title
stringlengths 1
182
| text
stringlengths 1
45.8M
| source
stringclasses 5
values | __index_level_0__
int64 0
197k
|
---|---|---|---|
Hokkaido | redirect จังหวัดฮกไกโด | thaiwikipedia | 602 |
ประเทศเยเมน | เยเมน (Yemen; اليَمَن) หรือ สาธารณรัฐเยเมน (Republic of Yemen; الجمهورية اليمنية) ประกอบด้วยอดีตคือเยเมนเหนือและเยเมนใต้ เป็นประเทศในคาบสมุทรอาหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นส่วนหนึ่งของตะวันออกกลาง มีชายฝั่งจรดทะเลอาหรับและอ่าวเอเดนทางทิศใต้ จรดทะเลแดงทางทิศตะวันตก มีพรมแดนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับโอมาน ส่วนพรมแดนด้านอื่น ๆ ติดกับซาอุดีอาระเบีย
เยเมนมีอาณาเขตรวมถึงเกาะโซโกตราซึ่งอยู่ห่างไปทางใต้ประมาณ 350 กิโลเมตร นอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก
หลังการสู้รบในกรุงซานาเมื่อเดือนกันยายน 2014 กลุ่มฮูษี (Houthis) ก็เข้ายึดเมืองหลวงได้สำเร็จ ประธานาธิบดีฮาดีถูกปลด ต่อมากลุ่มฮูษีได้แต่งตั้งมุฮัมมัด อะลี อัลฮูษี ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ ในขณะที่ประธานาธิบดีฮาดีหลบหนีไปยังเอเดน และประกาศว่าตนยังคงเป็นประธานาธิบดีแห่งเยเมน พร้อมทั้งประกาศให้เอเดนเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศ กลุ่มฮูษีและกองกำลังสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีศอเลียะห์ตอบโต้ด้วยปฏิบัติการบุกเอเดน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลฮาดีถูกจับตัวได้ในวันที่ 25 มีนาคม ในวันเดียวกัน ชาติอาหรับนำโดยซาอุดีอาระเบียเริ่มปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มฮูษีทางอากาศ
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ประเทศเยเมนแบ่งออกเป็น 19 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) และ 1 เขตเมืองหลวง ได้แก่
อับยัน (Abyan)
เอเดน ('Adan)
อัดดะลี (Ad Dali')
อัลไบดะ (Al Bayda')
อัลฮุไดดะห์ (Al Hudaydah)
อัลเจาฟ์ (Al Jawf)
มะห์เราะห์ (Al Mahrah)
อัลมะห์วิต (Al Mahwit)
อัมราน ('Amran)
ดะมาร์ (Dhamar)
ฮัดระเมาต์ (Hadramaut)
ฮัจจะห์ (Hajjah)
อิบบ์ (Ibb)
ละฮิจ (Lahij)
มะริบ (Ma'rib)
ซอเดาะห์ (Sa'dah)
ซานา (Sanaá)
ชับวะห์ (Shabwah)
ตะอิซซ์ (Ta'izz)
ซานา (Sanaá)
เขตผู้ว่าราชการแบ่งออกเป็น เขต (districts) รวม 333 เขต แต่ละเขตแบ่งออกเป็น ตำบล (sub-districts) รวม 2,210 ตำบล ซึ่งยังแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน (villages) รวม 38,284 หมู่บ้าน (พ.ศ. 2544)
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เชื้อชาติ ===
=== ศาสนา ===
ส่วนใหญ่ประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับ จะนับถือศาสนาอิสลาม เกือบ 100% รวมถึงเยเมน
=== ภาษา ===
ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่ใช้กันโดยทั่วไป
=== อาหาร ===
เป็นอาหารที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากอาหารที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลาง อาหารเยเมนในภูมิภาคที่ที่ต่างกันยังมีความแตกต่างกันเล็กน้อยอาหารเยเมนได้รับอิทธิพลจากอาหารตุรกีสมัยจักรวรรดิออตโตมันมากเนื่องจากการถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน
=== วันหยุด ===
-22 พฤษภาคม วันรวมใจ
-Eid Al Fitr สิ้นสุดเดือนรอมฎอนวันที่แตกต่างกันไปตามวัฏจักรของจันทรคติ
-Eid al-Adha Feast of Sacrifice วันที่แตกต่างกันไปตามวัฏจักรของจันทรคติ
วันปีใหม่อิสลามแตกต่างกันไปตามปฏิทินจันทรคติ
-26 กันยายน วันปฏิวัติ
-14 ตุลาคม วันปลดปล่อย
-30 พฤศจิกายน วันประกาศอิสรภาพ
== อ้างอิง ==
ประเทศเยเมน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
รัฐบาล
Yemen Government official portal
Yemen profile from the BBC News
การศึกษา
การท่องเที่ยว
อื่นๆ
ย
ย
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2533
บทความเกี่ยวกับ ประเทศและเขตการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์ | thaiwikipedia | 603 |
ประเทศโอมาน | โอมาน (Oman; عُمان) หรือชื่อทางการว่า รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman; سلطنة عُمان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตะวันตกติดกับซาอุดีอาระเบีย และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเยเมน มีชายฝั่งบนทะเลอาหรับทางใต้และตะวันออก และอ่าวโอมานทางตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ก็ยังมีดินแดนส่วนแยกอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้วย มีเมืองหลวงที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมัสกัต
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โอมานเป็นอาณาจักรที่แข่งขันกับจักรวรรดิโปรตุเกสและบริติชเพื่อแย่งชิงอิทธิพลในอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย อาณาจักรเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุดในศตวรรษที่ 19 อิทธิพลของโอมานขยายไปทั่วช่องแคบฮอร์มุซไปจนถึงบริเวณที่เป็นประเทศอิหร่านและปากีสถานในปัจจุบัน เมื่ออำนาจของโอมานเริ่มเสื่อมถอยลงในศตวรรษที่ 20 ดินแดนทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 300 ปี ในช่วงเวลานี้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรเกิดจากการมีผลประโยชน์ร่วมกัน สหราชอาณาจักรยอมรับความสำคัญทางภูมิศาสตร์ของโอมานในฐานะศูนย์กลางการค้าที่ยึดเส้นทางการค้าในอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย และปกป้องอาณาจักรของพวกเขาในอนุทวีปอินเดีย และกรุงมัสกัตยังเคยเป็นท่าเรือการค้าหลักของภูมิภาคในอ่าวเปอร์เซียในอดีต
สุลต่าน สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านกอบูส บิน ซะอีด อัสซะอีด ถือเป็นผู้นำตกทอดของประเทศในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1970 จนกระทั่งการสวรรคตใน ค.ศ. 2020 ตามกฎของการสืบราชบัลลังก์สุลต่านโอมาน พระราชโอรสของสุลต่านมักจะได้รับการประกาศให้เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านกอบูสไม่มีพระราชโอรส และ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัยษัม บิน ฏอริก อัสซะอีด ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังค์ต่อ
โอมานเป็นรัฐอิสระที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอาหรับ และเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับ สภาความร่วมมืออ่าวอาหรับ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และองค์การความร่วมมืออิสลาม โอมานมีปริมาณน้ำมันสำรองเป็นอันดับที่ 22 ของโลก ใน ค.ศ. 2010 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ จัดอันดับโอมานเป็นประเทศที่มีการพัฒนามากที่สุดในโลกในแง่ของการพัฒนาในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา รายได้หลักของประเทศมาจากการท่องเที่ยว การค้า ประมง อินทผลัม และผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ โอมานจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่มีรายได้สูง และใน ค.ศ. 2021 โอมานอยู่ในอันดับที่ 73 ของประเทศที่สงบสุขที่สุดในโลกตามดัชนีสันติภาพโลก
== ภูมิศาสตร์ ==
=== ภูมิประเทศ ===
รัฐสุลต่านโอมานมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและภูเขา มีชายฝั่งทะเลยาว 2,092 กิโลเมตร ปรากฏบริเวณที่เป็นภูเขาสูงอยู่ 2 บริเวณแคบ ๆ คือ บริเวณติดต่อกับเยเมน และบริเวณชายฝั่งอ่าวโอมาน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และมีลุ่มบางแห่งแถบชายฝั่งบริเวณหัวแหลมและอ่าวอยู่หลายแห่งมีเกาะ กลุ่มเกาะอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ เกาะและกลุ่มเกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะมาสิราห์ กลุ่มเกาะคูเรีย มาเรีย และกลุ่มเกาะนิก้า นิโกร เป็นต้น
=== ภูมิอากาศ ===
โอมานสามารถแบ่งเขตลักษณะภูมิอากาศได้ ดังนี้
เขตกึ่งทะเลทราย-ร้อนแห้งแล้ง และอบอุ่นแห้งแล้ง ปรากฏอยู่เป็นแนวแคบ ๆ แถบภูเขาสูงชายฝั่งอ่าวโอมาน พืชพรรณ เป็นไม้พุ่มเตี้ย ไม้หนาม หญ้าทนแล้งประเภทต่าง ๆ
เขตทะเลทราย-แห้งแล้งจัดตลอดปี ปรากฏกระจายครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายรับอัลคาลิ พืชพรรณ อินทผลัม กระบองเพชร ไม้พุ่มประเภทหนาม
ไบโอทะเลทราย-แม่นำ เป็นที่เกิดของเอนเดอร์แมนมากที่สุดและมีโอกาจที่จะเจอไบโอมที่ราบอยู่ติดกับไบโอมนี้ สามารถหาได้ทั่วไปตามที่ต่าง ๆ
== ประวัติศาสตร์ ==
=== รัชสมัยสุลต่านซะอีด บิน เตมัวร์ ===
สุลต่านซะอีด บิน เตมัวร์ ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีในปี พ.ศ. 2475 ต่อมารัฐสุลต่านมัสกัตและโอมานได้รับเอกสิทธิ์ในการปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ในรัชสมัยของพระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยนโยบายอนุรักษนิยมและโดดเดี่ยวจนกระทั่ง พ.ศ. 2513
=== รัชสมัยสุลต่านกอบูส บิน ซะอีด ===
สุลต่านกอบูส บิน ซะอีดขึ้นครองราชย์โดยกระทำการรัฐประหารพระบิดาแบบไม่นองเลือด ในปี พ.ศ. 2513 ต่อมาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อ 2 ธันวาคม 1971 พระองค์ได้ดำเนินนโยบายที่เน้นทางด้านการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ ทรงเป็นนักพัฒนาตลอด 30 กว่าปีที่ครองราชย์ ผลักดันการปฏิรูปทางการเมือง สนับสนุนสวัสดิการของประชาชน โอมานเคยมีความขัดแย้งกับเยเมนเหนือ จากการที่เยเมนเหนือให้การสนับสนุนฝ่ายกบฏแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดซุฟาร์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า แนวร่วมประชาชนปลดปล่อยโอมาน (The Popular Front for the Liberation of Oman : PFLO) และ ภายหลังการไกล่เกลี่ยของประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ได้มีการลงนามในความตกลงฟื้นฟูสัมพันธภาพใน พ.ศ. 2525 ต่อมา ได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526 อย่างไรก็ดี ได้เกิดการปะทะตามแนวชายแดนระหว่างประเทศทั้งสองอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2531 แต่ภายหลังได้ตกลงที่จะลงนามในความตกลงเรื่องพรมแดนระหว่างกัน
== การเมืองการปกครอง ==
=== บริหาร===
โอมานมีระบบการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ สุลต่านแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดในทุกด้าน อำนาจบริหารอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ซึ่งองค์สุลต่านจะทรงแต่งตั้ง หรือ ถอดถอนรัฐมนตรีตามพระราชอัธยาศัย
ประมุขของรัฐ สุลต่านกะบุส บิน ซาอิด อัล บู ซาอิด ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสุลต่านแห่งรัฐสุลต่านโอมาน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
=== นิติบัญญัติ ===
ในด้านนิติบัญญัติมีสภาโอมาน (Council of Oman) ทำหน้าที่เป็นเสมือนรัฐสภา ประกอบด้วยสภาสูง (สภา Majlis Addawla หรือ วุฒิสภา ตั้งขึ้นจากพระราชดำริขององค์สุลต่านกาบูสเมื่อเดือนตุลาคม 2540) สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง 48 คน และสภาล่าง (Majlis Ash'Shura หรือ สภาผู้แทนราษฎร) สมาชิกมาจากการเลือกตั้งจำนวน 83 คน (การเลือกตั้งครั้งแรกมีขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2540 องค์สุลต่านทรงมีอำนาจตัดสินผลการเลือกตั้งในขั้นสุดท้าย) ทั้งสองสภาทำหน้าที่กลั่นกรองร่างกฎหมาย ให้ข้อเสนอแนะด้านเศรษฐกิจ (ยกเว้นด้านการปิโตรเลียม) และสังคมแก่รัฐบาล แต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ อำนาจด้านตุลาการอยู่ที่ศาลสูงสุด (Supreme Court) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) สุลต่านกอบูสได้ประกาศออกกฎหมาย Basic Law ซึ่งอาจถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโอมานได้นับแต่เริ่มครองราชย์เมื่อปี 2513 (ค.ศ. 1970) สุลต่าน กอบูส ทรงกำหนดเป้าหมายการปกครองประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล โดยมีรัฐสภาเป็นเวทีปรึกษาหารือ และทำงานร่วมกับรัฐบาล
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ประเทศโอมานแบ่งออกเป็น 5 เขต (regions - mintaqah) และ 3 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ได้แก่
เขตอัดดะคิลิยะห์ (Ad Dakhiliyah)
เขตอัลบาตินะห์ (Al Batinah)
เขตอัลวุสตะ (Al Wusta)
เขตอัชชาร์กิยะห์ (Ash Sharqiyah)
เขตอัซซอฮิเราะห์ (Ad Dhahirah)
เขตผู้ว่าราชการมัสกัต (Masqat)
เขตผู้ว่าราชการมุซันดัม (Musandam)
เขตผู้ว่าราชการซุฟาร์ (Dhofar)
== เศรษฐกิจ ==
เศรษฐกิจของโอมาน ก่อนเริ่มการผลิตน้ำมัน เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาสินค้าเกษตรและประมงแบบพอประทังชีพ (subsistence agriculture) อย่างไรก็ดีเมื่อมีอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันเชิงพาณิชย์ ซึ่งเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) จึงทำให้เกิดการหักเหในการพัฒนาประเทศ จากสังคมที่พึ่งผลผลิตทางการเกษตร มาเป็นการพึ่งพาน้ำมันเป็นสินค้าออก รายได้มหาศาลจากการขายน้ำมันดิบถูกนำมาใช้พัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง นับแต่ปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เป็นต้นมา จนปัจจุบันโอมานได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่รวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในโลก
แม้ว่าโอมานจะมีทรัพยากรน้ำมันไม่มากเท่าประเทศเพื่อนบ้านรัฐริมอ่าวอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง แต่เมื่อหลายปีที่ผ่านมาโอมานได้ขุดพบน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองในประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 2.9 พันล้านบาร์เรล เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เป็น 5.5 พันล้านบาร์เรลในปลายปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีบ่อน้ำมันทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในชายฝั่งจำนวนมากถึง 95 บ่อ
เมื่อปี 2543 โอมานมีรายได้สุทธิจากการขายน้ำมันเป็นเงิน 3,731.4 พันล้านริยัลโอมาน (ประมาณ 373,100 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 57.7 ทั้งนี้ น้ำมันเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่รัฐในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80 และมีสัดส่วนถึงร้อยละ 75 ของสินค้าออก หรือประมาณร้อยละ 50 ของ GDP นอกจากนี้ โอมานยังมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองจำนวน 45 พันล้านลูกบาศ์กฟุต โอมานพบก๊าซธรรมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) โดยกลุ่มบริษัทรอยัลดัตช์เชลล์เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้และเสนอโครงการก่อสร้างโรงงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) จึงมีการจัดตั้งบริษัทโอมาน LNG LLC ขึ้น โดยมีรัฐบาลโอมานถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 51) ทำสัญญาซื้อขายก๊าซกับบริษัทต่างชาติต่าง ๆ รัฐบาลโอมานมีรายได้จากการขายก๊าซในปี 2543 ประมาณ 174.6 ล้านริยัลโอมาน (ประมาณ 17,400 ล้านบาท) ปัจจุบันรัฐบาลโอมานมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมภาคก๊าซธรรมชาติในการสร้างรายได้ ลดการพึ่งพาน้ำมันดิบ และสนองนโยบายสร้างงานให้ชาวโอมาน
โอมานตระหนักดีถึงผลเสียของการพึ่งพารายได้จากน้ำมันในอัตราที่สูงเช่นนี้ จึงมีนโยบายกระจายฐานเศรษฐกิจ (diversification) เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา อาทิ การเน้นกลยุทธ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยสินค้าออกเป็นตัวนำ (export-led growth) การพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาอื่นที่มิใช่น้ำมัน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ โดยส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศในอุตสาหกรรมดังกล่าว รวมทั้งนโยบายส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจการของรัฐ (privatization) นโยบายเหล่านี้ ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันโอมานกำลังเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544 - 2548) นอกจากกลยุทธ์กระจายฐานเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลโอมานยังมีนโยบายส่งเสริมการใช้แรงงานคนชาติ (Omanization) เป็นนโยบายด้านแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีอัตราการเพิ่มตัวของประชากรสูง และมีประชากรในวัยเรียนวัยทำงานเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น โอมานจึงให้ความสำคัญอย่างมากในการฝึกอบรมคนชาติของตนให้มีทักษะความชำนาญในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมภาคบริการ (การท่องเที่ยว การโรงแรม การธนาคาร ฯลฯ)
โอมานมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ โดยออกกฎหมายอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการได้ทั้งหมด ในโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 5 แสนริยัล (ประมาณ 5 ล้านบาท) และต้องเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโอมาน ปัจจุบัน องค์สุลต่านแห่งโอมาน กำลังจะปรับเปลี่ยนกฎหมายดังกล่าวให้ผ่อนคลายลงอีก รวมทั้งเปิดสาขาทางเศรษฐกิจสำหรับต่างชาติให้กว้างขึ้นด้วย ปัจจุบัน โอมานได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติที่เสรีมากที่สุดในอ่าวอาหรับ
ในด้านภาษีภายในนั้น โอมานไม่มีการเก็บภาษีภายในใด ๆ เลย อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีสรรพสามิต เป็นต้น จะมีแต่เพียงภาษีรายได้ที่เก็บจากกำไรจากการดำเนินธุรกิจเท่านั้นการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การการค้าโลก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 จะช่วยให้เศรษฐกิจของโอมานเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้ประเทศคู่ค้าและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโอมานมากขึ้น อันจะช่วยเพิ่มโอกาสของการลงทุนของต่างชาติในโอมาน อย่างไรก็ดี การเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกจะส่งผลให้ธุรกิจในประเทศต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันจากต่างประเทศ ทั้งด้านการค้าและการบริการ รุนแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาครัฐและเอกชนโอมานต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปนี้ด้วย
== ประชากรศาสตร์ ==
โอมานมี ประชากรประมาณ 3,713,462 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับร้อยละ 88 เชื้อชาติ อิหร่าน และอินเดีย มีความหนาแน่น 13 คน ต่อตารางกิโลเมตร
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
ประเทศโอมาน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Ministry of Tourism (official government website).
Ministry of Information (official government website).
"Oman", Encyclopædia Britannica
Oman. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Oman from the BBC News.
Sports live TV
verzuz tv live stream
Sports View
อ
อ
บทความเกี่ยวกับ ประเทศและเขตการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2494
อดีตอาณานิคมของอังกฤษ | thaiwikipedia | 604 |
กลุ่มดาวแอนดรอมิดา | กลุ่มดาวแอนดรอมิดา เป็นกลุ่มดาวทางท้องฟ้าทิศเหนือ ใกล้กับกลุ่มดาวม้าบิน เมื่อลากเส้นระหว่างดาวสำคัญ จะเห็นคล้ายรูปตัวเอใหญ่ (A) แต่ผอมยาวกว่า กลุ่มดาวนี้ได้ชื่อตามเจ้าหญิงแอนดรอมิดาในเทพปกรณัมกรีก ดาราจักรแอนดรอมิดาอยู่ในกลุ่มดาวนี้ กลุ่มดาวแอนดรอมิดา จะอยู่สูงที่สุดบนฟ้า เวลาประมาณ สามทุ่มในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ดวงดาวในกลุ่มดาวแอนดรอมิดาเรียงกันเป็นรูปคล้ายผู้หญิง ดาวดวงสว่างที่เห็นได้ชัดเป็นส่วนศีรษะและเข็มขัด ส่วนแขนข้างหนึ่งคล้ายมีอะไรล่ามอยู่ (ทำให้ดูยาวกว่าแขนอีกข้าง) ดูโดยรวมแล้วจึงคล้ายกับสตรีนางหนึ่ง ถูกโซ่ล่ามไว้
ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเลซีตัส (Sea Monster, Cetus) และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (Perseus) (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา)
ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย
สิ่งที่น่าสนใจซึ่งดึงดูดนักดูดาวให้ตั้งกล้องส่องมาทางกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ได้แก่ ดาราจักรแอนดรอมิดา หรือที่เรียกสั้น ๆ เป็นรหัสว่า M31 ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรรูปเกลียว (Spiral galaxy) คือมีลักษณะกลมแบนเหมือนจานสองใบประกบกัน มีแขนเกลียวยื่นออกมา คล้าย ๆ กันกับดาราจักรทางช้างเผือกของเรา และยังเป็นดาราจักรขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกของเรามากที่สุด (คืออยู่ห่างไปเพียง 2.2 ล้านปีแสง)
คนแรกที่สามารถวัดระยะทางจากโลกไปถึงดาราจักรแอนดรอมิดาได้ คือเอ็ดวิน ฮับเบิล (ซึ่งต่อมากล้องโทรทรรศน์ลอยฟ้าฮับเบิล ก็ตั้งชื่อตามชายผู้นี้) เขาแสดงให้เห็นว่า ระยะทางจากโลกไปยังดาราจักรแอนดรอมิดานั้นมากกว่าขนาดของดาราจักรทางช้างเผือก ดังนั้น ดาราจักรแอนดรอมิดาจึงอยู่นอกทางช้างเผือกของเรา (เป็นอีกดาราจักรหนึ่งต่างหาก) และมีขนาดใหญ่มาก ๆ
ถ้าถ่ายภาพดาราจักรแอนดรอมิดาด้วยกล้องดูดาวกำลังขยายสูงมาก ๆ จะพบว่า มันมีดาราจักรเพื่อนบ้านเล็ก ๆ เป็นฝ้าจาง ๆ อีก 2 ดาราจักร คือ M32 (NGC 221) และ M110 (NGC 205)
== ภาพเกี่ยวกับกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ==
ไฟล์:Andromeda.gif|บริเวณกลุ่มดาวแอนดรอมิดา
ไฟล์:Andromeda constellation map visualization.PNG|ดาวหลัก ๆ ในกลุ่มดาวแอนดรอมิดา
ไฟล์:Constellation map 01 and de.png|แผนที่ดาว แสดงรายละเอียดบริเวณกลุ่มดาวแอนดรอมิดา
ไฟล์:And_bode.jpg|ภาพเปรียบเทียบ
ไฟล์:Andromeda Hevelius.jpg|เปรียบเทียบดวงดาวกับเจ้าหญิงแอนดรอมิดา
== รายชื่อดาวและความส่องสว่างปรากฏ ==
α And ความส่องสว่างปรากฏ 2.22 เป็นดาวที่อยู่ร่วมกันกับกลุ่มดาวม้าบิน
β And ความส่องสว่างปรากฏ 2.01-2.10
γ And ความส่องสว่างปรากฏ 2.26
δ And ความส่องสว่างปรากฏ 3.28
ε And ความส่องสว่างปรากฏ 4.37
ζ And ความส่องสว่างปรากฏ 3.92-4.14
η And ความส่องสว่างปรากฏ 4.40
θ And ความส่องสว่างปรากฏ 4.62
ι And ความส่องสว่างปรากฏ 4.29
κ And ความส่องสว่างปรากฏ 4.14
λ And ความส่องสว่างปรากฏ 3.81
μ And ความส่องสว่างปรากฏ 3.86
ν And ความส่องสว่างปรากฏ 4.53
ξ And ความส่องสว่างปรากฏ 4.87
ο And ความส่องสว่างปรากฏ 3.63
π And ความส่องสว่างปรากฏ 4.34
ρ And ความส่องสว่างปรากฏ 5.16
σ And ความส่องสว่างปรากฏ 4.51
τ And ความส่องสว่างปรากฏ 4.96
υ And ความส่องสว่างปรากฏ 4.09
φ And ความส่องสว่างปรากฏ 4.25
χ And ความส่องสว่างปรากฏ 5.01
ψ And ความส่องสว่างปรากฏ 4.98
ω And ความส่องสว่างปรากฏ 4.84
60 And ความส่องสว่างปรากฏ 4.84
62 And ความส่องสว่างปรากฏ 5.31
49 And ความส่องสว่างปรากฏ 5.27
== อ้างอิง ==
ดาราจักรแอนดรอมิดา
แผนที่ดาว
แผนที่ดาวพิกัดศูนย์สูตร (Equatorial Sky Chart)
กลุ่มดาว
กลุ่มดาวแอนดรอมิดา | thaiwikipedia | 605 |
ญี่ปุ่น (แก้ความกำกวม) | ญี่ปุ่น อาจหมายถึง
ประเทศญี่ปุ่น ประเทศในเอเชียตะวันออก
จักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นประเทศในอดีตพระเจ้าจักรพรรดิในปี1947จนถึงปี1967
ภาษาญี่ปุ่น ภาษาที่ใช้เป็นหลักในประเทศญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่น บุคคลที่เกิดและเติบโตในประเทศญี่ปุ่น
ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น ทีมฟุตบอลจากประเทศญี่ปุ่นในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ
อักษรญี่ปุ่น อักษรที่ใช้เขียนอ่านกันในประเทศญี่ปุ่น
ธงชาติญี่ปุ่น ธงประจำชาติญี่ปุ่น
อาหารญี่ปุ่น อาหารประจำชาติหรืออาหารหลักของชาวญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่น สิ่งที่เป็นสิ่งสืบทอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น
กองทัพญี่ปุ่น กองกำลังที่เป็นทหารญี่ปุ่น มีหน้าที่รักษาและป้องกันชาติของตนเอง
กฎหมายญี่ปุ่น กฎหมายที่บัญญัติและบังคับใช้ในประเทศญี่ปุ่น | thaiwikipedia | 606 |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates; الإمارات العربيّة المتّحدة) เป็นประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ริมอ่าวเปอร์เซีย ประกอบด้วยรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirates) 7 รัฐ ได้แก่ อาบูดาบี อัจมาน ดูไบ ฟูไจราห์ ราสอัลไคมาห์ ชาร์จาห์ และอุมม์อัลไกไวน์ ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กลุ่มรัฐดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ รัฐสงบศึก (Trucial States) หรือ รัฐพักรบโอมาน (Trucial Oman) โดยอ้างอิงตามสัญญาสงบศึกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระหว่างอังกฤษกับเจ้าผู้ครองนครอาหรับบางพระองค์
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีพรมแดนติดกับโอมาน ซาอุดีอาระเบีย และกาตาร์ เป็นประเทศหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน
== ภูมิศาสตร์ ==
ภูมิศาสตร์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทิศเหนือติดคาบสมุทรอาหรับ ส่วนใหญ่ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบทะเลทรายขนาดใหญ่
== ประวัติศาสตร์ ==
=== จักรวรรดิออตโตมัน และ อาณานิคมโปรตุเกส ===
ตระกูลอาล นะฮ์ยาน เดิมเป็นตระกูลหนึ่งในชนเผ่าบานี ชนเผ่าย่อยในชนเผ่าเร่ร่อนเบดูอินที่ท่องไปทั่วผืนทะเลทรายในตะวันออกกลางยุคโบราณ บรรพบุรุษของตระกูลนี้เชื่อกันว่าอพยพมายังเกาะอาบูดาบีในราวปลายทศวรรษ 1770 และพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวจนต่อมากลายเป็นท่าเรือพาณิชย์
=== รัฐอารักขาของบริเตน, การสำรวจปิโตรเลียม ===
เดิมทั้งเจ็ดรัฐคือ อาบูดาบี อัจมาน ดูไบ ฟูไจราห์ ราสอัลไคมาห์ ชาร์จาห์ และอุมม์อัลไกไวน์ ต่างเป็นรัฐอิสระ รบพุ่งและเป็นพันธมิตรกัน โดยมีเอมีร์หรือเจ้าผู้ปกครองรัฐในแต่ละรัฐเป็นผู้นำ
ในราวปี ค.ศ. 1933 ตระกูลผู้นำทางการเมืองในแต่ละรัฐปรากฏอยู่ชัดเจน ในบรรดาเจ้าผู้ครองนครรัฐทั้งหลายในเวลานั้นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุด คือ เชคซายิด บิน สุลฏอน อัลนะฮ์ยาน เอมีร์แห่งอาบูดาบี และก่อนหน้านั้น เมืองนี้ยังเป็นรัฐเล็ก ๆ และเป็นสถานที่พำนักของผู้ปกครองรัฐ แต่บรรดาเชคหรือผู้นำตระกูลนี้ยังกระจัดกระจายตามสถานที่ต่าง ๆ ตามโอเอซิส
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกอบด้วยรัฐ (emirates) 7 รัฐ ดังนี้
อาบูดาบี (Abu Dhabi)
อัจญ์มาน (Ajman)
ดูไบ (Dubai)
ฟุญัยเราะฮ์ (Fujairah)
เราะซุลคัยมะฮ์ (Ras al-Khaimah)
ชัรญะฮ์ (Sharjah)
อุมม์อัลกุเวน (Umm al-Quwain)
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== สาธารณสุข ===
อายุขัยเฉลี่ยของ UAE อยู่ที่ 76.96 ปี โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตใน UAE ซึ่งคิดเป็น 28% ของการเสียชีวิตทั้งหมด สาเหตุสำคัญอื่น ๆ ที่มีการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ , โรคมะเร็งและความผิดปกติ แต่กำเนิด ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกจาก 2014 , 37.2% ของผู้ใหญ่ในยูเออีมีคลินิกโรคอ้วนที่มีดัชนีมวลกายคะแนน (BMI) ของ 30 หรือมากกว่า
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพห้าปีสำหรับภาคสาธารณสุขในภาคเหนือของเอมิเรตส์ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมและซึ่งแตกต่างจากอาบูดาบีและดูไบไม่ได้มีหน่วยงานด้านการดูแลสุขภาพแยกต่างหาก กลยุทธ์นี้มุ่งเน้นไปที่การรวมนโยบายการดูแลสุขภาพและการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผลและลดการพึ่งพาการรักษาในต่างประเทศ กระทรวงวางแผนที่จะเพิ่มสามโรงพยาบาลในปัจจุบัน 14 และ 29 ศูนย์การดูแลสุขภาพหลักในปัจจุบัน 86 เก้ามีกำหนดจะเปิดในปี 2008
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เชื้อชาติ ===
มีพลเมืองประมาณ 10 ล้านคน แต่ในจำนวนนี้เป็นชาวเอมิเรตส์เพียงร้อยละ 19 ในขณะที่มีชาวเอเชียใต้ถึงร้อยละ 45 ชาวอาหรับอื่น ๆ และชาวอิหร่านร้อยละ 23 และชาวตะวันตกกับชาวเอเชียอื่น ๆ อีกร้อยละ 13
== ศาสนา ==
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 85% ศาสนาคริสต์
ประมาณ 35% ศาสนาพุทธ ประมาณ 25%
=== ภาษา ===
มี ภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการ
== วัฒนธรรม ==
=== การแต่งกาย ===
เนื่องจากประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวอาหรับแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า โต๊ป (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า อาบายะห์ (Abaya)
== อ้างอิง ==
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
InterNet Website Services Provider IN UAE
United Arab Emirates profile from the BBC News.
United Arab Emirates country profile from the Lebanese Economy Forum, extracted from the CIA Factbook & Worldbank data.
World Bank Summary Trade Statistics United Arab Emirates
Bohra caste relations
Minister Cabinet 2016
ส
ส
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514 | thaiwikipedia | 607 |
กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ | กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ หรือ กลุ่มดาวกุมภ์ (♒) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีในแนวเส้นสุริยวิถีซึ่งเป็นที่รู้จักมาช้านานกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดาวนี้อยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่าทะเลท้องฟ้า ซึ่งได้ชื่อมาจากการที่กลุ่มดาวหลายกลุ่มในบริเวณนี้มีชื่อเกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น กลุ่มดาววาฬ กลุ่มดาวปลา กลุ่มดาวแม่น้ำ เป็นต้น บางครั้งสายน้ำของกลุ่มดาวแม่น้ำจะถูกวาดราวกับว่าไหลออกจากหม้อน้ำ (คนโท) ของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
กลุ่มดาว
กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ | thaiwikipedia | 608 |
ฮาโกดาเตะ | ฮาโกดาเตะ เป็นเมืองใหญ่สุดของกิ่งจังหวัดโอชิมะ ในจังหวัดฮกไกโด มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเนื่องจากเป็นเมืองท่า มีประชากรอาศัยอยู่ราวสามแสนคน ฮาโกดาเตะมีวิวยามค่ำคืนที่สวยงาม
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ฮาโกดาเตะ ที่ วิกิทราเวล
เว็บไซต์ทางการ
สำนักข่าวฮอกไกโดชิมบุน - เมืองฮาโกดาเตะ
Unbeaten Tracks in Japan , Isabella L. Bird, 1878 travelogue of Victorian-era woman traveller, Hakodate letters
hakobura
นครในจังหวัดฮกไกโด
เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น
เมืองหลวงของรัฐสิ้นสภาพ
กิ่งจังหวัดโอชิมะ (ฮกไกโด) | thaiwikipedia | 609 |
เทศกาลหิมะซัปโปโระ | เทศกาลหิมะซัปโปโระ เป็นเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียงของนครซัปโปโระ ซึ่งจัดขึ้นประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี บนพื้นที่จัดงาน 3 ส่วนคือ สวนสาธารณะโอโดริ ย่านการค้าซูซูกิโนะ และซัปโปโระคอมมูนิตีโดม (สึโดมุ) ในงานมีการนำเสนอประติมากรรมที่สร้างจากหิมะและน้ำแข็งเป็นจำนวนนับร้อยชิ้น เทศกาลหิมะซัปโปโระเป็นเทศกาลหิมะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และมีผู้เข้าชมงานจากทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนทุกปี
มีคนไทยจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประกวดการปั้นหิมะเกือบทุกปีและพวกเขาได้รับรางวัลชนะเลิศ (Grand Champion) หลายครั้งด้วยเช่นกัน
== ประวัติ ==
เทศกาลหิมะของนครซัปโปโรเริ่มขึ้นเมื่อราว ปี ค.ศ. 1950 โดยความร่วมมือของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวซัปโปโรและเขตซัปโปโร ในเทศกาลหิมะครั้งแรกนี้ เพราะไม่มีใครเคยสร้างรูปปั้นหิมะมาก่อน คณะกรรมการจัดงานจึงต้องขอร้องให้นักเรียนชั้นมัธยมปลายในเมืองซัปโปโรร่วมกันก่อรูปปั้นหิมะขึ้น จนได้รูปปั้นจำนวน 6 ชิ้นในบริเวณลานในสวนสาธารณะโอโดริซึ่งเดิมใช้เป็นที่ทิ้งหิมะ รูปปั้นหิมะรุ่นแรก ๆ นั้นมีความสูงอย่างมากเพียง 7 เมตรเท่านั้น แต่ในงาน 4 เมื่อปี ค.ศ. 1953 มีการสร้างรูปปั้นที่มีขนาดสูงถึง 15 เมตร ซึ่งต้องใช้หิมะจำนวนมาก จึงต้องใช้รถบรรทุกและรถดันดินมาช่วยในการสร้าง และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรูปปั้นหิมะขนาดใหญ่อย่างในปัจจุบัน
ในปี 1954 เริ่มมีผลงานของชาวเมืองเข้าร่วมในงาน ในปี 1955 มีผู้เข้าร่วมแสดงผลงานมากขึ้น ซึ่งรวมทั้งกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้อาสาเข้าร่วมจัดงานขึ้นที่พื้นที่มาโกมาไน ตั้งแต่งาน 10 ในปี 1959 ก็เริ่มมีผู้ชมจากนอกจังหวัดฮกไกโดมาชมมากขึ้น เมื่อญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาวที่ซัปโปโระในปี 1972 งานเทศกาลหิมะก็เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ในปี 1974 เริ่มมีการแข่งขันรูปปั้นหิมะจากทีมนานาชาติ
== วันที่จัดงาน ==
== ดูเพิ่ม ==
เทศกาลงานแกะสลักหิมะและน้ำแข็งนานาชาติแห่งเมืองฮาร์บิน (Harbin International Ice and Snow Sculpture Festival)
เทศกาลคาร์นิวัลฤดูหนาวควิเบก (Quebec Winter Carnival)
เทศกาลสกีโฮลเมนโคลเลน (Holmenkollen Ski Festival)
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เว็บไซต์เทศกาลหิมะซัปโปโระ
บอร์ดพูดคุยแหล่งท่องเที่ยวและข้อมูลเรื่องหิมะ
เทศกาลญี่ปุ่น
กุมภาพันธ์
ซัปโปโระ | thaiwikipedia | 610 |
ชาวยิว | ยิว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนาพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่น ๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริกา
== ประวัติศาสตร์ ==
ตามคัมภีร์โตราห์ของศาสนายูดาห์ (พระคริสตธรรมคัมภีร์เดิม) ซึ่งเป็นคัมภีร์ศาสนาของชาวยิวหรือชาวฮิบรู กล่าวว่าประวัติศาสตร์ของชาวยิวและศาสนานี้เริ่มต้นที่ชายชื่อ อับราฮัม (นบีอิบรอฮีม) ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองคลาเดียบาบิโลน ณ ขณะนั้นเมืองสำคัญต่าง ๆ มีการนับถือรูปเคารพ และเทพเจ้าของตนเอง แต่อับราฮัมคิดว่าพระเจ้าที่แท้จริงจะมีเพียงพระองค์เดียว เขาได้พบพระเจ้าและพระองค์ทรงให้อับราฮัมและครอบครัวจึงได้ออกเดินทางไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญาที่พระองค์จะประทานให้เขาและเชื้อสายของเขา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเชื้อชาติอิสราเอล และศาสนาใหม่ที่รู้ว่ามีพระเจ้าผู้ทรงเที่ยงแท้พระองค์เดียว
ไบเบิลและอัลกุรอานได้บอกเล่าเรื่องของชาวยิวหรือลูกหลานของอิสราเอล ซึ่งเป็นบุตรของยิตซ์ฮาก (นบีอิสฮาก) บุตรของอับราฮัม เริ่มจากอับราฮัมได้ลูกชายตามที่พระเจ้าทรงประทานให้ที่กำเนิดกับนางซาร่าชื่อว่า อิสอัคหรือไอเซ๊ค (Isaac) ซึ่งอิสอัคต่อมาได้มีบุตร 2 คนคือ เอซาว และจาขอบ (Jacob) โดยเฉพาะจาขอบ (นบียะห์กูบ) ผู้เป็นน้องได้พบชายคนหนึ่งที่เปนีเอล เขามองไม่เห็นใบหน้าแต่ปล้ำสู้จนเกือบรุ่งสาง และจาขอบได้ถามชื่อบุรุษผู้นั้นไม่ตอบ แต่เขาได้บอกว่าแต่นี้ต่อไปจาขอบจะได้ชื่อใหม่ว่า อิสราเอล ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปล้ำสู้พระเจ้า และก่อนที่จาขอบจะปล่อยชายคนนั้นไปจาขอบบอกว่า "โปรดอวยพรให้เขาก่อนแล้วจึงจะปล่อย" ซึ่งจาขอบหรือชื่อใหม่ว่าอิสราเอล เขามั่นใจว่าเขาพบพระเจ้าจริง ๆ
เชื้อสายจาขอบหรืออิสราเอลมี 12 คน หนึ่งในนั้นคือโยเซฟ (นบียูซุฟ) ไปอยู่ที่อาณาจักรของชาวอียิปต์ แต่ต่อมาสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไป ลูกหลานของอิสราเอลได้ถูกกดขี่จนกระทั่งต้องกลายเป็นทาสรับใช้ถึง 400 ปี ช่วงนั้นจะเรียกเชื้อสายอิสราเอลว่าฮีบรู จนกระทั่ง โมเสส (นบีมูซา) ลูกชาวฮีบรูที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยภรรยาของฟาโรห์จนกลายเป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์ ได้รับบัญชาจากพระเจ้าให้ปลดแอกชาวยิวในอียิปต์โดยให้พาชาวอิสราเอลหรือฮีบรู ออกเดินทางจากเมือง เพื่อกลับไปยังปาเลสไตน์แผ่นดินแห่งพันธสัญญา แม้จะถูกกองทัพแห่งอียิปต์ขัดขวาง แต่พระเจ้าได้เปิดทะเลแดง โดยผ่านไม้เท้าของโมเสส ให้ชาวอิสราเอลผ่านไปได้ และกลับไหลท่วมทหารอียิปต์ที่ตามมาโจมตี จากนั้นระหว่างทางที่โมเสสพาชาวฮีบรูกลับไปยังแผ่นดินแดนของบรรพบุรุษ เขาไปพบกับพระเจ้าบนภูเขาไสไน (ซีนาย) และได้รับบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้า แต่เนื่องจากชาวอิสราเอลไม่ปฏิบัติตามกฎบัญญัติของพระเจ้า จึงถูกลงโทษให้หลงทางในทะเลทรายเป็นเวลา 40 ปี หลังจากที่เดินทางกลับเข้าสู่คานาอันหรือดินแดนแห่งพันธสัญญาแล้ว โมเสสได้เสียชีวิตลง แต่ลูกหลานชาวฮีบรูก็ได้อาศัยอยู่ในเมืองคานาอันหรืออิสราเอลต่อมา
ชนชาติอิสราเอลได้ก่อสร้างชาติจากชนเผ่าเชื้อสายของจาขอบหรืออิสราเอลทั้ง 12 เผ่า ช่วงนั้นจะเรียกว่า เลวี เบนยามิน และยูดาห์ กษัตริย์เดวิดก็กำเนิดในชนเผ่านี้ ชนชาติฮิบรูในช่วงที่มีกษัตริย์ได้ตกเป็นทาสของบาบิโลน และเปอร์เซีย และหลังจากถูกจับเป็นเชลยอยู่หลายปีได้เดินทางกลับไปสร้างชาติอีกครั้ง จนมาถึงสมัยพันธสัญญาใหม่ กองทัพโรมมหาอำนาจของโลกได้เข้ายึดกรุงเยรูซาเล็ม ช่วงสุดท้ายก่อนอิสราเอลจะสิ้นชาติ พระคริสต์ได้ประสูติ และบอกว่าพระองค์คือบุตรของพระเจ้า จนนำไปสู่การตรึงกางเขนโดยสาวกของพระองค์ที่ชื่อยูดัส เอสคาริโอ
ซึ่งในตอนนั้นก่อนที่ชนชาติอิสราเอลจะสิ้นชาติในปีคริสต์ศักราช 70 ชาวอิสราเอล หรือ ฮีบรู ที่เชื่อในพระคริสต์จะถูกแยกออกจากชาวอิสราเอลที่นับถือลัทธิยูดาย และการประกาศพระกิติคุณพระเจ้าได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเชื่อในพระองค์ ซึ่งอิสราเอลในตอนนั้นเขาเชื่อว่าเขาคือชนชาติที่พระเจ้าเลือก และ รู้จักพระเจ้า ชาวต่างชาติเป็นแค่สุนัขตัวหนึ่งไม่สมควรที่จะรู้จักพระเจ้าผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่ คำว่ายิวจึงน่าจะเริ่มมีการถูกเรียกกันในช่วงนั้น ซึ่งหมายถึงเป็นเชิงต่อต้านพวกอิสราเอลในด้านความเชื่อ สังคม และ อะไรหลาย ๆ อย่าง เพราะในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลไม่ได้บันทึกหรือเขียนคำว่ายิวเลย นอกจากคำว่า พระเจ้าของชนชาติอิสราเอล หรือ ชนชาติฮีบรู คำว่ายิวนั้น มาจากพวกฮีบรูเผ่ายูดา [Judah tribe] ที่อาศัยอยู่แผ่นดินยูเดีย [Judea] แถวเยรูซาเลมก่อน อาณาจักรยูดาจะล่มสลาย
หลังจากโรมเข้าถล่มเยรูซาเล็มจนพินาศแล้ว ชาวอิสราเอลได้กระจัดกระจายไปสู่ในที่ต่าง ๆ ซึ่งตรงตามพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า ดาบจะไล่ตามหลังพวกยิว ส่วนดินแดนคานาอันแผ่นดินน้ำผึ้งและน้ำนมบริบรูณ์นี้จะแห้งแล้ง และถูกเปลี่ยนมือหลายครั้งไม่ว่า อาณาจักรโรม อาณาจักรคอนสแตนติน และกองทัพมุสลิมเข้ายึดครอง สงครามแย่งชิงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์นี้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะเป็นชาวยิว เช่น สงครามครูเสด ซึ่งแต่ละครั้งทำให้ชาวยิวได้ตกไปเป็นเชลย ต้องถูกฆ่า และต้องอพยพไปอยู่ในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ทั้งในยุโรป เอเชีย และทวีปอเมริกา แต่ชาวยิวก็ยังยึดมั่นในพันธสัญญาระหว่างพวกเขาและพระเจ้า ที่ว่า พระเจ้าจะนำพวกเขากลับไปยังดินแดนที่พระเจ้าเลือกไว้ คือ อิสราเอล
ชาวยิวในประวัติศาตร์ได้รับความทุกข์ทรมารจากสงครามมากมายหลายครั้ง ไม่ว่าจากกองทัพบาบิโลน เปอร์เซีย กองทัพโรม สงครามศักดิ์สิทธิ์ แต่ครั้งที่สำคัญและโลกไม่สามารถลืมความโหดร้ายได้คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฮิตเลอร์และพรรคนาซี ซึ่งยิวถูกฆ่าไปทั้งหมด ประมาณ 6.6 ล้านคน
ในที่สุดความพยายามของชาวยิวที่จะก่อตั้งรัฐอิสระ ก็ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษซึ่งในตอนนั้นอังกฤษมีอิทธิพลในดินแดนปาเลส์ไตน์ อนุญาตให้ชาวยิวให้กลับเข้าไปในปาเลสไตน์อีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก็คือประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน พวกเขาได้ใช้ข้อความในพระคัมภีร์ มาอ้างความเป็นเจ้าของซึ่งชนพื้นเมืองที่มีอยู่ก่อนคือชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับในละแวกนั้นไม่เห็นด้วย จนเกิดความรุนแรงทุกรูปแบบในการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งแผ่นดินแห่งนี้
ที่น่าทึ่งคือพวกเขาก่อร่างสร้างเมือง เปลี่ยนทะเลทรายที่แห้งแล้งให้เป็นพื้นที่การเกษตรเขียวชะอุ่มตรงตามพระคำภีร์ไบเบิ้ลที่บอกว่าพวกเขาจะกลับมารวมชาติและทำให้ดินแดนนี้มีชีวิตอีกครั้ง ทุกวันนี้หนุ่มสาวชาวอิสราเอล ต่อสู้เพื่อปกป้องและขยายดินแดนไปอาณาจักรที่อยู่ใกล้เคียงหลายต่อหลายครั้งโดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา
แม้ในปัจจุบันก็ยังมีกรณีพิพาทในดินแดนฉนวนกาซ่าและเขตชายฝั่งตะวันตก (เวสแบงค์) ระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับ ซึ่งสหประชาชาติล้มเหลวอย่างสมบูรณ์ ทุกวันนี้ก็ยังหาข้อยุติ หรือจะเห็นสันติภาพยังนับว่าห่างไกลเหลือเกิน
ภาษาของชาวยิวคือภาษาฮิบรู และยังใช้เป็นภาษาในพิธีกรรมทางศาสนาของหมู่ชาวยิวตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน
== อ้างอิง ==
== บรรณานุกรม ==
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช, ยิว. ISBN 974-9906-22-5
พระคริสตธรรมคำภีร์ ISBN 974-91972-7
Lost Gosple of Judas จากสารคดี National Geographic
ณัฐพล สอนจรูญ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
== ดูเพิ่ม ==
ชาวอิสราเอล
ศาสนายูดาห์
ประเทศอิสราเอล
ตระกูลรอธส์ไชล์
ฮอโลคอสต์
การคว่ำบาตรธุรกิจชาวยิวของนาซี
ประเทศอิสราเอล
*
ศาสนายูดาห์
ยิว
ยิว
ยิว | thaiwikipedia | 611 |
การสื่อสาร | การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บางอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู่
== รูปแบบของการสื่อสาร ==
การสื่อสารของสัตว์
การสื่อสารระหว่างบุคคล
* การตลาด
* การโฆษณา
* การโฆษณาชวนเชื่อ
* กิจการสาธารณะ
* การประชาสัมพันธ์
การสื่อสารภายในบุคคล
การสื่อสารด้วยคำพูด
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
การสื่อสาร | thaiwikipedia | 612 |
คอมพิวเตอร์ | คอมพิวเตอร์ (computer) หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภาว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
== ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์ ==
มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น
=== คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด ===
ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด
ราว ๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง) ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใด ๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย)
ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์ เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์ ขึ้นได้โดยบังเอิญ ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง
== ประเภทของคอมพิวเตอร์ ==
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
=== ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) ===
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน
=== เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) ===
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
=== มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) ===
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
=== ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC) ===
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกะทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูก ๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ email) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่น ๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
=== โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop) ===
โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอ ๆ กับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ
=== เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop) ===
เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คและเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ไม่มีไดรฟ์สำหรับอ่านและเขียนแผ่น และใช้ฮาร์ดดิสแบบ SSD ทำให้น้ำหนักเบา ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม
=== อัลตร้าบุ๊ค (ultrabook) ===
อัลตร้าบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และมีขนาดเท่ากับโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ และน้ำหนักเบากว่าโน้ตบุ๊ค และเน้นความสวยงาม ทันสมัย แปลกใหม่
=== แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer) ===
แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้
ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด
และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม
== ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ ==
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
ด้านนันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ จาก SchoolNet คลังความรู้บนเว็บ รวม ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ประวัติ สารสนเทศ และ สถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์
ความรู้เกี่ยวพร้อมประวัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากเนคเทค
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซีซีเอสคอม
เทคโนโลยีสารสนเทศ
คอมพิวเตอร์ | thaiwikipedia | 613 |
ดาว | ดาว อาจหมายถึง
วัตถุท้องฟ้า
ดาวฤกษ์ - เทห์ฟากฟ้าที่เป็นก๊าซขนาดใหญ่ในอวกาศ
* กลุ่มดาว - กลุ่มของดาวฤกษ์ที่มองเห็นด้วยสายตาว่าอยู่ใกล้เคียงกัน
ดาวเคราะห์ - เทห์ฟากฟ้าขนาดปานกลางที่โคจรรอบดาวฤกษ์
ดาว (โหราศาสตร์) หมายถึง ตำแหน่งของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ รวมถึงตำแหน่งสมมติบนท้องฟ้าบางตำแหน่ง ที่ใช้ในการพยากรณ์
บุคคล:
ดารา - บุคคลที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะในวงการบันเทิงหรือกีฬา
รูปทรง:
รูปดาว - รูปเรขาคณิตที่มีลักษณะเป็นแฉก ๆ คล้ายดาว
ลายดาว - ลายไทยลักษณะรูปร่างกลม มักใช้ประดับเพดาน
สัตว์:
ดาวทะเล - สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดในชั้น Asteroidea ตัวรูปร่างคล้ายดาว มี 5 แฉกหรือมากกว่า ทั่วไปนิยมเรียกว่า ปลาดาว
ความหมายอื่นที่สะกด "ดาวน์" (down)
เงินดาวน์ เงินที่จ่ายเป็นก้อนแรกในการซื้อสินค้าที่ต้องผ่อน
เสื้อขนเป็ด หรือ เสื้อดาวน์ เป็นเสื้อกันหนาวที่ไส้ในทำมาจากขนเป็ดป้องกันความหนาว
กลุ่มอาการดาวน์ | thaiwikipedia | 614 |
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 | แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเล เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย (00:58 UTC) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้เกิดความเสียหายบนเกาะสุมาตรา และยังรับรู้ได้ในภาคใต้ของประเทศไทย
แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย กระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ใน 14 ประเทศมากกว่า 230,000 - 280,000คนหรือมากกว่า 280,000 คน นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และประเทศไทย ตามลำดับ
ความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างแมกนิจูด 9.1 ถึง 9.3 ตามมาตราโมเมนต์ ทำให้แผ่นดินไหวครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเป็นอันดับที่สามตามที่เคยวัดได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismometer) นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีคาบเวลายาวนานที่สุด โดยการสังเกตคาบเวลาอยู่ที่ประมาณ 8.3 ถึง 10 นาที ส่งผลให้แผ่นดินทั่วทั้งผืนโลกเคลื่อนตัวไปถึง 1 เซนติเมตร และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวในจุดอื่น ๆ ของโลก
== ลักษณะแผ่นดินไหว ==
แผ่นดินไหวถูกบันทึกครั้งแรกด้วยค่าความรุนแรงแมกนิจูด 8.8 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงได้ปรับเพิ่มเป็นแมกนิจูด 9.0 โดยศูนย์เตือนภัยสึนามิมหาสมุทรแปซิฟิกได้ยอมรับค่าใหม่นี้ ส่วนสำนักธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey) ยังคงยึดค่าเดิมที่ประมาณการไว้ที่แมกนิจูด 9.1 ด้านผลการศึกษาล่าสุดในปี พ.ศ. 2549 บ่งชี้ว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวมีค่าระหว่างแมกนิจูด 9.1–9.3 อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์ฮิโระโอะ คะนะโมริ (Hiroo Kanamori) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียแนะนำว่าแมกนิจูด 9.2 เหมาะสมที่จะใช้เป็นค่าตัวแทนสำหรับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งนี้
จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้มหาสมุทรอินเดีย ลึกลงไป 30 กม. จากระดับน้ำทะเล ห่างจากเกาะซีเมอลูเวอไปทางทิศเหนือประมาณ 160 กม. ซึ่งตัวเกาะตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยรอยเลื่อนซุนดาเมกะทรัสต์ (Sunda megathrust) ได้เลื่อนตัวแตกออกยาวกว่า 1,300 กม. ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและตามด้วยคลื่นสึนามิ ประชาชนในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย มาเลเซีย พม่า ไทย สิงคโปร์ และมัลดีฟส์รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว จากนั้นรอยเลื่อนย่อย (Splay fault) จึงขยับตาม ทำให้พื้นทะเลเกิดรอยแตกยาวในเวลาไม่กี่วินาที เกิดน้ำทะเลยกตัวสูงและเพิ่มความเร็วแก่คลื่นให้มากขึ้น จากนั้นคลื่นสึนามิได้เข้าทำลายเมืองล็อกนา (Lhoknga) ใกล้กับเมืองบันดาอาเจะฮ์ จนราบเป็นหน้ากลอง
ด้านธรณีสัณฐาน อินโดนีเซียตอนเหนือและตะวันออกใกล้กับนิวกินีจะตั้งอยู่บนแนววงแหวนแห่งไฟแห่งแปซิฟิก ส่วนตอนใต้พาดไปทางตะวันตกของประเทศเป็นแนวแผ่นดินไหวเรียกว่า แนวแอลไพด์ ผ่านเกาะติมอร์ โฟลเร็ซ บาหลี ชวา และเกาะสุมาตรา
แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งนี้เกิดขึ้นในเขตมุดตัวของเปลือกโลก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดเมกะทรัสต์อยู่เสมอ มีค่าโมเมนต์แผ่นดินไหวสูงในระดับศตวรรษ โดยหากรวมค่าโมเมนต์แผ่นดินไหวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1906 - 2005 แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซียครั้งนี้จะมีขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวถึง 1 ใน 8 ของแผ่นดินไหวทั้งหมดดังกล่าว นอกจากนี้ หากรวมกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อะแลสกา ค.ศ. 1964 และที่ชิลี ค.ศ. 1960 จะมีขนาดโมเมนต์สูงถึงครึ่งหนึ่งของแผ่นดินไหวทั้งหมดดังกล่าว หากเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในซานฟรานซิสโกปี ค.ศ. 1906 กับแผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือว่าครั้งนั้นมีขนาดเล็กมาก (หากแต่ครั้งนั้นเกิดความเสียหายไม่แพ้กัน)
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1900 แผ่นดินไหวในครั้งนี้ถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากแผ่นดินไหวในชิลี ค.ศ. 1960 (แมกนิจูด 9.5) และแผ่นดินไหวในอะแลสกา ค.ศ. 1964 (แมกนิจูด 9.2) นอกจากนี้มีอีกเพียงสองครั้งที่มีขนาดแมกนิจูด 9.0 ได้แก่ แผ่นดินไหวที่คาบสมุทรคัมชัตคา ทางตะวันออกของรัสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1952 และแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ค.ศ. 2011 เหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกแทบทั้งสิ้น ถึงกระนั้นกลับมีจำนวนผู้เสียชีวิตไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ โดยสาเหตุหลักคือ ชายฝั่งใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีประชากรอาศัยเบาบาง พื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวเหล่านั้นมาก รวมถึงความมีประสิทธิภาพของระบบสาธารณูปโภคและระบบเตือนภัย เช่น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ขนาดเมกะทรัสต์) ครั้งอื่น เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1868 ในประเทศเปรู (แผ่นเปลือกโลกนาสกาและแผ่นอเมริกาใต้) ค.ศ. 1827 ในโคลอมเบีย (แผ่นนาสกาและแผ่นอเมริกาใต้) ค.ศ. 1812 ในเวเนซูเอลา (แผ่นแคริบเบียนและแผ่นอเมริกาใต้) และแผ่นดินไหวคาสคาเดีย ค.ศ. 1700 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา (แผ่นฮวนเดอฟูกาและแผ่นอเมริกาเหนือ) ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คาดว่ามีความรุนแรงมากกว่าแมกนิจูด 9 แต่ไม่มีตัวเลขชัดเจนถึงขนาดที่แท้จริงในขณะนั้น
== สรุปความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิต ==
== ผลกระทบในประเทศไทย ==
ประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกผ่านทะเลอันดามันเข้ากระทบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางประมาณ 500 กม. (310 ไมล์) ในตอนนั้นจังหวัดทางภาคใต้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเนื่องจากเทศกาลคริสต์มาส นักท่องเที่ยวจำนวนมากเสียชีวิตจากสึนามิเพราะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า สึนามิเกิดในช่วงน้ำขึ้นพอดี จุดที่ได้รับความเสียหายสำคัญได้แก่ ชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะภูเก็ต เขาหลัก จังหวัดพังงา ชายฝั่งจังหวัดกระบี่ จังหวัดสตูล จังหวัดระนอง และจังหวัดตรัง ความเสียหายยังกระจายไปถึงเกาะนอกชายฝั่งเช่น เกาะราชาใหญ่ เกาะพีพี หมู่เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะสิมิลัน มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดประมาณ 8,000 คน
ในประเทศไทยมีความสูงของคลื่นแต่ละพื้นที่ดังนี้
6–10 เมตร (20–33 ฟุต) ในเขาหลัก จังหวัดพังงา
3–6 เมตร (9.8–19.7 ฟุต) ตามแนวชายฝั่งทางตะวันตกหันหน้าไปทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต
3 เมตร (9.8 ฟุต) ตามแนวชายฝั่งทางใต้หันหน้าไปทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต
2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว) ตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกหันหน้าไปทางอ่าวพังงา จังหวัดภูเก็ต
4–6 เมตร (13–20 ฟุต) บนเกาะพีพี
19.6 เมตร (64 ฟุต) ที่บ้านทุ่งดาบ จังหวัดพังงา
6.8 เมตร (22 ฟุต) บ้านทะเลนอก จังหวัดระนอง
5 เมตร (16 ฟุต) ที่หาดประพาส (สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง)
6.3 เมตร (21 ฟุต) อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
6.8 เมตร (22 ฟุต) ที่ไร่ด่าน
=== ความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สิน ===
ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2548 มีจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย ในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 5,309 คน ผู้สูญหายจำนวนทั้งหมด 3,370 คน ต่อมาได้มีการรับแจ้งจากญาติพี่น้องของผู้ประสบภัยภายหลังการเกิดเหตุ จำนวนดังกล่าวนี้ลดลงเพราะได้พบผู้ที่รับแจ้งว่าสูญหายบางคนแล้ว นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการตรวจสอบเอกลักษณ์ของศพที่เก็บรักษาไว้เพื่อให้ทราบว่าเป็นผู้ใด ในรายงานของกระทรวงมหาดไทยที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548
เหตุการณ์ในครั้งนี้ยังทำให้ คุณพุ่ม เจนเซน พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระโอรสใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ถึงแก่อนิจกรรมด้วย
นอกจากมีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหายเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีความเสียหายในด้านทรัพย์สิน ได้แก่ บ้านเรือนของราษฎร โรงแรม บังกะโล โฮมสเตย์ เกสต์เฮาส์ ร้านค้า ร้านอาหาร ทรัพย์สินส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ยานพาหนะ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน เป็นมูลค่ากว่าพันล้านบาท
=== ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ ===
ด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ภูเก็ต,พังงาและกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเสียชีวิต และบาดเจ็บมากที่สุด มีแหล่งท่องเที่ยวได้รับความเสียหายมาก จำนวน 8 แห่ง คือ
ชายทะเลเขาหลักในอุทยานแห่งชาติเขาหลัก ลำรู่ ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา (เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวเสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุด)
เกาะสิมิลัน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
หาดราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต
หาดกะรน ต.กะรน อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต
หาดกมลา ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
หาดป่าตอง ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่
บ้านหาดทรายขาว อ.สุขสำราญ จ.ระนอง
== ดูเพิ่ม ==
การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ASEAN News Network Tsunami
Tsunami Volunteer Center
Piers Simon Appeal Charity
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
ภัยธรรมชาติในปี พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย
เหตุการณ์ในจังหวัดระนอง
เหตุการณ์ในจังหวัดพังงา
เหตุการณ์ในจังหวัดภูเก็ต
เหตุการณ์ในจังหวัดกระบี่
เหตุการณ์ในจังหวัดตรัง
ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสตูล
หมู่เกาะพีพี
สึนามิในประเทศไทย
สึนามิในประเทศศรีสังกา
สึนามิในประเทศอินเดีย
สึนามิในประเทศอินโดนีเซีย
สึนามิในประเทศมาเลเซีย
สึนามิในประเทศมัลดีฟส์
สึนามิในประเทศประเทศโซมาเลีย | thaiwikipedia | 615 |
การคำนวณ | การคำนวณ หรือ การคณนา สามารถนิยามได้ว่าเป็นการหาคำตอบของปัญหาจากข้อมูลป้อนเข้าโดยการใช้ขั้นตอนวิธี ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ทฤษฎีการคำนวณ ซึ่งเป็นสาขาย่อยของวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ เป็นเวลากว่าพันปีที่การคำนวณนั้นกระทำด้วยปากกาและกระดาษ หรือชอล์กและกระดานชนวน หรือด้วยการใช้สมอง โดยบางครั้งมีการใช้ตารางประกอบด้วย
วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี
ทฤษฎีการคำนวณได้ | thaiwikipedia | 616 |
โซเดียม | โซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์)
โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับโซเดียมทำให้เกิดเปลวไฟและมันยังทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำจนเกิดการระเบิดได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมันเพื่อให้ไม่เกิดอุบัติเหต
== การค้นพบ ==
Sir Humphry Davy เป็นคนแรกที่สกัดธาตุโพแทสเซียมก่อนตามด้วยธาตุโซเดียมใน ปี ค.ศ. 1807 ขณะที่เขาศึกษาปฏิกิริยาการแยกสลายด้วยไฟฟ้าของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ตามลำดับ
ในปีถัดมาคือปี ค.ศ. 1808 Gay-Lussac และ Thernard สามารถเตรียมโลหะโซเดียมได้โดยนำโซเดียมไฮดรอกไซด์มารีดิวซ์ด้วยเหล็กที่อุณหภูมิสูง
ในปี ค.ศ. 1921 บริษัท du Pont ผลิตโซเดียมได้ในราคาถูกมาก โดยใช้ Downs cell สัญลักษณ์ของธาตุนี้มาจากคำละติน Natrium
== การใช้ประโยชน์ ==
ใช้ประโยชน์ในด้านสมบัติทางกายภาพ
ด้านสมบัติทางกายภาพของโซเดียมเป็น โลหะตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี โลหะบางชนิดนำความร้อนได้ดีกว่า Na ได้แก่ เงิน ทอง อะลูมินัม และทองคำ เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchange medium) เป็นตัวหล่อเย็นในปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ใช้ประโยชน์ในด้านสมบัติทางเคมี
*ใช้เตรียมสารเคมีของโซเดียม เช่น เตรียมโซเดียมเปอร์ออกไซด์ (Na2O2) เป็นตัวฟอกสี โซเดียมไฮไดรด์ (NaH) เตรียมเตตระเมทิลเลด [(CH3)4Pb], เตตระเอทิลเลด [(C2H5)4Pb] เพื่อใช้เติมใส่แก๊สโซลีนเพื่อเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมันแก๊สโซลีน ใช้เป็นตัวรีดิวซ์และเป็นตัวเร่งในปฏิกิริยา ใช้ในเตรียมสารอินทรีย์ของโซเดียม
== ความเป็นพิษ ==
โซเดียมไอออน (Na+) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายธาตุที่ไม่เป็นพิษ
โซเดียมที่อยู่ในรูปของธาตุอิสระ มีพิษอย่างแรง กัดเนื้อเยื่อทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นแดง
โซเดียมทำปฏิกิริยาน้ำและออกซิเจนในอากาศอย่างรุนแรง ติดไฟง่ายและให้สารละลาย
โลหะโซเดียมต้องเก็บรักษาในตัวกลางเฉื่อย เช่น ในน้ำมันเคโซซิน การใช้โลหะต้องใช้ความระมัดระวังสูง
โลหะโซเดียมทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว กับน้ำให้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และแก๊สไฮโดรเจน สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)
== สารประกอบโซเดียม ==
โซเดียมคลอไรด์ - NaCl ใช้ในการปรุงรสอาหาร และใช้ในอุตสาหกรรม
โซเดียมไฮดรอกไซด์ - NaOH ใช้ในอุตสาหกรรม
โซเดียมเอไซด์ - ใช้บรรจุในถุงลมนิรภัย
โซเดียมสเตียเรต - สบู่
โซเดียมเตตระโบเรต เดคะไฮเดรต - ใช้ในการทำเครื่องทอง
โซเดียมไบคาร์บอเนต - NaHCO3 เบกิ้งโซดา หรือ ผงฟู
โซเดียมคาร์บอเนต - Na2CO3 โซดาซักผ้า
โซเดียมโบรไมด์ - NaBr
โซเดียมไอโอไดต์ - NaI
โซเดียมซัลเฟต - Na2SO4
โซเดียมฟลูออไรด์ - NaF
โซเดียมออกไซด์ - Na2O
โซเดียมซัลไฟด์ - Na2S
โซเดียมซีลีไนด์ - Na2Se
โซเดียมเทลลูไรด์ - Na2Te
โซเดียมไฮไดรต์ - Na2O
โซเดียมโบโรไฮไดรต์ - NaBH4
โซเดียมไซยาไนด์ - NaCN
โซเดียมบิสเมต - NaBiO3
โซเดียมซูเปอร์ออกไซด์ - NaO2
โซเดียมซีลีเนต - Na2SeO4
โซเดียมไนเตรต - NaNO3
โซเดียมฟอสเฟต - NaPO3
โซเดียมอาร์ซีเนต - NaAsO3
โซเดียมคลอเรต - NaClO3
โซเดียมฟลูออเรต - NaFO3
โซเดียมโบรเมต - NaBrO3
โซเดียมไอโอเดต - NaIO3
โซเดียมไฮโพคลอไรด์ - NaOCl
โซเดียมไฮโพฟลูออไรด์ - NaOF
โซเดียมไฮโพโบรไมด์ - NaOBr
โซเดียมไฮโพไอโอไดต์ - NaOI
โซเดียมเพอร์คลอเรต - NaClO4
โซเดียมแอนติโมเนต - NaSbO3
โซเดียมเทลลูเรต - Na2TeO4
โซเดียมพอโลเนต - Na2PoO4
โซเดียมพอโลไนต์ - Na2PoO3
โซเดียมเทลลูไรต์ - Na2TeO3
โซเดียมซีลีไนต์ - Na2SeO3
โซเดียมซัลไฟต์ - Na2SO3
โซเดียมอาร์เซไนต์ - NaAsO2
โซเดียมแอนติโมไนต์ - NaSbO2
โซเดียมแอนติโมไนด์ - Na3Sb
โซเดียมไนไตรต์ - NaNO2
โซเดียมฟอสไฟต์ - NaPO2
== อ้างอิง ==
แร่โซเดียม
สารประกอบโซเดียม
โซเดียม
ซโซเดียม
ซโซเดียม
ซโซเดียม | thaiwikipedia | 617 |
ปัญหาการยุติการทำงาน | ในทฤษฎีการคำนวณได้ ปัญหาการยุติการทำงาน (Halting problem) คือปัญหาการตัดสินใจที่ถามว่า
กำหนดขั้นตอนวิธีและข้อมูลป้อนเข้าให้ จงหาว่าขั้นตอนวิธีเมื่อทำงานกับข้อมูลป้อนเข้าดังกล่าวแล้ว จะยุติการทำงาน (ทำงานเสร็จสิ้น) หรือจะทำงานไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
แอลัน ทัวริง (Alan Turing) พิสูจน์ในปี ค.ศ. 1936 ว่า ไม่มีขั้นตอนวิธีที่แก้ปัญหาการยุติการทำงานสำหรับข้อมูลป้อนเข้าใด ๆ ได้ทั้งหมดบนเครื่องจักรทัวริง จึงกล่าวว่าปัญหาการยุติการทำงานนี้ไม่สามารถตัดสินได้
== ความสำคัญและผลสืบเนื่อง ==
ปัญหานี้มีความสำคัญเพราะว่าเป็นปัญหาแรกที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้ หลังจากการค้นพบของปัญหานี้ก็มีการค้นพบปัญหาอื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถตัดสินได้เช่นเดียวกัน โดยวิธีพิสูจน์ทั่วไปว่าปัญหาหนึ่ง ๆ ไม่สามารถตัดสินได้ มักจะใช้การลดรูป ซึ่งเป็นการแสดงว่าถ้ามีขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ เราจะสามารถนำขั้นตอนวิธีนั้นมาใช้เพื่อตัดสินปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้ โดยการแปลงตัวปัญหา (instance) ของปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้นั้นให้อยู่ในรูปของปัญหาใหม่นี้ แต่เนื่องจากเราทราบว่าไม่มีขั้นตอนวิธีใดจะตัดสินปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้ เราจึงสรุปได้ว่าไม่มีวิธีใดที่จะตัดสินปัญหาอันใหม่ได้ด้วย
การที่เราไม่สามารถตัดสินปัญหาการยุติการทำงานได้ มีผลสืบเนื่องทำให้เราไม่มีทางมีวิธีทั่วไปในการตัดสินได้ว่าถ้อยแถลง (statement) เกี่ยวกับจำนวนธรรมชาติในเป็นจริงหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากประพจน์ที่ระบุว่าขั้นตอนวิธีหนึ่ง ๆ จะยุติการทำงานเมื่อรับข้อมูลป้อนเข้าหนึ่ง ๆ นั้นสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของถ้อยแถลงเกี่ยวกับจำนวนธรรมชาติที่เทียบเท่ากันได้ ดังนั้น ขั้นตอนวิธีที่ตัดสินความจริงของถ้อยแถลงเกี่ยวกับจำนวนธรรมชาติ จะสามารถนำมาใช้เพื่อตัดสินปัญหาการยุติการทำงานได้ ข้อสรุปก็คือ ขั้นตอนวิธีดังกล่าวจึงไม่สามารถมีอยู่จริง เพราะว่าเราทราบว่าไม่มีขั้นตอนวิธีใดที่ตัดสินปัญหาการยุติการทำงานได้ สังเกตว่าการแสดงการไม่สามารถตัดสินได้ดังกล่าวใช้วิธีการลดทอนปัญหาสู่ปัญหาการยุติการทำงาน
อย่างไรก็ตาม การแสดงว่าปัญหาบางปัญหาไม่สามารถตัดสินได้นั้น ยังสามารถแสดงได้ด้วยวิธีอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการลดทอนสู่ปัญหาการยุติการทำงานเสมอไป เกเกอรี่ ไชตินได้แสดงว่ามีปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้ในทฤษฎีข้อมูลเชิงขั้นตอนวิธีที่ไม่ต้องใช้ปัญหาการยุติการทำงาน นอกจากนี้เขายังได้ให้นิยามที่น่าประหลาดเกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการยุติการทำงานที่แสดงถึงความน่าจะเป็นที่โปรแกรมที่สร้างขึ้นแบบสุ่มจะทำงานสิ้นสุด
แม้ว่าบทพิสูจน์ของทัวริงจะแสดงว่าไม่มีวิธีใดที่สามารถตัดสินได้ว่าขั้นตอนวิธีที่ให้มานั้น ทำงานสิ้นสุดได้ สำหรับบางขั้นตอนวิธีแล้ว เราก็มีวิธีในการแสดงว่าขั้นตอนวิธีนั้นทำงานสิ้นสุด หรือแม้กระทั่งแสดงขอบเขตของเวลาที่ขั้นตอนวิธีดังกล่าวจะต้องใช้ในการทำงาน นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มักสร้างบทพิสูจน์ดังกล่าว เพื่อแสดงว่าขั้นตอนวิธีทำงานถูกต้อง ซึ่งบทพิสูจน์ดังกล่าวมักเป็นส่วนหนึ่งของบทพิสูจน์ความถูกต้อง อย่างไรก็ตาม บทพิสูจน์ดังกล่าวแต่ละอันนั้น จะใช้รูปแบบในการให้เหตุผลที่แตกต่างกัน นั่นคือ: ไม่มี วิธีอัตโนมัติเชิงกลที่สามารถตัดสินได้ว่าขั้นตอนวิธีใด ๆ จะทำงานสิ้นสุดได้ สำหรับโปรแกรมทั่วไปแล้ว บ่อยครั้งความรู้เฉพาะทางบางอย่างสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างข้อพิสูจน์ของการยุติการทำงานได้ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เรียกว่าการวิเคราะห์การยุติการทำงาน
=== ข้อควรระวัง ===
ความยากในปัญหาการยุติการทำงานคือการที่ต้องตอบคำถามสำหรับทุก ๆ โปรแกรมและทุก ๆ ข้อมูลนำเข้าว่าจะเกิดการยุติการทำงานหรือไม่ ดังนั้นขั้นตอนวิธีที่ตอบเพียงว่าจะ "ยุติการทำงาน" (หรือ "ไม่ยุติการทำงาน") เพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ พิจารณาโปรแกรมที่จำลองการทำงานของโปรแกรมอื่น หากโปรแกรมที่เราทดสอบนั้นยุติการทำงาน โปรแกรมจำลองก็จะให้ผลลัพธ์ถูกต้อง แต่หากโปรแกรมทดสอบไม่ยุติการทำงาน โปรแกรมจำลองก็ย่อมไม่ยุติการทำงานด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ตามที่ได้กล่าวไว้
ปัญหาการยุติการทำงานอาจเป็นปัญหาที่สามารถตัดสินใจได้ (นั่นคือสามารถแก้ได้) บนโมเดลในการคำนวณอื่น ๆ เช่น บนเครื่องจักรที่มีหน่วยความจำจำกัด (linear bounded automata; LBAs) เนื่องจากจำนวนสถานะในเครื่องจักรเหล่านี้มีจำกัด เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆ โดยหลักรังนกพิราบ จะมีจุดหนึ่งที่สถานะในหน่วยความจำเหมือนกัน นั่นคือถ้าหากเราปล่อยให้โปรแกรมทำงานต่อไปอีก สถานะก็จะมาซ้ำที่จุดเดิมอีกไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเมื่อมาถึงจุด ๆ นั้น เราก็สามารถบอกได้ทันทีว่าโปรแกรมนี้ไม่ยุติการทำงาน
ถึงแม้คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจะเป็นเครื่องจักรที่มีหน่วยความจำจำกัดประเภทหนึ่ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาการยุติการทำงานได้ในทางทฤษฎี จำนวนสถานะที่แตกต่างกันทั้งหมดของคอมพิวเตอร์นั้นมีมากกว่า 21,000,000 สถานะ ซึ่งมากมายมหาศาล เวลาในการแก้ไขปัญหานี้จึงมากมายมหาศาลด้วยเช่นกัน (สามารถเปรียบเทียบว่าเวลาในการแก้ไขปัญหานี้ ทำให้ช่วงเวลาอายุของเอกภพไร้ความหมายได้เลย)
== ร่างบทพิสูจน์ ==
บทพิสูจน์ใช้การพิสูจน์แบบการสร้างข้อขัดแย้ง (หรือที่เรียกในภาษาละตินว่า reductio ad absurdum) โดยสมมติว่ามีขั้นตอนวิธีที่อธิบายได้ด้วยโปรแกรม halt (a, i) ซึ่งตัดสินว่าขั้นตอนวิธีที่ระบุด้วยข้อความ a จะยุติการทำงานเมื่อได้รับข้อมูลป้อนเข้าเป็นข้อความ i เราจะแสดงว่าข้อสมมติดังกล่าวจะทำให้เกิดข้อขัดแย้ง และนั่นหมายความว่าโปรแกรม halt นั้นไม่สามารถมีตัวตนอยู่ได้
สมมติให้โปรแกรม halt (a, i) คืนค่าจริง ถ้าขั้นตอนวิธีที่ระบุด้วยข้อความ a ยุติการทำงานเมื่อรับ i เป็นข้อมูลป้อนเข้า และคืนค่าเท็จ ในกรณีอื่น ๆ ด้วยโปรแกรมดังกล่าว เราสามารถสร้างโปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่ง ชื่อว่า trouble (s) ดังต่อไปนี้:
function trouble (string s)
if halt (s, s) = false
stop
else
loop forever
โปรแกรม trouble รับข้อความ s และเรียกโปรแกรม halt โดยใช้ข้อมูลป้อนเข้าทั้งที่เป็นข้อความที่ระบุขั้นตอนวิธี a และข้อความที่จะใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้า i ของขั้นตอนวิธีดังกล่าวเป็น s กล่าวอย่างไม่เป็นทางการก็คือ trouble ถาม halt ว่าขั้นตอนวิธี s เมื่อรับข้อความที่ระบุตัวขั้นตอนวิธีเองแล้ว จะยุติการทำงานหรือไม่ จากนั้น ถ้า halt (s,s) คืนค่าเท็จ โปรแกรม trouble จะจบการทำงาน แต่ถ้า halt (s,s) คืนค่าจริง โปรแกรม trouble จะวนรอบไม่รู้จบ
เนื่องจากโปรแกรมใด ๆ สามารถเขียนระบุเป็นข้อความได้ ดังนั้นสำหรับโปรแกรม trouble เองก็มีข้อความ ⌜trouble⌝ ที่ระบุโปรแกรม trouble พิจารณาคำถามต่อไปนี้:
trouble (⌜trouble⌝) จะยุติการทำงานหรือไม่?
มีความเป็นไปได้ทั้งหมดสองกรณี:
สมมติว่า trouble (⌜trouble⌝) ยุติการทำงาน: หากพิจารณาการทำงานของโปรแกรม trouble จะพบว่า halt (⌜trouble⌝,⌜trouble⌝) ต้องคืนค่าเท็จ แต่ถ้า halt ทำงานถูกต้องก็หมายความว่า trouble (⌜trouble⌝) จะทำงานไม่รู้จบ ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับสมมุติฐานว่า trouble (⌜trouble⌝) ยุติการทำงาน
สมมติว่า trouble (⌜trouble⌝) ทำงานไม่รู้จบ: เนื่องจาก halt (⌜trouble⌝,⌜trouble⌝) ทำงานจบเสมอ สาเหตุเดียวที่ทำให้ trouble (⌜trouble⌝) ทำงานไม่รู้จบก็คือ halt (⌜trouble⌝,⌜trouble⌝) ต้องคืนค่าจริง อย่างไรก็ตามนี่หมายความว่า trouble (⌜trouble⌝) จะต้องมีการยุติการทำงาน ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับสมมุติฐานว่า trouble (⌜trouble⌝) ทำงานไม่รู้จบ
เนื่องจากทั้งสองกรณีทำให้เกิดข้อขัดแย้งที่ล้วนเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าข้อสมมติเริ่มต้นแรกสุด (มีขั้นตอนวิธีที่อธิบายได้ด้วยโปรแกรม halt (a, i) ) นั้นไม่ถูกต้อง กล่าวคือไม่มีโปรแกรม halt หรือขั้นตอนวิธีใด ๆ ที่สามารถตัดสินปัญหาการยุติการทำงานได้
== ดูเพิ่ม ==
กราฟแสดงการไหลของส่วนควบคุม (control flow graph) สามารถใช้เพื่อจำแนกโปรแกรมอย่างรวดเร็วออกเป็นโปรแกรมที่ (1) ไม่มีการวนซ้ำ (2) มีการวนซ้ำแบบง่าย (จึงยุติการทำงาน) (3) มีการวนซ้ำแบบไม่ง่าย (กรณีไม่สามารถระบุอะไรได้) หรือ (4) ทำงานซ้ำอย่างไม่รู้จบ
== อ้างอิง ==
แอลัน ทัวริง (Alan Turing) , On computable numbers, with an application to the Entscheidungs problem, Proceedings of the London Mathematical Society, Series 2, 42 (1936) , pp 230-265. online version ในงานวิจัยชิ้นนี้ ทัวริงนิยามเครื่องจักรทัวริง วางรูปแบบปัญหาการยุติการทำงาน และแสดงว่าปัญหานี้ (รวมทั้ง Entscheidungs problem) เป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้
ทฤษฎีการคำนวณ
ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ทฤษฎีการคำนวณได้ | thaiwikipedia | 618 |
คลื่นสึนามิ | คลื่นสึนามิ (, ) เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่น ๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัดว่าการจุดระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำทำให้เกิดสึนามิจริงไหม จากการวิจัยพบเพียงแค่ผลกระทบเล็กน้อยที่ชายฝั่ง และแรงของแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดก็ยังมีแรงมหาศาลมากกว่าระเบิดปรมาณูที่ถูกจุดติดใต้น้ำ 10,000 ลูก) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น
คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล (tidal wave) ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์/คลื่นชายฝั่ง ถึงแม้ว่าชุมชนนักวิทยาศาสตร์ไม่นิยมใช้คำนี้ เนื่องจากศัพท์นี้อาจเป็นความประทับใจเท็จในความสัมพันธ์ทั่วไประหว่างกระแสน้ำกับสึนามิ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train) ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย
ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเล แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร
== ศัพทมูล ==
=== สึนามิ ===
สึนามิ ออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นคือ สึนามิ ซึ่งต่างกันเล็กน้อยกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า สึนามิ หรือ (ทซู) นามิ (ท ควบ ซ ในเสียงญี่ปุ่น) คำว่า "สึนามิ" มีความหมายว่า "ท่าเรือ" (津 สึ) และ "คลื่น" (波/浪 นามิ)
=== คลื่นยักษ์ ===
บางครั้งคลื่นสึนามิเรียกว่า คลื่นยักษ์ แต่ในช่วงปีหลัง คำนี้ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เพราะคลื่นสึนามิไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับกระแสน้ำเลย คำว่า "คลื่นยักษ์" ที่ครั้งหนึ่งเคยนิยมใช้นี้ มาจากลักษณะปรากฏทั่วไปที่สุด ซึ่งคือ คลื่นทะเลหนุน (tidal bore) สูงผิดปกติ ทั้งคลื่นสึนามิและกระแสน้ำต่างก็ก่อให้เกิดคลื่นน้ำที่พัดพาเข้าสู่ฝั่ง แต่ในกรณีของคลื่นสึนามิ การเคลื่อนที่ของน้ำในแผ่นดินนั้นยิ่งใหญ่กว่าและกินเวลานานกว่ามาก จึงให้ความรู้สึกของกระแสน้ำสูงอย่างน่าเหลือเชื่อ คำว่า "คลื่นสึนามิ" เองก็ไม่ถูกต้องนักเมื่อเทียบกับ "คลื่นยักษ์" เพราะคลื่นสึนามิไม่จำกัดอยู่เฉพาะกับท่าเรือ บรรดานักธรณีวิทยาและนักสมุทรศาสตร์ต่างไม่เห็นด้วยกับคำว่าคลื่นยักษ์ แต่เห็นว่าชื่อคลื่นตามลักษณะของคลื่นนั้นธรรมดาควรแทนชื่อด้วยศัพท์ทางธรณีวิทยาและสมุทรศาสตร์
=== คลื่นแผ่นดินไหวทางทะเล ===
== ลักษณะ ==
คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง
คลื่นโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติสำคัญที่วัดได้อยู่สองประการคือ คาบ ซึ่งจะเป็นเวลาระหว่างลูกคลื่นสองลูก และ ความยาวคลื่น ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างลูกคลื่นสองลูก
ในทะเลเปิดคลื่นสึนามิมีคาบที่นานมาก โดยเริ่มจากไม่กี่นาทีไปจนเป็นชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก โดยอาจยาวถึงหลายร้อยกิโลเมตร ในขณะที่คลื่นทั่วไปที่เกิดจาก ลมที่ชายฝั่งนั้นมีคาบประมาณ 10 วินาที และมีความยาวคลื่นประมาณ 150 เมตรเท่านั้น ความสูงของคลื่นในทะเลเปิดมักน้อยกว่าหนึ่งเมตร ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนบนเรือ คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตร
คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวออกจากแหล่งกำเนิด ดังนั้น ชายฝั่งที่ถูกกำบังโดยแผ่นดินส่วนอื่น ๆ มักปลอดภัยจากคลื่น อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่คลื่นจะสามารถเลี้ยวเบนไปกระทบได้ นอกจากนี้ คลื่นไม่จำเป็นต้องมีความแรงเท่ากันในทุกทิศทุกทาง โดยความแรงจะขึ้นกับแหล่งกำเนิดและลักษณะของภูมิประเทศแถบนั้น
คลื่นจะมีพฤติกรรมเป็น "คลื่นน้ำตื้น" เมื่ออัตราส่วนระหว่างความลึกของน้ำและขนาดของคลื่นนั้นมีค่าต่ำ ดังนั้น เนื่องจากมีขนาดของคลื่นที่สูงมาก คลื่นสึนามิจึงมีคุณสมบัติเป็นคลื่นน้ำตื้นแม้อยู่ในทะเลลึกก็ตาม คลื่นน้ำตื้นนั้นมีความเร็วเท่ากับรากที่สองของผลคูณระหว่างความเร่งจากสนามแรงโน้มถ่วง (9.8 เมตร/วินาที2) และความลึกของน้ำ ตัวอย่างเช่น ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร คลื่นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 200 เมตรต่อวินาที หรือ 720 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนที่ชายฝั่งที่มีความลึก 40 เมตร คลื่นจะมีความเร็วช้าลงเหลือ 20 เมตรต่อวินาที หรือ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
== สาเหตุการเกิดคลื่นสึนามิ ==
คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิดใต้มหาสมุทร หรืออุกกาบาตพุ่งชน
เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน
นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้
=== เมทิโอสึนามิ ===
เป็นคลื่นสึนามิที่เกิดจากระบวนการทางอุตุนิยมวิทยา อาจเกิดได้หลายสาเหตุเช่น ลมพายุขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศเหนือน้ำอย่างทันที ส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชก และเกิดแรงกดของน้ำ มักเกิดขึ้นในทะเลสาบทั้ง 5 ของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบฮูรอน สุพีเรีย และออนแทรีโอ มีโอกาสเกิดเมทิโอสึนามิความสูง 40-50 เซนติเมตร ในทุก ๆ ปี
== เมกะสึนามิ และ คลื่นเซช ==
มีหลักฐานว่าเมกะสึนามิที่มีความสูงมากกว่า 100 เมตรนั้นเกิดขึ้นได้ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นจากเนื้อที่ขนาดใหญ่บางส่วนของเกาะพังทลายลงสู่ทะเล หรืออุกกาบาตตกลงสู่ทะเล เมกะสึนามิจะสามารถทำอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลออกไปได้
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสึนามิคือ คลื่นเซช (seiche) แผ่นดินไหวที่รุนแรงมักทำให้เกิดทั้งคลื่นสึนามิและคลื่นเซช มีหลักฐานว่าคลื่นเซชอาจเกิดจากคลื่นสึนามิได้เช่นกัน
คลื่นสึนามิที่สูงที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้มีความสูงกว่า 500 เมตร โดยเกิดจากแผ่นดินถล่มที่รัฐอลาสกาในปี ค.ศ. 1958 อย่างไรก็ตาม เมื่อคลื่นไปถึงทะเลเปิดมันได้สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ความสูงของคลื่นสึนามินั้นกำหนดโดยลักษณะของพื้นที่มากกว่าพลังงานที่เกิดจากแผ่นดินถล่ม
ส่วนค่าของความดันน้ำแบบ static หาได้จากสมการ
\,\! P = \rho gh
เมื่อ
P = ความดัน มีหน่วยเป็น นิวตัน/ตารางเมตร,
\rho = ความหนาแน่นของน้ำทะเลมีค่า = 1.1 x 103 kg/m3
g = ค่าความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงซึ่งมีค่า = 9.8 m/s2
h = ความสูงของน้ำ
น้ำที่มีความลึกประมาณ 10 เมตร ดังนั้น ความดันของน้ำจะมีค่าเท่ากับ
\,\! P = \rho gh= (1.1 * 10^3 \frac{kg}{m^3}) (9.8 \frac{m}{s^2}) (10 m) =1.07*10^5 \frac{N}{m^2}
หรือประมาณ 11 ตันต่อตารางเมตร
== สัญญาณเกิดเหตุและระบบเตือนภัย ==
ขณะที่จุดต่ำสุดของคลื่นเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง ระดับน้ำทะเลจะลดลงและทำให้ขอบทะเลร่นถอยออกจากชายฝั่ง ถ้าชายฝั่งนั้นมีความลาดชันน้อย ระยะการร่นถอยนี้อาจมากถึง 800 เมตร ผู้ที่ไม่ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นอาจยังคงรออยู่ที่ชายฝั่งด้วยความสนใจ นอกจากนี้บริเวณที่ต่ำ อาจเกิดน้ำท่วมได้ก่อนที่ยอดคลื่นจะเข้าปะทะฝั่ง น้ำที่ท่วมนี้อาจลดลงได้ก่อนที่ยอดคลื่นถัดไปจะเคลื่อนที่ตามเข้ามา ดังนั้นการทราบข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ตระหนักถึงอันตราย ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ระดับน้ำในครั้งแรกลดลงไปนั้น อาจมีคลื่นลูกใหญ่ตามมาอีกได้
ประเทศและบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิได้มีการติดตั้งระบบเตือนภัยเพื่อพยากรณ์ และตรวจจับการเกิดขึ้นของคลื่นยักษ์นี้
แม้การป้องกันไม่ให้คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจะยังทำไม่ได้ ในบางประเทศได้มีการสร้างเครื่องป้องกันและลดความเสียหายในกรณีที่คลื่นสึนามิจะเข้ากระทบฝั่ง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นได้มีการสร้างกำแพงป้องกันสึนามิที่มีความสูงกว่า 4.5 เมตร ด้านหน้าของชายฝั่งบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น บางที่ได้มีการสร้างกำแพงกันน้ำท่วมและทางระบายน้ำเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของคลื่น และลดแรงกระแทกของคลื่น ถึงแม้ว่า ในกรณีของคลื่นสึนามิที่เข้ากระทบเกาะฮอกไกโดที่มักมีความสูงมากกว่าเครื่องกีดขวางที่ได้สร้างขึ้น กำแพงเหล่านี้อาจช่วยลดความเร็วหรือความสูงของคลื่นแต่ไม่สามารถที่จะป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2004 หลังจากที่คลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้น้ำเข้ากระทบชายฝั่งทางใต้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ เพื่อเตือนประชาชนให้ป้องกันตัวโดยไม่ต้องรอประกาศจากทางราชการ
== ประวัติเกี่ยวกับสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ==
แม้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็เป็นที่รู้จักกันดีว่าปรากฏการณ์สึนามิได้เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน และมีข้อมูลเก่าแก่มากมายหลายชิ้นที่พูดถึง "สึนามิ" ที่มีอำนาจทำลายล้างสูงนี้ ซึ่งเรียงตามลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังได้ดังต่อไปนี้
=== 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ===
สึนามิที่เกิดขึ้นในช่วง 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อันเป็นผลจากการเลื่อนตัวของชั้นหินที่เรียกว่า "Storegga Slide" ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่ติดต่อกันเป็นระลอก ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี
=== เกาะซานโตรินี่ ===
ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ (Santorini) ในช่วงระหว่างปี 1650 ก่อน ค.ศ. ถึง 1600 ก่อน ค.ศ. (เวลาที่แน่นอนยังถกเถียงกันอยู่) ภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต (Crete) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 70 กิโลเมตร (45 ไมล์) พร้อมกวาดทำลายต้นไม้ทุกต้นที่ขึ้นอยู่ในแนวป่ามิโนอัน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขียวชอุ่มรอบชายฝั่งทางเหนือของครีตจนหายวับไปหมดในชั่วพริบตา คาดกันว่าคลื่นใต้น้ำ "ซานโตรินี่" คือแหล่งข้อมูลที่ทำให้เพลโต (Plato) เกิดแรงบันดาลใจในการเขียนวรรณกรรมเป็นนวนิยายดังเรื่องแอตแลนติส (Atlantis) และนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า คลื่นสึนามิ "ซานโตรินี่" ที่เกิดขึ้นครั้งนี้คือแหล่งที่มาสำคัญที่นำไปสู่การบันทึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก (Great Flood) ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทั้งของชาวยิว คริสเตียน และชาวอิสลาม
=== เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ===
คลื่นใต้น้ำที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1755 ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ลิสบอนในปี ค.ศ. 1755 แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที เนื่องจากคนจำนวนมากหนีภัยแผ่นดินไหวออกไปยังแนวชายฝั่งทะเล ด้วยเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัย พ้นอันตรายจากไฟไหม้ และการร่วงหล่นของเศษสิ่งของต่าง ๆ ได้ เมื่อเกิดอ๊าฟเตอร์ช็อก ก่อนหน้าที่กำแพงน้ำที่สูงใหญ่ จะถาโถมเข้าถล่มท่าเรือบนชายฝั่งนั้น น้ำทะเลได้เหือดแห้งลดระดับลงไปมากจนซากเรือสินค้าเก่า ๆ ที่ปรักหักพังและหลงลืมกันไปแล้ว โผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน
แผ่นดินไหว สึนามิ และไฟไหม้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้สังหารชาวเมืองลิสบอนไปมากกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนชาวเมืองทั้งหมดประมาณ 275,000 คน บันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจทางทะเลของ วาสโก ดา กามา และ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่เก็บไว้ก็สูญหายไป ตึกรามอาคารต่าง ๆ จำนวนนับไม่ถ้วนถูกทำลาย (รวมถึงตัวอย่างส่วนใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบ Manueline ของโปรตุเกส) การพังพินาศของลิสบอนยังส่งผลให้ความทะเยอทะยานด้านการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกสสะดุดลงด้วย ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 พยายามที่จะเข้าใจภัยพิบัติที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบของศาสนา และระบบความเชื่อในหลักแห่งเหตุผล นักปรัชญาในยุคส่องสว่าง (the Enlightenment) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วอลแตร์ ได้บันทึกเรื่องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แนวความคิดหลักปรัชญาของการทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ดังเช่นที่อธิบายโดยนักปรัชญา อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ในหนังสือ The Observation on the Feeling of the Beautiful and Sublime นั้นก็ได้แรงบันดาลใจบางส่วนมาจากความพยายามที่จะเข้าใจถึงความร้ายกาจของเหตุการณ์แผ่นดินไหว และคลื่นใต้น้ำสึนามิ ที่ลิสบอนครั้งนี้
สัตว์จำนวนมากรู้โดยสัญชาตญาณถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และได้หนีภัยขึ้นไปยังพื้นที่สูง ก่อนหน้าที่น้ำทะเลจะซัดเข้าฝั่ง แผ่นดินไหวที่ลิสบอนเป็นกรณีแรกที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวในทวีปยุโรป ปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ ได้รับการบันทึกไว้เช่นกันในศรีลังกาในปี ค.ศ. 2004 เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย นักวิทยาศาสตร์บางรายสงสัยว่าสัตว์ต่าง ๆ อาจมีความสามารถในการรับสัญญาณคลื่นเรย์ลีความถี่ต่ำ (subsonic Rayleigh waves) ได้จากการไหวของแผ่นดินในช่วงเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่คลื่นใต้น้ำจะพัดกระหน่ำเข้าสู่ชายฝั่ง
=== เกาะกรากะตัว ===
ภูเขาไฟบนเกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี ค.ศ. 1883 พ่นหินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟออกมาจำนวนมาก เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น บางลูกมีความสูงกว่า 40 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระลอกคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียครั้งนี้เคลื่อนตัวถาโถมเข้าสู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก, ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา, อเมริกาใต้, และบริเวณที่ห่างไกลออกไปอีกในช่องแคบอังกฤษ ส่วนพื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียงในเกาะชวาและสุมาตรา กระแสน้ำทะเลไหลบ่าท่วมทะลักเข้าไปถึงพื้นแผ่นดินภายในซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเข้าไปเป็นระยะทางหลายไมล์ สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติครั้งนี้ และทำให้ไม่มีการเข้าไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกเลย ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ได้กลายเป็นเขตป่าทึบมีชื่อว่า เขตอนุรักษ์ธรรมชาติอูจังกูลอน (Ujung Kulon nature reserve)
=== สึนามิแปซิฟิก ===
ค.ศ. 1946 - สึนามิแปซิฟิก (Pacific Tsunami) แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอาลิวเชียน ในปี ค.ศ. 1946 ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะแลสกา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน มหันตภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการก่อสร้างระบบเตือนภัยสึนามิสำหรับบรรดาประเทศที่ตั้งอยู่ตามบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกขึ้นในปี ค.ศ. 1949
=== สึนามิชิลี ===
ค.ศ. 1960 - สึนามิชิลี (Chilean tsunami) แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี (The Great Chilean Earthquake) แมกนิจูด 9.5 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นบริเวณนอกชายฝั่งตอนกลางทางใต้ของประเทศชิลี ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความวิบัติหายนะอย่างรุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด ขนาดคลื่นมีความสูงถึง 25 เมตร เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าถล่มโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น หลังจากเกิดแผ่นดินไหวนานเกือบ 22 ชั่วโมงนั้น ขนาดความสูงของคลื่นที่มีการบันทึกไว้ระบุว่าสูงถึง 10 ฟุตเหนือระดับกระแสน้ำ ประมาณการณ์ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมามีจำนวนระหว่าง 490 - 2,290 ราย
=== สึนามิกู๊ดฟรายเดย์ ===
ค.ศ. 1964 - สึนามิกู๊ดฟรายเดย์ (Good Friday Tsunami) แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ขนาด 9.2 ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1964 ก่อให้เกิดคลื่นสินามิถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งอะลาสก้า, บริติช โคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนียและชายฝั่งเมืองแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 122 คน คลื่นสึนามิมีความสูงถึง 6 เมตร ในเมือง Crescent City ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปในแคลิฟอร์เนียมีผู้เสียชีวิต 11 คน
=== สึนามิในทะเลญี่ปุ่น ===
ค.ศ. 1983 - สึนามิในทะเลญี่ปุ่น (sea of japan tsunami) เป็นคลื่นสึนามิที่ส่งผลกระทบไปทั่วทะเลญี่ปุ่นโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เกิดจากแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีความสูงกว่า 10 เมตร เข้าถล่มแนวชายฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่นโดยเฉพาะจังหวัดอาโอโมริและจังหวัดอากิตะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 104 ราย บาดเจ็บ 324 ราย
=== สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ===
ค.ศ. 2004 - สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย คลื่นสึนามิครั้งแรกในประเทศไทยเกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ระลอกคลื่นยักษ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุดจำนวนกว่า 165,000 ราย (มากกว่า 105,000 รายเสียชีวิตในอินโดนีเซีย) คลื่นสึนามิได้ถาโถมเข้าถล่มและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย, ไทย, และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ไปจนถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตรในบังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะมัลดีลฟ์, และแม้กระทั่งโซมาเลีย, เคนยา, และแทนซาเนีย ซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก
ประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียเหล่านี้ ยังไม่มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิที่สมบูรณ์พอดังเช่นประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นยักษ์ในภูมิภาคมานานแล้ว นับตั้งแต่เกิดคลื่นสึนามิจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในปี ค.ศ. 1883 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 36,000 คน ภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียล่าสุดนี้ส่งผลให้ยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น
=== แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ===
ค.ศ. 2011 - แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ เกิดจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 แผ่นดินไหวดังกล่าวก่อให้เกิดจากการนูนขึ้น 5 ถึง 8 เมตร บนก้นทะเลยาว 180 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งตะวันออกของโทโฮกุ 60 กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของหมู่เกาะตอนเหนือของญี่ปุ่น และส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตนับหลายพัน และหลายเมืองถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง คลื่นสีนามิยังได้แพร่ขยายไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก และมีการออกคำเตือนและคำสั่งอพยพในหลายประเทศที่ติดมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งตลิดชายฝั่งแปซิฟิกของอเมริกาเหนือและใต้ ตั้งแต่อะแลสกาไปจนถึงชิลี คลื่นสึนามิสูง 38.9 เมตรถูกประเมินที่คาบสมุทรโอโมเอะ เมืองมิยาโกะ จังหวัดอิวาเตะ
=== สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ===
สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันเวลา - สถานที่เกิด
26 สิงหาคม ค.ศ. 1883 - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
16 สิงหาคม ค.ศ. 1976 - รอบอ่าวโมโร (เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์
26 ธันวาคม ค.ศ. 2004 - หมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
25 ตุลาคม ค.ศ. 2010 - หมู่เกาะเมินตาวัย ประเทศอินโดนีเซีย
11 เมษายน ค.ศ. 2012 - หมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 8.9 และ 8.3 ประเทศไทยสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ เกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก และไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
28 กันยายน ค.ศ. 2018 - เกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
=== สึนามิในเอเชียใต้ ===
สึนามิในเอเชียใต้
วันเวลา - สถานที่เกิด
ค.ศ. 1524 - ใกล้เมือง Dabhol รัฐมหารัชตะ ประเทศอินเดีย
2 เมษายน ค.ศ. 1762 - ชายฝั่งอาระคัน ประเทศพม่า
16 มิถุนายน ค.ศ. 1819 - Rann of Kachchh รัฐกุจาราช ประเทศอินเดีย
31 ตุลาคม ค.ศ. 1847 - หมู่เกาะนิโคบาร์ใหญ่
31 ธันวาคม ค.ศ. 1881 - หมู่เกาะคาร์นิโคบาร์
26 สิงหาคม ค.ศ. 1883 - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 - ชายฝั่ง Mekran บาโลชิสถาน
...
=== สึนามิในอเมริกาและแคริบเบียน ===
11 ตุลาคม ค.ศ. 1918 - เปอร์โตริโก
18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1929 - นิวฟาวนด์แลนด์
4 สิงหาคม ค.ศ. 1946 - สาธารณรัฐโดมินิกัน
18 สิงหาคม ค.ศ. 1946 - สาธารณรัฐโดมินิกัน
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 - เกรท สเวลล์ในแม่น้ำเดลาแวร์
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1872 - รัฐเมน
9 มกราคม ค.ศ. 1926 - รัฐเมน
19 พฤษภาคม ค.ศ. 1964
=== สึนามิอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ===
สึนามิที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาของโลกยังมีอีกมากมาย ที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย
ครั้งที่ 1เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1607: ประชาชนจำนวนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งช่องแคบอังกฤษ (Bristol Channel) จมน้ำเสียชีวิต ขณะที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและหมู่บ้านหลายแห่งถูกน้ำพัดกวาดหายลงไปในทะเลจากกระแสน้ำที่เอ่อท่วมอย่าวรวดเร็วซึ่งอาจเป็นคลื่นสึนามิ สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในครั้งนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุ 2 ประการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันโดยมิได้คาดหมายมาก่อน คือ สภาพดินฟ้าอากาศที่วิปริตอย่างรุนแรงและช่วงกระแสน้ำทะเลที่หนุนขึ้นสูงสุด
ครั้งที่ 2 มหันตภัยสึนามิครั้งเลวร้ายที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ถาโถมเข้าถล่มหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งเกาะซานริกู (Sanriku) ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1896 คลื่นที่มีความสูงกว่าตึก 7 ชั้น (ประมาณ 20 เมตร) พร้อมกับกวาดกลืนชีวิตผู้คนจำนวน 26,000 คนลงสู่ท้องทะเล
ครั้งที่ 3 ค.ศ. 1929: เกิดแผ่นดินเลื่อนตัวใต้ทะเลที่หมู่เกาะ Aleutian คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นถาโถมเข้าสู่เกาะฮาวายกลืนชีวิตผู้คนไป 159 ราย (ขณะที่อีก 5 ราย เสียชีวิตในอะลาสก้า)
ครั้งที่ 4 ค.ศ. 1958: สึนามิที่เกิดขึ้นในอ่าว Lituya Bay รัฐอะลาสก้า เป็นสึนามิขนาดมหึมาขนาดเมก้าสึนามิ เกิดจากน้ำแข็งถล่ม เป็นสึนามิเฉพาะท้องถิ่น เนื่องจากพื้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดวงอยู่เฉพาะในอ่าว แต่ได้รับการบันทึกไว้ว่าเป็นคลื่นสึนามิที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีความสูงมากกว่า 500 เมตร ( 1,500 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล คลื่นที่เกิดไม่สามารถเคลื่อนตัวออกไปไกลจากแนวฟยอร์ด (fjord) ที่ล้อมรอบอยู่ได้ แต่ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายจากเรือที่เข้าไปทำการประมงอยู่ในบริเวณนั้น และพลานุภาพของมันก็ทำให้พื้นดินบริเวณนั้นถูกกลืนหาย
ไปเกือบหมด และมีแผ่นดินบางส่วนจมลงไปใต้น้ำ
ครั้งที่ 5 ค.ศ. 1976: 16 สิงหาคม (เที่ยงคืน) เกิดคลื่นสึนามิเข้าถล่มภูมิภาครอบอ่าวโมโร (เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 ราย
ครั้งที่ 6 ค.ศ. 1983: ประชาชนจำนวน 104 รายในภาคตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นเสียชีวิตจากคลื่นสึนามิที่โถมเข้าถล่มหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ใกล้เคียง
ครั้งที่ 7 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1998: สึนามิปาปัวนิวกินีคร่าชีวิตผู้ชนจำนวนประมาณ 2,200 ราย หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1ในบริเวณ 15 กิโลเมตร นอกชายฝั่งปาปัวนิวกินี และจากห่างจากเวลานั้นเพียงแค่ 10 นาที คลื่นยักษ์สูง 12 เมตรก็เคลื่อนเข้าถล่มชายฝั่ง ในขณะที่ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวยังไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ดังกล่าวได้โดยตรงแต่การที่เกิดคลื่นยักษ์ได้นั้น เชื่อกันว่า เนื่องจากแผ่นดินไหวส่งผลให้แผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเลื่อนตัว และเหตุการณ์หลังนี้ทำให้เกิดสึนามิขึ้น สองหมู่บ้านของปาปัวนิวกินีคือ อารอป และวาราปู ถูกทำลายเรียบเป็นหน้ากลอง
=== การทำนายว่าจะเกิดเป็นคลื่นสึนามิ ===
มีความเป็นไปได้ว่าเป็นคลื่นสึนามิในบริเวณ
9 มิถุนายน ค.ศ. 1913 - ลองพอร์ท รัฐนิวเจอร์ซีย์
6 สิงหาคม ค.ศ. 1923 - ร็อกอะเวย์ปาร์ก, ควีน, รัฐนิวยอร์ก
8 สิงหาคม ค.ศ. 1924 - โคนี่ ไอร์แลนด์, รัฐนิวยอร์ก
19 สิงหาคม ค.ศ. 1931 - เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์
21 กันยายน ค.ศ. 1938 - เฮอร์ริเคน, ชายฝั่งนิวเจอร์ซีย์
3–4 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 - หาดเดย์โทนา รัฐฟลอริดา
การโจมตีของสะเก็ดดาว - บริเวณทอมส์ แคนยอน รัฐนิวเจอร์ซีย์ และปากอ่าวเชสะพีก (Chesapeake Bay) ในเขตรัฐเวอร์จิเนียและ รัฐแมริแลนด์
== ดูเพิ่ม ==
คลื่นยักษ์
รายชื่อของประวัติศาสตร์คลื่นสึนามิ
แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554
== อ้างอิง ==
== บรรณานุกรม ==
IOC Tsunami Glossary by the Intergovernmental Oceanographic Commission (IOC) at the International Tsunami Information Centre (ITIC) of UNESCO
Tsunami Terminology at NOAA
In June 2011, the VOA Special English service of the Voice of America broadcast a 15-minute program on tsunamis as part of its weekly Science in the News series. The program included an interview with an NOAA official who oversees the agency's tsunami warning system. A transcript and MP3 of the program, intended for English learners, can be found at The Ever-Present Threat of Tsunamis.
abelard.org. tsunamis: tsunamis travel fast but not at infinite speed. retrieved March 29, 2005.
Dudley, Walter C. & Lee, Min (1988: 1st edition) Tsunami! website
Iwan, W.D., editor, 2006, Summary report of the Great Sumatra Earthquakes and Indian Ocean tsunamis of December 26, 2004 and March 28, 2005: Earthquake Engineering Research Institute, EERI Publication #2006-06, 11 chapters, 100-page summary, plus CD-ROM with complete text and supplementary photographs, EERI Report 2006–06. website
Kenneally, Christine (December 30, 2004). "Surviving the Tsunami." Slate. website
Lambourne, Helen (March 27, 2005). "Tsunami: Anatomy of a disaster." BBC News. website
Macey, Richard (January 1, 2005). "The Big Bang that Triggered A Tragedy," The Sydney Morning Herald, p 11—quoting Dr Mark Leonard, seismologist at Geoscience Australia.
Interactive Map of Historical Tsunamis from NOAA National Centers for Environmental Information
Tappin, D; 2001. Local tsunamis. Geoscientist. 11–8, 4–7.
Girl, 10, used geography lesson to save lives, Telegraph.co.uk
Philippines warned to prepare for Japan's tsunami, Noypi.ph
== ดูเพิ่ม ==
Boris Levin, Mikhail Nosov: Physics of tsunamis. Springer, Dordrecht 2009, .
Kontar, Y. A. et al.: Tsunami Events and Lessons Learned: Environmental and Societal Significance. Springer, 2014. (print) ; (eBook)
Kristy F. Tiampo: Earthquakes: simulations, sources and tsunamis. Birkhäuser, Basel 2008, .
Linda Maria Koldau: Tsunamis. Entstehung, Geschichte, Prävention, (Tsunami development, history and prevention) C.H. Beck, Munich 2013 (C.H. Beck Reihe Wissen 2770), (in German).
Walter C. Dudley, Min Lee: Tsunami! University of Hawaii Press, 1988, 1998, Tsunami! University of Hawai'i Press 1999, , .
Charles L. Mader: Numerical Modeling of Water Waves CRC Press, 2004, .
ดาณุภา ไชยพรธรรม, 2552. สึนามิ - แผ่นดินไหว มหันตภัยใกล้ตัว: Tsunami - Earthquake Nature's Time Bomb, พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มายิก.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
World's Tallest Tsunami – geology.com
Tsunami Data and Information – National Centers for Environmental Information
IOC Tsunami Glossary – International Tsunami Information Center (UNESCO)
Tsunami & Earthquake Research at the USGS – United States Geological Survey
Intergovernmental Oceanographic Commission – Intergovernmental Oceanographic Commission
Tsunami – National Oceanic and Atmospheric Administration
Wave That Shook The World – Nova
Recent and Historical Tsunami Events and Relevant Data – Pacific Marine Environmental Laboratory
Raw Video: Tsunami Slams Northeast Japan – Associated Press
Tsunami alert page (in English) from Japan Meteorological Agency
Tsunami status page from USGS-run Pacific Tsunami Warning Center
Tsunami animation – Geoscience Australia
ภาษาญี่ปุ่น
ภัยธรรมชาติ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ธรณีวิทยา
สมุทรศาสตร์กายภาพ
รูปแบบของน้ำ
สึนามิ | thaiwikipedia | 619 |
กรดไขมัน | กรดไขมัน (Fatty acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาวมีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว (saturated) และกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated) กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ ของกรดไขมันจะเป็นการเพิมโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม
ในอุตสาหกรรม กรดไขมันผลิตโดยการไฮโดรไลสิส (hydrolysis) เอสเตอร์ ลิงเกจส์ ในไขมัน หรือน้ำมันในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ด้วยการกำจัด กลีเซอรอล ออกไป ดู โอลีโอเคมิคอล (oleochemical)
== ชนิดของกรดไขมัน ==
กรดไขมันที่มีพันธะคู่จะเรียกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่จะเรียกว่ากรดไขมันอิ่มตัว จะแตกต่างกันในความยาวเช่นกัน
=== ความยาวของห่วงโซ่กรดไขมันอิสระ ===
ห่วงโซ่กรดไขมันที่แตกต่างกันตามความยาวแบ่งออกมักจะสั้นไปยาวมาก
ห่วงโซ่กรดไขมันสั้น เป็นกรดไขมันที่มีปลายหางของแอลิแฟติก น้อยกว่าอยู่ 6 คาร์บอน
ห่วงโซ่กรดไขมันกลาง เป็นกรดไขมันที่มีปลายหางของแอลิแฟติกระหว่าง 6 - 12 คาร์บอน ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของห่วงโซ่ไตรกลีเซอไรด์กลาง
ห่วงโซ่กรดไขมันยาว เป็นกรดไขมันที่มีปลายหางของแอลิแฟติกระหว่าง 13 - 21 คาร์บอน
ห่วงโซ่กรดไขมันที่ยาวมาก เป็นกรดไขมันที่มีปลายหางของแอลิแฟติก ที่ยาวกว่า 22 คาร์บอน
=== กรดไขมันไม่อิ่มตัว ===
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีอย่างน้อยอยู่ 1 มากกว่าพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอน (คู่ของอะตอมคาร์บอนเชื่อมต่อกันด้วยพันธะคู่สามารถอิ่มตัวโดยการเพิ่มไฮโดรเจนอะตอมที่แปลงจากพันธะคู่ไปพันธะเดี่ยว ดังนั้นพันธะคู่จึงเรียกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว)
2 อะตอมคาร์บอนในห่วงโซ่ที่ถูกผูกไว้ไปด้านข้างของพันธะคู่สามารถเกิดขึ้นได้ในการกำหนดค่าซีสหรือทรานส์
ซีส : การกำหนดค่า ซีส หมายถึงอะตอมไฮโดรเจนที่อยู่ใกล้เคียงในด้านเดียวกันของพันธะคู่ ความแข็งแกร่งของพันธะคู่ที่แข็งตัวทั้งโครงสร้างและ ในส่วนของ ซีส ไอโซเมอร์ ที่เป็นสาเหตุที่ห่วงโซ่จะโค้งรวมถึงควบคุมอิสระในโครงสร้างของกรดไขมันพันธะคู่โซ่มีอยู่ในการกำหนดค่า ซีส ความยืดหยุ่นมีน้อย ในขณะที่ห่วงโซ่มีจำนวนมากในพันธะซีส ที่จะกลายโค้งที่ค่อนข้างอยู่ในโครงสร้างที่เข้าถึงได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น กรดโอเลอิก มีพันธะคู่อยู่ 1 มี "ปม" ในนั้นขณะกรดไลโนเลอิก กับ 2 พันธะคู่ มีความโค้งที่เด่นชัดมากขึ้น กรดอัลฟาไลโนเลอิก กับ 3 พันธะคู่ ช่วยอยู่ในรูปร่างคล้ายตะขอ ผลของอันนี้ก็คือในสภาพแวดล้อมที่จำกัด ช่นเมื่อมีกรดไขมันเป็นส่วนหนึ่งของ phospholipid ใน ไขมันbilayer หรือไตรกลีเซอไรด์ในไขมันขนาดหยด พันธะซีสกำหนดความสามารถของกรดไขมันที่จะเต็มไปอย่างใกล้ชิด และอาจส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิหลอมเหลวของเยื่อหุ้มเซลล์หรือของไขมัน
ทรานส์ :
=== กรดไขมันจำเป็น ===
กรดไขมันที่จำเป็นโดยร่างกายมนุษย์และสัตว์ แต่ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้
=== กรดไขมันอิ่มตัว ===
กรดไขมันอิ่มตัวที่มีสายห่วงโซ่กรดคาร์บอกซีลิกยาวว่ามักจะมีระหว่างวันที่ 12 และ 24 อะตอมคาร์บอนและไม่มีพันธะคู่ ดังนั้นกรดไขมันอิ่มตัวจะอิ่มตัวกับไฮโดรเจน (ตั้งแต่พันธะคู่ลดจำนวนของไฮโดรเจนในแต่ละคาร์บอน) เพราะกรดไขมันอิ่มตัวมีเฉพาะพันธะเดี่ยว อะตอมคาร์บอนแต่ละภายในห่วงโซ่มี 2 ไฮโดรเจนอะตอม (ยกเว้นโอเมก้าคาร์บอนที่ปลายซึ่งมี 3 ไฮโดรเจน)
== กรดไขมันในอาหารไขมัน ==
ตารางต่อไปนี้จะช่วยให้กรดไขมัน วิตามินอี และองค์ประกอบคอเลสเตอรอลของอาหารไขมันบางส่วนร่วมกัน
== ดูเพิ่ม ==
กรดไขมันอิ่มตัว
กรดไขมันจำเป็น
การเผาผลาญของกรดไขมัน
กรดไขมันสังเคราะห์
การสังเคราะห์ของกรดไขมัน
รายชื่อของกรดไขมันอิ่มตัว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
น้ำมันพืช
ชีวเคมี
ไขมัน
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Lipid Library
Prostaglandins, Leukotrienes & Essential Fatty Acids Journal
Fatty Blood Acids
โภชนาการ
กรดไขมัน
ลิพิด
สารอาหาร | thaiwikipedia | 620 |
ไขมัน | ไขมัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี
ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเมแทบอลิซึม ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน
ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา เนยเหลว และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจากนมและเนื้อ ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และเนยโกโก้ สำหรับเนยขาวซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและเนยเทียมเป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน
ไขมันจำแนกได้เป็นไขมันอิ่มตัวกับไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็นไขมันซิส ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ และไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่ได้ทำไฮโดรจิเนชันไปแล้วบางส่วน
== ความสำคัญของไขมัน ==
ไขมันในอาหารคือการที่สารอาหารชนิดนี้เป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นเช่นกรดไลโนเลอิกและกรดไลโนเลนิก ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การรักษาสมดุลของผิวหนัง ควบคุมการเผาผลาญคอเลสเทอรอล และยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิต postagladin ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย ไขมันยังมีหน้าที่ในการลำเลียงและการดูดซึมของวิตามินชนิดที่ละลายในไขมันได้แก่ วิตามินเอ, วิตามินอี และวิตามินเค รวมทั้งแคโรทีนอยด์ด้วย ในบางกรณีไขมันจากอาหารยังเป็นวิตามินอีย เช่น น้ำมันถั่วเหลืองเป็นแหล่งสำคัญของวิตามินอี
ร่างกายมนุษย์สะสมไขมันไว้ภายในเซลล์ไขมัน (adipose cell) แต่ก็สามารถพบไขมันบางส่วนในเลือดและเซลล์อื่นๆได้ด้วย การสะสมไขมันในร่างกายมิใช่เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยรองรับและป้องกันอวัยวะภายในต่างๆอีกด้วย
=== ด้านอาหาร ===
นอกเหนือไปจากหน้าที่ที่มีต่อร่างกายแล้ว ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อ, และรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันเป็นเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากได้รับอาหารเข้าในประมาณที่เพียงพอแล้ว
โดยหลักการ ไขมันมิได้ถูกแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ แต่อย่างใด เพราะไขมันก็ประกอบขึ้นด้วยธาตุสามชนิดเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, และออกซิเจน อย่างไรก็ตาม ไขมันจะมีสัดส่วนของคาร์บอนและไฮโดรเจนมาก และมีออกซิเจนน้อย ซึ่งทำให้ไขมันมีพลังงานต่อมวลมากถึง 9 แคลอรีต่อกรัม ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานเพียง 4 แคลอรีต่อกรัม
=== ด้านอุตสาหกรรม ===
ใช้ในการทำสบู่ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาสะพอนิฟิเคชันซึ่งเกิดจากน้ำมันพืชผสมกับโซดาไฟ
== โครงสร้างทางเคมีของไขมัน ==
ไขมันประกอบไปด้วยธาตุหลัก 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน เช่นเดียวกับโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อย่างไรก็ตามไขมันมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจนแต่มีออกซิเจนน้อย ดังนั้นไขมันจึงให้พลังงานมากถึง 9 แคลอรีต่อ 1 กรัม
ในทางเทคนิคนั้นควรจะกล่าวถึงไขมันในลักษณะที่เป็นพหูพจน์เนื่องจากไขมันมีหลายชนิด โดยไขมันจะประกอบขึ้นด้วยกรดไขมัน (Fatty acids) ชนิดต่างๆที่มีลักษณะทางกายภาพและมีผลต่อร่างกายแตกต่างกันไป ไขมันยังสามารถแบ่งตามการมีพันธะคู่ของคาร์บอนอะตอมภายในกรดไขมันได้แก่
กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) ซึ่งไม่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน ปกติพบได้ในไขมันจากสมองสัตว์หรือเครื่องในสัตว์
กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) ซึ่งมีพันธะคู่ พบได้ในไขมันพืช
== ดูเพิ่ม ==
ชีวเคมี
โภชนาการ
สารอาหาร
ลิพิด | thaiwikipedia | 621 |
ชีวเคมี | ชีวเคมี (biochemistry) หรือเรียกว่า เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ
ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุก ๆ ด้าน
เทคโนโลยีชีวภาพ
เคมี
ชีวเคมี | thaiwikipedia | 622 |
โปรตีน | โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร
หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก โปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง
เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป
โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน ค.ศ. 1838 นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารยุคแรกอย่าง Carl von Voit ชาวเยอรมัน เชื่อว่าโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดในการคงโครงสร้างของร่างกาย เพราะมีการเชื่อกันทั่วไปว่า "เนื้อสร้างเนื้อ" บทบาทศูนย์กลางของโปรตีนในฐานะเอนไซม์ในสิ่งมีชีวิตยังไม่ได้รับการยอมรับจนกระทั่ง ค.ศ. 1926 เมื่อเจมส์ บี. ซัมเนอร์ แสดงให้เห็นว่าเอนไซม์ยูรีเอสแท้จริงแล้วเป็นโปรตีน โปรตีนชนิดแรกที่ถูกจัดลำดับคือ อินซูลิน โดยเฟรเดอริก แซงเจอร์ ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลจากความสำเร็จนี้ใน ค.ศ. 1958 โครงสร้างโปรตีนแบบแรกที่สามารถอธิบายได้คือ ฮีโมโกลบินและไมโอโกลบิน โดย Max Perutz และเซอร์ John Cowdery Kendrew ตามลำดับ ใน ค.ศ. 1958 โครงสร้างสามมิติของโปรตีนทั้งสองเดิมพิจารณาโดยการวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ Perutz และ Kendrew ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำ ค.ศ. 1962 ร่วมกันสำหรับการค้นพบเหล่านี้
== หน้าที่ ==
โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หรือหน่วยย่อยของเอนไซม์
โปรตีนทำหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง เช่น ระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeleton) ผม เส้นไหม
โปรตีนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น แอกติน ไมโอซิน
เป็นภูมิคุ้มกันคอยปกป้องร่างกายจากสิ่งแวดล้อม เช่น แอนติบอดี
ขนส่งสารภายในระบบร่างกาย เช่น ฮีโมโกลบิน
เป็นแหล่งสำรองพลังงานยามขาดแคลน เช่นโปรตีนในเมล็ดข้าวและน้ำนม
โปรตีนที่เป็นฮอร์โมน
โปรตีนให้ความหวานในพืช
โปรตีนป้องกันการแข็งตัวของเลือดในปลาที่อยู่ในแถบขั้วโลก
โปรตีนช่วยสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่
== โครงสร้างของโปรตีน ==
ลำดับของกรดอะมิโนจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนนั้นๆ โดยทั่วไป โปรตีนมีโครงสร้างสามมิติสี่ระดับด้วยกันคือ
โครงสร้างปฐมภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงพันธะระหว่างกรดอะมิโนแต่ละตัว
โครงสร้างทุติยภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงการจัดเรียงตัวของกรดอะมิโนที่อยู่ใกล้กัน โปรตีนทุกชนิดจะมีโครงสร้างระดับนี้ โดยทั่วไปมีสองแบบคือ แบบ อัลฟาเฮลิก สายเพปไทด์ขดเป็นเกลียว กับแบบเบตา สายเพปไทด์อยู่ในรูปซิกแซก
โครงสร้างตติยภูมิ แสดงการจัดตัวของกรดอะมิโนตลอดทั้งสาย พบในโปรตีนที่เป็นก้อน การจับตัวเป็นกลุ่มก้อนของสายโพลีเพปไทด์นั้นขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับ
โครงสร้างจตุตถภูมิ แสดงการจับตัวระหว่างสายโพลีเพปไทด์ พบในโปรตีนที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย (subunit) โดยแต่ละหน่วยย่อยคือสายโพลีเพปไทด์หนึ่งเส้น การจัดตัวขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับเช่นเดียวกัน
== โปรตีนคอนจูเกต ==
โปรตีนบางชนิดจะมีหมู่อื่นๆนอกจากกรดอะมิโนเข้ามาจับ โปรตีนนี้เรียกว่าโปรตีนคอนจูเกต (conjugated protein) ส่วนหมู่ที่มาจับเรียกว่าหมู่พรอสทีติก (prosthetic group) ตัวอย่างโปรตีนเหล่านี้ได้แก่
ไลโปโปรตีน โปรตีนจับกับไขมัน
ไกลโคโปรตีน โปรตีนจับกับคาร์โบไฮเดรต
ฟอสโฟโปรตีน โปรตีนจับกับหมู่ฟอสเฟต
ฮีโมโปรตีน โปรตีนจับกับฮีม (heme)
ฟลาโวโปรตีน โปรตีนจับกับฟลาวิน นิวคลีโอไทด์ (Flavin nucleotide) เช่น ซักซิเนต ดีไฮโดรจีเนส (succinate dehydrogenase)
เมทัลโลโปรตีน โปรตีนจับกับโลหะเช่น เฟอร์ริทิน (จับกับ Fe) อัลกอฮอล์ ดีไฮโดรจีเนส (จับกับ Zn) เป็นต้น
== อ้างอิง ==
Lehninger, A.L., Nelson, D.L., and Cox, M.M. 1993. Principle of Biochemistry. 2nd ed. New York.: Worth
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Protein Songs (Stuart Mitchell - DNA Music Project), 'When a "tape" of mRNA passes through the "playing head" of a ribosome, the "notes" produced are amino acids and the pieces of music they make up are proteins.'
=== ฐานข้อมูลและโครงการ ===
Comparative Toxicogenomics Database curates protein-chemical interactions, as well as gene/protein-disease relationships and chemical-disease relationships.
Bioinformatic Harvester A Meta search engine (29 databases) for gene and protein information.
The Protein Databank (see also PDB Molecule of the Month , presenting short accounts on selected proteins from the PDB)
Proteopedia - Life in 3D: rotatable, zoomable 3D model with wiki annotations for every known protein molecular structure.
UniProt the Universal Protein Resource
Human Protein Atlas
NCBI Entrez Protein database
NCBI Protein Structure database
Human Protein Reference Database
Human Proteinpedia
Folding@Home (Stanford University)
=== เว็บไซต์ทางการศึกษา ===
UC Berkeley video lecture on proteins
Proteins: Biogenesis to Degradation - The Virtual Library of Biochemistry and Cell Biology
== ดูเพิ่ม ==
ชีวเคมี
กรดอะมิโน
เอนไซม์
โภชนาการ
โมเลกุลชีวภาพ
ชีวเคมี
สารอาหาร
อณูชีววิทยา | thaiwikipedia | 623 |
26 ธันวาคม | วันที่ 26 ธันวาคม เป็นวันที่ 360 ของปี (วันที่ 361 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 5 วันในปีนั้น
== เหตุการณ์ ==
พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) - การแข่งขันฟุตบอลในวันเปิดกล่องของขวัญเริ่มต้นเป็นคู่แรก เปรสตันนอร์ธเอนด์ เอาชนะ ดาร์บีเคาน์ตี ไป 5-0 ประตู
พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - ปีแยร์และมารี กูรี ประกาศการค้นพบธาตุเคมีชนิดใหม่ ภายหลังตั้งชื่อว่าเรเดียม
พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - เรือประจัญบาน ชานฮอศ (Scharnhorst) ของกองทัพเรือเยอรมัน ที่ตั้งชื่อตามจอมพลของกองทัพปรัซเซีย Gerhard von Scharnhorst ถูกจมลงโดยกองเรือรบสัมพันธมิตรที่บริเวณใกล้กับ North Cape
พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - วันสถาปนาแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้
พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - สภาโซเวียตแห่งเชื้อชาติ ยุบตัวเองและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR)
พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - แผ่นดินไหวแมกนิจูด 6.7 ที่เมืองบามของอิหร่าน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน
พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย: แผ่นดินไหวแมกนิจูด 9.1-9.3 ในมหาสมุทรอินเดีย ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ คร่าชีวิตประชาชนตามชายฝั่งมหาสมุทรไปมากกว่า 230,000-280,000 คน
พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - แผ่นดินไหวในทะเลใกล้กับประเทศไต้หวัน แมกนิจูด 7.1 ส่งผลให้ระบบโทรคมนาคมของประเทศในเอเชียตะวันออกหลายประเทศล่ม มีผู้เสียชีวิต 2 คน
== วันเกิด ==
พ.ศ. 1737 (ค.ศ. 1194) - จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791)
*หม่อมไกรสร (สิ้นพระชนม์ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391)
* ชาลส์ แบบบิจ ผู้รู้รอบด้านชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มแนวคิดต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) - เหมา เจ๋อตง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ถึงแก่กรรม 9 กันยายน พ.ศ. 2519)
พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ตรีรัก รักการดี นักร้องและนักแสดงชาวไทย
พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - วิทเยนทร์ มุตตามระ กรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์บลูสกายแชนแนล
พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - กฤษดา สุโกศล แคลปป์ นักร้อง นักแสดงชาวไทย
พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - จาเรด เลโท นักแสดงชาวอเมริกัน นักร้องนำวงเทอร์ตีเซคันด์สทูมารส์
พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - สุวัจนี ไชยมุสิก นักแสดงหญิงและพิธีกรชาวไทย
พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978)
* ศิวดล จันทเสวี นักแสดง นักแสดงตลก และนักร้องไทย
* สด เพชรสุภาพรรณ นักมวยชาวไทย
พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - นิโคไล นิโคลาแอฟ นักแสดงชาวออสเตรเลีย
พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ชุน โอะงุริ นักแสดงชายชาวญี่ปุ่น
พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม นักแสดงชายชาวไทย
พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)
* คิต แฮริงตัน นักแสดงชายชาวอังกฤษ
* ณิชาวรินทร์ อรุณรุ่งไพศาล นักแสดงชาวไทย
* อูว์โก โยริส นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
* เฮย์ลีย์ โลวิตต์ นักแสดง และผู้ประสานงานการผลิตชาวอเมริกัน
พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ซุฟยาน ฟีฆูลี นักฟุตบอลอาชีพชาวฝรั่งเศส
พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)
*เดนิส เชรืยเชฟ นักฟุตบอลชาวรัสเซีย
*แอรอน แรมซีย์ นักฟุตบอลชาวเวลส์
พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ทากูมะ อิโนอูเอะ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) -
*ยุย โอกุริ นักร้องชาวญี่ปุ่น
*วริศรา จิตปรีดาสกุล นักร้องหญิงชาวไทย
== วันถึงแก่กรรม ==
พ.ศ. 811 (ค.ศ. 268) - สมเด็จพระสันตะปาปาดิโอนิซิอุส
พ.ศ. 961 (ค.ศ. 418) - สมเด็จพระสันตะปาปาโซสิมุส
พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา (เกิด 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2427)
พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - ฮาเวิร์ด ฮอว์กส ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2439)
พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ (ประสูติ 5 เมษายน พ.ศ. 2442)
พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - โยชิโอะ ชิราอิ แชมป์โลกมวยสากลคนแรกของประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) -
*คุณพุ่ม เจนเซน โอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (จากเหตุการณ์คลื่นสึนามิ; เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2526)
*บรม ตันเถียร นักการเมืองชาวไทย (จากเหตุการณ์คลื่นสึนามิ; เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2479)
พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) -
*เจริญชัย สมผลึก (น้อย มาลีฮวนน่า) นักดนตรีชาวไทย
*คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (เกิด 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541)
พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - ไฉน แสงทองสุข ยอดตำนานมายากลรุ่นบุกเบิกของไทย
== วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล ==
โรมันคาทอลิก - วันฉลองนักบุญสเทเฟน
วันเปิดกล่องของขวัญ (Boxing Day)
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
BBC: On This Day
Today in History: December 26
ธันวาคม 26
ธันวาคม | thaiwikipedia | 624 |
ฟูราโนะ | ฟูราโนะ (; ไอนุ: フラヌイ ฟูรานุย) เป็นนครในกิ่งจังหวัดคามิกาวะ จังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวในการชมทุ่งลาเวนเดอร์ หรือการเล่นสกีในฤดูหนาว
== ประวัติศาสตร์ ==
ชื่อของเมืองนั้น มาจากภาษาไอนุ ภาษาของคนพื้นเมืองของฮกไกโดที่ว่า "ฮูรานูอี" (フラヌイ, hura-nu-i) ซึ่งมีความหมายว่า "สถานที่ที่มีกลิ่น" ซึ่งสันนิษฐานว่า อาจเพราะเดิมในหุบเขานี้ มีกลิ่นเหม็นจากกำมะถันจากยอดภูเขาไฟโทกาจิ
ในปี ค.ศ. 1897 กลุ่มคนจากจังหวัดมิเอะได้มาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้ (ในปัจจุบันคือพื้นที่โองิยามะของเมือง) และหมู่บ้านฟูราโนะก็ถูกจัดตั้งขึ้น ต่อมาในปี 1899 ก็ถูกย้ายจากเดิมสังกัดกิ่งจังหวัดโซราจิไปสังกัดกิ่งจังหวัดคามิกาวะ ศาลาว่าการเมืองก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ภายหลังจากการที่มีเส้นทางรถไฟไปยังอาซาฮิกาวะ เมืองใหญ่อันดับสองในฮกไกโด ในปี 1900
== ภูมิศาสตร์ ==
หุบเขาฟูราโนะตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาภูเขาไฟโทกาจิ (ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง) กับยอดเขายูบาริ โดยมีแม่น้ำโซราจิ และแม่น้ำยูบาริ ไหลผ่านกลางเมือง และจากการที่ฟูราโนะนั้น ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของเกาะฮกไกโด จึงได้รับฉายาว่า "เฮโซะ โนะ มาจิ" หรือ "เมืองสะดือ" ซึ่งมีอนุสาวรีย์ใจกลางของเกาะฮกไกโดตั้งอยู่บนสนามของโรงเรียนฟูราโนะ พิกัด 43°20′56″N 142°23′04″E.
== ภูมิอากาศ ==
== การท่องเที่ยว ==
ฟูราโนะมีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวทั้งช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว ในหน้าร้อน มีสวนดอกไม้ที่สวยงาม โดยเฉพาะฟาร์มโทมิตะในเมืองนากะฟูราโนะซึ่งมีการปลูกต้นลาเวนเดอร์สวยงามมาก มีนักท่องเที่ยวมากในช่วงปลายเดือนมิถุนายนจนกระทั่งกลางเดือนกันยายน ส่วนหน้าหนาว ฟูราโนะ มีชื่อเสียงในเรื่องของ ลานสกี ที่ท้าทาย นักท่องเที่ยวนิยมมาช่วงกลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมีนาคม
เขตใจกลางเมือง
คิตะโนะกูนิการะ (北の国から) - พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่เกือบจะตรงที่อยู่ติดกับบริเวณสถานีรถไฟฟูราโนะ
วัดโกโกกูซันฟูราโนะ (護国山富良野寺) - แสดงหินสะดือจากวัดโชโฮของเคียวโตะ
เขตคิตะโนะมิเนะ
คิตะโนะมิเนะเป็นศูนย์กลางของสกีรีสอร์ทและบ้านเช่า และยังมีฟูราโนะสกีรีสอร์ทที่ดำเนินการโดยโรงแรมปรินซ์ในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นสถานที่ในช่วงฤดูหนาวเป็นที่นิยมสำหรับผู้คนจากทั่วโลก และหมู่บ้านชนบทที่ตั้งอยู่ด้านล่างของโรงแรมฟูราโนะปริ้นซ์ยังมีสินค้าให้เลือกซื้อมากมายโดยที่เปิดตลอดทั้งปี ผู้คนจากหลายที่มาที่นี่เพื่อดูเครื่องประดับที่ทำด้วยมือและบางส่วนก็มาเพื่อค้นหาภูตตามตำนาน นอกจากนี้ในคิตะโนะมิเนะยังมีโรงงานชีส และและโรงงานนมเกล็ดหิมะตั้งอยู่
เขตโรกูโงะ
หอสังเกตการณ์โรกูโงะ
ฟาร์มฟูราโนะแยม
หมู่บ้านโพปูริ - เชี่ยวชาญในการปลูกลาเวนเดอร์ให้ออกดอกปลายปี เพื่อที่ผู้เข้าชมจะสามารถมองเห็นดอกไม้สีม่วงในทุกเมื่อ แม้ว่าพวกเขาได้พลาดที่จะมาในฤดูกาล
== การเดินทาง ==
เครื่องบิน
ท่าอากาศยานอาซาฮิกาวะ
รถไฟ
21px JR ฮกไกโด - สายเนะมุโระ : สถานีชิมะโนะชิตะ - สถานีฟูราโนะ - สถานีนุโนะเบะ - สถานียะมะเบะ
21px JR ฮกไกโด - สายฟูราโนะ : สถานีกะกุเด็ง - สถานีฟูราโนะ
ทางหลวง
ทางหลวงแผ่นดิน
* ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 38
* ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 237
ทางหลวงชนบท
* ทางหลวงฮกไกโดหมายเลข 135
* ทางหลวงฮกไกโดหมายเลข 253
* ทางหลวงฮกไกโดหมายเลข 298
* ทางหลวงฮกไกโดหมายเลข 544
* ทางหลวงฮกไกโดหมายเลข 706
* ทางหลวงฮกไกโดหมายเลข 759
* ทางหลวงฮกไกโดหมายเลข 800
* ทางหลวงฮกไกโดหมายเลข 985
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
Furano Tourism Association 富良野観光協会
Biei Wedding Palace 日の出公園ラベンダー園での結婚式
== อ้างอิง ==
ฟูราโนะ
การท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น | thaiwikipedia | 625 |
ประเทศอาเซอร์ไบจาน | อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan; Azərbaycan ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน (Republic of Azerbaijan; Azərbaycan Respublikası ) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ที่ชายแดนยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคอเคซัสใต้ และมีอาณาเขตทิศตะวันออกจรดทะเลแคสเปียน ทิศเหนือติดต่อกับสหพันธรัฐรัสเซีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับจอร์เจีย ทิศตะวันตกติดต่อกับอาร์มีเนีย และทิศใต้ติดต่อกับอิหร่าน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจานประกาศเป็นเอกราชจากสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย ใน ค.ศ. 1918 และกลายเป็นรัฐประชาธิปไตยแบบฆราวาสที่มีมุสลิมส่วนใหญ่แห่งแรก ซึ่งนำชื่อประเทศจากภูมิภาคที่อิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือด้วยเหตุผลทางการเมือง ใน ค.ศ. 1922 ประเทศนี้ถูกรวมเข้ากับสหภาพโซเวียตในฐานะสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน
สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานในปัจจุบันประกาศเอกราชในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ไม่นานก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปีเดียวกัน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1991 ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติอาร์มีเนียแยกออกเป็นสาธารณรัฐอาร์ทซัค ภูมิภาคและอำเภอรอบ ๆ 7 อำเภอ ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจานตามแนวทางแก้ปัญหาคาราคาซังถึงสถานะนากอร์โน-คาราบัคผ่านการเจรจาขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นเอกราช โดยพฤตินัย หลังสิ้นสุดสงครามนากอร์โน-คาราบัคที่หนึ่งใน ค.ศ. 1994
หลังสงครามนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563 7 อำเภอและส่วนหนึ่งของนากอร์โน-คาราบัคอยู่ภายใต้การควบคุมของอาเซอร์ไบจาน
== ภูมิศาสตร์ ==
ภูมิประเทศ ประกอบด้วยเทือกเขาและที่ขรุขระ ทางภาคเหนือเป็นแม่นํ้า The Greater Caucasus ซึ่งมียอดเขา Mount Bazardyuzyu เป็นภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ (4,466 เมตร) ส่วนเทือกเขา The Lesser Caucasus เป็นพรมแดนด้านตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลางของประเทศ จึงเป็นบริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญคือ ลุ่มน้ำ Aras-Kura และที่ราบบริเวณชายฝั่งทะเลสาบ Caspian ที่ราบลุ่มเหล่านี้มีพื้นที่กว่า 4,278
เฮคตาร์ (ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,600 เฮคตาร์ และที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์)มีพื้นที่ป่ากว่า 1 ล้านเฮคตาร์
ภูมิอากาศ อากาศหนาวในเขตเทือกเขาคอเคซัสทางภาคเหนือของอาเซอร์ไบจาน ส่วนบริเวณที่ราบ Kura อากาศเย็นสบาย และมีอากาศแบบเขตร้อนบริเวณที่ราบต่ำ Lenkoran ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของชายฝั่งแคสเปียน (ประมาณ 27 องศาเซลเซียส ในเดือนกรกฎาคม และ 1 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม)
== ประวัติศาสตร์ ==
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวอาเซอร์ไบจานสืบเชื้อสายมาจากชนชาติเซลจุคเติร์ก (Seljuk Turks) และชาวเปอร์เซียโบราณ และสันนิษฐานว่าชื่อประเทศในปัจจุบันมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณที่แปลว่า “ดินแดนแห่งไฟ” เนื่องจากดินแดนแถบนี้มีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์และมีสถานะเป็นศูนย์กลางของศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroaster) ซึ่งเป็นกลุ่มชนโบราณที่บูชาไฟ
ดินแดนของอาเซอร์ไบจานถูกครอบครองโดยชนเผ่าเติร์กตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 จึงทำให้ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมแบบมุสลิม ศาสนา และภาษาโดยกลุ่มชนดังกล่าวกว่าหลายศตวรรษ ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยชาวมองโกลตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-15 และชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) ในศตวรรษที่ 16 ส่งผลให้อาเซอร์ไบจานรับเอาศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์เป็นนิกายประจำชาติ
หลังจากนั้น อาเซอร์ไบจานได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของหลายชนชาติ อาทิ เปอร์เซีย และออตโตมัน ด้วยเหตุที่เป็นดินแดนที่มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชียกลาง รวมทั้งอยู่ติดกับทะเลสาบแคสเปียนซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำมันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในที่สุดรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญา Turkmenchay กับเปอร์เซีย ใน ค.ศ. 1828 เพื่อแบ่งดินแดนของอาเซอร์ไบจานออกจากอาณาจักรเปอร์เซีย และได้ใช้เริ่มสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันในอาเซอร์ไบจานนับแต่นั้น ซึ่งก่อให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นในบริเวณดังกล่าวในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
อาเซอร์ไบจานได้ประกาศเอกราชครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 หลังจากที่จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายลง 1 ปี แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1920 กองทัพแดงของพรรคบอลเชวิคได้เข้ารุกรานและมีชัยชนะเหนืออาเซอร์ไบจานรวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ในส่วนที่เรียกว่าทรานส์คอเคเซีย (ได้แก่ จอร์เจีย อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) ส่งผลให้ใน ค.ศ. 1922 อาเซอร์ไบจานได้ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตในฐานะส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัสร่วมกับจอร์เจียและอาร์มีเนีย และได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งในสหภาพโซเวียต ในชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเซียล่มสลายลงใน ค.ศ. 1936
หลังจากนั้น นับแต่ทศวรรษ 1980 อาเซอร์ไบจานประสบกับความวุ่นวายภายในประเทศ รวมทั้งได้เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกองทัพสหภาพโซเวียต ซึ่งส่งผลให้ชาวอาเซอร์ไบจานที่เรียกร้องเอกราชในกรุงบากูเสียชีวิตลงจำนวน 190 คนใน ค.ศ. 1990 และต่อมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงใน ค.ศ. 1991 อาเซอร์ไบจานก็ได้ประกาศเอกราช.ในที่สุด
== การเมือง ==
=== รูปแบบการปกครอง ===
ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญรับรองโดยประชาชนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995
สถาบันการเมือง
• ฝ่ายนิติบัญญัติ
- ระบบสภาเดียว (Unicameral) คือ “ Milli Majlis” หรือ สภาแห่งชาติ
(National Assembly) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 125 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้ง
โดยตรง (ผลจากการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
ค.ศ. 2002) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ผลคือ seats by party - Yeni 58, Azadliq coalition 8, CSP 2, YES 2, Motherland 2, other parties with single seats 7, independents 42, undetermined 4 การเลือกตั้งจะมีครั้งต่อไปปี 2010
• ฝ่ายบริหาร
- ประธานาธิบดี เป็นประมุขของประเทศ (Chief of State) มาจากการ
เลือกตั้งโดยประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยการเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดมีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2003 โดยนาย Ilham Aliyev ได้รับเลือกตั้งเป็นปธน.อาเซอร์ไบจาน ใน ค.ศ. 2003 ต่อจากบิดา คือ ปธน. Heydar Aliyev ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ท่ามกลางการกล่าวหาว่ารับตำแหน่งอย่างไม่โปรงใส ทั้งจากฝ่ายค้านและองค์การระหว่างประเทศ
- นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) โดยการแต่งตั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา
ภาพรวมของสถานการณ์การเมืองอาเซอร์ไบจานตั้งแต่ ค.ศ. 1990
อาเซอร์ไบจานประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 โดยนายAyaz Mutalibov ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอาเซอร์ไบจานดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่ชาวอาเซอร์ไบจานจำนวนมากถูกสังหารในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค (ดินแดนของอาเซอร์ไบจานซึ่งมีชาวอาร์มีเนียจำนวนมากอาศัยอยู่) ต่อมาในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1992 นาย Abulfez Elchibey ผู้นำพรรค Popular Front Party (PFP) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่ก็ไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค และไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจรวมทั้งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงก่อให้เกิดความไม่ พอใจในหมู่ประชาชนจนเกิดการจลาจลสู้รบขึ้นในประเทศ ทำให้ประธานาธิบดี Elchibey ต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ที่เมือง Nakchivan และต่อมารัฐสภาได้แต่งตั้งให้นาย Heydar Aliyev ประธานรัฐสภาในขณะนั้น เป็นผู้รักษาการประธานาธิบดี ซึ่งต่อมานาย Aliyev ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค New Azerbaijan Party ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1992 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอาเซอร์ไบจานเรื่อยมา สถานการณ์ทางการเมืองของอาเซอร์ไบจานกล่าวได้ว่า อำนาจในการปกครองประเทศเกือบทั้งหมดอยู่ในการควบคุมของประธานาธิบดี Heydar Aliyev ซึ่งควบคุมคะแนนเสียงข้างมากในสภาและสมาชิกของพรรคฯ ได้รับตำแหน่งสำคัญ ๆ ในรัฐบาล อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาที่สั่นคลอนเสถียรภาพของ รัฐบาลหลายประการ อาทิ ปัญหาทางการเมืองภายในกับฝ่ายค้านที่พยายามจะแย่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
ในการเลือกตั้งสมัยต่อไป ปัญหาภายในพรรครัฐบาล ข้อกล่าวหาว่ายักยอกเงินกองทุนที่จะนำไปช่วยเหลือผู้อพยพจากการสู้รบกับอาร์มีเนียคาราบัค ปัญหาเรื่องความขัดแย้งเหนือดินแดนนากอร์โน-คาราบัค การเดินขบวนประท้วงในกรุงบากูเพื่อสนับสนุนฝ่ายค้านและต่อต้านการผูกขาดอำนาจในการบริหารประเทศของ ประธานาธิบดี Aliyev การฉ้อราษฎร์บังหลวง การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้สื่อของรัฐในการหาเสียงเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลเอง เป็นต้น
=== สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ===
• การเลือกตั้งทั่วไป
อาเซอร์ไบจานได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดขึ้นเมื่อปี 2005 ผลคือ seats by party - Yeni 58, Azadliq coalition 8, CSP 2, YES 2, Motherland 2, other parties with single seats 7, independents 42, undetermined 4 การเลือกตั้งจะมีครั้งต่อไปปี 2014
• การเลือกตั้งประธานาธิบดี
สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2546 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นาย Ilham Heydar oglu Aliyev นายกรัฐมนตรีและบุตรชายของอดีตประธานาธิบดี Heydar Aliyev ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 76.84 ในขณะที่นาย Isa Bambar ผู้สมัครคู่แข่ง ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอันดับที่สอง คือ ร้อยละ 10.74 จากจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 8 ราย โดยสาเหตุที่นาย Ilham Aliyev ได้รับเสียงสนับสนุนจำนวนมาก เนื่องมาจากนาย Heydar Aliyev ซึ่งกำลังป่วยด้วยโรคหัวใจและอยู่ระหว่างรับการรักษาที่สหรัฐฯ ได้ถอนตัวจากการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้ เพื่อถ่ายโอนคะแนนนิยมให้แก่บุตรชาย ทั้งนี้ นาย Ilham Aliyev อายุ 41 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานพรรค Yeni Azerbaijan นอกจากนี้ นาย Ilham ยังดำรงตำแหน่งรองประธานหมายเลข 1 ของบริษัทน้ำมันของรัฐ และประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ
อย่างไรก็ดี ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงผลการเลือกตั้งดังกล่าวอย่างรุนแรง ประชาชน 60 คน ได้รับความเดือดร้อน เจ้าหน้าที่ของรัฐ 112 ราย ได้รับบาดเจ็บ และผู้สื่อข่าวหลายรายถูกทำร้าย รัฐบาลอาเซอร์ไบจานจึงได้ดำเนินการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น 625 ราย
• การอสัญกรรมของประธานาธิบดี Heydar Aliyev
นาย Haidar Aliyev อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ด้วยอายุ 80 ปี ภายหลังการเดินทางเข้ารับการรักษาอาการหัวใจล้มเหลวและโรคไตที่ Cleveland Clinic Foundation ในสหรัฐฯ นับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2003
• สถานการณ์ในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค
นากอร์โน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) ในอดีตเป็นดินแดนปกครองตนเองของสหภาพโซเวียต ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์มีเนีย นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ต่อมาใน ค.ศ. 1923 สหภาพ โซเวียตได้มอบดินแดนนี้ให้แก่อาเซอร์ไบจาน ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม และให้ชาวอาเซอรีเข้าไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าว โดยให้ใช้ภาษาอาร์มีเนียเป็นภาษาหลัก นับตั้งแต่ผู้นำท้องถิ่นของชาวอาร์มีเนียในนากอร์โน-คาราบัค ประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจาน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1988 จนถึงปัจจุบัน การประกาศเอกราชดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติและอาเซอร์ไบจานถือว่านากอร์โน-คาราบัค เป็นดินแดนกบฏที่ได้รับการสนับสนุนจากอาร์มีเนีย
ความขัดแย้งเริ่มเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับนโยบายปฏิรูป “Perestroika” ของสหภาพโซเวียตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เมื่อสภาท้องถิ่นของเมือง Stepanakert เมืองหลวงของนากอร์โน-คาราบัค มีมติให้นากอร์โน-คาราบัคประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจานเพื่อไปรวมตัวกับอาร์มีเนีย รัฐบาลอาเซอร์ไบจาน จึงได้ส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสถานการณ์ในดินแดนดังกล่าวไว้ เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยมาจนอาเซอร์ไบจานสามารถเข้ายึดพื้นที่เกือบทั้งหมดของคาราบัคและเมืองหลวง Stepanakert ระหว่าง ค.ศ. 1991 - 1992 ต่อมารัฐบาลอาร์มีเนียได้ส่งกำลังเข้ารุกรานอาเซอร์ไบจานเพื่อช่วยเหลือกองกำลังคาราบัคระหว่างปีค.ศ. 1993-1994 จนในที่สุดกองกำลังคาราบัคสามารถยึดครองดินแดนส่วนหนึ่งเท่ากับประมาณ 20 % ของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน และขับไล่ชาวอาเซอรีประมาณ 600,000 คน ออกจากพื้นที่ สงครามต่อสู้แย่งดินแดนดังกล่าวมีผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนกว่า 25,000 คน และมีผู้อพยพจากภัยสงคราม
อีกเป็นจำนวนมาก ในที่สุดสงครามระหว่างเชื้อชาติที่ดำเนินมา 6 ปี ได้ยุติลงชั่วคราวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1994 เมื่ออาเซอร์ไบจานกับอาร์มีเนียได้ร่วมกันจัดทำข้อตกลงหยุดยิงโดยความช่วยเหลือของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายก็ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวอย่างแท้จริง ยังคงมีการยิงสู้รบระหว่างกันเป็นระยะ ๆ ล่าสุดในการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดี Aliyev แห่งอาเซอร์ไบจานกับประธานาธิบดี Robert Kocharyan แห่งอาร์มีเนีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มเครือรัฐเอกราชที่กรุงมอสโกเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1998 ผู้นำทั้งสองได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ที่จะยุติความขัดแย้งเหนือดินแดนนากอร์โน-คาราบัค โดยทั้งสองฝ่ายเรียกร้องให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงยุติการยิงที่ทำขึ้นใน ค.ศ. 1994 และให้ดำเนินกระบวนการเพื่อสันติภาพภายใต้กรอบของกลุ่ม Minsk ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจขององค์การความมั่นคงและความร่วมมือแห่งยุโรป (OSCE) ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส และรัสเซีย
จากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงภายในภูมิภาค คือทำให้ชาวอาเซอรีกว่าร้อยละ 10 ของประชากรของอาเซอร์ไบจานต้องกลายเป็นผู้อพยพ อาศัยอยู่ตามค่ายอพยพต่าง ๆ และก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นภายในประเทศอีกด้วย นอกจากนั้น การที่อาเซอร์ไบจานกับตุรกีดำเนินการปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่อนากอร์โน-คาราบัค และอาร์มีเนีย โดยการปิดชายแดนและเส้นทางรถไฟสายหลัก 3 สาย ซึ่งมีผลทำให้เศรษฐกิจของอาร์มีเนียตกต่ำลงอย่างมาก และยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันที่ต่างวิตกว่าเส้นทางท่อขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนอาจถูกผลกระทบจากการสู้รบที่อาจจะปะทุขึ้นได้อีก นับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งดังกล่าวขึ้น สหประชาชาติก็ได้มีความพยายามในการที่จะระงับ กรณีพิพาทนี้ โดยให้องค์การ OSCE เข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งกระบวนการเจรจาสันติภาพ ซึ่งผู้นำอาร์มีเนียได้ปฏิเสธแผนของ OSCE ที่ขอให้อาร์มีเนียถอนกองกำลังออกจากบริเวณนอกเขตนากอร์โน-คาราบัค ที่เป็นพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ของอาเซอร์จาน ในขณะเดียวกัน องค์การ OSCE ยังได้เรียกร้องให้นากอร์โน-คาราบัคได้รับอำนาจปกครองตนเองอย่างเต็มที่ ภายใต้อาณาเขตของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งประธานาธิบดี Kocharyan ของอาร์มีเนีย ได้ออกมาปฏิเสธที่จะยอมรับข้อตกลงใด ๆ ที่จะทำให้ดินแดนนากอร์โน-คาราบัค ต้องกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง ตลอดเวลา 10 ปี ของสงครามระหว่างเชื้อชาติ อาเซอร์ไบจานตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบและได้กล่าวหาว่ารัสเซียเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการทหารแก่ประเทศอาร์มีเนีย ซึ่งคอยช่วยเหลือชาวอาร์มีเนียในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค และการที่อาเซอร์ไบจานทำการปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่ออาร์มีเนียและนากอร์โน-คาราบัค ทำให้สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการจำกัดการให้ความช่วยเหลือแก่อาเซอร์ไบจานภายใต้มาตรา 907 ของ Freedom Support Act
เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002 ประธานาธิบดี Aliyev ได้พบกับประธานาธิบดี Kocharyan ของอาร์มีเนีย เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหานากอร์โน-คาราบัคโดยสันติ แต่ไม่ปรากฏผลคืบหน้าแต่อย่างใด
อนึ่ง นับตั้งแต่ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการจากอาเซอร์ไบจานใน ค.ศ. 1991 นากอร์โน-คาราบัคได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2001 โดยนาย Arkady Gukasian ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
อาเซอร์ไบจานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขตเศรษฐกิจ รวมทั้งหมด 66 จังหวัด (rayonlar, เอกพจน์ rayon) และ 77 เมือง (şəhərlər, เอกพจน์ şəhər) โดยเมือง 12 แห่งในจำนวนดังกล่าวมีหน่วยบริหารขึ้นตรงต่อสาธารณรัฐ นอกจากนี้อาเซอร์ไบจานยังมีเขตปกครองตนเองคือสาธารณรัฐปกครองตนเองนาคีชีวัน รายชื่อจังหวัดและเมืองที่บริหารโดยสาธารณรัฐแบ่งตามเขตเศรษฐกิจ มีดังนี้
หมายเหตุ ชื่อที่เขียนด้วยตัวเอียงมีสถานะเป็นเมือง และในวงเล็บคือชื่อในภาษาอาเซอร์ไบจาน
เขตเศรษฐกิจอับเชรอน
อับเชรอน (Abşeron)
คีซี (Xızı)
บากู (Bakı)
ซุมไกอิต (Sumqayıt)
เขตเศรษฐกิจอารัน
อักจาบาดี (Ağcabədi)
อักดัช (Ağdaş)
บาร์ดา (Bərdə)
เบย์ลากัน (Beyləqan)
บีละซูวาร์ (Biləsuvar)
กอยไช (Göyçay)
ฮาจีกาบุล (Hacıqabul)
อีมิชลี (İmişli)
คูร์ดามีร์ (Kürdəmir)
เนฟต์ชาลา (Neftçala)
ซาตลี (Saatlı)
ซาบีราบัด (Sabirabad)
ซาลยัน (Salyan)
อูจาร์ (Ucar)
เยฟลัค (Yevlax)
ซาร์ดับ (Zərdab)
มินกาเชวีร์ (Mingəçevir)
ชีร์วัน (Şirvan)
เยฟลัค (Yevlax)
ดักห์ลิกชีร์วัน
อักซู (Ağsu)
โกบุสถาน (Qobustan)
อิสมายิลลี (İsmayıllı)
ชามากี (Şamaxı)
กันจา-กาซัค
อักสตาฟา (Ağstafa)
ดัชคาซัน (Daşkəsən)
กะดาไบ (Gədəbəy)
กาซัค (Qazax)
กอยกอล (Göygöl)
โกรันบอย (Goranboy)
ซามุค (Samux)
ชัมคีร์ (Şəmkir)
โตวุซ (Tovuz)
กันจา (Gəncə)
นาฟตาลัน (Naftalan)
กูบา-คัชมัซ
กูบา (Quba)
กูซาร์ (Qusar)
คัชมัซ (Xaçmaz)
ชาบรัน (Şabran)
ซียาซัน (Siyəzən)
คัลบาจาร์-ลาชิน
กูบัดลี (Qubadlı)
คัลบาจาร์ (Kəlbəcər)
ลาชิน (Laçın)
ซันกีลาน (Zəngilan)
ลันคารัน
อัสตารา (Astara)
จะลีลาบัด (Cəlilabad)
ลันคารัน (Lənkəran)
เลริค (Lerik)
มาซัลลี (Masallı)
ยาร์ดิมลี (Yardımlı)
ลันคารัน (Lənkəran)
นาคีชีวัน
บาเบค (Babək)
จุลฟา (Culfa)
คันการ์ลี (Kəngərli)
ออร์ดูบัด (Ordubad)
ซาดารัค (Sədərək)
ชัคบุซ (Şahbuz)
ชารูร์ (Şərur)
นาคีชีวัน (Naxçıvan)
ชาคี-ซากาตาลา
บาลาคัน (Balakən)
กะบาลา (Qəbələ)
กัค (Qax)
โอกุซ (Oğuz)
ชาคี (Şəki)
ซากาตาลา (Zaqatala)
ชาคี (Şəki)
ยูคารีกะราบัค
อักดัม (Ağdam)
ฟูซูลี (Füzuli)
จะบรายิล (Cəbrayıl)
โคจาลี (Xocalı)
โคจาวันด์ (Xocavənd)
ชูชา (Şuşa)
ตาร์ตาร์ (Tərtər)
คานแกนดี (Xankəndi)
ชูชา (Şuşa)
== นโยบายต่างประเทศ ==
=== ความสัมพันธ์กับเครือจักรภพรัฐเอกราช ===
=== ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ===
=== ความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ กับประเทศไทย ===
==== ความสัมพันธ์ทางการทูต ====
==== ความสัมพันธ์ทางการเมือง ====
==== ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า ====
==== การแลกเปลี่ยนการเยือน ====
===== ฝ่ายไทย =====
== กองทัพ ==
=== กองทัพบก ===
=== กองทัพอากาศ ===
=== กองทัพเรือ ===
=== กองกำลังกึ่งทหาร ===
== เศรษฐกิจ ==
=== สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ===
=== พลังงาน ===
สินค้าส่งออกหลักของประเทศคือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่มาจากทะเลสาบแคสเปียน มีน้ำมันสำรองอันดับ 3 ของโลก
อาเซอร์ไบจานอยู่ระหว่างระยะการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจจากการมีระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นผู้ควบคุมไปสู่การเปิดเสรีมากขึ้น แต่เดิมอาเซอร์ไบจานเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมน้อยกว่าอาร์มีเนียและจอร์เจีย โดยมีส่วนคล้ายประเทศในเอเชียกลาง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอัตราการว่างงานสูง และมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำ สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ฝ้ายและก๊าซธรรมชาติ แต่โดยที่อาเซอร์ไบจานมีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์ และตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบแคสเปียนซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใหญ่เป็นอันดับสามของโลก จึงทำให้อาเซอร์ไบจานมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ส่งผลให้มีการลงทุนในธุรกิจด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่อง โดยอาเซอร์ไบจานได้มีสัญญาร่วมลงทุนด้านน้ำมันกับบริษัทน้ำมันต่างชาติหลายบริษัท อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ ตุรกี รวมทั้งได้มีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงการเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติผ่านอาเซอร์ไบจานโดยมีเส้นทางสำคัญคือ Baku-Tbilisi-Ceyhan นอกจากนี้ อาเซอร์ไบจานยังได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมอีกด้วย
ปัจจุบันอาเซอร์ไบจานประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง โดยภายใต้ความร่วมมือกับ IMF อาเซอร์ไบจานสามารถลดระดับเงินเฟ้อจากเดิมสูงถึง 1,800% ใน ค.ศ. 1994 เป็น ร้อยละ 1.5 ใน ค.ศ. 2001 และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยใน ค.ศ. 2001 มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 9.9 และ 10.6 ใน ค.ศ. 2002 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการปฏิรูปที่ดินด้านการเกษตร และปฏิรูปรัฐวิสาหกิจขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ความขัดแย้งภายในประเทศโดยมีการสู้รบในเขตนากอร์โน-คาราบัค ซึ่งทำให้ชาวต่างประเทศไม่กล้าเข้ามาลงทุนมากนัก การปฏิรูปเศรษฐกิจไปสู่ระบบแบบตลาดยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ภาวะว่างงานที่สูง และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
=== การท่องเที่ยว ===
== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ==
== การคมนาคม และ โทรคมนาคม ==
== การศึกษา ==
== สาธารณสุข ==
== วัฒนธรรม ==
=== สถาปัตยกรรม ===
=== วรรณกรรม ===
=== ดนตรี ===
=== นาฎศิลป์ ===
=== อาหาร ===
วันสำคัญทางศาสนา
=== วันหยุด ===
== ประชากร ==
=== เชื้อชาติ ===
9,164,600 คน แบ่งออกเป็น 4 ชาติพันธุ์ใหญ่ ได้แก่ อาเซอรี 93.4 % ดาเกสถาน 1.5 % รัสเซีย 1.5% อาร์มีเนีย 2% และอื่น ๆ 1.4 %
=== ศาสนา ===
=== ภาษา ===
ศาสนาอิสลาม (ชีอะห์) ร้อยละ 93.4 คริสต์นิกายรัสเซียออร์โธดอกซ์ ร้อยละ 2.5 คริสต์นิกายอาร์มีเนียนออโธด็อกซ์ ร้อยละ 2.3 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.8
== วัฒนธรรม ==
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
== อ่านเพิ่ม ==
Altstadt, Audrey. Frustrated Democracy in Post-Soviet Azerbaijan (2018)
Broers, Broers Laurence. Armenia and Azerbaijan: Anatomy of a rivalry (Edinburgh University Press, 2019).
