title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
45.8M
source
stringclasses
5 values
__index_level_0__
int64
0
197k
สยาม
สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เป็นชื่อที่ต่างชาติและพระมหากษัตริย์ใช้เรียกประเทศไทยในอดีตและมักรวมถึงชาวไทยสยามซึ่งเป็นชนชาติไทยในภูมิภาคนี้ แต่มิใช่ชื่อคนกลุ่มนี้เรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ชื่อ "สยาม" ในการทำสนธิสัญญากับต่างชาติเป็นเวลาหลายศตวรรษ เนื่องจากราชอาณาจักรประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ อาทิ ไท ลาว มอญ ญวน เขมร แขก จีน ฝรั่ง และมลายู พระมหากษัตริย์ไทยจึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ประเทศสยาม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน อีกทั้ง ชื่อ สยาม นั้น ก็ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการวิชาการของต่างประเทศอีกด้วย สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 == แนวคิดเกี่ยวกับที่มา == จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีใครทราบที่มาของคำว่าสยามว่ามาจากที่ไหนอย่างแน่ชัด ซึ่งมีความคิดเห็นของผู้รู้ต่าง ๆ ดังนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ศึกษาประวัติที่มาของคำว่า "สยาม" และเขียนเป็นหนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ มีความสรุปได้ว่า: จะต้องเป็นคำที่คล้ายกับ "ซาม-เซียม" ตามสมมุติฐานทางนิรุกติศาสตร์ มีความหมายเกี่ยวข้องกับน้ำ เนื่องจากพบในพงศาวดารราชวงศ์หยวน อันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชนชาติไต น่าจะเป็นภาษาหนานเจ้า ที่เกิดของคำว่า "สยาม" อยู่ในบริเวณทางตอนเหนือของพม่า ปรีดี พนมยงค์ เคยเขียนไว้ว่า มีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำกฎหมายเก่ามาชำระและรวบรวมเป็นกฎหมายตราสามดวง ชื่อประเทศได้รับการบันทึกเป็นภาษาบาลีว่า "สามปเทส" สาม หรือ สามะ แปลว่าความเสมอภาค ส่วน ปเทส แปลว่า ประเทศ แต่ฝรั่งออกเสียงเพี้ยน เป็นเซียมหรือไซแอม === คำที่ใกล้เคียงกับสยาม === ตามภาษามอญ เรียกคนไทยว่า "หรั่ว เซม" (หรั่ว ภาษามอญแปลว่าพวก) จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวมลายูและผู้มีเชื้อสายมลายู (รวมถึงในประเทศไทย) ใช้คำเรียกไทยว่า "สยาม" (โดยในภาษามลายูปัตตานีจะออกเสียงว่า ซีแย) มาจนถึงปัจจุบัน (ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้) ในภาษาพม่านั้น เรียกคนไทยว่า "เซี้ยน" ซึ่งถ้าดูจากการเขียน จะใช้ตัวสะกดเป็นตัว ม (ซย+ม) แต่ในภาษาพม่านั้นอ่านออกเสียงตัวสะกดตัว ม เป็นตัว น จึงทำให้เสียงเรียกคำว่า "สยาม" เพี้ยนเป็น "เซี้ยน" ในปัจจุบัน คนในประเทศพม่ามักจะเรียกชนกลุ่มที่พูดภาษาตระกูลขร้า-ไทต่าง ๆ ว่า "เซี้ยน" หรือ ชื่อประเทศหรือพื้นที่ตามด้วยเซี้ยน เช่นเรียกคนไทยว่า "โย้ตะย้าเซี้ยน" (คนสยามโยธยา ซึ่งเมื่อก่อน อยุธยาเป็นเมืองหลวง) หรือไท้เซี้ยน (คนสยามไทย), เรียกคนลาวว่า "ล่าโอ่เซี้ยน" (คนสยามลาว), เรียกคนชนกลุ่มไทในจีนว่า "ตะโย่วเซี้ยน" (คนสยามจีน ซึ่งคำว่า "ตะโย่ว" ในภาษาพม่าแปลว่า "จีน") และเรียกคนไทใหญ่ในรัฐฉานว่า ต่องจยี๊เซี้ยน (สยาม ต่องกี๊ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานในปัจจุบัน และจริง ๆ แล้วคำว่า "รัฐฉาน" นั้นคือ "รัฐสยาม" แต่พม่าออกเสียงเพี้ยนเป็น "เซี้ยน ปี่แหน่" เขียนเป็นอังกฤษว่า Shan State แล้วคนไทยก็ออกเสียงเพี้ยนจากคำอังกฤษ "Shan" เป็น "ฉาน" จึงกลายเป็นรัฐฉานตามการเรียกของคนไทยในปัจจุบัน) และทางการรัฐบาลพม่ากำหนดให้ คนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี มีสัญชาติเป็น เซี้ยน เช่นเดียวกับคนไทใหญ่ในรัฐฉาน ตามจดหมายเหตุเก่าของจีน ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันนั้น แต่เดิมมีอาณาจักรอยู่ด้วยกัน 2 อาณาจักร คือ อาณาจักร "เซียน" (暹国; น่าจะหมายถึง สยาม หรือ สุโขทัย) ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้น แต่ยังอยู่ใต้ต่ออาณาจักร "ร้อยสนม" (มีผู้สันนิษฐานว่าคืออาณาจักรล้านนา-ไทใหญ่) และอาณาจักร "หลัววอ" (羅渦国; น่าจะหมายถึง อยุธยา ซึ่งจีนยังใช้ชื่อของ ละโว้ เรียกอยู่) ซึ่งอยู่ทางใต้ลงไป โดยอาณาจักร "เซียน" นั้นมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ต้องนำเข้าข้าวจากอาณาจักร "หลัววอ" จนในที่สุด อาณาจักร "เซียน" และอาณาจักร "หลัววอ" ได้รวมกันเข้า ทางราชสำนักจีนจึงได้รวมเรียกชื่ออาณาจักรใหม่ที่เกิดจากการรวมกันดังกล่าวว่า อาณาจักร "เซียนหลัว" (暹罗国; ภาษาจีนกลางยุคปัจจุบัน="เซียนหลัวกว๋อ" ภาษาจีนแต้จิ๋ว = "เสี่ยมล้อก๊ก") ซึ่งได้กลายเป็นนามเรียกอาณาจักรโดยชาวจีนมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "ไท่กว๋อ" (泰国) นักนิรุกติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์บางคน ได้แสดงถึงความใกล้เคียงกันของคำว่า สยาม และ ฉาน (Shan) ซึ่งใช้เรียกอาณาจักรของชาวไทบริเวณตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของพม่า และทางรัฐอัสสัมของอินเดีย สยาม เป็นคำเรียกของชาวตะวันตก ที่มาทำการค้า การเดินทางมาทางเรือต้องผ่านพม่าก่อน ชาวพม่าบอกชาวตะวันตกว่า เซียม ชาวไท ออกเสียงเป็น เซียน ซึ่งปัจจุบันเป็น ฉานเนื่องจากชาวพม่าออกเสียง น หนู ไม่ได้ จึงเพี้ยนเป็น ม ม้า ฉานชาวพม่าหมายถึง รัฐฉาน ในประเทศพม่า, อาณาจักรล้านนา ในไทย, ลาว, ภาคอีสานตอนเหนือ ในไทย, ตอนใต้ของยูนนาน ในจีน, ด้านตะวันตกของภาคเหนือในเวียดนาม ชาติไทยนั้นกลัว อินเดีย เพราะว่าอินเดียเคยล้มอาณาจักรไชยาได้ ซึ่งไทยสู้ไม่ได้ในยุคนั้น จึงมีภาษาของอินเดียปะปนอยู่มาก ทั้งในภาษาไทยและศาสนาพุทธด้วย == สยามในฐานะชนชาติ == สยามเป็นชื่อดินแดนและกลุ่มชนไม่จำกัดชาติพันธุ์ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าสยามเป็น "พวกร้อยพ่อพันแม่" คือ มิได้หมายถึงชนชาติใดชนชาติหนึ่ง แต่อาศัยลักษณะภายนอกเป็นตัวกำหนด เช่น ใช้เรียกผู้ทำมาหากินกันในบริเวณตาน้ำพุที่ผุดจากแอ่งดินอ่อนหรือดินโคลน หรืออาจใช้เรียกผู้ที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำโขง ชาวสยามหรือเสียมเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นละติจูด 19° เหนือลงมา เป็นการผสมผสานของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้เขียน "คนไทย มาจากไหน" จึงเสนอให้เรียกผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันว่า "ชาวไทยสยาม" แทน เพราะคำว่า "ชาวไทย" มีความหมายครอบคลุมถึง "ชาวไทใหญ่" และ "ชาวไทน้อย" ซึ่งอาศัยอยู่นอกประเทศไทยด้วย == สยามในความหมายของชนชาติไทย == ตามจดหมายเหตุลาลูแบร์ คนในประเทศไทยได้เรียกเผ่าพันธุ์ของตนเองว่า ไทย มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา โดยได้บันทึกไว้ว่า ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว บาทหลวงชาวฝรั่งเศสได้ระบุไว้ในงานเขียน "Description du Royaume Thai ou Siam" (1854) ว่า "...ประเทศที่ชาวยุโรปขนานนามว่า สยาม นั้น เรียกตนเองว่า เมืองไท (Muang - Thai) (ราชอาณาจักรแห่งอิสรชน) ชื่อเดิมนั้นคือ สยาม (แปลว่าชนชาติผิวสีน้ำตาล) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ สยาม (Siam)..." D.G.E. Hall ได้เขียนใน "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ว่า "สยาม ใช้เรียกคนป่าแถบแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งพบในระเบียงด้านใต้ของนครวัด... ภายหลังการก่อตั้งอยุธยา ดินแดนดังกล่าวได้ชื่อว่าสยาม ชาวยุโรปก็มักเรียกว่า นครแห่งสยาม" และระบุว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของสยาม ส่วนกลุ่มเมืองสุโขทัย ก็พบว่ามีการเรียกว่า "สยามประเทศ" ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ของอาณาจักรล้านนาด้วย === ราชอาณาจักรสยาม === ถึงแม้ว่าจะมีกล่าวถึง "สยาม" (ซึ่งอาจหมายความถึงคนไทยหรือไม่ใช่ก็เป็นได้) โดยผู้คนจากต่างแดนอย่างกว้างขวางดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วก็ตาม แต่ทว่าในอดีตนั้น แนวคิดเรื่องรัฐชาติยังไม่ปรากฏชัดเจน ดังเช่นที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การอ้างอิงถึงราชอาณาจักรของทางราชสำนักของไทยจึงยังคงอ้างอิงโดยใช้ชื่อเมืองหลวง ดังเช่นพระราชสาสน์ของสมเด็จพระเอกาทศรถที่มีไปถึงพระเจ้าดอน ฟิลิปแห่งโปรตุเกส ผ่านผู้สำเร็จราชการแห่งเมืองกัว ก็ได้มีการอ้างพระองค์ว่าเป็นผู้ปกครองแว่นแคว้นของ กรุงศรีอยุธยา เป็นต้น ส่วนชาวต่างชาติได้เรียกอาณาจักรอยุธยาว่า สยาม มาตั้งแต่ราว พ.ศ. 2000 เป็นต้นมา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยใช้ชื่อประเทศว่า "สยาม" ด้านโกวิท วงศ์สุรวัฒน์ได้ระบุว่า นามสยามได้เริ่มใช้ในฐานะของประเทศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแปลว่าผิวคล้ำ ในหนังสือสัญญาที่ไทยทำกับต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่พบการใช้คำว่า "สยาม" เลย เมื่อประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับจักรวรรดินิยมสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้พยายามดัดแปลงให้ประเทศมีลักษณะสมัยใหม่ขึ้น เพื่อซึ่งประการหนึ่งในนั้นคือ การทำให้ประเทศไทยมีลักษณะเป็นรัฐชาติที่มีการรวมอำนาจปกครอง และเริ่มมีการใช้ชื่อ "ราชอาณาจักรสยาม" เป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ โดยปรากฏใช้ชัดเจนครั้งแรกใน พ.ศ. 2399 แต่คนไทยส่วนมากไม่เห็นด้วยกับการใช้ชื่อดังกล่าว คงเรียกว่า "ไทย" ตามเดิม อย่างไรก็ดี เหรียญกษาปณ์แทนเงินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ตัวหนังสือว่า "กรุงสยาม" และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ตัวหนังสือว่า "สยามรัฐ" === จากสยามเป็นไทย === ในสมัยรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ก้าวขึ้นสู่อำนาจ ปลุกแนวคิดชาตินิยมและการเชื่อฟังผู้นำอย่างมาก ซึ่งจากรายงานการศึกษาในยุคนั้นโดยนักศึกษาประวัติศาสตร์บางคน ได้มีการค้นพบคนไทยที่อยู่ในเวียดนามและจีนตอนใต้ นอกเหนือไปจากจากกลุ่มไทใหญ่ในพม่า ทำให้เกิดกระแสที่ต้องการรวบรวมชนเผ่าไทยเหล่านั้นเข้ามาสู่ประเทศ "ไทย" เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ในที่สุดจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติเป็น "ไทย" ตามประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ซึ่งได้รับการคัดค้านจากบางฝ่ายว่าจะเป็นการทำให้คนเชื้อชาติอื่น เช่น จีน มลายู ไม่รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศ "ไทย" แต่ทว่าในที่สุดประกาศรัฐนิยมก็มีผลบังคับใช้ ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ไทย ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นสิ่งตกทอดไม่กี่อย่างจากประกาศดังกล่าวมาถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับคำว่า "สวัสดี" ทั้งนี้ คำประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังญี่ปุ่นยอมจำนนต่อสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เพียงไม่ถึง 1 เดือน ซึ่งชาญวิทย์ เกษตรศิริ มองว่าเป็น “สารที่ผู้นำไทยอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายเสรีนิยมของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม (เจ้านาย) ต้องการสื่อกับฝรั่งตะวันตกผู้พิชิตสงครามเสียมากกว่า” แต่เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมามีอำนาจอีกครั้งผ่านการรัฐประหาร ในปี 2490 ชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษ ก็ถูกเปลี่ยนกลับไปใช้ว่า “Thailand” อีกครั้ง == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == D.G.E. Hall. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, [ม.ป.ป.]. สุจิตต์ วงษ์เทศ. คนไทยมาจากไหน?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548. จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และ ลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2519. == ดูเพิ่ม == ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์ไทย ชื่อ
thaiwikipedia
100
ไทย (แก้ความกำกวม)
ไทย อาจหมายถึง ประเทศไทย ประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาว กัมพูชา มาเลเซีย และพม่า ชาวไทย บุคคลที่ถือสัญชาติไทย ไทยสยาม กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่พูดภาษาตระกูลขร้า-ไท ภาษาไทย ภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาขร้า-ไท โดยเป็นภาษาหลักและภาษาทางการของประเทศไทย * อักษรไทย ตัวอักษรสำหรับถ่ายเสียงพูดในภาษาไทย ประกอบด้วยพยัญชนะไทย วรรณยุกต์ไทย สระไทย และเลขไทย การบินไทย สายการบินหนึ่งในประเทศไทย มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Thai Airways International" ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "THAI" ไทย หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2451 == ดูเพิ่ม == ไท ทาอีส (Thaïs)
thaiwikipedia
101
รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย
รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยเรียงตามลำดับเวลา ปัจจุบันประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีแล้วทั้งสิ้น 30 คน == รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย == {| width=100% class="wikitable" ! style="background:#D3D3D3" rowspan="2" width=3%|ลำดับ(สมัย) ! style="background:#D3D3D3" rowspan="2" width=5% | รูป ! style="background:#D3D3D3" rowspan="2" width=20% | ชื่อ ! style="background:#D3D3D3" rowspan="2" width=5% | คณะรัฐมนตรีไทยคณะที่ ! style="background:#D3D3D3"width=40% colspan="3" | การดำรงตำแหน่ง ! style="background:#D3D3D3" rowspan="2" width=10% colspan="2" | พรรคการเมือง ! style="background:#D3D3D3" rowspan="2" width=10% | รัชสมัย |- ! style="background:#D3D3D3"width=15% | เริ่มวาระ(เริ่มต้นโดย) ! style="background:#D3D3D3" width=15% | สิ้นสุดวาระ(สิ้นสุดโดย) ! style="background:#D3D3D3" width=10% | ระยะเวลา |- align="center" | rowspan = 3 | 1(1-3) | rowspan = 3 | | rowspan = 3 | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) | 1 | bgcolor = "#99FF66" | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475(มติของผู้แทนราษฎรชั่วคราว) | bgcolor = "#99FF66" | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม) | rowspan="3" | | style="background:#BEBEBE" rowspan="3" | | rowspan="3" | อิสระ | rowspan="6" | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |- align="center" | 2 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475(มติของผู้แทนราษฎรชั่วคราว) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476(รัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา) |- align="center" | 3 | bgcolor = "#F0E68C" | 1 เมษายน พ.ศ. 2476(พระราชกฤษฎีกา) | bgcolor = "#F0E68C" | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476(รัฐประหารและลาออก) |- align="center" | rowspan = 6 | 2(1-5) | rowspan = 6 | | rowspan = 6 | พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | 4 | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476(มติของผู้แทนราษฎรชั่วคราว) | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476(ลาออกและเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="6" | | rowspan="10" style="background:#FF0000" | | rowspan="10" | คณะราษฎร |- align="center" | 5 | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1) | 22 กันยายน พ.ศ. 2477(ลาออกเนื่องจากสภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล) |- align="center" | rowspan="2" | 6 | rowspan="2" | 22 กันยายน พ.ศ. 2477(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1) | rowspan="2" | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480(ลาออกเนื่องจากกรณีกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่) |- | rowspan = 11 | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |- align="center" | 7 | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1) | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480(สภาครบวาระและจัดเลือกตั้งทั่วไป) |- align="center" | 8 | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 2) | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481(ยุบสภาผู้แทนราษฎรและเลือกตั้งทั่วไป) |- align="center" | rowspan = 2 | 3(1-2) | rowspan = 2 | 100px | rowspan = 2 | พลตรี หลวงพิบูลสงครามจอมพล ป. พิบูลสงคราม | 9 | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3) | 7 มีนาคม พ.ศ. 2485(ลาออกเนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม) | rowspan="2" | |- align="center" | 10 | 7 มีนาคม พ.ศ. 2485(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3) | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487(ลาออกเนื่องจาก ส.ส. ไม่อนุมัติร่าง พ.ร.บ. และ พ.ร.ก.) |- align="center" | 4(1) | | พันตรี ควง อภัยวงศ์ | 11 | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3) | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488(ลาออกเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง) | |- align="center" | 5 | | ทวี บุณยเกตุ | 12 | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3) | 17 กันยายน พ.ศ. 2488(ลาออกเนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมมาแทน) | |- align="center" | 6(1) | | หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช | 13 | 17 กันยายน พ.ศ. 2488(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3) | 31 มกราคม พ.ศ. 2489(ยุบสภาผู้แทนราษฎรและเลือกตั้งทั่วไป) | | style="background:#FF0000" rowspan="1" | | ขบวนการเสรีไทย |- align="center" | 4(2) | | พันตรี ควง อภัยวงศ์ | 14 | 31 มกราคม พ.ศ. 2489(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4) | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489(ลาออกเนื่องจากแพ้มติสภาที่เสนอ พ.ร.บ. ที่รัฐบาลรับไม่ได้) | | rowspan="5" style="background:#FF0000" | | rowspan="5" | คณะราษฎร |- align="center" | rowspan = 4 | 7(1-3) | rowspan = 4 | | rowspan = 4 | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) | 15 | 24 มีนาคม พ.ศ. 2489(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4) | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2489(ลาออกเนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489) | rowspan="4" | |- align="center" | rowspan = "2" | - | rowspan = "2" | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2489(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4) | rowspan = "2" | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489(ลาออกเนื่องจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล) |- | rowspan = 60 | 100pxพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |- align="center" | 16 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4) | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489(ลาออกเนื่องจากถูกกล่าวหาจากกรณีเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8) |- align="center" | rowspan = 2 | 8(1-2) | rowspan = 2 | | rowspan = 2 | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ | 17 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4) | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490(ลาออกเนื่องจากมีกระแสกดดันที่รุนแรง) | rowspan="2" | | style="background:#FF0000" rowspan="2" | | rowspan = 2 | พรรคแนวรัฐธรรมนูญ |- align="center" | 18 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4) | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490(รัฐประหาร) |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4 | คณะทหารแห่งชาติ (หัวหน้าคณะ: จอมพล ผิน ชุณหะวัณ) | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | rowspan = 2 | 4(3-4) | rowspan = 2 | | rowspan = 2 | พันตรี ควง อภัยวงศ์ | 19 | bgcolor = "#F0E68C" | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490(มติคณะทหารแห่งชาติ) | bgcolor = "#F0E68C" | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491(ลาออกเพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="2" | | style="background:#00BFFF" rowspan="2" | | rowspan = 2 | พรรคประชาธิปัตย์ |- align="center" | 20 | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5) | 8 เมษายน พ.ศ. 2491(ลาออกเนื่องจากคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง) |- align="center" | rowspan = 6 | 3(3-8) | rowspan = 6 | 100px | rowspan = 6 | จอมพล ป. พิบูลสงคราม | 21 | 8 เมษายน พ.ศ. 2491(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5) | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 และมีการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="6" | | style="background:#FFB6C1" rowspan="2" | | rowspan = 2 | พรรคธรรมาธิปัตย์ |- align="center" | 22 | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5) | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494(นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้ง) |- align="center" | 23 | bgcolor = "#F0E68C" | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494(มติคณะบริหารประเทศชั่วคราว) | bgcolor = "#F0E68C" | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494(มีการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่) | style="background:#D2B48C" rowspan="1" | | คณะบริหารประเทศชั่วคราว |- align="center" | 24 | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 6) | 23 มีนาคม พ.ศ. 2495(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 และมีการเลือกตั้งทั่วไป) | style="background:#FFB6C1" rowspan="2" | | rowspan = 2 | พรรคธรรมาธิปัตย์ |- align="center" | 25 | 24 มีนาคม พ.ศ. 2495(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 7) | 21 มีนาคม พ.ศ. 2500(สภาครบวาระและจัดการเลือกตั้งทั่วไป) |- align="center" | 26 | 21 มีนาคม พ.ศ. 2500(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 8) | 16 กันยายน พ.ศ. 2500(รัฐประหาร) | style="background:#FF69B4" rowspan="1" | | พรรคเสรีมนังคศิลา |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4 | คณะปฏิวัติ (หัวหน้าคณะ: จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์) | 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | 21 กันยายน พ.ศ. 2500 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | 9 |100px | พจน์ สารสิน | 27 | bgcolor = "#F0E68C" | 21 กันยายน พ.ศ. 2500(ทูลเกล้าฯเสนอชื่อโดยผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร) | bgcolor = "#F0E68C" | 1 มกราคม พ.ศ. 2501(ลาออกและจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | | style="background:#BEBEBE" rowspan="1" | | rowspan="1" | อิสระ |- align="center" | 10(1) | | จอมพล ถนอม กิตติขจร | 28 | 1 มกราคม พ.ศ. 2501(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 9) | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501(ลาออกและรัฐประหาร) | | style="background:#D2691E" rowspan="1" | | พรรคชาติสังคม |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4 | คณะปฏิวัติ(หัวหน้าคณะ: จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์) | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | 11 | | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | 29 | bgcolor = "#F0E68C" | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502(มติสภาร่างรัฐธรรมนูญ) | bgcolor = "#F0E68C" | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506(ถึงแก่อสัญกรรม) | | rowspan="2" style="background:#D2B48C" | | rowspan="2" | คณะปฏิวัติ |- align="center" | rowspan = 2 | 10(2-3) | rowspan = 2 | | rowspan = 2 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | 30 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506(มติสภาร่างรัฐธรรมนูญ) | 7 มีนาคม พ.ศ. 2512(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="2" | |- align="center" | 31 | 7 มีนาคม พ.ศ. 2512(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 10) | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514(รัฐประหาร) | style="background:#D2691E" rowspan="1" | | พรรคสหประชาไทย |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4 | คณะปฏิวัติ (หัวหน้าคณะ: จอมพล ถนอม กิตติขจร) | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | 10(4) | | จอมพล ถนอม กิตติขจร | 32 | bgcolor = "#F0E68C" | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515(มติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) | bgcolor = "#F0E68C" | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516(ลาออกเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา) | rowspan="1" | | style="background:#D2B48C" rowspan="1" | | คณะปฏิวัติ |- align="center" | rowspan = 2 | 12 | rowspan = 2 | | rowspan = 2 | สัญญา ธรรมศักดิ์ | 33 | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516(ทูลเกล้าฯเสนอชื่อโดยรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517(ลาออกโดยให้เหตุผลว่าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ) | rowspan="2" | | style="background:#BEBEBE" rowspan="2" | | rowspan = 2 | อิสระ |- align="center" | 34 | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517(มติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) |- align="center" | 6(2) | | หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช | 35 | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11) | 14 มีนาคม พ.ศ. 2518(ไม่ได้รับความไว้วางใจในการแถลงนโยบาย) | rowspan="1" | | style="background:#00BFFF" rowspan="1" | | พรรคประชาธิปัตย์ |- align="center" | 13 |100px | พลตรีหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช | 36 | 14 มีนาคม พ.ศ. 2518(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11) | 20 เมษายน พ.ศ. 2519(ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | | style="background:#000080" rowspan="1" | | พรรคกิจสังคม |- align="center" | rowspan = 2 | 6(3) | rowspan = 2 | | rowspan = 2 | หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช | 37 | 20 เมษายน พ.ศ. 2519(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 12) | 25 กันยายน พ.ศ. 2519(ลาออกเนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ถนอม กิตติขจรกลับมาอุปสมบท) | rowspan="2" | | style="background:#00BFFF" rowspan="2" | | rowspan = 2 | พรรคประชาธิปัตย์ |- align="center" | 38 | 25 กันยายน พ.ศ. 2519(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 12) | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519(รัฐประหาร เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา) |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4 | คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (หัวหน้าคณะ: พลเรือเอก สงัด ชลออยู่) | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | 14 | 100px | ธานินทร์ กรัยวิเชียร | 39 | bgcolor = "#F0E68C" | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519(มติคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน) | bgcolor = "#F0E68C" | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520(รัฐประหาร) | rowspan="1" | | style="background:#BEBEBE" rowspan="1" | | อิสระ |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4| คณะปฏิวัติ (หัวหน้าคณะ: พลเรือเอก สงัด ชลออยู่) | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | rowspan = 2 | 15(1-2) | rowspan = 2 | 100px | rowspan = 2 | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | 40 | bgcolor = "#F0E68C" | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520(มติคณะปฏิวัติ) | bgcolor = "#F0E68C" | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="2" | | style="background:#D2B48C" rowspan="1" | | rowspan = 1 |กองทัพ |- align="center" | 41 | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 13) | 3 มีนาคม พ.ศ. 2523(ลาออกเนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย) | style="background:#BEBEBE" rowspan="1" | | rowspan = 1 |อิสระ |- align="center" | rowspan = 3 | 16(1-3) | rowspan = 3 | | rowspan = 3 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | 42 | 3 มีนาคม พ.ศ. 2523(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 13) | 30 เมษายน พ.ศ. 2526(ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="3" | | style="background:#D2B48C" rowspan="1" | | กองทัพ |- align="center" | 43 | 30 เมษายน พ.ศ. 2526(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 14) | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529(ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | style="background:#BEBEBE" rowspan="2" | | rowspan = 2 |อิสระ |- align="center" | 44 | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 15) | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531(ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งทั่วไป) |- align="center" | rowspan = 2 | 17(1-2) | rowspan = 2 | | rowspan = 2 | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | 45 | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16) | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533(ลาออก) | rowspan="2" | | rowspan="2" style="background:#FF1493" | | rowspan="2" | พรรคชาติไทย |- align="center" | 46 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16) | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534(รัฐประหาร) |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4| คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(หัวหน้าคณะ:พลเอก สุนทร คงสมพงษ์) | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | 18(1) | | อานันท์ ปันยารชุน | 47 | bgcolor = "#F0E68C" | 2 มีนาคม พ.ศ. 2534(มติคณะ รสช.) | bgcolor = "#F0E68C" | 7 เมษายน พ.ศ. 2535(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | | style="background:#BEBEBE" rowspan="1" | | rowspan="4" | อิสระ |- align="center" | 19 | | พลเอก สุจินดา คราประยูร | rowspan = 2 | 48 | 7 เมษายน พ.ศ. 2535(ทูลเกล้าฯ เสนอชื่อโดยสุนทร คงสมพงษ์ ประธานสภา รสช. และมติพรรคร่วมรัฐบาล)|| 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535(ลาออกเนื่องจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ) | rowspan="1" | | rowspan="3" style="background:#BEBEBE" | |- align="center" | - | | มีชัย ฤชุพันธุ์ | bgcolor = "#FFE4B5" | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535(นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง) | bgcolor = "#FFE4B5" | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535(มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่) | rowspan="1" |(รักษาการนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | 18(2) | | อานันท์ ปันยารชุน | 49 | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535(ทูลเกล้าฯ เสนอชื่อโดยอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร) | 23 กันยายน พ.ศ. 2535(ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | |- align="center" | 20(1) | | ชวน หลีกภัย | 50 | 23 กันยายน พ.ศ. 2535(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 18) | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538(ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | | style="background:#00BFFF" rowspan="1" | | พรรคประชาธิปัตย์ |- align="center" | 21 | | บรรหาร ศิลปอาชา | 51 | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 19) | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539(ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | | style="background:#FF1493" rowspan="1" | | พรรคชาติไทย |- align="center" | 22 | | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ | 52 | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 20 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ) | rowspan="1" | | style="background:#FFFF00" rowspan="1" | | พรรคความหวังใหม่ |- align="center" | 20(2) | | ชวน หลีกภัย | 53 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 20) | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544(ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | | style="background:#00BFFF" rowspan="1" | | พรรคประชาธิปัตย์ |- align="center" | rowspan = 2 | 23(1-2) | rowspan = 2 | | rowspan = 2 | ทักษิณ ชินวัตร | 54 | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21) | 11 มีนาคม พ.ศ. 2548(สภาครบวาระ และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="2" | | style="background:#FF0000" rowspan="2" | | rowspan = 2 | พรรคไทยรักไทย |- align="center" | 55 | 11 มีนาคม พ.ศ. 2548(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22) | 19 กันยายน พ.ศ. 2549(ยุบสภาผู้แทนราษฎร จัดการเลือกตั้งทั่วไป และเกิดรัฐประหาร) |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4 | คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(หัวหน้าคณะ: พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) | 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | 24 | | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | 56 | bgcolor = "#F0E68C" | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549(มติคณะ คปค.) | bgcolor = "#F0E68C" | 29 มกราคม พ.ศ. 2551(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | | style="background:#BEBEBE" rowspan="1" | | อิสระ |- align="center" | 25 | | สมัคร สุนทรเวช | rowspan = 2 | 57 | 29 มกราคม พ.ศ. 2551(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23) | 9 กันยายน พ.ศ. 2551(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง) | rowspan="1" | | rowspan="3" style="background:#FF0000" | | rowspan="3" | พรรคพลังประชาชน |- align="center" | rowspan = 2 | 26 | rowspan = 2 | | rowspan = 2 | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | bgcolor = "#FFE4B5" | 9 กันยายน พ.ศ. 2551(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) | bgcolor = "#FFE4B5" | 18 กันยายน พ.ศ. 2551(มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่) |(รักษาการนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | rowspan = 2 | 58 | 18 กันยายน พ.ศ. 2551(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23) | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551(พ้นจากตำเเหน่งเนื่องจากเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี) | rowspan="1" | |- align="center" | - | | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | bgcolor = "#FFE4B5" | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) | bgcolor = "#FFE4B5" | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551(มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่) | rowspan="1" |(รักษาการนายกรัฐมนตรี) | style="background:#BEBEBE" rowspan="1" | | อิสระ |- align="center" | 27 | | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | 59 | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23) | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554(ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | | style="background:#00BFFF" rowspan="1" | | พรรคประชาธิปัตย์ |- align="center" | 28 | | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | rowspan = 2 | 60 | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554(มติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24) | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งขณะรักษาการ หลังจากยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="1" | | rowspan="2" style="background:#FF0000" | | rowspan="2" | พรรคเพื่อไทย |- align="center" | - | | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | bgcolor = "#FFE4B5" | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) | bgcolor = "#FFE4B5" | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557(รัฐประหาร) | rowspan="1" |(รักษาการนายกรัฐมนตรี) |- align="center" style="background:#FA8072" | colspan = 4 | คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(หัวหน้าคณะ: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | colspan = 3 |(ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี) |- align="center" | rowspan = 3 | 29(1-2) | rowspan = 3 | | rowspan = 3 | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา | rowspan = 2 | 61 | rowspan = 2 bgcolor = "#F0E68C" | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557(มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) | rowspan = 2 bgcolor="#F0E68C" | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | rowspan="3" | | style="background:#D2B48C" rowspan="2" | | rowspan = 2 | คณะรักษาความสงบแห่งชาติ |- align="center" | rowspan="3" | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |- align="center" |62 | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562(มติของรัฐสภาไทย ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12) | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งทั่วไป) | style="background:#285aaf" | | อิสระ |- align="center" | rowspan = 1 | 30 | rowspan = 1 | | rowspan = 1 | เศรษฐา ทวีสิน | rowspan = 1 | 63 | rowspan = 1 | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566(มติของรัฐสภาไทย ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12) | rowspan = 1 | ปัจจุบัน | rowspan="1" | | style="background:#FF0000" rowspan="1" | | rowspan = 1 | พรรคเพื่อไทย |} == เชิงอรรถ == == ดูเพิ่ม == นายกรัฐมนตรีไทย * รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยเรียงตามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง * การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย รายชื่อประธานรัฐสภาไทย รายชื่อประธานศาลฎีกาไทย รายชื่อคู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แผนผังการเมืองไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน จากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง - ThaisWatch.com ไทย การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย นายกรัฐมนตรี
thaiwikipedia
102
ทักษิโณมิกส์
ทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics) เป็นคำเรียกนโยบายเศรษฐกิจในสมัยที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย โดยผู้ที่ใช้คำนี้ครั้งแรกคือนางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ ในสุนทรพจน์งานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อ พ.ศ. 2546 โดยหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดังกล่าวที่โดดเด่นที่สุด คือ แดเนียล เลียน นักเศรษฐศาสตร์ของมอร์แกน สแตนลีย์ ดร. สุวินัย ภรณวลัย รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวว่า ทักษิโณมิกส์เป็นประดิษฐกรรมของ พ.ต.ท. ทักษิณ โดยเป็นความคิดของนักกลยุทธ์เชิงสมัยนิยม เพื่อจัดการทางกลยุทธ์ การรวบรวมองค์ความรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งส่วนตัวและส่วนร่วม ซึ่งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย และอาจมีการใช้ความรุนแรง เพื่อให้เขาเป็นผู้ชนะ == ประวัติ == ทักษิโณมิกส์ เป็นชื่อเรียกโดยทั่วไปของนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้จ่ายภาครัฐบาล และสร้างรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว เพื่อแก้ปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน เมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งสาเหตุการเกิดวิกฤตการณ์ในครั้งนั้นมาจากปริมาณเงินที่ไหลเข้ามาจำนวนมาก เพื่อแสวงหากำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและจากตลาดหุ้น ในขณะเดียวกันก็มีการใช้เงินผิดประเภท เพราะกู้เงินระยะสั้นมาเพื่อปล่อยกู้ระยะยาว และการปล่อยสินเชื่อก็ไม่ก่อให้เกิดการผลิตที่แท้จริงขึ้นในระบบเศรษฐกิจ จนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ขึ้น และส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์มีราคาสูงกว่าปัจจัยพื้นฐาน ขณะที่ราคาสินค้าอื่นไม่เปลี่ยนแปลง ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ ทำให้อุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะมีการนำเข้าสินค้าทุนในปริมาณและมูลค่าที่สูงกว่าการส่งออกสุทธิ ส่งผลให้ค่าเงินบาทที่แท้จริงลดลง เมื่อถูกโจมตีค่าเงิน ระดับทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย ก็ไม่เพียงพอที่จะพยุงค่าเงินบาทตามระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ไว้ได้ จนต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 จนต้องขอกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพราะทุนสำรองระหว่างประเทศลดน้อยลงจนไม่เพียงพอชำระหนี้ต่างประเทศ วิกฤตการณ์ทางการเงินของไทย ส่งผลกระทบต่อภาคการเงินของไทยอย่างรุนแรง จนต้องมีการปิดบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ 56 แห่ง รวมทั้งกิจการธนาคาร ขณะที่ภาระหนี้ต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้น เพราะรัฐบาลและกองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปแบกรับภาระหนี้ของธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านั้น นอกจากนั้นยังทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยถดถอยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากการพังทลายของภาคการเงินไทย เพราะสถาบันการเงินมีภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก ขณะที่ปริมาณเงินในระบบก็ลดน้อยลง เพราะการไหลออกของเงินทุน รวมทั้งหนี้ภาครัฐที่มีปริมาณสูงกว่า 2 ล้านล้านบาท ส่วนการส่งออกก็ไม่สามารถเป็นตัวกระตุ้นอุปสงค์รวมภายในประเทศต่อไปได้ เพราะความถดถอยของภาวะเศรษฐกิจโลก และความได้เปรียบของคู่แข่งขัน ซึ่งสามารถส่งออกสินค้าในราคาที่ถูกกว่า รัฐบาลจึงเข้ามามีบทบาทแทนที่ภาคเอกชน ด้วยการกระตุ้นอุปสงค์รวมภายในประเทศ ผ่านการใช้จ่ายตามโครงการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นการบริโภค และการลงทุน ทักษิโณมิกส์ของรัฐบาลทักษิณ ได้รับการกล่าวขานว่าแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง เพราะการแทรกแซงกลไกตลาดทุกระดับ กล่าวคือ มุ่งใช้นโยบายการคลังมากกว่านโยบายการเงิน ทำให้การใช้จ่ายของรัฐบาลมีปริมาณสูง ทั้งในรูปของเงินในงบประมาณรัฐบาล และเงินนอกงบประมาณผ่านรัฐวิสาหกิจ เพื่อกระตุ้นอุปสงค์รวมของประเทศให้ได้และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น แต่ก็สร้างข้อกังวลอีกมากมายเช่นกัน == นิยาม == การดำเนินเศรษฐกิจแบบทักษิโณมิกส์นั้น ทักษิณนิยามว่าคือ นโยบายเศรษฐกิจ 2 แนวทาง (Dual Track Policy) โดยกล่าวว่านโยบายนี้ คือสูตรในการสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทย แนวทางแรกคือ กระตุ้นการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศ และการท่องเที่ยว เพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศ และแนวทางที่สองคือ การกระตุ้นไปในระดับรากหญ้า มุ่งไปที่เกษตรกร ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ทั้ง 2 แนวทางมีความมุ่งหมายกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยหาทางลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาสให้ประชาชน ดร. ดาเนียล เลียน หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของบริษัทมอร์แกน สแตนเลย์ เรียกลักษณะเศรษฐกิจแบบนี้ว่า "สังคมทุนนิยม" (Social Capitalism) หลักการคือ การประยุกต์ระบบทุนนิยมเข้ากับระบบสังคมนิยม เพราะระบบทุนนิยมเป็นระบบที่มีเป้าหมายแต่ไม่มีอุดมการณ์ ส่วนระบบสังคมนิยมเป็นระบบที่มีอุดมการณ์แต่ไม่มีเป้าหมาย นโยบายเศรษฐกิจ 2 แนวทาง เป็นการปรับสังคมเศรษฐกิจฐานล่างให้เป็นระบบสังคมนิยมที่มีเป้าหมาย ส่วนเศรษฐกิจฐานบนใช้ระบบทุนนิยมที่มีอุดมการณ์ แต่นอกเหนือจากการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตแบบ นโยบายเศรษฐกิจ 2 แนวทาง แล้ว บางส่วนของนโยบายทักษิโณมิกส์คือ การแทรกตัวเข้าสู่ตลาดหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นเติบโต เพื่อใช้เป็นช่องทางระบายหุ้นรัฐวิสาหกิจออกไปให้มากที่สุด เป็นการเชื่อมโยงระหว่างดัชนีตลาดหุ้น กับการสร้างมูลค่าสินทรัพย์ของรัฐ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลได้ใช้กลไกเชื่อมโยงจากตลาดหุ้นไปสู่อุปสงค์รวมระบบเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการนำสินทรัพย์ในตลาดหุ้นเปลี่ยนให้เป็นกระแสเงินสด ใช้ต่อสายป่านมาหมุนเศรษฐกิจอีกรอบ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ใช้ตลาดหุ้นสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และผลักดันให้รัฐวิสาหกิจออกจากอ้อมอกของรัฐบาล ให้ยืนบนขาของตัวเอง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุด เพราะนั่นจะหมายถึงการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะในระยะยาวแบบเบ็ดเสร็จด้วย ทักษิโณมิกส์ มีแนวโน้มการอาศัยความสามารถในเชิงบริหารจัดการของฝ่ายบริหารเป็นกลไกสำคัญในการบริหารโนบาย จะเห็นได้จากการจัดสรรงบประมาณกลางจำนวนสูงโดยไม่ได้กำหนดรายละเอียดการใช้จ่ายล่วงหน้า หรือการเข้าไปตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงโดยหวังว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะไม่ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบ managed market economy === การเกิดใหม่ของระบบเศรษฐกิจแบบเคนส์ === แบบจำลองสถิตซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและปรากฏในตำราเศรษฐศาตร์มหภาคทั่วไปก็คือ แบบจำลอง IS/LM แบบจำลองดังกล่าวเกิดจากการตีความแนวคิดของ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ โดยเซอร์ จอห์น ฮิกส์ (1937) และต่อมาได้เพิ่มเติมการเปรียบเทียบแนวคิดของทั้งนักเศรษฐศาสตร์สำนักเดิมและ Keynes โดย Paul Samualson (1948) ในหนังสือ Economics และกลายเป็นแบบจำลองที่ใช้แพร่หลายในการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค แบบจำลองดังกล่าว แสดงลักษณะของระบบเศรษฐกิจซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ อุปสงค์รวมและอุปทานรวม โดยอุปสงค์รวมถูกกำหนดจากดุลยภาพในตลาดสินค้า (goods market) และตลาดเงิน (money market) ส่วนอุปทานรวมถูกกำหนดจากดุลยภาพในตลาดแรงงาน (labour market) และเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งแสดงโดยสมการการผลิต เมื่ออุปสงค์รวมเท่ากับอุปทานรวมของระบบเศรษฐกิจ แบบจำลองจึงสามารถกำหนดระดับผลผลิตดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจได้ แนวคิดหลักทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของเคนส์คือ ระบบเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอุปสงค์รวมของภาคเอกชน คือ การบริโภค และการลงทุน ทำให้ผลผลิตมีความผันผวน เมื่อเกิดความผันผวนขึ้น ระบบเศรษฐกิจจะไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพ ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่ได้ หรือใช้เวลานานในการปรับตัว เพราะกลไกราคาทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากระดับราคาและค่าจ้างที่เป็นตัวเงินปรับตัวไม่ได้อย่างสมบูรณ์และถูกจำกัด (rigidity) ระดับการจ้างงานและผลผลิตดุลยภาพ จะถูกกำหนดจากปัจจัยทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทาน ดังนั้นส่วนประกอบของอุปสงค์รวม ซึ่งก็คือ การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของภาครัฐ จึงมีความสำคัญในการกำหนดระดับผลผลิต รัฐสามารถใช้นโยบายเข้าแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้เครื่องมือทางนโยบายที่มีประสิทธิภาพ คือ นโยบายการคลัง ซึ่งได้แก่ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล ดังนั้นตามแนวคิดของเคนส์ จึงสามารถประมวลเป็นข้อสรุปทางนโยบายที่สำคัญคือ เนื่องจากอุปสงค์ของภาคเอกชนมีความไม่แน่นอน ดังนั้นรัฐจึงควรเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ เครื่องมือที่รัฐใช้ ควรเป็นนโยบายการคลัง ทั้งนี้เพราะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ การใช้นโยบายการเงินโดยการเพิ่มปริมาณเงินจะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเกิดกับดักสภาพคล่อง ทำให้ปริมาณเงินที่รัฐเพิ่มเข้าไปในระบบเศรษฐกิจถูกถือไว้เฉย ๆ โดยภาคเอกชน เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพคือนโยบายการคลัง โดยการเพิ่มรายจ่ายของรัฐ ข้อเสนอของเคนส์เป็นที่ยอมรับทั้งในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะทำให้คนว่างานลดลงอย่างมาก ทำให้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคตามแนวคิดเคนส์ เป็นแนวคิดหลักต่อมาอีกหลายปี โดยในช่วงแรกนั้น ข้อเสนอทางด้านนโยบายส่วนใหญ่จะเน้นทางด้านนโยบายการคลัง จนกระทั่งนโยบายการเงินและบทบาทของเงินเริ่มเป็นที่กล่าวถึงในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เนื่องจากการเสนอแนวคิดในเรื่องการทดแทนกัน (trade-off) ระหว่างการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งอธิบายด้วยเส้นฟิลลิปส์ == การปฏิบัติ == แนวทางแบบทักษิโณมิกส์ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงตกต่ำให้กลับฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง ก็คือ ส่งเสริมการบริโภคของประชาชน เพื่อขยายอุปสงค์รวมของประเทศให้สูงขึ้น อันจะนำไปสู่การลดการพึ่งพาการส่งออก ซึ่งอาจผันผวนได้ตลอดเวลา. หลังจากนั้น เมื่อเศรษฐกิจภายในมีเสถียรภาพในระดับหนึ่งแล้ว จึงจะกระตุ้นการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไปได้ โดยวิธีหนึ่งที่รัฐบาลทักษิณเลือกใช้กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศก็คือ การกระจายทรัพยากรทางการเงินไปสู่ประชาชนระดับ รากหญ้า ผ่านทางโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น โครงการพักการชำระหนี้ของเกษตรกร โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการบ้านเอื้ออาทร ฯลฯ ส่วนการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนนั้น ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 ได้มีนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยจัดแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) ออกเป็นห้ากลุ่มยุทธศาสตร์หลัก เช่น การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น แล้วทำการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เหล่านี้. สำหรับการลงทุนภาครัฐ ได้ลงทุนและมีแผนจะลงทุนในโครงการขนาดยักษ์ (เมกะโปรเจกต์) ต่าง ๆ เช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการระบบโลจิสติกส์ ซึ่งมีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1.7 ล้านล้านบาท เป็นการกระตุ้นการลงทุนต่อจากกระตุ้นการบริโภคในช่วงสมัยแรกของรัฐบาล เพื่อรักษาไม่ให้อุปสงค์รวมมีผลตกต่ำลง นักวิจารณ์มองว่าแนวทางนี้นั้น ไม่ต่างอะไรไปจากเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ ของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ และเศรษฐกิจไทยในช่วงรัฐบาลทักษิณนั้น ก็ยังคงเติบโตจากการส่งออกเป็นหลักเช่นเดิม ส่วนการบริโภคภายในประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเพียงแค่ระดับปานกลางเท่านั้น และการที่ธนาคารของรัฐเร่งปล่อยกู้นั้น ก็อาจจะนำไปสู่หนี้เสียในที่สุด แนวทางนี้ กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยมองว่าเป็นนโยบายประชานิยม ที่ทำไปเพื่อหวังคะแนนเสียงจากประชาชน ทั้งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากนอกจากอาจจะเป็นการสูญเปล่าไม่ได้ผลอะไรกลับมาแล้ว ยังอาจจะสร้างนิสัยการบริโภคเกินตัวของประชาชนอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกของการใช้นโนบายนี้ เศรษฐกิจของไทยขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ผิดจากการคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วยบางท่าน เช่น ดร. อัมมาร์ สยามวาลา ที่เคยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2544 จะโตเพียง 1.5% แต่เศรษฐกิจของไทยในปีนั้นก็ขยายตัวถึง 5.2% อย่างก็ไรก็ตามก็ยังมีเสียงเตือนว่า โครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานนั้น ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกเมื่อไรก็ได้ ดร. สุวินัย ภรณวลัย ได้กล่าวว่า ทักษิโณมิกส์เป็นนโยบายประชานิยมที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าเหลือเชื่อ ซึ่งน่าจะทำให้พรรคไทยรักไทยได้ทำหน้าที่บริหารประเทศอย่างยาวนาน อย่าง พรรค LDP ของประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การทำให้ประชาชนพึ่งทักษิโณมิกส์มากเกินไปอาจทำให้รัฐบาลแบกภาระมากเกินไป และอาจทำให้ทุกอย่างล้มเหลวได้ == การตอบรับ == === การสนับสนุน === ผู้สนับสนุนกล่าวว่า จุดเด่นของทักษิโณมิกส์อยู่ที่การไม่ยึดแบบจำลองทางเศรษฐกิจอย่างตายตัว มีลักษณะเป็นพลวัตรและยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถปรับตัวรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ค่อนข้างดี เช่นในปี พ.ศ. 2548 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญผลกระทบจากไข้หวัดนก คลื่นสึนามิ รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงถึง 69 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังขยายตัวได้ถึง 4.7% === การวิพากษ์วิจารณ์ === ผู้วิพากษ์วิจารณ์ทักษิโณมิกส์ สามารถแบ่งกว้าง ๆ ออกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ที่วิจารณ์ทักษิโณมิกส์ในช่วงแรก ซึ่งมักเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษามาจากสหรัฐอเมริกาอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1950-1970 กลุ่มนี้มีความเคยชินกับระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งสอง ที่สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาชะงักทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อสูง และภาวะการว่างงานสูง ที่เรียกว่า Stagflation ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการแบบเคนส์เข้าไปแก้ปัญหาได้ (ซึ่งถูกแก้ไขโดยแนวคิดที่เรียกว่า เรแกนอมิกส์ ในยุคประธานาธิบดีเรแกน) ซึ่งในประเด็นดังกล่าว กลุ่มผู้สนับสนุนทักษิโณมิกส์กล่าวว่าระบบเศรษฐกิจของไทยมีขนาดเล็กกว่าของของสหรัฐอเมริกา จึงไม่สามารถอนุมานได้ว่า วิธีการแบบเคนส์จะใช้กับประเทศไทยไม่ได้ผล ผู้วิจารณ์อีกกลุ่ม มักเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เช่น น.พ. ประเวศ วะสี เป็นต้น กลุ่มนี้มักมองภาพในมุมมองกว้างกว่าระบบเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่มองไปจนถึงระบบสังคมอีกด้วย กลุ่มนี้ไม่เชื่อในทุนนิยม ซึ่งเป็นพื้นฐานของทักษิโณมิกส์ และสนับสนุนระบบเศรษฐกิจทางเลือกอื่น เช่น ระบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืน การค้าที่เป็นธรรม หรือแนวทางสังคมนิยม เป็นต้น แต่ในทางตรงกันข้าม นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักก็มองว่าระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนนั้น เป็นเพียงแนวความคิด และไม่มีแนวปฏิบัติอย่างชัดเจนที่จะทำให้เกิดขึ้นจริงได้เช่นกัน ดร. สุวินัย ภรณวลัย ได้กล่าวว่า ความเชื่อของทักษิโณมิกส์มีหลักว่าเงินสามารถแก้ปัญหาได้ และการได้เสียงจากประชาชนเป็นความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ซึ่งความสำเร็จของมันจะขึ้นอยู่กับคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารเป็นสำคัญ == ดูเพิ่ม == ระบอบทักษิณ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ทักษิโณมิกส์ - วีรพงษ์ รามางกูร ทักษิโณมิกส์ เศรษฐศาสตร์แบบทักษิณ - รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ Thaksinomics.com รวมรวมเรื่องเกี่ยวกับทักษิโณมิกส์ (ภาษาอังกฤษ) บทบาททางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร อุดมการณ์ทางเศรษฐศาสตร์
thaiwikipedia
103
ตุลาคม พ.ศ. 2548
