url
stringlengths
30
33
date
stringlengths
16
16
title
stringlengths
5
170
body_text
stringlengths
318
201k
politics
class label
2 classes
human_rights
class label
2 classes
quality_of_life
class label
2 classes
international
class label
2 classes
social
class label
2 classes
environment
class label
2 classes
economics
class label
2 classes
culture
class label
2 classes
labor
class label
2 classes
national_security
class label
2 classes
ict
class label
2 classes
education
class label
2 classes
https://prachatai.com/print/72397
2017-07-15 12:24
โพลล์เผยคนอยากให้แยกอำนาจการสอบสวนจากตำรวจ
กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจระบุประชาชน 87.5% คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจครั้งนี้ว่า จะเห็นการทำงานของตำรวจที่เป็นธรรมกับประชาชนมากที่สุด 59% เห็นควรแยกอำนาจการสอบสวนจากตำรวจ       15 ก.ค. 2560 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปตำรวจกับ 3 โจทย์ใหญ่ที่ต้องหาคำตอบ”โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,084 คน พบว่า เรื่องที่คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 87.5 ระบุว่า อยากเห็นการทำงานของตำรวจเป็นธรรมกับประชาชน (ไม่รีดไถ/ไม่รับส่วย/ไม่ตั้งด่านลอย/ไม่เพิกเฉยฯลฯ) รองลงมา ร้อยละ41.8 อยากเห็นการสอบเข้ารับราชการตำรวจอย่างโปร่งใส และร้อยละ 35.8 อยากเห็นการโยกย้ายตำแหน่งที่เป็นธรรม   เมื่อถามถึง 3 ประเด็น ที่พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้มอบให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ประชาชนมีความเห็นดังนี้   ประเด็นที่1 “ด้านโครงสร้างองค์กร”ประชาชนร้อยละ 26.5 ระบุว่าให้ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี (เหมือนในปัจจุบัน)รองลงมา ร้อยละ 24.4 ระบุว่า ให้กลับไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และ ร้อยละ 22.6 ระบุว่า เห็นควรย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม   ประเด็นที่ 2 “ด้านกระบวนการยุติธรรม” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.0 ระบุว่า ควรแยกอำนาจการสอบสวนให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นเหมือนในต่างประเทศขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่า ควรคงไว้เป็นหน้าที่ของตำรวจเหมือนเดิมที่เหลือร้อยละ 12.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ   ประเด็นที่ 3 “ด้านการบริหารบุคลากร” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.1 ระบุว่าการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจควรพิจารณาจาก ระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน รองลงมาร้อยละ 39.0 ระบุว่า ควรพิจารณาจากผลงานและความดีความชอบ มีเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ระบุว่า ควรพิจาณาจากระดับอาวุโส   ส่วนการปฏิรูปตำรวจจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ตามสูตร 2-3-4 หรือ 9 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรีวางกรอบไว้หรือไม่ นั้น ประชาชนร้อยละ 42.3 คิดว่าได้ ขณะที่ ร้อยละ 37.7 คิดว่าไม่ได้ และร้อยละ 20.0 ระบุว่าไม่แน่ใจ
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/69252
2016-12-14 17:54
มีชัย เปรียบเอาหูแนบดินตอนร่าง พ.ร.บ.พรรคฯ เพื่อนำความเห็นต่างๆ มาบัญญัติเป็นกฎหมาย
โฆษก กรธ. แถลงหลังจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ระบุมี 4 ประเด็นที่ต้องกลับไปพิจารณา อดีต ส.ส. ประชาธิปัตย์ เสนอทบทวนการเก็บเงินบำรุงพรรคภายใน 150 วันเป็น 4 ปี ด้านกฎหมาย กกต. ได้เห็นร่างแรกพรุ่งนี้ ภาพจากเว็บข่าวรัฐสภา 14 ธ.ค. 2559 ที่ อาคารสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้จัดเวทีชี้แจง และรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ ต่อ ร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (พ.ร.บ.พรรคการเมือง) โดยมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวเปิดโครงการสัมมนาชี้แจงสาระสำคัญของร่างกฎหมายกังกล่าวว่า ร่างกฎหมายเบื้องต้น ที่ กรธ. จัดทำขึ้นนั้น ได้รับฟังความเห็นประกอบการยกร่างฉบับนี้อย่างเอาหูแนบดิน เพื่อนำความเห็นต่างๆ มาพิจารณา เมื่อเห็นว่าข้อเสนอต่างๆ มีความเป็นไปได้ ก็จะนำมาบัญญัติไว้เป็นกฎหมาย มีชัย กล่าวด้วยว่า กรธ. ได้ยกร่างกฎหมายลูกตามกรอบของร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ในมาตรา 45 และ 258 (2) ที่กำหนดให้พรรคการเมืองจะต้องถูกตรวจสอบได้ ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการกำหนดผู้แทนพรรคลงเลือกตั้ง ไม่ถูกครอบงำจากบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค พร้อมกำหนดมาตรการดูแล ไม่ให้สมาชิกพรรคการเมืองดำเนินการขัดต่อการเลือกตั้ง ให้สมาชิกมีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมทางการเมือง คัดเลือกบุคคลที่มีคุณธรรมเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำหนดให้มีกลไกความรับผิดชอบต่อนโยบายพรรค และให้ประชาชนเป็นเจ้าของพรรคอย่างแท้จริง มีสิทธิมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น การกำหนดให้สมาชิกพรรคเสียค่าสมาชิกรายปี เพื่อประชาชนได้มีความเป็นเจ้าของพรรค และมีส่วนร่วมภายในพรรคอย่างแท้จริง อดีต ส.ส. ประชาธิปัตย์ ขอให้ทบทวนการชำระเงินบำรุงพรรคฯ จากเดิมภาย 150 วัน เป็น 4 ปี ทั้งนี้ มีชัย ได้รับการยืนหนังสือจาก ธนา ชีรวินิจ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอให้ทบทวนกรอบเวลาในการจัดระเบียบสมาชิกพรรคการเมือง เรื่องการชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองจากเดิม 150 วัน เป็น 4 ปี ส่วนสมาชิกที่ไม่ได้ชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองภายในกำหนดนั้น ไม่ควรกำหนดให้พ้นจากความเป็นสมาชิกโดยทันที เนื่องจากสมาชิกบางคนอาจไม่สะดวกในการชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด จึงต้องการให้กำหนดว่า หากไม่ชำระค่าบำรุงก็ไม่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. หรือสิทธิ์อื่นๆ เท่านั้น ทั้งนี้ หากไม่ให้ชำระเงินผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดได้ ธนา กล่าวถึงส่วนที่กำหนดให้ทุกสาขาพรรคการเมืองจะต้องมีสมาชิกที่จ่ายเงินค่าบำรุงพรรคไม่น้อยกว่า 500 คนว่า เป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงและเป็นไปได้ยาก เนื่องจากพรรคการเมืองใหญ่ มีสาขาพรรคในแต่ละภาคเป็นจำนวนมาก และท้ายที่สุดจะบีบให้เหลือเพียงภาคละหนึ่งสาขา ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของ กรธ.ที่ต้องการให้มีสาขาพรรคจำนวนมาก โฆษก กรธ. ระบุมีประเด็นกลับไปคิดต่อ 4 เรื่อง (จำนวนสมาชิก-ทุนประเดิม-ค่าบำรุง-บทลงโทษ) ด้าน อุดม รัฐอัมฤต โฆษกกรธ. แถลงภาพร่วมของการรับฟังความเห็นของพรรคการเมืองต่อ พ.ร.บ.พรรคการเมืองว่า กรธ. ได้รับความร่วมมือจากพรรคการเมืองต่างๆ มากกว่าการรับฟังความเห็นก่อนหน้านี้ที่จัดขึ้นที่รัฐสภา โดยประเด็นที่ กรธ. จะต้องนำกลับไปพิจารณา คือ 1.จำนวนสมาชิกพรรคการเมือง 20,000 คนภายใน 4 ปีมากไปหรือไม่ 2.ทุนประเดิมพรรคคนละไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท เพื่อให้ทุนประเดิมพรรคได้ 1 ล้านบาทนั้นมากไปหรือไม่ 3.ค่าบำรุงสมาชิกคนละ 100 บาทต่อปี ควรมีหรือไม่ 4.บทกำหนดโทษของผู้กระทำผิดต่อตามร่างนี้แรงเกินไปหรือไม่ ทั้งนี้ กรธ. ยืนยันว่าการยกร่างกฏหมายพรรคการเมือง กรธ. ไม่ได้คิดเอาเอง แต่ทำตามรัฐธรรมนูญ ผ่านการปรึกษาจาก กกต. รวมทั้งผ่านการดีเบตของ กรธ.มาหลายขั้นตอน เพื่อให้กฎหมายนี้ดีกว่าฉบับปี 2550 และเมื่อมีการปรับแก้ไขแล้วก็มีการสอบถาม กกต. อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบโจทย์ให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันและทำประโยชน์เพื่อประชาชน และยืนยันว่ากฎหมายนี้ กรธ. มีหลักการและเหตุผลรองรับทุกมาตรา ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่บรรยากาศการชี้แจงและรับฟังความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง มีพรรคการเมืองส่งตัวแทนร่วมเวที ประมาณ 20 พรรคการเมือง อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล เป็นต้น โดยไม่มีตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด กรธ.เผยร่าง พ.ร.บ. กกต. ได้เห็นพรุ่งนี้ เชื่อเสริมเขี้ยวเล็บ กกต. เพิ่มเครื่องมือลุยงานเชิงรุก ด้าน ประพันธ์ นัยโกวิท กรธ. ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ กรธ.กำลังทบทวนเนื้อหาและความถูกต้องของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ... ร่างเบื้องต้น ซึ่งจะเปิดเผยร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต. เผยแพร่ต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชนเพื่อประกอบการรับฟังความคิดเห็น ยังอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม ในเว็บไซต์ของกรธ.ได้ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เห็นร่าง พ.ร.บ.ฉบับเบื้องต้น ก่อน ประพันธ์ กล่าวว่า จากนั้นในวันที่ 16 ธ.ค. เวลา 12.00น.ที่รัฐสภา ทางกรธ. จะมีการจัดสัมมนา เรื่อง “ชี้แจงสาระสำคัญร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยกกต. พ.ศ...(ร่างเบื้องต้น) โดยขอเชิญผู้สนใจทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พรรคการเมืองเมือง ประชาชน และทุกภาคส่วนมาร่วมในการเสวนารอบแรก เพื่อที่จะได้ดูว่าในเนื้อหาร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีอะไรแข็งเกินไป และควรมีอะไรปรับปรุงบ้าง จากนั้นทาง กรธ.ก็จะเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนในเวที 4 ภาค และถ้าใครสนใจต้องการแสดงความเห็นในร่าง พ.ร.บ. กกต. ก็สามารถส่งมาที่ กรธ. ได้โดยตรง เพราะเราเปิดกว้างรับฟังจากทุกภาคส่วน “ผมมั่นใจว่าร่างกฎหมายที่กรธ.ได้ยกร่างขึ้นนี้ได้เพิ่มบทบาทและหน้าที่ของกกต.ให้เข้มข้นขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการเสริมเขี้ยวเล็บ ตลอดจนเพิ่มเครื่องมือที่จะทำให้กกต.ได้ทำงานในเชิงรุกและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน” ประพันธ์ กล่าว ทีมติดตามการร่าง รธน. กฎหมายประกอบ พรรคเพื่อไทย ชี้ร่างพ.ร.บ.พรรคการเมืองขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ  ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า แม้ในวันนี้ พรรคเพื่อไทย จะไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ที่จัดขึ้นโดย กรธ. แต่เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมา ประธานคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทย คณิน บุญสุวรรณ ได้ให้สัมภาษณ์ถึง ร่างกฎหมายดังกล่าวไว้ว่า หลักการและสาระสำคัญส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ที่บัญญัติให้การร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพของประชาชน เพราะแค่ที่บัญญัติให้ต้องมีการขออนุญาตต่อนายทะเบียนคือเลขาธิการ กกต. เพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองซ้ำยังมีกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆมากมายรวมทั้งบทกำหนดโทษรุนแรงสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตนั้น นอกจากจะถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแล้วยังเท่ากับเป็นการไปลดฐานะของสมาชิกพรรคการเมืองลงให้เป็นเสมือนพลเมืองชั้นสองอีกด้วย เพราะทันทีที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองนอกจากจะต้องเสียค่าบำรุงพรรคทุกปี และถ้าเป็นผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นทุนประเดิมคนละ 2,000 - 500,000 บาทแล้ว ยังเสียสิทธิทางการเมืองหลายอย่างด้วย ทั้งนี้จะสมัครหรือไปยุ่งเกี่ยวกับการเลือก ส.ว. ยุ่งเกี่ยวกับตำแหน่งทางการเมืองสมัครเป็นองค์กรอิสระ หรือศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ ไม่ห้ามอยู่อย่างเดียว คือ เลือกตั้ง ส.ส. และสมัคร ส.ส. และโทษหนักตั้งแต่จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามพ.ร.บ.นี้เท่ากับเอาขาข้างหนึ่งไปอยู่ในตรางโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว คณิน กล่าวด้วยว่า ร่างพ.ร.บ. นี้บังคับให้ผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องจ่ายค่าธรรมเนียมบำรุงพรรค และถ้าผู้ใดไม่ชำระค่าบำรุงพรรคเป็นเวลาสองปีติดต่อกันต้องสิ้นสภาพสมาชิกข้อนี้ถือว่าขัดต่อหลักเสรีภาพของประชาชน และเท่ากับเป็นการกีดกันคนยากคนจน และคนที่มีรายได้น้อยไม่ให้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง สำหรับคนมีฐานะถ้าเขารู้ว่าเป็นสมาชิกพรรคแล้วต้องลำบาก และเสี่ยงคุกเสี่ยงตรางถึงขนาดนี้คงไม่มีใครอยากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแน่ตกลง กรธ. คิดจะสร้างพรรคการเมืองหรือทำลายพรรคการเมืองไม่ให้ได้ผุดได้เกิดกันแน่คณิน กล่าวต่อว่า การที่บทเฉพาะกาลมาตรา 112 (4) บังคับให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วจัดให้สมาชิกที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกพรรคต่อไปต้องชำระค่าบำรุงพรรคภายใน 180 วันนับ แต่วันที่พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับมิฉะนั้นจะพ้นสภาพสมาชิก และถ้าสมาชิกพรรคมีเหลือไม่ถึง 5,000 คน ให้พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพนี่ก็เท่ากับไล่สมาชิกออกจากพรรคจนเหลือไม่ถึง 5,000 คน พรรคนั้นจะได้สิ้นสภาพและหมดสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งนอก จากนั้นการที่มาตรา 45 ไม่ให้พรรคผู้ดำรงตำแหน่งในพรรค หรือสมาชิกพรรคเรียกรับสินบนจากผู้ใดเพื่อแต่งตั้งหรือสัญญาว่าจะแต่งตั้งให้ผู้นั้นเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพร้อมกับกำหนดโทษไว้อย่างรุนแรง คือ จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต น่าสงสัยเหลือเกินว่ากรธ. เห็นว่าสมาชิกพรรคการเมืองเป็นอาชญากรหรืออย่างไร คณิน กล่าวต่อว่า การที่มาตรา 32 กำหนดให้พรรคที่ตั้งใหม่ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คนภายใน 1 ปีมีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา แต่ละสาขาต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 500 คน และต้องเพิ่มสมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนภายใน 4 ปีนับ แต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนขัดแย้งกับสิ่งที่ กรธ. พร่ำบ่นมาตลอดว่าไม่อยากเห็นนายทุนครอบงำพรรค และอยากให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนเพราะมันจะเป็นตรงกันข้ามเสียมากกว่า ที่มาจาก: เว็บข่าวรัฐสภา [1] , สำนักข่าวไทย [2] , มติชนออนไลน์ [3] , ผู้จัดการออนไลน์ [4], กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ [5]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/17903
2008-08-29 22:43
ศาลยกคำร้องขอถอนหมายจับ 9 แกนนำพันธมิตร
29 ส.ค.51  ภายหลังจากที่ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ ยื่นคำร้องขอให้ศาลถอนหมายจับแกนนำพันธมิตรฯทั้ง 9 คนนั้น ล่าสุด ศาลยกคำร้องดังกล่าวแล้ว       โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การออกหมายจับเป็นขั้นตอนแรกเพื่อให้ได้บุคคลมาสอบสวน เป็นเรื่องระหว่างศาลกับพนักงานสอบสวนผู้ร้อง เมื่อศาลพิจารณาคำร้องขอออกหมายจับ และพยานหลักฐานของผู้ร้องประกอบการไต่สวนแล้ว ปรากฏในเบื้องต้นว่า มีเหตุที่จะออกหมายจับได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.66(1) จึงได้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 9 ตามคำร้องขอของผู้ร้องมา เพื่อให้ผู้ร้องดำเนินการสอบสวนต่อไป ส่วนเรื่องที่ผู้ต้องหาแต่ละคนมีความผิดดังว่าหรือไม่ประการใด เป็นเรื่องที่จะต้องผ่านขั้นตอนการสอบสวน สั่งฟ้อง และการพิจารณาของศาล ซึ่งทุกฝ่ายมีหลักฐานนำมาพิสูจน์ข้ออ้างได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับเมื่อพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนหมายจับของผู้ต้องหา ก็ล้วนเป็นข้ออ้างตามความคิดเห็นของตน ซึ่งจะต้องว่ากล่าวไปในชั้นพิจารณา ทั้งในคำร้องของผู้ต้องหาบางตอนด้วยว่า ผู้ต้องหากับพวกชุมนุมกันโดยมีอาวุธ กระทำการโดยมีเจตนาไม่ยินยอมบริหารประเทศ และเข้าทำงานในสถานที่ราชการมีการประกาศมาตรการเพื่อให้ประชาชนไม่เสียภาษี ไม่ชำระหนี้ค่าไฟฟ้า ค่าประปา บุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เข้าไปปิดสถานีเอ็นบีทีของรัฐ เพื่อไม่ให้ออกอากาศ และไม่ปรากฏว่า ขณะนี้ ผู้ต้องหากับพวก ออกไปจากทำเนียบรัฐบาลแล้ว อันเป็นการเจือสมกับคำร้องขอออกหมายจับของพนักงานสอบสวนผู้ร้องกรณีจึงไม่มีเหตุเพิกถอนหมายจับ ให้ยกคำร้อง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73498
2017-10-01 14:16
'หมวดเจี๊ยบ' ตั้งคำถาม 'ประยุทธ์' เยือนสหรัฐฯ ปิดดีลซื้ออาวุธหรือไม่
'ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัค' อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ชี้มีสื่อต่างประเทศอ้างข้อมูลจากทำเนียบขาวเปิดเผยว่าในการพบหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นการไปเจรจาขอซื้ออาวุธล็อตใหม่จากสหรัฐฯ    1 ต.ค. 2560 เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ [1] รายงานว่า ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัค อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าขณะนี้สื่อต่างประเทศอ้างข้อมูลจากทำเนียบขาวของสหรัฐ เปิดเผยว่าในการพบหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐในสัปดาห์หน้านี้ รัฐบาล พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังจะไปเจรจาขอซื้ออาวุธล็อตใหม่จากสหรัฐ   นอกจากนี้ ยังจะไปปิดดีลการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ รุ่น แบล็คฮอว์ก 4 ลำ ที่กองทัพไทยเคยเจรจาซื้อจากสหรัฐค้างไว้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ยังปิดดีลไม่สำเร็จ เพราะเกิดการยึดอำนาจโดย คสช. ขึ้นเสียก่อนและไม่ทราบว่าดีลซื้อขายอาวุธครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเอาผลประโยชน์ของชาติไปแลกด้วยหรือไม่ เพราะสื่อต่างประเทศระบุว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมกดดันให้ประเทศไทย เป็นหัวหอกในภูมิภาคเพื่อคว่ำบาตรรัฐบาลเกาหลีเหนือ ซึ่งกำลังมีความขัดแย้งตึงเครียดกับสหรัฐอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสถานทูตเกาหลีเหนือ   โดยสื่อต่างประเทศยังแฉอีกด้วยว่าเมื่อครั้งที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ คือ นาย เร็กซ์ ทิลเลอสัน พบหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ ในไทยเมื่อเดือนที่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ อาจปิดบังความจริงเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้ากับเกาหลีเหนือ ซึ่งไทยอ้างว่า การค้าระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือในปีนี้ลดลงไปแล้วถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสวนทางกับข้อมูลของรอยเตอร์ ที่ระบุว่าการลงทุนของเกาหลีเหนือในไทยยังมีมูลค่าสูงเท่าเดิม และไม่พบว่าธนาคารของไทยจะปิดบัญชีของนักธุรกิจเกาหลีเหนือแต่อย่างใด ไม่ทราบว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/42471
2012-09-04 19:59
ครูในเคนยากว่า 2 แสนคนนัดหยุดงานประท้วงขึ้นเงินเดือน 300%
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (3 ก.ย.) ครูชั้นประถมและมัธยมในเคนยา กว่า 200,000 คนหยุดงานประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง แม้ศาลเคนยาจะประกาศให้การนัดหยุดงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม David Okuta Osiany เลขาธิการสหภาพครูแห่งชาติเคนยา (KNUT) กล่าวว่า พวกเขาจำเป็นต้องนัดหยุดงาน เนื่องจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลปฏิเสธจะเจรจากับพวกเขา แม้ว่าจะมีการร้องขอแล้วหลายครั้ง โดยการหยุดงานครั้งนี้จะมีไปจนกว่ารัฐบาลจะทำตามข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องของพวกเขาคือ การเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงตามที่ระบุไว้ในประกาศ 543 เมื่อปี 2540 อาทิ ค่าเช่าบ้าน 50% ค่ารักษาพยาบาล 30% ค่าเดินทาง 10% และค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ทุรกันดาร 30% รวมถึงขอให้เพิ่มเงินเดือนขึ้น 300% ด้วย เขากล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่มเงินเดือนให้กับแรงงานบางกลุ่ม แต่ไม่ขึ้นเงินเดือนครู โดยในเดือนกุมภาพันธ์ พวกเขาได้ทำหนังสือถึงนายจ้างเพื่อที่จะให้เปิดการเจรจาแต่ไม่มีการตอบรับใดๆ ทั้งนี้ พวกเขาบอกกับรัฐบาลว่า ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการเจรจา พวกเขาก็ไม่มีทางเลือก นอกจากเรียกร้องให้ครูอาจารย์ร่วมกันหยุดงาน พร้อมย้ำว่ารัฐบาลควรจะทำตามข้อตกลงที่เคยให้ไว้กับครู ตามประกาศปี 2540 นอกจากนี้ เขาปฏิเสธข่าวที่ระบุว่าพวกเขาปิดสำนักงานเพื่อหลีกเลี่ยงการแจ้งคำสั่งศาล โดยกล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถหนีไปไหนได้ เพราะมีสำนักงานใหญ่มากๆ อยู่ที่ไนโรบี ทั้งนี้ พวกเขายังไม่ได้รับหมายศาลใดๆ และว่า พวกเขาได้แจ้งล่วงหน้า 17 วันตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์แล้ว ดังนั้น ตามความเข้าใจของเขา คำสั่งศาลดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง ด้านรัฐมนตรีศึกษาธิการของเคนยา Mutula Kilonzo เรียกร้องให้บรรดาครูที่หยุดงานกลับไปสอน และเตือนว่าพวกเขาจะถูกหักค่าจ้างตามจำนวนวันที่ขาดสอน พร้อมยืนยันว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รมว.ศึกษาธิการกล่าวด้วยว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้เป็นการละเลยประโยชน์และสิทธิของนักเรียน ซึ่งได้รับการปกป้องตามรัฐธรรมนูญ พร้อมขอให้สหภาพครูฯ ใช้วิธีการตามรัฐธรรมนูญในการจัดการข้อพิพาท แทนการใช้สิ่งที่เขาเรียกว่าเป็นวิธีการล้าสมัยเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เขายังโจมตีด้วยว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้เป็นการเมือง เพื่อขู่รัฐบาล เนื่องจากใกล้จะมีการเลือกตั้งระดับชาติ โดยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในปี 2545 และ 2547 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งไม่ว่าจะรัฐบาลใดก็ตาม เขาบอกว่า แม้จะมีข้อตกลงเมื่อปี 2540 ระหว่างรัฐบาลและครู แต่รัฐธรรมนูญใหม่ที่เพิ่งใช้อาจจะไม่สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว พร้อมระบุว่า มีเพียงทางเดียวคือการเจรจา ทั้งนี้ มีรายงานว่า ในอีก 2 เดือนครึ่ง นักเรียนประถมและมัธยมจะต้องเข้าสู่การสอบระดับชาติ แต่การไม่มีครูมาสอนดูจะเป็นการขัดขวางการเตรียมสอบของเด็กๆ มีการประมาณการว่า จะมีนักเรียนชั้นประถมศึกษากว่า 8 ล้านคน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษากว่า 1 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการนัดหยุดงานครั้งนี้ ที่โรงเรียนประถม Kawangware นักเรียนยังคงนั่งทบทวนบทเรียนในห้องเรียน แต่ไม่มีครูมาสอน Veronica Mulatia วัย 14 ปีบอกว่า การเตรียมสอบเป็นไปด้วยดี แต่ถ้าไม่มีครู พวกเขาก็อาจจะทำไม่ได้ดีนัก รวมถึงเรียกร้องถึงรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องของครูโดยเร็วเพื่อที่ครูจะได้กลับมาสอนและพวกเขาจะได้ทำข้อสอบได้ ที่มา: http://www.voanews.com/content/kenya-teachers-strike-to-begin-monday/1500434.html [1]http://english.cntv.cn/program/africalive/20120904/100275.shtml [2]http://allafrica.com/stories/201209040027.html [3]
0neg
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/62711
2015-12-01 13:02
คอลัมนิสต์ดิอิโคโนมิสต์ ชวนจับตามองการงัดข้ออิทธิพลสหรัฐฯ-จีน ในเอเชียปี 59
หลังจากจีนพยายามขยายอิทธิพลในแถบเอเชียเพื่อคัดง้างกับอิทธิพลเดิมอย่างสหรัฐฯ จนเกิดความตึงเครียดในภูมิภาคหลายประเด็น ไซมอน ลอง คอลัมนิสต์ในนิตยสารดิอิโคโนมิสต์ชวนจับตามอง การขับเคี่ยวทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงจากสองอิทธิพล ในปีหน้า (2559) ที่จะเข้มข้นขึ้นมาก เมื่อ 2 พ.ย. 2558 ไซมอน ลอง คอลัมนิสต์ดิอิโคโนมิสต์ชาวสิงคโปร์เขียนบทความลงในนิตยสาร 'The World in...' ซึ่งเป็นนิตยสารรายปีของดิอิโคโนมิสต์ ถึงการเมืองระหว่างประเทศแถบเอเชียตะวันออกในช่วงปี 2558 ที่ผ่านมาที่มีอิทธิพลของสหรัฐอเมริกากับจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงประเมินว่าในปี 2559 ความตึงเครียดระหว่างสองมหาอำนาจนี้อาจจะปะทุหนักขึ้น ทำให้ประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียวางตัวไม่ค่อยถูก แม้ว่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ จะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งลองมองว่า ก็ทำให้จีนเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มากที่สุด แต่ในตอนนี้จีนก็เริ่มไม่ยอมให้สหรัฐฯ แผ่อิทธิพลอยู่ฝ่ายเดียวแล้วและเริ่มพยายามแสดงอำนาจอิทธิพลของตัวเองบ้าง ถึงแม้ว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนจะเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในเดือน ก.ย. 2558 เพื่อหารือร่วมกัน แต่ลองก็มองว่าพวกเขาเน้นหารือกันในเรื่องที่เป็นความร่วมมืออยู่แล้วอย่างเรื่องโลกร้อนมากกว่า ในขณะที่เรื่องที่ยังคงเป็นความขัดแย้งและการแข่งขันกลับมีความตึงเครียดมากขึ้น ยังไม่นับเรื่องที่สหรัฐฯ วิพากษ์วิจารณ์จีนอยู่เสมอในกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น กรณีในเขตปกครองตนเองทิเบตและซินเจียง ลองชี้ว่ามีสาเหตุอยู่ 3 ประการหลักๆ ที่ทำให้เอเชียเป็นพื้นที่สำคัญในการแข่งขันกันทางด้านอิทธิพลระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในปีหน้า สาเหตุประการที่ 1 คือประเด็นเรื่องความขัดแย้งเหนือพื้นที่น่านน้ำทะเลจีนใต้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาทางการจีนพยายามจะสร้างเกาะเทียมขึ้นมาในน่านน้ำซึ่งยังเป็นข้อพิพาทว่าใครควรเป็นเจ้าของอาณาเขตระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆ อย่างไต้หวัน, ฟิลิปปินส์ หรือเวียดนาม ในขณะที่สหรัฐฯ ไม่ได้สนใจผลประโยชน์เรื่องน่านน้ำแต่พยายามเล่นบทผู้คุมกฎน่านน้ำระหว่างประเทศ ตามกฎหมายนานาชาติและทะเลอาณาเขต (Territorial Water) ซึ่งหมายถึงระยะทางไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลโดยวัดจากเส้นฐานถูกกำหนดให้ไม่สามารถสร้างสิ่งก่อสร้างจากฝีมือของมนุษย์ได้ โดยสหรัฐฯ ใช้วิธีการเตือนจีนด้วยการส่งเรือรบและเครื่องบินเข้าไปในบริเวณดังกล่าวซึ่งทำให้จีนกล่าวหาว่าเป็นการท้าทาย สาเหตุประการที่ 2 คือ การที่จีนพยายามพัฒนาทางการทหารมากขึ้นในบริเวณน่านน้ำเหล่านั้นเช่นเดียวกับที่เคยทำกับทะเลจีนตะวันออกในปี 2556 เขาประเมินว่าในขณะที่สหรัฐฯ กำลังจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่มีการพูดถึงวิกฤตที่อื่นในโลกมากกว่า ทำให้เป็นไปได้สูงมากที่สหรัฐฯ จะยังไม่ถูกดึงเข้าร่วมการปะทะกันด้วยกำลังในภาคพื้นทะเลโดยตรง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จีนจะปะทะกับประเทศใกล้เคียงอย่างเช่นเวียดนามซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศในภูมิภาคและสหรัฐฯ กังวล สาเหตุประการที่ 3 คือ จีนเริ่มออกปากต่อต้านเครือข่ายพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้ รวมถึงไทย บางครั้งก็ลากเรื่องที่เป็นอดีตในยุคสงครามเย็นมาวิพากษ์สหรัฐฯ เช่นการที่สหรัฐฯ สนับสนุนไต้หวัน ทำให้การเลือกตั้งในไต้หวันที่จะมีขึ้นช่วงเดือน ม.ค. ปีหน้าอาจจะทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสองมหาอำนาจมากขึ้น ลองมองว่า การพยายามท้าทายอำนาจอิทธิพลของสหรัฐฯ เช่นนี้จะทำให้ประเทศอื่นๆ ในเอเชียมีความยากลำบากมากขึ้นในการดำเนินความสัมพันธ์อันดีกับทั้งสหรัฐฯ และจีน ซึ่งประเทศเล็กๆ เหล่านี้มักจะวางตัวไม่เลือกข้างฝ่ายใดถึงแม้ว่าพวกเขาอาจจะยอมรับถ้าหากสหรัฐฯ มีท่าทีกล้าเข้ามายุ่งในประเด็นทะเลจีนใต้มากกว่านี้แต่กลุ่มที่ออกมาป่าวประกาศสนับสนุนจริงๆ คงมีแต่กลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามลองมองว่าประเทศในเอเชียต้องตัดสินใจเลือกในที่สุดและจะเป็นการตัดสินใจเพื่อความมั่นคงของประเทศนั้นๆ เอง เช่นการที่สิงคโปร์ยอมให้สหรัฐฯ วางกำลังเรือรบของตน หรือบางทีก็อาจจะด้วยเหตุผลทางเศรษกิจเช่นประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ เข้าร่วมหุ้นธนาคารลงทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานเอเชียของจีนซึ่งจะเริ่มโครงการในไตรมาสที่สองของปี 2559 ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ที่เพิ่งลงนามและกำลังอยู่ในขั้นตอนโต้เถียงกันก่อนพิจารณาขั้นสุดท้ายในปีหน้า ทั้งหมดนี้ทำให้ลองชวนจับตามองว่าการพยายามแผ่ขยายอิทธิพลของทั้งสองมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ที่จะเข้มข้นขึ้นไม่ว่าจะในแง่ของยุทธศาสตร์การทหารหรือในแง่ของเศรษฐกิจ   เรียบเรียงจาก Trying not to choose : A region pulled between China and America, Simon Long, The World In 2016, 02-11-2015http://www.theworldin.com/article/10483/trying-not-choose [1]
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/77197
2018-05-30 12:21
อนาคตใหม่ของการกระจายอำนาจ