Cornell, Svante E. Azerbaijan since independence (Routledge, 2015).
Dragadze, Tamara. "Islam in Azerbaijan: The Position of Women" in Muslim Women’s Choices (Routledge, 2020) pp. 152–163.
Ergun, Ayça. "Citizenship, National Identity, and Nation-Building in Azerbaijan: Between the Legacy of the Past and the Spirit of Independence." Nationalities Papers (2021): 1-18. online
Goltz, Thomas. Azerbaijan Diary : A Rogue Reporter's Adventures in an Oil-Rich, War-Torn, Post-Soviet Republic. M E Sharpe (1998).
Habibov, Nazim, Betty Jo Barrett, and Elena Chernyak. "Understanding women's empowerment and its determinants in post-communist countries: Results of Azerbaijan national survey." Women's Studies International Forum. Vol. 62. Pergamon, 2017.
Olukbasi, Suha. Azerbaijan: A Political History. I.B. Tauris (2011). Focus on post-Soviet era.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
=== ข้อมูลทั่วไป ===
Azerbaijan International
Heydar Aliyev Foundation
Azerbaijan. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Azerbaijan at University of Colorado at Boulder
Country profile from BBC
Key Development Forecasts for Azerbaijan from International Futures
Visions of Azerbaijan Journal of The European Azerbaijan Society
=== ข้อมูลหลักของรัฐบาล ===
President of Azerbaijan website
Azerbaijan State Statistical Committee
United Nations Office in Azerbaijan
=== สื่อข่าวหลัก ===
Network NEWS Azerbaijan
Azerbaijan Today
Azerbaijan Press Agency
Trend News Agency
News.Az
=== การท่องเที่ยว ===
Azerbaijan Tourism Portal
Travel in Azerbaijan in Visions of Azerbaijan Journal
อ
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534
รัฐในอดีตสหภาพโซเวียต | thaiwikipedia | 626 |
โครงสร้างข้อมูล | ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูล (Data structure) เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมกันได้ การเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกแบบชนิดข้อมูลนามธรรม โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ
โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ อย่างเช่น ต้นไม้แบบบีจะเหมาะสำหรับระบบงานฐานข้อมูล
ในกระบวนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเลือกโครงสร้างข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจากการพัฒนาระบบงานใหญ่ๆได้แสดงให้เห็นว่า ความยากในการพัฒนาและประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างข้อมูลที่เลือกใช้อย่างมาก หลังจากตัดสินใจเลือกโครงสร้างข้อมูลที่จะใช้แล้วก็มักจะทราบถึงขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้ได้ทันที แต่ในบางครั้งก็อาจจะกลับกัน คือ การประมวลผลที่สำคัญๆของโปรแกรมได้มีการใช้ขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้โครงสร้างข้อมูลบางแบบโดยเฉพาะ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกโครงสร้างข้อมูลด้วยวิธีการใด โครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอยู่ดี
แนวความคิดในเรื่องโครงสร้างข้อมูลนี้ส่งผล กับการพัฒนาวิธีการมาตรฐานต่างๆในการออกแบบและเขียนโปรแกรม หลายภาษาโปรแกรมนั้นได้พัฒนารวมเอาโครงสร้างข้อมูลนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโปรแกรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำ
== ภาพรวม ==
โครงสร้างข้อมูลอาร์เรย์ ใช้เก็บอิลีเมนต์ที่มีชนิดข้อมูลชนิดเดียวกันจำนวนนวนหนึ่งแมีลำดับเฉพาะ อิลีเมนต์ของอาร์เรย์เข้าถึงโดยใช้เลขจำนวนเต็มระบุตำแหน่งของอิลีเมนต์ที่ต้องการ อาร์เรย์อาจมีขนาดจำกัด หรืออาจขยายขนาดได้
เรคคอร์ด (อาจเรียกเป็น ทูเปิ้ล หรือสตรัค ) เรคคอร์ด เป็นโครงสร้างข้อมูลชนิดหนึ่งในลุ่มโครงสร้างข้อมูลแบบง่าย ค่าข้อมูลของมันเป็นค่าซึ่งสามารถใส่ค่าของเรคคอร์ดอื่น โดยปกติเรคคอร์ดมีขนาดคงที่ และเรียงลำดับ ใช้ชื่อเป็นดัชนี อิลีเมนต์ของเรคคอร์ดมัดเรียกว่าฟิลด์ หรือ สมาชิก
แฮช หรือ ดิกชันนารี หรือ แมพ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ยืดหยุ่นมากกว่าเรคคอร์ด ซึ่งการเก็บข้อมูลจะเป็นแบบคู่ของ ชื่อ-ค่า และสามารถเพิ่มหรือลบข้อมูลได้อย่างอิสระ
ยูเนียน (Union) การนิยามยูเนียน จะระบุจำนวนของชนิดข้อมูลดั้งเดิมที่อาจใช้ใส่อินสแตนท์ เช่น "float หรือ long integer" ยูเนียนแตกต่างจากเรคคอร์ด คือ เรคคอร์ดสามารถใส่ข้อมูลได้ทั้งชนิด float และ integer แต่ยูเนียนสามารถใช้ใส่ข้อมูลได้ชนิดเดียว
แท็กยูเนียน tagged union (มักเรียกว่า แวเรียน แวเรียนเรคคอร์ด หรือดิสจอยส์ยูเนียน ) เป็นโครงสร้างที่บรรจุฟิลด์เพิ่มเติมที่ชี้ชนิดข้อมูลป้จจุบันของมัน เพื่อการขยายชนิดข้อมูลอย่างปลอดภัย
เซต เป็นโครงสร้างข้อมูลนามธรรมซึ่งสามารถเก็บค่าเฉพาะ โดยไม่ต้องมีลำดับ และไม่มีค่าที่ซ้ำกัน ค่าที่เก็บในเซต ไม่สามารถนำออกมาได้ แต่จะใช้การทดสอบว่าค่าที่ต้องการมีในเซตหรือไม่ และคำตอบที่ได้เป็นค่าบูลีน ว่า มี หรือไม่มี
วัตถุ เป็นโครงสร้างที่บรรจุฟิลด์ข้อมูลได้เช่นเดียวกับเรคคอร์ด และยังมีโค้ดของโปรแกรมสำหรับทำงานกับข้อมูลนั้นด้วย สำหรับโครงสร้างข้อมูลที่ไม่มีโคัด มักเรียว่า plain old data structure.
โครงสร้างข้อมูลชนิดอื่นๆ สามารถสร้างขึ้นมาได้ แต่มักแปรหรือ ประกอบขึ้นใหม่จากโครงสร้างข้อมูลข้างต้น
== หลักการพื้นฐาน ==
โครงสร้างข้อมูลเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการรับและเก็บข้อมูล ณตำแหน่งใด ๆ ในหน่วยความจำ ซึ่งระบุโดยแอดเดรส (สตริงของบิตซึ่งสามารถเบในหน่วยความจำและจัดการได้โดยโปรแกรม ดังนั้นเรคคอร์ดและอาร์เรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ตั้งบนพื้นฐานการคำนวณแอดเดรสของรายการข้อมูลโดยใช้การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ในขณะที่โครงสร้างข้อมูลแบบเชื่อมโยง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของารเก็บแอดเดรสหน่วยความจำของรายการข้อมูลซึ่งอยู๋ในโครงสร้างของมันเอง โครงสร้างข้อมูลหลายชนิด สร้างขึ้นโดยใช้หลักการทั้งสองประการ หรือการดำเนินการ โครงสร้างขอมูลบางชนิดรวมวิธีทั้งสองด้วยวิธีการที่ยาก เช่น โครงสร้างข้อมูลแบบ XOR linking
การดำเนินการของโครงสร้างข้อมูล มักต้องารการเขียนเซตของฟังก์ชัน หรือเซตของการดำเนินการ (procedures) ซึ่งสร้างและดำเนินการกับอินสแตนท์ของโครงสร้างนั้น ประสิทธิภาพของโครงสร้างข้อมูล ไม่สามารถวิเคราะห์โดยการแยกการดำเนินการออก การสังเกตกระตุ้นแนวคิดเชิงทฤษฎีของชนิดข้อมูลนามธรรม โครงสร้างข้อมูลซี่งถูกนิยามโดยอ้อมจากการดำเนินการที่กระทำกับมัน และคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ของการดำเนินการเหล่านั้น
== ภาษาที่สนับสนุน ==
ภาษาแอสเซมบลีส่วนใหญ่ และภาษาระดับต่ำบางภาษา เช่น BCPL (Basic Combined Programming Language) ไม่สนับสนุนการมีโครงสร้างข้อมูล ภาษาโปรแกรมระดับสูงส่วนใหญ่และภาษาแอสเซมบลีระดับสูงบางภาษา เช่น MASM มีรูปแบบคำสั่งพิเศษ หรือ ฟังก์ชันบางอย่างที่สนับสนุนโครงสร้างข้อมูลเช่น เวกเตอร์ vectors (อาร์เรย์หนึ่งมิติ) ในภาษา C หรืออาร์เรย์หลายมิติในภาษา ปาสคาล (Pascal)
ภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่ รวมส่วนสำคัญ ๆไว้โดยใช้กลไกไลบรารี ซึ่งช่วยให้โครงสร้างข้อมูลนั้นนำไปใช้ในโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ภาษาโปรแกรมที่ทันสมัยมักมีไลบรารีมาตรฐานซึ่งมีโครงสร้างข้อมูลทั่วไปรวมอยู่ในภาษาด้วย ตัวอย่างเช่น Standard Template Library ของภาษา C++ Java Collections Framework และ Microsoft's .NET Framework เป็นต้น
ภาษาโปรแกรมที่ทันสมัยมักสนับสนุนการเขียนโปรแกรมแบบโมดูล หรือการแยกอินเตอร์เฟซของโมดูลไลบรารี ออกจากการดำเนินการ บางภาษาจัดเตรียมชนิดข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้ซ่อนรายละเอียดการดำเนินการด้วย เช่น คลาสของภาษา C++ Java และ .NET Framework เป็นต้น
โครงสร้างข้อมูลหลายตัวมีเวอร์ชันที่สามารถทำงานพร้อมกัน ซึ่งสามารถคำนวณหลาย ๆ เทร็ด (threads) ที่เข้าถึงโครงสร้างข้อมูลพร้อมกันได้
== ดูเพิ่ม ==
รายชื่อโครงสร้างข้อมูล
คโครงสร้างข้อมูล | thaiwikipedia | 627 |
มาตราริกเตอร์ | มาตราริกเตอร์ (Richter magnitude scale) หรือที่รู้จักกันว่า มาตราท้องถิ่น (local magnitude scale; ML) เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อบอกปริมาณของพลังงานแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง มันเป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึมฐานสิบ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากลอการิทึมของแอมพลิจูดการสั่นของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากศูนย์บนเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวบางประเภท (Wood–Anderson torsion) ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่สามารถวัดค่าได้ 5.0 ตามมาตราริกเตอร์จะมีแอพลิจูดการสั่นมากเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวที่วัดค่าได้ 4.0 ตามมาตราริกเตอร์ ขีดจำกัดบนที่มีประสิทธิภาพของการวัดตามมาตราริกเตอร์นี้ควรต่ำกว่า 9 และต่ำกว่า 10 สำหรับมาตราโมเมนต์แมกนิจูด เมื่อตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
ปัจจุบันมาตราริกเตอร์ถูกแทนที่ด้วยมาตราขนาดโมเมนต์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะให้ค่าที่โดยทั่วไปแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับแผ่นดินไหวขนาดกลาง (3 - 7 แมกนิจูด) แต่ที่ไม่เหมือนกับมาตราริกเตอร์คือ มาตราโมเมนต์แมกนิจูดจะรายงานสมบัติพื้นฐานของแผ่นดินไหวจากข้อมูลเครื่องตรวจวัด แทนที่จะเป็นการรายงานข้อมูลเครื่องตรวจวัด ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในแผ่นดินไหวทุกครั้ง และค่าที่ได้จะไม่สมบูรณ์ในแผ่นดินไหวความรุนแรงสูง เนื่องจากมาตราโมเมนต์แมกนิจูดมักจะให้ค่าที่ใกล้เคียงกันกับมาตราริกเตอร์ แมกนิจูดของแผ่นดินไหวที่ได้รับรายงานในสื่อมวลชนจึงมักจะรายงานโดยไม่ระบุว่าเป็นการวัดความรุนแรงตามมาตราใด
พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาของแผ่นดินไหว ซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพลังทำลายล้างของมัน สามารถวัดได้จาก 3/2 เท่าของแอมพลิจูดการสั่น ดังนั้น แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน 1 แมกนิจูดจึงมีค่าเท่ากับพหุคูณของ 31.6 (= (101.0)(3 / 2)) ในพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา และที่แตกต่างกัน 2 แมกนิจูด จะมีค่าเท่ากับพหุคณของ 1000 (= (102.0)(3 / 2)) ในพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา (ความจริงแล้ว แมกนิจูด ใช้วัดปริมาณพลังงานของแผ่นดินไหวที่แท้จริง แต่คนไทยเรียกผิดเป็นริกเตอร์)
== ประวัติ ==
มาตราริกเตอร์ได้รับการเสนอขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1935 โดยนักวิทยาแผ่นดินไหวสองคน คือ เบโน กูเทนเบิร์ก (Beno Gutenbreg) และ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter)
เดิมนั้นมีการกำหนดมาตรานี้เพื่อใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหวในท้องถิ่นทางใต้ของแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา ที่บันทึกได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph) แผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยที่สุดในเวลานั้นถือเป็นค่าใกล้เคียงศูนย์ มาตราดังกล่าวแบ่งเป็นระดับ โดยทุก ๆ 1 ริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าแผ่นดินไหวแรงขึ้น 10 เท่า
มาตราริกเตอร์ไม่มีขีดจำกัดว่ามีค่าสูงสุดเท่าใด แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ในช่วง 0 - 9
ภายหลังเมื่อเครื่องวัดความไหวสะเทือนมีความละเอียดมากขึ้น สามารถวัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ละเอียด ทั้งในระดับที่ต่ำกว่า 0 (สำหรับค่าที่ได้น้อยกว่า 0 ถือเป็นค่าติดลบ) และที่สูงกว่า 9
== ริกเตอร์แมกนิจูต ==
ริกเตอร์แมกนิจูดของแผ่นดินไหวสามารถหาค่าได้จากลอการิทึมของแอมพลิจูดของคลื่นที่สามารถตรวจวัดได้โดยเครื่องวัดแผ่นดินไหว (ต่อมามีการแก้ไขรูปแบบการคำนวณ เพื่อชดเชยระยะห่างระหว่างเครื่องวัดแผ่นดินไหวจำนวนมากและศูนย์กลางแผ่นดินไหว) สูตรดั้งเดิมเป็นดังนี้
M_\mathrm{L} = \log_{10} A - \log_{10} A_\mathrm{0}(\delta)\
โดยที่ A เป็นการเบี่ยงเบนที่มีค่ามากที่สุดของเครื่องวัดแผ่นดินไหววูด-แอนเดอร์สัน ในเชิงประจักษ์แล้ว การทำงานของ A0 ขึ้นอยู่กับระยะทางจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของสถานี (δ) ในทางปฏิบัติแล้ว การอ่านค่าจากสถานีสังเกตการณ์ทั้งหมดจะถูกนำมาเฉลี่ยหลังจากมีการปรับแก้โดยเฉพาะของแต่ละสถานีเพื่อให้ได้มาซึ่งค่ามาตราริกเตอร์
เนื่องจากพื้นฐานลอการิทึมของมาตราริกเตอร์ การเพิ่มขึ้นของตัวเลข 1 หน่วยหมายความว่า แอมพลิจูดที่สามารถวัดได้มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม 10 เท่า ในแง่ของพลังงาน การที่แมกนิจูดเพิ่มขึ้น 1 หน่วย หมายความว่า มีพลังงานปลดปล่อยออกมามาขึ้น 31.6 เท่า และการเพิ่มขึ้น 0.2 แมกนิจูด หมายความว่าพลังงานจะปลดปล่อยออกมามากกว่าเดิมถึง 2 เท่า
ตารางแสดงมาตราริกเตอร์และผลกระทบ โดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา
{|class=wikitable
|-
!ตัวเลขริกเตอร์
!จัดอยู่ในระดับ
!ผลกระทบ
!อัตราการเกิดทั่วโลก
|-
| 1.9 ลงไป || ไม่รู้สึก || ไม่มี ไม่สามารถรู้สึกได้ || 8,000 ครั้ง/วัน
|-
| 2.0-2.9 || rowspan="2"| เบามาก || คนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย || 1,000 ครั้ง/วัน
|-
| 3.0-3.9 || คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง || 49,000 ครั้ง/ปี
|-
| 4.0-4.9 || เบา || ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง || 6,200 ครั้ง/ปี
|-
| 5.0-5.9 || ปานกลาง || สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา || 800 ครั้ง/ปี
|-
| 6.0-6.9 || แรง || สร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร || 120 ครั้ง/ปี
|-
| 7.0-7.9 || รุนแรง || สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า || 18 ครั้ง/ปี
|-
| 8.0-8.9 || rowspan="2"| รุนแรงมาก || สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร || 1 ครั้ง/ปี
|-
| 9.0 ขึ้นไป || "ล้างผลาญ" ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร|| 1 ครั้ง/20 ปี
|-
|}
แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้น คือ แผ่นดินไหวในประเทศชิลี ที่เมืองวัลดิเวีย พ.ศ. 2503 ซึ่งสามารถวัดความรุนแรงได้ 9.5
== อ้างอิง ==
== ดูเพิ่ม ==
มาตราเมร์กัลลี
ริกเตอร์ | thaiwikipedia | 628 |
อึ้งเอี๊ยะซือ | อึ้งเอี๊ยะซือ หรือ หวงเหยาซือ เป็น 1 ใน 5 ยอดฝีมือในสมัยราชวศ์ซ่ง เขาเป็นตัวละครในนวนิยายจากเรื่อง มังกรหยก ภาค 1 บท ก๊วยเจ๋งกับอึ้งย๊ง (The Legend Of The Condor Heroes) และ มังกรหยก ภาค 2 บท เอี้ยก้วยกับเซียวเหล่งนึ่ง (The Return Of The Condor Heroes) ซึ่งประพันธ์โดยนักประพันธ์ชาวจีน คือ กิมย้ง
== ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลส่วนตัว ==
ชื่อภาษาไทย : อึ้งเอี๊ยะซือ หรือ หวงเหยาซือ
ชื่อภาษาจีน : 黄药师
ชื่อภาษาอังกฤษ : Huang Yaoshi
ฉายา : มารบูรพา (東邪) หรือ มารเฒ่าหวง (黃老邪)
ครอบครัว : พั่งเฮ้ง หรือ ฟ่งเหิง (ภรรยา) ; อึ้งย๊ง หรือ หวงหรง (บุตรสาว)
สถานที่เกิด : จังหวัดยูนนาน
สถานที่พักอาศัย : เกาะดอกท้อ
บุคคลิกและลักษณะนิสัย : อึ้งเอี๊ยะซือเป็นบุคคคลที่เฉลียวฉลาด ไหวพริบ ปฏิภาณเป็นเลิศ สุขุม รอบคอบ แต่มีนิสัยแปลกประหลาด ชอบทำอะไรตามใจตัวเอง บางครั้งก็เป็นคนมีเหตุผล บางครั้งก็ไร้เหตุผล อารมณ์แปรปรวนไม่คงที่ เขาเป็นคนที่เกลียดขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎเกณฑ์ที่คร่ำครึโบราณ เป็นคนที่มีลักษณะ ธรรมะ 7 ส่วน อธรรม 7 ส่วน เป็นคนที่มักทำตัวลึกลับ ไปมาไร้ร่องรอย ไม่ค่อยปรากฏตัวง่าย ๆ หากจำเป็นต้องแสดงตัว จะสวมหน้ากากปิดบังหน้าตาที่แท้จริงไว้ ด้วยบุคคลิกและลักษณะนิสัยของอึ้งเอี๊ยะซือที่เป็นเช่นนี้ ทำให้ผู้คนต่างหวาดกลัวและเกลียดชัง และมองว่าอึ้งเอี๊ยะซือเป็นพวกนอกรีต บรรดาชาวยุทธจึงพากันขนานนามอึ้งเอี๊ยะซือว่า มาร หรือ มารเฒ่า
ความสามารถ : อึ้งเอี๊ยะซือ จัดว่าเป็นตัวละครที่สมบูร์แบบเพียงคนเดียวในนวนิยายเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นผู้ที่มีความสามารถแทบทุกด้าน คือ
( 1. ) ทางด้านบุ๋น ได้แก่
1.1 ดนตรี (ขลุ่ย พิณ ฯลฯ)
1.2 ศิลปะ (อักษร วาดภาพ การออกแบบ ฯลฯ)
1.3 กวี (กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ฯลฯ)
1.4 การเดินหมาก (หมากล้อม หมากรุก ฯลฯ)
1.5 ค่ายกล
1.6 การคำนวณ (คณิตศาสตร์ ฯลฯ)
1.7 การดูดาว หรือ การทำนายดวง
1.8 การแพทย์
1.9 การทำอาหาร
( 2. ) ทางด้านบู้ วรยุทธและวิทยายุทธของอึ้งเอี๊ยะซือนั้น นับว่าลึกล้ำพิสดารและหาได้ยาก ทั้งวิชาประจำตัวและวิชาที่ตนเองได้บัญญัติขึ้น ได้แก่
2.1 วิชากระบี่ ได้แก่ กระบี่ขลุ่ยหยก (玉簫劍法) ; กระบี่ Jade Leaking Silver Pushing Sword (玉漏催銀劍 | กระบี่หยกเงินรุกแทรก)
2.2 วิชาดาบ -
2.3 วิชาดัชนี ได้แก่ ดัชนี้นิ้วดีด (彈指神通 | หากแปลตรงตัว คือ ดัชนีศักดิ์สิทธิ์)
2.4 วิชาสกัดจุด ได้แก่ เข็มกล้วยไม้ปัดจุด (蘭花拂穴手)
2.5 วิชาฝ่ามือ ได้แก่ ฝ่ามือเทพกระบี่บุพผาโรย (落英神劍掌) หรือ ฝ่ามือดอกท้อร่วงโรย (桃華落英掌) ; ฝ่ามือคลื่นหยก (碧波掌法 ) ; ฝ่ามือตัดอากาศ (劈空掌)
2.6 วิชาเท้า ได้แก่ บาทาพายุกวาดใบไม้ (旋風掃葉腿)
2.7 วิชาอาวุธลับ ได้แก่ เข็มเกาะกระดูก (附骨針)
2.8 วิชาอื่น ๆ ได้แก่
อึ้งเอี๊ยะซือเป็นคนที่แก้ค่ายกลเจ็ดดาวที่เฮ้งเต็งเอี้ยงคิดค้นไว้ได้สำเร็จ ตอนที่รับมือกับก๊วยเจ๋งและเหล่านักพรตช้วนจิน
ความรักที่มีต่อภรรยาที่ตายจากไปเป็นสิ่งเดียวในชีวิตที่เขายึดติด บุคลิกของก๊วยเจ๋งทั้งซื่อทั้งทึ่ทำให้เขาไม่ค่อยชอบ แต่ภายหลังได้พบเอี้ยก้วยที่มีลักษณะ คล้ายกับตนเอง (ธรรมะมีธรรม 7 ส่วน, อธรรมมีธรรมะ 7 ส่วน) ส่งผลให้คบหาเป็นสหายต่างวัย
ขณะที่การสู้รบป้องกันเมืองเซียงเอี๊ยงดำเนินอยู่ ชาวตงง้วนอาศัยเขาเป็นผู้นำขบวนในค่ายกลกลุ่มดาว 28 กลุ่ม ช่วยเหลือก๊วยเซียงได้สำเร็จและขับไล่มองโกลได้อีกด้วย
==ลูกศิษย์ของอึ้งเอี๊ยะซือ==
เค็กเล้งฮวง 曲灵风 วิชาตัวเบาสูงส่ง ฝ่ามืออากาศร้ายกาจยิ่ง เป็นศิษย์คนโตหลังจากที่ถูกไล่จากเกาะดอกท้อก็ไปเป็นเจ้าของร้านสุราที่หมู่บ้านงู้แกชึง หมู่บ้านของพ่อและแม่ของก๊วยเจ๋งและเอี้ยคัง ภายหลังโดนองครักษ์วังหลวงสังหารที่ห้องลับของร้านตัวเองโดยในห้องลับยังมีของมีค่ามากมายที่เค็กเล้งฮวงไปขโมยมาจากวังหลวงเพื่อเป็นของขวัญแก่อาจารย์ในจำนวนนั้นมีภาพที่ซ่อนแผนที่ของตำราพิชัยสงครามของงักฮุย
ตั้งเฮี้ยงฮวง 陈玄风 ลมทมิฬคู่พิฆาต ฉายา ศพทองแดง มีเนื้อกระดูกเหล็ก ฟันแทงไม่เข้า เป็นคนรักของบ๊วยเถียวฮวงเป็นคนต้นคิดที่จะโขมยคัมภีร์เก้าอิมสุดท้ายกลับถูกก๊วยเจ๋งแทงที่สะดือซึ่งเป็นจุดอ่อนตายที่มองโกล
บ๊วยเถี่ยวฮวง 梅超风 ลมทมิฬคู่พิฆาต ฉายา ศพเหล็ก ไปมาดั่งลม ลงมือรวดเร็ว เป็นที่รักและเอ็นดูของอาจารย์โดนอึ้งเอี๊ยะซือช่วยมาจากเงื้อมมือของเจ้าของบ้านที่โหดร้ายแห่งหนึ่ง ถูกเจ็ดประหลาดกังหนำทำร้ายจนตายบอด สุดท้ายยอมตายแทนอาจารย์โดยขวางเข้าไปรับฝ่ามือของอาวเอี๊ยงฮง
เล็กเซ่งฮวง 陆乘风 เก่งกาจเรื่องค่ายคู ประตูกล เจ้าของหมู่ตึกเมฆกลับในทะเลสาบไท่โอ่ว ก่อตั้งเป็นกองโจรสลัดที่ปล้นคนเลวช่วยคนยากมีลูกชายหนึ่งคนชื่อ เล็กอ่วงเอ็ง ภายหลังหมู่ตึกเมฆกลับถูกไฟไหม้ เล็กเซ่งฮวงหายสาบสูญไป
บู๊เม้งฮวง 武眠风 หลังจากออกจากสำนักก็ชวนชาวยุทธ์ไปจับกุมตั้งเฮี้ยงฮวงและบ๊วยเถี่ยวฮวงเพื่อหวังชิงคัมภีร์เก้าอิมไปคืนให้อาจารย์ แต่สุดท้ายเสียชีวิตในเหตุการณ์นี่
ปั้งมิกฮวง 冯默风 หลังออกมาจากสำนักก็ไปเป็นช่างตีเหล็ก แล้วถูกมองโกลต้อนไปเป็นช่างตีเหล้กในกองทัพสุดท้ายต้องตายเพราะช่วย ก๊วยเจ๋งและเอี้ยก่วยตอนที่ทั้ง2ไปช่วย2พี่น้องตระกลูบู๊ลูกของบู๊ซำทงที่ถูกมองโกลจับตัวไป ปังมิกอวงเห็นเหตุการณ์ก็เข้าไปช่วยทั้งที่ตัวเองไม่รู้จักกับก๊วยเจ๋งเลย
หลังจากตั้งเฮี้ยงฮวงและบ๊วยเถี่ยวฮวงขโมยคัมภีร์เก้าอิมและหนีออกจากเกาะดอกท้อ อึ้งเอี๊ยะซือโกรธมากจนไปลงที่ศิษย์คนอื่นโดยหักขาศิษย์ที่เหลือแล้วขับออกจากเกาะดอกท้อ
ศิษย์รุ่นที่ 2 คือ
เที้ยเอ็ง หลานของเล็กลิบเตี้ยและเล็กเตียงง้วน อึ้งเอี๊ยะซือช่วยมาจากตอนที่ลี้มกโช้วจะฆ่านางกับลูกพี่ลูกน้องนางชื่อ เล็กบ้อซัง เที้ยเอ็งโดนอึ้งเอี๊ยะซือช่วยไปและรับเป็นศิษย์ ส่วนเล้กบ้อซังโดนลี้มกโช้วชิงตัวไป
==หลานศิษย์ของอึ้งเอี๊ยะซือ==
ส่าโกว ลูกสาวเค็กเล้งฮวง เป็นคนสติไม่เต็มหลังจากเจอกับอึ้งเอี๊ยะซือได้รับการถ่ายทอดวิชามากมายแต่เรียนไม่ได้มากเพราะค่อนข้างโง่งมนั่นเอง สุดท้ายอึ้งเอี๊ยะซือ ได้คิด 3 ท่าใหม่พิเศษสำหรับนางโดยเฉพาะ นางใช้สู้กับลี้มกโช้วแต่ใช้แค่ 3 ท่านี้ก็พอสู้กับลี้มกโช้วได้
เล็กอ่วงเอ็ง ลูกชายของเล็กเซ่งฮวงโดนอึ้งเอี๊ยะซือจัดพีธีแต่งงานกับสาวที่เจอหน้าแค่ครั้งเดียวเองที่ร้านสุราร้างแต่ก็เต็มใจเพราะสาวนั้นน่ารักชื่อเที้อเอี้ยวเกีย
== ผู้เขียนบทความเพิ่มเติมและเรียบเรียงเนื้อหาใหม่เพิ่มเติม ==
เขียนและเรียบเรียงเนื้อหาใหม่โดย ; ส.อ.เอกนรินทร์ ณัฐภณ ( SGT.Eknarin Natthaphon )
เนื้อหาบางส่วนอ้างอิงจาก ;
(1) https://zh.wikipedia.org/wiki/%E6%A1%83%E8%8A%B1%E5%B3%B6_(%E9%96%80%E6%B4%BE)
(2) https://en.wikipedia.org/wiki/Huang_Yaoshi
(3) http://wuxia.wikia.com/wiki/Huang_Yaoshi
(4) http://wiki.wuxiaedge.com/index.php/Huang_Yaoshi
ตัวละครในนิยายกำลังภายใน
ห้ายอดฝีมือ
ตัวละครที่เป็นนักวูซู | thaiwikipedia | 629 |
อย. | redirect องค์การอาหารและยา | thaiwikipedia | 630 |
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration - FDA) เป็นส่วนราชการระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัย ผู้ประกอบการก้าวไกล ระบบคุ้มครองสุขภาพไทยยั่งยืน
== อำนาจหน้าที่ ==
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
เฝ้าระวังกำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
จากอำนาจหน้าที่ที่กล่าวมาข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จำนวน 9 ฉบับ และอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
กฎหมาย
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530) และฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2562)
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และแก้ไข้เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2530) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 25xx) ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560) และฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562)
พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531
พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543)
พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562
อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ
The Single Convention on Narcotic Drug 1961
The Convention on Psychotropic Substance 1971
The International Code of Marketing of Breast-milk Substitute 1981
The United Nation Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988
== หน่วยงานในสังกัด ==
สำนักงานเลขานุการกรม (Office of the Secretary)
กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices Control Division)
กองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย (Cosmetic and Hazardous Substances Control Division)
กองควบคุมวัตถุเสพติด (Narcotics Control Division)
กองด่านอาหารและยา (Import and Export Inspection Division)
กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Herbal Products Division)
กองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ (Innovation Health Products and Service Division)
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค (Public & Consumer Affairs Division)
กองยา (Medicine Regulation Division)
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (Strategy and Planning Division)
กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (Rural and Local Consumer Health Products Protection Promotion Division)
กองอาหาร (Food Division)
กลุ่มตรวจสอบภายใน (Internal Audit Group)
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (Public Sector Development Group)
กลุ่มกฎหมายอาหารและยา (Food and Drug Legal Group)
ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Complaint and Enforcement management Center)
กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด (Narcotics Revolving Fund)
== คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ==
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้กฎหมายทั้ง 8 ฉบับนี้ คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่
คณะกรรมการอาหาร
คณะกรรมการยา
คณะกรรมการเครื่องสำอาง
คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์
คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
พร้อมกันนี้ คณะรัฐมนตรียังได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาด้านยา อาหารและสารเคมี เป็นกลไกประสานงานกับหน่วยงานอื่น คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่
คณะกรรมการระบบยาแห่งชาติ
คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังได้เข้าร่วมองค์กรนานาชาติ เช่น Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme (PIC/S)
การดำเนินงานควบคุมทางด้านต่างๆ จะต้องดำเนินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และมติของคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น และเลขาธิการฯ รองเลขาธิการฯ เจ้าหน้าที่ของกองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, เภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กทม. โดย อย. ได้มอบให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อสามารถตรวจสอบดูแลคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด และทำหน้าที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติของคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น
== ทำเนียบเลขาธิการ ==
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เว็บอย. ข้อมูลโดยกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
Facebook : facebook.com/fdathai
Youtube : youtube.com/fdathai
Instagram : instagram.com/fdathai
Twitter : twitter.com/fdathai
LINE@ : @fdathai
กระทรวงสาธารณสุข
อาหาร
ยา
องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2517
หน่วยงานของรัฐบาลไทยในจังหวัดนนทบุรี
คณะกรรมการอาหารและยา | thaiwikipedia | 631 |
ประเทศบัลแกเรีย | บัลแกเรีย (; България|Bǎlgariya) ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (บัลแกเรีย: Реnубʌиkа Бъʌƨаpия) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรบอลข่านด้านตะวันออก มีพรมแดนติดกับประเทศโรมาเนียทางตอนเหนือ ทางตะวันตกติดกับประเทศเซอร์เบียและประเทศมาซิโดเนียเหนือ ส่วนทางตอนใต้ติดกับประเทศกรีซและประเทศตุรกี และจรดทะเลดำทางตะวันออก ประเทศบัลแกเรียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของยุโรป ด้วยพื้นที่ มีกรุงโซเฟียเป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุด เมืองที่มีจำนวนประชากรรองลงมาได้แก่ ปลอฟดิฟ วาร์นา และบูร์กาส
หนึ่งในสังคมช่วงแรกของดินแดนบัลแกเรียปัจจุบันคือวัฒนธรรมคารานอวอในยุคหินใหม่ ซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ถึง 6,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงศตวรรษที่ 6 ถึง 3 ก่อนคริสต์ศักราช ภูมิภาคนี้กลายเป็นสมรภูมิรบของชาวเธรเซียนโบราณ ชาวเปอร์เซีย ชาวเคลต์ และชาวมาซิโดเนีย กระทั่งความมั่นคงเกิดขึ้นเมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถพิชิตภูมิภาคนี้ได้ใน ค.ศ. 45 อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐโรมันทยอยแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ การรุกรานโดยชนเผ่าในภูมิภาคยังคงดำเนินต่อไปเป็นระยะ จนเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชาวสลาฟยุคแรกได้เริ่มตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินแดนนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือชนบัลการ์ที่นำโดยอัสปารุค ที่เริ่มโจมตีดินแดนเกรตบัลแกเรียเก่าและรุกรานคาบสมุทรบอลข่านอย่างถาวรในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 พร้อมทั้งสถาปนาจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ซึ่งได้รับการยอมรับโดยสนธิสัญญาจากจักรวรรดิโรมันตะวันออกใน ค.ศ. 681 จักรวรรดิบัลแกเรียได้ครอบงำคาบสมุทรบอลข่านส่วนใหญ่ และมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมสลาฟ โดยจะเห็นได้จากการพัฒนาอักษรซีริลลิก จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ดำรงอยู่กระทั่งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 เมื่อจักรพรรดิเบซิลที่ 2 แห่งไบแซนไทน์ พิชิตและยุบเลิกจักรวรรดิลง แต่กระนั้นการจราจลที่ประสบผลสำเร็จของบัลแกเรียใน ค.ศ. 1185 ทำให้จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจักรวรรดิรุ่งเรืองถึงขีดสุดในรัชสมัยซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 (ค.ศ. 1218–1241) ภายหลังสงครามที่เหน็ดเหนื่อยและความขัดแย้งในระบบศักดินาหลายครั้ง จักรวรรดิจึงล่มสลายลง และใน ค.ศ. 1396 ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมันเป็นเวลาเกือบห้าศตวรรษ
สงครามรัสเซีย-ตุรกีใน ค.ศ. 1877–1878 ส่งผลให้เกิดการก่อตั้งรัฐที่สาม ซึ่งถือเป็นรัฐชาติบัลแกเรียปัจจุบัน กลุ่มชนบัลแกเรียจำนวนมากถูกละทิ้งอยู่นอกพรมแดนชาติใหม่ ซึ่งกระตุ้นความรู้สึกต่อต้านศาสนาที่นำไปสู่ความขัดแย้งหลายครั้งกับประเทศเพื่อนบ้านและเข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ใน ค.ศ. 1946 ประเทศบัลแกเรียกลายเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มตะวันออกและถูกปกครองภายใต้รัฐสังคมนิยม แต่ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองประเทศได้ยกเลิกการผูกขาดอำนาจหลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1989 และอนุญาตให้มีการเลือกตั้งแบบหลายพรรคการเมืองได้ จากนั้นประเทศบัลแกเรียก็เปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบตลาด นับตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1991 ประเทศบัลแกเรียจึงมีสถานะเป็นรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย 28 จังหวัด โดยมีการรวมอำนาจทางการเมือง การบริหาร และเศรษฐกิจในระดับสูง
ประเทศบัลแกเรียเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจอยู่ในระดับบน–ปานกลาง มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในลำดับที่ 68 ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของประเทศเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตลาดเดี่ยวยุโรป รายได้หลักของประเทศมาจากภาคบริการ รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเครื่องจักรและการทำเหมืองแร่) และภาคเกษตรกรรม การทุจริตในวงกว้างถือเป็นปัญหาสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม โดยประเทศบัลแกเรียได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีการทุจริตมากที่สุดในสหภาพยุโรปเมื่อ ค.ศ. 2018 อีกทั้งประเทศยังต้องเผชิญกับวิกฤตด้านประชากร ด้วยจำนวนประชากรที่ทยอยลดลงอย่างช้า ๆ จากที่มีประชากรสูงสุดเกือบ 9 ล้านคนใน ค.ศ. 1988 เหลือประมาณ 6.5 ล้านคนในปัจจุบัน ประเทศบัลแกเรียเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เนโท และสภายุโรป นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป หรือ OSCE และได้รับตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติถึงสามครั้ง
== ภูมิศาสตร์ ==
ในตอนบนของประเทศเป็นแบบภาคพื้นสมุทร ในตอนล่างของประเทศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 10.5 องศาเซลเซียส
== ประวัติศาสตร์ ==
=== จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ===
เป็นอาณาจักรในยุคกลางของบัลแกเรียที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 632 ในบริเวณใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูป (Danube Delta) และสลายตัวลงเมื่อปี ค.ศ. 1018 หลังจากที่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิบัลแกเรียครอบคลุมบริเวณตั้งแต่บูดาเปสต์ ไปจนถึงทะเลดำ และจากแม่น้ำนีพเพอร์ในยูเครนปัจจุบันไปจนถึงทะเลเอเดรียติค จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 มาแทนที่ด้วยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1185 ชื่อทางการของประเทศตั้งแต่ตั้งมาคือ “บัลแกเรีย”
=== จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ===
บัลแกเรียมีฐานะเป็นรัฐชาติในปี พ.ศ. 1224 ประกอบขึ้นจากชนชาติสลาฟและชนชาติบัลการ์ (ชนชาติเติร์กิกกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรบอลข่าน) ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1561
=== จักรวรรดิออตโตมัน ===
ต่อมาตกอยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโตมัน 5 ศตวรรษ จากปี พ.ศ. 1939
=== ยุคอาณานิคมของรัสเซีย ===
สมัยนั้นจักรวรรดิรัสเซียต้องการตุรกีและบัลแกเรียมาเป็นอาณานิคมโดยบุกตุรกีและบัลแกเรียพร้อมกันสุดท้ายบัลแกเรียก็ตกเป็นอาณานิคมของรัสเซีย พ.ศ. 2368 ตามสนธิสัญญาซานสเตฟาโน จนถึงปี พ.ศ. 2421 ราชรัฐบัลแกเรียจึงได้รับการยอมรับในฐานะประเทศเอกราชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ปกครองโดยราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราชวงศ์โรมานอฟ
=== ยุคสงครามเย็น ===
บัลแกเรียเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองโดยอยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลางและฝ่ายอักษะ และเมื่อเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่1และครั้งที่ 2จึงถูกกำหนดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรให้สหภาพโซเวียตปกครอง บัลแกเรียปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2533
== การเมืองการปกครอง ==
=== สถานการณ์สำคัญ ===
ภายหลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียต บัลแกเรียได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 รัฐสภาบัลแกเรียได้รับรองรัฐธรรมนูญของประเทศ บัลแกเรียมีระบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา 240 คน จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก 4 ปี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี และอาจอยู่ต่อได้อีกหนึ่งวาระ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้แก่ นาย Georgi Parvanov จากพรรคสังคมนิยมบัลแกเรีย (Bulgarian Socialist Party : BSP) ซี่งดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2
บัลแกเรียจัดการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2548 รัฐบาลชุดปัจจุบันประกอบด้วยพรรค BSP พรรค The Simeon II National Movement (SNM) ซึ่งเป็นพรรคของอดีตกษัตริย์ Simeon II และพรรค The Movement for Rights and Freedom (MRF) คิดเป็นคะแนนเสียงทั้งหมด 169 ที่นั่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ได้แก่ นาย Sergei Stanishev จากพรรค BSP ซึ่งครองที่นั่งมากที่สุดในสภา (82 ที่นั่ง)
รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการเข้าเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมยิ่งขึ้น การปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ลดอาชญากรรมและการฉ้อราษฎร์บังหลวง แก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบการศึกษา อาทิ การให้เงินสนับสนุนโรงเรียนอนุบาล การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ
รัฐบาลชุดปัจจุบันประสบความสำเร็จในการนำบัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หากแต่พรรค BSP ได้รับการวิจารณ์ว่าไม่สามารถรักษาคำมั่นที่จะลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงไว้ได้ อีกทั้งการเสื่อมถอยความนิยมของพรรค SNM และมีแนวโน้มว่า สส. ส่วนหนึ่งของพรรค SNM อาจแปรพักตร์ไปเป็นสมาชิกพรรคขวาเกิดใหม่ภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีกรุงโซเฟียที่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ทำให้สื่อต่างประเทศวิเคราะห์ว่า อาจมีการเลือกตั้งภายในสิ้นปี 2550 หรือต้นปี 2551 ทั้งนี้ นับแต่การเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตย บัลแกเรียได้จัดให้มีการเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยไม่มีรัฐบาลชุดใดได้รับเลือกต่ออีกหนึ่งวาระ
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 บัลแกเรียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 28 จังหวัด (provinces - oblasti) หลังจากที่เดิมแบ่งเป็น 9 จังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยที่แต่ละแห่งตั้งชื่อตามเมืองหลวงของจังหวัด โดยที่เมืองหลวงประจำประเทศเป็นจังหวัดหนึ่งแยกต่างหาก
{|
|
บลากอเยฟกราด (Blagoevgrad)
บูร์กาส (Burgas)
ดอบรีช (Dobrich)
กาโบรโว (Gabrovo)
ฮาสโคโว (Haskovo)
คาร์จาลี (Kardzhali)
คูย์สเตนดิล (Kyustendil)
|
โลเวช (Lovech)
มอนทานา (Montana)
พาซาร์จีก (Pazardzhik)
เพร์นิก (Pernik)
เพลเวน (Pleven)
พลอฟดิฟ (Plovdiv)
ราซกราด (Razgrad)
|
รูเซ (Ruse)
ชูเมน (Shumen)
ซีลิสตรา (Silistra)
สลีเวน (Sliven)
สโมลยาน (Smolyan)
โซเฟีย (Sofia)
โซเฟีย (Sofia)
|
สตาราซากอรา (Stara Zagora)
ทอร์กอวีชเต (Targovishte)
วาร์นา (Varna)
เวลีโคทาร์โนโว (Veliko Tarnovo)
วีดิน (Vidin)
วราตซา (Vratsa)
ยามโบล (Yambol)
|}
=== นโยบายต่างประเทศ ===
==== ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป ====
นโยบายการต่างประเทศของบัลแกเรียมุ่งเน้นการเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป และ
นาโต ของบัลแกเรีย การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นเหตุการณ์สำคัญสุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของบัลแกเรีย การเข้าเป็นสมาชิกเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบูรณาการ ในการที่จะดำรงสมาชิกภาพอย่างสมบูรณ์บัลแกเรียต้องดำเนินการปฏิรูปต่อไป โดยเฉพาะในด้านกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎ์บังหลวงและอาชญากรรม ซึ่งยังคงเป็นความท้าทายของบัลแกเรีย โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะตรวจสอบการดำเนินการปฏิรูปในสาขาเหล่านี้เป็นระยะต่อไปจนกว่าจะพอใจ ในด้านเศรษฐกิจบัลแกเรียมีข้อได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจตรงที่ค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูง บัลแกเรียมีความประสงค์ที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้เพิ่มโอกาสดังกล่าวได้ โดยปัจจุบันมีนักลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในบัลแกเรียมากขึ้น ปัญหาของบัลแกเรีย คือ มีขีดความสามารถทางการแข่งขันต่ำ ดังนั้น บัลแกเรียจึงต้องเพิ่มสัดส่วนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันต้องคงต้นทุน ค่าจ้าง วัสดุ และพลังงานไว้ในระดับที่ต่ำต่อไป นอกจากนี้ บัลแกเรียให้ความสำคัญกับนโยบายด้านพลังงานของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ และมีความต้องการสร้างโรงงานผลิตพลังงานนิวเคลียร์แห่งใหม่ นอกจากนี้ บัลแกเรียต้องการเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายท่อส่งน้ำมันและก๊าซในภูมิภาคบอลข่าน
บัลแกเรียให้ความสำคัญแก่การสร้างเสถียรภาพในคาบสมุทรบอลข่าน ทั้งนี้ บัลแกเรียมองว่า ประเทศของตนเป็น stabilizing force ทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน และเป็นประเทศทางผ่านสินค้า (transit) ในภูมิภาค โดยจากกรุงโซเฟีย มีทางรถยนต์เชื่อมกรุงเบลเกรด และกรุงอิสตันบูล และเป็นเส้นทางจากยุโรปเหนือไปกรุงเอเธนส์ ผ่านเมือง Skopje และ Salonica ในกรีซ
สนับสนุนการบูรณาการของทวีปยุโรปในกรอบกว้างที่มีสหรัฐฯ รวมอยู่ด้วย ที่เรียกว่า
Euro-Atlantic Integration บัลแกเรียเข้าร่วมในโครงการ NATO Partnership for Peace โดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโต ตั้งแต่ปี 2540 และได้เข้าเป็นสมาชิกนาโตในปี 2547 พร้อมกับ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนียและโรมาเนีย
== เศรษฐกิจ ==
=== สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ===
บัลแกเรียประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2533 ภายหลังที่ COMECON (องค์กรความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก) ล่มสลายลงพร้อมกับการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต เศรษฐกิจของบัลแกเรียฟื้นตัว เป็นครั้งแรกภายหลังวิกฤตการณ์ในปี พ.ศ. 2537 โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 บัลแกเรียได้ทำความตกลง Stand-by Arrangement กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีระยะเวลา 2 ปี ภายใต้วงเงิน 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจนถึงปัจจุบัน บัลแกเรียได้กู้เงินจาก IMF ภายใต้ความตกลงดังกล่าว จำนวน 191 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการบริหารของ IMF ได้สิ้นสุดการทบทวนการดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจของบัลแกเรียเป็นครั้งที่ 3 ของปี พ.ศ. 2546 และเห็นว่า ดัชนีเศรษฐกิจมีผล เป็นที่น่าพอใจ จึงอนุมัติให้บัลแกเรียมีสิทธิกู้เงินได้อีก จำนวน 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาคของบัลแกเรียเป็นไปในเชิงบวก และเศรษฐกิจมีแนวโน้มพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ โดยมีการดำเนินการตามแผนของ IMF และ Currency Board อย่างเคร่งครัด เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานลดลงเป็นลำดับ สถานะทางเศรษฐกิจของบัลแกเรียจึงมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ การปฏิรูปเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ มีความก้าวหน้ามาก อาทิ ภาคพลังงาน ภาคการเดินรถไฟ ภาคการบริหารการเก็บภาษี และภาคการแปรรูปธนาคารของรัฐหลายธนาคาร ซึ่งการรักษาความต่อเนื่องของการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและการลงทุน จะเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของบัลแกเรียต่อไปในระยะกลาง โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อสร้างความพร้อมให้กับบัลแกเรียในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2550
=== ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ===
บัลแกเรียถือเป็นตลาดส่งออกที่มีลู่ทางที่จะขยายตัวได้อีกมากของไทย และเป็นประเทศที่อยู่ในระหว่างการปฏิรูปและมีลู่ทางที่จะมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของยุโรปต่อไป นอกจากนี้ บัลแกเรียยังเป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจทะเลดำ (Black Sea Economic Cooperation) รวมทั้ง บัลแกเรียจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2550 บัลแกเรียมีทำเลที่ตั้งเป็นเมืองท่าในทะเลดำ และมีพื้นที่ติดกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่านที่ไม่มีทางออกทะเล อาทิ มาซิโดเนียและมอนเตเนโกร เป็นต้น อีกทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก หากได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์ จะเป็นตัวเสริมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทยได้ นอกจากนี้ ยังมีค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูง ปัจจุบันมีนักลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในบัลแกเรียมากขึ้น
== ประชากรศาสตร์ ==
=== เชื้อชาติ ===
ประชากร 7.9 ล้านคน ประกอบด้วยชาวบัลแกเรีย ร้อยละ 83.9 ชาวเติร์ก ร้อยละ 9.4 และอื่น ๆ (มาซิโดเนีย อาร์มีเนีย ตาตาร์)
=== ศาสนา ===
ชาวบัลแกเรียส่วนใหญ่ประมาณ80-90%นับถือศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์และส่วนน้อยประมาณ10%นับถือศาสนาอิสลามเป็นชาวเตอร์กิก
==หมายเหตุ==
== อ้างอิง ==
ประเทศบัลแกเรีย จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
รัฐบาล
President of The Republic of Bulgaria
Chief of State and Cabinet Members
ข้อมูลทั่วไป
Bulgaria at UCB Libraries GovPubs
ท่องเที่ยว
บ
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 7
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2421
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2451 | thaiwikipedia | 632 |
ฐานข้อมูล | ฐานข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ
== ประวัติ ==
ฐานข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกับฐานข้อมูลสมัยใหม่ ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในทศวรรษ 1960 ซึ่งผู้บุกเบิกในสาขานี้คือ ชาลส์ บากแมน แบบจำลองข้อมูลสำคัญสองแบบเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งเริ่มต้นด้วย แบบจำลองข่ายงาน (พัฒนาโดย CODASYL) และตามด้วยแบบจำลองเชิงลำดับชั้น (นำไปปฏิบัติใน IMS) แบบจำลองทั้งสองแบบนี้ ในภายหลังถูกแทนที่ด้วย แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับแบบจำลองอีกสองแบบ แบบจำลองแบบแรกเรียกกันว่า แบบจำลองแบนราบ ซึ่งออกแบบสำหรับงานที่มีขนาดเล็กมาก ๆ แบบจำลองร่วมสมัยกับแบบจำลองเชิงสัมพันธ์อีกแบบ คือ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ หรือ โอโอดีบี3 (OODB)
ในขณะที่แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีเซต ได้มีการเสนอแบบจำลองดัดแปลงซึ่งใช้ทฤษฎีเซตคลุมเครือ (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากตรรกะคลุมเครือ) ขึ้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ปัจจุบันมีการกล่าวถึงมาตรฐานโครงสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างระบบ ให้สืบค้นรวมกันเสมือนเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และการสืบค้นต้องแสดงผลตรงตามคำถาม มาตรฐานดังกล่าวได้แก่ XML RDF Dublin Core Metadata เป็นต้น และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลรหว่างต่างหน่วยงานได้ดี คือการใช้ Taxonomy และ อรรถาภิธาน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับจัดการความรู้ในลักษณะศัพท์ควบคุม เพื่อจำกัดความหมายของคำที่ใช้ได้หลายคำในความหมายเดียวกัน
== สถาปัตยกรรม ==
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล ประกอบด้วย 3 ระดับ คือ ระดับภายนอก, ระดับแนวคิด และ ระดับภายใน โดยทั้ง 3 ระดับ จะถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยชัดเจน ซึ่งทั้ง 3 ระดับเป็นลักษณะสำคัญหลักๆ ของแบบจำลองเชิงสัมพันธ์/แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational model) ที่นิยมนำมาใช้กับฐานข้อมูลในยุคศตวรรษที่ 21
ระดับภายนอก คือ การบอกผู้ใช้ให้เข้าใจว่าจะจัดการข้อมูลได้อย่างไร โดยในฐานข้อมูลหนึ่งๆ สามารถมีจำนวนวิวที่ระดับภายในกี่วิวก็ได้ ระดับภายใน คือ การที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในที่จัดเก็บข้อมูลเชิงกายภาพและประมวลผลโดยระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร สถาปัตยกรรมภายในจะมีเกี่ยวข้องกับ ต้นทุน, ประสิทธิภาพ, การขยายขนาดของงาน และ ปัจจัยในการดำเนินการอื่นๆ ระดับแนวคิด คือ ระดับที่อยู่ระหว่างระดับภายในและระดับภายนอก โดยจะต้องจัดเตรียมวิวของฐานของมูลให้ไม่ซับซ้อน โดยจะมีรายละเอียดว่าจะจัดเก็บหรือจัดการข้อมูลอย่างไร, และสามารถรวมระดับภายนอกที่หลากหลายต่างๆ ให้สอดคล้องเข้าไว้ด้วยกัน
== ระบบจัดการฐานข้อมูล ==
ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล, จัดเตรียมพื้นที่ในการเก็บ, การเข้าถึง, ระบบรักษาความปลอดภัย, สำรองข้อมูล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ตามแบบจำลองฐานข้อมูล (Database model) ที่สนับสนุน อาทิเช่น แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ (Relational model) หรือ ฐานข้อมูล XML เป็นต้น แบ่งตามประเภทของคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุน อาทิเช่น server cluster หรือ โทรศัพท์พกพา เป็นต้น แบ่งตามประภทของภาษาสอบถามที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูล อาทิเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง หรือ XQuery แบ่งตามประสิทธิภาพในการ trade-offs อาทิเช่น ขนาดที่ใหญ่ที่สุด หรือ ความเร็วสูงสุด หรือ อื่นๆ เป็นต้น ในบาง DBMS จะครอบคลุมมากกว่าหนึ่งหมวดหมู่ เช่น สนับสนุนภาษาสอบถามได้หลายๆ ภาษา ยกตัวอย่างเช่น ใน DBMS ที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลาย MySQL, PostgreSQL, Microsoft Access, SQL Server, FileMaker,Oracle,Sybase, dBASE, Clipper,FoxPro อื่นๆ ในทุกๆ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลจะมี Open Database Connectivity (ODBC) driver มาให้ด้วย เพื่ออนุญาตให้ฐานข้อมูลสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลแบบอื่นๆ ได้
== การออกแบบฐานข้อมูล ==
การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases) มีความสำคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS) ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท
1. รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น หรือโครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model)
วิธีการสร้างฐาน ข้อมูลแบบลำดับขั้นถูกพัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ในปี 1980 ได้รับความนิยมมาก ในการพัฒนาฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยที่โครงสร้างข้อมูลจะสร้างรูปแบบเหมือนต้นไม้ โดยความสัมพันธ์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย (One- to -Many)
2. รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data Model)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกับฐาน ข้อมูลแบบลำดับชั้น ต่างกันที่โครงสร้างแบบเครือข่าย อาจจะมีการติดต่อหลายต่อหนึ่ง (Many-to-one) หรือ หลายต่อหลาย (Many-to-many) กล่าวคือลูก (Child) อาจมีพ่อแม่ (Parent) มากกว่าหนึ่ง สำหรับตัวอย่างฐานข้อมูลแบบเครือข่ายให้ลองพิจารณาการจัดการข้อมูลของห้องสมุด ซึ่งรายการจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ที่อยู่ ประเภท
3. รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relational model)
เป็นลักษณะการออกแบบฐานข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม โดยที่ข้อมูลแต่ละแถว (Row) ของตารางจะแทนเรคอร์ด (Record) ส่วน ข้อมูลนแนวดิ่งจะแทนคอลัมน์ (Column) ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล (Field) โดยที่ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระ ดังนั้นผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เช่นระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ
การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
การออกแบบฐานข้อมูลในองค์กรขนาดเล็กเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอาจเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากนัก เนื่องจากระบบและขั้นตอนการทำงานภายในองค์กรไม่ซับซ้อน ปริมาณข้อมูลที่มีก็ไม่มาก และจำนวนผู้ใช้งานฐานข้อมูลก็มีเพียงไม่กี่คน หากทว่าในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งมีระบบและขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน รวมทั้งมีปริมาณข้อมูลและผู้ใช้งานจำนวนมาก การออกแบบฐานข้อมูลจะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานพอควรทีเดียว ทั้งนี้ ฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรได้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลภายในองค์กรทั้งนี้ การออกแบบฐานข้อมูลที่นำซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลมาช่วยในการดำเนินการ สามารถจำแนกหลักในการดำเนินการได้ 6 ขั้นตอน คือ
1.การรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ข้อมูล
2.การเลือกระบบจัดการฐานข้อมูล
3.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด
4.การนำฐานข้อมูลที่ออกแบบในระดับแนวคิดเข้าสู่ระบบจัดการฐานข้อมูล
5.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ
6.การนำฐานข้อมูลไปใช้และการประเมินผล
การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ
การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ หรือในระดับแนวความคิด เป็นขั้นตอนการออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในระบบโดยใช้แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอธิบายโดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (E-R Diagram) จากแผนภาพ E-R Diagram นำมาสร้างเป็นตารางข้อมูล (Mapping E-R Diagram to Relation) และใช้ทฤษฏีการ Normalization เพื่อเป็นการรับประกันว่าข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด ซึ่งการออกแบบเชิงตรรกะนี้จะบอกถึงรายละเอียดของ Relation , Attribute และ Entity
== อ้างอิง ==
==แหล่งข้อมูล==
== หนังสืออ่านเพิ่มเติม ==
Ling Liu and Tamer M. Özsu (Eds.) (2009). "Encyclopedia of Database Systems, 4100 p. 60 illus. .
Gray, J. and Reuter, A. Transaction Processing: Concepts and Techniques, 1st edition, Morgan Kaufmann Publishers, 1992.
Kroenke, David M. and David J. Auer. Database Concepts. 3rd ed. New York: Prentice, 2007.
Raghu Ramakrishnan and Johannes Gehrke, Database Management Systems
Abraham Silberschatz, Henry F. Korth, S. Sudarshan, Database System Concepts
Teorey, T.; Lightstone, S. and Nadeau, T. Database Modeling & Design: Logical Design, 4th edition, Morgan Kaufmann Press, 2005.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
DB File extension – ข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่มีนามสกุล DB | thaiwikipedia | 633 |
วิศวกรรมศาสตร์ | วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้
== ประวัติศาสตร์ ==
แนวคิดทางวิศวกรรมศาสตร์นั้นมีปรากฏมาแต่ยุคโบราณกาลแล้ว นับแต่มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือพื้นฐาน เช่น ล้อ, รอก และคาน เครื่องมือประดิษฐ์เหล่านั้นถูกนิยามถึงในวิศวกรรมศาตร์ยุคปัจจุบันและถูกใช้ประโยชน์ในงานกลศาสตร์พื้นฐานเพื่อการพัฒนาเครื่องมือและวัตถุ
คำว่า engineering ในภาษาอังกฤษ อันหมายถึงวิศวกรรมศาสตร์นั้น ถูกสร้างมาจากคำว่า engineer ซึ่งคำๆนี้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึง ค.ศ. 1325 เมื่อคำว่า engine’er (อันมีความหมายว่า ผู้ใช้งานเครื่องจักร) นั้น เดิมทีหมายถึง "ผู้สร้างเครื่องจักรสำหรับใช้งานเพื่อการทหาร" ความหมายดังที่กล่าวมานั้น (ซึ่งความหมายนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว) คำว่า engine นั้นหมายถึงเครื่องจักรทางการทหาร หรืออาวุธนั่นเอง ตัวอย่างเช่นเครื่องยิงหินแคเทอพอลต์ หรือกล่าวโดยสรุปแล้ว แต่เดิมที วิศวกรคือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ในกองทัพนั่นเอง สำหรับคำว่า engine นั้นเอง มีความหมายที่เก่าแก่กว่านั้นอีกคือมาจากคำว่า ingenium ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า "ความสามารถที่มีมาโดยกำเนิด" โดยเฉพาะหมายถึงความสามารถทางปัญญา เช่นความฉลาดในการประดิษฐ์
ต่อมา เนื่องจากความรู้ในวิทยาการการออกแบบสิ่งก่อสร้างสำหรับพลเรือนเช่น สะพาน อาคารบ้านเรือนมีพัฒนาสูงขึ้น คำว่า Civil Engineer (วิศวกรรมโยธาในภาษาไทย) ( Civil แปลว่า พลเรือน) จึงได้ถูกบัญญัติใช้เพื่อการแยกแยะระหว่างวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในงานก่อสร้างที่ไม่เกี่ยวกับการทหาร กับ วิศวกรที่ทำงานในสายงานวิศวกรรมการทหาร (ความหมายของคำว่าวิศวกรรมศาสตร์ หรือ engineering ที่ถูกใช้ในยุคนั้น ส่วนใหญ่ไม่ตรงกับความหมายที่ถูกใช้ในปัจจุบัน ยกเว้นแต่เพียงบางส่วนที่ยังคงความหมายเดิมมาจนปัจจุบัน เช่นหน่วยทหารช่าง
=== ยุคโบราณ ===
ไม่ว่าจะ อาโครโปลิสแห่งเอเธนส์, วิหารพาร์เธนอนในกรีซ, ระบบท่อปะปาแห่งโรมัน, เส้นทางแอปพีเอิน, โคลอสเซียม หรือสวนลอยบาบิโลน หรือ ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย, พีระมิด ในอียิปต์ หรือ Teotihuacan แลเมืองและพิระมิดแห่งจักรวรรดิมายา, อินคาและแอสแทก หรือ กำแพงเมืองจีน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้น แสดงให้เห็นถึงความปราชเปรื่องของวิศวกรโยธาและเครื่องกลยุคโบราณ
วิศวกรโยธาคนแรกสุดในประวัติศาสตร์คืออิมโฮเตป ข้าราชบริพารในฟาโรห์โดจเซอร์ เขาคือผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพีระมิดโดจเซอร์ (เป็นพีระมิดแบบขั้นบันได) ในซาคคารา ในประเทศอียิปต์ ในช่วง 2630-2611 ก่อนคริสตกาล และเขาอาจจะเป็นคนๆแรกที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบเสาด้วย
ในกรีกโบราณ กลไกอันติคือเธราเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกในประวัติศาสตร์ หรือสิ่งประดิษฐ์ของอาร์คิมิดีสซึ่งเรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของงานทางวิศวกรรมเครื่องกลยุคโบราณ งานบางชิ้นของอาร์คิมิดิส และ กลไกแอนทิกิธีรา ต้องใช้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการของเฟืองทดหรือเฟืองแพลนเน็ททอรี ซึ่งเป็นสองกุญแจสำคัญในทฤษฎีจักรกลเพื่อใช้ในการออกแบบระบบเฟืองในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและยังคงใช้อย่างกว้างขวางในหลายๆสาขางานทางวิศวกรรมเครื่องกลเช่นหุ่นยนต์และวิศวกรรมยานยนต์
ในกองทัพจีนและโรมันโบราณต่างก็นำเครื่องจักรทางทหารที่ซับซ้อนเข้ามาใช้งานในราชการกองทัพเช่น เครื่องยิงหินแคเทอพอลต์, เครื่องยิงธนูบะลิสตา ในกองทัพโรมัน หรือการนำจรวดเข้ามาใช้ในงานสงครามของกองทัพจีน สำหรับเครื่องยิงหินเทรบิวเชตซึ่งถูกสร้างเพื่อการทำลายกำแพงเมืองของข้าศึกนั้น ถูกสร้างขึ้นในยุคกลาง
=== ยุคกลาง ===
ชาวอิรักนามอัล จาซาริคือผู้ที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบเครื่องจักรในปัจจุบัน ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1174 ถึง1200 เขาประดิษฐ์เครื่องจักรห้าเครื่องสำหรับการสูบน้ำถวายกษัตริย์ตุรกีราชวงศ์อาร์ตูควิดและปราสาทของราชวงศ์ เครื่องสูบน้ำลูกสูบแบบ double-acting reciprocating ที่เขาออกแบบคือเครื่องจักรเครื่องแรกที่มีการใช้ทั้ง connecting rod และcrankshaft ดังนั้นจะมีการเปลี่ยนการเคลื่อนที่แบบหมุนให้เป็นการเคลื่อนที่แบบกลับไปกลับมา แต่สำหรับวิศวกรในปัจจุบันแล้ว กลไกชนิดนี้ถือว่าเป็นกลไกขั้นพื้นฐาน
Donald Routledge Hill วิศวกรชาวอังกฤษเขียนถึงอัล จาซารีเอาไว้ว่า
แม้กระทั่งทุกวันนี้ ของเล่นบางชิ้นก็ยังใช้กลไก คาน-แคมซึ่งพอในงานประดิษฐ์กุญแจรหัสและตุ๊กตากลไขลานของอัล จาซารี นอกจากนี้ งานของเขาผ่านงานประดิษฐ์ของเขามากกว่า 50 ชิ้น เขาได้พัฒนาและค้นพบหลายๆสิ่งเช่น segmental gears, ระบบควบคุมเชิงกล, กลไก escapement, หุ่นยนต์, นาฬิกา, และระบบการอ้างอิงถึงวิธีออกแบบและการผลิต
=== ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ===
วิลเลียม กิลเบิร์ตจัดได้ว่าเป็นวิศวกรไฟฟ้าคนแรกจากผลงานการตีพิมพ์ De Magnete ใน ค.ศ. 1600ซึ่งเป็นผลงานที่มีการบัญญัติคำว่า"ไฟฟ้า"ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
เครื่องจักรไอน้ำเครื่องแรกถูกสร้างขึ้นโดยวิศวกรเครื่องกลชาวอังกฤษนาม โทมัส ซาวารี ใน ค.ศ. 1698 ซึ่งการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำนี้ นำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในทศวรรตต่อมา และทำให้การผลิตแบบ Mass Production นั้นเป็นไปได้
วิชาชีพวิศวกรก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในศตวรรตที่สิบแปด และความหมายของวิศวกรรมศาสตร์ก็แคบลง หมายถึงเฉพาะสาขาวิชาที่มีการนำวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้ามาใช้ เช่นเดียวกับ สาขาmechanic arts ที่เคยอยู่ในสายวิศวกรรมการทหารและโยธา ก็ถูกยกขึ้นมาเป็นวิศวกรรมศาสตร์
=== ยุคปัจจุบัน ===
วิศวกรรมไฟฟ้าสามารถกล่าวได้ว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากการทดลองของอาเลสซันโดร วอลตาในช่วง 1800s การทดลองของ เกออร์ก ซีโมน โอห์ม และ ไมเคิล ฟาราเดย์ และการประดิษฐ์มอร์เตอร์ไฟฟ้าใน ค.ศ. 1872 สำหรับงานของเจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์และเฮนริค เฮิรต์ในช่วงปลายศตวรรตที่ 19 ทำให้วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้ถือกำเนิดขึ้นมา มากไปกว่านั้น การค้นพบหลอดสุญญากาศและทรานซิสเตอร์ในช่วงเวลาต่อมาทำให้ความรู้ในสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเด่นล้ำเหนือวิศวกรรมสาขาอื่นๆ
สิ่งประดิษฐ์ของโทมัส ซาวารีและเจมส์ วัตต์ทำให้วิศวกรรมเครื่องกลในปัจจุบันก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าจะการพัฒนาเครื่องจักรเฉพาะ หรือเครื่องมือในการซ่อมบำรุงในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมต่างก็ทำให้ความรู้ในแขนงนี้กว้างมากขึ้นทั้งในสหราชอาณาจักร ถิ่นกำเนิดและต่างแดน
วิศวกรรมเคมีเองก็มีความคล้ายคลึงกับวิศวกรรมเครื่องกล ถูกพัฒนาในศัตวรรตที่ 19 ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมในเวลานั้นมีความต้องการวัสดุและกระบวนการใหม่ๆ และในช่วงปี 1880 ความต้องการการผลิตทางเคมีจำนวนมากทำให้อุตสาหกรรมเคมีถือกำเนิดขึ้น และทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตสารเคมีขนาดหนักจนทำให้มีโรงงานผลิตสารเคมีเกิดขึ้น บทบาทของวิศวกรเคมีคือการออกแบบโรงานและกระบวนการผลิตสารเคมี
วิศวกรรมการบิน แต่เดิมทีมุ่งหมายเพียงการออกแบบอากาศยาน ทว่าต่อมามีความมุ่งหมายรวมไปถึงการออกแบบอวกาศยานด้วย จุดกำเนิดของวิศวกรรมการบินอาจจะย้อนไปได้ถึงความพยายามค้นคว้าด้านการบินในศตวรรษที่ 18-19 รวมทั้งเครื่องร่อนผลงานของ เซอร์ จอร์จ เคยเลย์ ในช่วงทศวรรตสุดท้ายของศตวรรษที่ 18 ด้วย ในช่วงแรกเริ่ม ความรู้ในวิศวกรรมการบินนั้นมีเพียงแนวคิดและทักษะจากวิศวกรรมสาขาอื่นๆเท่านั้น แต่เพียงทศวรรษเดียวหลังความสำเร็จในการบินของพี่น้องไรต์ คือช่วงปี 1920s พัฒนาการด้านการบินได้รับการพัฒนาไปมากผ่านการสร้างอากาศยานสำหรับการทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในขณะดียวกัน การวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก็ดำเนินไปโดยการนำทฤฎีทางฟิสิกส์มาประยุกต์เข้ากับการทดลองจริง
== สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ==
วิศวกรรมศาสตร์นั้นคล้ายคลึงกับวิทยาศาสตร์ที่มีขอบข่ายกว้างขวางจนสามารถแตกแยกย่อยลงมาได้หลายสาขาย่อย และในแต่ละสาขาย่อยต่างก็มองตัวเองในสายงานต่างๆทางวิศวกรรม ถึงแม้ว่าในช่วงแรก วิศวกรจะถูกฝึกศึกษามาในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่หลังจากผ่านประสบการณ์งานในสายวิศวกรรมมาแล้ว วิศวกรผู้นั้นอาจจะมีความสามารถในการทำงานได้หลากหลายสาขา โดยประวัติศาสตร์แล้ว วิศวกรรมสาขาหลักๆแบ่งได้ดังนี้
วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน - ออกแบบอากาศยาน อวกาศยาน และสิ่งที่เกี่ยวข้อง
วิศวกรรมเครื่องกล - ออกแบบระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบกันกระเทือน
วิศวกรรเคมี - ใช้หลักการทางเคมีในกระบวนการผลิตเคมีอุตสาหกรรม รวมไปถึงการค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงและวัสดุจำเพาะใหม่ๆ
วิศวกรรมไฟฟ้า - ออกแบบระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
วิศวกรรมโยธา - ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึกและอาคารบ้านเรือน
เนื่องด้วยพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี วิศวกรรมสาขาใหม่ๆ มีความสำคัญมากขึ้นและได้รับการพัฒนาเช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแม็คคาทรอนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต นาโนเทคโนโลยี บางครั้ง สาขาใหม่นั้นก็เกิดจากการผสมผสานความรู้ของสาขาเดิมเข้าด้วยกัน การเกิดขึ้นใหม่ของสาขาทางวิศวกรรมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะถูกนิยามแบบชั่วคราว ในหลากหลายรูปแบบ หรือนิยามในฐานสาขาย่อยของสาขาที่มีอยู่แล้ว ช่วงว่างของความรู้นี้ เมื่อได้รับความสนใจศึกษามากขึ้น ก็จะได้รับการยกระดับให้เป็นสาขาใหม่ ตัวชี้วัดได้ตัวหนึ่งของการเกิดสาขาใหม่นั้นคือการตั้งสาขาวิชาหรือหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชื่อดัง
สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละสาขาที่มีปรากฏนั้น มักจะมีการเหลื่อมล้ำของความรู้ โดยเฉพาะในสาขาที่มีการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์
สำหรับสาขาทางวิศวกรรมนั้น ได้ถูกแสดงในรายการข้างล่างนี้
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมอัตโนมัติ
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมระบบสิ่งก่อสร้าง
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมโทรคมนาคม
วิศวกรรมชีวเวช (หรือ วิศวกรรมชีวการแพทย์)
วิศวกรรมนาโน
วิศวกรรมการผลิต
วิศวกรรมเกษตร
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
วิศวกรรมดินและน้ำ
วิศวกรรมขนส่ง
วิศวกรรมความปลอดภัย
วิศวกรรมปิโตรเลียม
วิศวกรรมปิโตรเคมี
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
วิศวกรรมโลจิสติกส์
วิศวกรรมการเชื่อม
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
วิศวกรรมเครื่องมือ
วิศวกรรมวัสดุ
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมอาหาร
วิศวกรรมสารสนเทศ
วิศวกรรมสื่อสาร
วิศวกรรมชายฝั่ง
วิศวกรรมสมุทรศาสตร์
วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
วิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต
วิศวกรรมระบบควบคุม
วิศวกรรมการวัดคุม
วิศวกรรมโลหการ
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมเหมืองแร่
วิศวกรรมอวกาศยาน
วิศวกรรมพลาสติก
วิศวกรรมพอลิเมอร์
วิศวกรรมต่อเรือ
วิศวกรรมการจัดการ
วิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย
วิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์
วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล
วิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
== ระเบียบวิธีทางวิศวกรรมศาสตร์ ==
วิศวกรจะประยุกต์ใช้ความรู้ในศาสตร์ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์เพื่อการหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมต่อความต้องการ หรือเพื่อการพัฒนางานที่รับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้ วิศวกรมีความจำเป็นยวดยิ่งที่จะต้องมีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบในโครงการของตน ดังนั้น วิศวกรจำต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดวิชาชีพของตน ถ้าทางเลือกนั้นมีมากกว่าหนึ่งทางเลือก วิศวกรจำต้องวิเคราะห์ความแตกต่างของทางเลือกและตัดสินใจเลือกเอาทางเลือกที่เหมาะสมต่อความต้องการของปัญหามากที่สุด หน้าที่ที่สำคัญที่สุดและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวิชาชีพวิศวกรก็คือการระบุ ทำความเข้าใจ และขยายความหมายของ "ข้อจำกัด" ในการออกแบบ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ได้ผล และเพียงแค่ความสำเร็จในเชิงเทคนิคนั้นยังไม่ถือว่าดีพอ หากแต่จะต้องบรรลุความต้องการที่เหนือไปจากขอบข่ายเชิงเทคนิคอีกด้วย "ข้อจำกัด" ในที่นี้นั้นอาจจะหมายถึง ทรัพยากรที่มี แรงงาน จินตนาการหรือเทคโนโลยีที่มี ความยืดหยุ่นสำหรับการปรับปรุงพัฒนาต่อ และปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคา ความปลอดภัย ความต้องการของตลาด ผลิตภาพ และสามารถใช้งานได้จริงในภาคสนามอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำความเข้าใจใน "ข้อจำกัด" วิศวกรจะต้องนำเอาความต้องการที่เจาะจงมาวิเคราะห์เพื่อสร้างขอบเขตซึ่งใช้งานได้จริงสำหรับการผลิตหรือปฏิบัติการ
== ดูเพิ่ม ==
รายชื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทย
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
สภาวิศวกร
THAIENGINEERING แหล่งข้อมูลถามตอบปัญหาทางวิศวกรรมภาษาไทย
ยกระดับวิศวกรโยธา พัฒนาวงการวิศวกรรม
วิศวกรโยธา
Civil Engineering
จริยธรรม | thaiwikipedia | 634 |
วิทยาศาสตร์โลก | วิทยาศาสตร์โลก หรือ โลกศาสตร์ (Earth Sciences) เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกครอบคลุมแขนงต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์โลก วิทยาศาสตร์โลกอาจถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ เนื่องจากโลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่าที่เรารู้จักที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แนวทางในการศึกษาวิทยาศาสตร์โลกนั้น มีทั้งคตินิยมแบบลดทอนและแบบองค์รวม สาขาวิชาสำคัญ ๆ ของวิทยาศาสตร์โลกเท่าที่ผ่านมานั้น จะใช้วิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี และชีววิทยา เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงปริมาณในพื้นที่หรือภาค (sphere) หลัก ๆ ของระบบโลก ซึ่งได้แก่
ธรณีวิทยา (Geology) ครอบคลุมส่วนของโลกที่เป็นหิน (หรือธรณีภาค) ซึ่งประกอบด้วยแกนโลก เนื้อโลก และเปลือกโลก และบรรพชีวินวิทยา (Paleontology)
สมุทรศาสตร์ (limnology) วิทยาแหล่งน้ำแผ่นดิน และ อุทกวิทยา (hydrology) ครอบคลุมส่วนของโลกที่เป็นน้ำ (หรืออุทกภาค) ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม
วิทยาศาสตร์ชั้นบรรยากาศ ครอบคลุมส่วนของโลกที่เป็นก๊าซ (หรือชั้นบรรยากาศ)
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ดาราศาสตร์
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์น่ารู้ โดย ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
โครงการลีซ่า โครงการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ โดยหอดูดาวเกิดแก้ว สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สาขาวิชา
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ | thaiwikipedia | 635 |
ประเทศอียิปต์ | อียิปต์ (Egypt; مصر มิศร์) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية ญุมฮูรียะฮ์ มิศร็อลอะเราะบียะฮ์) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด
ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,010,408 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง
ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในพื้นที่ของทะเลทรายสะฮารา ซึ่งมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง
ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงสิ่งก่อสร้างโบราณที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ
ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) [นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์] ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองทีบส์
== ภูมิศาสตร์ ==
ที่ตั้ง อียิปต์ตั้งอยู่บนมุมสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา และบริเวณเหนือข้ามคลองสุเอซไปในคาบสมุทรไซนาย
ภาคเหนือมีอาณาเขตติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดอิสราเอล
ภาคตะวันออก ติดทะเลแดง
ภาคใต้ ติดซูดาน
และติดลิเบียทางภาคตะวันตก
อียิปต์เป็นประเทศที่มีแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างธงชัยทวีปแอฟริกากับเอเชีย ผ่านตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ หลังจากได้มีการขุดและเปิดใช้คลองสุเอซ เมื่อปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) เส้นทางผ่านคลองสุเอซของอียิปต์ได้กลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
== ประวัติศาสตร์ ==
=== ก่อนประวัติศาสตร์ ===
ประเทศอียิปต์เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี
=== ยุคกลาง ===
=== ศตวรรษที่ 19-20 ===
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช ได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักรอียิปต์ ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน
== การเมืองการปกครอง ==
=== บริหาร ===
อียิปต์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข การเลือกตั้งประธานาธิบดีกระทำโดยการลงประชามติ และจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ปัจจุบันนาย Mohamed Hosni Mubarak เป็นประธานาธิบดี ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 4 โดยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 สมัชชาประชาชน (People’s Assembly) ของอียิปต์ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 454 คน ได้ลงคะแนนเสียง (445 เสียง) สนับสนุนให้ประธานาธิบดี Hosni Mubarak ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2524 ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปอีกเป็นสมัยที่ 4 (ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2542 ภายหลังที่ได้รับเลือกตั้ง ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Ahmad Nazif ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 2004 อียิปต์มีพรรคการเมือง 13 พรรคที่สำคัญ ได้แก่ National Democratic Party (NDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมีประธานาธิบดีมูบารัคเป็นประธานพรรค Labour Party, New Wafq Party, Liberal Party (Ahrar), Tabammu (Progressive Unionist Party) และ Democratic Nasserite Party พรรค NDP ของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2521 ในสมัยประธานาธิบดีซาดัต และได้รับเลือกตั้งเข้าบริหารประเทศตลอดมา จนกระทั่งต้องพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554
=== นิติบัญญัติ ===
รัฐสภาอียิปต์มี 2 สภา คือ
- สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 454 คน มาจากการเลือกตั้ง 444 คน และประธานาธิบดีแต่งตั้ง 10 คน มีวาระ 5 ปี ประธานรัฐสภา คือ Dr. Ahmed Fathi Sorour
- สภาที่ปรึกษา (Shura Council) มีสมาชิก 285 คน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลสาขาอาชีพต่าง ๆ จำนวน 2 ใน 3 (190 คน) อีก 95 คน ประชาชนเป็นผู้เลือก มีวาระ 3 ปี
=== ตุลาการ ===
=== สถานการณ์สำคัญ ===
=== การบังคับใช้กฎหมาย ===
=== สิทธิมนุษยชน ===
=== นโยบายต่างประเทศ ===
ช่วงปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) สมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ อียิปต์เน้นความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มประเทศอาหรับ และพยายามเข้าไปมีบทบาทสำคัญในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งในช่วงนี้ อียิปต์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากสหภาพโซเวียต และเข้ายึดคลองสุเอซเป็นของรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เพื่อหารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากคลองสุเอซเป็นทุนสร้างเขื่อนอัสวาน
ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) อียิปต์ส่งทหารไปยึดเมือง ชาร์ม เอล-เชห์ค บริเวณตอนใต้ของแหลมไซนาย หลังจากได้เจรจาให้กองทหารนานาชาติถอนออกไปจากไซนายแล้ว พร้อมกับได้ทำการปิดช่องแคบไทราน เพื่อมิให้อิสราเอลเดินเรือผ่าน การปฏิบัติการเช่นนี้ส่งผลให้เกิดสงครามหกวัน กับอิสราเอล ฝ่ายอิสราเอลได้รับชัยชนะ อียิปต์และพันธมิตรอาหรับได้สูญเสียดินแดน ได้แก่ ฉนวนกาซาและแหลมไซนายให้แก่อิสราเอล นับตั้งแต่ประธานาธิบดีอัลวาร์ ซาดัตเข้าดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ความสัมพันธ์บางประเทศในอาหรับ อาทิ ลิเบีย และซีเรีย เย็นชาลง อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ให้ช่วยไกล่เกลี่ยในการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล
เมื่อเกิดสงคราม 18 วันจากกรณีอียิปต์ส่งทหารข้ามคลองสุเอซไปยึดครองดินแดนที่สูญเสียคืนการสู้รบได้ยุติลงโดยสหรัฐฯ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยได้ตกลงให้มีเขตปลอดทหารระหว่างเขตแดนของอียิปต์และอิสราเอล ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้น ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหภาพโซเวียตถดถอยลง ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) อียิปต์ได้ยกเลิกสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต และให้ที่ปรึกษาด้านการทหารของโซเวียตออกจากประเทศ ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อียิปต์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบันปีละประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประธานาธิบดีซาดัตได้เดินทางไปเยือนอิสราเอล เมื่อปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) เพื่อเจรจาสันติภาพ และอียิปต์ได้มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่แคมป์เดวิดเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีผลให้อียิปต์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล อิสราเอลยินยอมคืนดินแดนไซนายทั้งหมด (ยกเว้นทาบา) ให้แก่อียิปต์เมื่อปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) แต่ผลจากการลงนามดังกล่าวทำให้ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ และอียิปต์ถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับเมื่อประธานาธิบดีมูบารัคเข้าบริหารประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ได้พยายามดำเนินนโยบายที่จะนำอียิปต์กลับสู่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับกลุ่มประเทศอาหรับ ด้วยการดำเนินการในด้านต่าง ๆ อาทิ สนับสนุนขบวนการปาเลสไตน์ สนับสนุนอิรักในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน สนับสนุนคูเวตในกรณีอิรักเข้ายึดครองคูเวต หลังจากนั้น ประเทศอาหรับต่าง ๆ ได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตตามปกติกับอียิปต์ ในขณะเดียวกัน อียิปต์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในการแสวงหาลู่ทางแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง ประธานาธิบดีมูบารัค ดำเนินบทบาทสำคัญในการประสานระหว่างกลุ่มอาหรับและ เป็นตัวเชื่อมในการเจรจากับอิสราเอลในปัญหาตะวันออกกลาง และพยายามแสดงบทบาทนำในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกา
=== ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย===
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอียิปต์ ดำเนินมาอย่างราบรื่นและก้าวหน้ามาตามลำดับ โดยหลังจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-อียิปต์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2546 และครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2549 ไทยและอียิปต์ได้ขยายความร่วมมือระหว่างกัน อาทิ ความร่วมมือด้านข่าวกรอง การผลักดันให้แต่ละฝ่ายเป็นประตูทางธุรกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อียิปต์ ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายจะเพิ่มมูลค่ารวมด้านการค้าเป็น 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2551 เพิ่มพูนความร่วมมือกันในด้านพลังงาน วิชาการ และการศึกษา อาทิ ความร่วมมือด้านการป้องกันโรคไข้หวัดนก การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิมของมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร และ การแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับรัฐบาล ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ การเสด็จฯ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 17-23 มีนาคม พ.ศ. 2550 และการเชิญผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์เยือนไทย ระหว่างวันที่ 23-27 มิถุนายน 2550 นับเป็นความก้าวหน้าในความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ
ด้านการทูต
ประเทศไทยและสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์สถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2497 นับเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาหรับที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกัน ต่างสนับสนุนกันในเวทีระหว่างประเทศ และในความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่น ในเวที Asia Middle East Dialogue (AMED) เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 การบินไทยเที่ยวบินที่ 8830 ทำการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมายังท่าอากาศยานนานาชาติไคโร
การค้าไทย - อียิปต์ในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่ารวม 949 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 911 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 873 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ
สินค้าเข้าจากอียิปต์ที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ด้ายและเส้นใย สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เป็นต้น
ด้านการศึกษา
อียิปต์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามซึ่งเป็นที่นิยม ของนักศึกษาไทยมุสลิม ปัจจุบันไทยมีโครงการร่วมมือด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัรของอียิปต์ โดยมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ได้สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส และการส่งครูมาร่วมทำการสอน นอกจากนั้น ปัจจุบันมีนักศึกษาไทยซึ่งกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ประมาณ 2,500 คน โดยในแต่ละปีมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิมประมาณปีละ 60-80 ทุน และทุนจากรัฐบาลอียิปต์ (กระทรวงอุดมศึกษา) ซึ่งให้แก่นักเรียนไทยทั่วไป ปีละ 2 ทุน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ยังได้ส่งครูมาสอนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามหลายแห่งในไทยมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2557 ไทยได้บริจาคเงินให้กับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของนักเรียนไทยด้วย
ขณะเดียวกัน ไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่อียิปต์ในหลายสาขา อาทิ การจัดอบรมหลักสูตรด้านการท่องเที่ยว หลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริหารธุรกิจการส่งออก หลักสูตรด้านการบริหารจัดการลุ่มน้ำและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น
การเยือน
- ฝ่ายไทย
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2533 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนอียิปต์เป็นการส่วนพระองค์
วันที่ 17 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2530 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อปี พ.ศ. 2542 นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี เดินทางเยือนอียิปต์เพื่อเข้าร่วมประชุมศาสนาอิสลาม
เมื่อวันที่ 29 - 30 มกราคม พ.ศ. 2546 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ และเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อียิปต์ ครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 23 - 25 กันยายน พ.ศ. 2546 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลพร้อมด้วยผู้แทนจากภาครัฐ และเอกชนเดินทางเยือนอียิปต์
เมื่อวันที่ 20 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2547 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปร่วมประชุมความร่วมมือนานาชาติใน การกำจัดโรคเท้าช้าง ครั้งที่ 3 (Third Meeting of the Global Alliance for Elimination of Lymphatic Filariasis) ที่กรุงไคโร
เมื่อวันที่ 4 - 9 มกราคม 2548 นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำคณะเดินทางไปเจรจาเรื่องความร่วมมือด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2548 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย นำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยเดินทางไปขยายความสัมพันธ์และแสวงหาโอกาสในการ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า อุตสาหกรรม ความร่วมมือทางวิชาการ และการลงทุนกับอียิปต์
เมื่อวันที่ 28 - 30 มกราคม พ.ศ. 2549 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ และเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อียิปต์ ครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 17-18 เมษายน พ.ศ. 2550 นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 11-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะผู้แทนจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ของไทย ได้เดินทางเยือนอียิปต์ เพื่อหารือเรื่องแนวทางและวิธีการในการให้การช่วยเหลือและสนับสนุนนักเรียนไทยในอียิปต์
- ฝ่ายอียิปต์
เมื่อปี พ.ศ. 2539
นาย อามืร์ มุสซา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอียิปต์เยือนไทย
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม พ.ศ. 2547
ชีค อาเหม็ด อัล-ทายีบ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร เยือนไทย ในฐานะแขกของรัฐบาล
เมื่อวันที่ 13-15 ตุลาคม 2547
นาย อิสซัท ซาอัด, ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายกิจการเอเชียของอียิปต์เดินทางเยือนไทย ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 23-27 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรีในทางการเมือง เยือนไทย ในฐานะแขกของรัฐบาล
=== กองทัพ ===
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ประเทศอียิปต์แบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 27 เขตผู้ว่าการ (governorate) ได้แก่
{|
|- valign="top"
|
|
|}
== เศรษฐกิจ ==
=== สถานการณ์สำคัญ ===
รัฐบาลอียิปต์ปัจจุบันต้องเผชิญภาระที่หนักหน่วงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีหนี้สินอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อียิปต์ประสบปัญหาด้านระบบราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีขนาด ใหญ่และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างสูง รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก Paris Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น
ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของอียิปต์กระเตื้องดีขึ้นสามารถ แก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณลดลงมาก ลดปัญหาเงินเฟ้อลงได้ในระดับหนึ่งรายได้หลักของอียิปต์จากน้ำมันซึ่งผลิตได้วันละ 950,000 บาร์เรลและส่งออกขายครึ่งหนึ่ง ในแต่ละปีมีรายได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการท่องเที่ยว ประมาณปีละ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าผ่านคลองสุเอซปีละประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากแรงงานอียิปต์ในต่างประเทศ ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในตะวันออกกลางในซาอุดีอาระเบียประมาณ 1 ล้านคน ในลิเบียประมาณ 1.5 ล้านคน ส่งเงินเข้าอียิปต์ประมาณปีละ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ภายหลังการก่อวินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้อียิปต์ต้องสูญเสียรายได้ ประมาณ 1.5 – 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลอียิปต์ คาดว่า รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ ร้อยละ 20 และการส่งออก ร้อยละ 10
=== การท่องเที่ยว ===
=== ด้านการค้าระหว่างไทยกับอียิปต์ ===
มูลค่าการค้าไทย – อียิปต์อยู่ในระดับปานกลาง ในปี 2544 มูลค่าการค้ารวม 151.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 103.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 7.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 96.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี พ.ศ. 2545 ตั้งแต่เดือน มกราคม – กันยายน มูลค่าการค้าไทย-อียิปต์รวม 96.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 88.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ-ไทยได้เปรียบดุลการค้า 80.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปอียิปต์ ที่สำคัญได้แก่ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ใบยาสูบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป อียิปต์ระบุให้เป็นสินค้าห้ามเข้า แต่ก็มีการลักลอบนำเข้า โดยจะทำในลักษณะการค้านอก
รูปแบบ)
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอียิปต์ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก หนังดิบและหนังฟอก เครื่องตกแต่งบ้านเรือน ดินสอ ปากกา หมึกพิมพ์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับการพิมพ์ สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ในปัจจุบันอียิปต์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น และมีการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเข้าไปประกอบอุตสาหกรรมและลงทุนสาขาต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทที่ไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียิปต์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอียิปต์ได้เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market of Eastern and Southern Africa – COMESA) ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) โดยมีจุดมุ่งหมายขยายตลาดสินค้าอียิปต์เข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา ฝ่ายไทยจึงอาจพิจารณาสนับสนุนให้นักลงทุนไปลงทุน/ร่วมลงทุนในอียิปต์เพื่อการ ส่งออกไปยังตลาดร่วมแอฟริกาในอนาคต หรือมุ่งใช้อียิปต์เป็นประตูสู่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา เมื่อเดือน มิ.ย. 44 อียิปต์ได้ลงนามร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) ในความตกลง Euro-Mediterranean Association Agreement ซึ่งจะมีผลตต่อความสัมพันธ์กับอียูในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การเงิน ลังคม วัฒนธรรมและการกงสุล
== ประชากร ==
=== เชื้อชาติ ===
มี จำนวนประชากร 78 ล้านคน (ปี 2549) อยู่ในเขตเมืองร้อนและ 45 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณ 2 ฝั้งและที่ราบลุ่มแม่น้ำไนท์ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ แฮมิติก แซมิติก 99.8% เบดูอินและนูเบียน 0.2% อัตราเพิ่มของประชากร ประมาณปีละ 1.9% อายุเฉลี่ย 65 ปี ความ หนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 75.68 คน/ตร.กม กรุงไคไรและปริมฑล มีประชากรประมาณ 16 ล้านคน จะมีความหนาแน่นมากที่สุดเฉลี่ย 34.000-35.000 คน/ตร.กม. รองลงมาคือ เมืองอเล็กซานเดรีย มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ความหนาแน่นเฉลี่ย 13.000-9.000 คน/ตร.กม
=== ภาษา ===
=== ศาสนา ===
ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าและมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศอียิปต์) แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ 94% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ อีก 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก
=== เมืองใหญ่สุด 20 อันดับแรก ===
=== กีฬา ===
== วัฒนธรรม ==
=== อาหาร ===
การกินอาหารของคนในตะวันออกกลางจะมีความแตกต่างมากกับคนในเอเชียเราและอาหารหลักของทุกชนชั้นของคนอียิปต์ นั้น คือ ขนมปัง หัวหอม พวกผักต่าง ๆ แล้วก็ปลาแห้ง นอกจากนี้ คนอียิปต์จะมีน้ำเชื่อมซึ่งทำจากผลไม้ อาทิเช่นพวก องุ่น เพื่อให้ได้รสหวานและจะกินกับขนปังซึ่งจะใช้ขนมปังจิ้มกับน้ำเชื่อม และนอกจากนั้นยังมีการใช้ในน้ำผึ้ง เกลือ กระเทียม หัวหอม ในการปรุงรสให้อร่อยด้วย และนอกจากขนมปังแล้วเขาจะกินโยเกิตย์พร้อม ๆ กับเมนูอาหารหลักอีกด้วย ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์นี้ก็มี สัตว์ที่นิยมรับประทานก็คือพวก เนื้อแกะ แพะ และเนื้อวัว
อาหารประเภทกาบับ (Kabab) ก็เป็นเนื้อ หรือ แพะ ย่างโดยมีเหล็กแหลม เสียบชิ้นเนื้อโดยหมุนชิ้นเนื้อให้ไฟเลียไปทั่ว ๆ กินกับผักทั้งผักสดเช่น แตงกวา มะเขือเทศ ต้นหอม กับผักดองเช่น แตงกวา มะเขือเปาะ หัวหอม แครอท
== อ้างอิง ==
ประเทศอียิปต์ จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
รัฐบาล
Egypt Information Portal (Arabic, English)
Egypt Information and Decision Support Center (Arabic, English)
Egypt State Information Services (Arabic, English, French)
Egyptian Tourist Authority
ทั่วไป
Country Profile from the BBC News
Egypt. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
Egypt profile from Africa.com
Egypt news
Egypt Maps – Perry–Castañeda Library Map Collection, University of Texas at Austin
การค้า
World Bank Summary Trade Statistics Egypt
อื่น ๆ
History of Egypt, Chaldea, Syria, Babylonia, and Assyria in the Light of Recent Discovery by Leonard William King, at Project Gutenberg.
Egyptian History (urdu)
By Nile and Tigris – a narrative of journeys in Egypt and Mesopotamia on behalf of the British museum between 1886 and 1913, by Sir E. A. Wallis Budge, 1920 (DjVu and layered PDF formats)
Napoleon on the Nile: Soldiers, Artists, and the Rediscovery of Egypt.
บทความเกี่ยวกับ ประเทศและเขตการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465
อดีตรัฐในอารักขาของอังกฤษ
สาธารณรัฐอาหรับ | thaiwikipedia | 636 |
ประวัติศาสตร์เอเชีย | ประวัติศาสตร์ของเอเชีย ปรากฏให้เห็น ในรูปของประวัติศาสตร์ภูมิภาคชายฝั่งรอบนอกของทวีปหลาย ๆภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน คือเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง ซึ่งพื้นที่ทั้ง 3 ภูมิภาคนี้ถูกเชื่อมโยงติดต่อกันโดยดินแดนแห่งทุ่งหญ้ายูเรเชียที่กว้างใหญ่ไพศาลภายในทวีป
พื้นที่ชายฝั่งทวีปเอเชียคือพื้นที่ที่อารยธรรมยุคแรก ๆ ก่อกำเนิดขึ้น ทั้ง 3 ภูมิภาคพัฒนาอู่อารยธรรมของตนขึ้นมาบนพื้นที่บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ 3 สาย คือ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ในตะวันออกกลาง
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในเอเชียใต้ และ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห ในเอเชียตะวันออก
อู่อารยธรรมทั้ง 3 มีความเหมือนกันหลายประการ และคงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี่และแนวความคิดระหว่างกันด้วย เช่น ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์ล้อวงกลม เป็นต้น ขณะที่ความคิดอื่นๆ เช่นตัวอักษรนั้นคงมีการพัฒนาแยกเป็นอิสระจากกันในแต่ละภูมิภาค แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำทั้ง 3 ของเอเชียได้เจริญรุ่งเรื่อง พัฒนาเข้าสู่ความเป็น "รัฐ" แล้วขยายอำนาจกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ หรือ "จักรวรรดิ" ได้ในเวลาต่อมา
ภูมิภาคทุ่งหญ้าที่แห้งแล้งภายในของทวีปเอเชียนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าเร่ร่อน (nomads) ที่ขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ อยู่ในดินแดนแห่งนี้มาเป็นเวลายาวนาน การมีม้าเป็นพาหนะทำให้พวกเขาสามารถเดินทางจากใจกลางทุ่งโล่งภายในทวีปออกไปยังดินแดนส่วนอื่นๆของทวีปได้ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากทุ่งหญ้าครั้งแรกสุดที่รู้จักกันคือกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดภาษาของกลุ่มออกไปยังดินแดนในตะวันออกกลาง อินเดีย เข้าไปถึงโตชาเรียนและชายแดนจีน ส่วนพื้นที่ทางเหนือของทวีปเอเชีย ซึ่งครอบคลุมส่วนใหญ่ของไซบีเรียนั้นยังเป็นพื้นที่ที่ชนเผ่าเร่ร่อนเหล่านี้เดินทางไปไม่ถึงเนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าทึบและเป็นเขตทุ่งน้ำแข็งที่หนาวเย็น พื้นที่บริเวณนี้จึงมีฝูงชนอาศัยอยู่เบาบางมาก
พื้นที่ใจกลางทวีปและแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำชายขอบทวีปถูกแยกออกจากกันโดยแนวเทือกเขาสูงและทะเลทรายที่กว้างใหญ่ เช่น เทือกเขาคอเคซัส เทือกเขาหิมาลัย ทะเลทรายคาราคูม ทะเลทรายโกบี เป็นต้น เทือกเขาและทะเลทรายเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางสำคัญที่ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนบนหลังม้าต้องเดินทางด้วยความยากลำบากกว่าจะสามารถรุกข้ามไปยังพื้นที่ลุ่มชายฝั่งได้ ขณะที่ประชากรเมืองที่อาศัยอยู่ในแหล่งอารยธรรมเหล่านี้มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมมากกว่าชนเผ่าเร่ร่อนมาก แต่ก็ตกเป็นรองผู้รุกรานบนหลังม้ามากทางด้านการทหาร ทำให้กลายเป็นผู้พ่ายแพ้ไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดินแดนในที่ลุ่มเหล่านี้ไม่มีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่สำหรับเลี้ยงดูกองทัพม้าขนาดมหึมาของผู้รุกรานได้ ท้ายที่สุด ชนเผ่าเร่รอนผู้พิชิตรัฐต่างๆ ทั้งในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง จึงถูกบีบให้ปรับตัวเข้ากับสังคมท้องถิ่นที่ตนเป็นฝ่ายรุกรานครอบครองไป
== ประวัติศาสตร์ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ==
ประวัติศาสตร์ประเทศในแถบลีแวนต์ (Levant) หรือดินแดนแถวฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ
* ประวัติศาสตร์บาบิโลน
* ประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมีย
* ประวัติศาสตร์เปอร์เซีย
* ประวัติศาสตร์ซูเมอร์
ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน:
ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง
* ประวัติศาสตร์อิสราเอล
* ประวัติศาสตร์จอร์แดน
* ประวัติศาสตร์เลบานอน
* ประวัติศาสตร์ปาเลสไตน์
* ประวัติศาสตร์ซีเรีย
ประวัติศาสตร์เอเชียใต้
* ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน
* ประวัติศาสตร์บังกลาเทศ
* ประวัติศาสตร์ภูฏาน
* ประวัติศาสตร์อินเดีย
* ประวัติศาสตร์อินเดียใต้
* ประวัติศาสตร์เนปาล
* ประวัติศาสตร์ปากีสถาน
* ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
* ประวัติศาสตร์ทิเบต
* ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน
* ประวัตฺศาสตร์สาธารณรัฐจีน
* ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
* ประวัติศาสตร์เกาหลี
* ประวัติศาสตร์เกาหลีเหนือ
* ประวัติศาสตร์เกาหลีใต้
* ประวัติศาสตร์มองโกเลีย
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
* ประวัติศาสตร์กัมพูชา
* ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
* ประวัติศาสตร์ลาว
* ประวัติศาสตร์มาเลเซีย
* ประวัติศาสตร์พม่า
* ประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์
* ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
* ประวัติศาสตร์ไทย
* ประวัติศาสตร์เวียดนาม
*ประวัติศาสตร์บรูไน
== ดูเพิ่ม ==
ลัทธิจักรวรรดินิยมในเอเชีย
ประวัติศาสตร์จำแนกตามทวีป
ประวัติศาสตร์ยูเรเชีย
ประวัติศาสตร์เอเชีย | thaiwikipedia | 637 |
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล | รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (ท่าพระ-บางซื่อ-หัวลำโพง-หลักสอง-พุทธมณฑล สาย 4) (Metropolitan Rapid Transit Chaleom Ratchamongkon Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน (MRT Blue Line) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนนิยมเรียกว่า "รถไฟฟ้าใต้ดิน" เนื่องมาจากช่วงเริ่มแรกให้บริการรถไฟฟ้าเส้นนี้ เส้นทางเป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) โดยได้รับสัมปทานจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2539 และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยในระยะแรก เส้นทางช่วง หัวลำโพง-ศูนย์ฯ สิริกิติ์-บางซื่อ จะเป็นเส้นทางยกระดับเกือบทั้งหมดโดยรัฐเป็นผู้ลงทุน แต่ภายหลังใหัเอกชนลงทุนและเปลี่ยนเป็นใต้ดินทั้งหมด โดยรัฐบาลมีมติเมื่อ 12 กันยายน 2538 ให้ก่อสร้างใต้ดิน รัฐเป็นผู้ลงทุนโยธา ส่วนเอกชนเป็นผู้ดำเนินระบบรถไฟฟ้าและกิจการ
ปัจจุบันมีระยะทางรวม 48 กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหลักสอง ผ่านสถานีท่าพระ, สถานีหัวลำโพง สถานีบางซื่อ และวิ่งกลับมาสิ้นสุดที่สถานีท่าพระอีกครั้ง รวม 38 สถานี สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ที่สถานีบางหว้า, สถานีสีลม, สถานีสุขุมวิท, สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีเพชรบุรี และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้มและรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อนได้ที่ สถานีบางซื่อ
นาม เฉลิมรัชมงคล เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินในช่วงแรก คือช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ มีความหมายว่า "งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา" ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นาม "เฉลิมรัชมงคล" สำหรับเส้นทางส่วนต่อขยายทั้งสองช่วง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และช่วงบางซื่อ-ท่าพระอีกด้วย
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศเหนือที่สถานีเตาปูน ไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์ และแยกท่าพระ และจากปลายทางด้านทิศใต้ สถานีหัวลำโพง ไปยังท่าพระและบางแค ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางเชื่อมต่อกันที่สถานีท่าพระ ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวน โดยโครงการได้มีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงบางซื่อ - เตาปูน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ช่วงหัวลำโพง - หลักสอง เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562 และช่วงเตาปูน - ท่าพระ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
== ภาพรวม ==
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทั้งทางยกระดับเหนือพื้นดินและเป็นอุโมงค์ใต้ดินเป็นสายแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในอดิต ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับสัมปทานโครงการในการร่วมทุนและดำเนินการเชิงพาณิชย์ หรือ PPP-Net Cost ภายในกรอบระยะเวลา 27 ปี จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และได้รับการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2560 ออกไปอีก 33 ปี รวมเป็น 60 ปี มีแนวเส้นทางเป็นแนววงกลมภายในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณหน้าห้างเดอะมอลล์บางแค ตามแนวถนนเพชรเกษม วิ่งผ่านแยกท่าพระ แล้วลดระดับลงเป็นเส้นทางใต้ดิน ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งพระนครภายในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สวนลุมพินี, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สวนจตุจักร และสถานีกลางบางซื่อ แนวเส้นทางจะยกระดับกลับเป็นเส้นทางลอยฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากลับสู่ฝั่งธนบุรี และกลับมาสิ้นสุดเส้นทางทั้งหมดที่แยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 47.8 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่เน้นการขนส่งผู้โดยสารระหว่างสายด้วยการเดินรถเป็นวงกลมรอบ ๆ กรุงเทพมหานครชั้นใน
===พื้นที่เส้นทางผ่าน===
==แนวเส้นทาง==
แนวเส้นทางประกอบไปด้วยเส้นทางยกระดับและเส้นทางใต้ดิน มีจุดเริ่มต้นจากสถานีหลักสอง ที่บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางแค มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนเพชรเกษม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมที่สถานีบางหว้า จากนั้นเข้าสู่ชานชาลาล่างของสถานีท่าพระซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางภายในสายทางเดียวกัน จากนั้นลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เข้าสู่สถานีอิสรภาพแล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ความลึก 38 เมตรจากผิวดิน เข้าสู่สถานีสนามไชย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีสามยอด จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวถนนเจริญกรุง เข้าสู่ถนนพระรามที่ 4 ที่สถานีหัวลำโพง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกครั้งที่สถานีสีลม และมุ่งหน้าต่อจนถึงบริเวณย่านบ่อนไก่ - ตลาดคลองเตย แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าไปทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีสุขุมวิท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางรถไฟสายตะวันออกที่สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือจนถึงบริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนลาดพร้าว มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าถนนพหลโยธิน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีพหลโยธิน แล้วลอดใต้ถนนวิภาวดีรังสิต เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทอีกครั้งที่สถานีหมอชิต เลี้ยวขวาเข้าสู่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินตามแนวถนนกำแพงเพชร และยกระดับกลับไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน จากนั้นยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พื้นที่ฝั่งธนบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาสิ้นสุดที่ชานชาลาบนของสถานีท่าพระ รวมระยะทาง 47.8 กิโลเมตร
แผนที่เส้นทาง
{|
|
|
|}
== รายชื่อสถานี ==
==การเชื่อมต่อ==
===รถไฟฟ้ามหานคร===
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่น ๆ ในระบบรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
===รถไฟฟ้าบีทีเอส===
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
=== รถไฟฟ้าชานเมืองและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ===
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมืองหรือรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
สถานีหัวลำโพง เชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีหัวลำโพง ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-มหาชัย
สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับสถานีมักกะสัน ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และสถานีมักกะสัน ของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านสะพานเชื่อม
สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ที่ชั้นใต้ดินของสถานีกลางบางซื่อ
สถานีบางขุนนนท์ เชื่อมต่อกับสถานีจรัญสนิทวงศ์ ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
=== เส้นทางสายรองนอกระบบรถไฟฟ้ามหานคร ===
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางรถไฟฟ้าสายรองนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระบบรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ / สถานีคลองเตย / สถานีลุมพินี / สถานีท่าพระ : รถไฟฟ้าสายสีเทา (โครงการ)
สถานีลุมพินี : รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (โครงการ)
=== เส้นทางการคมนาคมทางน้ำ ===
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือโดยสารต่าง ๆ ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
สถานีสนามไชย เชื่อมต่อกับท่าเรือราชินีของเรือด่วนเจ้าพระยา
สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับท่าเรืออโศกของเรือโดยสารคลองแสนแสบ
สถานีบางโพ เชื่อมต่อกับท่าเรือบางโพของเรือด่วนเจ้าพระยา
=== แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น ===
===ทางเดินเข้าอาคารข้างเคียง===
ในบางสถานี ผู้โดยสารสามารถเดินเข้าสู่อาคารข้างเคียงผ่านทางเชื่อมได้ดังนี้ (ตัวเอน หมายถึงกำลังก่อสร้าง)
สถานีหลักสอง : เอ็มไลฟ์สโตร์ บางแค
สถานีภาษีเจริญ : ซีคอนบางแค
สถานีสามย่าน : จัตุรัสจามจุรี, สามย่านมิตรทาวน์
สถานีสีลม : ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (สะพานเชื่อม), อาคารสีลมเอจ (สะพานเชื่อม)
สถานีลุมพินี : วัน แบงค็อก
สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สถานีสุขุมวิท : อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 (สำนักงานใหญ่ บริษัท ยูโอบี แคปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด), เทอร์มินอล 21 อโศก (ผ่านอาคารเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอโศก)
สถานีเพชรบุรี : สิงห์คอมเพล็กซ์
สถานีพระราม 9 : เซ็นทรัล พระราม 9, อาคาร จี ทาวเวอร์
สถานีบางโพ : เกทเวย์ แอท บางซื่อ, โรงพยาบาลบางโพ
== รูปแบบของโครงการ ==
เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
ทางวิ่ง ช่วงใต้ดิน 22 สถานี เป็นอุโมงค์คู่วางตามแนวราบ และตามแนวดิ่ง เส้นผ่าศูนย์กลางภายในอุโมงค์ 5.7 เมตร ความลึกของอุโมงค์ 15-30 เมตรจากระดับพื้นดิน ทางเดินฉุกเฉินกว้าง 0.6 เมตร สูง 2.0 เมตร และช่วงลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สนามไชย-อิสรภาพ) มีความลึก 30 เมตรจากผิวน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และ 7 เมตรจากใต้ท้องน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และช่วงยกระดับ 20 สถานี ยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ มีกำแพงกันเสียงและตาข่ายกันสิ่งรบกวนในบางช่วง ยกเว้นช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (บางโพ-บางอ้อ) และช่วงข้ามทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี มีความสูง 24 เมตร และข้ามทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ตลิ่งชัน-ธนบุรี) มีความสูง 17 เมตร และช่วงข้ามทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม กับช่วงเข้าชานชาลาสถานีท่าพระชั้นบน มีความสูงประมาณ 19 เมตร
ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
=== ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ ===
โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งหมดสองแห่ง ได้แก่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม 9 ในพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถนนพระรามที่ 9 (สำนักบริหารโครงการรถไฟฟ้า สาขา 1 (สีน้ำเงิน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นพื้นที่ร่วมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รองรับการซ่อมบำรุงโครงการในฝั่งพระนคร และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยเพชรเกษม-กัลปพฤกษ์ ถนนกัลปพฤกษ์ รองรับการซ่อมบำรุงโครงการในฝั่งธนบุรี ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม 9
=== สิ่งอำนวยความสะดวก ===
มีจุดจอดรถประจำสถานีที่สถานีใต้ดิน 7 สถานี มีจุดจอดรถที่ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์ 1 แห่ง จุดจอดรถบริเวณใต้ด่านอโศก 1 ของทางพิเศษศรีรัชซึ่งเป็นพื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 1 แห่ง จุดจอดรถที่อาคารผู้โดยสารสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 1 แห่ง จุดจอดรถที่อาคารผู้โดยสารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ของรถไฟฟ้าสายสีแดง 1 แห่ง และมีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) 5 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าว อาคารจอดรถสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อาคารจอดรถภายในโครงการแอชตัน อโศก สถานีสุขุมวิท (ให้บริการเฉพาะการจอดรถรายเดือน) และอาคารจอดรถสถานีหลักสอง 2 อาคาร
=== สถานี ===
มีทั้งหมด 42 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 22 สถานี สถานียกระดับ 20 สถานี โดยนับสถานีเชื่อมต่อคือสถานีท่าพระเป็นสถานีเดียว
รูปแบบสถานี
สถานีโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 150 เมตร ยกเว้นสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยที่มีความยาวพิเศษถึง 358 เมตร เนื่องจากเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสถานีชุมทางสำหรับนำรถออกจากระบบขึ้นสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง สถานีออกแบบให้รองรับรถไฟฟ้าได้สูงสุด 6 ตู้ต่อสถานี มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height และ Full-Height ในทุกสถานี สถานีและทางวิ่งใต้ดินออกแบบให้มีความคงทนแข็งแรงรองรับต่อการทรุดตัวของผิวดิน และรองรับต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง ทางเข้าสถานีถูกออกแบบให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 1 เมตรเพื่อรองรับต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัดจากสถิติความสูงที่สูงที่สุดของเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ส่วนสถานียกระดับออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด สถานีโดยรวมมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ยกเว้นสถานีที่ต้องคร่อมอุโมงค์ใต้ดิน จะใช้วิธีการตั้งเสายึดสถานีจากทางเท้าแทน
=== ขบวนรถโดยสาร ===
ปัจจุบันรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล มีการใช้ขบวนรถอยู่ถึง 2 รุ่น ได้แก่ ขบวนรถซีเมนส์ โมดูลาร์เมโทร และ ซีเมนส์ อินสไปโร
==== ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-IBL) ====
สถานะ : ขบวนรถให้บริการตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 19
หมายเลขประจำขบวน หมายเลข 1 ถึง 19
ความยาว 3 ตู้ต่อ 1 ขบวน
จำนวน 19 ขบวน
เป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) ขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 19.23 เมตร และสูงประมาณ 3.8 เมตร ใช้ล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก ตัวรถมีระบบปรับอากาศ สามารถจุผู้โดยสารได้ 320 คนต่อคัน สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า 40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางไป-กลับ ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถ ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีจำนวนขบวนรถไฟฟ้าทั้งสิ้น 19 ขบวน ซึ่งขบวนหมายเลข 1 ถูกส่งมาประเทศไทยโดยเครื่องบิน
ในปลาย พ.ศ. 2563 รถไฟฟ้ารุ่นนี้ ได้เริ่มทยอยนำมาปรับปรุง (Refurbished) ใหม่เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และความสะดวก ของผู้โดยสารภายในขบวนรถ โดยมีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และ จอแสดงสถานะขบวนรถ (LCD-DRM) โดยเริ่มที่ขบวนหมายเลข 4 (EMU-VN4) เป็นขบวนแรก
==== ซีเมนส์ บีแอลอี (EMU-BLE) ====
หมายเลขประจำขบวน หมายเลข 20 ถึง 54
ความยาว 3 ตู้ต่อ 1 ขบวน
จำนวน 35 ขบวน
รถไฟฟ้ารุ่นบีแอลอี ผลิตโดยซีเมนส์เช่นกัน มีทั้งหมด 35 ขบวน โดยจัดส่งรถไฟฟ้าขบวนแรกในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562 จัดส่งอีก 9 ขบวนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 และอีก 6 ขบวนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
==== ระบบในการเดินรถ ====
ในการเดินรถไฟฟ้าได้นำระบบอาณัติสัญญาณ Trainguard LZB700M เป็นระบบ Fixed Block ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยสูงสุด แบ่งเป็น 3 ระบบย่อย คือ
"ระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ" เรียกว่า ATO (Automatic Train Operation) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของขบวนรถไฟฟ้า เช่น การขับเคลื่อนรถไฟฟ้า, การควบคุมความเร็วของรถไฟฟ้า, การควบคุมการห้ามล้อ, การจอดรถไฟฟ้า และการรายงานสถานะของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในตัวรถไฟฟ้าไปยังศูนย์ควบคุม
"ระบบป้องกันอัตโนมัติ" เรียกว่า ATP (Automatic Train Protection) เป็นระบบที่คอยควบคุมไม่ให้รถไฟฟ้าใช้ความเร็วเกินกำหนด ควบคุมความเร็วรถให้อยู่ในพิกัดความเร็วที่สัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างรถไฟฟ้าข้างหน้า หากเกิดเหตุผิดปกติ ระบบ ATP จะสั่งการห้ามล้ออัตโนมัติ นอกจากนี้ยังควบคุมการเคลื่อนตัวของรถไฟฟ้าจากสถานีรถไฟฟ้า โดยหากประตูรถไฟฟ้าและประตูกั้นชานชาลายังปิดไม่เรียบร้อย ระบบ ATP จะไม่อนุญาตให้รถไฟฟ้าเคลื่อนตัวออกจากสถานี ต่างจากระบบ ATO ตรงที่มีความอิสระต่างกัน กรณีที่ระบบ ATO ขัดข้อง ต้องใช้คนควบคุมการเดินรถ ระบบ ATP จะยังคอยควบคุมการเดินรถต่อไป
"ระบบกำกับการเดินรถอัตโนมัติ" เรียกว่า ATS (Automatic Train Supervision) เป็นระบบที่คอยควบคุมการเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบให้เป็นไปตามตารางการเดินรถ โดยจะส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ความเร็วของรถไฟฟ้าแต่ละขบวน ติดตามและแสดงตำแหน่งของรถไฟฟ้าทุกขบวนที่อยู่ในระบบ และจัดเตรียมขั้นตอนต่าง ๆ ในการควบคุมการเดินรถ เมื่อระบบการเดินรถมีเหตุขัดข้อง
== อุบัติเหตุ ==
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 หลังจากเปิดบริการได้ 7 เดือน เกิดอุบัติเหตุที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สาเหตุเกิดจากรถไฟฟ้าขบวนหนึ่งได้เคลื่อนขึ้นไปที่ศูนย์ซ่อมบำรุงบนระดับพื้นดิน (ศูนย์ช่อมบำรุงอยู่ระหว่างสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยและสถานีพระราม 9) แต่เกิดปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องที่บริเวณทางโค้ง (เป็นบริเวณจุดสับราง) ก่อนถึงด้านบน ทางศูนย์ฯ จึงได้ส่งรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมาช่วยลากรถ แต่เนื่องจากรถไฟฟ้าที่เสียนั้นอยู่บริเวณจุดสับราง จึงไม่สามารถทำการลากรถได้ ทางศูนย์ฯ จึงได้สั่งให้พนักงานขับรถปล่อยเบรกลมออกเพื่อให้รถเคลื่อนที่ออกจากบริเวณจุดสับราง แต่ปรากฏว่าตัวรถเกิดไหลย้อนกลับลงไปในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในขณะเดียวกันมีรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งกำลังจอดรับผู้โดยสารอยู่ในสถานีฝั่งมุ่งหน้าไปสถานีพระราม 9 ระบบอัตโนมัติได้ปิดประตูรถไฟฟ้าเพื่อเตรียมออกสู่สถานีพระราม 9 แต่รถกลับไม่สามารถออกจากสถานีได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ในเวลาไม่กี่นาทีรถไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารจึงถูกรถไฟฟ้าที่ไหลมาจากด้านบนชนประสานงา ทำให้มีผู้โดยสารรวมถึงพนักงานประจำสถานีบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต และขบวนรถได้รับความเสียหายทั้ง 2 ขบวน หลังจากเหตุการณ์นั้นทาง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ออกประกาศหยุดบริการเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อนำขบวนรถที่ชนกันกลับไปซ่อมแซมที่โรงงานบริษัทซีเมนส์และฟื้นฟูสภาพชานชาลาของสถานี พร้อมรับผิดชอบความเสียหายให้กับผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ
== ส่วนต่อขยาย ==
=== ส่วนต่อขยายด้านใต้ (หลักสอง-พุทธมณฑลสาย 4) ===
พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน
* กรุงเทพมหานคร
** เขตบางแค
** เขตหนองแขม
* จังหวัดสมุทรสาคร
** อำเภอกระทุ่มแบน (เขตเทศบาลนครอ้อมน้อย)
เส้นทาง เป็นโครงสร้างยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ต่อเนื่องจากเส้นทางช่วงแรกที่ทางแยกต่างระดับบางแค มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ผ่านเขตหนองแขม และไปสิ้นสุดที่แยกสาครเกษม รวมระยะทาง 8 กิโลเมตร
สถานี จำนวน 4 สถานี
สถานะปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการประเมินยอดผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแบบครบรอบ ซึ่งถ้าหากยอดผู้โดยสารถึงเป้า 1 ล้านเที่ยวคนภายใน 1-2 ปี บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการเจรจาขอลงทุนต่อเนื่องกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยภายใต้กรอบสัญญาสัมปทานฉบับเดิม
=== รายชื่อสถานี===
== บริการ ==
===การให้บริการปกติ===
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เปิดให้บริการเดินรถในแต่ละสถานีไม่เท่ากัน โดยเริ่มเดินรถขบวนแรกในเวลา 05.34 น. จากสถานีหลักสอง และสถานีท่าพระจากชานชาลาที่ 3-4 โดยความถี่การเดินรถจะขึ้นอยู่กับเวลา และความหนาแน่นของผู้โดยสาร แต่เวลาปิดให้บริการจะเร็วกว่าเวลาปิดทำการปกติของระบบ กล่าวคือเมื่อรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายออกจากสถานีสถานีรถไฟฟ้าจะปิดทำการทันที โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 23.08-00.24 น. จากสถานีหลักสองไปสถานีท่าพระ (ชานชาลาที่ 3-4) และเวลา 23.11-00.27 น. จากสถานีท่าพระ (ชานชาลา 3-4) ไปสถานีหลักสอง ตัวอย่างเช่น สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีรถขบวนสุดท้ายมุ่งหน้าไปสถานีท่าพระในเวลา 23.48 น. แต่มีรถขบวนสุดท้ายมุ่งหน้าไปสถานีหลักสองในเวลา 23.50 น. ฉะนั้นเวลา 23.50 น. จะเป็นเวลาปิดทำการของสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
อนึ่ง เนื่องจากรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ให้บริการขบวนสุดท้ายตั้งแต่เวลา 23.00 น. จากสถานีคลองบางไผ่ และให้บริการขบวนสุดท้ายจากสถานีเตาปูนในเวลา 23.24 น. ช่วงเวลาตั้งแต่ 22.22-23.19 น. รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จะมีประกาศข้อความพิเศษว่า "รถไฟฟ้าขบวนนี้เป็นรถไฟฟ้าเชื่อมต่อสายสีม่วงขบวนสุดท้าย ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังสายสีม่วง กรุณาโดยสารไปกับรถขบวนนี้" และเมื่อรถเชื่อมต่อสายสีม่วงขบวนสุดท้ายออกจากสถานี สถานีจะติดป้ายประกาศแจ้งผู้โดยสารว่า "รถไฟฟ้าเชื่อมต่อสายสีม่วงขบวนสุดท้าย ออกจากสถานีเรียบร้อยแล้ว"
=== อัตราค่าโดยสาร ===
ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จัดเก็บค่าโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ด้วยการคิดตามระยะทางเดินทางที่สั้นที่สุดจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง และไม่สนใจว่าผู้โดยสารเลือกเดินทางอย่างไร โดยที่ผู้โดยสารมีระยะเวลาอยู่ภายในระบบไม่เกิน 180 นาที หากเกินจากเวลาที่กำหนด จะต้องชำระค่าปรับเป็นอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่บริษัทฯ เรียกเก็บในขณะนั้น (43 บาท) อนึ่งอัตราค่าโดยสารที่ประกาศเรียกเก็บมีอายุ 2 ปีนับจากวันที่ 3 กรกฎาคม ของปีที่มีประกาศปรับอัตราค่าโดยสารเป็นลายลักษณ์อักษรจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม ในอีก 2 ปีถัดมา ปัจจุบันตามรอบปรับค่าโดยสารตั้งแต่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (เริ่มใช้จริง 1 มกราคม พ.ศ. 2566) ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ เรียกเก็บอัตราค่าโดยสารดังต่อไปนี้
อัตราค่าโดยสารแบบเงินสด
อัตราค่าโดยสารสำหรับเหรียญโดยสาร
* บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 43 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* เด็ก เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 21 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 21 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตร M, MRT Plus+ และบัตรแรบบิท
* บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 43 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 38 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 63 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* เด็ก เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 21 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 21 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด กรณีเดินทางข้ามไปสายสีเหลือง ต้องชำระค่าโดยสารเพิ่มสูงสุด 23 บาทด้วยบัตรแรบบิทประเภทผู้สูงอายุ
* อัตราค่าโดยสารพิเศษ ใช้จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตรแมงมุม
* บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 43 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 38 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 63 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 21 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* บัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด และในบัตรมีงบค่าโดยสารในบัตรให้เดือนละ 500 บาท
* ผู้โดยสารต้องเปิดใช้งานบัตรแมงมุมมาจากสายฉลองรัชธรรมก่อนนำมาใช้เดินทางในสายเฉลิมรัชมงคล
อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตรเดบิต/บัตรเครดิต วีซ่า และมาสเตอร์การ์ด ที่ออกโดยธนาคารในประเทศไทย
* บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 43 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 74 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
* บัตรที่สามารถใช้งานได้จะต้องรองรับวีซ่า เพย์เวฟ หรือมาสเตอร์การ์ด เพย์พาสแล้ว
* บัตรเดบิตที่สามารถใช้งานได้ในปัจจุบัน (พฤษภาคม พ.ศ. 2566) ได้เฉพาะบัตรเดบิตที่ออกโดย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย)
เงื่อนไขการใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา
* ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา จะต้องมีอายุไม่เกิน 23 ปี และ/หรือไม่เกินวันเกิดอายุครบ 23 ปี ในสังกัดสถาบันการศึกษา ขอสงวนสิทธิ์ให้ใช้ร่วมกับบัตรนักเรียน/นักศึกษาและบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่แสดงอายุได้ กรณีที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าวเมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ หรือใช้บัตรโดยสารผิดประเภทบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้โดยสารในอัตราไม่เกิน 20 เท่าของอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ บริษัทเรียกเก็บ ณ เวลานั้นๆ
อัตราค่าโดยสารแบบเที่ยวเดินทาง
เที่ยวเดินทาง BL Adult Pass (เดินทางในสายเฉลิมรัชมงคลอย่างเดียว)
* 15 เที่ยว 450 บาท เฉลี่ย 30 บาท/เที่ยว
* 25 เที่ยว 700 บาท เฉลี่ย 28 บาท/เที่ยว
* 40 เที่ยว 1,040 บาท เฉลี่ย 26 บาท/เที่ยว
* 50 เที่ยว 1,250 บาท เฉลี่ย 25 บาท/เที่ยว
เที่ยวเดินทาง ML Adult Pass (เดินทางข้ามสายเฉลิมรัชมงคลกับสายฉลองรัชธรรม)
* 15 เที่ยว 810 บาท เฉลี่ย 54 บาท/เที่ยว
* 25 เที่ยว 1,300 บาท เฉลี่ย 52 บาท/เที่ยว
* 40 เที่ยว 2,000 บาท เฉลี่ย 50 บาท/เที่ยว
* 50 เที่ยว 2,250 บาท เฉลี่ย 45 บาท/เที่ยว
เงื่อนไขการใช้เที่ยวเดินทาง
* เที่ยวเดินทางสามารถใช้งานได้เฉพาะบัตร M และบัตร MRT Plus+ ประเภทบุคคลธรรมดาเท่านั้น บัตรแมงมุม รวมถึงบัตรแบบเติมเงินประเภทนักเรียน-นักศึกษา, ผู้สูงอายุ และบัตรเด็กไม่สามารถนำมาใช้ซื้อเที่ยวเดินทางได้
* เที่ยวเดินทางมีอายุ 45 วัน นับจากวันที่ซื้อเที่ยวเดินทาง และมีอายุ 30 วัน นับจากวันที่ใช้งานครั้งแรก
* กรณีใช้เที่ยวเดินทาง BL Adult Pass เดินทางข้ามสายไปสายฉลองรัชธรรม ผู้โดยสารจะต้องชำระค่าโดยสารในสายฉลองรัชธรรมเพิ่มตั้งแต่สถานีเตาปูนจนถึงสถานีปลายทางเต็มจำนวนโดยไม่มีส่วนลดค่าแรกเข้า
หมายเหตุ:
การเดินทางข้ามสาย หมายถึง การเดินทางระหว่างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง โดยที่
* ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางข้ามสาย ระหว่างสายสีน้ำเงิน กับสายสีม่วง สามารถใช้เหรียญหรือบัตรโดยสารในการเดินทางได้ โดยไม่ต้องออกจากระบบระหว่างการเปลี่ยนสายรถไฟฟ้า ณ สถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วม
* ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางข้ามสาย ระหว่างสายสีน้ำเงิน กับสายสีเหลือง ต้องใช้บัตรเดบิต/บัตรเครดิต วีซ่า และมาสเตอร์การ์ดใบเดียวกัน แตะออกจากระบบที่สถานีลาดพร้าว และต้องแตะกลับเข้าระบบภายในระยะเวลา 30 นาที ทั้งนี้ผู้โดยสารต้องชำระค่าโดยสารเต็มอัตราทั้งสองระบบ แต่ระบบของ รฟม. จะคืนค่าแรกเข้าของสายที่สองให้ภายใน 3 วันทำการ
ระยะทางที่สั้นที่สุด หมายถึง การคิดค่าโดยสารจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทางผ่านเส้นทางที่สั้นที่สุด โดยตัดจุดกึ่งกลางระบบภายในเส้นวงกลมที่สถานีสุทธิสาร ตัวอย่างเช่น จากสถานีหลักสอง - สถานีจรัญฯ 13 จะคิดค่าโดยสารจากสถานีหลักสองขึ้นมาจนถึงสถานีท่าพระ แล้วลัดไปคิดค่าโดยสารฝั่งจรัญสนิทวงศ์ทันที แม้ผู้โดยสารเลือกเดินทางอ้อมเส้นทางก็ตาม
=== สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ===
สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี และ/หรือ ไม่เกินวันเกิดอายุครบ 14 ปี และมีช่วงความสูงไม่เกิน 90 ซม. ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร
ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ/หรือตั้งแต่วันเกิดอายุครบ 60 ปี จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสารเช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สำหรับประชาชนทุกคนในโอกาสวันสำคัญทางราชการ เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฯลฯ สามารถโดยสารรถไฟฟ้าได้โดยได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลาที่ประกาศกำหนด
สำหรับประชาชนทุกคนในพิธีการสำคัญระดับประเทศ เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯลฯ สามารถโดยสารรถไฟฟ้าได้โดยได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลาที่ประกาศกำหนด
สำหรับประชาชนที่เป็นบิดาหรือมารดาในวันพ่อแห่งชาติ และ วันแม่แห่งชาติ
ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปได้รับการยกเว้นค่าโดยสารช่วงวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน
=== มาตรการความปลอดภัยและเวลาเร่งด่วน ===
ข้อกำหนด ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า
พ.ศ. 2547 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลด้วยปรากฏว่ามีการโดยสารที่แออัดในเวลาเช้าทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลจึงประกาศข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ผู้โดยสารทุกคนมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ณ สถานีจตุจักร เฉพาะผู้เดินทางไปยังปลายทางสถานีบางซื่อ ในเวลา 6.50-9.15 ในบางขบวนผู้โดยสารกรุณาให้ความร่วมมือลงจากรถ ณ สถานีดังกล่าว และผู้โดยสารที่จะเดินทางไปปลายทางหัวลำโพงจากสถานีบางซื่อ, กำแพงเพชร และสถานีจตุจักร จะต้องรอรถโดยสารประมาณ 7 นาที
เฉพาะชานชาลาชั้นบนของสถานีท่าพระ และสถานีหลักสอง จะไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารเข้าไปในตัวรถโดยสารโดยเด็ดขาด จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
อาศัยอำนาจตาม กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 มาตรา 3 ที่กำหนดไว้คนโดยสารหรือบุคคลอื่นในเขตระบบรถไฟฟ้ามีหน้าที่ปฏิบัติตามเครื่องหมาย, ประกาศ, ป้าย หรือสัญญาณอื่นใด ตลอดจนคำแนะนำและคำตักเตือนของพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการบังคับตามข้อกำหนดนี้
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดซึ่งออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 มาตรา 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม มาตรา 62 มาตรา 77 พรบ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 บัญญัติให้สามารถกระทำได้
ข้อกำหนดต่าง ๆ มีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้โดยสารอาทิเช่นมีการวิจัยว่าผู้โดยสารตั้งแต่สถานีจตุจักรไปยังสถานีหัวลำโพงมีจำนวนในช่วงเช้าจึงจำเป็นต้องให้ผู้โดยสารในสถานีต้นสาย เสียสละเวลาเล็กน้อย เพื่อลดความหนาแน่นในขบวนรถไฟในช่วงเช้าและจะได้มีความปลอดภัยในทรัพย์สินมากขึ้นเนื่องจากมักมีการปล้นทรัพย์โดยอาศัยความหนาแน่นของจำนวนผู้โดยสารซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีโอกาสเกิดได้มากกว่ากรณีที่ผู้โดยสารเบาบาง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องให้ผู้โดยสารออกนอกตัวรถเนื่องจากรถจะทำการกลับไปยังสถานีเดิม จึงต้องทำการตรวจรถโดยสารแต่ไม่ตรวจผู้โดยสาร และเชิญผู้โดยสารออกนอกรถด้วยวาจาสุภาพ อย่างไรก็ตามหากผู้โดยสารไม่ให้ความร่วมมืออาจมีความผิดฐานขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2,000 บาท และผู้โดยสารมีสิทธิฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการด้วยวาจาไม่สุภาพ, ข่มขู่, ทำร้าย หรือคุกคามได้ เฉพาะข้อหนึ่งของประกาศมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
=== การสนับสนุนภาครัฐ ===
==== คนพิการขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ====
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นเพียงรถไฟฟ้าสายเดียวที่สนับสนุนโยบายภาครัฐในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ถือบัตรผู้พิการ โดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรผู้พิการที่ออกโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้บริการผ่านระบบโทรศัพท์ภายในบริเวณทางเข้าสถานี หรือผ่านศูนย์ข้อมูลผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่อให้พนักงานในสถานีส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมารับผู้โดยสาร จากนั้นผู้โดยสารจะต้องแจ้งสถานีปลายทางที่จะเดินทาง เพื่อประสานงานในการรับส่งผู้โดยสาร ณ สถานีปลายทางต่อไป หากแต่ผู้โดยสารประสงค์ที่จะเปลี่ยนสถานีกลางคัน ก็พึงทำได้โดยแจ้งพนักงานขับรถไฟฟ้าผ่านระบบอินเตอร์คอมภายในขบวนรถไฟฟ้า
==== ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ====
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สนับสนุนนโยบายลดค่าครองชีพของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ โดยสามารถโดยสารรถไฟฟ้ามหานครได้ฟรีโดยมีงบค่าโดยสารภายในบัตร 500 บาทต่อเดือน ผู้ที่ถือบัตรเวอร์ชัน 2.5 (มีตราสัญลักษณ์แมงมุมที่ด้านหลังบัตร) สามารถนำบัตรดังกล่าวไปเปิดใช้งานได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายฉลองรัชธรรม เพียงครั้งเดียว ก็สามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ใบนั้นไปแตะเข้าสู่ระบบได้ทันที ทั้งนี้วงเงินดังกล่าวสามารถติดลบได้เหมือนกับบัตรแมงมุมทั่วไป และจะหักออกจากงบ 500 บาท เมื่อถึงวันตัดรอบบัญชี แต่สำหรับผู้ถือบัตรเวอร์ชัน 3.0 และ 4.0 (มีตราสัญลักษณ์พร้อมท์การ์ดที่ด้านหลังบัตร) สามารถนำบัตรดังกล่าวไปออกเหรียญโดยสารเที่ยวเดียวได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร หากใช้บริการเกินวงเงิน เจ้าหน้าที่จะออกเหรียญโดยสารมูลค่าต่ำสุด (16 บาท) ให้ใช้เดินทาง และต้องชำระส่วนต่างที่สถานีปลายทางก่อนออกจากระบบ
==== การช่วยเหลือคนที่มีความต้องการพิเศษ ====
พนักงานของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยมีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้มีความพิการ อาทิการจูงผู้พิการทางสายตาไปยังสถานี การให้บริการติดตามผู้โดยสารที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษโดยให้พนักงานเดินทางไปด้วย เช่นผู้โดยสารที่เดินทางครั้งแรก ฯลฯ เพียงท่านแจ้งให้พนักงานสถานีทราบเท่านั้น
==== การรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน ====
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลในทุกสถานีมีบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนดังต่อไปนี้
บริการปุ่มหยุดฉุกเฉินบันไดเลื่อน
บริการปุ่มแจ้งเหตุไฟไหม้
บริการโทรศัพท์แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
บริการทางออกฉุกเฉินในสถานี
บริการแจ้งเหตุกับตำรวจผ่านตู้รับเรื่องร้องเรียน
บริการคันโยกฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าเพื่อเปิดประตูรถกรณีฉุกเฉิน
บริการอุปกรณ์ดับเพลิง
บริการกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
หมายเหตุ:
ผู้โดยสารที่ใช้บริการตาม ข้อ 1-5 โดยไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินระวางโทษปรับ 1,000 บาท
ผู้โดยสารที่ใช้บริการตาม 6-7 โดยไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินหรือใช้ตามสถานการณ์ฉุกเฉินแต่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ ระวางโทษปรับ 1,000 บาท และ จำคุก 1 เดือน
ผู้โดยสารที่ใช้บริการตามข้อ 1-7 หากมีผู้ใดฟ้องร้องในความผิดอื่นใดระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ระวางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 374 หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น ระวางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 ห้ามผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงเสียในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำการอื่นใดให้สูญเสียความสงบเรียบร้อย หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ 500 บาท
อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 หากการกระทำนั้น เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ถ้าการกระทำอันเป็นการทะเลาะกัน หรือจงใจก่อให้เกิดเสียงอื่นใดนั้นส่งผลให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ปรับ 100 บาท
อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 373 ห้ามผู้ใดที่ควบคุมบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตออกเที่ยวตามลำพัง หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ 500 บาท
ผู้โดยสารที่ ถูกประทุษร้าย ถูกโจรโจรกรรม ถูกกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล สามารถขอใช้บริการตรวจกล้องวงจรปิดได้
==== พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ====
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จัดบริการสารคดี พระราชอารมณ์ขัน ให้แก่ผู้โดยสารชมฟรี ทุกขบวนรถ และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ด้วยการติดสติ๊กเกอร์ ตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ที่บริเวณกระจกกั้นชานชาลาทุกสถานี
==== การรักษาความสะอาด ====
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อยู่ภายใต้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งหากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,000 บาท
ทั้งนี้อาจมีข้อบังคับอื่น ๆ เช่น ห้ามนำอาหารที่มีกลิ่นแรงเข้าภายในสถานีรถไฟฟ้า ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มภายในพื้นที่ชำระเงินแล้ว, ห้ามดื่มสุราภายในสถานี, ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล, ห้ามถ่มน้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ, อาเจียน, ปัสสาวะ และคายหมากฝรั่งภายในสถานีบริเวณสถานีอย่างเด็ดขาดหากฝ่าฝืน จะมีโทษ ตามกฎกระทรวง และพรบ.ความสะอาด จำคุก 1 เดือน ปรับ 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การสูบบุหรี่ภายในสถานีถือว่ามีความผิด มีโทษปรับ 2,000 บาท และหากทิ้งบุหรี่ภายในสถานีจะมีโทษปรับเพิ่ม 2,000 บาท อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
=== พันธมิตรธุรกิจ ===
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร่วมกับสหพัฒนพิบูล จัดรายการ ให้ผู้โดยสารได้มีโอกาสรับประทานมาม่าฟรีตลอดทั้งปี โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2553 และยังคงมีจัดปีละครั้งนอกจากนั้นยังมีพันธมิตรธุรกิจลดราคาค่าโดยสารโดยมีเงื่อนไขเช่นเติมเงินทุก 300 บาท ฯลฯ หรือลดราคาให้ลูกค้าที่ใช้บริการกับพันธมิตรธุรกิจของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
=== การตรวจค้นกระเป๋า ===
อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 63 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวงหรือตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1.ค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จึงมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 การตรวจค้นสิ่งของในความครอบครองของบุคคลในที่สาธารณะจะกระทำไม่ได้เลย เว้นแต่เจ้าพนักงานปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิดเจ้าหน้าที่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 93 ตรวจค้นบุคคลที่เครื่องตรวจจับโลหะชนิดเดินผ่าน่ ส่งสัญญาณเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความเห็นวา มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด
=== บริการอื่น ๆ ===
ที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร มีพื้นที่จอดรถสำหรับการจอดรถรายวันให้ในบริเวณสถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีสามย่าน และสถานีอิสรภาพ นอกเหนือจากนั้นจำเป็นจะต้องใช้ที่จอดรถของอาคารข้างเคียง และยังมีพื้นที่พิเศษซึ่งเตรียมไว้สำหรับการจอดรถเป็นจำนวนมาก ได้แก่ สถานีบางซื่อ บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารสถานีกลางบางซื่อ สามารถจอดได้ 1,100 คัน สถานีสวนจตุจักร บริเวณขนส่งหมอชิตเดิม หรือด้านหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถจอดได้ถึง 1,250 คัน และสถานีเพชรบุรี ที่บริเวณใต้ทางพิเศษศรีรัช (ด่านอโศก 1) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สามารถจอดได้ 300 คัน และพื้นที่ภายในสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพมหานคร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถจอดได้ประมาณ 500 คัน
อาคารจอดแล้วจร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มีบริการอาคารจอดรถและจุดจอดรถจักรยานยนต์ 3 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดรถ 9 ชั้นบริเวณสถานีลาดพร้าว อาคารจอดรถ 3 ชั้นบริเวณสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และอาคารจอดแล้วจร 1-2 บริเวณสถานีหลักสอง ซึ่งบริการทั้งแบบรายวันและรายเดือน ทั้งนี้ผู้ที่ใช้บริการจะได้รับบัตร MRT Plus "Park n' Ride" ซึ่งเป็นบัตรสำหรับจอดรถและบัตรโดยสารรถไฟฟ้าในตัว หากทำบัตรสูญหายจะมีโทษปรับ 500 บาทไม่เว้นทุกกรณี พร้อมทั้งต้องแสดงหลักฐานเป็นเจ้าของรถมาแสดง ผู้โดยสารสามารถใช้บัตร MRT Plus "Park n' Ride" ในการเดินทางภายในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ทั้งสายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรมได้โดยไม่ต้องออกบัตรโดยสารใหม่ โดยมีวงเงินการเดินทางต่อครั้งไม่เกิน 500 บาท และผู้โดยสารจะต้องแตะบัตรที่สถานีปลายทางเพื่อบันทึกการใช้งาน จากนั้นผู้โดยสารจะต้องนำบัตรมาคืน พร้อมชำระค่าโดยสาร ค่าจอดรถและรับรถคืนภายในเวลาที่กำหนด กล่าวคือเฉพาะเวลา 05.00-01.00 น. เท่านั้น แต่หากลืมแตะบัตรจะคิดในราคาเท่ากับผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล คือ 50 บาทต่อชั่วโมง การจอดรถนานเกินช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอัตราโทษปรับตามเกณฑ์ที่กำหนดในขณะนั้น ๆ ปัจจุบันคือผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ปรับ 300 บาท หากไม่ใช้บริการปรับ 1,000 บาท เนื่องจากไม่รับฝากรถเพียงแค่รับฝากเฉพาะผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เท่านั้น
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีบริการศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและซื้อสินค้าที่สถานีกำแพงเพชร เปิดเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์เท่านั้น
ศูนย์การค้า มีบริการศูนย์การค้าเมโทรมอลล์ที่ สถานีคลองเตย, สถานีสุขุมวิท, สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร ซึ่งรวมทั้งร้านค้าบริการ และร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มภายในสถานี และมีบริการซูเปอร์มาร์เก็ต กูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่สถานีลาดพร้าว และสถานีเพชรบุรี ซึ่งให้บริการซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหาร อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตให้นำเข้าในบริเวณชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร
ตู้ถอนเงิน มีบริการตู้ถอนเงินในทุกสถานีจากหลากหลายธนาคาร
โทรศัพท์ ในอดีตมีบริการโทรศัพท์และตู้ทำธุรกรรมทางการเงินจาก ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้บริการแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ เอไอเอส, ดีแทค และ ทรูมูฟ เอช ในการวางโครงข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3G และ 4G ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า
== ดูเพิ่ม ==
รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง
รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง
รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู
รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย โดย สนข.
ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร
ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รถไฟลอยฟ้าในประเทศไทย
มหานคร
เส้นทางรถไฟวงกลม
เส้นทางรถไฟที่เปิดทำการในปี พ.ศ. 2547 | thaiwikipedia | 638 |
จักรวรรดินิยมในเอเชีย | จักรวรรดินิยมในเอเชียซึ่งนำเสนอในบทความนี้ว่าด้วยการเข้ามายังบริเวณที่เดิมเรียก หมู่เกาะอินเดียตะวันออก ของชาติยุโรปตะวันตก จักรวรรดินิยมในเอเชียเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยการค้นเส้นทางการค้ากับประเทศจีนซึ่งนำไปสู่ยุคแห่งการสำรวจโดยตรง และนำการสงครามสมัยใหม่ตอนต้นมาสู่บริเวณซึ่งขณะนั้นเรียก ตะวันออกไกล เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ยุคแห่งการเดินเรือขยายอิทธิพลของยุโรปตะวันตกและพัฒนาการค้าเครื่องเทศภายใต้ลัทธิอาณานิคมอย่างมาก มีจักรวรรดิอาณานิคมยุโรปตะวันตกและจักรวรรดินิยมในเอเชียตลอดหกศตวรรษแห่งลัทธิอาณานิคม จนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อติมอร์-เลสเต ซึ่งเป็นอาณานิคมสุดท้ายของจักรวรรดิโปรตุเกส ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 จักรวรรดินำมาซึ่งมโนทัศน์ชาติและรัฐพหุชาติแบบตะวันตก บทความนี้พยายามสรุปพัฒนาการของมโนทัศน์รัฐชาติของตะวันตก
แรงผลักของอำนาจทางการเมือง พาณิชย์และวัฒนธรรมของยุโรปในเอเชียทำให้มีการค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งเป็นพัฒนาการสำคัญจนนำมาซึ่งเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสทำลายการผูกขาดการค้าทางบกระหว่างทวีปเอเชียและยุโรปของชาวอาหรับและอิตาลี โดยการค้นพบเส้นทางทางทะเลสู่อินเดียอ้อมแหลมกู๊ดโฮป อิทธิพลของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์คู่แข่งซึ่งตามติดมา ทำให้อิทธิพลของโปรตุเกสในทวีปเอเชียค่อย ๆ หมดไป กองทัพดัตช์เป็นชาติแรกที่สถาปนาฐานทัพอิสระทางตะวันออก (ที่สำคัญที่สุด คือ ปัตตาเวีย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์อันมีป้อมค่ายแน่นหนา) แล้วจากนั้น ระหว่าง ค.ศ. 1640 ถึง 1660 ดัตช์แย่งชิงการค้ากับมะละกา ซีลอน ท่าอินเดียใต้บางแห่ง และญี่ปุ่นที่มีกำไรมากจากโปรตุเกส ต่อมา อังกฤษและฝรั่งเศสสถาปนานิคมในอินเดียและสถาปนาการค้ากับจีนและการได้มาของอังกฤษและฝรั่งเศสนี้จะค่อย ๆ แซงหน้าเนเธอร์แลนด์ หลังสงครามเจ็ดปีใน ค.ศ. 1763 อังกฤษกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสในอินเดียและสถาปนาบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเป็นอำนาจการเมืองที่สำคัญที่สุดในอนุทวีปอินเดีย
ก่อนหน้าการปฏิวัติอุตสาหกรรมในกลางถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุปสงค์ของสินค้าตะวันออกอย่างเครื่องถ้วยเปลือกไข่ ไหม เครื่องเทศและชา ยังเป็นแรงผลักเบื้องหลังจักรวรรดินิยมของยุโรป และเดิมพันของยุโรปในทวีปเอเชียส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่กับสถานีการค้าและกองรักษาด่านทางยุทธศาสตร์ซึ่งจำเป็นต่อการคุ้มครองการค้า (โดยยกเว้นการปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในอินเดีย) ทว่า การปรับให้เป็นอุตสาหกรรมเพิ่มอุปสงค์ของยุโรปต่อวัตถุดิบจากเอเชียอย่างมาก และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาว (Long Depression) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1870 เป็นชนวนการแย่งชิงตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของยุโรปและบริการทางการเงินในทวีปแอฟริกา อเมริกา ยุโรปตะวันออก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเชีย การแย่งชิงนี้เกิดขึ้นพร้อมกับสมัยใหม่ในการขยายอาณานิคมโลกเรียก "จักรวรรดินิยมใหม่" ซึ่งหันความสนใจจากการค้าและการปกครองทางอ้อมเป็นการควบคุมอาณาเขตโพ้นทะเลไพศาลแบบอาณานิคมอย่างเป็นทางการอันปกครองเป็นการขยายทางการเมืองจากประเทศแม่ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1870 จนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1914 สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มั่นคงในทวีปเอเชีย ผนวกอาณาเขตกว้างใหญ่ของตะวันออกกลาง อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับจักรวรรดิของตน ในห้วงเวลาเดียวกัน จักรวรรดิญี่ปุ่นหลังการปฏิรูปเมจิ จักรวรรดิเยอรมันหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียยุติใน ค.ศ. 1871 จักรวรรดิรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาหลังสงครามสเปน-อเมริกาใน ค.ศ. 1898 กำเนิดเป็นเจ้าอาณาเขตในเอเชียตะวันออกและบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างรวดเร็ว
ในทวีปเอเชีย สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเป็นการต่อสู้ระหว่างเจ้าอาณานิคมหลายชาติ ความขัดแย้งดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชาติยุโรปกับรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งกำลังผงาด ทว่า ไม่มีเจ้าอาณานิคมประเทศใดมีทรัพยากรเพียงพอกับความเสียหายจากสงครามโลกทั้งสองครั้งและธำรงการปกครองโดยตรงในทวีปเอเชียได้ แม้ขบวนการชาตินิยมทั่วโลกอาณานิคมนำมาซึ่งเอกราชทางการเมืองในอาณานิคมแทบทั้งหมดที่เหลืออยู่ในทวีปเอเชีย การปลดปล่อยอาณานิคมถูกสงครามเย็นขัดขวาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันตกยังจมอยู่ในระบบเศรษฐกิจ การเงินและทหารโลกซึ่งมหาอำนาจแข่งกันขยายอิทธิพล อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามที่รวดเร็วของเสือเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก อินเดีย จีน ตลอดจนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้ลดอิทธิพลของยุโรปและอเมริกาเหนือในทวีปเอเชีย ทำให้มีการสังเกตในปัจจุบันว่าอินเดียและจีนสมัยใหม่อาจกำเนิดเป็นอภิมหาอำนาจใหม่ของโลก
== อังกฤษในอินเดีย ==
=== การล่มสลายของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดียและการกำเนิดของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ===
อังกฤษก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (The British East India Company) ขึ้นในปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) แม้ว่าจะเป็นการเผชิญหน้าโดยตรงกับฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในอินเดียขณะนั้น แต่บริษัทก็สามารถเติบโตและขยายอำนาจเข้าครอบงำดินแดนทั้งหมดของอนุทวีปได้ในศตวรรษต่อมา เมื่ออังกฤษเข้าครองเบงกอลได้ หลังมีชัยชนะในยุทธการที่ปาลาศี ในปี พ.ศ. 2300 (ค.ศ. 1757) บริษัทบริติชเอเชียตะวันออกเติบโตขึ้นในช่วงจังหวะที่พระราชอำนาจของราชวงศ์โมก์ฮัลหรือราชวงศ์โมกุล (Mughal) ตกต่ำเสื่อมถอย เนื่องจากการคอรัปชั่น กดขี่ราษฎร และการก่อกบฏ จนในที่สุดก็ถึงกาลล่มสลายลงในรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบ (Aurangzab) ซึ่งปกครองอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1658 - 1707
รัชสมัยของกษัตริย์ชาห์ จาฮัน (Shah Jahan, ค.ศ. 1628 - 1658) เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรื่องและมีพระราชอำนาจสูงสุดของราชวงศ์โมก์ฮัน แต่พอถึงรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบก็เป็นยุคแห่งหายนะ เนื่องจากกษัตริย์โอรังเซบเป็นผู้ที่มีความอำมหิต และคลั่งไคล้ในศาสนา มีพระประสงค์จะกำจัดผู้ที่มีความคิดเห็น ความเชื่อหรือทัศนะที่แตกต่างไปจากความเชื่อของมุสลิมให้หมดไปจากแผ่นดินอินเดีย
ในราวปี พ.ศ. 2233 (ค.ศ. 1690) อันเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์โมก์ฮัลสามารถแผ่ขยายจักรวรรดิออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลที่สุดนั้น อินเดียภายใต้การปกครองของกษัตริย์โอรังเซบมีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรอินเดียทั้งหมด แต่ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรื่องตามมาด้วยวัฏจักรขาลง หรือช่วงเวลาของอำนาจที่เสื่อมคลายตกต่ำ 15 ปี หลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์โอรังเซบ ราชอาณาจักรโมก์ฮัลที่ยิ่งใหญ่ก็ถึงแก่กาลล่มสลายลง อนุทวีปก้าวเข้าสู่ช่วงอนาธิปไตย บ้านเมืองยุ่งเหยิง ไร้ขื่อแป เนื่องจากบรรดาแม่ทัพนายกอง เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางแก่งแย่งชิงกันเป็นใหญ่ แบ่งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ทำการปล้นสะดมแย่งอำนาจระหว่างกัน แต่ในช่วงเวลาเหล่านี้ราชวงศ์โมก์ฮัลยังปกครองอินเดียอยู่ในนาม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) รัฐบาลกลางจึงถึงกาลล่มสลายลง ก่อให้เกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจขึ้นในดินแดนภารตะที่กว้างใหญ่นี้
=== จากบริษัทสู่เพชรยอดมงกุฎแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ ===
ระหว่างที่บริษัทเทรดดิ้งของอังกฤษและฝรั่งเศสแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างกันและกันมาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษนั้น ราวกลางศตวรรษที่ 18 สงครามซึ่งเป็นเสมือนอนุสาวรีย์แห่งความเป็นเจ้าจักรวรรดิของอังกฤษก็เริ่มต้นขึ้น ในช่วงสงครามเจ็ดปี (พ.ศ. 2299 - 2306) รอเบิร์ต ไคลฟ์ (Robert Clive) ผู้นำบริษัทในอินเดียมีชัยชนะเหนือกษัตริย์แห่งเบงกอลในอินเดียในการศึกที่เพลสเซย์ (Battle of Plassey พ.ศ. 2300) อันเป็นชัยชนะครั้งสำคัญซึ่งนำไปสู่การเริ่มต้นของยุคใหม่ในประวัติศาสตร์อินเดีย ซึ่งเป็นยุคที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียอย่างไม่เป็นทางการ และในขณะที่อินเดียยังคงสถานภาพมีอธิปไตยของตนเองแต่เพียงในนามนั้น จักรพรรดิราชวงศ์โมก์ฮัลของอินเดียก็มีฐานะเป็นหุ่นเชิดของอังกฤษมากยิ่งขึ้นทุกที ๆ พร้อม ๆ กับที่ภาวะบ้านเมืองไร้ขื่อแปก็แพร่ระบาดไปทั่วจนกระทั่งบริษัทบริติชอินเดียตะวันออกก้าวขึ้นสู่บทบาทตำรวจปราบปรามการจลาจลวุ่นวายในอินเดียอย่างเต็มตัว
การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ลัทธิอาณานิคมอย่างเป็นทางการของอินเดียเริ่มจากการที่อังกฤษสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นเป็น "จักรพรรดินีแห่งอินเดีย (Empress of India)" ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ซึ่งเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยขั้นตอนแรกซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอินเดียเข้าเป็นดินแดนใต้ปกครองอย่างเป็นทางการของอังกฤษได้เริ่มมาตั้งแต่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อรัฐสภาอังกฤษหลังถูกรบกวนด้วยแนวคิดที่ว่า บริษัทธุรกิจที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้มีความสนใจเบื้องต้นอยู่ที่การทำผลกำไรให้ได้เท่านั้น ในขณะที่มีอำนาจควบคุมโชคชะตาของคนจำนวนเป็นล้าน ๆ คน ได้ผ่านกฎหมายหลายฉบับออกมาในปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) และ พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) กฎหมายที่ออกมาเห่านี้ได้ให้อำนาจแก่รัฐสภาในการควบคุมนโยบายต่างๆของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก และมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงสุดของบริษัทในอินเดียซึ่งรู้จักกันในชื่อตำแหน่ง ว่า "ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้น (governor-general)" (ระบบการควบคุม 2 ระดับนี้ใช้กันต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1858) ในปี พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1818) บริษัทบริติชอินเดียตะวันออกปกครองอินเดียทั้งหมด กษัตริย์พื้นเมืองอินเดียบางส่วนถูกบีบให้ยอมสวามิภักดิ์ ยอมรับความเป็นเจ้าอาณานิคมของอังกฤษ ขณะที่บางส่วนถูกริบดินแดนไป พื้นที่บางส่วนของอนุทวีปตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของอังกฤษ ในขณะที่บางส่วนราชวงศ์พื้นเมืองยังคงปกครองบ้านเมืองของตนอยู่ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ
ก่อนถึงปี พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) นั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมก์ฮันอย่างเป็นทางการอยู่ อย่างไรก็ตาม ความโกรธแค้นในกลุ่มสังคมหลายกลุ่มได้คุกรุ่นขึ้นในสมัยที่เจมส์ ดัลเฮาซี (James Dalhousie) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นของอังกฤษ (พ.ศ. 2390 - 2399) เนื่องจากบุคคลผู้นี้ได้ทำสงครามและขยายดินแดนภายใต้ปกครองของอังกฤษออกไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำสงครามแขกซิกข์ครั้งที่สอง (the second Sikh War) เมื่อมีชัยชนะก็ผนวกเอาแคว้นปัญจาบเข้ากับอังกฤษ (พ.ศ. 2392) การยึดอำนาจจากเจ้าปกครองรัฐต่าง ๆ อีก 7 รัฐโดยข้ออ้างว่าละเมิดศีลธรรมและหันกลับไปสู่การทุจริตคิดมิชอบอีก การยึดรัฐสำคัญๆในแคว้นอวาธะ (Oudh) โดยอ้างความผิดพลาดในการบริหารปกครองบ้านเมือง และปฏิบัติการด้านวัฒนธรรมที่มีความอ่อนไหวเช่น ห้ามการทำพิธีกรรมของฮินดู เช่นพิธีสตี (Sati) หรือ พิธีเผาตัวเองของหญิงหม้ายชาวฮินดูเพื่อตามสามีที่เสียชีวิตไปก่อนด้วยการกระโดดเข้ากองไฟที่เผาศพสามี เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) เกิดกบฏซีปอย (Sepoy Rebellion) หรือ ขบถอินเดีย (Indian Mutiny) ขึ้น ซึ่งเป็นการก่อกบฏที่เริ่มต้นขึ้นโดยกองกำลังชาวอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของกองกำลังติดอาวุธของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก การกบฏครั้งนี้ถือเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อินเดีย และครั้งนั้นอังกฤษยังโชคดีมาก เนื่องจากทหารอินเดียในส่วนอื่น ๆ อีกหลายพื้นที่ภายใต้ปกครองของอังกฤษยังคงมีความจงรักภักดีต่อบริษัท ไม่เคลื่อนไหวเข้าสมทบหรือสนับสนุนฝ่ายกบฏ ทำให้อังกฤษปราบฝ่ายกบฏลงได้อย่างราบคาบหลังจากการต่อสู้อย่างรุนแรง ผลลัพธ์สำคัญประการหนึ่งจากการก่อกบฏครั้งนั้นก็คือการอวสานของราชวงศ์โมก์ฮัล กบฏทหารอินเดียครั้งนั้นยังทำให้ระบบการควบคุมอาณานิคมอินเดีย 2 ระดับของอังกฤษ คือการแบ่งปันอำนาจในการปกครองอินเดียร่วมกันระหว่างรัฐบาลอังกฤษและบริษัทบริติชอินเดียตะวันออกยุติลงด้วย รัฐบาลอังกฤษปลดบริษัทบริติชอินเดียตะวันออกออกจากตำแหน่งความรับผิดชอบทางการเมือง และในปี พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) บริษัทซึ่งมีบทบาทสำคัญในฐานะหัวหอกไล่ล่าอาณานิคมของอังกฤษซึ่งมีอายุ 258 ปี ก็ยุติบทบาทตนเองลงอย่างสิ้นเชิง มีการรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของอังกฤษเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเป็นข้าราชการพลเรือนบริหารอินเดียในสังกัดของอังกฤษ และบุคคลเหล่านี้คือบุคคลกลุ่มแรก ๆ ที่มีความพร้อมจะปกครองอินเดียในช่วงต่อไป
ลอร์ดแคนนิง (Lord Canning ได้รับแต่งตั้งเป็นเอิร์ล ในปี พ.ศ. 2402) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งอินเดียในปี พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) ลอร์ดแคนนิงผู้นี้เป็นที่รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า "แคนนิงผู้เมตตา" (Clemency Canning) เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่พยายามควบคุมมิให้มีการแก้แค้นชาวอินเดีย ในช่วงระหว่างเกิดการกบฏโดยกองกำลังทหารอินเดียขึ้นนั่นเอง เมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายการปกครองอินเดียจากบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก มาเป็นการปกครองโดยรัฐบาลอังกฤษ หรือเปลี่ยนจาก "บริษัทสู่เพชรยอดมงกุฎแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ" ตำแหน่งผู้ปกครองอินเดียของอังกฤษก็เปลี่ยนตามไปด้วย คือเปลี่ยนจากตำแหน่ง "ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้น" (governor-general) ไปเป็นตำแหน่ง "อุปราช" (Viceroy) และอุปราชแห่งอินเดียคนแรกของอังกฤษคือแคนนิงนั่นเอง
=== กำเนิดของลัทธิชาตินิยมอินเดีย ===
อังกฤษปกครองอาณานิคมอินเดีย พร้อมกับการพัฒนาอินเดียให้มีความทันสมัยก้าวหน้าขึ้นในหลายด้าน ตัวอย่างเช่น การขยายเส้นทางรถไฟจากปี พ.ศ. 2396 เป็นต้นมานั้นได้ช่วยให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ ขยายตัวออกไปด้วย ในขณะที่การเพาะปลูกฝ้าย ชา และครามก็ทำให้เกิดธุรกิจอย่างใหม่ ๆ ขึ้นในภาคเศรษฐกิจการค้า การยกเลิกภาษีนำเข้าในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) ซึ่งเปิดช่องทางให้อุตสาหกรรมที่เกิดใหม่ของอินเดียมองเห็นถึงการที่ต้องปลดโซ่ตรวนการแข่งขันจากอังกฤษ จึงกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการที่ทันสมัยอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาด้วย นั่นก็คือ การเกิดขึ้นของขบวนการชาตินิยมอินเดีย
การปฏิเสธไม่ยอมให้สถานภาพที่เท่าเทียมกันแก่ชาวอินเดีย คือปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการก่อตั้งสภาแห่งชาติอินเดีย (The Indian National Congress) ขึ้นในปี ค.ศ. 1885 ซึ่งเบื้องต้นยังจงรักภักดีต่อจักรวรรดิอังกฤษ แต่จากปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) เป็นต้นมาก็ยืนหยัดที่จะสร้างรัฐบาลอินเดียที่มีอำนาจในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น. จนกระทั่งปี ค.ศ. 1930 ภารกิจก็คือการประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยตรง ระบบ "Home Charges" ซึ่งเป็นระบบที่อังกฤษใช้ดูดทรัพยากรธรรมชาติ และโยกย้ายสินทรัพย์จากอินเดียไปยังอังกฤษ ในฐานะที่เป็น "ค่าใช้จ่ายในการบริหาร" อาณานิคมอินเดียนั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความเจ็บใจให้แก่บรรดานักชาตินิยมอินเดียมายาวนาน แม้ว่าการไหลของทรัพยากรมีค่าของอินเดียไปยังอังกฤษ จะลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงหลายทศวรรษก่อนที่อินเดียจะได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ก็ตาม
แม้ว่าผู้นำของชาวฮินดูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ และผู้นำของชนมุสลิมซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของอินเดีย จะสามารถร่วมมือกันได้อย่างใกล้ชิด ในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายอาณานิคมของอังกฤษ จนเข้าสู่คริสต์ทศวรรษ 1920 แต่อังกฤษก็ให้การสนับสนุนองค์กรทางการเมืองของชาวมุสลิมที่แตกต่างกันจากชาวฮินดูมาแล้วตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) และพอในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 เป็นต้นไป ก็ยืนกรานกระต่ายขาเดียวที่จะให้มีคณะเลือกตั้งที่แยกกันสำหรับชนกลุ่มน้อยที่แตกต่างกันทางลัทธิศาสนา ซึ่งท่าทีของอังกฤษดังกล่าวถูกมองโดยคนจำนวนมากในอินเดียว่า เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างฮินดู-มุสลิมขึ้น จนท้ายที่สุดทำให้เกิดการแบ่งแยกอินเดียออกเป็นส่วน ๆ
== ฝรั่งเศสในอินโดจีน ==
บทบาทของฝรั่งเศสในอาณานิคมเอเชียนั้นแตกต่างจากอังกฤษ เพราะฝรั่งเศสได้สูญเสียอำนาจจักรวรรดินิยมของตนให้แก่อังกฤษไป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ดังนั้นจึงมีพื้นฐานสำหรับการขยายดินแดนเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในแง่ของภูมิศาสตร์และการพาณิชย์น้อยกว่าอังกฤษ ในช่วงหลังจากทศวรรษ 1850 ลัทธิจักรวรรดินิยมของฝรั่งถูกกระตุ้นโดยความต้องการด้านชาตินิยมเพื่อแข่งขันกับคู่ปรับคืออังกฤษ และได้รับการสนับสนุนทางปัญญา โดยแนวคิดเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่เหนือกว่าชาติอื่นของวัฒนธรรมฝรั่งเศส และขบวนการพิเศษของ "mission civilisatrice" หรือ ขบวนการหล่อหลอมชนพื้นเมืองให้มีความอารยะโดยผ่านการซึมซับรับเอาวัฒนธรรมของชาติฝรั่งเศสเข้าไปอย่างกลมกลืนแทบไม่รู้สึกตัว ดังนั้น ข้ออ้างโดยตรงของฝรั่งเศสในการขยายอิทธิพลเข้าสู่อินโดจีนก็คือการปกป้องคณะมิชชั่นนารีฝรั่งเศสที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในพื้นที่ดังกล่าว ควบคู่กันไปกับความปรารถนาที่จะค้นหาเส้นทางเข้าสู่ทางภาคใต้ของจีน โดยผ่านพื้นที่ทางภาคเหนือของเวียดนามซึ่งเรียกว่า ดินแดนตั๋งเกี๋ย (Tonkin)
ฝรั่งเศสได้เข้าไปลงหลักปักฐานผลประโยชน์ของตนทั้งทางด้านศาสนาและทางด้านการค้าในอินโดจีนตั้งแต่ในศตวรรษที่ 17 แต่ความพยายามที่จะประสานผลประโยชน์ทั้งสองด้านเข้าด้วยกันเพื่อสถาปนาเขตอิทธิพลของฝรั่งเศสขึ้นนั้นไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากจะต้องเผชิญหน้ากับอังกฤษที่กำลังแข็งแกร่งเฟื่องฟู แผ่อำนาจไล่ล่าอาณานิคมอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ขณะที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายปราชัยอยู่ในยุโรปในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ต่อมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 กลุ่มเคร่งศาสนาได้กลับฟื้นคืนสู่อำนาจอีกครั้งในฝรั่งเศสอันเป็นช่วงที่เรียกกันว่า "จักรวรรดิที่ 2" (the Second Empire) สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ทำให้ความสนใจต่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศสในตะวันออกไกลมีกระแสเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเกิดกระแสต่อต้านศาสนาคริสต์ขึ้นในดินแดนตะวันออกไกล เช่น การจับกุม กลั่นแกล้งและสังหารชาวคริสต์ ฯลฯ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงกลายเป็นเหตุผลสำคัญทำให้ฝรั่งเศสก้าวเข้าแทรกแซงฝ่ายบริหารของชนถ้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1856 จีนสั่งประหารชีวิตมิชชันนารีฝรั่งเศสที่ไปเผยแพร่ศาสนาอยู่ในดินแดนทางใต้ของจีน และในปี ค.ศ. 1857 จักรพรรดิเวียดนามซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤติในประเทศ ได้พยายามทำลายอิทธิพลของต่างชาติในเวียดนามโดยการสั่งประหารชีวิตบิชอปชาวสเปนแห่งตังเกี๋ย (Tonkin) ฝรั่งเศสซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์นโปเลียนที่ 3 ตัดสินใจว่า ถ้าฝรั่งเศสไม่เข้าไปช่วย ศาสนาคาทอลิกจะถูกจำกัดให้สูญหายไปจากดินแดนตะวันออกไกล พระองค์จึงร่วมมือกับอังกฤษทำสงครามกับจีน เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1857 ไปจนถึงปี ค.ศ. 1860 พร้อมกับทำสงครามยึดเวียดนามด้วย และในปี ค.ศ. 1860 ฝรั่งเศสก็เข้ายึดครองไซง่อนไว้ได้
ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-เวียดนาม (Franco-Vietnamese Treaty) ซึ่งทำขึ้นในปี ค.ศ. 1862 นั้น จักรพรรดิเวียดนามไม่เพียงยินยอมยกดินแดน 3 จังหวัดในโคชิน ไชน่า (Cochin China) ดินแดนทางภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศสโดยสิ้นเชิงเท่านั้น แต่ยังให้การรับรองสิทธิพิเศษทั่วแผ่นดินเวียดนามทั้งทางด้านการค้าและการเผยแพร่ศาสนาให้แก่ฝรั่งเศส พร้อมทั้งยอมรับการเป็นรัฐในอารักขา (protectorates) หรือการมีฝรั่งเศสเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเวียดนามอีกด้วย จากนั้นอย่างช้า ๆ อำนาจของฝรั่งเศสก็แผ่ขยายออกไปในอินโดจีน ด้วยการสำรวจหาดินแดนใหม่ การแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส และการใช้กำลังเข้ายึดครองมาเป็นอาณานิคมของตนดื้อ ๆ การบุกเข้ายึดครองฮานอยในปี ค.ศ. 1882 นำไปสู่การทำสงครามโดยตรงกับจีน (ค.ศ. 1883-1885) และการมีชัยชนะในการศึกของฝรั่งเศสในสงครามครั้งนี้ ก็เป็นยืนยันถึงการมีอิทธิพลครอบงำเหนือดินแดนในภูมิภาคนี้ของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสปกครองดินแดนโคจินไชน่าในฐานะดินแดนอาณานิคมโดยตรงของฝรั่งเศส ส่วนอันนัม (Annam, พื้นที่ตอนกลางเวียดนาม) ตังเกี๋ย และกัมพูชา ตกเป็นดินแดนภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส โดยมีระดับการควบคุมแตกต่างกันไป และในไม่ช้าก็สามารถยึดลาวเข้าเป็นรัฐใต้อารักขาของตนได้เพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ฝรั่งเศสได้สร้างจักรวรรดิขึ้นในอินโดจีน ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่าประเทศแม่ในยุโรปเกือบ 50% ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในฮานอยปกครองโคจินไช่น่าโดยตรง ขณะที่ควบคุมภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยระบบผู้แทนผู้สำเร็จราชการที่อยู่ประจำรัฐอารักขา (system of residents) นั่นคือ ในทางทฤษฎีแล้ว ฝรั่งเศสจะปล่อยให้ผู้ปกครองท้องถิ่น ที่ปกครองดินแดนเหล่านี้มาก่อนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ทำหน้าที่ปกครองดินแดนต่อไป พร้อมทั้งยังคงให้ใช้โครงสร้างการบริหารราชการแบบเดิม ทั้งใน อันนัม ตั่งเกี๋ย กัมพูชา และ ลาว. แต่ในความเป็นจริงนั้น ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการเงินและการบริหารปกครองดินแดนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถาบันต่าง ๆ ของชนพื้นเมืองจะอยู่รอดต่อไปได้ เพื่อทำให้การปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นที่ยอมรับได้มากขึ้น แต่สถาบันต่าง ๆ เหล่านั้นก็มีสภาพเสมือนหุ่นเชิด หรือตรายางเท่านั้น เนื่องจากไร้อิสรภาพในการดำเนินการใด ๆ ได้อย่างเป็นเสรี. ผู้ปกครองอาณานิคมฝรั่งเศส พยายามดูดกลืนชนชั้นสูงในท้องถิ่น ให้ยอมรับความยิ่งใหญ่เหนือกว่าของอารยธรรมฝรั่งเศส. ในขณะที่ฝรั่งเศสพัฒนาระบบข้าราชการพลเรือนให้ดีขึ้น และสร้างเสถียรภาพทางด้านการค้านั้น มาตรฐานการดำรงชีวิตของชนพื้นเมืองก็ตกต่ำลง. โครงสร้างสังคมในช่วงก่อนยุคอาณานิคมเสื่อมโทรมลง อินโดจีนซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่า 18 ล้านคนในปี ค.ศ. 1914 มีความสำคัญต่อฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ฝรั่งเศสต้องการ คือ ดีบุก พริกไทย ถ่านหิน ฝ้าย และข้าว อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า การมีอาณานิคมนั้น โดยแท้จริงแล้ว สามารถสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าทางด้านการค้าพาณิชย์ให้แก่ฝรั่งเศสได้จริงหรือไม่
== ลัทธิจักรวรรดินิยมในจีน ==
=== การแทรกซึมของลัทธิจักรวรรดินิยมในจีน ===
ในช่วงศตวรรษที่ 18 นั้น อังกฤษมีการค้าขายที่คึกคักกับจีน โดยมีการส่งออกแร่เงินจากเม็กซิโกไปยังจีนและนำเข้าชาจากจีนไปยังเมืองแม่ แต่เมื่ออังกฤษสูญเสียอาณานิคมอเมริกาซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับเม็กซิโกไป อังกฤษก็สูญเสียแหล่งป้อนแร่เงินสำคัญของตนไปด้วย จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องหาสินค้าทางเลือกอื่นเพื่อการส่งออก ฝิ่นของชนอินเดียนเป็นสินค้าที่สามารถทำกำไรได้งามถ้านำมาส่งออกไปยังจีนแทน ถ้าไม่คำนึงถึงศีลธรรม สินค้าตัวใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีให้แก่อังกฤษได้ แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลทางด้านสังคมในจีน ส่งผลให้เกิดสงครามฝิ่น (Opium Wars) ระหว่างอังกฤษกับจีนขึ้นเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1830
จีนภายใต้ลัทธิจักรวรรดินิยมอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 นั้นได้รับการเลี้ยงดูด้วยความคิดที่ผิด ๆ ด้วยเช่นกันว่า เป็นแหล่งตลาดโดยธรรมชาติสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมจากอังกฤษ (สำคัญที่สุดคือสิ่งทอ) และที่ว่าชาวจีนไม่ยอมคบค้าเกี่ยวข้องกับสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างชาตินั้นก็เป็นเพียงเพราะการควบคุมด้านการค้าอย่างเข้มข้นของรัฐบาลจีน แต่ปัจจุบันนี้ นักประวัติศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การควบคุมทางการค้าของจีนในยุคสมัยนั้นไม่ได้เข้มงวดมากมายอะไรนัก และสินค้าสิ่งทอจากอังกฤษนั้นไม่สามารถที่จะแข่งขันกับจีนได้ เนื่องจากสินค้าสิ่งทอของจีนนั้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากแรงงานส่วนเกินของคนในครอบครัว ดังนั้นจึงไม่ต้องอาศัยการยังชีพด้วยอัตราค่าจ้างดังเช่นที่คนงานผู้ผลิตสิ่งทอเป็นอยู่ในโรงงานของอังกฤษ
ความทะเยอทะยานของเหล่าบรรดานักล่าอาณานิคมและคู่แข่งในตะวันออกไกล ทำให้จีนซึ่งมีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาล และจำนวนประชากรมากกว่า 1 ใน 4 ของโลก ตกเป็นเป้าของการไล่ล่าเพื่อเข้ายึดครองอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่ทำให้จีนยังคงสามารถอยู่รอดเป็นประเทศเอกราชอยู่ได้ในภาพรวมนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะความยืดหยุ่นของโครงสร้างทางสังคมและการบริหารปกครองของจีนเอง อย่างไรก็ตาม การคงความเป็นเอกราช รอดปากเหยี่ยวปากกาลัทธิจักรวรรดินิยมของแผ่นดินใหญ่จีนไว้ได้โดยรวมนั้น ยังสามารถมองได้ด้วยว่าเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงขีดจำกัดที่แท้จริงของลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรป เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการอ้างสิทธิในการแข่งขันที่คล้ายคลึงกันได้อีกด้วย
ตามหลักการแล้ว เบื้องลึกของการไล่ล่าหาอาณานิคมของชาติตะวันตก ก็คือเพื่อให้มีดินแดนสำหรับใช้เป็นที่ตั้งกองกำลัง ซึ่งจะกลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญทางยุทธศาสตร์ขึ้นในดินแดนที่อยู่ห่างไกล เพื่อกองกำลังเหล่านั้น จะได้ทำหน้าที่ปกป้องพื้นที่ "การลงทุน" ขนาดใหญ่ของเหล่าประเทศเจ้าอาณานิคมทั้งหลาย ดังเช่นใน อินเดีย ลาตินอเมริกา และจีน. แต่อังกฤษนั้น ในบางสำนึก ยังคงยึดมั่นกับแนวคิดตามลัทธิเสรีพาณิชย์ของนักเศรษฐศาสตร์ คอบ เด็น ที่ว่า ลัทธิอาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการนั้น มีความเหมาะสมมากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้ก็ได้เป็นที่ยอมรับตามกันอย่างเป็นเอกฉันท์ในกลุ่มนักทุนนิยมอุตสาหกรรมทั้งหลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาระหว่างการล่มสลายของนโปเลียนและสงครามฟรังโก-ปรัสเซียน. สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความชอบสำหรับลัทธิอาณานิคมเหนือกว่าจักรวรรดิอย่างไม่เป็นทางการ แต่ท่าทีต่อการปกครองอาณานิคมอย่างเป็นทางการในส่วนใหญ่ของพื้นที่ในแถบร้อนนั้น ครั้งหนึ่งเคยถูกพิจารณาว่า "ล้าหลัง" มากเกินไปสำหรับการค้า พื้นที่ซึ่งมีความเป็นเอกราชนั้น ให้การต้อนรับขับสู้จักรวรรดิอย่างไม่เป็นทางการอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปกครองในฐานะอาณานิคมอย่างเป็นทางการ ในช่วงของการปรับเปลี่ยนโยกย้ายเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยมใหม่
ตัวอย่างเช่น จีนไม่ใช่ประเทศล้าหลังที่ไม่สามารถสร้างเสถียรภาพและความมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรก ๆ ของการค้าพาณิชย์ตามสไตล์ตะวันตกได้ แต่จักรวรรดิจีนที่มีความเจริญก้าวหน้าสูงมากนี้ ไม่ยินยอมรับรูปแบบของการค้าพาณิชย์ของตะวันตก (ซึ่งบ่อยครั้งเป็นการผลักดันสำหรับการค้ายาเสพย์ติด) สิ่งนี้น่าจะเป็นคำอธิบายได้ว่า ทำไมชาติตะวันตกจึงพอใจกับสภาพของ "เขตอิทธิพล" (spheres of Influences) ซึ่งเป็นรูปแบบของอาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการกับจีน. หลังสงครามฝิ่นครั้งแรกยุติลง การค้าพาณิชย์ของอังกฤษ และต่อมาคือเงินลงทุนของชาติที่มีอำนาจทางอุตสาหกรรมใหม่อื่น ๆ ก็พลอยได้รับระดับการควบคุมอย่างเป็นทางการเพียงเล็กน้อย ในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ในดินแดนของจีนด้วย. ขณะที่ชาติจักรวรรดินิยมใหม่เหล่านั้น จะมีอำนาจในการบังคับควบคุมเหนือบรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาตะวันตก และเขตแปซิฟิก มากกว่ามาก. อย่างไรก็ตาม มหาอำนาจตะวันตกก็ได้ใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง เพื่อปราบปรามการจลาจลวุ่นวายที่เกิดขึ้นภายในอาณาจักรจีนด้วย เช่น กรณีการก่อการจลาจลที่น่าสะพรึงกลัวของกลุ่มกบฏไทปิง (Taiping Rebellion) และการกบฏต่อต้านอำนาจจักรพรรดิจีนของกบฏนักมวย (Boxer Rebellion). ในกรณีของการปราบปรามกบฏไทปิงนั้น นายพล กอร์ดอน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นตำนานวีรบุรุษของนักจักรวรรดินิยมในซูดานนั้น ก็ได้รับการยกย่องบ่อยครั้งว่าเป็นผู้ที่ช่วยปกป้องให้ราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) ให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของกลุ่มกบฏไทปิงมาได้
อย่างไรก็ตาม อาจมีการโต้แย้งว่า ขนาดและกำลังความแข็งแกร่งของจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชุมชนอัฟริกาในยุคก่อนอาณานิคมนั้น ทำให้การบังคับไล่ล่าเอาจีนมาเป็นเมืองขึ้นอย่างเป็นทางการโดยชาติมหาอำนาจตะวันตกเพียงชาติใดชาติหนึ่งเพียงชาติเดียวนั้นทำได้ยากยิ่ง แต่ถ้าชาติจักรวรรดินิยมเหล่านั้นผนึกกำลัง เป็นพันธมิตรและร่วมมือกันรุกรานจีน การเข้ายึดครองจีนมาเป็นอาณานิคมก็น่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ความเป็นศัตรูคู่ปฏิปักษ์ระหว่างกันของบรรดามหาอำนาจตะวันตกแต่ละชาติในช่วงเวลานั้น ทำให้ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปไม่ได้ จนกระทั่งในทศวรรษ 1900 การผนึกร่วมเป็นพันธมิตรของบรรดาชาติตะวันตกจึงปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้น แต่วัตถุประสงค์ของความร่วมมือดังกล่าวก็จำกัดอยู่เพียงแค่การร่วมกันปราบปรามกลุ่มกบฏนักมวยที่ก่อกบฏต่อต้านจักรพรรดิจีนเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีความเห็นขัดแย้งกันในประเด็นของเป้าหมาย ("การเปิดประตู" หมายความว่ามหาอำนาจทุกประเทศจะได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงตลาดเหมือน ๆ กันหมด) ส่วนเยอรมันและรัสเซียก็มีประเด็นไม่ลงรอยกันในเรื่องของเขตแดน
อังกฤษพบว่าเป็นการยากที่จะขายสินค้าของตนในจีน และประสบกับสถานการณ์ (ในลักษณะที่เหมือนกันกับชาติยุโรปอื่น ๆ) คือต้องเสียดุลการค้าให้แก่จีน มาจนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 การเริ่มต้นการค้าฝิ่นขนานใหญ่จากอาณานิคมอินเดียของอังกฤษไปยังจีน ทำให้สถานการณ์ดุลการค้าดังกล่าวแปรเปลี่ยนไป พร้อมกับทำให้จำนวนผู้เสพติดฝิ่นเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางในกลุ่มประชากรจีนระดับสูง และเป็นภัยคุกคามประเทศด้วยก่อให้เกิดความเสียหาย บ่อนทำลายประชากรจีนทั้งทางด้านสุขภาพ ศีลธรรมจรรยา และทางด้านจิตวิทยา อย่างรุนแรงจนไม่อาจจะวัดคำนวณออกมาเป็นสถิติตัวเลขได้
ความพยายามของเจ้าหน้าที่จีนในกวางโจว (Guangzhou/Canton) ในการหยุดยั้งการค้าฝิ่น นำไปสู่สงครามฝิ่นครั้งแรก (The First Opium War) ขึ้น ในระหว่างปี ค.ศ. 1839-1842 ซึ่งอังกฤษสามารถรบชนะจีนได้อย่างง่ายดาย และได้รับอำนาจในการปกครองฮ่องกง. สนธิสัญญานานกิง (The Treaty of Nanjing) ยอมรับหลักการของการมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (the principle of extraterritory) ซึ่งคนสัญชาติอังกฤษที่กระทำผิดบนแผ่นดินจีนไม่ต้องขึ้นศาลจีน แต่จะถูกพิพากษาตัดสินโดยชาวอังกฤษด้วยกันเองแทน
สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 (The Second Opium War ระหว่างปี ค.ศ 1856-1860) ฝรั่งเศสเข้าร่วมกับอังกฤษ หลังจากมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเสียชีวิตและจีนจับตัวกะลาสีชาวอังกฤษไป สงครามครั้งนี้ขยายเขตอิทธิพลของอังกฤษจากในฮ่องกงออกไปสู่พื้นที่ต่อเนื่องในแผ่นดินใหญ่คือเกาลูน สนธิสัญญาเทียนสิน (The Treaty of Tianjin) ที่จีนต้องลงนามเพื่อยุติสงคราม ยิ่งทำให้อำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตกแผ่ขยายปกคลุมเหนือดินแดนจีนเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1894-1895 จีนแพ้สงครามเกาหลีที่ทำกับญี่ปุ่น ต้องจ่ายค่าปฏิกรสงครามเป็นมูลค่าสูงถึง 150 ล้านดอลลาร์ ต้องยอมยกเกาะไต้หวันหรือฟอร์โมซาและหมู่เกาะใกล้เคียงให้แก่ญี่ปุ่น สำหรับเกาหลีนั้นแม้จะเป็นประเทศที่ยอมรับกันว่าไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นอยู่ระยะหนึ่ง ฝรั่งเศส เยอรมัน และรัสเซีย ได้ร่วมมือกันเข้าแทรกแซงและป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นรุกเข้าผนวกดินแดนอื่น ๆ ต่อไปได้ ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ ได้กลายเป็นช่วงเวลาแห่งความทรงจำที่ขมขื่นในญี่ปุ่น เมื่อชาติมหาอำนาจกลุ่มเดียวกันนี้ ได้ช่วยกันเองเข้ายึดครองฐานทัพเรือ และขยายเขตอิทธิพลของกันและกัน เหนือดินแดนจีนในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1897-1898
เขตอิทธิพล
เยอรมัน : อ่าวเจียวโจว (Jiaozhou) (หรือ เกียวเจา - Kiaochow), ชานตง (Shandong) และหุบเขาฮวงเหอ/ฮวงโห (Huang He/Hwang-Ho Valley)
รัสเซีย : คาบสมุทรเหลียวตง (Liaodong), สิทธิเหนือทางรถไฟในแมนจูเรีย
อังกฤษ : เว่ยไห่เว่ย (Weihaiwei), หุบเขาแยงซี (Yangtze Valley)
ฝรั่งเศส : อ่าวกวางโจว (Guangzhou), และสามจังหวัดทางใต้
จอห์น เฮย์ (John Hay) รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้ออกมาเรียกร้องในเดือนกันยายน ค.ศ. 1899 ให้ชาติมหาอำนาจต่างๆ ยอมรับในหลักการ"เปิดประตู" (the principle of the "Open Door") อันหมายถึงเสรีภาพของการเข้าถึงการค้า (freedom of commercial access) ของทุกชาติและไม่ผนวกดินแดนจีนเข้าเป็นของตนเอง (non-annexation of Chinese territory) อังกฤษและญี่ปุ่นสนับสนุนหลักการของสหรัฐ ซึ่งท่าทีของสหรัฐดังกล่าวช่วยให้สามารถควบคุมการจัดสรรปันส่วน แบ่งแยกดินแดนจีนมิให้ขยายตัวต่อไปได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นไปเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของมหาอำนาจยุโรปที่ต้องการให้มีรัฐบาลจีนที่อ่อนแอ แต่ยังคงมีความเป็นเอกราชไว้อยู่ เนื่องจาก ถ้ารัฐบาลจีนเกิดล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงนั้น ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายก็จะเกิดความเสี่ยงที่จะต้องสูญเสียสิทธิพิเศษต่างๆที่ได้มาแล้วจากการเจรจากับรัฐบาลจีนขณะนั้น ขณะเดียวกันชาติตะวันตกเหล่านี้ก็ไม่ต้องการเห็นรัฐบาลจีนที่เข้มแข็ง เนื่องจากจะไม่เป็นประโยชน์แก่ตน เพราะรัฐจีนที่แข็งแกร่งนั้นอาจสามารถฉีกสนธิสัญญาที่ทำไว้แล้วกับชาติตะวันตกเหล่านั้นทิ้งได้
การผุกร่อนของอำนาจอธิปไตยของจีนส่งผลให้กระแสการจลาจลต่อต้านชาวต่างชาติระเบิดขึ้นอย่างน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งในเดือนมิถุนายน ปี 1900 เมื่อกลุ่มนักมวย (Boxers – หรือที่ถูกต้องก็คือสมาคม "กำปั้นแห่งความยุติธรรมและความปรองดองสามัคคี - the righteous and harmonious fists") บุกเข้าโจมตีสถานทูตของชาติยุโรปต่างๆที่ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง ส่งผลให้ชาติตะวันตกเหล่านั้น จับมือผนึกกำลังรวมเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน พร้อมสั่งให้กองทัพของตนซึ่งประจำการอยู่ที่เมืองเทียนสิน กรีธาเดินหน้าเข้าสู่เมืองหลวงปักกิ่ง กองทหารเยอรมันปฏิบัติการแก้แค้นอย่างรุนแรงให้แก่ทูตของตนที่ถูกกลุ่มกบฏสังหาร ในขณะที่รัสเซียยึดครองแมนจูเรียในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไว้อย่างเหนียวแน่นจนกระทั่งถูกญี่ปุ่นบดขยี้พ่ายแพ้ไปในสงครามระหว่างปี ค.ศ. 1904-1905
แม้ว่ากฎหมายสิทธิสภาพนอกอาณาเขต จะถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1943 แต่การปกครองของต่างชาติเหนือดินแดนจีนก็เพิ่งจะสิ้นสุดลงเมื่อไม่นานนี้เอง เมื่ออังกฤษและโปรตุเกส ส่งมอบฮ่องกงและมาเก๊ากลับคืนสู่อ้อมอกของจีนในปี 1997 และ 1999 ตามลำดับ
=== การขยายพรมแดนของจีน ===
จีนในฐานะมหาอำนาจจักรวรรดินิยม (China as an imperialist power) แม้ว่าในการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องลัทธิจักรวรรดินิยมนั้น จีนจะถูกมองว่าเป็นประเทศที่ตกเป็นเหยื่อของจักรวรรดินิยมตะวันตก แต่ถ้าติดตามเรื่องราวลึกลงไปกว่านั้นก็จะเห็นภาพที่ซับซ้อนเกี่ยวกับบทบาทของจีนในเรื่องนี้ลงไปอีกระดับหนึ่ง นั่นคือ ระหว่างที่จีนถูกโจมตีในช่วงทศวรรษที่ 19 โดยชาติยุโรปนั้น จีนเองก็ทำการขยายพรมแดนของตนออกไปทางทิศตะวันตกพร้อมๆกันไปด้วย โดยการผนวกแคว้นซินเจียง (Xinjiang) และทิเบตซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้วดินแดนทั้งสองนี้ยากที่จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจีน โดยแท้จริงแล้วคำว่า ซินเจียง นั้นในภาษาจีนมีความหมายว่า พรมแดนใหม่
ความสามารถในการขยายอิทธิพลของตนเข้าไปสู่ดินแดนเอเชียกลางเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง 2 ประการ คือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมเกิดขึ้นภายใต้ราชวงศ์ชิง (Qing dynasty) จากปี ค.ศ. 1616 เป็นต้นมา จีนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์แมนจูซึ่งเป็นผู้รวบรวมผนึกกำลังเหล่าทหารม้าของกองทัพจีนเข้าด้วยกันจนเป็นปึกแผ่น ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมสำหรับการรุกขยายอำนาจและอิทธิพลออกไปยังดินแดนข้างเคียงมากกว่ากองกำลังทหารราบแบบดั่งเดิมของจีน ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีนั้น เป็นความก้าวหน้าในด้านอาวุธปืนใหญ่และกองทหารปืนใหญ่ซึ่งทำให้ความได้เปรียบของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบในไซบีเรียและรัสเซียที่เหนือกว่ากองทัพเพราะมีกองม้าของตนเองนั้นหมดสิ้นไป
การแผ่อิทธิพลเข้าไปในเอเชียกลางของจีนได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ปกครองท้องถิ่นส่วนใหญ่ที่ฝักใฝ่จีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิเบต) มากกว่าชาติมหาอำนาจตะวันตก เนื่องจากจีนใช้อำนาจในการควบคุมยึดครองอย่างหลวม ๆ ไม่รีดนาทาเร้นเข้มข้นหนักเท่ากับรัสเซียและอังกฤษ ส่วนใหญ่ของช่วงเวลาแห่งการขยายอิทธิพลดังกล่าว จีนจึงมีความทะเยนทะยานน้อยมากที่จะเข้ายึดครองเพื่อเป็นเจ้าจักรวรรดิหรือสถาปนาดินแดนเหล่านั้นให้เป็นพื้นที่อาณานิคมโดยตรงของตน แม้กระทั่งในยุคทองของจีน หรือในช่วงสมัยที่จีนมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด คือในสมัยราชวงศ์ถัง (the Tang Dynasty) และในสมัยที่จีนมีความสามารถในการสร้างกองทัพเรือที่แข็งแกร่งที่สุดและใหญ่ที่สุดในยุคราชวงศ์หมิง (the Ming Dynasty) ที่เป็นเช่นนั้นอาจจะเป็นเพราะจีนมีความหยิ่งยะโสและเชื่อมั่นในตนเองสูงว่า จีนเป็นชาติที่มีอารยธรรมก้าวหน้าที่สุดในโลก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำการค้าขายหรือติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนภายนอกซึ่งทางจีนมองว่าเป็นพวก "ป่าเถื่อน (babarians)" นั่นเอง
== เอเชียกลางและตะวันตก==
เอเชียกลางและตะวันตก (Central and Western Asia) อังกฤษ จีน และรัสเซีย คือคู่แข่งสำคัญในเวทีเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 รัสเซียเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียกลาง ซึ่งนำไปสู่วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถานช่วงสั้นๆกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1885 ในเปอร์เซีย(ปัจจุบันคืออิหร่าน) ทั้ง 2 ชาติได้ก่อตั้งธนาคารขึ้นหลายแห่งเพื่อขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของตนในภูมิภาคนี้ อังกฤษนั้นคืบหน้าไปถึงขั้นเข้ารุกรานธิเบต ซึ่งเป็นดินแดนภายใต้อาณัติของจีนในปี 1904 แต่ก็ถอนตัวออกไปเมื่อพบว่าอิทธิพลของรัสเซียเหนือดินแดนดังกล่าวไม่มีความสำคัญและหลังจากพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพจีนใหม่
ตามข้อตกลงในปี 1907 (ดู Entente) รัสเซียยุติการอ้างสิทธิอาณานิคมเหนือปากีสถาน ส่วนอำนาจความเป็นเจ้าเหนืออธิปไตยธิเบตของจีนได้รับการยอมรับจากทั้งรัสเซียและอังกฤษ เนื่องจากการควบคุมตามปกติโดยรัฐจีนที่อ่อนแอนั้นเป็นที่ยอมรับกันได้มากกว่าการยึดครองโดยมหาอำนาจรายใดรายหนึ่ง ส่วนเปอร์เซียนั้นถูกแบ่งออกเป็นเขตอิทธิพลของรัสเซียและอังกฤษ โดยมีเขตเป็นกลางหรือโซนเสรี (neutral/free or common zone) กั้นกลาง ต่อมาอังกฤษยังสมยอมให้รัสเซียเปิดปฏิบัติการปราบปรามรัฐบาลชาตินิยมเปอร์เซียในปี 1911 ด้วย หลังจากเกิดการปฏิวัติขึ้นในรัสเซีย รัสเซียก็ได้ยุติการอ้างสิทธิเหนือดินแดนภายใต้เขตอิทธิพลของตน แม้ว่าการเข้ามีส่วนร่วมในจักรวรรดินิยมจะยังคงมีอยู่เคียงข้างกันไปกับอังกฤษจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1940
ในตะวันออกกลาง บริษัทของเยอรมันได้ก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงคอนแสตนติโนเปิ้ลไปยังนครแบกแดกและอ่าวเปอร์เซีย เยอรมันต้องการเข้าควบคุมเศรษฐกิจในภูมิภาคแห่งนี้ไว่ก่อน และจากนั้นก็เคลื่อนเข้าสู่อิหร่านและอินเดีย แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากอังกฤษ รัสเซีย และฝรั่งเศส ซึ่งได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองและแบ่งสรรปันส่วนพื้นที่ระหว่างกันเองไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
== โปรตุเกส ==
โปรตุเกสซึ่งมีฐานกำลังอยู่ที่กัว (Goa) และมะละก่ได้สร้างจักรวรรดินาวีขึ้นในมหาสมุทรอินเดียเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ และก่อตั้งสร้างกำลังขึ้นที่มาเก๊าทางตอนใต้ของจีนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าในจีนและญี่ปุ่นของตน โปรตุเกสไม่ได้เร่งขยายอาณานิคมในเอเชียอย่างจริงจังในเบื้องต้นเนื่องจากจักรวรรดิโปรตุเกสขยายขอบเขตมากจนตึงมือแล้ว อันเป็นผลจากขีดจำกัดทางด้านค่าใช้จ่ายของอาณานิคมและนาวีเทคโนโลยีร่วมสมัย (ทั้งสองปัจจัยนี้ทำงานคู่ขนานกันไปทำให้การค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอาณานิคมต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาล) ผลประโยชน์ของโปรตุเกสที่มีอยู่ในเอเชียจึงเพียงพอสำหรับการสนับสนุนทางการเงินแก่การขยายอาณานิคมและยึดที่มั่นไว้ต่อไปในเขตพื้นที่ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างมากในภูมิภาคที่ตั้งอยู่ใกล้ประเทศแม่มากกว่าคืออัฟริกาและบราซิล และดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น ว่า โปรตุเกสนั้นมีความสัมพันธ์ทางการค้าแนบแน่นมากกับญี่ปุ่น จนมีการบันทึกไว้ว่าโปรตุเกสคือชาติตะวันตกที่เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นเป็นชาติแรก การสัมพันธ์ติดต่อทางค้าขายเหล่านี้ทำให้มีการนำเอาศาสนาคริสเตียนและอาวุธปืนเข้าไปเผยแพร่ในญี่ปุ่นด้วย
ความยิ่งใหญ่ในฐานะ เป็นมหาอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสต้องสูญเสียให้แก่เนเธอร์แลนด์ไปในศตวรรษที่ 17 และนำมาซึ่งความท้าทายที่สำคัญยิ่งต่อโปรตุเกส แต่อย่างไรก็ตาม โปรตุเกสก็ยังคงยึดครองมาเก๊าซึ่งถูกประกาศว่าเป็นดินแดนใต้อาณานิคมของโปรตุเกสภายหลังจีนแพ้สงครามฝิ่น และจัดตั้งอาณานิคมแห่งใหม่ขึ้นบนเกาะติมอร์ จนกระทั่งหลังกลางศตวรรษที่ 20 โปรตุเกสจึงสูญเสียอาณานิคมในเอเชียของตนไป โดยกัวถูกรุกรานโดยอินเดียในปีค.ศ. 1962 และโปรตุเกสทอดทิ้งติมอร์ไปในปี 1975 ก่อนที่ดินแดนแห่งนี้จะถูกอินโดนีเซียบุกเข้ายึดครองและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ส่วนมาเก๊านั้นโปรตุเกสส่งมอบคืนให้แก่จีนเมื่อสนธิสัญญาการเช่าหมดอายุลงในปี 1999
== เนเธอร์แลนด์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ==
บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (The Dutch East India Company) ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นที่เมืองปัตตาเวีย (ปัจจุบันคือจาการ์ตา) ในหมู่เกาะชวา เพื่อควบคุมการค้าเครื่องเทศในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 บริษัทได้เข้ายึดไต้หวัน (ซึ่งในเวลานั้นจีนยังไม่ได้อ้างสิทธิว่าเป็นดินแดนของตน) เป็นดินแดนอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าขายกับจีนและญี่ปุ่น ภายหลังเกิดสงครามนโปเลียน (The Napoleonic Wars) ดัตช์ก็มุ่งความสนใจในการประกอบกิจการพาณิชย์ของตนไปอยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (อินโดนีเซีย) มาจนตลอดศตวรรษที่ 19 และสูญเสียส่วนใหญ่ของอาณานิคมแห่งนี้ของตนให้แก่ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้แก่กองกำลังพันธมิตรในปี 1945 โปรตุเกสก็ต้องเผชิญหน้ากับการต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อ
== สหรัฐอเมริกาในเอเชีย ==
สหรัฐอเมริกาในเอเชีย สหรัฐอเมริกายึดอำนาจเข้าปกครองฟิลิปปินส์จากสเปนในปี ค.ศ. 1898 ในระหว่างทำสงครามสเปน-อเมริกัน (Spanish-American War) การต่อต้านของชาวฟิลิปปินส์นำไปสู่สงครามฟิลิปปินส์-อเมริกัน (The Philippines-American War) ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1899-1902 และกบฏโมโร (The Moro Rebellion) ในปี ค.ศ. 1902-1913 สหรัฐอเมริกายินยอมมอบเอกราชให้แก่ฟิลิปปินส์เป็นไทแก่ตัวเองเมื่อปี ค.ศ. 1946 นี้เอง
นอกจากฟิลิปปินส์แล้ว สหรัฐอเมริกาได้เข้าผนวกเอาฮาวายในปี ค.ศ. 1893 และได้รับอำนาจเหนือดินแดนเกาะอีกหลายแห่งในแปซิฟิกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
== สงครามโลกครั้งที่ 1 : ลัทธิจักรวรรดินิยมที่เปลี่ยนไป ==
สงครามโลกครั้งที่ 1 : ลัทธิจักรวรรดินิยมที่เปลี่ยนไป (World War I : Changes in Imperialism) เมื่อมหาอำนาจกลาง ซึ่งรวมถึงเยอรมนีและตุรกีเอาไว้ด้วยพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของอำนาจก็เกิดขึ้นและรับรู้ได้ทั่วโลก เยอรมนีสูญเสียดินแดนอาณานิคมของตนทั้งหมดไป ขณะที่ตุรกีนั้นต้องยอมปล่อยดินแดนอาหรับของตนให้แก่ผู้ชนะสงคราม ซีเรีย ปาเลสไตน์ และเมโสโปเตเมีย(ปัจจุบันคืออิรัก) ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษตามคำสั่งการของสันนิบาตชาติ (League of Nations) การค้นพบน้ำมันในอิหร่านและต่อมาในดินแดนชาติอาหรับในปีที่ว่างเว้นสงครามก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่2 (interbellum) เปิดทางให้แก่เป้าความสนใจใหม่ในกิจกรรมปฏิบัติการของอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ในภูมิภาคนี้
== ญี่ปุ่น ==
ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาประเทศชาติสู่ความเป็นเจ้าจักรวรรดินิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อันเป็นความสามารถที่ยิ่งใหญ่ที่ต่อมา ได้หยุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงแรกๆ ญี่ปุ่นโชคดีที่รอดพ้นจากชะตากรรมที่ชาติเอเชียอื่นๆ ได้รับ โดยเฉพาะอย่างเฉกเช่นประเทศจีน นั่นคือการที่ต้องตกเป็นดินแดนอาณานิคมอยู่ภายใต้อำนาจของชาติตะวันตก เสียบ้านเสียเมือง สิ้นราชวงศ์ สิ้นอธิปไตย สูญเสียความเป็นชาติ ประชาชนอดอยากต้องอพยพเร่ร่อนไปอาศัยในบ้านอื่นเมืองอื่นอย่างไร้ศักดิ์ศรี หลังจากที่ถูกพลเรือจัตวาเพอร์รี่ (Commodore Perry) บังคับให้เปิดประตูการค้า แล้วติดตามมาด้วยการจัดการเปิดการค้าให้แก่ชาติมหาอำนาจตะวันตกทั้งหมดในลักษณะเดียวกัน
การปฏิรูปสมัยเมจิ (the Meiji Restoration) ในปี ค.ศ. 1868 นำไปสู่การปฏิรูประบบการปกครองให้ทันสมัยและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมาญี่ปุ่นมีทรัพยากรธรรมชาติน้อยบนแผ่นดินตนเองและมีความต้องการทั้งตลาดในต่างประเทศและแหล่งวัตถุดิบ ปัจจัยเหล่านี้ผลักดันให้เกิดการรุกรานไล่ล่าเพื่อพิชิตอาณานิคมแบบจักรวรรดินิยมซึ่งเริ่มต้นด้วยความพ่ายแพ้ของจีนซึ่งเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์พ่ายแพ้ชาติอื่นๆ มาโดยตลอด จึงทำให้ญี่ปุ่นสามารถพิชิตคนพันล้านคนได้อย่างง่ายๆ ยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ ในปี ค.ศ. 1895 ไต้หวันซึ่งจักรวรรดิชิง (the Qing Empire) ยินยอมยกให้ได้กลายเป็นอาณานิคมแห่งแรกของญี่ปุ่น
ในปี ค.ศ. 1899 ญี่ปุ่นมีชัยจากการที่มหาอำนาจยอมละทิ้งสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการเข้าเป็นพันธมิตรกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1902ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจระหว่างประเทศการมีชัยเหนือรัสเซียในปี ค.ศ. 1905 ทำให้ญี่ปุ่นได้ดินแดนส่วนใต้ของเกาะซักคาลิน (Sakhalin) มาเป็นของตน นอกจากนี้อดีตรัสเซียยังยินยอมให้ญี่ปุ่นเช่าแหลมเลียวตุง (the Liaodong Peninsula) และเมืองปอร์ตอาเธอร์ (Port Arthurปัจจุบันคือเมือง ลูชุนโกะ -Lushunkou) และได้สิทธิเหนือแมนจูเรียด้วยในปี ค.ศ. 1910 เกาหลีก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่น
ขณะนั้นญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในชาติที่มีอำนาจมากที่สุดในตะวันออกไกลหรือเอเชียแปซิฟิก และในปี ค.ศ. 1914 ก็ก้าวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่1 เคียงข้างอังกฤษ ญี่ปุ่นเข้ายึดดินแดนใต้อาณัติของเยอรมนีคือ เกาโจว (Kiaochow) และจากนั้นก็เรียกร้องให้จีนยอมรับอิทธิพลทางการเมืองของญี่ปุ่นและดินแดนที่ได้รับจากการเข้าสู่สงครามด้วยข้อเรียกร้อง21ข้อ (Twenty-one Demands) ในปี ค.ศ 1915 การประท้วงครั้งใหญ่ในกรุงปักกิ่งในปี ค.ศ. 1919 รวมทั้งแนวความคิดของฝ่ายพันธมิตร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา) ทำให้ญี่ปุ่นยอมยกเลิกส่วนใหญ่ของข้อเรียกร้องดังกล่าว และส่งมอบ เกาโจว (Kiaochow) คืนให้แก่จีนในปีค.ศ. 1922
การถอยก้าวหนึ่งของญี่ปุ่นในสายตาของโตเกียวมองว่าเป็นการชั่วคราวเพื่อรุกต่อไปอีกหลายก้าวดังนั้นในปี ค.ศ. 1931 กองทัพญี่ปุ่นหน่วยหนึ่งที่ตั้งฐานอยู่ในแมนจูเรียบบุกยึดอำนาจเข้าปกครองดินแดนแห่งนี้ อันนำไปสู่การสงครามเต็มรูปแบบกับจีนขึ้นในปี ค.ศ. 1937 และเปิดฉากความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นในการเป็นเจ้าเข้าครอบครองเหนือเอเชียแปซิฟิก จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
== รายชื่ออาณานิคมตะวันตกในทวีปเอเชีย ==
อินเดีย - ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ แก่งแย่งกันในการแผ่อิทธิพลเข้ายึดครองอินเดีย แต่ในที่สุดอังกฤษก็สามารถขยายอำนาจยึดครองอินเดียทั้งหมดได้ในปี พ.ศ. 2300 (ค.ศ. 1757) จนถึงปีที่ประกาศเอกราช เมื่อปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) และบางส่วนแยกไปเป็นประเทศปากีสถาน และปากีสถานตะวันออก (ที่ต่อมากลายเป็นประเทศบังคลาเทศ ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971))
ศรีลังกา - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) แล้วเปลี่ยนมือไปเป็นดินแดนใต้ปกครองของเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2199 (ค.ศ. 1656) แต่ท้ายสุดถูกอังกฤษเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมในปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) จนถึงปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ศรีลังกามีทรัพยากรสำคัญคือชาและยางพารา
มาเก๊า - อาณานิคมของโปรตุเกส นับเป็นอาณานิคมแห่งแรกในจีนของชาวยุโรป (พ.ศ. 2100 - พ.ศ. 2542)
ฮ่องกง - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) จนถึงปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) อังกฤษจึงส่งมอบคืนจีน
เกาะฟอร์โมซา - มีอีกชื่อหนึ่งคือเกาะไต้หวัน แต่เกาะอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองจากชาติตะวันตกอยู่ 2 ส่วน ซึ่งไม่ได้ถูกยึดครองทั้งหมด เช่น ทางตอนเหนือเป็นดินแดนอธิปไตยของสเปน ที่ปัจจุบันอาจกล่าวถึงเมืองไทเปไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) จนถึงปี พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) และทางตอนใต้เป็นดินแดนอธิปไตยของเนเธอร์แลด์ ที่ปัจจุบันอาจกล่าวไปถึงเมืองไถหนัน และเมืองเกาสยงไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) จนถึงปี พ.ศ. 2189 (ค.ศ. 1642) ภายหลัง จีนในสมัยราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจปกครองเกาะฟอร์โมซานั้น เกาะฟอร์โมซาก็หลุดพ้นและไม่เคยมีประวัติการตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของชาติตะวันตกอีกเลย
มลายู - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส จากนั้นถูกเนเธอร์แลนด์เข้ายึดครอง และสุดท้ายตกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอังกฤษทั่วทั้งอาณาเขต เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติคือดีบุกและยางพารา จนกระทั่งประกาศเอกราช โดยใช้ชื่อประเทศว่า มลายา ปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อนึ่ง ได้มีการรวมดินแดนกับสิงคโปร์ ซาราวัก บอร์เนียวเหนือ (ซึ่งหมายถึงซาบะฮ์) และลาบวน ในปี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) จึงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น มาเลเซีย และในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) การปกครองสิงคโปร์ของมาเลเซียสิ้นสุดลง เนื่องจากสิงคโปร์ ได้ประกาศเอกราชออกจากมาเลเซียออกไป
สิงคโปร์ - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) จนถึงปี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) ซึ่งได้มีการรวมดินแดนกับมลายา เป็นมาเลเซียได้แค่ 2 ปี จนกระทั่งประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965)
บรูไน - ตกเป็นอาณานิคมในรูปแบบรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) จนถึงปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) โดยเป็นประเทศสุดท้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประกาศเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคมตะวันตก
พม่า - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและถูกผนวกดินแดนรวมเข้ากับอินเดียตั้งปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) ถึงปี พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) ในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) ฝรั่งเศสสร้างทางรถไฟจากตังเกี๋ย ไปยังเมืองมัณฑะเลย์ในพม่า อังกฤษเกรงพม่าจะเอาใจออกห่างไปสวามิภักดิ์ต่อฝรั่งเศสจึงทำสงครามกับพม่า. หลังสงคราม กษัตริย์พม่าถูกส่งตัวไปอยู่ในอินเดีย และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ถึงปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) เนื่องจากกองทัพฝ่ายอักษะซึ่งนำโดยญี่ปุ่นเข้ายึดครอง เป็นฝ่ายแพ้สงครามให้แก่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอังกฤษ เป็นประเทศสมาชิกของกองทัพดังกล่าว ทำให้อังกฤษ กลับมาปกครองพม่าในฐานะอาณานิคมอีกครั้งหนึ่ง แต่ปกครองได้แค่ 3 ปีเศษเท่านั้น
อินโดนีเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง - ตกเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) (ก่อนหน้านี้ดัตซ์ได้ยึดครองดินแดนบางส่วน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782)) จนถึงปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949)
ติมอร์-เลสเต - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2245 (ค.ศ. 1702) จนถึงปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) โดยมีอินโดนีเซียเข้ามาปกครองดินแดนดังกล่าวสืบต่อจากโปรตุเกส จนกระทั่งประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)
อินโดจีน - ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ประกอบด้วยลาว (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)) กัมพูชา (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863)) และเวียดนาม (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883)) ชนท้องถิ่นได้ก่อกบฏขึ้นติดต่อกันหลายครั้ง แต่ก็ถูกฝรั่งเศสปราบปรามราบคาบ และสุดท้ายฝรั่งเศสจึงได้ให้เอกราชแก่ทั้ง 3 ประเทศจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
ฟิลิปปินส์ - ตกเป็นอาณานิคมของสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2064 (ค.ศ. 1521) (ในปีพ.ศ. 2305 จนถึงปีพ.ศ. 2307 เป็นช่วงเวลาที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เฉพาะเมืองมะนิลาและเมืองท่ากาบีเต ในชื่อ British Manila)จนเกิดการกบฏขึ้นในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) จากนั้นตกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา หลังจากที่สหรัฐจ่ายเงิน 20 ล้านดอลลาร์ซื้อฟิลิปปินส์จากสเปน หลังยุติสงครามสเปน-อเมริกา (The Spanish-American War) ในปี พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) จนกระทั่งประกาศเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946)
=== รัฐเอกราช ===
ประเทศอัฟกานิสถาน - ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกัน ค.ศ. 1919 จากสหราชอาณาจักร เป็นเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี 1919
ประเทศจีน - ในอดีตคือ จักรวรรดิแห่งราชวงศ์ชิง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีน
ประเทศภูฏาน - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่เป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ
ประเทศอิหร่าน - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของอังกฤษและรัสเซีย
ประเทศอิรัก - ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาอังกฤษ-อิรัก (1930) จากสหราชอาณาจักรในปี 1930 เป็นเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี 1932
ประเทศญี่ปุ่น - เป็นประเทศมหาอำนาจ
ประเทศเกาหลี - เป็นรัฐเอกราช แต่ถูกบุกยึดครองโดยญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905)
ประเทศมองโกเลีย - ประกาศเอกราชจากจีน ในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921)ต่อมาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของรัสเซีย
ประเทศเนปาล - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่เป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ
ประเทศไทย - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาถูกบุกครองโดยญี่ปุ่น
ประเทศซาอุดิอาระเบีย - ก่อตั้งขึ้นในปี 1932 จากการรวมอาณาจักรและดินแดนต่างๆในพื้นที่ของประเทศในปัจจุบันและดินแดนที่ใกล้เคียงในระหว่างปี 1902 ถึง 1916 แต่อังกฤษมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่
ประเทศเยเมน - ประกาศเอกราชจากออตโตมัน ในปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) เฉพาะดินแดนที่เป็นราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมนเดิม แต่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของเนเธอร์แลนด์
ประเทศตุรกี - สืบทอดจักรวรรดิออตโตมันในปี 1923 แต่รัสเซียมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่
== ดูเพิ่ม ==
จักรวรรดินิยม
จักรวรรดินิยมใหม่
ลัทธิอาณานิคม
ประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยมของสหรัฐอเมริกา
จักรวรรดินิยม | thaiwikipedia | 639 |
กลุ่มดาวนกอินทรี | กลุ่มดาวนกอินทรี เป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งในจำนวนกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี (Ptolemy) และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้วางตัวอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้า ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้คือดาวตานกอินทรี (Altair) ซึ่งเป็นจุดยอดจุดหนึ่งของ "สามเหลี่ยมฤดูร้อน"
== รายชื่อดาวและความส่องสว่างปรากฏ ==
ดาวอัลแทร์ความส่องสว่างปรากฏ 0.77
ดาวอัลเซน ความส่องสว่างปรากฏ 3.71
ดาวทาราซาด ความส่องสว่างปรากฏ 2.71
ดาวเดเนบโบแคบ ความส่องสว่างปรากฏ 3.37
ดาวเดเนบโบแคบออสตราลิส ความส่องสว่างปรากฏ 4.03
ζ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 2.98
η Aql ความส่องสว่างปรากฏ 3.5-4.4
θ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 3.26
ι Apl ความส่องสว่างปรากฏ 4.35
κ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 4.93
λ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 3.43
μ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 4.45
ν Aql ความส่องสว่างปรากฏ 4.69
χ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 4.72
ο Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.12
π Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.72
ρ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 4.94
σ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.18
τ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.51
υ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.89
φ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.29
χ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.28
ψ Aql ความส่องสว่างปรากฏ 6.25
31 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.16
35 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.79
27 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.46
36 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.05
26 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.00
14 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.42
15 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.41
12 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 4.03
71 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 4.31
28 Aql ความส่องสว่างปรากฏ 5.53
กลุ่มดาว
กลุ่มดาวนกอินทรี | thaiwikipedia | 640 |
สังคมวิทยา | สังคมวิทยา (sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน
สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก
== ประวัติ ==
เมื่อเทียบกับสาขาวิชาอื่น ๆ ในสังคมศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์, รัฐศาสตร์, มานุษยวิทยา, หรือจิตวิทยา วิชาสังคมวิทยาจัดเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างใหม่ อย่างไรก็ตาม ประวัติของการศึกษาด้านนี้ สามารถสืบสาวไปได้ยาวนานโดยมีรากฐานมาจากความรู้ทั่วไปของมนุษย์, ผลงานทางศิลปะ, และปรัชญา
การศึกษาสังคม ในลักษณะที่เป็นสาขาวิชาที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ เริ่มขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้นหลักจากสภาวะความเป็นสมัยใหม่ (modernity) อันเป็นผลมาจากทั้งการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม และพัฒนาการทางการเมือง ผลก็คือสภาพสังคมในยุคนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย เช่น เกิดการขยายตัวของเมือง หรือการที่ชนชั้นนายทุนเข้ามามีอำนาจแทนที่เจ้าขุนมูลนาย. ความเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้นักคิดหลายคนพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยอาศัยวิธีคิดวิเคราะห์เช่นเดียวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
ผู้ที่บัญญัติคำว่า sociology คือ ออกุสต์ คองต์ (Auguste Comte) โดยมีรากศัพท์มาจาก socius ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า กลุ่มคน และคำว่า logia แปลว่า การศึกษา คองต์ตั้งเป้าว่าจะเชื่อมรวมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ทั้งหมด รวมทั้งประวัติศาสตร์, จิตวิทยา, และเศรษฐศาสตร์. สังคมวิทยาของเขานั้น มีลักษณะร่วมสมัยกับความคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 กล่าวคือ เขาเชื่อว่าวิวัฒนาการทางสังคมจะมีลักษณะเป็นลำดับขั้น และถ้าเข้าใจลำดับกระบวนการนี้ได้ ก็จะสามารถชี้ทางแก้ปัญหาสังคมได้ด้วย
หนังสือเล่มแรกที่ใช้คำว่า 'สังคมวิทยา' ในชื่อหนังสือเขียนขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) นักปรัชญาชาวอังกฤษ. ในสหรัฐอเมริกา มีการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยาครั้งแรกที่ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคนซัส ลอว์เร็นซ์ (University of Kansas, Lawrence) เมื่อ พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890). สำหรับภาควิชาสังคมวิทยาแบบเต็มรูปแบบที่แรกนั้น ตั้งขึ้นที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก โดย Albion W. Small ในปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ที่สหรัฐอเมริกา. ส่วนในฝั่งยุโรป ภาควิชาสังคมวิทยาถูกตั้งเป็นที่แรก ที่ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) โดย อีมิล เดอร์ไคหม์ (Emile Durkheim) ในมหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ (University of Bordeaux), และต่อมาที่เยอรมนี เมื่อ พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) โดย มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่ มหาวิทยาลัยมิวนิก (Lugwig Maximilians University of Munich), และที่โปแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) โดย Florian Znaniecki. ส่วนในสหราชอาณาจักร ภาควิชาสังคมวิทยาแห่งแรกนั้น ก่อตั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
นักทฤษฎีทางสังคมวิทยาในยุคบุกเบิกตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ คาร์ล มาร์กซ, เฟอร์ดินานด์ โทเอนนีส์ (Ferdinand Toennies), อีมิล เดอร์ไคหม์, วิลเฟรดโด ปาเรโต (Vilfredo Pareto) และ มักซ์ เวเบอร์. ในลักษณะเช่นเดียวกับคองต์ นักคิดเหล่านี้ไม่มีใครเรียกตนเองว่าเป็น 'นักสังคมวิทยา' แท้ๆ งานของพวกเขาศึกษาตั้งแต่เรื่อง ศาสนา การศึกษา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา ศีลธรรม ปรัชญา และ เทววิทยา. อย่างไรก็ตาม ยกเว้นเพียงมาร์กซ์เท่านั้น ผลงานของพวกเขาที่มีผลมาจนถึงทุกวันนี้ก็เป็นทางด้านสังคมวิทยา และทฤษฎีของพวกเขาหลายๆ อันก็ยังสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ปัจจุบันได้
เมื่อเริ่มแรก การศึกษาด้านสังคมวิทยาถูกมองว่า ไม่ต่างจากการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ หรือ ชีววิทยา ดังนั้นเหล่านักคิดด้านสังคมจึงได้นำวิธีการ รวมถึงระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ โดยแทบไม่มีการปรับเปลี่ยน แนวทางดังกล่าวที่เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลลัพธ์ที่วัดได้ ทำให้สาขาสังคมวิทยาแตกต่างจาก เทววิทยา หรือ อภิปรัชญา แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยคองต์ ทำให้เกิดระเบียบวิธีวิจัยที่เรียกว่า ปฏิฐานนิยม โดยมีรากฐานมาจากปรัชญาสายธรรมชาตินิยม
กระทั่งสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์เช่น วิลเฮม ดิลธี หรือ ไฮน์ริช ริคเคอร์ต ก็ได้ตั้งข้อสงสัยกับการนำแนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม มาใช้ในการศึกษาสังคม โดยกล่าวว่า โลกธรรมชาตินั้นแตกต่างจากโลกของสังคม ทั้งนี้เนื่องจากสังคมมนุษย์มีลักษณะหนึ่งเดียวบางประการ เช่น การให้ความหมาย, การใช้สัญลักษณ์, การตั้งกฎเกณฑ์และบรรทัดฐาน, และการให้คุณค่า โดยทั้งหมดนี้รวมเรียกว่าเป็นวัฒนธรรม มุมมองนี้ได้ถูกพัฒนาต่อโดย แมกซ์ เวเบอร์ ผู้นำแนวคิดอปฏิฐานนิยม (antipositivism) หรือสังคมวิทยาแนวมนุษย์นิยม ซึ่งวางอยู่บนหลักการที่ว่า สังคมวิทยาต้องมุ่งศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และคุณค่าทางวัฒนธรรม นี่ทำให้เกิดข้อถกเถียง เกี่ยวกับการแบ่งแยกระหว่างงานวิจัยเชิงจิตวิสัยและงานวิจัยเชิงวัตถุวิสัย และก่อให้เกิดการศึกษาด้านอรรถปริวรรตศาสตร์ (hermeneutics)
== ดูเพิ่ม ==
ทฤษฎีความผูกพัน
ประวัติสังคมวิทยา
== อ้างอิง ==
John J. Macionis, Sociology (10th Edition), Prentice Hall, 2004, ISBN 0-13-184918-2
Piotr Sztompka, Socjologia, Znak, 2002, ISBN 83-240-0218-9
จำนงค์ อดิวัฒน์สิทธิ์ และ คณะ, สังคมวิทยา, 1993, ISBN 974-575-038-7
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เครือข่ายสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา - Thai Sociology & Anthropology Network
International Sociological Association
The Sociolog. Comprehensive Guide to Sociology
Resources for methods in social research
Analysing and Overcoming the Sociological Fragmentation in Europe
=== คณะและภาควิชาในมหาวิทยาลัยไทย ===
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย http://www.soc-anp@hi5.com/
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สังคมศาสตร์
พฤติกรรมศาสตร์ | thaiwikipedia | 641 |
จังหวัดสุพรรณบุรี | สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี
== ประวัติศาสตร์ ==
สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง
ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี
ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้
ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ
ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์
สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย
== ภูมิศาสตร์ ==
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของสุพรรณบุรีเป็นที่ราบต่ำติดชายฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี มีทิวเขาขนาดเล็กอยู่ทางเหนือและทางตะวันตกและทิศเหนือ มีอุทยานแห่งชาติพุเตย แหล่งนํ้าสำคัญคือเขื่อนกระเสียว ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว
== การเมืองการปกครอง ==
=== หน่วยการปกครอง ===
การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 977 หมู่บ้าน โดยทั้ง 10 อำเภอมีดังนี้
จังหวัดสุพรรณบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 127 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และเทศบาลเมืองสองพี่น้อง, เทศบาลตำบล 44 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
เทศบาลตำบลท่าเสด็จ
เทศบาลตำบลโพธิ์พระยา
เทศบาลตำบลสวนแตง
เทศบาลตำบลบางกุ้ง
เทศบาลตำบลท่าระหัด
เทศบาลตำบลห้วยวังทอง
เทศบาลตำบลบ้านโพธิ์
เทศบาลตำบลรั้วใหญ่
อำเภอเดิมบางนางบวช
เทศบาลตำบลเขาพระ
เทศบาลตำบลนางบวช
เทศบาลตำบลบ่อกรุ
เทศบาลตำบลเขาดิน
เทศบาลตำบลปากน้ำ
เทศบาลตำบลเดิมบาง
เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม
เทศบาลตำบลทุ่งคลี
อำเภอด่านช้าง
เทศบาลตำบลด่านช้าง
อำเภอบางปลาม้า
เทศบาลตำบลโคกคราม
เทศบาลตำบลบางปลาม้า
เทศบาลตำบลบ้านแหลม
เทศบาลตำบลไผ่กองดิน
เทศบาลตำบลต้นคราม
เทศบาลตำบลตะค่า
เทศบาลตำบลบ้านแหลมพัฒนา
อำเภอศรีประจันต์
เทศบาลตำบลศรีประจันต์
เทศบาลตำบลวังยาง
เทศบาลตำบลปลายนา
เทศบาลตำบลบ้านกร่าง
เทศบาลตำบลวังหว้า
เทศบาลตำบลวังน้ำซับ
อำเภอดอนเจดีย์
เทศบาลตำบลดอนเจดีย์
เทศบาลตำบลสระกระโจม
อำเภอสองพี่น้อง
เทศบาลเมืองสองพี่น้อง
เทศบาลตำบลทุ่งคอก
อำเภอสามชุก
เทศบาลตำบลสามชุก
อำเภออู่ทอง
เทศบาลตำบลอู่ทอง
เทศบาลตำบลสระยายโสม
เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง
เทศบาลตำบลบ้านดอน
เทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง
เทศบาลตำบลบ้านโข้ง
เทศบาลตำบลกระจัน
เทศบาลตำบลเจดีย์
เทศบาลตำบลจรเข้สามพัน
อำเภอหนองหญ้าไซ
เทศบาลตำบลหนองหญ้าไซ
=== รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ===
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== การขนส่ง ===
ถนนที่สำคัญในสุพรรณบุรี
สำหรับถนนในหมายเลขที่ 1-10 เป็นถนนที่ใช้ชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน นิทานพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่
ถนนพระพันวษา
ถนนขุนไกร
ถนนม้าสีหมอก และ ถนนหมื่นหาญ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3431)
ถนนเณรแก้ว
ถนนขุนแผน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3017)
ถนนนางพิม
ถนนขุนช้าง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3318)
ถนนหลวงทรงพล
ถนนพลายชุมพล
ถนนขุนไกร
ส่วนถนนต่อไปนี้ เป็นถนนที่ตั้งชื่อขึ้นมาใหม่
ถนนบางบัวทอง-ชัยนาท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
ถนนมาลัยแมน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321)
ถนนประชาธิปไตย
ถนนวงแหวนรอบเมืองสุพรรณบุรี
สะพานที่สำคัญ
สะพานอาชาสีหมอก ๑
สะพานอาชาสีหมอก ๒
สะพานอาชาสีหมอก ๓
สะพานวัดพระรูป
ทางรถไฟ
จังหวัดสุพรรณบุรีนั้นมีทางรถไฟผ่านโดยเป็นทางรถไฟที่แยกมาจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี โดยเปิดเดินรถเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ปัจจุบันมีที่หยุดรถ/ป้ายหยุดรถ/สถานีในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีดังนี้
1.ที่หยุดรถหนองวัลย์เปรียง
2.ที่หยุดรถศรีสำราญ
3.ที่หยุดรถดอนสงวน
4.ป้ายหยุดรถดอนทอง
5.ที่หยุดรถหนองผักชี
6.ที่หยุดรถบ้านมะขามล้ม
7.ที่หยุดรถสะแกย่างหมู
8.สถานีสุพรรณบุรี
9.ที่หยุดรถมาลัยแมน
โดยในปัจจุบันนั้นมีรถไฟให้บริการ 2 ขบวน คือขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 โดยขบวน 355 ปลายทางสุพรรณบุรีวันอาทิตย์ ขบวน 356 ต้นทางสุพรรณบุรีวันจันทร์ ส่วนวันอื่นๆนั้นขบวนรถจะสิ้นสุดปลายทางแค่ชุมทางหนองปลาดุก
=== การศึกษา ===
โรงเรียน
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี
ระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ด่านช้าง สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ศูนย์เดิมบางนางบาช สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี
วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
ระดับอาชีวศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีสหวิทย์บริหารธุรกิจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี
วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส
วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี
วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง
วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
=== สาธารณสุข ===
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗
โรงพยาบาลอู่ทอง
โรงพยาบาลด่านช้าง
โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช
โรงพยาบาลสามชุก
โรงพยาบาลศรีประจันต์
โรงพยาบาลดอนเจดีย์
โรงพยาบาลบางปลาม้า
โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ
โรงพยาบาลศุภมิตร
โรงพยาบาลพรชัย
โรงพยาบาลเทวพร
โรงพยาบาลธนบุรี-อู่ทอง
โรงพยาบาลสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สถานีอนามัยดอนขุนราม)
== อ้างอิง ==
== ดูเพิ่ม ==
รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี
รายชื่อวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี
ขุนช้างขุนแผน วรรณคดีพื้นบ้านของจังหวัด
รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดสุพรรณบุรี
สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี | thaiwikipedia | 642 |
เอเชียตะวันออก | เอเชียตะวันออกเป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 11,774,358 ตารางกิโลเมตร
ประเทศซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีดังต่อไปนี้
ยกเว้น มณฑลชิงไห่, เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และเขตปกครองตนเองทิเบต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อาจจัดให้อยู่ในเขตภูมิภาคเอเชียกลาง
ดินแดนซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีดังต่อไปนี้
ประเทศหรือดินแดนต่อไปนี้ บางครั้งก็ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออก ปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นตัวกำหนดการจำแนกภูมิภาคดังกล่าวนี้คือ มุมมองทางด้านการเมืองที่แต่ละบุคคลมีต่อประเทศหรือภูมิภาคนั้น ๆ เป็นหลัก
พื้นที่ส่วนที่เหลือของจีน คือ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มณฑลชิงไห่ เขตปกครองตนเองทิเบต (จัดอยู่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียกลาง ก็ได้)
มองโกเลีย (จัดอยู่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียกลาง ก็ได้)
รัสเซียตะวันออกไกล (Russia Far East) (จัดอยู่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียเหนือ ก็ได้)
ประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณ 40% ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า
ประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกก็เหมือนกับประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ได้รับอิทธิพลและเกี่ยวพันโยงในกับจีนอย่างมาก ตัวอย่างเช่น บรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกทั้งหมดได้เคยใช้ตัวอักษรจีนในบางช่วงของประวัติศาสตร์ ในบางภูมิภาคของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งมีระบบการเขียนหนังสือเกี่ยวโยงกันในทางประวัติศาสตร์นั้น บางครั้งจะได้รับการอ้างอิงถึงรวมกันเป็นกลุ่มว่า CJK (หรือ CLKV เมื่อรวมเวียดนามด้วย)
==ประเทศและดินแดน==
===ประเทศ===
===ดินแดน===
== ภูมิภาคอื่น ๆ ของเอเชีย ==
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียใต้ (อนุทวีปอินเดีย)
เอเชียกลาง
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้หรือเอเชียตะวันตก (คำจำกัดความหนึ่งของตะวันออกกลาง มีความหมายเหมือนกันกับเอเชียตะวันตกเฉียงใต้)
เอเชียเหนือ (ไซบีเรีย)
ยูเรเชียเหนือ (ขยายไปถึงยุโรป)
ยูเรเชียกลาง (ขยายไปถึงยุโรป)
== ดูเพิ่ม ==
การเมืองการปกครองของเอเชียตะวันออก
==อ้างอิง==
เอเชียตะวันออก
เอเชียตะวันออก | thaiwikipedia | 643 |
เอเชียใต้ | เอเชียใต้ เป็นอนุภูมิภาคทางตอนใต้ของเอเชีย ซึ่งมีการใช้งานทั้งทางภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์-วัฒนธรรม ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ได้แก่ อัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย, มัลดีฟส์, เนปาล, ปากีสถาน และศรีลังกา ขอบเขตของอนุทวีปทางตอนใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาหิมาลัย, การาโกรัม และปามีร์ ขอบเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือคือแม่น้ำอามูดาร์ยาที่ไหลไปทางเหนือของเทือกเขาฮินดูกูช ส่วนบนพื้นดิน (ตามเข็มนาฬิกา) ติดกับเอเชียตะวันตก เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) เป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1985 และรวม 8 ประเทศในเอเชียใต้ เอเชียใต้กินพื้นที่ประมาณ ซึ่งเท่ากับ 11.71% ของทวีปเอเชีย หรือ 3.5% ของพื้นผิวโลก ประชากรในเอเชียใต้มีประมาณ 1.9 พันล้านคน หรือประมาณหนึ่งส่วนสี่ของประชากรโลก ทำให้เป็นทั้งภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดและมีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก
ใน ค.ศ. 2010 เอเชียใต้มีประชากรที่เป็นชาวฮินดู, มุสลิม, ชาวซิกข์, เชน และโซโรอัสเตอร์มากที่สุด โดยในเอเชียใต้อย่างเดียวใรชาวฮินดู 98.47%, ซิกข์ 90.5% และมุสลิม 31% จากทั่วโลก เช่นเดียวกันกับชาวคริสต์ 35 ล้านคนกับชาวพุทธ 25 ล้านคน
==นิยาม==
คำนิยามสมัยใหม่ของเอเชียใต้มีความสอดคล้องกัน ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา อย่างไรก็ตาม มีคำนิยามบางส่วนจัดให้ประเทศอัฟกานิสถานอยู่ในเอเชียกลาง, เอเชียตะวันตก หรือตะวันออกกลาง ประเทศนี้เคยตกเป็นรัฐในอารักขาของบริติชหลังสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สองจนถึง ค.ศ. 1919 ในทางกลับกัน ประเทศพม่าเคยเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราชใน ค.ศ. 1886 ถึง 1937 และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะรัฐสมาชิกอาเซียน บางครั้งมีการรวมเข้าในเอเชียใต้ด้วย แต่อาณานิคมเอเดน, บริติชโซมาลีแลนด์ และสิงคโปร์ ไม่เคยเสนอเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียใต้ แม้ว่าจะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของบริติชราชก็ตาม ภูมิภาคนี้อาจรวมดินแดนพิพาทอักไสชิน ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมหาราชาชัมมูและกัศมีร์ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน แต่อินเดียก็อ้างสิทธิ์ด้วย
ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของเอเชียใต้ไม่ชัดเจน เนื่องจากการวางแนวนโยบายที่เป็นระบบและต่างประเทศของประเทศในนั้นค่อนข้างไม่สมมาตร นอกเหนือจากดินแดนหลักของบริติชราชหรือจักรวรรดิบริติชอินเดียแล้ว ยังมีความหลากหลายที่ประเทศอื่นรวมอยู่ในเอเชียใต้ในระดับสูง ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน ทั้งในทางภูมิศาสตร์ การเมือง สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือประวัติศาสตร์ ระหว่างเอเชียใต้และส่วนอื่น ๆ ของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขอบเขตตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำนิยามทั่วไปของเอเชียสืบทอดมาจากเขตบริหารของบริติชราช โดยมีข้อยกเว้นบางส่วน ดินแดนที่ปัจจุบันคือบังกลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน เคยเป็นดินแดนหลักของจักรวรรดิบริติชใน ค.ศ. 1857 ถึง 1947 ก็เป็นดินแดนหลักของเอเชียใต้ ประเทศบนภูเขาอย่างเนปาลและภูฏานไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช และประเทศบนเกาะอย่างศรีลังกาและมัลดีฟส์โดยทั่วไป มีการรวมเข้าไปด้วย ส่วนนิยามต่าง ๆ ที่มีเหตุผลต่างกัน ได้รวมบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีและเขตปกครองตนเองทิเบตด้วย รัฐมหาราชา 562 แห่งที่ได้รับความคุ้มครอง แต่ไม่ได้รับการปกครองจากบริติชราชโดยตรง กลายเป็นเขตบริหารของเอเชียใต้เมื่อเข้าร่วมอินเดียหรือปากีสถาน
==ประวัติ==
===ก่อนประวัติศาสตร์===
ประวัติศาสตร์แกนกลางของเอเชียใต้ที่มีหลักฐานกิจกรรมของมนุษย์ Homo sapiens เริ่มต้นนานสุดที่ 75,000 ปีก่อน หรือถ้ารวมวงศ์ลิงใหญ่อย่าง Homo erectus ก็จะอยู่ที่ประมาณ 500,000 ปีก่อน วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์แรกสุดมีต้นตอในยุคหินกลาง ดังปรากฏในหลักฐานจากภาพวาดบนหินที่เพิงหินภีมเพฏกามีอายุประมาณ 30,000 ปีก่อน ค.ศ. หรือเก่ากว่านั้น เช่นเดียวกันกับช่วงเวลายุคหินใหม่
==ประเทศและดินแดน==
===ประเทศ===
===ดินแดนที่อาจรวมอยู่ในอนุทวีป===
==ดูเพิ่ม==
กีฬาภูมิภาคเอเชียใต้
สภาโอลิมปิกเอเชียใต้
สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียใต้
อนุทวีปอินเดีย
==หมายเหตุ==
==อ้างอิง==
=== ขิอมูล ===
== อ่านเพิ่ม ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
South Asia, The World Bank
Digital South Asia Library, University of Chicago
South Asian and Himalayan Arts , Freer and Sackler Galleries, Smithsonian
South Asia, Brookings Institution
South Asia Subregional Economic Cooperation, Asia Development Bank
อเอเชียใต้
เอเชียใต้ | thaiwikipedia | 644 |
ตะวันออกกลาง | ตะวันออกกลาง (Middle east; الشرق الأوسط|ash-Sharq al-Awsat) เป็นภูมิภาคทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ประกอบด้วยคาบสมุทรอาหรับ เอเชียน้อย (ตุรกีฝั่งทวีปเอเชีย ยกเว้นจังหวัดฮาทัย), เทรซตะวันออก (ตุรกีฝั่งยุโรป), อียิปต์, อิหร่านกับลิแวนต์ (รวมอัชชามและไซปรัส), เมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก) และหมู่เกาะโซโคตรา (ส่วนหนึ่งของประเทศเยเมน) ศัพท์นี้เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อแทนที่คำว่าตะวันออกใกล้ (ตรงข้ามกับตะวันออกไกล) ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ตะวันออกกลาง" ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับคำจำกัดความที่เปลี่ยนไป และบางคนมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือมีความเป็นยุโรปเป็นศูนย์กลางเกินไป ภูมิภาคนี้ได้รวมดินแดนส่วนใหญ่รวมอยู่ในคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของเอเชียตะวันตก (รวมอิหร่าน) แต่ไม่รวมคอเคซัสใต้ และรวมพื้นที่ทั้งหมดของอียิปต์ (ไม่ใช่เพียงภูมิภาคไซนาย) และตุรกี (ไม่ใช่เฉพาะส่วนเทรซตะวันออก)
ประเทศในตะวันออกกลางส่วนใหญ่ (13 จาก 18 ประเทศ) เป็นส่วนหนึ่งของโลกอาหรับ ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคนี้คืออียิปต์ ตุรกี และอิหร่าน ส่วนประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในตะวันออกกลาง ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสืบไปได้ถึงสมัยโบราณ โดยมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับมานับพันปี ศาสนาหลักบางส่วนมีต้นกำเนิดในภูมิภาคนี้ เช่น ศาสนายูดาห์, คริสต์ และอิสลาม ชาวอาหรับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักในภูมิภาคนี้ รองลงมาคือเติร์ก, เปอร์เซีย, เคิร์ด, อาเซอร์ไบจาน, คอปต์, ยิว, อีสซีเรีย, อิรักเชื้อสายเติร์กเมน, ยาซิดี และไซปรัสเชื้อสายกรีก
ตะวันออกกลางโดยทั่วไปมีสภาพภูมิอากาศที่ร้อน แห้งแล้ง โดยเฉพาะในบริเวณคาบสมุทรอาหรับและอียิปต์ แม่น้ำสายหลักที่เป็นชลประทานเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมมีจำกัด เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ในอียิปต์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสในเมโสโปเตเมีย และแอ่งของแม่น้ำจอร์แดนที่กระจายไปทั่วลิแวนต์ส่วนใหญ่ ภูมิภาคเหล่านี้มีชื่อเรียกแบบรวมว่า เขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ และรวมเข้าในสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันมานานว่าเป็นอู่อารยธรรม (ศัพท์ที่ปัจจุบันใช้ในหลายภูมิภาคของโลก) ในทางตรงกันข้าม ชายฝั่งลิแวนต์และตุรกีส่วนใหญ่มีสภาพภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียนที่ค่อนข้างอบอุ่น ซึ่งมีฤดูร้อนที่ที่แห้งแล้ง และฤดูหนาวที่หนาวเย็นและชื้นแฉะ ประเทศส่วนใหญ่ที่มีชายแดนติดกับอ่าวเปอร์เซียมีปิโตรเลียมสำรองจำนวนมาก โดยที่บรรดาพระมหากษัตริย์ในคาบสมุทรอาหรับได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกน้ำมัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งและการพึ่งพาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมาก ทำให้ตะวันออกกลางเป็นทั้งภูมิภาคที่มีส่วนต่อการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างมาก และคาดว่าจะได้รับผลกระทบในทางลบอย่างรุนแรง
== ศัพทมูลวิทยา ==
คำว่า "ตะวันออกกลาง" (Middle East) ในภาษาอังกฤษ น่าจะมีต้นกำเนิดในคริสต์ทศวรรษ 1850 ที่สำนักงานอินเดียของบริติช อย่างไรก็ตาม ศัพท์กลายเป็นรู้จักอย่างแพร่หลายเมื่อนักยุทธศาสตร์ทางเรืออเมริกัน Alfred Thayer Mahan ใช้คำนี้ใน ค.ศ. 1902 เพื่อ "กำหนดพื้นที่ระหว่างอาระเบียกับอินเดีย" ในช่วงที่จักรวรรดิบริติชและรัสเซียกำลังแย่งชิงอิทธิพลกันในเอเชียกลาง การแข่งขันนี้จะกลายเป็นที่รู้จักในฐานะ เดอะเกรตเกม Mahan ไม่เพียงตระหนักถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังตระหนักถึงอ่าวเปอร์เซีย ศูนย์กลางของบริเวณนี้ด้วย เขาระบุพื้นที่รอบอ่าวเปอร์เซียเป็นตะวันออกลาง และกล่าวว่าเป็นหลัง หลังจากคลองสุเอซของอียิปต์ บริเวณนี้เป็นเส้นทางที่สำคัญที่สุดในการควบคุมสำหรับอังกฤษ เพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียรุกคืบเข้ามายังบริติชราช
ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องปกติที่จะอ้างถึงพื้นที่ที่มีศูนย์กลางรอบตุรกีและชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็น "ตะวันออกใกล้" ส่วน "ตะวันออกไกล" มีจุดศูนย์กลางที่จีน จากนั้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ทางอังกฤษได้จัดตั้งกองบัญชาการตะวันออกกลางที่มีศูนย์บัญชาการในไคโรสำหรับกองทัพในภูมิภาคนี้ หลังจากนั้น ศัพท์ "ตะวันออกกลาง" ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรปและสหรัฐ โดยมีการจัดตั้งสถาบันตะวันออกกลางที่วอชิงตัน ดี.ซี. ใน ค.ศ. 1946 และในการใช้อื่น ๆ จำนวนมาก
ในขณะที่ศัพท์ที่ไม่ได้อิงยุโรปเป็นศูนย์กลางอย่าง "เอเชียตะวันตกเฉียงใต้" หรือ "Swasia" มีการใช้งานอย่างประปราย การรวมประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาไว้ในคำนิยาม ทำให้มีการตั้งคำถามถึงประโยชน์ของการใช้งานคำดังกล่าว
===การใช้งานและข้อวิจารณ์===
รายละเอียดคำว่า กลาง (Middle) ยังนำไปสู่ความสับสนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความ โดยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คำว่า "ตะวันออกใกล้" ในภาษาอังกฤษสื่อถึงบอลข่านและจักรวรรดิออตโตมัน ส่วน "ตะวันออกกลาง" สื่อถึงคอเคซัส, เปอร์เซีย และดินแดนอาหรับ และบางครั้งอาจรวมอัฟกานิสถาน, อินเดีย และประเทศอื่น ๆ ในทางตรงกันข้าม ศัพท์ "ตะวันออกไกล" สื่อถึงประเทศในเอเชียตะวันออก (เช่น จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลี)
การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมานในปี ค.ศ. 1918 จึงไม่มีการใช้คำว่า "ตะวันออกใกล้" กันอีก ในขณะที่คำว่า "ตะวันออกกลาง" นั้น ก็นำไปใช้หมายถึงประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกอาหรับ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่าตะวันออกใกล้ก็ยังใช้กันอยู่ในหมู่นักวิชาการบางสาขาที่เคร่งครัดหลักการ เช่น ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์โบราณ ซึ่งยังคงอธิบายพื้นที่ที่ควรระบุเป็นตะวันออกกลางว่าเป็น "ตะวันออกใกล้" ทั้งนี้เนื่องจากนักวิชาการเหล่านั้นจะไม่ใช้คำว่า "ตะวันออกกลาง" ในสาขาวิชาของตน
Louay Khraish นักข่าว และ ฮะซัน ฮะนะฟี นักประวัติศาสตร์ วิจารณ์การใช้คำว่า ตะวันออกกลาง ว่าเป็นศัพท์ที่มีความเป็นยุโรปเป็นศุนย์กลางและอาณานิคม
=== ถ้อยคำที่คล้ายคลึงกัน ===
คำที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ยังมีอีก เช่น "เอเชียตะวันตก (West Asia) " ซึ่งเป็นคำจำกัดความของตะวันออกกลางที่ใช้กันอยู่ในอินเดียทั้งในระดับราชการและสื่อต่าง ๆ "โลกอาหรับ (Arab world) " ซึ่งใช้กันในบางเรื่องนั้นก็ไม่รวมถึงประชาชนที่ไม่ใช่เชื้อสายอาหรับที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอาไว้ด้วย และ "ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ (Middle East-North Africa หรือ MENA) " ซึ่งบางครั้งใช้เพื่อรวมเขตพื้นที่จากโมร็อกโกไปจนถึงอิหร่าน ซึ่งเป็นคำที่นักการทูตของกลุ่มจี-8 ใช้ในการกล่าวถึง "ดินแดนตะวันออกกลางที่ยิ่งใหญ่ (Greater Middle East) " ซึ่งรวมประเทศต่าง ๆ ทั้ง ประเทศในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (Arab League) ซึ่งรวมเอาบรรดาชาติสมาชิกจากแอฟริกาของกลุ่มทั้งหมดไว้ด้วย
== ประวัติศาสตร์ ==
ดูเพิ่มเติม: ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง
ตะวันออกกลาง ได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่าง ๆ และอารยะธรรมต่าง ๆ ของโลกเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา และปัจจุบันนี้ก็ยังคงความเป็นภูมิภาคที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดของโลก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีแหล่งสำรองน้ำมันดิบอยู่ใต้ดินจำนวนมหาศาล และยังเป็นแผ่นดินเกิดและศูนย์กลางทางจิตวิญญานของศาสนาสำคัญหลายศาสนา เช่น ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับและอิสราเอลเกิดขึ้นและดำรงอยู่ต่อมายาวนานอีกด้วย
== ภูมิศาสตร์ ==
ดู ภูมิศาสตร์เอเชียตะวันตกเฉียงใต้และภูมิศาสตร์เอเชีย
== ดูเพิ่ม ==
เมโสโปเตเมีย
ตะวันออกใกล้
==อ้างอิง==
==อ่านเพิ่ม==
Cleveland, William L., and Martin Bunton. A History Of The Modern Middle East (6th ed. 2018 4th ed. online
Cressey, George B. (1960). Crossroads: Land and Life in Southwest Asia. Chicago, IL: J.B. Lippincott Co. xiv, 593 pp. ill. with maps and b&w photos.
Fischbach, ed. Michael R. Biographical encyclopedia of the modern Middle East and North Africa (Gale Group, 2008).
Freedman, Robert O. (1991). The Middle East from the Iran-Contra Affair to the Intifada, in series, Contemporary Issues in the Middle East. 1st ed. Syracuse, NY: Syracuse University Press. x, 441 pp. pbk.
Halpern, Manfred. Politics of Social Change: In the Middle East and North Africa (Princeton University Press, 2015).
Ismael, Jacqueline S., Tareq Y. Ismael, and Glenn Perry. Government and politics of the contemporary Middle East: Continuity and change (Routledge, 2015).
Lynch, Marc, ed. The Arab Uprisings Explained: New Contentious Politics in the Middle East (Columbia University Press, 2014). p. 352.
Reich, Bernard. Political leaders of the contemporary Middle East and North Africa: a biographical dictionary (Greenwood Publishing Group, 1990).
Vasiliev, Alexey. Russia’s Middle East Policy: From Lenin to Putin (Routledge, 2018).
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
"Middle East – Articles by Region" – Council on Foreign Relations: "A Resource for Nonpartisan Research and Analysis"
"Middle East – Interactive Crisis Guide" – Council on Foreign Relations: "A Resource for Nonpartisan Research and Analysis"
Middle East Department University of Chicago Library
Middle East Business Intelligence since 1957: "The leading information source on business in the Middle East" – MEED.com
Carboun – advocacy for sustainability and environmental conservation in the Middle East
Middle East News from Yahoo! News
Middle East Business, Financial & Industry News – ArabianBusiness.com
ทวีปเอเชีย
ภูมิภาคในยูเรเชีย
เอเชียตะวันตก
แอฟริกาเหนือ
ภูมิภาคในทวีปแอฟริกา
บทความที่มีวิดีโอ
ลัทธิยุโรปเป็นศูนย์กลาง | thaiwikipedia | 645 |
ภาษารัสเซีย | ภาษารัสเซีย (русский язык|russkiy yazyk|links=no) เป็นภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกที่ชาวรัสเซียใช้พูดในยุโรปตะวันออก โดยเป็นภาษาทางการในประเทศรัสเซีย, เบลารุส, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน และใช้เป็นภาษากลางอย่างแพร่หลายทั่วประเทศยูเครน, ภูมิภาคคอเคซัส, เอเชียกลาง และบางส่วนของรัฐบอลติก ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการโดยพฤตินัยของสหภาพโซเวียตจนกระทั่งสหภาพฯ ล่มสลายในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991
ภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดในทวีปยุโรปและเป็นภาษาที่กระจายตัวตามเขตภูมิศาสตร์มากที่สุดในยูเรเชีย โดยมีผู้พูดมากกว่า 258 ล้านคนทั่วโลก จึงถือเป็นภาษากลุ่มสลาฟที่มีผู้พูดมากที่สุด ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลกหากเรียงตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ และเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลกหากเรียงตามจำนวนผู้พูดทั้งหมด ภาษานี้เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาของสหประชาชาติ และยังเป็นภาษาที่แพร่หลายในอินเทอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 โดยเป็นรองเพียงภาษาอังกฤษ
ภาษารัสเซียเขียนด้วยอักษรซีริลลิกซึ่งจำแนกความต่างระหว่างหน่วยเสียงพยัญชนะที่มีการออกเสียงรองเป็นเสียงเพดานแข็งกับหน่วยเสียงพยัญชนะที่ไม่มี (ซึ่งเรียกกันว่าเสียง อ่อน และเสียง แข็ง) เสียงพยัญชนะเกือบทุกเสียงมีคู่เสียงอ่อน-แข็ง ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการกร่อนเสียงสระที่ไม่ได้เน้นหนัก ในอักขรวิธีโดยปกติไม่มีการระบุว่าสระใดเป็นสระที่เน้นเสียงหนัก แต่บางครั้งก็มีการใช้เครื่องหมายอะคิวต์แอกเซนต์แสดงการเน้นหนักเพื่อจำแนกความต่างระหว่างคำพ้องรูป เช่น замо́к (zamók – "แม่กุญแจ") กับ за́мок (zámok – "ปราสาท") หรือเพื่อแสดงการออกเสียงที่ถูกต้องของคำหรือชื่อที่พบไม่บ่อยนัก
== การจัดจำแนก ==
ภาษารัสเซียเป็นภาษากลุ่มสลาฟในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ในแง่ของภาษาพูดมีความใกล้เคียงกับภาษาไบโลรัสเซียและภาษายูเครนที่อยู่ในภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกและเป็นลูกหลานของภาษาสลาฟตะวันออกโบราณเช่นเดียวกัน หลายแห่งในไบโลรัสเซียและยูเครน มีผู้พูดภาษาเหล่านี้ได้สองภาษาซึ่งเป็นผลมาจากการปะปนกัน
ลักษณะของศัพท์ในภาษาเขียน หลักการสร้างคำ และการผันคำในภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรที่พัฒนามาจากภาษากลุ่มสลาฟใต้ ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณซึ่งใช้ในทางศาสนาของคริสต์ศาสนา นิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์ สัทวิทยาและการเรียงประโยคของภาษารัสเซีย (โดยเฉพาะสำเนียงทางเหนือ) ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มฟินน์ของภาษาตระกูลฟินโน-ยูกริก เช่นภาษาเมอร์ยา ภาษามอกซาภาษามูโรเมียด้วย ภาษาเหล่านี้มักเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่เคยใช้พูดในบริเวณภาคกลางและภาคเหนือของรัสเซียในยุโรป
== การแพร่กระจายในทางภูมิศาสตร์ ==
ภาษารัสเซียใช้พูดในรัสเซียเป็นหลัก ประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษารัสเซียมักเป็นประเทศที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต ซึ่งใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางตั้งแต่ พ.ศ. 2460 จนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไปเมื่อ พ.ศ. 2534 ประเทศเหล่านั้นจึงกลับไปใช้ภาษาของตนเอง
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอและประเทศที่อยู่ในสหภาพโซเวียต ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาในโรงเรียน เช่นในโปแลนด์ บัลแกเรีย เช็กเกีย สโลวาเกีย ฮังการี โรมาเนีย แอลเบเนีย และคิวบา แต่คนรุ่นต่อมาเริ่มใช้ภาษารัสเซียน้อยลง นอกจากนั้นมีชาวยิวในอิสราเอลที่พูดภาษารัสเซียอีกราว 750,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่อพยพไปจากรัสเซีย ในอเมริกาเหนือ พบผู้พูดภาษารัสเซียแพร่กระจายทั่วไปในช่วงก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้พูดเหล่านี้ส่วนมากเป็นชาวยิวที่อพยพมาจากรัสเซีย ในยุโรปตะวันตกมีผู้พูดภาษารัสเซียซึ่งอพยพออกจากรัสเซียในพุทธศตวรรษที่ 25
== สถานะการเป็นภาษาราชการ ==
ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการของรัสเซีย และเป็นภาษาราชการร่วมในเบลารุส คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน เป็น 1 ใน 6 ภาษาราชการของสหประชาชาติ มีการเรียนการสอนเป็นภาษารัสเซียในฐานะภาษาที่สองในหลายประเทศ โดยมากเป็นประเทศที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตมาก่อน
== สำเนียง ==
นักภาษาศาสตร์แบ่งภาษารัสเซียเป็นสองกลุ่มหลักคือกลุ่มเหนือและกลุ่มใต้ โดยสำเนียงมอสโกอยู่ระหว่างกลางทั้งสองกลุ่ม (ถือเป็นกลุ่มกลาง) และเป็นสำเนียงมาตรฐาน
== ประวัติ ==
เมื่อประมาณ พ.ศ. 1543 กลุ่มชนส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นประเทศรัสเซีย ยูเครน และไบโลรัสเซียเป็นชาวสลาฟกลุ่มตะวันออกที่พูดภาษาใกล้เคียงกัน การรวมตัวทางการเมืองบริเวณนี้เป็นเคียวาน รุสเมื่อ พ.ศ. 1423 ทำให้เกิดภาษาสลาฟตะวันออกโบราณที่กลายเป็นภาษาทางวรรณคดีและการค้า ตามมาด้วยการรับอิทธิพลของศาสนาคริสต์เมื่อ พ.ศ. 1531 และการเข้ามาของภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณที่เป็นภาษากลุ่มสลาฟใต้ และเป็นภาษาราชการและภาษาทางศาสนาในยุคนั้น เริ่มมีการยืมคำจากภาษากรีกยุคไบแซนไทน์ ทำให้ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณเริ่มถูกเปลี่ยนแปลง
เมื่อเคียวาน รุสแตกสลายเมื่อราว พ.ศ. 1643 จึงมีการพัฒนาสำเนียงที่แตกต่างกัน ความแตกต่างอย่างชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการตั้งเขตของดยุกแห่งลิทัวเนีย ทางตะวันตกและดินแดนอิสระของสาธารณรัฐฟิวดัลโนฟโกรอดและดินแดนของตาตาร์ทางตะวันออก ภาษาราชการในโนฟโกรอด มอสโก และตาตาร์เป็นภาษาสลาโวนิกคริสตจักร ที่พัฒนามาจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณ ภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรจนถึงพุทธศตวรรษที่ 22 มีการจัดมาตรฐานโดยเมเลเตียส สโมเตรียสกีเมื่อ พ.ศ. 2163 และมีการปรับตัวอักษรในพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศสกับภาษาเยอรมัน
ภาษารัสเซียสมัยใหม่มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2461 อิทธิพลในยุคของสหภาพโซเวียตทำให้ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้ใช้แพร่หลายมากภาษาหนึ่ง
== ภาษาลูกหลาน ==
ภาษาที่มีพัฒนาการไปจากภาษารัสเซียได้แก่
ภาษาเฟนยา ไวยากรณ์มีจุดกำเนิดเดียวกับภาษารัสเซียแต่ใช้คำศัพท์ต่างไป
ภาษาซุรเซียก เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษายูเครน ใช้พูดในบางบริเวณของประเทศยูเครน
ภาษาทราเซียนกา เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษาไบโลรัสเซีย ใช้พูดในเบลารุส
สำเนียงบาลัชกา ใช้พูดโดยชาวคอสซักก์ในบริเวณดอน คูบันและเตเรก
ภาษากวูเอเลีย เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาเยอรมัน
ภาษารุสเซนอร์ส เป็นภาษาผสมที่ตายแล้วใช้คำศัพท์จากภาษารัสเซียและไวยากรณ์ของภาษานอร์เวย์ ใช้ในการติดต่อทางการค้าระหว่างชาวรัสเซียและนอร์เวย์ในอดีต
ภาษารุงลิซ เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาอังกฤษ ใช้เรียกการพูดภาษาอังกฤษของชาวรัสเซียที่ใช้ลักษณะและการเรียงประโยคแบบภาษารัสเซีย
ภาษานักซัต เป็นภาษาในนิยายพูดโดย “A Clockwork Orange” ใช้คำและคำแสลงจากภาษารัสเซียมาก
== ระบบการเขียน ==
เมเลเตียส สโมเตรียสกี นำอักษรซีริลลิกมาใช้เขียนภาษารัสเซียเมื่อราว พ.ศ. 2162 ใช้ตัวอักษร 33 ตัว มีการปรับปรุงตัวสะกดในภาษารัสเซียหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2423, 2461, และครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2533
อักษรที่ใช้เขียนภาษารัสเซียเรียกว่าอักษรซีริลลิก มีอยู่ทั้งหมด 33 ตัวด้วยกัน ดังต่อไปนี้
Аа Бб Вв Гг Дд Ее Ёё Жж Зз Ии Йй
Кк Лл Мм Нн Оо Пп Рр Сс Тт Уу Фф
Хх Цц Чч Шш Щщ Ъъ Ыы Ьь Ээ Юю Яя
ในภาษาอื่นที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษายูเครน ภาษามองโกเลีย ฯลฯ จะมีอักขระพิเศษเพิ่มขึ้นมาตามแต่ละภาษาในประเทศรัสเซีย อักษรซีริลลิกนอกจากจะใช้เขียนภาษารัสเซีย ปัจจุบันยังใช้เขียนภาษาของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศด้วย
== ระบบเสียง ==
=== เสียงพยัญชนะ ===
{| border="2" cellpadding="5" style="margin: 1em 1em 1em 0; line-height: 1.2em; border-collapse: collapse; text-align: center; font-family: Lucida Sans Unicode, Lucida Grande; font-size: 100%; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid;"
|- style="font-size: 90%;"
| colspan = 2|
! ริมฝีปาก
! ริมฝีปากกับฟัน
! ฟัน & ปุ่มเหงือก
! หลังปุ่มเหงือก
! เพดานแข็ง
! เพดานอ่อน
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;"|นาสิก
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
| ม
|
| น
|
|
|
|-
| style = "font-size: 80%;" |เบา
| มฺย
|
| นฺย
|
|
|
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | กัก
| style = "font-size: 80%;" | หนัก
| ป บ
|
| ต ด
|
| A/อ
| ก กฺง
|-
| style = "font-size: 80%;" | เบา
| ปฺย บฺย
|
| ตฺย ดฺย
|
|
| กฺย งฺย
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | Affricate
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
|
|
| จ(ตฺซ)
|
|
|
|-
| style = "font-size: 80%;" |เบา
|
|
|
| จ
|
|
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | เสียดแทรก
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
|
| ฟฺว
| ซ
| ซ(ม้วนลิ้น)
|
| ฮฺค
|-
| style = "font-size: 80%;" |เบา
|
| ฟฺย วฺย
| ซฺย -
| * * ศ -
|
| ฮฺย
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | รัวลิ้น
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
|
|
| ร
|
|
|
|-
| style = "font-size: 80%;" |เบา
|
|
| รฺย
|
|
|
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | เปิดข้างลิ้น
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
|
|
| ล
|
|
|
|-
| style = "font-size: 80%;" | เบา
|
|
| ลฺย
|
| ย
|
|}
== ไวยากรณ์ ==
ภาษารัสเซียมีลักษณะคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ กาล การก แม้ว่าในหลายภาษาในตระกูลเดียวกันกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้หายไปบ้าง แต่ในภาษารัสเซียรวมทั้งภาษาสลาฟอื่น ๆ ยังคงมีกฎเหล่านี้อยู่ มีการเปลี่ยนรูปคำมาก การเรียงประโยคเป็นการผสมอิทธิพลระหว่างภาษาสลาโวนิกคริสตจักรกับภาษาในยุโรปตะวันตก
นอกจากนี้แล้ว กริยาภาษารัสเซีย ยังมีรูปสมบูรณ์ และ ไม่สมบูรณ์ โดยกริยาสมบูรณ์เน้นที่ผลของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ прочитать หมายถึง อ่าน (จบแล้ว)
ประโยคตัวอย่าง
Я прочитал эту книгу. (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว)
ส่วนกริยาไม่สมบูรณ์เน้นที่ขั้นตอนของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ читать หมายถึง อ่าน
ประโยคตัวอย่าง
Я читаю эту книгу. ฉันกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ (เริ่มอ่านแล้ว และ ยังอ่านไม่จบเล่ม)
อนึ่ง กาลของกริยาสมบูรณ์มีเพียง 2 กาล คือ อดีต และ อนาคต ต่างจากกริยาไม่สมบูรณ์ ที่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต (กาลอนาคตใช้ กริยา быть มาขยายข้างหน้ากริยารูป infinitive โดยผันกริยา быть ตามประธาน กาลปัจจุบัน (เช่น Я буду, ты будешь...они будут)
== การก ==
ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการผันคำนามและคุณศัพท์ตามการกหรือหน้าที่ของคำในประโยคนั้นๆ ภาษารัสเซียมีหกการก ดังนี้
กรรตุการก (Именительный падеж: Nominative case)ใช้เป็นประธาน หรือผู้กระทำ
สัมพันธการก (Родительный падеж: Genitive case)ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนหรือสิ่งของกับคน
สัมปทานการก (Дательный падеж: Dative case)ใช้เป็นกรรมรอง เช่นได้รับของ ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับคำแนะนำ
กรรมการก (Винительный падеж: Accusative case)ใช้เป็นกรรมตรง หรือผู้ถูกกระทำ
กรณการก (Творительный падеж: Instrumental case)ใช้เป็นตัวช่วย เป็นเครื่องมือ
อธิกรณการก (Предложный падеж: Prepositional case)ใช้แสดงตำแหน่ง หรือสถานที่
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
=== ข้อมูล ===
ในภาษาอังกฤษ
M.A. O'Brien, New English–Russian and Russian–English Dictionary (New Orthography), New York, The Language Library 1944, Dover Publications.
Iliev, Iv. The Russian Genitive of Negation and Its Japanese Counterpart. International Journal of Russian Stidies. 1, 2018 (In Print)
ในภาษารัสเซีย
журнал «Демоскоп Weekly» № 571 – 572 14 – 31 октября 2013. А. Арефьев. Тема номера: сжимающееся русскоязычие. Демографические изменения - не на пользу русскому языку
Русский язык на рубеже XX-XXI веков — М.: Центр социального прогнозирования и маркетинга, 2012. — 482 стр. Аннотация книги в РУССКИЙ ЯЗЫК НА РУБЕЖЕ XX-XXI ВЕКОВ
журнал «Демоскоп Weekly» № 329 – 330 14 – 27 апреля 2008. К. Гаврилов. Е. Козиевская. Е. Яценко. Тема номера: русский язык на постсоветских просторах. Где есть потребность в изучении русского языка
журнал «Демоскоп Weekly» № 251 – 252 19 июня – 20 августа 2006. А. Арефьев. Тема номера: сколько людей говорят и будут говорить по-русски? Будет ли русский в числе мировых языков в будущем?
Жуковская Л. П. (отв. ред.) Древнерусский литературный язык и его отношение к старославянскому. — М.: «Наука», 1987.
Иванов В. В. Историческая грамматика русского языка. — М.: «Просвещение», 1990.
Новиков Л. А. Современный русский язык: для высшей школы. — М.: Лань, 2003.
