title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
45.8M
source
stringclasses
5 values
__index_level_0__
int64
0
197k
เอชทู
เอชทู (H2) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวเบสบอล และความรักของวัยรุ่นใสใส ตามสไตล์ของ อาดาจิ มิซึรุ ผู้เขียน. เอชทูได้รับความนิยม และได้รับการดัดแปลงเป็นละครฉายทางโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น == เนื้อเรื่อง == เนื้อเรื่องเริ่มต้นจากที่ ฮิโร่ และ ฮิเดโอะ และ โนดะ เป็นแชมป์เบสบอล ม.ต้น สองปีซ้อน หลังจากจบการศึกษา ฮิโร่และโนดะเลิกเล่นเบสบอล เนื่องจากหมอตรวจว่า ไหล่ของฮิโร่และเอวของโนดะมีปัญหาจากการเล่นเบสบอล ทั้งคู่จึงเข้าเรียนที่โรงเรียนเซ็นคาว่าที่ไม่มีชมรมเบสบอล ขณะเดียวกัน ฮิเดโอะเข้าชมรมเบสบอลโรงเรียนเมวะไดอิจิ ที่ขึ้นชื่อเสียงทางเบสบอล หลังจากที่ฮิโร่และโนดะได้เข้ามา ช่วยเหลือกลุ่มใจรักเบสบอลที่โดนแกล้งโดยชมรมฟุตบอล และได้มาเป็นสมาชิกในกลุ่ม และภายหลังได้ค้นพบว่าไหล่ไม่ได้มีปัญหา ขณะที่เอวของโนดะก็ไม่ได้มีปัญหาเช่นกัน จึงตัดสินใจตั้งชมรมเบสบอลขึ้นมาจากศูนย์ เพื่อไปสู้กับฮิเดโอะใน โคชิเอ็ง เนื้อเรื่องของเอชทูจะรวมไปถึง กีฬาเบสบอล ความรัก การแข่งขัน ความรักสามเส้า ความเศร้า ชัยชนะ ความผิดหวัง และกำลังใจ โดย จะเน้นที่ความรักใสใสของทุกคนในเนื้อเรื่อง == ตัวละคร == === ตัวละครหลัก === ชื่อเรื่องมาจากตัวเอกของเรื่องทั้ง 4 คนมีชื่อขึ้นต้นด้วยตัวอักษร H (เอช เทียบเสียง ฮ.นกฮูก) ฮิโร่ คุนิมิ (国見 比呂, คุนิมิ ฮิโร่) ฮิโร่เกิดวันที่ 16 มกราคม (1/16) ที่มาของชื่อมาจากวันเกิดที่อ่านตาม 116 (1 = ฮิ, 6 = โระ อ่านได้เหมือนคำว่า ฮีโร่, Hero) ในเนื้อเรื่องมีตำแหน่งพิชเชอร์ (คนขว้างลูก) ให้กับโรงเรียนเซ็นคาว่าโดยเป็นเอสของทีม เป็นคนแนะนำให้ ฮิคาริ (เพื่อนสนิท) และฮิเดโอะ เป็นแฟนกันเมื่อสมัย ม.1 แต่ตัวเองมาหลงชอบ ฮิคาริ ตอนขึ้น ม.2 ฮิเดโอะ ทาจิบานะ (橘 英雄, ทาจิบานะ ฮิเดโอะ) ฮิเดโอะเกิดวันที่ 6 พฤศจิกายน (11/6) ที่มาของชื่อมาจากวันเกิด 116 แต่เขียนและใช้เป็นคำภาษาญี่ปุ่น ตำแหน่งเป็นแบตเตอร์ (ตัวตี) เบอร์ 4 ของทีม (ตำแหน่งเบอร์ 4 เป็นตำแหน่งที่สำคัญสุดของทีมรุก) ให้กับโรงเรียนเมวะไดอิจิ ในสมัย ม.ต้น ได้ร่วมทีมเดียวกันกับฮิโร่และเป็นเพื่อนสนิทกันมา โดยในปัจจุบันแฟนกับฮิคาริ และ เป็นคู่แข่งคนสำคัญของ ฮิโร่ ทั้งทางด้านเบสบอล และด้านความรัก ความฝันของฮิเดโอะ อยากจะเป็นนักกีฬามืออาชีพ ฮิคาริ อามามิยะ (雨宮 ひかり, อามามิยะ ฮิคาริ) ฮิคาริเกิดวันที่ 16 สิงหาคม เกิดในหน้าร้อนจึงได้ชื่อว่า ฮิคาริ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง ฮิคาริเป็นเพื่อนสนิทและอาศัยอยู่แถวบ้านฮิโร่ ปัจจุบันอยู่ชมรมยิงธนูของโรงเรียนเมวะไดอิจิ และได้รับเลือกตำแหน่งเป็นมิสเมวะ ฮิคาริเป็นแฟนกับฮิเดะโอะ แต่กำลังสงสัยในตัวเองที่จะเลือกระหว่าง ฮิโร่ หรือฮิเดโอะ ฮารุกะ โคกะ (古賀 春華, โคกะ ฮารุกะ) ฮารุกะเกิดวันที่ 3 มีนาคม (วันเด็กผู้หญิงของญี่ปุ่น) เกิดในฤดูใบไม้ผลิ จึงได้ชื่อว่าฮารุกะ เป็นผู้จัดการทีมเบสบอลโรงเรียนเซ็นคาว่า และเป็นผู้ช่วยในการเริ่มต้นของชมรมเบสบอล ฮารุกะหลงรักฮิโร่แต่ก็รู้สึกสับสนระหว่างความรักของตัวเองกับ ฮิโร่ ฮิคาริ ฮิเดโอะ นอกจากนี้ ฮารุกะยังเป็นลูกสาวของบริษัทพาณิชย์ฮารุกะ ซึ่งพ่อของฮิโร่ทำงานอยู่ อาซึชิ โนดะ (野田 敦, โนดะ อาซึชิ) โนดะเป็นเพื่อนสนิทกับ ฮิโร่ ฮิเดะโอะ และฮิคาริ ตั้งแต่สมัยเด็ก และรู้จักกับฮารุกะในทีมเบสบอลของโรงเรียนเซ็นคาว่า ทำหน้าที่ในตำแหน่ง แคชเชอร์ (คนรับลูกขว้างจากพิชเชอร์) โนดะเป็นคนกลางในเรื่องความรักสี่เส้าระหว่างทุกๆ คน === ตัวละครรอง === ริวทาโร่ คิเนะ (木根 竜太郎, คิเนะ ริวทาโร่) เล่นตำแหน่งเซ็นเตอร์ ให้กับโรงเรียนเซ็นคาว่า หลงชอบฮารุกะ นิสัยเป็นคนขี้อวด ขี้หลีสาวและลามก แต่ใจจริงเป็นคนขยันและตั้งใจฝึกซ้อม โมริมิจิ ยานางิ (柳 守道, ยานางิ โมริมิจิ) เล่นตำแหน่งเซคเคินด์ให้กับโรงเรียนเซ็นคาว่า เลิกเล่นเบสบอล ตอนเข้าม.ปลาย เนื่องจากโดนพ่อสั่งห้าม แต่สุดท้ายก็ได้มาร่วมทีมให้เซ็นคาว่า ชูจิ ซางาว่า (佐川 周二, ซางาว่า ชูจิ) เล่นตำแหน่งชอร์ทให้กับโรงเรียนเซ็นคาว่า เป็นเพื่อนสนิทของฮิเดโอะสมัยประถม แต่ได้ย้ายบ้านไปอยู่เมืองอื่น และกลับมาร่วมทีมกับเซ็นคาว่า มิโฮะ โอซาไน (小山内 美歩, โอซาไน มิโฮะ) ผู้จัดการทีมเบสบอลโรงเรียนเมวะไดอิจิ หลงชอบฮิเดโอะ และทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ฮิเดโอะมาเป็นแฟน == รายชื่อตอน == การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ อเชทู มังงะในนิตยสารโชเน็งซันเดย์ อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2538 อนิเมะและมังงะเกี่ยวกับเบสบอล‎
thaiwikipedia
301
ภาษามลายู
ภาษามลายู (bahasa Melayu, ยาวี: بهاس ملايو, เรอจัง: ꤷꥁꤼ ꤸꥍꤾꤿꥈ) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในประเทศบรูไน ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย และใช้สื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการในประเทศติมอร์-เลสเตและบางส่วนของประเทศไทย ภาษานี้มีผู้พูด 290 ล้านคน (ประมาณ 260 ล้านคนในอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียวซึ่งมีมาตรฐานเป็นของตนเองที่เรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย") โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวักและกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) หรือ "ภาษามลายูมาเลเซีย" (Bahasa Melayu Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูรีเยา (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัซซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม == ไวยากรณ์ == ภาษามลายูเป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 2 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำ === หน่วยคำเติม === รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ตังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu (กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil (เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก) ตัวอย่างการใช้หน่วยคำเติมเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำได้แก่การผันคำว่า ajar (สอน) ajaran = คำสั่งสอน belajar = กำลังเรียน mengajar = สอน diajar = (บางสิ่ง) กำลังถูกสอน diajarkan = (บางคน) กำลังถูกสอน (เกี่ยวกับบางสิ่ง) mempelajari = เรียน (บางอย่าง) dipelajari = กำลังถูกศึกษา pelajar = นักเรียน pengajar = ครู pelajaran = วิชาเรียน pengajaran = บทเรียน pembelajaran = การเรียนรู้ terpelajar = ถูกศึกษา berpelajaran = มีการศึกษาดี หน่วยคำเติมมี 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย (apitan) และอาคม (sisipan) หน่วยคำเติมเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือ ทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์ หน่วยคำเติมสร้างคำนาม เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำนาม ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง {|class="wikitable" ! style="background:#efefef;" | ชนิดของปัจจัย ! style="background:#efefef;" | หน่วยคำเติม ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างรากศัพท์ ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างคำที่ได้ |- |อุปสรรค |pe(N)- |duduk (นั่ง) |penduduk (ประชากร) |- | |ke- |hendak (ต้องการ) |kehendak (ความต้องการ) |- |อาคม | -el- |tunjuk (ชี้) |telunjuk (คำสั่ง) |- | | -em- |kelut (ยุ่งเหยิง) |kemelut (วิกฤติ) |- | | -er- |gigi (ฟัน) |gerigi (toothed blade) |- |ปัจจัย | -an |bangun (ยืน) |bangunan (ตึก) |- |อุปสรรค+ปัจจัย |ke-...-an |raja (กษัตริย์) |kerajaan (ราชอาณาจักร/ราชการ/รัฐบาล) |- | |pe(N)-...-an |kerja (ทำงาน) |pekerjaan (อาชีพ) |} หน่วยคำเติมสร้างคำกริยา เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำกริยา ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง {|class="wikitable" ! style="background:#efefef;" | ชนิดของปัจจัย ! style="background:#efefef;" | หน่วยคำเติม ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างรากศัพท์ ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างคำที่ได้ |- |อุปสรรค |be(R)- |ajar (สอน) |belajar (เรียน) - Intransitive |- | |me(N)- |tolong (ช่วย) |menolong (ช่วย) - Active transitive |- | |di- |ambil (นำไป) |diambil (ถูกนำไป) - Passive transitive |- | |mempe(R)- |kemas (เป็นลำดับ) |memperkemas (จัดเรียงต่อไป) |- | |dipe(R)- |dalam (ลึก) |diperdalam (ลึกลงไป) |- | |te(R)- |makan (กิน) |termakan (ถูกกินทันทีทันใด) |- |ปัจจัย | -kan |letak (เก็บ) |letakkan (เก็บ) - คำสั่ง |- | | -i |jauh (ไกล) |jauhi (หลีกเลี่ยง) - คำสั่ง |- |อุปสรรค+ปัจจัย |be(R)-...-an |pasang (ซ่อม) |berpasangan (ถูกซ่อม) |- | |be(R)-...-kan |tajuk (หัวข้อ) |bertajukkan (ถูกตั้งหัวข้อ) |- | |me(N)-...-kan |pasti (แน่นอน) |memastikan (มั่นใจ) |- | |me(N)-...-i |teman (companion) |menemani (to accompany) |- | |mempe(R)-...-kan |guna (ใช้) |mempergunakan (to misuse, to utilise) |- | |mempe(R)-...-i |ajar (teach) |mempelajari (to study) |- | |ke-...-an |hilang (หายไป) |kehilangan (หาย) |- | |di-...-i |sakit (เจ็บ) |disakiti (เจ็บปวด) |- | |di-...-kan |benar (ถูก) |dibenarkan (ถูกอนุญาต) |- | |dipe(R)-...-kan |kenal (จำได้) |diperkenalkan (ถูกแนะนำ) |} หน่วยคำเติมสร้างคำคุณศัพท์ เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำคุณศัพท์ ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง: {|class="wikitable" ! style="background:#efefef;" | ชนิดของปัจจัย ! style="background:#efefef;" | Affix ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างรากศัพท์ ! style="background:#efefef;" | ตัวอย่างคำที่ได้ |- |อุปสรรค |te(R)- |kenal (รู้จัก) |terkenal (มีชื่อเสียง) |- | |se- |bijak (ฉลาด) |sebijak (ฉลาดเท่ากับ) |- |อาคม | -el- |serak (disperse) |selerak (messy) |- | | -em- |cerlang (radiant bright) |cemerlang (bright, excellent) |- | | -er- |sabut (husk) |serabut (ยุ่งเหยิง) |- |อุปสรรค+ปัจจัย |ke-...-an |barat (ตะวันตก) |kebaratan (ทำให้เป็นทั่วไป) |} ภาษามลายูมีปัจจัยที่ยืมจากภาษาอื่นเช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha- juru- pasca- eka- anti- pro- === คำประสม === คำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยค คำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรง หรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น kereta หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta api หมายถึงรถไฟ kita หมายถึง เรา kasih " รัก kamu "คุณ รวมกันเป็น เรารักคุณ === การซ้ำคำ === การซ้ำคำในภาษามลายูมี 4 แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย === ลักษณนาม === ภาษามลายูมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม และภาษาเบงกอล === คำหน้าที่ === มี 16 ชนิด เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวยากรณืในประโยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธ และคำอื่น ๆ ==== คำปฏิเสธ ==== คำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามลายูมี 2 คำ คือ bukan และ tidak bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบท ส่วน tidak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์ {|class="wikitable" ! style="background:#efefef;" |ประธาน ! style="background:#efefef;" |คำปฏิเสธ ! style="background:#efefef;" |การบ่งชี้ |- |Lelaki yang berjalan dengan Fazila itu(เด็กชายคนนั้นที่กำลังเดินกับฟาซีลา) |bukan(ไม่ใช่) |teman lelakinya(แฟนของหล่อน) |- |Surat itu(จดหมายฉบับนั้น) |bukan(ไม่ได้) |daripada teman penanya di Perancis(มาจากญาติของเขาในฝรั่งเศส) |- |Pelajar-pelajar itu(นักเรียนเหล่านั้น) |tidak(ไม่) |mengikuti peraturan sekolah(เชื่อฟังกฎของโรงเรียน) |- |Penguasaan Bahasa Melayunya(คำสั่งของเขาในภาษามลายู) |tidak(ไม่) |sempurna(สมบูรณ์) |} คำ bukan อาจใช้นำหน้า กริยาและวลีคุณศัพท์ได้ ถ้าประโยคนั้นแสดงความขัดแย้ง {|class="wikitable" ! style="background:#efefef;" |ประธาน ! style="background:#efefef;" |การปฏิเสธ ! style="background:#efefef;" |การทำนาย ! style="background:#efefef;" |ความขัดแย้ง |- |Karangannya(เรียงความของเขา) |bukan(ไม่) |baik sangat,(ดีมาก) |tetapi dia mendapat markah yang baik(แต่เขาได้คะแนนดี) |- |Kilang itu(โรงงาน) |bukan(ไม่) |menghasilkan kereta Kancil,(ผลิตรถ Kancil ) |sebaliknya menghasilkan Proton Wira(แต่ผลิต Proton Wira แทน) |} === เพศทางไวยากรณ์ === โดยทั่วไปไม่มีการแบ่งเพศ มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ"brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศ เช่น puteri (เจ้าหญิง)และ putera (เจ้าชาย) === การทำให้เป็นพหูพจน์ === โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan-cawan แต่ลดรูปเหลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang แต่ใช้คำว่า rakyat แต่ถ้าหมายถึงคนหลายคนหรือคนเยอะใช้คำว่า ramai orang ,คน 1 พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพหูพจน์ นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับแล้วแต่บริบท hati-hati หมายถึงระวัง และมักใช้เป็นคำกริยา การซ้ำคำนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษามลายู === คำกริยา === ไม่มีการผันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งกาล เช่น sudah (พร้อมแล้ว) แต่ภาษามลายูมีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ ปัจจัยบางตัวถูกยกเว้นไม่ใช้ในการสนทนา === การเรียงลำดับคำ === โดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์ คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย == คำยืม == ภาษามลายูมีคำยืมจากภาษาอาหรับ (มักเป็นคำทางศาสนา) ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์ ภาษาจีนบางสำเนียง คำยืมรุ่นใหม่ ๆ มักมาจากภาษาอังกฤษ โดยมากเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์และศัพท์เทคนิค == ตัวอย่างคำศัพท์ == stesen สเตเซน =สถานี tandas ตันดัซ = ห้องน้ำ restoran เรซโตรัน = ภัตตาคาร lapangan terbang ลาปางัน เตอร์บัง = ท่าอากาศยาน taman ตามัน = สวนสาธารณะ pergi, tiba/sampai เปอร์ฆี, ตีบา/ซัมปัย = ไป, ถึง saya/aku ซายา/อากู = ผม, ฉัน dia ดียา = เขาผู้หญิง/เขาผู้ชาย ia อียา = มัน (คน) mereka, dia orang เมอเรกา, ดียา โอรัง = เขาทั้งหลาย terima kasih เตอรีมา กาซิฮ์ = ขอบคุณ hari ini ฮารี อีนี = วันนี้ besok เบโซะ = พรุ่งนี้ malam ini มาลัม อีนี = คืนนี้ semalam/kelmarin เซอมาลัม/เกิลมาริน = เมื่อวานนี้ pelancong เปอลันจง = นักท่องเที่ยว tutup ตูตุป = ปิด buka บูกา = เปิด baik บัยอ์ = ดี jahat ฌาฮัต = เลว betul เบอตุล = ถูก salah ซาละฮ์ = ผิด sarapan ซาราปัน = อาหารเช้า makan tengah hari มากัน เตองะฮ์ ฮารี = อาหารเที่ยง mahal มาฮัล = แพง murah มูระฮ์ = ถูก panas ปานัซ = ร้อน sejuk เซอฌุ = หนาว makan malam มากัน มาลัม = อาหารเย็น kertas pembalut เกอร์ตัซ เปิมบาลุต = กระดาษห่อของ sikat ซีกัต = หวี pembersih เปิมเบอร์ซิฮ์ = ผงซักฟอก tas ตัซ = กระเป๋าเดินทาง sampul surat ซัมปุล ซูรัต = ซองจดหมาย hadiah ฮาดียะฮ์ = ของขวัญ topi โตปี = หมวก geretan เฆเรตัน = ไฟแช็ก jarum ฌารุม = เข็มเย็บผ้า syampu ชัมปู = แชมพูสระผม kasut กาซุต = รองเท้า sabun ซาบุน = สบู่ berus gigi เบอรุซ ฆีฆี = แปรงสีฟัน ubat gigi อูบัต ฆีฆี = ยาสีฟัน payung ปายุง = ร่ม darah ดาระฮ์ = เลือด == อิทธิพลของภาษามลายูในภาษาไทย == ภาษามลายูมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในปริบทต่าง ๆ ดังนี้ ในวรรณคดี ได้แก่ บุหลัน บุหงา ฯลฯ ในภาษาพูดทั่วไป เช่น บ้าน รูมาฮ ในราชาศัพท์ เช่น พระปั้นเหน่ง ในชื่อจังหวัด เช่น ปัตตานี ยะลา ฯลฯ == อ้างอิง == ==อ่านเพิ่ม== == แหล่งข้อมูลอื่น == The list of Malay words and list of words of Malay origin at Wiktionary, the free dictionary and Wikipedia's sibling project Swadesh list of Malay words Digital version of Wilkinson's 1926 Malay-English Dictionary Pusat Rujukan Persuratan Melayu, online Malay language database provided by the Dewan Bahasa dan Pustaka Kamus Besar Bahasa Indonesia dalam jaringan (Online Great Dictionary of the Indonesian Language published by Pusat Bahasa, in Indonesian only) Dewan Bahasa dan Pustaka (Institute of Language and Literature Malaysia, in Malay only) The Malay Spelling Reform, Asmah Haji Omar, (Journal of the Simplified Spelling Society, 1989-2 pp. 9–13 later designated J11) Malay Chinese Dictionary Malay English Dictionary Malay English Translation มลายู มลายู มลายู มลายู มลายู
thaiwikipedia
302
ภาษาไทย
ภาษาไทย หรือ ภาษาไทยกลาง เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท และเป็นภาษาราชการ และภาษาประจำชาติของประเทศไทย มีการสันนิษฐานว่าภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ ภาษาไทยปรากฏครั้งแรกในพุทธศักราช 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหง และปรากฏอย่างสากลและใช้ในงานของราชการ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ด้วยการก่อตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาขึ้น และปฏิรูปภาษาไทย พุทธศักราช 2485 == การจำแนก == == ประวัติ == ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มภาษาไท (Tai languages) ภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท ภาษาไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาษาในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาลาว ภาษาผู้ไท ภาษาคำเมือง ภาษาไทใหญ่ เป็นต้น รวมถึงภาษาตระกูลไทอื่น ๆ เช่น ภาษาจ้วง ภาษาเหมาหนาน ภาษาปู้อี ภาษาไหล ที่พูดโดยชนพื้นเมืองบริเวณไหหนาน กวางสี กวางตุ้ง กุ้ยโจว ตลอดจนยูนนาน ไปจนถึงเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งสันนิษฐานว่าจุดกำเนิดของภาษาไทยน่าจะมาจากบริเวณดังกล่าว ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ได้มีการอพยพของผู้พูดภาษากลุ่มไทลงมาจากจีนตอนใต้ มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำพาภาษากลุ่มไทลงมาด้วย ภาษาที่ชนกลุ่มไทกลุ่มนี้พูดได้รับการสืบสร้างเป็นภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับอิทธิพลจากภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก ที่พูดโดยชาวออสโตรเอเชียติก และอยู่อาศัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่เดิม รวมถึงได้รับอิทธิพลจากภาษาทางวรรณกรรม คือ ภาษาสันสกฤต และ ภาษาบาลี จนพัฒนามาเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน ===ภาษาไทยเก่า=== ภาษาไทยในอดีตมีระบบเสียงที่แตกต่างไปจากภาษาไทยปัจจุบันอย่างชัดเจน ซึ่งมีประเด็นสำคัญต่อไปนี้ มีการแบ่งแยกระหว่างเสียงก้องและเสียงไม่ก้องในแทบทุกฐานกรณ์ และทุก ๆ ลักษณะการเกิดเสียง (manner of articulation) นั่นคือ มีเสียงพยัญชนะ /b d d͡ʑ g/ ซึ่งแบ่งแยกจาก /p t t͡ɕ k/ อย่างชัดเจน รวมถึงมีการแบ่งแยกระหว่างเสียงนาสิกแบบก้องและแบบไม่ก้องด้วย (/m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊/ หรือ /ʰm ʰn ʰɲ ʰŋ/ กับ /m n ɲ ŋ/ → ตัวอย่าง 1) รวมถึงเสียงเปิด (/ʍ l̥/ กับ /w l/) ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ได้สูญหายไปในภาษาไทยปัจจุบัน มีเสียงกักเส้นเสียงนำมาก่อน (pre-glottalized) หรือเสียงกักเส้นเสียงลมเข้า (implosive) ได้แก่ /ʔb/, /ʔd/,/ʔj/ → ตัวอย่าง 2 มีเสียงเสียดแทรกเพดานอ่อน (ฃ /x/ และ ฅ /ɣ/) ซึ่งต่างจากเสียงกักเพดานอ่อนอย่างชัดเจน (ข /kʰ/ และ ค /g/) → ตัวอย่าง 3 มีเสียงพยัญชนะ /ɲ/ ซึ่งเขียนแทนด้วย ญ เสียงพยัญชนะนี้ได้สูญหายไปจากภาษาไทยปัจจุบัน โดยกลายเป็นเสียง [j] ซึ่งเป็นเสียงเดียวกันกับ ย → ตัวอย่าง 4 มีวรรณยุกต์เพียงสามเสียงเท่านั้น ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก และเสียงโท (หรือเขียนแทนด้วย *A, *B และ *C ตามลำดับ) ในพยางค์เป็น (unchecked syllable) จะมีเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นไปได้ 3 เสียง ส่วนพยางค์ตาย (checked syllable) มีเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นไปได้เพียงเสียงเดียว คือเสียงเอก นอกจากอักษรควบกล้ำทั่วไป (อย่าง กร-ฅร-ขร-คร-ตร-ปร-พร/กล-ฅล-ขล-คล-ปล-พล/กว-คว-ฅว) แล้วยังมีอักษรควบกล้ำพิเศษอีก 4 ตัว ก็คือ (*bd บด, *pt ผต, *mr/ml มร/มล, *thr ถร) ตามผลการวิจัยของนักภาษาศาสตร์ภาษาไทกะได เช่น André-Georges Haudricourt และ Li Fang-Kuei ปัจจุบันสามารถหาหลักฐาน จากภาษาไทกะไดต่าง ๆ ได้ → ตัวอย่าง 5 มีเสียงสระประสม /aɰ/ ซึ่งเขียนแทนด้วยไม้ม้วน (ใ) เสียงสระนี้ได้สูญหายไปจากภาษาไทยปัจจุบัน โดยกลายเป็นเสียง [aj] สำหรับสระอื่น ๆ โดยหลัก ๆ ไม่มีความแตกต่างจากภาษาไทยปัจจุบัน → ตัวอย่าง 6 สามารถสรุประบบเสียงพยัญชนะภาษาไทยเก่าได้ดังนี้ สีเขียว สีชมพู และสีฟ้า คือหน่วยเสียงพยัญชนะที่จะพัฒนาไปเป็นอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ ในอนาคต ตามลำดับ ระบบเสียงข้างต้นมีความสอดคล้องกันกับอักษรในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นั่นคือ มีการใช้อักษร ฃ และ ฅ แยกกับ ข และ ค อย่างชัดเจน บ่งบอกว่าภาษาไทยในสมัยที่มีการสร้างจารึกดังกล่าว หน่วยเสียงพยัญชนะเหล่านี้ต้องแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังอธิบายได้ว่า เหตุใดวรรณยุกต์ในภาษาไทยในจารึกสมัยสุโขทัยจึงมีวรรณยุกต์เพียง 2 รูป (เอกและโท) เท่านั้น เป็นเพราะว่าภาษาไทยเก่ามีวรรณยุกต์เพียงสามเสียงเท่านั้น (เสียงสามัญไม่เขียนรูปวรรณยุกต์) อย่างไรก็ตาม หน่วยเสียง /x/ และ /ɣ/ น่าจะมีการสูญหายไปในอย่างรวดเร็วในสมัยพระยาลิไท โดยเกิดการรวมกับหน่วยเสียง /kʰ/ และ /g/ โดยสังเกตได้จากการใช้รูปพยัญชนะ ฃ สลับกับ ข และ ฅ สลับกับ ค ในศิลาจารึกสมัยพระยาลิไท บ่งบอกว่าหน่วยเสียงทั้งสองคู่ไม่มีความแตกต่างกันอีกต่อไป ปัจจุบันจึงมีการเลิกใช้ตัวอักษร ฃ และ ฅ ระบบเสียงวรรณยุกต์สามเสียงสอดคล้องกับฉันทลักษณ์ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่นการบังคับเอกโทในโคลงสี่สุภาพ ในวรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่เขียนในโคลงสี่สุภาพ ยังไม่ปรากฏว่ามีการใช้คำเอกโทษหรือโทโทษเกิดขึ้น จึงสันนิษฐานได้ว่าระบบเสียงของภาษาไทยที่ใช้ในสมัยอยุธยาตอนต้นยังคงเป็นระบบเสียงแบบเก่าอยู่ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงภาษาไทยต่อไปในสมัยอยุธยาตอนกลาง อนึ่ง เสียงสระ ใ /aɰ/ และ ไ /aj/ ในสมัยอยุธยาตอนต้นยังคงรักษาความแตกต่างไว้ได้เช่นกัน โดยสังเกตได้จากการที่คำที่มีรูปสระ ไ และ ใ จะไม่สัมผัสกัน ===การเปลี่ยนแปลงระบบเสียงที่สำคัญ=== ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 21) ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงภาษาไทยเก่าขึ้น นับเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจากภาษาไทยเก่าไปเป็นภาษาไทยสมัยใหม่ โดยมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงดังนี้ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 3 เสียง (*A, *B และ *C) ได้แตกตัวออกเป็นเสียงละ 2 เสียง รวมทั้งหมดเป็น 6 เสียง (*A1, *A2, *B1, *B2, *C1 และ *C2) ขึ้นอยู่กับความก้องของเสียงพยัญชนะต้น แต่หน่วยเสียงที่แตกตัวออกมาเป็นคู่ ๆ เหล่านั้นยังคงมีความแตกต่างกันเพียงในระดับหน่วยเสียงย่อย เท่านั้น * เสียงวรรณยุกต์ชุดแรก *A1, *B1 และ *C1 จะปรากฏในคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงไม่ก้อง และเสียงกักเสีนเสียง ได้แก่ /p pʰ t tʰ t͡ɕ t͡ɕʰ k kʰ ʔ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/ * เสียงวรรณยุกต์ชุดที่สอง *A2, *B2 และ *C2 จะปรากฏในคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงก้อง ได้แก่ /b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/ เกิดการยุบรวม (merger) ของหน่วยเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ * เสียงกัก ก้อง (/b d d͡ʑ g/) ได้ยุบรวมกับเสียงกัก มีลม ไม่ก้อง (/pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ/) * เสียงเสียดแทรก ก้อง (/v z/) ได้ยุบรวมกับเสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง (/f s/) * เสียงกังวาน (sonorant) ไม่ก้อง (/m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/) ยุบรวมกับเสียงกังวาน ก้อง (/m n ɲ ŋ w l/) คู่ของเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 3 คู่ มีการแบ่งแยกความแตกต่างมากขึ้น จนไปถึงระดับหน่วยเสียง (phoneme) มีการแตกตัวและการรวมของเสียงวรรณยุกต์ต่อไป ภาษาไทยถิ่นกลางมีการแตกตัวและการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่มีลักษณะเฉพาะ แบ่งแยกได้จากภาษาถิ่นภาคอื่น ๆ ได้แก่ การแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ *A ออกเป็นสองเสียงที่ต่างกันระหว่างพยัญชนะเสียงไม่ก้องที่มีลม (/pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/) กับเสียงไม่ก้องที่ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/) และมีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *B2 (เอก-ก้อง) และ *C1 (โท-ไม่ก้อง) อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า ค่า กับ ข้า หรือคำว่า น่า กับ หน้า จึงออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงเดียวกันในภาษาไทยถิ่นกลาง แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือและอีสานที่มีการแตกตัวและยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างไปจากนี้ จึงออกเสียงวรรณยุกต์ของทั้งสองคำนี้ต่างกันไปด้วย สำหรับภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงกรุงเทพ และสำเนียงอยุธยา เป็นต้น มีการยุบรวมเสียงวรรณยุกต์ *A1 ของพยัญชนะเสียงไม่ก้อง ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/) กับเสียงวรรณยุกต์ *A2 ของพยัญชนะเสียงก้อง (/b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/) ด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า กา กับ คา จึงออกเสียงวรรณยุกต์เหมือนกัน (เสียงสามัญ) แต่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างจากคำว่า ขา ซึ่งเป็นเสียงจัตวา ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีการออกเสียงวรรณยุกต์ของคำว่า กา กับ คา ที่ต่างกันอยู่ นั่นคือยังไม่มีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *A1 และ *A2 ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ภาษาไทยกรุงเทพปัจจุบันมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน 5 หน่วยเสียง และสำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง รูปแบบการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ของภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ และสำเนียงสุพรรณบุรี สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้ (ให้เสียงวรรณยุกต์เดียวกันมีสีเดียวกัน และวรรณยุกต์ที่ปรากฏในตารางเป็นเสียงวรรณยุกต์ในปัจจุบัน) วรรณยุกต์ที่ 1–5 ในภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพในตาราง คือวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ แม้ว่าจะมีการการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงวรรณยุกต์จากภาษาไทยเก่ามาเป็นภาษาไทยสมัยใหม่ แต่อักขรวิธีของภาษาไทยยังคงรูปเขียนเช่นเดิม ทำให้รูปเขียนและเสียงอ่านมีความไม่สอดคล้องกันขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ข้า กับ ค้า ที่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ทั้ง ๆ ที่มีรูปวรรณยุกต์โทเช่นเดียวกัน เกิดจากการที่ทั้งสองคำนี้เคยมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน แต่มีเสียงพยัญชนะต้นที่แตกต่างกัน คือเสียง ข /kʰ/ และ ค /g/ ในภาษาไทยเก่า ความไม่สอดคล้องกันระหว่างรูปเขียนและเสียงอ่าน ทำให้เกิดระบบไตรยางศ์ ขึ้น โดยเป็นระบบการจัดหมวดหมู่รูปพยัญชนะอักษรไทยที่จัดให้รูปวรรณยุกต์หนึ่ง ๆ มีการออกเสียงที่แตกต่างกันได้เป็น 2 เสียง ขึ้นอยู่กับรูปพยัญชนะต้นของคำนั้น ๆ ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบการแตกตัวและยุบรวมของหน่วยเสียงพยัญชนะและสระข้างต้น ===เสียงวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยา=== หลักฐานที่บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยามีน้อยมาก ระบบไตรยางศ์แบบเดียวกันกับภาษาไทยปัจจุบันนี้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างช้าสุดในตำราจินดามณี จากการสืบสร้างเสียงวรรณยุกต์จากตำราจินดามณี พบว่ามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง และมีการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์คล้ายคลึงกับภาษาไทยปัจจุบัน แต่ระดับเสียงและรูปร่างเสียงวรรณยุกต์ (contour) ยังคงมีความแตกต่างจากภาษาไทยปัจจุบันอยู่พอสมควร เสียงวรรณยุกต์สมัยนี้อาจมีความคล้ายคลึงกับสำเนียงพากย์โขน (วริษา กมลนาวิน, 2546) พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2559) ได้เสนอการสืบสร้างระบบเสียงวรรณยุกต์จากตำราจินดามณีดังต่อไปนี้ * ระบุระดับเสียงไม่ได้ชัดเจน ** ระบุความแตกต่างของสองเสียงนี้ไม่ได้ชัดเจน และได้เสนอว่าระบบวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยามีรูปแบบการแตกตัวที่ต่างไปจากภาษาไทยปัจจุบัน คือ เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่มีอักษรต่ำ คำตาย เสียงสระสั้น กับ พยางค์ที่มีอักษรต่อ คำตาย เสียงยาว มีเสียงเดียวกัน (ตัวอย่างเช่น คำว่า คัด กับ คาด เคยมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน) ซึ่งสรุปการแตกตัวได้ดังนี้ === สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม === ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้ ตัดพยัญชนะ ฃ ออก แล้วใช้ ข แทน ตัดพยัญชนะ ฅ และ ฆ ออก แล้วใช้ ค แทน ตัดพยัญชนะ ฌ ออก แล้วใช้ ช แทน ตัดพยัญชนะ ฎ ออก แล้วใช้ ด แทน ตัดพยัญชนะ ฏ ออก แล้วใช้ ต แทน ตัดพยัญชนะ ฐ ออก แล้วใช้ ถ แทน ตัดพยัญชนะ ฑ ออก แล้วใช้ ท แทน ตัดพยัญชนะ ฒ ออก แล้วใช้ ธ แทน ตัดพยัญชนะ ณ ออก แล้วใช้ น แทน ตัดพยัญชนะ ศ และ ษ ออก แล้วใช้ ส แทน ตัดพยัญชนะ ฬ ออก แล้วใช้ ล แทน พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจาก คำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก เปลี่ยนเป็น หยาก เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง เขียนเป็น จิง, ทรง เขียนเป็น ซง ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม เลิกใช้สระใอ (ไม้ม้วน) เปลี่ยนเป็นสระไอ (ไม้มลาย) ทั้งหมด เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่น มหัพภาค (.) เมื่อจบประโยค จุลภาค (,) เมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาค (;) เชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง == สัทวิทยา == ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท คือ หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ === พยัญชนะ === ==== พยัญชนะต้น ==== ภาษาไทยมาตรฐานแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียงแทรก เป็นสามประเภทดังนี้ เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม เสียงไม่ก้อง พ่นลม เสียงก้อง ไม่พ่นลม หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง เอส (S) ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง เสียงพยัญชนะต้นมี 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น {|class="wikitable" style=text-align:center ! colspan=2| ! ริมฝีปากทั้งสอง ! ปุ่มเหงือก ! เพดานแข็ง ! เพดานอ่อน ! เส้นเสียง |- ! colspan=2| เสียงนาสิก | style="background-color: #ccf" | ม | style="background-color: #cfc" | ณ, น | | style="background-color: #fcc" | ง | |- ! rowspan=3| เสียงกัก ! ก้อง | style="background-color: #ccf" | บ | style="background-color: #cfc" | ฎ, ด, ฑ** | | | |- ! ไม่ก้อง ไม่มีลม | style="background-color: #ccf" | ป | style="background-color: #cfc" | ฏ, ต | style="background-color: #fcf" | จ | style="background-color: #fcc" | ก | style="background-color: #ccc" | อ |- ! ไม่ก้อง มีลม | style="background-color: #ccf" | ผ, พ, ภ | style="background-color: #cfc" | ฐ, ฑ**, ฒ, ถ, ท, ธ | style="background-color: #fcf" | ฉ, ช, ฌ | style="background-color: #fcc" | ข, ฃ*, ค, ฅ*, ฆ | |- ! colspan=2| เสียงเสียดแทรก | style="background-color: #ccf" | ฝ, ฟ | style="background-color: #ffc" | ซ, ศ, ษ, ส | | | style="background-color: #ccc" | ห, ฮ |- ! colspan=2| เสียงเปิด | style="background-color: #cff" | ว | style="background-color: #cff" | ล, ฬ | style="background-color: #cff" | ญ, ย | | |- ! colspan=2| เสียงรัวลิ้น | | style="background-color: #cff" | ร | | | |} ฃ และ ฅ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร * ฑ มีอยู่สองเสียง คือ [tʰ] เมื่อเป็นคำเป็น และ [d] เมื่อเป็นคำตาย ==== พยัญชนะสะกด ==== ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก ฃ และ ฅ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36 {|class="wikitable" ! !colspan="1"|ริมฝีปากทั้งสอง !colspan="1"|ปุ่มเหงือก !colspan="1"|เพดานแข็ง !colspan="1"|เพดานอ่อน !colspan="1"|เส้นเสียง |- !style="text-align: left;"|เสียงนาสิก | style = "text-align: center;background: #ccf;"|ม | style = "text-align: center;background: #cfc;"|ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ | | style = "text-align: center;background: #fcc;"|ง | |- !style="text-align: left;"|เสียงกัก | style = "text-align: center;background: #ccf;"|บ, ป, พ, ฟ, ภ | style = "text-align: center;background: #cfc;"|จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ,ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, | | style = "text-align: center;background: #fcc;"|ก, ข, ค, ฆ | style = "text-align: center;background: #ccc;"|*- |- !style="text-align: left;"|เสียงเปิด | style = "text-align: center;background: #cff;"|ว | | style="text-align: center;background: #cff;" |ย | | |} เสียงพยัญชนะกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด ==== กลุ่มพยัญชนะ ==== แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกด อาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกัน จะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกหกเสียงจากคำยืมภาษาต่างประเทศ ได้แก่ (บร) เช่น บรอนซ์, เบรก (บล) เช่น บล็อก, เบลอ (ดร) เช่น ดราฟต์, ดริงก์ (ฟร) เช่น ฟรักโทส, ฟรี (ฟล) เช่น ฟลูออรีน, แฟลต (ทร) เช่น จันทรา, แทรกเตอร์ เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก === สระ === เสียงสระในภาษาไทยมาตรฐานแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย) สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง {| align="center" |- align="center" | | สระเดี่ยว | สระประสม |} สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้ เ–ีย ประสมจากสระ อี และ อา ia เ–ือ ประสมจากสระ อือ และ อา uea –ัว ประสมจากสระ อู และ อา ua ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้ –ำ am ประสมจาก อะ + ม (อัม) เช่น ขำ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) เช่น น้ำ ใ– ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ใจ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ใต้ ไ– ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ไหม้ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ไม้ เ–า ao ประสมจาก อะ + ว (เอา) เช่น เกา บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) เช่น เก้า ฤ rue, ri, roe ประสมจาก ร + อึ (รึ) เช่น ฤกษ์ บางคำเปลี่ยนเป็น (ริ) เช่น กฤษณะ หรือ (เรอ) เช่น ฤกษ์ ฤๅ rue ประสมจาก ร + อือ (รือ) ฦ lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ) ฦๅ lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ) บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา คำที่สะกดด้วย –ั (สระ -ะ) + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน สระ เ-ะ แ-ะ เ-าะ ที่มีวรรณยุกต์ ใช้รูปเดียวกับสระ เ– แ- -อ ตามลำดับ เช่น เผ่น เล่น แล่น แว่น ผ่อน กร่อน คำที่สะกดด้วย –อ (สระ -อ) + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี สระ เ–อะ ที่มีตัวสะกดใช้รูปเดียวกับสระ เ–อ เช่น เงิน เปิ่น เห่ย คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– อย่างไรก็ตาม คำที่สะกดด้วย เ– + ย จะไม่มีในภาษาไทย พบได้น้อยคำ เช่น เทอญ เทอม === วรรณยุกต์ === ==== เสียงวรรณยุกต์ ==== ===== คำเป็น ===== เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐานจำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่ ===== คำตาย ===== เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว เช่น แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย เช่น ==== รูปวรรณยุกต์ ==== ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่ ==== การเขียนเสียงวรรณยุกต์ ==== ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น === คำควบกล้ำ === คำควบกล้ำ หรือ อักษรควบ หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้าคำควบกล้ำ (อักษรควบ) มี 2 ชนิด คือ คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้า หรือมิฉะนั้น ก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร จะออกเสียงกลายเป็น ซ == ไวยากรณ์ == ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป ไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) วาจก (voice) หรือบุรุษ (person) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงค์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้เป็นคำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เช่น ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต เมื่อนำคำที่รับมานั้นมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำได้อย่างตายตัว จำเป็นต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์ โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO) === วากยสัมพันธ์ === ลักษณะทางวากยสัมพันธ์ หรือการเรียงลำดับคำในประโยค โดยรวมแล้วจะเรียงเป็น 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO) อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี เช่น ในกรณีที่มีการเน้นความหมายของกรรม (topicalization) สามารถเรียงประโยคเป็น 'กรรม-ประธาน-กริยา' (object-subject-verb หรือ OSV) ได้ด้วย แต่ต้องใช้คำชี้เฉพาะเติมหลังคำที่เป็นกรรมคำนั้น เช่น == การยืมคำจากภาษาอื่น == ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่น ๆ ค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาขร้า-ไท ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไท ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทฺธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทฺธิ ऋद्धि (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไท แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้ รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย วชิระ (บาลี: วชิร [vajira]), วัชระ (สันส: วชฺร वज्र [vajra]) ศัพท์ (สันส: ศพฺท शब्द [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี: สทฺท [sadda]) อัคนี และ อัคคี (สันส: อคฺนิ अग्नि [agni] บาลี: อคฺคิ [aggi]) โลก (โลก) – บาลี: โลก [loka] (สันสกฤต: लोक โลก) ญาติ (ยาด) – บาลี: ญาติ (ยา-ติ) [ñāti] เสียง พ มักแผลงมาจาก ว เพียร (มาจาก พิริย และมาจาก วิริย อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรฺย वीर्य [vīrya], บาลี:วิริย [viriya]) พฤกษา หรือ พฤกษ์ (สันส:วฺฤกฺษ वृक्ष [vṛkṣa]) พัสดุ (สันส: वस्तु [vastu] (วสฺตุ); บาลี: [vatthu] (วตฺถุ) ) เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หรติ)) เสียง ด มักแผลงมาจาก ต หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ)) เทวดา (บาลี:เทวตา [devatā]) วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] वस्तु (วสฺตุ); บาลี: [vatthu] (วตฺถุ)) กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: कपिलवस्तु [kapilavastu] (กปิลวสฺตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวตฺถุ)) เสียง บ มักแผลงมาจาก ป กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: कपिलवस्तु [kapilavastu] (กปิลวสฺตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวตฺถุ)) บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพฺพ)) === ภาษาอังกฤษ === ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีวิวัฒนาการต่าง ๆ ทางเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งทำให้มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เช่น ประปา จากคำว่า วอเตอร์ซัปพลาย (water supply) สถานี จากคำว่า สเตชัน (station) รถยนต์ จากคำว่า รถมอเตอร์คาร์ (motorcar) เรือยนต์ จากคำว่า เรือมอเตอร์ (motorboat) ประมวล จากคำว่า โค้ด (code) == ดูเพิ่ม == ไตรยางศ์ ภาษาในประเทศไทย ภาษาวิบัติ วันภาษาไทยแห่งชาติ อักษรไทย == อ้างอิง == กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น, 2533. นันทนา รณเกียรติ. สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. ISBN 978-974-571-929-3. อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล และ กัลยารัตน์ ฐิติกานต์นารา. 2549.“การเน้นพยางค์กับทำนองเสียงภาษาไทย” (Stress and Intonation in Thai) วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (มกราคม – มิถุนายน 2549) หน้า 59-76 สัทวิทยา: การวิเคราะห์ระบบเสียงในภาษา. 2547. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Gandour, Jack, Tumtavitikul, Apiluck and Satthamnuwong, Nakarin.1999. “Effects of Speaking Rate on the Thai Tones.” Phonetica 56, pp.123-134. Tumtavitikul, Apiluck, 1998. “The Metrical Structure of Thai in a Non-Linear Perspective”. Papers presentd to the Fourth Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society 1994, pp. 53-71. Udom Warotamasikkhadit and Thanyarat Panakul, eds. Temple, Arizona: Program for Southeast Asian Studies, Arizona State University. Apiluck Tumtavitikul. 1997. “The Reflection on the X’ category in Thai”. Mon-Khmer Studies XXVII, pp. 307-316. อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. 2539. “ข้อคิดเกี่ยวกับหน่วยวากยสัมพันธ์ในภาษาไทย” วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 4.57-66. Tumtavitikul, Appi. 1995. “Tonal Movements in Thai”. The Proceedings of the XIIIth International Congress of Phonetic Sciences, Vol. I, pp. 188-121. Stockholm: Royal Institute of Technology and Stockholm University. Tumtavitikul, Apiluck. 1994. “Thai Contour Tones”. Current Issues in Sino-Tibetan Linguistics, pp.869-875. Hajime Kitamura et al, eds, Ozaka: The Organization Committee of the 26th Sino-Tibetan Languages and Linguistics, National Museum of Ethnology. Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “FO – Induced VOT Variants in Thai”. Journal of Languages and Linguistics, 12.1.34 – 56. Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “Perhaps, the Tones are in the Consonants?” Mon-Khmer Studies XXIII, pp.11-41. == แหล่งข้อมูลอื่น == ภาษาไทยและอักษรไทย ที่ Omniglot พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ พจนานุกรม ภาษาไทยในรูปแบบ สตาร์ดิกต์ (StarDict), GoldenDict และ ABBYY Lingvo ไทย ไทย ไทย
thaiwikipedia
303
อักษรไทย
อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทยและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น คำเมือง, อีสาน, ภาษาไทยใต้, มลายูปัตตานี เป็นต้น ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีเลขไทยเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้ตัวเลขอาหรับเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน == ประวัติและวิวัฒนาการ == ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด อักษรมอญและอักษรขอมที่ไทยนำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนเป็นอักษรที่รับและแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและอักษรขอมที่มีอยู่เดิม ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสอง แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด == อักษรไทย == === พยัญชนะ === พยัญชนะไทยมี 44 รูป แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค เสียงอ่านที่กำกับไว้คือเสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น {|class=wikitable !วรรค!!ฐานกรณ์!!colspan=2|กักสิถิล!!colspan=5|กักธนิตหรือเสียดแทรก!!นาสิก |- align=center !วรรค กะ!!เพดานอ่อน |colspan=2|ก ไก่ |ข ไข่ ||ฃ ขวด¹ |ค ควาย ||ฅ คน¹ |ฆ ระฆัง ||ง งู |- align=center !วรรค จะ!!เพดานแข็ง |colspan=2|จ จาน |colspan=2|ฉ ฉิ่ง |ช ช้าง ||ซ โซ่ |ฌ เฌอ ||ญ หญิง |-align=center !วรรค ฏะ!!rowspan=2|ปุ่มเหงือก |ฎ ชฎา ||ฏ ปฏัก |colspan=2|ฐ ฐาน |colspan=2|ฑ มณโฑ |ฒ ผู้เฒ่า ||ณ เณร |-align=center !วรรค ตะ |ด เด็ก ||ต เต่า |colspan=2|ถ ถุง |colspan=2|ท ทหาร |ธ ธง ||น หนู |-align=center !วรรค ปะ!!ริมฝีปาก |บ ใบไม้ ||ป ปลา |ผ ผึ้ง ||ฝ ฝา |พ พาน ||ฟ ฟัน |ภ สำเภา ||ม ม้า |- align=center !colspan=2|ไตรยางศ์!!colspan=2|กลาง!!colspan=2|สูง!!colspan=4|ต่ำ |} {|class=wikitable !วรรค!!colspan=4|เปิดหรือรัว!!colspan=4|เสียดแทรก!!เปิดข้างลิ้นปุ่มเหงือก!!กักเส้นเสียง!!เสียดแทรกเส้นเสียง |-align=center !เศษวรรค |ย ยักษ์ ||ร เรือ ||ล ลิง ||ว แหวน |ศ ศาลา ||ษ ฤๅษี ||ส เสือ ||ห หีบ
thaiwikipedia
304
เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย เป็นเพลงชาติของประเทศไทย พระเจนดุริยางค์ประพันธ์ทำนองขึ้นหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และขุนวิจิตรมาตราประพันธ์คำร้องฉบับแรกสุดซึ่งแต่งขึ้นหลังจากนั้นในปีเดียวกัน ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องหลายครั้งจนเป็นเนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2482 == ประวัติ == === กำเนิดของเพลงชาติไทย === ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความเคารพองค์พระมหากษัตริย์ตามธรรมเนียมสากล แม้เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่มาของทำนองเพลงชาติปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พ.ศ. 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ในลักษณะของเพลงลามาร์แซแยซ ซึ่งพระเจนดุริยางค์ได้บอกปฏิเสธ เพราะถือว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว ทั้งการจะให้แต่งเพลงนี้ก็ยังไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย แม้ภายหลังหลวงนิเทศกลกิจจะมาติดต่อให้แต่งเพลงนี้อีกหลายครั้งก็ตาม พระเจนดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไปได้ประมาณ 5 วันแล้ว หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งพระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่าเป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎรด้วย ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดทางที่จะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ตนได้กำหนดนัดหมายวันแต่งเพลงชาติไว้ ขณะที่นั่งบนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน จากนั้นจึงได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง โดยได้เลือกใช้ทำนองคล้ายคลึงกับเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอและมอบโน้ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงตนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้แต่งเพลงเอาไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ศรีกรุงก็ได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเปิดเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี จะได้ชี้แจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ 30 ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นบำนาญ อีกครึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่งขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการคันพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว แม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ และมีการจดจำต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการ และ เป็นฉบับต้องห้าม ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2477) {|align="center" |- |- |   แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง |ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า |- |สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา |ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย |- |บางสมัยศัตรูจู่มารบ |ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่ |- |ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท |สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา |- |   อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย |น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า |- |เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา |เราจะสามัคคีร่วมมีใจ |- | ยึดอำนาจ กุมสิทธิ์อิสสระเสรี |ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ |- |เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย |สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย |  |} === เพลงชาติฉบับราชการ พ.ศ. 2477 === ในปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน มีกรรมการท่านอื่น ๆ ดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์, พระเจนดุริยางค์, หลวงชำนาญนิติเกษตร, จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท การประกวดเพลงชาติในครั้งนั้นได้ดำเนินการประกวดเพลงชาติ 2 แบบ คือ เพลงชาติแบบไทย (ประพันธ์ขึ้นโดยดัดแปลงจากดนตรีไทยเดิม) และเพลงชาติแบบสากล ซึ่งผลการประกวดมีดังนี้ 1. เพลงชาติแบบไทย คณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติได้ตัดสินให้ผลงานเพลง "มหานิมิตร" ซึ่งประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล เป็นผลงานชนะเลิศ เพลงมหานิมิตรนี้จางวางทั่วได้ประพันธ์ดัดแปลงมาจากเพลงหน้าพ­าทย์สำคัญของไทยที่มีชื่อว่า "ตระนิมิต" ให้สามารถบรรเลงเป็นทางสากล ซึ่งเพลงตระนิมิตนี้ เป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงครู นักดนตรีจะใช้บรรเลงในพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น งานไหว้ครู บรรเลงเป็นการอัญเชิญครูบาอาจารย์ เทวดาทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนั้นจึงมีความหมายอันควรแก่การเคารพนับ­ถือเป็นสิริมงคล เหมาะสมที่จะใช้เป็นเพลงชาติไทยได้ รัฐบาลได้ทดลองบรรเลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงอยู่ระยะหนึ่ง แต่ต่อมาเมื่อคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติจะเสนอผลการประกวดให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองนั้น คณะกรรมการฯ ได้ประชุมกันและมีความเห็นว่า เพลงชาติมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความ­ศักดิ์สิทธิ์ หากมีการใช้อยู่ 2 เพลง จะทำให้คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง จึงได้ตัดสินใจไม่เสนอเพลงชาติแบบไทยที่ได้คัดเลือกไว้ให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเป็นเพลงชาติในที่สุด 2. เพลงชาติแบบสากล คณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติมีความเห็นให้ใช้ทำนองเพลงซึ่งประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์เป็นทำนองเพลงชาติแบบสากล สำหรับบทร้องนั้นได้คัดเลือกบทร้องของขุนวิจิตรมาตราซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทร้องชนะเลิศ และได้เพิ่มบทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นบทร้องที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศเข้าอีกชุดหนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้ประกาศรับรองให้เป็นบทร้องเพลงชาติฉบับราชการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477 บทร้องทั้งของขุนวิจิตรมาตราและนายฉันท์ ประพันธ์ในรูปฉันทลักษณ์แบบกลอนสุภาพ (กลอนแปด) ความยาว 4 บท แต่ละบทมี 4 วรรค ผลงานของแต่ละคนจึงมีความยาวของบทร้องเป็น 16 วรรค เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงทำให้บทร้องเพลงชาติทั้งหมดมีความยาวถึง 32 วรรค ซึ่งนับว่ายาวมาก หากจะร้องเพลงชาติให้ครบทั้งสี่บทจะต้องใช้เวลาร้องถึง 3 นาที 52 วินาที (เฉลี่ยแต่ละท่อนรวมดนตรีนำด้วยทั้งเพลงตกที่ท่อนละ 35 วินาที) ในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา และต่อมาภายหลังจึงไม่มีการขับร้อง คงเหลือแต่เพียงทำนองเพลงบรรเลงเท่านั้น === เพลงชาติสยามฉบับสังเขป พ.ศ. 2478 === ในปี พ.ศ. 2478 รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ออกระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน) ระเบียบดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดให้แบ่งการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติออกเป็น 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบพิสดาร (บรรเลงตามความยาวปกติเต็มเพลง) และการบรรเลงแบบสังเขป ในกรณีของเพลงชาตินั้น ได้กำหนดให้บรรเลงเพลงชาติฉบับสังเขปในการพิธีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สโมสรสันนิบาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีปกติ ส่วนการบรรเลงแบบเต็มเพลงนั้นให้ใช้ในงานพิธีใหญ่เท่านั้น ท่อนของเพลงชาติที่ตัดมาใช้บรรเลงแบบสังเขปนั้น คือท่อนขึ้นต้น (Introduction) ของเพลงชาติ (เทียบกับเนื้อร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบันก็คือตั้งแต่ท่อน สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย) ความยาวประมาณ 10 วินาที ไม่มีการขับร้องใด ๆ ประกอบ === เพลงชาติไทย พ.ศ. 2482–ปัจจุบัน === ในปี พ.ศ. 2482 "ประเทศสยาม" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า "ไทย" ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกไทยก่อนแก้ไขเป็นฉบับทางการมีดังนี้ (สำหรับเนื้อร้องฉบับประกาศใช้จริง ดูได้ในหัวข้อ เนื้อเพลง) {|align="center" |- |- |   ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย |เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน |- |อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล |ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี |- |ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด |เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ |- |สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี |เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย |} การประกวดเพลงชาติครั้งนี้ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีกวีและผู้มีชื่อเสียงในทางการประพันธ์เพลงหลายท่าน เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แก้ว อัจฉริยะกุล ชิต บุรทัต เป็นต้น ซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติสองฉบับแรก (ขุนวิจิตรมาตรา และฉันท์ ขำวิไล) ได้ส่งเนื้อร้องของตนเองเข้าประกวดด้วย แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านการตัดสินครั้งนั้น เฉพาะเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใหม่นั้น ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า "ไทย" ถึง 12 ครั้ง == บทร้อง == === ฉบับปัจจุบัน === ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) คำร้อง: พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามกองทัพบก ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย จากเนื้อร้องเพลงชาติข้างต้น ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ได้ให้ความหมายของเนื้อร้องไว้ ดังนี้ "ประเทศไทยเป็นถิ่นที่รวมชนผู้มีเลือดเนื้อเชื้อชาติของไทยไว้ให้ได้อยู่อาศัยร่วมกัน แผ่นดินทุกส่วนของประเทศไทยย่อมเป็นของชาวไทยทุกคน ประชาชนไทยรักษาแผ่นดินไทยทั้งหมดไว้ได้ ก็ด้วยทุกคนมีน้ำใจสามัคคี รักคนไทยด้วยกันและรักประเทศชาติ ชนไทยรักที่จะอยู่สุขสงบแต่ถ้าจำเป็นต้องรบกับศัตรูแล้วคนไทยไม่เคยขลาดกลัวเลย ไม่มีวันยอมให้ศัตรูหน้าไหนมาข่มขู่ทำลายความเป็นอิสระของชาติไทยได้ ทุกคนยอมสละเลือด ทุกหยดเพื่อชาติไทยอยู่ยั่งยืนจะปกป้องคุ้มครองประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป และให้มีแต่ชัยชนะตลอดไป" === ฉบับ พ.ศ. 2477 === ประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ใช้เป็นเพลงชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 (ในลักษณะไม่เป็นทางการ) โดยช่วงแรกใช้คำร้องที่ประพันธ์โดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดการประกวดเนื้อร้องเพลงชาติ และประกาศรับรองเนื้อร้องที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยขุนวิจิตรมาตรา และเนื้อร้องที่แต่งโดยนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นฉบับที่ชนะการประกวด เป็นเนื้อร้องเพลงชาติฉบับทางราชการ เมื่อวันที่ 20 ประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ใช้เป็นเพลงชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 (ในลักษณะไม่เป็นทางการ) โดยช่วงแรกใช้คำร้องที่ประพันธ์โดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดการประกวดเนื้อร้องเพลงชาติ และประกาศรับรองเนื้อร้องที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยขุนวิจิตรมาตรา และเนื้อร้องที่แต่งโดยนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นฉบับที่ชนะการประกวด เป็นเนื้อร้องเพลงชาติฉบับทางราชการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477 {| |ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา (บทที่ 1 และบทที่ 2) แต่งเมื่อ พ.ศ. 2475แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 |ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)คำร้อง: ฉันท์ ขำวิไล (บทที่ 3 และบทที่ 4) แต่งเมื่อ พ.ศ. 2477ประกาศใช้เพิ่มเติมจากเนื้อร้องเดิมในปีเดียวกัน |-valign="top" | แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย :บางสมัยศัตรูจู่โจมตี :ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่ :เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท :สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ :รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี :ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ :เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย :สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย | เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสสระ ณ แดนสยาม ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา :แม้ถึงภัยไทยด้อยจนย่อยยับ :ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า :ควรแก่นามงามสุดอยุธยา :นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้ ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสสระเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย :จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น :ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย :มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงทั้งชาย :สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย |} == การบรรเลง == ในข้อบังคับทหารว่าด้วยการเคารพ มาตรา 3 การบรรเลงเพลงเคารพ ได้ระบุถึงการบรรเลงเพลงเคารพในส่วนของเพลงชาติไว้ว่า เพลงชาติจัดเป็นเพลงเคารพด้วยแตรวง ใช้บรรเลงแสดงความเคารพต่อธงประจำกองทหาร ธงประจำกองยุวชนทหาร ธงชาติประจำสำนักงานของรัฐบาล ในขณะขึ้นลง และธงราชนาวีประจำเรือใหญ่ในขณะทำพิธีธงขึ้นลง แนวปฏิบัติสำหรับธงชาติไทยโดยทั่วไป ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ได้ระบุไว้เช่นกันว่า เพลงชาตินับเนื่องเป็นหนึ่งอาณัติสัญญาณในการเคารพธงชาติ กล่าวคือ 1. เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ 2. ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง แนวปฏิบัติดังกล่าวนี้ ได้ริเริ่มให้มีขึ้นครั้งแรก จากการบรรเลงเพลงชาติ ตามสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ในเวลา 08.00 น. โดยบัญชาของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ราวปี พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปัจจุบัน นอกจากการบรรเลงเพลงชาติ ในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. ผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เครือข่ายทั่วประเทศ และสถานีวิทยุกระจายเสียงทุกสังกัด ทุกสถานี ทั่วประเทศ ในนาม วิทยุรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (วรท.) แล้ว ยังมีการแพร่ภาพวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งเดิมแต่ละสถานีฯ จะเป็นผู้จัดทำวีดิทัศน์ประกอบขึ้นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยมีนโยบายให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำวีดิทัศน์กลางขึ้น เพื่อเผยแพร่โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยทุกแห่ง ในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยเริ่มใช้วีดิทัศน์ของดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป และเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่วีดิทัศน์เพลงชาติไทยรูปแบบใหม่ โดยเนื้อหาแสดงถึงพลัง ความรู้สึกรักชาติแบบสมัยใหม่โดยไม่เน้นการสู้รบ โดยได้มีการเผยแพร่ผ่านทางโทรทัศน์ในวันที่ 4 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ก่อนการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 แต่วีดิทัศน์ดังกล่าวมีการแก้ไขถึง 3 ครั้ง เนื่องจากมีกลุ่มองค์กรทางพระพุทธศาสนาบางส่วน ไม่เห็นด้วยกับวีดิทัศน์ดังกล่าวที่ไม่มีสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ เช่น พระพุทธรูป พระสงฆ์ เป็นต้น โดยวีดิทัศน์ดังกล่าวได้ใช้เพลงชาติไทยที่มีการบันทึกเสียงใหม่ บรรเลงโดยวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย ตามประกาศคณะการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่ใช้คลื่นความถี่ให้บริการทั่วไปต้องจัดให้ออกอากาศเพลงชาติไทยทุกวันในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. == แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนเพลงชาติไทย == === กรณีเพลงชาติฉบับแกรมมี่ พ.ศ. 2548 === ในปี พ.ศ. 2548 กระทรวงวัฒนธรรมเปิดเผยเพลงชาติฉบับใหม่ ซึ่งกระทรวงกลาโหมมอบหมายให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เรียบเรียง และจัดทำใหม่ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น สำหรับใช้ในหลายโอกาส ตามแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ต้องการส่งเสริมความเป็นชาตินิยมในหมู่คนไทย ซึ่งเพลงชาติฉบับดังกล่าว มีการจัดทำออกมาถึง 6 รูปแบบ ทั้งนี้ สื่อมวลชนให้คำนิยามสำหรับเรียกชื่อเพลงชาติแบบต่าง ๆ ที่ได้มีการเรียงเรียงใหม่ไว้ดังนี้ "แบบเป็นทางการ" เสียงร้องหนักแน่นฮึกเหิม เหมาะสำหรับเปิดในสถานที่ราชการ ในงานราชการ งานทหาร หรือกิจกรรมที่ผู้จัดต้องการปลุกเร้าพลังรักชาติ "แบบไม่เป็นทางการ" เสียงร้องนุ่มนวลขึ้นกว่าฉบับแรก เหมาะสำหรับเปิดในงานทางการของภาคเอกชน งานมหรสพ หรืองานกึ่งทางการกึ่งลำลอง "แบบแกรมมี่ซาวด์ เอาใจวัยรุ่น" ขับร้องโดยนักร้องรุ่นเก่า ช่วงท้ายสร้างคีย์และเมโลดี้ใหม่ เหมาะสำหรับเปิดในงานลีลาศ "แบบแกรมมี่ซาวด์ เอาใจวัยรุ่น" ขับร้องโดยนักร้องรุ่นใหม่ ช่วงท้ายสร้างคีย์และเมโลดี้ใหม่ เหมาะสำหรับเปิดในโรงเรียนมัธยม หรือมหาวิทยาลัย "แบบเอาใจเด็กเล็ก" ใช้คณะเยาวชนร้องประสานเสียง เหมาะสำหรับเปิดในโรงเรียนอนุบาลและประถม "แบบเอาใจผู้สูงอายุ" ใช้เครื่องดนตรีไทยบรรเลง แต่ด้วยกระแสเสียงคัดค้านจากสังคมเป็นจำนวนมาก ทำให้เพลงชาติที่มีการเรียบเรียงใหม่ทั้ง 6 แบบข้างต้น ไม่มีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการในที่สุด ทั้งนี้ เพลงชาติที่เป็นทางราชการของไทยในปัจจุบัน เป็นฉบับซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับเพลงสำคัญของแผ่นดิน ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และได้เริ่มใช้มา นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยมีการเผยแพร่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ในประเทศ == ดูเพิ่ม == เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญพระบารมี == เชิงอรรถ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ไทย เพลงชาติไทย เพลงสรรเสริญในประเทศไทย
thaiwikipedia
305
สโลว์สเต็ป
สโลว์สเต็ป (Slow Step) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเกี่ยวกับกีฬาชกมวย ผลงานของ อาดาจิ มิซึรุ ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโชงะกุกัง ในประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2530 และจัดทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนและโอวีเอในปี พ.ศ. 2533 == เนื้อเรื่องย่อ == มินัตซึ เป็นหญิงสาวที่ป็อปปูล่าในระดับไฮสคูล แต่เธอกลับไม่ใส่ใจมันนัก สโลว์สเต็ปเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงรักสามเส้าของเธอ และมีเรื่องการชกมวยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นมังงะแนวโรแมนติกคอมิดี้ธรรมดาเรื่องหนึ่ง ที่ดำเนินเรื่องในแนวทางอันเป็นเอกลักษณ์ของ อาดาจิ มิซึรุ นาคาซาโตะ มินาซึ เป็นนร.ปี1 ของโรงเรียนอาซาโอกะและเป็นสมาชิกของชมรมซอฟบอล เพื่อนรักของมินาซึคือ "อากิบะ ชู" ที่ต้องการเปลี่ยนสถานะจากเพื่อนรักมาเป็นแฟนให้ได้ == ตัวละคร == == รายชื่อตอน == การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ อนิเมะและมังงะเกี่ยวกับกีฬา‎
thaiwikipedia
306
ศาสนา
ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิด ความเป็นไป และสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม หลักธรรมคำสอน ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยายสัญลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาล ธรรมชาติ มนุษย์ และศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายหรือวิถีชีวิต มีการประมาณว่าน่าจะมีความเชื่อเชิงศาสนาราว 4,200 ความเชื่อในโลก โดยพิจารณาตามจำนวนประมาณการของกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าต่างๆ ตลอดเวลาในช่วงที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หลายศาสนาส่วนใหญ่กลายเป็นศาสนาที่ตายแล้วเพราะไม่มีคนนับถือแล้ว แต่ในปัจจุบันมีศาสนาหลักที่มีประชากรโลกนับถือเป็นอย่างมากทั้งหมด 4 ศาสนาได้แก่ ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ ศาสนาต่างๆล้วนมีอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ตลอดจนแนวคิดและหลักความเชื่อของบุคคลต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา ศาสนาคริสต์ ผู้นับถือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในฝั่งตะวันตก คือ ทวีปยุโรป, ทวีปแอฟริกา และ ทวีปอเมริกา โดยเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมในระดับสากล ศาสนาอิสลาม ผู้นับถือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน เอเชียกลาง (แถบอาหรับ-เปอร์เซีย) เช่น ตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ซาอุดิอาระเบีย, เยเมน, ปากีสถาน และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแถบ อินโดนีเซีย ศาสนาฮินดู ผู้นับถือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน อนุทวีปอินเดีย ในแถบ อินเดีย, ภูฏาน และ เนปาล เป็นต้น ศาสนาพุทธ ผู้นับถือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในฝั่งตะวันออก คือ ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ไต้หวัน, ไทย, ศรีลังกา, ลาว, เมียนมาร์ และ กัมพูชา เป็นต้น == ความหมายเชิงศัพทมูลวิทยา == สำหรับบางภาษา มีการใช้คำว่าศาสนาแตกต่างกันออกไป และบางภาษาไม่มีคำว่าศาสนาโดยสิ้นเชิง เช่นภาษาสันสกฤต ใช้คำว่า ธรรมะ (dharma) อาจใช้เทียบเคียงกับศาสนาได้ แต่มีความหมายโดยทั่วไปว่ากฎหมาย == การกำเนิดและการพัฒนา == การกำเนิดของศาสนานั้นไม่แน่นอน มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของวัตรศาสนาจัดตั้ง (Organised Religious Practice) จอห์น มอนาแกน และปีเตอร์ จัสต์ นักมานุษยวิทยา กล่าวว่า "ศาสนาใหญ่ของโลกหลายศาสนาดูเริ่มต้นเป็นขบวนการคืนชีวิต (Revitalisation) บางแบบ โดยวิสัยทัศน์ของศาสดาผู้เปี่ยมบารมีจุดจินตนาการของผู้แสวงคำตอบครอบคลุมยิ่งขึ้นของปัญหาของเขามากกว่าที่รู้สึกว่าความเชื่อประจำวันให้ได้ ปัจเจกบุคคลผู้มีบารมีอุบัติขึ้นหลายกาละและเทศะในโลก ดูเหมือนว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จระยะยาว และหลายขบวนการมาแล้วไปโดยมีผลระยะยาวเล็กน้อย สัมพันธ์กับศาสดาน้อย ซึ่งปรากฏด้วยความสม่ำเสมอน่าประหลาดใจ แต่สัมพันธ์มากกว่ากับพัฒนาการของกลุ่มผู้สนับสนุนซึ่งสามารถจัดตั้งขบวนการนั้นเป็นสถาบัน" การพัฒนาศาสนามีหลายแบบในหลายวัฒนธรรม บางศาสนาเน้นความเชื่อ ฝ่ายบางศาสนาเน้นวัตร บางศาสนาเน้นประสบการณ์อัตวิสัยของศาสนิกชน ฝ่ายบางศาสนาถือกิจกรรมของชุมชนศาสนาสำคัญที่สุด บางศาสนาอ้างว่าเป็นนสากล โดยเชื่อว่ากฎหมายและจักรวาลวิทยาของศาสนานั้นผูกมัดทุกคน ฝ่ายบางศาสนาตั้งใจให้ปฏิบัติเฉพาะในกลุ่มนิยามหรือจำกัดแคบ ๆ ในหลายพื้นที่ ศาสนาสัมพันธ์กับสถาบันสาธารณะอย่างการศึกษา โรงพยาบาล ครอบครัว รัฐบาลและลำดับชั้นบังคับบัญชาทางการเมือง == กลุ่มศาสนา == ===ศาสนาอับราฮัม === เป็นคำที่ใช้เรียกศาสนาสำคัญ 4 ศาสนาที่เป็นลัทธิเทวนิยมที่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว —ซึ่งทั้งสี่ศาสนานับอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนา ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ ===ศาสนาแบบอิหร่าน === ศาสนามาณีกี ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ลัทธิบาบี ศาสนาบาไฮ ===ศาสนาแบบอินเดีย=== ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ ศาสนาซิกข์ ===ศาสนาเอเชียตะวันออก=== ลัทธิกาวด่าย ====ศาสนาแบบจีน ==== ศาสนาพื้นบ้านจีน ศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื๊อ ลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ====ศาสนาแบบญี่ปุ่น ==== ลัทธิชินโต ลัทธิชอนโดเกียว ศาสนาเทนริเกียว ===ศาสนาแบบแอฟริกัน === ศาสนาอียิปต์โบราณ == อ้างอิง ==
thaiwikipedia
307
10 ธันวาคม
วันที่ 10 ธันวาคม เป็นวันที่ 344 ของปี (วันที่ 345 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 21 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2051 (ค.ศ. 1508) - สันนิบาตคองบรายก่อตั้งโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 12 พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส จักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอนในฐานะพันธมิตรต่อต้านสาธารณรัฐเวนิส พ.ศ. 2084 (ค.ศ. 1541) - โทมัส คัลเปเปอร์ และ ฟรานซิส เดอร์แรม ถูกประหารชีวิตเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับ แคเทอริน เฮาเวิร์ด ราชินีแห่งอังกฤษและพระราชินีของ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ พ.ศ. 2311 (ค.ศ. 1768) - สารานุกรมบริแทนนิกาตีพิมพ์เล่มแรก พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) - ฝรั่งเศสใช้เมตรเป็นหน่วยวัดความยาวอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1817) - มิสซิสซิปปีกลายเป็นรัฐที่ 20 ของสหรัฐ พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) - จัดทัพไปรบเชียงตุง มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงเป็นแม่ทัพ เพื่อไปช่วยเมืองเชียงรุ่ง พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) สงครามกลางเมืองอเมริกา: สมาพันธรัฐอเมริกายอมรับคำประกาศของรัฐบาลที่เป็นคู่แข่งคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ประกาศให้เคนตักกีเป็นรัฐที่ 13 ของสมาพันธรัฐ พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) - ตึกนิวยอร์กเวิลด์เปิดเป็นครั้งแรกและเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกไปจนถึงพ.ศ. 2437และถูกรื้อถอนในค.ศ. 1955 พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - สเปนลงนามสนธิสัญญาปารีส ยกประเทศฟิลิปปินส์ให้สหรัฐ พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - พิธีมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันครบรอบการถึงแก่กรรมของอัลเฟร็ด โนเบล นักเคมีและนักอุตสาหกรรมผู้ก่อตั้งรางวัล พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - การเปิดเขื่อนระดับต่ำอัสวานในอียิปต์ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) - ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลต์ของสหรัฐได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับบทบาทของเขาในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) - ค่ำคืนที่เลวร้ายที่สุดของการจลาจลสุนัขสีน้ำตาลในลอนดอน เมื่อนักศึกษาแพทย์ 1,000 คน ประท้วงการมีอยู่ของรูปปั้นสุนัขที่ถูกผ่าศพ ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 400 นาย พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) - เซลมา ลอเกร์เลิฟ นักเขียนหญิงชาวสวีเดน กลายเป็นนักเขียนหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - การปฏิวัติสยาม: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวลงนามในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แก่คณะราษฎร (ฉบับชั่วคราวประกาศใช้เมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475) พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) วิกฤตการณ์สละราชบัลลังก์: พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร ลงพระนามในการสละราชบัลลังก์เพื่อเสกสมรสกับนางวอลลิส ซิมป์สัน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - รัฐบาลไทยประกาศใช้ เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดดำเนินการในฐานะธนาคารกลางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - สมัชชาใหญ่สหประชาชาติประกาศรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) สงครามกลางเมืองจีน: กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน เริ่มล้อมเมืองเฉิงตู เมืองสุดท้ายที่ก๊กมินตั๋งยึดครองในจีนแผ่นดินใหญ่ บีบให้ประธานาธิบดีเจียง ไคเช็ค ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน และรัฐบาลของเขาต้องล่าถอยไปยังไต้หวัน พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - การปล้นครั้งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นคือ "การปล้น 300 ล้านเยน" ที่ยังไม่คลี่คลายในโตเกียว พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) การปฏิวัติมองโกเลีย: ในการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งแรกของประเทศ ซาคีอากีง เอลเปกตอร์ช ประกาศจัดตั้งสหภาพประชาธิปไตยมองโกเลีย พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของแอฟริกาใต้ประกาศใช้โดยเนลสัน แมนเดลา พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - เฮเลน คลาร์ก สาบานตนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ โดยเป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้ดำรงตำแหน่งต่อจาก เจนนี ชิปลีย์ และเป็นคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - สหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสากลแห่งสหประชาชาติในการช่วยเหลือเหยื่อการกระทำทารุณ == วันเกิด == พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) - เมลวิล ดิวอี้ บรรณารักษ์ (ถึงแก่กรรม 26 ธันวาคม พ.ศ. 2474) พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) - วิกเตอร์ แม็กลาเกล็น นักแสดงชาวอังกฤษ (ถึงแก่อสัญกรรม 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502) พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 3 กันยายน พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - ฝั่ม มิญ จิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - * นะริมิ อะริโมะริ นักแสดงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - การ์โลส มูรีโย แชมป์โลกมวยสากลชาวปานามา พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - โดนาวอน แฟรงเคนไรเทอร์ นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - อิลดาฟ็อนส์ ลิมา นักฟุตบอลชาวอันดอร์รา-สเปน-กาตาลา พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - * จอร์จิโอ เปโตรเซียน นักมวยไทยชาวอาร์มีเนีย-อิตาลี * ชาร์ลี อดัม นักฟุตบอลทีมชาติสกอตแลนด์ * เล กง วิญ นักฟุตบอลชาวเวียดนาม พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - * กอนซาโล อิกัวอิน นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * ไซมอน เชิร์ช นักฟุตบอลชาวอังกฤษ-เวลส์ * เนเวน ซูบอติช นักฟุตบอลชาวบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * เมารู ฌูบ ปูงเตส ฌูนีโยร์ นักฟุตบอลชาวบราซิล * เนโกะ จัมพ์ นักร้องหญิงชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - * เล็นคา เดือร์ นักวอลเลย์บอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - รีสส์ เนลสัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เจมี มาร์โกลิน นักเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศชาวอเมริกัน พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - * เจ้าหญิงกาเบรียลา เคาน์เตสแห่งการ์ลาแด็ส * เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) - อัลเฟรด โนเบล นักเคมี (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2376) พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ผู้ให้กำเนิดสำนักพิมพ์ 'อมรินทร์' พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - เอากุสโต ปิโนเช ประธานาธิบดีชิลี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - ลพ บุรีรัตน์ นักแต่งเพลงลูกทุ่ง (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ประยอม ซองทอง นักเขียนชาวไทย (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2477) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ไทย – วันรัฐธรรมนูญ ไทย – วันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็ก สวีเดน – พิธีมอบรางวัลโนเบล, วันประดับธง วันธรรมศาสตร์ – วันที่ระลึกการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เปลี่ยนจากเดิม 24 มิถุนายน) วันสิทธิมนุษยชน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: December 10 ธันวาคม 10 ธันวาคม
