Pravartan Day) และ โลซาร์ (Losar) เทศกาลโซโรอัสเตอร์ปาร์ซี เช่น โนว์รูซ (Nowruz) และเทศกาลคริสต์ เช่น คริสต์สมภพ กับ ปัสกา เช่นเดียวกับวันหยุดสังเกตการณ์ เช่นศุกร์ศักดิ์สิทธิ์
== ดูเพิ่ม ==
อนุทวีปอินเดีย
จักรวรรดิโมกุล
การปกครองของบริษัทในอินเดีย
ภาษาราชการของอินเดีย
ศาสนาในประเทศอินเดีย
พระเวท
วรรณะ
อาหารอินเดีย
นเรนทระ โมที
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
== บรรณานุกรม ==
ภาพรวม
Robinson, Francis, ed. The Cambridge Encyclopedia of India, Pakistan, Bangladesh, Sri Lanka, Nepal, Bhutan and the Maldives (1989)
ศัพทมูลวิทยา
ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเมือง
ความสัมพันธ์ต่างประเทศและทหาร
เศรษฐกิจ
ประชากรศาสตร์
ศิลปะ
วัฒนธรรม
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
รัฐบาล
Official website of Government of India
Government of India Web Directory
ข้อมูลทั่วไป
India. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
India from the BBC News
Indian State district block village website
Key Development Forecasts for India from International Futures
อ
อ
อ
อดีตอาณานิคมของอังกฤษ
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490 | thaiwikipedia | 290 |
อนุทวีปอินเดีย | อนุทวีปอินเดีย (Indian subcontinent) เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นอินเดีย ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดียทางทิศใต้และเทือกเขาหิมาลัยทางทิศเหนือ โดยทั่วไปมักรวมประเทศบังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย, มัลดีฟส์, เนปาล, ปากีสถาน และศรีลังกา บางครั้งรวมบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี คำว่า อนุทวีปอินเดีย และ เอเชียใต้ มักใช้แทนกันได้ ถึงแม้ว่าศัพท์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียใต้มักรวมประเทศอัฟกานิสถานJim Norwine & Alfonso González, The Third World: states of mind and being, pages 209, Taylor & Francis, 1988, Quote: ""The term "South Asia" also signifies the Indian Subcontinent""Raj S. Bhopal, Ethnicity, race, and health in multicultural societies, pages 33, Oxford University Press, 2007, ; Quote: "The term South Asian refers to populations originating from the Indian subcontinent, effectively India, Pakistan, Bangladesh and Sri Lanka;Lucian W. Pye & Mary W. Pye, Asian Power and Politics, pages 133, Harvard University Press, 1985, Quote: "The complex culture of the Indian subcontinent, or South Asia, presents a tradition comparable to Confucianism."Mark Juergensmeyer, The Oxford handbook of global religions, pages 465, Oxford University Press US, 2006, Sugata Bose & Ayesha Jalal, Modern South Asia, pages 3, Routledge, 2004, แผนโลกของสหประชาชาติส่วนทวีปเอเชียก็รวมประเทศอิหร่านเข้าในเอเชียใต้ด้วย บางครั้งมักสื่อความหมายใกล้เคียงกับชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลอีกด้วย
ในเชิงภูมิศาสตร์ อนุทวีปอินเดียเกี่ยวเนื่องกับแผ่นดินส่วนที่แยกออกจากมหาทวีปกอนด์วานา และชนเข้ากับแผ่นยูเรเชีย เมื่อ 55 ล้านปีก่อน อนุทวีปอินเดียมักกำหนดคร่าว ๆ ว่าแบ่งออกจากทวีปเอเชียด้วยเทือกเขาฮินดูกูชทางตะวันตกและเทือกเขายะไข่ทางทิศตะวันออก
== ดูเพิ่ม ==
เกรตเตอร์อินเดีย
ฮินดูสถาน
เอเชียใต้
สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC)
== อ้างอิง ==
ทวีป
คาบสมุทร
เอเชียใต้
ภูมิภาคในทวีปเอเชีย | thaiwikipedia | 291 |
ประเทศกรีซ | กรีซ (Greece; Ελλάδα|Elládha, ) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία|Ellinikí Dhimokratía ) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ มีประชากรราว 10.7 ล้านคน มีเมืองหลวงคือกรุงเอเธนส์ซึ่งยังเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยมี เทสซาโลนีกี และ เพทรัสเป็นนครที่ใหญ่รองลงมา
ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู่
ประเทศกรีซได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และยังเป็นเป็นต้นกำเนิดของประชาธิปไตย, ปรัชญา, วรรณกรรมโบราณ, ประวัติศาสตร์นิพนธ์, รัฐศาสตร์, ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, โรงละคร และการแข่งขันโอลิมปิก นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวกรีกอยู่รวมกันเป็นนครรัฐอิสระหลายแห่งเรียกว่า poleis ซึ่งทอดยาวจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา ได้รวมดินแดนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเข้าด้วยกันในศตวรรษที่ 4 อเล็กซานเดอร์มหาราช โอรสของพระองค์สร้างชื่อด้วยการพิชิตโลกโบราณในระยะเวลาอันสั้น ตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอินเดีย ก่อนจะเข้าสู่สมัยเฮลเลนิสต์ ซึ่งวัฒนธรรมกรีกโบราณขยายอิทธิพลไปทั่ว ก่อนที่ดินแดนทั้งหมดจะถูกผนวกเข้ากับสาธารณรัฐโรมัน ในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชโดยกลายเป็นส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่ในยุคจักรวรรดิโรมันและจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกรีซทั้งในด้านวัฒนธรรมและภาษา คริสตจักรออร์โธดอกซ์ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ช่วยสร้างเอกลักษณ์ของยุคกรีกสมัยใหม่และถ่ายทอดวัฒนธรรมกรีกสู่อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และหลังจากตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน ในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 กรีซได้กลายสภาพเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1830 หลังสิ้นสุดสงครามประกาศอิสรภาพ
ในช่วงศตวรรษแรกของการก่อตั้งราชอาณาจักรกรีซ ผู้ปกครองอาณาจักรแสวงหาการขยายดินแดนซึ่งประสบความสำเร็จในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในระหว่างสงครามบอลข่านก่อนจะลงเอยด้วยความปราชัยอย่างย่อยยับในสงครามสงครามกรีก-ตุรกี ค.ศ. 1919–1922 ซึ่งส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของอาณาจักรอีกหลายปี สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่สองก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งเผชิญกับความขัดแย้งทางการเมืองรวมถึงการตั้งถิ่นฐานโดยผู้ลี้ภัยชาวตุรกี ระบอบเผด็จการกษัตริย์มีจุดเริ่มต้นใน ค.ศ. 1936 และครอบงำประเทศซึ่งตามมาด้วยการยึดครองกรีซของฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามกลางเมืองกรีซ และนำไปสู่การยึดอำนาจโดยคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองใน ค.ศ. 1967 อย่างไรก็ตาม กรีซมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงระว่างทศวรรษ 1950–70 และกลายสภาพเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ระบอบประชาธิปไตยได้รับการฟื้นฟูใน ค.ศ. 1974 การล้มล้างระบอบกษัตริย์ในช่วงเวลาดังกล่าวนำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐกรีกที่สามซึ่งกินเวลามาถึงปัจจุบัน
ประเทศกรีซปกครองแบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ถือเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นประเทศอำนาจปานกลาง โดยมีรายรับสูงและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร โดยอยู่ในอันดับที่ 32 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ เศรษฐกิจของประเทศมีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งเป็นแหล่งลงทุนระดับภูมิภาคที่สำคัญ กรีซเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ, เป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ของสหภาพยุโรป และเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซนตั้งแต่ ค.ศ. 2001 รวมทั้งเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ สภายุโรป, เนโท, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การการค้าโลก และ องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป กรีซมีเอกลักษณ์ในด้านมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก มีมรดกโลกที่รับรองโดยยูเนสโกจำนวน 19 แห่ง รวมทั้งขึ้นชื่อในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการเดินเรือ
== ภูมิศาสตร์ ==
ประเทศกรีซประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่ในทางทิศใต้ไปจนถึงแหลมบอลข่านและเกาะมากมายกว่า 3,000 เกาะ รวมทั้งเกาะครีต (Vrete) เกาะโรดส์ (Rhodes) เกาะไคออส (Chios) เกาะเลสบอส 7 (Euboea) และหมู่เกาะโดเดคะนีส (Dodecanese) และพวกไซแคลดิกทางทะเลอีเจียน ที่เหมือนกับชาวกรีกบนหมู่เกาะไอโอเนียน กรีซมีแนวชายฝั่งทะเลยาว 15,000 กิโลเมตร และเส้นแบ่งเขตแดน ยาว 1,160 กิโลเมตร
ราว ๆ 80% ของประเทศกรีซประกอบด้วยภูเขา และเนินเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรีซเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปที่มีภูเขามากที่สุด ทางตะวันตกของกรีซจะเป็นทะเลสาบและพื้นที่ชื้นแฉะพินดัส เป็นภูเขาทางตอนกลางซึ่งมีความสูงถึง 2,636 เมตร เมื่อพิจารณาดูแล้ว ภูเขาพินดัสอาจจะมีการขยายออกมาจากเทือกเขาดิแนริดได้ แนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องกัน กลายเป็นแหลมเพโลพอนนีส เกาะคีทีรา (Kythera) และเกาะแอนติคีทีรา (Antikythera) พบที่จุดปลายของเกาะกรีก
ทางตอนกลางและทางตะวันตกของกรีซ เป็นที่สูงชัน มียอดเขาสูงที่แยกออก เป็นหุบเขาลึกมากมาย และมีลำธารระหว่างหุบเขาต่าง ๆ เช่น ช่องแคบ Meteora และ Vikos มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากแกรนด์แคนยอนในสหรัฐ
ยอดเขาโอลิมปัสเป็นจุดที่สูงที่สุดของกรีซ คือ 2,919 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือก็ยังมีเทือกเขาสูง ๆ อีก อย่าง Rhodope ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาซิโดเนียและเทรซ พื้นที่นี้ถูกปกคลุมไปด้วย ป่าทึบเก่าแก่ขนาดใหญ่ เหมือนกับ Dadia ที่เป็นที่รู้จักกัน
ทางตะวันออกของกรีซเต็มไปด้วยทุ่งกว้างมากมาย คือตรงตอนกลางของมาซิโดเนียและเทรซ โวลอสและลาริสซา เป็น 2 เมืองใหญ่ ของทางตะวันออกของกรีซ
สภาพอากาศของกรีซ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เทือกเขาแอลป์ และ Temperate แบบแรก ภูมิประเทศแบบฝนตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ค่อยสูง อย่างไรก็ตามก็มีหิมะตกบางในกรุงเอเธนส์ หมู่เกาะซิคละดิส หรือเกาะครีตมีสภาพอากาศหนาว เทือกเขาแอลป์ก่อตัวมาจากทางตะวันตกของกรีซ สภาพอากาศแบบสุดท้ายก่อตัวจากทางตอนกลางและทางมาซิโดเนียตะวันออก เทรซ Xanthi และ Evros เหนือ มีอากาศหนาว ชื้น ในฤดูหนาว และ แห้งแล้งในฤดูร้อน เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับกรุงเอเธนส์ที่ ตั้งอยู่ระหว่างสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับเทือกเขาแอลป์ ดังนั้นชานเมืองทางตอนใต้จะมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ทางตอนเหนือมีสภาพอากาศแบบ เทือกเขาแอลป์
50% ของประเทศกรีซ ถูกปกคลุมไปด้วยป่า ที่มีพืชนานาชนิด จากเทือกเขาแอลป์ ป่าสนของทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทะเลรอบ ๆ ประเทศกรีซ มีแมวน้ำ เต่าทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่หายากอาศัยอยู่ ในขณะที่ป่าของกรีซ เป็นที่บ้านหลังสุดท้ายของยุโรปตะวันตก ที่มีหมีสีน้ำตาล แมวป่า กวางโร แกะป่า สุนัขจิ้งจอก และหมูป่า
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ยุคโบราณ ===
ในยุคสำริด 3,000-2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซ แต่พอถึงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลง เพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียนที่รุกมาจากทางเหนือ อารยธรรมต่าง ๆ ในกรีซจึงเริ่มเข้าสู่ยุคมืด
ช่วงเวลา 800 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้ง วัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ กรีซย่างก้าวเข้าสู่ยุคคลาสสิกหรือยุคทอง ในยุคนี้เองนักปราชญ์ชื่อ เพเรอคลิส ผู้ทำให้วิหารพาร์เธนอนเป็นที่รู้จักของชาวโลก โซโฟคลิสได้เขียนมหากาพย์อีดิปุสขึ้น และโสกราตีสหรือซาเครอทิส ได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาวเอเธนส์ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของประชาธิปไตย ต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อม แล้วกรีซก็เข้าสู่ยุคสงครามเปลโอปอนนีเซียน ซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของเปอร์เซียได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับ
ในขณะที่กองทัพเปอร์เซียกำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือ พระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกที แต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้สามารถยาตราทัพไปถึงเอเชียไมเนอร์และอียิปต์ ซึ่งที่อียิปต์นี้เองพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นฟาโรห์ ผู้สร้างเมืองอเล็กซานเดรีย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยกทัพไปถึงเปอร์เซียและดินแดนส่วนที่เป็นอินเดียและอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ในรัชสมัยของอาณาจักรมาซิโดเนียเรียกกันว่า ยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic Period) เพราะยุคนี้มีการผสมผสานปรัชญาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองของชนชั้นปกครองจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่ศิวิไลซ์ยิ่งขึ้น หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุ 33 ปีแล้ว มีกษัตริย์ปกครองกรีซสืบต่อมาอีก 3 รัชกาล
ครั้นถึงปีที่ 205 ก่อนคริสต์ศักราช อิทธิพลของโรมันแผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซ และเมื่อถึงปี 146 ก่อนคริสตกาล กรีซกับมาซิโดเนียตกอยู่ใต้การปกครองของโรมัน หลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตก กรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์ และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้น อิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส กาตาลา เจนัว แฟรงก์ และนอร์มัน
=== ยุคกลาง ===
ใน ค.ศ. 1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครอง และเมื่อถึง ค.ศ. 1500 ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซใน ค.ศ. 1833 หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 1 จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซใน ค.ศ. 1864 ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
=== ยุคใหม่ ===
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติ กรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของตุรกี (ปัจจุบันคืออิซมีร์) ให้ได้รับอิสรภาพ เพราะเมืองนี้มีประชาชนชาวกรีกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์ก ซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก ผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ 2 ประเทศกันใน ค.ศ. 1923 ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง 1,300,000 คน ทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมา คนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมือง ภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่าง ๆ ขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอก และใน ค.ศ. 1936 พรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ
ปี ค.ศ. 1936 นายพลเมเตอซัส ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นผู้ปกครองประเทศที่นิยมการปกครองแบบเผด็จการ ถึงแม้ว่าจะได้เห็นความเป็นไปในชะตากรรมของพวกนาซีเยอรมนี แต่ตัวเขาเองกลับกระทำการต่าง ๆ ที่ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็นภาพจำลองของอาณาจักรไรน์ในกรีซ นายพลเมเตอซัสทำการต่อต้านไม่ยอมให้เยอรมนีกับอิตาลีเดินทัพผ่านกรีซ ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีใน ค.ศ. 1941 เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้น มีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซ และยุติลงใน ค.ศ. 1949 โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ
ในช่วงเวลานั้นสหรัฐกำลังเคร่งครัดในลัทธิทรูแมน รัฐบาลอเมริกันในขณะนั้น มีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ แต่ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อ ค.ศ. 1967 กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงานซีไอเอของสหรัฐที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชน ยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้น เป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัส ทำใหเหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
ใน ค.ศ. 1981 กรีซเข้าเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพยุโรป พรรคสังคมนิยม PASOK นำโดยนายแอนเดรียส์ ปาปันเดรโอ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลให้สัญญาว่าจะจัดการให้สหรัฐย้ายฐานทัพอากาศออกไปจากกรีซและกรีซจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโตแต่รัฐบาลทำไม่สำเร็จ สตรีชาวกรีซเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีเรื่องสินสอดและเรียกร้องให้กฎหมายสนับสนุนการทำแท้งเสรีความไม่สงบในประเทศทำให้ปาปันเดรโอกับรัฐบาลของเขาเสียอำนาจการปกครองประเทศให้กับรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษนิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1989 การเลือกตั้งในกรีซเมื่อ ค.ศ. 1990 พรรคอนุรักษนิยมได้ที่นั่งมากที่สุดและได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศแต่ไม่สำเร็จ การเลือกตั้งใหม่ใน ค.ศ. 1993 กรีซได้ปาปันเดรโอผู้นำเฒ่าของพรรคเสรีนิยมกลับมาครองอำนาจกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ท่านผู้นำถึงแก่อนิจกรรมใน ค.ศ. 1996 หลังจากที่ท่านลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองกรีซได้ผู้นำคนใหม่ชื่อ คอสทาส สมิทิส ต่อมากรีซกับตุรกีขัดแย้งกันอย่างหนักจนใกล้จะระเบิดสงครามเมื่อผู้สื่อข่าวของตุรกีได้นำธงชาติกรีซมาย่ำยีเล่น สมิทิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกรีซอีกครั้ง รัฐบาลใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอียู นายกรัฐมนตรีเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับรัฐมนตรีโทนี แบลร์ของอังกฤษตั้งแต่สมิทิสมีอำนาจในการบริหารประเทศเขามีนโยบายเห็นด้วยกับกลุ่มฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตยใหม่แทบทุกเรื่อง
== การเมืองการปกครอง ==
กรีซมีการปกครองแบบสาธารณรัฐรัฐสภา หลังจากที่ประชาชนลงมติให้เลิกล้มการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1974 วันประกาศอิสรภาพของกรีซคือวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1821 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของกรีซประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1975 แก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง คือ เดือนมีนาคม ค.ศ. 1986 และเดือนเมษายน ค.ศ. 2001
ระบบกฎหมายของกรีซมีพื้นฐานมาจากหลักกฎหมายของโรมัน
กรีซมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ ประธานาธิบดีได้มาจากการเลือกตั้งของรัฐสภา อยู่ตำแหน่งคราวละ 5 ปี ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีที่ได้มาจากการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี
สมาชิกนิติบัญญัติได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไป มีจำนวน 300 ที่นั่ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
กรีซแบ่งการปกครองประเทศออกเป็น 13 ภูมิภาค (regions) มี 9 แคว้นบนพื้นแผ่นดินใหญ่ และ 4 แคว้นบนหมู่เกาะ* แคว้นต่าง ๆ จะแบ่งเป็นจังหวัด รวม 54 จังหวัด (prefectures - nomos)
อัตติกะ (Attica)
เซนทรัลกรีซ (Central Greece)
เซนทรัลมาซิโดเนีย (Central Macedonia)
ครีต (Crete)
อีสต์มาซิโดเนียและเทรซ (East Macedonia and Thrace)
อิไพรัส (Epirus)
ไอโอเนียนไอแลนส์ (Ionian Islands)
นอร์ทอีเจียน (North Aegean)
เพโลพอนนีส (Peloponnese)
เซาท์อีเจียน (South Aegean)
เทสซาลี (Thessaly)
เวสต์กรีซ (West Greece)
เวสต์มาซิโดเนีย (West Macedonia)
นอกจากนี้ทางแถบมาซิโดเนีย ยังมี เขตปกครองตนเอง (autonomous region) ของสงฆ์หนึ่งแห่ง คือ เมานต์อะทอส (Mount Athos)
== นโยบายต่างประเทศ ==
=== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ===
การทูต
ไทยและกรีซได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 ในช่วงแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ดูแลประเทศกรีซในฐานะประเทศในเขตอาณา ต่อมา ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1985 มีหน้าที่ดูแลสาธารณรัฐมอลตาในฐานะประเทศในเขตอาณา และติดตามสถานการณ์ในเซอร์เบียและมอนเตเนโกร (อดีตสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย) รวมทั้งดูแลความสัมพันธ์ไทย - นอร์ทมาซิโดเนีย อย่างไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ มีสำนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ประจำกรุงเอเธนส์ด้วย ในขณะที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานแรงงาน ณ กรุงเอเธนส์ได้ปิดลงก่อนหน้านี้ ส่วนกรีซได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1989 โดยมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศใกล้เคียง อาทิ พม่า ลาว และกัมพูชา และเปิดสำนักงานพาณิชย์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ปัจจุบัน นายชัยเลิศ ลิ้มสมบูรณ์ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำกรีซ ส่วนเอกอัครราชทูตกรีซประจำประเทศไทยได้แก่นายนิโคลาออส ไกเมนากีส (H.E. Mr. Nikolaos Kaimenakis)
การค้าและเศรษฐกิจ
การค้ารวมระหว่างไทย-กรีซมีมูลค่าเฉลี่ย 272 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลขฝ่ายไทยโดยเป็นค่าเฉลี่ยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา) ซึ่งสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น โดยไทยส่งออก 247 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้เปรียบดุลการค้า 222 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ในขณะที่สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าประกอบด้วยผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ และยารักษาโรค เป็นต้น สำหรับการลงทุนระหว่างกัน ยังไม่ปรากฏข้อมูลทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปัจจุบัน
ในภาพรวม การนำเข้า - ส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับกรีซดำเนินไปด้วยดี โดยมักผ่านทางผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งบางครั้งพบอุปสรรคในการตรวจพบสารเคมีในผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก และมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างกัน เช่น ไม่ชำระเงิน จัดส่งสินค้าไม่ครบ / ล่าช้า / ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและกรีซสามารถขยายตัวได้อีกมาก หากนักธุรกิจของทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มความสนใจตลาด และศึกษาโอกาส ลู่ทาง และศักยภาพของกันและกันมากกว่าที่ผ่านมา โดยกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพแข่งขันในระดับโลก ยังคงมีแนวโน้มที่ดีในตลาดกรีซ อาทิ
รถบรรทุกเล็ก
รถจักรยานยนต์ / อุปกรณ์
เครื่องปรับอากาศ / เครื่องทำความเย็น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มร้อนขึ้นในกรีซ
เสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะที่ออกแบบสวยงาม / คุณภาพดี เพื่อสร้างความแตกต่างจากเสื้อผ้านำเข้าราคาถูก
เครื่องประดับ อัญมณี
สินค้าอาหาร / อาหารกระป๋อง (ปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ฯลฯ) และ
กลุ่มสินค้าที่เน้นการออกแบบในระดับราคาต่าง ๆ (เฟอร์นิเจอร์บ้าน / สำนักงาน อุปกรณ์ / ของประดับบ้าน ฯลฯ) เป็นต้น
นอกจากนี้ การลงทุน และประกอบธุรกิจร่วมระหว่างไทย - กรีซ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ควรศึกษาความเป็นไปได้ เนื่องจากกรีซมีนักธุรกิจร่ำรวยจำนวนมาก ซึ่งนิยมนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ กอปรกับได้ชื่อว่า มีชั้นเชิงทางธุรกิจสูง และมีทักษะเรื่องการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศเพื่อนบ้านของกรีซ ดังนั้น หากนักธุรกิจไทยสามารถหาหุ้นส่วนทางธุรกิจที่เหมาะสมได้ ก็จะช่วยกระจายสินค้าไทยไปสู่ตลาดบอลข่าน ซึ่งไทยยังไม่คุ้นเคยได้เป็นอย่างดี
== เศรษฐกิจ ==
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 172.5 พันล้าน USD (2546) 201.1 พันล้าน USD (2545)
GDP Per Capita 16,223 USD (2546) 19,000 USD (2545)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.3 (2546) ร้อยละ 3.5 (2545)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.4 (2546) ร้อยละ 3.6 (2545)
อัตราการว่างงาน ร้อยละ 9.4 (2546) ร้อยละ 10.3 (2545)
ปริมาณการส่งออก 7.8 พันล้าน USD (2546) 12.6 พันล้าน USD (2545)
ปริมาณการนำเข้า 35.2 พันล้าน USD (2546) 31.4 พันล้าน USD (2545)
สินค้าส่งออกสำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อุปกรณ์ไฟฟ้าและโทรคมนาคม
สินค้าเข้าสำคัญ เครื่องจักรอุตสาหกรรม อุปกรณ์ยานพาหนะ พลังงาน
ตลาดส่งออกสำคัญ อียู (44%) สหรัฐอเมริกา และบัลแกเรีย (5.7%) ไซปรัส (4.8%) FYROM (3.7%)
ตลาดนำเข้าสำคัญ อียู (50.8%) รัสเซีย (5.3%) ซาอุดิอาระเบีย (3.5%) สหรัฐอเมริกา (3.3%) อิหร่าน (3.2%)
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เมืองใหญ่ ===
== วัฒนธรรม ==
=== นักปรัชญา ===
นักปรัชญากรีซที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในฐานะ เสาหลักของปรัชญาตะวันตก มีอยู่ 3 คนคือ โสกราตีส เพลโต และอริสโตเติล
โสกราตีส เกิดที่กรุงเอเธนส์ เมื่อ 470 ปีก่อนคริสตกาล เคยได้เข้าร่วมในการทำสงครามเปลโอปอนนีเซียน หลังจากนั้นเขาอุทิศเป็นผู้สอนวิชาตรรกวิทยา “Know Thyself” ตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ วิธีการสอนของโสกราตีสคือการตั้งคำถามและตอบ เมื่ออายุ 70 ปี โสกราตีสต้องโทษตามกฎหมายกรีซให้ดื่มยาพิษ
เพลโต เกิดที่กรุมเอเธนส์เมื่อ 428 ปี ก่อนคริสตกาล เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีสที่เคารพและเทิดทูนโสกราตีสมาก เพลโตได้ตั้งวิทยาลัยสอนวิชาวิทยาศาสตร์และปรัชญาขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงเอเธนส์เมื่อ 387 ปีก่อนคริสต์ศักราช ผลงานเขียนของเพลโตเป็นคำสอนรูปของบทสนทนาในหนังสือชื่อ The Republic ของเพลโต เพลโตแยกพลเมืองออกเป็น 3 กลุ่มคือ ประชาชน ทหาร และผู้ปกครองประเทศ เพลโตเป็นผู้ให้หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับอธิปไตยไว้อย่างชัดเจนว่า หญิงและ ชาย มีฐานะเท่าเทียมกันและจะต้องได้รับการศึกษาเหมือนกัน รัฐจะต้องจัดการแต่งงานให้ประชาชน เด็กแรกเกิดจะถูกแยกจากพ่อ แม่เพื่อประชาชนจะได้ไม่มีความผูกพันเป็นส่วนตัวเพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