__NOTOC__ == วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม 2548 == พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และให้แต่งตั้งนายสุชัย เจริญรัตนกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี และนายพินิจ จารุสมบัติ เป็น รมว.กระทรวงสาธารณสุข หลังจากนายสุชัย เจริญรัตนกุล ได้ลาออกจากตำแหน่ง รมว.กระทรวงสาธารณสุข (กรมประชาสัมพันธ์) คณะกรรมการการเลือกตั้งสรุปผลการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้ง 4 เขต ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยแพ้การเลือกตั้งให้ฝ่ายค้านถึง 3 เขต มีผู้มาใช้สิทธิเกินร้อยละ 60 ทุกจังหวัด แต่ยังพบบัตรเสียจำนวนมาก (กรมประชาสัมพันธ์) ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ผู้นำสหรัฐ เสนอชื่อนายแซมมูเอล อลิโต เข้ารับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาต่อจากนางแซนดรา เดย์ โอคอนเนอร์ (กรมประชาสัมพันธ์) นักดาราศาสตร์ประกาศค้นพบวัตถุที่อาจเป็นดวงจันทร์บริวารใหม่ของดาวพลูโตเพิ่มอีก 2 ดวง รวมเป็น 3 ดวง นาซา ==วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2548 == นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดสวนทวีวนารมย์ สวนสาธารณะแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ที่เขตทวีวัฒนา ใกล้กับตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) (กรุงเทพมหานคร) == วันศุกร์ ที่ 28 ตุลาคม 2548 == หลังเหตุแผ่นดินไหวในแคชเมียร์ ความช่วยเหลือจากนานาชาติได้หลั่งไหลเข้าสู่ปากีสถานอย่างต่อเนื่อง แต่มีรายงานว่า ผู้รอดชีวิตที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุแผ่นดินไหวเริ่มป่วยและล้มตายลงแล้ว ล่าสุดพบผู้เสียชีวิตเนื่องจากบาดแผลติดเชื้อบาดทะยัก 22 คน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน "เพชรรัตน-สุวัทนา สองราชนารีในรัชกาลที่ ๖" ณ พระราชวังพญาไท ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งกรมแพทย์ทหารบท กองทัพบก ร่วมกับ ชมรมคนรักวัง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๖ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ ในโอกาสวันประสูติครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๘ โดยในงานมีการแสดงมหาดุริยางค์ระนาด ๘๑ ราง และการบรรเลงเพลง โหมโรงเพชรรัตน-สุวัทนา ซึ่ง ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า มือระนาดชื่อดังในนาม "ขุนอิน" เป็นผู้ประพันธ์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติสองราชนารีในรัชกาลที่ ๖ == วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2548 == วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทย == วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2548 == โฆษกของประธานาธิบดีจาลัล ตาลาบานี ผู้นำอิรักแถลงว่า อิรักจะจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนการปรับเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญอีกขั้นหนึ่ง หลังจากที่อิรักจัดการลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ยานเสินโจว 6 เดินทางกลับถึงโลกโดยปลอดภัยหลังโคจรอยู่นาน 5 วัน ยานลงจอด พร้อมนักบินอวกาศสองคนเมื่อเวลา 04:32 น. ตามเวลาท้องถิ่นวันนี้ในเขตมองโกเลียใน จีนประกาศจะส่งยานสำรวจอีกในสองปีข้างหน้า เนื่องในวันอาหารโลก มีรายงานว่าสถานการณ์ทางโภชนาการในรอบสองปีที่ผ่านมาเลวร้ายลงมาก ประชาชนชาวมาลาวี ในอัฟริกากลางกว่าสิบล้านคนต้องประสบกับภาวะทุภโภชนาการ และในโลกเรามีเด็กเสียชีวิต 1 คนทุกๆสี่วินาที จากการขาดสารอาหาร ภายหลังการลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอิรักเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา การนับคะแนนได้เริ่มขึ้นแล้ว แต่จะทราบผลราววันที่ 20 เดือนนี้ ส่วนที่กรุงแบกแดด ได้มีการยิงปืนใหญ่สองนัดในเขตสีเขียวอันเป็นเขตรักษาความปลอดภัยสูงสุด ราวกับเป็นการคัดค้านต่อคำชมขององค์การสหประชาชาติว่า การลงประชามติดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ ได้กล่าวระหว่างการเยือนกรุงลอนดอนว่า คาดว่าผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในอิรักจะออกมาในแง่บวก และยังได้กล่าวถึงปัญหานิวเคลียร์ในอิหร่านว่า สหรัฐและอังกฤษ เห็นพ้องต้องกันว่าไม่ต้องการให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง ที่กรุงเตหะราน อิหร่านประกาศไม่ยอมยับยั้งกิจกรรมทางนิวเคลียร์ที่เสี่ยงต่อความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์แห่งหนึ่งที่เปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในขณะที่สหภาพยุโรปจะพยายามเปิดการเจรจากับอิหร่านอีกครั้ง เพื่อไม่ให้อิหร่านต้องถูกยื่นเรื่องต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สองสัปดาห์หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในเอเชียใต้ ยอดผู้เสียชีวิตในปากีสถานอยู่ที่ 39,000 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บราว 65,000 คน ฝนที่ตกลงมา และอากาศที่เย็นจัดทางตอนเหนือของปากีสถานทำให้ประชาชนต้องหาที่กำบัง และหน่วยกู้ภัยได้เร่งแจกจ่ายเต็นท์และผ้าห่มแก่ผู้ประสบภัย หลังถูกโคลนถล่มจากฝนที่ตกหนักอันเนื่องมาจากพายุเฮอริเคนสแตนที่พัดผ่านกัวเตมาลาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีหมู่บ้านบางแห่งถูกถล่มหายไปทั้งหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเขตที่พักอาศัยของชาวอินเดียนแดงที่ยากไร้ สรุปยอดผู้เสียชีวิตขณะนี้อยู่ที่ 2,500 คน และยังมีผู้สูญหายอีกจำนวนมาก พบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดนกรายแรกในบัลแกเรีย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจหาเชื้อ ส่วนที่ตุรกีและโรมาเนียที่มีการระบาดของไข้หวัดนกสองประเทศแรกในยุโรป ได้มีการสังหารสัตว์ปีกเป็นจำนวนมาก ชาวอัฟริกันผู้หลบหนีเข้าเมืองกว่า 2,200 ในโมรอคโคถูกทางการโมรอคโคขับออกนอกประเทศแล้ว ส่วนใหญ่เป็นชาวเซเนกัลและมาลี แต่ยังต้องใช้เวลาอีกหลายวันกว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเดินทางกลับถึงบ้านเกิด และทางการโมรอคโคยังระบุว่ามีผู้หลบหนีเข้าเมืองในดินแดนของตนอีกกว่า 15,000 คน โดยมีบางส่วนสามารถหลบหนีข้ามไปยังเขตเมดิญญา อาณานิคมโพ้นทะเลของสเปนได้ นายโรมาโน โพรดี อดีตประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นตัวเต็งในการสรรหาผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีของพรรคฝ่ายค้านปัจจุบัน ในการลงคะแนนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยได้มีการจัดตั้งหน่วยเลือกตั้งกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ เฟอร์นันโด อลอนโซ นักแข่งรถฟอร์มูลาวันชาวสเปน ได้นำรถของทีมเรย์โนลด์เข้าเส้นชัยในการแข่งขันรายการไชนีสกรังปรีซ์ อันเป็นสนามสุดท้ายของฤดูกาล ทำให้ทีมเรย์โนลด์ ได้แชมป์โลกในการจัดอันดับผู้ผลิตรถ ส่วนอลอนโซได้ตำแหน่งแชมป์โลกนักขับประจำปีนี้ ปีเตอร์ ซาวเบอร์ ผู้จัดการทีมแข่งรถซาวเบอร์ เปโตรนาส และผู้มีอิทธิพลในวงการรถสูตรหนึ่ง ประกาศเกษียณอายุแล้ว ดิสนีย์แลนด์ได้รุกเข้าประเทศจีนด้วยการเปิดสาขาในฮ่องกงมาเกือบหนึ่งเดือนแล้ว โดยใช้เงินลงทุนถึงสองพันล้านยูโร ซึ่งก็มีชาวจีนจำนวนมากเดินทางข้ามประเทศมาเยี่ยมชมที่อัตรา 3,000 คนต่อวัน แต่ก็ยังห่างไกลกับยอดผู้เข้าชมสูงสุดที่สามารถรับได้ 30,000 คนต่อวัน และยังมีชาวจีนบางกลุ่มต่อต้านดิสนีย์แลนด์ว่าเป็นการรุกรานของวัฒนธรรมอเมริกันอีกด้วย == วันอาทิตย์ ที่ 16 ตุลาคม 2548 == รัฐบาลสหรัฐ รอลุ้นผลการนับคะแนนลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญของชาวอิรัก ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจถอนทหารสหรัฐ จำนวนนับหมื่นคนออกจากอิรัก (เอเอฟพี) == วันเสาร์ ที่ 15 ตุลาคม 2548 == อิรักเตรียมจัดการลงประชามติ ว่าจะรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของประเทศหรือไม่ โดยระดมใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด หวังปิดโอกาสที่ผู้ก่อความไม่สงบจะแผลงฤทธิ์ขัดขวางการออกเสียงของประชาชน (ผู้จัดการออนไลน์) (เอพี) == วันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม 2548 == การพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ที่ตุรกี ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกังวลว่า เชื้อโรคที่แพร่จากสัตว์สู่คนและทำให้คนในเอเชียตะวันออกตายมาแล้วร่วม 60 คน จะไม่หยุดที่ชายขอบยุโรป (บีบีซีไทย) == วันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม 2548 == นายมาร์คอส คีเปรียนู กรรมาธิการด้านสาธารณสุขของสหภาพยุโรปหรืออียูแถลงว่า ไวรัสต้นเหตุที่ทำให้เป็ดไก่ในตุรกีเสียชีวิตคือไวรัสไข้หวัดนก H5N1 สายพันธุ์เดียวกับที่ระบาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทำให้มีคนเสียชีวิต 60 กว่าคน (บีบีซีไทย) == วันพุธ ที่ 12 ตุลาคม 2548 == จรวดลองมาร์ชได้นำพายานเสินโจว 6 ทะยานขึ้นอวกาศจากสถานยิงดาวเทียมจิ่วเฉวียน มณฑลกันซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนแล้ว เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมาตามเวลาประเทศไทย โดยมีเฟ่ยจวิ้นหลงและเนี่ยไห่เซิ่ง 2 นักบินอวกาศโดยสารไปด้วย นับเป็นการขนส่งมนุษย์สู่ห้วงอวกาศครั้งที่ 2 ของจีน (ผู้จัดการออนไลน์) เอ็มเอสเอ็น และ ยาฮู! เมสเซนเจอร์ ประกาศร่วมมือกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคุยกันข้ามระบบเครือข่ายได้ภายในต้นปีพ.ศ. 2549 == วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2548 == สามสัปดาห์หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาปกครองสหพันธรัฐในเยอรมนี ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า นางแองเจลลา เมอร์เคล จากพรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต จะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ซึ่งนับเป็นสตรีคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งนี้ ต่อจากนายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์จากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยที่จะได้ร่วมรัฐบาลเช่นกัน แต่ต้องรอถึงวันจันทร์จึงจะทราบรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลเมอร์เคลหนึ่ง จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเอเชียใต้ ขณะนี้ยอดผู้เสียชีวิตในปากีสถานเพียงอย่างเดียว ก็อยู่ที่สามหมื่น ถึงสี่หมื่นคนแล้ว หน่วยกู้ภัยกำลังแข่งกับเวลา เพื่อค้นหาผู้ที่ยังคงติดอยู่ในซากปรักหักพัง โดยสามารถช่วยเหลือผู้รอดชีวิตได้จำนวนหนึ่งอย่างปาฏิหาริย์ ส่วนแคว้นแคชเมียร์ของอินเดียได้รับความเสียหายอย่างหนัก มียอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ราว 950 คน ในบางพื้นที่สามารถเข้าถึงได้ทางเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการกู้ภัยเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และผู้เชี่ยวชาญจากกาชาดสากลระบุว่า การกู้ภัยอาจต้องหยุดชะงักลง ทางการสหรัฐได้ประกาศมอบเงินช่วยเหลือให้ปากีสถาน เป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว เพื่อเป็นการตอบแทนที่ปากีสถานได้เคยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยจากพายุเฮอริเคนคาทรินาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ สหรัฐยังได้ส่งอุปกรณ์รักษาพยาบาล เครื่องกรองน้ำ และผ้าห่มไปให้ เนื่องจากเริ่มมีอากาศหนาวเย็นในบางพื้นที่ ทางการอินเดีย ประกาศว่า ปากีสถานยอมรับความช่วยเหลือจากอินเดียแล้ว เป็นสิ่งของบรรเทาทุกข์ รวมทั้งสิ้น 25 ตัน หลังจากที่ทั้งสองประเทศเป็นคู่อริกันมานานกว่าห้าสิบปี จากกรณีพิพาทแคว้นแคชเมียร์ ที่บัดนี้ถูกทำลายจนย่อยยับจากแผ่นดินไหว สถานการณ์ในกัวเตมาลาหลังถูกพายุเฮอริเคนสแตน ถล่ม ทางตะวันตกของประเทศได้รับความเสียหายหนัก หน่วยกู้ภัยกำลังเร่งค้นหาประชาชนที่หายสาบสูญกว่า 1,400 คนจากหมู่บ้านสองแห่งที่ถูกโคลนถล่มอันเนื่องมาจากฝนตกหนัก รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สเปนส่งผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวอัฟริกันกลับประเทศบ้านเกิดแล้ว ด้วยการขนส่งทางอากาศ ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในนครเจนีวา นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้กล่าวประณามการลักพาตัวกองกำลังสหภาพอัฟริกันในแคว้นดาเฟอร์ และยังเรียกร้องให้ทางการซูดานเร่งเสริมมาตรการความปลอดภัยให้เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม วัยรุ่นปาเลสไตน์สามคนถูกทหารอิสราเอลยิงเสียชีวิต ใกล้กับด่านเข้าออกทิสซูฟีน ทางตอนใต้ของเขตฉนวนกาซ่า โดยกองกำลังอิสราเอลระบุว่า ได้ยิงถล่มเข้าใส่กลุ่มเงาเลือนราง โดยไม่ทราบว่าผู้ต้องสงสัยเป็นพลเรือน และไม่ติดอาวุธ ส่วนการประชุมครม.ระหว่างนายกรัฐมนตรีอาเรียล ชารอน ของอิสราเอล และนายมามุด อับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ มีอันต้องเลื่อนไปเป็นปลายเดือนตุลาคมนี้ อันเนื่องมาจากความเห็นไม่ลงรอยเกี่ยวกับเรื่องนักโทษการเมือง ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีโปแลนด์ ปรากฏว่าจะต้องจัดการเลือกตั้งรอบสองขึ้น เนื่องจากผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุดสองคน ได้แก่นายโดนัลด์ เชชก์ จากพรรคลิเบอรัล กับนายเลช คาซินสกี จากพรรคอนุรักษนิยม มีคะแนนต่างกันไม่ถึงห้าแสนคะแนน เกาหลีเหนือจัดพิธีสวนสนามเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีพรรคกรรมกร อันเป็นโอกาสให้พรรคคอมมิวนิสต์ของเกาหลีเหนือเรียกร้องให้เพิ่มแสนยานุภาพทางทหาร พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกในตุรกีและโรมาเนีย ทำให้สหภาพยุโรปประกาศห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจากตุรกีแล้ว ส่วนทางการโรมาเนีย ได้สั่งทำลายสัตว์ปีกไปกว่า 1,500 ตัว และมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งถูกกักบริเวณรอเพื่อดูอาการ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้ ตกเป็นของนายโรเบิร์ต เจ. โอมานน์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว และนายธอมัส ซี. เชลลิง นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันจากผลงานการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ด้วยทฤษฎีเกม ที่ทำให้สามารถอธิบายข้อพิพาททางเศรษฐกิจได้ เป็นต้นว่า สงครามตัดราคา หรือสงครามการค้า == วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2548 == ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวในเอเชียใต้เมื่อวันเช้าเสาร์เพิ่มขึ้นเป็นกว่าสองหมื่นคนแล้ว โดยแคว้นแคชเมียร์ในปากีสถานได้รับความเสียหายหนักที่สุด เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาเข้าถึงได้ยาก และเส้นทางถูกตัดขาด ประชาชนกำลังอยู่ในสภาพสิ้นหวัง 24 ชั่วโมงหลังเหตุแผ่นดินไหวในเอเชียใต้ หน่วยกู้ภัยของอังกฤษและตุรกีได้เดินทางถึงปากีสถานแล้ว พร้อมด้วยอุปกรณ์อันทันสมัย โดยหน่วยกู้ภัยสามารถช่วยเหลือสตรีสองคนออกมาได้จากซากปรักหักพังของอาคารแห่งหนึ่งในกรุงอิสลามาบาด หลังจากที่ประเทศในแถบอเมริกากลางถูกถล่มด้วยพายุเฮอริเคนสแตน ฝนที่ตกหนักทำให้เกิดโคลนถล่มที่ประเทศกัวเตมาลา และคาดว่ายอดผู้เสียชีวิต 500 คนในขณะนี้อาจเพิ่มขึ้นอีกถึงสามเท่า เนื่องจากมีประชาชนหายสาบสูญกว่า 1,400 คน สิบห้าวันหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในโปแลนด์ เมื่อวันอาทิตย์วานนี้ก็ถึงคราวที่ชาวโปแลนด์กว่า 30 ล้านคนต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ แต่หลังเปิดหีบ หน่วยเลือกตั้งกว่า 25,000 แห่งกลับเงียบเหงา เนื่องจากเป็นธรรมเนียมของชาวคาธอลิกว่าจะไปลงคะแนนหลังพิธีมิสซาในช่วงเช้า ในจำนวนผู้สมัคร 12 คน มีตัวเต็งสองคนได้แก่นายเลช คาสซินสกี้ จากพรรคอนุรักษนิยม และนายโดนัล เชชก์ จากพรรคลิเบอรัล เมื่อวานนี้ ประชาชนชาวอิตาลีกว่าหนึ่งแสนคนจากทั่วประเทศ ได้มาชุมนุมกันที่กรุงโรม เพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี ซึ่งในการชุมนุมครั้งนี้ มีนายโรมาโน โพรดี อดีตประธานคณะกรรมาธิการยุโรป คู่แข่งทางการเมืองของแบร์ลุสโกนี รวมอยู่ด้วย สเปนและโมร็อกโค กำลังขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวอัฟริกัน ที่พยายามข้ามเขตแดนเข้ามาในเมืองเมลิญญา อาณานิคมโพ้นทะเลของสเปน ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา โดยกลุ่มผู้อพยพดังกล่าวถูกนำไปปล่อยในทะเลทรายให้เดินเท้าไปยังโมร็อกโค และอัลจีเรีย บริษัทเดลฟี ของสหรัฐ ผู้นำด้านการผลิตอะไหล่รถยนต์ของโลก ต้องประกาศล้มละลาย เนื่องจากขาดดุลเมื่อปีที่แล้วถึง 747 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เดลฟีมีการจ้างงานทั่วโลกกว่า 185,000 ตำแหน่ง องค์การอวกาศของยุโรป ประสบความล้มเหลวในการส่งดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศครีโอแซท ขึ้นสู่วงโคจร จากฐานปล่อยจรวดทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย เนื่องจากปัญหาเครื่องยนต์จรวดขัดข้อง และได้ตกลงทางตอนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ใกล้กับขั้วโลกเหนือ มีมูลค่าความเสียหายกว่า 143 ล้านยูโร จากการทำงานกว่าห้าปี ดาวเทียมดังกล่าวมีภารกิจสำรวจขนาดของก้อนน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลาย เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปรากฏการณ์เรือนกระจก ในการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวัน รายการแจแปนกรังปรีซ์ ที่สนามซูซูกะ อันเป็นรายการก่อนสุดท้ายของฤดูกาล คิมิ ไรโคเนน นักแข่งชาวฟินแลนด์นำรถของทีมแมคลาเรน เมอร์เซเดส เข้าเส้นชัย แต่อย่างไรก็ดี ตำแหน่งแชมป์โลกรถสูตรหนึ่งปีนี้ ตกเป็นของเฟอร์นันโด อลอนโซ จากทีมเรย์โนลด์ เป็นที่แน่นอนแล้ว จอห์น กัลลีอาโน นักออกแบบเสื้อผ้าชื่อดังของห้องเสื้อดิออร์ ไม่ทำให้แฟนๆผิดหวัง ในการเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนปีค.ศ. 2006ที่กรุงปารีส โดยการนำคนธรรมดามาแต่งตัวเดินแบบเป็นคู่ๆในแบบที่ไม่ธรรมดา เช่นสาวร่างท้วมกับหนุ่มร่างกำยำ หรือสาวร่างแคระกับหนุ่มผอมสูง แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่สะดุดตา ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ใครๆก็ดูดีได้” == วันอาทิตย์ ที่ 9 ตุลาคม 2548 == ทางการจีนจัดแถลงข่าวประกาศความสูงล่าสุดของยอดเขาเอเวอเรสต์ หรือที่เรียกในภาษาจีนว่า “จูหมู่หลังหม่า” ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบนเทือกเขาหิมาลัย จากการวัดครั้งล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ยอดเขาดังกล่าวมีความสูง 8,844.43 เมตร (29,017 ฟุต 2 นิ้ว) เหนือระดับน้ำทะเล (ซินหัวเน็ต) (สกายนิวส์) == วันเสาร์ ที่ 8 ตุลาคม 2548 == เกิดเหตุแผ่นดินไหวความรุนแรง 7.6 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากกรุงอิสลามาบาด ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 95 กิโลเมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 20,000 คน (และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก) จอร์จ ดับเบิลยู บุชประธานาธิบดีสหรัฐ ได้หารือกับบรรดาผู้บริหารบริษัทผู้ผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกที่ทำเนียบขาวและขอให้บริษัทเหล่านี้เพิ่มการผลิต ทั้งนี้ มีความกังวลกันมากขึ้นว่าจะเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดในคน (บีบีซีไทย) == วันศุกร์ ที่ 7 ตุลาคม 2548 == คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศให้สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอและผู้อำนวยการคือนายมุฮัมมัด อัลบะรอดะอีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปีนี้ == วันพฤหัสบดี ที่ 6 ตุลาคม 2548 == ทางการนิวยอร์กออกมาแถลงว่ามีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยหลังมีข่าวกรองที่ชี้ว่าระบบรถไฟใต้ดินในนิวยอร์กตกเป็นเป้าการโจมตี == วันพุธ ที่ 5 ตุลาคม 2548 == กาชาดสากลสรุปรายงานออกมาว่า ถ้าประชาชนได้รับการเตือนภัยอย่างรวดเร็วในช่วงที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปลายปีที่แล้ว จำนวนผู้เสียชีวิตจะน้อยกว่านี้หลายหมื่นคน (บีบีซีไทย) == วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2548 == สหภาพยุโรปเปิดเจรจาอย่างเป็นทางการกับตุรกีแล้ว เรื่องการรับตุรกีเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป หลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประธานการประชุมของอียูผ่าทางตันในประเด็นนี้ได้ == วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2548 == จากเหตุระเบิดสามครั้งซ้อนบนเกาะบาหลีเมื่อคืนวันเสาร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 26 คน ทางการอินโดนีเซียพบวิดีโอสมัครเล่นแสดงให้เห็นชายผู้หนึ่งสะพายเป้เดินเข้าไปในร้านอาหารก่อนที่จะเกิดระเบิดเพียงไม่กี่วินาที ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นฝีมือของผู้ก่อเหตุระเบิดพลีชีพของกลุ่มเจไอ อิสลามิยา ในขณะที่สนามบินแออัดไปด้วยนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางออกจากเกาะ รัฐบาลอิสราเอลเกรงก่อการร้ายบนคาบสมุทรไซไน ประกาศให้นักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลที่มาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ของชาวยิวเดินทางออกจากพื้นที่แล้ว ทั่วโลกกำลังจับตามองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาสหพันธรัฐในเมืองเดรสเดน ทางตะวันออกของเยอรมนี ที่ได้เลื่อนกำหนดการมาจากเดิมสิบห้าวัน เนื่องจากมีผู้สมัครคนหนึ่งเสียชีวิตก่อนการเลือกตั้งเล็กน้อย การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการช่วงชิงสามที่นั่งในสภาปกครองสหพันธรัฐ ซึ่งจะสามารถชี้ขาดว่านางแองเจลลา เมอร์เคล หรือนายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เมื่อวานนี้ ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศของกว่า 25 ประเทศยุโรปกำลังประชุมที่ลักเซมเบิร์กเพื่อโน้มน้าวให้ออสเตรียเปลี่ยนใจหันมาสนับสนุนตุรกีเข้าร่วมสหภาพยุโรปอยู่นั้น กลุ่มรักชาติหัวรุนแรงชาวตุรกีกว่าหกหมื่นคนได้ออกมาชุมนุมประท้วงการเข้าร่วมอียูตามท้องถนนในกรุงอังการา หลังเกิดเหตุระเบิดเรือโดยสารของกรมศุลกากรฝรั่งเศสที่ชายฝั่งเมืองท่าบาสเตีย บนเกาะคอร์ซิกา เมื่อวันเสาร์จากเหตุขัดแย้งเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของการเดินเรือข้ามฟากระหว่างเกาะคอร์ซิกากับประเทศฝรั่งเศส ขณะนี้สมาชิกสหภาพแรงงานที่ก่อเหตุประท้วงได้ยอมล้มเลิกการประท้วงปิดกั้นท่าเรือแล้ว ทำให้ผู้โดยสารกว่าห้าพันคน สามารถเดินทางกลับฝรั่งเศสได้ พายุเฮอร์ริเคนโอติส ที่เข้าถล่มเม็กซิโกเมื่อวันก่อน ได้อ่อนกำลังลงแล้ว กลายเป็นพายุฤดูร้อนธรรมดา และกำลังมุ่งหน้าไปยังตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ทางการสหรัฐได้ส่งสัญญาณเตือนภัย และห้ามเดินเรือในพื้นที่แล้ว ที่ประเทศเอลซัลวาดอร์ ภูเขาไฟซานตา อานนา ที่สงบมานานเกือบหนึ่งร้อยปี ได้เปิดปะทุขึ้น ส่งผลให้แผ่นดินสะเทือนเป็นวงกว้าง และมีประชาชนเสียชีวิตสองคน ทางการเอลซัลวาดอร์ได้ประกาศเตือนภัย และอพยพประชาชนกว่าสี่พันคนออกจากหมู่บ้านใกล้เคียงแล้ว นักวิทยาศาสตร์อเมริกันเตือนภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายเร็วที่สุดในรอบสี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปรากฏการณ์เรือนกระจก และหากไม่รีบดำเนินการแก้ไขแล้ว อาจไม่เหลือน้ำแข็งขั้วโลกอีกเลยภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้ ที่กรุงโตเกียว ได้มีการประดับประดาหอคอยโตเกียวด้วยแสงไฟสีชมพู เพื่อเป็นการรณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็งทรวงอก ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่าหนึ่งหมื่นคนในปีค.ศ. 2004 == วันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลาคม 2548 == เกิดเหตุระเบิดที่เกาะบาหลีของ อินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิต 26 คนและบาดเจ็บอีกร้อยกว่าคน เหตุระเบิดสามระลอกเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันบนเกาะบาหลี เหตุระเบิดเกิดขึ้นในภัตตาคารที่พลุกพล่านในย่านนักท่องเที่ยว == วันเสาร์ ที่ 1 ตุลาคม 2548 == เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลกับชาวอินโดนีเซียที่มารวมตัวกันประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันของรัฐบาลในกรุงจาการ์ตา ขณะที่ผู้นำอินโดนีเซียอ้างว่า การขึ้นราคาน้ำมันเป็นหนทางเดียวที่จะคลี่คลายวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศลงได้ (ผู้จัดการออนไลน์) == แหล่งข่าว == === หนังสือพิมพ์ === รายวัน: ไทยรัฐ - เดลินิวส์ - ข่าวสด - แนวหน้า - กรุงเทพธุรกิจ - ผู้จัดการรายวัน - มติชนรายวัน - บางกอกโพสต์ รายสัปดาห์: ฐานเศรษฐกิจ - ประชาติธุรกิจ === โทรทัศน์ === ช่อง 3 - ช่อง 5 - ช่อง 7 - ช่อง 9 - ช่อง 11 - ไอทีวี - เนชั่นแชนแนล === สำนักข่าวต่างประเทศ === ซีเอ็นเอ็น - บีบีซี - รอยเตอร์ - เอเอฟพี ตุลาคม พ.ศ. 2548
thaiwikipedia
104
เนบิวล่า (นิตยสาร)
เนบิวล่า เป็นนิตยสารรวมเรื่องสั้นของไทย จัดทำโดย สำนักพิมพ์เทคนิคัล เอนเตอไพรส์ ฉบับที่ตีพิมพ์ Nebula-1 รวมเรื่องสั้น Nebula-2:ผู้ต้านเวลา บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ นิตยสารบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ไทย
thaiwikipedia
105
นาโนเทคโนโลยี
นาโนเทคโนโลยี (อังกฤษ: Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้างหรือการวิเคราะห์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร (ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือ เพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์วัสดุในระดับที่เล็กมาก ๆ เช่น การจัดอะตอมและโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุ หรืออุปกรณ์ มีสมบัติพิเศษขึ้นไม่ว่าทางด้านกายภาพ เคมี หรือชีวภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นาโนศาสตร์ (Nanoscience) คือ วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัสดุ อินทรีย์ อนินทรีย์ และรวมไปถึงสารชีวโมเลกุล ที่มีโครงสร้างในสามมิติ (ด้านยาว ด้านกว้าง ด้านสูง) ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 3 ด้าน มีขนาดอยู่ระหว่าง 1-100 นาโนเมตร โดยวัสดุที่มีมิติทั้งสามเล็กกว่า 100 นาโนเมตร วัสดุชนิดนั้น เรียกว่า วัสดุนาโนสามมิติ (3-D nanomaterial) ถ้ามี สองมิติ หรือ หนึ่งมิติ ที่เล็กกว่า 100 นาโนเมตร เรียกว่า วัสดุนาโนสองมิติ (2-D) และวัสดุนาโนหนึ่งมิติ (1-D) ตามลำดับ สมบัติของวัสดุนาโนจะแตกต่างจากวัสดุที่มีขนาดใหญ่ (bulk material) ไม่ว่าจะเป็นสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ล้วนแล้วแต่มีสมบัติเฉพาะตัว ดังนั้น ถ้ากล่าวถึง นาโนศาสตร์ ก็จะเป็นการสร้างหรือศึกษาวัสดุที่มีโครงสร้างในระดับนาโนเมตร โดยผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ วัสดุชนิดใหม่ หรือทราบสมบัติที่แตกต่างและน่าสนใจ โดยสมบัติเหล่านั้นสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษีทางควอนตัม (quantum theory) ==ประวัติ== ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นคนแรกที่แสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของนาโนเทคโนโลยี ในการบรรยายเรื่อง “There’s plenty of room at the bottom” ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) โดยการแสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และโอกาสของประโยชน์ที่จะได้จากการจัดการในระดับอะตอม ปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ศาสตราจารย์โนริโอะ ทานิงูจิ (Norio Taniguchi) แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียวเป็นคนแรกที่เริ่มใช้คำว่า “Nanotechnology” == ประโยชน์ของนาโนเทคโนโลยี == ประโยชน์ของนาโนเทคโนโลยีเป็นความหวังที่จะฝ่าวิกฤติปัจจุบันของมนุษยชาติได้หลากหลายอย่างดังนี้ พบทางออกที่จะได้ใช้พลังงานราคาถูกและสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีน้ำที่สะอาดเพียงพอสำหรับทุกคนในโลก ทำให้มนุษย์สุขภาพแข็งแรงและอายุยืนกว่าเดิม (มนุษย์อาจมีอายุเฉลี่ยถึง 200 ปี) สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างพอเพียงกับประชากรโลก เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสารของผู้คนทั้งโลกอย่างทั่วถึง ทัดเทียม สร้างหุ่นยนต์นาโนที่สามารถซ่อมแซมความบกพร่องของเซลล์เม็ดเลือดแดง คอยทำลายเซลล์แปลกปลอมต่าง ๆ มีความสามารถในการประกอบตัวเอง และทำสำเนาตัวเอง การใช้เทคโนโลยีในเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ การใช้นาโนเทคโนโลยีในการผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพและทางการแพทย์ ในอนาคตเราอาจใช้นาโนเทคโนโลยีสร้างอวัยวะเทียม == สาขาย่อยของนาโนเทคโนโลยี == นาโนอิเล็กทรอนิกส์ (Nanoelectronics) นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ (Bionanotechnology) นาโนเซนเซอร์ (Nanosensor) การแพทย์นาโน (Nanomedicine) ท่อนาโน (Nanotube) นาโนมอเตอร์ (Nanomotor) โรงงานนาโน (Nanofactory) งานด้านวัสดุนาโนเฉพาะทางและนาโนเทคโนโลยีขั้นสูง การพัฒนาวัสดุนาโนเฉพาะทางเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะด้าน ที่มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้งานด้านผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี งานด้านการเกษตรนาโนและสิ่งแวดล้อม การวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมอาหาร เกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีการดัดแปลงโครงสร้างและพื้นผิว รวมทั้งการเตรียมนาโนคอมพอสิตี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ร่วมกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน งานด้านนาโนเพื่อชีวิตและสุขภาพ การวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัยโดยการใช้โมเลกุลเป้าหมาย การพัฒนาเทคโนโลยีระบบนำส่งยาชนิดใหม่และเวชสำอางจากการใช้ประโยชน์ ด้วยสารจากธรรมชาติและสมุนไพรไทย เพื่อการประยุกต์ทางด้านการแพทย์ สาธารณสุขและเวชสำอาง งานด้านมาตรวิทยานาโนวิเคราะห์และวิศวกรรม การวิจัยและพัฒนาทางด้านมาตรวิทยาและความปลอดภัยทางด้านนาโนเทคโนโลยี การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบระดับนาโน การพัฒนาต้นแบบงานวิจัยเชิงวิศวกรรม เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการผลิตสินค้าและบริการในด้าน คุณภาพและมาตรฐานต่างๆในระดับสากล งานด้านการพัฒนาวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน การพัฒนาและออกแบบ วัสดุ โครงสร้าง และระบบในระดับนาโนด้วยวิธีการคำนวณทางเคมีคอมพิวเตอร์ผ่านการสร้างแบบจำลองและการประเมินเชิงวิศวกรรมผ่านการ สร้างต้นแบบและระบบนำร่องสำหรับการประยุกต์ใช้งานในด้านพลังงาน ตัวเร่งปฏิกิริยา ประสิทธิภาพสูงและระบบตรวจวัดแบบจำเพาะ เพื่อความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม == ตัวอย่างผลงานจากนาโนเทคโนโลยี == คอนกรีตชนิดหนึ่งใช้เทคโนโลยีนาโน ใช้ Biochemical ทำปฏิกิริยาย่อยสลายกับมลภาวะที่เกิดจากรถยนต์ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ในประเทศอังกฤษได้เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างถนนและอุโมงค์ต่างๆ เพื่อลดมลภาวะบนท้องถนน และขณะเดียวกันเทคโนโลยีนาโน ทำให้อนุภาคคอนกรีตมีขนาดเล็กมาก ฝุ่น และแบคทีเรีย ไม่สามารถฝังตัวในเนื้อคอนกรีตได้ ทำให้อาคารที่ใช้คอนกรีตชนิดนี้ ดูใหม่เสมอ และยังคงไม่สะสมเชื้อโรค เสื้อนาโน ด้วยการฝังอนุภาคนาโนเงิน (silver nanoparticle) ทำให้เกิดปฏิกิริยากับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย หรือการใช้อนุภาคสังกะสีออกไซด์ระดับนาโนเมตรที่สามารถทำงานได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงที่ตามองเห็น หรือแสงขาวมากเคลือบเส้นใยหรือสิ่งทอ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่สามารถกำจัดสารอินทรีย์ต่างๆ โดยการแตกสลายตัว ทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และลดกลิ่นอับที่เกิดขึ้นได้ โดยมีการนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อนาโนหลายรูปแบบ เช่น เสื้อกีฬานาโนยับยั้งเชิ้อจุลินทรีย์และกลิ่น ไม้เทนนิสนาโนผสมท่อคาร์บอนนาโน เป็นตัวเสริมแรง (reinforced) ทำให้แข็งแรงขึ้น (อ่าน วัสดุผสม) ชุดนักเรียนปลอดเชื้อและกลิ่น อันเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัย สวทช. กับบริษัท สยามชุดนักเรียน จำกัด ในการพัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบผ้าด้วยอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ ซึ่งใช้แสงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาย่อยสลาย หรือที่เรียกว่า โฟโตแคตลิสต์ (photocatalyst) โดยไทเทเนียมไดออกไซด์ที่โดนกระตุ้นด้วยแสงยูวี จะเกิดการแตกตัวและทำปฏิกิริยากับน้ำ จนได้เป็นอนุมูลอิสระซึ่งจะสามารถไปย่อยสลายโปรตีนหรือสารเคมีต่างๆ จนทำให้เชื้อแบคทีเรียและกลิ่นอับหมดไป จึงมีการนำเทคโนโลยีการเคลือบผ้าด้วยอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์นี้ไปใช้กับกระบวนการผลิตชุดนักเรียนต่อไป == อ้างอิง == History of the Nanotechnology Meme สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554. == ดูเพิ่ม == ไมโครเทคโนโลยี (MEMS/MST) ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (MEMS or Microelectromechanical Systems) วิศวกรรมวัสดุ - ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบวัสดุ เพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรม วัสดุนาโน == แหล่งข้อมูลอื่น == Nano in Thailand Blog สถานภาพความก้าวหน้าของนาโนเทคโนโลยี และ เทคโนโลยีเกิดใหม่ต่างๆ ในโลกและในประเทศไทย โดย ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ How nanotechnology will work นาโนเทคโนโลยี คืออะไรกันแน่ ดร.สิรพัฒ ประโทนเทพ วิชาการ.คอม ไขปริศนา นาโนเทคโนโลยี บน วิชาการ.คอม โดย ดร. ณัฐพันธุ์ ศุภกา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ Nanotechnology สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (ภาษาอังกฤษ) Center of Nanoscience and Nanotechnology มหาวิทยาลัยมหิดล Nanotechnology - Foresight Institute Asia Pacific Nanotechnology Forum เอเชียแปซิฟิก Institute of Nanotechnology ยุโรป National Nanotechnology Initiative สหรัฐอเมริกา Scientific American: Nanotechnology (นิตยสาร) Nanotechnology Now Nano Protective Nanotechnology วัสดุศาสตร์
thaiwikipedia
106
เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว
เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว (pick a flower on Earth and you move the farthest star) อาจหมายถึง คำกล่าวของ พอล ดิแรก (Paul Dirac) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ทฤษฎีความอลวน (chaos theory) เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว – อัลบั้มเพลงของเกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ และฉัตรชัย ดุริยประณีต จากวงเฉลียง
thaiwikipedia
107
ไมโครเทคโนโลยี
ไมโครเทคโนโลยี (Micro Electro-Mechanical Systems-MEMS/Microsystems Technology -MST) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับที่ใหญ่กว่านาโนเทคโนโลยี ในทางทฤษฎีแล้ว ไมโครเทคโนโลยีต่างจากนาโนเทคโนโลยีเชิงโมเลกุล (molecular nanotechnology) ไมโครเทคโนโลยีมีประกอบด้วยชิ้นส่วนที่มีขนาดระหว่าง 1 ถึง 100 ไมโครเมตร (0.001 ถึง 0.1 มิลลิเมตร) โดยทั่วไปอุปกรณ์ไมโครเทคโนโลยีแล้วจะมีขนาดตั้งแต่ 20 ไมโครเมตร ถึงระดับ มิลลิเมตร และจะมีหน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์อื่น ๆ และไมโครเซนเซอร์ ขนาดในระดับของไมโครเทคโนโลยี ทำให้บางครั้งทฤษฎีฟิสิกส์แบบเก่าไม่สามารถใช้ได้ เพราะว่าอัตราของพื้นผิวต่อปริมาตรที่มากของไมโครเทคโนโลยีทำให้ผลกระทบจากพื้นผิว เช่นไฟฟ้าสถิต และ ภาวะการเปียก (ความสามารถของของเหลวในการรักษาหน้าสัมผัสกับพื้นผิวของแข็ง) มีอิทธิพลเหนือ ผลกระทบจากปริมาตร เช่น แรงเฉื่อย หรือ thermal mass == ดูเพิ่ม == ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (MEMS or Microelectromechanical Systems) นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == An Early History of Silicon Sensors Image Gallery of Microscopic MEMS Machines Movie Gallery of Functioning MEMS Sources of books, conferences and companies Tutorials on MEMS Links to MEMS pages วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า
thaiwikipedia
108
ลินุกซ์
ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft == ประวัติ == ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์ เคอร์เนลเป็นคนแรก คือ ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยแรกเริ่ม ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกะนูขึ้นในปี พ.ศ. 2526 จุดมุ่งหมายโครงการกะนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกะนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม (Libraries) คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมแก้ไขข้อความ(Text Editor) และเปลือกระบบยูนิกซ์(Shell) ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนล(Kernel) เท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกะนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกะนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล ในพ.ศ. 2534 โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากทั่วโลกพันกว่าคนได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาโครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaar ในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กะนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว โตร์วัลดส์ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์ == การอ่านออกเสียง == ในขณะที่ในไทยใช้คำว่า "ลินุกซ์" ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนิยมออกเสียงเป็น "ลินิกซ์" หรือ "ไลนิกซ์" โดยพยางค์ท้ายอ่านเหมือนพยางค์ท้ายของคำว่า"ยูนิกซ์" โดยลินุส โตร์วัลดส์ผู้ที่คิดค้นลินุกซ์ได้กล่าวไว้ว่า "li" อ่านเหมือนเสียงสระอิ /ɪ/ และ "nux" อ่านเสียงสระเหมือนเสียง /ʊ/ ซึ่งคล้ายเสียง "อุ" ในภาษาไทย ในซอร์ซโค้ดของลินุกซ์เคอร์เนลมีไฟล์ที่เก็บคำพูดของโตร์วัลดส์ ที่พูดว่า "Hello, this is Linus Torvalds, and I pronounce Linux as Linux" เก็บไว้เนื่องจากมีการโต้เถียงกันมากในเรื่องการออกเสียง == การใช้งาน == การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภท ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดีย เนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวิดีโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมัน ระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มากขึ้น ในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่เร็วที่สุดสองอันดับแรกใช้ลินุกซ์ และจาก 500 ระบบ มีถึง 371 ระบบ (คิดเป็น 74.2%) ให้ลินุกซ์แบบใดแบบหนึ่ง เครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในปี พ.ศ. 2549 รันลินุกซ์ โซนียังได้ปล่อย PS2 Linux สำหรับใช้กับเพลย์สเตชัน 2 อีกด้วย ผู้พัฒนาเกมอย่าง Atari และ id Software ก็เคยออกซอฟต์แวร์เกมบนลินุกซ์มาแล้ว == ส่วนแบ่งการตลาด == ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันของลินุกซ์มีเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องจากรายงานการวิจัยจาก Company IDC ในปี พ.ศ. 2545 โดย 25% ของเซิร์ฟเวอร์ และ 2.8% ของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทำงานระบบลินุกซ์ เนื่องจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของลินุกซ์ ฟรี และระบบความปลอดภัยสูง ทำให้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เติบโตสูงที่สุดในปัจจุบัน == การติดตั้ง == การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีหรือยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในนั้น ซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่นสามารถเบิร์นได้จาก ISO image ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากสัญญาอนุญาตของโปรแกรมเป็นแบบ GPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่อง การทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องทั่วไป == การเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์ == ส่วน GNU Compiler Collection (GCC) สนับสนุนการเขียนภาษาโปรแกรมที่สำคัญ เช่น ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาจาวา รวมถึงภาษาอื่น ๆ รวมถึงมี IDE จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Emacs Vim Eclipse KDevelop Anjuta == ดูเพิ่ม == กะนู ยูนิกซ์ มูลนิธิลินุกซ์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Linux Foundation - สถานที่ที่ลินุส โตร์วัลดส์ทำงานพัฒนาลินุกซ์อยู่ในตอนนี้ www.spalinux.com - แหล่งความรู้ลินุกซ์ภาษาไทย ซอฟต์แวร์ในปี พ.ศ. 2534 ลินุกซ์ ระบบปฏิบัติการ ยูนิกซ์ แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
109
แผงวงจรหลัก
แผงวงจรหลัก, แผงหลัก หรือชื่ออื่นเช่น เมนบอร์ด (mainboard/main board), มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปจะประกอบด้วยซ็อกเก็ตสำหรับบรรจุหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ทั้งอุปกรณ์ติดตั้งภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก แผงวงจรหลัก หมายถึง แผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อุปกรณ์ต่างๆเชื่อมต่ออยู่อีกทีหนึ่ง โฆษณาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในบางประเทศใช้ศัพท์สแลงเรียกแผงวงจรหลักว่า mobo (โมโบ) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard == รูปแบบ == PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมจวบจนยุคปัจจุบัน ETX ใช้ใน embedded systems LPX ออกแบบโดย Western Digital BTX (Balanced Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักรุ่นใหม่ที่ถูกนำเสนอโดย Intel Mini-ITX (VIA Epia) ออกแบบโดย VIA WTX (Workstaion Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ == ดูเพิ่ม == อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ == แหล่งข้อมูลอื่น == ความรู้เรื่องเมนบอร์ด ไอบีเอ็มพีซี คอมแพตทิเบิล
thaiwikipedia
110
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960 หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ อ่านชุดคำสั่ง (fetch) ตีความชุดคำสั่ง (decode) ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute) อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory) เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back) สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบไปด้วย ส่วนควบคุมการประมวลผล (control unit) และ ส่วนประมวลผล (execution unit) และจะเก็บข้อมูลระหว่างการคำนวณ ไว้ในระบบเรจิสเตอร์ == การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง == การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกตามหน้าที่ได้เป็นห้ากลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ โดยทำงานทีละคำสั่ง จากคำสั่งที่เรียงลำดับกันไว้ตอนที่เขียนโปรแกรม Fetch - การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของรหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT) Decode - การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด Execute - การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ Memory - การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address) L3 Cache - รอคำสั่งระหว่างกระบวนการกำลังประมวลผล*Write Back - การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่ === การทำงานแบบขนานในระดับคำสั่ง (ILP) === โดยการทำงานเหล่านี้ถ้าเป็นแบบพื้นฐานก็จะทำงานกันเป็นขั้นตอนเรียงตัวไปเรื่อย ๆ แต่ในหลักความเป็นไปได้คือการทำงานในแต่ละส่วนนั้นค่อนข้างจะเป็นอิสระออกจากกัน จึงได้มีการจับแยกกันให้ทำงานขนานกันของแต่ละส่วนไปได้ หลักการนี้เรียกว่า pipeline เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) โดยข้อมูลที่เป็นผลจากการคำนวณของชุดก่อนหน้าจะถูกส่งกลับไปให้ชุดคำสั่งที่ตามมาในช่องทางพิเศษภายในหน่วยประมวลผลเอง การทำงานแบบขนานนี้สามารถทำให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกคือเพิ่มการทำงานแต่ละส่วนออกเป็นส่วนที่เหมือนกันในทุกกลุ่มแต่ให้ทำงานคนละสายชุดคำสั่งกัน วิธีการนี้เรียกว่าการทำหน่วยประมวลผลให้เป็น superscalar วิธีการนี้ทำให้มีหลาย ๆ ชุดคำสั่งทำงานได้ในขณะเดียวกัน โดยงานหนักของ superscalar อยู่ที่ส่วนดึงชุดคำสั่งออกมา (Dispatcher) เพราะส่วนนี้ต้องตัดสินใจได้ว่าชุดคำสั่งอันไหนสามารถทำการประมวลผลแบบขนานได้ หลักการนี้ก็เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในลำดับการให้ของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) เช่นกัน === การทำงานแบบขนานในระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (TLP) === การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละโปรแกรมสามารถแบ่งตัวออกได้เป็นระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (Thread) โดยในแต่ละกลุ่มสามารถทำงานขนานกันได้ (TLP: Thread Level Parallelism) ในระดับ2 === คอมพิวเตอร์แบบฝังตัว === สถาปัตยกรรม PowerPC 440 ของไอบีเอ็ม สถาปัตยกรรม 8051 ของอินเทล สถาปัตยกรรม 6800 ของโมโตโรลา * ใช้ในหน่วยควบคุม 68HC11 ซึ่งเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก สถาปัตยกรรม ARM ของ ARM (เคยเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Acorn Computers) * ใช้ใน เครื่องเล่นเพลง ไอพ็อด, เครื่องเล่นเกม เกมบอยแอดวานซ์, และ พีดีเอ จำนวนมาก 0 * หน่วยประมวลผล XScale และ StrongARM ของอินเทลนั้น ใช้สถาปัตยกรรม ARM *ใช้ความถี่ในการรับคำสั่งต่อวินาทีด้วยความเร็ว 2.4 ร้อยล้านคำสั่ง ส่วนมากใช้ในกำลังประมวลผลแบบฝังตัว === เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล === สถาปัตยกรรม x86 ของอินเทล สถาปัตยกรรม 6800, 6809, และ 68000 ของโมโตโรลา สถาปัตยกรรม 6502 ของ MOS Technology สถาปัตยกรรม Z80 ของ Zilog สถาปัตยกรรม PowerPC ของไอบีเอ็ม (ในภายหลังคือพันธมิตร AIM alliance) สถาปัตยกรรม AMD64 (หรือ x86-64) ของเอเอ็มดี * เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมแบบ x86 ของอินเทล === คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ และเวิร์คสเตชัน === สถาปัตยกรรม SPARC ของ SPARC International, Inc. (มีสมาชิกเช่น ซัน ไมโครซิสเต็มส์, ฟูจิตสึ, โตชิบา, เท็กซัสอินสทรูเมนส์) หน่วยประมวลผล LEON2 ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลแบบเปิดเผยรหัส ใช้สถาปัตยกรรม SPARC สถาปัตยกรรม POWER ของไอบีเอ็ม สถาปัตยกรรม MIPS ของ MIPS Computer Systems Inc. ชุดของคำสั่งเครื่องของ MIPS เป็นเครื่องมือหลักในการสอนสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในหนังสือ Computer Organization and Design เขียนโดย เดวิด เอ. แพตเทอร์สัน และ จอห์น แอล. เฮนเนสซี ISBN 1-55860-428-6 1998 (2nd. edition) สถาปัตยกรรม PA-RISC ของเอชพี สถาปัตยกรรม ขนาด 9*9*9 Algorithm ชนิดหนึ่งที่ใช้เงื่อนเวลา สถาปัตยกรรม Alpha ของ DEC สถาปัตยกรรม ARM ของ ARM (เคยเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Acorn Computers) === มินิคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรม === สถาปัตยกรรม PDP-11 ของ DEC, และสถาปัตยกรรม VAX ที่ถูกพัฒนาต่อมา สถาปัตยกรรม SuperH ของฮิตาชิ สถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์รุ่น UNIVAC 1100/2200 (ปัจจุบันสนับสนุนโดย Unisys ClearPath IX computers) 1750A - คอมพิวเตอร์มาตรฐานของกองทัพไทย AP-101 - คอมพิวเตอร์ของกระสวยอวกาศ == ดูเพิ่ม == อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เมนบอร์ด == อ้างอิง == Hennessy, John A.; Goldberg, David (1996). Computer Architecture: A Quantitative Approach. Morgan Kaufmann Publishers. ISBN 1-55860-329-8. == แหล่งข้อมูลอื่น == รายละเอียดหน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit)
thaiwikipedia
111
รายชื่อกลุ่มดาวเรียงตามอักษรละติน
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (The International Astronomical Union - IAU) ได้แบ่งกลุ่มดาวบนท้องฟ้าเป็น 88 กลุ่ม = 89 พื้นที่ แต่ละกลุ่มมีเขตแดนอย่างชัดเจน (กลุ่มดาวงูแบ่งเขตแดนเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกลุ่มดาวคนแบกงู) กลุ่มดาวแอนดรอเมดา Andromeda 20px กลุ่มดาวเครื่องสูบลม Antlia 20px กลุ่มดาวนกการเวก Apus 20px กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (กลุ่มดาวกุมภ์) Aquarius 20px กลุ่มดาวนกอินทรี Aquila 20px กลุ่มดาวแท่นบูชา Ara 20px กลุ่มดาวแกะ (กลุ่มดาวเมษ) Aries 20px กลุ่มดาวสารถี Auriga 20px กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ Boötes 20px กลุ่มดาวสิ่ว Caelum 20px กลุ่มดาวยีราฟ Camelopardalis 20px กลุ่มดาวปู (กลุ่มดาวกรกฎ) Cancer 20px กลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ Canes Venatici 20px กลุ่มดาวหมาใหญ่ Canis Major 20px กลุ่มดาวหมาเล็ก Canis Minor 20px กลุ่มดาวแพะทะเล (กลุ่มดาวมกร) Capricornus 20px กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ Carina 20px กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย (กลุ่มดาวค้างคาว) Cassiopeia 20px กลุ่มดาวคนครึ่งม้า Centaurus 20px กลุ่มดาวซีฟิอัส Cepheus 20px กลุ่มดาวซีตัส (กลุ่มดาววาฬ) Cetus 20px กลุ่มดาวกิ้งก่าคะมีเลียน Chamaeleon 20px กลุ่มดาววงเวียน Circinus 20px กลุ่มดาวนกเขา Columba 20px กลุ่มดาวผมเบเรนิซ Coma Berenices 20px กลุ่มดาวมงกุฎใต้ Corona Australis 20px กลุ่มดาวมงกุฎเหนือ Corona Borealis 20px กลุ่มดาวนกกา Corvus 20px กลุ่มดาวถ้วย Crater 20px กลุ่มดาวกางเขนใต้ Crux 20px กลุ่มดาวหงส์ Cygnus 20px กลุ่มดาวโลมา Delphinus 20px กลุ่มดาวปลากระโทงแทง Dorado 20px กลุ่มดาวมังกร Draco 20px กลุ่มดาวม้าแกลบ Equuleus 20px กลุ่มดาวแม่น้ำ Eridanus 20px กลุ่มดาวเตาหลอม Fornax 20px กลุ่มดาวคนคู่ (กลุ่มดาวเมถุน หรือดาวโลง) Gemini 20px กลุ่มดาวนกกระเรียน Grus 20px กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส Hercules 20px กลุ่มดาวนาฬิกา Horologium 20px กลุ่มดาวงูไฮดรา Hydra 20px กลุ่มดาวงูไฮดรัส Hydrus 20px กลุ่มดาวอินเดียนแดง Indus 20px กลุ่มดาวกิ้งก่า Lacerta 20px กลุ่มดาวสิงโต (กลุ่มดาวสิงห์) Leo 20px กลุ่มดาวสิงโตเล็ก Leo Minor 20px กลุ่มดาวกระต่ายป่า Lepus 20px กลุ่มดาวคันชั่ง (กลุ่มดาวตุลย์) Libra 20px กลุ่มดาวหมาป่า Lupus 20px กลุ่มดาวแมวป่า Lynx 20px กลุ่มดาวพิณ Lyra 20px กลุ่มดาวภูเขา Mensa 20px กลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์ Microscopium 20px กลุ่มดาวยูนิคอร์น Monoceros 20px กลุ่มดาวแมลงวัน Musca 20px กลุ่มดาวไม้ฉาก Norma 20px กลุ่มดาวออกแทนต์ Octans 20px กลุ่มดาวคนแบกงู Ophiuchus 20px กลุ่มดาวนายพราน (กลุ่มดาวไถ) Orion 20px กลุ่มดาวนกยูง Pavo 20px กลุ่มดาวม้าบิน Pegasus 20px กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส Perseus 20px กลุ่มดาวนกฟีนิกซ์ Phoenix 20px กลุ่มดาวขาตั้งภาพ Pictor 20px กลุ่มดาวปลา (กลุ่มดาวมีน) Pisces 20px กลุ่มดาวปลาใต้ Pisces Austrinus 20px กลุ่มดาวท้ายเรือ Puppis 20px กลุ่มดาวเข็มทิศ Pyxis 20px กลุ่มดาวตาข่าย Reticulum 20px กลุ่มดาวลูกธนู Sagitta 20px กลุ่มดาวคนยิงธนู (กลุ่มดาวธนู) Sagittarius 20px กลุ่มดาวแมงป่อง (กลุ่มดาวพิจิก) Scorpius 20px กลุ่มดาวช่างแกะสลัก Sculptor 20px กลุ่มดาวโล่ Scutum 20px กลุ่มดาวงู Serpens 20px กลุ่มดาวเซกซ์แทนต์ Sextans 20px กลุ่มดาววัว (กลุ่มดาวพฤษภ หรือดาวธง) Taurus 20px กลุ่มดาวกล้องโทรทรรศน์ Telescopium 20px กลุ่มดาวสามเหลี่ยม Triangulum 20px กลุ่มดาวสามเหลี่ยมใต้ Triangulum Australe 20px กลุ่มดาวนกทูแคน Tucana 20px กลุ่มดาวหมีใหญ่ (กลุ่มดาวจระเข้) Ursa Major 20px กลุ่มดาวหมีเล็ก Ursa Minor 20px กลุ่มดาวใบเรือ Vela 20px กลุ่มดาวหญิงสาว (กลุ่มดาวกันย์) Virgo 20px กลุ่มดาวปลาบิน Volans 20px กลุ่มดาวหมาจิ้งจอก Vulpecula 20px == อ้างอิง == ชื่อกลุ่มดาวไทย ฉบับพจนานุกรมของสมาคมดาราศาสตร์ไทย รายชื่อกลุ่มดาว ดาราศาสตร์ 별자리#현대의 88개 별자리 목록 Созвездие#Список созвездий
thaiwikipedia
112
ฮอโลกราฟี
ฮอโลกราฟี (holography) หมายถึง กระบวนการสร้างภาพฮอโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ แตกต่างจากการสร้างภาพเชิง 3 มิติ โดยฮอโลแกรมนั้นเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือ แผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้ แสงที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ ฮอโลกราฟี เป็นเทคนิคที่ช่วยให้แสงกระจายจากวัตถุที่จะบันทึก และได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ต่อมา เพื่อให้ปรากฏเป็นวัตถุอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับการบันทึก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตำแหน่งและทิศทางของระบบการมองเห็น เปลี่ยนแปลงไปอย่างถูกต้องเหมือนกับถ้าวัตถุก็ยังคงเป็นปัจจุบันจึงทำให้ภาพที่บันทึก (โฮโลแกรม) ปรากฏเป็นสามมิติ เทคนิคของฮอโลกราฟียังสามารถใช้ในการเก็บ ดึงและประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวกับแสง ในขณะที่ฮอโลกราฟีเป็นที่นิยมใช้เพื่อใช้แสดงภาพ 3 มิติแบบคงที่ แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างฉากตามต้องการโดยการแสดงปริมาตรของ holographic ได้ ถ้าจะกล่าวในคำพูดที่เป็นเชิงวิชาการมากขึ้น ก็อาจกล่าวได้ว่า ฮอโลแกรม ก็คือ บันทึกของรูปแบบการแทรกสอดของลำแสง ที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน จากคลื่น 2 ลำ == ฮอโลแกรม == ฮอโลแกรม (Hologram) คือ ภาพชนิดหนึ่งซึ่งมี ลักษณะ 3 มิติ ถูกสร้างขึ้นมาจากการบันทึกข้อมูลด้วย แสงเลเซอร์ โดยบันทึก ริ้วรอยของการแทรกสอด (Interference Pattern) ของแสงเลเซอร์ ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพเป็นลักษณะ 3 มิติ แตกต่างจาก ภาพทั่วไปซึ่งเราจะมองเป็นเพียงภาพสองมิติ ไม่มีความลึกทางมิติของภาพเป็นภาพแบน ๆ เรียบ ๆ ทำให้ภาพนั้นดูสวยงามมากขึ้นและยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ฮอโลแกรมถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ฮอโลกราฟี (Holography) โดยฮอโลกราฟีเป็นเทคนิคที่ช่วยให้แสงกระจายจากวัตถุที่จะบันทึกและได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้ปรากฏเป็นวัตถุอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับการบันทึก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตำแหน่งและทิศทางของระบบการมองเห็นเป็นไปอย่างถูกต้องเหมือนกับว่าวัตถุก็ยังคงเป็นปัจจุบันจึงทำให้ภาพที่บันทึกปรากฏเป็นสามมิติ ฮอโลแกรม 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกลระหว่างบุคคลต้นทางและปลายทางที่อยู่ต่างสถานที่กัน สามารถโต้ตอบแบบตัวต่อตัว ฮอโลแกรมแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ white-light hologram ซึ่งภาพฮอโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ และอีกประเภทหนึ่งคือ ภาพฮอโลแกรม ที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้ แนวคิดของ โฮโลแกรม นั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่เป็นเพียงแค่ภาพฉากลวงตาที่มีระยะชัดลึกข้างต้น แต่ยังหมายถึงแสง 3 มิติลอยตัวรอบด้านเสมือนจริงราวกับว่าวัตถุที่เราเห็นนั้นจับต้องโอบกอดได้ ที่เรียกว่า "3D Hologram" เช่น Iron Man พระเอกได้ใช้ Computer สร้างเกราะหุ่นยนต์ Iron Man ร่างสุดท้าย (ตัวสีแดง-ทอง) ซึ่งจะพบว่าจอคอมในหนังไม่ใช่คอมเบบที่เราใช้กันแต่เป็นจอแสง 3 มิติลอยอยู่ในอากาศ สั่งการแบบใช้เสียงพูดรวมทั้งใช้มือสัมผัสคลิกเมนูทำนองเดียวกับ Touch screen และภาพวัตถุจำลองส่วนประกอบหุ่นยนต์ที่ออกแบบก็เป็นลักษณะลำแสงโฮโลแกรมลอย ตัวในอากาศ หมุนได้รอบด้าน... ซึ่งปัจจุบันได้มีการทดลองใช้จริง ๆ แล้วครับ == ภาพรวมและประวัติ == ฮอโลแกรมนี้ถูกค้นพบโดยเดนนิส กาบอร์ (Dennis Gabor, 1900-1979) วิศวกรไฟฟ้าชาวฮังการี ในวันอีสเตอร์ ปี ค.ศ. 1947 โดยกาบอได้ค้นพบหลักการของฮอโลกราฟีโดยบังเอิญ ในระหว่างที่พัฒนาปรับปรุงคุณภาพของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่บริษัท British Thomson-Houston ที่เมือง Rugby ประเทศอังกฤษ. จากการค้นพบนี้ กาบอได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1971 เทคนิคที่คิดค้นเดิมยังใช้อยู่ในกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อภาพสามมิติอิเล็กตรอน แต่ภาพสามมิติเป็นเทคนิคแสงซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง จนกระทั่งมีการพัฒนาของเลเซอร์ในปี 1960 โฮโลแกรมแสงที่ใช้ได้จริงชิ้นแรกนั้นบันทึกอยู่ในรูปของวัตถุ 3D ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี 1962 โดย Yuri Denisyuk ในสหภาพโซเวียต และโดย Emmett Leith และ Juris Upatnieks ที่ University of Michigan ประเทศ USA ความก้าวหน้าในเทคนิคการประมวลผลโฟโตเคมีคัลเป็นการผลิต เพื่อแสดงภาพโฮโลแกรมที่มีคุณภาพสูง ซึ่งทำได้สำเร็จโดย Nicholas J. Phillips ฮอโลแกรมแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ white-light hologram ซึ่งภาพฮอโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ และอีกประเภทหนึ่งคือ ภาพฮอโลแกรม ที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้ นอกจากนี้ ยังอาจแบ่งฮอโลแกรมออกได้เป็น transmission hologram, reflection hologram, image-plane hologram, และอื่น ๆ อีกหลายประเภท ที่โฮโลแกรมหลายชนิดนั้นสามารถทำได้ การส่งผ่านของโฮโลแกรมเช่นการผลิตโดย Leith และ Upatnieks ซึ่งถูกทำให้มองเห็นได้โดยส่องแสงเลเซอร์ผ่านวัตถุ และมองภาพที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จากโฮโลแกรมด้านตรงข้ามของแหล่งที่มา การปรับแต่งภายหลังการ หรือ”การส่งผ่านแถบสี” โฮโลแกรม ช่วยให้แสงสว่างโดยแสงสีขาวมากกว่าโดยเลเซอร์ แถบสีโฮโลแกรมเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบันบนบัตรเครดิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะด้านความปลอดภัยและในการบรรจุสินค้า รุ่นนี้ของการส่งผ่านแถบสีโฮโลแกรมเกิดขึ้นโดยทั่วไป เป็นรูปแบบผิวในฟิล์มพลาสติกและวัตถุรวมเคลือบอะลูมิเนียมสะท้อนแสงที่ให้แสงสว่างจาก "ด้านหลัง" เพื่อสร้างภาพของวัตถุ ชนิดอื่น ๆ ของโฮโลแกรม เช่น การสะท้อนหรือ Denisyuk โฮโลแกรม คือสามารถทำสำเนาภาพหลากสี ใช้แหล่งไฟแสงสว่างสีขาวด้านเดียวกันของโฮโลแกรมเหมือนเป็นผู้มองเห็น หนึ่งในความก้าวหน้าล่าสุดซึ่งมีศักยภาพมากที่สุดในประวัติศาสตร์ระยะสั้น ๆ ของโฮโลกราฟีได้รับการผลิตของเลเซอร์แบบ solid-state ที่มีต้นทุนต่ำ เช่นที่พบในการบันทึก DVD เป็นล้าน และใช้ในการใช้งานทั่วไปอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งยังมีประโยชน์สำหรับภาพสามมิติ นั่นคือ ถูกและกะทัดรัด === เทคโนโลยีโฮโลแกรม3มิติ === คณะนักวิจัยในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้โฮโลแกรม 3 มิติเคลื่อนไหวคล้ายกับมีชีวิตจริง งานวิจัยด้านโฮโลแกรม 3 มิติมีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นอีกขั้น นับเป็นเวลานานกว่า 30 ปี เครื่องฉายภาพ 3 มิติแบบเรียลไทม์ที่ติดตั้งในตัวหุ่นอาร์ทูดีทูสามารถฉายภาพ 3 มิติของเจ้าหญิงเลอาที่มีการปรับเปลี่ยนภาพเคลื่อนไหวตามเวลาจริงแบบเรียลไทม์ แนวคิดแปลกใหม่น่าสนใจของภาพยนตร์กำลังจะกลายเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลล้ำสมัยในอนาคต ภาพโฮโลแกรมแบบ 3 มิติที่สร้างขึ้นด้วยการฉายแสงเลเซอร์ส่องบนวัตถุเพื่อให้ภาพตกกระทบบนหน้าจอมอนิเตอร์ที่ไวต่อแสง ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้โฮโลแกรม 3 มิติเคลื่อนไหวคล้ายกับมีชีวิตจริง แม้ว่าการสื่อสารทางไกลแบบโฮโลแกรม 3 มิติที่นำมาใช้งานแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันยังไม่สามารถส่งภาพ 3 มิติแบบเรียลไทม์ไปปรากฏทั่วโลก แต่งานวิจัยในเรื่องนี้ล่าสุดมีความก้าวหน้าขึ้นอีกขั้น เมื่อ ศาสตราจารย์นาสเซอร์ เพย์แฮมมาเรียน (Nasser Peyghambarian) จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาในสหรัฐอเมริกา และเพื่อนร่วมงาน ร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีโฮโลแกรม สามารถฉายภาพ 3 มิติที่มองเห็นได้เกือบ 360 องศา จากสถานที่อื่นทั่วโลก และมีการปรับเปลี่ยนภาพใหม่ทุก 2 วินาที เทคโนโลยี 3 มิติแบบเรียลไทม์ที่รู้จักกันในชื่อ TelePresence เป็นนวัตกรรมการสื่อสารทันสมัยล่าสุดสำหรับการประชุมทางไกลออนไลน์ สามารถสร้างภาพมายาแบบเต็มตัว ทำให้ภาพ 3 มิติหลุดออกมาจากฉากหลัง ดูเหมือนจริงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีแบบอื่น และ เทคโนโลยี 3 มิติ สร้างมาเพื่อประโยชน์ของคนจำนวนมาก สามารถนำไปใช่ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ด้าน อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และเครื่องบิน และยังก่อเกิดประโยชน์สูงสุดในด้าน ทางการแพทย์สามารถใช้เทคโนโลยี 3 มิติช่วยในการออกแบบการผ่าตัด ตลอดจนสามารถระดมทีมแพทย์จากทั่วโลกเข้าร่วมมือในการผ่าตัดที่ซับซ้อนในเวลาเดียวกัน ทำให้การรักษามีความแม่นยำและประสบความสำเร็จสูงสุด เทคโนโลยี 3 มิติแบบ TelePresence แตกต่างจากเทคโนโลยี 3 มินิทั่วไปหลายด้าน โดยปรกติแล้วการสร้างภาพ 3 มิติจะใช้หลักการเดียวกันคือ การฉายภาพให้ตาแต่ละข้างเห็นภาพต่างมุมมองกัน ตาทั้งสองรับภาพไม่เท่ากันจะสามารถรู้ระยะ ตื้น ลึกได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ผู้ชมจะต้องสวมแว่นตาพิเศษ แต่เทคโนโลยีโฮโลแกรม 3 มิติไม่ใช้แว่นตาพิเศษ จำนวนของภาพก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของกล้องที่ใช้ถ่ายภาพ เมื่อนำโฮโลแกรม 3 มิติแบบเต็มตัวมาใช้กับการประชุมทางไกล คนที่นั่งด้านหน้าของโต๊ะเท่านั้นที่จะมองเห็นใบหน้าของอีกฝ่าย ส่วนคนที่นั่งด้านข้างจะมองเห็นภาพคนหันข้างให้ และคนที่นั่งด้านหลังโต๊ะจะเห็นภาพคนหันหลังให้ === วิธีการทำงานของโฮโลกราฟีและฮอโลแกรม === โฮโลกราฟีเป็นเทคนิคที่ช่วยให้สนามของแสงซึ่งโดยทั่วไปผลิตผลของแหล่งกำเนิดแสงที่กระเจิงออกจากวัตถุที่จะได้รับการบันทึกและสร้างขึ้นใหม่ในภายหลังเมื่อสนามของแสงที่เป็นต้นฉบับดั้งเดิมเป็นปัจจุบันนั้นไม่มีอีกต่อไปเนื่องจากขาดหายไปของวัตถุที่เป็นต้นฉบับดั้งเดิม หลักการของ Hologram ฮอโลแกรม เป็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ ซึ่งแตกต่างจากภาพ 2 มิติ เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด จอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เป็นต้น ภาพเหล่านี้จะเป็นภาพ 2 มิติ เมื่อแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ไปกระทบผิวของภาพถ่าย, ภาพวาด ก็จะสะท้อนกลับมายังที่ตา ทำให้มองเห็นภาพเป็น 2 มิติ แต่ภาพฮอโลแกรมจะใช้หลักการสร้างภาพให้มีการแทรกสอดของแสงที่มากระทบรูปภาพ โดยการฉายแสงเลเซอร์จากแหล่งเดียวกัน แยกเป็น 2 ลำแสง ลำแสงหนึ่งเป็นลำแสงอ้างอิงเล็งตรงไปที่แผ่นฟิล์ม อีกลำแสงหนึ่งเล็งไปที่วัตถุและสะท้อนไปยังฟิล์ม แสงจากทั้งสองแหล่งจะถูกบันทึกไว้บนฟิล์มในรูปแบบของการแทรกสอด (Interference Pattern) ซึ่งมองไม่คล้ายกับรูปของวัตถุต้นแบบ ก่อให้เกิดภาพเสมือน (Virtual image) ขึ้นมาตามมุมของแสงที่มาตกกระทบ ทำให้ตาของเรารับแสงอีกด้านหนึ่งของแผ่น Hologram เกิดเห็นภาพ 3 มิติขึ้น การสร้างฮอโลแกรมแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การบันทึกภาพ (recording of image) เป็นการบันทึกแถบการสอดแทรกเชิงซ้อน (Complex interference patterns) ซึ่งเกิดจากที่แต่ละแสงเลเซอร์ 2 ลำแสงซ้อนทับกันอยู่ (Superposition) แถบการสอดแทรกเชิงซ้อนนี้จะถูกบันทึกไว้บนฟิล์มถ่ายรูป (Photographic film) (2) การสร้างภาพ (reconstruction of image) เป็นการสร้างภาพ 3 มิติ ขึ้นจากแผ่น === เลเซอร์ === โฮโลแกรมจะถูกบันทึกได้โดยใช้ไฟแฟลชของแสงที่ส่องสว่างบนฉากรับภาพ, แล้วประทับลงบนสื่อบันทึกข้อมูลพบมากในวิธีการถ่ายภาพที่ถูกบันทึกไว้ == หลักการ == ความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายธรรมดา (photograph) และภาพฮอโลแกรม (hologram) นั้น คือสิ่งที่ถูกบันทึก ภาพถ่ายธรรมดาจะบันทึกความเข้ม (intensity) และ สี ซึ่งก็คือ ความยาวคลื่น (wavelength) ของแสง ของแต่ละจุดในภาพที่ฉายตกลงบนฟิล์ม สำหรับภาพฮอโลแกรมนั้น นอกจากความเข้มและสีแล้ว ยังบันทึก เฟส (phase) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำให้สามารถสร้างกลับ หน้าคลื่นของแสง ให้เหมือนหรือคล้ายกับที่สะท้อนออกจากวัตถุ มาเข้าตาเราโดยตรงได้ ทำให้เห็นภาพนั้นมีสภาพเหมือน 3 มิติ === การประยุกต์ใช้ฮอโลแกรมในปัจจุบัน === 1. ใช้ในการสื่อสารทางไกล ในที่นี้ขอยกตัวอย่างที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฮอโลแกรม 3 มิติ มาช่วยในการสื่อสารทางไกล เพื่อลดข้อจำกัดในเรื่องสถานที่และการเดินทางเช่น การปรากฏตัวของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ทรงขึ้นปรากฏตัวบนเวทีการประชุมพลังงานสีเขียว ที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ประทับอยู่ที่พระราชวังใน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษหรือจะเป็น Kate Moss ปรากฏตัวด้วย Hologram บนเวทีการแสดงแฟชั่นของ Alexander McQueen ปี 2006โดยใช่ Stage hologram โดยแท้จริงแล้ว สเตจ โฮโลแกรม ไม่ใช่ภาพ 3 มิติ หากแต่เป็นการผสมผสานมุมมองของภาพ 2 มิติ บนแผ่นฟิล์มบางใสที่เรียกว่า "มายลาร์ สกรีน" ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (ไว้สำหรับเป็นฉาก) ใช้กล้องวิดีโอแบบความละเอียดสูง ถ่ายภาพและใช้เครือข่ายไฟเบอร์ ออพติค เพื่อส่งภาพเหล่านั้นจากระยะไกล มาประกอบกันบนเวทีเพื่อหลอกตาของผู้ชมให้เห็นเป็นภาพ 3 มิติในการถ่ายทอด แ ละการรายงานข่าวการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของสหรัฐอเมริกา สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (CNN) แห่งสหรัฐฯ ได้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการนำเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าใคร ๆ อย่างโฮโลแกรมมาใช้ในการนำเสนอข่าวครั้งนี้ 2. จัดแสดงสินค้า การพบกันของคุณลุง หลุยส์ เชฟโรเลต และ น้องเชฟวี่ ในบูธ Chevrolet งาน BOI fair 2011 มีการใช้เครื่องแสดงภาพลอยตัวแบบสามมิติ ที่เรียกว่า Hologram Display เพื่อเพิ่มจุดเด่นให้กับสินค้าหรือบริการ เป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้เข้าชม 3. เสริมสร้างความปลอดภัย - Transmission Hologram นำมาใช้กับบัตรประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ พาสปอร์ต บัตรเครดิต เป็นต้น ตัว Hologram ชนิดนี้จะทำออกมาจากโรงงานมีลักษณะคล้ายกระเป๋าใบเล็ก หรือซอง (Purse) นำบัตรหรือวัสดุที่ต้องการทำมาสอดใส่ตรงกลางช่องว่าง นำไปรีดที่เครื่องจักรโดยใช้ความร้อนและแรงกดจาก บน - ล่าง แผ่น Hologram ก็จะติดแนบกับบัตร Reflection Hologram จะอยู่ในรูปของ Foil - Hologram Sticker แกะลอกเป็นดวงติดบนวัสดุตามต้องการ - Hologram Hot Stamping Foil ติดโดยใช้ความร้อน และแรงกดสูง การทำงานคล้ายการปั๊มฟอล์ยเงิน/ทองลงบนสิ่งพิมพ์ทั่วไป 4. บันทึกข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้หลักการฮอโลกราฟิกนั้น ด้วยขนาดเพียง 5 นิ้ว สามารถจุได้สูงถึง 125 จิกะไบต์ เป็นอย่างต่ำ และอาจไปถึง Terra Byte (1000GB) ส่วนความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 30 เมกะไบต์ต่อวินาที === Holographic Data Storage === Holographic Storage เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสงเลเซอร์เขียนข้อมูลลงไปในเนื้อของวัตถุ ดังนั้นที่เห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจนคือ ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีพื้นที่ในการเขียนมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับการเขียนข้อมูลที่พื้นผิวระนาบ ถ้าจะเปรียบเทียบเป็นเชิงสมการจะเห็นว่าเมื่อใช้ Holographic Storage ปริมาณข้อมูลที่เขียนได้จะเป็นสัดส่วนกับกำลังสามของวัตถุ แต่ถ้าเป็นการเขียนข้อมูลบนพื้นผิวในแนวระนาบจะได้เพียงกำลังสอง ประโยชน์อย่างหนึ่งในการใช้แสงเลเซอร์คือความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากความเร็วของแสงเมื่อเปรียบเทียบการอุปกรณ์เครื่องกลที่ใช้เป็นหัวอ่านข้อมูลแตกต่างกันมาก นอกจากนี้ Holographic Storageสามารถสืบค้นข้อมูลโดยใช้ข้อมูลเป็นกุญแจในการค้นหา นอกจากนี้ในขณะที่แม่เหล็กและออปติคอลมีการจัดเก็บข้อมูลในแบบเชิงเส้น แต่การจัดเก็บแบบโฮโลแกรมนั้นมีความสามารถในการบันทึกและอ่านนับล้านบิตในแบบขนาน ทำให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงกว่าการจัดเก็บแบบออปติคอลในปัจจุบัน กลไกการอ่านข้อมูล ข้อมูลที่เก็บไว้จะถูกอ่านผ่านการทำสำเนาของลำแสงอ้างอิงเดียวกับที่ใช้ในการสร้างฮอโลแกรม ลำแสงอ้างอิงรวมแสงบนวัสดุที่ไวแสง รูปแบบการแทรกแซงที่เหมาะสมทำให้แสงแตกกระจายมื่อผ่านช่องรับแสงหรือสิ่งกีดขวางลงบนเครื่องตรวจจับ โดยเครื่องตรวจจับมีความสามารถในการอ่านข้อมูลในแบบคู่ขนานมากกว่าหนึ่งล้านบิตในครั้งเดียว ให้ผลในการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็ว ไฟล์ในไดรฟ์ฮอโลแกรมสามารถเข้าถึงได้ในเวลาน้อยกว่า 200 มิลลิวินาที === แนวโน้มการพัฒนา Holographic Storage === จีอีหรือ General Electric ประกาศความสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีแผ่นดิสก์เก็บข้อมูลชนิดใหม่ Holographic Storage แม้ยังไม่ประกาศแผนการจำหน่าย แต่นักวิจัยของจีอีระบุว่า แผ่นดิสก์ Holographic Storage ขนาดเท่ากับแผ่นดีวีดีมาตรฐานจะสามารถให้ความจุข้อมูลได้สูงถึง 500GB เทียบเท่าแผ่นดีวีดี 100 แผ่นหรือแผ่น Blu-ray ซิงเกิล == อ้างอิง == Saxby, Graham, Practical holography, Prentice Hall 1994 สามทหารเสือของวงการบรรจุภัณฑ์ ประวัติ โฮโลแกรม วิวัฒนาการ โฮโลแกรม VR หลบไป! นักวิทย์ คิดค้นโฮโลแกรม 'ลม' สัมผัสได้ เทคโนโลยีโฮโลแกรม3มิติ About Holophile โฮโลแกรม 3 มิติ การสร้างภาพสามมิติ แสง
thaiwikipedia
113
เรจิสเตอร์