เรื่องของการกระจายอำนาจของไทยเราได้ถูกหยิบยกมากล่าวถึงและพยายามขับเคลื่อนมาหลายต่อหลายครั้งในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงก็ดี หรือการพยายามที่จะให้เชียงใหม่มีกฎหมายเป็นของตนเองในรูปแบบของการเป็นมหานครก็ดี จนต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2540 การกระจายอำนาจก็เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างจนได้มีการออกพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 ที่มีหลักการสำคัญให้มีการกระจายรายได้และถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ต้องหยุดชะงักลงเมื่อมีการรัฐประหาร 2549 และมีรัฐธรรมนูญปี 50ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงสัดส่วนรายได้ที่จะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 281 ก็ยังเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นได้ปกครองตนเองโดยท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้และมาตรา 78 (3) ที่บัญญัติให้รัฐมีหน้าที่ “กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น” จนเป็นที่มาของการเสนอร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯ อันเป็นต้นแบบของ “จังหวัดจัดการตนเอง”กว่า 50จังหวัดต่อรัฐสภาโดยภาคประชาชนและตามมาด้วยการยกร่าง พ.ร.บ.บริหารจังหวัดปกครองตนเองฯ โดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(ในสมัยนั้น)เพื่อให้ใช้เป็นกฎหมายกลาง แต่น่าเสียดายที่ทั้งร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯ ที่เสนอไปยังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี 2556 และการพยายามรณรงค์ร่าง พ.ร.บ.บริหารจังหวัดปกครองปกครองตนเองฯ ในต้นปี2557ต้องมีอันเป็นไปด้วยเหตุแห่งการรัฐประหารเมื่อ 22 พ.ค.57 แล้วรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนดังเช่นรัฐธรรมนูญปี 40และ50 ทำให้ผู้คนที่มุ่งหวังที่จะให้มีการกระจายอำนาจมองไม่เห็นทางที่จะเดินต่อไป แต่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมาพรรคอนาคตใหม่ได้มีการเสนอร่างข้อบังคับพรรคอนาคตใหม่ปี พ.ศ.2561 เสนอต่อที่ประชุมเพื่อจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่เพื่อให้การรับรอง โดยในหมวด 1 ลักษณะ 2ว่าด้วยนโยบายของพรรคการเมือง ข้อ 7 (3)นโยบายด้านการกระจายอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน ได้กำหนดไว้ว่า “พรรคอนาคตใหม่สนับสนุนการกระจายอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินให้องค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริง องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกรูปแบบต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น กำหนดให้การจัดทำบริการสาธารณะในแต่ละพื้นที่เป็นอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก และราชการส่วนกลางมีอำนาจกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เฉพาะเท่าที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่ราชการส่วนกลางเห็นว่าข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือการดำเนินการใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ราชการสวนกลางไมอาจออกคำสั่งยับยั้งได้ แต่ให้ฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือการดำเนินการนั้น พรรคอนาคตใหม่จะผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินให้แก่องค์กรปกครองส่วนทองถิ่น โดยการพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินเป็นขั้นตอนเพื่อมุ่งสู่การยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคในที่สุด ให้คงเหลือเพียงราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น ในส่วนของราชการส่วนท้องถิ่นจะแบ่งเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด และระดับเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ในช่วงขั้นตอนระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่การยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค พรรคอนาคตใหม่จะแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่างๆเพื่อลดทอนอำนาจของราชการส่วนกลางและราชการสวนภูมิภาคที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนทองถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจในการอนุมัติอนุญาตต่างๆ  พรรคอนาคตใหม่จะสนับสนุนให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณาจากความพร้อมของท้องถิ่นและความสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ พรรคอนาคตใหม่จะผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีและมีรายได้มากขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นงบประมาณในการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่ของตน โดยต้องกำหนดสัดส่วนการแบ่งภาษีระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสียใหม่ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจจัดเก็บภาษีได้เอง โดยไม่ต้องให้ราชการส่วนกลางเป็นผู้จัดเก็บแล้วจึงแบ่งโอนกลับมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีรายได้จากแหล่งอื่นนอกจากภาษี ไมว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่าบริการหรือรายได้จากวิสาหกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคอนาคตใหม่ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ คนในท้องถิ่นยอมมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่น การออกเสียงประชามติในระดับท้องถิ่น ตลอดจนการตรวจสอบ  การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” จากข้อบังคับฯ ดังกล่าวทำให้บรรดาผู้ขับเคลื่อนในเรื่องของการกระจายอำนาจและผู้ที่อยากเห็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นเกิดความหวังขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ถูกทำให้หยุดชะงักและพยายามที่จะทำให้ถอยหลังกลับไปไกลกว่าที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามทั้งหมดทั้งปวงนี้จะประสพความสำเร็จไม่ได้เลยหากไม่มี พ.ร.บ.เกิดขึ้นมารองรับไม่ว่าจะเป็นในชื่อหรือรูปแบบใดก็ตาม ซึ่งโอกาสในการเสนอร่าง พ.ร.บ.ในลักษณะนี้โดยภาคประชาชนได้ถูกปิดลงโดยสิ้นเชิงเพราะไม่เข้าเงื่อนไขรัฐธรรมนูญฯ ปี 60 ว่ากฎหมายที่จะเสนอโดยการเข้าชื่อของภาคประชาชนจะต้องเสนอในหมวดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของรัฐเท่านั้น จึงเหลือเพียงการเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้โดยคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนตั้งแต่ 20 คนขึ้นไปเท่านั้น ฉะนั้น การกระจายอำนาจจะมีผลในทางปฏิบัติก็ย่อมขึ้นอยู่กับการที่พรรคการเมืองไม่ว่าพรรคใดก็ตามที่มีแนวนโยบายเช่นนี้ได้รวมกันเป็นเสียงข้างมากในสภาฯ เพื่อที่จะทำให้ร่าง พ.ร.บ.ในลักษณะเช่นนี้ผ่านออกมาบังคับใช้ เพราะโอกาสที่ภาคประชนที่จะเสนอกฎหมายในลักษณะนี้ได้ถูกปิดลงไปแล้ว อนาคตใหม่ของการกระจายอำนาจย่อมขึ้นอยู่กับเสียงของประชาชนโดยแท้ที่จะผลักดันให้พรรคที่มีแนวนโยบายเช่นนี้ซึ่งมีอยู่หลายพรรคได้เข้าไปมีสิทธิมีเสียงในสภาฯ ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นต่อไปข้างหน้านี้ นั่นเอง อนาคตใหม่ของการกระจายอำนาจอยู่ในมือท่านแล้วครับ หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2561
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/54662
2014-07-19 22:31
ภาพ "พระสุเทพ" ปฏิบัติธรรม-จำพรรษาที่สวนโมกข์
เพจสุเทพ เทือกสุบรรณ เผยแพร่ภาพพระสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือฉายา "ประภากะโร" ระหว่างจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม และภาพญาติโยมร่วมกิจกรรม "ตักบาตรสาธิต" ให้พระสุเทพด้วย พระสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ "ประภากะโร" ระหว่างจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2557 (ที่มา: เพจสุเทพ เทือกสุบรรณ) 19 ก.ค. 2557 - วันนี้ เพจสุเทพ เทือกสุบรรณ [1] ได้เผยแพร่ภาพพระสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือฉายา "ประภากะโร" อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และเลขาธิการ กปปส. ระหว่างจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นอกจากนี้มีการเผยแพร่ภาพญาติโยมร่วมกิจกรรม "ตักบาตรสาธิต" ที่ลานหินโค้งภายในสวนโมกข์ด้วย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 ก.ค. นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ เผยแพร่ภาพในทวิตเตอร์ @Theptai ระบุว่านายสุเทพได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดท่าไทร อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดยระบุว่า "กำนันตัดสินใจบวชแบบสายฟ้าแลบ" (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) [2] พระสุเทพ เทือกสุบรรณ รับบาตรจากญาติโยม ภาพเผยแพร่เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2557 (ที่มา: เพจสุเทพ เทือกสุบรรณ) และเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา ในเพจสุเทพ เทือกสุบรรณ [3] มีการเปิดเผยด้วยว่า เลขาธิการ กปปส.ได้ออกบวชเงียบๆ โดยพระเทพพิพัฒนาภรณ์ เจ้าอาาสวัดท่าไทร เป็นผู้โกนผมให้ตั้งแต่ช่วงกลางคืนและนอนพักที่กุฎิเจ้าอาวาสกับญาติผู้น้อง กระทั่งได้ฤกษ์อุปสมบทเมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 15 ก.ค. มีผู้อยู่ในโบสถ์ประกอบพิธี 3 คนโดยพระเทพพิพัฒนาภรณ์เป็นพระอุปัชฌาย์ และให้ฉายา "ประภากะโร" แปลว่าผู้กระทำซึ่งแสงสว่าง
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/17503
2008-07-28 18:08
วณิพกบังคลาเทศกดดันนักการเมือง เรียกร้องให้กำหนดอัตราบริจาคขั้นต่ำสู้วิกฤตเงินเฟ้อ
กลุ่มวณิพกในบังคลาเทศรวมตัวทางการเมือง กดดันนักการเมืองท้องถิ่นเพื่อเรียกร้องให้มีการกำหนดอัตราบริจาคขั้นต่ำ สู้วิกฤตเงินเฟ้อ (ที่มาภาพ: AFP/File/Farjana Khan Godhuly)   การเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์ของชนทุกชั้นวรรณะ และทุกชนชั้นวรรณะสามารถรวมตัวเป็นกลุ่มผลประโยชน์ได้ ที่บังคลาเทศกลุ่มขอทานได้เดินหน้าเคลื่อนไหวทางการเมืองล๊อบบี้นักการเมืองท้องถิ่นให้มีการกำหนดระดับการบริจาคขั้นต่ำ เนื่องจากกลุ่มขอทานเองก็ต้องเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อ   28 ก.ค. 2008 - มีรายงานข่าวว่ากลุ่มขอทานทางตอนเหนือของประเทศบังคลาเทศได้รวมตัวกันเรียกร้องกดดันให้นักการเมืองท้องถิ่นกำหนดอัตราบริจาคขั้นต่ำ เนื่องจากกลุ่มขอทานกำลังประสบปัญหาจากผลกระทบของเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น   นายอาบูบากร์ ซิดดิกี (Abubakr Siddiqui) ประธานสภาเมืองคูริกรัม (Kurigram) กล่าวว่า กลุ่มขอทานราว 40 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้พิการ ได้ชุมนุมรณรงค์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ เพื่อเรียกร้องให้สภาท้องถิ่นกำหนดอัตราเงินบริจาคขอทานขั้นต่ำไว้ที่ 1 ทากา (ประมาณ 1.45 เซนต์)   "พวกเขาเรียกร้องให้สภาท้องถิ่นกำหนดอัตราเงินบริจาคขอทานขั้นต่ำไว้ที่ 1 ทากา ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้พวกเขาได้เงินบริจาคแต่ละครั้งเพียง 10 - 50 ไพซา (ประมาณ 0.15 - 0.70 เซ็นต์)" ซิดดิกี กล่าว "นอกจากที่จะขอให้มีการกำหนดอัตราบริจาคขั้นต่ำแล้ว พวกเขายังขอให้สภาท้องถิ่นห้ามขอทานจากนอกเมืองเข้ามาล่วงล้ำถิ่นอีกด้วย"   สืบเนื่องมาจากปัญหาเงินเฟ้อ ข้าวของราคาพุ่งสูงขึ้น ทำให้กลุ่มขอทานประสบความยากลำบากในการเลี้ยงชีวิตคนในครอบครัว   ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร 144 ล้านคนในบังคลาเทศมีรายได้น้อยกว่า 1 ดอลลาร์ต่อวัน และชาวบังคลาเทศอีกกว่าแสนคนต้องขอทานเป็นอาชีพ   โดยในกรุงดาร์กา (Dhaka) เมืองหลวงของประเทศ มีขอทานประมาณ 27,000 คน และมีรายได้ประมาณ 100 ทากาต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพียงพอในการซื้อข้าวสาร 3 ก.ก. แต่จากการสำรวจเมื่อปี 2005 พบว่าขอทานในแถบท้องถิ่นอื่นๆ มีรายได้น้อยกว่านี้มากนัก   ……. ที่มา: Bangladeshi beggars demand minimum donations [1]  - AFP via Yahoo! News, 28 July 2008
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/72346
2017-07-11 18:48
ครม.ไฟเขียว ช็อปเครื่องบินขับไล่อีก 8 ลำ 8.8 พันล้าน 'ประวิตร' ย้ำกองทัพปฏิรูปมาตลอด
ประวิตร เผยที่ประชุม ครม.รับทราบจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ T-50TH ในระยะที่ 2  จำนวน 8 เครื่อง เพื่อให้ครบ 12 เครื่อง วงเงินประมาณ 8,800 ล้านบาทเศษ 'ประยุทธ์' ระบุตรวจสอบได้หากมีข้อสงสัย  KAI T-50  เป็นเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นสูงที่ บริษัท KAI ของเกาหลีใต้ พัฒนาขึ้น ที่มาภาพประกอบ http://rach1968.blogspot.com/2015/09/t-50th.html 11 ก.ค. 2560 หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม) วันนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า ที่ประชุม ครม.รับทราบ การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ T-50TH ในระยะที่ 2  จำนวน 8 เครื่อง เพื่อให้ครบ 12 เครื่อง วงเงินประมาณ 8,800 ล้านบาทเศษ งบประมาณผูกพัน 3 ปี ให้กับกองทัพอากาศ ซึ่งมีการอนุมัติก่อนหน้านี้แล้ว กองทัพอากาศจัดเตรียมงบประมาณไว้แล้ว เป็นการซื้อทดแทนเครื่องบินรุ่น L-39 ที่ใช้มากว่า 20 ปี การจัดซื้อเป็นแบบจีทูจี และเป็นไปด้วยความโปร่งใส   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงการอนุมัติจัดซื้อเครื่องบินฝึกขับไล่ดังกล่าวด้วยว่า เป็นโครงการผูกพันที่อนุมัติตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 และยืนยันถึงความจำเป็นในการจัดซื้อ เพื่อป้องกันการสูญเสีย  “เครื่องบินฝึกที่ประจำการในปัจจุบันเป็นรุ่นเก่า และการจัดซื้อเป็นไปตามขั้นตอน สามารถตรวจสอบได้หากมีข้อสงสัยเรื่องการทุจริต โดยไม่ได้ผูกมัดให้จัดซื้อจากประเทศใด” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว ประวิตรย้ำกองทัพปฏิรูปมาตลอดอยู่แล้ว ต่อกรณีที่ จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ออกมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกองทัพ หลังมีารตั้งคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจนั้น  พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า กองทัพปฏิรูปมาตลอดอยู่แล้ว ทุกเรื่อง ปฏิรูปมาตลอดเลย ไม่มีอย่างไหนที่จะไม่ปฏิรูปเลย ปฏิรูปมาตลอดเลย  แฟ้มภาพ   "ที่ทำรัฐประหารนี่ก็ไม่ได้ทำนะ แยกกันไม่ให้คนทะเลาะกันเท่านั้นเอง จะไปปฏิรูปอะไร ไม่ได้เจตนาที่จะมาปฏิวัติ ผมว่าทหารเดี๋ยวนี้ไม่ทำแล้ว"  พล.อ.ประวิตร กล่าว   ต่อคำถามที่ว่าการเรียกร้องให้ปฏิรูปกองทัพนั้นเพื่อไม่ให้ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น  พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "ก็ไม่อยากจะเกี่ยวอยู่แล้ว ทหารเขาไม่อยากจะเกี่ยวอยู่แล้ว เดี๋ยวก็เลิกแล้ว พอเลือกตั้งแล้วก็จบ"   สำหรับคำถามที่ว่าพูดได้ไหมว่าจะไม่มีรัฐประหารอีแล้วนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวอีกว่า "พูดได้อย่างไรเราก็ไม่รู้ แล้วแต่เหตุการณ์ต่างๆ ใช่ไหม ประชาชนเรียกร้องอย่างนี้ อย่างคราวที่แล้วอย่างนี้แล้วจะทำอย่างไร    เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย [1]  และมติชนออนไลน์ [2]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/5328
2005-08-20 13:08
ความยากจน-ยาเสพติด-ปัญหาการศึกษายังไม่ได้แก้ไข -วัฒนา สุกัณศีล มอ.ปัตตานี
นายวัฒนา สุกัณศีล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บรรยายในหัวข้อ สังคมไทยกับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ ในการสัมมนานานาชาติ เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสันติภาพ ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2548 จากการวิจัยเรื่องวิวัฒนาการความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ของตน พบว่า ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วง 1 กว่าที่ผ่านมา มีความรุนแรงขึ้นมากและมีผลกระทบมากที่สุดในประวัติศาสตร์ความรุนแรงของประเทศไทย ความรุนแรงที่เกิดขึ้นครั้งนี้ มีความแปลกแตกต่างไปจากในอดีต ตลอดระยะ 20 ปี่ผ่านมา จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตมวลรวมหรือ จีดีพี เติบโตอยู่ที่ 3 - 4 เท่า   ในขณะเดียวกันการปรากฏตัวของเอกลักษณ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมของมุสลิมในพื้นที่มีความชัดเจนและได้รับการยอมรับมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายหรือการปฏิบัติศาสนกิจ แต่ปัญหาความยากจนยังมีอยู่ มีประชาชนประมาณ 400,000 คน จากจำนวน 1,300,000 คนมีรายได้เฉลี่ย 800 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าเส้นความยากจน แม้ว่าชาวมุสลิมในพื้นที่ได้เติมโตเป็นถึงขั้นรัฐมนตรีอยู่หลายคน แต่ปัญหาความยากจน รวมทั้งปัญหายาเสพติดซึ่งขณะนี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดถึง 5,000 ราย หากมองไปถึงหมู่บ้านพบว่าบางหมู่บ้านมีผู้เสพยาเสพติดถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธมนุษยชน ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขมากนัก กระแสโลกมุสลิมที่เปลี่ยนแปลงไปก็ส่งผลกระทบต่อมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ประกอบแนวคิดการต่อสู้อิสลามที่มีอยู่เดิม ส่งผลให้มีการใช้พลังทางศาสนามาใช้ในการต่อสู้มากขึ้น ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ภาคใต้ขอไทยเริมหลดพลังไปตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว แต่เกิดมีพลังขึ้นมาอีกครั้งเมื่อแนวคิดใหม่ทางศาสนาอิสลามเข้ามาเชื่อมต่อกับในพื้นที่มากขึ้น และการ ตีความในศาสนาอิสลามในสังคมไทย ก็เกิดขึ้นพร้อมกับรอยแตกรอยแยกในสังคมมุสลิมไทย สำหรับแนวทางแก้ปัญหานั้น ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีจำนวน 1,300,000 คน แต่มีผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้น ในขณะที่มีข้าราชการมุสลิมไม่ถึงร้อยละ 5 และปัญหาความยากจนก็ยังมีอยู่ เพราะนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ3จังหวัดจะต้องมีบทบาทในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้มากกว่านี้ รัฐจะต้องเอาศาสนามาสร้างพลังและใช้ความคิดทางศาสนาอิสลามมาใช้แก้ปัญหา ในขณะที่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมก็ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับมุสลิมทั้งในประเทศและในภูมิภาคมากขึ้นด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/32378
2010-12-21 21:05
กองกำลังไทใหญ่ SSA ปะทะทหารพม่าตรงข้ามเชียงใหม่ เจ็บ-ดับหลายนาย
กองกำลังไทใหญ่ SSA ปะทะทหารพม่าในพื้นที่ด้านตรงข้ามจังหวัดเชียงใหม่ต่อเนื่อง ล่าสุด SSA ซุ่มโจมตีขบวนรถทหารพม่าได้รับความเสียหาย มีทหารบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายนาย มีรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 18 ธันวาคม ที่ผ่านมา กองกำลังไทใหญ่ SSA กลุ่ม พล.ท.เจ้ายอดศึก กำลังพล 15 นาย สังกัดกองพัน 404 กองพลน้อยที่ 727 ได้ทำการซุ่มโจมตีขบวนรถทหารพม่า ที่บริเวณใกล้กับบ้านลาหู่ เก้าหลัก ทิศเหนือของเมืองโต๋น ตรงข้ามอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขณะขบวนรถของทหารพม่า 6 คัน บรรทุกทหารรวมกว่า 100 นาย มีผบ.ยุทธการรวมอยู่ด้วย เดินทางจากบก.ควบคุมยุทธการที่ 14 ประจำเมืองสาด มุ่งหน้าไปทางเมืองโต๋น ทั้งนี้ ระหว่างการซุ่มโจมฝ่ายทหารพม่าได้ยิงตอบโต้กลับเช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายยิงตอบโต้กันนานประมาณ 30 นาที ผลการปะทะ ทำให้รถบรรทุกทหารพม่าถูกยิงได้รับความเสียหายทั้ง 6 คัน มีทหารพม่าได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในที่เกิดเหตุจำนวนหนึ่ง ขณะที่ รอง ผบ.ยุทธการทหารพม่า ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบชื่อ ถูกยิงเข้าที่ต้นขาได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้มีนายทหารยศร้อยตรีอีกคนหนึ่งถูกยิงที่หน้าท้องและแขนได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนฝ่ายกองกำลังไทใหญ่ SSA ไม่สูญเสีย แหล่งข่าวเผยว่า จุดที่เกิดการปะทะกันอยู่ห่างจากชายแดนไทยด้านตรงข้ามอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 80 กิโลเมตร เหตุเกิดขณะทหารพม่าชุดดังกล่าวกำลังเดินทางออกจากเมืองสาด เพื่อไปตรวจเยี่ยมกำลังพลตามฐานต่างๆ ที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย ด้านตรงข้ามจังหวัดเชียงใหม่ แต่หลังจากเดินทางออกจากเมืองสาดได้ไม่นานก็ถูกทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA ที่กำลังซู่มโจมตีเสียก่อน มีรายงานอีกว่า ในวันต่อมา (19 ธ.ค.) ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหารพม่ากับทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA อีกครั้ง บริเวณทิศเหนือบ้านแม่แกน ห่างจากบ้านแม่แกนประมาณ 2 กิโลเมตร ฝ่ายทหารพม่ามีกำลังพลราว 60 นาย ฝ่าย SSA มี 15 นาย สังกัดกองพลน้อยที่ 727 เช่นเดียวกัน โดยการปะทะเกิดเมื่อเวลา 8.30 น. กินเวลากว่า 1 ชั่วโมง ผลทหารพม่าเสียชีวิต 3 นาย ได้รับบาดเจ็บอีก 3-4 นาย ทั้งนี้ พื้นที่เมืองสาด เมืองโต๋น ในฝั่งพม่า (รัฐฉาน) ซึ่งอยู่ตรงข้ามจังหวัดเชียงใหม่ของไทย มีกองกำลังติดอาวุธเคลื่อนไหวอยู่หลายกลุ่ม ทั้งทหารพม่า, กองกำลังว้า UWSA, กองกำลังอาสาสมัครลาหู่ และกองกำลังไทใหญ่ SSA กลุ่มของพล.ท.เจ้ายอดศึก โดยตลอดช่วง 1 – 2 เดือนที่ผ่านมา ได้เกิดปะทะกันระหว่างทหารพม่ากับกองกำลัง SSA บ่อยครั้ง ครั้งล่า สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา ทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA กำลังพล 10 นาย ได้ปะทะกับทหารพม่าไม่ทราบสังกัด บริเวณระหว่างบ้านน้ำฮูขุ่นและบ้านอองล่อง ทิศตะวันออกของบ้านปุ่งป่าแขม เขตอำเภอเมืองโต๋น จุดปะทะอยู่ห่างชายแดนไทย ประมาณ 10 กม. ผลฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 2 นาย และฝ่ายกองกำลังไทใหญ่ SSA เสียชีวิต 1 นาย   ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่http://www.khonkhurtai.org/ [1] "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th [2] หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org [3] ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org [4]
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/71934
2017-06-14 23:25
[คลิป] อานันท์ กาญจนพันธุ์: ล้านนาในศตวรรษที่ 21
คลิปจากเวทีวิชาการ “ทบทวน ท้าทาย ล้านนาคดีศึกษาสู่ทศวรรษใหม่” เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยในช่วงเช้าเป็นการปาฐกถาหัวข้อ ล้านนาในศตวรรษที่ 21 โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "โลกเราเป็นโลกไร้พรมแดนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จริงล้านนาเป็นโลกไร้พรมแดนมาแต่ไหนแต่ไร เพิ่งจะมามีพรมแดนตอนมีรัฐชาติ ถ้าเผื่อใครมองล้านนาเฉพาะส่วนที่เป็นรัฐชาติ นี่จะไม่เข้าใจล้านนาเลยนะ เพราะล้านนาไร้พรมแดนตั้งแต่แรกแล้ว นี่ก็เป็นความเข้าใจผิดกันมานาน ที่ไปจับการศึกษาล้านนาเฉพาะ 8 จังหวัดภาคเหนือก็เลยจนปัญญา" อานันท์กล่าวตอนหนึ่ง
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/34174
2011-04-22 01:20
สภาล่มรอบ 4 ส.ส.เมินโหวตวาระ 3 ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมฯ
ที่ประชุมสภาฯ ล่มครั้งที่ 4 หลังพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะวาระที่ 2 เสร็จสิ้น ประธาน กดปุ่มเรียก ส.ส. มาลงมติวาระ 3 แต่เหลือ ส.ส. 231 คน ไม่ครบองค์ประชุม             วันที่ 21 เม.ย.54 เมื่อเวลา 09.30 น.ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้วต่อเป็นวันที่ 2 โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบให้นายกว้าง รอบคอบ เป็น ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน มาแทน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ลาออกไป ได้ลุกขึ้นปฏิญาณตนก่อนทำหน้าที่ และพูดกระเซ้าว่า ขอต้อนรับสมาชิกใหม่ แต่คงอยู่ได้ไม่นานเดี๋ยวก็ยุบสภาแล้ว   จากนั้นจึงได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ต่อในมาตรา 8 การชุมนุมสาธารณะต้องไม่กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น ประกอบด้วย สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท รวมถึงสถานที่พำนักของพระราชอาคันตุกะ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน สถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การชุมนุมที่ได้รับอนุญาตต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10 เมตร   ซึ่ง ส.ส.ส่วนใหญ่ได้อภิปรายแสดงความเป็นห่วงเรื่องกำหนดระยะห่างระหว่างการชุมนุมกับสถานที่สำคัญอาจเกิดข้อจำกัดในการชุมนุม และการดูแลความปลอดภัย โดยมีผู้เสนอให้กำหนดความชัดเจนเรื่องระยะห่าง รวมถึงการกำหนดสถานที่สำคัญควรกำหนดให้ชัดเจนว่าห้ามชุมนุมโดยเด็ดขาด ไม่ควรเปิดโอกาสให้มีการขออนุญาตเพราะสถานที่ที่กำหนดไว้ล้วนเป็นสถานที่สำคัญ อย่างไรก็ดีหลังการอภิปรายสมาชิกบางส่วนต้องการให้กรรมาธิการแปรญัตติปรับปรุงถ้อยคำให้ชัดเจน ขณะที่กรรมาธิการยืนยันตามที่พิจารณาเสร็จแล้วทำให้ประธานสั่งพักการประชุม 3 นาทีเพื่อให้สมาชิกและกรรมาธิการไปตกลงกันให้ได้ข้อสรุป   หลังพักการประชุมนายนิพนธ์ บุญญามณี กรรมาธิการ เสนอว่าควรแก้ไขว่า "การชุมนุมสาธารณะห้ามจัดการชุมนุมในสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รวมถึงสถานที่พำนักของพระราชอาคันตุกะ โดยการชุมนุมจะต้องไม่กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ดังต่อไปนี้ รัฐสภา สถานที่ราชการ ศาล ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานทูต สถานกงสุล ที่ทำการองค์กรระหว่างประเทศ" โดยที่ประชุมพอใจกับการปรับปรุงถ้อยคำจึงผ่านการพิจารณาในมาตรา 8   จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรียงรายมาตรา โดยมีมาตราที่สำคัญ ซึ่ง ส.ส.ให้ความสนใจในการอภิปรายเป็นจำนวนมาก อาทิ มาตรา 19 การชุมนุมต้องเลิกชุมนุมตามกำหนดเวลาที่แจ้งไว้ โดยกรรมาธิการเพิ่มเติมว่าภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากผู้ชุมนุมประสงค์จะจัดให้มีการชุมนุมต่อไป ให้แจ้งขอขยายระยะเวลาการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง โดยกรรมาธิการแจ้งกับที่ประชุมว่าจุดมุ่งหมายของการบัญญัติมาตรานี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทราบกำหนดเวลาการเลิกชุมนุม อย่างไรก็ดีสมาชิกบางส่วนเห็นว่าการต้องแจ้งเพื่อชุมนุมต่อทำให้เกิดความลำบากกับผู้ชุมนุม บางกรณีผู้ชุมนุมมีความเดือดร้อนด้านต่างๆ และยังไม่ได้รับการแก้ไขการจะต้องแจ้งเพิ่มเวลาชุมนุมทำได้ลำบาก อย่างไรก็ดีที่ประชุมยืนยันตามที่กรรมาธิการเพิ่มเติม   นอกจากนี้ ที่ประชุมได้แก้ไขถ้อยคำในมาตรา 22 ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้เดียวที่สามารถแต่งตั้งเจ้าพนักงานรับผิดชอบดูแลการชุมนุม กรณีหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมและผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสถานี ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทั้งนี้เดิมร่างกฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีและ ผบ.ตร.เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าพนักงานแต่ที่ประชุมเห็นว่าหน้าที่ดูแลการชุมนุมควรเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลมากกว่าฝ่ายบริหาร   มาตรา 24 กรณีการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือผู้จัดการชุมนุมไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานประกาศให้ยกเลิกการชุมนุมภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตามเจ้าพนักงานต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งเลิกการชุมนุม ในระหว่างรอคำสั่งศาลให้เจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการที่จำเป็นตามแผนหรือแนวทางการควบคุมที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยกำหนดแผนหรือแนวทางการควบคุมให้เจ้าพนักงานเลี่ยงการใช้กำลัง หรือไม่สามารถเลี่ยงได้ให้ใช้กำลังหรือเครื่องมือควบคุมฝูงชนเพียงเท่าที่จำเป็น โดยนายบรรพต ต้นธีรวงศ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ กรรมาธิการเสียงข้างน้อยได้ขอเพิ่มเติมข้อสังเกตว่า ขณะที่รอคำสั่งศาลขอให้เจ้าพนักงานและผู้จัดการชุมนุมใช้วิธีประนีประนอมโดยหากสามารถตกลงกันได้ให้นำเสนอข้อตกลงต่อศาลเพื่อพิจารณา ซึ่งกรรมาธิการเสียงข้างมากรับข้อเสนอดังกล่าวไว้แนบท้ายร่างกฎหมาย   ภายหลังจากการพิจารณาเรียงมาตรา ในวาระ 2 เสร็จสิ้นทั้ง 39 มาตรา นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานที่ประชุม กดออดเรียก ส.ส.มาแสดงตน ก่อนจะลงมติในวาระ 3 ปรากฏว่ากดออดนานถึง 10 นาทีก็ยังไม่ครบ ระหว่างนั้นส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างเรียกร้องให้นายสามารถรอ ส.ส.ที่กำลังเดินทางจากห้องประชุมคณะกรรมาธิการฯก่อน ซึ่งนายสามารถได้กดออดรออีกสักพัก แต่ในที่สุดเมื่อนับองค์ประชุมปรากฏว่ามี ส.ส.อยู่เพียง 231 คน ไม่ครบองค์ประชุมที่จำนวน 237 คน จากทั้งหมด 474 คน นายสามารถจึงสั่งปิดประชุมเมื่อเวลา 13.45 น.     ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ [1]
1pos
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63445
2016-01-12 20:40
อ่าน ร่างแก้ไข (?!) พ.ร.บ.กสทช.ฉบับ สปท.