อริสโตเติล เกิดที่เมืองสตากิรา ภูมิภาคมาซีโดเนีย เมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาล เขาเดินทางไปเอเธนส์เพื่อศึกษาวิชาปรัชญาที่สำนักของเพลโตเมื่อ 367 ปีก่อนคริสตกาลและพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 20 ปี จนกระทั่งเพลโตถึงแก่กรรม จึงเดินทางไปเผยแพร่คำสอนตามหลักปรัชญาของเพลโตในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 10 ปี แล้วจึงตั้งสำนักศึกษาของเขาเองชื่อว่า The Lyceum นาน 12 ปี
อริสโตเติลเป็นนักคิดคนแรกที่ค้นพบวิชา ตรรกวิทยา โดยอาศัยข้อเท็จจริง 2 ข้อ สนับสนุนกันและกัน เช้น ความดีทุกอย่างควรสรรเสริญ และความกรุณาก็เป็นความดีอันหนึ่ง ฉะนั้นความกรุณาจึงควรได้รับการสรรเสริญด้วย เป็นต้น
วรรณคดี
=== นักกวี ===
กวีสมัยโบราณที่ยิ่งใหญ่ของกรีซคือ โฮเมอร์กับ ฮีเสียดทั้ง 2 ท่านได้เขียนมหากาพย์ที่สำคัญ หลายเรื่อง
และมหากาพย์เรื่องกรุงทรอยอยู่ด้วย นักเขียนนักค้นคว้าชื่อ เฮ็นริช ชีลมานน์ ได้ค้นคว้าเรื่องเมืองทรอย จนค้นพบว่ามีอยู่จริง ที่เมือง Hissarlik ทางตอนเหนือของตุรกีในอดีตกาล เมื่อพบเมืองทรอยแล้ว ชีลมานน์ขุดค้นพบประวัติศาสตร์ในยุคบรอนซ์ตามที่อ้างในมหากาพย์ของโฮเมอร์ต่อไป การขุดหาสมบัติในวรรณคดีของเขานำไปสู่การค้นพบ 3 นครสำคัญ ที่ได้ชื่อว่า กนกนคร ตามประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของโฮเมอร์นั่นคือ Mycenae, Tiryns และ Orchomenos ก่อนที่นักเขียนนักค้นคว้าคนสำคัญของโลกจะตายไป เขาได้เผยให้เห็นเค้าโครงรูปร่างของอาณาจักรมาซิเนียนให้ประจักษ์แก่ตาชาวโลก
=== นักค้นคว้า ===
นักค้นคว้าชื่อ อาร์เธอร์ อีแวนส์ค้นพบแหล่งอารยธรรมมิโนอัน และร่องรอยของอารยธรรมที่เคยรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรไมนอส ซึ่งเป็นการยืนยันว่า โฮเมอร์ มหากวีเอกของโลกชาวกรีก ได้บันทึกเรื่องราวของยุคสมัยไว้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เขียนขึ้นจากความคิดเพ้อฝันแต่อย่างใด
=== สถาปัตยกรรม ===
กรีซมีชื่อเสียงทางเรื่องศิลปะเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและสง่างามของเสาหินแบบวิหารพาร์เธนอน ที่ตกแต่งตรงส่วนบนของหัวเสาด้วยศิลปะแบบกรีกมี 3 แบบ คือ ดอริก, ไอโอนิก และคอรินเธียน จะเห็นเสาหินแบบกรีกเป็นส่วนตกแต่งด้านหน้าของอาคารสำคัญ ๆ และสิ่งก่อสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อของโลกตามเมืองหลวงของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย สถานที่ทำงานสำคัญ ๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ล้วนนำสถาปัตยกรรมศิลป์ของกรีซไปประยุคผสมผสาน ในการก่อสร้างเป็นการยอมรับในอารยธรรมที่รุ่งเรืองของกรีซโบราณและเป็นการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่เคยเฟื่องฟูในอดีตของกรีซไปทุกมุมโลกนอกจาก งานสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกรีซที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว งานจิตรกรรมและประติมากรรมของกรีซยังเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรดาพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่าง ๆ พยายามเสาะหามาเป็นสมบัติเก็บสะสมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ถึงแม้งานศิลปะชั้นเยี่ยมของกรีซจะกลายเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของประเทศอื่นแต่กรีซก็ยังมีงานศิลปะโบราณอยู่ในประเทศอีกมาก
=== อาหาร ===
อาหารของชาวกรีกสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของอาหารเมดิเตอร์เรเนียนได้เป็นอย่างดี โดยผสมผสานวัตถุที่สดใหม่และมีความหลากหลาย ที่มีชื่อเสียงได้แก่ สลัดกรีกคลาสสิก ฟาโซลาดา สปานาโกปิตา และซูฟลากิ อาหารบางจานสามารถสืบย้อนไปถึงสมัยกรีกโบราณได้ เช่น สกอร์ดาเลีย (วอลนัท อัลมอนด์ กระเทียมบด และน้ำมันมะกอก) ซุปถั่วเลนทิล เรตซินา (ไวน์ขาวหรือไวน์โรเซ่ปิดผนึกด้วยเรซินสน) และพาสเทล (ลูกกวาดอบเมล็ดงาอบ) กับน้ำผึ้ง) ทั่วทั้งประเทศกรีซ ผู้คนมักเพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารจานเล็ก ๆ เช่น meze กับน้ำจิ้มต่างๆ เช่น tzatziki ปลาหมึกย่าง และปลาตัวเล็ก เฟต้าชีส dolmades (ข้าว ลูกเกด และเมล็ดสนห่อด้วยใบเถา) ถั่วต่าง ๆ มะกอกและชีส และน้ำมันมะกอกเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารเกือบทุกชนิด
=== ดนตรี และ นาฎศิลป์ ===
==== การละครยุคกรีก (250 ปีก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 250) ====
ละครกรีกสันนิษฐานว่า ถือกำเนิดขึ้นประมาณ 800 – 700 ปีก่อนคริสตกาล โดยเริ่มจากการประกวดการร้องรำทำเพลงเป็นหมู่ (Choral dance) ซึ่งเรียกว่า ดิธีแรมบ์ (dithyramb) ในเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าไดโอนีซุส (Dionysus) เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นและความอุดมสมบูรณ์
จากการร้องรำทำเพลงเป็นหมู่โดยกลุ่มคนที่เรียกว่า คอรัส (Chorus) ในการแสดงดิธีแรมบ์ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การแสดงในรูปแบบของละคร กล่าวคือมีนักแสดงเดี่ยว ๆ แยกออกมาต่างหาก และทำการสนทนาโต้ตอบกับกลุ่มคอรัส ฉะนั้น แทนที่จะเป็นเพียงการร้องเพลงเล่าเรื่องจากพวกคอรัสตรง ๆ ก็เปลี่ยนเป็นการสนทนาระหว่างตัวละครกับกลุ่มคอรัส
ในปี 534 ก่อนคริสตกาล เริ่มมีการประกวดการแต่งบทและการจัดแสดงละครแทรเจดี นักการละครชื่อ เธสพิส (Thespis) เป็นผู้ชนะการประกวดครั้งแรกนี้ ละครของเธสพิสใช้นักแสดงเพียงคนเดียว เล่นทุกบทที่มีอยู่ในละครเรื่องนั้น โดยใช้การเปลี่ยนหน้ากาก เป็นการเปลี่ยนบทที่แสดง และมีคอรัสเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราวเข้าด้วยกัน
500 ปีก่อนคริสตกาล ถือว่าเป็นยุคทองของการละครกรีก มีการประกวดเขียนบทละครและจัดการแสดงละครในด้านต่าง ๆ ทำให้การละครรุ่งเรืองมาก บทละครส่วนใหญ่ของกรีกที่เหลือมาถึงปัจจุบัน ก็เป็นบทละครที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลนี่เอง
ประเภทของละครกรีก
ละครกรีก ที่หลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
ละครแทรเจดี (Tragedy)
ละครแทรเจดีของกรีกแสดงให้เห็นชีวิตตัวละครตัวเอก ที่มีความน่ายกย่องสรรเสริญ แต่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับอำนาจของชะตากรรมซึ่งเทพเจ้าเป็นผู้ลิขิต แม้ว่าในที่สุดจะต้องพ่ายแพ้และประสบหายนะ แต่เป็นความพ่ายแพ้ที่ดิ้นรนต่อสู้ถึงที่สุดแล้ว เรื่องราวของละครกรีกยุคแรก ๆ เป็นการสรรเสริญและเล่าเรื่องราวเทพเจ้า โดยมักนำโครงเรื่องมาจากมหากาพย์อีเลียด (Iliad) และ โอดิสซี (Odyssey)
ละครคอมเมดี (Comedy)
ละครคอมเมดีเป็นละครที่ให้ความรู้สึกตลกขบขัน เพราะความบกพร่องของมนุษย์ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ซึ่งเกี่ยวกับการเมือง สงครามและสันติภาพ ทัศนะเกี่ยวกับศิลปะในแง่ต่าง ๆ การโจมตีหรือเสียดสีตัวบุคคล ฯลฯ คอมเมดีเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ มากกว่านำมาจากตำนานเช่นแทรเจดี
=== วันหยุด ===
กฎหมายของกรีซระบุว่าทุกวันอาทิตย์ถือเป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดสาธารณะ โดยถือเป็นวันพักผ่อนของประชากรมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และยังมีวันหยุดสำคัญดังต่อไปนี้: วันชาติกรีก (25 มีนาคม), เทศกาลอีสเตอร์ (15 สิงหาคม), วันคริสต์มาส (25 ธันวาคม), วันแรงงาน (1 พฤษภาคม) และวันโอไฮ (28 ตุลาคม)
=== กีฬา ===
กรีซเป็นประเทศต้นกำเนิดของกีฬาโอลิมปิก โดยมีหลักฐานในบันทึกครั้งแรกเมื่อ 776 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งจัดขึ้นที่ โอลิมเปีย และเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่มาแล้วสองครั้งใน โอลิมปิกฤดูร้อน 1896 ซึ่งเป็นโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรก และล่าสุดในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ขบวนพาเหรดนักกีฬาของกรีซมักได้รับเกียรติให้เดินขบวนเป็นชาติแรกในการแข่งขันโอลิมปิกทุกครั้ง ในฐานะที่เป็นชาติต้นกำเนิดของกีฬาดังกล่าว กรีซเป็น 1 ใน 4 ชาติที่ร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง และชนะเหรียญรางวัลรวม 110 เหรียญ (30 เหรียญทอง, 42 เหรียญเงิน และ 38 เหรียญทองแดง) อยู่ในอันดับที่ 32 จากการจัดอันดับจำนวนเหรียญรางวัลตลอดกาล ผลงานที่ดีที่สุดของพวกเขาคือโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1896 ซึ่งคว้าไป 10 เหรียญทอง
ฟุตบอลทีมชาติกรีซ ขึ้นถึงอันดับ 8 ของโลกใน ค.ศ. 2011 และ 2008 และสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการชนะการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาที่มีผลการแข่งขันเหนือความคาดหมายมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซูเปอร์ลีกกรีซ ถือเป็นลีกสูงสุดของประเทศประกอบไปด้วยสมาชิก 14 สโมสร ทีมที่มีชื่อเสียงได้แก่ โอลิมเบียโกส, ปานาซีไนโกส และ อาเอกเอเธนส์
บาสเกตบอลชายของกรีซเป็นหนึ่งในทีมที่มีชื่อเสียงในยุโรป เคยขึ้นถึงอันดับ 4 ของโลกใน ค.ศ. 2012 และอันดับ 2 ของยุโรปในขณะนั้นชนะเลิศการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรป 2 สมัยใน ค.ศ. 1987 และ 2005 และทำอันดับติด 1 ใน 4 ในบาสเกตบอลชิงแชมป์โลก 3 ครั้ง กีฬาอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่โปโลน้ำ วอลเลย์บอล และแฮนด์บอล
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
ประเทศกรีซ จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
=== รัฐบาล ===
President of the Hellenic Republic
Minister of the Hellenic Republic
Hellenic Parliament
Greek National Tourism Organisation
Greek News Agenda Newsletter
=== ข้อมูลทั่วไป ===
.
.
.
.
.
.
– Everything about Greece.
History of Greece: Primary Documents
The London Protocol of 3 February 1830
The Greek Heritage
พาณิชย์
World Bank Summary Trade Statistics Greece
รายชื่อสถานทูตกรีซทั่วโลก (ภาษาอังกฤษ)
ก
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2364
ก | thaiwikipedia | 292 |
สหภาพยุโรป | สหภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,233,255 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 447 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร
สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป
สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552
สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
! style="width:5em" | พื้นที่ (กม.2)
|-
|
| เวียนนา
| style="text-align:right" | 199501011 มกราคม 2538
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| บรัสเซลส์
| style="text-align:right" | 19570325ผู้ก่อตั้ง
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| โซเฟีย
| style="text-align:right" | 200701011 มกราคม 2550
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| ซาเกร็บ
| style="text-align:right" | 201307011 กรกฎาคม 2556
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| นิโคเซีย
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| ปราก
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| โคเปนเฮเกน
| style="text-align:right" | 197301011 มกราคม 2516
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| ทาลลินน์
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| เฮลซิงกิ
| style="text-align:right" | 199501011 มกราคม 2538
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| ปารีส
| style="text-align:right" | 19570325ผู้ก่อตั้ง
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| เบอร์ลิน
| style="text-align:right" | 19570325ผู้ก่อตั้ง
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| เอเธนส์
| style="text-align:right" | 198101011 มกราคม 2524
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| บูดาเปสต์
| style="text-align:right" | 200401011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| ดับลิน
| style="text-align:right" | 197301011 มกราคม 2516
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| โรม
| style="text-align:right" | 19570325ผู้ก่อตั้ง
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| ริกา
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| วิลนีอัส
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| นครลักเซมเบิร์ก
| style="text-align:right" | 19570325ผู้ก่อตั้ง
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| วัลเลตตา
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| อัมสเตอร์ดัม
| style="text-align:right" | 19570325ผู้ก่อตั้ง
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| วอร์ซอ
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| ลิสบอน
| style="text-align:right" | 198601011 มกราคม 2529
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| บูคาเรสต์
| style="text-align:right" | 200701011 มกราคม 2550
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| บราติสลาวา
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| ลูบลิยานา
| style="text-align:right" | 200405011 พฤษภาคม 2547
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| มาดริด
| style="text-align:right" | 198601011 มกราคม 2529
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|-
|
| สต็อกโฮล์ม
| style="text-align:right" | 199501011 มกราคม 2538
| style="text-align:right" |
| style="text-align:right" |
|- class="sortbottom" style="font-weight:bold;"
| รวม:
| style="text-align:right;"| 27 ประเทศ
|
| style="text-align:right;"| 446,834,579
| style="text-align:right;"| 4,233,262
|}
== การเมือง ==
สหภาพยุโรปดำเนินการตามหลักการให้ (conferral) ซึ่งกล่าวว่า ควรกระทำเฉพาะภายในข้อจำกัดอำนาจหน้าที่ที่มอบหมายให้ตามสนธิสัญญา และการเสริมอำนาจปกครอง (subsidiarity) ซึ่งกล่าวว่า ควรกระทำเฉพาะเมื่อรัฐสมาชิกกระทำเพียงลำพังแล้วไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เพียงพอ กฎหมายที่สถาบันของสหภาพยุโรปออกสามารถผ่านได้หลายแบบ กล่าวโดยทั่วไป กฎหมายสามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่ม คือ กฎหมายที่มีผลใช้บังคับโดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการนำไปปฏิบัติระดับชาติ (ข้อบังคับ) และกฎหมายที่เจาะจงต้องการมาตรการนำไปปฏิบัติระดับชาติ (คำสั่ง)
=== โครงสร้างรัฐธรรมนูญ ===
การจำแนกประเภทสหภาพยุโรปในแง่กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายรัฐธรรมนูญมีการถกเถียงอย่างมาก สหภาพฯ เริ่มต้นเป็นองค์การระหว่างประเทศและค่อย ๆ พัฒนาเป็นสมาพันธรัฐ ทว่า ตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1960 สหภาพฯ ได้เพิ่มลักษณะสำคัญหลายประการของสหพันธรัฐ ดังเช่นผลโดยตรงของกฎหมายรัฐบาลระดับรวม (general level of government) ต่อปัจเจกบุคคล และการออกเสียงลงคะแนนฝ่ายข้างมากในกระบกวนการตัดสินใจของรัฐบาลระดับรวม โดยไม่กลายเป็นสหพันธรัฐโดยสภาพ ฉะนั้นปัจจุบันนักวิชาการจึงมองสหภาพฯ ว่าเป็นแบบกึ่งกลางระหว่างสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ โดยเป็นตัวอย่างที่มิใช่โครงสร้างการเมืองทั้งสองแบบ ด้วยเหตุนี้ องค์การดังกล่าวจึงมีคำเรียกว่า มีลักษณะเฉพาะตัว (sui generis) แม้บางคนอาจแย้งว่าการเรียกแบบนี้ใช้ไม่ได้แล้ว
องค์การดังกล่าวเดิมใช้คำว่า "ประชาคม" และต่อมา "สหภาพ" อธิบายตนเอง ความยุ่งยากของการจำแนกประเภทเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างกฎหมายระดับชาติ (ซึ่งคนในบังคับของกฎหมายได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) และกฎหมายระหว่างประเทศ (ซึ่งคนในบังคับได้แก่รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ) นอกจากนี้ ยังสามารถมองในแง่ของข้อแตกต่างระหว่างประเพณีนิยมรัฐธรรมนูญของยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของประเพณีนิยมยุโรป คำว่า สหพันธรัฐ เทียบเท่ากับรัฐสหพันธ์เอกราชในกฎหมายระหว่างประเทศ ฉะนั้นจึงไม่อาจเรียกสหภาพยุโรปว่าสหพันธรัฐได้โดยปราศจากคุณสมบัติ ทว่า มีการอธิบายโดยยึดแบบจำลองสหพันธ์หรือสหพันธ์โดยสภาพ ฉะนั้นจึงอาจเหมาะสมที่จะพิจารณาสหภาพฯ ว่าเป็นสหภาพรัฐสหพันธ์ (federal union of states) อันเป็นโครงสร้างเชิงความคิดระหว่างสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งเยอรมนีเรียกสหภาพยุโรปว่า ชตาเทนเวอร์บุนด์ เป็นโครงสร้างกึ่งกลางระหว่างชตาเทนบุนด์ (สมาพันธรัฐ) และบุนเดสส์ทาท (สหพันธรัฐ) ซึ่งเข้ากับมโนทัศน์นี้ สหภาพรัฐสหพันธ์อาจเป็นแบบการเมืองที่อยู่ยืนยาว ศาสตราจารย์แอนดรูว์ โมราฟซิกอ้างว่าสหภาพยุโรปไม่น่าจะพัฒนาต่อไปเป็นสหพันธรัฐ แต่อาจถึงเติบโตเต็มที่เป็นระบบรัฐธรรมนูญแล้ว
=== การปกครอง ===
สหภาพยุโรปมีหกสถาบัน ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป อำนาจหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแบ่งกันระหว่างคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและรัฐสภายุโรป ส่วนคณะกรรมาธิการยุโรปและที่ประชุมยุโรปในขอบเขตจำกัดเป็นผู้ดำเนินภาระงานฝ่ายบริหาร ธนาคารกลางยุโรปเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินของยูโรโซน ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ตีความและการใช้บังคับกฎหมายสหภาพยุโรปและประกันสนธิสัญญา ศาลผู้สอบบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบงบประมาณของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังมีองค์กรสนับสนุนซึ่งให้คำแนะนำสหภาพยุโรปหรือดำเนินการในด้านหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ
==== ที่ประชุมยุโรป ====
คณะมนตรียุโรป หรือ ที่ประชุมยุโรป (European Council) ให้ทิศทางการเมืองแก่สหภาพยุโรป มีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้งและประกอบด้วยประธานที่ประชุมยุโรป (คนปัจจุบันคือ ดอนัลต์ ตุสก์) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและผู้แทนหนึ่งคนจากรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ (อาจเป็นประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) ผู้แทนระดับสูงของสหภาพด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง (คนปัจจุบันคือ เฟเดริกา โมเกรินี) ก็เข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน มีผู้อธิบายว่าเป็น "ผู้มีอำนาจการเมืองสูงสุด" ของสหภาพยุโรป ที่ประชุมยุโรปเกี่ยวข้องโดยตรงในการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาและการนิยามวาระและยุทธศาสตร์นโยบายของสหภาพยุโรป
ที่ประชุมยุโรปใช้บทบาทผู้นำของตนสะสางข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกและสถาบัน และระงับวิกฤตการเมืองและความไม่ลงรอยระหว่างปัญหาและนโยบายที่มีข้อโต้เถียง คณะมนตรีฯ แสดงออกภายนอกเป็น "ประมุขแห่งรัฐร่วมกัน" และให้สัตยาบันเอกสารสำคัญ (ตัวอย่างเช่น ความตกลงระหว่างประเทศและสนธิสัญญา)
ภาระหน้าที่ของประธานที่ประชุมยุโรป คือ การประกันการเป็นผู้แทนภายนอกของสหภาพยุโรป การขับเคลื่อนการเห็นพ้องต้องกันและระงับความแตกต่างในหมู่รัฐสมาชิก ทั้งระหว่างการประชุมของที่ประชุมยุโรปและสมัยระหว่างการประชุม
ระวังสับสนระหว่างที่ประชุมยุโรปกับสภายุโรป (Council of Europe) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เป็นอิสระต่อสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ในสทราซบูร์
==== คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ====
คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (หรือเรียก "คณะมนตรี" และ "สภารัฐมนตรี" ซึ่งเป็นชื่อเก่า) (Council of the European Union) เป็นครึ่งหนึ่งของสภานิติบัญญัติของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยรัฐมนตรีจากรัฐสมาชิกแต่ละรัฐและประชุมกันในหลายองค์ประกอบขึ้นอยู่กับขอบเขตนโยบายที่กำลังจัดการอยู่ แม้ว่าจะมีองค์ประกอบต่างกัน แต่ยังถือเป็นองค์กรหนึ่งเดียว นอกเหนือจากการทำหน้าที่สภานิติบัญญัติแล้ว คณะมนตรีฯ ยังใช้การทำหน้าที่บริหารในด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม
==== สภา ====
สภายุโรป (European Parliament) เป็นอีกครึ่งหนึ่งของสภานิติบัญญัติยุโรป สมาชิก 751 คนของรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองสหภาพยุโรปทุกห้าปีโดยยึดหลักการมีผู้แทนตามสัดส่วน แม้สมาชิกรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งระดับชาติ แต่นั่งประชุมตามกลุ่มการเมืองมากกว่าสัญชาติ แต่ละประเทศมีจำนวนที่นั่งจำนวนหนึ่งและแบ่งเป็นเขตเลือกตั้งต่ำกว่าชาติโดยที่ไม่กระทบต่อสภาพสัดส่วนของระบบการออกเสียงลงคะแนน
สภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปผ่านกฎหมายร่วมกันในแทบทุกด้านภายใต้กระบวนวิธีสภานิติบัญญัติทั่วไป ซึ่งยังใช้กับงบประมาณสหภาพยุโรปด้วย คณะกรรมาธิการยุโรปต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา โดยต้องอาศัยการอนุมัติจากสภาจึงจะดำรงตำแหน่งได้ ต้องรายงานต่อรัฐสภาและอยู่ภายใต้ญัตติไม่ไว้วางใจจากรัฐสภา ประธานรัฐสภายุโรป (คนปัจจุบันคือ อันโทนิโอ ทาญานี) ดำเนินบทบาทประธานรัฐสภาและเป็นผู้แทนภายนอก ประธานและรองประธานมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาทุกสองปีครึ่ง
==== คณะกรรมาธิการ ====
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปและรับผิดชอบต่อการริเริ่มกฎหมายและการดำเนินงานวันต่อวันของสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการฯ ยังถูกมองว่าเป็นผู้สั่งการบูรณาการยุโรป คณะกรรมาธิการฯ ดำเนินการราวกับเป็นการปกครองระบบรัฐสภา โดยมีกรรมาธิการ 27 คนสำหรับขอบเขตนโยบายต่าง ๆ มาจากรัฐสมาชิกรัฐละหนึ่งคน แต่กรรมาธิการถูกผูกมัดให้ดูแลผลประโยชน์ของสหภาพยุโรปโดยรวมมากกว่าของรัฐบ้านเกิดของตน
กรรมาธิการคนหนึ่งจาก 27 คนเป็นประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (คนปัจจุบันคือ ฌอง-โคลด ยุงเคอร์) มาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมยุโรป รองจากประธาน กรรมาธิการคนที่โดดเด่นที่สุดคือ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพด้านกิจการต่างประเทศและความมั่นคง ซึ่งโดยตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมาธิการฯ และมาจากการเลือกโดยที่ประชุมยุโรปเช่นกัน แล้วกรรมาธิการอีก 26 คนที่เหลือมาจากการแต่งตั้งของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปโดยตกลงกับประธานฯ ที่ได้รับเสนอชื่อ กรรมาธิการ 27 คนรวมเป็นองค์กรเดียวอยู่ภายใต้การออกเสียงอนุมัติโดยรัฐสภายุโรป
=== งบประมาณ ===
สหภาพยุโรปตกลงงบประมาณ 120,700 ล้านยูโรสำหรับปี 2550 และ 864,300 ล้านยูโรสำหรับช่วงปี 2550–2556 คิดเป็น 1.10% และ 1.05% สำหรับการพยากรณ์รายได้มวลรวมประชาชาติของอียู-27 สำหรับสองช่วงตามลำดับ ในปี 2503 งบประมาณของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปขณะนั้นคิดเป็น 0.03% ของจีดีพี
ในปี 2553 งบประมาณ 141,500 ล้านยูโร รายการรายจ่ายเดี่ยวใหญ่สุด คือ "ความเชื่อมแน่นและความสามารถแข่งขัน" โดยคิดเป็นประมาณ 45% ของงบประมาณทั้งหมด รองลงมาเป็น "เกษตรกรรม" โดยคิดเป็นประมาณ 31% ของทั้งหมด "การพัฒนาชนบท สิ่งแวดล้อมและการประมง" คิดเป็นประมาณ 11% "การปกครอง" คิดเป็นประมาณ 6% "สหภาพยุโรปที่เป็นหุ้นส่วนโลก" และ "ความเป็นพลเมือง เสรีภาพ ความมั่นคงและความยุติธรรม" คิดเป็นประมาณ 6% และ 1% ตามลำดับ
ศาลผู้สอบบัญชีมีข้อผูกพันตามกฎหมายจัดหา "คำแถลงการประกันในเรื่องความน่าเชื่อถือของบัญชีและความถูกต้องตามกฎหมายและความถูกต้องตามระเบียบของธุรกรรมพื้นเดิม" แก่รัฐสภาและคณะมนตรีฯ ศาลฯ ยังให้ความเห็นและข้อเสนอกฎหมายการเงินและการกระทำต่อต้านการฉ้อฉล รัฐสภาใช้ข้อมูลดังกล่าวตัดสินใจว่าจะอนุมัติการจัดการงบประมาณของคณะกรรมาธิการฯ หรือไม่
ศาลผู้สอบบัญชียุโรปลงนามบัญชีสหภาพยุโรปทุกปีตั้งแต่ปี 2550 และได้แสดงให้เห็นว่าข้อผิดพลาดส่วนมากเกิดขึ้นในระดับชาติ ในรายงานปี 2552 ผู้สอบบัญชีพบว่ารายจ่ายของสหภาพฯ ห้าด้าน เกษตรกรรมและกองทุนความเชื่อมแน่น ได้รับผลกระทบอย่างสำคัญจากข้อผิดพลาด คณะกรรมาธิการยุโรปประเมินในปี 2552 ว่าผลการเงินของความไม่ถูกต้องคิดเป็น 1,863 ล้านยูโร
=== อำนาจหน้าที่ ===
รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปคงอำนาจทั้งหมดที่มิได้ถูกมอบอย่างชัดเจนให้สหภาพยุโรป ในบางขอบเขต สหภาพยุโรปมีอำนาจหน้าที่สิทธิ์ขาดเฉพาะ เหล่านี้เป็นพื้นที่ซึ่งรัฐสมาชิกสละความสามารถใด ๆ ในการตรากฎหมาย ในขอบเขตอื่น สหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกมีอำนาจหน้าที่ร่วมกันออกกฎหมาย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายสามารถออกกฎหมายได้ แต่รัฐสมาชิกสามารถออกกฎหมายเฉพาะจนถึงขอบเขตที่สหภาพยุโรปไม่มีขอบเขตเท่านั้น ในขอบเขตนโยบายอื่น สหภาพยุโรปสามารถประสานงาน สนับสนุนและส่งเสริมการกระทำของรับสมาชิกเท่านั้น แต่ไม่สามารถตรากฎหมายโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกฎหมายระดับชาติให้สอดคล้องกันได้
ข้อเท็จจริงว่าขอบเขตนโยบายหนึ่ง ๆ จัดอยู่ในหมวดอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมิได้บ่งชี้เสมอไปว่ามีการใช้วิธีดำเนินการนิติบัญญัติใดในการตรากฎหมายในขอบเขตนโยบายนั้น มีการใช้วิธีดำเนินการนิติบัญญัติต่าง ๆ ในหมวดอำนาจหน้าที่เดียวกัน และแม้แต่ในขอบเขตนโยบายเดียวกัน
การแบ่งอำนาจหน้าที่ในขอบเขตนโยบายต่าง ๆ ระหว่างรัฐสมาชิกและสหภาพฯ แบ่งออกเป็นสามหมวดดังนี้
== เศรษฐกิจ ==
สหภาพยุโรปสถาปนาตลาดเดียวทั่วดินแดนของสมาชิกทั้งหมดซึ่งมีพลเมือง 508 ล้านคน ในปี 2557 สหภาพยุโรปมีจีดีพีรวมกัน 18.640 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างประเทศ (international dollar) คิดเป็นสัดส่วน 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลกเรียงตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) สหภาพยุโรปที่เป็นองค์การการเมืองมีผู้แทนในองค์การการค้าโลก รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปมีความมั่งคั่งสุทธิประเมินมากที่สุดในโลก คิดเป็น 30% ของความมั่งคั่งทั่วโลก 223 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างประเทศ
รัฐสมาชิก 19 รัฐเข้าร่วมสหภาพการเงิน เรียก ยูโรโซน ซึ่งใช้เงินตราเดี่ยวคือ ยูโร สหภาพการเงินมีพลเมืองสหภาพยุโรป 338 ล้านคน ยูโรเป็นเงินตราสำรองใหญ่สุดอันดับสองตลอดจนเงินตราที่มีการซื้อขายมากที่สุดอันดับสองของโลกรองจากดอลลาร์สหรัฐ