thaiwikipedia
308
ปทุมมา
ปทุมมา, กระเจียวบัว, ขมิ้นโคก หรือ ทิวลิปสยาม (Siam Tulip) เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเริ่มผลิใบและดอก ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ใบยาวคล้ายใบพาย ก้านช่อดอกสูงเหนือพุ่มใบ กาบดอกสีม่วง ดอกสีม่วง ปทุมมาชอบอากาศเย็น ปลูกในที่อากาศชื้นเย็น ดูแลไม่ให้ดินเสียความชื้นโดยการคลุมแปลงปลูก สามารถการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ==การใช้ประโยชน์== ปทุมมาใช้เป็นไม้ประดับ ดอกปทุมมารับประทานได้ด้วยการลวกและรับประทานกับน้ำพริกต่าง ๆ หรือจิ้มแจ่ว ชาวไทใหญ่นำดอกอ่อนมาต้มจิ้มกับน้ำพริกและใช้ทำข่างปองดอกอาว โดยนำดอกอ่อนมาคลุกกับน้ำพริกแกงที่มีส่วนผสมของตะไคร้ พริกขี้หนู เกลือ กระเทียม หอม ถั่วเน่า และผงขมิ้น นำไปชุบแป้งทอด กินกับน้ำจิ้มที่มีลักษณะคล้ายอาจาด == เทศกาลท่องเที่ยว == ดอกปทุมมา (ซึ่งมักถูกเรียกปนกับดอกกระเจียว) มีมากในจังหวัดชัยภูมิ จึงมีเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียว (ปทุมมา) บาน จังหวัดชัยภูมิ ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต และอุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == สกุลขมิ้น ไม้ดอกไม้ประดับ พืชที่รับประทานได้ ดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย
thaiwikipedia
309
เข็มอินเดีย
เข็มอินเดีย (Egyptian starcluster, Starflower) เป็นไม้พุ่ม ดอกคล้ายดอกเข็ม มี 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีชมพู เข็มอินเดียเป็นไม้พุ่มเตี้ย เนื้ออ่อน ลำต้นสูงประมาณ 18 ฟุต มีขนอยู่ทั่วลำต้นและใบด้วย ลำต้นและกิ่งก้านจะเปราะ ใบรูปมนรี ปลายอาจจะแหลม ยาวประมาณ 1.5 ถึง 2 นิ้ว ดอกเป็นช่อ อยู่ตามยอดของต้นเช่นเดียวกับดอกเข็ม ดอกมี 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีชมพู ทุกส่วนของลำต้นมีขน ทำให้คัน บวมแดง == อ้างอิง == ITIS 34784 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์เข็ม
thaiwikipedia
310
หงส์เหิร
หงส์เหิร (balloonplant, balloon cotton-bush หรือ swan plant) เป็นพืชชนิดหนึ่งในวงศ์ตีนเป็ด มีถิ่นกำเนิดในทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา นิยมใช้เป็นไม้ประดับ == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== Asclepias physocarpa photos USDA Plants Profile: Asclepias physocarpa ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์นมตำเลีย
thaiwikipedia
311
คล้าน้ำช่อตั้ง
คล้าน้ำช่อตั้ง พุทธรักษาน้ำ หรือ สังฆรักษา (Powdery thalia, Hardy canna, Powdery alligator-flag) เป็นพืชน้ำในวงศ์ Marantaceae มีถิ่นกำเนิดในรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ต้นสูงประมาณ 1.8 เมตร มีดอกสีม่วงบนช่อแยกแขนงยาวประมาณ 20 ซม. ชูเหนือกลุ่มใบ ใบสีฟ้าแกมเขียวรูปไข่ถึงรูปใบหอก ปกคลุมด้วยผงสีขาว ขอบใบสีม่วง == อ้างอิง == USDA Profile University of Texas Native Plant Database ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
312
จันทร์กระจ่างฟ้า
จันทร์กระจ่างฟ้า เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง มีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียว และมีสีแดงเรื่อ มีดอกสีเหลืองสด ขยายพันธุ์ด้วยการการปักชำ และตอนกิ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ == อ้างอิง == จันทร์กระจ่างฟ้า: ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
313
จำปีแขก
จำปีแขก หรือ จำปาแขก (Banana Shrub, Port Wine Magnolia, Dwarf Chempaka ; ) เป็นไม้พุ่มที่มีขนสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะตามกิ่งก้าน และดอกตูมออกออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนคลุมทางด้านนอก กลีบดอก 2 วง วงละ 3 กลีบ สีขาวนวล กลีบหนาแข็ง ยาว 2 - 3 ซม. ดอกบานตอนเย็น เป็นพันธุ์ไม้ที่นำเข้ามาจาก มาเลเซีย ชอบที่มีแสงรำไรมากกว่ากลางแจ้ง เจริญเติบโตช้าแต่ทรงพุ่มสวยงามเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับจำปาและจำปี == อ้างอิง == Detailed information on Banana Shrub, Port Wine Magnolia (Michelia figo) ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์จำปี
thaiwikipedia
314
เจ้าหญิงรัตติกาล
เจ้าหญิงรัตติกาล เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กและหายาก เป็นพืชพื้นเมืองของหมู่เกาะอินดีสตะวันตก เม็กซิโก เวเนซุเอลาและเปรู ดอกบานและส่งกลิ่นหอมตอนเย็น จำนวนโครโมโซมเป็น 2n = 40 == อ้างอิง == ไม้ดอกไม้ประดับ กล้วยไม้
thaiwikipedia
315
กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน
กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน (กปร.) เป็นกลุ่มในประเทศไทยได้รับแนวคิดการเคลื่อนไหวมาจากลีออน ตรอทสกี (Leon Trotsky) นักสังคมนิยมมาร์กซิสต์คนสำคัญคนหนึ่งในโลก ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541 โดยทางกลุ่มเชื่อในทฤษฎี "ปฏิวัติถาวร (Permanent Revolution)" และ เชื่อว่าสังคมนิยมเป็นทางออกสำหรับวิกฤติทุนนิยมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ปัจจุบันกลุ่มประชาธิปไตยแรงงานยังคงเคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็งโดยมีได้ผลิตหนังสือ และผลงานทางวิชาการออกมาหลายสิบเล่ม พร้อมกับจัดสัมมนาและกลุ่มศึกษาในมหาวิทยาลัยและในสหภาพแรงงานอย่างต่อเนื่อง กลุ่มประชาธิปไตยแรงงานเป็นสมาชิกขององค์กรสังคมนิยมสากล (International Socialist Tendency) ทฤษฎีการเมือง
thaiwikipedia
316
ไอแซก นิวตัน
เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton; 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1726/27 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญาธรรมชาติ นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ ศาสตร์นิพนธ์ของนิวตันในปี ค.ศ. 1687 เรื่อง หลักการทางคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ (Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica) (เรียกกันโดยทั่วไปว่า Principia) ถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชากลศาสตร์ดั้งเดิม ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง กฎแรงโน้มถ่วงสากล และ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ซึ่งเป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ บนโลกและวัตถุท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และช่วยให้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น นิวตันสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่สามารถใช้งานจริงได้เป็นเครื่องแรก และพัฒนาทฤษฎีสีโดยอ้างอิงจากผลสังเกตการณ์ว่า ปริซึมสามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกมาเป็นหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของสเปกตรัมแสงที่มองเห็น เขายังคิดค้นกฎการเย็นตัวของนิวตัน และศึกษาความเร็วของเสียง ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ไลบ์นิทซ์ ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีแคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์ เขายังสาธิตทฤษฎีบททวินาม และพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่ารากของฟังก์ชัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษาอนุกรมกำลัง นิวตันไม่เชื่อเรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากกว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เสียอีก เขาต่อต้านแนวคิดตรีเอกภาพอย่างลับๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนื่องจากปฏิเสธการถือบวช ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ == ประวัติ == === วัยเด็ก === ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1642 (หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185 ตามปฏิทินจูเลียน) ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งในลินคอล์นเชียร์ ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับปฏิทินกริกอเรียน ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 บิดาของนิวตัน ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: "ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ" นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน นับแต่อายุ 12 จนถึง 17 นิวตันเข้าเรียนที่คิงส์สกูล แกรนแธม ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1659 เขากลับไปบ้านเกิดเมื่อมารดาที่เป็นหม้ายครั้งที่ 2 พยายามบังคับให้เขาเป็นชาวนา แต่เขาเกลียดการทำนา ครูใหญ่ที่คิงส์สกูล เฮนรี สโตกส์ พยายามโน้มน้าวให้มารดาของเขายอมส่งเขากลับมาเรียนให้จบ จากแรงผลักดันในการแก้แค้นครั้งนี้ นิวตันจึงเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงที่สุด เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1661 นิวตันได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยทรินิตี้ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในฐานะซิซาร์ (sizar; คือทุนชนิดหนึ่งซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพื่อแลกกับที่พัก อาหาร และค่าธรรมเนียม) ในยุคนั้นการเรียนการสอนในวิทยาลัยตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของอริสโตเติล แต่นิวตันชอบศึกษาแนวคิดของนักปรัชญายุคใหม่คนอื่นๆ ที่ทันสมัยกว่า เช่น เดส์การ์ตส์ และนักดาราศาสตร์ เช่น โคเปอร์นิคัส, กาลิเลโอ และเคปเลอร์ เป็นต้น ปี ค.ศ. 1665 เขาค้นพบทฤษฎีบททวินามและเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็น แคลคูลัสกณิกนันต์ (infinitesimal calculus) นิวตันได้รับปริญญาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นาน มหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจากเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ แม้เมื่อศึกษาในเคมบริดจ์เขาจะไม่มีอะไรโดดเด่น แต่การศึกษาด้วยตนเองที่บ้านในวูลส์ธอร์พตลอดช่วง 2 ปีต่อมาได้สร้างพัฒนาการแก่ทฤษฎีเกี่ยวกับแคลคูลัส ธรรมชาติของแสงสว่าง และกฎแรงโน้มถ่วงของเขาอย่างมาก นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้วปริซึมและสรุปว่ารังสีต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้เลนส์แก้วไม่ชัดเจน ก็เนื่องมาจากมุมในการหักเหของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์แตกต่างกัน ทำให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้กลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้อนแสงที่สมบูรณ์โดยวิลเลียม เฮอร์เชล และ เอิร์ลแห่งโรส ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการโคจรของดาวเคราะห์ ในปี ค.ศ. 1667 เขากลับไปเคมบริดจ์อีกครั้งหนึ่งในฐานะภาคีสมาชิกของทรินิตี้ ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่ว่าผู้เป็นภาคีสมาชิกต้องอุทิศตนถือบวช อันเป็นสิ่งที่ นิวตันพยายามหลีกเลี่ยงเนื่องจากมุมมองของเขาที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนา โชคดีที่ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าภาคีสมาชิกต้องบวชเมื่อไร จึงอาจเลื่อนไปตลอดกาลก็ได้ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อนิวตันได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเมธีลูเคเชียนอันทรงเกียรติ ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงการบวชไปได้อีก ถึงกระนั้นนิวตันก็ยังหาทางหลบหลีกได้โดยอาศัยพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 === ชีวิตการงาน === การหล่นของแอปเปิลทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและรอเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (Philosophiae naturalist principia mathematica หรือ The Mathematical Principles of Natural Philosophy) ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากล และเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ ก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ไลบ์นิทซ์ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจากพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ต่อมาปี พ.ศ. 2239 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตเหรียญกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี พ.ศ. 2242 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี พ.ศ. 2244 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2247 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ Optics ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่าถึงแก่กรรมไปแล้ว === ชีวิตครอบครัว === นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเขาเคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้ใด แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเขาถึงแก่กรรมไปโดยที่ยังบริสุทธิ์ ดังที่บุคคลสำคัญหลายคนกล่าวถึง เช่นนักคณิตศาสตร์ ชาลส์ ฮัตตัน นักเศรษฐศาสตร์ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ และนักฟิสิกส์ คาร์ล เซแกน วอลแตร์ นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสซึ่งพำนักในลอนดอนในช่วงเวลาที่ฝังศพของนิวตัน อ้างว่าเขาได้ค้นพบข้อเท็จจริงนี้ เขาเขียนไว้ว่า "ผมได้รับการยืนยันจากหมอและศัลยแพทย์ที่อยู่กับเขาตอนที่เขาตาย" (เรื่องที่อ้างกล่าวว่า ขณะที่เขานอนบนเตียงและกำลังจะตาย ก็สารภาพออกมาว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่) ในปี 1733 วอลแตร์ระบุโดยเปิดเผยว่านิวตัน "ไม่มีทั้งความหลงใหลหรือความอ่อนแอ เขาไม่เคยเข้าใกล้หญิงใดเลย" นิวตันมีมิตรภาพอันสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส นีกอลา ฟาซีโย เดอ ดุยเย ซึ่งเขาพบในลอนดอนราวปี 1690 แต่มิตรภาพนี้กลับสิ้นสุดลงเสียเฉย ๆ ในปี 1693 จดหมายติดต่อระหว่างทั้งคู่บางส่วนยังคงเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน === บั้นปลายของชีวิต === ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, ไลบ์นิทซ์ และแฟลมสตีด ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจินตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกราชสมาคมแห่งลอนดอนที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่” เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่ากษัตริย์ ศพของเขาฝังอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ เซอร์ไอแซก นิวตันมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา == ผลงาน == === ด้านคณิตศาสตร์ === กล่าวกันว่า ผลงานของนิวตันเป็น "ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในทุกสาขาของคณิตศาสตร์ในยุคนั้น ผลงานที่เขาเรียกว่า Fluxion หรือแคลคูลัส ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนชุดหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1666 ในปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์อยู่รวมกับงานด้านคณิตศาสตร์อื่นๆ ของนิวตัน ในจดหมายที่ไอแซก แบร์โรว์ ส่งไปให้จอห์น คอลลินส์เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1669 กล่าวถึงผู้เขียนต้นฉบับ De analysi per aequationes numero terminorum infinitas ที่เขาส่งไปให้คอลลินส์เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้นว่า ต่อมานิวตันมีข้อขัดแย้งกับไลบ์นิทซ์ในเรื่องที่ว่า ใครเป็นผู้คิดพัฒนาแคลคูลัสก่อนกัน นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เชื่อว่าทั้งนิวตันและไลบ์นิทซ์ต่างคนต่างก็พัฒนาแคลคูลัสกณิกนันต์กันโดยอิสระ แม้ว่าจะมีบันทึกที่แตกต่างกันมากมาย ดูเหมือนว่า นิวตันจะไม่เคยตีพิมพ์อะไรเกี่ยวกับแคลคูลัสเลยก่อนปี พ.ศ. 2236 และไม่ได้เขียนบทความฉบับสมบูรณ์ในเรื่องนี้ตราบจนปี พ.ศ. 2247 ขณะที่ไลบ์นิทซ์เริ่มตีพิมพ์บทความฉบับเต็มเกี่ยวกับกระบวนวิธีคิดของเขาในปี พ.ศ. 2227 (บันทึกของไลบ์นิทซ์และ "กระบวนวิธีดิฟเฟอเรนเชียล" เป็นที่ยอมรับนำไปใช้โดยนักคณิตศาสตร์ในภาคพื้นยุโรป และต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษจึงค่อยรับไปใช้ในปี พ.ศ. 2363) แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดนี้ไม่ได้ให้ข้อสังเกตในเนื้อหาของแคลคูลัส ซึ่งนักวิจารณ์ทั้งในยุคของนิวตันและยุคสมัยใหม่ต่างระบุว่า มีอยู่ในเล่มที่ 1 ของหนังสือชุด Principia ของนิวตัน (ตีพิมพ์ปี 2230) และในต้นฉบับลายมือเขียนที่มีมาก่อนหน้านี้ เช่น De motu corporum in gyrum ("การเคลื่อนที่ของวัตถุในวงโคจร") เมื่อปี 1684 Principia ไม่ได้เขียนในภาษาแคลคูลัสแบบที่เรารู้จัก แต่มีการใช้แคลคูลัสกณิกนันต์ในรูปแบบเรขาคณิต ว่าด้วยจำนวนที่ถูกจำกัดด้วยสัดส่วนของจำนวนที่เล็กลงไปเรื่อยๆ นิวตันสาธิตวิธีการนี้เอาไว้ใน Principia โดยเรียกชื่อมันว่า กระบวนวิธีสัดส่วนแรกและสัดส่วนสุดท้าย (method of first and last ratios) และอธิบายไว้ว่าเหตุใดเขาจึงแสดงความหมายของมันในรูปแบบเช่นนี้ โดยกล่าวด้วยว่า "นี้คือการแสดงวิธีแบบเดียวกันกับกระบวนการของการแบ่งแยกไม่ได้อีกต่อไป" ด้วยเหตุนี้ในยุคปัจจุบัน Principia จึงถูกเรียกว่าเป็น "หนังสือที่อัดแน่นด้วยทฤษฏีและการประยุกต์ใช้แคลคูลัสกณิกนันต์" และ "lequel est presque tout de ce calcul" ("แทบทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับแคลคูลัส") ในยุคของนิวตัน การใช้กระบวนวิธีเช่นนี้ของเขาที่เกี่ยวข้องกับ "จำนวนกณิกนันต์หนึ่งอันดับหรือมากกว่านั้น" ได้แสดงไว้ในงานเขียน De motu corporum in gyrum ของเขาเมื่อปี 1684 และในงานเขียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ที่เขียนขึ้น "ระหว่าง 2 ทศวรรษก่อนปี 1684" นิวตันลังเลในการเผยแพร่แคลคูลัสของเขาก็เพราะเขากลัวข้อโต้แย้งและคำวิพากษ์วิจารณ์ เขาเคยสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส นีกอลา ฟาซีโย เดอ ดุยเย ครั้นปี 2234 ดุยเยเริ่มต้นเขียน Principia ของนิวตันขึ้นในรูปแบบใหม่ และติดต่อกับไลบ์นิทซ์ มิตรภาพระหว่างดุยเยกับนิวตันเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ปี 2236 และหนังสือนั้นก็เลยเขียนไม่เสร็จ สมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนหลายคน (สมาคมซึ่งนิวตันเป็นสมาชิกอยู่ด้วย) เริ่มกล่าวหาไลบ์นิทซ์ว่าลอกเลียนผลงานของนิวตันในปี พ.ศ. 2242 ข้อโต้แย้งรุนแรงขึ้นถึงขั้นแตกหักในปี 2254 เมื่อทางราชสมาคมฯ ประกาศในงานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า นิวตันคือผู้ค้นพบแคลคูลัสที่แท้จริง และตราหน้าไลบ์นิทซ์ว่าเป็นจอมหลอกลวง งานศึกษาชิ้นนั้นกลายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยเมื่อพบในภายหลังว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็นคนเขียนบทสรุปของงานโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไลบ์นิทซ์ ข้อขัดแย้งในเรื่องนี้กลายเป็นรอยด่างพร้อยในชีวิตของทั้งนิวตันและไลบ์นิทซ์ตราบจนกระทั่งไลบ์นิทซ์เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2259 นิวตันได้รับยกย่องโดยทั่วไปเนื่องจากทฤษฎีบททวินามที่ใช้ได้สำหรับเลขยกกำลังใดๆ เขาเป็นผู้ค้นพบ Newton's identities, Newton's method, เส้นโค้งกำลังสามบนระนาบ (พหุนามกำลังสามในตัวแปรสองตัว) เขามีส่วนอย่างสำคัญต่อทฤษฎี finite differences, และเป็นคนแรกที่ใช้เลขชี้กำลังที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม และนำเรขาคณิตเชิงพิกัดมาใช้หาคำตอบจากสมการไดโอแฟนทีน เขาหาค่าผลบวกย่อยโดยประมาณของอนุกรมฮาร์โมนิกได้โดยใช้ลอการิทึม (ก่อนจะมีสมการผลรวมของออยเลอร์) และเป็นคนแรกที่ใช้อนุกรมกำลังและพิจารณาอนุกรมแปลงกลับของอนุกรมกำลัง (reverse power series) งานของนิวตันเกี่ยวกับอนุกรมอนันต์ได้รับแรงบันดาลใจจากเลขทศนิยมของไซมอน สเตวิน (Simon Stevin) นิวตันได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ลูเคเชียนด้านคณิตศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2212 โดยการเสนอชื่อของแบร์โรว์ ซึ่งในวันรับตำแหน่งนั้น ผู้รับตำแหน่งที่เป็นภาคีสมาชิกของเคมบริดจ์หรือออกซฟอร์ดจะต้องบวชเข้าเป็นพระในนิกายแองกลิกัน อย่างไรก็ดี ตำแหน่งศาสตราจารย์ลูเคเชียนนี้ไม่ได้บังคับว่าผู้รับตำแหน่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (คาดว่าคงเพราะต้องการให้มีเวลาเพื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า) นิวตันจึงยกเป็นข้ออ้างว่าตนไม่จำเป็นต้องบวช และได้รับพระราชานุญาตจากพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ช่วงปี 2213-2215 นิวตันสอนวิชาทัศนศาสตร์ ในระหว่างช่วงเวลานี้ เขาศึกษาเรื่องการหักเหของแสง โดยแสดงให้เห็นว่า ปริซึมสามารถแตกแสงขาวให้กลายเป็นสเปกตรัมของแสงได้ และถ้ามีเลนส์กับปริซึมอีกแท่งหนึ่งจะสามารถรวมแสงสเปกตรัมหลายสีกลับมาเป็นแสงขาวได้ นักวิชาการยุคใหม่เปิดเผยว่างานวิเคราะห์แสงขาวของนิวตันนี้เป็นผลมาจากวิชาเล่นแร่แปรธาตุเชิงคอร์พัสคิวลาร์ เขายังแสดงให้เห็นว่า แสงที่มีสีจะไม่เปลี่ยนคุณสมบัติไปไม่ว่าจะถูกกระจายลำแสงออกส่องไปยังพื้นผิววัตถุใดๆ ก็ตาม นิวตันให้ข้อสังเกตว่า ไม่ว่าแสงนั้นจะสะท้อน กระจาย หรือเคลื่อนผ่านอะไร มันก็ยังคงเป็นสีเดิมอยู่นั่นเอง นอกจากนี้เขาสังเกตว่า สีนั้นคือผลลัพธ์จากการที่วัตถุมีปฏิกิริยากับแสงที่มีสีอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าวัตถุนั้นสร้างสีของมันออกมาเอง แนวคิดนี้รู้จักในชื่อ ทฤษฎีสีของนิวตัน (Newton's theory of colour) == เกียรติคุณและอนุสรณ์ == นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ มักพูดบ่อยๆ ว่านิวตันเป็นอัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา มีอยู่ครั้งหนึ่งเขากล่าวว่า นิวตันนั้น "โชคดีที่สุด เพราะเราไม่อาจค้นพบระบบของโลกได้มากกว่า 1 ครั้ง" กวีชาวอังกฤษ อเล็กซานเดอร์ โพพ ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของนิวตัน และเขียนบทกวีที่โด่งดังมาก ดังนี้: แม้โดยทางบุคลิกภาพแล้ว นิวตันจะไม่ใช่คนถ่อมตัวนัก แต่นิวตันก็มีมารยาทพอที่จะถ่อมตัวกับความสำเร็จของตัวเอง ครั้งหนึ่งเขาเขียนจดหมายถึงรอเบิร์ต ฮุก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2219 ว่า: อย่างไรก็ดี นักเขียนบางคนเชื่อว่า ถ้อยคำข้างต้นซึ่งเขียนขึ้นในช่วงเวลาที่นิวตันกับฮุกกำลังมีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับการค้นพบเรื่องแสง น่าจะเป็นการตอบโต้ฮุก (โดยว่าเป็นถ้อยคำที่ทั้งสั้นและห้วน) มากกว่าจะเป็นการถ่อมตน วลี "ยืนบนบ่าของยักษ์" อันโด่งดังตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยกวีชื่อ จอร์จ เฮอร์เบิร์ต (อดีตโฆษกมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และภาคีสมาชิกของวิทยาลัยทรินิตี้) ในงานเขียนเรื่อง Jacula Prudentum (1651) มีความหมายหลักคือ "คนแคระที่ยืนบนบ่าของยักษ์ จะมองเห็นได้ไกลกว่าที่แต่ละคนมอง" ผลกระทบในที่นี้จึงน่าจะเป็นการเปรียบเปรยว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็น "คนแคระ" ไม่ใช่ฮุก มีบันทึกในช่วงหลัง นิวตันเขียนว่า: นิวตันยังคงมีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์มาตลอด เห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน (ซึ่งนิวตันเคยเป็นประธาน) เมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยถามว่า ใครเป็นผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ต่อประวัติศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์มากกว่ากันระหว่างนิวตันกับไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์แห่งราชสมาคมฯ ให้ความเห็นโดยส่วนใหญ่แก่นิวตันมากกว่า ปี พ.ศ. 2542 มีการสำรวจความคิดเห็นจากนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกปัจจุบัน 100 คน ลงคะแนนให้ไอน์สไตน์เป็น "นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล" โดยมีนิวตันตามมาเป็นอันดับสอง ในเวลาใกล้เคียงกันมีการสำรวจโดยเว็บไซต์ PhysicsWeb ให้คะแนนนิวตันมาเป็นอันดับหนึ่ง === อนุสรณ์ === อนุสาวรีย์นิวตัน (2274) ตั้งอยู่ในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ด้านทิศเหนือของทางเดินสู่เวทีนักร้องของโบสถ์ ใกล้กับที่ฝังศพของเขา ศิลปินผู้แกะสลักคือ ไมเคิล ไรส์แบร็ค (2237-2313) ทำด้วยหินอ่อนสีขาวและเทา ออกแบบโดยสถาปนิก วิลเลียม เคนท์ เป็นรูปปั้นนิวตันกำลังนอนเอนอยู่เหนือหีบศพ ศอกขวาตั้งอยู่บนหนังสือสำคัญหลายเล่มของเขา มือซ้ายชี้ไปยังม้วนหนังสือที่ออกแบบในเชิงคณิตศาสตร์ เหนือร่างเขาเป็นพีระมิดกับโดมท้องฟ้า แสดงสัญลักษณ์จักรราศีและเส้นทางเดินของดาวหางใหญ่แห่งปี 2223 ด้านข้างมียุวเทพกำลังใช้เครื่องมือหลายอย่างเช่นกล้องโทรทรรศน์และปริซึม == เชิงอรรถ == ในช่วงชีวิตของนิวตัน มีการใช้งานปฏิทินอยู่ 2 ชนิดในยุโรป คือ ปฏิทินจูเลียน หรือ'ปฏิทินแบบเก่า' กับ ปฏิทินกริกอเรียน หรือ 'ปฏิทินแบบใหม่' ซึ่งใช้กันในประเทศยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิก และที่อื่นๆ ตอนที่นิวตันเกิด วันที่ในปฏิทินกริกอเรียนจะนำหน้าปฏิทินจูเลียนอยู่ 10 วัน ดังนั้น นิวตันจึงเกิดในวันคริสต์มาส หรือ 25 ธันวาคม 2185 ตามปฏิทินจูเลียน แต่เกิดวันที่ 4 มกราคม 2186 ตามปฏิทินกริกอเรียน เมื่อถึงวันที่เสียชีวิต ปฏิทินทั้งสองมีความแตกต่างกันเพิ่มเป็น 11 วัน นอกจากนี้ ก่อนที่อังกฤษจะรับเอาปฏิทินกริกอเรียนเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2295 วันขึ้นปีใหม่ของอังกฤษเริ่มในวันที่ 25 มีนาคม (หรือ 'วันสุภาพสตรี' (Lady Day) ทั้งตามกฎหมายและตามประเพณีท้องถิ่น) มิใช่วันที่ 1 มกราคม หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น วันที่ทั้งหลายที่ปรากฏในบทความนี้จะเป็นวันที่ตามปฏิทินจูเลียน == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == This well documented work provides, in particular, valuable information regarding Newton's knowledge of Patristics == แหล่งข้อมูลอื่น == The Newton Project - รวบรวมประวัติและผลงานของนิวตันในทุกสาขา ScienceWorld biography โดย Eric Weisstein Dictionary of Scientific Biography The Newton Project The Newton Project - Canada Rebuttal of Newton's astrology (via archive.org) Newton's Religious Views Reconsidered Newton's Royal Mint Reports Newton's Dark Secrets NOVA TV programme จากสารานุกรมปรัชญาของสแตนฟอร์ด: * Isaac Newton, โดย จอร์จ สมิธ * Newton's Philosophiae Naturalis Principia Mathematica, โดย จอร์จ สมิธ * Newton's Philosophy, โดย แอนดรูว์ จาเนียค * Newton's views on space, time, and motion, โดย Robert Rynasiewicz Newton's Castle Educational material The Chymistry of Isaac Newton งานวิจัยเกี่ยวกับงานเขียนของนิวตันเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุ FMA Live! Program for teaching Newton's laws to kids Newton's religious position The "General Scholium" to Newton's Principia Kandaswamy, Anand M. The Newton/Leibniz Conflict in Context Newton's First ODE  – การศึกษาว่าด้วยวิธีที่นิวตันประมาณการผลลัพธ์ของการแก้สมการอันดับที่หนึ่งโดยใช้อนุกรมอนันต์ The Mind of Isaac Newton สื่อภาพ เสียง แอนิเมชั่น และสื่ออินเตอร์แอคทีฟอื่นๆ Enlightening Science วิดีโอเกี่ยวกับชีวประวัติของนิวตัน ทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ และมุมมองของเขาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และศาสนา ชีวประวัติของนิวตัน (มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ส) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เซอร์ อัศวินแห่งอังกฤษ
thaiwikipedia
317
ประเทศมองโกเลีย
มองโกเลีย (Mongolia; Монгол Улс|Mongol Uls, มองโกเลียดั้งเดิม: 40px ; ) เป็นประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศคาซัคสถาน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่าร้อยละหนึ่ง มองโกเลียมีประชากรเพียง 3 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า 3 เท่า ซึ่งทำให้ประเทศมองโกเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต และประชากรร้อยละ 38 อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตาร์ == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้งและอาณาเขต === ทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย ทิศใต้ ติดกับประเทศจีน === ภูมิประเทศ === พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก === ภูมิอากาศ === ในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนมาก แต่ในฤดูหนาวอากาศหนาวมากและมีหิมะตก == ประวัติศาสตร์ == === สมัยใหม่ === มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวนแต่ก็ต้องมาเสียอำนาจเมื่อราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจซึ่งทางมองโกเลียเองต้องอยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ดังกล่าวอีกด้วย === ศตวรรษที่ 20 === มองโกเลียได้รับเอกราชจากสาธารณรัฐจีน เมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จากการช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตแต่ต้องสถาปนาการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตามแบบประเทศเพื่อนบ้าน ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดหลังจาก การปฏิวัติประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ปีเดียวกันกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมามองโกเลียได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้กับตน == การเมืองการปกครอง == === ฝ่ายบริหาร === ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นผู้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรี (หลังจากได้ปรึกษากับประธานาธิบดีแล้ว) และรัฐสภา (the State Grate Hural) เป็นผู้รับรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภาเป็นผู้เสนอชื่อผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับเลือกตั้งโดยวิธีการลงคะแนนเสียง (Popular Vote) วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันเป็นวาระที่ 2 การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2013 ตามด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยทั่วไปผู้นำพรรคเสียงข้างมากหรือผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลเสียงข้างมากจะได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี === ฝ่ายตุลาการ === ศาลสูงสุดคือ ศาลฎีกา (Supreme Court) === การแบ่งเขตการปกครอง === มองโกเลียแบ่งเขตออกเป็น 21 จังหวัด ซึ่งชาวมองโกลเรียกว่า aymag: ไอมัก (ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า prefecture) แต่เดิม มองโกเลียเป็นมณฑลของจีน จึงมีการแบ่งมองโกเลียเป็นเขตย่อยลงไปอีก แล้วยังคงเป็นเช่นนี้หลังจากที่มองโกเลียเป็นเอกราช อาร์ฮังไก (Arkhangai) บายัน-เอิลกี บายันฮองกอร์ บุลกัน ดาร์ฮาน-อูล ดอร์นอด ดอร์โนโกวิ ดุนด์โกวิ โกวิ-อัลไต โกวิซึมเบอร์ เฮ็นตี ฮอฟด์ เฮิฟสเกิล เอิมเนอโกวิ ออร์ฮอน เออเวอร์ฮังไก เซเลงเก ซือบาตาร์ เติฟ อุฟส์ ซาฟฮัน === ความสัมพันธ์กับไทย === ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมองโกเลีย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2517 โดยกำหนดให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาครอบคลุมมองโกเลีย และแต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงอูลันบาตอร์อีกตำแหน่งหนึ่ง สำหรับฝ่ายมองโกเลียในช่วงแรกได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูตมองโกเลีย ณ เวียงจันทน์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 มองโกเลียได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยขึ้น มีนาย Luvsandorj Bayart เป็นเอกอัครราชทูตมองโกเลียคนแรก ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมองโกเลียโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น แม้มองโกเลียไม่ใช่ประเทศสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของไทย และสองฝ่ายยังไม่มีความร่วมมือที่เข้มข้นระหว่างกัน แต่ไทยและมองโกเลียพยายามรักษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเพื่อเป็นช่องทางการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง โดยไทยให้ความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่มองโกเลีย โดยคำนึงว่ามองโกเลียเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ไม่มีทางออกทะเล และนักลงทุนไทยเริ่มรุกเข้าไปลงทุนที่มองโกเลีย โดยเฉพาะในสาขาเหมืองแร่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มองโกเลีย สนับสนุนไทยด้วยดีในเวทีระหว่างประเทศ และให้ความสำคัญต่อประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และมีบทบาทโดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศ จึงประสงค์จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งต้องการให้ไทยเป็นพันธมิตรกับมองโกเลียในกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ==== ด้านการเมือง ==== ที่ผ่านมา มีความร่วมมือกันไม่มากนักแต่ได้เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อมองโกเลียได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการฝึกคอบร้าโกลด์ เมื่อปี 2545 นอกจากนี้ สภาความมั่นคงแห่งชาติมองโกเลีย ได้เสนอให้มีความร่วมมือกับสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย เพื่อความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และปรึกษาหารือในประเด็นที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน โดยได้ส่งร่างบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งสองให้ฝ่ายไทยพิจารณา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไทยกับมองโกเลียมีการแลกเปลี่ยนการเยือน และการพบหารือระดับสูงเพิ่มมากขึ้นและนายกรัฐมนตรี ได้พบหารือกับประธานาธิบดีมองโกเลียในช่วงการประชุมเอเชียยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 และนายกรัฐมนตรีเยือนมองโกเลียอย่างเป็นทางการ และเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีของประชาคมประชาธิปไตย (Community of Democracies) ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2556 สภาความมั่นคงแห่งชาติมองโกเลีย ได้เสนอให้มีความร่วมมือกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย เพื่อความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และปรึกษาหารือในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในร่างความร่วมมือดังกล่าวแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาการลงนาม เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือทวิภาคีกับ นายลูฟซันวันดันโบล์ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้ามองโกเลีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศไม่ฝักฝ่ายใด (NAM) ครั้งที่ 16 ที่กรุงเตหะราน ไทยกับมองโกเลีย ยังมีความร่วมมือมากขึ้นในกรอบรัฐสภา ผ่านกลุ่มมิตรภาพรัฐสภาไทย-มองโกเลีย โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 26-30 ตุลาคม 2556 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 (นายเจริญ จรรย์โกมล) และคณะได้เดินทางเยือนมองโกเลีย ==== ด้านเศรษฐกิจ ==== การค้า การค้าระหว่างไทย-มองโกเลีย ยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ก็มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยการค้าไทย-มองโกเลียตลอดปี 2554 มีมูลค่ารวม 18.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าปี 2553 ร้อยละ 30 แบ่งเป็นไทยส่งออก 12.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 5.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 32.64 และร้อยละ 26.17 ตามลำดับ ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2556 มีมูลค่าการค้ารวม 12.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.96 ส่วนในปี 2555 มีมูลค่าการค้ารวม 13.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยส่งออก 13.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ สินแร่โลหะ เศษโลหะ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชา กาแฟ เครื่องเทศ การลงทุน ผู้ประกอบการไทยสนใจการลงทุนในมองโกเลียมากขึ้น นอกจากนี้ ระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้ามองโกเลีย เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ฝ่ายไทยและฝ่ายมองโกเลียได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสัมมนาและจับคู่ธุรกิจไทย-มองโกเลีย ที่กรุงเทพฯ ฝ่ายไทยมีความสนใจลงทุนในมองโกเลียในด้านเหมืองแร่ การก่อสร้างและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ธุรกิจท่องเที่ยว สปา ปัจจุบันบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ลงทุนในกิจการเหมืองถ่านหิน และจัดตั้งสำนักงานในมองโกเลีย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ส่วนมองโกเลียไม่มีการลงทุนในไทย การลงทุนของไทยในมองโกเลียนั้นยังมีจำกัด เนื่องจากเป็นตลาดเล็ก ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดจำกัด และไม่มีเที่ยวบินตรงจากไทย อย่างไรก็ดีภาคเอกชนไทย เริ่มสนใจเข้าไปลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อย่างเช่น บริษัทบ้านปู ที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น ==== ความตกลงระหว่างประเทศ ==== ความตกลงด้านการค้าและความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า * ลงนามเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2517 ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ * ลงนามเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 ความตกลงด้านการบิน * ลงนามเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2537 บันทึกความเข้าใจความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขไทย-มองโกเลีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข และการแลกเปลี่ยนบุคลากร แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญระหว่างกัน * ลงนามเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537 พิธีสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-มองโกเลีย * ลงนามเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2548 ความตกลงการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ * ลงนามเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 ความตกลงความร่วมมือทางวัฒนธรรม * ลงนามเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 ความตกลงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว * ลงนามเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดา * ลงนามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === เนื่องจากมองโกเลียอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ปี 2467 และมีการค้ากับสหภาพโซเวียตประมาณร้อยละ 85 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียต ส่งผลให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศลดลงตั้งแต่ปี 2534 มีผลกระทบทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในมองโกเลีย วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มองโกเลียกำลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสังคมนิยมมาสู่ระบบตลาดเสรี ทำให้มองโกเลียเร่งเปิดประตูสู่นานาชาติมากขึ้นภายใต้ระบบตลาดเสรีในปัจจุบัน มองโกเลียได้ดำเนินนโยบายเปิดกว้างเพื่อให้เกิดการค้า การลงทุน และการจ้างงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === เป็นชาวมองโกลร้อยละ 90, ชาวคาซัคร้อยละ 4, ชาวรัสเซียร้อยละ 2, ชาวจีนร้อยละ 2 และอื่น ๆ ร้อยละ 2 === ภาษา === ปัจจุบันมีผู้พูดภาษามองโกลร้อยละ 95 ของประชากรในประเทศ (ส่วนมากใช้ภาษามองโกลสำเนียงคัลคา) === ศาสนา === ศาสนาในประเทศมองโกเลีย ศาสนาพุทธ 1,009,357 คน ศาสนาอิสลาม 57,702 คน ศาสนาเชมัน 55,174 คน ศาสนาคริสต์ 41,117 คน ศาสนาอื่นๆ 6,933 คน ไม่มีศาสนา 735,283 คน == วัฒนธรรม == === วิถีชีวิต === ชาวมองโกลจะอาศัยอยู่สิ่งที่เรียกว่า "เกอร์" ที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย และชาวมองโกลส่วนใหญ่เป็นพวกเร่ร่อน ในปีหนึ่งชาวมองโกลจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ถึง 20 ครั้ง == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == Mongolia, Encyclopædia Britannica Mongolia. The World Factbook. Central Intelligence Agency Background notes on Mongolia, US Department of State Mongolia: Growth, Democracy, and Two Wary Neighbors (Q&A with Alan Wachman, May 2012) == แหล่งข้อมูลอื่น == รัฐบาล Official Website of the Government Organizations of Mongolia Mongolia Government Overview Chief of State and Cabinet Members ข้อมูลทั่วไป Mongolia. The World Factbook. Central Intelligence Agency Mongolia Travel Guide Mongolian tourism website Mongolia at UCB Libraries GovPubs Mongolia profile from the BBC News Mongolia at Encyclopædia Britannica Wrestling Roots Mongolia, Facts and Culture on CountryReports.org ม ม รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2454 ม
thaiwikipedia
318
ลินุกซ์เคอร์เนล
ลินุกซ์เคอร์เนล เป็นเคอร์เนลระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ที่เสรีและต้นทางเปิด เดิมเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดย ลีนุส ทอร์วัลด์ส สำหรับพีซีที่ใช้ i386 ของเขา และในไม่ช้ามันก็ถูกนำมาใช้เป็นเคอร์เนลสำหรับ ระบบปฏิบัติการกนู ซึ่งเขียนขึ้นเพื่อเป็นซอฟต์แวร์เสรีทดแทนยูนิกซ์ ลินุกซ์เคอร์เนล ได้รับการเผยแพร่สัญญาอนุญาต GNU General Public License เวอร์ชัน 2 เท่านั้น แต่ในตัวเคอร์เนลก็มีไฟล์ภายใต้ ใบอนุญาตอื่นๆ ที่เข้ากันได้ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ระบบปฏิบัติการดังกล่าวได้ถูกรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของลินุกซ์ดิสทริบิวชันจำนวนมาก ซึ่งหลายระบบเรียกสั้นๆ แค่ว่า ลินุกซ์ ลินุกซ์ถูกนำไปใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย เช่น อุปกรณ์ฝังตัว อุปกรณ์มือถือ (รวมถึงการใช้งานในระบบแอนดรอยด์) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เซิร์ฟเวอร์ เมนเฟรม และ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ลินุกซ์สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับสถาปัตยกรรมเฉพาะและสำหรับสถานการณ์การใช้งานต่างๆ โดยใช้กลุ่มคำสั่งง่ายๆ (นั่นคือ ไม่จำเป็นต้องแก้ไขรหัสต้นทางด้วยตนเองก่อนทำการคอมไพล์) ผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิพิเศษยังสามารถปรับแต่งพารามิเตอร์เคอร์เนลขณะรันไทม์ได้อีกด้วย รหัสเคอร์เนลลินุกซ์ส่วนใหญ่เขียนโดยใช้ส่วนขยาย GNU ของ ชุดแปลโปรแกรมของกนู : 18  ต่อ ภาษาซีฉบับมาตรฐาน และด้วยการใช้คำสั่งเฉพาะสถาปัตยกรรม (ISA) ในส่วนน้อยของเคอร์เนล สิ่งนี้สร้างไฟล์ปฏิบัติการที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพสูงสุด ( vmlinux ) โดยคำนึงถึงการใช้พื้นที่หน่วยความจำและเวลาดำเนินการงาน : 379–380 การอภิปรายเกี่ยวกับการพัฒนาในแต่ละวันเกิดขึ้นใน รายชื่อผู้รับจดหมายลินุกซ์เคอร์เนล (Linux kernel mailing list) หรือ LKML ติดตามการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ระบบควบคุมเวอร์ชันกิต ซึ่งเดิมเขียนโดย ลีนุส ทอร์วัลด์ส เพื่อเป็นซอฟต์แวร์เสรีแทนที่ BitKeeper == ความเป็นมา == ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 ลีนึส ตูร์วัลดส์ในขณะนั้นเป็นนักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อายุ 21 ปีที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ได้เริ่มทำงานกับแนวคิดง่ายๆ สำหรับระบบปฏิบัติการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากยูนิกซ์ สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เขาเริ่มต้นด้วยตัวสลับงานในภาษาแอสเซมบลี Intel 80386 และ ไดรเวอร์เทอร์มินัล เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2534 Torvalds ได้โพสต์ข้อความต่อไปนี้ใน comp.os.minix ซึ่งเป็น กลุ่มข่าวสารบนยูสเน็ต เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2534 ลีนุส ทอร์วัลด์สได้เตรียม ลินุกซ์เวอร์ชัน 0.01 และวางบน "ftp.funet.fi" ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ FTP ของมหาวิทยาลัยฟินแลนด์และเครือข่ายการวิจัย (FUNET) ณ ตอนนั้นระบบยังไม่สามารถเรียกใช้งานได้ด้วยซ้ำเนื่องจากโค้ดของมันยังคงต้องใช้ Minix เพื่อคอมไพล์และทดสอบ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ลีนุส ทอร์วัลด์สได้ประกาศเปิดตัว ลินุกซ์เวอร์ชัน "อย่างเป็นทางการ" รุ่นแรก เวอร์ชัน 0.02 ณ จุดนี้ ลินุกซ์สามารถใช้งาน แบช, ชุดแปลโปรแกรมของกนู และยูทิลิตี้ GNU อื่นๆ ได้: ลินุกซ์เวอร์ชัน 0.95 เป็นรุ่นแรกที่สามารถเรียกใช้งานเอ็กซ์วินโดวซิสเต็มได้ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 ลินุกซ์ 1.0.0 เปิดตัวพร้อมรหัสต้นทาง 176,250 บรรทัด เป็นเวอร์ชันแรกที่เหมาะสำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมการผลิต มันเริ่มระบบการกำหนดเวอร์ชันสำหรับเคอร์เนลด้วยตัวเลขสามหรือสี่ตัวคั่นด้วยจุด โดยตัวแรกแสดงถึงรุ่นหลัก ตัวที่สองคือ รุ่นรอง และตัวที่สามคือรุ่นแก้ไข : 9  โดยในเวลานั้นรุ่นรองที่มีเลข คี่ มีไว้สำหรับการพัฒนาและการทดสอบ ในขณะที่รุ่นรองที่มีเลข คู่ มีไว้สำหรับการผลิต ตัวเลขตัวที่สี่ที่ไม่บังคับระบุชุดของแพตช์สำหรับ การแก้ไข รุ่นการพัฒนาจะระบุด้วยคำต่อท้าย -rc ("release Candidate") การกำหนดหมายเลขเวอร์ชันปัจจุบันแตกต่างจากด้านบนเล็กน้อย การใช้เลขคู่และเลขคี่ถูกยกเลิก และตอนนี้รุ่นหลัก เจะแสดงด้วยตัวเลขสองตัวแรกร่วมกัน ในขณะที่ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนา รุ่นหลัก ถัดไป ส่วนต่อท้าย -rcก จะถูกใช้เพื่อระบุ release candidate รุ่นที่ ก สำหรับเวอร์ชันถัดไป ตัวอย่างเช่น การเปิดตัวเวอร์ชัน 4.16 นำหน้าด้วย 4.16-rcN เจ็ดตัว (จาก -rc1 ถึง -rc7) เมื่อปล่อยเวอร์ชันเสถียรแล้ว การบำรุงรักษาจะส่งต่อไปยัง "ทีมเสถียร" การอัปเดตเป็นครั้งคราวสำหรับเวอร์ชันเสถียรจะถูกระบุด้วยรูปแบบการลำดับเลขสามตัว (เช่น 4.13.1, 4.13.2, ..., 4.13.16) หลังจากเคอร์เนลเวอร์ชัน 1.3 ทอร์วัลด์สตัดสินใจว่าลินุกซ์มีการพัฒนาเพียงพอที่จะคู่ควรต่อเลข รุ่นหลัก ใหม่ ดังนั้นเขาจึงออกเวอร์ชัน 2.0.0 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 ซีรีส์นี้มีการปล่อย 41 ครั้ง คุณสมบัติหลักของรุ่น 2.0 คือการรองรับ Symmetric Multiprocessing (SMP) และรองรับโปรเซสเซอร์ประเภทต่างๆ มากขึ้น ตั้งแต่เวอร์ชัน 2.0 เป็นต้นไป ลินุกซ์สามารถกำหนดค่าได้สำหรับการเลือกเป้าหมายฮาร์ดแวร์เฉพาะ และสำหรับการเปิดใช้งานคุณสมบัติเฉพาะทางสถาปัตยกรรมและการเพิ่มประสิทธิภาพ คำสั่งตระกูล make *config ของ kbuild ใช้เพื่อเปิดใช้งานและกำหนดค่าของตัวเลือกหลายพันรายการสำหรับการสร้างไฟล์ปฏิบัติการเคอร์เนลเฉพาะกิจ (vmlinux) และโมดูลที่โหลดได้ เวอร์ชัน 2.2 เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2542 ปรับปรุงรายละเอียดการล็อคและการจัดการ SMP เพิ่ม m68k, PowerPC, Sparc64, Alpha และการสนับสนุนแพลตฟอร์ม 64 บิตอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเพิ่มระบบไฟล์ใหม่ๆ รวมถึงความสามารถแบบอ่านอย่างเดียวของระบบ NTFS ของไมโครซอฟต์ ในปี พ.ศ. 2542 IBM เผยแพร่แพทช์สำหรับรหัสต้นทางของลินุกซ์ 2.2.13 เพื่อรองรับสถาปัตยกรรม S/390 เวอร์ชัน 2.4.0 ได้รับการปล่อยเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 มันรองรับ ISA Plug and Play, USB และ การ์ดพีซี รุ่น 2.4 ยังเพิ่มการรองรับสำหรับ Pentium 4 และ Itanium (Itanium ยังได้เปิดตัว ia64 ISA ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดย Intel และ Hewlett-Packard เพื่อแทนที่ PA-RISC รุ่นเก่า) และสำหรับโปรเซสเซอร์ MIPS 64 บิต รุ่นใหม่ การพัฒนาสำหรับ 2.4 x เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเนื่องจากมีฟีเจอร์เพิ่มเติมให้ใช้งานตลอดระยะเวลาของซีรีส์นี้ รวมถึงการสนับสนุน Bluetooth, Logical Volume Manager (LVM) เวอร์ชัน 1, รองรับ RAID, InterMezzo และระบบไฟล์ ext3 รุ่น 2.6.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2546 การพัฒนาสำหรับ 2.6.x เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมไปสู่การรวมคุณสมบัติใหม่ตลอดระยะเวลาของซีรีส์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในซีรีย์ 2.6 ได้แก่: การรวม µClinux เข้ากับรหัสต้นทางของเคอร์เนลโดยตรง, การรองรับ PAE, การรองรับหน่วยประมวลผลกลางใหม่หลายรุ่น, การรวม Advanced Linux Sound Architecture (ALSA) เข้ากับรหัสต้นทางของเคอร์เนลโดยตรง, การรองรับ ผู้ใช้สูงสุด 232 ราย (เพิ่มจาก 216 ราย ) รองรับ ID กระบวนการสูงสุด 229 ราย (เฉพาะ 64 บิต สถาปัตยกรรม 32 บิตยังคงจำกัดอยู่ที่ 215 ราย) เพิ่มจำนวนประเภทอุปกรณ์และจำนวนอย่างมาก ของอุปกรณ์แต่ละประเภท การสนับสนุน 64 บิตที่ได้รับการปรับปรุง รองรับ ระบบไฟล์ที่รองรับขนาดไฟล์สูงสุด 16 เทราไบต์ การจองล่วงหน้า ในเคอร์เนล การรองรับ Native POSIX Thread Library (NPTL) การรวมโหมดผู้ใช้ลินุกซ์เข้ากับรหัสต้นทางของเคอร์เนลโดยตรง การรวม SELinux เข้ากับรหัสต้นทางของเคอร์เนลโดยตรง, การรองรับ InfiniBand และอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างคือการเพิ่มระบบไฟล์ที่มีให้เลือกมากมายตั้งแต่เวอร์ชัน 2.6 x : ตอนนี้เคอร์เนลรองรับระบบไฟล์จำนวนมาก บางตัวได้รับการออกแบบมาสำหรับลินุกซ์โดยเฉพาะ เช่น ext3, ext4, FUSE, Btrfs, และอื่น ๆ ที่เป็นระบบปฏิบัติการอื่นเช่น JFS, XFS, Minix, Xenix, Irix, Solaris, System V, Windows และ MS-DOS == ทางกฎหมาย == === สัญญาอนุญาต === เดิมทีนั้นลีนุส ทอร์วัลด์สเผยแพร่ลินุกซ์ภายใต้สัญญาอนุญาตที่ห้ามการใช้งานเชิงพาณิชย์ == ดูเพิ่ม == ลินุกซ์ โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรี ยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการ ==อ้างอิง== == แหล่งข้อมูลอื่น == The Linux Kernel Archives ซอฟต์แวร์ในปี พ.ศ. 2534 คเคอร์เนล ระบบปฏิบัติการ
thaiwikipedia
319
เคอร์เนล
เคอร์เนล (kernel อ่านว่า เคอร์เนิล เนื่องจากตัว e ไม่ออกเสียง) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ เนื่องจากว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เคอร์เนล นั้นเป็นฐานล่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และ อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต == ประเภทรูปแบบ เคอร์เนล == === โมโนลิทิก เคอร์เนล (Monolithic kernel) === โมโนลิทิก เคอร์เนล เป็นเคอร์เนลที่เน้นการทำงานแบบหนึ่งต่อหนึ่ง โดยจะเรียกชุดคำสั่งทั้งหมดทีเดียวในหนึ่งรอบ ทำให้การประมวลผลเร็วมาก แต่มีข้อเสียคือเมื่อเคอร์เนลล่มจะทำให้ระบบแฮงค์ในทันที (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบเคอร์เนล) โมโนลิทิก เคอร์เนลมีอยู่ใน: Linux kernel Android OS MS-DOS, Microsoft Windows 9x Series (Windows 95 Windows 98 เป็นต้น) Agnix === ไมโครเคอร์เนล (Microkernel) === ไมโครเคอร์เนล เป็นเคอร์เนลที่แบ่งการทำงานในแต่ละภาคส่วนออกจากกัน ตัวอย่างเช่น แบ่งส่วนของซอฟต์แวร์ประยุกต์ ส่วนของอุปกรณ์ ส่วนจัดการไฟล์ ฯลฯ ในทางทฤษฎีไมโครเคอร์เนลมีความเสถียรสูงเนื่องจากแบ่งการทำงานทุกภาคส่วนออกจากกัน แต่มีข้อเสียคือเรียกประสิทธิภาพของระบบออกมาได้ไม่เต็มที่ ตัวอย่างของไมโครเคอร์เนล และ ระบบปฏิบัติการที่มีพื้นบน ไมโครเคอร์เนล: AIX AmigaOS Amoeba Chorus microkernel EROS Haiku K42 LSE/OS KeyKOS The L4 microkernel family Mach, used in GNU Hurd, NEXTSTEP, OPENSTEP, and Mac OS X MERT Minix MorphOS NewOS QNX Phoenix-RTOS RadiOS Spring operating system VSTa Symbian OS === เคอร์เนลแบบผสม (Hybrid kernel) === เคอร์เนลแบบผสม เป็นเคอร์เนลที่รวมความสามารถของไมโครเคอร์เนลและโมโนลิทิกเคอร์เนลเข้าด้วยกันเพื่อเลียนแบบประสิทธิภาพและเสถียรภาพของโมโนลิทิกเคอร์เนลและไมโครเคอร์เนล BeOS kernel DragonFly BSD Haiku kernel NetWare kernel Plan 9 kernel ReactOS kernel NT kernel Windows NT kernel (Windows 2000, Windows XP, Windows 2003, and Windows Vista) XNU kernel (ใช้ใน Mac OS X) == อ้างอิง == Andrew Tanenbaum, Operating Systems - Design and Implementation (Third edition) ; Andrew Tanenbaum, Modern Operating Systems (Second edition) ; Daniel P. Bovet, Marco Cesati, The Linux Kernel; David A. Peterson, Nitin Indurkhya, Patterson, Computer Organization and Design, Morgan Koffman (ISBN 1-55860-428-6) ; B.S. Chalk, Computer Organisation and Architecture, Macmillan P. (ISBN 0-333-64551-0). == แหล่งข้อมูลอื่น == Kernel คืออะไร - แหล่งข้อมูลความรู้ภาษาไทย เทคโนโลยีระบบปฏิบัติการ
thaiwikipedia
320
ภาษาปาสกาล
ภาษาปาสกาล เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการศึกษา คิดค้นขึ้นโดยนีเคลาส์ เวียร์ท (Niklaus Wirth) นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวสวิสใน ค.ศ. 1970 เพื่อช่วยในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (structured programming) ภาษาปาสกาลนั้นพัฒนาขึ้นมาจากภาษาอัลกอล (Algol) และชื่อปาสกาลนั้นตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่แบลซ ปัสกาล นอกเหนือจากภาษาปาสกาลแล้ว เวียร์ทได้พัฒนาภาษาโมดูลาทู (Modula-2) และโอเบอรอน (Oberon) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับภาษาปาสกาล แต่สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (object-oriented programming) == โครงสร้างอย่างง่าย == โปรแกรมภาษาปาสกาลทุกอัน จะเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด Program และส่วนของโค้ดจะอยู่ระหว่างคีย์เวิร์ด Begin และ End ภาษาปาสกาลนั้นไม่สนใจความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ("end" มีผลเท่ากับ "End"). เซมิโคลอน (;) ใช้เพื่อแบ่งคำสั่ง และ มหัพภาค(.) ใช้เมื่อจบโปรแกรม (หรือยูนิต) ภาษาปาสกาลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ตายตัว เช่นการประกาศตัวแปร จะอยู่ระหว่าง Program กับ Begin โดยไม่สามารถไปประกาศที่อื่นได้เหมือนกับภาษา VB, C หรือภาษาอื่น ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ทราบถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมที่ถูกต้อง เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบในภายหลัง program HelloWorld(output); // ประกาศตัวแปรที่นี่ begin WriteLn('Hello, World!') end. == ข้อมูลอื่น == ภาษาปาสกาลฉบับภาษาไทย ตระกูลภาษาอัลกอล ภาษาโปรแกรมเชิงกระบวนงาน ภาษาโปรแกรมที่มีชนิดข้อมูลแบบอพลวัต ภาษาโปรแกรมเชิงโครงสร้าง
thaiwikipedia
321
เข้าพรรษา
เข้าพรรษา อาจหมายถึง: วันเข้าพรรษา วันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่พระภิกษุสงฆ์จะพักประจำ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอด ฤดูฝน หงส์เหิร หรือ เข้าพรรษา ดอกไม้ชนิดหนึ่งมี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Globba winitii
thaiwikipedia
322
แก้ว
แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture) แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบจะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยาของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper) แก้วที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จะหมายถึง เฉพาะแก้วที่ทำจาก ซิลิกา (silica) เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้นจะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมีและชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็ง แต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความร้อน แก้วโดยทั่วไปนั้นทำจากซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีในแร่ควอตซ์ (quartz) หรือในรูป polycrystalline ของทราย ซิลิกาบริสุทธิ์มีจุดหลอมเหลวที่ 2000 °C (3632 °F) เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิต จะมีการผสมสาร 2 ชนิดลงไปด้วย ชนิดแรกคือโซดาแอช (Soda Ash) ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate-Na2CO3) หรือสารประกอบโพแทสเซียม เช่น โพแทสเซียมคาร์บอเนต เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในการหลอมเหลวนั้นต่ำลงอยู่ที่ประมาณ 1000~1500 °C แต่อย่างไรก็ตามสารนี้จะส่งผลข้างเคียงทำให้แก้วนั้นละลายน้ำได้ จึงต้องมีการเติมสารอีกชนิด คือ หินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate-CaCO3) (เมื่ออยู่ในเนื้อแก้ว จะกลายเป็นแคลเซียมออกไซด์; calcium oxide-CaO) เพื่อทำให้แก้วนั้นไม่ละลายน้ำ องค์ประกอบของแก้วที่ใช้ทำภาชนะใช้งานโดยทั่วไป เช่น แก้วน้ำ หรือกระจกใส จะมีองค์ประกอบแต่ละตัวโดยประมาณดังนี้     SiO2 70%     Na2O 15%     CaO 8%     และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น MgO, Al2O3, K2O เป็นต้น อาจมีแก้วพิเศษชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น เติมตะกั่ว (จากวัตถุดิบเช่น ลิธาจ; Litharge) และกลายเป็น PbO ในเนื้อแก้ว เพื่อให้แก้วหนักขึ้น เนื้อแก้วหยุ่นเหนียวและแวววาว ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่าแก้วคริสตัล เติมแบเรียมและสังกะสี (BaO, ZnO) เพื่อช่วยทำให้แก้วมีลักษณะคล้ายแก้วคริสตัลโดยไม่ใช้ตะกั่วเป็นต้น == แหล่งข้อมูลอื่น == แก้ว แก้ว
thaiwikipedia
323
ราตรี
ราตรี อาจหมายถึง กลางคืน, เวลามืด ราตรี (พรรณไม้) ทิวาราตรี ชื่อบุคคล * ราตรี วิทวัส * ราตรี ศรีวิไล ชื่อตัวละคร * ราตรี - ตัวละครผีนางรำจากเกมโฮมสวีตโฮมและ ออนไลน์ * ราตรี โบราณรักษ์ - ตัวละครจากการ์ตูนลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง หน้าแก้ความกำกวมชื่อบุคคล
thaiwikipedia
324
ชงโค
ชงโค มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีนรวมถึงฮ่องกงและทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ดังนี้ : ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) กะเฮอ สะเปซี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ในสหรัฐอเมริกานิยมปลูกกันที่รัฐฮาวาย, รัฐแคลิฟอร์เนีย, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฟลอริดา และทางตอนใต้ของรัฐเท็กซัส ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == ไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างรูปทรงไม่แน่นอน ใบเดี่ยว เรียงสลับ เป็นรูปไข่แยกเป็น 2 แฉกลึก คล้ายใบติดกันหรือใบแฝด มีขนาดประมาณ 20 ซม. ดอกสีชมพูอมม่วง, สีม่วงสดคล้ายกล้วยไม้ และสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตลอดวัน ดอกบานเต็มที่ขนาด 6-8 ซม. ช่อดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีจำนวนดอกน้อย เกสรตัวผู้ 3 อัน ขนาดไม่เท่ากัน ออกดอกเกือบตลอดปี ออกดอกมากในฤดูหนาว การขยายพันธุ์ใช้การตอนกิ่ง ปักชำและเพาะเมล็ด == ประโยชน์ == ใช้รากเป็นยาขับลม เปลือกเป็นยาแก้ท้องร่วง มีฤทธิ์แก้ท้องเสีย พอกฝี สารสกัดเอทานอล 50% ของชงโค เพิ่มระดับฮอร์โมนไทรอกซินในหนูทดลอง มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง == สัญลักษณ์ == ต้นไม้ประจำโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ต้นไม้ประจำโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ต้นไม้ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดอกไม้ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ต้นไม้ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต้นไม้ประจำโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ต้นไม้ประจำโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย ต้นไม้ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ต้นไม้ประจำโรงเรียนโชคชัยสามัคคี อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 30190 ต้นไม้ประจำโรงเรียนปิยะบุตร์ ต้นไม้ประจำโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ต้นไม้ประจำโรงเรียนบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ต้นไม้ประจำโรงเรียนศิริมาตย์เทวี จังหวัดเชียงราย ดอกไม้ประจำโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ดอกไม้ประจำโรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ดอกไม้ประจำโรงเรียนเทพลีลา ดอกไม้ประจำโรงเรียนพานพิเศษพิทยา จังหวัดเชียงราย ดอกไม้ประจำโรงเรียนชุมชนวัดบางโค จังหวัดนนทบุรี ดอกไม้ประจำโรงเรียนเสริมงามวิทยาคม จังหวัดลำปาง ดอกไม้ประจำกลุ่มลูกเสือ จังหวัดนนทบุรี ดอกไม้ประจำโรงเรียนแม่เมาะวิทยา จังหวัดลำปาง ดอกไม้ประจำโรงเรียนบ้านดุงวิทยา จังหวัดอุดรธานี ==อ้างอิง== สกุลชงโค ไม้ดอกไม้ประดับ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย พืชที่มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง
thaiwikipedia
325
ชมพูฮาวาย
ชมพูฮาวาย หรือ แฮปปี้เนส (Zimbabwe creeper, Pink Trumpet Vine, Trumpet Vine ; ) เป็นไม้กึ่งพุ่มกึ่งเลื้อย กำเนิดที่ประเทศแอฟริกาใต้ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ เรียงตัวแบบตรงข้าม ขอบใบแบบจักฟันเลื่อยช่อดอกแบบช่อกระจุก สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันปลายแยกเป็นแฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง สีชมพู ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด ส่วนที่อยู่ด้านบนมี 2 กลีบ เกสรเพศผู้มี 4 อัน เป็นแบบ 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก รังไข่เหนือวงกลีบ ออกดอกตลอดปี ดอกมีกลิ่นหอมตลอดวัน หอมมากช่วงเย็นถึงค่ำ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำโดยใช้กิ่งอ่อน ^^ == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == บลูฮาวาย บุษบาฮาวาย วงศ์แคหางค่าง ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
326
บานบุรี
บานบุรี หรือ บานบุรีเหลือง เป็นพืชพื้นเมืองของบราซิล เป็นไม้พุ่มหรือรอเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบรูปรี รูปไข่กลับ หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 3.7-8 ซม. ปลายแหลม แผ่นใบด้านล่างมีขนยาวตามเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 2-3 มม. ช่อดอกยาว 5-11 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ก้านดอกยาว 3-6 มม. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 6-7 มม. มีเกล็ดที่โคนด้านใน ดอกสีเหลือง หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 4 ซม. ช่วงโคนสั้นกว่าช่วงกว้าง กลีบรูปรีกว้าง ยาว 1-1.6 ซม. มีขนสั้นนุ่มรอบ ๆ เกสรเพศผู้ ผลมีหนามยาวประมาณ 1 ซม. มีถิ่นกำเนิดและเป็นพืชพื้นเมืองของบราซิล เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน คล้ายกับบานบุรีเหลือง ชนิด A. cathartica L. ที่เป็นไม้พุ่มเตี้ย ดอกใหญ่กว่า หลอดกลีบดอกช่วงโคนยาวเท่า ๆ ช่วงกว้าง โคนกลีบเลี้ยงด้านในไม่มีเกล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้และทะเลแคริบเบียน ==ระเบียงภาพ== ไฟล์:Golden trumpet.jpg|ดอกเดียว ไฟล์:บานบุรีเหลือง Allamanda cathartica L. FAMILY APOCYNACEAE (1).jpg|thumb|บานบุรี ไฟล์:บานบุรีเหลือง Allamanda cathartica L. FAMILY APOCYNACEAE (2).jpg|thumb|บานบุรี ไฟล์:บานบุรีเหลือง Allamanda cathartica L. FAMILY APOCYNACEAE (7).jpg|thumb|บานบุรี ไฟล์:บานบุรีเหลือง Allamanda cathartica L. FAMILY APOCYNACEAE (4).jpg|thumb|บานบุรี ไฟล์:Golden trumpet plant 1.jpg|พุ่มไม้ ถ่ายระยะกลาง ไฟล์:Golden trumpet plant 2.jpg|พุ่มไม้ ถ่ายห่าง ไฟล์:Allamanda cathartica MHNT.jpg|ผลหนาม (สุกและแยกจากต้น) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Flora Brasiliensis: Allamanda cathartica วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย
thaiwikipedia
327
บุหงาแต่งงาน
บุหงาแต่งงาน อาจหมายถึง บุหงาเซิง บุหงาส่าหรี - ไม้ต้นขนาดเล็กอยู่ในวงศ์ Verbenaceae
thaiwikipedia
328
บุษบาฮาวาย
บุษบาฮาวาย เป็นพันธุ์ไม้ในตระกูล Scrophulariales ใช้กล่าวรวมถึงพืชสองพันธุ์ คือ บลูฮาวาย (Brazilian snapdragon ชื่อวิทยาศาสตร์ Otacanthus caeruleus Lindl ชมพูฮาวาย หรือ แฮปปี้เนส (Zimbabwe creeper; Pink Trumpet Vine; Trumpet Vine ชื่อวิทยาศาสตร์ Podranea ricasoliana (Tanfani) Sprague) ภาพ:Brazilian Snapdragon (Otacanthus azureus).jpg|บลูฮาวาย ภาพ:Podranea ricasoliana - flowers.jpg|ชมพูฮาวาย พืชดอก
thaiwikipedia
329
นางแย้ม
นางแย้ม เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน พบทั่วไปตามป่าของประเทศไทย == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == นางแย้มเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน ใบเดี่ยว กว้างทรงรี ขึ้นสลับตามข้อของลำต้น ขอบใบมีหยัก เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 6–10 เซนติเมตร บานไม่พร้อมกัน ส่วนบนจะบานก่อน มีกลิ่นหอมทั้งวัน ผลเนื้ออ่อนมีเปลือกหุ้ม เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 4 กลีบ มีเมล็ดหลายเมล็ด == การขยายพันธุ์ == นางแย้มขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด == ประโยชน์ == นางแย้มเป็นไม้ประดับ และมีสรรพคุณทางสมุนไพร ใบใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง รากใช้ต้มดื่มแก้ปวดข้อ ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ ต้นใช้ต้มดื่มแก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ปวดข้อ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ == ปรากฏในวรรณคดี == == เกร็ด == สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชนิพนธ์เพลง เพื่อบรรเลงกับวงดนตรีส่วนพระองค์ ชื่อเพลง นางแย้ม == อ้างอิง == ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี สมุนไพร วงศ์ผกากรอง
thaiwikipedia
330
กล้วยไม้
กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 899 สกุล และมีประมาณ 27,000 ชนิดที่มีการยอมรับ มีการค้นพบราว ๆ 800 ชนิดทุก ๆ ปี มีสกุลใหญ่ ๆ คือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) สามารถแบ่งตามลักษณะการเติบโตได้ดังนี้ กล้วยไม้อากาศ (Epiphyte) คือ กล้วยไม้ที่เกาะหรืออิงอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น กล้วยไม้ดิน (Terrestrial) คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ == การจำแนกวงศ์ย่อยของกล้วยไม้ == วงศ์ย่อยต่าง ๆ ของกล้วยไม้ ได้แก่ Apostasioideae Rchb. f. เป็นกลุ่มไม้ที่เติบโตบนพื้นดินในป่า มี 2 สกุล คือ Apostasia และ Neuwiedia Cypripedioideae Lindley เป็นกลุ่มไม้ที่เกิดบนพื้นดิน โขดหิน และบนซากอินทรีย์วัตถุ มี 4 สกุล คือ Cypripedium, Paphiopedilum (สกุลรองเท้านารี) , Phragmipedium และ Selenipedium Spiranthoideae Dressler ไม่พบกล้วยไม้ไทย และลูกผสมไทยที่เกิดในวงศ์ย่อยนี้ Orchidoideae ไม่พบในไทย Epidendroideae วงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายด้านที่อยู่อาศัย และรูปร่างลักษณะ มีหลายสกุลในวงศ์นี้ที่พบ และนิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ สกุล Vanilla สกุลต่าง ๆ ในกลุ่มแคทลียา สกุลหวาย และ สกุลสิงโตกลอกตา VANDOIDEAE Endlicher ได้แก่ กลุ่มแวนด้า == การกระจายพันธุ์ == พืชในวงศ์กล้วยไม้นั้นสามารถพบได้ทั่วโลก มีถิ่นอาศัยในหลาย ๆ ภูมิประเทศยกเว้นทะเลทรายและธารน้ำแข็ง โดยส่วนมากจะพบในเขตร้อนของโลก คือทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาใต้ และทวีปอเมริกากลาง นอกจากนั้นยังพบเหนือวงกลมอาร์กติก, ตอนใต้ของปาตาโกเนีย และบนเกาะแมคควารี ใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกา การกระจายพันธุ์โดยสังเขปมีดังนี้: ทวีปอเมริกาเขตร้อน: 250–270 สกุล ทวีปเอเชียเขตร้อน: 260–300 สกุล ทวีปแอฟริกาเขตร้อน: 230–270 สกุล โอเชียเนีย: 50–70 สกุล ทวีปยุโรปและทวีปเอเชียเขตอบอุ่น: 40–60 สกุล ทวีปอเมริกาเหนือ: 20–25 สกุล == อนุกรมวิธาน == ในระบบ APG II (2003) พืชวงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในอันดับ Asparagales ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ห้าวงศ์ย่อยที่ได้รับการยอมรับ แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์นี้แยกตามระบบของ APG : == ประวัติกล้วยไม้ == กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง === แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่า === แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา === การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย === จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมชาติ ไม่ต่ำกว่า 1000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้วยไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้ ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่าย ๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปีพ.ศ. 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปีพ.ศ. 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปีพ.ศ. 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปีพ.ศ. 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปีพ.ศ. 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา. == ดูเพิ่ม == กล้วยไม้ในประเทศไทย กะบะกล้วยไม้ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == รวบรวมหลากหลายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ จากเว็บไซต์พันธุ์ไม้ กล้วยไม้ ศึกษาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ กล้วยไม้ ศึกษาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไทย กล้วยไม้ แกลเลอรี่รูปกล้วยไม้และข้อมูลกล้วยไม้ กล้วยไม้ พรรณไม้ในวรรณคดี ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกไม้
thaiwikipedia
331
กรรณิการ์
กรรณิการ์ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้จากตอนเหนือของปากีสถานและเนปาลไปทางใต้ถึงตอนเหนือของอินเดียและตะวันออกเฉียงใต้ของไทยหลอดกลีบดอกมีสีส้ม ใช้ย้อมผ้าไหมได้ โดยเก็บดอกที่ร่วงแล้ว เด็ดเฉพาะส่วนหลอด ตากให้แห้ง ต้มกับน้ำกรองเอากากทิ้ง ใช้ย้อมผ้าไหมให้สีส้ม เปลือกต้นชั้นในผสมกับปูนขาวได้สีแดง ใช้ย้อมผ้าได้เช่นกัน ดอกใช้แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน เปลือกต้นชั้นในต้มน้ำดื่มแก้ปวดศีรษะ ใบแก้ไข้ รากใช้บำรุงกำลังแก้ท้องผูก == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร พืชให้สีย้อม วงศ์มะลิ
thaiwikipedia
332
พรรณไม้ในวรรณคดี
พรรณไม้ในวรรณคดี หมายถึงไม้ประเภทต่าง ๆ ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณกรรมของไทย โดยเฉพาะประเภทวรรณคดี ซึ่งจะบอกได้ถึงความสำคัญของธรรมชาติ และความสวยงามของพรรณพืชไม้ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวัฒนธรรม และสังคมไทยมาช้านาน ดอกไม้ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณนาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อนิราศธารทองแดง นิราศหริภุญชัย นิราศพระประถม นิราศสุพรรณ นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา นิราศวัดเจ้าฟ้า ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย ที่ได้พรรณนาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ สีสัน กลิ่น ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่ ณ ที่นั้นด้วย
thaiwikipedia
333
ISO 3166-1
ISO 3166-1 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 ซึ่งกำหนดรหัสประเทศและดินแดนต่างๆ มี 3 มาตรฐานย่อย ได้แก่ ISO 3166-1 alpha-2, ใช้อักษรโรมัน 2 ตัว สำหรับแต่ละประเทศ/ดินแดน ISO 3166-1 alpha-3, ใช้อักษรโรมัน 3 ตัว ISO 3166-1 numeric, ใช้เลข 3 หลัก, รหัสชุดนี้ ตรงกับรหัสที่แผนกสถิติขององค์การสหประชาชาติใช้ทุกประการ == รหัสปัจจุบัน == == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == ISO 3166-2 3166-1 รหัสประเทศ รายชื่อประเทศ ISO 3166 ISO 3166#ISO 3166-1-koder