Филин Ф. П. О словарном составе языка Великорусского народа. // Вопросы языкознания. — М., 1982, No. 5. — С. 18—28
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Oxford Dictionaries Russian Dictionary
USA Foreign Service Institute Russian basic course
Translation of Russian expressions and phrases
Russian – YouTube: playlist of (mostly half-hour-long) video lessons from Dallas Schools Television
Free Online Russian Language WikiTranslate Video Course
Национальный корпус русского языка National Corpus of the Russian Language
Russian Language Institute Language regulator of the Russian language
Top 7 foreign universities where studied Russian language
รัสเซีย
วัฒนธรรมโซเวียต
รัสเซีย
รัสเซีย
รัสเซีย | thaiwikipedia | 646 |
ดาวเคราะห์ | |-
|ดาวเคราะห์ทั้งแปด ในระบบสุริยะ:
ดาวเคราะห์คล้ายโลก (ดาวเคราะห์หิน)
ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก และดาวอังคาร
ดาวเคราะห์ยักษ์ (ดาวเคราะห์แก๊ส)
ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ (ดาวแก๊สยักษ์)
ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน (ดาวน้ำแข็งยักษ์)
เรียงลำดับจากดวงอาทิตย์ และใช้สีจริง. ขนาดไม่ตามของจริง
|}
ดาวเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี พ.ศ. 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) มีมติรับคำนิยามทางวิทยาศาสตร์ของดาวเคราะห์ว่า วัตถุฟากฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์จะเป็นดาวเคราะห์ได้ ต่อเมื่อ
มีมวลมากพอที่จะรักษาทรงกลมไว้ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของตนเอง
ต้องไม่มีมวลมากจนถึงขนาดก่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลีย์ฟิวชั่น หรือปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียส
ต้องไม่มีดาวเคราะห์อื่นร่วมใช้วงโคจร ซึ่งรวมไปถึงว่าต้องไม่มีดาวเคราะห์แรกเกิด (planetesimal) อื่นกำลังก่อตัวอยู่ในวงโคจร
ดาวเคราะห์เป็นวัตถุฟากฟ้าที่ศึกษากันมาแต่โบราณ ทั้งในทางวิทยาศาสตร์ และโหราศาสตร์ นักดาราศาสตร์กรีกชื่อ ปโตเลมี เชื่อว่า ดาวเคราะห์ทั้งหลายล้วนโคจรรอบโลกในการเคลื่อนที่แบบรอบอภิวัฏ (Epicycle)
ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ใจกลาง ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุธและดาวศุกร์ และสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่สามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนด้วยกล้องส่องทางไกล
== นิยามของดาวเคราะห์ ==
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์) แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่ใช่ดาวบริวาร
มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม
มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)
นิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต (♇) และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และ 10 ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
== รายชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ==
(เรียงตามระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์)
ดาวพุธ
ดาวศุกร์
โลก
ดาวอังคาร
ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส
ดาวเนปจูน
== ดูเพิ่ม ==
ดาวเคราะห์นอกระบบ
ดาวเคราะห์แคระ
== อ้างอิง ==
วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ | thaiwikipedia | 647 |
ประเทศมาซิโดเนียเหนือ | มาซิโดเนียเหนือ (North Macedonia; Северна Македонија; Maqedonia e Veriut; ก่อนเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 มีชื่อว่า มาซิโดเนีย (Macedonia)) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ (Republic of North Macedonia; Република Северна Македонија; Republika e Maqedonisë së Veriut) เป็นรัฐอิสระบนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศคอซอวอ ทิศเหนือติดกับประเทศเซอร์เบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบัลแกเรีย ทิศใต้ติดกับประเทศกรีซ และทิศตะวันตกติดกับประเทศแอลเบเนีย ประเทศนี้มักจะเรียกเฉย ๆ ว่า "มาซิโดเนีย" ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง และแคว้นมาซิโดเนียของกรีซ มาซิโดเนียเหนือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่ชื่อมาซิโดเนีย มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 38 และประชากรเกือบร้อยละ 44 ของพื้นที่ที่ใหญ่กว่าพื้นที่ที่ปกครองโดยมาซิโดเนียเหนือ ก่อนหน้านี้เป็นส่วนทางใต้สุดของยูโกสลาเวีย
พรมแดนปัจจุบันได้รับการกำหนดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียก่อตั้ง "สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย" (Socialist Republic of Macedonia) ซึ่งเป็นที่โต้แย้งว่า เป็นการยอมรับสลาฟมาซิโดเนีย เป็นชนชาติแยกต่างหากภายในยูโกสลาเวีย ต่อมาใน พ.ศ. 2534 ได้แยกจากยูโกสลาเวียอย่างสันติโดยเปลี่ยนชื่อเป็น "สาธารณรัฐมาซิโดเนีย" และไม่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเป็นต้นมา ประเทศได้เกิดกรณีพิพาทกับประเทศกรีซอย่างยาวนานเกี่ยวกับการใช้ชื่อ "มาซิโดเนีย" จนกระทั่งในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รัฐบาลมาซิโดเนียและรัฐบาลกรีซได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อยุติข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ
== ชื่อเรียก ==
ชื่อของประเทศเกิดขึ้นจากอาณาจักรกรีก Μακεδονία (มาเกโดนีอา) ตั้งชื่อตามชาวมาซิโดเนียโบราณ ชื่อของพวกเขา Μακεδόνες (มาเกโดเนส) ความหมายคือ "สูง", "เรียว" ซึ่งเหมือนกับคำ μακρός (มาโครส) ความหมาย "ยาว", "สูง" ในภาษากรีกโบราณ "ภูเขา" หรือ "คนสูง" อาจเป็นคำบรรยายชนกลุ่มดังกล่าว อย่างไรก็ตามโรเบิร์ต เอส. บี. บีเคส สนับสนุนว่าคำศัพท์ทั้งสองนี้มีพื้นฐานมาจากต้นกำเนิดของกรีกและไม่สามารถอธิบายได้ในแง่วิทยาหน่วยคำอินโด-ยูโรเปียน
== ประวัติศาสตร์ ==
ในสมัยประวัติศาสตร์ มาซิโดเนียเคยตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิโรมัน มาซิโดเนียเป็นชื่อเรียกดินแดนในประวัติศาสตร์ที่มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของยูโกสลาเวีย กรีซ และบัลแกเรีย ในระหว่างปี ค.ศ. 1946 - 1949 เกิดสงครามกลางเมืองภายในกรีซ จึงทำให้นายพลตีโตแห่งยูโกสลาเวียประสบความสำเร็จในการเรียกร้องพื้นที่ส่วนหนึ่งของดินแดนมาซิโดเนียมาอยู่ภายใต้การปกครอง โดยเป็นสาธารณรัฐ 1 ใน 6 สาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย
ในปี ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐสโลวีเนีย และโครเอเชีย และบอสเนีย - เฮอร์เซโกวีนา ได้เคลื่อนไหวแยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย ชาวมาซิโดเนียจึงได้จัดให้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช และได้ประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นการแยกตัวโดยปราศจากการใช้กำลังต่อต้านจากยูโกสลาเวีย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะยูโกสลาเวียกำลังสนับสนุนชาวเซิร์บในการสู้รบในบอสเนีย - เฮอร์เซโกวีนา ประกอบกับในมาซิโดเนียมีประชากรเชื้อสายเซิร์บจำนวนน้อย
ยูโกสลาเวียจึงไม่ต้องการเปิดศึก 2 ด้าน มาซิโดเนียประกาศเอกราชโดยใช้ชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐมาซิโดเนีย" (Republic of Macedonia - ROM) ตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติภายใต้ชื่อดังกล่าว แต่ได้รับการคัดค้านจากกรีซ โดยให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์และดินแดนว่า การใช้ชื่อ Republic of Macedonia เป็นการส่อเจตนารมณ์ที่จะอ้างสิทธิครอบคลุมไปถึงดินแดนมาซิโดเนียส่วนที่อยู่ในกรีซ ในที่สุดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 817 (1993) ให้ใช้ชื่อ Former Yugoslav Republic of Macedomia (FYROM) ในการอ้างถึงมาซิโดเนียในสหประชาชาติจนกว่าประเทศทั้งสองจะตกลงกันได้ สหประชาชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1993 ประกาศรับรองมาซิโดเนียเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 181 นอกจากนี้ มาซิโดเนียยังได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศอีกหลายองค์การ เช่น FAO, IAEA, IBRD, ICAO, ILO, IMF, OSCE, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, WHO เป็นต้น
== การเมือง ==
=== ระบอบการปกครอง ===
ระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายสแตวอ แปนดารอฟสกี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี คณะรัฐมนตรีได้รับการเลือกจากเสียงข้างมากในสภาโซบาลจี ซึ่งเป็นสภาเดี่ยว นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายซอรัน ซาแอฟ
=== กฎหมายและศาล ===
ศาลมีอำนาจดำเนินการโดยศาลซึ่งอยู่ภายใต้การพิจารณาของศาลฎีกา,ศาลรัฐธรรมนูญ, และสภาตุลาการของพรรครีพับลิกัน
=== สิทธิมนุษยชน ===
สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือเป็นผู้ลงนามอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนยุโรปและอนุสัญญาเจนีวาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานะผู้ลี้ภัยและอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานต่อพลเมืองชาวมาซิโดเนียเหนือทั้งหมด
แต่ยังคงเป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตามที่องค์กรสิทธิมนุษยชนในปี 2003 มีการวิสามัญผู้ทีถูกสงสัยว่าฆาตกรรมคุกคามและข่มขู่โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ อย่างไม่เป็นธรรม
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
หลังจากที่มีการผ่านกฎหมายใหม่และการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้มีการแบ่งหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นระหว่างเทศบาล 78 แห่ง (општини, opštini ออปซตีนิ, เอกพจน์ - општина, opština ออปซตีนา) เมืองหลวงสกอเปีย กครองเป็นกลุ่มเทศบาล 10 แห่ง เรียกรวมกันว่า "นครสกอเปีย" (the City of Skopje)
== ภูมิศาสตร์ ==
ในทิศตะวันตกจะเป็นพื้นที่ที่มีภูเขา ส่วนในทิศตะวันออกจะเป็นพื้นที่ราบ
=== ภูมิอากาศ ===
มาซิโดเนียเหนือมีสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนผ่านจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนสู่ทวีป ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งและฤดูหนาวก็ค่อนข้างหนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,700 มม. (66.9 นิ้ว) ในพื้นที่ภูเขาทางตะวันตกถึง 500 มม. (19.7 นิ้ว) ในพื้นที่ภาคตะวันออก มีสามเขตภูมิอากาศที่สำคัญในประเทศ
=== อุทยานแห่งชาติ ===
มาซิโดเนียเหนือประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติสามแห่ง คือ:
{|class="wikitable sortable"
|- class="hintergrundfarbe5"
! ชื่อ
! จัดตั้งขึ้น
! ขนาด
! class="unsortable" |ภาพ
|-
|อุทยานป่าไม้มาโรโว
| style = "text-align:center" |1948
| style = "text-align:center" |731 ตร.กม.
| style = "text-align:center; padding:0;"|100px
|-
|อุทยานป่าไม้เกริสิก้า
| style = "text-align:center" |1958
| style = "text-align:center" |227 ตร.กม.
| style = "text-align:center; padding:0;"|100px
|-
|อุทยานป่าไม้เพอริสเตอร์
| style = "text-align:center" |1948
| style = "text-align:center" |125 ตร.กม.
| style = "text-align:center; padding:0;"|100px
|}
=== สัตว์ป่า ===
สัตว์ป่ามาซิโดเนียมีอยู่มากมายอาทิ เช่น หมี,หมูป่า,หมาป่า,สุนัขจิ้งจอก,กระรอก,เลียงผา และกวาง ลิงซ์ยูเรเชีย พบได้น้อยมากในเทือกเขาทางตะวันตกของมาซิโดเนียในขณะที่กวางสามารถพบได้ในพื้นที่ของ Demir Kapija
=== พืชพันธุ์ ===
พืชพันธุ์ของประเทศมาซิโดเนียมีประมาณ 210 ตระกูล มี 920 สกุล และประมาณ 3,700 ชนิดของพืช กลุ่มที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดคือไม้ดอกที่มีประมาณ 3,200 ชนิด ตามด้วยมอส 350 สายพันธุ์ และเฟิร์น 42 สายพันธุ์
== กองทัพ ==
กองทัพแห่งสาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ เป็นชื่อของกองกำลังติดอาวุธของสาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ ความรับผิดชอบในการปกป้องอธิปไตยและความสมบูรณ์ของดินแดนมาซิโดเนียเหนือจากต่างชาติที่เป็นศัตรูกองทัพมาซิโดเนียเป็นหน่วยป้องกันที่ประกอบด้วยกองทัพ MIB (Армија) และกองทัพอากาศ (ВоеноВоздухопловство) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 กองทัพประกอบด้วยมืออาชีพและทหารอาสาสมัครซึ่งได้รับการแปรเปลี่ยนเป็นกองทัพระดับมืออาชีพที่เข้ากันได้กับมาตรฐาน
== เศรษฐกิจ ==
=== การท่องเที่ยว ===
การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของเศรษฐกิจของสาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมายของประเทศทำให้เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของผู้เข้าชม มีนักท่องเที่ยวประมาณ 700,000 คนต่อปี
== ประชากร ==
ข้อมูลสำมะโนประชากรล่าสุดจากปี 2545 มีจำนวนประชากร 2,022,547 คน ประมาณการล่าสุดอย่างเป็นทางการจาก 2009 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญให้ตัวเลข คือ 2,050,671 ตามข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากรครั้งสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศที่มีเชื้อชาติมาซิโดเนีย กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองคือชาวอัลเบเนียที่ปกครองส่วนมากทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศและถูกเลือกปฏิบัติ
=== ศาสนา ===
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เป็นนิกายของศาสนาคริสต์ทีมีผู้นับถือในมาซิโดเนียเหนือเป็นอับดับหนึ่ง (64.8) รองมาคือศาสนาอิสลาม (33.3)
=== ภาษา ===
ภาษาราชการและภาษาพูดกันอย่างแพร่หลายคือภาษามาซิโดเนียซึ่งอยู่ในสาขาตะวันออกของกลุ่มภาษาสลาฟใต้ รองลงมาจากภาษามาซิโดเนียคือ ภาษาเซอร์เบีย ส่วนใหญ่พูดในทางตอนใต้ของเซอร์เบียและตะวันตกของบัลแกเรีย (และโดยพูดในภาคเหนือและตะวันออกของมาซิโดเนียเหนือ)
ภาษามาซิโดเนียได้รับการจัดประมวลในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองและได้สั่งสมประเพณีลายลักษณ์ที่เจริญรุ่งเรือง
=== เมืองในประเทศ ===
== วัฒนธรรม ==
ประเทศมาซิโดเนียเหนือมีมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายในด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม บทกวี และดนตรี มีสถานที่ทางศาสนาที่มีรอดจากการโจมตีจำนวนมาก เทศกาลกวี ภาพยนตร์ และดนตรีจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ดนตรีมาซิโดเนียได้รับการพัฒนาภายใต้อิทธิพลของดนตรีคริสตจักรไบแซนไทน์ ประเทศมาซิโดเนียเหนือมีภาพไบเซนไทน์ที่ได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่มาจากช่วงระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 16
=== กีฬา ===
ฟุตบอลและแฮนด์บอลเป็นกีฬายอดนิยมในมาซิโดเนียเหนือ ทีมฟุตบอลแห่งชาติถูกควบคุมโดยสหพันธ์ฟุตบอลแห่งมาซิโดเนียเหนือ สนามกีฬาในประเทศของพวกเขาคือสนามกีฬาฟิลิปที่สอง แฮนด์บอลเป็นกีฬาที่สำคัญของทีมอื่น ๆ ในประเทศ ใน พ.ศ. 2545 โคมีเล สกอเปีย ได้รับรางวัล EHF Women's Champions League Europe Cup การแข่งขันแฮนด์บอลชิงแชมป์หญิงยุโรปเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2551 ในมาซิโดเนียเหนือ สถานที่จัดแข่งขันที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ในสกอเปีย
==ดูเพิ่ม==
==หมายเหตุ==
==อ้างอิง==
==บรรณานุกรม==
==อ่านเพิ่ม==
North Macedonia. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
==แหล่งข้อมูลอื่น==
North Macedonia from RFE/RL
North Macedonia from BBC News
Key Development Forecasts for North Macedonia from International Futures
มาซิโดเนียเหนือ
รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 | thaiwikipedia | 648 |
ภาษาอาหรับ | ภาษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ
ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรีย
== ภาษาอาหรับทางศาสนาและสมัยใหม่ ==
ชาวอาหรับถือว่าภาษาอาหรับที่ใช้ในทางศาสนาเป็นภาษามาตรฐานและรูปแบบอื่นๆถือเป็นสำเนียง ภาษาอาหรับทางศาสนาในปัจจุบันรวมทั้งภาษาที่ใช้ในสื่อปัจจุบันตลอดแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางและภาษาในอัลกุรอ่าน ส่วนสำเนียงของภาษาอาหรับหมายถึงภาษาอาหรับที่ต่างจากภาษาอาหรับคลาสสิกและใช้พูดกันในบริเวณต่าง ๆ ของแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง และใช้เป็นภาษาพูดในปัจจุบัน บางครั้งมีความแตกต่างกันมากพอที่ทำให้ไม่เข้าใจกันได้ สำเนียงเหล่านี้ไม่มีภาษาเขียน มีการใช้บ้างในสื่อแบบไม่เป็นทางการ เช่นละครหรือทอล์กโชว์ ภาษาอาหรับมาตรฐานหรือภาษาอาหรับทางศาสนาเป็นภาษาราชการของประเทศกลุ่มอาหรับทุกประเทศ และเป็นรูปแบบเดียวที่ใช้สอนในโรงเรียน ทำให้ภาษาอาหรับเป็นตัวอย่างหนึ่งของภาษาที่มีรูปแบบสองชนิดและใช้ในสภาพสังคมที่ต่างกัน ชาวอาหรับที่มีการศึกษาในทุกประเทศ จะใช้ได้ทั้งภาษาอาหรับที่ใช้พูดในท้องถิ่นและภาษาอาหรับที่ใช้ในการศึกษา ดังนั้นชาวอาหรับที่มีการศึกษาและมาจากคนละประเทศ เช่น ชาวโมร็อกโกและชาวเลบานอน จะใช้ภาษาอาหรับมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร
เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ภาษาอาหรับทางศาสนายังคงมีพัฒนาการ ภาษาอาหรับคลาสสิกอาจแยกได้จากภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ที่ใช้ในปัจจุบัน ภาษาอาหรับคลาสสิกเรียงประโยคตามไวยากรณ์แบบคลาสสิกและใช้ศัพท์จากพจนานุกรมยุคคลาสสิก ในภาษาอาหรับสมัยใหม่ มีโครงสร้างที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่น เช่นการพูดถึงของหลายสิ่ง ภาษาอาหรับมาตรฐานใช้ ก ข ค และ ง ในขณะที่ภาษาอาหรับคลาสสิกใช้ ก และ ข และ ค และ ง มากกว่า ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยประธานถือว่าปกติในภาษาอาหรับมาตรฐานมากกว่าภาษาอาหรับคลาสสิก
== อิทธิพลของภาษาอาหรับต่อภาษาอื่น ==
ภาษาอาหรับมีอิทธิพลมากในโลกอิสลามและเป็นแหล่งของคำศัพท์ ที่ใช้ในภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเปอร์เซีย ภาษาสวาฮีลี ภาษาอูรดู ภาษาฮินดี ภาษามลายู ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาตุรกี เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น คำว่ากิตาบ ซึ่งแปลว่าหนังสือในภาษาอาหรับ มีใช้ในทุกภาษาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยกเว้นภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซียที่ใช้หมายถึงหนังสือทางศาสนา ภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกสมีคำยืมจากภาษาอาหรับมาก และมีในภาษาอังกฤษเล็กน้อย ภาษาอื่นๆเช่น ภาษามอลตา ภาษากินูบี ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับทั้งทางด้านคำศัพท์และไวยากรณ์
คำยืมจากภาษาอาหรับมีกว้างขวางทั้งคำจากศาสนา (เช่น ภาษาเบอร์เบอร์ tazallit = ละหมาด) ศัพท์ทางวิชาการ (เช่น ภาษาอุยกูร์ mentiq = วิชา) ศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ (เช่น ภาษาอังกฤษ sugar = น้ำตาล) จนถึงคำสันธานที่ใช้ในการพูดประจำวัน (เช่น ภาษาอูรดู lekin = แต่) ภาษาเบอร์เบอร์ส่วนใหญ่และภาษาสวาฮีลียืมตัวเลขจากภาษาอาหรับ ศัพท์ทางศาสนาอิสลามส่วนใหญ่เป็นคำยืมโดยตรงจากภาษาอาหรับ เช่น salat (ละหมาด) และอิหม่าม ในภาษาที่ไม่ได้ติดต่อกับโลกอาหรับโดยตรง คำยืมจากภาษาอาหรับจะถูกยืมผ่านภาษาอื่น ไม่ได้มาจากภาษาอาหรับโดยตรง เช่น คำยืมจากภาษาอาหรับในภาษาอูรดูส่วนใหญ่ รับผ่านทางภาษาเปอร์เซีย และคำยืมจากภาษาอาหรับส่วนใหญ่ในภาษาฮัวซาได้รับมาจากภาษากานูรี
คำยืมจากภาษาอาหรับในภาษาอังกฤษและภาษาในยุโรปส่วนใหญ่ได้รับผ่านทางภาษาสเปนและภาษาอิตาลี ตัวอย่างที่มีใช้กันทั่วไป เช่น sugar (มาจาก sukkar) cotton (qutn) และ magazine (mahazin) คำในภาษาอังกฤษที่มีต้นกำเนิดจากภาษาอาหรับ algebra alcohol alchemy alkali และ zenith คำบางคำที่ใช้กันทั่วไปเช่น intention และ information มีต้นกำเนิดมาจากศัพท์ทางปรัชญาของภาษาอาหรับ
== ภาษาอาหรับและศาสนาอิสลาม ==
ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ใช้ในอัลกุรอาน มุสลิมทุกคนต้องเรียนอ่านอัลกุรอานภาษาอาหรับเพื่อรักษาความหมายดั้งเดิมไว้ไม่ให้ผิดพลาดเพราะการแปล อย่างไรก็ตาม ภาษาอาหรับคงมีการใช้ในกลุ่มชาวอาหรับที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวอาหรับดรูซ ชาวยิวมิซราฮี และชาวมันเดียนในอิรัก ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่ แต่สามารถอ่านภาษาอาหรับที่เกี่ยวข้องกับศาสนาได้
== ประวัติ ==
หลายคน เชื่อว่าภาษาอาหรับสมัยใหม่เป็นส่วนหนึ่งของสาขาย่อยอาหรับ-คานาอันไนต์ของภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกกลาง ในขณะที่ภาษาอาหรับไม่ใช่ภาษาเซมิติกที่เก่าสุด จึงมีลักษณะร่วมกับภาษาบรรพบุรุษของภาษากลุ่มเซมิติกในตระกูลแอฟโฟร-เอเชียติกคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม นักภาษาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าภาษาอาหรับเป็นภาษาที่มีความเป็นเซมิติกมากที่สุดในบรรดาภาษากลุ่มเซมิติกสมัยใหม่ด้วยกัน เพราะรักษาลักษณะของภาษาเซมิติกดั้งเดิมไว้ได้มาก
เอกสารของภาษาอาหรับดั้งเดิมหรือภาษาอาหรับเหนือโบราณคือจารึกที่อาซาเอียนที่พบทางตะวันออกของซาอุดีอาระเบียมีอายุราว 257 ปีก่อนพุทธศักราช เขียนด้วยอักษรอาระเบียใต้ ในยุคต่อมาคือเอกสารลิเชียนไนต์ อายุราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของซาอุดีอาระเบีย และเอกสารทามุด (ษะมูด) ที่พบตลอดคาบสมุทรอาระเบียและไซนาย หลักฐานในยุคต่อมาคือจารึกซาไฟติกอายุราว 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช และชื่อเฉพาะภาษาอาหรับที่พบในจารึกภาษานาบาทาเอียน
เมื่อราว ค.ศ. 400 กษัตริย์ของชาวอาหรับแห่งลักมิดในอิรักภาคใต้ กษัตริย์ฆาสซานัดในซีเรียภาคใต้และราชอาณาจักรกินไดต์ (กินดะฮ์) ได้ก่อตัวขึ้นในคาบสมุทรอาระเบียตอนกลาง ในยุคนั้นพบกวีนิพนธ์ภาษาอาหรับยุคก่อนศาสนาอิสลาม และจารึกภาษาอาหรับยุคก่อนอิสลามเขียนด้วยอักษรอาหรับ
== สำเนียงและลูกหลาน ==
ภาษาอาหรับสนทนาเป็นคำที่ใช้เรียกภาษาอาหรับสำเนียงต่างๆที่เป็นภาษาพูดตลอดโลกอาหรับ และต่างไปจากภาษาอาหรับที่เป็นภาษาเขียน การแบ่งสำเนียงหลักๆคือการแบ่งระหว่างสำเนียงในแอฟริกาเหนือและสำเนียงในตะวันออกกลาง ตามมาด้วยการแบ่งระหว่างสำเนียงประจำถิ่น และสำเนียงที่อนุรักษ์กว่าของชาวเบดูอิน ผู้พูดบางสำเนียงอาจจะไม่เข้าใจภาษาอาหรับอีกสำเนียงหนึ่งได้ ตัวอย่างเช่น ผู้พูดในตะวันออกกลางอาจจะไม่เข้าใจบางสำเนียงในแอฟริกาเหนือ ความแตกต่างระหว่างสำเนียงได้รับอิทธิพลมาจากภาษาที่ใช้พูดอยู่เดิมในบริเวณนั้น ซึ่งมีอิทธิพลทั้งในด้านคำศัพท์และการเรียงประโยค คำบางคำในแต่ละสำเนียง มีความหมายเหมือนกันแต่มาจากรากศัพท์ในภาษาคลาสสิกที่ต่างกัน เช่นคำว่า “มี” สำเนียงอิรักใช้ aku สำเนียงเลบานอนใช้ fih และแอฟริกาเหนือใช้ kayәn (มาจากภาษาคลาสสิก yakun, fihi และ ka’in ตามลำดับ)
กลุ่มของสำเนียงหลักๆ ได้แก่
ภาษาอาหรับอียิปต์ มีผู้พูด 77 ล้านคนในอียิปต์ และอาจเป็นสำเนียงที่มีผู้เข้าใจมากที่สุดเนื่องจากความนิยมภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์จากอียิปต์
ภาษาอาหรับแบบมักเรบ ได้แก่ภาษาอาหรับแอลจีเรีย โมร็อกโก ตูนิเซีย มอลตา และลิเบียตะวันตก สำเนียงแอลจีเรียและโมร็อกโกมีผู้พูดราว 20 ล้านคน
ภาษาอาหรับเลอวานต์ ได้แก่ ในซีเรียตะวันตก เลบานอน ปาเลสไตน์ จอร์แดนตะวันตก และภาษาอาหรับมาโรไนต์ในไซปรัส
ภาษาอาหรับอิรักและภาษาอาหรับคูเซสถาน มีความแตกต่างระหว่างสำเนียงกิสิตทางใต้และสำเนียงบาลตูทางเหนือที่มีลักษณะอนุรักษนิยมมากกว่า
ภาษาอาหรับตะวันออก ในซาอุดีอาระเบียตะวันออก อิรักตะวันตก ซีเรียตะวันออก จอร์แดน และบางส่วนของโอมาน
ภาษาอาหรับอ่าว ในบาห์เรน จังหวัดซาอุดีตะวันออก คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์และโอมาน
สำเนียงอื่นๆ ได้แก่
อัสซานียะ ในมอริตาเนีย มาลีและสะฮาราตะวันตก
ภาษาอาหรับซูดาน รวมสำเนียงที่ใช้ในชาดด้วย
ฮิญาซี ในซาอุดีอาระเบียตะวันตก
ภาษาอาหรับนัจญ์ดี ใช้ในบริเวณนัจญ์ของซาอุดีอาระเบียกลาง
ภาษาอาหรับเยเมน ใช้ในเยเมนและซาอุดีอาระเบียตอนใต้
ภาษาอาหรับอันดาลูซิอา เคยใช้ในคาบสมุทรไอบีเรียจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 22
ภาษามอลตา ใช้พูดในเกาะมอลตา ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นภาษาที่แยกไปเป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหาก เมื่อพิจารณาในทางสัทวิทยา ภาษามอลตาใกล้เคียงกับภาษาอาหรับตูนิเซียสำเนียงอูร์บัน แต่ในทางประวัติศาสตร์ ภาษามอลตามีการยืมคำ ลักษณะทางสัทวิทยา และรูปแบบทางไวยากรณ์จากภาษาอิตาลี ภาษาซิซิลี และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาอาหรับเพียงสำเนียงเดียวที่เขียนด้วยอักษรโรมัน
มีสำเนียงอีกมากมาย
== เสียง ==
=== สระ ===
ภาษาอาหรับมีสระแท้สามเสียง โดยแต่ละเสียงมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวคือ อะ-อา อิ-อี อุ-อู แต่เมื่อประสมกับพยัญชนะบางตัวจะออกเป็น เอาะ-ออ มีสระประสมสองเสียงคือ ไอ กับ เอา ที่สำคัญในภาษาอาหรับนั้นจะมีแต่เสียงสระเท่านั้นจะไม่ใส่รูปสระ
=== พยัญชนะ ===
พยัญชนะมี 28 ตัว เสียงพยัญชนะในภาษาอาหรับมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาว โดยเสียงยาวจะแทนด้วยอักษรละตินสองตัว เช่น bb หรือแสดงด้วยเครื่องหมายชัดดะหฺในอักษรอาหรับ
=== โครงสร้างพยางค์ ===
พยางค์ในภาษาอาหรับมีสองชนิดคือพยางค์เปิด (CV, CVV) และพยางค์ปิด (CVC, CVVC, CVCC) ทุกพยางค์เริ่มด้วยพยัญชนะ หรือพยัญชนะที่ยืมมาจากคำก่อนหน้า โดยเฉพาะในกรณีของคำนำหน้านามชี้เฉพาะ al เช่น baytu-l mudiir (บ้านของผู้กำกับ) ซึ่งจะเป็น bay-tul-mu-diir ถ้าออกเสียงแยกทีละพยางค์ โดยผู้กำกับจะเป็น al mudiir
=== การเน้นหนัก ===
การเน้นหนักในภาษาอาหรับมีความเกี่ยวข้องกับความยาวของเสียงสระและรูปร่างของพยางค์ การเน้นหนักคำที่ถูกต้องช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กฎพื้นฐานได้แก่
เฉพาะพยางค์สุดท้ายของคำที่มีสามพยางค์ที่ถูกเน้นหนัก
พยางค์ที่มีสระเสียงยาวหรือพยัญชนะคู่จะถูกเน้นหนัก
ถ้าไม่มีพยางค์ดังกล่าว พยางค์ก่อนพยางค์สุดท้ายจะถูกเน้น หรือพยางค์แรกที่ยอมให้เน้นเสียงได้
ในภาษาอาหรับมาตรฐาน เสียงสระเสียงยาวเสียงสุดท้ายมักถูกเน้น แต่ไม่ใช้กับสำเนียงที่ใช้พูดซึ่งสระเสียงยาวสุดท้ายดั้งเดิมถูกทำให้สั้นและสระเสียงยาวอันที่สองถูกยกเสียงขึ้น
ในบางสำเนียงจะมีกฎการเน้นเสียงที่ต่างออกไป
== ความแตกต่างระหว่างสำเนียง ==
ในบางสำเนียงมีเสียงพยัญชนะที่ต่างไปจากภาษาอาหรับมาตรฐาน เช่น สำเนียงมักเรบมีเสียง v ซึ่งใช้เขียนชื่อที่ยืมจากภาษาอื่นๆ เสียง p ของภาษากลุ่มเซมิติกกลายเป็นเสียง f ก่อนจะมีการเขียน แต่ในสำเนียงสมัยใหม่ของภาษาอาหรับ เช่น ภาษาอาหรับอิรัก มีการแยกระหว่างเสียง p และ b ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาตุรกี
เสียง /q/ ยังมีการออกเสียงแบบดั้งเดิมในหลายบริเวณ เช่น เยเมน โมร็อกโก และบริเวณมักเรบรอบนอก แต่กลายเป็นเสียงก้อง เกิดที่เพดานอ่อน /g/ ในภาษาอาหรับอ่าว ภาษาอาหรับอิรัก อียิปต์ตอนบน ส่วนใหญ่ของบริเวณมักเรบ และบางส่วนของบริเวณเลอวานต์ (เช่น จอร์แดน) กลายเป็นเสียงก้อง หดตัว เกิดจากลิ้นไก่ /ʁ/ ในภาษาอาหรับซูดาน และกลายเป็นเสียงจากคอหอย /ʔ/ ในสำเนียงที่เป็นที่รู้จักดีหลายสำเนียง เช่น สำเนียงที่ใช้พูดในไคโร เบรุต และดามัสกัส หมู่บ้านชาวคริสต์พื้นเมืองหลายแห่งในบริเวณเลอวานต์ออกเสียงเสียงนี้เป็นเสียง /k/ เช่นเดียวกับชาวชีอะห์ในบาห์เรน สำเนียงบริเวณอ่าวเปอร์เซียบางสำเนียงเปลี่ยนเสียง /q/ เป็นเสียง /d͡ʒ/ หรือ /ʒ/ หลายสำเนียงที่เปลี่ยนเสียง /q/ ไปแล้ว ยังคงเสียง /q/ ไว้เฉพาะในบางคำ (มักเป็นศัพท์ทางศาสนาหรือการศึกษา) ซึ่งยืมมาจากภาษาคลาสสิก
เสียง /d͡ʒ/ ยังคงรักษาการออกเสียงนี้ในอิรักและบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอาระเบีย แต่ออกเสียงเป็น /g/ ในไคโรและบางส่วนของเยเมน เป็น /ʒ/ ในโมร็อกโกและบริเวณเลอวานต์ และเป็น /j/ ในบางคำของภาษาอาหรับอ่าว
เสียง /k/ ส่วนใหญ่จะคงการออกเสียงดั้งเดิมไว้ได้ แต่เปลี่ยนเป็นเสียง /t͡ʃ/ ในหลายคำของภาษาอาหรับปาเลสไตน์ อิรัก และส่วนใหญ่ในคาบสมุทรอาระเบีย ความแตกต่างมักเกิดระหว่างปัจจัย /-ak/ และ /-ik/ ที่กลายเป็น /-ak/ และ /-it͡ʃ / ตามลำดับ ในภาษาอาหรับซานา /-ik/ ออกเสียงเป็น /-iʃ/
== ระบบการเขียน ==
อักษรอาหรับพัฒนามาจากอักษรอราเมอิก ผ่านทางอักษรซีเรียคและอักษรนาบาทาเอียน อักษรที่ใช้ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางมีความแตกต่างกันบ้าง ตัวอย่างเช่น ฟาอุและกอฟที่มีจุดข้างใต้และจุดเดี่ยวข้างบนตามลำดับพบมากในมักเรบและใช้มากในโรงเรียนสอนอัลกุรอานในแอฟริกาตะวันตก อักษรอาหรับเขียนจากขวาไปซ้าย มีรูปแบบของการเขียนหลายแบบ แบบนัสค์ใช้ในการพิมพ์และคอมพิวเตอร์ และรุกอะห์ที่ใช้ในการเขียนด้วยมือ
=== การคัดลายมือ ===
หลังจากมีการกำหนดรูปแบบของอักษรอาหรับเมื่อราว พ.ศ. 1329 โดยคอลีล อิบนุอะหมัด อัลฟะรอฮีดีย์ มีการเขียนหลายรูปแบบได้ถูกพัฒนาขึ้นมา ซึ่งใช้ทั้งในการเขียนและการจารึก รวมทั้งนำไปใช้เป็นงานศิลปะ เนื่องจากลักษณะของอักษรที่โค้งตามธรรมชาติ ทำให้ประกอบเป็นรูปต่างๆได้ง่าย
=== การถอดอักษร ===
การถอดอักษรอาหรับเป็นอักษรโรมันมีหลายแบบ มีทั้งแบบที่ใช้อักษรคู่แทนเสียงเดี่ยว และระบบที่ใช้อักษรพิเศษแทนเพื่อใช้ 1 อักษรต่อ 1 เสียง ซึ่งเป็นระบบที่นิยมใช้โดยกองทัพสหรัฐ
การถอดอักษรอาหรับเป็นอักษรไทยมีหลายมาตรฐาน แต่ที่มีกำหนดเป็นหลายลักษณ์อักษรคือ มาตรฐานการถอดรูปอักษรอาหรับเป็นอักษรไทยแบบสยามิค นอกจากนี้ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดหลักเกณฑ์ทับศัพท์ภาษาอาหรับของราชบัณฑิตยสถาน
=== ตัวเลข ===
ในปัจจุบัน ในแอฟริกาเหนือใช้เลขอาหรับ ส่วนในอียิปต์และตะวันออกกลางใช้เลขอาหรับตะวันออก การเขียนตัวเลขเขียนจากซ้ายไปขวา
== องค์กรควบคุมมาตรฐานของภาษา ==
สถาบันการศึกษาภาษาอาหรับเป็นองค์กรควบคุมภาษาอาหรับที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศอาหรับ มีกิจกรรมส่วนใหญ่ในดามัสกัสและไคโร มีหน้าที่ตรวจสอบพัฒนาการของภาษา ตรวจคำใหม่ เพื่อเพิ่มเข้าไปในพจนานุกรมมาตรฐาน รวมทั้งการตีพิมพ์เอกสารโบราณและเอกสารทางประวัติศาสตร์ด้วยภาษาอาหรับ
== ไวยากรณ์ ==
คำนามที่ใช้ในภาษาเขียนมี 3 การก คือประธาน กรรม และความเป็นเจ้าของ มี 3 พจน์ คือ เอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ มี 2 เพศ คือชายกับหญิง และมี 3 สถานะ คือ ทั่วไป ชี้เฉพาะ และผูกประโยค การกของนามเอกพจน์นอกจากที่ลงท้ายด้วย ā แสดงโดยปัจจัยที่เป็นสระเสียงสั้น (/u/ สำหรับประธาน, /a/ สำหรับกรรม และ /i/ สำหรับความเป็นเจ้าของ) นามสตรีเอกพจน์ มักแสดงด้วย /-at/ ซึ่งมักลดรูปเหลือ /-ah/ หรือ /a/ การแสดงพหูพจน์ใช้ได้ทั้งการลงท้ายและการเปลี่ยนแปลงภายในคำ คำนามทุกคำสามารถนำหน้าด้วย /al/ ซึ่งเป็นคำนำหน้านาม นามเอกพจน์รูปชี้เฉพาะนอกจากที่ลงท้ายด้วย ā เติมเสียงตัวสะกด /-n/ เข้าที่สระท้ายการกเป็น /un/ , /an/ และ /in/ ซึ่งเป็นการผันคำนามแบบหนึ่ง มีการเรียงคำแบบ กริยา-ประธาน-กรรม
== ดูเพิ่ม ==
อักษรอาหรับ
การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอาหรับ
Learn Arabic (with audio)
==อ้างอิง==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
อิสลาม.in.th : เพื่อความเข้าใจอิสลาม และมุสลิม
เว็บไซต์มุสลิมไทย : สาระธรรมอิสลาม
แปลภาษาอาราบิค
ภาษาในประเทศซาอุดีอาระเบีย
ตะวันออกกลาง
อาหรับ
อาหรับ | thaiwikipedia | 649 |
แคลคูลัส | แคลคูลัส เป็นสาขาหลักของคณิตศาสตร์ซึ่งพัฒนามาจากพีชคณิต เรขาคณิต และปัญหาทางฟิสิกส์ แคลคูลัสมีต้นกำเนิดจากสองแนวคิดหลัก ดังนี้
แนวคิดแรกคือ แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ (Differential Calculus) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลง และเกี่ยวข้องกับการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การหา ความเร็ว, ความเร่ง หรือความชันของเส้นโค้ง บนจุดที่กำหนดให้. ทฤษฎีของอนุพันธ์หลายส่วนได้แรงบันดาลใจจากปัญหาทางฟิสิกส์
แนวคิดที่สองคือ แคลคูลัสเชิงปริพันธ์ (Integral Calculus) เป็นทฤษฎีที่ได้แรงบันดาลใจจากการคำนวณหาพื้นที่หรือปริมาตรของรูปทรงทางเรขาคณิตต่าง ๆ ทฤษฎีนี้ใช้กราฟของฟังก์ชันแทนรูปทรงทางเรขาคณิต และใช้ทฤษฎีปริพันธ์ (หรืออินทิเกรต) เป็นหลักในการคำนวณหาพื้นที่และปริมาตร
ทั้งสองแนวคิดที่กำเนิดจากปัญหาที่ต่างกันกลับมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้ง โดยทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัสกล่าวว่า แท้จริงแล้วทฤษฎีทั้งสองเปรียบเสมือนเป็นด้านทั้งสองของเหรียญอันเดียวกัน นั่นคือเป็นสิ่งเดียวกันเพียงแต่มองคนละมุมเท่านั้น (โดยคร่าว ๆ เรากล่าวได้ว่าอนุพันธ์และปริพันธ์เป็นฟังก์ชันผกผันของกันและกัน) ในการสอนแคลคูลัสเพื่อความเข้าใจตัวทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง ควรกล่าวถึงทั้งสองทฤษฎีและความสัมพันธ์นี้ก่อน แต่การศึกษาในปัจจุบันมักจะกล่าวถึงแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ก่อนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากนำไปใช้งานได้ง่ายกว่า
อนึ่ง การศึกษาแคลคูลัสอย่างละเอียดในเวลาต่อมา ได้ทำให้เกิดศาสตร์ใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์มากมาย เช่น คณิตวิเคราะห์
และ ทฤษฎีเมเชอร์ เป็นต้น
== ประวัติของแคลคูลัส ==
ต้นกำเนิดของแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ย้อนไปถึงยุคกรีกโบราณ ยูโดซัส มักจะเป็นที่รู้จักกันในนามของผู้ที่ค้นพบระเบียบวิธีเกษียณ ซึ่งทำให้สามารถคำนวณหาพื้นที่และปริมาตรของรูปร่างและรูปทรงพื้นฐานได้ อาร์คิมิดีส ได้พัฒนาวิธีการนี้ต่อ และได้พัฒนาวิธีการช่วยคำนวณ ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดในปัจจุบันด้วย ไลบ์นิซ และ นิวตัน มักจะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่คิดค้นแคลคูลัสขึ้นมา โดยเฉพาะการค้นพบทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส
มีการโต้เถียงกันว่านิวตันหรือไลบ์นิซ ที่เป็นผู้ที่ค้นพบแนวคิดหลักของแคลคูลัสก่อน
ความจริงนั้นไม่มีใครรู้ได้
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่ไลบ์นิซได้พัฒนาให้กับแคลคูลัส คือ เครื่องหมายของเขา เขามักจะใช้เวลาเป็นวัน ๆ นั่งคิดถึงสัญลักษณ์ที่เหมาะสม ที่จะแทนที่แนวคิดทางคณิตศาสตร์
อย่างไรก็ตาม การโต้เถียงกันระหว่างไลบ์นิซ และนิวตัน ได้แบ่งแยกนักคณิตศาสตร์ที่พูดภาษาอังกฤษ ออกจากนักคณิตศาสตร์ในยุโรป เป็นเวลานานหลายปี
ซึ่งทำให้คณิตศาสตร์ในอังกฤษล้าหลังกว่ายุโรปเป็นเวลานาน
เครื่องหมายที่นิวตันใช้นั้น คล่องตัวน้อยกว่าของไลบ์นิซอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังใช้กันในอังกฤษจน Analytical Society ได้ใช้เครื่องหมายของไลบ์นิซในศตวรรษที่ 19 ตอนต้น
สันนิษฐานกันว่า นิวตันค้นพบแนวคิดเกี่ยวกับแคลคูลัสก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ไลบ์นิซเป็นผู้ที่เผยแพร่ก่อน
ทุกวันนี้เป็นที่เชื่อกันว่า ทั้งนิวตันและไลบ์นิซต่างก็ค้นพบแคลคูลัสด้วยตนเอง
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้พัฒนาวิชาแคลคูลัสนอกจากนี้คือ เดส์การตส์, บาร์โรว์, เดอ แฟร์มาต์, เฮยเคินส์ และ วอลลิส โดยเฉพาะ เดอ แฟร์มาต์ ซึ่งบางครั้งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์. นักคณิตศาสตร์ชาวญี่ปุ่น เซกิ ทาคาคาสึ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกับ ไลบ์นิซ และนิวตัน ได้ค้นพบหลักการพื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับ แคลคูลัสเชิงปริพันธ์ แต่เขาไม่เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกในขณะนั้น และเขาก็ไม่ได้ติดต่อกับนักวิชาการชาวตะวันตกเลย
== แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ ==
อนุพันธ์ (derivative) คือการหาค่าความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหนึ่ง เมื่ออีกตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงในปริมาณที่น้อยมากๆ บางทีอนุพันธ์ที่เราจะได้พบครั้งแรกในโรงเรียนคือ สูตร อัตราเร็ว = ระยะทาง/เวลา สำหรับวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ อัตราเร็วของคุณซึ่งเป็นอนุพันธ์ที่บอกการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในระยะเวลาหนึ่ง วิชาแคลคูลัสพัฒนาขึ้น เพื่อจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติกว่านี้ ซึ่งอัตราเร็วของคุณอาจเปลี่ยนแปลงได้
เมื่อเรากล่าวถึงรายละเอียดแล้ว แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ นิยามอัตราการเปลี่ยนแปลงในขณะใดขณะหนึ่ง (อนุพันธ์) ระหว่างค่าของฟังก์ชัน กับตัวแปรของฟังก์ชัน นิยามจริงๆ ของอนุพันธ์คือ ลิมิตของอัตราส่วนในการเปลี่ยนแปลง (difference quotient). อนุพันธ์คือหัวใจของวิทยาศาสตร์กายภาพ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แรง = มวล×ความเร่ง มีความหมายในแคลคูลัส เพราะว่า ความเร่งเป็นอนุพันธ์ค่าหนึ่ง ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวล และทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของไอน์สไตน์ (สัมพัทธภาพทั่วไป) นั่นได้กล่าวถึงด้วยภาษาของแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ เช่นเดียวกันกับทฤษฎีพื้นฐานของวงจรไฟฟ้า
อนุพันธ์ของฟังก์ชัน กล่าวถึงกราฟของฟังก์ชันนั้นในช่วงสั้น ๆ ซึ่งทำให้เราสามารถหาจุดสูงสุด และจุดต่ำสุด ของฟังก์ชันได้ เพราะว่าที่จุดเหล่านั้นกราฟจะขนานกับแกนราบ ดิเฟอเรนเชียล แคลคูลัสยังมีการประยุกต์ใช้อื่นๆอีก เช่น ระเบียบวิธีของนิวตัน (Newton's Method) ซึ่งเป็นวิธีในการหาค่ารากของฟังก์ชัน โดยการประมาณค่าโดยเส้นสัมผัส ดังนั้นแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลากหลายคำถาม ซึ่งถ้ามองแค่ผิวเผินอาจคิดว่า ไม่อาจใช้แคลคูลัสจัดการได้
== แคลคูลัสเชิงปริพันธ์ ==
แคลคูลัสเชิงปริพันธ์ศึกษาวิธีการหาปริพันธ์ (อินทิกรัล, Integral) ของฟังก์ชัน ซึ่งอาจนิยามจากลิมิตของผลรวมของพจน์ (ซึ่งเรียกว่าลิมิตของผลรวมรีมันน์) แต่ละพจน์นั้นคือพื้นที่ที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ละแถบใต้กราฟของฟังก์ชัน ทำให้การอินทิเกรตเป็นวิธีที่ได้ผลวิธีหนึ่งในการหาพื้นที่ใต้กราฟ และพื้นที่ผิว และปริมาตรของแข็งเช่นทรงกลมและทรงกระบอก
== พื้นฐานของแคลคูลัส ==
พื้นฐานที่เคร่งครัดของแคลคูลัส มีฐานมาจาก แนวคิดของฟังก์ชัน จำนวน สมการเชิงอนุพันธ์ สมการและอสมการ ลำดับและอนุกรม ทฤษฎีบททวินาม เวกเตอร์ พิกัดเชิงขั้ว เมทริกซ์ อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์(mathematical induction) และ ลิมิต การศึกษาพื้นฐานของแคลคูลัสสมัยใหม่ รู้จักกันในชื่อ การวิเคราะห์เชิงจริง
ซึ่งประกอบด้วย นิยามที่เคร่งครัด และบทพิสูจน์ของทฤษฎีของแคลคูลัส
แคลคูลัส คือพื้นฐานพีชคณิต เรขาคณิต ตรีโกณมิติ
== ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส เบื้องต้น ==
ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัสกล่าวว่า การหาอนุพันธ์และการหาปริพันธ์เป็นวิธีการที่ตรงกันข้ามกัน กล่าวคือ ถ้าเราสร้างฟังก์ชันที่เป็นปริพันธ์ของฟังก์ชันหนึ่งขี้นมา อนุพันธ์ของฟังก์ชันที่เราสร้าง ก็จะเท่ากับฟังก์ชันนั้น นอกจากนี้ เรายังหาปริพันธ์จำกัดเขตได้ด้วยการกำหนดค่าให้กับปฏิยานุพันธ์
ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัสเขียนในรูปสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ได้ดังนี้: ถ้า f เป็นฟังก์ชันที่มีความต่อเนื่องบนช่วง [a, b] และ F เป็นปฏิยานุพันธ์ของ f บนช่วง [a, b] แล้ว
\int_{a}^{b} f (x) \,dx = F (b) - F (a)
และสำหรับทุก x ในช่วง [a, b] จะได้ว่า
\frac{d}{dx}\int_a^x f (t) \, dt = f (x)
ความจริงข้อนี้ปรากฏแก่ทั้งนิวตัน และไลบ์นิซ ซึ่งเป็นกุญแจนำไปสู่ การขยายผลลัพธ์เชิงวิเคราะห์อย่างมากมายหลังจากงานของทั้งสองเป็นที่รู้จัก.
ความเชื่อมโยงนี้ ทำให้เราสามารถย้อนความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในฟังก์ชันในช่วงหนึ่ง จากอัตราการเปลี่ยนแปลงในขณะใดขณะหนึ่ง โดยการหาปริพันธ์ของส่วนหลัง.
ทฤษฎีบทมูลฐานนี้ยังให้วิธีในการคำนวณหา ปริพันธ์จำกัดเขต ด้วยวิธีทางพีชคณิตเป็นจำนวนมาก โดยไม่ต้องใช้วิธีการหาลิมิต ด้วยการหาปฏิยานุพันธ์.
ทฤษฎีบทนี้ยังอนุญาตให้เราแก้สมการเชิงอนุพันธ์ ซึ่งคือสมการที่เกี่ยวข้องกันระหว่าง ฟังก์ชันที่ไม่ทราบค่า และอนุพันธ์ของมัน.
สมการเชิงอนุพันธ์นั้นมีอยู่ทั่วไปในวิทยาศาสตร์
== การประยุกต์นำมาใช้ ==
การพัฒนาและการใช้แคลคูลัสได้ขยายผลไปแทบทุกส่วนของการใช้ชีวิตในยุคใหม่
มันเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เกือบทุกสาขาโดยเฉพาะ ฟิสิกส์และเศรษฐศาสตร์
การพัฒนาสมัยใหม่เกือบทั้งหมด เช่น เทคนิคการก่อสร้าง การบิน และเทคโนโลยีอื่น ๆ เกือบทั้งหมด มีพื้นฐานมาจากแคลคูลัส
แคลคูลัสได้ขยายไปสู่ สมการเชิงอนุพันธ์ แคลคูลัสเวกเตอร์ แคลคูลัสของการเปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์เชิงซ้อน แคลคูลัสเชิงเวลา แคลคูลัสกณิกนันต์ และ ทอพอโลยีเชิงอนุพันธ์
== ดูเพิ่ม ==
หลักเกณฑ์โลปีตาล | thaiwikipedia | 650 |
ดาวเสาร์ | ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจาก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า
== ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ ==
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
== วงแหวน ==
วงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Saturn profile at NASA's Solar System Exploration site
Saturn Fact Sheet, by NASA
Gazeteer of Planetary Nomenclature - Saturn (USGS)
Cassini-Huygens mission to Saturn, by NASA
Research News about Saturn
General information about Saturn
Studies on the Rings of Saturn
Astronomy Cast: Saturn
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ | thaiwikipedia | 651 |
กลุ่มดาว | กลุ่มดาว คือ กลุ่มของดาวฤกษ์ ที่สามารถเชื่อมต่อกันเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการในอวกาศสามมิติ. ส่วนใหญ่แล้ว ดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวเดียวกันที่เราเห็นอยู่ใกล้กันบนทรงกลมท้องฟ้า ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน และห่างไกลกันมากในอวกาศ. กลุ่มดาวอย่าง "ไม่เป็นทางการ" ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง แต่ไม่ได้รับการรับรองโดยนักดาราศาสตร์ หรือสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล เรียกว่า ดาวเรียงเด่น (asterism) ตัวอย่างเช่น กระบวยใหญ่
คนไทยรู้จักและตั้งชื่อกลุ่มดาวอยู่บ้าง แต่ไม่ทั่วทั้งทรงกลมท้องฟ้า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่มีดาวฤกษ์สว่างเป็นสมาชิก และมักใช้คำว่า "ดาว" นำหน้า เช่น ดาวจระเข้ ดาวเต่า ดาวไถ ดาวโลง เป็นต้น
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) แบ่งพื้นที่ในท้องฟ้าออกเป็นกลุ่มดาว 88 กลุ่ม โดยกำหนดเขตแดนที่แน่นอนและแม่นยำ กลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือส่วนใหญ่มาจากกรีกโบราณจนถึงสมัยกลาง
== ประวัติกลุ่มดาว ==
ในยุคกรีกโบราณ, นอกจากกลุ่มดาวจักรราศี 12 กลุ่ม, ทอเลมีได้แสดงรายการกลุ่มดาวอีก 36 กลุ่ม. รายชื่อกลุ่มดาวในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งตกทอดมาจากกรีกโบราณ ที่เพิ่มเข้ามาใหม่เป็นกลุ่มดาวที่เติมลงในช่องว่างระหว่างกลุ่มดาวของทอเลมี. กลุ่มดาว 12 กลุ่ม ในซีกฟ้าใต้ ไม่สามารถมองเห็นได้จากกรีซ จึงตั้งชื่อโดยนักเดินเรือชาวดัตช์ ปีเตอร์ ดีร์กโซน ไกเซอร์ (Pieter Dirkzoon Keyser) และ เฟรดริก ดี เฮาต์มัน (Fredrick de Houtman) ในปลายศตวรรษที่ 16
กลุ่มดาวโบราณบางกลุ่มถูกยกเลิกไป เช่น กลุ่มดาว Quadrans Muralis ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ แต่ยังหลงเหลือร่องรอยในชื่อของ ฝนดาวตกควอดแดรนต์, กลุ่มดาวเรืออาร์โก (Argo Navis) มีขนาดใหญ่มาก ภายหลังจึงถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มดาวใหม่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ กลุ่มดาวท้ายเรือ และกลุ่มดาวใบเรือ
== ชื่อดาวฤกษ์ ==
นอกเหนือจากชื่อสามัญ เช่น ดาวซีริอัส ดาวบีเทลจุส ดาวรวงข้าว ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในท้องฟ้ามีชื่อเรียกตามระบบการเรียกชื่อดาวที่พบบ่อยอยู่ 2 ระบบ คือ ของโยฮันน์ บาเยอร์ (เบเยอร์) ใช้อักษรกรีกตามด้วยชื่อกลุ่มดาว เช่น ดาวแอลฟาคนครึ่งม้า และระบบการเรียกของ จอห์น แฟลมสตีด ที่ขึ้นต้นด้วยตัวเลขแล้วตามด้วยกลุ่มดาว เช่น ดาว 61 หงส์. ส่วนดาวแปรแสงมีระบบการเรียกต่างออกไป คือ ขึ้นต้นด้วยอักษรโรมันตัวนำ เช่น ดาวอาร์อาร์พิณ (RR Lyrae)
== ดูเพิ่ม ==
รายชื่อกลุ่มดาวเรียงตามอักษรละติน
รายชื่อกลุ่มดาวเรียงตามเนื้อที่
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
IAU: The Constellations, including high quality maps.
Star Tales origins and mythology of the constellations (Ian Ridpath)
Photographic Atlas of the Constellations
Celestia free 3D realtime space-simulation (OpenGL)
Stellarium realtime sky rendering program (OpenGL)
Strasbourg Astronomical Data Center Files on official IAU constellation boundaries (the older NASA ADC service does not function anymore)
Interactive Sky Charts (Allows navigation through the entire sky with variable star detail, optional constellation lines)
Table of Constellations
Online Text: Hyginus, Astronomica translated by Mary Grant Greco-Roman constellation myths
Neave Planetarium An interactive planetarium and stardome with realistic movement of stars and the planets.
Audio - Cain/Gay (2009) Astronomy Cast Constellations
For a reconstructed map of the Babylonian constellations visit: 'Babylonian Star-map' by Gavin White
แผนที่ดาว
แผนที่ดาวพิกัดศูนย์สูตร (Equatorial Sky Chart)
กลุ่มดาว | thaiwikipedia | 652 |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Prince of Songkla University; อักษรย่อ: ม.อ. – PSU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 13 และมหาวิทยาลัยแห่งที่ 8 ของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 โดยใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยภาคใต้ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานนาม "สงขลานครินทร์" เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510 จึงถือว่าวันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสงขลานครินทร์ ต่อมา วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511 จึงถือว่า วันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย ปัจจุบันได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2561
ในระยะแรกของการก่อตั้ง ได้รับนักศึกษาเข้าศึกษาครั้งแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นสถานที่ศึกษา และปีต่อมา พ.ศ. 2511 ก็เริ่มย้ายนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มาเรียนที่จังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ. 2514 ย้ายนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์มาเรียนที่ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเป็นวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุด พ.ศ. 2520 เปิดวิทยาเขตภูเก็ต พ.ศ. 2533 เปิดวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ พ.ศ. 2534 เปิดวิทยาเขตตรัง
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ใน 31 คณะ 7 วิทยาลัยใน 5 วิทยาเขต ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มีบัณฑิตวิทยาลัยดูแลการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและเอก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีนักศึกษาอยู่ในคณะและวิทยาลัยต่างๆ รวมแล้วประมาณ 200 คน ทำการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ภาคปกติและภาคพิเศษ
== ประวัติ ==
เมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่ภาคใต้ โดยเริ่มต้นจากการจัดตั้ง "วิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์" เพื่อรอการพัฒนาขึ้นเป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติหลักการในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภาคใต้ขึ้นที่ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยจะใช้เป็นที่ตั้งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "มหาวิทยาลัยภาคใต้" ซึ่งมีสำนักงานชั่วคราวของมหาวิทยาลัยอยู่ที่อาคารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (อาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)
หลังจากนั้น คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ โดย พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอพระราชทานชื่อให้แก่มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510 ตามพระนามทรงกรมของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก คือ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงถือว่าวันที่ 22 กันยายน ของทุกปีเป็น "วันสงขลานครินทร์"
ในปี พ.ศ. 2510 มหาวิทยาลัยที่จังหวัดปัตตานีก่อสร้างเสร็จในบางส่วนแล้วนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข และคณะ ได้เดินทางไปตรวจการก่อสร้าง พบว่า บริเวณดังกล่าวไม่เหมาะสมสำหรับเป็นที่ตั้งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้น จึงมีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยที่จังหวัดปัตตานีนั้นควรใช้เป็นอาคารของคณะศึกษาศาสตร์ และคณะทางศิลปศาสตร์ และได้ย้ายคณะวิศวกรรมศาสตร์ไปตั้งที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ต่อมา วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขึ้น มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น "วันสถาปนามหาวิทยาลัย"
ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 ซึ่งมีสาระสำคัญคือได้ยกเลิก พ.ร.บ. ฉบับปี พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2541 และได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้เปิดคณะวิชาต่าง ๆ 38 คณะและเทียบเท่า โดยเปิดสอนสาขาวิชาการต่าง ๆ จำนวน 321 สาขาวิชา
== สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ==
ไฟล์:Prince of Songkla University Emblem.svg|พระมหาพิชัยมงกุฏ ม.อ.สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ไฟล์:Jacaranda-mimosifolia-Mascarin.jpg|ศรีตรังต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย สงขลานครินทร์ คือ พระนามฐานันดรศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ดำรงพระนามอิสริยยศฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้ากรม โดยพระราชทานชื่อ เมืองสงขลา เป็นพระนามทรงกรม เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองสงขลา เมื่อ พ.ศ. 2446 เสมือนเป็นเจ้าแห่งนครสงขลา
ตราประจำสถาบัน ได้แก่ อักษร ม.อ. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฏ และ จักรกับตรีศูล
* พระมหาพิชัยมงกุฏ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญแสดงว่าเป็นพระมหากษัตริย์
* จักรกับตรีศูล คือ ตราเครื่องหมายประจำราชวงศ์จักรี
* ม.อ. คือ อักษรย่อมาจากพระนาม "มหิดลอดุลเดช" อันเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกศรีตรัง
สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงิน
== อธิการบดี ==
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีอธิการบดีมาแล้ว 12 คน ดังรายนามต่อไปนี้
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เป็นคำนำหน้านามในขณะดำรงตำแหน่ง
== การศึกษา ==
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ การบริหารการศึกษาดำเนินการโดย 31 คณะ 7 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆ สามารถอำนวยการสอนหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 321 สาขาวิชา ใน 5 วิทยาเขต ประกอบไปด้วย
=== กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ===
คณะการแพทย์แผนไทย
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะแพทยศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ หาดใหญ่
คณะพยาบาลศาสตร์ ปัตตานี
คณะเภสัชศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
=== กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ===
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
คณะทรัพยากรธรรมชาติ
คณะเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
คณะวิทยาการสื่อสาร
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะอุตสาหกรรมเกษตร
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
=== กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ===
คณะการบริการและการท่องเที่ยว
คณะนิติศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์
คณะวิเทศศึกษา
คณะวิทยาการจัดการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
คณะศึกษาศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
คณะวิทยาการอิสลาม
วิทยาลัยนานาชาติ หาดใหญ่
วิทยาลัยนานาชาติ สุราษฎร์ธานี
วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน
=== หน่วยงานระดับบัณฑิตศึกษา ===
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต
วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี
สถาบันสันติศึกษา
สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
=== โครงการจัดตั้ง ===
โครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง
โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมการแสดงและการจัดการ
== วิทยาเขต ==
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้ ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยจึงมีเจตนาที่จะเป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตปัตตานี, วิทยาเขตหาดใหญ่, วิทยาเขตภูเก็ต, วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี, และวิทยาเขตตรัง
=== วิทยาเขตหาดใหญ่ ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 15 ถนนกาญจนวิณิชย์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 เป็นวิทยาเขตแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัย เริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี 2514 ปัจจุบันเป็นวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วย 16 คณะและหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ
คณะทรัพยากรธรรมชาติ
คณะเภสัชศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
คณะอุตสาหกรรมเกษตร
คณะศิลปศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
คณะการแพทย์แผนไทย
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันสันติศึกษา
สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตหาดใหญ่
วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน
ศูนย์คอมพิวเตอร์
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
สำนักวิจัยและพัฒนา
สำนักงานอธิการบดี
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
อุทยานวิทยาศาสตร์
สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม
=== วิทยาเขตปัตตานี ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งอยู่เลขที่ 181 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 เป็นวิทยาเขตแห่งแรกและที่ตั้งสำนักงานอธิการบดีของมหาวิทยาลัยก่อนที่จะทำการย้ายมาวิทยาเขตหาดใหญ่ เริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี 2510 ประกอบด้วย 8 คณะและหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่
คณะศึกษาศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาการอิสลาม
คณะวิทยาการสื่อสาร
คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์
พยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
สำนักส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่อง
สำนักวิทยบริการ
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี
=== วิทยาเขตภูเก็ต ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 80 หมู่ 1 ถนนวิชิตสงคราม ตำบลกระทู้ อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต 83120 เป็นวิทยาเขตแห่งที่ 3 ของมหาวิทยาลัย เริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี 2520 ประกอบด้วย 3 คณะ 2 วิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่
คณะการบริการและการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
คณะวิเทศศึกษา
วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตภูเก็ต
=== วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่ 31 หมู่ 6 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100 เป็นวิทยาเขตแห่งที่ 4 ของมหาวิทยาลัย เริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี 2533 ประกอบด้วย 4 คณะและหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
โครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง
สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
=== วิทยาเขตตรัง ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ตั้งอยู่เลขที่ 102 หมู่ 6 ตำบลควนปริง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000 เป็นวิทยาเขตแห่งที่ 5 ของมหาวิทยาลัย เริ่มทำการสอนมาตั้งแต่ปี 2534 ประกอบด้วย 2 คณะและหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตตรัง
=== สถาบันสมทบ ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เข้าสมทบในมหาวิทยาลัย ดังนี้
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
=== สถาบันเรียนร่วม ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับนักศึกษาแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) ชั้นปีที่ 2-3 มาเรียนในรายวิชาปรีคลินิก เช่น ชีวเคมีการแพทย์พื้นฐาน มหกายวิภาคศาสตร์ จุลกายวิภาคศาสตร์ คัพภวิทยา ประสาทกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาทางการแพทย์ จุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาอิมมูน ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ เภสัชวิทยาการแพทย์ พยาธิวิทยากายวิภาค พยาธิวิทยาคลินิก และเวชพันธุศาสตร์ โดยมีคณาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาจารย์รับเชิญพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนการสอน
== เครือข่ายวิจัย ==
สาขาความเป็นเลิศ/สถานวิจัยความเป็นเลิศ/สถานวิจัย/หน่วยวิจัยที่ได้รับ
สาขาความเป็นเลิศ (Discipline of Excellence ; DoE)
* ชีวเคมี (ปี 44-53)
* อุตสาหกรรมเกษตร (สิ้นสุดโครงการปี 49)
* อิสลามศึกษา (สิ้นสุดโครงการปี 49)
* ระบาดวิทยา (ปี 47-56)
* วิศวกรรมเคมี (ก.ค.52-ก.ค.57)
* โครงการสู่ความเป็นเลิศสาขาเภสัชศาสตร์ ระยะ 2
สถานวิจัยความเป็นเลิศ (Center of Excellence;CoE)
* สถานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย (ปี49- 53) Centre for Biopersity of Peninsular Thailand
* ศูนย์เครือข่ายความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีภาคใต้ (สิ้นสุดโครงการปี 54) NANOTEC Center of Excellence at PSU
* สถานวิจัยความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยียางพารา (พ.ย.50-พ.ย.55) Center of Excellence in Natural Rubber Technology
* สถานวิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ ระยะที่2 (ส.ค.57-.ส.ค.62) Center of Excellence in Agricultural and Natural Resources Biotechnology please II
* สถานวิจัยความเป็นเลิศระบบนำส่งยา (ก.พ.52-ก.พ.57) Drug Delivery System Excellence Center
* สถานวิจัยความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อการพลังงาน Center of Excellence in Nanotechnology for Energy (CENE)
สถานวิจัย (Research Center ; RC)
หน่วยวิจัย (Research Unit; RU)
== การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ ==
โดยวิธีรับตรงจากนักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียน 14 จังหวัดภาคใต้ โครงการรับตรงต่าง ๆ ที่เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย และร่วมสอบคัดเลือกกับสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ งานรับนักศึกษา สังกัดกองทะเบียนและประมวลผล ที่เว็บไซต์ http://www.entrance.psu.ac.th/
== อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ==
=== การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย ===
ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มที่ 3 ในด้านการเรียนการและด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนนร้อยละ 65-69 จากคะแนนเต็ม 100%
ส่วนการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยครั้งที่ 3 ในปีพ.ศ. 2554 พบว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการประเมินในระดับ 5 หรือในระดับดีเยี่ยมในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร และสัตวแพทยศาสตร์ (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และระดับ 4 หรือในระดับดีในกลุ่มสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร และสัตวแพทยศาสตร์ (Plant and Soil Science) ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ (อายุรศาสตร์) ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ชีวเวชศาสตร์ พยาธิวิทยา หน่วยระบาดวิทยา รังสีวิทยา เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และสถาบันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (เภสัชศาสตร์) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
=== อันดับมหาวิทยาลัย ===
นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่
==== การจัดอันดับโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies ====
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2016 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 5 ของประเทศไทย และอันดับที่ 822 ของโลก
==== การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings ====
การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย ศิษย์เก่าที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ติดอันดับ
==== การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds ====
แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้
QS World
ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา
การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ
งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี
H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ
โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 5 ของประเทศไทย และอยู่ช่วงอันดับที่ 701+ ของโลก
น้ำหนักการชี้วัด
การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ
QS Asia
ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง
บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)
โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 8 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 185 ของเอเชีย
==== การจัดอันดับโดย Round University Rankings ====
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 618 ของโลก
==== การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking ====
อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 552 ของโลก และเป็นอันดับ 7 ของประเทศไทย
==== การจัดอันดับโดย The Times Higher Education ====
The Times Higher Education หรือ THE มีระเบียบวิธีการจัดอันดับโดยแบ่งตัวชี้วัดเป็น 5 ประการ วัดคะแนนเป็นเปอร์เซนต์
การสอน (บรรยากาศการเรียน) คิดเป็น 30 เปอร์เซนต์ ประกอบไปด้วย การสำรวจชื่อเสียงทางวิชาการ 15 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนของจำนวนบุคลากรต่อนักศึกษา 4.5 เปอร์เซนต์
อัตราส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตต่อบัณฑิต 2.25 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนบุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต 6 เปอร์เซนต์ รายรับของมหาวิทยาลัย 2.25 เปอร์เซนต์
การวิจัย (ปริมาณ รายรับ และชื่อเสียง) 30 เปอร์เซนต์ ประกอบไปด้วย สำรวจความมีชื่อเสียงทุกปี โดย Academic Reputation Survey 18 เปอร์เซนต์
รายรับจากงานวิจัย 6 เปอร์เซนต์ ปริมาณงานวิจัย 6 เปอร์เซนต์
การอ้างอิง อิทธิพลของงานวิจัย 30 เปอร์เซนต์
ทัศนะจากนานาชาติ (บุคลากร นักศึกษาและงานวิจัย) 7.5 เปอร์เซนต์
อัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติต่อนักศึกษาในประเทศ 2.5 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนบุคลากรต่างชาติต่อในประเทศ 2.5 เปอร์เซนต์ ความร่วมมือระดับนานาชาติ 2.5 เปอร์เซนต์
การส่งต่อความรู้ 2.5เปอร์เซนต์ การที่มหาวิทยาลัยมีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่นำไปใช้ต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม
โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และอันดับที่ 801+ ของโลก
==== การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance ====
อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และอันดับ 904 ของโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง
==== การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report ====
U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2017” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศไทย และอันดับที่ 933 ของโลก
=== อันดับมหาวิทยาลัยด้านอื่นๆ ===
==== การจัดอันดับโดย Webometrics ====
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2559 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 7 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 834 ของโลก
==== การจัดอันดับสอบแข่งขันตำแหน่งครูผู้ช่วย ====
ข้อมูลจากการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย พ.ศ. 2560 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า 10 อันดับสูงสุดของสถาบันการศึกษาที่ผลิตครู ที่มีนักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์และขึ้นบัญชีในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู อันดับ 1 ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มากที่สุด จำนวน 1,320 คน รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 1,247 คน และมหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 1,189 คน ตามลำดับ
==== การจัดอันดับจำนวนศาสตราจารย์ ====
ปัจจุบัน พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยมีผู้ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวนทั้งสิ้น 34 คน ซึ่งเป็นอันดับ 7 ของประเทศ
== วันสำคัญ ==
=== วันสถาปนามหาวิทยาลัย ===
วันที่ 12 มีนาคม 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอน 24 โดยเรียกว่า “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511” และวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันที่พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีผลบังคับใช้ ดังนั้น มหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัย โดยถือว่าวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้าย “วันสถาปนามหาวิทยาลัย”
=== วันสงขลานครินทร์ ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กำหนดให้วันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยคือวัน “สงขลานครินทร์” เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพระราชทานชื่อแก่มหาวิทยาลัยภาคใต้ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2510 ว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก คือ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเทอดทูนเกียรติของสมเด็จพระบรมราชชนก ผู้ทรงมีมหากรุณาธิคุณแด่การศึกษาแพทย์และการพยาบาลของไทย
=== วันมหิดล ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กำหนดให้วันที่ 24 กันยายนของทุกปีเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยเรียกว่า “วันมหิดล” เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ โดยมหาวิทยาลัยร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชนจะจัดให้มีกิจกรรมวางพวงมาลา หน้าพระบรมรูป ฯ ในทุกวิทยาเขต เพื่อเฉลิมพระเกียรติและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ นอกจากนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรม "วันถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง" เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก ในการสร้างความเจริญแก่ประเทศชาติโดยไม่หวังผลตอบแทน เพิ่มอีกหนึ่งกิจกรรมด้วย
=== วันรูสะมิแล ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งที่ตำบลรูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2509 โดยในเวลาดังกล่าวมหาวิทยาลัยมีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาในปี 2510 มหาวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะแรก และในปี 2511 ก็เปิดรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ โดยอาศัยพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ทำการเช่นเดียวกัน เมื่อการก่อสร้างอาคารที่ปัตตานีแล้วเสร็จเป็นบางส่วนในภาคการศึกษาที่ 2 นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยก็ได้ย้ายมาอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี พร้อมกันเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 ดังนั้นในวันที่ 9 พฤศจิกายนของทุกปีจึงเรียกว่าวัน “รูสะมิแล” ซึ่งมีความหมายว่า “สนเก้าต้น” ตามชื่อตำบลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเพื่อระลึกถึงการมาอยู่ที่ตำบลรูสะมิแลวันแรก
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ==
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดให้มีขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปี โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร ณ วิทยาเขตปัตตานี และวิทยาเขตหาดใหญ่ จนถึงปีพุทธศักราช 2530 หลังจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร และในปีพุทธศักราช 2541 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แต่หลังจากปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมาได้จัดขึ้นที่วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญาบัตรแต่บัณฑิตกิตติมศักดิ์ และบัณฑิตจากทุกวิทยาเขต โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมาสถานที่จัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร คือ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
== บุคคลสำคัญ ==
ดูเพิ่ม รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี* มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
รัก ม.อ. ดอตคอม - ชุมชนออนไลน์สำหรับคนรัก ม.อ.
โฟโต้เอกซ์ไซด์ดอตคอม - Galleryคนรัก ม.อ.
ข่าวการรับเข้าศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สงขลานครินทร์
สงขลานครินทร์
สงขลานครินทร์
สงขลานครินทร์
สงขลานครินทร์
เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน | thaiwikipedia | 653 |
นกกระดาษ | นกกระดาษ เป็นการพับกระดาษแบบหนึ่งให้เป็นรูปร่างของนกกระเรียน ดั้งเดิมมีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเรียกศิลปะการพับกระดาษว่า โอะริงะมิ
นกกระดาษถูกใช้เพื่อเป็นการให้กำลังใจแก่ซาซากิ ซาดาโกะ เด็กหญิงชาวเมืองฮิโรชิมาคนหนึ่ง ที่ป่วยเนื่องจากได้รับผลกระทบจากระเบิดนิวเคลียร์
ปลายปีพ.ศ. 2547 ได้นำมาใช้ในประเทศไทย เพื่อแสดงถึงความห่วงใยของประชาชนชาวไทยที่มีต่อชาวใต้ โดยทางหน่วยงานราชการได้รับนกกระดาษนั้นจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นำไปโปรยบนท้องฟ้าเหนือสามจังหวัดภาคใต้ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี
การพับกระดาษ
วัฒนธรรมญี่ปุ่น | thaiwikipedia | 654 |
ดาวฤกษ์ | ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำสารบัญแฟ้มดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการตั้งชื่อดาวฤกษ์
ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชันที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของมหานวดาราหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม กำลังส่องสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับโชติมาตรของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ แผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล (แผนภาพ H-R) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้
ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชันอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า
ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกเราให้เกิดประโยชน์นำมาซึ่งการปฏิสัมพันธ์ในเซลล์ร่างกายในภาชนะแห่งนี้ให้เกิดออร่าแผ่อณูแห่งแสงวงจรกระทบ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง (เช่นกระจุกดาวหรือดาราจักร) ได้
== ประวัติการสังเกต ==
ดาวฤกษ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออารยธรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมานับแต่อดีตกาล โดยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา เป็นองค์ประกอบสำคัญในศาสตร์ของการเดินเรือ รวมไปถึงการกำหนดทิศทาง นักดาราศาสตร์ยุคโบราณส่วนใหญ่เชื่อว่าดาวฤกษ์อยู่นิ่งกับที่บนทรงกลมสวรรค์ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จากความเชื่อนี้ทำให้นักดาราศาสตร์จัดกลุ่มดาวฤกษ์เข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาวต่าง ๆ และใช้กลุ่มดาวเหล่านี้ในการตรวจติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ รวมถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ตำแหน่งการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลัง (และเส้นขอบฟ้า) นำมาใช้ในการกำหนดปฏิทินสุริยคติ ซึ่งสามารถใช้เพื่อกำหนดกิจวัตรในทางการเกษตรได้ ปฏิทินกริกอเรียน ซึ่งใช้กันอยู่แพร่หลายในโลกปัจจุบัน จัดเป็นปฏิทินสุริยคติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมุมของแกนหมุนของโลก โดยเทียบกับดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ ดวงอาทิตย์
แผนที่ดาวอันแม่นยำที่เก่าแก่ที่สุด ปรากฏขึ้นในสมัยอียิปต์โบราณ เมื่อราว 1,534 ปีก่อนคริสตกาล นักดาราศาสตร์บาบิโลน แห่งเมโสโปเตเมียได้รวบรวมสารบัญแฟ้มดาวฤกษ์บาบิโลน ซึ่งเป็นสารบัญแฟ้มดาวฤกษ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยรู้จักขึ้นในช่วงปลายคริสต์สหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ระหว่างสมัยคัสไซท์ (ประมาณ 1531-1155 ปีก่อนคริสตกาล) แผนที่ดาวฉบับแรกในดาราศาสตร์กรีกสร้างขึ้นโดยอริสติลลอส เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ด้วยความช่วยเหลือของทิโมคาริส แผนที่ดาวของฮิปปาร์คอส (2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล) ปรากฏดาวฤกษ์ 1,020 ดวง และใช้เพื่อรวบรวมแผนที่ดาวของปโตเลมี ฮิปปาร์คอสเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ค้นพบโนวา (ดาวใหม่) คนแรกเท่าที่เคยมีการบันทึก ชื่อของกลุ่มดาวและดาวฤกษ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมากแล้วสืบมาจากดาราศาสตร์กรีก
ถึงแม้จะมีความเชื่อเก่าแก่อยู่ว่าสรวงสวรรค์นั้นไม่เปลี่ยนแปลง ทว่านักดาราศาสตร์ชาวจีนกลับพบว่ามีดวงดาวใหม่ปรากฏขึ้นได้ ในปี ค.ศ. 185 ชาวจีนเป็นพวกแรกที่สังเกตการณ์และบันทึกเกี่ยวกับมหานวดารา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า SN 185 เหตุการณ์ของดวงดาวที่สว่างที่สุดเท่าที่เคยบันทึกในประวัติศาสตร์ คือ มหานวดารา SN 1006 ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1006 สังเกตพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ อาลี อิบนุ ริดวาน และนักดาราศาสตร์ชาวจีนอีกหลายคน มหานวดารา SN 1054 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเนบิวลาปู ถูกสังเกตพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนและชาวอิสลาม
นักดาราศาสตร์ชาวอิสลามในยุคกลางได้ตั้งชื่อภาษาอารบิกให้แก่ดาวฤกษ์หลายดวง และยังคงมีการใช้ชื่อเหล่านั้นอยู่จนถึงปัจจุบัน พวกเขายังคิดค้นเครื่องมือวัดทางดาราศาสตร์มากมายซึ่งสามารถคำนวณตำแหน่งของดวงดาวได้ พวกเขายังได้ก่อตั้งสถาบันวิจัยหอดูดาวขนาดใหญ่แห่งแรก โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำแผนที่ดาว ซิจ ในหมู่นักดาราศาสตร์เหล่านี้ ตำราดาวฤกษ์ (Book of Fixed Stars; ค.ศ. 964) ถูกเขียนขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเปอร์เซีย อับดุลราฮ์มาน อัล-ซูฟี ผู้ซึ่งสามารถค้นพบดาวฤกษ์ รวมทั้งกระจุกดาว (รวมทั้ง กระจุกดาวโอมิครอน เวโลรัม และกระจุกดาวบรอกคี) และดาราจักร (รวมทั้ง ดาราจักรแอนโดรเมดา) เป็นจำนวนมาก ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักวิชาการผู้รู้รอบด้านชาวเปอร์เซีย อาบู รายัน อัล-บิรูนิ (Abū Rayhān al-Bīrūnī) ได้พรรณนาลักษณะของดาราจักรทางช้างเผือกว่าประกอบด้วยชิ้นส่วนดาวฤกษ์ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนเมฆจำนวนมาก และยังระบุละติจูดของดาวฤกษ์หลายดวงได้ในระหว่างปรากฏการณ์จันทรุปราคาในปี ค.ศ. 1019 นักดาราศาสตร์ชาวอันดะลุส อิบันบาจจาห์ เสนอว่าทางช้างเผือกประกอบขึ้นจากดาวฤกษ์จำนวนมากจนดาวดวงหนึ่งเกือบจะสัมผัสกับดาวอีกดวงหนึ่ง และปรากฏให้เห็นเป็นภาพต่อเนื่องกันด้วยผลของการหักเหจากสารที่อยู่เหนือโลก เขาอ้างอิงจากหลักฐานการสังเกตจากปรากฏการณ์ดาวล้อมเดือนของดาวพฤหัสบดีและดาวอังคาร เมื่อราวฮ.ศ. 500 (ค.ศ. 1106/1107)
นักดาราศาสตร์ยุโรปในยุคต้น ๆ เช่น ทือโก ปราเออ ได้ค้นพบดาวฤกษ์ใหม่ปรากฏบนท้องฟ้ากลางคืน (ต่อมาเรียกชื่อว่า โนวา) และเสนอว่า แท้จริงแล้วสรวงสวรรค์ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงมิได้ ปี ค.ศ. 1584 จิออร์ดาโน บรูโน เสนอแนวคิดว่าดาวฤกษ์ต่าง ๆ ก็เป็นเหมือนดวงอาทิตย์ดวงอื่น ๆ และอาจมีดาวเคราะห์ของมันเองโคจรอยู่รอบ ๆ ซึ่งดาวเคราะห์บางดวงอาจมีลักษณะเหมือนโลกก็เป็นได้ แนวคิดทำนองนี้เคยมีการนำเสนอมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยกรีกโบราณโดยนักปรัชญาบางคนเช่น ดีโมครีตุสและเอพิคุรุส เช่นเดียวกับนักจักรวาลวิทยาชาวอิสลามในยุคกลาง อย่างเช่น ฟาคีร์ อัลดิน อัลราซี เมื่อล่วงมาถึงศตวรรษต่อมา แนวคิดที่ว่าดาวฤกษ์เป็นเหมือนกับดวงอาทิตย์ที่อยู่ห่างไกลออกไป ได้เป็นที่ยอมรับในหมู่นักดาราศาสตร์ ไอแซก นิวตัน เสนอแนวคิดเพื่ออธิบายว่าเหตุใดดาวฤกษ์จึงไม่มีแรงดึงดูดผูกพันกับระบบสุริยะ เขาคิดว่าดาวฤกษ์แต่ละดวงกระจัดกระจายกันอยู่ในระยะห่างเท่า ๆ กัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักเทววิทยา ริชาร์ด เบนท์ลีย์
นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เจมิเนียโน มอนทานารี ได้บันทึกผลสังเกตการเปลี่ยนแปลงความส่องสว่างปรากฏของดาวอัลกอลในปี ค.ศ. 1667 เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ตีพิมพ์ผลการวัดความเร็วแนวเล็งของดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียงกันคู่หนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของดาวนับจากช่วงเวลาที่ปโตเลมีกับฮิปปาร์คอส นักดาราศาสตร์กรีกโบราณ เคยบันทึกเอาไว้ การวัดระยะทางระหว่างดาวโดยตรงครั้งแรกทำโดย ฟรีดริช เบ็สเซิล ในปี ค.ศ. 1838 โดยใช้วิธีพารัลแลกซ์กับดาว 61 Cygni ซึ่งอยู่ห่างไป 11.4 ปีแสง การตรวจวัดด้วยวิธีพารัลแลกซ์นี้ช่วยให้มนุษย์ทราบระยะทางอันกว้างใหญ่ระหว่างดวงดาวต่าง ๆ บนสรวงสวรรค์
วิลเลียม เฮอร์เชล เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่พยายามตรวจหาการกระจายตัวของดาวฤกษ์บนท้องฟ้า ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1780 เขาได้ทำการตรวจวัดดวงดาวในทิศทางต่าง ๆ มากกว่า 600 แบบ และนับจำนวนดาวฤกษ์ที่มองเห็นในแต่ละทิศทางนั้น ด้วยวิธีนี้เขาพบว่า จำนวนของดาวฤกษ์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอไปทางด้านหนึ่งของท้องฟ้า คือในทิศทางที่มุ่งเข้าสู่ใจกลางของทางช้างเผือก จอห์น เฮอร์เชล บุตรชายของเขาได้ทำการศึกษาซ้ำเช่นนี้อีกครั้งในเขตซีกโลกใต้ และพบผลลัพธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกเหนือจากผลสำเร็จด้านอื่น ๆ แล้ว วิลเลียม เฮอร์เชลได้รับยกย่องจากผลสังเกตของเขาครั้งนี้ว่า มีดาวฤกษ์บางดวงไม่ได้อยู่บนแนวเส้นสังเกตอันเดียวกัน แต่มีดาวอื่นใกล้เคียงซึ่งเป็นระบบดาวคู่
ศาสตร์การศึกษาสเปกโทรสโกปีของดาวฤกษ์เริ่มบุกเบิกโดย โยเซ็ฟ ฟ็อน เฟราน์โฮเฟอร์ และแองเจโล เซคคี โดยการเปรียบเทียบสเปกตรัมของดาวฤกษ์เช่น เปรียบดาวซิริอุสกับดวงอาทิตย์ พวกเขาพบว่ากำลังและจำนวนของเส้นดูดกลืนสเปกตรัมของดาวมีความแตกต่างกัน คือส่วนของแถบมืดในสเปกตรัมดาวฤกษ์ที่เกิดจากการดูดกลืนคลื่นความถี่เฉพาะอันเป็นผลจากบรรยากาศ ปี ค.ศ. 1865 เซคคีเริ่มต้นจัดประเภทของดาวฤกษ์ตามลักษณะสเปกตรัมของมัน อย่างไรก็ดี รูปแบบการจัดประเภทดาวฤกษ์ดังที่ใช้กันอยู่ในยุคปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นโดย แอนนี เจ. แคนนอน ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1900
การเฝ้าสังเกตดาวคู่เริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี ค.ศ. 1834 ฟรีดริช เบ็สเซิล ได้เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงความเร็วแนวเล็งของดาวซิริอุส และสรุปว่ามันมีดาวคู่ที่ซ่อนตัวอยู่ เอ็ดเวิร์ด พิกเคอริงค้นพบการแยกสีของดาวคู่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1899 ขณะที่กำลังสังเกตการกระจายแสงตามรอบเวลาของดาวมิซาร์ซึ่งมีช่วงเวลา 104 วัน รายละเอียดการเฝ้าสังเกตระบบดาวคู่อื่น ๆ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยนักดาราศาสตร์หลายคน เช่น วิลเลียม สตรูฟ และ เอส. ดับเบิลยู เบิร์นแฮม และทำให้สามารถคำนวณมวลของดาวฤกษ์ได้จากองค์ประกอบวงโคจรของมัน ความสำเร็จแรกในการคำนวณวงโคจรของระบบดาวคู่จากการสังเกตการณ์ทางกล้องโทรทรรศน์ทำได้โดย เฟลิกซ์ ซาวารี ในปี ค.ศ. 1827
การศึกษาดาวฤกษ์มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมากตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาพถ่ายกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีค่ายิ่งสำหรับการศึกษาทางดาราศาสตร์ คาร์ล สวาซชิลด์ค้นพบว่า สีของดาวฤกษ์ซึ่งหมายถึงอุณหภูมิของมันนั้น สามารถตรวจสอบได้โดยการเปรียบเทียบค่าโชติมาตรปรากฏกับความสว่างในภาพถ่าย มีการพัฒนาโฟโตมิเตอร์แบบโฟโตอิเล็กทริกซึ่งช่วยให้การตรวจวัดความสว่างที่ความยาวคลื่นหลาย ๆ ช่วงทำได้แม่นยำยิ่งขึ้น ปี ค.ศ. 1921 อัลเบิร์ต เอ. มิเชลสัน ได้ทำการตรวจวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวฤกษ์ได้เป็นครั้งแรกโดยใช้อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ของกล้องโทรทรรศน์ฮุกเกอร์
ผลงานที่สำคัญในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของดาวฤกษ์เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษแรก ๆ ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 1913 ได้มีการพัฒนาไดอะแกรมของเฮิร์ตสปรัง-รัสเซลล์ ซึ่งช่วยกระตุ้นการศึกษาด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของดาวฤกษ์มากยิ่งขึ้น แบบจำลองเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของดาวก็ได้รับการพัฒนาขึ้นจนสำเร็จ รวมไปถึงการพยายามอธิบายสเปกตรัมของดาวซึ่งสามารถทำได้โดยความก้าวหน้าอย่างยิ่งของควอนตัมฟิสิกส์ ทั้งหมดนี้นำไปสู่การอธิบายองค์ประกอบทางเคมีของชั้นบรรยากาศของดาวฤกษ์อีกด้วย
นอกเหนือจากมหานวดาราแล้ว ได้มีการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์เดี่ยวจำนวนมากในดาราจักรต่าง ๆ ที่อยู่ในกลุ่มท้องถิ่นของทางช้างเผือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเฝ้าสังเกตทางช้างเผือกในส่วนที่สามารถมองเห็นได้ (ดังที่ได้แสดงในสารบัญแฟ้มดาวฤกษ์เท่าที่พบในดาราจักรทางช้างเผือก) แต่ยังมีดาวฤกษ์ที่เฝ้าสังเกตบางดวงอยู่ในดาราจักร M100 ในกระจุกดาราจักรหญิงสาว ซึ่งอยู่ห่างจากโลกไปราว 100 ล้านปีแสง เราสามารถที่จะมองเห็นกระจุกดาวภายในกระจุกดาราจักรยวดยิ่งท้องถิ่น กล้องโทรทรรศน์ในยุคปัจจุบันโดยทั่วไปสามารถใช้สังเกตดาวฤกษ์เดี่ยวจาง ๆ ในกระจุกดาราจักรท้องถิ่นได้ ดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลที่สุดที่เคยเฝ้าสังเกตอยู่ไกลออกไปนับหลายร้อยล้านปีแสง (ดูเพิ่มเติมใน ดาวเซเฟอิด) อย่างไรก็ดี ยังไม่เคยมีการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์เดี่ยวหรือกระจุกดาวอื่นใดที่อยู่พ้นจากกระจุกดาราจักรยวดยิ่งของเราออกไปเลย นอกจากภาพถ่ายจาง ๆ ภาพเดียวที่แสดงถึงกระจุกดาวขนาดใหญ่อันประกอบด้วยดาวฤกษ์หลายแสนดวง อยู่ห่างออกไปมากกว่าหนึ่งพันล้านปีแสง ซึ่งไกลเป็นสิบเท่าของระยะห่างของกระจุกดาวไกลที่สุดที่เคยมีการสังเกตการณ์มา
== การตั้งชื่อ ==
หลักการเกี่ยวกับกลุ่มดาวเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่ยุคสมัยบาบิโลน ผู้ที่เฝ้าสังเกตท้องฟ้ายามราตรีในยุคโบราณจินตนาการรูปร่างการรวมตัวของดวงดาวออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ กัน และนำมาเกี่ยวโยงกับตำนานปรัมปราตามความเชื่อของตน มีกลุ่มดาว 12 รูปแบบเรียงตัวกันอยู่ตามแนวสุริยวิถี ในเวลาต่อมากลุ่มดาวทั้ง 12 กลุ่มนี้กลายเป็นพื้นฐานของวิชาโหราศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีดาวฤกษ์ที่แยกจากกลุ่มอีกจำนวนหนึ่งที่โดดเด่น ก็ได้รับการตั้งชื่อให้ด้วย โดยมากเป็นชื่อในภาษาอารบิกหรือภาษาละติน
นอกเหนือไปจากกลุ่มดาวและดวงอาทิตย์แล้ว บรรดาดวงดาวทั้งหมดก็มีตำนานเป็นของตัวเองด้วย ตามความเชื่อของชาวกรีกโบราณ ดวงดาวบางดวง หรือที่แท้คือ ดาวเคราะห์ (ภาษากรีกโบราณว่า πλανήτης (planētēs) หมายถึง "ผู้พเนจร") เป็นตัวแทนของเทพเจ้าองค์สำคัญหลายองค์ ซึ่งชื่อของเทพเจ้าเหล่านั้นก็เป็นที่มาของชื่อดาวด้วย เช่น ดาวพุธ (เมอร์คิวรี) ดาวศุกร์ (วีนัส) ดาวอังคาร (มาร์ส) ดาวพฤหัสบดี (จูปิเตอร์) และดาวเสาร์ (แซตเทิร์น) สำหรับดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนก็เป็นชื่อของตำนานเทพเจ้ากรีกและตำนานเทพเจ้าโรมันเช่นเดียวกัน แม้ในอดีตดาวทั้งสองนี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะมันมีความสว่างต่ำมาก แต่นักดาราศาสตร์ในยุคหลังก็ตั้งชื่อดาวทั้งสองตามชื่อของเทพเจ้าด้วยเช่นกัน
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1600 มีการใช้ชื่อของกลุ่มดาวไปใช้ตั้งชื่อดาวฤกษ์อื่นที่พบอยู่ในย่านฟ้าเดียวกัน นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน โยฮัน ไบเออร์ ได้สร้างชุดแผนที่ดาวขึ้นชุดหนึ่งชื่อ อูราโนเมเทรีย เขาใช้อักษรกรีกในการตั้งรหัสดาวแต่ละดวงในกลุ่มดาว ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ การตั้งชื่อระบบไบเออร์ ที่นิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา จอห์น แฟลมสตีด คิดค้นระบบตัวเลขประสมเข้าไปโดยอ้างอิงจากค่าไรต์แอสเซนชันของดาว เขาจัดทำรายชื่อดาวไว้ในหนังสือ "Historia coelestis Britannica" (ฉบับปี ค.ศ. 1712) ในเวลาต่อมาระบบตัวเลขนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ การตั้งชื่อระบบแฟลมสตีด หรือ ระบบตัวเลขแฟลมสตีด
ภายใต้กฎหมายอวกาศ หน่วยงานเพียงแห่งเดียวซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่ามีอำนาจหน้าที่ในการตั้งชื่อวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ คือ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ยังมีบริษัทเอกชนอีกจำนวนหนึ่งที่อ้างการจำหน่ายชื่อแก่ดวงดาว (ดังเช่น "สำนักจดทะเบียนดาวฤกษ์ระหว่างประเทศ") อย่างไรก็ดี ชื่อจากองค์กรเหล่านี้ไม่เป็นที่ยอมรับจากชุมชนวิทยาศาสตร์ และไม่มีใครใช้ด้วย นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าองค์กรเหล่านี้เป็นพวกหลอกลวงที่ต้มตุ๋นประชาชนทั่วไปซึ่งไม่เข้าใจกระบวนการตั้งชื่อดาวฤกษ์ แต่กระนั้น ลูกค้าที่ทราบเรื่องนี้ก็ยังคงมีความปรารถนาที่จะตั้งชื่อดาวฤกษ์ด้วยตนเอง
== หน่วยวัด ==
คุณลักษณะของดาวฤกษ์โดยมากจะระบุโดยใช้มาตราเอสไอ หรืออาจมีที่ใช้มาตราซีจีเอสบ้างจำนวนหนึ่ง (ตัวอย่างเช่น การระบุค่ากำลังส่องสว่างเป็น เออร์กต่อวินาที) ค่าของมวล กำลังส่องสว่าง และรัศมี มักระบุในหน่วยของดวงอาทิตย์ โดยอ้างอิงจากคุณลักษณะของดวงอาทิตย์ ดังนี้
{|
| มวลดวงอาทิตย์:
| \begin{smallmatrix}M_\odot = 1.9891 \times 10^{30}\end{smallmatrix} กก.
|-
| กำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์:
| \begin{smallmatrix}L_\odot = 3.827 \times 10^{26}\end{smallmatrix} วัตต์
|-
| รัศมีดวงอาทิตย์:
| \begin{smallmatrix}R_\odot = 6.960 \times 10^{8}\end{smallmatrix} ม.
|}
สำหรับหน่วยความยาวที่ยาวมาก ๆ เช่นรัศมีของดาวฤกษ์ยักษ์ หรือค่ากึ่งแกนเอกของระบบดาวคู่ มักระบุโดยใช้หน่วยดาราศาสตร์ (AU) ซึ่งมีค่าโดยประมาณเท่ากับระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์)
== กำเนิดและวิวัฒนาการ ==
ดาวฤกษ์จะก่อตัวขึ้นภายในเขตขยายของมวลสารระหว่างดาวที่มีความหนาแน่นสูงกว่า ถึงแม้ว่าความหนาแน่นนี้จะยังคงต่ำกว่าห้องสุญญากาศบนโลกก็ตาม ในบริเวณนี้ซึ่งเรียกว่า เมฆโมเลกุล และประกอบด้วยไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีฮีเลียมราวร้อยละ 23-28 และธาตุที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง ตัวอย่างหนึ่งของบริเวณที่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์อยู่ในเนบิวลานายพราน และเมื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ก่อตั้งขึ้นจากเมฆโมเลกุล ดาวฤกษ์เหล่านี้ก็ได้ให้ความสว่างแก่เมฆเหล่านี้ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนไฮโดรเจนให้กลายเป็นไอออน ทำให้เกิดบริเวณที่เรียกว่า บริเวณเอช 2
=== การก่อตัวของดาวฤกษ์ก่อนเกิด ===
จุดกำเนิดของดาวฤกษ์เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงที่ไม่เสถียรภายในเมฆโมเลกุล โดยมากมักเกิดจากคลื่นกระแทกจากมหานวดารา (การระเบิดขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์) หรือจากการแตกสลายของดาราจักรสองแห่งที่ปะทะกัน (เช่นในดาราจักรชนิดดาวกระจาย) เมื่อย่านเมฆนั้นมีความหนาแน่นเพียงพอจนถึงขอบเขตความไม่เสถียรของฌ็อง มันจึงยุบตัวลงด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของมันเอง
ขณะที่เมฆโมเลกุลยุบตัวลง ฝุ่นและแก๊สหนาแน่นก็เข้ามาเกาะกลุ่มอยู่ด้วยกัน เรียกว่า กลุ่มเมฆบอก ยิ่งกลุ่มเมฆยุบตัวลง ความหนาแน่นภายในก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ พลังงานจากแรงโน้มถ่วงถูกแปลงไปกลายเป็นความร้อนซึ่งทำให้อุณหภูมิสูงยิ่งขึ้น เมื่อเมฆดาวฤกษ์ก่อนเกิดนี้ดำเนินไปจนกระทั่งถึงสภาวะสมดุลของอุทกสถิต จึงเริ่มมีดาวฤกษ์ก่อนเกิดก่อตัวขึ้นที่ใจกลาง ดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลักมักจะมีแผ่นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดล้อมรอบอยู่ ช่วงเวลาของการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงนี้กินเวลาประมาณ 10-15 ล้านปี
ดาวฤกษ์ยุคแรกที่มีมวลน้อยกว่า 2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จะเรียกว่าเป็นดาวประเภท T Tauri ส่วนพวกที่มีมวลมากกว่านั้นจะเรียกว่าเป็น ดาวเฮอร์บิก Ae/Be ดาวฤกษ์เกิดใหม่เหล่านี้จะแผ่ลำพลังงานของแก๊สออกมาตามแนวแกนการหมุน ซึ่งอาจช่วยลดโมเมนตัมเชิงมุมของดาวฤกษ์ที่กำลังยุบตัวลงและทำให้กลุ่มเมฆเรืองแสงเป็นหย่อม ๆ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ วัตถุเฮอร์บิก–อาโร ลำแก๊สเหล่านี้ เมื่อประกอบกับการแผ่รังสีจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง อาจช่วยขับกลุ่มเมฆซึ่งปกคลุมอยู่รอบดาวฤกษ์ที่ดาวนั้นก่อตั้งอยู่ออกไป
=== แถบลำดับหลัก ===
ช่วงเวลากว่า 90% ของดาวฤกษ์จะใช้ไปในการเผาผลาญไฮโดรเจนเพื่อสร้างฮีเลียมด้วยปฏิกิริยาแรงดันสูงและอุณหภูมิสูงที่บริเวณใกล้แกนกลาง เรียกดาวฤกษ์เหล่านี้ว่าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในแถบลำดับหลักหรือดาวแคระ นับแต่ช่วงอายุเป็น 0 ในแถบลำดับหลัก สัดส่วนฮีเลียมในแกนกลางดาวจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผลที่เกิดขึ้นตามมาเพื่อการรักษาอัตราการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันในแกนกลางคือ ดาวฤกษ์จะค่อย ๆ มีอุณหภูมิสูงขึ้นและกำลังส่องสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์มีค่ากำลังส่องสว่างเพิ่มขึ้นนับจากเมื่อครั้งเข้าสู่แถบลำดับหลักครั้งแรกเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อนราว 40%
ดาวฤกษ์ทุกดวงจะสร้างลมดาวฤกษ์ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ของแก๊สที่ไหลออกจากดาวฤกษ์ไปในห้วงอวกาศ โดยมากแล้วมวลที่สูญเสียไปจากลมดาวฤกษ์นี้ถือว่าน้อยมาก แต่ละปีดวงอาทิตย์จะสูญเสียมวลออกไปประมาณ 10-14 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ หรือคิดเป็นประมาณ 0.01% ของมวลทั้งหมดของมันตลอดช่วงอายุ แต่สำหรับดาวฤกษ์มวลมากอาจจะสูญเสียมวลไปราว 10−7 ถึง 10−5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ต่อปี ซึ่งค่อนข้างส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของตัวมันเอง ดาวฤกษ์ที่มีมวลเริ่มต้นมากกว่า 50 เท่าของมวลดวงอาทิตย์อาจสูญเสียมวลออกไปราวครึ่งหนึ่งของมวลทั้งหมดตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในแถบลำดับหลัก
ระยะเวลาที่ดาวฤกษ์จะอยู่บนแถบลำดับหลักขึ้นอยู่กับมวลเชื้อเพลิงตั้งต้นกับอัตราเผาผลาญเชื้อเพลิงของดาวฤกษ์นั้น ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมวลตั้งต้นและกำลังส่องสว่างของดาวฤกษ์นั่นเอง สำหรับดวงอาทิตย์ ประมาณว่าจะอยู่บนแถบลำดับหลักประมาณ 1010 ปี ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่จะเผาผลาญเชื้อเพลิงในอัตราเร็วมากและมีอายุสั้น ขณะที่ดาวฤกษ์ขนาดเล็ก (คือดาวแคระ) จะเผาผลาญเชื้อเพลิงในอัตราที่ช้ากว่าและสามารถอยู่บนแถบลำดับหลักได้นานหลายหมื่นหรือหลายแสนล้านปี ซึ่งในบั้นปลายของอายุ มันจะค่อย ๆ หรี่จางลงเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดี อายุของเอกภพที่ประมาณการไว้ในปัจจุบันอยู่ที่ 13,700 ล้านปี ดังนั้นจึงไม่อาจค้นพบดาวฤกษ์ดังที่กล่าวมานี้ได้
นอกเหนือจากมวล องค์ประกอบของธาตุหนักที่หนักกว่าฮีเลียมก็มีบทบาทสำคัญต่อวิวัฒนาการของดาวฤกษ์เช่นกัน ในทางดาราศาสตร์ ธาตุที่หนักกว่าฮีเลียมจะเรียกว่าเป็น "โลหะ" และความเข้มข้นทางเคมีของธาตุเหล่านี้จะเรียกว่า ค่าความเป็นโลหะ ค่านี้มีอิทธิพลต่อช่วงเวลาที่ดาวฤกษ์เผาผลาญเชื้อเพลิง รวมถึงควบคุมการกำเนิดสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ และมีผลต่อความเข้มของลมดาวฤกษ์ด้วย ดาวฤกษ์ชนิดดารากร 2 ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าจะมีค่าความเป็นโลหะน้อยกว่าดาวฤกษ์รุ่นใหม่ หรือดาวฤกษ์แบบดารากร 3 เนื่องมาจากองค์ประกอบที่มีอยู่ในเมฆโมเลกุลอันดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นมานั่นเอง ยิ่งเวลาผ่านไป เมฆเหล่านี้จะมีส่วนประกอบของธาตุหนักเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดาวฤกษ์เก่าแก่สิ้นอายุขัยและส่งคืนสารประกอบภายในชั้นบรรยากาศของมันกลับไปในอวกาศ
=== หลังแถบลำดับหลัก ===
เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ หมดไฮโดรเจนในแกนกลาง พื้นผิวชั้นนอกของมันจะขยายตัวอย่างมากและดาวจะเย็นลง ซึ่งเป็นการก่อตั้งของดาวยักษ์แดง ยกตัวอย่างเช่น อีกภายใน 5 พันล้านปี เมื่อดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวยักษ์แดง มันจะขยายตัวออกจนมีรัศมีสูงสุดราว 1 หน่วยดาราศาสตร์ (150,000,000 กม.) หรือคิดเป็นขนาด 250 เท่าของขนาดในปัจจุบัน และเมื่อดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวยักษ์แดง มันจะสูญเสียมวลไปราว 30% ของมวลดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน
ในดาวยักษ์แดงที่มีมวลมากถึง 2.25 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ปฏิกิริยาฟิวชันไฮโดรเจนจะยังคงดำเนินต่อไปในพื้นผิวเปลือกรอบแกนกลาง ในที่สุด แกนกลางจะบีบอัดจนกระทั่งเริ่มปฏิกิริยาฟิวชันฮีเลียม และดาวฤกษ์จะมีรัศมีหดตัวลงอย่างต่อเนื่องและมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น ในดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ พื้นที่แกนกลางจะเปลี่ยนจากการฟิวชันไฮโดรเจนไปเป็นการฟิวชันฮีเลียมโดยตรง
หลังจากดาวฤกษ์ได้ใช้ฮีเลียมที่แกนกลางจนหมด ปฏิกิริยาฟิวชันจะยังคงดำเนินต่อไปในเปลือกหุ้มแกนกลางซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนและออกซิเจน ดาวฤกษ์นั้นก็จะยังคงดำเนินต่อไปในเส้นทางวิวัฒนาการคู่ขนานไปกับระยะดาวยักษ์แดงในช่วงแรก แต่มีอุณหภูมิพื้นผิวสูงกว่ามาก
==== ดาวมวลมาก ====
ระหว่างช่วงการเผาผลาญฮีเลียมของดาวฤกษ์เหล่านี้ ดาวมวลมากซึ่งมีมวลมากกว่า 9 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะพองตัวออกจนกระทั่งกลายเป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง เมื่อเชื้อเพลิงที่แกนกลางของดาวยักษ์ใหญ่แดงหมด พวกมันจะยังคงฟิวชันธาตุที่หนักกว่าฮีเลียม
แกนกลางจะหดตัวลงต่อไปจนกระทั่งมีอุณหภูมิและความดันเพียงพอที่จะฟิวชันคาร์บอน กระบวนการดังกล่าวดำเนินต่อไป ต่อด้วยกระบวนการใช้นีออนเป็นเชื้อเพลิง ตามด้วยออกซิเจนและซิลิคอน เมื่ออายุขัยของดาวฤกษ์ใกล้จะสิ้นสุด ฟิวชันจะสามารถเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับชั้นเปลือกหัวหอมจำนวนมากภายในดาวฤกษ์ เปลือกเหล่านี้จะฟิวชันธาตุที่แตกต่างกัน โดยเปลือกชั้นนอกสุดจะฟิวชันไฮโดรเจน ชั้นต่อไปฟิวชันฮีเลียม เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
ดาวฤกษ์เข้าสู่ระยะสุดท้ายของอายุขัยเมื่อมันเริ่มผลิตเหล็ก เนื่องจากนิวเคลียสของเหล็กมียึดเหนี่ยวระหว่างกันอย่างแน่นหนากว่านิวเคลียสที่หนักกว่าใด ๆ ถ้าหากเหล็กถูกฟิวชันก็จะไม่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกัน กระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังงาน เช่นเดียวกัน นับตั้งแต่เหล็กยึดเหนี่ยวอย่างแน่นหนากว่านิวเคลียสที่เบากว่าทั้งหมด พลังงานจึงไม่สามารถถูกปลดปล่อยออกมาโดยปฏิกิริยาฟิชชั่นได้ ในดาวฤกษ์ที่ค่อนข้างมีอายุและมวลมาก แกนกลางขนาดใหญ่ของดาวจะประกอบด้วยเหล็กเพิ่มมากขึ้น ธาตุที่หนักกว่าในดาวฤกษ์เหล่านี้จะยังคงถูกส่งขึ้นมายังพื้นผิว ก่อให้เกิดวัตถุวิวัฒนาการซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า ดาวฤกษ์วูล์ฟ-ราเยท์ ซึ่งมีลมดาวฤกษ์หนาแน่นเกิดขึ้นบริเวณบรรยากาศชั้นนอก
==== การยุบตัว ====
เมื่อถึงขั้นนี้ ดาวฤกษ์มวลปานกลางซึ่งวิวัฒนาการแล้วจะสลัดพื้นผิวชั้นนอกออกมาเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ หากสิ่งที่เหลือจากบรรยากาศชั้นนอกที่ลอยกระจายออกไปมีมวลน้อยกว่า 1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ มันจะยุบตัวลงจนกลายเป็นวัตถุขนาดค่อนข้างเล็ก (มีขนาดเท่ากับขนาดของโลก) ซึ่งไม่มีมวลมากพอที่จะมีแรงกดดันเกิดขึ้นไปมากกว่านี้อีก หรือที่รู้จักกันว่า ดาวแคระขาว สสารเสื่อมอิเล็กตรอนภายในดาวแคระขาวจะไม่ใช่พลาสม่าอีกต่อไป ถึงแม้ว่าดาวฤกษ์จะหมายความถึงทรงกลมซึ่งประกอบไปด้วยพลาสม่าก็ตาม ในที่สุด ดาวแคระขาวก็จะจางลงจนกลายเป็นดาวแคระดำ หลังจากเวลาผ่านไป
ในดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า ปฏิกิริยาฟิวชันจะยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งแกนกลางเหล็กมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมาก (มีมวลมากกว่า 1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) จนกระทั่งมันไม่สามารถรองรับมวลอันมหาศาลของตัวมันเองได้ แกนกลางนี้จะยุบตัวลงอย่างเฉียบพลัน เมื่ออิเล็กตรอนเข้าไปอยู่ในโปรตอน ทำให้เกิดนิวตรอนและนิวตริโนในการสลายให้อนุภาคบีตาผกผันหรือการจับยึดอิเล็กตรอน คลื่นกระแทกอันเกิดจากการยุบตัวกะทันหันนี้ได้ทำให้ส่วนที่เหลือของดาวฤกษ์ระเบิดออกเป็นมหานวดารา มหานวดารามีความสว่างมากเสียจนแสงสว่างของมันบดบังแสงจากดาวฤกษ์ทั้งหมดในดาราจักรที่ดาวนั้นอยู่ และเมื่อมหานวดาราเกิดขึ้นในดาราจักรทางช้างเผือก ในประวัติศาสตร์ มหานวดาราได้รับการสังเกตโดยผู้สังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าว่าเป็น "ดาวฤกษ์ดวงใหม่" ที่ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
สสารส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์จะถูกระเบิดออกจากการระเบิดมหานวดารา (ทำให้เกิดเนบิวลา อย่างเช่น เนบิวลาปู) และส่วนที่เหลืออยู่จะกลายมาเป็นดาวนิวตรอน (ซึ่งในบางครั้งมีคุณสมบัติชัดเจน อย่างเช่น พัลซาร์ หรือ ดาวระเบิดรังสีเอกซ์) หรือในกรณีของดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (มีขนาดใหญ่มากพอที่การระเบิดออกยังคงเหลือซากที่มีมวลโดยประมาณอย่างน้อย 4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ดาวฤกษ์เหล่านี้จะกลายไปเป็นหลุมดำ สสารที่อยู่ในดาวนิวตรอนจะอยู่ในสถานะที่เรียกกันว่า สสารเสื่อมนิวตรอน กับรูปแบบของสสารเสื่อมอื่นที่ประหลาดกว่านั้น เช่น สสารควาร์ก เกิดขึ้นที่แกนกลาง ส่วนสถานะของสสารภายในหลุมดำนั้นในปัจจุบันยังไม่เป็นที่เข้าใจเลย
พื้นผิวชั้นนอกส่วนที่ถูกระเบิดออกจากดาวที่ตายแล้วรวมไปถึงธาตุหนักซึ่งอาจเป็นสารเริ่มต้นระหว่างการก่อตั้งของดาวฤกษ์ดวงใหม่ได้ ธาตุหนักเหล่านี้ทำให้เกิดดาวเคราะห์หิน การไหลออกจากมหานวดาราและลมดาวฤกษ์ได้มีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดมวลสารระหว่างดาว
== การกระจายตัว ==
นอกจากดาวนาเม็กที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ระบบดาวหลายดวงมักประกอบด้วยดาวฤกษ์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปที่เกี่ยวพันกันอยู่ด้วยแรงโน้มถ่วงดึงดูดระหว่างกัน ทำให้ต่างโคจรไปรอบกันและกัน ระบบดาวหลายดวงที่พบมากที่สุดคือ ระบบดาวคู่ แต่ก็มีระบบดาว 3 ดวงหรือมากกว่านั้นให้พบเห็นด้วยเช่นกัน ตามหลักการเสถียรภาพของวงโคจร ในระบบดาวหลายดวงมักแบ่งสัดส่วนการโคจรออกเป็นระดับชั้นซึ่งแต่ละชั้นมีลักษณะคล้ายกับระบบดาวคู่ นอกจากนี้ยังมีระบบดาวที่ใหญ่ขึ้นไปอีกเรียกว่า กระจุกดาว ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของดาวฤกษ์ที่อยู่ด้วยกันอย่างหลวม ๆ อาจมีดาวเพียงไม่กี่ดวง ไปจนถึงกระจุกดาวทรงกลมที่มีดาวฤกษ์สมาชิกนับหลายร้อยหลายพันดวง
มีข้อสมมุติฐานมานานแล้วว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกอยู่ในระบบดาวหลายดวงที่มีแรงโน้มถ่วงดึงดูดระหว่างกัน ข้อสมมุติฐานนี้เป็นจริงอย่างมากกับดาวฤกษ์มวลมากประเภท O และ B ซึ่งเชื่อว่ากว่า 80% ของดาวฤกษ์ในประเภทนี้อยู่ในระบบดาวหลายดวง อย่างไรก็ดีมีการค้นพบระบบดาวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะกับดาวฤกษ์ขนาดเล็ก เชื่อว่ามีเพียงประมาณ 25% ของดาวแคระแดงเท่านั้นที่มีดาวอื่นอยู่ในระบบเดียวกัน จากจำนวนดาวฤกษ์ทั้งหมดเป็นดาวแคระแดงไปถึง 85% ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในทางช้างเผือกก็เป็นดาวฤกษ์เดี่ยวมานับแต่ถือกำเนิด
ตลอดทั่วเอกภพ ดาวฤกษ์ไม่ได้กระจายตัวกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่มีการรวมกลุ่มอยู่ด้วยกันในลักษณะของดาราจักร รวมถึงส่วนของแก๊สและฝุ่นระหว่างดวงดาว ดาราจักรโดยทั่วไปมีดาวฤกษ์อยู่เป็นจำนวนหลายแสนล้านดวง และภายในเอกภพที่สังเกตได้ มีดาราจักรอยู่ทั้งสิ้นมากกว่าหนึ่งแสนล้านแห่ง แม้จะเชื่อกันว่า ดาวฤกษ์โดยทั่วไปควรอยู่ในดาราจักรแห่งใดแห่งหนึ่ง ทว่าก็มีการค้นพบดาวฤกษ์ที่อยู่ระหว่างดาราจักรด้วยเช่นกัน นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า น่าจะมีดาวฤกษ์อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 7 หมื่นล้านล้านล้านดวง (7×1022) ภายในเอกภพที่สังเกตได้
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุดนอกไปจากดวงอาทิตย์ คือดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 39.9 ล้านล้านกิโลเมตร (1012 กิโลเมตร) หรือประมาณ 4.2 ปีแสง แสงจากดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าใช้เวลาเดินทาง 4.2 ปีจึงจะมาถึงโลก ถ้าเดินทางด้วยความเร็ววงโคจรของกระสวยอวกาศ (ประมาณ 5 ไมล์ต่อวินาที หรือประมาณ 30,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) จะต้องใช้เวลาประมาณ 150,000 ปีจึงจะไปถึงดาวแห่งนั้น ระยะทางที่เอ่ยถึงนี้เป็นระยะทางภายในจานดาราจักรซึ่งครอบคลุมบริเวณระบบสุริยะ หากเป็นบริเวณใจกลางของดาราจักรหรือในกระจุกดาวทรงกลม ดาวฤกษ์จะอยู่ใกล้ชิดกันมากกว่านี้
เมื่อดาวฤกษ์ในบริเวณห่างไกลจากใจกลางดาราจักรอยู่ห่างกันขนาดนี้ จึงเชื่อว่าโอกาสที่ดาวฤกษ์จะปะทะกันมีค่อนข้างน้อย ขณะที่ในย่านซึ่งมีดาวฤกษ์อยู่อย่างหนาแน่นเช่นในกระจุกดาวทรงกลมหรือใจกลางดาราจักร การที่ดาวฤกษ์ปะทะกันถึงเป็นเรื่องสามัญที่เกิดขึ้นทั่วไป การปะทะของดาวฤกษ์นี้จะทำให้เกิดดาวฤกษ์ประหลาดชนิดใหม่ที่เรียกว่า ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน ซึ่งมีค่าอุณหภูมิพื้นผิวสูงกว่าดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักโดยทั่วไปในกระจุกดาวเดียวกันทั้งที่มีกำลังส่องสว่างเท่ากัน
== คุณสมบัติ ==
การอธิบายถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ล้วนอ้างอิงถึงมวลเริ่มต้นของดาว แม้กระทั่งคุณลักษณะอันละเอียดอ่อนเช่น การส่องสว่าง และขนาด ตลอดจนถึงวิวัฒนาการของดาว ช่วงอายุ และสภาพหลังจากการแตกดับ
=== อายุ ===
ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 1 พันล้านถึง 1 หมื่นล้านปี มีบ้างบางดวงที่อาจมีอายุถึง 13,700 ล้านปีซึ่งเป็นอายุโดยประมาณของเอกภพ ดาวฤกษ์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบขณะนี้คือ HE 1523-0901 ซึ่งมีอายุโดยประมาณ 13,200 ล้านปี
ยิ่งดาวฤกษ์มีมวลมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีอายุสั้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีแรงดันภายในแกนกลางที่สูงกว่า ทำให้การเผาผลาญไฮโดรเจนเป็นไปในอัตราที่สูงกว่า ดาวฤกษ์มวลมากที่สุดมีอายุเฉลี่ยเท่าที่พบราว 1 ล้านปี ส่วนดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยที่สุด (ดาวแคระแดง) เผาผลาญพลังงานภายในตัวเองในอัตราที่ต่ำมาก และมีอายุอยู่ยาวนานตั้งแต่หลักพันล้านจนถึงหมื่นล้านปี
=== องค์ประกอบทางเคมี ===
เมื่อแรกที่ดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้น มันประกอบด้วยไฮโดรเจน 71% และฮีเลียม 27% โดยมวล กับสัดส่วนของธาตุหนักอีกเล็กน้อย โดยทั่วไปเราวัดปริมาณของธาตุหนักในรูปขององค์ประกอบเหล็กในชั้นบรรยากาศของดาวฤกษ์ เนื่องจากเหล็กเป็นธาตุพื้นฐาน และการตรวจวัดเส้นการดูดซับของมันก็ทำได้ง่าย ในเมฆโมเลกุลอันเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์จะอุดมไปด้วยธาตุหนักมากมายที่ได้มาจากมหานวดาราหรือการระเบิดของดาวฤกษ์รุ่นแรก ดังนั้นการตรวจวัดองค์ประกอบทางเคมีของดาวฤกษ์จึงสามารถใช้ประเมินอายุของมันได้ เราอาจใช้องค์ประกอบธาตุหนักในการวินิจฉัยได้ด้วยว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นน่าจะมีระบบดาวเคราะห์ของตนเองหรือไม่
ดาวฤกษ์ที่มีองค์ประกอบธาตุเหล็กต่ำที่สุดเท่าที่เคยตรวจพบ คือดาวแคระ HE1327-2326 โดยมีองค์ประกอบเหล็กเพียง 1 ใน 200,000 ส่วนของดวงอาทิตย์ ในด้านตรงข้าม ดาวฤกษ์ที่มีโลหะธาตุสูงมากคือ μ Leonis ซึ่งมีธาตุเหล็กสูงกว่าดวงอาทิตย์เกือบสองเท่า อีกดวงหนึ่งคือ 14 Herculis ซึ่งมีดาวเคราะห์เป็นของตนเองด้วย มีธาตุเหล็กสูงกว่าดวงอาทิตย์เกือบสามเท่า นอกจากนี้ยังมีดาวฤกษ์ที่มีองค์ประกอบทางเคมีอันแปลกประหลาดอีกหลายดวงซึ่งสังเกตได้จากเส้นสเปกตรัมของมัน โดยที่มีทั้งโครเมียมกับธาตุหายากบนโลก
=== เส้นผ่านศูนย์กลาง ===
ดาวฤกษ์ต่าง ๆ อยู่ห่างจากโลกมาก ดังนั้นนอกจากดวงอาทิตย์แล้ว เราจึงมองเห็นดาวฤกษ์ต่าง ๆ เป็นเพียงจุดแสงเล็ก ๆ ในเวลากลางคืน ส่องแสงกะพริบวิบวับเนื่องมาจากผลจากชั้นบรรยากาศของโลก ดวงอาทิตย์ก็เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง แต่อยู่ใกล้กับโลกมากพอจะปรากฏเห็นเป็นรูปวงกลม และให้แสงสว่างในเวลากลางวัน นอกเหนือจากดวงอาทิตย์แล้ว ดาวฤกษ์ที่มีขนาดปรากฏใหญ่ที่สุดคือ R Doradus ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมเพียง 0.057 พิลิปดา
ภาพของดาวฤกษ์ส่วนมากที่มองเห็นและวัดได้ในขนาดเชิงมุมจะเล็กมากจนต้องอาศัยการสังเกตการณ์บนโลกด้วยกล้องโทรทรรศน์ บางครั้งต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ในเทคนิค interferometer เพื่อช่วยขยายภาพ เทคนิคอีกประการหนึ่งในการตรวจวัดขนาดเชิงมุมของดาวฤกษ์คือ occultation โดยการตรวจวัดโชติมาตรของดาวที่ลดลงเนื่องมาจากความสว่างของดวงจันทร์ (หรือจากโชติมาตรที่เพิ่มขึ้นเมื่อมันปรากฏขึ้นใหม่) แล้วจึงนำมาคำนวณขนาดเชิงมุมของดาวฤกษ์นั้น
ขนาดของดาวฤกษ์เรียงตามลำดับตั้งแต่เล็กสุดคือ ดาวนิวตรอน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 20 ถึง 40 กิโลเมตร ไปจนถึงดาวยักษ์ใหญ่เช่น ดาวบีเทลจุสในกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าดวงอาทิตย์ราว 650 เท่า คือกว่า 900 ล้านกิโลเมตร แต่ดาวบีเทลจุสยังมีความหนาแน่นต่ำกว่าดวงอาทิตย์ของเรา
=== การเคลื่อนที่ ===
ลักษณะการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์เมื่อเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ของเรา สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนรู้ถึงจุดกำเนิดและอายุของดาว รวมไปถึงโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาราจักรโดยรอบ องค์ประกอบการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ประกอบด้วย ความเร็วแนวเล็ง ที่วิ่งเข้าหาหรือวิ่งออกจากดวงอาทิตย์ และการเคลื่อนที่เชิงมุมที่เรียกว่า การเคลื่อนที่เฉพาะ
การตรวจวัดความเร็วแนวเล็งทำได้โดยอาศัยการเคลื่อนดอปเปลอร์ของเส้นสเปกตรัมของดาว หน่วยที่วัดเป็นกิโลเมตรต่อวินาที การตรวจวัดการเคลื่อนที่เฉพาะของดาวฤกษ์ทำได้จากเครื่องมือตรวจวัดทางดาราศาสตร์ที่มีความแม่นยำสูง หน่วยที่วัดเป็นมิลลิพิลิปดาต่อปี เมื่ออาศัยการตรวจสอบพารัลแลกซ์ของดาวฤกษ์ เราจึงสามารถแปลงการเคลื่อนที่เฉพาะให้ไปเป็นหน่วยของความเร็วได้ ดาวฤกษ์ที่มีค่าการเคลื่อนที่เฉพาะสูงมีแนวโน้มที่จะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวดวงอื่น จึงเป็นตัวแทนที่ดีสำหรับใช้ตรวจวัดพารัลแลกซ์ของดาวได้
เมื่อเราทราบอัตราการเคลื่อนที่ทั้งสองตัวนี้แล้ว ก็จะสามารถคำนวณความเร็วในการเคลื่อนที่อวกาศของดาวฤกษ์ดวงนั้นเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์หรือดาราจักรได้ ในบรรดาดาวฤกษ์ใกล้เคียงที่ตรวจวัด พบว่าดาวฤกษ์ชนิดดารากร 1 มีความเร็วต่ำกว่าดาวฤกษ์ที่มีอายุมากกว่าเช่น ดาวฤกษ์ชนิดดารากร 2 ดาวฤกษ์ในกลุ่มหลังมีระนาบโคจรที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับระนาบดาราจักร เมื่อเปรียบเทียบจลนศาสตร์ของดาวฤกษ์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ทำให้เราสามารถจัดกลุ่มของดาวฤกษ์ได้ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดาวฤกษ์ในกลุ่มเดียวกันจะกำเนิดมาจากเมฆโมเลกุลชุดเดียวกัน
=== สนามแม่เหล็ก ===
สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์เกิดขึ้นจากบริเวณภายในของดาวที่ซึ่งเกิดการไหลเวียนของการพาความร้อน การเคลื่อนที่นี้ทำให้ประจุในพลาสมาทำตัวเสมือนเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบไดนาโม ซึ่งทำให้เกิดสนามแม่เหล็กแผ่ขยายออกมาภายนอกดวงดาว กำลังของสนามแม่เหล็กนี้แปรตามขนาดของมวลและองค์ประกอบของดาว ส่วนขนาดของกิจกรรมพื้นผิวสนามแม่เหล็กก็ขึ้นกับอัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์นั้น กิจกรรมที่พื้นผิวสนามแม่เหล็กนี้ทำให้เกิดจุดบนดาวฤกษ์ อันเป็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กเข้มกว่าปกติและมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าปกติ วงโคโรนาคือแนวสนามแม่เหล็กโค้งที่แผ่เข้าไปในโคโรนา ส่วนเปลวดาวฤกษ์คือการระเบิดของอนุภาคพลังงานสูงที่แผ่ออกมาเนื่องจากกิจกรรมพื้นผิวสนามแม่เหล็ก
ดาวฤกษ์ที่อายุน้อยและหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมีแนวโน้มจะมีกิจกรรมพื้นผิวในระดับที่สูงเนื่องมาจากกำลังสนามแม่เหล็กของมัน สนามแม่เหล็กของดาวยังส่งอิทธิพลต่อลมดาวฤกษ์ด้วย โดยทำหน้าที่เหมือนตัวหน่วง ทำให้อัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ช้าลงเมื่อดาวมีอายุมากขึ้น ดังนั้น ดาวฤกษ์ที่มีอายุมากกว่าเช่นดวงอาทิตย์ของเราจึงมีอัตราการหมุนรอบตัวเองที่ต่ำกว่า และมีกิจกรรมพื้นผิวที่น้อยกว่าดาวฤกษ์อายุเยาว์ ระดับของกิจกรรมพื้นผิวของดาวฤกษ์ที่หมุนรอบตัวเองช้าค่อนข้างเปลี่ยนแปลงเป็นวงรอบและอาจหยุดกิจกรรมบางอย่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ช่วงเวลานี้เรียกว่า ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ ซึ่งดวงอาทิตย์ก็เคยผ่านระยะเวลานี้เป็นเวลา 70 ปี ที่ไม่มีกิจกรรมใด ๆ เกี่ยวกับจุดบนดวงอาทิตย์เกิดขึ้นเลย
=== มวล ===
หนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์ที่มีมวลมากที่สุดที่รู้จักกัน คือ Eta Carinae ซึ่งมีมวลมากกว่ามวลดวงอาทิตย์ราว 100-150 เท่า ช่วงอายุของมันสั้นมาก เพียงประมาณไม่กี่ล้านปีเท่านั้น ผลจากการศึกษากระจุกดาวอาร์เชสเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า มวลขนาด 150 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จัดเป็นขีดจำกัดสูงสุดของดาวฤกษ์ในเอกภพในยุคปัจจุบัน สาเหตุของขีดจำกัดนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่น่าจะมีความเกี่ยวข้องส่วนหนึ่งกับกำลังส่องสว่างเอ็ดดิงตัน ซึ่งอธิบายถึงค่ากำลังส่องสว่างสูงสุดที่สามารถแผ่ผ่านบรรยากาศของดาวฤกษ์ได้โดยไม่ยิงพวยแก๊สออกไปในอวกาศ
ดาวฤกษ์กลุ่มแรก ๆ ที่ก่อตัวขึ้นหลังจากเกิดบิกแบงอาจจะมีมวลมากกว่านั้น เช่น 300 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ หรือสูงกว่า ทั้งนี้เนื่องจากมันไม่มีองค์ประกอบของธาตุที่หนักกว่าลิเธียมเลย อย่างไรก็ดี ดาวฤกษ์มวลมากยิ่งยวดเหล่านี้ (หรือดาวฤกษ์ชนิด population III) ได้สูญสลายไปจนหมดแล้ว มีแต่เพียงทฤษฎีที่กล่าวถึงเท่านั้น
ดาว AB Doradus C ซึ่งเป็นดาวคู่ของ AB Doradus A มีมวลประมาณ 93 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่เล็กที่สุดเท่าที่รู้จักซึ่งยังคงมีปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันดำเนินอยู่ภายในแกนกลาง ด้วยลักษณะของดาวที่มีค่าความเป็นโลหะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ ตามทฤษฎีแล้ว มวลน้อยที่สุดของดาวฤกษ์ที่ยังสามารถดำรงสภาวะนิวเคลียร์ฟิวชันในแกนกลางได้ คือประมาณ 75 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี ทว่ามันจะมีค่าความเป็นโลหะต่ำมาก ผลการศึกษาดาวฤกษ์ที่จางแสงที่สุดเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าขนาดที่เล็กที่สุดที่เป็นไปได้ของดาวฤกษ์อยู่ที่ประมาณ 8.3% ของมวลดวงอาทิตย์ หรือประมาณ 87 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี วัตถุที่เล็กกว่านี้จะเรียกว่า ดาวแคระน้ำตาล ซึ่งเป็นดาวที่มีลักษณะเทาอันขุ่นมัว อยู่กึ่งกลางระหว่างดาวฤกษ์กับดาวแก๊สยักษ์
ความสัมพันธ์ระหว่างรัศมีของดาวกับมวลของดาว บอกได้จากแรงโน้มถ่วงพื้นผิว ดาวฤกษ์ขนาดยักษ์จะมีแรงโน้มถ่วงพื้นผิวน้อยกว่าดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก และในทางกลับกันดาวที่มีแรงโน้มถ่วงมากคือดาวที่กำลังเสื่อมสลายและมีขนาดเล็กเช่นดาวแคระขาว แรงโน้มถ่วงพื้นผิวมีอิทธิพลต่อลักษณะปรากฏของสเปกตรัมของดาวฤกษ์ โดยที่ดาวซึ่งมีแรงโน้มถ่วงสูงกว่าจะมีเส้นการดูดซับพลังงานที่กว้างกว่า
=== การหมุนรอบตัวเอง ===
เราสามารถประมาณอัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ได้โดยอาศัยวิธีการวัดสเปกโทรสโกปี หรือจะวัดให้แม่นยำยิ่งขึ้นได้โดยการติดตามอัตราการหมุนของจุดบนดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการหมุนรอบตัวเองที่เร็วกว่าประมาณ 100 กม/วินาทีที่แนวศูนย์สูตร ดาวฤกษ์ชนิด B เช่นดาว Achernar มีความเร็วการหมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตรประมาณ 225 กม/วินาทีหรือมากกว่านั้น ซึ่งทำให้มันมีเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณศูนย์สูตรใหญ่กว่าระยะห่างระหว่างขั้วถึงกว่า 50% อัตราการหมุนรอบตัวเองนี้ต่ำกว่าค่าความเร็ววิกฤตที่ 300 กม/วินาทีเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นอัตราเร็วที่จะทำให้ดาวฤกษ์แตกสลายลง สำหรับดวงอาทิตย์ของเรามีอัตราหมุนรอบตัวเองรอบละ 25-35 วัน หรือความเร็วที่แนวศูนย์สูตรประมาณ 1.994 กม/วินาที สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์กับลมดาวฤกษ์ต่างมีผลที่ช่วยให้อัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักช้าลงอย่างมีนัยสำคัญ
ดาวฤกษ์ที่กำลังเสื่อมสลายจะหดตัวลงเป็นมวลขนาดเล็กหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นผลให้การหมุนรอบตัวเองของมันดำเนินไปในอัตราสูง แต่เมื่อเปรียบกับอัตราที่ควรจะเป็นเมื่อคิดจากการรักษาโมเมนตัมเชิงมุมเอาไว้ก็ยังถือว่าค่อนข้างต่ำ โมเมนตัมเชิงมุมของดาวฤกษ์สูญหายไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากการสูญเสียมวลของดาวฤกษ์ไปกับลมดาวฤกษ์ ถึงกระนั้น อัตราการหมุนรอบตัวเองของพัลซาร์ก็ยังสูงมาก ตัวอย่างเช่นพัลซาร์ที่อยู่ ณ ใจกลางของเนบิวลาปู หมุนรอบตัวเองในอัตรา 30 รอบต่อวินาที อัตราการหมุนรอบตัวเองของพัลซาร์จะค่อย ๆ ลดลงเนื่องมาจากการแผ่รังสีของดาว
=== อุณหภูมิ ===
อุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักสามารถทราบได้จากอัตราการสร้างพลังงานจากแกนกลางของดาวและรัศมีของดาวดวงนั้น โดยมากจะประมาณจากดัชนีสีของดาวฤกษ์ ค่าที่ได้จะเรียกว่าอุณหภูมิยังผล ซึ่งเป็นค่าอุณหภูมิของวัตถุดำในอุดมคติที่แผ่พลังงานออกมาจนได้ระดับกำลังส่องสว่างต่อพื้นที่ผิวเท่ากันกับดาวฤกษ์นั้น ๆ พึงทราบว่าค่าอุณหภูมิยังผลนี้เป็นเพียงค่าเทียบเท่า อย่างไรก็ดีเนื่องจากอุณหภูมิของดาวฤกษ์จะค่อย ๆ ลดลงตามระดับชั้นของเปลือกที่อยู่ห่างจากแกนกลางออกมา ดังนั้นอุณหภูมิที่แท้จริงในย่านแกนกลางของดาวจะสูงมากถึงหลายล้านเคลวิน
อุณหภูมิของดาวฤกษ์เป็นตัวบ่งบอกถึงอัตราการแผ่พลังงานหรือการแผ่ประจุของธาตุที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลถึงคุณสมบัติการดูดกลืนเส้นสเปกตรัมที่แตกต่างกันด้วย เมื่อเราทราบค่าอุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์ ค่าโชติมาตรปรากฏ โชติมาตรสัมบูรณ์ และคุณสมบัติการดูดกลืนแสง เราจึงสามารถจัดประเภทของดาวฤกษ์ได้ (ดูในหัวข้อการจัดประเภทดาวฤกษ์ด้านล่าง)
ดาวฤกษ์มวลมากในแถบลำดับหลักอาจมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 50,000 เคลวิน ดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กลงมาเช่นดวงอาทิตย์ จะมีอุณหภูมิพื้นผิวเพียงไม่กี่พันเคลวิน ดาวยักษ์แดงจะมีอุณหภูมิพื้นผิวค่อนข้างต่ำ ประมาณ 3,600 เคลวินเท่านั้น แต่จะมีกำลังส่องสว่างมากกว่าเนื่องจากมีพื้นที่ผิวชั้นนอกที่ใหญ่กว่ามาก
== การแผ่รังสี ==
พลังงานที่เกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันภายในดาวฤกษ์ จะแผ่ตัวออกไปในอวกาศในรูปของรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และรังสีอนุภาคซึ่งแผ่ออกไปในรูปของลมดาวฤกษ์ (เป็นสายธารกระแสอนุภาคของประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ไปอย่างคงที่ ประกอบด้วยฟรีโปรตอน อนุภาคอัลฟา และอนุภาคเบตา ที่ระเหยออกมาจากชั้นผิวเปลือกนอกของดาวฤกษ์) รวมถึงกระแสนิวตริโนที่เกิดจากแกนกลางของดาวฤกษ์
การกำเนิดพลังงานในแกนกลางของดาวเป็นต้นกำเนิดของแสงสว่างมหาศาลของดาวนั้น ทุกครั้งที่นิวเคลียสของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดหรือมากกว่าหลอมละลายเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดนิวเคลียสอะตอมของธาตุใหม่ที่หนักกว่าเดิม ทำให้ปลดปล่อยโฟตอนรังสีแกมมาออกมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน เมื่อพลังงานที่เกิดขึ้นนี้แผ่ตัวออกมาจนถึงเปลือกนอกของดาว มันจะเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงแสงที่ตามองเห็น
สีของดาวฤกษ์ซึ่งระบุได้จากความถี่สูงสุดของแสงที่ตามองเห็น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของชั้นผิวรอบนอกของดาวฤกษ์และโฟโตสเฟียร์ของดาว นอกจากแสงที่ตามองเห็นแล้ว ดาวฤกษ์ยังแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารูปแบบอื่น ๆ ออกมาอีกที่ตาของมนุษย์มองไม่เห็น ว่าที่จริงแล้วรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากดาวฤกษ์นั้นแผ่ครอบคลุมย่านสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมด ตั้งแต่ช่วงคลื่นยาวที่สุดเช่นคลื่นวิทยุหรืออินฟราเรด ไปจนถึงช่วงคลื่นสั้นที่สุดเช่นอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมา องค์ประกอบการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของดาวฤกษ์ทั้งส่วนที่ตามองเห็นและมองไม่เห็นล้วนมีความสำคัญเหมือน ๆ กัน
จากสเปกตรัมของดาวฤกษ์นี้ นักดาราศาสตร์จะสามารถบอกค่าอุณหภูมิพื้นผิวของดาว แรงโน้มถ่วงพื้นผิว ค่าความเป็นโลหะ และความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาว หากเราทราบระยะห่างของดาวฤกษ์นั้นด้วย เช่นทราบจากการตรวจวัดพารัลแลกซ์ เราก็จะสามารถคำนวณโชติมาตรของดาวฤกษ์นั้นได้ จากนั้นจึงใช้แบบจำลองของดาวฤกษ์ในการประมาณการค่ามวล รัศมี แรงโน้มถ่วงพื้นผิว และอัตราการหมุนรอบตัวเอง (ดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่จะสามารถตรวจวัดมวลได้โดยตรง สำหรับมวลของดาวฤกษ์เดี่ยวจะประเมินได้จากเทคนิคไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง) จากตัวแปรต่าง ๆ เหล่านี้จึงทำให้นักดาราศาสตร์สามารถประเมินอายุของดาวฤกษ์ได้
=== กำลังส่องสว่าง ===
ในทางดาราศาสตร์ กำลังส่องสว่างคือปริมาณของแสงและพลังงานการแผ่รังสีในรูปแบบอื่นที่ดาวฤกษ์แผ่ออกจากนับเป็นจำนวนหน่วยต่อเวลา กำลังส่องสว่างของดาวฤกษ์สามารถบอกได้จากรัศมีและอุณหภูมิพื้นผิวของดาว อย่างไรก็ดี ดาวฤกษ์จำนวนหนึ่งไม่ได้แผ่พลังงานเป็นฟลักซ์ (คือปริมาณพลังงานที่แผ่ออกมาต่อหน่วยพื้นที่) ที่เป็นเอกภาพตลอดทั่วพื้นผิวทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ดาวเวกา ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จะมีฟลักซ์ที่ขั้วดาวสูงกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตรของดาว
พื้นผิวบางส่วนของดาวที่มีอุณหภูมิต่ำและกำลังส่องสว่างต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมด จะเรียกว่า จุดมืดดาวฤกษ์ จุดมืดของดาวฤกษ์แคระหรือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กจะไม่ค่อยเป็นที่สังเกตโดดเด่น ขณะที่จุดมืดของดาวยักษ์หรือดาวฤกษ์ขนาดใหญ่จะยิ่งสังเกตเห็นได้ง่าย และทำให้เกิดลักษณะการมืดคล้ำที่ขอบของดาวฤกษ์ได้มาก นั่นคือ ความสว่างของดาวทางด้านขอบ (เมื่อมองเป็นแผ่นจานกลม) จะลดลงไปเรื่อย ๆ ดาวแปรแสงที่เป็นดาวแคระแดง (หรือ flare star) บางดวง เช่นดาว ยูวี ซีตัส ก็อาจมีจุดมืดดาวฤกษ์ที่โดดเด่นเช่นกัน
=== โชติมาตร ===
โชติมาตรของดาวฤกษ์ที่ปรากฏวัดได้จากค่าโชติมาตรปรากฏ ซึ่งเป็นค่าความสว่างที่ขึ้นกับค่าโชติมาตรของดาว ระยะห่างจากโลก และการเปลี่ยนแปรของแสงดาวระหว่างที่มันผ่านชั้นบรรยากาศโลกลงมา ส่วนความสว่างที่แท้จริงหรือโชติมาตรสัมบูรณ์คือค่าโชติมาตรปรากฏของดาวถ้าระยะห่างระหว่างโลกกับดาวเท่ากับ 10 พาร์เซก (32.6 ปีแสง) เป็นค่าที่ขึ้นกับโชติมาตรของดาวเท่านั้น
ทั้งค่าโชติมาตรปรากฏและโชติมาตรสัมบูรณ์เป็นตัวเลขที่แสดงในหน่วยลอการิทึม ค่าที่ต่างกัน 1 อันดับแม็กนิจูดหมายความถึงความแตกต่างกันจริงประมาณ 2.5 เท่า (รากที่ 5 ของ 100 มีค่าประมาณ 2.512) นั่นหมายความว่า ดาวฤกษ์ในอันดับแม็กนิจูดแรก (+1.00) มีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ในอันดับแม็กนิจูดที่สอง (+2.00) ประมาณ 2.5 เท่า และสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ในอันดับแม็กนิจูดที่ 6 (+6.00) ประมาณ 100 เท่า ความสว่างของดาวฤกษ์ที่มีแสงริบหรี่ที่สุดเท่าที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ภายใต้สภาวะท้องฟ้าโปร่งคือที่แม็กนิจูด +6
ทั้งโชติมาตรปรากฏและโชติมาตรสัมบูรณ์ ยิ่งอ่านค่าได้น้อยหมายความว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นสว่างมาก ยิ่งอ่านค่าได้มากหมายความว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นริบหรี่มาก โดยมากแล้วดาวฤกษ์สว่างจะมีค่าโชติมาตรเป็นลบ ความแตกต่างของความสว่างระหว่างดาวสองดวง (ΔL) คำนวณได้โดยนำค่าโชติมาตรของดาวที่สว่างกว่า (mb) ลบออกจากค่าโชติมาตรของดาวที่หรี่จางกว่า (mf) นำค่าที่ได้ใช้เป็นค่ายกกำลังของค่าฐาน 2.512 เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
\Delta{m} = m_\mathrm{f} - m_\mathrm{b}
2.512^{\Delta{m}} = \Delta{L}
เมื่อเทียบค่าโชติมาตรกับทั้งโชติมาตรและระยะห่างจากโลก ทำให้ค่าโชติมาตรสัมบูรณ์ (M) กับค่าโชติมาตรปรากฏ (m) ของดาวฤกษ์ดวงเดียวกันมีค่าไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ดาวซิริอุส มีค่าโชติมาตรปรากฏเท่ากับ -1.44 แต่มีค่าโชติมาตรสัมบูรณ์เท่ากับ +1.41
ดวงอาทิตย์มีค่าโชติมาตรปรากฏเท่ากับ -26.7 แต่มีค่าโชติมาตรสัมบูรณ์เพียง +4.83 ดาวซิริอุสซึ่งเป็นดาวสว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามราตรีเมื่อมองจากโลก มีโชติมาตรสูงกว่าดวงอาทิตย์ถึง 23 ขณะที่ดาวคาโนปุส ดาวฤกษ์สว่างอันดับสองบนท้องฟ้ายามราตรี มีค่าโชติมาตรสัมบูรณ์เท่ากับ -5.53 นั่นคือมีกำลังส่องสว่างสูงกว่าดวงอาทิตย์ถึง 14,000 เท่า ทั้ง ๆ ที่ดาวคาโนปุสมีกำลังส่องสว่างสูงกว่าดาวซิริอุสอย่างมาก แต่เมื่อมองจากโลก ดาวซิริอุสกลับสว่างกว่า ทั้งนี้เนื่องจากดาวซิริอุสอยู่ห่างจากโลกเพียง 8.6 ปีแสง ขณะที่ดาวคาโนปุสอยู่ห่างจากโลกออกไปถึงกว่า 310 ปีแสง
นับถึงปี ค.ศ. 2006 ดาวฤกษ์ที่มีค่าโชติมาตรสัมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่รู้จัก คือ LBV 1806-20 ที่ค่าแม็กนิจูด -14.2 ดาวฤกษ์ดวงนี้มีกำลังส่องสว่างสูงกว่าดวงอาทิตย์อย่างน้อย 5,000,000 เท่า ดาวฤกษ์ที่มีกำลังส่องสว่างต่ำที่สุดเท่าที่รู้จักตั้งอยู่ในกระจุกดาว NGC 6397 ดาวแคระแดงอันหรี่จางในกระจุกดาวนี้มีค่าแม็กนิจูด 26 ส่วนอีกดวงหนึ่งเป็นดาวแคระขาวมีค่าแม็กนิจูด 28 ดาวเหล่านี้จางแสงมากเทียบได้กับแสงจากเทียนวันเกิดที่จุดไว้บนดวงจันทร์และมองจากบนโลก
== การจัดประเภท ==
ระบบการจัดประเภทดาวฤกษ์อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้เริ่มต้นมาแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยแบ่งดาวฤกษ์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ A จนถึง Q ตามความเข้มของเส้นสเปกตรัมไฮโดรเจน ในเวลานั้นยังไม่ทราบกันว่า อิทธิพลสำคัญของความเข้มของเส้นสเปกตรัมคือ อุณหภูมิ เส้นสเปกตรัมไฮโดรเจนจะเข้มมากที่สุดที่อุณหภูมิประมาณ 9000 เคลวิน และอ่อนลงทั้งกรณีที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่านั้น ครั้นเมื่อเปลี่ยนวิธีการจัดประเภทดาวฤกษ์มาเป็นการอิงตามระดับอุณหภูมิ จึงได้มีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบการจัดประเภทในสมัยใหม่
มีการใช้รหัสตัวอักษรเดี่ยวที่แตกต่างกันเพื่อแสดงถึงประเภทของดาวฤกษ์แบบต่าง ๆ ที่แยกแยะตามสเปกตรัม ตั้งแต่ประเภท O อันเป็นดาวฤกษ์ที่ร้อนมาก ไปจนถึง M อันเป็นดาวฤกษ์ที่เย็นจนโมเลกุลอาจก่อตัวในชั้นบรรยากาศ ประเภทของดาวฤกษ์เรียงตามลำดับอุณหภูมิพื้นผิวจากสูงไปต่ำ ได้แก่ O, B, A, F, G, K และ M สำหรับประเภทสเปกตรัมบางอย่างที่พบได้ค่อนข้างน้อย จะจัดเป็นประเภทพิเศษ ที่พบมากที่สุดในจำนวนนี้คือประเภท L และ T ซึ่งเป็นดาวฤกษ์มวลน้อยที่เย็นที่สุด กับดาวแคระน้ำตาล ตัวอักษรแต่ละตัวจะมีประเภทย่อยอีก 10 ประเภท แสดงด้วยตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9 เรียงตามลำดับอุณหภูมิจากสูงไปต่ำ อย่างไรก็ดี ระบบการจัดประเภทแบบนี้จะใช้ไม่ได้เมื่ออุณหภูมิมีค่าสูงมาก ๆ กล่าวคือดาวฤกษ์ประเภท O0 และ O1 จะไม่มีอยู่จริง
นอกเหนือจากนี้ ดาวฤกษ์ยังอาจจัดประเภทได้จากผลกระทบกำลังส่องสว่างที่พบในเส้นสเปกตรัมของมัน ซึ่งสอดคล้องกันกับขนาดที่ว่างในอวกาศอันระบุได้จากแรงโน้มถ่วงพื้นผิว ค่าในประเภทนี้จะจัดได้ตั้งแต่ 0 (สำหรับดาวยักษ์ใหญ่ยิ่ง) ไปเป็น III (สำหรับดาวยักษ์) จนถึง V (สำหรับดาวแคระในแถบลำดับหลัก) นักดาราศาสตร์บางคนเพิ่มประเภท VII (ดาวแคระขาว) เข้าไปด้วย ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะอยู่บนแถบลำดับหลักซึ่งมีกระบวนการเผาผลาญไฮโดรเจนแบบปกติ หากพิจารณาบนเส้นกราฟระหว่างโชติมาตรสัมบูรณ์กับเส้นสเปกตรัมของดาว ดาวฤกษ์เหล่านี้จะอยู่บนแถบทแยงมุมแคบ ๆ ในกราฟ ดวงอาทิตย์ของเราก็อยู่บนแถบลำดับหลัก และจัดเป็นดาวแคระเหลือง ประเภท G2V คือเป็นดาวฤกษ์ขนาดปกติที่มีอุณหภูมิปานกลาง
ยังมีการตั้งรหัสเพิ่มเติมด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก ตามหลังค่าของเส้นสเปกตรัม เพื่อระบุถึงคุณสมบัติเฉพาะบางประการของเส้นสเปกตรัมนั้น ตัวอย่างเช่น ตัว "e" หมายถึงมีการตรวจพบเส้นสเปกตรัมที่แผ่ประจุ "m" หมายถึงมีระดับโลหะที่เข้มผิดปกติ และ "var" หมายถึงเส้นสเปกตรัมมีการเปลี่ยนแปลง
ดาวแคระขาวจะมีการจัดประเภทเฉพาะของมันเองโดยเริ่มต้นด้วยอักษร D และแบ่งประเภทย่อยเป็น DA, DB, DC, DO, DZ, และ DQ ขึ้นกับชนิดของความโดดเด่นที่พบในเส้นสเปกตรัม ตามด้วยค่าตัวเลขที่ระบุถึงดัชนีอุณหภูมิของดาว
== ดาวแปรแสง ==
ดาวแปรแสง คือดาวฤกษ์ที่มีค่ากำลังส่องสว่างเปลี่ยนแปลงไปแบบสุ่มแบบเป็นรอบเวลา เนื่องมาจากคุณสมบัติทั้งภายในและภายนอกของดาว สำหรับดาวแปรแสงแบบคุณสมบัติภายในสามารถแบ่งเบื้องต้นออกได้เป็น 3 ประเภท
ในระหว่างการวิวัฒนาการของดาว ดาวฤกษ์บางดวงอาจผ่านช่วงเวลาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปรเป็นห้วง ๆ ดาวแปรแสงแบบเป็นห้วงเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปตามรัศมีและกำลังส่องสว่าง ทั้งขยายขึ้นและหดสั้นลงในช่วงเวลาที่แตกต่างกันตั้งแต่หน่วยนาทีไปจนถึงเป็นปี ขึ้นอยู่กับขนาดของดาวฤกษ์นั้น ๆ ดาวแปรแสงประเภทนี้รวมไปถึงดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิดและดาวที่คล้ายคลึงกับดาวเซเฟอิด รวมถึงดาวแปรแสงคาบยาวเช่น ดาวมิรา
ดาวแปรแสงแบบพวยพุ่ง (Eruptive variables) คือดาวฤกษ์ที่มีกำลังส่องสว่างเพิ่มขึ้นแบบทันทีทันใด อันเนื่องมาจากแสงวาบหรือการปลดปล่อยมวลอย่างฉับพลัน ดาวแปรแสงจำพวกนี้รวมไปถึงดาวฤกษ์ก่อนเกิด ดาวฤกษ์ประเภท Wolf-Rayet ดาวแปรแสงประเภท Flare และดาวยักษ์ รวมถึงดาวยักษ์ใหญ่
ดาวแปรแสงแบบระเบิด (Cataclysmic หรือ Explosive variables) คือดาวที่มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติภายใน ดาวจำพวกนี้รวมไปถึงนวดาราและมหานวดารา ระบบดาวคู่ที่มีดาวแคระขาวอยู่ใกล้ ๆ ก็อาจทำให้เกิดการระเบิดของดาวฤกษ์ในลักษณะนี้ รวมถึงโนวา และมหานวดาราประเภท 1เอ การระเบิดเกิดขึ้นเมื่อดาวแคระขาวดึงไฮโดรเจนจากดาวคู่ของมันและพอกพูนมวลมากขึ้นจนกระทั่งไฮโดรเจนมีมากเกินกว่ากระบวนการฟิวชัน โนวาบางชนิดยังเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้เกิดคาบการระเบิดเป็นช่วง ๆ
นอกจากนี้ดาวฤกษ์ยังอาจเปลี่ยนแปลงกำลังส่องสว่างได้จากปัจจัยภายนอก เช่น การเกิดคราสในระบบดาวคู่ หรือดาวฤกษ์ที่หมุนรอบตัวเองและเกิดจุดมืดดาวฤกษ์ที่ใหญ่มาก ๆ การเกิดคราสในระบบดาวคู่ที่โดดเด่นได้แก่ ดาวอัลกอล (Algol) ซึ่งจะมีค่าโชติมาตรเปลี่ยนแปรอยู่ระหว่าง 2.3 ถึง 3.5 ทุก ๆ ช่วงเวลา 2.87 วัน
== โครงสร้าง ==
โครงสร้างภายในของดาวฤกษ์ที่เสถียรจะอยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต คือแรงกระทำจากปริมาตรขนาดเล็กแต่ละชุดที่กระทำต่อกันและกันจะมีค่าเท่ากันพอดี สมดุลของแรงประกอบด้วยแรงดึงเข้าภายในที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง และแรงผลักออกภายนอกที่เกิดจากแรงดันภายในของดาวฤกษ์ ระดับแรงดันภายในนี้เกิดขึ้นจากระดับอุณหภูมิของพลาสมาที่ค่อย ๆ ลดหลั่นกัน โดยที่ด้านนอกของดาวฤกษ์จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าด้านใน อุณหภูมิที่ใจกลางของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักหรือของดาวยักษ์จะมีค่าอย่างน้อย 107 K ผลของอุณหภูมิและแรงดันอันเกิดจากการเผาผลาญไฮโดรเจนที่แกนกลางดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักนี้มีเพียงพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน และสร้างพลังงานได้มากพอจะต้านทานการยุบตัวของดาวฤกษ์ได้
เมื่อนิวเคลียสอะตอมถูกหลอมเหลวที่ในใจกลางดาว มันจะแผ่พลังงานออกมาในรูปของรังสีแกมมา โฟตอนเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับพลาสมาที่อยู่รอบ ๆ และเพิ่มพูนพลังงานความร้อนให้กับแกนกลางมากยิ่งขึ้น ดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่กำลังแปลงไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม จะค่อย ๆ เพิ่มปริมาณฮีเลียมในแกนกลางขึ้นอย่างช้า ๆ ในอัตราเร็วค่อนข้างคงที่ ครั้นเมื่อปริมาณฮีเลียมมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนการสร้างพลังงานที่แกนกลางหยุดชะงักไป ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 0.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะมีพื้นผิวรอบนอกขยายตัวใหญ่ขึ้นห่อหุ้มฮีเลียมในแกนกลางเอาไว้
นอกเหนือจากสภาวะสมดุลอุทกสถิตที่อยู่ภายในดาวฤกษ์ที่เสถียร ยังมีสมดุลพลังงานภายในหรือที่เรียกว่า สมดุลความร้อน กล่าวคือการแพร่กระจายอุณหภูมิภายในตามแนวรัศมีภายในดาวทำให้เกิดกระแสพลังงานไหลจากภายในออกสู่ภายนอก กระแสพลังงานที่ไหลผ่านชั้นผิวของดาวฤกษ์ออกมาในแต่ละชั้นจะมีปริมาณเท่ากับกระแสพลังงานที่ไหลเข้ามาจากชั้นผิวก่อนหน้า
เขตแผ่รังสี คือบริเวณภายในดาวฤกษ์ที่ซึ่งมีการถ่ายเทรังสีอย่างมีประสิทธิผลพอจะทำให้เกิดการไหลของกระแสพลังงานได้ ในย่านนี้จะไม่มีการหมุนเวียนของพลาสมา และมวลต่าง ๆ ล้วนหยุดนิ่ง หากไม่มีสภาวะนี้เกิดขึ้น พลาสมาจะเกิดการปั่นป่วนและเกิดกระบวนการพาความร้อนขึ้น ทำให้เกิดเป็นย่านเรียกว่าเขตพาความร้อน ลักษณะเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีกระแสพลังงานไหลเวียนสูงมาก เช่นบริเวณใกล้แกนกลางของดาวหรือบริเวณที่มีการส่องสว่างสูงมากเช่นที่บริเวณชั้นผิวรอบนอก
ลักษณะการพาความร้อนที่เกิดขึ้นบนชั้นผิวรอบนอกของดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักขึ้นอยู่กับมวลของดาวฤกษ์นั้น ๆ ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลาย ๆ เท่าจะมีเขตพาความร้อนลึกลงไปภายในดาวมากและมีเขตแผ่รังสีที่ชั้นเปลือกนอก ขณะที่ดาวฤกษ์ขนาดเล็กเช่นดวงอาทิตย์จะมีลักษณะตรงกันข้าม โดยมีเขตพาความร้อนอยู่ที่ชั้นเปลือกนอกแทน ดาวแคระแดงที่มีมวลน้อยกว่า 0.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะมีเขตพาความร้อนแทบทั้งดวง ซึ่งทำให้มันไม่สามารถสะสมฮีเลียมที่แกนกลางได้ สำหรับดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีเขตพาความร้อนที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามอายุของดาว และตามองค์ประกอบภายในของดาวที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนประกอบของดาวฤกษ์ที่ผู้สังเกตสามารถมองเห็นได้ เรียกว่า โฟโตสเฟียร์ เป็นชั้นเปลือกที่ซึ่งพลาสมาของดาวฤกษ์กลายสภาพเป็นโฟตอนของแสง จากจุดนี้ พลังงานที่กำเนิดจากแกนกลางของดาวจะแพร่ออกไปสู่อวกาศอย่างอิสระ ในบริเวณโฟโตสเฟียร์นี้เองที่ปรากฏจุดดับบนดวงอาทิตย์หรือพื้นที่ที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยตามปกติ
เหนือกว่าชั้นของโฟโตสเฟียร์จะเป็นชั้นบรรยากาศของดาวฤกษ์ สำหรับดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักเช่นดวงอาทิตย์ ชั้นบรรยากาศต่ำที่สุดคือชั้นโครโมสเฟียร์บาง ๆ ซึ่งเป็นจุดเกิดของสปิคูลและเป็นจุดกำเนิดเปลวดาวฤกษ์ ล้อมรอบด้วยชั้นเปลี่ยนผ่านซึ่งอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะทางเพียง 100 กิโลเมตรโดยประมาณ พ้นจากชั้นนี้จึงเป็นโคโรนา ซึ่งเป็นพลาสมาความร้อนสูงมวลมหาศาลที่พุ่งผ่านออกไปภายนอกเป็นระยะทางหลายล้านกิโลเมตร ดูเหมือนว่า โคโรนาจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่ดาวฤกษ์มีย่านการพาความร้อนอยู่ที่ชั้นเปลือกนอกของพื้นผิว โคโรนามีอุณหภูมิที่สูงมาก แต่กลับให้กำเนิดแสงสว่างเพียงเล็กน้อย เราจะสามารถมองเห็นย่านโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้ในเวลาที่เกิดสุริยคราสเท่านั้น
พ้นจากโคโรนา เป็นอนุภาคพลาสมาที่เป็นต้นกำเนิดลมสุริยะแผ่กระจายออกไปจากดาวฤกษ์ กว้างไกลออกไปจนกระทั่งมันปะทะกับมวลสารระหว่างดาว สำหรับดวงอาทิตย์ อาณาบริเวณที่ลมสุริยะมีอิทธิพลกว้างไกลออกไปเป็นรูปทรงคล้ายลูกโป่ง เรียกชื่อย่านภายใต้อิทธิพลของลมสุริยะนี้ว่า เฮลิโอสเฟียร์
== เส้นทางเกิดปฏิกิริยาของดาวฤกษ์ ==
มีรูปแบบปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่แตกต่างกันมากมายเกิดขึ้นในใจกลางของดาวฤกษ์ ขึ้นกับมวลและองค์ประกอบของดาวนั้น ๆ โดยปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ มวลสุดท้ายของนิวเคลียสอะตอมที่หลอมตัวที่น้อยกว่าค่ารวมขององค์ประกอบทั้งหมด มวลที่สูญเสียไปนั้นกลายไปเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ตามสมการความสมมูลระหว่างมวล-พลังงาน คือ E = mc²
กระบวนการฟิวชันของไฮโดรเจนเกิดขึ้นตามระดับของอุณหภูมิ ดังนั้นการที่อุณหภูมิใจกลางดาวเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่ออัตราการเกิดฟิวชันอย่างมาก ผลที่ได้คือ อุณหภูมิใจกลางดาวของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักจะมีค่าแปรเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 4 ล้านเคลวิน สำหรับดาวฤกษ์เล็กประเภท M ไปจนถึง 40 ล้านเคลวิน สำหรับดาวฤกษ์มวลมากในประเภท O
สำหรับดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิใจกลางประมาณ 10 ล้านเคลวิน ไฮโดรเจนจะหลอมละลายกลายเป็นฮีเลียมในห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน:
41H → 22H + 2e+ + 2νe (4.0 MeV + 1.0 MeV)
21H + 22H → 23He + 2γ (5.5 MeV)
23He → 4He + 21H (12.9 MeV)
ปฏิกิริยาเหล่านี้ส่งผลต่อปฏิกิริยาในภาพรวมดังนี้:
41H → 4He + 2e+ + 2γ + 2νe (26.7 MeV)
โดยที่ e+ คือ โพสิตรอน, γ คือโฟตอนของรังสีแกมมา, νe คือ นิวตริโน, และ H กับ He คือไอโซโทปของไฮโดรเจนและฮีเลียมตามลำดับ พลังงานที่ปลดปล่อยออกจากปฏิกิริยานี้มีขนาดหลายล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งอันที่จริงเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กน้อยของพลังงานเท่านั้น อย่างไรก็ดี มีปฏิกิริยาเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้สามารถกำเนิดพลังงานขึ้นเพียงพอที่จะทำให้เกิดการแผ่รังสีของดาวฤกษ์
ในดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงกว่านี้ ฮีเลียมจะทำให้เกิดวงจรปฏิกิริยาที่เร่งขึ้นเนื่องจากคาร์บอน คือวงจรปฏิกิริยาคาร์บอน-ไนโตรเจน-ออกซิเจน
ดาวฤกษ์ที่วิวัฒนาการไปด้วยอุณหภูมิใจกลาง 100 ล้านเคลวิน และมวลระหว่าง 0.5-10 เท่าของมวงดวงอาทิตย์นั้น ฮีเลียมสามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นคาร์บอนได้ในกระบวนการทริปเปิล-อัลฟา ซึ่งใช้ เบริลเลียม เป็นธาตุที่เป็นตัวกลาง:
4He + 4He + 92 keV → 8*Be
4He + 8*Be + 67 keV → 12*C
12*C → 12C + γ + 7.4 MeV
สำหรับปฏิกิริยาในภาพรวมคือ:
34He → 12C + γ + 7.2 MeV
ในดาวฤกษ์มวลมาก ธาตุหนักจะถูกเผาผลาญไปในแกนกลางที่อัดแน่นโดยผ่านกระบวนการเผาผลาญนีออน และกระบวนการเผาผลาญออกซิเจน สภาวะสุดท้ายในกระบวนการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์คือ กระบวนการเผาผลาญซิลิกอน ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นไอโซโทปเสถียร เหล็ก-56 กระบวนการฟิวชันไม่อาจดำเนินต่อไปได้อีก นอกเสียจากจะต้องผ่านกระบวนการดูดกลืนความร้อน (endothermic process) หลังจากนั้น พลังงานจะเกิดขึ้นได้จากการยุบตัวเนื่องจากแรงโน้มถ่วงเท่านั้น
ตัวอย่างข้างล่างนี้ แสดงระยะเวลาที่ดาวฤกษ์ขนาด 20 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จำเป็นต้องใช้ในการเผาผลาญพลังงานนิวเคลียร์ภายในตัวจนหมด ดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักประเภท O จะมีรัศมี 8 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ และมีกำลังส่องสว่าง 62,000 เท่าของกำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์
== ดูเพิ่ม ==
กลุ่มดาว
ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ห้องสมุดสมาคมดาราศาสตร์ไทย
ชีวิตของดาวฤกษ์ จากท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ
ดาวฤกษ์ จาก World Book @ NASA
ภาพวาดดาวฤกษ์และกลุ่มดาวต่าง ๆ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
รายชื่อดาวฤกษ์ เรียงตามผู้ค้นพบ พิกัด หรือรหัสอ้างอิง Centre de Données astronomiques de Strasbourg
การถอดรหัสการจัดประเภทดาวฤกษ์ Astronomical Society of South Australia
Live Star Chart ดูภาพดวงดาวต่าง ๆ เหนือตำแหน่งที่เราอยู่
ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์
แหล่งกำเนิดแสง | thaiwikipedia | 655 |
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล | สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union; Union astronomique internationale) หรือย่อว่า ไอเอยู (IAU) และ อูว์อาอี (UAI) เป็นองค์กรที่รวมกลุ่มสมาคมดาราศาสตร์ต่าง ๆ จากทั่วโลกเข้าด้วยกันAbout the IAU และเป็นสมาชิกของ | thaiwikipedia | 656 |
วัตถุทางดาราศาสตร์ | วัตถุทางดาราศาสตร์ (astronomical object) หรือ วัตถุท้องฟ้า (celestial object) หรือ เทห์ฟากฟ้า หรือ เทห์ฟ้า (celestial body) หมายถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวบริวาร ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย สะเก็ดดาว ดาราจักร เนบิวลา หลุมดำ กระจุกดาว กระจุกดาราจักร ซูเปอร์โนวา ไฮเปอร์โนวา โนวา กระจุกดาราจักรยวดยิ่ง ดาวเคราะห์นอกระบบ ดาวนิวตรอน ซากซูเปอร์โนวา ดาวแคระน้ำตาล ดาวแคระดำเป็นต้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ใช้คำว่า "เทห์ฟากฟ้า" หรือ "เทห์ฟ้า" แต่ในวงการดาราศาสตร์นิยมใช้คำว่า "วัตถุท้องฟ้า"
วัตถุทางดาราศาสตร์
ดาราศาสตร์ | thaiwikipedia | 657 |
ปีแสง | ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล คือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร
== อ้างอิง ==
หน่วยความยาว
มาตรดาราศาสตร์
หน่วยวัดในดาราศาสตร์ | thaiwikipedia | 658 |
กิโลเมตร | กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (kilomètre) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร
== เทียบกับหน่วยวัดอื่น ==
1 กิโลเมตร มีค่า
ประมาณ 0.621371 ไมล์
ประมาณ 1,093.61 หลา
ประมาณ 3,280.84 ฟุต
ประมาณ 0.539957 ไมล์ทะเล
== ดูเพิ่ม ==
ปีแสง
พาร์เซก
อันดับของขนาด (ความยาว)
หน่วยความยาวระบบเมตริก | thaiwikipedia | 659 |
รัฐศาสตร์ | รัฐศาสตร์ (political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง
กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่าง ๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง , การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่าง ๆ เหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) สาขาการปกครองท้องถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation)
== ขอบเขตของการศึกษา ==
รัฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่มีมโนทัศน์หลักในการศึกษาคือการเมือง อย่างไรก็ตามความเข้าใจเรื่องนิยามของการเมืองระหว่างคนทั่วๆไป กับผู้ศึกษาวิชารัฐศาสตร์จะมีความแตกต่างกัน โดยทั่วไปนั้นสิ่งที่เรียกว่าการเมืองมักถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องกิจการของรัฐ, รัฐบาล, พรรคการเมือง หรือนักการเมืองเป็นหลัก แต่สำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์นั้นจะมองการเมืองบนฐานของมโนทัศน์เรื่อง "อำนาจ" (power) เป็นหลัก
หนังสือความเข้าใจมโนทัศน์ "การเมือง" เบื้องต้น (Politics : the basic) ของสตีเฟน เทนซีย์ (Stephen D. Tansey) ได้อธิบายถึงความเข้าใจแง่มุมของ "การเมือง" ไว้ว่า
ในแบบแคบ (narrowest sence) การเมืองเป็นเรื่องกิจกรรมต่างๆของรัฐบาล (What government do?) อาทิกฎหมาย, นโบายสาธารณะ เป็นต้น
ในแบบกว้าง (wider sence) นั้นการเมืองจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างมนุษย์ (Human's power relation) อาทิ จารีต, ประเพณี, วัฒนธรรม เป็นต้น ในปัจจุบันวิชารัฐศาสตร์ได้รับอิทธิพลการอธิบายการเมืองจากทางความคิดจากแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) ที่เชื่อว่า การเมืองนั้นเป็นเรื่องของมนุษย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทุกเมื่อเชื่อวัน (the politics = everyday's life) และที่ใดมีอำนาจที่นั่นมีการเมือง
== ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล ==
=== สมัยกรีกโบราณ ถึงยุโรปสมัยกลาง (ศควรรษที่ 6 - 5 ก่อนคริตกาล - ราว ศตวรรษ ที่ 12 - 14) ===
จารีตของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมาจากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโต และ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความตางกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฎหมายที่ต่อมากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโร
หลังสิ้นสุดยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตามความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีกโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฏิวัติทางภูมิปัญญาในยุโรป (the age of enlightenment)
=== สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการถึงสมัยใหม่ตอนต้น (ราวศตวรรษ ที่ 13 - 19) ===
การปฏิวัติทางความคิดทางศาสนาคริสต์ การเติบโตขึ้นของแนวคิดมนุษย์นิยม (humanism) ทำให้การศึกษาการเมืองในยุคนี้มีการพูดถึงการเมืองของมนุษย์มากขึ้น โดยปรากฏชัดในงานเขียนเรื่อง "เจ้าผู้ปกครอง" (the prince) ของมาคิอาเวลลี ที่สอนการปกครองอย่างตรงไปตรงมา และในบางเรื่องดูจะโหดร้าย และน่ารังเกียจหากมองด้วยสายตาของผู้ที่เคร่งครัดในจารีตทางความเชื่อแบบมีศีลมีธรรมแบบยุโรป
การปฏิวัติทางความคิดวิทยาศาสตร์ยุคแรก (the scientific revolution) ส่งผลให้ในยุโรปเกิดกระแสการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาการเมือง โดยปรากฏอย่างชัดเจนในงานเรื่อง เลอไวธัน (Levithan) ของ ฮอบส์ ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมว่าไม่ต่างจากระบบกลไล ที่รัฐคือองคาพยพใหญ่ และมนุษย์คือฟันเฟือง ในขณะเดียวกันงานของรุสโซก็สร้างข้อถกเถียงที่สำคัญว่าการศึกษาการเมืองนั้นจะใช้วิทยาศาสตร์หรือปรัชญาดี อิทธิพลทางความคิดดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของแนวคิดทางการเมืองในยุคสมัยใหม่ตอนปลาย และช่วงสงครามเย็นนั่นคือ อุดมการณ์ทางการเมือง
=== สมัยใหม่ตอนปลาย (ราวศตวรรษ ที่ 19 - 20) ===
เป็นยุคที่วิชา รัฐศาสตร์มีการศึกษาที่นำเอาวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วยศึกษา และเรียกการศึกษาการเมืองว่า "รัฐศาสตร์" (political science) เป็นครั้งแรก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนอยู่ในคณะประวัติศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ตราจารย์คนแรกของวิชารัฐศาสตร์คือฟรานซ์ ลีแบร์ (Francis Lieber) นักปรัชญาอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นศาตราจารย์ประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
การศึกษาวิชาในยุควิทยาศาสตร์นี้ได้สร้างวิธีการศึกษาการเมืองขึ้นมา นั่นคือการศึกษาการเมืองผ่านการสร้าง ทฤษฎีการเมือง นักรัฐศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่านักทฤษฎีการเมืองจะมองว่าทฤษฎี คือเครื่องมือในการทำความเข้าในสภาพการเมืองโดยรวม ซึ่งผลิตผลของการศึกษาทำความเข้าใจดังกล่าวจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์สร้างตัวแบบ (model) เพื่ออธิบายความจริง (fact) ที่เกิดขึ้น ในยุคนี้ยังเชื่อว่าการศึกษาการเมืองโดยใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเรื่องพ้นสมัย การศึกษาการเมืองในยุคนี้จึงเน้นศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง แล้วนำมาวัดประเมินค่าในเชิงคณิตศาสตร์และสถิติ จึงเรียนรัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรกว่า สำนักพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)
อย่างไรก็ตามในเวลาช่วง ทศวรรษที่ 1970 - 1980 นักรัฐศาสตร์จำนวนมากก็ตั้งข้อกังขาว่าการเมืองนั้นสามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้หรือไม่ การถกเถียงดังกล่าวเกิดในวงวิชาการอเมริกัน อันนำไปสู่การปฏิวัติการศึกษาการเมืองที่พยายามดึงเอาปรัชญา และประวัติศาสตร์กลับมาอีกครั้ง เรียกว่านักรัฐศาสตร์สายหลังพฤติกรรมศาสตร์ (post-behavioralism)
=== ปัจจุบัน ===
การศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันมี 2 กระแส กระแสแรกคือสายที่ยังศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์ คือเชื่อมั่นว่าการศึกษาการเมืองผ่านตัวเลข และสถิติมีความมั่นคงเชื่อถือได้ ส่วนอีกกระแสคือสายที่พยายามกลับไปใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษา รัฐศาสตร์ในปัจจุบันจึงมีลักษณะสาขาวิชาที่เป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) สูงมากสาขาวิชาหนึ่ง อย่างไรก็ตามจากการที่ความคิดตระกูลหลังสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อแวดวงวิชาการในทศวรรษที่ 1980 ทำให้วิชารัฐศาสตร์ก็หลีกหนีแนวนิยมนี้ไม่พ้น
ปัจจุบันการศึกษารัฐศาตร์มิได้จำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่ที่อธิบายสถาบัน และกระบวนการสร้างสถาบันทางการเมือง ทั้งนี้ก็ด้วยความเข้าใจ “การเมือง” ที่เปลี่ยนแปรไป โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของตระกูลทางความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม (post – structuralism) หรือลัทธิหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะความคิดเรื่อง “เทคโนโลยีแห่งอำนาจ (technologies of power)” ของมิแชล ฟูโกต์ นักคิดชาวฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องอำนาจ และการศึกษาการเมือง ปัจจุบันการศึกษาการเมืองจึงไม่ต่างจากการศึกษาแทบทุกสิ่งทุกอย่างที่นักรัฐศาสตร์เห็นว่ามีปฏิบัติการณ์ทางอำนาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง “วินัย และ การลงโทษ : การกำเนิดขึ้นของเรือนจำ (Discipline and Punish: The Birth of the Prison)” ได้เสนอมุมมองใหม่ต่อสิ่งที่เรียกว่าการเมือง และอำนาจอย่างมหาศาล
== ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย ==
การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่าง ๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือ รปศ.) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อสังเกตคือในยุคเริ่มแรกนั้นรัฐศาสตร์ไทยนั้นเน้นผลิตบัณฑิตเข้าสู่วงราชการ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมาจึงเป็นที่มาของการใช้ตราสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชา และอีกส่วนหนึ่งคือการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ไทยในยุคแรก อันที่จริงเป็นการเรียนการสอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์เพื่อสร้างข้าราชการป้อนให้กับรัฐไทย หรือก็คือสอนวิชาบริหารจัดการสาธารณะภายได้ชื่อรัฐศาสตร์ทำให้ในเวลาต่อมาเกิดความสับสนในวงวิชาการว่ารัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตามในสังคมไทยมีการศึกษารัฐศาสตร์กระแสหนึ่งซึ่งเริ่มมีอิทธิพลขึ้นมากหลัง พ.ศ. 2526 เรียกว่ารัฐศาสตร์ทวนกระแส ซึ่งโดยภาพรวมก็ไม่ต่างแนวหลังพฤติกรรมศาสตร์ในตะวันตก อ่านเพิ่มเติม
== อ้างอิง ==
== ดูเพิ่ม ==
การเมือง
คณะรัฐศาสตร์
สมัครเรียนการปกครองท้องถิ่น
วิทยาการเมือง | thaiwikipedia | 660 |
ไวน์ | ไวน์ (wine) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำมาจากการหมักด้วยองุ่น ยีสต์จะกินน้ำตาลในองุ่นและแปรเปลี่ยนเป็นเอทานอล คาร์บอนไดออกไซค์ และความร้อน องุ่นสายพันธุ์ต่าง ๆ และยีสต์หลายสายพันธุ์เป็นปัจจัยหลักในไวน์หลากสไตล์ ความแตกต่างเหล่านี้เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างการพัฒนาทางชีวเคมีขององุ่น ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการหมัก สภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกองุ่น(terrior) และกระบวนการผลิตไวน์ หลายประเทศออกกฏหมายในการตั้งชื่อเพื่อกำหนดรูปแบบและคุณภาพของไวน์ โดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้จะจำกัดแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์และสายพันธุ์องุ่นที่ได้รับอนุญาต เช่นเดี่ยวกับแง่มุมอื่น ๆ ของการผลิตไวน์ ไวน์ที่ไม่ได้ทำมาจากองุ่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหมักพืชผลเพิ่มเติม รวมทั้งไวน์ข้าว และไวน์ผลไม้อื่น ๆ เช่น พลัม เชอร์รี่ ทับทิม ลูกเกด และเอลเดอร์เบอร์รี่
ไวน์มีการผลิตมานานนับพันปี หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของไวน์มาจากจีนยุคโบราณ (ค.ศ. 7000 ปีก่อนคริตกาล) จอร์เจีย(ค.ศ. 6,000 ปีก่อนคริตกาล) เปอร์เซีย(ค.ศ. 5,000 ปีก่อนคริตกาล) และอิตาลี(ค.ศ. 4,000 ปีก่อนคริตกาล) ไวน์โลกใหม่มีความเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำขึ้นโดยชนพื้นเมืองของอเมริกา แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ไวกิงในเวลาต่อมาของวินแลนด์และขนบประเพณีของเสปนในนิวสเปน. ต่อมาในขณะที่ไวน์โลกเก่าได้พัฒนาเทคนิดการปลูกองุ่นมากขึ้น ยุโรปจะคลอบคลุมพื้นที่ผลิตไวน์ที่ใหญ่ที่สุดถึงสามแห่ง ปัจจุบัน ห้าประเทศที่มีพื้นที่ผลิตไวน์มากที่สุดคือ อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และจีน
ไวน์มีบทบาทที่สำคัญในศาสนามาช้านาน ไวน์แดงมีความเกี่ยวข้องกับเลือดของชาวอียิปต์ยุคโบราณ และถูกนำมาใช้ในการบูชาเทพเจ้าองค์หนึ่งนามว่า ไดอะไนซัส ของชาวกรีก ส่วนโรมัน จะถูกนำมาใช้ในงานฉลองที่มีชื่อว่า แบคัสนาเลีย ศาสนายูดาห์ยังถูกรวมอยู่ในพิธีคีดูช และศาสนาคริสต์ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ วัฒนธรรมไวน์ของอียิตป์ กรีก โรมัน และอิสราเอลนั้นยังคงเชื่อมโยงถึงรากเหง้ายุคโบราณเหล่านี้ ในทำนองเดียวกัน แหล่งผลิตไวน์ที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี สเปน และฝรั่งเศสก็มีมรดกตกทอดที่เกี่ยวข้องกับไวน์ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกันกับประเพณีการปลูกองุ่นทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริดกาเริ่มต้นขึ้นภายในนิวสเปน เนื่องจากบาทหลวงและคณะสงฆ์คาทอลิกได้ผลิตไวน์ขึ้นเป็นครั้งแรกในนิวแม็กซิโกและแคลิฟอร์เนีย.