12 ม.ค. 2559 คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งมี พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร เป็นประธาน เสนอรายงานแผนการปฏิรูป เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อที่ประชุม สปท. [1]เมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา (คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายงาน [2]) ประเด็นที่แก้ไขในร่างนี้ไม่ต่างจากฉบับที่ถูกเสนอโดย สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ซึ่งถูกหลายฝ่ายคัดค้านก่อนหน้านี้มากนัก  อาทิ  -ยุบบอร์ดเหลือชุดเดียว และลดจำนวนจาก 11 เหลือ 7 คน-กรณีต้องเลือกและแต่งตั้งกรรมการ ให้มีคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย 1.ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 2.ประธานศาลฎีกา 3.ประธานศาลปกครองสูงสุด 4.ประธาน ป.ป.ช. 5.ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 6.ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน 7.ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (จากเดิม 1.ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2.ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4.ปลัดกระทรวงกลาโหม 5.ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) 6.ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) 7.นายกสภาวิศวกร 8.ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย 9.นายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย 10.นายกสมาพันธ์สมาควิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 11.ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอชน 12.ประธานกรรมการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย 13.ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 14.ประธานสมาพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ 15.ประธานสมาพันธ์องค์กรผู้บริโภค) -การจัดทำแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม -การอนุญาตใช้คลื่นความถี่ กรณีกิจการธุรกิจ คัดเลือกโดยการประมูล แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยจะคำนึงถึงจำนวนเงินที่เสนอให้แต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ -เงินที่ได้จากการประมูลเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการประมูล และเงินที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้วเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/73967
2017-11-04 12:49
ผบ.ทบ.สั่งทุกกองทัพภาคอำนวยความสะดวก 'ตูน บอดี้สแลม'
ผบ.ทบ.สั่งทุกกองทัพภาคดูแลความปลอดภัย-อำนวยความสะดวก ดูแลเรื่องยานพาหนะ เตรียมพร้อมอากาศยานเข้าช่วยเหลือหากเกิดอาการบาดเจ็บ  จัดกำลังพลเข้าร่วมในการวิ่งและการบริจาค ให้ 'ตูน บอดี้สแลม' กิจกรรมโครงการก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ   ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ [1]   สำนักข่าวไทย [2] รายงานเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2560 ที่ผ่านมาว่า พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบกเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้กองทัพบกสนับสนุนกิจกรรมโครงการก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศของนายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม ที่วิ่งระดมทุนจากภาคใต้ไปยังภาคเหนือ จึงได้สั่งการในที่ประชุมผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก (นขต.ทบ.) ให้กองทัพภาคที่ 4 และกองทัพภาคอื่น ๆ อำนวยความสะดวกเต็มที่ ทั้งเรื่องความปลอดภัยการจัดกิจกรรมตลอดเส้นทาง    “ดูแลเรื่องยานพาหนะ เตรียมพร้อมอากาศยานเข้าช่วยเหลือหากเกิดอาการบาดเจ็บ  จัดกำลังพลเข้าร่วมในการวิ่งและการบริจาค เพราะถือว่าโครงนี้ได้ช่วยเหลือโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของกองทัพบก  อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนร่วมกันออกกำลังกายด้วย” ผู้บัญชาการทหารบก กล่าว    ส่วนจะมีโอกาสร่วมวิ่งกับตูนหรือไม่นั้น พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ต้องดูเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/69377
2016-12-24 08:35
เมื่อ ‘แอร์โฮสเตส’ ขอยืดระยะเวลา ‘เกษียณ’
สหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับ ‘คาเธ่ย์ แปซิฟิค’ เรียกร้องยืดอายุการเกษียณจาก 55 ปี เป็น 65 ปี ชี้การเกษียณก่อนวัยที่เหมาะสมจะสร้างภาระให้สังคม และประสบการณ์ของลูกเรือสูงวัยจะมีประโยชน์ต่อความปลอดภัยของอุตสาหกรรมการบิน ทั้งนี้เคยเรียกร้องสำเร็จขยายอายุเกษียณจาก 45 ปี เป็น 55 ปี มาแล้วเมื่อปี 2551 อายุเกษียณ 'แอร์โฮสเตส' ของสายการบินที่น่าสนใจในเอเชีย 24 ธ.ค. 2559 โลกแห่งการทำงานยุคปัจจุบันที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ ได้เกิดกระแสเรียกร้องการยืดระยะเวลาเกษียณ เพราะการเกษียณเร็วในหลายภูมิภาคอาจจะสร้างปัญหาให้กับคนทำงานเอง เช่นในภูมิภาคเอเชียที่ไม่มีสวัสดิการเงินชดเชยให้หลังเกษียณที่ดีเหมือนยุโรป ทำให้แม้แต่คนทำงานเองในหลายอุตสาหกรรมก็ยังออกมาเรียกร้องการยืดระยะเวลาเกษียณนี้ อย่างล่าสุดก็เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการบิน 65, I Can Fly [1] เป็นแคมเปญรณรงค์เรียกร้องยืดอายุการเกษียณของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหรือแอร์โฮสเตส ของสหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค (CPAFAU) เพิ่มจาก 55 ปี เป็น 65 ปี ทั้งนี้จากการรายงานของ South China Morning Post [2] เมื่อปลายเดือน พ.ย. 2559 ที่ผ่านมาระบุว่าสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค (Cathay Pacific) อาจตัดสินใจเพิ่มอายุเกษียณการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หลังได้รับเสียงร้องเรียนจากสหภาพแรงงาน ทั้งนี้สายการบินคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ แอร์ไลน์ (Singapore Airlines) ก็มีอายุเกษียณของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ 62 ปี ส่วนสายการบินออล-นิปปอน แอร์เวยส์ (All-Nippon Airways) ก็อยู่ที่ 65 ปี “สำหรับกลุ่มคน Gen-Y (วัยทำงานอายุ อายุ 27-36 ปี) เมื่อถามว่าจะทำงานได้นานแค่ไหน คน Gen-Y ในเอเชียส่วนใหญ่จะบอกว่าสามารถทำงานได้จนกว่าจะเสียชีวิตโดยเฉพาะคนญี่ปุ่น” ข้อมูลจาก ManpowerGroup Solution ต่อมาเมื่อต้นเดือน ธ.ค. 2559 หนังสือพิมพ์ The Standard ของฮ่องกง [3] รายงานว่าผู้บริหารของคาเธ่ย์ แปซิฟิค ระบุว่าจากจำนวนพนักงาน 9,000 คน มีถึงกว่าครึ่งหนึ่งที่ต้องการยืดระยะเวลาเกษียณออกไป ทั้งนี้การเพิ่มอายุเกษียณของพนักงานจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนก่อนเดือน ม.ค. ปี 2561 ส่วนสหภาพแรงงานฯ ระบุว่าจะทำการสำรวจความเห็นของพนักงานและจะนำไปเป็นข้อเรียกร้องเพื่อเจรจากับฝ่ายบริหารในปีถัดไป นอกจากนี้สหภาพแรงงานฯ ยังระบุว่าสามารถล่ารายชื่อพนักงานได้แล้วถึง 3,600 คน ในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างให้ยืดอายุการเกษียณทำงานของพวกเธอเป็น 65 ปี ทั้งนี้สำหรับอายุเกษียณของนักบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคอยู่ที่ 65 ปี ส่วนพนักงานภาคพื้นดินอยู่ที่ 60 ปี (ยกเว้นสาขาในสหราชอาณาจักรจะอยู่ที่ 65 ปี) เริ่มต้นเมื่ออายุเท่าไร? ที่มาภาพประกอบ Bas Bogers (CC BY-NC 2.0) [4] เว็บไซต์ cabincrewexcellence.com [5] ได้รวบรวมอายุเฉลี่ยของผู้เริ่มต้นเข้าสู่อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินไว้โดยระบุว่าสายการบินฝั่งยุโรป (เช่น Ryanair, EasyJet, British Airways เป็นต้น) ต้องมีอายุครบ 18 ปี ขึ้นไปถึงจะสมัครงานได้ ด้านสายฝั่งตะวันฝั่งออกกลางส่วนใหญ่ (เช่น Qatar Airways, Emirates และ Etihad เป็นต้น) จะรับสมัครอายุระหว่าง 21-30 ปี ส่วน Saudi Arabian Airlines รับอายุระหว่าง 22-30 ปี ส่วนเว็บไซต์ thaicabincrew.com [6] ได้รวบรวมของสายการบินฝั่งเอเชียบางส่วนไว้ อาทิเช่น Singapore Airlines รับสมัครอายุ 18 ปีขึ้นไป Japan Airlines, Royal Brunei Airlines รับสมัครอายุระหว่าง 20-26 ปี, สายการบินไทย และ Korean Air อายุต่ำกว่า 26 ปี, Air Asia อายุต่ำกว่า 28 ปี Lion Air และ Nok Air อายุไม่เกิน 35 ปี เป็นต้น   ความเคลื่อนไหวระลอกล่าสุดของสหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค นี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2558 โดยจากรายงานของเว็บไซต์ rthk.hk [7] ระบุว่าพนักงานต้อนรับของหลายสายการบินในฮ่องกงได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายเพิ่มอายุเกษียณในอุตสาหกรรมอยู่ที่ 65 ปี นอกจากสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ที่พนักงานต้อนรับมีอายุเกษียณอยู่ที่ 55 ปีแล้ว สายการบินดราก้อนแอร์ (Dragonair) ก็ยิ่งมีอายุเกษียณที่น้อยกว่านั้นเพียง 45 ปี แคลโรล ง็อก เลขาธิการทั่วไปของสหพันธ์ลูกเรือฮ่องกง (Hong Kong Cabin Crew Federation) กล่าวว่าการให้ลูกเรือที่มีประสบการณ์เกษียณก่อนวัยอันควรทั้ง ๆ ที่พวกเธอยังปฏิบัติงานได้ดีนั้นอาจจะเป็นการเพิ่มภาระให้สังคม และประสบการณ์บนเครื่องของลูกเรือเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อความปลอดภัยของอุตสาหกรรมการบิน อนึ่งสหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ถือเป็นหนึ่งในสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งในภาคอุตสาหกรรมการบิน โดยปัจจุบันมีสมาชิกถึง 7,200 คน เคยเรียกร้องจนทำให้พวกเธอสามารถขยายอายุเกษียณจาก 45 ปี เป็น 55 ปี ได้สำเร็จมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี 2551
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/2421
2005-01-24 10:18
ดันชุมชนสมานฉันท์ ต้นแบบดับไฟใต้
ปัตตานี-23 ม.ค.48 ดร.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า ทางศูนย์ฯ อยู่ระหว่างการเฟ้นหาเขตชุมชนสมานฉันท์ ซึ่งจะเป็นชุมชนนำร่องในเรื่องความสมานฉันท์ มีกิจกรรมช่วยลดความแตกแยกภายในชุมชน ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว ต้นแบบมาจากข้อเสนอเรื่อง "เขตปลอดการฆ่า" ซึ่ง รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ รองประธานกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี เป็นผู้นำเสนอ ทั้งนี้ตามข้อมูลขอ รศ.ชัยวัฒน์ระบุว่า มีชุมชนที่เป็นพื้นที่ปลอดการฆ่าใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 80% ดร.โคทม กล่าวว่า ขณะนี้มีชุมชนสมานฉันท์นำร่องในพื้นที่ จ.ปัตตานี 2 แห่ง และมีเป้าหมายเพื่อขยายพื้นที่ออกไปใน จ. นราธิวาสและ จ.ยะลา โดยเลือกชุมชนที่มีความสัมพันธ์ที่หลากหลาย โดยทางศูนย์ฯ จะเข้าไปจัดกิจกรรมพูดคุยทำความเข้าใจ รวมถึงเชื่อมโยงเข้ากับฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้ด้วย "การทำโครงการ วางระบบต่างๆ ติดกระดิ่ง ติดตั้งไฟ หรือกิจกรรม เป็นเรื่องของชุมชน" ผู้อำนวย การศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าว ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/18818
2008-11-01 23:00
พปช. ล่าชื่อถอด "รสนา" ครบ 144 คนแล้ว
1 พ.ย. 51 - พรรคพลังประชาชน ล่าชื่อถอด รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. กรณีนำผู้ติดตามเข้าไปในห้องประชุมรัฐสภาระหว่างการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ครบ144 คนแล้วเล็งยื่นให้ ประธานวุฒิ 5 พ.ย.   นางสาวอรุณี ชำนาญยา ส.ส. พะเยา พรรคพลังประชาชน (พปช). กล่าวถึงความคืบหน้าในการรวบรวมรายชื่อส.ส. เพื่อยื่นถอดถอนนางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. กรณีนำผู้ติดตามเข้าไปในห้องประชุมรัฐสภาระหว่างการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ว่า ขณะนี้รวบรวมรายชื่อ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลได้ 144 คนแล้ว ถือว่าครบตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่จะรอรายชื่อในส่วนของ ส.ว. ก่อน เพราะขณะนี้ ส.ว. อยู่ระหว่างการเข้าชื่อถอดถอนนางสาวรสนาเช่นกัน แต่จะแยกกันยื่นต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา โดยจะประสานงานกับนายประสพสุขในวันที่ 3 พฤศจิกายน โดยคาดว่าจะยื่นส่งเรื่องอย่างเป็นทางการให้นายประสพสุขในวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้ถือเป็นเอกสิทธิส.ส. ไม่ใช่มติพรรค และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการหัวหน้า พปช. ทราบเรื่องแล้ว   ที่มา: เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/44234
2012-12-16 15:29
สารจากอินเดีย: แนวทาง ‘มหาตมะคานธี’ กับการต้านภัย ‘พืช GMO-ระบบสิทธิบัตร’
‘วันทนา ศิวะ’ ปาฐกถามหาตมะคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 1 ชี้พืช GMO-ระบบสิทธิบัตรภัยคุกคามความยั่งยืนในโลกปัจจุบัน เผยการพึงตัวเอง ปฏิเสธกฎที่ไม่เป็นธรรมตามแนวทาง ‘มหาตมะคานธี’ คือเครื่องมือสู้   วันที่14 ธ.ค.55 ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดปาฐกถามหาตมะคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 1 (2555) ในหัวข้อ ‘ผืนดินไม่ใช่น้ำมัน: สารจากอินเดีย’ โดย ดร.วันทนา ศิวะ นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ก่อตั้งนวธัญญา ซึ่งได้รับรางวัล ‘แกรนด์ ไพรซ์’ จากการประกาศรางวัลฟุกุโอกะ เอเชียน คัลเจอร์ ไพรซ์ส ซึ่งมอบให้แก่ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมในทวีปเอเชีย ประจำปี พ.ศ.2555 ณ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ดร.วันทนา กล่าวว่า มหาตมะคานธีมีอิทธิพลทางความคิดต่อการเคลื่อนไหวของเธอ ตั้งแต่เธอจำความได้ เมื่ออายุราว 6 ขวบ แม่ของเธอปั่นด้าย และมีการนำเข้าเสื้อผ้าไนลอนซึ่งผลิตจากโพลิเมอร์ หรือพลาสติกที่ได้มาจากน้ำมัน ซึ่งขณะนั้นมีคำพูดที่ว่า ‘ปั่นฝ้ายมีของกิน ใช้เสื้อผาไนลอนคนรวยมีรถยนต์’ ต่อมาเธอจึงเริ่มมีความคิดทางสังคมการเมือง การเชื่อมโยงเรื่องผลประโยชน์ และผลกระทบจากการพัฒนาที่ทิ้งไว้ให้กับโลก   นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากอินเดีย เล่าว่าในปี 1970 เธอได้เข้าร่วมขบวนการ ‘ชิปโก้’ หรือ ‘โอบกอด’ ซึ่งเป็นขบวนการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ป่าในเขตเทือกเขาหิมาลัยของอินเดีย โดยใช้วิธีการสันติ อหิงสา ด้วยความคิดว่า ดิน น้ำ และอากาศ คือพื้นฐานของชีวิตซึ่งล้วนมาจากป่าและมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งการต่อสู่ดังกล่าวส่งผลสะเทือนไปทั่วอินเดียและมีคนรุ่นใหม่ๆ เข้าร่วมตามมา ประกอบกับเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มเมื่อปี 1978 ซึ่งก่อความเสียหายอย่างมหาศาล ส่งผลให้รัฐบาลเกิดความตระหนักและปรับนโยบายป่าไม้ไปในทิศทางที่เน้นการอนุรักษ์ อีกทั้งมีการออกกฎหมายห้ามตัดไม้ทำลายป่า ในปี 1980   และในปี 1980 นั้นเอง ดร.วันทนาเล่าว่าเธอได้ถูกเชิญไปเข้าร่วมเวทีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีบริษัทผู้ผลิต GMO (สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม) และบริษัทผู้ผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่วมด้วย โดยช่วงเวลานั้นก็มีการเจรจาการค้าในเรื่องการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตด้วย ทั้งนี้โดยส่วนตัวเธอเห็นว่าการพัฒนาเทคโนโลยีการตัดต่อยีน (Gene) และพันธุวิศวกรรมนั้นมุ่งหวังในเรื่องผลกำไร ทั้งยังอ้างการพัฒนานวัตกรรมใหม่ขอสิทธิบัตรเพื่อเป็นเจ้าของ นั่นคือความต้องการของอุตสาหกรรม   ต่อมาการเข้าเป็นภาคีสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ทำให้อินเดียต้องเข้าสู่กรอบกติกาสิทธิบัตรของ WTO โดยในการประชุมครั้งหนึ่งสหรัฐระบุท่าทีชัดเจนโดยใช้ข้อตกลงภาษีศุลกากรเป็นเครื่องมือต่อรอง ซึ่งตรงนี้ทำให้เกิดการผูกขาดสิทธิบัตรยา ส่งผลให้ยาราคาแพงและกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน อีกทั้งกรณีสิทธิบัตรพืชก็ทำให้เมล็ดพันธุ์ถูกผูกกับการค้า เกษตรกรไม่มีเมล็ดพันธุ์ของตนเอง ไม่มีทางเลือกในการเพาะปลูก และความหลากหลายทางชีวภาพถูกครอบครองโดยระบบสิทธิบัตร     ดร.วันทนา กล่าวว่าจากกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เธอหวนคิดถึงการต่อสู้เพื่อให้ได้เอกราชจากจักรวรรดินิยมอังกฤษของมหาตมะคานธี โดยต่อสู้กับการครอบงำอุตสาหกรรมสิ่งท่อของอังกฤษด้วยการปลูกฝ้ายและทอผ้าด้วยตนเอง ซึ่งขณะนั้นอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษส่งออกฝ้ายและนำเข้าเสื้อผ้าจากอังกฤษ ภายใต้ความคิดที่ว่าหากไม่มีอิสรภาพทางเศรษฐกิจก็ไม่มีเสรีภาพทางการเมือง ผ้าคาดี (Khadi) ผ้าทอมือพื้นเมืองของอินเดียจึงถูกให้ความสำคัญ และทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียกร้องเอกราชด้วยการปั่นด้าย ซึ่งทำให้พวกเขาพึงตนเองได้   นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากอินเดียกล่าวด้วยว่า การใช้เทคโนโลยีชีวภาพตัดแต่งพันธุกรรมพืชที่ทำให้ไม่สามารถใช้เมล็ดขยายพันธุ์ต่อได้นั้น จะต้องต่อสู้หยุดความรุนแรงจากเทคโนโลยีนี้ ด้วยการช่วยสนับสนุนการปลูกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ของตนเอง โดยเธอระบุถึงความมุ่งหวังด้วยว่า ต้องการให้อินเดียเป็นแหล่งผลิตเกษตรอินทรีย์เลี้ยงคนทั้งโลก   ส่วนการควบคุมเมล็ดพันธุ์โดยใช้สิทธิบัตร จากการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชแล้วนำไปจดสิทธิบัตรเพื่อผูกขาด ทั้งที่ไม่ใช่การสร้างสายพันธ์ใหม่ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่คิดค้นใหม่ ถือเป็นโจรสลัดชีวภาพที่ใช้เครื่องมือคือกฎหมายมาปล้นชิงทรัพยากร ตรงนี้มีเครื่องมือของมหาตมะคานธีที่สามารถนำมาใช้ได้ นั่นคือการใช้วิธี ‘สัตยาคฤห (Satyagraha)’ จากสิ่งที่ครอบงำอยู่ นั่นคือ การไม่ร่วมมือในกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กำลัง ดังกรณีการสัตยาคฤห ต่อต้านการถูกบังคับให้ปลูกต้นครามแล้วหันมาปลูกพืชอาหาร สัตยาคฤหเกลือโดยเดินขบวนรณรงค์ประท้วงการผูกขาดการผลิตเกลือจากกฎหมายเกลือของอังกฤษ     ดร.วันทนา กล่าวด้วยว่า เธอเขียนหนังสือ ‘ผืนดินไม่ใช่น้ำมัน ชีวิต อาหาร สิ่งแวดล้อม หรือน้ำมัน?’ ขึ้น เพื่อพูดถึงผลกระทบที่น่าเศร้าของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งเกิดจากการพึงพิงน้ำมัน และพูดถึงการที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดโดยมองน้ำมันว่าก่อให้เกิดมลภาวะ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนำมาสู่วิกฤติภัยธรรมชาติและความสูญเสียของชีวิตผู้คน   นอกจากนั้น การผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมเกษตรก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อในเกิดก๊าซเรือนกระจกที่ให้โลกร้อนและมีการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต อีกทั้งเกษตรอุตสาหกรรมต้องใช้สารเคมีซึ่งนอกจากจะฆ่าสิ่งมีชีวิตในดินแล้วยัง ก่อมลพิษ และเป็นอันตรายต่อคนกินด้วย ตรงนี้จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมเกษตรจึงเป็นการผลิตสินค้า ไม่ใช่อาหาร ส่วนการปลูกพืชน้ำมันซึ่งในอินเดียใช้พื้นที่กว่า 40 เปอร์เซ็นต์นั้นก็เพื่อผลิตน้ำมันให้รถวิ่งได้ ไม่ใช่เอาไว้กิน ซึ่งก็ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล ขณะที่การเกษตรชิงนิเวศนั้นเน้นความหลากหลายทางชีวภาพและมุ่งผลิตสารอาหารเลี้ยงคนจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันการผลิตทางการเกษตรมุ่งเน้นปริมาณผลผลิตต่อไร่   ทั้งนี้ ดร.วันทนามีข้อเสนอให้เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเพื่อนำสู่ความกินดีอยู่ดี โดยการคิดผลิตอาหารด้วยตนเอง ซึ่งจากการที่ยุโรปกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจก็มีคนหนุ่มสาวในยุโรปที่หันมาสนใจแนวทางนี้     จากนั้นมีการเปิดตัวหนังสือ ‘ผืนดินไม่ใช่น้ำมัน ชีวิต อาหาร สิ่งแวดล้อม หรือน้ำมัน?’ ซึ่งเขียนโดย ดร.วันทนา ในฉบับภาษาไทย และการเสวนา “ขบวนการเกษตรอินทรีย์แห่งเอเชียมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจริงหรือ?” ในช่วงบ่าย โดยปาโบล ซาลอง จาก Focus on the Global South วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ จากเครือข่ายนิเวศวิทยาและพลังงานลุ่มน้ำโขง เดชา ศิริภัทร จากมูลนิธิข้าวขวัญ และวัลลภา แวนวิลเลี่ยนสวาร์ด จากบริษัทสวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม ดำเนินรายการโดยสุรัตน์ โหราชัยกุล อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
0neg
1pos
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/20434
2009-03-21 05:26
พิเชษฐ เมาลานนท์ : บทบาทตุลาการทางด้านลบที่ญี่ปุ่น