thaiwikipedia
334
ISO 4217
ISO 4217 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับรหัสสกุลเงินที่ใช้ในประเทศต่าง ๆ มักใช้ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามธนาคาร ประกอบด้วยอักษรละตินตัวใหญ่ 3 ตัวจากชื่อประเทศและชื่อของสกุลเงินที่ใช้ในประเทศนั้น == รหัสที่ใช้ในปัจจุบัน == == หน่วยเงินที่เลิกใช้แล้ว == === เปลี่ยนไปใช้เงินยูโรแทน === ADP Andorran Peseta ATS Austrian Schilling ออสเตรีย BEF Belgian Franc ฟรังก์เบลเยียม CYP Cyprus pound ไซปรัสปอนด์ DEM ดอยช์มาร์ก EEK Estonian kroon เอสโตเนีย ESP Spanish Peseta FIM Finnish Markka FRF ฟรังก์ฝรั่งเศส ฟรังค์ฝรั่งเศส GRD Greek Drachma ของกรีก HRK คูนาโครเอเชีย IEP Irish Pound (IEP Irish Pound) ITL ลีร์อิตาลี ลีแอนอิตาลี LTL ลีตัสลิทัวเนีย ชลประทาน LUF Luxembourg Franc ฟรังก์ลักเซมเบิร์ก LVL ลัตลัตเวีย ลัทลัทเวียร์ MCF Monaco franc - ฟรังก์โมนาโก MCF MTL ลีราม่า - MTL ลีรามอลตา NLG กลิเซ่เนเธอร์แลนด์ - NLG กิลเดอร์เนเธอร์แลนด์ PTE Escudo โปรตุเกส SIT โทร่าสโลวีเนีย SKK โครน่าสโลวัก SML ลีราซานมิเกรอน VAL ลีราวากิตัน หน่วยเงิน XEU ใช้ EUR แทน แปลภาษา === เปลี่ยนด้วยเหตุผลอื่น === AFA NFA (แทนด้วย AFN) ALK Albanian old lek (แทนด้วย ALL) AON Angolan New Kwanza (แทนด้วย AOA) AOR Angolan Kwanza Readjustado (แทนด้วย AOA) ARP Peso Argentino (แทนด้วย ARS) ARY Argentine peso (แทนด้วย ARS) BEC Belgian Franc (convertible) BGJ Bulgarian lev A/52 (แทนด้วย BGN) BGK Bulgarian lev A/62 (แทนด้วย BGN) BGL Bulgarian lev A/99 (แทนด้วย BGN) BOP Bolivian peso (แทนด้วย BOB) BRB Brazilian cruzeiro (แทนด้วย BRL) BRC Brazilian cruzado (แทนด้วย BRL) CNX Chinese People's Bank dollar (แทนด้วย CNY) CSJ Czechoslovak koruna A/53 CSK Czechoslovak koruna (แทนด้วย CZK and SKK) CUC คอนเวอร์ทิเบิลเปโซ (แทนด้วย CUP) DDM mark der DDR (East Germany) (แทนด้วย DEM) ECS Ecuador sure (แทนด้วย USD) ECV Ecuador Unidad de Valor Constante (Funds code) (discontinued) EQE Equatorial Guinean ekwele (แทนด้วย XAF) ESA Spanish peseta (account A) ESB Spanish peseta (account B) GNE Guinean syli (แทนด้วย XOF) GWP Guinea peso (แทนด้วย XOF) ILP Israeli pound (แทนด้วย ILS) ILR Israeli old shekel (แทนด้วย ILS) ISJ Icelandic old krona (แทนด้วย ISK) LAJ เงินกีบลาว - Pot Pol (แทนด้วย LAK) MAF Mali franc (แทนด้วย XOF) MGF Malagasy franc (แทนด้วย MGA) MKN Macedonian denar A/93 (แทนด้วย MKD) MVQ Maldive rupee (แทนด้วย MVR) MXP Mexican peso (แทนด้วย MXN) PEH Peruvian sol (แทนด้วย PEN) PLZ Polish złoty A/94 (แทนด้วย PLN) ROK Romanian leu A/52 (แทนด้วย ROL) ROL Romanian leu A/05 (แทนด้วย RON) RUR Russian ruble (แทนด้วย RUB) SRG Suriname guilder (แทนด้วย SRD) SUR Soviet Union ruble (แทนด้วย RUB) SVC Salvadoran colón (แทนด้วย USD) TPE Timor escudo TRL Turkish lira A/05 (แทนด้วย TRY) UGW Ugandan old shilling (แทนด้วย UGX) UYN Uruguay old peso (แทนด้วย UYU) VNC Vietnamese old dong (แทนด้วย VND) YDD South Yemeni dinar (แทนด้วย YER) YUD New Yugoslavian Dinar (แทนด้วย CSD) YUM Yugoslavian Dinar (แทนด้วย CSD) ZAL South African financial rand (Funds code) (discontinued) ZRN New Zaire (แทนด้วย CDF) ZRZ Zaire (แทนด้วย CDF) ZWC Zimbabwe Rhodesian dollar (แทนด้วย ZWD) == รหัสที่ใช้ผูกสกุลเงิน == GBP Alderney pound NZD Cook Islands dollar DKK Faroese króna GBP Guernsey pound GBP Isle of Man pound GBP Jersey pound GBX Penny sterling KBD Kiribati dollar SLS SLSH Somaliland shilling PRB RUP Transnistrian ruble TVD Tuvaluan dollar == หมายเหตุ == == อ้างอิง == เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ สกุลเงิน 4217
thaiwikipedia
335
ตีนเป็ดทราย
ตีนเป็ดทราย เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Apocynaceae ยางสีขาว รากแผ่กว้างเพื่อยึดกับทราย ใบยาวรี ค่อนข้างหนา ผิวเคลือบใบหนา ดอกสีขาว ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีแดง มีพิษ รับประทานไม่ได้ ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ชื่อสามัญของพืชนี้ในแต่ละถิ่นจะต่างกันไป ภาษาอังกฤษเรียก sea mango (ตรงตัว: มะม่วงทะเล), ในมาดากัสการ์เรียก tanguin samanta tangena, ในซามัวเรียก leva, ในตองงาเรียก toto, ในฟีจีเรียก vasa ส่วนในภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู และภาษาซุนดาเรียก bintaro ==ความเป็นพิษ== ใบและผลมีสารที่เป็นพิษต่อหัวใจ คือ cerberin ซึ่งจะเป็นพิษมากเมื่อถูกย่อย ในอดีตเคยใช้ยางของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษเพื่อล่าสัตว์ เนื่องจากพืชในสกุลนี้เป็นพิษ ชื่อสกุลจึงมาจาก Cerberus สุนัขในนรกของเทพนิยายกรีก ในมาดากัสการ์ ใช้เมล็ดของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษ == อ้างอิง == Ref: ITIS 30124 จักกริช พวงแก้ว สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิช วิภาพรรณ นาคแพน. นักสืบชายหาด: พืชและสัตว์ชายหาด. กทม. มูลนิธิโลกสีเขียว. 2549 หน้า 157 สกุลตีนเป็ดทะเล ไม้ดอกไม้ประดับ พืชมีพิษ สมุนไพร
thaiwikipedia
336
ถ้วยทอง
ถ้วยทอง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Solandra grandiflora Sw. , ชื่อสามัญ: Showy chalicevine) เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกขนาดใหญ่ ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้เลื้อย วงศ์มะเขือ
thaiwikipedia
337
เทียนหยด
เทียนหยด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Duranta repens L.; Duranta erecta L.; ชื่อสามัญ: Sky flower; Golden dew drop; Pigeon berry; Duranta; ชื่อวงศ์: VERBENACEAE) มีชื่อพื้นเมืองหลายชื่อ ได้แก่ เครือ (แพร่) ; พวงม่วง; ฟองสมุทร; เทียนไข (กรุงเทพฯ) ; สาวบ่อลด (เชียงใหม่)เป็นไม้พุ่มใบเป็นใบเดี่ยวรูปมนรีเรียว สอบไปทางปลาย ขอบใบเป็นหยักห่างๆออกดอกเป็นช่อห้อยตามปลายยอด ดอกมีสีม่วงมีกลีบดอก 5 กลีบ สามารถติดผลเป็นเม็ดกลมขนาดเล็กสีเหลืองคล้ายหยดเทียน ใช้ในการปลูกประดับทั่วไป เทียนหยดเป็นพืชที่มีพิษ โดย ผลสีส้มของเทียนหยด เป็นสารประกอบโปรตีนที่มีพิษ ไม่ควรรับประทาน หากรับประทานเข้าไปแล้วเคี้ยว อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ (แต่ถ้าหากรับประทานเข้าไปแล้วไม่เคี้ยว จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย) ภาพ:Thailand2259.jpg|เทียนหยดไทย ภาพ:Duranta erecta (1) 1200.jpg|เทียนหยดญี่ปุ่น == ดูเพิ่ม == เทียนประทัด ไม้ดอกไม้ประดับ พืชมีพิษ วงศ์ผกากรอง
thaiwikipedia
338
บานเย็น
ดอกบานเย็น เป็นสกุล Mirabilis ที่นิยมปลูกมากที่สุด มีสีดอกที่หลากหลาย กล่าวกันว่าบานเย็นถูกนำออกมาจบานเย็นนแม่ต้น (Four-o’clocks; Marvel of Peru; ) เป็นไม้ดอกากถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดิส ในเปรู ช่วงปี ค.ศ. 1540 คำว่า Mirabilis ในภาษาละตินหมายถึง ยอดเยี่ยม, สวยงาม, มหัศจรรย์ ส่วนคำว่า Jalapa เป็นชื่อเมืองแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก == ดอกและสีดอก == ความน่าสนใจของบานเย็นคือ เป็นไม้ดอกที่สามารถมีดอกหลายสีอยู่บนต้นเดียวกันพร้อมๆ กันได้ นอกจากนี้ในแต่ละดอกอาจมีหลายสีปนกันอยู่ได้เช่นกัน จุดสนใจอีกประการหนึ่งคือการที่สีดอกจะเปลี่ยนไปเมื่อต้นบานเย็นมีอายุมากขึ้น เช่น บานเย็นพันธุ์ดอกเหลือง สีของดอกอาจค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชมพูเข้ม หรือ พันธุ์ดอกขาวอาจจะเปลี่ยนเป็นม่วงอ่อนได้ ดอกบานเย็นจะบานในช่วงเวลาบ่ายแก่ๆ เป็นต้นไป จึงเป็นที่มาของชื่อไทยว่า "บานเย็น" หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "ดอกสี่โมง" (four o'clock flower) เมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอมจัดแบบกลิ่นหอมหวานๆในประเทศจีน เรียกบานเย็นว่า "ดอกสายฝน" (shower flower) หรือ "ดอกหุงข้าว" (rice boiling flower) เพราะดอกบานเย็นจะบานในช่วงเวลานั้น ส่วนในฮ่องกง เรียกว่า "มะลิม่วง" (purple jasmine) ส่วนของกลีบดอกที่เห็นเป็นสีต่างๆ นั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่กลีบดอกแท้ แต่เป็นส่วนกลีบเลี้ยง (calyx) ที่เปลี่ยนรูปไปจากปกติและมีเม็ดสี (pigments) การผสมเกสรเกิดโดยแมลงกลางคืนชนิดที่มีลิ้นยาวซึ่งถูกดึงดูดมาหาดอกบานเย็นโดยกลิ่นหอมที่ปล่อยออกมานั่นเอง == ถิ่นอาศัยและการเพาะปลูก == บานเย็นถูกนำออกมาจากเขตมรสุมของทวีปอเมริกาใต้ แล้วนำไปปลูกอย่างแพร่หลายในเขตอบอุ่นและเขตร้อนอื่นๆ จนกลายเป็นพืชประจำถิ่น ในพื้นที่เขตอบอุ่นที่ค่อนข้างเย็น ต้นบานเย็นจะตายเมื่ออากาศเย็นจนเริ่มมีน้ำแข็ง แต่จะงอกกลับขึ้นใหม่ในฤดูใบไม้ผลิถัดไปจากเหง้าที่ฝังอยู่ใต้ดิน ต้นบานเย็นโตได้ดีที่สุดในแสงแดดจัด ความสูงต้นเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 90 ซม. ผลมีเมล็ดเดี่ยว เมล็ดมีลักษณะกลม ผิวเปลือกเมล็ดเปลี่ยนสีจากเหลืองปนเขียวเป็นสีดำและย่นเมื่อเมล็ดแก่จัด การกระจายเมล็ดเกิดได้เองและอาจแพร่กระจายได้เร็วมากจนกลายเป็นวัชพืชถ้าขาดการควบคุมดูแลที่ดี ผู้ปลูกบางรายแนะนำว่าก่อนปลูกควรแช่เมล็ดก่อน แต่พบว่าไม่จำเป็น == การศึกษาด้านพันธุกรรม == ในช่วงปี ค.ศ.1900 คาร์ล คอร์เรนส (Carl Correns) ใช้ต้นบานเย็นเป็นพืชต้นแบบสำหรับการศึกษาวิจัยเรื่องการถ่ายทอดพันธุกรรมทางไซโตพลาสซึม (cytoplasmic inheritance) โดยใช้ต้นบานเย็นพันธุ์ที่มีใบลายในการพิสูจน์ว่า มีปัจจัยบางอย่างที่อยู่นอกนิวเคลียสเป็นตัวกำหนดลักษณะทางกายภาพของต้นบานเย็น ด้วยกลไกที่ไม่สามารถอธิบายได้โดยทฤษฎีของเมนเดล คอร์เรนสเสนอความคิดว่าลักษณะสีของใบบานเย็นถ่ายทอดสู่รุ่นลูกจากบรรพบุรุษฝ่ายเดียว (uniparental mode of inheritance) เมื่อทำการผสมเกสรระหว่างต้นดอกสีแดงกับต้นดอกสีขาว จะได้รุ่นลูกที่มีดอกสีชมพู ไม่ใช่สีแดง ซึ่งเป็นลักษณะที่อยู่นอกเหนือกฎยีนเด่นข่มยีนด้อยของเมนเดล (Mendel's Law of Dominance) เพราะในกรณีนี้ยีนที่ให้ดอกสีแดงกับยีนให้ดอกสีขาวมีการแสดงออกเท่ากัน จึงไม่มีลักษณะของยีนใดยีนหนึ่งแสดงออกอย่างเด่นชัดเพียงลักษณะเดียว == การใช้ประโยชน์ == ดอกบานเย็น ใช้ทำสีผสมอาหารสีแดงเข้ม ซึ่งมักใช้แต่งสีเค้กและเจลลี่ ใบ กินสุกได้ แต่ควรกินเมื่อจำเป็นเท่านั้น ส่วนต่างๆ ของต้นบานเย็นนำไปใช้ในยาขับปัสสาวะ ยาระบาย และรักษาแผล ส่วนรากเชื่อว่ามีสรรพคุณเพิ่มสมรรถนะทางเพศ และออกฤทธิ์ขับปัสสาวะและระบายท้อง รวมถึงมีการใช้เพื่อรักษาอาการบวมน้ำ ใบ ใช้ลดอาการอักเสบ น้ำคั้นใบตำละเอียดและต้มแล้วใช้รักษาฝีหนอง เมล็ดของบานเย็นบางพันธุ์ เมื่อบดละเอียดเป็นผงใช้ผสมในเครื่องสำอางและสีย้อม แต่เมล็ดบานเย็นส่วนใหญ่ถือว่ามีพิษ ==อ้างอิง== == อ่านเพิ่ม == ไม้ดอกไม้ประดับ พืชมีพิษ สมุนไพร พืชให้สีย้อม วงศ์บานเย็น
thaiwikipedia
339
ไบโอดีเซล
ไบโอดีเซล (biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้ทดแทนกันได้ คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม == นิยาม == ไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล จัดเป็นสารประเภทเอสเทอร์ทำจากน้ำมันพืชผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterification Process) โดยให้น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เช่นเมทานอล หรือเอทานอล และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีลักษณะเป็นเอสเตอร์ของกรดไขมัน เรียกว่า Fatty Acid Methyl Ester การเรียกชื่อประเภทของไบโอดีเซลขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เช่น เมทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เมทานอลเป็นสารในการทำปฏิกิริยา หรือเอทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เอทานอล เป็นสารในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น ไบโอดีเซลแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ ไบโอดีเซลที่ได้จากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้เลย ไบโอดีเซลแบบผสม เป็นการนำน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์มาผสมกับน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดีเซล ก่อนนำไปใช้เช่น โคโคดีเซล (Coco-diesel) และปาล์มดีเซล (Palm-diesel) เป็นต้น ไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์ ได้จากปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า ทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterification process) ซึ่งนำแอลกอฮอล์มาทำปฏิกิริยากับน้ำมันจากพืชหรือสัตว์โดยใช้กรด หรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา == ผลต่อการทำงานของรถยนต์ == ไบโอดีเซลช่วยหล่อลื่นแทนกำมะถัน และลดฝุ่นละอองหรือควันดำ (particulate matter) ให้ต่ำลง โดยไม่ทำให้เครื่องยนต์อุดตันเพราะเผาไหม้หมด == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == คณะกรรมการไบโอดีเซลแห่งชาติ, สหรัฐอเมริกา สมาคมไบโอดีเซลออสเตรเลีย ข้อมูลไบโอดีเซล สมาคมเชื้อเพลิงหมุนเวียนแคนาดา พลังงาน พลังงานหมุนเวียน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
thaiwikipedia
340
ประทัดจีน
ประทัดจีน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Russelia equisetiformis; ชื่อสามัญ: Fountainbush; Firecracker plant; Coral plant; Coralblow; Fountain plant) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและกัวเตมาลา ==ดูเพิ่ม== ประทัดไต้หวัน เทียนประทัด == อ้างอิง == ประทัดจีน วงศ์มณเฑียรทอง
thaiwikipedia
341
ผักบุ้งรั้ว
ผักบุ้งรั้ว หรือ บ้องเลน, มันจระเข้, มันหมู เป็นพืชในวงศ์ Convolvulaceae ลักษณะเป็นไม้เถาล้มลุก ยาวได้ถึง 5 เมตร ใบรูปรี รูปไข่ถึงแกมใบหอก ยาว 2.5-5 เซนติเมตร แฉกกลางขนาดใหญ่กว่าแฉกข้าง ก้านใบยาว 2-8 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อรูปกรวยสีม่วงอมชมพู 1-3 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-2 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2-8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีม่วงอ่อน ด้านในสีม่วงเข้ม ผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร สีดำ มีขนสั้นนุ่ม ผักบุ้งรั้วกระจายพันธุ์ในอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชียถึงหมู่เกาะแปซิฟิก รากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง ขับน้ำเหลือง ช่วยขับน้ำนม แก้พิษแมงป่อง == อ้างอิง == วงศ์ผักบุ้ง ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร ไม้เลื้อย
thaiwikipedia
342
พุดตาน
พุดตาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus mutabilis L.) (ชื่อสามัญ: Cotton rose, Cotton rose hibiscus, Confederate rose, Confederate rose mallow, Dixie rosemallow, Changeable Rose, Changeable rose mallow, Rose of Sharon) พรรณไม้มงคลไทยสรรพคุณทางยาควรค่าที่จะมีปลูกไว้ เป็นพันธุ์ไม้ที่ดอกสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สี ภายใน 1 วัน ใบสวยงามมากเมื่อมีใบดกทั่วต้นโดยเป็นไม้ที่ชอบแดดจัด และไม่ชอบน้ำขัง เจริญได้ดีในดินดอนร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งและปักชำ และยังมีสรรพคุณสามารถรักษาโรคได้อีกด้วย == ประวัติ == เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน โดยชาวจีมีความเชื่อว่าเป็นพรรณไม้มงคล เนื่องจากดอกสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สี ซึ่งเปรียบได้เสมือนกับชีวิตของคนที่เกิดมา "เป็นเด็ก" แล้วโตขึ้น "เป็นหนุ่ม" และชราวัย "เป็นแก่เฒ่า" หมุนเวียนตามวัฏจักรเกิดแก่เจ็บตายตามวัฏจักรของสรรพชีวิตเหมือนสีของดอก "พุดตาน" ที่เมื่อแรกบานจะเป็น "สีขาวบริสุทธิ์" เปรียบได้กับ "เด็กไร้เดียงสา" แล้วเปลี่ยนเป็น "สีชมพู" สดใสดุจ "คนหนุ่มสาววัยร่าเริง" และสุดท้ายจะเป็น "สีแดงเข้ม" ก่อนเหี่ยวและร่วงโรยจากต้นในที่สุด เสมือน "คนแก่วัยชรา" ที่รอวันสิ้นอายุขัย ซึ่งปัจจุบันน้อยคนมากที่จะรู้จักต้นพุดตานและเข้าใจในวัฏจักรของธรรมชาติ ที่แฝงไปด้วยองค์ความรู้ในการค้นหาความสุขที่แท้จริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ถึงจุดสุดท้ายแห่งชีวิต ==ลักษณะทางพฤกษศาสตร์== พุดตานเป็นพรรณไม้จัดอยู่ในวงศ์ชบา (Family Malvaceae) ไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2 - 5 เมตร ตามลำต้นและกิ่งมีขน อยู่ทั่วไป กิ่งพุดตาน จะมีสีเขียวอ่อนและแก่ขึ้นเป็นสีเขียวเข้มจนเปลี่ยนเป็นกิ่งแก้เต็มที่จะมีสีน้ำตาลปน มีขนสีเทาทั่วกิ่ง มีดอกออกที่ปลายกิ่ง ใบพุดตาน มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก มีรูปแบบใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบใบเว้า 3 - 5 แฉก เนื้อใบมีขนสากมือ ก้านใบยาว สีเขียวสด เวลาใบดกจะดูสวยงามมาก ใบกว้างประมาณ 9-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร ดอกพุดตาน ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อ 1 - 3 ดอก ออกบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง มีริ้วประดับ 7-10 อัน ดอกมีกลีบเกลี้ยง 5 แฉก มีขนทั่วดอก มีกลีบดอกตั้งแต่ 5 กลีบไปจนถึง 10 กลีบ ตามแต่สายพันธุ์ ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกมียอดเกสรตัวเมียสีเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายดอกชบาซ้อน โดยดอกจะบานในตอนเช้าช่วง 7 - 8 นาฬิกา โดยเมื่อดอกแรกบานจะ "เป็นสีขาว" ทั่วทั้งดอก เมื่อสายดอกจะค่อยๆ เปลี่ยนสี "เป็นสีชมพูและเป็นสีชมพูเข้ม" โดยมีสีชมพูปนขาว จนชมพูทั่วทั้งดอก ใน "ตอนบ่าย" และดอกจะเปลี่ยน "เป็นสีแดงและสีแดงเข้ม" โดยมีสีแดงปนชมพู ใน "ตอนเย็น" จนกลายเป็นสีแดงเข้มทั่วทั้งดอก แล้วร่วงโรยในที่สุด พุดตานออกดอกดกตลอดทั้งปี จึงเหมาะสำหรับปลูกไว้เป็นไม้ประดับที่ควรมีปลูกไว้ ผลพุดตาน รูปทรงกลม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ต้นพุดตาน ชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ไม่ชอบที่แฉะหรือมีน้ำขัง ปลูกได้ดีในที่ดอน ดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ==สารสำคัญที่พบ== ในดอกพุดตานจะมีสารฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) โดยสารชนิดนี้จะมีปริมาณเปลี่ยนไปตามสีของดอกเมื่อดอกบาน โดยสีแดงจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ในช่วงที่ดอกมีสีแดงเข้ม โดยจะมีปริมาณเป็น 3 เท่าของตอนที่ดอกยังเป็นสีชมพู ==สายพันธุ์พุดตานที่พบ== พบว่าพุดตานมีมากกว่า 5 สายพันธุ์ ตามขนาดของดอก ตั้งแต่ พุดตานดอกเล็ก โดยมีขนาดดอกเทียบเท่ากับฝ่ามือของเด็ก และ พุดตานดอกกลาง สายพันธุ์ดอกขนาดกลางเทียบได้กับฝ่ามือของวัยรุ่น ไปจนถึง พุดตานดอกใหญ่ โดยสายพันธุ์พุดตานดอกใหญ่เทียบได้กับหนึ่งฝ่ามือผู้ใหญ่โตเต็มวัย ==การขยายพันธุ์พุดตาน== พุดตานสามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งและปักชำกิ่ง ==สรรพคุณทางเภสัชวิทยา== ไฟล์:พุดตาน Hibiscus mutabilis IMG 9244 Photographs by Peak Hora.jpg|ลักษณะใบ และดอกพุดตาน ไฟล์:IMG_8156_Photographed_by_Peak_Hora.jpg|ลักษณะช่อดอก ของพุดตาน ไฟล์:พุดตาน Hibiscus mutabilis IMG 9615 Photographs by Peak Hora.jpg|สีของดอกพุดตาน ที่เปลี่ยนแปลง ใบ หรือ ดอกสด ตำผสมน้ำผึ้งทาบริเวณที่เป็นฝี หรือบริเวณที่ถูกผึ้งต่อยไม่ให้เกิดการอักเสบได้ ใบแห้ง บดเป็นผงเตรียมเป็นขี้ผึ้งรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกดีมาก ซึ่งสารสำคัญในดอกคือ สารฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) นอกจากนั้น ใบแห้ง จำนวน 15 ใบ บดให้ละเอียดแล้วใส่ไข่ขาวผสมให้เข้ากันนำไปพอกบริเวณที่เป็น "คางทูม" ทำพอกวันละ2 ครั้ง คือ เช้าและเย็น ทำพอกจนกว่าจะหายคอบวม หรือ ใช้ดอกแห้ง 12 กรัม และ ใบสด 40 กรัมต้มน้ำดื่ม หรือ จะบดรวมกัน แล้วใส่ไข่ขาวนำไปทาบริเวณที่เป็นคางทูมก็ได้เหมือนกัน หากใครถูกไฟลวก น้ำร้อนลวก จนผิวหนังเป็นแผลพุพองไม่ถึงกับเป็นแผลลึกนัก ให้ใช้ใบสด 4 ใบ ตำละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาบ่อยๆ อาการจะค่อยๆดีขึ้นเห็นได้ชัด ใครเป็น "งูสวัด" ใช้ใบสด 5 กรัม ตำใส่น้ำซาวข้าวทาบริเวณที่เป็นเรื่อยๆจะหายได้ หรือจะใช้ราก ตำนำไปพอกบริเวณที่เป็น "งูสวัด" รักษาได้เช่นกัน ทั้งนี้จากการพบสารสำคัญในกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารสำคัญแอนโทไซยานิน ดอกอาจสามารถใช้ในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้อีกด้วย แต่ยังไม่มีงานวิจัยในเรื่องดังกล่าว จึงเหมาะสำหรับการนำไปศึกษาวิจัย ในลำดับต่อไป ==อ้างอิง== ไม้ดอกไม้ประดับ สกุลชบา สมุนไพรจีน สมุนไพรไทย สมุนไพร
thaiwikipedia
343
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. หรือ NSTDA) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่พัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยดำเนินกิจกรรมด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2534 == ผู้อำนวยการ == ผู้อำนวยการ สวทช. ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 วาระ == หน่วยงานในสังกัด == ศูนย์วิจัยแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) หน่วยงานและโครงการอื่นๆ ในสังกัดที่สำคัญได้แก่ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี) ภายใต้สังกัด สำนักงานกลาง สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้สังกัด สำนักงานกลาง เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย (Software Park) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park) โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (สบวท) โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) โครงการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งประเทศไทยและสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (TAIST-Tokyo Tech) ==ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์== สวทช. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาภายใต้การดำเนินการของนักวิจัยจากศูนย์แห่งชาติ โดยมีผลงานวิจัยจำนวนมาก ทั้งนี้ผลงานวิจัยที่ออกสู่เชิงพาณิชย์ ได้แก่ หัวเชื้อไวรัสไข้เลือดออก เพื่อการพัฒนาต่อเป็นวัคซีน ฟิล์มเคลือบอิฐประดับและวัสดุก่อสร้าง กันตะไคร่น้ำและคราบสกปรก ซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลจุลินทรีย์และวัสดุชีวภาพ (Software iCollect Microbial Information Management System) เทคโนโลยีแปรรูปมะม่วงสดตัดแต่งผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุดเพื่อการส่งออก Traffy:ศูนย์ข้อมูลการจราจรทางมือถือ ชุดเปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าเอนกประสงค์ RF Remote Control 1:4 และแจ้งเหตุฉุกเฉินชุมชน เครื่องตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ NetHAM modul เวอร์ชัน 1.0 สำหรับบริหารเครือข่ายขนาดเล็ก โปรแกรม 3D model สำหรับการรายงานสภาพการจราจรบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟน (iPhone) โปรแกรมรู้จำตัวอักษรภาษาไทยสำหรับผู้พิการทางสายตา (OCR version for the blind) สวิตช์เดี่ยวแบบกดติดปล่อยดับ (Single Switch) สำหรับคนพิการ เครื่องวัดความหนาแบบไม่สัมผัสสำหรับ ควบคุมคุณภาพการผลิตเลนส์ โครงการออกแบบและพัฒนารถบรรทุกอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร เครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับครัวเรือนและชุมชน น้ำปลาผง ซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียมเดนตี้แพลน (Dental Implant Planning Software:DentiPlan) โมโนโคลนัลแอนติบอดี ที่จำเพาะต่อไวรัสกุ้ง (WSSV/YHV/TSV/IHHNV) วัสดุชีวภาพ เพื่อทดสอบการตั้งท้องของแม่โค (โมโนโคลนัลแอนติบอดี ที่จำเพาะต่อ Progesterone) ชุดทดสอบไวรัสกุ้ง (WSSV) แบบ LAMP-LFD ชุดตรวจวินิจฉัยไวรัสแหลมสิงห์ (LSNV) ชุดตรวจโรคใบขาวในอ้อย (2553) หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ต NSTDA Online Learning Project: NOLP เครื่องตรวจวัดกลิ่น (E-nose) สารสกัดจากบัวบกและตะไคร้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ กระดาษสากันน้ำและกระดาษสาทนไฟ เครื่องคั่วเมล็ดงา ถุงห่อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เทคนิคการตรวจไวรัสก่อโรคในกุ้งตัวใหม่ IMNV (Infection Myonecrosis Virus) ซอฟต์แวร์อัจฉริยะจำทะเบียนรถได้ สูตรเคลือบเซรามิกส์ไร้สารตะกั่วในระดับอุตสาหกรรม แผ่นใยซีเมนต์จากไม้ยางพารา กรรมวิธีการตรวจหาปริมาณสารต้านมาลาเรียจากต้นชิงเฮา การผลิตและจำหน่ายเครื่องสำรองไฟฟ้าแบบประสิทธิภาพสูงจากแบตเตอรี่ สูตรสมุนไพรควบคุมและกำจัดไรฝุ่นจากอบเชยและกานพลู กรรมวิธีการแยกเนื้อยางและสารอนินทรีย์ออกจากกากตะกอนน้ำยางธรรมชาติ ชุดทดสอบอนุพันธ์สารไนโตรฟูแรน แบบ ELISA แผ่นผ้ากรองใช้ในการเพาะเลี้ยงพืช ชุดตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยวิธีพีซีอาร์ กระบวนการผลิตเอนไซม์เพนโตซาเนสจากเชื้อรา เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์บก ชุดตรวจเม็ดเลือดแดงเพื่อใช้ตรวจหาปฏิกิริยาแอนติเจน-แอนติบอดี ต่อเม็ดเลือดแดง เครื่องบดเมล็ดพืช เทคโนโลยีการตรวจสอบและประมวลผลสถิติ การเยี่ยมชมเว็บไซต์ประเทศไทย (Truehits.net) วัสดุพรุนจากขี้เถ้าแกลบสำหรับการบำบัดทางชีวภาพ และวัสดุเพาะปลูก ต้นแบบระบบควบคุมการฉีดก๊าซระบบหัวฉีด สำหรับเครื่องยนต์ดัดแปลงใช้ก๊าซ ชุดทดสอบความเป็นกรดของบโอดีเซลประเภทอัลคิลเอสเทอร์ Hyaluronan เพื่อการเตรียมวินิจฉัยโรคตับ ระบบควบคุมการจุดระเบิดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลดัดแปลง (Ignition control Module for Modified Diesel Engine ผ้าพลาสติกคัดกรองแสงสำคัญคุลมโรงเรือนเพาะปลูก ชุดตรวจวินัจฉัยไข้หวัดนกโดยใช้หลักการไบโอเซ็นเซอร์ อิเล็กโทรดวัดความชื้นสำหรับเมล็ดหรือเม็ดวัสดุที่มีรูปร่างไม่เป็นทรงกลม การพัฒนาเทคโนโลยีสกัดน้ำมันสบู่ดำเพื่อใช้งานในชุมชนเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ในลมหายใจ SAM-05 (Screening Alcohol) ชุดตรวจคัดกรองพาหะอัลฟ่าธาลัสซีเมียแบบ IC Strip test การยืดเวลาการให้กลิ่นในผลิตภัณฑ์ดอกไม้อบแห้ง เทคโนโลยี "รากฟันเทียม" ระบบแปลภาษาไทย - อังกฤษ "ภาษิต" ชุดน้ำยาตรวจนับเม็ดเลือดขาว สำหรับผู้ป่วยเอดส์ (CD4 Select) การวิเคราะห์และออกแบบไฟหน้าสำหรับรถเกี่ยวข้าว เสื้อกีฬานาโนยับยั้งเชิ้อจุลินทรีย์และกลิ่น ชีวอินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช (2549) การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอเครื่องหมายเพื่อการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ ดินเซรามิกแผ่นบาง ระบบประเมินวัดความพรุน/ปริมาณไฮโดรเจน ในงานหล่ออะลูมิเนียม (quantitative reduced-pressure test and porosity assessment system) เครื่องเชื่อมโลหะความถี่สูง เครื่องอ่านค่าสีสำหรับวัดความเข้มข้นของสารเคมี เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย และผลิตพลังงาน "ก๊าซชีวภาพ" สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร (2549) ชุดตรวจไวรัสกุ้งด้วยเทคนิคพีซีอาร์ (PCR) รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย เทคโนโลยีการฉีดพลาสติกโดยใช้ก๊าซช่วย โปรแกรมช่วยวางแผนการจัดฟัน "CephSmile" Cephalometric Analysis and Treatment Simulation Software อุปกรณ์วัดความดันในหลอดเลือดหัวใจ Intravenous Blood Pressure Sensor ระบบผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic/Thermal (PVT) Solar system) การพัฒนากระบวนการผลิตท่อนพันธุ์ปทุมมาและขิงขนาดเล็ก การพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟเพื่อยืดอายุการผลิต VAJA ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทยคุณภาพสูง การะประยุกต์ใช้อนุภาคนาโนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ == อ้างอิง == กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 หน่วยงานของรัฐบาลไทยในจังหวัดปทุมธานี
thaiwikipedia
344
ลั่นทม
ลั่นทม หรือ ลีลาวดี เป็นไม้ดอกยืนต้นในวงศ์ตีนเป็ด หรือ วงศ์ไม้ลั่นทม (Apocynaceae) พืชสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นพุ่มไม้ผลัดใบหรือต้นไม้ขนาดเล็ก ถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่เม็กซิโก อเมริกากลาง และหมู่เกาะแคริบเบียน ไปจนถึงภาคใต้ของบราซิลและฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็มีการปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่น บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้านเพราะมีความเชื่อว่า เป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ นิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น (สำหรับชื่อภาษาอังกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Temple Tree, Graveyard Tree) ต้นลีลาวดีเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู สีขาวขุ่น ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี อาจมีมากถึงหลายสีในดอกเดียว ดอกลีลาวดียังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว โดยเรียกว่า "ดอกจำปา" == ชื่อพื้นเมือง == รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันในชื่อ ลีลาวดี โดยบางแหล่งงดใช้ชื่อ ลั่นทม ตามความเชื่อ บางแหล่งรู้จักกันในชื่อ จำปา เนื่องจากเป็นดอกไม้ประจำชาติของลาวและประเทศไทยมีดินแดนติดกับลาว หรือรู้จักในชื่อ จำปาลาว และจำปาขอม ซึ่งชื่อที่ใช้ในปัจจุบันและรู้จักกันทั่วไปจะอยู่ลำดับแรกสุด == ความเชื่อ == คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดีภาษาดอกไม้ของ "ลั่นทม" หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศก ซึ่งมาจากคำว่า "ลั่น" หมายถึง การละทิ้ง แตกหัก ส่วน "ทม" หมายถึง ความเศร้าโศก เสียใจ ไม่ได้มีความหมายว่า "ระทม" เหมือนที่คนเข้าใจ แต่หากแปลภาษาไทยตามพจนานุกรมตามคำต่อคำโดยแยกเป็น คำว่า ลั่น และ คำว่า ทม คำว่า ลั่น เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดัง ส่วนคำว่า ทม ราชบัณฑิตไม่มีนิยามของคำดังกล่าว ดังนั้นคำว่า ลั่นทม อาจสามารถใช้อย่างแพร่หลายได้ โดยไม่ยึดติดความเชื่อกับคำว่า ระทม ซึ่งคำว่าลั่นทมนั้นได้ถูกนิยามไว้ว่า น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae เช่น ชนิด P. rubraL. ดอกสีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม, จำปาหอม ก็เรียก, พายัพเรียก จำปาลาว, อีสานเรียก จำปา, ปักษ์ใต้เรียก จำปาขอม ส่วนคำว่าลีลาวดียังไม่มีนิยามในคำดังกล่าว แต่หากแปลภาษาไทยตามพจนานุกรมตามคำต่อคำโดยแยกเป็น คำว่า ลีลา และคำว่า วดี คำว่า ลีลา เป็น (๑) น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย (๒) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี (๓) น. ท่วงทำนอง (๔) น. การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะแก่ข้อความของเรื่อง ส่วนคำว่า วดี แปลว่า (๑) น. รั้ว, กำแพง ส่วน วดี (๒) น. คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลักไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว ดังนั้น ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ลั่นทมเป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่ว ๆ ไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระองค์ได้พระราชทานนามใหม่แก่ลั่นทม ว่า “ลีลาวดี” ซึ่งน่าจะมาจากลักษณะการทอดกิ่งที่อ่อนช้อยงดงาม ทำให้คนเริ่มนิยมปลูกไม้ชนิดนี้มากขึ้น และก็มีชื่อเรียก แตกต่างกันไป ลั่นทมเป็นต้นไม้สกุล Plumeria มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ และถูกนำเข้ามาในดินแดนแถบนี้เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนโดยนักเดินเรือชาวสเปนหรือโปรตุเกส จึงไม่มีชื่อในภาษาไทย และไม่ปรากฏชื่อในวรรณกรรมโบราณ แหล่งที่มาของคำว่า ลั่นทม เข้าใจว่ามาจากคำว่า "สราญธม"(สะ-ราน-ทม) ในภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า "ความรักอันยิ่งใหญ่" ทั้งนี้ ในสมัยโบราณต้นไม้ชนิดนี้นิยมปลูกในวัด จึงไม่นิยมปลูกในบ้าน มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลั่นทมในลักษณะต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้นี้ตามหลักสากลมีชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วไปว่า พลัมมีเรีย (plumeria) ==ทางพฤกษศาสตร์== สกุล Plumeria มีมากกว่า 21 ชนิด เท่าที่ตรวจพบสายพันธุ์มีมากกว่าร้อยสายพันธุ์ Plumeria หลายสายพันธุ์จะมียาง คล้ายกับสายพันธุ์อื่นๆ ในวงศ์ตีนเป็ด Apocynaceae ซึ่งประกอบไปด้วยสารพิษและทำให้ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง ในหลายสายพันธุ์มีลักษณะของใบและการเรียงตัวของเนื้อเยื่อใบที่แตกต่างกัน ใบของสายพันธุ์ Plumeria alba จะเรียวและแหลม ในขณะที่สายพันธุ์ Plumeria pudica มีรูปร่างยาวและมันวาว สีเขียวเข้ม และในสายพันธุ์ Plumeria pudica ใบอ่อนจนถึงใบแก่มีสีเท่ากันตลอดจนร่วง ส่วนในสายพันธุ์ที่ดอกและใบไม้ร่วงแม้ในฤดูหนาวคือสายพันธุ์ Plumeria obtusa หรือรู้จักกันอย่างเป็นทางการคือลีลาวดีสิงคโปร์ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง ==ลักษณะทั่วไป== ต้น เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง 12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียว อ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนา ต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไป ใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันไม่มาก ช่อดอก ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบ บางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10 – 30 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ดอก โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกมีลักษณะคล้ายท่อ ทำให้มองไม่เห็นเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยจะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน อยู่ที่โคนก้านดอก ส่วนเกสรตัวเมียอยู่ลึกลงไปในก้านดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน ยากต่อการผสมตัวเอง ฝัก/ผลมีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ == ชื่อวิทยาศาสตร์ == ลีลาวดีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Plumeria spp. == ชื่อวงศ์ == ลีลาวดีอยู่ในวงศ์ Apocynaceae สปีชีส์ที่ได้รับการยอมรับมีอยู่ประมาณ 21 สปีชีส์ ก่อนหน้านี้สายพันธุ์ที่ปรากฏในสกุลนี้คือ Plumeria ambigua Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson Plumeria angustiflora Spruce ex Müll.Arg. = Himatanthus attenuatus (Benth.) Woodson Plumeria articulata Vahl = Himatanthus articulatus (Vahl) Woodson Plumeria attenuata Benth = Himatanthus attenuatus (Benth.) Woodson Plumeria bracteata A.DC. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson Plumeria drastica Mart. = Himatanthus drasticus (Mart.) Plumel Plumeria fallax Müll.Arg. = Himatanthus drasticus (Mart.) Plumel Plumeria floribunda var floribunda = Himatanthus articulatus (Vahl) Woodson Plumeria floribunda var. acutifolia Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson Plumeria floribunda var. calycina Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson Plumeria floribunda var. crassipes Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson Plumeria hilariana Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson Plumeria lancifolia Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson Plumeria latifolia Pilg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson Plumeria martii Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson Plumeria microcalyx Standl. = Himatanthus articulatus (Vahl) Woodson Plumeria mulongo Benth. = Himatanthus attenuatus (Benth.) Woodson Plumeria obovata Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson Plumeria oligoneura Malme = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson Plumeria phagedaenica Benth. ex Müll.Arg. 1860 not Mart. 1831 = Himatanthus drasticus (Mart.) Plumel Plumeria phagedaenica Mart. 1831 not Benth. ex Müll.Arg. 1860= Himatanthus phagedaenicus (Mart.) Woodson Plumeria puberula Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson Plumeria retusa Lam. = Tabernaemontana retusa (Lam.) Pichon Plumeria revoluta Huber = Himatanthus stenophyllus Plumel Plumeria speciosa Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson Plumeria sucuuba Spruce ex Müll.Arg. = Himatanthus articulatus (Vahl) Woodson Plumeria tarapotensis K.Schum. ex Markgr. = Himatanthus tarapotensis (K.Schum. ex Markgr.) Plumel Plumeria velutina Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson Plumeria warmingii Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson ==อัลบั้มภาพ== ไฟล์:D85_4418_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกลีส้ม,ขาวและขอบชมพู - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4417Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลืองไล่เฉดขาว - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4419_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลือง และมีเส้นสีขาว ปลายกลีบดอกสีชมพูรอบกลีบ - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4421_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลือง และไล่สีขาวไปจนถึงสีชมพู จนถึงปลายกลีบดอก - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4423_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลือง สีขาวและขอบสีชมพู - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4430_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีแดงเข็มทั้งดอก - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4424_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลืองและชมพูอ่อน - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4425_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลือง ขอบกลีบสีชมพู - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4427_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีส้ม - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4428_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกสีขาว - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4429_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีแดงสด - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4449_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีส้มเข้มและสีชมพูอ่อน - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85_4451_Plant_of_Thailand_Photographed_by_Trisorn_Triboon.jpg |พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีชมพูทั้งดอก - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85 6561 Photograped by Trisorn Triboon 01.jpg|พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีชมพูปนสีเหลือง - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85 6561 Photograped by Trisorn Triboon 04.jpg|พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกเรียวสีเหลือง สีขาว ขอบดอกสีชมพู ปลายแแหลม - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85 6561 Photograped by Trisorn Triboon 05.jpg|พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีชมพูปนสีส้ม - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85 6561 Photograped by Trisorn Triboon 06.jpg|พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลืองอ่อนทั้งดอก - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:D85 6561 Photograped by Trisorn Triboon 07.jpg|พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลางกลีบดอกสีเหลืองและกลีบดอกสีชมพูปนสีขาว - ลีลาวดีพบในประเทศไทย ไฟล์:Kudup dan bunga kemboja (Plumeria).JPG |ลีลาวดี สีแดงพบใน ประเทศมาเลเซีย. ไฟล์:Bunga kemboja (Plumeria) merah.JPG |ลีลาวดี สีแดงพบใน ประเทศมาเลเซีย ไฟล์:Plumeria (Frangipani).jpg|ลีลาวดีในJardin des Plantes de Lille, Lille, ประเทศฝรั่งเศส ไฟล์:Fallen Plumeria.JPG|ลีลาวดีพบใน บังกลอ, ประเทศอินเดีย ไฟล์:Bunga Kemboja.jpg |ลีลาวดีสีชมพู ไฟล์:Plumeria White.jpg|ลีลาวดีสีขาว พบใน อัญประเทศ ไฟล์:Chempakam.jpg|ลีลาวดีสีขาว พบใน, Kozhikode, Kerala ไฟล์:Plumeria-0006-Zachi-Evenor.jpg|Plumeria rubra พบใน ประเทศอิสราเอล ไฟล์:Indian champa plumeria.jpg | ลีลาวดี (Indian Champa) พบใน Surat, ประเทศอินเดีย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == พืชแบ่งตามสกุล วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
thaiwikipedia
345
รำเพย
รำเพย ( Juss. ex Steud.) ชื่ออื่น ๆ คือ ยี่โถฝรั่ง กระบอก เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีความสูง 2 - 3 เมตร มียางสีขาวเป็นพิษระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะใบแคบเรียวยาวคล้ายใบยี่โถ หนาแต่ไม่แข็ง ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ออกทีละ 3-4 ดอกที่ปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะเป็นกรวย มีกลีบ 5 กลีบเรียงซ้อนทับกัน โคนดอกเป็นหลอดมีสีอมเขียว มีกลีบเลี้ยง ยาวแหลม 5 กลีบเช่นกัน ดอกมีหลายสี เช่น สีเหลือง ส้ม ขาว เมื่อดอกโรยจะติดผล ผลมีลักษณะกลม ปลายผลแบนมีรอยหยักเป็น 2 แฉก เมื่อสุกมีสีดำ มีเมล็ดข้างใน 1-2 เมล็ด ออกดอกในฤดูฝนถึงฤดูหนาว ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป โดยเฉพาะดินปนทราย และชอบแสงแดดจัด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง ปลูกเป็นไม้ประดับสวน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกตลอดปี เป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง รับประทานเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ชัก หมดสติ หัวใจเป็นอัมพาต รำเพยเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์ ชื่อรำเพยนี้ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ทรงตั้งตามพระนามของพระราชนัดดาองค์หนึ่งของพระองค์ซึ่งก็คือ หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ หรือต่อมาคือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไฟล์:Thevetia nerifolia (338606253).jpg|รำเพยขาว ไฟล์:Thevetia peruviana2.jpg|รำเพยเหลือง ไฟล์:Thevetia-peruviana-20070918.JPG|รำเพยส้ม ไฟล์:Thevetia peruviana 05.JPG|ผลสุกเป็นสีดำ ไฟล์:Thevetia peruviana MHNT.BOT.2007.27.24.jpg|ตัวอย่างชนิด Thevetia peruviana รำเพยเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์ ชื่อรำเพยนี้ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ทรงตั้งตามพระนามของพระราชนัดดาองค์หนึ่งของพระองค์ซึ่งก็คือ หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ หรือต่อมาคือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว == อ้างอิง == Ref: ITIS 30124 วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ พืชมีพิษ
thaiwikipedia
346
หน้าวัว
หน้าวัว (anthurium) เป็นสกุลของพืชในวงศ์บอน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ปัจจุบันกระจายพันธุ์ในเกือบทุกทวีป แต่จะเติบโตได้ดีในภูมิอากาศแบบร้อนหรือร้อนชื้น (15 - 30 องศาเซลเซียส) จากฐานข้อมูลพืช ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557) ได้รายงานไว้ว่าเกี่ยวกับ "ชื่อค้นหา" ของคำว่า "หน้าวัว" ในประเทศไทยทั้งหมด 4 ชื่อ คือ 1. หน้าวัวดอก (Flamingo flower หรือ Tail flower) Anthurium × ferrierense Mast. & T. Moore 2. หน้าวัวดอกแดง (Flamingo flower, Pigtail Anthurium หรือ Pigtail flamingo flower) Anthurium scherzerianum Schott 3. หน้าวัวไทย (เจ็ดทิวา, เดหลีใบกล้วย, Madonna lily, Peace lily หรือ Spathe flower) จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับหน้าวัว แต่อยู่คนละสกุลกัน โดยหน้าวัวไทยจัดอยู่ในสกุล Spathiphyllum มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Spathiphyllum cannifolium (Dryand. ex Sims) Schott 4. หน้าวัวใบ (Crystal Anthurium) Anthurium crystallinum Linden ex André == ความหมายของดอกหน้าวัว == คนไทยถือว่าดอกหน้าวัวเป็นดอกไม้อัปมงคล  ใช้ในงานศพ  ไม่เหมาะที่จะมอบให้ในงานวันเกิด แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป ดอกหน้าวัวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ  แต่ก็ควรจะหลีกเลี่ยงในการให้ในงานมงคล ดอกหน้าวัว แทนความหมายของการต้อนรับขับสู้ด้วยความยินดี ในโอกาสที่ถูกเชิญไปเป็นแขก ผู้คนก็มักนิยมนำดอกไม้ชนิดนี้ติดไม้ติดมือไปฝากเจ้าของบ้านด้วยนั่นเอง ถ้าจะให้เป็นดอกไม้แทนใจแล้วละก็ความหมายของดอกหน้าวัวนั้นก็อาจจะฟังดูเศร้าไปหน่อย และความหมายแทนใจก็คือ “หญิงสาวผู้เหงาเศร้า แต่หยิ่งและทรนงค์ในศักดิ์ศรีของตัวเอง” แต่ถ้าจะให้เป็นดอกไม้แทนความรักแล้วละก็มีความหมายที่ดีไม่แพ้ใครเลยซึ่งความหมายนั่นก็คือ “ความรักที่มั่นคงและอดทน” == การจัดจำแนกหน้าวัวในประเทศไทย == ในประเทศไทยพบหน้าวัว จำนวน 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1. Anthurium andraeanum โดยทั่วไปใช้เป็นพืชตัดดอก มีทั้งหมด 4 สี คือ 1.1 พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีขาว เช่น พันธุ์ขาวคุณหนู 1.2 พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีชมพู เช่น พันธุ์ศรียาตรา พันธุ์จักรเพชร 1.3 พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีแดง พันธุ์ที่นิยมเป็นไม้ตัดดอกของเมืองไทย คือ พันธุ์ดวงสมร (พันธุ์นี้มีลักษณะของจานรองดอกสีแดงเข้ม รูปหัวใจ ปลีมีสีเหลือง เมื่ออายุมากขึ้นถึงแก่จะมีสีขาว) 1.4 พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีส้ม เช่น พันธุ์สุหรานากง (มักใช้ประกวด) และพันธุ์ดาราทอง (มักใช้เป็นไม้กระถาง) 2. Anthurium schzerianum เป็นชนิดที่มีสีของจานรองดอกแตกต่างกัน และไม่ค่อยนิยมปลูกเลี้ยงในไทย เนื่องจากต้องการความเย็นและความชื้นสูงกว่า Anthurium andraeanum ส่วนใหญ่มักพบการปลูกเลี้ยงในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == === ลำต้น === หน้าวัวเป็นไม้อายุหลายปี อวบน้ำลำต้นตรง โดยจะมีการแตกหน่อเลื้อยมีการเจริญยอดเดียว เมื่อยอดเจริญสูงขึ้นอาจพบรากบริเวณลำต้น โดยจะแตกเมือมีความชื้นเพียงพอ เนื่องจากเป็นพืชระบบรากอากาศสามารถดูดน้ำและความชื้นจากอากาศได้ดี === ช่อดอก === ส่วนช่อดอกของหน้าวัวหรือที่เรียกว่า ปลี คือ ส่วนที่เป็นดอกจริง ซึ่งประกอบด้วย ก้านช่อ ซึ่งมีดอกย่อยเล็กเรียงอัดแน่นอยู่บนปลี ดอกย่อยนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน ดอกที่อยู่บนก้านดอกนี้จะมีสีต่างๆหลายสี เมื่อจานรองดอกคลี่ปลีออกจะมีสีเหลืองอ่อน หรือสีปนแดง ตามสายพันธุ์ ดอกที่อยู่โคนปลีจะเปลี่ยนเป็นสีขาว ไล่ไปปลายปลี แสดงว่า ดอกบาน และเมื่อตุ่มยอดเกสรตัวเมียเริ่มมีน้ำเหนียว ๆ แสดงว่าดอกนั้นพร้อมที่จะผสมเกสรตัวผู้จะบานภายหลังเกสรตัวเมีย ดังนั้นหน้าวัวส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีโอกาสผสมตัวเอง ยกเว้นบางสายพันธุ์ นอกจาก นี้เกสรตัวผู้ของหน้าวัวลูกผสมส่วนใหญ่ จะมีเกสรตัวผู้ฟุ้งเมื่ออุณหภูมิเย็น โดยมากมักจะผสมในช่วงฤดูหนาว == การกระจายพันธุ์ == การกระจายพันธุ์ดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกา ตั้งแต่ตอนเหนือของประเทศเม็กซิโก ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา รวมถึงบางส่วนของแคริบเบียน == ความนิยม == ในสหรัฐ นิยมใช้หน้าวัวพันธุ์สีแดงและสีแดงอ่อนมาก โดยคิดเป็น 80% ส่วนอีก 20% เป็นสีชมพูและสีขาว ในฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ นิยมปลูกหน้าวัวพันธุ์สีแดงและสีส้ม == การปลูก == สามารถปลูกลงในกระถางที่มีการรองพื้นด้วย เครื่องปลูกที่โปร่ง เช่น กาบมะพร้าว ได้ หรือจะไปปลูกบนต้นไม้ ก้อนหินก็ได้เช่นกัน โดยวิธีการที่นิยมมีดังนี้ การตัดยอด ทำได้เมือ ต้นสูงขึ้นจากระดับเครื่องปลูกและมีราก 2-3 ราก นำไปปลูกลงในกระถางใหม่โดยใส่ยาเร่งรากเพื่อให้แตก การแยกหน่อ หน้าวัวบางพันธุ์มีหน่อมาก เช่น พันธุ์ดาราทอง โดยสามารถแยกหน่อลงไปปลูกได้เลยเพราะมีการแตกรากที่สมบูรณ์แล้ว การตัดต้นชำ ทำการตัดชำ แล้วนำท่อนพันธุ์ไปใช้ชำในทรายหรืออิฐทุบก้อนเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่เสมอ จะเกิดต้นใหม่ขึ้นมาตามข้อหรือปล้องนั้น เมื่อต้นมีรากก็แยกไปปลูก การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการที่ผลิตหน้าวัวได้เป็นจำนวนมาก แต่มีปัญหาในการทำความสะอาดเนื้อเนื้อ เพราะหน้าวัวเป็นพืชที่ชอบความชื้น ฉะนั้นจึงทำให้มีทั้งเชื้อราและแบคทีเรียตามต้นพันธุ์มาก เมื่อต้นอ่อนเจริญเติบโตในหลอดอาหารเพียงพอที่จะย้ายลงไปปลูกในกระถางได้นำไปเลี้ยงต่อในโรงเรือนที่ชื้นสม่ำเสมอ โดยในะระยนี้ต้องมีเวลาในการดูแล เอาใจใส่มิฉะนั้นต้นจะตายง่ายโดยการขาดความชื้น การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เดิม โดยมีการผสมเกสรในช่วงฤดูหนาว แต่มีโอกาสที่หน้าวัวจะติดเมล็ดเองมีน้อย เพราะเกสรตัวผู้และตัวเมียบานไม่พร้อมกัน โดยมากเกสรตัวเมียบานแล้ว จึงมีละอองเกสรตัวผู้ จะบานไล่จากโคนปลี ผู้ที่ทำการผสมจะต้องใช้ พู่กันหรือบนที่สามารรถนำ เกสรตัวผู้ไปผสมได้ หลังจากเมือผสมได้ ปลีจะเริ่มบวมเพราะได้รับการผสมแล้ว รอจนแก่ นำไปเพราะได้ == โรคและแมลง == หน้าวัวกับโรคและการรุกรานของแมลง มีดังนี้ โรค 1. โรคใบแห้ง อาจเกิดจากกรณีที่ได้รับแสงมากและนานเกินไป จนส่งผลให้ความชื้นในใบลดลง ทำให้เกิดอาหารแห้งและไหม้ได้ มักเกิดกับใบที่ค่อนข้างแก่ และเป็นใบระดับล่างๆ แต่ในกรณีที่เกิดกับใบที่ยังไม่แก่จัด และไม่ใช่ใบล่าง อาจมีสาเหตุเกิดมาจากเชื้อรา Phytophthora Collectotrichum หรือ Anthracnose 2. โรครากเน่า เกิดจากภาชนะหรืออุกรณ์ในการเพาะปลูกไม่เหมาะสม มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดีนัก เป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3. โรคยอดเน่า มักพบกับหน้าวัวที่ปลูกในโรงเรือนที่อับ การระบายอากาศถ่ายเทไม่ดีเท่าที่ควร และมีเชื้อรา Phytophthora หรือ Bacteria เข้าทำลาย เมื่อเป็นมากเข้าทำให้หน้าวัวตายได้ 4. โรคใบด่าง โรคนี้เป็นแล้วทำให้ใบที่เกิดใหม่มีลักษณะหน้าใบด้าน มีขนาดเล็กลง ถ้าต้นไหนเป็นควรกำจัดทิ้งโดยนำไปเผาไฟ ดังนั้นการปลูกหน้าวัวควรมีโปรแกรมการฉีดยากันรา เดือนละ 1-2 ครั้ง ตอนช่วงฝน อาจฉีดเดือนละ 2 ครั้ง การฉีดยากันรา ไม่ควรใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ควรหมุนเวียนเปลี่ยนกันไป หรือถ้าทราบสาเหตุของโรคเน่ามาจากเชื้อใดก็สามารถเลือกใช้ยาได้ถูกต้อง เชื้อราพวก Phytophthora ก็ใช้พวกไดโฟลาเทน ถ้าเกิดจาก Collectotrichum ใช้เบนเลท และถ้าเกิดจาก Anthracnose ใช้ยาป้องกันกำจัดราชนิดใดก็ได้ ยกเว้นยาพวกกำมะถัน แมลงและศัตรูพืช 1. เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้ง จะดูดน้ำเลี้ยงของส่วนใบและยอด นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ที่ส่วนของดอกเช่นเดียวกัน 2. ไรแดง จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบและดอก ทำให้เกิดเป็นจุดด่าง 3. ด้วงหรือแมลงปีกแข็ง ชอบกัดกินใบยอดและจานรองดอก (receptacle) 4. หอยทาก' ศัตรูอีกชนิดหนึ่งที่ชอบกินใบต้นหน้าวัว ควรเก็บทิ้งให้หมดอย่าทุบให้แตก เพราะตัวเล็กๆ จะเจริญเติบโตต่อไป == ภาพ == ไฟล์:Flamingo Flower Orchid.JPG|ดอกฟลามิงโก ไฟล์:Anthuriumpolyschistumjuvenile-araceum1.jpg|Anthurium polyschistum ไฟล์:Anthurium digitatum0.jpg|Anthurium digitatum ช่อดอก ไฟล์:Anthurium scandens berries.jpg|Anthurium scandens ผลและใบ ไฟล์:Anthurium gracile.jpg|Anthurium gracile ไฟล์:Anthurium.andraeanum1web.jpg|Anthurium andraeanum Anthurium obtusum (habitus).jpg|Anthurium obtusum ไฟล์:火鶴霹靂馬20190724201841.jpg|Anthurium andraeanum'' cv. Previa == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == พืชแบ่งตามสกุล ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ตัดดอก วงศ์บอน
thaiwikipedia
347
ดาวเรือง
ดาวเรือง ( L.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า คำปู้จู้ (ภาคเหนือ) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอริน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาเมกาและอื่น ๆ อีกหลายพันธุ์ ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า == การใช้ประโยชน์ == ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่าง ๆ เพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่าแซนโทฟิลล์สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์ ดาวเรืองสะสมสารหนูได้ 42% ในใบ จึงมีประโยชน์ในการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารหนู มีกลิ่นฉุนและสามารถไล่ยุงได้รวมถึงสามารถไล่ส่งมีชิวิตชนิดอื่นๆได้อีกด้วย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ทานตะวัน พืชสะสมโลหะหนัก
thaiwikipedia
348
ปักษาสวรรค์
ปักษาสวรรค์ หรือ เบิร์ดออฟพาราไดส์ (Bird of paradise) เป็นพืชดอก มีลำต้นทั้งที่เป็นลำต้นเดี่ยว และออกเป็นกอ มี 2 ลักษณะ คือ มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า และชนิดที่มีลำต้นเหนือดินเห็นชัดเจน มีลักษณะลำต้น ใบ และดอกคล้ายเฮลิโคเนีย แต่ไม่ได้อยู่วงเฮลิโคเนียแต่อย่างใด ซึ่งปักษาสวรรค์อยู่วงศ์ Strelitziaceae ส่วนเฮลิโคเนียอยู่วงศ์ Heliconiaceae ปักษาสวรรค์อยู่ในสกุล Strelitzia ซึ่งถูกตั้งชื่อโดยโจเซฟ แบงค์ เพื่อถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีชาร์ลอตต์ พระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเสด็จพระราชสมภพเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == ปักษาสวรรค์มีใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน คล้ายใบกล้วย ปลายใบแหลม โคนมนถึงสอบ ขอบเรียบกว้าง 10 - 15 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ก้านใบยาว 30 - 60 ซม. บริเวณช่วงต่อกับแผ่นใบกลมมน โคนก้านใบแผ่แบนเป็นกาบโอบรอบต้น จะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุ 3 - 6 ปี ดอกมีรูปทรงคล้ายนกที่กำลังกางปีก อาจจะออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อประมาณ 3 -7 ดอก ออกจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกกลม มีกาบรองดอกรูปเรือรองรับดอกย่อย แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงรูปหอกแคบยาว 3 กลีบ และกลีบดอกรูปหัวลูกศร 2 กลีบ ส่วนปลายกลีบห่อติดกัน มีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายใน ตอนปลายสุดของหัวลูกศรมียอดเกสรเพศเมียสีน้ำตาลยื่นออกมา เมื่อดอกบานเต็มที่มีความยาว 8 - 12 ซม. ทยอยบานจากโคนช่อไปปลายช่อ ผลมีรูปรี จะแห้งและแตก ภายในมีเมล็ด 3 เมล็ด รูปกลม มีเปลือกหนาสีดำ == การปลูกเลี้ยง == ดินที่เหมาะสมในการปลูกคือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ควรปลูกกลางแจ้งให้ได้รับแสงแดดเต็มที่ รดน้ำในปริมาณที่พอเหมาะไม่แฉะจนเกินไป ควรรดวันละครั้งในช่วงเช้า การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือแยกหน่อหรือกอ == อ้างอิง == ปักษาสวรรค์จากโรงเรียนวัฒโนพายัพ == ดูเพิ่ม == เฮลิโคเนีย ปากนกแก้ว ไม้ดอกไม้ประดับ พืชแบ่งตามสกุล วงศ์กล้วยพัด
thaiwikipedia
349
ปากนกแก้ว (เฮลิโคเนีย)
ปากนกแก้ว หรือ รอสตราตา (Rostrata; ชื่อวิทยาศาสตร์: Heliconia rostrata) เป็นพืชในสกุลเฮลิโคเนีย มีชื่ออื่นเช่น Hanging Heliconia, Lobster Claw, สร้อยกัทลี == ดูเพิ่ม == ปักษาสวรรค์ เฮลิโคเนีย พุทธรักษาญี่ปุ่น (ธรรมรักษา) == อ้างอิง == ไม้ดอกไม้ประดับ เฮลิโคเนีย
thaiwikipedia
350
ประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน, འབྲུག་ཡུལ་|Druk Yul, ; ฏุ่กยวี่) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan; འབྲུག་རྒྱལ་ཁབ་|Druk Gyal Khap) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน เป็นชื่อเรียกในภาษาฮินดี भूटान (Bhūṭān) มีที่มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" เทือกเขาหิมาลัยในภูฏาน มียอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 7,000 เมตร (23,000 ฟุต) Gangkhar Puensum เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของภูฏานและอาจเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ยังไม่มีนักเดินทางไปพิชิตยอดเขา สัตว์ป่าของภูฏานมีความโดดเด่นในด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง รวมทั้งทาคิน เมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูฏานคือทิมพู ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ภูฏานและทิเบตเป็นดินแดน แรก ๆ ที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาซึ่งมีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดียในช่วงชีวิตของพระโคตมพุทธเจ้า ในสหัสวรรษแรก สำนักพระพุทธศาสนาวัชรยานได้แผ่ขยายไปยังภูฏานจากจักรวรรดิปาละแห่งเบงกอลทางใต้ ทิเบต ภูฏาน รัฐสิกขิม และบางส่วนของเนปาล ภูฏานเองก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจักรวรรดิทิเบตเช่นกัน ต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ 16 เงวัง นามยาล องค์ลามะผู้มีชื่อเสียง ได้รวมหุบเขาของภูฏานให้เป็นรัฐเดียว นามยาลเป็นผู้นำดินแดนในการเอาชนะการรุกรานของทิเบตได้สามครั้ง รวมถึงปราบปรามโรงเรียนสอนศาสนาที่เป็นคู่แข่งกัน ทำการรวบรวมประมวลกฎหมาย Tsa Yig และจัดตั้งรัฐบาลของผู้บริหารตามระบอบประชาธิปไตยและพลเรือน นามยาลกลายเป็น Zhabdrung Rinpoche หรือผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่คนแรกของประเทศ และผู้สืบทอดของเขาทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของภูฏาน เช่น ทะไลลามะในทิเบต ในช่วงศตวรรษที่ 17 ภูฏานได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย สิกขิม และเนปาล และยังมีอิทธิพลอย่างมากในรัฐคูชเบฮาร์ ภูฏานยกเบงกอลดูอาร์ให้แก่บริติชราชในช่วงสงครามภูฏานในศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์วังชุกกลายเป็นผู้ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย และรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอังกฤษในอนุทวีป ต่อมาใน ค.ศ. 1910 ประเทศได้ร่วมสนธิสัญญารับประกันตามคำแนะนำของอังกฤษในด้านนโยบายต่างประเทศเพื่อแลกกับการปกครองตนเองภายในในภูฏาน ข้อตกลงดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปภายใต้สนธิสัญญาฉบับใหม่กับอินเดียในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งทั้งสองประเทศยอมรับอธิปไตยของกันและกัน ภูฏานเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติใน ค.ศ. 1971 และขยายความสัมพันธ์กับ 55 ประเทศ รวมทั้งบังกลาเทศ อิสราเอล คูเวต บราซิล ญี่ปุ่น ไทย และตุรกี รวมถึงสหภาพยุโรป ในขณะที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากกองทัพอินเดีย แต่ภูฏานยังคงมีหน่วยทหารของตนเอง รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2008 นำไปสู่จัดตั้งรัฐบาลแบบรัฐสภาโดยมีรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งและสภาแห่งชาติเป็นผู้ควบคุม ภูฏานเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) ในปี 2020 ภูฏานอยู่ในอันดับสามในเอเชียใต้ รองจากศรีลังกาและมัลดีฟส์ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ ภูฏานยังเป็นสมาชิกของ กลุ่มประเทศเพื่อความร่วมมือแก้ไขผลกระทบภาวะโลกร้อน Climate Vulnerable Forum, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, บิมสเทค, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, ธนาคารโลก, ยูเนสโก และ องค์การอนามัยโลก ภูฏานอยู่ในอันดับหนึ่งในด้านเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ความสะดวกในการทำธุรกิจ สันติภาพ และอัตราการทุจริตในปี 2016 และเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำสำรองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ปัญหาสำคัญในปัจจุบันของประเทศคือ การละลายของธารน้ำแข็งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ == ประวัติศาสตร์ == ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453 == การเมือง == 1) สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล (ปี 2451 – ปี 2540) 2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยมีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรีบริหาร ประเทศ (ปี 2541 – ปี 2551) สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเก วังชุก (Jigme Singye Wangchuck) ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้มีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรี ขึ้นบริหารประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองภูฏาน เป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์เพียง พระองค์เดียว และไม่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลอีกต่อไป - นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้ารัฐบาลคือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณะมนตรี (Chairman of the Council of Ministers) ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกสภาคณะมนตรี (เทียบเท่าคณะรัฐมนตรี) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 10 คน และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดลำดับ 1 - 5 จะสลับหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานสภาคณะมนตรีวาระละ 1 ปี 3) การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ (ตั้งแต่ปี 2551) มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ทรองดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 161 คน สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ ในสมัยศตวรรษที่ 17 ลามะ ซับดุง นาวัง นำเกล (Zhabdrung Ngawang Namgyal Rama) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 ลามะ ซับดุง ได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ สมเด็จพระราชาธิบดีอูเก็น วังชุก (King Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองทรองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck Dynasty) ในปี พ.ศ. 2450 เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมืองทรองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำ และเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนา และมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 คือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (King Jigme Khesar Namgyal Wangchuck) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ภูฏานจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นครั้งแรกในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีพรรคการเมืองสองพรรค === กองทัพ === กองทัพหลวงภูฏานเป็นกองทัพของภูฏานและเป็นกองกำลังติดอาวุธที่อ่อนแอที่สุด ตามการสำรวจของ Global Firepower ประกอบด้วยราชองครักษ์และตำรวจภูฏาน การเป็นสมาชิกเป็นไปโดยสมัครใจและอายุขั้นต่ำในการรับสมัครคือ 18 ปี กองทัพประจำการมีจำนวนประมาณ 16,000 คน และได้รับการฝึกฝนโดยกองทัพอินเดีย มีงบประมาณประจำปีประมาณ 13.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (1.8% ของ GDP) ในฐานะประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ภูฏานจึงไม่มีกองทัพเรือ นอกจากนี้ยังไม่มีกองทัพอากาศหรือกองบินทหารบก กองทัพพึ่งพากองบัญชาการอากาศของกองทัพอากาศอินเดียในการช่วยเหลือทางอากาศ == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร (administrative zones - dzongdey) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น มณฑล (districts - dzongkhag) รวมทั้งหมด 20 มณฑล ได้แก่ {| | width="300px" | มณฑลพาโร (སྤ་རོ་རྫོང་ཁག་) มณฑลทิมพู (ཐིམ་ཕུ་རྫོང་ཁག་) มณฑลพูนาคา (སྤུ་ན་ཁ་རྫོང་ཁག་) มณฑลกาซา (མགར་ས་རྫོང་ཁག་) มณฑลวังดีโพดรัง (པདྨ་དགའ་ཚལ་རྫོང་ཁག་) มณฑลตงซา (ཀྲོང་གསར་རྫོང་ཁག་) มณฑลบุมทัง (བུམ་ཐང་རྫོང་ཁག་) มณฑลลฮุนต์ชิ (ལྷུན་རྩེ་རྫོང་ཁག་) มณฑลตาชิยังต์ซี (གཡང་རྩེ་རྫོང་ཁག་) มณฑลฮา ( ཧཱ་རྫོང་ཁག་) | width="300px" | มณฑลซัมชิ (བསམ་རྩེ་རྫོང་ཁག་) มณฑลชูคา (ཆུ་ཁ་རྫོང་ཁག་) มณฑลดากานา (དར་དཀར་ན་རྫོང་ཁག་) มณฑลชิรัง (རྩི་རང་རྫོང་ཁག་) มณฑลซาร์ปัง (གསར་སྤང་རྫོང་ཁག་) มณฑลเชมกัง (གཞལམ་སྒང་རྫོང་ཁག་) มณฑลมองการ์ (མོང་སྒར་རྫོང་ཁག་) มณฑลตาชิกัง (བཀྲིས་སྒང་རྫོང་ཁག་) มณฑลเปมากัตเซล (པདྨ་དགའ་ཚལ་རྫོང་ཁག་) มณฑลซัมดรุปจงคาร์ (བསམ་གྲུབ་ལྗོངས་མཁར་རྫོང་ཁག་) |} == สัญลักษณ์ประจำชาติ == สัตว์ประจำชาติ : ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร ต้นไม้ : ต้นสนไซปรัสนิยมปลูกตามวัด ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาในภูฏาน อาหารประจำชาติ : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ Ema datshi ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เช่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก ธงชาติภูฏาน * สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม * สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ * มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน == ภูมิศาสตร์ == === ภูมิประเทศ === ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปรากฏภูมิประเทศ 3 ลักษณะ เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำพรหมบุตรพาดผ่าน === ภูมิอากาศ === เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา อากาศ กลางวัน 25 - 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 - 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง == เศรษฐกิจ == สกุลเงินของภูฏานคืองุลตรัมซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย แม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 8 ในปี 2005 และร้อยละ 14 ในปี 2006) ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย === การท่องเที่ยว === ในปี 2014 ภูฏานต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 133,480 คน เพื่อมุ่งสู่การเป็นจุดหมายปลายทางที่มีมูลค่าสูง โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายวันระหว่าง 180 ถึง 290 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน (หรือมากกว่านั้น) สำหรับนักท่องเที่ยวที่ครอบคลุมการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักในโรงแรม อุตสาหกรรมนี้มีพนักงาน 21,000 คนและคิดเป็น 1.8% ของ GDP อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของภูฏานในการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าแท้จริงแล้วเพียงดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ร่ำรวยเท่านั้น == ทรัพยากรธรรมชาติ == ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด == ประชากร == จำนวนประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 (เมื่อปี พ.ศ. 2546) เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่ * ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก * งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก * โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้ กลุ่มประชากรของภูฏาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คือ * กลุ่มดรุกปา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ** กลุ่มเชื้อสายธิเบต ** กลุ่มซังลา ที่ถือว่ามีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากจะแยกออกตามภาษาท้องถิ่นที่ใช้ที่มีประมาณ 11 ภาษา กลุ่มนี้จะอาศัยทางทิศตะวันออกของประเทศ * กลุ่ม เนปาล คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศภูฏาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล * กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13% คือชาวธิเบต ชาวสิกขิม และชาวอินเดีย และ อื่นๆ === สุขภาพ === ประชากรภูฏานมีอายุขัยเฉลี่ย 70.2 ปี (69.9 สำหรับผู้ชาย และ 70.5 สำหรับผู้หญิง) ตามข้อมูลล่าสุดในปี 2016 จากธนาคารโลก การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานในภูฏานนั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายตามรัฐธรรมนูญของภูฏาน == วัฒนธรรม == ภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า ฆีระ (Khira) วันหยุดและเทศกาล * วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล * วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์ * วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว === อาหาร === ข้าว (ข้าวแดง) บัควีท และข้าวโพด เป็นอาหารหลักของชาวภูฏาน อาหารท้องถิ่นยังรวมถึงเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อจามรี ไก่ และเนื้อแกะ และยังมีซุปและสตูว์เนื้อสัตว์และผักแห้งที่ปรุงรสด้วยพริกและชีส Ema datshi ปรุงด้วยชีสและพริกเผ็ดมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นอาหารประจำชาติที่แพร่หลายและเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวภูฏาน อาหารประเภทนม โดยเฉพาะเนยและชีสจากยาคค์และวัว ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เครื่องดื่มยอดนิยม ได้แก่ ชาเนย ชาดำ อาราที่ผลิตในท้องถิ่น (ไวน์ข้าว) และเบียร์ == ศาสนา == ประชาชนชาวภูฏานนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่าวัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และศาสนาคริสต์ 0.3% ดูเพิ่มเติมได้ที่ พุทธศาสนาในประเทศภูฏาน == อ้างอิง == เมธา บรรณทัศน์. เปิดปูม คลายปม ภูฏาน. กทม. ชมรมเด็ก. 2550 == แหล่งข้อมูลอื่น == Bhutan.gov.bt – Official Government Web Portal of Bhutan Bhutan. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Bhutan Links at the National Library of Bhutan. Bhutan profile, BBC News. Bhutan from UCB Libraries GovPubs. Bhutan, Encyclopædia Britannica'' entry. Key Development Forecasts for Bhutan from International Futures. ภ ภ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2450 ภ
thaiwikipedia
351
12 สิงหาคม
วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันที่ 224 ของปี (วันที่ 225 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 141 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) - ไอแซก ซิงเกอร์ ได้รับการรับรองสิทธิบัตรจักรเย็บผ้า พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - สหภาพโซเวียตทดลองระเบิดไฮโดรเจนครั้งแรก พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ไอบีเอ็มวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - เจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123 ประสบอุบัติเหตุตก มีผู้เสียชีวิต 520 คน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ ในรัฐเซาท์ดาโคตา พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - โศกนาฏกรรมเรือดำน้ำนิวเคลียร์ K-141 Kursk ของรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุจากตอร์ปิโดทำให้เรือเสียหายอย่างหนักและจมลงในทะเลแบเร็นตส์และทำให้ลูกเรือเสียชีวิตจำนวน 118 นาย(ลูกเรือทั้งหมด) พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - มีพิธีการเปิดตัว หอนาฬิกาเชียงรายอย่างเป็นทางการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีอ่อนนุช-สถานีแบริ่ง == วันเกิด == พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) - พระเจ้าคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก (สวรรคต 1 มกราคม พ.ศ. 2102) พ.ศ. 2305 (ค.ศ. 1762) - พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (สวรรคต 26 มิถุนายน พ.ศ. 2373) พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา (สิ้นพระชนม์ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2410) พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) - ซูอันไทเฮา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งมหาจักวรรดิชิง (ทิวงคต 8 เมษายน พ.ศ. 2424) พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) - พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ (สวรรคต 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466) พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1878) - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี (สิ้นพระชนม์ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423) พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - พระยาทรงสุรเดช สมาชิกคณะราษฎร (เสียชีวิต พ.ศ. 2487) พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) - อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช มกุฎราชกุมารพระองค์สุดท้ายแห่งรัสเซีย (สิ้นพระชนม์ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2461) พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (มรณภาพ 30 มกราคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (สิ้นพระชนม์ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524) พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - จอร์จ โซรอส นักธุรกิจชาวอเมริกัน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - จอห์น คาซาล นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 12 มีนาคม พ.ศ. 2521) พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - ท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์ พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - กนกวรรณ ด่านอุดม นักแสดง, ผู้จัดละครชาวไทย พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - มาร์ก นอฟเลอร์ นักกีตาร์ นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - ดราก้อน ลี นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - พีท แซมพราส นักเทนนิสชาวอเมริกัน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - โจนาธาน โคชแมน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - * กิตติลักษณ์ จุลลัษเฐียร ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย * เคซีย์ แอฟเฟล็ก นักแสดงชายชาวอเมริกัน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - * ชัยลดล โชควัฒนา นักแสดง พิธีกร และ นักกอล์ฟอาชีพ ชาวไทย * เจ้าหญิงซารา บินต์ อาซิม พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - จีบรีล ซีเซ อดีตนักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์ นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - * ธนกฤต พานิชวิทย์ นักร้อง นักแสดงชาวไทย * วรนันท์ จันทรัศมี นักธุรกิจ และ นักแสดงชาวไทย * โอสมานี ควนโตเรนา นักวอลเลย์บอลชาวคิวบา พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - * ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ นางงาม นักแสดงชาวไทย * คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์ นักร้อง นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * นลินทิพย์ สกุลอ่องอำไพ นักแสดงชาวไทย * ทอม เคลเวอร์ลีย์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - วีซาม แบน แยแดร์ นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - คารา เดเลอวีน นางแบบและนักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - หัตถยา บำรุงสุข นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - * คณิต ศิลปศร นักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย * อจิรภา ไมซิงเกอร์ นางแบบ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - อาร์ตูร์ แมลู นักฟุตบอลอาชีพชาวบราซิล พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - เหงียน ทุก ถวี่ เตียน นางแบบและนางงามชาวเวียดนาม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - * มัตไตส์ เดอ ลิคต์ นักฟุตบอลชาวดัตช์ * แดนนี่ ลูเซียโน่ พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - นวทรัพย์ วิจิตเทอดธรรม นักกีฬาe-sport (rov) == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 1418 (ค.ศ. 875) - จักรพรรดิลุดวิจที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 1368) พ.ศ. 1967 (ค.ศ. 1424) - จักรพรรดิหย่งเล่อ (ประสูติ พ.ศ. 1903) พ.ศ. 2027 (ค.ศ. 1484) - สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 4 (ประสูติ พ.ศ. 1957) พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) - สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 (ประสูติ พ.ศ. 2154) พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ (ประสูติ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2426) พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - เอียน เฟลมมิง นักประพันธ์ชาวอังกฤษ (เกิด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451) พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ซาลวาดอร์ ซานเชส นักมวยชาวเม็กซิกัน (เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2502) พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - คีว ซากาโมโตะ นักร้องเจ้าของบทเพลง "สุกียากี้" (เกิด 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484) พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ฉันท์ ขำวิไล นักเขียนชาวไทย ผู้ประพันธ์บทเรียน “ป้ากะปู่กู้อีจู้” (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - เจ้าฟ้าชายฟรีโซแห่งเนเธอร์แลนด์ (ประสูติ 11 กันยายน พ.ศ. 2511) พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - ลอเรน เบคอลล์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2467) พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - ไพจิตร เอื้อทวีกุล นักการเมืองไทย (เกิด 14 มกราคม พ.ศ. 2477) พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - แท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์) ประจำปี 2542 (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2461) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ปราโมทย์ โชติมงคล อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย (เกิด 19 ธันวาคม พ.ศ. 2486) พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) - อุเทน บุญยงค์ อดีตนักแสดงชายชาวไทย (เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2489) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ประเทศไทย - วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันแม่แห่งชาติ และ วันผ้าไทยแห่งชาติ ทั่วโลก - วันช้างโลก == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: August 12 สิงหาคม 12 สิงหาคม