== ประวัติ ==
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมาหลายพันปีแล้ว มีการค้นพบโถโบราณบรรจุเมล็ดองุ่นไร่ซึ่งมีอายุนับเนื่องขึ้นไปกว่า 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล
นอกจากที่ประเทศอิหร่านแล้ว ยังมีการพบร่องรอยของเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากกรรมวิธีการหมักแบบเดียวกับไวน์ในสมัย 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางตอนเหนือของประเทศจีน
ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่าง ๆ ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
ในสมัยศตวรรษที่ 19 ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ 6-8 ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้
== ส่วนประกอบของไวน์ ==
ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไวน์คือองุ่นสายพันธ์ต่าง ๆ ยีส และส่วนผสมทางเคมีอื่น ๆ ปกติแล้ว ปริมาณของแอลกอฮอล์จะอยู่ระหว่าง 9-15 เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาณน้ำ 85 เปอร์เซ็นต์
แอลกอฮอล์ในไวน์ส่วนใหญ่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และยังพบตัวทำละลายประเภทกลีเซอรอล ซอร์บิทอล และบูตีแลนกลีคอล
นอกจากนั้น ไวน์ยังประกอบด้วย
น้ำตาลชนิดต่าง ๆ ทั้งกลูโคส ฟรุคโตส ในปริมาณที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1-2 กรัมต่อลิตร ในดรายไวน์ที่หมักจนน้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์แล้ว จนถึง 50-60 กรัมต่อลิตร ในไวน์หวานที่กระบวนการหมักบ่มยังไม่สมบูรณ์
กรดต่าง ๆ ทั้งกรดมาลิก กรดซิตตริก กรดทาทาริก กรดน้ำส้ม กรดแลกติก กรดซัคซินิก
ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น แทนนิน แอนโทซีอัน
รงควัตถุ (pigment) ต่าง ๆ เช่น แอนโทไซยานิน
== การแบ่งประเภทไวน์ ==
ในหลาย ๆ ประเทศจะแบ่งประเภทไวน์ตามพันธุ์ขององุ่นที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ และในประเทศฝรั่งเศสมีการแบ่งประเภทไวน์ตามพื้นที่แหล่งผลิตหรือกรู (cru) ผู้ผลิต และปีที่ผลิต
=== พันธุ์องุ่น (Cépage; Cultivar) ===
พันธุ์องุ่นดำที่มีชื่อเสียงในการทำไวน์แดงหรือไวน์ชมพู ได้แก่
พันธุ์องุ่นหลักของเมืองบอร์โด (Bordeaux)
* กาแบร์เน-โซวีญง (cabernet-sauvignon)
* กาแบร์เน-ฟรอง (cabernet franc)
* แมร์โลนัวร์ (merlot noir)
* เปอตีแวร์โด (petit verdot)
* โกตหรือมูร์แวด (cot or mourvede)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นชองปาญ (Champagne)
* ปีโนนัวร์ (pinot noir)
* [ขาว] ปีโนเมอนีเย (pinot meunier)
* [ขาว] ชาร์ดอเน (chardonnay)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นบูร์กอญ (Bourgogne) [โบโชเล Beaujolais]
* กาเมนัวร์ (gamay noir) หรือกาเมโฟรโอ (gamay freaux)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นลองเกอด็อก-รูซียง (Languedoc Rousillon) [เวเดแอน: แวงดูนาตูแรล VDN: Vin Doux Naturel]
* ซีรา (syrah)
* เกรอนาช (grenache)
พันธุ์องุ่นหลักของรัฐแคลิฟอร์เนีย (California)
* ซินฟันเดล (zinfandel) นำมาจากประเทศอิตาลี
พันธุ์ขาว องุ่นที่นิยมนำมาทำไวน์ขาวได้แก่
พันธุ์องุ่นหลักของเมืองบอร์โด (Bordeaux) [โซแตร์น, อ็องตร์-เดอ-แมร์, ลูปียัก Sauterne, Entre-deux-mer, Loupiac]
* โซวีญงบล็อง (sauvignon blanc)
* เซมียง (sémillon)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นบูร์กอญ (Bourgogne) [ชาบลี, มาร์โซล Chablis, Marsault]
* ชาร์ดอเน (chardonnay)
* อาลีโกเต (aligoté)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ (Pays de la Loire) [วูเวร Vouvray]
* เชอแนงบล็อง (chenin blanc)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นอัลซาซ (Alsace)
* เกเวือร์ซทรามีเนอร์ (gewürztraminer)
* ปีโนกรี (pinot gris)
* รีเอสลิง (riesling)
มุสกา (muscat)
* ซีลวาเน (sylvaner)
อามีญ (amigne) (ในรัฐวาเล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
ซาวาแญง (savagnin)
=== พื้นที่ ===
คำว่า "กรู" (cru) หมายถึงไวน์เฉพาะถิ่นที่ผลิตในพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้ โดยพื้นที่แต่ละแห่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม สภาพพื้นดิน สภาพอากาศ ซึ่งทำให้องุ่นที่ปลูกในพื้นที่นั้น ๆ ให้รสชาติและลักษณะไวน์ที่เป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ไวน์ของผู้ผลิตในประเทศต่าง ๆ (ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ชิลี แคลิฟอร์เนีย - สหรัฐอเมริกา) สร้างความหลากหลายให้กับรสชาติไวน์ตามลักษณะของพื้นที่ผลิต (แสงแดด ความชื้น คุณภาพดิน) โดยการดื่มไวน์ชิมไวน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง จุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของไวน์และประเมินคุณภาพเพื่อให้เกิดความสุนทรีในการดื่ม คนที่เป็นนักชิมไวน์มืออาชีพ (Master of wine) คนเหล่านี้จะมีคำว่า MW วงเล็บต่อท้ายชื่อ ซึ่งทั่วโลกมีอยู่ 100 กว่าคน และในเอเชียมีเพียง 10 คนเท่านั้น
ในฝรั่งเศส พื้นที่ผลิตมักจะสัมพันธ์กับพันธุ์องุ่น โดยในพื้นที่หนึ่ง ๆ อาจจะปลูกองุ่นเพียงพันธุ์เดียว หรือหลายพันธุ์เป็นการเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ไวน์มาดีรอง (madiran) จากแถบเทือกเขาพีเรนีส จะทำจากองุ่นพันธุ์ตานา (tannat) เท่านั้น
ผู้ผลิตจะตั้งชื่อไวน์ตามชื่อพื้นที่สำหรับไวน์บูร์กอญ (Bourgogne) หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่าเบอร์กันดี (Burgundy) ส่วนไวน์บอร์โด (Bordeaux) ตั้งตามชื่อปราสาท (châteaux - ชาโต)
=== แหล่งผลิตไวน์ ===
พื้นที่ที่ใช้ในการเพาะองุ่นสำหรับหมักไวน์เนื่องจากดินที่ใช้ทำให้รสองุ่นต่างกัน ดังนั้น ไวน์ที่ผลิตในยุโรป (Old-world) เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี จะรสต่างจากไวน์ที่ผลิตในที่อื่น ๆ (New-world) เช่น แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย แคลิฟอร์เนีย ชิลี เป็นต้น หากคุณต้องเลือก ไวน์จาก Old-world อาจจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าไวน์จากประเทศ New-world จะไม่อร่อยเพราะก็มีไวน์จากอเมริกาและออสเตรเลียที่ได้รับรางวัลมากมาย
ไวน์ที่ผลิตในอเมริกา ให้มองหาไวน์จากออเรกอน (Oregon) หรือไร่นาปาในแคลิฟอร์เนีย (Napa Valley, California)
ไวน์ที่ผลิตในฝรั่งเศส ให้มองหาไวน์จาก Bordeaux, Burgundy, และ Champagne
ไวน์ที่ผลิตในอิตาลี ให้มองหาไวน์จาก Tuscany, Chianti
ไวน์ที่ผลิตในออสเตรเลีย ให้มองหา Shiraz
=== ปีที่ผลิต ===
ปีที่ผลิต (Millésime; Vintage) คือ ปีที่มีการเก็บองุ่นซึ่งนำมาใช้ทำไวน์นั้น ๆ เป็นตัวบ่งบอกถึงลักษณะอากาศในปีต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพไวน์ โดยปกติผู้ผลิตจะเขียนชื่อปีที่ผลิตไว้บนฉลาก กฎหมายของสหภาพยุโรปไม่ได้กำหนดให้แจ้งปีที่เก็บเกี่ยวองุ่นที่ใช้ทำไวน์แต่อย่างใด
== ชนิดของไวน์ ==
=== ไวน์แดง ===
ไวน์แดง (red wine)
ตัวอย่างไวน์แดงที่ได้รับความนิยม
บาโรโล (Barolo) - อิตาลี
บรูเนลโลดีมอนตัลชีโน (Brunello di Montalcino) - อิตาลี
โบโชเล (Beaujolais) - ฝรั่งเศส
บอร์โด (Bordeaux) - ฝรั่งเศส
บูร์กอญ (Bourgogne) หรือบูร์กันดี (Burgundy) - ฝรั่งเศส
กาแบร์เนโซวีญง (Cabernet Sauvignon) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย มอลโดวา แอฟริกาใต้
การ์เมเนเร (Carmenere) - ชิลี
กีอันตี (Chianti) - อิตาลี
แมร์โล (Merlot) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย วอชิงตัน ชิลี แอฟริกาใต้
ปีโนนัวร์ (Pinot Noir) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออริกอน แอฟริกาใต้
พิโนเทจ (Pinotage) - แอฟริกาใต้
เรียวคา (Rioja) - สเปน
ซีรา/ชีรัซ (Syrah/Shiraz) - ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย แคลิฟอร์เนีย แอฟริกาใต้
วัลโปลีเชลลา (Valpolicella) - อิตาลี
ซินฟันเดล (Zinfandel) - แคลิฟอร์เนีย
=== ไวน์ขาว (White wine) ===
ผลิตจากองุ่นขาวหรือองุ่นแดงแต่เอาเฉพาะน้ำองุ่น แบ่งออกเป็นหลายชนิด
ไวน์ขาวอ่อน (Vin Blanc Tranquille or Doux)
ไวน์ขาวแห้ง (Vin Blanc Sec or Demi-sec)
ไวน์ขาวหวาน (VDN, Porto, Xeres)
ไวน์ขาวอัดก๊าซ (Champagne, Vouvrey)
ลิเกอร์จากองุ่นขาว (Cognac, Armagnac, Pineau)
ตัวอย่างไวน์ขาวที่ได้รับความนิยม
ชาร์ดอเน (Chardonnay) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้
ชาบลี (Chablis) - ฝรั่งเศส
เชอแนงบล็อง (Chenin Blanc) - แอฟริกาใต้ ฝรั่งเศส
ฟรัสกาตี (Frascati) - อิตาลี
เกเวือร์ซทรามีเนอร์ (Gewürztraminer) - ฝรั่งเศส เยอรมนี แอฟริกาใต้
ลีบเฟรามิลค์ (Liebfraumilch) - เยอรมนี
ออร์วีเอโต (Orvieto) - อิตาลี
ปีโนกรี/ปีนอตกรีโจ (Pinot Gris/Pinot Grigio) - ฝรั่งเศส อิตาลี ออริกอน
ปุยยี-ฟุยเซ (Pouilly-Fuissé) - ฝรั่งเศส
รีสลิง (Riesling) – ฝรั่งเศส เยอรมนี
โซวีญงบล็อง (Sauvignon Blanc) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้
เซมียง (Sémillon) - แอฟริกาใต้
โซอาเว (Soave) - อิตาลี
แวร์ดิกกีโอเดย์กัสเตลลีดีเจซี (Verdicchio dei castelli di Jesi) - อิตาลี
=== สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine) ===
เป็นไวน์ชนิดมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อัดอยู่
ตัวอย่างสปาร์กลิงไวน์ที่ได้รับความนิยม
อัสตีสปูมันเต (Asti spumante) - อิตาลี
กาบา (Cava) - สเปน
แชมเปญ/ชองปาญ (Champagne) - ฝรั่งเศส สปาร์กลิงไวน์ที่ผลิตขึ้นที่แคว้นนี้เท่านั้นจึงจะได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า แชมเปญ
ฟรันชากอร์ตา (Franciacorta) - อิตาลี
โปรเซกโก (Prosecco) - อิตาลี
เซคท์ (Sekt) - เยอรมัน
สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine) – แคลิฟอร์เนีย ออริกอน วอชิงตัน นิวเม็กซิโก
=== ไวน์สีกุหลาบ (rosé) ===
บูซุยโออาตซะเดโบโฮติน (Busuioacă de Bohotin) : โรมาเนีย
ลาเกรนโรซาโต (Lagrein Rosato) : อิตาลี
โรเซ (Rosé) : ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส แอฟริกาใต้ สเปน สหรัฐอเมริกา ตุรกี
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Wine vintages, vintage charts -
Varieties of red wines -
Wine storage -
เครื่องดื่มหมักดอง | thaiwikipedia | 661 |
จอห์น เอฟ. เคนเนดี | จอห์น ฟิตซ์เจอรัลด์ เคนเนดี ( John Fitzgerald Kennedy) (29 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 — 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963) มักจะเรียกด้วยชื่อย่อของเขาว่า เจเอฟเค และ แจ๊ค เป็นนักการเมืองชาวสหรัฐอเมริกาที่ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 จนกระทั่งถูกลอบสังหารในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1963 เคเนดีได้ทำหน้าที่ในระดับสูงในช่วงสงครามเย็นและงานส่วนใหญ่ของเขาในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตและคิวบา จากพรรคเดโมแครต เคเนดีได้เป็นตัวแทนของรัฐแมสซาชูเซตส์ในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐ ก่อนที่จะเป็นประธานาธิบดี
เคนเนดีเกิดที่เมืองบรูคไลน์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 ที่บ้านเลขที่ 83 ถนนบีลส์สตรีท เป็นลูกของโจเซฟ แพทริค เคนเนดี นักธุรกิจและนักการเมือง กับโรส เคนเนดี นักสังคมสงเคราะห์ ปู่ของเขาเคยเป็นวุฒิสภาของรัฐแมสซาชูเซตส์ และตาของเขาเป็นสมาชิกในรัฐสภาสหรัฐและเคยได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองบอสตัน โดยปู่ ยา ตา ยายของเขาเป็นผู้อพยพจากประเทศไอร์แลนด์ โดยเขาเป็นลูกคนที่ 2 จากบรรดาพี่น้อง 9 คน เขาได้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 1940 ก่อนที่จะเข้าร่วมกองทัพเรือสำรองสหรัฐในปีต่อมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เป็นผู้บัญชาการบังคับการเรือลาดตระเวนตอร์ปิโดในเขตสงครามแปซิฟิกและได้รับเหรียญหน่วยทหารแห่งกองทัพเรือและนาวิกโยธิน(Navy and Marine Corps Medal) จากปฏิบัติหน้าที่ของเขา ภายหลังจากในช่วงเวลาสั้นๆ ในสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ เคเนดีเป็นตัวแทนของเขตอำเภอบอสตันที่เป็นชนชั้นแรงงานในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ถึง ค.ศ. 1953 ต่อมาเขาได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสภาสหรัฐและดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกรุ่นน้องจากรัฐแมสซาชูเซตส์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1960 ในขณะที่ดำรงตำแหน่งในวุฒิสภา เคเนดีได้ตีพิมพ์หนังสือของที่ชื่อว่า โปร์ไฟล์ในความกล้าหาญ ซึ่งได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1960 เขาได้เอาชนะอย่างฉิวเฉียดกับริชาร์ด นิกสัน คู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี
การบริหารปกครองของเคเนดีรวมทั้งความตึงเครียดสูงกับรัฐคอมมิวนิสต์ในสงครามเย็น ด้วยเหตุนี้ เขาได้เพิ่มจำนวนที่ปรึกษาทางทหารอเมริกันในเวียดนามใต้ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1961 เขาได้มีอำนาจในความพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลคิวบาของฟิเดล กัสโตรในการบุกครองอ่าวหมู เคเนดีได้มีอำนาจในโครงการคิวบาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1961 เขาได้ปฏิเสธปฏิบัติการนอร์ทวู้ด(แผนการด้วยการโจมตีธงปลอมเพื่อได้รับอนุมัติในการทำสงครามกับคิวบา) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1962 อย่างไรก็ตาม การบริหารปกครองของเขายังคงวางแผนที่จะบุกครองคิวบาในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1962 ในเดือนตุลาคมต่อมา เครื่องบินสอดแนมของสหรัฐได้ค้นพบฐานจรวดขีปนาวุธของโซเวียตที่ถูกติดตั้งขึ้นในคิวบา ในช่วงเวลาที่เกิดความตึงเครียด ซึ่งถูกเรียกว่า วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ซึ่งเกือบที่จะส่งผลทำให้เกิดแพร่ระบาดของความขัดแย้งเทอร์โมนิวเคลียร์ทั่วโลก โครงการหมู่บ้านเชิงยุทธศาสตร์ได้เริ่มต้นขึ้นในเวียดนามในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จากภายในประเทศ เคเนดีได้เป็นประธานในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสืบสานโครงการอวกาศที่ชื่อว่า อพอลโล นอกจากนี้เขายังได้สนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมือง แต่ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยในการส่งผ่าน ชายแดนใหม่ นโยบายภายในประเทศของเขา
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 เขาได้ถูกลอบสังหารในแดลลัส รัฐเท็กซัส รองประธานาธิบดี ลินดอน บี. จอห์นสัน ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อเคเนดีได้เสียชีวิตลง ลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์ ผู้นิยมมาร์กซิสต์และอดีตนาวิกโยธินสหรัฐ ถูกจับกุมด้วยข้อหาก่ออาชญากรรมต่อรัฐ แต่เขาก็ถูกยิงและเสียชีวิตโดยแจ็ก รูบี สองวันต่อมา สำนักงานสอบสวนกลาง(FBI) และคณะกรรมการวอร์เรนต่างสรุปกันว่า ออสวอลด์เป็นผู้กระทำแต่เพียงผู้เดียวในการลอบสังหาร แต่มีกลุ่มต่างๆ ได้โต้แย้งต่อรายงานวอร์เรนและเชื่อว่าเคเนดีเป็นเหยื่อของการสมรู้ร่วมคิด ภายหลังจากเคเนดีเสียชีวิต รัฐสภาสหรัฐได้รับข้อเสนออันมากมายของเขารวมทั้งกฎหมายสิทธิพลเมืองและกฎหมายสรรพากร ปี ค.ศ. 1964 เคเนดีได้รับการจัดดับสูงสุดในการสำรวจความคิดเห็นต่อประธานาธิบดีสหรัฐกับนักประวัติศาสตร์และสาธารณชนทั่วไป ชีวิตด้านส่วนตัวของเขายังเป็นจุดรวมของการได้รับความสนใจที่ยั่งยืนอย่างมากมาย ภายหลังจากการเปิดเผยต่อสาธารณชนในช่วงปี ค.ศ. 1970 เกี่ยวกับสุขภาพของเขาที่เจ็บป่วยเรื้อรังและการคบชู้สาว
== การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี (ค.ศ.1961 - ค.ศ.1963) ==
จอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้เข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่ 35 ในเช้าของวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1961 ในพิธีรับตำแหน่งของเขา เขาได้พูดเกี่ยวกับความจำเป็นที่ชาวอเมริกันทุกคนจะต้องเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้น โดยกล่าวว่า "อย่าถามว่าประเทศของคุณทำอะไรให้คุณได้บ้าง ให้ถามว่าคุณสามารถทำอะไรเพื่อประเทศของคุณได้บ้าง" เขาขอให้ประเทศต่างๆ ในโลกร่วมมือกันต่อสู้กับสิ่งที่เขาเรียกว่า "ศัตรูทั่วไปของมนุษย์: การปกครองแบบเผด็จการ ความยากจน โรคภัยไข้เจ็บ และสงคราม"
“ทั้งหมดนี้จะไม่แล้วเสร็จในหนึ่งร้อยวันแรก และจะไม่แล้วเสร็จในหนึ่งพันวันแรก หรือในชีวิตของการบริหารนี้ หรือแม้แต่ในชีวิตของเราบนโลกใบนี้ แต่เราเริ่มต้นกันเถอะ” กล่าวโดยสรุปคือ เขาได้ขยายความปรารถนาของเขาไปสู่ความเป็นสากลมากขึ้น: "ในที่สุด ไม่ว่าคุณจะเป็นพลเมืองของอเมริกาหรือพลเมืองของโลก ขอมาตรฐานความแข็งแกร่งและการเสียสละที่สูงส่งจากเราที่นี่เช่นเดียวกับที่เราขอจากคุณ"
สุนทรพจน์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของเคนเนดีว่าฝ่ายบริหารของเขาจะกำหนดเส้นทางที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งในนโยบายภายในประเทศและการต่างประเทศ ความแตกต่างระหว่างวิสัยทัศน์ในแง่ดีนี้กับแรงกดดันในการจัดการความเป็นจริงทางการเมืองรายวันทั้งในและต่างประเทศจะเป็นหนึ่งในความตึงเครียดหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปีแรก ๆ ของการบริหารของเขา
เคนเนดีนำความแตกต่างในองค์กรมาสู่ทำเนียบขาวเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างการตัดสินใจของอดีตประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ เคนเนดีชอบโครงสร้างองค์กรของวงล้อที่มีซี่ล้อทั้งหมดที่นำไปสู่ประธานาธิบดี เขามีความพร้อมและเต็มใจในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วตามความจำเป็นในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาเลือกส่วนผสมของคนที่มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์เพื่อทำหน้าที่ในคณะรัฐมนตรีของเขา โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า"เราสามารถเรียนรู้งานของเราด้วยกัน"
=== นโยบายภายในประเทศ ===
เคนเนดีเรียกนโยบายภายในประเทศของเขาว่า "พรมแดนแห่งใหม่" โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ทุนรัฐบาลกลางเพื่อการศึกษา การรักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่พื้นที่ชนบท และการแทรกแซงของรัฐบาลเพื่อหยุดยั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอย เขายังสัญญาว่าจะยุติการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ แม้ว่าวาระการประชุมของเขา ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนโครงการการศึกษาผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (VEP) ในปี ค.ศ. 2505 ทำให้เกิดความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในด้านต่างๆ เช่น มิสซิสซิปปี้ ซึ่ง "VEP สรุปว่าการเลือกปฏิบัตินั้นยึดติดอยู่มาก"
ในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา ปี ค.ศ. 1963 เขาได้เสนอการปฏิรูปภาษีที่สำคัญและลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากช่วง 20-90% เป็นช่วง 14-65% รวมทั้งการลดอัตราภาษีนิติบุคคลจาก 52% เป็น 47% เคนเนดีเสริมว่าอัตราสูงสุดควรตั้งไว้ที่ 70% หากการหักเงินบางส่วนไม่ได้รับการยกเว้นสำหรับผู้มีรายได้สูง รัฐสภาสหรัฐไม่ได้ดำเนินการจนกระทั่งปี ค.ศ. 1964 หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปได้ 1 ปี เมื่ออัตราภาษาเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดลดลงเหลือ 70% และอัตราภาษีนิติบุคคลตั้งไว้ที่ 48%
เขาได้กล่าวกับสโมสรเศรษฐกิจแห่งนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1963 ว่า "... ความจริงที่ขัดแย้งกันที่ว่าอัตราภาษีสูงเกินไปและรายได้ต่ำเกินไป และวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเพิ่มรายได้ในระยะยาวคือการลดอัตราในขณะนี้" รัฐสภาสหรัฐได้ลงคะแนนผ่านโครงการสำคัญๆของเคนเนดีเพียงบางส่วนเท่านั้นในการดำรงตำแหน่งของเขา แต่ก็ได้ลงคะแนนผ่านในปี ค.ศ. 1964 และ 1965 ในช่วงของประธานาธิบดีจอห์นสัน ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา
==== ด้านเศรษฐกิจ ====
เคนเนดียุติช่วงนโยบายการคลังที่เข้มงวด และผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ งบประมาณแรกของเขาในปี ค.ศ. 1961 ส่งผลให้เกิดการขาดดุลที่ไม่เกี่ยวกับสงครามและไม่ใช่ภาวะถดถอยครั้งแรกของประเทศ และเขาได้เป็นประธานในคณะกรรมาธิการงบประมาณของรัฐบาลชุดแรกที่มีมูลค่าสูงถึง 100 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 1962 เศรษฐกิจซึ่งผ่านพ้นภาวะถดถอยมาสองครั้งในรอบสามปีและกำลังอยู่ในภาวะนี้เมื่อเคนเนดีเข้ารับตำแหน่ง เร่งตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตลอดการบริหารของเขา โดยก่อนหน้านี้ในช่วงการบริหารของไอเซนฮาวร์ แม้จะมีอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่จีดีพีก็เติบโตขึ้นโดยเฉลี่ยเพียง 2.2% ต่อปี (แทบจะไม่มากกว่าการเติบโตของประชากรในขณะนั้น) และลดลง 1% ในช่วงสิบสองเดือนที่ผ่านมาของไอเซนฮาวร์
เศรษฐกิจได้พลิกผันและเจริญเติบโตในช่วงการบริหารของเคนเนดี GDP ขยายตัวเฉลี่ย 5.5% จากต้นปี ค.ศ. 1961 ถึงปลายปี ค.ศ. 1963 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทรงตัวที่ประมาณ 1% และการว่างงานลดลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 15% และยอดขายยานยนต์เพิ่มขึ้น 40% อัตราการเติบโตของ GDP และอุตสาหกรรมนี้ ยังคงเติบโตไปจนถึงปี ค.ศ.1969 และยังไม่มีการเติบโตของ GDP ที่มีระยาเวลายาวนานเช่นนี้
==== ด้านขบวนการสิทธิพลเมือง ====
จุดจบอันวุ่นวายของการลงโทษที่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติของรัฐเป็นหนึ่งในปัญหาภายในประเทศที่เร่งด่วนที่สุดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 กฎหมายการแบ่งแยกจิมโครว์เป็นกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นในรัฐภาคใต้ตอนล่าง ในปี ค.ศ. 1954 ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินในคดีระหว่างบราวน์กับคณะกรรมการการศึกษาว่าการแบ่งแยกทางเชื้อชาติในโรงเรียนของรัฐนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ โรงเรียนหลายแห่งโดยเฉพาะในรัฐทางใต้ ไม่เชื่อฟังคำตัดสินของศาลฎีกา และศาลยังห้ามไม่ให้มีการแบ่งแยกในสถานที่สาธารณะอื่น ๆ (เช่น รถประจำทาง ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ห้องพิจารณาคดี ห้องน้ำ และชายหาด) แต่ก็ยังมีการแบ่งแยกต่อไป
เคนเนดีได้สนับสนุนการรวมกลุ่มทางเชื้อชาติและสิทธิพลเมือง ในระหว่างการหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1960 เขาโทรศัพท์ถึงคอเร็ตต้า สก็อตต์ คิง ภรรยาของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ซึ่งถูกจำคุกอยู่ ณ ขณะนั้นจากการพยายามทานอาหารกลางวันที่เคาน์เตอร์ของห้างสรรพสินค้า และโรเบิร์ต เคนเนดี น้องชายของเขายังได้เรียกเออร์เนสต์ แวนไดเวอร์ ผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย ทำให้คิงได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ซึ่งทำให้ได้รับการสนับสนุนจากคนผิวดำเพิ่มเติมจากการสมัครรับเลือกตั้งของโรเบิร์ต เมื่อเข้ารับตำแหน่งในปี ค.ศ. 1961 เคนเนดีได้เลื่อนสัญญากฎหมายสิทธิพลเมืองที่เขาทำไว้ในขณะที่รณรงค์หาเสียงในปี ค.ศ. 1960 โดยตระหนักว่าพรรคเดโมแครตทางใต้ที่อนุรักษ์นิยมควบคุมการออกกฎหมายของรัฐสภา คาร์ล เอ็ม. บราวเออร์ นักประวัติศาสตร์ สรุปว่าการผ่านกฎหมายว่าด้วยสิทธิพลเมืองในปี ค.ศ. 1961 จะไม่เป็นผล ในช่วงปีแรกที่เขาดำรงตำแหน่ง เคนเนดีได้แต่งตั้งคนผิวสีหลายคนเข้ารับตำแหน่ง รวมถึงการแต่งตั้ง เทอร์กูด มาร์แชลล์ ทนายความด้านสิทธิพลเมืองเป็นตุลการของรัฐบาลกลางในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961ในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาครั้งแรกของเขาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1961 ประธานาธิบดีเคนเนดีกล่าวว่า "การปฏิเสธสิทธิตามรัฐธรรมนูญของเพื่อนชาวอเมริกันบางคนเนื่องมาจากเชื้อชาติ—ที่กล่องลงคะแนนและที่อื่นๆ—รบกวนจิตสำนึกของชาติ และทำให้เราต้องรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของโลกว่าประชาธิปไตยของเราไม่เท่ากับสัญญาอันสูงส่งของมรดกของเรา" เคนเนดีเชื่อว่าขบวนการระดับรากหญ้าเพื่อสิทธิพลเมืองจะสร้างความโกรธเคืองแก่คนผิวขาวทางตอนใต้จำนวนมากและทำให้การผ่านกฎหมายสิทธิพลเมืองในสภาคองเกรส ซึ่งรวมถึงกฎหมายต่อต้านความยากจนยากขึ้น และทำให้เขาต้องห่างจากกฎหมายดังกล่าว
=== นโยบายด้านต่างประเทศ ===
นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีเคนเนดีถูกครอบงำโดยการเผชิญหน้าของอเมริกากับสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการแสดงออกโดยการแข่งขันตัวแทนในช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็น ในปี ค.ศ. 1961 เขาตั้งตารอการประชุมสุดยอดร่วมกับนายกรัฐมนตรีนิกิตา ครุชชอฟ แต่เขาเริ่มเดินผิดทางโดยตอบโต้อย่างรุนแรงต่อคำปราศรัยของครุสชอฟเกี่ยวกับการเผชิญหน้าในสงครามเย็นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1961 คำปราศรัยนี้เป็นการพูดกับประชาชนในสหภาพโซเวียต แต่เคนเนดีตีความว่าเป็นความท้าทายส่วนตัว ความผิดพลาดนี้เองทำให้ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นให้กับการประชุมสุดยอดที่เวียนนาเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1961
ในการไปประชุมสุดยอดครั้งนี้ เคนเนดีแวะที่ปารีสเพื่อพบกับประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกลของฝรั่งเศส ซึ่งแนะนำให้เขาเพิกเฉยต่อลักษณะการเสียดสีของครุชชอฟ เนื่องจากเขากลัวว่าสหรัฐอเมริกา จะมีอิทธิพลต่อยุโรป อย่างไรก็ตาม เดอโกลค่อนข้างประทับใจในตัวเคนเนดีและครอบครัวของเขา เคนเนดีหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นในสุนทรพจน์ของเขาที่ปารีส โดยบอกว่าเขาอาจจะถูกจดจำว่าเป็น "ชายที่ไปกับแจ็กกี้ เคนเนดีที่ปารีส"
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1961 เคนเนดีได้พบกับครุสชอฟในกรุงเวียนนาและเขาออกจากการประชุมด้วยความโกรธและผิดหวังที่เขาอนุญาตให้ครุชชอฟกลั่นแกล้งเขาแม้จะได้รับคำเตือนก็ตาม ในส่วนของครุชชอฟประทับใจในสติปัญญาของเคนเนดีแต่คิดว่าเขาอ่อนแอ เคนเนดีประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดประเด็นสำคัญแก่ครุชชอฟในประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่สุด ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เสนอระหว่างมอสโกและเบอร์ลินตะวันออก เขาชี้แจงชัดเจนว่าสนธิสัญญาใดๆ ที่ขัดขวางสิทธิ์การเข้าถึงของสหรัฐฯ ในเบอร์ลินตะวันตกจะถือเป็นการทำสงคราม ไม่นานหลังจากที่เคนเนดีกลับมายังสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตได้ประกาศแผนการที่จะลงนามในสนธิสัญญากับเบอร์ลินตะวันออก โดยยกเลิกสิทธิในการยึดครองของบุคคลที่สามในส่วนใดส่วนหนึ่งของเมือง เมื่อรู้สึกหดหู่และโกรธ เคนเนดีสันนิษฐานว่าทางเลือกเดียวของเขาคือเตรียมประเทศให้พร้อมสำหรับสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเขาคิดว่ามีโอกาส 1 ใน 5 ที่จะเกิดขึ้น
ในช่วงหลายสัปดาห์หลังการประชุมสุดยอดที่เวียนนา ผู้คนมากกว่า 20,000 คนหนีจากเบอร์ลินตะวันออกไปยังภาคตะวันตก เพื่อตอบสนองต่อถ้อยแถลงจากสหภาพโซเวียต เคนเนดีเริ่มการประชุมอย่างเข้มข้นในประเด็นเบอร์ลิน โดยที่ ดีน แอคสัน เป็นผู้นำในการแนะนำการเพิ่มกำลังทหารควบคู่ไปกับ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในการปราศรัยในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1961 เคนเนดีประกาศการตัดสินใจเพิ่ม 3.25 พันล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 28.15 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563) ให้กับงบประมาณด้านการป้องกันประเทศ พร้อมด้วยทหารอีกกว่า 200,000 นาย โดยระบุว่าการโจมตีเบอร์ลินตะวันตกจะเป็นการโจมตีสหรัฐ โดยคำปราศรัยนี้ได้รับคะแนนการอนุมัติ 85%
หนึ่งเดือนต่อมา ทั้งสหภาพโซเวียตและเบอร์ลินตะวันออกเริ่มปิดกั้นทางผ่านใดๆ ของชาวเยอรมันตะวันออกไปยังเบอร์ลินตะวันตก และสร้างรั้วลวดหนาม ซึ่งได้รับการยกระดับอย่างรวดเร็วเป็นกำแพงเบอร์ลิน รอบเมือง ปฏิกิริยาเริ่มต้นของเคนเนดีคือการเพิกเฉยต่อสิ่งนี้ ตราบใดที่การเข้าถึงฟรีจากตะวันตกไปยังเบอร์ลินตะวันตกยังคงดำเนินต่อไป เส้นทางนี้เปลี่ยนไปเมื่อชาวเบอร์ลินตะวันตกสูญเสียความมั่นใจในการป้องกันตำแหน่งของตนโดยสหรัฐอเมริกา เคนเนดีส่งรองประธานาธิบดีจอห์นสันและลูเซียส ดี. เคลย์ พร้อมด้วยบุคลากรทางทหารจำนวนมากในขบวนรถผ่านเยอรมนีตะวันออก รวมถึงจุดตรวจติดอาวุธของโซเวียต เพื่อแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา ต่อเบอร์ลินตะวันตก
เคนเนดีกล่าวสุนทรพจน์ที่วิทยาลัยเซนต์แอนเซล์มเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 เกี่ยวกับสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็นที่กำลังจะเกิดขึ้น คำปราศรัยของเขาให้รายละเอียดว่าเขารู้สึกว่านโยบายต่างประเทศของอเมริกาควรดำเนินต่อประเทศในแอฟริกา โดยสังเกตคำแนะนำที่สนับสนุนลัทธิชาตินิยมแอฟริกันสมัยใหม่โดยกล่าวว่า "สำหรับพวกเราเช่นกัน ได้ก่อตั้งประเทศใหม่ขึ้นมาจากการประท้วงจากการปกครองอาณานิคม"
===== คิวบาและการบุกครองอ่าวหมู =====
บทความหลัก: การบุกครองอ่าวหมู
ฝ่ายบริหารของไอเซนฮาวร์ได้สร้างแผนการล้มล้างระบอบการปกครองของฟิเดล กัสโตรในคิวบา นำโดยสำนักข่าวกรองกลาง (CIA) ด้วยความช่วยเหลือจากกองทัพสหรัฐฯ แผนดังกล่าวมีไว้เพื่อการรุกรานคิวบาโดยกลุ่มกบฏต่อต้านการปฏิวัติซึ่งประกอบด้วยผู้ลี้ภัยชาวคิวบาที่ต่อต้านกัสโตรซึ่งได้รับการฝึกฝนจากสหรัฐอเมริกา นำโดยเจ้าหน้าที่ทหารของ CIA ความตั้งใจคือการรุกรานคิวบาและยุยงให้เกิดการจลาจลในหมู่ชาวคิวบาโดยหวังว่าจะขจัดกัสโตรออกจากอำนาจ โดยเคนเนดีได้อนุมัติแผนการบุกรุกครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1961
การบุกรุกอ่าวหมูเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1961 ชาวคิวบาที่ได้รับการฝึกฝนจากสหรัฐฯจำนวน 150 คนซึ่งมีชื่อว่า "Brigade 2506" ได้ลงจอดบนเกาะ โดยปราศจากการสนับสนุนทางอากาศของสหรัฐอเมริกา ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง อัลเลน ดัลเลส กล่าวในภายหลังว่าพวกเขาคิดว่าประธานาธิบดีจะอนุมัติการดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็นสำหรับเมื่อกองทหารอยู่บนพื้น
เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1961 รัฐบาลคิวบาได้จับกุมหรือสังหารผู้พลัดถิ่นที่บุกรุกเข้ามาและบังคับเคนเนดีให้เจรจาเพื่อปล่อยผู้รอดชีวิต 1,189 คน 20 เดือนต่อมา คิวบาปล่อยตัวเชลยที่ถูกจับกุมเพื่อแลกกับค่าอาหารและยามูลค่า 53 ล้านดอลลาร์ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กัสโตรรู้สึกระแวดระวังสหรัฐฯ และทำให้เขาเชื่อว่าจะมีการบุกรุกอีกครั้ง ริชาร์ด รีฟส์ นักเขียนชีวประวัติกล่าวว่า เคนเนดีมุ่งเน้นที่ผลสะท้อนทางการเมืองของแผนเป็นหลักมากกว่าการพิจารณาทางทหาร เมื่อไม่ประสบผลสำเร็จ เขาก็เชื่อว่าแผนนี้เป็นแผนที่จะทำให้เขาดูแย่ เขารับผิดชอบสำหรับความล้มเหลว โดยกล่าวว่า"เราโดนจัดการอย่างและเราสมควรได้รับมัน แต่บางทีเราอาจจะเรียนรู้อะไรบางอย่างจากมัน" เขาได้แต่งตั้งโรเบิร์ต เคนเนดี เพื่อเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบสาเหตุของความล้มเหลว
ในปลายปีค.ศ. 1961 ทำเนียบขาวได้ก่อตั้งกลุ่มพิเศษ (เสริม) นำโดยโรเบิร์ต เคนเนดี และรวมถึงเอ็ดเวิร์ด แลนส์เดล เลขานุการโรเบิร์ต แมคนามารา และคนอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโค่นล้มกัสโตรผ่านการจารกรรม การก่อวินาศกรรม และกลวิธีลับอื่นๆ โดยไม่เคยถูกจับได้ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1962 เคนเนดีปฏิเสธปฏิบัติการนอร์ธวูดส์ ข้อเสนอสำหรับการโจมตีด้วยวิธีการที่เรียกว่า"ธงเท็จ"หรือการกระทำที่กระทำโดยมีเจตนาที่จะปกปิดแหล่งที่มาของความรับผิดชอบที่แท้จริงและตำหนิอีกฝ่ายหนึ่งต่อเป้าหมายทางทหารและพลเรือนของสหรัฐฯ และกล่าวโทษรัฐบาลคิวบาเพื่อให้ได้รับการอนุมัติให้ทำสงครามกับคิวบา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารยังคงวางแผนโจมตีคิวบาต่อไปในฤดูร้อนปี ค.ศ.1962
===== วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา =====
บทความหลัก: วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1962 เครื่องบินสอดแนม CIA U-2 ได้ถ่ายภาพการก่อสร้างไซต์ขีปนาวุธพิสัยกลางของโซเวียตในคิวบา ภาพถ่ายมีการนำมาแสดงต่อเคนเนดีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม จึงมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าขีปนาวุธมีลักษณะอุกอาจและด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นภัยคุกคามทางนิวเคลียร์ในทันที เคนเนดีเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หากสหรัฐฯ โจมตีไซต์ดังกล่าว อาจนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์กับสหภาพโซเวียต แต่ถ้าสหรัฐฯ ไม่ทำอะไรเลย สหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากอาวุธนิวเคลียร์ระยะใกล้ สหรัฐฯ จะแสดงให้โลกเห็นว่ามีความมุ่งมั่นในการป้องกันซีกโลกน้อยลง ในระดับบุคคล เคนเนดีจำเป็นต้องแสดงความมุ่งมั่นในการตอบสนองต่อครุชชอฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประชุมสุดยอดที่เวียนนา
สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งสหรัฐอเมริกา (NSC) มากกว่า 1 ใน 3 เห็นด้วยกับการโจมตีทางอากาศโดยทันทีบนพื้นที่ขีปนาวุธ แต่สำหรับบางคนกลับนึกถึงภาพที่เคยเกิดขึ้นที่ "เพิร์ล ฮาร์เบอร์" นอกจากนี้ยังมีความกังวลจากประชาคมระหว่างประเทศว่าแผนการโจมตีเป็นปฏิกิริยาที่เกินจริงเนื่องจากไอเซนฮาวร์ได้วางขีปนาวุธ PGM-19 Jupiter ในอิตาลีและตุรกีในปี ค.ศ. 1958 นอกจากนี้ยังไม่สามารถรับรองได้ว่าการโจมตีจะได้ผล 100% ในการแข่งขันกับคะแนนเสียงข้างมากของสภาความมั่นคง เคนเนดีตัดสินใจกักบริเวณทางเรือ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม เขาได้ส่งข้อความถึงครุชชอฟและประกาศการตัดสินใจทางทีวี โดยที่กองทัพเรือสหรัฐฯ จะหยุดและตรวจสอบเรือโซเวียตทุกลำที่เดินทางออกจากคิวบาตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคมเป็นต้นไป องค์การนานารัฐอเมริกันให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ในการถอดขีปนาวุธ ประธานาธิบดีแลกเปลี่ยนจดหมายสองชุดกับครุชชอฟแต่ไม่เป็นผล อู้ตั่น เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ขอให้ทั้งสองฝ่ายยกเลิกการตัดสินใจและเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลาย ครุสชอฟเห็นด้วย แต่เคนเนดีไม่เห็นด้วย
ในวันที่ 28 ตุลาคม ครุชชอฟตกลงที่จะรื้อไซต์ขีปนาวุธภายใต้การตรวจสอบของสหประชาชาติ สหรัฐฯ ให้คำมั่นต่อสาธารณชนว่าจะไม่รุกรานคิวบา และตกลงเป็นการส่วนตัวที่จะถอดขีปนาวุธจูปิเตอร์ออกจากอิตาลีและตุรกี ซึ่งในตอนนั้นล้าสมัยและถูกแทนที่ด้วยเรือดำน้ำที่ติดตั้งขีปนาวุธ UGM-27 Polaris
วิกฤตครั้งนี้ทำให้โลกใกล้ชิดกับสงครามนิวเคลียร์มากกว่าทุกๆครั้ง ถือว่า "มนุษยชาติ" ของทั้งครุชชอฟและเคนเนดีมีชัย วิกฤตดังกล่าวทำให้ภาพลักษณ์ของความตั้งใจอเมริกันและความน่าเชื่อถือของประธานาธิบดีดีขึ้น คะแนนการความนิยมของเคนเนดีเพิ่มขึ้นจาก 66% เป็น 77% ทันทีหลังจากนั้น
===== ลาตินอเมริกาและคอมมิวนิสต์ =====
เชื่อว่า "ผู้ที่ปฏิวัติอย่างสันติเป็นไปไม่ได้ จะทำให้การปฏิวัติรุนแรงหลีกเลี่ยงไม่ได้" เคนเนดีพยายามจำกัดการรับรู้ถึงภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ในละตินอเมริกาด้วยการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า ซึ่งส่งความช่วยเหลือไปยังบางประเทศและแสวงหามาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่มากขึ้น เขาทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ลุยส์ มูนอซ มาริน ผู้ว่าการเปอร์โตริโกเพื่อการพัฒนากลุ่มพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้าและเริ่มทำงานเพื่อส่งเสริมเอกราชของเปอร์โตริโก เขาทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ลุยส์ มูนอซ มาริน ผู้ว่าการเปอร์โตริโกเพื่อพัฒนากลุ่มพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้าและเริ่มทำงานต่อไปเพื่อเอกราชของเปอร์โตริโก
ฝ่ายบริหารของไอเซนฮาวร์ผ่าน สำนักข่าวกรองกลาง ได้เริ่มกำหนดแผนการลอบสังหารคาสโตรในคิวบาและราฟาเอล ตรูฮีโยในสาธารณรัฐโดมินิกัน เมื่อประธานาธิบดีเคนเนดีเข้ารับตำแหน่ง เขาได้สั่งการเป็นการส่วนตัวให้สำนักงานข่าวกรองว่าแผนใดๆ จะต้องรวมถึงการสามารถที่จะปฏิเสธโดยพอรับฟังได้โดยสหรัฐฯ และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1961 ผู้นำสาธารณรัฐโดมินิกันถูกลอบสังหาร ในวันต่อมา ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เชสเตอร์ โบว์ลส์ ได้แสดงปฏิกิริยาอย่างระมัดระวัง และโรเบิร์ต เคนเนดี ผู้ซึ่งเห็นโอกาสของสหรัฐฯ จึงเรียกโบว์ลส์ว่า "ไอ้ขี้โรค" ต่อหน้าเขา
===== หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา =====
ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกของเขา เคนเนดีขอให้รัฐสภาสหรัฐสร้างหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมี พี่เขยของเขา ซาร์เจนท์ ชรีฟเวอร์ เป็นผู้กำกับคนแรก จากโครงการนี้ ชาวอเมริกันที่อาสาจะช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในสาขาต่างๆ เช่น การศึกษา เกษตรกรรม การดูแลสุขภาพ และการก่อสร้าง องค์กรมีสมาชิกเป็น 5,000 คนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 และ 10,000 คนในปีถัดมาและตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 ชาวอเมริกันกว่า 200,000 คนได้เข้าร่วมกองกำลังสันติภาพ ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่างๆ 139 ประเทศ
== เหตุการณ์ลอบสังหาร ==
บทความหลัก : การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดี
ประธานาธิบดีเคนเนดีถูกลอบสังหารในแดลลัส เวลา 12:30 น. เวลามาตรฐานกลาง (CST) ในวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ขณะที่เขาอยู่ในเท็กซัสในการเดินทางทางการเมืองเพื่อลดความขัดแย้งในพรรคเดโมแครตระหว่าง ราล์ฟ ยาร์โบโรห์และดอน ยาร์โบโรห์ กับจอห์น คอนนัลลี ผู้ว่าการรัฐเท็กซัสซึ่งเป็นนักอนุรักษ์นิยม ขณะเดินทางในขบวนรถประธานาธิบดีผ่านตัวเมืองดัลลาส เขาถูกยิงที่ด้านหลังหนึ่งครั้ง กระสุนพุ่งออกจากลำคอของเขา และอีกครั้งหนึ่งเข้าที่ศีรษะ
== ดูเพิ่ม ==
ความเหมือนกันระหว่างประธานาธิบดีลินคอล์นและเคนเนดี
วัฏจักรมรณกรรม
เหตุการณ์การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดี
ผมเป็นชาวเบอร์ลิน
== อ้างอิง ==
คำถามถามบ่อยเกี่ยวกับ จอห์น เอฟ. เคนเนดี
ประธานาธิบดีสหรัฐ
นักการเมืองอเมริกัน
พรรคเดโมแครต (สหรัฐ)
บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานาธิบดีสหรัฐที่ถูกลอบสังหาร
ผู้ได้รับอิสริยาภรณ์เหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี
ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช
ผู้นำในสงครามเย็น
บุคคลจากบรุกไลน์
ตระกูลเคนเนดี
เสียชีวิตจากอาวุธปืน | thaiwikipedia | 662 |
ดนตรีคลาสสิก | ดนตรีคลาสสิก (Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะหมายถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของตะวันตก
การแสดงดนตรีคลาสสิกจะใช้เครื่องดนตรี 5 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เครื่องสาย (String) แบ่งออกเป็น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส กลุ่มที่สอง คือ เครื่องลมไม้ (Woodwind) เช่น ฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ปิคโคโล กลุ่มที่สาม คือ เครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น กลุ่มที่สี่ คือ เครื่องกระทบ (Percussion) เช่น กลองทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ (Bass Drum) กิ๋ง (Triangle) กลุ่มที่ห้า คือ เครื่องลิ่มนิ้ว เช่น เปียโน ฮาร์ปซิคอร์ด เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่าวงดุริยางค์หรือ ออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งมีผู้อำนวยเพลง (conductor) เป็นผู้ควบคุมวง
== ประวัติและเวลา ==
ดนตรีคลาสสิกแบ่งออกเป็นยุค ดังนี้
1. ดนตรีกรีก ประวัติของดนตรีกรีกโบราณตั้งแต่เริ่มต้นถึง 330 ปี ก่อนคริสตกาล(330 B.C;) เมื่อ วัฒนธรรมของกรีกแยกเป็น 2 สาย กล่าวคือ สายที่ 1 ทางตะวันออก (Alexander the Great) และสายที่ 2 ทางตะวันตก (ตามชาวโรมัน) เครื่องดนตรีได้แก่พิณไลร่า
2. ดนตรีโรมัน หลังจากกรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ใน 146 ปี ก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรโรมันรับเอาวัฒนธรรมการดนตรีของกรีกไปทั้งหมด โดยมิได้มีการพัฒนารูปแบบของดนตรีไปสักเท่าไรนักยังคงใช้รูปแบบการร้องเสียงเดียว (Monophony) ซึ่งเรียกว่า เพลนซอง (Plain Song) หรือแชนท์(Chant) โดยมากแล้วแต่ละแห่งจะคำนึงถึงผลของการปฏิบัติมากกว่าที่จะยึดติดกับรูปแบบที่รับมาตายตัว
3. ยุคกลาง (Medieval or Middle Age) พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943
ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา คาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ รูปแบบเพลงในยุคนี้เน้นที่การร้อง โดยเฉพาะเพลงสวด (Chant) ในตอนปลายของยุคกลางเริ่มมีการร้องเพลงแบบสอดทำนองประสานด้วย
4. ยุคเรเนสซองส์ (Renaissance) พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143
เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะและฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายยุคกลางในสมัยศิลป์ใหม่ เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น
ดูเพิ่มที่ ยุคเรเนสซองส์
5. ยุคบาโรค (Baroque) พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2272
ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และสิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับกันว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วีวัลดี เป็นต้น
ดูเพิ่มที่ ศิลปะบาโรค
6. ยุคโรโกโก (Rococo) พ.ศ. 2273 - พ.ศ. 2293 ดนตรีแบบกาล็องต์ (Galante Style) ระหว่างสมัยบาโรกและคลาสสิก ถือกันว่าเป็นดนตรีโรโกโก ดนตรีโรโกโกพัฒนามาจากดนตรีบาโรกโดยเฉพาะที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นดนตรีที่ไม่ไปทางนาฏกรรมแต่จะนุ่มนวล อย่างงานของ ฌ็อง ฟิลิป ราโม (Jean Philippe Rameau) ลุย โกลด ดาแกง (Louis-Claude Daquin) และ François Couperin อยู่ในตอนปลายของยุคบาโรก
ดูเพิ่มที่ โรโกโก
7. ยุคคลาสสิก (Classical) พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363
เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฎเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศูนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์ (Mannheim) เครื่องดนตรีมีวิวัฒนาการมาจนสมบูรณ์ที่สุด เริ่มมีการผสมวงที่แน่นอน คือ วงเชมเบอร์มิวสิกและวงออร์เคสตรา ซึ่งในยุคนี้มีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท และยังถือเป็นแบบแผนของวงออร์เคสตราในปัจจุบัน นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น
8. ยุคโรแมนติก (Romantic) พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443
เป็นยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ การใช้ความดังความค่อยที่ชัดเจน ทำนอง จังหวะ ลีลาที่เน้นไปยังอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งต่างจากยุคก่อน ๆ ที่ยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบทโฮเฟิน ชูเบิร์ต โชแปง วากเนอร์ บราห์มส์ ไชคอฟสกี้ เป็นต้น
9. ดนตรียุคอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2453
พัฒนารูปแบบโดยนักดนตรีฝรั่งเศส มี โคล้ด เดอบุซซี เอริก ซาที มอริซ ราเวล เป็นผู้นำ ลักษณะดนตรีของยุคนี้เต็มไปด้วยจินตนาการ อารมณ์ที่เพ้อฝัน ประทับใจ ต่างไปจากดนตรีสมัยโรแมนติกที่ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์
10. ยุคศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน (20th Century Music) พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน
นักดนตรีเริ่มแสวงหาดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวทางในยุคก่อน จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น (Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนอง แต่นักดนตรีบางกลุ่มก็หันไปยึดดนตรีแนวเดิม เรียกว่านีโอคลาสสิก (Neo-Classic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี้ เป็นต้น
=== แบ่งตามประเภทวงที่บรรเลง และประเภทของการแสดง ===
เครื่องดนตรีเดี่ยว
* เปียโนสี่มือ ,เปียโน
เชมเบอร์มิวสิก
* วงดูโอ การผสมวงดนตรีร่วมกัน 2 คน เช่น เปียโนกับไวโอลิน หรือเปียโนกับนักร้อง
* วงทริโอ การผสมวงดนตรีร่วมกัน 3 คน เช่น ไวโอลิน 1, วิโอลา 1, เชลโล่ 1
* วงควอร์เต็ต การผสมวงดนตรีร่วมกัน 4 คน
* วงควินเต็ต การผสมวงดนตรีร่วมกัน 5 คน เช่น สตริงควินเต็ต (Strings Quintet) วงจะประกอบด้วยเครื่องสาย 5 ชิ้น ไวโอลิน 2, วิโอลา 2, และเชลโล่ 1
* วงเซ็กซ์เต็ต การผสมวงดนตรีร่วมกัน 6 คน
วงซิมโฟนีออร์เคสตรา
อุปรากร
ละครบรอดเวย์
บัลเลต์
ขับร้อง
* ขับร้องเดี่ยว
* วงขับร้องประสานเสียง
=== แบ่งตามโครงสร้างบทเพลง (Form) ===
คอนแชร์โต - Concerto
ซิมโฟนี - [English: Symphony | French: Symphonie | German: Sinfonia]
โซนาต้า - Sonata
ฟิวก์ - Fugue เป็นการประพันธ์เพลงที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากแขนงหนึ่ง นิยมในยุคบาโรค จะเริ่มต้นด้วยทำนองที่เรียกว่า Subject จากนั้นจะเปลี่ยนแปลงทำนอง เรียกว่า Answer
พรีลูด - Prelude บทเพลงที่เป็นบทนำดนตรี มักใช้คู่กับเพลงแบบฟิวก์ หรือใช้บรรเลงนำเพลงชุด สำหรับงานเปียโนจะหมายถึงบทเพลงสั้น ๆ และบางครั้งมีความหมายเหมือนกับบทเพลงโหมโรงอุปรากร เช่น พรีลูดของวากเนอร์
โอเวอร์เจอร์ - Overture เพลงโหมโรงที่บรรเลงก่อนการแสดงอุปรากรหรือละคร รวมถึงประพันธ์ขึ้นเดี่ยว ๆ สำหรับบรรเลงคอนเสิร์ตโดยเฉพาะ เรียกว่า Concert Overture
บัลลาด - Ballade เป็นบทประพันธ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว พบมากในงานเปียโน ลักษณะเหมือนการเล่าเรื่องหรือถ่ายทอดความรู้สึกแบบบทกวี
เอทู๊ด - Etude เป็นบทประพันธ์เพื่อฝึกหัดการบรรเลงด้วยเปียโนหรือไวโอลิน
มาร์ช - March เป็นบทเพลงที่ประพันธ์เพื่อการเดินแถว ต่อมาพัฒนาไปสู่บทเพลงที่ใช้บรรเลงคอนเสิร์ต
วาริเอชั่น - Variations
แฟนตาเซีย หรือ ฟ็องเตซี - [Italian: Fantasia | French: Fantasy]
น็อคเทิร์น - Nocturne/Notturno เป็นเพลงบรรเลงยามค่ำคืน มีทำนองเยือกเย็นอ่อนหวาน จอห์น ฟิลด์ ริเริ่มประพันธ์สำหรับเปียโน ซึ่งต่อมาโชแปงได้พัฒนาขึ้น
มินูเอ็ต - [French: Minuet |Italian: Menuet]
เซเรเนด - Serenade เพลงขับร้องหรือบรรเลงที่มีทำนองเยือกเย็นอ่อนหวาน มักเป็นบทเพลงที่ผู้ชายใช้เกี้ยวพาราสีผู้หญิง โดยยืนร้องใต้หน้าต่างในยามค่ำคืน
แคนนอน - Canon เป็นคีตลักษณ์ที่มีแบบแผนแน่นอน มีการบรรเลง ทำนองและการขับร้องที่เหมือนกันทุกประการ แต่เริ่มบรรเลงไม่พร้อมกัน เรียกอีกชื่อว่า Round
แคนแคน - Can-Can เป็นเพลงเต้นรำสไตล์ไนท์คลับของฝรั่งเศส เกิดในช่วงศตวรรษที่ 19
คาปริซ - Caprice บทบรรเลงสำหรับเครื่องดนตรีที่มีลักษณะอิสระ ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ มักมีชีวิตชีวา
โพลก้า - Polka เพลงเต้นรำแบบหนึ่ง มีกำเนิดมาจากชนชาติโบฮีเมียน
ตารันเตลลา - Tarantella การเต้นรำแบบอิตาเลียน มีจังหวะที่เร็ว
จิก - Gigue เป็นเพลงเต้นรำของอิตาลี เกิดในศตวรรษที่ 18 มักอยู่ท้ายบทของเพลงประเภทสวีต (Suite)
กาวอท - Gavotte เป็นเพลงเต้นรำของฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 มีรูปแบบแบบสองตอน (Two-parts) มักเป็นส่วนหนึ่งของเพลงประเภทสวีต (Suite)
โพโลเนส - Polonaise เป็นเพลงเต้นรำประจำชาติโปแลนด์ เกิดในราชสำนัก โชแปงเป็นผู้ประพันธ์เพลงลักษณะนี้สำหรับเปียโนไว้มาก
สวีต - Suite เพลงชุดที่นำบทเพลงที่มีจังหวะเต้นรำมาบรรเลงต่อกันหลาย ๆ บท พบมากในอุปรากรและบัลเลต์
อาราเบส - Arabesque เป็นดนตรีที่มีลีลาแบบอาหรับ
ฮิวเมอเรสค์ - Humoresque เป็นบทประพันธ์สั้น ๆ มีลีลาสนุกสนานร่าเริง มีชีวิตชีวา
ทอคคาต้า - Toccata บทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด มีทำนองที่รวดเร็ว อิสระ ในแบบฉบับของเคาน์เตอร์พอยท์
บากาเตล - Bagatelle เป็นคีตนิพนธ์ชิ้นเล็ก ๆ สำหรับเปียโน มีจุดเด่นคือทำนองจำได้ง่าย เช่น Fur Elise
ดิแวร์ติเมนโต - Divertimento
บทเพลงทางศาสนา - Sacred Music
* โมเต็ต - Motet เพลงขับร้องในพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ใช้วงขับร้องประสานเสียงในการร้องหมู่ ภายหลังจึงเริ่มมีเครื่องดนตรีประกอบเสียงร้อง
* แพสชั่น - Passion เพลงสวดที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความทุกข์ยากของพระเยซู
* ออราทอริโอ - Oratorio เพลงขับร้อง บทร้องเป็นเรื่องขนาดยาวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ มีลักษณะคล้ายอุปรากร แต่ไม่มีการแต่งกาย ไม่มีฉากและการแสดงประกอบ
* คันตาตา - Cantata เพลงศาสนาสั้น ๆ มีทั้งร้องในโบสถ์และตามบ้าน
* แมส - Mass เพลงร้องประกอบในศาสนพิธีของศาสนาคริสต์
* เรควีเอ็ม - Requiem เพลงสวดเกี่ยวกับความตาย
== รายชื่อคีตกวีแบ่งตามยุค ==
ยุคกลาง
* เลโอแนง (Léonin, ประมาณค.ศ. 1130-1180)
* เพโรแตง (Pérotin หรือ Perotinus Magnus, ประมาณค.ศ. 1160-1220)
* จาคาโป ดา โบโลนญา (Jacapo da Bologna)
* ฟรานเชสโก ลานดินี (Francesco Landini, ประมาณค.ศ. 1325-1397)
* กิโยม เดอ มาโชต์ (Guillaume de Machaut, ประมาณค.ศ. 1300-1377)
* ฟิลิปเป เดอ วิทรี (Phillippe de Vitry)
* โซลาช (Solage)
* เปาโล ดา ฟิเรนเซ (Paolo da Firenze)
ยุคเรเนสซองส์
* จอห์น ดันสเตเบิล (John Dunstable)
* กิโยม ดูเฟย์ (Guillaume Dufay)
* โยฮันเนส โอคีกัม (Johannes Ockeghem)
* โทมัส ทัลลิส (Thomas Tallis)
* จอสกิน เดส์ เพรซ์ (Josquin des Prez)
* ยาคอบ โอเบร็คท์ (Jacob Obrecht)
* โคลด เลอ เชิน (Claude Le Jeune)
* จิโอวันนี ปิแอร์ลุยจิ ดา ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina)
* วิลเลียม เบิร์ด (William Byrd)
* คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี (Claudio Monteverdi)
* ออร์ลันโด้ ดิ ลัสโซ (Orlando di Lasso)
* คาร์โล เกซวลโด (Carlo Gesualdo)
* อาดริออง วิลแลร์ต (Adriane Willaert)
ยุคบาโรค
* ดิทริช บุกส์เตฮูเด (Dietrigh Buxtehude, ประมาณค.ศ. 1637-1707)
* โยฮันน์ พาเคลเบล (Johann Pachelbel, ค.ศ. 1653-1706)
* อเลสซานโด สการ์แลตตี (Alessando Scarlatti, ค.ศ. 1660-1725)
* อันโตนีโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi, ค.ศ. 1678-1714)
* โยฮัน เซบัสทีอัน บัค (Johann Sebastian Bach)
* จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล (Georg Friedrich Händel)
* ฌอง-แบ๊ปติสต์ ลุลลี่ (Jean Baptist Lully)
* ฌอง ฟิลลิป ราโม (Jean Phillippe Rameau)
* เกออร์ก ฟิลลิป เทเลมันน์ (Georg Phillip Telemann)
* เฮ็นรี่ เพอร์เซ็ล (Henry Purcell)
ยุคโรโกโก
* ฌ็อง ฟิลิป ราโม (Jean Philippe Rameau)
* ลุย โกลด ดาแกง (Louis-Claude Daquin)
* ฟรองซัวส์ คูเปอแรง (François Couperin)
ยุคคลาสสิก
* คริสตอฟ วิลลิบัลด์ กลุ๊ค (Christoph Willibald Gluck)
* โยเซ็ฟ ไฮเดิน (Joseph Haydn, ค.ศ. 1732-1809)
* ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)
* ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน (Ludwig van Beethoven)
* คาร์ล ฟิลลิป เอ็มมานูเอ็ล บาค (Carl Phillip Emanuel Bach)
* โยฮัน คริสเตียน บาค (Johann Christian Bach)
ยุคโรแมนติก
* จิโออัคคิโน รอซสินี (Gioacchino Rossini)
* ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท (Franz Schubert)
* เอกเตอร์ แบร์ลิออส (Hector Berlioz)
* เฟลิคส์ เม็นเดิลส์โซน (Felix Mendelssohn-Batholdy)
* เฟรเดริก ชอแป็ง (Frédéric Chopin)
* นิกโกเลาะ ปากานีนี (Niccolò Paganini)
* โรแบร์ท ชูมัน (RobertSchumann)
* ฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt)
* ริชชาร์ท วากเนอร์ (Richard Wagner)
* จูเซปเป แวร์ดี (Giuseppe Verdi)
* เบเดอร์ชิช สเมทานา (Bedrich Smetana)
* โยฮันเนิส บรามส์ (Johannes Brahms)
* จอร์จ บิเซต์ (Georges Bizet)
* ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky)
* อันโตญีน ดโวชาก (Antonín Dvořák)
* จิอาโคโม ปุชชีนี (Giacomo Puccini)
* กุสทัฟ มาเลอร์ (Gustav Mahler)
* เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ (Sergej Rakhmaninov)
* ริชชาร์ท ชเตราส์ (Richard Strauss)
* ฌ็อง ซิเบลิอุส (Jean Sibelius)
* โยฮัน ชเตราส์ ผู้พ่อ (Johann Strauss the father)
* โยฮัน ชเตราส์ ผู้บุตร (Johann Strauss the son)
* ฌัก ออแฟนบัก (Jacques Offenbach)
* ชาร์ล กูโน (Charles Gounod)
* อันโทน บรุคเนอร์ (Anton Bruckner)
* ฮูโก วอล์ฟ (Hugo Wolf)
* คาร์ล เซอร์นี (Carl Czerny)
ยุคอิมเพรสชั่นนิสม์
* เอริก ซาที (Erik Satie)
* โคล้ด เดอบุซซี (Claude Debussy)
* มอริซ ราเวล (Maurice Ravel)
ยุคศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน
* ชาร์ลส์ ไอฟส์ (Charles Ives)
* อาร์น็อลท์ เชินแบร์ค (Arnold Schoenberg)
* คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff)
* เบลา บาร์ต็อก (Béla Bartók)
* โซลตัน โคดาย (Zaltán Kodály)
* อิกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinsky)
* อันโทน เวแบร์น (Anton Webern)
* อัลบัน แบร์ค (Alban Berg)
* เซียร์เกย์ โปรโคเฟียฟ (Sergei Prokofiev)
* พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith)
* จอร์จ เกิร์ชวิน (George Gershwin)
* อารอน คอปแลนด์ (Aaron Copland, ค.ศ. 1900-1990)
* ดมีตรี ชอสตโกวิช (Dmitri Shostakovich, ค.ศ. 1906-1975)
* โอลิวิเยร์ เมสเซียง (Olivier Messiaen, ค.ศ. 1908-1992)
* เอลเลียต คาร์เตอร์ (Elliott Carter, ค.ศ. 1908-ปัจจุบัน)
* วิโทลด์ ลูโทสลัฟสกี (Witold Lutoslawski)
* จอห์น เคจ (John Cage, ค.ศ. 1912-1992)
* ปิแอร์ บูแลซ (Pierre Boulez, ค.ศ. 1925-ปัจจุบัน)
* ลูชาโน เบริโอ (Luciano Berio, ค.ศ. 1925-2003)
* คาร์ลไฮนทซ์ ชต็อคเฮาเซิน (Karlheinz Stockhausen, ค.ศ. 1928-2006)
* ฟิลิป กลาส (Philip Glass)
* ลุยจิ โนโน (Luigi Nono)
* ยานนิส เซนาคิส (Iannis Xenakis, ค.ศ. 1922-2001)
* มิลตัน แบ็บบิท (Milton Babbitt)
* วอล์ฟกัง ริห์ม (Wolfgang Rihm)
* อาร์โว แพรท (Arvo Pärt)
* โซเฟีย กุไบดูลินา (Sofia Gubaidulina)
* Giya Kancheli
* ยอร์กี ลิเกตี (György Ligeti)
* กชึชตอฟ แปนแดแรตสกี (Krzysztof Penderecki)
* ยอร์กี เคอร์ทัค (György Kurtag)
* เฮลมุต ลาเคนมานน์ (Helmut Lachenmann)
* สตีฟ ไรค์ (Steve Reich)
* จอห์น อดัมส์ (John Adams)
* เคาท์ เบซี
* ดุค เอลลิงตัน
* John Zorn
* โตรุ ทาเคมิตสึ (Toru Takemitsu)
* ถัน ตุ้น (Tan Dun)
* Chen Yi
* Unsuk Chin
ดูเพิ่มได้อีกที่ คีตกวี
== คีตกวีชาวไทยที่ประพันธ์ดนตรีคลาสสิกในปัจจุบันที่มีงานดนตรีออกมาอย่างสม่ำเสมอ ==
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร www.narongrit.com
วีรชาติ เปรมานนท์
จิรเดช เสตะพันธุ
ณรงค์ ปรางเจริญ www.narongmusic.com
เด่น อยู่ประเสริฐ
ภาธร ศรีกรานนท์
บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ boonrut.blogspot.com
วานิช โปตะวนิช
อภิสิทธ์ วงศ์โชติ
อติภพ ภัทรเดชไพศาล
สุรัตน์ เขมาลีลากุล
นบ ประทีปะเสน
สิรเศรษฐ ปันฑุรอัมพร www.pantura-umporn.com
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น
อโนทัย นิติพล
ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่
โยฮันน์ ฟรีดริค ฟรานซ์ เบิร์กมุลเลอร์ (Johann Friedrich Franz Burgmüller)
ฟรานซิส ปูเลงค์ (Francis Poulenc)
== อ้างอิง ==
คมสันต์ วงค์วรรณ์. ดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
สุรพงษ์ บุนนาค, ดนตรีแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี. 2549
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548
แนวดนตรี | thaiwikipedia | 663 |
ขั้นตอนวิธี | ในสาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนวิธี หรือ อัลกอริทึม (algorithm) คือ ชุดลำดับคำสั่งที่ใช้แก้ลำดับชั้นปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ใช้ในการคำนวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร กระบวนการนี้ ประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และ ส่วนที่ต้องวนซ้ำ (loop) จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงานและได้ผลลัพธ์ อัลกอริทึมที่ดีจะต้องมีความชัดเจนไม่คลุมเครือ การแก้ปัญหาโดยใช้อัลกอริทึมตรงข้ามกับการแก้ปัญหาโดยใช้สามัญสำนึก (ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เรียกว่า การแก้ปัญหาแบบฮิวริสติก (heuristic)) ที่รับประกันคุณภาพความถูกต้องของคำตอบหรือความเร็วในการแก้ปัญหาไม่ได้
อัลกอริทึมสามารถใช้เขียนโปรแกรม เพื่อสั่งการคอมพิวเตอร์ให้ทำงานที่มอบหมายให้สำเร็จได้ ยกตัวอย่างเช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์, การประมวลผลข้อมูล, การให้เหตุผลโดยอัตโนมัติ และ งานอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถทำได้
อัลกอริทึมเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ การเขียนอัลกอริทึมสามารถเขียนออกมาได้เป็นภาษาทางการ (formal language) โดยใช้ระยะเวลาและพื้นที่การเขียนที่จำกัด เพื่อที่จะคำนวณฟังก์ชันอย่างใดอย่างหนึ่ง เริ่มจากข้อความเริ่มต้น (initial state) และ อินพุตเริ่มต้น (initial input) ชุดคำสั่ง และพอผ่านข้อความคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียงเป็นลำดับคำสั่งไว้แล้ว จะสามารถให้เอาต์พุตที่ต้องการได้ โดยทั่วไป อัลกอริทึม ประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้น ๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซ้ำ (iterate) หรือ เวียนเกิด (recursive) โดยใช้ตรรกะ (logic) และ/หรือ ในการเปรียบเทียบ (comparison) ในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน
ในการทำงานอย่างเดียวกัน อาจจะเลือกขั้นตอนวิธีที่ต่างกันเพื่อแก้ปัญหาได้ โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นสุดท้ายจะออกมาเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ และจะมีความแตกต่าง ที่จำนวนและชุดคำสั่งที่ใช้ต่างกันซึ่งส่งผลให้ เวลา (time) , และขนาดหน่วยความจำ (space) ที่ต้องการต่างกัน หรือเรียกได้อีกอย่างว่ามีความซับซ้อน (complexity) ต่างกัน
การนำขั้นตอนวิธีไปใช้ ไม่จำกัดเฉพาะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้กับปัญหาอื่น ๆ ได้เช่น การออกแบบวงจรไฟฟ้า, การทำงานเครื่องจักรกล, หรือแม้กระทั่งปัญหาในธรรมชาติ เช่น วิธีของสมองมนุษย์ในการคิดเลข หรือวิธีการขนอาหารของแมลง
หนึ่งในขั้นตอนวิธีอย่างง่าย คือ ขั้นตอนวิธีที่ใช้หาจำนวนที่มีค่ามากที่สุดในรายการ (ซึ่งไม่ได้เรียงลำดับไว้) ในการแก้ปัญหานี้ เราจะต้องดูจำนวนทุกจำนวนในรายการ ซึ่งมีขั้นตอนวิธีดังนี้
ดูแต่ละจำนวนในรายการ ถ้ามันมีค่ามากกว่า จำนวนที่มีค่ามากที่สุดที่เราเคยพบจดค่ามันไว้
จำนวนที่เราจดไว้ตัวสุดท้าย จะเป็นจำนวนที่มีค่ามากที่สุด
และนี่คือรหัสเทียมสำหรับขั้นตอนวิธีนี้
Algorithm LargestNumber Output: จำนวนเต็มที่มีค่ามากที่สุดในรายการ.
Input: รายการจำนวนเต็ม.
largest ← -∞
for each item in รายการ, do
if the item > largest, then
largest ← the item
return largest
หมายเหตุ
"←" หมายถึงการกำหนดค่า (assignment) ให้ตัวแปร เช่น "largest ← the item" หมายความว่า ให้ largest มีค่าเป็น item
"return" เป็นการจบขั้นตอนวิธี และส่งค่าของตัวแปรที่ตามหลัง ออกไปยังขั้นตอนวิธีก่อนหน้าที่เรียกใช้
== ประวัติ ==
คำว่า Algorithm มีที่มาจากชื่อของนักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซียในยุคศตวรรษที่ 9 อะบู อับดิลลาหฺ อิบน มูซา อัลคอวาริซมีย์ (Abu Abdillah Muhammad ibn Musa al-Khawarizmi) คำว่า al-Khawarizmi ได้เพี้ยนเป็น Algoritmi เมื่องานเขียนของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาละติน แล้วกลายเป็น Algorithm อัลกอริทึม ซึ่งใช้หมายถึงกฎที่ใช้ในการคิดคำนวณเลขคณิต และได้กลายมาเป็นคำ ขั้นตอนวิธี ในช่วงศตวรรษที่ 18 ในปัจจุบัน คำนี้ได้มีความหมายที่กว้างขึ้น หมายรวมถึง ขั้นตอนวิธีการในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
ขั้นตอนวิธีแรกสำหรับคอมพิวเตอร์นั้น เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1842 โดย เอดา ไบรอน ใน notes on the analytical engine ทำให้ถือกันว่า เอดาเป็นนักพัฒนาโปรแกรมหรือนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก แต่เนื่องจาก ชาร์ลส แบบเบจ ไม่ได้สร้าง analytical engine จนเสร็จ ขั้นตอนวิธีของเอดานั้นจึงไม่ได้มีการใช้จริง
ถึงแม้ว่าขั้นตอนวิธีนั้นเป็น ขั้นตอนวิธี การแก้ปัญหา ที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ขาดรูปแบบการวิเคราะห์ในรูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ชัดเจน ปัญหาในทางขั้นตอนวิธีนี้โดยส่วนมากจึงมักจะถูกวิเคราะห์โดยใช้ เครื่องจักรทัวริง ซึ่งเป็นแบบจำลองนามธรรมของคอมพิวเตอร์ คิดค้นขึ้นโดย แอลัน ทัวริง ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการจำลองการทำงานของขั้นตอนวิธีใด ๆ
ราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติคำว่าอัลกอริทึม (Algorithm) เป็นภาษาไทยว่าขั้นตอนวิธี ซึ่งมีความหมายคือ เป็นลำดับของขั้นตอนการคำนวณที่ใช้แก้ปัญหา โดยการเปลี่ยนข้อมูลนำเข้าของปัญหา (input) ออกมาเป็นผลลัพธ์ (output) ขั้นตอนวิธีดังกล่าวนั้นจะสามารถนำมาเขียนเป็นโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ได้
== การประยุกต์ใช้อัลกอริทึม ==
อัลกอริทึมส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และจุดประสงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบทางคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจากการประยุกต์ใช้ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ยังมีการใช้อัลกอริทึมกับการศึกษาโครงข่ายประสาททางชีววิทยา (เช่น การวิเคราะห์การทำงานของสมองมนุษย์และสมองสัตว์), วงจรไฟฟ้า และ ในเครื่องจักรกล
== อัลกอริทึมในระบบคอมพิวเตอร์ ==
ในระบบคอมพิวเตอร์ อัลกอริทึมคือการเขียนระบบตรรกะในซอฟต์แวร์ที่เขียนโดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการส่งออกเอาต์พุต (Output) จากอินพุต (Input) ที่คอมพิวเตอรืได้รับ โปรแกรมที่มีการเขียนอัลกอริทึมประสิทธิภาพสูง อาจรันในฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าแล้วได้ผลลัพธ์ที่เร็วกว่าอัลกอริทึมที่ประสิทธิภาพต่ำว่า แต่รันบนฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ จากปัจจัยที่กล่าวมา อัลกอริทึมจึงถูกนับเป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
== อ้างอิง ==
ปัญหาและการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ วิชาการ.คอม - อธิบายขั้นตอนวิธีแบบต่าง ๆ พร้อมตัวอย่างปัญหาประกอบ
== ดูเพิ่ม ==
วิทยาการคอมพิวเตอร์
การคำนวณ
ผังงาน (Flow Chart)
รายชื่อขั้นตอนวิธี (List of algorithms)
* Bulletproof algorithms
* ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ
* ขั้นตอนวิธีการค้นหา
* ขั้นตอนวิธีการประสาน (Merge algorithms)
* ขั้นตอนวิธีสายอักขระ (String algorithms)
* ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithms)
* ขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม
* ขั้นตอนวิธีการประมาณ
* ขั้นตอนวิธีโรห์ของพอลลาร์ด (Pollard's rho algorithm)
* ขั้นตอนวิธีการค้นหาคำแบบซี (Z-Algorithm)
เส้นเวลาของขั้นตอนวิธี Timeline of algorithms
ตรรกะสำหรับคอมพิวเตอร์ Computability logic
โครงสร้างข้อมูล (Data structure)
ความน่าสนใจ
คณิตตรรกศาสตร์
ขั้นตอนวิธี
วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี | thaiwikipedia | 664 |
ดาวพุธ | ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยากที่สุด
ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแก่นดาวเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน
== บรรยากาศ ==
ดาวพุธมีชั้นบรรยากาศเบาบางและมีสเถียรภาพต่ำอันเกิดจากการที่ดาวพุธมีขนาดเล็กจนไม่มีแรงดึงดูดเพียงพอในการกักเก็บอะตอมของก๊าซเอาไว้ ชั้นบรรยากาศของดาวพุธประกอบไปด้วยไฮโดรเจน, ฮีเลียม, ออกซิเจน, โซเดียม, แคลเซียม, โพแทสเซียม และ น้ำ มีความดันบรรยากาศประมาณ 10-14 บาร์
บรรยากาศของดาวพุธมีการสูญเสียและถูกทดแทนอยู่ตลอดเวลาโดยมีแหล่งที่มาหลายแหล่ง ไฮโดรเจนและฮีเลียมอาจจะมาจากลมสุริยะ พวกมันแพร่เข้ามาผ่านสนามแม่เหล็กของดาวพุธก่อนจะหลุดออกจากบรรยากาศในที่สุด การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี
จากแก่นดาวก็อาจจะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ช่วยเติมฮีเลียม โซเดียม และโพแทสเซียมให้กับบรรยากาศดาวพุธ
ไม่เคยถูกแสงอาทิตย์โดยตรงเลย การสำรวจได้เผยให้เห็นถึงแถบสะท้อนเรดาร์ขนาดใหญ่อยู่บริเวณขั้วของดาว ซึ่งน้ำแข็งเป็นหนึ่งในสารไม่กี่ชนิดที่สามารถสะท้อนเรดาร์ได้ดีเช่นนี้
บริเวณที่มีน้ำแข็งนั้นเชื่อกันว่าอยุ่ลึกลงไปใต้พื้นผิวเพียงไม่กี่เมตร และมีน้ำแข็งประมาณ 1014 - 1015 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับน้ำแข็งที่แอนตาร์กติกาของโลกเราที่มีน้ำแข็งอยู่ 4 x 10 18 กิโลกรัม ที่มาของน้ำแข็งบนดาวพุธยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าอาจจะมีที่มาจากดาวหางที่พุ่งชนดาวพุธเมื่อหลายล้านปีก่อน หรืออาจจะมาจากภายในของดาวพุธเอง
== ภูมิลักษณะ ==
ดาวพุธมีหลุมอุกกาบาตจำนวนมากจนดูคล้ายดวงจันทร์ ภูมิลักษณ์ที่เด่นที่สุดบนดาวพุธ (เท่าที่สามารถถ่ายภาพได้) คือ แอ่งแคลอริส หลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,350 กิโลเมตร ผิวดาวพุธมีผาชันอยู่ทั่วไป ซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว ขณะที่ใจกลางดาวพุธเย็นลงพร้อมกับหดตัว จนทำให้เปลือกดาวของพุธย่นยับ พื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวพุธปกคลุมด้วยที่ราบ 2 แบบที่มีอายุต่างกัน ที่ราบที่มีอายุน้อยจะมีหลุมอุกกาบาตหนาแน่นน้อยกว่า เป็นเพราะมีลาวาไหลมากลบหลุมอุกกาบาตที่เกิดก่อนหน้า
== องค์ประกอบภายใน ==
ดาวพุธมีแก่นดาวที่ประกอบด้วยเหล็กในสัดส่วนที่สูง (แม้เมื่อเปรียบเทียบกับโลก) เป็นโลหะประมาณ 70% ที่เหลืออีก 30% เป็นซิลิเกต ความหนาแน่นเฉลี่ยมีค่า 5,430 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของโลกอยู่เพียงเล็กน้อย. สาเหตุที่ดาวพุธมีเหล็กอยู่มากแต่มีความหนาแน่นต่ำกว่าโลก เป็นเพราะโลกมีการอัดตัวจากแรงโน้มถ่วงแน่นกว่าดาวพุธ โดยเฉพาะการอัดตัวบริเวณแก่น ทั้งนี้เพราะดาวพุธมีขนาดเล็กกว่า (ดาวพุธมีมวลเพียง 5.5% ของมวลโลก). ด้วยเหตุนี้จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าการที่ดาวพุธมีความหนาแน่นสูงทั้งๆที่มีขนาดเล็ก เป็นเพราะว่าดาวพุธมีแกนที่ใหญ่และอุดมไปด้วยเหล็ก. แก่นของดาวพุธมีขนาดใหญ่ และมีสัดส่วนของเหล็กอยู่มากกว่าแก่นของดาวเคราะห์ใหญ่ๆดวงอื่นของระบบสุริยะทั้งหมด โดยปริมาตรของแก่นที่เป็นเหล็กนี้มีสัดส่วนสูงถึง 55% ของปริมาตรดาวพุธทั้งดวง (แก่นโลกมีสัดส่วนเพียง 17%) ล้อมรอบด้วยเนื้อดาวหนา 600 กิโลเมตร
== การเคลื่อนที่ และการหมุนรอบตนเอง ==
ดาวพุธมีระดับความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรมากที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีค่าความเยื้องศูนย์กลางอยู่ที่ 0.21 และอาจมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ได้ระหว่าง 46 ล้าน ถึง 70 ล้าน กิโลเมตร. ดาวพุธเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ. ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ
== การศึกษาและการสำรวจ ==
ยานอวกาศที่เข้าไปเฉียดใกล้ๆ ดาวพุธและนำภาพมาต่อกันจนได้ภาพพื้นผิวดาวพุธเป็นครั้งแรกคือ ยานอวกาศมาริเนอร์ 10 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2517 นับว่าเป็นยานลำแรกและลำเดียวที่ส่งไปสำรวจดาวพุธ ยานมารีเนอร์ 10 เข้าใกล้ดาวพุธ 3 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อเดือนมีนาคม และ กันยายน พ.ศ. 2517 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ยานเข้าใกล้ดาวพุธที่สุดครั้ง แรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 และได้ส่งภาพกลับมา 647 ภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2517 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2518 ขณะนั้นเครื่องมือภายในยานได้เสื่อมสภาพลง ในที่สุดก็ติดต่อกับโลกไม่ได้ตั้งแต่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 ยานมารีเนอร์ 10 จึงกลายเป็นขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โดยเข้ามาใกล้ดาวพุธครั้งคราวตามจังหวะเดิมต่อไป
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์หิน | thaiwikipedia | 665 |
เส้นรอบวง | ในวิชาเรขาคณิต เส้นรอบวง (circumference) เป็นเส้นรอบรูปของวงกลม หรือ วงรี นั่นคือ เส้นรอบวงจะเป็นความยาวส่วนโค้งของวงกลมราวกับว่ามันถูกเปิดออก และยืดออกเป็นส่วนของเส้นตรง
== รูปวงกลม ==
เส้นรอบวง c ของรูปวงกลม สามารถคำนวณได้จากเส้นผ่านศูนย์กลาง d โดยใช้สูตรต่อไปนี้
:c = \pi d \,\!
หรือคำนวณจากรัศมี r ของรูปวงกลม
:c = 2 \pi r \,\!
เมื่อ π คืออัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งมีค่าประมาณ 3.142857142857143
สูตรการหาความยาวของเส้นรอบวง สามารถสร้างขึ้นโดยใช้ความรู้ทางแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ และไม่ใช้การอ้างถึงค่า π ดังที่จะแสดงต่อไปนี้
ครึ่งหนึ่งด้านบนของรูปวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด คือกราฟของฟังก์ชัน
:f (x) = \sqrt{r^2 - x^2}
ซึ่ง x สามารถมีค่าได้ตั้งแต่ −r ถึง +r เส้นรอบวงของรูปวงกลมทั้งหมดจึงสามารถแทนได้ด้วยผลรวมสองเท่าของความยาวของส่วนโค้งเล็กๆ ที่ประกอบกันเป็นครึ่งวงกลม ความยาวของส่วนโค้งเล็กๆ นั้นสามารถคำนวณได้โดยใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส รูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านประกอบมุมฉากเป็น dx และ f' (x) dx เราจะได้ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากเป็น
:\sqrt{(dx) ^2+ (f' (x) dx) ^2} = \left ( \sqrt{1+f' (x) ^2} \right) dx
ดังนั้น ความยาวของเส้นรอบวงจึงคำนวณได้จาก
:\begin{align}
c &= 2 \int_{-r}^r \sqrt{1+f' (x) ^2}dx = 2 \int_{-r}^r \sqrt{1+\frac{x^2}{r^2-x^2}}dx = 2 \int_{-r}^r \sqrt{\frac{1}{1-\frac{x}{r}^2}}dx = 2r \int_{-1}^1 \sqrt{\frac{1}{1-x^2}}dx \\
&= 2r \big[ \arcsin{(1)} - \arcsin{(-1)} \big] = 2r ( \tfrac{\pi}{2} - (-\tfrac{\pi}{2}) ) = 2 \pi r
\end{align}
== รูปวงรี ==
การคำนวณเส้นรอบวงของวงรี ซับซ้อนกว่าวงกลม และเป็นอนุกรมอนันต์ (infinite series) อาจประมาณได้จากสูตรของ รามานุจัน (นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย)
c \approx \pi (3 (a+b) - \sqrt{ (3a+b) (a+3b) })
เมื่อ a และ b คือ กึ่งแกนเอกและกึ่งแกนโท ตามลำดับ สองค่านี้มีความสัมพันธ์กันกับความเยื้องศูนย์กลางของวงรี ดังต่อไปนี้
b = a \sqrt{1-e^2}
ซึ่งแสดงว่าสามารถเขียนสูตรคำนวณเส้นรอบวงของวงรีได้ดังนี้
c \approx \pi a (3 (1+\sqrt{1-e^2}) - \sqrt{ (3+ \sqrt{1-e^2}) (1+3 \sqrt{1-e^2}) }) = \pi a (3 (1+\sqrt{1-e^2}) - \sqrt{3 (2-e^2) +10 \sqrt{1-e^2}})
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Numericana - Circumference of an ellipse
เรขาคณิต | thaiwikipedia | 666 |
เมตร | เมตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre [บริติช], meter[อเมริกัน], m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที
== ประวัตินิยาม ==
ในปี ค.ศ. 1668 พระคริสตธรรมคัมภีร์และนักปรัชญาชาวอังกฤษชื่อ จอห์น วิลคินส์ เสนอเรียงความทศนิยมตามหน่วยความยาวมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานตามลูกตุ้มที่มีระยะเวลาสองวินาที การใช้ลูกตุ้มวินาทีเพื่อกำหนดความยาวได้รับการแนะนำให้ Royal Society ใน 1660 โดย Christopher Wren Christiaan Huygens ได้สังเกตเห็นความยาวที่จะเป็น 38 Rijnland นิ้วหรือ 39.26 นิ้วอังกฤษ นั่นคือ 997 มม. ไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับคำแนะนำเหล่านี้
ในปี ค.ศ. 1670 กาเบรียลมูตูน บิชอปแห่งลียง ยังแนะนำให้ใช้มาตรฐานความยาวที่มีความยาวเป็นสากลพร้อมกับทศนิยมและหน่วยทศนิยมโดยอิงจากมุมหนึ่งลิปดาของเส้นเมริเดียนของโลก (เส้นรอบวงของโลกไม่สามารถวัดได้ง่าย) หรือลูกตุ้มระยะเวลาสองวินาที ในปี ค.ศ. 1675 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน Tito Livio Burattini ได้ทำงานใน Misura Universale ใช้วลี metro cattolico ("universal measure") มาจากภาษากรีก μέτρονκαθολικόν (métronkatholikón) เพื่อแสดงถึงหน่วยความยาวมาตรฐานที่มาจากลูกตุ้ม จากการปฏิวัติของฝรั่งเศสสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสได้เรียกเก็บค่านายหน้าด้วยการกำหนดมาตรการเพียงอย่างเดียวสำหรับมาตรการทั้งหมด เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1790 คณะกรรมาธิการแนะนำให้ใช้ระบบทศนิยมและแนะนำให้ใช้คำว่า mètre ("วัด") ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของความยาว นิยามว่าเท่ากับหนึ่งในสิบล้านส่วนของระยะห่างระหว่างขั้วโลกเหนือและเส้นรอบวง ในปี ค.ศ. 1793 อนุสัญญาแห่งชาติฝรั่งเศสได้รับรองข้อเสนอดังกล่าว ; ใช้ metre ในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1797
=== นิยามเชิงเมริเดียน ===
ในปี ค.ศ. 1791 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศสได้เลือกคำจำกัดความเชิงเมริเดียนเหนือคำจำกัดความของลูกตุ้ม เพราะแรงโน้มถ่วงแตกต่างกันไปเล็กน้อยเหนือพื้นผิวโลกซึ่งส่งผลต่อระยะเวลาของลูกตุ้ม
เพื่อสร้างรากฐานที่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายสำหรับการกำหนดนิยามของเมตร การวัดความถูกต้องของเส้นเมอริเดียนนี้จำเป็นต้องมีมากขึ้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศสได้รับหน้าที่ให้การเดินทางนำโดย Jean Baptiste Joseph Delambre และ Pierre Méchainซึ่งยั่งยืนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1799 ซึ่งพยายามวัดระยะทางระหว่างหอระฆังในปราสาทดันเคิร์ก และปราสาทMontjuïcในบาร์เซโลนา เพื่อประมาณการณ์ความยาวของส่วนโค้งเมริเดียนผ่านดันเคิร์ก ส่วนนี้ของเส้นเมอริเดียนสันนิษฐานว่าเป็นความยาวเดียวกับเส้นแวงปารีสเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความยาวของเส้นกึ่งกลางครึ่งทางที่เชื่อมต่อกับขั้วโลกเหนือกับเส้นศูนย์สูตร ปัญหาเกี่ยวกับแนวทางนี้ก็คือรูปทรงที่แน่นอนของโลกไม่ใช่รูปร่างทางคณิตศาสตร์ที่เรียบง่ายเช่นทรงกลมหรือทรงกลมแป้นในระดับความแม่นยำที่จำเป็นสำหรับการกำหนดมาตรฐานความยาว รูปร่างที่ผิดปกติและเฉพาะเจาะจงของโลกที่ทำให้ราบเรียบไปถึงระดับน้ำทะเลคือรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า geoid ซึ่งหมายถึง "Earth-shaped" แม้จะมีประเด็นเหล่านี้ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1793 ได้ใช้นิยามของเมตรนี้เป็นหน่วยความยาวอย่างเป็นทางการ ซึ่งมาจากผลการชั่วคราวจากการเดินทางครั้งนี้ อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นได้มีการกำหนดว่าไม้เมตรต้นแบบมีระยะสั้นไปประมาณ 200 ไมโครเมตรเนื่องจากมีการคำนวณการแผ่แบนของโลกผิดพลาด ทำให้ไม้เมตรต้นแบบสั้นกว่าคำจำกัดความที่เสนอเดิมของเมตรประมาณ 0.02% แต่ความยาวดังกล่าวได้กลายมาเป็นมาตรฐานของฝรั่งเศสและได้รับการรับรองโดยประเทศอื่นในทวีปยุโรป
== คำอุปสรรค ==
หน่วยเมตรนิยมใช้กันในหลายหน่วยย่อยโดยคำอุปสรรคที่นิยมใช้คู่ได้แก่ กิโลเมตร มิลลิเมตร โดยหน่วยอุปสรรคทั้งหมดแสดงในตารางด้านล่าง
== การเปรียบเทียบกับหน่วยความยาวอื่น ==
1 เมตร มีค่าเท่ากับ
=== มาตราวัดระยะไทย ===
39.37 นิ้ว
3.281 คืบ
2 ศอก
0.5 วา
0.025 เส้น
0.0000625 โยชน์
=== มาตราวัดระยะอังกฤษ ===
39.37 นิ้ว
3.281 ฟุต
1.093 หลา
0.000621371192237 ไมล์
=== มาตราวัดระยะเมตริก ===
0.000000000000000000000001 ยอตตะเมตร
0.000000000000000000001 เซตตะเมตร
0.000000000000000001 เอกซะเมตร
0.000000000000001 เพตะเมตร
0.000000000001 เทระเมตร
0.000000001 จิกะเมตร
0.000001 เมกะเมตร
0.001 กิโลเมตร
0.01 เฮกโตเมตร
0.1 เดคาเมตร
1 เมตร
10 เดซิเมตร
100 เซนติเมตร
1,000 มิลลิเมตร
1,000,000 ไมโครเมตร
1,000,000,000 นาโนเมตร
1,000,000,000,000 พิโกเมตร
1,000,000,000,000,000 เฟมโตเมตร
1,000,000,000,000,000,000 อัตโตเมตร
1,000,000,000,000,000,000,000 เซปโตเมตร
1,000,000,000,000,000,000,000,000 ยอกโตเมตร
== อ้างอิง ==
หน่วยความยาวระบบเมตริก
หน่วยฐานเอสไอ | thaiwikipedia | 667 |
ระบบสุริยะ | ระบบสุริยะ (Solar System) คือระบบดาวซึ่งประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว279 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต
กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย
ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ เอริส
มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก
สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน
== ประวัติการค้นพบและการสำรวจ ==
นับเป็นเวลาหลายพันปีในอดีตกาลที่มนุษยชาติไม่เคยรับรู้มาก่อนว่ามีสิ่งที่เรียกว่า ระบบสุริยะ แต่เดิมมนุษย์นั้นเชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลที่อยู่นิ่ง มีดวงดาวต่าง ๆ โคจรไปรอบ ๆ ผ่านไปบนท้องฟ้า แม้ว่านักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียชื่อ อารยภัฏ (आर्यभट) และนักปรัชญาชาวกรีก แอริสตาร์คัส (Ἀρίσταρχος ὁ Σάμιος) เคยมีแนวคิดเกี่ยวกับการที่ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และจัดลำดับจักรวาลเสียใหม่ แต่ผู้ที่สามารถคิดค้นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์แนวคิดนี้ได้สำเร็จเป็นคนแรกคือ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผู้สืบทอดแนวทางการศึกษาของเขาต่อมา คือกาลิเลโอ กาลิเลอี โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ และ ไอแซค นิวตัน พวกเขาพยายามทำความเข้าใจระบบทางฟิสิกส์และเสาะหาหลักฐานการพิสูจน์ยืนยันว่า โลกเคลื่อนไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างก็ดำเนินไปภายใต้กฎทางฟิสิกส์แบบเดียวกันนี้ ในยุคหลังต่อมาจึงเริ่มมีการสืบสวนค้นหาปรากฏการณ์ทางภูมิธรณีต่าง ๆ เช่น เทือกเขา แอ่งหิน ปรากฏการณ์สภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนตามฤดูกาล การศึกษาเกี่ยวกับเมฆ พายุทราย และยอดเขาน้ำแข็งบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ
=== การสำรวจยุคแรก ===
การสำรวจระบบสุริยะในยุคแรกดำเนินไปได้โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ เพื่อช่วยนักดาราศาสตร์จัดทำแผนภาพท้องฟ้าแสดงตำแหน่งของวัตถุที่จางเกินกว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
กาลิเลโอ กาลิเลอี คือผู้แรกที่ค้นพบรายละเอียดทางกายภาพของวัตถุในระบบสุริยะ เขาค้นพบว่าผิวดวงจันทร์นั้นขรุขระ ส่วนดวงอาทิตย์ก็มีจุดด่างดำ และดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารสี่ดวงโคจรไปรอบ ๆ คริสตียาน เฮยเคินส์ เจริญรอยตามกาลิเลโอโดยค้นพบไททัน ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ รวมถึงวงแหวนของมันด้วย ในเวลาต่อมา จิโอวันนี โดเมนิโก กัสสินี ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร์เพิ่มอีก 4 ดวง ช่องว่างในวงแหวนของดาวเสาร์ รวมถึงจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี
ปี ค.ศ. 1705 เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ค้นพบว่าดาวหางหลายดวงในบันทึกประวัติศาสตร์ที่จริงเป็นดวงเดิมกลับมาปรากฏซ้ำ ถือเป็นการพบหลักฐานชิ้นแรกสำหรับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของวัตถุอื่นนอกเหนือจากดาวเคราะห์ ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้จึงเริ่มมีการใช้คำว่า "ระบบสุริยะ" ขึ้นเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1781 วิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่คือ ดาวยูเรนัส โดยที่ในตอนแรกเขาคิดว่าเป็นดาวหาง ต่อมาในปี ค.ศ. 1801 จูเซปเป ปีอัซซี ค้นพบวัตถุโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ในตอนแรกเขาคิดว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ต่อมาจึงมีการค้นพบวัตถุขนาดเล็กนับเป็นพันดวงในย่านอวกาศนั้น ซึ่งในเวลาต่อมาจึงเรียกวัตถุเหล่านั้นว่า ดาวเคราะห์น้อย
ไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่า ระบบสุริยะถูก "ค้นพบ" เมื่อใดกันแน่ แต่การสังเกตการณ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สามรายการสามารถบรรยายลักษณะและตำแหน่งของระบบสุริยะในเอกภพได้อย่างไม่มีข้อสงสัย รายการแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1838 เมื่อฟรีดดริค เบสเซล สามารถวัดพารัลแลกซ์ของดาวได้ เขาพบว่าตำแหน่งปรากฏของดาวเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของโลกที่โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ นี่ไม่เพียงเป็นข้อพิสูจน์ทางตรงต่อแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล แต่ยังได้เปิดเผยให้ทราบถึงระยะทางมหาศาลระหว่างระบบสุริยะของเรากับดวงดาวอื่นเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี ค.ศ. 1859 โรเบิร์ต บุนเซน และ กุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์ ได้ใช้สเปกโตรสโคปที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตรวจวัดค่าสเปกตรัมจากดวงอาทิตย์ และพบว่ามันประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่บนโลก นับเป็นครั้งแรกที่พบข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวโยงกันระหว่างโลกกับสวรรค์ หลังจากนั้น บาทหลวงแองเจโล เซคคี เปรียบเทียบรายละเอียดสเปกตรัมของดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์ดวงอื่น และพบว่ามันเหมือนกันทุกประการ ข้อเท็จจริงที่พบว่าดวงอาทิตย์ก็เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งนำไปสู่ข้อสมมุติฐานว่าดาวฤกษ์ดวงอื่นก็อาจมีระบบดาวเคราะห์ของมันเองเช่นกัน แม้ว่ากว่าจะค้นพบหลักฐานสำหรับข้อสมมุติฐานนี้จะต้องใช้เวลาต่อมาอีกกว่า 140 ปี
ค.ศ. 1992 มีการค้นพบหลักฐานแรกที่ส่อถึงระบบดาวเคราะห์แห่งอื่นนอกเหนือจากระบบของเรา โคจรอยู่รอบดาวพัลซาร์ พีเอสอาร์ บี1257+12 สามปีต่อมาจึงพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกคือ 51 เพกาซี บี โคจรรอบดาวฤกษ์ลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ ตราบจนถึงปี ค.ศ. 2008 มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์อื่นแล้วกว่า 221 ระบบ
=== การสำรวจด้วยยานอวกาศ ===
ยุคของการสำรวจอวกาศด้วยยานอวกาศเริ่มต้นขึ้นนับแต่สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกเมื่อปี ค.ศ. 1957 โดยได้โคจรอยู่เป็นเวลา 1 ปี ต่อมายานเอกซ์พลอเรอร์ 6 ของสหรัฐอเมริกา ขึ้นสู่วงโคจรในปี 1959 และสามารถถ่ายภาพโลกจากอวกาศได้เป็นครั้งแรก
ยานสำรวจลำแรกที่เดินทางไปถึงวัตถุอื่นในระบบสุริยะ คือยานลูนา 1 ซึ่งเดินทางผ่านดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 1959 ในตอนแรกตั้งใจกันว่าจะให้มันตกลงบนดวงจันทร์ แต่ยานพลาดเป้าหมายแล้วจึงกลายเป็นยานที่สร้างโดยมนุษย์ลำแรกที่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ ยานมาริเนอร์ 2 เป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปถึงดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ คือไปเยือนดาวศุกร์ในปี ค.ศ. 1962 ต่อมายานมาริเนอร์ 4 ได้ไปถึงดาวอังคารในปี ค.ศ. 1965 และมาริเนอร์ 10 ไปถึงดาวพุธในปี ค.ศ. 1974
ยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนวัตถุอื่นในระบบสุริยะได้คือยานลูนา 2 ของสหภาพโซเวียต ซึ่งลงจอดบนดวงจันทร์ได้ในปี ค.ศ. 1959 หลังจากนั้นก็มียานลงจอดบนดาวอื่นได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ยานเวเนรา 3 ลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์ในปี 1966 ยานมาร์ส 3 ลงถึงพื้นดาวอังคารในปี 1971 (แต่การลงจอดที่สำเร็จจริง ๆ คือยานไวกิ้ง 1 ในปี 1976) ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ไปถึงดาวเคราะห์น้อย 433 อีรอส ในปี 2001 และยานดีปอิมแพกต์ไปถึงดาวหางเทมเพล 1 ในปี 2005
ยานสำรวจลำแรกที่ไปถึงระบบสุริยะชั้นนอกคือยานไพโอเนียร์ 10 ที่เดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีในปี ค.ศ. 1973 ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 ยานสำรวจอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์จึงได้เริ่มต้นการเดินทางครั้งใหญ่ โดยเดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีในปี 1979 ผ่านดาวเสาร์ในปี 1980-1981 ยานวอยเอจเจอร์ 2 ได้เข้าใกล้ดาวยูเรนัสในปี 1986 และเข้าใกล้ดาวเนปจูนในปี 1989 ปัจจุบันนี้ ยานสำรวจวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้เดินทางออกพ้นวงโคจรของดาวเนปจูนไปไกลแล้ว และมุ่งไปบนเส้นทางเพื่อค้นหาและศึกษากำแพงกระแทก เฮลิโอชีท และเฮลิโอพอส ข้อมูลล่าสุดจากองค์การนาซาแจ้งว่า ยานวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้เดินทางผ่านกำแพงกระแทกไปแล้วที่ระยะห่างประมาณ 93 หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์
วันที่ 19 มกราคม 2006 นาซาส่งยานสำรวจแบบบินผ่าน นิวฮอไรซันส์ ขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งเป็นยานสำรวจอวกาศแบบไร้คนขับลำแรกที่จะเดินทางไปสำรวจแถบไคเปอร์ ยานมีกำหนดบินผ่านดาวพลูโตในเดือนกรกฎาคม 2015 จากนั้นจะเดินทางเข้าสู่แถบไคเปอร์เพื่อสำรวจวัตถุในพื้นที่นั้นต่อไป
== กำเนิดและวิวัฒนาการ ==
ระบบสุริยะถือกำเนิดขึ้นจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์เมื่อกว่า 4,600 ล้านปีมาแล้ว เมฆต้นกำเนิดนี้มีความกว้างหลายปีแสง และอาจเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์อื่นอีกจำนวนมาก
เมื่อย่านเนบิวลาก่อนสุริยะ ซึ่งน่าจะเป็นจุดกำเนิดของระบบสุริยะเกิดแตกสลายลง โมเมนตัมเชิงมุมที่มีอยู่ทำให้มันหมุนตัวไปเร็วยิ่งขึ้น ที่ใจกลางของย่านซึ่งเป็นศูนย์รวมมวลอันหนาแน่นมีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นกว่าแผ่นจานที่หมุนอยู่รอบ ๆ ขณะที่เนบิวลานี้หดตัวลง มันก็เริ่มมีทรงแบนยิ่งขึ้นและค่อย ๆ ม้วนตัวจนกลายเป็นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 200 AU พร้อมกับมีดาวฤกษ์ก่อนเกิดที่หนาแน่นและร้อนจัดอยู่ ณ ใจกลาง เมื่อการวิวัฒนาการดำเนินมาถึงจุดนี้ เชื่อว่าดวงอาทิตย์ได้มีสภาพเป็นดาวฤกษ์ชนิด T Tauri ผลจากการศึกษาดาวฤกษ์ชนิด T Tauri พบว่ามันมักมีแผ่นจานของมวลสารดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่มีมวลประมาณ 0.001-0.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ กับมวลของเนบิวลาในตัวดาวฤกษ์เองอีกเป็นส่วนใหญ่จำนวนมหาศาล ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากแผ่นจานรวมมวลเหล่านี้
ภายในช่วงเวลา 50 ล้านปี ความดันและความหนาแน่นของไฮโดรเจนที่ใจกลางของดาวฤกษ์ก่อนเกิดก็มีมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสขึ้นได้ ทั้งอุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยา ความดัน ตลอดจนความหนาแน่นต่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงสภาวะสมดุลอุทกสถิต โดยมีพลังงานความร้อนที่มากพอจะต้านทานกับการหดตัวของแรงโน้มถ่วงได้ ณ จุดนี้ดวงอาทิตย์จึงได้วิวัฒนาการเข้าสู่แถบลำดับหลักอย่างสมบูรณ์
ระบบสุริยะจะดำรงสภาพอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ไปตราบจนกระทั่ง ดวงอาทิตย์ได้วิวัฒนาการจนออกพ้นจากแถบลำดับหลักบนไดอะแกรมของเฮิร์ตสปรัง-รัสเซลล์ เมื่อดวงอาทิตย์เผาผลาญเชื้อเพลิงไฮโดรเจนภายในไปเรื่อย ๆ พลังงานที่คอยค้ำจุนแกนกลางของดาวอยู่ก็จะลดน้อยถอยลง ทำให้มันหดตัวและแตกสลายลงไป การหดตัวจะทำให้แรงดันความร้อนในแกนกลางเพิ่มมากขึ้น และทำให้มันยิ่งเผาผลาญเชื้อเพลิงเร็วขึ้น ผลที่เกิดคือดวงอาทิตย์จะส่องสว่างมากยิ่งขึ้นโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ในทุก ๆ 1,100 ล้านปี
ในอีกประมาณ 5,400 ล้านปีข้างหน้า ไฮโดรเจนในแกนกลางของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนไปเป็นฮีเลียมทั้งหมด ซึ่งเป็นอันจบกระบวนการวิวัฒนาการบนแถบลำดับหลัก ในเวลานั้น ชั้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์จะขยายใหญ่ขึ้นประมาณ 260 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในปัจจุบัน ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นดาวยักษ์แดง การที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ขยายตัวขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้อุณหภูมิที่พื้นผิวของมันเย็นลงยิ่งกว่าที่เคยเป็นเมื่ออยู่บนแถบลำดับหลัก (ตำแหน่งเย็นที่สุดคือ 2600 K)
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ชั้นผิวนอกของดวงอาทิตย์จะแตกสลาย กลายไปเป็นดาวแคระขาว คือวัตถุที่มีความหนาแน่นอย่างยิ่งยวด มวลประมาณครึ่งหนึ่งของมวลดั้งเดิมของดวงอาทิตย์จะอัดแน่นอยู่ในพื้นที่ของวัตถุขนาดประมาณเท่ากับโลก การแตกสลายของชั้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์ ซึ่งเป็นการส่งคืนสสารต่าง ๆ อันประกอบขึ้นเป็นดวงอาทิตย์กลับคืนให้แก่สสารระหว่างดาว
== โครงสร้างและองค์ประกอบ ==
องค์ประกอบหลักที่สำคัญของระบบสุริยะคือ ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักประเภท G2 ซึ่งมีมวลคิดเป็น 99.86% ของมวลรวมทั้งระบบเท่าที่เป็นที่รู้จัก และเป็นแหล่งแรงโน้มถ่วงหลักของระบบ โดยมีดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ซึ่งเป็นวัตถุในวงโคจรใหญ่ที่สุดสองดวงครอบครองมวลอีก 90% ของมวลส่วนที่เหลือ
วัตถุใหญ่ ๆ ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่อยู่บนระนาบใกล้เคียงกับระนาบโคจรของโลก ที่เรียกว่า ระนาบสุริยวิถี ดาวเคราะห์ทั้งหมดจะเคลื่อนที่ใกล้เคียงกับระนาบนี้ ขณะที่ดาวหางและวัตถุในแถบไคเปอร์มักเคลื่อนที่ทำมุมกับระนาบค่อนข้างมาก
ดาวเคราะห์ทั้งหมดและวัตถุส่วนใหญ่ในระบบยังโคจรไปในทิศทางเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ (ทวนเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากมุมมองด้านขั้วเหนือของดวงอาทิตย์) มีเพียงบางส่วนที่เป็นข้อยกเว้นไม่เป็นไปตามนี้ เช่น ดาวหางฮัลเลย์ เป็นต้น
ตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเค็พเพลอร์ อธิบายถึงลักษณะการโคจรของวัตถุต่าง ๆ รอบดวงอาทิตย์ กล่าวคือ วัตถุแต่ละชิ้นจะเคลื่อนที่ไปตามแนวระนาบรอบดวงอาทิตย์โดยมีจุดโฟกัสหนึ่งจุด วัตถุที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า (มีค่ากึ่งแกนเอกน้อยกว่า) จะใช้เวลาโคจรน้อยกว่า บนระนาบสุริยวิถีหนึ่ง ๆ ระยะห่างของวัตถุกับดวงอาทิตย์จะแปรผันไปตามเส้นทางบนทางโคจรของมัน จุดที่วัตถุอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเรียกว่า "จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด" (perihelion) ขณะที่ตำแหน่งซึ่งมันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด เรียกว่า "จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด" (aphelion) วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ความเร็วสูงที่สุดเมื่ออยู่ในตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำสุดเมื่ออยู่ในตำแหน่งไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ลักษณะของวงโคจรของดาวเคราะห์มีรูปร่างเกือบจะเป็นวงกลม ขณะที่ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุในแถบไคเปอร์ มีวงโคจรค่อนข้างจะเป็นวงรี
เมื่อศึกษาถึงระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ในที่ว่างมหาศาลของระบบ เราพบว่า ยิ่งดาวเคราะห์หรือแถบต่าง ๆ อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์เท่าไร มันก็จะยิ่งอยู่ห่างจากวัตถุอื่นใกล้เคียงมากเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ดาวศุกร์มีระยะห่างจากดาวพุธประมาณ 0.33 หน่วยดาราศาสตร์ ส่วนดาวเสาร์อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีไป 4.3 หน่วยดาราศาสตร์ และดาวเนปจูนอยู่ห่างจากดาวยูเรนัสออกไปถึง 10.5 หน่วยดาราศาสตร์ เคยมีความพยายามศึกษาและอธิบายถึงระยะห่างระหว่างวงโคจรของดาวต่าง ๆ (ดูรายละเอียดใน กฎของทีทซีอุส–โบเดอ) แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีใดเป็นที่ยอมรับ
ดาวเคราะห์ส่วนมากในระบบสุริยะจะมีระบบเล็ก ๆ ของตัวเองด้วย โดยจะมีวัตถุคล้ายดาวเคราะห์ขนาดเล็กโคจรไปรอบตัวเองเป็นดาวบริวาร หรือดวงจันทร์ ดวงจันทร์บางดวงมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์เสียอีก ดาวบริวารขนาดใหญ่เหล่านี้จะมีวงโคจรที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ คือจะหันหน้าด้านหนึ่งของดาวเข้าหาดาวเคราะห์ดวงแม่ของมันเสมอ ดาวเคราะห์ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ 4 ดวงยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวด้วย เป็นแถบบาง ๆ ที่ประกอบด้วยเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ โคจรไปรอบ ๆ อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
=== คำจำกัดความ ===
ระบบสุริยะสามารถแบ่งออกเป็นย่านต่าง ๆ ได้แบบไม่เป็นทางการ ระบบสุริยะส่วนในประกอบด้วยดาวเคราะห์ 4 ดวงกับแถบดาวเคราะห์น้อย ระบบสุริยะส่วนนอกคือส่วนที่อยู่พ้นแถบดาวเคราะห์น้อยออกไป ประกอบด้วยดาวแก๊สยักษ์ 4 ดวง ต่อมาเมื่อมีการค้นพบแถบไคเปอร์ จึงจัดเป็นย่านไกลที่สุดของระบบสุริยะ เรียกรวม ๆ ว่าเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูน
เมื่อพิจารณาจากทั้งแง่กายภาพและการเคลื่อนที่ วัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทคือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และ วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ไม่ว่าจะมีขนาดใดก็ตามที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ จะมีมวลมากพอจะสร้างตัวเองให้มีรูปร่างเป็นสัณฐานกลม และขับไล่ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่อยู่รอบตัวเองให้ออกไปให้พ้นระยะ จากคำจำกัดความนี้ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจึงมี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตถูกปลดออกจากตำแหน่งดาวเคราะห์เนื่องจากมันไม่สามารถขับไล่วัตถุเล็ก ๆ อื่น ๆ ในบริเวณแถบไคเปอร์ออกไปพ้นวงโคจรของมันได้
ดาวเคราะห์แคระ คือวัตถุท้องฟ้าที่โคจรรอบดวงอาทิตย์และมีมวลมากพอจะทำให้ตัวเองมีสัณฐานกลมเนื่องจากแรงโน้มถ่วง แต่ไม่สามารถขจัดชิ้นส่วนก่อนเกิดดาวเคราะห์ออกไป ทั้งไม่สามารถเป็นดาวบริวาร จากคำจำกัดความนี้ ระบบสุริยะจึงมีดาวเคราะห์แคระที่รู้จักแล้ว 5 ดวงคือ ซีรีส พลูโต เฮาเมอา มาคีมาคี และ เอริส วัตถุอื่น ๆ ที่อาจสามารถจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์แคระได้ ได้แก่ เซดนา ออร์กัส และควาอัวร์ ดาวเคราะห์แคระที่โคจรอยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูนเรียกชื่อรวม ๆ ว่า "พลูตอยด์" นอกเหนือจากนี้ วัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ ที่โคจรไปรอบดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ใช้คำศัพท์ แก๊ส น้ำแข็ง และ หิน เพื่ออธิบายถึงประเภทองค์ประกอบสสารต่าง ๆ ที่พบตลอดทั่วระบบสุริยะ หิน จะใช้ในการอธิบายองค์ประกอบที่มีจุดหลอมเหลวสูง (สูงกว่า 500 เคลวิน) เช่นพวก ซิลิเกต องค์ประกอบหินมักพบได้มากในกลุ่มระบบสุริยะชั้นใน เป็นส่วนประกอบหลักของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย แก๊ส เป็นสสารที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ เช่นอะตอมไฮโดรเจน ฮีเลียม และแก๊สมีสกุล มักพบในย่านกึ่งกลางระบบสุริยะ เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ น้ำแข็ง ซึ่งประกอบด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์ มีจุดหลอมเหลวเพียงไม่กี่ร้อยเคลวิน เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่ในดาวบริวารของบรรดาดาวแก๊สยักษ์ รวมถึงเป็นองค์ประกอบอยู่ในดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน (บางครั้งเรียกดาวทั้งสองนี้ว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์") และในวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่อยู่พ้นจากวงโคจรดาวเนปจูนออกไป
== ดวงอาทิตย์ ==
ดวงอาทิตย์ คือดาวฤกษ์ดวงแม่ที่เป็นหัวใจของระบบสุริยะ มีขนาดประมาณ 332,830 เท่าของมวลของโลก ด้วยปริมาณมวลที่มีอยู่มหาศาลทำให้ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นภายในที่สูงมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสอย่างต่อเนื่อง และปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา โดยมากเป็นพลังงานที่แผ่ออกไปในลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น แสง
ดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวแคระเหลืองขนาดใหญ่ปานกลาง ทว่าเมื่อเปรียบเทียบกับดาวฤกษ์อื่น ๆ ที่อยู่ในดาราจักรของเรา ถือได้ว่าดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่และสว่างมาก การจัดประเภทของดาวฤกษ์นี้เป็นไปตามไดอะแกรมของเฮิร์ตสปรัง-รัสเซลล์ ซึ่งเป็นแผนภูมิของกราฟระหว่างความสว่างของดาวฤกษ์เทียบกับอุณหภูมิพื้นผิว โดยทั่วไปดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูงกว่ามักจะสว่างกว่า ซึ่งดาวฤกษ์ใด ๆ ที่มีคุณสมบัติเป็นไปดังที่ว่ามานี้ก็จะเรียกว่าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในแถบลำดับหลัก ดวงอาทิตย์ของเราก็อยู่บนแถบลำดับหลักโดยอยู่ในช่วงกึ่งกลางทางด้านขวา แต่มีดาวฤกษ์จำนวนไม่มากนักที่จะสว่างกว่าและมีอุณหภูมิสูงกว่าดวงอาทิตย์ของเรา ส่วนมากจะอ่อนแสงกว่าและมีอุณหภูมิต่ำกว่าทั้งนั้น
เชื่อว่าตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนแถบลำดับหลักนั้นจัดได้ว่าอยู่ใน "ช่วงรุ่งโรจน์ของยุค" ของอายุดาวฤกษ์ มันยังมีไฮโดรเจนมากเพียงพอที่จะสร้างปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสไปอีกนาน ดวงอาทิตย์กำลังเพิ่มพูนความสว่างมากขึ้น ในอดีตดวงอาทิตย์เคยมีความสว่างเพียงแค่ 70% ของความสว่างอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์ชนิดดารากร 1 ถือกำเนิดขึ้นในช่วงปลาย ๆ ของวิวัฒนาการของเอกภพ มีองค์ประกอบธาตุหนักที่หนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม (ในภาษาดาราศาสตร์จะเรียกว่า "โลหะ") มากกว่าดาวฤกษ์ชนิดดารากร 2 ซึ่งมีอายุมากกว่า ธาตุหนักเหล่านี้ก่อกำเนิดขึ้นจากแก่นกลางของดาวฤกษ์โบราณที่ระเบิดออก ดังนั้นดาวฤกษ์ในยุคแรกเริ่มจึงต้องแตกดับไปเสียก่อนจึงจะทำให้เอกภพเต็มไปด้วยอะตอมธาตุเหล่านี้ได้ ดาวฤกษ์ที่มีอายุเก่าแก่มาก ๆ จะไม่ค่อยมีองค์ประกอบโลหะมากนัก ขณะที่ดาวฤกษ์ที่เกิดในยุคหลังจะมีโลหะมากกว่า สันนิษฐานว่า การมีองค์ประกอบโลหะจำนวนมากนี้น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดวงอาทิตย์สามารถสร้างระบบดาวเคราะห์ของตัวเองขึ้นมาได้ เพราะดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นมาจากการรวมตัวกันของธาตุหนักเหล่านั้น
=== สสารระหว่างดาวเคราะห์ ===
นอกเหนือจากแสง ดวงอาทิตย์ยังแผ่รังสีที่ประกอบด้วยกระแสของประจุอนุภาคจำนวนมากต่อเนื่องกัน (เป็นพลาสมาชนิดหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ ลมสุริยะ) กระแสประจุนี้แผ่ออกไปด้วยความเร็วประมาณ 1.5 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศบาง ๆ ขึ้น เรียกว่า เฮลิโอสเฟียร์ ที่แผ่ปกคลุมทั่วระบบสุริยะออกไปเป็นระยะทางอย่างน้อย 100 หน่วยดาราศาสตร์ (ดูเพิ่มที่ เฮลิโอพอส) ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรียกกันว่า สสารระหว่างดาวเคราะห์ พายุแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวดวงอาทิตย์เช่น โซลาร์แฟลร์ หรือลำอนุภาคโคโรนา จะทำให้เกิดการรบกวนต่อเฮลิโอสเฟียร์ และสร้างสภาวะที่เรียกว่า space weather ขึ้น สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ที่หมุนวนไปสร้างผลกระทบต่อสสารระหว่างดาวเคราะห์ ทำให้เกิดแผ่นกระแสเฮลิโอสเฟียร์ (heliospheric current sheet) ขึ้น ซึ่งถือเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
สนามแม่เหล็กของโลกช่วยป้องกันชั้นบรรยากาศเอาไว้มิให้เกิดปฏิกิริยากับลมสุริยะ ขณะที่ดาวศุกร์กับดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็ก ลมสุริยะจึงสามารถขับไล่ชั้นบรรยากาศของดาวทั้งสองออกสู่อวกาศไปทีละน้อยได้ การปะทะระหว่างลมสุริยะกับสนามแม่เหล็กของโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ออโรรา หรือแสงเหนือ-แสงใต้ ที่พบเห็นบริเวณใกล้ขั้วโลก
รังสีคอสมิก มีกำเนิดมาจากห้วงอวกาศอื่นนอกระบบสุริยะ เฮลิโอสเฟียร์ทำหน้าที่ปกป้องระบบสุริยะเอาไว้ส่วนหนึ่ง โดยสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ (สำหรับดวงที่มี) ก็ช่วยทำหน้าที่ป้องกันรังสีด้วยอีกส่วนหนึ่ง ความหนาแน่นของรังสีคอสมิกในสสารระหว่างดาวกับความเข้มของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ดังนั้นระดับของการแผ่รังสีคอสมิกในระบบสุริยะจึงไม่แน่ไม่นอน แต่จะมีอยู่เป็นปริมาณเท่าใดไม่อาจระบุได้
สสารระหว่างดาวเคราะห์เป็นแหล่งกำเนิดของย่านแผ่นจานฝุ่นคอสมิกอย่างน้อย 2 แห่ง แห่งแรกคือเมฆฝุ่นจักรราศี ซึ่งอยู่ในระบบสุริยะชั้นในและเป็นต้นเหตุการเกิดแสงจักรราศี โดยมากเป็นเศษชิ้นส่วนในแถบดาวเคราะห์น้อยที่เกิดขึ้นจากการปะทะกับดาวเคราะห์ แผ่นจานฝุ่นแห่งที่สองแผ่ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ระยะ 10 หน่วยจนถึง 40 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นจากการปะทะในลักษณะเดียวกันในแถบไคเปอร์
== ระบบสุริยะชั้นใน ==
ระบบสุริยะชั้นใน เป็นชื่อดั้งเดิมของย่านอวกาศที่ประกอบด้วยกลุ่มดาวเคราะห์ใกล้โลกและแถบดาวเคราะห์น้อย มีส่วนประกอบหลักเป็นซิลิเกตกับโลหะ วัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะชั้นในจะเกาะกลุ่มอยู่ด้วยกันและใกล้กับดวงอาทิตย์มาก รัศมีของย่านระบบสุริยะชั้นในนี้ยังสั้นกว่าระยะห่างจากดาวพฤหัสบดีไปดาวเสาร์เสียอีก
=== ดาวเคราะห์ชั้นใน ===
ดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์ใกล้โลก มี 4 ดวง โดยมากประกอบด้วยส่วนประกอบหิน มีความหนาแน่นสูง มีดวงจันทร์น้อยหรืออาจไม่มีเลย และไม่มีระบบวงแหวนรอบตัวเอง สสารที่เป็นองค์ประกอบมักเป็นแร่ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูง เช่นซิลิเกตที่ชั้นเปลือกและผิว หรือโลหะ เหล็ก นิเกิล ที่เป็นแกนกลางของดาว สามในสี่ของดาวเคราะห์กลุ่มนี้ (ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร) มีชั้นบรรยากาศที่เห็นได้ชัด พื้นผิวมีร่องรอยของหลุมบ่อที่เกิดจากการปะทะโดยชิ้นส่วนจากอวกาศ และมีความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่พื้นผิวด้วยเช่น การแยกตัวของร่องหุบเขาและภูเขาไฟ
==== ดาวพุธ ====
ดาวพุธ (0.4 AU) คือดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด (0.055 เท่าของมวลโลก) ดาวพุธไม่มีดาวบริวารของตัวเอง สภาพพื้นผิวที่มีนอกเหนือจากหลุมบ่อจากการปะทะ ก็จะเป็นสันเขาสูงชัน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงยุคการก่อตัวในช่วงเริ่มแรกของประวัติศาสตร์ ชั้นบรรยากาศของดาวพุธเบาบางมากจนแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีบรรยากาศ ประกอบด้วยอะตอมที่ถูกลมสุริยะพัดพาขับไล่ไปจนเกือบหมด แกนกลางของดาวเป็นเหล็กที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก ต่อมาเป็นชั้นเปลือกบาง ๆ ที่ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน ทฤษฎีเกี่ยวกับชั้นเปลือกของดาวจำนวนหนึ่งอธิบายถึงชั้นผิวรอบนอกที่ถูกฉีกออกด้วยการปะทะครั้งใหญ่ บ้างก็ว่ามันถูกกีดกันจากการพอกรวมของชั้นผิวเนื่องจากพลังงานมหาศาลของดวงอาทิตย์อันเยาว์
==== ดาวศุกร์ ====
ดาวศุกร์ (0.7 AU) มีขนาดใกล้เคียงกับโลก (0.815 เท่าของมวลโลก) และมีลักษณะคล้ายโลกมาก มีชั้นเปลือกซิลิเกตอย่างหนาปกคลุมรอบแกนกลางของดาวซึ่งเป็นเหล็ก มีชั้นบรรยากาศ และมีหลักฐานแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาภายในของดาว ทว่าดาวศุกร์แห้งแล้งกว่าโลกมาก ชั้นบรรยากาศของมันก็หนาแน่นกว่าโลกถึงกว่า 90 เท่า ดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารของตัวเอง กล่าวได้ว่า ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด ด้วยอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึงกว่า 400 °C ซึ่งเป็นผลจากปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศ ในปัจจุบันไม่มีการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาใหม่ ๆ บนดาวศุกร์อีกแล้ว แต่ดาวศุกร์ไม่มีสนามแม่เหล็กของตัวเองที่จะช่วยป้องกันการสูญเสียชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการที่ดาวศุกร์ยังรักษาชั้นบรรยากาศของตัวเองไว้ได้จึงคาดว่าน่าจะเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ
==== โลก ====
โลก (1.0 AU) เป็นดาวเคราะห์ที่ค่อนข้างใหญ่และมีความหนาแน่นมากที่สุดในกลุ่มดาวเคราะห์ชั้นใน เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่พบว่ายังมีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาอยู่ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่าที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีน้ำมาก เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากกลุ่มดาวเคราะห์ใกล้โลกทั้งหมด และยังเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอยู่ ชั้นบรรยากาศของโลกค่อนข้างจะแตกต่างกับดาวเคราะห์ดวงอื่น เนื่องจากการที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในบรรยากาศจึงมีออกซิเจนอิสระอยู่ถึง 21% โลกมีดาวเคราะห์บริวารหนึ่งดวง คือ ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์บริวารขนาดใหญ่เพียงดวงเดียวในเขตระบบสุริยะชั้นใน
==== ดาวอังคาร ====
ดาวอังคาร (1.5 AU) มีขนาดเล็กกว่าโลกและดาวศุกร์ (0.107 เท่าของมวลโลก) มีชั้นบรรยากาศเจือจางที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ พื้นผิวของดาวอังคารระเกะระกะด้วยภูเขาไฟจำนวนมาก เช่น ภูเขาไฟโอลิมปัส และหุบเขาลึกชันมากมายเช่น Valles Marineris แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ สีของดาวอังคารที่เราเห็นเป็นสีแดง เป็นเพราะสนิมที่มีอยู่ในพื้นดินอันเต็มไปด้วยเหล็ก ดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวารขนาดเล็กสองดวง (คือ ไดมอส กับ โฟบอส) ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่บังเอิญถูกแรงดึงดูดของดาวอังคารจับตัวเอาไว้
=== แถบดาวเคราะห์น้อย ===
ดาวเคราะห์น้อย คือวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะที่ประกอบด้วยหินและธาตุโลหะที่ไม่ระเหย
แถบดาวเคราะห์น้อยหลักกินพื้นที่วงโคจรที่อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประมาณ 2.3 ถึง 3.3 หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าน่าจะเป็นเศษชิ้นส่วนจากการก่อตัวของระบบสุริยะในช่วงแรกที่ก่อตัวไม่สำเร็จ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี
ดาวเคราะห์น้อยมีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่หลายร้อยกิโลเมตรไปจนถึงเศษหินเล็ก ๆ เหมือนฝุ่น ดาวเคราะห์น้อยทั้งหมดนอกเหนือจากดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่สุด คือซีรีส จัดว่าเป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ แต่ดาวเคราะห์น้อยบางดวงเช่น เวสต้า และ ไฮเจีย อาจจัดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระได้ ถ้ามีหลักฐานว่ามันมีความสมดุลของความกดของน้ำมากเพียงพอ
แถบดาวเคราะห์น้อยประกอบด้วยวัตถุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 1 กิโลเมตรเป็นจำนวนหลายหมื่นดวง หรืออาจจะถึงล้านดวง ถึงกระนั้น มวลรวมทั้งหมดของแถบหลักก็ยังมีเพียงประมาณหนึ่งในพันของมวลโลกเท่านั้น แถบหลักมีประชากรอยู่อย่างค่อนข้างเบาบาง ยานอวกาศหลายลำได้เดินทางผ่านแถบนี้ไปได้โดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลย ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 10 ถึง 10-4 เมตร จะเรียกว่า สะเก็ดดาว
==== ซีรีส ====
ซีรีส (2.77 AU) เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่สุดในแถบดาวเคราะห์น้อย และได้รับการจัดประเภทให้เป็นดาวเคราะห์แคระ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเกือบ ๆ 1,000 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่พอจะสร้างแรงโน้มถ่วงของตัวเองเพื่อสร้างรูปทรงให้เป็นทรงกลมได้ ในตอนที่ค้นพบครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซีรีสถูกเข้าใจว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ต่อมาได้รับการจัดประเภทใหม่ให้เป็นดาวเคราะห์น้อยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1850 เมื่อการสังเกตการณ์เพิ่มเติมพบดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น ๆ อีก ครั้นถึงปี ค.ศ. 2006 จึงได้รับการจัดประเภทใหม่ให้เป็นดาวเคราะห์แคระ
==== ตระกูลดาวเคราะห์น้อย ====
ดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มและตระกูลต่าง ๆ โดยพิจารณาจากคุณลักษณะการโคจรของพวกมัน ดวงจันทร์ดาวเคราะห์น้อย คือดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นที่ใหญ่กว่า มันไม่ได้ถูกจัดประเภทให้เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ เพราะบางครั้งมันมีขนาดใหญ่เกือบเท่าดาวเคราะห์น้อยดวงแม่ของมันด้วยซ้ำ ในบริเวณแถบดาวเคราะห์น้อยยังมีดาวหางในแถบหลักซึ่งอาจเป็นต้นกำเนิดของน้ำมหาศาลบนโลกก็ได้