ในบรรดา 500 บรรษัทใหญ่สุดในโลกวัดตามรายได้ในปี 2553 จำนวนนี้มี 161 บรรษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรป ในปี 2559 อัตราการว่างงานในสหภาพยุโรปอยู่ที่ 8.9% ขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 2.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ −0.9% ของจีดีพี ค่าจ้างสุทธิต่อปีเฉลี่ยในสหภาพยุโรปอยู่ที่ประมาณ $20,000 ในปี 2558 ซึ่งคิดเป็นประมาณกึ่งหนึ่งของค่าจ้างสุทธิต่อปีเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา
มีความผันแปรของจีดีพี (พีพีพี) ต่อหัวอย่างสำคัญภายในรัฐสหภาพยุโรปหนึ่ง ๆ ความแตกต่างระหว่างภูมิภาคที่รวยและจนที่สุด (ภูมิภาค NUTS-2 ตามการตั้งชื่อหน่วยดินแดนเพื่อสถิติจำนวน 276 ภูมิภาค) ในปี 2557 มีพิสัยระหว่าง 30% ของค่าเฉลี่ยสมาชิกสหภาพยุโรป 28 รัฐถึง 539% หรือตั้งแต่ 8,200 ถึง 148,000 ยูโร (ประมาณ 9,000 ถึง 162,000 ดอลลาร์สหรัฐ)
กองทุนโครงสร้างและกองทุนความเชื่อมแน่นกำลังสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาคด้อยพัฒนาของสหภาพยุโรป ดินแดนดังกล่าวส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐยุโรปกลางและใต้ หลายกองทุนจัดหาการช่วยเหลือฉุกเฉิน การสนับสนุนสมาชิกผู้สมัครเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศของตนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป (Phare, ISPA, และ SAPARD) และสนับสนุนเครือจักรภพรัฐเอกราช (TACIS) TACIS ปัจจบุนัเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุโรปเอดทั่วโลก โครงการกรอบการวิจัยและเทคโนโลยีสหภาพยุโรปสนับสนุนการวิจัยที่ดำเนินการโดยกลุ่มจากสมาชิกสหภาพยุโรปทุกประเทศเพื่อมุ่งสู่พื้นที่การวิจัยยุโรปเดียว
=== ตลาดภายใน ===
วัตถุประสงค์แกนกลางดั้งเดิมสองประการของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปคือการพัฒนาตลาดร่วม ซึ่งต่อมากลายเป็นตลาดเดียว และสหภาพศุลกากรระหว่างรัฐสมาชิก ตลาดเดียวเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีซึ่งสินค้า ทุน บุคคลและบริการภายในสหภาพยุโรป และสหภาพศุลกากรซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้บังคับอากรศุลกากรภายนอกร่วมต่อสินค้าทุกชนิดที่เข้าสู่ตลาดดังกล่าว เมื่อสินค้าถูกรับเข้าตลาดแล้วจะไม่มีการเก็บอากรศุลกากร ภาษีเลือกปฏิบัติหรือโควตานำเข้าอีกเมื่อมีการเคลื่อนย้ายภายใน รัฐสมาชิกที่มิใช่สหภาพยุโรป ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลีชเทินชไตน์และสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมในตลาดเดียวแต่ไม่เข้าร่วมสหภาพศุลกากร การค้ากึ่งหนึ่งในสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้กฎหมายซึ่งสหภาพยุโรปปรับปรุงให้สอดคล้องกัน
การเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีตั้งใจให้อนุญาตการเคลื่อนย้ายการลงทุน เช่น การซื้ออสังหาริมทรัพย์และการซื้อหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ ก่อนหน้ามีแรงขับสู่สหภาพเศรษฐกิจและการเงิน การพัฒนาข้อกำหนดทุนเป็นไปอย่างเชื่องช้า หลังสนธิสัญญามาสทริชต์ มีหนังสือประชุมคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปซึ่งกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านเสรีภาพซึ่งถูกละเลยในทีแรกนี้ การเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีเป็นเอกลักษณ์ถึงขนาดที่มีการให้แก่รัฐที่มิใช่สมาชิกโดยเสมอกัน
การเคลื่อนย้ายบุคคลอย่างเสรีหมายความว่าพลเมืองสหภาพยุโรปสามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีระหว่างรัฐสมาชิกเพื่ออยู่อาศัย ทำงาน ศึกษาหรือเกษียณในประเทศอื่น การเคลื่อนย้ายดังกล่าวต้องการพิธีรีตรองทางการปกครองและการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพจากรัฐอื่นลดลง
การเคลื่อนย้ายบริการและสถานที่ประกอบการอย่างเสรีทำให้บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระเคลื่อนย้ายระหว่างรัฐสมาชิกเพื่อจัดหาบริการเป็นการชั่วคราวหรือถาวรได้ แม้บริการจะคิดเป็น 60–70% ของจีดีพี แต่กฎหมายในขอบเขตดังกล่าวยังไม่มีการพัฒนาเท่ากับในขอบเขตอื่น ส่วนนี้มีการจัดการโดยมีการผ่านคำสั่งเรื่องบริการในตลาดภายในซึ่งมุ่งเปิดเสรีการจัดหาบริการให้ข้ามพรมแดน ตามสนธิสัญญาฯ การจัดหาบริการให้เป็นเสรีภาพตกค้างซึ่งใช้บังคับได้ต่อเมื่อไม่มีการใช้เสรีภาพอื่น
=== สหภาพการเงิน ===
การสถาปนาเงินตราเดียวยุโรปกลายเป็นวัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในปี 2512 ต่อมาในปี 2535 หลังได้เจรจาโครงสร้างและวิธีดำเนินการของสหภาพเงินตราแล้ว รัฐสมาชิกลงนามสนธิสัญญามาสทริชต์และถูกผูกพันตามกฎหมายให้บรรลุกฎที่มีการตกลงกันซึ่งรวมถึงเกณฑ์บรรจบหากต้องการเข้าร่วมสหภาพการเงิน รัฐที่ต้องการเข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมกลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรปเสียก่อน
ในปี 2542 สหภาพการเงินเริ่มต้น ทีแรกเป็นเงินตราบัญชีโดยมีรัฐสมาชิกสิบเอ็ดรัฐเข้าร่วม ในปี 2545 เงินตราดังกล่าวมีการใช้อย่างสมบูรณ์ เมื่อมีการออกธนบัตรและเหรียญยูโรและเงินตราประจำชาติเริ่มต้นหายไปในยูโรโซน ซึ่งขณะนั้นมีรัฐสมาชิก 12 รัฐ ยูโรโซน (ซึ่งประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร) ได้เติบโตเป็น 19 ประเทศนับแต่นั้น
ยูโรและนโยบายการเงินของรัฐที่ใช้ในความตกลงกับสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดย ECB เป็นธนาคารกลางสำหรับยูโรโซน ฉะนั้นจึงควบคุมนโยบายการเงินในขอบเขตนั้นโดยมีวาระเพื่อธำรงเสถียรภาพราคา ตั้งอยู่ ณ ใจกลางของระบบธนาคารกลางยุโรป ซึ่งรวบรวมธนาคารกลางแห่งชาติทั่วทั้งสหภาพยุโรปและมีคณะมนตรีใหญ่ (General Council) เป็นผู้ควบคุม ซึ่งคณะมนตรีใหญ่นี้ประกอบด้วยประธานธนาคารกลางยุโรปที่มาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมยุโรป รองประธานธนาคารกลางยุโรปและผู้ว่าการธนาคารกลางประจำชาติของรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 รัฐ
ระบบการควบคุมดูแลการเงินยุโรปเป็นสถาปัตยกรรมโครงสร้างของโครงการควบคุมดูแลการเงินของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยสามหน่วยงาน ได้แก่ การธนาคารยุโรป การประกันภัยและบำนาญอาชีพยุโรป และการหลักทรัพย์และตลาดยุโรป ในการเติมเต็มกรอบนี้ ยังมีคณะกรรมการความเสี่ยงเป็นระบบยุโรป (European Systemic Risk Board) ภายใต้ความรับผิดชอบของธนาคารกลางยุโรป จุดมุ่งหมายของระบบควบคุมการเงินนี้คือเพื่อประกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป
เพื่อป้องกันรัฐที่เข้าร่วมมิให้เผชิญปัญหาหรือวิกฤตการเงินหลังเข้าร่วมสหภาพการเงิน รัฐถูกผูกพันในสนธิสัญญามาสทริชต์ในบรรลุข้อผูกพันการเงินและวิธีดำเนินการที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อแสดงวินัยงบประมาณและการบรรจบทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนระดับสูง ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการขาดดุลภาครัฐมากเกินและจำกัดหนี้สาธารณะที่ระดับยั่งยืน
=== พลังงาน ===
ในปี 2549 รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 27 รัฐมีการบริโภคพลังงานในแผ่นดินทั้งสิ้น 1,825 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมัน (toe) ประมาณ 46% ของพลังงานที่บริโภคมีการผลิตภายในรัฐสมาชิก ขณะที่อีก 54% มาจากการนำเข้า ในสถิติเหล่านี้ พลังงานนิวเคลียร์ถือเป็นพลังงานหลักที่ผลิตในสหภาพยุโรป โดยไม่คำนึงถึงแหล่งยูเรเนียม ซึ่งมีการผลิตในสหภาพยุโรปน้อยกว่า 3%
สหภาพยุโรปมีอำนาจนิติบัญญัติในขอบเขตนโยบายพลังงานเป็นส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์ นโยบายดังกล่าวมีเหง้าในประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป การริเริ่มนโยบายพลังงานยุโรปแบบบังคับและครอบคุลมมีการอนุมัติในการประชุมที่ประชุมยุโรปในเดือนตุลาคม 2548 และมีการพิมพ์เผยแพร่นโยบายฉบับร่างนโยบายแรกในเดือนมกราคม 2550
สหภาพยุโรปมีห้าจุดหลักในนโยบายพลังงาน ได้แก่ เพิ่มการแข่งขันในตลาดภายใน ส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นความเชื่อมโยงระหว่างสายไฟฟ้า ทำให้หลากหลายซึ่งทรัพยากรพลังงานโดยมีระบบสนองวิกฤตที่ดีขึ้น สถาปนาโครงสนธิสัญญาใหม่สำหรับความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศรัสเซียขณะที่พัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐที่อุดมไปด้วยพลังงานในเอเชียกลางและแอฟริกาเหนือ ใช้อุปสงค์พลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นขณะที่เพิ่มการพาณิชย์พลังงานหมุนเวียน และสุดท้ายเพิ่มเงินทุนสำหรับเทคโนโลยีพลังงานใหม่
ในปี 2550 ประเทศสหภาพยุโรปทั้งหมดนำเข้า 82% ของอุปทานน้ำมัน 57% ของอุปทานแก๊สธรรมชาติ และ 97.48% ของอุปทานยูเรเนียม มีการพึ่งพาพลังงานรัสเซียอย่างมากซึ่งสหภาพยุโรปกำลังพยายามลด
== เชิงอรรถ ==
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป
เว็บไซต์ของผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย
เว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรป ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
Thaieurope.net เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารของสหภาพยุโรป จัดทำโดยหน่วยราชการไทยในยุโรป ประสานงานโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์
ระบบการเมือง
ระบอบสหพันธรัฐ
บรัสเซลส์
องค์การที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ | thaiwikipedia | 293 |
เอดินบะระ | เอดินบะระ (Edinburgh; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของสก็อตแลนด์รองจากเมืองกลาสโกว์ และเป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งใน 32 เขตการปกครองของสกอตแลนด์
เอดินบะระได้รับการยอมรับเป็นเมืองหลวงของสกอตแลนด์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นที่ทำการของรัฐบาลสกอตแลนด์, รัฐสภาสกอตแลนด์ และศาลสูงสุดสกอตแลนด์ ภายในเมืองเป็นที่ตั้งของพระราชวังฮอลีรูด ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของกษัตริย์อังกฤษในดินแดนสกอตแลนด์ นครเอดินบะระเป็นศูนย์กลางของการศึกษา โดยเฉพาะด้านแพทยศาสตร์และวรรณกรรม ถือเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับสามในสหราชอาณาจักร (รองจากกรุงลอนดอนและเมืองกลาสโกว์) ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองดึงดูดผู้คนมากมายมาเยี่ยมชมแห่งนี้ และเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนเป็นอันดับของในสหราชอาณาจักร ใน ค.ศ. 2016 มีชาวต่างชาติมาเยือนกว่า 1.75 ล้านคน
เอดินบะระเป็นเมืองมากประชากรเป็นอันดับสองของสกอตแลนด์ (รองจากกลาสโกว์) และเป็นเมืองมากประชากรเป็นอันดับแปดในสหราชอาณาจักร มีประชากรตามทะเบียนราษฎร 488,050 คน (ค.ศ. 2016) เฉพาะท้องที่เอดินบะระ และมีประชากร 518,500 คน (ค.ศ. 2018) สำหรับทั้งเมือง เขตเมืองเก่าและใหม่ของเอดินบะระได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
เอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองเป็นมิตรกับเด็ก" เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น
== ศัพท์มูลวิทยา ==
คำว่า เอดิน มีรากศัพท์มาจากชื่อ ไอดิน (Eidyn) ซึ่งเป็นชื่อบริเวณที่ตั้งของเมืองในปัจจุบัน คำดังกล่าวเป็นคำในกลุ่มภาษาเคลต์บริติชซึ่งเป็นภาษาที่เคยพูดกันพื้นที่แถบนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลว่าคำดังกล่าวมีความหมายอะไร พื้นที่ไอดินถูกพิชิตโดยชาวแองเกิลในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต่อมาถูกพิชิตโดยชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ต่อมาเมื่อภาษาได้พัฒนาการเป็นภาษาสมัยใหม่ ได้มีการเติมคำว่า บระ (burh) และต่อมาจึงเพี้ยนเป็น เอดินบะระ (Edinburgh)
== ภูมิอากาศ ==
เอดินบะระมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของสกอตแลนด์
== อ้างอิง ==
== ดูเพิ่ม ==
มหาวิทยาลัยเอดินบะระ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Edinburgh Tourist Information ข้อมูลท่องเที่ยวเอดินบะระ
City of Edinburgh Council สภาเมืองเอดินบะระ
นครในสหราชอาณาจักร
พื้นที่สภาของสกอตแลนด์
เมืองหลวงในทวีปยุโรป
เมืองหลวงในสหราชอาณาจักร
เมืองในสกอตแลนด์
สันนิบาตฮันเซอ
แหล่งมรดกโลกในประเทศสกอตแลนด์ | thaiwikipedia | 294 |
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,479,210 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 625 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพฯ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น
เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558
== ประวัติ ==
=== สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ ===
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
=== รัฐสมาชิก ===
รัฐสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:
รัฐสังเกตการณ์สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:
=== การขยายตัว ===
ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมา บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 หลังบรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว
== ภูมิศาสตร์ ==
ในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาคากาโบราซีในพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังกลาเทศ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพริกไทย
== วัตถุประสงค์ ==
จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้
ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
== การเมือง ==
=== ประธานอาเซียน ===
กฎบัตรอาเซียน ข้อ 31 ระบุว่า ตำแหน่งประธานอาเซียนจะเวียนกันทุกปีตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษของชื่อรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกที่เป็นประธานจะเป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาประสานงานอาเซียน สภาประชาคมอาเซียนสามสภา องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและข้าราชการอาวุโส และคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร
=== สำนักเลขาธิการ ===
สำนักเลขาธิการอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 ในตอนนั้นตั้งอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 70A Jalan Sisingamangaraja กรุงจาการ์ตา ซึ่งซูฮาร์โต ประธานาธิบดีอินโดนีเซียขณะนั้น ก่อตั้งในปี 2524
หน้าที่หลักของสำนักเลขาธิการอาเซียนคือเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานขององค์กรอาเซียน และให้การนำโครงการและกิจกรรมของอาเซียนไปปฏิบัติมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
=== เลขาธิการ ===
เลขาธิการอาเซียนได้รับแต่งตั้งโดยการประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นระยะเวลาดำรงตำแหน่งห้าปี สมัยเดียว โดยเลือกมาจากผู้มีสัญชาติรัฐสมาชิกอาเซียนตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษ
เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน คือ ดาโตะก์ ปาดูกา ลิม จก โฮย ชาวบรูไน ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2561–2565
==ผู้นำคนปัจจุบันในอาเซียน==
ไฟล์:Hassanal Bolkiah, October 2021.jpg| บรูไน สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์
ไฟล์:Hun Manet (2022).jpg| กัมพูชา นายกรัฐมนตรี ฮุน มาแณต
ไฟล์:Joko Widodo 2019 official portrait.jpg| อินโดนีเซียประธานาธิบดี โจโก วีโดโด
ไฟล์:DPM Sonexay Siphandone.jpg| ลาวนายกรัฐมนตรี สอนไซ สีพันดอน
ไฟล์:The Member of the Malaysian Parliament, Datuk Seri Anwar Ibrahim calling on the Prime Minister, Shri Narendra Modi, in New Delhi on January 10, 2019 (1) (cropped).jpg| มาเลเซียนายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม
ไฟล์:Min Aung Hlaing (17 August 2019).jpg| พม่า นายกรัฐมนตรี มี่นอองไลง์
ไฟล์:Ferdinand R. Marcos Jr (cropped).jpg| ฟิลิปปินส์ประธานาธิบดี บองบอง มาร์กอส
ไฟล์:Lee Hsien Loong 2022.jpg| สิงคโปร์นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง
ไฟล์: Srettha Thavisin at Pheu Thai Party headquarters,Bangkok, 7 September 2023.jpg | ไทยนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน
ไฟล์:Secretary Blinken Meets with Vietnamese Prime Minister Pham Minh Chinh (52070795768) (cropped).jpg| เวียดนามนายกรัฐมนตรี ฝั่ม มิญ จิ๊ญ
== ประชาคมเศรษฐกิจ ==
{|class="wikitable floatright" style="font-size:85%; text-align:right;"
|+ ชาติสมาชิกอาเซียนตามดัชนีการพัฒนามนุษย์
|-
! style="text-align:center; width:120px" | ประเทศ
! colspan="2" style="text-align:center;" cosplan |HDI
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.939
| สูงมาก
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.829
| สูงมาก
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.803
| สูงมาก
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.800
| สูงมาก
|-
|-style="background:#EBFFEB;"
| style="text-align:left;" |
| 0.725
| สูง
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.705
| สูง
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.703
| สูง
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.699
| ปานกลาง
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.607
| ปานกลาง
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.593
| ปานกลาง
|-
| style="text-align:left;" |
| 0.585
| ปานกลาง
|-
|}
กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
=== เขตการค้าเสรี ===
รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542)
=== เขตการลงทุนร่วม ===
เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:
เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ
ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที
กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน
ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว
สร้างความโปร่งใส
ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม
=== การแลกเปลี่ยนบริการ ===
ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว
=== ตลาดการบินเดียว ===
แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558 โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิก ในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาค และภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด
=== ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน ===
อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดีย ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกัน ผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วย ไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน
== ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ==
เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549 และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
== ความร่วมมือทางวัฒนธรรม ==
ความร่วมมือทางวัฒนธรรมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยสร้างภาพรวมในด้านต่าง ๆให้ดีขึ้น โดยการให้การสนับสนุน ทั้งการกีฬา การศึกษา และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ความร่วมมือต่าง ๆ ดังนี้
=== รางวัลซีไรต์ ===
ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เพื่อมอบรางวัลแก่นักประพันธ์หรือนักเขียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้สร้างผลงานที่ดีมีชื่อเสียง ที่ประสบความสำเร็จในช่วงชีวิตของนักเขียนนั้น ๆ ผลงานนั้นเป็นผลงานเขียนทุกประเภท ทั้งวรรณกรรมต่าง ๆ เรื่องสั้น กลอน รวมไปถึงผลงานทางศาสนา ซึ่งจะมีการจัดงานที่กรุงเทพมหานคร โดยมีเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ไทยเป็นผู้พระราชทานรางวัล
=== การศึกษา ===
สถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูงแห่งอาเซียน เป็นองค์การเอกชนที่จัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2499 เพื่อที่จะพัฒนาระดับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ทั้งสถาบันการศึกษาระดับสูง การสอน การบริการสาธารณะที่ดีได้มาตรฐานที่สูงขึ้น โดยสอดคล้องไปกับวัฒนธรรมและพื้นที่นั้น ๆ
=== อุทยานมรดก ===
ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และเริ่มใหม่อีกรอบในปี พ.ศ. 2547 เป็นการรวมรายชื่อของอุทยานแห่งชาติทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ ปัจจุบันมีรวมทั้งหมด 35 แห่ง
== การประชุม ==
=== การประชุมสุดยอดอาเซียน ===
ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งหัวหน้ารัฐบาลแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
การประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการมีกำหนดการสามวัน ดังนี้
ผู้นำของรัฐสมาชิกจะจัดการประชุมภายใน
ผู้นำของรัฐสมาชิกจะหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียน
การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดอาเซียน
การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
=== การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ===
การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นการจัดการประชุมทั่วเอเชียซึ่งจัดขึ้นทุกปีโดยผู้นำเอเชียตะวันออก 16 ประเทศ หัวข้อการประชุมนั้นเกี่ยวกับการค้า พลังงานและความมั่นคง และการประชุมสุดยอดดังกล่าวยังมีบทบาทในการสร้างประชาคมภูมิภาค
ประเทศผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ชาติอาเซียน 10 ประเทศร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 รัสเซียและสหรัฐอมริกาได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกเต็มตัวอย่างเป็นทางการ ประธานาธิบดีของทั้งสองประเทศเข้าร่วมการประชุมสุดยอดใน พ.ศ. 2554
การประชุมสุดยอดครั้งแรกจัดขึ้นในกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 และการประชุมครั้งต่อ ๆ มาถูกจัดขึ้นหลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนประจำปี
=== การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรี ===
การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรีเป็นการประชุมระหว่างประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างชาติอาเซียน ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องในวาระครบรอบการก่อตั้งความสัมพันธ์ทางการทูต ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนจะเป็นผู้เชิญชวนผู้นำชาติอาเซียนเพื่อประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือในอนาคต
=== ที่ประชุมกลุ่มอาเซียน ===
ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนเป็นการประชุมหลายฝ่ายอย่างเป็นทางการในภาคพื้นแปซิฟิก ในเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ประชุมดังกล่าวประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 27 ประเทศ; ออสเตรเลีย บังกลาเทศ แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี รัสเซีย ติมอร์-เลสเต สหรัฐอเมริกา และศรีลังกา จุดประสงค์ของที่ประชุมเพื่อการปรึกษาหารือ นำเสนอความไว้วางใจและธำรงความสัมพันธ์ทางการทูตในกลุ่มสมาชิก ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2537
=== การประชุมอื่น ===
นอกเหนือจากการประชุมที่กล่าวมาข้างต้น อาเซียนยังได้มีการจัดการประชุมอื่นขึ้นอีก ประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนประจำปี รวมไปถึงคณะกรรมการย่อย อย่างเช่น ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมดังกล่าวมักจะมีหัวข้อการประชุมที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ความมั่นคงระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะเป็นรัฐมนตรีแทนที่จะเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลทั้งหมด
==== การประชุมอาเซียนบวกสาม ====
ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลักดันให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เกาหลีใต้ก็ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ด้วยการผนึกสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนที่เรียกชื่อว่า "อาเซียนบวกสาม" (APT) แต่สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินหน้าจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยกีดกันญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยความจงใจ แม้ว่าตามข้อตกลงในการจัดซื้อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน จะมีแผนที่จะผนวกเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้ามาในภายหลังเพื่อเป็นอาเซียนบวกสาม แต่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาอันแน่นอน อันทำให้เขตการค้าเสรีอาเซียนบวกสาม
==== การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ====
การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปเป็นกระบวนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ มีขึ้นครั้งแรกในปี 2538 เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกของสหภาพยุโรปและอาเซียน โดยกลุ่มอาเซียนจะส่งเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมกับผู้แทนอีก 45 คน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้บริหารของมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือกันทางด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเอเชียกับยุโรป
==== การประชุมอาเซียน-รัสเซีย ====
เป็นการประชุมประจำปีระหว่างผู้นำของประเทศกลุ่มอาเซียนร่วมกับประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย
==== การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ====
การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน (ASEAN Navy Chiefs' Meeting หรือ ANCM) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยกองทัพเรือไทยเป็นเจ้าภาพ ใช้ชื่อว่า ASEAN Navy Interaction (ANI) หลังการประชุมครั้งที่ 3 ได้เว้นช่วงไประยะหนึ่ง จึงดำเนินการจัดการประชุมต่อในครั้งที่ 4 ที่อินโดนีเซีย และในการประชุมครั้งที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อการประชุมเป็น ASEAN Navy Chiefs' Meeting
{|class= "wikitable"
|-
! ครั้งที่ !! เจ้าภาพ !! หัวข้อ
|-
| 1 (2544) || ไทย ||-
|-
| 2 (2546) || มาเลเซีย ||-
|-
| 3 (2548) || สิงคโปร์ ||-
|-
| 4 (2553) || อินโดนีเซีย ||-
|-
| 5 (2554) || เวียดนาม || ASEAN Naval Cooperation for Peace and Sea Security
|-
| 6 (2555) || บรูไน || Friendship at Sea for Regional Maritime Peace and Security
|-
| 7 (2556) || ฟิลิปปินส์ || Partnership for Peace and Prosperity
|-
| 8 (2557) || ไทย || ASEAN Underway: Navies After 2015
|}
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เกี่ยวกับอาเซียน
ASEAN News Network
ASEAN Blog
ASEAN Regional Forum
BBC Country Profile/Asean Retrieved on 13 March 2007.