thaiwikipedia
352
เฮลิโคเนีย
เฮลิโคเนีย (Heliconia; spp.) เป็นสกุลพันธุ์ไม้ที่มีหลายสายพันธุ์มีชื่อภาษาไทยต่าง ๆ กัน เช่น ธรรมรักษา ก้ามกุ้ง ก้ามกั้ง สร้อยกัทลี เป็นไม้เขตร้อน ที่นิยมใช้เป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถาง และตกแต่งสถานที่ ทั้งในและต่างประเทศมีมากมายหลายพันธุ์ เป็นไม้อวบน้ำยืนต้น มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่าเหง้า ส่วนของลำต้นเหนือดินเรียกว่า “ต้นเทียม” (pseudostem) ประกอบด้วยส่วนของลำต้น (stem) และใบเมื่อเจริญเต็มที่ มักมีช่อดอก (infloescemce) แทงออกที่ส่วนกลางของต้นเทียม ลำต้นประกอบด้วยกาบใบ (leaf sheath) วางซ้อนสลับไปมา เฮลิโคเนียมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน โดยชื่อ เฮลิโคเนียนำมาจากชื่อ เฮลิคอน ที่เป็นภูเขาสถิตของเทพธิดา 9 พระองค์ที่เรียกว่า มิวส์ (Muses) ซึ่งมีความงามเป็นอมตะเช่นเดียวกับ เฮลิโคเนียที่มีอายุยืนยาว == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == การเรียงตัวของใบ จะเรียงสลับตรงกันข้ามในระนาบเดียวกัน มีทั้งใบที่คล้ายกล้วย คือมีก้านใบยาว และอยู่ในแนวตั้ง, ใบที่คล้ายขิง คือ มีก้านใบสั้น และใบอยู่ในแนวนอน และใบที่คล้ายพุทธรักษา คือมีก้านใบสั้น หรือยาวไม่มากนัก และใบทุกมุมป้านกับลำต้น ดอกเฮลิโคเนียจะออกเป็นช่อ สะดุดตา และมีสีสันสวยงาม ช่อดอกมักแทงออกกลางลำต้นเทียม และเป็นส่วนสุดท้ายของการเจริญ. ช่อดอกอาจตั้ง (upright) หรือห้อย (pendent) แล้วแต่ชนิด ส่วนของช่อดอกจะประกอบด้วย ก้านช่อดอก (peduncle) เป็นส่วนต่อระหว่างโคนใบสุดท้ายกับโคนกลีบประดับกลีบแรก กลีบประดับ (inflorescence bract, cincinal bract) เป็นส่วนที่พัฒนามาจากใบ ก้านต่อระหว่างกลีบประดับ (rachis) ส่วนนี้อาจมีสี และผิวแตกต่างจากกลีบประดับ และอาจตรงหรือคดไปมาได้ (zigzag) แล้วแตชนิด ผลมีลักษณะคล้ายผลท้อ (drupe) มีเนื้อนุ่ม และมีชั้นหุ้มเมล็ดที่แข็ง ผลสุกจะมีสีน้ำเงิน ถ้าเป็นชนิดที่พบในทวีปอเมริกา และสีส้มในชนิดที่พบในหมู่เกาะแปซิฟิก == การปลูกเลี้ยง == เฮลิโคเนีย สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในที่ร่มรำไรถึงกลางแจ้ง และเจริญเติบโตได้ดีในที่ลุ่มและชื้นแฉะ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, แยกกอ (การแยกก่อที่ให้ได้ผลที่ดีควรมีทั้งต้นแก่และหน่อติดไปด้วยกัน) หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ไฟล์:Heliconia orthotricha cv. Imperial.jpg| ไฟล์:heliconia3.jpg| ไฟล์:heliconia4.jpg| ไฟล์:heliconia5.jpg| ไฟล์:Starr 070906-8370 Heliconia stricta.jpg|H. stricta (แคระใบจาเมกา) == ดูเพิ่ม == ปักษาสวรรค์ ปากนกแก้ว พุทธรักษาญี่ปุ่น (ธรรมรักษา) == อ้างอิง == เฮลิโคเนีย จากเครือเจริญโภคภัณฑ์ พืชแบ่งตามสกุล ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ล้มลุก ไม้มงคล
thaiwikipedia
353
พุทธรักษาญี่ปุ่น
พุทธรักษาญี่ปุ่น, ธรรมรักษา หรือ พุทธรักษาเยอรมัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heliconia psittacorum เป็นพืชหลายปี (perennial plant) ชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอเมริกาใต้และแคริบเบียน โดยถือเป็นพืชประจำถิ่นในปานามา, โคลอมเบีย, เวเนซุเอลา, ตรินิแดดและโตเบโก, กายอานา, ซูรินาม, เฟรนช์เกียนา, บราซิล, โบลิเวีย และปารากวัย และมีรายงานว่าสามารถขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติในเลสเซอร์แอนทิลลีส, ปวยร์โตรีโก, ฮิสปันโยลา, จาเมกา, แกมเบีย และไทย พุทธรักษาญี่ปุ่นมักได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับเขตร้อนในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกนอกเหนือจากถิ่นกำเนิดของมัน == ประโยชน์ == พุทธรักษาญี่ปุ่นใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงามและเป็นสิริมงคล เพราะชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ธรรมรักษา" นั้น มีความหมายไปในทางที่ดี นั่นคือ ธรรมรักษาหรือธรรมะนั้น คือการรักษาในสิ่งที่ดีงาม หรือ ผู้ที่มีคุณธรรมซึ่งควรแก่การเคารพบูชา ดังนั้นจึงหมายถึง การช่วยคุ้มครองรักษาให้แคล้วคลาด จากภัยอันตรายทั้งปวง และคนในบ้านก็จะมีคุณธรรมอันดีงามเสมอไป ดอกของต้นไม้ชนิดนี้ ชาวไทยนิยมนำมาใช้บูชาพระ เพราะเชื่อว่า เป็นดอกไม้ที่เหมาะสำหรับบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ชาวพุทธทั้งหลายนิยมบูชา คนโบราณเชื่อกันว่า หากครอบครัวใด ที่ปลูกต้นธรรมรักษาเอาไว้ในบริเวณบ้าน สมาชิกทุกคนภายในบ้าน ก็จะได้รับการปกป้องคุ้มครองแคล้วคลาดจากอันตราย คนในครอบครัวจึงมีแต่ความสงบสุข == เกร็ด == ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี == อ้างอิง == ธรรมรักษา : ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง == แหล่งข้อมูลอื่น == Heliconia psittacorum observations on iNaturalist Line drawing of Heliconia psittacorum for Flora of Panama Photo of herbarium specimen at Missouri Botanical Garden, isotype of Heliconia psittacorum เฮลิโคเนีย ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ล้มลุก ไม้มงคล ดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
thaiwikipedia
354
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เป็นระบบการทับศัพท์ด้วยอักษรไทยที่นิยมใช้กันมากที่สุดระบบหนึ่ง โดยคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์และคณะกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (เดิมคือราชบัณฑิตยสถาน) เป็นผู้กำหนดและเสนอหลักเกณฑ์ต่อสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเพื่อออกประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้ใช้หลักเกณฑ์ จากนั้น สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะเป็นผู้เสนอหลักเกณฑ์ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วลงประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป == ประวัติ == ราชบัณฑิตยสถานได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศและเสนอให้คณะรัฐมนตรีประกาศใช้เป็นครั้งแรกใน ไบแนบที่ ๑ วิธีทับสัพท ของ ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องบัญญัติสัพทฉบับที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. 2485 ในครั้งนั้นได้กำหนดวิธีเทียบเสียงและถ่ายอักษรพยัญชนะและสระของภาษาตะวันตก 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อังกฤษ และอิตาลี รวมอยู่ในตารางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม วิธีทับศัพท์ตามประกาศฉบับนี้เน้นการถอดตัวอักษรมากกว่าการถ่ายเสียง คำทับศัพท์จึงอ่านแล้วไม่ใกล้เคียงการออกเสียงในภาษาต้นฉบับ ในระยะหลัง คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานจึงไม่ได้ยึดถือวิธีทับศัพท์ดังกล่าวอย่างเคร่งครัดนัก แต่พยายามทับศัพท์โดยการถ่ายเสียงมากขึ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2531 ราชบัณฑิตยสถานได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ขึ้น เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์เป็นเอกเทศสำหรับภาษาแต่ละภาษา เนื่องจากเห็นว่าภาษาหนึ่ง ๆ มีลักษณะทางเสียงและโครงสร้างแตกต่างกับภาษาอื่น โดยเริ่มต้นจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นลำดับแรก ส่วนหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอื่น ๆ ให้จัดทำเฉพาะภาษาที่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยของไทยก่อน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็ประกาศใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (ตามที่ราชบัณฑิตยสถานเสนอ) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2532 และประกาศใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น อาหรับ และมลายู (รวมอินโดนีเซีย) ในคราวเดียวกันเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535 หลังจากที่หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ ได้รับการเผยแพร่และนำไปใช้ได้ระยะหนึ่ง ก็พบว่ายังมีปัญหาอยู่อีกหลายประการ ทั้งยังมีผู้ท้วงติงและเสนอข้อคิดเห็นไปยังราชบัณฑิตยสถานอยู่เนือง ๆ ราชบัณฑิตยสถานจึงแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เพื่อพิจารณาทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์เสียใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางภาษาที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น จากนั้นจึงทยอยเสนอคณะรัฐมนตรีให้ประกาศใช้หลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วแทนหลักเกณฑ์เดิม ได้แก่ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553; หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอาหรับ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554; หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น และมลายู ประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 ในขณะเดียวกัน ราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอื่น ๆ เพิ่มอีกเพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและฮินดี ซึ่งมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2548; หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเกาหลีและเวียดนาม ซึ่งมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555; หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่าและหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 == ลักษณะทั่วไป == ในการทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นคำภาษาไทยและปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกแลต, ไอศกรีม, กงสุล, สลัด, สุกียากี้ เป็นต้น คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น กรีนิช, นโปเลียน, เหงียน, สุมาตรา, วอน (สกุลเงินเกาหลี) เป็นต้น ในการทับศัพท์จะใส่วรรณยุกต์ก็ต่อเมื่อภาษาต้นฉบับมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์เท่านั้น ซึ่งได้แก่ ภาษาจีนและเวียดนาม คำทับศัพท์ภาษาอื่นนอกเหนือจากนี้จึงไม่ใส่วรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่มีรูปพ้องกับคำไทยซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนหรือมีความหมายไม่พึงประสงค์ ความเข้าใจเรื่องสัทอักษรมีส่วนสำคัญในการถอดเสียงในภาษาที่คาดคะเนการออกเสียงจากรูปเขียนได้ยาก เช่น ภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น อักษรไทยที่ใช้แสดงเสียงเสียงหนึ่งในภาษาหนึ่งอาจเป็นคนละตัวกับอักษรไทยที่ใช้แสดงเสียงเดียวกันในภาษาอื่น ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไปตามแต่ละภาษา เช่น เสียง ในการทับศัพท์ภาษาอังกฤษใช้ ช แต่ในการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันใช้ ฌ; เสียง ในการทับศัพท์ภาษาสเปนใช้ ฆ, ในการทับศัพท์ภาษาเยอรมัน อาหรับ มลายู และอินโดนีเซียใช้ ค, ในการทับศัพท์ภาษาเวียดนามใช้ ค หรือ ข, ในการทับศัพท์ภาษาจีนใช้ ฮ หรือ ห เป็นต้น ในการถอดเสียงพยัญชนะจะเลือกอักษรไทยที่ใช้บ่อยที่สุดจากกลุ่มอักษรไทยที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ในบางภาษามีเสียงพยัญชนะจำนวนมากที่ปรากฏบ่อยและไม่ตรงกับเสียงพยัญชนะใด ๆ ในภาษาไทย จึงต้องเลือกอักษรไทยที่มีเสียงใกล้เคียงและปรกติใช้เขียนคำที่รับจากภาษาบาลี-สันสกฤตมาใช้แสดงเสียงเหล่านั้น เช่น ในการทับศัพท์ภาษาอาหรับ ใช้ ฎ แสดงเสียง เพื่อให้แตกต่างกับ ด ที่ใช้แสดงเสียง เป็นต้น == ภาษาที่มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์รองรับ == ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถาน/สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้จัดทำและประกาศใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ แล้ว 15 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน (สำเนียงมาตรฐาน) ภาษาอิตาลี ภาษาฝรั่งเศส (สำเนียงมาตรฐานฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่) ภาษาสเปน (สำเนียงสเปนตอนเหนือ) ภาษาอาหรับ (สำเนียงมาตรฐานสมัยใหม่) ภาษารัสเซีย ภาษาญี่ปุ่น (สำเนียงโตเกียว) ภาษาเกาหลี ภาษาจีน (สำเนียงมาตรฐาน) ภาษาเวียดนาม (สำเนียงฮานอย) ภาษามลายู ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาฮินดี ภาษาพม่า == ดูเพิ่ม == การทับศัพท์ การถอดเสียง คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาเยอรมัน คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาอิตาลี คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาสเปน คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาอาหรับ คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษารัสเซีย คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาเกาหลี คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาจีน คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาเวียดนาม คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษามลายู คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาฮินดี คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาพม่า == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องบัญญัติสัพทฉบับที่ 1 ลงวันที่ 24 กันยายน 2485 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2532 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น อาหรับ และมลายู ลงวันที่ 5 มีนาคม 2535 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2548 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอาหรับ ลงวันที่ 7 มีนาคม 2554 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเกาหลี และภาษาเวียดนาม ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2555 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่า (เมียนมา) ลงวันที่ 13 มีนาคม 2561 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น และมลายู ลงวันที่ 13 มีนาคม 2561 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย ลงวันที่ 13 มีนาคม 2561 การทับศัพท์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
thaiwikipedia
355
ปฏิทินสุริยคติไทย
ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินกริกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ == พุทธศักราช == ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในระบบราชการตั้งแต่ พ.ศ. 2456 โดยนำปฏิทินสุริยคติมาใช้ ต้นยุคอ้างอิงของพุทธศักราชแบบไทยจะช้ากว่าแบบอื่นไป 1 ปี โดยแบบไทยนับปีหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี พ.ศ. 1 คือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 545 ปี ก่อน ค.ศ. (เทียบกับประเทศอื่นที่นับปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานเป็น พ.ศ. 1 คือเริ่มจากวันที่ 13 พฤษภาคม 544 ปี ก่อน ค.ศ. หรือขึ้น 15 ค่ำเดือนวิสาขะ อัญจนศก 148) ดังนั้น หากปฏิทินไทยเป็น พ.ศ. 2400 พ.ศ. แบบลังกาจะเป็น 2401 ในสมัยก่อน ปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินสุริยคติสากล นับเดือนที่เปลี่ยนศักราชไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ไทยจะเปลี่ยนศักราชในวันที่ 1 เมษายน ในขณะที่สากลจะเปลี่ยนในวันที่ 1 มกราคม ทำให้พุทธศักราชและคริสต์ศักราชคาบเกี่ยวกัน โดยที่สามเดือนแรกในคริสต์ศักราช (มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม) จะตรงกับพุทธศักราชก่อนหน้า เช่น ค.ศ. 1900 สามเดือนแรกจะตรงกับ พ.ศ. 2442 และเดือนอื่น ๆ จะตรงกับ พ.ศ. 2443 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไปเป็น 1 มกราคม ให้เทียบเท่ากับสากล โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป จึงทำให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียงแค่ 9 เดือน (เมษายน - ธันวาคม) ดังแสดงในแผนภาพ == รัตนโกสินทร์ศก == รัตนโกสินทรศก ตัวย่อ ร.ศ. (Rattanakosin era) เป็นศักราชซึ่งมีจุดเริ่มยุคคือปีก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อจุลศักราช 1250 (พ.ศ. 2324) และวันเริ่มต้นปีคือวันที่ 1 เมษายน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้เป็นวันขึ้นปีใหม่และประกาศใช้รัตนโกสินทรศกอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นประโยชน์และสะดวกในการใช้พุทธศักราชอ้างอิงประวัติศาสตร์ จึงได้มีการยกเลิกการใช้งานรัตนโกสินทรศกตามประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2455 โดยหนังสือราชการทั้งหมดได้เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชแทน == เดือน == ในปฏิทินสุริยคติไทยใช้จำนวนเดือน 12 เดือน ตามปฏิทินกริกอเรียน โดยจำนวนวันในแต่ละเดือนได้อ้างอิงตามเช่นเดียวกันโดยในแต่ละเดือนจะมีจำนวนวันตั้งแต่ปี 28-31 วัน ชื่อเดือนทรงตั้งโดยกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยทรงใช้ตำราจักรราศี ซึ่งแสดงการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปีตามวิชาโหราศาสตร์ โดยทรงนำคำสองคำมาสนธิกัน คำต้นเป็นชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นรวมกับคำว่า "อาคม" หรือ "อายน" ที่หมายถึง "การมาถึง" โดยได้ระบุวันอย่างชัดเจนโดยคำว่า "คม" สำหรับเดือนที่มี 31 วัน และคำว่า "ยน" สำหรับเดือนที่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 หรือ 29 วัน ถ้าเป็นปีอธิกสุรทิน {|class="wikitable" |- ! ชื่อไทย || อักษรย่อ || คำอ่าน || รากศัพท์ || ความหมาย |- | มกราคม || ม.ค. || มะ-กะ-รา-คม || มกร + อาคม || การมาถึงของราศีมกร |- | กุมภาพันธ์ || ก.พ. || กุม-พา-พัน || กุมภ + อาพันธ์ || การมาถึงของราศีกุมภ์ |- | มีนาคม || มี.ค. || มี-นา-คม || มีน + อาคม || การมาถึงของราศีมีน |- | เมษายน || เม.ย. || เม-สา-ยน || มษ + อายน || การมาถึงของราศีเมษ |- | พฤษภาคม || พ.ค. || พฺรึด-สะ-พา-คม || พฤษภ + อาคม || การมาถึงของราศีพฤษภ |- | มิถุนายน || มิ.ย. || มิ-ถุ-นา-ยน || มิถุน + อายน || การมาถึงของราศีมิถุน |- | กรกฎาคม || ก.ค. || กะ-ระ-กะ-ดา-คม || กรกฎ + อาคม || การมาถึงของราศีกรกฎ |- | สิงหาคม || ส.ค. || สิง-หา-คม || สิงห + อาคม || การมาถึงของราศีสิงห์ |- | กันยายน || ก.ย. || กัน-ยา-ยน || กันย + อายน || การมาถึงของราศีกันย์ |- | ตุลาคม || ต.ค. || ตุ-ลา-คม || ตุล + อาคม || การมาถึงของราศีตุล |- | พฤศจิกายน || พ.ย. || พฺรึด-สะ-จิ-กา-ยน || พฤศจิก + อายน || การมาถึงของราศีพิจิก |- | ธันวาคม || ธ.ค. || ทัน-วา-คม || ธนู + อาคม || การมาถึงของราศีธนู |} == วันในสัปดาห์ == ในปฏิทินสุริยคติวันในสัปดาห์ตามปฏิทินกริกอเรียนเช่นกันโดยในแต่ละสัปดาห์จะประกอบไปด้วย 7 วัน ซึ่งเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยวันอาทิตย์ {|class="wikitable" |- ! ชื่อไทย || คำอ่าน || ชื่อทางโหร || สีประจำวัน || สีประจำวัน ตามตำราสวัสดิรักษา |- | อาทิตย์ || อา-ทิด || อาทิจวาร (อ) || สีแดง || สีแดง |- | จันทร์ || จัน || จันทรวาร (จ) || สีเหลือง || สีนวลขาว |- | อังคาร || อัง-คาน || ภุมวาร (ภ) || สีชมพู || สีม่วงคราม |- | พุธ || พุด || วุธวาร (ว) || สีเขียว || สีแสด |- | พฤหัสบดี || พะ-รึ-หัด-สะ-บอ-ดี หรือ พฺรึ-หัด-สะ-บอ-ดี || ชีววาร (ช) || สีส้ม || สีเขียวปนเหลือง |- | ศุกร์ || สุก || ศุกรวาร (ศ) || สีฟ้า || สีเมฆ |- | เสาร์ || เสา || โสรวาร (ส) || สีม่วง || สีดำ |} == อ้างอิง == วารสารราชบัณฑิตสภา ฉบับเดือน มิถุนายน และตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สุริยคติไทย
thaiwikipedia
356
ประเทศออสเตรเลีย
ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด มีประเทศเพื่อนบ้านประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรราว 26 ล้านคน ด้วยขนาดพื้นที่ 7,617,930 ตารางกิโลเมตร (2,941,300 ตารางไมล์) มีลักษณะเป็นสังคมเมืองสูงโดยประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณชายฝั่งตะวันออก เมืองหลวงของประเทศคือแคนเบอร์รา ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือซิดนีย์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดและยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ เมืองที่มีประชากรรองลงมา ได้แก่ เมลเบิร์น, บริสเบน, เพิร์ท และแอดิเลด ออสเตรเลียเป็นสหพันธรัฐซึ่งปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วย 6 รัฐ และ 10 ดินแดนสหพันธ์ และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ประกอบไปด้วยผู้พลัดถิ่นจำนวนมาก โดยคิดเป็นอัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด และกว่าครึ่งหนึ่งของพลเมืองออสเตรเลียกำเนิดจากบิดาหรือมารดาซึ่งกำเนิดในต่างประเทศ ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่เก่าแก่ที่สุด มีลักษณะแบนราบที่สุด และเป็นทวีปที่แห้งแล้งที่สุดที่มีผู้คนอาศัยอยู่ โดยมีปริมาณของดินอุดมสมบูรณ์ในระดับต่ำ และออสเตรเลียยังเป็นประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีทะเลทรายอยู่ตรงกลาง มีป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทิวเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณทั้งหมดของประเทศยังเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ชาวพื้นเมืองออสเตรเลียอาศัยอยู่ในทวีปนี้เมื่อประมาณ 65,000 ปีมาแล้ว ก่อนการมาถึงครั้งแรกของนักสำรวจชาวดัตช์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ซึ่งตั้งชื่อดินแดนนี้ว่านิวฮอลแลนด์ ต่อมา ครึ่งหนึ่งของฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียถูกอ้างว่าเป็นของสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1770 และเริ่มใช้บริเวณนี้เป็นทัณฑนิคม โดยทำการขนส่งนักโทษมายังนิวเซาธ์เวลส์ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1788 และถือเป็นวันชาติของออสเตรเลียมาถึงปัจจุบัน จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีกหลายทศวรรษต่อมา ซึ่งทวีปออสเตรเลียได้ถูกสำรวจและอีกห้าอาณานิคมปกครองตนเองของพระมหากษัตริย์ได้ถูกจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ทั้งหกอาณานิคมถูกตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์ รวมตัวกันเป็นเครือรัฐออสเตรเลียตั้งแต่นั้นมา ออสเตรเลียยังคงรักษาระบบการเมืองเสรีนิยมประชาธิปไตยที่มั่นคงที่ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาประชาธิปไตยของรัฐบาลกลางและพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ สหพันธ์ประกอบด้วยหกรัฐ และอีกหลายพื้นที่ ออสเตรเลียเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างสูง และเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสิบสามของโลก, มีรายได้ต่อหัวที่สูงที่สุดอันดับสิบของโลก และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่สูงเป็นอันดับห้าของโลก ค่าใช้จ่ายทางการทหารของออสเตรเลียมากที่สุดเป็นอันดับสิบสามของโลก ออสเตรเลียยังถูกจัดอยู่ในอันดับที่สูงในด้านคุณภาพชีวิต, สุขภาพ, การศึกษา, เสรีภาพทางเศรษฐกิจ, การปกป้องเสรีภาพของพลเมือง และสิทธิทางการเมือง มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว และ การส่งออก รวมถึงโทรคมนาคม, การธนาคาร, การผลิต และการศึกษาระหว่างประเทศ ออสเตรเลียเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ, กลุ่ม 20, เครือจักรภพแห่งชาติ, สนธิสัญญาแอนซัส, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา, องค์การการค้าโลก, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก, แปซิฟิกฟอรัม, ประชาคมแปซิฟิก และ อาเซียน+6 == นิรุกติศาสตร์ == ชื่อประเทศออสเตรเลีย (ออกเสียงว่า /əˈstreɪliə/ ในภาษาอังกฤษ-ออสเตรเลีย) มาจากภาษาละติน Terra Australis หมายถึง "ดินแดนทางใต้" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกทวีปสมมติในซีกโลกใต้ตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อชาวยุโรปเริ่มมาเยือนและทำแผนที่ออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 ชื่อ Terra Australis จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 ออสเตรเลียเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "นิวฮอลแลนด์" ซึ่งเป็นชื่อแรกที่ใช้โดยนักสำรวจชาวดัตช์ อาเบิล ตัสมัน ใน ค.ศ. 1644 (ในชื่อ Nieuw-Holland) แต่ชื่อ Terra Australis ยังคงเห็นการใช้งานเป็นครั้งคราว เช่น ในตำราทางวิทยาศาสตร์ ต่อมา ชื่อออสเตรเลีย (Australia) ได้เริ่มเป็นที่นิยมโดยมีที่มาจากนักเดินเรือชาวอังกฤษ แมทธิว ฟลินเดอรส์ ซึ่งกล่าวว่า "เป็นชื่อที่ไพเราะกว่า" ซึ่งนักทำแผนที่และนักสำรวจได้ใช้ชื่อนี้ต่อเนื่องมายาวนาน ก่อนที่ชื่อออสเตรเลียจะปรากฏในงานวิชาการครั้งแรกในหนังสือดาราศาสตร์ของ Cyriaco Jacob zum Barth ซึ่งตีพิมพ์ในแฟรงค์เฟิร์ตอัมไมน์ใน ค.ศ. 1545 ==ภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศ== ประเทศออสเตรเลียมีขนาด 7,617,930 ตารางกิโลเมตร (2,941,300 ตารางไมล์) ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลก อินโด-ออสเตรเลีย ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดียทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันออก ถูกแยกออกจากเอเชียโดยทะเลอาราฟูรา และทะเลติมอร์ ที่มีแนวปะการังทะเลเรียงรายอยู่นอกชายฝั่งรัฐควีนส์แลนด์, และทะเลแทสมันนอนอยู่ระหว่างประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จัดเป็นทวีปเล็กที่สุดในโลก และอันดับหกของประเทศที่ใหญ่ที่สุดโดยพื้นที่ทั้งหมด, เนื่องจากขนาดและโดดเดี่ยว ทวีปนี้มักจะถูกขนานนามว่า "ทวีปเกาะ" และบางครั้งถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศออสเตรเลียมีชายฝั่งยาว 34,218 กิโลเมตร (21,262 ไมล์) (ไม่รวมเกาะนอกชายฝั่งทั้งหมด) และอ้างสิทธิเหนือเขตเศรษฐกิจพิเศษขนาด 8,148,250 ตารางกิโลเมตร (3,146,060 ตารางไมล์) เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ไม่รวมถึงดินแดนขั้วโลกใต้ของออสเตรเลีย และไม่รวม Macquarie Island ออสเตรเลียอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 44°S, และ ลองจิจูด 112° และ 154°E เกรตแบร์ริเออร์รีฟ แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือและขยายไปยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร (1,240 ไมล์). ภูเขาออกัสตัส เป็นหินใหญ่ก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในออสเตรเลียตะวันตกที่ความสูง 2,228 เมตร (7,310 ฟุต) ภูเขา Kosciuszko บน Great Dividing Range เป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีภูเขาสูงอื่น ๆ คือ Mawson Peak (ที่ 2,745 เมตรหรือ 9,006 ฟุต), บนดินแดนที่ห่างไกลของออสเตรเลียที่เรียกว่า Heard Island, และใน Australian Antarctic Territory, ภูเขา McClintock และภูเขา Menzies ที่ความสูง 3,492 เมตร (11,457 ฟุต) และ 3,355 เมตร (11,007 ฟุต) ตามลำดับ เนื่องด้วยขนาดที่กว้างขวางของประเทศออสเตรเลียส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางภูมิประเทศ, ที่มีป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูเขาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันออก และทะเลทรายแห้งในภาคกลาง ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่ราบเรียบ ที่มีผืนดินที่เก่าแก่ที่สุดและดินอุดมสมบูรณ์นัอยที่สุด ทะเลทรายหรือที่ดินกึ่งแห้งแล้งที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นชนบททำให้เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของที่ดิน ทวีปที่มีอาศัยอยู่ที่แห้งที่สุด เฉพาะทางตะวันออกเฉียงใต้และมุมทางตะวันตกเฉียงใต้เท่านั้นที่มีอากาศเย็น. ความหนาแน่นของประชากร, ที่ 2.8 ประชากรต่อตารางกิโลเมตร อยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของประชากรจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอุณหภูมิดีพอสมควร ภาคตะวันออกของออสเตรเลียถูกทำเครื่องหมายโดย Great Dividing Range ที่วิ่งขนานไปกับชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์, นิวเซาธ์เวลส์และบริเวณกว้างใหญ่ของวิกตอเรีย ชื่อ Great Dividing Range ประกอบด้วยเนินเขาเตี้ย ๆ และที่ราบสูงมักจะสูงไม่เกิน 1,600 เมตร (5,249 ฟุต). บริเวณที่สูงชายฝั่งและเข็มขัดของทุ่งหญ้า Brigalow อยู่ระหว่างชายฝั่งและภูเขา ในขณะที่แผ่นดินด้านในของ dividing range เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ของทุ่งหญ้า. เหล่านี้รวมถึงที่ราบทางตะวันตกของนิวเซาธ์เวลส์ และ Einasleigh Uplands, Barkly Tableland และ Mulga Lands ของรัฐควีนส์แลนด์ จุด เหนือสุดของชายฝั่งตะวันออกเป็นคาบสมุทร Cape York ที่เป็นเขตป่าฝนเขตร้อน ภูมิทัศน์ทางตอนเหนือของประเทศที่เรียกว่า the Top End และ the Gulf Country ด้านหลัง the Gulf of Carpentaria ที่มีภูมิอากาศเขตร้อน ประกอบด้วย ป่าไม้, ทุ่งหญ้า และทะเลทราย ที่มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปมีหน้าผาหินทราย และ ซอกเขา ของ คิมเบอร์ลีและ ด้านล่างเป็น Pilbara ไปทางใต้ของบริเวณเหล่านี้และเข้าไปในแผ่นดิน จะมีพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้ามากขึ้น ที่มีชื่อว่า the Ord Victoria Plain และ the Western Australian Mulga shrublands ที่ใจกลางของประเทศมีพื้นที่สูงของภาคกลางออสเตรเลีย ซึ่งเป็นลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นของภาคกลาง สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียได้รับอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากกระแสน้ำในมหาสมุทร รวมทั้ง Dipole และ El Niño–Southern Oscillation จากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความแห้งแล้งตามฤดู และระบบความดันต่ำในเขตร้อนตามฤดูกาลที่ผลิตพายุไซโคลนในภาคเหนือของออสเตรเลีย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทุกปี พื้นที่จำนวนมากทางตอนเหนือของประเทศมีสภาพภูมิอากาศเขตร้อน, ส่วนใหญ่เป็นฝนฤดูร้อน (มรสุม) มุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมีภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่จำนวนมากของตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้ง แทสเมเนีย) เป็นเขตเมืองหนาว == ประวัติศาสตร์ == ชนพื้นเมืองในออสเตรเลียก่อนการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป คือชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอร์เรสสเทรต ซึ่งชนเหล่านี้มีภาษาแตกต่างกันนับร้อยภาษา ประมาณการว่า มีชาวอะบอริจินมากกว่า 780,000 คนอยู่ในออสเตรเลียใน พ.ศ. 2331 === การตั้งถิ่นฐาน === การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1606 เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย ระหว่าง ค.ศ. 1606 ถึง 1770 มีเรือของชาวยุโรปประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลียซึ่งรู้จักในขณะนั้นว่านิวฮอลแลนด์ ใน ค.ศ. 1770 เจมส์ คุก เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ต่อมาสหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคม กองเรือชุดแรกเดินทางมาถึงออสเตรเลียที่อ่าวซิดนีย์ใน ค.ศ. 1787 ในวันที่ 26 มกราคม (ค.ศ. 1788) ซึ่งต่อมาเป็นวันชาติออสเตรเลีย ผู้ตั้งถิ่นฐานยุคแรกส่วนใหญ่เป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร โดยมีผู้อพยพเสรีเริ่มเข้ามาใน ค.ศ. 1793 มีการตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือชื่อในขณะนั้นคือฟานไดเมนส์แลนด์ ใน ค.ศ. 1803 และตั้งเป็นอาณานิคมแยกอีกแห่งหนึ่งใน ค.ศ. 1825 สหราชอาณาจักรประกาศสิทธิในฝั่งตะวันตกใน ค.ศ. 1829 และเริ่มมีการตั้งอาณานิคมแยกขึ้นมาอีกหลายแห่ง ได้แก่เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ โดยแยกออกมาจากนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลียไม่เคยเป็นอาณานิคมนักโทษ ในขณะที่วิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลียยอมรับการขนส่งนักโทษภายหลัง เรือนักโทษลำสุดท้ายมาถึงนิวเซาท์เวลส์ใน 1848 หลังจากการรณรงค์ยกเลิกโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน การขนส่งนักโทษยุติอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2396 ในนิวเซาท์เวลส์และแทสเมเนีย และ ค.ศ. 1868 ในเวสเทิร์นออสเตรเลีย ใน ค.ศ. 1851 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์ ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย ใน ค.ศ. 1901 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ ในชื่อเครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1911 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยส-แคนเบอร์รา และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราใน ค.ศ. 1927 ใน ค.ศ. 1911 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน === การปกครองตนเอง === ออสเตรเลียประกาศใช้บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 ใน ค.ศ. 1942 โดยมีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นการยุติบทบาทนิติบัญญัติของสหราชอาณาจักรในออสเตรเลียเกือบทั้งหมด ในสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียประกาศสงครามกับเยอรมนีพร้อมกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส หลังจากเยอรมนีบุกโปแลนด์ ออสเตรเลียส่งทหารเข้าร่วมสมรภูมิในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ แผ่นดินออสเตรเลียโดนโจมตีโดยตรงครั้งแรกจากการเข้าตีโฉบฉวยทางอากาศของญี่ปุ่นที่ดาร์วิน ออสเตรเลียยุตินโยบายออสเตรเลียขาว โดยดำเนินการขั้นสุดท้ายในปีค.ศ. 1973 พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ยกเลิกบทบาทของสหราชอาณาจักรในอำนาจนิติบัญญัติและตุลาการของออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ใน ค.ศ. 1999 ออสเตรเลียจัดการลงประชามติ ว่าจะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งคะแนนเสียงเกือบ 55% ลงคะแนนปฏิเสธ == การเมืองการปกครอง == ออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียคือพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 พระอิสริยยศในออสเตรเลียคือ Elizabeth the Second, by the Grace of God Queen of Australia and Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealth ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า "อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินีนาถ และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถ" อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร === บริหาร === ==== กระทรวง ==== === นิติบัญญัติ === ออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองหลักสามพรรค ได้แก่พรรคแรงงานออสเตรเลีย พรรคเสรีนิยม และพรรคชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 รัฐบาลของสหพันธ์มาจากพรรคแรงงานหรือเป็นรัฐบาลผสมของพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริซัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 2018 มาจากพรรคเสรีนิยม พรรคอื่น ๆ ที่มีบทบาทได้แก่ออสเตรเลียนเดโมแครต และออสเตรเลียนกรีนส์ โดยมักได้ที่นั่งในวุฒิสภา === ตุลาการ === == รัฐและดินแดน == ออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 6 รัฐ ได้แก่ รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐแทสเมเนีย รัฐวิกตอเรีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีมณฑลหลัก ๆ บนแผ่นดินใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (มณฑลนครหลวงออสเตรเลีย) และดินแดนเล็กน้อยอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว ดินแดนนั้นมีลักษณะเดียวกับรัฐ แต่รัฐสภากลางสามารถค้านกฎหมายใดก็ได้จากสภาของดินแดน ในขณะที่ในระดับรัฐ กฎหมายสหพันธ์จะค้านกับกฎหมายรัฐได้เพียงในบางด้านตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติอื่น ๆ นั้นเป็นของรัฐสภาของแต่ละรัฐ แต่ละรัฐและดินแดนมีสภานิติบัญญัติของตัวเอง โดยในควีนสแลนด์และดินแดนทั้งสองแห่งเป็นลักษณะสภาเดี่ยว ในขณะที่ในรัฐที่เหลือเป็นแบบสภาคู่ สมเด็จพระราชินีมีผู้แทนพระองค์ในแต่ละรัฐ เรียกว่า "governor" และในนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรี administrator ส่วนในเขตเมืองหลวง ใช้ผู้แทนพระองค์ของเครือรัฐ (governor-general) ==ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทหาร== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรเลียได้รับการผลักดันจากการใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาผ่านข้อตกลง ANZUS และความปรารถนาที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับเอเชียและแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียน และหมู่เกาะแปซิฟิกฟอรั่ม ใน ค.ศ. 2005 ออสเตรเลียร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ต่อจากการเข้าร่วมสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใน ค.ศ. 2011 ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งที่หก ออสเตรเลียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ออสเตรเลียมีส่วนร่วมในการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มแครนส์ และกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ออสเตรเลียเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และองค์การการค้าโลก และมีการดำเนินการที่สำคัญหลายอย่างตามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีของสหรัฐ และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับนิวซีแลนด์ ข้อตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ ที่กำลังเจรจาต่อรองกับจีน ได้แก่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-จีน และยังมีข้อตกลงร่วมกับญี่ปุ่น รวมถึงเกาหลีใต้ใน ค.ศ. 2011 ข้อตกลงเขตการค้าเสรีชิลี, เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, และหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจทรานส์-แปซิฟิก ก็ได้รับการดำเนินการเช่นกัน ออสเตรเลียมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะเป็นสมาชิกพหุภาคี และรักษานโยบายความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ภายใต้โปรแกรมซึ่งมี 60 ประเทศได้รับความช่วยเหลือ งบประมาณใน ค.ศ. 2005-06 จำนวนกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐถูกจัดสรรเพื่อความช่วยเหลือและการพัฒนาด้านต่างประเทศ ออสเตรเลียอยู่ในอันดับเจ็ดโดยรวมด้านดัชนีความมุ่งมั่นในการพัฒนาปี 2008 ของศูนย์การพัฒนาทั่วโลก กองกำลังติดอาวุธของออสเตรเลียชื่อ The Australian Defence Force (ADF) ประกอบด้วยราชนาวี (RAN), กองทัพบก และกองทัพอากาศ (RAAF) รวม 80,561 นาย (รวม 55,068 ประจำการ และอีก 25,493 กองหนุน) บทบาทในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดตกเป็นของผู้นำประเทศ และผู้แต่งตั้งหัวหน้ากองกำลังป้องกัน ในขณะที่การบริหารและการกำหนดนโยบายดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหม ในงบประมาณระหว่าง ค.ศ. 2010-11 การใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศมีจำนวน 25.7 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เป็นอันดับที่ 13 ของงบประมาณด้านการทหารที่ใหญ่ที่สุดของโลก ออสเตรเลียมีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพ, การบรรเทาภัยพิบัติและความขัดแย้งที่ใช้อาวุธของสหประชาชาติและของภูมิภาค ปัจจุบันได้มีการวางกำลังมหารประมาณ 3,330 ในภารกิจในติมอร์-เลสเต, หมู่เกาะโซโลมอน และอัฟกานิสถาน ==สิ่งแวดล้อม== แม้ว่าบริเวณส่วนใหญ่ของออสเตรเลียจะเป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง หรือทะเลทราย แต่ก็มีความหลากหลายของแหล่งที่อยู่อาศัยมาก ตั้งแต่ต้นไม้เตี้ยเป็นพุ่มที่ขึ้นตามทุ่งแบบอัลไพน์จนถึงป่าฝนเขตร้อน เชื้อราเป็นสัญลักษณ์ความหลากหลายนั้น จำนวนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลียรวมถึงพวกที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบ มีการคาดการณ์ที่ประมาณ 250,000 ชนิด ในจำนวนนั้นมีประมาณ 5% ที่สามารถจำแนกได้ เพราะความเก่าแก่ของทวีป รูปแบบสภาพอากาศแปรเปลี่ยนอย่างสุดขั้วและการอยู่โดดเดียวทางภูมิศาสตร์ในระยะยาว ทำให้สิ่งมีชีวิตในออสเตรเลียจำนวนมากเป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย ประมาณ 85% ของพืชดอก, 84% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, กว่า 45% ของนกและ 89% ของสัตว์บก และปลาเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่น ออสเตรเลียมีสัตว์เลื้อยคลานจำนวนมากที่สุด (755 สายพันธุ์) ป่าออสเตรเลียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากสายพันธุ์ที่เขียวชอุ่มตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นยูคาลิปตัสในดินแดนแห้งแล้ง ไม้สนต่าง ๆ เป็นสายพันธุ์ที่โดดเด่นมากที่สุด ท่ามกลางสัตว์ในออสเตรเลียที่รู้จักกันดี คือสัตว์ประเภท monotremes (ตัวตุ่นและตุ่นปากเป็ด); สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องเลี้ยงลูก รวมถึง จิงโจ้, โคอาล่า และ วอมแบต และนก เช่น นกอีมู ออสเตรเลียเป็นบ้านของสัตว์ที่เป็นอันตรายจำนวนมากรวมทั้งงูที่มีพิษรุนแรงที่สุดในโลก หมาป่าดิงโกได้รับการแนะนำโดยคน Austronesian ที่ค้าขายกับชาวพื้นเมืองประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พืชและสัตว์หลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไปในไม่ช้าหลังจากการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์คนแรก รวมทั้งพันธุ์สัตว์ท้องถิ่นออสเตรเลียได้หายไปตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานชาวยุโรป เช่น ไทลาซีน หลายภูมิภาคเผชิญปัญหาสิ่งมีชีวิตถูกคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์ พระราชบัญญัติการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของรัฐบาลกลาง ค.ศ. 1999 เป็นกรอบกฎหมายสำหรับการป้องกันภัยคุกคามของพืชและสัตว์ พื้นที่หลายแห่งได้รับการป้องกันภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกว่า 65 พื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ภายใต้อนุสัญญาแรมซาร์, และ 16 แหล่งมรดกโลกธรรมชาติได้รับการดูแล ออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 51 จาก 163 ประเทศทั่วโลกในดัชนีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมปี 2010 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นความกังวลที่เพิ่มขึ้นในประเทศ และการป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นปัญหาทางการเมืองที่สำคัญ ในปี 2007 รัฐบาลได้ลงนามในตราสารการให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของออสเตรเลียต่อหัวอยู่ในกลุ่มที่สูงที่สุดในโลกที่ ต่ำกว่าเพียงไม่กี่ประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ ปริมาณฝนที่ตกในประเทศได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณกว่าสองในสี่ส่วนของประเทศ จากอ้างอิงถึงของสำนักอุตุนิยมวิทยา ออสเตรเลียมีอุณหภูมิในปี 2011 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยในรอบสิบปียังคงแสดงให้เห็นถึง แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ เนื่องจากการจำกัดเรื่องน้ำในหลายภูมิภาค และการเพิ่มขึ้นของประชากรในเมืองและภัยแล้งในท้องถิ่น พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปนี้ยังเกิดน้ำท่วมใหญ่บ่อยครั้ง == เศรษฐกิจ == ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ร่ำรวยประเทศหนึ่ง และจีดีพีต่อหัวของประชากรที่ค่อนข้างสูง และอัตราของความยากจนที่ค่อนข้างต่ำ ในแง่ของความมั่งคั่งเฉลี่ย เศรษฐกิจออสเตรเลียเป็นอันดับสองในโลกตามหลังสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 2013 แม้ว่าอัตราความยากจนของประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 10.2 เปอร์เซนต์ในปี 2000 เป็น 11.8 เปอร์เซนต์ใน ค.ศ. 2013 ออสเตรเลียได้รับการระบุโดยสถาบันวิจัยเครดิตสวิสว่าเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก และความมั่งคั่งเฉลี่ยสูงสุดในประชากรผู้ใหญ่เป็นอันดับสองใน ค.ศ. 2013 เงินดอลลาร์ออสเตรเลียเป็นสกุลเงินของประเทศ รวมทั้งของเกาะคริสมาสต์, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) และเกาะนอร์โฟล์ค เช่นเดียวกับรัฐอิสระเกาะแปซิฟิกของประเทศคิริบาติ, นาอูรู และ ตูวาลู การควบรวมกิจการของตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียและตลาดอนาคตซิดนีย์ใน ค.ศ. 2006 ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียได้กลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับเก้าในโลก ออสเตรเลียได้รับการจัดอันดับในอันดับสามด้านดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (ค.ศ. 2010), เศรษฐกิจประเทศใหญ่ที่สุดอันดับสิบสองของโลกและ มี GDP ต่อหัว (ประมาณ) ที่สูงที่สุดเป็นอันดับห้าที่ และเป็นอันดับที่สองในด้านดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ ค.ศ. 2011 และเป็นที่หนึ่งในดัชนีเจริญรุ่งเรืองของ Legatum ค.ศ. 2008 เมืองใหญ่ทั้งหมดของออสเตรเลียมีอันดับที่ดีในการสำรวจความน่าอยู่ เมลเบิร์นเป็นเมืองอันดับหนึ่งจากการจัดโดยหนังสือ The Economist ในปี ค.ศ. 2011, 2012 และ 2013 ในรายชื่อเมืองที่น่าอยู่ที่สุดของโลก ตามด้วย แอดิเลด, ซิดนีย์ และ เพิร์ธ ในอันดับที่ห้า, เจ็ด และเก้าตามลำดับ หนี้ภาครัฐรวมในประเทศออสเตรเลียอยู่ที่ประมาณ $190 พันล้าน - 20% ของ GDP ใน ค.ศ. 2010. ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีราคาบ้านสูงที่สุด และมีจำนวนหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงในทศวรรษที่ผ่านมา ออสเตรเลียมีความสมดุลของการชำระเงินที่มีมากขึ้นกว่า 7% ของจีดีพี และมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีขนาดใหญ่นานกว่า 50 ปี ออสเตรเลียมีการเติบโตเศรษฐกิจในอัตราเฉลี่ย 3.6% ต่อปีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ในการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยประจำปีของกลุ่มประเทศ OECD ที่ 2.5% ออสเตรเลียเป็นประเทศเศรษฐกิจขั้นสูงประเทศเดียวที่ไม่ประสบกับภาวะถดถอยเนื่องจากการชะลอตัวทางการเงินระดับโลกในปี 2008-09 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของหกประเทศคู่ค้าที่สำคัญของออสเตรเลียอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศออสเตรเลียอย่างมีนัยสำคัญที่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา จาก ปี 2012 ถึงต้นปี 2013 เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลียเติบโต แต่ในบางรัฐที่ไม่ได้ทำเหมืองแร่ และรัฐที่เศรษฐกิจหลักที่ไม่ได้มาจากการทำเหมืองแร่ประสบกับภาวะถดถอย ในระบบภาษีของออสเตรเลีย ภาษี รายได้ส่วนบุคคลและบริษัทเป็นแหล่งที่มาหลักของรายได้ของรัฐบาล ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 มีลูกจ้าง 11,537,900 คน (ทั้งแบบเต็มเวลาและไม่เต็มเวลา) และอัตราการว่างงานที่ 5.1% การว่างงานเยาวชน (อายุ 15-24) อยู่ที่ 11.2% ข้อมูลที่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้รับสวัสดิการได้เติบโตขึ้นถึง 55% ใน ค.ศ. 2007 กว่าทศวรรษที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อมักจะอยู่ที่ 2-3% และอัตราดอกเบี้ยฐานที่ 5-6% ภาคบริการของเศรษฐกิจรวมทั้ง การท่องเที่ยว, การศึกษาและการบริการทางการเงิน มีประมาณ 70% ของ จีดีพี ออสเตรเลียอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ด้านผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวสาลีและขนสัตว์ รวมถึงแร่ธาตุ เช่นเหล็กและทอง และพลังงานในรูปแบบของก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหิน การส่งออกสินค้าเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติมีมูลค่า 3% และ 5% ของจีดีพีตามลำดับ ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน, สหรัฐ, เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกไวน์และอุตสาหกรรมไวน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก มูลค่ากว่า 5.5 พันล้านเหรียญต่อปี === การท่องเที่ยว === ออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจัดทำโดย Tourism Australia พบว่า ในปี 2016 ออสเตรเลียมีภาพลักษณ์เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวอันดับหนึ่งในแง่ความปลอดภัย โดยรัฐบาลออสเตรเลียมีความพยายามในการผลักดันให้ออสเตรเลียเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกผ่านมาตรการรักษาความปลอดภัยและบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ในปี 2011 รัฐบาลออสเตรเลียได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระยะยาว ‘Tourism 2020’ เป็นกรอบนโยบายระดับชาติเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออสเตรเลีย และเพื่อผลักดันให้การท่องเที่ยวของออสเตรเลียเติบโตได้ตามศักยภาพสูงสุด ทั้งนี้ การกำหนดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระยะยาวในครั้งนี้เป็นความพยายามของรัฐบาลในการฟื้นฟูจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศที่ลดลงในช่วงก่อนหน้า โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักคือ สำนักงานการพาณิชย์และการลงทุนออสเตรเลีย (Austrade) และการท่องเที่ยวออสเตรเลีย (Tourism Australia) การท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้แก่ออสเตรเลีย และจากการที่มีสภาพภูมิประเทศและอากาศที่หลากหลาย ส่งผลให้ออสเตรเลียมีแหล่งท่องเที่ยวทุกรูปแบบที่ได้รับความนิยม ออสเตรเลียขึ้นชื่อเรื่องชายหาดและทะเลที่งดงาม มีหลายรัฐที่เต็มไปด้วยชายหาดหลายแห่งที่ได้รับความนิยม เช่น ควีนส์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ พืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลก และ เพิร์ท เมืองท่าซึ่งมีทัศนียภาพงดงาม สถานที่อื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ โรงอุปรากรซิดนีย์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการท่องเที่ยวออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเมืองซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์, สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ สะพานระนาบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก, อุทยานแห่งชาติ Blue Mountains, เมืองเมลเบิร์น รัฐวิคตอเรีย ซึ่งขึ้นชื่อในด้านอากาศที่ดีและการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ นักท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนในสวนสาธารณะอันร่มรื่นตลอดวัน การท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือ การทัวร์ปลาฉลาม เป็นการนำนักท่องเที่ยวเข้าไปในกรงเหล็กซึ่งมีความปลอดภัย ก่อนจะหย่อนกรงจากเรือลงไปในมหาสมุทรเพื่อสัมผัสปลาฉลามอย่างใกล้ชิด โดยสถานที่ ๆ มีชื่อเสียงที่สุดของออสเตรเลียในการทัวร์ปลาฉลามคือ พอร์ทลินคอล์น แม้จะสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นแต่ก็ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการก่อกวนฉลามและอาจกระตุ้นสัญชาติการล่าเหยื่อให้ปลาฉลามทำร้ายมนุษย์ ซึ่งโดยปกติแล้วมนุษย์ไม่ใช่อาหารหลักของฉลาม == โครงสร้างพื้นฐาน == === วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี === ชาวออสเตรเลียมีประวัติด้านความสำเร็จและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในสาขาการแพทย์ เทคโนโลยี กสิกรรม เหมืองแร่และการอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ผู้ประสบความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ยังได้รับรางวัลชาวออสเตรเลียประจำปี (Australian of the Year Awards) ใน ค.ศ. 2005 ผู้ได้รับรางวัลนี้คือ ศาสตราจารย์ ฟิโอนา วูด (Professor Fiona Wood) ผู้พัฒนาการทำผิวหนังเทียมที่พ่นลงไปบนผิวผู้ที่ถูกไฟลวก ใน ค.ศ. 2006 ผู้ที่ได้รับรางวัลคือศาสตราจารย์ เอียน เฟรเซอร์ (Professor Ian Frazer) ผู้ผลิตวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ส่วนใน ค.ศ. 2007 ศาสตราจารย์ ทิม แฟลนเนอรีย์ (Professor Tim Flannery) ได้รับรางวัลในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมชั้นนำ ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานและประสบความสำเร็จในการวิจัยการเกษตร ออสเตรเลียกลายมาเป็นศูนย์กลางของโลกในด้านการเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร และเป็นผู้ส่งออกภาคการเกษตรรายใหญ่อันดับต้น ๆ เป็นประจำทุกปี รัฐบาลออสเตรเลียลงทุนมากกว่า 600 ล้านเหรียญออสเตรเลียต่อปี ในการวิจัยและพัฒนาการเกษตร และสนับสนุนการริเริ่มสหพันธ์เกษตรกรแห่งชาติ ในการขยายเกษตรกรรมของออสเตรเลียไปสู่อุตสาหกรรมมูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 === คมนาคม และ โทรคมนาคม === ออสเตรเลียมีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดชาติหนึ่งในทุกช่องทาง เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวาง การวางระบบการขนส่งจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาด้านการสร้างเรือมีประวัติที่ยาวนานไม่ว่าจะเป็นการสร้างเรือเพื่อการป้องกันประเทศ, เรือเพื่อการพาณิชย์หรือการดูแลรักษาและซ่อมแซม ซึ่งออสเตรเลียได้รับการยอมรับในทุกด้านที่กล่าวมา ออสเตรเลียยังมีความโดดเด่นด้านการออกแบบ, การวิจัยและการพัฒนาตั้งแต่แผนแม่บท, การวิศวกรรม, การก่อสร้างและระบบไอทีในการสร้างสนามบิน ออสเตรเลียยังได้รับการยอมรับว่ามีระบบรางที่ทันสมัยที่สุดประเทศหนึ่งของโลกอีกด้วย นวัตกรรมทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในออสเตรเลียแสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการก้าวข้ามความท้าทายในรูปแบบต่างๆทั้งทางสภาพแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจและความท้าทายด้านเทคนิค และเป็นเหตุให้ทั่วโลกให้ความสนใจในศักยภาพของออสเตรเลีย ทางรถไฟสำหรับการขนส่งระบบรางหนักในประเทศออสเตรเลียได้ชื่อว่าเป็นทางผ่านของรถไฟสินค้าหนักที่ขบวนยาวที่สุดและบรรทุกสินค้าได้น้ำหนักมากที่สุดอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ทางด้านระบบรางเบา ออสเตรเลียก็มีชื่อตั้งแต่การเริ่มต้นวางแผนโครงการ, งานวิศวกรรมก่อสร้าง, ระบบควบคุมการปฏิบัติการ ตลอดจนการดูแลรักษาเพื่อความประหยัดและปลอดภัยสูงสุด ออสเตรเลียเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมด้านระบบรางหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ควบคุมรถไฟทางไกล (remotely located train control centres) หรือรถไฟสินค้าหนักอัตโนมัติ (Heavy haul and freight rail) ท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของจำนวนผู้โดยสาร ตั้งอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และเป็นฐานการบินหลักของสายการบินควอนตัส ซึ่งเป็นสายการบินประจำชาติและยังเป็นสายการบินเก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของโลกที่ยังให้บริการอยู่ รองลงมาได้แก่ ท่าอากาศยานเมลเบิร์น และท่าอากาศยานบริสเบน === พลังงาน === ในปี 2003 แหล่งพลังงานของออสเตรเลีย ได้แก่ ถ่านหิน (58.4%) ไฟฟ้าพลังน้ำ (19.1%) ก๊าซธรรมชาติ (13.5%) โรงงานเปลี่ยนเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลว/ก๊าซ (5.4%) น้ำมัน (2.9%) และทรัพยากรหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพ (0.7%) ในช่วงศตวรรษที่ 21 ออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะผลิตพลังงานมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและใช้พลังงานน้อยลงโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในปี 2020 ออสเตรเลียใช้ถ่านหินเป็นสัดส่วน 62% ของพลังงานทั้งหมด (เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับปี 2013) พลังงานลม 9.9% (เพิ่มขึ้น 9.5%) ก๊าซธรรมชาติ 9.9% (ลดลง 3.6%) พลังงานแสงอาทิตย์ 9.9% (9.8% เพิ่มขึ้น), ไฟฟ้าพลังน้ำ 6.4% (ลดลง 12.7%), พลังงานชีวภาพ 1.4% (เพิ่มขึ้น 1.2%) และแหล่งอื่น ๆ เช่น น้ำมันและของเสียจากเหมืองถ่านหิน คิดเป็น 0.5% ในเดือนสิงหาคม 2009 รัฐบาลออสเตรเลียตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุถึง 20% ของพลังงานทั้งหมดในประเทศจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2020 และพวกเขาบรรลุเป้าหมายนี้ เนื่องจากทรัพยากรหมุนเวียนคิดเป็น 27.7% ของพลังงานของออสเตรเลียในปีดังกล่าว บริษัทด้านพลังงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้แก่ EnergyAustralia (TRUenergy) == ประชากร == เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ ที่ผู้ตั้งถิ่นฐานและผู้อพยพย้ายมาจากเกาะอังกฤษ เป็นผลให้ผู้คนในประเทศออสเตรเลียเป็นชาวอังกฤษและ/หรือชาติกำเนิดไอริชเป็นหลัก การสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2011 ได้ถามผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวอังกฤษ (36.1%) ตามด้วยออสเตรเลีย (35.4%), และชาวออสเตรเลียเชื้อสายเอเซียคิดเป็น 12% ของประชากรทั้งหมด ประชากรของออสเตรเลียได้เพิ่มเป็นสี่เท่าตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ความหนาแน่นของประชากร ที่ 2.8 ประชากรต่อตารางกิโลเมตร ยังคงอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก ประชากรที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากมาจากการอพยพเข้าเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึง ค.ศ. 2000 เกือบ 5.9 ล้านคนเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศโดยเป็นผู้อพยพใหม่ ซึ่งหมายความว่าเกือบสองในเจ็ดของชาวออสเตรเลียได้เกิดในประเทศอื่น ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีฝีมือ ใน ค.ศ. 2050 ประชากรของออสเตรเลียเป็นที่คาดการณ์ว่าจะมีถึงประมาณ 42 ล้านคน. ใน ค.ศ. 2011, 24.6% ของชาวออสเตรเลียเกิดจากที่อื่น และ 43.1% ของประชาชนมีอย่างน้อยหนึ่งผู้ปกครองที่เกิดในต่างประเทศ, กลุ่มผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดเป็นผู้ที่มาจากสหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, จีน, อินเดีย, อิตาลี, เวียดนามและฟิลิปปินส์ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรมีเชื้อสายยุโรป ที่เหลือเป็นคนเอเชียเก่าแก่ที่มีชนกลุ่มน้อยขนาดเล็กเป็นบรรพบุรุษ หลังจากการยกเลิกนโยบายคนออสเตรเลียขาวใน ค.ศ. 1973 โครงการของรัฐบาลจำนวนมากได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความสามัคคีเชื้อชาติด้วยวัฒนธรรมหลากหลาย ใน ค.ศ. 2005-06 มากกว่า 131,000 คน อพยพไปอยู่ออสเตรเลียส่วนใหญ่มาจากเอเชียและโอเชียเนีย. เป้าหมายสำหรับการย้ายถิ่น ค.ศ. 2012-13 อยู่ที่ 190,000 คน เมื่อเทียบกับ 67,900 คนใน ค.ศ. 1998-99. ประชากรในชนบทของออสเตรเลียใน ค.ศ. 2012 มี 2,420,731 คน (10.66% ของประชากรทั้งหมด) ประชากรชาวพื้นเมือง ได้แก่พวกอะบอริจินส์ และชาวเกาะช่องแคบทอร์เรถูกนับได้ที่ 548,370 คน (2.5% ของประชากรทั้งหมด) ใน ค.ศ. 2011 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 115,953 คนในการสำรวจสำมะโนประชากรปี 1976 การเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเนื่องจากหลายคนที่มีมรดกทางวัฒนธรรมพื้นเมืองก่อนหน้านี้ได้ถูกมองข้ามโดยการสำรวจสำมะโนประชากร เนื่องจากมีการนับขาดไปและหลายกรณีที่สถานะทางพื้นเมืองของพวกเขาไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในแบบฟอร์ม ชาวออสเตรเลียพื้นเมืองมีประสบการณ์การถูกจำคุกและการว่างงาน สูงกว่าอัตราเฉลี่ย และการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ และมีอายุขัยโดยรวมต่ำกว่าถึง 11-17 ปีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง. ชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลบางแห่งมีสภาพเหมือน "รัฐล้มเหลว" เนื่องจากยังอยู่ห่างไกลความเจริญ เช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วชาติอื่น ๆ ออสเตรเลียกำลังประสบการเปลี่ยนแปลงประชากรไปเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีผู้เกษียณอายุมากขึ้นและคนในวัยทำงานน้อยลง ใน ค.ศ. 2004 อายุเฉลี่ยของประชากรพลเรือนอยู่ที่ 38.8 ปี ชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (759,849 คนระหว่าง ค.ศ. 2002-03; 1 ล้านคนหรือ 5% ของประชากรทั้งหมดใน ค.ศ. 2005) อาศัยอยู่นอกประเทศบ้านเกิด === ภาษา === แม้ว่าออสเตรเลียจะไม่มีภาษาราชการ แต่ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาประจำชาติโดยพฤตินัย ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียมีความหลากหลายด้วยสำเนียงและคำศัพท์ที่โดดเด่น, และแตกต่างเล็กน้อยจากความหลากหลายอื่น ๆ ของภาษาอังกฤษด้านไวยากรณ์และการสะกดคำ จากผลของการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011, ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเดียวที่พูดกันทั่วไปเกือบ 81% ของประชากร ภาษาที่พบพูดมากที่สุดต่อไปคือ ภาษาจีนกลาง (1.7%), อิตาลี (1.5%), อาหรับ (1.4%), กวางตุ้ง (1.3%), กรีก (1.3%) และ เวียดนาม (1.2%); การศึกษาระหว่าง ค.ศ. 2010-2011 โดย Australia Early Development Index พบว่า ภาษาที่พูดโดยเด็กและเยาวชนที่พบมากที่สุดหลังจากอังกฤษ เป็นภาษาอาหรับ ตามด้วยเวียดนาม, กรีก, จีนและภาษาฮินดี ระหว่าง 200 ถึง 300 ภาษาออสเตรเลียพื้นเมืองถูกคิดว่าน่าจะใช้กันในช่วงเวลาของการติดต่อกับยุโรปครั้งแรก ซึ่งมีเพียงประมาณ 70 ภาษาเท่านั้นที่ยังคงใช้ในปัจจุบัน หลายภาษาเหล่านี้จะถูกพูดเฉพาะผู้สูงอายุ มีเพียง 18 ภาษาพื้นเมืองเท่านั้นที่ยังคงถูกพูดโดยทุกกลุ่มอายุ ในช่วงเวลาของการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2006, 52,000 ชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย, คิดเป็น 12% ของประชากรพื้นเมืองที่รายงานว่าพวกเขาพูดภาษาพื้นเมืองที่บ้าน ออสเตรเลียมีภาษามือที่เป็นที่รู้จักกันคือ Auslan ซึ่งเป็นภาษาหลักของคนหูหนวกประมาณ 5,500 คน ===ศาสนา=== ออสเตรเลียไม่มีศาสนาแห่งรัฐ; มาตรา 116 ของรัฐธรรมนูญของออสเตรเลียห้ามไม่ให้รัฐบาลกลางออกกฎหมายใด ๆ ที่จะสร้างศาสนาใด ๆ, กำหนดพิธีทางศาสนาใด ๆ หรือห้ามกิจกรรมอิสระ ของศาสนาใด ๆ ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2011 61.1% ของชาวออสเตรเลียถูกนับเป็นคริสเตียน 25.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 17.1% เป็นแองกลิกัน; 22.3% ของประชากรมีการรายงานว่า "ไม่มีศาสนา"; 7.2% ระบุว่านับถือศาสนาอื่น ๆที่ไม่ใช่คริสเตียน โดยเป็นมุสลิม (2.6%) ตามด้วย พุทธ (2.5%), ศาสนาฮินดู (1.3%) และ ยูดาย (0.5%) ส่วนที่เหลืออีก 9.4% ของประชากรไม่ได้ให้ข้อมูลที่เพียงพอ ก่อนที่จะมีการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปในออสเตรเลีย ความเชื่อของนักวิญญาณนิยมในคนพื้นเมืองของออสเตรเลียได้รับการปฏิบัติมานานนับพันปี ในกรณีของชาวออสเตรเลียอะบอริจินแผ่นดินใหญ่ จิตวิญญาณและประเพณีได้สะท้อนให้เห็นต้นกำเนิดของ เมลานีเซีย การสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 1996 มีผู้ตอบแบบสอบถามได้มากกว่า 7,000 คนที่เป็นสาวกของศาสนาอะบอริจินดั้งเดิม ตั้งแต่การมาถึงของกองทัพเรืออังกฤษใน ค.ศ. 1788 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาหลัก ก่อให้เกิดเทศกาลของศาสนาเช่น คริสมาสต์ และอีสเตอร์ อาคารหลายแห่งถูกประดับด้วยยอดแหลมของโบสถ์และวิหาร และโบสถ์คริสต์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษา สุขภาพและสวัสดิการในประเทศ ระบบการศึกษาคาทอลิกดำเนินการเป็นผู้ให้การศึกษาซึ่งไม่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด (ประมาณ 21%) องค์กรสวัสดิการคริสเตียนยังมีบทบาทที่โดดเด่นในสังคม และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง โดยในธนบัตรของออสเตรเลียมีการปรากฏรูปของบุคคลสำคัญมากมาย อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคริสเตียน รวมถึงนักเทศน์ และนักประพันธ์พื้นเมืองชื่อดัง เดวิด อูนายพอน ($50); ผู้ก่อตั้งบริการหมอกองบิน จอห์น ฟลินน์ ($ 20 ); และ แคทเธอรี เฮเลน Spence ($5) ผู้สมัครหญิงคนแรกของออสเตรเลียสำหรับสำนักงานทางการเมือง บุคคลสำคัญทางศาสนาอื่น ๆ รวมถึง แมรี แม็คคิลลอป ชาวออสเตรเลียคนแรกที่ได้รับการยอมรับเป็นนักบุญโดยคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ค.ศ. 2010) และบาทหลวง เซอร์ ดักลาส คอลส์แห่งคริสตจักรของพระคริสต์ ผู้ซึ่งเปรียบเสมือน มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ นำการเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติในประเทศออสเตรเลียและยังเป็นชาวพื้นเมืองคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐ คริสตจักรแห่งอังกฤษ (เป็นที่รู้จักในนามคริสตจักรแองกลิกันของออสเตรเลีย) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนอพยพได้มีส่วนร่วมที่ทำให้อิทธิพลของคริสตจักรลดลง อย่างไรก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกยังได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ และกลายเป็นศาสนากลุ่มใหญ่ที่สุด ในทำนองเดียวกัน ศาสนาอิสลาม, พุทธ, ศาสนาฮินดู, และศาสนายิว ได้รับการขยายตัวในทศวรรษที่ผ่านมา ศาสนาขนาดเล็กอื่น ๆ รวมทั้งศรัทธาบาไฮ, ศาสนาซิกข์ยังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในการสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2001 มี 17,381 เป็นชาวซิกข์, 11,037 คนนับถือบาไฮ, 10,632 Pagans และ 8,755 Wiccans ในประเทศ การสำรวจระหว่างประเทศโดยภาคเอกชน และนักวิชาการที่ไม่แสวงหาผลกำไร พบว่า "ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศเคร่งศาสนาน้อยในโลกตะวันตก เข้ามาอันดับที่ 17 ใน 21 ประเทศที่สำรวจ" และพบว่า "เกือบสามในสี่ของชาวออสเตรเลีย กล่าวว่าพวกเขามีทั้งที่ไม่ได้เคร่งศาสนาเลยหรือศาสนาไม่ได้มีบทบาทสำคัญในชีวิตของพวกเขา" ในขณะที่ การเข้าร่วมปฏิบัติศาสนกิจประจำสัปดาห์ใน ค.ศ. 2001 มีเพียง 1.5 ล้าน (ประมาณ 7.8% ของประชากร), การสำรวจความคิดเห็นของชาวออสเตรเลีย 1,718 คนโดยสมาคมวิจัยคริสเตียน ปลาย ค.ศ. 2009 ชี้ให้เห็นว่า จำนวนของคนที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่อเดือนได้ลดลงจาก 23% ใน ค.ศ. 1993 เป็น 16% ===การศึกษา=== การเข้าเรียนที่โรงเรียนหรือการลงทะเบียนการศึกษาที่บ้าน เป็นภาคบังคับทั่วประเทศออสเตรเลีย การศึกษาเป็นความรับผิดชอบของแต่ละรัฐและดินแดน ดังนั้น กฎระเบียบจึงแตกต่างกันในแต่ละรัฐ, แต่โดยทั่วไป เด็กจะต้องเข้าโรงเรียนตั้งแต่อายุประมาณ 5 ขึ้นไปจนถึงอายุ 16. ในบางรัฐ (เช่น WA} NT, และ NS,) เด็กอายุ 16-17 จะต้องไปโรงเรียน หรือมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมวิชาชีพ เช่นการฝึกงาน ออสเตรเลียมีอัตราการรู้หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นที่คาดกันว่าจะเป็น 99% ในปี 2003. อย่างไรก็ตามการ รายงานสำหรับสำนักงานสถิติออสเตรเลียของปี 2011-12 รายงานว่า ทัสมาเนีย มีอัตราการรู้หนังสือและการคำนวณเพียง 50%. ในโปรแกรมสำหรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ, ออสเตรเลียได้คะแนนอย่างสม่ำเสมออยู่ในกลุ่มสูงสุดห้าในสามสิบประเทศที่พัฒนาแล้วที่สำคัญ (ประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) การศึกษาคาทอลิกนับว่าเป็นภาคที่ไม่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด ออสเตรเลียมี 37 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสองมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น เดียวกับสถาบันผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ จำนวนมาก ที่จัดให้หลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติในระดับการศึกษา ที่สูงขึ้น มหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1850 ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในสามปีต่อมา มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ รวมถึงบรรดาของกลุ่มแปดสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแอดิเลด (ซึ่งมีความสัมพันธ์กับห้ารางวัลโนเบล), มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของ Canberra, มหาวิทยาลัย Monash และมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาเวลส์ OECD ได้วางตำแหน่งออสเตรเลียอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศที่มีราคาแพงที่สุดในการเข้ามหาวิทยาลัย มีระบบของรัฐที่ใช้ในการฝึกอบรมวิชาชีพ หรือที่เรียกว่า TAFE, และธุรกิจการค้าจำนวนมากได้ ดำเนินการฝึกอบรมและฝึกงานให้กับพ่อค้าใหม่ ประมาณ 58% ของชาวออสเตรเลียวัย 25-64 มีคุณสมบัติทางอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษา และอัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 49%, สูงที่สุดในกลุ่มประเทศโออีซีดี อัตราส่วนของนักศึกษาต่างประเทศต่อนักศึกษาท้องถิ่นในการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลียสูงที่สุดในกลุ่มประเทศดังกล่าวเช่นกัน ออสเตรเลียมีอัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติต่อหัวประชากรสูงที่สุดในโลก กว่า 812,000 คนลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวศึกษาของประเทศในปี 2019 ดังนั้นในปี 2019 นักศึกษาต่างชาติจึงมีสัดส่วนเฉลี่ย 26.7% ของจำนวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมด การศึกษาระหว่างประเทศจึงเป็นหนึ่งในภาคการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและมีอิทธิพลอย่างเด่นชัดต่อประชากรของประเทศ ===สุขภาพ=== ออสเตรเลียมีอายุขัยสูงที่สุดเป็นอันดับสี่รองจาก ไอซ์แลนด์, ญี่ปุ่น และฮ่องกง อายุขัยในประเทศออสเตรเลียใน ค.ศ. 2010 อยู่ที่ 79.5 ปีสำหรับผู้ชาย และ 84.0 ปีสำหรับผู้หญิง. ออสเตรเลียมีอัตราโรคมะเร็งผิวหนังที่สูงที่สุดในโลก โดยมีข้อมูลแสดงว่ามีผู้ป่วยเกือบล้านรายในปี 2015 ในขณะที่การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการตายและโรคที่ป้องกันได้ที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็น 7.8% ของการเสียชีวิตโดยรวม โรคที่ป้องกันได้ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตรองลงมาอีกสองอันดับคือความดันโลหิตสูงที่ 7.6% และโรคอ้วนที่ 7.5% ออสเตรเลียอยู่ในอันดับ 35 ในโลก และอยู่ใกล้กับอันดับสูงสุดของประเทศพัฒนาแล้วสำหรับสัดส่วนของผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วน ค่าใช้จ่ายรวมสำหรับการดูแลสุขภาพ (รวมถึงการใช้จ่ายภาคเอกชน) อยู่ที่ประมาณ 9.8% ของ GDP ทั้งหมด ออสเตรเลียเปิดตัวระบบการดูแลสุขภาพแบบถ้วนหน้าใน ค.