ชื่อบทความเดิม : บทบาทตุลาการทางด้านลบที่ญี่ปุ่น ในคดีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทะเลสาบ "บิวา-โขะ" [1] [1] (Lake Biwa Lawsuit, 1988) [2] [2]   พิเชษฐ เมาลานนท์ นักวิจัย "ตุลาการภิวัตน์" รับเิชิญ ณ มหาวิทยาลัย "อะเทเนโอ" (เคซอนซิตี้, เมโทรมะนิลา)       ภาพถ่ายทางอากาศ ทะเลสาบ "บิวา-โขะ" (ภาพ Wikipedia)     I. บทบาทตุลาการทางด้านบวก สี่คดีใหญ่ในปัญหามลพิษ:  ญี่ปุ่นมี 4 คดีใหญ่ในปัญหามลพิษ (Big Four Pollution Diseases of Japan) ดังข้อมูลใน Wikipedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Four_Big_Pollution_Diseases_of_Japan [3]) ซึ่งได้แก่   ๑.      Itai-Itai Disease Case:  คดีโรค "อิไต-อิไต" จากสารแคดเมี่ยม (ศาลตัดสิน 30 มิย. 1971) ๒.      Niigata Minamata Disease Case:  คดีโรค "มินามาตะ ที่จังหวัดนีกาตะ" จากสารปรอท (ศาลตัดสิน 29 กย. 1971) ๓.      Yokkaichi Air Pollution Case:  คดีโรคหืด "หยกคาอิจิ" จากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ (ศาลตัดสิน 24 กค. 1972) - ๔.     Minamata Disease Case:  คดีโรค "มินามาตะ ที่จังหวัดคุมาโมโตะ" จากสารปรอท (ศาลตัดสิน 20 มีค. 1973)   ทั้ง 4 คดีนี้ ศาลญี่ปุ่นต่างตัดสินให้เป็นคุณแก่ชาวบ้าน แทบจะตามที่ฟ้องทุกประการ แม้ว่าคดีมลพิษจากสารเคมีทั้ง 4 กรณีนี้ จะเป็นปัญหาใหม่ในโลก และเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ด้วยผลของการเร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรม จนไม่สนใจในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสุขภาพของมนุษย์   เนื่องจากเป็นคดีที่เกิดใหม่ ทั้งในญี่ปุ่นและในโลก กฎหมายสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นจึงย่อมล้าหลัง ไม่ทันต่อการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ และศาลญี่ปุ่นก็ยังไม่มี "เครื่องมือ" พิจารณาปัญหามลพิษใหม่ๆ เพราะทั้งวิธีพิจารณาความอาญา กับวิธีพิจารณาความแพ่ง ยังเก่าแก่ล้าสมัย ไม่ทันกับสภาพปัญหามลพิษชนิดใหม่ที่เกิดขึ้น   กรณีเช่นนี้ วิชากฎหมายสายสังคม (Law and Society) เรียกว่า กฎหมายเป็นฝ่าย "ตามหลัง" ปัญหาสังคม (Law follows the social change.) ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ต้องกำหนดนโยบายสาธารณะ และบัญญัติกฎหมายใหม่ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาสังคม   เพราะทั้งหลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์กระแสเก่า ต่างสอนให้เราเข้าใจไปผิดๆ ว่า Law & Public Policy จะมีขึ้นมาได้ ก็แต่โดยฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร เป็นผู้กำหนดขึ้นมาเท่านั้น   เราได้รับการสั่งสอนว่า ฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจและหน้าที่ ในการตัดสินคดีที่เป็นการวางนโยบายสาธารณะ  ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ยังชักช้าหรือยังไม่กล้าออกกฎหมาย   แต่ทุกวันนี้ มนุษย์ทั่วไปในโลกเริ่มเข้าใจกันแล้วว่า คำสอนเช่นนั้นมันแข็งกระด้างเกินไป เพราะในความจริง ตุลาการก็อาจตัดสินคดีวางนโยบายสาธารณะได้ ในกรณีที่เกิดมีปัญหาใหม่ๆ และยังไม่มีกฎหมายใดๆ มารองรับ   ซึ่งเราเรียกการตัดสินคดีเช่นนี้ว่า Judicial Policy Making หรือ "ตุลาการวางนโยบายสาธารณะ"   นอกจากนี้ ขบวนการประชาธิปไตยในภาคประชาสังคม ที่เรียกกันว่า Democratization หรือ Direct Democracy ก็มีผลทำให้ฝ่ายประชาชน เป็นผู้นำกำหนดนโยบายสังคมได้ ในหลายกรณี   เหตุนี้ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความเป็นจริงของสังคม (Realism) จึงยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายสาธารณะนั้น มิได้จำกัดอยู่เพียงแค่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารอีกต่อไป แต่ยังขยายไปถึงฝ่ายตุลาการ (Judiciary) และขบวนการประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนด้วย (Democratization)   ในกรณี 4 คดีใหญ่ในเรื่องมลพิษของญี่ปุ่นนั้น ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ต่างเข้าข้างฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม   คือ ต่างรับรู้, ต่างเห็นพ้อง, และต่างยอมรับ กับการปล่อยมลพิษ ลงไปทั้งในแม่น้ำลำคลอง (Niigata Minamata Disease), ในทะเล (Minamata Disease และ Itai-Itai Disease), และในอากาศ (Yokkaichi Air Pollution Disease)   ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดพัฒนาอุตสาหรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2   ญี่ปุ่นจึงเผชิญกับวิกฤตการณ์ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ทั้งชักช้า และทั้งไม่กล้าออกกฎหมายมาแก้ปัญหามลพิษใหม่ๆ เหล่านี้   ดังนั้น จึงเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาว่า ตุลาการญี่ปุ่นจะทำเช่นไร ในเมื่อไม่มีกฎหมาย เพราะมีหลักกฎหมายอยู่ว่า "ตุลาการจะปฏิเสธไม่ตัดสินคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายไม่ได้"   ตุลาการญี่ปุ่นจึงได้แสดงบทบาทของผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีทั้ง 4 รายนั้น โดยไม่ยกข้ออ้างว่า (1) ยังไม่มีกฎหมาย จึงยังไม่ตัดสิน ดังที่เราได้เห็นตุลาการไทยเคยอ้าง เมื่อครั้งพิจารณาคดี "ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" (2) ยังไม่มีคดีบรรทัดฐาน จึงยังไม่ตัดสิน   นั่นคือ 4 คดีมลพิษใหญ่ในญี่ปุ่น ซึ่งคดีสุดท้ายศาลตัดสินไปในปี 1973     II. บทบาทตุลาการทางด้านลบ คดีทะเลสาบ "บิวา-โขะ":  ย่างถึงปี 1988 ชาวบ้านที่จังหวัดชิกะ (Shiga Prefecture) ซึ่งอยู่ใกล้นครเกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น ได้ฟ้องคดีต่อศาล กล่าวหาว่ารัฐบาลท้องถิ่นมีความรับผิดชอบ ที่ไม่ควบคุมภาวะมลพิษในทะเลสาบน้ำจืด "บิวา-โขะ"   แต่ครั้งนั้น ศาลญี่ปุ่นกลับตัดสินให้ชาวบ้านแพ้คดี โดยยกเหตุผลแต่เพียงว่า ยังไม่มีคดีบรรทัดฐาน (Precedent) ในปัญหาภาวะมลพิษในทะเลสาบน้ำจืด เช่นนี้มาก่อน   ขณะที่คนทั่วไป ทั้งในโลกและในญี่ปุ่น ต่างยกย่องสรรเสริญบทบาทของฝ่ายตุลาการในการตัดสินคดี 4 มลพิษใหญ่ในญี่ปุ่น ว่าเป็นบทบาทในเชิงบวกและก้าวหน้า ที่เรียกกันว่า Judicial Activism ขนานแท้โดยศาลญี่ปุ่น   แต่คนทั่วไป ทั้งในโลกและในญี่ปุ่น ก็ประณามคำตัดสินในคดีทะเลสาบ Biwako ว่าเป็นบทบาทในด้านลบและ Conservative ขนานแท้ แห่งนิติประเพณีที่ศาลญี่ปุ่น จากการที่อ้างแต่เพียงว่า "ยังไม่เคยมีคดีบรรทัดฐาน"   แต่ทั้งนี้ ก็ได้มีเสียงกล่าวขวัญกันทั่วโลกว่า บทบาทของตุลาการทางด้านลบนั้นเอง ก็ได้ก่อให้เกิดผลทางด้านบวกต่อสังคม เพราะภาคประชาสังคมคนญี่ปุ่น ต่างรู้กันดีว่า การจะหวังพึ่งสถาบันตุลาการ ประหนึ่งดัง "สรณะ" ในฐานะ "ที่พึ่งแหล่งสุดท้าย" (The Last Resort) เพื่อแก้ปัญหาสังคมนั้น ย่อมหวังไม่ได้เสมอไป     III. "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" คาถาสำคัญทำให้เกิดชัยชนะ แก่ประชาชนคนญี่ปุ่น:  แน่นอนว่า ประชาชนคนญี่ปุ่นย่อมผิดหวังในคำตัดสินอันทื่อๆ ของสถาบันตุลาการ ที่อ้างแต่เพียงว่า "เพราะยังไม่มีคดีบรรทัดฐานมาก่อน"   แต่กระนั้น ภาคประชาสังคมญี่ปุ่นก็กลับมีจิตใจฮีกเหิม ผนึกกำลังกันต่อสู้ เพื่อแก้ปัญหาภาวะมลพิษที่ทะเลสาบ Biwako จนทำให้เกิดขบวนการประชาชน (People Movement) ที่ร่วมมือกับสื่อมวลชนและนักวิชาการในญี่ปุ่น อย่างแข็งขันมากที่สุดแห่งหนึ่ง ที่คนทั่วไปในโลก ได้เคยประสบพบเห็นมา   และด้วยผลของบทบาทในด้านลบของฝ่ายตุลาการนั่นเอง ถ้าฝ่ายประชาชนไม่งอมืองอเท้า คอยหวังพึ่งแต่คำตัดสินของสถาบันตุลาการ และกลับทุ่มพลังรวมตัวกันต่อสู้ปัญหาสังคมแล้ว แนวทางในด้านอื่นๆ ก็ย่อมบังเกิดขึ้น ในการแก้ปัญหาสังคม   กล่าวคือ แม้ในความเป็นจริง รัฐบาลท้องถิ่นจะเป็นฝ่ายชนะคดีที่ถูกชาวบ้านฟ้อง พูดง่ายๆ ว่าฝ่ายตุลาการกลับไปเข้าข้างฝ่ายรัฐบาล ที่ไม่ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ   แต่ด้วยพลังอันมหาศาลของมหาชนคนญี่ปุ่น ผู้มีพละกำลังแรงดั่งพายุ รัฐบาลท้องถิ่นนั้นเองจึงเกรงว่า ปัญหาอื่นๆ จะตามมามาก ถ้าไม่ยินยอมผ่อนตามมติมหาชน   และด้วยเหตุนี้ รัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดชิกะ (Shiga Prefecture) จึงเร่งรีบเขียนเทศบัญญัติ ออกมาคุ้มครองรักษาสภาพแวดล้อมของทะเลสาบ Biwako     คดีทะเลสาบน้ำจืด Biwako จึงเป็นบทเรียนที่ดีให้กับประชาชนทั่วโลกว่า ปัจจัยในการตัดสินในขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ปัญหาสังคม (Deciding Factor) ไม่ได้อยู่ข้อเท็จจริงที่ว่า ตุลาการจะ "ภิวัตน์" หรือไม่เสมอไป   แต่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า ฝ่ายประชาสังคมจะรวมพลังกัน เข้มแข็งเพียงใดต่างหาก   คดีทะเลสาบ Biwako จึงเป็นบทเรียนในด้านลบให้คนไทย ในการหวังพึ่งแต่ "ตุลาการภิวัตน์"   แต่กลับเป็นตัวอย่างในด้านบวก ที่ดีที่สุดกรณีหนึ่ง ในการเร่งเสริมสร้างพลังประชาสังคม ให้เข้มแข็ง   และด้วยสายตา ในการมองปัญหาคดี Biwako Lawsuit เช่นนี้ "ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์" จะทำการศึกษารายละเอียดของคดีนี้ มานำมาเสนอแก่คนไทยต่อไป   แม้ว่าโดยปกติ "ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์" ได้ทำหน้าที่เน้นบทบาทในด้านบวกของตุลาการ แต่คดีนี้ เราจะเน้นบทบาทในด้านลบ   โดยต้องนำเสนอเนื้อหาใหญ่ๆ ใน 2 ส่วน คือ (1) บทบาทในด้านลบของตุลาการ (2) บทบาทในด้านบวกของพลังประชาสังคม     IV. ทะเลสาบ "บิวา-โขะ" คืออะไร ?: [3] [4]  นี่คือทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่จังหวัดชิกะ (Shiga Prefecture) ทางตะวันตกตอนกลางของเกาะฮอนชู และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครเกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น   ด้วยแหล่งที่ตั้ง อันอยู่ใกล้เมืองหลวงเก่าเช่นนี้ วรรณคดีญี่ปุ่นจึงมีบทกวีที่ว่าด้วยทะเลสาบแห่งนี้ และยังมีคำบรรยายทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงการสู้รบ ณ บริเวณทะเลสาบนี้เสมอ   คำว่า Biwa (บิวา) เป็นชื่อของทะเลสาบ ส่วนคำว่า Ko (โขะ) แปลว่าทะเลสาบน้ำจืด   คนญี่ปุ่นจึงเรียกว่า Biwako ขณะที่ฝรั่งเรียกว่า Lake Biwa     V. ความกว้าง และการใช้สอย:  ทะเลสาบ Biwako มีความกว้าง 670 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่าเกาะหลายแห่งในญี่ปุ่น   ทะเลสาบ "บิวา-โขะ" เกิดจากลำธาร 400 สายได้ส่งน้ำไหลเข้าไปสู่พื้นที่ลุ่ม โดยไหลมาจากภูเขาโดยรอบทะเลสาบนี้ จึงก่อให้เกิดเป็นทะเลสาบน้ำจืดขึ้น ก่อนที่จะไหลไปสู่แม่น้ำเซตะ (Seta River) ออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกที่อ่าวโอซากา (Osaka Bay)   น้ำที่ไหลไปสู่ทะเลสาบนี้ มาจากหิมะละลาย กับฝนในฤดูใบไม้ผลิ กับฝนจากใต้ฝุ่นในฤดูใบไม้ร่วง   ทะเลสาบจึงมีน้ำขึ้นเต็มที่ 2 ครั้งต่อปี   ทะเลสาบ "บิวา-โขะ" คืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ของนครใหญ่ๆ ใกล้กรุงเกียวโต และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมทอผ้าขนาดใหญ่ทั่วไป ในบริเวณนั้น   ประชาชนคนญี่ปุ่นราว 15 ล้านคนอาศัยน้ำจากทะเลสาบ Biwako เป็นน้ำดื่ม และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเพาะไข่มุก   ทะเลสาบ "บิวา-โขะ" มีชายหาดที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง และคนญี่ปุ่นนิยมเดินทาง ไปตากอากาศกัน     VI. ประวัติศาสตร์ทะเลสาบ "บิวา-โขะ":  นี่คือหนึ่งในทะเลสาบน้ำจืด ที่เก่าแก่ที่สุด 20 แห่งของโลก เพราะเป็นโครงสร้างมาแต่เดิมของพื้นผิวโลก (Tectonic Origin) จึงมีอายุยืนยาว มาราว 4 ล้านปี จึงก่อให้เกิดระบบนิเวศขึ้นมา ทั่วบริเวณทะเลสาบนี้   นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ว่า มีสิ่งมีชีวิต 1,100 ชนิดอาศัยอยู่ในทะเลสาบนี้ รวมทั้งสัตว์น้ำ 58 ชนิดที่มีอาศัยอยู่เฉพาะในพื้นที่นี้ (Endemic Species) ดังนั้น จึงหมายความว่า เป็นสัตว์ 58 ชนิดที่ไม่อาจพบได้ในที่อื่นๆ ในโลก   นอกจากนี้ "บิวา-โขะ" ยังเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำ (Water Birds) ซึ่งนับรวมได้ 5,000 ชนิดที่บินมาอาศัยที่นี่ ทุกๆ ปี   อย่างไรก็ดี ระบบนิเวศของ "บิวา-โขะ" ได้ถูกทำลายลงไปมากในปีหลังๆ ทั้งนี้ เนื่องจากคนปล่อยปลาที่นำมาจากต่างประเทศลงไปในนั้น เช่น ปลา Black Bass ที่มีคนปล่อยลงไปเพื่อใช้ในกีฬาตกปลา และปลา Bluegill ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นปล่อยลงในทะเลสาบ โดยตั้งพระทัยให้เป็นอาหารของปลาอื่นๆ แต่ปรากฏผลว่า กลับไปกัดกินปลาอื่นๆ ลงไปเสียมาก     VII. กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ที่ทะเลสาบ "บิวา-โขะ":    ๑.      Legislation to Prevent Eutrophication (กฎหมายป้องกันการเพิ่มของสารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) - - นี่คือกฎหมายที่ญี่ปุ่นบัญญัติขึ้นมาเมื่อปี 1981 และเริ่มใช้บังคับเมื่อ 1 กค. 1982 วันนี้ จึงได้รับการขนานนามว่า "วันพิทักษ์รักษาทะเลสาบบิวา-โขะ" (Lake Biwa Day) กฎหมายนี้มีบทบัญญัติจำกัดระดับมาตรฐานไนโตรเจนและฟอสฟอรัส จากอุตสาหกรรมรอบทะเลสาบ และจากน้ำเสียจากชุมชนชาวบ้าน โดยเฉพาะจากผงซักฟอก ซึ่งก่อให้เกิดสารฟอสฟอรัส   ๒.      The Ramsar Treatry (สนธิสัญญาแรมซาร์) - - UNESCO ได้กำหนดให้ทะเลสาบ "บิวา-โขะ" เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ชุ่มน้ำ ภายใต้ Ramsar Wetland Convention (1983) เพื่อคุ้มครองการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำ   ๓.      Shiga Ordinance for the Conservation of Reed Vegetation Zones (เทศบัญญัติจังหวัดชิกะเพื่อการอนุรักษ์ "ต้นอ้อ-ต้นกก" ณ พื้นที่รอบทะเลสาบ) - - ต้นอ้อ-ต้นกก คือพืชที่ขึ้นรอบทะเลสาบแห่งนี้ ที่ก่อให้เกิดทิวทัศน์งดงาม และฟอกน้ำให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ทำให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของนกเป็ดน้ำ กับปลานานาชนิด   เดิมทีเคยมีต้นอ้อ-ต้นกก อยู่เป็นอันมากที่ทะเลสาบนี้ แต่ในระยะหลัง รัฐบาลท้องถิ่นทำการสำรวจได้พบว่า พืชเหล่านี้มีจำนวนลดลงเกือบครึ่ง เพราะสิ่งปลูกสร้างของคน ณ บริเวณรอบทะเลสาบ   กฎกระทรวงฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความคุ้มครอง, การปลูกขึ้นทดแทน, และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มีพืชน้ำเหล่านี้   กฎกระทรวงฉบับนี้ เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อปี 1992 อันเป็นผลมาจากการต่อสู้ของชาวบ้านและภาคประชาสังคม หลังจากที่ฝ่ายชาวบ้านแพ้คดีที่ศาล เมื่อปี 1988       [1] [5]  "ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์" เริ่มสนใจศึกษาปัญหาคดี Lake Biwa Lawsuit เนื่องจากศิษย์เก่าทุน API ใน 5 ชาติ ต่างร่วมกันตั้ง Regional Committee ขึ้นมาทำการศึกษาปัญหาสังคมร่วมกันของภูมิภาคเอเซีย โดยเน้นปัญหามลพิษ และจะลงพื้นที่ไปศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งบทเรียนจากทะเลสาบน้ำจืด Biwako ในญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม 2009 นี้   "ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์" ซึ่งสมาชิกทั้ง 3 คน ต่างได้ทุนวิจัย API จึงเริ่มศึกษาปัญหาทะเลสาบ "บิวา-โขะ" โดยเน้นประเด็นที่ว่า ตุลาการญี่ปุ่นมีบทบาทเช่นไร ในด้านลบ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะตัวอย่างด้านลบจากต่างประเทศ ก็อาจให้บทเรียนแก่ไทยได้ดี เท่ากับตัวอย่างในด้านบวกเช่นกัน   ทุนวิจัย API (Asian Public Intellectuals) คือโครงการหนึ่งของมูลนิธิญี่ปุ่น (Nippon Foundation) ที่ส่งเสริมคนเอเซียให้ทำงานวิจัย เพื่อใช้แก้ปัญหาสังคมในเอเชีย ซึ่งขณะนี้ จำกัดขอบเขตอยู่ที่ 5 ชาติ ได้แก่ ไทย, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, อินโดนิเซีย, และมาเลเซีย   อนึ่ง กรุณารับทราบว่า ณ วันศุกร์ที่ 20 มีค. 2009 ข้อเขียนนี้ คือบทความที่ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ในขั้นก่อร่างทางความคิด และการเขียนในร่างแรก ซึ่งยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่อย่างใด   [2] [6]  ผู้สนใจในปัญหา Lake Biwa Lawsuit อาจศึกษาข้อมูลได้จาก Joanne Bauer (Ed.), Forging Environmentalism:  Justice, Livelihood, and Contested Environments, New York: M. E. Sharpe, 2006 ซึ่งเป็นหนังสือค่อนข้างใหม่ในด้าน "ค่านิยม" (Values) ของคน 4 ชาติ ว่าเห็นเช่นไร ในเรื่องความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ได้แก่คนจีน, คนญี่ปุ่น, คนอินเดีย, และคนอเมริกัน [3] [7]  เนื้อหาตั้งแต่ข้อนี้ไป ได้มาจาก Wikipedia, "Lake Biwa," http://en.wikipedia.org/wiki/Lake_Biwa [8] (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กพ. 09)
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13995
2007-08-29 17:24
บทความ "ชำนาญ" : สิทธิมนุษยชนกับความมั่นคงของชาติ
ปัญหาที่ดูเหมือนจะหาข้อยุติไม่ได้ในการถกเถียงกันระหว่างภาครัฐกับประชาชน ก็คือปัญหาเรื่องของสิทธิมนุษยชนกับความมั่นคงของชาติว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากัน โดยฝ่ายรัฐมองว่าหากมีสิทธิมนุษยชนมากเท่าใดก็ย่อมที่จะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติมากขึ้นเท่านั้น จึงมีความพยายามที่จะออกมาตรการต่างๆ ซึ่งรวมถึงกฎหมายที่มีบทบัญญัติละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เสมอ ซึ่งความเข้าใจดังว่านั้นแท้ที่จริงแล้วหาเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องไม่   ความหมายและสาระสำคัญ สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิประจำตัวของมนุษย์ทุกคนที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนที่ต้องได้รับในฐานะที่เป็นมนุษย์ ซึ่งทำให้คนๆ นั้นมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความเหมาะสมแก่ความเป็นมนุษย์และสามารถมีการพัฒนาตนเองได้ ที่ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนที่ต้องได้รับฐานะที่เป็นมนุษย์ก็เพื่อทำให้คนๆ นั้นมีชีวิตอยู่รอดและมีพัฒนาการ   สิทธิมนุษยชนมี 2 ระดับ ระดับแรก เป็นสิทธิที่ติดตัวทุกคนตั้งแต่เกิด ไม่สามารถถ่ายโอนให้กันได้ อยู่เหนือกฎหมายและอำนาจใดๆของรัฐทุกรัฐ สิทธิเหล่านี้ได้แก่ สิทธิในชีวิต ห้ามฆ่าหรือทำร้ายชีวิต ห้ามการค้ามนุษย์ ห้ามการทรมานอย่างโหดร้ายทารุณ คนทุกคนมีสิทธิในความเชื่อ มโนธรรมหรือสิทธิทางศาสนา ทางการเมือง มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกหรือการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นใด สิทธิมนุษยชนเหล่านี้ไม่ต้องมีกฎหมายรับรอง สิทธิเหล่านี้ดำรงอยู่อย่างน้อยก็คือมโนธรรมสำนึกในบาปบุญคุณโทษที่มีอยู่ในตัวของแต่ละคน เช่น หากแม้ว่าจะมีหรือไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการฆ่าคนเป็นความผิดตามกฎหมายก็ตาม แต่ทุกคนย่อมมีสำนึกรู้ได้เองว่า การฆ่าคนย่อมเป็นสิ่งต้องห้ามหรือเป็นบาปทางศาสนา เป็นต้น   ระดับที่สอง เป็นสิทธิที่ต้องได้รับรองในรูปแบบของกฎหมาย หรือต้องได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ ได้แก่ การได้รับสัญชาติ การมีงานทำ การได้รับการคุ้มครองแรงงาน ความเสมอภาคของหญิงชาย สิทธิของเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การประกันการว่างงาน การได้รับการบริการทางสาธารณสุข การสามารถแสดงทางวัฒนธรรมอย่างอิสระ สามารถได้รับความเพลิดเพลินจากศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มของตน เป็นต้น             สิทธิมนุษยชนระดับที่สองนี้ต้องเขียนรับรองไว้ในกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญหรือแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐแต่ละประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันว่าคนทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นจะได้รับความคุ้มครองชีวิตความเป็นอยู่ให้มีความเหมาะสมแก่การเป็นมนุษย์             เราสามารถจำแนกสิทธิมนุษยชนได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่             1) สิทธิพลเมือง ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกทำร้ายหรือฆ่า สิทธิในความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย สิทธิที่จะได้รับการปกป้องจากการจับกุมหรือคุมขังโดยมิชอบ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในศาลอย่างยุติธรรมโดยผู้พิพากษาที่มีอิสระ สิทธิการได้รับสัญชาติ เสรีภาพในศาสนิกในการเชื่อถือและปฏิบัติตามความเชื่อถือของตน ฯลฯ   2) สิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในการเลือกวิถีชีวิตของคนเองทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมถึงการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก สิทธิในมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม สิทธิในการเลือกตั้งอย่างเสรี  ฯลฯ   3) สิทธิทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สิทธิการมีงานทำ ได้เลือกงานอย่างอิสระและได้รับค่าจ้างอย่างเป็นธรรม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การได้รับอาหารที่เพียงพอแก่การยังชีพ ฯลฯ   4) สิทธิทางสังคม ได้แก่ สิทธิการได้รับการศึกษา สิทธิการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ แม่และเด็กต้องได้รับการดูแล  ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว ฯลฯ   5) สิทธิทางวัฒนธรรม ได้แก่ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือ สื่อความหมายในภาษาท้องถิ่นของตน มีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรมและการบันเทิงได้โดยไม่มีใครมาบีบบังคับ ฯลฯ   จึงจะเห็นได้ว่า "สิทธิตามกฎหมาย" ทุกอย่างไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชน มีสิทธิบางอย่างเท่านั้นถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชน และสิทธิที่เป็นสิทธิมนุษยชนนั้น ถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์ เช่น การฆ่าหรือทำร้ายกัน แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า การทำร้ายหรือการฆ่าเป็นความผิด คนทุกคนก็รู้แก่ใจว่าการฆ่าเป็นความผิด แต่การที่คนในชาติไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอแก่การยังชีพ ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่งคือสิทธิทางเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องจัดการให้คนในชาติได้รับอาหารเพียงพอแก่การมีชีวิตอยู่รอด   ฉะนั้น สิทธิมนุษยชนจึงเป็นของมนุษย์ทุกคนไม่จำเพาะแต่ฝรั่งมังค่าหรือจำเพาะตามกฎบัตรสหประชาชาติเท่านั้น เพราะไม่มีส่วนใดเลยของสิทธิมนุษยชนที่จะไปกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติตามที่ภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหวั่นเกรงจนต้องออกมาตรการหรือกฎหมายความมั่นคงรวมถึงกฎอัยการศึกที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้อย่างมากมายมหาศาลแทบจะไม่มีขีดจำกัด ซึ่งแทนที่จะช่วยแก้ปัญหาความมั่นคงกลับทำให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาคใต้หรือปัญหาในภูมิภาคอื่น   ในทำนองกลับกันยิ่งประเทศที่มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้นเท่าใด ประชาชนยิ่งดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุข เมื่อมีสันติสุขประชาชนย่อมมีเวลาทำมาหากิน ความมั่นคงของชาติซึ่งไม่จำเพาะแต่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางการเมือง และที่สำคัญก็คือความมั่นคงทางทหารเอง ก็ย่อมมีความมั่นคงควบคู่กันไปกับสิทธิมนุษยชนมากยิ่งๆ ขึ้นไปเท่านั้น ใช่ไหมครับ     -------------------------------------- หมายเหตุ  เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 29 สิงหาคม 2550
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/31292
2010-09-28 22:55
กลุ่มอนุรักษ์บ้านย่าหมียันนายทุนต้องคืนป่าสงวน
แกนนำอนุรักษ์บ้านย่าหมีรวมตัวสำรวจพื้นที่ซึ่งถูกรถแบคโฮถาง ก่อนถูกบริษัทใหญ่ฟ้องข้อหาบุกรุก-ลักทรัพย์ ต้องขึ้นศาลพังงาเพื่อไกล่เกลี่ย ชาวบ้านเรียกร้องบริษัทต้องไม่ไถเปลี่ยนสภาพป่าเกินจากเขตใบจองของชาวบ้านที่รัฐเคยจัดให้ โครงการใดๆ ต้องผ่านความเห็นชอบจากชาวบ้าน ต้องพิสูจน์สิทธิ์ครอบครอง แต่ทนายฝ่ายบริษัทไม่รับข้อเสนอ ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องอีกรอบเดือนธันวา เวลา 9.30 น. วันนี้ (28 ก.ย.53) กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านย่าหมี ต.เกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา ที่ตกเป็นจำเลย จำนวน 17 ราย พร้อมด้วยญาติพี่น้องจากบ้านย่าหมีและเครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่งภูเก็ต-พังงา จำนวน 40 คน ร่วมเดินขบวนและให้กำลังใจกับแกนนำนักอนุรักษ์บ้านย่าหมีที่ถูกบริษัท นาราชา จำกัด ฟ้องร้องในข้อ หาร่วมกันบุกรุกหรือเข้าไปทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร กลุ่มอนุรักษ์และชาวบ้านทั้งหมดได้เดินขบวนพร้อมถือป้ายที่เขียนข้อความว่า “บ้านย่าหมี หมู่บ้านรางวัลลูกโลกสีเขียว 2 ครั้ง” โดยเริ่มเดินจากบริเวณสวนสาธารณสมเด็จศรีนครินทร์เดินเรียบถนนทางหลวงเพื่อมุ่งหน้าไปยังศาลจังหวัดพังงา เนื่องจากทางศาลจังหวัดพังงานัดไกล่เกลี่ยที่ห้องพิจารณาคดีบัลลังก์ที่ 2 โดยมีนายพศวัต จงอรุณงามแสง เป็นผู้พิพากษา และมีนายสมพงศ์ เจียรจรูญศรีเป็นทนายฝ่ายโจทย์ของบริษัท นาราชา จำกัด และทนายความฝ่ายจำเลย คือนายแสงชัย รัตนเสรีย์วงศ์ ในการไกล่เกลี่ยครั้งนี้กลุ่มอนุรักษ์ฯ ย่าหมีได้ยืนถึงข้อเสนอต่อศาล 7 ข้อ คือ 1.บริษัท นาราชา จำกัด ต้องไม่ไถ ถาง เปลี่ยนแปลงสภาพป่าเกินจากเขตใบจองของชาวบ้านที่รัฐจัดให้เดิม 2. ต้องไม่สร้างท่าเทียบเรือส่วนตัวมารีน่าที่อ่าวคลองสน แต่ควรไปปรับปรุงท่าเทียบเรือสาธารณะที่มีอยู่เดิมเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน 3.หยุดปิดกั้นร่องน้ำและการถมทำลายแอ่งรับน้ำธรรมชาติในพื้นที่กรณีพิพาท 4.เปิดทางเดินสาธารณะ  (ซึ่งอยู่ในทางเดินในกรณีพิพาท) ที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้าน 5.ทุกโครงการของบริษัท นาราชา จำกัด ที่จะดำเนินการในชุมชน ต้องผ่านความเห็นชอบของชาวบ้านก่อน 6.บริษัท นาราชา จำกัด ต้องเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบแนวเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าช่องหลาด, ป่าเกาะยาวใหญ่แปลงที่ 2 และแนวเขตพื้นที่ชายหาดสาธารณะ และ 7.ให้มีการพิสูจน์สิทธิ์ครอบครองตามใบจองและ นส.3 โดยเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องและชุมชน โดยที่บริษัท นาราชา จำกัด ต้องเปิดพื้นที่ให้มีการพิสูจน์สิทธิ์ และยอมรับผลการพิสูจน์ โดยบริษัทฯ ต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ เช่น กรณี นายส้าฝาด ห่วงผล และนายส้อหล้า ห่วงผล, นายสุวรรณ หยั่งทะเล เป็นต้น ซึ่งทางทนายฝ่ายโจทย์ไม่รับข้อเสนอของกลุ่มอนุรักษ์และชาวบ้านย่าหมี ดังนั้นทางผู้พิพากษาจึงนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 22 ธ.ค.53 ทั้งนี้ คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2550 กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านย่าหมี ตำบลเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา จำนวนกว่า 30 คนรวมตัวกันเข้าไปสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าช่องหลาด ที่เป็นป่าต้นน้ำของชุมชนหลังจากได้สังเกตเห็นมีการนำรถแบ็คโฮเข้ามาบุกรุก และถางไถ ปรับสภาพพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หลังจากนั้นต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ชาวบ้านย่าหมี จำนวน 17 ราย ได้รับหมายเรียกเป็นผู้ต้องหาจากสถานีตำรวจภูธรเกาะยาวในข้อหาร่วมกันบุกรุกหรือเข้าไปทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร และกลุ่มอนุรักษ์บ้านย่าหมีได้ขึ้นศาลจังหวัดพังงา ที่ไต่สวนมูลฟ้องและไกล่เกลี่ยมาแล้วเมื่อปี 2552 และกลุ่มอนุรักษ์ได้มีข้อเสนอต่อศาลขอให้บริษัท นาราชา จำกัด ปฏิบัติตามข้อเสนอของชุมชน 7 ข้อ เรื่องให้บริษัท นาราชา จำกัด คืนป่าสงวนแห่งชาติป่าช่องหลาดและเป็นป่าต้นน้ำแก่รัฐและชุมชน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19215