การประชุมสุดยอดอาเซียน
14th ASEAN Summit
13th ASEAN Summit Retrieved on 16 September 2007.
11th ASEAN Summit 12 December–14, 2005, Kuala Lumpur, Malaysia. Retrieved on 13 March 2007.
องค์กรอาเซียน
Official directory of ASEAN organizations
ASEAN Law Association
ASEAN Ports Association
US-ASEAN Business Council
องค์การระหว่างรัฐบาล
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จาการ์ตา | thaiwikipedia | 295 |
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคเดียวในทวีปเอเชียที่มีอาณาเขตบางส่วนอยู่ในซีกโลกใต้ ทั้งนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งเป็นสองภาคภูมิศาสตร์ ได้แก่
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ รู้จักกันในชื่อ คาบสมุทรอินโดจีน และในอดีตว่า อินโดจีน ได้แก่ ประเทศกัมพูชา, ลาว, พม่า, มาเลเซียตะวันตก, ไทย และเวียดนาม
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร รู้จักกันในชื่อ กลุ่มเกาะมลายู และในอดีตว่า นูซันตารา ได้แก่ หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย), บรูไน, มาเลเซียตะวันออก, ติมอร์ตะวันออก, อินโดนีเซีย (ยกเว้นนิวกินีตะวันตกที่อยู่ในโอเชียเนีย), ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
ภูมิภาคนี้อยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง ทั้งนี้แผ่นที่สำคัญคือแผ่นซุนดาซึ่งมีอาณาเขตอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้น พม่า ภาคเหนือของไทย ทางเหนือของลาวและเวียดนาม และเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์ เทือกเขาในพม่า ไทยและคาบสมุทรมาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย ส่วนหมู่เกาะของฟิลิปปินส์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนไฟ ส่วนประเทศอินโดนีเซียเป็นจุดที่แนวเทือกเขาทั้งสองมาเจอกันจึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟประทุบ่อยครั้ง
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็น 10.5% ของทวีปเอเชียและคิดเป็น 3% ของพื้นที่โลก มีประชากรรวมมากกว่า 641 ล้านคนหรือประมาณ 8.5% ของประชากรโลก ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของโลกรองจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ภูมิภาคนี้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติเป็นอย่างมากโดยมีภาษากว่าร้อยภาษาตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการร่วมมือกันในภาคเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร การศึกษาและวัฒนธรรมในหมู่สมาชิก
== เขตรัฐกิจ ==
=== ประเทศ ===
* ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียอยู่ที่เมืองปูตราจายา
=== ดินแดน ===
=== ดินแดนใต้ปกครองของประเทศ ===
== ประวัติศาสตร์ ==
=== การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ===
มิลตัน ออสบอร์น (Milton Osborne) นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวออสเตรเลียแบ่งยุคสมัยไว้อย่างหลวม ๆ ดังนี้
สมัยคลาสสิค
สมัยจารีต
สมัยอาณานิคม
สมัยใหม่
== ภูมิศาสตร์ ==
ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะมลายูเป็นหนึ่งในบริเวณที่มีภูเขาไฟมีพลังมากที่สุดในโลก ผืนดินที่ยกตัวขึ้นในบริเวณนี้ทำให้เกิดภูเขาที่สวยงามอย่างยอดเขาปุนจักจายาที่จังหวัดปาปัวในอินโดนีเซีย ความสูงถึง 5,030 เมตร (16,024 ฟุต) บนเกาะนิวกินี อีกทั้งยังเป็นสถานที่เดียวที่สามารถพบธารน้ำแข็งได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่บริเวณที่สูงเป็นอันดับสองอย่างยอดเขากีนาบาลูในรัฐซาบะฮ์ของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ซึ่งมีความสูง 4,095 เมตร (13,435 ฟุต) ภูเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือยอดเขาคากาโบราซี โดยมีความสูงถึง 5,967 เมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพม่า และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ขณะเดียวกันอินโดนีเซียนั้นถูกจัดว่าเป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (จัดโดย CIA World Factbook)
ภูเขาไฟมีพลังอย่างภูเขาไฟมายอนเป็นเจ้าของสถิติกรวยไฟที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกที่เกิดจากการปะทุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
=== ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต ===
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางซีกโลกตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดประเทศอินเดียและบังคลาเทศ โดยตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออกถึง 141 องศาตะวันตก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยแบ่งตามภูมิศาสตร์คือ ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีป และส่วนที่เป็นหมู่เกาะ
ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปเป็นพื้นแผ่นดินใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา บางส่วนของประเทศมาเลเซีย ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของประเทศมาเลเซีย และติมอร์-เลสเต
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน มีช่องแคบ 4 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมากัสซาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย
=== ภูมิประเทศ ===
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ดังนี้
บริเวณทิวเขาและที่ราบลาดเนินตะกอนเชิงเขา ทิวเขาภายในแผ่นดินใหญ่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ แผ่กระจายออกมาจากชุมเขายูนนาน โดยมี 3 แนว ได้แก่ แนวทิศตะวันตก คือ ทิวเขาอะระกันในพม่าต่อเนื่องไปในทะเลอันดามัน เป็นภูเขาหินใหม่จึงมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนวกลางเป็นทิวเขาด้านทิศตะวันออกของพม่าต่อเนื่องลงไปถึงภาคเหนือของไทยจนถึงภาคใต้ แนวทิศตะวันออก คือ ทิวเขาในลาวและเวียดนาม ทิวเขาตามแนวกลางและตะวันออกเป็นภูเขายุคหินกลางจึงไม่มีปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเหมือนแนวทิศตะวันตก
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ พบอยู่สองฝั่งของแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ราบสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีในพม่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงของเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ส่วนที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่สำคัญ เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำอิรวดี เป็นต้น
ที่ราบชายฝั่งทะเล ได้แก่ บริเวณที่เป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมของทรายจากการกระทำของคลื่นในทะเล บริเวณที่เป็นดินเลนซึ่งมักจะพบป่าไม้ เช่น ป่าโกงกาง ป่าจาก เป็นต้น พบได้ทั่วไปในทุกประเทศของภูมิภาค ยกเว้นประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีที่ราบชายฝั่งทะเล เพราะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล)
หมู่เกาะ ส่วนใหญ่เป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟ ทั้งที่ยังมีพลังและที่ดับสนิทแล้ว ต่อเนื่องมาจากทิศตะวันตกในแผ่นดินประเทศพม่า ลงไปเป็นหมู่เกาะอันดามัน นิโคบาร์ สุมาตรา ชวา ในอินโดนีเซีย และหมู่เกาะในฟิลิปปินส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากมาย ประเทศที่มีเกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ ประเทศฟิลิปปินส์มีเกาะประมาณ 7,000 เกาะ เนื่องจากดินในเขตภูเขาไฟจะมีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้แถบนี้มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะต้องเสี่ยงต่อการปะทุของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว
=== ภูมิอากาศ ===
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอตลอดทั้งปี
ลักษณะภูมิอากาศที่สลับระหว่างความชุ่มชื้นในฤดูฝน และความแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน จะพบได้ในบริเวณประเทศส่วนต่อกับแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย ได้แก่ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป ในฤดูฝนจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งพายุที่พัดมาจากทิศตะวันออก ทำให้มีฝนตกชุกในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ส่วนในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดพาเอาความแห้งแล้งเข้ามาสู่พื้นที่ ทำให้เห็นความแตกต่างของทั้งสองฤดู ในบางปีอาจมีพายุหมุนพัดเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุก่อน เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว จะได้รับผลกระทบมาก ทำให้เกิดภัยน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม
สำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้น จะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลและพายุแบบต่าง ๆ เกือบตลอดทั้งปี จึงทำให้มีฝนตกชุก ยกเว้นบางบริเวณที่อาจจะมีอากาศแห้งแล้งได้บ้างเป็นระยะเวลาสั้น เช่น ทางตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศฟิลิปปินส์พายุไต้ฝุ่นซึ่งมีทั้งความเร็วลมสูงและปริมาณน้ำฝนมาก พัดผ่านประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 10 ลูกต่อปี ทำให้ประเทศได้รับผลกระทบที่รุนแรงเป็นประจำ
=== สิ่งแวดล้อม ===
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่น, ร้อนชื้น และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม สัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างมีความหลากหลาย, บนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตราจะมีอุรังอุตัง, ช้างเอเชีย, สมเสร็จมลายู, กระซู่ และเสือลายเมฆบอร์เนียวก็สามารถพบได้เช่นกัน หกสปีชีส์ย่อยของหมีขอมีถิ่นอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตามมันเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่เกาะปาลาวัน
เสือสามชนิดที่มีสปีชีส์ย่อยแตกต่างกันสามารถพบได้บนเกาะสุมาตรา (เสือโคร่งสุมาตรา), ในมาเลเซียตะวันออก (เสือโคร่งมลายู), และในอินโดจีน (เสือโคร่งอินโดจีน), โดยทั้งหมดถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกคุกคาม
มังกรโกโมโดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสปีชีส์กิ้งก่า และอาศัยอยู่บนเกาะโกโมโด, เกาะรินจา, เกาะโฟลเร็ซ, และ Gili Motang ในอินโดนีเซีย
อินทรีฟิลิปปินส์เป็นนกประจำชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นเหยี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีเฉพาะในป่าที่ฟิลิปปินส์เท่านั้น
ควายป่า และควายแคระบนเกาะที่แตกต่างกันพบได้เฉพาะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ในทุกวันนี้ควายสามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาค แต่ชนิดอื่นนั้นถูกคุกคามและหายาก
กระจง สัตว์คล้ายกวางที่มีขนาดไล่เลี่ยกับแมวหรือสุนัขพันธุ์เล็กสามารถพบได้บนเกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และเกาะปาลาวัน (ฟิลิปปินส์) ขณะที่กระทิงที่มีขนาดใหญ่กว่าควายป่าสามารถพบได้ที่อินโดจีนเป็นส่วนใหญ่
สัตว์ปีกอย่างนกยูงและนกแซงแซวอาศัยอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกอย่างอินโดนีเซีย ขณะที่หมูที่มีอวัยวะคล้ายงาสี่งาอย่างบาบิรูซ่าก็สามารถพบได้ที่อินโดนีเซียเช่นกัน ส่วนนกเงือกมักถูกส่งไปยังจีนเพราะมีจะงอยปากที่มีมูลค่าสูงเช่นเดียวกับนอของแรด ซึ่งถูกส่งไปจีนเช่นเดียวกัน
บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีระบบนิเวศทางทะเลหลากหลายและสมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยเต็มไปด้วยปะการัง, ปลา, หอย และพวกหมึก ตามที่องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติได้ทำการสำรวจทะเลบริเวณราชาอัมพัตแล้วพบว่ามีความหลากหลายที่สุดในโลก และมากกว่าบริเวณอื่นอย่างสามเหลี่ยมปะการังของอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี โดยบริเวณสามเหลี่ยมปะการังนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของแนวปะการังทั่วโลกเลยทีเดียว ทำให้ราชาอัมพุตเป็นบริเวณที่มีแนวปะการังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ขณะที่ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่างปลาฉลามวาฬและ 6 สปีชีย์ของเต่าทะเลสามารถพบได้ในทะเลจีนใต้ และดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกของฟิลิปปินส์
พืชในภูมิภาคนี้เป็นแบบพืชเขตร้อน ในบางประเทศที่มีภูเขาสูงพอสามารถพบพรรณไม้ต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ ซึ่งพื้นที่ป่าหนาทึบในเขตร้อนซึ่งมีฝนตกมากเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะบนเกาะบอร์เนียว
ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ท้องถิ่นก็ต้องเผชิญกับปัญหาการทำลายป่าอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์ถูกทำลายจนใกล้สูญพันธุ์เช่นอุรังอุตังและเสือโคร่งสุมาตรา คาดกันว่าสัตว์และพรรณไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 40% มีจำนวนลดลงในศตวรรษที่ 21 ในขณะเดียวกันเมฆหมอกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยมีความรุนแรงมากที่สุดในปี 1997 และ 2006 ซึ่งทั้งสองครั้งมีหลายประเทศได้รับผลกระทบจากหมอกที่หนาทึบที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าในอินโดนีเซีย จนกระทั่งมีหลายประเทศร่วมลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดมลหมอกพิษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
== เศรษฐกิจ ==
== ประชากร ==
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ประมาณ 4,000,000 ตารางกิโลเมตร (1.6 ล้านตารางไมล์) มีประชากรมากกว่า 628 ล้านคนในปี พ.ศ. 2558 โดยกว่าหนึ่งในห้า (125 ล้านคน) อยู่บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยความที่ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรถึง 230 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 4 ของโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาที่จะแตกต่างไปในแต่ละประเทศ มีชาวจีนโพ้นทะเล 30 ล้านคน อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยที่เด่นชัดที่สุดคือที่เกาะคริสต์มาส, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และไทย รวมถึงชาวฮั้วในเวียดนาม
=== กลุ่มชาติพันธุ์ ===
ในช่วงหลังชาวชวาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนที่มากกว่า 86 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนที่พม่าจะมีชาวพม่าอาศัยอยู่มากกว่าสองในสามของประชากรทั้งหมด ขณะที่ชาวไทยและเวียดนามก็จะมีจำนวนราวสี่ในห้าของประเทศเหล่านั้น อินโดนีเซียนั้นถูกปกครองโดยชาวชวาและชาวซุนดา ขณะที่มาเลเซียจะมีชาวมลายูและชาวจีนในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่สำคัญในฟิลิปปินส์ได้แก่ ชาวตากาล็อก, ชาวซีบัวโน, ชาวอีโลกาโน, และชาวฮิลิกายนอน
=== ศาสนา ===
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนประมาณที่มากถึง 240 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนมากจะอยู่ที่บรูไน, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศาสนา โดยศาสนาพุทธมีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า, เวียดนาม และสิงคโปร์ ลัทธิบูชาบรรพบุรุษและลัทธิขงจื๊อก็มีผู้นับถือมากในเวียดนามและสิงคโปร์ ส่วนศาสนาคริสต์ก็เป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์, ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย, มาเลเซียตะวันออก และติมอร์-เลสเต โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกมากที่สุดในเอเชีย ส่วนติมอร์-เลสเตก็นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเช่นกัน เนื่องจากเคยตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสมาก่อน
ศาสนาเป็นสิ่งที่หลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไม่มีประเทศใดเลยที่มีผู้นับถือศาสนาเดียวกันทั้งหมด โดยประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลกอย่างอินโดนีเซียก็สามารถพบชาวฮินดูได้มากมายที่บาหลี โดยชาวฮินดูนั้นกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคทั้งในสิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศอื่น ครุฑที่ว่ากันว่าเป็นพญาแห่งนก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ก็เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของทั้งไทยและอินโดนีเซีย, ในฟิลิปปินส์สามารถพบรูปหล่อครุฑได้ที่ปาลาวัน, รูปหล่อเทพเจ้าฮินดูองค์อื่นก็สามารถพบได้ที่มินดาเนา สำหรับชาวฮินดูในบาหลีนั้นค่อนข้างแตกต่างจากชาวฮินดูแห่งอื่น โดยมีวัฒนธรรมในแบบของตนเองและมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ส่วนชาวคริสต์นั้นสามารถพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนมากจะอยู่ที่ติมอร์-เลสเตและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นชาติที่มีชาวคริสต์มากที่สุดในเอเชีย นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าโบราณที่รัฐซาราวักในมาเลเซียตะวันออก และปาปัวที่ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย ในพม่ามีการบูชาพระอินทร์ในแบบที่เรียกว่า นัต ส่วนที่เวียดนามนั้นส่วนใหญ่จะเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งเชื่อเรื่องวิญญาณ ยกเว้นเรื่องการบูชาความตาย
=== ภาษา ===
ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตกต่างกันไปตามอิทธิพลของสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ การค้า, การย้ายถิ่นฐาน, และการเคยตกเป็นอาณานิคมในอดีต
การใช้ภาษาในแต่ละประเทศ มีดังนี้: (ภาษาทางการจะถูกจัดเป็น ตัวหนา)
=== นคร ===
== วัฒนธรรม ==
วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก บนแผ่นดินใหญ่จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและจีน ส่วนอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้นประกอบด้วยวัฒนธรรมอาหรับ, โปรตุเกส, สเปน, จีน, อินเดีย และวัฒนธรรมพื้นเมืองมลายู ส่วนบรูไนจะค่อนข้างแตกต่างจากประเทศอื่น เพราะได้รับอิทธิพลมากมายจากวัฒนธรรมอาหรับ
ในภูมิภาคนี้มีการทำนาข้าวมาแล้วนับพันปี เช่น นาข้าวบานัวที่เกาะลูซอน โดยนาข้าวต้องใช้ความมุมานะในการดูแลรักษาเป็นอย่างมาก และสามารถเข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมได้เป็นอย่างดี
บ้านยกบนเสาสูงสามารถหาได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ไทยและลาว, เกาะบอร์เนียว, เกาะลูซอนในฟิลิปปินส์, ไปจนถึงปาปัวนิวกินี โดยมีเทคนิกในการสร้างไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย รวมไปถึงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น กริช และเครื่องดนตรี เช่น ระนาด
=== อิทธิพล ===
วัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนและอินเดีย โดยเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจีนชัดเจนที่สุด ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกนั้นมีมากที่สุดที่ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีการใช้กฎหมายแบบสเปนและอเมริกัน
ด้วยความที่จีนมีอิทธิพลต่อเวียดนามมาเป็นเวลานาน เวียดนามจึงถูกจัดอยู่ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกด้วย ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเวียดนามมีปรัชญาเอเชียตะวันออกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลทางศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน, ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ซึ่งเกิดขึ้นในจีนทั้งหมด นอกจากนี้ในเวียดนามยังนิยมใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารเช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกประเทศอื่น ๆ และอาหารเวียดนามส่วนใหญ่ก็ได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส
โดยทั่วไปแล้วผู้คนที่รับประทานอาหารด้วยมือจะเป็นพวกที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าจีน ซึ่งรับประทานอาหารด้วยตะเกียบและมีชาเป็นเครื่องดื่ม นอกจากนี้น้ำปลาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังค่อนข้างมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ
=== ศิลปกรรม ===
ศิลปกรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างจากภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้วการร่ายรำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของมือและเท้าตามอารมณ์และความหมายที่ต้องการสื่อให้ผู้ชมรับรู้ ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่นับว่าการรำเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา โดยนาฏศิลป์หลวงของกัมพูชาเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นคริสตศตรรษที่ 7 ก่อนจักรวรรดิขแมร์ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ค่อนข้างมาก เช่น ระบำอัปสรา การเล่นหุ่นเงาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีมาอย่างยาวนานถึงกว่าร้อยปีโดยรูปแบบหนึ่งที่รู้จักกันดีคือวายังของอินโดนีเซีย เช่นเดียวกันศิลปกรรมและวรรณกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์มานับร้อยปีแล้ว
ชาวไทซึ่งย้ายถิ่นฐานมาในภายหลังได้นำประเพณีจีนบางอย่างเข้ามาด้วย แต่ก็ถูกกลืนไปด้วยประเพณีเขมรและมอญ โดยสิ่งเดียวที่บ่งชี้ได้ว่าพวกเขาเคยรับศิลปกรรมจากจีนมาก่อนคือรูปแบบของวัด โดยเฉพาะหลังคาแบบเรียว
แม้จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามที่ต่อต้านลักษณะศิลปกรรมต่าง ๆ แล้ว แต่อินโดนีเซียก็ยังคงเหลือสิ่งที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์มากมายไม่ว่าจะเป็นหลักคำสอน, วัฒนธรรม, ศิลปกรรม และวรรณกรรม เช่น วายังกูลิต (หนังตะลุง) และวรรณกรรมอย่างรามายณะ ด้านส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมเวียดนาม) การรำและศิลปกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับเทพเจ้าตามความเชื่อของฮินดู ได้ถูกรวมเข้ากับวัฒนธรรมไทย, กัมพูชา, ลาว และพม่า โดยสิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าศิลปกรรมโบราณเขมรและอินโดมีความเกี่ยวโยงกับการพรรณนาเรื่องราวชีวิตของเทพ นอกจากนี้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเชื่อเรื่องราวชีวิตของเทพว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาทั้งความรื่นเริง, ลักษณะของโลก, การทำนายเรื่องราวที่ยังไม่เกิด
==== ดนตรี ====
ดนตรีพื้นบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แปรเปลี่ยนไปตามชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยแนวดนตรีที่สามารถพบเห็นได้โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ ดนตรีคอร์ท, ดนตรีโฟล์ก, แนวดนตรีของชนกลุ่มน้อย, และดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิภาคอื่น
สำหรับดนตรีคอร์ทและโฟล์กนั้น ฆ้องเป็นสิ่งที่สามารถหาชมได้ทั่วไปในภูมิภาค (ยกเว้นบริเวณพื้นที่ต่ำของเวียดนาม) กัมเมลัน ของอินโดนีเซีย, วงปี่พาทย์ ของไทยและกัมพูชา รวมทั้ง Kulintang ที่เป็นเครื่องดนตรีของทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และเกาะติมอร์ คือสามแนวดนตรีที่มีความโดดเด่นและมีอิทธิพลต่อดนตรีแนวอื่นในภูมิภาค นอกจากนี้ดนตรีแนวสตริงเป็นแนวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
==== การเขียน ====
วัฒนธรรมอินเดียเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ชนพื้นเมืองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนมาแต่ในอดีต โดยมีรูปแบบที่ปรากฏตระกูลอักษรพราหมี เช่น อักษรบาหลีที่ปรากฏบนใบปาล์ม
การเขียนในรูปแบบนี้ถูกเผยแพร่ออกไปตั้งแต่ก่อนที่กระดาษจะเกิดขึ้นราวประมาณปีที่ 100 ในจีน โดยบนใบปาล์มแต่ละใบจะประกอบด้วยตัวอักษรหลายบรรทัดเขียนไปตามความยาวของใบ และมีการใช้เชือกเรียงไปยังใบอื่น มีการตกแต่งบริเวณที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ตัวอักษรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบอักษรสระประกอบ จนกระทั่งเมื่อมีชาวตะวันตกเข้ามา และมีการผสมผสานอย่างกลมกลืน ไม่ใช่แค่เสียงสระเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปแบบเอกสารทางการที่ไม่ใช้กระดาษด้วย ได้แก่ คัมภีร์ทองแดงชวา ซึ่งมีความทนทานมากกว่ากระดาษในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
== หมายเหตุ ==
== ดูเพิ่ม ==
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
การเสริมสร้างกองทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ชุลีพร วิรุณหะ. (2557). โลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: รากฐานประวัติศาสตร์. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. | thaiwikipedia | 296 |
เขตการค้าเสรีอาเซียน | เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรือ อาฟตา (AFTA) เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ซึ่งเป็นข้อเสนอของอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ท่าน อานันท์ ปันยารชุน เมื่อ พ.ศ. 2535
== หลักการ ==
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ AFTA คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน กล่าวคือ การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันด้วย ทั้งนี้ CEPT ได้กำหนดให้สินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อย 40% และสามารถคำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin) โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับ 20%
==ดูเพิ่ม==
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิค (เอเปค)
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น==
ASEAN Free Trade Area page on the Rules of Origin Facilitator, with member countries' status and access to legal documents.