เรจิสเตอร์ หรือ รีจิสเตอร์ (register) ในอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคำนวณ เรจิสเตอร์จะเก็บข้อมูลเป็นบิทจำนวนมากเพื่อให้ระบบต่างๆสามารถเขียนเข้าไปใหม่หรืออ่านบิททั้งหมดนั้นได้พร้อมกัน เรจิสเตอร์เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ที่ทำงานได้เร็วมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำเหล่านี้ ใช้เก็บข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณ หรือสถานะการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง และมักถูกอ้างถึงบ่อย ในระหว่างการคำนวณของหน่วยประมวลผล เพื่อให้โปรแกรมที่ทำงานอยู่ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้ ได้อย่างรวดเร็ว ==ฟังก์ชัน== สัญญาณเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องคำนวณหลักจะถูกส่งไปที่อุปกรณ์ควบคุมของรึจิสเตอร์เพื่อให้เรจิสเตอร์ส่งข้อมูลไปให้หรือรับข้อมูลจากอีกเรจิสเตอร์หนึ่ง บางครั้งเครื่องคำนวณหลักเปลี่ยนเส้นทางข้อมูลจากเรจิสเตอร์หนึ่งไปยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บางอย่างเช่นหน่วยบวกเลข จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ไปเก็บไว้ที่อีกเรจิสเตอร์หนึ่ง การใช้งานโดยทั่วไปของเรจิสเตอร์ประกอบด้วย: ทำการตั้งค่า configuration และการเริ่มต้นทำงานของคุณสมบัติบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระหว่างการ initialization ทำเป็นหน่วยความจำบัฟเฟอร์ชั่วคราว เช่น หน่วยความจำวิดีโอสำหรับกราฟิกการ์ด เป็นอินพุต/เอาต์พุต (I/O) ในงานที่แตกต่างกัน รายงานสถานะ เช่นเหตุการณ์บางอย่างได้เกิดขึ้นในหน่วยฮาร์ดแวร์หรือไม่ (ตัวอย่างเช่นเรจิสเตอร์ที่แสดงสถานะของโมเด็ม (modem status register หรือ MSR) หรือ เรจิสเตอร์ที่แสดงสถานะของสาย (line status register หรือ LSR ) การอ่านเรจิสเตอร์ใน "peripheral units" (ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์นอก CPU) เกี่ยวข้องกับการ เข้าถึง I/O address ที่หน่วยความจำหรือพอร์ตกำหนดไว้(memory-mapped I/O address หรือ port-mapped I/O address) ที่มีคำสั่ง "โหลด" หรือ "เก็บ"ที่ออกโดยหน่วยประมวลผล เรจิสเตอร์จะถูกเรียกด้วยคำสั่ง แต่บางครั้ง ใช้เพียงไม่กี่บิตของคำสั่ง เช่น อ่านใน หรือ เขียนไป ที่เรจิสเตอร์ใดๆ เครื่องมือการออกแบบเชิงพาณิชย์ถูกทำให้ง่ายและโดยอัตโนมัติของการใช้ข้อกำหนดและการสร้างระหัสของเรจิสเตอร์ที่กำหนดโดยหน่วยความจำ(memory-mapped register) สำหรับฮาร์ดแวร์, เฟิร์มแวร์, การตรวจสอบ ฮาร์ดแวร์, การทดสอบ และเอกสารต่างๆ เพราะเรจิสเตอร์แบบ write-only แก้จุดบกพร่องเกือบไม่ได้ นำไปสู่ปัญหา read-modify-write และยังทำให้เป็นเรื่องยากโดยไม่จำเป็นสำหรับ Advanced Configuration and Power Interface (ACPI) เพื่อตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์เมื่อเข้าสู่สลีปโหมด เพื่อเรียกคืนสถานะเมื่อออกจากสลีปโหมด โปรแกรมเมอร์จำนวนมากบอกนักออกแบบฮาร์ดแวร์เพื่อให้แน่ใจว่าเรจิสเตอร์ทั้งหมดที่สามารถเขียนได้จะสามารถอ่านได้ด้วย อย่างไรก็ตาม มีบางกรณี เมื่อการอ่านบางประเภทของเรจิสเตอร์ จะไร้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น บิตของรีจิตเตอร์แบบ strobe ที่สร้างวงจรพัลส์หนึ่งรอบเข้ากับฮาร์ดแวร์พิเศษจะอ่านเป็นลอจิก 0 เสมอ ==ความหลากหลายของเรจิสเตอร์== เรจิสเตอร์ภายในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) จะเรียกว่ารึจิสเตอร์หน่วยประมวลผล เรจิสเตอร์แบบ Strobe มีอินเตอร์เฟสเดียวกันเรจิสเตอร์ปกติ แต่แทนที่จะจัดเก็บข้อมูล พวกมันจะ กระตุกให้กระทำอะไรบางอย่างทุกครั้งที่พวกมันถูกเขียน (หรือในกรณีที่หายาก ถูกอ่านจาก) พวกมันเป็นเครื่องมือส่งสัญญาณ เรจิสเตอร์ปกติจะถูกวัดโดยจำนวนบิตที่พวกมันสามารถเก็บไว้ ตัวอย่างเช่น "8 บิตเรจิสเตอร์" หรือ" 32 บิตเรจิสเตอร์" นักออกแบบสามารถใช้งานเรจิสเตอร์ในหลากหลายวิธี รวมทั้ง: ไฟล์เรจิสเตอร์ SRAM มาตรฐาน flip-flop เฉพาะตัว หน่วยความจำหลักความเร็วสูง นอกจากนั้น เรจิสเตอร์ที่"โปรแกรมเมอร์มองเห็น" ที่สามารถถูกอ่านและเขียนด้วยซอฟแวร์ ชิปจำนวนมากมีเรจิสเตอร์แบบ "microarchitectural ภายใน"ที่ถูกนำมาใช้สำหรับเครื่องคำนวณหลักและเครื่องอื่นที่อยู่ระหว่างการพัฒนา; ตัวอย่างเช่น registered memory ในสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะแบ่งประเภทของเรจิสเตอร์ ไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น เรจิสเตอร์สำหรับงานทั่วไป (general purpose register) เรจิสเตอร์สำหรับเลขทศนิยม (floating point register) เรจิสเตอร์สำหรับหน้าที่พิเศษ (special purpose register) * เรจิสเตอร์ที่เก็บตำแหน่งของชุดคำสั่งที่กำลังประมวลผลอยู่ (program counter) * เรจิสเตอร์ที่เก็บตำแหน่งของสแตก ==มาตรฐาน== SPIRIT IP- XACT และ DITA SIDSC XML เป็นตัวกำหนดรูปแบบ XML มาตรฐานสำหรับ memory-mapped registers ==อ้างอิง== == ดูเพิ่ม == หน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Register-transfer level (RTL) Input/output base address วงจรดิจิทัล
thaiwikipedia
114
แรม
แรม ในความหมายอื่นอาจหมายถึงข้างแรมทางจันทรคติ แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อจำกัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว) == ประวัติ == เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้แรมในการเก็บโปรแกรมและข้อมูลระหว่างการประมวลผล คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของแรมคือความเร็วที่ใช้เข้าหนึ่งตำแหน่งต่าง ๆ ในหน่วยความจำมีค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่นบางอย่างซึ่งต้องใช้เวลารอกว่าที่บิตหรือไบต์จะมาถึง ระบบแรก ๆ ที่ใช้หลอดสุญญากาศทำงานคล้ายกับแรมในสมัยปัจจุบันถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะเสียบ่อยกว่ามาก หน่วยความจำแบบแกนเฟอร์ไรต์ (core memory) ก็มีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลแบบเดียวกัน แนวความคิดของหน่วยความจำที่ทำจากหลอดสูญกาศและแกนเฟอร์ไรต์ก็ยังใช้ในแรมสมัยใหม่ที่ทำจากวงจรรวม หน่วยความจำหลักแบบอื่นมักเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีเวลาเข้าถึงข้อมูลไม่เท่ากัน เช่น หน่วยความจำแบบดีเลย์ไลน์ (delay line memory) ที่ใช้คลื่นเสียงในท่อบรรจุปรอทในการเก็บข้อมูลบิต หน่วยความจำแบบดรัม ซึ่งทำงานใกล้เคียงฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน เป็นข้อมูลในรูปของแม่เหล็กในแถบแม่เหล็กรูปวงกลม แรมหลายชนิดมีคุณสมบัติ volatile หมายถึงข้อมูลที่เก็บจะสูญหายไปถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แรมสมัยใหม่มักเก็บข้อมูลบิตในรูปของประจุไฟฟ้าในตัวเก็บประจุ ดังเช่นกรณี ไดนามิคแรม หรือในรูปสถานะของฟลิปฟล็อป ดังเช่นของ สแตติกแรม ปัจจุบันมีการพัฒนาแรมแบบ non-volatile ซึ่งยังเก็บรักษาข้อมูลถึงแม้ว่าไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม เทคโนโลยีที่ใช้ ก็เช่น เทคโนโลยีนาโนทิวจากคาร์บอน (carbon nanotube) และ ปรากฏการณ์ magnetic tunnel ในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2546 มีการเปิดตัวแรมแบบแม่เหล็ก (Magnetic RAM, MRAM) ขนาด 128 Kib ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับ 0.18 ไมครอน หัวใจของแรมแบบนี้มาจากปรากฏการณ์ magnetic tunnel ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 บริษัท อินฟินิออน (Infineon) เปิดตัวต้นแบบขนาด 16 Mib อาศัยเทคโนโลยี 0.18 ไมครอนเช่นเดียวกัน สำหรับหน่วยความจำจากคอร์บอนนาโนทิว บริษัท แนนเทโร (Nantero) ได้สร้างต้นแบบขนาน 10 GiB ในปี พ.ศ. 2547 ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจองแรมบางส่วนเป็นพาร์ติชัน ทำให้ทำงานได้เหมือนฮาร์ดดิสก์แต่เร็วกว่ามาก มักเรียกว่า แรมดิสค์ (ramdisk) == ประเภทของแรม == SRAM (Static RAM) NV-RAM (Non-volatile RAM) DRAM (Dynamic RAM) Dual-ported RAM Video RAM WRAM FeRAM MRAM SGRAM DDR RAM == รูปแบบของโมดูลแรม == แรมสารกิ่งตัวนำมักผลิตในรูปของวงจรรวมหรือไอซี ไอซีมักจะนำมาประกอบในรูปของโมดูลสำหรับเสียบ มาตรฐานโมดูลแบบต่าง ๆ ได้แก่ Single in-line Pin Package (SIPP) Dual in-line Package (DIP) Single in-line memory module (SIMM) Dual in-line memory module (DIMM) โมดูลแรมของบริษัท แรมบัส (Rambus) จริง ๆ แล้วคือ DIMM แต่มักเรียกว่า RIMM เนื่องจากสล็อตที่เสียบแตกต่างจากแบบอื่น Small outline DIMM (SO-DIMM) เป็น DIMM ที่มีขนาดเล็ก ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แล็บท็อป มีรุ่นขนาด 72 (32 บิต), 144 (64 บิต), 200 (72 บิต) พิน Small outline RIMM (SO-RIMM) == ดูเพิ่ม == อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ == อ้างอิง == สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
115
คริสต์ศักราช
คริสต์ศักราช (Christian Era) ย่อ ค.ศ. (CE) หรือ ปีแห่งเรา (anno Domini: AD) มาจากถ้อยคำเต็มว่า "ปีของพระเยซูคริสต์เจ้าแห่งเรา" (anno Domini nostri Jesu Christi) หรือ ในปีของพระผู้เป็นเจ้า (in the year of the Lord) เป็นระบบนับปีปฏิทินสำหรับปฏิทินกริกอเรียนและปฏิทินจูเลียน โดยเริ่มนับ ค.ศ. 1 ตั้งแต่วันที่เรียกว่า วันเริ่มยุคอ้างอิง (initial reference date) ซึ่งหมายถึงการประสูติของพระเยซู ส่วนปีก่อน ค.ศ. 1 เรียกว่า ก่อนคริสตกาล (before Christ: BC) แต่ไม่มีการนับปี 0 โดย 1 ปีก่อนคริสตกาลจบแล้วก็ตามด้วย ค.ศ. 1 ทันที ผู้คิดค้นระบบเช่นนี้ คือ ไดโอไนซัสผู้นอบน้อม (Dionysius the Humble; Dionysius Exiguus) โดยคิดขึ้นใน ค.ศ. 525 เพื่อใช้แทนศักราชของมรณสักขี (Era of the Martyrs) แต่ไม่แพร่หลายจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 9 ==อ้างอิง== เวลา ศักราช ประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์ วิทยาการลำดับเวลา คำศัพท์ศาสนาคริสต์
thaiwikipedia
116
ศักราช
ศักราช เป็นช่วงเวลาที่จัดขึ้นตามการอ้างอิงของช่วงเวลานั้น โดยแบ่งได้ตามการอ้างอิงหรือการเรียก พุทธศักราช (พ.ศ.) - เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะไทย และศรีลังกา คริสต์ศักราช (ค.ศ.) - เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. 544 โดยนับปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ เป็น ค.ศ. 1 นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์และใช้เป็นปีอ้างอิงสากล มหาศักราช (ม.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 622 พระเจ้ากนิษกะของอินเดียทรงตั้งขึ้น ใช้ในศิลาจารึกและเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยบ้าง แต่น้อยกว่าจุลศักราช ฮิจญ์เราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัดอพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ จุลศักราช (จ.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระพม่า นามว่า "บุพโสระหัน" สึกออกมาเพื่อชิงราชบัลลังก์ นิยมใช้ในเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยเรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) - เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 5 โดย "เริ่มนับ" ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างกรุงเทพมหานคร (เลิกใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ศักราชจุฬามณี (ศักราชกฎหมาย) ศักราชทุกชนิดไม่มีศักราช 0 เช่น ก่อนค.ศ. 1 คือ 1 ปีก่อนคริสตกาลเป็นวิธีนับแบบปูรณสังขยา ยกเว้น พุทธศักราชที่นับอย่างไทย เป็นการนับแบบปกติสังขยา เป็นต้น == ศักราชในประเทศไทย == พุทธศักราช (พ.ศ.) : ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0 คริสต์ศักราช (ค.ศ.) : เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์เกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี ดังนั้นวันคริสต์มาสในปี 2001 จึงครบรอบวันสมภพ 2000 ปี โดยมีวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ มหาศักราช (ม.ศ.) : หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า ศกาพทะ หรือ ศาลิวาหนกาล แปลว่า ปีของชาวศกะ (Scythian) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเจ้าศาลิวาหนะ หรือบางตำนานเรียกว่า พระเจ้ากนิษกะ แห่งศกราชวงศ์ ทรงมีชัยชนะเหนือแคว้นโดยรอบ เป็นมหาศักราชที่ 1 มีวิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี จุลศักราช (จ.ศ.) : เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1181 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร์) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาเนื่องจากเดือน 5 ไทยเราจะไปตรงกับเดือนจิตรามาสอันเป็นเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติทางชมพูทวีป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติและให้เป็นวันเปลี่ยนนักษัตรด้วย แต่ยังคงเปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) : เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยถือเอาปีที่ตั้งกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง เป็นปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 และใช้อยู่จนถึง ร.ศ. 131 เป็น ร.ศ. สุดท้าย หรือเพียง 23 ปี ก็เลิกใช้ไป เพราะเห็นว่าไม่สะดวกในการอ้างอิงปีในประวัติศาสตร์ เช่น กล่าวว่า ไทยเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปีที่ 15 ก่อน ร.ศ. เป็นต้น กลียุคศักราช หรือกลียุคกาล (ก.ศ.) : เป็นศักราชจากชมพูทวีป และเป็นศักราชที่เก่าที่สุดที่ปรากฏในบันทึกของไทย เกิดก่อนพุทธศักราชถึง 2558ปี วิกรมาทิตย์ศักราช (ว.ศ.) หรือวิกรมสังวัต : เป็นศักราชจากชมพูทวีป แต่ไม่มีปรากฏในบันทึกของไทย เกิดหลังพุทธศักราช 785 ปี ศักราชพระเจ้าเหลือง (ล.ศ.) : เป็นศักราชที่ถือกำเนิดโดยพระเจ้าเหลืองมหาราช ของดินแดนที่เป็นประเทศจีนในปัจจุบัน เกิดก่อนพุทธศักราช 2154 ปี ในปัจจุบันมีข้อถกเถียงว่า ตัวเลขของศักราชนี้อาจมีค่ามากเกินไป 60 ปี เช่นเดียวกับ พ.ศ. และหรืออาจนับเอา ล.ศ. 0 เป็นปีตั้งศักราชด้วย == แหล่งข้อมูลอื่น == ความรู้เรื่องศักราชที่ใช้ในหนังสือไทย (สนง.วัฒนธรรมแห่งชาติ) วิทยาการลำดับเวลา หน่วยเวลา
thaiwikipedia
117
พระเยซู
พระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους [Iēsoûs] ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua [เยชูวา] ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός [Christos] ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี == ประวัติของพระเยซู == === ปฐมวัย === ประสูติเมื่อ 4 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี หญิงพรหมจารีคนหนึ่งชื่อมารีย์ ได้หมั้นหมายไว้แล้วกับชายคนหนึ่งชื่อโยเซฟ ก่อนที่จะได้อยู่กินด้วยกัน ได้มีทูตสวรรค์กาเบรียลเข้าบ้านมาหามารีย์แล้วว่า “เธอจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย จงตั้งชื่อบุตรนั้นว่าเยซู” ฝ่ายโยเซฟเมื่อทราบว่ามารีย์ตั้งครรภ์แล้ว ก็ไม่คิดจะแพร่งพรายเรื่องนี้ จึงคิดจะถอนหมั้นอย่างลับ ๆ แต่มีทูตองค์หนึ่งปรากฏแก่โยเซฟในความฝันว่า “โยเซฟบุตรดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีย์มาเป็นภรรยาของเจ้าเลย เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิ์ในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์” โยเซฟจึงทำตามคำนั้น คือได้รับมารีย์มาเป็นภรรยา แต่มิได้สมสู่กับเธอ ขณะที่มารีย์กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น จักรพรรดิออกัสตัสได้มีรับสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน คนทั้งปวงต่างต้องเดินทางกลับไปขึ้นทะเบียนยังเมืองของตน โยเซฟกับมารีย์จึงต้องเดินทางจากเมืองนาซาเร็ธ แคว้นกาลิลีไปยังเมืองของดาวิดเมืองหนึ่งชื่อเบธเลเฮม ในแคว้นยูเดีย เพราะโยเซฟเป็นเชื้อสายของดาวิด เมื่อเขาทั้งสองอยู่ที่นั่น ก็ถึงเวลาที่มารีย์ประสูติ “นางจึงประสูติบุตรชายหัวปี เอาผ้าอ้อมพันและวางไว้ในรางหญ้า เพราะว่าไม่มีที่ว่างให้เขาในโรงแรม” ต่อมามีทูตองค์หนึ่งปรากฏแก่โยเซฟในความฝันแล้วบอกว่า “จงลุกขึ้นพากุมารกับมารดาหนีไปประเทศอียิปต์ และคอยอยู่ที่นั่นจนกว่าเราจะบอกเจ้า เพราะว่าเฮโรดจะแสวงหากุมาร เพื่อจะประหารชีวิตเสีย” โยเซฟจึงพากุมารและมารดาหนีไปยังประเทศอียิปต์ เนื่องจากกษัตริย์เฮโรดทราบว่าได้มีกุมารผู้ที่บังเกิดมาเพื่อจะเป็นกษัตริย์ของชนชาติยิว และทราบจากบรรดามหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์ว่า กุมารนั้นอยู่ที่เบธเลเฮม จึงใช้ให้คนไปฆ่าเด็กผู้ชายทั้งหลายในบริเวณนั้นที่มีอายุตั้งแต่สองขวบลงมา ครั้นเฮโรดสิ้นพระชนม์แล้ว ทูตองค์หนึ่งปรากฏแก่โยเซฟในความฝันว่า “จงลุกขึ้นพากุมารกับมารดามายังแผ่นดินอิสราเอล เพราะผู้ที่เป็นภัยต่อชีวิตของกุมารนั้นตายแล้ว” โยเซฟจึงพากุมารกับมารดากลับมาอยู่เมืองนาซาเร็ธ เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ที่บันทึกเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซูในช่วงระยะเวลาตั้งแต่อายุ 12 ปีจนพระเยซูทรงรับบัพติศมาที่แม่น้ำจอร์แดนไม่ได้ถูกบันทึกไว้มากนัก ชาวคริสต์เรียกช่วงเวลานี้ว่าพระชนม์ชีพเร้นลับของพระเยซู แต่เรื่องราวของพระเยซูตั้งแต่รับบัพติสมาจนสิ้นพระชนม์ที่กางเขน แล้วกลับฟื้นคืนพระชนม์ชีพอีกครั้งถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด === ประกอบพระภารกิจ === พระเยซูทรงรับบัพติศมาเมื่ออายุได้ 30 ปีจากยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่แม่น้ำจอร์แดน “ครั้นพระองค์ทรงรับพิธีบัพติศมาในน้ำแล้วในทันใดนั้นก็เสด็จขึ้นจากน้ำ และท้องฟ้าก็แหวกออก และพระองค์ได้ทรงเห็นพระวิญญาณของพระเจ้าดุจนกพิราบ ลงมาสถิตอยู่บนพระองค์” หลังจากนั้นพระเยซูเสด็จไปในถิ่นทุรกันดาร เป็นเวลาถึงสี่สิบวันสี่สิบคืนโดยไม่ได้เสวยอะไรเลย แต่กลับมีมารมาผจญพระองค์โดยการล่อลวงต่าง ๆ นา ๆ เพื่อหวังให้พระเยซูกราบลงนมัสการมาร แต่พระเยซูได้ตอบโต้มารด้วยพระธรรมจากคัมภีร์ฮีบรู จนมารเห็นว่ามิอาจล่อลวงพระองค์ได้จึงละพระองค์ไป พระองค์ทรงเริ่มพระกิจจานุกิจโดยออกสั่งสอนชนทั้งปวงให้กลับใจจากความบาป แล้วเดินตามทางของพระเจ้าอย่างแท้จริง อย่าแสร้งทำเป็นนับถือพระเจ้าแต่ปาก “ประชาชนนี้ให้เกียรติเราแต่ปาก ใจของเขาห่างไกลจากเรา” ทรงสอนมิให้ทำตนเป็นเหมือนพวกหน้าซื่อใจคด “เหตุฉะนั้น ทุกสิ่งซึ่งเขาสั่งสอนพวกท่าน จงถือประพฤติตาม เว้นแต่การประพฤติของเขาอย่าได้ทำตามเลย เพราะเขาเป็นแต่ผู้สั่งสอน แต่เขาเองหาทำตามไม่” พระองค์ยังตรัสพระธรรมคำสั่งสอนและทรงพระราชกิจไว้อีกมากมาย ซึ่งถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนังสือ 4 เล่มแรก ได้แก่ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น ในการทรงพระราชกิจของพระเยซูนั้น พระองค์ได้ทรงเรียกบุคคลต่าง ๆ เข้ามาเป็นสาวก เพื่อสั่งสอนและมีส่วนช่วยพระองค์อีก 12 คน ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าอัครทูต ได้แก่ ซีโมนเปโตร อันดรูว์ (น้องชายของซีโมน) ยากอบ บุตรเศเบดี ยอห์น (น้องชายของยากอบ) ฟีลิป บารโธโลมิว โธมัส มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร ยากอบ บุตรอัลเฟอัส เลบเบอัส (ที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัดเดอัส) ซีโมนเศโลเท และยูดาส อิสคาริโอท (ผู้ที่อายัดพระเยซู) === สิ้นพระชนม์ === ผลของการที่พระเยซูออกประกาศ, สั่งสอน, รักษาโรค และทำการต่าง ๆ มากมาย ทำให้มีคนเป็นจำนวนมากติดตามพระองค์ไป “กิตติศัพท์ของพระองค์ก็เลื่องลือไปทั่วประเทศซีเรีย เขาจึงพาคนป่วยเป็นโรคต่างๆ คนที่ทนทุกข์เวทนา คนผีเข้า คนเป็นลมบ้าหมูและคนเป็นอัมพาตมาหาพระองค์ พระองค์ก็ทรงรักษาเขาให้หาย และมีคนหมู่ใหญ่มาจากแคว้นกาลิลี และแคว้นทศบุรีและกรุงเยรูซาเล็ม และแคว้นยูเดีย และแม่น้ำจอร์แดนฟากตะวันออกติดตามพระองค์ไป” “ครั้นพระเยซูเสด็จขึ้นจากเรือแล้ว ก็ทรงเห็นประชาชนหมู่ใหญ่ พระองค์ทรงสงสารเขา จึงได้ทรงรักษาคนป่วยของเขาให้หาย” “และประชาชนเป็นอันมากมาเฝ้าพระองค์ พาคนง่อย คนแขนขาพิการ คนตาบอด คนใบ้ และคนเจ็บอื่นๆหลายคน มาวางแทบพระบาทของพระเยซู แล้วพระองค์ทรงรักษาเขาให้หาย” ในทางตรงกันข้ามคำสั่งสอนของพระองค์ต่อว่าพวกฟาริสีและพวกธรรมาจารย์โดยตรง “เขาชอบที่อันมีเกียรติในการเลี้ยงและในธรรมศาลา กับชอบรับการคำนับที่กลางตลาด และชอบให้เขาเรียกว่า ‘ท่านอาจารย์’” “วิบัติแก่เจ้า คนนำทางตาบอด เจ้าสอนว่า ‘ผู้ใดจะสาบานอ้างพระวิหาร คำสาบานนั้นไม่ผูกมัด แต่ผู้ใดจะสาบานอ้างทองคำของพระวิหาร ผู้นั้นจะต้องกระทำตามคำสาบาน’ โอ คนโฉดเขลาตาบอด สิ่งไหนจะสำคัญกว่า ทองคำหรือพระวิหารซึ่งกระทำให้ทองคำนั้นศักดิ์สิทธิ์” “วิบัติแก่เจ้า พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี คนหน้าซื่อใจคด เพราะว่าเจ้าเป็นเหมือนอุโมงค์ฝังศพซึ่งฉาบด้วยปูนขาว ข้างนอกดูงดงาม แต่ข้างในเต็มไปด้วยกระดูกคนตาย และสารพัดโสโครก เจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้นแหละ ภายนอกแลดูเหมือนว่าเป็นคนชอบธรรม แต่ภายในเต็มไปด้วยความเท็จเทียมและอธรรม” พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสีจึงคิดหาช่องทางจะฆ่าพระองค์เสีย “ฝ่ายพวกฟาริสีก็ออกไปปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรจึงจะฆ่าพระองค์ได้”เพราะเขาไม่รู้ว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงทราบว่า พระองค์จะต้องทนทุกข์ทรมานจากพวกมหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์ จนต้องถูกประหารชีวิต แต่ในวันที่สามพระองค์จะทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาใหม่ ดังที่พระองค์ได้ทรงทำนายถึงเหตุการณ์ดังกล่าวล่วงหน้าไว้สามครั้ง หลังจากนั้นหนึ่งในสาวกสิบสองคน ชื่อยูดาสอิสคาริโอท ได้ไปหาพวกมหาปุโรหิตแล้วตกลงว่าจะคอยหาช่องที่จะชี้พระองค์ให้จับ เพื่อแลกกับสามสิบเหรียญเงิน ซึ่งเรื่องที่ยูดาสคิดจะทรยศต่อพระองค์นั้น พระองค์ก็ทรงทราบเช่นกัน เมื่อถึงวันต้นเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ พระองค์กับเหล่าสาวกได้เข้าไปในบ้านหลังหนึ่งในกรุงเยซูซาเล็ม เพื่อร่วมเสวยปัสกาด้วยกัน อาหารที่พระองค์ได้เสวยในคืนนั้นประกอบด้วยขนมปังและน้ำองุ่น ซึ่งก็เป็นอาหารค่ำมื้อสุดท้ายที่พระองค์ได้เสวยก่อนสิ้นพระชนม์ เพราะหลังจากที่ได้เสวยอาหารแล้ว ยูดาสสาวกคนหนึ่งในสิบสองคนนั้นได้ออกจากบ้านไป พวกสาวกที่เหลือไม่ทราบว่ายูดาสไปไหน แต่พระเยซูทราบว่ายูดาสจะไปหาพวกปุโรหิตและพวกฟาริสี เพื่อพาทหารมาจับพระองค์ หลังจากยูดาสออกไปจากบ้านแล้ว พระองค์ตรัสคำสอนแก่พวกสาวกอีกหลายข้อ ก่อนที่จะเสด็จพาพวกเขาออกจากบ้านข้ามห้วยขิดโรนไปยังสวนเกทเสมนี ในขณะนั้นเป็นเวลากลางคืนพระองค์เสด็จห่างจากพวกสาวกออกไปไกลประมาณขว้างหินตกแล้วอธิษฐานต่อพระเจ้า เมื่อกลับมาพบว่าพวกสาวกต่างหลับกันหมด พระองค์จึงปลุกพวกเขาให้ตื่นขึ้นอธิษฐาน แล้วพระองค์ทรงกลับไปอธิษฐานอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกลับมาทรงเห็นสาวกนอนหลับกันอีก พระองค์จึงเสด็จกลับไปอธิษฐานอีกเป็นครั้งที่สาม เมื่อกลับมาครั้งนี้พระเยซูทรงปลุกพวกสาวกให้ตื่นขึ้น ทันใดนั้น ยูดาสได้พาทหารกับเจ้าหน้าที่ของพวกปุโรหิตและฟาริสีพร้อมอาวุธเข้ามา ยูดาสตรงมาหาพระเยซูแล้วจูบคำนับพระองค์ คนเหล่านั้นก็เข้ามาจับพระองค์ เปโตรมีดาบจึงชักออกฟันถูกหูข้างขวาของมัลคัส ซึ่งเป็นทาสคนหนึ่งของมหาปุโรหิต พระเยซูตรัสว่า “จงเอาดาบของท่านใส่ฝักเสีย ด้วยว่าบรรดาผู้ถือดาบจะต้องพินาศเพราะดาบ ท่านคิดว่าเราจะขอพระบิดาของเราไม่ได้หรือ และในครู่เดียวพระองค์จะประทานทูตสวรรค์แก่เรากว่าสิบสองกอง แต่ถ้าเช่นนั้นพระคัมภีร์ที่ว่า จำจะต้องเป็นอย่างนี้ จะสำเร็จได้อย่างไร” แล้วสาวกทั้งหมดก็ได้พากันหนีไป พระเยซูถูกพาไปบ้านของคายาฟาสซึ่งเป็นมหาปุโรหิตประจำการ ทั้งพวกธรรมาจารย์และมหาปุโรหิตต่างพยายามหาพยานเท็จมาปรักปรำพระองค์ แต่ถึงแม้มีพยานเท็จหลายคนให้การก็ไม่สามารถหาหลักฐานได้ ในที่สุดมหาปุโรหิตจึงถามถึงความเป็นพระคริสต์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ยอมรับว่าเป็นพระคริสต์ มหาปุโรหิตจึงยุยงคนทั้งปวงว่า พระเยซูพูดหมิ่นประมาทพระเจ้าเพราะยกตนเองขึ้นเป็นพระคริสต์ คนทั้งปวงจึงต้องการให้ปรับโทษพระเยซูถึงตาย เมื่อยูดาสเห็นว่าตนเองทำบาป โดยอายัดพระเยซูผู้บริสุทธิ์ให้ถึงแก่ความตาย ยูดาสก็เกิดสำนึกกลับใจนำเงินที่ได้ไปคืนให้พวกมหาปุโรหิต แต่คนเหล่านั้นไม่สนใจ ยูดาสจึงทิ้งเงินไว้แล้วออกไปผูกคอตาย พอรุ่งเช้า พวกเขาได้พาพระเยซูไปหาปีลาต ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น พวกเขาได้ฟ้องพระเยซูด้วยข้อกล่าวหาต่างๆ แต่หลังจากปีลาตได้สอบถามพระองค์แล้ว ไม่พบว่ามีความผิดประการใดจึงคิดจะปล่อยพระองค์ แต่พวกเขายืนยันว่า คนนี้ยุยงพลเมืองให้วุ่นวาย เมื่อปีลาตทราบว่าพระองค์เป็นชาวกาลิลี ซึ่งอยู่ในท้องที่ของกษัตริย์เฮโรด ปีลาตจึงส่งพระเยซูไปหาเฮโรดเพื่อให้ตัดสินความแทน ฝ่ายเฮโรดมีความยินดีเป็นอันมากที่จะได้พบพระเยซูเพราะเคยได้ยินกิตติศัพท์มานาน หวังว่าพระเยซูจะแสดงอิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ให้ชมบ้าง แต่เมื่อพระเยซูไม่ได้ทำการใด เฮโรดและพวกทหารจึงได้แต่ดูหมิ่นเยาะเย้ยและส่งพระองค์กลับมาหาปีลาตอีก ปีลาตจึงสั่งมหาปุโรหิต พวกขุนนางและราษฎรให้ประชุมพร้อมกัน และกล่าวแก่เขาว่า “ท่านทั้งหลายได้พาคนนี้มาหาเรา ฟ้องว่าเขาได้ยุยงราษฎร ดูเถิด เราได้สืบถามต่อหน้าท่านทั้งหลาย และไม่เห็นว่าคนนี้มีความผิดในข้อที่ท่านทั้งหลายฟ้องเขานั้น และเฮโรดก็ไม่เห็นว่าเขามีความผิดด้วย เพราะเฮโรดได้ส่งตัวเขากลับมายังเราอีกแล้ว ดูเถิด คนนี้ไม่ได้ทำผิดอะไรซึ่งสมควรจะมีโทษถึงตาย เหตุฉะนั้นเมื่อเราเฆี่ยนเขาแล้ว เราก็จะปล่อยเสีย” ในตอนนั้นเป็นช่วงเทศกาลปัสกา เป็นธรรมเนียมที่เจ้าเมืองจะปล่อยนักโทษคนหนึ่งให้แก่หมู่ชนตามใจชอบ คราวนั้นมีนักโทษคนหนึ่งชื่อ บารับบัส ต้องโทษเพราะฆ่าคน ปีลาตถามพวกเขาว่า ต้องการให้ปล่อยผู้ใดระหว่างพระเยซูกับบารับบัส มหาปุโรหิตก็ยุยงหมู่ชนให้ขอให้ปล่อยบารับบัส พวกเขาจึงตอบว่า บารับบัส และให้ตรึงพระเยซูที่กางเขน ส่วนปีลาตยังพยายามจะปล่อยพระเยซูอีกถึงกับถามพวกเขาซ้ำอีกสามครั้ง เมื่อพวกเขายืนยันตามเดิม ปีลาตก็เอาน้ำล้างมือต่อหน้าหมู่ชน เพื่อแสดงว่าเขาไม่มีส่วนรับผิดชอบด้วยกับการประหารพระเยซู แล้วปีลาตได้สั่งปล่อยบารับบัสและให้โบยตีพระเยซูก่อนนำไปตรึงที่กางเขน พระเยซูทรงถูกพวกทหารของปีลาตโบยตีและหยามพระเกียรติหลายประการ พระวรสารสหทรรศน์กับพระวรสารนักบุญยอห์นระบุเหตุการณ์จากนี้ต่างกันคือ พระวรสารสหทรรศน์ต่างระบุว่าเมื่อพระเยซูถูกตัดสินโทษแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ให้ซีโมนชาวไซรีนมาแบกกางเขนของพระเยซูตั้งแต่ต้น แต่พระวรสารนักบุญยอห์นกลับระบุว่าพระเยซูเป็นผู้แบกกางเขนโดยไม่เอ่ยถึงซีโมนชาวไซรีนเลย เมื่อมาถึงกลโกธาพระองค์ทรงถูกตรึงที่กางเขนพร้อมกับผู้ร้ายสองคน ข้างขวาคนหนึ่งและข้างซ้ายอีกคนหนึ่ง พวกขุนนางต่างกล่าวคำเยาะเย้ยพระองค์ ฝ่ายพวกทหารจับฉลากกันว่า ใครจะได้ฉลองพระองค์ไป (ยอห์น 19:24) หลังจากนั้น พระเยซูทรงทราบว่าทุกสิ่งสำเร็จแล้ว จึงตรัสว่า 'พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์' ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์" ในวันนั้นเป็นวันศุกร์ พวกยิวไม่ต้องการให้ศพค้างอยู่บนกางเขนจนถึงวันอาทิตย์ เพราะเป็นวันสะบาโต จึงมาขอให้ปีลาตทุบขาของผู้ที่ถูกตรึงให้หัก แล้วจะได้เอาศพลงจากกางเขน พวกทหารจึงมาทุบขาของผู้ร้ายทั้งสองคนที่ถูกตรึงอยู่กับพระเยซูจนเสียชีวิต เมื่อมาถึงพระเยซูและเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว พวกทหารไม่ได้ทุบขาพระองค์ แต่ใช้ทวนแทงที่สีข้างของพระองค์ โลหิตและน้ำก็ไหลออกจากร่างกายของพระองค์ โยเซฟแห่งอาริมาเธียได้ขอพระศพพระเยซูจากปีลาต เอาผ้าป่านกับเครื่องหอมพันพระศพของพระองค์ตามธรรมเนียมชาวยิว แล้วเชิญพระศพไปประดิษฐานไว้ในอุโมงค์ฝังศพใหม่ที่ยังไม่ได้ฝังศพผู้ใดเลย ซึ่งอยู่ในสวนแห่งหนึ่งในตำบลที่พระองค์ถูกตรึงนั้น แล้วกลิ้งก้อนหินขนาดใหญ่ปิดปากอุโมงค์ไว้ ส่วนพวกมหาปุโรหิตและพวกฟาริสีไปหาปีลาต ขอให้วางยามเฝ้าหน้าอุโมงค์ให้แข็งแรง เพราะกลัวว่าสาวกจะมาลักพระศพพระเยซูไป ปีลาตจึงสั่งให้ทหารไปประทับตราที่หินและเฝ้ายามหน้าอุโมงค์ไว้ === กลับคืนพระชนม์ === ครั้นวันที่สามผ่านไป เหล่าพวกผู้หญิงได้มาที่อุโมงค์ ทันใดนั้นเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ยิ่งนัก ทูตของพระเจ้าองค์หนึ่งได้กลิ้งก้อนหินออกจากปากอุโมงค์ แล้วกล่าวแก่หญิงนั้นว่า พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ชีพจากความตายแล้ว และให้ไปยังแคว้นกาลิลีจะได้พบพระองค์ที่นั่น หญิงเหล่านั้นจึงไปจากอุโมงค์โดยเร็ว วิ่งไปบอกสาวกของพระเยซู ฝ่ายทหารที่เฝ้าอุโมงค์ได้เข้าไปในเมืองแล้วเล่าเหตุการณ์นั้นให้มหาปุโรหิตฟัง เมื่อพวกเขาปรึกษากันแล้วก็แจกเงินเป็นอันมากให้พวกทหาร โดยสั่งให้พูดกันทั่วไปว่า พวกสาวกแอบมาลักเอาศพไปในตอนกลางคืน ครั้นพวกทหารได้รับเงินแล้วก็ทำตามนั้น บรรดาพวกยิวจึงเชื่อตามคำของทหารเหล่านั้น หลังจากการคืนพระชนม์ของพระเยซูแล้ว พระองค์ทรงปรากฏให้เหล่าสาวกและคนเป็นจำนวนมากได้เห็นเพื่อจะได้เชื่อ เป็นพยานและวางใจในพระองค์ ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ต่อหน้าพวกเขา "เมื่อพระองค์ตรัสเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าก็ทรงรับพระองค์ขึ้นไปต่อหน้าต่อตาเขา และมีเมฆคลุมพระองค์ให้พ้นสายตาของเขา" == การอัศจรรย์ของพระเยซู == คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ได้บันทึกว่าพระเยซูได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ในจำนวนนั้นคือ การรักษาคนเป็นโรคเรื้อนให้หาย , การรักษาคนตาบอด , รักษาคนง่อยให้เดินได้, รักษาคนหูหนวกให้ได้ยิน , รักษาหญิงตกโลหิตให้หาย , ทรงขับผีออก (มาระโก 7:24-30), การชุบชีวิตคนตาย , การทวีขนมปังและปลา , เปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่นในงานแต่ง , การเดินบนน้ำ , การทรงทราบล่วงหน้าถึงอนาคตและสิ่งต่างๆ และการกลับคืนพระชนม์ชีพหลังสิ้นพระชนม์ไปครบ 3วัน == การตรึงที่กางเขนและการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ == คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่าการตรึงพระเยซูที่กางเขนเกิดขึ้นตอนเช้า "เมื่อเขาตรึงพระองค์ไว้นั้นเป็นเวลาเช้าสามโมง" และสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนในเวลาบ่าย "เวลานั้นประมาณเวลาเที่ยง ก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน จนถึงบ่ายสามโมง ดวงอาทิตย์ก็มืดไป ม่านในพระวิหารก็ขาดตรงกลาง พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า 'พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์' ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์" หลังจากนั้นพระองค์เสด็จกลับฟื้นคืนพระชนม์ในวันที่ 3 "แต่เช้ามืดในวันต้นสัปดาห์ ผู้หญิงเหล่านั้นจึงนำเครื่องหอมที่เขาได้จัดเตรียมไว้มาถึงอุโมงค์ เขาเหล่านั้นเห็นก้อนหินกลิ้งพ้นจากปากอุโมงค์แล้ว และเมื่อเข้าไปมิได้เห็นพระศพของพระเยซูเจ้า" "หญิงเหล่านั้นก็ไปจากอุโมงค์โดยเร็ว ทั้งกลัวทั้งยินดีเป็นอันมาก วิ่งไปบอกพวกสาวกของพระองค์ ดูเถิด พระเยซูได้เสด็จพบเขาและตรัสว่า 'จงจำเริญเถิด' หญิงเหล่านั้นก็มากอดพระบาทนมัสการพระองค์ พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า 'อย่ากลัวเลย จงไปบอกพวกพี่น้องของเราให้ไปยังกาลิลี จะได้พบเราที่นั่น'" บุคคลที่พระเยซูทรงปรากฏให้เห็นก่อนที่จะเสด็จขึ้นสู่ฟ้าสวรรค์ ได้แก่ มารีย์ชาวมักดาลา , เคลโอปัสและศิษย์อีกคนหนึ่งซึ่งในพระคัมภีร์ไม่ได้ระบุชื่อ , สาวกทั้งสิบเอ็ดคน , สาวกเจ็ดคน พระเยซูทรงประทับอยู่กับเหล่าสาวกราว 40 วัน และเสด็จขึ้นสวรรค์ต่อหน้าพวกเขา "เมื่อพระองค์ตรัสเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าก็ทรงรับพระองค์ขึ้นไปต่อหน้าต่อตาเขา และมีเมฆคลุมพระองค์ให้พ้นสายตาของเขา" == ทัศนะของศาสนาอื่น == === ศาสนาอิสลาม === มุสลิมถือว่าอีซาไม่ใช่บุตรของพระเจ้า แต่เป็นวิญญาณหนึ่งซึ่งพระผู้เป็นเจ้าบันดาลให้บังเกิดในครรภ์มารีย์โดยมิได้มีความสัมพันธ์กับบุรุษ ในวัยเด็กของพระเยซู คัมภีร์อัลกุรอานเล่าเพียงช่วงที่มะลักตนหนึ่งจำแลงกายเป็นบุรุษเข้ามาพบกับมัรยัม และบอกนางว่านางจะได้บุตรโดยปราศจากบิดา เมื่อนางจะคลอดก็ได้หนีออกไปคลอดนอกเมือง ไปที่โคนต้นอินทผลัม เมื่อคลอดเสร็จแล้ว พระผู้เป็นเจ้าทรงบันดาลให้มีตาน้ำไหลออกมาให้มัรยัมได้ดื่ม เมื่อพาบุตรกลับมา นางก็ถูกถามและกล่าวหาว่านางได้ผิดประเวณีได้บุตรไร้บิดา นางไม่ยอมพูดแต่อีซาพูดออกมาว่า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ได้ประทานคัมภีร์ และแต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนบี อัลกุรอานไม่ได้บอกเล่าชีวประวัติในวัยเด็กอีกเลย คัมภีร์อัลกุรอานและพระวรสารนักบุญบารนาบัสได้บันทึกว่าเยซูได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ในจำนวนนั้นคือการรักษาคนเป็นโรคเรื้อน การชุบชีวิตคนตาย การเรียกสำรับอาหารจากฟ้า และการเป่าก้อนดินเหนียวให้เป็นสัตว์มีปีกบินได้ คัมภีร์ไบเบิลบันทึกว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนกางเขนและกลับคืนพระชนม์ชีพ ในขณะที่อัลกุรอานและพระวรสารนักบุญบารนาบัสระบุว่าเยซูยังไม่ตาย ผู้ที่ถูกตรึงทีไม้กางเขนเป็นผู้อื่น พระวรสารนักบุญบารนาบัสระบุว่าผู้ที่ถูกตรึงนั้นคือเยฮูดาห์ === ศาสนาบาไฮ === พระบะฮาอุลลอฮ์ ศาสดาของศาสนาบาไฮ กล่าวถึงพระเยซูว่าเป็นผู้เผยพระวจนะที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาเพื่อทำหน้าที่นำพาและให้ความรู้แก่มนุษย์ในยุคสมัยหนึ่ง เช่นเดียวกับผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ คือ พระกฤษณะ โมเสส ซาราธุสตรา พระพุทธเจ้า นบีมุฮัมมัด พระบาบ โดยพระบาฮาอุลลออ์อ้างว่าตนเองคือ "พระวิญญาณแห่งความจริง" (ยอห์น 16:13) และเป็นพระคริสต์ผู้มาเป็นครั้งที่สอง "ด้วยรัศมีของพระบิดา" (มัทธิว 16:27) ตามที่พระเยซูได้ทำนายไว้ === ลัทธิอนุตตรธรรม === ลัทธิอนุตตรธรรมถือว่าอนุตตรธรรมเป็นรากเหง้าของทุกศาสนารวมทั้งศาสนาคริสต์ โดยพระเยซูเป็นศาสดาองค์หนึ่งที่พระแม่องค์ธรรมทรงส่งมาเพื่อโปรดเวไนยในช่วงธรรมกาลยุคแดง เช่นเดียวกับพระโคตมพุทธเจ้าและนบีมุฮัมมัด และยุคแดงได้สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1912 ปัจจุบันจึงเป็นธรรมกาลยุคขาวซึ่งมีลู่ จงอี เป็นผู้ปกครอง ลัทธิอนุตตรธรรมได้จัดพิธีกรรมหลายครั้งที่อ้างว่ามีพระเยซูมาประทับทรงเพื่อประกาศรับรองว่าลัทธิอนุตตรธรรมเป็นทางสวรรค์ที่แท้จริง ที่สำคัญเช่นปี ค.ศ. 1941 ซุน ฮุ่ยหมิง เจ้าลัทธิอนุตตรธรรมได้เชิญวิญญาณพระเยซูมาประทับทรงที่กระบะทรายเพื่อประทานพระโอวาท เนื้อความสำคัญที่ถูกถ่ายทอดคือประกาศว่าซุน ฮุ่ยหมิง เป็นพระผู้ช่วยให้รอดในยุคนี้ และให้คริสตชนนมัสการบูชาเธอยิ่งกว่าพระเยซูเอง เพราะมีเธอคนเดียวที่จะประทานความรอดให้แก่มวลมนุษย์ได้ == สมัญญาของพระเยซู == พระบุตรพระเป็นเจ้า พระเจ้าพระบุตร พระผู้ไถ่ == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == Thai Holy Bible, Thailand Bible Society, 1998. Walter A. Elwell, The Pocket Bible Handbook, Harold Shaw Publisher, 1997. Sanders, E.P. The Historical Figure of Jesus. London: Allen Lane Penguin Press, 1993. ISBN 978-0-7139-9059-1 == ดูเพิ่ม == เมสสิยาห์ อีซา == แหล่งข้อมูลอื่น == พระเยซูคือใคร บุคคลที่เกิดในทศวรรษ 0 ก่อนคริสตกาล บุคคลที่เสียชีวิตในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ผู้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน
thaiwikipedia
118
ภาษาศาสตร์
ภาษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษาโดยใช้แนวคิด ทฤษฎีและวิธีการวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติหรือระบบของภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร์ == ประเภทของการศึกษาภาษาศาสตร์ == การศึกษาด้านภาษาศาสตร์สามารถแบ่งออกได้หลายมุมมอง ได้แก่ ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ (Dichotomies and language) แบ่งได้เป็น การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เน้นเฉพาะยุคสมัย (synchronic study) เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางภาษาศาสตร์ (linguistic feature) ของภาษาในช่วงยุคสมัยต่าง ๆ ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ (diachronic study) เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของภาษาและกลุ่มของภาษา และความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นในยุคต่าง ๆ ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์ ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี (หรือภาษาศาสตร์ทั่วไป) จะเป็นการกำหนดอรรถาธิบายให้กับภาษาแต่ละภาษา และกำหนดทฤษฎีเกี่ยวกับมุมมองต่าง ๆ ของภาษาให้ครอบคลุม ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ต่าง ๆ กับงานด้านอื่น ๆ ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบทและแบบไม่พึ่งพาบริบท (Contextual and Independent Linguistics) ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบท เป็นการสร้างอรรถาธิบายเกี่ยวกับการใช้ภาษาโดยมนุษย์ เช่น หน้าที่เชิงสังคมในภาษา วิธีการใช้งานภาษา และวิธีการสร้างและรับรู้ภาษาของมนุษย์ ภาษาศาสตร์แบบไม่พึ่งพาบริบท เป็นการศึกษาที่ตัวภาษาเอง โดยไม่พิจารณาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามคำทั้งสองนี้ยังไม่มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ในหนังสือ สารานุกรมบริทานิกา (Encyclopædia Britannica) จึงใช้คำว่า ภาษาศาสตร์มหภาค (macrolinguistics) และภาษาศาสตร์จุลภาค (microlinguistics) แทน จากมุมมองต่าง ๆ เหล่านี้ นักภาษาศาสตร์ หรือนักภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี โดยทั่วไป มักจะศึกษาภาษาศาสตร์แบบไม่พึ่งพาบริบท ในเชิงทฤษฎี เฉพาะยุคสมัย (independent theoretical synchronic linguistics) ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นแก่นของวิชาภาษาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ได้ตั้งประเด็นคำถามและทำวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ไว้อย่างกว้างขวาง ซึ่งบางประเด็นก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ดังที่ รัส ไรเมอร์ (Russ Rymer) ได้กล่าวเอาไว้อย่างละเอียดว่า "ภาษาศาสตร์เป็นทรัพย์สินที่มีการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนที่สุดโดยหาจุดยุติไม่ได้ในวงการวิชาการ ภาษาศาสตร์โชกชุ่มไปด้วยหยาดโลหิตของนักกวี นักศาสนวิทยา นักปรัชญา นักภาษาโบราณ นักจิตวิทยา นักชีววิทยา และนักประสาทวิทยา รวมทั้งเลือดของนักไวยากรณ์เท่าที่จะสามารถเอาออกมาได้" (Linguistics is arguably the most hotly contested property in the academic realm. It is soaked with the blood of poets, theologians, philosophers, philologists, psychologists, biologists, and neurologists, along with whatever blood can be got out of grammarians.) 1 == แขนงวิชาของภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี == บ่อยครั้ง ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแขนง บางแขนงสามารถศึกษาได้โดยอิสระ บางแขนงก็ต้องศึกษาควบคู่กับแขนงอื่น อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกเป็นแขนงต่าง ๆ ได้ดังนี้ สัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นการศึกษาเสียงต่าง ๆ ซึ่งใช้ร่วมกันในภาษามนุษย์ทุกภาษา สัทวิทยา (Phonology) เป็นการศึกษารูปแบบเสียงพื้นฐานของภาษา วิทยาหน่วยคำ (Morphology linguistics) เป็นการศึกษาโครงสร้างภายในของคำและการเปลี่ยนรูปของคำ วากยสัมพันธ์ (Syntax) เป็นการศึกษาการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ อรรถศาสตร์ (Semantics) เป็นการศึกษาความหมายของคำ (lexical semantics) และวิธีการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคเพื่อสื่อความหมาย วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics) เป็นการศึกษาวิธีการใช้ถ้อยความ (utterance) เพื่อสื่อความหมายในการสื่อสาร เช่น แบบตรงตัว (literal pragma) แบบอุปมาอุปไมย (figurative pragma) ฯลฯ ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical linguistics) เป็นการศึกษาภาษาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความใกล้เคียงของคำศัพท์ การสร้างคำ และวากยสัมพันธ์ แบบลักษณ์ภาษา (Linguistic typology) เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางไวยากรณ์ที่ใช้อยู่ในภาษาต่าง ๆ วัจนลีลาศาสตร์ (Stylistics linguistics) เป็นการศึกษาลีลาในการใช้ภาษา อย่างไรก็ตาม ความสำคัญเฉพาะของแขนงต่าง ๆ ก็ยังไม่เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน และนักภาษาศาสตร์ทุกท่านก็เห็นพ้องกันว่า การแบ่งแขนงแบบดังกล่าวยังคงมีขอบเขตซ้อนทับกันอยู่มาก ถึงกระนั้น แขนงย่อยก็ยังคงมีคอนเซ็ปต์แก่นซึ่งสนับสนุนการตั้งประเด็นปัญหาและการวิจัยของผู้ชำนาญการได้เป็นอย่างดี == ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ (Diachronic linguistics) == ในขณะที่แก่นของภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาเฉพาะห้วงเวลาหนี่ง ๆ (ซึ่งส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาปัจจุบัน) ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ จะเน้นไปที่การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของภาษาตามการเปลี่ยนแปลงของเวลา ในบางครั้งอาจจะใช้เวลานับร้อยปี ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์จะต้องใช้ทั้งการศึกษาด้านประวัติศาสตร์อันยาวนาน (ซึ่งการศึกษาภาษาศาสตร์ก็ได้เติบโตมาจากภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์นั่นเอง) และพื้นฐานด้านทฤษฎีที่เข้มแข็ง เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาษา ในมหาวิทยาลัยของอเมริกาหลายแห่ง มุมมองที่ไม่ขึ้นกับประวัติศาสตร์ (non-historic perspective) จะมีอิทธิพลมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ในห้องเรียนภาษาศาสตร์เบื้องต้นหลายแห่งจะครอบคลุมภาษาศาสตร์เชิงประวัติเฉพาะช่วงเวลาปัจจุบันเท่านั้น การหันเหความสนใจไปยังมุมมองที่ไม่ขึ้นกับประวัติศาสตร์เริ่มต้นจาก แฟร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) และเริ่มมีอิทธิพลมากกว่าโดย โนม ช็อมสกี มุมมองที่ขึ้นกับประวัติศาสตร์อย่างเด่นชัด ได้แก่ ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบเชิงประวัติ และ ศัพทมูลวิทยา - ศาสตร์ที่ว่าด้วยการกำเนิดและการพัฒนาของคำ) == ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์ (Applied linguistics) == ในขณะที่ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการหาอรรถาธิบายคุณสมบัติสากล ทั้งภายในเฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ หรือทุกภาษา ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะนำอรรถาธิบายเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับศาสตร์ด้านอื่น ๆ บ่อยครั้งทีเดียวที่ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะอ้างถึงงานวิจัยทางภาษาศาสตร์ในการสอนภาษา แต่ถึงกระนั้น ผลจากงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์ก็ยังใช้ในศาสตร์ด้านอื่น ๆ อีกเช่นเดียวกัน ทุกวันนี้ แขนงวิชาต่าง ๆ ของภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ในการสังเคราะห์เสียง (Speech synthesis) และการรู้จำเสียง (Speech recognition) มีการนำเอาความรู้ด้านสัทศาสตร์และพยางค์ (phonetic and phonemic knowledge) มาใช้เพื่อสร้างส่วนติดต่อคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง การประยุกต์ใช้งานภาษาศาสตร์เชิงคำนวณในการแปลภาษาด้วยเครื่อง (Machine translation) การแปลภาษาแบบเครื่องช่วย (Computer-assisted translation) และการประมวลผลภาษาธรรมชาตินั้น จัดเป็นแขนงวิชาที่เป็นประโยชน์อย่างมากของภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์ ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตามสมรรถนะการคำนวณของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น อิทธิพลของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อทฤษฎีของวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ เนื่องด้วยการออกแบบทฤษฎีทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์บนคอมพิวเตอร์ จะจำกัดประสิทธิภาพของทฤษฎีเหล่านั้นด้วยโอเปอเรชั่นที่คำนวณได้ (computable) และทำให้เกิดทฤษฎีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำ (ข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ ทฤษฎีการคำนวณได้) == ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบท (Contextual linguistics) == ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบทเป็นวงการซึ่งหลักภาษาศาสตร์เชื่อมโยงกับศาสตร์วิชาการด้านอื่น ๆ ในขณะที่ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีจะศึกษาภาษาโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอย่างอื่นภายนอกนั้น แขนงวิชาที่มีการผสมหลายหลักการของภาษาศาสตร์จะวิเคราะห์ภาษาว่ามีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกอย่างไรบ้าง ในภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics) ภาษาศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา (Anthropological Linguistics) และมานุษยวิทยาเชิงภาษาศาสตร์ (Linguistics Anthropology) จะมีการวิเคราะห์สังคมโดยใช้หลักสังคมศาสตร์ควบคู่ไปกับหลักทางภาษาศาสตร์ ในปริจเฉทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) จะมีการนำศิลปะการใช้ถ้อยคำ (Rhetoric) และปรัชญา มาประยุกต์รวมกับหลักภาษาศาสตร์ ในภาษาศาสตร์จิตวิทยา (Psycholinguistics) และภาษาศาสตร์เชิงประสาทวิทยา (Neurolinguistics) จะมีการนำหลักทางแพทยศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักทางภาษาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีแขนงวิชาอื่น ๆ ที่มีการผสมหลักการทางภาษาศาสตร์เข้าไป เช่น การรู้ภาษา (Language Acquisition), ภาษาศาสตร์เชิงวิวัฒนาการ (Evolutionary linguistics), ภาษาศาสตร์แบบแบ่งเป็นชั้น (Stratificational Linguistics) และ ปริชานศาสตร์ (Cognitive science) == ผู้พูด, ชุมชนทางภาษา, และเอกภพทางภาษาศาสตร์ == นักภาษาศาสตร์นั้นจะแตกต่างกันออกไป ตามกลุ่มของผู้ใช้ภาษาที่นักภาษาศาสตร์เหล่านั้นศึกษา บางกลุ่มจะวิเคราะห์ภาษาเฉพาะบุคคล หรือ การพัฒนาภาษา ถ้าจะมองให้ละเอียดลงไป บางพวกก็ศึกษาภาษาที่ยังคงใช้กันอยู่ในชุมชนภาษา ขนาดใหญ่ เช่น ภาษาถิ่น ของกลุ่มคนที่พูดภาษาอังกฤษแอฟริกันอเมริกัน หรือที่เรียกว่า อีโบนิกส์ บางพวกก็พยายามจะค้นหาเอกภพทางภาษาศาสตร์ ซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางภาษากับทุก ๆ ภาษามนุษย์ โครงการหลังสุดนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างโด่งดังโดยโนม ช็อมสกี และทำให้นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์จิตวิทยา และศาสตร์การรับรู้ของมนุษย์ หันมาสนใจศาสตร์ด้านนี้มากขึ้น ได้มีการคิดกันว่า เอกภพของภาษามนุษย์นั้นอาจจะนำไปสู่การไขปริศนาของเอกภพเกี่ยวกับจิตใจมนุษย์ได้ == ภาษาศาสตร์แบบกำหนดและภาษาศาสตร์แบบบรรยาย == งานวิจัยทางภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบบรรยายบริสุทธิ์ (purely descriptive) นั่นคือ นักภาษาศาสตร์จะหาหนทางเพื่อสร้างความกระจ่างในธรรมชาติของภาษา โดยไม่มีการกำหนดวิธีการล่วงหน้าหรือพยายามที่จะหาทิศทางของภาษาในอนาคต อย่างไรก็ตามมีทั้งนักภาษาศาสตร์มืออาชีพและมือสมัครเล่นที่กำหนดกฎเกณฑ์ล่วงหน้า (prescribe) ให้กับกฎของภาษา โดยจะมีมาตรฐานเฉพาะเพื่อให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม นักกำหนดกฎเกณฑ์ (Prescriptivist) มักจะพบได้ในผู้สอนภาษาในระดับต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะมีกฎเกณฑ์ชัดเจนที่ตัดสินว่า อะไรถูก อะไรผิด และอาจทำหน้าที่รับผิดชอบการใช้ภาษาอย่างถูกต้องของคนในรุ่นถัดไป ส่วนมากภาษาที่ควบคุมมักจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษามาตรฐาน (acrolect) ของภาษาหนึ่ง ๆ เหตุที่นักกำหนดกฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถทนเห็นการใช้ภาษาผิด ๆ นั้น อาจจะเกิดจากความไม่ชอบในคำที่เกิดขึ้นใหม่ (neologism) ภาษาถิ่นที่สังคมไม่ยอมรับ (basilect) หรือความขัดแย้งเพียงเล็กน้อยกับทฤษฎีที่เข้มงวด นักกำหนดกฎเกณฑ์สุดโต่งอาจจะพบเห็นได้ในกลุ่มนักเซ็นเซอร์ ซึ่งเป้าหมายของคนกลุ่มนี้คือกำจัดคำและโครงสร้างไวยากรณ์ที่คิดว่าจะบ่อนทำลายสังคม ในทางกลับกัน นักอธิบายกฎเกณฑ์ (Descriptivist) จะพยายามหารากเหง้าของการใช้ภาษาไม่ถูกต้อง นักอธิบายกฎเกณฑ์จะอธิบายการใช้ภาษาแบบดังกล่าวให้เป็นการใช้ภาษาเฉพาะแบบ (idiosyncratic usage) หรืออาจจะค้นพบกฎซึ่งอาจจะขัดกับนักกำหนดกฎเกณฑ์ ภาษาศาสตร์แบบบรรยาย (descriptive linguistics) ตามบริบทของงานภาคสนาม (fieldwork) จะหมายถึงการศึกษาภาษาโดยแนวทางของนักอธิบายกฎเกณฑ์ (มากกว่าที่จะเป็นแนวทางของนักกำหนดกฎเกณฑ์) วิธีการของนักอธิบายกฎเกณฑ์จะใกล้เคียงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในสายวิชาการอื่น ๆ มากกว่าวิธีการของกำหนดกฎเกณฑ์ == ภาษาพูดและภาษาเขียน == นักภาษาศาสตร์ร่วมสมัยส่วนใหญ่มักจะทำวิจัยภายใต้สมมติฐานที่ว่า ภาษาพูด นั้นเป็นหลักพื้นฐาน และมีความสำคัญต่อการศึกษามากกว่าภาษาเขียน เหตุผลที่สนับสนุนข้อสมมติฐานดังกล่าว ได้แก่ ภาษาพูดเป็นสิ่งสากลสำหรับมนุษย์ (human-universal) ในขณะที่หลายวัฒนธรรมและหลายชุมชนภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน มนุษย์สามารถเรียนรู้การพูดและการประมวลผลภาษาพูดได้ง่ายกว่า และง่ายกว่าการเขียนมาก ๆ นักวิทยาศาสตร์การรับรู้ของมนุษย์ จำนวนหนึ่งอ้างว่า สมองมีโมดูลภาษา โมดูลภาษาในที่นี้เป็นสัญชาตญาณซึ่ง ความรู้ที่ภายหลังสามารถเพิ่มเติมได้โดยการเรียนรู้ภาษาพูดมากกว่าเรียนรู้จากภาษาเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องมาจากภาษาพูดนั้นเป็นปรับใช้ตามวิวัฒนาการ ในขณะที่ภาษาเขียนนั้น เมื่อเทียบแล้วเป็นการประดิษฐ์ที่ตามมาทีหลัง แน่นอน นักภาษาศาสตร์ยังคงเห็นพ้องกันว่า การศึกษาภาษาเขียนก็มีคุณค่าเช่นเดียวกัน สำหรับงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์ที่ใช้วิธีการภาษาศาสตร์คลังข้อมูล และภาษาศาสตร์เชิงคำนวณแล้ว ภาษาเขียนย่อมสะดวกต่อการประมวลผลข้อมูลทางภาษาศาสตร์ขนาดใหญ่มากกว่า คลังข้อมูล ขนาดใหญ่สำหรับภาษาพูดนั้น สร้างและแสวงหาได้ยาก อย่างไรก็ตามคลังเอกสารสำหรับภาษาพูดก็ยังคงใช้กันโดยทั่วไปในรูปแบบของการถอดความ นอกจากนี้ การศึกษาระบบการเขียน ก็ยังเป็นแขนงหนึ่งของภาษาศาสตร์อีกด้วย == สาขาวิจัยด้านภาษาศาสตร์ == ศัพทมูลวิทยา (ศัพทศาสตร์) ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบเชิงประวัติ พจนานุกรมวิทยา สัทศาสตร์ สัทวิทยา วัจนปฏิบัติศาสตร์ อรรถศาสตร์ วากยสัมพันธ์ ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล ภาษาศาสตร์เชิงอธิบาย แบบลักษณ์ภาษา สัญศาสตร์ == การวิจัยทางภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ == ภาษาศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ศาสตร์การรับรู้ของมนุษย์ ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ * การประมวลผลภาษาธรรมชาติ * การรู้จำผู้พูดจากเสียง (เพื่อการรับรองสิทธิของผู้ใช้) * การประมวลผลเสียง * การรู้จำเสียง * การสังเคราะห์เสียง ปริจเฉทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ศาสตร์การเข้ารหัส ศาสตร์การถอดรหัส ภาษาศาสตร์เชิงวิวัฒนาการ ศาสตร์ด้านกล่องเสียง ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ การรู้ภาษา ภาษาศาสตร์เชิงประสาทวิทยา อักขรวิทยา ภาษาศาสตร์จิตวิทยา การรู้ภาษาที่สอง ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์แบบแบ่งเป็นชั้น ภาษาศาสตร์เชิงเนื้อความ ระบบการเขียน == นักภาษาศาสตร์และกลุ่มแนวคิดที่สำคัญ == นักภาษาศาสตร์ในยุคเริ่มต้น ได้แก่ จาค็อบ กริมม์ (Jakob Grimm) ผู้ซึ่งเสนอหลักของการเลื่อนเสียงพยัญชนะ (Consonantal shift) ในการสะกด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม กฎของกริมม์ (Grimm's Law) ในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) คาร์ล เวอร์เนอร์ (Karl Verner) ผู้ซึ่งค้นพบกฎของเวอร์เนอร์ (Verner's Law) เอากุสต์ ชไลเคอร์ (August Schleicher) ผู้ซึ่งสร้าง ทฤษฎีชทัมบาว์ม (Stammbaumtheorie /ชทัม-บาว์ม-เท-โอ-รี/) โยฮันเนส ชมิดท์ (Johannes Schmidt) ผู้ซึ่งพัฒนาแบบจำลองคลื่น (Wellentheorie /เฟฺวล-เลน-เท-โอ-รี/) ในปี พ.ศ. 2415 แฟร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) เป็นผู้ก่อตั้งภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างสมัยใหม่ แบบจำลองฟอร์มอลของภาษาของโนม ช็อมสกี (Noam Chomsky) ซึ่งก็คือ ไวยากรณ์แปลงรูปเชิงขยาย ได้รับการพัฒนาภายใต้อิทธิพลของอาจารย์ของท่าน เซลลิก แฮร์ริส (Zellig Harris) ผู้ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงมาจาก เล็นเนิร์ด บลูมฟิลด์ (Leonard Bloomfield) ไวยากรณ์แปลงรูปเชิงขยายนี้ได้เข้ามามีบทบาทต่อวงการภาษาศาสตร์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 นักภาษาศาสตร์และกลุ่มแนวคิดที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ ไมเคิล ฮอลลิเดย์ (Michael Halliday) ผู้พัฒนาไวยากรณ์ฟังก์ชันที่เป็นระบบ (Systemic Functional Grammar) ซึ่งพัฒนาไล่ตามกันอย่างกระชั้นชิดในสหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย, จีน และญี่ปุ่น เดลล์ ไฮมส์ (Dell Hymes) ผู้พัฒนาแนวทางวจันปฏิบัติศาสตร์ ซึ่งเรียกว่าชาติพันธุ์วิทยาของภาษาพูด (The Ethnography of Speaking) จอร์จ แล็คคอฟฟ์ (George Lakoff) เล็นนาร์ด ทาล์มี (Leonard Talmy) และโรนัลด์ แล็งแก็กเกอร์ (Ronald Langacker) ผู้บุกเบิกภาษาศาสตร์ปริชาน (Cognitive linguistics) ชาร์ลส์ ฟิลล์มอร์ (Charles Fillmore) และอะดีล โกลด์เบิร์ก (Adele Goldberg) ผู้ร่วมกันพัฒนาไวยากรณ์แบบก่อร่าง (Construction grammar) ทาล์มี กิฟว็อน (Talmy Givon) และโรเบิร์ต แวน วาลิน จูเนียร์ (Robert Van Valin, Jr.) ผู้พัฒนาไวยากรณ์เชิงหน้าที่ (Functional grammar หรือ Functionalism) กิลอัด สุขเคอร์แมน (Ghil'ad Zuckermann) การฟื้นฟูภาษา (Revivalistics) == รูปแทนเสียงภาษาพูด == สัทอักษรสากล (IPA) เป็นระบบรูปแทนเสียงที่ใช้เขียน และสามารถนำมาสังเคราะห์เสียงของภาษามนุษย์ SAMPA เป็นวิธีการถอดสัทอักษรสากล โดยใช้รหัสแอสกี (ASCII) เท่านั้น ผู้เขียนหนังสือบางรายจะใช้ระบบนี้แทนสัทอักษรเพื่อสะดวกในการพิมพ์ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โฮมเพจของ SAMPA == มุมมองแคบของภาษาศาสตร์ == คำว่า ภาษาศาสตร์ และ นักภาษาศาสตร์ อาจจะไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างบนก็ได้ ในบางกรณี คำนิยามที่ดีที่สุดสำหรับคำว่า ภาษาศาสตร์ คงจะเป็น วิชาที่สอนกันในภาควิชาภาษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และ นักภาษาศาสตร์ ก็คงจะเป็น ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ในมุมมองแคบมักจะไม่ได้กล่าวถึงการเรียนเพื่อพูดภาษาต่างประเทศ (ยกเว้นว่าจะช่วยให้เห็นโมเดลฟอร์มอลของภาษาได้ดีขึ้น) และก็ไม่ได้รวมเอาการวิเคราะห์วรรณกรรม (Literary analysis) ไว้เลย มีเพียงบางครั้งเท่านั้นที่อาจจะมีการศึกษาเนื้อหาบางอย่างตามความจำเป็น เช่นอุปลักษณ์ บางครั้งนิยามเหล่านี้ก็ไม่สามารถนำมาใช้กับงานวิจัยในแนวกำหนดกฎเกณฑ์ได้ ดังเช่นที่พบในงาน มูลฐานแห่งวัจนลีลา (The Element of Style) ของสทรังค์ (William Strunk, Jr.) และไวท์ (E. B. White) นักภาษาศาสตร์มักจะเป็นผู้ค้นหาว่าผู้ใช้ภาษาใช้ภาษาอย่างไร มากกว่าที่จะไปกำหนดว่าผู้ใช้ภาษาควรใช้ภาษาอย่างไร การตัดสินว่าใครเป็นหรือไม่เป็นนักภาษาศาสตร์นั้นเป็นไปได้ว่าต้องใช้เวลานานในการตัดสิน == ดูเพิ่ม == ประวัติของภาษาศาสตร์ หัวข้อพื้นฐานด้านภาษาศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าจอที่ออกแบบมาเพื่อจัดระเบียบข้อมูลเกี่ยวกับภาษาศาสตร์บนวิกีพีเดีย รายการหัวข้อด้านภาษาศาสตร์ รายชื่อนักภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาเอกสารโบราณและภาษาที่ใช้ การวิเคราะห์โดยอาศัยโครงสร้าง ภาษาศาสตร์จิตวิทยา == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == == แหล่งข้อมูลอื่น == The Linguist List, a global online linguistics community with news and information updated daily Glossary of linguistic terms by SIL International (last updated 2004) Glottopedia, MediaWiki-based encyclopedia of linguistics, under construction Linguistic sub-fields – according to the Linguistic Society of America Linguistics and language-related wiki articles on Scholarpedia and Citizendium "Linguistics" section – A Bibliography of Literary Theory, Criticism and Philology, ed. J.A. García Landa (University of Zaragoza, Spain) สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. (2556). Linguistic Turn กับข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก. วารสารประวัติศาสตร์. (ฉบับครบรอบ 100 ปีชาตกาล ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช) : 98-119. สังคมศาสตร์ การสื่อสารศึกษา
thaiwikipedia
119
ต้นทางเปิด
ต้นทางเปิด, ต้นฉบับเปิด, โอเพนซอร์ซ หรือ โอเพนซอร์ส (open source) เป็นการเปิดเผยรหัสต้นทางเพื่อให้แก้ไข และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาตให้ใช้รหัสต้นทาง ออกแบบเอกสาร หรือเนื้อหาของผลิตภัณฑ์ ตัวแบบต้นทางเปิด (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรี หลักของการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดคือการผลิตแบบเสมอกัน (peer production) โดยมหาชนสามารถเข้าถึงผลิตผล เช่น รหัสต้นทาง, พิมพ์เขียว และเอกสารกำกับโปรแกรมได้อย่างเสรี การเคลื่อนไหวด้านต้นทางเปิดทางด้านซอฟต์แวร์เริ่มโดยเป็นการตอบโต้ข้อจำกัดของซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ ตัวแบบถูกใช้สำหรับโครงการ เช่น ใน เทคโนโลยีเหมาะสมต่อต้นทางเปิด (open-source appropriate technology) และการคิดค้นยาแบบโอเพนซอร์ซ ต้นทางเปิดส่งเสริมการเข้าถึงอย่างเสรีผ่านสัญญาอนุญาตต้นทางเปิดหรือสัญญาอนุญาตเสรีต่อการออกแบบหรือพิมพ์เขียวของผลิตผล และส่งเสริมให้แจกจ่ายการออกแบบหรือพิมพ์เขียวนั้นอย่างสากล ก่อนคำว่า ต้นทางเปิด จะถูกใช้อย่างแพร่หลาย ผู้พัฒนาและผู้ผลิตใช้คำศัพท์อื่น ทว่าคำว่า โอเพนซอร์ซ ได้รับความนิยมหลังอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย การเคลื่อนไหวซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความชัดเจนด้านลิขสิทธิ์ สัญญาอนุญาต ชื่อโดเมน และประเด็นเกี่ยวกับผู้บริโภค โดยทั่วไปแล้ว ต้นทางเปิดหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีรหัสต้นทางซึ่งเข้าถึงได้โดยสาธารณะ เพื่อใช้ หรือเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับ รหัสที่ถูปเปิดเผยได้รับการเผยแพร่ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ โดยเงื่อนไขดังกล่าวอาจจะให้สิทธิ์นักเขียนโปรแกรมที่จะร่วมมือกันพัฒนารหัสต้นทาง และแบ่งปันการเปลี่ยนแปลงกับชุมชน == การใช้ประโยชน์ == การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับต้นทางเปิด ยังจุดประกายให้งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีความโปร่งใสและเสรีภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น CAMBIA แม้กระทั่งวิธีวิทยาทางงานวิจัยเองก็สามารถได้ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้หลักต้นทางเปิด การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับต้นทางเปิด ยังจุดประกายให้เกิดการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ต้นทางเปิดอีกด้วย === ซอฟต์แวร์ === ซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดคือซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่รหัสต้นทางของมันสู่สาธารณะ เปิดโอกาสในการคัดลอก, ดัดแปลง และแจกจ่ายรหัสต้นทางซ้ำได้โดยไม่ต้องเสียต่าใช้จ่าย LibreOffice และ GIMP เป็นตัวอย่างของซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล, ไฟร์ฟอกซ์, ลินุกซ์, อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ ลักษณะเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ที่นิยมได้ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และ สัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) จากรายงานของกลุ่มสแตนดิชประมาณการประหยัดงบประมาณจากการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ สัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซ กฎหมายคอมพิวเตอร์ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา การประมวลสารสนเทศทางสังคม มาตรฐาน โครงสร้างตลาดและการกำหนดราคา Criticism of intellectual property
thaiwikipedia
120
ฟลอปปีดิสก์
แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) หรือ แผ่นบันทึก (ศัพท์บัญญัติ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ (floppy disk drive) == ประวัติ == แผ่นดิสก์ยุคแรก มีขนาด 8 นิ้ว สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เพื่อใช้กับเครื่อง System/370 ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สร้างโดยเดวิด โนเบิล ในทีมงานของ อะลัน ซูการ์ต ซึ่งต่อมา ซูการ์ตแยกตัวออกไปตั้งบริษัททำวิจัยเกี่ยวกับหน่วยความจำ ชื่อบริษัทซูการ์ต ในปี ค.ศ. 1973 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา บริษัทก็ขาดทุนและซูการ์ตก็ถูกไล่ออกจากบริษัทตัวเอง นักวิจัยของบริษัทซูการ์ต ชื่อ จิม แอดคิสสัน ได้รับการติดต่อจาก An Wang เพื่อให้ลดขนาดแผ่นดิสก์ให้เล็กลง การติดต่อเกิดขึ้นที่บาร์ในบอสตัน และขนาดแผ่นดิสก์ใหม่ที่คุยกันคือขนาดเท่ากระดาษเช็ดมือในร้าน ซึ่งมีขนาด 5¼ นิ้ว ต่อมาไม่นาน บริษัทซูการ์ต ก็ผลิตแผ่นดิสก์ขนาดนี้ได้และได้รับความนิยม ในตอนแรก แผ่นมีความจุ 110 กิโลไบต์ ต่อมา บริษัท Tandon พัฒนาให้ความจุสูงขึ้น โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลสองหน้า (double density) ทำให้สามารถเก็บได้ 360 กิโลไบต์ แผ่นดิสก์เป็นที่นิยมในท้องตลาดอย่างสูง ทำให้หลาย ๆ บริษัททุ่มทุนวิจัยทางด้านนี้ ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล ผลิตเครื่องที่ใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้วของบริษัทโซนี่ และผลักดันให้แผ่น 3½ นิ้ว เป็นมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมของอเมริกา ความจุเริ่มแรกของแผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้ว คือ 360 กิโลไบต์ สำหรับหน้าเดียว (single density) และ 720 กิโลไบต์ สำหรับสองหน้า และต่อมาก็สามารถเพิ่มความจุเป็น 1.44 เมกะไบต์ โดยการเพิ่มความจุต่อหน้า (high-density) ต่อมา ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็พบวิธีทำให้มีความจุเป็น 2.88 เมกะไบต์ โดยการเปลี่ยนวิธีการเคลือบแผ่น แต่รุ่นสุดท้ายนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ต้องการความจุที่สูงกว่านี้ แผ่นดิสก์จึงถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นไป เช่น ซีดีรอม, ดีวีดีรอม == อ้างอิง == Immers, Richard; Neufeld, Gerald G. (1984). Inside Commodore DOS. The Complete Guide to the 1541 Disk Operating System. DATAMOST, Inc & Reston Publishing Company, Inc. (Prentice-Hall). ISBN 0-8359-3091-2. Englisch, Lothar; Szczepanowski, Norbert (1984). The Anatomy of the 1541 Disk Drive. Grand Rapids, MI: Abacus Software (translated from the original 1983 German edition, Düsseldorf: Data Becker GmbH). ISBN 0-916439-01-1. Hewlett Packard: 9121D/S Disc Memory Operator's Manual; Printed 1 September 1982; Part No. 09121-90000 == ดูเพิ่ม == อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แรม หน่วยความจำภายนอกคอมพิวเตอร์ สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ
thaiwikipedia
121
เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว
เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรต์ เดิมทีเป็นนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องสั้น ที่ตัวเขาเขียนลงในนิตยสารอัปเดต ชื่อหนังสือ เดือนช่วงฯ เป็นโคลงบทหนึ่งใน นิราศสุพรรณบุรี ของ สุนทรภู่ เรื่องสั้นแต่ละเรื่อง จะใช้การดำเนินเรื่องแบบนิยายวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย เช่นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในอวกาศ เรื่องของหุ่นยนต์ ฯลฯ และจบลงด้วยการหักมุม หรือเสนอแง่คิดที่เป็นปรัชญา "แด่โลกทั้งผอง" บิดาแห่งอาทิตย์เอ่ย "ข้าให้แสงสว่างและพลังรังสี ข้าให้ความอบอุ่นแด่มวลมนุษย์เมื่อพวกมันหนาวเหน็บ ข้าทำให้ทุ่งนาเขียวขจีและฝูงปศุสัตว์ทวีพันธ์ ทุกทิวาที่ผ่านผัน ข้าผ่านไปทั่วโลกเพื่อรับรู้ความต้องการและให้สิ่งที่ดีกว่าแก่พวกมัน จงทำตามสิ่งที่ข้ากระทำ" --จารึกของชาวอินคา ใน The Royal Commentaries โดย การ์ซิลาโซ เดอ ลา วีกา 1556 งานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ ดเดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว ดเดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2538
thaiwikipedia
122
ผู้ดับดวงอาทิตย์