2008-12-03 23:09
กระบวนการพิจารณาคดียุบพรรค: ความไม่เป็นธรรมของรัฐธรรมนูญ
ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ ผู้ช่วยวิจัย สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ และแฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย พ.ศ. ๒๕๔๖ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑   บทนำ   ในที่สุดการประท้วงอันยืดเยื้อยาวนานของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ได้  สิ้นสุดลงภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ๓ พรรค คือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยเมื่อวันอังคารที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา  ขอขอบคุณกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ยอมสลายการชุมนุม และออกจากสถานที่สำคัญทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตลอดจนทำเนียบรัฐบาล ไว้ ณ ที่นี้ ด้วย   บทความนี้มิได้มุ่งโต้แย้ง หรือวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งยุบพรรคการเมืองทั้ง ๓ พรรค แต่พยายามนำเสนอว่าในกระบวนการของการพิจารณาคดียุบพรรคการเมือง ทั้ง ๓ พรรคที่ผ่านมานั้น มีความไม่เป็นธรรม และไม่โปร่งใส เกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคการเมืองให้มีความเป็นธรรม และโปร่งใสมากยิ่งขึ้น   ความไม่เป็นธรรมในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ   คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้ยุบพรรคการเมืองทั้ง ๓ พรรคนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารของ ๒ พรรคการเมืองเนื่องจากกระทำการที่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง แล้วทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า "ให้ใบแดง" เริ่มต้นจากนายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดปราจีนบุรีเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑  นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ส่วนนายยงยุทธ ติยะไพรัช ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มที่ ๑ ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนอยู่ในขณะนั้น (ต่อมาได้ลาออกจากกรรมการบริหาร                       พรรคพลังประชาชนเพราะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร) ถูกศาลฎีกาแผนคดีเลือกตั้งสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เนื่องจากการทุจริตเลือกตั้งเช่นเดียวกัน   ข้อสังเกตในเบื้องต้นก็คือ กรณีของนายสุนทร วิลาวัลย์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย และนายมณเฑียร สงฆ์ประชา จากพรรคชาติไทยนั้น อำนาจในการพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นเป็นของคณะกรรมการเลือกตั้งอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๙ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด" แต่การประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๒๗ วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่า "ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก" เมื่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จอย่างช้าที่สุดภายในวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑   เพราะฉะนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดก็ตามถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งลงมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เช่น นายสุนทร วิลาวัลย์ และนายมณเฑียร สงฆ์ประชา ก็จะไม่มีสิทธิโต้แย้งมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ว่ากรณีใดๆ (แม้จะมีคณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่กลั่นกรองมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งอีกชั้นหนึ่ง แต่อำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็ยังคงเป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง)   แต่ในกรณีของนายยงยุทธ ติยะไพรัช นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ แต่เมื่อเป็นมติที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ ๒๒ มกราคม จึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง และคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในกรณีนี้ถือเป็นเด็ดขาด ตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๓๙ วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย...."   ในกรณีของนายยงยุทธ ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. 2551 หลังจากมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งกว่า ๕ เดือน แต่ประเด็นสำคัญก็คือว่า นายยงยุทธ มีสิทธิที่จะโต้แย้งมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งในศาลฎีกาได้ และศาลฎีกาอาจจะวินิจฉัยในทางที่เป็นคุณต่อนายยงยุทธ ก็เป็นได้ ขณะที่นายสุนทร และนายมณเฑียร ไม่มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีในศาลฎีกา กลับต้องก้มหน้ายอมรับชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   สรุป ความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นจากที่ได้อธิบายรายละเอียดทั้ง ๓ กรณีข้างต้น ก็คือ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน สิทธิของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่จะโต้แย้งมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ต้องก้มหน้ายอมรับชะตากรรมโดยไม่มีสิทธิโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น ในขณะที่ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งภายหลังวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ กลับมีสิทธิโต้แย้งมติดังกล่าวในศาลฎีกาได้   บทบัญญัติที่เลือกปฏิบัติเช่นนี้จึงขัดกับหลักของความเสมอภาคของประชาชนภายใต้กฎหมายอย่างชัดเจน และไม่เป็นธรรมต่อพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยที่กรรมการบริหารพรรคของตนมีสิทธิในการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์น้อยกว่าพรรคพลังประชาชน ถ้ายังปล่อยให้บทบัญญัติที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้คงอยู่ต่อไป ในอนาคตจะเป็นการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการการเลือกตั้งช่วยเหลือ และกลั่นแกล้งพรรคการเมืองต่างๆ ได้ง่าย โดยตัดสินเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ตนเองไม่ชอบก่อนครบกำหนด ๓๐ วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งนี้เพื่อปิดโอกาสมิให้ผู้สมัครคนนั้นไปต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาล และนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองนั้นได้อย่างรวดเร็ว   ขณะเดียวกันก็จะถ่วงเวลาการตัดสินผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ตนสนับสนุนหลังครบกำหนด ๓๐ วันเพื่อเปิดโอกาสให้ไปต่อสู้คดีในชั้นศาลได้ ก็จะสามารถยืดอายุของพรรคการเมืองพรรคนั้นออกไปได้อีกหลายเดือน ซึ่งถ้าเกิดพฤติกรรมเช่นนี้จริง จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง และพรรคการเมืองเป็นสถาบันสำคัญ   ประเด็นต่อมา นอกจากกระบวนการเริ่มต้นของการพิจารณาคดียุบพรรคการเมืองจะก่อให้เกิดความไม่เสมอภาค และความไม่เป็นธรรมระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ แล้ว ยังไม่มีความโปร่งใส และไม่สามารถตรวจสอบได้ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้กรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาในศาลฎีกาต้องเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือเผยแพร่ผ่านสื่อสารมวลชน   ผลที่ตามมาก็คือ สาธารณชนไม่มีโอกาสตรวจสอบแนวคิด การใช้เหตุผลในการพิจารณาสำนวนของกรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกาแต่ละคนว่าถูกต้อง เหมาะสม น่าเชื่อถือหรือไม่ เพียงใด ช่องว่างของรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้กรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกาพิจารณาการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครตามอำเภอใจ และอาจเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่งได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์ได้   ประเด็นที่สาม นอกเหนือจากความไม่โปร่งใสเนื่องจากรัฐธรรมนูญมิได้บังคับให้เผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตนของกรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกาแล้ว ยังมีความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับตัวกรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกาอีกด้วย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญได้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖๑ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณชน แต่สำหรับกรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ทำหน้าที่ในการคัดสรร กลั่นกรอง และตรวจสอบนักการเมืองกลับไม่ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณชนเลยแม้แต่บาทเดียว ทั้งๆ ที่อาจกล่าวได้ว่า ทั้งกรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกามีอำนาจมากกว่านักการเมือง และพรรคการเมือง เพราะเป็นผู้คุม และกำหนดชะตากรรมของนักการเมือง และพรรคการเมืองทั้งหลาย   หลักการที่ถูกต้องก็คือ อำนาจที่สูงขึ้นต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน เมื่อรัฐธรรมนูญบังคับให้นักการเมืองระดับชาติทุกตำแหน่งต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน ก็ควรบังคับให้ผู้ที่มีอำนาจคุม และกำหนดชะตากรรมของนักการเมือง และพรรคการเมืองซึ่งในที่นี้หมายถึง กรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของตนต่อสาธารณชนดุจเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจ และความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกท่าน ซึ่งจะส่งผลให้มติ และคำสั่งของท่านน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในสายตาของสาธารณชน   ยุบพรรคในครั้งแรกที่กระทำความผิดเหมาะสมหรือไม่?   จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และบทบัญญัติในมาตรา ๒๓๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ถ้ากรรมการบริหารพรรคทำผิด พรรคการเมืองนั้นจะต้องถูกยุบ และกรรมการบริหารพรรคทุกคนจะต้องถูกตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นระยะเวลา ๕ ปีโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ การลงโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นยุบพรรคในครั้งแรกที่เกิดการกระทำความผิดในลักษณะนี้ เหมาะสมหรือไม่ จะมีทางเลือกอื่นใดที่จะลงโทษพรรคการเมืองนั้นในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคทุจริตการเลือกตั้ง รวมทั้งประเด็นที่ว่า กรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ สมควรถูกลงโทษตัดสิทธิทางการเมืองไปพร้อมกับกรรมการบริหารพรรคที่ทุจริตการเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร   เบื้องต้น เราต้องตระหนักว่า พรรคการเมืองนั้นถือเป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประชาธิปไตยในทุกๆ ด้าน เพราะฉะนั้น เราจึงควรช่วยกันทำให้พรรคการเมืองของประเทศไทยมีความเข้มแข็ง และเป็นประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองบ่อยครั้งจะทำให้การพัฒนาพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง และเป็นประชาธิปไตยนั้น ต้องหยุดชะงักลงตามไปด้วย อีกทั้ง การกระทำความผิดเพียงครั้งเดียวโดยคนเพียงคนเดียวแล้วต้องให้สมาชิกของพรรคการเมืองนั้นทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบโดยไม่ให้โอกาสปรับปรุงแก้ไขนั้น ดูจะเป็นแนวความคิดที่ล้าสมัยไปแล้ว แม้แต่ในคดีอาญา ถ้าเป็นการกระทำความผิดครั้งแรก ศาลก็มักจะลดหย่อนผ่อนโทษ หรือรอการลงโทษไว้ก่อน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดได้สำนึกในความผิดที่ตนเองได้ก่อขึ้น และกลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคมอีกครั้งหนึ่ง             ในกรณีของพรรคการเมืองก็เช่นเดียวกัน ในกรณีที่เป็นความผิดครั้งแรก รัฐธรรมนูญไม่ควรบังคับให้ต้องยุบพรรคทันทีเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกของพรรคการเมืองนั้นได้เลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกของพรรคการเมืองนั้นได้เกิดสำนึกทางการเมือง และเข้าไปมีบทบาทในการกำกับดูแล ตรวจสอบ พฤติกรรมของกรรมการบริหารพรรคอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเกิดการทุจริตเลือกตั้งโดยกรรมการบริหารพรรคขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ จะต้องถูกยุบพรรคอย่างแน่นอน เพราะได้สะท้อนให้เห็นแล้วว่า สมาชิกพรรคไม่สามารถใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมเลือกบุคคลขึ้นมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคได้ รวมทั้งไม่สามารถควบคุม ตรวจสอบพฤติกรรมของกรรมการบริหารพรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ พรรคการเมืองที่มีลักษณะเช่นนี้ก็ไม่สมควรที่จะดำรงอยู่ในประเทศไทยอีกต่อไป   ส่วนประเด็นเรื่องกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ สมควรจะต้องร่วมรับผิดชอบกับความผิดนี้ด้วยหรือไม่นั้น ก็ควรยึดแนวปฏิบัติเดียวกับการยุบพรรคการเมืองตามที่ได้อธิบายไปแล้ว แต่จะต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า เมื่อเราปรับปรุงกระบวนการพิจารณาคดียุบพรรคตั้งแต่ต้นทางให้เป็นธรรมและโปร่งใส เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่ายแล้ว ถ้าพรรคการเมืองต้องการแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าการกระทำความผิดนั้นเป็นความผิดเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับพรรค และกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆด้วยการประกาศยอมรับคำสั่งของศาล จากนั้นก็ดำเนินการเรียกประชุมขับกรรมการบริหารพรรคผู้กระทำการทุจริตออกจากสมาชิกพรรค แล้วดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีบุคคลผู้นั้นทั้งทางแพ่ง และทางอาญา ให้ถือว่ากรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ มิได้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดดังกล่าว และไม่ต้องถูกตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา ๕ ปี   แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ากรรมการบริหารคนอื่นๆ ของพรรคการเมืองนั้นแสดงพฤติกรรมปกป้องผู้กระทำความผิด และไม่ดำเนินการใดๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ให้ถือว่า กรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิด และต้องถูกลงโทษตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา ๕ ปี   อย่างไรก็ตาม แม้พรรคการเมืองนั้นจะได้แสดงออกตามกระบวนการทั้งหมดแล้ว แต่ถ้ามีการทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยกรรมการบริหารพรรคอีกเป็นครั้งที่ ๒ ย่อมแสดงให้เห็นว่า กรรมการบริหารพรรคการเมืองพรรคนั้นไร้ความสามารถในการป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง จึงไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะบริหารพรรคการเมือง และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนได้ จะต้องถูกตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นระยะเวลา ๑๐ ปีพร้อมๆ กับการถูกยุบพรรค   ข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง จากที่ได้นำเสนอรายละเอียดมาทั้งหมด จึงขอเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ดังต่อไปนี้   ๑. การพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดก็ตามควรเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาทั้งหมดเพื่อก่อให้เกิดความเสมอภาค และเป็นธรรมต่อผู้สมัครทุกคน และพรรคการเมืองทุกพรรค ๒. ควรบัญญัติให้กรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนเกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้สาธารณชนสามารถตรวจสอบได้   ๓. ควรบัญญัติให้กรรมการการเลือกตั้ง และผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคน เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของตนเอง คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม ไม่ว่าจะบรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ ให้สาธารณชนได้รับทราบเมื่อเข้ารับตำแหน่ง ระหว่างดำรงตำแหน่งทุก ๒ ปี และเมื่อพ้นจากตำแหน่ง   ๔. ไม่ควรยุบพรรคการเมืองถ้าเป็นการกระทำความผิดในกรณีนี้เป็นครั้งแรก แต่ควรจะยุบถ้ามีการกระทำความผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒   ๕. ไม่ควรตัดสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองคนอื่นๆ ในกรณีที่ประกาศยอมรับผลการตัดสินของศาล ขับไล่ผู้กระทำความผิดออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทั้งทางแพ่ง และทางอาญา แต่ถ้ามีการกระทำความผิดโดยกรรมการบริหารพรรคอีกเป็นครั้งที่ ๒ ให้สั่งยุบพรรคการเมืองนั้น และตัดสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคทุกคนในขณะนั้นเป็นระยะเวลา ๑๐ ปี   หวังว่าข้อเสนอทั้งหมดนี้ จะได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ดีงามในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทยไปตราบนานเท่านาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/43121
2012-10-11 21:34
กพย.หนุนคลัง เลิกให้เบิกกลูโคซามีน ชี้คุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่การรอนสิทธิผู้ป่วย
ชี้ประสิทธิภาพของยาไม่แน่ชัด ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่คุ้มค่าที่จะใช้ อาจก่อผลเสียในการทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคหรือสาเหตุหลักที่ล่าช้า ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศยกเลิกการให้เบิกจ่ายกลูโคซามีนในสิทธิรักษาพยาบาลของสวัสดิการข้าราชการนั้น ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี  ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า จากการทำงานของ กพย. ซึ่งเฝ้าระวังระบบยาที่มีผลกระทบต่อประชาชนในมิติต่างๆ ได้ติดตามเรื่องที่มาโดยตลอด ขอสนับสนุนว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะเป็นการตัดสินใจบนข้อมูลวิชาการและหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างแท้จริง “เมื่อทบทวนผลการศึกษาวิจัยเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่าประสิทธิภาพของยาไม่แน่ชัด ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่คุ้มค่าที่จะใช้ นอกจากนี้ เป็นการทบทวนประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยาที่มีความเข้มงวดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา คือหลังการทบทวนของคณะกรรมการวิชาการแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านโรคข้อและกระดูก ได้ทำการศึกษาทบทวนซ้ำตามที่ได้ทำเรื่องขอมา แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานใหม่ใดๆที่จะมาหักล้างข้อมูลที่ได้ทบทวนไว้เดิม”  ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ระบุว่า การที่ยังคงมีการสั่งใช้ยานี้กับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ให้ผลการรักษาไม่ชัดเจน อาจก่อผลเสียในการทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคหรือสาเหตุหลักที่ล่าช้า ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงการรักษาที่ถูกต้องช้าลงก็เป็นได้ “เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของการรอนสิทธิผู้ป่วยแต่อย่างไร แต่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคต่างหาก เพราะผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพอื่นก็ไม่เคยได้รับยานี้มาก่อน เนื่องจากคณะผู้เชี่ยวชาญในการคัดเลือกบัญชียาหลักแห่งชาติมองว่ายานี้ไม่ควรได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพราะความไม่ชัดเจนของประสิทธิผลรวมทั้งไม่คุ้มค่าที่จะใช้” การออกมาประกาศไม่ให้ราชการเบิกจ่ายยานี้นอกจากจะเป็นการส่งสัญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยในระบบราชการแล้ว  ยังจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปที่ควรพึงพิจารณาว่ายานี้ไม่ก่อประโยชน์คุ้มค่า หากนำไปรักษาโรคข้อเสื่อม และขอเน้นว่าผู้ป่วยโรคนี้คงต้องมองหาการรักษาที่ถูกวิธีแทนที่จะหวังว่ากินยานี้แล้วจะได้ผล ผศ.ดร.นิยดากล่าว ทางด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมองว่า ถือเป็นความก้าวหน้าของกรมบัญชีกลาง ที่ยืนยันไม่ให้เบิกกลูโคซามิน เพราะการตัดสินใจในเรื่องที่ผูกพันกับงบประมาณแผ่นดินที่เป็นภาษีของประชาชนทั้งประเทศต้องตั้งอยู่บนข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจน ที่ผ่านมา รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการใช้ยานี้ไม่น้อยกว่า 700 ล้านบาทต่อปี และทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมกับระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “การประกาศครั้งนี้ถือเป็นการสนับสนุนนโยบายลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพของรัฐบาล ไม่ปล่อยให้บรรดาผู้ป่วย-ผู้บริโภคถูกแพทย์พาณิชย์ ที่หากินร่วมกับ บรรษัทยาข้ามชาติปั่นหัว ทำให้เชื่อว่า ยาดีต้องราคาแพงและแอบจ่ายยาฟุ่มเฟือยให้กับผู้ป่วยมาตลอด  จนเหมือนกับเราเสพติดยาทั้งที่เป็นผลร้ายกับผู้ป่วยเอง แต่เป็นการทำกำไรบนชีวิตประชาชน”
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/61680
2015-10-01 14:51
ม.ฮ่องกง ถูกตั้งคำถามเสรีภาพทางวิชาการ หลังยกเลิกเลื่อนขั้นอาจารย์เรียกร้อง ปชต.
นักศึกษาและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮ่องกงพากันประณามมติสภามหาวิทยาลัยที่ปฏิเสธเลื่อนขั้นแต่งตั้งโจฮันเนส ชาน อาจารย์ที่เคยช่วยประท้วงต้านรัฐบาลจีนมาก่อน โดยนักศึกษาเห็นว่าการตัดสินใจไม่เลื่อนขั้นมีแรงจูงใจทางการเมือง 1 ต.ค. 2558 หลังจากหลายเดือนที่ผ่านมามีกรณีอื้อฉาวในฮ่องกงเรื่องการประวิงเวลาการเลื่อนขั้นโจฮันเนส ชาน อาจารย์ในมหาวิทยาลัยฮ่องกงเป็นตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี ล่าสุดมีการประกาศยกเลิกการเลื่อนขั้นดังกล่าวแล้ว โดยชานเคยให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่ประท้วงต่อต้านเผด็จการจีนมาก่อนทำให้เรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องของการกลั่นแกล้งนักวิชาการผู้สนับสนุนประชาธิปไตย โจฮันเนส ชาน ถูกผู้บริหารของสภามหาวิทยาลัยฮ่องกงลงมติไม่ให้เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยอธิการบดี (ที่มา: วิกิพีเดีย [1]) เว็บไซต์ข่าวเซาธ์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงานว่าสภาผู้บริหารมหาวิทยาลัยฮ่องกงลงมติ 12 ต่อ 8 ยกเลิกไม่ให้มีการเลื่อนขั้นโจฮันเนส ชาน หลังจากการตัดสินใจของสภามหาวิทยาลัยในครั้งนี้ทำให้กลุ่มนักศึกษาและศิษย์เก่าพากันประณามว่าสภามหาวิทยาลัยสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลกำลังนำเรื่องการเมืองมาแทรกแซงเรื่องทางวิชาการ พวกเขาประกาศอีกว่าจะมีการฟ้องร้องเรื่องนี้ต่อศาล ฝ่ายต่อต้านชานพยายามโยงว่าชานมีความเกี่ยวข้องกับเบนนี ไท ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มขบวนการยึดครองย่านใจกลาง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่จัดชุมนุมใหญ่เมื่อปีที่แล้วเพื่อต่อต้านแผนการคัดเลือกตัวผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐคนใหม่แทนการให้สมัครอย่างอิสระ เอ็ดเวิร์ด เหลียง จื่อหง หนึ่งในสภามหาวิทยาลัยผู้งดออกเสียงกล่าวว่าการลงมติในครั้งนี้เป็นไปเพื่อ "ผลประโยชน์ในระยะยาว" ของมหาวิทยาลัย และพวกเขาไม่ขอแสดงความคิดเห็นนอกเหนือจากนี้โดยอ้างว่าเป็นเรื่องเฉพาะภายในของสภามหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามประธานสหพันธ์นักศึกษามหาวิทยาลัยฮ่องกง บิลลี เฟิ๋ง จิ้งอึ้น ผู้เป็นหนึ่งในสภามหาวิทยาลัยกลับเปิดเผยถึงสาเหตุที่แต่ละคนไม่ยอมลงมติให้ชานด้วยหลายข้ออ้างตั้งแต่เรื่องที่ชานไม่มีวุฒิการศึกษาปริญญาเอก ไม่มีงานวิจัยเชิงวิชาการมอกพอ รวมถึงไม่ "ส่งคำอวยพร" ให้กับสมาชิกสภาที่เป็นลมในช่วงเหตุการณ์ที่นักศึกษาบุกเข้าห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ทางด้านตัวของชานเองเปิดเผยว่าตัวเขาเองไม่ขอแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้ เพียงแค่บอกว่า "ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องของผลได้ผลเสียส่วนบุคคล แต่เป็นเรื่องค่านิยมหลักเกี่ยวกับเสรีภาพทางวิชาการและความเป็นอิสระของสถาบันการศึกษา" ชานยังเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนมหาวิทยาลัยปกป้องค่านิยมเหล่านี้ไว้และอย่าได้รู้สึกท้อถอย เบนนี ไท โพสต์ในเฟซบุ๊คเรียกร้องให้สภามหาวิทยาลัยอธิบายว่าทำไมพวกเขาถึงละเลยข้อตกลงในที่ประชุมและปฏิเสธข้อเสนอแนะของคณะกรรมการมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเตือนว่าพวกเขาอาจจะกำลังกระทำผิดต่อหน้าที่และสูญเสียความน่าเชื่อถือในสายตาของสังคม   เรียบเรียงจาก University of Hong Kong’s council votes 12-8 to reject Johannes Chan’s appointment as pro-vice-chancellor, South China Morning Post, 30-09-2015 http://www.scmp.com/news/hong-kong/education-community/article/1862423/surprise-move-chair-university-hong-kong [2]
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/9628
2006-09-13 21:06
กลุ่มคัดค้านท่อก๊าซฯ จะนะประณามกฟผ.คือชัยฏอนทำลายหลักการศาสนาอิสลาม
14 ก.ย. 2549 - นายสุไลมาน หมัดยูโส๊ะ กล่าวว่าการที่ทางกลุ่มคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ประกอบพิธีละหมาดฮายัดขึ้นในวันนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2549 ทางเครือข่ายคัดค้านฯ ได้ร่วมกันขึ้นป้ายคัดค้านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่จะดึงน้ำในคลองบ้านป่างาม หมู่ที่ 3 ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลาเข้าไปหล่อเย็นในโรงไฟฟ้าและปล่อยน้ำทิ้งลงสู่คลองนาทับ ซึ่งทางกลุ่มได้ติดตั้งป้ายดังกล่าวบริเวณริมตลิ่งคลองบ้านป่างาม เป็นจุดที่ทางการไฟฟ้าจะก่อสร้างอาคารตะแกรงดักขยะเพื่อดึงน้ำเข้าสู่โรงไฟฟ้า เพราะเป็นการทำลายไข่ของพันธุ์สัตว์น้ำ และแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำ รวมถึงการหล่อเย็นที่ทำให้ปนเปื้อนสารพิษแล้วปล่อยลงในคลองเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและชาวบ้านในคลองนาทับ   การกระทำดังกล่าวขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามที่พระเจ้าเป็นผู้สร้างและประทานแม่น้ำลำคลองให้มนุษย์และสัตว์ได้ใช้ร่วมกัน และให้ดูแลปกป้องรักษา แต่การกระทำของการไฟฟ้ากลับถืออภิสิทธิ์ครอบครองและคิดทำลายสิ่งที่พระเจ้าสร้าง พวกเราจึงยอมไม่ได้ วัตถุประสงค์ของการติดตั้งป้ายดังกล่าว เพียงเพื่อต้องการยืนยันเจตนารมณ์ให้ทางการไฟฟ้ารู้ว่าชาวบ้านไม่ต้องการให้การไฟฟ้าถืออภิสิทธิ์ดูดน้ำในคลองไปใช้และใช้คลองนาทับเป็นที่ระบายน้ำที่ผ่านการหล่อเย็นแล้วเท่านั้น   แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมาปรากฏว่าป้ายดังกล่าวถูกพังทลายลงมาตั้งกองอยู่กับพื้น โดยฝีมือของคนงานโรงไฟฟ้าสงขลา เหตุการณ์การพังป้ายที่เกิดขึ้นทางกลุ่มคัดค้านฯถือว่าไม่ใช่การพังป้ายของกลุ่มคัดค้านฯเท่านั้น แต่เป็นการท้าทายชาวมุสลิม และทำลายหลักการศาสนาอิสลามอย่างร้ายแรง เพราะป้ายดังกล่าว ขึ้นต้นด้วยภาษาอาหรับที่กล่าวอ้างพระนามของอัลลอฮฺ "บิสมิลลาฮีรฺเราะหฺมา นิรฺเราะฮีม" หรือ "โรงไฟฟ้าอย่ามาบุกรุกทำลายคลองของอัลลอฮฺ พระเจ้าของเราสร้างมาให้ใช้ประโยชน์พวกเราจะปกป้องคัดค้าน" และลงท้ายด้วยภาษาอาหรับว่า "สลาม" การกล่าวอ้างพระนามของอัลลอฮฺก่อนที่จะกระทำการใดๆคนมุสลิมถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นการยึดมั่นต่อพระเจ้าและมีจิตใต้สำนึกต่อศาสนาอิสลาม   นายประกอบ หลำโส๊ะ ชาวบ้านบ้านป่างาม หมู่ที่ 3 ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ กล่าวว่าทางกลุ่มคัดค้านฯเห็นว่าการที่ป้ายดังกล่าวถูกพังทลายลงมานั้นถือได้ว่าการไฟฟ้าได้ทำลายหลักการศาสนาอิสลาม และกระทำการย่ำยีเหยียดหยามความรู้ของชาวมุสลิมอย่างรุนแรง พฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการกระทำของชัยฏอน หรือที่เรียกว่า "ซาตาน" ซึ่งเป็นมารร้ายที่คัมภีร์อัล-กุรฺอานกล่าวว่าเป็นผู้หลอกลวงและเป็นศัตรูของมนุษย์ เป็นผู้กำเริบเสิบสาน ผู้คิดร้าย คนชั่ว ไม่ต่างจากพฤติกรรมของการไฟฟ้าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่   1.)    การดำเนินโครงการโดยไม่โปร่งใสไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2.)    ขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชน 3.)    การใช้เงินเป็นใหญ่โปรยเงินให้กับผู้นำ ผู้นำศาสนา และชุมชนเพียงหวังจากการยอมรับ 4.)    การให้คนของโรงไฟฟ้าสงขลามาพังป้ายของกลุ่มคัดค้าน และยังให้คนของโรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเจรจายอมชดใช้ค่าป้ายที่พังไป เพื่อให้เรื่องดังกล่าวยุติลง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่การไฟฟ้าถนัดคือการเอาเงินมาฟาดหัว ยิ่งตอกย้ำความชั่วร้ายของบริษัท เพราะเอาเรื่องของหลักการศาสนาอิสลามไปตีค่าเป็นตัวเงิน ซึ่งการยึดมั่นในหลักการศาสนาและความศรัทธาของชาวมุสลิมไม่อาจตีค่าเป็นตัวเงินได้เลย   การที่การไฟฟ้าเสนอเช่นนั้นถือเป็นการดูถูกศรัทธาของเราชาวมุสลิมที่มีต่ออัลลอฮฺ ซึ่งพฤติกรรมที่ผ่านมาของการไฟฟ้าไปทำโครงการที่ไหนก็สร้างความเดือนร้อนและหายนะให้กับชุมชนนั้นเช่นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นต้น การที่การไฟฟ้าเอาเงินมาหว่านซื้อคนในชุมชนเพียงเพื่อต้องการซื้อเสียง ซื้อสิทธิของคนในชุมชนไม่ให้ออกมาคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าเท่านั้น โดยคนที่รับเงินไปไม่รู้ว่านั่นคือตนเองได้ขายและทำลายหลักการศาสนาด้วย   ยิ่งเวลานี้ทางการไฟฟ้าได้โฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวงคนทั้งประเทศว่าหากสามารถสร้างโรงไฟฟ้าสงขลาได้สำเร็จ คนทั้งประเทศจะได้ใช้ไฟฟ้าราคาถูก ค่าเอฟทีจะถูกลง ซึ่งเราไม่เชื่อ เพราะปตท.ก็เคยโฆษณาว่าหากมีโรงแยกก๊าซที่จะนะ  คนไทยจะได้ใช้ก๊าซที่ราคาถูกลง แต่วันนี้ราคาแก๊สจากถังละร้อยกว่าบาท ขึ้นราคาถึงสามร้อยกว่า และผลประโยชน์กำไรกลับได้นายทุนต่างชาติ   วันนี้ทางกลุ่มคัดค้านฯจึงจัดพิธีละหมาดฮายัดขึ้น เพื่อขอพรจากพระเจ้าให้ผู้ที่ทำลายป้ายของทางกลุ่มคัดค้านฯกลับตัวกลับใจเสียใหม่ เป็นการให้โอกาสแก่ผู้ที่กระทำผิดไปแล้วได้หันกลับมายึดมั่นในแนวทางศาสนา อย่ามัวแต่มีพฤติกรรมรับใช้กฟผ.จนละเลย และยอมทำผิดหลักการศาสนาอิสลาม และขอให้โรงไฟฟ้าสงขลาที่ทำลายชุมชน ย่ำยีความรู้สึกของพี่น้องมุสลิม และทำลายหลักการศาสนาอิสลามออกไปจากชุมชนโดยเร็ว   ทางกลุ่มคัดค้านฯ ยืนยันจะต่อสู้จนถึงที่สุด เพื่อปกป้องหลักการศาสนาอิสลามที่ชัยฏอนที่มาในคราบของกฟผ.และโรงไฟฟ้าสงขลาจะเข้ามาย่ำยีและทำลาย สุดท้ายขอเรียกร้องให้ชาวมุสลิมทั้งหลายจงลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง และต่อสู้กับชัยฏอนที่ต้องการเข้ามาทำลายหลักการศาสนาอิสลามและวิถีชีวิตของชาวมุสลิม   หลังจากที่ประกอบพิธีละหมาด ได้ร่วมกันอ่านกุนูต หรือ การวิงวอนขอพรต่ออัลลอฮฺให้มุสลิมอยู่กันอย่างสงบสุขและมีความสันติ จากนั้นทางกลุ่มคัดค้านฯได้ร่วมกันขึ้นแผ่นป้ายขนาดใหญ่ที่เขียนข้อความ ด้วยภาษาอาหรับมีความหมายว่า "ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณีเสมอในโลกนี้และโลกหน้าสำหรับผู้ที่ศรัทธา" "โรงไฟฟ้า (กฟผ.) ทำลายหลักการศาสนาอิสลามและคลองสาธารณะของอัลลอฮฺ  มุสลิมวายิบปกป้อง" และลงท้ายในแผ่นป้ายว่า "สลาม"   ด้านนางสุไรด๊ะห์ โต๊ะหลี ชาวบ้านควนหัวช้าง หมู่ที่ 6 ต.คลองเปียะ อ.จะนะ จ.สงขลา ยืนยันหนักแน่นว่าจะไม่ยอมให้หน่วยงานไหนมาทำลายหลักการศาสนาอิสลามและทำลายคลองของอัลลอฮฺ ทำลายสิ่งแวดล้อมจะพิทักษ์ปกป้องจนถึงที่สุด เวลาประมาณ 12.00 น.จึงแยกย้ายกันกลับ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/69097
2016-12-02 20:15
'ศรีสุวรรณ' ร้องป.ป.ช.สอบผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ชี้ปล่อย 'เดอะคอร์' เปิดไม่มีใบอนุญาต
ที่มา เฟซบุ๊ก Srisuwan Janya [1] 2 ธ.ค. 2559 สำนักข่าวไทย [2] รายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผ่านนายพิศิษฐ์ พัฒนกิจจำรูญ เจ้าพนักงานไต่สวนชำนาญการพิเศษ เพื่อให้ตรวจสอบ ปวิณ ชำนิประศาสน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะนายทะเบียนโรงแรม ตาม พ.ร.บ.โรงแรม 2547 เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันมีลักษณะทุจริตต่อหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจรติ พ.ศ.2542 หรือไม่ จากกรณีที่โรงแรม เดอะคอร์ (The Core) จ.เชียงใหม่ ไม่มีใบอนุญาตการประกอบกิจการโรงแรมตาม พ.ร.บ.โรงแรม 2547 ทั้งที่เปิดบริการมาตั้งแต่ปลายปี 2558 จนถึงปัจจุบัน และเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการอย่างเปิดเผย  และนายปวิณได้เข้ามาดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2558 จนถึงปัจจุบัน ศรีสุวรรณ กล่าวว่า ต้องการให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบเรื่องนี้เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในฐานะนายทะเบียนโรงแรม ของแต่ละจังหวัดได้ทำการตรวจสอบโรงแรมในพื้นที่ว่ามีโรงแรมที่เปิดให้บริการโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีลักษณะเดียวกันกับกรณีโรงแรมอีสติน ตัน โอเทล เชียงใหม่ ของนายตัน ภาสกรนที  ที่เปิดบริการโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมเช่นกัน  และเชื่อว่ายังมีโรงแรมอีกหลายแห่งทั่วประเทศที่เปิดให้บริการโดยไม่มีใบอนุญาต “ขอเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศประกาศรายชื่อโรงแรมในแต่ละจังหวัดที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมอย่างถูกกฎหมาย  เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ ได้รับรู้ และจะได้ช่วยกันตรวจสอบไม่ให้โรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม ลักลอบเปิดให้บริการได้อีก” ศรีสุวรรณ กล่าว
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/29584
2010-05-18 23:03
ผู้ช่วยนักข่าว ตปท.โดนทำร้าย แจง นปช.เข้าใจผิด เหตุหวาดระแวง
เว็บไซต์ข่าวสด รายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 18 พ.ค. ที่วัดปทุมวนารามฯ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นภายในวัด เมื่อการ์ดนปช.ได้ควบคุมตัวหญิงสาวคนหนึ่งออกจากวัดปทุมวนารามมาบริเวณหลังเวที ท่ามกลางผู้ชุมนุมที่เดินติดตามมาจะรุมทำร้าย ทราบชื่อต่อมาคือ น.ส.ไนซ์ พจนเมษบาลสถิต อายุ 27 ปี อาชีพผู้ช่วยผู้สื่อข่าวต่างประเทศ หรือ ฟิกเซอร์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นล่ามให้กับนักข่าวต่างประเทศที่จะเข้ามาทำข่าวในประเทศไทยหลายแห่ง อาทิ วอชิงตันโพสต์ และสื่อของฝรั่งเศสอีกหลายแห่งรวมทั้งสื่อประเทศเพื่อนบ้านของไทยด้วย จากนั้นน.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ได้เข้าไปสอบถามรายละเอียดและทราบว่า น.ส.ไนซ์ไม่มีเจตนาทำเรื่องเสียหายให้กับคนเสื้อแดง แต่แค่พาสื่อมวลชนฝรั่งเศสมาทำสารคดีเท่านั้น แต่มีผู้ชุมนุมนปช.บางคนคิดว่า สื่อมวลชนกลุ่มดังกล่าวและน.ส.ไนซ์มายุยง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกิดขึ้น ด้านน.ส.ไนซ์ กล่าวว่า ตนมีอาชีพเป็นผู้ช่วยผู้สื่อข่าวต่างประเทศ จบจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และทำงานมาได้ 5 ปีแล้ว วันนี้ได้พาสื่อมวลชนชาวฝรั่งเศสมาทำสารคดีในพื้นที่การชุมนุม เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของเด็กและสตรี ในประเด็นที่ว่า ทำไมถึงมาชุมนุมอยู่ที่นี่ แต่ผู้ชุมนุมบางคนอาจจะคิดว่ามายุแยง เลยทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น ทำให้ตนถูกดึงผมและโดนด่าทอ แต่คิดในแง่ดีว่าผมตนคงสวย “โดยส่วนตัวมองว่า ผู้ชุมนุมคงไม่ได้มีเจตนาทำร้ายเรา แต่คงเข้าใจผิดและเครียด เพราะพื้นที่บริเวณนี้เป็นเรดโซน ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้กลัว เพราะถึงยังไงก็เป็นคนไทยด้วยกัน ยังคุยกันได้ แต่อยากให้เข้าใจเรามากกว่า ความจริงเราเห็นใจเขาด้วยซ้ำที่มาชุมนุมที่นี่ต้องขนข้าวของต่าง ๆ มามากมาย สำหรับเราไม่มีอะไรต้องเสีย”น.ส.ไนซ์ กล่าวและว่า ถ้าไม่ได้การ์ดกันออกมาคงจะตายไปแล้ว แต่ก็เข้าใจว่าเขาคงหวาดระแวงเรา เพราะอาจจะมีใครที่ไปทำไม่ได้ไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้เขาไม่ไว้ใจใคร  น.ส.ไนซ์ กล่าวต่อว่า  สิ่งที่อยากฝากนักข่าวคือการนำเสนอข่าวโดยยึดหลักความจริง เพราะตนเลิกอ่านหนังสือพิมพ์ไทยมานานแล้ว จึงต้องมาหาข่าวเอง  ดังนั้นอยากให้สื่อไทยรับใช้ประชาชนจริง ๆ อย่างไรก็ตามอยากฝากว่าสำหรับคนที่ทำตัวมีปัญหากับสื่อก็อยากให้นำออกไป เพราะมิฉะนั้นจะเกิดปัญหาได้อีก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการการสัมภาษณ์และสอบถามรายละเอียดนี้ น.ส.ไนซ์ได้ร้องไห้ แต่บอกว่าไม่ได้กลัวหรือโกรธแต่เป็นการเข้าใจผิดมากกว่า   ..................... ที่มา : เว็บไซต์ข่าวสด
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/67014
2016-07-22 19:28
ศาลฎีกาสั่งจำคุก 27 ปีครึ่ง ‘เอนก สิงขุนทด’ จำเลยตาบอดหลังได้ใช้ชีวิตนอกคุกปีกว่า
ญาติของเอนกเดินทางมาจากต่างจังหวัด พากันร่ำไห้หลังทราบผลคำพิพากษาศาลฎีกา 22 ก.ค.2559 ที่ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำที่ อ.2930/2553 หมายเลขแดงที่ อ.1876/2555   ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีพิเศษ 1 สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้อง นายเอนก สิงขุนทด จำเลยตาบอดวัย 33 ปีในคดีรถเงาะระเบิดหน้าพรรคภูมิใจไทยเมื่อปี 2553 โดยพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจำคุก 5 ปี เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษเหลือ 25 ปี แต่เมื่อรวมโทษจำคุกในทุกกรรมแล้ว รวมโทษจำคุก 27 ปี 6 เดือน และปรับ 50 บาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลฎีกาให้เหตุผลในการแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า แม้เหตุดังกล่าวจะก่อความเสียหายไม่มากและไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ก็นับเป็นความผิดร้ายแรงที่มีโทษสูงสุดถึงจำคุกตลอดชีวิตและกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ศาลเห็นควรให้ลงโทษสถานหนักเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่นๆ จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภายหลังฟังคำพิพากษาและออกมาภายนอกห้องพิจารณา เอนกก้มลงกราบเท้าป้าวัย 73 ปี และอาวัย 68 ปีที่มาจากต่างจังหวัดเพื่อมาร่วมรับฟังผลคดี ขณะที่ญาติทั้งหมดพากันร้องไห้ เขากล่าวว่า ไม่คาดคิดมาก่อนว่าผลคำพิพากษาจะลงโทษสูงถึงเพียงนี้ และยังแอบหวังว่าศาลฎีกาจะพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ส่วนสิ่งที่เขากังวลมากที่สุดคือ สภาพของตาข้างขวาที่ปัจจุบันมองเห็นราว 30% แต่ยังไม่สามารถอ่านหนังสือได้นั้นจะแย่ลงจนบอดสนิท เนื่องจากสภาพสุขอนามัยในเรือนจำอาจไม่ดีนักและการพบหมออาจไม่สะดวกเท่ากับตอนอยู่ภายนอก อ่านสัมภาษณ์พิเศษ เอนก สิงขุนทด หลังออกจากเรือนจำก่อนหน้านี้ [1] เหตุการณ์ในคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ 22 มิ.ย.2553 โดยเอนกได้รับบาดเจ็บสาหัส สูญเสียดวงตาข้างซ้ายขณะที่ข้างขวาเกือบบอดสนิท หลังจากเข็นรถเงาะซึ่งมีระเบิดซุกซ่อนอยู่ไปวางไว้ข้างกำแพงพรรคภูมิใจไทยแล้วรถเกิดระเบิดขณะที่เขายังอยู่ที่รถ (อ่านข่าวที่นี่ [2]) เอนกรับสารภาพว่าเขาถูกจ้างวานให้เข็นรถเงาะดังกล่าวจริง หลังรักษาตัวจนพ้นขีดอันตรายเขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อ 24 เม.ย.2555 ตัดสินจำคุก 35 ปีปรับ 50 บาท (อ่านที่นี่ [3]) ต่อมาวันที่ 9 เม.ย.2556 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 5 ปี (อ่านที่นี่ [4]) เอนกถูกควบคุมตัวจนครบ 5 ปีและเพิ่งได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 เขากลับไปอยู่บ้านญาติที่โคราชซึ่งมีอาชีพรับจ้างในภาคการเกษตร โดยที่ตัวเขาไม่สามารถประกอบอาชีพใดๆ ได้เนื่องจากตาบอด จึงรับหน้าที่ดูแลปู่และย่าซึ่งอายุมากช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จนต่อมาราวเดือนมิถุนายนได้รับจดหมายจากศาลให้มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาจึงเดินทางจากนครราชสีมามายังศาลอาญาในวันนี้ เขาถูกฟ้องว่าร่วมกับพวกทำระเบิดเพื่อให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินและสถานที่ประชุม ซึ่งมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221 222 ประกอบมาตรา 218 371 และ 83  พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 2 กระทงๆ ละ 10 ปี ฐานมีระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และปรับ 100 บาท ฐานพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ และให้จำคุกตลอดชีวิตฐานทำระเบิดให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินฯ และสถานที่ประชุม ซึ่งเป็นโทษหนักสุดตามมาตรา 222 และ 218 จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ เห็นควรลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือจำคุกรวมทั้งสิ้น 35 ปี และปรับ 50 บาท ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 5 ปี ขณะที่เว็บไซต์ไทยรัฐ [5]รายงานว่า สำหรับจำเลยร่วมในคดีนี้อีก 5 คน คือ นายเดชพล พุทธจง, นายกำพล คำคง, นายกอบชัย หรือ อ้าย บุญปลอด, นางวริศรียา หรือ อ้อ บุญสม และนายสุริยา หรือ อ้วน ภูมิวงษ์ กลุ่มที่ว่าจ้างนายเอนก นั้นแยกพิจารณาสำนวนเป็นคดีหมายเลขดำ อ.1007/2556 ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธสู้คดี คดีอยู่ระหว่างฎีกา โดยศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1-3 คนละ 6 ปี 8 เดือน และปรับ 66.666 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 จำคุก 3 ปี 4 เดือน และให้ยกฟ้อง นางวริศรียา หรือ อ้อ จำเลยที่ 4 จากนั้นศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ก.ย.2558 แก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลยที่ 1-3 คนละ 4 ปี ปรับ 66.66 ส่วนนางวริศรียา จำเลยที่ 4 ที่ถูกยกฟ้องนั้นให้จำคุก 4 ปีและปรับ 66.66 จำเลยที่ 5 ให้จำคุก 2 ปี 8 เดือน แต่ปัจจุบัน จำเลยที่ 5 ถูกออกหมายจับ และสั่งปรับนายประกัน 500,000 บาท เพราะไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษา เชื่อว่ามีพฤติการณ์หลบหนี