ASEAN Free Trade Agreement
เขตการค้าเสรีอาเซียน ที่ห้องสมุดดิจิทัล SchoolNET
สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 21
ขเขตการค้าเสรีอาเซียน
ขเขตการค้าเสรีอาเซียน
กฎหมายสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สนธิสัญญาด้านการค้า
สหภาพการเงิน
เขตการค้าเสรี
ความตกลงการค้าเสรีของไทย | thaiwikipedia | 297 |
ภาษากรีก | ภาษากรีก (แบบสมัยใหม่ Ελληνικά, ถอดเสียงเป็นโรมัน: Elliniká, แบบโบราณ Ἑλληνική, Hellēnikḗ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน พูดในกรีซ ไซปรัส แอลเบเนีย และส่วนอื่นของชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกและทะเลดำ เป็นภาษาที่มีเอกสารทางประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน โดยมีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรย้อนกลับไปเมื่อราว 3,400 ปีก่อน มีระบบการเขียนที่ใช้คืออักษรกรีก ซึ่งใช้มากว่า 2,000 ปีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการเขียนอื่น ๆ ด้วย เช่น อักษรลิเนียร์บี อักษรไซปรัส และยังเป็นรากฐานของระบบการเขียนอื่น ๆ อีกมากมาย ได้แก่ อักษรละติน อักษรซีริลลิก อักษรอาร์มีเนีย อักษรคอปติก อักษรกอธิก ฯลฯ นอกจากนี้คำในภาษากรีกยังถูกใช้เป็นรากศัพท์ของภาษาอื่น ๆ มากมาย
ภาษากรีกมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์โลกตะวันตก โดยวรรณกรรมกรีกโบราณซึ่งมีจุดกำเนิดจากมหากาพย์โฮเมอร์ มีผลงานต่าง ๆ ที่มีความโดดเด่นและเป็นที่ประจักษ์ในยุโรป ภาษากรีกยังเป็นภาษาที่เป็นรากศัพท์ในคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา พันธสัญญาใหม่ในคัมภีร์ไบเบิลของชาวคริสต์ก็เขียนด้วยภาษากรีก การเรียนการสอนภาษากรีกและภาษาละตินมีความสำคัญในสมัยคลาสสิกเป็นอย่างมาก
ภาษากรีกถูกใช้เป็นภาษากลางในแถบเมดิเตอร์เรเนียนในสมัยคลาสสิก ต่อมาได้กลายเป็นภาษาราชการของอาณาจักรไบแซนไทน์ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นกรีกยุคกลาง และในยุคใหม่ ภาษากรีกเป็นภาษาราชการในกรีซและไซปรัส และเป็นหนึ่งในภาษาราชการ 24 ภาษาของสหภาพยุโรป มีผู้พูดภาษากรีกอย่างน้อย 13.4 ล้านคนในกรีซ ไซปรัส อิตาลี แอลเบเนีย ตุรกี รวมไปถึงชาวกรีกพลัดถิ่น
คำศัพท์กรีกถูกยืมไปใช้ในภาษาอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาอังกฤษ เช่นคำว่า คณิตศาสตร์ (mathematics), ฟิสิกส์ (physics), ดาราศาสตร์ (astronomy), ประชาธิปไตย (democracy), ปรัชญา (philosophy), กรีฑา (athletics), โรงละคร (theatre), วาทศาสตร์ (rhetoric), พิธีล้างบาป (baptism), ผู้สอนศาสนา (evangelist) และอื่น ๆ นอกจากนี้ คำศัพท์และหน่วยคำกรีกก็ใช้ในการสร้างคำ เช่นคำว่า มานุษยวิทยา (anthropology), การถ่ายภาพ (photography), ระบบโทรศัพท์ (telephony), ไอโซเมอร์ (isomer), ชีวกลศาสตร์ (biomechanics), การถ่ายภาพยนตร์ (cinematography) อื่น ๆ ศัพท์กรีกและศัพท์ละตินมักถูกนำไปสร้างเป็นคำที่บ่งชี้ศาสตร์ต่าง ๆ โดยมี –logy ต่อท้าย คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีรากจากภาษากรีกนั้นมีหลายคำมาก
ปัจจุบันในประเทศไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีหลักสูตรที่สอนภาษากรีก
==ประเทศและบริเวณที่มีการพูด==
===ประเทศที่ใช้เป็นภาษาราชการ===
(ร่วมกับภาษาตุรกี)
===บริเวณอื่น ๆ ที่มีการพูด===
ชุมชนชาวกรีกในอิสตันบูล
ตอนใต้ของแอลเบเนีย
อิตาลีตอนใต้
ตอนใต้ของนอร์ทมาซิโดเนีย
ตอนกลางและตอนใต้ของบัลแกเรีย
== ดูเพิ่ม ==
ภาษากรีกโบราณ
ภาษากรีกยุคกลาง
ภาษากรีกสมัยใหม่
== อ้างอิง ==
=== บรรณานุกรม ===
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
กรีก
กรีก | thaiwikipedia | 298 |
สหราชอาณาจักร | สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร (United Kingdom: UK|italic=no) และ บริเตน (Britain|italic=no) เป็นรัฐเอกราชในยุโรป ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประกอบด้วยประเทศองค์ประกอบ 4 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ โดยครอบคลุมเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะเล็ก ๆ จำนวนมากในหมู่เกาะบริเตน ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ ทะเลเคลติก และทะเลไอริช สหราชอาณาจักรมีเนื้อที่ทั้งหมด 242,495 ตารางกิโลเมตร (93,628 ตารางไมล์) และมีจำนวนประชากรประมาณการใน ค.ศ. 2020 มากกว่า 67 ล้านคน
รูปแบบการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือลอนดอนซึ่งเป็นนครระดับโลกและศูนย์กลางการเงินที่มีประชากรในเขตมหานครมากกว่า 14 ล้านคน เมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ เบอร์มิงแฮม แมนเชสเตอร์ กลาสโกว์ ลิเวอร์พูล และลีดส์ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือมีรัฐบาลที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจบริหารเป็นของตนเอง โดยแต่ละแห่งมีอำนาจแตกต่างกันไป
สหราชอาณาจักรมีวิวัฒนาการมาจากการผนวก การรวม และการแบ่งแยกประเทศองค์ประกอบหลายครั้งในช่วงเวลาหลายร้อยปี สนธิสัญญาสหภาพระหว่างราชอาณาจักรอังกฤษ (ซึ่งรวมถึงเวลส์ที่ถูกผนวกใน ค.ศ. 1542) กับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ใน ค.ศ. 1707 ก่อให้เกิดราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ การรวมเป็นสหภาพกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1801 ก่อให้เกิดสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ทำให้เกิดสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ของไอร์แลนด์แยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1922 จึงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือซึ่งใช้ชื่อดังกล่าวอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1927
ไอล์ออฟแมน เกิร์นซีย์ และเจอร์ซีย์ที่อยู่ใกล้เคียงมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่เป็นคราวน์ดีเพนเดนซีซึ่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการป้องกันดินแดนและการต่างประเทศ สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 ดินแดน นับเป็นสิ่งที่หลงเหลืออยู่ของจักรวรรดิบริติชซึ่งในขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1920 นั้นครอบคลุมเกือบหนึ่งในสี่ของมวลแผ่นดินโลกและหนึ่งในสามของประชากรโลก และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของสหราชอาณาจักรยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรม และระบบกฎหมายและการเมืองในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง
สหราชอาณาจักรมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกเมื่อพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ณ ราคาตลาด และใหญ่เป็นอันดับที่ 10 เมื่อพิจารณาจากภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (พีพีพี) สหราชอาณาจักรมีเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงและมีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก โดยอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก นอกจากนี้ยังทำผลงานได้ดีในการจัดอันดับระหว่างประเทศในด้านการศึกษา, บริการสุขภาพ, การคาดหมายคงชีพ และการพัฒนามนุษย์ สหราชอาณาจักรกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกของโลกและเป็นมหาอำนาจสูงสุดของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในปัจจุบันสหราชอาณาจักรยังคงมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การทหาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการเมืองในระดับสากลอยู่มาก สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางการทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก
สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตั้งแต่สมัยประชุมแรกใน ค.ศ. 1946 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติ, สภายุโรป, กลุ่ม 7, กลุ่ม 10, กลุ่ม 20, องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท), ออคัส, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี), องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ตำรวจสากล) และองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) สหราชอาณาจักรเป็นรัฐสมาชิกของประชาคมยุโรป (อีซี) และองค์การสืบทอดคือสหภาพยุโรป (อียู) ตั้งแต่การเข้าร่วมใน ค.ศ. 1973 จนถึงการถอนตัวใน ค.ศ. 2020 หลังการลงประชามติใน ค.ศ. 2016
== ภูมิศาสตร์ ==
พื้นที่ทั้งหมดของสหราชอาณาจักรจะอยู่ที่ประมาณ 243,610 ตารางกิโลเมตร (94,060 ตารางไมล์) ประเทศครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่เกาะอังกฤษ หมู่เกาะอังกฤษ รวมถึง เกาะบริเตนใหญ่, เกาะไอร์แลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กรอบ ๆ ประเทศอยู่ระหว่างตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเหนือ ที่มีชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้อยู่ภายใน 22 ไมล์ (35 กิโลเมตร) จากชายฝั่งทางตอนเหนือของ ฝรั่งเศส, ซึ่งจะถูกคั่นด้วยช่องแคบอังกฤษ ในปี 1993, 10% ของสหราชอาณาจักรเป็นป่า, 46% เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และ 25% เพื่อการเกษตร 'เดอะรอยัลกรีนิช หอดูดาวกรุงลอนดอน' กำหนดจุด เส้นแวงแรกที่พาดผ่านตำบลกรีนนิช (Greenwich) ของอังกฤษ (Prime Meridian)
สหราชอาณาจักรอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 49° ถึง 61°N, และเส้นแวง 9°W ถึง 2°E ไอร์แลนด์เหนือ ใช้เส้นเขตแดนทางบกยาว 224 ไมล์ (360 กิโลเมตร) เดียวกับประเทศไอร์แลนด์ ชายฝั่งของเกาะบริเตนใหญ่ยาว 11,073 ไมล์ (17,820 กิโลเมตร) มันจะเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรปโดยอุโมงค์ลอดช่องแคบยาว 31 ไมล์ (50 กิโลเมตร) (24 ไมล์ (38 กิโลเมตร) อยู่ใต้น้ำ) ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้น้ำที่ยาวที่สุดในโลก
ประเทศอังกฤษมีพื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดของสหราชอาณาจักร, ครอบคลุม 130,395 ตารางกิโลเมตร (50,350 ตารางไมล์) ส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบไปด้วยภูมิประเทศที่ลุ่ม และภูมิประเทศที่เป็นภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของเส้น Tees-Exe (เส้นที่ลากจากตะวันออกเฉียงเหนือลงมาตะวันตกเฉียงใต้), ที่รวมทั้ง เทือกเขา Cumbrian ของเขต Lake District, the Pennines และ ภูเขาหินปูนของเขต Peak District, Exmoor และ Dartmoor แม่น้ำสายหลักและบริเวณปากแม่น้ำ มีแม่น้ำเทมส์, Severn and the Humber ภูเขาที่สูงที่สุดของอังกฤษคือ Scafell Pike (978 เมตร (3,209 ฟุต)) ใน Lake District แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ Severn, Thames, Humber, Tees, Tyne, Tweed, Avon, Exe และ Mersey
สก็อตแลนด์มีพื้นที่น้อยกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของสหราชอาณาจักร, ครอบคลุม 78,772 ตารางกิโลเมตร (30,410 ตารางไมล์) และ รวมถึง เกือบแปดร้อยเกาะ ส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันตกและทางเหนือของเกาะบริเตนใหญ่; สะดุดตาคือ Hebrides, Orkney Islands และ Shetland Islands ภูมิประเทศของสกอตแลนด์เป็นที่โดดเด่นด้วย Highland Boundary Fault (รอยแตกหักของหินทางธรณีวิทยา) ซึ่งลัดเลาะในสกอตแลนด์ จาก Arran ทางตะวันตกไป Stonehaven ทางตะวันออก รอยแตกจะแยกสองภูมิภาคที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน, คือไฮแลนด์ไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก และที่ราบลุ่มไปทางใต้และ ตะวันออก ภูมิภาคไฮแลนด์ที่ขรุขระมากขึ้นประกอบด้วยส่วนใหญ่ของแผ่นดินที่เต็มไปด้วยภูเขาของสกอตแลนด์, รวมทั้ง Ben Nevis ที่สูง 1,343 เมตร (4,406 ฟุต), ซึ่งสูงที่สุดในเกาะบริเตนใหญ่อังกฤษ พื้นที่ ลุ่ม, โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแคบของแผ่นดินระหว่าง the Firth of Clyde และ the Firth of Forth ที่รู้จักกันว่าเป็น Central Belt เป็นที่ราบเรียบ และบ้านของส่วนใหญ่ของประชากร รวมทั้ง กลาสโกว์, เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์, และ เอดินบะระ เมืองหลวงและศูนย์กลางทางการเมือง
เวลส์มีเนื้อที่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของพื้นที่ทั้งหมดของสหราชอาณาจักร, ครอบคลุม 20,779 ตารางกิโลเมตร (8,020 ตารางไมล์) เวลส์เป็นภูเขาเสียส่วนใหญ่ แม้ว่าเวลส์ทางใต้จะเป็นเขาน้อยกว่า เวลส์ทางเหนือและเวลส์ตอนกลาง พื้นที่หลักของประชากรและอุตสาหกรรมอยู่ในเวลส์ทางใต้ ซึ่งประกอบด้วยเมืองชายฝั่งทะเลเช่น คาร์ดิฟฟ์, สวอนซี และ นิวพอร์ต และหุบเขาเวลส์ใต้ ไปทางเหนือ ภูเขาที่สูงที่สุดในเวลส์ อยู่ใน Snowdonia และรวมถึง สโนว์ดอน (ภาษาเวลส์: Yr Wyddfa) ที่สูง 1,085 เมตร (3,560 ฟุต) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเวลส์ มีภูเขาเวลส์จำนวน 14, หรืออาจจะเป็น 15 ลูกที่สูงกว่า 3,000 ฟุต (914 เมตร) เป็นที่รู้จักกันรวมกันว่าเป็น the Welsh 3000s เวลส์มีชายฝั่งยาวกว่า 746 ไมล์ (1,200 กิโลเมตร) มีหลายเกาะนอกแผ่นดินใหญ่เวลส์ ที่ใหญ่ที่สุดจะเป็น Anglesey ( Ynys Môn) ในด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ไอร์แลนด์เหนือมีพื้นที่เพียง 14,160 ตารางกิโลเมตร ( 5,470 ตารางไมล์) และ ส่วนใหญ่เป็น เนินเขา รวมถึง Lough Neagh ที่มีขนาด 388 ตารางกิโลเมตร (150 ตารางไมล์) ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะอังกฤษโดยพื้นที่ ยอดเขาสูงสุดในภาคเหนือของไอร์แลนด์เหนือคือ Slieve Donard ใน Mourne Mountains ที่ความสูง 852 เมตร (2,795 ฟุต)
=== ภูมิอากาศ ===
สหราชอาณาจักรมีภูมิอากาศเขตหนาว ที่มีปริมาณน้ำฝนอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี อุณหภูมิแตกต่างกันไปตามฤดูกาล, ไม่ค่อยลดลงต่ำกว่า −11 °C (12 °F) หรือเพิ่มขึ้นสูงกว่า 35 °C (95 °F) ลมแน่ทิศจะพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ และ นำพาอากาศเย็นอ่อน ๆ และเปียกชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติก, แม้ว่า ภาคตะวันออกที่ส่วนใหญ่จะถูกกำบังจากลมนี้ เนื่องจากส่วนใหญ่ ฝนจะตกทั่วภูมิภาคตะวันตก, ด้านตะวันออกจึงแห้งที่สุด กระแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก, ถูกทำให้อุ่นด้วย Gulf Stream, นำฤดูหนาวอ่อน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคตะวันตก ที่ฤดูหนาวจะเปียกและจะมากยิ่งขึ้นสำหรับพื้นที่สูง ฤดูร้อนจะอุ่นที่สุดในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อังกฤษ, ที่อยู่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ยุโรป และเย็นที่สุดในภาคเหนือ หิมะตกหนักอาจเกิดขึ้นในฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิในพื้นที่สูง และบางครั้งทับถมลงไปลึกมากห่างจากเนินเขา
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ก่อนปี 1707 ===
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยใหม่ในดินแดนที่กำลังจะกลายเป็นสหราชอาณาจักร เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นประมาณ 30,000 ปีที่ผ่านมา ในตอนท้ายของยุคก่อนประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ ประชากรคิดว่าจะได้เป็นเจ้าของ, ในพื้นที่หลัก, วัฒนธรรมที่เรียกว่า เซลติกที่โดดเดี่ยว (Insular Celtic), ที่ประกอบไปด้วย Brythonic Britain และ Gaelic Ireland ชัยชนะของโรมัน, เริ่มต้นในปีค.ศ. 43, และปกครองภาคใต้ของสหราชอาณาจักรอยู่ 400 ปี, ตามมาด้วยการบุกรุกของตั้งถิ่นฐานโดย เจอร์มานิคแองโกลแซกซอน, เป็นการลดพื้นที่ Brythonic ส่วนใหญ่บนดินแดนที่กำลังจะกลายเป็นเวลส์และราชอาณาจักร Strathclyde ยุคประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ของภูมิภาคที่ตั้งรกรากโดยแองโกลแอกซอน กลายเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวเป็นอาณาจักรแห่งอังกฤษในศตวรรษที่ 10 ในขณะเดียวกัน นักพูดแห่ง Gaelic ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักร (ที่เชื่อมต่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไอร์แลนด์และสงสัยว่าจะมีการอพยพมาจากที่นั่นในศตวรรษที่ 5) รวมตัวกับชาว Picts ในการสร้างอาณาจักรแห่งสกอตแลนด์ในศตวรรษที่ 9
ในปี 1066 พวกนอร์มันส์บุกรุกอังกฤษจากฝรั่งเศส และหลังจากได้รับชัยชนะ, ได้ยึดส่วนใหญ่ของเวลส์, เอาชนะพื้นที่จำนวนมากของไอร์แลนด์และได้รับเชิญไปตั้งรกรากในสกอตแลนด์, เป็นนำระบบศักดินาไปให้แต่ละประเทศในรูปแบบของฝรั่งเศสตอนเหนือและวัฒนธรรมนอร์แมนฝรั่งเศส พวกชนชั้นสูงชาวนอร์แมนมีอิทธิพลอย่างมากต่อ, แต่ในที่สุดก็หลอมรวมกับ, แต่ละวัฒนธรรมท้องถิ่น ต่อมา กษัตริย์อังกฤษยุคกลางก็พิชิตเวลส์ได้อย่างสมบูรณ์ และได้พยายามผนวกสกอตแลนด์แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น สก็อตแลนด์ยังคงรักษาความเป็นอิสระ แม้จะอยู่ในความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องกับอังกฤษ ราชวงค์อังกฤษ, ผ่านการถ่ายทอดมรดกของดินแดนที่สำคัญในประเทศฝรั่งเศสและอ้างสิทธ์สำหรับมงกุฏกษัตริย์ฝรั่งเศส, ยังมีส่วนร่วมอย่างมากในความขัดแย้งในประเทศฝรั่งเศส, ที่สะดุดตาที่สุดคือ 'สงครามร้อยปี', ในขณะที่ กษัตริย์แห่งสก็อตเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น
ช่วงระยะเวลาที่ทันสมัยตอนต้นได้เห็นความขัดแย้งทางศาสนาที่เกิดจาก 'การปฏิรูป' และ การเปิดตัวของ คริสตจักรโปรเตสแตนต์ในแต่ละประเทศ เวลส์ถูกรวมอย่างเต็มที่เข้ากับ'อาณาจักรแห่งอังกฤษ' และไอร์แลนด์ถูกบัญญัติให้เป็นอาณาจักรส่วนตัวควบรวมกับราชวงค์อังกฤษ ในดินแดนที่กำลังจะกลายเป็นไอร์แลนด์เหนือ, ดินแดนแห่งขุนนาง Catholic Gaelic อิสระถูกริบและถูกยกให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานชาวโปรเตสแตนต์จากอังกฤษและสกอตแลนด์
ใน 1603, ราชอาณาจักรของอังกฤษ,สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ถูกรวมเข้าด้วยกันในการรวมส่วนตัวเมื่อกษัตริย์เจมส์ที่หกแห่งสก็อต, ที่สืบทอดมงกุฎแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์และย้ายพระราชวังจากเอดินเบิร์กไปยังกรุงลอนดอน; แต่ละประเทศยังคงไม่มากก็น้อยเป็นองค์กรทางการเมืองที่แยกต่างหาก และยังคงรักษาสถาบันทางการเมือง, กฎหมาย, และศาสนา ที่แยกต่างหาก
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17, ทั้งสามอาณาจักรมีส่วนเกี่ยวข้องในชุดของสงครามที่ต่อเนื่อง (รวมทั้งสงครามกลางเมืองอังกฤษ) ซึ่งนำไปสู่การล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ชั่วคราว และการจัดตั้งสาธารณรัฐรวมกันระยะสั้นของเครือจักรภพอังกฤษสกอตแลนด์และไอร์แลนด์
แม้ว่าราชวงค์ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่, มันให้ความมั่นใจ (ด้วย ความรุ่งโรจน์ของการปฏิวัติปี 1688) ว่า, แตกต่างจากส่วนที่เหลือของยุโรป, สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะไม่เหนือกว่า, และผู้ปฏิญาณตนว่าเป็นคาทอลิกจะไม่ขึ้นสู่บัลลังก์ รัฐธรรมนูญอังกฤษจะพัฒนาบนพื้นฐานของระบอบราชวงค์รัฐธรรมนูญและระบบรัฐสภา ในช่วงเวลานั้น, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษ, การพัฒนาของกำลังทหารเรือ ( และความสนใจในการเดินทางเพื่อการค้นพบ) นำไปสู่การเข้ายึดและการตั้งถิ่นฐานของอาณานิคมในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปอเมริกาเหนือ
=== ตั้งแต่พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ===
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1707 สหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่ได้รวมกันเข้าอันเป็นผลมาจาก "กฎหมายของสหภาพ"(Acts of Union) ที่ผ่านโดยรัฐสภาของประเทศอังกฤษและสก็อตแลนด์ที่จะให้สัตยาบัน สนธิสัญญาของสหภาพปี 1706 (1706 Treaty of Union) และทำให้เกิดการรวมกันของสองราชอาณาจักร
ในศตวรรษที่ 18 ที่รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีได้พัฒนาภายใต้ โรเบิร์ต วอลโพล ในการปฏิบัติตัวเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก (1721–1742) ชุดต่อเนื่องของ Jacobite ได้ลุกฮือในความพยายามที่จะถอดถอน "สภาโปรเตสแตนต์แห่งฮันโนเฟอร์" จากราชบัลลังก์อังกฤษและฟื้นฟู 'สภาคาทอลิกแห่งสจวร์ต' Jacobites ได้พ่ายแพ้ในที่สุดในการรบ'สงครามแห่งคัลโลเดน'ในปี 1746, หลังจากที่ "ชาวที่ราบสูงแห่งสก็อต" ถูกปราบปรามอย่างไร้ความปราณี อาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือที่แยกออกจากบริเตนใน'สงครามเพื่ออิสรภาพอเมริกัน' ได้กลายมาเป็น สหรัฐอเมริกาในปี 1782 ความทะเยอทะยานของจักรวรรดิอังกฤษหันไปสู่ที่อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปยังประเทศอินเดีย
ในระหว่างศตวรรษที่ 18, บริเตนมีส่วนร่วมในการค้าทาสในมหาสมุทรแอตแลนติก บริเตนจัดส่งทาสประมาณ 2 ล้านคนจากแอฟริกาไปยังหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ก่อนที่จะห้ามการค้าในปี 1807 คำว่า สหราชอาณาจักร กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในปี 1801 เมื่อรัฐสภาของบริเตนและไอร์แลนด์ได้ผ่าน กฎหมายสหภาพ การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสองราชอาณาจักร และเป็นการสร้าง สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
ในต้นศตวรรษที่ 19, การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่นำโดยอังกฤษเริ่มที่จะเปลี่ยนประเทศ มันค่อย ๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอำนาจทางการเมืองออกไปจากชนชั้นเจ้าของที่ดินแบบอนุรักษนิยมเดิม ไปสู่นักอุตสาหกรรมใหม่ พันธมิตรของพ่อค้าและนักอุตสาหกรรมที่มีสมาชิกพรรคการเมืองเก่าจะนำไปสู่พรรคใหม่, พรรคลิเบอรัล, ที่มีอุดมการณ์ของการค้าเสรีและไม่แทรกแซง ในปี 1832 รัฐสภาผ่าน "กฎหมายปฏิรูปครั้งใหญ่" ซึ่งเริ่มการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองจากขุนนางไปยังชนชั้นกลาง ในชนบทการปิดล้อมที่ดินได้ขับเกษตรกรรายย่อยออกไป เมืองใหญ่และเมืองเล็ก เริ่มที่จะขยายตัวด้วยชนชั้นแรงงานในเมืองใหม่ คนงานธรรมดาไม่มากมีการลงคะแนนเสียงและพวกเขาได้สร้างองค์กรของตัวเองในรูปแบบของสหภาพการค้า
หลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสใน "การปฏิวัติและสงครามโปเลียน (1792–1815)", สหราชอาณาจักรกลายเป็นพลังทางเรือและจักรพรรดิที่สำคัญของศตวรรษที่ 19 (ที่มีลอนดอนเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากประมาณปี 1830) โดยที่ไม่มีกล้าท้าทายในทะเล, การครอบงำของอังกฤษได้รับการอธิบายในภายหลังว่า Pax Britannica เมื่อถึงเวลาของ Great Exhibition of 1851, บริเตนได้รับการอธิบายว่าเป็น "การประชุมเชิงปฏิบัติการของโลก" จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายไปเพื่อควบรวมอินเดีย, ส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกาและภูมิภาคอื่น ๆ หลายแห่งทั่วโลก, ควบคู่ไปกับการควบคุมอย่างเป็นทางการ อังกฤษจะ ใช้อำนาจผ่านอาณานิคมของตัวเอง, การครอบงำของอังกฤษในหลายส่วนของการค้าโลกได้หมายความว่า อังกฤษสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่นจีน, อาร์เจนตินาและสยาม ภายในประเทศ ทัศนคติทางการเมืองให้การสนับสนุนการค้าเสรี และนโยบายไม่แทรกแซง และการค่อย ๆ ขยายตัวของแฟรนไชส์ที่มีสิทธิออกเสียง ในระหว่างศตวรรษ, ประชากรมีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าทึ่ง, พร้อมด้วยการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว, ก่อให้เกิดความเครียดทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากปี 1875 การผูกขาดอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร ได้รับการท้าทายจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ในการแสวงหาตลาดและแหล่งที่มา ของวัตถุดิบใหม่, พรรคอนุรักษนิยม ภายใต้ Disraeli เปิดตัวช่วงเวลาของการขยายตัวจักรวรรดินิยมในอียิปต์, แอฟริกาใต้และที่อื่น ๆ แคนาดา, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กลายเป็น อาณาจักรปกครองตนเอง