ผู้ดับดวงอาทิตย์ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ โดย จันตรี ศิริบุญรอด จัดพิมพ์ครั้งแรกโดย บริษัท สำนักพิมพ์ดวงกมล จำกัด เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 โดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นบรรณาธิการ เป็นเล่มที่ 1 ในชุดนิยายวิทยาศาสตร์ ราคา 15 บาท และ ปรีชา อมาตยกุล อดีตบรรณาธิการนิตยสาร "วิทยาศาสตร์ - มหัศจรรย์" สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ==เนื้อหาภายในเล่ม== เรื่องที่ 1 ผู้ดับดวงอาทิตย์ เรื่องที่ 2 มนุษย์โลหะ เรื่องที่ 3 หุ่นผู้สร้างมนุษย์ เรื่องที่ 4 สำรวจดวงอาทิตย์ เรื่องที่ 5 สู่โลกพระจันทร์ เรื่องที่ 6 แสงช้า-อาวุธมหัศจรรย์ ===ลิ้งค์ภายนอก=== ===ไฟล์หนังสือ PDF นิยายวิทยาศาสตร์ไทย ชุด ผู้ดับดวงอาทิตย์ โดย จันตรี ศิริบุญรอด : https://drive.google.com/file/d/1XrU4RFXhvcm_fQr8PrclTcNYUHuFTXSB/view?usp=sharing=== บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ 88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
thaiwikipedia
123
จากลูกคิดสู่คอมพิวเตอร์
จากลูกคิดสู่คอมพิวเตอร์ โดย ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ เป็นหนังสือ ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของการประดิษฐ์และพัฒนาเครื่องคำนวณ ตั้งแต่อดีต จนถึง พ.ศ. 2520 (แต่ยังคงใช้หลักการเดิมจนถึงปัจจุบัน) โดยสอดแทรกความรู้ทาง คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยี == เนื้อหา == หลักการของเครื่องคำนวณโบราณ เช่น ลูกคิดแบบจีน และญี่ปุ่น เนเปียร์ โบน หรือแท่งคูณเลขสมัยโบราณของ จอห์น เนเปียร์ ผู้คิดหลักการของลอการิทึม (คนละอย่างกับ สไลด์รูล) เครื่องคำนวณของปาสคาล หรือเครื่องคิดเลขแบบกลไก (ไม่ใช่แบบอิเล็กทรอนิกส์แบบปัจจุบัน) เครื่องทอผ้าของแจ็กการ์ด ต้นแบบของกระดาษเจาะรู (Punch Card) ที่ใช้บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคำนวณของแบ็บเบจ หนังสือวิทยาศาสตร์ 88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย
thaiwikipedia
124
วินทร์ เลียววาริณ
วินทร์ เลียววาริณ (ชื่อเกิด สมชัย เลี้ยววาริณ) เกิดปี พ.ศ. 2499 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556 และเป็นนักเขียนที่ได้รับ รางวัลซีไรต์ ถึง 2 ครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน) และเมื่อปี พ.ศ. 2542 (สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน) โดยก่อนหน้าที่จะมาเป็นนักเขียน เขาทำงานด้านออกแบบมาก่อน คือเป็นสถาปนิก นักตกแต่งภายใน นักออกแบบกราฟิก และนักโฆษณา == ประวัติ == วินทร์ เลียววาริณ เกิดที่หาดใหญ่ สงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2499 เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เมื่ออายุเจ็ดขวบ ที่โรงเรียนวิริยเธียรวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมเล็ก ๆ ครั้นแปดขวบก็ยังเรียนซ้ำชั้น ป.1 ด้วยครูประจำชั้นเห็นว่าจะทำให้ภูมิแน่นขึ้น เรียนต่อประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก จึงมีโอกาสเรียนทั้งศาสนาพุทธและคริสต์ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ไปต่อม.ศ. 4 ที่กรุงเทพฯ ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่นที่ 3 และเป็นรุ่นแรกที่เรียน ณ ที่ตั้งของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปัจจุบัน วินทร์ สนใจงานศิลปะตั้งแต่เล็ก จึงเลือกเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ จบปริญญาตรี สถ.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์ทันที ทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ร่วมสี่ปีก็เดินทางไปทำงานและเรียนต่อที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเขาเข้าเรียนในหลายมหาวิทยาลัยโดยไม่เอาปริญญา จบแล้วกลับเมืองไทยมาทำงานในวงการโฆษณา และต่อมาเรียนต่อจนจบปริญญาโท ด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วินทร์ เริ่มชีวิตคนโฆษณาด้วยตำแหน่งผู้กำกับศิลป์ และเปิดฉากการเขียนหนังสือควบคู่ไปด้วย เรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์คือ ไฟ ด้านชีวิตส่วนตัว เขาสมรสแล้วกับ ลิเลียน เลี้ยววาริณ ชาวสิงคโปร์ มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ตฤณ เลี้ยววาริณ เกิดเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 นอกจากนี้ วินทร์ ยังเขียนเรื่องสั้น และบทความ ลงนิตยสารด้วย เช่น ำ ใน มติชนสุดสัปดาห์ และยังมีผลงานเขียน ร่วมกับนักเขียนรุ่นใหม่อย่าง ปราบดา หยุ่น ในชื่อชุด ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (ดัดแปลงจากชื่อหนังสือที่ได้รับความนิยมของทั้งคู่ คือ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของวินทร์ และ ความน่าจะเป็น ของปราบดา) โดยเขียนลงเป็นตอนๆ ลงในนิตยสาร open ในลักษณะการโต้ตอบอีเมลกัน และได้รวมเล่มเป็นหนังสือแล้วเจ็ดเล่ม == ศิลปินแห่งชาติ == ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 วินทร์ เลียววาริณ ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น "ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์" ร่วมกับมาลา คำจันทร์ และโสภาค สุวรรณ == ผลงาน == === หนังสือ === สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2537) อาเพศกำสรวล (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2537) ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (นวนิยาย) (พ.ศ. 2537) เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2538) สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (รวมเรื่องสั้นและบทความ) (พ.ศ. 2542) 空劫の大河 タイ民主革命奇綺談 (ภาคภาษาญี่ปุ่นของหนังสือ"ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน") (พ.ศ. 2542) หนึ่งวันเดียวกัน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2544) หลังอานบุรี (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2545) ปีกแดง (นวนิยาย) (พ.ศ. 2545) インモラル・アンリアル ISBN 4763123238 (รวมเรื่องสั้นภาคภาษาญี่ปุ่น) (พ.ศ. 2545) ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (จดหมาย) (พ.ศ. 2545) (เขียนร่วมกับ ปราบดา หยุ่น) ปั้นน้ำเป็นตัว (รวมเรื่องสั้นและบทความ) (พ.ศ. 2546) ำ (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2546) Democracy, Shaken & Stirred (ภาคภาษาอังกฤษของหนังสือ"ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน") (พ.ศ 2546) ฆาตกรรมกลางทะเล (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2546) วันแรกของวันที่เหลือ (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2547) คดีผีนางตะเคียน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2547) นิยายข้างจอ (พ.ศ. 2548) ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล (พ.ศ. 2548) จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2548) รอยเท้าเล็กๆของเราเอง(หนังสือเสริมกำลังใจ) (พ.ศ. 2548) a day in a life (หนึ่งวันเดียวกัน ฉบับภาษาอังกฤษ) (พ.ศ. 2548) โลกด้านที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์ (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2549) ผู้ชายคนที่ตามรักเธอทุกชาติ พิมพ์ครั้งที่ 85 (นวนิยาย) (พ.ศ. 2549) โลกใบที่สองของโม (นวนิยายภาพรีไซเคิลเรื่องแรกของโลก) (พ.ศ. 2549) ความฝันโง่ ๆ (หนังสือรวบบทความเสริมกำลังใจ ชุดที่ 2) (พ.ศ. 2549) ยาแก้สมองผูก ตราควายบิน (คู่มือการเขียนหนังสือแบบสังเคราะห์เรื่อง) (พ.ศ. 2550) ฝนตกขึ้นฟ้า (นวนิยายฟิล์ม นัวร์ ) (พ.ศ. 2550) บางกะโพ้ง (พ.ศ. 2550) เบื้องบนยังมีแสงดาว (หนังสือเสริมกำลังใจ ชุดที่ 3) (พ.ศ. 2550) น้ำแข็งยูนิต ตราควายบิน (เป็นหนังสือในลักษณะเดียวกับ ยาแก้สมองผูก ตราควายบิน) (พ.ศ. 2550) ฆาตกรรมจักรราศี (พ.ศ. 2551) เดินไปให้สุดฝัน (พ.ศ. 2551) อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก (พ.ศ. 2551) บุหงาปารี (พ.ศ. 2551) (ถูกนำไปสรางเป็นบทภาพยนตร์ ปืนใหญ่จอมสลัด) บุหงาตานี (พ.ศ. 2552) (ภาคต่อของ "บุหงาปารี") เส้นรอบวงของหนึ่งวัน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2552) ยามดึกนึกหนาวหนาว เขนยแนบ แอบเอย (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2552) มังกรเซน (หนังสือศาสนาพุทธนิกายเซน) (พ.ศ. 2552) วินทร์ เลียววาริณ คุยกับหนอน (หนังสือรวมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์) (พ.ศ. 2552) อัฏฐสุตรา (พ.ศ. 2553) คดีเจ็ดแพะ (พ.ศ. 2553) สี่ฤดู, ทั้งชีวิต (พ.ศ. 2553) สองแขนที่กอดโลก (พ.ศ. 2553) ชีวิตออกแบบเอง (พ.ศ. 2553) เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย เยือกฟ้าพาหนาว (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2554) สองปีกของความฝัน (พ.ศ. 2554) ปลาที่ว่ายนอกสนามฟุตบอล (พ.ศ. 2554) หัวกลวงในหลุมดำ (พ.ศ. 2554) เส้นสุมมติ(พ.ศ. 2555) คำที่แปลว่ารัก(พ.ศ. 2555) วินทร์ เลียววาริณ คุยกับหนอน 2 (พ.ศ. 2555) ร้อยคม (พ.ศ. 2555) กาลีสุตรา (พ.ศ. 2555) คดีล่าคนเจ้าชู้(พ.ศ. 2556) ชีวิตคือปาฏิหาริย์(พ.ศ. 2556) แมงโกง (พ.ศ. 2556) ท้องฟ้าไม่ปิดทุกวัน (พ.ศ. 2556) ประเทศผีสิง (พ.ศ. 2557) ในหลุมรัก (พ.ศ. 2557) ยาเม็ดสีแดง (พ.ศ. 2557) คดีศพล่องหน (พ.ศ. 2557) น้ำเงินแท้ (นวนิยาย) (พ.ศ. 2558) อุโมงค์ (พ.ศ. 2558) เขียนไปให้สุดฝัน (พ.ศ. 2558) 17 องศาเหนือ (นวนิยาย ภาคขยายของประชาธิปไตยบนเส้นขนาน) (พ.ศ. 2559) คดีหนอนนิยาย (พ.ศ. 2559) ชีวิตเป็นเรื่องชั่วคราว (พ.ศ. 2559) รอยยิ้มใต้สายฝน (พ.ศ. 2559) เรื่องเล็ก ๆ ในรัชสมัยอันยิ่งใหญ่ (รวมบทความ เรื่องเล่า และภาพวาด)(พ.ศ. 2560) 16 องศาเหนือ (นวนิยาย ภาคขยายของประชาธิปไตยบนเส้นขนาน) (พ.ศ. 2560) วินทร์-วินทร์ Situation (พ.ศ. 2560) บางครั้งเราก็ลืมรักตัวเอง (พ.ศ. 2560) 1 เปอร์เซ็นต์ของความเป็นไปได้ (พ.ศ. 2561) คดีสามเงา (พ.ศ. 2561) สามก๊ก ฉบับ วินทร์ เลียววาริณ (พ.ศ. 2561) #ปล่อยให้ความเปลี่ยนแปลงพาไป (พ.ศ. 2561) สามก๊กบนเส้นขนาน (พ.ศ. 2562) จุดเทียนทั้งสองปลาย (พ.ศ. 2562) ความสุขเล็กๆ ก็คือความสุข (พ.ศ. 2562) ประวัติศาสตร์ที่เราลืม เล่มที่ 1 (พ.ศง2562) มาตกรรมกุหลาบดำ (พ.ศ. 2563) ประวัติศาสตร์ที่เราลืม เล่มที่ 2 (พ.ศ. 2563) ประวัติศาสตร์ที่เราลืม เล่มที่ 3 (พ.ศ. 2563) หลับถึงชาติหน้า (พ.ศ. 2563) === เขียนร่วมกับ ปราบดา หยุ่น === ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 1 (จดหมาย 2545) ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 2 (จดหมาย 2547) ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 3 (จดหมาย 2548) ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 4 (จดหมาย 2549) ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 5 (จดหมาย 2550) ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 6 (จดหมาย 2551) ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 7 (จดหมาย 2552) === บทภาพยนตร์ === ปืนใหญ่จอมสลัด (พ.ศ. 2551) ==เครื่องราชอิสริยาภรณ์== 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ==อ้างอิง== == แหล่งข้อมูลอื่น == winbookclub.com วินทร์ เลียววาริณ (ThaiWriter.net) สามก๊ก ฉบับ วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนชาวไทย นักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ นักประพันธ์รางวัลซีไรต์ชาวไทย ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ชาวไทยเชื้อสายฮกเกี้ยน บุคคลจากอำเภอหาดใหญ่ รางวัลช่อการะเกด บุคคลจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักออกแบบโฆษณา ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
thaiwikipedia
125
มนุษย์ต้องห้าม
มนุษย์ต้องห้าม (The Unpleasant Profession of Jonathan Hoag) เป็นเรื่องสั้นบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ แต่งโดย โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 โดยนักเขียนใช้นามปากกาว่า "จอห์น ริเวอร์ไซด์" (John Riverside) ต่อมานวนิยายเรื่องนี้ได้ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์โดย Alex Proyas ในประเทศไทยได้มีการนำมาแปลในชื่อ มนุษย์ต้องห้าม แปลและเรียบเรียงโดยสุเมธ เชาว์ชุติ ลงในนิตยสารแพรว และรวมเล่ม ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุริยง ในปี พ.ศ. 2531 บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
126
ข้าคือพระเจ้า
== เนื้อเรื่องย่อ == เริ่มที่ช่าง 2 คน บนดาวอังคารซ่อมอุปกรณ์วิทยาศาสตร์บางอย่างจนสามารถสื่อสารกับมิติอื่นได้ ในขณะที่อีกมิติหนึ่ง สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีรูปทรงแน่นอนวัยเด็กกำลังเติบโต เรียนรู้ หาคู่ 3 เพศ (เสียดสีแนวคิดทรีนิตี้) จนผสานกันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ฉลาดกว่าที่เคยมีมา และสร้างเครื่องมือติดต่อกับช่างบนดาวอังคาร สิ่งมีชีวิตในอีกมิติหนึ่งค้นพบว่า เอ็นโทรปีในจักรวาล กำลังลดลง จักรวาลในมิติหนึ่งกำลังสูญสลาย จึงสร้างเครื่องมือถ่ายเทเอ็นโทรปี จากมิติหนึ่งที่มีพลังงานมากกว่าไปยังอีกมิติหนึ่ง เพื่อสร้างสมดุลระหว่างมิติ == รางวัลที่ได้รับ == รางวัลเนบิวลา ค.ศ. 1973 รางวัลฮิวโก ค.ศ. 1974 == ดูเพิ่ม == รายชื่อนิยายวิทยาศาสตร์ รายชื่อนิยายวิทยาศาสตร์ไทย บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ งานเขียนของไอแซก อสิมอฟ
thaiwikipedia
127
การ์ตูนญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นคำที่ใช้เรียก หนังสือการ์ตูน หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะของการ์ตูนญี่ปุ่น ตัวละครในเนื้อเรื่องจะมีลักษณะเฉพาะตัว และเนื้อเรื่องที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากแล้ว ภาพของคนและสัตว์ที่ปรากฏในการ์ตูนญี่ปุ่นมักจะมีสัดส่วนผิดเพี้ยนไปจากความจริง เช่นมีทรวดทรงที่เล็ก-ใหญ่กว่าปกติ ดวงตาที่โตกว่าปกติสารพันสี และ ทรงผมแปลก ๆ สารพันสี แตกต่างจากการ์ตูนฝั่งตะวันตกที่มักจะเขียนภาพคนและสัตว์ออกมาในลักษณะเหมือนจริง ในภาษาญี่ปุ่นและหลายประเทศที่รับเอาวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นเข้าไปจะเรียกหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นศัพท์เฉพาะว่า มังงะ และเรียกภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่นว่า อนิเมะ (ตัดทอนมาจากคำว่า Animation ในภาษาอังกฤษ) == การ์ตูนญี่ปุ่นในประเทศอื่น ๆ == === ประเทศไทย === การ์ตูนญี่ปุ่นยุคแรก ได้เข้ามาประเทศไทยประมาณช่วงปี พ.ศ. 2508-2525 การ์ตูนเรื่องแรกที่นำเข้ามาฉายครั้งแรก คือ เรื่องเจ้าหนูลมกรด ในปี 2508 ทางช่อง 4 บางขุนพรหม เรื่องที่ได้รับความนิยมในช่วงต้นได้แก่ หน้ากากเสือ เจ้าหนูอะตอม (ในสมัยนั้นใช้ชื่อว่า เจ้าหนูปรมาณู) ส่วนหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาตั้งแต่ ปี 2514 และสนพ.ต่าง ๆ เริ่มให้สนใจพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นจำหน่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงปี 2520 - 2525 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงยุคทองของนักอ่านการ์ตูน มีเรื่องที่โด่งดังที่สุด คือ โดราเอมอน เและต่อจากนั้นการ์ตูนญี่ปุ่นมากมายก็เดินแถวเข้าประเทศไทยอย่างเป็นล่ำเป็นสัน การ์ตูนที่เป็นที่รู้จักในยุคนั้น ได้แก่ รินที่รัก แคนดี้ คอบร้า คำสาปฟาโรห์ กุหลาบแวร์ซายส์ โดราเอมอน นินจาฮาโตริ ผีน้อยคิวทาโร่ ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่ คินิคุแมน เซนต์เซย์ย่า กันดั้ม มาครอส ดราก้อนบอล ทั้งในรูปแบบของหนังสือการ์ตูนและภาพยนตร์การ์ตูน โดยช่อง 9 นำมาฉายเป็นประจำในช่วงตอนเช้าวันเสาร์และวันอาทิตย์ รวมถึงวันหยุดราชการที่สำคัญ และต่อมาช่องต่าง ๆ ได้นำการ์ตูนญี่ปุ่นมาฉาย เช่น ช่อง 3 เรื่องที่นำมาฉายได้แก่ ชินจัง ฮิคารุเซียนโกะ Yu-Gi-Ohเกมกลคนอัจฉริยะ พลิกตำนานมาพบรัก เป็นต้น ช่อง 5 เรื่องที่นำมาฉายได้แก่ ซามูไรทรูปเปอร์ เออิชิสมองกล เมก้าแมน นารูโตะ เป็นต้น ช่อง 7 เรื่องที่นำมาฉายได้แก่ สามเหมียวยอดนินจา ซามูไรพเนจร เปลวฟ้าผ่าปฐพี ไมท์ไกน์ แฮมทาโร่ เป็นต้น ช่อง TITV เรื่องที่นำมาฉายได้แก่ วันพีช เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก แอร์เกียร์ ขาคู่ทะลุฟ้า ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส เป็นต้น === สหรัฐอเมริกา === == อ้างอิง == Lent, John A. 2001. "Introduction." In John A. Lent, editor. Illustrating Asia: Comics, Humor Magazines, and Picture Books. Honolulu, HI: University of Hawai'i Press. pp. 3-4. ISBN 0-8248-2471-7. == ดูเพิ่ม == รายชื่อการ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนช่อง อนิเมะ == แหล่งข้อมูลอื่น == การ์ตูนญี่ปุ่น
thaiwikipedia
128
รายชื่อการ์ตูนญี่ปุ่น
สำหรับการ์ตูนที่มีผู้เริ่มเขียนบทความแล้ว สามารถดูได้ที่ หมวดหมู่ การ์ตูนญี่ปุ่น และ การ์ตูนที่ยังไม่สมบูรณ์ {| width="100%" |- |width="33%" valign="top" | == 0-9 == 001 รหัสประหาร 07-ghost 1 แสบ 1 ซ่า ล่าข้ามโลก 21 เอมอน 251 อู่นี้ซ่อมได้ 365 กล้ารุกฆาต (365 Po No Yuki) 3 ซ่าท้าลุย (Ozanari Dunjeon) 3×3 Eyes (3x3 Eyes) 3 ตาปาฏิหาริย์ 666 Satan 7 seeds 8 เซียนลูกแก้วมังกร 8 เทพอสูรมังกรฟ้า 8 ลูกแก้วอภินิหาร 49 วันต้องสู้ 2 เจ้าหญิงผู้พิทักษ์จอมวุ่น (Fushigiboshi no Futagohime) == A == Assassination Classroom == D == Diabolik Lovers (ฮาเร็มชาย) Date a live (ฮาเร็มหญิง) == G == Gamble Fish Get Ride! แอมไดรเวอร์ == ก == ก๊อง ไอ้แสบดึกดำบรรพ์ (Gon) ก็อย่างนี้แหละผู้หญิง กระบี่พลิกเมฆา กรีนฮิลล์ กัชเบล (Zatch Bell!) กันดั้ม (Gundam) กันด๊าม กันดั้ม (Kidou Senshi Gundam-san) กัน เอ็กซ์ ซอร์ด (Gun X Sword) กันสึ (Gantz) กัปตันคิด กัปตันซึบาสะ (Captain Tsubasa) กาซารากิ ตำนานสงครามเกราะอสูร (Gasaraki) กินทามะ กุหลาบแวร์ซายส์ (The Rose of Versailles) กูรุ กูรุ คาถาพาต๊อง (Magical Circle Guru Guru) กฎเหล็กของหัวใจ เกมกลคนอัจฉริยะ (Yu-Gi-Oh) เกมหลอกคนลวง (Liar Game) โกธ (Goth) โกโต้ ประธานเลือดเดือด กายเวอร์ อมนุษย์เกราะชีวะ (Guyver) ก้าวแรกสู่สังเวียน (Fighting Spirit) เก็ต ฟูจิมารุ ไม่ใช่หมูนะจะบอกให้ (get fujimaru) เก็ตเตอร์โรบอท เกรทมาชินก้า เกราะเหล็กไหล ไลน์บาร์เรลส์ เกาะกระหายเลือด เกาะอลวน คนอลเวง (Nagasarete Airantou) แกลส์ (gals) แกแล็คซี่ แองเจล (Galaxy Angel) โกลด์ไลตัน (Golden Warrior Gold Lightan) โกสต์อินเดอะเชลล์ (Ghost in the Shell) เก๋า โจ๋ โก๋พันธุ์สวย (Pretty Face) กามอน จอมทำลาย (Gamon the demolition man) การ์ดไฟท์!! แวนการ์ด เก็ตแบ็คเกอร์ (อย่างนี้ต้องเอาคืน) (GetBackers) โกดะกัน มันเกิดมาลุย (Go Da Gun) เกมปีศาจยันต์มหัศจรรย์ (Bakeygyamon) โกดันนาร์ == ข == ขบวนการการ์ดดัส ขบวนการกิ๊ก (Love Love Seven) ขบวนการไรจินโอ (Matchless Raijin-Oh) ขวางทางมัจจุราช ขาโจ๋โซโรริ ข้าชื่อโคทาโร่ ข้าชื่อโคทาโร่ ภาคยูโด ข้าชื่อโคทาโร่ ภาค L ขุนพลประจัญบาน แขนกล คนแปรธาตุ (Fullmetal Alchemist) ขบวนการเหมียว เหมียว ไขคดีปริศนา อากาธ่า คริสตี้ == ค == คนเก่งทะลุโลก (Yuu Yuu Hakusho) คนแบบนี้ มีคนเดียวในโลก คนปีศาจ (Monster) คนลึกไขปริศนาลับ (Black Butler) คนเล็กทะยานฟ้า คนเล็กหมัดเทวดา คมเขี้ยวพิฆาต ครอสเกม (Cross Game) ครอสไฟท์บีดาแมน ครัชเกียร์ เทอร์โบ ครัชเกียร์ Nitro ครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น! (Katekyo Hitman Reborn) ครูสาวมือใหม่หัวใจโอ้ลัลล้า (Misaki No.1) ครูสาวยากูซ่า (Gokusen) คลับมีฮาคนมีเฮ (Genshiken) คอนแทร็คเตอร์ เอ็มแอนด์วาย คอบร้า เห่าไฟสายฟ้า (COBRA: Space Adventure) คัทซึ (Katsu) คัยโอชิ พลิกตำนานจ้าวสมุทร คัลด์เซป ศึกการ์ดเทพเจ้าพิภพ คาน่อน คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด (Kanokon) คาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์ (Shugo Chara!) คำสาปฟาโรห์ (Daughter of the Nile) คินดะอิจิ กับ คดีฆาตกรรมปริศนา (Kindaichi Case Files) คินนิคุแมน 2 คินนิคุแมน (Kinnikuman) คิโนะ โนะ ทาบิ (Kino no Tabi) คิบะ ศึกอภินิหารข้ามภพ คิมัยร่า บันทึกเผด็จการครองโลก คิราริ สาวใสหัวใจเกินร้อย (Kirarin Revolution) คิวทาโร่ คิ้วหนา ซ่าสุด ๆ (Bonbonzaka Koukou Engekibu) คุโซมิโซ เทคนิค (Kuso Miso Technique) คุณครูจอมเวท เนกิมะ! (Magister Negi Magi!) คุณหนูปากร้าย X จิ้งจอกปีศาจ คุณครูพันธุ์หายาก คุณครูพันธุ์ฮีโร่ (KT Kamenteacher) คุณชายผู้ยิ่งใหญ่ไดทาโร่ คุณชายพันธุ์โชะ โคฮินาตะ มิโนรุ คุณตำรวจป้อมยาม คุณพ่อที่รัก (Jinbe) คุณพี่ต่าวดาวเขย่าหัวใจจี๊ด (Tubame Syndrome) คุณหมอมือใหม่หัวใจเกินร้อย (Say Hello to Blackjack) คุนิมิซึ คนจริงจอมกะล่อน คุโรโกะ นายจืดพลิกสังเวียนบาส คุโรซากิ บริษัทรับส่งศพ(ไม่)จำกัด (The Kurosagi Corpse Delivery Service) คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม (Cromartie High School) คุโระจัง แมวไซบอก (Kurocyboc) คุโระซากุโระ คู่ซ่าฮา X2 คู่ซ่าฮาคูณสอง คู่ซี้ต่างพันธุ์ (Stormy Night) คู่แท้แต่มาป่วน (Ai Yori Aoshi) คู่แฝดx2 แฝดแบบนี้มีอีกไหม คู่แสบ แก๊งปราบผี (Chrono Crusade) คู่หูบะหมี่รถลาก นารุโตยะ (Menyatai Road Narutoya!) คาเงโร่ เดส เค2 (K2) เคนจิ ยอดนักสู้ เคนอิจิ ลูกแกะพันธุ์เสือ (Kenichi: The Mightiest Disciple) เครยอนชินจัง (Crayon Shin-chan) เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก (Sgt. Frog a.k.a. Sergeant Keroro) เคียวโระจัง นกน้อยจอมวุ่น เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว (K-On!) แค็ตตาล็อกรัก (Ren-Ai Catalogue) แคนดี้ แคนดี้ สาวน้อยจอมแก่น (Kyandi Kyandi) แคลนนาด (เกม) (Clannad (visual novel)) โคโค่ จอมสลัด โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช (Code Geass - Lelouch of the Rebellion) ใครว่าข้าไม่เก่ง (Tough) ไคชิ (Master of sea) ไคบุสึ ผีน้อยจอมมายา ไคมีร่า โคนัน (conan) แคลนาด อาฟเตอร์ สตอรี่ == ง == เงือกสาวยากูซ่า 7 เงือกสาวเสียงสยบมารหรือเจ้าหญิงเงือกน้อย แง้ว แง้ว แมวอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับคน == จ == จอมเกบลู จอมคนแดนฝัน จอมเวทปราบมาร (Shonen Onmyouji) จอมโจรปริศนา (Kaitou Joker) จอมโจรมือกุญแจ (Key Jack) จอมโจรสองวิญญาณ (Dollgun) จอมโจรสาวเซนท์เทล จอมโจรอัจฉริยะ (Kaito KID) จอมโหดกระทะเหล็ก จอมโหดกระทะเหล็ก! สุดยอดกลยุทธ จะเอาอะไรกับผม จัสตี้ จารชนพันธุ์นรก (Black Lagoon) จินมี่หมัดเหล็ก จินมี่หมัดเหล็ก ยอดยุทธ์ จิน หมอทะลุศตวรรษ (JIN-仁-) จิฮายะฟุรุ (Chihayafuru) จีซัส นักฆ่าหน้าหยก จีทีโอ คุณครูพันธุ์หายาก (Great Teacher Onizuka) จิโกคุโชวโจ (地獄少女, Jigoku Shoujo) จิ้งจอกเย็นชากับสาวซ่าเทพจำเป็น จิ๋วพลังอึด เจเวลเพ็ต เจ้าหญิงคิลาล่า เจ้าหญิงเงือกน้อย (Mermaid Melody Pichi Pichi Pitch) เจ้าหนูนักซิ่งสิงห์ภูเขา เจ้าหนูสมองกล เจ้าหนูสามตาอภินิหาร (The Three-eyed one) เจ้าหนูปรมาณู‎ (Astro Boy) เจ้าสาวเจ้าปฐพี (Sumomomo, momomo) เจ้าหญิงปีศาจ เจ้าหนูกบอภินิหาร เจาะเวลาหาจิ้นซี โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ (JoJo's Bizarre Adventure) เจาะเวลาหาสาวแว่น (mobias jumper) เจ้าหญิงแฝดแห่งแดนมหัศจรรย์ เจปัง สูตรดังเขย่าโลก == ฉ == ฉันนี่แหละอาจารย์ ฉันนี่แหละพ่อบ้าน ( Mayo Chiki ) == ช == ชมรมไขปริศนา (Roman Club) ชมรมคนไร้เพื่อน ชมรมนักสืบแคลมป์ (Detective School Clamp) ชมรมรัก คลับมหาสนุก (Ouran High School Host Club) ชอบ คำนี้ให้ด้วยดวงใจบริสุทธิ์ (SUKI) ชัฟเฟิล ชาติบุรุษทะยานฟ้า ชานะ นักรบเนตรอัคคี ชาแมนคิง ราชันย์แห่งภูติ (Shaman King) ชิกุมะ ฝ่ามหันตภัยร้ายกู้วิกฤต ชินเมกามิเทนเซย์ เดวิชิล เชฟใหม่ใจทรหด (Bambino!) แชมเปี้ยนขนมปัง สูตรดังเขย่าโลก (Yakitate!! Japan) ชุลมุนวุ่นรักเทพพิทักษ์จากจันทรา (Mamotte Shugogetten) ชมรมรักคลับมหาสนุก ชาโดว์ เลดี้ (SHADOW LADY) โชเน็น อนเมียวจิ จอมเวทปราบมาร == ซ == ซอยด์ หุ่นรบไดโนเสาร์ (ZOIDS) ซอร์ดอาร์ตออนไลน์ ซันชิโร่คืนถิ่น ซันชิโร่ นักสืบตะลุยดะ ซันชิโร่ x2 ซัมเมอร์วอร์ส ซาคอน สืบมรณะ ซามูไรดีปเปอร์ เคียว (Samurai Deeper Kyo) ซามูไรทรูปเปอร์ (Ronin Warriors) ซามูไรพเนจร (Samurai X) ซามูไร 7 ซาโยนาระ คุณครูผู้สิ้นหวัง ซิตี้ฮันเตอร์ (City Hunter) ซีบร้าแมน ซีปัง (Zipang) ซีโร่ (Zero) ซึกิฮิเมะ เจ้าหญิงจันทร์เลือด (Shingetsutan Tsukihime) ซูบารุ ซุปเปอร์ดอกเตอร์เค (Super Doctor K) เซ็ตไตโชเน็น เซฟวิ่ง ไลฟ์ (SAVING LIFE) เซนต์เซย่า (Saint seiya) เซนต์เทล (Saint Tail) เซเลอร์มูน (Sailor Moon) เซียนเกมรักขอเป็นเทพนักจีบ (The World God Only Knows) เซียนบะหมี่สีรุ้ง ไซบอร์ก คุโระจัง ไซเฟอร์ ไซโคเมทเลอร์ เอย์จิ (phycometrer Aiji) โซบะคัสซึ โซโรริ จิ้งจอกมหัศจรรย์ โซล่า ซิ่งแบบนี้มีผมคนเดียว (one & only) ซ...เซียนสุดแสบ โยจินโบ ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ (Card Captor Sakura) ไซเซนโจทาโร่ มือปราบล้างทรชน ไซโคพาส ถอดรหัสล่า โซนิคเอ็กซ์ โซ้ยแหลก โซ ริว เค็น โซลอีทเตอร์ (Soul Eater) เซเว่นโกสต์ ซังกะ เรอา == ณ == เณรน้อยเจ้าปัญญา (Ikkyū-san) == ด == ดราก้อนคอลเลคชั่น ดราก้อนเควสต์ ภาคดาบแห่งนภา ดราก้อนเควสต์ ภาคแผ่นดินมายา ดราก้อนเควสต์ ภาคผู้กล้าอารีน่า ดราก้อนเควสต์ ภาคผู้กล้าแห่งอิเดน ดราก้อนเควสต์ ภาครูบี้ ดราก้อนเควสต์ ภาคสัญลักษณ์แห่งผู้กล้าโรโตะ (Dragonquest: Emblem of Roto) ดราก้อนบอล (Dragon Ball) ดราก้อน ไดรว์ (Dragon Drive) ดอกไม้ มิตรภาพ และความทรงจำ ดอกไม้เพชรฆาต (Gunslinger Girl) ด๊อกเดย์ ด๊อกเตอร์สลัมป์ กับ หนูน้อยอาราเล่ (Dr. Slump) ดอกเตอร์เค (Doctor K) ดายู ดาบคลั่งฟ้าสังหาร ดาบพิฆาตอสูร ดาวเทพพิทักษ์ธรรม ดูเอลมาสเตอร์ เด็กพันธุ์นรกสั่งลุย เดชราชันย์เสือดาว เด็งโนเซ็นไต วูกี้ส์ แองเจิ้ล (Voogie's Angel) เดม่อนเบน เทพอสูรคำราม (Demon Bane) เดธโน้ต (Death Note) เดียร์ส อลวนรักจากฟากฟ้า (DearS) เดอร์ตี้ แพร์ (Dirty pair) เดอะ เจนเทลเมน อัลลิแอนซ์ ครอส (THE GENTLEMEN ALLIANCE–CROSS) โดจิน (Dojin) โดราเอมอน (Doraemon) ไดตะลุยแดนเวทมนตร์ (Dragon Quest: Dai-No-Daiboken) ดิจิมอนแอดเวนเจอร์ (Digimon Adventure) ดิจิมอนแอดเวนเจอร์ 02 ดิจิมอนเทมเมอร์ ดิจิมอนฟรอนเทียร์ ดิจิมอนเซฟเวอร์ส ดิจิมอนครอสวอร์ส ดิจิมอนยูนิเวิร์ส แอปพลิมอนสเตอร์ส ดิจิทัล เลดี้ (Chobits) ดี.เอ็น.แองเจิ้ล (D.N.Angel) ดี-ไลฟ์!! (D-Live!!) ดี.เกรย์แมน (D.greyman) ดันบอลเซนกิ ดันโด้ ก๊วนจิ๋วยอดอัจฉริยะ ไดโนคิง ราชันย์พันธุ์ไดโนเสาร์ (Dinosaur King) ดันคูก้า หุ่นยนต์ปฏิวัติสงคราม (Jūsō Kikō Dancouga Nova) |width="33%" valign="top" | == ต == เต็มพิกัดสลัดจอมลุย (Coco Full Ahead) โตเกียวเหมียวเหมียว โตเกียวบาบิโลน โตเกียวกูล โตโต้ มืออสูร ตะวันรักที่ปลายฟ้า (Anatoria Story) ต๊องแน่แต่อัจฉริยะเรียกพี่ ใต้ร่มเงาแห่งรัก ตัวแสบสุดป่วน (A BADBOY DRINKS TEA! ) ตามล่านักฆ่าแอนดรอยด์ (Pluto) ตุลาการทมิฬ ต้องรอด ตำนานผู้กล้า ไรดีน (Reideen) โตเกียวอันเดอร์กราว ตำนานรักดาบเทวะ == ถ == ถึงจะเห่ยแต่ก็สู้นะเฟ้ย ถนนสายนี้ เปรี้ยว (Orange Road) ถ้วยน้ำชากับเทวดาตัวจิ๋ว ถนนนักสู้ สู่ทีมเบสบอล == ท == ทเวนตี้เซนจูรี่บอย (20th Century Boys) ทัช (Touch) ทัลลูต พ่อมดจอมซน (jp:まじかるタルるートくん) ทูฮาร์ท 2 (To Heart 2) ทรามวัยกายสิทธิ์ ทวินซิกแนล (Twin Signal) ทามาก็อตจิ! ทาร์จังจ้าวป่า เทตสึจิน หุ่นเหล็กหมายเลข 28 เทพอสูรจิ้งจอกเงิน (Inuyasha) เทพมรณะ (Bleach) เทวดาหน้าโฉด โทคิ โอะ คาเคะรุ โชโจ (The Girl Who Leapt Through Time) โทโทโร่เพื่อนรัก (Tonari No Totoro) โทบิคาเกะ นินจาอวกาศ (Ninja Senshi Tobikage) เทพบุตรถังแตก เทพบุตรพิชิตดวงดาว ( star driver) เทพบุตรหลุดโลก เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ เทพฤทธิ์พิชิตมาร (Kujaguo) เทวดาปลายศตวรรษ เทพพิทักษ์แห่งดวงดาว จัสติไรเซอร์ เทพแห่งแหวนคาริน โทราโดร่า! (Toradora) ทำนองรัก จังหวะหัวใจ เทพแห่งแหวนคาริน เทพยุทธถล่มนรก โทริโกะ ทีมไหนไม่ว่า ข้าต้องชนะ == ธ == เธอและแมวเหมียว (She and Her Cat) เธอ ฉันในวันฟ้าคราม (School Days) == น == ชานะ นักรบเนตรอัคคี (Shakugan no Shana) น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก น้องหนูเนื้อเหล็ก น้องหนูพันธุ์ดุ นักกี้ สาวน้อยจอมแก่น นักซิ่งสายฟ้า เร็ทส์ & โก!! (Bakusō Kyōdai Let's & Go!!) นักเขียนการ์ตูนรายไม่สัปดาห์ นามของข้าโนซากิคุง (Monthly Girls'Nozaki-Kun) นักเตะแข้งสายฟ้า (INAZUMA) นักบุญปีศาจ (Priest) นักประดิษฐ์รุ่นจิ๋ว นักรบเกราะปีศาจ นักรบครบสลึง นักรบเหล็กเทวะ (Busou Renkin) นักเรียนพี่เลี้ยงเด็ก นักสู้คอมพิวเตอร์ นักสู้รุ่นจิ๋ว นังหนูตัวร้ายกับนายโหลยโท่ (NHK) นัตซึเมะกับบันทึกพิศวง (Natsume's Book of Friends) นัมบะ MG5 นากัส มังกรพิฆาต นากาเระ อัจฉริยะนักตกปลา (Fisherman Nagare) นางฟ้ากู้ชีพ (Rescue Wings) นางฟ้าสารพัดพิษ (rose hip rose) นานะ (NANA) นายซ่าท้าเด็กแนว นารูโตะ นินจาจอมคาถา (Naruto) นารูเอะ นาฬิกาทรายรัก น้ำตาเพชรฆาต (Crying freeman) นินจาคาบูโตะ นินจารันทาโร่ นินจาฮัตโตริ (Ninja Hattori-kun) นูระหลานจอมภูติ (Nurarihyon no Mago) เนตรสยบมาร (Bisilisk) เนียวเหมียวซ่า (Di Gi Charat) โนบุนากะ จอมคนสยบฟ้า (YUKA NAGATE) โนบุนางะ จอมคนสะท้านปฐพี (KUDO KAZUYA) โนเกมโนไลฟ์ ไนน์ (Nine) == บ == บทเพลงสีทอง (La corda d'oro) บากิ (Baki the grappler) บาคุกัน มอนสเตอร์บอลทะลุมิติ บาซาร่า (Basara) บารากะมอน (Barakamon) บ้านของเสียงหัวใจ (A Town Where You Live) บ้านพักผีเพี้ยน บ้านพักอลเวง (Love Hina) บ้านนี้ต้องมีเหมียว (Chi's Sweet Home) บาสใสวัยซน (Ro Kyo Bu) เบย์เบลด (อนิเมะ) เบอร์สี่เบสสาม เบบี้ สเต็ปส์ เบอร์เซิร์ก (Berserk) แบทเทิ้ล รอยัล (Battle Royale) แบทเทิลสปิริตส์ เกมการ์ดทะลุมิติ แบล็คแคท (Black Cat) แบล็คแองเจิ้ล แบล็คร็อคชู้ตเตอร์ (Black Rock Shooter) แบล็คแจค (Black Jack) แบตเติลทันเดอร์ (Battle Thunder) โบะโบะโบโบะ โบโบะโบ้ (Bobobo-bo Bo-bobo) บลีช (Bleach) บลัด พลัส (BLOOD+) บลูดราก้อน ราลΩกราด บลูดราก้อน บีทเอ็กซ์ ผู้พิทักษ์จักรวาล (B't X) == ป == ปรสิต เดรัชฉาน ป้อมปืนสยบฟ้า Z ป๋าอัจฉริยะ ยานางิซาวา ปาร์แมน (Parman) ปิตะเตน (Pitaten) ปุปะจังหวะฮา (Beck) เปลวฟ้าผ่าปฐพี (Flame of Recca) ปราการเวหา มาครอส (The Super Dimension Fortress Macross) ปริศนาความทรงจำ ปริศนาปลาทอง (Goldfish Warning!) ปริศนายมทูต ปริศนา! นักล่าผี (The Ghosthunt) ปมมฤตยู (the accidents) ปาปุว่า ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส (The Prince of Tennis) โปเกมอน (Pokemon) ปั่น...ไปให้ใจถึงฝัน (Over Drive (manga)) ปิ๊งรักสาวนักเสริฟ ปฏิบัติการรักจักรกลทะยานฟ้า == ผ == ผมน่ะหรือคือราชาปีศาจ! ผมอยากเป็นคนดี ผ่ากฎอลเวง (The Law of Ueki) ผ่ากฎอลเวง Plus (The Law of Ueki Plus) ผ่าเกลียวปริศนา (Spiral) ผ่าวิกฤตพิชิตกาลเวลา ผ่าพิภพไททัน (attack on titan) ผีน้อยคิวทาโร่ ผีซ่าส์กับฮานาดะ ผู้พิชิตทางตัน (Switch) ผู้กอบกู้ที่รัก ผีซ่าท้าชิม (Hana Chaina) แผนปราบผีไม่มีอั้น (en:GS Mikami) ผู้ผนึกมาร ผึ้งจดหมาย ผู้พิทักษ์สลับขั้ว (Kamfer) == ฝ == ฝากใจไปถึงเธอ (Kimi ni Todoke) แฝดคนละฝา ของอันนะซัง ฝ่าดงนรกเดินดิน (Highschool of the Dead) == พ == พยัคฆ์สาวแคทส์อาย (en:Cats Eye) พรอลวนคนอลเวง (Itsumo Misora) พลพรรคสัตว์เพี้ยนป่วนทะลุมิติ (Aniyoko) พลังจิตผิดคิว พริตตี้เคียว (Pretty Cure) พริพาระ (PriPara) พริ้นเซส พริ้นเซส (Princess Princess) พลีสทีสเชอร์ สอนนักรักซะ (Please Teacher!) พ่อครัวหัวป่าห์ (Cooking Papa) พ่อบ้านปีศาจ (Kuroshitsuji) พัมพ์คินไวท์ พาสเทล พิกมาริโอ้ (Pikumario) พิพิธภัณฑ์พิศวง (C.M.B.) พีชเกิร์ล (Peach_Girl) พีเพิล จารชนเดนตาย เพชฌฆาตไซบอร์ก (Battle Angel Alita) เพชฌฆาตไซบอร์ก ภาค Last Order (Gunnm: Last Order) เพอร์เพิลอาย/นัยน์ตาเธอสีม่วง พาราไดซ์คิส เพนกวิน บราเธอร์ส พลิกตำนานโมโมทาโร่ (Momogumi plus senki) พลิกตำนานมาพบรัก พาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์แซด แพนโดร่า ฮาร์ท (Pandora hearts) พลังอักษะ เฮตาเลีย (Axis powers Hetalia) == ฟ == ฟากฟ้าแห่งความสัมพันธ์ (Yosuga no Sora) ฟูลมูน ฟูลเมทัลพานิค อันลิมิตเต็ด ไฟร์เบิร์ด (Hero of the Sun, Firebird) เฟค (FAKE) ฟอร์จูนหลอดเลือดแดง (Fortune Arterial) แฟรี่เทล (fairy tail ) == ม == มนต์มัจจุราช (Yami no Matsuei) มังกรหายนะ มหากาพย์ดาวศุกร์ (Venus Wars) มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ (Fate/stay night) มังกรอหังการ์ หมาป่าคะนองศึก มังกรสาวที่รัก มันมารุ นินจาเพนกวิน มาครอส ซีโร่ มาครอสพลัส มาครอส 7 ภาค Trash มาซินไกเซอร์ (MAZINKAISER) มาซินก้า Z (MAZINGER Z) มารุโกะจอมกวน (CHIBI MARUKO CHAN) มายเมโลดี้ มาโฮโระ สาวใช้ออโตเมติคส์ (MAHOROMATIC) มาโฮระบะ (Mahoraba) มามิ, สาวน้อยพลังจิต (Esper Mami) มาร์มาเลดบอย มาเธอร์ คีพเปอร์ (Mother keeper) มายูกิ คุณหนูยอดนักสืบ (Suteki Tantei Labyrinth) มิกซ์ เวจเทเบิล (Mix Vegetable) มิดไนท์อาย มิยูกิ (Miyuki) มิรุโมะ ภูตจิ๋วจอมยุ่ง มือขวากับขาโจ๋ (Midori no hibi) มืออสูรล่าปีศาจ (Hell Teacher Nube) มือใหม่ไฟแรง (Rookies) มือปราบป่วนมาร มือปราบสี่พญายม เมไจ อาละดินผจญภัย เมทัลไฟต์ เบย์เบลด เมื่อคุณหญิงจอมแก่นแต่งงาน เมื่อผมกับเธอ XXX (Your And My Secect XXX) แม่มดน้อยจอมซน (jp:魔法陣グルグル) แม่มดน้อยโดเรมี (Magical Doremi) แม่มดสาวหัวใจปิ๊งรัก ( Bewitched Agnes) แม่มดสาวหัวใจกุ๊กกิ๊ก (Sugar Sugar Rune) แม่มดน้อยกิกิ (kiki) มิโกะ คนทรงหุ่นเทวะ (Kannaduki no Miko) มาเฟียที่รัก มัช อัจฉริยะก้องโลก (Mush) ไม-HiME (My-HiME) ไม-Otome (My-Otome) มหัศจรรย์สาวน้อย พริตตี้เคียว (Futari wa Pre-cure!) มูชิคิง ผู้พิทักษ์แห่งขุนเขา มูซาชิ เจ้าหนูเคนโด้ (Musashi no Ken) โมโนโครม แฟคเตอร์ (Monochrome Factor) == ย == ยานรบตะลุยจักวาล นาเดซิโกะ (Martian Successor Nadesico) ยาวาระ สาวน้อยยอดนักยูโด (Yawara) ยาคุโมะ นักสืบวิญญาณ (Psychic Detective Yakumo) ยุทธการใต้สมุทร ยุทธภพไม่ครบสลึง ยุ่งชะมัด เป็นสัตวแพทย์ (Animal Doctor) ยอดกุ๊กแดนมังกร ยอดชายเมดพันธุ์ดุ (Maidguy) ยอดเชฟครัวท่านทูต (Le Chef Cuisinier de L'Ambassadeur) ยอดมนุษย์สุดซ่า ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (Detective Conan) ยิงประตูสู่ฝัน โยไควอทช์ ไยบะ เจ้าหนูซามูไร ยัยตัวป่วนชวนดูดาว (Sora no Manimani) ยมทูตสีขาว (Momo the girl god of death) ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง (Higurashi no Naku Koro ni) ยูกิโอ (อนิเมะภาคแรก) ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ยูกิโอ GX ยูกิโอ 5D'S ยูกิโอ ZEXAL ยูกิโอ ARC-V ยูกิโอ VRAINS ยูเรก้าเซเว่น ยามซากุระร่วงโรย == ร == รถด่วนอวกาศ 999 (Galaxy Express 999) รหัสเพชรฆาต (Cross) รหัสลับ เซเลอร์วี (Code name is Sailor V) รวมพลคนติดอยู่ในเกม ร็อกเก็ตแมน (Rocket Man) ร็อคซ่าส์ใสหัวใจเกินร้อย (Hallelujah Overdrive!) ร็อคแมนเอ็กเซ่ซีรีส์ รอน วีรบุรุษชาติมังกร ระเบิดพลังการ์ดอสูรคำราม รักข้ามรุ่น รักต้องลุ้น คุณครูเพลย์บอย รักพลิกล็อก รักร้อนซ่อนกล (Hot Gimmick) รักลวงป่วนใจ รักสลับขั้ว สาวสลับร่าง (MAHORABA) รักสลับขั้ว (Parallel) รักอลวนคนชื่อโหล (Omakeno Kobayashi-kun) รันม่า ½ (Ranma ½) ราชันย์ผู้กล้า กาโอไกการ์ (The King of Braves GaoGaiGar) ราชาเหมียว ราฟ (Rough) ราล แอนด์ กราด (rald and grad) รีก้า รีเพลย์ J (Replay J) รุกกี้ (Rookie) รุ่งทิวาก่อนจันทราลาลับ (Yoake Mae Yori RuriIro Na) รูซัลก้า ยุทธการครองโลก เรโกะ ฉันนั้นหรือสวย เฉียบ เนี้ยบ เรฟ ผจญภัยเหนือโลก (Groove Adventure Rave) เรย์ (Ray) เรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาศาสตร์ (To Aru kagaku no Railgun) เรียกเขาว่าอีกา (Crows) เรียกเขาว่าอีกา ภาคซีโร่ (Crows Zero) เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ (The Melancholy of Suzumiya Haruhi) เรียล (Real) เรียว (Ryo) เรี่องธรรมดาของเธอกับฉัน แรช, หมอสาวจอมดีเดือด (en:Rash) โรคุโรคุ จอมมารอย่างนี้ก็มีด้วย โรงเรียนนักสืบ Q (Detective School Q) โรงเรียนป่วน ก๊วนคนบ๊อง โรงเรียนป่วนนักเรียนเป๋อ (Azumanga Daioh) โรงเรียนรวมเหล่าเผ่าเหนือคน โรงเรียนลูกผู้ชาย 2 โรงเรียนลูกผู้ชาย โรงเรียนว้าวุ่น ชุลมุนอลเวง โรซาริโอ้ บวก แวมไพร์ โรโบติก·โน้ต โรมิโอ x จูเลียต (Romeo x Juliet) ไรโตะคุง |width="33%" valign="top" | == ฤ == ฤคเวท ศึกเทวยุทธ์ (RG Veda) ฤทธิ์ปืนมนตรา เทพธิดาทมิฬ (Magical Gunslinger Kurohime) ฤทธิ์หมัดดาวเหนือ (Fist of the North Star) ฤทธิ์หมัดเสือหิว (One Pound Gospel) ฤทธิ์ดาบไม้ไผ่ == ล == ลงท้ายที่โรแมนติก ลักกี้แมน จริงๆ นะจะบอกให้ (Luckyman) ลักกีสตาร์ ล็อก เดอะซุปเปอร์แมน (Locke the Superman) ลามู ทรามวัยจากต่างดาว (Urusei Yatsura) ล่าอสูรกาย (Ushio and Tora) ล่าล้างกางเขนเลือด (The Record of Fallen Vampire) ลิลิมุ เฟิร์สคิส ลุ้นรักตามสายลม ลุยเต็มพิกัด (D-Live) เลเวล อี เลิฟเลส (Loveless) เลิฟแซ็ด (love-Z) โลกอุบาทว์แสนสวย ไลฟ์ (Life) เลเวียธาน โลกินักสืบจอมขมังเวทย์ โลกทั้งใบให้ฮารุฮิ ลู เบบี้น้อยต่างดาว ลางสังหาร ลาสต์ เอ็กไซล์ == ว == วันพีซ (One Piece) วันเดอร์บอย (Wonder boy) วัยซนคนมีพลังจิต (Gakuen Alice) วากาบอนด์ (Vagabond) วิงแมน นักรบแห่งความฝัน (Wingman) วิญญาณทะเล้น วิญญาณวุ่นยุ่งกับคน (Omukae desu) แวมไพร์ไนท์ (Vampire Knight) วัยกระเตาะ ตึ่ง ตึง ตึ๊ง (The perfect world of Kai) วัยซนคนการ์ตูน เวอรสท์ (Worst) วีดีโอเกิร์ล (video girl) วีรบุรุษจากลหุโทษ (Hero) วอร์ลอร์ด ฟีนิกซ์ จ้าวนักรบกลียุค วาทารุ (Wataru) วุ่นรักนักดนตรี (Nodame Cantabile) เวดดิ้งพีช สาวน้อยผู้พิทักษ์ (Wedding Peach) เวิร์กกิ้ง!! ปิ๊งรักสาวนักเสิร์ฟ วัยมันส์คนพันธุ์ A (Special A-Class) โวคาลอยด์ (vocaloid) == ศ == ศิษย์ซ่า อาจารย์แสบ (Legend of Dou) ศึกรักพันธุ์นักเลง ศึกล้างพันธุ์มนุษย์ (RahXephon) ศึกเทพยุทธ์หลุดโลก ศึกวิหารเทพเจ้า (Angel Sanctuary) ศึกจอมเวทอภินิหาร (Fairy tail) ศึกชิงลูกแก้วมังกร ศึกอภินิหารมังกรสีน้ำเงิน == ส == school time school days SWITCH GIRL!!สวิตช์ เกิร์ล!! สงครามมหาเวทย์ สงครามเวหา ฟาฟเนอร์ (Soukyuu no Fafner) สงครามหุ่นหายนะ โบกุราโนะ (Bokurano: Ours) สั่งรักสาวปืนโหด (Spas-pa) สัญญามรณะ ธิดาอเวจี สายตรวจเหนือเวลา สกูล เดย์ส (School Days) สกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน (School Rumble) สคิปบีท! (Skip Beat!) สมองกลนักสู้ (Angelic Layer) สมองกลคนสวย สตรอบอรี่ แพนิค (Strawberry Panic) สตีล บอล รัน สตราทอสโฟร์ (Stratos4) สตราทอสโฟร์ แอดวานซ์ (Stratos4 Advance) สไตนส์;เกท (Steins;Gate) สไตรค์วิชเชส (strike witches) สปริกแกน (Spriggan) สเก็ต ดานซ์ (Sket Dance) สแลมดังก์ (Slam Dunk) สโลว์สเต็ป (Slow Step) สัมผัสรักจากฟากฟ้า (Land of Blindfolded) สารานุกรมรักฉบับกระเป๋า สาวกลายพันธุ์ (Elfen Lied) สาวขี้เซากับหนุ่มเอาแต่ใจ สาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะ (Magical Girl Lyrical Nanoha) สาวน้อยต่อยหนัก (Muteki Kanban Musume) สาวน้อยแสนกล สามก๊ก สืบ x สวย = แสบ (Saint Hyper) สื่อรักจากต่างดาว สึซึมิยะ ฮารุฮิ สึบาสะ สงครามเทพข้ามมิติ (Tsubasa: Rezaboa Kuronikuru) สุสานหิ่งห้อย (Grave of Fireflies) สุสานฟาโรส์ สูตรฮิต เมนูฮอต (CURRY-NARU SHOKUTAKU) สเลเยอร์ส (Slayers) เสน่ห์สาวข้าวปั้น (Fruits basket) แสบกว่านี้มีอีกไหม (UDAUDAYATTERU HIMA WA NEI) สิงห์นักปั่น (RUN FOR TOMORROW) สิงห์ผจญเพลิง (Firefighter! Daigo of Fire Company M) สี่แสบฝ่าแดนทมิฬ สัตวแพทย์มือใหม่หัวใจเมโลดี้ (en:Wild Life) สามเหมียวยอดนินจา (Samurai Pizza Cats) สามพลังป่วนพิทักษ์โลก สงครามซากุระ (Sakura Wars) สงครามแดนสนธยา สงครามล้างปีศาจ (Chrno Crusade) สาวเมดผจญหนุ่มสุดป่วน (Maid Sama!) สุภาพบุรุษทรชน สาวน้อยกับหยาดดาวตก 7 สี เส้นทางฝันของสาวน้อยขนมหวาน สาวเรียวกังหัวใจเกินร้อย สาวน้อยเวทมนตร์ มาโดกะ == ห == หนีตายเกาะนรกล้านปี หัตถ์เทวะเทรุ (Godhand Teru) หุ่นเชิดสังหาร (Le Cirgue de Karakuri) หน่วยพิทักษ์ธรณิน (Pumpkin Scissor) หน้ากากแก้ว (Glass Mask) หน้ากากเนียนด้า เหมียวจอมซ่า หน้ากากเสือ หน้าการยูเอฟโอ หน้ากากไยบะ หุ่นมรณะเก็นโซ หุ่นบ๊องส์ เกมบ้า (PoPoCan) หนุ่มน้อยปริศนา เกโด (GEDOH THE UNIDENTIFIED MYSTRIOUS BOY) หนุ่มสามัญกับสาวหลุดโลก (Denpa Onna To Seishun Otoko) หนุ่มหล่อเฟี้ยว แปลงโฉมสาว (The Wallflower) หนุ่มห้าว สาวเปรี้ยว หนุ่มเอ๊าะ สะเดาะล็อก (SaruLock) หนูน้อยจอมซ่า มารุโกะจัง หยุดใจไว้ที่เธอ หยุดเวลาให้หัวใจ หลุดโลกเรสเตอรองต์ (Heaven?) หวานใจยอดนักชิม (Shoku To Bara No Hibi) เหนือฟ้าใต้พิภพ ข้าเจ๋งสุด หอพักสร้างฝัน (Sakurasou No Pet Na Kanojo) หอพักอลเวง หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ หมึกสาว! ลุยหลุดโลก แหกกฎโรงเรียนเหล็ก หุ่นรบฮิคาเรี่ยน (Japan Hikariean Railroad) หวานใจกับใบโคลเวอร์ (huney and clover) หนุ่มหน้ามน..ตามหารักแท้ (Amagami SS) หุ่นจิ๋วประจัญบาน == อ == อควอไนท์ (Aqua Knight) อนุญาตให้ฆ่า (Murder License Kiba) อเนโดกิ (Ane Doki) อย่างนี้ต้องพิสูจน์ (Q.E.D.) อยู่กับพี่ไม่มีเหงา อลวนรัก อลหม่านเลิฟ (Kasimasi) อลวนลุ้นรัก สาวต่างดาว (The World of Nature) อ้วนซ่าขาซิ่ง อสูรซ่าท้าเด็กแสบ (NORA) อสูรน้อยคิทาโร่ (การ์ตูน) (GeGeGe no Kitarō) อสูรรับใช้ของยาย 0 สนิท (Zero no Tsukaima) อสูรสาวเคลย์มอร์ (Claymore) ออรอร่า ออเร็คคา แบทเทิล เกม อัฟกานิสตัง อันปังแมน อัลโก (Algo) อัศวินมือใหม่มังกรป้ายแดง อากิร่า, ไม่เหมือนคน (en:Akira) อากิฮาบาร่า สวรรค์บ้าไม่ธรรมดา อากิฮาบาร่า แอด ดีป (Akihabara@DEEP) อาคิโตะ หัตถ์เทวดา (KANNADE) อาจิโนะสุเกะ จอมคนก้นครัว อาตาชินจิ ครอบครัวตัวป่วน อายชีลด์ 21 ไอ้หนูไต้ฝุ่นมะกันบอล (Eyeshield 21) อาร์ม หัตถ์เทพมืออสูร (ARMS) อาเรีย กระสุนแดงเดือด (Hidan no Aria) อาเรีย (ARIA The NATURAL) อาวุธสุดท้ายคือเธอ ไซคาโนะ (She - the Ultimate Weapon) อาสึมิ อาสุกะ ตอนพิรุณพิโรธ อาสุกะ ตอนสองนาง อิคโกกุ บ้านพักหรรษา (Maison Ikkoku) อิซามิ แก๊ง 3 ช่า ซามูไร (Isami Shinsengumi) อิตโต้ นักเตะเลือดกังฟู ภาค 1 อิตโต้ นักเตะเลือดกังฟู ภาค 2 อิทธิฤทธิ์พิชิตมายา (MÄR) อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม (To Aru Majutsu no Index) อินิเชียล ดี (INITIAL D) อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน อีกฟากหนึ่งของความฝัน อีเกิล ผ่าทำเนียบพญาอินทรี (Eagle_%28manga%29) อีเดน ออฟ ดิ อีสท์ อีทแมน อีนิกม่า (әnígmә) (KENJI SAKAKI) อีวานเกเลี่ยน, มหาสงครามวันพิพากษา อุบัติรักวันคริสต์มาส (Amagami SS) อูเทนะ พลิกฟ้าตามหารัก เอชทู (H2) เอ็มxซีโร่ (Mx0) เอ็มม่า (EMMA) เอ็มม่า_ลำนำรักข้ามวรรณะ (Emma) เอเรเมนทาร์ เจเร็ด (Erementar Gerad) เอ้าชู้ต (PPOI) แอกเซลเวิลด์ แองเจลิค เทพมหาสงคราม (Neo Angelique) แองเจิ้ล บีทส์! (Angel Beats!) แองเจิ้ลฮาร์ท (Angel Heart (manga)) แอ็ดเวนท์ มฤตยูเทพฯ (Advent) แอร์ (Air) แอร์เกียร์ ขาคู่ทะลุฟ้า (Air Gear) แอเรีย 88 (Area 88) โอ้!เทพธิดา (Oh! My Goddess) โอ้!พระเจ้าจอร์ชมันยอดมาก โอเทลโล่ แอบซ่าอย่าว่ากันนะ (Othello) โอนิวากะมารุ ไอคอล์ (AICOLLA) ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย (Idolmaster Xenoglossia) ไอ'วิล (I'll) ไอส์ (I's) ไอ้หนุ่มราเม็ง ไอ้หนูแข้งทอง ไอ้หนูซูชิ ไอ้หนูหมัดเต็มร้อย (Exciting Boxing) ไอ้เขี้ยวเงิน ไออิกับมาโกโต้ อนาเธอร์ (Another) == ฮ == ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ (Hunter x Hunter) ฮัลโหล! สแปงค์ ฮานาบิ สาวใสหัวใจว้าวุ่น ฮานาโกะกับเรื่องเล่าขนหัวลุก ฮาเมรุน แห่งบทเพลงกำราบมาร (The Violinist of Hamel) ฮาไม่ฮาข้าก็ชื่อ...วะฮะแมน (WAHHAMAN) ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ฮารุกะ 17 (Haruka Seventeen) ฮาร์ท ฮาเล็มบีท จังหวะคนจริง (Harlem Beat) ฮาเอะ บุน บุน จิ๊กโก๋กลับใจ!? (Wild Family Life) ฮิคารุเซียนโกะ (Hikaru no Go) ฮิโนโทริ วิหคเพลิง (Phoenix) เฮนเบ้ แฮปปี้ แฮปปี้ ฮัสเซิ่ล ไฮสคูล (Happy Hustle High School:H3 school) แฮมทาโร่ แก๊งจิ๋วผจญภัย (Hamtaro) เฮลซิ่ง (Hellsing) XXXโฮลิค (xxxHOiLIC) ไฮดี้ ฮีโร่แมน |} การ์ตูนญี่ปุ่น
thaiwikipedia
129
การทำอาหาร
การทำอาหาร คือ การกระทำเพื่อเตรียมอาหารให้พร้อมสำหรับการบริโภค นับตั้งแต่มนุษย์ค้นพบไฟเป็นต้นมา การทำอาหารได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรม == เทคนิค == การต้ม คือ การทำอาหารในน้ำซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึงจุดเดือด การตุ๋น คือ การทำอาหารให้สุกในน้ำหรือการต้ม ใช้ความร้อนไม่ถึงจุดเดือดแต่ความร้อนจะสูงกว่าการทอดไข่น้ำ ใช้กับอาหารที่ต้องการให้สุกแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อป้องกันอาหารแข็งและเหนียว การทำอาหารแบบนี้ น้ำที่ใช้ต้มจะมีอิทธิพลต่อรสชาติของอาหารมาก ดังนั้นการทำอาหารชนิดนี้จะต้องมีการปรุงรสน้ำที่จะมาทำการเคี่ยว ด้วยการใส่เครื่องปรุงรสลงไปด้วย การลวก คือ การต้มวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นในน้ำ หรือ น้ำมันประกอบอาหาร โดยใช้เวลาเพียงระยะสั้นๆ ไม่ให้อาหารสุกมาก วิธีการนี้โดยมากแล้วจะใช้เพื่อการทำลาย รสชาติ หรือ กลิ่นที่เราไม่ต้องการออกไป การทอดไข่น้ำ คือ การทำอาหารให้สุกในน้ำ ซึ่งมีความร้อนสูงไม่ถึงจุดเดือด ใช้กับการต้มอาหารที่ไม่ต้องการให้สุกแข็งมากเกินไป เช่น ไข่ดาวน้ำ หรือ ปลา การนึ่ง คือ กระบวนการทำอาหารให้สุก โดยใช้ความร้อนผ่านจากไอน้ำ การผัด คือการผัดอาหารในกระทะด้วยความร้อนสูงน้ำมันน้อยและระยะเวลาสั้น จะมีการคนอาหาร พลิกกลับไปมาอย่างรวดเร็ว การทอดกระทะ คือ การทำอาหารให้สุก-กรอบ แต่การทอดในวิธีนี้จะใช้น้ำมันน้อย ใช้เพียงแค่การเคลือบบนผิวกระทะ ป้องกันอาหารติดเท่านั้น และความร้อนที่ใช้จะต่ำกว่าการผัด เพราะจะกลายเป็นการทำให้อาหารไหม้ แต่ถ้าใช้ความร้อนต่ำเกินไปจะทำอาหารอมน้ำมัน ดังนั้นการใช้วิธีนี้จะต้องกะความร้อนให้ดีและเมื่อทอดอาหารเสร็จแล้วก็ควรนำกระดาษมาซับน้ำมันออกจากอาหารด้วย การทอด คือ การทำอาหารให้สุกโดยการทอดแบบน้ำมันท่วมอาหาร อาหารที่ทอดจะจมลงไปในน้ำมัน การอบ คือ การทำวัตถุดิบให้สุกโดยผ่านความร้อนจากด้านบนของอาหารโดยใช้ความร้อนสูงมาก เครื่องมือที่ใช้จะมีลักษณะเหมือนกับเตาไฟฟ้า เพียงแต่แทนที่ขดลวดให้ความร้อนจะอยู่ข้างใต้ ก็เปลี่ยนไปอยู่ข้างบนแทน จุดมุ่งหมายหลักของการทำอาหารแบบนี้จะเป็นการทำเพื่อความสวยงามมากกว่า คือต้องการให้อาหารด้านบนมีสีน้ำตาลดูน่ารับประทาน การปิ้ง หรือการปิ้งย่าง หรือการทำอาหารให้สุกโดยไม่ใช้กระทะหรือหม้อใดๆอาหารจะได้รับความร้อนโดยตรงผ่านตะแกรงจากความร้อนที่อยู่ใต้อาหาร โดยอาจจะมากเตาแก๊ส หรือ เตาถ่านก็ได้ การย่าง คือการทำให้อาหารสุกโดยใช้ความร้อนจากรอบทิศทางภายในตู้ คำว่าย่าง จะใช้กับอาหารคาว ยกเว้นใช้กับขนมอบเช่นขนมปังหรือเค้ก มักจะเรียกว่าการอบ == ความปลอดภัยในการทำอาหาร == เพื่อสุขภาพที่ดี และความปลอดภัย ในการทำอาหาร ควรปฏิบัติ ดังนี้ ควรล้างมือ ล้างผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ ไม่ควรล้าง เมื่อมีการซื้อผักและผลไม้ มาจากตลาดควรนำผักไปแช่ น้ำเกลือ หรือ ด่างทับทิม เพื่อให้สารพิษหลุดออก ทำให้ผลดีต่อสุขภาพ ล้าง อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น มีด เขียง ก่อนทุกครั้ง เมื่อมีการใช้งาน และหลังจากทำอาหารเสร็จ ควรล้างอุปกรณ์เครื่องครัวให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย และความสะดวกในการหยิบใช้ครั้งต่อไป พยายามอย่าให้สัตว์เลี้ยงเข้ามาในบริเวณห้องครัวที่ใช้ในการทำอาหาร == แหล่งข้อมูลอื่น == wikiHow on How to Cook การทำอาหาร ทักษะ
thaiwikipedia
130
ภาพยนตร์การ์ตูน
ภาพยนตร์การ์ตูน เป็นทัศนศิลป์รูปแบบหนึ่ง มีรูปแบบเป็นภาพเคลื่อนไหวที่สร้างด้วยการฉายภาพวาด ต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง ผิดกับภาพยนตร์ซึ่งสร้างโดยใช้กล้องบันทึกภาพของวัตถุเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง == อ้างอิง == Stephenson, Ralph. The Animated Film. London: Tantivity Press, 1973. ISBN 0-49801-202-6. == ดูเพิ่ม == แอนิเมชัน การ์ตูน ทัศนศิลป์ ประเภทของศิลปะ
thaiwikipedia
131
เฉิน ฮุ่ยเสียน
เฉินฮุ่ยเสียน (陳慧嫻; Priscilla Chan) เป็นนักร้องหญิงชาวฮ่องกง เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เริ่มอาชีพร้องเพลงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2526 โดยขณะนั้นอายุเพียง 18 ปี และบันทึกเสียงอัลบั้มแรก "ความรู้สึกของเรื่องราว" (故事的感覺) ในปี พ.ศ. 2527 == แหล่งข้อมูลอื่น == Priscilla chan Facebook Priscilla chan instagram Priscilla chan sino Microlog Priscilla chan Tencent Microlog Priscilla Blog ฉเนฮุ่ยเสียน ฉเนฮุ่ยเสียน
thaiwikipedia
132
ออริจินัลวิดีโอแอนิเมชัน
ออริจินัลวิดีโอแอนิเมชัน (original video animation) หรือย่อว่า โอวีเอ (OVA) หมายถึงอนิเมะของญี่ปุ่นที่ไม่เคยออกอากาศทางโทรทัศน์หรือฉายโรงภาพยนตร์ แต่ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในรูปแบบวีดีโอเทป, วีซีดี, ดีวีดี หรือบลูเรย์ โอวีเอไม่มีการกำหนดมาตรฐานความยาว แต่ละตอนอาจมีความยาวตั้งแต่ 15 นาทีไปจนถึง 2 ชั่วโมง โดยมากนิยมใช้ความยาวประมาณ 30 นาทีต่อตอน อนิเมะที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นโอวีเอเรื่องแรกคือเรื่อง Dallos วางจำหน่ายในค.ศ. 1983 การวางจำหน่ายแบบนี้เริ่มแพร่หลายในหลายบริษัท ต่อมาในค.ศ. 1992 ญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กระแสของโอวีเอจึงลดลง โอวีเอแบบซีรีส์ลดจากการผลิตจาก 26 ตอนเหลือเพียง 13 ตอน โอวีเอที่มีความยาวที่สุดและประสบความสำเร็จสูงสุดคือเรื่อง ตำนานวีรบุรุษกาแล็กซี (1988–2000) ภาคหลักมีจำนวนตอนถึง 110 ตอน == โอวีเอเรียงตามจำนวนตอน == == ดูเพิ่ม == ออริจินัลเน็ตแอนิเมชัน (Original Net Animation) การ์ตูนญี่ปุ่น
thaiwikipedia
133
หนังแผ่น
หนังแผ่น เป็น ภาพยนตร์ที่ไม่เคยออกอากาศทางโทรทัศน์หรือฉายโรงภาพยนตร์ แต่ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในรูปแบบวีดีโอเทป, วีซีดี, ดีวีดี หรือ สื่ออื่น ๆ ไม่มีการกำหนดมาตรฐานความยาว โดยผลิตทั้งรูปแบบวางขายทั่วไปและรูปแบบเช่า ซึ่งแตกต่างกับภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ ที่มีการฉายรอบปฐมทัศน์ทางโทรทัศน์ == หนังแผ่นในประเทศต่างๆ == === ประเทศไทย === หนังแผ่นในประเทศไทย เริ่มต้นตั้งเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2532 และเป็นที่นิยมเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2543 ซึ่งบริษัทที่ผลิตหนังแผ่นมีหลายบริษัทตั้งแต่ ไรท์บียอนด์, อาร์เอส, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, เอสทีวิดีโอ, แมงป่องและบริษัทอื่นๆ โดยชื่อของหนังแผ่นในไทยเรียกว่า เทเลมูวี่ (Telemovies) เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ที่ลงทุนน้อยกว่าภาพยนตร์ที่เข้าฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วไป โดยภาพยนตร์หนังแผ่นเรื่อง พระอภัยมณี ที่นำแสดงโดย หญิง จุฬาลักษณ์ ถือเป็นผู้บุกเบิกหนังแผ่นรายแรก ๆ ทำยอดขายในประเทศไทยถึง 8 แสนแผ่น จนทำให้เกิดหนังแผ่นเจ้าอื่น ๆ ตามออกมาอีกมากมาย อุตสาหกรรมเทเลมูวี่ของประเทศไทยที่นิยมเฟื่องฟูนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวัฒนธรรมมัลติเพล็กซ์ ซึ่งมักจะฉายหนังใหญ่เรื่องเดียวในโรงมากกว่าครึ่งโรง โดยรูปแบบภาพยตร์ที่นิยมทำกันส่วนใหญ่จะทำออกมาในแนว สยองขวัญ, ระทึกขวัญ, คอเมดี้, การสืบสวน, ลึกลับ, ความรัก เป็นต้น ปัจจุบันหนังแผ่นในไทยไม่มีการทำออกมาแล้วเนื่องจากผลกระทบต่อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และปัญหาของผูัผลิตหนังที่มักจะทำรูปแบบเนื้อหาที่ซ้ำมากเกินไป จนในปัจจุบันรูปแบบเนื้อหาของเทเลมูวี่ปรับเปลี่ยนมาเป็นผลงานต้นฉบับของสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องแทน === ประเทศญี่ปุ่น === หนังแผ่นในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า ออริจินัลวิดีโอ (オリジナルビデオ) มีชื่อย่อว่า โอวี (OV) และมีชื่ออีกแบบคือ วิดีโอเอกะ (ビデオ映画), วีซินีมา (Vシネマ), วีซิเน (Vシネ) นอกจากนี้ ออริจินอลวิดีโอครอบคลุมธีมที่หลากหลาย แต่ประเภทเนื้อหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสามประเภท ได้แก่ ยากูซ่า, การพนัน และ อิโรติก ทั้งนี้ในรูปแบบอนิเมชันถูกเรียกแยกอีกว่า ออริจินัลวิดีโอแอนิเมชัน หรือ โอวีเอ (OVA) == อ้างอิง == คำศัพท์โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังแผ่น
thaiwikipedia
134
รายชื่อนวนิยายกำลังภายใน
รายชื่อ นิยายกำลังภายใน == ก == กระดึง สายลม คมดาบ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) กระบองนิลกาญจน์ - อี่บุ้น (ว.ณ เมืองลุง) กระบองเทิดฟ้า - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) กระบี่กระจายหอม - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) กระบี่ก้องธรณี - กระบี่ปราบธรณี - จูเฉียบ (ว.ณ เมืองลุง) กระบี่กู้บู๊ลิ้ม - เอ็กย้ง (ว.ณ เมืองลุง) กระบี่จอมจักพรรดิ - อ้อเล้งเซ็ง (ว.ณ เมืองลุง) กระบี่ใจพิสุทธิ์ - กิมย้ง (น.นพรัตน์) กระบี่นาคราช - ตังฮึงเอ็ง (น.นพรัตน์) กระบี่นางพญา - กิมย้ง (น.นพรัตน์) กระบี่ประหารมาร - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) กระบี่ป้องปฐพี - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) กระบี่ท่องยุทธจักร - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) กระบี่พิศวาส - ซี่เบ๊จี่อิง (น.นพรัตน์) กระบี่พิโรธ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) กระบี่เย้ยยุทธจักร - กิมย้ง (น.นพรัตน์) กระบี่ไร้เทียมทาน - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) กระบี่ไร้เทียมทาน ภาคสมบูรณ์ - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) กระบี่ล้างแค้น - อ้อเล้งเซ็ง (ว.ณ เมืองลุง) / ผลงานแปลเรื่องแรกของ ว.ณ.เมืองลุง กระบี่เลือดเดือด - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) กระบี่สะท้านฟ้า - โก้วยู้ฮวง (ว.ณ เมืองลุง) กระบี่เหนือกระบี่ - ซี่เบ๊จี่อิง (น.นพรัตน์) กระบี่ทะลุฟ้า - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) กระบี่ยั่งยืนยาว - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง กระบี่อมตะ กระบี่อภิญญา - เจิ้งฟง (น.นพรัตน์) กระบี่เทพสังหาร - Xiao Ding (มดแดง) กระบี่อำมหิต - ตั้งแชฮุ้น (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลเรื่องแรกของ น.นพรัตน์ กวนอิมมรกต - บู๊เล้งเจียวจื้อ (ว.ณ เมืองลุง) กวีในดงดาบ - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) ก้องพสุธา - ตังฮึงเง็ก (น.นพรัตน์) กำเทียนลก - กอย้ง (ว.ณ เมืองลุง) กิมฮุดชิ้ว - เชาเยียกเปีย (ว.ณ เมืองลุง) เกาทัณฑ์รันทด - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) เก้ามัจจุมาร - เซียวเส็ก (น.นพรัตน์) กลิ่นหอมกลางธารเลือด - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง กลิ่นหอมในทะเลเลือด กล้วยไม้เที่ยงคืน - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) เกาะมหาภัย - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) == ข == ขนนกยูง - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ. เมืองลุง เดชขนนนกยูง ขลุ่ยครองฟ้า - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) ขลุ่ยเพชรฆาต - ตั้งแชฮุ้น (น.นพรัตน์) ขุนศึกสะท้านปฐพี - หวงอี้ (น.นพรัตน์) ขลุ่ยประกาศิต - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) ขอบฟ้า จันทรา ดาบ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง ดาบจอมภพ == ค == คมดาบสั้น - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) คัมภีร์เทพฤทธิ์ - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) คัมภีร์อัสนีบาต - ลี่ฮุ้นเซ็ง (ว.ณ เมืองลุง) แค้นพญามาร - ลิ้วชังเอี๊ยง (น.นพรัตน์) โคมสวรรค์ - ต๊กโกวฮ้ง (น.นพรัตน์) คู่อริใต้หล้า - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) == ง == เงาอสูร - เฮียวฮง (ว.ณ เมืองลุง) == จ == จริยวีรชน - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) จอมคนแผ่นดินเดือด - หวงอี้ (น.นพรัตน์) จอมโจรลักแผ่นดิน - เจิ้งฟง (น.นพรัตน์) จอมโจรปักดอกไม้ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) จอมใจจอมยุทธ - กิมย้ง (น.นพรัตน์) จอมใจจอมสังหาร - เซียวเส็ก (น.นพรัตน์) จอมดาบทักษิณ - ตังฮีงเอ็ง (ว.ณ เมืองลุง) จอมดาบเสเพล - เล่งเซ่งฮวง (ว.ณ เมืองลุง) จอมดาบอาทิตย์ - เซียวสัก (น.นพรัตน์) จอมยุทธปาฎิหารย์ - ชิวมั่งฮุ้น (ว.ณ เมืองลุง) จอมยุทธไร้น้ำตา - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง ไม่มีน้ำตาวีรบุรุษ จอมเสเพล ชายแดน - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง จอมดาบหิมะแดง จักรพรรดิบู๊ลิ้ม - เฮ้งฮกโก้ว (น.นพรัตน์) จิ้งจอกภูเขาหิมะ - กิมย้ง (น.นพรัตน์) จิ้งจอกอหังการ - กิมย้ง (น.นพรัตน์) เจ็ดนักกระบี่ - เนี่ยอู๋เซ็ง (จำลอง พิศนาคะ) เจ็ดมังกร - เล่งเซ่งฮวง (ว.ณ เมืองลุง) เจาะเวลาหาจิ๋นซี - หวงอี้ (น.นพรัตน์) จ้าวนักสู้ - งักฮวง/เหง่ยคัง (น.นพรัตน์) จ้าวนรกโลกันตร์ - ฉั้งกอ (น.นพรัตน์) เจ้ารัตติกาลแผ่นดินเถื่อน - เยี่ยกวน (น.นพรัตน์) == ฉ == โฉมสะคราญ ปณิธาน จอมคน - อุนสุยอัน (ก.วรรธะ) == ช == ชาติพยัคฆ์ - เซียงกัวเตี้ย (น.นพรัตน์) ชุมนุมนครหลวง - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) เชือดชีวิต - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) == ซ == ซาเสียวเอี้ย - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) เซียวจับอิดนึ้ง - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) เซียวฮื้อยี้ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง ใช้ชื่อเรื่องเดียวกัน == ด == ดรรชนีละเลงเลือด - ฮ่วมเล้ง (ว.ณ เมืองลุง) ดาบเผด็จศึก - เซาะงัง (ว.ณ เมืองลุง) ดาบพญายม - ลิ้วชังเอี๊ยง (ว.ณ เมืองลุง) ดาบมังกรหยก - กิมย้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อเรื่องเดียวกัน ดาบลมกรด - ฉิ่นอั๊ง (น.นพรัตน์) ดาบนกเป็ดน้ำ - กิมย้ง (น.นพรัตน์) ดาบมรกต - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ดาบเสียดฟ้า - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) ดาบฝันสลาย - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) ดาบกระชากเลือด - ซีเบ๊เล้ง (น.นพรัตน์) ดาบหาญกล้าฝ่าแดนยุทธ์ - เฟิงหั่วซี่จูโหว (หลินหยาง) / ใช้ชื่อภาพยนตร์ ดาบพิฆาตกลางหิมะ (SWORD SNOW STRIDE) ดาวเดี่ยวไม่เดี่ยวดาย - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่- โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) แดงทั่วธาร- ลิ้วชังเอี๊ยง (น.นพรัตน์) แดนมิคสัญญี- เซาะงัง (น.นพรัตน์) ดนตรีมหากาฬ - เยียกเม้ง (อ.ภิรมย์ / น.นพรัตน์) เดชคฑาทอง - อี้บุ้น (น.นพรัตน์) ดวงชะตาดอกท้อ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง ราศีดอกท้อ == ต == โต๊ะฮุ้นกี้ ธงปลิดวิญญาณ - จูกั๊วะแชฮุ้น (จำลอง พิศนาคะ) ตะขอจำพราก - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ตำนานกระบี่หยก - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ตำนานแห่งผู้กล้า - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) == ถ == ถล่มอเวจี - เซาะงัง (น.นพรัตน์) ถล่มเทวมาร - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) == ท == ท้ามัจจุราช - จูกัวะแชฮุ้น (ว.ณ เมืองลุง) เทพทวงวิญญาณ - เซียวเส็ก (น.นพรัตน์) เทพบุตรกู้บัลลังก์ - จิ่วถู (น.นพรัตน์) เทพบุตรสุวรรณ - อี่บุ้น (น.นพรัตน์) เทพบุตรทมิฬ - กอเกา (น.นพรัตน์) เทพบุตรยุทธจักร - โก้วเล้ง (กิตติพิรุณ) เทพพิชิตศึก - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) เทพมารสะท้านภพ - หวงอี้ (น.นพรัตน์) เทพยุทธ์ทะลุฟ้า - จวงหยาถิง (น.นพรัตน์) เทพทลายนภา - หวงอี้ (น.นพรัตน์) เทพยุทธ์เซียนกลอรี่ - หูเตี้ยหลาน (อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี) ทายาทมังกร - เซียวอิด (น.นพรัตน์) ทวนทะลวงศึก - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) ทวนทมิฬ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ทูตส่งวิญญาณ - ลิ้วชั้งเอี้ยง (น.นพรัตน์) == ธ == ธงชัยในบู๊ลิ้ม - ลิ้วชั้งเอี๊ยง (ว.ณ เมืองลุง) ธวัชล้ำฟ้า - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) == น == นักฆ่าท้าพสุธา - อี้บุ้น (น.นพรัตน์) นักฆ่านิรนาม - เซาเยียกปิง (น.นพรัตน์) นักฆ่าทระนง - เซียวเส็ก (น.นพรัตน์) นักฆ่ามหาประลัย - อ้อเล้งเซ็ง (ว.ณ เมืองลุง) นักบู๊เหยี่ยวคราม - แนปัง (น.นพรัตน์) นักบู๊ใจเพชร - เชาเยียกปิง (น.นพรัตน์) นักบู๊เลือดเหล็ก - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) นักสู้สลาตัน - ฉิ้งอั้ง (น.นพรัตน์) นักสู้ผู้เกรียงไกร - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) นักสู้คะนองศึก - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) นางพญาม้าขาว - กิมย้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อเรื่องเดียวกัน นางสิงห์คะนองศึก - โป้วอั้งเสาะ (ว.ณ เมืองลุง) นางสิงห์ตะลุยเลือด - โป้วอั้งเสาะ (ว.ณ เมืองลุง) นางสิงห์ประกาศิต - โป้วอั้งเสาะ (ว.ณ เมืองลุง) นครมรณะ - ตังอึ้งแปะ (น.นพรัตน์) นักล่ามหาประลัย - หวงอี้ (น.นพรัตน์) นางพญาอหังการ - จูกัวะแชฮุ้น (น.นพรัตน์) นางพญาผมขาว - เนี้ยอู้เซ็ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อเรื่องเดียวกัน == บ == บ้ออ้วงตอ (ดาบไร้วาสนา) - ลี่ฮุ้นเซ็ง (น.นพรัตน์) บันทึกชำระกระบี่ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) บ่อนพนันเบ็ดเงิน - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) บุปผามหาภัย - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) == ป == ประกาศิตจอมทระนง - ฮ้วมเล้ง (ว.ณ เมืองลุง) ประกาศิตจอมมาร - ฉิ่นอั้ง (ว.ณ เมืองลุง) ประกาศิตบุปผา - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) ประกาศิตอสูรฟ้า - เซาะงัง (น.นพรัตน์) ประกาศิตมฤตยู - ตั้งแชฮุ้น (น.นพรัตน์) แปดเทพอสูรมังกรฟ้า - กิมย้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ จำลอง พิศนาคะ มังกรหยก ภาคจบบริบูรณ์ ป้ายเหล็กประกาศิต - จูกัวะแชฮุ้น (น.นพรัตน์) == ผ == ผลาญโลกันต์ - เซาะงัง (น.นพรัตน์) ผู้กล้าหาญนิรนาม - ซีเบ๊เหล็ง (ว.ณ เมืองลุง) ผู้กล้าอาชาเหล็ก - หวังตู้หลู (น.นพรัตน์) ผู้หาญกล้าภูษาขาว - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) ผู้พิชิตดาราจักร - หวงอี้ (น.นพรัตน์) ผจญภัยข้ามขอบฟ้า - หวงอี้ (น.นพรัตน์) == ฝ == ฝ่าแดนเลือด - ฮ่วมเล้ง (น.นพรัตน์) ฝ่าความตาย - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) == พ == พญามังกรเจ็ดดาว - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) พญายมหน้าเย็น - เซียวเส็ก (น.นพรัตน์) พยัคฆ์น้อยคำรณ - เอ็กย้ง (ว.ณ เมืองลุง) พยัคฆ์คู่ผงาดฟ้า - เจิ้งฟง (น.นพรัตน์) พยัคฆ์เผด็จศึก - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) พยัคฆราชซ่อนเล็บ - เยี่ยกวน (น. นพรัตน์) พยัคฆราชซ่อนเล็บ ภาค 2 - เยี่ยกวน (น. นพรัตน์) พยากรณ์ประกาศิต - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) พระกาฬหน้าทอง - ลิ้วชั้งเอี้ยง (น.นพรัตน์) พระยมผยอง - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) เพ็กฮ่วยเกี่ยม - กิมย้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อเรื่องเดียวกัน เพชรฆาตหน้าหยก - เซียวเส็ก (ว.ณ เมืองลุง) เพชรฆาตลำพอง - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) เพชรฆาตโหด - ฮ่วมเล้ง (น.นพรัตน์) พ้วงเล้งเกี่ยม - ตั้งแชฮุ้น (น.นพรัตน์) พลิกฟ้ายุทธจักร - เซียงกัวเตี้ย (น.นพรัตน์) พายุทะเลทราย - โก้วเล้ง (น. นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง เผชิญภัยในทะเลทราย == ฟ == ฟันฝ่าเก้าชั้นฟ้า - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) ไฟรักไฟสงคราม - จิ่วถู (น.นพรัตน์) == ภ == ภูตบดีม่วง - เชาเยียกปิง (น.นพรัตน์) ภูษิตฟ้า - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) == ม == มรสุมยุทธจักร - ชิวมั่งฮุ้น (ว.ณ เมืองลุง) มรสุมโลหิต - เซาะงัง (ว.ณ เมืองลุง) มหายุทธ์ล้างปฐพี - ฉู่กั๋ว (ลี หลินลี่) มฤตยูแก้วผลึก - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) มฤตยูดำ - น่ำเซียงเอี้ยโซ่ว (น.นพรัตน์) มังกรคู่สู้สิบทิศ - หวงอี้ (น.นพรัตน์) มังกรคู่สู้สิบทิศภาคสมบูรณ์ - หวงอี้ (น.นพรัตน์) มังกรทลายฟ้า - กิมย้ง (น.นพรัตน์) มังกรฝ่ามรสุม - จูกัวแชฮุ้น (ว.ณ เมืองลุง) มังกรหยก - กิมย้ง (น.นพรัตน์) / สำนวนแปลของ น.นพรัตน์ ใช้ชื่อ ก๊วยเจ๋ง ยอดวีรบุรุษ และ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อ มังกรหยก ภาค 1 นอกจากนี้เป็นผลงานแปลเรื่องแรก ของ จำลอง พิศนาคะ มังกรหยก ภาค 2 - กิมย้ง (น.นพรัตน์) / สำนวนแปลของ น.นพรัตน์ ใช้ชื่อ เอี้ยก๊วย จอมยุทธ์เจ้าอินทรี และ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อ มังกรหยก ภาค 2 มังกรตัดพยัคฆ์ - ม่อย้งมุ้ย (น.นพรัตน์) มังกรแห่งแยงซี - จูกัวะแชฮุ้น (จำลอง พิศนาคะ) มีดบินกรีดฟ้า - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) มีดบินไม่พลาดเป้า - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง ฤทธิ์มีดสั้น มือปีศาจ - ลิ้วชั่งเอี๊ยง (ว.ณ เมืองลุง) มือมารล่าวิญญาณ - พัวเฮี้ยเล้าจู้ (น.นพรัตน์) มือเหล็กพิชิต - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) แม่น้ำเลือด - ฉั้งกอ (จำลอง พิศนาคะ) ไม่มีวันก้มหัวให้ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) มัจจุราชคะนอง - ลี้ฮุ้นเซ็ง (ว.ณ.เมืองลุง) มัจจุราชจำแลง - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) มัจจุราชประกาศิต - ตั้งแชฮุ้น (น.นพรัตน์) มาเฟียบู๊ลิ้ม - เชวียเยี่ยอู๋ถง (น.นพรัตน์) == ย == ยาพิษหฤหรรษ์ - โป้วอั้งเสาะ (ว.ณ เมืองลุง) ยมบาลที่สอง - ตัวอูอั้ง (น.นพรัตน์) ยอดขุนโจร - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ยอดมือปราบ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ยอดนักสู้เย้ยฟ้า - อี้บุ้น (น.นพรัตน์) ยอดนักบู๊ทะยานฟ้า - อ้อเล้งเซ็ง (น.นพรัตน์) ยอดบุรุษเหล็ก - เซียวอิด (น.นพรัตน์) ยอดยุทธพิภพเทวะ - โม่เหริน (หลินหยาง) ยอดยุทธ์ยอดทระนง - ฮุ้นตงงัก (น.นพรัตน์) ยอดคนมือพิษ - ซีเบ๊เหล็ง (น.นพรัตน์) ยอดศัสตรา - จิวนั้ง (น.นพรัตน์) ยมทูตจำแลง - อีบุ้น (น.นพรัตน์) ยันต์มฤตยู - กังน้ำกิ้ว (น.นพรัตน์) ยืมศพคืนวิญญาณ- โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ย้อนเวลาขึ้นเป็นอ๋อง - เยี่ยกวน (น.นพรัตน์) ย้อนเวลาขึ้นเป็นอ๋อง ภาค 2 - เยี่ยกวน (น.นพรัตน์) ยุทธจักรบูเซ็กเทียน - เยี่ยกวน (น.นพรัตน์) / ปัจจุบันยังแปลไม่จบชุด เล่มปัจจุบัน ออกเล่มที่ 13 จากทั้งหมด 25 เล่ม == ร == รอยแหน เงาจอมยุทธ์ - เนี่ยอู่เซ็ง (น.นพรัตน์) รอยสักกระโหลก - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) ราชายุทธจักร - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) == ฤ == ฤทธิ์วิชชุม่วง - อี้บุ้น (น.นพรัตน์) == ล == ล่าสุดขีด - โกวเล้ง (น.นพรัตน์) ล่าสุดนรก - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) ล่าสังหาร - จูกั๊วแชฮุ้น (น.นพรัตน์) เลือดอำมหิต - ตั้งแชฮุ้น (น.นพรัตน์) เลือดมัจจุราช - อาวเอี้ยงฮุ้นปวย (อ.ภิรมย์ / น.นพรัตน์) เลือดหลั่งสุดปลายฟ้า - ฮุ้นตงงัก (น.นพรัตน์) ล้างรอยเลือด - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) ล้างทรชน - อี่บุ้น (น.นพรัตน์) == ว == วังบาดาล - ชิวมั่งฮุ้น (ว.ณ เมืองลุง) วังปาฏิหาริย์ - ตั้งแชฮุ้น (น.นพรัตน์) วิถีดาบสั้น - อูตังเล้า (น.นพรัตน์) วิมานวาสนา - ชิเบ๊เซี่ยงฮัง (น.นพรัตน์) วิหคโลหิต - โก้วเล้ง (กิตติพิรุณ) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง นกแก้วสยองขวัญ วีรบุรุษสำราญ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) วีรบรุษเสเพล - ม่อย้งมุ้ย (ว.ณ เมืองลุง) วีรบุรุษหุ่น - ฉิ่นอั้ง (ว.ณ เมืองลุง) วีรบุรุษปาฏิหาริย์ - ชิวมั้งฮุ้น (ว.ณ.เมืองลุง) == ศ == ศึกรักแดนสนธยา - หวงอี้ (น.นพรัตน์) ศึกศรสวาท - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ศึกวังค้างคาว - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง ท่านค้างคาว ศึกวังน้ำทิพย์ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง ใช้ชื่อเรื่องเดียวกัน ศึกล้างแผ่นดิน - อ้อเล้งเช็ง (น.นพรัตน์) เศียรหมู่มังกร - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) == ส == สองพิสดารตำนานยุทธ์ - เจิ้งฟง (กิตติพิรุณ) สามกระบี่สาว - เนี่ยอู้เซ็ง (จำลอง พิศนาคะ) สู้สิบทิศ - ตั้งฮึงเง็ก (น.นพรัตน์) เส้นทางของจอมยุทธ - ซีเบ๊เล้ง (น.นพรัตน์) แส้สะบัดเลือด - เซาะงัง (น.นพรัตน์) สัประยุทธิ์ทะลุฟ้า - เทียนฉานกู่โต้ว (ลี หลินลี่) สองนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ปรมาจารย์ลัทธิมาร - โม่เซียงถงชิ่ว (อลิส) == ห == หงส์ผงาดฟ้า - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) หลักโลหิต - ตั้งแชฮุ้น (น.นพรัตน์) หลั่งเลือดสะท้านภพ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) หาญท้าชะตะฟ้า ปริศนายุทธจักร - มาวนี่ (น.นพรัตน์) หาญท้าชะตะฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2 - มาวนี่ (น.นพรัตน์) เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ - หวงอี้ (น.นพรัตน์) เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ - หวงอี้ (น.นพรัตน์) เหยี่ยวมารสยบสิบทิศ - หวงอี้ (น.นพรัตน์) เหยี่ยวนรกทะเลทราย - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) เหยี่ยวทมิฬ - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) / ผลงานแปลของ ว.ณ.เมืองลุง เหยี่ยวเดือนเก้า เหล็กคลั่งเลือด - ฮุ้นตงงัก (น.นพรัตน์) แหวกฟ้าประหารมาร - ม่อย้งมุ้ย (น.นพรัตน์) หมัดพิฆาต - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) หงสาฝ่ายุทธจักร - อุนสุยอัน (น.นพรัตน์) หุบเขาเลือด - ชึ้งเจ็ง (น.นพรัตน์) ห่วงมากรัก- โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) หมู่ตึกภูตพราย - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) ห้วงมฤตยู - อึ้งเอ็ง (น.นพรัตน์) หัตถ์ทมิฬ - กิมอู้ (น.นพรัตน์) == อ == อัศวินม้าขาว - เชาเยียกปิง (น.นพรัตน์) อินทรีผงาดฟ้า - โก้วเล้ง (น.นพรัตน์) อุ้ยเสี่ยวป้อ - กิมย้ง (น.นพรัตน์) อินทรีแดง - ม่อย้งมุ้ย (ส.เรืองอรัญ) อสูรมหากาฬ - อ้อเล้งเซ็ง (ว. ณ เมืองลุง) อัจฉริยะหน้าหยก - เซียวเส็ก (น. นพรัตน์) อินทรีกาญจนา - เซียวเส็ก (น. นพรัตน์) == อ้างอิง == นิยายกำลังภายใน