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/46780
2013-05-17 20:16
สหภาพแรงงานระบุมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย เหตุโรงงานรองเท้าถล่มที่กัมพูชา
คลิปรายงานข่าวการถล่มของโรงงานผลิตรองเท้าใน จ.กัมปงสะปือ ประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 56 ที่ผ่านมา จากสื่อกัมพูชา (ที่มา:  [1]MrSabay855) [1]   17 พ.ค. 56 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่ายอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์โรงงานผลิตรองเท้าใน จ.กัมปงสะปือ ประเทศกัมพูชา ที่ถล่มลงเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 56 ที่ผ่านมา มีอย่างน้อย 6 คนจากการเปิดเผยของสมาชิกสหภาพแรงงานของโรงงานแห่งนั้น   "มีคนงานอยู่ในโรงงานประมาณร้อยกว่าคนในขณะที่มันถล่มเมื่อเวลาประมาณ 7.00 น." ซัม ซกไน สมาชิกสหภาพแรงงานวัย 29 ปีกล่าวกับรอยเตอร์ โดยเธอระบุว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 รายเป็นหญิง 5 คนและชาย 1 คน    แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่มีการเปิดเมื่อวานนี้ (16 พ.ค.) จากข้อมูลของตำรวจใน จ.กัมปงสะปือ คือ 2 คน และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 11 คน ซึ่งเป็นการปรับลดตัวเลขผู้เสียชีวิตจากครั้งแรกที่ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 3 คน โดยตำรวจให้ข้อมูลว่าเจ้าของโรงงานได้ถูกสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าโรงงานแห่งนี้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้บริเวณชั้นลอยของโรงงานได้ถล่มลงมา ซึ่งชั้นลอยนี้ใช้ในการเก็บเครื่องมือและวัตถุดิบในการผลิตรองเท้า และมีการคาดกันว่าเกิดจากโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงพอ   พนมเปญโพสต์ได้รายงานว่าเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่าคนงานในโรงงานแห่งนี้เคยหยุดงานประท้วงและปิดถนนเพื่อเรียกร้องค่าแรงและสภาพการทำงานให้ดีกว่าเดิม โดยโรงงานแห่งนี้อยู่ในเครือของบริษัท Wing Star Shoes    แม้ว่ากัมพูชาจะประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา 20% โดยคนงานที่ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่รับตัดเย็บเสื้อผ้าให้บรรษัทข้ามชาติจะถูกปรับค่าแรงขั้นต่ำรายเดือนจาก 61 ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นเป็น 75 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,830 บาท เป็น 2,250 บาท) แต่กลุ่มสหภาพแรงงานสิ่งทอของกัมพูชาได้เรียกร้องรายได้ขั้นต่ำเดือนละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,000 บาท)   ทั้งนี้การนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องสภาพการทำงานและค่าแรงที่จ่ายสำหรับแรงงานที่ยากจนเป็นเรื่องธรรมดาในประเทศกัมพูชา เช่นเดียวบังคลาเทศ ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของโรงงานผลิตเสื้อผ้าราคาถูกที่ส่งออกไปยังธุรกิจค้าปลีกในประเทศฝั่งอเมริกาและยุโรป    โดยภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป สร้างรายได้หลักให้แก่กัมพูชา เม็ดเงินการส่งออกเมื่อปี 2012 อยู่ที่ประมาณ 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแรงงานส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปนี้ประมาณ 650,000 คน เป็นแรงงานหญิง         ที่มาข่าวบางส่วนจาก:    At least 6 dead after Cambodian factory collapses: union member [2](nbcnews.com, 17/05/2013)
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/64781
2016-03-22 01:02
คำต่อคำ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา โรดแมปมันสั้นไปขอยืด ต้องเด็ดขาดเคลียร์กันตอนนี้
ปีย์ใน รายการ new)talk ชี้ต้องให้การศึกษาประชาชนให้เข้าใจประชาธิปไตยที่แท้จริง ระบุตนคุยกับนักการเมืองได้เพียง ‘อภิสิทธิ์’ เพราะเลเวลเดียวกัน แนะ คสช.ต้องจริงจังกับ ‘การปรับทัศนติ’ ตลอดชีวิตก็ต้องทำ ชี้ก็แค่ชีวิตเดียว เพราะมีอีก 71 ล้านที่ต้องดู เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่ผ่านมา รายการ new)talk [1]ดำเนินรายการโดย อัญชะลี ไพรีรัก หรือ ปอง ได้สัมภาษณ์ คุณปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ เครือแปซิฟิก ผู้รับสัมปทานดำเนินการ สถานีวิทยุ จส.100 และประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ พับลิชชิ่ง จำกัด ผู้ผลิตนิตยสารดิฉัน และ คอสโมโพลิแทน (Cosmopolitan) ซึ่งบทสัมภาษณ์ดังกล่าวถูกนำมาพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์ต่อนัยสำคัญทางการเมืองในปัจจุบัน โดย ปีย์ เสนอว่า ควรยืดเวลาโรดแมป และควรให้การศึกษาประชาชนให้เข้าใจประชาธิปไตยที่แท้จริงก่อน รวมทั้งความเสมอภาคคืออะไร ไม่เช่นนั้นก็กลับไปเหมือนเดิม นักการเมืองซื้อเสียง เข้ามาโกงบ้านเมือง แล้วก็ประชาชนลุกขึ้นมา เกิดรัฐประหาร อีก 100 ปีมันก็เป็นแบบนี้ พร้อมเชื่อด้วยว่าหากทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญก็จะถูกคว่ำ ถ้ายังเดินตามโรดแมปเดิม นอกจากนี้ ปีย์ ยังเสนอด้วยว่า ต้องจริงจังกับการปรับทัศนคติ เพราะถ้าใช้คำว่า ‘ปรับทัศนคติ’ ก็คือต้องปรับความคิดเห็นของเขา ถ้าเขายังปรับไม่ได้จะให้เขาออกมาทำไม ให้เขาอยู่ราบ 11 หรือโอเรียนเต็ลก็ได้ แต่ปรับจนเห็นเหมือนกัน แม้จะต้องปรับทั้งชีวิต ก็แค่ชีวิตเดียว เรามีตั้ง 71 ล้านคน ที่เราต้องดูแล ปีย์ ใน รายการ new)talk [1] เมื่อวันที่ 7 มี.ค.59 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปอง : ด้านหลังของเรานั่งกันอยู่ในห้องรับแขก ด้านหลังข้างในเป็นห้องรับประทานอาหาร ห้องประชุม ห้องนี้แหละค่ะ เมื่อสองสามปีก่อนเป็นข่าวครึกโครมมากว่า เป็นบ้านที่เปิดห้องแล้วนั่งประชุมกันเพื่อที่จะล้มรัฐบาลคุณทักษิณ คุณทักษิณพูดเองเลยนะคะ อยู่ในบันทึกของสื่อมวลชนเลยนะคะ กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนพุ่งเป้ามาที่คุณปีย์ ซึ่งคุณปีย์ทำ จส.100 ทำดิฉัน ทำหนังสือ คอสโมโพลิแทน (Cosmopolitan)  เป็นสื่อมวลชนรุ่นใหญ่ ต้นทางของเราเป็นครูบาอาจารย์ของเรา อยู่ดีๆ ทำไมไปอยู่หน้าสื่อการเมือง และก็อยู่ในใจคุณทักษิณขนาดนั้น คุณทักษิณมองคุณปีย์เหมือนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง หัวขบวนตัวตั้งตัวตีที่ล้มรัฐบาลคุณทักษิณมาโดยตลอดในช่วง 4 ปี มานี้ ปีย์ :  มันก็ไม่ถึงขนาดนั้นนะครับ  คือเราเป็นผู้ใหญ่ คุณปองยังไม่ทำเลยว่าผมอายุเท่าไหร่ ปีนี้ผม 79 ผมก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาตั้งแต่สมัยไหนแล้วก็ไม่รู้ สมัยจอมพล ป. สมัยอะไรต่างๆ และพ่อก็ทำงานกระทรวงต่างประเทศ แล้วมันก็รู้อะไรต่ออะไรลึกซึ้ง จะว่าลึกซึ้งก็ไม่ใช่แต่เห็นบรรยากาศของประเทศ เพราะผมเชื่อไม่มีใครรู้อะไรลึกซึ้งหรอก ปอง : ตอนนั้นคุณปีย์จัดตั้งการประชุมกลุ่มต่อต้านคุณทักษิณ (ชินวัตร) ที่นี่จริงไหม ปีย์ : ไม่ใช่เป็นประชุม พูดง่ายๆ มาทานข้าวที่นี่ ไม่ได้ไปทานข้าวข้างนอก ปอง : แล้วจับกลุ่มกันที่จะล้มรัฐบาลคุณทักษิณจริงไหม ปีย์ : เอิ่ม ไม่จริงหรอกครับ  เพราะว่าอย่างที่คุณพัลลภ (พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี)ไปพูดมันคนละเรื่องกัน วันที่มาคุยกันนะครับ มาคุยกันเรื่องว่าวันนั้นศาลเข้าเฝ้าและผลออกมาเป็นอย่างไร ก็มาพูดกันคุณอักขราทร มาคุยกันไม่มีทหารสักคนหนึ่ง มีทหารคนเดียวคือพล.อ.สุรยุทธ์ (จุลานนท์) ซึ่งปลดเกษียรแล้ว แต่ทีนี้การทำงานอย่างเนี่ยมันไม่มาทำกันตรงนี้หรอก ก็เป็นการคุยกันระหว่างผู้ที่ ปอง : แล้วทำไมคุณทักษิณถึงพุ่งเป้ามาที่คุณปีย์ ปีย์ : ก็อาจจะเป็นการที่คุณพัลลภเดินทางไปเมืองจีนแล้วไปเล่าอะไร ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเล่าอะไรบ้าง ปอง: คุณปีย์คิดว่าเป็นข้อมูลที่เพี้ยน ปีย์ : แน่นอน ปอง : แต่มันมีข้อมูลที่เห็นในเฟซบุ๊กค่ะ ในเฟซบุ๊กเมื่อสองสามวันก่อนของคุณปีย์ เฟซบุ๊กคุณปีย์มี 3 อัน แล้วมีทวิตเตอร์อีก 1 อัน ซึ่งมีผู้ติดตามจำนวนมาก ในเฟซบุ๊กบอกว่า “ผมชอบนายกบิ๊กตู่ โดยเฉพาะที่ให้สัมภาษณ์ใน Aljazeera ถึงเหตุที่ทำรัฐประหาร” คุณปีย์เขียนว่า “สุดยอดมาก เด็ดเดี่ยวมาก แน่วแน่มาก ทำเพื่อชาติมาก เพราะว่าถ้าไม่ทำแล้วบ้านเมืองไม่รู้จะเป็นอย่างไรต่อไป” คุณปีย์ถึงกับบอกว่า “บทสัมภาษณ์นี้ถูกเผยแพร่ออกไปน้อยเหลือเกิน จะต้องให้ต่างชาติได้รับรู้ ช่วยกันแชร์ให้มากๆ นะครับ”  โอโหนี่พ่อยกเบอร์หนึ่งเลย ปีย์ : มันไม่ใช่นะ มันไปอ่านเข้าไปเห็นเข้า ก็คิดว่า ถ้าชาวต่างชาติรู้อย่างนี้ เขาจะได้รู้เจตนาของประเทศไทย หลายคนทั่วโลกยังไม่รู้เลยว่าประเทศไทยจุดยืนตรงไหน และวันนั้นคุณประยุทธ์พูดได้ชัดเจนมากว่าทำไมต้องทำรัฐประหาร ปอง : คุณปีย์เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร ปีย์ : ใช่ครับ ก็เห็นคุณปองเหนื่อยเหลือเกิน ปอง : คุณปีย์ไม่เป็นประชาธิปไตย เอาเสียเลย ปีย์ : เป็นประชาธิปไตยสุดๆ เลยครับ แต่การเป็นประชาธิปไตยนะครับ ที่สำคัญที่สุดประชาชนต้องมีการศึกษา และเข้าใจระบบประชาธิปไตย งั้นก็มีการซื้อเสียงกัน แล้วพวกใครมากก็ไปจัดการโกงบ้านโกงเมืองกัน ปอง : ทำไมคุณปีย์ถึงไว้ใจและเชื่อมั่น พล.อ.ประยุทธ์ ได้มากขนาดนี้ ปีย์ : ตอนนี้มันไม่ตัวเลือกไงครับ ผมมอง พล.อ.ประยุทธ์มา 20 ปี เป็นผู้ชายนิสัยดี แล้วก็ไม่ได้เป็นอย่างที่สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ สนุกสนานไปกับอารมณ์ แต่เป็นคนที่เขียนเพลงก็ได้ แต่งเพลงก็ได้ แต่งกลอนก็ได้ แต่งกลอนนะครับ เอาใบที่เขียนอาหารไว้บนโต๊ะเสวย แล้วมีอะไรบ้าง พลิกกลับหลังว่างเขียน 10 นาทีเสร็จ เขาเป็นคนที่มีอารมณ์ แต่เวลาเดียวกันเอาจริง เอาจัง ปอง : ทำไมคุณปีย์มองว่าก่อน พล.อ.ประยุทธ์ มา มันไม่สงบสุข ปีย์ : คุณปองไม่น่าถามผมแบบนี้เลย คุณปองเหนื่อยมากกว่าคนอื่นอีก ปอง : แต่ตอนนั้นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ก็มั่นใจว่ากำลังทำให้ประเทศพัฒนา เดินหน้าไป พล.อ.ประยุทธ ต่างหากที่ทำให้ประเทศหยุดชะงัก ปีย์ : ผมทำนานะครับที่เชียงราย ผมรู้ว่าการซื้อข้าวมันเป็นอย่างไร รอบบ้านผมนะครับปีที่ 2 ถึงได้เงิน เขาอยู่กันยังไงหละครับ แต่เผอิญโฉนดผมมันชื่อปีย์ ผมเลยได้วันแรกเลย งั้นความไม่เท่าเทียมมันเกิดขึ้นให้ผมเห็นโครงการทั้งหมด จำนำข้าวและโครงการอื่นๆ อีกหลายโครงการ ในยุครัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ผมก็คิดว่าถ้าไปอย่างนี้ประเทศก็มีแต่พังกับพัง แล้วเมื่อคุณสุเทพก็มองเห็น คุณอภิสิทธิก็มองเห็น ก็ขึ้นมาต่อสู้ ต่อสู้ในสภาไม่ได้ ก็ออกมาต่อสู้แบบต้องออกมาข้างถนน ปอง : คุณปีย์เห็นด้วยตอนนั้น ผบ.ทบ.ลุกขึ้นมา ปีย์ : ถ้าไม่ลุกขึ้นมานะครับ ผมว่าไม่รู้จะจบยังไง ผมก็เริ่มว่าคนเสื้อแดงมาอยู่แล้วที่ แล้วก็เห็นคุณปองก็อยู่แล้วที่อนุเสาวรีย์ ถ้าเกิดชนกัน คุณมีอะไรจะสู้คุณมีหนังสติ๊กหรอ มีปืนกี่กระบอก มันสู้กันไม่ได้ มันก็จะมีการล้มตายกันมหาศาล ปอง : คุณปีย์บอกว่าการทำรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์นั้น มาถูกที่ถูกจังหวะ ถูกเวลา ท่ามกลางปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานั้น คุณปีย์เห็นด้วยกับการรัฐประหารขนาดนั้นเลยหรอ ปีย์ : ไม่ใช่ถูกที่ถูกเวลานะครับ ผมมองว่าการล้มตายจะน้อย คิดว่าน่าจะทำก่อนหน้านั้นด้วย กว่าที่คุณปองจะต้องนำคนเป็นล้านล้านคนออกมานี่ ปอง : มองว่า 1-2 ปีที่ผ่านมา ของรัฐบาล คสช. เป็นไงบ้าง ปีย์ : ตอนนี้ผมคิดว่าเขามาจัดระเบียบ แล้วก็มาดูว่าบ้านเมืองเป็นอย่างไร เพราะไม่มีใครรู้ว่าจริงๆ แล้วบ้านเมืองมันเป็นอย่างไร ปอง : คุณปีย์พึงพอในในช่วง 1-2 ปีมานี้ ปีย์ : ผมพึงพอใจในระดับหนึ่ง อีกระดับหนึ่งก็ไม่พึงพอใจ เอาเรื่องสั้นๆ ง่ายๆ อย่าง 2-3 วัน รองนายกฯ 2 คนเดินทางไปรัสเซีย ไปทำไมครับ เวลานี้เรามีปัญหาโลกนะครับ ถ้าเราไปรัสเซีย จีนจะรู้สึกอย่างไรครับ ไปรัสเซีย  อเมริกันจะรู้สึกอย่างไรครับ แล้วเราจะมีเพื่อนมากขึ้นหรอ แต่ในความรู้สึกผมรุ้สึกว่าทางรัฐบาลไปเพื่อจะไป make friends กับรัสเซีย ไปดินเนอร์กับปูติน แต่หารู้ไม่ว่าวันที่ดินเนอร์กับปูติน ที่จีนเขาคิดอย่างไร และที่อเมริกาเขาคิดอย่างไร โลกเดี่ยวนี้มันสื่อสารภายในไม่กี่วินาที ปอง : คือบางเรื่องคุณปีย์ก็เห็นด้วย บางเรื่องคุณปีย์ก็ไม่เห็นด้วย แต่รวมๆ แล้วก็อย่างให้อยู่ต่อเพื่อที่ ปีย์ : จะให้พวกเราเข้าใจว่าระบบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร เมื่อเราเข้าใจแล้ว เราก็จะได้ไปเลือกตั้งเอาหรือไม่เอา หรือเปลี่ยนตรงไหน ด้วยสายตาประชาชน ปอง : แล้วนายจะอยู่ต่อได้อย่างไร ในขณะที่ปัจจุบันถูกกล่าวหาว่า เข้ามาด้วยอำนาจพิเศษและรัฐประหารแล้วก็จะสืบทอดอำนาจ ถูกกระทุ้งทุกวันเลย ปีย์ : โอ้ย แล้วจะถูกกระทุ้งมากกว่านี้อีก เป็นผมนะครับ ง่ายๆ ก็เปลี่ยนนายกฯอีกคน เรามีตั้ง 71 ล้านคน ไม่ใช่ทุกได้ แต่การที่ว่าถ้าคุณตู่ รับแรงนี้ไม่ไหว แต่ผมเชื่อว่าการเป็นทหารของเขาเนี่ยเขารับไหว  แล้วขอให้เพื่อนๆ เขาหรือพี่ๆ เขา ช่วยหน่อย ประคับประคอง ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ ไม่ช่วยประคับประคอง ต่างคนต่างเดิน มันก็ไปไม่ได้ ปอง : คุณปีย์คิดว่า อะไรควรเป็นก่อนหน้าหลัง ที่นายกประยุทธ์ควรจะต้องทำในช่วงเวลานี้ ปีย์ : ผมว่าตอนนี้เรื่องเศรษฐกิจนายกจะต้องดูแล้ว เพราะว่านายกบอกว่าประชากรของเรา 70% เป็นเกษตรกร แต่ในเวลาเดียวกันที่ท่าเรือแหลมฉบัง หรือท่าเรือคลองเตย เรือที่เข้ามารับสินค้าลดลง 40% เราจะไปขายใครครับ โลกมันจนทั้งโลก เมื่อมันเป็นทั้งโลกก็ให้ประชาชนใจเข้าใจสิครับว่ามันเป็นทั้งโลก แล้วก็อยู่กันอย่างพอเพียง ผมว่ามันไม่เกิน 3 ปี หมายถึงเศรษฐกิจ ไม่ใช่ว่าเราเดินไปขอข้าวทาน คือต้องมองว่าเศรษฐกิจโลกตั้งแต่กรีซล้มมา  แล้วก็สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส กู้เงินเยอรมัน ตอนนี้ดอยเชอ แบงก์ กำลังจะล้ม ภายในอาทิตย์นี้ แล้วธนาคารจีนก็กำลังจะล้ม ปอง : ถ้าหากดูจากรูปทรง พล.อ.ประยุทธ์ และรัฐบาล ให้เต็ม 10 ให้เท่าไหร่ ปีย์ : เต็ม 10 ให้ 6 พูดง่ายๆ ครับ เราจะขับเครื่องบินเราต้องใช้นักบินขับ ที่มีชั่วโมงบินสูง แต่เราเอานักบินที่มีชั่วโมงไม่สูงมันก็ต้องใช้เวลาหน่อยในการที่จะปรับ ปอง : นายกรัฐมนตรีบอกว่า ตั้งแต่รัฐประหารมาไปชวนใครมาทำงานก็แทบไม่มีใครอยากจะมาเลย ปีย์ : เพราะว่าทุกคนรู้สึกว่าถ้าไปร่วมด้วยแล้ว เมื่อจบแล้วตัวเองจะเอาตัวไปไว้ที่ไหน เพราะทุกคนจะมองเป็นศัตรู เพราะฉะนั้นต้องสอนคนไทยหน่อยว่า ไม่ใช่นะ มาช่วยเป็นครูสอน สอน แล้วก็ช่วยชาติ หลังจากนั้นแล้วเราจะเชิดชู  ความรู้สึกจะเปลี่ยนทันทีเลยครับ ปอง : รัฐประหารครั้งนี้ทำให้มันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปหน่อยเถอะ ปฏิรูปให้มันดีก่อนเลือกตั้ง ประเด็นคือเราจะเดินผ่านมันไปอย่างไร ขณะปัจจุบันนี้รัฐมนตรีเราถูกไล่เช้าไล่เย็น ปีย์ : ผมผ่านปฏิวัติมาหลายหนแล้ว ทุกคนก็จะโดนแบบนี้ แล้วก็ต้องหนี หรือไม่ก็ไปตายต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะไม่เป็นอย่างนี้คือจะทะเลาะกันเอง คุณเผ่ากับจอมพลสฤษดิ์ก็ทะเลาะกันเอง แล้วก็จอมพล ป. ก็หนีไป มันไม่ได้จบสิ้นที่ว่าเราต้องให้การศึกษากับประชาชน ให้ประชาชนเข้าใจว่าระบบประชาธิปไตยเป็นอย่างไร ไม่ใช่มานั่งซื้อเสียงกัน ใครมีเงินก็เข้ามาบริหารประเทศ แล้วก็มาโกงประเทศจนคนทนไม่ไหวก็ลุกหือ แล้วก็ปฏิวัติอีก อีก 100 ปีมันก็เป็นแบบนี้ ปอง : ถ้าหากปฏิวัติแล้วไม่ผ่าตัดรักษาโรคให้กับประเทศไทย เดี๋ยวมันก็ต้องมีอีก ฉีกรัฐธรรมนูญอีก เขียนกันอีก วันก่อนอาจารย์มีชัย บอกว่าอีกทีไม่ทำแล้วนะ ปีย์ : ท่านก็ไม่ไหวแล้วครับ แล้วผมเชื่อว่า ท่านประยุทธ์มีความอดทนสักนิดนึง ทนหน่อยและทำให้มันเรียบร้อย ถ้าคุณตู่ทนไม่ได้ ก็ไปสิครับ แล้วมันก็กลับมาอีก ลูกคุณตู่ก็ต้องเจอรัฐประหารอีก แล้วก็หลานคุณตู่ มันต้องเด็ดขาดแล้วเคลียร์กันตอนนี้ มันเป็นโอกาสที่จะเคลียร์ได้ แต่ถ้าใจไม่ถึงที่จะไม่เคลียร์จะเอาตัวรอดไปก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่พล.อ.ประยุทธ์ คนเดียวครับ ต้องนึกถึงรอบๆ ข้าง พล.อ.ประยุทธ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นทุกคนใจถึงร่วมกัน คนเดียวทำไม่ได้หรอกครับ อย่าไปเสียเวลากับเรื่องไม่เข้าเรื่อง อย่าไปทะเลาะกัน อย่าไปขัดคอกัน เรื่องที่ควรทำคือต้องให้การศึกษากับประชาชนว่ารัฐธรรมนูญที่จะออกมานี้เป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรต่อประเทศ แล้วคุณจะเลือกหรือไม่เลือก ไม่ช่ให้คนมาซื้อเสียงว่าคุณไปโหวตสิไม่เอาหรือไปโหวตสิว่าเอา ปอง : ถ้ารัฐประหารมันกินเวลายาวนานออกไป สภาพของพรรคการเมือง สภาพของนักการเมืองจะเป็นอย่างไร ไม่ถูกตอน ไม่ถูกทำหมั่น ปีย์ : นักการเมืองตอนนี้ก็เดือดร้อนสิครับ เพราะเงินเดือนก็ไม่ได้ งานที่ไหนก็ไปทำไม่ได้ ก็ต้องออกไปเดินหาเสียงไปอะไร รายได้ตกไป มันเป็นธรรมชาติ เราควรมองประเทศเป็นหลักก่อน ให้ประชาชนของเราเป็นประชาธิปไตยให้ได้ ปอง : ถ้าหากรัฐบาลอยู่ต่อไป การเมืองมันจะเป็นอย่างไร  มันจะวุ่นวายไหม ปีย์ : อันนี้มันขึ้นอยู่กับหลายๆ คนที่อยู่รอบๆ ข้างนายก ต้องช่วยกันไม่ให้เป็นอย่างนี้ แล้วก็ต้องจริงจังนิดหน่อย ตอนแรกๆ ที่รัฐประหารรู้สึกว่าจริงจังมาก แต่เดี่ยวนี้รู้สึกจริงจังน้อยลงไปหน่อย โดยเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้น 2-3 วันนี้  เรื่องปรับทัศนคติ มันไม่จริงจังแล้วมันดูเป็นเรื่องเล่นแล้ว ผมอยากให้จริงจังแบบที่ว่า จิตใจของผมคือต้องการให้ประชาชนเข้าใจรัฐธรรมนูญที่ออกมาและเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ แล้วก็ได้ประชาธิปไตยที่แท้จริงมา ถ้าได้มามันจะไม่มีปฏิวัติอีกแล้ว แต่ผมเชื่อว่าคุณประยุทธ์นี่กำลังจะปรับอันนี้ ให้ประชาชนเข้าใจว่าระบบการเลือกตั้งที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร ผมถึงบอกว่าผมไม่เห็นด้วยกับโรดแมปที่ตั้งไว้สั้นๆ นี่ ถ้าโรดแมปนี่ถ้ามันเป็นโรดจริงๆ ก็ต่อถนนให้มันยาวหน่อย ให้ความรู้กับประชาชน ให้เข้าใจระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง เพื่อได้เลือกตั้ง แล้วเราจะได้อยู่กันอย่างสงบสุข ปอง : การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้ คุณปีย์ก็เลยมองว่าอย่าเพิ่งเลยหรอ ปีย์ : สำหรับผมนะครับ ถ้าผมมีอำนาจแล้วก็สั่งใครได้ก็บอกอย่าเพิ่งเลยครับ เพราะถ้าเลือกตอนนี้ มันก็หมายความว่ารัฐธรรมนูญออกมาว่าจะเอาหรือไม่เอารัฐธรรมนูญอันนี้ที่คุณมีชัยร่าง ถ้าคนไม่ชอบไปบอกประชาชนทั้งหมด ไม่เอาอย่าเลือก ประชาชนก็ไม่เลือก ถามว่าไม่เลือกเพราะอะไร ก็เพราะเขาบอกมา ถามว่ารู้ไหมว่ารัฐธรรมนูญเขียนว่าอะไร ไม่รู้ ปอง : แสดงว่าคุณปีย์มั่นใจว่าเป็นไปตามโรดแมปของนายกรัฐมนตรี อีกไม่ช้าไม่นานการทำประชามติคว่ำแน่ ปีย์ : ถูกต้อง ผมมองว่าไม่ผ่าน หรือผ่าน ก็ผ่านแบบร่อแร่ มันก็จะเป็นสมัย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ถ้าอย่างนั้นก็อย่าไปถึงจุดนั้นเลย เพราะประเทศไทยตั้งแต่กบฏแมนฮัตตันมา มันก็มารูปนี้ล่ะครับ มาอยู่ได้พักนึงมันก็ยุ่งเหยิงเพราะความไม่เข้าใจ คุณปองรู้ไหมครับว่าอย่างนี้นะครับ 2475 ตรงกับปี พ.ศ.อะไร ตรงกับปี ค.