การปฏิรูปสังคมและกฎของบ้านสำหรับไอร์แลนด์เป็นประเด็นสำคัญในประเทศหลังจากปี 1900 พรรคแรงงานโผล่ออกมาจากพันธมิตรของสหภาพการค้าและกลุ่มสังคมนิยมขนาดเล็กในปี 1900 และ กลู่มผู้หญิงได้รณรงค์ให้สตรีได้ใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงก่อนปี 1914
สหราชอาณาจักรต่อสู้กับฝรั่งเศส, รัสเซียและ (หลังปี 1917) สหรัฐอเมริกา, กับเยอรมนีและพันธมิตรของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914–1918) กองกำลังติดอาวุธของสหราชอาณาจักรเข้าร่วมต่อสู้ในหลายส่วนของจักรวรรดิอังกฤษ และในหลายภูมิภาคของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวรบด้านตะวันตก การเสียชีวิตที่สูงของสงครามสนามเพลาะทำให้เกิดการสูญเสีย ของมากของเผ่าพันธ์ของมนุษย์, ที่มีผลกระทบทางสังคมที่ยั่งยืนในประเทศและการหยุดชะงัก อย่างมากในการจัดระเบียบสังคม
หลังสงคราม สหราชอาณาจักรได้รับฉันทานุมัติจากสันนิบาตแห่งชาติในเรือ่งจำนวนของอดีต อาณานิคมเยอรมันและออตโตมัน จักรวรรดิอังกฤษได้มาถึงขอบเขตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดโดยการ ครอบครองพื้นผิวดินของโลกอันดับที่ห้าของโลก และหนึ่งในสี่ของประชากรของโลก อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรประสพกับ 2.5 ล้านคนที่บาดเจ็บ และจบสงครามด้วยหนี้ของชาติจำนวนมาก การลุกขึ้นของกลุ่มชาตินิยมไอริช และข้อพิพาทภายในไอร์แลนด์ในแง่ของกฎบ้านไอริชในที่สุดนำไปสู่การแบ่งพื้นที่ของเกาะในปี 1921, และ รัฐอิสระไอริช กลายเป็นอิสระที่มีสถานะการปกครองในปี 1922 ไอร์แลนด์เหนือยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร คลื่นของการประท้วงในช่วงกลางทศวรรษ 1920s ส่งผลให้เกิด 'การประท้วงทั่วไปในสหราชอาณาจักรปี 1926' สหราชอาณาจักรก็ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของสงครามเมื่อ 'เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่' (1929-1932) เกิดขึ้น สิ่งนี้นำไปสู่การว่างงานและความยากลำบากอย่างมากใน พื้นที่อุตสาหกรรมเก่า รวมทั้ง ความไม่สงบทางการเมืองและสังคมในปี 1930s พรรคร่วมรัฐบาลถูกตั้งขึ้นในปี 1931
สหราชอาณาจักรเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองด้วยการประกาศสงครามกับเยอรมนีในปี 1939, หลังจากที่เยอรมนีได้บุกโปแลนด์และเช็ก ในปี 1940 Winston Churchill ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล แม้จะมีความพ่ายแพ้ของฝ่ายพันธมิตรในยุโรปในปีแรกของสงคราม, สหราชอาณาจักรยังคงต่อสู้อยู่โดยลำพังกับเยอรมนี ในปี 1940 กองทัพอากาศพ่ายแพ้ต่อกองทัพเยอรมันในการต่อสู้เพื่อควบคุมท้องฟ้าใน "ศึกแห่งบริเตน" สหราชอาณาจักรถูกระเบิดอย่างหนักในระหว่างการโจมตีแบบสายฟ้าแลบ ในที่สุดก็ยังมีชัยชนะที่ยากที่สุดในสงครามแอตแลนติก, การสงครามในแอฟริกาเหนือและในพม่า กองกำลังสหราชอาณาจักร เล่นบทบาทสำคัญในการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีในปี 1944, ประสบความสำเร็จกับพันธมิตรของตน คือสหรัฐอเมริกา หลังจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนี, สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในสามมหาอำนาจที่ประชุมกัน ในการวางแผนโลกหลังสงคราม มันเป็นผู้ลงนามเดิมของ 'ประกาศของสหประชาชาติ' สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม สงครามทำให้สหราชอาณาจักรต้องอ่อนแอลงอย่างรุนแรง และขึ้นอยู่กับการช่วยเหลือทางการเงินจาก Marshall Aid และเงินกู้ยืมจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ในทันทีหลังสงคราม รัฐบาลเริ่มโครงการปฏิรูปอย่างรุนแรงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสังคมอังกฤษในหลายทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคที่สำคัญถูกทำให้เป็นงานแห่งชาติ, รัฐสวัสดิการถูกจัดตั้งขึ้น, และครอบคลุม, ระบบการดูแลสุขภาพได้รับทุนอุดหนุนให้เป็นของสาธารณะ, บริการสุขภาพแห่งชาติถูกสร้างขึ้น การเพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยมในอาณานิคมเกิดขึ้นพร้อมกับของบริเตนช่วงนี้ที่สถานะทางเศรษฐกิจถูกทำให้ลดลงอย่างมาก, เพื่อที่ว่า นโยบายของการเป็นเอกราชจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเป็นอิสระได้รับอนุญาตให้อินเดียและปากีสถานในปี 1947 ในอีกสามทศวรรษต่อมา ส่วนใหญ่ของอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษได้รับเอกราช หลายประเทศกลายเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ
แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นประเทศที่สามในการพัฒนาคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ (ที่มีการทดสอบระเบิดอะตอมลูกแรกในปี 1952), ขีดจำกัดของบทบาทระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรหลังสงครามถูกแสดงออกโดยวิกฤติการณ์สุเอซปี 1956 การแพร่กระจายระหว่างประเทศของภาษาอังกฤษ ให้ความมั่นใจในอิทธิพลระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องด้วยวรรณคดีและวัฒนธรรมอังกฤษ จากปี 1960 เป็นต้นมา ความนิยมวัฒนธรรมอังกฤษยังมีอิทธิพลในต่างประเทศ อันเป็นผลมาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในปี 1950s, รัฐบาลสหราชอาณาจักรให้การสนับสนุนการอพยพจากประเทศเครือจักรภพ ในหลายทศวรรษต่อมา สหราชอาณาจักร ได้กลายเป็นสังคมหลายเชื้อชาติ แม้จะมีมาตรฐานการครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปี 1950s และ 1960s ผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรไม่ได้ประสบความสำเร็จเหมือนกับหลายประเทศคู่แข่ง เช่นเยอรมนีตะวันตก และประเทศญี่ปุ่น ในปี 1973 สหราชอาณาจักรเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) และเมื่อประชาคมเศรษฐกิจยุโรปกลายเป็นสหภาพยุโรป (EU) ในปี 1992 สหราชอาณาจักรก็เป็นหนึ่งใน 12 สมาชิกก่อตั้ง
จากปลายปี 1960s, ไอร์แลนด์เหนือประสบความทุกข์เกี่ยวกับความรุนแรงสาธารณะและทางทหาร (บางครั้งมีผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของสหราชอาณาจักร) ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น 'ปัญหา' มันมักถูกพิจารณาว่ามันได้จบลงด้วย 'ข้อตกลง"วันศุกร์ที่ดี"แห่งเบลฟัสต์ของปี 1998'
ต่อจากช่วงเวลาของการแผ่ขยายของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการปะทะกันทางอุตสาหกรรมในปี 1970s, รัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมของปี 1980s ริเริ่มนโยบายอย่างรุนแรงของ ทฤษฎีเกี่ยวกับการเงิน, การไม่กำกับดูแล, โดยเฉพาะอย่างยิ่งของภาคการเงิน (เช่น บิ๊กแบง ในปี 1986) และตลาดแรงงาน, การขายบริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ (การแปรรูป) และ การถอนตัวจากการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้อื่น เรื่องนี้ส่งผลให้การว่างงานและความไม่สงบทางสังคมสูง แต่ท้ายที่สุดก็มีผลกับเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ จากปี 1984 เศรษฐกิจได้รับการช่วยเหลือจากการไหลเข้าของเงินรายได้จากน้ำมันทะเลเหนือ
ประมาณปลายศตวรรษที่ 20 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการกำกับดูแลของสหราชอาณาจักร ด้วยการจัดตั้งการกระจายอำนาจสำหรับสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ การรวมตัวกันตามกฎหมายทำได้ตามการยอมรับของอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนของยุโรป สหราชอาณาจักรยังคงเป็นผู้เล่นระดับโลกที่สำคัญทางการทูตและการทหาร มันเล่นบทพระเอกในสหภาพยุโรป, สหประชาชาติและเนโท อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งได้โอบล้อมบางส่วนของการวางกำลังทางทหารของบริเตนในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอัฟกานิสถานและอิรัก
ในปี 2013 สหราชอาณาจักรมุ่งมั่นในการฟื้นตัวจากการตกต่ำที่เกิดขึ้นตามวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลกปี 2008, พรรคร่วมรัฐบาลได้นำมาตรการประหยัดซึ่งเล็งผลที่จะแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณขนาดใหญ่ อิสรภาพของชาวสก๊อตกลับเข้ามาอยู่ในวาระการประชุม รัฐบาลสกอตแลนด์จะจัดให้มีการลงประชามติเป็นอิสระในวันที่ 18 กันยายน 2014. หากผ่าน, สกอตแลนด์จะกลายเป็นรัฐอธิปไตยที่เป็นอิสระจากประเทศอื่น ๆ ภายในสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษนั้นได้ก่อตัวขึ้นเป็นรัฐแยกกันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 โดยแต่ละรัฐมีราชวงศ์และระบอบการปกครองของตัวเอง ส่วน ราชรัฐเวลส์ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษจากบทกฎหมายรุดดลันในปีพ.ศ. 1827 และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอังกฤษในปีพ.ศ. 2078 จากพระราชบัญญัติสหภาพพ.ศ. 2250 ขณะที่ประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์นั้นรวมกันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก จากการที่พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์นั้นได้ปกครองอังกฤษ เนื่องจากพระนางเอลิซาเบธที่หนึ่งไม่มีรัชทายาท ทั้งสองประเทศจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกันแต่ต่างฝ่ายต่างมีรัฐบาลอิสระของตนเอง ต่อมาภายหลัง อังกฤษและสกอตแลนด์ก็ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพทางการเมืองในชื่อราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
พระราชบัญญัติสหภาพ พ.ศ. 2343 ได้รวมราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่อย ๆ ตกเข้ามาอยู่ในการควบคุมของอังกฤษ เข้าเป็นสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ. 2465 26 แคว้นจาก 32 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์ตัดสินใจที่จะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร และตั้งเป็นประเทศใหม่เป็นประเทศไอร์แลนด์ หลังจากนั้นอีก 7 ปี 6 แคว้นที่เหลือได้เข้ามารวมตัวกับสหราชอาณาจักรดังเดิม และตั้งชื่อแคว้นของตนเองเป็น ไอร์แลนด์เหนือ
ในพุทธศตวรรษที่ 24 สหราชอาณาจักร (ในขณะนั้นคือสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์) เป็นประเทศผู้นำของโลกในหลาย ๆ ด้าน เช่นการพัฒนาระบอบทุนนิยมและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา รวมถึงการเผยแพร่ทางด้านวรรณกรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จักรวรรดิบริเตนสามารถครอบครองดินแดนถึงหนึ่งในสี่ของพื้นผิวโลกและหนึ่งในสามของประชากรโลกในช่วงที่มีการขยายตัวสูงสุด ทำให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทั้งในด้านดินแดนและประชากร
อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเริ่มสูญเสียความเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในพุทธศตวรรษที่ 25 ให้กับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 อำนาจของสหราชอาณาจักรในวงการเมืองโลกเริ่มลดลง และเริ่มมีการปลดปล่อยอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเลต่าง ๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหราชอาณาจักรต่อสู้กับนาซีเยอรมนีและได้รับชัยชนะในปี พ.ศ. 2488 ซึ่งทำให้สหราชอาณาจักรได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สหราชอาณาจักรเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปีพ.ศ. 2516 แต่ปัจจุบันยังไม่เข้าร่วมใช้เงินยูโร โดยมีแผนที่จะจัดการลงประชามติเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อผลจาก "บททดสอบห้าข้อ" ประเมินได้ว่าการเข้าร่วมใช้เงินยูโรจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร
== การเมืองการปกครอง ==
สหราชอาณาจักรเป็นรัฐรวมกันภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ, สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 เป็นประมุขแห่งรัฐของสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ของสิบห้าประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพอิสระ พระมหากษัตริย์มี "สิทธิที่จะได้รับคำปรึกษา, สิทธิในการส่งเสริม และสิทธิที่จะเตือน" สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในสี่ประเทศในโลกที่จะมีรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ถูกจัดให้เป็นระบบ รัฐธรรมนูญแห่งสหราชอาณาจักรจึงประกอบด้วยส่วนใหญ่ ของคอลเลกชันของแหล่งที่มาที่ถูกเขียนขึ้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง, รวมทั้งรัฐบัญญัติ, กฎหมายจากคดีที่ผู้พิพากษาทำและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ, ร่วมกับ การประชุมตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ ไม่มีความแตกต่างทางเทคนิคระหว่างรัฐบัญญัติสามัญ และ"กฎหมายรัฐธรรมนูญ", รัฐสภาของสหราชอาณาจักรสามารถดำเนินการ "ปฏิรูปรัฐธรรมนูญ"ได้ง่ายโดยการผ่าน Acts of Parliament, และจึงทำให้มีอำนาจทางการเมืองในการเปลี่ยนแปลงหรือ ยกเลิกเกือบทุกองค์ประกอบที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม รัฐสภาไม่สามารถผ่านกฎหมายอะไรที่รัฐสภาในอนาคตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
=== รัฐบาล ===
สหราชอาณาจักรมีรัฐบาลตามระบบรัฐสภา ที่มีพื้นฐานจากระบบเวสต์มินสเตอร์ที่ถูกทำตามอย่างทั่วโลก: มรดกของจักรวรรดิอังกฤษ รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรที่พบในพระราชวังเวสต์มินสเตอร์มีสองสภา; สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และ สภาขุนนางที่มาจากการแต่งตั้ง กฎหมายทั้งหมดที่ผ่านจากสภาจะได้รับการลงพระปรมาภิไทยก่อนที่จะถูกนำมาใช้
ตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี, หัวหน้ารัฐบาล ของสหราชอาณาจักร เป็นของบุคคลที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะสั่งความเชื่อมั่นของสภาผู้แทนราษฎร; บุคคลนี้ปกติจะเป็นผู้นำของพรรคการเมืองหรือกลุ่มที่รวมกันของพรรคการเมือง ที่มีจำนวนที่นั่งมากที่สุดในสภา นายกรัฐมนตรีจะเลือกคณะรัฐมนตรีและพวกเขาจะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการโดยพระมหากษัตริย์ ในรูปแบบของรัฐบาลในสมเด็จฯ โดยการประชุม พระมหากษัตริย์จะเคารพในการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีของรัฐบาล
คณะรัฐมนตรีตามประเพณีจะถูกดึงมาจากสมาชิกของพรรคของนายกรัฐมนตรีหรือพรรคร่วมรัฐบาล และส่วนใหญ่มาจากสภาผู้แทน แต่มักจะมาจากทั้งสองสภานิติบัญญัติเสมอ, คณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบทั้งสองสภา อำนาจบริหารถูกนำมาใช้โดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี, ทุกคนจะสาบานกับคณะองคมนตรีของสหราชอาณาจักร, และจะกลายเป็นรัฐมนตรีของพระมหากษัตริย์ เดวิด แคเมอรอน หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม, หัวหน้าพรรคพันธมิตรพรรคที่สามของสหราชอาณาจักร, พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย แคเมอรอนได้เป็น นายกรัฐมนตรี, ขุนคลังเอก และ รัฐมนตรีว่าการด้านข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ 11 พฤษภาคม 2010 สำหรับการเลือกตั้งสภาผู้แทน, ปัจจุบัน สหราชอาณาจักร จะแบ่งออกเป็น 650 เขตเลือกตั้ง, แต่ละเขตฯ จะเลือกตั้งสมาชิกของรัฐสภาเพียงคนเดียวโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ การเลือกตั้งทั่วไปจะถูกประกาศโดยพระมหากษัตริย์เมื่อนายกรัฐมนตรีแนะนำ กฎหมายรัฐสภาที่ 1911 และ 1949 กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่จะต้องจัดขึ้นไม่เกินห้าปีหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้ว
=== นิติบัญญัติ ===
สามพรรคการเมืองใหญ่ของสหราชอาณาจักร ได้แก่ พรรคอนุรักษนิยม, พรรคแรงงาน, และพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย ในระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปปี 2010, ทั้งสามฝ่ายชนะ 622 จาก 650 ที่นั่งที่มีอยู่ในสภา ที่นั่งที่เหลือส่วนใหญ่ชนะโดยพรรคการเมืองที่เข้าแข่งขันในการเลือกตั้งเฉพาะในบางส่วนของสหราชอาณาจักร ได้แก่ พรรคสก็อตแห่งชาติ (สกอตแลนด์เท่านั้น); Plaid Cymru (เวลส์ เท่านั้น); และพรรคสหภาพประชาธิปไตย, พรรคสังคมประชาธิปไตยและแรงงาน, พรรคสหภาพ Ulster และพรรค Sinn Féin (ไอร์แลนด์เหนือเท่านั้น แม้ว่า Sinn Féin ยังแข่งขันการเลือกตั้งในสาธารณรัฐ ไอร์แลนด์อีกด้วย) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพรรค, สมาชิก Sinn Féin ที่ได้รับการเลือกตั้งของรัฐสภา จะไม่เคยเข้าร่วมการประชุมสภาผู้แทนเพื่อพูดในนามของประชาชนในเขตเลือกตั้งของพวกเขา เพราะต้องทำตามระเบียบที่จะต้องทำพิธีสาบานตนต่อพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ห้า ส.ส. ของ Sinn Féin ในปัจจุบันได้ใช้ประโยชน์ของสำนักงานและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่มีใน Westminster สำหรับการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป, สหราชอาณาจักรขณะนี้มี 72 สมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งแบบ 12 multi-member
=== การบริหารแบบมอบอำนาจปกครอง ===
สกอตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ แต่ละประเทศมีรัฐบาลหรือผู้บริหารที่ได้รับอำนาจของตัวเอง, นำโดยรัฐมนตรีคนแรก (หรือในกรณีของไอร์แลนด์เหนือ, รัฐมนตรีคนแรกในสองคนและรองรํฐมนตรีคนแรก) และสภานิติบัญญัติ (ระบบสภาเดียว) ที่ได้รับมอบอำนาจ อังกฤษ, ซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร, ไม่มีการบริหารหรือสภานิติบัญญัติแบบรับมอบอำนาจดังกล่าว แต่มีการบริหารและการออกกฎหมายโดยตรงจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรและ รัฐสภาในทุกประเด็น สถานการณ์เช่นนี้ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า คำถาม West Lothian ซึ่งเกี่ยวข้องในความจริงที่ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากสก็อตแลนด์, เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ สามารถลงคะแนน, บางครั้ง อย่างเด็ดขาด, ในเรื่องที่มีผลเฉพาะกับประเทศอังกฤษ คณะกรรมการ แม็คเคย์ รายงานในเรื่องนี้ในเดือนมีนาคม 2013 แนะนำว่า กฎหมายทั้งหลายที่มีผลกระทบต่อประเทศอังกฤษเท่านั้นที่ควรจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. อังกฤษ
รัฐบาลและรัฐสภาสกอตแลนด์ มีอำนาจกว้างขวางในเรื่องใด ๆ ที่ยังไม่ได้รับการสงวนไว้เฉพาะเพื่อรัฐสภาสหราชอาณาจักร, รวมทั้ง การศึกษา, การดูแลสุขภาพ, กฎหมายสกอตและรัฐบาลท้องถิ่น ในช่วงการเลือกตั้ง 2011, SNP ชนะเลือกตั้งและได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่โดยรวมในรัฐสภาสก็อต ที่มีผู้นำ อเล็กซ์ Salmond เป็น รัฐมนตรีคนแรกของสกอตแลนด์ ในปี 2012 สหราชอาณาจักรและรัฐบาลสก็อตได้ลงนามใน'ข้อตกลงเอดินบะระ' ในการจัดทำวาระของการลงประชามติเกี่ยวกับความเป็นอิสระของสก็อตแลนด์ในปี 2014
รัฐบาลเวลส์และสมัชชาแห่งชาติของเวลส์มีอำนาจจำกัดมากขึ้นกว่าที่สก็อตแลนด์ได้รับการมอบอำนาจ สภาสามารถออกกฎหมายในเรื่องการมอบอำนาจ ผ่าน Acts of the Assembly, ซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมก่อนจาก Westminster. ผลของการเลือกตั้ง 2011 ทำให้ได้มีการบริหารจากพรรคแรงงานส่วนน้อย ที่นำโดย Carwyn โจนส์
ผู้บริหารและสภาไอร์แลนด์เหนือมีอำนาจคล้ายกับที่ตกทอดไปยังสกอตแลนด์ ผู้บริหารที่นำโดย ผู้ปกครองสองคน เป็นตัวแทนของสหภาพและสมาชิกของสภาแห่งชาติ ปัจจุบัน ปีเตอร์ โรบินสัน ( พรรคสหภาพประชาธิปไตย) และ มาร์ติน กินเนสส์ (พรรค Sinn Féin) เป็นรัฐมนตรีคนแรก และรองรัฐมนตรีคนแรกตามลำดับ การถ่ายทอดอำนาจมาที่ไอร์แลนด์เหนือ ผูกพันด้วยการมีส่วนร่วมโดยการบริหารไอร์แลนด์เหนือใน'สภารัฐมนตรีเหนือใต้' ที่ผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือให้ความร่วมมือและพัฒนา นโยบายร่วมกันและใช้ร่วมกัน กับรัฐบาลของสาธารณะรัฐไอร์แลนด์ รัฐบาลอังกฤษและไอร์แลนด์ร่วมกันทำงานในเรื่องที่ไม่ถ่ายทอดอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อไอร์แลนด์เหนือ ผ่านการประชุมระหว่างรัฐบาลอังกฤษ-ไอริช, ซึ่งรับผิดชอบการบริหารไอร์แลนด์เหนือในกรณีของการไม่ดำเนินงานของมัน
สหราชอาณาจักรไม่ได้มีรัฐธรรมนูญที่จัดเป็นระบบ และเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ใน อำนาจที่จะตกทอดมายัง สกอตแลนด์, เวลส์ หรือ ไอร์แลนด์เหนือ ภายใต้หลักการของ อำนาจอธิปไตยของรัฐสภา, รัฐสภาสหราชอาณาจักรจึงสามารถ, ในทางทฤษฎี, ยกเลิกรัฐสภาของสกอตแลนด์, สภาเวลส์ หรือ สภาไอร์แลนด์เหนือ แท้จริงแล้ว ในปี 1972 รัฐสภาสหราชอาณาจักรปิดประชุมรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ, เป็นการทำให้เป็นแบบอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการถ่ายทอดอำนาจร่วมสมัย ในทางปฏิบัติ มันจะเป็นเรื่องยากในทางการเมืองสำหรับรัฐสภาสหราชอาณาจักร ที่จะยกเลิกการถ่ายทอดอำนาจให้กับรัฐสภาสกอตและสภาเวลส์, ให้การป้องกันทางการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นโดยการตัดสินใจการลงประชามติ ข้อจำกัดทางการเมืองที่วางอยู่บนอำนาจของรัฐสภาสหราชอาณาจักรในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ การถ่ายทอดอำนาจในไอร์แลนด์เหนือจะยิ่งใหญ่กว่าในส่วนที่เกี่ยวกับสกอตแลนด์และเวลส์, ที่ระบุว่าการรับโอนอำนาจในไอร์แลนด์เหนือ วางอยู่บนข้อตกลงระหว่างประเทศกับรัฐบาลของประเทศไอร์แลนด์
=== กฎหมายและความยุติธรรมทางอาญา ===
สหราชอาณาจักรไม่ได้มีระบบกฎหมายเดียว, มาตรา 19 ของ สนธิสัญญาสหภาพปี 1706 มีไว้ให้สำหรับความต่อเนื่องของระบบกฎหมายแยกของสกอตแลนด์ วันนี้ สหราชอาณาจักรมีสามระบบที่แตกต่างกันของกฎหมาย: กฎหมายอังกฤษ กฎหมายไอร์แลนด์เหนือและกฎหมายสกอตแลนด์ ศาลฎีกาใหม่ของสหราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2009 เพื่อแทนที่ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ของสภาขุนนาง คณะกรรมการตุลาการของคณะองคมนตรี รวมทั้งสมาชิกที่เป็นสมาชิกเดียวกันกับศาลฎีกาเป็นศาลอุทธรณ์สูงสุดสำหรับหลายประเทศ เครือจักรภพอิสระ, ดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษและเมืองขึ้นของพระมหากษัตริย์