ดาวเคราะห์น้อยโทรจันตั้งอยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งลากรองจ์ L4 หรือ L5 ของดาวพฤหัสบดี (คือย่านที่แรงโน้มถ่วงค่อนข้างเสถียร ทำให้ดาวเคราะห์น้อยในบริเวณนี้สามารถอยู่ในวงโคจรได้) คำว่า "โทรจัน" หรือ "แห่งทรอย" นี้ยังใช้กับวัตถุขนาดเล็กในระบบดาวเคราะห์หรือระบบบริวารอื่นที่อยู่ในตำแหน่งลากรองจ์ด้วย ดาวเคราะห์น้อยตระกูลฮิลดาอยู่ที่ระยะการสั่นพ้อง 2:3 กับดาวพฤหัสบดี นั่นหมายถึง มันจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ 3 รอบ ต่อการโคจรของดาวพฤหัสบดี 2 รอบ
ระบบสุริยะชั้นในนี้ยังหมายรวมถึงวัตถุอื่น ๆ เช่น ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก ซึ่งดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มนี้จำนวนมากมีวงโคจรที่ตัดกับวงโคจรของดาวเคราะห์ชั้นในด้วย
== ระบบสุริยะชั้นนอก ==
บริเวณรอบนอกของระบบสุริยะเป็นถิ่นที่อยู่ของดาวแก๊สยักษ์และบรรดาดาวบริวารของมันที่มีขนาดใหญ่พอจะเป็นดาวเคราะห์ได้ นอกจากนี้ยังมีดาวหางคาบสั้น และเซนทอร์ ที่โคจรอยู่ในย่านนี้เช่นกัน วัตถุตันที่อยู่ในย่านนี้จะมีองค์ประกอบของสสารที่ระเหยง่าย (เช่น น้ำ แอมโมเนีย มีเทน ในทางวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จะเรียกว่าเป็น น้ำแข็ง) ไม่ค่อยมีส่วนประกอบของสสารประเภทหินเหมือนอย่างวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะชั้นใน
=== ดาวเคราะห์ชั้นนอก ===
ดาวเคราะห์ชั้นนอก 4 ดวง หรือดาวแก๊สยักษ์ (บางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์โจเวียน) มีมวลรวมกันถึงกว่า 99% ของมวลสารทั้งหมดที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์มีองค์ประกอบเต็มไปด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวยูเรนัสกับดาวเนปจูนมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง นักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งเห็นว่าดาวสองดวงหลังนี้ควรจัดเป็นประเภทเฉพาะของมันเอง คือ "ดาวน้ำแข็งยักษ์" ดาวแก๊สยักษ์ทั้งสี่มีวงแหวนอยู่รอบตัว แม้เมื่อมองจากโลกจะเห็นได้ชัดแต่เพียงวงแหวนของดาวเสาร์เท่านั้น
==== ดาวพฤหัสบดี ====
ดาวพฤหัสบดี (5.2 AU) มีมวลประมาณ 318 เท่าของมวลโลก นับเป็นมวลมหาศาลถึง 2.5 เท่าของมวลรวมทั้งหมดของดาวเคราะห์ที่เหลือรวมกัน ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมจำนวนมาก ความร้อนที่สูงมากภายในของดาวทำให้เกิดคุณลักษณะแบบกึ่งถาวรหลายประการในสภาพบรรยากาศของดาว เช่นแถบเมฆ และจุดแดงใหญ่ ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่รู้จักแล้วทั้งสิ้น 67 ดวง ดวงที่ใหญ่ที่สุด 4 ดวงคือ แกนิมีด คัลลิสโต ไอโอ และยูโรปา มีลักษณะคล้ายคลึงกับลักษณะของดาวเคราะห์ใกล้โลก เช่นมีภูเขาไฟ และมีกระบวนการความร้อนภายในของดาว ดวงจันทร์แกนิมีดเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธเสียอีก
==== ดาวเสาร์ ====
ดาวเสาร์ (9.5 AU) เป็นดาวเคราะห์ที่โดดเด่นเนื่องจากระบบวงแหวนขนาดใหญ่ที่เห็นได้ชัด ลักษณะของดาวรวมถึงสภาพบรรยากาศคล้ายคลึงกับดาวพฤหัสบดี แต่มีมวลน้อยกว่ามาก โดยมีมวลโดยประมาณ 95 เท่าของมวลโลก ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวารที่รู้จักแล้ว 63 ดวง ในจำนวนดวงจันทร์ทั้งหมดมีอยู่ 2 ดวงคือ ไททันและเอนเซลาดัส แสดงให้เห็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา แม้ว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่จะเป็นน้ำแข็งก็ตาม ดวงจันทร์ไททันมีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ และเป็นดวงจันทร์บริวารเพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีชั้นบรรยากาศ
==== ดาวยูเรนัส ====
ดาวยูเรนัส (19.6 AU) มีขนาดประมาณ 14 เท่าของมวลโลก เป็นดาวเคราะห์มวลน้อยที่สุดในระบบสุริยะชั้นนอก ลักษณะการโคจรของดาวยูเรนัสไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่น มันจะโคจรรอบดวงอาทิตย์แบบตะแคงข้าง โดยมีความเอียงของแกนมากกว่า 90 องศาเมื่อเทียบกับระนาบสุริยวิถี ทำให้ดูเหมือนดาวยูเรนัสกลิ้งไปบนทางโคจร แกนกลางของดาวค่อนข้างเย็นกว่าดาวแก๊สยักษ์ดวงอื่น ๆ และแผ่ความร้อนออกมาสู่อวกาศภายนอกเพียงน้อยนิด ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารที่รู้จักแล้ว 27 ดวง กลุ่มของดวงจันทร์ขนาดใหญ่ได้แก่ ไททาเนีย โอบิรอน อัมเบรียล เอเรียล และมิรันดา
==== ดาวเนปจูน ====
ดาวเนปจูน (30 AU) แม้จะมีขนาดเล็กกว่าดาวยูเรนัส แต่มีมวลมากกว่า คือประมาณ 17 เท่าของมวลโลก ดังนั้นมันจึงเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมาก ดาวเนปจูนแผ่รังสีความร้อนจากแกนกลางออกมามาก แต่ก็ยังน้อยกว่าดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์ เนปจูนมีดวงจันทร์บริวารที่รู้จักแล้ว 13 ดวง ดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ ไทรทัน มีสภาพการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาอยู่ เช่นมีน้ำพุร้อนไนโตรเจนเหลว และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่เพียงดวงเดียวที่มีวงโคจรย้อนถอยหลัง ดาวเนปจูนยังส่งดาวเคราะห์เล็ก ๆ จำนวนหนึ่งหรือเนปจูนโทรจัน เข้าไปในวงโคจรของดวงจันทร์ไทรทันด้วย โดยมีการสั่นพ้องของวงโคจรแบบ 1:1 กับดวงจันทร์
=== ดาวหาง ===
ดาวหาง เป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ โดยมากมีขนาดเพียงไม่กี่กิโลเมตรในแนวขวาง ประกอบด้วยสสารจำพวกน้ำแข็งระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ วงโคจรของดาวหางจะเบี้ยวมาก จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดมักเข้าไปถึงชั้นวงโคจรของดาวเคราะห์ชั้นใน ส่วนจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดอาจออกไปไกลพ้นจากดาวพลูโต เมื่อดาวหางโคจรผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ผลกระทบจากดวงอาทิตย์ทำให้พื้นผิวน้ำแข็งของมันระเหยและแตกตัวเป็นประจุ ทำให้เกิดเป็นโคมา คือหางขนาดยาวประกอบด้วยแก๊สและฝุ่นที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ดาวหางคาบสั้นมีวงโคจรประมาณไม่ถึง 200 ปี ส่วนดาวหางคาบยาวมีวงโคจรนานถึงหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางคาบสั้นมีกำเนิดมาจากแถบไคเปอร์ ขณะที่ดาวหางคาบยาวเช่นดาวหางเฮล-บอปป์ น่าจะมีกำเนิดมาจากแถบเมฆออร์ต มีตระกูลของดาวหางอยู่หลายตระกูล เช่น ดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ตระกูล Kreutz เกิดขึ้นจากการแตกตัวออกมาของดาวหางดวงแม่ ดาวหางบางดวงที่มีวงโคจรแบบไฮเพอร์โบลิกอาจจะมีกำเนิดมาจากห้วงอวกาศภายนอกของระบบสุริยะ แต่การคำนวณเส้นทางโคจรที่แน่นอนของพวกมันทำได้ยากมาก ดาวหางโบราณที่องค์ประกอบอันระเหยได้ได้ถูกขับออกไปจนหมดเนื่องจากความร้อนของดวงอาทิตย์ อาจกลายสภาพไปเป็นดาวเคราะห์น้อยได้
==== เซนทอร์ ====
เซนทอร์ คือวัตถุน้ำแข็งคล้ายดาวหางที่มีค่ากึ่งแกนเอกมากกว่าดาวพฤหัสบดี (5.5 AU) แต่น้อยกว่าดาวเนปจูน (30 AU) เซนทอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จัก คือ 10199 ชาริโคล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 250 กิโลเมตร เซนทอร์ชิ้นแรกที่ค้นพบคือ 2060 ไครอน ซึ่งเมื่อแรกถูกจัดประเภทว่าเป็นดาวหาง (95P) เพราะมันมีหางโคมาเหมือนกับที่ดาวหางเป็นเมื่อเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์บางกลุ่มจัดประเภทเซนทอร์ให้เป็นวัตถุในแถบไคเปอร์ที่กระจายตัวอยู่รอบใน โดยมีวัตถุแถบไคเปอร์อีกจำนวนหนึ่งกระจายตัวทางรอบนอกออกไปจนถึงแถบหินกระจาย
== ย่านพ้นดาวเนปจูน ==
ย่านอวกาศที่อยู่เลยดาวเนปจูนออกไป หรือ "ย่านพ้นดาวเนปจูน" ยังเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยได้รับการสำรวจมากนัก เท่าที่ทราบดูเหมือนจะเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยโลกเล็ก ๆ (วัตถุขนาดใหญ่ที่สุดในย่านนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางราวหนึ่งในห้าของโลก และมีมวลน้อยกว่ามวลของดวงจันทร์) ที่ประกอบขึ้นด้วยหินกับน้ำแข็ง บางครั้งก็เรียกย่านนี้ว่า "ย่านระบบสุริยะรอบนอก" ซึ่งจะคล้ายกับความหมายของวัตถุที่อยู่เลยจากแถบดาวเคราะห์น้อย
=== แถบไคเปอร์ ===
แถบไคเปอร์ คือบริเวณของการก่อตัวครั้งแรกในระบบ มีลักษณะเป็นแถบวงแหวนมหึมาของเศษวัตถุกระจัดกระจายคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย แต่ส่วนมากวัตถุเหล่านั้นเป็นน้ำแข็ง ครอบคลุมพื้นที่ช่วงที่ห่างดวงอาทิตย์ออกมาตั้งแต่ 30-50 หน่วยดาราศาสตร์ สมาชิกในแถบไคเปอร์ส่วนมากเป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ แต่ก็มีวัตถุขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งในแถบไคเปอร์ เช่น ควาอัวร์ วารูนา และ ออร์กัส ที่สามารถจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์แคระ ประมาณว่า มีวัตถุในแถบไคเปอร์มากกว่า 100,000 ชิ้นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 50 กิโลเมตร แต่มวลรวมของวัตถุในแถบไคเปอร์ทั้งหมดมีเพียงประมาณ 1 ใน 10 หรืออาจเพียง 1 ใน 100 เท่าของมวลโลกเท่านั้น วัตถุในแถบไคเปอร์จำนวนมากที่มีดาวบริวารของตัวเองหลายดวง และส่วนใหญ่จะมีวงโคจรที่อยู่นอกระนาบสุริยวิถี
วัตถุในแถบไคเปอร์สามารถแบ่งได้อย่างหยาบ ๆ เป็น 2 พวก คือ "แถบดั้งเดิม" และ "กลุ่มสั่นพ้อง" กลุ่มสั่นพ้องมีวงโคจรที่เชื่อมโยงกับดาวเนปจูน (เช่น 2 รอบต่อ 3 รอบโคจรของเนปจูน หรือ 1 รอบต่อ 2) โดยที่การสั่นพ้องของวงโคจรครั้งแรกเกิดขึ้นในวงโคจรของดาวเนปจูนเอง แถบดั้งเดิมประกอบด้วยวัตถุที่ไม่มีการสั่นพ้องของวงโคจรกับดาวเนปจูน มีย่านโคจรอยู่ระหว่าง 39.4 - 47.7 หน่วยดาราศาสตร์. การจัดประเภทสมาชิกแถบไคเปอร์ดั้งเดิมว่าเป็นพวกคิวบิวาโน เกิดขึ้นหลังจากมีการพ้นพบสมาชิกดวงแรกในกลุ่มนี้ คือ 15760 1992 QB1 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1992
==== พลูโตกับคารอน ====
ดาวพลูโต (39 AU โดยเฉลี่ย) เป็นดาวเคราะห์แคระ และเป็นวัตถุในแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จัก เมื่อแรกที่ค้นพบดาวพลูโตในปี ค.ศ. 1930 มันถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่เก้า แต่ในปี ค.ศ. 2006 มีการจัดประเภทใหม่หลังจากที่มีการกำหนดคำจำกัดความของ "ดาวเคราะห์" อย่างเป็นทางการ ดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรประมาณ 17 องศาเทียบกับระนาบสุริยวิถี มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ 29.7 AU (ในระดับวงโคจรของดาวเนปจูน) และมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดที่ 49.5 AU
คารอน เป็นดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ที่สุดของดาวพลูโต แต่ยังไม่มีการยืนยันชัดเจนว่ามันจะยังสามารถจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์แคระได้หรือไม่ ทั้งพลูโตและคารอนมีจุดศูนย์รวมแรงโน้มถ่วงในการโคจรอยู่ระหว่างกันและกัน ทำให้ดูเหมือนว่า พลูโตกับคารอนเป็นระบบดาวคู่ ยังมีดวงจันทร์ขนาดย่อมกว่าอีก 2 ดวงคือ นิกซ์ และ ไฮดรา โคจรรอบพลูโตกับคารอน
วงโคจรของดาวพลูโตอยู่ในแถบการสั่นพ้อง มีค่าสั่นพ้องวงโคจรกับดาวเนปจูนที่ 3:2 หมายความว่า พลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ 2 รอบต่อการโคจรของดาวเนปจูน 3 รอบ วัตถุในแถบไคเปอร์ที่ร่วมอยู่ในวงโคจรการสั่นพ้องจะเรียกว่าเป็นพวก พลูติโน
==== เฮาเมอากับมาคีมาคี ====
เฮาเมอา (43.34 AU โดยเฉลี่ย) และมาคีมาคี (45.79 AU โดยเฉลี่ย) เป็นวัตถุดั้งเดิมในแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จัก เฮาเมอามีรูปสัณฐานเหมือนไข่ มีดวงจันทร์บริวาร 2 ดวง มาคีมาคีเป็นวัตถุสว่างที่สุดในแถบไคเปอร์รองจากดาวพลูโต แต่เดิมดาวทั้งสองมีชื่อรหัสว่า 2003 EL61 และ 2005 FY9 ตามลำดับ ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อดาว (พร้อมทั้งยกสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ) ในปี ค.ศ. 2008 วงโคจรของดาวทั้งสองยิ่งมีความเยื้องมากกว่าดาวพลูโตเสียอีก (ที่ 28° และ 29°) แต่ดาวทั้งสองนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากวงโคจรของดาวเนปจูน เพราะอยู่ในย่านที่เป็นสมาชิกดั้งเดิมของแถบไคเปอร์
=== แถบหินกระจาย ===
แถบหินกระจายมีย่านคาบเกี่ยวกันกับแถบไคเปอร์ แต่แผ่ตัวออกไปทางด้านนอกของระบบเป็นบริเวณกว้าง เชื่อว่าในแถบหินกระจายนี้เป็นต้นกำเนิดของบรรดาดาวหางคาบสั้น วัตถุในแถบหินกระจายถูกแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเนปจูนในยุคต้น ๆ ผลักไปมาจนทำให้มีวงโคจรที่ไม่แน่นอน โดยมากจะมีจุดโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ในย่านของแถบไคเปอร์ ส่วนจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดอาจอยู่ห่างออกไปถึง 150 หน่วยดาราศาสตร์ วงโคจรของวัตถุในแถบหินกระจายยังมีความเอียงระนาบสูงมากเมื่อเทียบกับระนาบสุริยวิถี บางครั้งถึงกับตั้งฉากกับระนาบนี้เลยก็เป็นได้ นักดาราศาสตร์บางกลุ่มจัดให้แถบหินกระจายเป็นอีกย่านหนึ่งของแถบไคเปอร์ และเรียกวัตถุในแถบหินกระจายว่า "วัตถุกระจายในแถบไคเปอร์"
==== เอริส ====
เอริส (68 AU โดยเฉลี่ย) เป็นวัตถุในแถบหินกระจายขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จัก เป็นต้นเหตุของการถกเถียงกันเรื่องคุณสมบัติของการเป็นดาวเคราะห์ เพราะมันมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตอย่างน้อย 5% โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,400 กิโลเมตร (1,500 ไมล์) ถือเป็นดาวเคราะห์แคระขนาดใหญ่ที่สุดที่เป็นที่รู้จัก เอริสมี ลักษณะวงโคจรมีค่าความเยื้องศูนย์กลางค่อนข้างสูงเหมือนกับดาวพลูโต จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ที่ประมาณ 38.2 AU (ประมาณระยะวงโคจรของดาวพลูโต) ส่วนจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ประมาณ 97.6 AU มีความเอียงกับระนาบสุริยวิถีสูงมาก
== ย่านไกลที่สุดของระบบ ==
เราไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่า ระบบสุริยะสิ้นสุดที่จุดไหน หรืออวกาศระหว่างดาวเริ่มต้นขึ้นที่จุดไหน เพราะขอบเขตรอบนอกของระบบเป็นไปด้วยอิทธิพลของแรง 2 ชนิดที่แตกต่างกัน คือ ลมสุริยะ และแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ อิทธิพลด้านนอกสุดของลมสุริยะกินเนื้อที่ออกไปประมาณ 4 เท่าของระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพลูโต เรียกว่าขอบเขตเฮลิโอพอส ซึ่งอาจนับเป็นจุดเริ่มต้นของสสารระหว่างดาวก็ได้ อย่างไรก็ดี เชื่อว่าทรงกลมรอชของดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นเนื้อที่ภายใต้อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ กินพื้นที่ไกลออกไปมากกว่านั้นถึงกว่าหนึ่งพันเท่า
=== เฮลิโอพอส ===
บริเวณของเฮลิโอสเฟียร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ย่าน ลมสุริยะเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วประมาณ 40,000 กิโลเมตร/วินาที จนกระทั่งมันสลายตัวลงด้วยกระแสของพลาสมาในสสารระหว่างดาว การสลายตัวนี้เกิดขึ้นที่กำแพงกระแทกซึ่งอยู่ที่ระยะประมาณ 80-100 AU จากดวงอาทิตย์ในทิศทางย้อนกระแสลม และประมาณ 200 AU จากดวงอาทิตย์ในทิศทางตามกระแสลม ที่บริเวณนี้กระแสของลมจะอ่อนลง มวลสารเกาะกลุ่มหนาแน่นขึ้นแล้วกลายเป็นลมหมุน ทำให้เกิดโครงสร้างรูปไข่ขนาดใหญ่เรียกว่า เฮลิโอชีท (heliosheath) หรือ ฝักสุริยะ ซึ่งมีหน้าตาและพฤติกรรมคล้ายคลึงกับหางของดาวหาง คือทอดแผ่ตัวออกไปไกลถึง 40 AU ทางฝั่งทวนกระแสลม ถ้าเป็นด้านตามกระแสลมจะยิ่งแผ่ออกไปไกลกว่านั้น ทั้งยานวอยเอจเจอร์ 1 และ วอยเอจเจอร์ 2 ต่างรายงานกลับมาว่าได้ผ่านบริเวณกำแพงกระแทกไปแล้วและได้เข้าสู่บริเวณเฮลิโอชีท ที่ระยะประมาณ 94 และ 84 AU ตามลำดับ. ขอบด้านนอกสุดของทรงกลมเฮลิโอสเฟียร์ หรือ เฮลิโอพอส เป็นจุดที่กระแสของลมสุริยะสิ้นกำลังลง และเป็นจุดเริ่มต้นย่านอวกาศระหว่างดาว
ลักษณะรูปร่างและทรงของขอบนอกของเฮลิโอสเฟียร์เป็นผลจากการถูกกระทบด้วยปฏิกิริยาพลศาสตร์ของไหลจากสสารระหว่างดาว และจากสนามแม่เหล็กสุริยะที่มีอยู่อย่างมากในทางตอนใต้ ทางซีกด้านบนจะเป็นทรงมนมีความกว้างประมาณ 9 AU (ราว 900 ล้านไมล์) ซึ่งกว้างกว่าครึ่งซีกล่าง พ้นจากเขตแดนเฮลิโอพอส ที่ระยะประมาณ 230 AU เป็นตำแหน่งโบว์ชอค ซึ่งพลาสมาจากดวงอาทิตย์จะละทิ้งระบบและเดินทางไปในดินแดนอื่นในทางช้างเผือก
ยังไม่เคยมียานอวกาศลำใดเดินทางพ้นออกไปจากเฮลิโอพอสเลย จึงไม่อาจรู้ได้แน่ชัดถึงสภาวะเงื่อนไขในอวกาศระหว่างดาว คาดว่ายานอวกาศวอยเอจเจอร์ขององค์การนาซาจะเดินทางออกจากเฮลิโอพอสในราวหนึ่งทศวรรษข้างหน้า และจะส่งข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับระดับของรังสีและลมสุริยะกลับมายังโลก เพราะความเข้าใจเกี่ยวกับการที่เกราะเฮลิโอสเฟียร์ ช่วยปกป้องระบบสุริยะเอาไว้จากรังสีคอสมิกยังมีอยู่น้อยมาก ทีมงานหนึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนาซาได้พัฒนาแนวคิดโครงการ "Vision Mission" ขึ้น มีภารกิจหลักเกี่ยวกับการส่งยานอวกาศไปในเฮลิโอสเฟียร์
=== เมฆออร์ต ===
เมฆออร์ต เป็นข้อสมมุติฐานถึงกลุ่มมวลขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยวัตถุน้ำแข็งนับล้านล้านชิ้น ที่เชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบยาว และครอบคลุมบริเวณรอบนอกของระบบสุริยะเอาไว้ในระยะทางประมาณ 50,000 AU (ประมาณ 1 ปีแสง) หรืออาจกว้างได้ถึง 100,000 AU (1.87 ปีแสง) เชื่อว่าองค์ประกอบของมันคือดาวหางที่ถูกดีดออกมาจากระบบสุริยะชั้นใน ด้วยปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงกับดาวเคราะห์ชั้นนอก วัตถุในเมฆออร์ตมีการเคลื่อนที่ต่ำมาก และอาจถูกกระทบกระทั่งเส้นทางด้วยเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก เช่นการปะทะ แรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวที่เคลื่อนผ่าน หรือแรงดึงดูดระหว่างดาราจักร เช่นแรงไทดัลของทางช้างเผือก
==== เซดนา ====
90377 เซดนา (525.86 AU โดยเฉลี่ย) เป็นวัตถุขนาดใหญ่คล้ายดาวพลูโต มีสีแดง และมีวงโคจรวงรีขนาดใหญ่มากที่มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ 76 AU ส่วนจุดไกลที่สุดอยู่ที่ 928 AU ใช้เวลาในการโคจรรอบละ 12,050 ปี ไมเคิล อี. บราวน์ เป็นผู้ค้นพบดาวนี้เมื่อปี ค.ศ. 2003 เขาคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นสมาชิกทั้งของแถบหินกระจายหรือแถบไคเปอร์ เพราะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดยังอยู่ห่างเกินกว่าจะเป็นวัตถุที่ถูกดีดออกมาด้วยแรงโน้มถ่วงของดาวเนปจูน เขากับนักดาราศาสตร์คนอื่น ๆ เห็นว่ามันน่าจะเป็นวัตถุชิ้นแรกในกลุ่มประชากรใหม่ของระบบ ซึ่งน่าจะรวมถึง 2000 CR105 ซึ่งมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ 45 AU และจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดที่ 415 AU มีรอบการโคจร 3,420 ปี บราวน์เรียกประชากรใหม่ของระบบเหล่านี้ว่า "เมฆออร์ตกลุ่มใน" เพราะมันอาจมีลักษณะเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เซดนาจะเป็นดาวเคราะห์แคระ แม้จะยังต้องพิสูจน์ถึงสัณฐานของมันเสียก่อน
=== ขอบนอก ===
ยังมีสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายในระบบสุริยะที่เรายังไม่รู้จัก ประมาณว่า สนามแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์มีอิทธิพลครอบคลุมดาวฤกษ์ต่าง ๆ ในย่านใกล้เคียงเป็นระยะทางราว 2 ปีแสง (125,000 AU) รัศมีต่ำสุดของเมฆออร์ตที่ประมาณกันไว้น่าจะไม่ต่ำกว่า 50,000 AU แม้จะมีการค้นพบที่น่าประหลาดใจเช่นการค้นพบเซดนา แต่ย่านอวกาศระหว่างแถบไคเปอร์กับเมฆออร์ต ซึ่งกินเนื้อที่กว้างในรัศมีหลายหมื่นหน่วยดาราศาสตร์ก็ยังไม่สามารถสำรวจและจัดทำแผนผังออกมาได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสำรวจเพิ่มเติมสำหรับดินแดนระหว่างดาวพุธกับดวงอาทิตย์ เราอาจจะได้ค้นพบวัตถุต่าง ๆ อีกมากในย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะที่ยังไม่ได้จัดทำแผนผังเอาไว้
== บริบทเชิงดาราจักร ==
ระบบสุริยะตั้งอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง มีดาวฤกษ์สมาชิกประมาณ 200,000 ล้านดวง ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวฤกษ์สมาชิกดวงหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางแขนก้นหอยด้านนอกของทางช้างเผือก ในส่วนที่เรียกกันว่า แขนโอไรออน หรือสเปอร์ท้องถิ่น ห่างจากบริเวณศูนย์กลางของดาราจักรประมาณ 25,000 ถึง 28,000 ปีแสง ความเร็วที่เคลื่อนที่ภายในดาราจักรอยู่ที่ประมาณ 220 กิโลเมตรต่อวินาที ดังนั้นมันจะเคลื่อนที่วนครบหนึ่งรอบในเวลา 225-250 ล้านปี การวนครบรอบนี้เรียกกันว่าเป็น ปีดาราจักร ของระบบสุริยะ
ตำแหน่งของระบบสุริยะในดาราจักรน่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก เพราะวงโคจรของมันจะค่อนข้างเป็นวงกลม และมีระดับความเร็วพอกันกับแขนก้นหอยของดาราจักร ซึ่งแสดงว่ามันไม่ได้เคลื่อนผ่านไปในดาราจักรมากนัก แขนก้นหอยนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของวัตถุท้องฟ้าที่กว่าจะกลายเป็นซูเปอร์โนวาก็ต้องใช้เวลาอีกนาน ทำให้โลกมีเวลาอันยาวนานที่จะสร้างสภาวะเสถียรภาพมากพอสำหรับการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ระบบสุริยะยังตั้งอยู่นอกเขตแดนอันหนาแน่นของดาวฤกษ์ในใจกลางดาราจักร ที่บริเวณใจกลางนั้นจะมีแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวฤกษ์ใกล้เคียงสูงมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวัตถุในเขตเมฆออร์ต อันจะทำให้เกิดดาวหางมากมายพุ่งเข้าสู่ระบบสุริยะชั้นในได้ ทำให้เกิดการปะทะที่อาจสร้างสภาวะอันไม่เหมาะสมต่อชีวิต ปริมาณรังสีเข้มข้นที่ใจกลางดาราจักรก็อาจส่งผลรบกวนต่อวิวัฒนาการของชีวิตอันซับซ้อนด้วย ถึงกระนั้นในตำแหน่งของระบบสุริยะปัจจุบัน ก็มีนักวิทยาศาสตร์บางส่วนตั้งทฤษฎีว่าเคยเกิดซูเปอร์โนวามาก่อน และส่งผลกระทบในทางกลับกันกับข้อสมมุติฐานก่อนหน้านั้น คือในช่วง 35,000 ปีสุดท้ายมานี้แรงระเบิดจากซูเปอร์โนวา ได้แพร่กระจายสสารในแกนกลางของมันออกมายังดวงอาทิตย์ในรูปของฝุ่นกัมมันตรังสี รวมถึงชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่คล้ายดาวหาง
=== ย่านใกล้เคียง ===
ย่านใกล้เคียงในดาราจักรที่อยู่ติดกันกับดาราจักรของเรา มีชื่อเรียกว่า เมฆระหว่างดาวท้องถิ่น (Local Intersteller Cloud) หรือ ฟลัฟฟ์ท้องถิ่น (Local Fluff) เป็นบริเวณที่มีเมฆหนาแน่นซึ่งตั้งอยู่ใน ฟองท้องถิ่น อันเป็นห้วงอวกาศที่ค่อนข้างโปร่งรูปร่างคล้ายนาฬิกาทรายอยู่ในสสารระหว่างดาว กินเนื้อที่กว้างประมาณ 300 ปีแสง ในฟองท้องถิ่นนี้เต็มไปด้วยพลาสมาอุณหภูมิสูงซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นส่วนที่หลงเหลืออยู่จากซูเปอร์โนวาครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้น
ทิศทางที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนไปในอวกาศระหว่างดาวเรียกว่า โซลาร์เอเพกซ์ (solar apex) อยู่ใกล้กับกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีสในทิศทางเดียวกับตำแหน่งปัจจุบันของดาวเวกา
มีดาวฤกษ์อยู่ค่อนข้างน้อยในช่วงระยะ 10 ปีแสง (ประมาณ 95 ล้านล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุดคือระบบดาวสามดวง แอลฟาคนครึ่งม้า ซึ่งอยู่ห่างออกไป 4.4 ปีแสง แอลฟาคนครึ่งม้า เอ และ บี เป็นดาวคู่ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ มีดาวแคระแดงขนาดเล็กชื่อ แอลฟาคนครึ่งม้า ซี (หรือดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า) โคจรรอบดาวคู่ทั้งสองนั้นที่ระยะห่าง 0.2 ปีแสง ดาวฤกษ์อื่นที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ในลำดับถัดออกไปได้แก่ดาวแคระแดงบาร์นาร์ด (5.9 ปีแสง) ดาววูลฟ์ 359 (7.8 ปีแสง) และ ดาวลาลังเดอ 21185 (8.3 ปีแสง) ดาวฤกษ์ดวงใหญ่ที่สุดในระยะ 10 ปีแสงจากดวงอาทิตย์ได้แก่ ดาวซิริอุส เป็นดาวฤกษ์สว่างบนแถบลำดับหลักที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ราว 2 เท่า มีดาวแคระขาวชื่อ ซิริอุส บี โคจรอยู่รอบ ๆ ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราไป 8.6 ปีแสง ระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระยะ 10 ปีแสงได้แก่ ระบบดาวแคระแดงคู่ ลูยเทน 726-8 (8.7 ปีแสง) ดาวแคระแดงเดี่ยว รอส 154 (9.7 ปีแสง) สำหรับดาวฤกษ์เดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ เทาวาฬ อยู่ห่างออกไป 11.9 ปีแสง มันมีมวลประมาณ 80% ของมวลดวงอาทิตย์ แต่มีความส่องสว่างเพียง 60% ของดวงอาทิตย์เท่านั้น ดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ใกล้ที่สุดเท่าที่รู้จัก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบดาวของ เอปไซลอนแม่น้ำ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ค่อนข้างหรี่จางและมีสีแดงกว่าดวงอาทิตย์ อยู่ห่างออกไป 10.5 ปีแสง มีดาวเคราะห์ในระบบที่ได้รับการยืนยันแล้ว 1 ดวง คือ เอปไซลอนแม่น้ำ บี มีขนาดราว 1.5 เท่าของมวลของดาวพฤหัสบดี คาบโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ของมันใช้เวลา 6.9 ปี
== ดูเพิ่ม ==
สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์
เซเลสเทีย - ซอฟต์แวร์เสรีสำหรับใช้จำลองวัตถุทางดาราศาสตร์แบบ 3 มิติ
เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ
เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ
รายชื่อวัตถุในระบบสุริยะ
การสำรวจอวกาศ
อาณานิคมในอวกาศ
== เชิงอรรถ ==
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
"ระบบสุริยะ" ข้อมูลจากโครงการสำรวจระบบสุริยะขององค์การนาซา
แบบจำลองระบบสุริยะขององค์การนาซา
"ระบบสุริยะ" จากโครงการ NASA/JPL
รายงานพิเศษ : การประชุมกำหนดนิยาม "ดาวเคราะห์" จากเว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย
"ระบบสุริยะ" จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
ระบบดาวเคราะห์ | thaiwikipedia | 668 |
หน่วยดาราศาสตร์ | หน่วยดาราศาสตร์ (astronomical unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์)
สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU"
==ตารางเปรียบเทียบระยะทางหน่วยดาราศาสตร์==
ตารางด้านล่างนี้แสดงถึงระยะทางพิจารณาจากหน่วยดาราศาสตร์ ทั้งนี้ระยะทางอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
== ดูเพิ่ม ==
ปีแสง
พาร์เซก
==อ้างอิง==
กลศาสตร์ท้องฟ้า
หน่วยความยาว
มาตรดาราศาสตร์
หน่วยวัดในดาราศาสตร์ | thaiwikipedia | 669 |
กลุ่มดาวหงส์ | กลุ่มดาวหงส์ เป็นกลุ่มดาวในซีกเหนือของทรงกลมท้องฟ้า เป็นหนึ่งในจำนวนกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี (Ptolemy) และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล บางครั้งมีผู้เรียกกลุ่มดาวนี้ว่า กลุ่มดาวกางเขนเหนือ เพื่อให้เข้าคู่กับกลุ่มดาวกางเขนใต้
กลุ่มดาวนี้ มักวาดภาพให้เป็นรูปหงส์กางปีกบินตามแนวของทางช้างเผือก และหันหัวไปทางทิศใต้
กลุ่มดาว
กลุ่มดาวหงส์ | thaiwikipedia | 670 |
ดาวศุกร์ | ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอนกลางคืน ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าซึ่งสว่างรองลงมาจากดวงจันทร์ ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ภายในวงโคจรของโลก ทำให้เมื่อสังเกตแล้วจะไม่ปรากฏว่าห่างจากดวงอาทิตย์มากนัก กล่าวคือ จะเห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" หรือเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ช้ามากและหมุนรอบตัวเองช้าเช่นกัน โดยโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 224.7 วันของโลก และหมุนรอบตัวเองครบบริบูรณ์โดยใช้เวลา 243 วันของโลก แต่มีความยาววันสุริยคติ 117 วันของโลก ด้วยเหตุนี้ ดาวศุกร์จึงจัดเป็นดาวที่หมุนรอบตัวเองช้าที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์บนดาวศุกร์จะขึ้นทางทิศตรงกันข้ามกับโลก คือ ขึ้นทางทิศตะวันตกและตกทางทิศตะวันออก ดาวศุกร์ไม่มีบริวารธรรมชาติเช่นเดียวกับดาวพุธ
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน และมักกล่าวว่าเป็นดาวน้องสาวของโลก ด้วยเหตุที่มีขนาดใกล้กัน มวลเกือบเท่ากัน อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เหมือนกัน และมีส่วนประกอบเป็นหินเหมือนกัน อย่างไรก็ตามนั้น ดาวศุกร์มีลักษณะต่างจากโลกอย่างสุดขั้วในหลายด้าน อาทิ มีความหนาแน่นบรรยากาศสูงสุดในบรรดาดาวเคราะห์หินทั้งสี่ดวง ความดันบรรยากาศบนดาวศุกร์มีค่าประมาณ 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง ในบรรยากาศนั้นก็ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 96% อุณหภูมิเฉลี่ยบนดาวศุกร์มีค่า ซึ่งสูงกว่าดาวพุธซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์มีเมฆซึ่งประกอบด้วยกรดซัลฟิวริก สะท้อนแสงได้ดีมาก จนไม่เห็นพื้นผิวในย่านแสงที่มองเห็น ในอดีตเชื่อว่า ดาวศุกร์เคยมีมหาสมุทร แต่ต่อมามหาสมุทรระเหยเหือดแห้งไปอันเนื่องจาก ปรากฏการณ์เรือนกระจกแบบควบคุมไม่ได้ (runaway greenhouse effect) น้ำที่ระเหยไปนั้นเชื่อว่าอาจถูกสลายด้วยแสง และไฮโดรเจนจากน้ำก็ถูกนำออกไปในบรรยากาศโดยลมสุริยะ
การที่ดาวศุกร์มีความสว่างมากนี้เอง ทำให้มนุษย์มีความสนใจใคร่รู้และจดบันทึกการโคจร นับแต่สองพันปีก่อนคริสตกาล ครั้นพัฒนาการสำรวจอวกาศได้รุดหน้า มนุษย์ได้สนใจใคร่รู้และสำรวจดาวศุกร์เป็นดาวแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยยานมารีเนอร์ 2 แปดปีต่อมายานเวเนรา 7ก็ลงจอดยังผิวดาวศุกร์ ถึงกระนั้น เนื่องจากดาวศุกร์มีเมฆหนาทึบ การสำรวจพื้นผิวในรายละเอียดก็ไม่สามารถกระทำได้ดีนัก จนกระทั่งมียานมาเจลลัน สำรวจดาวศุกร์เมื่อ พ.ศ. 2534 ในปัจจุบันมีความพยายามศึกษาความเป็นไปได้ของชีวิตบนดาวศุกร์ ซึ่งยังเป็นหัวข้อวิจัยที่มีการถกเถียงกันอย่างมากอยู่
ชื่อของดาวศุกร์ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากเทพีแห่งความรักในเทพปกรณัมโรมัน ส่วนในภาษาไทย มาจากเทพพระศุกร์ หรือศุกระ ผู้เป็นครูของมารและเป็นเทพแห่งความงาม สัญลักษณ์ของดาวศุกร์ในทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์สากล คือ ♀ อันเป็นสัญลักษณ์แทนเพศหญิง ส่วนในโหราศาสตร์ไทย ใช้ ๖ (เลขหกไทย)
== ลักษณะทางกายภาพ ==
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หินในจำนวนทั้งหมด 4 ดวงในระบบสุริยะ ซึ่งหมายความว่า ส่วนประกอบอันประกอบขึ้นเป็นดาวศุกร์นั้นเป็นหินเช่นเดียวกับโลก ยิ่งกว่านั้น ดาวศุกร์มีขนาดและมวลเท่ากับโลก จึงถูกขนานนามว่าเป็น น้องสาว หรือ ฝาแฝด ของโลก เส้นผ่านศูนย์กลางของดาวศุกร์คือ ซึ่งเล็กกว่าโลกไป นอกจากนี้ยังมีมวล 81.5% ของมวลโลก อย่างไรก็ตามนั้น สภาวะบรรยากาศบนดาวศุกร์ต่างจากบนโลกอย่างมาก บรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 96.5% มีไนโตรเจนเพียง 3.5% ความดันบรรยากาศและอุณหภูมิที่ผิวดาวศุกร์มีค่า และ ตามลำดับ ซึ่งอยู่สูงกว่าจุดวิกฤตทางอุณหพลศาสตร์ เป็นเหตุให้บรรยากาศของดาวศุกร์มีลักษณะเป็นของไหลวิกฤตยวดยิ่ง
=== บรรยากาศและภูมิอากาศ ===
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดาวศุกร์มีบรรยากาศหนาแน่นมากถึงขั้นที่ว่าสสารในบรรยากาศเป็นของไหลวิกฤตยวดยิ่ง คือถูกอัดอย่างมากแต่ไม่ถึงกับเป็นของแข็ง
มวลของบรรยากาศของดาวศุกร์มีค่า 92 เท่าของโลก ส่วนความดันบรรยากาศบนดาวศุกร์พื้นผิวมีค่า 93 เท่าของโลก ซึ่งเทียบได้กับความดันในมหาสมุทรลึก บนโลก ความหนาแน่นบนพื้นผิวดาวศุกร์มีค่า 65kg/m3 คือประมาณ 6.5% ของน้ำ หรือ 50 เท่าของความดันบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลางอุณหภูมิ ด้วยเหตุที่ดาวศุกร์มีคาร์บอนไดออกไซด์มาก ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกรุนแรงที่สุดในระบบสุริยะ อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงอย่างน้อย . ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิพื้นผิวของดาวพุธ อนึ่ง ดาวพุธได้ฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง ด้วยเหตุที่อุณหภูมิพื้นผิวต่ำสุดมีค่า และอุณหภูมิสูงสุดมีค่า , ดาวศุกร์มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เกือบสองเท่าของระยะห่างระหว่างดาวพุธกับดวงอาทิตย์ เป็นเหตุให้ดาวศุกร์ได้รับพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ประมาณ 25% แต่กลับมีอุณหภูมิสูงมากก็ด้วยภาวะเรือนกระจก แก๊สในบรรยากาศกักความร้อนมิให้ออกจากบรรยากาศ ตารางต่อไปนี้แสดงอุณหภูมิที่ภาวะต่าง ๆ ของดาวศุกร์
{|class="wikitable" style="font-size: 100%; margin: 1em 0 1em 1em;"
|-
! colspan=2 style="background: #ccf;" | อุณหภูมิดาวศุกร์
|-
! สภาวะ || อุณหภูมิ
|-
| อุณหภูมิพื้นผิวสูงสุด || 900°F (482°C)
|-
| อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย || 847°F (453°C)
|-
| อุณหภูมิพื้นผิวต่ำสุด || 820°F (438°C)
|}
บรรยากาศของดาวศุกร์อุดมไปด้วยแก๊สเฉื่อยเช่นเดียวกับบนโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของดาวศุกร์ซึ่งก่อกำเนิดแบบเดียวกับโลก ในระยะแรกนักดาราศาสตร์เชื่อว่ามีน้ำในบรรยากาศดาวศุกร์แบบเดียวกับโลก ต่อมาเมื่อดาวศุกร์ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ตลอดจนถึงเกิดภาวะเรือนกระจก ก็ทำให้น้ำในบรรยากาศดาวศุกร์อันตรธานหายไป แม้ว่าอุณหภูมิบนดาวศุกร์จะไม่เอื้ออำนวยให้เกิดสิ่งมีชีวิต แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าเมฆชั้นบนที่ความสูง จากพื้นผิว ซึ่งมีอุณหภูมิ ก็อาจจะมีสิ่งมีชีวิตที่ทนต่อกรดรุนแรงได้บ้างอาศัยอยู่
บนดาวศุกร์ เหนือชั้นคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเมฆหนาซึ่งอุดมไปด้วยกรดซัลฟิวริกผสมกับน้ำ และมีเฟอร์ริกคลอไรด์ ประมาณ 1% นอกจากนี้อาจมีเฟอร์ริกซัลเฟต อะลูมิเนียมคลอไรด์ และ ฟอสฟอริกแอนไฮไดรด์ เมฆของดาวศุกร์ที่ระดับความสูงต่างกันมีส่วนประกอบต่างกัน และมีการจำแนกขนาดอนุภาคไม่เหมือนกัน เมฆเหล่านี้สะท้อนและกระเจิงแสงจากดวงอาทิตย์ประมาณ 90% ออกไป ทำให้ไม่สามารถมองเห็นผิวของดาวศุกร์ และทำให้พื้นผิวดาวศุกร์มืดมัวกว่าพื้นผิวโลก เหนือเมฆของดาวศุกร์มีลมพัดด้วยอัตราเร็วประมาณ ไปรอบดาวศุกร์โดยใช้เวลา 4-5 วันของโลก บนดาวศุกร์อัตราเร็วลมมีค่าได้ถึง 60 เท่าของอัตราเร็วการหมุน แต่บนโลกลมที่แรงที่สุดมีอัตราประมาณ 10-20% ของอัตราเร็วการหมุนของโลก
พื้นผิวดาวศุกร์มีสภาวะไอโซเทอร์มัล หมายถึง อุณหภูมิบนพื้นผิวมีค่าเท่ากันตลอดทั้งขั้วและเส้นศูนย์สูตร มุมเอียงแกนของดาวศุกร์มีค่าน้อยกว่า
3° เมื่อเทียบกับโลกซึ่งมีมุมเอียง 23° ทำให้ไม่เกิดฤดูกาลบนดาวศุกร์ ความสูงจากพื้นผิวถือเป็นปัจจัยไม่กี่อย่างที่ส่งผลต่ออุณหภูมิบนผิวดาวศุกร์ จุดสูงสุดบนดาวศุกร์ คือภูเขาแม็กซเวลล์มอนทีส จัดเป็นจุดที่อุณหภูมิต่ำที่สุดบนดาวศุกร์ มีอุณหภูมิประมาณ และมีความดันบรรยากาศประมาณ
ในปี พ.ศ. 2538 ยานอวกาศมาเจลลันถ่ายภาพที่เชื่อว่าเป็นหิมะบนภูเขาแม็กซเวลล์มอนทีส สสารดังกล่าวมีกระบวนการก่อตัวคล้ายหิมะแต่อยู่ในสภาพที่มีอุณหภูมิสูงมาก นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า สสารดังกล่าวอาจเป็นเทลลูเรียม หรือ กาลีนา (ตะกั่วซัลไฟด์) ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ยานวีนัสเอ็กซเพรสค้นพบมวลอากาศเย็นที่ขั้วใต้ของดาวศุกร์ สี่ปีต่อมา ยานวีนัสเอ็กซเพรสยังค้นพบชั้นโอโซนในบรรยากาศของดาวศุกร์อีกด้วย
=== ภูมิศาสตร์ ===
พื้นผิวและสภาพภูมิศาสตร์ของดาวศุกร์เป็นที่สนใจใคร่รู้ของบรรดานักดาราศาสตร์ทั้งหลายจนกระทั่งมีการส่งยานอวกาศไปยังดาวศุกร์ ในปี พ.ศ. 2518 และ 2525 ยานเวเนราได้ส่งภาพพื้นผิวของดาวศุกร์มายังโลก ซึ่งประกอบด้วยตะกอนและหินเหลี่ยม ต่อมายานมาเจลลัน ได้บันทึกภาพพื้นผิวของดาวศุกร์ในรายละเอียดระหว่าง พ.ศ. 2533-34 ทำให้เห็นถึงการเกิดภูเขาไฟจำนวนมากบนดาวศุกร์ ในบรรยากาศก็เต็มไปด้วยกำมะถัน ซึ่งอาจบ่งถึงการปะทุของภูเขาไฟบ่อยครั้ง
พื้นผิวของดาวศุกร์ประมาณร้อยละ 80% เป็นพื้นผิวจากเถ้าภูเขาไฟ ในจำนวนนี้ 70% เป็นที่ราบและเนินลอนคลื่น และ 10% เป็นที่ราบเนินกลม ส่วนที่เหลือเป็น "ทวีป" หรือที่ราบสูงสองแห่ง แห่งหนึ่งอยู่ซีกเหนือ อีกแห่งอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรไปไม่ไกล ทวีปเหนือของดาวศุกร์เรียกว่า อิชตาร์เทอร์รา (Ishtar Terra) ตามชื่อของอินันนา เทพเจ้าแห่งความรัก มีขนาดประมาณทวีปออสเตรเลีย ทวีปนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาที่สูงที่สุดบนดาวศุกร์ ชื่อว่า แม็กซเวลล์มอนทีส มีความสูงเฉลี่ยจากพื้นผิวปานกลาง ทวีปใต้ของดาวศุกร์เรียกว่า อะโฟรไดต์เทอร์รา (Aphrodite Terra) ตามชื่อเทพีแห่งความรักของกรีก มีขนาดใหญ่กว่าทวีปเหนือ และมีขนาดประมาณทวีปอเมริกาใต้ ทวีปใต้ของดาวศุกร์ประกอบด้วยรอยเลื่อนและรอยแตกจำนวนมาก
แม้ว่าดาวศุกร์จะมีหลุมภูเขาไฟจำนวนมาก แต่ร่องรอยการไหลของลาวากลับไม่ปรากฏชัดเจน พื้นผิวของดาวศุกร์มีหลุมอุกกาบาตน้อยมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผิวดาวศุกร์มีอายุไม่มากนัก ประมาณ 300-600 ล้านปี เนื่องจากดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน ทำให้มีหลุมอุกกาบาต ภูเขา หุบเขา รวมไปถึงภูเขาไฟยอดตัด เรียกว่า ฟาร์รา (farra) มีสัณฐานคล้ายขนมบ้าบิ่น และมีขนาดกว้างประมาณ สูงประมาณ นอกจากภูเขาไฟยอดตัด ก็มีโครงสร้างที่เรียกว่า โนวี (novae) ซึ่งคล้ายกับดาว โครงสร้างที่เรียกว่าอะแรกนอยด์ (arachnoid) ซึ่งคล้ายกับใยแมงมุม และโครงสร้างที่เรียกว่าโคโรนี (coronae) ลักษณะคล้ายวงแหวนมีแอ่งต่ำล้อมรอบ ลักษณะทางดาราธรณีวิทยาเหล่านี้ล้วนเกิดจากภูเขาไฟ
บรรดาภูเขาและสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวดาวศุกร์ ตั้งชื่อตามสตรีในประวัติศาสตร์และในเทพปกรณัม ยกเว้น ภูเขาแม็กซเวลล์มอนทีสซึ่งตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เจมส์ คลาร์ก แม็กซเวลล์ รวมถึงยกเว้นแอลฟาเรจิโอ เบตาเรจิโอ และโอฟดาเรจิโอ ซึ่งตั้งชื่อก่อนที่สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล จะกำหนดระบบใหม่ขึ้น
ตำแหน่งเมอริเดียนหลักของดาวศุกร์นั้น เดิมทีกำหนดให้พาดผ่านขั้วทั้งสองและผ่านจุดอีฟ ซึ่งตั้งอยู่ตอนใต้ของแอลฟาเรจิโอ ต่อมาเมื่อยานเวเนราสำรวจดาวศุกร์สำเร็จแล้ว จึงปรับตำแหน่งเมอริเดียนหลักให้ผ่านยอดเขาซึ่งอยู่ในหลุมอาเรียด ซึ่งตั้งบนที่ราบต่ำเซดนาพลานิเทีย
ยานวีนัสเอ็กซ์เพรสและยานมาเจลลันค้นพบว่า พื้นผิวบางส่วนของดาวศุกร์มีลักษณะบิดเบี้ยวมาก เรียกว่า เทสเซอรา เมื่อสังเกตโดยใช้การถ่ายภาพจะพบว่ามีสภาพแผ่ความร้อนน้อยกว่าที่ราบบะซอลต์ที่อยู่โดยรอบ
==== ภูเขาไฟ ====
พื้นผิวของดาวศุกร์ส่วนใหญ่มีกำเนิดจากภูเขาไฟ ดาวศุกร์มีภูเขาไฟจำนวนมากกว่าโลกหลายเท่า โดยในจำนวนนี้ 167 ลูก มีขนาดกว้างมากกว่า ในขณะที่บนโลกภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่เท่านี้มีเพียงที่หมู่เกาะฮาวาย เหตุที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะดาวศุกร์มีภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง แต่เป็นเพราะผิวดาวศุกร์มีอายุมากกว่าและมีกระบวนการพังทลายไม่เหมือนกัน ผิวโลกใต้ทะเลเมื่อถึงเวลาจะมุดลงใต้แผ่นทวีปอีกแผ่นและหลอมละลายกลับเป็นแมกมา ทำให้มีอายุเฉลี่ยประมาณร้อยล้านปีเท่านั้น แต่บนดาวศุกร์ไม่ปรากฏการมุดตัว อายุของผิวดาวจึงมีมากกว่า ประมาณ 300-600 ล้านปี
เนื่องจากดาวศุกร์มีภูเขาไฟจำนวนมาก การตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์จึงแปรไปตามเวลา โดยพบว่า ระหว่าง พ.ศ. 2521 ถึง 2529 ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลดลงประมาณ 10 เท่า ก่อนจะเพิ่มในปี พ.ศ. 2549 ก่อนจะลดลงไปอีก 10 เท่า
จากข้อมูลข้างต้นทำให้สังเกตว่า มีการระเบิดของภูเขาไฟหลายครั้งเป็นระยะ ๆ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การระเบิดของภูเขาไฟบนดาวศุกร์เป็นผลให้เกิดฟ้าผ่าบนดาวศุกร์อีกด้วย ในเดือนมกราคม 2563 นักดาราศาสตร์ได้รายงานหลักฐานที่บ่งชี้ว่าดาวศุกร์เป็นดาวที่มีภูเขาไฟปะทุตลอดเวลา โดยเฉพาะการตรวจพบโอลิวีน ซึ่งเป็นผลผลิตจากภูเขาไฟที่สลายตัวง่ายเมื่อปะทุแล้ว
== บรรยากาศ ==
บรรยากาศของดาวศุกร์ ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97% ไนโตรเจน 3.5% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ อาร์กอน 0.5% มีชั้นเมฆคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนาทึบมาก ปกคลุมดาวศุกร์ทั้งดวงทำให้สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี จึงเห็นดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างสุกใสมาก และยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวศุกร์ก็ไม่สามารถถ่ายภาพพื้นผิว โดยตรงได้ ต้องอาศัยคลื่นเรดาห์ผ่านทะลุชั้นเมฆแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
อุณหภูมิของดาวศุกร์ ด้วยชั้นเมฆหนาของดาวศุกร์ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงมาก ประมาณ 400 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
== การเคลื่อนที่ ==
ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก
== ยานอวกาศสำรวจดาวศุกร์ ==
ยานอวกาศที่สำรวจดาวศุกร์ มีด้วยกันหลายลำได้แก่
มาริเนอร์ 2 เมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2505
เวเนรา 4 เมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2510
เวเนรา 7 เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513
มาริเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517
เวเนรา 9 เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2518
เวเนรา 15 เมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2526
ไพโอเนียร์-วีนัส 2 เมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2521
แมกเจลแลน เมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2533
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์หิน | thaiwikipedia | 671 |
ดาวอังคาร | ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา
ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008
มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ
กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ไวกิง โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก
== ลักษณะทางกายภาพ ==
ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งหนึ่งของโลก และมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าพื้นที่ผิวดินทั้งหมดของโลกรวมกันเพียงเล็กน้อย ดาวอังคารมีความหนาแน่นน้อยกว่าโลก มีปริมาตรประมาณร้อยละ 15 ของโลก และมีมวลประมาณร้อยละ 11 ของมวลของโลก ลักษณะปรากฏสีแดงปนส้มของพื้นผิวดาวอังคารมีสาเหตุมาจากไอเอิร์น(III) ออกไซด์ หรือสนิมเหล็ก อาจมองเห็นคล้ายกับบัตเตอร์สกอตช์ และสีอื่น ๆ ที่ปรากฏทั่วไปตามพื้นผิวนั้นมีได้ทั้งสีทอง สีน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน หรือสีออกเขียวขึ้นอยู่กับแร่องค์ประกอบ
=== โครงสร้างภายใน ===
ดาวอังคารมีการแยกชั้นองค์ประกอบเช่นเดียวกับโลก โดยแบ่งเป็นส่วนแก่นโลหะความหนาแน่นสูงซึ่งถูกห่อหุ้มอยู่ภายใต้ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แบบจำลองปัจจุบันของโครงสร้างภายในแสดงรัศมีอาณาบริเวณของแก่นดาวอยู่ที่ประมาณ มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็กและนิกเกิล โดยมีกำมะถันรวมอยู่ด้วยประมาณร้อยละ 16–17 คาดว่าแก่นไอเอิร์น(II) ซัลไฟด์นั้นมีธาตุเบาเป็นองค์ประกอบมากกว่าแก่นของโลกถึงสองเท่า แก่นดาวล้อมรอบไปด้วยเนื้อดาวซิลิเกตซึ่งประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างทางธรณีสัณฐานและภูเขาไฟต่าง ๆ บนดาวเคราะห์ซึ่งในปัจจุบันเหมือนจะสงบนิ่ง นอกเหนือจากซิลิกอนและออกซิเจน ธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกผิวของดาวอังคารได้แก่ เหล็ก แมกนีเซียม อะลูมิเนียม แคลเซียม และโพแทสเซียม ความหนาเฉลี่ยของเปลือกดาวอยู่ที่ประมาณ 50 กิโลเมตร มีความหนาสูงสุดที่ประมาณ 125 กิโลเมตร ส่วนเปลือกโลกซึ่งมีความหนาเฉลี่ย 40 กิโลเมตร
=== ธรณีวิทยาพื้นผิว ===
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินประกอบขึ้นจากแร่ชนิดต่าง ๆ ที่มีซิลิกอน ออกซิเจน โลหะ ตลอดจนธาตุอื่น ๆ อีกหลายชนิดเป็นองค์ประกอบรวมกันเข้าเป็นหิน พื้นผิวของดาวอังคารมีหินบะซอลต์ชนิดโทเลอิทิกเป็นองค์ประกอบหลัก แม้ว่าหลายส่วนเป็นหินชนิดที่มีซิลิกาสูงมากกว่าหินบะซอลต์ทั่วไปและอาจมีความคล้ายคลึงกับหินแอนดีไซต์บนโลกหรือแก้วซิลิเกต ภูมิภาคที่มีอัตราส่วนสะท้อนต่ำแสดงการมีเฟลด์สปาร์กลุ่มเพลจิโอเคลสหนาแน่น ในขณะที่ภูมิภาคที่มีอัตราส่วนสะท้อนต่ำทางตอนเหนือเผยให้เห็นการมีแผ่นซิลิเกตและแก้วชนิดที่มีซิลิกอนสูงด้วยความหนาแน่นสูงกว่าปกติ ในหลายส่วนของภูมิภาคที่ราบสูงตอนใต้ตรวจพบไพรอกซีนชนิดแคลเซียมสูงรวมอยู่เป็นปริมาณมาก นอกจากนั้นยังมีการพบฮีมาไทต์และโอลิวีนหนาแน่นในภูมิภาคจำเพาะบางแห่ง พื้นที่ผิวส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยชั้นหนาของเม็ดฝุ่นไอเอิร์น(III) ออกไซด์ละเอียด
ถึงแม้ว่าดาวอังคารจะไม่มีหลักฐานของโครงสร้างสนามแม่เหล็กระดับครอบคลุมทั่วทั้งดาวในปัจจุบัน แต่ผลการสังเกตแสดงให้ทราบว่าหลายส่วนของเปลือกดาวถูกกระทำด้วยอำนาจแม่เหล็กและการพลิกผันสลับขั้วของสนามไดโพลเคยปรากฏมาแล้วในอดีต เพราะในทางบรรพวิทยาแม่เหล็ก แร่ที่มีความไวต่อแรงแม่เหล็กนั้นย่อมแสดงคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับแถบสลับที่พบบนพื้นมหาสมุทรของโลก ทฤษฎีหนึ่งที่มีการตีพิมพ์ในปี 1999 และมีการตรวจสอบอีกครั้งในเดือนตุลาคม ปี 2005 (โดยอาศัยข้อมูลจากมาร์สโกลบอลเซอร์เวเยอร์) ชี้ว่าแนวแถบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแสดงถึงกิจกรรมการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคบนดาวอังคารเมื่อเวลากว่าสี่พันล้านปีก่อน ก่อนที่ไดนาโมของดาวเคราะห์จะหยุดลงเป็นผลให้สนามแม่เหล็กของดาวจางหายไป
ในช่วงการก่อกำเนิดระบบสุริยะ ดาวอังคารได้ถือกำเนิดขึ้นจากผลของกระบวนการสุ่มของมวลที่พอกพูนขึ้นแยกออกจากจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวอังคารจึงมีคุณลักษณะทางเคมีที่จำเพาะพิเศษหลายประการตามตำแหน่งในระบบสุริยะ ธาตุต่าง ๆ ที่มีจุดเดือดค่อนข้างต่ำตัวอย่างเช่นคลอรีน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน จะพบเป็นปกติบนดาวอังคารในระดับที่มากกว่าโลก เป็นไปได้ว่าธาตุเหล่านี้ถูกขับออกมาจากบริเวณใกล้ดวงอาทิตย์โดยลมสุริยะอันทรงพลังในช่วงต้นของอายุขัย
หลังการก่อกำเนิดดาวเคราะห์แล้ว ดาวเคราะห์ทั้งหมดล้วนเผชิญ "การระดมชนหนักครั้งหลัง" กว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ผิวดาวอังคารแสดงบันทึกเหตุการณ์การระดมชนจากยุคนั้น ในขณะที่เป็นไปได้ว่าพื้นที่ผิวส่วนที่เหลืออีกมากมายวางตัวอยู่ภายใต้แอ่งขนาดมโหฬารซึ่งก็เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว มีหลักฐานของแอ่งพุ่งชนขนาดมหึมาในบริเวณซีกโลกเหนือของดาวอังคารซึ่งแผ่ขยายกว้างราว 8,500 กิโลเมตร และยาวร่วม 10,600 กิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่เป็นสี่เท่าของแอ่งไอต์เค็น-ขั้วใต้ของดวงจันทร์ ทำให้เป็นแอ่งจากการพุ่งชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ทฤษฎีนี้เสนอว่าดาวอังคารถูกพุ่งชนโดยวัตถุขนาดเท่าดาวพลูโตเมื่อประมาณสี่พันล้านปีก่อน และคาดว่าเหตุการณ์นี้เองเป็นสาเหตุทำให้ดาวอังคารมีซีกดาวแตกต่างกันเป็นสองลักษณะอย่างชัดเจน เกิดแอ่งบอเรียลิสอันราบเรียบปกคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 40 ทางซีกเหนือของดาวเคราะห์
ประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของดาวอังคารสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายช่วงเวลา แต่สำหรับช่วงเวลาหลักแล้วสามารถแบ่งได้เป็นสามยุคด้วยกัน
ยุคโนอาเคียน (ตั้งชื่อตาม โนอาคิสเทร์รา หรือแผ่นดินของโนอาห์): เป็นช่วงกำเนิดพื้นผิวดาวอังคารที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ปรากฏ อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 4.5 พันล้านปีก่อนจนถึง 3.5 พันล้านปีที่ผ่านมา พื้นผิวยุคโนอาเคียนเต็มไปด้วยริ้วรอยจากการพุ่งชนขนาดใหญ่ครั้งแล้วครั้งเล่า ส่วนโป่งธาร์ซิส ที่ราบสูงภูเขาไฟที่คาดว่าเกิดขึ้นในระหว่างยุคนี้พร้อมด้วยการท่วมท้นอย่างกว้างขวางของน้ำของเหลวในช่วงปลายยุค
ยุคเฮสเพียเรียน (ตั้งขื่อตาม เฮสเพียเรียนเพลนัม หรือที่ราบสูงตะวันตก): ราว 3.5 พันล้านปีก่อน จนถึงช่วงเวลาประมาณ 3.3 ถึง 2.9 พันล้านปีที่ผ่านมา เป็นยุคที่มีรอยปรากฏชัดเจนของการเกิดที่ราบลาวาขนาดใหญ่
ยุคแอมะโซเนียน (ตั้งขื่อตาม แอมะโซนิสเพลนิเชีย หรือที่ราบแอมะซอน): นับตั้งแต่ 3.3 ถึง 2.9 พันล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน พิ้นผิวยุคนี้มีหลุมจากการพุ่งชนน้อยแต่ค่อนข้างหลากหลาย ภูเขาไฟโอลิมปัสเกิดขึ้นในยุคนี้ร่วมไปกับการไหลของลาวาอีกหลายที่บนดาวอังคาร
กัมมันตภาพธรณีวิทยาบางอย่างยังคงเกิดขึ้นบนดาวอังคาร ที่หุบเขาอะธาบาสกามีร่องรอยการไหลของลาวาในลักษณะเป็นแผ่นอายุกว่า 200 ล้านปี ปรากฏร่องรอยการไหลของน้ำในพื้นผิวท่ามกลางรอยเลื่อนซึ่งเรียกว่าร่องแยกเซอร์เบอรัสด้วยอายุน้อยกว่า 20 ล้านปี บ่งชี้ว่าเป็นการพลุ่งขึ้นของภูเขาไฟเมื่อไม่นานมานี้เช่นกัน วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2008 ภาพจากยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์แสดงให้เห็นหลักฐานของหิมะที่พังทลายลงมาจากหน้าผาความสูง 700 เมตร
=== ดิน ===
ข้อมูลจากยานส่วนลงจอด ฟีนิกซ์ ที่ส่งกลับมาแสดงว่าดินดาวอังคารมีความเป็นด่างเล็กน้อยและประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ อาทิเช่น แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และคลอรีน สารอาหารเหล่านี้สามารถพบได้ทั่วไปในสวนบนโลกและต่างก็จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การทดสอบโดนยานสำรวจเผยว่าดินดาวอังคารมีสมบัติเป็นด่างด้วยค่า พีเอชที่ 7.7 และมีเกลือเปอร์คลอเรตอยู่ราวร้อยละ 0.6
มีภูมิประเทศที่เป็นเส้นพาดขวางอยู่ทั่วไปบนดาวอังคารและที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ปรากฏบ่อยครั้งในบริเวณส่วนลาดที่สูงชันของหลุมตกกระทบ ร่องลึก และหุบเหว รอยเส้นพาดจะมีสีคล้ำในช่วงแรกแล้วค่อย ๆ จางลงเมื่อเวลาผ่านไป ในบางครั้งรอยเส้นเริ่มต้นในพื้นที่เล็ก ๆ ก่อนที่จะแผ่ขยายกว้างออกไปได้เป็นหลายร้อยเมตร สามารถมองเห็นได้ตามขอบของหินขนาดใหญ่และเครื่องกีดขวางต่าง ๆ ตามเส้นทางอีกด้วย ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปกล่าวว่ารอยเส้นเหล่านั้นเป็นดินชั้นล่างซึ่งมีสีคล้ำแต่ถูกเปิดออกมาให้เห็นจากการพังทลายของฝุ่นสีจางทางด้านบนหรือโดยพายุฝุ่น มีการเสนอคำอธิบายไปอีกหลายแนวทาง บางส่วนอธิบายว่าเกี่ยวข้องกับน้ำหรือแม้กระทั่งว่าเป็นการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
=== อุทกวิทยา ===
น้ำของเหลวนั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้บนดาวอังคารเนื่องจากความกดอากาศที่ต่ำมากเพียงแค่หนึ่งในร้อยของโลก เว้นแต่พื้นที่ลุ่มต่ำบางบริเวณในช่วงเวลาเพียงสั้น ๆ แผ่นน้ำแข็งที่ขั้วดาวทั้งคู่มีสภาพที่พอจะให้น้ำในปริมาณมาก ๆ ได้ เฉพาะปริมาตรของน้ำแข็งขั้วใต้ของดาวหากละลายลงก็จะให้น้ำเพียงพอสำหรับปกคลุมพื้นผิวทั้งหมดของดาวเคราะห์ได้ด้วยความลึก 11 เมตร ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวแผ่ขยายจากขั้วดาวลงมาจนถึงประมาณละติจูดที่ 60 องศา คาดว่าน้ำแข็งปริมาณมากถูกจับเอาไว้ภายในไครโอสเฟียร์หนาของดาวอังคาร ข้อมูลเรดาร์จาก มาร์สเอ็กซ์เพรส และ มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมื่อกรกฎาคม 2005 แสดงน้ำแข็งปริมาณมหาศาลที่ขั้วทั้งสองของดาว และในเดือนพฤศจิกายน 2008 พบในบริเวณละติจูดกลาง ยานส่วนลงจอด ฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008
ลักษณะทางธรณีสัณฐานที่มองเห็นบนดาวอังคารบ่งชี้อย่างหนักแน่นว่ามีน้ำของเหลวปรากฏบนพื้นผิวดาวเคราะห์ เส้นทางคดเคี้ยวขนาดใหญ่ที่โอบคลุมพื้นดินที่ถูกกัดเซาะหรือช่องทางการไหลออกนั้นตัดผ่านพื้นผิวโดยรอบกว่า 25 แห่ง คาดว่าร่องรอยเหล่านี้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของกระบวนการกัดเซาะระหว่างที่มีการปลดปล่อยน้ำอย่างถล่มทลายออกมาจากชั้นหินอุ้มน้ำใต้พื้นผิว อย่างไรก็ตามโครงสร้างบางส่วนถูกตั้งสมมติฐานว่าเป็นผลมาจากการกระทำของธารน้ำแข็งหรือลาวา ตัวอย่างหนึ่งที่มีขนาดใหญ่คือ มาดดิมวัลลิส ซึ่งมีความยาว และมีขนาดใหญ่มากยิ่งกว่าแกรนด์แคนยอนด้วยความกว้าง และความลึก ในบางท้องที่ คาดว่าภูมิประเทศถูกกัดสร้างขึ้นมาโดยการไหลของน้ำตั้งแต่ช่วงต้น ๆ ของประวัติศาสตร์ดาวอังคาร ช่องทางการไหลเหล่านี้ที่มีอายุน้อยที่สุดคาดว่าเพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาเพียงไม่กี่ล้านปีที่แล้ว สำหรับที่อื่น ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เก่าแก่ที่สุดบนผิวดาวอังคาร โครงสร้างระดับเล็กย่อยตลอดจนเครือข่ายหุบเขาที่กระจายเป็นกิ่งก้านสาขาล้วนแผ่ขยายพาดขวางเป็นสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญในภาคพื้นภูมิประเทศ รูปลักษณะของหุบเขาเหล่านี้รวมทั้งการกระจายตัวแสดงนัยอย่างเด่นชัดว่าถูกเซาะสร้างโดยการไหลบ่าซึ่งเป็นผลลัพธ์มาจากฝนหรือหิมะที่ตกลงมาเมื่อยุคแรกของประวัติศาสตร์ดาวอังคาร การไหลของน้ำใต้ผิวดินและการผุดเซาะของน้ำบาดาลอาจแสดงบทบาทย่อยสำคัญในหลายเครือข่าย แต่หยาดน้ำฟ้าน่าจะเป็นสาเหตุหลักของริ้วร่องเกือบทั้งหมดในแต่ละกรณี
ร่วมไปกับผนังของหลุมอุกกาบาตหรือหุบเขาลึก มีลักษณะภูมิประเทศนับพันที่ปรากฏคล้ายคลึงกับโตรกห้วยบนพื้นดิน ห้วยต่าง ๆ นี้มักมีอยู่ในพื้นที่ราบสูงทางซีกใต้ของดาวและเผชิญกับเส้นศูนย์สูตร ทั้งหมดชี้ไปในแนวขั้วดาวที่ละติจูด 30 องศา นักวิจัยจำนวนหนึ่งเสนอว่ากระบวนการก่อกำเนิดเกี่ยวข้องกับน้ำของเหลวซึ่งอาจมาจากน้ำแข็งที่ละลาย แม้ว่าจะมีอีกหลายคนแย้งว่ากลไกในการเกิดเกี่ยวข้องกับคาร์บอนไดออกไซด์เยือกแข็งหรือการเคลื่อนที่ของฝุ่นแห้ง ไม่ปรากฏว่ามีโตรกห้วยที่ถูกกร่อนทำลายบางส่วนโดยการผุกร่อนตามสภาพอากาศ และก็สังเกตไม่พบในหลุมจากการพุ่งชนทั้งหลายที่มีความเด่นชัด จึงเป็นเครื่องชี้ว่าภูมิประเทศดังกล่าวยังมีอายุน้อยและอาจเป็นได้ว่ายังคงเกิดขึ้นในปัจจุบัน
ลักษณะทางธรณีวิทยาอื่นอีกหลายประการ เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และตะกอนน้ำพารูปพัดที่ถูกเก็บรักษาไว้ในหลุมอุกกาบาตต่าง ๆ เป็นพยานหลักฐานที่เสริมให้ทราบว่ามีสภาพแวดล้อมอุ่น-ชื้น ณ บางช่วงเวลาหรือหลายช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุคต้นของดาวอังคาร สภาวะแวดล้อมเช่นนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเกิดมีอย่างกว้างขวางของทะเลสาบหลุมอุกกาบาตที่ข้ามผ่านเป็นสัดส่วนขนาดใหญ่บนพื้นผิว และนับว่ายังเป็นหลักฐานอิสระทั้งในทางแร่วิทยา ตะกอนวิทยา และธรณีสัณฐานวิทยาอีกด้วย
หลักฐานนอกเหนือจากนี้ที่ยืนยันการที่ครั้งหนึ่งเคยมีน้ำของเหลวปรากฏบนผิวดาวอังคารมาจากการตรวจพบแร่ที่มีความจำเพาะ เช่น ฮีมาไทต์ และเกอไทต์ ซึ่งทั้งคู่บางครั้งจะก่อตัวในที่ที่มีน้ำ ในปี 2004 ยานออปพอร์ทูนิตี ตรวจพบแร่จาโรไซต์ซึ่งก่อตัวขึ้นเฉพาะเมื่อมีน้ำในสภาพเป็นกรด เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าครั้งหนึ่งเคยมีน้ำอยู่บนดาวอังคาร หลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำของเหลวเมื่อไม่นานมานี้มาจากการค้นพบแร่ยิปซัมบนพื้นดินโดยยานสำรวจออปพอร์ทูนิตีของนาซา เมื่อธันวาคม 2011 นอกจากนี้ ฟรานซิส แมคคับบิน หัวหน้าฝ่ายศึกษา นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกในแอลบูเคอร์คี ตรวจสอบลักษณะไฮดรอกไซด์ในผลึกแร่จากดาวอังคาร แถลงว่าน้ำในแมนเทิลส่วนบนของดาวอังคารมีปริมาณเท่ากับหรือมากกว่าที่โลกมีอยู่ที่ระดับ 50–300 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งมากเพียงพอที่จะครอบคลุมพื้นผิวทั้งหมดของดาวได้ด้วยความลึก 200 ถึง 1,000 เมตร
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2013 นาซารายงานหลักฐานจากเครื่องตรวจวัดบนยานสำรวจคิวริออซิตี ของแร่ที่เกิดขึ้นโดยมีน้ำเป็นองค์ประกอบ อย่างเช่นไฮเดรตของแคลเซียมซัลเฟต ในตัวอย่างหินหลายชนิดรวมทั้งชิ้นส่วนที่แตกออกมาของหิน "ทินทินา" และหิน "ซัตตันอินเลียร์" เช่นเดียวกับเวนและโนดูลในหินอื่น ๆ เช่นหิน "นอร์" และหิน "เวอนิกเก" การวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือดีเอเอ็นของยานสำรวจภาคพื้นให้หลักฐานเรื่องน้ำใต้ผิวดินว่ามีปริมาณกว่าร้อยละ 4 ลึกลงไปจนถึงระดับ 60 เซนติเมตร ในเส้นทางเคลื่อนผ่านของยานจากตำแหน่งจุดลงจอดแบรดบูรี ไปจนถึงพื้นที่ เยลโลไนฟ์เบย์ ในบริเวณภูมิภาคเกลเนก
นักวิจัยบางส่วนเชื่อว่าส่วนใหญ่ของพิ้นที่ราบต่ำทางตอนเหนือของดาวเคยถูกมหาสมุทรปกคลุมด้วยความลึกหลายร้อยเมตร ทั้งนี้ยังอยู่ในระหว่างการโต้แย้ง ในเดือนมีนาคม 2015 นักวิทยาศาสตร์ระบุว่ามหาสมุทรดังกล่าวอาจมีขนาดราวมหาสมุทรอาร์กติกของโลก การวินิจฉัยนี้ได้มาจากการประเมินอัตราส่วนระหว่างน้ำและดิวเทอเรียมในบรรยากาศปัจจุบันของดาวอังคารเทียบกันกับอัตราส่วนที่พบบนโลก ปริมาณดิวเทอเรียมที่พบบนดาวอังคารมีมากกว่าที่ดำรงอยู่บนโลกถึงแปดเท่า บ่งชี้ว่าดาวอังคารครั้งโบราณกาลมีน้ำเป็นปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ ผลสำรวจจากยานคิวริออซิตี มาพบในภายหลังว่ามีดิวเทอเรียมในอัตราส่วนสูงในหลุมอุกกาบาตเกล อย่างไรก็ตามค่าที่ได้ยังไม่สูงพอที่จะสนับสนุนว่าเคยมีมหาสมุทรอยู่ นักวิทยาศาสตร์รายอื่น ๆ เตือนว่าการศึกษาใหม่นี้ยังไม่ได้รับการยืนยัน และชี้ประเด็นว่าแบบจำลองภูมิอากาศดาวอังคารยังไม่ได้แสดงว่าดาวเคราะห์มีความอบอุ่นเพียงพอในอดีตที่ผ่านมาที่จะเอื้อให้น้ำคงอยู่ในรูปของเหลวได้
==== แผ่นขั้วดาว ====
ดาวอังคารมีแผ่นน้ำแข็งถาวรอยู่ที่ขั้วทั้งสอง เมื่อถึงฤดูหนาวของแต่ละขั้วพื้นที่โดยรอบก็จะตกอยู่ในความมืดอย่างต่อเนื่อง การเยือกเย็นลงของพื้นผิวเป็นสาเหตุให้เกิดการเยือกแข็งสะสมของบรรยากาศกว่าร้อยละ 25–30 ลงมาเป็นแผ่น CO2 เยือกแข็ง (น้ำแข็งแห้ง) เมื่อแต่ละขั้วกลับมาได้รับแสงแดดอีกครั้ง CO2 เยือกแข็งก็จะระเหิด เกิดเป็นลมขนาดมหึมากวาดซัดไปทั่วบริเวณขั้วด้วยอัตราเร็วถึง 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปรากฏการณ์ตามฤดูกาลนี้ช่วยเคลื่อนย้ายฝุ่นและไอน้ำปริมาณมหาศาลให้ลอยสูงขึ้นคล้ายกับเมฆเซอร์รัสเยือกแข็งขนาดใหญ่บนโลก ยานสำรวจออปพอร์ทูนิตี ถ่ายภาพเมฆที่เป็นน้ำเยือกแข็งนี้ได้ในปี 2004
แผ่นที่ขั้วโลกทั้งสองมีองค์ประกอบหลักกว่าร้อยละ 70 เป็นน้ำเยือกแข็ง สำหรับคาร์บอนไดออกไซด์เยือกแข็งจะสะสมตัวเป็นชั้นที่บางกว่าเมื่อเทียบกันโดยหนาประมาณหนึ่งเมตรบนแผ่นขั้วเหนือเฉพาะในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ในขณะที่แผ่นขั้วใต้เป็นแผ่นน้ำแข็งแห้งคงตัวปกคลุมด้วยความหนาประมาณแปดเมตร แผ่นน้ำแข็งแห้งคงตัวที่ปกคลุมยังขั้วใต้นี้เกลื่อนกล่นไปด้วยหลุมตื้น ๆ พื้นเรียบขอบโค้งเว้าไม่แน่นอนหรือลักษณะภูมิประเทศแบบเหล็กเนยแข็งสวิส ภาพถ่ายซ้ำยังสถานที่เดิมแสดงให้เห็นการขยายตัวของรอยเหล่านี้ได้หลายเมตรต่อปี บอกให้ทราบว่าแผ่น CO2 คงตัวที่ปกคลุมขั้วใต้เบื้องบนแผ่นน้ำแข็งจากน้ำนั้นมีการสลายตัวไปตามเวลา แผ่นปกคลุมขั้วเหนือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1,000 กิโลเมตร ระหว่างฤดูร้อนของซีกเหนือของดาวอังคาร และมีปริมาตรน้ำแข็งประมาณ 1.6 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ซึ่งหากกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นก็จะมีความหนา 2 กิโลเมตร (เปรียบเทียบกับน้ำแข็งปริมาตร 2.85 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์) แผ่นชั้วใต้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 350 กิโลเมตรและมีความหนา 3 กิโลเมตร ปริมาตรรวมของน้ำแข็งในแผ่นขั้วใต้รวมทั้งที่เก็บสะสมในชั้นบริเวณใกล้เคียงประมาณว่ามีอยู่กว่า 1.6 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร แผ่นขั้วโลกทั้งคู่มีร่องรูปเกลียวปรากฏ ตามข้อมูลการวิเคราะห์จากชาเรดหรือเรดาร์สำรวจส่วนตื้นของดาวอังคารผ่านน้ำแข็ง แสดงว่าร่องดังกล่าวเป็นผลจากลมพัดลาดลงซี่งหมุนเป็นเกลียวเนื่องจากผลกระทบโคริโอลิส
การเยือกแข็งตามฤดูกาลในบางท้องที่ใกล้กับแผ่นน้ำแข็งขั้วใต้ทำให้เกิดชั้นใสของแผ่นน้ำแข็งแห้งหนาประมาณหนึ่งเมตรเหนือพื้นดิน เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ แสงอาทิตย์ทำให้ใต้พื้นผิวอุ่นขึ้น ความดันจาก CO2 ระเหิดบริเวณข้างใต้แผ่นจะดัน ยก และสุดท้ายทำให้แผ่นแตกออก ซึ่งนำไปสู่การปะทุแบบไกเซอร์ของแก๊ส CO2 ผสมกับทรายบะซอลต์สีคล้ำหรือฝุ่น กระบวนการนี้เกิดขึ้นเร็ว สังเกตจากอวกาศได้ในเวลาเพียงไม่กี่วันหรืออาจเป็นหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน อัตราการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะไม่ปกติในทางธรณีวิทยาโดยเฉพาะกับดาวอังคาร แก๊สที่เคลื่อนไหลไปข้างใต้แผ่นจนถึงตำแหน่งไกเซอร์จะกัดสลักรูปแบบคล้ายใยแมงมุมกระจายออกเป็นรัศมีตามช่องทางที่ผ่านใต้น้ำแข็ง กระบวนการที่เกิดขึ้นเหมือนกับภาคตรงข้ามของโครงข่ายการกัดเซาะจากน้ำที่ระบายลงหลุมที่ดึงจุกอุดออกไป
== การค้นพบน้ำที่เป็นของเหลว ==
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐ (NASA) แถลงยืนยันพบน้ำที่เป็นของเหลวบนดาวอังคาร หลังส่งยานมาร์สเรคองเนซองส์ออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter : MRO) ไปโคจรรอบดาวอังคาร นับเป็นการค้นพบครั้งสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์โลก
ยาน Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ได้ค้นพบหลักฐานร่องรอยทางน้ำไหลบริเวณปากหลุมที่เกิดจากการชนหลายแห่งบริเวณเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร และได้ติดตามศึกษาร่องรอยที่เป็นทางยาวคล้ายน้ำไหล ดังกล่าวมาโดยตลอด ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 4 ปี หรือประมาณ 2 ฤดูกาลของดาวอังคาร (ดาวอังคารใช้ประมาณ 2 ปี ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์) จนสามารถยืนยันได้ว่ามีการไหลของน้ำที่เป็นของเหลว แต่เนื่องจากดาวอังคารมีอุณหภูมิที่เย็นจัด และมีชั้นบรรยากาศที่เบาบางไม่ถึง 1%ของโลก จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าน้ำคงสถานะเป็นของเหลวได้อย่างไร จนกระทั่งพบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สารประกอบที่เป็นเกลือ ได้แก่ แมกนีเซียมเปอร์คลอเรต ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำไม่กลายเป็นน้ำแข็งในอุณหภูมิที่ติดลบ ต่ำกว่าประมาณ -20 องศาเซลเซียส จึงเป็นที่มาของการแถลงข่าวในครั้งนี้ของนาซา กลายเป็นข่าวใหญ่และน่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาสตร์ หากในอดีตเราคาดว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เช่น จุลินทรีย์ ต่อไปการค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารก็ต้องมีการปรับแผนในการศึกษา มุ่งประเด็นการค้นหาไปในบริเวณที่ของเหลวดังกล่าวต่อไป
ภาพจาก Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) เปิดเผยให้เห็นถึงแร่ธาตุที่เกิดการไหลบนเนินเขารอบหลุมอุกกาบาตเฮล (Hale Crater) ซึ่งร่องรอยสีดำเหล่านี้เป็นพวกแร่ธาตุและผลึกเกลือที่ละลายอยู่กับน้ำ และเกิดขึ้นจากการไหลอย่างต่อเนื่องของน้ำลงไปตามเนินเขาเหล่านี้ แร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำเหล่านี้จะทำให้จุดเยือกแข็งของน้ำลดลง ซึ่งอาจจะมากพอที่จะทำให้สามารถคงสภาพของของเหลวเอาไว้บนพื้นผิวดาวอังคารได้ นอกจากนี้ องค์การนาซาคาดว่าน้ำที่ไหลอยู่อาจจะไหลอยู่ในภายใต้พื้นผิวตื้นๆ แต่ซึมออกมามากพอที่เผยให้เห็นในรูปของแร่ที่เปียกน้ำบนพื้นผิวเบื้องบน จากข้อมูลทางสเปกตรัมนาซาเชื่อว่าแร่ธาตุเหล่านี้น่าจะอยู่ในรูปของแมกนีเซียมเปอร์คลอเรต ซึ่งในบางกรณีสามารถทำให้น้ำคงสภาพของเหลวเอาไว้ได้ถึงที่อุณหภูมิ -70 C และบนโลกสามารถพบได้มากในบริเวณทะเลทราย และสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงขับดันของจรวดได้ ปกติแล้วเมื่อคนพูดถึงน้ำบนดาวอังคาร เรามักจะพูดถึงน้ำจำนวนมากในอดีตของดาวอังคาร หรือน้ำแข็งที่ถูกขังอยู่ลึกใต้พื้นผิวปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้เรารู้แล้วว่าดาวอังคารมีน้ำที่เป็นของเหลวไหลอยู่บนพื้นผิวได้ แต่อย่างไรก็ดีผลการศึกษาเรื่องน้ำบนดาวอังคารนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ นักดาราศาสตร์มีการศึกษาเรื่องนี้มาต่อเนื่องยาวนานหลายปีแล้ว
== ภูมิศาสตร์และการตั้งชื่อภูมิประเทศพื้นผิว ==
แม้ว่าโยฮันน์ ไฮน์ริก ฟอน เมดเลอร์ และวิลเฮล์ม เบียร์จะเป็นที่จดจำอย่างดียิ่งว่าเป็นผู้วาดแผนที่ดวงจันทร์แต่พวกเขาก็เป็น "นักวาดแผนที่ดาวอังคาร" อันดับแรก พวกเขาเริ่มโดยกำหนดภูมิประเทศพื้นผิวดาวอังคารส่วนใหญ่ให้เป็นหลักฐานมั่นคง และโดยการนี้จึงสามารถวัดคาบการหมุนรอบตัวเองของดาวอังคารได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ในปี 1840 เมดเลอร์รวบรวมผลการสังเกตตลอดสิบปีของเขาแล้ววาดแผนที่ดาวอังคารขึ้นเป็นครั้งแรก แทนที่จะมีการตั้งชื่อให้กับจุดสังเกตต่าง ๆ อันหลายหลากนั้น เบียร์และเมดเลอร์กลับใช้วิธีง่าย ๆ โดยระบุด้วยตัวอักษร เมอริเดียนเบย์ (ไซนัสเมอริเดียนี) ถูกเรียกเป็นภูมิประเทศ "a"
ปัจจุบันนี้ภูมิประเทศบนดาวอังคารได้รับการตั้งชื่อจากหลายแหล่งที่มา ภูมิประเทศที่เห็นโดดเด่นจะตั้งชื่อตามเทววิทยาคลาสสิก หลุมอุกกาบาตที่ใหญ่กว่า 60 กิโลเมตรตั้งชื่อตามชื่อของนักวิทยาศาสตร์ นักเขียน และบุคคลอื่นใดที่มีบทบาทช่วยเหลือสนับสนุนในการศึกษาดาวอังคารซึ่งได้ล่วงลับไปแล้ว หลุมอุกกาบาตที่เล็กกว่า 60 กิโลเมตรลงมา ตั้งชื่อตามชื่อเมืองหรือหมู่บ้านบนโลกซึ่งจะต้องมีประชากรน้อยกว่า 100,000 คน หุบเขาขนาดใหญ่ได้ชื่อมาจาก คำ "ดาวอังคาร" หรือ ดาวฤกษ์" ในภาษาต่าง ๆ นานา ส่วนหุบเขาขนาดเล็กนั้นได้ชื่อจากชื่อของแม่น้ำ
ภูมิประเทศที่มีความโดดเด่นขนาดใหญ่ยังคงมีชื่อเรียกเดิมอยู่หลายชื่อ แต่ก็มักมีการปรับปรุงเพื่อให้สะท้อนองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับธรรมชาติของภูมิประเทศนั้น ตัวอย่างเช่น นิกซ์โอลิมปิกา (หิมะแห่งโอลิมปัส) กลายมาเป็น โอลิมปัสมอนส์ (ภูเขาโอลิมปัส) พื้นผิวดาวอังคารที่มองเห็นจากโลกแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มพื้นที่จากความแตกต่างของการสะท้อนแสง ที่ราบสีจางที่ปกคลุมด้วยฝุ่นและทรายอันอุดมไปด้วยออกไซด์ของเหล็กซึ่งมีสีแดงนั้น ครั้งหนึ่งเคยคิดกันว่าเป็น "ทวีป" ของดาวอังคาร จึงมีการตั้งชื่อทำนอง อะเรเบียเทร์รา (แผ่นดินแห่งอาระเบีย) หรืออย่าง แอมะโซนิสเพลนิเชีย (ที่ราบแอมะซอน) ภูมิประเทศคล้ำถูกคิดว่าเป็นทะเล ดังนั้นจึงตั้งชื่ออย่าง แมร์เอริเตรียม (ทะเลแดง) แมร์ไซเรนัม และออโรรีไซนัส ภูมิประเทศมืดคล้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มองเห็นจากโลกคือ เซียทิสเมเจอร์เพลนัม แผ่นน้ำแข็งคงตัวทางขั้วเหนือได้ชื่อว่า เพลนัมบอเรียม ในขณะที่แผ่นทางขั้วใต้เรียกว่า เพลนัมออสเทรล
เส้นศูนย์สูตรของดาวอังคารถูกกำหนดโดยการหมุนของดาว แต่ตำแหน่งของเมริเดียนแรกเป็นสิ่งที่ถูกระบุขึ้นเอง ดังเช่นตำแหน่งกรีนิชของโลก คือต้องเลือกกำหนดจุดชี้ขาดขึ้นมา เมดเลอร์และเบียร์ได้เลือกเส้นเมอริเดียนในปี 1830 สำหรับแผนที่แรกของดาวอังคาร ต่อมาภายหลังยานอวกาศมาริเนอร์ 9 ได้ให้ภาพดาวอังคารมากมายในปี 1972 หลุมอุกกาบาตขนาดเล็กซึ่งได้ชื่อภายหลังว่า แอรี-0 ในบริเวณ ไซนัสเมอริเดียนี ("อ่าวตรงกลาง" หรือ "อ่าวเมอริเดียน") ได้ถูกเลือกเป็นจุดนิยามลองจิจูดที่ 0.0 องศา เพื่อให้พ้องตรงกันกับเส้นที่ได้กำหนดไว้เดิม
เพราะดาวอังคารไม่มีมหาสมุทรดังนั้นจึงไม่มี "ระดับน้ำทะเล" พื้นผิวที่มีระดับการยกตัวเป็นศูนย์จึงถูกเลือกใช้เป็นระดับอ้างอิงแทนซึ่งเรียกว่า แอรีออยด์ ของดาวอังคาร เปรียบดังจีออยด์บนพื้นผิวโลก ระดับความสูงที่มีค่าเท่ากับศูนย์ถูกกำหนด ณ ความสูงที่มีความดันบรรยากาศเท่ากับ 610.5 ปาสกาล (6.105 มิลลิบาร์) ค่าความดันนี้สอดคล้องกับจุดสามสถานะของน้ำและมีค่าประมาณร้อยละ 0.6 ของความดันพื้นผิวที่ระดับน้ำทะเลบนโลก (0.006 บรรยากาศ) ในทางปฏิบัติ ณ ปัจจุบัน พื้นผิวนี้ถูกกำหนดโดยตรงจากดาวเทียมตรวจวัดความโน้มถ่วง
==== แผนที่สี่มุมดาวอังคาร ====
ภาพอิมเมจแมพดังต่อไปนี้ของดาวอังคารแบ่งออกเป็นแผนที่สี่มุมจำนวน 30 ชิ้น กำหนดโดยองค์การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา แผนที่แต่ละชิ้นมีการกำกับตัวเลขพร้อมอักษรนำหน้า "MC" ย่อมาจาก "Mars Chart" หรือแผนภาพดาวอังคาร ด้านบนคือแผนที่ตอนเหนือสุด ตำแหน่ง อยู่ทางซ้ายสุดเหนือเส้นศูนย์สูตร ภาพแผนที่ได้มาจากมาร์สโกลบอลเซอร์เวเยอร์
==== ภูมิประเทศจากการถูกพุ่งชน ====
ภูมิประเทศของดาวอังคารมีการแยกออกเป็นสองลักษณะอย่างโดดเด่นคือ พื้นที่ราบแบนจากการไหลของลาวาทางซีกเหนือซึ่งผิดแผกเด่นชัดจากที่ราบสูงอันอุดมไปด้วยหลุมเล็กหลุมน้อยจากการถูกพุ่งชนมาแต่ครั้งโบราณกาลทางซีกใต้ การวิจัยในปี 2008 แสดงหลักฐานโน้มเอียงไปยังทฤษฎีที่เสนอขึ้นในปี 1980 ซึ่งมีอยู่ว่า ราวสี่พันล้านปีก่อน ซีกเหนือของดาวอังคารถูกพุ่งชนโดยวัตถุขนาดใหญ่ราวหนึ่งในสิบถึงสองในสามของดวงจันทร์ของโลก ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริงย่อมทำให้ซีกเหนือของดาวอังคารเป็นตำแหน่งของหลุมการพุ่งชนด้วยขนาดยาว 10,600 กิโลเมตร และกว้าง 8,500 กิโลเมตร หรือโดยคร่าว ๆ แล้วเท่ากับพื้นที่ของทวีปยุโรป เอเชีย และออสเตรเลียทั้งหมดรวมกัน มีขนาดใหญ่ยิ่งกว่าแอ่งไอต์เค็น-ขั้วใต้ของดวงจันทร์และเป็นหลุมตกกระทบที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
ดาวอังคารมีรอยตำหนิของหลุมจากการพุ่งชนมากมาย เฉพาะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 กิโลเมตรขึ้นไป พบว่ามีจำนวนรวมกว่า 43,000 แห่ง หลุมใหญ่ที่สุดที่มีการยืนยันแล้วคือแอ่งตกกระทบเฮลลาส ภูมิประเทศอัลเบโดจางมองเห็นได้ชัดเจนจากโลก จากการที่ดาวอังคารมีมวลน้อย ความน่าจะเป็นที่จะถูกพุ่งชนจากวัตถุต่าง ๆ จึงอยู่ราวครึ่งหนึ่งของโลก แต่ด้วยตำแหน่งของดาวอังคารซึ่งใกล้เคียงกับแถบดาวเคราะห์น้อย ฉะนั้นจึงมีโอกาสมากขึ้นที่จะโดนจู่โจมโดยวัตถุมากมายจากแถบดังกล่าว ดาวอังคารยังคล้ายว่าจะถูกพุ่งชนโดยดาวหางคาบสั้นอยู่บ่อยครั้งอีกด้วย อย่างเช่นกลุ่มที่อยู่ในวงโคจรของดาวพฤหัสบดี นอกเหนือจากนี้ หลุมอุกกาบาตที่พบบนดาวอังคารเมื่อเทียบกันแล้วยังน้อยกว่าที่พบบนดวงจันทร์ค่อนข้างมาก เพราะบรรยากาศของดาวอังคารสามารถปกป้องต้านทานต่ออุกกาบาตขนาดเล็กได้ หลุมอุกกาบาตบางแห่งมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แสดงว่าพื้นบริเวณนั้นเปียกชื้นภายหลังจากที่อุกกาบาตพุ่งชนแล้ว
==== ภูเขาไฟ ====
ภูเขาไฟรูปโล่โอลิมปัสมอนส์ (เมาท์โอลิมปัส) เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วในบริเวณธาร์ซิส พื้นที่ราบสูงกว้างใหญ่ซึ่งยังมีภูเขาไฟขนาดใหญ่อื่นอีกหลายลูก โอลิมปัสมอนส์มีความสูงโดยประมาณกว่าสามเท่าของความสูงของเขาเอเวอเรสต์ซึ่งเทียบกันแล้วสูงเพียง 8.8 กิโลเมตร ทำให้ภูเขาไฟลูกนี้เป็นเขาที่สูงที่สุดหรือสูงเป็นอันดับสองในระบบสุริยะขึ้นอยู่กับวิธีการวัดซึ่งแตกต่างกันออกไป ทำให้ได้ค่าตัวเลขตั้งแต่ 21 ถึง 27 กิโลเมตร
==== ตำแหน่งธรณีภาค ====
เวลส์มาริเนริส (เป็นรูปละตินของ หุบเขามาริเนอร์ หรือรู้จักในชื่อ อะกาธาดีมอน ในแผนที่คลองเก่า) เป็นหุบเขาขนาดใหญ่ มีความยาวร่วม 4,000 กิโลเมตร และมีความลึกได้มากถึง 7 กิโลเมตร ความยาวของเวลส์มาริเนริสเทียบเท่ากับความยาวของทวีปยุโรปและทอดยาวกินระยะทางกว่าหนึ่งในห้าของเส้นรอบวงของดาวอังคาร หากเทียบกันแล้ว แกรนด์แคนยอนบนโลกมีความยาวเพียง 446 กิโลเมตร และมีความลึกเพียงเกือบ 2 กิโลเมตร เท่านั้น เวลส์มาริเนริสกำเนิดขึ้นจากการปูดนูนขึ้นของพื้นที่ธาร์ซิสจนเป็นสาเหตุให้เปลือกดาวเคราะห์ในพื้นที่เวลส์มาริเนริสแตกทลายออก มีการเสนอในปี 2012 ว่าเวลส์มาริเนริสไม่ได้เป็นเพียงแค่กราเบนแต่ยังเป็นขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกดาวที่ปรากฏการเคลื่อนตัวแบบเลื่อนผ่านกันกว่า 150 กิโลเมตร ทำให้ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่อาจจะมีการวางตัวของแผ่นธรณีภาคเป็นสองแผ่น
==== หลุมโพรง ====
ภาพจากเธมิสหรือระบบถ่ายภาพจากการปล่อยความร้อนซึ่งอยู่บนยาน 2001 มาร์สโอดิสซีของนาซา ได้เผยให้เห็นถึงปากทางเข้าถ้ำที่เป็นไปได้เจ็ดแห่งบริเวณด้านข้างของภูเขาไฟ มีการตั้งชื่อถ้ำเหล่านี้ตามชื่อของคนรักแต่ละคนของบรรดาผู้คนพบซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า "น้องสาวทั้งเจ็ด" ปากทางเข้าถ้ำมีความกว้างวัดได้ตั้งแต่ 100 ไปจนถึง 252 เมตร และเชื่อว่ามีความลึกอย่างน้อย 73 ถึง 96 เมตร เนื่องจากแสงไม่สามารถส่องลงถึงพื้นของเกือบทุกถ้ำ จึงเป็นไปได้ว่าตัวถ้ำอาจทอดยาวลึกเข้าไปมากกว่าค่าขั้นต่ำที่ประเมินไว้และอาจขยายกว้างออกใต้พื้นผิว มีเฉพาะ "เดนา" เท่านั้นที่เป็นข้อยกเว้นเพราะสามารถมองเห็นพื้นถ้ำและวัดความลึกได้เท่ากับ 130 เมตร ภายในถ้ำโพรงเหล่านี้น่าจะเป็นบริเวณที่ปลอดภัยจากอุกกาบาตขนาดเล็ก รังสีอัลตราไวโอเลต เปลวสุริยะ และอนุภาคพลังงานสูงต่าง ๆ ที่กระหน่ำชนพื้นผิวของดาวเคราะห์
=== บรรยากาศ ===
ดาวอังคารสูญเสียแม็กนีโตสเฟียร์ไปเมื่อสี่พันล้านปีก่อน อาจเพราะการชนมากมายหลายครั้งโดยดาวเคราะห์น้อย ทำให้ลมสุริยะมีปฏิสัมพันธ์กระทบโดยตรงกับไอโอโนสเฟียร์ของดาวอังคาร ลดความหนาแน่นของบรรยากาศลงไปเรื่อย ๆ โดยปอกเปลื้องอะตอมจากบรรยากาศชั้นนอกให้หลุดลอยออกไป ทั้งมาร์สโกลบอลเซอร์เวเยอร์และมาร์สเอ็กซ์เพรสต่างก็ตรวจพบอนุภาคของบรรยากาศที่แตกตัวเป็นประจุลากเป็นหางยาวในห้วงอวกาศเบื้องหลังดาวอังคาร และการสูญเสียบรรยากาศไปนี้กำลังอยู่ในการศึกษาโดยยานเมเว็น เมื่อเทียบกับโลกแล้วบรรยากาศของดาวอังคารเบาบางกว่ามาก ความกดอากาศบนพื้นผิว ณ ปัจจุบันอยู่ในช่วงตั้งแต่น้อยสุดที่ 30 ปาสกาล (0.030 กิโลปาสกาล) บนยอดโอลิมปัสมอนส์ ไปจนถึง 1,155 ปาสกาล (1.155 กิโลปาสกาล) ในเฮลลาสเพลนิเชีย โดยมีความกดอากาศเฉลี่ยที่ระดับพื้นผิวเท่ากับ 600 ปาสกาล (0.60 กิโลปาสกาล) ความหนาแน่นบรรยากาศสูงสุดบนดาวอังคารมีค่าเทียบเท่ากับความดัน ณ จุดที่สูง 35 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวโลก เป็นผลให้ความหนาแน่นบนพื้นผิวคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.6 ของโลกเท่านั้น (101.3 กิโลปาสกาล) มีมาตราความสูงของบรรยากาศที่ประมาณ 10.8 กิโลเมตร ซึ่งสูงกว่าโลก (6 กิโลเมตร) เพราะความโน้มถ่วงที่พื้นผิวดาวอังคารมีค่าเพียงร้อยละ 38 ของโลก รวมถึงผลชดเชยจากทั้งการมีอุณหภูมิต่ำและน้ำหนักโมเลกุลสูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 50 ของบรรยากาศดาวอังคาร
บรรยากาศของดาวอังคารประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 96 อาร์กอนร้อยละ 1.93 และไนโตรเจนร้อยละ 1.89 ร่วมไปกับออกซิเจนและน้ำในปริมาณเล็กน้อย บรรยากาศมีฝุ่นค่อนข้างมากโดยเป็นอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ไมโครเมตร ซึ่งทำให้ท้องฟ้าของดาวอังคารดูเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองเมื่อมองจากพื้นผิว
มีการตรวจพบมีเทนในบรรยากาศของดาวอังคารโดยมีเศษส่วนโมลที่ประมาณ 30 ส่วนในพันล้านส่วน พบปรากฏในการพลูมของแก๊สและภาวะการณ์แสดงไปในทางว่ามีการปลดปล่อยมีเทนออกมาจากแถบท้องที่เฉพาะบางแห่ง ในช่วงกลางฤดูร้อนของซีกเหนือ การพลูมหลักมีปริมาณมีเทนอยู่ถึง คาดการณ์ว่าแหล่งกำเนิดมีกำลังการปลดปล่อยราว 0.6 กิโลกรัมต่อวินาที ข้อมูลที่พบชี้ว่าน่าจะมีบริเวณท้องที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดสองแห่ง ศูนย์กลางแห่งแรกอยู่ใกล้ และแห่งที่สองใกล้ ประมาณการว่าดาวอังคารจะต้องมีการผลิตมีเทนปริมาณ 270 ตันต่อปี
มีเทนสามารถอยู่ในบรรยากาศดาวอังคารได้เพียงเฉพาะช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งเท่านั้นก่อนที่จะถูกทำลาย ประมาณว่ามีช่วงชีวิตยืนยาวได้ตั้งแต่ 0.6 ถึง 4 ปี การที่มีมีเทนดำรงอยู่ทั้ง ๆ ที่เป็นสารที่ช่วงชีวิตสั้นเช่นนี้จึงบ่งชี้ว่าจะต้องมีแหล่งผลิตแก๊สดังกล่าวที่ยังดำเนินกิจกรรมอยู่ในปัจจุบัน ทั้งกิจกรรมของภูเขาไฟ การพุ่งชนโดยดาวหาง และการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตพวกจุลชีพที่สร้างมีเทนล้วนเป็นแหล่งผลิตที่เป็นไปได้ นอกจากนั้นมีเทนยังสามารถผลิตขึ้นได้โดยกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตเรียกว่า เซอร์เพนทิไนเซชัน (การสร้างเซอร์เพนทีน) โดยอาศัยน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และแร่โอลิวีนซึ่งต่างก็พบได้ทั่วไปบนดาวอังคาร
ยานสำรวจภาคพื้นคิวริออซิตี ซึ่งลงจอดบนดาวอังคารในเดือนสิงหาคม 2012 นั้นมีความสามารถตรวจวัดเพื่อแยกแยะความแตกต่างของมีเทนที่ได้จากแหล่งกำเนิดที่ต่างกันออกจากกันได้ แต่แม้ว่าการปฏิบัติภารกิจนั้นจะชี้ขาดได้จริง ๆ ว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วบนดาวอังคารเป็นผู้ให้กำเนิดมีเทน บรรดาสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็เหมือนจะอยู่ต่ำลงไปเบื้องล่างพื้นผิวนอกเหนือขอบเขตที่ตัวยานจะเข้าถึง การตรวจวัดแรกโดยเครื่องวัดสเปกตรัมเลเซอร์แบบปรับได้แสดงข้อมูลว่ามีมีเทนต่ำกว่า 5 ส่วนในพันล้านส่วน ณ จุดที่ทำการตรวจวัดในตำแหน่งลงจอด เมื่อ 19 กันยายน 2013 นักวิทยาศาสตร์นาซาได้เผยผลการศึกษาคืบหน้าจากการตรวจวัดโดยคิวริออซิตี ว่า ตรวจไม่พบมีเทนในบรรยากาศในค่าการตรวจวัด สอดคล้องกับขอบเขตบนที่เฉพาะ 1.3 ส่วนในพันล้านส่วนปริมาตร (ขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95) และจากผลลัพธ์นี้ทำให้สรุปได้ว่าความเป็นไปได้ที่จะมีกิจกรรมของจุลชีพที่สร้างมีเทนบนดาวอังคารในปัจจุบันนั้นลดลง
ยานมาร์สออร์บิเตอร์มิชชันของอินเดียมีปฏิบัติการค้นหามีเทนในบรรยากาศ ในขณะที่เอ็กโซมาร์สเทรซแก๊สออร์บิเตอร์มีกำหนดการส่งขึ้นปฏิบัติการในปี 2016 เพื่อศีกษาให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับมีเทนรวมไปถึงสารที่ได้จากการแตกสลายของมีเทนด้วย เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ และเมทานอล
ในวันที่ 16 ธันวาคม 2014 นาซารายงานว่ายานโรเวอร์คิวริออซิตี ตรวจพบปริมาณมีเทนในบรรยากาศดาวอังคารเพิ่มสูงนับสิบเท่าในเฉพาะถิ่น ตัวอย่างที่ตรวจวัดได้ถือว่าสูงเป็นสิบเท่าในรอบ 20 เดือน แสดงการเพิ่มขึ้นในปลายปี 2013 และต้นปี 2014 โดยมีค่าเฉลี่ยของมีเทนเป็น 7 ส่วนในพันล้านส่วนในบรรยากาศ ซึ่งในเวลาก่อนหน้าหรือหลังจากนั้นค่าเฉลี่ยที่วัดได้อยู่ประมาณหนึ่งในสิบของค่าดังกล่าว
มีการตรวจพบแอมโมเนียอย่างคร่าว ๆ บนดาวอังคารแล้วเช่นกันโดยยานดาวเทียมมาร์สเอ็กซ์เพรส แต่ด้วยความที่เป็นสารช่วงชีวิตค่อนข้างสั้นจึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าถูกสร้างมาจากอะไร แอมโมเนียนั้นไม่เสถียรในบรรยากาศของดาวอังคาร และจะแตกสลายไปในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แหล่งกำเนิดหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือกิจกรรมของภูเขาไฟ
==== ออโรรา ====
ในปี 1994 ยานอวกาศมาร์สเอ็กซ์เพรสขององค์การอวกาศยุโรปพบการเรืองแสงอัลตราไวโอเลตจาก "ร่มแม่เหล็ก" ในซีกใต้ของดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็กที่ครอบคลุมทั้งดาวซึ่งจะนำทางอนุภาคมีประจุทั้งหลายให้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ดาวอังคารมีสนามแม่เหล็กรูปร่มอยู่หลายแห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในซีกใต้ซึ่งเป็นซากหลงเหลือของสนามแม่เหล็กซึ่งเคยครอบคลุมทั้งดาวแต่เสื่อมสลายไปเมื่อหลายพันล้านปีก่อน
ในปลายเดือนธันวาคม 2014 ยานอวกาศเมเว็นของนาซาตรวจพบหลักฐานการแผ่กระจายเป็นบริเวณกว้างของออโรราบนซีกเหนือของดาวอังคาร และทอดต่ำลงถึงละติจูดประมาณ 20–30 องศาเหนือจากเส้นศูนย์สูตรดาวอังคาร ในขณะที่ออโรราบนโลกอยู่ในระยะสูง 100 ถึง 500 กิโลเมตรจากผิวดาวเคราะห์ แต่บนดาวอังคารอนุภาคที่ก่อให้เกิดออโรราทะลวงผ่านบรรยากาศของดาวเคราะห์เข้ามาสร้างออโรราขึ้นในระดับต่ำกว่า 100 กิโลเมตรจากพื้นผิว สนามแม่เหล็กในลมสุริยะโอบคลุมดาวอังคาร เข้าสู่บรรยากาศ และอนุภาคมีประจุตามเส้นแรงแม่เหล็กของลมสุริยะเข้าสู่บรรยากาศทำให้ออโรราเกิดขึ้นภายนอกร่มแม่เหล็ก
วันที่ 18 มีนาคม 2015 นาซารายงานการตรวจพบออโรราที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด และเมฆฝุ่นที่ยังไมมีคำอธิบายภายในบรรยากาศของดาวอังคาร
=== ภูมิอากาศ ===
จากดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะ ฤดูกาลของดาวอังคารมีความใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด เนื่องจากความเอียงของแกนการหมุนของดาวทั้งสองที่คล้ายคลึงกัน ระยะเวลาของแต่ละฤดูกาลบนดาวอังคารมีความยาวประมาณสองเท่าของฤดูกาลบนโลก เพราะดาวอังคารมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่า หนึ่งปีของดาวอังคารจึงยาวนานร่วมสองปีของโลก อุณหภูมิบนพื้นผิวดาวอังคารผันแปรจากค่าต่ำสุดที่ประมาณ –143 องศาเซลเซียส ที่บริเวณแผ่นขั้วดาวในฤดูหนาว จนถึงค่าสูงสุดที่ประมาณ 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) ในฤดูร้อนบริเวณศูนย์สูตร การมีช่วงอุณหภูมิที่กว้างมากเช่นนี้เป็นผลมาจากบรรยากาศที่เบาบางจนไม่สามารถกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มากนัก การมีความกดอากาศที่ต่ำ และการที่มีค่าความเฉื่อยความร้อนต่ำของดินบนดาวอังคาร ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวอังคารคิดเป็น 1.52 เท่าเมื่อเทียบกับระยะจากดวงอาทิตย์ถึงโลก ทำให้ดาวอังคารได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เพียงร้อยละ 43 ต่อหน่วยพื้นที่เมื่อเทียบกับโลก
ถ้าหากดาวอังคารมีวงโคจรแบบเดียวกับโลกแต่ละฤดูกาลของดาวอังคารก็จะเหมือนโลก แต่การมีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรมากกว่าเมื่อเปรียบกันนี้เองที่ส่งผลกระทบสำคัญ ดาวอังคารเข้าใกล้จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อเป็นฤดูร้อนในดาวซีกใต้ซึ่งดาวซีกเหนือก็จะเป็นฤดูหนาว และเข้าใกล้จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อเป็นฤดูหนาวในดาวซีกใต้ซึ่งดาวซีกเหนือก็จะเป็นฤดูร้อน ผลที่ตามมาคือฤดูกาลในดาวซีกใต้จะรุนแรงมากกว่าและฤดูกาลในดาวซีกเหนือจะอ่อนเบากว่าอีกซีกหนึ่งในแต่ละกรณี อุณหภูมิในฤดูร้อนของดาวซีกใต้สามารถอุ่นได้มากกว่าอุณหภูมิในฤดูร้อนของดาวซีกเหนือได้ถึง 30 เคลวิน (30 องศาเซลเซียส หรือ 54 องศาฟาเรนไฮต์)
ดาวอังคารมีพายุฝุ่นที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีได้ตั้งแต่พายุในพื้นที่เล็ก ๆ ไปจนถึงพายุขนาดมโหฬารที่ครอบคลุมทั่วทั้งดาวเคราะห์ พายุเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อดาวอังคารเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบนดาว
== วงโคจรและการหมุน ==
ดาวอังคารไกลจากดวงอาทิตย์ด้วยระยะทางเฉลี่ย 230 ล้านกิโลเมตรโดยประมาณ (1.5 หน่วยดาราศาสตร์) และมีคาบการโคจรเท่ากับ 687 วันของโลก หนึ่งวันสุริยะบนดาวอังคารยาวกว่าหนึ่งวันของโลกเพียงเล็กน้อยคือเท่ากับ 24 ชั่วโมง 39 นาที 35.244 วินาที หนึ่งปีของดาวอังคารเท่ากับ 1.8809 ปีของโลก หรือ 1 ปี 320 วัน กับอีก 18.2 ชั่วโมง
ดาวอังคารมีความเอียงของแกนเท่ากับ 25.19 องศา สัมพัทธ์กับระนาบการโคจรซึ่งคล้ายคลึงกับความเอียงของแกนโลก เป็นผลให้ดาวอังคารมีฤดูกาลคล้ายโลกแม้ว่าแต่ละฤดูบนดาวอังคารจะยาวเกือบสองเท่าเพราะคาบการโคจรที่ยาวนานกว่า ณ ปัจจุบัน ขั้วเหนือของดาวอังคารมีการวางตัวชี้ไปใกล้กับดาวฤกษ์เดเนบ ดาวอังคารผ่านจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในเดือนมกราคม 2013 จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดถัดไปคือมกราคม 2014 และจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดถัดไปคือธันวาคมปีเดียวกัน
ดาวอังคารมีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรค่อนข้างเด่นชัดที่ประมาณ 0.09 เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์อื่นอีกเจ็ดดวงในระบบสุริยะแล้ว มีเพียงดาวพุธเท่านั้นที่มีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรมากกว่า เป็นที่ทราบว่าในอดีตดาวอังคารมีวงโคจรที่กลมมากกว่าในปัจจุบันมาก ที่ขณะหนึ่งเมื่อ 1.35 ล้านปีก่อน ดาวอังคารมีความเยื้องศูนย์กลางที่ราว 0.002 ซึ่งน้อยยิ่งกว่าโลกในตอนนี้ วัฏจักรความเยื้องศูนย์กลางของดาวอังคารอยู่ที่ 96,000 ปีโลก เทียบกับโลกที่วัฏจักรเดียวกันอยู่ที่ 100,000 ปี ดาวอังคารยังมีวัฏจักรความเยื้องศูนย์กลางอีกแบบหนึ่งที่กินเวลายาวนานกว่านี้ด้วยคาบราว 2.2 ล้านปีโลก ซึ่งมีความสำคัญบดบังกราฟวัฏจักร 96,000 ปี นับจาก 35,000 ปีที่ผ่านมา วงโคจรของดาวอังคารมีความเยื้องศูนย์กลางเพิ่มขึ้นทีละน้อยเพราะผลกระทบเชิงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ระยะที่ใกล้ที่สุดระหว่างโลกและดาวอังคารจะลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 25,000 ปีข้างหน้า
== การค้นหาสิ่งมีชีวิต ==
ตามความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ หรือความสามารถที่โลกใดโลกหนึ่งมีภาวะการณ์ทางสิ่งแวดล้อมเจริญพัฒนาขึ้นจนชีวิตอุบัติขึ้นได้ เช่นดาวเคราะห์ที่เอื้อให้มีน้ำของเหลวอยู่บนพื้นผิว เกณฑ์ที่ต้องการโดยมากคือวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นต้องอยู่ในเขตอาศัยได้ ซึ่งในกรณีของดวงอาทิตย์คือตั้งแต่แถบพ้นจากดาวศุกร์ออกไปจนถึงระยะประมาณกึ่งแกนเอกของดาวอังคาร ระหว่างการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารได้ล่วงเข้าไปในเขตนี้ แต่ด้วยความที่มีบรรยากาศเบาบาง ความกดอากาศที่ต่ำเป็นอุปสรรคไม่ให้น้ำของเหลวปกคลุมภูมิประเทศเป็นบริเวณกว้างได้ในช่วงระยะเวลาที่นานพอ การไหลของน้ำของเหลวในอดีตเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าดาวอังคารมีศักยภาพสำหรับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต หลักฐานที่พบใหม่บางประการชี้ว่าน้ำบนผิวดาวอังคารนั้นอาจจะเค็มเกินไปและมีความเป็นกรดมากเกินไปที่จะค้ำจุนสิ่งมีชีวิตโลกโดยทั่ว ๆ ไปได้
การปราศจากสนามแม่เหล็กและบรรยากาศที่เบาบางอย่างยิ่งของดาวอังคารเป็นปัญหาที่ท้าทาย ดาวเคราะห์เองมีการถ่ายเทความร้อนผ่านพื้นผิวที่ต่ำ การป้องกันอันย่ำแย่ต่อการกระหน่ำโจมตีของลมสุริยะ และความอ่อนด้อยของความดันบรรยากาศจนไม่อาจกดน้ำลงมาให้อยู่ในสภาพของเหลวเพราะน้ำแข็งจะระเหิดไปจนหมด กล่าวได้ว่าดาวอังคารนั้นจวนที่จะตายหรือไม่ก็อาจจะตายไปแล้วในทางธรณีวิทยา เพราะการจบสิ้นลงของกิจกรรมภูเขาไฟย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่าการแปรใช้ใหม่ของแร่ธาตุตลอดจนองค์ประกอบเคมีต่าง ๆ ระหว่างพื้นผิวกับบริเวณภายในดาวเคราะห์นั้นย่อมต้องจบสิ้นไปด้วย
หลักฐานบ่งบอกว่าครั้งหนึ่งดาวอังคารมีความเป็นมิตรต่อการอยู่อาศัยมากกว่าในทุกวันนี้อย่างมาก แต่จะมีสิ่งมีชีวิตดำรงสืบต่อมาบนดาวหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ยานสำรวจไวกิงในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 มีอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อตรวจหาจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในดินของดาวอังคาร ณ บริเวณลงจอดของแต่ละยานและต่างก็ได้ผลลัพธ์เป็นบวก รวมถึงการผลิต CO2 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อได้สัมผัสกับน้ำและสารอาหาร สัญญาณของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ภายหลังได้ถูกโต้แย้งโดยนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่ง ผลที่ได้ยังคงเป็นที่อภิปรายถกเถียงเรื่อยมา โดยนักวิทยาศาสตร์นาซา กิลเบิร์ต เลวิน ยืนยันว่ายานไวกิงอาจตรวจพบสิ่งมีชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลจากไวกิงซ้ำอีกครั้งภายใต้องค์ความรู้ใหม่ในปัจจุบันเกี่ยวกับอิกซ์ตรีโมไฟล์รูปแบบต่าง ๆ ชี้ว่า การทดสอบโดยไวกิงไม่ได้ละเอียดซับซ้อนเพียงพอที่จะตรวจหารูปแบบสิ่งมีชีวิตเช่นนี้ ตัวการทดสอบเองยังอาจแม้กระทั่งฆ่าสิ่งมีชีวิต (ตามสมมติฐาน) เหล่านั้นไปเสียด้วยซ้ำ ปฏิบัติการทดสอบโดยยานส่วนลงจอด ฟีนิกซ์ แสดงให้ทราบว่าดินมีค่าพีเอชเป็นด่าง ประกอบด้วยแมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และคลอไรด์ ลำพังสารอาหารในดินอาจสามารถเกื้อหนุนสิ่งมีชีวิตได้ แต่สิ่งมีชีวิตยังคงต้องได้รับการป้องกันจากแสงอัลตราไวโอเลตอย่างเข้ม การวิเคราะห์ล่าสุดเกี่ยวกับอุกกาบาตดาวอังคาร EETA79001 พบ ClO4- 0.6 ส่วนในล้านส่วน ClO3- 1.4 ส่วนในล้านส่วน และ NO3- 16 ส่วนในล้านส่วน เกือบทั้งหมดน่าจะมีที่มาจากดาวอังคารโดยตรง การมี ClO3- ชี้ว่าน่าจะมีสารประกอบออกซิเจน-คลอรีนที่สภาพออกซิไดซ์สูงชนิดอื่น อย่างเช่น ClO2- หรือ ClO ด้วย ทั้งสองถูกสร้างขึ้นโดยปฏิกิริยาออกซิเดชันของคลอรีนโดยรังสียูวี และการแตกสลาย ClO4- ด้วยรังสีเอกซ์ ด้วยเหตุนี้รูปแบบอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตที่ทนทานและได้รับการป้องกันอย่างดี (ใต้พื้นผิว) เท่านั้นที่อาจอยู่รอดมาได้
นอกเหนือจากนี้ การวิเคราะห์ใหม่จากข้อมูลของห้องปฏิบัติการเคมีเปียกของยาน ฟีนิกซ์ แสดงให้เห็นว่า Ca(ClO4)2 ในดินตรงที่ยาน ฟีนิกซ์ อยู่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับน้ำของเหลวไม่ว่าจะรูปแบบใด ๆ อาจเป็นระยะเวลายาวนานถึง 600 ล้านปี เพราะหากว่ามีน้ำ สาร Ca(ClO4)2 ซึ่งละลายได้ดีมากเมื่อได้สัมผัสกับน้ำของเหลวย่อมเปลี่ยนไปเกิดเฉพาะ CaSO4 ขึ้น ผลที่ได้จึงเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการมีสภาพแวดล้อมแห้งแล้งอย่างสาหัสโดยมีน้ำเล็กน้อยหรือไม่มีเลยที่จะมาปฏิสัมพันธ์ด้วย
นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเสนอว่าเม็ดคาร์บอเนตเล็ก ๆ ที่พบในอุกกาบาตเอแอลเอช 84001 ซึ่งคาดว่ามาจากดาวอังคารนั้น อาจเป็นซากจุลชีพดึกดำบรรพ์ที่หลงเหลืออยู่บนดาวอังคารเมื่อก้อนอุกกาบาตระเบิดกระเด็นออกมาจากพื้นผิวดาวอังคารโดยการพุ่งชนของดาวตกเมื่อราว 15 ล้านปีก่อน ข้อเสนอดังกล่าวยังคงเป็นที่เคลือบแคลง และยังมีการเสนอว่ารูปแบบที่เห็นอาจมีต้นกำเนิดแบบอนินทรีย์ที่พิเศษออกไปก็ได้
การตรวจพบทั้งมีเทนและฟอร์มาลดีไฮด์ปริมาณเล็กน้อยโดยยานโคจรรอบดาวอังคารล้วนถูกนำไปอ้างเป็นหลักฐานสนับสนุนความเป็นไปได้ว่ามีสิ่งมีชีวิต เนื่องจากสารประกอบเคมีทั้งคู่จะแตกสลายไปอย่างรวดเร็วในบรรยากาศของดาวอังคาร ในอีกทางหนึ่ง สารเหล่านี้อาจมีการผลิตทดแทนโดยภูเขาไฟหรือกระบวนการทางธรณีวิทยาอื่น เช่น การสร้างเซอร์เพนทีน
อุลกมณีซึ่งเกิดขึ้นภายหลังดาวตกพุ่งชนในกรณีของโลกนั้นสามารถเก็บร่องรอยของสิ่งมีชีวิตไว้ได้ มีรายงานการพบอุลกมณีบนพื้นผิวของหลุมอุกกาบาตบนดาวอังคาร ในทำนองเดียวกัน แก้วที่พบในหลุมอุกกาบาตบนดาวอังคารก็อาจเก็บรักษาร่องรองบางอย่างของสิ่งมีชีวิตไว้หากสถานที่นั้นเคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่
== ความสามารถอยู่อาศัยได้ ==
ศูนย์การบินและอวกาศเยอรมันค้นพบว่าไลเคนของโลกสามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมดาวอังคารจำลอง ทำให้การมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารเป็นเรื่องน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นตามที่นักวิจัย ทิลแมน สปอห์น รายงาน เงื่อนไขด้านอุณหภูมิ ความกดอากาศ แร่ธาตุ และแสงจำลองขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากยานสำรวจดาวอังคาร เครื่องมือตรวจวัดสภาพแวดล้อมหรือเรมส์ออกแบบมาเพื่อสืบค้นเบาะแสใหม่ ๆ เกี่ยวกับคุณลักษณะการหมุนเวียนทั่วไปบนดาวอังคาร ระบบสภาพอากาศในระดับเล็ก วัฏจักรอุทกวิทยาท้องถิ่น ศักยภาพในการทำลายล้างของรังสียูวี และความสามารถอยู่อาศัยได้ใต้พื้นผิวซึ่งวางอยู่บนปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นดินกับชั้นบรรยากาศ เครื่องมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของยาน คิวริออซิตี (ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์บนดาวอังคาร) ซึ่งลงจอดบนดาวอังคารเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 ที่ผ่านมา
== การสำรวจ ==
นอกเหนือจากการสังเกตจากโลก ส่วนหนึ่งของข้อมูลใหม่ ๆ ของดาวอังคารได้มาจากยานสำรวจ 14 ลำ ที่ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติภารกิจทั้งบนและโคจรเหนือดาวอังคาร (ข้อมูล ณ ปี 2021) ประกอบด้วย ยานในวงโคจรแปดลำได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี, มาร์สเอ็กซ์เพรส (MEX), มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (MRO), เมเว็น, มาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน (MOM), ExoMars Trace Gas Orbiter (TGO), ยานโคจรเทียนเวิน-1 และ โฮป และยานสำรวจภาคพื้นอีกหกลำ ได้แก่ คิวริออซิตี, เพอร์ซิเวียรันซ์, อินเจนูอิตี, จู้หรง, อินไซต์แลนเดอร์ และ เทียนเวิน-1 แลนเดอร์
มีการส่งยานอวกาศไร้คนบังคับหลายสิบลำทั้งที่โคจรรอบ ยานส่วนลงจอด และยานสำรวจภาคพื้นไปยังดาวอังคารโดยสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา ยุโรป และ อินเดีย เพื่อศึกษาสภาพพื้นผิวของดาว ภูมิอากาศ และธรณีวิทยา สาธารณะชนทั่วไปสามารถขอดูรูปภาพดาวอังคารได้ผ่านทางโปรแกรมไฮวิช
ยานคิวริออซิตี จากภารกิจมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีซึ่งส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 และไปถึงดาวอังคารวันที่ 6 สิงหาคม 2012 ตามเวลาสากล มีขนาดใหญ่และล้ำหน้ามากยิ่งกว่ายานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารรุ่นก่อน โดยสามารถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว ต่อชั่วโมง การทดลองประกอบด้วยการใช้เลเซอร์ทดสอบตัวอย่างเพื่อหาองค์ประกอบทางเคมี สามารถประเมินสรุปหินต่าง ๆ ที่พบว่ามีองค์ประกอบอย่างไรได้ที่ระยะห่าง วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013 ยานคิวริออซิตีได้มีการเก็บตัวอย่างหินส่วนลึกซึ่งถือเป็นการเจาะศึกษาตัวอย่างหินบนดาวเคราะห์ดวงอื่นเป็นครั้งแรกโดยการเจาะด้วยสว่านบนยาน
วันที่ 24 กันยายน 2014 ยานมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน (มงคลยาน หรือ เอ็มโอเอ็ม) ซึ่งส่งขึ้นสู่อวกาศโดยองค์การวิจัยอวกาศอินเดียได้เข้าสู่วงโคจรดาวอังคาร โครงการเริ่มส่งยานจากโลกเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2013 โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์บรรยากาศและลักษณะภูมิประเทศของดาวอังคาร ยานมาร์สออร์บิเตอร์มิชชันใช้วงโคจรส่งเฮาห์แมนน์เพื่อหลุดออกจากอิทธิพลโน้มถ่วงของโลก และเหวี่ยงไปสู่เส้นทางยาวไกลเก้าเดือนสู่ดาวอังคาร ภารกิจนี้เป็นภารกิจเดินทางสู่ดาวเคราะห์อื่นโดยเอเชียที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก
องค์การอวกาศยุโรปโดยความร่วมมือกับรอสคอสมอสส่งเอ็กโซมาร์สเทรซแก๊สออร์บิเตอร์กับยานส่วนลงจอดสเกียปปาเรลลี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2016 เทรซแก๊สออร์บิเตอร์เข้าวงโคจรของดาวอังคารได้สำเร็จเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2016 ทว่า สเกียปปาเรลลี ชนระหว่างพยายามลงจอด
ยานสำรวจภาคพื้นดิน อินไซต์ ของนาซาได้ลงจอดบนดาวอังคารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 ร่วมกับคิวบ์แซตมาร์ซีโอ (Mars Cube One : MarCO) ซึ่งได้บินผ่านดาวอังคารและให้รีเลย์การวัดและส่งข้อมูลทางไกลสำหรับการลงจอด
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021 ยานโคจรมาร์สโฮปของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งส่งขึ้นสุ่อวกาศโดยองค์การอวกาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารโครงการเริ่มส่งยานจากโลกเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020 โดยมีเป้าหมายเพื่อทำการศึกษาบรรยากาศทั่วทั้งหมดของดาวอังคาร
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 ยานเพอร์เซเวียแรนส์จากภารกิจมาร์ส 2020 ซึ่งส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 30 กรกฎาคม 2020 ได้ทำการลงจอดบนดาวอังคาร โดยใช้ระบบ "ปั้นจั่นกลางอากาศ" หรือ "Sky Crane" ซึ่งเป็นระบบที่เคยใช้มาก่อนแล้วในการลงจอดยานคิวริออซิตี โดยในภารกิจนี้มีเป้าหมายเพื่อสำรวจร่องรอยของสิ่งมีชีวิตจำพวกจุลินทรีย์ รวมทั้งศึกษาลักษณะสภาพอากาศ สภาพทางธรณีวิทยา และเก็บตัวอย่างดินดาวอังคารเพื่อรอส่งกลับมาศึกษายังโลก นอกจากการเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ นาซายังทดสอบอุปกรณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี (Ingenuity Mars Helicopter) และเครื่อง MOXIE ที่ใช้ผลิตออกซิเจน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจต่อไป และนำไปสู่เป้าหมายที่จะนำมนุษย์ไปเหยียบดาวอังคารในอนาคต
=== อนาคต ===
องค์การอวกาศยุโรปจะปล่อยยานสำรวจเอ็กโซมาร์สและแพลตฟอร์มพื้นผิวในเดือนกรกฎาคม 2022
มีการเสนอแผนปฏิบัติการส่งมนุษย์สู่ดาวอังคารหลายต่อหลายครั้งตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนย่างเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีแผนใดที่ดำเนินการจริงอย่างเร็วที่สุดก่อนคริสต์ทศวรรษ 2020 อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ เสนอแผนในเดือนกันยายน 2016 อย่างมองโลกในแง่ดีว่าจะส่งนักท่องเที่ยวอวกาศไปดาวอังคารในปี 2024 โดยมีมูลค่าการพัฒนาที่ประเมินไว้ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม 2016 ประธานาธิบดี บารัก โอบามา รื้อฟื้นนโยบายของสหรัฐในการมุ่งเป้าหมายส่งมนุษย์ไปดาวอังคารในคริสต์ทศวรรษ 2030 และใช้สถานีอวกาศนานาชาติเป็นที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการนี้
== ดาราศาสตร์บนดาวอังคาร ==
ด้วยการที่มีทั้งยานอวกาศในวงโคจร ยานส่วนลงจอด และยานสำรวจภาคพื้นมากมายหลายลำ ทำให้การศึกษาดาราศาสตร์จากดาวอังคารในปัจจุบันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แม้ว่าดาวบริวารโฟบอสของดาวอังคารจะปรากฏให้เห็นด้วยขนาดเชิงมุมประมาณหนึ่งในสามของดวงจันทร์เต็มดวงที่มองเห็นจากโลก แต่สำหรับดาวบริวารดีมอสแล้วกลับปรากฏคล้ายกับดาวทั่วไปมากน้อยแล้วแต่กรณีและมองเห็นสว่างกว่าดาวศุกร์เมื่อมองจากโลกเพียงเล็กน้อย
มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่รู้จักกันบนโลกซึ่งสังเกตพบบนดาวอังคาร เช่น ดาวตก และออโรรา ปรากฏการณ์โลกเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์มองเห็นจากดาวอังคารจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2084 นอกจากนั้นยังมีการเคลื่อนผ่านโดยดาวพุธ การเคลื่อนผ่านโดยดาวศุกร์ ตลอดจนดาวบริวารโฟบอสและดีมอสซึ่งมีขนาดเชิงมุมค่อนข้างเล็กทำให้อย่างมากที่สุดเกิดเป็น "สุริยุปราคา" บางส่วนเมื่อดาวทั้งสองเคลื่อนผ่าน (ดู การเคลื่อนผ่านของดีมอสจากดาวอังคาร)
วันที่ 19 ตุลาคม 2014 ดาวหางไซดิงสปริงผ่านเฉียดใกล้ดาวอังคารอย่างมาก จนโคม่าอาจครอบคลุมดาวอังคาร
== การชม ==
เนื่องจากความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรดาวอังคาร เมื่อดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์จะมีความส่องสว่างปรากฏได้ตั้งแต่ −2.91 จนถึง −1.4 ความสว่างน้อยที่สุดของดาวอังคารคือ +1.6 เกิดขึ้นเมื่อดาวอยู่ด้านเดียวกันกับดวงอาทิตย์ ดาวอังคารมักปรากฏชัดว่ามีสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดง แต่สีตามจริงของดาวอังคารนั้นใกล้เคียงกับสีของบัตเตอร์สกอตช์ สีแดงที่มองเห็นนั้นเป็นเพียงฝุ่นในบรรยากาศของดาวเคราะห์ ยานสำรวจภาคพื้นสปิริต ของนาซาได้ทำการถ่ายภาพภูมิทัศน์โคลนสีเขียวอมน้ำตาลร่วมกับหินสีน้ำเงินปนเทาและหย่อมทรายสีแดงจาง ๆ เอาไว้ ขณะที่อยู่ห่างออกไปจากโลกมากที่สุด จะมีระยะทางมากกว่าตอนที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดมากกว่าเจ็ดเท่า เมื่อถึงตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมสำหรับการชม ดาวอังคารก็จะถูกบดบังโดยความเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ได้เป็นเวลานานกว่าหนึ่งเดือน สำหรับเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการชมเกิดขึ้นทุก ๆ ช่วง 15 ถึง 17 ปี และมักเกิดขึ้นระหว่างปลายเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนกันยายน เป็นจุดที่สามารถมองเห็นรายละเอียดพื้นผิวดาวอังคารได้ค่อนข้างมากด้วยกล้องโทรทรรศน์ สำหรับส่วนที่สังเกตเห็นได้ง่ายแม้ว่าจะใช้กล้องกำลังขยายต่ำคือแผ่นน้ำแข็งขั้วดาว
เมื่อดาวอังคารเข้ามายังตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ก็จะเริ่มช่วงเวลาแห่งการเคลื่อนถอยหลัง หมายความว่าดาวอังคารจะมองเห็นเสมือนเคลื่อนที่ย้อนทางกลับหลังในลักษณะเป็นวงเมื่อเทียบดาวฤกษ์พื้นหลังต่าง ๆ ระยะเวลาของการเคลื่อนถอยหลังนี้ยาวได้จนถึงราว 72 วัน และดาวอังคารจะมีความสว่างเพิ่มขึ้นสูงสุดท่ามกลางการเคลื่อนที่ดังกล่าว
=== การเข้าใกล้มากที่สุด ===
==== สัมพัทธ์ ====
ณ จุดที่เส้นลองจิจูดของดาวอังคารอยู่ในตำแหน่ง 180 องศาจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์เมื่อโลกเป็นศูนย์กลางนั้นเรียกว่าตำแหน่งตรงข้าม ซึ่งเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับจุดที่เข้ามาใกล้โลกมากที่สุด เวลาการเกิดของตำแหน่งตรงข้าม
สามารถห่างจากจุดเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดได้มากถึง 8.5 วัน ระยะทางเข้าใกล้โลกมากที่สุดผันแปรได้ตั้งแต่ประมาณ 54 ถึง 103 ล้านกิโลเมตรขึ้นอยู่กับความรีของวงโคจรดาวเคราะห์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ขนาดเชิงมุมผันแปรแตกต่างกัน ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2014 ด้วยระยะทางประมาณ 93 ล้านกิโลเมตร การเข้าสู่ตำแหน่งตรงข้ามครั้งถัดไปของดาวอังคารเกิดล่าสุดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2016 ด้วยระยะทาง 76 ล้านกิโลเมตร ระยะเวลาเฉลี่ยระหว่างการเข้าสู่ตำแหน่งตรงข้ามของดาวอังคารแต่ละครั้งหรือคาบซินอดิกคือ 780 วัน โดยจำนวนวันที่เกิดจริงอาจยาวนานจาก 764 ถึง 812 วัน
==== ค่าที่แน่นอนใกล้เคียงเวลาปัจจุบัน ====
ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดและมีความสว่างปรากฏสูงที่สุดในรอบเกือบ 60,000 ปี ด้วยระยะทาง (, ) และมีความส่องสว่างปรากฏ −2.88 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2003 เวลา 9:51:13 ตามเวลาสากล การเกิดครั้งนี้ห่างจากตำแหน่งตรงข้ามของดาวอังคารหนึ่งวัน และประมาณสามวันจากจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ทำให้มองเห็นจากโลกได้ง่ายเป็นพิเศษ การเข้าใกล้มากสุดก่อนหน้านี้คาดว่าเกิดขึ้นในวันที่ 12 กันยายน 57,617 ปีก่อนคริสต์ศักราช ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในปี 2287 การเข้าใกล้เป็นประวัติการณ์นี้จัดว่าใกล้กว่าการเข้าใกล้มากที่สุดร่วมสมัยอื่นเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ระยะใกล้ที่สุดเมื่อ 22 สิงหาคม 1924 ที่ และระยะใกล้ที่สุดที่จะเกิดขึ้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2208 ที่
== ประวัติศาสตร์การสังเกต ==
จุดที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การสังเกตดาวอังคารคือเมื่อดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามใกล้กับโลกและทำให้มองเห็นได้ง่ายที่สุดซึ่งเกิดขึ้นในทุกสองปี ที่เด่นชัดยิ่งขึ้นอีกคือการเข้าสู่ตำแหน่งตรงข้ามขณะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวอังคารซึ่งเกิดขึ้นทุก ๆ 15 ถึง 17 ปี นั่นหมายถึงการเข้าใกล้โลกมากยิ่งขึ้นด้วยจนทำให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
=== การสังเกตในยุคโบราณและยุคกลาง ===
นักดาราศาสตร์อียิปต์โบราณบันทึกการดำรงอยู่ของดาวอังคารในฐานะวัตถุหนึ่งที่เคลื่อนผ่านท้องฟ้ายามราตรี และเมื่อ 1534 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกเขาก็คุ้นเคยดีแล้วกับการเคลื่อนถอยหลังของดาวเคราะห์ ในยุคจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ นักดาราศาสตร์ชาวบาบิโลเนียบันทึกปูมตำแหน่งของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ตลอดจนพฤติกรรมของดาวเคราะห์ที่สังเกตได้เอาไว้อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ สำหรับดาวอังคาร พวกเขาทราบว่าดาวจะโคจรครบ 37 คาบซินอดิก หรือ 42 รอบจักรราศีในทุก ๆ 79 ปี พวกเขายังได้คิดค้นระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยในการทำนายตำแหน่งของดาวเคราะห์ทั้งหลาย
ในศตวรรษที่สี่ก่อนคริสต์ศักราช อาริสโตเติลตั้งข้อสังเกตว่าดาวอังคารได้หายไปเบื้องหลังดวงจันทร์ระหว่างการถูกบดบัง บ่งบอกว่าดาวอังคารนั้นต้องอยู่ห่างไกลออกไป ทอเลมี ชาวกรีกที่อาศัยในอะเล็กซานเดรีย พยายามแก้ไขปัญหาการเคลื่อนไหวในวงโคจรของดาวอังคาร แบบจำลองของทอเลมีและงานทางดาราศาสตร์ที่เขารวบรวมขึ้น ปรากฏต่อมาเป็นชุดหนังสือหลายเล่มรู้จักกันในชื่ออัลมาเจสต์ ซึ่งได้กลายมาเป็นตำราอันทรงอิทธิพลต่อดาราศาสตร์ตะวันตกตลอดสิบสี่ศตวรรษถัดมา งานนิพนธ์จากสมัยจีนโบราณยืนยันว่านักดาราศาสตร์ชาวจีนรู้จักดาวอังคารตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่สี่ก่อนคริสต์ศักราช ในคริสต์ศตวรรษที่ห้า สุริยสิทธันต์ ตำราทางดาราศาสตร์อินเดีย มีการประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวอังคารไว้ ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก มักเรียกดาวอังคารตามประเพณีว่า "ดาวไฟ" (火星) โดยวางอยู่บนหลักธาตุทั้งห้า
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่สิบเจ็ด ทือโก ปราเออวัดพารัลแลกซ์ของดาวอังคารวันต่อวัน ซึ่งต่อมาโยฮันเนิส เค็พเพลอร์นำไปใช้คำนวณเบื้องต้นหาระยะทางสัมพัทธ์สู่ดาวเคราะห์ เมื่อกล้องโทรทรรศน์เป็นที่แพร่หลาย ได้มีการวัดค่าพารัลแลกซ์รายวันของดาวอังคารซ้ำอีกครั้งเนื่องในความพยายามที่จะหาระยะทางที่แม่นยำระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนีเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวเป็นบุคคลแรกในปี 1672 การวัดค่าพารัลแลกซ์ในช่วงแรก ๆ นั้นมีอุปสรรคสำคัญจากคุณภาพของตัวเครื่องมือเอง การสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์บดบังดาวอังคารเพียงครั้งเดียวเกิดขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม 1590 โดยมิคาเอล แมสต์ลินที่ไฮเดลแบร์ก ในปี 1610 กาลิเลโอ กาลิเลอีเป็นบุคคลแรกที่มองดูดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ บุคคลแรกที่วาดภาพดาวอังคารโดยแสดงลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ ด้วยคือนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ คริสตียาน เฮยเคินส์
==="คลอง" ดาวอังคาร ===
เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ได้เพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับที่พอจำแนกแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ บนพื้นผิวได้ การเข้าสู่ตำแหน่งตรงข้ามใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวอังคารเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1877 ปีนั้นเอง โจวานนี สเกียปปาเรลลี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 22 เซนติเมตรในมิลานสร้างแผนที่ดาวอังคารที่มีรายละเอียดปลีกย่อยขึ้นเป็นฉบับแรก แผนที่นี้มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้วยภูมิประเทศที่เขาเรียกชื่อว่า คานาลี ซึ่งได้รับการเปิดเผยต่อมาในภายหลังว่าเป็นเพียงภาพลวงตา รอยเส้นตรงยืดยาวบนพื้นผิวดาวอังคารที่ถูกทึกทักเรียกว่าคานาลี เหล่านี้ โจวานนีได้ตั้งชื่อให้ตามอย่างชื่อแม่น้ำที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักบนโลก ศัพท์ที่เขาใช้มีความหมายว่า "ทางน้ำ" หรือ "ร่องน้ำ" ซึ่งนิยมแปลกันอย่างผิด ๆ ในภาษาอังกฤษว่า "คลอง"
จากอิทธิพลของการสังเกตก่อนหน้า เพอร์ซิวัล โลเวลล์ นักตะวันออกศึกษาได้ตั้งหอดูดาวขึ้นโดยมีกล้องโทรทรรศน์ขนาด 30 และ 45 เซนติเมตร หอดูดาวนี้ได้ใช้ในการสำรวจดาวอังคารระหว่างโอกาสอันดีที่ผ่านมาในปี 1894 ตลอดจนการเข้าสู่ตำแหน่งตรงข้ามที่ดีลดหลั่นลงมาหลังจากนั้น เขาตีพิมพ์หนังสือหลายเล่มเรื่องดาวอังคารรวมไปถึงสิ่งมีชีวิตบนนั้นซึ่งส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อสาธารณะ ยังมีการพบ คานาลี โดยนักดาราศาสตร์คนอื่น ๆ เช่น อองรี โฌเซฟ เพร์โรแตง และหลุยส์ ตอลลง ที่เมืองนิสโดยใช้หนึ่งในกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น
การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอันประกอบด้วยการถอยร่นของแผ่นขั้วดาวและการเกิดพื้นที่มืดในช่วงฤดูร้อนของดาวอังคาร เมื่อประจวบเข้ากับคลองมากมายจึงนำไปสู่การคาดเดาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร และความเชื่อที่ยึดมั่นถือมั่นอย่างยาวนานว่าดาวอังคารมีผืนทะเลที่กว้างใหญ่กับพืชนานาพันธุ์ กล้องโทรทรรศน์ในขณะนั้นยังไม่มีกำลังขยายถึงขั้นที่สามารถให้หลักฐานยืนยันการคาดเดาใด ๆ ได้ เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ขึ้นก็จะสังเกตเห็น คานาลี ตรงยาวที่ขนาดเล็กลง ระหว่างการสังเกตในปี 1909 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 84 เซนติเมตร แฟลมมาริยงสังเกตพบรูปแบบที่ไม่เป็นระเบียบแต่ไม่เห็นคานาลี
แม้กระทั่งบทความในคริสต์ทศวรรษ 1960 ยังมีการตีพิมพ์เรื่องชีววิทยาบนดาวอังคารโดยผลักไสคำอธิบายแนวทางอื่นออกไป คงไว้แต่ว่าสิ่งมีชีวิตบนนั้นนั่นเองเป็นเหตุของการเปลี่ยนตามฤดูกาลบนดาวอังคาร ภาวะการณ์โดยละเอียดทั้งเมแทบอลิซึมและวัฏจักรทางเคมีต่าง ๆ สำหรับระบบนิเวศที่ดำเนินได้จริงได้รับการตีพิมพ์
=== การเยือนโดยยานอวกาศ ===
ครั้นยานอวกาศไปเยือนถึงดาวอังคารระหว่างปฏิบัติการมาริเนอร์ของนาซาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 70 แนวคิดเดิม ๆ ก็พินาศไปแบบไม่มีชิ้นดี นอกจากนี้ผลการทดลองตรวจหาสิ่งมีชีวิตโดยยานไวกิงในระหว่างปฏิบัติภารกิจ ทำให้สมมติฐานดาวเคราะห์มรณะที่ไม่น่าอยู่อย่างยิ่งก็ได้มาเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย
ข้อมูลจากปฏิบัติการโดยยานมาริเนอร์ 9 และไวกิงได้นำมาใช้สร้างแผนที่ดาวอังคารที่ดียิ่งขึ้น และยิ่งดียิ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วยปฏิบัติการโดยมาร์สโกลบอลเซอร์เวเยอร์ซึ่งส่งขึ้นในปี 1996 และดำเนินงานต่อเนื่องจนกระทั่งปลายปี 2006 ทำให้ได้แผนที่แสดงภูมิประเทศดาวอังคารที่ละเอียดลออครบถ้วนสมบูรณ์แม้กระทั่งสนามแม่เหล็กและแร่ธาตุบนพื้นผิวก็เป็นที่รับทราบ แผนที่เหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์ ตัวอย่างเช่น กูเกิลมาร์ส สำหรับมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ และมาร์สเอ็กซ์เพรส ยังทำการสำรวจต่อเนื่องด้วยเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ๆ และช่วยสนับสนุนปฏิบัติการลงจอด นาซาได้เปิดให้เข้าใช้เครื่องมือทางออนไลน์คือ มาร์สเทร็ค ซึ่งให้ภาพปรากฏของดาวอังคารจากข้อมูลการสำรวจตลอด 50 ปี และ เอ็กซ์พีเรียนซ์คิวริออซิตี ซึ่งให้ภาพจำลองการท่องไปบนดาวอังคารแบบสามมิติพร้อมกับยานคิวริออซิตี.