ศ. 1975. รู้จักกันในชื่อ เมดิแคร์ ได้รับทุนสนับสนุนโดยคิดค่าใช้จ่ายภาษีรายได้ หรือที่เรียกว่า การจัดเก็บเมดิแคร์ปัจจุบันคิดที่ 1.5%. รัฐเป็นฝ่ายจัดการด้านโรงพยาบาลและบริการผู้ป่วยนอก ในขณะที่รัฐบาลกลางจ่ายเงินอุดหนุนแผนสวัสดิการเภสัชกรรม (อุดหนุนค่าใช้จ่ายของยา) และการปฏิบัติทั่วไป. === เมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย === == วัฒนธรรม == วัฒนธรรมของออสเตรเลียมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะแบบอังกฤษหรือแองโกล-เคลติก แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งพัฒนามาจากสภาพแวดล้อมและชนพื้นเมือง ในระยะหลัง วัฒนธรรมของออสเตรเลียยังได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกัน === วรรณกรรม === ออสเตรเลียมีประเพณีด้านวรรณกรรมที่แข็งแกร่งซึ่งเริ่มมาจากการเล่าเรื่องของชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย และต่อด้วยการเล่าเรื่องของนักโทษที่มาถึงในตอนปลายศตวรรษที่ 18 งานเขียนในตอนต้น ๆ ของออสเตรเลียส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘บุช’ หรือ พื้นที่ห่างไกลความเจริญ และความยากลำบากของชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ทุรกันดาร นักเขียนเช่น เฮนรีย์ ลอว์สัน (Henry Lawson) และไมล์ส แฟรงคลิน (Miles Franklin) ได้เขียนบทกลอนและเรื่องราวเกี่ยวกับบุช และวีถีชีวิตของชาวออสเตรเลียเอาไว้ นักเขียนนวนิยายชาวออสเตรเลียชื่อ แพทริค ไวท์ (Patrick White) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1973 นักเขียนนวนิยายออสเตรเลียสมัยใหม่คนอื่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ ปีเตอร์ แครีย์ (Peter Carey) คอลลีน แม็คคัลลอฟ (Colleen McCullough) และ ทิม วินตัน (Tim Winton) === อาหาร === กลุ่มชนพื้นเมืองของออสเตรเลียส่วนใหญ่ดำรงชีวิตด้วยอาหารที่เรียบง่ายตามวิถินักล่าในสมัยโบราณ เริ่มมีการรวบรวมอาหารที่ทำโดยเนื้อสัตว์พื้นเมืองและพืชพันธุ์ท้องถิ่นในเวลาต่อมา หรือเรียกอีกอย่างว่าบุชทัคเกอร์ ผู้ตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกได้แนะนำอาหารอังกฤษมาสู่ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ถือว่าเป็นอาหารออสเตรเลียทั่วไป เช่น เนื้อย่าง การย้ายถิ่นฐานจากหลากหลายวัฒนธรรมได้เปลี่ยนโฉมอาหารออสเตรเลีย ผู้อพยพชาวยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่วยสร้างวัฒนธรรมกาแฟที่เฟื่องฟู พายเนื้อและแพฟโลวา (แป้งเค้กทำจากไข่ขาวตีกับน้ำตาล) เป็นของหวานสองชนิดที่มีชื่อเสียงที่สุดในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อาหารเอเชียจากชาติ อื่น ๆ เป็นที่นิยมในออสเตรเลียตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาจากการมีชาวเอเชียย้ายไปตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เมืองใหญ่ได้แก่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น เพิร์ท และบริสเบน มักปรากฏร้านอาหารจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เวียดนาม และไทยมากมาย อาหารเช้าได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก เช่น เบคอน แฮม ไข่ ทานกับขนมปัง น้ำผึ้ง ซีเรียล โยเกิร์ต และน้ำผลไม้ อาหารกลางวันและอาหารเย็นแตกต่างกันตามรสนิยมและภูมิภาค โดยมากนิยมทานเนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่คู่กับผักสลัด รวมถึงอาหารจานด่วนทั่วไป เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ พิซซา ไวน์ของออสเตรเลียส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในภาคใต้และส่วนที่มีอากาศเย็นของประเทศ ออสเตรเลียยังขึ้นชื่อเรื่องวัฒนธรรมร้านกาแฟและกาแฟในใจกลางเมือง ซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมกาแฟในต่างประเทศ รวมทั้งนครนิวยอร์กด้วย ออสเตรเลียอ้างว่าตนเองเป็นชาติต้นกำเนิดของ แฟลต ไวท์ (เครื่องดื่มกาแฟที่ประกอบด้วยเอสเปรสโซพร้อมสตรีมนมสด) === ดนตรี === ชาวอะบอริจินเป็นนักดนตรีกลุ่มแรกของทวีปออสเตรเลียซึ่งส่งผ่านมรดกทางวัฒนธรรมของตนในรูปบทเพลงต่าง ๆ และเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ขลุ่ยไม้ Didgeridoo ดนตรีต่างถิ่นแรก ๆ ของออสเตรเลียมีรากเหง้ามาจากดนตรีพื้นบ้าน โดยในยุคแรกมีลักษณะเป็นเพลงแบบบรรยายโวหาร คร่ำครวญถึงความยากลำบากและความโดดเดี่ยวของดินแดนใหม่ ผู้ตั้งถิ่นฐานที่หลั่งไหลมายังออสเตรเลียในเวลาต่อมา เริ่มจากนักโทษชาวอังกฤษ ไอริช และสก็อต ได้เป็นผู้สืบสานประเพณีนี้ ต่อมา ดนตรีแนวคันทรีเติบโตมาจากพื้นฐานประเพณีทางดนตรีดังกล่าวนี้ จนเมื่อล่วงมาถึงช่วงทศวรรษ 1930 ดนตรีแนวคันทรีได้กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตชนบทในออสเตรเลีย ดนตรีแจ๊ซเริ่มเข้ามาในออสเตรเลียระหว่างช่วงทศวรรษ 1920 และต่อมาได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในด้านดนตรีร็อคและป็อปแบบดั้งเดิม อุปรากรในออสเตรเลียเริ่มมีการแสดงในต้นศตวรรษที่ 19 และปัจจุบัน Opera Australia เป็นคณะละครเพลงที่มีรอบการแสดงต่อปีมากที่สุดคณะหนึ่งของโลก โดยมีโรงอุปรากรซิดนีย์อเป็นสำนักงานใหญ่ รัฐและเขตปกครองทั้งแปดของออสเตรเลียต่างมีวงดุริยางค์ซิมโฟนีประจำรัฐหรือเขตของตนเอง ส่วนวงที่มีขนาดเล็กลงมาเช่น Australian Brandenburg Orchestra และ Australian Chamber Orchestra ต่างก็ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยนักดนตรีหลายคนคือผู้อพยพจากราว 200 ประเทศทั่วโลกซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในออสเตรเลีย === สื่อสารมวลชน และวงการบันเทิง === The Story of the Kelly Gang (1906) ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องแรกของโลกที่กระตุ้นความเฟื่องฟูวงการภาพยนตร์ในยุคภาพยนตร์เงียบ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฮอลลีวูดได้ผูกขาดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในออสเตรเลีย และในช่วงทศวรรษ 1960 การผลิตภาพยนตร์ของออสเตรเลียก็ยุติลงจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ต่อมา ผู้กำกับคลื่นลูกใหม่ของออสเตรเลียในปี 1970 ได้นำความสำเร็จมาสู่วงการภาพยนตร์ในประเทศ โดยมีภาพยนตร์เกี่ยวกับอัตลักษณ์ประจำชาติ เช่น Wake in Fright และ Gallipoli ในขณะที่ซีรีส์เรื่อง Crocodile Dundee และ Mad Max ติดอันดับในบล็อกบัสเตอร์ ในตลาดภาพยนตร์สากลที่เต็มไปด้วยการแข่งขันจากภาพยนตร์ต่างประเทศ ภาพยนตร์ของออสเตรเลียมีส่วนแบ่ง 7.7% ของบ็อกซ์ออฟฟิศท้องถิ่นในปี 2015 AACTAs เป็นรางวัลภาพยนตร์และโทรทัศน์ชั้นนำของออสเตรเลีย ผู้ได้รับรางวัลออสการ์ที่มีชื่อเสียงจากออสเตรเลีย ได้แก่ เจฟฟรีย์ รัช, นิโคล คิดแมน, เคต แบลนเชตต์ และ ฮีธ เลดเจอร์ ออสเตรเลียมีผู้แพร่ภาพกระจายเสียงสาธารณะสองบริษัทใหญ่ (Australian Broadcasting Corporation และ Multicultural Special Broadcasting Service) และยังมีเครือข่ายโทรทัศน์เชิงพาณิชย์สามเครือข่าย และสถานีโทรทัศน์และวิทยุสาธารณะที่ไม่หวังผลกำไรจำนวนมาก เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีหนังสือพิมพ์รายวันประจำถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับ และมีหนังสือพิมพ์รายวันระดับประเทศสองฉบับคือ The Australian และ The Australian Financial Review ในปี 2020 ออสเตรเลียได้อันดับ 25 จาก 180 ประเทศที่จัดอันดับด้านการให้เสรีภาพสื่อ รองจากนิวซีแลนด์ (8) แต่นำหน้าสหราชอาณาจักร (33) และสหรัฐอเมริกา (44) สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของ News Corporation และ Nine Entertainment Co. === วันหยุด === ประเทศออสเตรเลียจะฉลองวันพิเศษในแต่ละปีซึ่งก็คือวันสำคัญของประเทศ และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ ซึ่งบางวันอาจมีการจัดงานพิเศษต่าง ๆ ด้วย เกือบทุกรัฐมีวันหยุดราชการวันเดียวกัน แต่บางรัฐก็มีวันหยุดพิเศษเป็นของตนเองเพิ่มอีก ในนครใหญ่หลายแห่งนั้น ร้านค้า ร้านอาหาร และระบบขนส่งสาธารณะมักจะเปิดให้บริการ ส่วนในเมืองที่มีขนาดเล็กกว่านั้น ร้านค้าและร้านอาหารส่วนใหญ่จะปิดบริการ วันหยุดราชการของออสเตรเลียมีดังนี้: วันชาติออสเตรเลีย คือวันที่ 26 มกราคม เป็นวันที่ฉลองแด่ความเป็นประเทศ วันนี้เป็นวันหยุดราชการเพื่อระลึกถึงการก่อตั้งถิ่นฐานในทวีปนี้เป็นครั้งแรกโดยชาวยุโรป, วันแอนแซค คือวันที่ 25 เมษายน เป็นวันที่กองทัพของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZAC) ยกพลขึ้นบกที่เมืองกาลิโปลีในประเทศตุรกีเมื่อ ค.ศ. 1915 ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 วันนี้มีเพื่อระลึกถึงเหล่าผู้ที่สู้รบและเสียชีวิตในสงคราม ในวันนี้จะมีพิธีฉลองและการเดินสวนสนามของทหาร, วันราชินี (Queen’s Birthday) จะฉลองให้แก่วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร จะฉลองกันในวันจันทร์ (ปกติในเดือนมิถุนายน), วันบ๊อกซิ่งเดย์ (Boxing Day) คือวันที่ 26 ธันวาคม ถัดจากวันคริสต์มาส จะมีการแจกเงินและสิ่งของต่าง ๆ ให้แก่ผู้ยากไร้, วันขึ้นปีใหม่สากล คือวันที่ 1 มกราคม จะมีงานเทศกาลและงานสังสรรค์จัดขึ้นทั่วประเทศ, วันแรงงาน แต่ละพื้นที่ของออสเตรเลียจะมีวันแรงงาน (Labor Day) ของตัวเองแตกต่างกันไป วันแรงงานถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นวันหยุดให้แก่ "คนทำงาน" และเพื่อระลึกถึงต้นกำเนิดของการเรียกร้องของสหภาพแรงงานและสิทธิด้านแรงงาน และมีวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่วันคริสต์มาส วันกู๊ดไฟร์เดย์ วันอีสเตอร์ซาเทอร์เดย์ อีสเตอร์ซันเดย์ และอีสเตอร์มันเดย์ === กีฬา === คริกเกตและฟุตบอลเป็นสองกีฬาหลักในออสเตรเลียในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวตามลำดับ ออสเตรเลียน รูลส์ ฟุตบอลมีต้นกำเนิดในเมลเบิร์นในช่วงทศวรรษ 1850 เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในทุกรัฐ ยกเว้นนิวเซาธ์เวลส์และควีนส์แลนด์ที่ลีกรักบี้เป็นกีฬาหลัก คริกเก็ตเป็นที่นิยมในทุกพื้นที่และได้รับการยอมรับจากชาวออสเตรเลียจำนวนมากว่าเป็นกีฬาประจำชาติ คริกเก็ตทีมชาติออสเตรเลียแข่งขันกับอังกฤษในการแข่งขันนัดทดสอบครั้งแรก (1877) และการแข่งขันทางการระหว่างประเทศครั้งแรก (1971) และกับนิวซีแลนด์ในการแข่งขัน Twenty20 International (2004) ครั้งแรก โดยชนะทั้งสามเกม นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมการแข่งขันคริกเกตชิงแชมป์โลกทุกรุ่น และคว้าแชมป์ได้ 5 สมัย ออสเตรเลียยังมีชื่อเสียงในด้านกีฬาทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ และกระดานโต้คลื่น ขบวนการช่วยชีวิตนักโต้คลื่นมีต้นกำเนิดในออสเตรเลีย และอาสาสมัครช่วยชีวิตเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศ กีฬายอดนิยมอื่น ๆ ได้แก่ การแข่งม้า บาสเกตบอล และการแข่งรถ การแข่งม้าประจำปีของเมลเบิร์นคัพ และการแข่งเรือยอทช์ระหว่างซิดนีย์ไปโฮบาร์ตดึงดูดความสนใจอย่างมาก ในปี 2016 คณะกรรมาธิการกีฬาแห่งออสเตรเลียเปิดเผยว่าการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และฟุตบอล เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรก ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้งในยุคสมัยใหม่ และเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกสองครั้ง: 1956 ในเมลเบิร์นและ 2000 ในซิดนีย์ และเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2032 ที่เมืองบริสเบนอีกด้วย ออสเตรเลียยังได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพทุกครั้งซึ่งเป็นเจ้าภาพในปี 1938, 1962, 1982, 2006 และ 2018 ออสเตรเลียร่วมการแข่งขัน แปซิฟิกเกมส์ครั้งแรก ในปี 2015 และฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย ร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 5 ครั้ง ชนะการแข่งขัน โอเอฟซีเนชันส์คัพ 4 สมัย และเอเชียนคัพ 1 สมัย ซึ่งถือเป็นชาติเดียวที่ชนะการแข่งขันรายการฟีฟ่าในสองทวีปที่แตกต่างกัน ในเดือนมิถุนายน 2020 ออสเตรเลียได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลกหญิง 2023 ร่วมกับนิวซีแลนด์ ทีมบาสเกตบอลออสเตรเลียยังมีฝีมือระดับต้น ๆ ของโลก และร่วมแข่งขันโอลิมปืกอย่างสม่ำเสมอ เป็นหนึ่งในทีมดังร่วมกับสหรัฐอเมริกา สเปน อาร์เจนตินา และฝรั่งเศส งานกีฬาระดับนานาชาติที่สำคัญอื่น ๆ ที่จัดขึ้นในออสเตรเลีย ได้แก่ การแข่งขันเทนนิสแกรนด์สแลมออสเตรเลียนโอเพน การแข่งขันคริกเกตนานาชาติ และการแข่งขัน Formula One Grand Prix รายการโทรทัศน์ที่เป็นที่นิยมสูงสุด ได้แก่ รายการกีฬา เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน และการถ่ายทอดฟุตบอล == ดูเพิ่ม == ทวีปออสเตรเลีย ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย เครือจักรภพ ชาวออสเตรเลีย == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == == อ่านเพิ่ม == Denoon, Donald, et al. (2000). A History of Australia, New Zealand, and the Pacific. Oxford: Blackwell. . Goad, Philip and Julie Willis (eds.) (2011). The Encyclopedia of Australian Architecture. Port Melbourne, Victoria: Cambridge University Press. . Hughes, Robert (1986). The Fatal Shore: The Epic of Australia's Founding. Knopf. . Powell, J.M. (1988). An Historical Geography of Modern Australia: The Restive Fringe. Cambridge: Cambridge University Press. Robinson, G.M., Loughran, R.J., and Tranter, P.J. (2000). Australia and New Zealand: Economy, Society and Environment. London: Arnold; New York: Oxford University Press. paperback, hardback. == แหล่งข้อมูลอื่น == About Australia from the Department of Foreign Affairs and Trade website Governments of Australia website (federal, states and territories) Australian Government website Australian Bureau of Statistics Tourism Australia อ เขตโอเชียเนีย ประเทศในเขตโอเชียเนีย อดีตอาณานิคมของอังกฤษ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2444
thaiwikipedia
357
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation) หรือ เอเปค (APEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เอเปคก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยมีจุดประสงค์ มุ่งเน้นความเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค และผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่าย รอบอุรุกวัย ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกัน เอเปคก็ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป อีกด้วย สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกเอเปคให้แก่กัน จะมีผลต่อผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกเอเปคด้วย == ภาค == === สมาชิกในปัจจุบัน === ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 เขตเศรษฐกิจ (20 ประเทศ 1 เขตเศรษฐกิจ) ประกอบด้วยประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และญี่ปุ่น รวมทั้งสมาชิกอาเซียน และประเทศในอเมริกาเหนือและใต้ ซึ่งประกอบด้วย : {| |- style="vertical-align:top;" | (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1989) (ตั้งแต่ปี 1991) (ตั้งแต่ปี 1991) (ตั้งแต่ปี 1991) (ตั้งแต่ปี 1993) (ตั้งแต่ปี 1993) (ตั้งแต่ปี 1994) (ตั้งแต่ปี 1998) (ตั้งแต่ปี 1998) (ตั้งแต่ปี 1998) |} === แสดงเจตจำนงเข้าเป็นสมาชิก === {| |- style="vertical-align:top;" | |} == การประชุมประจำปี == {| border="2" cellpadding="4" cellspacing="0" style="margin: 1em 1em 1em 0; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; border-collapse: collapse; font-size: 90%;" |- bgcolor="#CCCCCC" ! ครั้งที่ !! ปี !! เจ้าภาพ !! เมือง !! ประธาน |- | 1 || 6-7 พฤศจิกายน 1989 || || แคนเบอร์รา || นายกรัฐมนตรีบ็อบ ฮอว์ก |- | 2 || 29-31 กรกฎาคม 1990 || || สิงคโปร์ || นายกรัฐมนตรีลี กวนยู |- | 3 || 12-14 พฤศจิกายน 1991 || || โซล || ประธานาธิบดีโน แท-อู |- | 4 || 10-11 กันยายน 1992 || || กรุงเทพมหานคร || นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน |- | 5 || 19-20 พฤศจิกายน 1993 || || ซีแอตเทิล || ประธานาธิบดีบิล คลินตัน |- | 6 || 15 พฤศจิกายน 1994 || || โบโกร์ || ประธานาธิบดีซูฮาร์โต |- | 7 || 19 พฤศจิกายน 1995 || || โอซากะ || นายกรัฐมนตรีโทมิอิ มูรายามะ |- | 8 || 25 พฤศจิกายน 1996 || || ซูบิก || ประธานาธิบดีฟิเดล รามอส |- | 9 || 24-25 พฤศจิกายน 1997 || || แวนคูเวอร์ || นายกรัฐมนตรีฌ็อง เครเตียง |- | 10 || 17-18 พฤศจิกายน 1998 || || กัวลาลัมเปอร์ || นายรัฐมนตรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด |- | 11 || 12-13 กันยายน 1999 || || ออกแลนด์ || นายกรัฐมนตรีเจนนี ชิปลีย์ |- | 12 || 15-16 พฤศจิกายน 2000 || || บันดาร์เซอรีเบอกาวัน || สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ |- | 13 || 20-21 ตุลาคม 2001 || || เซี่ยงไฮ้ || ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน |- | 14 || 26-27 ตุลาคม 2002 || || โลสกาโบส || ประธานาธิบดีวิเซนเต ฟ็อกซ์ |- | 15|| 20-21 ตุลาคม 2003 || || กรุงเทพมหานคร || นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร |- | 16 || 20-21 พฤศจิกายน 2004 || || ซันติอาโก || ประธานาธิบดีริการ์โด ลากอส |- | 17 || 18-19 พฤศจิกายน 2005 || || ปูซาน || ประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน |- | 18 || 18-19 พฤศจิกายน 2006 || || ฮานอย || ประธานาธิบดีเหงียน มิญ เจี๊ยต |- | 19 || 8-9 กันยายน 2007 || || ซิดนีย์ || นายกรัฐมนตรีจอห์น โฮเวิร์ด |- | 20 || 22-23 พฤศจิกายน 2008 || || ลิมา || ประธานาธิบดีอาลัน การ์ซิอา |- | 21 || 14-15 พฤศจิกายน 2009 || || สิงคโปร์ || นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง |- | 22 || 13-14 พฤศจิกายน 2010 || || โยโกฮามะ || นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง |- | 23 || 11-12 พฤศจิกายน 2011 || || โฮโนลูลู || ประธานาธิบดีบารัก โอบามา |- | 24 || 7-8 กันยายน 2012 || || วลาดีวอสตอค || ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน |- | 25 || 5-7 ตุลาคม 2013 || || บาหลี || ประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน |- | 26 || 10-11 พฤศจิกายน 2014 || || ปักกิ่ง || ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง |- | 27 || 18-19 พฤศจิกายน 2015 || || มะนิลา || ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3 |- | 28 || 19-20 พฤศจิกายน 2016 || || ลิมา || ประธานาธิบดีเปโดร ปาโบล คูซินสกี |- | 29 || 10-11 พฤศจิกายน 2017 || || ดานัง || ประธานาธิบดีเจิ่น ดั่ย กวาง |- | 30 || 17-18 พฤศจิกายน 2018|| || พอร์ตมอร์สบี || นายกรัฐมนตรีปีเตอร์ โอนีล |- | 31 || 16-17 พฤศจิกายน 2019 (ยกเลิก) || || ซันติอาโก || ประธานาธิบดีเซบัสเตียน ปิญเญรา |- | 31 || 20 พฤศจิกายน 2020 || || กัวลาลัมเปอร์ (การประชุมทางไกล) || นายกรัฐมนตรีมุฮ์ยิดดิน ยัซซิน |- | 32 || 11-12 พฤศจิกายน 2021 || || ออกแลนด์ (การประชุมทางไกล) || นายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น |- | 33 || 18-19 พฤศจิกายน 2022 || || กรุงเทพมหานคร || นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา |- | 34 || 15–17 พฤศจิกายน 2023 || || ซานฟรานซิสโก || ประธานาธิบดีโจ ไบเดิน |- | 35 || 2024 || || กุสโก || ประธานาธิบดีเปโดร กัสติโย |- | 36 || 2025 || || TBA || ประธานาธิบดียุน ซ็อก-ย็อล'' |- |} === รูปภาพกลุ่มผู้นำในการประชุม === ไฟล์:Vladimir Putin at APEC Summit in Brunei 15-16 November-9.jpg|APEC Brunei 2000 ไฟล์:Vladimir Putin at APEC Summit in China 19-21 October 2001-14.jpg|APEC China 2001 ไฟล์:Vladimir Putin at APEC Summit in Thailand 19-21 October 2003-16.jpg|APEC Thailand 2003 ไฟล์:Vladimir Putin at APEC Summit in Chile 20-21 November 2004-3.jpg|APEC Chile 2004 ไฟล์:Vladimir Putin at APEC Summit in South Korea 18-19 November 2005-8.jpg|APEC South Korea 2005 ไฟล์:Vladimir Putin at APEC Summit in Vietnam 18-19 November 2006-11.jpg|APEC Vietnam 2006 ไฟล์:Vladimir Putin at APEC Summit in Australia 7-9 September 2007-3.jpg|APEC Australia 2007 ไฟล์:Dmitry Medvedev at APEC Summit in Peru 22-23 November 2008-2.jpg|APEC Peru 2008 ไฟล์:Singapore APEC 2009 leaders.jpg|APEC Singapore 2009 ไฟล์:13.11.2010 Gira a Asia.jpg|APEC Japan 2010 ไฟล์:APEC Hawaii.jpg|APEC United States 2011 ไฟล์:APEC Russia 2012.jpg|APEC Russia 2012 ไฟล์:Apec 2013.jpg|APEC Indonesia 2013 ไฟล์:APEC Summit China 2014.jpg|APEC China 2014 ไฟล์:APEC Philippines 2015 delegates.jpg|APEC Philippines 2015 ไฟล์:Foto Oficial APEC 2016 (LIMA PERU).jpg|APEC Peru 2016 ไฟล์:2017 APEC Vietnam Leaders Group Photo.jpg|APEC Vietnam 2017 ไฟล์:APEC Leaders Photo - Papua New Guinea 2018.jpg|APEC Papua New Guinea 2018 == ผู้นำประเทศในการประชุมปัจจุบัน == ไฟล์:Anthony Albanese Portrait 2022.jpg| ออสเตรเลีย แอนโทนี แอลบานีส ไฟล์:Sergio Mattarella met with Hassanal Bolkiah ahead of 2021 G20 Summit (2) (cropped).jpg| บรูไน ฮัสซานัล โบลเกียห์ ไฟล์:Prime Minister Trudeau's message on Thai Pongal (cropped).jpg| แคนาดา จัสติน ทรูโด ไฟล์:Retrato Oficial Presidente Boric Font (cropped).jpg| ชิลี กาบริเอล โบริช ไฟล์:APEC出席国との首脳会談 日中首脳会談3(1).jpg| จีน สี จิ้นผิง ไฟล์:張忠謀.jpg| ไต้หวัน มอร์ริส ชาง ไฟล์:John Lee Ka-chiu 2022.jpg| ฮ่องกง จอห์น ลี ไฟล์:Joko Widodo 2019 official portrait.jpg| อินโดนีเซีย โจโก วีโดโด ไฟล์:Fumio Kishida 20230101.jpg| ญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ไฟล์:South Korea President Yoon Suk Yeol portrait.jpg| เกาหลีใต้ ยุน ซ็อก-ย็อล ไฟล์:Anwar Ibrahim 09012023 (cropped).jpg| มาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ไฟล์:P20230110AS-0665 (52644828441) (cropped).jpg| เม็กซิโก อันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ไฟล์:Chris Hipkins Jan 2023 (cropped).jpg| นิวซีแลนด์ คริส ฮิปกินส์ ไฟล์:Fumio Kishida and James Marape before the funeral of Shinzo Abe (1) (cropped).jpg| ปาปัวนิวกินี เจมส์ มาราปี ไฟล์:Dina Boluarte portrait.jpg| เปรู ดินา โบลัวร์เต ไฟล์:Ferdinand R. Marcos Jr (cropped).jpg| ฟิลิปปินส์ บองบอง มาร์กอส ไฟล์:Vladimir Putin September 5, 2022 (cropped).jpg| รัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ไฟล์:Lee Hsien Loong 2022.jpg| สิงคโปร์ ลี เซียนลุง ไฟล์:President Biden at a press conference after the mid-term election (cropped).jpg| สหรัฐ โจ ไบเดิน ไฟล์:Vovanthuong2022.jpg| เวียดนาม หวอ วัน เถือง ไฟล์:Srettha Thavisin - 20230326.jpg| ไทย เศรษฐา ทวีสิน == ดูเพิ่ม == เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ==อ้างอิง== == แหล่งข้อมูลอื่น == APEC - เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เอเปค - กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ APEC STUDY CENTER - เว็บไซต์ไทยอย่างเป็นทางการ องค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
thaiwikipedia
358
จีนไทเป
จีนไทเป (Chinese Taipei) เป็นชื่อที่องค์กรและการแข่งขันระดับนานาชาติบางแห่งใช้เรียกประเทศไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) การใช้ชื่อดังกล่าวได้รับการเสนอครั้งแรกในข้อมตินาโงยะ โดยทั้งไต้หวันและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ยอมรับสิทธิ์ของอีกฝ่ายในการเข้าร่วมการแข่งขันของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ไต้หวันยังใช้ชื่อดังกล่าวในการเข้าร่วมองค์การการค้าโลก องค์การอนามัยโลก อนุสัญญาเมตริก และการประกวดนางงามต่าง ๆ "จีนไทเป" เป็นคำที่จงใจทำให้กำกวมถึงสถานะทางการเมืองและความเป็นเอกราชของไต้หวัน ในมุมมองของไต้หวัน คำนี้เป็นคำที่ครอบคลุมกว่าคำว่า "ไต้หวัน" ซึ่งพรรคก๊กมินตั๋งถือว่าเพียงส่วนหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดที่สาธารณรัฐจีนได้อ้างกรรมสิทธิ์ (ทั้งสาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ "จีน" ทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน) และในมุมมองของสาธารณรัฐประชาชนจีน การใช้คำว่า "ไต้หวัน" ถือเป็นการยอมรับถึงเอกราชไต้หวัน ส่วนการใช้คำว่า "ไต้หวัน, จีน" (มณฑลไต้หวัน) ก็ไม่เป็นที่ยอมรับจากไต้หวัน เพราะถือเป็นการตีความว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน == ดูเพิ่ม == ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไต้หวัน ประวัติศาสตร์ของไต้หวัน จีนไทเปในโอลิมปิก ไต้หวัน
thaiwikipedia
359
ภูมิศาสตร์ไต้หวัน
เกาะไต้หวัน ( ไถวาน; ภาษาไต้หวัน: Tâi-oân) เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้จีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปกครองโดยสาธารณรัฐจีน แยกเป็นเอกเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือว่าสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช แม้เรามักจะเรียกกันติดปากว่าประเทศไต้หวันก็ตาม แต่เดิมเกาะไต้หวันมีชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม == ประวัติศาสตร์ == หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับเกาะไต้หวันมีอยู่ไม่มากนัก เดิมทีเกาะไต้หวันมีชาวพื้นเมืองซึ่งเป็นชาวหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกอาศัยอยู่มาก่อน สันนิษฐานว่าพวกชาวเกาะมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตั้งแต่หมื่นปีมาแล้ว ในขณะที่ชาวจีนเพิ่งอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอยู่ที่ไต้หวันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปี พ.ศ. 2060 (ค.ศ. 1517) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสแล่นเรือมาถึงเกาะไต้หวันและได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa; Ilha Formosa) เป็นภาษาโปรตุเกสแปลว่า "เกาะที่สวยงาม (Beautiful Island)" ในปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) ชาวดัตช์เข้ามารุกรานและยึดครองเกาะไต้หวัน แล้วตั้งบ้านเมืองขึ้นที่ไถหนาน (Tainan) อีก 2 ปีต่อมา กองเรือสเปนยกกำลังเข้ามาบุกรุกแย่งเกาะไต้หวันไปครอง แต่ชาวดัตช์ได้ต่อสู้แย่งชิงเอาเกาะกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2184 (ค.ศ. 1641) ในช่วงปี พ.ศ. 2203 (ค.ศ. 1660) จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการครอบครองเกาะไต้หวัน ในที่สุดชาวจีนก็ได้ขับไล่ชาวดัตช์ออกไปจนได้ และผนวกเอาเกาะไต้หวันเข้าไปเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งได้กลายเป็นแหล่งพักพิงให้ผู้อยู่อพยพจากจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวลาต่อมา ญี่ปุ่นใช้กำลังแย่งเกาะไต้หวันไปจากจีนในปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) และได้ยึดครองจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ญี่ปุ่นแพ้สงครามและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรบังคับให้ยกเกาะไต้หวันคืนให้กับจีน และผลจากสงครามกลางเมืองจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะและเข้ามามีอำนาจในจีนในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พรรคก๊กมินตั๋ง พรรคการเมืองชาตินิยมของจีนที่เป็นฝ่ายแพ้ ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่ มาตั้งหลักที่เกาะไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปยึดอำนาจในจีนต่อไป ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่เหมา เจ๋อตงมีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศจีนทั้งสองประเทศ คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนบนแผ่นดินใหญ่ กับผู้นำสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ต่างแย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล เจียง ไคเช็ก (General Chiang Kaishek) (ภาษาจีน:蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ได้สูญเสียสมาชิกภาพ ในฐานะรัฐบาลตัวแทนของประชาชนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) สหประชาชาติก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่ และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ทั้งสหรัฐอเมริกาก็ได้ถอนการรับรองว่าไต้หวันมีฐานะเป็นรัฐ สถานะทางการเมืองของไต้หวันจึงซับซ้อนยุ่งยากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้เกาะไต้หวันจะปกครองตนเองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช และกลายเป็นเกาะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่า เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งแค่รอเวลาที่จะกลับมารวมกับจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง และพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังประกาศอีกว่า หากจำเป็น ก็จะใช้กำลังทางทหารเข้าจัดการ หากไต้หวันประกาศเอกราชแยกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน == ภูมิศาสตร์ == ไต้หวันมีพื้นที่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดพื้นที่เล็กกว่าไทยประมาณ 14 เท่า ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ รวม 172 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไต้หวันหรือเกาะฟอร์โมซา รองลงมาได้แก่เกาะเผิงหู (Penghu) จินเหมิน (Kinmen) และมาจู่ (Matsu) ไต้หวันจัดได้ว่ามีทรัพยากรธรรมชาติน้อยมาก ที่สำคัญได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินปูน หินอ่อนและใยหิน, ในอดีตเคยมีแร่ทองคำ หยก ถ่านหิน แต่ปัจจุบันถูกขุดจนหมดแล้ว เมืองหลวง: ไทเป (Taipei) เป็นศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ และการเงิน เมืองท่า: * เกาสง (Kaohsiung) เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด และเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมต่อเรือ และอุตสาหกรรมประมง * จีหลง (Keelung) เป็นท่าเรือสำคัญทางภาคเหนือ เมืองเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ: * ไทจง (Taichung) เป็นศูนย์รวมสินค้าบริการ (สปา, ร้านอาหาร) สินค้าเครื่องจักรกล, และเป็นท่าเรือสำคัญทางภาคกลาง * ซินจู๋ (Hsin Chu) เป็นเขตอุตสาหกรรมไฮเทค == ประชากร == จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 ไต้หวันมีประชากรทั้งสิ้น 23,063,027 คน, ชาวไต้หวันส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยนและกวางตุ้งของจีนแผ่นดินใหญ่ มาตั้งรกรากในราว ศตวรรษที่ 18 และ 19 และมีชาวจีนแผ่นดินใหญ่อพยพมาอีกระลอกหนึ่งในช่วงหลังปี ค.ศ. 1945 ซึ่งมาพร้อมกับการถอยร่นของรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นำโดยนายพลเจียงไคเช็ค กล่าวได้ว่าเกือบทั้งหมดเป็นชาวจีนเชื้อสายฮั่น (Han) โดยมีชาวเผ่าพื้นเมือง ประมาณ 4 แสนกว่าคนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกลืนทางด้านวัฒนธรรมและภาษาเกือบหมด จนรัฐบาลต้องอนุรักษ์วัฒนธรรม ของชนพื้นเมืองเหล่านั้นไว้ ประชากรที่มีความเชื่อทางศาสนามีประมาณ 18.72 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 81.8 ของประชากรทั้งหมด, โดยมีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดคือร้อยละ 43.2, รองลงมาได้แก่ลัทธิเต๋า ร้อยละ 40.6, อี้กวันเต้า (Yi Guan Dao), ร้อยละ 4.3 นิกายโปแตสแตนท์ ร้อยละ 3.2, นิกายโรมันคาทอลิคร้อยละ 1.6 ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาจีนกลาง (Mandarin Chinese) ภาษาจีนฮกเกี้ยนแบบไต้หวัน (Minnanese or Taiwanese) ส่วนภาษาที่ใช้ในธุรกิจคือ ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนไต้หวัน และ ภาษาอังกฤษ == การปกครอง == สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (Constitutional Democracy) และมีประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรี (Premier) เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลบริหารประเทศ == อ้างอิง == รายละเอียดไต้หวัน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ ข้อมูลไต้หวัน, กรมส่งเสริมการส่งออก ไต้หวัน เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะในทวีปเอเชีย อดีตอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ อดีตอาณานิคมของสเปน อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น ไต้หวัน
thaiwikipedia
360
อังกฤษ (แก้ความกำกวม)
อังกฤษ อาจหมายถึง ประเทศอังกฤษ (England) หนึ่งในสี่ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร (United Kingdom) รัฐเอกราชในทวีปยุโรป ภาษาอังกฤษ (English language) ชาวอังกฤษ (English people) ไฟล์:Flag of England (bordered).svg|ธงชาติอังกฤษ (กากบาทเซนต์จอร์จ) ไฟล์:Flag of the United Kingdom.svg|ธงสหราชอาณาจักร (ธงยูเนียน หรือชื่อเดิมคือ ธงยูเนียนแจ็ก)
thaiwikipedia
361
ประเทศอังกฤษ
อังกฤษ (England, ) เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ย ๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน พ.ศ. 1609 ปัจจุบัน ลอนดอนเป็นเขตมหานครใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร และพื้นที่เมืองใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปเมื่อวัดด้วยเกณฑ์ส่วนใหญ่ ประชากรอังกฤษมีอยู่ราว 56 ล้านคน คิดเป็น 84% ของประชากรสหราชอาณาจักร และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ภาคตะวันออกเฉียงใต้และเขตเมืองขยายในภาคมิดแลนด์ส ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและยอร์กเชอร์ ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งหลังจาก พ.ศ. 1827 รวมเวลส์เข้าไปด้วยนั้น เป็นรัฐอธิปไตยกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 เมื่อพระราชบัญญัติสหภาพมีผลใช้บังคับตามเงื่อนไขซึ่งตกลงกันในสนธิสัญญาสหภาพเมื่อปีก่อน ส่งผลให้มีการรวมทางการเมืองกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และสถาปนาราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ พ.ศ. 2344 บริเตนใหญ่รวมกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ผ่านพระราชบัญญัติสหภาพอีกฉบับหนึ่งกลายเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พ.ศ. 2465 รัฐอิสระไอร์แลนด์ได้รับการสถาปนาเป็นอาณาจักรแยกต่างหาก แต่ Royal and Parliamentary Titles Act 1927 รวมไอร์แลนด์เหนือเข้ากับสหราชอาณาจักรอีกครั้ง และสถาปนาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือปัจจุบันอย่างเป็นทางการ == ภูมินามวิทยา == คำว่า "อิงแลนด์" (England) มาจากชื่อ อิงลาแลนด์ หมายถึง "ดินแดนแห่งแองเกิล" ซึ่งชาวแองเกิลเป็นชนเผ่าหนึ่งในบรรดาชนเผ่าเยอรมันหลายเผ่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนนี้ ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 6 == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้ง === ในเชิงภูมิศาสตร์ อังกฤษกินพื้นที่ถึงสองในสามของเกาะบริเตนใหญ่ทางตอนกลางและทางใต้ รวมทั้งเกาะนอกชายฝั่ง เช่น ไอล์ออฟไวท์และไอล์สออฟซิลลี มีพรมแดนติดกับประเทศอื่น ๆ อีกสองประเทศของสหราชอาณาจักร: ทางเหนือติดสกอตแลนด์ และทางตะวันตกติดเวลส์ อังกฤษอยู่ใกล้ทวีปยุโรปมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของแผ่นดินใหญ่ของสหราชอาณาจักร มันถูกแยกออกจากฝรั่งเศส (Hauts-de-France) ด้วยช่องว่างทะเล 21 ไมล์ (34 กม.) แม้ว่าทั้งสองประเทศจะเชื่อมต่อกันด้วยอุโมงค์ช่องแคบใกล้โฟล์คสโตน อังกฤษยังมีชายฝั่งทะเลไอริช ทะเลเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ท่าเรือต่าง ๆ ของลอนดอน ลิเวอร์พูล และนิวคาสเซิลตั้งอยู่บนแม่น้ำเทมส์ เมอร์ซีย์ และไทน์ตามลำดับ ที่ 220 ไมล์ (350 กม.) แม่น้ำเวิร์นเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดที่ไหลผ่านอังกฤษและลงสู่บริสตอลแชนเนลและมีชื่อเสียงในเรื่อง Severn Bore (น้ำขึ้นน้ำลง) ซึ่งสามารถสูงถึง 2 เมตร (6.6 ฟุต) อย่างไรก็ตาม แม่น้ำที่ยาวที่สุดในอังกฤษทั้งหมดคือแม่น้ำเทมส์ ซึ่งมีความยาว 215 ไมล์ (346 กม.) มีทะเลสาบหลายแห่งในอังกฤษ ที่ใหญ่ที่สุดคือวินเดอร์เมียร์ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของอังกฤษประกอบด้วยเนินเขาและที่ราบต่ำ โดยมีภูมิประเทศเป็นที่สูงและเป็นที่ราบสูงทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของประเทศ พื้นที่สูงทางตอนเหนือ ได้แก่ Pennines ซึ่งเป็นที่ราบสูงที่แบ่งระหว่างตะวันออกและตะวันตก เทือกเขา Lake District ใน Cumbria และ Cheviot Hills ที่ครอบคลุมพรมแดนระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ จุดที่สูงที่สุดในอังกฤษที่ 978 เมตร (3,209 ฟุต) คือ Scafell Pike ใน Lake District === ภูมิอากาศ === เนื่องจากประเทศอังกฤษจัดเป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะ ดังนั้นจึงมีอากาศเปลี่ยนแปลงมากและมีฝนตกอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งสภาพภูมิอากาศทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษจะมีอากาศหนาวมากกว่าทางอังกฤษ ตอนใต้ เดือนที่ฝนตกน้อย คือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดจะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม 1-4 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิสูงสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม 18 องศาเซลเซียส ประเทศอังกฤษ มีทั้งหมด 4 ฤดูกาล ได้แก่: ฤดูร้อน (Summer): จะอยู่ในระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคมซึ่งสภาพในช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและแสงแดดจัดจ้าซึ่งอาจจะมีบางวันที่อุณหภูมิจะเย็นลง ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn): จะอยู่ในระหว่างเดือนกันยายน – พฤศจิกายนอุณหภูมิในช่วงนี้จะเริ่มเย็นขึ้นเรื่อย ๆ ใบไม้เริ่มมีการเปลี่ยนสีและร่วงหล่นซึ่งสภาพอากาศจะไม่หนาวมากเพราะในช่วง เดือนกันยายนจัดว่าอากาศจะยังคงความอบอุ่นซึ่งอุณหภูมิจะเริ่มเปลี่ยนแปลง จริง ๆ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ฤดูหนาว (Winter): จะอยู่ในระหว่างเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์โดยสภาพอากาศในช่วงนี้จัดได้ว่ามีสภาพอากาศที่หนาวมากที่สุดมี หิมะตกในบางพื้นที่ซึ่งระยะเวลากลางคืนจะยาวกว่ากลางวันและมืดเร็วกว่าปกติ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring): จะอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ถือว่าเป็นฤดูกาลที่มีสภาวะ อากาศที่แปรปรวนและอากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อย บางวันก็จะมีอากาศที่อบอุ่นไปด้วยแสงแดดในช่วงเช้าแต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นหนาวเย็นหรือฝนตกในช่วงบ่ายๆ == ประวัติศาสตร์ == มนุษย์โบราณได้เข้ามาตั้งรกรากบริเวณแคว้นอังกฤษหลายพันปีก่อนคริสตกาล จากนั้นถัดมาเป็นจูเลียสซีซาร์ ชาวโรมันยึดครองอังกฤษประมาณ ค. ศ. 43 และปกครองอังกฤษไปจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน Angles, Saxons และ Jutes เริ่มอพยพเข้ามาและสร้างอาณาจักร Anglo Saxon Kingdom ขึ้นในศตวรรษที่ 7 หลังจากการยึดครอง ไวกิงชาวเดนมาร์คเริ่มมาอังกฤษและเข้าควบคุมทางการทหาร ในศตรรรษที่ 11 วิลเฮล์มผู้พิชิตยึดพื้นที่ได้จนถึงชายฝั่งทางตอนใต้ของอังกฤษและพิชิตแผ่นดินพร้อมกับกองทัพเร่ร่อน สงคราม 'ร้อยปี' กับฝรั่งเศสเริ่มขึ้นในศตวรรษต่อมา ความขัดแย้งระหว่างรัชทายาทกับราชบัลลังก์ และราชวงศ์กับคริสตจักรก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ในศตวรรษที่ 16 เรื่องการสมรสของ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 นำไปสู่การยุติความสัมพันธ์ของคริสตจักรโรมันคาทอลิก รัฐสภาเสนอชื่อเฮนรี่ที่ 8 ขึ้นเป็นผู้นำของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ อังกฤษยังมีอาณานิคมนับเป็นของตนเองอีกนับไม่ถ้วน อาณานิคมเหล่านี้ตั้งอยู่บนชายฝั่งอเมริกา บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) รวมทั้งในแคนาดาและออสเตรเลีย อังกฤษพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 เมืองอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใน Midlands และเป็นส่วนในการช่วยผลักดันการค้าระหว่างประเทศ สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษมีมหาอำนาจมากที่สุดในโลกในช่วงเวลาเวลา ค. ศ. 1837 ถึง 1901 อังกฤษเป็นหนึ่งในพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองและมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะ นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) == การปกครอง == === พระมหากษัตริย์ === สหราชอาณาจักรมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและสัญลักษณ์ของประเทศ (ปัจจุบันประมุขคือ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์) โดยใช้อำนาจนิติบัญญัติ ด้วยการลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายต่างๆ และแม้จะไม่มีอำนาจใด ๆ ทางการเมือง แต่ก็ทรงใช้อำนาจการบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ ทรงมีอำนาจในการเรียกประชุม หรือ ยุบสภา ตลอดจนให้ความเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติ รวมทั้งมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ อย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์ก็มีสิทธิที่จะได้รับทราบถึงนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเข้าเฝ้าถวายรายงานทุกสัปดาห์บทบาทที่สำคัญทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ ได้แก่ การกล่าวพระราชดำรัสต่อที่ประชุมรัฐสภาในการเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งถือว่าพระราชดำรัสดังกล่าวเป็นการแถลงนโยบายของรัฐบาล === รัฐธรรมนูญ === ประเทศอังกฤษ เป็นแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การมีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร อันเนื่องมาจากการที่ประเทศอังกฤษมีประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองที่มีพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ คือ อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) ซึ่งหมายถึง หลักการปกครองต่างๆ ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นรัฐธรรมนูญเฉพาะ แต่กระจายอยู่ตามกฎหมายต่างๆ และคำพิพากษาต่างๆ รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติที่ สืบทอดกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณี ดังนั้น จึงมีความยืดหยุ่น สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่กล่าวมานี้ทำให้รัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง อันเป็นผลมาจากวิวัฒนาการยาวนานของระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจของกลุ่ม และชนชั้นต่างกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษจึงเป็นการค่อยๆ ลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงที่ละเล็กละน้อย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกเป็นการดุลอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับกลุ่มขุนนาง ต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางมากขึ้น เรื่อยมาจนเป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 20 === นิติบัญญัติ === รัฐสภาของอังกฤษมีความเป็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เมื่อมีบทบัญญัติแมคนาคาร์ตา ซึ่งทำให้พระมหากษัตริย์ต้องทรงรับฟังคำปรึกษาหรือจากขุนนาง และผู้นำชุมชน การเข้าเฝ้าเพื่อให้คำปรึกษานั้นจึงเป็นที่มาของการเกิดรัฐสภาอังกฤษ ในระยะแรกเริ่มรัฐสภาจะมีกษัตริย์เข้าร่วมประชุมด้วยเสมอ แต่ในสมัยต่อมาบทบาทของพระมหากษัตริย์ในรัฐสภาเป็นเพียง พิธีการ เท่านั้น จากวิวัฒนาการความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ทำให้สถาบันทางการเมืองของอังกฤษมีความมั่นคง และมีเสถียรภาพ รัฐสภาจึงเป็นสถาบันหลักที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของระบบการเมือง และการปกครองของอังกฤษ เป็นสถาบันที่ขาดไม่ได้ในระบอบการเมืองอังกฤษและได้กลายเป็นแบบอย่างของการปกครองแบบรัฐสภาในหลายๆ ประเทศทั่วโลก รัฐสภาสหราชอาณาจักรมี อำนาจ หลักในการบัญญัติกฎหมายขึ้น เพื่อบังคับแก่กิจการทั้งปวง รวมทั้งบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองให้มีผลเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรด้วย === ฝ่ายบริหาร === องค์กรสูงสุดของฝ่ายบริหารในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอังกฤษ คือ รัฐบาลซึ่งทำหน้าที่หลักรับผิดชอบในการบริหารงานของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ เป็นหัวหน้ารัฐบาล และรัฐมนตรีอื่น ๆ ทั้งหมด ก็ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยการเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี กล่าวคือ กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลตามธรรมเนียมปฏิบัตินั้น หัวหน้าพรรคการเมือง ซึ่งได้จำนวนที่นั่งข้างมากในสภาสามัญชน และได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาสามัญชนหัวหน้าพรรคนั้น จะได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ให้เป็น นายกรัฐมนตรี (Prime Minister)และได้รับมอบหมายให้จัดตั้งคณะรัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการสรรหาบุคคลเป็นรัฐมนตรี (Minister) เพื่อประกอบขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรี (Cabinet) โดยเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีส่วนใหญ่ในสมัยปัจจุบัน มักเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปกติจะถูกเลือกจากบุคคลในพรรคของตนเพื่อเสถียรภาพทางการเมืองโดยนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาจากการยอมรับในตัวรัฐมนตรี ของสมาชิกรัฐสภา สมาชิกพรรค และประชาชน รวมถึงการให้โอกาสแก่นักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีความสามารถได้เป็นรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องแต่งตั้งรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกของสภาขุนนางด้วย เพื่อเป็นโฆษกในการอธิบายนโยบาย และการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลต่อสภาขุนนาง หน้าที่ของนายกรัฐมนตรี อย่างเช่น รายงานกิจการงานฝ่ายบริหารต่อองค์พระประมุข รวมทั้งเป็นประธานของคณะรัฐมนตรีควบคุมงานของทุกกระทรวง ตัดสินปัญหาข้อขัดแย้งของกระทรวงต่าง ๆ และอนุมัติการตัดสินใจที่สำคัญของกระทรวงต่าง ๆ ในกรณีที่ไม่ต้องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นต้น == เศรษฐกิจ == เศรษฐกิจของอังกฤษเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมีพลวัตมากที่สุดในโลก โดยมีจีดีพีเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 28,100 ปอนด์หรือ 36,000 ดอลลาร์ กระทรวงการคลังมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและดำเนินการตามนโยบายการเงินสาธารณะและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล มักถูกมองว่าเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดผสม โดยได้นำหลักการตลาดเสรีมาใช้หลายอย่าง แต่ยังคงรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านสวัสดิการสังคมขั้นสูงไว้ได้ สกุลเงินอย่างเป็นทางการในอังกฤษคือปอนด์สเตอร์ลิงซึ่งมีรหัส ISO 4217 คือ GBP การเก็บภาษีในอังกฤษค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของยุโรป โดยในปี 2014 อัตราภาษีส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานอยู่ที่ 20% จากรายได้ที่ต้องเสียภาษีซึ่งสูงกว่าค่าเผื่อปลอดภาษีส่วนบุคคลถึง 31,865 ปอนด์ (ปกติ 10,000 ปอนด์) เศรษฐกิจของอังกฤษเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักรซึ่งมี จีดีพี และ พีพีพี ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก อังกฤษเป็นผู้นำในภาคเคมี และเภสัชกรรม และในอุตสาหกรรมทางเทคนิคที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบินและอวกาศ อุตสาหกรรมอาวุธ และด้านการผลิตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ลอนดอนซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ตลาดหลักทรัพย์หลักของสหราชอาณาจักรและใหญ่ที่สุดในยุโรป เป็นศูนย์กลางทางการเงินของอังกฤษ โดยมีบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 100 แห่งจาก 500 แห่งในยุโรปตั้งอยู่ที่นั่น ลอนดอนเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และในปี 2014 นั้นใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แมนเชสเตอร์เป็นภาคส่วนบริการทางการเงินและวิชาชีพที่ใหญ่ที่สุดนอกลอนดอน และเป็นเมืองหลวงของไพรเวทอิควิตี้ระดับกลางของยุโรป เช่นเดียวกับศูนย์กลางเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตแห่งหนึ่งของยุโรป ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี 1694 โดยนาย William Paterson นายธนาคารชาวสก็อต เป็นธนาคารกลางของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในฐานะนายธนาคารเอกชนของรัฐบาลอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นสถาบันของรัฐ ธนาคารมีการผูกขาดในเรื่องของธนบัตรในอังกฤษและเวลส์ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในส่วนอื่น ๆ ของสหราชอาณาจักรก็ตาม รัฐบาลได้มอบความรับผิดชอบให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารในการบริหารนโยบายการเงินของประเทศและกำหนดอัตราดอกเบี้ย ท่าเรือลอนดอน ยังถือเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่บนฝั่งทางตอนใต้ของแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน ครั้งหนึ่งเคยเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจาก Grimsby & Immingham ณ ปี 2555 ท่าเรือสามารถรองรับเรือสำราญ เรือข้ามฟากโรลออนโรลออน และสินค้าทุกประเภทที่โรงงานขนาดใหญ่ในภาคตะวันออก เช่นเดียวกับท่าเรือในยุโรปในประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกันหลายแห่งเช่น แอนต์เวิร์ป และ รอตเตอร์ดัม แม้ว่าอังกฤษจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีเทคโนโลยีเป็นลำดับต้นๆ แต่การเกษตรยังถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานยุโรป สองในสามของการผลิตเกิดจากการทำปศุสัตว์ ส่วนอีกส่วนหนึ่งมาจากการเพาะปลูก พืชผลหลักที่ปลูกคือข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง หัวบีตน้ำตาล อังกฤษยังคงเป็นอุตสาหกรรมการประมงที่สำคัญแม้ว่าอุตสาหกรรมการประมงจะลดลงมาก มีชื่อเสียงในการจับปลาเฮอริ่ง และยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ดีบุก หินปูน แร่เหล็ก เกลือ ดินเหนียว ชอล์ก ยิปซั่ม ตะกั่ว และซิลิกา === การท่องเที่ยว === การท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญในชีวิตทางเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษ ในปี 2018 สหราชอาณาจักรมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดเป็นลำดับที่ 10 ของโลก และอังกฤษมีมรดกโลกที่ได้รับการรับรองโดยยูเนสโก 17 แห่ง (รวมสหราชอาณาจักร) โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญมากมาย เช่น 1. The Palace of Westminster & Big Ben (พระราชวังเวสต์มินสเตอร์และบิกเบน) พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เป็นสถานที่ประชุมของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันในฐานะอาคารรัฐสภาเป็นพระราชวังที่เก่าแก่ที่สุดในลอนดอนซึ่งเป็นมรดกโลกและเป็นหนึ่งในอาคารที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ในส่วนของหอนาฬิกาบิกเบน (Big Ben) เป็นสถานที่สำคัญในลอนดอนที่มีชื่อเสียงก้องโลกและเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศอังกฤษ โดยแต่เดิมนั้นคำว่าบิ๊กเบนเป็นชื่อของระฆังในหอนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุด ระฆังนี้เรียกอีกอย่างว่ามหาระฆังหรือเดอะเกรทเบลล์ 2. London Eye (ลอนดอนอาย) ลอนดอนอาย (London Eye) หรือ มิลเลเนียมวีล (Millennium Wheel) เป็นชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 135 เมตร (443 ฟุต) ซึ่งในอดีตเคยเป็นชิงช้าสวรรค์ก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก 3. Westminster Abbey (เวสต์มินเตอร์แอบบีย์) เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่าง ค.ศ. 1546-56 แอบบีย์ได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหาร ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แอบบีย์นี้ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอารามหลวง (Royal Peculiar)โดยส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดของ วิหารเวสต์มินสเตอร์ แอบบีย์ คือ มุมนักกวี (Poets' Corner) 4.Buckingham Palace (พระราชวังบักกิงแฮม) เป็นพระราชวังที่เป็นที่ประทับเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษ ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ใช้สำหรับการเลี้ยงรับรองของรัฐและยังเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวสำคัญที่หนึ่งของกรุงลอนดอน และยังเป็นที่รวมพลังใจทั้งในการฉลองและในยามคับขันของชาวอังกฤษ 5.สโตนเฮนจ์ เป็นอนุสรณ์สถาน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กลางทุ่งราบกว้างใหญ่บนที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในบริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ตัวอนุสรณ์สถานประกอบด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันวางนอนลง และบางอันก็ถูกวางซ้อนกัน สโตนเฮนจ์และบริเวณโดยรอบได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในปี ค.ศ. 1986 และยังถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางอีกด้วย == ประชากรศาสตร์ == === ประชากร === อังกฤษจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดของสหราชอาณาจักร คิดเป็น 84% ของจำนวนทั้งหมด หลักฐานทางพันธุกรรมบางอย่างชี้ให้เห็นว่า 75–95% ของชาวอังกฤษสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษในยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งแต่เดิมมาจากคาบสมุทรไอบีเรีย และ 5% จากแองเกิลและแอกซอน และองค์ประกอบสำคัญของสแกนดิเนเวีย (ไวกิ้ง) จากการสำรวจสำมะโนครัวของประเทศอังกฤษในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ประเทศอังกฤษมีประชากร 58,789,194 คน โดยมากเป็นอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป และอันดับ 21 ของโลก ในปีพ.ศ. 2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณการจำนวนประชากรที่ 59,834,300 คน และ เพิ่มเป็น 60.2 ล้านคน ในอีกสองปีต่อมา โดยการเพิ่มจำนวนประชากรส่วนใหญ่มาจากการอพยพเข้าประเทศ อัตราการเกิดที่สูงขึ้นและอายุขัยที่ยาวนานขึ้นประเทศอังกฤษมีความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดี และส่วนใหญ่เป็นเขตเมืองหรือชานเมือง ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคนอาศับอยู่ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรสูงถึง 99% เป็นผลมาจากการศึกษาของรัฐ ทั่วประเทศ การศึกษาภาคบังคับมีสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ถึง 16 ปี จำนวนประชากรของสหราชอาณาจักรแบ่งตามเชื้อสาย === ภาษา === ประเทศอังกฤษไม่มีภาษาราชการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษโบราณ ภาษาท้องถิ่นอื่นๆ ได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก) เช่นภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิก ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก ภาษากลุ่มเคลติกของ ประเทศอังกฤษก็มีพูดกันในกลุ่มเล็กๆหลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินา === ศาสนา === คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอื่นได้แก่ ศาสนาพุทธ ฮินดู ยิว อิสลามและซิกข์ ประมาณ 23% ของประชากรไม่มีการยึดถือ ศาสนาใดๆเป็นหลัก ศาสนาหลักคือ ศาสนาคริสต์ แต่อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรยังมีสังคมที่มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ เป็นสังคมที่เปิดกว้างและยอมรับศาสนาอื่นๆ ด้วย ในปัจจุบัน มีชาวอังกฤษหันมานับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานในวารสารทางสายกลางของพุทธสมาคมลอนดอน ระบุว่า มีสมาคมองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษประมาณ 30 แห่ง เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่ชนชาวอังกฤษ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษค่อยๆ เป็นปึกแผ่นมั่นคงและก้าวหน้าไปโดยลำดับ โดยมีการก่อสร้าง วัดพุทธปทีป ในกรุงลอนดอน === การศึกษา === ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษแบ่งเป็น 4 ระดับใหญ่ๆ ดังนี้ 1. ระดับประถมศึกษา (Primary Education: Key Stage 1-3): รับนักเรียนอายุ ตั้งแต่ 5-14 ปี โดย Pre-Preparatory School (เตรียมประถมศึกษา) จะรับเด็กอายุ 5-7 ปี และ Preparatory School (ประถมศึกษา) รับเด็กอายุ 7-14 ปี 2.ระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education: Key Stage 4): รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป และเรียนได้จนถึงอายุ 18-19 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของอังกฤษมีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและโรงเรียนของเอกชน ซึ่งการขึ้นชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นการขึ้นชั้นเรียนโดยอัตโนมัติ ไม่มีการสอบตก และหลังจากที่จบการศึกษาเมื่ออายุ 16 ปีแล้ว กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษจะกำหนดให้มีการวัดความรู้ ความสามารถของเด็ก โดยการจัดสอบของคณะกรรมการอิสระ ซึ่งมีการสอบประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ผลการสอบดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป การสอบนี้มี 2 ประเภท คือ GCSE (General Certificate of Secondary Education) Year 10-11 นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตร IGCSE (International General Certificate of Secondary Education) สำหรับนักเรียนที่ภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างแพร่หลายทั่วโลก ใช้เกณฑ์เดียวกันกับ GCSE ทุกประการ 3.ระดับอาชีวศึกษา (Further Education): การศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีและไม่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการเรียนต่อเพื่อเอาคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพมี 2 ประเภท คือ GNVQ (General National Vocational Qualification) และ NVQs (National Vocational Qualifications) เป็นการศึกษาสายอาชีพและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพเฉพาะ โดยผู้ว่าจ้างสหภาพแรงงานและผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา 4.ระดับอุดมศึกษา (Higher Education): การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และ College of Higher Education หลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น Undergraduate Course หลักสูตรปริญญาตรี First Degree (Bachelor’s degree) หลักสูตรส่วนใหญ่ 3 ปี ยกเว้นบางสาขา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี), ทันตแพทยศาสตร์ (5 ปี), สัตวแพทยศาสตร์ (5 ปี), แพทยศาสตร์ (6 ปี) ปริญญาที่ให้ ได้แก่ Bachelor of Arts (B.A.) Bachelor of Sciences (B.Sc.) Bachelor of Education (B.Ed.) Bachelor of Engineering (B.Eng.) Postgraduate Course หลักสูตรที่สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป 1. Postgraduate Certificate/Postgraduate Diploma หลักสูตร 6 เดือน ถึง 9 เดือน รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2. Master Degree หลักสูตร 1 – 2 ปี รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง การเรียนระดับนี้มีทั้งหลักสูตรปริญญาโทแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master) และปริญญาโทแบบทำวิจัย (Master by Research) หลักสูตรปริญญาเอก Doctoral degree or Doctor of Philosophy เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยการทำวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนใหญ่การศึกษาระดับนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ปริญญาที่ให้คือ Ph.D. หรือ D.phil. นอกจากนี้ยังมี New Route to PhD ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการศึกษาปริญญาเอก ใช้เวลาศึกษา 4 ปี โดย 30 – 40% ของหลักสูตรจะเป็นการเรียนแบบ Taught course และ 60 – 70% จะเป็นการทำวิจัย ประเทศอังกฤษมีมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกมากมาย อาทิ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, มหาวิทยาลัยบริสทอล, คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน, มหาวิทยาลัยลีดส์ และ มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ เป็นต้น โดยแต่ละสถาบันล้วนผลิตนักศึกษาที่มีความสามารถทางวิชาการระดับโลกมายาวนาน == วัฒนธรรม == === ดนตรี === นับเป็นช่วงเวลาหลายศตวรรษที่ศิลปินสัญชาติอังกฤษได้ผลิตผลงานเพลงที่สามารถครองใจของผู้คนทั้งโลก หลายๆ วงกลายเป็นวงระดับตำนานของโลก แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ผลงานของพวกเขาก็ยังคงเป็นที่จดจำและมีผู้คนจำนวนมากฟังผลงานของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน วงตำนานระดับโลกอย่าง The Beatles  และ The Rolling Stones ครองใจแฟนเพลงทั่วโลกมาหลายทศวรรษ === กีฬา === อังกฤษมีมรดกทางกีฬาที่แข็งแกร่ง กีฬาที่มีต้นกำเนิดในอังกฤษ ได้แก่ ฟุตบอล, คริกเก็ต, รักบี้, เทนนิส, มวย, แบดมินตัน, สควอช, ฮอกกี้, สนุกเกอร์, บิลเลียด, ปาเป้า, เทเบิลเทนนิส, โบลิ่ง, เน็ตบอล, การแข่งม้าพันธุ์ดี การแข่งสุนัขเกรย์ฮาวด์ และการล่าสุนัขจิ้งจอก มันช่วยพัฒนากอล์ฟ เรือใบ และรถสูตรหนึ่ง ==== ฟุตบอล ==== กีฬาฟุตบอล ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ ทั้งยังเป็นกีฬาประจำชาติด้วย ก่อนจะมีการเล่นอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก โดยในอังกฤษเรียกว่า ฟุตบอล โดยแทบไม่ใช้คำว่า ซอกเกอร์ อย่างในบางประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกาเป็นต้น โดยมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ เป็นแห่งแรกของอังกฤษและของโลก เมื่อ ค.ศ. 1857 ปัจจุบันอังกฤษมีลีกการแข่งขันพรีเมียร์ลีกซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก มีสโมสรชั้นนำมากมาย อาทิ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, แมนเชสเตอร์ซิตี, เชลซี, อาร์เซนอล, ลิเวอร์พูล, นิวคาสเซิลยูไนเต็ด, ท็อตนัมฮอตสเปอร์ และ ลีดส์ยูไนเต็ด ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ เป็นหนึ่งในทีมเก่าแก่ที่สุดในโลก โดยทีมชาติอังกฤษเป็นไม่กี่ทีมที่ไม่มีสิทธิในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษไม่ถือว่าเป็นประเทศ อังกฤษได้จัดตั้งทีมชาติขึ้นมาพร้อม ๆ กับสมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือเอฟเอ และพร้อม ๆ กับทีมชาติสกอตแลนด์ ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1870 เคยชนะเลิศฟุตบอลโลกหนึ่งสมัยในฟุตบอลโลก 1966 ซึ่งพวกเขาเป็นเจ้าภาพ และรองชนะเลิศฟุตบอลยูโรหนึ่งสมัยในปี 2020 ปัจจุบันลงเล่นในสนามเวมบลีย์ในกรุงลอนดอน ==== รักบี้ ==== === อาหาร === Classic British Fish and Chips ฟิชแอนด์ชิปส์ หรือเมนูปลาทอดทานคู่กับเฟรนฟรายส์ทอดที่นิยมกันทั่วโลกก็เป็นเมนูสุดคลาสสิคของชาวอังกฤษที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โดยชาวยิวที่นำเอาเมนูเข้ามาสู่อังกฤษจนทำให้เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน Traditional Yorkshire Pudding เป็นอีกหนึ่งเมนูสุดคลาสสิคของอังกฤษที่เป็นที่นิยมทานกันอย่างกว้าวขวาง แต่เมนูพุดดิ้งของอังกฤษนั้นจะแตกต่างจากพุดดิ้งที่เป็นขนมหวาน เพราะพุดดิ้งในที่นี่คือการนำแป้งอบแล้วเสริฟคู่กับเนื้อราดด้วยน้ำเกรวี่ สกอน (Scone) สกอน เป็นขนมอบชนิดหนึ่งว่ากันว่ามีต้นตำรับมาจากประเทศอังกฤษ ตัวขนมทำจากแป้งสาลี ไข่ เนย น้ำตาล นมสด บางครั้งใส่ผลไม้อบแห้งลงไป นิยมกินคู่กับชาร้อน หรือกินเป็นอาหารเช้า สโคนส่วนใหญ่มักมีรสชาติไม่หวาน นิยมทานคู่กับวิปครีม == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == ประวัติศาสตร์อังกฤษ ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ อังกฤษ บริเตนใหญ่ อ ราชอาณาจักรสหภาพ อ
thaiwikipedia
362
ชาติ
ชาติ (nation) คือชุมชนเสถียรของมนุษย์ที่ก่อตัวขึ้นบนพื้นฐานของภาษา ดินแดน ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ หรือองค์ประกอบทางจิตวิทยาร่วมกันที่แสดงออกในวัฒนธรรมร่วมกัน ชาติมีความเป็นการเมืองอย่างชัดเจนกว่ากลุ่มชาติพันธุ์ และได้รับการพรรณนาว่าเป็น "กลุ่มชาติพันธุ์ที่ผ่านการจัดระดมกำลังหรือกลายเป็นสถาบันโดยสมบูรณ์" ชาติบางชาติเป็นกลุ่มชาติพันธุ์และชาติบางชาติไม่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ชาติยังได้รับการนิยามว่าเป็นชุมชนทางวัฒนธรรมและการเมืองที่ตระหนักถึงอัตตาณัติ (autonomy) เอกภาพ และผลประโยชน์เฉพาะของตน เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน อธิบายลักษณะของชาติว่าเป็น "ชุมชนในจินตนาการ" (imagined community) และพอล เจมส์ นักวิชาการชาวออสเตรเลีย มองว่าชาติเป็น "ชุมชนนามธรรม" (abstract community) ในกรณีส่วนใหญ่ สมาชิกของชาติยังคงเป็นคนแปลกหน้าต่อกันและไม่น่าจะมีโอกาสได้รู้จักกัน ดังนั้นจึงเกิดวลี "ชาติแห่งคนแปลกหน้า" ซึ่งนักเขียนหลายคนเช่นแวนซ์ แพ็กการ์ด นักข่าวชาวอเมริกัน นำไปใช้ ชาติเป็นความจริงเชิงสหอัตวิสัย (intersubjectivity) และดำรงอยู่ในจินตนาการร่วมของพลเมืองเท่านั้น แม้ว่าบุคคลหนึ่ง ๆ จะหันมาเชื่อว่าชาติหนึ่ง ๆ ไม่มีอยู่จริง แต่ชาตินั้น ๆ ก็จะไม่ตกอยู่ในอันตราย เพราะมันไม่ใช่ความจริงเชิงอัตวิสัย (subjectivity) ที่ปรากฏอยู่ในจิตใจของปัจเจกบุคคล เว้นแต่ในกรณีที่ผู้คนจำนวนมากหันมาเชื่อว่าชาตินั้นไม่ควรดำรงอยู่และยกเลิกความสมเหตุสมผลของมัน ชาตินั้นก็จะสูญไป == ดูเพิ่ม == ประเทศ แผ่นดิน รัฐ == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == Mylonas, Harris; Tudor, Maya (11 May 2021). "Nationalism: What We Know and What We Still Need to Know ". Annual Review of Political Science. 24 (1): 109–132. == ดูเพิ่ม == Manent, Pierre (2007). "What is a Nation?", The Intercollegiate Review, Vol. XLII, No. 2, pp. 23–31. Renan, Ernest (1896). "What is a Nation?" In: The Poetry of the Celtic Races, and Other Essays. London: The Walter Scott Publishing Co., pp. 61–83. ภูมิศาสตร์การเมือง ความเป็นชาติพันธุ์ สัญชาติ ประเทศ
thaiwikipedia
363
ภาษาเขมร
ภาษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ខ្មេរ៍/ខ្មេរ៑/ខេមរៈ/ ขอเมร์ ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก และได้รับอิทธิพลหลาย ๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่น ๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์ == สัทวิทยา == ระบบสัทอักษรด้านล่างเป็นเสียงภาษาพูดแบบมาตรฐาน มีเสียงสระและพยัญชนะดังต่อไปนี้ (เขียนตาม IPA) === พยัญชนะ === ปรากฏในตำแหน่งพยัญชนะท้ายได้ 13 หน่วยเสียงคือ p t c k ʔ h m n ɲ ŋ w j l นอกจากนี้ ในคำยืมบางคำปรากฏเสียงพยัญชนะ f/ฟ จากภาษาไทย จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ เวียดนาม และ ʃ, z , และ g ในคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ === สระ === นักเขียนหลายคนเสนอระบบสระภาษาเขมรต่างกัน ตารางด้านล่างมาจาก Huffman (1970) === พยางค์และคำ === คำในภาษาเขมรมักจะประกอบด้วย 1 หรือ 2 พยางค์ มีเสียงอักษรควบจากพยัญชนะ 2 ตัวอยู่ที่ปรากฏที่ต้นพยางค์อยู่ 85 เสียง และมีอักษรควบจากจาก พยัญชนะ 3 ตัวอยู่ 2 เสียง ดังตาราง แต่ละพยางค์จะเริ่มต้นด้วยพยัญชนะหรือพยัญชนะควบกล้ำ ตามด้วยเสียงสระ แต่ละพยางค์สามารถจะมีเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ลงท้าย เมื่อใช้เสียงสระสั้น จะต้องลงท้ายด้วยพยัญชนะ โครงสร้างของคำในภาษาเขมรที่มีมากที่สุดเป็นพยางค์เต็มตามที่อธิบายไว้ข้างบน ต่อหน้าด้วยพยางค์สั้นที่มีโครงสร้าง CV-, CɽV-, CVN- หรือ CɽVN- (C เป็นพยัญชนะ V เป็นสระ N เป็น m/ม, n/น, ɲ หรือ ŋ/ง). สระในพยางค์สั้นเหล่านี้มักจะออกเสียงเป็น ə ในภาษาพูด การงดออกเสียงบางเสียงในพยางค์แรกของคำสองพยางค์ทำให้ภาษาเขมรโดยเฉพาะภาษาพูดกลายเป็นคำพยางค์ครึ่ง (sesquisyllable) คำต่าง ๆ สามารถประกอบด้วย 2 พยางค์เต็มได้ คำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส หรือ ภาษาอื่น ๆ == ภาษาถิ่น == ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่ สำเนียงพระตะบอง พูดทางแถบภาคเหนือของประเทศกัมพูชา สำเนียงพนมเปญ เป็นสำเนียงกลางของกัมพูชา โดยจะพูดในพนมเปญและจังหวัดโดยรอบเท่านั้น สำเนียงเขมรบน หรือ ภาษาเขมรถิ่นสุรินทร์ พูดโดยชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบอีสานใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น สำเนียงแขมรกรอม หรือ ภาษาเขมรถิ่นใต้ พูดโดยชาวเขมรที่อาศัยแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม สำเนียงตะวันตก หรือ ภาษาเขมรถิ่นจันทบุรี ถือเป็นภาษาถิ่นที่ใช้พูดทางภาคตะวันตกของประเทศกัมพูชาบริเวณทิวเขาบรรทัด มีผู้ใช้จำนวนน้อย ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น "อึม.เปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "trej" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroic โกรจ ในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น khoic" โขจ == ไวยากรณ์ == ตามแบบลักษณ์ภาษา ชนิดของคำในภาษาเขมรจัดอยู่ในกลุ่มสองกลุ่ม คือภาษาคำโดดและภาษาคำติดต่อ คำส่วนใหญ่เป็นคำโดด แต่มีการสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำซึ่งเป็นลักษณะของภาษาคำติดต่อก็มีมาก ส่วนโครงสร้างประโยคพื้นฐานเป็น ประธาน-กริยา-กรรม และคำขยายมักจะอยู่ด้านหลังของคำหลัก ยกเว้นคำขยายกริยาสามารถปรากฏหน้าหรือหลังของคำกริยาได้โดยมีความหมายเดียวกัน ภาษาเขมรมีลักษณนาม มีคำลงท้ายประโยคที่แสดงทัศนคติหรืออารมณ์ ส่วนลักษณะบางประการทางไวยากรณ์ของภาษาเขมรใกล้เคียงกับไวยากรณ์ในภาษาไทยและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะส่วนภาคพื้นทวีป == อักษรเขียน == ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะเหมือนเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอาหรับ ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2 แบบ อักษรเชรียง (อักซอเจรียง) หรืออักษรเอน หรืออักษรเฉียง เป็นตัวอักษรที่นิยมใช้ทั่วไป เดิมนั้นนิยมเขียนเป็นเส้นเอียง แต่ภายหลังเมื่อมีระบบการพิมพ์ ได้ประดิษฐ์อักษณแบบเส้นตรงขึ้น และมีชื่ออีกอย่างว่า อักษรยืน (อักซอโฌ) อักษรเอนนี้เป็นตัวยาว มีเหลี่ยม เขียนง่าย ถือได้ว่าเป็นอักษรแบบหวัด อักษรมูล หรืออักษรกลม เป็นอักษรที่ใช้เขียนบรรจง ตัวกว้างกว่าอักษรเชรียง นิยมใช้เขียนหนังสือธรรม เช่น คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา หรือการเขียนหัวข้อ ที่ต้องการความโดดเด่น หรือการจารึกในที่สาธารณะ อักษรโรมัน เขียนภาษาเขมรด้วยอักษรโรมัน ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย == อิทธิพลของภาษาเขมรในภาษาไทย == ภาษาขอมมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน ทางด้าน ๑ รูปลักษณะตัวอักษร ๒ คำยืม ๓ รูปแบบไวยากรณ์บางประการ ๔ การเปลี่ยนแปลงเสียงบางประการจากเสียงเดิมในภาษาบาลีสันสกฤต เช่น ป>บ ต>ด โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยสุโขทัย (จารึกหลักที่หนึ่ง) โดยปรากฏในปริบทต่าง ๆ ดังนี้ ในวรรณคดี (เช่น ลิลิตยวนพ่าย, โคลงกำสรวล, คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง) ได้แก่ เพ็ญ, พร, ไถง, ผกา, ผอูน, แข, อัญขยม, ฉนำ, จำรัส ฯลฯ ในภาษาพูดทั่วไป เช่น จมูก, ถนน, อาจ, อำนาจ ฯลฯ ในอาชีพต่าง ๆ เช่น เสมียน, ตำรวจ, ฯลฯ ในราชาศัพท์ เช่น ขนง, โขนง, เขนย, บรรทม, เสด็จ ฯลฯ ในชื่อบุคคล เช่น สมพร, สมาน ฯลฯ ในชื่อสถานที่ เช่น ฉะเชิงเทรา, อำนาจเจริญ, เกาะเกร็ด, สตึก ฯลฯ == อิทธิพลของภาษาไทยในภาษาเขมร == === คำยืมภาษาไทย === ในภาษาเขมรนั้นมีการยืมคำภาษาไทยมาใช้เป็นจำนวนมาก โดยติดมากับการค้าขาย โดยคำที่ยืมมาจะมีหลักสังเกตได้ง่าย เช่น ในภาษาเขมรแท้ ๆ จะไม่มีหน่วยเสียง /f/ (เสียง ฝ ฟ) พยัญชนะเขมรจึงไม่มีการประดิษฐ์อักษรที่แทนหน่วยเสียงนี้โดยชัดเจน แต่จะใช้ตัว ហ ซ้อนกับเชิงของ វ เป็น ហ្វ แทนเสียง /f/ ที่เป็นคำยืมในภาษาต่างๆ โดยเฉพาะภาษาไทย === คำยืมภาษาไทยที่เป็นการนับเลข === เลขเขมร ตั้งแต่เลข 30 40 50 60 70 80 90 จะเรียกว่า ซามเซ็บ แซ็ยเซ็บ ฮาเซ็บ ฮกเซ็บ เจ็ดเซ็บ แปดเซ็บ เกาเซ็บ ตามลำดับ สังเกตได้ว่าเป็นคำยืมการนับเลขจากภาษาไทย และสังเกตว่านับมาได้ช้านานแล้ว == ภาษาเขมรในประเทศไทย == ภาษาเขมรในประเทศไทยพบผู้พูดกระจายอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพบจำนวนผู้พูดกระจุกตัวอยู่มากที่สุด ในภาคกลางของประเทศไทยมีประวัติว่ามีผู้พูดภาษาเขมรในราชบุรี สุพรรณบุรี แต่มีผู้พูดน้อยแล้ว ในกรุงเทพมหานครยังมีชุมชนแขกบ้านครัวที่เป็นชาวเขมรและชาวจามอพยพมาจากพระตะบอง คนสูงวัยบางคนยังจำภาษาเขมรได้บ้างไม่กี่คำ ==ตัวอย่าง== ข้อความด้านล่างมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1 == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == คำถามเกี่ยวกับยูนิโคดสำหรับภาษาเขมร การใช้ยูนิโคดสำหรับภาษาเขมร Ethnologue เกี่ยวกับเขมร บทความที่ Omniglot เกี่ยวกับภาษาเขมร ตารางอักษรเขมรที่ Geonames ศูนย์กัมพูชาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เขมร เขมร
thaiwikipedia
364
ประเทศไต้หวัน