thaiwikipedia
135
เซียวฮื้อยี้
เซียวฮื้อยี้ (绝代双骄 - 绝代双骄) เป็นนิยายกำลังภายใน แต่งโดย โก้วเล้ง == รายชื่อตัวละคร == เซียวฮื้อยี้ : เซียวฮื้อยี้ (江小魚 - Jiang Xiao Yu) เป็นเด็กหนุ่มอายุ 15 ที่เก่ง ฉลาด ความจำเป็นเลิศ เขาเติบโตโดยการเลี้ยงดูของ 5 คนโฉด คือ โต่วซัวะ ฮาฮายี้ ลี้ตั่วฉุ่ย ตู้เกียวเกียว และ อิมเก้าฮิว และได้รับการดูแลโดย หมอบ้วงชุนลิ้ว เซียวฮื้อยี้จึงเป็นคนที่ ทันคน ผู้ที่นำเขามาที่หุบเขาคนโฉดคือ อี่น่ำเทียน ฮวยบ่อข่วย :ฮวาอู๋สเวี่ย (花無缺 - Hua Wu Que) หรือ ฮวยบ้อข้วย เป็นพี่ชายฝาแฝดกับเซียวฮื้อยี้ซึ่งถูกเอียวง้วยลักพาตัวไปตอนเกิด ฉายาเทพบุตรหน้าหยก หน้าตาหล่อเหลากว่าเซียวฮื้อยี้ มีฝีมือสูงมาก ถูกฝึกให้เป็นคนเย็นชา แต่ภายหลังตกหลุมรักทิซิมลั้ง อี่น่ำเทียน :เยี่ยนหนานเทียน (燕南天 - Yan Nan Tian) เป็นพี่ชายร่วมสาบานของบิดาของเซียวฮื่อยี้และฮวยบ่อข่วย มีวรยุทธ์สูง แต่เนื่องจากเหตุการณ์ที่บุกเข้าไปในหุบเขาคนโฉด ทำให้ถูกเล่นงานจนมีสภาพครึ่งเป็นครึ่งตาย ทิซิมลั้ง เถี่ยซิงหลาน (鐵心蘭 - Tie Xinlan) สนิททั้งเซียวฮื่อยี้และฮวยบ่อข่วย ใจกลับรักเซียวฮื่อยี้มากกว่า ต่อมาก็มาลงเอยกับฮวยบ่อข่วยปรากฏตัวครั้งแรกในเซียวฮื้อยี้เล่มที่หนึ่ง เตียเจ็ง : ในนิยายนั้น เธอเป็นเป็นหญิงสาวผู้งดงาม จึงมีฉายาว่าเทพธิดาน้อย มีวรยุทสูง ฉลาด แต่สู้เซียวฮื้อยี้ไม่ได้ ภายนอกของเธอดูเป็นหญิงสาวผู้โหดร้ายแล้งน้ำใจ แต่ความจริงแล้วภายในจิตใจของเธอกลับเป็นหญิงสาวที่มีจิตใจอันงดงาม และใจดี เธอต้องการตามหาแผนที่สมบัติของอี่น้ำเทียน(ในภายหลังพบว่าเป็นของปลอม) ทำให้เธอได้พบกับ ทิซิมลั้ง และเซียวฮื้อยี้ และได้เสียจูบแรกให้กับเซียวฮื้อยี้ จึงทำให้เธอต้องการตามฆ่าเซียวฮื้อยี้เพื่อล้างแค้น ในภายหลังได้ลงเอยกับกู่นั่งเง็ก โดยหนังนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย โดยให้มีฉายาพริกขี้หนู นิสัยเจ้าเล่ แก่นแก้ว แม้จะทำตัวเกินงามไม่เหมว่าอนกุลสตรี แต่นิสัยดีมักถูกเซียวฮื้อยี้ ปั่นหัวบ่อยๆ โซวเอ็ง : นางเอกของเรื่อง โผล่มาตอนเกือบจะท้ายเรื่อง มีลูกเล่นมากมายพอที่จะตามเซียวฮื้อยี้ทัน และพยายามตามตื๊อเซียวฮื้อยี้จนอยู่หมัด ม่อย้งเก้า : เป็นลูกสาวสุดท้อง(คนที่9) ของสกุล ม่อย้ง มีความฉลาดเฉลียว แต่เย็นชา เนื่องจากเธอได้ฝึกวิชามารแขนงหนึ่ง ในตอนแรกม่อย้งเก้ามีใจให้กับเซียวฮื้อยี้อยู่บ่าง เนื่องด้วยความฉลาดของเซียวฮื่อยี้ ต่อมาเซียวฮื้อยี้ได้ทำลายตำราวิชามารของเธอ ทำให้ม่อย้งเก้าต้องการตามฆ่าเซียวฮื่อยี้ กังคิ้ม : กังคิ้ม มีอีกชื่อหนึ่งคือ กังเปียกเฮาะ เดิมทีเป็นเด็กรับใช้ให้กับกังปัง (ฉายาเง็กนึ้งหรือบุรุษหยก) แต่ต่อมาทรยศนายของโดยการบอกข่าวให้กับประมุขวังบุปผา ว่ากังปังกับฮวยง้วยโน้วได้หนีออกไป จึงเป็นเหตุให้ผัวเมียกังปังต้องตาย ก่อนที่ง้วยโน้วจะตาย ได้ให้กำเนิดทายาทสองคน คือเซียวฮื่อยี้ และฮวยบ่อข่วย กังคิ้มหนีไปสมคบกับเว่ยอู๋หยา แห่ง12นักษัตร และทำงานรับใช้จนรำรวยและมีหน้ามีตาในที่สุด และได้เปลี่ยนชื่อตนเองจากกังคิ้ม เป็นกังเปียกเฮาะ เพราะเป็นคนที่มักจะสร้างภาพว่าเป็นคนมีคุณธรรมอยู่บ่อยๆ จึงมีจอมยุทธมากหน้าหลายตาพากันนับถือ และตั้งฉายาว่าวีรบุรุษแห่งขุนเขาบ้าง,อี่น่ำเทียนคนที่สองบ้าง กังเง็กนึ้ง เป็นลูกชายของกังคิ้ม เป็นคนที่เจ้าเล่ห์ไม่แพ้ผู้เป็นพ่อ มักจะเป็นคู่ปรับกับเซียวฮื่อยี้อยู่ตลอดเวลา สิบเจ้าจอมโฉด : เป็นชื่อที่ใช้เรียกจอมยุทธ์ฝ่ายอธรรมสิบคนที่ขึ้นชื่อว่าโฉดชั่วที่สุดในยุคนั้น ห้าในจำนวนนั้นเป็นคนที่เลี้ยงดูเซียวฮื่อยี้มา == รายชื่อกลุ่มตัวละคร == สิบคนโฉด วังบุปผา : เป็นสำนักลึกลับในยุทธภพ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดทั้งธรรมะและอธรรม กล่าวกันว่าไม่มีใครรู้จักที่ตั้งของวังบุปผา เพราะว่านอกจากคนของวังบุปผา ใครก็ตามที่ได้ล่วงล้ำเข้าไปโทษคือตายสถานเดียว วังบุปผาตั้งอยู่ในหุบเขาลึกลับแห่งหนึ่ง ทัศนียภาพงดงามราวภาพวาด บริเวณรอบๆวังมีดอกไม้หายากขึ้นอยู่เป็นร้อยๆชนิด ภายในดูแลเข้มงวด การอยู่อาศัย อาหารการกินอุดมสมบูรณ์และมั่งคั่งราวกับวังหลวงของฮ่องเต้ แต่มีแต่ศิษย์และสาวกที่เป็นผู้หญิงเท่านั้น วังบุปผามีหญิงสาวสองคนปกครอง คนพี่ชื่อเอี้ยง้วย (เอื้อมเดือน)เป็นประมุข คนน้องชื่อ เลี้ยงแช (สอยดาว) เป็นรองประมุข สองพี่น้องมีวรยุทธสูงส่งจนเป็นที่เกรงขามของสำนักน้อยใหญ่ในยุทธภพ ว่ากันว่าวรยุทธทั่วหล้าแพ้ทางวรยุทธของวังบุปผา อันได้แก่ พลังหยกอำไพ ยอดวิชาที่สามารถดูดซับพลังของศัตรูมาเป็นของตัวเอง เด็ดบุปผาต่อหยก คือวิชาที่สามารถหยิบยืมวรยุทธของศัตรูโต้ตอบกลับไปยังตัวผู้ใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีวิชาพิสดารอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น สิบแปดท่าเท้าต้องอาภรณ์ วิชาบุปผาหยก พลังธรรมพิสุทธิ์ เคลื่อนบุปผาบรรจบ ฯลฯ เป็นต้น และฮวยบ่อข่วย ผู้ชายเพียงคนเดียวที่เป็นศิษย์ของวังบุปผา สิบสองนักษัตร : == รายชื่อตอน == เซียวฮื้อยี้ งานเขียนของโก้วเล้ง
thaiwikipedia
136
มังกรหยก
มังกรหยก (อักษรจีนตัวเต็ม: 射鵰英雄傳; อักษรจีนตัวย่อ: 射雕英雄传; พินอิน: shè diāo yīng xióng zhuàn) เป็นนิยายกำลังภายในชื่อดังและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเรื่องหนึ่ง แต่งโดยกิมย้ง มีภาคต่อในชุดเดียวกันอีกสองภาค คือ มังกรหยก ภาค 2 และดาบมังกรหยก แต่ชื่อเรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้นแยกกันเป็นคนละเรื่อง (ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ คือ The Legend of the Condor Heroes หรือ The Eagle-Shooting Heroes) มีการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกเกือบร้อยปีข้างหน้าต่อจากภาคเอี๊ยก้วย == เนื้อเรื่องย่อ == เรื่องราวเกิดในยุคราชวงศ์ซ้องใต้ รัชสมัยพระเจ้าซ้องหลีจง (พ.ศ. 1767-1807) แผ่นดินจีนเสื่อมโทรมในทุกด้าน อาณาประชาราษฎร์ยากแค้นลำเค็ญ ขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงชาวจีนด้วยกัน เกี่ยวกับการผจญภัยของเด็กหนุ่มชื่อ "เจ๋ง" ที่เติบโตขึ้นมาในดินแดนของ มองโกล และเดินทางกลับสู่ยุทธจักรในประเทศจีน ได้พบกับอึ้งย้ง ยังได้ฝึกวิชาต่าง ๆ มากมาย ขับไล่พวกมองโกลจากแผ่นดินจีน ก๊วยเซาเทียน และ เอี้ยทิซิม พี่น้องร่วมสาบาน ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นกบฏ พวกเขาต่อต้านการจับกุม เข้าสู้พวกทหารที่กลุ้มรุม กระทั่งก๊วยเซาเทียนเสียชีวิต บ้านเรือนถูกเผาผลาญย่อยยับ เอี้ยทิซิม หลีเพ้ง ภรรยาก๊วยเซ่าเทียน และ เปาเซียะเยียก ภรรยาเอี้ยทิซิม หนีกระเซอะกระเซิงไปคนละทิศละทาง ผู้หญิงทั้งสองกำลังตั้งครรภ์ หลีเพ้งให้กำเนิด ก๊วยเจ๋ง ระเหเร่ร่อนไปเติบใหญ่ในแผ่นดินมองโกลใต้ร่มใบบุญเจงกิสข่านผู้ยิ่งใหญ่ ขณะที่เปาเซียะเยียกให้กำเนิด เอี้ยคัง ได้ดีมีสุขในวังไต้กิมก๊กของชาวนีเจิน ทั้งมองโกลและนีเจิน ล้วนเป็นศัตรูผู้รุกรานและต้องการยึดครองแผ่นดินตงง้วน ก๊วยเจ๋งและเอี้ยคังเติบโตขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมและการบ่มเพาะที่ต่างกัน จึงมีพฤตินิสัยไปคนละแบบ ก๊วยเจ๋งได้รับการสั่งสอนย้ำเตือนจาก หลีเพ้ง ผู้เป็นมารดา และ เจ็ดประหลาดกังหนำ ผู้เป็นอาจารย์ ให้แก้แค้นแทนบิดา และยึดมั่นในจิตวิญญาณจีน จึงยินยอมสะบั้นไมตรีกับพวกมองโกล ก็ไม่ยินยอมทำร้ายแผ่นดินตงง้วน อันเป็นมาตุภูมิ ขณะที่ เอี้ยคัง หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ ยินยอมรับศัตรูเป็นบิดา กระทั่งยังกล้าย่ำยีบีฑาชาวชนเชื่อชาติเดียวกัน มังกรหยกถูกนักวิชาการด้านจีนศึกษาจำนวนมากวิเคราะห์ว่าแฝงด้วยเนื้อหาชาตินิยมและเชื้อชาตินิยมของพวกฮั่น == ตัวละครในเรื่อง == ก๊วยเจ๋ง จอมยุทธอุดร ยอดวีรบุรุษแห่งตงง้วน (เป็นคนเรียนรู้ได้ช้า มีความคิดอ่านไม่ปราดเปรื่อง แต่เป็นคนสัตย์ซื่อและมีความขยัน จึงได้รับการเอ็นดูจากจอมยุทธมากมายจึงถ่ายทอดวิชาให้ มีสัญลักษณ์สลักคำว่าเอี๊ยคัง ผู้เป็นบิดาสลักไว้ให้ติดตัวมาตั้งแต่เด็กหลังบิดาตาย) ก๊วยเซาเทียน ผู้เป็นบิดาจอมยุทธก๊วยเจ๋ง และ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเอี๊ยทิซิม (ผู้เป็นบิดาของเอี๊ยคัง) หลีเพ้ง มารดาของก๊วยเจ๋ง หลังจากสามีได้ถูกสังหารจากสงคราม ได้หนีไปชายแดนและได้ทัพมองโกลอุปการะเลี้ยงดูไว้ทั้งแม่และลูก อึ้งย้ง หรือยงยี้ ได้รับฉายาว่าขงเบ้งหญิง (เนื่องจากมีปัญญายอดเยี่ยม) และยังได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดสตรีศรีต้งง้วนอีกด้วย ธิดาของมารบูรพา (อึ้งเอี๊ยะซือ) ภรรยาของ (ก๊วยเจ๋ง) ก๊วยพู้ บุตรสาวคนโตของก๊วยเจ๋ง มีนิสัยชอบเอาแต่ใจไม่ชอบเอี้ยก้วย ภายหลังได้รับการช่วยชีวิตจาก เอี๊ยก้วย ก๊วยเซียง บุตรสาวคนเล็กของก๊วยเจ๋ง น้องสาวฝาแฝดของก๊วยพั่วลู่ มีนิสัยดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น ซุกซนขี้เล่น แอบชอบเอี๊ยก้วย (ผู้ก่อตั้งสำนักง้อไบ้ ในมังกรหยก ภาค3 หรือ กระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร) ก๊วยพั่วลู่ หรือ ก๊วยพั่วโล้ น้องชายของก๊วยพู้ และเป็นน้องฝาแฝดของก๊วยเซียง เอี้ยก้วย บุตรชายของเอี๊ยคัง (หลังจากบิดาและมารดาเสียชีวิต มารดาได้ฝากไว้ให้กับก๊วยเจ๋งเลี้ยงดูแต่ได้มีเรื่องกับศิษย์ของ ก๊วยเจ๋งและบุตรสาวคนโตของก๊วยเจ๋ง (ก๊วยพู้) อยู่บ่อยๆ อึ้งยง ได้ให้ ก๊วยเจ๋ง นำไปฝากไว้กับนักพรตช้วนจินก่าเลี้ยงดูและสั่งสอน อึ้งยง เห็นว่ามีนิสัยคล้าย ๆ เอี๊ยคังผู้เป็นบิดาจึงกลัวว่าเติบโตมาแล้วจะเป็นคนไม่ดีและยังไม่อยากให้ก๊วยเจ๋งต้องมากังวลกับปัญหาอื่นๆในช่วงบ้านเมืองกำลังวุ่นวาย) เซียวเหล่งนึ่ง ศิษย์สำนักสุสานโบราณ ผู้ที่เลี้ยงดูและช่วยเอี๊ยก้วยหลังจากที่เอี๊ยก้วยโดนใส่ร้ายและขับออกจากช้วนจินก่าและยังถูกทำร้ายโดยพิษอีกด้วย เปรียบเหมือนพี่สาวและยังเป็นคนรักเอี๊ยก้วยอีกด้วย มีอายุมากกว่าเอี๊ยก้วย 4 ปี แต่หน้าตากลับดูเยาว์วัยเหมือนยังสาว เอี๊ยคัง ผู้เป็นบิดาเอี้ยก้วย นิสัยไม่ดี ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างตามใจ (พกมีดสั้นที่มีสัญลักษณ์สลักคำว่าก๊วยเจ๋ง ผู้เป็นบิดาสลักไว้ให้ติดตัวมาตั้งแต่เด็กหลังบิดาตาย) เปาเซียะเยียก มารดาของเอี๊ยคัง หลังจากสามีได้ถูกสังหารจากสงคราม อ๋องชาวนีเจินชอบพอจึงให้การอุปการะเลี้ยงดูไว้และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮูหยินแต่นางรักเดียว ใจเดียว เท่านั้น เอี๊ยทิซิม ผู้เป็นบิดาเอี้ยคัง และ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับก๊วยเซาเทียน (ผู้เป็นบิดาของก๊วยเจ๋ง) เจ็ดประหลาดกังหนำ มีด้วยกันเจ็ดคนชาย 6 หญิง 1 ได้ตามหาก๊วยเจ๋งและรับก๊วยเจ๋งเป็นศิษย์ตั้งแต่ยังเด็ก ยังเอ็นดู ก๋วยเจ๋ง มากเปรียบเหมือนลูกหลานคนหนึ่ง อาวเอี๊ยงเค็ก หลานชายของอาวเอี๊ยงฮง ตั้งเฮี้ยงฮวง ลมทมิฬคู่พิฆาต ฉายา ศพทองแดง บ๊วยเถี่ยวฮวง หรือ เหมยเชาฟง ลมทมิฬคู่พิฆาต ฉายา ศพเหล็ก เค็กซา หรือ ซ่ากู หรือ โถว โถว บุตรสาวของ เค็กเล้งฮวง ศิษย์อึ้งเอี๊ยะซือ นางมีสติไม่สมประกอบ พอมีวรยุทธอยู่บ้างจากบิดาสอน ต่อมาได้มาอาศัยที่เกาะดอกท้อเนื่องจาก ก๊วยเจ๋งและอึ้งยงไปตามหาตัวเค็กเล้งฮวงแต่ไม่เจอ เจอเพียงจดหมาย และ เค็กซา จึงได้พามาที่เกาะดอกท้อและได้รับการเลี้ยงดูและสอนวรยุทธนิดหน่อยจาก อึ้งเอี๊ยะซือ เนื่องจาก อึ้งเอี๊ยะซือ สำนึกผิดที่ได้ตัดเอ็นร้อยหวาย เค็กเล้งฮวง เพราะความโกรธ อ้วนง้วนอั้งเลียก อ๋องแห่งกิมก๊ก หรือ ไต้กิม เจงกิสข่าน จ้าวแห่งทัพมองโกล ได้อุปการะเลี้ยงดูแม่ของก๋วยเจ๋ง และ ก๋วยเจ๋ง หลังจากบิดาก๋วยเจ๋ง (ก๊วยเซาเทียน) เสียชีวิตลง ซัวทงเทียน (พญามังกรประตูปิศาจ) โฮ้วทงไฮ้ (มังกรสามหัว) แพ้เลี่ยงโฮ้ว (เพชรฆาตรพันมือ) เนี่ยจื้ออง (เฒ่าประหลาดเซียนโสม) เล้งตี่เซี่ยงหยิน เอ็งโกว หรือสนมเล่า (ฉายาเทพคำนวณ) อดีตพระสนมอ๋องต้วน ต้วนตี่เฮง (อิดเต็งไต้ซือ) แต่ได้ไปมีสัมพันธ์กับ จิวแป๊ะทง และได้มีลูกด้วยกัน 1 คน แต่ลูกนางได้โดน ฮิ้วโชยยิ่ม ลอบทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงได้ไปขอให้ ต้วนตี่เฮง (อิดเต็งไต้ซือ) ใช้ ดัชนีเอกสุริยันต์ ช่วยลูกของนาง แต่กลับไม่ยอมช่วยเนื่องจาก ไม่พอใจและโกรธนางเพราะไปมีสัมพันธ์กับ (จิวแป๊ะทง) จนทำให้ลูกนางตายลง นางจึงเสียใจอย่างมากและหนีไป และเปลี่ยนชื่อ เป็น เอ็งโกว จิวแป๊ะทง หรือเฒ่าทารก เป็นศิษย์น้องของ เฮ้งเตงเอี้ยง มีนิสัยร่าเริง บ้าๆ บอๆ เหมือนเด็กทารก ต่อมาได้ไปมีสัมพันธ์กับ เอ็งโกว และมีลูกด้วยกัน 1 คน ตอนที่ ต้วนตี่เฮง(อิดเต็งไต้ซือ) ให้ติดตามไปด้วยเพื่อตามหา คัมภีร์เก้าอิม ที่เฮ้งเตงเอี้ยง ซ่อนไว้ แต่ด้วยนิสัยของเขาจึงไม่รู้ว่าเขามีลูกกับเอ็งโกว เซียมตัง (ชาวประมง) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ บู๊ซำทง (กสิกร) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ จูจื้อลิ้ว (นักศึกษา) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ ฮิ้วโชยยิ่ม (ฝ่ามือเหล็กพริ้วบนสายน้ำ) ประมุขพรรคฝ่ามือเหล็กมีฝีมือเก่งกาจ เป็นฝาแฝดกับ (ฮิ้วโชยตึ๋งผู้เป็นพี่) ฮิ้วโชยตึ๋ง พี่ของฮิ้วโชยยิ่ม มีนิสัยชอบหลอกลวงลักเล็กขโมยน้อย ขู่กรรโชก แต่ไม่มีวรยุทธ์ จึงชอบแอบอ้างชื่อน้องตัวเอง (ฮิ้วโชยยิ่ม) ซึ่งเป็นฝาแฝด === ห้ายอดฝีมือแห่งยุค === เฮ้งเตงเอี้ยง (เทพมัชฌิม หรือ กลางอิทธิฤทธิ์) ผู้ก่อตั้งสำนักช้วนจินก่า ได้รับการยอมรับว่ามีฝีมือสูงที่สุดในห้ายอดฝีมือ ภายหลังหายสาบสูญ ผู้ครอบครอง คัมภีร์เก้าอิม วรยุทธ์ที่เด่นชัด เพลงกระบี่ช้วนจิน อึ้งเอี๊ยะซือ (มารบูรพา หรือ ตังเซี้ย- บางฉบับใช้ ภูตบูรพา) เป็นบิดาของอึ้งย้ง และเป็นประมุขเกาะดอกท้อ บิดาของอึ้งย้ง(ยงยี้) หรือ พ่อตาของก๊วยเจ๋ง วรยุทธที่เด่นชัด ฝ่ามือเทพกระบี่สยบผู้กล้า เพลงกระบี่ขลุ่ยหยกมังกรทะยาน ฝ่ามือปัดจุดกล้วยไม้ เพลงเตะพายุรวบใบไม้ และ ยอดวิชานิ้วดีด อั้งฉิกกง (ยาจกอุดร หรือปักข่าย- บางฉบับใช้ ขอทานเหนือ หรือ ยาจกเก้านิ้ว) ประมุขพรรคกระยาจก วรยุทธที่เด่นชัด เพลงไม้เท้าตีสุนัข(เป็นวรยุทธที่สืบทอดเฉพาะประมุขพรรคกระยาจก) และ 18ฝ่ามือพิชิตมังกร อิดเต็งไต้ซือ (ราชันย์ทักษิณ หรือน่ำเต้- บางฉบับใช้อ๋องแดนใต้,ราชันย์ต้วน) เป็นอดีตจักรพรรดิแซ่ต้วนแห่งไต้ลี้ หรือ ต้าหลี่ วรยุทธที่เด่นชัด ดัชนีเอกสุริยันต์ อาวเอี๊ยงฮง (พิษประจิม หรือไซตั๊ก) จ้าวแห่งการใช้พิษ ผู้อยู่เหนือพิษทั้งปวง วรยุทธที่เด่นชัด เพลงไม้เท้าอสรพิษ กระบวนท่าลมปราณคางคกพิษ === สำนักช้วนจินก่า === นักพรตทั้ง 7 แห่งนิกายช้วนจินก่า ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจากเฮ้งเต็งเอี้ยง คือ เบ้เง็ก ฉายา ตั้งเอี้ยงจื้อ - เจ้าสุริยัน ศิษย์คนที่ 1 ของเฮ้งเต็งเอี้ยง และเป็นเจ้าสำนักต่อจากเฮ้งเต็งเอี้ยง คูชู่กี ฉายา เชี่ยงชุนจื้อ - ผู้อมตะ มีพลังฝีมือสูงสุดในบรรดานักพรตทั้ง 7 คน เฮ้งชู่อิด ฉายา เง็กเอี้ยงจื้อ - อาทิตย์หยก มีฝีมือสูงส่งในสำนักป็นรองเพียงคูชู่กี ท่ำชู่ตวน ฉายา เชี่ยงจินจื้อ - คนจริงยืนยาว เล่าชูเหียน ฉายา เชี่ยงแชจื้อ - คนจีรัง ฮึ่งไต้ฮง ฉายา ก้วงเล้งจื้อ - ผู้ไพศาล ซุนปุกยี่ ฉายา เช็งเจ็งซั่วยิ้น - ผู้วิสุทธิ์พเนจร นักพรตหญิงแห่งชวนจิน === เจ็ดประหลาดแห่งกังหนำ === ประกอบด้วย ค้างคาวเหิน กัวเต็งอัก (Ke Zhen'e) เป็นคนเข้มงวดแต่จริงใจ มีวรยุทธสูงสุดในเจ็ดประหลาดกังหนำ ภายหลังตาบอด วิชาที่ใช้ไม้เท้าวชิระ บัณฑิตมือวิเศษ จูชง (Zhu Cong) มีปัญญาล้ำเลิศในระดับหนึ่ง และมีความสามารถในการฉกขโมยของ เทพอาชา หันปอกือ (Han Baoju) มีความสามารถในการดูม้า และ วิธีการสยบม้าและการใช้ห่วงคล้องม้า คนตัดฟืนเขาทักษิณ น่ำฮียิ้น (Nan Xiren) มีพละกำลังสูง ร่างกายแข็งแรง อรหันต์ยิ้ม เตียวอาแซ (Zhang Ahsheng) เป็นคนร่าเริ่ง ใจดี มีวรยุทธอยู่ในระดับหนึ่ง ผู้ซ่อนกายกลางตลาด ช้วนกิมฮวด (Quan Jinfa) มีความสารถในการปลอมตัวสูง นักกระบี่หญิงแคว้นอ้วก หันเสียวย้ง (Han Xiaoying) เป็นจอมยุทธสาวคนเดียวใน 7 ประหลาดกังหนำ เก่งเรื่องการใช้กระบี่ และยังเป็นสาวงามอีกด้วย วิชาที่ใช้เพลงกระบี่แคว้นอ้วก === นิกายเม้งก่า === นิกายเม้งก่า (พรรคจรัสหรือพรรครุ่งเรือง) - โดยมาจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ของเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านปัจจุบัน) บูชาเทพอัคคี จากการเกิดการแก่งแย่งในนิกายเพื่อค้นหาผู้นำทำให้นิกายเกือบล่มสลาย หลังจากนั้นไม่นาน บ่อกี๋ได้รับมาเป็นประมุข นิกายจึงเจริญขึ้นและยิ่งใหญ่ในยุทธภพ ภายในนิกายบังคับบัญชาในระบบอาวุโส คือ ประมุข ทูตซ้าย-ขวา สี่ผู้คุมกฎ ได้แก่ มังกรเสื้อม่วง อินทรีคิ้วขาว ราชสีห์ขนทอง ค้างคาวปีกเขียว รองลงมาก็คือ ห้าพเนจร ในด้านกำลังพล มีห้ากองธง และมี “จูหยวนจาง (จูหงวนจัง)” เป็นผู้กุมกำลังพล ภายหลังคนผู้นี้ ได้ทรยศบ่อกี๋ และนำกำลังของนิกายขับไล่มองโกลออกไปจากต้าซ้องได้สำเร็จ แล้วสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งชื่อราชวงศ์ก็มาจากชื่อของนิกายเม้งก่านั่น ==ฉบับภาษาไทย== ฉบับแปลภาษาไทยมีหลายสำนวน โดยมีการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้ชื่อว่า "วีรบุรุษมือธนู" โดยผู้แปลใช้นามปากกว่า ปากกาผุ และผู้ที่แปลอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์คนแรก คือ จำลอง พิศนาคะ ในปี พ.ศ. 2500 และหากยึดตามฉบับที่ลิขสิทธิ์ถูกต้องแปลโดย น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า "ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 4 เล่มจบ และได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกหลาย ๆ ปีข้างหน้าต่อจากเอี๊ยก้วย ==การดัดแปลงในสื่ออื่น== ===ภาพยนตร์=== ===ละครโทรทัศน์=== มังกรหยกภาคก๊วยเจ๋ง สร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 7 ครั้ง (1976-2017) โดยทั้งเจ็ดครั้งเป็นงานสร้างของ ฮ่องกง สร้าง 3 ครั้ง คือ มังกรหยก 1976, มังกรหยก 1983 และ มังกรหยก 1994 ไต้หวัน สร้าง 2 ครั้ง คือ มังกรหยก 1988 และ มังกรหยก 2018 จีน สร้าง 2 ครั้ง คือ มังกรหยก 2003 และ 2017 มังกรหยกภาคก๊วยเจ๋ง สร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 7 ครั้ง (1976-2017) ส่วนอีกสามเรื่องในตารางดังต่อไปนี้ เป็นการเขียนบทขึ้นมาเองโดยทีวีบี โดยไม่ใช่บทประพันธ์ของกิมย้ง แต่ใช้ชื่อตัวละครในมังกรหยก มาดัดแปลงเขียนขยายบทเอง ซึ่งทั้งสามเรื่องนี้เป็น มังกรหยกภาคพิเศษ ได้เแก่ === หนังสือมังกรหยก ที่พิมพ์ในประเทศไทย === มังกรหยก มีจัดพิมพ์ 3 สำนักพิมพ์ ช่วงปี 2535 - 2538 - สำนักพิมพ์ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ แปลโดย จำลอง พิศนาคะ พร้อมกล่อง - สำนักพิมพ์ สยามสปอร์ต แปลโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์ออกมา 3 ภาค ไม่มีกล่อง ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 1 ก๋วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 2 เอี้ยก้วยเจ้าอินทรี ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 3 ดาบมังกรหยก - สำนักพิมพ์ดอกหญ้า แปลโดย ว. ณ เมืองลุง จัดพิมพ์ออกมา 2 ภาค พร้อมกล่อง มังกรเจ้ายุทธจักร อินทรีเจ้ายุทธจักร ==อ้างอิง== บันเทิงคดีกำลังภายใน มังกรหยก งานเขียนของกิมย้ง วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2500
thaiwikipedia
137
ทัช
ทัช หรือในชื่อไทยว่า ทัช ยอดรักนักกีฬา เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องยาว ที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง เนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่น และกีฬาเบสบอล ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะวัยรุ่น โดยมีตัวละครหลักพี่น้องฝาแฝด ทัชซึยะ และ คัทซึยะ และ มินามิ เพื่อนสาวข้างบ้าน ที่ครอบครัวสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก และมีสุนัขตัวอ้วนขนฟู ชื่อ ปันจิ เขียนโดย มิซึรุ อาดาจิลิขสิทธิ์ในญี่ปุ่นเป็นของโชงะกุกัง และในประเทศไทยเป็นของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ทัชได้เคยเข้ามาฉายในเมืองไทยทางช่อง 5 == เนื้อเรื่อง == ครอบครัวสองครอบครัวที่สนิทสนมกันมาก บ้านอุเอซึกิมีลูกชายฝาแฝด คืออุเอซึกิ ทัชซึยะ(ทัช)ผู้พี่ และอุเอซึกิ คัทซึยะ(คัท)ผู้น้อง บ้านอาซากุระ มีลูกสาวคืออาซากุระ มินามิ ทั้งสามคนเป็นเพื่อนเล่นที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ คัทเป็นเด็กหัวดี เล่นกีฬาเก่ง ส่วนทัชมีบุคลิคที่เอื่อย ๆ บางครั้งฉลาดแกมโกง มีพรสวรรค์ด้านกีฬาแต่ค่อนข้างขี้เกียจ และเนื่องจากความซนของทั้งสาม พ่อแม่จึงสร้างบ้านกลาง ไว้เป็นที่ทำการบ้านและเล่นของทั้งสาม ครั้งหนึ่งที่ได้ดูการถ่ายทอดสดเบสบอลโคชิเอ็ง การแข่งนั้นทำให้มินามิประทับใจมากและตั้งความหวังว่าซักวันทัชจะได้ไปแข่งในฐานะเอส( พิชเชอร์ ) ที่โคชิเอ็ง เมื่อเข้าสู่ชั้นมัธยมต้นปีสุดท้ายคัทซึ่งฝึกซ้อมเบสบอลอย่างหนัก เป็นนักกีฬาความหวังของโรงเรียนเมย์เซย์ที่จะพาโรงเรียนไปแข่งระดับประเทศ ในระดับมัธยมปลาย คัทได้เข้าชมรมเบสบอลเมย์เซย์ มีเพื่อนร่างใหญ่คู่หูแคชเชอร์คือมัตซึอิระ โคะทะโร ส่วนทัชเข้าชมรมมวยมีเพื่อนที่มักเจอบ่อยๆ คือฮาราดะจอมอึด ส่วนมินามิ รับเป็นผู้จัดการทีมเบสบอล การแข่งรอบคัดเลือกได้เข้ามาสู่นัดสุดท้ายเพื่อชิงตั๋วไปโคชิเอ็ง โดยเจอกับทีม ซึมิโคเงียว ซึ่งนำทีมโดยท้อปพัตเตอร์ นิตตะ อาโอกิ แต่คัทซึย่า ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตก่อนการแข่งขัน แม้เมย์เซย์จะสู้อย่างสุดชีวิตแต่กลับแพ้ อดไปโคชิเอ็งอย่างน่าเสียดาย หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น ทัชตัดสินใจเข้าชมรมเบสบอล เพื่อสานฝันของมินามิ ที่จะไปโคชิเอ็ง โดยรับตำแหน่งเดิมของคัท แม้แรก ๆ เพื่อนร่วมทีมโดยเฉพาะมัตซึอิระ โคะทะโร จะไม่ค่อยยอมรับแต่ทัชนั้นมีการขว้างลูกที่เร็วมาก การแข่งขันมาถึงรอบคัดเลือกรอบรองชนะเลิศระดับจังหวัด ทัชนำทีมเจอกับโรงเรียนเซย์นัน ซึ่งมีพิชเชอร์คือ นิชิมูระ สุดยอดนักขว้างลูกเปลี่ยนแปลงระดับจังหวัด ทัชสู้อย่างเต็มที่เพื่อพาคัทและมินามิไปโคชิเอ็ง แต่กลับแพ้ไปอย่างฉิวเฉียด ปีสุดท้ายของชีวิตนักเรียนม.ปลาย จะดำเนินต่อไปอย่างไร ความฝัน ความรัก มิตรภาพได้ดำเนินมาถึง จุดสุดท้าย == ตัวละคร == อุเอซึงิ ทัตซึยะ (上杉 達也) อุเอซึงิ คัตซึยะ (上杉 和也) อาซากุระ มินามิ (浅倉 南) มัตซึไดระ โคทาโร่ (松平 孝太郎) == รายชื่อตอน == การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ ภาพยนตร์ญี่ปุ่น อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2528 อนิเมะและมังงะเกี่ยวกับเบสบอล‎ รายการโทรทัศน์ช่อง 5 การ์ตูนญี่ปุ่นแนวก้าวผ่านวัย
thaiwikipedia
138
ภาษา
ภาษา ในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง กิริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ในความหมายอย่างแคบ หมายถึง ภาษาในฐานะระบบที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน การศึกษาภาษามนุษย์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ภาษาศาสตร์ == นิยาม == คำว่า ภาษา ในภาษาไทยเป็นคำยืมมาจากภาษาสันสกฤต (भाषा) "ภาษา, คำพูด" ซึ่งมาจากรากภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม ว่า *bʰeh₂- "พูด, กล่าว" ทั้งนี้คำว่า ภาษา มีหลายความหมาย โดยอาจรวมถึงภาษาโปรแกรม ภาษาประดิษฐ์ ไปจนถึงรูปแบบของการสื่อสารในบริบทต่างๆ เช่น ภาษาราชการ ภาษาปาก ในที่นี้ ภาษา จะหมายถึงภาษามนุษย์ ซึ่งเป็นหัวข้อการศึกษาของภาษาศาสตร์เท่านั้น อย่างไรก็ดี แม้จะพิจารณาเพียงภาษามนุษย์ ก็ยังมีแง่มุมที่หลากหลาย ทำให้สามารถนิยามได้หลายแบบตามที่ผู้ศึกษาสนใจ อาทิ ความสามารถของมนุษย์ในการรับและใช้ระบบการสื่อสารต่าง ๆ กระบวนการทางปริชานในการสร้างถ้อยคำ และโครงสร้างของระบบการสื่อสารที่คนแต่ละกลุ่มใช้ === ระบบภาษาและวจี === นิยามของภาษาในทางภาษาศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือการนิยามภาษาเป็นสองแง่มุมของแฟร์ดิน็อง เดอ โซซูร์ ได้แก่ ภาษาในฐานะ ระบบภาษา (langue) อันหมายถึง ระบบการจับคู่เสียงหรือท่าทางกับความหมาย อันเป็นผลผลิตทางสังคมจากการใช้สัญญาณในรูปแบบเดียวกัน ระบบภาษาเหล่านี้มักตรงกับการพูดภาษาของกลุ่มคนต่าง ๆ เช่น ภาษาแสก ภาษาไทย ภาษาจีน อีกแง่หนึ่งคือ ภาษาในฐานะ วจี (parole) คือ ลักษณะการใช้ระบบภาษาของบุคคลหนึ่ง ๆ ทั้งในแง่การใช้กฎจากระบบภาษามาสร้างถ้อยคำ และการทำงานของอวัยวะที่ใช้ผลิตถ้อยคำ === ลักษณ์เฉพาะของฮอกเกต === ภาษายังอาจกล่าวถึงได้ในฐานะความสามารถในการสื่อสารที่มนุษย์มี ชาร์ลส์ ฮอกเกต นักภาษาศาสตร์โครงสร้างชาวอเมริกัน ได้เสนอรายการลักษณ์เฉพาะของภาษามนุษย์ (design features of language) ซึ่งเป็นลักษณ์ที่ไม่พบในความสามารถในการสื่อสารของสัตว์อื่น หรือพบไม่ครบถ้วนทั้งรายการ โดยฮอกเกตได้ปรับแก้ข้อเสนอไว้หลายครั้งในช่วงปีคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 เริ่มจากเจ็ดลักษณ์ ไปจนถึง 16 ลักษณ์ ตัวอย่างของลักษณ์เหล่านี้ ได้แก่ ความเป็นสมมติ หมายถึง ความไม่สัมพันธ์กันระหว่างสัญญาณที่ใช้กับความหมาย เช่น คำว่า ไข่ ในภาษาไทย ไม่ได้มีอะไรในเสียง และเสียงวรรณยุกต์ต่ำ ที่บ่งบอกความเป็นไข่ ความเป็นสมมตินี้ยังสามารถสังเกตได้จากภาษาต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้คำที่เสียงแทบจะไม่ตรงกันเลยบ่งบอกถึงสิ่งเดียวกัน เช่น (ไทย), (อังกฤษ), (ญี่ปุ่น) และการมีจุดประสงค์เฉพาะ หมายถึง ภาษามนุษย์สามารถใช้สื่อสารโดยเฉพาะ ไม่ได้มีผลกระทบทางกายภาพมากเท่าไรนัก เป็นต้น ฮอกเกตเชื่อว่า ในหมู่สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีลักษณ์บางลักษณ์ที่พบเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น ลักษณ์ในกลุ่มนี้ คือ ความเป็นทวิลักษณ์ นั่นคือ ภาษามีส่วนประกอบที่ไม่มีความหมาย ได้แก่ หน่วยเสียง และส่วนที่มีความหมาย ได้แก่ คำที่ประกอบขึ้นจากส่วนที่ไม่มีความหมายนั้น การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม นั่นคือ ระบบภาษาไม่ได้กำหนดผ่านพันธุกรรม แต่เรียนรู้ผ่านการเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ผลิตภาวะ คือความสามารถในการผลิตถ้อยความใหม่ได้ไม่จำกัดและไม่ซ้ำกับที่เคยมีการผลิต และ ความไม่จำกัดเวลาและสถานที่คือความสามารถในการพูดถึงสิ่งที่ไม่ได้อยู่สถานที่ที่พูดและ/หรือเวลาที่พูดได้ ลักษณ์ของฮอกเกตส่วนมากจะสามารถพบได้ในการสื่อสารของสัตว์อื่น แต่ดูจะไม่มีสัตว์ชนิดใดที่มีครบทุกลักษณ์เช่นเดียวกับมนุษย์ ผึ้งน้ำหวานสามารถสื่อสารโดยการบินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อสารถึงแหล่งน้ำหวานใหม่ ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำหวานดังกล่าว เนื่องจากถ้อยความไม่ซ้ำเดิมจึงถือว่ามีผลิตภาวะ และ ยังเป็นการสื่อสารที่ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ลิงไม่มีหางสามารถเรียนรู้ภาษามือที่ประกอบด้วยท่าทางที่ไม่มีความหมาย ประกอบเป็นสัญญะที่มีความหมายได้ ในขณะเดียวกัน นกร้องเพลง (Passeri) สามารถประกอบวลีของเพลงจากโน้ตแต่ละตัวที่ร้องได้เช่นเดียวกัน สัตว์ทั้งสองกลุ่มจึงอาจเรียกได้ว่ามีความสามารถในการใช้ระบบการสื่อสารที่มีความเป็นทวิลักษณ์ === ระบบในปริชาน === อีกนิยามหนึ่งของภาษาคือในฐานะส่วนหนึ่งของระบบปริชานที่ทำให้มนุษย์สามารถใช้และรับระบบภาษาต่างๆ ได้ ภาษาในนิยามนี้เป็นที่สนใจของนักภาษาศาสตร์ในปัจจุบันหลายกลุ่ม รวมถึง นักไวยากรณ์เพิ่มพูน นักภาษาศาสตร์ปริชาน และนักภาษาศาสตร์จิตวิทยาโดยทั่วไป ภาษาในนิยามนี้มักกล่าวถึงควบคู่กับประเด็นสำคัญว่า ความสามารถที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดและทำให้มนุษย์สามารถรับภาษาได้โดยไม่ต้องมีผู้สอนโดยตรงนั้น เป็นความสามารถที่เฉพาะกับภาษาหรือไม่ นักภาษาศาสตร์ โนม ชอมสกี เรียกความรู้ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดที่ว่านี้ว่าไวยากรณ์สากล และเชื่อว่ามนุษย์ไม่สามารถรับภาษาได้โดยขาดความรู้ที่เฉพาะกับภาษาดังกล่าว เพราะข้อมูลที่เด็กได้รับเมื่อรับภาษานั้นไม่เพียงพอต่อเรียนรู้ไวยากรณ์ของภาษา อย่างไรก็ตาม ข้ออ้างนี้ยังเป็นที่ถกเถียงในวงการและยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == รายชื่อภาษา รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนคนพูด ภาษาศาสตร์ การสื่อสารของมนุษย์
thaiwikipedia
139
หน่วยความจำ
หน่วยความจำ คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำถาวร และ หน่วยความจำชั่วคราว ตัวอย่างของหน่วยความจำถาวรก็เช่น หน่วยความจำแบบแฟลช และหน่วยความจำพวกรอม ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือพวกหน่วยความจำหลัก เช่น DRAM (แรมชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) และแคชของซีพียูซึ่งทำงานได้รวดเร็วมาก (ปกติเป็นแบบ SRAM ซึ่งเร็วกว่า กินไฟน้อยกว่า แต่มีความจุต่อพื้นที่น้อยกว่า DRAM) == หน่วยความจำภายนอก == หน่วยความจำภายนอก (external memory) หมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เพราะหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีพื้นที่พอจะเก็บข้อมูลจำนวนมากไว้พร้อมกันได้หมด (เนื่องจากราคาต่อพื้นที่สูง) เพื่อช่วยประหยัดเราจึงเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง (เช่น จานบันทึกแบบแข็ง) นี้ก่อน เพราะราคาต่อพื้นที่ถูกกว่ามากและสามารถเก็บข้อมูลได้ถาวร แล้วจึงดึงข้อมูลไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้เท่านั้น == อ้างอิง == หน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ [(कम्प्यूटर)]
thaiwikipedia
140
บิต
บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลและทฤษฎีข้อมูล ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ 0 (ปิด) 1 (เปิด) เวิร์ด (word) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลาง จะทำการประมวลผลกับเวิร์ดได้สะดวกที่สุด ในระบบโทรคมนาคม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งนิยมใช้หน่วยในรูปของ บิตต่อวินาที (bps - bits per second) บิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป อย่างไรก็ตามในการคำนวณทางควอนตัม (quantum computing) จะใช้หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดเป็น คิวบิต == หน่วยนับ == 1 กิโลบิต (Kb) = 1000*8 บิต หรือ 1024*8 บิต 1 เมกะบิต (Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต 1 จิกะบิต (Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต 1 เทราบิต (Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต == ดูเพิ่ม == คิวบิต หน่วยสารสนเทศ ชนิดข้อมูล ชนิดข้อมูลพื้นฐาน เลขคณิตฐานสอง
thaiwikipedia
141
กิมย้ง
กิมย้ง (; 10 มีนาคม ค.ศ. 1924 – 30 ตุลาคม ค.ศ. 2018) หรือชื่อจริง จา เหลียงยง (; Louis Cha Leung-yung) เป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในที่ได้รับความนิยมมาก มักเขียนนิยายโดยแฝงเนื้อหาทางการเมืองบางอย่างไว้ โดยเฉพาะการวิจารณ์ระบบกษัตริย์ พรรคคอมมิวนิสต์ และลัทธิเชื้อชาติฮั่นเป็นใหญ่ กิมย้งมีหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเองและดูแลกิจการหนังสือพิมพ์ ชื่อ หมิงเป้า (明報) == ประวัติ == เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1924 (ตรงกับ พ.ศ. 2467 ตามปฏิทินไทยในสมัยนั้น) ที่อำเภอไห่หนิง มณฑลเจ้อเจียง แห่งภาคตะวันออกของจีน เป็นบุตรคนที่สองของตระกูลที่มีฐานะ เริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อตอนอายุ 9 ขวบ ก็อ่านทั้งนิยายของจีนทั้งหมด และนิยายแปลของต่างประเทศ ในวัยเยาว์ได้อ่านวรรณกรรมคลาสสิกทั้ง 4 เรื่องของจีน ได้แก่ สามก๊ก (三国演义) ซ้องกั๋ง (水浒传) ไซอิ๋ว (西游记) และความฝันในหอแดง (红楼梦) เริ่มศึกษาในปี ค.ศ. 1929 ที่โรงเรียนเจียเซียง ไห่หนิง (嘉兴海宁小学) มณฑลเจ้อเจียง, ปี ค.ศ. 1944 เข้าเรียนในภาควิชาภาษาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยการเมืองแห่งรัฐบาลกลาง (國立中央政治大學) ต่อมาปี ค.ศ. 1946 ได้ย้ายมาเรียนที่ภาควิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยตงอู๋ (東吳大學) แห่งเซี่ยงไฮ้ เอกกฎหมายระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 2005 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ ศึกษาปริญญาเอกในภาควิชาการศึกษาตะวันออก เอกประวัติศาสตร์จีนที่ เซนต์จอห์นคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 2013 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางด้านวรรณคดีจีนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (北京大學) กิมย้งเสียชีวิตวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561 อายุรวม 94 ปี 7 เดือน 20 วัน == ผลงาน == กิมย้ง หรือ จาเหลียงย้ง ได้สร้างผลงานจำนวน 15 เรื่อง โดยทั้งหมดที่กิมย้งเขียนล้วนเป็นนิยายกำลังภายใน เป็นเรื่องยาว 12 เรื่อง เรื่องขนาดกลาง 2 เรื่อง และ เรื่องสั้น 1 เรื่อง อันได้แก่ * = ตีพิมพ์ในชุดเรื่องสั้น เทพธิดาม้าขาว (ชุดเรื่องสั้น กระบี่นางพญา) จอมใจจอมยุทธ - 書劍恩仇錄 - Book and Sword: Gratitude and Revenge (พ.ศ. 2498) เพ็กฮวยเกี่ยม - 碧血劍 - Sword Stained with Royal Blood (พ.ศ. 2499) มังกรหยก ภาค 1 - 射雕英雄传 - The Eagle shooting hero (พ.ศ. 2500) จิ้งจอกภูเขาหิมะ - 雪山飛狐 - Fox Volant of the Snowy Mountain (พ.ศ. 2502) มังกรหยก ภาค 2 - 神雕侠侣 - The Return of the Condor Heroes (พ.ศ. 2502) จิ้งจอกอหังการ - 飛狐外傳 - The Young Flying Fox (พ.ศ. 2503) เทพธิดาม้าขาว ** - จีนตัวเต็ม: 白馬嘯西風 S: 白马啸西风 - Swordswoman Riding West on White Horse (พ.ศ. 2504) ดาบนกเป็ดน้ำ ** - จีนตัวเต็ม: 鴛鴦刀 จีนตัวย่อ: 鸳鸯刀 - Blade-dance of the Two Lovers (พ.ศ. 2504) มังกรหยก ภาค 3 หรือ ดาบมังกรหยก 倚天屠龍記 - Heaven Sword and Dragon Sabre (พ.ศ. 2504) กระบี่ใจพิสุทธิ์ - จีนตัวเต็ม: 連城訣 จีนตัวย่อ: 连城诀 - A Deadly Secret (พ.ศ. 2506) แปดเทพอสูรมังกรฟ้า - 天龙八部 - Semi-Gods and Semi-Devils (พ.ศ. 2506-2509) มังกรทลายฟ้า - จีนตัวเต็ม: 俠客行 จีนตัวย่อ: 侠客行 - Ode to Gallantry (พ.ศ. 2509-2510) กระบี่เย้ยยุทธจักร หรือ ผู้กล้าหาญคะนอง 笑傲江湖 - The Smiling, Proud Wanderer (พ.ศ. 2510-2512) กระบี่นางพญา ** - จีนตัวเต็ม: 越女劍 จีนตัวย่อ: 越女剑 - Sword of the Yue Maiden (พ.ศ. 2513) อุ้ยเสี่ยวป้อ หรือ อุ้ยเสี่ยวป้อ เหยียบยอดยุทธจักร - จีนตัวเต็ม: 鹿鼎記 จีนตัวย่อ: 鹿鼎记 - Deer and the Cauldron (พ.ศ. 2512-2515) == อ้างอิง == ==อ่านเพิ่ม== Stateless Subjects: Chinese Martial Arts Literature and Postcolonial History, Chapters 3 and 4. Petrus Liu. (Cornell University, 2011). ==แหล่งข้อมูลอื่น== Jin Yong Teahouse (金庸茶館) – fansite of Jin Yong's novels in Chinese Jin Yong Jianghu (金庸江湖) – fansite, forums and complete works of Jin Yong's novels Jin Yong in the Encyclopaedia of Science Fiction นักเขียนนิยายกำลังภายใน นักเขียนชาวจีน บุคคลจากมณฑลเจ้อเจียง
thaiwikipedia
142
โกวเล้ง
โกวเล้ง ( กู่หลง) มีชื่อจริงว่า เอี้ยวฮั้ว แซ่ฮิ้ม (สำเนียงแต้จิ๋ว หากออกเสียงเป็นสำเนียงจีนกลางจะอ่านว่า สยง เย่า หัว - สยงหรือฮิ้มเป็นแซ่ แปลตามตัวอักษรว่าหมี) เกิด เมื่อ พ.ศ. 2480 เสียชีวิต 21 กันยายน พ.ศ. 2528 ที่โรงพยาบาลซันจวิน กรุงไทเป ด้วยโรคตับแข็งเพราะการดื่มสุราหนัก จนมีฉายาว่า "ปีศาจสุรา" รวมอายุ 48 ปี มีภรรยา 3 คน มีบุตร 2 คน == การศึกษา == ศึกษาชั้นประถมที่ฮ่องกง จนกระทั่งอายุ 14 ปี จึงไปเรียนต่อที่ไต้หวัน และจบคณะอักษรศาสตร์ แผนกภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยต้ากัง == ชีวิตการงาน == เข้าทำงานแรกเป็นบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดของคณะที่ปรึกษาทหารอเมริกันในกรุงไทเป ทำให้มีโอกาสหาความรู้ด้านวรรณกรรมและนวนิยายตะวันตก == ชีวิตส่วนตัว == เป็นคนที่คบหาคนทุกระดับ ติดเพื่อน สุรา นารี ทำให้เขาไม่ค่อยมีทรัพย์สินที่มั่นคง ถึงแม้มีรายได้จากการเขียนหนังสือ ก็ใช้สอยจนหมดสิ้นไปกับเรื่องอบายมุขต่างๆ == ผลงานด้านนวนิยายกำลังภายใน == พ.ศ. 2502 โกวเล้งก็เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องแรกคือเรื่อง"ชังเกียงซึ้งเกี่ยม" เป็นแนวบู๊ล้างแค้นธรรมดาทำให้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จและนิยายส่วนใหญ่ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทยซึ่งชังเกียงซึ้งเกี่ยมก็เช่นกันโดยชื่อนวนิยายเรื่องนี้หากแปลเป็นภาษาไทยจะมีชื่อว่า เทพกระบี่โพยม พ.ศ. 2506 เขียนเรื่อง"พิฆาตทรชน" ได้รับการตอบรับจากคอนิยาย ทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียง และเป็นการเริ่มต้นใช้นามปากกา"โกวเล้ง" (มังกรโบราณ) อย่างจริงจัง พ.ศ. 2509 โกวเล้งสร้างแนวการเขียนใหม่ เน้นความรู้สึก ความขัดแย้งทางจิตใจและความคิดของตัวละคร แทรกคติเตือนใจ ปรัชญาชีวิต แบบ"คุณธรรมน้ำมิตร" รวมทั้งการเดินเรื่องแบบบทภาพยนตร์ ซึ่งมีเรื่อง ศึกสายเลือด นักสู้ผู้พิชิต ศึกศรสวาท ธวัชล้ำฟ้า ราชายุทธจักร ช่วงต่อมานับเป็นยุคทองของโกวเล้ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะ โกวเล้งเขียนเรื่อง เซียวฮื่อยี้ ได้รับความนิยมจนกลายเป็นนักเขียนมือหนึ่งของไต้หวัน ผลงานโดดเด่นที่สุดของเขาคือเรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น == ผลงานบางส่วน == ชุด ชอลิ้วเฮียง #ศึกวังค้างคาว - 蝙蝠传奇 Bian Fu Chuan Ji (Legend of the Bat) #พายุทะเลทราย - 大沙漠 Da Sha Mo (Vast Desert) # กลิ่นหอมกลางธารเลือด - 血海飘香 Xie Hai Piao Xiang (Fragrance in the Sea of Blood) # ยืมศพคืนวิญญาณ - 鬼恋传奇 Gui Lian Chuan Ji (The Legend of the Ghost Lover) # กล้วยไม้เที่ยงคืน 午夜兰花 Wu Ye Lan Hua (Midnight-Blooming Orchid) # ตำนานกระบี่หยก - 新月传奇 Xin Yue Chuan Ji (Legend of the New Moon) # ดวงชะตาดอกท้อ 桃花传奇 Tao Hua Chuan Ji (Legend of the Peach Blossom) # ศึกวังน้ำทิพย์ - 画眉鸟 Hua Mei Niao (The Thrush) ชุด ฤทธิ์มีดสั้น # มีดบินไม่พลาดเป้า 小李飞刀 - 多情剑客无情剑 Duo Qing Jian Ke Wu Qing Jian (Sentimental Swordsman, Ruthless Sword) # เหยี่ยวทมิฬ - 九月鹰飞 Jiu Yue Ying Fei (Flying Eagle in September) # จอมเสเพลชายแดน - 邊城浪子 The Bordertown Prodigal # ขอบฟ้า จันทรา ดาบ - 天涯明月刀 Tian Ya Ming Yue Dao (Midnight, Bright Moon, Saber) # มีดบินกรีดฟ้า - 飞刀,又见飞刀 Fei Dao, You Jian Fei Dao (Flying Dagger, Flying Dagger appears again) ชุด เล็กเชี่ยวหงส์ # หงส์ผงาดฟ้า - 陆小凤传奇 Lu Xiao Feng Chuan Ji (The Legend of Lu Xiao Feng) #จอมโจรปักดอกไม้ - 绣花大盗 Xiu Hua Da Dao (Embroidery Bandit) # สองนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ - 决战前后 Jue Zhan Qian Hou (Before and After the Duel) # บ่อนพนันเบ็ดเงิน - 银钩赌坊 Yin Gou Du Fang (The Silver Hook Gambling House) # หมู่ตึกภูตพราย - 幽灵山庄 You Ling Shan Zhuang (Ghostly Mountain Cottage) # เกาะมหาภัย - 凤舞九天 Feng Wu Jiu Tian (The Phoenix Dances in Nine Heavens) # กระบี่พิโรธ - 剑神一笑 Jian Shen Yi Xiao (Laughter of the Sword God) ชุด อาวุธของโกวเล้ง # กระบี่ยั่งยืนยาว หรือ 长生剑 Chang Sheng Jian (Immortal Sword) #ขนนกยูง - 孔雀翎 Kong Que Ling (Peacock Tail Feathers) # ดาบมรกต - 碧玉刀 Bi Yu Dao (Jasper Saber) # ห่วงมากรัก - 多情环 Duo Qing Huan (Passionate Ring) # ตะขอจำพราก - 离别钩 Li Bie Gou (Hook of Departure) # ทวนทมิฬ - 霸王枪 Ba Wang Qiang (The Overlord's Spear) # ยอดมือปราบ - 七杀手 Qi Sha Shou (Seven Assassins) ชุด บุตรที่สิบเอ็ด # เซียวจับอิดนึ้ง - 萧十一郎 Xiao Shi Yi Lang (The Eleventh Son) # ยอดขุนโจร - 火併蕭十一郎 Huo Pin Xiao Shi Yi Lang (Engulfing the Eleventh Son) ชุด หกเรื่องสยองขวัญ # วิหคโลหิต - 血鹦鹉 Xie Ying Wu (Blood Parrot) (หมายเหตุ = เรื่องหลังในชุดนี้เป็นการร่วมแต่งกับบุคคลอื่นของโกวเล้งเอง) นิยายเรื่องเดียว ล่าสุดขีด - 碧血洗银枪 Bi Xue Xi Yin Qiang (Silver Spear Cleansed in Blood) วีรบุรุษสำราญ - 歡樂英雄 Huan Le Ying Xiong ได้แรงบันดาลใจจากเรื่อง Tortilla Flat (ของ John Steinbeck) นักเขียนชาวอเมริกัน (มีแปลเป็นภาษาไทยชื่อ โลกียชน โดย ประมูล อุณหธูป) ธวัชล้ำฟ้า - 大旗英雄传 Da Qi Ying Xiong Chuan (The Legend of the Hero's Banner) ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่ - 流星.蝴蝶.剑 Liu Xing. Hu Die. Jian (Meteor, Butterfly, Sword) ดาวเดี่ยวไม่เดียวดาย - 孤星传 Gu Xing Chuan (Lone Star Chronicles) จอมยุทธไร้น้ำตา - 英雄无泪 (Ying Xiong Wu Lei) (The Hero With No Tears) ลูกปลาน้อย (เซียวฮือยี้) - 绝代双娇 Jue Dai Shuang Jiao (The Legendary Twins) กระบี่กระจายหอม - 飘香剑雨 Piao Xiang Jian Yu (Fragrant Sword Rain) ศึกศรสวาท - 情人箭 Qing Ren Jian (Lover's Arrow) พญามังกรเจ็ดดาว - 七星龙王 Qi Xing Long Wang (Seven Star Dragon King) ซาเสี่ยวเอี้ย - 三少爷的剑 San Shao Ye De Jian (Third Young Master's Sword) ราชายุทธจักร - 武林外史 Wu Lin Wai Shi (Wulin's Side Story) ไม่มีวันก้มหัวให้ คมดาบสั้น กระดึง สายลม คมดาบ บันทึกชำระกระบี่ The Nature Of Jade หลั่งเลือดสะท้านภพ หมัดพิฆาต เหยี่ยวนรกทะเลทราย อินทรีผงาดฟ้า เทพบุตรยุทธจักร' ใช้ข้อมูลจาก สำนักพิมพ์ สยามอินเตอร์ ฉบับถือลิทสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == HKMDB - ฐานข้อมูลผลงาน นักเขียนนิยายกำลังภายใน
thaiwikipedia
143
เสียง
เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่าง ๆ ได้ == การเกิดเสียง == เริ่มเกิดขึ้นเมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียงมีการสั่นสะเทือนส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบ กล่าวคือโมเลกกุลของอากาศเหล่านี้จะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมไปชนกับโมเลกุลที่อยู่ถัดไป ก่อให้เกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ให้กับโมเลกุลที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันนี้จะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลที่เคลื่อนที่มาจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฏิกิริยาและโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงานจะเคลื่อนที่ไปชนกับโมเลกุลที่อยู่ถัดไป ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นสลับกันไปมาได้เมื่อสื่อกลาง (ในที่นี้คืออากาศ) มีคุณสมบัติของความยืดหยุ่น การเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศนี้จึงเกิดเป็นคลื่นเสียง == คุณลักษณะของเสียง == คุณลักษณะเฉพาะของเสียง ได้แก่ ความยาวช่วงคลื่น แอมปลิจูด ความเร็ว และ ความเข้มเสียง เสียงแต่ละเสียงมีความแตกต่างกัน เสียงสูง-เสียงต่ำ, เสียงดัง-เสียงเบา, หรือคุณภาพของเสียงลักษณะต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียง และจำนวนรอบต่อวินาทีของการสั่นสะเทือน === ความถี่ === ระดับเสียง (pitch) หมายถึง เสียงสูงเสียงต่ำ สิ่งที่ทำให้เสียงแต่ละเสียงสูงต่ำแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือนของวัตถุ วัตถุที่สั่นเร็วเสียงจะสูงกว่าวัตถุที่สั่นช้า โดยจะมีหน่วยวัดความถี่ของการสั่นสะเทือนต่อวินาที เช่น 60 รอบต่อวินาที, 2,000 รอบต่อวินาที เป็นต้น และนอกจาก วัตถุที่มีความถี่ในการสั่นสะเทือนมากกว่า จะมีเสียงที่สูงกว่าแล้ว หากความถี่มากขึ้นเท่าตัว ก็จะมีระดับเสียงสูงขึ้นเท่ากับ 1 ออกเตฟ (octave) ภาษาไทยเรียกว่า 1 ช่วงคู่แปด === ความยาวช่วงคลื่น === ความยาวช่วงคลื่น (wavelength) หมายถึง ระยะทางระหว่างยอดคลื่นสองยอดที่ติดกันซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการอัดตัวของคลื่นเสียง (คล้ายคลึงกับยอดคลื่นในทะเล) ยิ่งความยาวช่วงคลื่นมีมาก ความถี่ของเสียง (ระดับเสียง) ยิ่งต่ำลง === ความกว้างช่วงคลื่น === ความกว้างช่วงคลื่น (bandwidth) หมายถึง ขนาดของวงคลื่นสองวงที่แผ่กันซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความยาวของคลื่นเสียงมีน้อย ยิ่งความกว้างช่วงคลื่นมีมาก ความถี่ของเสียง (ระดับเสียง) ยิ่งสูงขึ้น === ความดันเสียง === หมายถึง ค่าความดันของคลื่นเสียงที่เปลี่ยนแปลงไปจากความดันบรรยากาศปกติ ซึ่งค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ ค่าความสูงคลื่นหรือแอมปลิจูด การตอบสนองของหูต่อความดันเสียงไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นตรง แต่มีความสัมพันธ์นลักษณะของลอกาลิทึม (Logarithm) ดังนั้น ค่าระดับความดันเสียง ที่อ่านได้จากการตรวจวัดโดยเครื่องวัดเสียงนั้น เป็นค่าทีได้จากการเปรียบเทียบกับความดันเสียงอ้างอิงแล้ว มีหน่วยวัดเป็น เดชิเบล (decibel : dB) === แอมพลิจูด === แอมพลิจูด (amplitude) หมายถึง ความสูงระหว่างยอดคลื่นและท้องคลื่นของคลื่นเสียง ที่แสดงถึงความเข้มของเสียง (Intensity) หรือความดังของเสียง (Loudness) ยิ่งแอมปลิจูดมีค่ามาก ความเข้มหรือความดังของเสียงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น == ประเภทของเสียง == แบ่งตามลักษณะการเกิดเสียงได้ 3 ลักษณะ เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise) เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) และเสียงดีงต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non steady state Noise) * เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจากเครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้น * เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non-steady state Noise)  เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มี ระดับเลียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า  10 เดชิเบล  เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน    เครื่องเจียร    เป็นต้น เสียงดังเป็นช่วง ๆ (lntermittent Noise) เป็นเสียงที่ดังไม่ต่อเนีอง มีความเงียบหรีอเบากว่าเป็นระยะ ๆ ลลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น เสียงดังกระทบ หรือ กระแทก (lmpact or lmpulse Noise) เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว ในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดชิเบล เช่น เสียงการตอกเสาเข็ ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น == อ้างอิง == McKeever,Susan;Foote,Martyn (1993).The Random House science encyclopedia.Toronto:Random House. ISBN 0-394-22341-1 ศิวเวทกุล,ประชา.คู่มือวิทยาศาสตร์คำนวณ ม.ต้น (ม.1-ม.2-ม.3).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์เดอะบุคส์.ISBN 974-394-126-6 == แหล่งข้อมูลอื่น == Sounds Amazing; a KS3/4 learning resource for sound and waves (uses Flash) HyperPhysics: Sound and Hearing Introduction to the Physics of Sound Hearing curves and on-line hearing test Audio for the 21st Century Conversion of sound units and levels Sound calculations Audio Check: a free collection of audio tests and test tones playable on-line More Sounds Amazing; a sixth-form learning resource about sound waves เสียง จาก icphysics.com การได้ยิน สวนศาสตร์ คลื่น ฟิสิกส์
thaiwikipedia
144
สถาบันสถาปนาแห่งที่สอง
สถาบันสถาปนาแห่งที่สอง (Second Foundation) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์เล่มที่สามของหนังสือชุดสถาบันสถาปนา ฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1953 คำว่า สถาบันสถาปนาแห่งที่สอง ยังหมายถึงองค์กรชื่อเดียวกัน ซึ่งเป็นจุดสนใจหลักของนวนิยายเล่มนี้ด้วย เราจะรู้เพียงว่าสถาบันสถาปนาแห่งที่สองดำรงอยู่ จากเนื้อเรื่องในสถาบันสถาปนา เรื่องราวของการค้นหาองค์กรนี้ ปรากฏในสถาบันสถาปนาและจักรวรรดิ องค์กรดังกล่าวปรากฏตัวเพียงเล็กน้อยในหนังสือเล่มนี้ ส่วนรายละเอียดขององค์กรนี้ จะยังมิได้รับการเปิดเผยจนกระทั่งในสถาบันสถาปนาและปฐมภพ == ประวัติการตีพิมพ์ == == เนื้อเรื่องย่อ == เนื้อเรื่องแบ่งเป็น 2 ส่วน การตามหาของมโนมัย ครึ่งแรกเป็นการตามหาสถาบันสถาปนาแห่งที่สองโดยมโนมัย ซึ่งจบลงด้วยเอกวาจกของสถาบันสถาปนาแห่งที่สองดัดแปลงจิตใจของมโนมัย ไม่ให้สนใจเรื่องสถาบันสถาปนาแห่งที่สองอีกต่อไป การตามหาของสถาบันสถาปนา เกิดขึ้น 60 ปีหลังจากการตามหาของมโนมัย โดยคนของสถาบันสถาปนาแห่งที่หนึ่งตระหนักถึงการคงอยู่ของสถาบันสถาปนาแห่งที่สอง และเกิดความขัดแย้งระหว่างสถาบันสถาปนาแห่งที่หนึ่งกับพิภพคาลกัน ซึ่งเป็นเขตอำนาจเดิมของมโนมัย == องค์กรสถาบันสถาปนาแห่งที่สอง == สถาบันสถาปนาแห่งที่สอง ในแง่องค์กร ก่อตั้งโดยฮาริ เซลดอน เป็นศูนย์รวมของมนุษย์ที่มีพลังจิต ตั้งอยู่ที่ Star's End ซึ่งเป็นชื่อดวงดาวลึกลับที่เซลดอนบอกไว้ ในสู่เส้นทางสถาบันสถาปนา ผู้อ่านจะได้รู้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สถาบันสถาปนาแห่งที่สองก่อตั้งโดยแวนดา เซลดอน หลานสาวของฮาริ เซลดอน และสเตติน พัลเวอร์ องครักษ์ประจำตัวฮาริ เซลดอน สถาบันสถาปนาแห่งที่สองเชี่ยวชาญด้านพลังจิต และทำการวิจัยอนาคตประวัติศาสตร์ต่อจากฮาริ เซลดอน โดยมีเป้าหมายหลักคือการรักษา แผนการเซลดอน ให้คงอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยภายนอกที่ไม่คาดฝัน (เช่น มโนมัย) มาทำให้แผนการดั้งเดิมเบนไป การปกครองภายในสถาบันสถาปนาแห่งที่สองนั้นปกครองโดยกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า "วาจก" (Speaker) และเรียกหัวหน้ากลุ่มว่า "เอกวาจก" (First Speaker) == พิภพที่เกี่ยวข้อง == เทอร์มินัส ทรานทอร์ คาลกัน == ตัวละครที่สำคัญ == บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ สถาบันสถาปนา ไอแซค อสิมอฟ Stiftelseserien#Den segrande stiftelsen
thaiwikipedia
145
ประเทศศรีลังกา
ศรีลังกา (ශ්‍රී ලංකා, ; இலங்கை, ) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්‍රී ලංකා ප්‍රජාතාන්ත්‍රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในเอเชียใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอลและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลอาหรับ โดยมีอ่าวมันนาร์และช่องแคบพอล์กคั่นเกาะออกจากอนุทวีปอินเดีย ศรีลังกามีพรมแดนทางทะเลร่วมกับอินเดียและมัลดีฟส์ ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏเป็นเมืองหลวงทางกฎหมาย ส่วนโคลัมโบเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางทางการเงิน ศรีลังกามีจำนวนประชากรประมาณ 22 ล้านคน (ค.ศ. 2020) และเป็นรัฐหลายชนชาติซึ่งเป็นถิ่นฐานของวัฒนธรรม ภาษา และชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ชาวสิงหลเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ชาวทมิฬซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของเกาะเช่นกัน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ปักหลักอยู่ที่นี่มาอย่างยาวนาน ได้แก่ ชาวมัวร์ ชาวเบอร์เกอร์ (Burgher) ชาวมลายู ชาวจีน และชนพื้นเมืองแว็ททา ประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ของศรีลังกามีอายุย้อนไปถึง 3,000 ปี โดยปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุอย่างน้อย 125,000 ปี งานเขียนทางศาสนาพุทธที่เก่าแก่ที่สุดของศรีลังกาซึ่งมีชื่อเรียกโดยรวมว่าพระไตรปิฎกภาษาบาลีมีอายุย้อนไปถึงการสังคายนาครั้งที่ 4 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 29 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศรีลังกายังได้รับสมญานามว่า "หยดน้ำตาของอินเดีย" และ "ยุ้งฉางตะวันออก" โดยทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และท่าเรือน้ำลึกของศรีลังกาทำให้เกาะนี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมากตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของเส้นทางสายไหมโบราณมาจนถึงเส้นทางสายไหมทางทะเลในปัจจุบัน เนื่องจากทำเลที่ตั้งได้ส่งผลให้ศรีลังกากลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ทั้งชาวตะวันออกไกลและชาวยุโรปจึงรู้จักเกาะแห่งนี้มานานแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรอนุราธปุระ (377 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 1017) ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ในอาณาจักรโกฏเฏ โปรตุเกสได้เดินทางมาถึงศรีลังกาและพยายามที่จะควบคุมการค้าทางทะเลของเกาะ โดยส่วนหนึ่งของศรีลังกาตกอยู่ในความครอบครองของโปรตุเกสในเวลาต่อมา ภายหลังสงครามสิงหล–โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์และอาณาจักรกัณฏิได้เข้าควบคุมพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นดินแดนในความครอบครองของเนเธอร์แลนด์ก็ตกไปอยู่ในมือของบริเตนซึ่งต่อมาขยายอำนาจควบคุมไปทั่วทั้งเกาะและตั้งเป็นอาณานิคมซีลอนตั้งแต่ ค.ศ. 1815 ถึง ค.ศ. 1948 ขบวนการเรียกร้องเอกราชทางการเมืองระดับชาติเกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และใน ค.ศ. 1948 ซีลอนก็กลายเป็นประเทศในเครือจักรภพ ประเทศในเครือจักรภพนี้มีรัฐสืบเนื่องต่อมาคือสาธารณรัฐนามว่าศรีลังกาตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ประวัติศาสตร์ศรีลังกาในสมัยหลังมานี้แปดเปื้อนไปด้วยสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลานาน 26 ปี โดยเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1983 และสิ้นสุดลงอย่างเด็ดขาดเมื่อกองทัพศรีลังกาเอาชนะกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลมได้ใน ค.ศ. 2009 ศรีลังกาเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยอยู่อันดับที่ 72 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ เป็นประเทศในเอเชียใต้ที่มีอันดับสูงสุดในแง่การพัฒนาและมีรายได้ต่อหัวที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียใต้ อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้เกิดการล่มสลายของสกุลเงิน อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมอันเนื่องมาจากการขาดแคลนสิ่งของจำเป็นอย่างรุนแรง วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจยังนำไปสู่การปะทุของการประท้วงตามท้องถนน โดยประชาชนได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีและรัฐบาลลาออกจากตำแหน่งจนเป็นผลสำเร็จ เกาะนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการมีส่วนร่วมกับกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในสมัยใหม่ โดยเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (ซาร์ก) และเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เครือจักรภพแห่งประชาชาติ กลุ่ม 77 และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด == ภูมิศาสตร์ == ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่น มีภูเขาสูง มีที่ราบเป็นบริเวณแคบ มีพรมแดนทางทะเลทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศอินเดีย === ภูมิอากาศ === อากาศช่วงพื้นที่ราบลุ่ม ภูมิอากาศของโคลัมโบจะอยู่ประมาณที่ 27 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ราบสูงอากาศจะเย็น อุณหภูมิสามารถลงถึง 16 องศาเซลเซียส จากภูเขาที่มีความสูง 2,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แดดออกตลอดทั้งวัน ช่วงลมมรสุมอากาศของศรีลังกา ลมมรสุมทางตะวันออกเฉียงใต้จะพาฝนมาด้วยตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ก.ค. และพัดต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางตอนใต้และทางภาคกลาง แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกจะได้รับอิทธิพลลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือน ธ.ค. ถึง ม.ค. == ประวัติศาสตร์ == === ยุคก่อนประวัติศาสตร์ === ชาวสิงหลและชาวทมิฬเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในศรีลังกาประมาณ 500 ปี และ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราชตามลำดับ โดยต่างก็อพยพมาจากประเทศอินเดีย อาณาจักรสิงหลได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบทางภาคเหนือของศรีลังกา โดยมีเมืองอนุราธปุระเป็นเมืองหลวงแห่งแรกยาวนานถึงประมาณ 1,200 ปี ต่อมาในศตวรรษที่ 13 จึงได้เสื่อมลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ โดยมีเมืองโปลอนนารุวาเป็นเมืองหลวงยาวนานประมาณ 200 ปี ชาวทมิฬจึงได้อพยพไปตั้งอาณาจักรแจฟฟ์นาทางคาบสมุทรแจฟฟ์นา ตอนเหนือของประเทศ ส่วนชาวสิงหลได้ถอยร่นลงไปตั้งรกรากอยู่ทางใต้ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรกัณฏิ ซึ่งมีกัณฏิเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ก็มีอาณาจักรโกฏเฏและอาณาจักรรุหุนะ โดยอาณาจักรแคนดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดประมาณศตวรรษที่ 15 === ยุคโบราณ === === อาณานิคม === อิทธิพลของตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ตามลำดับ โดยมาทำการค้าตามเมืองท่าด้านตะวันตกของประเทศ และในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) โปรตุเกสได้เข้ายึดครองพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและปกครองประเทศก่อนที่ชาวดัตช์จะเข้าครอบครองดินแดนศรีลังกาในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) และต่อมาอังกฤษสามารถครอบครองศรีลังกาเป็นเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ภายใต้อนุสัญญากัณฏิ รวมเวลาที่ศรีลังกาตกเป็นเมืองขึ้นของต่างประเทศหลายศตวรรษ และอังกฤษได้ใช้ศรีลังกาเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) == การเมืองการปกครอง == === นิติบัญญัติ === รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียวโดยสมาชิกทั้งหมด 225 คน ได้รับเลือกจากประชาชนทุก ๆ 6 ปี ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี มีฐานะเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี === พรรคการเมือง === ปัจจุบันมีพรรคการเมืองใหญ่น้อยประมาณ 30 พรรค มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ พรรค Sri Lanka Freedom Party (SLFP) พรรค United National Party (UNP) พรรค Tamil United Liberation Front (TULF) พรรค Ceylon Workers’ Congress (CWC) พรรค Sri Lanka Mahajana Party (SLMP) พรรค Janatha Vimukti Peramuna (JVP) หรือ People’s Liberation พรรค Sri Lanka Muslim Congress (SLMC) === การเมืองภายในของศรีลังกาปัจจุบัน === ศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่การเมืองภายในมีพรรคการเมืองที่สำคัญเพียง 2 พรรคของชนชาติสิงหล คือ SLFP (Sri Lanka Freedom Party) และพรรค UNP (United National Party) ที่แข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมือง พรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพรรคของชนเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เป็นพรรคย่อยและมีความสำคัญน้อย นับแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงปัจจุบันพรรค SLFP และพรรค UNP ผลัดกันเป็นรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทั้งสองพรรคดังกล่าวนิยมระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่นโยบายเศรษฐกิจของพรรค SLFP มีลักษณะเป็นสังคมนิยม ในขณะที่พรรค UNP มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี == การแบ่งเขตการปกครอง == ศรีลังกาประกอบด้วย 9 จังหวัด (පළාත; மாகாணம்) ดังนี้ (ชื่อเมืองหลักของจังหวัดอยู่ในวงเล็บ) จังหวัดกลาง (กัณฏิ) จังหวัดกลางเหนือ (อนุราธปุระ) จังหวัดตะวันตก (โคลัมโบ) จังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ (กุรุแณคละ) จังหวัดตะวันออก (ตรินโคมาลี) จังหวัดใต้ (กอลล์) จังหวัดสพรคมุวะ (รัตนปุระ) จังหวัดเหนือ (แจฟฟ์นา) จังหวัดอูวะ (พทุลละ) == อ้างอิง == === หมายเหตุ === ข้อมูลและอ่านเพิ่ม Ganguly, Sumit. "Ending the Sri Lankan civil war." Dædalus 147.1 (2018): 78-89. online Peebles, Patrick. The History of Sri Lanka (Greenwood, 2005). == แหล่งข้อมูลอื่น == รัฐบาล Official Sri Lankan Government Web Portal, a gateway to government sites. Official website of the Parliament of Sri Lanka. Official Government News Portal Official website of the President of Sri Lanka. Official website of the Prime Minister of Sri Lanka / Prime Minister's Office. Official website of the Office of the Cabinet of Ministers of Sri Lanka. Official website of the Supreme Court of Sri Lanka. ภาพรวมและข้อมูล Sri Lanka. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Official site of the Department of Census and Statistics. Annual Report 2010 from the Ministry of Finance and Planning. Sri Lanka from UCB Libraries GovPubs. Sri Lanka profile from the BBC News. Sri Lanka in the Encyclopædia Britannica. Introducing Sri Lanka Overview of the country from Lonely Planet. Key Development Forecasts for Sri Lanka from International Futures. ประวัติศาสตร์ Mahavamsa an ancient Sri Lankan chronicle written in the 6th century. Sketches of the Natural History of Ceylon by Sir James Emerson Tennent, 1861. ชมพูทุท นาคีรักษ์, "ศรีลังกา: ประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร," วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2548), หน้า 109-142 เชาวลี จงประเสริฐ, "ความรุนแรงในศรีลังกา," วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2548), หน้า 27-43 ปรีดี หงษ์สต้น. สงครามกลางเมืองศรีลังกา. กรุงเทพฯ: ยิบซี กรุ๊ป, 2562. แผนที่ Sri Lanka Map in Google Maps. Old maps of Sri Lanka, Eran Laor Cartographic Collection, The National Library of Israel การค้า World Bank Summary Trade Statistics Sri Lanka ศ ศ ศ ศ เกาะในมหาสมุทรอินเดีย รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 อดีตอาณานิคมของอังกฤษ