== ในวัฒนธรรม ==
ดาวอังคารทางสากลนิยมได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน ในต่างวัฒนธรรม ดาวอังคารเป็นตัวแทนของความเข้มแข็ง ความเป็นชาย และความเยาว์วัย มีสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลมที่มีลูกศรชี้ออกมาจากด้านขวาบน ซึ่งยังใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเพศชายอีกด้วย
จากความล้มเหลวหลายต่อหลายครั้งของยานอากาศ-โครงการสำรวจดาวอังคาร เป็นผลให้กลุ่มวัฒนธรรมนอกกระแสนำไปเยาะเย้ยเสียดสีโดยกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่าความล้มเหลวต่าง ๆ เป็นเพราะ "สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา" ของโลก-ดาวอังคาร "คำสาปเทพอังคาร" หรือไม่ก็ "ผีปอบมหาดาราจักร" ที่ได้เขมือบเอายานสำรวจดาวอังคารไป
=== "ชาวดาวอังคาร" ผู้ทรงปัญญา ===
ความคิดตามสมัยนิยมที่ว่าดาวอังคารเต็มไปด้วยชาวดาวอังคารผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาดลงหลักปักฐานอยู่อาศัย ได้ปะทุขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การสังเกตพบ "คานาลี" ของสเกียปปาเรลลีเมื่อประสานเข้ากับหนังสือของเพอร์ซิวัล โลเวลล์ในประเด็นดังกล่าว ได้ผลักดันแนวคิดมาตรฐานเกี่ยวกับดาวอังคารว่าเป็นดาวเคราะห์ที่แห้งแล้ง หนาวเย็น ใกล้ดับสูญ ร่วมไปกับการมีอารยธรรมโบราณที่ก่อสร้างงานชลประทานมากมายเอาไว้
ด้วยหลายการสังเกตและถ้อยแถลงโดยบุคคลผู้มีความโดดเด่นในสังคมได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "โรคคลั่งดาวอังคาร" ในปี ค.ศ. 1899 ขณะกำลังตรวจสอบคลื่นวิทยุในบรรยากาศด้วยเครื่องรับสัญญาณของเขาในห้องทดลองโคโลราโดสปริงส์ นิโคลา เทสลา นักประดิษฐ์ ได้สังเกตพบสัญญาณซ้ำ ๆ เขาสันนิษฐานในภายหลังว่าอาจเป็นการติดต่อสื่อสารทางวิทยุมาจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่าคือดาวอังคาร บทสัมภาษณ์ในปี ค.ศ. 1901 เทสลากล่าวว่า:
มันเป็นบางครั้งภายหลังจากความคิดที่ได้ผุดวาบขึ้นมาในใจของผม การรบกวนที่ผมสังเกตพบนั่นอาจเป็นได้ว่าคือการควบคุมทางปัญญา แม้ว่าผมจะไม่สามารถไขรหัสความหมายเหล่านั้นได้ มันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับผมที่จะคิดว่าสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดเป็นเพียงอุบัติเหตุ ความรู้สึกที่ทวีขึ้นอย่างมั่นคงในตัวผมก็คือผมเป็นบุคคลแรกที่ได้ยินการปฏิสันถารของดาวเคราะห์หนึ่งสู่ดาวเคราะห์อื่น
ทฤษฎีของเทสลาได้รับการสนับสนุนโดยลอร์ดเคลวิน ผู้ซึ่งไปเยือนสหรัฐอเมริกาในปี 1902 มีรายงานถึงคำพูดของเขาว่าเขาคิดว่าเทสลาจับสัญญาณของชาวดาวอังคารที่ส่งมายังสหรัฐอเมริกาไว้ได้ เคลวินปฏิเสธ "อย่างหนักแน่น" ในรายงานฉบับนี้ไม่นานก่อนการเดินทางออกจากอเมริกา เขากล่าวว่า "อะไรที่ผมพูดไปจริง ๆ ก็คือ ชนชาวดาวอังคาร ถ้าพวกเขามีอยู่ ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคงเห็นนิวยอร์ก เพราะไฟฟ้าจะเรืองแสงออกมาจนเห็นได้ชัด"
ในบทความของนิวยอร์กไทมส์ ในปี 1901 เอ็ดเวิร์ด ชาลส์ พิกเคอริง ผู้อำนวยการหอดูดาววิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า พวกเขาได้รับโทรเลขจากหอดูดาวโลเวลล์ในรัฐแอริโซนาที่ดูเหมือนจะยืนยันว่าดาวอังคารได้พยายามติดต่อสื่อสารกับโลก
ในต้นเดือนธันวาคมปี 1900 เราได้รับโทรเลขจากหอดูดาวโลเวลล์ในแอริโซนาว่าเห็นลำของแสงฉายส่งออกจากดาวอังคาร (หอดูดาวโลเวลล์มีความชำนาญเป็นพิเศษเรื่องดาวอังคาร) เป็นเวลาเจ็ดสิบนาที ผมส่งต่อข้อเท็จจริงนี้ไปยังยุโรปและส่งสำเนาจัดรูปแบบใหม่อีกหลายชุดไปทั่วประเทศ ผู้สังเกตพบเป็นบุคคลที่ละเอียดถี่ถ้วน เชื่อถือได้ และเขาก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะสงสัยว่าแสงนั่นมีอยู่จริง มันส่งมาจากจุดทางภูมิศาสตร์ที่รู้จักกันดีบนดาวอังคาร นั่นแหละคือทั้งหมด ตอนนี้เรื่องได้ไปทั่วโลกแล้ว ในยุโรปก็มีการกล่าวกันว่าฉันก็มีการติดต่อสื่อสารกับดาวอังคาร และเรื่องพิสดารเกินจริงสารพัดอย่างก็พุ่งพรวด ไม่ว่าแสงนั่นจะเป็นอะไร พวกเราไม่มีทางล่วงรู้ ไม่ว่านั่นจะทรงปัญญาหรือไม่ ใครก็ตอบไม่ได้ มันเป็นเรื่องที่อธิบายไม่ได้โดยแท้
ต่อมาภายหลังพิกเคอริงได้เสนอให้มีการก่อสร้างชุดกระจกเงาจำนวนมากในรัฐเท็กซัสโดยมุ่งหมายเพื่อส่งสัญญาณถึงชาวดาวอังคาร
ในทศวรรษที่ผ่านมา แผนที่พื้นผิวดาวอังคารความละเอียดสูงได้สำเร็จสมบูรณ์โดยมาร์สโกลบอลเซอร์เวเยอร์ เปิดเผยให้เห็นว่าไม่มีสิ่งประดิษฐ์แปลกปลอมใด ๆ เลยที่แสดงว่ามีสิ่งมีชีวิตที่ "ทรงปัญญา" อยู่อาศัย แต่การนึกฝันในแบบวิทยาศาสตร์เทียมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาบนดาวอังคารยังดำเนินต่อไปจากเหล่านักวิจารณ์ เช่น ริชาร์ด ซี. ฮอกแลนด์ การโต้แย้งเรื่อง คานาลี ดั้งเดิม การคาดฝันบางเรื่องวางอยู่บนลักษณะภูมิประเทศเล็ก ๆ ที่เห็นรายละเอียดไม่ชัดแต่นึกคิดเอาผ่านภาพที่ได้จากยานอวกาศ อย่างเช่น 'พีระมิด' และ 'ใบหน้าบนดาวอังคาร' นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ คาร์ล เซแกน เขียนไว้ว่า
ดาวอังคารกลายมาเป็นสมรภูมิแห่งเทพนิยายชนิดหนึ่งที่พวกเราชาวโลกได้ฉายออกมาซึ่งความหวังและความกลัว
การพรรณนาเรื่องดาวอังคารในนิยายได้รับการกระตุ้นเสริมด้วยโทนสีแดงเร้าอารมณ์ ผนวกกับการคาดเดาตามแบบวิทยาศาสตร์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้าว่าภาวะการณ์ต่าง ๆ บนพื้นผิวดาวจะต้องเกื้อหนุนไม่เฉพาะชีวิตเท่านั้นแต่ยังเป็นสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาอีกด้วย นำไปสู่การสร้างสรรค์งานในฐานบทดำเนินเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์จำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือเรื่อง เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส ของ เอช. จี. เวลส์ ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1898 มีเนื้อหาว่าชาวดาวอังคารพยายามหลบหนีออกจากดาวเคราะห์ใกล้ตายของพวกเขาโดยการมารุกรานโลก ต่อมาภายหลังได้มีการทำเดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส ฉบับวิทยุในอเมริกา กระจายเสียงเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1938 โดยออร์สัน เวลส์ซึ่งแสดงในรูปการรายงานข่าวแบบสด และเป็นที่ลือกระฉ่อนขึ้นมาทันทีเพราะไปทำให้สาธารณชนเกิดการตื่นตระหนกเมื่อผู้ฟังจำนวนมากเข้าใจผิดไปว่าสิ่งที่พวกเขาได้ยินเป็นเรื่องจริง
งานที่มีอิทธิพลประกอบด้วย เดอะมาร์เชียนครอนิเคิลส์ ของ เรย์ แบรดบูรี ซึ่งมีเนื้อหาว่านักสำรวจมนุษย์ได้ทำลายอารยธรรมชาวดาวอังคารโดยบังเอิญ นิยายชุด บาร์ซูม ของเอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรห์ นวนิยายเรื่องเอาท์ออฟเดอะไซเลนต์แพลเน็ต ของซี. เอส. ลิวอิส ในปี 1938 และอีกหลายชิ้นงานของโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ก่อนหน้าช่วงกลางคริสต์ทศวรรษหกสิบ
โจนาธาน สวิฟท์ได้มีการอ้างอิงถึงดวงจันทร์บริวารของดาวอังคารซึ่งเป็นเวลาก่อนหน้าการค้นพบจริงโดยเอเสฟ ฮอลล์กว่า 150 ปี โดยบรรยายรายละเอียดลักษณะวงโคจรของดาวเหล่านั้นได้ใกล้เคียงเป็นเหตุเป็นผลในบทที่ 19 ในนวนิยายของเขาเรื่อง กัลลิเวอร์แทรฟเวลส์
มาร์วินเดอะมาร์เชียน เป็นตัวการ์ตูนลักษณะชาวดาวอังคารที่เฉลียวฉลาด เริ่มปรากฏในโทรทัศน์เมื่อปี 1948 ในฐานะตัวละครหนึ่งในการ์ตูนภาพเคลื่อนไหวเรื่องลูนีทูนส์ของวอร์เนอร์บราเธอร์ส และยังดำเนินต่อมาในฐานเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมนิยมจนปัจจุบัน
หลังจากยานอวกาศมาริเนอร์และไวกิงได้ส่งภาพดาวอังคารตามสภาพที่เป็นจริงมากมายกลับมา ว่าเป็นโลกที่แล้งร้าง ไร้ซึ่งชีวิตอย่างชัดแจ้ง และปราศจากคลองใด ๆ แนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับดาวอังคารก็ถูกโละทิ้ง นำมาสู่สมัยนิยมแห่งเรื่องราวการสร้างนิคมอยู่อาศัยของมนุษย์บนดาวอังคารแบบสอดคล้องเที่ยงตรงตามจริง เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดเรื่องหนึ่งในลักษณะนี้คือ มาร์สไตรโลจี ของคิม สแตนลีย์ โรบินสัน อย่างไรก็ตาม การคาดเดาแบบวิทยาศาสตร์เทียมเกี่ยวกับใบหน้าบนดาวอังคารตลอดจนจุดลึกลับน่าพิศวงอื่น ๆ ซึ่งยานสำรวจอวกาศจับภาพได้ว่าเป็นร่องรอยของอารยธรรมโบราณ ยังเป็นแนวทางยอดนิยมในบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาพยนตร์
== ดาวบริวาร ==
ดาวอังคารมีดาวบริวารค่อนข้างเล็กสองดวง ได้แก่ โฟบอส (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 22 กิโลเมตร) และ ดีมอส (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 กิโลเมตร) โดยมีวงโคจรใกล้กับดาวเคราะห์แม่ ทฤษฎีที่อธิบายว่าทั้งคู่เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับเอาไว้เป็นที่นิยมมายาวนาน แต่สำหรับกำเนิดที่มานั้นยังคลุมเครือ ดาวบริวารทั้งสองถูกค้นพบในปี 1877 โดยเอเสฟ ฮอลล์ ตั้งชื่อตามโฟบอส (ตระหนก/กลัว) และดีมอส (สยอง/น่าขนลุก) ซึ่งเป็นเทพในตำนานกรีก ร่วมไปกับเทพแอรีส เทพเจ้าแห่งสงครามบิดาของพวกเขา ชื่อดาวอังคารว่า "มาร์ส" นั้นคือชื่อเทพแอรีสตามแบบโรมัน ในกรีกปัจจุบัน ดาวอังคารยังคงใช้ชื่อตามอย่างโบราณว่า Ares (Aris: Άρης)
จากพื้นผิวดาวอังคาร การเคลื่อนที่ของโฟบอสและดีมอสจะปรากฏให้เห็นแตกต่างออกไปจากดวงจันทร์ โฟบอสจะขึ้นทางทิศตะวันตก ตกทางทิศตะวันออก และกลับมาขึ้นอีกครั้งในเวลาเพียง 11 ชั่วโมง ส่วนดีมอสซึ่งอยู่นอกวงโคจรพ้องคาบพอดี ระยะคาบการโคจรของดาวจึงไม่ตรงพอดีกับคาบการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์แม่ ดาวจะไม่ลอยค้างฟ้าในตำแหน่งเดิมแต่จะขึ้นตามปกติทางทิศตะวันออกอย่างช้า ๆ แม้ดีมอสจะมีคาบการโคจรราว 30 ชั่วโมง แต่ใช้เวลาถึง 2.7 วันระหว่างการขึ้นจนตกลับฟ้าไปสำหรับผู้สังเกตที่ศูนย์สูตร ซึ่งก็จะลับไปอย่างช้า ๆ คล้อยหลังการหมุนรอบตัวเองของดาวอังคาร
เนื่องจากวงโคจรของโฟบอสต่ำกว่าระดับความสูงพ้องคาบ แรงไทดัลจากดาวอังคารจึงดึงวงโคจรของดาวให้ต่ำลงไปเรื่อย ๆ ทีละน้อย อีกประมาณ 50 ล้านปีข้างหน้า เป็นไปได้ว่าโฟบอสอาจพุ่งเข้าชนกับดาวอังคารหรือไม่ก็แตกสลายออกกลายเป็นโครงสร้างวงแหวนรอบดาวเคราะห์
กำเนิดของดาวบริวารทั้งสองนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนัก การมีอัตราส่วนสะท้อนต่ำและมีองค์ประกอบแบบหินคอนไดรต์กลุ่มคาร์บอเนเชียสทำให้มีความคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยซึ่งช่วยสนับสนุนทฤษฎีการจับยึด วงโคจรที่ไม่เสถียรของโฟบอสเหมือนจะชี้ให้เห็นว่าเป็นการจับเอาไว้ที่ค่อนข้างใหม่ แต่ทั้งคู่มีวงโคจรที่กลมใกล้กับศูนย์สูตรซึ่งจัดว่าไม่ปกติสำหรับวัตถุที่ถูกจับไว้ได้และยังต้องการพลวัตการยึดจับที่สลับซับซ้อน การจับตัวพอกพูนขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นของประวัติศาสตร์ดาวอังคารยังเป็นกรณีที่ถือว่าเป็นไปได้ ถ้าหากว่าจะไม่นับรวมลักษณะองค์ประกอบของทั้งคู่ที่คล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยมากกว่าที่จะเหมือนกับดาวอังคารซึ่งยังต้องรอการยืนยัน
ความเป็นไปได้ในรูปแบบที่สามคือการมีวัตถุที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องหรือเป็นชนิดหนึ่งของการแตกกระจายออกมาจากการพุ่งชน หลักฐานหลายประการที่ได้มาค่อนข้างใหม่พบว่าโครงสร้างภายในของโฟบอสมีความพรุนสูง และชี้ว่าองค์ประกอบภายในส่วนใหญ่เป็นฟิลโลซิลิเกตและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ทราบว่ามีบนดาวอังคาร ทำให้ประเด็นการกำเนิดของโฟบอสว่ามาจากเศษวัตถุที่กระจายออกมาภายหลังการถูกพุ่งชนของดาวอังคารแล้วได้มารวมกันในวงโคจรรอบดาวแม่นั้นน่าเชื่อถือมากขึ้น คล้ายกันกับทฤษฎีกระแสหลักเรื่องการกำเนิดดวงจันทร์ของโลก อย่างไรก็ตาม ค่าสเปกตรัมของแสงที่มองเห็นได้ถึงช่วงใกล้อินฟราเรด (VNIR) ของดาวบริวารทั้งสองของดาวอังคารมีความคล้ายคลึงกับที่วัดได้จากแถบดาวเคราะห์น้อยด้านนอก และมีรายงานว่าสเปกตรัมรังสีอินฟราเรดของโฟบอสไม่สอดคล้องกับคอนไดรต์ไม่ว่าจะกลุ่มใด
ดาวอังคารอาจจะมีดาวบริวารอื่นนอกเหนือจากนี้แต่มีขนาดเล็กด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางราว 50 ถึง 100 เมตร และคาดว่ามีวงแหวนฝุ่นอยู่ระหว่างโฟบอสกับดีมอส
== ดูเพิ่ม ==
การตั้งนิคมบนดาวอังคาร
องค์ประกอบของดาวอังคาร
ปฏิทินแดเรียน—ระบบรักษาเวลา
ธรณีพลศาสตร์ดาวอังคาร
ธรณีวิทยาดาวอังคาร
สิ่งมีชีวิตต่างดาว
การสำรวจดาวอังคาร
รายชื่อแผนที่สี่มุมดาวอังคาร
รายชื่อหินบนดาวอังคาร
การไหลตามฤดูกาลของน้ำบนดาวอังคาร
การทำดาวอังคารให้คล้ายโลก
น้ำบนดาวอังคาร
ฮิโนะ เร
== หมายเหตุ ==
== อ้างอิง ==
นาซายืนยันการค้นพบน้ำที่เป็นของเหลวไหลบนพื้นผิวดาวอังคาร . สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน).สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Mars Exploration Program at NASA.gov
On Mars: Exploration of the Red Planet 1958–1978 (1984) by the NASA History Office
Google Mars, interactive maps of the planet
Geody Mars, mapping site that supports NASA World Wind, Celestia, and other applications
Mars Society, an international organization dedicated to the study, exploration, and settlement of Mars
Images
Mars images by NASA's Planetary Photojournal
Mars images by NASA's Mars Exploration Program
Mars images by Malin Space Science Systems
HiRISE image catalog by the University of Arizona
Anaglyphs from the Mars Rovers by Dual Moments
4 billion pixel panoramic view of Gale Crater at Wired.com (March 2013)
Panoramic views of Mars (Curiosity rover 1 and Curiosity rover 2)
Videos
Rotating color globe of Mars by the National Oceanic and Atmospheric Administration
Rotating geological globe of Mars by the United States Geological Survey
by The Science Channel (2012, 4:31)
Flight Into Mariner Valley by Arizona State University
Cartographic resources
Mars nomenclature and quadrangle maps with feature names by the United States Geological Survey
Geological map of Mars by the United States Geological Survey
Viking orbiter photomap by Eötvös Loránd University
Mars Global Surveyor topographical map by Eötvös Loránd University
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์หิน | thaiwikipedia | 672 |
ดาวเคราะห์น้อย | ดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า minor planet / planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ เซเรส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ เซเรสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป
ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู่
== ประวัติ ==
== อ้างอิง ==
วัตถุทางดาราศาสตร์ | thaiwikipedia | 673 |
ดาวพฤหัสบดี | ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวยักษ์
ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้
ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับการไต่สวน ดาวพฤหัสบดี หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง
== วงแหวนของดาวพฤหัสบดี ==
ดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์ แต่มีความเลือนลางและขนาดเล็กกว่า สามารถเห็นได้ในรังสีอินฟราเรดทั้งจากกล้องโทรทรรศน์ที่พื้นโลกและจากยานกาลิเลโอ
วงแหวนของดาวพฤหัสค่อนข้างมืด ซึ่งอาจประกอบด้วยเศษหินขนาดเล็ก และไม่พบน้ำแข็ง เหมือนที่พบในวงแหวนของดาวเสาร์ วัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวพฤหัสอาจไม่อยู่ในวงแหวนนาน เนื่องจากแรงเหวี่ยงที่เกิดจากบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าวงแหวนได้วัตถุเพิ่มเติมจากฝุ่นที่เกิดจากอุกกาบาตตกชนดาวบริวารวงใน ซึ่งเนื่องจากพลังงานมหาศาลจากแรงดึงดูดขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดี
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ | thaiwikipedia | 674 |
เดวิด ฮูม | เดวิด ฮูม (David Hume; เกิด เดวิด ฮูม (David Home); 26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น)
หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้วย. การจัด ฮูม ล็อก และ บาร์กลีย์ ไว้ด้วยกันเช่นนี้ แม้ว่าจะเป็นการจัดตามแบบดั้งเดิม แต่ก็นับว่าได้ละเลยอิทธิพลสำคัญ ๆ ที่ฮูมได้รับจากนักเขียนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) หลายคน เช่น ปิแยร์ เบย์ล และจากบุคคลสำคัญในแวดวงวิชาการที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) อีกหลายคนเช่น ไอแซก นิวตัน, แซมวล คลาร์ก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน และ จอเซฟ บัตเลอร์
== ชีวิตการงาน ==
ฮูมเกิดในเอดินบะระและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เดิมทีนั้นเขาคิดจะประกอบอาชีพด้านกฎหมาย แต่แล้วเขากลับบังเกิด "ความรังเกียจอันไม่อาจเอาชนะได้ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง จะยกเว้นก็แต่ความกวดขันในงานทางปรัชญาและความรู้ทั่วไป" (ตามคำของฮูมเอง)
ฮูมศึกษาด้วยตนเองในฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาได้เขียนความเรียงว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์จนเสร็จสมบูรณ์ ขณะนั้นฮูมมีอายุได้ 26 ปี แม้ว่านักวิชาการจำนวนมากในปัจจุบันจะเห็นว่าความเรียงฯ เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของฮูม อีกทั้งยังเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ปรัชญา แต่สารธารณชนในอังกฤษสมัยนั้นดูจะไม่คิดเช่นนั้น ฮูมถึงกับบรรยายปฏิกิริยาที่สาธารณชนมีต่อการตีพิมพ์ความเรียงฯ ในปี ค.ศ. 1739–40 ไว้ในข้อเขียนของเขาว่าหนังสือเล่มดังกล่าว "แท้งตั้งแต่อยู่บนแท่นพิมพ์"
หลังจากทำงานรับใช้บุคคลสำคัญทางการเมืองและการทหารหลายคนได้ราวสองสามปี ฮูมก็กลับไปทำงานค้นคว้าต่ออีกครั้ง เมื่อฮูมตัดสินใจได้ว่าปัญหาของความเรียงฯ มิได้อยู่ที่เนื้อหา หากแต่อยู่ที่ลีลาการประพันธ์ เขาจึงนำเนื้อหาบางส่วนในความเรียงฯ มาปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้สาธารณชนอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น แล้วตีพิมพ์ในชื่อ การไต่สวนถึงความเข้าใจของมนุษย์ ถึงแม้การไต่สวนฯ จะมิได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามก็ตาม แต่อย่างน้อยงานชิ้นนี้ก็ได้รับความนิยมมากกว่าความเรียงฯ
ฮูมพลาดโอกาสที่จะได้เป็นศาสตราจารย์ทางปรัชญาทั้งที่เอดินบะระและที่กลาสโกว์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะข้อกล่าวหาว่าฮูมไม่นับถือพระเป็นเจ้า และอาจเป็นเพราะการต่อต้านจากทอมัส เรด ผู้ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่วิพากษ์งานของฮูมอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ฮูมกำลังกวดขันกับงานทางปรัชญาของเขาอยู่นั้นเอง ฮูมก็ได้รับเกียรติทางวรรณกรรมทั้งในฐานะนักเขียนบทความและนักประวัติศาสตร์ กว่าที่งานของฮูมจะได้เป็นจุดสนใจของวงการปรัชญานั้น ก็เมื่ออิมมานูเอิล คานท์ นักปรัชญาคนสำคัญในยุคต่อมา ได้เขียนให้เกียรติฮูมในฐานะที่ได้ปลุกตนให้ตื่นจาก "การหลับใหลอยู่กับหลักความเชื่อ" (ราว ค.ศ. 1770)
== มรดกทางปรัชญาของฮูม ==
แม้งานของฮูมจะเขียนขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ตาม แต่งานเหล่านั้นยังคงมีความสำคัญในฐานะหัวข้อถกเถียงในวงการปรัชญาปัจจุบัน ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาเลยเมื่อเปรียบเทียบกับงานของนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน งานทางปรัชญาชิ้นสำคัญ ๆ ของฮูมอาจพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
ปัญหาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล
ปัญหาว่าด้วยการนิรนัย
ทฤษฎีความสืบเนื่องของตัวตน
การใช้เหตุผลเชิงปฏิบัติ : อุปกรณ์นิยมและสุญนิยม
ลัทธิปฏิสัจนิยมทางศีลธรรมและแรงจูงใจ
เจตจำนงเสรีกับลัทธิอนิยัตินิยม
ปัญหาว่าด้วยสิ่งที่เป็น-สิ่งที่ควร
อรรถประโยชน์นิยม
ปัญหาว่าด้วยปาฏิหาริย์
ข้อถกเถียงเรื่องการออกแบบโดยพระเป็นเจ้า
อนุรักษนิยมและทฤษฎีการเมือง
== ดูเพิ่ม ==
==อ้างอิง==
บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2254
ฮูม, เดวิด
บุคคลจากเอดินบะระ
นักปรัชญายุคเรืองปัญญา
นักปรัชญาการเมือง
บุคคลจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ | thaiwikipedia | 675 |
ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท | ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart, ; 27 มกราคม ค.ศ. 1756 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมทซาร์ทเกิดที่เมืองซัลทซ์บวร์ค เขามีงานประพันธ์เพลง 626 ชิ้นรวมทั้งอุปรากร (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวันนี และ ขลุ่ยวิเศษ ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้รับการนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย
== ประวัติ ==
=== วัยเด็ก (ค.ศ. 1756–1772) ===
โมทซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอพ็อลท์ โมทซาร์ท (ค.ศ. 1719–1787) รองคาเปลล์ไมสเตอร์ในราชสำนักเจ้าชายอัครมุขนายกแห่งซัลทซ์บวร์ค กับอันนา มารีอา แพร์เทิล (ค.ศ. 1720–1778) ว็อล์ฟกัง อามาเด (โมทซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart" ไม่เคยถูกเรียกว่า "อมาเดอุส" ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกผู้รับศีลล้างบาป โดยได้รับชื่อละตินว่า "Joannes Chrysostomus Wolfgangus Theophilus Mozart") ได้แสดงให้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรีตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีทักษะการฟังที่ยอดเยี่ยม และมีความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขา ให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขาตั้งแต่อายุห้าขวบ โมทซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และอัลเลโกร KV.3)
ระหว่าง ค.ศ. 1762–1766 เขาได้เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตกับบิดา (ซึ่งเป็นลูกจ้างของซีกิสมุนท์ ฟ็อน ชรัทเทินบัค เจ้าชายอัครมุขนายกแห่งซัลทซ์บวร์คในขณะนั้น) และมารีอา อันนา พี่สาวคนโต (มีชื่อเล่นว่า "นันเนิร์ล" เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1751) พวกเขาเปิดการแสดงในนครมิวนิกเป็นแห่งแรก ตามมาด้วยกรุงเวียนนา ก่อนที่จะออกเดินสายครั้งใหญ่ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่มิวนิก, เอาคส์บวร์ค, มันไฮม์, แฟรงก์เฟิร์ต, บรัสเซลส์, ปารีส, ลอนดอน, เดอะเฮก, อัมสเตอร์ดัม, ดีฌง, ลียง, เจนีวา และโลซาน) การแสดงของเขาประทับใจผู้ชมเป็นอย่างมาก และยังทำให้เขาได้พบกับแนวดนตรีใหม่ ๆ อีกด้วย เขาได้พบกับนักดนตรีสำคัญอย่างโยฮัน โชเบิร์ท ที่กรุงปารีส และโยฮัน คริสทีอัน บัค (บุตรชายคนรองของโยฮัน เซบัสทีอัน บัค) ที่กรุงลอนดอน
เมื่อ ค.ศ. 1767 โมทซาร์ทได้ประพันธ์อุปรากรเรื่องแรก ตั้งแต่อายุได้ 11 ปี ชื่อเรื่อง อพอลโลกับไฮยาซิน (K. 38) เป็นบันเทิงคดีภาษาละติน ที่แต่งให้เปิดแสดงโดยคณะนักเรียน ของโรงเรียนมัธยม ที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซัลทซ์บวร์ค เมื่อเขาเดินทางกลับถึงประเทศออสเตรีย เขาได้เดินทางไปยังกรุงวียนนาบ่อยครั้ง และได้แต่งอุปรากรสองเรื่องแรก ได้แก่ นายบาสเตียนกับนางบาสเตียน และ ผู้โง่เขลาจอมปลอม ตลอดช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1768 เมื่อมีอายุได้ 12 ปี
ในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้งจากอัครมุขนายกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงานโดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลีตั้งแต่ ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมทซาร์ทได้เดินทางไปอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับอุปรากร อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ งานแต่งงานของฟีกาโร, ดอน โจวันนี, โคซิฟันตุตเต, ขลุ่ยวิเศษ ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากความใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น
โชคไม่ดีที่ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 อัครมุขนายกซีกิสมุนท์ ฟ็อน ชรัทเทินบัค สิ้นพระชนม์ อัครมุขนายกฮีโรนีมุส ฟ็อน ค็อลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขา
=== รับใช้ราชสำนักซัลทซ์บวร์ค (ค.ศ. 1773–1781) ===
โมทซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยวและยังบังคับรูปแบบทางดนตรี ที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอัครมุขนายกเสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับโยเซ็ฟ ไฮเดิน ซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมาย และเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต
"ข้าต้องการพูดต่อหน้าพระเจ้า ในฐานะชายผู้ซื่อสัตย์ บุตรชายของท่านเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ข้าเคยรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักเป็นการส่วนตัวหรือรู้จักเพียงในนาม เขามีรสนิยม และนอกเหนือจากนั้น เป็นศาสตร์ทางการประพันธ์ดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"
ในจดหมายที่โยเซ็ฟ ไฮเดิน เขียนถึง เลโอพ็อลท์ โมทซาร์ท
"มีเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้จักเคล็ดลับที่จะทำให้ข้าหัวเราะ และสัมผัสจิตวิญญาณส่วนที่อยู่ลึกสุดของข้าเอง"
ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท กล่าวถึงโยเซ็ฟ ไฮเดิน
ใน ค.ศ. 1776 โมทซาร์ทมีอายุได้ 20 ปี และได้ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองซัลทซ์บวร์ค อย่างไรก็ดีเลอัครมุขนายกปฏิเสธไม่ให้บิดาของเขาไปด้วย และบังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต หลังจากการเตรียมการเป็นเวลาหนึ่งปี โมทซาร์ทได้จากไปพร้อมกับมารดา โดยเดินทางไปยังนครมิวนิกเป็นแห่งแรก ที่ซึ่งเขาหาตำแหน่งงานไม่ได้ จากนั้นจึงไปที่เมืองเอาคส์บวร์ค และท้ายสุดที่มันไฮม์ ที่ซึ่งเขาได้ทำความรู้จักกับนักดนตรีมากมาย อย่างไรก็ดี แผนการที่จะหาตำแหน่งงานของเขาไม่เป็นผลสำเร็จ ในระหว่างนั้นเองที่เขาได้ตกหลุมรักอล็อยซีอา เวเบอร์ นักเต้นระบำแคนตาตาสาวอย่างหัวปักหัวปำ ที่ทำให้บิดาของเขาโกรธมาก และขอให้เขาอย่าลืมอาชีพนักดนตรี โมทซาร์ทมีหนี้สินล้นพ้นตัว เขาเริ่มเข้าใจว่าจะต้องออกหางานทำต่อไป และออกเดินทางไปยังกรุงปารีสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1778
=== เป็นอิสระที่กรุงเวียนนา (ค.ศ. 1782–1791) ===
ใน ค.ศ. 1781 โมทซาร์ทเดินทางไปยังกรุงเวียนนากับเจ้าชายอัครมุขนายก ฟ็อน ค็อลโลเรโด ผู้ได้เลิกจ้างโมทซาร์ทที่เวียนนา โมทซาร์ทจึงตั้งรากฐานอยู่ที่เวียนนา เมื่อเห็นว่าชนชั้นสูงเริ่มชอบใจในตัวเขา และในปีเดียวกันนั้น โมทซาร์ทได้แต่งงานกับค็อนสตันท์เซอ เวเบอร์ นักร้องโซปราโน (ซึ่งเป็นน้องสาวของอล็อยซีอา เวเบอร์ ซึ่งโมทซาร์ทเคยหลงรัก) โดยที่บิดาของโมทซาร์ทไม่เห็นด้วยกับงานวิวาห์นี้ โมทซาร์ทและค็อนสตันท์เซอมีลูกด้วยกันถึงหกคน ซึ่งเพียง 2 คนรอดพ้นวัยเด็ก
ค.ศ. 1782 เป็นปีที่ดีสำหรับโมทซาร์ท อุปรากรเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมทซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ตชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแชร์โตของเขาเอง
ระหว่าง ค.ศ. 1782–1783 โมทซาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของโยฮัน เซบัสทีอัน บัค และจอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล ผ่านบารอนก็อทฟรีท ฟัน สวีเทิน (Gottfried van Swieten) แนวเพลงของโมทซาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบาโรกตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ ขลุ่ยวิเศษ และ ซิมโฟนี หมายเลข 41
ในช่วงนี้เองโมทซาร์ทได้มารู้จักและสนิทสนมกับโยเซ็ฟ ไฮเดิน โดยทั้งสองมักจะเล่นในวงควอเท็ตด้วยกัน และโมทซาร์ทก็ยังเขียนควอเท็ตถึงหกชิ้นให้ไฮเดิน ไฮเดินเองก็ทึ่งในความสามารถของโมทซาร์ท และเมื่อได้พบกับลีโอโปลด์ พ่อของโมทซาร์ท ได้กล่าวกับเขาว่า "ต่อหน้าพระเจ้าและในฐานะคนที่ซื่อสัตย์ ลูกของท่านเป็นนักประพันธ์ที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้พบหรือได้ยิน เขามีรสนิยม และมากกว่านั้น เขามีความรู้เรื่องการประพันธ์" เมื่อโมทซาร์ทอายุมากขึ้น เขาก็ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเป็นพวกฟรีเมสันที่อยู่ในสาขาโรมันคาทอลิก อุปรากรเรื่องสุดท้ายของโมทซาร์ทแสดงถึงอิทธิพลพวกฟรีเมสัน
ชีวิตของโมทซาร์ทมักพบกับปัญหาทางการเงินและโรคภัยไข้เจ็บ โมทซาร์ทย่อมไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับงานของเขา และเงินที่เขาได้รับนั้นก็ถูกผลาญด้วยวิถีชีวิตที่หรูหราอลังการ
โมทซาร์ทใช้ชีวิตในช่วง ค.ศ. 1786 ที่กรุงเวียนนาในอะพาร์ตเมนต์ที่จนถึงวันนี้ยังสามารถเข้าชมได้ที่เลขที่ 5 ถนนด็อมกัสเซอ หลังมหาวิหารนักบุญสเทเฟน (St. Stephen's Cathedral) โมทซาร์ทประพันธ์ งานแต่งงานของฟีกาโร และ ดอน โจวันนี ณ ที่แห่งนี้
=== บั้นปลายชีวิต ===
บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมทซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมทซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กละน้อย และโมทซาร์ทรับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมทซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมทซาร์ท การเสียชีวิตของโมทซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ มรณบัตรของโมทซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะโรคไทฟอยด์ และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้มากขึ้น
โมทซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรควีเอ็มที่ยังประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าขาน โมทซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมทซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่น ๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมทซาร์ท
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ โมทซาร์ทไม่เป็นที่นิยมชมชอบอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เขายังคงมีงานที่มีรายได้ดีจากราชสำนัก และยังได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากจากส่วนอื่น ๆ ของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรุงปราก ยังมีจดหมายขอความช่วยเหลือทางการเงินของโมทซาร์ทหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าเขาจนเพราะรายจ่ายเกินรายรับ ศพของเขาไม่ได้ถูกฝังในหลุมฝังศพรวม แต่ในสุสานของชุมชนตามกฎหมายใน ค.ศ. 1783 แม้ว่าหลุมศพดั้งเดิมในสุสานเซนต์มาร์กจะหายไป แต่ก็มีป้ายหลุมศพที่ตั้งไว้เป็นอนุสรณ์สถานในเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ
ใน ค.ศ. 1809 ค็อนสตันท์เซอได้แต่งงานใหม่กับจอร์จ นีโคเลาส์ ฟอน นีสเสน นักการทูตชาวเดนมาร์ก (ค.ศ. 1761–1826) ผู้ซึ่งหลงใหลคลั่งใคล้ในตัวโมทซาร์ทอย่างมาก ถึงกับแต่งเรื่องราวเกินจริงจากจดหมายของโมทซาร์ท และแต่งชีวประวัติของคีตกวีเอกอีกด้วย
โมทซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยรัตนโกสินทร์
== ผลงานหลายๆชิ้น ==
=== แค็ตตาล็อกเคิชเชิล (Köchel catalogue) ===
ในปีภายหลังการเสียชีวิตของโมทซาร์ท ได้มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดเรียงบัญชีผลงานของโมทซาร์ท และเป็นลูทวิช ฟ็อน เคิชเชิล (Ludwig von Köchel) ที่ประสบความสำเร็จ และในปัจจุบันผลงานของโมทซาร์ทมักจะมีตัวเลขของเคิชเชิลติดกำกับอยู่ อย่างเช่น "เปียโนคอนแชร์โตในบันไดเสียงเอเมเจอร์" มักเรียกกันง่าย ๆ ว่า "K. 488" หรือ "KV 488" ได้มีการดัดแปลงแค็ตตาล็อกนี้เป็นจำนวน 6 ครั้งด้วยกัน
=== เพลงสวด ===
Grande messe en ut mineur KV.427 (1782-83, เวียนนา), แต่งไม่จบ
Krönungsmesse (พิธีมิสซาเพื่อขึ้นครองราชย์) en ut majeur KV.317 (1779)
Requiem en ré mineur KV.626 (1791, เวียนนา), แต่งไม่จบ
Veni sancte spiritus KV.47
Waisenhaus-Messe KV.139
Ave verum corpus KV.618
=== ละครเพลง ===
Die Schuldigkeit des ersten Gebotes (ความผูกมัดของบัญญัติข้อที่หนึ่ง, KV 35, 1767, ซัลทซ์บวร์ค)
Apollo et Hyacinthus (อพอลโลและไฮยาซินท์, KV 38, 1767, ซัลทซ์บวร์ค)
Bastien und Bastienne (นายบาสเตียนและนางบาสเตียน, KV 50, 1768, เบอร์ลิน)
La finta semplice (ผู้โง่เขลาจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)
Mitridate, re di Ponto (ไมทริตาตี ราชาแห่งปอนตุส, KV 87, 1770, มิลาน)
Ascanio in Alba (อัสคานิโอในอัลบา, KV 111, 1771, มิลาน)
Il sogno di Scipione (ฝันของสคิปิโอเน่, KV 126, 1772, ซัลทซ์บวร์ค)
Lucio Silla (ลูชิโอ ซิลล่า, KV 135, 1772, มิลาน)
La finta giardiniera (คนสวนจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)
Il re pastore (ราชาแห่งท้องทุ่ง, KV 208, 1775, ซัลทซ์บวร์ค)
Thamos, König in Ägypten (ธามอส ราชาแห่งอียิปต์, KV 345, 1776, ซัลทซ์บวร์ค)
Zaide (ไซเดอ, KV 344, แต่งไม่จบ)
Idomeneo (อิโดเมเนโอ ราชาแห่งครีต, KV 366, 1781, มิวนิก)
Die Entführung aus dem Serail (การลักพาตัวจากฮาเร็ม, KV 384, 1782, เวียนนา)
L'oca del Cairo (ห่านแห่งไคโร, KV 422, แต่งไม่จบ)
Lo sposo deluso (บ่าวผู้ถูกลวง, KV 430, แต่งไม่จบ)
Der Schauspieldirektor (ผู้กำกับการแสดง, KV 486, 1786, เวียนนา)
Le nozze di Figaro (งานแต่งงานของฟีกาโร, KV 492, 1786, เวียนนา)
Don Giovanni (ดอน โจวันนี, KV 527, 1787, ปราก)
Così fan tutte (โคซิฟันตุตเต, KV 588, 1790, เวียนนา)
La Clemenza di Tito (ความเมตตาของติโต, KV 621, 1791, ปราก)
Die Zauberflöte (ขลุ่ยวิเศษ, KV 620, 1791, เวียนนา)
=== ซิมโฟนี ===
Symphonie en fa majeur KV.75
Symphonie en fa majeur KV.76
Symphonie en fa majeur KV.Anh.223
Symphonie en ré majeur KV.81
Symphonie en ré majeur KV.95
Symphonie en ré majeur KV.97
Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.214
Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.216
Symphonie en sol majeur «Old Lambach» (2e édition) KV.Anh.221
Symphonie en ut majeur KV.96
Symphonie No 1 en mi b majeur KV.16 (1764-1765)
Symphonie No 4 en ré majeur KV.19
Symphonie No 5 en si bémol majeur KV.22
Symphonie No 6 en fa majeur KV.43
Symphonie No 7 en ré majeur KV.45
Symphonie No 8 en ré majeur KV.48
Symphonie No 9 en ut majeur KV.73
Symphonie No 10 en sol majeur KV.74
Symphonie No 11 en ré majeur KV.84
Symphonie No 12 en sol majeur KV.110
Symphonie No 13 en fa majeur KV.112
Symphonie No 14 en la majeur KV.114
Symphonie No 15 en sol majeur KV.124
Symphonie No 16 en ut majeur KV.128
Symphonie No 17 en sol majeur KV.129
Symphonie No 18 en fa majeur KV.130 (1772)
Symphonie No 19 en mi bémol majeur KV.132
Symphonie No 20 en ré majeur KV.133
Symphonie No 21 en la majeur KV.134 (1772)
Symphonie No 22 en do majeur KV.162 (1773)
Symphonie No 23 en ré majeur KV.181
Symphonie No 24 en si bémol majeur KV.182
Symphonie No 25 en sol mineur KV.183 (1773, Salzbourg)
Symphonie No 26 en mi bémol majeur KV.184
Symphonie No 27 en sol majeur KV.199
Symphonie No 28 en ut majeur KV.200
Symphonie No 29 en la majeur KV.201 (1774)
Symphonie No 30 en ré majeur KV.202
Symphonie No 31 en ré majeur «Paris» KV.297
Symphonie No 32 en sol majeur KV.318
Symphonie No 33 en ré bémol majeur KV.319
Symphonie No 34 en ut majeur KV.338
Symphonie No 35 en ré majeur «Haffner» KV.385 (1782)
Symphonie No 36 en ut majeur «Linz» KV.425
Symphonie No 38 en ré majeur «Prague» KV.504 (1786, Vienne)
Symphonie No 39 en mi bémol majeur KV.543 (1788, Vienne)
Symphonie No 40 en sol mineur KV.550 (1788, Vienne)
Symphonie No 41 en do majeur «Jupiter» KV.551 (1788, Vienne)
=== คอนแชร์โต ===
Concertos pour flûte N°1 et 2 KV. 313 et 314 (1778, Mannheim)
Concerto pour flûte et harpe en do majeur KV.299 (1778, Paris)
Concerto pour cor No 1 en ré KV.412 (1782)
Concerto pour cor No 2 en mi dièse KV.417 (1783)
Concerto pour cor No 3 en mi bémol KV.447 (1783-1787)
Concerto pour clarinette en la majeur KV.622 (1791, Vienne)
Concerto pour basson en si bémol KV.191 (1774)
Concerto pour violon et orchestre No 1 en si bémol majeur KV.207
Concerto pour violon et orchestre No 3 en sol majeur KV.216
Concerto pour violon et orchestre No 5 en la majeur KV.219
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 1 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 37
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 2 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 39
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 3 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 40
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 4 บันไดเสียง จี เมเจอร์ KV 41
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 5 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 175
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 6 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 238
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนสามตัวและวงออร์เคสตรา หมายเลข 7 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 242
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 8 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (Lützow) KV 246
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 9 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ (Jeunehomme) KV 271
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนสองตัวและวงออร์เคสตรา หมายเลข 10 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ KV 365
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 11 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 413
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 12 บันไดเสียง เอ เมเจอร์ KV 414
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 13 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ KV 415
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 14 บันไดเสียง อี เมเจอร์ KV 449
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 15 บันไดเสียง บี เมเจอร์ KV 450
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 16 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 451
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 17 บันไดเสียง จี เมเจอร์ KV 453
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 18 บันไดเสียง บี เมเจอร์ KV 456
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 19 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 459
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 20 บันไดเสียง ดี ไมเนอร์ KV 466
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 21 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (Elvira Madigan) KV 467
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 22 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ KV 482
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 23 บันไดเสียง เอ เมเจอร์ KV 488
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 24 บันไดเสียง ซี ไมเนอร์ KV 491
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 25 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ KV 503
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 26 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ (Coronation) KV 537
คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 27 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 595
=== แชมเบอร์มิวสิก ===
Sonate pour violon et piano en ut majeur KV.296
Quatuors dédiés à Haydn :
* Quatuor en sol majeur KV.387 (1782, Vienne)
* Quatuor en ré mineur KV.421 (1783, Vienne)
* Quatuor en mi bémol majeur KV.428 (1783, Vienne)
* Quatuor en si bémol majeur «la chasse» KV.458 (1784, Vienne)
* Quatuor en la majeur KV.464 (1785, Vienne)
* Quatuor en do majeur «les dissonances» KV.465 (1785, Vienne)
Quatuors avec piano :
* Quatuor avec piano n°1 en sol mineur KV.478 (1785)
* Quatuor avec piano n°2 en mi bémol majeur KV.493 (1786)
Trio «Les Quilles» en mi bémol majeur pour piano, clarinette, et violon KV.498 (1786, Vienne)
Quintette avec clarinette en la majeur KV.581 (1789, Vienne)
Sérénade : Une petite musique de nuit KV.525 (1787, Vienne)
== สื่อ ==
Orchestral
Vocal
Piano
== อื่น ๆ ==
ภาพยนตร์เรื่อง อมาเดอุส'' (ค.ศ. 1984) โดยมิโลช โฟร์มัน นำเสนอเรื่องราวความรักของโมทซาร์ท ซึ่งออกจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
แคตตาล็อกเพลงโมทซาร์ทฉบับสมบูรณ์ (ภาษาฝรั่งเศส)
Musicologie.org (ภาษาฝรั่งเศส)
Projet Mutopia: โน้ตแผ่น (ภาษาอังกฤษ)
Compact Mozart biography - at mozartones.com
โมทซาร์ทกับความเงียบ (ภาษาฝรั่งเศส)
== ดูเพิ่ม ==
ดนตรีคลาสสิก
== อ้างอิง ==
Barry, Barbara R (2000). The Philosopher's Stone: Essays in the Transformation of Musical Structure. Hillsdale, New York: Pendragon Press. ISBN 1-57647-010-5. OCLC 466918491.
Deutsch, Otto Erich (1965). Mozart: A Documentary Biography. Peter Branscombe, Eric Blom, Jeremy Noble (trans.). Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0233-1. OCLC 8991008.
Einstein, Alfred (1965). Mozart: His Character, His Work. Galaxy Book 162. Arthur Mendel, Nathan Broder (trans.) (6th ed.). New York City: Oxford University Press. ISBN 0-304-92483-0. OCLC 456644858. ดิด บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2299 นักดนตรีคลาสสิก คีตกวีชาวออสเตรีย
นักเปียโนชาวออสเตรีย
นักออร์แกน นักไวโอลิน บุคคลจากซัลทซ์บวร์ค | thaiwikipedia | 676 |
ดาวบริวาร | ดาวบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง
== ดาวบริวารในระบบสุริยะ ==
นอกจากดาวบริวารของดาวเคราะห์แต่ละดวง ยังมีดาวบริวารของดาวเคราะห์น้อยอีกมากกว่า 80 ดวงด้วย
==อ้างอิง==
วัตถุทางดาราศาสตร์
ดาวบริวาร | thaiwikipedia | 677 |
เรอเน เดการ์ต | เรอเน เดการ์ต (René Descartes) เป็นนักปรัชญา และนักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในต้นยุคสมัยใหม่ของอารยธรรมตะวันตก โดยนอกจากจะเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่แล้ว เดการ์ตยังเป็นผู้บุกเบิกวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ โดยเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัสต่อมา
เดการ์ตได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18
== ประวัติ ==
เดการ์ตเกิดที่ประเทศฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1619(พ.ศ. 2162)เขาได้เดินทางไปยังประเทศเยอรมนีและในวันที่ 10 พฤศจิกายน ในปีนี้เองที่เขาได้มองเห็นแนวคิดใหมของคณิตศาสตร์และระบบทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นในปี ค.ศ. 1622 เขาได้เดินทางกลับไปยังฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1627 เดการ์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ยึดเมืองลาโรแชล (La Rochelle) ที่นำโดยบาทหลวงรีชลีเยอ (Richelieu)
เรอเน เดการ์ตเสียชีวิตเนื่องจากปอดบวมในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1650 (พ.ศ. 2193) ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เนื่องจากเขาเป็นชาวแคทอลิกในประเทศโปรเตสแตนต์ ศพของเขาจึงถูกฝังที่สุสานสำหรับทารกที่ไม่ได้ผ่านพิธีรับศีล หลังจากนั้นศพของเขาบางส่วนถูกนำไปประกอบพิธีที่ฝรั่งเศส และในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสศพของเขาก็ถูกย้ายไปฝังที่พาเทนอลในปารีส ร่วมกับนักคิดชาวฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ท่านอื่น ๆ เมืองเกิดของเขาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น La Haye - Descartes
== ผลงานที่สำคัญ ==
เดการ์ตได้รับการยกย่องว่าเป็นนักคิด "แห่งยุคสมัยใหม่" คนแรก เนื่องจากเป็นผู้วางรากฐานทางปรัชญาให้กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ในหนังสือ การครุ่นคิดเกี่ยวกับปรัชญาที่หนึ่ง (Meditations on First Philosophy) เดการ์ตพยายามหากลุ่มของหลักการที่สามารถเชื่อถือได้ว่าจริง โดยปราศจากข้อสงสัย เขาได้ใช้วิธีการที่เรียกว่า กังขาคติเชิงวิธีวิทยา (Methodological Skepticism) กล่าวคือ เขาจะสงสัยกับทุก ๆ ความคิดที่สามารถจะสงสัยได้
เขายกตัวอย่างของการฝัน:
เดการ์ตพบความเป็นไปได้เพียงข้อเดียว:
(คำพูดนี้ไม่ได้ถูกเขียนไว้ใน การครุ่นคิด แต่เขาได้เขียนไว้ในงานชิ้นก่อน Discourse on Method)
ดังนั้น เขาจึงสรุปว่าเขาสามารถแน่ใจได้ว่าเขามีอยู่จริง แต่คำถามก็คือเขานั้นมีอยู่ในรูปแบบใด? การที่ประสาทสัมผัสบอกว่าเรามีร่างกายอยู่นั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่จริงแท้ดังที่เขาได้พิสูจน์มาแล้ว เดการ์ตส์สรุปที่จุดนี้ว่า เขาสามารถกล่าวได้แค่ว่าเขาเป็น 'อะไรบางสิ่งที่กำลังคิด' เท่านั้น การกำลังคิดนั้นเป็นแก่นสารที่แท้ของเขา เนื่องจากว่าเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่อยู่เหนือการสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น
เขาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อแสดงขีดจำกัดของประสาทสัมผัส โดยยกตัวอย่างของขี้ผึ้ง เขาพิจารณาชิ้นขี้ผึ้งชิ้นหนึ่ง ประสาทสัมผัสของเขาบอกให้ทราบถึงลักษณะต่าง ๆ ของขี้ผึ้งก้อนนั้น เช่นรูปร่าง ผิว ขนาด สี กลิ่น และอื่น ๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเขานำขี้ผึ้งนั้นเข้าใกล้ไฟ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แต่ก้อนขี้ผึ้งก้อนนี้อย่างไรก็เป็นก้อนเดิม แต่ว่าประสาทสัมผัสของเขานั้นบอกว่าลักษณะของมันไม่เหมือนเดิมแล้ว ดังนั้นการจะเข้าใจธรรมชาติของขี้ผึ้งได้นั้น เขาไม่สามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ เขาจะต้องใช้จิต เขาสรุปว่า:
เขาใช้วิธีในลักษณะนี้ในการสร้างระบบความรู้ โดยละทิ้งสัญชาน (ข้อมูลที่ได้จากการรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า) เนื่องจากเชื่อถือไม่ได้ และยอมรับความรู้ที่สร้างผ่านทางการนิรนัยเท่านั้น ในช่วงกลางของ การครุ่นคิด เขายังได้อ้างว่าได้พิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าที่มีเจตนาดี ผู้มอบจิตที่สามารถทำงานได้ให้กับเขารวมถึงระบบรับรู้ และจะไม่หลอกลวงเขา ดังนั้นเขาจึงสามารถแสดงความเป็นไปได้ในการสร้างความรู้เกี่ยวกับโลก โดยใช้การนิรนัย ร่วมกับ ข้อมูลที่ได้จากการรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
นักคณิตศาสตร์ยกย่องเดการ์ตจากการค้นพบเรขาคณิตวิเคราะห์ ในยุคสมัยของเดการ์ตนั้น เรขาคณิตซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเส้นและรูปร่าง กับพีชคณิตที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวเลข ถูกจัดว่าเป็นสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เดการ์ตส์แสดงวิธีการแปลงปัญหาในเรขาคณิตมากมาย ให้เป็นปัญหาทางพีชคณิต โดยใช้ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนในการอธิบายปัญหา
ทฤษฎีของเดการ์ตเป็นพื้นฐานของแคลคูลัสของนิวตันและไลบ์นิซ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ทั้ง ๆ ที่งานในส่วนนี้เดการ์ตตั้งใจจะใช้เพื่อเป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ในหนังสือ Discourse on Method เท่านั้น
== ผลงานเขียน ==
Discourse on Method (ค.ศ. 1637, พ.ศ. 2180) : เขียนด้วยภาษาฝรั่งเศส
La Géométrie (ค.ศ. 1637, พ.ศ. 2180)
การครุ่นคิดทางปรัชญาที่หนึ่ง (Meditations on First Philosophy) (ค.ศ. 1641, พ.ศ. 2184) , หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า 'Metaphysic meditations' เป็นงานเขียนด้วยภาษาละติน
Les Principes de la philosophie (ค.ศ. 1644, พ.ศ. 2187) งานที่เขียนสำหรับนักเรียน
== ดูเพิ่ม ==
บารุค สปิโนซา
ความสัมพันธ์แบบทวิภาค (Dualistic interactionism)
ดาวเคราะห์น้อย 3587 เดการ์ต (3587 Descartes )
Defect (geometry)
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Discourse On the Method - ที่ Project Gutenberg
Selections from the Principles of Philosophy - ที่ Project Gutenberg
นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยไลเดิน
บุคคลจากจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ | thaiwikipedia | 678 |
คาร์บอนไดออกไซด์ | คาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมาก ๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ เนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน
คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O=C=O) หรือ CO2 น้ำหนักโมเลกุล 44.01 ไม่ติดไฟและไม่ทำปฏิกิริยา
คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง หรือ solid carbon dioxide เตรียมได้จากการนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านกระบวนการอัดและทำให้เย็นลงภายใต้ความดันสูงกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว แล้วลดความดันลงอย่างรวดเร็วโดยการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวสู่ความดันบรรยากาศ ผลที่ได้คือเกล็ดน้ำแข็งคล้ายเกล็ดหิมะแล้วจึงนำมาอัดเป็นรูป
คาร์บอนไดออกไซด์จะกลายเป็นของแข็งที่มีสีขาวอุณหภูมิ -78 องศาเซลเซียส โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน หากต้องการทำให้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเหลว ต้องใช้ความดันไม่น้อยกว่า 5.1 บรรยากาศ
คาร์บอนไดออกไซด์สามารถละลายน้ำได้ 1 เปอร์เซนต์ของสารละลายนั้นจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิกซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็นไบคาร์บอเนตและคาร์บอเนตในภายหลัง
การทดสอบแก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. นำธูปที่ติดไฟอยู่เข้าไปในหลอดทดลองที่มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ ไฟจะดับ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ช่วยในการติดไฟของสาร จึงนำมาใช้เป็นก๊าซดับเพลิงได้
2. ผ่านแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปในน้ำปูนใส (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) น้ำปูนใสจะขุ่น เนื่องจากเกิดแคลเซียมคาบอเนตเกิดขึ้น
==ประโยชน์ของน้ำแข็งแห้ง==
ด้านอุตสาหกรรม
การบดเย็น (Cold Grinding) น้ำแข็งแห้งช่วยบดวัสดุสังเคราะห์ที่แตกยาก เช่น Plexiglas, PVC , Resin , Epoxy , ABS , Polypropylene , Vinyl และอื่น ๆ ด้วยการทำให้เย็นจัดบดแตกได้ง่าย
การลดอุณหภูมิ (Low Temperature Refrigerant) ในอุตสาหกรรมเคมีและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำแข็งแห้งเป็นตัวทำความเย็นต่ำที่หาได้ง่ายและใช้งานอย่างกว้างขวางในห้องปฏิบัติการ โรงงานนำร่อง ตู้ทดสอบอุณหภูมิต่ำทุกชนิด สายพานการผลิต และการประกอบชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกซ์
การให้ความเย็นและก๊าซเฉื่อย (Inerting and Cooling) การใส่น้ำแข็งแห้งลงในถังผสมสารเคมี นอกจากจะช่วยให้เกิดความเย็นแล้วยังสามารถช่วยปกคลุมสารเคมี มิให้เกิดปฏิกิริยาในถัง
ด้านการขนส่ง
บรรจุน้ำ แข็งแห้งน้ำหนักเบาไว้ในตู้คอนเทนเนอร์เพื่อป้องกันอาหารพวกเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ ผัก ผลไม้ หรืออาหารทะเลมิให้เน่าเสียระหว่างการขนส่ง
และประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น
ในอุตสาหกรรมอาหารประเภทไอศกรีม นม เบเกอรี่ ไส้กรอก และเนื้อสัตว์ เพื่อถนอมอาหารในขั้นตอนการผลิตหรือในการขนส่งหรือเก็บอาหารสำหรับเสิร์ฟบนเครื่อง
บิน
คาร์บอนไดออกไซด์ยังใช้สำหรับการผลิตน้ำอัดลมหรือโซดา และยังมีผสมในเบียร์ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เบียร์บางยี่ห้อได้มีการใส่คาร์บอนไดออกไซด์โดยเจตนาด้วย
==ข้อควรระวังจากการใช้น้ำแข็งแห้ง==
หากจับต้องน้ำแข้งแห้งด้วยมือเปล่าหรือสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงก็จะทำให้ผิวหนังไหม้ได้จากความเย็นจัด ( frost – bite ) ได้น้ำแข็งถือว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดหนึ่ง
ซึ่งเกิดจากการบรรจุน้ำแข็งแห้งในภาชนะปิดสนิทไม่มีช่องระบายอาจทำให้เกิดการสะสมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมา เมือถึงระดับหนึ่งจะเกิดแรงดันและระเบิดในที่สุด ดังนั้นในการขนส่งน้ำแข็งแห้งปริมาณมาก ๆ จะต้องเก็บในภาชนะบรรจุน้ำแข็งโดยเฉพาะที่มีช่องระบายอากาศ นอกจากจะเป็นการป้องกันการระเบิดแล้วยังช่วยลดอัตราการระเหิดของน้ำแข็งได้
การเก็บน้ำแข็งแห้งปริมาณมาก ๆในห้องแคบ ๆ หรือห้องเพดานต่ำที่การระบายอากาศไม่ดีพอ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมาแทนที่ออกซิเจนที่ทำให้ขาดอากาศหายใจได้
==การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากอันตรายของน้ำแข็งแห้ง==
กรณีถูกน้ำแข็งแห้งกัดให้ล้างมือทันทีด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมากและไปพบแพทย์
การรักษาภาวะได้รับคาร์บอนไดออกไซด์เกิน (ร่วมกับภาวะขาดออกซิเจน) ต้องนำผู้ป่วยออกจากสภาวะขาดอากาศ หรือบริเวณที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่มากออกมาให้เร็วที่สุดก่อน ตรวจดูทางเดินหายใจ ถ้าหมดสติและไม่หายใจแล้ว ต้องรีบทำการช่วยหายใจ หน่วยกู้ชีพอาจพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อรักษาชีวิต และรีบให้ออกซิเจนเสริมด้วยความรวดเร็ว จากนั้นรีบนำส่งพบแพทย์
==เกร็ดความรู้เพิ่มเติม==
เป็นที่รู้กันดีว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะหนักกว่าอากาศจึงมักจะลอยอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นหากจำเป็นต้องทำงานร่วมกับน้ำแข็งแห้ง ในพื้นที่แคบหรือพื้นที่กว้างที่ระบบถ่ายเทอากาศไม่สะดวก ควรมีการวางระบบระบายอากาศไว้บริเวณด้านล่างของพื้นที่ และถ้าในอากาศมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าร้อยละ 5 จะทำให้เกิดพิษได้
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Current global map of carbon dioxide concentration
CDC – NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards – Carbon Dioxide
Trends in Atmospheric Carbon Dioxide (NOAA)
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไร
Carbon Dioxide (CO2) Properties, Uses, Applications
สารเคมีในบ้าน
คาร์บอนไดออกไซด์
แก๊สเรือนกระจก
สารประกอบคาร์บอน
ออกไซด์ | thaiwikipedia | 679 |
วงโคจร | ในฟิสิกส์, วงโคจรเป็นเส้นทางโค้งแห่งแรงโน้มถ่วงของวัตถุรอบ ๆ จุดในอวกาศ, ตัวอย่างเช่นวงโคจรของดาวเคราะห์รอบจุดศูนย์กลางของระบบดาว, อย่างเช่นระบบสุริยะ วงโคจรของดาวเคราะห์มักจะเป็นวงรี วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี
ความเข้าใจในปัจจุบันในกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอแดสิค (geodesics) เพื่อความสะดวกในการคำนวณ สัมพัทธภาพจะเป็นค่าประมาณโดยทั่วไปของทฤษฎีพื้นฐานแห่งแรงโน้มถ่วงสากลตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเค็พเพลอร์
== ประวัติ ==
ในอดีตปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้มีความเข้าใจกันมาก่อนหน้าในเชิงเรขาคณิต (และโดยไม่คำนึงถึงแรงโน้มถ่วง) ในแง่ของ ทฤษฎีแอปปิไซเคิล (epicycles) ซึ่งเป็นผลรวมของการเคลื่อนที่เป็นวงกลมเป็นจำนวนมาก ทฤษฎีชนิดนี้คาดการณ์เส้นทางของดาวเคราะห์ได้ดีพอควร จนกระทั่ง โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ กฎข้อที่หนึ่งเค็พเพลอร์กล่าวไว้ว่า "ดาวเคราะห์โคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งโฟกัสของวงรี" แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่แท้แล้วมีการเคลื่อนที่เป็นวงรี (โดยประมาณเป็นอย่างน้อย)
ในแบบจำลองซึ่งมีโลกเป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ แบบจำลองทรงกลมท้องฟ้าถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ปรากฏของดาวเคราะห์ในท้องฟ้าในแง่ของทรงกลมที่สมบูรณ์แบบหรือวงแหวน ยังสามารถบอกตำแหน่งวัตถุบนท้องฟ้าอย่างถูกต้อง แต่หลังจากที่การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้ถูกวัดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น กลไกเชิงทฤษฎีเช่น deferent และ epicyclesได้ถูกเพิ่มเติมเข้าไป แม้ว่าจะมีความสามารถในการทำนายตำแหน่งดาวเคราะห์ในท้องฟ้าได้อย่างถูกต้อง, ทฏษฎี epicycles อย่างเช่น นิโคลัส โคเปอร์นิคัส นั้นมองว่ามันไม่สมเหตุสมผล เขาจึงริเริ่มแนวคิดเรื่องระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางHeliocentric ของอริสตาร์ชูส ขึ้นมาใหม่ ทฏษฎี epicycles นั้นจึงได้มีความจำเป็นเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป, และแบบจำลองก็กลายเป็นความเทอะทะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
พื้นฐานสำหรับการทำความเข้าใจในยุคสมัยใหม่เกี่ยวกับวงโคจรเป็นสูตรแรกที่คิดขึ้นโดยโยฮันเนิส เค็พเพลอร์ที่มีผลการสรุปในสามกฎของการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ประการแรกเขาพบว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราเป็นวงรี ไม่ได้เป็นวงกลม (หรือ epicyclic) ดังเช่นที่เคยเชื่อกัน และยังกล่าวว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ที่ศูนย์กลางของวงโคจร แต่อยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่ง ประการที่สอง เขาพบว่าความเร็วของการโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงไม่คงที่ดังที่เคยคิดไว้ก่อนหน้านี้ว่าเวลาที่ดาวเคราะห์ใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ คาบเวลาเท่ากันจะกวาดได้พื้นที่เท่ากัน แต่พบว่าความเร็วขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์ ประการที่สามเค็พเพลอร์พบความสัมพันธ์สากลระหว่างสมบัติการโคจรของดาวเคราะห์ทั้งหมดที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ สำหรับดาวเคราะห์, กำลังสามของระยะทางจากดวงอาทิตย์เป็นสัดส่วนกับกำลังสองของคาบการโคจรของมัน ยกตัวอย่างเช่น ดาวพฤหัสบดีและดาวศุกร์จะมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 5.2 และ 0.723 หน่วยดาราศาสตร์ (AU), มีคาบการโคจรประมาณ 11.86 ปี และ 0.615 ปี ตามลำดับ ความเป็นสัดส่วนกันนั้นจะเห็นได้โดยข้อเท็จจริงที่อัตราส่วนดังกล่าวสำหรับดาวพฤหัสบดีเป็น 5.23/11.862, สำหรับดาวศุกร์เป็น 0.7233/0.6152 สอดคล้องกับความสัมพันธ์กันตามกฏดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ดวงใดก็ตามประการที่ 3 นี้เรียกว่า “กฎฮาร์มอนิก” (Harmonic Law)
ไอแซก นิวตัน ได้แสดงให้เห็นว่ากฎของเค็พเพลอร์เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขาและกล่าวอีกว่า, โดยทั่วไปแล้ว วงโคจรของวัตถุอันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงคือภาคตัดกรวยถ้าแรงโน้มถ่วงถูกแพร่กระจายออกอย่างทันทีทันใด นิวตันแสดงให้เห็นว่าคู่ของวัตถุ, ขนาดวงโคจร, จะเป็นสัดส่วนผกผันกับมวลของมันเอง, วัตถุนั้นจะโคจรไปรอบๆของ ศูนย์กลางมวล (center of mass) ร่วมกัน เมื่อวัตถุหนึ่งที่มีขนาดของมวลมากกว่าขนาดของมวลอื่น ๆ มันจะเป็นการประมาณการที่สะดวกในการที่จะใช้เป็นศูนย์กลางของมวลนั้นที่มีความสอดคล้องต้องกันกับศูนย์กลางมวลของวัตถุที่มีขนาดมวลที่มีขนาดมากกว่า
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) สามารถที่จะแสดงให้เห็นได้ว่าแรงโน้มถ่วงนั้นเกิดจากความโค้งของกาล-อวกาศ (space-time)หรืออาจจะแปลว่าปริภูมิก็ได้ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีเชิงเรขาคณิตที่ถือหลักว่ามวลและพลังงานทำให้เกิดการโค้งงอของกาล-อวกาศ การโค้งนี้ส่งผลต่อเส้นทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคอิสระรวมทั้งแสง และเขาก็สามารถที่จะลบล้างสมมติฐานของนิวตันที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงแพร่กระจายตัวออกไปอย่างทันทีทันใดของแรงโน้มถ่วงลงได้อีกด้วย
== อ้างอิง ==
ดาราศาสตร์
ฟิสิกส์
กลศาสตร์ท้องฟ้า | thaiwikipedia | 680 |
สะเก็ดดาว | สะเก็ดดาว (meteoroid) คือ เศษวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น เมื่อสะเก็ดดาวเคลื่อนที่เข้าสู่บรรยากาศของโลก (หรือของดาวเคราะห์อื่น) ทำให้เกิดความร้อนและแสงสว่างมองเห็นเป็นดาวตก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าแสงสว่างนี้เกิดจากความเสียดทานระหว่างสะเก็ดดาวกับบรรยากาศ แต่ในความเป็นจริง กระบวนการหลักของการเกิดดาวตก คือ การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ของอนุภาคในบรรยากาศ หากสะเก็ดดาวมีขนาดใหญ่ วัตถุที่ตกลงถึงพื้นดิน เรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) สะเก็ดดาวที่ลุกไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศของโลกเรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ (meteor) ดาวตกที่สว่างมาก ๆ คือสว่างกว่าดาวศุกร์ อาจเรียกว่าลูกไฟ (fireball) สะเก็ดดาวจำนวนมากเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในฝนดาวตก บางชิ้นเล็กเกินไป พอตกลงมาถึงพื้นของโลกก็อาจเหลือแค่เศษเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งก็เศษของอุกกาบาต หรือชิ้นส่วน อุกกาบาตมีหลายชนิด เพราะว่าหินที่ลอยตัวกรือคลื่อนที่ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มีทั้งดวงจันทร์ ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร เป็นต้น บางทีอุกกาบาตบางชิ้นอาจจะยังไม่ชิ้นส่วนที่อยู่บนดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาลก็เป็นได้ ชึ่งหมายความว่ามันอาจจะเกิดก่อนโลกของเราอีกก็เป็นได้ บางชิ้นอาจจะโครจรมานานมาก เพียงแต่ว่ามันไม่ได้เข้ามาหลวมรวมตัวจับกลุ่มเป็นโครงสร้างของกระบวนการวัตถุธาตุ ได้แก่ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ชึ่งก่อเกำเนิดสิ่งมีชีวิต ชึ่งก็คือโลกของเรา หรืออุกกาบาตบางชิ้นอาจ ไปรวมตัวหรือมีมากในดาวดวงอื่น
== ดาวตกหรือผีพุ่งไต้ ==
ผีพุ่งไต้ คือ ปรากฏการณ์ของเทหวัตถุนอกบรรยากาศของโลกที่พุ่งมาสู่พื้นผิวของโลกด้วยแรงดึงดูด ผ่านชั้นของบรรยากาศที่หนาขึ้นไปประมาณ 100 กิโลเมตร จึงเกิดการเสียดสีจนลุกเป็นไฟสว่างวาบเป็น ทางไปในท้องฟ้า เรียกกันว่า ดาวตก (Meteor) หรือ ผีพุ่งไต้ ดาวตกจะวิ่งเข้ามาสู่บรรยากาศของโลกวันหนึ่งประมาณ 10,000 ล้านดวง ขนาดของดาวตกมีตั้งแต่ ชิ้นเล็กที่สุดที่เราสามารถถือไว้ในอุ้งมือได้ถึงพัน ๆ ดวงจนถึงมีขนาดใหญ่น้ำหนักเป็นตัน ๆ ความเร็วของ ดาวตกอยู่ระหว่าง 72 กิโลเมตรต่อวินาที และ 12 กิโลเมตรต่อวินาที สุดแต่ว่าดาวตกนั้นพุ่งตรงเข้าชนโลก หรือพุ่งแฉลบไป ดาวตกทุกดวงมิได้เป็นผีพุ่งไต้ (Shooting Star) เสมอไป ความสว่างของผีพุ่งไต้เกิดจากความร้อนที่ดาว ตกเหล่านั้นเสียดสีกับบรรยากาศจนร้อนถึงจุดติดไฟจึงเกิดมีแสงสว่างพุ่งเป็นทาง
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
สะเก็ดดาว | thaiwikipedia | 681 |
อุกกาบาต | อุกกาบาต (meteorite) คือ หินอวกาศที่ตกลงมาสู่ผิวโลกหรือผิวดาวเคราะห์แล้ว ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) หรือสะเก็ดดาว (Meteoriod) พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที เกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆ ลุกไหม้เป็นแสงสว่างเรียกว่า ดาวตก (Meteor) จวบจนลงถึงพื้นแล้วจึงเรียกอุกกาบาต อุกกาบาตขนาดเล็กคือหินอวกาศที่ถูกเผาไหม้จนเกือบหมด แต่สำหรับอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่นั้นคือหินอวกาศที่ไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกลงมาบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต (Crater)
ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้
C-type อุกกาบาตคาร์บอนมีสีคล้ำ มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอน
S-type อุกกาบาตหิน มีองค์ประกอบเป็นซิลิกา
M-type อุกกาบาตโลหะ มีองค์ประกอบเป็นเหล็กและนิเกิล
นอกจากอุกกาบาตจะเกิดขึ้นจากสะเก็ดดาวเคราะห์น้อยแล้ว ยังมีอุกกาบาตบนพื้นโลกที่มาจากดวงจันทร์และดาวอังคาร ซึ่งในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการค้นพบอุกกาบาต ALH84001 ซึ่งเป็นสะเก็ดของดาวอังคารที่ตกลงบนน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติก ใน 65 ล้านปีที่ผ่านมา อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลกที่ ซิคซูลูบ คาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก ทำให้ไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Meteoroids Page at NASA's Solar System exploration
Current meteorite news articles
Impact Meteor Crater Viewer Google Maps Page with Locations of Meteor Craters around the world
Planetary Science Research Discoveries: meteorite articles and photographs
Chronological listing of meteorites that have struck humans, animals and manmade objects
Interview with Guy Consolmagno at Astrobiology Magazine (May 12, 2004). Vatican astronomer Dr. Guy Consolmagno discussed his research as curator of one of the world's largest meteorite collections
The British and Irish Meteorite Society
Types of extraterrestrial material available for study
Largest meteorites
Meteorite Times, news and information about meteorite collecting
The Natural History Museum's meteorite catalogue database
Meteoritical Society
Earth Impact Database
อุกกาบาตผู้มาเยือนจากนอกโลก จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
อุกกาบาตคืออะไร
สะเก็ดดาว | thaiwikipedia | 682 |
ตารางกิโลเมตร | ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม. หรือสัญลักษณ์ กม.2 จากภาษาอังกฤษ km2
1 ตารางกิโลเมตร มีค่าเท่ากับ:
พื้นที่ของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แต่ละด้านยาว 1 กิโลเมตร
1,000,000 ตารางเมตร
100 เฮกตาร์
0.3861 ตารางไมล์
247.1 เอเคอร์
625 ไร่
ในทางกลับกัน:
1 ตารางเมตร = 0.000001 (10−6) ตารางกิโลเมตร
1 เฮกตาร์ = 0.01 (10−2) ตารางกิโลเมตร
1 ตารางไมล์ = 2.5899 ตารางกิโลเมตร
1 เอเคอร์ = ประมาณ 0.004047 ตารางกิโลเมตร
1 ไร่ = 0.0016 ตารางกิโลเมตร
== ดูเพิ่ม ==
เมตร
อันดับของขนาด (พื้นที่)
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Online Conversion - Area Conversion
หน่วยพื้นที่ระบบเมตริก
หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ | thaiwikipedia | 683 |
มหาสมุทรแปซิฟิก | มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) เป็นมหาสมุทรที่ใหญ่และลึกที่สุดในโลก มีอาณาเขตติดกับมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือและจรดทวีปแอนตาร์กติกาทางตอนใต้ ติดกับทวีปเอเชียและทวีปออสเตรเลียทางทิศตะวันตก ติดทวีปอเมริกาทางทิศตะวันออก
มหาสมุทรนี้มีพื้นที่กว่า 165,250,000 ตารางกิโลเมตรจึงกลายเป็นมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกครบคลุมพื้นที่ผิวโลกทั้งหมด 32% และคิดเป็น 46% ของพื้นผิวน้ำบนโลก นอกจากนี้มหาสมุทรแปซิฟิกยังมีขนาดมากกว่าพื้นดินทั้งหมดบนโลก (148,000,000 ตารางกิโลเมตร) รวมกันอีกด้วย จุดศูนย์กลางของซีกโลกแห่งน้ำและซีกโลกตะวันตกล้วนอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก กระแสน้ำในมหาสมุทร (ที่เป็นผลจากแรงคอริออลิส) ถูกแบ่งออกเป็นส่วนส่วนซึ่งจะมาพบกันใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทั้งนี้หมู่เกาะกาลาปาโกส หมู่เกาะกิลเบิร์ต และหมู่เกาะอื่น ๆ ที่คร่อมเส้นศูนย์สูตรทั้งหมดถือว่าอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้
มหาสมุทรแปซิฟิกมีความลึกเฉลี่ยที่ 4,000 เมตร มีจุดที่ลึกที่สุดคือแชลเลนเจอร์ดีปในร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาโดยมีสถิติอยู่ที่ 10,928 เมตร นอกจากนี้ยังมีจุดที่ลึกที่สุดในแปซิฟิกใต้อย่างฮอไรซันดีปในร่องลึกตองงาที่มีสถิติความลึกอยู่ที่ 10,882 เมตร ส่วนจุดที่ลึกที่สุดในโลกเป็นอันดับสามก็ยังคงอยู่ในร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน เป็นแรกที่ตั้งชื่อให้ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" มหาสมุทรแปซิฟิกมีความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคูโรชิโอะ (กุโรชิโว)
มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร (แปซิฟิกใต้)
ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก
==นิรุกติศาสตร์==
ถึงแม้ว่าชาวเอเชียและชาวโอเชียเนียจะมีการเดินทางโยกย้ายผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ว่าครั้งแรกที่ชาวยุโรปค้นพบคือช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เมื่อนักสำรวจชาวสเปนบัสโก นูเญซ เด บัลโบอาข้ามคอคอดปานามาในปี 1513 และค้นพบ "ทะเลใต้" ที่กว้างใหญ่ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า Mar del Sur (ในภาษาสเปน) แต่ว่าชื่อแปซิฟิกนั้นมาจากเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันที่ตั้งชื่อให้ว่า Mare Pacificum เมื่อเดินทางมาเจอกับทะเลที่สงบระหว่างเดินทางรอบโลกในปี 1521
==ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก==
ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก:
Australasian Mediterranean Sea – 9.080 ล้าน กม.2
ทะเลฟิลิปปิน - 5.695 ล้าน กม.2
ทะเลคอรัล – 4.791 ล้าน กม.2
ทะเลจีนใต้ – 3.5 ล้าน กม.2
ทะเลแทสมัน – 2.3 ล้าน กม.2
ทะเลเบริง – 2 ล้าน กม.2
ทะเลโอค็อตสค์ – 1.583 ล้าน กม.2
อ่าวอะแลสกา – 1.533 ล้าน กม.2
ทะเลจีนตะวันออก – 1.249 ล้าน กม.2
ทะเลมาเดกราว – 1.14 ล้าน กม.2
ทะเลญี่ปุ่น – 978,000 กม.2
ทะเลโซโลมอน – 720,000 กม.2
ทะเลบันดา – 695,000 กม.2
ทะเลอาราฟูรา – 650,000 กม.2
ทะเลติมอร์ – 610,000 กม.2
ทะเลเหลือง – 380,000 กม.2
ทะเลชวา – 320,000 กม.2
อ่าวไทย – 320,000 กม.2
อ่าวคาร์เพนแทเรีย – 300,000 กม.2
ทะเลเซเลบีส – 280,000 กม.2
ทะเลซูลู – 260,000 กม.2
อ่าวอะนาดีร์ – 200,000 กม.2
ทะเลโมลุกกะ – 200,000 กม.2
อ่าวแคลิฟอร์เนีย – 160,000 กม.2
อ่าวตังเกี๋ย – 126,250 กม.2
ทะเลฮัลมาเฮรา – 95,000 กม.2
ทะเลปั๋วไห่ – 78,000 กม.2
ทะเลบาหลี – 45,000 กม.2
ทะเลบิสมาร์ก – 40,000 กม.2
ทะเลซาวู - 35,000 กม.2
ทะเลเซโตะใน – 23,203 กม.2
ทะเลเซรัม – 12,000 กม.2
==ประวัติศาสตร์==
=== การอพยพยุคก่อนประวัติศาสตร์ ===
การอพยพที่สำคัญในมหาสมุทรแปซิฟิกยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวออสโตรนีเซียนบนเกาะไตหวันที่เชี่ยวชาญการเดินทางไกลด้วยเรือแคนูได้เดินทางพร้อมเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไปยังฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและเกาะแก่งต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการแยกกันไปทางตะวันตกสู่มาดากัสการ์ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้สู่เกาะนิวกินีและเมลานีเซีย (ผสมกับชาวปาปัวพื้นเมือง) และทางตะวันออกไปยังหมู่เกาะไมโครนีเซีย โอเชียเนียและโพลินีเซีย
การค้าขายทางไกลได้พัฒนาตลอดแนวชายฝั่งตั้งแต่โมซัมบิกไปจนถึงญี่ปุ่น การค้าและความรู้จึงขยายไปยังหมู่เกาะอินโดนีเซีย แต่ดูเหมือนไม่ใช่ในออสเตรเลีย ในปี 219 ก่อนคริสตกาล ชู ฟูล่องเรือไปในมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อค้นหายาอายุวัฒนะแห่งความเป็นอมตะ อย่างน้อยที่สุดใน ค.ศ. 878 เมื่อชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในแคนตันการค้าส่วนใหญ่จึงถูกควบคุมโดยชาวอาหรับและชาวมุสลิม ตั้งแต่ ค.ศ. 1404 ถึง ค.ศ. 1433 เจิ้งเหอได้นำการเดินทางสู่มหาสมุทรอินเดีย
=== การสำรวจโดยชาวยุโรป ===
=== ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ ===
== ภูมิศาสตร์ ==
มหาสมุทรแปซิฟิกแยกทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและทวีปอเมริกาออกจากกัน เส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นที่แบ่งมหาสมุทรแปซิฟิกออกเป็นแปซิฟิกเหนือและแปซิฟิกใต้ ทางเหนือติดภูมิภาคอาร์กติกส่วนทางใต้ติดแอนตาร์กติกา มหาสมุทรแปซิฟิกครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลกและมีพื้นที่ 165,200,000 ตารางกิโลเมตรซึ่งใหญ่กว่าแผ่นดินทั้งหมดของโลก
มหาสมุทรแปซิฟิกทอดตัวยาวลงมาตั้งแต่ทะเลแบริ่งในแถบอาร์กติกไปจนถึงเส้นขนานที่ 60 องศาใต้ซึ่งเป็นตอนเหนือของมหาสมุทรใต้ (ในอดีตมีพื้นที่ถึงทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกา) จุดที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีขนาดแผ่นดินใหญ่ห่างกันที่สุดอยู่ที่เส้นขนานที่ 5 องศาเหนือโดยทอดยาวเป็นระยะทางครึ่งโลกหรือประมาณ 19,800 กิโลเมตรจากอินโดนีเซียไปยังชายฝั่งของโคลอมเบีย ซึ่งความยาวนี้ยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ถึง 5 เท่า จุดที่ลึกที่สุดคือร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาวัดได้ 10,911 เมตรใต้ระดับน้ำ ความลึกเฉลี่ยของแปซิฟิกคือ 4,280 เมตร มีปริมาณน้ำทั้งหมด 710,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร
จากผลกระทบของการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคทำให้แปซิฟิกหดตัวลงประมาณ 2.5 เซนติเมตรต่อปี วัดจากทั้งสามด้านโดยเฉลี่ยประมาณ 0.52 กิโลเมตรต่อปีซึ่งตรงกันข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่ขยายใหญ่ขึ้น
ทางตะวันตกติดกับทะเลใหญ่ ๆ มากมายเช่นทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลฟิลิปปิน ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมันและทะเลเหลือง แปซิฟิกติดกับมหาสมุทรอินเดียบริเวณช่องแคบมะละกาและแหลมทอเรส ติดแอตแลนติกบริเวณช่องแคบมาเจลลันและติดกับทะเลอาร์กติกบริเวณช่องแคบแบริ่ง
เส้นเมริเดียนที่ 180 องศาแบ่งแปซิฟิกเป็นสองฝั่งแปซิฟิกตะวันตก (หรือแปซิฟิกใกล้เอเชีย) อยู่ในซีกโลกตะวันออกในขณะที่แปซิฟิกตะวันออก (หรือแปซิฟิกใกล้อเมริกา) อยู่ในซีกโลกตะวันตก
ระหว่างการเดินทางของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันจากช่องแคบมาเจลลันมาฟิลิปปินส์เขาพบว่ามหาสมุทรนี้ค่อนข้างสงบ แต่ก็ไม่ได้สงบทุกที่เพราะมีพายุโซนร้อนจำนวนมากพัดปะทะหมู่เกาะและชายฝั่งของแปซิฟิก บริเวณรอบชายฝั่งแปซิฟิกเต็มไปด้วยภูเขาไฟและมักได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว สึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลได้พัดทำลายหมู่เกาะและเมืองเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. 2050 แผนที่ของมาติน วอดซีมึลเลอร์เป็นแผนที่แรกที่มีทวีปอเมริกาคั่นกลางระหว่างแปซิฟิกและแอตแลนติก ต่อมาแผนที่ของดิโก ริเบย์โร พ.ศ. 2072 เป็นแผนที่แรกที่แสดงขนาดมหาสมุทรที่สมจริงขึ้น
=== ประเทศและดินแดนที่ติด ===
==== ประเทศอธิปไตย ====
1
1
1 สถานะของไต้หวันและจีนยังมีความขัดแย้งกันอยู่
==== ดินแดน ====
เกาะเบเกอร์
(New Zealand)
หมู่เกาะคอรัลซี
เกาะฮาวแลนด์
เกาะจาร์วิส
จอห์นสตันอะทอลล์
คิงแมนรีฟ
มิดเวย์อะทอลล์
แพลไมราอะทอลล์
เกาะเวก
=== แผ่นดินและเกาะ ===
แปซิฟิกเป็นมหาสมุทรที่มีเกาะมากที่สุดในโลก มีการประมาณว่ามีเกาะทั้งหมด 25,000 เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะในแปซิฟิกจะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ คือไมโครนีเซีย เมลานีเซียและโปลินีเซีย
ไมโครนีเซียเป็นกลุ่มเกาะที่อยู่ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรและทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล กลุ่มเกาะประกอบด้วยเกาะมาเรียนาทางตะวันตกเฉียงเหนือ เกาะคาโรไลน์ตรงกลาง หมู่เกาะมาร์แชลล์ทางทิศตะวันตกและหมู่เกาะของคิริบาสในตะวันออกเฉียงใต้
เมลานีเซียอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะนิวกินีซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากกรีนแลนด์และเป็นเกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแปซิฟิก และยังมีกลุ่มเกาะบิสมาร์ก หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะซานตาครูซ วานูอาตู ฟีจีและนิวแคลิโดเนีย
โปลินีเซียเป็นพื้นที่ ๆ ใหญ่ที่สุดซึ่งนับตั้งแต่หมู่เกาะฮาวายทางเหนือไปจนถึงนิวซีแลนด์ทางใต้และยังรวมตูวาลู โตเกเลา ซามัว ตองงาและหมู่เกาะเคอร์ดเด็คทางตะวันตก ตรงกลางมีหมู่เกาะคุก หมู่เกาะโซไซเอตีและหมู่เกาะออสแตส ทางตะวันออกมีหมู่เกาะมาร์เคซัส ตูอาโมตัส หมู่เกาะแกมบีเออรืและเกาะอีสเตอร์
หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกมีสี่ประเภทคือเกาะริมทวีป เกาะสูง พืดหินปะการังและเกาะต่ำ เกาะริมทวีปเช่นกาะนิวกินี เกาะของนิวซีแลนด์และฟิลิปปินส์เกาะเหล่านี้จะมีพื้นที่ใต้น้ำบางส่วนเชือมต่อกับทวีปใกล้เคียง เกาะสูงจะเป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟเช่นหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะโซโลมอน
พืดหินปะการังของแปซิฟิกมีโครงสร้างที่ต่ำซึ่งสร้างบนบะซอลต์ไหลใต้ทะเล หนึ่งในพืดหินปะการังที่น่าสนใจคือเกรตแบร์ริเออร์รีฟทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เกาะต่ำเกิดมาจากปะการัง โดยอาจจะเกิดขึ้นเกิดจากการตกตะกอนหรือการยกตัวและทับทมของพืดหินปะการังเช่น เกาะบานาบาและเกาะมากาเตในตูอาโมตัสของเฟรนช์พอลินีเชีย
ไฟล์:Pacific ocean up sun from the rocks.jpg|พระอาทิตยืขึ้นเหนือเส้นของฟ้าของแปซิฟิก
ไฟล์:Chimney Rock Trail Point Reyes December 2016 panorama.jpg|แหลมในแคลิฟอเนีย
ไฟล์:Tahuna maru islet Raroia.jpg|เกาะเล็กแห่งหนึ่งของเฟรนช์พอลินีเชีย
ไฟล์:Los Molinos.JPG|ชายฝั่งทางใต้ของชิลี
== น้ำทะเล ==
แปซิฟิกมีน้ำทะเลประมาณ 714 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรคิดเป็น 50.1% ของน้ำทะเลทั่วโลก อุณหภูมิผิวน้ำมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันตามพื้นที่เช่นบริเวณขั้วโลกอาจเย็นถึง -1.4 องศาเซลเซียส ในขณะที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรอาจสูงถึง 30 องศา ความเค็มของแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละเส้นขนานโดยความเค็มสูงคือ 37 ส่วนต่อพันในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณเส้นศูนย์สูตรซึ่งความเค็มต่ำกว่า 34 ส่วนต่อพัน ส่วนเค็มสุดจะอยู่ทางเหนือเพราะมีอากาศหนาวเย็นทำให้มีการระเหยของน้ำน้อย น้ำในแปซิฟิกเหนือจะไหลตามเข็มนาฬิกา ส่วนแปซิฟิกใต้จะไหลทวนเข็มนาฬิกา กระแสน้ำศูนย์สูตรเหนือจะไหลไปทางตะวันตกตามเส้นขนานที่ 15 องศาเหนือด้วยลมค้า และไหลขึ้นทิศเหนือบริเวณฟิลิปปินส์และกลางเป็นกระแสน้ำญี่ปุ่น จากนั้นกระแสน้ำญี่ปุ่นจะไหลไปทางตะวันออกตามเส้นขนานที่ 45 องศาเหนือและกลายเป็นกระแสน้ำอะลูเชียน จากนั้นก็ไหลลงทิศใต้กลับกลายเป็นกระแสน้ำศูนย์สูตรเหนือตามเดิม
สาขาเหนือของกระแสน้ำอะลูเชียนเมือเข้าใกล้ทวีปอเมริกาเหนือจะไหลหมุนทวนเข็มนาฬิกาในทะเลแบริ่ง ส่วนสาขาใต้จะกลายเป็นกระแสน้ำแคลิฟอร์เนียที่ไหลช้าและค่อนข้างเย็น กระแสน้ำศูนย์สูตรใต้ไหลไปทางตะวันตกตามแนวศูนย์สูตรและเริ่มหันไปทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเกาะนิวกินี และหันไปทางตะวันออกตามเส้นขนานที่ 50 องศาใต้และไหลกลับเป็นกระแสน้ำศูนย์สูตรใต้ตามเดิม กระแสน้ำเย็นขั้วโลกแอนตาร์กติกาเมื่อถึงชายฝั่งชิลีมีสาขาหนึ่งไหลไปรอบแหลมฮอร์น ส่วนอีกสาขาไหลไปเป็นกระแสน้ำฮุมโบลดท์
== อ้างอิง ==
== ดูเพิ่ม ==
Paine, Lincoln. The Sea and Civilization: A Maritime History of the World (2015).
Samson, Jane. British imperial strategies in the Pacific, 1750–1900 (Ashgate Publishing, 2003).
=== ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ===
Davidson, James Wightman. "Problems of Pacific history." Journal of Pacific History 1#1 (1966) : 5–21.
Gulliver, Katrina. "Finding the Pacific world." Journal of World History 22#1 (2011) : 83–100. online
Munro, Doug. The Ivory Tower and Beyond: Participant Historians of the Pacific (Cambridge Scholars Publishing, 2009).
Routledge, David. "Pacific history as seen from the Pacific Islands." Pacific Studies 8#2 (1985) : 81+ online
Samson, Jane. "Pacific/Oceanic History" in
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
EPIC Pacific Ocean Data Collection Viewable on-line collection of observational data
NOAA In-situ Ocean Data Viewer plot and download ocean observations
NOAA PMEL Argo profiling floats Realtime Pacific Ocean data
NOAA TAO El Niño data Realtime Pacific Ocean El Niño buoy data
NOAA Ocean Surface Current Analyses—Realtime (OSCAR) Near-realtime Pacific Ocean Surface Currents derived from satellite altimeter and scatterometer data
แปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก | thaiwikipedia | 684 |
เส้นศูนย์สูตร | ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่เป็นเส้นวงกลมใหญ่แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต
เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075.02 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "เส้นวงกลมใหญ่" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน
เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมท้องฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator)
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เขตร้อน
เส้นละติจูด
ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้า
ภูมิมาตรศาสตร์ | thaiwikipedia | 685 |
ก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ไลบ์นิทซ์ | ก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ฟ็อน ไลบ์นิทซ์ (Gottfried Wilhelm von Leibniz, ; 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1646 – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1716) เป็นนักปรัชญา, นักวิทยาศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, นักการทูต, บรรณารักษ์ และนักกฎหมายชาวเยอรมัน เขาเป็นคนที่เริ่มใช้คำว่า "ฟังก์ชัน" สำหรับอธิบายปริมาณที่เกี่ยวกับเส้นโค้ง เช่น ความชันของเส้นโค้ง หรือจุดบางจุดของเส้นโค้งดังกล่าว ไลบ์นิทซ์และนิวตันได้รับการยกย่องร่วมกันว่าเป็นผู้เริ่มพัฒนาแคลคูลัส โดยเฉพาะส่วนของไลบ์นิทซ์ในการพัฒนาปริพันธ์และกฎผลคูณ เป็นคนแรกที่ให้ความหมายของ เลขฐานสอง
==อ้างอิง==
บุคคลจากไลพ์ซิช
นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน
นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน
นักปรัชญาชาวเยอรมัน
นักปรัชญายุคเรืองปัญญา
ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช
ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเยนา | thaiwikipedia | 686 |
จุลชีววิทยา | จุลชีววิทยา (Microbiology) คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเรียกว่าจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส เชื้อรา และสาหร่าย
== ประวัติศาสตร์ของจุลชีววิทยา ==
แบคทีเรียถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดย แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค ในปี 1676 (พ.ศ. 2219) โดยใช้กล้องจุลทรรศน์เลนส์เดียวที่เขาออกแบบเองส่องจนพบ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักจุลชีววิทยาคนแรกของโลก
สาขาวิชาแบคทีเรียวิทยา ซึ่งภายหลังได้เป็นสาขาย่อยในจุลชีววิทยา ได้ริเริ่มโดย เฟอร์ดินานด์ โคห์น นักพฤกษศาสตร์ผู้ซึ่งศึกษาสาหร่ายและแบคทีเรียที่สังเคราะห์แสงได้ จากการศึกษาของเขาทำให้ทราบเกี่ยวกับแบคทีเรียหลายชนิด และเฟอร์ดินานด์ โคห์น ยังเป็นคนแรกที่วางแบบแผนการจัดหมวดหมู่แบคทีเรียตามหลักอนุกรมวิธาน
หลุยส์ ปาสเตอร์ และโรเบิร์ต คอค เป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยเดียวกับโคห์น และถือได้ว่าเป็นผู้ริเริ่มสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ หลุยส์ ปาสเตอร์เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากการทดลองเพื่อพิสูจน์หักล้างทฤษฎีสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งทำให้จุลชีววิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งในวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ปาสเตอร์ยังได้ออกแบบวิธีการถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์ และคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคต่างๆอย่างเช่นโรคแอนแทรกซ์ อหิวาตกโรคจากสัตว์ปีก และโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนโรเบิร์ต คอค มีชื่อเสียงจากการสนับสนุนทฤษฎีการเกิดโรค ซึ่งพิสูจน์ว่าโรคชนิดใดๆจะเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะที่ก่อโรคนั้นๆเท่านั้น ต่อมาทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า สมมติฐานของคอค และคอคยังเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่มุ่งศึกษาการแยกตัวของแบคทีเรียในการทำเชื้อให้บริสุทธิ์ ซึ่งทำให้เขาค้นพบเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ๆ มากมาย เช่น เชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของวัณโรค
แม้ว่าโดยทั่วไปมักจะถือว่า หลุยส์ ปาสเตอร์ และโรเบิร์ต คอค เป็นผู้ริเริ่มสาขาจุลชีววิทยา แต่ผลงานของพวกเขาก็ยังไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ได้อย่างถูกต้องนัก เพราะพวกเขามุ่งศึกษาเฉพาะจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เท่านั้น ผู้ที่ถือได้ว่าริเริ่มสาขาวิชาจุลชีววิทยาทั่วไปอย่างแท้จริง คือ มาร์ตินุส ไบเจอริงค์ และเซลเก ไวโนแกลดสกี พวกเขาได้ทำให้ขอบเขตการศึกษาจุลชีววิทยากว้างขวางออกไป ไบเจอริงค์มีผลงานสำคัญทางด้านจุลชีววิทยา 2 ผลงาน คือ การค้นพบไวรัส และการพัฒนาวิธีเพาะเชื้อแบบเอนริช ผลงานการศึกษาไวรัสโรคลายด่างในยาสูบของเขาได้เป็นรากฐานของสาขาไวรัสวิทยา และการเพาะเชื้อแบบเอนริชมีบทบาทสำคัญต่อวงการจุลชีววิทยา โดยทำให้สามารถเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่ยังไม่เคยเพาะเลี้ยงได้ ส่วนไวโนแกลดสกี เป็นคนแรกที่คิดค้นแนวคิดเกี่ยวกับเคมีของดิน ซึ่งแสดงให้เห็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินที่เป็นกระบวนการทางเคมี และทำให้เขาค้นพบแบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้
== สาขาของจุลชีววิทยา ==
เนื้อหาของจุลชีววิทยาสามารถแบ่งออกเป็นสาขาย่อยได้มากมาย ได้แก่
สรีรวิทยาของจุลินทรีย์ ศึกษาหน้าที่ทางชีวเคมี การเจริญเติบโต เมตาบอลิซึม และโครงสร้างของเซลล์ของจุลินทรีย์
พันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ของเซลล์ของจุลินทรีย์และการสร้างหรือควบคุมยีน สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับอณูชีววิทยา
จุลชีววิทยาทางการแพทย์ ศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์ในโรคของมนุษย์ กระบวนการก่อโรคของจุลินทรีย์ และระบาดวิทยา สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน
จุลชีววิทยาของสิ่งแวดล้อม ศึกษาหน้าที่และความหลากหลายของจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ รวมทั้งนิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ บทบาทของจุลินทรีย์ในวัฏจักรสารอาหาร
จุลชีววิทยาของอุตสาหกรรม ศึกษาการใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การหมัก การบำบัดน้ำเสีย สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ
จุลชีววิทยาของอากาศ ศึกษาจุลินทรีย์ที่อยู่ในอากาศ
จุลชีววิทยาของอาหาร ศึกษาการเน่าเสียของอาหารที่มีสาเหตุจากจุลินทรีย์
== ประโยชน์ของการศึกษาจุลชีววิทยา ==
ขณะที่จุลินทรีย์มักจะถูกมองในแง่ลบเนื่องจากเกี่ยวข้องกับโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ จุลินทรีย์บางชนิดก็มีความจำเป็นในกระบวนการที่เป็นประโยชน์ เช่น การหมัก (ใช้ผลิตแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ต่างๆจากนม) การผลิตยาปฏิชีวนะ และเป็นสื่อสำหรับโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างเช่นพืช นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ในการผลิตเอนไซม์ที่สำคัญๆด้วยวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ
== ดูเพิ่ม ==
ชีวเคมี
เทคโนโลยีชีวภาพ
พันธุศาสตร์
วิทยาภูมิคุ้มกัน
แพทยศาสตร์
ไวรัสวิทยา | thaiwikipedia | 687 |
เซอร์เอิน เคียร์เกอกอร์ | เซอร์เอิน โอปือ เคียร์เกอกอร์ (Søren Aabye Kierkegaard; 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1855) เป็นนักปรัชญาชาวเดนมาร์กในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถือกันโดยทั่วไปว่าเขาเป็นนักปรัชญาอัตถิภาวนิยมคนแรก แม้ว่างานวิจัยในชั้นหลัง ๆ จะแสดงว่าการเชื่อมโยงดังกล่าวอาจกระทำได้ยากกว่าที่เคยคิดกันก็ตาม ในด้านความคิดทางปรัชญานั้น เคียร์เกอกอร์ถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างปรัชญาแบบเฮเกิลกับปรัชญาที่จะคลี่คลายไปเป็นอัตถิภาวนิยมในภายหลัง เขาปฏิเสธอย่างแข็งขันทั้งปรัชญาแบบเฮเกิลที่กำลังเฟื่องฟูในสมัยนั้นและสิ่งที่เขาเรียกว่ารูปแบบอันว่างเปล่าของคริสตจักรเดนมาร์ก งานของเขาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาทางศาสนา เช่น ธรรมชาติของศรัทธา ความเป็นสถาบันของคริสต์ศาสนจักร และเรื่องจริยธรรมและเทววิทยาคริสเตียน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ บางคนจึงจัดให้งานของเคียร์เกอกอร์อยู่ในประเภทของอัตถิภาวนิยมคริสเตียน งานของเคียร์เกอกอร์อาจยากแก่การตีความ เนื่องจากงานที่เขาเขียนในระยะแรกนั้นเขียนโดยใช้นามแฝงต่าง ๆ กัน และบ่อยครั้งที่งานที่เขาเขียนโดยใช้นามแฝงชื่อหนึ่งจะได้รับความเห็นหรือข้อวิจารณ์จากงานเขียนที่เขาใช้นามแฝงอีกชื่อหนึ่ง
นักปรัชญาชาวเดนมาร์ก
บุคคลจากโคเปนเฮเกน
นักจดบันทึกประจำวันชาวเดนมาร์ก | thaiwikipedia | 688 |
อุปราคา | อุปราคา คือ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าหนึ่ง เช่น ดาวเคราะห์หรือดาวบริวารมาอยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสง (เช่น ดวงอาทิตย์) กับอีกวัตถุหนึ่ง
== อุปราคาบนโลก ==
อุปราคาที่สังเกตได้จากโลกไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เพราะระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กับระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกไม่ได้เป็นระนาบเดียวกัน แต่เป็นระนาบที่ตัดกันโดยจะเกิดขึ้นเมื่อโลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่บนระนาบเดียวกันเท่านั้น
อุปราคาที่มองเห็นได้ชัดเจนจากโลก ได้แก่:
จันทรุปราคา - โลกเข้าบังดวงอาทิตย์เมื่อมองดูจากดวงจันทร์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะในคืนวันเดือนเพ็ญ
สุริยุปราคา - ดวงจันทร์เข้าบังดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ดวงจันทร์ทอดเงาตกลงบนผิวโลก มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะในวันเดือนดับ
=== ประเภทของอุปราคา ===
อุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตอยู่ภายใต้เงามืดของดวงจันทร์ ทำให้แสงที่ส่องมาจากดวงอาทิตย์ถูกบดบังไปทั้งหมด
อุปราคาบางส่วน
* สำหรับสุริยุปราคา เกิดขึ้นเมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ถูกบดบังไปบางส่วน โดยผู้สังเกตจะอยู่ภายใต้เงามัวของดวงจันทร์
* สำหรับจันทรุปราคา เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ถูกบังบางส่วนโดยเงาของโลก จะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว
อุปราคาวงแหวน ในสุริยุปราคา เกิดเหมือนสุริยุปราคาเต็มดวง แต่เห็นเป็นวงแหวน
อุปราคาแบบผสม ในสุริยุปราคา เหตุการณ์ที่ผู้สังเกตสามารถสังเกตได้จะเห็นเป็นขั้นตอน โดยขั้นแรกจะเห็นเป็นสุริยุปราคาวงแหวน จากนั้นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง จากนั้นก็จะเห็นเป็นแบบวงแหวนอีกครั้ง
=== เฟสของสุริยุปราคาเต็มดวง ===
ลำดับขั้นตอนในการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงโดยมองจากผู้สังเกตบนโลก
สัมผัสที่ 1 ด้านตะวันออกของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสกับด้านตะวันตกของดวงอาทิตย์ ท้องฟ้าเริ่มเปลี่ยนสี อากาศเริ่มเย็น ลักษณะธรรมชาติเวลานั้นจะเหมือนเวลาเย็น เมื่อมองดวงอาทิตย์ผ่านแผ่นกรองแสง จะเห็นว่าดวงอาทิตย์ถูกบดบังไปบางส่วนแล้ว
สัมผัสที่ 2 ดวงจันทร์เริ่มบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ไปเกือบหมด เหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะสังเกตได้จากความขรุขระของผิวของดวงจันทร์ จะเห็นแสงสว่างลอดออกมาจากผิวขรุขระนั้น เรียกว่า ปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลีย์ และ ปรากฏการณ์แหวนเพชร ดวงดาวสว่างๆ เริ่มปรากฏให้เห็น เมื่อดวงอาทิตย์ถูกบดบังทั้งหมด จะสามารถสังกตเห็นชั้นบรรยากาศโคโรนา ของดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ในเวลาปกติ นอกจากนี้อาจเห็นพวยแก๊สที่พุ่งออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้นโครโมสเฟียร์ แสงเหล่านี้จะหมดไปเมื่อเข้าสู่สัมผัสที่ 3
สัมผัสที่ 3 ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนออกไปจากดวงอาทิตย์เกิดปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลีย์ และ ปรากฏการณ์แหวนเพชร ดวงอาทิตย์ที่เคยถูกบดบังก็จะสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่สัมผัสสุดท้าย
สัมผัสสุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกไปจากดวงอาทิตย์ทั้งดวง เป็นการสิ้นสุดสุริยุปราคาเต็มดวงอย่างสมบูรณ์
=== เฟสของจันทรุปราคา ===
ลำดับขั้นตอนในการเกิดจันทรุปราคาโดยมองจากผู้สังเกตบนโลก
สัมผัสที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้าสู่เงามืดของโลก
สัมผัสที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้าสู่เงามืดของโลกทั้งดวง ก่อนที่จะเข้าสู่เงามืดเต็มดวง จะเห็นแสงสว่างของดวงจันทร์น้อยมาก แต่ในขณะที่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดของโลกอย่างเต็มดวงแล้ว จะเห็นดวงจันทร์มีสีค่อนข้างแดงเนื่องจากการหักเหของแสง
สัมผัสที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์กำลังเริ่มเคลื่อนออกจากเงามืดของโลก
สัมผัสสุดท้าย เมื่อดวงจันทร์โคจรพ้นเงามืดของโลก สิ้นสุดจันทรุปราคาโดยสมบูรณ์
=== ความเชื่อ ===
ก่อนหน้าที่จะมีการศึกษาการเกิดอุปราคาในวิชาดาราศาสตร์ ได้มีตำนานหรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเกิดอุปราคาในหลาย ๆ ลักษณะ เช่น ในตำนานของชาวฮินดูนั้น เล่ากันว่า จันทรุปราคาเกิดจากราหูอมจันทร์ และในวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วงก็มีการกล่าวถึงราหูอมจันทร์เช่นกัน
== อุปราคาบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ==
อุปราคาไม่สามารถเกิดขึ้นบนดาวพุธและดาวศุกร์ได้เลย เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้ไม่มีดวงจันทร์บริวารของตน
ส่วนอุปราคาบนดาวอังคารนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะอุปราคาแบบบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากดวงจันทร์ของดาวอังคารไม่ใหญ่พอที่จะบดบังดวงอาทิตย์ทั้งดวงได้
บนดาวพฤหัสสามารถเกิดอุปราคาได้บ่อยครั้งมาก โดยมักเกิดจากดวงจันทร์ดวงใหญ่ 4 ดวง คือ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีตและคัลลิสโต ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเงาของดวงจันทร์บนดาวพฤหัส
ดาวพลูโตเป็นอีกดาวดวงหนึ่งที่เกิดอุปราคาได้บ่อย เนื่องจากมีดวงจันทร์ที่ขนาดใหญ่พอ ๆ กับตัวมันเอง
==อ้างอิง==
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
ปรากฏการณ์บนโลก | thaiwikipedia | 689 |
ดาวเคราะห์นอกระบบ | ดาวเคราะห์นอกระบบ (extrasolar planet หรือ exoplanet) หรือ ดาวเคราะห์ต่างระบบ คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ และอยู่ในระบบดาวเคราะห์อื่นที่ไม่ใช่ระบบสุริยะเดียวกันกับโลก หลักฐานที่เป็นไปได้ครั้งแรกของดาวเคราะห์นอกระบบถูกบันทึกในปี ค.ศ. 1917 แต่ไม่ได้รับการยอมรับ การยืนยันครั้งแรกของการค้นพบเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1992 ตามมาด้วยการยืนยันของดาวเคราะห์ดวงอื่นที่ตรวจพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1988 ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 มีการตรวจค้นพบและยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบรวมทั้งสิ้น 5,307 ดวง ในระบบดาวเคราะห์ 3,910 แห่ง ในจำนวนนี้ 853 แห่งประกอบด้วยดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวง และถูกบรรจุไว้ในสารานุกรมดาวเคราะห์นอกระบบ โดยส่วนมากพบจากการตรวจวัดด้วยวิธีความเร็วแนวเล็งและกระบวนการทางอ้อมต่าง ๆ มากกว่าวิธีการถ่ายภาพโดยตรง ดาวเคราะห์นอกระบบส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์คล้ายกับดาวพฤหัสบดี ซึ่งน่าจะเป็นผลจากกระบวนวิธีในการตรวจจับนั่นเอง แต่ผลการตรวจจับในระยะหลังมีแนวโน้มจะพบดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเล็กลง ปัจจุบันมีการค้นพบดาวเคราะห์หินขนาดเบาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนดาวเคราะห์แก๊สยักษ์แล้ว
ดาวเคราะห์นอกระบบเริ่มเป็นหัวข้อตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักดาราศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบมีอยู่จริง แต่ไม่อาจทราบได้ว่ามันมีลักษณะเช่นไร หรือคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเพียงใด การตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1995 ด้วยวิธีตรวจวัดด้วยความเร็วแนวเล็ง ค้นพบดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่มีคาบการโคจร 4 วันอยู่รอบดาว 51 เพกาซี นับแต่นั้นก็ตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มมากขึ้น เมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 ก็มีการตรวจพบเพิ่มขึ้นทุกปีมากกว่าปีละ 15 ดวง และมีการตรวจพบเพิ่มขึ้นถึง 61 ดวงในปี ค.ศ. 2007 ประมาณการว่า อย่างน้อย 10% ของดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์จะต้องมีดาวเคราะห์บริวาร โดยสัดส่วนที่แท้จริงอาจสูงกว่านั้น การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า จะมีบางดวงที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหรือไม่
ขณะนี้ กลีเซอ 581 ดี ดาวเคราะห์ดวงที่สี่ของดาวแคระแดง กลีเซอ 581 (ห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง) ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดเท่าที่ค้นพบ มีโอกาสจะเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของมันในระยะวงโคจรที่เหมาะสม แม้ผลการตรวจวัดเบื้องต้นจะบ่งชี้ว่ามันอยู่นอก "เขตโกลดิล็อก" ก็ตาม แต่ผลสำรวจในภายหลังส่อว่ามันอาจอยู่ภายในเขตพอดีก็ได้
== นิยาม ==
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้นิยาม "ดาวเคราะห์" ไว้ว่า ดาวเคราะห์ต้องโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ในปัจจุบันคำนิยามนี้จะใช้สำหรับดาวเคราะห์ภายในระบบสุริยะเท่านั้น มิได้ใช้นิยามนี้กับดาวเคราะห์นอกระบบ สำหรับคำนิยามของดาวเคราะห์นอกระบบ "ที่ใช้งานจริง" เริ่มกำหนดขึ้นราวปี ค.ศ. 2001 (แก้ไขล่าสุดในปี ค.ศ. 2003) โดยมีคำจำกัดความดังต่อไปนี้
มีรายงานจำนวนหนึ่งที่ศึกษาวัตถุลอยอิสระเหล่านี้ (ที่ไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงใดเลย) โดยเรียกในชื่อว่า "ดาวเคราะห์พเนจร" หรือ "ดาวเคราะห์ระหว่างดวงดาว" (interstellar planet) บทความนี้จะไม่กล่าวถึงวัตถุประเภทนี้ เพราะถือว่ามิได้อยู่ภายใต้นิยามของ ดาวเคราะห์ แม้ว่ามันอาจเคยเป็นดาวเคราะห์ของระบบดาวใดมาก่อนแต่ถูกดีดตัวออกมาก็ตาม
== ประวัติการค้นพบ ==
=== การค้นพบที่ไม่ได้รับการยืนยัน ===
แม้แนวคิดเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบจะไม่ได้รับการยืนยันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1988 แต่ก็เคยมีการคาดเดามาก่อนหน้านี้แล้วย้อนไปถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ว่า อาจมีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบ ๆ ดาวฤกษ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้าก็ได้ ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเก่าแก่นี้พบได้ในหนังสือเจเนอร์รัล สคลอเลียม ของไอแซก นิวตัน ในปี ค.ศ. 1713 ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า "ถ้าดาวฤกษ์เหล่านั้นต่างเป็นศูนย์กลางของสิ่งอื่น ๆ เหมือนเช่นระบบสุริยะ การก่อตัวอันมีลักษณะคล้ายคลึงกันเช่นนี้แสดงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอยู่ใต้กฎเกณฑ์อันเดียวกัน"
มีการอ้างว่าค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งการกล่าวอ้างช่วงแรก ๆ จำนวนหนึ่งมักอ้างถึงดาวคู่ 70 Ophiuchi ปี ค.ศ. 1855 กัปตัน ดับเบิลยู. เอส. เจค็อบ แห่งหอดูดาวมัทราส บริษัทอีสต์อินเดีย ได้รายงานการพบวงโคจรแปลกประหลาดที่ "มีความเป็นไปได้สูง" ที่จะเป็น "วัตถุลักษณะดาวเคราะห์" ในระบบนั้น ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 โทมัส เจ. เจ. ซี แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกกับหอดูดาวกองทัพเรือสหรัฐอเมริการะบุว่าวงโคจรแปลกประหลาดนั้นบ่งชี้ถึงวัตถุมืดอย่างหนึ่งในระบบของ 70 Ophiuchi โดยมีรอบการโคจรรอบดาวฤกษ์หนึ่งรอบประมาณ 36 ปี อย่างไรก็ดีไม่นานหลังจากนั้น ฟอเรสต์ เรย์ โมลตันก็ได้ตีพิมพ์บทความที่พิสูจน์ว่า ระบบแบบสามวัตถุที่มีค่าพารามิเตอร์วงโคจรเช่นนั้นเป็นระบบที่ไม่เสถียรอย่างที่สุด ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1960 ปีเตอร์ แวน เดอ คัมป์ แห่งวิทยาลัยสวาร์ทมอร์ได้เผยแพร่ข้อมูลอ้างถึงการค้นพบอย่างต่อเนื่องที่มีชื่อเสียงมาก ครั้งนี้เป็นการพบดาวเคราะห์ในระบบดาวเบอร์นาร์ด แต่นักดาราศาสตร์ในปัจจุบันถือว่าข้อมูลการค้นพบในอดีตเหล่านี้เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน
ปี ค.ศ. 1991 แอนดรูว์ ลิน, เอ็ม เบลเลส และ เอส.แอล. ชีมาร์ อ้างว่าค้นพบดาวเคราะห์พัลซาร์ในวงโคจรรอบดาว PSR 1829-10 โดยใช้วิธีการประมวลความเปลี่ยนแปรเวลาของพัลซาร์ การกล่าวอ้างครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้น แต่ไม่นานหลังจากนั้นลินกับพวกก็เพิกถอนการค้นพบเสีย
=== การค้นพบที่ได้รับการยืนยันแล้ว ===
การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่มีการเผยแพร่เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 โดยกลุ่มนักดาราศาสตร์ชาวแคนาดา ได้แก่ บรูซ แคมเบล, จี. เอ. เอช. วอล์กเกอร์ และ เอส. หยาง ผลจากการศึกษาเรื่องความเร็วแนวเล็งของดาวทำให้พบว่ามีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งโคจรอยู่รอบดาวแกมมาเซเฟย์ (ในกลุ่มดาวซีฟิอัส) พวกเขายังคงไม่แน่ใจที่จะรายงานการตรวจพบดาวเคราะห์ เพราะเป็นที่ร่ำลืออยู่ทั่วไปในแวดวงดาราศาสตร์มานานหลายปีแล้วเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทำนองนี้ การศึกษาในยุคนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มากเนื่องมาจากความสามารถของเครื่องมือวัด นอกจากนี้ยังมีความสับสนอีกว่าวัตถุที่สงสัยจะเป็นดาวเคราะห์บางทีอาจเป็นเพียงดาวแคระน้ำตาล ซึ่งมีมวลอยู่กึ่งกลางระหว่างดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ก็ได้
ในปีถัดมามีการค้นพบเพิ่มเติมที่ช่วยยืนยันการมีอยู่ของดาวเคราะห์รอบดาวแกมมาเซเฟย์ แม้ว่างานศึกษาต่อเนื่องในปี ค.ศ. 1992 จะทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมา ตราบจนกระทั่งปี ค.ศ. 2003 เทคนิคที่พัฒนาขึ้นจึงช่วยยืนยันได้ว่าดาวเคราะห์ที่สงสัยนั้นมีอยู่จริง
ช่วงต้นปี ค.ศ. 1992 นักดาราศาสตร์วิทยุ อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน และ เดล เฟรล ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์รอบพัลซาร์อีกแห่งหนึ่ง คือ PSR 1257+12 (กลุ่มดาวหญิงสาว) การค้นพบครั้งนี้ได้รับการยืนยันอย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นการตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบเป็นครั้งแรก เชื่อว่าดาวเคราะห์พัลซาร์เหล่านี้ก่อตัวขึ้นจากเศษซากซูเปอร์โนวาที่ผิดปกติอันเป็นกำเนิดของพัลซาร์แห่งนั้น ซึ่งอาจเป็นการก่อตัวดาวเคราะห์เป็นครั้งที่สอง หรืออาจเป็นแกนหินที่หลงเหลืออยู่จากดาวแก๊สยักษ์ที่รอดจากซูเปอร์โนวา แล้วจึงหมุนวนเข้ามาสู่วงโคจรดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1995 มิเชล ไมยอร์และดีดีเย เกโล แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักแบบปกติเป็นครั้งแรก คือโคจรรอบดาว 51 เพกาซี (กลุ่มดาวม้าบิน) การค้นพบคราวนี้เกิดขึ้นที่หอดูดาว de Haute-Provence และนำไปสู่ยุคใหม่แห่งการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นโดยเฉพาะเทคนิคด้านสเปกโตรสโกปีที่มีความละเอียดสูง ทำให้มีการตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ความก้าวหน้ายังช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถตรวจสอบค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบโดยวิธีทางอ้อมได้โดยการตรวจวัดแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ดวงแม่ นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์นอกระบบอีกจำนวนหนึ่งที่ตรวจพบโดยบังเอิญจากการเฝ้าสังเกตการแปรแสงสว่างปรากฏของดาวฤกษ์โดยมีดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าไป
จนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบแล้ว 3,493 ดวง รวมถึงจำนวนดาวเคราะห์ที่เคยถูกปฏิเสธเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 แต่ได้รับการยืนยันในภายหลัง ระบบดาวแห่งแรกที่ค้นพบว่ามีดาวเคราะห์มากกว่า 1 ดวงได้แก่ อัปซีลอนแอนดรอเมดา โดยที่ได้พบระบบดาวกว่า 590 แห่งแล้วที่มีดาวเคราะห์ในระบบจำนวนหลายดวง ในบรรดาดาวเคราะห์นอกระบบทั้งหมดมีดาวเคราะห์ที่เป็นดาวพัลซาร์ 4 ดวงโคจรรอบพัลซาร์อื่น 2 ดวงที่แยกจากกัน การสังเกตการณ์แผ่นจานฝุ่นระหว่างดาวในช่วงคลื่นอินฟราเรดบ่งชี้อีกว่ามีดาวหางอีกหลายล้านดวงอยู่ในระบบดาวฤกษ์มากมายหลายแห่ง
== วิธีการตั้งชื่อ ==
โดยทั่วไปวิธีการตั้งชื่อของดาวเคราะห์นอกระบบจะคล้ายคลึงกับการตั้งชื่อระบบดาวคู่ แตกต่างกันที่ดาวเคราะห์จะใช้ตัวอักษรตัวเล็กในภาษาอังกฤษ ขณะที่ดาวฤกษ์จะใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ ตัวอักษรตัวเล็กจะถูกเขียนต่อท้ายชื่อดาว โดยเริ่มต้นที่ตัวอักษร "บี" สำหรับดาวเคราะห์ดวงแรกที่ค้นพบในระบบนั้น ๆ เช่น 51 Pegasi b ดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบดวงถัดไปจะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวถัดไป เช่น 51 Pegasi c และ 51 Pagesi d ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบเดียวกันพร้อมกันสองดวงในเวลาเดียวกัน จะให้ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ในระบบดังกล่าวมีอักษรลำดับก่อนหน้า ส่วนดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ห่างออกไปจะมีอักษรลำดับถัดไป อย่างไรก็ดีมีบางกรณีเหมือนกันที่มีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงเล็กกว่าอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากกว่าดาวเคราะห์ดวงที่ค้นพบแล้ว เช่นในระบบ Gliese 876 มีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงล่าสุดชื่อ Gliese 876 d ทั้ง ๆ ที่ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่าดาวเคราะห์ Gilese 876 b และ Gilese 876 c ซึ่งค้นพบมาก่อน ดาวเคราะห์ 55 Cancri f เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในปัจจุบันที่ใช้อักษร f ในชื่อ (หมายถึงมีดาวเคราะห์จำนวนห้าดวงถูกค้นพบในระบบ 55 Cancri) ถือเป็นจำนวนดาวเคราะห์สูงสุดในระบบ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีดาวเคราะห์ที่ใช้อักษรถัดจาก f ไป ประโยชน์ของการใช้อักษรตัวเล็กในการระบุชื่อดาวเคราะห์ปรากฏให้เห็นในกรณีเฉพาะจำนวนหนึ่งเมื่อดาวเคราะห์นั้น ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงที่สองของระบบ เช่น ดาวเคราะห์ 16 Cygni Bb ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ 16 Cygni B เป็นต้น
มีระบบดาวเคราะห์เพียงแค่สองระบบที่มีการตั้งชื่อดาวเคราะห์แบบไม่ปกติ ก่อนการค้นพบดาวเคราะห์ 51 Pegasi b ในปี 1995 ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์พัลซาร์สองดวง (PSR B1257+12 B และ PSR 1257+12 C) จากระยะเวลาที่พัลซาร์ถูกปล่อยออกมาจากซากดาว เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีวิธีการตั้งชื่อดาวเคราะห์อย่างเป็นทางการ ดาวเคราะห์ทั้งสองจึงถูกเรียกว่า "B" และ "C" (คล้ายกับการตั้งชื่อดาวเคราะห์ในปัจจุบัน) การที่เลือกอักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษมาใช้ในการตั้งชื่อมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากวิธีการตั้งชื่อให้แก่ดาวคู่โดยมาก ต่อมาเมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สาม จึงได้รับการตั้งชื่อเป็น PSR B1257+12 A (เพราะดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากกว่าสองดวงที่ถูกค้นพบก่อนหน้า) มีบางครั้งที่การตั้งชื่อใช้อักษรโรมัน (ส่วนมากพบในนิยายวิทยาศาสตร์) ในการเรียงลำดับดาวเคราะห์จากดาวฤกษ์ (มาจากระบบการตั้งชื่อดวงจันทร์แบบเก่า เช่น จูปิเตอร์ IV หมายถึงดวงจันทร์คัลลิสโต) แต่จากเหตุผลดังอธิบายก่อนหน้านี้ วิธีการนี้จึงไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ (ยกตัวอย่างเช่นระบบสุริยะของเรา ดาวพฤหัสบดีย่อมเป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบก่อนดวงอื่น และดาวเสาร์เป็นลำดับถัดมา ส่วนพวกดาวเคราะห์ใกล้โลกจะไม่อาจถูกตรวจพบได้โดยง่าย ดังนั้นดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ย่อมถูกตั้งชื่อว่า Sol I และ Sol II ตามแบบวิธีการตั้งชื่อในนิยายวิทยาศาสตร์ แต่มันจะต้องถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Sol V และ Sol VI หากมีการค้นพบดาวเคราะห์ชั้นในอีก 4 ดวงในภายหลัง แต่ถ้าหากใช้วิธีการตั้งชื่ออย่างระบบปัจจุบัน แม้จะมีการค้นพบดาวเคราะห์ชั้นในในภายหลัง ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ก็ยังคงได้ชื่อว่า Sol b และ Sol c โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ)
ถ้าดาวเคราะห์ไม่ได้โคจรอยู่ในวงโคจรรอบระบบดาวคู่ จะนำตัวอักษรของชื่อดาวฤกษ์นั้นเพิ่มเข้าในชื่อของดาวเคราะห์ด้วย ถ้าดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในระบบ แล้วมีการค้นพบดาวฤกษ์ดวงที่สองภายหลังดาวเคราะห์ หรือดาวฤกษ์ดวงที่สองอยู่ไกลจากดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ดวงแรกค่อนข้างมาก จะไม่มีการนำชื่อดาวนั้นมาเกี่ยวข้อง เช่น ดาวเคราะห์ Tau Bootis b โคจรรอบระบบดาวคู่ แต่ดาวฤกษ์ดวงที่สองถูกค้นพบภายหลังดาวเคราะห์และอยู่ค่อนข้างไกลจากดาวฤกษ์ดวงแรก จึงไม่ค่อยใช้ชื่อดาวเคราะห์เป็น "Tau Boötis Ab" เท่าใดนัก อย่างไรก็ดี (เช่นในกรณีของ 16 Cygni Bb และ 83 Leonis Bb) ถ้าดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงที่สอง จะนำชื่อของดาวดวงนั้นมาใช้ด้วย ดาวเคราะห์บางดวงมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่อาจเทียบได้กับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ที่น่าสนใจได้แก่ Osiris (HD 209458 b) , Bellerophon (51 Pegasi b) และ Methuselah (PSR B1620-26 b) ปัจจุบันนี้ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลยังไม่มีแผนจะกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อดาวเคราะห์นอกระบบอย่างเป็นทางการ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเหลือวิสัยและไม่ได้ผล
== วิธีการตรวจสอบ ==
ดาวเคราะห์นอกระบบจะเป็นดาวที่จางมาก ๆ เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ดวงแม่ของมัน ในระดับความยาวคลื่นที่ตามองเห็นดาวเคราะห์เหล่านี้จะส่องสว่างน้อยกว่าดาวแม่นับล้านเท่า นอกจากความส่องสว่างที่น้อยมาก ๆ แล้ว แสงสว่างจากดาวฤกษ์เองก็บดบังดาวเคราะห์ไปเสียด้วย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กล้องโทรทรรศน์ในปัจจุบันจึงสามารถจับภาพโดยตรงของดาวเคราะห์นอกระบบได้เฉพาะดวงที่มีสภาวะพิเศษเท่านั้น คือในกรณีที่ดาวเคราะห์นั้นมีขนาดใหญ่มาก ๆ (ใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี) และอยู่ค่อนข้างห่างจากดาวฤกษ์ดวงแม่ รวมถึงมีความร้อนเพียงพอที่จะแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา
ดาวเคราะห์นอกระบบที่รู้จักโดยส่วนใหญ่เป็นการค้นพบโดยวิธีการทางอ้อม ดังต่อไปนี้:
มาตรดาราศาสตร์: มาตรดาราศาสตร์เป็นการตรวจหาตำแหน่งที่แน่นอนของดาวบนท้องฟ้าและเฝ้าสังเกตเส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวเมื่อผ่านช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าดาวฤกษ์นั้นมีดาวเคราะห์ในระบบ แรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์จะส่งผลต่อดวงดาวให้เคลื่อนที่เป็นวงกลมแคบ ๆ หรือเป็นวงโคจรแบบรีรอบ ๆ จุดศูนย์กลางร่วมของมวลทั้งหมด (ดูภาพประกอบทางขวามือ)
ความเร็วแนวเล็ง หรือวิธีดอปเปลอร์: ความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อดาวเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกห่างจากโลก - กล่าวคือความเร็วแนวเล็งของดาวเมื่อเทียบกับโลก - สามารถคำนวณย้อนไปจากระยะห่างของเส้นสเปกตรัมของดาวฤกษ์ดวงแม่ตามปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดเท่าที่ใช้ในปัจจุบัน
การจับเวลาพัลซาร์: ดาวพัลซาร์ (เศษดาวเล็ก ๆ ที่หนาแน่นมากที่ระเบิดเหมือนซูเปอร์โนวา) จะส่งคลื่นวิทยุอย่างแรงออกมาขณะที่มันหมุนตัว ความผิดปกติจากระยะเวลาส่งคลื่นวิทยุเป็นจังหวะ ๆ ทำให้สามารถตรวจความเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ของพัลซาร์อันเนื่องมาจากการมีอยู่ของดาวเคราะห์ได้
การเคลื่อนผ่าน: ถ้าดาวเคราะห์เดินทางข้ามหรือเคลื่อนผ่านด้านหน้าของแผ่นจานดาวฤกษ์ดวงแม่ของมัน แสงสว่างที่สังเกตได้จากดาวฤกษ์จะลดลงเล็กน้อย ปริมาณแสงที่ลดลงขึ้นกับขนาดของทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ของมัน
ไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง: ไมโครเลนส์เกิดขึ้นเมื่อสนามแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์มีลักษณะคล้ายเลนส์ ทำให้แสงจากดาวอื่นที่อยู่ไกลออกไปด้านหลังขยายใหญ่มากขึ้น วงโคจรของดาวเคราะห์ที่อาจมีพาดผ่านหน้าดาวฤกษ์ทำให้สามารถตรวจจับความผิดปกติกับส่วนโค้งของแสงจากปรากฏการณ์เลนส์ได้
จานฝุ่นละออง: จานของฝุ่นละอองในอวกาศจะห่อหุ้มอยู่รอบดาวฤกษ์หลายดวง เราสามารถตรวจพบฝุ่นละอองเหล่านี้ได้เนื่องจากฝุ่นละอองจะดูดซับแสงปกติของดาวและปลดปล่อยพลังงานออกมาในช่วงคลื่นอินฟราเรด การวิเคราะห์คุณลักษณะของจานฝุ่นละอองสามารถบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์ได้
ดาวคู่อุปราคา: ในระบบดาวคู่อุปราคา เราสามารถตรวจพบดาวเคราะห์ได้จากการเปลี่ยนแปลงของช่วงแสงขณะที่ดาวเคราะห์เคลื่อนผ่านไปผ่านมา วิธีนี้เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในการค้นหาดาวเคราะห์ในระบบดาวคู่
เฟสการโคจร: ดาวเคราะห์นอกระบบก็มีเฟสคล้ายกันกับดวงจันทร์และดาวศุกร์ โดยที่เฟสการโคจรจะขึ้นอยู่กับความเอียงของระนาบการโคจร การศึกษาเฟสการโคจรสามารถคำนวณขนาดอนุภาคในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ได้
การวัดการโพลาไรซ์: แสงของดาวฤกษ์จะถูกโพลาไรซ์โดยโมเลกุลของชั้นบรรยากาศ ซึ่งสามารถตรวจสอบด้วยเครื่องวัดการโพลาไรซ์ นับถึงปัจจุบันมีดาวเคราะห์หนึ่งดวงที่ถูกศึกษาด้วยวิธีนี้
ถ้าไม่นับดาวเคราะห์นอกระบบที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน ดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมากจะถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก อย่างไรก็ตามวิธีการหลายวิธีอาจให้ผลที่ดีกว่าเมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ตั้งอยู่เหนือชั้นบรรยากาศ COROT (ปล่อยขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2006) และ Kepler (ปล่อยขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2009) เป็นเพียงสองโครงการในปัจจุบันที่มีภารกิจในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเพียงไม่กี่ดวง แต่ก็ยังมีโครงการอีกหลายโครงการที่มีภารกิจในค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ เช่น New Worlds Mission. Darwin, Space Interferometry Mission, Terrestrial Planet Finder และ PEGASE
== สมบัติทั่วไป ==
=== ลักษณะของวัตถุท้องฟ้า ===
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ถูกค้นพบในปัจจุบันส่วนมากจะโคจรรอบดาวฤกษ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับดวงอาทิตย์ของเรา คือเป็นดาวฤกษ์ในแถบกระบวนหลักซึ่งมีประเภทสเปกตรัม F, G หรือ K สาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากโปรแกรมการค้นหาที่มุ่งศึกษาดาวฤกษ์ในประเภทนี้ ถึงอย่างไรก็ตามข้อมูลทางสถิติก็บ่งชี้ว่า โอกาสจะพบดาวเคราะห์ในระบบของดาวฤกษ์มวลน้อย (ดาวแคระแดง ซึ่งมีประเภทสเปกตรัม M) ก็ค่อนข้างน้อย หรือมิฉะนั้นตัวดาวเคราะห์เองก็อาจมีมวลต่ำมากทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้น การสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อไม่นานมานี้ได้ค้นพบว่าดาวฤกษ์ในประเภทสเปกตรัม O ซึ่งมีความร้อนกว่าดวงอาทิตย์ของเรา จะมีปรากฏการณ์ การระเหยด้วยแสง ซึ่งส่งผลในทางขัดขวางการก่อตัวของดาวเคราะห์
ดาวฤกษ์ส่วนมากจะประกอบด้วยธาตุเบา อาทิ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม โดยอาจมีส่วนประกอบธาตุหนักอย่างเหล็กในสัดส่วนเล็กน้อย สัดส่วนนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงค่าความเป็นโลหะของดาว ดาวฤกษ์ที่มีค่าความเป็นโลหะสูงจะมีโอกาสที่จะมีดาวเคราะห์สูงกว่า และดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์กลุ่มนี้มีแนวโน้มจะมีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์ซึ่งมีค่าความเป็นโลหะต่ำ
=== ค่าองค์ประกอบที่วัดได้ ===
การสำรวจพบดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์นอกระบบโดยมากมักเป็นการค้นพบโดยวิธีทางอ้อม ดังนั้นจึงสามารถระบุสมบัติทางฟิสิกส์และค่าองค์ประกอบวงโคจรได้เพียงบางส่วนเท่านั้น วิธีความเร็วแนวเล็งทำให้เราทราบค่าองค์ประกอบวงโคจรทั้งหมดยกเว้นความเอียง ซึ่งหมายรวมถึงค่าคาบการโคจร, ระยะครึ่งแกนเอก, ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร, ระยะเชิงมุม ตำแหน่งที่ดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากที่สุด, เวลาที่ดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากที่สุด และ ระยะครึ่งหนึ่งของแอมพลิจูด การที่ไม่ทราบค่าความเอียงทำให้ไม่ทราบมวล และทำให้สามารถระบุได้เพียงค่ามวลต่ำที่สุดเท่านั้น ในบางกรณีวัตถุท้องฟ้าที่ค้นพบอาจเป็นวัตถุมวลมากชนิดอื่น เช่นดาวแคระน้ำตาลหรือดาวแคระแดงก็ได้ อย่างไรก็ตามถ้าวงโคจรดาวเคราะห์นอกระบบมีลักษณะตั้งฉากกับท้องฟ้า (มุมเอียงเกือบ 90 องศา) เราอาจสามารถสังเกตเห็นการเคลื่อนผ่านของดาวเคราะห์ก็ได้ ซึ่งทำให้สามารถวัดค่ามวลที่แท้จริงและรัศมีของดาวได้ด้วย นอกจากนี้การสังเกตการณ์ทางด้านดาราศาตร์และการศึกษาทางด้านพลศาสตร์ในระบบดาวเคราะห์หลายดวงสามารถนำมาใช้กำหนดมวลของดาวเคราะห์ได้
การวัดสเปกตรัมระหว่างการเคลื่อนผ่านสามารถนำมาศึกษาส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่กำลังเคลื่อนผ่านได้ การเคลื่อนผ่านทุติยภูมิ (เกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์อยู่หลังดาวฤกษ์) สามารถใช้ตรวจจับการแผ่รังสีอินฟราเรดจากดาวเคราะห์ได้โดยตรง นอกจากนี้การสังเกตการณ์ในช่วงอินฟราเรดสามารถศึกษารูปแบบความร้อนบนพื้นผิวใกล้ดาวเคราะห์ได้
=== ปรากฏการณ์การเลือก ===
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบส่วนมากจะมีมวลมาก ดังเช่นเดือนสิงหาคม 2008 ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบเกือบทั้งหมดมีมวลมากกว่าโลกหลายสิบเท่า (ยกเว้นเพียง 12 ดวง) มีอยู่หลายดวงที่คาดว่ามีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลมากที่สุดในระบบสุริยะเสียด้วย อย่างไรก็ตามการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีมวลมากนี้เป็นผลอย่างหนึ่งที่เกิดจากปรากฏการณ์การเลือก เพราะวิธีการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบทุกวิธีที่ใช้ล้วนแต่นำไปสู่การค้นพบดาวเคราะห์มวลมากทั้งนั้น ความโน้มเอียงดังกล่าวนี้ทำให้การวิเคราะห์ทางสถิติผิดพลาดไป แต่ดูเหมือนว่าดาวเคราะห์มวลน้อยน่าจะสามารถพบได้มากกว่าดาวเคราะห์มวลมาก โดยสังเกตจากช่วงการกระจายมวลของดาวซึ่งนับรวมดาวเคราะห์ยักษ์ทั้งหมด นอกจากนี้ นักดาราศาสตร์ยังได้ค้นพบดาวเคราะห์จำนวนมากที่มีมวลมากกว่าโลกเพียงไม่กี่เท่า ทั้งที่สามารถตรวจจับได้ยากมาก นี่บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์ในลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมเป็นดาวเคราะห์ที่พบได้ทั่วไป ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วเชิงรัศมีของดาวฤกษ์ความแม่นยำสูงนับถึงปี 2008 เครื่องมือวัดสเปกตรัมในหอดูดาวลาซียา ในประเทศชิลี ประมาณหนึ่งในสิบสี่จะเป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ ขณะที่หนึ่งในสามเป็นดาวเคราะห์หินที่มีมวลต่ำกว่าสามสิบเท่าของมวลโลก
ดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากจะโคจรใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่าในระบบสุริยะ ซึ่งเป็นผลจากการปรากฏการณ์การเลือก ด้วยวิธีการความเร็วแนวเล็งซึ่งสามารถตรวจจับดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรเล็ก ในตอนแรกนักดาราศาสตร์เคยประหลาดใจกับ "ดาวพฤหัสบดีร้อน" (Hot Jupiter) เหล่านี้ แต่ในปัจจุบันค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่าดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมาก (อย่างน้อยก็สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลมาก) จะมีวงโคจรที่ค่อนข้างใหญ่ บางดวงยังตั้งอยู่ในบริเวณซึ่งสามารถเกิดน้ำในรูปแบบของของเหลวหรือสิ่งมีชีวิต จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพบดาวเคราะห์ยักษ์หนึ่งหรือสองดวงในระบบดาวเคราะห์นอกระบบซึ่งมีขนาดพอเหมาะคล้ายดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ในระบบสุริยะของเรา
ค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรเป็นการวัดว่าวงโคจรนั้นมีความรีเพียงใด ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบส่วนมากจะมีค่าความรีค่อนข้างมาก นี่มิได้เป็นผลจากปรากฏการณ์การเลือก เพราะการตรวจจับดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์สามารถเป็นไปได้ไม่ว่าจะมีความรีของวงโคจรเพียงใด การที่ดาวเคราะห์นอกระบบมีวงโคจรที่รีมากจึงเป็นปริศนาข้อใหญ่ เนื่องจากทฤษฎีว่าด้วยการกำเนิดของดาวเคราะห์ในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ควรถือกำเนิดขึ้นด้วยวงโคจรที่ค่อนข้างเป็นวงกลม (กล่าวคือไม่มีความรี) หนึ่งในทฤษฎีที่เป็นไปได้คืออาจมีดาวคู่ดวงเล็ก ๆ ดังเช่น ดาวแคระที (T dwarf: ดาวแคระน้ำตาลประกอบด้วยมีเทน) ซ่อนอยู่ในระบบดาวฤกษ์นั้นและเป็นสาเหตุให้วงโคจรของดาวเคราะห์มีลักษณะสุดโต่งดังที่เห็น ทฤษฎีนี้ยังอธิบายได้อีกว่า ระบบสุริยะของเราต่างหากที่ผิดปรกติ เนื่องจากดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ยกเว้นดาวพุธ จะมีวงโคจรที่ค่อนข้างกลม
=== ดาวเคราะห์นอกระบบที่เหมือนกัน ===
นับถึงต้นปี ค.ศ. 2009 มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบแล้วมากกว่า 300 ดวง และยังมีการค้นพบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดร. อลัน บอส แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์คาร์เนกีประมาณว่า อาจจะมีดาวเคราะห์นอกระบบถึงหนึ่งแสนล้านดวงเฉพาะในดาราจักรทางช้างเผือกของเรา ดร.บอส เชื่อว่ามีดาวเคราะห์นอกระบบหลายดวงที่มีรูปแบบชีวิตอย่างง่าย และอาจมีอารยธรรมนับพัน ๆ แห่งอยู่ในดาราจักรของเรา ดร.บอส คาดว่าดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ทุกดวงจะมีดาวเคราะห์คล้ายโลกเฉลี่ยแห่งละ 1 ดวง
งานวิจัยล่าสุดที่มหาวิทยาลัยเอดินเบอระพยายามจะระบุถึงจำนวนอารยธรรมที่อาจมีอยู่ในอวกาศภายนอก ผลงานวิจัยระบุว่าอาจมีนับเป็นจำนวนหลายพันแห่ง
=== คำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ ===
มีคำถามที่ยังตอบไม่ได้จำนวนมากเกี่ยวกับคุณสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบ อย่างเช่น รายละเอียดขององค์ประกอบของดาว และโอกาสที่ดาวเหล่านี้จะมีดวงจันทร์ของตัวเอง ในปัจจุบันพบว่าดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากไม่มีน้ำซึ่งแสดงว่ายังคงต้องมีการศึกษาสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มเติม อีกคำถามหนึ่งคือมีสิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์นอกระบบหรือไม่ ดาวเคราะห์หลาย ๆ ดวงมีวงโคจรอยู่ในระยะที่สามารถมีสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งมีโอกาสที่เงื่อนไขหลายประการทำให้ดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่ดาวเคราะห์เหล่านี้ส่วนมากเป็นดาวเคราะห์ยักษ์คล้ายดาวพฤหัสบดีมากกว่า ถ้าดาวเคราะห์เหล่านี้มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ เป็นไปได้ว่าดวงจันทร์เหล่านั้นจะสามารถเป็นแหล่งกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้ การตรวจหาสิ่งมีชีวิตบนดาวที่อยู่ห่างไกล (ยังไม่นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมหรือไม่) เป็นสิ่งที่น่าท้าทายอย่างยิ่งและอาจยังเป็นไปไม่ได้ในช่วงระยะเวลาหลายปีนี้ แม้ว่าการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาก็ตาม
== ดาวเคราะห์นอกระบบที่น่าสนใจ ==
=== การค้นพบครั้งแรก ===
การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกมีการบันทึกไว้ในปี ค.ศ. 1992 เมื่อ อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน และ เดล เฟรล ได้ตีพิมพ์ผลการค้นพบลงในวารสาร Nature โดยประกาศการค้นพบดาวเคราะห์รอบพัลซาร์แห่งหนึ่ง คือ PSR 1257+12 โวลส์ชานค้นพบพัลซาร์ระดับมิลลิวินาทีตัวปัญหานั้นเมื่อปี ค.ศ. 1990 ณ หอดูดาวอเรบิโก นี่เป็นการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกที่ได้รับการยืนยัน และยังคงเป็นที่น่าสนใจอย่างมากเนื่องจากดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวโคจรรอบพัลซาร์
การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักคือ ดาวเคราะห์ 51 Pegasi b ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ 51 Pegasi ค้นพบโดยมิเชล ไมยอร์และดีดีเย เกโล ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1995 นักดาราศาสตร์ค่อนข้างตื่นเต้นกับการค้นพบ ดาวพฤหัสบดีร้อน ดวงนี้ หลังจากนั้นไม่นานการค้นพบดาวเคราะห์ในลักษณะเดียวกันก็มีมากขึ้น
=== การค้นพบที่น่าสนใจอื่น ๆ ===
หลังจากการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในครั้งแรก ก็ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก ที่โดดเด่นและน่าสนใจมีดังต่อไปนี้
==== ค.ศ. 1996 ถึง 2006 ====
1996, 47 Ursae Majoris b: เป็นดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี และเป็นดาวเคราะห์คาบยาวดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยโคจรรอบดาวฤกษ์ด้วยรัศมีวงโคจร 2.11 หน่วยดาราศาสตร์และความรี 0.049 ดาวเคราะห์คู่ของมันอีกดวงหนึ่งโคจรด้วยรัศมีวงโคจร 3.39 หน่วยดาราศาสตร์และความรี 0.220 ± 0.028 มีคาบการโคจร 2190 ± 460 วัน
1998, กลีเซอ 876 บี: เป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ถูกค้นพบว่ามีวงโคจรรอบดาวแคระแดง Gliese 876 โดยมีรัศมีวงโคจรรอบดาวฤกษ์ใกล้กว่าระยะที่ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบในเวลาต่อมาส่วนมากจะมีวงโคจรใกล้ดาวฤกษ์เช่นกัน
1999, อัปซีลอนแอนดรอเมดา: เป็นระบบดาวเคราะห์แบบพหุระบบแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่ถูกค้นพบ ประกอบด้วยดาวเคราะห์จำนวนสามดวง ทั้งหมดเป็นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายดาวพฤหัสบดี ได้แก่ ดาวเคราะห์ Upsilon Andromedae b, Upsilon Andromedae c, Upsilon Andromedae d ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1996, 1999 และ 1999 ตามลำดับ ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีมวล 0.687, 1.97 และ 3.93 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี และมีรัศมีวงโคจรห่างจากดาวฤกษ์ 0.0595, 0.830 และ 2.54 หน่วยดาราศาสตร์ตามลำดับ ในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการค้นพบว่าความเอียงของวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบดังกล่าวไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน
1999, HD 209458 b: ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เดิมได้ถูกค้นพบโดยวิธีความเร็วแนวเล็ง และต่อมาเป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์การเคลื่อนผ่าน ซึ่งช่วยยืนยันผลการตรวจจับดาวเคราะห์ต้องสงสัยที่ค้นพบด้วยวิธีการวัดความเร็วแนวเล็งว่ามีอยู่จริง
2001, HD 209458 b: นักดาราศาสตร์ผู้ใช้งานกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ประกาศว่า พวกเขาสามารถตรวจวัดชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ HD 209458 b ได้ นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแถบสเปกตรัมของธาตุโซเดียมในชั้นบรรยากาศ แต่ก็มีความเข้มข้นน้อยกว่าที่คาดไว้ ซึ่งอาจเป็นผลจากการที่มีเมฆบดบังบรรยากาศชั้นล่างเป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ. 2008 ได้มีการวัดค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของชั้นเมฆ โครงสร้างของชั้นบรรยากาศบ่งชี้ว่าเป็นบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์
2001, Iota Draconis b: เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ถูกค้นพบรอบดาว Iota Draconis ซึ่งเป็นดาวยักษ์สีส้ม เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการมีอยู่และพฤติกรรมของระบบดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ยักษ์ ดาวยักษ์ส่งแสงสว่างเป็นช่วง ๆ แสดงถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลมากและมีความรีของวงโคจรค่อนข้างมาก วงโคจรของมันมีระยะทางมากกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ประมาณ 27.5 เปอร์เซ็นต์ ในปี ค.ศ. 2008 จุดศูนย์กลางของระบบจะมองเห็นอยู่ในกระจุกดาวลูกไก่ ใกล้กับดาว Epsilon Tauri
2003, PSR B1620-26 b: ในวันที่ 10 มิถุนายน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นำโดย สเตน ซิกุร์ดสัน อาศัยข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ยืนยันถึงดาวเคราะห์นอกระบบที่มีอายุมากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ดาวเคราะห์ดังกล่าวตั้งอยู่ในกระจุกดาวทรงกลม M4 อยู่ห่างจากโลกไป 5,600 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวแมงป่อง นี่เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เรารู้จักซึ่งพบว่าโคจรรอบระบบดาวคู่ โดยที่ดาวดวงหนึ่งในระบบดาวคู่เป็นพัลซาร์ และอีกดวงหนึ่งเป็นดาวแคระขาว ดาวเคราะห์นี้มีมวลเป็นสองเท่าของดาวพฤหัสบดี และประมาณว่ามีอายุประมาณ 13,000 ล้านปี
2004, Mu Arae c: ในเดือนสิงหาคม เครื่องวัดสเปกตรัม HARPS ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ค้นพบดาวเคราะห์โคจรรอบดาว Mu Arae ด้วยมวลประมาณสิบสี่เท่าของมวลโลก เมื่อพิจารณาองค์ประกอบเบื้องต้นของดาวแล้ว จัดว่าดาวเคราะห์นี้เป็น "ดาวเนปจูนร้อน" (hot Neptune) หรือ "ซูเปอร์เอิร์ธ" (super-Earth) ที่มีการค้นพบเป็นดวงแรก
2004, 2M1207 b: เป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ค้นพบว่าโคจรรอบดาวแคระน้ำตาล และเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่สามารถถ่ายภาพในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดได้ จากการประมาณการครั้งแรกดาวนี้มีมวลเป็นห้าเท่าของมวลดาวพฤหัสบดี แต่การประมาณครั้งอื่นได้ค่ามวลที่ต่ำกว่านี้ มีรัศมีวงโคจรจากดาวแคระน้ำตาล 55 หน่วยดาราศาสตร์ โดยที่ดาวแคระน้ำตาลดังกล่าวนี้มีมวลเพียง 25 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดีเท่านั้น อุณหภูมิของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์นี้สูงมาก (1250 เคลวิน) ซึ่งเกิดจากความหนาแน่นของความโน้มถ่วง ปลายปี ค.ศ. 2005 ค่าองค์ประกอบของดาวเคราะห์ได้ปรับปรุงใหม่ โดยมีวงโคจรที่ 41 หน่วยดาราศาสตร์และมวลเป็น 3.3 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าดาวฤกษ์แม่อยู่ใกล้กับโลกมากกว่าที่เคยเข้าใจกัน ในปี ค.ศ. 2006 มีการค้นพบแผ่นจานฝุ่นรอบดาว 2M1207 อันเป็นหลักฐานแสดงว่าการก่อตัวของดาวเคราะห์ยังคงดำเนินอยู่
2005, กลีเซอ 876 ดี: ในเดือนมิถุนายน มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สามของดาวแคระแดง กลีเซอ 876 ดาวเคราะห์นี้มีมวล 7.5 เท่าของโลก ปัจจุบันจัดว่าเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองเท่าที่ค้นพบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก เป็นไปได้ว่าจะมีองค์ประกอบหลักเป็นหิน มีรัศมีวงโคจร 0.021 หน่วยดาราศาสตร์ คาบการโคจร 1.94 วัน
2005, HD 149026 b: ในเดือนกรกฎาคม มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีแกนใหญ่ที่สุด คือดาวเคราะห์ HD 149026 b โคจรรอบดาว HD 149026 มีแกนกลางขนาดประมาณ 70 เท่าของมวลโลก (ในปี 2008 พบว่าแกนมีขนาดประมาณ 80 ถึง 110 เท่าของมวลโลก) เป็นสัดส่วนประมาณสองในสามของมวลดาวเคราะห์
2006, OGLE-2005-BLG-390Lb: ในวันที่ 25 มกราคม มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ OGLE-2005-BLG-390Lb ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกมากที่สุด และอาจมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวเคราะห์นี้โคจรรอบดาวแคระแดง ซึ่งห่างจากโลก 21,500 ปีแสง เข้าไปในบริเวณใจกลางของดาราจักรทางช้างเผือก การค้นพบทำโดยวิธีไมโครเลนส์ของความโน้มถ่วง ประมาณว่าดาวเคราะห์นี้มีมวลราว 5.5 เท่าของโลก จัดว่าเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลน้อยที่สุดซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก ก่อนหน้าการค้นพบครั้งนี้ ดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลน้อยนั้นจะถูกพบใกล้กับดาวฤกษ์มาก แต่ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ห่างจากดาวฤกษ์แม่ของมันถึง 2.6 หน่วยดาราศาสตร์
2006, HD 69830: เป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับดาวเนปจูน 3 ดวง ถือเป็นระบบดาวเคราะห์สามดวงระบบแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์โดยที่ไม่มีดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดีอยู่เลย มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ทั้งสามดวงในวันที่ 18 พฤษภาคม โดยโลวิส ดาวเคราะห์ทั้งสามดวงโคจรอยู่ในรัศมี 1 หน่วยดาราศาสตร์ ดาวเคราะห์ HD 69830 b, HD 69830 c, HD 69830 d มีมวล 10, 12 และ 18 เท่าของโลกตามลำดับ ดวงที่อยู่นอกสุดคือ d จัดว่าอยู่ในแถบที่สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ พ้นจากนั้นไปล้อมไว้ด้วยแถบดาวเคราะห์น้อย
==== ค.ศ. 2007 ถึง 2008 ====
2007, HD 209458 b และ HD 189733 b: ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 องค์การนาซาและวารสาร Nature ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ HD 209458 b และ HD 189733 b ว่าเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสองดวงแรกที่สามารถสังเกตสเปกตรัมได้ ซึ่งเป็นกระบวนการวิธีชนิดแรกที่ใช้ค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่อาจมีสิ่งที่มีชีวิตที่ไม่มีปัญญาโดยสังเกตจากผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ กลุ่มนักค้นคว้าซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์นาซ่าประจำศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดภายใต้การนำของดอกเตอร์ เจเรมี ริชาร์ดสัน ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ในวารสาร Nature ว่า สเปกตรัมที่สามารถวัดได้จากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ HD 209458 b อยู่ในช่วง 7.5 ถึง 13.2 ไมโครเมตร ผลการศึกษานี้นำไปสู่ทฤษฎีต่าง ๆ มากมาย เส้นสเปกตรัมที่ตรวจพบควรมีค่าสูงสุดอยู่ที่บริเวณ 10 ไมโครเมตรซึ่งแสดงว่ามีไอน้ำในชั้นบรรยากาศ แต่ค่าสูงสุดนี้ไม่ปรากฏ แสดงว่าไม่มีไอน้ำในบรรยากาศ ทว่ากลับมีจุดยอดที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ปรากฏขึ้นที่ 9.65 ไมโครเมตรซึ่งแสดงถึงกลุ่มเมฆฝุ่นซิลิกา อันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยสังเกตพบมาก่อน จุดยอดเหนือการคาดการณ์อีกจุดอยู่ที่ 7.78 ไมโครเมตรเป็นตำแหน่งที่ยังไม่สามารถอธิบายอะไรได้ นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งนำโดย มาร์ค สเวน แห่งห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่น ได้ทำการศึกษาผลสังเกตจากข้อมูลของทีมของ ดร.ริชาร์ดสัน และได้ข้อสรุปอย่างเดียวกัน พวกเขาส่งผลงานไปยัง Astrophysical Journal Letters คณะทำงานอีกชุดหนึ่งนำโดย คาร์ล กริลแมร์ แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์สปิตเซอร์ขององค์การนาซ่า ได้เฝ้าสังเกตดาวเคราะห์ HD 189733 b ผลการศึกษาของเขาถูกระงับการตีพิมพ์ใน Astrophysical Journal Letters ขณะที่มีการประกาศข่าวนี้ ต่อมาในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ผลการสำรวจโดยศูนย์วิทยาศาสตร์สปิตเซอร์จึงได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature โดยระบุว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์สามารถตรวจจับร่องรอยของไอน้ำบนดาวเคราะห์ได้ ถือเป็นหลักฐานการค้นพบน้ำเป็นครั้งแรกในดาวเคราะห์นอกระบบ
2007, กลีเซอ 581 ซี: ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2007 เวลา 16.23 นาฬิกาตามเวลาฝั่งตะวันออกของอเมริกา Space.com ได้ประกาศว่าดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้สามารถมีน้ำในสถานะของเหลวและมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิต แม้จะยังไม่มีหลักฐานการตรวจพบน้ำในสถานะของเหลว แต่ตำแหน่งของดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ในแถบที่อาจค้นพบสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขว่าอาจมีน้ำในสถานะของเหลวบนดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ อย่างไรก็ดี จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการอยู่อาศัยของดาว เชื่อว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์อาจมีปรากฏการณ์เรือนกระจกคล้ายกับดาวศุกร์ ซึ่งทำให้อาจไม่พบน้ำในสถานะของเหลว ผลการศึกษานี้ระบุว่า ดาวเคราะห์ดวงที่สามในระบบ คือ กลีเซอ 581 ดี มีความเป็นไปได้ในการอยู่อาศัยมากกว่า เซท โชสแตก นักดาราศาสตร์อาวุโสและสถาบันเซติ ระบุว่าจากข้อมูลงานวิจัยทั้งสองชิ้น กลีเซอ 581 ถูกจัดให้เป็นระบบดาวที่มีโอกาสค้นพบสิ่งมีชีวิตทรงปัญญา แม้จะยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ชัดเจน การยืนยันตำแหน่งของดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้ใช้อุปกรณ์ HARPS ในกล้องดูดาวขนาด 3.6 เมตรของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปโดยใช้วิธีการวัดความเร็วแนวเล็ง
2007, กลีเซอ 436 บี : เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวเคราะห์คล้ายดาวเนปจูนที่ค้นพบเป็นดวงแรก ๆ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 ต่อมามีการสังเกตพบการเคลื่อนผ่านในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งทำให้เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดและมีมวลน้อยที่สุดที่มีการเคลื่อนผ่าน (ขนาด 22 เท่าของมวลโลก) ภายในแกนกลางขนาดใหญ่ประกอบด้วยน้ำที่แข็งตัวซึ่งเรียกว่า น้ำแข็งร้อน (hot ice) ซึ่งสามารถคงอยู่ได้ทั้งที่อุณหภูมิของดาวร้อนจัดก็เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดาวซึ่งทำให้น้ำมีความหนาแน่นสูงมาก
2007, XO-3b : เป็นดาวเคราะห์ที่มีมวล 13.24 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี ถือเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลมากที่สุดที่สังเกตพบการเคลื่อนผ่าน และเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลมากที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน โดยมีมวลมากกว่าขีดจำกัดมวลของดาวแคระน้ำตาลที่ 13 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี มีรัศมี 1.92 เท่าของดาวพฤหัสบดี จึงเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีคาบโคจร 3.19 วัน วงโคจรมีความรี 0.22 จัดว่ามีความเยื้องศูนย์กลางสูงมากสำหรับดาวเคราะห์ที่มีคาบการโคจรสั้น
2007, TrES-4 : เป็นดาวเคราะห์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ที่สุดและมีความหนาแน่นน้อยที่สุด โดยมีรัศมี 1.7 เท่าของดาวพฤหัสบดี แต่มีมวล 0.84 เท่าของดาวพฤหัสบดี มีความหนาแน่นประมาณ 0.2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (ใกล้เคียงกับไม้บาลซ่า) มีรัศมีวงโคจรค่อนข้างเล็กทำให้มีอุณหภูมิสูง แต่ลำพังเพียงความร้อนจากดาวฤกษ์ยังไม่เพียงพอในการอธิบายขนาดอันใหญ่โตของดาวเคราะห์ได้
2008, OGLE-2006-BLG-109Lb และ OGLE-2006-BLG-109Lc: ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ได้มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์ที่คล้ายดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ ด้วยอัตราส่วนมวลและระยะห่างจากดาวฤกษ์ที่ใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ การค้นพบนี้มีความสำคัญเนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะค้นพบสิ่งมีชีวิตคล้ายในระบบสุริยะ เนื่องจากดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ทำหน้าที่กวาดดาวเคราะห์น้อยออกจากบริเวณที่สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้
2008, HD 189733 b: ในวันที่ 20 มีนาคม วารสารวิทยาศาสตร์ Nature ได้ตีพิมพ์ผลสืบเนื่องของการศึกษาสเปกตรัมของดาวเคราะห์นอกระบบโดยประกาศถึงการค้นพบโมเลกุลอินทรีย์ในดาวเคราะห์นอกระบบเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ในปี 2007 เคยมีการตรวจพบไอน้ำจากการสังเกตสเปกตรัมของดาวเคราะห์ HD 189733 b มาก่อนแล้ว แต่การวิเคราะห์ครั้งใหม่นี้ นอกจากน้ำแล้วยังพบว่าดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวมีส่วนประกอบของมีเทนในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ แม้ว่าโดยลักษณะของดาวเคราะห์ HD 189733 b จะเป็นไปได้ยากที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต แต่ก็นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบโมเลกุลอินทรีย์ในดาวเคราะห์นอกระบบ
2008, HD 40307: ในวันที่ 16 มิถุนายน มิเชล เมเยอร์ ได้ประกาศการค้นพบระบบดาวเคราะห์ซึ่งประกอบด้วยซูเปอร์เอิร์ธสามดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีสเปกตรัม K โดยมีมวลระหว่าง 4 ถึง 9 เท่าของมวลโลก และมีคาบการโคจร 4 ถึง 20 วัน นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์ที่ปราศจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ ดาวเคราะห์คล้ายโลกทั้งสามดวงนี้เป็นดาวเคราะห์หินซึ่งถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์ HARPS ในหอดูดาวลาซียา ประเทศชิลี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในกลุ่ม 7 ดวงแรกของวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นดาวเคราะห์ 45 ดวงที่ได้รับการยืนยัน ตรวจจับได้โดย HARPS เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2008 ผลจากการนี้ทำให้สัดส่วนดาวเคราะห์มวลต่ำเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดีในอัตราส่วนถึง 3 ต่อ 1
2008; โฟมัลฮอต บี: ในวันที่ 13 พฤศจิกายน นาซ่า และ Lawrence Livermore National Laboratory ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบโคจรอยู่ในวงแหวนฝุ่นของดาวโฟมัลฮอต (Alpha Piscis Austrini) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่สามารถถ่ายภาพได้โดยตรงด้วยกล้องโทรทรรศน์เชิงแสง มีมวลประมาณ 3 เท่าของดาวพฤหัสบดี
2008; HR 8799: ในวันที่ 13 พฤศจิกายน วันเดียวกับที่ค้นพบดาว Fomalhaut b ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์สามดวงโคจรรอบดาว HR 8799 เป็นครั้งแรกที่สามารถถ่ายภาพระบบดาวเคราะห์ได้โดยตรง คริสเตียน มารัวส์ จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์เฮอร์สเบิร์ก สภาวิจัยแห่งชาติประเทศแคนาดา และคณะ ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ Keck กับกล้องเจมินีในฮาวาย ซึ่งภาพจากกล้องเจมินีได้ช่วยให้คณะทำงานนานาชาติสามารถค้นพบดาวเคราะห์ 2 ดวงในขั้นต้นได้จากข้อมูลที่เคยเก็บไว้ตั้งแต่ 17 ตุลาคม 2007 ต่อมาในวันที่ 25 ตุลาคม 2007 และในฤดูร้อนปี 2008 คณะทำงานได้ยืนยันการค้นพบนี้ และพบดาวเคราะห์ดวงที่สามโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ยิ่งกว่าดวงอื่น ๆ โดยอาศัยภาพที่ถ่ายได้จากกล้องโทรทรรศน์ Keck II เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลสังเกตการณ์เดิมที่เคยบันทึกไว้ใน ค.ศ. 2004 ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ดาวเคราะห์ทั้งสามดวงนี้ปรากฏอยู่บนภาพ มวลของดาวเคราะห์และระยะห่างจากดาวฤกษ์มีค่าโดยประมาณดังนี้ 10 MJ @ 24 AU, 10 MJ @ 38 AU และ 7 MJ @ 68 AU ตามลำดับ