ไต้หวัน ชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นประเทศ ที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) รวมทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง พื้นที่ทั้งหมดเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) เกาะหลักของไต้หวันมีพื้นที่ 35,808 ตารางกิโลเมตร (13,826 ตารางไมล์) มีเทือกเขาที่ครอบคลุมพื้นที่สองในสามทางด้านตะวันออกและที่ราบทางตะวันตกของเกาะซึ่งมีประชากรอาศัยหนาแน่นในลักษณะเป็นสังคมเมือง ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ มีกรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ เกาสฺยง ไถจง ไถหนาน และเถา-ยฺเหวียน ด้วยจำนวนประชากร 23.5 ล้านคน ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคก๊กมินตั๋ง (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (共產黨) พรรคก๊กมินตั๋งจึงหนีมายังเกาะไต้หวันและสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหาก ส่วนฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองไต้หวันได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็วและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เรียกว่าช่วงปาฏิหาริย์ของไต้หวัน ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า โดยมีส่วนสำคัญจากการผลิตเหล็กกล้า เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก และเป็นอันดับ 15 ของโลกตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และดัชนีการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วย ==ชื่อ== เกาะไต้หวันมีชื่อเรียกหลายชื่อซึ่งยังคงได้รับการใช้งาน แต่ละชื่อมาจากนักสำรวจหรือผู้ปกครองในยุคสมัยนั้น ๆ ชื่อที่เก่าแก่ที่สุด คือ "ฟอร์โมซา" มีอายุถึง ค.ศ. 1542 อันเป็นช่วงที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสพบเกาะนี้ซึ่งไม่ปรากฏในแผนที่ จึงบันทึกไว้ว่า "Ilha Formosa" แปลว่า "เกาะสวย" ภายหลัง ชื่อ "ฟอร์โมซา" ก็ได้รับการใช้งานแทนชื่ออื่น ๆ ทั้งหมดในงานเขียนที่เป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้พูดภาษาอังกฤษสืบ ๆ มาจนเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 บริษัทอินเดียตะวันออกของดัชต์จัดตั้งสถานีทางการค้าขึ้นที่ป้อมซีแลนเดีย (Fort Zeelandia) บนเกาะ และเรียกป้อมนั้นว่า "เถา-ยฺเหวียน" (Tayouan) ตามชื่อของชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งน่าจะได้แก่ชาวต้าหมั่นจู๋ (大滿族) ที่ชาวดัชต์และโปรตุเกสเขียนนามไว้หลายแบบ เช่น "Taivoan", "Taiouwang", "Tayowan", "Teijoan", ฯลฯ ภายหลัง ชื่อนี้ได้รับการยอมรับเข้าสู่ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในภาษาฮกเกี้ยนที่รับไปเป็นคำว่า "Tâi-oân" โดยใช้เป็นชื่อเรียกสันดอนที่ตั้งป้อมนั้นและปริมณฑล ชื่อ "ไต้หวัน" ในปัจจุบันก็วิวัฒนาการมาจากชื่อ "Tâi-oân" นี้ และในเอกสารประวัติศาสตร์ของจีน มีการเขียนคำว่า "ไต้หวัน" ไว้หลายแบบ เช่น "大員", "大圓", "大灣", "臺員", "臺圓", และ "臺窩灣" ในภาษาจีน ตัวสะกดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ "臺灣" หรือ "台灣" การสะกดเช่นนี้ได้รับการใช้มายาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1684 ที่มีการจัดตั้งมณฑลไต้หวันขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ในไถหนานปัจจุบัน การเติบโตอย่างรวดเร็วของมณฑลนี้ทำให้เกาะฟอร์โมซาทั้งเกาะได้รับการเรียกขานเป็น "ไต้หวัน" ในที่สุด อนึ่ง วัง ต้า-ยฺเวียน (汪大渊) นักเดินทางชาวจีน เรียกเกาะนี้ว่า "หลิวฉิว" (流求) มาจากภาษาญี่ปุ่นว่า "รีวกีว" (Ryūkyū) ชื่อ "หลิวฉิว" นี้ยังปรากฏในเอกสาร สุยชู (隋書) จาก ค.ศ. 636 แต่นักวิชาการยังเห็นแย้งกันในประเด็นว่า "หลิวฉิว" ตามเอกสารนี้ หมายถึงหมู่เกาะรีวกีวในญี่ปุ่น หมายถึงเกาะไต้หวัน หรือหมายถึงเกาะลูซอน == ภูมิศาสตร์ == สาธารณรัฐจีน มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ ทำให้ภูมิประเทศติดกับทะเล ไม่ติดกับประเทศใดเลย ห่างจากเกาะไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้เป็นประเทศฟิลิปปินส์และทะเลจีนใต้ ส่วนทิศตะวันออกเป็นมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะหลักที่รู้จักกันในชื่อ ฟอร์โมซา คิดเป็น 99% ของพื้น โดยมีพื้นที่ 35,808 ตารางกิโลเมตร (13,826 ตารางไมล์) และอยู่ห่างจากช่องแคบไต้หวันประมาณ 180 กิโลเมตร (112 ไมล์) จากชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ มีทะเลจีนตะวันออกตั้งอยู่ทางเหนือ ทะเลฟิลิปปินส์อยู่ทางทิศตะวันออก ช่องแคบลูซอนอยู่ทางใต้ และทะเลจีนใต้ทางตะวันตกเฉียงใต้ เกาะที่มีขนาดเล็กกว่าประกอบด้วยเกาะจำนวนหนึ่งในช่องแคบไต้หวัน เช่น หมู่เกาะเผิงหู หมู่เกาะจินเหมิน และเกาะมัตสึ ใกล้ชายฝั่งจีน และบางส่วนของหมู่เกาะทะเลจีนใต้ เกาะหลักมีลักษณะเป็นรอยเลื่อนเอียง มีลักษณะตัดกันระหว่างด้านตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยเทือกเขาที่ขรุขระเป็นส่วนใหญ่ 5 แห่งขนานกับชายฝั่งตะวันออก และที่ราบเรียบเป็นที่ราบทางทิศตะวันตกที่สาม มียอดเขาหลายยอดสูงกว่า 3,500 เมตร ซึ่งสูงที่สุดคือหยูซานที่ 3,952 เมตร (12,966 ฟุต) ทำให้ไต้หวันเป็นประเทศเกาะที่มียอดเขาสูงเป็นอันดับสี่ของโลก และเกาะแห่งนี้ประสบกับแผ่นดินไหวหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีภูเขาไฟใต้น้ำที่ยังคุกรุ่นอยู่จำนวนมากในช่องแคบไต้หวัน ไต้หวันประกอบด้วยอีโครีเจียนภาคพื้นดินสี่แห่ง: ป่าดิบชื้นกึ่งกึ่งเขตร้อน Jian Nan หมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ป่าฝนมรสุมใต้ของไต้หวัน และป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนของไต้หวัน ภูเขาทางทิศตะวันออกเป็นป่าทึบและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในขณะที่การใช้ที่ดินในพื้นที่ราบลุ่มทางตะวันตกและตอนเหนือนั้นเข้มข้นมาก ประเทศมีคะแนนเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ปี 2019 ที่ 6.38/10 อยู่ในอันดับที่ 76 ของโลกจาก 172 ประเทศในด้านความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ไต้หวันมีภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบเขตประเทศเขตร้อนทางทะเล ภาคเหนือและภาคกลางเป็นแบบกึ่งเขตร้อน ในขณะที่ภาคใต้เป็นเขตร้อนและบริเวณภูเขามีอากาศอบอุ่น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,600 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูฝนเกิดขึ้นพร้อมกันกับฤดูมรสุมเอเชียตะวันออกในฤดูร้อนในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ทั้งเกาะมีสภาพอากาศร้อนชื้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ไต้ฝุ่นพบมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน ในช่วงฤดูหนาว (พฤศจิกายน-มีนาคม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตอนกลางและตอนใต้ของเกาะจะมีแดดจัดเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ยในไต้หวันเพิ่มขึ้น 1.4 °C (2.5 °F) ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสองเท่าของอุณหภูมิทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายของรัฐบาลไต้หวันคือการลดการปล่อยคาร์บอนลง 20% ในปี 2573 เมื่อเทียบกับระดับปี 2548 และลดลง 50% ในปี 2593 เมื่อเทียบกับระดับปี 2548 การปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92 ระหว่างปี 2548 ถึง 2559 == ประวัติศาสตร์ == === ก่อนประวัติศาสตร์ === === อาณานิคมในศตวรรษที่ 17 === บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ามาจัดตั้งสถานีการค้าขึ้นที่หมู่เกาะเผิงหูในปี พ.ศ. 2165 (ค.ศ. 1622) แต่ในภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้แพ้สงครามกับจีนและถูกขับไล่ออกไปโดยราชวงศ์หมิง ในปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) บริษัทได้สร้างฐานที่มั่นซึ่งมีชื่อว่าป้อมซีแลนเดียบนเกาะชายฝั่งเถา-ยฺเหวียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของเขตอานผิง เมืองไถหนัน และบริษัทได้เริ่มนำเข้าแรงงานมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและเผิงหู ในปี พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) ชาวสเปนเดินทางมาถึงและได้เข้ายึดครองบริเวณทางตอนเหนือของไต้หวัน ที่ท่าเรือของนครจีหลงและบริเวณชายฝั่งของนครซินเป่ย์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นฐานในการขยายการค้า กลายเป็นยุคอาณานิคมของสเปนอยู่ 16 ปีจนกระทั่ง พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) เมื่อป้อมปราการสุดท้ายของสเปนถูกกองทัพเนเธอร์แลนด์เข้าตีได้สำเร็จ === ราชวงศ์ชิง === ในปี ค.ศ. 1638 หลังการพ่ายแพ้ของหลานชายของเจิ้ง เฉิงกง จากการบุกโจมตีทางทัพเรือของราชวงศ์ชิงแมนจูที่นำทัพโดยชื่อ หลางจากทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน ทำให้ราชวงศ์ชิงผนวกยึดเกาะไต้หวันมาเป็นส่วนหนึ่งได้สำเร็จ และวางไว้ภายใต้เขตอำนาจของมณฑลฝูเจี้ยน ราชสำนักของราชวงศ์ชิงพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์และความไม่ลงรอยกันในพื้นที่โดยออกกฎหมายเพื่อจัดการตรวจคนเข้าเมืองและเคารพสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองไต้หวัน ผู้อพยพจากฝูเจี้ยนทางใต้ส่วนใหญ่ยังคงเดินทางไปไต้หวัน เขตแดนระหว่างดินแดนที่เสียภาษีและสิ่งที่ถูกพิจารณาว่าเป็นดินแดน "เขตอันตราย" เปลี่ยนไปทางทิศตะวันออกโดยชาวพื้นเมืองบางคนเข้ารีตรับวัฒนธรรมแบบจีน ในขณะที่คนอื่น ๆ ถอยกลับเข้าไปในภูเขา ในช่วงเวลานี้มีความขัดแย้งจำนวนมากระหว่างกลุ่มชาวจีนฮั่นด้วยกันเองจากภูมิภาคต่าง ๆ ของฝูเจี้ยนทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเฉวียนโจวกับฉางโจว และระหว่างฝูเจี้ยนตอนใต้และชาวพื้นเมืองไต้หวัน === จักรวรรดิญี่ปุ่น === === หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 === พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) การก่อการกำเริบอู่ชางในประเทศจีน เป็นจุดเริ่มต้นการล่มสลายของราชวงศ์ชิง เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พรรคก๊กมินตั๋ง พรรคการเมืองเมืองชาตินิยมของจีนที่เป็นฝ่ายแพ้ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่ไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปครองอำนาจในจีนต่อไป ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่ เหมา เจ๋อตง มีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศทั้งสองจีน คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์กับผู้นำสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน แย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า === พรรคก๊กมินตั๋งเรืองอำนาจ === ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล เจียง ไคเช็ก (General Chiang Kaishek) (ภาษาจีน:蔣介石/蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติได้สูญเสียสมาชิกภาพในฐานะตัวแทนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) สหประชาชาติก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีน ทั้งสหรัฐก็ได้ถอนการรับรองว่าสาธารณรัฐจีนมีฐานะเป็นรัฐ ไต้หวันจึงกลายเป็นเพียงดินแดนที่จีนอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อเจียง ไคเช็ก ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ลูกชายที่ชื่อ เจียง จิ่งกั๊วะ (Chiang Chingkuo) ได้เป็นผู้สืบทอดการปกครองไต้หวันต่อและเริ่มกระบวนการ วางรากฐานไปสู่ประชาธิปไตย === ปฏิรูปประชาธิปไตย === หลังจากที่ประธานาธิบดี เจียง จิ่งกั๊วะ เสียชีวิต ไต้หวันจึงได้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเกิดในไต้หวัน ชื่อ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) ขึ้นบริหารประเทศ โดยการสนับสนุนของเจียง จิ่งกั๊วะ (Chiang Chingkuo) ทั้งที่ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) นั้นเคลื่อนไหวสนับสนุนเอกราชไต้หวัน นาย รัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ตั้งฉายาประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ว่า "จิ้งจกปากหวาน" (A sweet-Talking Chameleon) ช่วงเวลาที่นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดี การเมืองของไต้หวันเกิดการแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1) พวกก๊กมินตั๋ง ที่ต้องการกลับไปรวมประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน) 2) พวกที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระไม่เกี่ยวข้องกับจีนแผ่นดินใหญ่ และ 3) พวกที่ต้องการดำรงฐานะของประเทศไว้ดังเดิมต่อไป ไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่นัดเจรจาหาทางออกของข้อขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) แต่ปรากฏว่าจีนแผ่นดินใหญ่ประวิงเวลาการลงนามในสัญญาหลายฉบับที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน ทำให้ผลของการเจรจาคราวนั้นไม่ก้าวหน้าไปถึงไหน ความสัมพันธ์ระหว่างสองจีนเลวร้ายลงทุกที เมื่อประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย เดินทางไปเยือนสหรัฐและได้รับการยอมรับอย่างเอิกเกริก ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงกระทำการข่มขวัญไต้หวันกับประเทศที่ให้การสนับสนุนไต้หวัน ด้วยการทำการซ้อมรบขึ้นใกล้ ๆ เกาะไต้หวัน สหรัฐออกมาแสดงอาการปกป้องคุ้มครองไต้หวันด้วยการส่งกำลังกองเรือรบของสหรัฐฯ มาป้วนเปี้ยนอยู่ในน่านน้ำที่จีนซ้อมรบ ขณะที่โลกกำลังล่อแหลมกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดในน่านน้ำจีนมากขึ้นทุกทีนั้น ไต้หวันก็จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้นเอง ไต้หวันก็ได้นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ไต้หวันเข้าสู่สภาวะวิกฤต เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ทำให้ประชากรส่วนมากที่เป็นชาวพื้นเมืองเสียชีวิตไป 2,000 คน ทั้งเมืองมีแต่เศษซากสิ่งปรักหักพังที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และช่วงนี้ไต้หวันต้องเผชิญความยากลำบากจากภัยธรรมชาติร้ายแรง จีนแผ่นดินใหญ่ก็เพิ่มความกดดันไม่ให้นานาชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวกับไต้หวันแม้ในยามคับขันเช่นนี้ โดยออกมาประกาศว่า หากมีประเทศใดจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือไต้หวัน จะต้องได้รับอนุญาตจากจีนก่อน ซึ่งคำประกาศของจีนแผ่นดินใหญ่สวนทางกับเมตตาธรรมของประเทศทั่วโลกที่ต้องการให้ความช่วยเหลือไต้หวัน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีการเลือกตั้งใหม่ในไต้หวัน ชาวไต้หวันเลือกผู้แทนจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า คือ นายเฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian) เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวัน ผู้ประกาศนโยบายการเมืองแข็งกร้าวว่าไต้หวันต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ยุติยุคของพรรคชาตินิยมที่ยังฝักใฝ่แผ่นดินใหญ่อยู่ จีนแผ่นดินใหญ่จึงถือว่าเป็นกบฏต่อการปกครองของจีน เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ไต้หวันไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระแยกจากจีน และจีนพูดอยู่เสมอว่าไต้หวันเป็นเด็กในปกครองที่ค่อนข้างจะหัวดื้อและเกเร หากไต้หวันประกาศว่าเป็นอิสระจากจีนเมื่อใด จีนก็จะยกกำลังจัดการกับไต้หวันทันที ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสองจีนในสายตาชาวโลกเลวร้ายลง จีนทั้งสองกลับมีการติดต่อทางการค้ากันมากขึ้น มีการผ่อนปรนอนุญาตให้ชาวไต้หวันเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเยี่ยมญาติได้ เกิดปรากฏการสำคัญคือนักธุรกิจไต้หวันหอบเงินทุนมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนดำเนินธุรกิจทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ จนกระทั่งขณะนี้ชาวไต้หวันกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่เป็นลำดับ 2 ของจีน วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายสมรสปัจจุบันในเวลานั้นละเมิดรัฐธรรมนูญโดยปฏิเสธสิทธิสมรสของคู่รักเพศเดียวกันชาวไต้หวัน ศาลวินิจฉัยว่าหากสภานิติบัญญัติไม่ผ่านการแก้ไขกฎหมายที่เพียงพอต่อกฎหมายสมรสของไต้หวันภายในสองปี การสมรสเพศเดียวกันจะชอบด้วยกฎหมายโดยอัตโนมัติในไต้หวัน วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 สภานิติบัญญัติไต้หวันอนุมัติร่างกฎหมายทำให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ผ่านกฎหมายดังกล่าว == การปกครอง == การปกครองสาธารณรัฐจีนนั้นสถาปนาขึ้นตามรัฐธรรมนูญและลัทธิไตรราษฎร์ซึ่งระบุว่า สาธารณรัฐจีน "เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยของประชาชน ปกครองโดยประชาชน และเป็นไปเพื่อประชาชน" การปกครองนั้นแบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย เรียกว่า "สภา" (yuan) คือ สภาบริหาร (Executive Yuan) ได้แก่ คณะรัฐมนตรีและฝ่ายบริหารทั้งสิ้น, สภานิติบัญญัติ (Legislative Yuan), สภาตุลาการ (Judicial Yuan), สภาควบคุม (Control Yuan) เป็นฝ่ายตรวจสอบ, และสภาสอบคัดเลือก (Examination Yuan) มีหน้าที่จัดสอบคัดเลือกข้าราชการ === บริหาร === ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นจอมทัพกองทัพสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อยู่ในตำแหน่งวาระ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ มาและไปพร้อมกับรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ไช่ อิงเหวิน เธอเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (民主進步黨) คนปัจจุบัน และเป็นตัวแทนของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ตำแหน่งซึ่งเธอพลาดไปในการเลือกตั้งปีเมื่อปี 2012 นอกจากนี้ เธอยังเคยเป็นหัวหน้าพรรคมาแล้วหนึ่งสมัยในช่วงปี 2008 ถึง 2012 ประธานาธิบดีมีอำนาจเหนือสภาบริหาร เพราะแต่งตั้งสมาชิกสภาบริหาร ซึ่งรวมถึง นายกรัฐมนตรี ผู้เป็นประธานสภาบริหารโดยตำแหน่ง ส่วนสมาชิกสภาบริหารนั้นรับผิดชอบนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน === นิติบัญญัติ === สภานิติบัญญัตินั้นใช้ระบบสภาเดียว มีสมาชิก 113 คน 73 คนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วยระบบแบ่งเขต 34 คนมาจากการเลือกตั้งของพรรคการเมืองตามระบบสัดส่วน ที่เหลือ 6 คนนั้นมาจากการเลือกตั้งตามเขตชนพื้นเมือง 23 เขต สมาชิกสภานิติบัญญัติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่ก่อนยังมีสมัชชาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นคณะผู้เลือกตั้งและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจนิติบัญญัติบางประการด้วย แต่ภายหลังสมัชชานี้ยุบเลิกไปในปี 2005 อำนาจหน้าที่ของสมัชชาก็โอนต่อไปยังสภานิติบัญญัติและผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งแสดงออกด้วยประชามติแทน นายกรัฐมนตรีมาจากการสรรหาของประธานาธิบดี โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติ ขณะเดียวกัน สภานิติบัญญัติสามารถออกกฎหมายโดยไม่ต้องคำนึงประธานาธิบดี ส่วนประธานาธิบดีก็ดี นายกรัฐมนตรีก็ดี ไม่มีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายทั้งสิ้น ฉะนั้น จึงมีน้อยครั้งที่ประธานาธิบดีและสภานิติบัญญัติจะเจรจากันเกี่ยวกับร่างกฎหมายในยามที่เห็นแย้งกัน ตามประวัติศาสตร์แล้ว สาธารณรัฐจีนมีผู้ปกครองจากพรรคการเมืองที่เข้มแข็งอยู่พรรคเดียวมาตลอด ทั้งรัฐธรรมนูญก็มิได้จำกัดอำนาจของประธานาธิบดีได้โดยแจ้งชัด เป็นเหตุให้อำนาจบริหารตกอยู่ในเงื้อมมือของประธานาธิบดียิ่งกว่านายกรัฐมนตรี === ตุลาการ === สำหรับฝ่ายตุลาการนั้น สภาตุลาการเป็นองค์กรสูงสุด มีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และกฎ กับทั้งพิจารณาคดีทุกประเภท ไม่ว่าคดีปกครอง คดีรัฐธรรมนูญ หรือคดีอื่น ๆ ประธานสภาตุลาการ รองประธานสภาตุลาการ และตุลาการอื่นอีก 13 คน ประกอบกันเป็น "ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ" (Council of Grand Justices) ตุลาการ ณ ที่ประชุมใหญ่เหล่านี้มาจากการเสนอชื่อและแต่งตั้งของประธานาธิบดีเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ ศาลชั้นสูงสุดของประเทศ คือ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ประกอบด้วย แผนกคดีแพ่งและคดีอาญาจำนวนหนึ่ง แต่ละแผนกมีตุลาการหัวหน้าแผนก 1 คน กับตุลาการสมทบอีก 4 คน ทั้ง 5 คนนี้อยู่ในตำแหน่งโดยไม่มีวาระกำกับ อนึ่ง เคยมีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นเอกเทศในปี 1993 เพื่อจัดการข้อพิพาทบางประการในทางรัฐธรรมนูญ รวมถึงจัดระเบียบพรรคการเมือง และเร่งรัดกระบวนการประชาธิปไตย สาธารณรัฐจีนไม่ใช้ลูกขุน แต่สิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอันเป็นธรรมนั้นได้รับความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดทั้งในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ คดีบางประเภทให้ตุลาการมากคนพิจารณาก็มี โทษประหารยังคงใช้อยู่ในสาธารณรัฐจีน แต่ฝ่ายปกครองพยายามลดการประหารลงให้ได้ กระนั้น ในปี 2006 มีการสำรวจและพบว่า ชาวสาธารณรัฐจีนกว่าร้อยละ 80 ประสงค์ให้รักษาโทษประหารไว้ ===อื่น ๆ=== สำหรับสภาที่เหลือ คือ สภาควบคุม และสภาสอบคัดเลือกนั้น สภาควบคุมมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบสภาอื่น ๆ บางทีทำหน้าที่เป็นองค์คณะไต่สวนคดีปกครองด้วย อาจเทียบได้กับศาลตรวจสอบ (Court of Auditors) ของสหภาพยุโรป หรือสำนักงานเพื่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล (Government Accountability Office) ในสหรัฐ ส่วนสภาสอบคัดเลือกรับผิดชอบการตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการ วิธีสอบคัดเลือกยังคงเน้นตามการสอบขุนนางของจีนโบราณ สภานี้อาจเทียบได้กับสำนักงานสรรหาบุคลาการยุโรป (European Personnel Selection Office) ของสหภาพยุโรป หรือสำนักงานบริหารจัดการบุคลากร (Office of Personnel Management) ของสหรัฐ == การแบ่งเขตการปกครอง == ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนปี ค.ศ. 1947 อาณาเขตของสาธารณรัฐจีนเป็นไปตาม "ขอบเขตของประเทศที่มีอยู่ เมื่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีนล่าถอยไปไต้หวันในปี ค.ศ. 1949 สาธารณรัฐจีนมีดินแดนที่อ้างสิทธิ์ซึ่งประกอบด้วย 35 มณฑล, 12 นครปกครองโดยตรง, 1 เขตปกครองพิเศษ และ 2 เขตปกครองตนเอง อย่างไรก็ตามตั้งแต่การล่าถอย สาธารณรัฐจีนได้ควบคุมเพียงมณฑลไต้หวัน และเกาะบางแห่งของมณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐจีนยังปกครองหมู่เกาะปราตัสและเกาะไท่ผิงในหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ เป็นผลให้สาธารณรัฐเข้ามามีส่วนในการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าวในทะเลจีนใต้ บรรดาเกาะดังกล่าวรัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้จัดให้อยู่ภายใต้การบริหารของนครเกาสฺยง หลังจากการล่าถอยไปไต้หวัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลได้ทำการเปลี่ยนแปลงการแบ่งเขตการปกครองในพื้นที่ภายใต้การบริหารควบคุมของรัฐบาล ได้แก่ กำหนดให้ไทเปกลายเป็นนครปกครองโดยตรงในปี ค.ศ. 1967 เช่นเดียวกับเกาสฺยง ในปี ค.ศ. 1979 และปรับปรุงการบริหารของระดับมณฑลทั้งสองมณฑลให้มีความคล่องตัวขึ้น โดยถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ของมณฑลไปยังรัฐบาลกลาง (มณฑลฝูเจี้ยนในปี ค.ศ. 1956 และมณฑลไต้หวันในปี ค.ศ. 1998) ในปี ค.ศ. 2010 ซินเป่ย์ ไถจง และไถหนานได้รับการยกระดับเป็นนครปกครองโดยตรง และในปี ค.ศ. 2014 เทศมณฑลเถายฺเหวียน ก็ได้รับการยกระดับเป็นนครปกครองโดยตรงด้วย การยกฐานะดังกล่าวทำให้เขตการปกครองต่าง ๆ มีสถานะปัจจุบันเป็นเขตการปกครองระดับบนสุด {|class=wikitable style="margin-left: auto; margin-right: auto; border: none;" |- !ระดับ!!1!!2!!3!!4!!5 |rowspan=9| |- style="text-align:center; height:5ex;" !rowspan=7|ประเภท | colspan="2" rowspan="2" style="background:#f5c3c4;"|นครปกครองโดยตรง(直轄市 zhíxiáshì) (6)||เขตชนพื้นเมืองภูเขา |rowspan=5|หมู่บ้านในเมือง(里 lǐ)|| rowspan="7" |ละแวก(鄰 lín) |- style="text-align:center; height:5ex;" |rowspan=2|เขต(區 qū) (164) |- align=center |rowspan=5|มณฑล(省 shěng) (2)||bgcolor=ceb2cd|นคร(市 shì) (3) |- align=center | rowspan="4" style="background:#e3edc3;"|เทศมณฑล(縣 xiàn) (13)||นครภายใต้เทศมณฑล(縣轄市 xiànxiáshì) (14) |- align=center |เมือง(鎮 zhèn) (38) |- align=center |ตำบล(鄉 xiāng) (122) |rowspan=2|หมู่บ้านชนบท(村 cūn) |- align=center |ตำบลชนพื้นเมืองภูเขา(山地鄉 shāndì xiāng) (24) |- !ทั้งหมด!!colspan=2|22!!368!!7,851!!147,785 |} ตามมาตรา 4 ของบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนครปกครองโดยตรงยังมีผลบังคับใช้กับเทศมณฑลที่มีประชากรเกิน 2 ล้านคนด้วย แม้ว่าในปัจจุบัน บทบัญญัตินี้ไม่ได้ใช้กับเทศมณฑลใด ๆ ของไต้หวัน แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยใช้กับเทศมณฑลไทเป (ปัจจุบันคือ นครซินเป่ย์) และเทศมณฑลเถายฺเหวียน (ปัจจุบันคือ นครเถายฺเหวียน) ===การอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน=== แม้ว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนจะยึดถือ ขอบเขตของประเทศที่เป็นไปอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ได้แบ่งเป็น 2 อาณาเขตบริเวณด้วยกันคือ เขตเสรี (เกาะไต้หวัน) เป็นเขตที่เป็นไปได้ของสาธารณรัฐจีนตามหลักความเป็นจริงในปัจจุบัน อาณาเขตครอบคลุมเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) รวมกับบรรดาหมู่เกาะในหมู่เกาะสแปรตลี อีก 2 แห่งคือ หมู่เกาะปราตัสและเกาะไท่ผิง ที่ยังคงเป็นบริเวณที่มีความขัดแย้งข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ แต่สาธารณรัฐจีนได้เข้ามาบริหารมีส่วนในการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าวในทะเลจีนใต้ เมื่อรวมอาณาบริเวณหมู่เกาะทั้งหมดเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ส่วนอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับญี่ปุ่น, สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) และฟิลิปปินส์ บริเวณแผ่นดินใหญ่ (จีนแผ่นดินใหญ่): เป็นอาณาเขตดินแดนเขตนอกเขตเสรี (พื้นที่ไต้หวัน) ที่สาธารณรัฐจีนอ้างสิทธิ์เรียกร้องอธิปไตยเหนือดินแดน โดยอ้างสิทธิ์ยึดตามเขตแดนที่สาธารณรัฐจีนปกครองแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ตั้งบนจีนแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ดังกล่าวควบคุมโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า, สาธารณรัฐจีนยังมีการเรียกร้องสิทธิ์เหนือดินแดนของภูมิภาคอื่น ๆ ดังไปต่อไปนี้โดยถือเป็นดินแดนที่ถูกต้องตามหลักนิตินัยตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน * มองโกเลียนอก (ปัจจุบันคือประเทศมองโกเลียและสาธารณรัฐตูวาในประเทศรัสเซีย * ที่ราบสูงปามีร์ (Pamir Plateau) (ปัจจุบันคือดินแดนของประเทศทาจิกิสถาน, ประเทศปากีสถาน, และประเทศอัฟกานิสถาน) * รัฐอรุณาจัลประเทศของประเทศอินเดีย * รัฐกะชีนในประเทศเมียนมา * บางส่วนทางด้านตะวันออกของประเทศภูฏาน * หมู่เกาะเซ็งกะกุในทะเลจีนตะวันออก ปัจจุบันเป็นกรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกะกุกับประเทศญี่ปุ่น * บรรดาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ทั้งหมด (รวมอาณาเขตทางทะเล) == นโยบายต่างประเทศ == ปัจจุบันสาธารณรัฐจีนยังคงมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 15 ประเทศ (เบลีซ, เอสวาตีนี, กัวเตมาลา, เฮติ, นครรัฐวาติกัน, ฮอนดูรัส, หมู่เกาะมาร์แชลล์, นาอูรู, นิการากัว, ปาเลา, ปารากวัย, เซนต์คิตส์และเนวิส, เซนต์ลูเชีย, เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์, และตูวาลู) ไต้หวันมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เนื่องจากกรอบนโยบายจีนเดียว ไต้หวันจึงให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์ในกรอบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกับประเทศต่าง ๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) สำหรับนโยบายต่างประเทศของไต้หวันต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไต้หวันได้ดำเนิน “นโยบายมุ่งสู่ใต้” (Go South Policy) เป็นนโยบายส่งเสริมให้ชาวไต้หวันมีการลงทุนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไต้หวันต้องพึ่งพาจีนและใช้เศรษฐกิจเป็นช่องทางกระชับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ กรอบเวทีระหว่างประเทศที่ไต้หวันเป็นสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperartion - APEC) ซึ่งเป็นสมาชิกในฐานะเขตเศรษฐกิจ (economy) และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) โดยเป็นการเข้าร่วมในฐานะที่เป็นเขตศุลกากรพิเศษ (custom territory) การเข้าร่วมในเวทีทั้งสองของไต้หวันจึงเป็นการเข้าร่วมในสถานะที่ไม่ใช่รัฐ == สถานภาพทางการเมืองและกฎหมาย == สถานภาพทางการเมืองและกฎหมายของไต้หวันเป็นประเด็นพิพาท สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างว่ารัฐบาลสาธารณรัฐจีนไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเรียกว่าเป็น "ทางการไต้หวัน" สาธารณรัฐจีนมีเงินตรา หนังสือเดินทางที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ดวงตราไปรษณียากร โดเมนระดับบนสุดอินเทอร์เน็ต กองทัพและรัฐธรรมนูญ และยังมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นของตนเอง รัฐบาลไต้หวันไม่เคยยกเลิกการอ้างสิทธิ์เหนือแผ่นดินใหญ่อย่างเป็นทางการ แต่สื่อของรัฐลดทอนการอ้างสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับระหว่างประเทศ มีกรณีพิพาทว่าสาธารณรัฐจีนเป็นรัฐหรือรัฐสิ้นสภาพตามกฎหมายระหว่างประเทศเนื่องจากขากการรับรองทางทูตอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ว่าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ แต่ประเทศไต้หวันไม่ใช่สมาชิกอย่างเป็นทางการหรือมีสถานภาพผู้สังเกตการณ์ กล่าวในภาพกว้าง ความเห็นสาธารณะในประเทศนิยมสถานะเดิม แต่เริ่มมีความเห็นนิยมประกาศเอกราชเพิ่มขึ้นนับแต่ประเทศกลายเป็นประชาธิปไตย ผลสำรวจในปี 2020 พบว่า ผู้ตอบร้อยละ 52.3 เห็นควรให้ชะลอการตัดสินใจออกไปก่อน หรือคงสถานะเดิมอย่างไม่มีกำหนด ร้อยละ 35.1 นิยมการประกาศเอกราช และร้อยละ 5.8 นิยมการรวมชาติ === ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ === หลังจากพรรคก๊กมินตั๋งถอยหนีมาอยู่บนเกาะไต้หวัน ประเทศส่วนใหญ่ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีนเอาไว้ แต่การรับรองสถานะก็ลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเมื่อในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มีหลายประเทศได้เปลี่ยนไปรับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน ในปัจจุบัน สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันยังคงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก 12 รัฐ จาก 193 รัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งนอกจากทำเนียบสันตะปาปาแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในแถบอเมริกากลางและแอฟริกา ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนมีนโยบายที่จะไม่สานสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศที่รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีน และทุกประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยจะต้องมีแถลงการณ์รับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือไต้หวัน ในทางปฏิบัติแล้ว ถึงแม้ว่าประเทศส่วนใหญ่จะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน และแถลงการณ์ที่ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องการนั้นก็ได้เขียนขึ้นโดยใช้คำกำกวมอย่างยิ่ง ประเทศสำคัญ ๆ บางประเทศที่ไม่ได้รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีนก็จะมี "สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป" หรือ "สำนักงานตัวแทนไทเป" ซึ่งปฏิบัติงานต่าง ๆ ในลักษณะเดียวกับสถานทูต เช่น การออกวีซ่า เป็นต้น และในทำนองเดียวกัน หลายประเทศก็ได้จัดตั้งสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจขึ้นในสาธารณรัฐจีนเช่น สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน ซึ่งโดยพฤตินัยแล้วก็คือสถานทูตของประเทศต่าง ๆ นั่นเอง สาธารณรัฐจีนเคยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในฐานะสมาชิกก่อตั้ง โดยได้อยู่ในตำแหน่งของประเทศจีนในคณะมนตรีความมั่นคงจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ที่ถูกขับออกโดย "มติสมัชชาสหประชาชาติที่ 2758 (General Assembly Resolution 2758)" และตำแหน่งทั้งหมดในองค์การสหประชาชาติก็ถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางสาธารณรัฐจีนได้แสดงความพยายามหลายครั้งเพื่อกลับเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ (ดูที่ จีนและองค์การสหประชาชาติ) นอกจากความขัดแย้งกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือดินแดนบนแผ่นดินใหญ่แล้ว สาธารณรัฐจีนยังมีความขัดแย้งกับมองโกเลียอีกด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ที่สาธารณรัฐจีนได้อ้างสิทธิเหนือพื้นที่มองโกเลีย แต่ก็ถูกกดดันจากสหภาพโซเวียตจนกระทั่งยอมรับรองอิสรภาพของมองโกเลียในที่สุด หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้กลับคำรับรองนั้น และกล่าวอ้างสิทธิเหนือมองโกเลียอีกครั้งจนกระทั่งถึงเมื่อไม่นานนี้ นับจากช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์กับมองโกเลียได้กลายมาเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้ง ความเคลื่อนไหวใด ๆ ในการยกเลิกอำนาจอธิปไตยเหนือมองโกเลียจะเกิดการโต้แย้งทันที เนื่องจากทางสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อ้างว่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศอิสรภาพไต้หวัน == กองทัพ == กองทัพสาธารณรัฐจีนมีรากฐานมาจากกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน ซึ่งก่อตั้งโดยดร.ซุน ยัตเซ็น ในปี ค.ศ. 1925 ในมณฑลกวางตุ้งโดยมีเป้าหมายในการรวมประเทศจีนภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง จนกระทั่งเมื่อกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนชนะสงครามกลางเมืองจีน กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจำนวนมากได้ถอยกลับมายังไต้หวันพร้อมกับรัฐบาลคณะชาติ ซึ่งต่อมาถูกปรับปรุงเป็นกองทัพสาธารณรัฐจีน หน่วยที่ยอมจำนนและยังคงอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ถูกยุบหรือรวมเข้ากับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ในปัจจุบันไต้หวันได้ดำรงรักษากองทัพขนาดใหญ่และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่เป็นการป้องกันการคุกคามอย่างต่อเนื่องของการบุกรุกโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนได้บังคับใช้ "กฎหมายต่อต้านการแบ่งแยกดินแดน" (Anti-Secession Law) กฎหมายฉบับนี้ซึ่งผ่านรัฐสภาของจีนในปี 2005 ได้ปฏิเสธความเป็นรัฐเอกราชของไต้หวัน ให้ถือนโยบายจีนเดียว และได้กำหนดวิธีการต่าง ๆ ในการรวมชาติของสองแผ่นดินจีนให้เกิดขึ้นได้จริง กฎหมายฉบับนี้ยังได้ระบุถึง "การดำเนินการที่ไม่ใช่สันติวิธี" (ซึ่งก็คือการทำสงคราม) เอาไว้ด้วย หากจีนเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่การรวมชาติโดยไม่เสียเลือดเนื้อประสบความล้มเหลว จากปี ค.ศ.1949 ถึงปี ค.ศ. 1970 ภารกิจหลักของกองทัพสาธารณรัฐจีนคือ "ทวงคืนเอาจีนแผ่นดินใหญ่กลับคืนมา" ผ่านภารกิจเกียรติยศแห่งชาติ เนื่องจากภารกิจนี้ถูกเลื่อนและยกเลิกไปชั่วคราว เนื่องจากความแข็งแกร่งทางการทหารของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก กองทัพสาธารณรัฐจีนเปลี่ยนนโยบายไปเป็นเน้นการป้องกันแทน นโยบายดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนการเน้นจากกองทัพที่โดดเด่นตามแบบดั้งเดิมมาเป็นกองทัพอากาศและกองทัพเรือ รัฐบาลสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประชาธิปไตยในการทหารจึงได้เน้นการริเริ่มจัดให้มีการควบคุมโดยพลเรือนทำให้การควบคุมกองทัพสาธารณรัฐจีนก็เปลี่ยนผ่านเข้ามาอยู่ในการบริหารของรัฐบาลพลเรือน ในขณะที่ทหารสาธารณรัฐจีนมีส่วนร่วมทางประวัติศาสตร์กับพรรคก๊กมินตั๋ง เจ้าหน้าที่ระดับสูงรุ่นเก่าจึงมีความเห็นอกเห็นใจแนวคิดสนับสนุนพรรค อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนมากที่เกษียณอายุราชการและมีผู้ที่ไม่ใช่ชาวแผ่นดินใหญ่เข้าร่วมในกองทัพในรุ่นต่อมาดังนั้นความเอนเอียงทางการเมืองของกองทัพจึงเข้ามาใกล้กับบรรทัดฐานของประชาชนในไต้หวัน กองทัพสาธารณรัฐจีนได้เริ่มโครงการลดจำนวนกำลังพล หรือ "จิงฉืออัน" (Jingshi An) (เป็นโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ) เพื่อลดระดับกองทัพจากจำนวน 450,000 นาย ในปี ค.ศ. 1997 เป็น 380,000 นาย ในปี ค.ศ. 2001 การเกณฑ์ทหารในไต้หวันยังคงมีผลบังคับใช้สำหรับผู้ชายที่มีคุณสมบัติเริ่มตั้งแต่อายุสิบแปด แต่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดจำนวนมากเพื่อที่จะให้ได้รับโอกาสในการปฏิบัติราชการรับใช้ชาติตามข้อกำหนดร่างผ่านการรับใช้ราชการชาติทางเลือกและถูกส่งไปยังหน่วยงานราชการหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ == เศรษฐกิจ == === ศักยภาพทางเศรษฐกิจ === สาธารณรัฐจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่14ของโลก หน่วยเงินตราที่ใช้ คือ ดอลลาร์ไต้หวัน ทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่มีจำนวนน้อย แต่เป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นสูงอุตสาหกรรมนั้นเป็นเน้นไปที่การผลิต มีการนำเข้าน้ำมันดิบและแร่เหล็ก เพื่อนำไปผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ ส่งออกไปจำหน่าย ถือเป็นการค้าโดยการผลิต ในปัจจุบันมีการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมที่รวดเร็วและการเติบโตอย่างรวดเร็วของไต้หวันในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ได้รับการขนานนามว่า "ความมหัศจรรย์แห่งไต้หวัน" ไต้หวันถือเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการจัดอันดับขนานนามว่าเป็น "สี่เสือแห่งเอเชีย" เคียงคู่ไปกับฮ่องกง,เกาหลีใต้และสิงคโปร์ ภายใต้การปกครองไต้หวันแบบอาณานิคมของญี่ปุ่นก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองนำการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐและเอกชน, สิ่งที่เป็นที่รับรู้และมีชื่อเสียงที่สุดคือ พื้นที่ของงานสาธารณะซึ่งเปิดใช้งานการสื่อสารที่รวดเร็วและอำนวยความสะดวกการขนส่งทั่วเกาะไต้หวัน ญี่ปุ่นยังปรับปรุงการศึกษาของรัฐและทำให้เกิดการศึกษาบังคับสำหรับชาวไต้หวันทุกคน ในปี ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นได้แพ้สงครามโลกครั้งที่สองและได้คืนเกาะไต้หวันให้กับสาธารณรัฐจีน ได้เกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันอันเป็นผลมาจากสงครามกับญี่ปุ่น เพื่อแยกไต้หวันออกจากปัญหาเศรษฐกิจในแผ่นดินใหญ่นั้น รัฐบาลจีนคณะชาติของสาธารณรัฐจีนได้สร้างพื้นที่ให้กับสกุลเงินใหม่สำหรับเกาะไต้หวันและเริ่มใช้กลยุทธ์รักษาเสถียรภาพราคา ความพยายามเหล่านี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างมาก เมื่อรัฐบาลจีนคณะชาติของพรรคก๊กมินตั๋งได้หนีไปไต้หวัน ได้มีการโอนและขนย้ายทองคำแท่งมานับล้านตำลึง (ขณะนั้นมูลค่าอยู่ที่ 1 ตำลึง = 37.5 กรัม หรือ ~1.2 ทรอยออนซ์) ของทองคำ และเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งตามรายงานพรรคก๊กมินตั๋งระบุว่าราคามีเสถียรภาพและช่วยลดปัญหาภาวะเงินเฟ้อได้ บางทีที่สำคัญกว่านั้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการหลบหนีไปยังไต้หวัน พรรคก๊กมินตั๋งได้นำปัญญาชนและนักธุรกิจจากจีนแผ่นดินใหญ่มายังเกาะไต้หวันด้วย จึงอาจสันนิษฐานได้ว่ามีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไต้หวันเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้จัดตั้งกฎหมายอำนวยเศรษฐกิจมากมายและเริ่มการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งไม่สามารถใช้อย่างมีประสิทธิภาพในจีนแผ่นดินใหญ่มาก่อนเลย รัฐบาลยังดำเนินนโยบายการทดแทนการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม โดยพยายามส่งเสริมการผลิตสินค้าบริโภคภายในประเทศ ในปี ค.ศ. 1950 ด้วยการปะทุของสงครามเกาหลี เพื่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้สหรัฐเริ่มโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะไต้หวันซึ่งส่งผลให้ราคามีเสถียรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1952 การพัฒนาเศรษฐกิจได้รับการสนับสนุนจากความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของอเมริกาและการริเริ่ม เช่น คณะกรรมาธิการร่วมเพื่อการฟื้นฟูชนบท ซึ่งทำให้ภาคเกษตรกรรมกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการเติบโตในภายหลัง ภายใต้มาตรการกระตุ้นการรวมตัวของการปฏิรูปที่ดินและแผนพัฒนาการเกษตรการผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 4 จากปี 1952 ถึง 1959 ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของประชากร 3.6% ในปี ค.ศ. 1962 ไต้หวันมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (ระดับต่ำ) ต่อหัว (GNP) อยู่ที่ 170 ดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจของไต้หวันถือว่าเป็นที่เท่าเทียมเมื่อเทียบกับของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก บนความเท่าเทียมกันของกำลังซื้อ (PPP) พื้นฐาน GDP ต่อหัวของประชากรในช่วงต้นทศวรรษ 1960 อยู่ที่ 1,353 ดอลลาร์ (ในราคา 1990) ภายในปี ค.ศ. 2011 GNP ต่อหัวซึ่งปรับสำหรับกำลังซื้อภาค (PPP) เพิ่มขึ้นเป็น 37,000 เหรียญสหรัฐ มีส่วนทำให้ของไต้หวันยกระดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) เทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ HDI ของไต้หวันในปี ค.ศ. 2012 อยู่ที่ 0.890 (อันดับที่ 23 ถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก) ตามวิธีการคำนวณใหม่ "การปรับความไม่เท่าเทียมกันของ HDI" ของสหประชาชาติ ในปี ค.ศ. 1974 ประธานาธิบดีเจียง จิ่งกั๊วะ ได้ริเริ่มดำเนินการสิบโครงการก่อสร้างสำคัญเป็นการเริ่มต้นวางรากฐานที่ช่วยให้ไต้หวันพัฒนาเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจขับเคลื่อนการส่งออกในปัจจุบัน นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา บริษัท เทคโนโลยีในไต้หวันจำนวนหนึ่งได้ขยายการเข้าถึงไปทั่วโลก บริษัทเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่นิยมและรู้จักกัน ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในไต้หวัน ได้แก่ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Acer Inc. และ Asus, ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ HTC รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ Foxconn ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์สำหรับ Apple, Amazon และ Microsoft งาน Computex Taipei เป็นงานแสดงสินค้าคอมพิวเตอร์ที่สำคัญซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 === การพัฒนาอุตสาหกรรม === ประเทศไต้หวันเติบโตขึ้นในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำจากบริษัทผลิตสารกึ่งตัวนำไต้หวัน จำกัด (TSMC) และบรรษัทยูไนเต็ดไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (UMC) ในเดือนมิถุนายน 2565 TSMC มีมูลค่าตลาดคิดเป็นประมาณ 90% ของจีดีพีไต้หวัน === การท่องเที่ยว === ปัจจุบันที่ไต้หวันเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนไทย ที่ได้ยกเว้นการขอวีซ่าวีซ่าไต้หวัน และด้วยประเทศไต้หวันเองมีสถานที่เที่ยวมากมาย ทั้งที่เที่ยวในเมืองไทเป หรือจะที่เที่ยวแบบธรรมชาติอย่างเกาสฺยง อีกทั้งค่าครองชีพไม่สูงมากนัก ทำให้นักเดินทางที่ชอบไปเที่ยวด้วยตัวเอง ต่างก็ยกให้ ไต้หวันเป็นประแทศที่เที่ยวด้วยเองได้ง่าย ๆ ให้ประเทศไต้หวันเป็นอันดับแรก ๆ ที่เที่ยวไต้หวัน มีเยอะ ทั้งแลนด์มาร์คดัง ๆ อย่างตึกไทเป 101 (Taipei 101), หมู่บ้านโบราณจิ่วเฟิ่น (Jioufen), ตลาดปลาไทเป (Taipei Fish Market) อีกทั้งยังเป็นดินแดนแห่งสตรีทฟู้ดที่อร่อยอีกด้วย เนื่องจากมีตลาดกลางคืนมากมาย เช่น ตลาดซีเหมินติง (Ximending), ตลาดซื่อหลิน (Shilin Night Market) เป็นต้น == โครงสร้างพื้นฐาน == === การคมนาคม และ โทรคมนาคม === ==== คมนาคม ==== กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐจีนเป็นหน่วยงานระดับคณะรัฐมนตรีของเครือข่ายการขนส่งในไต้หวัน ชาวไต้หวันนิยมใช้ สกู๊ตเตอร์ (จักรยานยนต์) ในการเดินทาง ในเดือนมีนาคม 2019 มีการจดทะเบียนถึง 13.86 ล้านคัน คิดเป็นสองเท่าของการจดทะเบียนรถยนต์ ทั้งทางหลวงและทางรถไฟกระจุกตัวอยู่ใกล้ชายฝั่ง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ โดยมีทางหลวงพิเศษ 1,619 กม. (1,006 ไมล์) รถไฟในไต้หวันใช้สำหรับบริการผู้โดยสารเป็นหลัก โดย Taiwan Railway Administration (TRA) ดำเนินการเส้นทางวงกลม และ Taiwan High Speed Rail (THSR) ที่ให้บริการความเร็วสูงบนชายฝั่งตะวันตก ระบบขนส่งมวลชนในเมือง ได้แก่ รถไฟใต้ดินไทเป รถไฟฟ้าใต้ดินเกาสฺยง รถไฟใต้ดินเถา-ยฺเหวียน และรถไฟใต้ดินไทเปใหม่ สนามบินหลัก ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน เกาสฺยง ไทเป ซงซาน และไถจง ปัจจุบันมีสายการบิน 7 สายในไต้หวัน โดยใหญ่ที่สุดคือ ไชนาแอร์ไลน์ และ EVA Air มีท่าเรือระหว่างประเทศสี่แห่งได้แก่: จีหลง เกาสฺยง ไถจง และฮัวเหลียน ==== โทรคมนาคม ==== === วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี === === การศึกษา === ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไต้หวันก่อตั้งขึ้นโดยญี่ปุ่นในช่วงยุคอาณานิคม อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สาธารณรัฐจีนเข้ายึดครองในปี 1945 ระบบก็ถูกแทนที่โดยทันทีด้วยระบบเดียวกับในจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งผสมผสานคุณลักษณะของระบบการศึกษาของจีนและอเมริกันเข้าด้วยกัน ไต้หวันขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติตามกระบวนทัศน์ของขงจื๊อในการประเมินคุณค่าการศึกษาเพื่อพัฒนาฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การลงทุนอย่างหนักและการประเมินคุณค่าทางวัฒนธรรมของการศึกษาได้ผลักดันให้จากการเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับการศึกษาระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการอ่านออกเขียนได้ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในปี 2015 นักศึกษาชาวไต้หวันได้รับผลการเรียนที่ดีที่สุดในโลกด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยผ่านการทดสอบโดยโครงการประเมินนักศึกษานานาชาติ (Program for International Student Assessment - PISA) โดยมีคะแนนเฉลี่ยนักเรียนอยู่ที่ 519 คะแนน เทียบกับค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 493 คะแนน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 7 ในโลก ระบบการศึกษาของไต้หวันได้รับการยกย่องจากหลายสาเหตุ รวมถึงการทดสอบที่เข้มข้น และบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวัน ในขณะเดียวกันก็สร้างแรงงานที่มีการศึกษาสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไต้หวันยังได้รับการยกย่องในเรื่องอัตราการเข้ามหาวิทยาลัยในระดับสูง โดยอัตราการตอบรับของมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นจากประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ก่อนปี 1980 เป็น 49% ในปี 1996 และมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งสูงที่สุดในเอเชีย อัตราการเข้ามหาวิทยาลัยในระดับสูงของประเทศได้สร้างแรงงานที่มีทักษะสูง ทำให้ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการศึกษาสูงที่สุดในโลก โดยร้อยละ 68.5 ของนักเรียนมัธยมปลายชาวไต้หวันเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ไต้หวันมีประชากรจำนวนมากที่มีวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูง โดยที่ 45 เปอร์เซ็นต์ของชาวไต้หวันอายุ 25-64 ปีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 33 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มประเทศสมาชิก OECD === สาธารณสุข === ระบบการรักษาพยาบาลในไต้หวันในปัจจุบัน หรือที่เรียกว่าการประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHI, Chinese: 全民健康保險) ก่อตั้งขึ้นในปี 1995 NHI เป็นแผนประกันสังคมภาคบังคับรายบุคคลที่รวมศูนย์การเบิกจ่ายกองทุนการรักษาพยาบาล ระบบการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกันสำหรับพลเมืองทุกคน และความครอบคลุมของประชากรถึง 99 เปอร์เซ็นต์ภายในสิ้นปี 2004 NHI ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเป็นส่วนใหญ่ผ่านเบี้ยประกัน ซึ่งอิงจากภาษีเงินเดือน และเสริมด้วยการชำระเงินร่วมแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเงินทุนจากรัฐบาลโดยตรง บริการสุขภาพเชิงป้องกัน ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ทหารผ่านศึก เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้ประสบโรคร้ายแรง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระเงินร่วม ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยจะได้รับความคุ้มครอง 100 เปอร์เซ็นต์จาก NHI และจะลดลงอีกสำหรับผู้ทุพพลภาพหรือผู้สูงอายุบางคน ในช่วงต้นของโปรแกรม ระบบการชำระเงินส่วนใหญ่เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับบริการ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพส่วนใหญ่ดำเนินการในภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจำนวนมากใช้ประโยชน์จากระบบนี้โดยเสนอบริการที่ไม่จำเป็นให้กับผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากรัฐบาล เมื่อเผชิญกับความสูญเสียที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นในการควบคุมต้นทุน NHI ได้เปลี่ยนระบบการชำระเงินจากค่าธรรมเนียมสำหรับบริการเป็นงบประมาณทั่วโลก ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินในอนาคตในปี 2002 การดำเนินการด้านสุขภาพถ้วนหน้าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพน้อยลงสำหรับพลเมืองที่มีรายได้น้อยในไต้หวัน จากการสำรวจที่เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้ป่วย 3,360 รายที่ทำแบบสำรวจในโรงพยาบาลที่สุ่มเลือก ผู้ป่วยร้อยละ 75.1 กล่าวว่าพวกเขา "พอใจมาก" กับบริการของโรงพยาบาล ร้อยละ 20.5 กล่าวว่าพวกเขา "พอใจ" กับบริการ ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่กล่าวว่า "ไม่พอใจ" หรือ "ไม่พอใจอย่างยิ่ง" กับบริการหรือการดูแลจากสถานพยาบาล หน่วยงานควบคุมโรคของไต้หวันคือศูนย์ควบคุมโรคแห่งไต้หวัน (CDC) และระหว่างการระบาดของโรคซาร์สในเดือนมีนาคม 2003 มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน 347 ราย ระหว่างการระบาดของโรค CDC และหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดตั้งสถานีเฝ้าระวังตลอดการขนส่งมวลชน สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ด้วยการกักกันอย่างเต็มรูปแบบ จึงไม่มีกรณีของโรคซาร์สตั้งแต่นั้นมา ด้วยบทเรียนจากโรคซาร์ส ศูนย์บัญชาการสุขภาพแห่งชาติจึงก่อตั้งขึ้นในปี 2004 ซึ่งรวมถึงศูนย์บัญชาการแพร่ระบาดกลาง (CECC) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา CECC มีบทบาทสำคัญในแนวทางการระบาดของไต้หวัน ซึ่งรวมถึงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในปี 2019 อัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ที่ 4.2 คนต่อการเกิด 1,000 คน โดยมีแพทย์ 20 คนและเตียงในโรงพยาบาล 71 เตียงต่อผู้ป่วย 10,000 คน อายุขัยเฉลี่ยในปี 2020 คือ 77.5 ปี และ 83.9 ปี สำหรับเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ == ประชากร == === เชื้อชาติ === รัฐบาลรายงานว่ากว่าร้อยละ 95 ของประชากรเป็นชาวฮั่น ซึ่งส่วนใหญ่รวมถึงลูกหลานของผู้อพยพชาวจีนฮั่นตอนต้นที่เดินทางมาถึงไต้หวันเป็นจำนวนมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 อีกนัยหนึ่ง กลุ่มชาติพันธุ์ของไต้หวันอาจถูกแบ่งออกอย่างคร่าว ๆ ระหว่างชาวฮกเกี้ยน (70 เปอร์เซ็นต์) แคะ (14 เปอร์เซ็นต์) Waishengren (14 เปอร์เซ็นต์) และชนพื้นเมือง (2 เปอร์เซ็นต์) ชาวฮกเกี้ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด (ร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด) ซึ่งบรรพบุรุษของฮั่นอพยพมาจากบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของฝูเจี้ยน ข้ามช่องแคบไต้หวันตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ชาวแคะประกอบด้วยประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด และสืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวฮั่นจากมณฑลกวางตุ้งทางตะวันออก ผู้คนที่มาจากฮั่นเพิ่มมากขึ้นรวมถึงลูกหลานของผู้รักชาติ 2 ล้านคนที่หนีไปไต้หวันหลังจากชัยชนะของคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินใหญ่ในปี 2492 === ศาสนา === รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนคุ้มครองเสรีภาพทางศาสนาและสิทธิในการปฏิบัติตามความเชื่อของประชาชน ตามสถิติในปี ค.ศ. 2005 ประเทศไต้หวันมีพุทธศาสนิกชน 8,086,000 คน (35.1%) ศาสนิกชนเต๋า 7,600,000 คน (33.0%) คริสต์ศาสนิกชน 903,000 คน (3.9%) โดยเป็นโปรเตสแตนต์ 605,000 คน (2.6%) และโรมันคาทอลิก 298,000 คน (1.3%) และศาสนิกชนลัทธิอนุตตรธรรม 810,000 คน (3.5%) เป็นต้น === ภาษา === แมนดารินเป็นภาษาหลักที่ใช้ในธุรกิจและการศึกษา และพูดโดยประชากรส่วนใหญ่ ใช้ภาษาจีนตัวเต็มเป็นระบบการเขียน สาธารณรัฐจีนไม่มีภาษาราชการที่กำหนดโดยกฎหมาย แต่ภาษาจีนกลางมีบทบาทเป็นภาษาราชการโดยพฤตินัย ตั้งแต่ขบวนการสี่พฤษภาคม ภาษาจีนพื้นถิ่นที่เขียนได้เข้ามาแทนที่ภาษาจีนคลาสสิกและกลายเป็นภาษาจีนที่ใช้เขียนกระแสหลักในสาธารณรัฐจีน แต่ภาษาจีนคลาสสิกยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในรัฐบาลสาธารณรัฐจีน เอกสารของรัฐบาลส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐจีนเขียนเป็นภาษาจีนคลาสสิกจนถึงการปฏิรูปในปี 1970 ในขบวนการปฏิรูปที่นำโดยประธานาธิบดีเยน เจียกัง เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเขียนเป็นแบบภาษาจีนกลางและแบบจีนคลาสสิกที่ผสมผสานกันมากขึ้น (文白合一行) ทุกวันนี้ ภาษาจีนคลาสสิกล้วนถูกนำมาใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ รวมถึงพิธีกรรมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมในไต้หวันเป็นครั้งคราว ตัวอย่างเช่น เพลงชาติของสาธารณรัฐจีน (中華民國國歌) เป็นภาษาจีนคลาสสิก ตำราลัทธิเต๋ายังคงรักษาไว้เป็นภาษาจีนคลาสสิกตั้งแต่สมัยที่แต่งขึ้น ตำราหรือพระสูตรทางพุทธศาสนายังคงเก็บรักษาไว้ในภาษาจีนคลาสสิกตั้งแต่ตอนที่เรียบเรียงหรือแปลจากแหล่งภาษาสันสกฤต ในทางปฏิบัติ มีความต่อเนื่องที่เป็นที่ยอมรับของสังคมระหว่างภาษาจีนพื้นถิ่นและภาษาจีนคลาสสิก เอกสารราชการ กฎหมาย คำตัดสินของศาล และเอกสารทางตุลาการส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีนกลางและจีนคลาสสิกผสมกัน (文白合一行文) ตัวอย่างเช่น ประกาศอย่างเป็นทางการและจดหมายที่เป็นทางการส่วนใหญ่เขียนด้วยสำนวนภาษาจีนคลาสสิกจำนวนมาก (เช่น คำทักทาย คำลงท้าย) ในทางกลับกัน จดหมายส่วนตัวส่วนใหญ่จะเขียนเป็นภาษาพื้นถิ่น แต่มีวลีคลาสสิกบางประโยค ขึ้นอยู่กับเนื้อหา ระดับการศึกษาของผู้เขียน เป็นต้น === เมืองใหญ่ === รายชื่อเมืองใหญ่ในสาธารณรัฐจีนเรียงตามประชากร === กีฬา === เบสบอลเป็นกีฬาประจำชาติของไต้หวัน ทีมเบสบอลชายชาวไต้หวันและทีมเบสบอลหญิงเป็นอันดับ 2 ของโลกในการจัดอันดับ WBSC ณ เดือนมิถุนายน 2021 มีผู้เล่นเบสบอลเมเจอร์ลีกชาวไต้หวันจำนวน 16 รายในสหรัฐอเมริกา ณ ฤดูกาล MLB ปี 2020 ลีกเบสบอลอาชีพในไต้หวัน (CPBL) ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 และในที่สุดก็เข้าสู่การแข่งขัน Taiwan Major League ในปี 2003 ในปี 2019 CPBL มีสี่ทีม โดยมีผู้เข้าชมเฉลี่ยมากกว่า 5,826 ต่อเกม นอกจากเบสบอลแล้ว บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยม P. League+ ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน 2020 เป็นลีกบาสเกตบอลอาชีพของไต้หวันและประกอบด้วยสี่ทีม ซูเปอร์บาสเก็ตลีกกึ่งมืออาชีพ (SBL) ก็มีให้เล่นตั้งแต่ปี 2003 เช่นกัน ไต้หวันเข้าร่วมในองค์กรกีฬาระหว่างประเทศและกิจกรรมภายใต้ชื่อ "ไชนีสไทเป" เนื่องจากสถานะทางการเมือง ในปี 2009 ไต้หวันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติสองรายการบนเกาะ การแข่งขัน World Games 2009 จัดขึ้นที่เกาสฺยงระหว่างวันที่ 16 ถึง 26 กรกฎาคม กรุงไทเปเป็นเจ้าภาพจัดงาน Summer Deaflympics ครั้งที่ 21 ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน นอกจากนี้ ไทเปยังเป็นเจ้าภาพจัดงาน Summer Universiade ในปี 2017 ในอนาคตอันใกล้ ไทเปและนิวไทเปจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน World Masters Games ปี 2025 ซึ่งควบคุมโดย International Masters Games Association (IMGA) เทควันโดได้กลายเป็นกีฬาที่เติบโตและประสบความสำเร็จในไต้หวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 Chen Shih-hsin และ Chu Mu-yen ได้รับรางวัลสองเหรียญทองแรกในประเภทฟลายเวทหญิงและรุ่นฟลายเวทชายตามลำดับ ผู้เข้าแข่งขันเทควันโดรุ่นต่อมา เช่น Yang Shu-chun ได้เสริมสร้างวัฒนธรรมเทควันโดของไต้หวัน ไต้หวันยังมีจุดเด่นในด้านกีฬาเทเบิลเทนนิสและแบดมินตัน โดยคว้าเหรียญรางวัลหลายรายการในกีฬาโอลิมปิก และการแข่งขันชิงแชมป์โลก ==== ฟุตบอล ==== ฟุตบอลทีมชาติจีนไทเป มีประวัติความสำเร็จในระดับเอเชียคือคว้าอันดับ 3 เอเชียนคัพ ปี 1960 และคว้าเหรียญทองในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เมื่อปี 1954 และ 1958 ปัจจุบันอยู่ในอันดับ 151 ของโลกตามการจัดอันดับฟีฟ่า สมาคมฟุตบอลจีนไทเป (CTFA) ก่อตั้งขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ในฐานะสมาคมฟุตบอลจีน (CFA) ในปี 2467 และย้ายไปไต้หวันในปี 2492 เมื่อสิ้นสุดสงครามกลางเมืองจีน และเข้าร่วมกับฟีฟ่าในปี พ.ศ. 2475 ในฐานะจีนแผ่นดินใหญ่ และเข้าร่วมฟีฟ่าอีกครั้งในปี พ.ศ. 2497 ครั้งแรกภายใต้ชื่อทีมไต้หวัน == วัฒนธรรม == วัฒนธรรมของไต้หวันเป็นการผสมผสานแบบผสมผสานจากแหล่งต่าง ๆ โดยผสมผสานองค์ประกอบของวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมส่วนใหญ่ วัฒนธรรมอะบอริจิน อิทธิพลทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ความเชื่อของลัทธิขงจื๊อดั้งเดิม และค่านิยมตะวันตกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงกฎอัยการศึกที่สาธารณรัฐจีนเป็นฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างเป็นทางการ พรรคก๊กมินตั๋งได้ส่งเสริมวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมที่เป็นทางการเหนือไต้หวันเพื่อเน้นว่าสาธารณรัฐจีนเป็นตัวแทนดั้งเดิมที่แท้จริงของวัฒนธรรมจีน ตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์จีน รัฐบาลเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่าขบวนการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมจีนในไต้หวันเพื่อต่อต้านการทำลายล้างทางวัฒนธรรมที่เกิดจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม สมัชชาวัฒนธรรมจีน (中華文化總會) ก่อตั้งขึ้นในฐานะสภาส่งเสริมการเคลื่อนไหวเพื่อช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมจีนในไต้หวันและต่างประเทศ เป็นแผนโครงสร้างแผนแรกของก๊กมินตั๋งเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมในไต้หวัน เชียงเองเป็นหัวหน้าสมัชชาใหญ่แห่งวัฒนธรรมจีน ประธานาธิบดีคนต่อไปของสาธารณรัฐจีนก็กลายเป็นหัวหน้าสมัชชาใหญ่ครั้งนี้ด้วย ขบวนการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมจีนในไต้หวันประกอบกับการศึกษาวัฒนธรรมจีนในไต้หวันช่วยยกระดับความประณีตทางวัฒนธรรม กิริยาท่าทาง และความสุภาพเรียบร้อยของชาวไต้หวันจำนวนมาก ตรงกันข้ามกับการทำลายวัฒนธรรม (พฤติกรรมที่ไม่ได้รับวัฒนธรรม) ของจีนแผ่นดินใหญ่จำนวนมากเนื่องจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม สิ่งนี้ยังนำไปสู่วัฒนธรรมจีนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีในไต้หวันมากกว่าในจีนแผ่นดินใหญ่ ตัวอย่างของการอนุรักษ์นี้คือการใช้ภาษาจีนตัวเต็ม อิทธิพลของลัทธิขงจื๊อสามารถพบได้ในพฤติกรรมของชาวไต้หวันซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องความเป็นมิตรและความสุภาพมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ การยกระดับกฎอัยการศึกทำให้เกิดยุคประชาธิปไตยโดยเสรีภาพในการพูดและการแสดงออก นำไปสู่วรรณคดีไต้หวันและสื่อมวลชนที่เฟื่องฟูในไต้หวัน การเมืองยังคงมีบทบาทในแนวความคิดและการพัฒนาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจีน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แนวความคิดเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมของไต้หวันได้รับการเสนอเป็นมุมมองทางเลือก ซึ่งอนุญาตให้รวมชาวแผ่นดินใหญ่และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เข้าในนิยามใหม่ของวัฒนธรรมไต้หวันอย่างต่อเนื่องในฐานะระบบที่รวบรวมความคิดและพฤติกรรมร่วมกันของชาวไต้หวัน การแยกตัวทางการเมืองจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็นเวลากว่าร้อยปี ได้นำไปสู่ประเพณีที่แตกต่างกันในหลายด้าน รวมทั้งอาหารและดนตรี === อาหาร === ประวัติศาสตร์การทำอาหารของชาวไต้หวันนั้นมีความเชื่อมโยงกับรูปแบบการอพยพและการล่าอาณานิคม อาหารไต้หวันทั้งในและต่างประเทศประกอบด้วย หมู อาหารทะเล ไก่ ข้าว และถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมที่พบบ่อย ข้าวแบบดั้งเดิมเป็นพื้นฐานของอาหารไต้หวันส่วนใหญ่ ก่อนยุคอาณานิคมของญี่ปุ่นข้าวส่วนใหญ่ที่ปลูกในไต้หวันเป็นข้าวพันธุ์อินดิกาที่มีเมล็ดยาว ญี่ปุ่นได้แนะนำข้าวจาโปนิก้าที่มีเมล็ดสั้นซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการกินของชาวไต้หวันอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมรดกตกทอดนี้ชาวไต้หวันมักชอบข้าวที่มีกลิ่นหอมเนื้อแน่นและหวานเล็กน้อย ในช่วงอาณานิคมของญี่ปุ่นอาหารไต้หวันถูกแบ่งออกเป็นร้านอาหารระดับไฮเอนด์ที่เรียกว่าโรงไวน์โดยให้บริการอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากจีนเช่น เป็ดปักกิ่ง หูฉลามพร้อมซุปรังนก และเต่าตุ๋น โดยมักเป็นอาหารของชนชั้นสูงในอาณานิคม ชนชั้นกลางจะนิยม ข้าว, โจ๊ก , ผักดองและใบมันเทศ น้ำมันปรุงอาหารถือเป็นของฟุ่มเฟือยและใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น อาหารของไต้หวันยังได้รับอิทธิพลจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ชาวไต้หวันอาศัยอยู่บนเกาะที่มีผู้คนพลุกพล่านจึงต้องหลีกเลี่ยงจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อหาแหล่งโปรตีน เป็นผลให้อาหารทะเลมีความโดดเด่น ปลาขนาดใหญ่เช่นปลาทูน่าและปลาเก๋าได้รับความนิยม รวมถึงปลาขนาดเล็กเช่นปลากะตัก เนื้อวัวนั้นพบได้น้อยกว่าโปรตีนชนิดอื่น ๆ และชาวไต้หวันบางคน (โดยเฉพาะคนรุ่นสูงอายุ) ยังคงละเว้นที่จะกิน ชาวไต้หวันบางคนมีความเชื่อดั้งเดิมในการไม่ฆ่าและไม่ทานเนื้อวัว เพื่อแสดงขอบคุณในการทำงานหนักให้แก่มนุษย์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการหลั่งไหลเข้ามาของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1900 ซุปก๋วยเตี๋ยวเนื้อในไต้หวันจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ความช่วยเหลือด้านอาหารของชาวอเมริกันในช่วงหลายทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้าวสาลี เนื้อวัว และเนื้อสัตว์แปรรูป ได้เปลี่ยนอาหารของชาวไต้หวันไปตลอดกาลด้วยบะหมี่ที่ทำจากข้าวสาลีขนมปังและเกี๊ยวซึ่งมีบทบาทสำคัญในอาหารมากขึ้น การบริโภคข้าวในไต้หวันสูงถึง 80-90 กิโลกรัมต่อคนต่อปีในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ก่อนที่จะลดลงเนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนการบริโภคไปยังอาหารที่ทำจากข้าวสาลี อย่างไรก็ตามชาวไต้หวันยังคงบริโภคข้าวในปริมาณมากโดยเฉพาะข้าวกล้องและข้าวพันธุ์แปลก ๆ เช่น ข้าวสีดำ สีม่วง และสีแดง ในอาหารหลาย ๆ เมนูชาวไต้หวันได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกเครื่องเทศ ได้แก่ ซอสถั่วเหลือง ไวน์ข้าว น้ำมันงา หัวไชเท้าดองและผักกาด ถั่วลิสง พริก ผักชี (บางครั้งเรียกว่าผักชีฝรั่งจีน) และโหระพา (九層塔; káu-chàn-tha̍h;) อาหารจากจีนแผ่นดินใหญ่ เช่น ติ่มซำ ก็เป็นที่นิยมทั่วประเทศ == เชิงอรรถ == == อ้างอิง == ===อ้างอิง=== === ผลงานที่อ้างอิง === == หนังสืออ่านเพิ่ม == Copper, John F. ed. Historical dictionary of Taiwan (1993) online Taeuber, Irene B. "Population Growth in a Chinese Microcosm: Taiwan." Population Index 27#2 (1961), pp. 101–126 online == แหล่งข้อมูลอื่น == ===ภาพรวมและข้อมูล=== Taiwan. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Taiwan from UCB Libraries GovPubs Taiwan country profile BBC News Background Note: Taiwan US Department of State Taiwan's 400 years of history New Taiwan, Ilha Formosa Key Development Forecasts for Taiwan from International Futures Chinese Taipei OECD ===หน่วยงานรัฐบาล=== Office of the Government Office of the President Executive Yuan Judicial Yuan Control Yuan Examination Yuan Ministry of Foreign Affairs Republic of China (Taiwan) Embassies and Missions Abroad Taiwan, The Heart of Asia , Tourism Bureau, Republic of China (Taiwan) ต ต อดีตรัฐสมาชิกสหประชาชาติ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2455 อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น
thaiwikipedia
365
ซ้องแมว
ซ้องแมว (Wild sage; ) ชื่ออื่น เช่น ซ้อแมว (ลำปาง); ซ้องแมว, ช้องแมว (ภาคกลาง, นครราชสีมา); เล็บแมว (สระบุรี); ส้มแมว (ราชบุรี); หางกระรอกแดง (ภาคกลาง); คางแมว (ภาคกลาง, ภาคใต้); จิงจาย (ภาคใต้); จิ้งจ๊อ (ปัตตานี); ปะงางอ (ڤڠاڠو, มลายู-ปัตตานี); ยวงขนุน (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2–6 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์ พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป และมีการปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน == ลักษณะ == ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันกับคู่ มีลักษณะเป็นรูปไข่ กว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4–5 เซนติเมตร ปลายใบมน ดอกมีสีเหลืองออกเป็นช่อตามกิ่งข้าง โดยออกจากซอกของใบประดับซึ่งเรียงซ้อนกัน และดอกจะห้อยลงกลับหัว ตัวใบประดับมีสีเขียวอมเหลืองมีสีแดงประอยู่เป็นจุด กลีบรองดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปกรวย แยกกันที่ปลายของหลอดดอก ส่วนบนโป่งเป็นรูประฆังปลายโค้ง แยกเป็น 4 แฉก แฉกบนยาวที่สุด เกสรผู้ 4 อัน อยู่ภายในหลอดดอก ผลเป็นผลสด รูปรีกลม ขนาด 1.5–2.5 เซนติเมตร ผลสุกสีเหลืองส้ม ผิวมัน ซ้องแมวจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม และติดผลช่วงเดือนพฤษภาคม–กรกฏาคม ขยายพันธุ์โดยวิธีตอน, ปักชำ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์กะเพรา
thaiwikipedia
366
กระทิง (พรรณไม้)
กระทิง หรือ สารภีทะเล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีแนน (ภาคเหนือ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–25 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง การดูแลรักษาทำได้โดยชอบดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด กระทิงเป็นพืชมีพิษ เมื่อรับประทานราก เปลือก และใบเข้าไปจะมีผลต่อหัวใจ == กระทิงในวรรณกรรม == ดอกกระทิงปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพระมะเหลเถไถ - คุณสุวรรณ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี วงศ์มังคุด พืชมีพิษ
thaiwikipedia
367
กัลปพฤกษ์
กัลปพฤกษ์ ( ชื่อสามัญ: Pink Shower, Wishing tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้มากในประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย พุ่มใบแบนกว้าง ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี), กาลพฤกษ์ เป็นต้น == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == กัลปพฤกษ์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10–15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5–6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2–4 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4–7 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ 23 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ ตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15–30 เซนติเมตร มีลักษณะใบ เป็นพุ่มใบแบนกว้าง == ประโยชน์ == เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ เปลือกฝักและเมล็ดทำให้อาเจียน ลดไข้ ปลูกเป็นไม้ประดับ == การดูแล == แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อยถึงปานกลาง ควรให้น้ำ 7–10 วัน/ครั้ง ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินปนทราย ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1.2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3–4 ครั้ง === การปลูก === นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนควรปลูกให้ห่างบริเวณบ้านพอสมควรเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้าน สาขากว้างใหญ่ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดินปลูก === การขยายพันธุ์ === การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด === โรคและศัตรู === ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคพอสมควร == ในวรรณกรรม == ==ภาพ== Cassia_bakeriana_(460205595).jpg Pink_Shower_tree_(3512233155).jpg Cassia_bakeriana–_bark.jpg Cassia_bakeriana_growing_in_south_Florida,_USA_02.jpg Cassia_bakeriana_growing_in_south_Florida,_USA_03.jpg Cassia_bakeriana_growing_in_south_Florida,_USA_01.jpg Cassia_bakeriana_growing_in_south_Florida,_USA_05.jpg Cassia_bakeriana_9zz.jpg Cassia_bakeriana_8zz.jpg == ดูเพิ่ม == รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด == อ้างอิง == พระยาวินิจวนันดร (2553). ไม้ประดับที่เป็นของไทย และ ตำนานไม้ต่างประเทศบางชะนิดในเมืองไทย. ใน อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณวิไล อมาตยกุล ท.จ.ว., ภ.ป.ร. ๔ (หน้า 99) กรุงเทพฯ : พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน. http://www.maipradabonline.com/maimongkol/kunrapapouk.htm http://www.itis.usda.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=500059 ITIS 500059 ==แหล่งข้อมูลอื่น== ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี ต้นไม้ประจำจังหวัดของไทย ดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย วงศ์ย่อยราชพฤกษ์
thaiwikipedia
368
พวงหยก
พวงหยก (Jade vine; Emerald creeper; ) เป็นไม้เถาเลื้อยยืนต้น เถาใหญ่ เหนียว แตกกิ่งก้านสาขามาก สามารถเลื้อยได้ไกล 3–6 เมตร ใบออกสลับตามข้อต้นเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ใบ ใบกลางรูปมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สองใบข้าง ลักษณะเกือบครึ่งวงกลมโค้งงอเข้าหาใบกลาง ดอกมีสีเขียวลักษณะคล้ายดอกแคออกเป็นพวง ห้อยระย้าเบียดกันแน่น ยาวประมาณ 30–90 เซนติเมตร ซึ่งมีอกประมาณ 100 ขึ้นไป ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือตอนกิ่งหรือเพาะเมล็ด นิยมปลูกเป็นไม้เลื้อยขึ้นร้าน ศาลาริมน้ำ รั้วบ้านทางเข้าประตู == อ้างอิง == ITIS 500059 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ย่อยถั่ว
thaiwikipedia
369
ตะแบกนา
ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ 15–30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5–7 เซนติเมตร ยาว 12–20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคมถึงกันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือนธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือนมีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด == นิเวศวิทยา == พืชชนิดนี้เป็นพืชที่พบได้ในพื้นที่เขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในประเทศไทยขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้มีขึ้นอยู่มากใน ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนาทั่ว ๆ ไป == ประโยชน์ == เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ==ภาพ== Image:Leaves I IMG 8661.jpg|ใบ Image:Flowers close-up I IMG 8662.jpg|ดอกในระยะใกล้ Image:Bark I IMG 8660.jpg|เปลือกไม้ == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ตะแบก พืชที่ใช้ทำของใช้ ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง ต้นไม้ประจำจังหวัดของไทย
thaiwikipedia
370
เสลา
เสลา [สะ-เหฺลา] หรือ อินทรชิต ( Teijsm. & Binn.) เป็นต้นไม้ขนาดกลางโตช้า ผลัดใบ สูง 1-2 เดคาเมตร เรือนยอดทรงกลมทึบ ใบดก กิ่งโน้มลงรอบทรงพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 16-24 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนมน เนื้อใบหนาปานกลาง เส้นใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกสีม่วง ม่วงอมชมพู หรือม่วงกับขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5-8 แฉก กลีบดอกส่วนใหญ่เป็น 6 กลีบ รูปกลมบางยับย่น ขอบย้วย โคนคอดเป็นก้านสั้น ๆ เมื่อบาน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลรูปเกือบกลม ผิวแข็ง ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแห้งแตกตามยาว 5-6 พู เมล็ดสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก มีปีก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ต้นเสลาขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== ไม้ดอกไม้ประดับ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย ต้นไม้ประจำจังหวัดของไทย วงศ์ตะแบก
thaiwikipedia
371
กระทิง
กระทิง หรือ เมย เป็นวัวป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos gaurus ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) มีรูปร่างใหญ่โตล่ำสัน ขนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขาทั้งสีสี่ขาวเหมือนใส่ถุงเท้า มีความยาวหัว-ลำตัว 2.5-3.3 เมตร หางยาว 0.7-1.05 เมตร ความสูงที่หัวไหล่ 1.65-2.2 เมตร มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หน้าผากเป็นโหนกสีเหลืองอ่อน ตัวผู้ใหญ่กว่าและหนักกว่าตัวเมียราว 25 เปอร์เซ็นต์ หลังคอเป็นโหนกสูงเกิดจากส่วนของกระดูกสันหลังที่ยื่นยาวออกไป == ลักษณะ == มีขนยาว ตัวสีดำหรือดำแกมน้ำตาล เว้นแต่ที่ตรงหน้าผากและครึ่งล่างของขาทั้ง 4 เป็นสีขาวเทา ๆ หรือเหลืองอย่างสีทอง เรียกว่า "หน้าโพ" ขาทั้ง 4 ข้างตั้งแต่เหนือเข่าลงไปถึงกีบเท้ามีสีขาวเทาหรือเหลืองทอง ทำให้มองดูเหมือนสวมถุงเท้า สีขนของกระทิงบริเวณหน้าผากและถุงเท้าเกิดจากคราบน้ำมันในเหงื่อซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ชนิดนี้ คอสั้น และมีพืม (เหนียงคอ) ห้อยยาวลงมาจากใต้คอ เขามีสีเขียวเข้ม ปลายเขามีสีสดบริเวณโคนเขามีรอยย่นซึ่งรอยนี้จะมีมากขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น กระทิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ลูกที่เกิดขึ้นจะมีสีน้ำตาลแกมแดงเหมือนสีขนของเก้ง มีเส้นสีดำพาดกลางหลัง ลูกกระทิงขนาดเล็กจะยังไม่มีถุงเท้าเหมือนกระทิงตัวโต มีความยาวลำตัวและหัว 250–300 เซนติเมตร หาง 70–105 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ 170–185 เซนติเมตร น้ำหนัก 650–900 กิโลกรัม โดยตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของจีน, อินเดีย, ภูฏาน, เนปาล, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย === ชนิดย่อย === Bos gaurus gaurus – พบในอินเดียเนปาลและภูฏาน Bos gaurus readei – พบในตะนาวศรี Bos gaurus hubbacki – พบในไทยและมาเลเซีย == พฤติกรรม == มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2–60 ตัว สมาชิกในฝูงประกอบด้วยตัวเมียและลูก บางครั้งอาจเข้าไปหากินรวมฝูงกับวัวแดง (Bos javanicus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว กระทิงจะอาศัยหากินอยู่ในพื้นที่สูง ขณะที่วัวแดงจะหากินในพื้นที่ราบต่ำกว่า หรือหากินร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ตัวผู้มักอาศัยอยู่ตามลำพังแต่จะเข้าไปอยู่รวมฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ฝูงกระทิงจะเดินหากินสลับไปกับการนอนหลับพักผ่อนตลอดทั้งวัน โดยบางตัวจะนอนหลับท่ายืนหรือนอนราบกับพื้น สามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า ทั้งป่าเบญจพรรณ, ป่าเต็งรัง, ป่าดิบแล้ง, ป่าดิบเขา หรือบางครั้งก็อาจเข้าไปหากินอยู่ตามไร่ร้างหรือป่าที่อยู่ในสภาพฟื้นฟูจากการทำลาย มักหากินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเนื่องจากอดน้ำไม่เก่ง ช่วงฤดูหลังไฟไหม้ป่า จะออกหากินยอดไม้อ่อนและหญ้าระบัดที่มีอยู่มากตามทุ่งหญ้า และป่าเต็งรัง == สถานะ == สถานะในประเทศไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 พบกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น เขาแผงม้า ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ในจังหวัดยะลา เป็นต้น สถานะในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในระดับ CR (Critically Endangered) หมายถึงอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และได้เปลี่ยนให้อยู่ในสถานะมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (VU) แทนในภายหลัง ==ลูกผสม== ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 ได้เกิดมีวัวสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นจำนวน 4 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว ที่เกิดจากที่กระทิงผสมข้ามสายพันธุ์กับวัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง ที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ลูกที่ได้เป็นวัวลูกผสมที่มีรูปร่างใหญ่โต บึกบึน แข็งแรง รูปร่างคล้ายกระทิง แต่ที่ขาทั้ง 4 ข้างไม่มีรอยขาวเหมือนสวมถุงเท้า และในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 ก็มีลูกวัวพันธุ์ผสมกรณีคล้ายกันจำนวน 11 ตัว ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างกระทิงน้ำหนัก 1 ตัน กับวัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กลายเป็นวัวสายพันธุ์ใหม่ที่มีรูปร่างแข็งแรง ล่ำสัน มีความปราดเปรียว แต่ไม่ดุร้าย ซึ่งในทางวิชาการจะนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปในอนาคต และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีรายงานว่า มีลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวแดงเกิดขึ้นในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง โดยลูกที่ได้มีสีที่อ่อนกว่ากระทิง แต่มีลักษณะเหมือนกับกระทิง คือ มีรูปร่างคล้ายคลึงกัน ก้นขาว และขาทั้ง 4 ข้างมีรอยขาว == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ความฝัน, ความตั้งใจและการกลับมาของฝูงกระทิง Gaur 900 - 1700 kg สัตว์ป่าคุ้มครอง วงศ์ย่อยวัวและควาย
thaiwikipedia
372
ใบไม้สีทอง
ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ใบอ่อนมีมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เป็นพืชถิ่นเดียวพบเฉพาะในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลาเป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม ที่น้ำตกบาโจ จังหวัดนราธิวาส == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นเป็นเถาขนาดใหญ่ เติบโตโดยการเกาะเลื้อยพันขึ้นไปผลิใยคลุมเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ในป่า สูงถึง 30 เมตร ใบรูปหัวใจ ปลายใบรูปหัวใจกลับ กว้าง 10 ซม.ยาว 18 ซม. ผิวใบมีขน ละเอียดคล้าย กำมะหยี่สีทองหรือสีเหลืองเคลือบสีเงินปกคลุม ใบมีสองชนิด คือกลุ่มใบสีเขียวทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและกลุ่มใบสีทองซึ่งบริเวณปลายกิ่งขณะยังเป็นใบอ่อนมีสีม่วงแล้วค่อยๆเปลี่ยนเมื่อใบแก่ขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งใบแก่เต็มที่จะเป็นสีคล้ายสีทองแดงระยะสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นสีเงินแล้วจะทิ้งใบ ระยะที่จะเห็นใบเป็นสีทองชัดเจนในช่วงเดือน มิถุนายน -กรกฎาคม ของทุกปี ต้นที่ปรากฏใบสีทองต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี ดอกสีขาวเกิดเป็นช่ออยู่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะคล้าย ดอกเสี้ยว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ช่อหนึ่งๆ มี ตั้งแต่ 10 ดอกขึ้นไปมีกลิ่นหอม ออกดอกประมาณเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักแบบคล้ายฝักดาบ ยาว 23 ซม. กว้าง 6 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม หนึ่งฝักมี ประมาณ 4-6 เมล็ด == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== สกุลชงโค ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
373
สร้อยฟ้า
สร้อยฟ้า สามารถหมายถึง ดอกของเสาวรส ซึ่งเรียกว่า ดอกสร้อยฟ้า สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์ ผู้ประกาศข่าว
thaiwikipedia
374
กล้วยไม้ดิน
กล้วยไม้ดิน (Ground orchid,) เป็นสกุลหนึ่งของพืชในวงศ์กล้วยไม้ พืชในสุกลนี้เป็นญาติกับพืชสกุล Acanthephippium, Bletia, Calanthe, และ Phaius โดยทั่วไปมีถิ่นอาศัยในบอร์เนียว, ประเทศออสเตรเลีย และ หมู่เกาะโซโลมอน ไฟล์:Spathoglottis carolinensis (cropped).jpg|กล้วยไม้ดิน ไฟล์:Spathoglottis plicata kz4.jpg|กล้วยไม้ดิน ไฟล์:Spathoglottis affinis (6115990755).jpg|กล้วยไม้ดิน ไฟล์:Spathoglottis plicata kz4.jpg|กล้วยไม้ดิน ไฟล์:Spathoglottis plicata white flowers.JPG|กล้วยไม้ดิน ไม้ดอกไม้ประดับ พืชแบ่งตามสกุล
thaiwikipedia
375
อาณาจักรอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา หรือ อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยสยาม (ไทยภาคกลาง) ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐชานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน == ที่ตั้ง == กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะซึ่งมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบอยู่ ได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้งสามสาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และอาจถือว่าเป็น "เมืองท่าตอนใน" เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค มีสินค้ากว่า 40 ชนิดจากสงครามและรัฐบรรณาการ แม้ว่าตัวเมืองจะไม่ติดทะเลก็ตาม มีการประเมินว่า ราว พ.ศ. 2143 กรุงศรีอยุธยามีประชากรประมาณ 300,000 คน และอาจสูงถึง 1,000,000 คน ราว พ.ศ. 2243 บางครั้งมีผู้เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า "เวนิสแห่งตะวันออก" ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ที่เคยเป็นเมืองหลวงของไทยนั้น คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาตัวนครปัจจุบันถูกตั้งขึ้นใหม่ห่างจากกรุงเก่าไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร == ประวัติ == === การกำเนิด === ความเป็นมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยานั้นไม่ชัดเจน มีเพียงข้อมูลในลักษณะตำนานในเอกสารของทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ อาทิ พงศาวดารเหนือในส่วนที่เกี่ยวกับพระเจ้าสายน้ำผึ้ง พงศาวดารล้านช้างที่ว่าขุนบรมได้ให้กำเนิดบุตรเจ็ดคนไปครองเมืองต่าง ๆ โดยคนที่ห้าคือ "งัวอิน" ได้ครองเมืองอโยธยา และพงศาวดารราชวงศ์หยวนที่แม้ไม่ปรากฏชื่อ "อโยธยา" แต่ปรากฏชื่อแคว้น "เซียม" และ "หลอโว้ก" ที่อาจหมายถึงแคว้นสุพรรณบุรีและละโว้ การกำเนิดอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุด คือ เป็นรัฐที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเป็นการรวมอำนาจกันระหว่างอาณาจักรละโว้และอาณาจักรสุพรรณภูมิ โดยช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาจจะเพราะภัยโรคระบาดคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายราชสำนักมายังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหนองโสนบนเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำซึ่งในอดีตเคยเป็นนครท่าเรือเดินทะเล ชื่อ อโยธยา นครใหม่นี้ได้รับการขนานนามว่า กรุงพระนครศรีอยุธยา หรือ กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตน ราชธานีบุรีรมย์ หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร ซึ่งภายหลังมักเรียกว่า กรุงศรีอยุธยา แปลความหมายว่า นครที่ไม่อาจทำลายได้ พระบริหารเทพธานี อธิบายว่า ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและก่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่โดยส่งคณะช่างก่อสร้างไปยังอินเดียและได้ลอกเลียนแบบผังเมืองอโยธยามาสร้างและสถาปนาให้มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา ในส่วนวันสถาปนากรุงศรีอยุธยา ที่ผ่านมาได้มีการคำนวณปรับเทียบวันเดือนปีทางจันทรคติที่มีระบุในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ความว่า "ศักราช 712 ขาลศก วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า....." ว่าตรงกับวันศุกร์ที่ "4 มีนาคม จ.ศ. 712" จากนั้นบวก 1181 เข้าไปเพื่อแปลงจุลศักราชให้เป็นพุทธศักราช จึงได้ว่า ตรงกับวันศุกร์ที่ "4 มีนาคม พ.ศ. 1893" และเผยแพร่กันโดยทั่วไปนั้น หากพิจารณาและปรับแก้ให้สอดคล้องกับปฏิทินไทยสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม วันสถาปนาจะตรงกับ วันศุกร์ที่ "12 มีนาคม พ.ศ. 1894 (ค.ศ. 1351)" === การขยายอาณาเขต === ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยาได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจที่สุดแห่งหนึ่งในอุษาคเนย์แผ่นดินใหญ่ และได้เริ่มครองความเป็นใหญ่โดยเริ่มจากการพิชิตราชอาณาจักรและนครรัฐทางเหนือ อาทิ สุโขทัย กำแพงเพชรและพิษณุโลก มีการโจมตีเมืองพระนครแห่งอาณาจักรขอมซึ่งเป็นมหาอำนาจของภูมิภาคในขณะนั้น จนอิทธิพลของอาณาจักรขอมค่อย ๆ จางหายไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอยุธยากลายมาเป็นมหาอำนาจใหม่แทน อย่างไรก็ดี อาณาจักรอยุธยามิได้เป็นรัฐที่รวมเป็นหน่วยเดียวกัน หากเป็นการปะติดปะต่อกันของอาณาเขต (principality) ที่ปกครองตนเอง และประเทศราชที่สวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาภายใต้ปริมณฑลแห่งอำนาจ (Circle of Power) หรือระบบมณฑล (mandala) ดังที่นักวิชาการบางฝ่ายเสนอ อาณาเขตเหล่านี้อาจปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์กรุงศรีอยุธยา หรือผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีกองทัพอิสระของตนเอง ที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนแก่เมืองหลวงยามสงครามก็ได้ อย่างไรก็ดีมีหลักฐานว่า บางครั้งที่เกิดการกบฏท้องถิ่นที่นำโดยเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ท้องถิ่นขึ้นเพื่อตั้งตนเป็นเอกราช อยุธยาก็จำต้องปราบปราม ด้วยไร้ซึ่งกฎการสืบราชสันติวงศ์และมโนทัศน์คุณธรรมนิยม (ในบางสมัย) (meritocracy) อันรุนแรง ทำให้เมื่อใดก็ตามที่การสืบราชสันติวงศ์เป็นที่พิพาท เจ้าปกครองหัวเมืองหรือผู้สูงศักดิ์ (dignitary) ที่ทรงอำนาจจะอ้างคุณความดีของตนรวบรวมไพร่พลและยกทัพมายังเมืองหลวงเพื่อกดดันตามข้อเรียกร้อง จนลงเอยด้วยรัฐประหารอันนองเลือดหลายครั้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 อยุธยาแสดงความสนใจในคาบสมุทรมลายู ที่ซึ่งมะละกาเมืองท่าสำคัญ อยุธยาพยายามยกทัพไปตีมะละกาหลายครั้งแต่ไร้ผล มะละกามีความเข้มแข็งทั้งทางการทูตและทางเศรษฐกิจ ด้วยได้รับการสนับสนุนทางทหารจากราชวงศ์หมิงของจีน หนึ่งในนั้นคือการที่แม่ทัพเรือเจิ้งเหอแห่งราชวงศ์หมิงได้สถาปนาฐานปฏิบัติการแห่งหนึ่งขึ้นที่มะละกา เป็นเหตุให้จีนไม่อาจยอมสูญเสียตำแหน่งยุทธศาสตร์นี้แก่รัฐอื่น ๆ ภายใต้การคุ้มครองนี้ มะละกาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ของอยุธยา กระทั่งถูกโปรตุเกสพิชิตเมื่อ พ.ศ. 2054 === การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง === เริ่มตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 อาณาจักรอยุธยาถูกราชวงศ์ตองอูโจมตีหลายครั้ง สงครามครั้งแรกคือ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เมื่อ พ.ศ. 2091-92 แต่ล้มเหลว การรุกรานครั้งที่สองของราชวงศ์ตองอู หรือเรียกว่า "สงครามช้างเผือก"สมัยพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมจำนน พระบรมวงศานุวงศ์บางส่วนถูกพาไปยังกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสองค์โต ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าประเทศราช เมื่อ พ.ศ. 2112 ราชวงศ์ตองอูรุกรานอีกเป็นครั้งที่สาม และสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาได้ในปีต่อมา หนนี้พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเป็นเจ้าประเทศราช === การฟื้นตัว === ภายหลังที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2124 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศเอกราชแก่กรุงศรีอยุธยาอีกสามปีให้หลัง อยุธยาต่อสู้ป้องกันการรุกรานของรัฐหงสาวดีหลายครั้ง จนในครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปลงพระชนม์เมงจีสวา (Mingyi Swa) อุปราชาของราชวงศ์ตองอูได้ในสงครามยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ. 2135 จากนั้นอยุธยากลับเป็นฝ่ายบุกโดยยึดชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดขึ้นไปจนถึงเมาะตะมะใน พ.ศ. 2138 และล้านนาใน พ.ศ. 2145 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพเข้าไปในพม่าลึกถึงตองอูใน พ.ศ. 2143 แต่ทรงถูกขับกลับมา หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2148 ตะนาวศรีตอนเหนือและล้านนาก็ตกเป็นของอาณาจักรตองอูอีกครั้งใน พ.ศ. 2157 อยุธยาพยายามยึครองล้านนาและตะนาวศรีตอนเหนือกลับคืนระหว่าง พ.ศ. 2205-07 แต่ล้มเหลว การค้าขายกับต่างชาติไม่เพียงแต่ให้อยุธยามีสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แต่ยังได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ด้วย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่กลับสูญเสียการควบคุมเหนือหัวเมืองรอบนอก ผู้ปกครองท้องถิ่นใช้อำนาจของตนอย่างอิสระ และเริ่มกบฏต่อเมืองหลวงมากขึ้น === การล่มสลาย === หลังจากยุคสมัยอันนองเลือดแห่งการต่อสู้ของราชวงศ์ กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ "ยุคทอง" เมื่อศิลปะ วรรณกรรมและการเรียนรู้เฟื่องฟู ยังมีสงครามกับต่างชาติ กรุงศรีอยุธยาสู้รบกับเจ้าเหงียน (Nguyễn Lords) ซึ่งเป็นผู้ปกครองเวียดนามใต้ เพื่อการควบคุมกัมพูชา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2258 แต่ภัยคุกคามที่ใหญ่กว่ามาจากราชวงศ์อลองพญาซึ่งได้ผนวกรัฐชานเข้ามาอยู่ในอำนาจ ช่วง 50 ปีสุดท้ายของราชอาณาจักรมีการสู้รบอันนองเลือดระหว่างเจ้านาย โดยมีพระราชบัลลังก์เป็นเป้าหมายหลัก เกิดการกวาดล้างข้าราชสำนักและแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถตามมา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย บังคับให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พระอนุชาธิราช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ขณะนั้นสละราชสมบัติและขึ้นครองราชย์แทน พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงยกทัพรุกรานอาณาจักรอยุธยา หลังจากอยุธยาว่างเว้นศึกภายนอกมานานกว่า 150 ปี จะมีก็เพียงการนำไพร่พลเข้าต่อตีกันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจเท่านั้น ซึ่งในขณะนั้น อยุธยาเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าเอกทัศกับเจ้าฟ้าอุทุมพร อย่างไรก็ดี พระเจ้าอลองพญาไม่อาจหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนั้น แต่ใน พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ พระราชโอรสแห่งพระเจ้าอลองพญา ทรงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน และเตรียมการกว่าสามปี มุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาต้านทานการล้อมของทัพพม่าไว้ได้ 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการกองทัพรัฐอังวะได้ เนื่องจากมีกำลังมาก และต้องการทำลายศูนย์อำนาจอย่างอยุธยาลงเพื่อป้องกันการกลับมามีอำนาจ อีกทั้งกองทัพอังวะยังติดศึกกับจีนราชวงศ์ชิงอยู่เนือง ๆ หากปล่อยให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อต่อไปอีก ก็จะเป็นภัยแก่อังวะ และมีสงครามไม่จบสิ้น ในที่สุดกองทัพอังวะสามารถเข้าพระนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ในช่วงปี พ.ศ. 2303-2310 มีเหตุการณ์เผาทำลายเมืองและปล้นเมืองไปส่วนใหญ่ โดยในปี พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาทำลายกรุงศรีอยุธยาตามพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทุมาศ (เจิม) ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน หลักฐานอื่น ๆ เช่น คำให้การขุนหลวงหาวัด หนังสือสังคีติยวงศ์ และบันทึกของชาวต่างชาติเช่น โรแบรต์ โกสเต (Robert Goste), ฟร็องซัว-อ็องรี ตูร์แป็ง, และ คุณพ่อกอร์ ที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรและได้บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ โดยตูร์แป็งได้บันทึกไว้ว่า ==รายพระนามพระมหากษัตริย์== พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา มีทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมีรายพระนามดังต่อไปนี้ {| class="wikitable" style="text-align: center;font-size:90%;" |- style="background-color:#DCDCDC;: bold" | colspan= 5
thaiwikipedia
376
ภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนาม (tiếng Việt|links=no เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก อันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการของประเทศเวียดนาม ภาษาเวียดนามมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่ประมาณ 85 ล้านคน คำจำนวนมากมีรากศัพท์ร่วมกับตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษาเวียดนามเป็นภาษาแม่ของประชากรชาวเวียดนาม (ชาวญวน) และยังเป็นภาษาที่สองหรือภาษาแม่ของชนกลุ่มน้อยในประเทศเวียดนาม โดยภาษาเวียดนามแบ่งออกเป็นสามสำเนียงหลัก อันได้แก่ สำเนียงเหนือ (ฮานอย) สำเนียงกลาง (เว้) และสำเนียงภาคใต้ (โฮจิมินห์ซิตี้) ผลจากการอพยพ-ย้ายถิ่นฐาน ทำให้สามารถพบเจอผู้พูดภาษาเวียดนามได้ในพื้นที่ต่างๆในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก, อเมริกาเหนือ, ยุโรป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ภาษาเวียดนามก็ยังได้รับการรองรับให้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในสาธารณรัฐเช็ก เช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ภาษาเวียดนามเป็นภาษาคำโดดที่มีวรรณยุกต์ การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม และมีการผันคำตามไวยากรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้คำนามในรูปแบบลักษณนาม คำศัพท์ในภาษาเวียดนามได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนและภาษาฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก ภาษาเวียดนามเดิมใช้อักษรจื๋อโนมในการเขียน ซึ่งเป็นตัวหนังสือคำที่ดัดแปลงมาจากอักษรจีน (จื๋อฮั๊น) ไว้ใช้สำหรับยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและคำภาษาเวียดนามดั้งเดิมเป็นบางคำ พร้อมกับคิดค้นอักษรเฉพาะขึ้นมาเองในแต่ละท้องถิ่นเพื่อแสดงความหมายของคำอื่นๆนอกเหนือจากที่มีอยู่ ผลจากการล่าอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ทำให้ภาษาเวียดนามต้องเปลี่ยนไปใช้อักษรจื๋อโกว๊กหงือ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรละตินแทน โดยมีทวิอักษรและเครื่องหมายเสริมสัทอักษรไว้แสดงเสียงวรรณยุกต์และเสียงเฉพาะ == การจำแนก == งานภาษาศาสตร์เมื่อ 150 ปีที่แล้ว ได้จัดหมวดหมู่ให้ภาษาเวียดนามเป็นสาขาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร อันเป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (รวมถึงภาษาเขมรที่ใช้พูดในประเทศกัมพูชา, ภาษาชนกลุ่มน้อย-ภาษาท้องถื่นต่างๆ เช่น ภาษามุนดาและภาษาคาซีที่ใช้พูดกันในภูมิภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย, ภาษาอื่น ๆ ภายในประเทศลาว, ทางตอนใต้ของประเทศจีน และพื้นที่บางส่วนในประเทศไทย) ต่อมาการค้นพบว่าภาษาเหมื่องมีความเกี่ยวข้อง-ใกล้ชิดกับเวียดนามมากกว่าภาษามอญ–เขมรภาษาอื่นๆ จึงได้มีการจำแนกออกไปเป็นกลุ่มภาษาเหวียด-เหมื่อง รวมถึงภาษาทะวืง ภาษาชุต ภาษากูออย ฯลฯ คำว่า "เวียตติก" ถูกเสนอขึ้นโดยเฮส์ (1992) ที่เสนอให้มีการจำแนกกลุ่มภาษาเหวียด-เหมื่องเสียใหม่ โดยกำหนดให้สาขาย่อยของกลุ่มภาษาเวียตติก มีเพียงแค่ภาษาเวียดนามและภาษาเหมื่อง ในขณะที่เฌราร์ ดิฟโฟลธ เสนอให้มีการใช้คำว่า "เวียตติก" ซึ่งมีข้อเสนอต่างไปเล็กน้อยในเรื่องของการจัดตระกูลย่อยของภาษา โดยกำหนดให้คำว่า "เหวียด-เหมื่อง" หมายถึงกลุ่มภาษาที่ย่อยลงไป (อยู่ภายในสาขาตระกูลภาษาเวียตติกตะวันออก) อันประกอบไปด้วยภาษาเวียดนาม, ภาษาเหมื่อง และภาษางวน (พบเจอได้ในจังหวัดกว๋างบิ่ญ) == สำเนียงท้องถิ่น == ภาษาเวียดนามมีสำเนียงท้องถิ่นที่หลากหลาย แต่โดยมากถือว่ามี 3 หลัก ดังนี้ ภาษาถิ่นเหล่านี้มีน้ำเสียง การออกเสียง และบางครั้งก็มีคำศัพท์ที่แตกต่างไปบ้าง แต่ภาษาถิ่นเฮว้จะมีคำศัพท์ที่แตกต่างค่อนข้างมากจากภาษาถิ่นอื่น ๆ วรรณยุกต์ "หอย" และ "หงา" มีความแตกต่างในภาคเหนือ แต่กลืนเป็นวรรณยุกต์เดียวกันในภาคใต้ ส่วนพยัญชนะ ch และ tr นั้นจะออกเสียงแตกต่างกันในถิ่นใต้และกลาง แต่รวมเป็นเสียงเดียวในถิ่นเหนือ สำหรับความแตกต่างด้านไวยากรณ์นั้นไม่ปรากฏ == ระบบเสียง == === เสียงสระ === === เสียงพยัญชนะ === เสียงพยัญชนะในภาษาเวียดนามมีหน่วยเสียงตามตารางทางด้านล่าง โดยอักษรทางด้านซ้ายเป็นอักษรที่ใช้เขียนแทนหน่วยเสียงนั้น ๆ ในภาษาเวียดนาม ในขณะที่อักษรด้านขวาเป็นสัทอักษร {| class=wikitable style=text-align:center |- ! colspan=2| ! ริมฝีปาก ! ปุ่มเหงือก ! ปลายลิ้นม้วน ! เพดานแข็ง ! เพดานอ่อน ! เส้นเสียง |- ! colspan=2| นาสิก | m | n | | nh | ng/ngh | |- ! rowspan=3| กัก ! ไม่ก้อง | p | t | tr | ch | c/k/q | |- ! พ่นลม | | th | | | | |- ! ก้อง | b | đ | | | | |- ! rowspan=2| เสียดแทรก ! ไม่ก้อง | ph | x | s | | kh | h
thaiwikipedia
377
อุดมพร พลศักดิ์
พันโทหญิง อุดมพร พลศักดิ์ ชื่อเล่นอร (เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524) อดีตนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย เป็นนักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก โดยได้จากการแข่งขันโอลิมปิก ปี 2004 ที่กรุงเอเธนส์, เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ในการแข่งขันยกน้ำหนัก รุ่นไม่เกิน 53 กก. โดยยกในท่าสแนชได้ 97.5 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์กได้ 125 กก. รวม 222.5 กก. โดยเป็นการทำลายสถิติโอลิมปิก ในท่าคลีนแอนด์เจิร์กของประเภทนี้ด้วย อุดมพร เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ที่จังหวัดนครราชสีมา เริ่มเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสวนหม่อน และศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบุญวัฒนา และโรงเรียนเทพลีลา ก่อนจะมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพจนจบปริญญาตรี ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก 2003 ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา อุดมพรทำได้สองเหรียญทอง โดยทำน้ำหนักได้ 100 กก. ในท่าสแนช และ 222.5 กก. ในน้ำหนักรวม == ชีวิตส่วนตัว == อุดมพร พลศักดิ์ สมรสกับนายชัยรัตน์ ล้อประกานต์สิทธิ์ อดีตนักกีฬายกน้ำหนัก เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้จัดงานฉลองมงคลสมรสที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 10 ม.ค.2552 ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2553 อุดมพร พลศักดิ์ ได้เปิดเผยว่าตนเองได้แท้งลูกเนื่องจากไม่ทราบว่าตั้งครรภ์จึงไม่ทันระวังตัว == คำประจำตัว == ก่อนขึ้นยกน้ำหนักและคว้าเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิก น้องอรตะโกนคำว่า "สู้โว้ย" ออกมาดังๆเพื่อปลุกขวัญกำลังใจ เป็นที่ถูกอกถูกใจแฟนกีฬาชาวไทย คำว่าสู้โว้ยจึงเป็นวลีติดปากของคนไทย และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครราชสีมาที่สำคัญจบจากโรงเรียนบุญวัฒนา == ยศทหาร == พันตรีหญิงแห่งกองทัพบกไทย == เครื่องราชอิสริยาภรณ์ == พ.ศ. 2547 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ตติยดิเรกคุณาภรณ์ == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== Udomporn POLSAK ข้อมูลนักกีฬา จากเว็บไซต์ของ เอเธนส์ 2004 นักยกน้ำหนักชาวไทย นักกีฬาไทยที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา‎ ทหารบกชาวไทย บุคคลจากโรงเรียนเทพลีลา
thaiwikipedia
378
สนเกรวิลเลีย
สนเกรวิลเลีย (; grevillea, ; spider flower; silky-oak; toothbrush) เป็นสกุลที่หลากหลายมีสมาชิกประมาณ 360 ชนิด อยู่ในวงศ์ Proteaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเกาะซูลาเวซี เกาะนิวกินี ออสเตรเลีย และนิวแคลิโดเนีย ตั้งชื่อตามชาลส์ ฟรานซิส เกรวิลล์ (Charles Francis Greville) ==อ้างอิง== ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์เหมือดคน
thaiwikipedia
379
ประเทศเนปาล
ประเทศเนปาล (नेपाल, ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल, สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอเรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565 == ประวัติศาสตร์ == === ยุคโบราณ === === ยุคกลาง === === ราชอาณาจักร === ก่อนปีพ.ศ. 2311 หุบเขากาฐมาณฑุแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร จนกระทั่งผู้นำเผ่ากุรข่า ปฤฐวี นารายัณ ศาห์ สามารถรวบรวมอาณาจักรในหุบเขาเข้าด้วยกัน และหลังจากนั้นได้ทำสงครามขยายอาณาเขตออกไป จนในปี พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2359 เกิดสงครามอังกฤษ-เนปาล กองทัพกุรข่าพ่ายแพ้ ต้องทำสนธิสัญญาและจำกัดอาณาเขตเนปาลเหลือเท่าปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2391 ชัง พหาทุระ รานา ซึ่งเป็นขุนนางในประเทศ ยึดอำนาจจากราชวงศ์ศาห์ โดยยังคงราชวงศ์ศาห์ไว้เป็นประมุขแต่ในนาม ตระกูลรานาได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร เนปาลได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับกองทัพบริเตนในหลายสงคราม ทำให้สหราชอาณาจักรทำสนธิสัญญามิตรภาพกับเนปาลในปี พ.ศ. 2466 ซึ่งในสนธิสัญญานี้ สหราชอาณาจักรได้ยอมรับเอกราชของเนปาลอย่างชัดเจน ในปี พ.ศ. 2494 เกิดการต่อต้านการปกครองของตระกูลรานา นำโดยพรรคเนปาลีคองเกรสและกษัตริย์ตริภุวัน ทำให้โมหัน สัมเสระ ชัง พหาทุระ รานา ผู้นำคนสุดท้ายของตระกูลรานาคืนอำนาจให้แก่กษัตริย์ศาห์ และจัดการเลือกตั้ง หลังจากเนปาลได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในช่วงสั้น ๆ โดยจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2502 แต่กษัตริย์มเหนทระได้ยุบสภา ยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2503 และใช้ระบอบปัญจายัตแทน จนมาถึงการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ. 2533 ทำให้เปลี่ยนจากระบอบปัญจายัต ที่ห้ามมีพรรคการเมือง มาเป็นระบอบรัฐสภาแบบพหุพรรค ในปี พ.ศ. 2539 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ได้เปิดฉากสงครามประชาชน มีเป้าหมายที่จะสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมขึ้นแทนระบอบราชาธิปไตย นำมาซึ่งสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลายาวนานถึงสิบปี ในปี พ.ศ. 2544 เกิดเหตุสังหารหมู่ในพระราชวัง โดยเจ้าชายทิเปนทระ มกุฎราชกุมารในสมัยนั้น และกษัตริย์ชญาเนนทระได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน ในปี พ.ศ. 2548 กษัตริย์ชญาเนนทระได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล นำมาซึ่งการประท้วงจากประชาชนและพรรคการเมืองในเวลาต่อมา จนต้องคืนอำนาจให้กับรัฐสภา รัฐสภาเนปาลได้จำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ และให้เนปาลเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐสภาเนปาลได้ผ่านกฎหมายที่จะเปลี่ยนเนปาลเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยมีผลหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2551 ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 รัฐบาลเนปาลประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ สถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยขึ้น โดยกำหนดให้ชญาเนนทระและอดีตพระบรมวงศานุวงศ์ต้องออกจากพระราชวังภายใน 15 วัน และกำหนดให้วันที่ 28 - 30 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ == การเมืองการปกครอง == ในปัจจุบัน เนปาลเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีนายราม วะรัณ ยาทวะ เป็นประธานาธิบดีคนแรก จากการลงคะแนนเสียงของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 308 เสียง และนายคีรีชา ปราสาท โกอีราละ อดีตรักษาการณ์ประมุขแห่งรัฐทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไป จนมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อันนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมา หรืออดีตกลุ่มกบฏลัทธิเหมา ซึ่งมีนายประจันดา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่หลังจากที่นายประจันดา ต้องการให้อดีตกลุ่มกบฏของเขาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ จึงมีกระแสกดดันมาจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเนปาล และรวมทั้งประธานาธิบดียาดัฟ นายประจันดาจึงประกาศลาออก และสภาได้เลือกนายมาดัฟ กุมาร เนปาล อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิมาร์ก-เลนิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ก่อนครบรอบ 1 ปีของการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐในเนปาล == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศเนปาลแบ่งออกเป็น 7 รัฐ ดังนี้ {| | รัฐกรรณาลี รัฐโกศี รัฐคัณฑกี รัฐพาคมตี รัฐมเธศ รัฐลุมพินี รัฐสุทูรปัศจิม |} == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === พื้นที่เกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 17 พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวเจ้า พื้นที่ 2 ใน 3 ปกคลุมด้วยป่าไม้ มีการตัดไม้เพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมไม้อัด โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่แปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศได้มาจากการค้าแรงงานของชาวเนปาลที่อยู่ต่างประเทศ และส่งเงินกลับมาให้กับครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเนปาล ธุรกิจการท่องเที่ยวมีจุดสนใจอยู่ที่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและวัฒนธรรม เช่นการเดินเขา ปีนเขา และล่องแก่ง ตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเนปาล เช่น เขาเอเวอเรสต์, วัดปศุปตินาถ, วัดสวยัมภูนาถ, พระราชวังกาฐมาณฑุ, เมืองโปขรา, ลุมพินีวัน เป็นต้น == ประชากร == === เชื้อชาติ === กลุ่มเนปาลีชาวเนปาลดั้งเดิมเป็นชนชาติมองโกลอยด์ ผสมกับพวกอินโด-อารยันจากอินเดีย เป็น * อินโด-เนปาลี 52% * ไมกิลิ 11% * โภชปุริ 8% * ถารู 3.6% กลุ่มกิราต เช่น * ราอิ * สุนุวาร์ * ลิมบุ * กุรุง * มอกร์ * เนวาร์ * ตามาง * เซร์ปา * ทากาลิ * ทีมาล === ศาสนา === ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 81% ศาสนาพุทธนิกายมหายาน 11% ศาสนาอิสลาม 4.2% ศาสนาคริสต์ 1.4% == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ประเทศเนปาล จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศไทย ประวัติประเทศเนปาล จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศไทย ภาษาอังกฤษ รัฐบาลเนปาล ข้อมูลเนปาลจากห้องสมุดคองเกรส United States ข้อมูลเนปาลจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ข้อมูลเนปาลจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุก ซีไอเอ ข้อมูลประเทศเนปาลจากแนชันแนลจีโอกราฟิก น น น อนุทวีปอินเดีย รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2311 ประเทศในทวีปเอเชีย
thaiwikipedia
380
โคมญี่ปุ่น
โคมญี่ปุ่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Fuchsia L.; ชื่อสามัญ: Fuchsia) เป็นสกุลของพืชมีดอก มักเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก Fuchsia triphylla, ซึ่งเป็นพืชชนิดแรกที่พบว่าอยู่ในสกุลนี้ ค้นพบครั้งแรกที่เกาะฮิสปานิโอลา (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐโดมินิกันและเฮติ) เมื่อ ค.ศ. 1696–1697 โดยบาทหลวง Minim และนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Charles Plumier และตั้งชื่อสกุลนี้ตามนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เลออนฮาร์ท ฟุคส์ (1501–1566). == อ้างอิง == ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์พญารากดำ
thaiwikipedia
381
จำปี
จำปี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Michelia alba DC.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า จุมปี, จุ๋มปี๋ (ภาคเหนือ) มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน มาเลเซียและอินโดนีเซีย แบ่งเป็นสปีชีส์ได้ประมาณ 50 ชนิด == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องถี่ กิ่งเปราะ หักง่าย เรือนยอดรูปกรวยทึบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบมีรูปรี ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ยาว 20 เซนติเมตร กว้าง 8 เซนติเมตร ออกดอกเดี่ยวที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว แคบเรียบ มี 8-12 กรีบ ยาว 4-6 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง กิ่งมีขนสีเทา ใบเดี่ยวเรียงเวียน หูใบยาวถึง 2.5 เซนติเมตร มีขน ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ถึงแกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 5.5-16 เซนติเมตร ยาว 15.35 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ยาว 3 เซนติเมตร โคนใบสอบเรียว ก้านดอกย่อย ยาว 0-2 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก สีขาว มีกลิ่นหอม กลีบรวม มี 12 กลีบ (อาจพบมี 8 กลีบ) รูปขอบขนาน ปลายแหลมขนาดใกล้เคียงกัน ยาว 3-3.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก 20-32 อัน เกสรเพศเมีย ก้านชูเกสร ยาว 0.5 เซนติเมตร รังไข่มี 10-13 อัน (อาจมี 4 อัน) แยกกัน ผิวเกลี้ยงหรือมีขนสีน้ำตาล ไม่ติดผล จำปี อาจเป็นลูกผสมที่เกิดตามธรรมชาติของ Michelia champaca Blume และ M. Blume ในมาเลเซียหรือชวา เพราะมีลักษณะผสมระหว่าง 2 ชนิดนี้ == สรรพคุณ == ดอกแก้เป็นลม แก้ไข้ บำรุงหัวใจ ขับน้ำดี บำรุงโลหิต == ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา == น้ำมันดอกจำปี มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการสงบในหนูขาว [3] สารLinalool ซึ่งเป็นสารหลักในน้ำมันดอกจำปีมีฤทธิ์สงบประสาทและต้านเชื้อจุลินทรีย์ [4] == ดูเพิ่ม == จำปา == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == รายละเอียดจำปี จากเว็บ panmai.com จำปี-จำปา จากเว็บ กรมส่งเสริมการเกษตร จากเว็บ
thaiwikipedia
382
ประเทศญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น ชื่ออย่างเป็นทางการ ประเทศญี่ปุ่น เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน และทางทิศใต้ติดกับทะเลจีนตะวันออก, ทะเลฟิลิปปิน และประเทศไต้หวัน อาณาเขตของญี่ปุ่นตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนไฟ ครอบคลุมหมู่เกาะประมาณ 14,125 เกาะ ด้วยพื้นที่ 377,975 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยเกาะหลักจำนวน 5 เกาะได้แก่ ฮนชู, ฮกไกโด, ชิโกกุ, คีวชู และโอกินาวะ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 97 ของประเทศ มีกรุงโตเกียวเป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุด เมืองที่มีจำนวนประชากรรองลงมาได้แก่ โยโกฮามะ, โอซากะ, นาโงยะ, ซัปโปโระ, ฟูกูโอกะ, โคเบะ และเกียวโต ตัวอักษรคันจิของชื่อประเทศญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงมีชื่อเรียกว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วย 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ภูมิประเทศกว่าสามในสี่มีลักษณะเป็นภูเขา ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีลักษณะเป็นสังคมเมืองมากที่สุด ด้วยประชากร 125 ล้านคน จึงถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 11 ของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุดในโลก กว่า 14 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว และหากนับรวมเขตอภิมหานครโตเกียวทั้งหมดจะมีประชากรกว่า 40 ล้านคน และด้วยมูลค่าจีดีพีที่สูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้กรุงโตเกียวเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดในโลกทั้งแง่ของจำนวนประชากรและขนาดเศรษฐกิจ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในดินแดนปัจจุบันของญี่ปุ่นตั้งแต่ยุคหินเก่า หรือประมาณ 30,000 ปีก่อนคริสตกาล การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 (บันทึกทางประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ฮั่น) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่น ภาษา การปกครอง และ วัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึงศตวรรษที่ 9 อาณาจักรทั้งหมดรวมกันเป็นปึกแผ่นภายใต้การปกครองของจักรพรรดิและราชวงศ์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เฮอังเกียว ต่อมา ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง พ.ศ. 2411 ญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบบทหารเจ้าขุนมูลนายโชกุนซึ่งปกครองในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิ และการครอบงำของนักรบซะมุไร ประเทศเข้าสู่ระยะแยกอยู่โดดเดี่ยวอันยาวนานในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งยุติใน พ.ศ. 2396 เมื่อกองเรือสหรัฐบังคับให้ประเทศญี่ปุ่นเปิดต่อโลกตะวันตก หลังความขัดแย้งและการก่อการกำเริบภายในเกือบสองทศวรรษ จักรพรรดิได้อำนาจทางการเมืองคืนใน พ.ศ. 2411 ผ่านการช่วยเหลือของหลายตระกูลจากโชชูและซัตสึมะ และมีการสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเมจิและรัฐธรรมนูญเมจิ และเริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมในช่วงเวลานี้ ชัยชนะในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง, สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ญี่ปุ่นขยายจักรวรรดิระหว่างสมัยแสนยานิยมเพิ่มขึ้น สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองปี 2480 ขยายเป็นบางส่วนของสงครามโลกครั้งที่สองในปี 2484 ซึ่งญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในฝ่ายอักษะ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเป็นชาติมหาอำนาจหนึ่งเดียวในเอเชียก่อนจะยุติลงในปี 2488 ด้วยความพ่ายแพ้ในสงครามแปซิฟิกและการทิ้งระเบิดปรมาณูของฝ่ายสัมพันธมิตรนำไปสู่การยอมจำนนของญี่ปุ่น และตกอยู่ภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตรเป็นเวลา 7 ปี และมีการตรารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 ซึ่งนำไปสู่เงื่อนไขการธำรงระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและราชาธิปไตยภายใต้รัฐรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุขแห่งรัฐและสภานิติบัญญัติจากการเลือกตั้ง เรียกว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาตินับแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิกสหประชาชาติ, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, กลุ่ม 7, กลุ่ม 8, กลุ่ม 20, ควอด, พันธมิตรหลักนอกเนโทและถือเป็นชาติมหาอำนาจของโลก เป็นหนึ่งในชาติที่ประชากรมีการศึกษาสูงที่สุดของโลก แม้ญี่ปุ่นสละสิทธิประกาศสงคราม แต่ยังมีกองทหารสมัยใหม่ซึ่งใช้สำหรับป้องกันตนเองและรักษาสันติภาพ และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในกองกำลังที่แข็งแกร่งที่สุดของโลก ญี่ปุ่นเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีมาตรฐานการครองชีพและดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง และเป็นประเทศที่ประชากรมีการคาดหมายคงชีพสูงที่สุดในโลก ทว่ากำลังประสบปัญหาอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำและวิกฤติประชากรสูงวัยในปัจจุบัน ญี่ปุ่นยังเป็นผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนสำคัญในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมญี่ปุ่นยังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เช่น อาหาร, ศิลปะ, ดนตรี, วัฒนธรรมประชานิยม รวมถึงอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ภาพยนตร์, มังงะ, อนิเมะ, เพลง และวิดีโอเกม == ชื่อประเทศ == ในภาษาญี่ปุ่น ชื่อประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า นิปปง (にっぽん) หรือ นิฮง (にほん) ซึ่งใช้คันจิตัวเดียวกันคือ 日本 คำว่านิปปง มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนคำว่า นิฮง จะเป็นศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (日本) " ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับราชวงศ์สุยของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน (Japan), ยาพัน (Japan), ฌาปง (Japon), ฆาปอน (Japón) รวมถึงคำว่า ญี่ปุ่น ในภาษาไทย น่าจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋วที่ออกเสียงว่า "ยิดปุ่น" (ฮกเกี้ยน) หรือ "หยิกปึ้ง" (แต้จิ๋ว) ทั้งหมดล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่า "จีปังกู" แต่ในสำเนียงแมนดารินอ่านว่า รื่อเปิ่นกั๋ว หรือย่อ ๆ ว่า รื่อเปิ่น ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี ออกเสียงว่า "อิลบน" (일본; 日本 Ilbon) และภาษาเวียดนาม ที่ออกเสียงว่า "เหญิ่ตบ๋าน" (Nhật Bản, 日本) จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง == ภูมิศาสตร์ == ประเทศญี่ปุ่นมีเกาะรวม 14,125 เกาะ ทอดตามชายฝั่งแปซิฟิกของเอเชียตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นรวมทุกเกาะตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 24 องศา และ 46 องศาเหนือ และลองจิจูด 122 องศา และ 146 องศาตะวันออก หมู่เกาะหลักไล่จากเหนือลงใต้ ได้แก่ ฮกไกโด, ฮนชู, ชิโกกุ, คีวชู และหมู่เกาะรีวกีวรวมทั้งเกาะโอกินาวะเรียงกันอยู่ทางใต้ของคีวชู รวมกันมักเรียกว่า กลุ่มเกาะญี่ปุ่น พื้นที่ประมาณร้อยละ 73 ของประเทศญี่ปุ่นเป็นป่าไม้ ภูเขาและไม่เหมาะกับการใช้ทางการเกษตร อุตสาหกรรม หรือการอยู่อาศัย ด้วยเหตุนี้ เขตอยู่อาศัยได้ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณชายฝั่งเป็นหลัก จึงมีความหนาแน่นของประชากรสูงมาก ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงสุดของโลกประเทศหนึ่ง เกาะต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตภูเขาไฟบนวงแหวนไฟแปซิฟิก รอยต่อสามโบะโซะ (Boso Triple Junction) นอกชายฝั่งญี่ปุ่นเป็นรอยต่อสามที่แผ่นอเมริกาเหนือ แผ่นแปซิฟิกและแผ่นทะเลฟิลิปปินบรรจบกัน ประเทศญี่ปุ่นเดิมติดกับชายฝั่งตะวันออกของทวีปยูเรเชีย แต่แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงดึงประเทศญี่ปุ่นไปทางตะวันออก เปิดทะเลญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 15 ล้านปีก่อน ประเทศญี่ปุ่นมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ 108 ลูก ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีภูเขาไฟใหม่เกิดขึ้นหลายลูก รวมทั้งโชวะ-ชินซันบนฮกไกโดและเมียวจิน-โชนอกหินบายองเนสในมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวทำลายล้างซึ่งมักทำให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาหลายครั้งทุกศตวรรษ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140,000 คน แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุด ได้แก่ แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 และแผ่นดินไหวในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ซึ่งมีขนาด 9.1 และทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ดัชนีความเสี่ยงโลกปี 2556 จัดให้ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงภัยธรรมชาติสูงสุดอันดับที่ 15 === ภูมิอากาศ === ภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอบอุ่นเป็นหลัก แต่มีความแตกต่างกันมากตั้งแต่เหนือจดใต้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นหกเขตภูมิอากาศหลัก ได้แก่ ฮกไกโด ทะเลญี่ปุ่น ที่สูงภาคกลาง ทะเลเซโตะใน มหาสมุทรแปซิฟิกและหมู่เกาะรีวกีว เขตเหนือสุด ฮกไกโด มีภูมิอากาศแบบทวีปชื้นที่มีฤดูหนาวเย็นและยาวนาน และมีฤดูร้อนอุ่นมากถึงเย็น หยาดน้ำฟ้าไม่หนัก แต่หมู่เกาะมักมีกองหิมะลึกในฤดูหนาว ในเขตทะเลญี่ปุ่นตรงชายฝั่งตะวันตกของฮนชู ลมฤดูหนาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือนำให้หิมะตกหนัก ในฤดูร้อน ภูมิภาคนี้เย็นกว่าเขตแปซิฟิก แม้บางครั้งมีอุณหภูมิร้อนจัดเนื่องจากลมเฟิน (foehn) เขตที่สูงภาคกลางเป็นภูมิอากาศแบบทวีปชื้นในแผ่นดินตรงแบบ มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนมีความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนมาก หยาดน้ำฟ้าเบาบาง แม้ฤดูหนาวปกติมีหิมะตก เขตภูเขาชูโงกุและเกาะชิโกกุกั้นทะเลในแผ่นดินเซโตะจากลมตามฤดูกาล ทำให้มีลมฟ้าอากาศไม่รุนแรงตลอดปี ชายฝั่งแปซิฟิกมีลักษณะภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้นซึ่งมีฤดูหนาวไม่รุนแรง มีหิมะตกบางครั้ง และฤดูร้อนที่ร้อนชื้นเนื่องจากลมฤดูกาลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะรีวกีวมีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน โดยมีฤดูหนาวอบอุ่นและฤดูร้อน หยาดน้ำฟ้าหนักมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 5.1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ 25.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 41.0 องศาเซลเซียส ซึ่งมีบันทึกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2556 ฤดูฝนหลักเริ่มในต้นเดือนพฤษภาคมในโอกินาวะ และแนวฝนจะค่อย ๆ เคลื่อนขึ้นเหนือจนถึงฮกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม ในฮนชูส่วนใหญ่ ฤดูฝนเริ่มก่อนกลางเดือนมิถุนายนและกินเวลาประมาณหกสัปดาห์ ในปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง พายุไต้ฝุ่นมักนำพาฝนตกหนักมา === ความหลากหลายทางชีวภาพ === ประเทศญี่ปุ่นมีเขตชีวภาพป่าเก้าเขตซึ่งสะท้อนภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีตั้งแต่ป่าใบกว้างชื้นกึ่งเขตร้อนในหมู่เกาะรีวกีวและหมู่เกาะโอะงะซะวะระ จนถึงป่าผสมและใบกว้างเขตอุบอุ่นในเขตภูมิอากาศไม่รุนแรงในหมู่เกาะหลัก จนถึงป่าสนเขาเขตอบอุ่นในส่วนฤดูหนาวหนาวเย็นในเกาะทางเหนือ ประเทศญี่ปุ่นมีสัตว์ป่ากว่า 90,000 ชนิด รวมทั้งหมีสีน้ำตาล ลิงกังญี่ปุ่น ทะนุกิ หนูนาญี่ปุ่นใหญ่ และซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น มีการตั้งเครือข่ายอุทยานแห่งชาติขนาดใหญ่เพื่อคุ้มครองพื้นที่สำคัญของพืชและสัตว์ตลอดจนเขตพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์สามสิบเจ็ดแห่ง มีสี่แห่งลงทะเบียนในรายการมรดกโลกของยูเนสโก === สิ่งแวดล้อม === ในช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นโยบายสิ่งแวดล้อมถูกรัฐบาลและบริษัทอุตสาหกรรมลดความสำคัญ ผลทำให้มีมลภาวะสิ่งแวดล้อมแพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 เพื่อสนองต่อความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงริเริ่มกฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหลายฉบับในปี 2513 วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ยังส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้แก่ มลภาวะทางอากาศในเมือง การจัดการขยะ ยูโทรฟิเคชันน้ำ การอนุรักษ์ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การจัดการเคมีและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ ประเทศญี่ปุ่นจัดอยู่ในอันดับที่ 20 ในดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมปี 2561 ซึ่งวัดความผูกมัดของประเทศต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ในฐานะเจ้าภาพและผู้ลงนามพิธีสารเกียวโตปี 2540 ประเทศญี่ปุ่นอยู่ภายใต้ข้อผูกพันตามสนธิสัญญาในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และใช้วิธีการเพิ่มเติมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในปี 2563 รัฐบาลมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 22 แห่ง ภายหลังการปิดกองเรือนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นหลังจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะในปี 2554 ญี่ปุ่นเป็นประเทศปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2593 ปัญหาสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน ได้แก่ มลพิษทางอากาศในเมือง (NOx, อนุภาคแขวนลอย และสารพิษ) การจัดการของเสีย การทำให้น้ำขาดออกซิเจน การอนุรักษ์ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการสารเคมี == ประวัติศาสตร์ == === ยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์โบราณ === วัฒนธรรมยุคหินเก่าประมาณ 30,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์บนกลุ่มเกาะญี่ปุ่นครั้งแรกเท่าที่ทราบ หลังจากนั้นเป็นยุคโจมงเมื่อประมาณ 14,000 ปีก่อน ค.ศ. ที่มีวัฒนธรรมนักล่าสัตว์หาของป่ากึ่งอยู่กับที่ยุคหินกลางถึงยุคหินใหม่ ซึ่งมีลักษณะโดยการอาศัยอยู่ในหลุมและเกษตรกรรมเรียบง่าย รวมทั้งบรรพบุรุษของชาวไอนุและชาวยามาโตะร่วมสมัยด้วย เครื่องดินเผาตกแต่งจากยุคนี้ยังเป็นตัวอย่างเครื่องดินเผาเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ยังเหลือรอดในโลกด้วย ประมาณ 300 ปีก่อน ค.ศ. ชาวยาโยอิเริ่มเข้าสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น ผสมผสานกับโจมง ยุคยาโยอิซึ่งเริ่มตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อน ค.ศ. มีการริเริ่มการปฏิวัติอย่างการทำนาข้าวเปียก เครื่องดินเผาแบบใหม่ และโลหะวิทยาที่รับมาจากจีนและเกาหลี ญี่ปุ่นปรากฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ลายลักษณ์อักษรในฮั่นชู (บันทึกประวัติศาสตร์ฮั่น) ของจีน ตามบันทึกสามก๊ก ราชอาณาจักรทรงอำนาจที่สุดในกลุ่มเกาะญี่ปุ่นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 เรียก ยามาไตโกกุ มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธ เข้าประเทศญี่ปุ่นจากอาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลีปัจจุบัน) และได้รับอุปถัมภ์โดยเจ้าชายโชโตะกุ และการพัฒนาศาสนาพุทธญี่ปุ่นในเวลาต่อมาได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก แม้มีการต่อต้านในช่วงแรก แต่ศาสนาพุทธได้รับการส่งเสริมจากชนชั้นปกครองและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในช่วงต้นยุคอะซุกะ (ค.ศ. 592–710) ยุคนาระ (พ.ศ. 1253–1337) มีการกำเนิดรัฐญี่ปุ่นแบบรวมอำนาจปกครองโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักจักรพรรดิในเฮโจเกียว (จังหวัดนาระปัจจุบัน) ยุคนาระเริ่มมีวรรณคดีตลอดจนการพัฒนาศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ การระบาดของโรคฝีดาษในปี พ.ศ. 1278–1280 เชื่อว่าฆ่าประชากรญี่ปุ่นไปมากถึงหนึ่งในสาม ใน พ.ศ. 1327 จักรพรรดิคัมมุย้ายเมืองหลวงจากนาระไปนางาโอกะเกียว และเฮอังเกียว (นครเกียวโตปัจจุบัน) ใน พ.ศ. 1337 นับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง (พ.ศ. 1337–1728) ซึ่งวัฒนธรรมญี่ปุ่นเฉพาะถิ่นชัดเจนกำเนิด โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ศิลปะ กวีและร้อยแก้ว ตำนานเก็นจิของมูราซากิ ชิกิบุ และ "คิมิงาโยะ" เนื้อร้องเพลงชาติประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ก็มีการเขียนขึ้นในช่วงนี้ ศาสนาพุทธเริ่มแพร่ขยายระหว่างยุคเฮอัง ผ่านสองนิกายหลัก ได้แก่ เท็งไดและชินงง สุขาวดี (โจโดชู โจโดชินชู) ได้รับความนิยมมากกว่าในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 11 === ยุคเจ้าขุนมูลนาย === ยุคเจ้าขุนมูลนาย หรือ ยุคศักดินาของญี่ปุ่นมีลักษณะจากการถือกำเนิดและการครอบงำของชนชั้นนักรบซะมุไร ใน พ.ศ. 1728 จักรพรรดิโกะ-โทะบะทรงแต่งตั้งซะมุไร มินะโมะโตะ โนะ โยริโตโมะ เป็นโชกุน หลังพิชิตตระกูลไทระในสงครามเก็มเป โยริโตโมะตั้งฐานอำนาจในคามากูระ หลังเขาเสียชีวิต ตระกูลโฮโจเถลิงอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธสำนักเซนจากจีนในยุคคามากูระ (พ.ศ. 1728–1876) และได้รับความนิยมในชนชั้นซะมุไร รัฐบาลโชกุนคามากูระขับไล่การบุกครองของมองโกลสองครั้งใน พ.ศ. 1817 และ 1824 แต่สุดท้ายถูกจักรพรรดิโกะ-ไดโงะโค่นล้ม ส่วนจักรพรรดิโกะ-ไดโงะก็ถูกอาชิกางะ ทากาอูจิพิชิตอีกทอดหนึ่งใน พ.ศ. 1879 อาชิกางะ ทากาอูจิตั้งรัฐบาลโชกุนในมูโรมาจิ จังหวัดเกียวโต เป็นจุดเริ่มต้นของยุคมูโรมาจิ (พ.ศ. 1879–2116) รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะรุ่งเรืองในสมัยของอาชิกางะ โยชิมิตสึ และวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนศาสนาพุทธแบบเซ็น (ศิลปะมิยาบิ) แพร่กระจาย ต่อมาศิลปะมิยะบิวิวัฒน์เป็นวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ และเจริญจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21–22) อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลโชกุนอาชิกางะสมัยต่อมาไม่สามารถควบคุมขุนศึกเจ้าขุนมูลนาย (ไดเมียว) ได้ และเกิดสงครามกลางเมือง (สงครามโอนิง) ใน พ.ศ. 2010 เปิดฉากยุคเซ็งโงกุ ("รณรัฐ") ยาวนานนับศตวรรษ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีพ่อค้าและมิชชันนารีคณะเยสุอิตจากประเทศโปรตุเกสเดินทางถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก (การค้านัมบัน) โดยตรง ทำให้โอดะ โนบูนางะได้เทคโนโลยีและอาวุธปืนยุโรปซึ่งเขาใช้พิชิตไดเมียวคนอื่นหลายคน การรวบอำนาจของเขาเริ่มยุคอาซูจิ–โมโมยามะ (พ.ศ. 2116–2146) หลังโนบูนางะถูกอาเกจิ มิตสึฮิเดะลอบฆ่าใน พ.ศ. 2125 โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ผู้สืบทอดของโนบูนางะ รวมประเทศใน พ.ศ. 2133 และเปิดฉากบุกครองเกาหลี 2 ครั้งใน พ.ศ. 2135 และ 2140 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังฮิเดโยชิถึงแก่อสัญกรรม โทกูงาวะ อิเอยาซุตั้งตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนบุตรของฮิเดะโยะชิและใช้ตำแหน่งให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนทางการเมืองและการทหาร อิเอยาซุเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ในยุทธการที่เซกิงาฮาระใน พ.ศ. 2143 ต่อมาใน พ.ศ. 2146 จักรพรรดิโกะ-โยเซจึงทรงแต่งตั้งเขาเป็นโชกุน เขาตั้งรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะในเอะโดะ (กรุงโตเกียวปัจจุบัน) รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะออกมาตรการซึ่งรวมบุเกะโชะฮัตโตะเป็นจรรยาบรรณสำหรับควบคุมไดเมียวอัตตาณัติ และนโยบายซาโกกุ ("ประเทศปิด") ใน พ.ศ. 2182 ซึ่งกินเวลานานสองศตวรรษครึ่งและเป็นยุคเอกภาพทางการเมืองที่เรียก ยุคเอโดะ (พ.ศ. 2146–2411) การศึกษาศาสตร์ตะวันตก ที่เรียก รังงากุ ยังคงมีต่อผ่านการติดต่อกับดินแดนแทรกของเนเธอร์แลนด์ที่เดจิมะในนางาซากิ ยุคเอะโดะยังทำให้โคะกุงะกุ ("การศึกษาชาติ") หรือการศึกษาประเทศญี่ปุ่นโดยคนญี่ปุ่น เจริญด้วย === ยุคใหม่ === วันที่ 31 มีนาคม 2397 พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี และ "เรือดำ" แห่งกองทัพเรือสหรัฐบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศต่อโลกภายนอกด้วยสนธิสัญญาคานางาวะ สนธิสัญญาคล้ายกันกับประเทศตะวันตกในยุคบะกุมะสึนำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง การลาออกของโชกุนนำสู่สงครามโบะชิง และการสถาปนารัฐรวมอำนาจปกครองที่เป็นเอกภาพในนามภายใต้จักรพรรดิ (การฟื้นฟูเมจิ) ประเทศญี่ปุ่นรับสถาบันการเมือง ตุลาการและทหารแบบตะวันตกและอิทธิพลทางวัฒนธรรมตะวันตกรวมเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมขปงะเรทศสำหรับการกลายเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นตะวันตกระหว่างการฟื้นฟูเมจิในปี 2411 คณะรัฐมนตรีจัดตั้งคณะองคมนตรี ริเริ่มรัฐธรรมนูญเมจิ และเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การฟื้นฟูเมจิเปลี่ยนจักรวรรดิญี่ปุ่นให้เป็นมหาอำนาจอุตสาหกรรมซึ่งมุ่งใช้ความขัดแย้งทางทหารเพื่อขยายเขตอิทธิพลของตน หลังคว้าชัยในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437–2438) และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2447–2448) ประเทศญี่ปุ่นเข้าควบคุมไต้หวัน เกาหลีและครึ่งใต้ของเกาะซาฮาลิน ประชากรญี่ปุ่นเพิ่มจาก 35 ล้านคนในปี 2416 เป็น 70 ล้านคนในปี 2478 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตในทวีปเอเชียต่อไปอีก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีช่วง "ประชาธิปไตยไทโช" (พ.ศ. 2455–2469) แต่คริสต์ทศวรรษ 1920 (ประมาณพุทธทศวรรษ 2460) ประชาธิปไตยที่เปราะบางตกอยู่ภายใต้การเลื่อนทางการเมืองสู่ฟาสซิสต์ มีการผ่านกฎหมายปราบปรามการเห็นต่างทางการเมืองและมีความพยายามรัฐประหารหลายครั้ง "ยุคโชวะ" ต่อมาอำนาจของกองทัพเริ่มเพิ่มขึ้นและนำญี่ปุ่นสู่การขยายอาณาเขตและการเสริมสร้างแสนยานุภาพ ตลอดจนเผด็จการเบ็ดเสร็จและลัทธิคลั่งชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ฟาสซิสต์ ในปี 2474 ประเทศญี่ปุ่นบุกครองและยึดครองแมนจูเรีย เมื่อนานาชาติประณามการครอบครองนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในปี 2476 ในปี 2479 ญี่ปุ่นลงนามกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นกับนาซีเยอรมนี และกติกาสัญญาไตรภาคีในปี 2483 เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ หลังพ่ายในสงครามชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่นที่กินเวลาสั้น ๆ ประเทศญี่ปุ่นเจรจากติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น ซึ่งกินเวลาถึงปี 2488 เมื่อสหภาพโซเวียตบุกครองแมนจูเรีย ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และการยาตราทัพเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจากยุทธนาวีแห่งมิดเวย์ (พ.ศ. 2485) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ (ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม 2488 ตามลำดับ) และการรุกรานของสหภาพโซเวียต (วันที่ 8 สิงหาคม 2488) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ ปี 2490 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นวัตรประชาธิปไตยเสรีนิยม การยึดครองญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกในปี 2499 และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2499 หลังสงคราม ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จนถูกประเทศจีนแซงในปี 2553 แต่การเติบโตดังกล่าวหยุดในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อญี่ปุ่นประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 การเติบโตทางบวกส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป วันที่ 11 มีนาคม 2554 ประเทศญี่ปุ่นประสบแผ่นดินไหวครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ ซึ่งยังส่งผลให้เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิชิ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นอีกครั้ง เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงสละราชสมบัติซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคเฮเซ สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะพระราชโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อ และเป็นการเริ่มต้นยุคเรวะอย่างเป็นทางการ == การเมือง == ประเทศญี่ปุ่นมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่จักรพรรดิมีพระราชอำนาจจำกัด ทรงเป็นประมุขในทางพิธีการ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของประชาชน" นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร ส่วนอำนาจอธิปไตยเป็นของชาวญี่ปุ่น จักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ ฟูมิโอะ คิชิดะ สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตั้งอยู่ในชิโยะดะ กรุงโตเกียว สภาฯ ใช้ระบบระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และ ราชมนตรีสภา เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์เป็นต้นไป พรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น (CDP) ที่เป็นเสรีนิยมสังคม และพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม (LDP) ที่เป็นอนุรักษนิยมครองสภาฯ LDP ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเกือบตลอดมาตั้งแต่ปี 2498 ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างปี 2536 ถึง 37 และระหว่างปี 2552 ถึง 2555 ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากกฎหมายจีนมาแต่อดีต และมีพัฒนาการเป็นเอกเทศในยุคเอะโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประชุมราชนีติ ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรป โดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนี เป็นต้นแบบ เช่น ในปี 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน ระบบศาลของญี่ปุ่นแบ่งเป็นสี่ขั้นหลัก คือ ศาลสูงสุดและศาลชั้นล่างสามระดับ ประชุมกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก หกประมวล จากข้อมูลของสหภาพระหว่างรัฐสภา สมาชิกรัฐสภาญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเพศชายและอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ถึง 70 ปี ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 สถานีโทรทัศน์ NHK ของญี่ปุ่นรายงานว่า เรียวสุเกะ ทาคาชิมะ วัย 26 ปี เป็นนายกเทศมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในญี่ปุ่น === การแบ่งเขตการปกครอง === ประเทศญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 จังหวัด และแบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศบาลย่อย ๆ แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยการรวมเทศบาลที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเทศบาลลงได้ การรวมเขตเทศบาลนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เทศบาลในปี 2542 ให้เหลือ 1,773 เทศบาลในปี 2553 ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป {| border="0" cellpadding="3px" cellspacing="2px" style="background:#fff; width:60%; margin:auto;" |- style="text-align:center; background:lightcoral;" ! style="width:25%;"| ฮกไกโด ! style="width:25%;"| โทโฮะกุ ! style="width:25%;"| คันโต ! style="width:25%;"| ชูบุ |- style="text-align:left; vertical-align:top; background:Lavenderblush; font-size:92%;" | 1.  ฮกไกโด | 2.  อาโอโมริ 3.  อิวาเตะ 4.  มิยางิ 5.  อากิตะ 6.  ยามางาตะ 7.  ฟูกูชิมะ | 8.  อิบารากิ 9.  โทจิงิ 10.  กุมมะ 11.  ไซตามะ 12.  ชิบะ 13.  โตเกียว 14.  คานางาวะ | 15.  นีงาตะ 16.  โทยามะ 17.  อิชิกาวะ 18.  ฟูกูอิ 19.  ยามานาชิ 20.  นางาโนะ 21.  กิฟุ 22.  ชิซูโอกะ 23.  ไอจิ |- style="text-align:center; background:lightcoral;" ! style="width:25%;"| คันไซ ! style="width:25%;"| ชูโงกุ ! style="width:25%;"| ชิโกกุ ! style="width:25%;"| คีวชูและโอกินาวะ |- style="text-align:left; vertical-align:top; background:Lavenderblush; font-size:92%;" | 24.  มิเอะ 25.  ชิงะ 26.  เกียวโต 27.  โอซากะ 28.  เฮียวโงะ 29.  นาระ 30.  วากายามะ | 31.  ทตโตริ 32.  ชิมาเนะ 33.  โอกายามะ 34.  ฮิโรชิมะ 35.  ยามางูจิ | 36.  โทกูชิมะ 37.  คางาวะ 38.  เอฮิเมะ 39.  โคจิ | 40.  ฟูกูโอกะ 41.  ซางะ 42.  นางาซากิ 43.  คูมาโมโตะ 44.  โออิตะ 45.  มิยาซากิ 46.  คาโงชิมะ 47.  โอกินาวะ |} === ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ === ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางทูตกับเกือบทุกประเทศเอกราชในโลก และเป็นสมาชิกปัจจุบันของสหประชาชาติตั้งแต่เดือนธันวาคม 2499 ประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิกกลุ่ม 7, เอเปก และ "อาเซียนบวกสาม" และเข้าร่วมประชุมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงความมั่นคงกับประเทศออสเตรเลียในเดือนมีนาคม 2550 และกับประเทศอินเดียในเดือนตุลาคม 2551 เป็นผู้บริจาคความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการรายใหญ่สุดอันดับห้าของโลก โดยบริจาคเงิน 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐ นับแต่สหรัฐและพันธมิตรพิชิตญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสองประเทศธำรงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการกลาโหมอย่างใกล้ชิด สหรัฐเป็นตลาดสำคัญของสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นและเป็นแหล่งนำเข้าหลักของญี่ปุ่น และผูกมัดป้องกันประเทศญี่ปุ่น โดยมีฐานทัพในประเทศญี่ปุ่นบางส่วนด้วยเหตุนั้น ประเทศญี่ปุ่นต่อสู้การควบคุมหมู่เกาะคูริลใต้ (ได้แก่ กลุ่มอิโตะโระฟุ คุนะชิริ ชิโตะคัง และฮะโบะมะอิ) ของประเทศรัสเซีย ซึ่งสหภาพโซเวียตยึดครองในปี 2488 ประเทศญี่ปุ่นรับรู้การยืนยันของประเทศเกาหลีใต้เกี่ยวกับหินลีอังคอร์ท (หรือ "ทะเกะชิมะ" ในภาษาญี่ปุ่น) แต่ไม่ยอมรับ ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับประเทศจีนและประเทศไต้หวันเหนือหมู่เกาะเซ็งกะกุ และกับประเทศจีนเหนือสถานภาพของโอะกิโนะโทะริชิมะ ความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ในอดีตมีความตึงเครียดเนื่องจากการปฏิบัติต่อชาวเกาหลีของญี่ปุ่นในช่วงการปกครองอาณานิคมของญี่ปุ่น โดยเฉพาะการใช้ผู้หญิงเป็นที่ระบายทางเพศ ในปี 2558 ญี่ปุ่นออกคำขอโทษอย่างเป็นทางการ และมอบเงินให้กับผู้หญิงทุกคนที่ตกเป็นเหยือความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าวที่ยังมีชีวิตอยู่ ณ ปี 2562 ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าเพลงเกาหลี (K-pop) ละครโทรทัศน์ และกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่สำคัญของเกาหลีใต้ === การบังคับใช้กฎหมาย === การรักษาความปลอดภัยภายในประเทศญี่ปุ่นนั้นดูแลโดยกรมตำรวจประจำจังหวัดเป็นหลัก ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานประสานงานกลางของกรมตำรวจประจำจังหวัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติบริหารงานโดยคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ หน่วยจู่โจมพิเศษประกอบด้วยหน่วยยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายระดับชาติที่ร่วมมือกับหน่วยต่อต้านอาวุธปืนระดับอาณาเขตและหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของเอ็นบีซี หน่วยยามฝั่งของญี่ปุ่นปกป้องน่านน้ำอาณาเขตรอบ ๆ ญี่ปุ่น และใช้มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการลักลอบนำเข้า อาชญากรรมสิ่งแวดล้อมทางทะเล การรุกล้ำ การละเมิดลิขสิทธิ์ เรือสอดแนม เรือประมงต่างประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาต กฎหมายควบคุมอาวุธปืนและดาบควบคุมความเป็นเจ้าของปืน ดาบ และอาวุธอื่น ๆ ของพลเรือนอย่างเคร่งครัด ตามรายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ในบรรดาประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติที่รายงานสถิติในปี 2561 อัตราอุบัติการณ์ของอาชญากรรมรุนแรง เช่น การฆาตกรรม การลักพาตัว ความรุนแรงทางเพศ และการโจรกรรมนั้นต่ำมากในญี่ปุ่น == กองทัพ == กองทัพญี่ปุ่นถูกจำกัดสิทธิตามมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น ซึ่งสละสิทธิของประเทศญี่ปุ่นในการประกาศสงครามและการใช้กำลังทหารในข้อพิพาทระหว่างประเทศ ฉะนั้น กองทัพญี่ปุ่นที่เรียก "กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น" นั้นจึงเป็นกองทัพที่ไม่เคยสู้รบนอกประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นมีงบประมาณทางทหารสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก จัดเป็นประเทศเอเชียอันดับสูงสุดในดัชนีสันติภาพโลก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปกครองกองทัพ และส่วนใหญ่ประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเป็นผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทะเลริมแพ็ก (RIMPAC) เป็นประจำ ล่าสุดมีการใช้กองทัพเพื่อปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยการวางกำลังในประเทศอิรักเป็นการใช้กองทัพญี่ปุ่นนอกประเทศครั้งแรกนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง สหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการห้ามส่งอาวุธออก เพื่อให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าร่วมโครงการนานาชาติอย่างเครื่องบินขับไล่จู่โจมร่วม (Joint Strike Fighter) ได้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจโลกอย่างรวดเร็วร่วมกับโลกาภิวัตน์ สิ่งแวดล้อมความมั่นคงรอบประเทศญี่ปุ่นทวีความรุนแรงมากขึ้น อันสังเกตได้จากการพัฒนานิวเคลียร์และขีปนาวุธของประเทศเกาหลีเหนือ ภัยคุกคามข้ามชาติซึ่งมีเหตุจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการก่อการร้ายระหว่างประเทศและการโจมตีไซเบอร์ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งกองกำลังป้องกันตนเองได้เข้ามีส่วนร่วมอย่างถึงที่สุด ในความพยายามธำรงและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางทหารใกล้ชิดกับสหรัฐ พันธมิตรความมั่นคงสหรัฐ–ญี่ปุ่นเป็นหลักหมุดของนโยบายการต่างประเทศของชาติ นับแต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2499 ประเทศญี่ปุ่นเคยเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงเป็นเวลารวม 20 ปี วาระล่าสุดในปี 2552 และ 2553 ในเดือนพฤษภาคม 2557 นายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะกล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นต้องการสลัดการวางเฉย ที่ธำรงมาตลอดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติและรับผิดชอบความมั่นคงในภูมิภาคมากขึ้น เขากล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นต้องการมีบทบาทสำคัญและเสนอความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น ความตึงเครียดล่าสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเกาหลีเหนือได้จุดชนวนการถกเถียงรอบใหม่ เรื่องสถานภาพของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและความสัมพันธ์กับสังคมญี่ปุ่น แนวทางกองทัพญี่ปุ่นฉบับใหม่ที่มีประกาศในเดือนธันวาคม 2553 จะชี้นำกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นจากความสนใจสมัยสงครามเย็นต่ออดีตสหภาพโซเวียตสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทดินแดนเหนือหมู่เกาะเซ็งกะกุ == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการทำงานที่ดีของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอันดับที่ 4 รองจากจีน สหรัฐ และอินเดีย เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูง และเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4 ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดา นินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่ง ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้ ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6 และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 29 จาก 190 ประเทศในดัชนีความง่ายในการทำธุรกิจปี 2562 ญี่ปุ่นมีภาคส่วนสหกรณ์ขนาดใหญ่ รวมถึงสหกรณ์ผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดและสหกรณ์การเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ปี 2561 ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่สูงในด้านความสามารถในการแข่งขันและเสรีภาพทางเศรษฐกิจ อยู่ในอันดับ 6 ในรายงานการแข่งขันระดับโลกสำหรับปี 2558-2559 ตารางต่อไปนี้แสดงตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจหลักในปี 1980–2021 (โดยเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณการในปี 2022–2027) อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า 5% เป็นสีเขียว === เกษตรกรรม และประมง === ภาคการเกษตรของญี่ปุ่นมีสัดส่วนประมาณ 1.2% ของจีดีพีทั้งหมด ณ ปี 2561 จากการสำรวจพบว่าที่ดินของญี่ปุ่นเพียง 11.5% เท่านั้นที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกเนื่องจากขาดที่ดินทำกิน จึงมีการใช้ระบบระเบียงเพื่อทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตพืชผลต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุดในโลกโดยมีอัตราการพึ่งตนเองทางการเกษตรประมาณ 50% ณ ปี 2561 ภาคเกษตรกรรมขนาดเล็กของญี่ปุ่นได้รับเงินอุดหนุนและได้รับการคุ้มครองอย่างสูง มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการทำฟาร์มเนื่องจากเกษตรกรมักเป็นผู้สูงวัยและมีความยากลำบากในการหาผู้สืบทอด ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับ 7 ของโลกในด้านปริมาณปลาที่จับได้คิดเป็น 3,167,610 ตันในปี 2559 ลดลงจากค่าเฉลี่ย 4,000,000 ตันต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและคิดเป็นเกือบ 15% ของจำนวนสัตว์น้ำที่จับได้ทั่วโลก ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่าการทำประมงของญี่ปุ่นทำให้ปริมาณปลาของโลกลดลง เช่น ปลาทูน่า ญี่ปุ่นยังจุดชนวนความขัดแย้งดังกล่าวด้วยการสนับสนุนการล่าวาฬอย่างถูกกฎหมาย === การท่องเที่ยว === รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยว โดยทางการญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวให้กับประเทศเป้าหมาย รวมถึงประเทศไทย กระแสไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นน่าจะยังได้รับความนิยมในหมู่คนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนสำคัญ ๆ ทั้งจากมาตรการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวที่ยังคงมีผลบังคับใช้ บวกกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและโปรโมชั่นอัดแน่นจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงอานิสงส์ส่วนหนึ่งก็มาจากเงินเยนที่อ่อนค่า รวมทั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางทัวร์ญี่ปุ่นมากขึ้นทุกปี ญี่ปุ่นดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 31.9 ล้านคนในปี 2562 อยู่ในอันดับที่ 11 ของโลกในปี 2562 ในแง่จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า และตามรายงานความสามารถในการแข่งขันด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวปี 2560 จัดอันดับญี่ปุ่นเป็นอันดับ 4 จาก 141 ประเทศซึ่งสูงที่สุดในเอเชีย === อุตสาหกรรมการผลิต === ญี่ปุ่นมีศักยภาพทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งของ "ผู้ผลิตยานยนต์ เครื่องมือกล เหล็กกล้าและโลหะรายใหญ่ที่สุดและก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุด" ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นคิดเป็นประมาณ 27.5% ของจีดีพี การส่งออกของประเทศสูงเป็นอันดับสามของโลก ณ ปี 2562 ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับสามของโลก ณ ปี 2562 และเป็นที่ตั้งของโตโยต้า บริษัทรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลก อุตสาหกรรมต่อเรือของญี่ปุ่นเผชิญกับการแข่งขันจากเกาหลีใต้และจีน รัฐบาลออกนโยบายในปี 2563 ตั้งเป้าหมายให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางการส่งออกที่เพิ่มกำไร === วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี === ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับ 3 ของโลก ตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นมาเพื่ออยู่รอด สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น และเป็นผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริด ซึ่งได้เทคโนโลยีมาจากเยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียได้น้อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิง ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลคิโบ มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมีโครงการสำคัญมากมายรวมถึงการสำรวจอวกาศ และการสร้างฐานบนดวงจันทร์เพื่อส่งมนุษย์ไปสำรวจและทำภารกิจในปี 2573 ยานอวกาซเซลีนี เปิดตัวใน พ.ศ. 2550 ถือเป็นยานอวกาศลำที่สองของญี่ปุ่นที่ส่งขึ้นสู่ดวงจันทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของดวงจันทร์ ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในชาติผู้นำของโลกในด้านการผลิตหุ่นยนต์ โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 55% ของจำนวนการผลิตทั่วโลก ญี่ปุ่นมีจำนวนนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก คิดเป็นสัดส่วน 14 คนต่อพนักงาน 1,000 คน ญี่ปุ่นยังมีตลาดวิดีโอเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลัก สร้างรายได้ให้แก่ประเทศสูงถึง 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในจำนวนนี้เป็นรายได้จากเกมมือถือสูงถึง 5.8 พันล้านดอลลาร์ == โครงสร้างพื้นฐาน == ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การคมนาคมในประเทศญี่ปุ่น === การคมนาคม === ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบันที่รถไฟชิงกันเซ็งซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา ทางรถไฟญี่ปุ่น ระยะทางรวมทั้งสิ้น 23,474 กิโลเมตรแบ่งเป็น ราง 1.435 เมตร สำหรับวิ่งรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟใต้ดินหลายเมือง ระยะทาง 2,664 กม รางรถไฟ 1.067 เมตร สำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองรถไฟทางใกล ระยะทาง 22,445 กม. ทางด่วนแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่นมีระยะทางทั้งสิ้น 11,520 กิโลเมตร การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยม และมีสนามบิน 173 แห่งทั่วประเทศ สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ มีสายการบินที่สำคัญได้แก่ เจแปนแอร์ไลน์ ในฐานะสายการบินแห่งชาติ และ ออล นิปปอน แอร์เวย์ === พลังงาน === ณ ปี 2560 พลังงาน 39% ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม 25% จากถ่านหิน 23% จากก๊าซธรรมชาติ 3.5% จากพลังงานน้ำ และ 1.5% จากพลังงานนิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ลดลงจากร้อยละ 11.2 ในปี 2553 รัฐบาลเคยมีแผนว่าภายในเดือนพฤษภาคม 2555 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดของประเทศต้องปิดตัว เนื่องจากการคัดค้านของสาธารณชนอย่างต่อเนื่องหลังจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ในเดือนมีนาคม 2554 แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐยังคงพยายามโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชนให้กลับมาให้บริการ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เซนไดเริ่มเปิดใหม่ในปี 2558 และตั้งแต่นั้นมาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกหลายแห่งก็ได้เริ่มดำเนินการใหม่ ญี่ปุ่นขาดเงินสำรองภายในประเทศจำนวนมากและต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้าอย่างหนัก ประเทศจึงมุ่งหวังที่จะกระจายแหล่งที่มาและรักษาระดับพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรัฐบาลยังคงยึดมั่นเจตนารมณ์ที่จะยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2570 ความรับผิดชอบต่อพลังงานน้ำและสุขาภิบาลเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการที่รับผิดชอบด้านการจัดหาน้ำสำหรับใช้ในบ้านเรือน, กระทรวงสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบคุณภาพน้ำโดยรอบและรักษาสิ่งแวดล้อม และกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารที่รับผิดชอบการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบสาธารณูปโภค การเข้าถึงแหล่งน้ำที่ได้รับการปรับปรุงนั้นเป็นสากลในญี่ปุ่น ประมาณ 98% ของประชากรได้รับน้ำประปาจากสาธารณูปโภค และน้ำประปาหลายแห่งในที่สาธารณะสามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย == ประชากร == จากข้อมูลในปี 2563 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 125.7 ล้านคน คนที่ถือสัญชาติญี่ปุ่นมีประมาณ 123 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสายชาวยะมะโตะ และมีชนกลุ่มน้อยเช่นชาวไอนุและชาวรีวกีว รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่าบุระกุ กรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศมีประชากรกว่า 14 ล้านคน (ปี 2564) เป็นส่วนหนึ่งของเขตอภิมหานครโตเกียว ซึ่งเป็นเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากร 38,140,000 คน (ปี 2559) ณ ปี 2562 ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 84 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบีบูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ประชากรวัยทำงานส่วนมากในปัจจุบันไม่นิยมแต่งงาน และไม่มีบุตร จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25) ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี 2550) ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด) การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระเงินบำนาญของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับปรับปรุงของญี่ปุ่น เพื่อปกป้องสิทธิของแรงงานต่างชาติเพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางภาคส่วน === จำนวนประชากร === ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่รายชื่อเมืองในญี่ปุ่นเรียงตามจำนวนประชากร และ จำนวนประชากรญี่ปุ่นแยกตามจังหวัด === ศาสนา === รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นกำหนดให้ประชาชนมีอิสระในการนับถือศาสนา จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นนับถือพุทธชินโตเยอะที่สุดเท่ากับผู้ที่ไม่มีศาสนาในญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตนไม่มีศาสนา ในอดีตศาสนาในญี่ปุ่นถูกผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้าชินโตเพื่อทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน แต่งงานในโบสถ์คริสต์และฉลองในวันคริสต์มาส จัดงานศพแบบพุทธ และบูชาบรรพบุรุษแบบขงจื๊อ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น ศาสนาเทนริเกียว ลัทธิเทนริเกียว และลัทธิโอมชินริเกียว ศาสนาคริสต์เผยแพร่สู่ญี่ปุ่นครั้งแรกโดยสมาชิกนิกายเยซุอิตเริ่มต้นใน พ.