thaiwikipedia
146
ลอการิทึมธรรมชาติ
ลอการิทึมธรรมชาติ (natural logarithm) คือ ลอการิทึมฐาน e โดยที่ \mathrm{e} มีค่าโดยประมาณเท่ากับ 2.7182818 (ไม่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนได้ เพราะ \mathrm{e} เป็นจำนวนอตรรกยะ เช่นเดียวกับ \pi) นิยมใช้สัญลักษณ์เป็น ln ลอการิทึมธรรมชาติของจำนวนจริงบวก x ทุกจำนวนสามารถนิยามได้ นอกจากนี้ยังสามารถนิยามลอการิทึม สำหรับจำนวนเชิงซ้อนที่ไม่ใช่ศูนย์ได้เช่นกัน ดังที่จะได้อธิบายต่อไปข้างหน้า บางครั้งมีผู้เรียกลอการิทึมธรรมชาติว่า ลอการิทึมเนเพียร์ ถึงแม้ว่า จอห์น เนเพียร์ จะมิได้เป็นผู้คิดค้นฟังก์ชันชนิดนี้ขึ้นก็ตาม == แหล่งข้อมูลอื่น == http://www.vcharkarn.com/varticle/316 คณิตวิเคราะห์ ฟังก์ชันพิเศษมูลฐาน
thaiwikipedia
147
หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ, ชื่อเดิม กิมเหลียง วัฒนปฤดา (c=金良) แต่อ้างว่ามิได้มีเชื้อจีนแต่ประการใด) เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นักปราชญ์ นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง นักปาถกฐา นักประพันธ์ คนสำคัญของประเทศไทย == ประวัติ == หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้ต้นคิดและริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงชื่อของประเทศ จากประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เป็นบุตรคนหนึ่งใน 8 คน ของนายอินและนางคล้าย บุตรีของหลวงสกลรักษา นายอำเภอ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 เวลา 4.00 น. ย่ามรุ่ง ที่อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี บิดามารดามีอาชีพค้าขาย แต่มารดาเสียก่อนเมื่อยังเล็ก เมื่ออายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เมื่ออายุ 13 ปี ในปี พ.ศ. 2453 ได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้เปรียญ 5 ประโยคใน พ.ศ. 2459 เมื่ออายุ 19 ปี สอบได้เป็นที่ 1 ในประเทศ ได้รับประกาศนียบัตรหมายเลข 1 จากพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 6 และได้รับความไว้วางใจจากพระศรีวิสุทธิวงศ์ (เฮง เขมจารี) ให้เป็นครูสอนภาษาบาลีอีกด้วย หลวงวิจิตรวาทการเป็นคนใฝ่รู้อย่างยิ่ง นอกจากเรียนนักธรรมและบาลีแล้วยังแอบเรียนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะเขาไม่ให้เรียนวิชาอื่นจนมีความรู้ในภาษาทั้งสองดี ได้แปลพงศาวดารเยอรมันเป็นไทยโดยใช้นามปากกาว่า "แสงธรรม" หลวงวิจิตรวาทการถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2505 เวลา 6.40 น. ที่บ้านพักซอยเกษม ถนนสุขุมวิท 24 กรุงเทพมหานคร ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว สิริอายุ 63 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยบรรจุศพหลวงวิจิตรวาทการด้วยพระโกศไม้สิบสอง และประดับเฟื้องเป็นเกียรติยศ == ครอบครัว == หลวงวิจิตรวาทการ สมรสกับคุณหญิง ประภาพรรณ วิจิตรวาทการ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 7 คน ได้แก่ ดร.วิญญู วิจิตรวาทการ วิวิทย์ วิจิตรวาทการ วิจิตรา รังสิยานนท์ นพ. วิบูล วิจิตรวาทการ วิภาจ วิจิตรวาทการ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ วิวัฒนวงศ์ วิจิตรวาทการ == การทำงาน == เมื่ออายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ อยู่ในภิกขุภาวะได้เพียงเดือนเดียวก็ลาสิกขาออกมารับราชการที่กองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ทำงานอยู่เป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน ก็ได้มีโอกาสไปรับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ ประจำสถานอัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รับราชการได้ 6 ปีเต็ม แล้วได้ย้ายไปประจำการในสถานอัครราชทูตสยาม ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อครั้งยังรับราชการอยู่ที่กรุงปารีส หลวงวิจิตรวาทการ ร่วมประชุมกับผู้ก่อตั้งคณะราษฏร์ แต่มิได้เข้าร่วมคณะราษฎร์ เพราะไม่เห็นด้วยกับปรัชญาและแนวโน้มด้านลัทธิคอมมิวนิสต์ของปรีดี พนมยงค์ และต้องการปกป้องยึดมั่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ หลวงวิจิตรวาทการจึงก่อตั้ง "คณะชาติ" ขึ้นมาเพื่อหมายจะเปรียบเทียบกับคณะราษฎร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าเทียมคณะราษฏร์ หลังจากรับราชการต่อที่กรุงลอนดอน หลวงวิจิตรวาทการ จึงกลับมาร่วมงานวางแผนปฏิวัติกับคณะราษฏร์ที่ประเทศสยาม ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมิได้เอาชื่อเข้าคณะผู้ก่อการอย่างเป็นทางการ === ตำแหน่งราชการ === หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร) มีตำแหน่งราชการ ดังนี้ พ.ศ. 2461 เสมียนกองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2463 ผู้ช่วยเลขานุการ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2467 เลขานุการ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2469 เลขานุการ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2472 หัวหน้ากองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2473 หัวหน้ากองการทูต กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2474 หัวหน้ากองการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ และเลขานุการ คณะข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนแม่น้ำโขง พ.ศ. 2475 ผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ และอาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์สากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2476 อธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2477 อธิบดีกรมศิลปากร เลขาธิการราชบัณฑิตสถานและอาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2480 อธิบดีกรมศิลปากร และรัฐมนตรี พ.ศ. 2484 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีสั่งราชการแทน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2485 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2486 เอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2493 ผู้ประศาสน์การ (รักษาการตำแหน่งอธิบดี) และอาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2494 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2495 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย พ.ศ. 2496 เอกอัครราชทูตประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และยูโกสลาเวีย พ.ศ. 2501 รองผู้อำนวยการฝ่ายผลเรือน กองบัญชาการปฏิวัติ พ.ศ. 2502 ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ กรรมการสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใหม่ (ราชมิตราภรณ์) และประธานคณะที่ปรึกษาองค์การของรัฐ พ.ศ. 2503 กรรมการบริหารสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เลขาธิการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้สั่งและปฎิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี == บทบาททางการเมือง == ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นมียศเป็น อำมาตย์โท และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ได้ถูกปลดออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2475 แต่ในภายหลังได้กลับเข้ารับราชการโดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น เจ้ากรมกองประกาศิต เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2476 ต่อมาได้โอนมารับราชการที่ กระทรวงธรรมการ ก่อนจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2477 ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแทนจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นได้ทำลายประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียและเข้าประชิดเตรียมรุกรานประเทศไทย หลวงวิจิตรวาทการปรึกษากับนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ทั้งสองตัดสินว่า เพื่อป้องกันประเทศไทย มิให้ถูกทำลายโดยกองทัพญี่ปุ่น ประเทศไทยควรยินยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไปสู่แหลมมลายู และให้ดำรงอิสรภาพของประเทศไทยเป็นการตอบแทน หลวงวิจิตรวาทการ สละตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำกรุงโตเกียวที่ประเทศญี่ปุ่นแทนนาย ดิเรก ชัยนาม เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486ในระยะสงครามโลกครั้งที่สองนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ตอบแทนมิตรภาพของประเทศไทย โดยช่วยเหลือให้ประเทศไทยรบยึดคืนแผ่นดินที่ได้สูญเสียแก่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสในประวัติศาสตร์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ด้วยความพ่ายแพ้ของประเทศญี่ปุ่น หลวงวิจิตรวาทการ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเอกอัครราชทูตเยอรมันและเอกอัครราชทูตอิตาลี จึงถูกแม่ทัพสหรัฐนายพล ดักลาส แมคอาเธอร์ สั่งจับเข้าที่คุมขัง คุณหญิงวิจิตรวาทการได้เข้าอธิบายต่อนายพลแมคอาเธอร์ว่าประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเพื่อดำรงอิสรภาพ และปกป้องคุ้มกันประเทศมิให้ญี่ปุ่นทำลาย นายพลแมคอาเธอร์เข้าใจและรับคำอธิบายของคุณหญิงวิจิตรวาทการ สั่งปลดปล่อยหลวงวิจิตรวาทการออกจากที่คุมขัง รวมทั้งจัดการมอบเครื่องบินอเมริกัน นำหลวงวิจิตรวาทการและข้าราชการประจำสถานทูตกลับเมืองไทย แต่เมื่อกลับมาถึงประเทศ รัฐบาลไทยภายใต้นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์ และความควบคุมของพันธมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา จึงจับกุมหลวงวิจิตรวาทการเข้าที่คุมขังในฐานอาชญากรสงคราม หลวงวิจิตรวาทการและจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ถูกกล่าวหาเป็นอาชญากรสงคราม ฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสต้องการให้ประหารชีวิตทั้งสองท่าน แต่สหรัฐอเมริกา ยืนยันว่าต้องดำเนินการขึ้นศาลตัดสินความก่อน ศาลไทยตัดสินความโดยยกเลิกข้อฟ้องทั้งหมดในพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม และปลดปล่อยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หลวงวิจิตรวาทการ และนักโทษการเมืองอื่น ๆ ออกจากที่คุมขัง กลับสู่อิสรภาพ หลวงวิจิตรวาทการกลับมาใช้ชีวิตเป็นนักประพันธ์ แต่งสารคดีและนวนิยาย ประสบความสำเร็จเจริญรุ่งเรืองในชีวิตนอกการเมือง จนสามปีต่อมา จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และหลวงวิจิตรวาทการ ร่วมปรึกษาวางแผนรัฐประหารยึดอำนาจกลับคืนสำเร็จ หลวงวิจิตรวาทการจึงกลับสู่สภาวะนักการเมือง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ภายหลังเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และยูโกสลาเวีย (เซอร์เบีย) และต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี (เทียบเท่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) ในรัฐบาลของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ == แนวคิดเปลี่ยนแปลงชาตินิยม == บทบาทสำคัญที่สุดของหลวงวิจิตรวาทการ ในฐานะนักการเมืองและนักชาตินิยม คือเป็นต้นความคิด ในการเปลี่ยนแปลงชื่อของประเทศสยาม เป็นประเทศไทย หลวงวิจิตรวาทการเป็นนักประวัติศาสตร์ ที่ศึกษาค้นคว้าประวัติของชนชาติไทย โดยอ้างว่าแรกตั้งรากฐานอยู่ที่ทะเลแคสเปียนใกล้ประเทศรัสเซีย และอพยพเข้าสู่เขตยูนนานก่อนชนชาติจีน ถูกชนชาติจีนบุกรุกผลักดันลงสู่ทิศใต้ จนถึงแดนสุวรรณภูมิ มีจำนวนชนชาวไทยทั้งหมดในขณะนั้น ประมาณ 30 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสยาม จึงนำเรื่องขึ้นเสนอต่อจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ว่าสมควรเปลี่ยนชื่อประเทศ จากประเทศสยาม เป็นประเทศไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม จึงแต่งตั้งหลวงวิจิตรวาทการให้เป็นประธานคณะกรรมการ นำเรื่องเปลี่ยนชื่อประเทศขึ้นสู่สภาผู้แทน และสภาผู้แทนแห่งประเทศสยาม จึงลงเสียง เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย ==ผลงาน== หลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้แต่งหนังสือ ประเภทวิชาการและศาสนา ดวงประทีป หนังสือประเภทวิชาการแบบรายทศ ใช้นามปากกาว่า "เวทิก" หนังสือแผ่นปลิว วัดมหาธาตุ ใช้นามปากกว่า "องคต" ประวัติศาสตร์สากล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 เล่ม โดยใช้นามปากกาว่า "วิเทศกรณีย์" ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ จำนวน 8 เล่ม จารึกพ่อขุนรามคำแหงกับคำอธิบาย ศาสนาสากล จำนวน 5 เล่ม วิชชาแปดประการ มหาบุรุษ มันสมอง ความฝัน พุทธานุภาพ กุศโลบาย กำลังใจ กำลังความคิด ดวงหน้าในอดีต ของดีในอินเดีย ลัทธิโยคี การเมืองการปกครองของกรุงสยาม คณะการเมือง ชีวิตแห่งละคร ไปพม่า จิตวิทยา จิตตานุภาพ การเมือง วิธีทำงานและสร้างอนาคต ทางสู้ในชีวิต วิชาการครองเรือนครองรัก กุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่ มหัศจรรย์ทางจิต งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ประเภทบทความและสารคดี ความขบขัน ความหมายการศึกษา วิถีนักเขียน กำเนิดธนบัตร มุสโสลินี แม่ศรี-คู่สร้าง ประเภทบทละครประวัติศาสตร์ นเรศวรประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2477) พ่อขุนผาเมือง ดาบแสนเมือง เจ้าหญิงกรรณิการ์ ลานเลือด-ลานรัก เลือดสุพรรณ (พ.ศ. 2479) ราชมนู ศึกถลาง (พ.ศ. 2480) พระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ. 2480) มหาเทวี น่านเจ้า เจ้าหญิงแสนหวี เบญจเพศ ชนะมาร สีหราชเดโช ตายดาบหน้า เพ็ชรัตน์-พัชรา ลูกพระคเณศวร์ ครุฑดำ โชคชีวิต อนุภาพพ่อรามคำแหง อนุภาพแห่งความเสียสละ อนุภาพแห่งความรัก อนุภาพแห่งศีลสัตย์ ราชธิดาพระร่วง บทละครหลังฉาก สองคนพ่อลูก ในน้ำมีปลา-ในนามีข้าว หลานเขยของคุณป้า ความรักของแม่ สละชีพเพื่องาน น้ำใจแม่ ฝั่งโขง ภริยาสมาชิกสภา สายเสียแล้ว ผีการพนัน เหลือกลั้น แม่สายบัว ขายม้า-หาคู่ เทพธิดากาชาด เสียท่า ประเภทนวนิยายและนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ห้วงรักเหวลึก พานทองรองเลือด ดอกฟ้าจำปาศักดิ์ ฟากฟ้าสาละวิน สวรรค์ยังไม่ทอดทิ้งข้าพเจ้า ยอดเศวตฉัตร ผจญชีวิต ครุฑดำ เสน่ห์นาง กรุงแตก ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน เจ้าแม่จามรี (ใช้นามปากกาว่า "แสงธรรม") เจ้าแม่สาริกา บ่มรัก บุรุษอาธรรม์ สมร ลูกเมียเก่า อนาคตของชาติ (ใช้นามปากกาว่า "ดาวพฤหัส") เพ็ชรพระนารายณ์ บัลลังก์เชียงรุ้ง สละชีพเพื่อชู้ กุหลาบเมาะลำเลิง ทุ่งร้างทางรัก อาทิตย์อัสดง คืนสวรรค์-วันสวาท กรรณิการ์เทวี มรสุมแห่งชีวิต มนต์เรียกผัว เหล็กล้างแค้น เมื่อข้าพเจ้าหนีเมีย ของรักตกตม เลือดล้างเคราะห์ คลุมถุงชน หลุมฝังรัก รักสวยรักศิลป์ เสน่ห์นาง ผัวหาย กุญแจทอง สมร ความรักครั้งหลัง เจ้าแม่จามรี บุรุษอาธรรม์ บ่มรำ เจ้าแม่สาลิกา บทเรียนสร้างชีวิต แปดปีภายหลัง เมื่อไทยเป็นทาส ความรักในกรงขัง เพลงเก่า-เพลงกรรม เลือดก้อนหนึ่ง ชั่วดีพี่สะไภ้ หวานใจเจ้าอนุ กลัวจนหายกลัว ผู้ชนะเลิศ สองชีวิต น้ำตาของแม่ ขวัญตา-ขวัญใจ นางเอกของข้าพเจ้า เนื้อคู่สู่สม ยอดมิ่ง-ยอดมิตร ผัวแท้-ผัวเทียม กลับบ้านดีกว่า นักเขียนราคาแพง ชีวิตคือการต่อสู้ เพื่อมาตุภูมิ ตายสองครั้ง ลูกชายของแม่ ศิลปะสมัยใหม่ หนามบ่งหนาม โชคหลายชั้น บูชารัก รู้ตัวเมื่อจะตาย เพลินพิศ ลูกทาสในเรือนเบี้ย เล่ห์ทำลายรัก กองร้อยมรณะ คืนร้างคืนรัก แฟนหัวใจ เพื่อนเก่าเมียรัก ง่ายนิดเดียว หลังฉากมรณะ ประทุมมาลย์ ไม่กลัวตาย เข็มเล่มเดียว ผิดสัญญา อย่าเล่นกับคำสาบาน ปีศาจการพนัน เมื่อข้าพเจ้าฆ่าตัวตาย สมรสที่เดีเลิศ ชื่นเพราะชู้ - สู้เพราะรัก กรีเซลดา ราตรีโชค ปาฐกถา สุนทรพจน์ และการบรรยาย ความฝัน กำเนิดของหนังสือพิมพ์ การแต่งงาน การศิลปากร ความยุ่งยากในปลายบูรพทิศ วัฒนธรรมสุโขทัย สุนทรพจน์วันสถาปนา สมเด็จพระวันรัต เขมจารี วัดมหาธาตุ การเสียดินแดนไทยให้แก่ฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติระหว่างไทยกับเขมร ชาติไทยจะชนะ ข้อเท็จจริงบางประการ อารยะธรรม ของดีในภาคอีสาน ความรัก ชีวิตของนักประพันธ์ ความเจริญ ความเชื่อในศาสนา ธรรมวิภาค ลักษณะของคน ปัญหาการเงินของเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่ 2 มนุสสปฏิวัติ ตะวันออกกลาง การประหยัด ผลของลัทธินิยมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กัลยาณการี เงินได้ของสรรพากร นโยบายชาตินิยม การทูตของประเทศไทย งานของสำนักนายกรัฐมนตรี ชาติกับศาสนา โลกปัจจุบันในแง่ประวัติศาสตร์ สภาความมั่นคงแห่งชาติ การคลังยามสงคราม ความปลอดภัยของประเทศไทย หลวงวิจิตรวาทการยังเป็นผู้ประพันธ์คำร้องและทำนองเพลงปลุกใจให้รักชาติประกอบเรื่องในละครประวัติศาสตร์ เช่น เพลงตื่นเถิดชาวไทย เพลงต้นตระกูลไทย เพลงรักเมืองไทย เพลงเลือดสุพรรณ เพลงแหลมทอง และเพลงกราวถลางเป็นต้น นอกจากนั้นท่านยังแต่งบทละครอิงประวัติศาสตร์ และเพลงประกอบละครเหล่านั้น ไว้หลายเรื่องและหลายเพลง ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี == เครื่องราชอิสริยาภรณ์ == พลตรี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศต่าง ๆ ดังนี้ === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย === === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ === * พ.ศ. 2486 – 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1 * พ.ศ. 2486 – 80px เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้นที่ 1 * พ.ศ. 2486 – 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีโรมัน ชั้นที่ 1 * พ.ศ. ไม่ปรากฏ – 80px เครื่องอิสริยาภรณ์ดวงอาทิตย์แห่งพฤษภาคม ชั้นที่ 1 == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ละครหลวงวิจิตรวาทการ. บ้านรำไทย. สายชล สัตยานุรักษ์. (2545). ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยหลวงวิจิตรวาทการ. กรุงเทพฯ: มติชน. . Barmé, Scot. (1993). Luang Wichit Wathakan and the Creation of Thai Identity. Singapore: Institute of Southeast Asia Studies. . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไทย วิจิตรวาทการ วิจิตรวาทการ วิจิตรวาทการ ทหารบกชาวไทย เปรียญธรรม 5 ประโยค ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทหารชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง อาชญากรสงครามชาวไทย นักพูด นักแต่งเพลงชาวไทย บุคคลจากอำเภอหนองขาหย่าง ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า) ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ) ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2 เอกอัครราชทูตไทยประจำญี่ปุ่น เอกอัครราชทูตไทยประจำยูโกสลาเวีย บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ชาตินิยมไทย
thaiwikipedia
148
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับส่วนบุคคลที่ใช้ส่วนตัว หรือในครอบครัว เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี 1.เดสก์ท๊อปคอมพิวเตอร์ (desktop computer) คือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนโต๊ะ ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไป มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC Computer) เป็นต้น 2.แล็ปท๊อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สามารถขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-3 กก. การทำงานของแล็ปท็อปจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงจากการเสียบปลั๊กไฟ ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปนั้นเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบปกติ ในขณะที่ราคาของแล็ปท็อปจะสูงกว่า 3.แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (tablet computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง แท็บเล็ตไม่เหมือนกับคอมตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท๊อป ตรงที่อาจไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งานแต่ใช้แป้นพิมพ์ที่ปรากฏบนหน้าจอแทนโดยใช้การสัมผัสในการพิมพ์แทน หรืออาจใช้ ปากกาสไตลัส ปากกาดิจิตอล เป็นอุปกรณ์อินพุตพื้นฐาน แทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ 4.โมบายดีไวซ์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ควบรวมระหว่างคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารสองทาง ส่งข้อความ ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต กล้องถ่ายภาพ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นเพลง เครื่องเล่นภาพยนตร์ จีพีเอส คอมพิวเตอร์ บัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตรประชาชน เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี ของไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นที่มาของคำดังกล่าว - ดู ไอบีเอ็มพีซี คำสามัญ สำหรับเรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เข้ากันได้กับข้อกำหนดจำเพาะของไอบีเอ็ม (IBM compatible) คำสามัญ ที่บางครั้งใช้เรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทุกชนิด == ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล == เครื่องคอมพิวเตอร์จะแบ่งออกเป็น ส่วนของฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่ง ส่วนของ Hardware จะประกอบด้วย CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลาง ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket) ชิปเซต (Chip Set) เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard) หน่วยความจำหลัก (Memory) แบ่งออกเป็น รอม (Read-Only Memory, ROM) และ แรม (Random-Access Memory, RAM) หน่วยความจำสำรอง (Harddisk) (Solid state drive) Compact Disc (CD) แผ่นซีดี (ซีดี) การ์ดแสดงผล (Display Card) การ์ดเสียง (Sound Card) จอภาพ (Monitor) เคส (Case) เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (Keyboard) == ชนิดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล == คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) สมัยก่อนที่เครื่อง พีซี จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย หากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดพอวางบนโต๊ะทำงานได้ก็ถือว่ามีขนาดเล็กแล้ว ปัจจุบัน "คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ" สื่อความไปในทางรูปทรงของตัวเครื่อง (computer case) ที่มีหลากหลายนับแต่รูปทรงตั้งสูงขนาดใหญ่แบบ หอคอย (tower case) หรือ ทรงเล็ก (small form factor) ที่วางแอบไว้หลังจอภาพ LCD ได้ คำว่า Desktop จึงหมายถึงรูปทรงของตัวเครื่องที่หลากหลาย ซึ่งปกติพยายามจะจัดวางโดยให้จอภาพวางอยู่บนตัวเครื่องเพื่อประหยัดพื้นที่วางบนโต๊ะทำงานนั่นเอง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในปัจจุบันจะมีส่วนของจอภาพ และแป้นพิมพ์แยกจากกัน Nettop เป็นชนิดที่แตกแขนงมาจาก คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ชื่อ Nettop ถูกเรียกขานโดยบริษัท อินเทล ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ซึ่งหมายถึงคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ปรับลดต้นทุนและความสามารถลงซึ่งก็คล้ายกับเครื่องแบบ Netbook คอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (Laptop) หรือเรียกว่า คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดจดบันทึก (notebook) เป็นเครื่องพีซีที่มีขนาดเล็กลง นำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ประหยัดพลังงาน มีแบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานเสริมเพื่อสะดวกในการใช้งานในสถานที่ไม่สะดวกจะใช้ไฟบ้าน เน็ตบุ๊ก (Netbook) เป็นการปรับเครื่องแล็ปทอปให้มีขนาดเล็ก นำหนักเบาขึ้น ประหยัดพลังงาน พกพาสะดวก ทำให้สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ ต่างจาก Laptop ที่เคลื่อนย้ายสะดวก แต่ขณะใช้งานเครื่องจะวางอยู่กับที่ Netbook จึงมีขนาดเล็กกว่า Laptop ข้อเด่นของเครื่องแบบนี้คือการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สาย เครื่องมีขนาดจอภาพระหว่าง 7" ถึง 9" ตั้งค่าความละเอียดในการแสดงภาพที่ค่า 800x600 และ 1024x768 หน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรองขนาด 4 GB ถึง 16 GB ตัวอย่างได้แก่เครื่อง Eee PC คอมพิวเตอร์แบบรับข้อมูลด้วยการเขียนบนจอภาพ (Tablet PC) เพื่อให้เครื่องแล็ปทอปมีความคล่องตัวในการใช้งานได้ขณะที่ผู้ใช้ไม่ได้นั่งทำงานกับที่ จึงออกแบบให้สามารถหมุนจอภาพได้ 180 องศา และพับจอภาพลงปิดตัวเครื่องฯ และแป้นพิมพืโดยมีจอภาพหันออกทางด้านบนสภาพเหมือนตอนปิดฝาปิดเครื่อง จอภาพเป็นแบบสัมผัส (touch screen) ใช้รับคำสั่งจากผู้ใช้จากเขียนด้วยปากกา (stylus pen) หรือนิ้วสัมผัส แทนการใช้แป้นพิมพ์และเมาส์ เกิดความคล่องตัวขณะใช้งานที่อาจต้องเคลื่อนที่ตัวเครื่องตลอดเวลา ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้ notebook คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ขนาดกะทัดรัด (Ultra-mobile PC : UMPC) เป็น tablet PC ขนาดเล็กเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทไมโครซอฟ์ท บริษัทอินเทล และบริษัทแซมซุง อาจใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการเป็น Windows XP tablet PC edition 2005 , Windows Vista Home premium edition หรือ Linux ใช้ CPU ที่ใช้พลังงานน้อยของ Intel Pentium หรือ VIA C7-M ที่สัญญาณนาฬิกาประมาณ 1 GHz Home theater PC (HTPC) เป็นอุปกรณ์ที่รวมความสามารถของเครื่องพีซีและเครื่องเล่นวิดีโอแบบดิจิตอลเข้าไว้ในอุปกรณ์ที่มีรูปร่างเหมือนเครื่องเล่นวิดีโอทั่วไป และอาจมีแป้นพิมพ์ โดยเชื่อมต่อกับโทรทัศน์หรือจอภาพคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าโทรทัศน์ ใช้ในกิจกรรมความบันเทิงภายในครอบครัว เช่น ชมภาพยนตร์ ภาพถ่าย ฟังเพลง วัตถุประสงค์หลักคือทำให้เราสามารถโปรแกรมการทำงานของโทรทัศน์แบบ home theater และเครื่องเล่นวิดีโอแบบดิจิตอลได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่น Windows Media Center ตั้งโปรแกรมการรับชม หรือบันทึกรายการที่ต้องการได้ Pocket PC เป็นคอมพิวเตอร์มือถือ (hand held) ขนาดเท่าโทรศัพท์มือถือ ใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows Mobile หรืออาจใช้โปรแกรมทางเลือกอื่นเช่น NetBSD หรือ Linux เครื่องมีขีดความสามารถใกล้เคียงกับ desktop PC ยังมีอุปกรณ์เสริมเช่น GPS receivers , barcode leister city, RFID leister city และกล้องถ่ายรูป == แหล่งข้อมูลอื่น == ประวัติความเป็นมาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โรงเรียนไพศาลีพิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ ประเภทของคอมพิวเตอร์ สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
thaiwikipedia
149
ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช
ในกรณีที่ดูแมคโอเอสรุ่นปัจจุบัน โปรดดูที่ โอเอสเทน แมคโอเอส (Mac OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช โดยทั้งคู่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์. แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) รายแรกที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ รุ่นแรกๆ ของระบบปฏิบัติการนี้ ไม่ได้ใช้ชื่อแมคโอเอส, อันที่จริงระบบปฏิบัติการนี้ในรุ่นแรกๆ ยังไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำ ทีมพัฒนาแมคโอเอสประกอบด้วย บิลล์ แอตคินสัน, เจฟ รัสกิน, แอนดี เฮิตซ์เฟลด์ และคนอื่นๆ แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมเป็นอันดับสองรองจาก วินโดวส์ == แมคโอเอสรุ่นต่างๆ == แรกสุดนั้นแมคโอเอสถูกเรียกว่า ซิสเต็ม (System) และเปลี่ยนมาใช้คำว่า แมคโอเอส ครั้งแรกใน แมคโอเอส 7.5 (ค.ศ. 1996) เนื่องจากเครื่องแมคเลียนแบบที่แพร่หลายในยุคนั้น ทำให้แอปเปิลต้องการแสดงว่าแมคยังเป็นลิขสิทธิ์ของตนอยู่ แมคโอเอสสามารถแบ่งได้เป็นสองยุค คือ Classic นับตั้งแต่แมคโอเอสตัวแรกสุด จนถึงแมคโอเอส 9 แมคโอเอสเท็น (Mac OS X) ใช้แกนกลางที่พัฒนามาจากยูนิกซ์ ตระกูลบีเอสดี โดยปัจจุบันนั้นแมคโอเอสเท็นได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์แมคอินทอชรุ่นใหม่ ที่ได้ใช้หน่วยประมวลระบบสถาปัตยกรรม x86 Intel แล้ว แต่ยังสามารถที่จะใช้งานได้เฉพาะคอมพิวเตอร์จากแมคอินทอชเท่านั้น === แมคโอเอสเท็น === ดูรายละเอียดในหัวข้อ แมคโอเอสเท็น และ Mac OS X v10.5 == เทคโนโลยีที่ใช้ในแมคโอเอส == QuickDraw: the imaging model which first provided mass-market WYSIWYG Finder: the interface for browsing the filesystem and launching applications MultiFinder: the first version to support simultaneously running multiple apps Chooser: tool for accessing network resources (e.g., enabling AppleTalk) ColorSync: technology for ensuring appropriate color matching Mac OS memory management: how the Mac managed แรม and virtual memory before the switch to ยูนิกซ์ PowerPC emulation of Motorola 68000: how the Mac handled the architectural transition from CISC to RISC (see Mac 68K emulator) Desk Accessories: small "helper" apps that could be run concurrently with any other app, prior to the advent of MultiFinder or System 7. PlainTalk: speech synthesis and speech recognition technology Mac-Roman : Character set == แหล่งข้อมูลอื่น == Apple Computer ถามตอบเกี่ยวกับ แมคโอเอส == อ้างอิง == ระบบปฏิบัติการของแอปเปิล แมคโอเอส
thaiwikipedia
150
โบราณคดี
โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่าง ๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่น ๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ ละอองเรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และมีกรมศิลปากร เป็นหน่วยงานราชการหลักที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางโบราณคดีส่วนใหญ่ในประเทศไทยและมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย. == วิธีวิทยาทางโบราณคดี == การศึกษาโบราณคดี การศึกษาทางโบราณคดีเป็นการศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว การที่จะทราบเรื่องราวของมนุษย์ในยุคใดในสมัยใดได้ละเอียดมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับหลักฐานที่พบเป็นหลัก แนวทางการศึกษาทางโบราณคดีอาจแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. การสำรวจ (survey) เป็นการตรวจหาแหล่งโบราณคดี อาจทำได้โดยการตรวจสอบจากภาพถ่ายทางอากาศ การศึกษาจากเอกสารและการเดินสำรวจเพื่อเป็นการรวบรวมหลักฐานสำหรับประเมินค่าของแหล่งโบราณคดีนั้น ๆ ในการวางแผนขุดค้นต่อไป 2. ขุดค้น (excavation) เป็นกรรมวิธีขั้นที่สองของการศึกษาทางโบราณคดี เพื่อให้ได้หลักฐานที่ถูกต้องมากที่สุด การขุดค้นจะต้องทำอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้หลักฐานที่ถูกต้องมากที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นการทำลายหลักฐานที่ทับถมอยู่ในดินเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปีจึงต้องมีการบันทึกอย่างละเอียด และการวาดภาพหรือถ่ายภาพประกอบด้วย 3. วิเคราะห์ (analysis) หลักฐานที่ได้จากการขุดค้น จะต้องนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อหาแบบอย่างของรูปร่างของสิ่งของที่ขุดได้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไป 4. การแปลความ (interpretation) และการเขียนรายงานเป็นการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจการขุดค้น และการวิเคราะห์แล้วนำมาแปลความหมายเพื่อเขียนเป็นรายงานพิมพ์ออกเผยแผร่และจัดนิทรรศการสรุปเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนั้น สมัยนั้นต่อจากนั้นก็เป็นการรักษาโบราณศิลปวัตถุที่ค้นพบซึ่งได้แก่ การจัดแสดงข้อมูลในพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการนำเสนอข้อมูลการศึกษาทางโบราณคดีต่อสาธารณชน. == บทความภาษาไทย == ศ.เกียรติคุณ ปรีชา กาญจนาคม. "โบราณคดีเบื้องต้น" (2557) == แหล่งข้อมูลอื่น == สำนักโบราณคดี เว็บไซต์ สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร หน้าบ้านโบราณคดี เว็บรวมเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณคดี โบราณคดีสาธารณะ เว็บเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโบราณคดี คณะโบราณคดี เว็บไซต์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ==อ้างอิง== โบราณคดี บ
thaiwikipedia
151
แอนิเมชัน
แอนิเมชัน หรือ ชีวลักษณ์ (animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูงโดยการนำภาพนิ่งมาเรียงต่อกัน การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดหรือสตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา ในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบแอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มีหลายรูปแบบไฟล์เช่น GIF APNG MNG SVG แฟลช และไฟล์สำหรับเก็บวีดิทัศน์ประเภทอื่น ๆ == ตัวอย่างแอนิเมชัน == เมื่อนำมาฉายต่อเนื่องกันจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว Animexample.gifตัวอย่างแอนิเมชันนี้เคลื่อนด้วยความเร็ว 10 เฟรมต่อวินาที Animexample2.gifแอนิเมชันนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2 เฟรมต่อวินาที == อุปกรณ์ของผู้ทำแอนิเมชัน == อุปกรณ์ในการนำมาสร้างแอนิเมชันนั้นถ้าไม่นับคอมพิวเตอร์ก็จัดว่าค่อนข้างมีราคาสูงและหายากเลยทีเดียว ซึ่งแตกต่างกับความสามารถซึ่งนับว่าจำเป็นสำหรับการทำงานเป็นอย่างมาก ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีแท็บเล็ตที่ผู้ทำแอนิเมชันในไทยทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับต้นฉบับหรือในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ผู้ทำแอนิเมชันเหล่านั้นยังคงพูดกันว่า อุปกรณ์หลัก ๆ ในการทำงานก็ยังคงเป็นกระดาษ ดินสอ และโต๊ะไฟ เพียงแต่มีแท็บเล็ตหรือเมาส์ปากกาเป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาช่วยในการทำงานขั้นตอนสุดท้ายก่อนการตัดต่อได้เร็วขึ้น == ประวัติ == เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักสร้างภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นเริ่มทดลองใช้เทคนิคการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนซึ่ง กำลังถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างภาพยนตร์การ์ตูนของตนเอง ในทศวรรษที่ 1970 ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นได้พัฒนาลักษณะเฉพาะตัวขึ้นจนสามารถแบ่งแยกออกจาก ภาพยนตร์การ์ตูนของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์การ์ตูนหุ่นยนต์ยักษ์ซึ่งไม่สามารถหาได้ในสหรัฐ อเมริกาเลย ในทศวรรษที่ 1980 อนิเมะได้รับความนิยมกว้างขวางในญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการสร้างอนิเมะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษที่ 1990 และ 2000 ชื่อเสียงของอนิเมะได้แพร่ขยายไปยังนอกประเทศญี่ปุ่น พร้อมๆการขายบริการของเหล่าทั้งหลาย กับการขยายตัวของตลาดอนิเมะนอกประเทศ == ดูเพิ่ม == อนิเมะ - ชื่อเรียกการ์ตูนแอนิเมชันของญี่ปุ่น คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน - การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์
thaiwikipedia
152
ลามู ทรามวัยจากต่างดาว
ลามู ทรามวัยจากต่างดาว เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องและภาพโดยรูมิโกะ ทากาฮาชิ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มวัยรุ่นโรงเรียนมัธยมปลายโทโมบิกิ ที่มีสาวน้อยต่างดาวชื่อลามู ผู้หลงรักอาตารุ โมโรโบชิ หนุ่มจอมชู้จอมกะล่อนประจำเมือง การ์ตูนเรื่องนี้เคยฉายออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ในปัจจุบันเมื่อหลายสิบปีก่อน โดยใช้ชื่อว่า "ลามู สาวน้อยมหัศจรรย์" พากย์เสียงภาษาไทยโดย ทีมพากย์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. นำโดย "น้าต๋อยเซมเบ้" ซึ่งพากย์เสียงเป็นอาตารุ พระเอกของเรื่อง == เนื้อเรื่อง == อาตารุหนุ่มจอมกะล่อนได้ถูกคัดเลือกตัวให้ไปแข่งขันกับผู้รุกรานโลก (เผ่ายักษ์) โดยให้แข่งวิ่งไล่จับกับลามู มีเงื่อนไขว่า ถ้าอาตารุสามารถจับเขาของลามูได้ภายใน 10 วัน พวกเผ่ายักษ์จะกลับไป แต่ถ้าไม่ได้โลกจะต้องถูกยึด ผ่านไปวันแล้ววันเล่าก็ไม่มีวี่แววว่าอาตารุจะทำได้ ชิโนบุจึงตัดสินใจไปบอกอาตารุว่าถ้าหากอาตารุทำได้เธอจะแต่งงานกับอาตารุ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อาตารุมีแรงฮึดสู้ขึ้นมา วันต่อมาอาตารุสามารถจับเขาของลามูได้สำเร็จ และด้วยความดีใจเขาจึงหลุดปากออกไปว่า "ชั้นได้แต่งงานแล้ว" ลามูเข้าใจผิดจึงบอกว่า "ตกลง ถ้าพูดถึงขนาดนั้นล่ะก็ ชั้นจะแต่งงานด้วย" และนี่คือที่มาของเรื่องทั้งหมด หลังจากวันนั้น ลามูตัดสินใจมาอยู่ที่โลกกับอาตารุ และเรียกอาตารุว่า "ดาร์ลิ่ง" ตลอด ลามูมักจะนำเรื่องมาให้อาตารุได้ปวดหัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องมืออันทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นอาหารต่างดาวที่แสนอร่อยแต่ให้ผลข้างเคียงสุดประหลาด แต่เรื่องที่อาตารุเห็นจะชอบที่สุดก็คงเป็นเรื่อง เพื่อนต่างดาวแสนสวยของลามูนั่นเอง == ตัวละคร == โมโรโบชิ อาตารุ เด็กหนุ่มมัธยมปลายจอมกะล่อน ชอบจีบสาวเป็นชีวิตจิตใจ นิสัยบ้า ๆ บอ ๆ เจอเรื่องซวยได้แทบทุกวัน ปากบอกลามูว่ารำคาญ แต่ใจจริงแอบรักลามู ลามู อินเวเดอร์ หรือ ลัม อินเวเดอร์ (ในชื่อภาษาอังกฤษใช้ชื่อ Lum) เจ้าหญิงของโอนิ (ยักษ์ชนิดหนึ่ง) มีความสามารถพิเศษคือบินได้และปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ ตามติดอาตารุไม่ยอมห่าง ถ้าเห็นอาตารุนอกใจ เธอจะปล่อยกระแสไฟฟ้าทันที มิยาเกะ ชิโนบุ เคยเป็นเพื่อนหญิงของอาตารุ มีพละกำลังสูง เคยถึงขนาดขว้างโต๊ะเรียน เม็นโด ชูทาโร หนุ่มผู้ดีมีตระกูลรูปหล่อลูกเศรษฐี แต่กลัวที่มืดและที่แคบ ถ้าถูกขังอยู่ในที่มืดจะร้องว่า "แง! มืดจัง แคบจัง หนูกลัว" (แต่ถ้ามีผู้หญิงอยู่ด้วยล่ะก็ ตรงกันข้ามเลย) นิสัยเหมือนอาตารุ เม็นโด เรียวโกะ เป็นน้องสาวของชูทาโร หน้าตาน่ารักแต่ชอบเล่นอะไรแผลง ชอบเล่นระเบิด เรียวโกะเคยทำตุ๊กตาฟางของเม็นโดขึ้นมา แล้วไปฝากไว้ที่อาตารุ ทำเอาเม็นโดแทบตาย ฟูจินามิ ริวโนะสุเกะ ผู้หญิง แต่ถูกเลี้ยงมาแบบผู้ชายตั้งแต่เด็ก นิสัยเลยเหมือนผู้ชาย อาจารย์ซากุระ ครูห้องพยาบาลประจำโรงเรียนโทโมบิกิ แต่ตัวจริงเป็นมิโกะ ถึงแม้ว่าอาจารย์ซากุระกินอาหารแต่ละมื้อเยอะจนไม่น่าเชื่อแต่ยังคงรักษาหุ่นได้ดี ซากุรันโบ หรือ เชอร์รี่ เป็นลุงของซากุระ และเป็นพระด้วย นิสัยตะกละ และสร้างเสียงหัวเราะให้กับคนอื่น มิสึโนะโคจิ โทบิมาโร เม็นโด้มักจะเรียกเขาว่า ทอนจัง ส่วนโทบิมาโร่จะเรียกเม็นโด้ว่า "ชูจัง" ตระกูลนี้เป็นศัตรูกับตระกูลเม็นโด้ โทบิมาโรมักจะเล่นเบสบอลอยู่บ่อย ๆ แต่ชอบกลืนลูกเบสบอลที่อีกฝ่ายตีมา มิสึโนะโคจิ อาซึกะ น้องสาวของโทบิมาโร เป็นโรคกลัวผู้ชาย เพราะเธอไม่เคยเจอผู้ชายเลยตั้งแต่เกิด ตามธรรมเนียมของบ้านมิสึโนะโคจิที่ถ้าหากว่ามีลูกสาวจะต้องห้ามไม่ให้พบผู้ชายจนกว่าจะอายุ 15 ปี เวลาเจอผู้ชายจะ ผลักผู้ชายออกไปไกลลิบ อาซึกะแรงเยอะมาก ถึงขนาดใส่ชุดเกราะเหล็ก 200 กิโลกรัม วิ่ง 100 เมตร ได้ภายใน 12 วินาที นิสัยติดพี่ชาย ชอบมานอนห้องพี่ชายบ่อย เร เป็นพวกเผ่ายักษ์เหมือนลามูและเป็นผู้ชายที่หล่อที่สุดในอวกาศและเป็นคู่หมั้นของลามู กินอาหารได้หมดทุกอย่าง แต่เพราะนิสัยแบบนี้ลามูเลยหนีมา รัน เป็นเพื่อนสมัยเด็กของลามู แต่มีความแค้นส่วนตัวกับลามูที่สมัยเด็กได้ไปแอบชอบ เร คนเดียวกัน แต่เรได้หมั้นกับลามูแทน รันมาที่โลกเพื่อแก้แค้นลามูโดยการแย่งอาตารุ ความสามารถของรันคือสามารถจูบเพื่อดึงเอาความหนุ่มสาวไปได้ โอยุคิ เป็นเพื่อนสมัยเด็กของลามู และเป็นนางพญาหิมะของดาวเนปจูน เป็นคนที่เย็นชา เบ็นเท็น เป็นเพื่อนสมัยเด็กของลามู มีแรงเยอะมาก จาริเท็น หรือ เท็นจัง เป็นเด็กเผ่ายักษ์ลูกพี่ลูกน้องของลามู พ่นไฟได้ นิสัยกะล่อนเจ้าชู้เหมือนกับอาตารุ เท็นจังแอบชอบซากุระอยู่ == รายชื่อตอน == == เกม == เกมจากการ์ตูน ลามู == เสียงตอบรับ == ซีรีส์ชุดหนังสือการ์ตูนมังงะ 「うる星やつら」"อูรูเซ ยัตสึระ" หรือ ลามู ทรามวัยจากต่างดาว ได้รับรางวัล โชงะกุกังมังงะอวอร์ด (Shogakukan Manga Award) รวมสองสาขา โชเน็ง (Shōnen) โชโจะ (Shōjo) เมื่อปี พ.ศ. 2523 และได้รับรางวัล เซอุงอวอร์ด (Seiun Award) ในงานประกาศรางวัล ครั้งที่ 18 ในปี พ.ศ. 2532 และลามู ทรามวัยจากต่างดาว ได้รับอันดับ 1 จากการโหวตในประเภทเพลงประกอบยอดเยี่ยม ปี พ.ศ. 2524 ในการประกาศรางวัล อนิเมะกรังด์ปรีซ์ (Anime Grand Prix) ซึ่งจัดโดยนิตยสารอะนิเมจ ในเพลงเปิดชื่อเพลง ラムのラブソング (Lum no Love Song) แล้วปีต่อมา พ.ศ. 2525 ตอนที่ 67 ด้วยชื่อตอน 君去りし後 "Kimi sarishi ato" ได้รับการโหวตให้เป็นอันดับ 1 ของรางวัลประเภทตอนสุดประทับใจ สำหรับในประเทศไทย ลามู ทรามวัยจากต่างดาว เป็นที่รู้จักดีในประเทศไทยในเวลาไม่นานหลังจากญี่ปุ่นทั้งอนิเมะและหนังสือการ์ตูน อย่างไรก็ตามการนำเข้าแบบลิขสิทธิ์ถูกต้องที่พอจะมีบันทึกไว้ได้แก่ ภาพยนตร์ ลามู สาวน้อยมหัศจรรย์ ยอดรักนักฝัน (Urusei Yatsura Beautiful Dreamer) ปีพ.ศ. 2543 มีการออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยทีมพากย์เสียงภาษาไทยนำโดย น้าต๋อยเซมเบ้ และมีวีซีดีวางขายภายใต้ลิขสิทธิ์ของไทก้า รวมทั้งหนังสือการ์ตูน 34 เล่มจบ ตีพิมพ์ลิขสิทธิ์โดย สยามอินเตอร์คอมิกส์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ข้อมูลมังงะลามู ทรามวัยจากต่างดาว ที่อนิเมะนิวส์เน็ตเวิร์ก ข้อมูลอนิเมะลามู ทรามวัยจากต่างดาว ที่อนิเมะนิวส์เน็ตเวิร์ก ลามู ทรามวัยจากต่างดาวในเว็บไซต์การข่าวผลงานการ์ตูนของรูมิโกะ ทากาฮาชิ รูมิคเวิลด์ (แฟนคลับ) ล‎ ล‎ ล ล‎ ล‎ มังงะของสำนักพิมพ์โชงากูกัง อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2524 ปิเอโร (บริษัท) สิ่งมีชีวิตนอกโลกในอนิเมะและมังงะ การ์ตูนญี่ปุ่นแนวสุขนาฏกรรมจินตนิยม
thaiwikipedia
153
ราฟ
ราฟ (Rough) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเขียนและแต่งโดย มิสึรุ อะดะชิ ในปี 2530-2532 และถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ในปี 2548 โดยใช้ชื่อในไทยว่า "รักต้องลุย" เรื่องราวของ ความรักวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมปลายเอเซ็น ยามาโตะ เคสุเกะ นักกีฬาว่ายน้ำ และนักกีฬากระโดดน้ำ นิโนมิยะ อามิ == เนื้อเรื่อง == เนื้อเรื่องเริ่มจากครอบครัวยามาโตะ และครอบครัวนิโนมิยะ เป็นร้านขายขนมญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ามาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณปู่ โดยทั้งตระกูลยามาโตะและนิโนมิยะนั้น ทำธุรกิจขนมญี่ปุ่น เป็นคู่แข่งทางการค้ากันมาตั้งแต่สมัยคุณปู่ ทำให้สองตระกูลนี้ไม่ถูกโฉลกกัน โดยเฉพาะคุณพ่อนิโนมิยะ จะมีความเคียดแค้นต่อตระกูลยามาโตะมากที่สุด เรื่องราวความรักของสองคนดำเนินไปด้วยอุปสรรคอันมากมาย ซึ่งนอกจากอุปสรรคทางครอบครัวแล้ว ยังมี นาคานิชิ นักว่ายน้ำอันดับหนึ่งของประเทศ เป็นอุปสรรคความรักของทั้งสองด้วย ไอชุนเขียน... == ตัวละคร == ยามาโตะ เคสุเกะ : นักกีฬาว่ายน้ำคนเก่งของโรงเรียนเอเซ็น ลูกชายตระกูลขนมยามาโตะ นิโนมิยะ อามิ : นักกีฬากระโดดน้ำของโรงเรียนเอเซ็น ลูกสาวตระกูลขนมนิโนมิยะ นากานิชิ ฮิโรกิ : นักกีฬาว่ายน้ำอาชีพ แอบชอบนิโนมิยะ อามิ โองะตะ ทาเคชิ โคยานางิ คาโอริ == รายชื่อตอน == การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ ภาพยนตร์ญี่ปุ่น อนิเมะและมังงะเกี่ยวกับกีฬา‎
thaiwikipedia
154
คนเก่งทะลุโลก
คนเก่งทะลุโลก หรือ คนเก่งฟ้าประทาน หรือ ผีไม่ใช่ผี (; คำแปล: สมุดปกขาวเรื่องผี) เป็นมังงะการ์ตูนญี่ปุ่น ที่แต่งและวาดโดยโยชิฮิโระ โทงาชิ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ได้รับการสร้างเป็นอนิเมะและวิดีโอเกม และสินค้าต่าง ๆ ออกมาจำนวนมาก เคยออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (หรือโมเดิร์นไนน์ทีวีในปัจจุบัน) ในช่วงช่อง 9 การ์ตูน (หรือโมเดิร์นไนน์การ์ตูนในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2541 == เนื้อเรื่อง == ภาคสายลับโลกวิญญาณ ตอนที่ 1-26 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหนุ่มจอมเกเร อุราเมชิ ยูสึเกะ จากการเข้าไปช่วยเด็กน้อยให้พ้นจากอุบัติเหตุกลับทำให้เขาต้องเสียชีวิตแทนด้วยความดีนี้ทำให้โลกวิญญาณให้โอกาสเขาฟื้นคืนชีพได้ (เป็นกรณีพิเศษร้อยปีมีครั้ง เพราะยูสึเกะทำไปโดยไร้ความคิด) และมีชีวิตอยู่ในฐานะของ "นักสืบโลกวิญญาณ" คอยจัดการกับเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิญญาณและปิศาจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์ ภาคงานประลองแห่งความมืด ตอนที่ 27-66 ยูสึเกะและพรรคพวกได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานประลองที่จัดขึ้นบนเกาะห่างไกล เป็นเวทีต่อสู้อันโหดเหี้ยมของปิศาจที่มีเบื้องหลังคือมนุษย์ผู้ละโมบ โดยจุดหมายสูงสุดก็คือการเอาชนะ "โทคุโร่" ศัตรูเก่าที่เคยประมือกันมาแล้ว หากไม่สามารถชนะได้ก็ตายสถานเดียว ภาคโลกสีดำ ตอนที่ 67-94 มีรายงานจากโลกวิญญาณถึงช่องว่างระหว่างมิติที่บิดเบี้ยวอันจะส่งผลให้ปิศาจระดับสูงสามารถเล็ดลอดผ่านเข้ามาในโลกมนุษย์ได้พวกยูสึเกะจึงต้องสืบถึงต้นตอของเรื่องนี้และจากช่องว่างที่บิดเบี้ยวนี้เองทำให้เกิดมนุษย์ผู้มีพลังพิเศษขึ้นพวกยูสึเกะต้องเอาชนะเหล่าผู้มีพลังพิเศษให้ได้เพื่อหยุดยั้งจุดมุ่งหมายร้ายกาจที่จะเปลี่ยนโลกเป็นดินแดนแห่งปิศาจของพวกเขา ภาคสามราชาโลกปิศาจ ตอนที่ 95-112 หลายร้อยปีมาแล้วที่สามปิศาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่างก็รวบรวมพรรคพวกจนก่อตั้งเป็นกองกำลังของตนขึ้นมาและคานอำนาจกันมาตลอดบัดนี้ เทพสงครามไรเซ็น หนึ่งในสามราชาปิศาจผู้แข็งแกร่งกำลังจะเสียชีวิตลง จึงทำให้สมดุลของโลกปิศาจที่รักษากันมาหลายร้อยปีกำลังจะสูญเสียไป ยูสึเกะและผองเพื่อนจึงถูกโยงเข้ามาพัวพันกับเรื่องราวเหล่านี้ === ตัวละครหลัก === อุราเมชิ ยูสึเกะ เด็กหนุ่มจอมเกเร ชอบโดดเรียน ทะเลาะวิวาทตั้งแต่อายุ 14 เป็นคนร่าเริง เฮฮามาก ๆ แต่ลึก ๆ แล้วก็เป็นคนดีซึ่งมาปรากฏชัดในตอนที่เขายอมสละชีวิตตนเอง เพื่อช่วยชีวิตเด็ก ให้รอดพ้นจากอุบัติเหตุ จึงได้รับการทดสอบเป็นนักสืบโลกวิญญาณ พลังของยูสึเกะคือการยิงกระสุนพลังวิญญาณออกจากนิ้วมือ พลังของเค้าพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว โดยมีอาจารย์เก็นไคคอยสอน แต่ในที่สุด ก็สามารถใช้ท่าไม้ตายที่เหนือกว่ากระสุนพลังจิตได้ คือ กระสุนพลังปิศาจ และกระสุนพลังจิตปิศาจ นั่นเอง แต่จะใช้ได้ ก็ต่อเมื่อ มีลวดลายเผ่าปิศาจปรากฏบนร่างกายเท่านั้น และความลับของยูสึเกะ ก็คือ ตระกูลของยูสึเกะสืบสายเลือดจากไรเซ็น 1 ใน 3 ราชาปิศาจแห่งโลกปิศาจ คุวาบาระ คาซึมะ (桑原和真) เป็นหนึ่งในหัวโจกของโรงเรียนมัธยมคารายะซึกิ เป็นรองแค่อุราเมชิ ยูสึเกะเท่านั้น เป็นคนที่หน้าตาแย่ที่สุดในกลุ่ม ภายนอกดูเป็นคนเถื่อน หยาบคาย แต่ใจจริงเป็นคนดี รักเพื่อนพ้อง และชอบเลี้ยงแมวมาก คุวาบาระยังเป็นผู้ที่มีสัมผัสทางด้านวิญญาณในขั้นยอดเยี่ยมอีกด้วย พลังของคุวาบาระคือการเปลี่ยนพลังวิญญาณให้อยู่ในรูปของดาบและมีความอึดเป็นเลิศ ไม่เคยยอมแพ้อะไรง่าย ๆ มินามิโนะ ชูอิจิ (蔵馬) หรือ [ปีศาจจิ้งจอกโยโก คุรามะ] ปีศาจหนุ่มผู้มีพลังในการบงการพืชให้เป็นอาวุธ หรือคุณประโยชน์อื่น ๆ ได้ มีสติปัญญาเป็นเลิศ สุภาพ อ่อนหวาน สุขุม แต่มีความอำมหิตแฝงอยู่ จะแสดงออกมาต่อเมื่อโกรธจริง ๆ ในอดีตเขาคือปิศาจจิ้งจอกสีเงินโยโค คุรามะปีศาจผู้ไร้ความปราณี จอมขโมยและขึ้นชื่อเรื่องความโหดเหี้ยมจากโลกปิศาจ แต่ถูกทางโลกวิญญาณตามล่าในเวลาต่อมา จนต้องหนีมาที่โลกมนุษย์รวมร่าตนเองกับวิญญาณเด็กในท้องของหญิงสาวคนหนึ่งบนโลกมนุษย์ แล้วได้ชื่อว่า มินามิโนะ ชูอิจิ จนได้มาพบกับฮิเอแล้วรวมกลุ่มกัน เพื่อไปขโมยสมบัติของโลกวิญญาณ 3 ชิ้น หลังจากเหตุการณ์ขโมยครั้งนี้ คุราม่าก็ได้เจอกับยูสึกเกะกับคุว่าบาร่า ระหว่างไปทำภารกิจขลุ่ยปีศาจของ 4 จอมอสูร แต่ท้ายที่สุด โคเอ็นม่าตัดสินใจให้คุราม่ามาเป็นผู้ช่วยและร่วมทีมกับยูสึเกะทุกครั้งที่มางานเข้ามา ในกลุ่ม 4 คน คุราม่าเป็นที่นิยมในหมู่สาว ๆ มากที่สุด ฮิเอ (飛影) ปีศาจหนุ่มผู้มีพลังหมัดเพลิง และวิชาสังหารแบบพริบตา นิสัยเงียบขรึมคล้ายคุรามะ แต่ใจร้อนทันทีหากถูกเย้ยใส่ และอำมหิตแบบนักฆ่าตลอดเวลา ถือกำเนิดขึ้นจากดินแดนน้ำแข็ง แต่ตนเองกลับมีพลังควบคุมเพลิงได้ จึงตกอยู่ในฐานะตัวกาลกิณีของบ้านเกิด จึงต้องถูกสั่งฆ่าต้องแต่แบเบาะ แต่แม่ของฮิเอได้แอบมอบของต่างหน้าพร้อมบอกว่า "จะมาแก้แค้นเขาเมื่อไหร่ก็ได้" แล้วแม่ของฮิเอก็แสร้งว่าฆ่าฮิเอแล้ว หลังจากนั้นก็ใช้ชีวิตอย่างโจรมาตลอด แต่ก็ได้รับการฝึกฝนการต่อสู้ระหว่างพเนจรไปเรื่อย ๆ จนเป็นที่กล่าวขานว่า อัจฉริยะด้านการฆ่าฟัน กระทั่งได้พบกับยูสึเกะในโลกมนุษย์ ฮิเอะไม่ได้เต็มใจมาเข้าพวกสักเท่าไหร่ แต่ก็ฝีมือการต่อสู้ก็พึ่งพาได้เสมอ พลังของฮิเอะคือการควบคุมเพลิงของโลกปิศาจในรูปของมังกรดำ === ตัวละครรอง === ปรมาจารย์เก็นไค (幻海) เป็นอาจารย์ของยูสึเกะ มีชื่อเสียงอย่างมากในวงการศาสตร์การต่อสู้ทุกแขนงในญี่ปุ่น รวมถึงยังเป็นผู้ที่มีพลังวิญญาณแข็งแกร่งจนเหล่าปีศาจยังรู้จัก ปรากฏตัวในช่วงที่ยูซึเกะได้รับคำสั่งจากโบตั๋นให้ไปตามหาปีศาจรันโด้ ที่ปลอมตัวเข้ามาในช่วงสมัครผู้สืบทอดพลังวิญญาณในสำนักฝึกวิชาของเก็นไค และปรากฏตัวอีกครั้ง ในฐานะนักสู้ผ้าคลุมหน้า ในช่วงการประลอง อุราเมชิ อาสึโกะ (浦飯温子) แม่ของยูสึเกะ คลอดยูสึเกะเมื่อตอนอายุ 15 ปี แม้จะทำตัวสำมะเลเทเมาไปบ้าง ทั้งชอบกินเหล้า และติดการพนัน แต่ก็รักและห่วงยูสึเกะมาก คุวาบาระ ชิซึรุ (桑原静流) พี่สาวของ คุวาบาระ คาซึมะ อายุ 18 ปี มีพลังวิญญาณแรงกล้าเหมือนน้องชาย ปากร้ายเป็นบางครั้ง เป็นที่พึ่งของน้อง ๆ ได้ดี ตอนประลองยุทธในโลกมืดก็มาช่วยเชียร์เหมือนกัน ยูกินะ (雪菜) ธิดาหิมะ น้องสาวฝาแฝดของฮิเอ แต่ใบหน้าและลักษณะนิสัยไม่มีความคล้ายคลึงกับฮิเอเลยแม้แต่น้อย ออกเดินทางตามหาพี่ชายจนหลงเข้ามาในโลกมนุษย์ และถูก ทารุคาเนะ กอนโซ จับตัวขังไว้ในเขตอาคม ทารุคาเนะทรมานยูกินะด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา เพื่อให้เธอหลั่งน้ำตาออกมา เพราะน้ำตาของธิดาหิมะ เมื่อหลั่งออกมาแล้วจะแข็งตัว กลายเป็น "หินหยาดน้ำตา" อัญมณีที่มีราคาสูงยิ่ง ยูกินะต้องทนอยู่ในสภาพนั้นเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งยูสึเกะกับคุวาบาระเข้าไปช่วยเหลือเธอออกมาตามคำสั่งของโลกวิญญาณ ยูกิมุระ เคโกะ (雪村螢子) เพื่อนของยูสึเกะตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ชอบทะเลาะกับยูสึเกะเป็นประจำ บ้านของเคโกะเปิดร้านขายอาหาร เธอช่วยพ่อแม่ทำอาหารเป็นประจำจึงมีฝีมือด้านการทำอาหารอยู่พอตัว ตอนที่ยูสึเกะได้รับการคืนชีพ เคโกะก็ช่วยมอบพลังชีวิตทำให้ยูสึเกะสามารถฟื้นขึ้นมาได้อีกครั้ง ในการประลองยุทธในโลกมืด เธอมาเชียร์ยูสึเกะด้วย และคอยให้กำลังยูสึเกะตลอดเวลา === โลกวิญญาณ === โคเอ็นม่า (コエンマ) บุตรชายของจ้าวยมบาลแห่งโลกวิญญาณ หรืออีกชื่อคือ "มัจจุราชน้อย" เป็นผู้ที่เฝ้าดูการเดินทางของยูสึเกะมาตั้งแต่แรก และคอยดูแลมอบหมายภารกิจต่าง ๆ ให้ โบตั๋น (ぼたん) วิญญาณที่คอยนำทางยูสึเกะในช่วงที่ยูสึเกะเข้าสู่นรกครั้งแรก และหลังจากนั้นเป็นผู้ที่นำคำสั่งจากโคเอนม่ามาให้ยูสึเกะตลอด จ้าวยมบาล (エンマ大王) จ้าวยมบาลแห่งโลกวิญญาณ ผู้ปกครองโลกวิญญาณ คอยดูแลเหล่าวิญญาณทั้งมนุษย์และปีศาจต่าง ๆ ปู (プー) สัตว์วิญญาณของโลกวิญญาณ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับพลังวิญญาณเจ้าของได้ โดย ปู นั้นเป็นสัตว์วิญญาณของยูสึเกะ ซึ่งได้รับจากโคเอ็นม่า โดยตอนแรกที่ฟักออกมาจากไข่เป็นเพียงลูกนกตัวเล็กลักษณะคล้ายลูกเพนกวินอ้วน ๆ เท่านั้น === ภาคงานประลองแห่งความมืด === รินคุ นักสู้ในทีม 6 พเนจร ใช้โยโย่ที่สามารถใส่พลังวิญญาณได้เป็นอาวุธ เอาชนะคุวาบาระได้ นักสู้ผู้งดงาม ซึซึกิ นักสู้ในทีม นิทานปีศาจ สามารถใช้พลังที่แตกต่างกันได้ถึง 7 ชนิด แต่แพ้ให้กับเก็นไค โคโต พิธีกรผู้พากย์การต่อสู้ พิธีกรหญิงหูแมว ทำหน้าที่เป็นโฆษกและกรรมการสนามงานประลองโลกมืด เปิดตัวครั้งแรกตอนเริ่มงานประลอง นิสัยเปิดเผย ความซื่อตรงต่อหน้าที่สูง เธอทำหน้าที่กรรมการสนาม จนถึง รอบรองชนะเลิศจึงเปลี่ยนไปทำหน้าที่ผู้พากย์การต่อสู้ เกือบเอาชีวิตไม่รอดจากลูกหลงของการต่อสู้ระหว่างยูสุเกะ-โทกุโร่ในคู่ตัดสินชนะเลิศ ภายหลังเข้าเป็นนักร้องทรีโอวงฮอต ในแอนิเมชัน เธอยังได้ปรากฏตัวมาเป็นทำหน้าผู้พากย์การต่อสู้อีกครั้งในงานประลองของภาคโลกปีศาจ ดอกเตอร์ อิจิงากิ เจ้าของทีม คู่ประลองรอบที่ 2 ที่สู้กับยูสุเกะ อิจิงากิเป็นนักวางแผนตัวฉกาจ มีมันสมองในการวิเคราะห์คำนวณอย่างยอดเยี่ยม นอกจากนี้ ยังเป็นนักประดิษฐ์ชั้นยอด ผลงานของเขาจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงให้เป็นอาวุธสงครามมีชีวิตที่ประสิทธิภาพพลังต่อสู้สูงกว่าปกติมาก เช่น ปีศาจเหล็กกล้า ที่ไม่รู้สึกเจ็บปวดคล้ายหุ่นยนตร์ หรือ มนุษย์เครื่องจักรสังหารที่ยากจะรับมือ เขาเตรียมการเพื่อเอาชนะทีมอุราเมชิทุกวิถีทางไม่ว่าตามกติกา หรือ นอกกฎ แต่สุดท้ายแผนการของเขาก็ล้มเหลวหมด โดยคุราม่า ท้ายที่สุด อิจิงากิจึงฉีดยาเพิ่มใส่ตัวเองอาละวาดบนเวที แต่ก็ถูกยูสึเกะจัดการลง จิน จ้าวพายุ นักสู้ในทีมนินจาปีศาจ สามารถควบคุมสายลมให้เป็นอาวุธทั้งใช้โจมตีและป้องกันตัวได้ และ มีความสามารถในการเหิรฟ้าได้รวดเร็วเหมือนเครื่องบิน (ในขณะที่ปีศาจตนอื่น ๆ จะทำได้เพียงลอยตัว) ชู หมัดเมา นักสู้ในทีม 6 พเนจร มีความสามารถในการต่อสู้ด้วยมือเปล่าดีมาก เมื่อดื่มเหล้าจนเมาจะทำให้เร่งพลังปราณในร่างกายเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็พ่ายให้กับยูสึเกะ โทคุโร่คนพี่ นักสู้ในทีมโทคุโร่ มีร่างกายที่เปลี่ยนให้แข็งแกร่งเหมือนโลหะ และอ่อนตัว ยึดยาวได้ในทันที ถึงแม้ร่างกายจะแยกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ก็สามารถคืนชีพขึ้นมาได้ใหม่ โทคุโร่คนน้อง นักสู้มนุษย์ที่สามารถเร่งพลังกล้ามเนื้อได้ตั้งแต่ 1% ถึง 100% และพลัง 100% แบบพูนพาวเวอร์มีพลังมากมายที่สามารถต่อยพระเอกตายในหมัดเดียว และยังมีพลังกระสุนแรงอัด ที่ยิงออกมาจากการดีดนิ้ว แต่ท้ายแพ้ในการดวลพลังกัน ระหว่างกล้ามเนื้อของโทคุโร่คนน้อง กับกระสุนพลังจิตของยูซึเกะ บุอิ คาราสึ ซาเคียว เก็น ริว ไค โทยะ จ้าวน้ำแข็ง ชิชิวาคามารุ === ภาคโลกสีดำ === คิโดะ อาซาโตะ (城戸亜沙斗) - ชาโดว์ อายุ 15 ปี เรียนอยู่ชั้น ม.3 มีพลังพิเศษคือ "เงา" สามารถหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุใด ๆ ด้วยการเหยียบเงาของวัตถุนั้น เป็นชาวเมืองมุชิโยริ เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกปลุกพลังพิเศษขึ้นมาจากการขยายตัวของรูมิติโลกปิศาจ ได้ลักพาตัวยูสึเกะไปด้วยจุดประสงค์บางอย่าง ไคโต ยู (海藤 優) - ฟอร์บิดเดนเวิร์ด อายุ 17 ปี เรียนอยู่ชั้น ม.5 มีพลังพิเศษคือ "คำต้องห้าม" เมื่อกำหนดคำใดขึ้นมาแล้ว ผู้ที่พูดคำ ๆ นั้นในอาณาเขตของตนเองจะถูกดึงวิญญาณไป กฎนี้รวมถึงตัวของไคโตเองด้วย - เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ เรียนอยู่โรงเรียนเดียวกับมินามิโนะ ชูอิจิ (คุรามะ) เรียนเก่งมากแต่ก็ยังเป็นรองคุรามะอยู่ ไม่มีความสามารถด้านการชกต่อย แต่เชี่ยวชาญด้านภาษามาก ถึงขนาดออกหนังสือเกี่ยวกับภาษา ศิลปะ และวรรณคดีต่าง ๆ มาแล้วหลายเล่มแม้จะเพิ่งอายุ 17 ก็ตาม เป็นหนึ่งในพวกของคิโดะที่ลักพาตัวยูสึเกะไปด้วยจุดประสงค์บางอย่าง ยานางิซาวะ มิสึนาริ (柳沢光成) - ก๊อปปี้ อายุ 16 ปี เรียนอยู่ชั้น ม.5 มีพลังพิเศษ "ก๊อปปี้" เพียงแค่แตะตัวเป้าหมาย ก็สามารถเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นเป้าหมายได้ทั้งหน้าตา รูปร่าง น้ำเสียง และทุก ๆ อย่างกระทั่งความทรงจำ เป็นเพื่อนของคิโดะ และเป็นชาวเมืองมุชิโยริเหมือนกัน เมื่อพลังพิเศษของตัวเองตื่นขึ้นมาก็ได้ร่วมลักพาตัวยูสึเกะมาด้วยจุดประสงค์บางอย่าง ==== กลุ่มของเซ็นซุย ==== เซ็นซุย ชิโนบุ (仙水忍) - ดาร์คแองเจิ้ล อดีตสายลับโลกวิญญาณ ถ้าจะนับก็คือรุ่นพี่ยูสึเกะ มีพลังวิญญาณแรงกล้ามาตั้งแต่เป็นเด็ก ในอดีตครั้งเป็นสายลับของโลกวิญญาณนั้นเป็นผู้รักความยุติธรรมต่อสู้กับปิศาจแต่ด้วยภารกิจสุดท้าย ทำให้เขาต้องพบกับความโสมมของมนุษย์ สิ่งที่เซ็นซุยเห็นนั้นคือภาพงานเลี้ยงที่มนุษย์นำปิศาจมาเป็นของเล่น แทงฟัน และกิน เป็นภาพที่ตรงข้ามกับความคิดที่เขายึดถือมาตลอดว่ามนุษย์เป็นสิ่งที่ควรปกป้อง หลังจากนั้นเขาก็เปลี่ยนไป เซ็นซุยมี 7 บุคลิกในคนเดียว ในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายกับยูสึเกะเซ็นซุยได้ใช้วิชาเกราะไอแสงทิพย์ซึ่งมีพลังเทียบเท่าปิศาจระดับ S อีกด้วย อิสึกิ (樹) - เกทคีปเปอร์ คามิยะ มิโนรุ (神谷 実) - ดอกเตอร์ ฮางิริ คานาเมะ (刃霧 要) - สไนเปอร์ มิตาราอิ คิโยชิ (御手洗清志) - ซีแมน อามานุมะ สึกิฮิโตะ (天沼月人) - เกมมาสเตอร์ มากิฮาระ ซาดาโอะ (巻原定男) - กูร์เม === ภาคสามราชาโลกปิศาจ === ไรเซ็น (雷禅) 1 ใน 3 ปิศาจผู้ยิ่งใหญ่ของโลกปิศาจ (ไรเซ็น มุคุโระ โยมิ) เป็นผู้แพร่เชื้อสายปิศาจสู่มนุษย์ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของยูสึเกะ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นพ่อแท้ ๆ ของยูสึเกะ แต่ในบั้นปลายของชีวิตกลับเลิกกินเนื้อมนุษย์ จนร่างกายอ่อนแอ เพราะสัญญากับแม่ของยูสึเกะไว้ หรือก็คือบรรพบุรุษต้นตระกูลของยูสึเกะซึ่งเป็นหมอยา จนยูสึเกะมาโลกปิศาจเพื่อไขข้อข้องใจถึงพลังที่ไรเซ็นส่งมาเข้าสู่ร่างกายระหว่างสู้กับเซ็นซุย ในช่วงแรกที่พบกัน แม้ไรเซ็นจะอยู่ในสภาพที่ร่างกายขาดสารอาหารมานานและใกล้สิ้นอายุ แต่ยูสึเกะก็ยังไม่สามารถทำอะไรไรเซ็นได้เลยแม้แต่น้อย ในวาระสุดท้ายก่อนสิ้นใจ เขาได้เล่าถึงตอนที่ได้พบกับมนุษย์ผู้หญิงคนนั้น (แม่ของยูสึเกะ) ให้ยูสึเกะฟัง และนั่งสิ้นลมอย่างสงบ มุคุโร่ (軀) 1 ใน 3 ปีศาจผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกปีศาจ ซึ่งมีพลังปีศาจมหาศาล ครึ่งร่างเป็นมนุษย์แต่อีกครึ่งร่างเป็นไซบอร์ก โยมิ (黄泉) 1 ใน 3 ปิศาจผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกปิศาจ ผู้มีพลังปิศาจมหาศาลและสมองอันปราดเปรื่อง แม้ว่าจะตาบอดทั้ง 2 ข้างแต่ประสาทสัมผัสยอดเยี่ยมถึงขนาดได้ยินเสียงได้ในระยะรัศมีรอบแคว้นเลยทีเดียว หลังไรเซ้นตายไปหวังยึดครองโลกปิศาจ และเตรียมทำศึกกับมุคุโร่แต่จำต้องยอมเข้าร่วมศึกประลองครั้งสุดท้ายที่เป็นแผนการของยูสึเกะที่หวังให้โลกปิศาจโลกวิญญาณและโลกมนุษย์อยู่อย่างสงบสุข ชูร่า (修羅) บุตรชายของโยมิ แม้จะยังเป็นเด็ก แต่ก็มีพลังมหาศาล ได้ต่อสู้กับโยมิในศึกประลองยุทธชิงตำแหน่งราชาโลกปิศาจ แต่ก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ชิเงรุ''' (茂) หมอผ่าตัดผู้ปลูกถ่ายตามารให้ฮิเอ หลังจากปลูกตามารให้แล้ว ก็ยังสอนวิชาดาบให้ฮิเออีก ดาบประหลาดของเขาที่ถืออยู่นั้น เป็นดาบหินไฟแบบวงกลมทำขึ้นจากกระดูกของวัวป่าที่อาศัยอยู่ในโลกปิศาจ มันเป็นดาบ 2 คนที่เป็นการประสารกันระหว่างดาบที่มีพลังทำลายล้างสูงของขวาน กับ ความคมกริบของดาบบาง และยังมีอีกหลายคน เช่น เอ็นคิ, โชเค็ตสึ, เด็นโฮ, นัตสึเมะ, ชู, คุโจ, โคะโค, ไซโซ, เท็ตสึซัน, โอคุชิน, โดโอ == รายชื่อตอน == == รายชื่อเพลงประกอบ == เพลงเปิด hohoemi no bakudan เพลงปิด Homework ga Owaranai Sayonara Byebye Unbalanced Kisses หรืออันบาลานซ์นะคิสโอะชิเตะ (Doing an Unbalanced Kiss) Day dream generation Wild Wind == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Studio Pierrot's เว็บไซต์ คนเก่งทะลุโลก FUNimation's เว็บไซต์ คนเก่งทะลุโลก YuYu Hakusho at TV.com Yu Yu Hakusho: Legends เว็บไซต์เกมส์ออนไลน์ คนเก่งทะลุโลก การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ ปิเอโร (บริษัท) ทูนามิ
thaiwikipedia
155
รสสุคนธ์
รสสุคนธ์ เป็นพืชดอกชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tetracera loureiri Pierre และมีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น เถาะปดใบเลื่อม (ประจวบคีรีขันธ์) บอระคน อรคนธ์ (ตรัง) ปดคาย ปดเลื่อน (สุราษฎร์ธานี) ปดน้ำมัน (ปัตตานี) ปะละ สะปัลละ (มลายู,นราธิวาส) มะตาดเครือ รสสุคนธ์ขาว สุคนธรส เสาวรส (กรุงเทพฯ) ย่านปด (นครศรีธรรมราช) == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == รสสุคนธ์เป็นพันธุ์ไม้เลื้อย มีเถาใหญ่เหนียวแข็งแรง ไม้เลื้อยพันไม้ได้สูง 5-10 เมตร กิ่งและใบสากคาย ขอบใบจัก เล็กน้อย ดอกมีกลีบสีขาว ดอกขนาดเล็กทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม., มีเกสรตัวผู้เป็นพู่ฝอย คล้ายเส้นด้ายสีขาวละเอียดรอบดอก ดอกบานวันเดียวแล้วโรย ออกดอกเป็นระยะตลอดปี. มีกลิ่นหอมแรงมากในเวลากลางวัน และหอมอ่อนๆ ในเวลากลางคืน == การปลูกเลี้ยง == รสสุคนธ์เป็นไม้ขึ้นได้ทั้งกลางแจ้งและที่ร่ม หากปลูกในกระถางควรใช้ไม้ปักให้รสสุคนธ์เลื้อยได้ หรือปล่อยให้เลื้อยไต่รั้วก็ได้ การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, ตอน == ประโยชน์ == ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ, ดอกของรสสุคนธ์เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งใช้เป็นส่วนผสมในยาหอมแก้ลมและบำรุงหัวใจ == ในวรรณกรรม == รสสุคนธ์ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 และ เพลงอุทยานดอกไม้ ข้อความจากเงาะป่า มะลิวัลย์พันกอพฤกษาดาด เหมือนผ้าลาดขาวละออหนอน้องเอ๋ย รสสุคนธ์ขึ้นเป็นดงอย่าหลงเลย กำลังเผยกลีบเกสรสลอนชู == อ้างอิง == รสสุคนธ์ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้เลื้อย พรรณไม้ในวรรณคดี สมุนไพร วงศ์ส้าน
thaiwikipedia
156
มังกรคู่สู้สิบทิศ