2009; COROT-Exo-7b: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2009 องค์การอวกาศยุโรป (โดยดาวเทียม COROT ของฝรั่งเศส) ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ COROT-Exo-7 ที่ระยะห่างน้อยกว่า 0.02 หน่วยดาราศาสตร์ แต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวเคราะห์มีค่าราว 1.7 เท่าของโลก ทำให้ดาวเคราะห์นี้เป็นดาวซูเปอร์เอิร์ธขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยตรวจพบ เนื่องจากดาวเคราะห์นี้พบในระยะประชิดกับดาวฤกษ์แม่มาก จึงเชื่อว่าอุณหภูมิพื้นผิวน่าจะสูงถึง 1000–1500 °C
2009; กลีเซอ 581 อี: วันที่ 21 เมษายน 2009 หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ 4 โคจรรอบดาว Gliese 581 ที่ระยะห่างน้อยกว่า 0.03 หน่วยดาราศาสตร์ ประเมินว่าดาวเคราะห์นี้มีมวลต่ำสุดประมาณ 1.9 เท่าของมวลโลก ทำให้เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่เบาที่สุดเท่าที่เคยมีการตรวจพบ
=== ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบในแบบต่าง ๆ ===
== ดูเพิ่ม ==
รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ
ดาวเคราะห์พัลซาร์
ซูเปอร์เอิร์ธ
ดาวเนปจูนร้อน
ดาวพฤหัสบดีร้อน
ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์
ดาวเคราะห์คล้ายโลก
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
โครงการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ:
โครงการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
The Geneva Extrasolar Planet Search Programmes
PlanetQuest distributed computing project
SuperWASP Wide Angle Search for Planets
โครงการค้นหา Custer ว่าด้วยอาสาสมัครที่เป็นมือสมัครเล่น
แหล่งข้อมูล:
โครงการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบขององค์การนาซา
"โพ้นระบบสุริยะ" โดย ทีมสำรวจสุริยะขององค์การนาซา
ศูนย์ค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ Jena/Tautenburg ที่ประเทศเยอรมัน
The Extrasolar Planets Encyclopaedia
ประเภทของดาวเคราะห์
วัตถุทางดาราศาสตร์
ดาวเคราะห์ | thaiwikipedia | 690 |
เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า | เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (celestial equator) ในระบบพิกัดศูนย์สูตร คือ วงกลมใหญ่บนทรงกลมท้องฟ้าที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับเส้นศูนย์สูตรของโลก เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าทำมุมเอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก
ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้า
สเส้นศูนย์สูตรฟ้า
กลศาสตร์ท้องฟ้า | thaiwikipedia | 691 |
ทรงกลมท้องฟ้า | ในทางดาราศาสตร์และการเดินเรือ ทรงกลมท้องฟ้า (Celestial sphere) คือ ทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางมวลร่วมกันกับโลก
คนยุคโบราณเชื่อกันว่าดาวฤกษ์ทุกดวงในท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกด้วยระยะทางเท่า ๆ กัน และเป็นแบบจำลองที่ถูกต้องของเอกภพ แต่ในความเป็นจริง วัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ อยู่ห่างจากโลกมากจนไม่สามารถคะเนระยะห่างที่แท้จริงได้ด้วยตาเปล่า บอกได้เพียงทิศทางที่ปรากฏเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แบบจำลองทรงกลมท้องฟ้าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับวิชาวัดตำแหน่งดาว เราสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางการปรากฏของวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ได้ด้วยระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้า
ทรงกลมท้องฟ้าสามารถแบ่งออกเป็นซีกท้องฟ้าเหนือและซีกท้องฟ้าใต้โดยมีเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าคั่นกลาง ขณะที่โลกหมุนรอบแกนหมุน วัตถุในทรงกลมท้องฟ้าจะปรากฏเคลื่อนที่หมุนไปรอบขั้วท้องฟ้าด้วยคาบ 24 ชั่วโมง เรียกว่าการเคลื่อนที่ประจำวัน ขณะที่โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ทรงกลมท้องฟ้าจะหมุนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างก็ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
ดาราศาสตร์
ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้า
ทรงกลม | thaiwikipedia | 692 |
สุริยวิถี | สุริยวิถี (Ecliptic) คือ ระนาบทางเรขาคณิตที่เป็นระนาบวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบนี้ เมื่อมองจากโลก สุริยวิถีเป็นวงกลมใหญ่บนทรงกลมท้องฟ้าที่แทนเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ระนาบนี้ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 5°
เนื่องจากดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปตามสุริยวิถีเป็นมุม 360 องศา ในระยะเวลาประมาณ 365.25 วัน หรือ 1 ปี ดวงอาทิตย์จึงเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราประมาณ 1° ต่อวัน โดยมีทิศทางจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ตรงข้ามกับการหมุนของทรงกลมท้องฟ้า
สุริยวิถีกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าตัดกันที่จุด 2 จุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ จุดวสันตวิษุวัตและจุดศารทวิษุวัต เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึง 2 ตำแหน่งนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวนานเท่ากันสำหรับผู้สังเกตบนผิวโลก (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน-กลางคืน เช่น บรรยากาศโลก)
จุดที่สุริยวิถีอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุดขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า จุดครีษมายัน และลงไปทางใต้เรียกว่า จุดเหมายัน หากดวงจันทร์ผ่านแนวสุริยวิถีขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ระวี ภาวิไล, ระบบกำหนดตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า จาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1
ดาราศาสตร์
ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้า | thaiwikipedia | 693 |
เบียร์อาซาฮี | เบียร์อาซาฮี เป็นเบียร์ยี่ห้อหนึ่งของญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยโดย บริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด
== ดูเพิ่ม ==
ซัปโปะโระบริวเวอรี
== อ้างอิง ==
Asahi buys 19.9% stake in Elders - Asahi Breweries Ltd., Elders IXL Ltd
ตราสินค้าเบียร์
อาซาฮี
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ญี่ปุ่น
บริษัทนานาชาติที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น
บริษัทในโตเกียว | thaiwikipedia | 694 |
อาหาร | อาหาร หมายถึงสสารใด ๆ ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต หรือกระตุ้นการเจริญเติบโต เช่น ข้าว น้ำ หรืออื่น ๆ
ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การเก็บของป่าล่าสัตว์และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด
สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร
สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย"
== แหล่งอาหาร ==
อาหารอื่นซึ่งไม่ได้มาจากพืชหรือสัตว์ มีทั้งเห็ดราที่รับประทานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็ด เห็ดราและแบคทีเรียในบรรยากาศถูกใช้ในการเตรียมอาหารหมักหรือดอง เช่น ขนมปังมีเชื้อ (leavened bread), เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เนยแข็ง, อาหารดอง, คมบุชะ (kombucha) และโยเกิร์ต อีกตัวอย่างหนึ่งคือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน อาทิ สไปรูไลนา สสารอนินทรีย์เช่น เบกกิงโซดาและครีมทาร์ทาร์ (โพแทสเซียมไบทาร์เทรต) ยังถูกใช้ทางเคมีเพื่อเป็นส่วนประกอบอาหารอีกด้วย
=== พืช ===
พืชหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชบางชนิดสามารถรับประทานเป็นอาหาร มีพืชที่มนุษย์เพาะปลูกเพื่อเป็นอาหารราว 2,000 ชนิด และพืชหลายชนิดมีหลายพันธุ์ปลูก (cultivar) ที่แตกต่างกัน
เมล็ดพืชเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย เพราะเมล็ดมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในช่วงแรกของพืช ซึ่งมีทั้งไขมันที่มีประโยชน์ อย่าง กรดไขมันโอเมกา-3 อันที่จริงแล้ว อาหารส่วนใหญ่ที่มนุษย์บริโภคนั้นเป็นเมล็ดพืชอยู่แล้ว เมล็ดพืชที่รับประทานได้นั้น มีทั้งธัญพืช (ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าว เป็นต้น), ถั่ว (ถั่วฝัก ถั่วฝักเมล็ดกลม ถั่วเมล็ดแบน เป็นต้น) และผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ดน้ำมันมักนำไปคั้นเอาน้ำมัน เช่น ดอกทานตะวัน ลินิน ผักกาดก้านขาว (รวมทั้งน้ำมันคาโนลา) งา เป็นต้น
เมล็ดพืชมีปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวสูงมาก และถูกมองว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แม้จะไม่ใช่เมล็ดพืชทุกชนิดที่รับประทานได้ เมล็ดพืชขนาดใหญ่ เช่น เมล็ดมะนาว อาจก่อให้เกิดอาการหอบได้ ขณะที่เมล็ดแอปเปิลและเชอร์รีมีพิษ (ไซยาไนด์)
ผลไม้เป็นรังไข่ของพืชที่สุกแล้ว รวมทั้งเมล็ดที่อยู่ข้างใน พืชจำนวนมากมีผลไม้วิวัฒนาแล้วซึ่งมีลักษณะดึงดูดเป็นแหล่งอาหารแก่สัตว์ เพื่อที่ว่าสัตว์จะได้กินผลไม้นั้นและขับถ่ายเอาเมล็ดพืชไกลออกไป ดังนั้น ผลไม้จึงเป็นส่วนสำคัญในอาหารหลายวัฒนธรรม ผลไม้สวนครัว อย่างมะเขือเทศ มะละกอ และมะเขือ กินเหมือนผัก
ผักเป็นพืชประเภทที่สองที่รับประทานเป็นอาหารโดยทั่วไป ซึ่งรวมทั้งผักกินหัว (มันฝรั่งและแครอท) ผักกินใบ (ผักขมและผักกาดหอม) ผักต้น (หน่อไม้และหน่อไม้ฝรั่ง) และผักช่อ (อาร์ทิโชกและบรอกโคลี)
=== สัตว์ ===
สัตว์ใช้เป็นอาหารไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมผ่านผลิตภัณฑ์ของสัตว์ เนื้อเป็นตัวอย่างหนึ่งของผลิตภัณฑ์โดยตรงที่นำมาจากสัตว์ ซึ่งมาจากระบบกล้ามเนื้อหรือจากอวัยวะ ผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งผลิตจากสัตว์มีทั้งนมที่ผลิตจากต่อมน้ำนม ซึ่งในหลายวัฒนธรรมมีการดื่มหรือผ่านกระบวนการเป็นผลิตภัณฑ์นม (เนยแข็ง เนย เป็นต้น) นอกเหนือจากนี้ นกหรือสัตว์อื่นวางไข่ ซึ่งมักนำมาเป็นอาหาร และผึ้งผลิตน้ำผึ้งจากน้ำต้อยของดอกไม้ ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่ได้รับความนิยมในหลายวัฒนธรรม บางวัฒนธรรมบริโภคเลือด บางครั้งในรูปของไส้กรอกเลือด โดยเป็นสารเพิ่มความเข้มข้นของซอส หรือแช่เกลือกินในเวลาที่ขาดแคลนอาหาร และมีการใช้เลือดในสตู เช่น ชะมด
บางวัฒนธรรมและคนไม่บริโภคเนื้อหรือผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม อาหาร สุขภาพ เชื้อชาติ หรืออุดมการณ์ มังสวิรัติไม่บริโภคเนื้อ คือ อาหารใด ๆ ซึ่งเป็นหรือประกอบด้วยส่วนประกอบอาหารจากสัตว์
== การผลิต ==
แต่เดิมมนุษย์ได้อาหารมาโดยวิธีเกษตรกรรม ด้วยความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นในธุรกิจการเกษตรของบรรษัทข้ามชาติซึ่งถือครองผลผลิตอาหารโลกผ่านสิทธิบัตรเหนืออาหารดัดแปลงพันธุกรรม จึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นสู่การปฏิบัติการเกษตรแบบยั่งยืน การปฏิบัติดังกล่าว ซึ่งบางส่วนได้รับการกระตุ้นจากความต้องการของผู้บริโภค ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ การพึ่งพาตนเองในระดับท้องถิ่น และวิธีเกษตรอินทรีย์ อิทธิพลหลักต่อการผลิตอาหาร มีทั้งองค์การระหว่างประเทศ (คือ องค์การการค้าโลกและนโยบายเกษตรร่วม) ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลแห่งชาติ หรือกฎหมาย และสงคราม
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม การผลิตอาหารเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อ เช่น ไก่และวัว ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์จากสารคดีหลายเรื่อง ล่าสุดคือ Food, Inc ซึ่งกล่าวถึงการฆ่าในปริมาณมากและการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างเลว บ่อยครั้งบรรษัทขนาดใหญ่ทำไปเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น ควบคู่ไปกับกระแสปัจจุบันสู่สิ่งแวดล้อมนิยม ประชาชนในวัฒนธรรมตะวันตกยังได้มีแนวโน้มใช้อาหารเสริมสมุนไพรมากขึ้น เช่นเดียวกับอาหารสำหรับกลุ่มบุคคลเฉพาะ (เช่น ผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก สตรีหรือนักกรีฑา), อาหารฟังก์ชัน (อาหารเพิ่มคุณค่า เช่น ไข่โอเมกา-3) และอาหารที่มีความหลากหลายทางชนชาติมากขึ้น
== การเตรียมการครัว ==
หลายวัฒนธรรมมีอาหารที่คนจำได้ ซึ่งเป็นชุดของประเพณีการทำอาหารโดยใช้เครื่องเทศที่หลากหลายหรือการประกอบกันขึ้นของรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมนั้น ซึ่งวิวัฒนาตามกาลเวลา ความแตกต่างอื่นรวมถึงความพึงใจ (ร้อนหรือเย็น เผ็ด เป็นต้น) และการปฏิบัติอาหาร ซึ่งการศึกษาเรื่องดังกล่าวเรียกว่า วิทยาการทำอาหาร หลายวัฒนธรรมสร้างความหลากหลายในอาหารของตนโดยวิธีการเตรียม วิธีการปรุง และการผลิต ซึ่งยังรวมถึงการแลกเปลี่ยนอาหารอันซับซ้อนซึ่งช่วยให้วัฒนธรรมต่าง ๆ อยู่รอดเชิงเศรษฐกิจได้ด้วยวิถีอาหาร มิใช่เพียงการบริโภคเท่านั้น อาหารประจำชาติที่ได้รับความนิยม อาทิ อาหารอิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน อเมริกา แคจุน ไทยและอินเดีย หลายวัฒนธรรมทั่วโลกศึกษาการวิเคราะห์พฤติกรรมอาหาร ขณะที่ในทางวิวัฒนาการ มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช แม้จะมิใช่ในทางปฏิบัติ ศาสนาและสิ่งสร้างทางสังคม เช่น ศีลธรรม ลัทธิดำเนินการ (activism) หรือสิ่งแวดล้อมนิยมมักมีผลกระทบต่ออาหารที่มนุษย์บริโภคบ่อยครั้ง อาหารถูกรับประทานและเพลิดเพลินตามปกติผ่านสัมผัสรับรส ความเข้าใจของรสชาติจากการกินและดื่ม บางรสชาติสามารถเพลิดเพลินได้มากกว่ารสอื่น โดยมีจุดประสงค์ด้านวิวัฒนาการ
=== ความเข้าใจรสชาติอาหาร ===
สัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ มีรสชาติห้าแบบที่แตกต่างกัน คือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอูมามิ เมื่อสัตว์วิวัฒนา รสชาติที่ให้พลังงานมากที่สุด (ซึ่งก็คือ น้ำตาลและไขมัน) เป็นที่พอใจที่จะได้กินมากที่สุด ขณะที่รสอื่น เช่น ขม ไม่น่าพึงใจสักเท่าใด ตรงข้ามกับไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันอิ่มตัว หนากว่าและมันกว่า ดังนั้นจึงถูกมองว่าน่าพึงใจที่จะได้กินมากกว่า
==== หวาน ====
รสชาติหวานโดยทั่วไปถือว่าเป็นรสที่น่าพึงพอใจที่สุด เกือบทุกครั้งเกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวประเภทใดประเภทหนึ่ง อย่างกลูโคสหรือฟรักโทส หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ อย่าง ซูโครส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ประกอบกันขึ้นจากกลูโคสและฟรักโทส คาร์โบไฮเดรตซับซ้อนเป็นโซ่ยาวและไม่มีรสชาติ สารให้ความหวานสังเคราะห์ เช่น ซูคราโลส ใช้เพื่อเลียนแบบโมเลกุลน้ำตาล ทำให้เกิดความรู้สึกหวาน แต่ไม่ให้แคลอรี น้ำตาลประเภทอื่นรวมไปถึงน้ำตาลดิบ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันจากสีอำพันของมัน เป็นน้ำตาลที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ เนื่องจากน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญและสำคัญต่อการดำรงชีวิต รสชาติของน้ำตาลจึงน่าพึงใจ
==== เปรี้ยว ====
รสเปรี้ยวเกิดจากรสของกรด เช่น น้ำส้มสายชูในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารเปรี้ยวมีทั้งพืชสกุลส้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลมอน มะนาว และที่เปรี้ยวน้อยกว่าอย่างส้ม รสเปรี้ยวมีความสำคัญในเชิงวิวัฒนาการเพราะเป็นสัญญาณว่าอาหารนั้นอาจเน่าเสียไปเพราะแบคทีเรีย อย่างไรก็ดี อาหารหลายชนิดค่อนข้างเป็นกรด และช่วยกระตุ้นต่อมรับรสและทำให้เกิดรสชาติขึ้นได้
==== เค็ม ====
ความเค็มเป็นรสชาติของไอออนโลหะแอลคาไล เช่น โซเดียมและโพแทสเซียม ซึ่งไอออนดังกล่าวพบในอาหารเกือบทุกชนิดในสัดส่วนน้อยถึงปานกลางที่ทำให้เกิดรส แม้การทานเกลือบริสุทธิ์มักเป็นสิ่งที่ไม่พึงใจอย่างยิ่ง มีเกลือมากมายหลายประเภท แต่ละอย่างก็มีระดับความเค็มแตกต่างกันออกไป มีทั้งเกลือสมุทร เฟลอเดอแซล เกลือโคเชอร์ เกลือสินเธาว์ และเกลือเทา นอกเหนือไปจากการให้รสชาติแล้ว ความสำคัญของเกลือคือ ร่างกายต้องการและรักษาสมดุลอิเล็กโทรไลต์อย่างละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นหน้าที่ของไต
เกลืออาจเติมไอโอดีนได้ ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่สนับสนุนการทำงานของไทรอยด์ อาหารกระป๋องบางอย่าง ที่โดดเด่นคือ ซุปและซุปห่อ มักมีเกลือปริมาณสูงเพื่อเป็นวิธีถนอมอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น ในอดีต เกลือถูกใช้เป็นสารกันเสียของเนื้อ เพราะเกลือกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำ ดังนั้นจึงทำหน้าที่เป็นเหมือนสารกันเสีย คล้ายกัน อาหารแห้งยังเพิ่มความปลอดภัยของอาหารด้วย
==== ขม ====
ความขมเป็นการรับรสที่ไม่เป็นที่พอใจอย่างยิ่ง โดยมีลักษณะเป็นรสชาติฉุนเสียดแทง ดาร์กช็อกโกแลตหรือช็อกโกแลตที่ยังไม่เติมน้ำตาล คาเฟอีน ผิวเลมอน ผลไม้บางชนิดเป็นที่รู้จักกันว่ามีรสขม
==== อูมามิ ====
อูมามิ เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น หมายถึง อร่อย เป็นรสชาติที่รู้จักกันน้อยที่สุด แต่มีประวัติยาวนานในอาหารเอเชีย อูมามิเป็นรสชาติของกลูตาเมต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) มีลักษณะเป็นรสอร่อย รสเนื้อและมัน แซลมอนและเห็ดเป็นอาหารที่มีอูมามิสูง เนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์อย่างอื่นก็ถูกระบุว่ามีรสอูมามิเช่นกัน
=== การจัดอาหาร ===
การจัดอาหารตามหลักความงามและดึงดูดตาสามารถกระตุ้นให้คนบริโภคอาหารได้ มีคำกล่าวโดยทั่วไปว่าคน "ทานอาหารด้วยตา" อาหารที่ถูกจัดในวิธีที่สะอาดและน่ารับประทานจะกระตุ้นให้รสชาติอาหารดีขึ้น แม้จะไม่ค่อยน่าพึงใจก็ตาม
=== การเตรียมอาหาร ===
แม้อาหารหลายชนิดสามารถรับประทานได้ดิบ ๆ แต่อีกหลายชนิดก็ต้องผ่านขั้นตอนการเตรียมบางอย่างด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ความน่ารับประทาน ความรู้สึกในปาก หรือรสชาติ ในขั้นเบื้องต้น การเตรียมอาหารอาจมีทั้งการล้าง การตัด การเล็ม หรือการเพิ่มอาหารหรือส่วนประกอบอาหารอื่น เช่น เครื่องเทศ นอกจากนี้ การเตรียมอาหารอาจมีการผสม การให้ความร้อนหรือความเย็น การทำอาหารแบบใช้ความดัน การหมัก หรือการประกอบกับอาหารอื่น ที่บ้าน การเตรียมอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในครัว การเตรียมอาหารบางอย่างเป็นไปเพื่อเพิ่มรสชาติหรือให้ดึงดูดตามากขึ้น ส่วนการเตรียมอาหารอย่างอื่นอาจช่วยถนอมอาหาร และบางอย่างเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
==== การเตรียมเนื้อสัตว์ ====
การเตรียมอาหารที่มาจากสัตว์นั้นมักเกี่ยวข้องกับการฆ่า การผ่าท้อง การแขวน การแบ่งส่วน และการแปรสภาพซากสัตว์ ในประเทศพัฒนาแล้ว ขั้นตอนต่าง ๆ มักทำนอกบ้านในโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งใช้เพื่อนำสัตว์ทั้งหมดผ่านกระบวนการการผลิตเนื้อสัตว์ ส่วนในระดับท้องถิ่น คนชำแหละเนื้ออาจทุบเนื้อขนาดใหญ่ให้เป็นชิ้นขนาดเล็ก แล้วห่อ นอกเหนือจากนี้ ปลาและอาหารทะเลอาจเตรียมเป็นชิ้นขนาดเล็กโดยพ่อค้าปลา อย่างไรก็ดี การชำแหละปลาอาจทำได้บนเรือประมงและแช่แข็งอาหารนั้นอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาคุณภาพไว้
==== การทำอาหาร ====
คำว่า "การทำอาหาร" นั้นครอบคลุมวิธีการ อุปกรณ์และการประกอบส่วนประกอบอาหารทั้งหลายเพื่อเพิ่มรสชาติหรือการย่อยได้ของอาหารนั้น เทคนิคการทำอาหาร เช่น ศิลปะการทำอาหาร โดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยการเลือก วัด และประกอบส่วนประกอบอาหารเป็นลำดับขั้นตอนในความพยายามเพื่อให้ได้ผลออกมาตามต้องการ ข้อจำกัดของความสำเร็จนั้นรวมถึงส่วนประกอบอาหาร สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ และทักษะของคนครัวแต่ละคน ความหลากหลายของการทำอาหารทั่วโลกสะท้อนถึงการพิจารณาทางโภชนาการ สุนทรีย์ เกษตรกรรม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและศาสนามากมายที่มีผล
การทำอาหารจำเป็นต้องให้ความร้อนแก่อาหาร ซึ่งโดยปกติ แม้จะไม่เสมอไป ที่มีการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลทางเคมี ดังนั้นจึงเปลี่ยนรสชาติ รสสัมผัส ลักษณะปรากฏและคุณสมบัติทางโภชนาการไปด้วย การทำอาหารโปรตีนบางอย่าง เช่น ไข่ขาว เนื้อสัตว์และปลา ทำให้โปรตีนสูญเสียสภาพ และทำให้มันแข็ง การต้มเป็นวิธีการทำอาหารที่ต้องอาศัยภาชนะบรรจุ มีการปฏิบัติมาอย่างน้อยตั้งแต่สหัสวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล ด้วยการใช้เครื่องปั้นดินเผา
===== อุปกรณ์ทำอาหาร =====
ในการทำอาหารมีการใช้อุปกรณ์มากมายหลายชนิด
เตาอบส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์มีโพรงสำหรับให้ความร้อนสูง และใช้ในการอบหรือย่าง และวิธีการทำอาหารแบบร้อนแห้ง อาหารต่าง ๆ ต้องใช้เตาอบต่างชนิดกัน ตัวอย่างเช่น อาหารอินเดียใช้เตาอบทันดูร์ (Tandoor oven) ซึ่งเป็นเตาดินเหนียวทรงกระบอกซึ่งใช้ความร้อนสูงเพียงค่าเดียว ครัวตะวันตกใช้เตาอบลมร้อน เตาอบธรรมดา เตาปิ้งหรือเตาอบแบบให้แผ่ความร้อนอย่าง เตาไมโครเวฟ ซึ่งสามารถปรับเปลียนอุณหภูมิได้ อาหารอิตาลีคลาสสิกรวมไปถึงการใช้เตาอิฐซึ่งให้ความร้อนโดยการเผาไม้ฟืน เตาอบนี้อาจใช้การเผาไม้ เผาถ่าน ใช้แก๊ส ไฟฟ้าหรือเผาน้ำมัน
มีการใช้เตา (cooktop) อีกหลายแบบเช่นกัน ซึ่งมีประเภทเชื้อเพลิงหลายประเภทตามที่ได้กล่าวมาในส่วนเตาอบข้างบน เตาใช้เพื่อให้ความร้อนแก่ภาชนะบนแหล่งความร้อน เช่น กระทะขอบตั้ง (sauté pan) หม้อต้ม กระทะทอด หรือหม้อความดัน อุปกรณ์เหล่านี้สามารถใช้วิธีทำอาหารแบบชื้นหรือแห้งได้
นอกเหนือจากนี้ หลายวัฒนธรรมยังใช้เตาย่าง (grill) ในการทำอาหาร เตาย่างอาศัยการแผ่ความร้อนจากแหล่งที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งมักปิดด้วยตะแกรงโลหะและบางครั้งมีที่ปิดด้วย
==== การเตรียมอาหารดิบ ====
หลายวัฒนธรรมเน้นอาหารสัตว์และพืชแบบดิบ ๆ สลัด ซึ่งประกอบด้วยผักและผลไม้ดิบ พบได้ในหลายประเทศ ซาชิมิในอาหารญี่ปุ่น ประกอบด้วยปลาดิบหรือเนื้อสัตว์ดิบเฉือนเป็นชิ้นบาง และซูชิมักมีปลาดิบหรืออาหารทะเลดิบเป็นส่วนประกอบด้วย สเต็กทาร์ทาร์และแซลมอนทาร์ทาร์เป็นอาหารที่ทำจากเนื้อวัวดิบหรือแซลมอนดิบมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือบด ผสมกับส่วนประกอบอาหารอื่นอีกหลายชนิด แล้วเสิร์ฟพร้อมกับขนมปังฝรั่งเศส (บาแก็ต), ขนมปังบริยอช (brioche) หรือมันฝรั่งทอด ในอิตาลี คาร์ปาชชิโอเป็นอาหารซึ่งประกอบด้วยเนื้อวัวเฉือนบางมาก ๆ ราดด้วยวินนะเกรท (vinaigrette) ซึ่งทำจากน้ำมันมะกอก การรับประทานอาหารดิบเป็นความเคลื่อนไหวด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งนำเสนออาหารมังสวิรัติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีผลไม้ ผักและธัญพืชดิบ ซึ่งเตรียมได้หลายวิธี เช่น การสกัดน้ำ การอบแห้งอาหาร และวิธีการเตรียมอื่นซึ่งไม่ใช้ความร้อนเกิน 47.8 °C ตัวอย่างของอาหารเนื้อดิบ เช่น เซบิเช (ceviche) อาหารละตินอเมริกาซึ่งทำจากเนื้อดิบที่ปรุงโดยน้ำผลไม้ที่มีกรดซิตริกสูงจากเลมอนและมะนาว ร่วมกับพืชมีกลิ่นอย่างอื่น เช่น กระเทียม
=== การผลิตอาหาร ===
อาหารในบรรจุภัณฑ์ถูกผลิตนอกบ้านเพื่อขาย ซึ่งอาจเรียบง่ายเหมือนพ่อค้าเนื้อกำลังเตรียมเนื้อ หรือซับซ้อนเหมือนอุตสาหกรรมอาหารระหว่างประเทศสมัยใหม่ เทคนิคการแปรรูปอาหารขั้นต้นถูกจำกัดเฉพาะแต่การถนอมอาหาร การห่อบรรจุ และการขนส่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเติมเกลือ การหมัก การเปลี่ยนเป็นนมข้น การอบแห้ง การแช่น้ำเกลือ การหมักดอง และการรมควัน การผลิตอาหารเกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พัฒนาการนี้อาศัยประโยชน์จากตลาดมวลชนใหม่และการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การโม่บด การถนอมอาหาร การห่อบรรจุและติดฉลาก และการขนส่ง ซึ่งได้นำมาซึ่งประโยชน์ของการเตรียมอาหารล่วงหน้าเพื่อประหยัดเวลาแก่คนทั่วไปจำนวนมากที่ไม่ได้จ้างคนรับใช้ภายในบ้าน
== โภชนาการและปัญหาด้านอาหาร ==
ระหว่างสุขภาพสมบูรณ์ (optimal health) กับการเสียชีวิตเนื่องจากการอดอยากหรือทุพโภชนาการอันแตกต่างกันสุดขั้วนั้น ยังมีโรคหลายอย่างที่อาจเกิดขึ้นหรือบรรเทาได้ดวยการเปลี่ยนอาหารที่รับประทานเข้าสู่ร่างกาย การขาดอาหาร การบริโภคอาหารเกิน และความไม่สมดุลในอาหารอาจมีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอย่างลักปิดลักเปิด อ้วน หรือกระดูกพรุน เช่นเดียวกับปัญหาด้านจิตวิทยาและพฤติกรรม ศาสตร์แห่งโภชนาการพยายามทำความเข้าใจว่า ลักษณะอาหารมีอิทธิพลต่อสุขภาพอย่างไรและด้วยเหตุใด
สารอาหารในอาหารถูกจัดกลุ่มเป็นหลายหมวด สารอาหารมหธาตุ (macronutrient) มีไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต สารอาหารจุลธาตุ (micronutrient) มีแร่ธาตุและวิตามิน นอกเหนือจากนั้น อาหารยังรวมไปถึงน้ำและใยอาหาร
ร่างกายซึ่งถูกออกแบบมาโดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ให้พึงพอใจกับรสหวานและอาหารไขมันสูงด้วยอาหารวิวัฒนาการ ซึ่งเป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบสำหรับนักล่าและนักเก็บเกี่ยว ดังนั้น อาหารหวานและไขมันสูงในธรรมชาติจึงพบได้ยากและน่าพึงพอใจที่จะกินมาก แต่ในสมัยใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น อาหารที่น่าพึงพอใจนี้จึงง่ายแก่การเข้าถึงของผู้บริโภคมากขึ้น แต่ก็ก่อให้เกิดโรคอ้วนเช่นกัน
== ความปลอดภัย ==
การเจ็บป่วยเนื่องจากอาหาร หรือมักเรียกว่า "อาหารเป็นพิษ" นั้น เกิดจากแบคทีเรีย สารพิษ ไวรัส ปรสิต และพรีออน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตเนื่องจากอาหารเป็นพิษทุกปี โดยคิดเป็นราว 10 เท่าของผู้ที่เจ็บป่วยด้วยอาการเดียวกันแต่ไม่ถึงตาย ปัจจัยสองประการที่พบทั่วไปว่าเป็นเหตุนำไปสู่กรณีอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย คือ การปนเปื้อนข้ามของอาหารพร้อมรับประทานจากอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงอื่นและการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ส่วนปัจจัยที่พบน้อยกว่า ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์เฉียบพลันยังอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เกิดสารเคมีปนเปื้อนในอาหารเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น จากการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม หรือการใช้สบู่และสารฆ่าเชื้อที่ไม่ได้ใช้กับอาหาร อาหารยังอาจปลอมปนได้ด้วยสิ่งแปลกปลอมหลายชนิดระหว่างการเกษตร การผลิต การปรุงอาหาร การห่อบรรจุ การแจกจ่าย หรือการขาย สิ่งแปลกปล้อมเหล่านี้อาจเป็นไปทั้งยาฆ่าแมลง ผม ก้นบุหรี่ ไม้สับ และสิ่งปนเปื้อนทุกรูปแบบ นอกจากนี้ เป็นไปได้ที่อาหารบางประเภทจะได้รับการปนเปื้อนหากเก็บรักษาในภาชนะที่ไม่ปลอดภัย อย่างเช่น หม้อเซรามิกเคลือบตะกั่ว
อาหารเป็นพิษถูกระบุว่าเป็นโรคตั้งแต่สมัยฮิปโปคราตีส (ประมาณ พ.ศ. 83-166) การขายอาหารบูด ปนเปื้อนหรือปลอมปนมีอยู่ทั่วไปจนกระทั่งมีการริเริ่มสุขอนามัย การแช่เย็นและการควบคุมหนอนพยาธิในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การค้นพบเทคนิคฆ่าแบคทีเรียโดยใช้ความร้อน และการศึกษาทางจุลชีววิทยาอื่น ๆ โดยนักวิทยาศาสตร์อย่าง หลุยส์ ปาสเตอร์ มีคุณูปการต่อมาตรฐานการสุขาภิบาลสมัยใหม่ซึ่งพบทั่วไปในประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน สุขอนามัยดังกล่าวได้รับการพัฒนาต่อโดยผลงานของจุสตุส ฟอน ไลบิก (Justus von Liebig) ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการเก็บรักษาอาหารสมัยใหม่และวิธีการถนอมอาหาร เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ความเข้าใจสาเหตุของอาหารเป็นพิษที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การพัฒนาแนวการศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น อย่างการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Points, HACCP) ซึ่งสามารถระบุและกำจัดความเสี่ยงได้มาก
มาตรการที่แนะนำในการประกันความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งการรักษาพื้นที่เตรียมอาหารให้สะอาด และเก็บอาหารต่างชนิดกันแยกกัน ประกันอุณหภูมิห้องให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ และแช่เย็นอาหารทันทีหลังทำอาหาร
อาหารซึ่งเน่าเสียได้ง่าย อย่างเนื้อสัตว์ นมและอาหารทะเล จำเป็นต้องเตรียมด้วยวิธีการเฉพาะเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ปนเปื้อนผู้บริโภคที่เตรียมอาหารดังกล่าวให้นั้น ด้วยเหตุนี้ หลักการทั่วไปคือ อาหารเย็น (เช่น ผลิตภัณฑ์นม) ควรเก็บไว้ในที่เย็นและอาหารร้อน (เช่น ซุป) ควรทำให้อุ่นจนกว่าจะเก็บ เนื้อสัตว์แช่เย็น เช่น ไก่ ซึ่งจะถูกนำไปทำอาหาร ไม่ควรวางไว้ที่อุณหภูมิห้องเพื่อให้น้ำแข็งละลาย เพราะมีความเสี่ยงที่แบคทีเรียที่เป็นอันตรายจะเติบโต อย่างเช่น ซัลโมเนลลา หรือ อี. โคไล
=== การแพ้ ===
บางคนแพ้หรือตอบสนองไวต่ออาหารซึ่งไม่เป็นปัญหาต่อคนส่วนใหญ่ โดยเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของบุคคลเข้าใจผิดว่าโปรตีนอาหารบางชนิดเป็นสิ่งแปลกปลอมอันตรายและโจมตีมัน ผู้ใหญ่ราว 2% และเด็กราว 8% มีการแพ้อาหาร ปริมาณของเนื้ออาหารแม้เล็กน้อยอาจไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาในบุคคลที่รู้สึกไวจริง ๆ ได้ ในบางกรณี แม้แต่กลิ่นของอาหารในอากาศ ก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงถึงชีวิตได้ในผู้ป่วยอาการหนักมาก อาหารที่ทำให้เกิดการแพ้ที่พบทั่วไปเช่น โปรตีนกลูเตนในข้าว ข้าวโพด หอย ถั่วลิสงและถั่วเหลือง อาหารที่ทำให้เกิดอาหารแพ้นี้มักมีอาการแสดงอย่างท้องร่วง ผื่นคัน การบวมพอง อาเจียน และการขย้อน อาการเกี่ยวกับการย่อยอาหารมักเกิดขึ้นภายในครึ่งชั่วโมงหลังสารที่ทำให้เกิดการแพ้เข้าสู่ร่างกาย
น้อยครั้งที่การแพ้อาหารสามารถนำไปสู่ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ เช่น ภาวะช็อกที่เกิดจากการแพ้ ความดันโลหิตต่ำ และหมดสติ สารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาประเภทนี้คือถั่วลิสง แต่ผลิตภัณฑ์ยางก็สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่คล้ายกัน การรักษาขั้นต้นทำโดยการให้เอพิเนฟริน (อะดรีนาลิน) ซึ่งมักให้ในรูปตัวฉีดอัตโนมัติ (autoinjector)
== การค้าเชิงพาณิชย์ ==
=== การนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศ ===
ธนาคารโลกรายงานว่า สหภาพยุโรปเป็นผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลกใน พ.ศ. 2548 ตามด้วยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ปัจจุบันอาหารมีการแลกเปลี่ยนและค้าขายกันในระดับโลกเป็นหลัก ความหลากหลายและการเข้าถึงอาหารไม่ถูกจำกัดโดยความแตกต่างของอาหารที่ปลูกขึ้นในท้องถิ่นหรือข้อจำกัดของฤดูเพาะปลูกอีกต่อไป ระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง 2542 มีการส่งออกอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตถึง 400% ปัจจุบัน บางประเทศพึ่งพาการส่งออกมาอาหารในทางเศรษฐกิจ ซึ่งบางประเทศส่งออกอาหารคิดเป็นถึงมากกว่า 80% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด
ใน พ.ศ. 2537 มากกว่า 100 ประเทศเป็นผู้ลงนามในการประชุมความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) รอบอุรุกวัย ในการเพิ่มการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งรวมทั้งความตกลงที่จะลดการจ่ายเงินอุดหนุนแก่เกษตรกร ซึ่งเคยได้รับการสนับสนุนจากการบังคับการสนับสนุนเงินเกษตรกรรม ภาษีศุลกากร โควตานำเข้าสินค้า และการแก้ปัญหาข้อพิพาทด้านการค้าซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้แบบทวิภาคี ขององค์การการค้าโลก เมื่อมีการตั้งการกีดกันทางการค้าบนพื้นฐานพิพาทของสาธารณสุขและความปลอดภัย องค์การการค้าโลกจะหยิบยกกรณีพิพาทนั้นสู่คณะกรรมาธิการอาหารสากล (Codex Alimentarius Commission) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2505 โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก การเปิดเสรีทางการค้าได้มีผลกระทบต่อการค้าอาหารของโลกอย่างมาก
=== การตลาดและการขายปลีก ===
การตลาดอาหารเป็นลำดับกิจกรรมซึ่งนำอาหารจากฟาร์มจนถึงผู้บริโภค การตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารเพียงอย่างหนึ่งนั้นอาจเป็นกระบวนการอันซับซ้อนซึ่งมีผู้ผลิตและบริษัทหลายรายเข้ามาเกี่ยวข้องได้ ตัวอย่างเช่น ในการผลิตซุปก๋วยเตี๋ยวไก่กระป๋องหนึ่งมีห้าสิบหกบริษัทเข้ามาเกี่ยวข้อง ธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องเฉพาะผู้ดำเนินการผลิตไก่และผักเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริษัทที่ขนส่งส่วนประกอบอาหารและบริษัทที่พิมพ์ฉลากและผลิตกระป๋องด้วย ระบบการตลาดอาหารเป็นนายจ้างภาคเอกชนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
ช่วงก่อนสมัยใหม่ การขายอาหารส่วนเกินนั้นมีขึ้นทุกสัปดาห์โดยเกษตรกรจะนำผลผลิตไปขายในวันที่มีตลาดสดของหมู่บ้าน ที่ซึ่งอาหารถูกขายแก่ร้านขายของชำในร้านค้าท้องถิ่นและจะมีผู้บริโภคในท้องถิ่นไปซื้อ ด้วยการเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีอาหารหลากชนิดขึ้นที่สามารถขายและกระจายไปยังพื้นที่ห่างไกลได้
ไม่เหมือนกับผู้ผลิตอาหาร การขายปลีกอาหารนั้มีบริษัทขนาดใหญ่มากควบคุมซูเปอร์มาร์เก็ตเพียงไม่กี่แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีอนำาจซื้อสูงเหนือเกษตรกรและผุ้ผลิต และมีอิทธิพลอย่างมากต่อผุ้บริโภค อย่างไรก็ดี เงินน้อยกว่า 10% จากผู้บริโภคตกถึงมือเกษตรกร โดยเงินส่วนใหญ่จ่ายเป็นค่าโฆษณา ค่าขนส่งและบริษัทคนกลาง
=== ราคา ===
มีรายงานในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 ว่า ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังเผชิญกับราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการเปลียนแปลงขนาดใหญ่ในเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณสำรองอาหารลดลง และความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในจีนและอินเดีย ในระยะยาว มีการคาดว่าราคาอาหารจะมีเสถียรภาพ โดยเกษตรกรจะปลูกพืชเป็นทั้งเชื้อเพลิงและอาหาร ซึ่งจะดึงราคากลับลงมา โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในกรณีของข้าวสาลีแล้ว โดยมีการปลูกธัญพืชดังกล่าวมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา แคนาดาและยุโรปใน พ.ศ. 2552 อย่างไรก็ดี องค์การอาหารและการเกษตรเสนอว่าผู้บริโภคยังต้องรับมือกับอาหารที่แพงขึ้นจนถึง พ.ศ. 2561 ในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 การให้เงินอุดหนุนฟาร์มและโครงการสนับสนุนทำให้ประเทศส่งออกธัญพืชรายใหญ่ของโลกมีปริมาณผลผลิตเกินมาก ซึ่งสามารถระบายออกมาในช่วงขาดแคลนอาหารเพื่อให้ราคาลดลงได้ อย่างไรก็ตาม นโยบายการค้าแบบใหม่ทำให้การผลิตทางเกษตรกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตลาดมากขึ้นมาก และทำให้ปริมาณอาหารสำรองของโลกอยู่ในระดับต่ำสุดนับแต่ พ.ศ. 2526
ในช่วงห้าปีหลัง (พ.ศ. 2546-2551) เห็นได้ว่ามีสัดส่วนอุตสาหกรรมการผลิตนมเหลวและนมผงของชาติเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งใน พ.ศ. 2551 คิดเป็นสัดส่วนการผลิตมากกว่า 30% โดยจีนเพียงประเทศเดียวมีสัดส่วนการผลิตและการบริโภคในอุตสาหกรรมแปรรูปและถนอมผลไม้และผักทั่วโลกถึงมากกว่า 10% แนวโน้มดังกล่าวปรากฏชัดเจนเช่นกันในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มอัดลมและน้ำขวด เช่นเดียวกับการผลิตโกโก้ ช็อกโกแลตและลูกกวาดน้ำตาลโลก โดยพยากรณ์ว่าจะเติบโต 5.7% และ 10% ตามลำดับใน พ.ศ. 2551 ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
== ความมั่นคงทางอาหาร ==
ความมั่นคงทางอาหารหมายถึงการหาได้ของอาหารและการเข้าถึงอาหารได้ของบุคคล ครัวเรือนที่มีความมั่นคงทางอาหารหมายความว่า ผู้อยู่อาศัยไม่อยู่ด้วยความหิวโหยหรือกลัวอดอยาก ใน พ.ศ. 2546 ประชากรโลกมากถึง 2 พันล้านคนขาดความมั่นคงทางอาหารเป็นครั้งคราวหรือบ่อยครั้งเนื่องจากความยากจน และมีเด็กเสียชีวิตด้วยความหิวโหยกว่าหกล้านคนต่อปี หรือคิดเป็น 17,000 คนต่อวัน
ภาวะขาดอาหารนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการและการอดอยากในที่สุด ซึ่งบ่อยครั้งมักเกี่ยวข้องกับทุพภิกขภัย หรือการขาดแคลนอาหารของทั้งชุมชน ภาวะดังกล่าวสามารถมีผลกระทบเสียหายร้ายแรงและกว้างขวางต่อสุขภาพและอัตราการตายของมนุษย์ การปันส่วนเป็นวิธีการที่ใช้บางครั้งเพื่อแจกจ่ายอาหารในยามขาดแคลน ที่โดดเด่นคือ ในยามสงคราม
การอดอยากเป็นปัญหาระหว่างประเทศที่สำคัญ มีประชากรราว 815 ล้านคนได้รับอาหารน้อยกว่าความต้องการ ภาวะขาดอาหารถูกมองว่าเป็นความต้องการที่ขาดดุล (deficit) ในลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ และวัดโดยใช้ตัววัดทุพภิกขภัย
ความช่วยเหลือด้านอาหารสามารถเป็นประโยชน์แก่ประชากรที่เดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อพัฒนาชีวิตของประชากรได้ในระยะสั้น เพื่อที่สังคมนั้นจะสามารถยกมาตรฐานการครองชีพจนถึงจุดที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งความช่วยเหลือด้านอาหารอีกต่อไป ในทางกลับกัน ความช่วยเหลือด้านอาหารที่จัดการอย่างเลวก็อาจก่อให้เกิดปัญหาโดยไปรบกวนตลาดท้องถิ่น ฉุดราคาพืชผลการเกษตร และกีดกันการผลิตอาหาร บางครั้งวัฏจักรการพึ่งพาความช่วยเหลือด้านอาหารอาจเกิดขึ้น ข้อกำหนดการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว หรือการขู่ว่าจะยกเลิกให้ความช่วยเหลือนั้น บางครั้งใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อเข้าไปมีอิทธิพลต่อนโยบายของประเทศเป้าหมาย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่รู้จักกันในชื่อ การเมืองอาหาร บางครั้ง ข้อกำหนดความช่วยเหลือด้านอาหารนั้นกำหนดให้อาหารบางประเภทต้องซื้อโดยเจาะจงผู้ขาย และความช่วยเหลือด้านอาหารสามารถนำไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อเพิ่มพูนตลาดของประเทศผู้บริจาคนั้น ความพยายามระหว่างประเทศเพื่อแจกจ่ายอาหารแก่ประเทศที่ขัดสนที่สุดนั้นมักได้รับการประสานงานโดยโครงการอาหารโลก
== นิยามทางกฎหมาย ==
บางประเทศมีการกำหนดนิยามทางกฎหมายของอาหาร ซึ่งประเทศเหล่านี้กำหนดว่า อาหารหมายถึงวัตถุใด ๆ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอน ผ่านขั้นตอนบางส่วน หรือไม่ผ่านขั้นตอนเพื่อการบริโภค รายชื่อสิ่งที่รวมว่าเป็นอาหารนั้น มีทั้งสสารใด ๆ ซึ่งคาดว่า หรือมีเหตุให้คาดว่า จะถูกย่อยโดยมนุษย์ นอกเหนือไปจากอาหารเหล่านี้ เครื่องดื่ม หมากฝรั่ง น้ำหรือสิ่งอื่นที่ผ่านขั้นตอนไปรวมอยู่ในวัตถุอาหารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนิยามทางกฎหมายของอาหารด้วย สิ่งที่ไม่รวมอยู่ในนิยามทางกฎหมายของอาหาร มี อาหารสัตว์ สัตว์เป็น ๆ (ยกเว้นแต่ที่ถูกเตรียมไว้ขายในตลาด) พืชก่อนการเก็บเกี่ยว ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เครื่องสำอาง ยาสูบและผลิตภัณฑ์ยาสูบ สารเสพติดหรือยากล่อมประสาท ตลอดจนเศษตกค้างและสิ่งปนเปื้อน
ในกฎหมายไทย พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 นิยามอาหารว่า "ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต" โดยแบ่งเป็น
(1) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี
(2) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส
== ดูเพิ่ม ==
วิทยาการย่อยอาหาร
การวิเคราะห์อาหาร
รายชื่ออาหารที่สร้างความสับสน
== เชิงอรรถ ==
== อ้างอิง ==
Aguilera, Jose Miguel and David W. Stanley. Microstructural Principles of Food Processing and Engineering. Springer, 1999. ISBN 0-8342-1256-0.
Davidson, Alan. The Oxford Companion to Food. 2nd ed. UK: Oxford University Press, 2006.
Howe, P. and S. Devereux. Famine Intensity and Magnitude Scales: A Proposal for an Instrumental Definition of Famine. 2004.
Jango-Cohen, Judith. The History Of Food. Twenty-First Century Books, 2005. ISBN 0-8225-2484-8.
Kripke, Gawain. Food aid or hidden dumping?. Oxfam International,March 2005. Retrieved from http://www.oxfam.org/en/policy/briefingpapers/bp71_food_aid_240305 on 2007-05-26.
Magdoff, Fred; Foster, John Bellamy; and Buttel, Frederick H. Hungry for Profit: The Agribusiness Threat to Farmers, Food, and the Environment. September 2000. ISBN 1-58367-016-5.
Mason, John. Sustainable Agriculture. Landlinks Press: 2003. ISBN 0-643-06876-7.
McGee, Harold. On Food and Cooking: The Science and Lore of the Kitchen. New York: Simon and Schuster, 2004. ISBN 0-684-80001-2.
Messer, Ellen; Derose, Laurie Fields and Sara Millman. Who's Hungry? and How Do We Know?: Food Shortage, Poverty, and Deprivation. United Nations University Press, 1998. ISBN 92-808-0985-7.
National Institute of Health. Food poisoning. MedlinePlus Medical Encyclopedia F. May 11, 2006. Retrieved from http://www.niaid.nih.gov/publications/pdf/foodallergy.pdf on 2006-09-29.
Regmi, Anita (editor).Changing Structure of Global Food Consumption and Trade. Market and Trade Economics Division, Economic Research Service, USDA, May 30, 2001. stock #ERSWRS01-1.
Shah, Anup. Food Dumping (Aid) Maintains Poverty. Causes of Poverty. Retrieved from http://www.globalissues.org/TradeRelated/Poverty/FoodDumping.asp on 2006-09-29.
Smith, Andrew (Editor). “Food Marketing,” in Oxford Encyclopedia of American Food and Drink,, New York: Oxford University Press, 2007.
The Economic Research Service of the USDA. Global Food Markets: Briefing Rooms. Retrieved from http://www.ers.usda.gov/Briefing/ on 2006-09-29.
Van den Bossche, Peter. The Law and Policy of the bosanac Trade Organization: Text, Cases and Materials. UK: Cambridge University Press, 2005. ISBN 0-521-82290-4.
World Trade Organization. The Uruguay Round. Retrieved from http://www.wto.org/trade_resources/history/wto/urug_round.htm on 2006-09-29.
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Food Marketing , FAO
การครัว | thaiwikipedia | 695 |
จุลินทรีย์ | จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน(microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา)
ชีววิทยา | thaiwikipedia | 696 |
นาซา | องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ องค์การนาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐ คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ
== ประวัติ ==
=== การแข่งขันในการสำรวจอวกาศ ===
หลังจากสหภาพโซเวียต ส่งดาวเทียมดวงแรกของโลก (ดาวเทียมสปุตนิค 1) ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) สหรัฐฯ เริ่มหันมาใส่ใจกับโครงการอวกาศของตนเองมากขึ้น สภาคองเกรสรู้สึกหวั่นเกรงต่อภัยด้านความมั่นคงและภาวะความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของตน ประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ และคณะที่ปรึกษาได้ประชุมหารือกันเป็นเวลานานหลายเดือนจนได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จำเป็นต้องก่อตั้งหน่วยงานราชการขึ้นใหม่ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ลงนามในกฎหมายการบินและอวกาศแห่งชาติ ค.ศ. 1958 เพื่อก่อตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะนั้นนาซาประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ 4 แห่ง มีพนักงานประมาณ 8,000 คน ที่โอนมาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติ (NACA) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐที่มีอายุกว่า 46 ปี
โครงการในระยะแรกของนาซาเป็นการวิจัยโดยมีเป้าหมายส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศ ดำเนินไปพร้อมแรงกดดันจากการแข่งขันกับสหภาพโซเวียตในระหว่างสงครามเย็น นาซาเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในห้วงอวกาศด้วยโครงการเมอร์คิวรีใน พ.ศ. 2501 ต่อมาวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) นักบินอวกาศ อลัน บี. เชเพิร์ด จูเนียร์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกในอวกาศ เมื่อเขาเดินทางไปกับยานฟรีดอม 7 ในภารกิจนาน 15 นาที แบบไม่เต็มวงโคจร หลังจากนั้นจอห์น เกล็นน์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ในการขึ้นบินนาน 5 ชั่วโมงกับ ยานเฟรนด์ชิป 7
=== โครงการอะพอลโล ===
เมื่อโครงการเมอร์คิวรีพิสูจน์และยืนยันว่า การส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศสามารถเป็นไปได้ นาซาจึงเริ่มโครงการอะพอลโล โดยเป็นความพยายามส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์ โดยยังไม่มีเป้าหมายส่งมนุษย์เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์แต่อย่างใด ทิศทางของโครงการอะพอลโลเปลี่ยนไปเมื่อประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ว่าสหรัฐจะ "ส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์แล้วกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย" ภายใน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) โครงการอะพอลโลจึงกลายเป็นโครงการนำมนุษย์ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โครงการเจมินีเริ่มต้นขึ้นไม่นานหลังจากนั้น เพื่อทดสอบและยืนยันเทคนิค ที่จำเป็นต้องใช้กับโครงการอะพอลโลที่ซับซ้อนขึ้น
หลังจาก 8 ปีของภารกิจเบื้องต้นฃน ซึ่งรวมถึงอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่คร่าชีวิตนักบินอวกาศ 3 คนในยานอะพอลโล 1 โครงการอะพอลโลบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุดเมื่อยานอะพอลโล 11 นำนีล อาร์มสตรอง และบัซซ์ อัลดริน ลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 24 กรกฎาคม ถ้อยคำแรกที่อาร์มสตรองกล่าวหลังจากก้าวออกจากยานลงจอด อีเกิ้ล คือ "นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของคน ๆ หนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ" (This is a small step for one person, but a great leap for mankind.)
แม้ว่าองค์การนาซาจะทำให้สหรัฐฯ ได้ชัยชนะในการแข่งขันกับโซเวียต แต่ความสนใจของชาวอเมริกันที่มีต่อโครงการอวกาศ อันจะทำให้สภาคองเกรสทุ่มงบประมาณให้กับนาซา กลับลดน้อยถอยลง นาซาสูญเสียผู้สนับสนุนในสภาหลังจากลินดอน บี. จอห์นสัน ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้ที่มีบทบาทในการวิ่งเต้นเพื่อผลักดันงบประมาณให้กับนาซาในเวลาต่อมา คือ เวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดชาวเยอรมัน เขาเสนอแผนสร้างสถานีอวกาศ ฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ และโครงการส่งมนุษย์ไปดาวอังคารภายใน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะประสิทธิภาพของเทคโนโลยีจรวดขณะนั้นยังไม่ดีพอ อุบัติเหตุการระเบิดของถังออกซิเจน ที่เกือบจะเป็นโศกนาฏกรรมกับนักบินบนยานอะพอลโล 13 ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมาสนใจในโครงการอวกาศ อย่างไรก็ตาม ยานอะพอลโล 17 เป็นยานลำสุดท้ายที่ขึ้นบินภายใต้สัญลักษณ์อะพอลโล แม้ว่าโครงการอะพอลโลมีแผนไปถึงยานอะพอลโล 20 โครงการอะพอลโลสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเนื่องจากถูกตัดงบประมาณ (ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามเวียดนาม) และนาซาปรารถนาที่จะพัฒนายานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
=== สกายแลป ===
สกายแลปเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา สถานีนี้มีน้ำหนักกว่า 75 ตัน โคจรรอบโลกเริ่มตั้งแต่ปพ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ถึง พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) สามารถรองรับคนได้ 3 คนต่อภารกิจ สกายแลปเป็นสถานีต้นแบบในการเรียนรู้การใช้ชีวิตในอวกาศ และใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์บ้าง เดิมทีสกายแลปวางแผนจะใช้ในการเทียบท่าของกระสวยอวกาศด้วย แต่สกายแลปได้ถูกปลดประจำการก่อนถึงการปล่อยกระสวยอวกาศลำแรก และถูกชั้นบรรยากาศโลกเผาไหม้ทำลายใน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) หลังจากปล่อยให้ตกลงในมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกของออสเตรเลีย
=== อะพอลโล-โซยุส ===
โครงการทดสอบอะพอลโล-โซยุส (Apollo-Soyuz Test Project:ASTP) เป็นการร่วมมือกันระหว่างสหัฐอเมริกาและโครงการอวกาศของโซเวียตในการนำยานอะพอลโลและยานโซยุสมาพบกันในอวกาศ (เชื่อมยานกัน) ใน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975)
=== ยุคกระสวยอวกาศ ===
กระสวยอวกาศเป็นโครงการที่นาซาหันมาให้ความสนใจมาตลอดตั้งแต่ช่วงปี 2513 (1970) และ 2523 (1980) กระสวยอวกาศลำแรกที่ปล่อยใช้งานสู่อวกาศคือกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981)
สำหรับนาซาแล้ว กระสวยอวกาศไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ยิ่งช่วงเริ่มต้นโครงการมันมีความสิ้นเปลืองมาก และใน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) กับเหตุการณ์อุบัติเหตุของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์เป็นหนึ่งในเรื่องที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับการเดินทางสู่อวกาศ
== ดูเพิ่ม ==
นาซา ทีวี
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
โฮมเพจขององค์การนาซา
โครงการอวกาศสหรัฐ
องค์การอวกาศ
การสำรวจอวกาศ | thaiwikipedia | 697 |
สหประชาชาติ | สหประชาชาติ หรือ องค์การสหประชาชาติ (United Nations, ตัวย่อ: UN; Organisation des Nations unies, ตัวย่อ: ONU) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศ บรรลุความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงานของการกระทำของชาติต่าง ๆ มันเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่ ที่มีความรู้สึกคุ้นเคย เป็นตัวแทนในระดับสากลมากที่สุด และทรงอำนาจมากที่สุดในโลก ยูเอ็นนั้นมีสำงานใหญ่ในดินแดนระหว่างประเทศในนครนิวยอร์ก โดยมีสำนักงานหลักอื่น ๆ ในเจนีวา ไนโรบี เวียนนา และเฮก
ยูเอ็นได้ถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดสงครามขึ้นในอนาคตและประสบความสำเร็จในสิ่งที่สันนิบาตชาติไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 รัฐบาล 50 ประเทศได้พบกันที่ซานฟรานซิสโกเพื่อเข้าประชุมและเริ่มร่างกฎบัตรสหประชาชาติซึ่งได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1945 และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เมื่อสหประชาติชาติได้เริ่มออกปฏิบัติการ ได้ดำเนินตามกฎบัตร วัตถุประสงค์ขององค์กร รวมทั้งการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การปกป้องสิทธิมนุษยชน การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน และค้ำจุนกฎหมายระหว่างประเทศ ในช่วงการก่อตั้ง สหประชาชาตินั้นมีสมาชิกรัฐถึง 51 รัฐ จำนวนนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็น 193 รัฐ ในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐอธิปไตยเกือบทั้งหมดของโลก
ภารกิจขององค์กรในการรักษาสันติภาพของโลกนั้นมีความซับซ้อนในช่วงต้นทศวรรษที่ผ่านมาโดยสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตและประเทศพันธมิตรของพวกเขา ภารกิจส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยผู้สังเกตการณ์ทางทหารที่ปราศจากอาวุธและกองกำลังทหารที่ติดอาวุธเบา โดยมีบทบาทหลักในการตรวจสอบ การรายงานและการสร้างความเชื่อมั่น การเป็นสมาชิกยูเอ็นได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลังการแยกตัวออกจากการเป็นอาณานิคมอย่างกว้างขวางในช่วงปี ค.ศ. 1960 ตั้งแต่นั้นมา อดีตอาณานิคม 80 ประเทศต่างได้รับเอกราช รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตี 11 แห่งที่ได้รับการตรวจสอบโดยคณะมนตรีภาวะทรัสตี ในปี ค.ศ. 1970 งบประมาณของยูเอ็นสำหรับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สูงกว่าการใช้จ่ายทางด้านการรักษาสันติภาพ ภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง ยูเอ็นได้เปลี่ยนและขยายตัวการปฏิบัติการภาคสนามโดยดำเนินงานที่มีความซับซ้อนมากมาย
ยูเอ็นนั้นมีเสาหลัก 6 ประการ: สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) คณะมนตรีภาวะทรัสตี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ระบบยูเอ็นประกอบไปด้วยหน่วยงานพิเศษเป็นจำนวนมากมาย เช่น กลุ่มธนาคารโลก องค์การอนามัยโลก โครงการอาหารโลก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (หรือเรียกอีกอย่างว่า ยูเนสโก) และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(หรือเรียกอีกอย่างว่า ยูนิเซฟ) นอกจากนี้องค์การนอกภาครัฐอาจจจะได้รับสถานะที่ปรึกษากับคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อเข้าร่วมในงานของยูเอ็น หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของยูเอ็นคือ เลขาธิการ ปัจจุบันเป็นนักการเมืองและนักการทูตชาวโปรตุเกสที่มีชื่อว่า อังตอนียู กูแตรึช ซึ่งดำรงตำแหน่งมา 5 ปีในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017 องค์การได้รับเงินสนับสนุนจากการประเมินราคาและบริจาคโดยสมัครใจจากประเทศสมาชิก
ยูเอ็น มีเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่าง ๆ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจำนวนมากมาย แม้ว่าจะมีการผสมผสานการประเมินประสิทธิภาพอื่น ๆ นักวิจารณ์บางคนเชื่อว่า องค์การนี้ที่จะเป็นพลังสำคัญสำหรับการพัฒนาสันติภาพและมนุษย์ ในขณะที่คนอื่น ๆ ต่างเรียกว่า ไร้ประสิทธิภาพ มีความลำเอียง และทุจริต
== การก่อตั้ง ==
สหประชาชาติถูกก่อตั้งเพื่อสืบทอดองค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งถูกมองว่าไร้ประสิทธิภาพที่จะธำรงรักษาสันติภาพ ดังที่เห็นได้จากความล้มเหลวในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่า "สหประชาชาติ" เป็นแนวคิดของแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์และวินสตัน เชอร์ชิลล์ พบใช้ครั้งแรกในกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อ ค.ศ. 1942 ซึ่งเป็นการรวบรวมเอาประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร 26 ประเทศในสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกันภายใต้การลงนามกฎบัตรแอตแลนติก และกลายเป็นคำที่ใช้เรียกองค์การนี้ในที่สุด ใน ค.ศ. 1944 ผู้แทนจากประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการก่อตั้งสหประชาชาติที่ดัมบาตันโอกส์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. การประชุมครั้งนั้นและครั้งต่อ ๆ มา ทำให้เกิดรากฐานความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม โดยแผนเหล่านี้ได้ผ่านการถกเถียงอภิปรายจากรัฐบาลและประชาชนจากทั่วโลก
เมื่อใกล้สิ้นสุดสงคราม การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศ เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 ที่นครซานฟรานซิสโก ตัวแทนจาก 50 ประเทศได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ยกเว้นโปแลนด์ที่ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดั้งเดิม รวมเป็น 51 ประเทศ แม้สันนิบาตชาติจะถูกล้มเลิกไป แต่อุดมการณ์ส่วนใหญ่และโครงสร้างบางประการได้ถูกกำหนดไว้ในกฎบัตรโดยได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับโลกใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น หลังจากกฎบัตรผ่านการลงนามจากสมาชิก สหประชาชาติจึงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกฎบัตรมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 หลังจากนั้น การประชุมสมัชชาครั้งแรกเกิดขึ้นที่กรุงลอนดอน เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1946
== องค์กร ==
ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 5 เสาหลัก (ไม่นับรวมคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ ซึ่งยุติการปฏิบัติงานไปใน ค.ศ. 1994) ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สำนักเลขาธิการและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สี่องค์กรในจำนวนนี้มีที่ทำการในสำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ส่วนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ส่วนองค์กรย่อย ๆ ตั้งอยู่ที่เจนีวา เวียนนาและไนโรบี รวมไปถึงเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก
สหประชาชาติมีธง ที่ทำการไปรษณีย์ และดวงตราไปรษณียากรของตนเอง ภาษาทางการที่ใช้มีอยู่ 6 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษาจีน และภาษาอาหรับ โดยที่ภาษาอาหรับได้ถูกเพิ่มเข้ามาหลังสุด เมื่อปี ค.ศ. 1973 ส่วนสำนักเลขาธิการนั้นใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษที่กำหนดให้เป็นมาตรฐาน คือ อังกฤษบริติช และการสะกดแบบออกซ์ฟอร์ด ส่วนภาษาจีนมาตรฐาน คือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งเปลี่ยนมาจาก อักษรจีนตัวเต็ม ใน ค.ศ. 1971 เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นสมาชิกสหประชาชาติแทนสาธารณรัฐจีน
=== สมัชชาใหญ่ ===
สมัชชาใหญ่เป็นที่ประชุมซึ่งรัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมดประชุมกันเป็นประจำในสมัยประชุมประจำปีภายใต้ประธานซึ่งเลือกตั้งมาจากรัฐสมาชิก ในช่วงเปิดสมัยประชุมแต่ละสมัยเป็นเวลากว่าสองสัปดาห์ สมาชิกทั้งหมดมีโอกาสจะเสนอญัตติแก่สมัชชาได้ สมัยประชุมแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1946 ในเวสต์มินสเตอร์เซ็นทรัลฮอลล์ ในกรุงลอนดอน ซึ่งในขณะนั้นมีสมาชิก 51 ประเทศ
เมื่อสมัชชาใหญ่ลงมติต่อปัญหาที่สำคัญ จะต้องมีการลงมติและได้รับเสียงส่วนใหญ่เกินสองในสามของรัฐสมาชิกที่มาประชุม ตัวอย่างปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การแนะนำต่อสันติภาพและความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกองค์กร การรับเข้า การระงับและการขับสมาชิก และประเด็นด้านงบประมาณ ส่วนปัญหาอื่นทั้งหมดตัดสินโดยใช้มติเสียงข้างมาก รัฐสมาชิกแต่ละประเทศมีหนึ่งเสียง นอกเหนือไปจากการอนุมัติประเด็นทางงบประมาณ ข้อมติสมัชชาใหญ่ไม่มีผลผูกมัดต่อสมาชิก สมัชชาใหญ่อาจเสนอคำแนะนำต่อปัญหาใด ๆ ภายใต้ขอบเขตของสหประชาชาติ ยกเว้นประเด็นด้านสันติภาพและความมั่นคงซึ่งอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคง
=== คณะมนตรีความมั่นคง ===
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ดำรงรักษาสันติภาพและความปลอดภัยแก่ประเทศสมาชิก ขณะที่ส่วนอื่น ๆ ของสหประชาชาติสามารถเพียงให้คำแนะนำแก่รัฐบาลของประเทศสมาชิก แต่คณะมนตรีความมั่นคงมีอำนาจที่จะผูกมัดประเทศสมาชิกให้ปฏิบัติตามการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตามข้อตกลงในกฎบัตรข้อที่ 25 โดยผลการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคง เรียกว่า มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกถาวร 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวรอีก 10 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยชาด ไนจีเรีย แองโกลา จอร์แดน มาเลเซีย ชิลี เวเนซุเอลา นิวซีแลนด์ สเปน และลิทัวเนีย สมาชิกถาวรทั้งห้าประเทศมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจยับยั้งการนำไปใช้ แต่ไม่ใช่การยับยั้งมติโดยรวม ส่วนสมาชิกไม่ถาวรทั้งสิบประเทศจะอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ซึ่งได้รับเลือกจากสมัชชาใหญ่โดยใช้เกณฑ์ตามภูมิภาค ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะหมุนเวียนตามตัวอักษรทุกเดือน
=== สำนักเลขาธิการ ===
สำนักเลขาธิการสหประชาชาติมีเลขาธิการสหประชาชาติเป็นประธาน ได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าหน้าที่พลเรือนทั่วโลก มีหน้าที่ศึกษา รวบรวมข้อมูลและอำนวยความสะดวกให้แก่การประชุม และยังมีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติและส่วนอื่น ๆ ขององค์การ กฎบัตรสหประชาชาติได้ระบุถึงเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือกว่าต้องมี "มาตรฐานประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด มีความสามารถและความซื่อสัตย์" และความสำคัญในการคัดเลือกคนที่มาจากพื้นฐานภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน
กฎบัตรสหประชาชาติยังได้กำหนดด้วยว่าเจ้าหน้าที่จะต้องไม่แสวงหาหรือรับคำสั่งจากอำนาจใดนอกเหนือจากองค์การสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติทุกประเทศจะต้องเคารพความเป็นสากลของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติและจะต้องไม่มุ่งมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการเป็นอันขาด โดยเลขาธิการสหประชาชาติจะเป็นผู้คัดเลือกเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติแต่เพียงผู้เดียว
สถานที่ทำการของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติอยู่ในพื้นที่ของสำนักงานประสานกิจการมนุษยชาติและสำนักงานควบคุมปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
=== เลขาธิการ ===
เลขาธิการทำหน้าที่เสมือนเป็นโฆษกและผู้นำองค์การสหประชาชาติโดยพฤตินัย เลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ อังตอนียู กูแตรึช ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากปัน คี มูน ใน ค.ศ. 2017
ตำแหน่งนี้ ซึ่งแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์มองว่าเป็น "ผู้ดูแลโลก" ถูกนิยามไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติว่าเป็น "ผู้นำการบริหารขององค์การ" และกฎบัตรยังได้ระบุว่าเลขาธิการสหประชาชาติสามารถยก "ปัญหาใด ๆ ที่เขาเห็นว่าอาจส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ" ขึ้นเพื่อให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพิจารณาได้ ทำให้บทบาทของเลขาธิการสหประชาชาติมีขอบเขตกว้างขวางมากขึ้นในเวทีโลก ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติจึงมีสองบทบาท ทั้งผู้บริหารสหประชาชาติ และนักการทูตหรือผู้ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก และหาข้อยุติให้กับปัญหาระดับโลก เลขาธิการสหประชาชาติมีหน้าที่ที่จะควบคุมปฏิบัติการรักษาสันติภาพ การควบคุมองค์กรสากล การรวบรวมข้อมูลจากข้อตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและพูดคุยกับผู้นำรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ
เลขาธิการสหประชาชาติถูกแต่งตั้งจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หลังจากที่ได้รับมติมาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การเลือกเลขาธิการสหประชาชาติมีสิทธิ์ถูกยับยั้งจากสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และตามทฤษฎีแล้ว สมัชชาใหญ่จะสามารถเปลี่ยนการสนับสนุนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ หากไม่ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็ยังไม่เคยเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติไม่ได้ถูกกำหนดคุณสมบัติแน่ชัด แต่เป็นที่ยอมรับกันว่าอยู่ในตำแหน่งวาระละห้าปีได้หนึ่งหรือสองวาระ ตำแหน่งควรจะเวียนไปตามภูมิภาคของโลก และต้องไม่ได้มาจากประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
รายนามเลขาธิการสหประชาชาติ
=== คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ===
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติมีส่วนช่วยเหลือสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในการให้ความสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการพัฒนา คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 54 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติวาระละสามปี ส่วนประธานมีวาระหนึ่งปีและได้รับเลือกจากประเทศขนาดเล็กหรือขนาดกลางเพื่อเป็นผู้แทนของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติจัดการประชุมขึ้นทุกปี เมื่อถึงเดือนกรกฎาคม เป็นเวลาสี่สัปดาห์ แต่หลังจากปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา ได้มีการจัดการประชุมขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเดือนเมษายน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่รวบรวมและให้การแนะนำประเทศสมาชิก โดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติเป็นความร่วมมือทางนโยบายที่ดีที่สุด และมีผลงานมากที่สุดในองค์การสหประชาชาติ
=== ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ===
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการตัดสินปัญหาของสหประชาชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1945 จากผลของกฎบัตรสหประชาชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเริ่มทำหน้าที่ในปี ค.ศ. 1946 แทนศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ อนุสาวรีย์ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งคล้ายกับศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศก่อนหน้า คือ ข้อความรัฐธรรมนูญที่วางระเบียบของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ในพระราชวังสันติภาพ ในกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นอาคารที่ตั้งของสถาบันกฎหมายนานาชาติเฮก ซึ่งเป็นสถานที่ของเอกชนในการศึกษากฎหมายนานาชาติ ผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหลายคนเป็นนิสิตเก่าหรือคณะครูในสถาบันแห่งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อพิจารณาความขัดแย้งระหว่างรัฐ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมสงคราม การเข้าไปสอดแทรกกิจการภายในรัฐ และการล้างชาติพันธุ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีศาลที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกัน คือ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี ค.ศ. 2002 ผ่านทางการอภิปรายหลายครั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาลถาวรระหว่างประเทศที่ลงโทษผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายสากล รวมไปถึงอาชญากรรมสงครามและการล้างชาติพันธุ์ ศาลอาญาระหว่างประเทศถือว่าเป็นเอกภาพ ทั้งจากลักษณะโดยรวมและทางการเงิน แต่การประชุมบางคราวของโครงสร้างศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะสมัชชาแห่งชาติถูกจัดขึ้นที่สหประชาชาติ ซึ่งมี "ข้อตกลงความสัมพันธ์" ระหว่างศาลอาญาระหว่างประเทศกับสหประชาชาติซึ่งทั้งสองต่างก็ยอมรับกันทางกฎหมาย
=== หน่วยงานพิเศษ ===
นอกจาก 5 เสาหลักของสหประชาชาติแล้ว ยังมีหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่ทำหน้าที่แตกต่างออกไป ซึ่งเป็นไปตามกำหนดของกฎบัตรสหประชาชาติว่า เสาหลักของสหประชาชาติสามารถก่อตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาเพื่อเติมเต็มการทำหน้าที่ของตัวเองได้ หน่วยงานเหล่านั้นประกอบด้วย
== สมาชิก ==
เมื่อนับรวมไปถึง เซาท์ซูดาน ซึ่งเข้ามาหลังสุด เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ขณะนี้ สหประชาชาติมีรัฐสมาชิกซึ่งรวมไปถึงรัฐที่ได้รับการรับรองว่าเป็นเอกราช ทั้งหมด 193 ประเทศ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน คอซอวอ และปาเลสไตน์ ซึ่งได้สถานภาพรัฐสังเกตการณ์
กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดการเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติไว้ว่า
สิทธิ์การเข้าเป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติเปิดกว้างให้แก่รัฐที่รักสันติทุกประเทศที่สามารถยอมรับข้อตกลงที่ระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และสามารถนำพันธะในองค์กรไปปฏิบัติใช้ได้
การยอมรับการเข้าเป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสมัชชาใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บนคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
กลุ่ม 77 เป็นการรวมกำลังกันอย่างหลวม ๆ ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในสหประชาชาติ ออกแบบมาเพื่อแสดงออกถึงความสนใจทางเศรษฐกิจร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมืออำนาจในการต่อรองภายในสหประชาชาติ กลุ่ม 77 มีจำนวนสมาชิกครั้งก่อตั้งจำนวน 77 ประเทศ แต่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 130 ประเทศ กลุ่มดังกล่าวได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1964 โดย "แถลงการณ์ร่วมของชาติ 77 ชาติ" ซึ่งประกาศเอาไว้ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา การประชุมหลักในครั้งแรกเกิดขึ้นในกรุงแอลเจียร์ ในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งจากกฎบัตรอัลเจียร์ได้รับการพัฒนาและพื้นฐานโครงสร้างของสถาบันถาวรได้ริเริ่มเอาไว้
== ภารกิจ ==
=== การรักษาสันติภาพและความมั่นคง ===
สหประชาชาติ ภายหลังจากที่ได้รับรองจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะมีการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปยังเขตพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในการใช้อาวุธที่สิ้นสุดลงหรือหยุดชะงักเพื่อบังคับใช้เงื่อนไขของข้อตกลงสันติภาพและห้ามปรามผู้เข้าร่วมรบจากความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกัน สหประชาชาติไม่ได้มีกองกำลังติดอาวุธของตนเอง การรักษาสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ด้วยการอาสาสมัครจากรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ มีชื่อเรียกว่า "หมวกน้ำเงิน" ผู้ซึ่งสมัครใจปฏิบัติตามมติสหประชาชาติจะได้รับเหรียญสหประชาชาติ และพิจารณามอบเครื่องอิสริยาภรณ์สากล แทนที่จะเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ทางทหาร กองกำลังรักษาสันติภาพทั้งหมดได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่อปี ค.ศ. 1988
เหล่าผู้ก่อตั้งสหประชาชาติได้เผชิญหน้ากันว่าองค์การสหประชาชาติจะทำหน้าที่ป้องกันความขัดแย้งระหว่างรัฐและทำให้สงครามในอนาคตกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การแตกหักของสงครามเย็นได้ทำให้ข้อตกลงการรักษาสันติภาพกลายเป็นความยุ่งยากอย่างมาก เนื่องจากมีการแบ่งส่วนต่าง ๆ ของโลกออกเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ภายหลังจากสงครามเย็น ได้มีความหวังใหม่ว่าสหประชาชาติจะเป็นผู้ธำรงสันติภาพของโลก ในขณะที่ยังมีความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่ในปัจจุบันทั่วโลก
ในปี ค.ศ. 2005 การศึกษาบริษัทแรนด์ได้พบว่าสหประชาชาติประสบความสำเร็จในการรักษาสันติภาพสองในสาม ได้มีการเปรียบเทียบว่าความพยายามสร้างชาติของสหประชาชาตินี้กับความพยายามของสหรัฐอเมริกา และพบว่าเจ็ดในแปดกรณีของสหประชาชาตินั้นอยู่ในสภาวะสันติภาพ ไม่เหมือนกับสี่ในแปดกรณีของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในสภาวะสันติภาพ ในปี 2005 รายงานความมั่นคงของมนุษย์ได้เป็นพยานหลักฐานของสงคราม การล้างชาติพันธุ์และการละเมิดสิทธิมนุษย์หลายครั้งตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามเย็น และนำเสนอหลักฐาน กรณีแวดล้อมและกิจการสากล ซึ่งส่วนใหญ่นำโดยสหประชาชาติ เป็นสาเหตุของการลดจำนวนลงของความขัดแย้งด้วยอาวุธภายหลังสงครามเย็น สถานการณ์ที่สหประชาชาติมีส่วนร่วมรักษาสันติภาพได้ รวมไปถึง สงครามเกาหลี และการอนุญาตให้เข้าแทรกแซงในอิรัก ภายหลังจากที่อิรักรุกรานคูเวต ในปี ค.ศ. 1990
แต่สหประชาชาติก็ได้รับคำวิจารณ์จากความล้มเหลวในการรักษาสันติภาพหลายครั้ง ในหลายกรณีที่รัฐสมาชิกปฏิบัติการด้วยความไม่เต็มใจในการปฏิบัติตามหรือการบังคับใช้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นประเด็นที่ปิดกั้นธรรมชาติของรัฐบาลนานาชาติของสหประชาชาติ ดังที่เห็นได้ชัดเจนจากความร่วมมือกันของรัฐสมาชิก 192 ประเทศต้องมีความเป็นเอกฉันท์ ไม่ใช่องค์การที่มีอิสระ ความไม่เห็นด้วยกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทำให้สหประชาชาติล้มเหลวที่จะป้องกันเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา เมื่อปี ค.ศ. 1994 ล้มเหลวที่จะป้องกันที่จะยื่นความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในเข้าแทรก สงครามคองโกครั้งที่สอง ล้มเหลวที่จะเข้าแทรกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในซรีเบนนิกา เมื่อปี ค.ศ. 1995 และการป้องกันผู้ลี้ภัยโดยการใช้กำลังรักษาสันติภาพ ล้มเหลวที่จะส่งอาหารให้แก่ผู้คนที่อดอยากในโซมาเลีย ล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และล้มเหลวในการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และเข้าแทรกแซงในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติตกเป็นจำเลยในการข่มขืนกระทำชำเราเยาวชน การทารุณทางเพศ หรือการใช้บริการโสเภณีระหว่างภารกิจรักษาสันติภาพหลายครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา ในคองโก เฮติ ไลบีเรีย ซูดาน บุรุนดีและโกตดิวัวร์
ในความพยายามที่จะรักษาสันติภาพ สหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในความพยายามด้านการลดและลดอาวุธ การวางระเบียบของอาวุธยุทธภัณฑ์ รวมไปถึง การเขียนกฎบัตรสหประชาชาติในปี 1945 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่จะลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางเศรษฐกิจในการผลิตอาวุธ อย่างไรก็ตาม เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น ก็ปรากฏอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้แนวคิดของการจำกัดอาวุธและการลดอาวุธต้องหยุดชะงักไป โดยมีผลในมติการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อ "การทำลายอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธอื่นที่สามารถก่อการทำลายล้างสูงได้" โดยกระทู้หลักของประเด็นการลดอาวุธอยู่ที่คณะกรรมการการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก คณะกรรมาธิการการลดอาวุธของสหประชาชาติ และการเจรจาลดอาวุธ โดยได้พิจารณาห้ามการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การควบคุมอาวุธอวกาศ การห้ามใช้อาวุธเคมีและกับระเบิด การลดอาวุธและระเบิดนิวเคลียร์ การกำหนดเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ การลดงบประมาณทางการทหาร และความพยายามที่จะเสริมสร้างความมั่นคงสากล
สหประชาชาติยังได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของกระทู้ความมั่นคงโลก ซึ่งเป็นการประชุมหลักนานาชาติเพื่อแก้ปัญหาสาธารณภัยต่าง ๆ ซึ่งก่อตั้งขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนตุลาคม 2008
=== สิทธิมนุษยชนและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ===
ความพยายามในการกำกับดูแลสิทธิมนุษยชนถือได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการก่อตั้งสหประชาชาติ ความร้ายกาจจากสงครามโลกครั้งที่สองและพันธุฆาตได้นำไปสู่การเตรียมการองค์การใหม่ขึ้นเพื่อทำงานป้องกันมิให้เกิดโศกนาฏกรรมอีกในอนาคต เป้าหมายในระยะแรก คือ ความพยายามสร้างโครงร่างสำหรับพิจารณาและการลงมือช่วยเหลือตามคำร้องที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้รัฐสมาชิกต้องมีการส่งเสริม "ความเคารพและการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน" และจะต้องสนับสนุนต่อ "การลงมือปฏิบัติร่วมและแยกกัน" จนถึงที่สุด โดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แม้ว่าจะมิได้เป็นข้อผูกมัดทางกฎหมาย ได้ถูกร่างขึ้นโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1948 โดยถือเอาเป็นมาตรฐานการวัดความสำเร็จโดยทั่วไป โดยปกติแล้ว สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะรับฟังประเด็นทางมนุษยธรรมเสมอ
สหประชาชาติและหน่วยงานสนับสนุนเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมและเพิ่มพูนตามหลักการของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในกรณีจุดที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติในการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการจัดการเลือกตั้งปราศจากค่าใช้จ่ายและยุติธรรม การปรับปรุงระบบยุติธรรม การร่างรัฐธรรมนูญ การฝึกหัดเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน และการเปลี่ยนแปลงเอาขบวนการติดอาวุธเป็นพรรคการเมืองแทน โดยได้รับความสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงโลกให้กลายเป็นระบอบประชาธิปไตย สหประชาชาติได้มีส่วนช่วยจัดการเลือกตั้งให้แก่ประเทศที่มีประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไม่นานนัก อย่างเช่น อัฟกานิสถานและติมอร์-เลสเตในปัจจุบัน สหประชาชาติยังมีส่วนสำคัญในการรณรงค์สนับสนุนสิทธิสตรีในด้านสิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ และชีวิตทางสังคมในประเทศ นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้ปลูกฝังแนวคิดสิทธิมนุษยชนผ่านทางกติการของสหประชาชาติ และให้ความสนใจต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านทางสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการจัดตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อที่ประชุม โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ต่อจากผู้ตรวจการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมักจะได้รับคำวิจารณ์สำหรับตำแหน่งในการบีบรัฐสมาชิกที่ไม่ค่อยให้การสนับสนุนสิทธิมนุษยชน คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนมีสมาชิก 47 ประเทศกระจายกันไปตามทุกทวีปในโลก โดยมีวาระสมาชิกสามปี และไม่เป็นสมาชิกสามวาระติดต่อกัน ผู้ที่เสนอตัวเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจะต้องได้รับเสียงส่วนใหญ่จากสมัชชาใหญ่ นอกจากนี้ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยังมีอำนาจอย่างเข้มงวดเหนือรัฐสมาชิก รวมไปถึงการทบทวนสิทธิมนุษยชนสากล ขณะที่รัฐสมาชิกบางประเทศที่มีข้อกังขาถึงประวัติสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเมื่อถูกเลือกตั้งเข้ามาแล้ว ก็จะเพิ่มความสนใจให้แก่ประวัติสิทธิมนุษยชนของรัฐสมาชิกให้มากขึ้นกว่าที่เคย
นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้ให้ความสนใจแก่ชาวพื้นเมืองจำนวนกว่า 370 ล้านคนทั่วโลก โดยในปฏิญญาสิทธิชนพื้นเมืองได้รับรองจากสมัชชาใหญ่ในปี ค.ศ. 2007 ปฏิญญาดังกล่าวสรุปเน้นถึงความเป็นเอกเทศและการรวมกันของสิทธิทางวัฒนธรรม ภาษา การศึกษา รูปพรรณ การจ้างงานและสุขภาพ ด้วยเหตุนั้น จึงมีประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังยุคอาณานิคม ซึ่งขัดกับวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ปฏิญญาสิทธิชนพื้นเมืองมีเป้าหมายเพื่อที่จะธำรงรักษา สร้างความแข็งแกร่งและสนับสนุนการเจริญเติบโตของสถาบันชนพื้นเมือง วัฒนธรรมและประเพณี และยังมีการห้ามลำเอียงในการต่อต้านชนพื้นเมือง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชนพื้นเมือง ซึ่งต้องคำนึงถึงอดีต ปัจจุบันและอนาคต
ในความร่วมมือกับองค์กรอื่น อย่างเช่น กาชาด สหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัยและบริการให้แก่อาณาประชาราษฎร์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ สูญเสียที่อยู่อาศัยจากภัยสงคราม หรือได้รับผลกระทบจากมหันตภัยอื่น โครงการเพื่อมนุษยธรรมหลักของสหประชาชาติ คือ โครงการอาหารโลก ซึ่งได้ช่วยชีวิตมนุษย์กว่า 100 ล้านคนใน 80 ประเทศทั่วโลก) รวมไปถึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ใน 116 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึง ประเทศที่มีภารกิจรักษาสันติภาพ 24 ประเทศ
=== การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ===
เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ
การขจัดความยากจนและความหิวโหย
การพัฒนาการศึกษาขั้นประถม
การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ และการเชิดชูฐานะของสตรี
การลดอัตราการตายของเด็ก
การพัฒนาสุขภาพของแม่
การป้องกันโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่น ๆ
การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโลก
สหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในการได้รับการสนับสนุนเฉพาะทางจากทั่วโลก องค์การอย่างเช่น องค์การอนามัยโลก โครงการต้านภัยเอดส์ กองทุนต่อต้านโรคเอดส์ วัณโรคและมาลาเรีย ได้เป็นองค์การสำคัญในการต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเทศยากจน กองทุนประชากรของสหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุนหลักของบริการระบบสืบพันธุ์ ซึ่งช่วยลดจำนวนทารกและการตายของมารดาในกว่า 100 ประเทศ
สหประชาชาติยังได้ส่งเสริมการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ผ่านทางหน่วยงานหลายอย่าง อย่างเช่น ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เป็นองค์การพิเศษและผู้สังเกตการณ์ภายในโครงสร้างของสหประชาชาติ ตามข้อตกลงของปี ค.ศ. 1947 องค์การเหล่านี้ก่อตั้งขึ้นแยกต่างหากกับสหประชาชาติตามข้อตกลงเบรตตันวูดส์ในปี ค.ศ. 1944
สหประชาชาติได้การตีพิมพ์ดัชนีการพัฒนามนุษย์ทุกปี ซึ่งเป็นการจัดอันดับจากตัวชี้วัดความยากจน จำนวนผู้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาและอายุเฉลี่ย และจากตัวแปรอื่น ๆ
เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ คือ เป้าหมายแปดประการที่รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 192 ประเทศตั้งใจจะให้บรรลุภายในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งได้ประกาศไว้ในปฏิญญาสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2000
=== อาณัติพิเศษ ===
บางครั้งหน่วยงานในองค์การสหประชาชาติได้ผ่านมติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า "เรียกร้อง" "เป็นหน้าที่" หรือ "ให้ช่วยเหลือ" ทำให้เลขาธิการสหประชาชาติตีความว่าเป็นการมอบหมายอาณัติพิเศษให้ตั้งองค์กรชั่วคราวขึ้นหรือสั่งให้ดำเนินการบางสิ่งบางอย่าง อาณัติพิเศษเหล่านี้อาจเป็นภารกิจเล็กๆ เช่นการวิจัยและเผยแพร่เอกสารรายงาน ไปจนถึงการใช้อำนาจเต็มที่ เช่น ปฏิบัติการรักษาสันติภาพเต็มรูปแบบ (ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นสิทธิ์เฉพาะของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ)
แม้ว่าจะมีการจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางของสหประชาชาติบางแห่งเช่น องค์การอนามัยโลก ขึ้นในลักษณะดังกล่าวมานี้ แต่หน่วยงานเหล่านั้นก็มิใช่อาณัติพิเศษ เพราะองค์การเหล่านั้นถือว่าเป็นองค์การถาวรซึ่งปฏิบัติงานเป็นเอกเทศจากสหประชาชาติ โดยมีโครงสร้างสมาชิกของตัวเอง อาจกล่าวได้ว่าอาณัติเริ่มแรกเป็นแต่เพียงคำสั่งที่ครอบคลุมกระบวนการก่อตั้งสถาบัน และได้สิ้นสุดอาณัติไปนานแล้ว อาณัติพิเศษส่วนใหญ่จะหมดอายุไปในช่วงเวลาที่กำหนด และต้องมีคำสั่งให้ต่ออายุจากหน่วยงานของสหประชาชาติที่เป็นผู้ก่อตั้งเพื่อจะปฏิบัติงานต่อไป
หนึ่งในผลจากการประชุมโลกปี 2005 คือ อาณัติพิเศษ (ชื่อว่า "id 17171") สำหรับเลขาธิการสหประชาชาติที่จะ "ทบทวนอาณัติพิเศษทั้งหมดที่มีอายุมากกว่าห้าปีที่ได้รับมาจากมติของสมัชชาใหญ่หรือองค์การส่วนอื่น ๆ" เพื่อให้การทบทวนครั้งนี้เป็นไปโดยง่ายและต่อเนื่องกันภายในองค์การ สำนักเลขาธิการจึงได้จัดทำรายชื่ออาณัติพิเศษออนไลน์ [http://www.un.org/mandatereview/index.html] เพื่อดึงรายงานที่เกี่ยวข้องออกมาอยู่รวมกันและสร้างภาพรวมที่เด่นชัดออกมา
=== ภารกิจด้านอื่น ๆ ===
ตลอดช่วงเวลาของสหประชาชาติ มีอาณานิคมกว่า 80 แห่งที่เรียกร้องเอกราช สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ออกปฏิญญาการมอบเอกราชให้แก่อาณานิคมและประชากรในปี ค.ศ. 1960 โดยไม่มีเสียงต่อต้านเลย ส่วนประเทศเจ้าอาณานิคมเพียงแต่งดลงคะแนนเสียงเท่านั้น ผ่านทางคณะกรรมการสหประชาชาติเพื่อการปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 สหประชาชาติได้ให้ความสนใจในการปลดปล่อยอาณานิคม คณะกรรมการดังกล่าวยังได้สนับสนุนรัฐใหม่ที่เกิดขึ้นจากการปกครองตัวเอง คณะกรรมการดังกล่าวดูแลการตรวจตราการปลดปล่อยอาณานิคมที่มีขนาดใหญ่กว่า 20,000 ตารางกิโลเมตร และถอดรายชื่อประเทศนั้น ๆ ออกจากรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของสหประชาชาติ
สหประชาชาติยังได้มีการประกาศวันหยุดสากล ช่วงเวลาที่จะเฉลิมฉลองต่อประเด็นความสนใจหรือความกังวลนานาชาติ การใช้สัญลักษณ์ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ และโครงสร้างพื้นฐานของระบบสหประชาชาติ ซึ่งเป็นช่วงเวลาวันหรือปีที่เป็นประเด็นสำหรับความกังวลในระดับโลก อย่างเช่น วันวัณโรคโลก วันคุ้มครองโลก หรือ ปีแห่งทะเลทรายและการเกิดทะเลทรายสากล
== งบประมาณ ==
สหประชาชาติได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐสมาชิกด้วยความสมัครใจตามจำนวนที่ประเมินไว้แล้ว งบประมาณจำนวนสองปีของสหประชาชาติและหน่วยงานพิเศษได้รับเงินสนับสนุนจากการประเมิน สมัชชาใหญ่จะเป็นผู้กำหนดงบประมาณประจำและพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดวงเงินบริจาคให้แก่สหประชาชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความสามารถในการบริจาคของแต่ละประเทศ โดยวัดได้จากรายได้โดยรวมของชาติ และปรับฐานด้วยปริมาณหนี้ต่างประเทศและรายได้ต่อหัว
สมัชชาใหญ่ยังได้กำหนดหลักการว่าสหประชาชาติไม่ควรจะพึ่งพาทางการเงินจากรัฐสมาชิกใดรัฐหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น จึงมีการกำหนดเพดานการบริจาค ซึ่งเป็นการกำหนดจำนวนวงเงินสูงสุดในการบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนงบประมาณประจำของสหประชาชาติ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 สมัชชาใหญ่ได้มีการทบทวนวงเงินในการสนับสนุนสหประชาชาติใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของโลก หลังจากการทบทวน ได้มีการกำหนดลดเพดานวงเงินบริจาคสูงสุดจาก 25% เหลือ 22% ซึ่งมีเพียงสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่มีวงเงินบริจาคมากเพียงนั้น และยังมีการกำหนดวงเงินบริจาคต่ำสุดของงบประมาณสหประชาชาติไว้ที่ 0.001% สำหรับประเทศด้อยพัฒนาเพดานวงเงินบริจาคถูกกำหนดไว้ที่ 0.01% โดยปัจจุบัน วงเงินปฏิบัติการของสหประชาชาติตั้งไว้ที่ 4.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายจ่ายที่สำคัญของสหประชาชาติคือค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคง งบประมาณเพื่อการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติประจำปี 2005-2006 กินจำนวนกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทหารประจำการกว่า 70,000 นาย ในภารกิจรักษาสันติภาพ 17 แห่งทั่วโลก ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้รับการสนับสนุนจากรัฐสมาชิก แต่ด้วยวงเงินที่แตกต่างไปจากปกติ แต่ยังรวมไปถึงการเก็บเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติถาวรห้าประเทศ ผู้เป็นผู้สั่งการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ การเก็บเงินเพิ่มดังกล่าวนี้เพื่อเป็นการชดเชยให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2008 ผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินหลักแก่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพ 10 รายสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี จีน แคนาดา สเปนและเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติไม่จัดรวมอยู่ในงบประมาณประจำ (อย่างเช่น กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ) ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนโดยสมัครใจจากรัฐสมาชิก นอกจากจะให้การช่วยเหลือทางการเงินแล้ว บางประเทศได้บริจาคในรูปของผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ประชากรที่หิวโหยแทน
== นโยบายด้านบุคลากรและการจ้างงาน ==
องค์การสหประชาชาติและหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ มักได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันจากกฎหมายของประเทศที่ปฏิบัติการอยู่ (เท่าที่จำเป็นต่อการดำเนินภารกิจขององค์การ)เพื่อเป็นการป้องกันให้องค์การสหประชาชาติคงความยุติธรรมให้แก่ประเทศเจ้าบ้านและรัฐสมาชิก ความเป็นอิสระดังกล่าวทำให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้ทรัพยากรมนุษย์ได้ แม้ว่าในบางกรณีอาจจะขัดต่อกฎหมายของประเทศเจ้าบ้านหรือรัฐสมาชิกก็ตาม
แม้ว่าสหประชาชาติจะมีอิสระในด้านนโยบายทรัพยากรมนุษย์ สหประชาชาติและหน่วยงานต่าง ๆ สมัครใจที่จะบังคับใช้กฎหมายการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน โดยให้สถานะของพนักงานในความสัมพันธ์แบบเพศเดียวกันตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัญชาติ สหประชาชาติและหน่วยงานต่าง ๆ จะให้การยอมรับพนักงานที่แต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันได้เฉพาะในประเทศที่กฎหมายอนุญาตเท่านั้น การปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้สะท้อนถึงแนวคิดของสหประชาชาติที่มีต่อการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันโดยตรง แต่สะท้อนถึงนโยบายด้านบุคลากร/ทรัพยากรมนุษย์ของสหประชาชาติ และบางหน่วยงานได้เอื้อประโยชน์เพียงน้อยนิดให้แก่ความสัมพันธ์แบบครอบครัวของพนักงานหน่วยงาน และหน่วยงานบางแห่งไม่ยอมรับการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันหรือความสัมพันธ์แบบครอบครัวเลย
== การปฏิรูป ==
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ก็ได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปองค์การหลายครั้ง แม้ว่าจะมีทิศทางการแก้ไขที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็ตาม บางฝ่ายต้องการให้องค์การสหประชาชาติมีบทบาทมากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นในกิจการของโลก ขณะที่บางฝ่ายต้องการให้ลดบทบาทขององค์การเหลือเพียงการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการเรียกร้องให้เพิ่มสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติขึ้นอีก เพื่อที่จะให้มีหนทางที่แตกต่างในการเลือกตั้งเลขาธิการสหประชาชาติ และสมัชชารัฐสภาแห่งสหประชาชาติ
สหประชาชาติยังได้รับคำวิจารณ์ในด้านการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพและสิ้นเปลือง ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 สหรัฐอเมริกาปฏิเสธที่จะบริจาคเงินอุดหนุนให้แก่สหประชาชาติโดยอ้างว่าสหประชาชาติบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ และจะเริ่มบริจาคเงินอุดหนุนให้อีกครั้งภายหลังจากมีการประกาศปฏิรูปองค์การเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1994 สมัชชาใหญ่ได้มีมติให้มีการจัดตั้งสำนักงานบริการตรวจสอบภายในขึ้นเพื่อเป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพภายในองค์การ
โครงการปฏิรูปอย่างเป็นทางการ เริ่มต้นขึ้นโดย โคฟี แอนนัน ในปี ค.ศ. 1997 การปฏิรูปอย่างกล่าวรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงตัวสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเดิมสะท้อนถึงมหาอำนาจของโลกภายหลังปี ค.ศ. 1945 เพื่อให้ระบบการทำงานโปร่งใสขึ้น มีเหตุมีผลและมีประสิทธิภาพ ทำให้องค์การสหประชาชาติมีรูปแบบเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และมีการกำหนดภาษีศุลกากรในประดิษฐกรรมอาวุธทั่วโลก
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 สหประชาชาติได้จัดการประชุมโลก การประชุมครั้งนี้เรียกว่า "การประชุมครั้งหนึ่งในโอกาสแห่งชั่วอายุคนเพื่อการตัดสินใจครั้งสำคัญในพื้นที่การพัฒนา ความมั่นคง สิทธิมนุษยชนและการปฏิรูปสหประชาชาติ" โคฟี แอนนันได้เสนอให้ที่ประชุมได้ตกลง "ลดราคาครั้งใหญ่" ในการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองขององค์การต่อสันติภาพ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา และปรับปรุงรูปแบบเพื่อรองรับเหตุการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผลของการประชุมได้ข้อสรุปเป็นการประนีประนอมของเหล่าผู้นำโลก ซึ่งสรุปให้มีการก่อตั้งคณะกรรมการสร้างสันติภาพ เพื่อให้การช่วยเหลือประเทศที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและกองทุนประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการต่อสู้อย่างชัดเจนต่อการก่อการร้าย "ในทุกรูปแบบและการกระทำ" และข้อตกลงที่จะมอบทรัพยากรให้แก่สำนักงานบิรหารตรวจสอบภายในเพิ่มขึ้น ให้เงินสนับสนุนอีกพันล้านให้แก่เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ ยกเลิกคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติเนื่องจากทำภารกิจลุล่วงแล้ว และประชาคมโลกจะต้องมี "ความรับผิดชอบในการป้องกัน" ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลแห่งชาติที่จะคอยป้องกันพลเมืองของตนจากอาชญากรรมร้ายแรง
สำนักงานบริการตรวจสอบภายในได้มีการก่อตั้งขึ้นใหม่ด้วยขอบเขตและอำนาจที่ได้รับอย่างชัดเจน และจะได้รับทรัพยากรเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น สมัชชาใหญ่ยังได้รับอำนาจการตรวจสอบเพิ่มขึ้น มีการก่อตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการตรวจสอบอิสระ (IAAC) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 คณะกรรมการชุดที่ห้าได้ออกมติร่างข้อเรียนปฏิบัติของคณะกรรมการดังกล่าว สำนักงานหลักจรรยาได้ก่อตั้งขึ้นในปีเดียวกัน มีอำนาจรับผิดชอบในการบริหารการเปิดเผยทางการเงินและนโยบายการป้องกันผู้ให้ข้อมูล สำนักงานหลักจรรยาได้ดำเนินการร่วมกับ OIOS ในการวางแผนส่งเสริมนโยบายการป้องกันการฉ้อราษฎร์บังหลวง สำนักเลขาธิการกำลังอยู่ระหว่างการทบทวนอำนาจที่ได้รับมอบของสหประชาชาติที่มีอายุมากกว่าห้าปี การทบทวนดังกล่าวมีขึ้นเพื่อกำจัดโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าไม่จำเป็น โดยมีหัวข้อที่ต้องทบทวนกว่า 7,000 หัวข้อ และมีการโต้แย้งกันในเรื่องที่ว่าจะการกำหนดอำนาจที่ได้รับมอบขึ้นมาใหม่ จนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการอยู่
== การโต้เถียงและคำวิจารณ์ ==
องค์การสหประชาชาติได้รับการโต้เถียงและคำวิจารณ์มาตั้งแต่กิจกรรมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ในช่วงต้นของการก่อตั้งสหประชาชาติ ได้มีการต่อต้านสหประชาชาติในสหรัฐอเมริกาโดยสมาคมจอห์น เบิรช์ ซึ่งเริ่มต้นการรณรงค์ "ดึงสหรัฐออกจากสหประชาชาติ" ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ซึ่งกล่าวหาว่านโยบายของสหประชาชาติ คือ การก่อตั้งรัฐบาลโลกเพียงหนึ่งเดียว หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง คณะกรรมการว่าด้วยการปลดปล่อยแห่งชาติฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้เป็นรัฐบาลฝรั่งเศสในภายหลัง ดังนั้น ในช่วงแรกฝรั่งเศสจึงถูกกีดกันออกจากการประชุมเพื่อที่จะก่อตั้งองค์การใหม่ขึ้น ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ได้วิจารณ์สหประชาชาติว่า le machin ("ไอ้สวะ") และไม่เชื่อมั่นว่าพันธมิตรที่ร่วมกันรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศจะช่วยธำรงรักษาสันติภาพไว้ได้ โดยเสนอว่าการทำสนธิสัญญาป้องกันระหว่างประเทศโดยตรงจะดีกว่า ในปี ค.ศ. 1967 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้วิจารณ์สหประชาชาติว่า "พ้นสมัยและไม่เพียงพอ" ต่อการจัดการปัญหาความขัดแย้งในสมัยนั้น อย่างเช่น สงครามเย็น จีน เคิร์กแพทริก ผู้เลือกให้โรนัลด์ เรแกนเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ได้เขียนความเห็นไว้ใน เดอะนิวยอร์กไทมส์ เมื่อปี ค.ศ. 1983 ว่ากระบวนการอภิปรายของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ "มีส่วนเหมือนคนโง่" ของสหรัฐอเมริกา "มากกว่าการโต้วาทีทางการเมืองหรือเพื่อการแก้ปัญหาใด ๆ"
ในการปราศรัยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ก่อนหน้าการรุกรานอิรักของสหรัฐอเมริกาไม่นานนัก นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช กล่าวว่า "เหล่าประเทศเสรีจะไม่ปล่อยให้สหประชาชาติเลือนหายไปในประวัติศาสตร์ในฐานะของสมาคมโต้วาทีที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่ตรงประเด็น" ในปี ค.ศ. 2005 เขาได้แต่งตั้งให้นายจอห์น อาร์. โบลตันเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ซึ่งเขาได้กล่าวในปี ค.ศ. 1994 ว่า "ไม่มีอะไรในโลกนี้จะเป็นสหประชาชาติได้ เพราะมันเป็นเพียงแค่ประชาคมโลก ซึ่งสามารถนำได้โดยประเทศอภิมหาอำนาจที่เหลืออยู่ คือ สหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวเท่านั้น"
ในปี ค.ศ. 2004 อดีตเอกอัครทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติ ดอร์ โกลด์ ได้ตีพิมพ์หนังสือที่มีชื่อว่า Tower of Babble: How the United Nations Has Fueled Global Chaos ซึ่งได้วิจารณ์สหประชาชาติในสิ่งที่เรียกว่าความสัมพันธ์ของศีลธรรมในการเผชิญหน้ากับการล้างชาติพันธุ์และการก่อการร้าย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาก่อตั้งกับเวลาปัจจุบัน ขณะที่สหประชาชาติในช่วงที่กำลังก่อตั้งมีความจำกัดต่อชาติที่ประกาศสงครามต่อประเทศฝ่ายอักษะอย่างน้อยหนึ่งประเทศ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และยังได้สามารถยืดหยัดต่อต้านความชั่วร้ายได้ ส่วนสหประชาชาติสมัยใหม่ตามความเห็นของโกลด์แล้ว มีความเจือจางลงจนถึงจุดที่มีเพียงรัฐสมาชิก 75 จาก 184 รัฐ (ในขณะนั้น) เท่านั้นที่ "เป็นประชาธิปไตยเสรี เมื่อดูจากการสำรวจของฟรีดอมเฮาส์ เขาได้กล่าวต่อไปว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลงสหประชาชาติ ดังนั้น ตัวองค์กรโดยรวมจึงมีแนวโน้มที่จะมีความต้องการตามอย่างของเผด็จการ
=== อคติในความขัดแย้งอาหรับ-อิสราเอล ===
ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอิสราเอลและปาเลสไตน์ในความขัดแย้งอาหรับ-อิสราเอลได้ทำให้สหประชาชาติสิ้นเปลืองเวลาโต้วาที ออกมติและทรัพยากรจำนวนมาก
คณะกรรมการพิเศษปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติได้ตัดสินใจสนับสนุนให้มีการผนวกปาเลสไตน์เข้ากับสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ. 1947 เป็นการตัดสินใจในช่วงแรกของการก่อตั้งสหประชาชาติ นับตั้งแต่นั้นมา สหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในพื้นที่พิพาทดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ผ่านทางองค์การทำงานและบรรเทาทุกข์เพื่อชาวปาเลสไตน์ในดินแดนตะวันออกใกล้ประจำสหประชาชาติ และมอบเวทีแสดงความคิดเห็นทางการเมืองผ่านทางคณะกรรมการสิทธิ์การโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ แผนกสิทธิชาวปาเลสไตน์ประจำสหประชาชาติ คณะกรรมการพิเศษสืบสวนการละเมิดสิมธิมุนษยชนชาวปาเลสไตน์โดยอิสราเอล ระบบข้อมูลในกระทู้เกี่ยวกับปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติและวันแห่งความร่วมมือกับชาวปาเลสไตน์สากล สหประชาชาติได้สนับสนุนให้เกิดสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างพรรคการเมือง โดยครั้งล่าสุด คือ แผนที่ถนนเพื่อสันติภาพ เมื่อปี ค.ศ. 2002
จนถึงปัจจุบัน ปัญหาในตะวันออกกลางได้ทำให้สหประชาชาติต้องออกมติสมัชชาใหญ่คิดเป็น 76% มติคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติคิดเป็น 100% มติผู้ตรวจการสิทธิสตรีแห่งสหประชาชาติคิดเป็น 100% รายงานของโครงการอาหารโลกคิดเป็น 50% มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติคิดเป็น 6% และเป็นหัวข้อในสมัยการประชุมพิเศษฉุกเฉินของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 6 ครั้งจากทั้งหมด 10 ครั้ง จากมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 3379 (ค.ศ. 1975) ได้เริ่มต้นว่า "ลัทธิไซออนคือลัทธิการแบ่งแยกเชื้อชาติ" และล้มเลิกเมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยการตัดสินใจเหล่านี้ได้ผ่านจากการสนับสนุนจากองค์การการประชุมอิสลาม ซึ่งได้ประณามต่อการปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอล ซึ่งได้มีหลายคนที่กล่าวว่าเป็นการกระทำที่เลยเถิดเกินไป คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างในปี ค.ศ. 2007 เนื่องจากความล้มเหลวในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอิสราเอล
สหรัฐอเมริกาเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในการใช้อำนาจยับยั้งในการตัดสินใจของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอิสราเอล เป็นที่รู้จักกันว่า "ลัทธิเนโกรปอนเต"
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 อิสราเอลถูกกีดกันออกจากเขตพื้นที่ทวีปเอเชีย ในปี ค.ศ. 2000 อิสราเอลตกลงที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ องค์การทำงานและบรรเทาทุกข์เพื่อชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ประจำสหประชาชาติตกเป็นเป้าการวิพากษ์วิจารณ์ในชะตากรรมของผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ แม้ว่าสหประชาชาติจะกล่าวโทษลัทธิต่อต้านชาวยิว แต่ว่าก็มีผู้กล่าวว่ามีคนจำนวนมากที่ต่อต้านชาวยิวทำงานในสหประชาชาติ และมีส่วนร่วมในความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายหลายกรณีด้วยกัน
=== โครงการน้ำมันแลกอาหาร ===
โครงการน้ำมันแลกอาหารถูกก่อตั้งโดยสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1996 เพื่อให้อิรักขายน้ำมันเพื่อแลกกับอาหาร ยา และปัจจัยพื้นฐานให้แก่ชาวอิรักซึ่งได้รับผลกระทบจากการแซงชั่นทางเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลอิรักสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่หลังจากสงครามอ่าว อิรักได้ส่งน้ำมันสู่ตลาดโลกกว่า 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในจำนวนนี้เป็นค่าใช้จ่ายทางด้านปัจจัยพื้นฐานเป็นจำนวน 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาษีเพิ่มเติมที่จ่ายเพื่อชำระค่าปฏิกรรมสงครามสงครามอ่าวผ่านทางกองทุนชดเชย โครงการปกครองของสหประชาชาติและค่าปฏิบัติการสำหรับโครงการ (2.2%) และโครงการตรวจตราอาวุธ (0.8%)
โครงการดังกล่าวถูกล้มเลิกในตอนปลายปี 2003 ท่ามกลางข้อครหาจากโทษและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้กำกับโครงการคนก่อน บีนอน ซีแวน ถูกระงับและลาออกจากสหประชาชาติ การทำรายงานสืบสวนโดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติได้สรุปว่าเซแวนรับเงินสินบนจากรัฐบาลอิรัก โตโจ อันนัน ถูกกล่าวหาเช่นกันว่าผิดกฎหมายในการอนุมัติข้อตกลงน้ำมันแลกอาหารบนผลประโยชน์ของบริษัทสวิส โคเทคนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินเดีย เค. นัทวาร์ ซิงฮ์ ถูกให้ออกจากตำแหน่งเพราะมีเรื่องอื้อฉาว และออสเตรเลียนวีทบอร์ดก็ฝ่าฝืนกฎหมายเนื่องจากทำข้อตกลงไว้กับอิรัก
=== ด้านอื่น ===
อัลบิน คูร์ติ นักเคลื่อนไหวจากคอซอวอ ได้กล่าวหาองค์การสหประชาชาติ ผู้ปกครองคอซอวอมาตั้งแต่ ค.ศ. 1999 เนื่องจากว่าตามกลั่นแกล้งและจับกุมเขาด้วยเหตุผลทางการเมือง การกล่าวหาของเขาได้รับการสนับสนุนจากองค์การสิทธิมนุษยชนสากล อย่างเช่น องค์กรนิรโทษกรรมสากลและสหพันธ์เฮลซิงกิสากล ตามรายงานของอัมเนสตี ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกจากสหประชาชาติ "จวนเจียนจะถึงโจทก์หลังจากการฟัง - ในการขาดทั้งคูร์ติหรือนักกฎหมายที่ศาลมอบหมาย - เพื่อที่จะคลายความสงสัยที่ฝ่ายโจทก์จะแนะนำความสัมพันธ์ถึงการกักขังตัวเขาไว้"
== ดูเพิ่ม ==
องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา
ภารกิจสหประชาชาติในเซาท์ซูดาน
ประเทศไทยและสหประชาชาติ
สหประชาชาติจำลอง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แหล่งมรดกโลก
== อ้างอิง ==
United Nations. Encyclopedia Britannica. 2001.
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดการเรียนการสอนเรื่องสหประชาชาติ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. 2540.
== หนังสืออ่านเพิ่มเติม ==
"คิดใหม่: องค์การสหประชาชาติ" , Madeleine K. Albright, Foreign Policy, September/October, 2004
Hans Köchler, Quo Vadis, United Nations?, in: Law Review, Polytechnic University of the Philippines, College of Law, May 2005 ฉบับออนไลน์
An Insider's Guide to the UN, Linda Fasulo, Yale University Press (1 November 2003), hardcover, 272 pages, ISBN 0-300-10155-4
United Nations: The First Fifty Years, Stanley Mesler, Atlantic Monthly Press (1 March 1997), hardcover, 416 pages, ISBN 0-87113-656-2
United Nations, Divided World: The UN's Roles in International Relations edited by Adam Roberts and Benedict Kingsbury, Oxford University Press; 2nd edition (1 January 1994), hardcover, 589 pages, ISBN 0-19-827926-4
A Guide to Delegate Preparation: A Model United Nations Handbook, edited by Scott A. Leslie, The United Nations Association of the United States of America, 2004 edition (October 2004), softcover, 296 pages, ISBN 1-880632-71-3
"U.S. At War - International." นิตยสารไทม์ XLV.19 7 พฤษภาคม 1945: 25-28.
The Oxford Handbook on the United Nations, edited by Thomas G. Weiss and Sam Daws , Oxford University Press, July 2007, hardcover, 896 pages, ISBN 978-0-19-927951-7, ISBN 0-19-927951-9
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เว็บไซต์
โฮมเพจหลักของสหประชาชาติ - เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ
สหประชาชาติไทย - สหประชาชาติ ประเทศไทย
ระบบการจัดการองค์การสหประชาชาติ
เกี่ยวกับสหประชาชาติ
Global Issues on the UN Agenda
High-level Panel on United Nations Systemwide Coherence
Journal of the United Nations: Programme of meetings and agenda.
ศูนย์กลางข้อมูลภูมิภาคของสหประชาชาติ (UNRIC)
UN Chronicle Magazine
UN Organisation Chart
งานสหประชาชาติ
กฎบัตรสหประชาชาติ - เนื้อหาของกฎบัตรสหประชาชาติ
United Nations Directory
มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
อาสาสมัครสหประชาชาติ
United Nations Webcasts
ประกาศมนุษยชนสากล
แผนที่เว็บไซต์และสถานที่ของสหประชาชาติ
อื่น ๆ
เอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับสหประชาชาติ สงคราม อาชญากรรมสงครามและการล้างชาติพันธุ์
ผู้จับตามองสหประชาชาติ - โครงการของสถาบันฮัตสัน นิวยอร์ก และศูนย์สถาบันกฎหมายตัวโรเพื่อสิทธิมนุษยชน
ประวัติศาสตร์สหประชาชาติ - หน้าของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
สำนักข่าววงใน - ข่าวที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ
ภารกิจถาวรของสหประชาชาติ
Searchable archive of UN discussions and votes
หน่วยงานสหประชาชาติ - สถาบันสันติภาพสหรัฐอเมริกา
การสังเกตการณ์สหประชาชาติ - องค์การเอกชนที่ตั้งอยู่ในเจนีวา ผู้ซึ่งปฏิบัติตามสหประชาชาติตามกฎเกณฑ์ของกฎบัตรของตัวเอง
ความร่วมมือกับสหประชาชาติของสหราชอาณาจักร: อำนาจนโยบายอิสระภายในสหประชาชาติ
United Nations: Change at the Helm - Change for the Whole Ship? - Independent news reports by the news agency, Inter Press Service
หน่วยงาน eLeraning ของสหประชาชาติ สร้างโดย ISRG - มหาวิทยาลัย Innsbruck
แนวทางการวิจัยจากหอสมุดมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิสซิสซิปปี
กระทู้นโยบายโลก เว็บไซต์ของกระทู้นโยบายโลก ซึ่งเป็นถังความคิดที่เป็นเอกเทศที่มีต่อสหประชาชาติ
EQUITAS กฎยุทธศาสตร์ของถังความคิดทางกฎหมายปฏิบัติการร่วมกับผู้ปกป้องปฏิญญาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
สหประชาชาติ
องค์การระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2488
องค์การที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ | thaiwikipedia | 698 |
ยุทธการที่สตาลินกราด | ยุทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ยุทธการสตาลินกราดเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดบนแนวรบด้านตะวันออก และได้รับความสนใจเพราะความป่าเถื่อนและไม่สนใจต่อความสูญเสียทั้งทางทหารและพลเรือน นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในยุทธการนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์การสงคราม โดยมีการประเมินความสูญเสียทั้งสองฝ่ายรวมกันขั้นสูงไว้เกือบสองล้านนาย ความสูญเสียอย่างหนักที่กองทัพเยอรมนีประสบนับเป็นจุดพลิกผันของสงคราม หลังยุทธการสตาลินกราด กำลังเยอรมันไม่อาจฟื้นคืนยอดอย่างเมื่อก่อนได้อีก และไม่บรรลุชัยชนะทางยุทธศาสตร์ในทางตะวันออกอีกเลย
เยอรมนีรุกเพื่อยึดสตาลินกราดเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูร้อน ค.ศ. 1942 และได้รับการสนับสนุนจากการทิ้งระเบิดโดยกองทัพอากาศอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้พื้นที่ขนาดใหญ่ของนครกลายเป็นซากปรักหักพัง ท้ายที่สุด การรุกของเยอรมนีกลายมาติดหล่มการสู้รบอาคารต่ออาคาร และแม้จะควบคุมพื้นที่ของนครได้กว่า 90% ในบางครั้ง กองทัพเยอรมันกลับไม่สามารถขับไล่ผู้ป้องกันฝ่ายโซเวียตกลุ่มสุดท้ายที่ยึดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวอลกาอย่างเหนียวแน่น
วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองทัพแดงเปิดฉากปฏิบัติการยูเรนัส การโจมตีสองง่ามหรือเรียกว่าคีมหนีบโดยมีเป้าหมายต่อกำลังพลโรมาเนียและฮังการีที่อ่อนแอ ซึ่งกำลังป้องกันปีกของกองทัพที่ 6 หลังจากมีการสู้รบอย่างหนัก ความสำเร็จของการโจมตีเหล่านี้ส่งผลให้ปีกที่ยึดไว้อย่างหลวม ๆ พังลง และกองทัพที่ 6 ถูกตัดขาดและล้อมในสตาลินกราด เมื่อฤดูหนาวของรัสเซียมาถึง กองทัพที่ 6 ก็อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วจากความหนาว เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร การโจมตีอย่างต่อเนื่องของโซเวียต ความกำกวมของการบังคับบัญชา ประกอบกับความเชื่อแน่แน่วใน "พลังแห่งการตั้งเจตนา" (power of the will) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และค่านิยม "การยืนหยัด" (standing fast) ยิ่งเสริมฐานะยากลำบากของนาซีเยอรมนีขึ้นไปอีก ท้ายที่สุด ความล้มเหลวของกำลังเยอรมนีนอกวงล้อมในการเปิดวงล้อม ร่วมกับความล้มเหลวในการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ ทำให้เกิดการพังทลายขั้นสุดท้าย เมื่อถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 การต้านทานของฝ่ายอักษะในสตาลินกราดยุติลงและส่วนที่เหลือของกองทัพที่ 6 ได้ยอมจำนนหรือไม่ก็ถูกทำลายไปก่อนหน้านั้นแล้ว
== ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ==
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สตาลินกราดได้รับการกล่าวถึงเป็นจำนวนมากโดยสื่อของรัสเซีย เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เนื่องจากความสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามในทวีปยุโรป และการสูญเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องในการสู้รบ คำว่า "สตาลินกราด" กลายเป็นความหมายเหมือนกับการสู้รบขนาดใหญ่ในเมือง ที่มีการสูญเสียอย่างมากทั้ง 2 ฝ่าย
ภาพยนตร์
สตาลินกราดสกายาบีตวา (Сталинградская битва) ค.ศ. 1949 (สหภาพโซเวียต)
ซอลดาตืย (Солдаты) ค.ศ. 1958 (สหภาพโซเวียต)
Dogs, Do You Want to Live Forever? (Hunde, wollt ihr ewig leben?) ค.ศ. 1958 (เยอรมนีตะวันตก)
สตาลินกราด ค.ศ. 1990 (สหภาพโซเวียต, เยอรมนีตะวันออก, เชโกสโลวาเกีย, สหรัฐ)
สตาลินกราด ค.ศ. 1993 (เยอรมนี)
กระสุนสังหารพลิกโลก ค.ศ. 2001 (สหรัฐ)
มหาสงครามวินาศสตาลินกราด ค.ศ. 2013 (รัสเซีย)
==เชิงอรรถ==
== อ้างอิง ==
===บรรณานุกรม===
==บทอ่านเพิ่มเติม==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
Detailed summary of campaign
Stalingrad battle Newsreels // Net-Film Newsreels and Documentary Films Archive
Story of the Stalingrad battle with pictures, maps, video and other primary and secondary sources
Volgograd State Panoramic Museum official homepage
The Battle of Stalingrad in Film and History Written with strong Socialist/Communist political under and overtones.
Roberts, Geoffrey. "Victory on the Volga", The Guardian, 28 February 2003
Stalingrad-info.com, Russian archival docs translated into English, original battle maps, aerial photos, pictures taken at the battlefields, relics collection
H-Museum: Stalingrad/Volgograd 1943–2003. Memory
Battle of Stalingrad Pictures
Images from the Battle of Stalingrad (Getty)
The photo album of Wehrmacht NCO named Nemela of 9. Machine-Gewehr Bataillon (mot) There are several unique photos of parade and award ceremony for Wehrmacht personnel who survived the Battle of Stalingrad.
Stalingrad Battle Data Project: order of battle, strength returns, interactive map
Stalingrad documentaries by the Army University Press
Stalingrad Battle Data documentary base
สตาลินกราด
สตาลินกราด
โจเซฟ สตาลิน
เกออร์กี จูคอฟ
การสงครามพลซุ่มยิง | thaiwikipedia | 699 |
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา | ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา (สกุลเดิม กรองทอง; 6 กันยายน พ.ศ. 2462 — 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559) มีนามปากกาว่า อุชเชนี และ นิด นรารักษ์ เป็นนักเขียนและนักแปลชาวไทย
== ประวัติ ==
ประคิณเกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2462 ในครอบครัวคริสตัง เป็นธิดาของแสง กรองทอง (ศาสนนาม ยอห์น บัปติสตา) กับประคอง กรองทอง (ศาสนนาม โรซา) เธอมีเชื้อสายจีนจากปู่ มีชื่อทางศาสนาว่าเออเชนี ตั้งตามชื่อนักบุญเอวเยน (Eugène) ส่วนชื่อจริงมารดาตั้งตามพจนานุกรมปัลเลอกัวซ์ แปลว่า "ประคับประคอง"
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8 ภาษาฝรั่งเศส จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และเรียนซ้ำมัธยม 8 ทางภาษาอังกฤษ ก่อนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นที่หนึ่งของประเทศ จบปริญญาโทเกียรตินิยม ภาษาฝรั่งเศส พ.ศ. 2488 และได้ทุนไปศึกษาต่อที่ปารีส 1 ปี รับประกาศนียบัตรการศึกษาระดับสูงด้านวรรณคดีฝรั่งเศสร่วมสมัย มหาวิทยาลัยเซอร์บอน
== การทำงาน ==
เริ่มเขียนกลอนตั้งแต่เข้าเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีรุ่นพี่ชื่อสุจิต ศิกษมัต ตั้งนามปากกาให้ว่า "อุชเชนี" ตามชื่อเดิม จนในปี พ.ศ. 2489 เธอเริ่มเขียนกลอนสั้น "มะลิแรกแย้ม" ลงพิมพ์ในหนังสือบ้าน- กับโรงเรียน ในนาม "มลิสด" ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 เปลี่ยนแนวการแต่งจากรักเป็นเรื่องของคนทุกข์ยากคือ "ใต้- โค้งสะพาน" ลงในหนังสือการเมือง จนในปี พ.ศ. 2499 มีการรวมพิมพ์เป็นเล่มระหว่าง อุชเชนี และนิด นรารักษ์ ชื่อ "ขอบฟ้าขลิบทอง" บอกเล่าเรื่องราวเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดี โดยเฉพาะเคียงความรู้สึกของชนชั้นกลาง ที่เห็นคุณค่าของชนชั้นที่ต่ำกว่า ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างความรวยและความจน
ต่อมาเธอกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้สมรสกับหม่อมหลวงจิตรสาร ชุมสาย (มีชื่อทางศาสนาว่า ยอห์น) บุตรพระยาสีหพงศ์เพ็ญภาค (หม่อมราชวงศ์ประเวศ ชุมสาย) กับคุณหญิงเปลี่ยน มีบุตร-ธิดา 3 คน
ระหว่างศึกษาที่ฝรั่งเศส ได้อ่านหนังสือวรรณคดีชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศสจำนวนมาก ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดที่จะสร้างสรรค์งานที่มีค่าต่อสังคม เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์มีโอกาสได้ติดตามนายแพทย์และบาทหลวงเข้าไปทำงานที่แหล่งเสื่อมโทรม และมีจิตสำนึกแบบชาวคาทอลิกที่เคร่งครัดว่าควรจะต้องทำอะไรเพื่อคนจน ทำให้เธอเขียนบทกวีที่สะท้อนภาพสังคมในเชิงมนุษยธรรม
ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) พร้อมกับเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ในปี พ.ศ. 2536
หนังสือเรื่อง "ขอบฟ้าขลิบทอง" เป็นหนังสือที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นงานวรรณกรรมที่น่าอ่าน มีคุณค่าทางศิลปวรรณกรรม ครบถ้วนตามแนวทางของวรรณกรรมโลกหรือวรรณกรรมสากลมีเนื้อหาสาระที่แสดงออกถึงความริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้ผู้อ่านมีทัศนะต่อชีวิตและต่อโลกกว้างขึ้น ได้รับความรู้ ความคิดอ่าน ความบันเทิงทางศิลปวัฒนธรรม ปรากฏแจ้งใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ ณ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ สิริอายุ 96 ปี โดยจัดพิธีสวด ณ วัดพระมหาไถ่ และมีพิธีฝังศพที่สุสานศานติคาม จังหวัดนครปฐม
== ผลงาน ==
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา มีผลงานเขียนและงานแปลดังนี้
ขอบฟ้าขลิบทอง เป็นผลงานรวมบทกวี
อัษมา เป็นผลงานการแปลจากบทกวีนิทานพื้นบ้านของจีน
ดาวผ่องนภาดิน เป็นผลงานรวมบทกวี
เพียงแค่เม็ดทราย เป็นผลงานการประพันธ์ประเภทร้อยแก้ว
หิ่งห้อย เป็นผลงานการแปลจากบทกวีของรพินทรนาถ ฐากูร ปราชญ์ชาวอินเดีย ซึ่งได้แปลร่วมกับศาสตราจารย์ระวี ภาวิไล
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== อ้างอิง ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา
ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
นักเขียนชาวไทย
นามปากกา
อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
ราชสกุลชุมสาย
ณ อยุธยา
นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กวีชาวไทย
คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย
บุคคลจากเขตบางรัก
บุคคลจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
ชาวไทยเชื้อสายจีน | thaiwikipedia | 700 |
สถานการณ์ฉุกเฉิน | สถานการณ์ฉุกเฉิน (state of emergency) คือ สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งรัฐ หรืออันอาจทำให้รัฐตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวะการรบหรือการสงคราม ซึ่งฝ่ายบริหารรัฐมีอำนาจประกาศว่าพื้นที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นว่าโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายของรัฐนั้น ๆ ซึ่งให้อำนาจพิเศษในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน และมักเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ดี กฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ไม่เบ็ดเสร็จเท่ากฎอัยการศึกหรือกฎหมายที่ใช้ในสภาวะสงคราม
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมักมีภายหลังจากการเกิดภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือการประกาศสงคราม ซึ่งอาจมีผลให้เจ้าหน้าที่บางฝ่ายต้องหยุดการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ลงชั่วคราว โดยอำนาจหน้าที่เช่นว่านั้นอาจรวมศูนย์ไปยังเจ้าหน้าที่อีกฝ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมสถานการณ์โดยไม่ชักช้า และอาจนำไปสู่การห้ามออกจากเคหสถาน (curfew) หรือการห้ามมั่วสุมชุมนุมกันเพื่อการใด ๆ ก็ดี ณ พื้นที่นั้นในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
== การใช้คำผิด ==
ในประเทศไทยมีการใช้คำผิดเกี่ยวกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่า รัฐบาลได้ประกาศหรือประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะตัว พ.ร.ก. ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศไทยนั้นได้ประกาศอยู่แล้วใน รก. หากสิ่งที่รัฐบาลประกาศคือสถานการณ์ฉุกเฉินโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว หาใช่การประกาศ พ.ร.ก. ไม่
อนึ่ง ยังมีการเรียกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ว่า การประกาศหรือประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เป็นต้น เป็นการเติม "ที่มีความร้ายแรง" ไปให้ชื่อพระราชกำหนดเข้าอีก ทั้ง ๆ ที่ ม.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ว่า "พระราชกำหนดนี้เรียกว่า 'พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548'" หาได้มีคำ "ที่มีความร้ายแรง" ไม่ และในความนี้ต้องว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ไม่ใช่ประกาศหรือประกาศใช้ พ.ร.ก.
นอกจากนี้ สำหรับการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ยังมีการกล่าวกันอีกว่า การยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะนี่คือการยกเลิกประกาศ ไม่ใช่การยกเลิกกฎหมายที่ให้อำนาจประกาศ การยกเลิกกฎหมายไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะตรา พ.ร.บ. มายกเลิก หรือคณะรัฐมนตรีประกาศ พ.ร.ก. มายกเลิก พ.ร.ก. ดังกล่าว ดังนั้น ในความนี้ต้องว่า การยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หาใช่การยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินไม่ เพราะหากเป็นการยกเลิก พ.ร.ก. เสียทีเดียวก็จะไม่มีกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินและไม่อาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้อีก
ซ้ำร้าย ยังพบว่ามีการแปลกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินของต่างประเทศ เช่น ประเทศฟิจิ ว่า "พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน" อีกด้วย ทั้ง ๆ ที่ประเทศฟิจิไม่ได้มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กฎหมายของประเทศนั้นจะเรียก "พระราช" หาได้ไม่ กับทั้งกฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีศักดิ์เป็น ร.ฐ.ก., ร.ฐ.บ. หรืออย่างอื่น ก็หาทราบไม่ ด้วยข่าวทั่ว ๆ ไปเรียก "law" ซึ่งเป็นการเรียกรวม ๆ แต่ในภาษาไทยกลับเรียก "พ.ร.ก." ซึ่งไม่ถูกต้อง
== ประเทศไทย ==
ประเทศไทยมีกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับปัจจุบันคือ "พ.ร.ก. ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548" ซึ่งรัฐบาลอันมีพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้ โดยประกาศใน รก. เล่ม 122 ตอนที่ 58 ก วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และมีผลใช้บังคับในวันถัดมา
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มี "พ.ร.บ. ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495" ซึ่งประกาศใช้ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยประกาศใน รก. เล่ม 69 ตอนที่ 16 วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2495 และมีผลใช้บังคับในวันถัดมา
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติต่าง ๆ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐที่มีหลากหลายรูปแบบให้ยุติลงได้โดยเร็ว รวมทั้งไม่อาจนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติสาธารณะและการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย และเนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ซึ่งมีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้นจนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต และก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ รวมทั้งทำให้ประชาชนได้รับอันตรายหรือเดือดร้อนจนไม่อาจใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุข และไม่อาจแก้ไขปัญหาด้วยการบริหารราชการในรูปแบบปกติได้ สมควรต้องกำหนดมาตรการในการบริหารราชการสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้รัฐสามารถรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัย และการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั้งปวงให้กลับสู่สภาพปกติได้โดยเร็ว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก. นี้
=== สถานการณ์ฉุกเฉิน ===
สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปรกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง (ม.4 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ส่วน สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ได้แก่ กรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที (ม.11 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
=== การประกาศและการยกเลิกประกาศ ===
การประกาศว่าท้องที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เข้าร่วมกันเยียวยาสถานการณ์นั้น เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยจะประกาศทั้งราชอาณาจักรหรือบางท้องที่ก็ได้ และประกาศนี้มีอายุใช้บังคับสามเดือนนับแต่วันประกาศ แต่นายกรัฐมนตรีอาจขยายอายุดังกล่าวได้คราวละไม่เกินสามเดือนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.5 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ในบางสถานการณ์ หากไม่อาจขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที นายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจประกาศไปก่อน ค่อยขอความเห็นชอบทีหลังภายในสามวันนับแต่วันประกาศ หากคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ประกาศเช่นว่าจะเป็นอันสิ้นสุดลง (ม.5 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้วก็ดี เมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบก็ดี หรือเมื่ออายุของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับหนึ่ง ๆ สิ้นสุดลงก็ดี นายกรัฐมนตรีจะมีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น (ม.5 ว.3 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ทั้งนี้ ในกฎหมายเดิมกำหนดให้การประกาศและยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกัน (ม.21 พ.ร.บ. ฉุกเฉิน)
=== การจัดการสถานการณ์ ===
==== การรวมศูนย์อำนาจ ====
ท้องที่ใดที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวง หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายใดก็ตาม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน จะโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว (ม.7 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีอำนาจกำหนดให้อำนาจหน้าที่บางส่วนหรือทั้งหมดที่กฎหมายมีให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใด กลายมาเป็นของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวด้วย (ม.7 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีแทน หรือมอบหมายให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้กำกับการปฏิบัติการของผู้เกี่ยวข้องได้ โดยในกรณีหลังนี้ ให้ถือว่าเขาเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว (ม.7 ว.6 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
==== พนักงานเจ้าหน้าที่ ====
พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นบุคคลที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดและตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย (ม.7 ว.3 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ หรือทหารซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี ผู้บัญชาการตำรวจ แม่ทัพ หรือเทียบเท่า เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้เขาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เขาจะมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการทุกกรมกองและบรรดาพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อการนี้ ทั้งนี้ การปฏิบัติการทางทหารจะคงดำเนินไปตามระเบียบปฏิบัติเดิม แต่ต้องสอดคล้องกับที่เขากำหนด (ม.7 ว.4 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย (ม.15 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
อนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อปฏิบัติการใดตามอำนาจหน้าที่แล้ว หากการนั้นกระทำไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินกว่าเหตุหรือความจำเป็นแล้ว ก็ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย แต่ไผู้ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติการดังกล่าวคงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่อยู่ (ม.17 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
==== อำนาจออกข้อกำหนดและประกาศ ====
เพื่อจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้ (ม.9 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) โดยในข้อกำหนดเหล่านี้ นายกรัฐมนตรีจะระบุเงื่อนไขหรือระยะเวลาในการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ หรือมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดพื้นที่และรายละเอียดอื่นเพิ่มเติมในการปฏิบัติการก็ได้ (ม.9 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น เช่น ทูตหรือผู้แทนต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ
ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร
ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด
อนึ่ง ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นายกรัฐมนตรียังมีอำนาจดังต่อไปนี้อีกด้วย (ม.11 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวผู้ใดซึ่งต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินก็ดี ว่าเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้นก็ดี หรือว่าปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินก็ดี ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อกันมิให้ผู้นั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจทวีความรุนแรง หรือเพื่อระงับความรุนแรงโดยไม่ชักช้า
ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเรียกมาให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน
ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็ว และหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้มีการตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด ๆ เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ในกรณีนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม
ประกาศห้ามบุคคลมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้บุคคลกระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน
ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประเทศ
ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ต้องให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบ หรือก่อการร้ายต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องดำเนินไปโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ หากสิ่งดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสื่อสาร นายกรัฐมนตรีอาจประกาศให้ใช้มาตรการเช่นว่าทั่วราชอาณาจักรหรือในท้องที่อื่นซึ่งมิได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ (ม.13 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อเข้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรงหรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย แต่การใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายทหารจะทำได้ในกรณีใดได้เพียงใดให้เป็นไปตาม เงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึก
บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งข้างต้น เมื่อมีผลใช้บังคับแล้วต้องประกาศใน รก. ด้วย (ม.14 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
==== การจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ====
ในการจับกุมและควบคุมตัวผู้ใดซึ่งต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินก็ดี ว่าเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้นก็ดี หรือว่าปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินก็ดี พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องขออนุญาตศาลที่มีเขตอำนาจหรือศาลอาญาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวัน แต่อาจร้องขอต่อศาลเพื่อขยายเวลาดังกล่าวได้คราวละเจ็ดวัน แต่รวมกันทุกคราวแล้วต้องไม่เกินกว่าสามสิบวัน (ม.12 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) ซึ่งหากครบกำหนดสามสิบวันเช่นว่าแล้วยังต้องการควบคุมตัวต่อไปอีก พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้
ในการขออนุญาตจากศาลเพื่อดำเนินการข้างต้น จะนำบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการขอออกหมายอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม (ม.12 ว.3 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ในการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย จะปฏิบัติต่อเขาในลักษณะว่าเขาเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ โดยเขาจะต้องถูกควบคุมตัวไว้ในสถานที่ที่กำหนด ซึ่งต้องไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ (ม.12 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) กับทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลนั้นเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาต และจัดสำเนารายงานนั้นไว้ ณ ที่ทำการของตนเพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่ควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ด้วย (ม.12 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
==== องค์กรช่วยเหลือการปฏิบัติการ ====
คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ม.6 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ, ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ, และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินมีอำนาจหน้าที่ติดตามและตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีว่ามีความจำเป็นแล้วหรือยังที่จะต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และสมควรใช้มาตรการใดในการจัดการสถานการณ์นั้นโดยเหมาะสม (ม.6 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) แต่การปฏิบัติการของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินไม่กระทบกระเทือนการปฏิบัติการของนายกรัฐมนตรีในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน (ม.6 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ที่ปรึกษา เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่แต่งตั้งขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เพื่อให้คำปรึกษาหรือเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับประโยชน์ในการประสานการปฏิบัติการในท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (ม.8 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
นอกจากนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็น คณะรัฐมนตรีอาจให้มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเป็นการเฉพาะ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก. นี้เป็นการชั่วคราวได้ จนกว่าจะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (ม.7 ว.5 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) เช่น ใน พ.ศ. 2553 มีการจัดตั้ง "ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน" (Centre for Resolution of Emergency Situation) หรือเรียกโดยย่อว่า "ศอฉ." (CRES)ใน พ.ศ. 2557 มีการจัดตั้ง "ศูนย์รักษาความสงบ" (The Center for Maintaining Peace and Order) หรือเรียกโดยย่อว่า "ศรส." (CMPO)
ใน พ.ศ. 2563 มีการจัดตั้ง"ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19" เพื่อการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019
ในประเทศไทย
=== ความผิดและโทษ ===
ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.18 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
นอกจากนี้ ในกฎหมายเดิมยังว่า ในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ใดสะสมอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดไว้โดยผิดกฎหมาย จะต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นทวีคูณ (ม.19 พ.ร.บ. ฉุกเฉิน) และถ้าผู้กระทำความผิดดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว เมื่อพ้นโทษแล้วก็ให้เนรเทศออกไปเสียให้พ้นจากราชอาณาจักรด้วย (ม.19 ว.2 พ.ร.บ. ฉุกเฉิน)
== ประเทศอื่น ==
=== แคนาดา ===
"พ.ร.บ. การฉุกเฉิน ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)" (Emergencies Act, 1985) ซึ่งตราขึ้นแทนที่ "พ.ร.บ. มาตรการทางการยุทธ์ ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513)" (War Measures Act, 1970) นั้น รัฐบาลกลางแห่งแคนาดามีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในท้องที่ใด ๆ โดยมีอายุเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ซึ่งสามารถขยายอายุนี้ได้โดยความเห็นชอบของสภาองคมนตรีแห่งพระราชินี (ม.35) กฎหมายดังกล่าวกำหนดขั้นความร้ายแรงของ "การฉุกเฉิน" (emergencies) ไว้ต่าง ๆ กัน เช่น การฉุกเฉินเกี่ยวกับสวัสดิการสาธารณะ การฉุกเฉินเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การฉุกเฉินระหว่างประเทศ และการฉุกเฉินเหตุสงคราม (ม.5) นอกจากนี้ ยังมีการให้อำนาจราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และราชการส่วนอาณาเขต ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตอำนาจตนได้ด้วย
ทั้งนี้ มีการอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. มาตรการทางการยุทธ์ ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ประกาศการฉุกเฉินสามครั้งในประวัติศาสตร์ชาติแคนาดา โดยครั้งที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดคือในวิกฤตการณ์เดือนตุลาฯ (October Crisis)
=== เดนมาร์ก ===
ในประเทศเดนมาร์ก ตามกฎหมายว่าด้วยกิจการตำรวจ (Lov om politiets virksomhed) ผู้บังคับการตำรวจแห่งท้องที่ใดก็ดีมีอำนาจประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดเขตพิเศษเพื่อให้เจ้าพนักงานสามารถนำพาบุคคลไปยังที่รโหฐานแล้วเปลื้องผ้าออกทั้งหมดเพื่อตรวจค้นได้แม้ไม่มีเหตุต้องสงสัยก็ตาม โดยในประกาศดังกล่าวต้องกำหนดระยะเวลาการมีอยู่ของเขตพิเศษนั้นด้วย (ม.6) นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องการตรวจค้นคนเป็นหมู่ ก็สามารถจับกุมคนทั้งหมู่นั้นได้และมีอำนาจกักตัวไว้ไม่เกินหกชั่วโมง
=== นิวซีแลนด์ ===
กฎหมายของนิวซีแลนด์อนุญาตให้รัฐบาลกลางและสภาเทศบาล (local city council) ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามเขตอำนาจของตน เมื่อมีประกาศเช่นว่าแล้ว ผู้ประกาศอาจสั่งให้มีการควบคุมพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ในการประกอบอาชีพหรือในการให้บริการอันจำเป็นตามที่เขาเห็นสมควร ทั้งนี้ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของนิวซีแลนด์ไม่มีวันหมดอายุ แต่นายกรัฐมนตรีหรือนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณี อาจสั่งให้ประกาศสิ้นสุลงได้
=== ออสเตรเลีย ===
แต่ละรัฐของเครือรัฐออสเตรเลียมีกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินแตกต่างกันไป
สำหรับรัฐวิกตอเรียแล้ว ตามกฎหมายเรียก "พ.ร.บ. รักษาความปลอดภัยสาธารณะ" (Public Safety Preservation Act) ระบุว่า สถานการณ์ฉุกเฉินคือกรณีที่เป็นหรืออาจเป็นภัยต่อระบบการทำงาน ความปลอดภัย หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นของนายกรัฐมนตรี และแต่ละฉบับมีอายุสามสิบวันนับแต่วันประกาศ แต่สามารถถูกเพิกถอนเมื่อใดก็ได้โดยมติของสภาใดก็ดีแห่งรัฐสภา ซึ่งเมื่อมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในท้องที่ใดแล้ว นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกระเบียบข้อกำหนดใด ๆ ตามที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยอย่างทันท่วงที และเช่นเดียวกัน ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ระเบียบหรือข้อกำหนดดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วยก็จะสิ้นสุดลง และตามกฎหมายเรียก "พ.ร.บ. การให้บริการอันสำคัญ" (Essential Services Act) นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายยังมีอำนาจสั่งให้ดำเนินการหรือห้ามดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับบริการสำคัญด้วย เช่น บริการเกี่ยวกับการขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง ทรัพยากรน้ำ พลังงาน แก๊ส ฯลฯ
=== อียิปต์ ===
กฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินของประเทศอียิปต์ เรียก "ร.ฐ.บ. ที่ 162 ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501)" (Law No. 162 of 1958) และในสงครามระหว่างอาหรับและอิสราเอล พ.ศ. 2510 ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ และประกาศอีกครั้งหลังจากประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต (Anwar Sadat) ถูกลอบสังหาร ต่อมาใน พ.ศ. 2524 ก็ประกาศอีกครั้ง และต่ออายุประกาศเรื่อยมาทุก ๆ สามปี ในการนี้มีผู้ถูกจับกุมตัวกว่าหนึ่งหมื่นเจ็ดพันคน และมีนักโทษการเมืองสูงถึงสามหมื่นคนโดยประมาณ
ตาม ร.ฐ.บ. ดังกล่าว ในท้องที่ที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีอำนาจพิเศษเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยสิทธิและเสรีภาพบางประการของพลเมืองที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะถูกจำกัด และเจ้าหน้าที่สามารถตรวจพิจารณาสื่อต่าง ๆ ก่อนเผยแพร่และอาจสั่งห้ามการชุมนุมในทางการเมืองของกลุ่มเอกชนได้
== ระหว่างประเทศ ==
ข้อ 4 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง บัญญัติว่า รัฐภาคีแห่งกติการะหว่างประเทศนี้สามารถจำกัดสิทธิของพลเมืองที่รับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศดังกล่าวได้ในสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ แต่มาตรการในการจำกัดสิทธิดังกล่าวต้องเป็นไปโดยไม่เกินกว่าความจำเป็นรีบด่วนของสถานการณ์ฉุกเฉิน และรัฐภาคีนั้นต้องรายงานต่อเลขาธิการสหประชาชาติด้วย
== ทัศนคติต่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ==
ในรัฐที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่พึงมองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเรื่องปรกติ ในทางตรงกันข้าม รัฐที่ใช้ระบอบเผด็จการมักประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นว่าเล่นเพื่อประคองอำนาจของผู้ปกครองไว้
นักทฤษฎีการเมืองบางคน เช่น คาร์ล ชมิตต์ (Carl Schmitt) เสนอความเห็นว่า อำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจโดยพื้นฐานของรัฐบาล และการรู้ว่าใครเป็นผู้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในท้องที่ใดบอกเราว่า อำนาจที่แท้จริงในท้องที่นั้นอยู่ที่ใด แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนไว้อีกอย่างหนึ่ง
== เชิงอรรถ ==
== อ้างอิง ==
=== ภาษาไทย ===
กูเกิล.
* (2552, 11 เมษายน). ประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 เมษายน 2552).
* (2552, 15 เมษายน). ยกเลิกพระราชกำหนด [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 15 เมษายน 2552).
ไทยรัฐ. (2552, 17 เมษายน). "ฟิจิไม่สนทั่วโลกกดดัน เลื่อนเลือกตั้งไปปี 57". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 17 เมษายน 2552).
"พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495". (2495, 11 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 69, ตอนที่ 16, หน้า 278). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 เมษายน 2552).
ราชบัณฑิตยสถาน. (2551, 7 กุมภาพันธ์). พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 เมษายน 2552).
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2552, 16 มีนาคม). พระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารราชในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 เมษายน 2552).
=== ภาษาต่างประเทศ ===
BBC News. (2006, 6. December). "Fiji imposes state of emergency". [Online]. Available: . (Accessed: 17 April 2009).
"Enough is still enough". (2005, 8-15 September). Al-Ahram Weekly Online, (no. 759). [Online]. Available: . (Accessed: 11 April 2009).
Carl Schmitt. (2005). "The Dictature and Political Theology." n.p.
"Emergencies Act, 1985". (2009, 14 April). [Online]. Available: . (Accessed: 15 April 2009).
Guardian.co.uk. (2006, 6 December). "State of emergency declared in Fiji". [Online]. Available: . (Accessed: 17 April 2009).
"Lov om politiets virksomhed". (2004, 9 juni). [Online]. Tilgængelig: . (Tilgængeligt på: 15 april 2009).
Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. (2007). "International Covenant on Civil and Political Rights." [Online]. Available: . (Accessed: 11 April 2009).
SAPA. (2009, 11 April). "Fiji under state of emergency". [Online]. Available: . (Accessed: 17 April 2009).
The Independent World. (2000, 31 July). "Hostage crisis prolongs Fiji's state of emergency". [Online]. Available: . (Accessed: 17 April 2009).
"The War Measures Act, 1970". (1999). [Online]. Available: . (Accessed: 15 April 2009).
รัฐบาล
นิติศาสตร์
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ปรัชญาการเมือง
การจัดการภาวะฉุกเฉิน
กฎหมายภาวะฉุกเฉิน
การบังคับใช้กฎหมาย
ตำรวจ | thaiwikipedia | 701 |