ทั้งกฎหมายอังกฤษ, ซึ่งใช้ในอังกฤษและเวลส์ และกฎหมายไอร์แลนด์เหนือ อยู่บนพื้นฐานของ หลักการ common-law สาระสำคัญของกฎหมาย common law ก็คือว่า, ภายใต้รัฐบัญญัติ, กฎหมายได้รับการพัฒนาโดยผู้พิพากษาในศาล, ในการใช้กฎหมาย, แบบอย่างที่เคยเกิดขึ้น และสามัญสำนึก เข้ากับข้อเท็จจริงก่อนที่ศาลจะให้ ตัดสินที่เป็นคำอธิบายหลักการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, ซึ่งจะมีการรายงานและมีผลผูกพันในกรณีที่คล้ายกันในอนาคต (stare decisis) ศาลของอังกฤษและเวลส์มีหัวหน้าเป็นศาลอาวุโสของอังกฤษและเวลส์, ประกอบด้วยศาลอุทธรณ์, ศาลยุติธรรม (สำหรับศาลแพ่ง) และบัลลังก์ศาล (สำหรับกรณีความผิดทางอาญา) ศาลฎีกาเป็นศาลที่สูงที่สุด ในแผ่นดินกรณีอุทธรณ์ทั้งทางอาญาและทางแพ่งในอังกฤษ, เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ และการตัดสินใด ๆ จะทำให้มีผลผูกพันในทุกศาลอื่น ๆ ในเขตอำนาจเดียวกัน, มักจะมีผลโน้มน้าวใจในเขตอำนาจศาลอื่น
กฎหมายของสก็อตแลนด์เป็นระบบไฮบริดที่ขึ้นอยู่กับทั้ง common-law และหลักการของกฎหมายแพ่ง หัวหน้าศาลเป็นศาลของเซสชันสำหรับคดีแพ่ง และเป็นศาลสูงยุติธรรมสำหรับคดีอาญา ศาลฎีกาของสหราชอาณาจักรทำหน้าที่เป็นศาลที่สูงที่สุดของการอุทธรณ์ สำหรับกรณีทางแพ่งตามกฎหมายศาลของสก็อตแลนด์ ศาลนายอำเภอจัดการกับกรณีแพ่งและทางอาญาส่วนใหญ่รวมทั้งการดำเนินคดีอาญาด้วยคณะลูกขุนที่เรียกว่า ศาล เคร่งครัดนายอำเภอ (sheriff solemn court), หรือมีนายอำเภอและไม่มีคณะลูกขุนที่รู้จักในฐานะ ศาลสรุปนายอำเภอ (sheriff summary Court) ระบบกฎหมายของสก็อตเป็นเอกลักษณ์ในการมีสามคำตัดสินที่เป็นไปได้สำหรับการพิจารณาคดีทางอาญา: "มีความผิด", "ไม่ผิด " และ "พิสูจน์ไม่ได้" ทั้ง "ไม่ผิด" และ "พิสูจน์ไม่ได้" ส่งผลในการตัดสินว่าพ้นผิด
อาชญากรรมในอังกฤษและเวลส์ได้เพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างปี 1981 และปี 1995 ถึงแม้ว่าตั้งแต่ จุดสูงสุดนั้น มีการลดลงโดยรวมที่ 48% ในอาชญากรรมจากปี 1995 ถึง 2007/08, ตามสถิติอาชญากรรม ประชากรคุกของอังกฤษและเวลส์ เกือบเป็นสองเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน, ถึงกว่า 80,000 ทำให้อังกฤษและเวลส์มีอัตราที่สูงที่สุดของการจำคุกในยุโรปตะวันตก, ที่ 147 ต่อ 100,000 คน หน่วยบริการเรือนจำในสมเด็จฯ ซึ่งรายงานต่อกระทรวงยุติธรรม, จัดการ ส่วนใหญ่ของเรือนจำในอังกฤษและเวลส์ อาชญากรรมในสกอตแลนด์ลดลงในระดับที่บันทึกว่า ต่ำสุดเป็นเวลา 32 ปีในปี 2009/10, ลดลงร้อยละสิบ ในเวลาเดียวกัน ประชากรคุกของสกอตแลนด์, ที่กว่า 8,000, อยู่ที่ระดับบันทึกไว้และสูงกว่าความจุที่ออกแบบไว้ บริการเรือนจำสก็อต ซึ่งจะต้องรายงานต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรียุติธรรมเป็นผู้จัดการเรือนจำของสกอตแลนด์ ในปี 2006 รายงานโดย 'เครือข่ายศึกษาการเฝ้าระวังพบว่า สหราชอาณาจักรมีระดับสูงสุดของการเฝ้าระวังในระหว่างมวลหมู่ประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก
=== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ===
=== กองทัพ ===
กองกำลังติดอาวุธของสหราชอาณาจักร (อย่างเป็นทางการ, กองทัพในสมเด็จฯ) ประกอบด้วย ทหารอาชีพสามเหล่าทัพ ราชนาวีและกองนาวิกโยธิน, รวมตัวกันเป็นกองทัพเรือ, กองทัพบก และ กองทัพอากาศ กองทัพมีการจัดการโดย กระทรวงกลาโหม และควบคุมโดยสภากลาโหม, เป็นประธานโดยปลัดกระทรวงกลาโหม ราชวงค์อังกฤษเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด, โดยกำลังพลในกองทัพได้สาบานตนต่อหน้าพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์, ว่าจะจงรักภักดีต่อพระองค์ และ ปกป้องประเทศชาติ
จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสต็อกโฮล์มและกระทรวงกลาโหม สหราชอาณาจักรมีการใช้จ่ายทางทหารสูงสุดเป็นที่สี่ของโลก ค่าใช้จ่ายในการป้องกันรวม ขณะนี้ประมาณ 2.3–2.6% ของ GDP รวมของประเทศ
กองทัพจะรับผิดชอบในการปกป้องดินแดนของสหราชอาณาจักรและดินแดนของประเทศในต่างประเทศ, ส่งเสริมผลประโยชน์ความมั่นคงทั่วโลกและให้การสนับสนุนความพยายามรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ พวกเขาเข้มแข็งและมีส่วนร่วมปกติในองค๋การเนโท, รวมทั้ง Allied Rapid Reaction Corps เช่นเดียวกับ Five Power Defence Arrangements, RIMPAC และการดำเนินงานร่วมกันอื่น ๆ ทั่วโลก กองทหารรักษาการและสิ่งอำนวยความสะดวกในต่างประเทศ ถูกรักษาการอยู่ในเกาะแอสเซอร์ชัน, เบลีซ, บรูไน, แคนาดา, ไซปรัส, ดิเอโก การ์เซีย, หมู่เกาะฟอล์กแลนด์, เยอรมนี, ยิบรอลตา, เคนยา และกาตาร์
ราชนาวีเป็นกองทัพเรือที่ทรงนาวิกานุภาพ และ มีกองกำลังทางน้ำถึงหนึ่งในสามของโลก, โดยอีกสองกองทัพคือกองทัพเรือฝรั่งเศสและกองทัพเรือสหรัฐ เช่นเดียวกับการมีความรับผิดชอบในการส่งมอบตัวยับยั้งนิวเคลียร์ของสหราชอาณาจักร ผ่านทางโปรแกรมไทรเดนท์ของสหราชอาณาจักร และสี่เรือดำน้ำชั้นแนวหน้า, ราชนาวีดำเนินงานกองเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่, รวมทั้งเรือบรรทุกเครื่องบิน, เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์, ท่าเทียบเรือ, เรือดำน้ำนิวเคลียร์, ตัวทำลายขีปนาวุธนำวิถี, เรือรบ, เรือกวาดทุ่นระเบิด, และเรือลาดตระเวน ในอนาคตอันใกล้ เรือบรรทุกเครื่องบินใหม่สองลำ, รรล. Queen Elizabeth และ รรล. เจ้าฟ้าชายแห่งเวลส์ จะเข้ามาให้บริการในราชนาวี กองกำลังพิเศษสหราชอาณาจักร เช่นบริการพิเศษทางอากาศและ เรือบริการพิเศษ ให้การฝึกฝนทหารเพื่อตอบสนองทางทหารได้อย่างรวดเร็ว, เคลื่อนที่เร็ว ในการต่อต้านการก่อการร้าย, ทางบก, ทางน้ำและสะเทินน้ำสะเทินบก ที่จะใช้เมื่อกลยุทธ์ต้องการให้เป็นความลับหรือต้องการซ่อนเร้น
ในประวัติศาสตร์ กองกำลังติดอาวุธของอังกฤษมีบทบาทสำคัญในการสร้างจักรวรรดิอังกฤษ, โดยที่เป็นพลังของโลกที่โดดเด่นในศตวรรษที่ 19 กองทัพอังกฤษได้เห็นการดำเนินการใน สงครามที่สำคัญหลายครั้งเช่น สงครามเจ็ดปี, สงครามนโปเลียน, สงครามไครเมีย, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ สงครามโลกครั้งที่สอง, รวมทั้งความขัดแย้งในอาณานิคมหลายครั้ง ด้วยความแข็งแกร่งของกำลังทางทหาร, บริเตนมักจะสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ของโลกอย่างเด็ดขาด นับตั้งแต่สิ้นสุดจักรวรรดิอังกฤษ, สหราชอาณาจักรยังคงมีอำนาจทางทหารที่สำคัญ ทหารอังกฤษอยู่ในกลุ่มประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดในโลก นโยบายการป้องกันที่ผ่านมามีสมมติฐานที่ระบุว่า "การดำเนินงานที่มีความต้องการมากที่สุด" จะถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือทางทหาร นอกเหนือจากการแทรกแซงในเซียร์ราลีโอน, การปฏิบัติการทางทหารของสหราชอาณาจักรที่ผ่านมาในบอสเนีย, คอซอวอ, อัฟกานิสถาน, อิรักและล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ในลิเบีย ได้ปฏิบัติตามแนวทางนี้ ครั้งสุดท้ายที่ทหารอังกฤษต่อสู้เพียงลำพังคือ สงครามฟอล์กแลนด์ ปี 1982
== เขตการปกครอง ==
สหราชอาณาจักรประกอบด้วยสี่ส่วนใหญ่ ๆ ซึ่งบางครั้งเรียกในภาษาไทยว่า "ประเทศ" หรือ "แคว้น"
แต่ละประเทศของสหราชอาณาจักรมีระบบการบริหารและการแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์ของตัวเอง ที่มีต้นกำเนิดมักจะก่อนวันที่ก่อตั้งของสหราชอาณาจักร ดังนั้นจึง "ไม่มีชนชั้นที่เป็นอันเดียวกันของหน่วยการบริหารที่ครอบคลุมทั้งสหราชอาณาจักร" จนกระทั่ง ศตวรรษที่ 19 จึงมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยกับการเตรียมการเหล่านั้น, แต่ ตั้งแต่นั้นมาได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องของบทบาทและหน้าที่ การเปลี่ยนไม่ได้เกิดขึ้นในลักษณะที่เหมือนกันและการกระจายอำนาจให้กับรัฐบาลท้องถิ่นของสกอตแลนด์, เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจะไม่น่าจะ เหมือนกันเลย
องค์กรของรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศอังกฤษมีความซับซ้อน ที่มีการกระจายของหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามการเตรียมการในท้องถิ่น การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศอังกฤษ เป็นความรับผิดชอบของรัฐสภาสหราชอาณาจักรและรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร เนื่องจากประเทศอังกฤษไม่มีรัฐสภาที่กระจายอำนาจออกไป เขตการปกครองย่อยบนชั้น upper-tier ของอังกฤษ เป็นพื้นที่สำนักงานรัฐบาล หรือภูมิภาคสำนักงานรัฐบาลสหภาพยุโรป 9 แห่ง หนึ่งในภูมิภาค, มหานครลอนดอน, มีสภาและนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงตั้งแต่ปี 2000 ต่อมาจากการสนับสนุนที่เป็นที่นิยมสำหรับข้อเสนอในการลงประชามติ มันเป็นเจตนาที่ภูมิภาคอื่น ๆ ก็จะได้รับสภาระดับภูมิภาคที่มาจากการเลือกตั้งของตัวเอง, แต่สภาที่ถูกนำเสนอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการปฏิเสธโดยการลงประชามติในปี 2004 ด้านล่างของ tier ระดับภูมิภาค, บางส่วนของอังกฤษมีเทศบาลเมืองและเทศบาลเขต และบางส่วนอื่น ๆ มีเจ้าหน้าที่ที่เป็นหนึ่งเดียว; ในขณะที่ลอนดอนประกอบด้วย 32 เมืองเล็กของลอนดอน และกรุงลอนดอน ที่ปรึกษาจะมาจากการเลือกตั้งโดยระบบ first-past-the-post ในการเลือกแบบสมาชิกเดียว หรือโดยระบบ หลายสมาชิก ในการเลือกแบบหลายสมาชิก
สำหรับวัตถุประสงค์ของรัฐบาลท้องถิ่น, สกอตแลนด์ถูกแบ่งออกเป็น 32 พื้นที่สภาท้องถิ่น ที่มี ความหลากหลายทั้งในด้านขนาดและจำนวนประชากร เมืองกลาสโกว์, เอดินบะระ, แอเบอร์ดีน และดันดี เป็นพื้นที่สภาท้องถิ่นแยกต่างหาก เช่นเดียวกับสภาท้องถิ่นไฮแลนด์ซึ่งกินพื้นที่หนึ่งในสามของพื้นที่สกอตแลนด์ แต่มีประชากรเพียงกว่า 200,000 คนเท่านั้น สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกสภาท้องถิ่น (Councillors) ที่ได้รับการเลือกตั้ง, ซึ่งปัจจุบันมี 1,222 คน; พวกเขาจะได้รับเงินเดือนแบบ part-time การเลือกตั้งจะดำเนินการโดยระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงในแต่ละวอร์ดหลายสมาชิกที่จะเลือกทั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นสามหรือสี่คน แต่ละสภาท้องถิ่นเลือกประธานสภาหรือ Convenor, เพื่อเป็นประธานในที่ของสภาท้องถิ่นและจะทำหน้าที่เป็นบุคลสำคัญสำหรับพื้นที่ Councillors จะต้องมีจรรยาบรรณ ที่ถูกบังคับใช้โดย คณะกรรมการมาตรฐานสกอตแลนด์ สมาคม ตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของสกอตแลนด์ เป็น 'สหพันธ์องค์กรปกครงท้องถิ่นแห่งสก๊อตแลนด์'(COSLA)
รัฐบาลท้องถิ่นในเวลส์ ประกอบด้วย 22 สำนักงาน เหล่านี้รวมถึง เมืองคาร์ดิฟฟ์, เมืองสวอนซี และเมืองนิวพอร์ต ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รวมในสิทธิของตนเอง การเลือกตั้งจะมีขึ้นทุกสี่ปี ภายใต้ระบบ first-past-the-post การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมาถูกจัดขึ้นเมื่อเดิอนพฤษภาคม 2012, ยกเว้นสำหรับ เกาะแองเกิลซีย์ สมาคมรัฐบาลท้องถิ่นของเวลส์เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของสำนักงานท้องถิ่นในเวลส์
รัฐบาลท้องถิ่นในไอร์แลนด์เหนือถูกจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1973 ให้เป็น 26 เทศบาลเขต แต่ละเขตถูกเลือกตั้งโดยการออกเสียงแบบโอนคะแนนได้ครั้งเดียว อำนาจของเทศบาลเขตจะถูกจำกัดให้ทำงานบริการเช่น การเก็บของเสีย, การควบคุมสุนัขและการบำรุงรักษาสวนสาธารณะและสุสาน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2008 ผู้บริหารเห็นด้วยกับข้อเสนอที่จะสร้าง 11 เทศบาลใหม่และแทนที่ระบบที่ใช้อยู่ในตอนนั้น การเลือกตั้งท้องถิ่นถูกเลื่อนออกไปจนถึงปี 2016 เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องนี้
=== เขตสังกัด ===
สหราชอาณาจักรมีอำนาจอธิปไตยเหนือสิบเจ็ดดินแดนที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร. สิบสี่เป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ และสามเป็นเมืองขึ้นของพระมหากษัตริย์ (Crown Dependencies)
สิบสี่ดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษมีดังนี้: แองกวิลลา; เบอร์มิวดา; บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี; บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี; หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน; หมู่เกาะเคย์แมน; หมู่เกาะฟอล์กแลนด์; ยิบรอลตาร์; มอนต์เซอร์รัต; เซนต์เฮเลนา อัสเซนชันและตริสตันดากูนยา; หมู่เกาะเติร์กและเคคอส; หมู่เกาะพิตแคร์น; เซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช; และฐานทัพอำนาจอธิปไตยไซปรัส การอ้างสิทธิ์ของอังกฤษในทวีปแอนตาร์กติกา ไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เมื่อรวมกันแล้ว ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,600,000 ตารางกิโลเมตร (640,000 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 250,000 คน พวกเขามีเศษที่เหลือของจักรวรรดิอังกฤษและหลายที่ได้รับการโหวตโดยเฉพาะที่จะยังคงเป็นดินแดนของอังกฤษ (เบอร์มิวดาในปี 1995, ยิบรอลตาร์ในปี 2002 และหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ในปี 2013)
เมืองขึ้นของพระมหากษัตริย์เป็นดินแดนของกษัตริย์อังกฤษ ที่ตรงข้ามกับดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยเกาะช่องแคบ Bailiwicks ของเจอร์ซีย์และเกิร์นซีย์ ในช่องแคบอังกฤษ และเกาะแมนในทะเลไอริช. เขตอำนาจถูกบริหารอย่างเป็นอิสระ, ดินแดนเหล่านี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรหรือของสหภาพยุโรป, ถึงแม้ว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรจะจัดการด้านการต่างประเทศและการทหารโดยตรง และ รัฐสภาสหราชอาณาจักรมีอำนาจในการออกกฎหมายในนามของพระปรมาภิไธย อำนาจที่จะผ่านกฎหมายที่มีผลกระทบต่อหมู่เกาะเหล่านี้ท้ายที่สุด อยู่ในสภานิติบัญญัติของตัวเอง, ตามการยอมรับของพระมหากษัตริย์ (องคมนตรี, หรือในกรณีของเกาะแมน ในบางกรณีเป็น Lieutenant-Governor) ตั้งแต่ปี 2005 แต่ละเมืองได้มีหัวหน้ารัฐมนตรี เป็นหัวหน้าของรัฐบาล
== เศรษฐกิจ ==
สหราชอาณาจักรมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี โดยมีขนาดเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากเยอรมนีและฝรั่งเศสในยุโรป โดยวัดจาก GDP โดยสหราชอาณาจักรมีธนาคารกลางที่ชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งมีหน้าที่ในการออกธนบัตร และเหรียญในสกุลปอนด์สเตอร์ลิง
=== โครงสร้างเศรษฐกิจ ===
ภาคบริการของสหราชอาณาจักรมีสัดส่วนใน GDP สูงถึง 73% โดยมีกรุงลอนดอนเป็นศูนย์กลางการเงินโลกขนาดใหญ่ เทียบเคียงได้กับนิวยอร์กซิตี้ และยังเป็นเมืองที่มี GDP สูงที่สุดในยุโรปอีกด้วย นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังเป็นส่วนสำคัญในเศรษฐกิจ เพราะมีนักท่องเที่ยวถึง 27 ล้านคนเดินทางมาสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2547
=== สถานการณ์สำคัญ ===
การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เริ่มต้นที่สหราชอาณาจักรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตามด้วยอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมการต่อเรือ เหมืองถ่านหิน และการผลิตเหล็กกล้า
=== การท่องเที่ยว ===
การท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของอังกฤษอย่างมาก ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังสหราชอาณาจักรสูงถึง 27 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2547 นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังถูกจัดให้เป็นเมืองจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวอันดับที่ 6 ของโลก
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== การขนส่ง ===
เครือข่ายถนนรัศมี รวม 29,145 ไมล์ (46,904 กิโลเมตร) ของถนนสายหลัก, 2,173 ไมล์ (3,497 กิโลเมตร) มอเตอร์เวย์, และ 213,750 ไมล์ (344,000 กิโลเมตร) ถนนสายย่อย ในปี 2009 มียานพาหนะจดทะเบียนทั้งหมด 34 ล้านคันในประเทศสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีเครือข่ายรถไฟระยะทาง 10,072 ไมล์ (16,209 กิโลเมตร) ในสหราชอาณาจักรและ 189 ไมล์ (304 กิโลเมตร) ในไอร์แลนด์เหนือ รถไฟไอร์แลนด์เหนือจะดำเนินการโดยการรถไฟ NI ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Translink ที่รัฐเป็นเจ้าของ ในสหราชอาณาจักร เครือข่ายรถไฟของอังกฤษ ถูกแปรรูประหว่าง ปี 1994 และ 1997. เครือข่ายรถไฟส่วนใหญ่เป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารสินทรัพย์ถาวร(ราง, สัญญาณ ฯลฯ) ประมาณ 20 บริษัทเอกชนที่ ดำเนินงานเดินรถไฟ (รวมทั้ง East Coast ที่รัฐเป็นเจ้าของ) ทำงานเดินรถไฟโดยสาร และเดินรถกว่า 18,000 รถไฟโดยสารทุกวัน นอกจากนี้ยังมีประมาณ 1,000 รถไฟบรรทุกสินค้าเดินรถทุกวัน รัฐบาลสหราชอาณาจักรใช้จ่าย 30 พันล้าน £ สำหรับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่, HS2, เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ในปี 2025 ระบบ Crossrail ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในกรุงลอนดอนจะเป็นโครงการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป ด้วยค่าใช้จ่ายที่คาดการณ์ไว้ที่ 15 พันล้าน £
ในปีเริ่มตุลาคม 2009 ถึงกันยายน 2010 สนามบินในสหราชอาณาจักรให้บริการผู้โดยสารรวม 211.4 ล้านคน ในช่วงเวลานั้น สามสนามบินที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ สนามบิน London Heathrow (ผู้โดยสาร 65.6 ล้านคน) สนามบินแก็ตวิก (ผู้โดยสาร 31.5 ล้านคน) และ สนามบินลอนดอนสแตนสเตด (ผู้โดยสาร 18.9 ล้านคน) สนามบิน London Heathrow ตั้งอยู่ 15 ไมล์ (24 กิโลเมตร ) ทางตะวันตกของเมืองหลวง มีผู้โดยสารต่างประเทศมากที่สุดของสนามบินใด ๆ ในโลก และเป็นศูนย์กลางสำหรับ British Airways ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับ BMI และ เวอร์จินแอตแลนติก
=== วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ===
อังกฤษและสกอตแลนด์เคยเป็นศูนย์กลางในการเป็นผู้นำการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และสหราชอาณาจักรได้เป็นผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากศตวรรษที่ 18 และต่อมาก็ยังคงผลิตนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ได้รับการยกย่องกับความก้าวหน้าที่สำคัญ ๆ ของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักทฤษฎีสำคัญ ๆ จากศตวรรษที่ 17 และ 18 รวมถึง ไอแซก นิวตัน ซึ่งกฎการเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วงของเขาได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่, จากศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ผู้ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการโดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาของชีววิทยาที่ทันสมัย และเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ ผู้ตั้งสูตรทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าแบบคลาสสิก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ สตีเฟ่น ฮอว์คิง ผู้สร้างความก้าวหน้าด้านทฤษฎีที่สำคัญในสาขาของจักรวาล, แรงโน้มถ่วงควอนตัมและการตรวจสอบหลุมดำ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญนับจากศตวรรษที่ 18 ประกอบด้วย ไฮโดรเจนโดยเฮนรี คาเวนดิช ยาปฏิชีวนะในศตวรรษที่ 20 โดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง, และโครงสร้าง ดีเอ็นเอ โดยฟรานซิส คริก เป็นต้น โครงการวิศวกรรมและการนำไปประยุกต์ใช้งานขนาดใหญ่โดยคนในสหราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 18 รวมถึง หัวรถจักรไอน้ ซึ่งพัฒนาโดย ริชาร์ด ทรีวิธิค และ แอนดรู วิเวียน, จากศตวรรษที่ 19 มอเตอร์ไฟฟ้าโดยไมเคิล ฟาราเดย์, หลอดไฟใช้ไส้ โดยโจเซฟ สวอน, และโทรศัพท์ ในทางปฏิบัติตัวแรกที่จดสิทธิบัตรโดย อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์, และ ในศตวรรษที่ 20 ระบบโทรทัศน์ที่ทำงานได้ครั้งแรกของโลกโดยจอห์น โลจี เบร์ด เป็นต้น เครื่องยนต์เจ็ทโดยแฟรงก์ วิตเทิล, พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยโดยอลัน ทัวริง และ เวิลด์ไวด์เว็บ โดยทิม เบอร์เนิร์ส-ลี การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในมหาวิทยาลัยของอังกฤษ ที่มี การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์จำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกการผลิตและการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ระหว่างปี ค.ศ. 2004 - 2008 สหราชอาณาจักรได้ผลิตงาน 7% ของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของโลก และมีส่วนแบ่ง 8% ของการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์เป็นอันดับที่สาม ซึ่งเป็นอันดับสามและอันดับสองที่สูงที่สุดในโลก (รองจากสหรัฐฯ และจีน, และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ) วารสารทางวิทยาศาสตร์ที่ผลิตขึ้นในสหราชอาณาจักร รวมถึง ธรรมชาติ, วารสารการแพทย์อังกฤษ และมีดสำหรับการแพทย์
=== พลังงาน ===
ในปี 2006 สหราชอาณาจักรเป็นผู้บริโภคพลังงานอันดับที่เก้าและผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ที่สุดอันดับที่ 15 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งของหลายบริษัท พลังงานขนาดใหญ่รวมทั้งสองในหก "supermajors" บริษัทน้ำมันและก๊าซ - BPและรอยัลดัตช์ เชลล์ และกลุ่ม BG ในปี 2011, 40% ของกระแสไฟฟ้าของสหราชอาณาจักรผลิตโดยก๊าซ, 30% โดยถ่านหิน, 19% โดยพลังงานนิวเคลียร์ และ 4.2% โดยลม, น้ำ, เชื้อเพลิงชีวภาพและของเสีย
ในปี 2013 สหราชอาณาจักรผลิตน้ำมัน 914,000 บาร์เรลต่อวัน และบริโภค 1.507 ล้านบาร์เรล/วัน การผลิตในขณะนี้ลดลง และสหราชอาณาจักรได้กลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิตั้งแต่ปี 2005 ในปี 2010 สหราชอาณาจักรมีประมาณ 3.1 พันล้านบาเรลล์ของปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้ว, ใหญ่ที่สุดในระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ในปี 2009, 66.5 % ของอุปทานน้ำมันของสหราชอาณาจักรถูกนำเข้า
ในปี 2009 สหราชอาณาจักรเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 13 ของโลก และเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป การผลิตขณะนี้ลดลงและสหราชอาณาจักรได้กลายเป็นผู้นำเข้าสุทธิก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ปี 2004 ในปี 2009, ครึ่งหนึ่งของก๊าซที่อังกฤษใช้มาจากการนำเข้าและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 75% ในปี 2015 เนื่องจากปริมาณสำรองในประเทศได้หมดลง
การผลิตถ่านหินมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 19 และ 20 ในกลางปี 1970s, ถ่านหิน 130 ล้านตันถูกผลิตเป็นประจำทุกปี, ไม่ตกต่ำกว่า 100 ล้านตันจนถึงช่วงต้นปี 1980 ในช่วงปี 1980s และ 1990s อุตสาหกรรมเป็นสัดส่วนกลับทางอย่างมาก ในปี 2011 สหราชอาณาจักรผลิตถ่านหิน 18.3 ล้านตัน ในปี 2005 ปริมาณสำรองถ่านหินได้รับการพิสูจน์ว่ามีประมาณ 171 ล้านตัน สำนักงานถ่านหินสหราชอาณาจักรได้ระบุว่ามีศักยภาพในการผลิตถ่านหินระหว่าง 7 พันล้านตันถีง 16 พันล้านตันด้วยวิธีการ เปลี่ยนถ่านหินใต้ดินให้เป็นก๊าซ (underground coal gasification หรือ (UCG) หรือ 'fracking', และว่า, บนพื้นฐานของการบริโภคถ่านหินปัจจุบันของสหราชอาณาจักร, ปริมาณสำรองดังกล่าวสามารถใช้ได้ถึงระหว่าง 200 ถึง 400 ปี อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมได้ถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับสารเคมีที่ได้รับลงในแหล่งน้ำและการเกิดแผ่นดินไหว เล็กน้อยที่จะสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน
ในปลายปี 1990s โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้มีส่วนร่วมประมาณ 25 % จากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ประจำปีในสหราชอาณาจักร แต่ตอนนี้ค่อย ๆ ลดลงเมื่อโรงไฟฟ้าเก่าถูกปิดตัวลง และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเก่าแก่ได้ส่งผลกระทบต่อความพร้อมในการทำงานของโรงไฟฟ้า ในปี 2012 สหราชอาณาจักรมีเครื่องปฏิกรณ์ 16 ตัว ตามปกติจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 19% ของทั้งหมด แต่หนึ่งในเครื่องปฏิกรณ์จะเกษียณอายุราชการในปี 2023 ซึ่งแตกต่างจากประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักรมีความตั้งใจที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นใหม่เริ่มจากประมาณปี 2018
=== การศึกษา ===
การศึกษาในสหราชอาณาจักรเป็นเรื่องการกระจายอำนาจ ซึ่งแต่ละประเทศมีระบบการศึกษาที่แยกจากกัน
ในขณะที่การศึกษาในประเทศอังกฤษเป็นความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, การบริหารวันต่อวัน และการระดมทุนของโรงเรียนของรัฐเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น การศึกษาของรัฐแบบถ้วนหน้า ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายได้รับการแนะนำทีละน้อยระหว่างปี 1870 ถึงปี 1944 ปัจจุบัน การศึกษาจะเป็นภาคบังคับจากวัย 5-16 (15 ถ้าเกิดหลังกรกฎาคมหรือสิงหาคม) ในปี 2011 แนวโน้มในการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศและวิทยาศาสตร์ (TIMSS) ที่จัดให้นักเรียนอายุ 13-14 ปีในอังกฤษและเวลส์เป็นอันดับ 10 ในโลกสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ และอันดับ 9 สำหรับวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่ของเด็กได้รับการศึกษาในโรงเรียนภาครัฐ, ส่วนเล็ก ๆ ของเด็กเหล่านั้นเลือกบนพื้นฐานของความสามารถทางวิชาการ อัตราส่วน 2 ใน 10 สุดยอดของโรงเรียนที่มีการดำเนินการในแง่ของผลการสอบเทียบในปี 2006 เป็นโรงเรียนของรัฐที่เน้นทางด้านวิชาการ กว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของอ๊อกฟอร์ด และเคมบริดจ์ได้มาจากโรงเรียนของรัฐ แม้จะมีการลดลงในจำนวนที่เกิดขึ้นจริง สัดส่วนของเด็กในประเทศอังกฤษที่เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนได้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 7% ในปี 2010 กว่า 45% ของที่เรียนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และ 40% ที่มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์มาจากนักเรียนจากโรงเรียนเอกชน ถึงแม้ว่าพวกเขาได้เข้าเรียนเพียง 7% ของประชากร มหาวิทยาลัยของอังกฤษอยู่ในหมู่ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และ อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอนถูกจัดอยู่ในระดับโลก 10 อันดับแรกในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกปี 2010 โดย QS, เคมบริดจ์เป็นอันดับแรกโรงเรียน การศึกษา ภาคฤดูร้อน Lite Regal Education มีให้เลือกมากมายซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 13-18 มีโอกาสเรียนรู้และเรียนรู้ในช่วงฤดูร้อน ในวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของเคมบริดจ์ หรือมหาวิทยาลัยลอนดอน
การศึกษาในประเทศสกอตแลนด์ เป็นความรับผิดชอบของเลขาธิการรัฐมนตรีเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีการบริหารงานแบบวันต่อวัน และการระดมทุนของโรงเรียนของรัฐเป็น ความรับผิดชอบของหน่วยงานท้องถิ่น สองหน่วยงานที่ไม่ใช่แผนกสาธารณะมีบทบาทสำคัญในการศึกษาของสกอตแลนด์ หน่วยงานคณสมบัติของสกอต เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา, ให้การรับรอง, การประเมิน และประกาศนียบัตรรับรองคุณสมบัติอื่น ๆ นอกเหนือจากปริญญาบัตร ซึ่งจะถูกส่งไปที่โรงเรียนมัธยม, วิทยาลัยหลังมัธยมของการศึกษาต่อเนื่องและศูนย์อื่น ๆ หน่วยงานการเรียนการสอนสกอตแลนด์ให้คำแนะนำ, การพัฒนาทรัพยากรและพนักงานให้เป็นมืออาชีพทางการศึกษา สก็อตแลนด์ได้ออกกฎหมายครั้งแรกสำหรับการศึกษาภาคบังคับในปี 1496 สัดส่วนของเด็กในสก็อตแลนด์ที่เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนมีเพียง 4% และได้เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในหลายปีที่ผ่านมา นักเรียนสก็อตที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของสก็อตไม่ได้จ่ายค่าเล่าเรียนหรือค่าใช้จ่ายการบริจาคบัณฑิต (graduate endowment charges) เมื่อค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ถูกยกเลิกในปี 2001 และโครงการบริจาคบัณฑิตถูกยกเลิกในปี 2008 มหาวิทยาลัย แห่งสก็อตแลนด์อยู่ในกลุ่มของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก, มหาวิทยาลัยแห่งเอดินบะระ, มหาวิทยาลัยแห่งกลาสโกว์ และ มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรู ทั้งหมดอยู่ในอันดับ 100 สูงสุดในโลกในการอันดับมหาวิทยาลัยโลกปี 2012 โดย OS, ที่มีมหาวิทยาลัยแห่งเอดินบะระ อยู่ในอันดับที่ 21
รัฐบาลเวลส์มีความรับผิดชอบในการศึกษาในเวลส์ นักเรียนของเวลส์จำนวนมากได้รับการสอนทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ในภาษาเวลส์; บทเรียนในภาษาเวลส์เป็นภาคบังคับสำหรับนักเรียนทุกคน จนอายุ 16 มีหลายแผนที่จะเพิ่มการให้โรงเรียนใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาเวลส์เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการสร้างเวลส์ให้เป็นแบบสองภาษาอย่างเต็มที่ โดยต้องการเพิ่มจำนวนผู้เรียนในโรงเรียนดังกล่าวจาก 22% ในปี พ.ศ. 2560 เป็น 40% เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593
การศึกษาในไอร์แลนด์เหนือเป็นความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการจ้างงานและการเรียนรู้, ถึงแม้ว่าความรับผิดชอบในระดับท้องถิ่นจะมีการบริหารงานโดยมี 5 คณะกรรมการการศึกษาและห้องสมุด ซึ่งครอบคลุมหลายพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน สภาหลักสูตร, การสอบและการประเมิน (CCEA) เป็นคณะทำงานที่รับผิดชอบในการให้คำแนะนำรัฐบาลในสิ่งที่ควรจะสอนในโรงเรียนของไอร์แลนด์เหนือ, การตรวจสอบมาตรฐานและการตัดสินคุณสมบัติ
=== การสาธารณสุข ===
การดูแลสุขภาพในสหราชอาณาจักรเป็นเรื่องของการกระจายอำนาจ และแต่ละประเทศจะมี ระบบของตัวเองในการดูแลสุขภาพส่วนตัวและการอุดหนุนทางการเงินสาธารณะ, ร่วมกับการรักษาแบบทางเลือก, องค์รวมและแบบเพิ่มเติม การดูแลสุขภาพของประชาชนมีให้กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรอย่างถาวรและ ส่วนใหญ่จะฟรีที่จุดของความจำเป็น, ที่ถูกจ่ายเงิน จากภาษีอากรทั่วไป องค์การอนามัยโลก, ในปี 2000, จัดอันดับการดูแลสุขภาพในสหราชอาณาจักรเป็นที่สิบห้าที่ดีที่สุดในยุโรปและที่สิบแปดในโลก
หน่วยงานกำกับดูแลถูกจัดองค์กรบนพื้รฐานของสหราชอาณาจักรในวงกว้าง เช่น สภาแพทย์ทั่วไป, สภาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และด้านเอกชน เช่น ราชวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบทางการเมืองและการดำเนินงานสำหรับการดูแลสุขภาพขึ้นอยู่กับสี่ผู้บริหารระดับสูงแห่งชาติได้แก่ การดูแลสุขภาพในประเทศอังกฤษเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลสหราชอาณาจักร; การดูแลสุขภาพในไอร์แลนด์เหนือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือ; การดูแลสุขภาพในสกอตแลนด์เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลสกอตแลนด์; และการดูแลสุขภาพในเวลส์เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลสภาเวลส์ แต่ละบริการสุขภาพแห่งชาติมีนโยบายและความสำคัญเร่งด่วนที่แตกต่างกัน ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งหลายครั้ง
ตั้งแต่ปี 1979 ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ที่จะนำมันไปใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักรใช้ประมาณ 8.4 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็น 0.5% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาและ ประมาณ 1% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เขตเมือง ===
=== ประชากร ===
จากการสำรวจสำมะโนครัวของสหราชอาณาจักรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 สหราชอาณาจักรมีประชากร 58,789,194 คน โดยมากเป็นอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป และอันดับ 21 ของโลก ในปีพ.ศ. 2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณการจำนวนประชากรที่ 59,834,300 คน และเพิ่มเป็น 60.2 ล้านคนในอีกสองปีต่อมา โดยการเพิ่มจำนวนประชากรส่วนใหญ่มาจากการอพยพเข้าประเทศ อัตราการเกิดที่สูงขึ้น และอายุขัยที่ยาวนานขึ้น
สหราชอาณาจักรมีความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดี และส่วนใหญ่เป็นเขตเมืองหรือชานเมือง ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคนอาศับอยู่ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรสูงถึง 99% เป็นผลมาจากการศึกษาของรัฐทั่วประเทศ การศึกษาภาคบังคับมีสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ถึง 16 ปี
=== ภาษา ===
สหราชอาณาจักรไม่มีภาษาทางการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษเก่า ภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก) เช่นภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิก
ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก ภาษากลุ่มเคลติกของสหราชอาณาจักรก็มีพูดกันในกลุ่มเล็ก ๆ หลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินา
ในระยะหลังนี้ ผู้อพยพ โดยเฉพาะจากประเทศในเครือจักรภพ ได้นำภาษาอื่นหลายภาษาเข้ามาในสหราชอาณาจักร เช่น ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาเบงกอล ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาตุรกี และภาษาโปแลนด์ โดยสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้พูดภาษาฮินดี ปัญจาบ และเบงกอลสูงที่สุดนอกทวีปเอเชีย
=== ศาสนา ===
คริสต์ศาสนาเข้าสู่เกาะบริเตนครั้งแรกโดยชาวโรมัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรยังคงมีสถานะเป็นประเทศคริสต์อย่างเป็นทางการ พระประมุขจะต้องเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนา และสถาปนาโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ร้อยละ 72 ของประชากรในสหราชอาณาจักรประกาศตัวเป็นคริสต์ศาสนิกชน แต่ละชาติในสหราชอาณาจักรมีขนบธรรมเนียมทางศาสนาของตนเอง
สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีไปยังอังกฤษในปี พ.ศ. 1140 โดยออกัสตินดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปคนแรกแห่งแคนเทอร์เบอรี คริสตจักรของอังกฤษแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี พ.ศ. 2077 ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ปัจจุบันคริสตจักรแห่งอังกฤษเป็นคริสตจักรประจำชาติของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของคริสตจักรทั้งหลายที่สังกัดแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบิชอปของคริสตจักรเป็นสมาชิกของสภาขุนนางด้วย กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นผู้ดูแลสูงสุดด้วย ผู้นับถือคริสต์ศาสนนิกายโรมันคาทอลิกไม่มีสิทธิที่จะดำรงตำแหน่งกษัตริย์ได้
คริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ แยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี พ.ศ. 2103 โดยปัจจุบันเป็นคริสตจักรในนิกายเพรสไบทีเรียน และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐแม้ว่าจะมีสถานะเป็นคริสตจักรประจำชาติของสกอตแลนด์ กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรมีสถานะเป็นสมาชิกทั่วไป และจำเป็นต้องสาบานที่จะ "ปกป้องความมั่นคง" ของคริสตจักรในพระราชพิธีราชาภิเษก
ในปีพ.ศ. 2463 คริสตจักรในเวลส์แยกตัวออกมาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ และได้ออกจากสถานะความเป็นคริสตจักรจัดตั้งของรัฐ แต่ยังคงเป็นสมาชิกของแองกลิคันคอมมิวเนียนอยู่ คริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ซึ่งเป็นคริสตจักรแองกลิคัน ได้ยกเลิกความเป็นคริสตจักรจัดตั้งในปีพ.ศ. 2412 โดยคริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ครอบคลุมเกาะไอร์แลนด์ทั้งหมด ทั้งในส่วนของแคว้นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในไอร์แลนด์เหนือ นิกายโรมันคาทอลิกเป็นนิกายศาสนาเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด แต่น้อยกว่านิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ เมื่อรวมกัน คริสตจักรเพรสไบทีเรียนในไอร์แลนด์เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุด และมีความเกี่ยวข้องกับคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ในทางประวัติศาสตร์และเทววิทยา
คริสตจักรโรมันคาทอลิกเป็นนิกายคริสต์ศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร หลังจากการปฏิรูปศาสนา มีการออกกฎหมายต่อต้านคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอย่างเข้มงวด กฎหมายต่อต้านเหล่านี้ยกเลิกไปจากกฎหมายหลายฉบับซึ่งปลดปล่อยคาทอลิกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24
กลุ่มคริสต์ศาสนาอื่น ๆ ในสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วย กลุ่มนิกายเมทอดิสต์ ก่อตั้งโดยจอห์น เวสลีย์ และกลุ่มแบปติสต์ นอกจากนี้ ยังมีโบสถ์นิกายอิวานจิลิคัลหรือเพนโทคอทัลมากขึ้นเรื่อย โดยส่วนมากมาจากการอพยพของประชากรจากประเทศในเครือจักรภพ สหราชอาณาจักรในปัจจุบันมีความหลากหลายทางด้านศาสนาค่อนข้างสูง คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูมีศาสนิกชนจำนวนมาก ในขณะที่ศาสนาซิกข์และศาสนายูดาห์มีศาสนิกชนจำนวนรองลงมา ร้อยละ 14.6 ของประชากรประกาศตัวว่าไม่นับถือศาสนาใด ๆ
เชื่อกันว่ามีชาวมุสลิมถึง 1.8 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ในลอนดอน เบอร์มิงแฮม แบรดฟอร์ด และโอลด์แฮม โดยในปัจจุบันสามารถเห็นมัสยิดได้ทั่วไปในหลายภาคของสหราชอาณาจักร ชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีเชื้อสายปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ ในระยะหลัง ผู้อพยพจากโซมาเลียและตะวันออกกลางได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2549 การให้สัมภาษณ์ของแจ็ก สตรอว์ ผู้นำเฮาส์ออฟคอมมอนส์ ได้ก่อเกิดความขัดแย้งในเรื่องของผ้าคลุมศีรษะของชาวมุสลิม โดยสะท้อนให้เห็นฝ่ายชาวสหราชอาณาจักรที่เห็นว่าศาสนาอิสลามไม่สามารถเข้ากับสังคมสหราชอาณาจักรได้ และอีกกลุ่มที่พอใจกับศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร ศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู และ ศาสนาซิกข์ ก็มีขยายใหญ่ขึ้นในสหราชอาณาจักรเช่นกัน โดยมีชาวฮินดูมากกว่า 500,000 คน และชาวซิกข์ถึง 320,000 คน โดยปัจจุบันน่าจะเพิ่มขึ้นจากตัวเลขนี้ ซึ่งมาจากการสำรวจในปีพ.ศ. 2544 ในเมืองเลสเตอร์มีศาสนสถานของศาสนาเชน ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกที่อยู่นอกประเทศอินเดีย
=== กีฬา ===
กีฬาฟุตบอล, เทนนิส, รักบี้ยูเนียน, รักบี้ลีก, กอล์ฟ, กีฬามวย, เน็ตบอล, พายเรือ และคริกเก็ต มีต้นกำเนิดหรือได้รับการพัฒนาอย่างมากในสหราชอาณาจักรโดยมีกฎและกติกาของกีฬาสมัยใหม่หลายประเภทที่คิดค้นและประมวลขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุควิกตอเรียของสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2555 ฌัก โรคเคอ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลกล่าวว่า "ประเทศที่ยิ่งใหญ่และรักกีฬาแห่งนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งกำเนิดของกีฬาสมัยใหม่ ที่นี่แนวคิดเรื่องความมีน้ำใจนักกีฬาและการเล่นที่ยุติธรรมได้รับการประมวลเป็นกฎระเบียบที่ชัดเจน และที่นี่กีฬาถูกรวมไว้เป็นเครื่องมือทางการศึกษาหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียน"
== วัฒนธรรม ==
วัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย ได้แก่ สถานะของประเทศที่เป็นเกาะ, ประวัติศาสตร์ของประเทศในฐานะประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบตะวันตกและความเป็นมหาอำนาจ เช่นเดียวกับการเป็นสหภาพทางการเมืองของสี่ประเทศ โดยแต่ละประเทศยังคงรักษาองค์ประกอบของจารีตประเพณีและสัญลักษณ์ที่โดดเด่น ผลจากจักรวรรดิอังกฤษทำให้อิทธิพลของอังกฤษสามารถสังเกตเห็นได้ในภาษาวัฒนธรรม และระบบกฎหมายของอาณานิคมในอดีตหลายแห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย, แคนาดา, อินเดีย, ไอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, แอฟริกาใต้ และสหรัฐ ซึ่งวัฒนธรรมสามัญที่มีร่วมกันในวันนี้เรียกว่า Anglosphere อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่สำคัญของสหราชอาณาจักร ทำให้สหราชอาณาจักรได้รับคำจำกัดความว่าเป็น "มหาอำนาจทางวัฒนธรรม" การสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกโดย BBC พบว่าสหราชอาณาจักรติดอันดับประเทศที่มีการมองในแง่บวกมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก (รองจากเยอรมนี และแคนาดา) ในปี พ.ศ. 2556 และ 2557
=== วรรณกรรม ===
"วรรณคดีอังกฤษ" หมายถึงวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร, ไอล์ออฟแมน และหมู่เกาะแชนเนล วรรณคดีอังกฤษส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2548 มีการตีพิมพ์หนังสือ 206,000 เล่มในสหราชอาณาจักรและในปี พ.ศ. 2549 เป็นประเทศผู้จัดพิมพ์หนังสือที่มากที่สุดในโลก
วิลเลียม เชกสเปียร์ นักเขียนบทละครและกวีชาวอังกฤษได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักเขียนบทละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล และนักเขียนร่วมสมัยของเขา คริสโตเฟอร์ มาร์โลว์ และเบนจามิน จอนสัน ก็ได้รับการยกย่องอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
นักเขียนชาวอังกฤษยุคก่อนสมัยใหม่และยุคต้นที่มีชื่อเสียง เช่น เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ (ศตวรรษที่ 14), เซอร์ทอมัส มอร์ (ศตวรรษที่ 16), จอห์น มิลตัน (ศตวรรษที่ 17), ในศตวรรษที่ 18 แดเนียล เดโฟ (ผู้เขียน โรบินสัน ครูโซ), ในศตวรรษที่ 19 นักประพันธ์กอทิก แมรี เชลลีย์, นักรณรงค์เพื่อสังคม ชาลส์ ดิกคินส์, นักสัจนิยม จอร์จ เอเลียต, กวี วิลเลียม เบลกและกวีโรแมนติก วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ นักเขียนชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 20 ได้แก่ เอช. จี. เวลส์ นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์, เอ. เอ. มิลน์ (ผู้สร้าง วินนี่-เดอะ-พูห์), เวอร์จิเนีย วูล์ฟ นักเขียนแนวนวนิยม, นักเขียนนวนิยายแนวพยากรณ์ จอร์จ ออร์เวลล์, นักเขียนวรรณกรรมแนวอาชญากรรม อกาธา คริสตี (นักประพันธ์ที่ผลงานขายดีที่สุดตลอดกาล), เอียน เฟลมมิง (ผู้เขียน เจมส์ บอนด์), นักเขียนแนวแฟนตาซี เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน และ เจ. เค. โรว์ลิง, นักเขียนนิยายภาพ นีล ไกแมน
ผลงานของสกอตแลนด์ เช่น งานของนักเขียนแนวนักสืบ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ (ผู้สร้าง เชอร์ล็อก โฮล์มส์) วรรณกรรมโรแมนติกของ เซอร์วอลเตอร์ สก็อตต์, มหากาพย์การผจญภัยของ โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน โดยเอดินบะระเมืองหลวงของสกอตแลนด์ได้รับการประกาศ ให้เป็นเป็นเมืองแห่งวรรณกรรมของยูเนสโกเป็นแห่งแรกของโลก
บทกวีที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร Y Gododdin แต่งขึ้นในดินแดนโอลด์นอร์ท (Yr Hen Ogledd) ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 6 เขียนด้วยภาษาคัมบริกหรือภาษาเวลส์เก่า และมีการอ้างอิงถึงกษัตริย์อาเธอร์ที่เก่าแก่ที่สุด ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 7 การเชื่อมต่อระหว่างเวลส์และโอลด์นอร์ท ก็ขาดหายไป และจุดสนใจของวัฒนธรรมภาษาเวลส์ก็เปลี่ยนไปที่แคว้นเวลส์ ซึ่งตำนานของอาเธอร์ได้รับการพัฒนาต่อไปโดยเจฟฟรีย์แห่งมอนมัท (Sieffre o Fynwy) กวีในยุคกลางที่มีชื่อเสียงที่สุดของเวลส์ Dafydd ap Gwilym (มีชื่อเสียงระหว่าง ค.ศ. 1320–1370) ได้แต่งกวีนิพนธ์ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น ธรรมชาติ, ศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรัก เขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นกวีชาวยุโรปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในยุคของเขา จนถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 19 วรรณกรรมของเวลส์ส่วนใหญ่อยู่ในเวลส์ และร้อยแก้วส่วนใหญ่มีลักษณะทางศาสนา
มีนักเขียนหลายคนที่มีต้นกำเนิดจากนอกประเทศ แต่ย้ายไปยังสหราชอาณาจักรและได้กลายเป็นชาวบริติช เช่น โจเซฟ คอนราด, ที. เอส. อีเลียต, คาซุโอะ อิชิงุโระ และเซอร์ซัลมัน รัชดี คนอื่น ๆ เลือกที่จะอาศัยและทำงานในสหราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับสัญชาติอังกฤษ เช่น เอซรา ปอนด์ ในอดีตนักเขียนชาวไอริชจำนวนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในช่วงเวลาที่ไอร์แลนด์ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในอังกฤษเช่นกัน ได้แก่ ออสการ์ ไวลด์, แบรม สโตกเกอร์ และจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
รัฐบาล
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของราชวงศ์สหราชอาณาจักร
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของที่ทำการนายกรัฐมนตรี
Official Yearbook of the United Kingdom (สถิติ)
ข้อมูลทั่วไป
United Kingdom จาก the BBC News
United Kingdom จาก UCB Libraries GovPubs
ข้อมูลประเทศสหราชอาณาจักร จากเว็บไซต์สารานุกรมบริทานิกา
United Kingdom รายการใน สารานุกรมบริทานิกา
United Kingdom จาก the OECD
United Kingdom ที่ the EU
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ กองยุโรป 1 กรมยุโรป, กระทรวงการต่างประเทศ
16px ข้อมูลภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร ที่โอเพินสตรีตแมป
การศึกษา
Key Development Forecasts for the United Kingdom จาก International Futures
การท่องเที่ยว
Official tourist guide to Britain
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2344
ส
ส
ส
ส
ส
สหราชอาณาจักร | thaiwikipedia | 299 |
คุณพ่อที่รัก | คุณพ่อที่รัก หรือ จินเบ เป็นการ์ตูนสั้นความยาวเล่มเดียวจบ โดย อาดาจิ มิซึรุ เป็นเรื่องราวความรักระหว่างพ่อ จินเป อดีตผู้รักษาประตูฟุตบอล ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่ดูแลสัตว์น้ำ กับลูกเลี้ยงสาวของเขา หลังจากภรรยาป่วยเสียชีวิต
จินเบ หมายถึงฉลามวาฬในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งตั้งล้อเลียนกับชื่อตัวเอกในเรื่อง คือ จินเป
== เนื้อเรื่อง ==
== ตัวละคร ==
== รายชื่อตอน ==
การ์ตูนญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชโจะ
การ์ตูนญี่ปุ่นแนวเซเน็ง | thaiwikipedia | 300 |