มังกรคู่สู้สิบทิศ (大唐雙龍傳; Dragons of tang dynasty) วรรณกรรมจีนแต่งโดย หวงอี้ และถูกนำมาแปลและเรียบเรียงในไทยโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เป็นเรื่องราวของการก่อตั้งราชวงศ์ถัง ซึ่งมีปฐมฮ่องเต้คือ ถังเกาจู่ หรือชื่อเดิม หลี่หยวน ตัวเอกของเรื่องเป็นเด็กกำพร้าคู่หนึ่ง ในเมืองหยางโจว ชื่อ โค่วจง และ ฉีจื่อหลิง, ไต่เต้าจากเป็นอันธพาลในตลาด จนกระทั่งรวบรวมกำลังเข้าช่วงชิงแผ่นดิน ความยาว 21 เล่ม สำหรับฉบับที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคแรก 10 เล่ม และภาคสมบูรณ์ 11 เล่ม == เนื้อเรื่อง == ในยุคที่ราชวงศ์สุยใกล้ถึงกาลล่มสลาย ฮ่องเต้สุยหยางตี้เรียกเกณฑ์แรงงานอย่างหนัก พร้อมเกณฑ์คนไปรบเกาหลีจนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า บรรดาขุนศึกและผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยต่างตั้งตัวเป็นอิสระจากกษัตริย์สุยหยางตี้ ทั้งตัวโค่วจงและฉีจื่อหลิงซึ่งเป็นตัวเอกได้โลดเล่นท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผันนี้ และสร้างตัวจากนักเลงลักเล็กขโมยน้อยในเมืองหยางโจว กลายมาเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกุมชะตาแผ่นดินจีนช่วงผลัดราชวงศ์ เนื้อเรื่องเน้นไปที่ตัวหลี่ซื่อหมิน ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของราชวงศ์ถัง อันเป็นราชวงศ์ที่เป็นฉากหลังในการดำเนินเรื่อง โดยที่ตัวเอกโค่วจงและฉีจื่อหลิงมีส่วนในการช่วยหลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์ มีการต่อสู้กับชนเผ่านอกด่าน(ชาวถูเจี๋ย) และประเทศเกาหลี ซึ่งเกี่ยวข้องในระดับประเทศ และมีการต่อสู้ระหว่างพรรคมาร ซึ่งเกี่ยวข้องในระดับเนื้อเรื่อง == ตัวละคร == == วรยุทธ์ == === ฝ่ายธรรมะ === เคล็ดวิชาอมตะ (โค่วจง ฉีจื่อหลิง) เลขหนึ่งที่หายไป (โค่วจง ฉีจื่อหลิง) พลังลมปราณเกลียวเย็น (โค่งจง) พลังลมปราณเกลียวร้อน (ฉีจื่อหลิง) วิชาเก้าพิศดารสยบหิน (ปรมาจารย์ฟู่ฉ่ายหลิน ฟู่จวินชว่อ ฟู่จวินอี้ ฟู่จวินเฉียง) ไม้เท้ามังกรเงิน (ซ่งลู่) ฟ้าถาม 9 ดาบ (ซ่งเซวีย) จักรวาลในแขนเสื้อ (ตู้ฝูเว่ย) ประจัญบาน 10 กระบวน (หลี่จิ้ง) กระบวนลับ เพลงดาบสกุลเสิ่น (เสิ่นไน่ถัง) ฟงหันเจ็ดท่า (ปาฟงหัน) กระบวนกระบี่ทะเลคลั่ง (โอวหยังซีอี๋) ม้วนภาพเทพยุทธ์ (ตำนาน) ตำนานกระบี่ (ตำนาน) เคล็ดวิชาสุริยัน (ปี้เสียน) เคล็ดกระบี่ (เรือนฌาณเมตไตย) สิบดรรชนีประทับสิงขร (สี่วชิระ) ค่ายกลแหธรรม พันพระหัตถ์ยูไลปิดฟ้าดิน (สี่วชิระ) แส้ปัดเบญข (สตรีแส้ปัดแดง) === ฝ่ายอธรรม === วิชาประทับไม่ตาย (สือจือเสวียน) พลังอสูรฟ้า (สำนักทศเย็น) 12 กิ่งก้านกุสุมาลย์ (โหวชีไป๋) ท่องแดนบุปผา เคล็ดวิชาอสูรฟ้า (จู้อี้เอี๋ยน วาวา ไป๋ชิงเอ๋อ) กระบี่ลวงตา (หยางซวี๋เอี้ยน) กงเล็บเหยี่ยวบิน (ทวอปาอี้) คลื่นพิโรธเจ็ดหนุนเนื่อง (ชวีอ้าว) กระบี่ห่วงอสูรคล้องใจ (เปียนปู้ฟู่) ไม้เท้าต้านลม 102 ท่า (สั้งกวนหลง) วิชาโลหิตดำ (สั้งกวนหลง) ไม้เท้าลมพายุเจ็ดพิฆาต (อิ๋วฉู่หง) เพลงหมัดมารฟ้า (ตุ๋กูป้า) == อาวุธ == ดาบเทพพยัคฆ์คำราม (อวี่เหวินฮั่วจี๋) กระบี่สังหารปี้เสียน (ปาฟงหัน) กระบองพิฆาตดาบสวรรค์ (ปาฟงหัน) กระบี่พิฆาตปลาวาฬ (โอวหยังซีอี๋) ค้อนดาวตก (เยิ่นเส้าหมิง) ดาบจันทร์ในบ่อ (โค่วจง) กระบี่คงหลิง (ฟู่จวินอี้) แพรอสูร (วาวา) ดาบคู่อสูรฟ้า (วาวา) กระบี่อวี่ซี (ฟู่จวินชว่อ ฉีจื่อหลิง) ดาบฟ้าผ่าคนอง (หลี่ซื่อหมิน) พัดหญิงงาม (โหวชีไป๋) หอกสามคม (หลี่เสินทง) ห่วงมารแม่ลูก (ตันเหมย) กระบี่โลหิตทองคำ (เหวิ่นไฉ่ถิง) == บันเทิงคดี == มังกรคู่สู้สิบทิศ ออกวางจำหน่ายในรูปแบบของการ์ตูน ครั้งแรกในประเทศไทย โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2545 แปลโดย ไผ่เงิน ในรูปแบบหนังสือปกอ่อน จำนวน 50 เล่ม และแบบรวมเล่มโดย คิงส์ คอมมิกส์ จำนวน 32 เล่ม จำนวนตอน 252 ตอน ซึ่งมีเนื้อหาปรับเปลี่ยนจากต้นฉบับนิยายอยู่บ้าง == ภาพยนตร์ == ถูกนำมาสร้างเป็นทีวีซีรีส์ ในชื่อภาษาไทยว่า "'ศึกมังกรคู่จ้าวยุทธภพ'"(Twin of Brother) กำกับการแสดงโดย : Wong Jing โดยมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาของตัวละคร และมีการเรียกชื่อที่ผิดแปลกไปจากต้นฉบับที่แปลโดย น.นพรัตน์ และไผ่เงิน == อ้างอิง == บันเทิงคดีกำลังภายใน งานเขียนของหวงอี้ วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2539 นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ บันเทิงคดีกำลังภายใน งานเขียนของหวงอี้
thaiwikipedia
157
เจาะเวลาหาจิ๋นซี (นวนิยาย)
เจาะเวลาหาจิ๋นซี ( - ถอดความเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า The Chronicles of Finding Qin, Xun Qin Ji) เป็นนิยายกำลังภายใน แต่งโดยหวงอี้ ฉบับภาษาไทยแปลและเรียบเรียงโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ มีความยาว 8 เล่ม ซึ่งในภายหลังหวงอี้ได้ปรับปรุงต้นฉบับใหม่อีกครั้งเหลือ 7 เล่ม == เนื้อเรื่อง == เซี่ยงเส้าหลง ทหารกองกำลังที่ 7 รัฐบาลจีนในศตวรรษที่ 21 ที่ถูกทดลองย้อนเวลากลับไปยังยุคเลียดก๊ก ยุคสมัยที่ จิ๋นซีฮ่องเต้จะรวบรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น แต่การทดลองล้มเหลวอุปกรณ์ย้อนเวลาระเบิดทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับไปได้ เขาต้องเอาตัวรอดจากสถานการณ์ที่บ้านเมืองกำลังแตกเป็นเจ็ดก๊กและเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนประวัติศาสตร์และชักนำให้เด็กน้อยผู้ที่ชื่อเสี่ยวผาน (จ้าวผาน) ได้กลายมาเป็นอิ๋งเจิ้ง หรือ "จิ๋นซีฮ่องเต้" == รายชื่อตัวละคร == เซี่ยงเส้าหลง ทหารจากกองกำลังที่ 7 ในศตวรรษที่ 21 ถูกกระทรวงวิทยาศาสตร์ส่งตัวย้อนเวลาไปยังยุคเลียดก๊กเพื่อทดสอบเครื่องย้อนเวลา แต่กลับเกิดอุบัติเหตุเครื่องย้อนเวลาระเบิดทำให้ติดอยู่ในสมัยนั้น และได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการขึ้นครองอำนาจของจิ๋นซี จิ๋นซีฮ่องเต้ (อิ๋งเจิ้ง) เดิมเป็นเชื้อพระวงศ์ในรัฐจ้าว ชื่อจ้าวผาน บิดาเสียชีวิตแต่น้อย มารดาคือหนีฮูหยิน จ้าวผานนับถือเซี่ยงเส้าหลงเป็นอาจารย์ เมื่อเซี่ยงเส้าหลงทราบว่าอิ้งเจิ้งตัวจริงเสียชีวิต จึงให้จ้าวผานสวมรอยเป็นอิ้งเจิ้ง หลี่ซือ เป็นผู้ผลักดันอิ้งเจิ๊ง (จ้าวผาน) เป็นจี๋นซีฮองเต้ เป็นผู้มีความรอบรู้มาก เดิมเคยทำงานอยู่กับหลี่ปู่เหว่ย ในเรื่องถูกเซี่ยงเส้าหลงผลักดันให้ได้มีโอกาสเป็นผู้ใกล้ชิดของอิ๋งเจิ้ง (จ้าวผาน) เป็นหนึ่งในคนที่มีบทบาทสำคัญเบื้องหลังจิ๋นซีฮ่องเต้ หลี่มุ แม่ทัพแคว้นจ้าวเป็นปู่บุญธรรมของจ้าวผาน ฝีมือเก่งกาจ จนได้รับขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน4ยอดขุนพลยุคเลียดก๊ก ภายหลังเจ้ารัฐจ้าวถูกอุบายหลอกลวงจนพระราชทานยาพิษให้แม่ทัพหลี่มุฆ่าตัวตาย ฐานไม่ฟังคำสั่ง หนีฮูหยิน สาวงามแห่งรัฐจ้าว เป็นพระขนิษฐา (น้องสาว) เจ้ารัฐจ้าว นางเป็นม่ายสามีเสียชีวิตในสงครามฉางผิง นางเป็นมารดาของ จ้าวผาน นางถูกจ้าวมุบีบคั้นและย่ำยี จนนางตัดสินใจฆ่าตัวตาย จี้เอียนหยาน ยอดหญิงผู้มีเชื้อพระวงศ์ชาวเวี่ยที่สิ้นชาติไป ได้รับการขนานนามเป็นยอดหญิงในยุค เป็นผู้มีฝีมือ และความรู้สูงส่ง เป็นหนึ่งในภรรยารักของเซี่ยงเส้าหลง ร่วมทุกข์ร่วมสุข และช่วยเหลือเซี่ยงเส้าหลงเอาไว้หลายครั้ง ฉินชิง เป็นหญิงม่ายผู้มีศักดิ์ฐานะสูงส่งในเมืองฉิน หลังจากที่ในคืนแต่งงานสามีโดนเรียกตัวไปยังกองทัพ เพื่อนำทัพรัฐฉินออกสู้รบ และตายในสนามรบนั้นเอง เป็นพระอาจารย์ของอิ้งเจิ๊ง และภรรยาของเซี่ยงเส้าหลงในภายหลัง อูถิงฟาง เป็นธิดาของอูอิ้งหยวน และเป็นภรรยาของเซี่ยงเส้าหลง เถิงอี้ เป็นพี่น้องร่วมสาบานของเซี่ยงเส้าหลงและจิงจวิ้น จากเหตุการณ์ที่เซี่ยงเส้าหลงได้ช่วยแก้แค้นให้กับครอบครัวของเขาที่ถูกโจรร้ายเซียวเว่ยโหมว ฆ่าล้างตระกูล จิงจวิ้น เป็นพี่น้องร่วมสาบานของเซี่ยงเส้าหลงและเถิงอี้ เป็นนายพรานฝีมือดีที่มีวิชาสะกดรอย และแกะรอยเยี่ยมยอดแห่งหมู่บ้านตระกูลจิง พระยามฤค จ้าวมุ เป็นท่านชายของเจ้ารัฐจ้าว เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดรองจากเจ้ารัฐจ้าว หลี่ปู้เหว่ย มหาคหบดีแคว้นฉิน เดิมเป็นพ่อค้าชาวหาน และจูจีซึ่งเป็นมารดาของอิ๋งเจิ้งตัวจริงเคยเป็นนางบำเรอของเขา ก่อนที่จะยกให้แก่จวงเซียงอ๋อง (เจ้ารัฐฉินองค์ก่อนจิ๋นซีฮ่องเต้) เป็นผู้ที่มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย โดยในทีแรกพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้อิ๋งเจิ้งขึ้นครองราชบัลลังก์โดยเร็วที่สุด เป็นศัตรูคู่แค้นของเซี่ยงเส้าหลง จ้าวจื้อ (จือจื้อ) หนึ่งในภรรยาของเซี่ยงเส้าหลง เป็นลูกศิษย์ของจ้าวป้าผู้ซึ่งเป็นเจ้าสำนักที่โด่งดังในรัฐจ้าว มีพี่สาวอีกคนหนึ่งชื่อสั่งโหย่ว จ้าวจื้อและสั้งโหย่วได้รับความช่วยเหลือในการแก้แค้นจ้าวมู่ ผู้ซึ่งเป็นตัวการให้ครอบครัวของทั้งสองพี่น้องถูกฆ่าทั้งตระกูล จีฮองเฮา ฮองเฮาแคว้นจ้าว จูจี มารดาของอิ๋งเจิ้ง เป็นสนมของจวงเซียงอ๋อง (อิ๋งอี้เหยิน) เคยเป็นนางบำเรอของหลี่ปู้เหว่ย แต่ หลี่ปู้เหว่ย ยกให้ อิ๋งอี้เหยินเพราะนางตั้งท้องกับตน เป็นชู้กับเหล่าไหว้ สุดท้ายถูกจ้าวผานสั่งฆ่า เหล่าไหว้/เหลียนจิ้ง (สรุปจากละครชุด ตามต้นฉบับ เหล่าไหว้มีชื่อเรียกว่าเล่าไอ่ และ เป็นตัวละครคนละคนกับเหลียนจิ้ง ซึ่งถูกเซี่ยงเส้าหลงฆ่าตายไปตั้งแต่แรก แต่เพื่อจำกัดตัวละครให้คนดูติดตามได้ง่ายขึ้นรูปแบบละครจึงตัดแปลงเรื่องและรวมเอาตัวละครหลายตัวรวมกัน รวมถึงตัวละครสองตัวนี้ด้วย) เดิม เหลียนจิ้ง เคยเป็นคนรักของ อูถิงฟาง จนกระทั่ง เซี่ยงเส้าหลง ปรากฏตัว จึงทำให้ อูถิงฟาง ตีตนออกห่าง เพราะนางเริ่มมีใจให้ เซี่ยงเส้าหลง เหลียนจิ้ง เดิมเป็นคนสนิทของ จ้าวมุ หลังจากพ่ายแพ้การประลองกับ เซี่ยงเส้าหลง เขาได้ถูก เซี่ยงเส้าหลง ฟันเอ็นมือขวาขาด จึงทำให้เขาถูก จ้าวมุ ไล่ออก แล้วพเนจรไปตามประสาคนพิการ จนกระทั่งได้พบกับ เหล่าไหว้ มือกระบี่ซ้าย จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ เหลียนจิ้ง ยอมทำเรื่องอัปยศทุกอย่าง เพื่อที่จะได้เป็นศิษย์ของ เหล่าไหว้ แม้กระทั่งยอมวางยา อูถิงฟาง เพื่อให้ เหล่าไหว้ ย่ำยี จนกระทั่งได้เป็นศิษย์ของเหล่าไหว้ เรียนวิชาจนสำเร็จ เขาก็ได้สังหาร เหล่าไหว้ เพื่อแก้แค้นให้ ถิงฟาง และ เหลียนจิ้ง ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เหล่าไหว้ เสียเอง หลังจากนั้นเขาได้เข้ามารับใช้ หลี่ปู้เหว่ย และแอบคบชู้กับ ไทเฮาจูจี จนได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น อ๋องฉางซุ๊น และสุดท้าย ทั้งเขาและไทเฮาจูจี ถูกฮ่องเต้อิ๋งเจิ้ง (จ้าวผาน) สั่งสังหารทั้งสามคนพ่อแม่ลูก ก่วนตงแส == ฉบับการ์ตูนและละครชุด == เจาะเวลาหาจิ๋นซีได้รับการดัดแปลงเป็นหนังสือการ์ตูน ลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ และเป็นละครชุดทางโทรทัศน์ของสถานี TVB ฉายใน ค.ศ. 2001 ความยาว 40 ตอน ==ลำดับรายการโทรทัศน์== นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ บันเทิงคดีกำลังภายใน งานเขียนของหวงอี้
thaiwikipedia
158
หิรัญญิการ์
หิรัญญิการ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Beaumontia grandiflora Wall., ชื่อสามัญอื่น: Herald's Trumpet, Easter Lily Vine) เป็นไม้เถาขนาดใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของต้นเมื่อรับประทานทำให้หัวใจถูกกระตุ้น เร่งการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจวายได้ == ลักษณะ == ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่วนยอดหรือส่วนอื่น ๆ ที่ยังอ่อนอยู่มีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถเลื้อยไปได้ไกล แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้นลักษณะใบหยาบยาวหนา รูปใบมน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีจัก ใบด้านบนเป็นมัน ดอกของหิรัญญิการ์เป็นดอกขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้างมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับเนื้อบริเวณโคนกลีบ มีลักษณะเป็นเส้นยาว แยกออกจากกัน คือจะมีเกสรติดอยู่กลีบละ 1 อัน ในแต่ละดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กซ่อนอยู่ข้างในดอก ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตั้งแต่ 6-15 ดอก ดอกจะผลัดกันบานครั้งละประมาณ 4 ดอก ==ระเบียงภาพ== ไฟล์:หิรัญญิการ์ Beaumontia grandiflora Wall. FAMILY APOCYNACEAE (1).jpg|thumb|ลักษณะดอกในมุมต่างๆ ไฟล์:หิรัญญิการ์ Beaumontia grandiflora Wall. FAMILY APOCYNACEAE (2).jpg|thumb|หิรัญญิการ์ ไฟล์:หิรัญญิการ์ Beaumontia grandiflora Wall. FAMILY APOCYNACEAE (4).jpg|thumb|หิรัญญิการ์ ไฟล์:หิรัญญิการ์ Beaumontia grandiflora Wall. FAMILY APOCYNACEAE (7).jpg|thumb|หิรัญญิการ์ == อ้างอิง == เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ตีนเป็ด พืชมีพิษ
thaiwikipedia
159
กระดังงาสงขลา
กระดังงาสงขลา เป็นกระดังงาชนิดหนึ่งถิ่นกำเนิดที่สงขลา ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cananga fruticosa มีชื่อสามัญอื่นคือ Dwarf Ylang-Ylang == ลักษณะเฉพาะ == ลักษณะ:ไม้พุ่ม สูง 1 - 3 เมตร ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรี กว้าง 6 - 8 เซนติเมตร ยาว 12 - 14 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ดอก สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ออกเดี่ยว หรือเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเรียวยาว บิดเป็นเกลียว เรียงหลายชั้น ๆ ละ 3 กลีบ ปลายกรีบโค้งงอ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีจำนวนมาก ใบ: ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ดอก: สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ออกเดี่ยว หรือเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเรียวยาว บิดเป็นเกลียว เรียงหลายชั้น ๆ ละ 3 กลีบ ปลายกรีบโค้งงอ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีจำนวนมาก ออกดอกเกือบตลอดปี การดูแล: การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง ประโยชน์:ปลูกเป็นไม้ประดับ มีดอกดกสวยงาม เนื้อไม้และใบ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ดอก ปรุงเป็นยาหอม สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน ทำบุหงา อบร่ำ ทำน้ำหอม บำรุงหัวใจ == อ้างอิง == กระดังงาสงขลา จากศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วงศ์กระดังงา ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
160
ชบาจีน
ชบาจีน เป็นพืชมีดอกในสกุล Hibiscus วงศ์ Malvaceae มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ที่มีความผันแปรทั้งรูปทรงของใบ ลำต้น และดอกมาก ดอกไม้ชนิดนี้สามารถทนต่อสภาพอากาศที่เลวร้าย และศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี มักนิยมปลูกเพื่อตัดดอก และประดับตกแต่งสถานที่ == ลักษณะ == ดอกชบาจีนมีกลีบดอกสีม่วงอมชมพูและสีขาว โคนกลีบด้านในดอกจะเป็นสีแดง มีหลายดอกในต้นเดียวประมาณ 100–350 ดอก ถ้าต้นใหญ่ก็จะมีดอกมาก ขอบใบหยัก ลักษณะเป็นไม้พุ่มใหญ่ ดอกชบาจีนจะผลิบานตั้งแต่เดือนต้นเดือนกรกฎาคมจนถึงปลายเดือนตุลาคม โดยจะเริ่มบานตั้งแต่เริ่มมีแสงอาทิตย์จนอาทิตย์ลับขอบฟ้าก็จะหุบ == ดอกไม้ประจำชาติ == ดอกชบาจีนเป็นดอกไม้ประจำชาติเกาหลีใต้ซึ่งเรียกดอกชบาจีนว่า "มูกุงฮวา" (무궁화) คำว่า มูกุง แปลว่า "เป็นอมตะ" ส่วนคำว่า ฮวา มาจากภาษาจีน แปลว่า "ดอกไม้" ซึ่งหมายถึงความเป็นอมตะของประวัติศาสตร์เกาหลี ความมุ่งมั่น และความอดทนของชาวเกาหลี โดยชาวเกาหลีถือว่าดอกชบาจีนเป็นดอกไม้สวรรค์ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยอาณาจักรชิลลาเรียกตัวเองว่าอาณาจักรมูกุงฮวา == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == (2005): Beija-flores (Aves, Trochilidae) e seus recursos florais em uma área urbana do Sul do Brasil [Hummingbirds (Aves, Trochilidae) and their flowers in an urban area of southern Brazil]. [Portuguese with English abstract] Revista Brasileira de Zoologia 22(1): 51–59. PDF fulltext The International Hibiscus Society (The American Hibiscus Society ([http://americanhibiscus.org),(The Australian Hibiscus Society Inc. ([http://www.australianhibiscus.com) Hibiscusmania (France) (Hibiscusfreunde (Germany) ([http://www.hibiscusweb.de) Hibiscus Forrest (Hungary) ([http://www.hibiscusforrest.com] ) Hibiscus rosa-sinensis (Chinese) (http://baike.baidu.com/view/181048.htm) == แหล่งข้อมูลอื่น == ไม้ดอกไม้ประดับ สกุลชบา สมุนไพร
thaiwikipedia
161
ชวนชม
ชวนชม (Adenium) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า "กุหลาบทะเลทราย" (Desert Rose) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย แต่ดอกชวนชมมีสาร abobioside, echubioside ตรงนำยางสีขาว ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้ == ประวัติ == ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร ==ชนิด== ปัจจุบันมีชนิดที่ได้รับการยอมรับทั้งหมด 6 ชนิด Adenium boehmianum Schinz Adenium dhofarense Rzepecky Adenium multiflorum Klotzsch. Adenium obesum (Forssk.) Roem. & Schult. Adenium oleifolium Stapf Adenium swazicum Stapf ==สายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย== ชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์ (Hollland) ชวนชมพันธุ์ยักษ์ญี่ปุ่น (Somalense) *ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่น **ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นกิ่งแดง **ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นกำแพง **ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นดอกขาว **ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นใบเงิน **ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นใบด่าง **ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นใบเล็ก *ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นแคระ (Somalense var. Crispum) *ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม (Somalense Hybrid) ชวนชมสายพันธ์ยักษ์ซาอุหรือยักษ์อาหรับ == การปลูกเลี้ยง == ชวนชมควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดในช่วงครึ่งวันเช้า ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วน ระบายน้ำได้ดีสูตรที่นิยมให้ปลูกคือดินร่วนผสมใบก้ามปูหมักในอัตราส่วน 3:1 หรือดินปลูกสำเร็จรูปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ชวนชมลำต้นอุ้มน้ำได้ดีการให้น้ำจึงไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การให้ปุ๋ยชวนชมควรใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 สูตรเสมอในปริมาณแต่น้อยทุก 2 สัปดาห์เมื่อโตเต็มที่จึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ การตัดตกแต่งกิ่งต้นชวนชม โดยธรรมชาติของชวนชมเป็นต้นไม้ที่มีความอ่อนช้อย การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งเกะเก้งก้างออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกและได้โชว์โขดหรือหัวที่สวยงามของชวนชม === การขยายพันธ์ === การขยายพันธุ์ชวนชม ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการเสียบยอด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด การเพาะเมล็ด ควรใช้เมล็ดใหม่ไม่ควรใช้เมล็ดเก่าเก็บไว้นานเมล็ดใหม่จะมีเปอร์เซ็นต์ในการงอกเยอะกว่า นำเมล็ดไปเพาะในตะกร้าที่มีส่วนผสมของทรายหยาบกับขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1 การเสียบยอด ต้องคัดต้นตอที่แข็งแรง ขนาดตามต้องการ จากนั้นตัดยอดของต้นตอตามขวาง ผ่าให้เป็นรูปตัววี และนำยอดพันธ์ดี ของชวนชม ซึ่งเป็นพันธ์ที่คัดเลือกไว้แล้ว ความยาวประมาณ 1.5-2นิ้ว แล้วบากให้เป็นลิ่ม กะขนาดให้พอดีกับรูปตัววีที่ผ่าไว้ที่ต้นตอจากนั้นนำยอดพันธ์ไปเสียบที่ต้นตอ ระวังอย่าให้ต้นช้ำ พันด้วยพลาสติกใสพันต้นไม้ คลุมด้วยถุงพลาสติกแล้วมัดด้วยเชือก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน จะสังเกตเห็นชวนชมที่นำไปเสียบ เริ่มแตกใบอ่อน จึงแกะถุงพลาสติกที่คุลมออกจะได้ต้นชวนชมพันธ์ใหม่ตามที่ต้องการ การตอนและปักชำ เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนจนเกินไป ใช้มีดบากกิ่งเป็นแนวเฉียงให้เอียงประมาณ 45 องศา บากเข้าเนื้อกิ่งสักประมาณ 80-85 เปอร์เซนต์ กั้นรอยบากไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อที่บากเชื่อมติดกัน อาจจะเป็นพลาสติดเช่นหลอดกาแฟบีบให้แบน ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วันเมื่อแผลแห้งดีแล้วก็ใช้วัสดุที่มีความชื้นสัก20-30 เปอร์เซนต์ เช่นขุยมะพร้าวห่อหุ้มให้มิดชิด ทิ้งไว้จนรากเดินเต็มถุงก็ตัดออกมาเอาปูนแดงทาที่แผล ปล่อยให้รอยแผลที่ตัดแห้งดีแล้วก็นำไปปลูกต่อไป ส่วนการชำ ก็เพียงตัดกิ่งที่จะชำออกมาจากลำต้น ทาแผลด้วยปูนแดงปล่อยทิ้งไว้ 2-3 วันจนแผลแห้ง แล้วนำลงไปชำในทรายที่มีความชื้นพอประมาณ ทิ้งไว้จนแตกใบใหม่ซึ่งแสดงว่ารากเดินแล้วก็ถอนไปปลูกในกระถางต่อไป แต่การชำจะมีเปอร์เซนต์สูญเสียมากกว่าการตอน ทั้งการตอนและการชำหากจะให้ผลดี ควรทำต้น ๆ ฤดูฝน จะได้ผลดีกว่า == ชวนชมในวรรณคดี == ดอกชวนชมปรากฏในวรรณคดีอิเหนา ตอนนางจินตะหราพาอิเหนาไปชมสวน (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2) โดยมีกล่าวไว้ว่า {|align="center" cellpadding = 5px | พระโฉมยงทรงเก็บกุหลาบเทศ || ประทานองค์อัคเรศจินตะหรา |- | align = "right" | ทำเทียมเลียมลอดสอดคว้า || กัลยาปัดกรค้อนคม |- | align = "right" | พระทรงสอยสร้อยฟ้าสารภี || ให้มาหยารัศมีแซมผม |- | align = "right" | เลือกเก็บดอกลำดวนชวนชม || ใส่ผ้าห่มให้สการะวาตี |} == อ้างอิง == ชวนชม จากเว็บพรรณไม้.คอม วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี พืชมีพิษ
thaiwikipedia
162
ชะลูดช้าง
ชะลูดช้าง หรือ ซ่อนกลิ่นเถา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephanotis floribunda Brongn.) ชื่อภาษาอังกฤษคือ Madagascar jasmine; Doftranka; Duftranke; Bridal wreath เป็นไม้เลื้อยมียางขาวอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด ออกดอกเป็นช่อสีขาว == อ้างอิง == สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ตีนเป็ด ไม้เลื้อย
thaiwikipedia
163
ดาวประดับ
ดาวประดับ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptostegia grandiflora R.Br.) เป็นไม้เถามีโคนแหลม ถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย == อ้างอิง == ดาวประดับ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี พืชมีพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ตีนเป็ด
thaiwikipedia
164
ยี่โถ
ยี่โถ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nerium oleander L.) มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น แถบโปรตุเกสไปจนถึง อินเดีย อิหร่าน โดยสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปี พ.ศ. 2352-2364 เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae เป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง เป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานเมล็ดทำให้เวียนศีรษะ ง่วงนอน ถ่ายเป็นเลือด เป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ชัก == ลักษณะเฉพาะ == ยี่โถ เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 ฟุต เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ เมื่อตัดหรือเด็ดจะมีน้ำยางไหลออกมา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลม ยาว ๑๕-๑๗ cm. กว้าง ๑.๗-๒.๐ cm. ขอบใบเรียบไม่มีจัก หนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้น ออกตามข้อของลำต้น ดอกมีสีชมพู ขาว ออกตามปลายของยอดลำต้นเป็นกระจุกหรือช่อ รูปร่างคล้ายกรวยหรือปากแตร เวลาบานกลีบจะมีกลิ่นหอม ดอกยี่โถสามารถออกดอกได้ทั้งปี ผลเกิดเมื่อดอกมีการผสมเกสรและร่วงหลุดไป จะเกิดผลเป็นฝัก 2 ฝัก ต่อ 1 ดอกยี่โถ 1 ดอก เมล็ดลักษณะคล้ายเส้นไหม การปลูกยี่โถ สามารถปลูกได้ทุกที่เนื่องจากขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิดได้ดี โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง == ประโยชน์ == ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก ผล ใบ # ผล ขับปัสสาวะ # ดอก แก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ # ใบ ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ (มีความเป็นพิษสูงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง) # นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาฆ่าแมลง และยาเบื่อหนูได้ == ชื่อเรียกภาษาอื่น ๆ == == ยี่โถในวรรณกรรม == ยี่โถปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง อิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 "ลำดวนดอกดกเต็มต้น รสสุคนธ์ปนมะลิผลิดอกโต ยี่เข่งเข็มสารภี ยี่โถ ดอกส้มโอกลิ่นกล้าน่าดม" รำพันพิลาปสุนทรภู่ " เห็นทับทิมริมกุฎีดอกยี่โถ สะอื้นโอ้อาลัยจิตใจหาย" สรรพสิทธิ์คำฉันท์ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส “…มะลิวัลย์อัญชันช่อ ทุกก้านกอสรล่มสรลอน ชงโค ยี่โถ ขจร รสรื่นรรวยรมย์…” == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == รายละเอียด ยี่โถ จากเว็บ [http://www.doctor.or.th/node/1382 รายละเอียด ยี่โถ จากเว็บ [http://www.doctor.or.th] พืชมีพิษ วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี สมุนไพร พืชมีพิษ
thaiwikipedia
165
โมก
โมก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia religiosa Benth.) เป็นดอกไม้ มีลักษณะดอกเป็นช่อสีขาว มี 3-5 กลีบ ใบมีขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เนื้อใบบางรูปรี หรือรูปหอกกว้าง 0.8-2.0 ทำการขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือ เพาะเมล็ด โมกยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้ ปิดจงวา (เขมร สุรินทร์) โมกซ้อน (กลาง) โมกบ้าน (กลาง) และ หลักป่า (ระยอง) == ลักษณะทั่วไป == โมกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนํ้าตาลดำ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วต้น แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้นไม่เป็นระเบียบใบเป็นใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบ เป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ลักษณะดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้นดินมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกจะออกมาเป็นคู่ ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน ภายในมีขี้เรียงอยู่จำนวนมาก ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร == การปลูก == การปลูกมี 2 วิธี การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :ขุยมะพร้าว:ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางบ้างแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มและการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม และควรเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เสื่อมสภาพไป === การดูแลรักษา === แสง ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง === การขยายพันธุ์ === การตอน การเพาะเมล็ด การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ === โรคและศัตรู === ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร == โมก ในวรรณกรรม == โมกปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 นางนวลจับต้นอินทนิล นกกระทาจับกระถินขันก้อง เค้าโมงจับโมกเมียงมอง แก้วจับเกดร้องริมทาง == ความเชื่อ == คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์เพราะโมกหรือโมกขหมายถึงผู้ที่หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง สำหรับส่วนของดอกก็มีลักษณะ สีขาว สะอาด มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดวัน นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองปกป้องภัยอันตรายเพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้นพุทธรักษาดังนั้นเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งปวงจากภายนอกได้เช่นกัน และยังเชื่ออีกว่าส่วนของเปลือกต้นโมกสามารถใช้ป้องกันอิทธิฤทธิ์ของพิษสัตว์ต่าง ๆ ได้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นโมกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ == ดูเพิ่ม == โมกแดง == อ้างอิง == โมก ไม้ประดับ.คอม สกุลโมกมัน ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี
thaiwikipedia
166
วงศ์บัวสาย
วงศ์บัวสาย หรือ Nymphaeaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่เป็นไม้น้ำ มีไรโซม มีสมาชิกประมาณ 70 สปีชีส์ สกุล Nymphaea ประกอบด้วย 35สปีชีส์ในซีกโลกเหนือ สกุลVictoria มีสองสปีชีส์ที่เป็นพืชท้องถิ่นในอเมริกาใต้ ขึ้นในดินโคลนที่มีน้ำท่วมขัง ใบลอยบนผิวน้ำ ใบกลม มีส่วนขาดไปเล็กน้อยในสกุล Nymphaea และ Nuphar แต่จะกลมสมบูรณ์ในสกุล Victoria พ.ศ. 2551 ค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้ตั้งชื่อว่า "ธัญกาฬ" และ "รินลอุบล" == ในวรรณคดี == บัวปรากฏในนิราศธารโศก พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) == อ้างอิง == วงศ์บัวสาย พืชเหง้า
thaiwikipedia
167
เอกภพปิด
==ข้อมูลเบื้องต้น== ประเภทหนังสือ: นวนิยาย จากเรื่อง: Captive Universe ประพันธ์โดย: แฮรี่ แฮริสัน ผู้แปลและเรียบเรียง: ธรรมนูญ จรัสวัฒน์ ตีพิมพ์: ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2525 สำนักพิมพ์สยามไซน์แอนด์เทคโนโลยี ==เนื้อเรื่องย่อ== ไคมาล อัจฉริยะหนุ่มชาวแอสแทคแห่งหมู่บ้านควีลาปารู้สึกเบื่อหน่ายชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่มีความหมายในหุบเขาวันหนึ่งเขาติดตามโคท์ลีคิว เทพีงูสองเศียรออกจากภูเขาไปได้ สิ่งที่เขาพบเบื้องนอกถึงกับทำให้คนป่าเถื่อนอย่างเขาตกตะลึง ท้องฟ้าที่สัมผัสได้ด้วยมือทั้งสองข้าง ดวงดาวที่เห็นระยิบระยับทุกคืนกลับกลายเป็นลูกกลมๆเรืองแสงกลิ้งไปกลิ้งมาเตะเล่นได้ และดวงอาทิตย์กลายเป็นสป็อตไลท์ดวงมหึมาวิ่งอยู่บนราง ใครจะอธิบายสิ่งเหล่านี้ได้ ? ==ดูเพิ่ม== รายชื่อนิยายวิทยาศาสตร์ รายชื่อนิยายวิทยาศาสตร์ไทย == อ้างอิง == อเอกภพปิด
thaiwikipedia
168
โลกวิไลซ์
โลกวิไลซ์ (Brave New World) เป็นนวนิยายแนวดิสโทเปีย ที่เขียนโดย อัลดัส ฮักซเลย์ ในปี พ.ศ. 2475 เนื้อเรื่องกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีการสืบพันธุ์, สุพันธุศาสตร์, และการควบคุมจิตใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม นิยายเรื่องนี้เป็นนิยายที่โด่งดังและเป็นที่จดจำได้มากที่สุดของฮักซเลย์ ฉบับพิมพ์ใหม่เป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า โลกที่เราเชื่อ ชื่อเรื่อง Brave New World มาจากคำพูดของมิแรนดา หนึ่งในตัวละครเอกในบทละครเรื่อง "พายุพิโรธ" (The Tempest) โดยวิลเลียม เชกสเปียร์ "O brave new world, That has such people in it!" == ดูเพิ่ม == รายชื่อนิยายวิทยาศาสตร์ รายชื่อนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ==อ้างอิง== ลโกวิลไซ์
thaiwikipedia
169
พุดน้ำบุษย์
พุดน้ำบุษย์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gardenia carinata Wallich.) เป็นดอกพุดชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมาก เนื่องจากเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม ดอกมีกลิ่นหอมแรง ดอกบานอยู่ได้ราว 7 วัน เมื่อแรกแย้มบานเป็นสีออกขาวนวลส่งกลิ่นหอมมาก หอมไกล 2 - 3 เมตร เมื่อบานเข้าวันที่สองสีจะเริ่มออกเหลืองอ่อน ต่อมา ค่อยๆ เหลืองเข้มจนกระทั่งเข้มจัด ออกดอกตลอดทั้งปี กลิ่นหอมตลอดวันแต่จะหอมมากในตอนค่ำ น้ำบุษย์หมายถึงพลอยสีเหลืองหรือบุษราคัม เป็นคำเปรียบความงามของดอกไม้ชนิดนี้ == ลักษณะเฉพาะ == ลักษณะ: เป็นไม้พุ่มต้นเล็กหรือพุ่มเตี้ยสูงประมาณ 2 - 3 เมตร ทรงพุ่มแน่น แตกกิ่งต่ำเป็นสาขาจำนวนมากตามข้อของลำต้น ลำต้นแก่สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว ใบ: ลักษณะใบสวยงามเพราะใบมัน หน้าใบสีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีเทา เป็นลายเห็นเด่นชัดสวยงาม เรียงใบ เป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 5 เชนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร ดอก: ดอกเดี่ยวบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง แรกบานดอกมีสีขาว เมื่อแก่เต็มที่จะกลายเป็นสีเหลืองเข้ม โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเหลือง ความยาวของกลีบ ของกลีบดอก 2 เซนติเมตร มี 7-8 กลีบ คลายรูปช้อน ชูดอกอยู่บนก้าน มีกลิ่นหอมแรงในช่วงพลบค่ำ การดูแล: เติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้น เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ถ้าไม่สามารถหาแดดเต็มวันให้ได้ อาจเป็นแดดครึ่งวัน แดดช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ แสงแดดจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอก พุดน้ำบุษย์สามารถปลูกได้ทั้งแบบลงดินกลางแจ้ง หรือปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ แต่ควรตั้งไว้ในที่มีแสงแดดส่องถึง หลังปลูกบำรุงดินด้วยปุ๋ยมูลสัตว์ประเภทขี้วัวขี้ควายแห้งโรยกลบฝังดินรอบโคน ต้นหรือรอบขอบกระถางปลูก 15 วันครั้ง รดน้ำให้พอชุ่มทั้งเช้าและเย็น การขยายพันธุ์: ใช้การตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด ประโยชน์: มีความสวยงาม เหมาะปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือน หรืออาคาร == อ้างอิง == พุดน้ำบุษย์ จากศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม้ดอกไม้ประดับ สกุลพุด
thaiwikipedia
170
พุดพิชญา
ดอกพุดพิชญา เป็นพืชในสกุลโมก ในประเทศไทยนำเข้าจากประเทศศรีลังกา มีชื่อท้องถิ่นว่า "อิดด้า" (Idda) มีความหมายว่าดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ผู้นำเข้าคือ คุณสุปราณี คงพิชญานนท์ ลักษณะของดอกสีขาวเหมือนกลุ่มดอกพุดในบ้านเรา เธอจึงนำชื่อ ดอกพุด มา สมาส เข้ากับวลีนามสกุล ออกมาเป็นชื่อใหม่ว่า "พุดพิชญา" ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia antidysenterica ชื่อสามัญ Snowflake, Milky Way, Arctic Snow, Winter Cherry Tree, Sweet Indrajao, Pudpitchaya == ลักษณะทางพฤษศาสตร์ == พุดพิชญาเป็นไม้หลายขนาด ทั้งต้นเตี้ย ต้นสูง และต้นใหญ่ ลำต้นสีน้ำตาล ใบสีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน ไม่ผลัดใบ ออกดอกตลอดทั้งปี ให้ดอกเป็นช่อดอก ช่อละ 5 - 10 ดอก ดอกบานทนตั้งแต่แรกแย้มไปจนสู่บานเต็มที่ ใช้เวลา 4 - 5 วัน ดอกตูมในช่อดอกอื่นๆก็ค่อยทยอยโต และทยอยกันบานไปเรื่อยๆ ลักษณะดอกเป็นกลีบแยก 5 กลีบ เกสรตรงกลางสีเหลืองมีฝอยเกสรสีขาวล้อมรอบ เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ก้านดอกยาวประมาณ 1 นิ้ว == การปลูกเลี้ยง == ปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้หรีอปลูกลงดินก็ได้ เลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ในเกือบทุกสิ่งแวดล้อม ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยใบจามจุรีหมัก เพราะมีไนโตรเจนสูง ถ้าต้องการเร่งและบำรุงดอกใช้ปุ๋ยขี้ไก่ เพราะมีฟอสฟอรัสสูง ขยายพันธุ์โดยการ ตอนกิ่ง และการปักชำ สกุลโมกมัน ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
171
มังกรคาบแก้ว
มังกรคาบแก้ว (bagflower; ) เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยสูง 3 - 6 เมตร มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตกจากประเทศแคเมอรูนถึงประเทศเซเนกัล เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีแดงเข้ม 5 กลีบ หลอดดอกเชื่อมติดกับกลีบเลี้ยงสีขาวคล้ายรูปหัวใจ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นไม้ที่ชอบแสงแดด วิลเลียม คูเปอร์ ธอมสัน มิชชันนารีและนายแพทย์ในไนจีเรียเป็นผู้ตั้งชื่อไม้ดอกชนิดนี้ว่า Bleeding heart ==อ้างอิง== ==แหล่งข้อมูลอื่น== Clerodendrum thomsoniae Clerodendrum thomsoniae ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ผกากรอง
thaiwikipedia
172
หีบไม้งาม
หีบไม้งาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Carissa macrocarpa (Eckl.) A.DC. ,ชื่อสามัญ: Natal Plum) ที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์ตีนเป็ดที่สูงถึง 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามปลายแหลมแยกเป็น 2 แฉก ยาวได้ถึง 3 ซม.ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางขาว ด้วยทรงพุ่มสวยจึงใช้ปลูกในสวนหย่อม ทำเป็นรั้ว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากซ้อนกันถี่ ใบรูปไข่ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-6.5 ซม.ปลายใบมนมีติ่งหนามสั้น โคนใบรูปหัวใจหรือตัด ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา แข็ง ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว แต่รวมกันเป็นช่อกระจุกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ1-3 ดอก สีขาว กลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยงเล็ก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่ 2-3 ซม.ออกหมุนเวียนตลอดปี ผล ทรงกลมแป้นเล็กน้อย ขนาด 2-4 ซม.เมื่อสุกสีแดงปนดำ มี 6-10 เมล็ด คล้ายๆผลแอปเปิ้ลรับประทานได้ ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่งปักชำ ในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ทั้งที่มีแสงแดดรำไรหรือแสงแดดจัด == อ้างอิง == วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
173
เศรษฐีเรือนใน
เศรษฐีเรือนใน ( 'Vittatum') เป็นไม้ในวงศ์ Anthericaceae มีเหง้าใต้ดิน รากสีขาว อวบน้ำ ใบเป็นแถบยาวสีเขียว ขลิบเขียวตามขอบใบ ตรงกลางสีขาว ดอกสีขาว ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม เป็นพืชพื้นเมืองของกาบอง ==สายพันธุ์อื่น ๆ== เศรษฐีเรือนนอก (C. comosum 'Variegatum'‎) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของ C. comosum ถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกาใต้ ใบสีเขียวเข็มมีแถบขาวกลางใบสีเขียว เศรษฐีเรือนเขียว เป็นสายพันธุ์ที่มีสีเขียวทั้งใบ C. comosum 'Milky Way'‎ ใบใหญ่และมีสีขาวชัดเจนกว่าเศรษฐีเรือนใน ==อ้างอิง== ประชิด วามานนท์. ไม้ประดับเพื่อการตกแต่ง. กทม. บ้านและสวน. 2550 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ลิลี
thaiwikipedia
174
โมกแดง
โมกแดง หรือจำปูนแดง(Sims) Spreng.โมกแดงเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร ลำต้นมีรอยขีดสีขาวตามยาว แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มโปร่ง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ดอกเป็นดอกเดี่ยว บางครั้งออกเป็นกระจุก กระจุกละ 1-4 ดอก ดอกทรงระฆังคว่ำ ห้อยลง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ด้านหน้ากลีบดอกมีสีส้มแดงอมชมพู ด้านหลังมีสีขาวนวล เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง ออกดอกตลอดปี โมกแดงชอบอยู่ในที่ที่แสงแดดรำไร มีความชื้นในดินและในอากาศค่อนข้างสูง ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนซุยระบายน้ำดี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง แยกหน่อที่แตกจากรากใต้ดิน ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกสวยงาม มีกลิ่นหอม ผลใช้ปรุงเป็นยาขับระบบไหลเวียนโลหิต ยอดใช้เป็นผักสด นำมาใส่แกงได้ == ดูเพิ่ม == โมก == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == http://flowersandherbs.cscoms.com/flower/content/f136.shtml สกุลโมกมัน ไม้ดอกไม้ประดับ พืชที่รับประทานได้ สมุนไพร
thaiwikipedia
175
นมตำเลีย
นมตำเลีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoya parasitica (Roxb.) Wall. ex Wight เป็นหนึ่งในพืชสกุลนมตำเลีย (Hoya) เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก สามารถพบได้ในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมไปถึงบางเกาะกลางทะเลในเขตประเทศไทย และมีความหลากหลายของขนาดและรูปร่างใบ สีสันของดอก รูปทรงของมงกุฏ (corona) ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ดอกมักออกในช่วงฤดูร้อนของปี จนถึงต้นฤดูฝน ช่อดอกทรงกลม เมื่อดอกบานกลีบดอก (corola) จะพลิกกลับไปด้านหลัง ดอกมีกลิ่นหอมรุนแรง ดอกขนาด 1 - 1.5 ซม. โฮย่าเป็นหนึ่งในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ อยู่ในวงศ์ Asclepiadaceae ดร.โรเบิร์ต บราวน์ (Dr. Robert Brown) นายแพทย์ชาวอังกฤษ ได้ตั้งชื่อสกุลของโฮย่าขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2353 จากชื่อของเพื่อนผู้หนึ่ง คือนาย Thomas Hoy ผู้ดูแลสวนของดยุกแห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษในช่วงปลายคริส์ตศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริส์ตศตวรรษที่ 19 ซึ่งแต่เดิมพืชชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Asclepias carnosa L.f. โฮย่าต้นแรกที่ ดร. โรเบิร์ต บราวน์ ตั้งชื่อและยึดถือเป็นต้นแบบของพืชสกุลนี้คือ Hoya carnosa L.f. Brown มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีนและฮ่องกง กล่าวกันว่าสวนของแห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด์นั้นเป็นแหล่งรวบรวมพืชแปลกและหายากจากทั่วโลก จึงเป็นไปได้ว่าโฮย่าต้นนี้ได้ปลูกไว้ที่สวนแห่งนี้ด้วย ปัจจุบันโฮย่าชนิดนี้เป็นไม้ประดับที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วโลก และยังมีโฮย่าอีกหลายชนิดที่ปลูกเป็นทั้งไม้ประดับดอกและใบได้อย่างสวยงาม โฮย่าหลายชนิดมาจากป่าภายในประเทศไทยของเรามีอยู่ชนิดหนึ่งที่มีบทบาทมากในการใช้เป็นไม้ประดับใบที่นิยมในปัจจุบันคือ Hoya kerrii หรือที่เรารู้จักกันในนามโฮย่าใบหัวใจนั้นเอง == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == ปัจจุบันพบว่าโฮย่ากว่า 400 ชนิดทั่วโลก (ไม่รวมต้นที่มีการกลายพันธุ์และลูกผสมซึ่งเกิดจากการปลูกเลี้ยง) กระจายพันธุ์ครอบคลุมบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนบนของทวีปออสเตรเลียเจริญอยู่ในสภาพธรรมชาติต่าง ๆ กัน พบมากที่สุดในแนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกาะในบริเวณทะเลจีนใต้ ที่มีสภาพเป็นป่าฝนเขตร้อนเหมือนป่าดงดิบ มีแสงส่องถึง นอกจากนี้ยังพบในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งใบแถบอินโดจีน รวมทั้งบนหุบเขาสูงซึ่งเป็นป่าดิบเขาในเขตกึ่งร้อนโฮย่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อยอิงอาศัยเกาะกับต้นไม้ใหญ่ ได้อาหารและน้ำจากลมและฝนพัดพามา (epiphytic plant) ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว (ยกเว้นเพียงไม่กี่ชนิด เช่น Hoya carnosa มีน้ำยางใส) มีใบหนาคล้ายพืชอวบน้ำจึงสามารถทนแล้งได้ดี มีรากที่ทำหน้าที่คล้ายรากอากาศ ===ดอก=== เป็นเอกลักษณ์ของโฮย่าที่แตกต่างจากต้นไม้อื่นและสามารถใช้จำแนกสายพันธุ์ต่างๆ ได้ดีดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม เกิดที่ข้อใบและมักห้อยลง ก้านช่อดอกมีอายุนานหลายปีและเกิดดอกซ้ำได้หลายครั้ง ดอกออกเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 อัน ลักษณะเด่นของดอกคือมีกลีบดอกเป็นมันคล้ายทำด้วยขี้ผึ้ง สีสันสดใส จึงมีชื่อเรียกว่า Wax Plant หรือบางชนิดกลีบดอกมีขนฟูคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม ส่วนมากมักจะมันแววบาง มีแทบทุกสี สีขาว นวล เหลือง ชมพู แดง ม่วงเข้ม โฮย่าบางพันธุ์ มีพันธุ์ย่อย ใบเหมือนกันทรงดอกเหมือนกัน แต่สีดอกผิดแผกกัน เช่น มงกุฎขาวเปลี่ยนเป็นมงกุฎแดง นอกจากนี้ยังมีส่วนที่คล้ายมงกุฎ 5 แฉก (corona) ครอบอยู่ตรงกลางเหนือกลีบดอก เกสรเพศผู้ 5 อัน มีลักษณะคล้ายก้อนขี้ผึ้ง (polonium) อยู่ระหว่างแฉกของมงกุฎ ส่วนเกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่กึ่งกลางมงกุฎ ดอกโฮย่าหลายพันธุ์ มีน้ำหวานข้นติดอยู่กลางดอกทำให้เพิ่มความสวยงามและความแวววาวมากยิ่งขึ้น ===ช่อดอก=== ลักษณะเด่นของโฮย่า คือ ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็มกระจายออกจากก้านช่อดอก ส่วนมากจะคว่ำหน้าลง จำนวนดอกต่อช่อมีตั้งแต่ 7 - 70 ดอกต่อช่อ แล้วแต่สายพันธุ์ลักษณะมาตรฐานคือทรงกลมเป็นลูกบอลแต่มีทรงอื่นๆ อีก เช่น ทรงกลม ทรงฝักบัวโค้งออก ทรงฝักบัวโค้งเข้า ทรงฝักบัวแหงนขึ้น ===ก้านช่อดอก=== ก้านช่อดอกเป็นเอกลักษณ์อันหนึ่งของโฮย่า เพราะเป็นดอกไม้ชนิดเดียวที่ก้านช่อดอกมีอายุยืนยาวหลายปีและออกดอกซ้ำที่ก้านช่อดอกได้เรื่อยๆ ทำให้ก้านช่อดอกงอกยาวไปได้จน ถึง 7-8 ซม. ไม่สมควรตัดก้านช่อดอกออกเพราะจะทำให้การออกดอกหยุดชะงัก ก้านช่อดอกบางพันธุ์อยู่ที่ยอดอ่อนบางพันธุ์เกิดที่ปลายยอด บางพันธุ์เกิดที่ข้อใต้ใบ และบางพันธุ์ยังแตกก้านช่อดอกเป็นแขนงออกได้ เช่น Hoya latifolia ===กลิ่น=== น้อยชนิดที่ไม่มีกลิ่น กลิ่นมีแตกต่างกันออกไปมากมายสุดเกินที่จะบรรยาย บางพันธุ์หอมมาก บางพันธุ์กลิ่นหอมคล้ายผิวเปลือกของผลไม้ บางพันธุ์ก็มีกลิ่นเหม็นคล้ายกับกลิ่นคาวปลา ส่วน มากให้กลิ่นตอนเย็น ค่ำ และกลางคืน มีบางชนิดที่มีกลิ่นในช่วงกลางวัน ยิ่งอากาศร้อยกลิ่นก็จะยิ่งรุนแรง ฤดูดอก บางพันธุ์มีดอกตลอดปี แต่ส่วนมากจะมีดอกเป็นช่วงๆ ฤดู บางพันธุ์ออกดอกช่วงต้นฤดูร้อนบางพันธุ์ออกดอกช่วงปลายฤดูฝน ส่วนชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาวจะออกดอกในฤดูหนาว ===ใบ=== ใบของ Hoya ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้าง ยกเว้น Hoya imbricata ที่มีใบซ้อนเหลื่อมกัน (imbricate) ส่วนมากค่อนข้างหนา บางพันธุ์สะสมน้ำในใบเหมือนกุหลาบหิน ใบมีรูปทรงแตกต่างกันมาก ตั้งแต่รูปเป็นแท่งคล้ายดินสอ ไปจนถึงรูปกลม รูปไข่ รูปใบโพธิ์ รูปขนาน รูปหัวใจ รูปสี่เหลี่ยมแถบกว้าง แถบแคบ บางชนิดมีผิวใบหยาบเหมือนแผ่นหนัง หรือมีขนคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม แม้ใบจะมีรูปทรงมากมายแต่การใช้ใบจำแนกสายพันธุ์ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก โดยเฉพาะ Hoya ในกลุ่มของ Hoya parasitaca เพราะลักษณะใบจะผิดแปลกไปตามสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณน้ำ ปริมาณแสงที่ได้รับ ความสมบูรณ์ของต้น ของใบที่อายุแตกต่างกัน นอกจากนั้นสีใบก็ใช้บอกสายพันธุ์ได้ยาก เช่น โฮย่าในป่าหน้าแล้งใบตึงเล็กอวบน้ำจนแทบไม่มีเส้นใบ มีสีน้ำตาลแดง พอเข้าหน้าฝนใบใหม่สายพันธุ์นั้นจะบางใหญ่เห็นเส้นใบชัดเจน มีสีเขียวอ่อน ดังนั้น ใบในเถาเดียวกันก็มีโอกาสผิดแปลกกันได้ และที่ยากยิ่งคือใบของสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน บางกลุ่มมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากการแยกสายพันธุ์โดยสังเกตใบต้องใช้ความชำนาญมาก และก็ไม่สามารถแยกได้ทุกชนิด ===ลำต้น=== ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อยพัน แต่มีลักษณะอื่นๆ อีกซึ่งพอจะจำแนกได้เป็นกลุ่ม ไม้พุ่มเล็กตั้งต้นไม้รอเลื้อย ไม้เลื้อย ทุกพันธุ์มีลักษณะเป็นปล้อง มักมี 2 ใบที่ ข้อ แต่บางพันธุ์ออกใบเป็นกลุ่ม รอบข้อส่วนมากมียางสีขาวในลำต้น ===ผล=== เป็นฝักรูปร่างทรงกระสวยยาวเมื่อแก่จะแห้งและแตกออกเพียงด้านเดียว ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก เมล็ดมีขนพิเศษ (coma) ช่วยในการกระจายพันธุ์ไปตามลม เมล็ดที่ตกในที่เหมาะสมก็จะเจริญเติบโตต่อไป ===ราก=== โฮย่าเป็นพืชเกาะอาศัย ตามลำต้น ตามกิ่ง มีทั้งห้อยลง ตั้งขึ้นและเลื้อยพันจนแน่น เติบโตช้าถึงปานกลาง ชนิดที่ไม่เป็นไม้พุ่มมีรากที่โคนต้นและขึ้นบนพื้นดินได้โฮย่าส่วนมากมีรากพิเศษระหว่างปล้องข้อมากมาย == นมตำเลียในวรรณกรรม == ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี สกุลนมตำเลีย
thaiwikipedia
176
ลานไพลิน
ลานไพลิน (Giant bacopa; ชื่อวิทยาศาสตร์: Bacopa caroliniana (Walt.) B.L. Robins) เป็นพืชสะเทินน้ำสะเทินบกอายุข้ามปี มีลำต้นกลมใหญ่มีขน อาจขึ้นใต้น้ำหรือเลื้อยทอดไปตามพื้น แล้วชูยอดตั้งขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ส่วนโคนใบกว้างกว่าปลายใบ ขอบใบเรียบ แตกจากลำต้นแบบตรงกันข้าม ใบเหนือน้ำหนาและแข็งกว่าใบใต้น้ำ ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ เจริญเหนือน้ำ มีก้านดอกสั้น กลีบดอกสีฟ้าคราม โคนกลีบติดกันเป็นรูปกรวย ปลายกลีบดอกมี 5 แฉก ภายในมีขน เกสรตัวผู้มี 4 อัน วงศ์เทียนเกล็ดหอย ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
177
หนูน้อยหมวกแดง
หนูน้อยหมวกแดง เป็นนิทานพื้นบ้านสำหรับเด็ก ที่แพร่หลายไปหลายประเทศ เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งเนื้อเรื่องก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ชื่อเรื่องในภาษาต่างประเทศก็มี Little Red Riding Hood, Little Red Cap, La finta nonna, Le Petit Chaperon Rouge และ Rotkäppchen == ประวัติ และ เนื้อเรื่องที่เปลี่ยนไป == ที่มาของนิทานเรื่องนี้นั้น เป็นเรื่องที่เล่าปากต่อปาก แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศในยุโรป ซึ่งคาดว่าเป็นก่อนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเนื้อเรื่องที่ปรากฏ ก็มีหลายฉบับด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากฉบับที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในปัจจุบัน ใน La finta nonna ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเก่าแก่ของอิตาลีนั้น หนูน้อยได้ใช้ความกะล่อนของเธอ เอาชนะหมาป่าด้วยตัวเธอเอง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก เพศชาย หรือ เพศชายที่มีอายุมากกว่า ซึ่งในภายหลังนั้นได้มีการเพิ่มตัวละครเพศชายเพื่อลดบทบาทของหนูน้อยซึ่งเป็นเพศหญิงลงไป โดยแสดงให้เห็นว่าเพศหญิงนั้น ยังต้องการความช่วยเหลือปกป้องจากเพศชายซึ่งแข็งแรงกว่า ซึ่งในเนื้อเรื่อง ก็คือคนตัดไม้นั่นเอง Le Petit Chaperon Rouge เท่าที่ทราบโดยทั่วไป เป็นฉบับแรกสุดที่ได้รับการตีพิมพ์จากเนื้อเรื่องนิทานพื้นบ้านของฝรั่งเศส โดยเนื้อเรื่องนั้น ได้ถูกพิมพ์ในหนังสือ Histoires et contes du temps passé, avec des moralités. Contes de ma mère l'Oye ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวม นิทานและเรื่องเล่าต่าง ๆ พร้อมคติสอนใจ โดย ชาร์ลส แปร์โรลต์ (Charles Perrault) เนื้อเรื่องของฉบับนี้ จะค่อนข้างรุนแรง เนื่องมาจากความพยายามเน้น ถึงคติสอนใจต่าง ๆ โดยตอนจบของเรื่องนี้ ทั้งคุณยายและหนูน้อยถูกหมาป่าจับกิน คติสอนใจที่ชาร์ลส แปร์โรลต์ ได้ให้ไว้สำหรับเรื่องนี้ ก็คือ เด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กสาว ไม่ควรไว้ใจฟังคำพูดของคนแปลกหน้า และสำหรับหมาป่านั้น แม้เราจะเลี้ยงดูให้อาหาร แต่ก็ยังคงเป็นหมาป่าซึ่งเลี้ยงไม่เชื่อง โดยปกติแล้ว หมาป่าจะต้องเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย แต่หมาป่าประเภทที่ดูเชื่อง และใจดี นั้นกลับน่ากลัวยิ่งกว่า ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรื่องนี้ในฉบับภาษาเยอรมัน ถูกบอกเล่าให้แก่ พี่น้องตระกูลกริมม์ โดยคนพี่ (เจค็อบ กริมม์) ฟังมาจาก Jeanette Hassenpflug (ค.ศ. 1791-1860) ส่วนคนน้อง (วิลเฮล์ม กริมม์) ฟังมาจาก Marie Hassenpflug (ค.ศ. 1788-1856) พี่น้องทั้งสอง ได้รวมเนื้อเรื่องจากทั้งสองฉบับนั้น เป็นเรื่องเดียวในชื่อ Rotkäppchen ไว้ในหนังสือรวมเรื่อง Kinder- und Hausmärchen โดยในฉบับนี้ คุณยายและหนูน้อย ได้รับการช่วยเหลือจากนักล่าหมาป่า และภายหลัง หนูน้อยและคุณยายก็ได้ใช้ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนั้น ในการจับและฆ่าหมาป่าอีกตัวหนึ่ง ในภายหลังพี่น้องทั้งสอง ได้ปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่อง จนเป็นฉบับปี ค.ศ. 1857 ที่เป็นเนื้อเรื่องที่แพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งเนื้อเรื่องค่อนข้างจะมีจินตนาการสอดแทรกมากกว่าฉบับอื่น ๆ ที่ผ่านมา โดยทั้งหนูน้อยและคุณยายถูกหมาป่าจับกิน แต่ในภายหลังได้มีคนตัดไม้มาช่วย โดยการผ่าท้องหมาป่า ช่วยหนูน้อยและคุณยาย ออกมาได้อย่างปลอดภัย == ดูเพิ่ม == รายชื่อเทพนิยาย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เนื้อเรื่องหนูน้อยหมวกแดง ฉบับพี่น้องตระกูล Grimm เนื้อเรื่องหนูน้อยหมวกแดง ฉบับอื่นๆ หนูน้อยหมวกแดง Little Red Riding Hood หนังสือนิทานคลาสสิก 2 ภาษา เทพนิยายกริมม์
thaiwikipedia
178
กาหลง
กาหลง เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล ปลูกขึ้นง่ายในดินร่วนทั่วไป ที่มีความชื้นและอุดมสมบูรณ์ นิยมปลูกเป็นปลูกเป็นไม้ประดับ ทางสมุนไพรมีฤทธิ์เป็นยาแก้เสมหะ กาหลงมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง), เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), เสี้ยวดอกขาว == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == กาหลงเป็นไม้พุ่ม สูง 1–3 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ปลายแฉกทั้งสองข้างแหลม ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และจะแตกใบใหม่ราวเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ดอกออกหลังจากใบใหม่แตกออกมาแล้ว ดอกสีขาว มีลักษณะเป็นช่อดอกสั้น ๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3–10 ดอก ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5–10 เมล็ด เมล็ดเล็กคล้ายรูปขอบขนาน == การกระจายพันธุ์ == เราไม่สามารถบอกได้ว่ากาหลงมีถิ่นกำเนิดมาจากไหนเพราะมีการปลูกเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง มันอาจมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ กาหลงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลายทั่วเขตร้อน อาจทำให้มีบางส่วนหลุดรอดจากพื้นที่ปลูกเลี้ยงในบางพื้นที่จนกลายเป็นต้นไม้ตามธรรมชาติในคาบสมุทรเคปยอร์ก (Cape York Peninsula) ออสเตรเลีย == กาหลงในวรรณกรรม == เต็งแต้วแก้วกาหลง บานบุษบงส่งกลิ่นอาย หอมอยู่ไม่รู้หาย คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตราตรู (บทเห่เรือ - เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์) ==ภาพ== == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == . สกุลชงโค ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี ดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย
thaiwikipedia
179
มะลิวัลย์
มะลิวัลย์ หรือผักแส้ว Wall. เป็นไม้เลื้อยในสกุลมะลิ พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย กระจายพันธุ์จนถึงไทย พม่า มาเลเซีย และเวียดนาม ในไทยพบได้ทุกภาค เถามีขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ดอกช่อ ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน แฉกกลีบเลี้ยงยาวกว่ามะลิชนิดอื่น ใช้เป็นประดับ ทางภาคเหนือนำยอดอ่อนไปใส่แกง == มะลิวัลย์ในวรรณกรรม == มะลิวัลย์มีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 {| |- | มะลิวัลย์พันพุ่มคัดค้าว |- |ระดูดอกออกขาวทั้งราวป่า |- | บ้างเลื้อยเลี้ยวเกี่ยวกิ่งเหมือนชิงช้า |- |ลมพาพัดแกว่งดังแกล้งไกว |} == อ้างอิง == ปิยะ เฉลิมกลิ่น. มะลิในเมืองไทย. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน. 2556. หน้า 60 == แหล่งข้อมูลอื่น == ๑๐๘ พรรณไม้ไทย รายละเอียดมะลิวัลย์ สกุลมะลิ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชที่รับประทานได้
thaiwikipedia
180
เสาวรส
เสาวรส, กะทกรกฝรั่ง, กะทกรกสีดา หรือ กะทกรกยักษ์ (, Passionfruit, Maracujá) เป็นไม้เถาเลื้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ผลเป็นรูปกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ ทั้งสีม่วง เหลือง ส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสอมหวาน ==การผสมเกสร== การผสมเกสรนั้นจะใช้แมลงภู่เพื่อการผสมเกสรในเชิงการค้าในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย และส่วนอื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังค้นพบว่าดอกเสาวรสบานสัมพันธ์กันกับช่วงที่แมลงภู่กำลังแพร่กระจายจำนวนประชากร แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้วิวัฒนาการมาอย่างสัมพันธ์กัน == การกระจายพันธุ์ == มีการปลูกเสาวรสทางการค้าในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้และโปรตุเกส ในประเทศไทยมีเสาวรสที่ปลูกทั่วไป 3 พันธุ์คือ พันธุ์สีม่วง เมื่อสุกเปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลือง รสอมหวานมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ แต่ไม่ค่อยต้านทานโรคในเขตร้อน พันธุ์สีเหลืองหรือเสาวรสสีทอง ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก นิยมปลูกในเขตร้อน พันธุ์ผสม เมื่อสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด กลิ่นแรง สามารถปักชำและเสียบยอดได้ == การใช้ประโยชน์ == ผลสุกของเสาวรสนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์ หรือเติมลงในน้ำผลไม้ชนิดอื่นเพื่อเพิ่มกลิ่น ในทวีปอเมริกาใต้รับประทานเปลือกของเสาวรสสุก หรือนำไปปั่นรวมกับน้ำตาลและน้ำเสาวรสเป็นเครื่องดื่มที่เรียก Refresco นำเนื้อเสาวรสไปทำขนมได้หลายชนิดทั้งเค้ก ไอศกรีม แยม เยลลี ยอดเสาวรสนำไปแกงหรือกินกับน้ำพริกเมล็ดนำไปสกัดน้ำมันพืช ทำเนยเทียม เปลือกนำไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้งเป็นอาหารสัตว์ เปลือกเสาวรสที่อ่อนบางพันธุ์มีสารประกอบไซยาไนต์เล็กน้อยโดยเฉพาะผลสีม่วง แต่เมื่อนำเปลือกมาทำแยมด้วยความร้อนสูง สารประกอบไซยาไนต์จะหายไป การใช้ประโยชน์ในประเทศต่าง ๆ มีดังนี้ บราซิล มูสเสาวรสเป็นของหวานที่พบได้ทั่วไป เมล็ดเสาวรสนิยมใช้แต่งหน้าเค้ก ในการปรุงCaipirinha นิยมใช้เสาวรสแทนมะนาว โคลอมเบีย เป็นผลไม้ที่สำคัญในการทำน้ำผลไม้และขนม เรียกเสาวรสว่า "Maracuyá" สาธารณรัฐโดมินิกันเรียกเสาวรสว่า chinola ใช้ทำน้ำผลไม้และใช้แต่งรสไซรับ กินเป็นผลไม้สดกับน้ำตาล ฮาวาย ทั้งเสาวรสสีม่วงและสีเหลืองใช้กินเป็นผลไม้ น้ำเชื่อมรสเสาวรสใช้แต่งหน้าน้ำแข็ง ไอศกรีม และใช้เป็นส่วนผสมในเค้ก คุกกี้ แยม เยลลี่ เนย อินโดนีเซีย มีเสาวรสสองชนิด คือชนิดสีขาวกับสีเหลือง สีขาวกินเป็นผลไม้ สีเหลืองใช้ทำน้ำผลไม้ และเคียวกับน้ำตาลเป็นไซรับ นิวซีแลนด์ และ ออสเตรเลีย นิยมกินผลสดเป็นอาหารเช้าในช่วงฤดูร้อน เช่นทำฟรุตสลัด เสาวรสใช้ทำขนมหลายอย่าง เช่นแต่งหน้าเค้ก pavlova ไอศกรีม ใช้แต่งรสชีสเค้ก และมีน้ำอัดลมรสเสาวรสในออสเตรเลีย ปารากวัย ใช้ทำน้ำผลไม้ ใช้ผสมในเค้กมูส ชีสเค้ก ใช้แต่งรสโยเกิร์ตและคอกเทล เม็กซิโก ใช้ทำน้ำผลไม้หรือรับประทานผลกับพริกป่นและน้ำเลมอน เปอร์โตริโก เรียกเสาวรสว่า "Parcha" นิยมใช้เป็นยาลดความดัน ใช้ทำน้ำผลไม้ ไอศกรีมหรือเพสตรี เปรูใช้เสาวรสทำขนมหลายชนิดรวมทั้งชีสเค้ก ใช้ทำน้ำผลไม้ ผสมใน ceviche และคอกเทล ฟิลิปปินส์รับประทานเป็นผลไม้ มีขายทั่วไปแต่ไม่เป็นที่นิยมมาก แอฟริกาใต้ เสาวรสรู้จักกันในชื่อ Granadilla ใช้แต่งรสโยเกิร์ต น้ำอัดลม กินเป็นผลไม้หรือใช้แต่งหน้าเค้ก ศรีลังกา นิยมดื่มน้ำเสาวรสเป็นน้ำผลไม้ สหรัฐอเมริกา ใช้ผสมในน้ำผลไม้ผสม เวียดนาม รับประทานเสาวรสปั่นกับน้ำผึ้งและน้ำแข็ง ไทย นิยมรับประทานสด หรือแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ == สารอาหาร == ผลเสาวรสสุกมีบีตา-แคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง น้ำเสาวรสมีวิตามินซีมากและเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผลสีเหลืองใช้ในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ ส่วนผลสีม่วงนิยมบริโภคสด เสาวรสมีไลโคพีน ในชั้นเพอริคาร์บ == ภาพของเสาวรส == ไฟล์:3 species of passionfruit.jpg|เสาวรส 3 สปีชีส์ ไฟล์:Passiflora Edulis Closed Fruit.jpg|เสาวรสสีม่วง ไฟล์:Passiflora Edulis Open Fruit2.jpg|ผลเสาวรสม่วงผ่าตามขวาง ไฟล์:Maracuyá stand.jpg|เสาวรสสีเหลืองที่เก็บเกี่ยวแล้ว (P.flavicarpa) ไฟล์:Passiflora edulis dsc07776.jpg|เสาวรสสีม่วงที่เก็บเกี่ยวแล้ว ไฟล์:Passionfruit comparison.jpg|ขนาดที่ต่างกันของเสาวรสสีเหลืองและสีม่วง ไฟล์:Passionfruitvine.jpg|ผลเสาวรสที่ยังติดอยู่กับเถา ไฟล์:Passiflora edulis forma flavicarpa.jpg|ดอกของ Passiflora flavicarpa == อ้างอิง == นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 == แหล่งข้อมูลอื่น == Purdue.edu, Fruits of Warm Climates: Passionfruit Saowaros.com, Thai Passion fruit CRFG.org , California Rare Fruit Growers: Passion Fruit Fruit Facts Passiflora.org, Passiflora Society International DaleysFruit.com.au, Australian Passionfruit Varieties Phytochemicals.info, phytochemicals in Passion Fruit Passionflow.co.uk, Passiflora Online ไม้ดอกไม้ประดับ ผลไม้ ไม้เลื้อย วงศ์กะทกรก
thaiwikipedia
181
ทรงบาดาล
ทรงบาดาล หรือ ขี้เหล็กหวาน เป็นไม้พุ่ม สูง 3 - 5 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4 - 6 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 1 - 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก สีเหลืองออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 20 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและจาไมก้า ออกดอก ตลอดปี ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด วิธีเตรียมเมล็ด ก่อนเพาะ นำเมล็ดมาแช่น้ำร้อน 80 - 90 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้เย็น 16 ชั่วโมง == แหล่งข้อมูลอื่น == กรมป่าไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี วงศ์ย่อยราชพฤกษ์
thaiwikipedia
182
ช้องนาง
ช้องนาง เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) เป็นพืชล้มลุกหลายฤดูและเป็นพืชท้องถิ่นในแอฟริกาตะวันตกและเอเชีย ทรงพุ่มสูงประมาณ 2.5 เมตร กลีบดอกสีม่วงหรือฟ้าเข้ม ส่วนที่ติดกันเป็นหลอดมีเหลือง ช้องนาง เป็นไม้พุ่มเล็ก แตกกิ่งก้านมาก สูงประมาณ 6 ฟุต ใบคล้ายใบแก้ว ใบมนปลายแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง ดอกเป็นรูปแตร ปลายดอกผายออกเป็น 5 แฉก ในดอกตรงกลางมีตาสีเหลือง ดอกสีม่วง และยังมีชนิดดอกสีขาวเรียกว่าช้องนางขาว ดอกยาวประมาณ 2 นิ้ว ==ถิ่นกำเนิด== ช้องนางมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกา ในเมืองไทยมีหลายชนิด เช่น T. affinis S. Moor เรียกว่า ช้องนาง T. erecta, T. Anders เรียกช้องนางเล็ก และชนิด T.erecta var. caerulea Hort. เรียกช้องนางใหญ่ == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == ช้องนาง เป็นไม้ที่ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและในที่ร่มรำไร ช้องนางเป็นไม้ประดับที่ให้ดอกสีม่วงหรือสีขาวสวยงามตลอดทั้งปี แต่ดอกบอบบาง ถ้าเด็ดจากต้นจะเหี่ยวเฉาเร็ว ถ้าอยู่กับต้นจะบานได้นานราวสองวัน ลำต้น ลำต้นแตกเป็นพุ่มกว้าง 1-2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ถึงรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ก้านใบสีแดง ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ใบประดับสีเขียวอ่อนรูปไข่ 2 ใบประกบกันขณะดอกตูม ใบประดับจะหุ้มดอกเกือบมิด ดอกรูปแตร โคนกลีบสีเหลืองอ่อน ปลายแยก 5 กลีบ สีม่วงอมน้ำเงินและสีขาว (พันธุ์ Alba) ออกดอกตลอดปี == การขยายพันธุ์ == ชอบดินร่วนซุยที่มีความชุ่มชื่นสม่ำเสมอ ชอบปุ๋ยใบไม้ผุยิ่งกว่าปุ๋ยคอก การขยายพันธุ์ใช้วิธีตอนหรือตัดกิ่งปักชำ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี วงศ์เหงือกปลาหมอ
thaiwikipedia
183
เล็บมือนาง
เล็บมือนาง เป็นไม้เลื้อยดอกหอมเป็นช่อ พบในแถบเอเชีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) และ อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา) ชาวกะเหรี่ยงนำผลตำให้ละเอียด ผสมในอาหารเลี้ยงวัวหรือหมูช่วยฆ่าพยาธิ == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == เล็บมือนางเป็นพืชไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเดี่ยวรูปวีหรือรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4 นิ้ว ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีกลิ่นหอม ผลสีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู == การปลูกเลี้ยง == เล็บมือนางเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง น้ำปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล การขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น == เล็บมือนางในวรรณกรรม == เล็บมือนางกางกลีบกะทัดรัด เหมือนมือเจ้าปรนนิบัติพัดวีผัว บานเย็นบานสะพรั่งฝั่งสระบัว เหมือนเย็นเช้าเย้ายั่วอยู่กับน้อง (ขุนช้างขุนแผน - สุนทรภู่) == อ้างอิง == QUISQUALIS INDICA Linn niyog-niyogan.doc Quisqualis indica (PIER species info) วงศ์สมอ ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี พืชที่เป็นพิษต่อพยาธิ
thaiwikipedia
184
ราตรี (พรรณไม้)