ศ. 2092 ในปัจจุบันประชากร 1% ถึง 1.5% เป็นคริสเตียน ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา ธรรมเนียมตะวันตกแต่เดิมเกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ (รวมถึงงานแต่งงานแบบตะวันตก วันวาเลนไทน์ และคริสต์มาส) ได้กลายเป็นที่นิยมในฐานะธรรมเนียมปฏิบัติทางโลกในหมู่ชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก กว่า 90% ของผู้นับถือศาสนาอิสลามในญี่ปุ่นเป็นผู้อพยพที่เกิดในต่างประเทศในปี 2559 และในปี 2561 มีมัสยิดประมาณ 105 แห่ง และมุสลิม 200,000 คนในญี่ปุ่น โดย 43,000 คนเป็นชาวญี่ปุ่นโดยสัญชาติ ศาสนาของชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ได้แก่ ฮินดู ยิว และบาไฮ เช่นเดียวกับความเชื่อเรื่องผีของไอนุ === ภาษา === ประชากรมากกว่าร้อยละ 95 ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการ ภาษาญี่ปุ่นมีวิธีการผันคำกริยาและคำศัพท์ที่แสดงถึงสถานะระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ซึ่งแสดงถึงลักษณะสังคมที่มีระดับขั้นของญี่ปุ่น ภาษาพูดนั้นมีทั้งภาษากลางและสำเนียงของแต่ละท้องถิ่น เช่นสำเนียงคันไซ โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนมักมีวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ ภาษาเขียนของญี่ปุ่นจะใช้ตัวอักษรคันจิ (อักษรจีน) และคานะ รวมทั้งอักษรโรมันและตัวเลขอารบิก การสอนภาษาอังกฤษมีผลบังคับใช้ในทุกโรงเรียนประถมศึกษาของญี่ปุ่นในปี 2563 นอกจากภาษาญี่ปุ่น ภาษาริวกิว (อามามิ คุนิงามิ โอะกินะวะ มิยาโกะ ยาเอยามะ โยนากุนิ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาญี่ปุ่นยังถูกพูดในกลุ่มหมู่เกาะริวกิวอีกด้วย แม้มีเด็กไม่กี่คนที่ได้เรียนรู้ภาษาเหล่านี้ แต่รัฐบาลท้องถิ่นพยายามเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาษาดั้งเดิม ปัญหาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือ การตายของภาษาไอนุ ซึ่งเป็นภาษาที่แยกออกมาต่างหากโดยเหลือเจ้าของภาษาเพียงไม่กี่คนในปี 2557 === การศึกษา === ระบบการศึกษาในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษาถูกนำมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเมจิ ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 การศึกษาภาคบังคับของญี่ปุ่นมีระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ประถมศึกษาจนจบมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อ จากข้อมูลของกระทรวงการศึกษาของญี่ปุ่น (MEXT) ใน พ.ศ. 2547 พบว่าร้อยละ 75.9 ของผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ การศึกษาในญี่ปุ่นเต็มไปด้วยการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบเข้าเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ซึ่งจัดขึ้นโดยโออีซีดี จัดอันดับให้เด็กญี่ปุ่นมีความรู้และทักษะเป็นอันดับ 6 ของโลก มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น เช่น มหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ และ มหาวิทยาลัยเกียวโต เป็นต้น === การรักษาพยาบาล === คุณภาพของระบบรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นมีระดับที่สูงมาก เห็นได้จากอายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรที่สูง และอัตราการตายของทารกที่ต่ำ รัฐบาลกำหนดให้ประชาชนทุกคนทำประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือประกันสำหรับพนักงานบริษัท และประกันที่ทำกับรัฐบาลท้องถิ่น ผู้ป่วยสามารถเลือกแพทย์หรือสถานที่รักษาได้โดยอิสระ ผู้สูงอายุของญี่ปุ่นทั้งหมดได้รับการคุ้มครองด้วยประกันของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2516 แต่ปัจจุบันรัฐบาลต้องปรับระบบประกันเปล่านี้เพื่อรองรับโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ญี่ปุ่นมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก และปัญหาสำคัญอีกประการคือการสูบบุหรี่ในเพศชาย ประชากรญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดโรคหัวใจต่ำที่สุดในกลุ่ม OECD และมีภาวะสมองเสื่อมต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว == วัฒนธรรม == วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิ อุกิโยะ-เอะ ตุ๊กตา เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิ โน บุนระกุ ระกุโงะ และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชา ศิลปการต่อสู้ สถาปัตยกรรม การจัดสวน ดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ญี่ปุ่นมีแหล่งมรดกโลกที่รับรองโดยยูเนสโก 22 แห่ง กว่า 18 แห่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม === ดนตรี === ดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอกินาวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะ โคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอกินาวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากร เซจิ โอะซะวะ นักไวโอลิน มิโดะริ โกะโตนักเปียโน อาเอมิ โคบายาชิ มือกลองวงเอ็กซ์เจแปนและนักเปียโน โยชิกิ ฮายาชิ เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น === วรรณกรรม === วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น ตำนานเก็นจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก ระหว่างยุคเอะโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น โซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น ตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ, ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ, ยะซุนะริ คะวะบะตะ, มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮะรุกิ มุระกะมิ ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ ยะซุนะริ คะวะบะตะ (พ.ศ. 2511) และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537) === ปรัชญา === ปรัชญาญี่ปุ่นในอดีตเป็นการหลอมรวมจากวัฒนธรรมต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนและตะวันตก และองค์ประกอบญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในรูปแบบวรรณกรรม ปรัชญาญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 1,400 ปีมาแล้ว อุดมคติของขงจื๊อยังคงปรากฏชัดในแนวความคิดของญี่ปุ่นสะท้อนผ่านการใช้ชีวิตในสังคม และในการจัดระบบของรัฐบาลและโครงสร้างของสังคม พุทธศาสนาส่งผลกระทบอย่างมากต่อจิตวิทยา อภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ของญี่ปุ่น === ศิลปะ และสถาปัตยกรรม === ศิลปะญี่ปุ่น ได้แก่ ภาพวาดการประดิษฐ์ตัวอักษรสถาปัตยกรรมเครื่องปั้นดินเผาประติมากรรมและทัศนศิลป์อื่น ๆ ที่ผลิตในญี่ปุ่นตั้งแต่ประมาณ 10,000 ปีก่อนคริสตกาล ญี่ปุ่นมีประเพณีศิลปะที่ยาวนานและแตกต่างกันไป แต่มีจุดเด่นในด้านเครื่องเคลือบซึ่งมีการทำเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกและภาพวาดที่ปรากฏตามสิ่งของเครื่องใช้หรือที่เรียกว่า fusuma (ประตูบานเลื่อน หรือผนัง) นอกจากนี้ การประดิษฐ์ตัวอักษร และภาพพิมพ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพอุกิโยะ (“ภาพของโลกลอย”) สถาปัตยกรรมโครงไม้, หยกแกะสลัก, สิ่งทอ และงานโลหะ ก็เป็นเอกลักษณ์และสะท้อนวัฒนธรรมของประเทศ สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นเป็นการผสมผสานระหว่างอิทธิพลในท้องถิ่นและอิทธิพลอื่น ๆ ตามประเพณีนิยม โดยใช้โครงสร้างไม้หรือปูนฉาบยกสูงจากพื้นเล็กน้อย มีหลังคามุงกระเบื้องหรือมุงจาก ศาลเจ้าแห่งอิเสะได้รับการยอมรับในฐานะต้นแบบของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมและอาคารวัดหลายแห่งมีการใช้เสื่อทาทามิและประตูบานเลื่อนเป็นเอกลักษณ์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นได้รวมเอาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แบบตะวันตกเข้าไว้ด้วยกันในการก่อสร้างและการออกแบบ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สถาปนิกชาวญี่ปุ่นได้สร้างความประทับใจให้กับนานาชาติ ด้วยผลงานของ เคนโซะ ทังเงะ === กีฬา === หลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษา ในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่น ซูโม่เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นที่มีประวัติอันยาวนาน และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น ศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่น เช่น ยูโด คาราเต้ และเคนโด้ ก็เป็นกีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมมากเช่นเดียวกัน การแข่งขันเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นในปี 2479 มี 2 ลีก คือเซ็นทรัลลีกและแปซิฟิกลีก ในปัจจุบันเบสบอลเป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในประเทศ ในระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน จะมีการถ่ายทอดการแข่งขันเกือบทุกคืนและมีอัตราผู้ชมรายการที่สูง นอกจากนี้ การแข่งขันเบสบอลมัธยมปลายแห่งชาติญี่ปุ่น หรือที่รู้จักกันในชื่อ "โคชิเอ็ง" (甲子園) ถือเป็นการแข่งขันเบสบอลที่ได้รับความนิยมมาก การแข่งขันขึ้นตรงต่อสมาพันธ์เบสบอลมัธยมปลายญี่ปุ่น ซึ่งแยกตัวเป็นเอกเทศจากสมาพันธ์กีฬามัธยมปลายญี่ปุ่น จึงทำให้โคชิเอ็งฤดูร้อน ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬามัธยมปลายแห่งชาติญี่ปุ่น นักเบสบอลญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุดคือ อิจิโร ซุซุกิ, ฮิเดะกิ มะสึอิ และโชเฮ โอตานิ ตั้งแต่มีการก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่นในปี 2535 ฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ญี่ปุ่นเป็นสถานที่จัดฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ตั้งแต่ปี 2524–2547 และเป็นเจ้าภาพร่วมกับเกาหลีใต้ในการแข่งฟุตบอลโลก 2002 ทีมฟุตบอลญี่ปุ่นเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในเอเชีย ชนะเลิศเอเชียนคัพ 4 ครั้งซึ่งเป็นสถิติสูงสุด และเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 7 ครั้ง โดยเข้าร่วมทุกครั้งตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1998 ถึงฟุตบอลโลก 2022 และทีมฟุตบอลหญิงของญี่ปุ่นยังชนะเลิศฟุตบอลโลกหญิง 2011 ลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่นยังได้รับการยกย่องว่าเป็นลีกที่มาตรฐานสูงที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก ในวงการมอเตอร์สปอร์ต ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จสูง โดยเป็นตัวแทนรถในการชนะการแข่งขันระดับโลก เช่น ฟอร์มูลาวัน, กรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิง, เวิลด์แรลลี่แชมเปี้ยนชิพ และอีกมากมาย นักแข่งรถชาวญี่ปุ่นยังประสบความสำเร็จในรายการนานาชาติ เช่น ฟอร์มูลาวัน และ 24 ชั่วโมง เลอม็อง โดยมีซูเปอร์จีทีเป็นการแข่งชันระดับชาติที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนที่โตเกียวในปี 2507 และโอลิมปิกฤดูหนาวที่ซัปโปโระในปี 2515 และนางาโนะในปี 2541 รวมทั้งเป็นเจ้าภาพการแข่งขันบาสเกตบอลชิงแชมป์โลกปี 2549 และจะเป็นเจ้าภาพร่วมอีกครั้งในปี 2565 โตเกียวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ทำให้เป็นเมืองแรกในเอเชียที่เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกถึงสองครั้ง ประเทศญี่ปุ่นยังได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลกถึงห้าครั้ง มากกว่าประเทศอื่น ๆ ญี่ปุ่นยังถือเป็นประเทศสมาคมรักบี้แห่งเอเชียที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และเป็นเจ้าภาพการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกประจำปี 2563 นอกจากนี้ กอล์ฟ และเทนนิส ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมา === อาหาร === ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ, เท็มปุระ, สุกียากี้, ยะกิโทะริ และ โซบะ เป็นต้น อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่น ทงกะสึ, ราเม็ง, ปลาดิบ และ แกงกะหรี่ญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2549 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่นและอาหารประจำฤดู วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุ, มิโซะ, เต้าหู้ ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น === สื่อ === จากการสำรวจของเอ็นเอชเค ในปี 2558 เกี่ยวกับการดูโทรทัศน์ในญี่ปุ่น พบว่า 79 เปอร์เซ็นต์ของคนญี่ปุ่นดูโทรทัศน์ทุกวัน ละครโทรทัศน์ของญี่ปุ่นได้รับความนิยมทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ รายการยอดนิยมอื่น ๆ อยู่ในประเภทของรายการวาไรตี้ ตลก และรายการข่าว หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายมากที่สุดในโลก ณ ปี 2559 ญี่ปุ่นยังมีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก็อตซิลลา ของอิชิโร ฮนดะ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ระดับนานาชาติของญี่ปุ่นและมีการสร้างภาคต่อและภาคแยกมากมาย และเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ภาพยนตร์ที่ดำเนินมาอย่างยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นและซีรีส์ทางโทรทัศน์ของญี่ปุ่นที่รู้จักกันในชื่ออนิเมะได้รับอิทธิพลจากมังงะญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในฝั่งตะวันตก ญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจด้านแอนิเมชั่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก === วันหยุด === ประเทศญี่ปุ่นมีวันหยุดประจำชาติอย่างเป็นทางการ 16 วัน วันหยุดราชการในญี่ปุ่นถูกควบคุมโดยกฎหมายวันหยุดนักขัตฤกษ์ (国民の祝日に関する法律, Kokumin no Shukujtsu ni Kansuru Hōritsu) พ.ศ. 2491 ญี่ปุ่นใช้ระบบ Happy Monday ซึ่งย้ายวันหยุดประจำชาติจำนวนหนึ่งไปเป็นวันจันทร์เพื่อให้ได้วันหยุดยาว วันหยุดประจำชาติในญี่ปุ่นคือวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม, วันบรรลุนิติภาวะคือวันจันทร์ที่สองของเดือนมกราคม, วันสถาปนาชาติในวันที่ 11 กุมภาพันธ์, วันคล้ายวันประสูติของจักรพรรดิคือ 23 กุมภาพันธ์, วันชุนบุนคือ วันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม, วันโชวะคือวันที่ 29 เมษายน, วันรัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม, วันสิ่งแวดล้อม, 4 พฤษภาคม, วันเด็ก 5 พฤษภาคม, วันทะเลตรงกับวันจันทร์ที่สามของเดือนกรกฎาคม, วันภูเขาตรงกับ 11 สิงหาคมม วันผู้สูงอายุตรงกับวันจันทร์ที่สามของเดือนกันยายน, เทศกาลฉลองฤดูใบไม้ร่วงคือวันที่ 23 หรือ 24 กันยายน, วันสุขภาพและวันกีฬาคือวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคม, วันวัฒนธรรม 3 พฤศจิกายน และวันขอบคุณพระเจ้าในวันที่ 23 พฤศจิกายน == ดูเพิ่ม == ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น มรดกโลกในประเทศญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่น พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่น ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น สมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่น == อ้างอิง == ข้อมูลประเทศญี่ปุ่นจากเวิลด์แฟกต์บุก เว็บไซต์ซีไอเอ สหรัฐอเมริกา == แหล่งข้อมูลอื่น == รัฐบาล JapanGov – The Government of Japan Prime Minister of Japan and His Cabinet Official website The Imperial Household Agency, official site of the Imperial House of Japan National Diet Library ข้อมูลทั่วไป' Japan from UCB Libraries GovPubs Japan profile from BBC News Japan from the OECD ญ ประเทศในระบบซีวิลลอว์ ญ ญี่ปุ่น ญ
thaiwikipedia
383
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (computer graphics) หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ (computing methodology) ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญาณต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง ขั้นตอนแรกเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลอง (modeling) เพื่อแทนความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นให้สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ตามด้วย การแปรเป็นภาพสุดท้าย หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเร็นเดอร์ หรือการเร็นเดอร์ (rendering) เป็นการแปรหรือแสดงผลลัพธ์ทางอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ออกมาเป็นภาพเชิงเรขาคณิตมองเห็น รูปทรง สีสัน ลวดลาย ลายผิว หรือ ลักษณะแสงเงา รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือสิ่งของในภาพ วิชานี้ยังครอบคลุมถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือ แอนิเมชัน งานภาพยนตร์ เกม สื่อประสมภาพและเสียง ศึกษาบันเทิง หรือ ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น ระเบียบวิธีที่นิยมแบ่งเป็นสองวิธีหลัก คือ การใช้หลักการฉายและการใช้หลักการตามรอยละแสง สำหรับวิธีการสร้างภาพโดยใช้หลักการฉาย (projective method) ซึ่งใช้หลักการแปลงพิกัดข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในสามมิติ ให้เป็นข้อมูลที่มีพิกัดสองมิติแล้วแสดงผลบนอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอภาพ เป็นต้น โดยระหว่างการแปลงพิกัดจะมีการคำนวณย่อย เช่น การขริบ (clipping) การขจัดเส้นแฝงผิวแฝง (hidden line/surface removal) และ การทำให้เป็นจุดภาพ (rasterization) เป็นต้น อีกวิธีที่นิยมใช้คือ การตามรอยลำแสง (ray tracing) ซึ่งเป็นการคำนวณโดยอาศัยหลักไล่ตามรอยทางเดินของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงมาตกกระทบที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาหรือกล้อง โดยไล่ตรวจสอบย้อนรอยแสง ไปดูค่าความสว่างของวัตถุที่จะแสดงในแต่ละจุดภาพบนอุปกรณ์แสดงผล == ดูเพิ่ม == เกมคอมพิวเตอร์ (computer game) ศึกษาบันเทิง (edutainment) พีชคณิตเชิงเส้น สื่อประสม (multimedia) ความจริงเสมือน (virtual reality) การประมวลผลภาพ (image processing) คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) การรู้จำภาพ (image recognition) การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล (digital signal processing) ไลบรารี (library) หรือ คลังสำหรับการแสดงผลภาพ GDI OpenGL DirectX เนื้อหาดิจิทัล (digital content) ซิกกราฟ (siggraph) คอมพิวเตอร์กราฟิกส์
thaiwikipedia
384
ไฮโดรเจน
ไฮโดรเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด–เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง ค.ศ. 1766-1781 เฮนรี คาเวนดิชเป็นคนแรกที่สังเกตพบว่า แก๊สไฮโดรเจนเป็นสสารชนิดหนึ่งต่างหาก และจะให้น้ำเมื่อนำไปเผาไหม้ ซึ่งคุณสมบัตินี้เองที่ได้กลายมาเป็นชื่อของไฮโดรเจน ซึ่งเป็นภาษากรีก หมายถึง "ตัวก่อให้เกิดน้ำ" ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ไฮโดรเจนไร้สี ไร้กลิ่น เป็นอโลหะ ไร้รส ไม่มีพิษ และเป็นแก๊สไดอะตอมที่ไวไฟสูง มีสูตรโมเลกุลคือ H2 การผลิตไฮโดรเจนในเชิงอุตสาหกรรมมาจากการนำแก๊สธรรมชาติมาผ่านกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ (steam reforming) เป็นหลัก และจากวิธีการผลิตไฮโดรเจนที่ต้องใช้พลังงานสูงกว่า เช่น การแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ไฮโดรเจนส่วนใหญ่ใช้สอยกันใกล้จุดผลิต กระบวนการเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (นั่นคือไฮโดรแครกกิง) และการผลิตแอมโมเนีย ซึ่งส่วนใหญ่สำหรับตลาดปุ๋ย เป็นภาคที่มีการใช้ไฮโดรเจนมากที่สุด ไฮโดรเจนเป็นความกังวลหนึ่งในโลหะวิทยา เพราะไฮโดรเจนสามารถทำให้โลหะหลายชนิดเปราะได้ ซึ่งทำให้เป็นการยากขึ้นในการออกแบบสายท่อและถังเก็บ == คุณสมบัติ == === การเผาไหม้ === แก๊สไฮโดรเจน (ไดไฮโดรเจนหรือโมเลกุลไฮโดรเจน) ไวไฟสูงและจะเผาไหม้ในอากาศที่มีช่วงความเข้มข้นกว้างมากระหว่างร้อยละ 4 ถึง 75 โดยปริมาตร เอนทัลปีของการเผาไหม้สำหรับไฮโดรเจนคือ -286 กิโลจูลต่อโมล (kJ/mol) 2 H2 (g) + O2 (g) → 2 H2O (l) + 572 kJ (286 kJ/mol) แก๊สไฮโดรเจนก่อตัวเป็นสารผสมระเบิดกับอากาศหากมีความเข้มข้นร้อยละ 4–74 และกับคอลรีนหากมีความเข้มข้นร้อยละ 5–95 สารผสมนี้จะระเบิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อต้องประกายไฟ ความร้อนหรือแสงอาทิตย์ อุณหภูมิจุดระเบิดเองของไฮโดรเจน อุณหภูมิการติดไฟเองในอากาศ คือ 500 °C เปลวไฟไฮโดรเจน–ออกซิเจนบริสุทธิ์ปลดปล่อยแสงอัลตราไวโอเล็ตและมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น เปรียบเทียบได้จากเปลวไฟสีจางของเครื่องยนต์หลักกระสวยอวกาศ กับเปลวไฟที่มองเห็นได้ชัดเจนของจรวดเชื้อเพลิงแข็งกระสวยอวกาศ การตรวจจับการรั่วไหลของไฮโดรเจนที่กำลังเผาไหม้อาจต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ การรั่วไหลเช่นนี้อาจเป็นอันตรายได้มาก เรือเหาะฮินเดนบวร์กเป็นตัวอย่างของการเผาไหม้ไฮโดรเจน สาเหตุนั้นยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ แต่เปลวไฟที่มองเห็นได้นั้นเป็นผลของวัตถุไวไฟในผิวของเรือ เพราะไฮโดรเจนลอยตัวในอากาศ เปลวไฟไฮโดรเจนจึงลอยขึ้นสูงอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดความเสียหายน้อยกว่าเปลวไฟไฮโดรคาร์บอนมาก ผู้โดยสารเรือเหาะฮินเดนบวร์กสองในสามรอดชีวิตจากเหตุไฟไหม้ และการเสียชีวิตจำนวนมากนั้นเกิดจากการตกหรือเชื้อเพลิงดีเซลที่เผาไหม้มากกว่า H2 ทำปฏิกิริยากับธาตุออกซิไดซ์ทุกชนิด ไฮโดรเจนสามารถเกิดปฏิกิริยาตามธรรมชาติอย่างรุนแรงที่อุณหภูมิห้องกับคลอรีนและฟลูออรีน เกิดเป็นเฮไลด์ของไฮโดรเจน คือ ไฮโดรเจนคลอไรด์กับไฮโดรเจนฟลูออไรด์ตามลำดับ ซึ่งมีศักยะเป็นกรดอันตราย === ระดับพลังงานอิเล็กตรอน === ระดับพลังงานที่สถานะพื้นของอิเล็กตรอนในอะตอมไฮโดรเจนมีค่าเท่ากับ -13.6 eV ซึ่งมีค่าเท่ากับโฟตอนจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต ที่มีความยาวคลื่น 92 นาโนเมตร ระดับพลังงานของไฮโดรเจนสามารถคำนวณได้จากแบบจำลองอะตอมของบอร์ ซึ่งได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับอิเล็กตรอนที่วิ่งไปรอบๆโปรตอนเหมือนกับที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ถึงอย่างนั้น แรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่เชื่อมระหว่างโปรตอนและอิเล็กตรอนกับอะตอมไฮโดรเจนอื่น ขณะที่ดาวเคราะห์และเทหวัตถุในอวกาศเชื่อมกับวัตถุอื่นโดยแรงโน้มถ่วง เนื่องด้วยการแบ่งของโมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งถูกตั้งสมมติฐานไว้ในกลศาสตร์ควอนตัมโดยบอร์ อิเล็กตรอนในแบบจำลองของบอร์เท่านั้นที่สามารถรักษาระยะห่างจากโปรตอนไว้ได้ ด้วยพลังงานบางชนิด รายละเอียดที่แน่นอนของอะตอมไฮโดรเจนมาจากกลศาสตร์ควอนตัมบริสุทธิ์ซึ่งเกิดจากการใช้สมการชเรอดิงเงอร์ สมการดีแรก เพื่อคำนวณความเป็นไปได้ของความหนาแน่นของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบโปรตอน การคำนวณอย่างซับซ้อนที่สุดอนุญาตให้มีผลกระทบเล็กน้อยของสัมพัทธภาพพิเศษและโพลาไรซ์สุญญากาศ === สถานะของไฮโดรเจน === ไฮโดรเจนบีบอัด ไฮโดรเจนเหลว โคลนไฮโดรเจน ไฮโดรเจนแข็ง โลหะไฮโดรเจน === สารประกอบไฮโดรเจน === ==== สารประกอบโควาเลนต์และสารประกอบอินทรีย์ ==== เนื่องด้วยไฮโดรเจนไม่ได้ว่องไวในการทำปฏิกิริยามากในภาวะมาตรฐาน แต่มันสามารถทำสารประกอบกับธาตุได้ส่วนมาก ไฮโดรเจนสามารถทำสารประกอบกับธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูง เช่น แฮโลเจน (F, Cl, Br, I) หรือออกซิเจน ในสารประกอบเหล่านี้ไฮโดรเจนแสดงส่วนของประจุบวก เมื่อมีพันธะกับธาตุที่มีประจุลบมากกว่า โดยเฉพาะฟลูออรีน ออกซิเจน หรือไนโตรเจน ไฮโดรเจนสามารถมีส่วนร่วมในรูปแบบของพันธะที่ไม่ใช่พันธะโควาเลนต์ ที่มีความแข็งแรงปานกลางกับธาตุที่มีประจุลบอื่นซึ่งมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าพันธะไฮโดรเจน ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับเสถียรภาพของโมเลกุลชีวภาพจำนวนมาก ไฮโดรเจนยังรวมตัวเป็นสารประกอบกับธาตุที่มีประจุลบน้อยกว่าเช่น โลหะ และกึ่งโลหะ ซึ่งไฮโดรเจนจะแสดงส่วนของประจุลบ สารประกอบเหล่านี้มักถูกเรียกว่าไฮไดรด์ == ประวัติ == ไฮโดรเจนถูกรับรองว่ามีอยู่จริงครั้งแรกโดยเฮนรี คาเวนดิช ในปี ค.ศ. 1766 คาเวนดิชค้นพบมันระหว่างทำการทดลองระหว่างกรดกับปรอท แต่เขาสันนิษฐานผิดพลาดว่าไฮโดรเจนนั้นเป็นสารประกอบของปรอท แต่เขาก็ยังสามารถบรรยายคุณสมบัติต่าง ๆ ของไฮโดรเจนได้อย่างถูกต้อง ต่อมา อองตวน ลาวัวซิเอได้ตั้งชื่อให้กับธาตุนี้ว่าไฮโดรเจน และพิสูจน์ว่าไฮโดรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนประกอบของน้ำ ไฮโดรเจนถูกใช้ประโยชน์ครั้งแรกในการบรรจุในบอลลูน ไฮโดรเจนสามารถเตรียมได้จากการผสมกรดซัลฟิวริกกับเหล็ก ดิวเทอเรียมซึ่งเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน ถูกค้นพบโดย แฮโรลด์ ซี. อูเรย์ (Harold C. Urey) โดยการกลั่นน้ำหลาย ๆ ครั้ง อูเรย์ได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบของเขาในปี ค.ศ. 1934 ในปีเดียวกันนั้น มีการค้นพบทริเทียม ไอโซโทปชนิดที่สามของไฮโดรเจน == การนำไปใช้ประโยชน์ == การใช้กับรถยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ ใช้ในกระบวนการ ไฮโดรจีเนชั่น (Hydrogenation) เพื่อสังเคราะห์น้ำมันพืชและน้ำมันจากสัตว์ ใช้ร่วมกับ คลอรีน เพื่อผลิตไฮโดรเจนคลอไรด์ ใช้ร่วมกับออกซิเจน ในการตัดชิ้นงานใต้น้ำ ไฮโดรเจนเหลวใช้เป็นเชื้อเพลิงของจรวดและเป็นส่วนผสมสำคัญในการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ == ศัพท์เฉพาะของไฮโดรเจน == เป็นชื่อของธาตุชนิดหนึ่ง "H dot" เป็นชื่อเรียกของโมเลกุลชนิดหนึ่งที่พบมากในอวกาศ แต่ไม่พบในโลก โมเลกุล 2 อะตอม ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนบรรยากาศโลก ทางเคมีสามารถเขียนได้ H2 เรียกว่า ไดไฮโดรเจน เพื่อประโยชน์ในการแบ่งแยกกับสารอื่น == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == อะตอมไฮโดรเจน ยานพาหนะพลังไฮโดรเจน สารประกอบไฮโดรเจน เชื้อเพลิง พลังงานทางเลือก ธาตุเคมี
thaiwikipedia
385
ฮีเลียม
ฮีเลียม (Helium) เป็นธาตุเคมีที่มีสัญลักษณ์ว่า He และมีเลขอะตอมเท่ากับ 2 ฮีเลียมเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ เฉื่อย มีอะตอมเดี่ยวซึ่งถูกจัดให้อยู่ในหมู่แก๊สมีสกุลบนตารางธาตุ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของฮีเลียม มีค่าต่ำสุดกว่าบรรดาธาตุทั้งหมดในตารางธาตุ และมันจะปรากฏในอยู่รูปของแก๊สเท่านั้น ยกเว้นในสภาวะที่เย็นยิ่งยวด == ประวัติการค้นพบ == มีการค้นพบฮีเลียม เมื่อ ค.ศ. 1868 ในบรรยากาศรอบดวงอาทิตย์ โดย โจเซฟ นอร์มัน ล็อกเยอร์ เขาได้ทำการทดลองโดยการส่องดวงอาทิตย์สังเกตเห็นเส้นสีเหลืองในสเปคตรัมของดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับธาตุใด ๆ ที่รู้จักกันบนโลก ล็อกเยอร์ ใช้คำศัพท์ภาษากรีกที่เรียกดวงอาทิตย์ (เฮลิออส : Helios) มาตั้งชื่อธาตุนี้ ว่า ฮีเลียม (Helium) นอกจากนี้ เซอร์ วิลเลียม แรมเซย์ ได้ค้นพบฮีเลียมบนโลก (ค.ศ. 1895) โดยเป็นส่วนประกอบที่อยู่ในแร่ยูเรนิไนท์ ซึ่งมีเส้นสเปกตรัมตรงกับที่สังเกตจากดวงอาทิตย์ ฮีเลียมที่มีอยู่ในเอกภพ มีมากเป็นอันดับสองรองจากไฮโดรเจน และมีปริมาณหนาแน่นในดาวฤกษ์ ซึ่งถูกสังเคราะห์ได้จากไฮโดรเจนนั่นเอง โดยอาศัยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น แม้ว่าฮีเลียมจะปรากฏในบรรยากาศของโลกเพียงหนึ่งส่วนใน 186,000 ส่วน (0.0005%) และมีปริมาณน้อยที่ปรากฏในแร่กัมมันตรังสี โลหะจากอุกกาบาต และน้ำพุแร่ และฮีเลียมปริมาณสูงพบได้ในฐานะส่วนประกอบ (มากถึง 7.6%) ในก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในรัฐเท็กซัส นิวเม็กซิโก แคนซัส โอคลาโฮมา แอริโซนา และยูทาห์ นอกจากนั้นพบใน อัลจีเรีย แคนาดา สหพันธรัฐรัสเซีย โปแลนด์ และกาตาร์ == การใช้ประโยชน์ == ก๊าซฮีเลียมมีความหนาแน่นที่ต่ำมาก จึงนำไปใช้บรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทนก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้ ภายหลังจากการระเบิดของเรือเหาะฮินเดนบวร์กของเยอรมนี และทราบสาเหตุว่ามาจากการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจน มีการนำก๊าซฮีเลียมไปผสมในอากาศสำหรับนักดำน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบนด์ (Bends) ฮีเลียมเหลว (ซึ่งมีอุณหภูมิ -269 องศาเซลเซียส) นำไปใช้เกี่ยวกับตัวนำยิ่งยวด (Superconductor) == อ้างอิง == แก๊สมีสกุล ธาตุเคมี
thaiwikipedia
386
ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)
ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ร่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์ และได้ให้ความหมายของ คำประพันธ์ คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกัน ไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ โดยแบ่งเป็น 7 ชนิด คือ โคลง ร่าย ลิลิต กลอน กาพย์ ฉันท์ กล ซึ่งก็คือ ร้อยกรองไทย นั่นเอง ร้อยกรองไทยมีความหมาย 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงการแต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ อีกนัยหนึ่งหมายถึงถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบทบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น กวีนิพนธ์ บทกวี บทประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานต์ กานต์ รวมทั้งคำว่าฉันท์ กาพย์และกลอนด้วย บทความนี้มุ่งให้ความรู้เรื่องลักษณะบังคับของร้อยกรองไทยเป็นสำคัญ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจคำประพันธ์ไทยต่อไป == ตำราฉันทลักษณ์ไทย == ตำราแต่งร้อยกรองไทยที่ถือเป็นตำราหลักเท่าที่ปรากฏต้นฉบับในปัจจุบัน มีอยู่ 7 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นตำราแต่งกวีนิพนธ์แบบฉบับ ได้แก่ จินดามณี ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ชุมนุมตำรากลอน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ประชุมลำนำ ของ หลวงธรรมาภิมณฑ์ ฉันทศาสตร์ ของ นายฉันท์ ขำวิไล ฉันทลักษณ์ ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร คัมภีร์สุโพธาลังการ แปลโดย น.อ.แย้ม ประพัฒน์ทอง == การแบ่งฉันทลักษณ์ == สุภาพร มากแจ้ง ได้วิเคราะห์ฉันทลักษณ์ร้อยกรองไทยไว้อย่างละเอียดใน กวีนิพนธ์ไทย ซึ่งกล่าวว่าการแบ่งฉันทลักษณ์อย่างแคบและนิยมใช้อยู่ทั่วไปจะได้ 5 ชนิดใหญ่ ๆ แต่หากรวมคำประพันธ์ท้องถิ่นเข้าไปด้วยจะได้ 10 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย กานต์ ค่าว กาพย์ (เหนือ) กาบ (อีสาน) กอน (อีสาน) คำประพันธ์ทั้ง 10 ชนิดนี้ ถ้านำมาแบ่งตามลักษณะบังคับร่วมจะได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ไม่บังคับวรรณยุกต์ ได้แก่ ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย และกานต์ กลุ่มที่ 2 บังคับวรรณยุกต์ ได้แก่ โคลง กอน (อีสาน) กาบ (อีสาน) กาพย์ (เหนือ) และค่าว == ลักษณะบังคับ == หมายถึง ลักษณะบังคับที่มีในคำประพันธ์ไทย ได้แก่ ครุ ลหุ เอก โท คณะ พยางค์ สัมผัส คำเป็น คำตาย คำนำ คำสร้อย === ครุและลหุ === ครุ คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) และ สระเกินทั้ง 4 คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น ตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ ลหุ คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วย สระสั้น (รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ === เอก โท === เอก คือพยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้น ซึ่งในโคลง และร่าย ใช้เอกแทนได้ เช่น พ่อ แม่ พี่ ปู่ ชิ ชะ มัก มาก ฯลฯ โท คือพยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น น้า ป้า ช้าง นี้น้อง ต้อง เลี้ยว ฯลฯ === คณะ === คณะ กล่าวโดยทั่วไปคือแบบบังคับที่วางเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์ชนิดนั้น จะต้องมีเท่านั้นวรรค เท่านั้นคำ และต้องมีเอกโท ครุลหุตรงนั้นตรงนี้ แต่สำหรับใน ฉันท์ คำว่า คณะ มีความหมายแคบ คือหมายถึง ลักษณะที่วางคำเสียงหนัก เสียงเบา ที่เรียกว่า ครุ ลหุ และแบ่งออกเป็น 8 คณะ คณะหนึ่งมีคำอยู่ 3 คำ เรียง ครุ ลหุ ไว้ต่างๆ กัน คณะทั้ง 8 นั้น คือ ย ร ต ภ ช ส ม น ชื่อคณะทั้ง 8 นี้ เป็นอักษรที่ย่อมาจากคำเต็ม คือ ย มาจาก ยชมาน แปลว่า พราหมณ์บูชายัญ ร มาจาก รวิ แปลว่า พระอาทิตย์ ต มาจาก โตย แปลว่า น้ำ ภ มาจาก ภูมิ แปลว่า ดิน ช มาจาก ชลน แปลว่า ไฟ ส มาจาก โสม แปลว่า พระจันทร์ ม มาจาก มารุต แปลว่า ลม น มาจาก นภ แปลว่า ฟ้า กำชัย ได้แต่งคำคล้องจองไว้สำหรับจำ คณะ ไว้ดังนี้ ย ยะยิ้มยวน (ลหุ-ครุ-ครุ) ร รวนฤดี (ครุ-ลหุ-ครุ) ส สุรภี (ลหุ-ลหุ-ครุ) ภ ภัสสระ (ครุ-ลหุ-ลหุ) ช ชโลมและ (ลหุ-ครุ-ลหุ) น แนะเกะกะ (ลหุ-ลหุ-ลหุ) ต ตาไปละ (ครุ-ครุ-ลหุ) ม มาดีดี/มาดี ๆ (ครุ-ครุ-ครุ) เมื่อแยกพยางค์แล้ว จะได้ ครุ-ลหุ เต็มตามคณะทั้ง 8 (ชื่อคณะนี้ ไม่สู้จำเป็นในการเรียนฉันทลักษณ์ไทยนัก เพราะมุ่งจำครุ-ลหุกันมากกว่าจำชื่อคณะ เท่าที่จัดมาให้ดูเพื่อประดับความรู้เท่านั้น) === พยางค์ === พยางค์ คือจังหวะเสียง ที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ หรือหน่วยเสียง ที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมาย หรือไม่ก็ตาม คำที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่างๆ นั้น ล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น คำพยางค์นี้ ถ้ามีเสียงเป็น ลหุ จะรวม 2 พยางค์ เป็นคำหนึ่ง หรือหน่วยหนึ่ง ในการแต่งร้อยกรองก็ได้ แต่ถ้ามี เสียงเป็น ครุ จะรวมกันไม่ได้ ต้องใช้พยางค์ละคำ === สัมผัส === สัมผัส คือลักษณะที่บังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน คำที่คล้องจองกันนั้น หมายถึง คำที่ใช้สระ และมาตราสะกดอย่างเดียวกัน แต่ต้องไม่ซ้ำอักษร หรือซ้ำเสียงกัน (สระใอ, ไอ อนุญาตให้ใช้สัมผัสกับ อัย ได้) มี 2 ชนิด คือ สัมผัสนอกและสัมผัสใน 1. สัมผัสนอก ได้แก่คำที่บังคับให้คล้องจองกัน ในระหว่างวรรคหนึ่ง กับอีกวรรคหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งที่ต่างๆ กัน ตามชนิดของคำประพันธ์นั้นๆ สัมผัสนอกนี้ เป็นสัมผัสบังคับ ซึ่งจำเป็นต้องมี จะขาดไม่ได้ ดังตัวอย่าง ที่โยงเส้นไว้ให้ดู เช่น : โคลง : กลอน 2. สัมผัสใน ได้แก่ คำที่คล้องจองกัน และอยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสคู่ เรียงคำไว้ติดต่อกัน หรือจะเป็นสัมผัสสลับ คือเรียงคำอื่น แทรกคั่นไว้ ระหว่างคำที่สัมผัสก็ได้สุดแต่จะเหมาะ ทั้งไม่มีกฎเกณฑ์จำกัดว่า จะต้องมีอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ เหมือนอย่างสัมผัสนอก และไม่จำเป็น จะต้องใช้สระอย่างเดียวกันด้วย เพียงแต่ให้อักษรเหมือนกัน หรือเป็นอักษรประเภทเดียวกัน หรืออักษรที่มีเสียงคู่กัน ก็ใช้ได้ สัมผัสใน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สัมผัสสระและสัมผัสอักษร : 2.1 สัมผัสสระ ได้แก่คำคล้องจองที่มีสระและมาตราสะกดอย่างเดียวกัน เช่น : 2.2 สัมผัสอักษร ได้แก่ คำคล้องจองที่ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกัน หรือตัวอักษร ประเภทเดียวกัน หรือใช้ตัวอักษร ที่มีเสียงคู่กัน ที่เรียกว่า "อักษรคู่" เช่น ข ค ฆ หรือ ถ ท ธ เป็นต้น เช่น :: ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกัน คือใช้อักษรตัวเดียวกันตลอดทั้งวรรค ดังนี้ :: ใช้ตัวอักษรประเภทเดียวกัน คือใช้อักษรที่มีเสียงเหมือนกัน แต่รูปไม่เหมือนกัน เช่น ค ฆ ท ธ ร ล ศ ษ ส เป็นต้น ดังนี้ :: ใช้อักษรที่มีเสียงคู่กัน คือใช้อักษรต่ำ ชนิดอักษรคู่ 14 ตัว กับอักษรสูง 11 ตัว ซึ่งมีเสียงผันเข้ากันได้ เป็นคู่ๆ ดังนี้ :: ตัวอย่างดังนี้ สัมผัสในดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ จึงมิได้มีแบบกำหนดมาแต่โบราณ แต่ถ้าไม่มี ก็ขาดรสไพเราะ ซึ่งเป็นยอดของรส ในเชิงฉันทลักษณ์ เพราะฉะนั้น คำประพันธ์ที่ดี จะขาดสัมผัสในเสียมิได้ เหมือนเกสร เป็นเครื่องเชิดชู ความสวยงามของบุปผชาติฉะนั้น === คำเป็นคำตาย === คำเป็น คือคำที่ไม่มีตัวสะกดประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ในแม่ ก กา และคำที่มีตัวสะกด ในแม่กน กง กม เกย (คำที่มีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกย) รวมทั้ง สระสั้นทั้ง 4 ตัว คือ อำ ใอ ไอ เอาเช่น ตาดำชมเชยคนหุงข้าวเหนียวในครัวไฟ คำตาย คือคำไม่มีตัวสะกดที่ประกอบด้วย สระเสียงสั้น (รัสสระ) ในแม่ ก กา (ยกเว้น อำใอ ไอเอา) และคำที่มีตัวสะกด ในแม่ กก กด กบ เช่น นกกะหรอด กับนกกะปูด จิกพริก (ในการแต่งโคลงทุกชนิด ใช้คำตายแทน เอก ได้) === คำนำ === คำนำ คือคำที่ใช้กล่าวขึ้นต้น สำหรับเป็นบทนำ ในคำประพันธ์ เป็นคำเดียวบ้าง เป็นวลีบ้าง เช่น เมื่อนั้น บัดนั้น โฉมเฉลา น้องเอ๋ยน้องรัก รถเอ๋ยรถทรง ครานั้น สักวา ฯลฯ บางทีก็ใช้คำนามตรงๆ เหมือนอย่าง นามอาลปนะ เช่น สุริยา พระองค์ ภมร ดวงจันทร์ ฯลฯ ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้ === คำสร้อย === คำสร้อย คือคำที่ใช้สำหรับลงท้ายบทหรือท้ายบาทของคำประพันธ์ ซึ่งตามธรรมดา มีคำซึ่งมีความหมายอยู่ข้างหน้าแล้ว แต่ยังไม่ครบจำนวนคำ ตามที่บัญญัติไว้ ในคำประพันธ์ จึงต้องเติมสร้อย เพื่อให้มีคำ ครบตามจำนวน และเป็นการเพิ่มสำเนียงให้ไพเราะ ในการอ่านด้วย คำสร้อยนี้ จะเป็นคำนาม คำวิเศษณ์ คำกริยานุเคราะห์ คำสันธาน หรือคำอุทาน ก็ได้ แต่ถ้าเป็นคำอุทาน ที่มีรูปวรรณยุกต์ ต้องตัดรูปวรรณยุกต์ออก และไม่ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ มิฉะนั้น จะขัดต่อการอ่านทำนองเสนาะ และในการใช้นั้น ควรเลือกคำที่ท่านวาง เป็นแบบฉบับไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คำนาม เช่น พ่อ แม่ พี่ คำกริยานุเคราะห์ เช่น เทอญ นา คำสันธาน เช่น ฤๅ แล ก็ดี คำอุทาน เช่น ฮา แฮ เฮย เอย เวย รา อา นอ คำวิเศษณ์ เช่น บารนี เลย คำสร้อยนี้ ต้องเป็นคำเป็น จะใช้คำตายไม่ได้ และใช้เฉพาะบทประพันธ์ ชนิดโคลง และร่าย เท่านั้น == สุนทรียภาพของฉันทลักษณ์ไทย == คือ แง่ความงามของฉันทลักษณ์เป็นเครื่องยังให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ เกิดจากองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ === สุนทรียรูป === ได้แก่ การเลือกใช้รูปแบบของคำประพันธ์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและอารมณ์ที่ผู้แต่งต้องการสื่อ รวมทั้งความถูกต้องตามแบบแผนของคำประพันธ์ที่เลือกด้วย === สุนทรียลีลา === คือ แง่งามในด้านกระบวนการพรรณนา ซึ่งมีอยู่ 4 กระบวน คือ เสวรจนี กระบวนการชมความงามทั้งของตัวละครและสิ่งต่างๆ นารีปราโมช กระบวนการเล้าโลมเกี้ยวพาราสีหรือพูดให้เพลิดเพลิน พิโรธวาทัง กระบวนการตัดพ้อ โกรธขุ่นเคือง เยาะเย้ย เหน็บแนม สัลลาปังคพิไสย กระบวนการคร่ำครวญ โศกเศร้า พร่ำเพ้อ อาลัยอาวรณ์ === สุนทรียรส === คือ แง่งามด้านอารมณ์สะเทือนใจ อันเกิดจากกระบวนการพรรณนา และกลวิธีการประพันธ์ที่เหมาะสม มีอยู่ 9 รส คือ สิงคารรส ( รสแห่งความรัก ) หาสยรส ( รสแห่งความตลกขบขัน ) กรุณารส ( รสแห่งความเมตตากรุณา ) รุทธรส ( รสแห่งความโกรธ ) วีรรส ( รสแห่งความกล้าหาญ ) ภยานกรส ( รสแห่งความกลัว ) วิภัจฉารส ( รสแห่งความเกลียดชัง ขยะแขยง ) อัพภูตรส ( รสแห่งความพิศวง อัศจรรย์ ) สันตรส ( รสแห่งความสงบ เยือกเย็น บริสุทธิ์ ) == ขนาด == ฉันทลักษณ์ในงานร้อยกรอง มีขนาดลดหลั่นกัน ดังนี้ คือ บท → บาท → วรรค → คำ เฉพาะในคำประพันธ์ประเภทกลอน มักเรียกว่า คำกลอน แทนคำว่า บาท คำประพันธ์ส่วนใหญ่ กำหนด 1 บท เป็น 2 บาท และ 1 บาท เป็น 2 วรรค แต่ยังมีคำประพันธ์อีกไม่น้อย ที่กำหนดบาทแตกต่างไปจากนี้ โดยแต่ละบาทจะมีชื่อเรียกกำกับ ว่า บาทเอก บาทโท บาทตรี บาทจัตวา บางครั้งอาจใช้จำนวนนับแทน เช่น บาทที่หนึ่ง บาทที่สอง เป็นต้น == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/poemt.html http://klon.thailandschool.org/category/ฉันทลักษณ์/ กวีนิพนธ์ ภาษาไทย
thaiwikipedia
387
ผีเสื้อราตรี (ไม้ล้มลุก)
ผีเสื้อราตรี หรือ ปีกผีเสื้อ เป็นไม้ล้มลุก มีหัว มีใบประกอบคล้ายนิ้วมือ มักจะหุบใบในเวลากลางคืน ใบมีลักษณะประกอบคล้ายสามเหลี่ยม โดยมีมุมแหลมชนกัน มีสีชมพู - ม่วง ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยก้านดอกออกจากก้านลำต้น มีสีชมพูม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ 5-6 ตัว ==ดูเพิ่ม== ผีเสื้อแสนสวย ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์กระทืบยอด
thaiwikipedia
388
เฟรดเดอริก โพห์ล
เฟรดเดอริก โพห์ล (Frederik Pohl) (เกิด 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919) เป็นบรรณาธิการ และนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐ. ในวัยหนุ่ม เขาอาศัยอยู่ในมหานครนิวยอร์ก และเป็นสมาชิกของกลุ่ม Futurians. นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
389
ไซริล เอ็ม คอร์นบลู๊ท
ไซริล เอ็ม คอร์นบลู๊ท (Cyril Mary Kornbluth) (July 2, 1923 - March 21, 1958 -- นามปากกา: Cecil Corwin และ S.D. Gottesman) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ และหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญของกลุ่ม Futurians. คอร์นบลู๊ทเกิดที่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
390
ไอแซค อสิมอฟ
ดร.ไอแซค อาซิมอฟ (Isaac Asimov; Айзек Азимов Ayzek Azimov; IPA: ; 2 มกราคม พ.ศ. 2463-6 เมษายน พ.ศ. 2535) นักเขียนและนักชีวเคมีชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซียที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในฐานะนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ และหนังสือแนววิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ หนังสือชุดสถาบันสถาปนา รวมทั้งหนังสืออีก 2 ชุด นั่นคือ หนังสือชุดจักรวรรดิเอ็มไพร์ และ หนังสือชุดหุ่นยนต์ นอกจากนี้เขายังได้เขียนนิยายแนวลึกลับและแฟนตาซี รวมทั้งสารคดีอีกจำนวนมาก เขาได้เขียนหนังสือในหมวดใหญ่ๆ ของระบบทศนิยมดิวอี้ทุกแนวเนื้อหา เว้นก็แต่แนวปรัชญาเท่านั้น อาซิมอฟถือเป็นนักเขียนรุ่นใหญ่ในบรรดานักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ โดยจัดอยู่ในแนวหน้า เช่นเดียวกับ โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ และอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ซึ่งถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม (Big Three) ในหมู่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงชีวิตของเขา == ประวัติ == ไอแซค อาซิมอฟ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2463 ที่เมืองเปโตรวิชิ ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในรัสเซีย ห่างจากกรุงมอสโคว์ไปทางตะวันตกประมาณ 200 ไมล์ เมื่ออายุ 3 ขวบ พ่อของเขาได้อพยพครองครัวไปอยู่ที่บรูคลิน สหรัฐอเมริกา เพราะคิดว่าจะสร้างความหวังใหักับอนาคตของลูกๆ ได้ดีกว่า พ่อของเขาหารายได้จากการเปิดร้านขายลูกกวาด ส่วนอาซิมอฟเองก็เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษจากโรงเรียนสอนไวยากรณ์ ไอแซค อาซิมอฟ อ่านหนังสือออกเมื่ออายุ 5 ขวบ และเป็นเด็กคนเดียวที่อ่านหนังสือออกทันทีเมื่อเข้าเรียนชั้นประถมต้น ภายหลังจากนั้น เขาก็อ่านหนังสืออย่างไม่เลือกประเภท และเริ่มเรียนข้ามชั้น เมื่ออาซิมอฟเรียนข้ามชั้น บรรดาครูก็รู้ว่าเขาเรียนเร็วเกินกว่าเด็กอายุรุ่นราวคราวเดียวกันถึงสองปีครึ่ง จนถึงอายุ 8 ปี ก็สอบผ่านและได้รับสัญชาติอเมริกัน ไอแซค อาซิมอฟ เริ่มรู้จักอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ จากนิตยสาร Science Wonder Stories และนี่เองคือการเริ่มต้นชีวิตในงานประพันธ์ด้านนี้ของเขา เมื่ออายุ 11 ขวบ เขาก็เริ่มเขียนหนังสือ แต่ลงมือเขียนไปได้ไม่มากนักก็ต้องทิ้งค้างไว้อย่างนั้น แต่ทว่าในปีต่อมาเขาได้ไปที่สำนักงานนิตยสาร Astounding Scicene Fiction ซึ่งเป็นนิตยสารเสนอนิยายวิทยาศาสตร์ชั้นนำอยู่ขณะนั้น เพื่อดูว่าทำไมหนังสือฉบับเดือนมิถุนายนจึงออกช้านัก ผลจากการไปเยี่ยมสำนักพิมพ์ Astounding Science Fiction ก็คือ ทำให้เขาต้องกลับมาเขียนเรื่องที่เคยเขียนทิ้งค้างไว้นั้นต่อจนจบ และเมื่อเขียนจบ เขาก็เอาต้นฉบับไปส่งให้บรรณาธิการ จอห์น แคมเบลล์ จูเนียร์ (John Campbell Jr.) ซึ่งต่อมาคือหนึ่งในบรรดาบรรณาธิการนิตยสารนิยายวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จอห์น แคมเบลล์ จูเนียร์ เกิดรู้สึกต้องชะตาและสนใจตัวอาซิมอฟขึ้นมาทันที และผลจากงานเขียนแรกทำให้ ไอแซค อาซิมอฟ เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ขึ้นอีก 6 เรื่องในชั่วเวลา 4 เดือน และก็ประสบความสำเร็จในการขายเรื่องแรกให้นิตยสารดังกล่าวสมความปรารถนา อาซิมอฟ เรียนจบมัธยมปลายตั้งแต่อายุไม่ถึง 16 และเมื่ออายุ 19 อาซิมอฟ ก็เรียนจบได้ปริญญา จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ด้านวิทยาศาสตร์เคมี จากนั้นก็เขาศึกษาต่อระดับปริญญาโทและจบด้วยวัยเพียง 21 ปีเท่านั้น อาซิมอฟตั้งใจเรียนปริญญาเอกทันที แต่ขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น เขาจึงต้องไปทำงานด้านเคมีให้กองทัพสหรัฐที่ฟิลาเดลเฟียช่วงหนึ่งจนหมดภาระ จึงได้กลับไปเรียกด๊อกเตอร์จบเมื่อปี พ.ศ. 2482 ขณะอายุ 29 ปี ต่อมาเขาได้แต่งงานกับ เกอร์ทรูด ภรรยาคนแรก และทำงานอยู่ในห้องทดลองที่ฟิลาเดลเฟีย เขาได้เป็นอาจาย์สอนวิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยบอสตัน และได้เป็นรองศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2492 ปี พ.ศ. 2495 เขาก็เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ เรื่อง "รัตติกาล" และเล่มแรกในเรื่องสั้น ชุด "หุ่นยนต์" ซึ่งอาจจัดเป็นชุดเรื่องสั้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ต่อมาก็เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ขนาดยาว 3 เล่มจบ คือ ชุด "สถาบันสถาปนา" อันลือชื่อ ในปี พ.ศ. 2501 อาซิมอฟก็ได้ทิ้งอาชีพสอนหนังสือ และหันมาเขียนหนังสือเต็มเวลา จนหนังสือเล่มแล้วเล่มเล่า ตลอดจนบทความต่างๆ หลั่งไหลออกมามากมาย นอกจากหนังสือวิชาการทางวิทยาศาสตร์ นิยายวิทยาศาสตร์ อาซิมอฟยังมีผลงานเขียนประเภทอื่นที่แทบไม่น่าเชื่ออีกด้วย อาทิเช่น เขาเขียนคำอธิบายประกอบบทละครต่างๆ ของเชกสเปียร์ วิจารณ์ พาราไดซ์ ลอสท์ ของมิลตัน ดอนฮวน ของไบรอน ตลอดจนวิจารณ์คัมภีร์ไบเบิลในแง่ของนักวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังเขียนเรื่องทางประวัติศาสตร์ นิยายฆาตกรรมลึกลับ เรื่องสำหรับเด็ก เรื่องตลก และรวมเรื่องสัปดน ที่ตั้งชื่อไว้ว่า 8ถูกวางยา ในปี ค.ศ. 1992 อาซิมอฟก็พบว่าเขามีก้อนมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ และต้องผ่าตัด เขาวิตกกังวลมาก และอาจเป็นเพราะความวิตกกังวลประการนี้ ทำให้ขณะอยู่ในโรงพยาบาลก่อนทำการผ่าตัด อาซิมอฟได้เขียนนิยายฆาตกรรมลึกลับขึ้นมาได้สำเร็จอีกเรื่องหนึ่ง ผลงานของอาซิมอฟได้ผสมผสานความสามารถทั้งในฐานะนักเขียนและ นักวิทยาศาสตร์เขาด้วยกันจนออกมาได้เป็นผลงานอันดีเยี่ยม และกลายเป็นประจักษ์พยานแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนทำให้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมเกี่ยวกับ "นิยายวิทยาศาสตร์" นับครั้งไม่ถ้วน โดยได้รับรางวัลฮิวโก 4 ครั้ง รางวัลเนบิวลา 1 ครั้ง หนังสือที่อาซิมอฟเขียนไว้มีเกือบ 500 เรื่อง และที่เป็นบทความอีกหลายร้อยชิ้น อาซิมอฟเสียชีวิตลงเมื่อ วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1992 ขณะที่อายุ 72 ปี ก่อนเสียชีวิตเขาได้เขียนอัตชีวประวัติชื่อ It’s been a good Life ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2002 สิบปีหลังจากการจากไปของเขา ในหนังสือเล่มนี้เปิดเผยว่าสาเหตุที่เขาเสียชีวิตมาจากหัวใจและไตล้มเหลว ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคถูกวางยา เขาได้ติดเชื้อในกระแสเลือดและเนื้อเยื่อในสมองอักเสพ จากการ (Heart bypass operation) อาซิมอฟปรารถนาจะให้สาธารณชนรับทราบเรื่องนี้เพื่อเป็นอุทธาหรณ์ แต่นายแพทย์ประจำตัวคัดค้านและต้องการให้เรื่องนี้เป็นความลับ อย่างไรก็ตาม 5 เดือนต่อมาความปรารถนาครั้งสุดท้ายของเขาจึงกลายเป็นความจริง == การสร้างงานเขียน == งานเขียนของอาซิมอฟสามารถแบ่งได้เป็นหลายยุค ในช่วงแรกๆ เขาอุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่งานเขียนนิยายวิทยาศาสตร์โดยเริ่มจากการเขียนเรื่องสั้นในปี ค.ศ. 1939 และเริ่มเขียนนวนิยายในปี ค.ศ. 1950 ไปจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1958 หลังจากที่เขาได้พิมพ์เรื่อง นครสุริยะ เขาก็เริ่มงานเขียนแนวอื่นในราวปี ค.ศ. 1952 อาซิมอฟเป็นผู้แต่งร่วมให้กับตำราเรียนระดับวิทยาลัยได้แก่ Biochemistry และ Human Metabolism ครั้นถึงปี ค.ศ. 1957 เมื่อดาวเทียมสปุตนิกของสหภาพโซเวียตได้ขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก เขาก็เริ่มหันไปเขียนบทความวิทยาศาสตร์ทันยุค รวมถึงจัดทำหนังสือและนิตยสาร งานประพันธ์นิยายวิทยาศาสตร์ของเขาเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ เป็นเวลากว่า 25 ปีซึ่งเขาได้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์เพิ่มเพียง 4 เรื่องเท่านั้น จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1982 เขาก็หันมาเขียนนิยายวิทยาศาสตร์อีกครั้งโดยเริ่มจาก Foundation's Edge หลังจากนั้นจนกระทั่งถึงวันที่เขาเสียชีวิต อาซิมอฟได้เขียนเรื่องชุดต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ในนวนิยายก่อนหน้าของเขาอีกหลายเรื่อง โดยพยายามเชื่อมโยงเรื่องทั้งหมดเข้าด้วยกัน แม้จะมีเรื่องราวบางจุดที่ยังไม่ค่อยสอดคล้องกันอยู่บ้างโดยเฉพาะในงานเขียนยุคแรกๆ ของเขา อาซิมอฟเชื่อว่าแนวคิดที่ยั่งยืนที่สุดของเขาคือ "กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์" และเรื่องชุดสถาบันสถาปนา พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ดให้เกียรติแก่ผลงานของเขาโดยบรรจุคำว่า โพสิตรอนิก (positronic) (เทคโนโลยีที่มีแต่ในนิยายเท่านั้น) อนาคตประวัติศาสตร์ (psychohistory) (คำนี้มีที่ใช้หมายถึงศาสตร์ที่ศึกษาความเคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์) และ โรโบติกส์ (robotics) ลงไปในพจนานุกรม อาซิมอฟเลือกใช้คำว่า โรโบติกส์ โดยไม่ได้คาดคิดว่ามันจะกลายเป็นคำต้นแบบที่ใช้กันต่อๆ มา ในเวลานั้นเขาเพียงแต่คิดว่ามันเป็นคำง่ายๆ เหมือนอย่าง แมคานิกส์ หรือไฮดรอลิกส์ พอเอามาใช้กับหุ่นยนต์ก็เลยเป็นโรโบติกส์ คำนี้ได้เข้ามาอยู่ในแวดวงทางเทคนิคพร้อมกับคำจำกัดความตามแนวคิดของอาซิมอฟด้วย ซึ่งต่างจากคำว่า "อนาคตประวัติศาสตร์" ในเรื่อง สตาร์เทรค: The Next Generation มีหุ่นแอนดรอยด์ซึ่งมี "สมองโพสิตรอน" ซึ่งถือเป็นการให้เกียรติแก่อาซิมอฟอย่างเต็มที่ที่ได้ "คิดค้น" เทคโนโลยีในนิยายนี้ขึ้น === ผลงานนวนิยายวิทยาศาสตร์ === อาซิมอฟเริ่มอ่านนิยายวิทยาศาสตร์จาก pulp magazines ซึ่งขายในร้านขนมของที่บ้านตั้งแต่ ค.ศ. 1929 เขาเริ่มเข้าสู่โลกของนิยายไซไฟในราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยได้เข้าร่วมกลุ่มที่ต่อมากลายเป็นกลุ่มฟิวเจอเรียน เขาเริ่มเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องแรกคือ Cosmic Corkscrew ในปี ค.ศ. 1937 แต่เขียนไม่จบ จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1938 จึงเกิดแรงบันดาลใจจะทำต่อหลังจากได้ไปเยี่ยมสำนักงานของ Astounding Science Fiction เขาเขียน Cosmic Corkscrew จบในวันที่ 19 มิถุนายนและส่งเรื่องไปให้บรรณาธิการของ Astounding คือ จอห์น ดับเบิลยู. แคมป์เบล ด้วยตัวเองในอีกสองวันถัดไป แคมป์เบลปฏิเสธ Cosmic Corkscrew แต่ก็ได้ให้กำลังใจอาซิมอฟให้เขียนต่อไป และเขาก็เขียน เขาขายนิยายเรื่องที่สามของเขาคือ Marooned Off Vesta ให้แก่นิตยสาร Amazing Stories ได้ในเดือนตุลาคม มันได้ตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 เขายังคงเขียนนิยายต่อไปและบางครั้งขายต้นฉบับให้สำนักพิมพ์นิยายวิทยาศาสตร์หลายๆ แห่ง ค.ศ. 1941 เขาได้ตีพิมพ์นิยายเรื่องที่ 32 ของเขาคือ รัตติกาล ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น "นิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดตลอดกาล" ค.ศ. 1968 นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาลงคะแนนโหวตให้ รัตติกาล เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ประเภทเรื่องสั้นที่ดีที่สุดที่เคยเขียนกันมา ในหนังสือรวมเรื่องสั้นของเขาชุด รัตติกาลกับเรื่องอื่นๆ อาซิมอฟเขียนไว้ว่า "การเขียนเรื่อง รัตติกาล'' เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิชาชีพของผม... ผมตระหนักขึ้นมาทันทีว่านี่เป็นเรื่องจริงจัง และโลกนิยายวิทยาศาสตร์ได้รับรู้ถึงตัวตนของผมแล้ว อันที่จริง เมื่อผ่านไปอีกหลายปีจึงได้ชัดเจนขึ้นว่า ผมได้เขียนเรื่อง 'คลาสสิก' ขึ้นมาแล้ว" === วิทยาศาสตร์ทันยุค === === งานเขียนอื่น === === แนวทางในงานเขียน === == ผลตอบรับและคำวิจารณ์ == == รางวัลที่ได้รับ == == การดัดแปลงผลงาน == == ดูเพิ่ม == กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ จักรวาลของอสิมอฟ ลำดับเรื่องในจักรวาลของอสิมอฟ บรรณพิภพในจักรวาลของอสิมอฟ รายชื่อผลงานของไอแซค อสิมอฟ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == อาซิมอฟออนไลน์ เว็บไซต์ทางการของไอแซค อาซิมอฟ ไอแซค อาซิมอฟ จาก Internet Speculative Fiction Database หุ่นยนต์ยุคใหม่ กับกฎ 3 ข้อของอาซิมอฟ นักเขียนชาวอเมริกัน นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน นักเขียนชาวยิว บุคคลจากนครนิวยอร์ก บุคคลจากแคว้นสโมเลนสค์ สมาชิกเมนซา เสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจหลอดเลือด เสียชีวิตจากโรคไต บุคคลที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์
thaiwikipedia
391
อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก
เซอร์ อาร์เธอร์ ชาลส์ คลาร์ก (Sir Arthur Charles Clarke; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1917 – 19 มีนาคม ค.ศ. 2008) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งผลงานของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่นิยายชุด จอมจักรวาล (Space Odyssey) และชุด ดุจดั่งอวตาร (Rendezvous with Rama) ผลงานเขียนนวนิยายของคลาร์ก มีความริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์จำนวนมากได้แรงบันดาลใจจากนิยายของคลาร์ก เช่น ดาวเทียม การสำรวจอวกาศ ลิฟต์อวกาศ คลาร์ก อาศัยอยู่ที่กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา เขาเดินทางเข้ามาอยู่ประเทศนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 และพักอาศัยอยู่อย่างถาวรจนได้รับสัญชาติศรีลังกา ชาวศรีลังกาถือว่าเขาเป็น "ความภูมิใจของลังกา" มอบรางวัล The Lankabhimanaya award (Pride of Lanka) ให้เป็นเกียรติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ช่วงบั้นปลายชีวิต คลาร์กป่วยด้วยโรคโปลิโอต้องนั่งบนรถเข็นตลอดเวลา เขาเสียชีวิตเมื่อเช้ามืดของวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ด้วยวัย 90 ปี ศพของเขาทำพิธีฝังอย่างเรียบง่าย ไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา == วงโคจรคลาร์ก == ชื่อของคลาร์ก ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของ วงโคจรคลาร์ก (clarke belt) หรือวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary orbit - GEO) เป็นวงโคจรที่ดาวเทียมส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ นำเสนอแนวคิดเป็นครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1928 โดย Herman Potočnik วิศวกรชาวสโลวีเนีย และเป็นที่รู้จักจากบทความที่คลาร์กเป็นผู้เขียน ชื่อ "Extra-Terrestrial Relays — Can Rocket Stations Give Worldwide Radio Coverage?" ตีพิมพ์ในหนังสือ Wireless World ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945 คลาร์กนำเสนอแนวคิดในการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ด้วยการใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง โคจรเหนือเส้นศูนย์สูตร ในตำแหน่งที่ทำมุมซึ่งกันและกัน 120 องศา ที่ความสูง 42,164 กิโลเมตร วัดจากจุดศูนย์กลางของโลก หรือประมาณ 35,787 กิโลเมตร (22,237 ไมล์) จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โคจรไปพร้อมกับโลกด้วยความเร็วเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง (Synchronous orbit) และตำแหน่งของดาวเทียมจะคงที่ตลอดเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับโลก == ผลงาน == === นวนิยาย === Prelude to Space (1951) The Sands of Mars (1951) Islands in the Sky (1952) Against the Fall of Night (1948, 1953) original version of The City and the Stars, ชื่อไทย "ประหนึ่งจะเย้ยรัตติกาล" Childhood's End (1953), ชื่อไทย "สุดสิ้นกลิ่นน้ำนม" Earthlight (1955), ชื่อไทย "แสงโลก" The City and the Stars (1956) The Deep Range (1957) A Fall of Moondust (1961), ชื่อไทย "นรกใต้ทะเลฝุ่น" Dolphin Island (1963) Glide Path (1963) 2001: A Space Odyssey (1968), ชื่อไทย "2001 จอมจักรวาล" Rendezvous with Rama (1972), ชื่อไทย "ดุจดั่งอวตาร" Imperial Earth (1975) The Fountains of Paradise (1979), ชื่อไทย "สู่สวรรค์" 2010: Odyssey Two (1982), ชื่อไทย "2010 จอมจักรวาล" The Songs of Distant Earth (1986) 2061: Odyssey Three (1988), ชื่อไทย "2061 จอมจักรวาล" A Meeting with Medusa (1988) Cradle (1988) (with Gentry Lee) Rama II (1989) (with Gentry Lee) Beyond the Fall of Night (1990) (with Gregory Benford) The Ghost from the Grand Banks (1990) The Garden of Rama (1991) (with Gentry Lee) Rama Revealed (1993) (with Gentry Lee) The Hammer of God (1993) Richter 10 (1996) (with Mike McQuay) 3001: The Final Odyssey (1997), ชื่อไทย "3001 จอมจักรวาล ภาคอวสาน" The Trigger (1999) (with Michael P. Kube-McDowell) The Light of Other Days (2000) (with Stephen Baxter) Time's Eye (2003) (with Stephen Baxter) Sunstorm (2005) (with Stephen Baxter) Firstborn (2007) (with Stephen Baxter) The Last Theorem (to be published in 2008) (with Frederik Pohl) === รวมเรื่องสั้น Omnibus editions === Across the Sea of Stars (1959) (including Childhood's End, Earthlight and 18 short stories) From the Ocean, From the Stars (1962) (including The City and the Stars, The Deep Range and The Other Side of the Sky) An Arthur C. Clarke Omnibus (1965) (including Childhood's End, Prelude to Space and Expedition to Earth) Prelude to Mars (1965) (including Prelude to Space and The Sands of Mars) The Lion of Comarre & Against the Fall of Night (1968) An Arthur C. Clarke Second Omnibus (1968) (including A Fall of Moondust, Earthlight and The Sands of Mars) Four Great SF Novels (1978) (including The City and the Stars, The Deep Range, A Fall of Moondust, Rendezvous with Rama) The Space Trilogy (2001) (including Islands in the Sky, Earthlight and The Sands of Mars) === รวมเรื่องสั้น === Expedition to Earth (1953) Reach for Tomorrow (1956) Tales from the White Hart (1957) The Other Side of the Sky (1958) Tales of Ten Worlds (1962) The Nine Billion Names of God (1967) Of Time and Stars (1972) The Wind from the Sun (1972) The Best of Arthur C. Clarke (1973) The Sentinel (1983) Tales From Planet Earth (1990) More Than One Universe (1991) The Collected Stories of Arthur C. Clarke (2000) === รายการโทรทัศน์ === Arthur C. Clarke's Mysterious World (1980) [http://www.imdb.com/title/tt0247885/] จำนวน 13 ตอน ตอนละ 25 นาที Arthur C. Clarke's World of Strange Powers (1985) [http://www.imdb.com/title/tt0128884/] จำนวน 13 ตอน Arthur C. Clarke's Mysterious Universe (1995) จำนวน 6 ตอน == ความปรารถนา 3 ประการของอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก == ในวันเกิดครบรอบปีที่ 90 ของเขา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลศรีลังกาได้จัดงานเพื่อเป็นเกียรติให้ มีผู้ร่วมงานเป็นบุคคลสำคัญในวงการอวกาศและวิทยาศาสตร์ เช่น อเลกไซ เลโอนอฟ นักบินอวกาศชาวรัสเซีย มนุษย์อวกาศคนแรกของโลกที่ออกไปท่องอวกาศ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2508 คลาร์กได้กล่าวว่า ในชีวิตของเขาปรารถนาจะเห็น 3 สิ่งต่อไปนี้ อยากให้พบหลักฐานการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากนอกโลก อยากให้โลกนำแหล่งพลังงานสะอาด มาใช้แทนที่น้ำมันเชื้อเพลิง อยากให้สงครามกลางเมืองในศรีลังกาสิ้นสุดลง == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == arthurcclarke.net มูลนิธิ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ นักเขียนชาวอังกฤษ ชาวศรีลังกาเชื้อสายอังกฤษ ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซีบีอี บุคคลจากเทศมณฑลซัมเมอร์เซต นักเขียนชาวศรีลังกา เซอร์
thaiwikipedia
392
จอร์จ อาร์. อาร์. มาร์ติน
จอร์จ เรย์มอนด์ ริชาร์ด มาร์ติน (George Raymond Richard Martin) หรือที่รู้จักในนามปากกา จอร์จ อาร์. อาร์. มาร์ติน (George R. R. Martin; 20 กันยายน ค.ศ. 1948) เป็นนักเขียนนิยาย ผู้เขียนบท ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ และนักเขียนเรื่องสั้นชาวอเมริกัน เขาเป็นผู้แต่งนิยายชุดแนวจินตนิมิตระดับสูงชื่อ มหาศึกชิงบัลลังก์ ซึ่งนำมาดัดแปลงเป็นซีรีส์ มหาศึกชิงบัลลังก์ (2011–2019) ของเอชบีโอที่ได้รับรางวัลรางวัลเอมมี และซีรีส์ภาคก่อนหน้าชื่อ ตระกูลแห่งมังกร (2022–ปัจจุบัน) เขายังมีส่วนช่วยในการสร้างชุดรวมเรื่อง Wild Cards และมีส่วนในการสร้างโลกในวิดีโอเกม เอลเดนริง เมื่อ ค.ศ. 2022 ใน ค.ศ. 2005 Lev Grossman จาก ไทม์ เรียกมาร์ตินเป็น "โทลคีนแห่งอเมริกา" และใน ค.ศ. 2011 เขาได้รับการจัดเป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกของไทม์ 100 เขาเป็นพลเมืองที่อาศัยอยู่ในแซนตาเฟ รัฐนิวเม็กซิโกมาอย่างยาวนาน โดยเขาช่วยให้ทุนแก่Meow Wolf และถือครองโรงภาพยนตร์ฌ็อง ก็อกโต ทางนครจึงจัดให้วันที่ 29 มีนาคมเป็นวันจอร์จ อาร์. อาร์. มาร์ติน == ชีวิตช่วงต้น == จอร์จ เรย์มอน มาร์ติน (เขารับชื่อยืนยัน ริชาร์ด ตอนอายุ 13 ปี) เกิดในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1948 ที่เบย์โอนน์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ เป็นบุตรของเรย์มอนด์ คอลลินส์ มาร์ติน กรรมกรท่าเรือ กับมาร์กาเรต เบรดี มาร์ติน ครอบครัวฝ่ายแม่เคยร่ำรวย โดยเป็นถึงเจ้าของธุรกิจก่อสร้างที่ประสบความสำเร็จ แต่ต้องสูญเสียทุกอย่างจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มาร์ตินรำลึกเสมอทุกครั้งที่เขาเดินผ่านบริเวณที่เคยเป็นท่าเรือและบ้านของครอบครัว เขามีน้องสาวสองคนชื่อ Darleen และ Janet เขามีเชื้อสายไอริช ส่วนผลการตรวจสอบดีเอ็นเอในซีรีส์ Finding Your Roots เปิดผลเป็น 53.6% "บริติชและไอริช", 22.4% ยิวอัชเกนัซ และ 15.6% "ยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือในวงกว้าง" == รายชื่อนวนิยาย == == ชุด A Game of thrones == A Game of thrones แปลในชื่อ เกมล่าบัลลังก์ A Clash of kings แปลในชื่อ ราชันประจัญพล A Strom of swords แปลในชื่อ ผจญพายุดาบ A Feast for crows แปลในชื่อ กาดำสำราญเลือด A Dance with drogons แปลในชื่อ มังกรร่อนระบำ == เล่มเดียวจบ == The Official A Game of thrones coloring book แปลในชื่อ มหาศึกชิงบัลลังก์ (หนังสือภาพ) A Khight of The seven kingdoms แปลในชื่อ อัศวินแห่งเจ็ดราชอาณาจักร The Ice dragon แปลในชื่อ มังกรน้ำแข็ง Fire & Blood แปลในชื่อ อัคคีและโลหิต โลกแห่งมหาศึกชิงบังลังก์ ==อ้างอิง== == แหล่งข้อมูลอื่น == George R. R. Martin at the Encyclopedia of Fantasy George R. R. Martin at the Encyclopedia of Science Fiction นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ มหาศึกชิงบัลลังก์
thaiwikipedia
393
โรเจอร์ เซลาซนี
โรเจอร์ เซลาซนี (Roger Zelazny) (13 พ.ค. 1937 - 14 มิ.ย. 1995) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์และนิยายแฟนตาซีชาวอเมริกัน. เขาเคยได้รับรางวัลเนบิวลาสามครั้ง และรางวัลฮิวโกหกครั้ง ซึ่งสองครั้งในนั้น เป็นนิยายเรื่อง Lord of Light (ค.ศ. 1968) และ ...And Call Me Conrad (ค.ศ. 1966) (ซึ่งภายหลังตีพิมพ์ในชื่อ This Immortal) นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ สมาชิกเมนซา
thaiwikipedia
394
ฟิลิป เค. ดิก
ฟิลิป คินเดรด ดิก (Philip Kindred Dick; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1928 — 2 มีนาคม ค.ศ. 1982) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งทั้งจากผู้อ่านทั่วไปและนักวิจารณ์ งานของเขามีอิทธิพลต่อนิยายวิทยาศาสตร์ในยุคหลัง โดยเฉพาะแนวไซเบอร์พังก์ และโพสโมเดิร์น งานเขียนหลายเรื่องของเขาได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ ผู้ที่เป็นโรคจิตเภท
thaiwikipedia
395
เมอเรย์ ไลน์สเตอร์
thumb เมอเรย์ ไลน์สเตอร์ (Murray Leinster) เป็นนามปากกา ของ วิล เอฟ. เจนกินส์ (Will F. Jenkins, หรือชื่อเต็มว่า William Fitzgerald Jenkins) นักเขียนเรื่องแนววิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์ทางเลือก (alternative history). เมอเรย์เกิดเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) ที่ Norfolk, Virginia สหรัฐอเมริกา. เขาได้รับรางวัลฮิวโก ประจำ ปี ค.ศ. 1956 จากนวนิยายเรื่อง "Exploration Team". เมอเรย์เสียชีวิตเมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2518. นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
396
อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์
เซอร์ อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (Arthur Ignatius Conan Doyle) เป็นนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ประวัติศาสตร์ และแพทย์คนสำคัญของสกอตแลนด์ แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด คือนิยายรหัสคดีชุด "เชอร์ล็อก โฮมส์" โคนัน ดอยล์ได้รับการศึกษาจากคณะเยซูอิต ที่วิทยาลัยสโตนีเฮิสต์ และจบการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อ ค.ศ. 1881 แล้วประกอบอาชีพแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มงานเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เรื่องสั้นเรื่องแรกของเขาได้รับตีพิมพ์ในวารสารแชมเบอร์ (Chambers) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 และเขียนสารคดีเรื่องแรก ในวารสารการแพทย์ "British Medical Journal" ในเดือนเดียวกัน เรื่องที่ไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งในช่วงนั้น แสดงถึงการทดลองด้วยคุณลักษณะ 2 อย่าง คือ การใช้ตัวเอกที่มีความรู้ในศาสตร์ลับ และคนเล่าเรื่องที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านใด แต่พัฒนาการของแนวคิดดังกล่าวก้าวถึงจุดสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 1886 และสร้างสีสันมีชีวิตชีวามาก จากเรื่อง "A Study in scarlet" เป็นเรื่องของนักสืบชื่อเชอร์ล็อก โฮลมส์ และเพื่อนชื่อหมอวัตสัน ด้วยการสร้างบทสนทนาที่สนุกสนาน น่าติดตาม ทำให้เรื่องของเขาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง และตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นกว่า 56 เรื่อง และนวนิยาย 4 เรื่อง โดยได้รับแนวคิดจาก "Socrates and his disciples" ของเพลโต และ "Don Quixote" ของเซอร์บันเตส เป็นต้น โคนัน ดอยล์ยังถือว่าเป็นหนี้ความรู้ของเอ็ดก้าร์ แอลลแลน โป (Edgar Allan Poe) บิดาแห่งรหัสคดี แต่การสร้างสรรค์เรื่องของโคนัน ดอยล์ทำให้นวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮมส์มีความแตกต่างจากนิยายสืบสวนทั่วไป และกลายเป็นนิยายรหัสคดียิ่งใหญ่ในชั่วเวลาไม่นาน เขาให้เขียนให้โฮมส์เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1893 เพื่อจบนิยายชุดนี้ แต่ต้องแต่งเรื่องให้โฮมส์กลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของบรรดานักอ่านของเขา เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ได้แก่เรื่องเล่าสมัยกลาง เกี่ยวกับทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การปฏิวัติรัฐประหารในประเทศต่าง ๆ แต่ดูเหมือนเรื่องสั้นของเขาจะเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากกว่า งานของเขายังมีเรื่องราวการผจญภัยกึ่งนิยายวิทยาศาสตร์ อย่างเรื่องสั้นชุด "Professor Challenger" เป็นต้น ดอยล์นั้นได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เรื่อยมาตั้งแต่จบการศึกษา และเลิกอาชีพนี้ไปทำงานด้านวรรณกรรมเมื่อ.ค.ศ. 1891 จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน และต่อมาได้ย้ายไปที่เมืองซัสเซ็กซ์ และเอสเซ็กซ์ เมื่อ ค.ศ. 1902 โคนัน ดอยล์ได้รับพระราชทานยศอัศวิน อันเนื่องมาจากการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะในสงครามแอฟริกา หลังจากบุตรชายของเขาเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งเขาได้เขียนประวัติเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้) เขาเริ่มสนใจเรื่องธรรมะ ซึ่งมีผลต่อเรื่องสยองขวัญของเขาด้วย โคนัน ดอยล์เสียชีวิตเมื่อปี 1930 อายุได้ 71 ปี ผ่านการสมรส 2 ครั้ง และมีบุตร 5 คน == ผลงานสำคัญ == A Study in Scarlet (1887) The Sign of Four The Hound of Baskervilles The Valley of Fear The Adventures of Sherlock Holmes (1892) The Memoir of Sherlock Holmes The Return of Sherlock Holmes The Case Book of Sherlock Holmes (1927) His Last Bow The Adventure of the Speckled Band (เรื่องสั้น ไม่ทราบปีที่พิมพ์) The Lost World (1912) The Land of Mists (1926) The Disintegration Machine (1927) When the World Screamed (1928) The White Company (1891) Micah Clarke (1888) The Refugees (1893) Uncle Bernac (1897) Sir Nigel (1906) This is test == คำพูด == "It is a great thing to start life with a small number of really good books which are your very own." (การเริ่มต้นชีวิตโดยมีหนังสือที่ดีจริง ๆ ไม่กี่เล่มเป็นของตัวเองนั้นเป็นเรื่องเยี่ยมยอด) == แหล่งข้อมูลอื่น == ผลงานประพันธ์ที่โครงการ Gutenberg (ภาษาอังกฤษ) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ รวบรวมประวัติ และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ(ภาษาอังกฤษ) Sherlock Holmes ครบทุกตอน (ภาษาอังกฤษ) ผลงานสำคัญ (ภาษาอังกฤษ) Sir Arthur Conan Doyle mobile ebooks === ผลงานที่แปลเป็นภาษาไทย === แมวบราซิล (The Brazilian cat) เรื่องสั้นตื่นเต้น ผจญภัย ที่ลุ้นระทึกจนต้องอ่านรวดเดียวจบ วันโลกคำรน (The day the world screamed) เมื่อนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง “เจาะใจ” กลางของโลก - เรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ อ่านสนุก ตื่นเต้น บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2402 นักเขียนชาวอังกฤษ บุคคลจากเอดินบะระ นักเขียนชาวสกอตแลนด์ เสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เซอร์ บุคคลจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ
thaiwikipedia
397
แฮร์รี แฮร์ริสัน
แฮร์รี แมกซ์เวลล์ แฮร์ริสัน (Harry Maxwell Harrison; เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) ณ เมืองสแตมฟอร์ด รัฐคอนเนทิคัต — เสียชีวิต 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555) เป็นนักเขียนจินตนิยายชาวอเมริกัน เคยอาศัยอยู่หลายที่ในโลก รวมถึงเม็กซิโก อังกฤษ เดนมาร์ก และอิตาลี ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่กรุงดับลิน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เขาเป็นที่รู้จักจากตัวละคร Stainless Steel Rat และนิยาย Make Room! Make Room! (ค.ศ. 1966) ซึ่งเป็นพื้นฐานของภาพยนตร์เรื่อง Soylent Green (ค.ศ. 1973) แฮร์รีเคยเป็นประธานสมาคมภาษาเอสเปรันโตของไอร์แลนด์ นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ นักเขียนชาวอเมริกัน บุคคลจากสแตมเฟิร์ด (รัฐคอนเนทิคัต) บุคคลจากดับลิน
thaiwikipedia
398
พอล แอนเดอร์สัน
thumb พอล แอนเดอร์สัน (Poul Anderson; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานเป็นจำนวนมาก ในช่วงยุคทองของนิยายวิทยาศาสตร์ ในช่วงแรกของการตีพิมพ์ผลงาน เขาใช้นามแฝงหลายชื่อ ได้แก่ "A. A. Craig", "Michael Karageorge" และ "Winston P. Sanders" นอกจากเรื่องแนววิทยาศาสตร์แล้ว พอล แอนเดอร์สัน ยังเขียนเรื่องแนวแฟนตาซีอีกด้วย เช่น เรื่องชุด the King of Ys แอนเดอร์สัน เกิดเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ที่ Bristol เพนซิลเวเนีย สหรัฐ ถึงแก่กรรมเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกันเชื้อสายเดนมาร์ก
thaiwikipedia
399
เกรกกอรี่ เบนฟอร์ด
เกรกกอรี่ เบนฟอร์ด (Gregory Benford) (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2484) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ และนักฟิสิกส์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่ คณะฟิสิกส์และดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์วิน นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
400