ราตรี หรือ หอมดึก มีถิ่นกำเนิดในแคริบเบียนเป็นพืชในวงศ์ Solanaceae เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เป็นไม้พุ่ม เปลือกสีเทาอ่อนเกือบขาว ใบเดี่ยวรูปหอกแคบเรียบเป็นมัน ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาว วงกลีบดอกรูปหลอดผอม บานตอนกลางคืน กลิ่นหอมแรง มักส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ผลค่อนข้างกลม สีขาวขุ่น มีหลายเมล็ด ผลสุกถ้ารับประทานทำให้คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ประสาทหลอน ใจสั่น ระคายเคืองเยื่อบุลำไส้เล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ==ความเป็นพิษ== ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษจากการย่อยของราตรี แต่ก็มีเหตุผลที่เชื่อว่าควรเตือน สมาชิกทั้งหมดของวงศ์ Solanaceae มีสารพิษกลุ่มอัลคาลอยด์เรียกโซลานีน แม้ว่าพืชบางชนิดในวงศ์นี้สามารถรับประทานได้โดยไม่ทำให้เจ็บป่วย คนที่มีอาการหอบหืดมีรายงานว่าหายใจลำบากเมื่อหายใจเอากลิ่นดอกที่บานพร้อมกันจำนวนมาก พืชในสกุล Cestrum มีกรดคลอโรเจนิก ซึ่งสารตัวนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับผลกระทบของราตรี สารสกัดจากพืชแสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของยุงแต่ไม่เป็นพิษต่อปลา สารสกัดจากพืชทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาในปลาน้ำจืดเมื่อได้รับความเข้มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นที่ทำให้ตาย ==การเป็นพืชรุกราน== ราตรีเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก รวมทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ จีนตอนใต้ และทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ในบางประเทศเป็นวัชพืช ในเอาก์แลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ จัดเป็นวัชพืชที่ร้ายแรง == ราตรีในวรรณคดี == ลมพระพายชายชื่นในคืนนี้ กลิ่นราตรีหอมระรื่นชื่นใจแสน ดอกไม้อื่นดื่นไปในดินแดน จะเหมือนแม้นราตรีไม่มีเลย (อิเหนา - พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2) == อ้างอิง == เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552 พืชมีพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์มะเขือ
thaiwikipedia
185
พุทธชาด
พุทธชาด หรือ บุหงาประหงัน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum auriculatum Vahl.) อยู่ในสกุลมะลิ (Jasminum) == พุทธชาด ในวรรณกรรม == พุทธชาดเป็นไม้เถากึ่งต้นกึ่งเลื้อย  ต้นแตกกิ่งก้านสาขาเป็นออกไป  สูง 1-2 เมตร  ใบ  ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง  ใบยาวประมาณ  6 ซม. สีเขียวสด  ดอกช่อ  ออกเป็นช่อตรงส่วนยอดของกิ่ง  สีขาวและดกมาก  ช่อหนึ่งมีหลายดอกและทยอยผลิบานทุกวัน ดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5- 8 แฉก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 1 ซม. กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี  การขยายพันธุ์  ปักชำ  ตอนกิ่ง  ทับกิ่ง  เพาะเมล็ด  ประโยชน์  ดอกนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหย   ถิ่นกำเนิดในจีนและอินเดีย  ปลูกในดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ๆ  น้ำพอสมควร  ความชื้นสูง  ปลูกในที่กลางแจ้งแสงแดดจัด สกุลมะลิ ไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ในวรรณคดี
thaiwikipedia
186
การเวก (พืช)
การเวก (climbing ylang-ylang, climbing ilang-ilang, manorangini, hara-champa หรือ kantali champa) เป็นชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Artabotrys siamensis Miq. ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอมอ่อน กลีบดอกคล้ายกระดังงาจีน แต่ขนาดเล็กกว่า, กระดังงัว กระดังงาเถา หรือ หนามควายนอน ก็เรียก == ลักษณะทั่วไป == ต้น การเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่จะมีมือเกาะรูปตะขอยื่นออกมาจากเถาเถาบริเวณยอดอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล ใบ การเวกจะมีพุ่มใบที่หนาแน่นมากเป็นไม้ใบเดี่ยวออกใบสลับกันตามข้อต้นใบเป็นรูปขอบขนานหรือมนรี ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสัน พื้นใบสีเขียวเข้ม เป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีจัก ดอก ดอกการเวกจะออกตรงโคนต้นใบ ลักษณะดอกจะเป็นดอกเดี่ยวตรงโคนก้านดอกจะมีมือเกาะดอกเมื่อแรกออกจะเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมี กลีบ ซึ่งแบ่งเป็นชันชันละ ๓ กลีบ และมีกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรี มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ == ฤดูกาลออกดอก == การเวกจะออกดอกตลอดปี == การปลูก == การเวกมีวิธีการปลูกโดยการนำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด หรือกิ่งที่ได้จากการตอนมาปลูกลงดิน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมใช้กิ่งตอนมากกว่าการเพาะเมล็ด เพราะจะทำให้ไม่เสียเวลา การตอนกิ่งควรที่จะทำในช่วงฤดูฝน เมื่อกิ่งตอนงอกรากพอสมควร แล้วจึงตัดมาปลูก == การดูแลรักษา == แสง การเวกเป็นไม้กลางแจ้งมีความต้องการแสงมากพอสมควร เหมาะที่จะปลูกริมรั้วบ้าน สวนภายในบ้าน หรือสวนสาธารณะ เป็นต้น น้ำ ควรให้น้ำปานกลาง หากเป็นในระยะแรกปลูกให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น แต่เมื่อต้นโตแล้ว ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ก็ได้โดยรดในช่วงเช้า และควรรดให้ดินชุ่ม ดิน การเวกจะขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดีก็จะเจริญงอกงามได้ดียิ่งขึ้น ปุ๋ย การเวกเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก เพียงผสมปุ๋ยหมักกับดินปลูกก็เพียงพอแล้ว อื่นๆ ไม่มี == โรคและแมลง == ไม่พบโรคและแมลงที่ทำความเสียหายมาก == การขยายพันธุ์ == ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เนื่องจากออกรากง่าย มีรากจำนวนมากและแข็งแรง เมื่อตัดนำไปปลูกชำแล้วไม่ค่อยเหี่ยวเฉาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ร่มเงาได้ดี == อ้างอิง == http://www.maipradabonline.com/maileay/karawak.htm สกุลการเวก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง
thaiwikipedia
187
กำแพงเงิน
กำแพงเงิน (flax lily) Sims เป็นไม้ล้มลุก ใบยาวแหลม ตรงกลางสีเขียวเข้ม ริมขอบสีเขียวอ่อน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ กำแพงเงินรูปใบคล้ายรางเงินแต่ต้นเล็กกว่า และคล้ายเศรษฐีเรือนใน แต่ใหญ่กว่า ใบแข็งกว่า น่าจะเป็นไม้ตระกูลเดียวกัน แต่ได้รับการผสมที่แตกต่างกันเล็กน้อย คนนิยมปลูกเพราะสีสวย ค่อนข้างทนสภาพดินได้ดี แต่ถ้าบำรุงดี ๆ รดน้ำสม่ำเสมอกอจะใหญ่และสวยมาก ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ลิลี
thaiwikipedia
188
ขิงแดง
ขิงแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alpinia purpurata (Vielle.) Schum.) เป็นพืชพื้นเมืองของมาเลเซียที่มีดอกสวยงาม ส่วนที่เป็นมีสีสดใสเป็นกาบหุ้มช่อดอก ส่วนดอกจริงมีขนาดเล็กอยู่ข้างบน แบ่งเป็นสองสายพันธุ์คือ Jungle King และ Jungle Queen ขิงแดงสามารถพบได้ในฮาวาย ปวยร์โตรีโก และหลายประเทศในอเมริกากลาง รวมทั้งเบลีซ พบได้ในซามัวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของซามัว มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "teuila" นอกจากนั้น ยังพบในทางใต้ของฟลอริดา บริเวณที่ไม่มีหิมะปกคลุม ชอบอากาศที่มีร่มเงาและชุ่มชื้น ทนต่อแสงแดดจัดได้ แต่ไม่ชอบอากาศแล้ง สามารถปลูกเป็นไม้ในบ้านได้ และเป็นไม้ตัดดอกได้เช่นกันคคคควน == แหล่งข้อมูลอื่น == USDA profile from the PLANTS Database Images of Red Ginger Alpinia purpurata fotografiada Honolulu, Hawaii Galería de Plantas del Mundo Oficina Verde de la Universidad de Murcia ไม้ดอกไม้ประดับ สกุลข่า
thaiwikipedia
189
ชมนาด
ชมนาด [ชม-มะ-นาด] หรือ ชำมะนาด (; ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ ดอกข้าวใหม่, อ้มส้าย (ภาคเหนือ), ชำมะนาดฝรั่ง) เป็นไม้รอเลื้อย จัดอยู่ในพวกไม้เถาขนาดกลาง สามารถแผ่ขยายได้ถึง 6–8 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่แกมรี ปลายแหลม โคนมน สีเขียว มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตยซึ่งคล้ายกลิ่นข้าวใหม่ทำให้ได้ชื่อว่า "ข้าวใหม่" เป็นไม้ที่ชอบแดดจัดต้องการรับแสงแดดเต็มวัน ชอบดินร่วนซุยที่สามารถระบายน้ำได้ดี การใช้ประโยชน์ เป็นไม้ที่ดอกมีกลิ่นหอม บานช่วงเวลากลางคืน ใช้ทำน้ำอบ ข้าวแช่ ==แหล่งข้อมูลอื่น== วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
190
ช่อครามน้ำ
ช่อครามน้ำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pontederia cordata Linn., ชื่อสามัญ: Pickerelweed)เป็นพืชน้ำและพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ พบในที่ลุ่มน้ำท่วมขังและบริเวณริมทะเลสาบตั้งแต่แคนาดาตะวันออกไปจนถึงทางใต้ของอาร์เจนตินา รูปร่างของใบมีได้หลากหลายทั้งระหว่างประชากร และภายในประชากรเดียวกัน ==ช่อครามน้ำชนิดอื่นๆ== ช่อครามน้ำใบยาว(ชื่อวิทยาศาสตร์: Pontederia lanceolata) == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== PLANTS Profile for Pontederia cordata Pontederia cordata, Natural Resources Canada Pontederia cordata Flowers in Israel ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้น้ำ วงศ์ผักตบ
thaiwikipedia
191
ดอนญ่าควีนสิริกิติ์
ดอนญ่าควีนสิริกิติ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mussaenda philippica'' 'Queen Sirikit', Dona Queen Sirikit) เป็นพุ่มไม้ประดับของฟิลิปปินส์ ดอกสีชมพูอ่อนมีกลีบ 5 กลีบ ขอบกลีบเป็นสีชมพูเข้ม ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยือนฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2506 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ขอพระราชทานตั้งชื่อตามพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ == ดูเพิ่ม == ดอนญ่าออโรร่า กุหลาบควีนสิริกิติ์ แคทลียาควีนสิริกิติ์ == อ้างอิง == สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ. 2537, หน้า 143 วงศ์เข็ม สิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
192
รายชื่อนิยายปรัมปรา
รายชื่อเทพนิยาย เทพนิยาย
thaiwikipedia
193
ตารางธาตุ
ตารางธาตุ (Periodic table) คือ การจัดเรียงธาตุเคมีในรูปแบบของตารางตามเลขอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมีที่ซ้ำกัน โดยจะใช้แนวโน้มพิริออดิกเป็นโครงสร้างพื้นฐานของตาราง แนวนอนทั้ง 7 ของตารางเรียกว่า "คาบ" โดยปกติโลหะอยู่ฝั่งซ้ายและอโลหะอยู่ฝั่งขวา ส่วนแถวแนวตั้งเรียกว่า "หมู่" ประกอบด้วยธาตุที่มีสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกัน มี 6 หมู่ที่ได้รับการตั้งชื่อที่ยอมรับกันทั่วไปและเลขหมู่ เช่น ธาตุหมู่ 17 มีชื่อว่า แฮโลเจน และธาตุหมู่ 18 มีชื่อว่า แก๊สมีสกุล ตารางธาตุยังมีอาณาเขตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างง่าย 4 รูปที่เรียกว่า "บล็อก" ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเติมออร์บิทัลเชิงอะตอมที่แตกต่างกัน ธาตุทุกตัวนับตั้งแต่มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 (ไฮโดรเจน) จนถึง 118 (ออกาเนสซอน) ได้รับการค้นพบหรือสังเคราะห์ขึ้นมาแล้ว ทำให้ตารางธาตุในปัจจุบันมีครบทั้ง 7 คาบ ธาตุ 94 ตัวแรกพบได้ในธรรมชาติ แม้ว่าบางตัวอาจมีปริมาณน้อยและมีการสังเคราะห์ธาตุเหล่านั้นขึ้นก่อนที่จะพบในธรรมชาติก็ตาม ส่วนธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 95 ถึง 118 สังเคราะห์ขึ้นทั้งสิ้นในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ สำหรับธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่านี้ ในปัจจุบันนักเคมีก็กำลังพยายามสร้างขึ้นมา ธาตุเหล่านี้จะเริ่มที่คาบ 8 และมีงานทฤษฎีต่าง ๆ ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับธาตุในตำแหน่งเหล่านั้น นิวไคลด์กัมมันตรังสีสังเคราะห์จำนวนมากของธาตุที่พบได้ในธรรมชาติก็สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการด้วยเช่นกัน การจัดเรียงตารางธาตุสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ของสมบัติธาตุต่าง ๆ และยังใช้ทำนายสมบัติทางเคมีและพฤติกรรมของธาตุที่ยังไม่ได้ค้นพบหรือสังเคราะห์ใหม่ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ นักเคมีชาวรัสเซีย ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2412 จัดโดยเรียงตามสมบัติทางเคมีของธาตุที่มีในขณะนั้น และเมนเดเลเยฟยังสามารถทำนายธาตุที่ยังไม่ค้นพบที่คาดว่าสามารถเติมเต็มช่องว่างในตารางธาตุได้ การทำนายของเขาส่วนใหญ่พิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง แนวคิดของเมนเดเลเยฟก็ค่อย ๆ ขยายเพิ่มขึ้นและปรับปรุงด้วยการค้นพบหรือการสังเคราะห์ธาตุใหม่ ๆ และการพัฒนาแบบจำลองทางทฤษฎีใหม่ ๆ ที่ใช้อธิบายพฤติกรรมของธาตุเคมี ตารางธาตุในปัจจุบันให้กรอบความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ปฏิกิริยาเคมี และนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมี ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ == ภาพรวม == ตารางธาตุทุกรูปแบบจะประกอบไปด้วยธาตุเคมีเท่านั้น ไม่มีสารผสม สารประกอบ หรืออนุภาคมูลฐาน อยู่ในตารางธาตุด้วย ธาตุเคมีแต่ละตัวจะประกอบไปด้วยเลขอะตอม ซึ่งจะบ่งบอกจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ๆ ธาตุส่วนใหญ่จะมีจำนวนนิวตรอนแตกต่างกัน ท่ามกลางอะตอมที่แตกต่างกัน ซึ่งจะอยู่ในรูปของไอโซโทป เช่น คาร์บอน มีไอโซโทปที่ปรากฏในธรรมชาติ 3 ไอโซโทป โดยไอโซโทปของคาร์บอนส่วนใหญ่ที่ปรากฏในธรรมชาติจะประกอบไปด้วยโปรตอน 6 ตัวและนิวตรอน 6 ตัว แต่มีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีนิวตรอน 7 ตัว และมีโอกาสนิดเดียวที่จะพบคาร์บอนที่มีนิวตรอน 8 ตัว ไอโซโทปแต่ละไอโซโทปจะไม่ถูกแยกออกจากกันในตารางธาตุ พวกมันถูกจัดให้เป็นธาตุเดียวกันไปเลย ธาตุที่ไม่มีไอโซโทปที่เสถียรจะสามารถหามวลอะตอมได้จากไอโซโทปที่เสถียรที่สุดของมัน โดยมวลอะตอมที่เสถียรที่สุดดังกล่าวจะแสดงในวงเล็บ ในตารางธาตุมาตรฐาน ธาตุจะถูกเรียงตามเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม) ที่เพิ่มขึ้น คาบใหม่จะมีได้ก็ต่อเมื่อวงอิเล็กตรอนใหม่มีอิเล็กตรอนอยู่ในวงอย่างน้อยหนึ่งตัว หมู่จะกำหนดตามการจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอม ธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเดียวกันในวงอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดจะถูกจัดให้อยู่ในหมู่เดียวกัน (เช่น ออกซิเจน กับซีลีเนียม อยู่ในหมู่เดียวกันเพราะว่าพวกมันมีอิเล็กตรอน 4 ตัวในวงอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดเหมือนกัน) โดยทั่วไป ธาตุที่สมบัติทางเคมีคล้ายกันจะถูกจัดในหมู่เดียวกัน ถึงแม้จะเป็นในบล็อก-f ก็ตาม และธาตุบางตัวในบล็อก-d มีธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันในคาบเดียวกันเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะทำนายสมบัติทางเคมีของธาตุเหล่านั้น ถ้ารู้ว่าธาตุรอบ ๆ นั้นมีคุณสมบัติอย่างไร จนถึง พ.ศ. 2559 ตารางธาตุมีธาตุที่ได้รับการยืนยันแล้ว 118 ตัว ตั้งแต่ธาตุที่ 1 (ไฮโดรเจน) ถึงธาตุที่ 118 (ออกาเนสซอน) ธาตุทั้งหมด 98 พบได้ในธรรมชาติ อีก 16 ธาตุที่เหลือ นับตั้งแต่ ธาตุที่ 99 (ไอน์สไตเนียม) จนถึงธาตุที่ 118 (ออกาเนสซอน) ถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ในบรรดาธาตุ 98 ตัวที่พบในธรรมชาตินี้ มีธาตุ 84 ตัวที่เป็นธาตุเกิดพร้อมโลก และที่เหลืออีก 14 ธาตุปรากฏในโซ่ของการสลายตัวของธาตุเกิดพร้อมโลกเหล่านั้น ยังไม่มีใครพบธาตุที่หนักกว่าไอน์สไตเนียม (ธาตุที่ 99) ในรูปธาตุบริสุทธิ์ ในปริมาณที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลย === การแบ่งตารางธาตุ === {| align=right style="border:1px solid grey; max-width:40%; margin:0 0 0.5em 0.5em;" ! colspan=2 | การจัดวางตารางธาตุ |- style="vertical-align:top" | style="border-right:1px solid grey;" | | |- | colspan=2 style="font-size:85%;" | แลนทาไนด์และแอกทิไนด์แยกออกจากตารางธาตุหลัก (ซ้ายมือ) และอยู่ในตารางธาตุหลัก (ขวามือ) |} ในการนำเสนอตารางธาตุผ่านทางกราฟิกนั้น ตารางธาตุหลักจะมี 18 หมู่ และมีหมู่แลนทาไนด์และแอกทิไนด์แยกออกมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุหลัก ซึ่งจะเป็นช่องว่างในตารางธาตุระหว่างแบเรียม กับแฮฟเนียม และระหว่างเรเดียม กับรัทเทอร์ฟอร์เดียม ตามลำดับ โดยธาตุเหล่านี้จะมีเลขอะตอมระหว่าง "51 – 71" และตารางธาตุอีกลักษณะหนึ่ง คือตารางธาตุ 32 หมู่ ซึ่งจะนำหมู่แลนทาไนด์และแอกทิไนด์เข้ามาอยู่ในตารางธาตุหลักด้วย โดยจะอยู่ในคาบที่ 6 กับคาบที่ 7 ถึงอย่างนั้น มีการสร้างตารางธาตุรูปแบบอื่น ๆ ขึ้นมา โดยยึดพื้นฐานของสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของธาตุด้วย == การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ == === หมู่ === หมู่ เป็นแถวแนวตั้งในตารางธาตุ หมู่ยังถูกใช้เพื่อตรวจสอบแนวโน้มของธาตุ ซึ่งเห็นชัดได้กว่าคาบหรือบล็อก ทฤษฎีควอนตัมของอะตอมได้อธิบายว่าธาตุในหมู่เดียวกันมีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน เนื่องจากมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่เหมือนกันในวงวาเลนซ์ของมัน ดังนั้นธาตุในหมู่เดียวกันมักจะมีสมบัติทางเคมีที่ชัดเจนขึ้นเมื่อเลขอะตอมมากขึ้น ถึงอย่างนั้น บางส่วนของตารางธาตุก็ไม่ได้เป็นไปตามนี้ เช่นธาตุในบล็อก-d หรือบล็อก-f ภายใต้การตั้งชื่ออย่างเป็นทางการหมู่ที่มีเลข 1 ถึง 18 จากฝั่งซ้ายสุด (โลหะแอลคาไล) มายังฝั่งขวาสุด (แก๊สมีสกุล) ก่อนหน้านั้นพวกมันรู้จักในรูปแบบของเลขโรมัน ในสหรัฐอเมริกา เลขโรมันเหล่านี้ตามด้วยอักษร "A" เมื่อหมู่นั้นอยู่ในบล็อก-s หรือ p และตามด้วยอักษร "B" เมื่อหมู่นั้นอยู่ในบล็อก-d เลขโรมันใช้เพื่อต่อท้ายเลขตัวสุดท้ายที่บอกหมู่ (เช่น ธาตุหมู่ 4 เป็น IVB และธาตุหมู่ 14 เป็น IVA) ในยุโรป การแบ่งในลักษณะนี้มีขึ้นเหมือนกัน ยกเว้นหมู่ที่ใช้อักษร "A" จะใช้เมื่อเป็นหมู่ที่ 10 ลงมา และ "B" จะใช้เมื่อเป็นหมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 10 ขึ้นไป นอกจากนี้หมู่ที่ 8 9 และ 10 เป็นหมู่ที่มีขนาดใหญ่กว่าหมู่อื่น ๆ 3 เท่า โดยทั้งหมดมีชื่อหมู่ว่า VIII แต่ใน พ.ศ. 2531 ระบบการตั้งชื่อใหม่ของไอยูแพกก็เกิดขึ้นและการตั้งชื่อหมู่แบบเก่าก็ถูกยกเลิกไป ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีความคล้ายคลึงกันในรัศมีอะตอม พลังงานไอออไนเซชัน และอิเล็กโทรเนกาติวิตี จากธาตุบนสุดของหมู่ลงมาถึงธาตุล่างสุดของหมู่ รัศมีอะตอมจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีระดับพลังงานและวาเลนซ์อิเล็กตรอนที่เพิ่มขึ้น โดยมันจะอยู่ห่างจากนิวเคลียสเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ในส่วนของพลังงานไอออไนเซชัน ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีพลังงานไอออไนเซชันที่คล้ายกัน แต่ธาตุในคาบเดียวกันจากซ้ายไปขวาจะมีพลังงานไอออไนเซชันเพิ่มขึ้น เนื่องจากมันง่ายที่จะดึงอิเล็กตรอนออกไป เนื่องจากอะตอมไม่มีพันธะระหว่างอิเล็กตรอนที่แน่นหนา เช่นเดียวกันอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง เนื่องจากธาตุที่อยู่ล่างกว่ามีระยะห่างระหว่างนิวเคลียสกับวาเลนซ์อิเล็กตรอนมากกว่าธาตุที่อยู่ด้านบน แต่ก็ยังมีข้อยกเว้น เช่น ในหมู่ 11 สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนจะมีการเพิ่มขึ้นจากล่างขึ้นบน === คาบ === คาบ เป็นแถวในแนวนอนของตารางธาตุ ถึงแม้ว่าหมู่จะบอกแนวโน้มของธาตุเคมีที่สำคัญ แต่ก็ยังมีบางที่ที่แนวโน้มตามคาบจะสำคัญกว่า เช่น บล็อก-f ที่ซึ่งแลนทาไนด์และแอกทิไนด์มีสมบัติทางเคมีเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา ธาตุในคาบเดียวกันจะมีความคล้ายคลึงกันในรัศมีอะตอม พลังงานไอออไนเซชัน สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน และอิเล็กโทรเนกาติวิตี จากซ้ายไปขวา ส่วนใหญ่รัศมีอะตอมของธาตุจะค่อย ๆ ลดลง เนื่องจากธาตุที่อยู่ถัดไปมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้อิเล็กตรอนอยู่ใกล้นิวเคลียสมากขึ้น และผลจากการที่รัศมีอะตอมลดลง ทำให้พลังงานไอออไนเซชันเพิ่มขึ้น จากซ้ายไปขวา เนื่องจากอะตอมของธาตุนั้นมีพันธะระหว่างอิเล็กตรอนที่แน่นขึ้น ทำให้ต้องใช้พลังงานที่มากขึ้นในการดึงอิเล็กตรอนออก ส่วนอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะเพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกันกับพลังงานไอออไนเซชัน เพราะมีแรงดึงของนิวเคลียสที่กระทำต่ออิเล็กตรอนมากขึ้น ส่วนสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน ธาตุโลหะ (ฝั่งซ้ายในตารางธาตุ) โดยส่วนใหญ่จะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อยกว่าธาตุอโลหะ (ฝั่งขวาในตารางธาตุ) ยกเว้นแก๊สมีสกุลซึ่งไม่มีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน === บล็อก === บล็อก เป็นบริเวณพิเศษในตารางธาตุ ซึ่งจะบ่งบอกว่าอิเล็กตรอนในวงอิเล็กตรอนแต่ละวงเต็มหรือไม่ ในแต่ละบล็อกจะตั้งชื่อตามวงย่อยที่อิเล็กตรอน "ตัวสุดท้าย" สามารถเข้าไปอยู่ได้บล็อก-s เป็นบล็อกที่อยู่ทางซ้ายมือสุดในตารางธาตุ บล็อกนี้ประกอบไปด้วยธาตุในหมู่ 1 (โลหะแอลคาไล) และหมู่ 2 (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท) รวมถึงไฮโดรเจน และฮีเลียม บล็อก-p เป็นบล็อกที่อยู่ทางขวาสุดของตารางธาตุ ประกอบไปด้วยธาตุใน 6 หมู่สุดท้าย ตั้งแต่หมู่ที่ 13 ถึง หมู่ที่ 18 ในไอยูแพก (3B ถึง 8A ในสหรัฐอเมริกา) และยังมีธาตุกึ่งโลหะทั้งหมดในบล็อกนี้ด้วย บล็อก-d เป็นบล็อกที่ประกอบไปด้วยธาตุในหมู่ 3 ถึง หมู่ที่ 12 (3B ถึง 2B ในสหรัฐอเมริกา) ธาตุในบล็อกนี้เป็นธาตุโลหะแทรนซิชันทั้งหมด บล็อก-f เป็นบล็อกที่ไม่มีเลขหมู่ และอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ในบล็อกนี้ประกอบไปด้วยธาตุในแลนทาไนด์และแอกทิไนด์ === ความเป็นโลหะ === ตามสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของมัน เรายังสามารถแบ่งธาตุออกได้เป็นสามส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ โลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ ธาตุโลหะส่วนใหญ่จะสะท้อนแสง อยู่ในรูปอัลลอย และยังสามารถทำปฏิกิริยากับธาตุอโลหะ (ยกเว้น แก๊สมีสกุล) ได้สารประกอบไอออนิกในรูปของเกลือ ส่วนธาตุอโลหะส่วนใหญ่จะเป็นแก๊สซึ่งไม่มีสีหรือมีสี อโลหะที่ทำปฏิกิริยากับอโลหะด้วยกันจะทำให้เกิดสารประกอบที่มีพันธะโควาเลนต์ ระหว่างธาตุโลหะกับธาตุอโลหะ คือธาตุกึ่งโลหะ ซึ่งจะมีสมบัติของธาตุโลหะและอโลหะผสมกัน โลหะและอโลหะยังสามารถแบ่งย่อยออกไปอีกตามความเป็นโลหะ จากซ้ายไปขวาในตารางธาตุ โลหะยังแบ่งย่อยไปเป็นโลหะแอลคาไลที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาสูง โลหะแอลคาไลน์-เอิร์ทที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยารองลงมา แลนทาไนด์และแอกทิไนด์ โลหะแทรนซิชัน และจบที่โลหะหลังแทรนซิชันซึ่งมีความเป็นโลหะน้อยที่สุดในบรรดาโลหะด้วยกัน ส่วนอโลหะแบ่งออกเป็นอโลหะหลายวาเลนซ์ ซึ่งจะอยู่ใกล้กับตำแหน่งของธาตุกึ่งโลหะ มีสมบัติบางประการที่คล้ายกับโลหะ และอโลหะวาเลนซ์เดียว ซึ่งเป็นอโลหะหลัก และแก๊สมีสกุล ซึ่งเป็นธาตุที่เสถียรแล้ว และในโลหะแทรนซิชันยังมีการแบ่งออกไปอีก เช่น โลหะมีสกุลและ โลหะทนไฟ และธาตุย่อยในโลหะเหล่านี้ (ในตัวอย่าง) เป็นที่รู้จักแล้ว และยังมีการกล่าวถึงเป็นครั้งคราว == แนวโน้มพิริออดิก == === การจัดเรียงอิเล็กตรอน === การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสามารถจัดธาตุในตารางธาตุได้ เพราะจากซ้ายไปขวาตามคาบ อิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงอิเล็กตรอน (วงที่ 1 วงที่ 2 และอื่น ๆ) แต่ละวงก็ประกอบไปด้วยวงย่อยหนึ่งวงหรือมากกว่านั้น (มีชื่อว่า s p d f และ g) เมื่อเลขอะตอมของธาตุมากขึ้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงย่อยตามกฎของแมนเดลัง เช่นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของนีออน คือ 1s2 2s2 2p6 ด้วยเลขอะตอมเท่ากับ 10 นีออนมีอิเล็กตรอน 2 ตัวในวงอิเล็กตรอนแรก และมีอิเล็กตรอนอีก 8 ตัวในวงอิเล็กตรอนที่สอง โดยแบ่งเป็นในวงย่อย s 2 ตัวและในวงย่อย p 6 ตัว ในส่วนของตารางธาตุ เมื่ออิเล็กตรอนตัวหนึ่งไม่สามารถไปอยู่ในวงอิเล็กตรอนที่สองได้แล้ว มันก็จะเข้าไปอยู่ในวงอิเล็กตรอนใหม่ และธาตุนั้นก็จะถูกจัดให้อยู่ในคาบถัดไป ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้เป็นธาตุไฮโดรเจน และธาตุในหมู่โลหะแอลคาไล === รัศมีอะตอม === รัศมีอะตอมของธาตุแต่ละตัวมีความแตกต่างในการทำนายและอธิบายในตารางธาตุ ยกตัวอย่างเช่น รัศมีอะตอมทั่วไปลดลงไปตามหมู่ของตารางธาตุจากโลหะแอลคาไลถึงแก๊สมีสกุล และจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วจากแก๊สมีสกุลมายังโลหะแอลคาไลในจุดเริ่มต้นของคาบถัดไป แนวโน้มเหล่านี้ของรัศมีอะตอม (และสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของธาตุอื่น ๆ) สามารถอธิบายได้โดยทฤษฎีวงอิเล็กตรอนของอะตอม พวกมันมีหลักฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม อิเล็กตรอนในวงย่อย 4f ซึ่งจะถูกเติมเต็มตั้งแต่ซีเรียม (ธาตุที่ 58) ถึงอิตเตอร์เบียม (ธาตุที่ 70) เนื่องด้วยอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นแค่ในวงเดียว จึงทำให้ขนาดอะตอมของธาตุในแลนทาไนด์มีขนาดที่ไม่แตกต่างกัน และอาจจะเหมือนกับธาตุตัวถัด ๆ ไป ด้วยเหตุนี้ทำให้แฮฟเนียมมีรัศมีอะตอม (และสมบัติทางเคมีอื่น ๆ) เหมือนกับเซอร์โคเนียม และแทนทาลัม มีรัศมีอะตอมใกล้เคียงกับไนโอเบียม ลักษณะแบบนี้รู้จักกันในชื่อการหดตัวของแลนทาไนด์ และผลจากการหดตัวของแลนทาไนด์นี้ ยังเห็นได้ชัดไปจนถึงแพลตทินัม (ธาตุที่ 78) และการหดตัวที่คล้าย ๆ กัน คือการหดตัวของบล็อก-d ซึ่งมีผลกับธาตุที่อยู่ระหว่างบล็อก-d และบล็อก-p มันเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่าการหดตัวของแลนทาไนด์ แต่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน === พลังงานไอออไนเซชัน === พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 เป็นพลังงานที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนตัวแรกออกจากอะตอม พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่สอง เป็นพลังงานที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนตัวที่สองออกจากอะตอม ซึ่งจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เช่น แมงกานีส มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 คือ 738 กิโลจูล/โมล และลำดับที่สอง คือ 1450 กิโลจูล/โมล อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้อะตอมจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานมากในการดึงมันออกจากอะตอม พลังงานไอออไนเซชันจะมีการเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาของตารางธาตุ พลังงานไอออไนเซชันจะมีมากที่สุดเมื่อต้องการดึงอิเล็กตรอนออกจากธาตุในหมู่แก๊สมีสกุล (ซึ่งมีอิเล็กตรอนครบตามจำนวนที่มีได้สูงสุด) ยกตัวอย่างแมกนีเซียมอีกครั้ง แมกนีเซียมจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานไอออไนเซชันสองลำดับแรก เพื่อดึงอิเล็กตรอนออกให้มันมีโครงสร้างคล้ายแก๊สมีสกุล และ 2p มันจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่สามสูงกว่า 7730 กิโลจูล/โมล ในการดึงอิเล็กตรอนตัวที่สามออกจากวงย่อย 2p ของการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่คล้ายนีออนของ Mg2+ ความแตกต่างนี้ยังมีในอะตอมของแถวที่สามตัวอื่น ๆ อีกด้วย === อิเล็กโทรเนกาติวิตี === อิเล็กโทรเนกาติวิตีเป็นแรงดึงดูดของอะตอมที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนเข้ามา อิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมอะตอมหนึ่ง เป็นผลมาจากเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น และระยะห่างจากนิวเคลียสถึงวาเลนซ์อิเล็กตรอน ยิ่งมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากเท่าไร ความสามารถที่จะดึงดูดอิเล็กตรอนก็มากขึ้นเท่านั้น แนวคิดถูกเสนอครั้งแรกโดยไลนัส พอลลิง ใน พ.ศ. 2475 โดยทั่วไป อิเล็กโทรเนกาติวิตีจะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาตามคาบ และลดลงจากบนลงล่างตามหมู่ เพราะเหตุนี้ ฟลูออรีนจึงเป็นธาตุที่มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด และซีเซียมมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยที่สุด อย่างน้อยธาตุเหล่านั้นก็ยังมีข้อมูลที่สามารถใช้ยืนยันได้ แต่ถึงกระนั้นธาตุบางตัวยังไม่เป็นไปตามกฎนี้ แกลเลียมและเจอร์เมเนียมมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากกว่าอะลูมิเนียมและซิลิกอน เนื่องด้วยผลกระทบจากการหดตัวของบล็อก-d ธาตุในคาบที่ 4 ในส่วนของโลหะแทรนซิชัน มีรัศมีอะตอมที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะว่าอิเล็กตรอนในวงย่อย 3d ไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนิวเคลียร์ของธาตุ และขนาดอะตอมที่เล็กลงยังทำให้มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงขึ้นอีกด้วย === สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน === สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นพลังงานที่คายออกมาหรือดูดกลืน เมื่อเพิ่มอิเล็กตรอนให้แก่อะตอมไปเป็นไอออนประจุลบ ธาตุส่วนใหญ่คายพลังงานความร้อนเมื่อรับอิเล็กตรอน โดยทั่วไป อโลหะจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าโลหะ คลอรีน มีแนวโน้มในการเกิดไอออนประจุลบสูงที่สุด สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของแก๊สมีสกุลยังไม่สามารถหาค่าได้ ดังนั้น พวกมันอาจจะไม่มีประจุลบ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตามคาบ ซึ่งเป็นผลมาจากการเติมเต็มวงเวเลนซ์ของอะตอม อะตอมของธาตุหมู่ 17จะคายพลังงานออกมามากกว่าอะตอมของธาตุในหมู่ 1 ในการดึงดูดอิเล็กตรอน เนื่องด้วยความง่ายในการเติมเต็มวงวาเลนซ์และความเสถียร ในหมู่ของธาตุ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนคาดว่าจะลดลงจากบนลงล่าง เนื่องด้วยอิเล็กตรอนตัวใหม่จะต้องเข้าไปในออร์บิทัลที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ด้วยความที่อิเล็กตรอนเชื่อมของนิวเคลียสน้อยอยู่แล้ว จึงทำให้มันปล่อยพลังงานไม่มาก ถึงกระนั้น ในหมู่ของธาตุ ธาตุสามตัวแรกจะผิดปกติ ธาตุที่หนักกว่าจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าธาตุที่เบากว่า และในวงย่อย d และ f สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนจะไม่ได้ลดลงตามหมู่ไปเสียทั้งหมด ดังนั้นการที่สัมพรรคภาพลดลงตามหมู่จากบนลงล่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ในอะตอมของธาตุหมู่ 1 เท่านั้น === คุณสมบัติเชิงโลหะ === เมื่อค่าพลังงานไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี และสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนต่ำลง ธาตุนั้นจะแสดงคุณสมบัติเชิงโลหะมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม คุณสมบัติเชิงอโลหะเพิ่มขึ้นเมื่อค่าเหล่านี้เพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มพิริออดิกของสมบัติทั้งสามค่า จะลดลงเรื่อย ๆ ตามคาบเมื่อพิจารณาคุณสมบัติเชิงโลหะ มีบางส่วนที่ผิดปกติ เนื่องจากอิเล็กตรอนในบล็อก d และ f และผลกระทบสัมพัทธภาพ และคุณสมบัติเชิงโลหะจะเพิ่มขึ้นเมื่อพิจารณาจากบนลงล่างในหมู่เดียวกัน ดังนั้น ธาตุที่มีคุณสมบัติเชิงโลหะมากที่สุด (เช่น ซีเซียม แฟรนเซียม) พบได้ที่มุมซ้ายล่างสุดของตารางธาตุ และธาตุที่มีคุณสมบัติเชิงอโลหะมากที่สุด (เช่น ออกซิเจน ฟลูออรีน คลอรีน) พบได้ที่มุมขวาบนสุดของตารางธาตุ แนวโน้มของโลหะทั้งในแนวตั้งและแนวนอนช่วยอธิบายถึงเส้นขั้นบันไดที่แบ่งโลหะกับอโลหะ ซึ่งพบในตารางธาตุบางรูปแบบ และการจัดให้ธาตุที่อยู่ชิดเส้นแบ่งนั้นเป็นกึ่งโลหะ === กลุ่มเชื่อม === จากซ้ายไปขวาผ่านบล็อกทั้งสี่ในตารางธาตุรูปแบบยาว 32 หมู่ เป็นกลุ่มของธาตุที่เชื่อมกัน อยู่ที่ตำแหน่งระหว่างบล็อก ธาตุในกลุ่มเหล่านี้จะแสดงสมบัติเป็นกึ่งหรือผสมกับธาตุกลุ่มข้างเคียง เหมือนกับกึ่งโลหะ ธาตุหมู่ 3 อันได้แก่ สแกนเดียม อิตเทรียม แลนทานัม และแอกทิไนด์ มีพฤติกรรมทางเคมีคล้ายกับโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท หรือโลหะบล็อก s แต่ก็มีสมบัติทางกายภาพบางประการที่เหมือนกับโลหะแทรนซิชันบล็อก d ลูทีเชียมและลอว์เรนเชียมที่อยู่ปลายสุดของบล็อก f อาจเป็นกลุ่มเชื่อมอีกกลุ่มหนึ่ง ลูทีเชียมมีพฤติกรรมทางเคมีเป็นแลนทาไนด์ แต่มีสมบัติทางกายภาพผสมกันระหว่างแลนทาไนด์และโลหะแทรนซิชัน ลอว์เรนเชียมก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับลูทีเชียม โลหะผลิตเหรียญในหมู่ 11 (ทองแดง เงิน และทองคำ) ก็มีสมบัติทางเคมีคล้ายโลหะแทรนซิชันและโลหะหมู่หลัก โลหะระเหยง่ายในหมู่ 12 (สังกะสี แคดเมียม และปรอท) บางครั้งก็ถูกพิจารณาให้เป็นกลุ่มเชื่อมระหว่างบล็อก d และบล็อก p หมู่ 13 แก๊สมีสกุลในหมู่ 18 เชื่อมระหว่างฮาโลเจนหมู่ 17 และโลหะแอลคาไลหมู่ 1 == ประวัติของตารางธาตุ == === ความพยายามในการวางระบบครั้งแรก === ใน พ.ศ. 2332 อองตวน ลาวัวซิเอ ตีพิมพ์รายชื่อธาตุเคมี 33 ตัว เขาแบ่งเป็นแก๊ส โลหะ อโลหะ และเอิร์ท นักเคมีใช้เวลาข้ามศตวรรษเพื่อค้นหาวิธีที่จะจัดระบบของธาตุเหล่านี้ ใน พ.ศ. 2372 โยฮันน์ ว็อล์ฟกัง เดอเบอไรเนอร์ สังเกตว่าธาตุจำนวนมากนั้นสามารถจัดลงในไตรแอดส์ โดยอยู่บนพื้นฐานของสมบัติทางเคมีของมันได้ เช่น ลิเทียม โซเดียม และโพแทสเซียม พวกมันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากเป็นโลหะที่อ่อน และไวต่อการเกิดปฏิกิริยา เดอเบอไรเนอร์ยังสังเกตอีกว่ามวลอะตอมของธาตุตัวที่สองในไตรแอดส์ของเขานั้น เป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมธาตุที่หนึ่งและธาตุที่สาม ซึ่งรู้จักกันในภายหลังว่า กฎไตรแอดส์ นักเคมีชาวเยอรมัน เลโอโปลด์ กเมลิน ทำงานด้วยระบบไตรแอดส์นี้ และใน พ.ศ. 2386 เขาก็ค้นพบ ไตรแอดส์สิบตัว โดยมี 3 กลุ่มที่มี 4 ธาตุและอีก 1 กลุ่มที่มี 5 ธาตุ ฌอง-บัฟติส ดูมัส ตีพิมพ์ผลงานเมื่อ พ.ศ. 2400 ซึ่งบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของโลหะบางกลุ่ม ถึงแม้ว่านักเคมีบางคนจะสามารถบรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มธาตุขนาดเล็กได้แล้ว แต่พวกเขาก็ไม่ได้ทำให้มันครอบคลุมทั้งหมด ใน พ.ศ. 2401 นักเคมีชาวเยอรมัน ออกุสต์ คีคูเล สังเกตว่าคาร์บอนส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของอะตอมสี่ตัวทำพันธะต่อกัน เช่น มีเทน ซึ่งมีอะตอมคาร์บอน 1 ตัวและอะตอมของไฮโดรเจน 4 ตัว แนวคิดในลักษณะนี้ภายหลังรู้จักกันว่าเป็นเวเลนซ์ ซึ่งระบุไว้ว่าพันธะของธาตุต่างชนิดกันก็มีจำนวนอะตอมต่างกันด้วย ใน พ.ศ. 2405 นักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศส อเล็กซานเดอร์-เอมิล เบอกูเยร์ เดอ ชานกูร์ตัว ตีพิมพ์ตารางธาตุฉบับแรก ซึ่งเขาเรียกมันว่าเทลลูริก เฮลิกซ์ หรือสครู เขาเป็นคนแรกที่ทราบถึงความเป็นลำดับคาบของธาตุเคมี โดยการนำธาตุมาจัดเรียงเป็นวงก้นหอย หรือเป็นทรงกระบอกโดยเรียงตามมวลอะตอมที่เพิ่มขึ้น เดอ ชานกูร์ตัว แสดงให้เห็นว่าธาตุที่สมบัติทางเคมีเหมือนกันจะอยู่ใกล้กัน ตารางของเขายังมีไอออนและสารประกอบบางชนิดรวมอยู่ด้วย แผ่นกระดาษของเขามักจะถูกใช้ในทางธรณีวิทยามากกว่าทางเคมี และไม่รวมแผนภาพ และเป็นผลทำให้ได้รับความสนใจน้อยจนถึงผลงานของดมีตรี เมนเดเลเยฟ ใน พ.ศ. 2407 นักเคมีชาวเยอรมัน ยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์ ได้ตีพิมพ์ตารางธาตุซึ่งประกอบไปด้วยธาตุ 44 ตัวโดยเรียงตามความเป็นวาเลนซ์ ตารางของเขาแสดงให้เห็นว่าธาตุที่มีสมบัติทางเคมีเหมือนกันนั้น บ่อครั้งที่จะมีความเป็นวาเลนซ์ที่เหมือนกันด้วย ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน นักเคมีชาวอังกฤษ วิลเลียม โอดลิง ตีพิมพ์การจัดเรียงธาตุ 57 ตัว โดยเรียงบนพื้นฐานของมวลอะตอม ด้วยความที่ไม่ปกติและยังมีช่องว่าง เขาทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับธาตุเป็นลำดับการเกิดคาบของมวลอะตอม และเขายังบันทึกไว้ว่า "มันมักจะได้รับการจัดกลุ่ม" โอดลิงได้พูดถึงเกี่ยวกับความคิดในเรื่องของกฎพิริออดิก แต่เขาก็ไม่ได้สนใจมัน ต่อมาเขาก็ได้นำเสนอ (ใน พ.ศ. 2413) การจัดหมวดหมู่บนพื้นฐานของความเป็นวาเลนซ์ นักเคมีชาวอังกฤษ จอห์น นิวแลนส์ ได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาในช่วง พ.ศ. 2406 – พ.ศ. 2409 ซึ่งมีหมายเหตุไว้ว่าเขาจัดธาตุตามมวลอะตอมที่เพิ่มขึ้น แล้วเขาก็พบว่าธาตุทุก ๆ 8 ตัวจะมีสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีเหมือนกัน เขาคิดว่ามันเหมือนกับอ็อกเทฟในดนตรี เขาจึงตั้งกฎขึ้นมา ซึ่งเรียกกันว่า กฎออกเทฟส์ ถึงอย่างนั้นสมาคมเคมีก็ปฏิเสธที่จะยอมรับงานของนิวแลนส์ เนื่องจากนิวแลนส์ได้ผลักดันธาตุให้เข้ากับกฎออกเทฟส์และไม่เว้นช่องว่างไว้ให้ธาตุที่ยังไม่ค้นพบ เช่น เจอร์เมเนียม สมาคมเคมีรับทราบเพียงแค่การค้นพบของเขา จนกระทั่ง เมนเดเลเยฟตีพิมพ์ตารางธาตุของเขาออกมา ใน พ.ศ. 2410 นักเคมีชาวเดนมาร์ก กุสตาวุส ฮินริชส์ ได้ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะก้นหอยออกมาโดยจัดตามสเปกตรัมและมวลของอะตอม ผลงานของเขาได้รับยกย่องว่าเป็นผลงานที่พิสดาร โอ้อวด และซับซ้อน นี่เองที่อาจทำให้ไม่เป็นที่จดจำและเป็นที่ยอมรับ === ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟ === นักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ และนักเคมีชาวเยอรมัน ยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์ ได้ตีพิมพ์ตารางธาตุใน พ.ศ. 2412 และ พ.ศ. 2413 ตามลำดับ ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟเป็นการตีพิมพ์ครั้งแรกของเขา ส่วนของไมเออร์เป็นการเพิ่มเติมจากตารางธาตุเก่าของเขา ที่เคยตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2407 ตารางธาตุของทั้งสองสร้างขึ้นโดยจัดธาตุไว้เป็นคาบและหมู่โดยเรียงตามมวลอะตอม และจะเริ่มแถวใหม่เมื่อธาตุมีสมบัติทางเคมีที่เหมือนกัน สาเหตุที่ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟได้รับการยอมรับมีอยู่สองประการ คือ หนึ่ง ตารางธาตุของเขามีช่องว่างไว้เพื่อให้ธาตุที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ เมนเดเลเยฟไม่ได้เป็นนักเคมีคนแรกที่ทำแบบนี้ แต่เขาเป็นคนแรกที่ได้รับการยอมรับในการใช้แนวโน้มในตารางธาตุ เพื่อทำนายสมบัติทางเคมีของธาตุที่ยังไม่ได้ค้นพบเหล่านั้น เช่น แกลเลียม และเจอร์เมเนียม และเหตุผลที่สองคือบางครั้งเขาไม่ได้เรียงตามมวลอะตอมโดยทั้งหมด เขาสลับตำแหน่งธาตุบางตัว เช่น เทลลูเรียมและไอโอดีน โดยเขาให้เหตุผลว่าเพื่อให้ง่ายต่อการจัดธาตุลงไปในหมู่ของธาตุ กับการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้างอะตอม ทำให้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า เมนเดเลเยฟ ไม่ได้ตั้งใจที่จะระบุไปว่า เขาจัดเรียงธาตุตามมวลอะตอมที่เพิ่มขึ้น หรือโครงสร้างนิวเคลียร์ ความสำคัญของเลขอะตอมในการเป็นองค์ประกอบของตารางธาตุยังคงไม่ได้รับการยอมรับจนกระทั่งสมบัติของโปรตอนและนิวตรอนกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟก็ยังคงใช้มวลอะตอมแทนที่จะเป็นเลขอะตอม ซึ่งในเวลานั้นข้อมูลเกี่ยวกับมวลอะตอมมีความแม่นยำสูงสุด มวลอะตอมสามารถอธิบายถึงสมบัติทางเคมีของธาตุที่ยังไม่ค้นพบได้อย่างแม่นยำกว่าวิธีอื่น ๆ ที่รู้จักกันในเวลานั้น และวิธีนี้ก็ยังคงใช้ในการทำนายสมบัติของธาตุเคมีที่สังเคราะห์ขึ้นใหม่จนกระทั่งปัจจุบัน === ตารางธาตุรุ่นที่สองและการพัฒนาหลังจากนั้น === ใน พ.ศ. 2414 เมนเดเลเยฟตีพิมพ์ตารางธาตุในรูปแบบใหม่ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่ที่มีธาตุที่คล้ายกันซึ่งจะถูกจัดในคอลัมน์มากกว่าที่จะถูกจัดในแถว และคอลัมน์เหล่านี้ก็เรียงลำดับไว้ว่า I ถึง VIII ซึ่งตรงกันกับสถานะออกซิเดชันของธาตุ เขายังลงรายละเอียดเกี่ยวกับการทำนายสมบัติของธาตุที่ยังไม่ค้นพบด้วย และเขายังระบุไว้ว่าพวกมันไม่มีในตารางธาตุ แต่ควรจะมีอยู่จริง ช่องว่างเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะเติมเต็มโดยนักเคมีที่ค้นพบธาตุในธรรมชาติเพิ่มเติม บ่อยครั้งที่มีการยืนยันว่าธาตุสุดท้ายที่จะถูกค้นพบในธรรมชาติคือ แฟรนเซียม (เอคา-ซีเซียมที่เมนเดเลเยฟทำนายไว้) ที่ถูกค้นพบใน พ.ศ. 2482 แต่พลูโทเนียมที่สังเคราะห์ขึ้นใน พ.ศ. 2485 ได้รับการยืนยันว่าพบในธรรมชาติอยู่ปริมาณเล็กน้อยใน ปี พ.ศ. 2514 ตารางธาตุที่ได้รับความนิยมที่สุด หรือรู้จักกันว่าเป็นตารางธาตุมาตรฐาน สร้างขึ้นโดยฮอเรซ กรอฟส์ เดมิง ใน พ.ศ. 2466 เดมิงได้ตีพิมพ์ตารางธาตุในรูปแบบสั้น (รูปแบบเมนเดเลเยฟ) และรูปแบบปานกลาง (18 คอลัมน์) ในปี พ.ศ. 2467 เมิร์คและคอมปานีได้จัดเตรียมเอกสารของตารางธาตุ 18 แถวของเดมิงไว้ใช้สำหรับการเรียนการสอนในโรงเรียนของประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1930 ตารางธาตุของเดมิงได้ปรากฏบนหนังสือคู่มือและสารานุกรมเคมี และมันก็ยังถูกแจกจ่ายเป็นเวลาหลายปีโดยบริษัทวิทยาศาสตร์ซาร์เจนท์-เวลช์ ด้วยการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีของการจัดเรียงอิเล็กตรอนภายในอะตอม พบว่าอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้นตามคาบ (แถวแนวนอน) ในตารางธาตุเพื่อเติมเต็มวงอิเล็กตรอน อะตอมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีวงย่อยมากขึ้น และทำให้ตารางธาตุจะมีคาบที่ยาวขึ้นไปด้วย ใน พ.ศ. 2488 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เกลนน์ ซีบอร์ก ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่าธาตุแอกทิไนด์จะเหมือนกับแลนทาไนด์ซึ่งอิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงย่อย f ก่อนหน้านั้นแอกทิไนด์เชื่อกันว่าเป็นบล็อก-d แถวที่ 4 เพื่อนร่วมงานของซีบอร์กได้แนะนำให้เขาปิดบังข้อเสนอแนะดังกล่าวนี้ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออาชีพของเขา ซีบอร์กไม่สนใจคำแนะนำของเพื่อนร่วมงาน และตีพิมพ์ข้อเสนอแนะของเขาลงไป ในภายหลังนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆได้ตรวจสอบข้อเสนอแนะนี้ และพบว่ามีความถูกต้อง และทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี พ.ศ. 2494 สำหรับการทำงานของเขาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ธาตุแอกทิไนด์ ถึงแม้ว่าธาตุหลังยูเรเนียมบางตัวจะปรากฏในธรรมชาติ แต่พวกมันทั้งหมดก็ถูกค้นพบในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มาก่อน ซึ่งการผลิตพวกมันทำให้ตารางธาตุขยายขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการสังเคราะห์เนปทูเนียมขึ้นมาเป็นธาตุแรก ซึ่งสังเคราะห์ในปี พ.ศ. 2482 เนื่องด้วยธาตุส่วนใหญ่หลังยูเรเนียมไปแล้วนั้น มีความไม่เสถียรสูงมาก และสลายตัวอย่างรวดเร็ว พวกมันจึงกลายเป็นความท้าทายของนักวิทยาศาสตร์ที่จะตรวจจับและระบุลักษณะขณะที่มันถูกผลิตขึ้นแล้ว พวกมันยังมีการถกเถียงในเรื่องของความถูกต้องของการค้นพบธาตุ ซึ่งบางครั้งก็ยังขาดการตรวจสอบความสำคัญและการตั้งชื่อที่ถูกต้อง ซึ่งธาตุที่ได้รับการยืนยันและได้รับการตั้งชื่อล่าสุดคือ ฟลีโรเวียม (ธาตุที่ 114) และลิเวอร์มอเรียม (ธาตุที่ 116) ทั้งคู่ถูกตั้งชื่อในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2553 ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ในดุบนา ประเทศรัสเซีย ได้สังเคราะห์อะตอมของเทนเนสซีน (ธาตุที่ 117) 6 อะตอม ซึ่งทำให้มันกลายเป็นธาตุล่าสุดที่คาดว่าจะถูกค้นพบ ปัจจุบัน ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 118 คือ Og ออกาเนสซอนยังรู้จักกันในชื่อว่า เอคา-เรดอน หรือ ธาตุ 118 และบนตารางธาตุ มันถูกจัดให้อยู่ในบล็อก-p และเป็นธาตุตัวสุดท้ายบนคาบที่ 7 ปัจจุบัน ออกาเนสซอนเป็นธาตุสังเคราะห์เพียงตัวเดียวของธาตุหมู่ 18 มันยังเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมและมวลอะตอมมากที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน == ตารางธาตุรูปแบบอื่น == === ตารางธาตุแบบยาว === ตารางธาตุสมัยใหม่ในบางครั้งอาจจะมีการนำแลนทาไนด์และแอกทิไนด์มาต่อกันเป็นตารางเดียว แทรกระหว่างบล็อก s และบล็อก d ซึ่งเรียกกันว่าเป็นตารางธาตุแบบยาว 32 หมู่ เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างบล็อก f กับบล็อกอื่นของตารางก็ยังให้เห็นชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย เจนเซนสนับสนุนให้ใช้ตารางธาตุแบบยาวนี้ บนพื้นฐานของความคิดนักเรียนที่อาจคิดว่าแลนทาไนด์และแอกทิไนด์เป็นธาตุที่ไม่สำคัญและไม่น่าสนใจ แม้ว่าตารางธาตุแบบยาวจะมีประโยชน์หลายประการ บรรณาธิการหลายคนก็หลีกเลี่ยงที่จะใช้ตารางธาตุแบบยาว เพราะมันจะกินเนื้อที่บนหน้าหนังสือมากเกินไป และยังมีความคุ้นชินกับตารางธาตุที่แนะนำโดยนักเคมี (เช่นที่แนะนำโดยซีบอร์ก) === ตารางธาตุที่เปลี่ยนโครงสร้าง === ภายในระยะเวลา 100 ปีหลังจากที่ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2412 เอ็ดเวิร์ด จี. มาซูร์ ได้รวบรวมตารางธาตุที่มีโครงสร้างแตกต่างไปจากเดิมประมาณ 700 กว่าชนิด และได้รับการตีพิมพ์แล้ว เช่นเดียวกับตารางธาตุในรูปแบบช่องสี่เหลี่ยมก็มีการดัดแปลงโครงสร้างเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น โครงสร้างวงกลม, ลูกบาศก์ ทรงกระบอก โครงสร้างคล้ายอาคาร ทรงเกลียว เลมนีสเกต ปริซึมทรงแปดเหลี่ยม พีระมิด แบบแยกออกจากกัน ทรงกลม เกลียว และรูปสามเหลี่ยม ส่วนใหญ่แล้วตารางธาตุในโครงสร้างแบบอื่น ๆ นั้น สร้างขึ้นเพื่อเน้นหรือให้ความสำคัญกับสมบัติทางเคมีหรือกายภาพของธาตุ ซึ่งไม่มีในตารางธาตุปกติ ตารางธาตุโครงสร้างอื่นที่ได้รับความนิยมคือ ตารางธาตุของทืโอดอร์ เบนฟีย์ เขาสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2503 ธาตุถูกจัดเรียงในเกลียวที่ต่อเนื่องกัน โดยมีไฮโดรเจนอยู่ตรงกลางและมีโลหะแทรนซิชัน แลนทาไนด์ และแอกทิไนด์ ยื่นออกมาคล้ายกับคาบสมุทร ตารางธาตุส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น 2 มิติ ถึงอย่างนั้นมันก็ยังมีตารางธาตุที่เป็น 3 มิติ และเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2405 (ก่อนที่เมนเดเลเยฟจะตีพิมพ์ตารางธาตุของเขาในปี พ.ศ. 2412) ตัวอย่างตารางธาตุ 3 มิติที่พบเห็นได้เป็นส่วนใหญ่ เช่น การจำแนกธาตุของคูร์ทีนส์ (พ.ศ. 2468) ระบบลามีนาของวริงลีย์ (พ.ศ. 2492) ตารางธาตุทรงเกลียวของกีเกอเร (พ.ศ. 2508) และต้นไม้พีรีออดิกของดูโฟร์ (พ.ศ. 2539) ได้รับการบรรยายว่าเป็นตารางธาตุ 4 มิติ (มิติเชิงพื้นที่ 3 มิติและมิติเชิงสีอีก 1 มิติ) == คำถามเปิดและการโต้แย้ง == === ธาตุที่ไม่ทราบสมบัติทางเคมี === ถึงแม้ว่าธาตุทุกตัวจนถึงออกาเนสซอนจะถูกค้นพบแล้ว แต่ธาตุที่มีเลขอะตอมมากกว่าฮัสเซียม (ธาตุที่ 108) มีเพียงแค่โคเปอร์นิเซียม (ธาตุที่ 112) และฟลีโรเวียม (ธาตุที่ 114) เท่านั้นที่ทราบสมบัติทางเคมีแล้ว ส่วนธาตุอื่น ๆ ที่มีเลขอะตอมมากกว่าฮัสเซียมนั้น สมบัติทางเคมีของมันเป็นเพียงแค่การทำนายโดยการประมาณค่าหรือพิจารณาความสัมพันธ์ทางเคมี เช่น ทำนายว่าฟลีโรเวียมจะมีสมบัติที่คล้ายคลึงกับธาตุในหมู่แก๊สมีสกุล แม้ว่าปัจจุบันมันจะจัดให้อยู่ในหมู่คาร์บอนก็ตาม การทดลองส่วนใหญ่ได้บ่งชี้เช่นนั้น ถึงอย่างนั้น ฟลีโรเวียมแสดงความประพฤติทางเคมีเหมือนกับตะกั่ว ตามตำแหน่งของธาตุที่คาดไว้ === การขยายตารางธาตุ === ไม่มีความแน่ชัดว่าธาตุใหม่ที่จะถูกค้นพบต่อไปนี้จะต้องไปอยู่ในคาบที่ 8 หรือต้องการการปรับเปลี่ยนรูปแบบตารางธาตุ ซีบอร์กคาดว่าคาบที่ 8 นี้จะเป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้ มันจะประกอบไปด้วยธาตุในบล็อก-s 2 ตัว คือธาตุที่ 119 และ 120 หลังจากนั้นจะเป็นบล็อก-g สำหรับธาตุตัวถัดไปอีก 18 ตัว และที่เหลืออีก 30 ตัวจะถูกจัดให้อยู่ในบล็อก-f -d และ -p ตามลำดับ ล่าสุด นักฟิสิกส์หลายคนเช่น เป็กกา ปืกเกอ เชื่อว่าธาตุใหม่ที่จะถูกค้นพบนั้นจะไม่เป็นไปตามกฎของแมนเดลัง ซึ่งเป็นการทำนายว่าจะมีวงอิเล็กตรอนเท่าใด และจะทำให้ตารางธาตุปัจจุบันมีหน้าตาเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันมีแบบจำลองสมมติฐานหลายแบบออกมาสำหรับตำแหน่งธาตุที่มีเลขอะตอมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 172 โดยธาตุที่ 172 นี้ เชื่อกันว่าจะเป็นธาตุอโลหะมีสกุลตัวต่อไปจากออกาเนสซอน ซึ่งแบบจำลองเหล่านี้จะต้องพิจารณาว่าเป็นเพียงทฤษฎี เนื่องจากยังไม่มีการคำนวณใด ๆ สำหรับธาตุที่พ้นจากธาตุ 122 === ธาตุที่มีเลขอะตอมมากที่สุด === ตัวเลขของจำนวนธาตุที่เป็นไปได้ยังไม่มีใครทราบ มีข้อคิดเห็นที่เก่าที่สุดสำหรับเรื่องนี้ ซึ่งเสนอโดย เอเลียต อดัมส์ ในปี พ.ศ. 2454 และอยู่บนพื้นฐานของการจัดเรียงธาตุในแถวแนวนอนของตารางธาตุ เขาเชื่อว่าธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่า 256± (ซึ่งเทียบเท่ากับมวลอะตอมระหว่างธาตุที่ 99 และ 100 ในปัจจุบัน) จะไม่ปรากฏขึ้น ธาตุที่มีมวลอะตอมสูงกว่านี้ คาดว่าจะไปสิ้นสุดไม่ไกลหลังจากหมู่เกาะแห่งความเสถียรภาพ ซึ่งทำนายกันว่าจะมีศูนย์กลางประมาณธาตุที่ 126 และเป็นส่วนขยายของตารางธาตุและตารางนิวไคลด์จะถูกจำกัดโดยดริปไลน์ (Drip line) ของโปรตอนและนิวตรอน มีการทำนายอื่น ๆ อีกมากมายที่นำเสนอเกี่ยวกับจุดสิ้นสุดของตารางธาตุ รวมทั้งตารางธาตุจะสิ้นสุดที่ธาตุ 128 ซึ่งเสนอโดยจอห์น เอมสลีย์ สิ้นสุดที่ธาตุ 137 โดยริชาร์ด ไฟน์แมน และสิ้นสุดที่ธาตุ 155 โดยอัลเบิร์ต คาซาน แบบจำลองของบอร์ แบบจำลองของบอร์จะมีความยากลำบากในการอธิบายถึงอะตอมของธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 137 ขึ้นไป ธาตุใด ๆ ก็ตามที่มีเลขอะตอมมากกว่า 137 มันจะต้องการอิเล็กตรอนในวงย่อย 1s เพื่อที่จะให้เดินทางได้เร็วกว่าแสง ดังนั้นแบบจำลองของบอร์จึงไม่ได้ถูกใช้เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ที่ถูกต้องของธาตุเหล่านั้น สมการแสดงความสัมพันธ์ของดิแรก สมการแสดงความสัมพันธ์ของดิแรกจะมีปัญหาเมื่อธาตุนั้นมีโปรตอนมากกว่า 137 ตัว สำหรับธาตุเหล่านั้น ฟังก์ชันคลื่นของสถานะพื้นของดิแรกจะเกิดการแกว่งมากกว่าที่จะยึดกันไว้ และจะไม่มีช่องว่างระหว่างพลังงานบวกและลบของสเปกตรัม ซึ่งมีในปฏิทรรศน์ของไคลน์ การคำนวณที่แม่นยำขึ้นโดยคำนึงถึงผลกระทบของการจำกัดขนาดของนิวเคลียส แสดงให้เห็นว่าพลังงานที่ทำให้นิวเคลียสอยู่รวมกัน จะมีค่าเกินขีดจำกัดสำหรับธาตุที่มีโปรตอนมากกว่า 137 ตัว สำหรับธาตุที่หนักกว่านั้น ถ้าวงอิเล็กตรอนชั้นในสุด (1s) ไม่ถูกเติมเต็ม จะทำให้สนามไฟฟ้าของนิวเคลียสจะดึงอิเล็กตรอนออกจากสุญญากาศ ส่งผลให้อะตอมนั้นเกิดการปล่อยโพซิตรอนออกมาโดยธรรมชาติ ถึงอย่างนั้น ผลกระทบนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าวงอิเล็กตรอนชั้นในสุดได้รับการเติมเต็มแล้ว ดังนั้นธาตุที่ 137 จึงไม่จำเป็นว่าจะเป็นที่สิ้นสุดของตารางธาตุ === ตำแหน่งของไฮโดรเจนและฮีเลียม === บ่อยครั้งที่ไฮโดรเจนและฮีเลียมถูกวางในตำแหน่งที่แตกต่างกัน แทนที่จะวางใกล้กัน เนื่องด้วยการจัดเรียงอิเล็กตรอน ไฮโดรเจนส่วนใหญ่จะถูกจัดให้อยู่บนลิเทียม โดยพิจารณาจากการจัดเรียงอิเล็กตรอน แต่บางครั้งมันก็จะถูกจัดให้อยู่เหนือฟลูออรีนหรือคาร์บอน เนื่องจากไฮโดรเจนแสดงพฤติกรรมที่มีความคล้ายคลึงกับธาตุเหล่านั้น บางครั้งไฮโดรเจนอาจจะถูกจัดให้อยู่เดี่ยว ๆ ซึ่งหมายความว่าไฮโดรเจนไม่มีสมบัติเหมือนกับธาตุในหมู่ใด ๆ เลย ฮีเลียม ส่วนใหญ่แล้วจะถูกจัดให้อยู่เหนือนีออน เพราะมีสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกันมาก ถึงแม้ว่าบางครั้งมันจะถูกจัดให้อยู่เหนือเบริลเลียมเนื่องด้วยการจัดเรียงอิเล็กตรอน (ฮีเลียม: 1s2 เบริลเลียม: [He] 2s2) === หมู่ของโลหะแทรนซิชัน === นิยามของโลหะแทรนซิชันโดยไอยูแพกนั้น คือธาตุที่อิเล็กตรอนนั้นจะเข้าไปอยู่ในวงย่อย d หรือจะเป็นประจุบวกเพื่อเติมเต็มวงย่อย d จากคำนิยามนี้ ทำให้ธาตุในหมู่ 3–11 เป็นโลหะแทรนซิชัน คำนิยามของไอยูแพกทำให้ธาตุในหมู่ 12 ซึ่งประกอบด้วยสังกะสี แคดเมียม และปรอท ออกจากการเป็นโลหะแทรนซิชันไป นักเคมีบางคนอธิบายว่า "ธาตุบล็อก-d" และ "โลหะแทรนซิชัน" สามารถสลับกันได้ ซึ่งทำให้หมู่ที่ 3–12 กลายเป็นโลหะแทรนซิชัน ในกรณีนี้ธาตุหมู่ 12 จะถือว่าเป็นกรณีพิเศษของโลหะแทรนซิชัน เพราะธาตุหมู่ 12 ไม่ได้ใช้อิเล็กตรอนในวงย่อย d ในการทำพันธะกับธาตุอื่น แต่การค้นพบล่าสุด พบว่าปรอทสามารถใช้อิเล็กรอนในวงย่อย d ในการสร้างพันธะกับฟลูออรีน เป็นเมอร์คิวรี(IV) ฟลูออไรด์ (HgF4) ทำให้มีนักเคมีบางคนเสนอว่าปรอทควรจะถูกจัดให้เป็นโลหะแทรนซิชัน ส่วนนักเคมีคนอื่น ๆ เช่น เจนเซน แย้งว่าการเกิดของ HgF4 สามารถเกิดได้ในภาวะที่ผิดปกติอย่างมากเท่านั้น ดังนั้นปรอทจึงไม่ถูกจัดให้เป็นโลหะแทรนซิชัน โดยการพิจารณาความหมายโดยสามัญ แต่ก็ยังมีนักเคมีบางคนที่ไม่รวมธาตุหมู่ 3 ในกลุ่มโลหะแทรนซิชัน โดยคำนิยามของโลหะแทรนซิชัน พวกเขาทำบนพื้นฐานที่ว่าธาตุในหมู่ 3 ไม่มีไอออนใด ๆ ที่สามารถไปเติมเต็มวงย่อย d ได้ และไม่แสดงสมบัติทางเคมีที่คล้ายคลึงกับโลหะแทรนซิชันเลย ในกรณีนี้ธาตุหมู่ 4–11 จะถูกจัดให้เป็นโลหะแทรนซิชัน แม้ว่าธาตุหมู่ 3 มีสมบัติทางเคมีเหมือนโลหะแทรนซิชันบางประการ แต่ก็ยังมีสมบัติทางกายภาพที่เหมือนกันด้วย (การมีอยู่ของ d อิเล็กตรอน) === ธาตุคาบ 6 และ 7 ในหมู่ที่ 3 === ถึงแม้ว่าสแกนเดียมและอิตเทรียมจะเป็นธาตุหมู่ 3 สองตัวแรกตลอด ตัวตนของธาตุอีกสองตัวยังไม่ได้ถูกยืนยัน พวกมันอาจจะเป็นแลนทานัมกับแอกทิเนียมหรือลูทีเชียมกับลอว์เรนเชียม ถึงแม้มันยังมีข้อโต้แย้งทางเคมีและกายภาพที่สนับสนุนการจัดโดยนำลูทีเชียมและลอว์เรนเชียมเป็นธาตุหมู่ 3 แต่ก็ไม่ควรที่จะเชื่อถือนัก คำนิยามปัจจุบันของคำว่า "แลนทาไนด์" ของไอยูแพก รวมธาตุ 15 ตัว ซึ่งมีทั้งแลนทานัมและลูทีเชียม และ "โลหะแทรนซิชัน" อาจจะเป็นแลนทานัมหรือแอกทิเนียมก็ได้ หรือแม้กระทั่งลูทีเชียม แต่ไม่ใช่ลอว์เรนเชียม เนื่องจากหลักการออฟบาวไม่มีความถูกต้องแล้ว โดยทั่วไป อิเล็กตรอนของลอว์เรนเชียมตัวที่ 103 จะต้องเข้าไปอยู่ในวงย่อย d แต่การวิจัยทางกลศาสตร์ควอนตัมชี้ให้เห็นว่าลอว์เรนเชียมมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น [Rn] 5f14 7s2 7p1 เนื่องด้วยผลกระทบจากความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเคมี ไอยูแพกจึงยังไม่ได้แนะนำรูปแบบที่เจาะจง สำหรับธาตุในบล็อก-f และยังคงเป็นข้อโต้แย้งต่อไป ==== แลนทานัมและแอกทิเนียม ==== แลนทานัมและแอกทิเนียมมักจะถูกจัดให้เป็นธาตุหมู่ 3 โดยมีการเสนอตำแหน่งของธาตุทั้งสองนี้ครั้งแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 ด้วยการปรากฏตัวของตารางธาตุที่จัดเรียงตามการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุเคมีและความคิดในการแยกแยะอิเล็กตรอน การจัดเรียงอิเล็กตรอนของซีเซียม แบเรียม และแลนทานัม คือ [Xe]6s1 [Xe]6s2 และ [Xe]5d16s2 ดังนั้นแลนทานัมจึงมีอิเล็กตรอนในชั้น 5d แยกออกมาและทำให้แลนทานัมกลายเป็น "ธาตุหมู่ 3 และธาตุตัวแรกในบล็อก d ของคาบ 6" กลุ่มของธาตุที่จัดเรียงอิเล็กตรอนคล้าย ๆ กันพบได้ในหมู่ 3: สแกนเดียม [Ar]3d14s2 อิตเทรียม [Kr]4d15s2 และแลนทานัม [Xe]5d16s2 อิตเทอร์เบียมและลูทีเชียม ซึ่งอยู่ในคาบ 6 เหมือนกัน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น [Xe]4f135d16s2 และ [Xe]4f145d16s2 ตามลำดับ "ส่งผลให้เกิดอิเล็กตรอนชั้น 4f แยกออกมาในลูทีเชียม และทำให้มันเป็นธาตุสุดท้ายของบล็อก f ของคาบ 6" ภายหลัง มีงานวิจัยจากการวิเคราะห์สเปกตรัม พบว่าการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่แท้จริงของอิตเทอร์เบียมเป็น [Xe]4f146s2 หมายความว่าทั้งอิตเทอร์เบียมและลูทีเชียม ต่างมี 14 อิเล็กตรอนในบล็อก f "ส่งผลให้เกิดอิเล็กตรอน d แยกออกมาแทนที่จะเป็น f สำหรับลูทีเชียม" และทำให้ลูทีเชียมกลายเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งใต้อิตเทรียมเช่นเดียวกันกับ [Xe]5d16s2 แลนทานัม แต่แลนทานัมได้เปรียบจากตำแหน่ง เนื่องจากอิเล็กตรอน 5d1 ปรากฏตัวครั้งแรกในการจัดเรียงนี้ ขณะที่มันปรากฏเป็นครั้งที่สามสำหรับลูทีเชียม นอกจากนี้อิเล็กตรอน 5d1 ยังปรากฏบ้างเป็นครั้งที่สองในธาตุแกโดลิเนียมด้วยเช่นกัน ในทางพฤติกรรมเคมี ธาตุหมู่สามจะมีแนวโน้มคุณสมบัติต่าง ๆ ลดลงไปในแต่ละคาบ ไม่ว่าจะเป็นจุดหลอมเหลว อิเล็กโทรเนกาติวิตี หรือรัศมีไอออน สแกนเดียม อิตเทรียม แลนทานัม และแอกทิเนียมคล้ายคลึงกันกับธาตุหมู่ 1-2 ที่อยู่ข้างเคียง ในรูปแบบนี้ จำนวน f อิเล็กตรอนของไอออนที่พบได้บ่อยสุดของธาตุบล็อก f จะสอดคล้องกับตำแหน่งในบล็อก f ตัวอย่างเช่น จำนวน f อิเล็กตรอนของธาตุบล็อก f สามตัวแรก คือ Ce 1 Pr 2 Nd 3 ==== ลูทีเชียมและลอว์เรนเชียม ==== ในรูปแบบนี้ ลูทีเชียมและลอว์เรนเชียมเป็นธาตุหมู่ 3 วิธีการแรก ๆ ที่แยกสแกนเดียม อิตเทรียม และลูทีเชียม คือ การพิจารณาว่าธาตุเหล่านี้ปรากฏตัวอยู่ด้วยกัน เรียกว่า "หมู่อิตเทรียม" ขณะที่แลนทานัมและแอกทิไนด์ ปรากฏตัวอยู่ด้วยกันใน "หมู่ซีเรียม" ดังนั้น ลูทีเชียมจึงถูกจัดให้อยู่ในหมู่ 3 แทนที่แลนทานัมโดยนักเคมีบางคนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 และ 1930 นักฟิสิกส์หลายคนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 นิยมนำลูทีเชียมจัดเป็นธาตุหมู่ 3 เมื่อมีการเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพกับแลนทานัมแล้ว การจัดเรียงเช่นนี้ โดยนำแลนทานัมไปไว้เป็นธาตุตัวแรกของบล็อก f กลายเป็นข้อถกเถียงในหมู่นักเขียนบางส่วน เพราะแลนทานัมขาด f อิเล็กตรอน แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่า เป็น "ข้อกังวลที่ไม่ถูกต้อง" ตัวอย่างเช่น ทอเรียม เป็นธาตุในบล็อก f แต่ไม่มี f อิเล็กตรอน สำหรับลอว์เรนเชียม การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมสถานะแก๊สถูกยืนยันในปี พ.ศ. 2558 เป็น [Rn]5f147s27p1 การจัดเรียงอิเล็กตรอนนี้แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติอีกประการ คือ ไม่ว่าลอว์เรนเชียมจะอยู่ตำแหน่งไหนในบล็อก f หรือ บล็อก d แต่ตัวธาตุมี p อิเล็กตรอนตัวแรก ซึ่งตำแหน่งธาตุที่จะมี p อิเล็กตรอนตัวแรกได้ถูกจัดไว้ให้กับนิโฮเนียม ซึ่งคาดว่าจะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น [Rn]5f146d107s27p1 สแกนเดียม อิตเทรียม และ ลูทีเชียม (และลอว์เรนเชียมที่เป็นไปได้) มีพฤติกรรมคล้ายไตรวาเลนต์ของโลหะหมู่ 1 และ 2 ในทางตรงกันข้าม ธาตุจะมีแนวโน้มคุณสมบัติต่าง ๆ ลดลงไปในแต่ละคาบ ไม่ว่าจะเป็นจุดหลอมเหลว อิเล็กโทรเนกาติวิตี หรือรัศมีไอออน คล้ายคลึงกับธาตุในหมู่ 4–8 ในรูปแบบนี้ จำนวน f อิเล็กตรอนของอะตอมธาตุบล็อก f ในสถานะแก๊ส โดยปกติจะสอดคล้องกับตำแหน่งในบล็อก f ตัวอย่างเช่น จำนวน f อิเล็กตรอนของธาตุบล็อก f ห้าตัวแรก คือ La 0 Ce 1 Pr 3 Nd 4 และ Pm 5 ==== แลนทาไนด์และแอกทิไนด์ ==== นักเขียนจำนวนหนึ่งวางตำแหน่งธาตุแลนทาไนด์และแอกทิไนด์ทั้ง 30 ธาตุไว้ในตำแหน่งทั้งสองใต้อิตเทรียม ในรูปแบบนี้ ซึ่งได้ถูกกล่าวถึงใน Red Book ปี พ.ศ. 2549 ว่าเป็นรูปแบบที่ยอมรับจากไอยูแพกในปี พ.ศ. 2549 (ในภายหลังก็ปรากฏรูปแบบอื่นอีกมากมาย และมีอัปเดตล่าสุดในวันที่ 1 ธ.ค. 2561) โดยให้ความสำคัญถึงความเหมือนของธาตุทั้ง 15 ตัวในแลนทาไนด์ (La ถึง Lu) อาจจะเพื่อหลีกเลี่ยงความกำกวมว่าธาตุใดควรจะเป็นธาตุหมู่ 3 ใต้อิตเทรียม กับบล็อก f ที่กว้าง 15 ช่อง (ขณะที่ธาตุบล็อก f สามารถมีได้แค่ 14 ตัวไม่ว่าจะอยู่ในแถวใด) === ตารางธาตุในรูปแบบที่เหมาะสม === มีตารางธาตุหลายรูปแบบที่ถูกเสนอว่าควรจะเป็นตารางธาตุที่มีรูปแบบเหมาะสม คำตอบของคำถามนี้ขึ้นอยู่กับว่าตารางธาตุนั้นบอกรายละเอียดเกี่ยวกับธาตุได้พอดีและอยู่บนพื้นฐานของความจริงหรือไม่ แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตการณ์ของมนุษย์ ตารางธาตุที่เหมาะสมนั้นจะต้องอธิบายได้ว่าไฮโดรเจนและฮีเลียมควรจะอยู่ที่ไหน และธาตุหมู่ 3 จะมีอะไรบ้าง คำตอบดังกล่าวจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริงด้วยเช่นกัน ถ้ามีความจริงนั้นอยู่แล้ว มันอาจจะยังไม่ถูกค้นพบ ในกรณีที่ไม่มีคำตอบ การนำตารางธาตุหลายรูปแบบมารวมกัน ก็สามารถทำให้ตารางธาตุสมบูรณ์แบบขึ้นได้ และมีการเน้นแง่มุมที่แตกต่างกันของสมบัติทางเคมีและความสัมพันธ์ระหว่างธาตุ ความแพร่หลายของตารางธาตุในรูปแบบมาตรฐาน หรือรูปแบบยาว อาจจะเป็นตารางธาตุที่ดีแล้ว มีความสมดุลของเอกลักษณ์ในแง่ของโครงสร้างและขนาด การเรียงธาตุตามสมบัติของอะตอมและแนวโน้มพีรีออดิก == ดูเพิ่ม == รายชื่อธาตุเคมีเรียงตามเลขอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุเคมี == อ้างอิง == == เชิงอรรถ == == บรรณานุกรม == == แหล่งข้อมูลอื่น == ตารางธาตุในปัจจุบัน ข้อมูลจากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชมงคล ตารางธาตุในปัจจุบัน ข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ตารางธาตุแบบอินเตอร์แอกทีฟ ประเภทของธาตุ สิ่งประดิษฐ์ของประเทศรัสเซีย
thaiwikipedia
194
บานบุรีม่วง
บานบุรีม่วง มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบออกรอบข้อ ข้อละสี่ใบ ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงแดงหรือม่วงอมชมพู โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงเข้ม ใช้เป็นไม้ประดับ == อ้างอิง == วีรญา บุญเตี้ย และอัจฉรา ตีระวัฒนานนท์. ไม้เลื้อยประดับ. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน, หน้า 57. == ดูเพิ่ม == บานบุรีเหลือง บานบุรีแสด ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ตีนเป็ด ไม้เลื้อย
thaiwikipedia
195
พุดสามสี
พุดสามสี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Brunfelsia hopeana Benth.) เป็นไม้พุ่มนำเข้ามาจากต่างประเทศ บางทีเรียกกันว่า ต้นจัสมิน (jasmine) หรือ พุดสองสี พุดสามสี สามราศรี, พุดสี, พุทธชาดม่วง == อ้างอิง == http://www.rspg.thaigov.net/homklindokmai/hom_data/hom-35a.htm ITIS 30411 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์มะเขือ
thaiwikipedia
196
พุดตะแคง
พุดตะแคง (Lady of the night) เป็นไม้พุ่มยืนต้นเตี้ย ๆ สูงประมาณ 8 ฟุต ดอกออกเป็นช่อคล้ายดอกมะลิมีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานใหม่ ๆ ดอกมีสีเหลืองนวล พอบานเต็มที่จะเป็นสีขาว กลีบดอกจะบิดงอตะแคงตามกันเหมือนกังหัน ขนาดดอกกว้าง 3 ซม. มีกลิ่นหอมแรงมาก และออกดอกตลอดปี แต่จะออกมากในฤดูฝน == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == ใบเรียบเกลี้ยงสีเขียวเข้ม ทรงใบมนปลายใบแหลม ยาว 6-7 ซม. ดอกออกเป็นช่อคล้ายดอกมะลิมีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานใหม่ ๆ ดอกมีสีเหลืองนวล พอบานเต็มที่จะเป็นสีขาว กลีบดอกจะบิดงอตะแคงตามกันเหมือนกังหัน ขนาดดอกกว้าง 3 ซม. มีกลิ่นหอมแรงมาก และออกดอกตลอดปี แต่จะออกมากในฤดูฝน เป็นไม้กลางแจ้งดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนซุย มีธาตุอาหารสมบูรณ์ สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยการ ตอนและ ปักชำ == อ้างอิง == นพพล เกตุประสาท . พันธุ์ไม้หอม (พุดตะแคง) : ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์มะเขือ
thaiwikipedia
197
แอร์โรว์เฮด (พรรณไม้)
แอร์โรว์เฮด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sagittaria montevidensis Cham. et Schlecht) ชื่อสามัญ: Arrow Head, Aztex Head, Giant Arrow Head เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีใบที่ดูเหมือนหัวลูกศรหรือหัวปลายธนู เป็นไม้น้ำขนาดกลางไม้โผล่เหนือน้ำ เจริญเป็นกอ สูงประมาณ 50 ซม. ใบเดี่ยวรูปหัวลูกศรเรียงเวียนรอบตัน แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ก้านใบอวบน้ำ ดอกสีขาวแต้มสีน้ำตาลแดงและสีเหลืองที่โคน เกสรสีเหลือง ดอกแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้อยู่ด้านบนของช่อดอก ดอกเพศเมียอยู่ด้านล่าง ออกดอกเป็นช่อตั้งที่ซอกใบ ช่อดอกชูขึ้นเหนือพุ่มใบ ออกดอกตลอดปี การขยายพันธุ์ ใช้ปักชำต้นอ่อนที่แตกจากช่อดอก แยกกอ หรือใช้เมล็ด เพาะลงในดินตม ประมาณ 6-7 วัน ต้นอ่อนก็จะงอก ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ขาเขียด
thaiwikipedia
198
แว่นแก้ว
แว่นแก้ว หรือ บัวแก้ว ผักหนอกใหญ่ (Water Pennywort; L.เป็นไม้น้ำมีอายุหลายฤดู ลำต้นเป็นไหลทอดยาวตามพื้นดิน มีข้อปล้อง มีรากและใบงอกตามข้อทุกส่วน มีกลิ่นหอม ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะและริมน้ำ พบมากในภาคเหนือ และภาคกลาง ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกสลับข้อละ 1–2 ใบ ก้านใบอวบ ยาว 10–15 ซม. ใบรูปเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–10 ซม. ขอบใบหยักโค้งกว้าง ดอกเป็นดอกช่อแบบอัมเบล เกิดที่ซอกใบมีก้านช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ผลชนิดแห้งแล้วแตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีขนาดเล็ก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกต้นอ่อน == การใช้ประโยชน์ == เป็นพืชอาหาร เป็นผักจิ้มเครื่องหลน หรือเครื่องเคียง คั้นน้ำเป็นน้ำดื่ม เป็นไม้ประดับในอ่างปลา ทางด้านสมุนไพร ทั้งต้นใช้แก้ตาแดง ขับปัสสาวะ ช้ำใน บวม พิษไข้ ท้องอืด ท้องเสีย == แหล่งข้อมูลอื่น == USDA Plants Profile Jepson Manual Treatment GRIN Species Profile Photo gallery More pictures ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร พืชที่รับประทานได้ วงศ์ผักชี
thaiwikipedia
199