ศ.1932 หรือ 30 ซึ่งตอนนั้นเกิด World Recession ในอเมริกาต้องขอข้าวไปกิน ต้องเดินขอข้าว ทางเราไม่รู้เรื่องเลย เพราะเราห่างการสื่อสารเราไม่มีเลย เราก็ไม่รู้มันเป็นอะไร ท่านก็ปลดข้าราชการ ท่านดึงนักศึกษาที่เรียนต่อกลับ ความเข้าใจของ Recession มันเกิดขึ้นแล้วมันก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ รัฐประหารจอมพล ป. เสร็จแล้วก็เปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลง  ผมอยู่มาไม่รู้กี่รัฐประหารแล้ว มันกลับมาอีก ไม่ได้แก้ปัญหา ผมอยากให้เป็นรัฐประหารสิ้นสุดไม่ต้องมีรัฐประหารอีก คือให้ความรู้คน ให้ความรู้ประชาชน เข้าใจจริงๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และวิธีการปกครองประเทศ ประเทศทุกประเทศมีความเห็นต่าง คำว่าแตกแยกแรงไปหน่อย และในความเห็นต่าง นั้นรอ 4 ปี เลือกรัฐบาลใหม่ มันก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่นุ่มนวล ปอง : แต่รัฐบาลที่มาจากรัฐประหารในยุคปัจจุบันนี้ จะถูกต่างชาติ มองด้วยสายตาตะวันตก ปีย์ : นี่ก็เป็นอันหนึ่ง ที่เราต้อศึกษาต่างชาติ ปอง : ท่าทีที่อเมริกาจะบีบให้ไทยไปสู่การเลือกตั้งให้ได้ ตอกย้ำบ่อยๆ คุณปีย์มองอย่างไร ปีย์ : ผมว่าอเมริกันเกี่ยวกับการมองโลก อเมริกันไม่ฉลาดเลย ถ้าอเมริกันฉลาดในมิดเดิลอีสต์คงไม่ฆ่ากันขนาดนี้ คงไม่เสียทหาร ไม่เสียงบประมาณ ขนาดนี้ที่ทำให้ซีเรียรบกัน หรือเกิดการแตกแยกในมิดเดิลอีสต์ เพราะฉะนั้นการมองโลกของอเมริกัน ผมว่าแคบมาก ปอง : ถ้าหากเราจะตอบอเมริกาว่าสถานการณ์บ้านเมืองเราเป็นอย่างนี้ เราจะเลือกตั้งแน่ๆ เราควรจะต้องตอบเขาว่าอย่างไร ปีย์ : อย่ามายุ่งได้ไหม เมืองใครก็เป็นเมืองมัน ปอง : ถ้าหากยืดออกไปพล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่เลือกตั้ง อย่างที่เคยบอกเอาไว้ว่าสิ้นปี 60 นี่  คุณยิ่งลักษณ์ถามเลยนะ ปีย์ : ก็ไม่ต้องตอบ คุณยิ่งลักษณ์ก็เป็นนักการเมือง สิ่งที่น่าจะทำที่สุดก็คือเชิญคุณยิ่งลักษณ์มาแล้วอธิบายให้คุณยิ่งลักษณ์ฟังว่าประเทศต้องไปอย่างไร คุณยิ่งลักษณ์ตอนนี้ก็อาจมีความรู้แล้วว่าข้างบนเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อก่อนนี้อาจจะไม่มี  ก็อธิบายให้ฟังว่าเราจะทำอย่างนี้ ไปกันได้ไหม ถ้าทุกคนคุยกัน ไม่ได้ทะเลาะกัน ปอง : คุณปีย์บอกว่าให้ตั้งวงเลย เรียกนักการเมืองมา แล้วคุยเลยว่า เราขอปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งก่อนนะ แล้วอาจจะใช้เวลาหน่อยนะ มันคงไม่ใช่เวลามันสั้นไป โรดแมปมันสั้นไปขอยืด คุณปีย์ว่านักการเมืองเขาฟังไหม ปีย์ : พูดอย่างนั้นเขาก็ไม่ฟังครับ ต้องบอกคุณทำอย่างไรถึงจะยืดได้ ถ้าเขาไม่ยอมประเทศก็เป็นแบบนี้ ผมเชื่อว่าวันนี้เรานั่งกันนี้ เราไม่รู้เลยว่าเราจะไปกันทางไหน บ้านผมพูดง่ายๆ ครับ ผมมีคนทำงานที่บ้านสัก 8-9 คน ช่วงเลือกตั้ง ทุกคนลากลับบ้านกันหมดไปเลือกตั้ง ถามไปทำไม ไปรับเงิน ถ้าตราบใดมันเป็นอย่างนี้ประเทศจะเป็นอย่างไร เราต้องแก้ปัญหาเริ่มที่ให้การศึกษา ให้คนเราเข้าใจจริงๆ ว่าประชาธิปไตยคืออะไร ความเสมอภาคคืออะไร ความเหลื่อมล้ำมันต้องมีขนาดนั้น ไม่ใช่เหลื่อมล้ำกันจนขนาดนี้ ปอง : เขาบอกว่าคุณปีย์ คือนักเจรจา และก็ครองตำแหน่งนี้มานานหลายสมัยมาก ไม่มีใครล้มแชมป์นี้ได้ ถ้าหากคุณปีย์จะทำหน้าที่เจรจาแทนนายกรัฐมนตรี ไปพูดกับบรรดาเหล่านักการเมืองทั้งหมด ว่าฉันจะยืดออกไป คุณปีย์จะพูดว่า ปีย์ : ผมไม่ไป ผมนอน เพราะพูดกันไม่รู้เรื่อง เพราะเขาเห็นแก่ตัว ผมจะเลือกไปกับคุณอภิสิทธิ์เพราะผมสื่อในเลเวลเดียวกัน แต่ถ้าผมไปคุยกับอดีตคุณสมัคร คุยกันไม่รู้เรื่อง ไปคุยกับคุณยิ่งลักษณ์ผมไม่มีโอกาสครับ แกอาจจะสวยเกินไปมั้ง ปอง : เดี๋ยวต้องไปคุยกับคุณวัฒนา เมืองสุข คุณปีย์คิดว่าคุณวัฒนา ไปรับทัศนะคติเที่ยวนี้ดีไหม ปีย์ : ไปปรับอะไรกันเช้าถึงเย็น ผมไม่ได้พูดถึงคุณวัฒนา ผมพูดถึงว่าถ้าใช้คำว่า ‘ปรับทัศนคติ’ ก็คือต้องปรับความคิดเห็นของเขา ถ้าเขายังปรับไม่ได้จะให้เขาออกมาทำไม ให้เขาอยู่ราบ 11 หรือโอเรียนเต็ลก็ได้ครับ แต่ปรับจนเห็นเหมือนกัน ปอง : โอ้โห อาจจะต้องทั้งชีวิต ปีย์ : ก็แค่ชีวิตเดียว เรามีตั้ง 71 ล้านคน ที่เราต้องดูแล คุณประยุทธ์มีคน 71 ล้านกว่า ที่ต้องดูแล ปอง : ถ้าเอาเข้าไปปรับทัศนคติทั้งชีวิต ชีสักวิตหนึ่ง ปีย์ : มันจะอะไรกัน แต่อาจจะปรับได้นะครับ ให้รอบด้านให้ดูหนัง ให้อ่านหนังสือ ให้รู้ว่าโลกเขาเป็นยังไง อาจจะปรับได้ ปอง : ทัศนคติคุณปีย์ต่อนักการเมืองไทย ถ้าจะบอกว่าไม่สู้จะดีนัก ใช่ไหม ปีย์ : ก็เห็นแก่เงิน และคอรัปชั่น ปอง : อุปสรรคของประเทศนี้คือนักการเมือง ปีย์ : พูดแบบนี้เดี๋ยวเขาโกรธผมนะ แต่ก็คงจะใช่ล่ะครับ ผมมองว่านักการเมืองที่เข้ามาเล่นการเมือง ควรจะมี ความรู้เรื่องโลก เรื่องประเทศไทยมากกว่านี้ ไม่ใช่กลับมาแล้ววันเสาร์อาทิตย์ก็ไปดอนเมืองขึ้นกลับไปท้องถิ่น รู้เฉพาะรอบตัวเล็กๆ คุณภาพคือต้องรู้แบบกว้าง อย่างคุณอภิสิทธิ์มานั่งคุยด้วย รู้ว่าคุณอภิสิทธิ์รู้เรื่องโลก แต่ไปคุยกับหลายคนในพรรคไม่รู้หรอก นึกออกไหมครับ รู้ว่าเมืองเพชรเป็นอย่างไร นักการเมืองต้องมองโลกให้กว้างกว่านี้ ปอง : คุณปีย์มองท่าทีของคุณทักษิณในช่วงนี้อย่างไรบ้าง ปีย์ : ก็วนไปวันมา จะไปไหนล่ะครับ มนุษย์มันก็เหมือนต้นไม้ เอาไปอยู่ที่ไม่มีรากมันก็ทรมาน แล้วก็โวยวายไปทั่ว ปอง : คุณปีย์มองว่าการใช้สื่อต่างประเทศ ของคุณทักษิณและคุณยิ่งลักษณ์อย่างไรบ้าง ปีย์ : ศูนย์ครับ คนกี่คนอ่านรู้เรื่องครับ คุณทักษิณพูดแต่นักข่าวเป็นคนเขียน คำถามที่นักข่าวถาม คุณทักษิณตอบ มันยัง ไปไม่ได้ ปอง : ความพยายามของคุณทักษิณและคุณยิ่งลักษณ์ที่จะใช้พื้นที่สื่อในต่างประเทศ เป็นการเอาโลกล้อมไทยบีบคุณประยุทธ์ มันจะได้ผลไหมคะ ในฐานะที่เป็นนักสื่อสาร ปีย์ : มันไม่ได้ผล ดูที่คุณประยุทธ์พูดภาษาไทยแต่คนถามเป็นภาษาอังกฤษ คุณประยุทธ์พูดออกมาจากใจและออกมาจากเจตนา จะดีจะเลวอย่างไรมันออกมาคนไทยฟังรู้เรื่อง ถ้าพรุ่งนี้ออกมาเป็นภาษาอังกฤษนะครับ แล้วคนแปลหละครับ เขาก็แปลตามใจเขา มันไม่ได้แปลตามใจคุณทักษิณ ปอง : คุณปีย์คิดอย่างไรกับหมายเรียกกรณี พล.ร.อ.พระจุณณ์ ตามประทีป ปีย์ : เราพูดไม่ได้ว่าจะเป็นสารวัต ต่างจังหวัดต้องจ่ายเท่าไหร่ ในกรุงเทพต้องจ่ายเท่าไหร่ เราพูดไม่ได้ เพราะเราไม่เห็นตอนเขาจ่าย ปอง : แต่มันมีจริงไหม ปีย์ : มาถามอะไรผม มีใครในห้องนี้ที่นั่งกันอยู่ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จริง ปอง : ถ้าจะบอกว่าตำรวจบ้านเราที่เลื่อนตำแหน่ง ไม่ต้องเสียเงินเสียทองเลยจริงไหม ปีย์ : มันก็มีแหละครับ แต่ทั้งนี้มันคงน้อย ปอง : ถ้ามีใครสักคนพูดว่า ยุคผมการเลื่อนตำแหน่งไม่เสียเงินเสียทอง คุณปีย์เชื่อไหม ปีย์ : ผมเชื่อ ถ้าหลานผมได้เป็นอธิบดีตำรวจ  ยังอีกนานครับ ปอง : ได้คุยกับ พล.ร.องพะจุณณ์ ไหมคะ หลังถูกหมายเรียก ปีย์ : ได้คุยครับ ให้กำลังใจสู้ๆ ปอง : คุณธรรม จริยธรรมของสื่อมวลชน คุณปีย์มองยังไง ปีย์ : อาย มันหลายเรื่องอย่างเรื่อง มันไม่ใช่สมัยนี้ มันก็มีอยู่คนเดียวเท่านั้นที่ผมคิดว่าผมจะกราบไหว้ได้ ว่ามีจรรยาบรรณสูง ก็คือพระพุทธเจ้าไง นอกนั้นไม่ใช่เอียงซ้ายเอียงขวา จ่ายหน้าจ่ายหลัง มันเป็นกฏของคนไทยธรรมดา ปอง : ในรอบ 10 ปีที่มีปัญหาบ้านเมืองขาดนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากสื่อมวลชนด้วย คุณปีย์คิดอย่างไร ปีย์ : ความสัมพันธ์ของนักการเมืองและสื่อมวลชน ผมอยาจะบอกว่าดีมากเลย เพราะว่าการสัมพันธ์ สื่อมวลชนกับนักธุรกิจ นักธุรกิจจ่ายสื่อมวลชนเป็นรายๆ ใครทำผิดมากๆ เราก็ไม่ด่าเขา เพราะว่าถ้าขืนด่าเดี่ยวไม่ได้รับ เนื่องจากผมทำสื่อมานาน คนนั้นไปอยู่นั้น อยู่นี้ บรรณาธิการบริหารมีอำนาจน้อยกว่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจน้อยกว่านายกรัฐมนตรี การปกครองก็ลำบาก ปอง : หมายถึงสื่อมวลชนถูกใช้ ถูกมวลชนถูกซื้อ ไปเป็นกระบอกเสียงให้นักการเมืองและนักธุรกิจ แต่ก็ไม่ทั้งหมดก็มีบางส่วน ปีย์ : นักธุรกิจถ้าไม่ใหญ่จริงก็ไม่มีประโยชน์ที่จะซื้อ ถ้าใหญ่จริงเขาก็ต้องซื้อพวกสื่อมวลชนไว้ ปอง : ถ้าถามคุณปีย์ว่า ณ วันนี้ถ้าเดินออกไปเจอพล.อ.ประยุทธ์ คุณปีย์อย่างจะพูดว่า ปีย์ : สวัสดีครับ จบ ปอง : แล้วถ้าเจอคุณทักษิณ ปีย์ : สวัสดีครับ จบ ปอง : เจอคุณยิ่งลักษณ์ ปีย์ : ไม่รู้จัก ปอง : เจอคุณอภิสิทธิ์ ปีย์ : สวัสดีครับ จบ ปอง : เพราะ ปีย์ : จะไปพูดอะไรครับต่างคนก็ต่างรู้ว่าตัวเองรู้หมดทุกอย่างแล้ว เชื่อเถอะถ้าผมโทรไปหานายกฯตอนนี้ เขาจะตอบว่า พี่ครับพี่แก่แล้วพี่อยู่เฉยๆ เถอะ เราอ่านเกมส์ออก ทุกคนมีข้อมูลหมด
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/54011
2014-06-14 21:01
ธิดา ถาวรเศรษฐ: เรื่องเล่าการถูกควบคุมตัว
ประธานที่ปรึกษากลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บอกเล่าเหตุการณ์ในช่วงถูกควบคุมตัวโดยคณะรัฐประหาร คสช. 22-28 พฤษภาคม 2557 ๐๐๐๐ เรื่องเล่าการถูกควบคุมตัว 22-28 พ.ค. 57 การประชุม 7 คณะ ที่สโมสรทัพบกที่ ผบ.ทบ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ขอนัดหลายฝ่ายรัฐบาล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ กปปส. นปช. คณะกรรมการ กกต. วุฒิสภา และผู้บัญชาการเหล่าทัพ พร้อม ผบ.ตร. เพื่อพบปะกัน โดยอ้างว่าเชิญมาตกลงเจรจากันเพื่อหาทางออกให้ประเทศ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกฝ่าย ฝ่ายละ 5 คน การเจรจาในวันแรก (21 พ.ค.) ให้ต่างฝ่ายแสดงความคิดเห็น ทิ้งประเด็นไว้ให้กลับมาพูดคุยใหม่ อันเกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรี, รัฐบาลกลาง, การเลือกตั้ง, การลงประชามติ, การสร้างบรรยากาศที่ดีและการยุติการชุมนุมทั้ง 2 ฝ่าย ในวันรุ่งขึ้น (22 พ.ค.) ก็นัดประชุมใหม่เวลาบ่าย 2 โมง สำหรับพวกเรากลุ่ม นปช. ส่วนมากของแกนนำถูกฟ้องข้อหาก่อการร้าย ศาลนัดไต่สวนพยานในวันที่ 22 และขอให้ศาลอนุญาตให้ไปประชุมได้ในเวลาบ่าย 2 โมง กับคณะของพลเอกประยุทธ์ (กอ.รส. ปัจจุบันกลายเป็น คสช.) พวกเรา นปช. 5 คนมี จตุพร, ณัฐวุฒิ, ผู้เขียน, ก่อแก้ว และคุณวีระกานต์ ก็ไปรับประทานอาหารพูดคุยกันก่อนเวลานัดหมายประชุม ก็ไม่ค่อยได้คุยอะไรกันมากมาย เพราะมีแฟนคลับบ้าง แขกที่บังเอิญเห็นบ้างเข้ามาทักทายเป็นระยะ ๆ แล้วก็ออกเดินทางไปถึงสถานที่ประชุมเวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง เพื่อเตรียมตัวเข้าประชุม ครั้นได้เวลาประชุมฝ่ายรัฐบาลก็เปิดการประชุมด้วยการยินดีถอยร่นให้คณะรัฐมนตรีได้ลดบทบาท Low Profile ให้ปลัดกระทรวงทำงานเป็นหลัก ยกเว้นเรื่องที่ต้องให้รัฐมนตรีทำ เช่น การรับสนองพระบรมราชโองการ งานรัฐพิธี ราชพิธี เท่านั้น ตามข้อเสนอสูตรหนึ่งของ กกต. เพื่อเตรียมการเข้าสู่การเลือกตั้ง แน่นอนว่าฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์โดยคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เห็นด้วย ส่วน นปช. โดยคุณจตุพร พรหมพันธุ์ ยังใช้ข้อเสนอเดิมคือทำประชามติก่อน ในที่สุดฝ่าย กปปส. ขอเวลานอกให้ได้พบปะกับ นปช. เป็นการขอเจรจาอ้างว่าขอความร่วมมือฝ่ายประชาชนด้วยกัน ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการเจรจา ยังไม่มีข้อยุติใด ๆ ทหารก็มาเตือนให้กลับเข้าห้องประชุมใหญ่ เมื่อกลับมายังห้องประชุมคุยกันได้ไม่กี่ประโยคลงท้าย ผบ.ทบ. ก็ลุกขึ้นยืนบอกว่า “ผมยึดอำนาจแล้ว” จากนั้นทหารถืออาวุธกรูกันเข้ามาในห้องประชุมแล้วก็เชิญออกมาควบคุมตัวขนาบ 2 ข้างทีละราย ที่ผู้เขียนเห็นคนแรกคือท่านรัฐมนตรีชัชชาติ ถัดมาเป็นคุณวีระกานต์ ต่อมาเป็นคุณจตุพร แล้วก็เป็นผู้เขียน ตามด้วยคุณก่อแก้ว จากนั้นจะควบคุมตัวใครอย่างไรผู้เขียนก็ไม่มีโอกาสรู้ จะควบคุมตัวฝั่ง กปปส. และพรรคฝ่ายค้านไปด้วยหรือเปล่าก็ไม่อาจทราบได้ แต่เดาว่าเขาคงควบคุมตัวด้วยชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคงปล่อยไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาธิปัตย์ 5 คน ส่วนตัวผู้เขียนเองถูกควบคุมตัวขึ้นรถตู้ เข้าใจว่ามีคุณก่อแก้วนั่งมาด้วย สักพักก็มีทหารใช้หมวกไหมพรมดำมาครอบหัวจงใจปิดตาเพื่อไม่ให้มองเห็น แล้วเอาเอ็นรัดข้อมือมามัดมือ 2 ข้างไว้ด้วยกัน หมวกไหมพรมครอบศรีษะ ปิดตาใช้ครอบซ้ำ 2 ชั้นเพื่อไม่ให้มองเห็นได้เลย ผู้เขียนคาดเดาว่ารถตู้ที่นำมาเพื่อขึ้นเฮลิคอปเตอร์ก็เป็นความจริง ก่อนหน้านี้ ณัฐวุฒิได้พูดในวงอาหารแล้วว่า ได้ข่าวว่ามีการเตรียมเฮลิคอปเตอร์ น่าจะเอา 2 ฝ่ายไปเก็บหมด แต่ไม่ได้ตระหนักว่าเป็นความจริง รวดเร็วเพียงไร แต่ละฝ่ายขนหัวหน้ามาหมด ยกเว้นฝ่ายรัฐบาลที่คุณนิวัฒน์ธำรงไม่มา และคุณจารุพงศ์หัวหน้าพรรคไม่มา นี่ต้องยอมรับว่าฝั่งเราประเมิน ผบ.ทบ. ต่ำไปในแง่นี้ แต่ถามว่าการสรุปทางออกว่าอย่างไร เขาต้องทำรัฐประหารแน่นั้นเราสรุปเช่นนี้มาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราศรัยของผู้เขียนใน 2-3 วันก่อนรัฐประหารว่า เมื่อวิถีทางต่าง ๆ ล้มเหลวในการกำจัดรัฐบาลและสิ่งที่เรียกกันว่า “ระบอบทักษิณ” ผู้เขียนได้ประเมินด้วยว่าจะประกาศใช้กฎอัยการศึกและทางสุดท้ายเขาจำเป็นต้องทำรัฐประหารในที่สุด นี่เป็นคำปราศรัยหลายครั้งที่ถนนอักษะ เมื่อเฮลิคอปเตอร์บินมาสักพักก็จอด (ก่อนหน้าขึ้นเฮลิคอปเตอร์ แว่นตาผู้เขียนก็ถูกยึดไป และได้รับคืนในเวลาต่อมา) ผู้เขียนถูกนำตัวขึ้นรถปิ๊กอัพ ยังถูกหมวกไหมพรมคลุมหัวจนถึงจมูก แล้วก็ถึงบ้านที่เขาให้เก็บตัว มีทหารถือปืนรักษาการณ์เข้มแข็ง หน้าบ้านและหลังบ้านมีลวดหนามกลมขนาดใหญ่เต็มล้อมบ้านไว้ ตอนแรกยังคาดว่าจะได้อยู่กับก่อแก้ว แต่กลายเป็นอยู่คนเดียว แล้วก็มาเสื้อผ้าชุดเดียว ไม่มีกระเป๋าติดมาเลย ปกติต้องกินยารักษาความดันโลหิตทุกวัน ก็บอกเขาแล้วว่ายารักษาโรคความดันโลหิตสูงต้องรับประทานทุกวัน และยาสำหรับผู้สูงอายุอื่น ๆ ที่สำคัญคือยาความดันโลหิต วันที่ 23 เช้า ยังออกมายืดเส้นยืดสายได้บ้าง แต่ไม่ถึงชั่วโมงทหารก็ขอให้ขึ้นไปอยู่เฉพาะในห้องข้างบน จะอยู่ภายในบ้านชั้นล่างก็ไม่ได้ ดังนั้นจากวันที่ 23 ถึงวันที่ได้รับการปล่อยตัวผู้เขียนก็ต้องอยู่ในห้องเล็ก ๆ 3.5 x 3.5 เมตร ตลอดเวลา...คนเดียว...ไม่มีหนังสือพิมพ์ ในวันที่ 26 จึงได้รับอนุญาตให้ดูทีวีได้ ดังนั้น 3 วันแรกนับจากถูกตำตัวออกมาจากห้องประชุม 7 ฝ่ายนั้น ผู้เขียนไม่ได้รับรู้ข่าวคราวข้อมูลใด ๆ ของพี่น้องประชาชนและสังคมไทยเลย สิ่งที่ตัวเองได้รับการปฏิบัติ ไม่ว่าจะใช้ถุงครอบหัวและมัดมือดุจอาชญากร ไม่ได้ทำให้วิตกกังวลใด ๆ เมื่อเทียบกับชะตากรรมของพี่น้องประชาชนเสื้อแดงที่ถนนอักษะและในทุกพื้นที่ที่ไม่รู้ว่าจะเผชิญสภาพเลวร้ายเพียงใด เมื่อได้ดูทีวีจึงพอรับรู้ข้อมูลว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างเท่าที่โทรทัศน์จะสามารถให้ข้อมูลได้ อย่างน้อยก็ได้รับรู้ประกาศของ คสช. ความจริงผู้เขียนต้องการเขียนบันทึกทุกวัน แต่เขาไม่ให้แม้แต่กระดาษเปล่า จึงเขียนได้ 4-5 หน้า หนังสือที่เอามาให้อ่านก็มีแต่หนังสือธรรมะแบบเดียวกับคนในคุก ประมาณว่าเป็นอาชญากร สมควรอ่านหนังสือธรรมะได้อย่างเดียว ผู้เขียนก็บอกว่าหนังสืออะไรก็ได้ ประวัติศาสตร์ ท่องเที่ยว อะไรก็ได้ เพราะตอนนั้นไม่แน่ใจว่าจะถูกขังอยู่นานเท่าไร? ไม่ได้พูดกับใครเลย เขาให้อยู่ชั้นบน ห้องขนาด 3.5 x 3.5 เมตร แต่ยังดีมีแอร์คอนดิชั่น และช่วงหลังได้ดูทีวีบ้าง ของไทยไม่มีอะไรดูก็ไปดูสารคดีและหนังต่างประเทศบ้าง วันแรก ๆ ผู้เขียนมอง ๆ ดูชั้นล่างเห็นหนังสือชีวประวัติอาจารย์เสาร์ เล่มเบ้อเริ่ม อ่านแล้วได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพระป่าธรรมยุติและประวัติศาสตร์ของประชาชนอีสานส่วนหนึ่ง ถือว่าได้หนังสือดี ได้รับรู้เรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ของพระสายธรรมยุติอีสาน สายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น ที่ผู้เขียนพูดกับนักข่าวว่า หนังสือธรรมะก็สนุกเหมือนกันคือเล่มนี้นี่เอง มีเรื่องราวกบฏผีบุญ ซึ่งผู้เขียนเพิ่งรู้ว่าไม่ได้มีคนเดียว สถานที่ที่ควบคุมตัวเป็นบ้านพักนายทหาร มองออกมามีต้นไม้ใหญ่ ด้านหน้ามีไม้ใหญ่เช่นมะม่วง ด้านขวามือมีต้นมะขามใหญ่ หน้าบ้านมีไม้ดอกลีลาวดีต้นใหญ่ รอบบ้านถูกล้อมด้วยลวดหนาม (หีบเพลง) มีทหารเฝ้าหน้าบ้าน หลังบ้าน ในบ้าน แรก ๆ ก็ให้รับประทานอาหารกล่องแบบเดียวกับทหาร แต่หลังจากนั้น 2-3 วันก็เริ่มมีอาหารใส่จานเดินมาส่ง และก็พยายามบริการอาหารเครื่องดื่มดียิ่งขึ้น แต่ไม่เห็นมีใครมาคุยเลย โดยเฉพาะนายทหารคงจะไม่มีเวลากระมัง จนถึงวันสุดท้ายที่จะปล่อยตัว จึงมีนายทหารมาแจ้งและได้คุยกันเล็กน้อย พร้อมทั้งแจ้งว่ามีกระเป๋าเสื้อผ้าและยาจากครอบครัว ผู้เขียนเข้าใจว่าคุณหมอสลักธรรมคงจะพยายามฝากยาและเสื้อผ้าให้แม่และพ่อ ลูกของเราคงจะยากลำบากในสถานการณ์เช่นนี้ และมารู้ภายหลังว่าในเย็นวันที่ 22 มีทหารมาค้นบ้าน ดีที่หมอสลักธรรมอยู่บ้านจึงได้เชิญตำรวจมาร่วมตรวจสอบและลงบันทึกหลักฐานและการตรวจสอบ วันรุ่งขึ้นทหารก็เอาเอกสารที่เก็บไปมาคืนที่สถานีตำรวจ นอกจากนั้นลูกได้ไปยื่นหนังสือกับ ผบ.ทบ. ในนามครอบครัวร่วมกับภรรยาแกนนำอื่น ๆ เพื่อขอเยี่ยมในฐานะคนในครอบครัว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและข้อตกลงให้สัตยาบันกับองค์กรสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ต้องเปิดเผยสถานที่คุมขัง ญาติต้องเยี่ยมได้ แต่ในที่สุดแม้จะเป็นประกาศกฎอัยการศึกเองก็รวมให้คุมขังไม่เกิน 7 วัน ไม่ว่าจะถูกคุมขังแบบไหนก็ตาม ซึ่งจริง ๆ หลักการของสังคมอารยะชน การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การคุกคามและเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ จึงอยากเรียกร้องมายังผู้กระทำรัฐประหารและประกาศกฎอัยการศึกให้เข้าใจประชาชนที่เขาต้องออกมาคัดค้านการทำรัฐประหารว่า ไม่ใช่เรื่องเกลียดชังส่วนตัว แต่เป็นปัญหาหลักการของประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ดังที่ท่านก็ทราบดีว่าวิธีการทหารไม่อาจแก้ปัญหาทางการเมืองได้จริง แต่อารยชนในสังคมโลกและสังคมไทยย่อมไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารยึดอำนาจประชาชน การจับกุมคุมขังประชาชน และต้องการให้คืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว คืนวันที่ 27 พ.ค. ก็มีนายทหารมาพูดคุยแจ้งว่าให้เตรียมตัวกลับพรุ่งนี้เช้าเวลา 06.00 น. ขอให้ตื่นตั้งแต่ 04.30 น. โดยจะให้ทหารมาเรียกที่ประตูพร้อมทั้งมีกระเป๋าใบเบ้อเร่อฝากมาให้ เราก็บอกเขาว่าต้องรีบเอามานะเพราะกลับไปแล้วจะต้องมาทวงคืนแน่นอน ก็ได้ผลคือเขารีบเอามาให้หลังจากนั้นทันที คุณหมอหวายขนเสื้อผ้ากับยามาเพียบเลยโดยเฉพาะยากับหนังสือสองเล่ม คงเข้าใจว่าแม่ต้องอยู่นานกระมัง ก็เลยได้มีโอกาสใช้ครีมล้างหน้าเพราะก่อนหน้าแชมพูสระผมเพียงขวดเดียวใช้งานในทุกกรณี ผู้เขียนตื่น 04.00 น. โดยไม่ต้องมีใครมาปลุก จากนั้นทหารมาเรียกให้ลงไปรอประมาณตีห้าเศษและใช้ผ้าปิดตา ต่อมามีนายทหารมาโวยวายและขอโทษเพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องปิดตาและออกมารอ จากนั้นประมาณหกโมงเศษก็ถูกนำขึ้นรถตู้และปิดตามาจนถึงกทม. สังเกตว่าบ้านใกล้ ๆ ก็มีรถตู้มาจอดอยู่ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นบ้านที่ควบคุมตัวคุณวีระกานต์ จนมาถึงใกล้สนามบินสุวรรณภูมิเขาก็เปิดตา ถือว่าเข้าเขตกรุงเทพฯ แล้ว ก็ตรงมาที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ เมื่อรถจอดจึงเห็นว่ามีรถตู้ตามกันมา 5 คัน ก็เข้าใจได้ว่าคงจะตามมาด้วยจตุพร ณัฐวุฒิ ก่อแก้ว ครบ 5 คนพอดี แล้วได้มาพบกันพร้อมหน้าในห้องประชุมเล็กเพื่อพูดคุยกันจนถึงบ่าย จากนั้นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ (มาก ๆ) ก็มาคุยแลกเปลี่ยนขอความเห็นใจในการทำรัฐประหารและขอความร่วมมือ ผู้เขียนก็ได้แสดงความคิดเห็นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคือ คนที่ต่อต้านการทำรัฐประหารนั้นเป็นปัญหาหลักการของผู้รักประชาธิปไตยไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว ขอให้หลีกเลี่ยงการจับกุมคุมขัง ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนพวกเราตกลงกันว่าให้คุณจตุพรเป็นผู้แถลงต่อหน้าสื่อเพียงคนเดียว และอันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องเป็นกังวลสักเท่าไร เพราะมีสื่อของกองทัพเพียงสื่อเดียวเท่านั้น จากนั้นนพ.สลักธรรมก็มารับพ่อกับแม่กลับบ้าน มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ได้แลกเปลี่ยนกันก่อนหน้านี้ได้ถามผู้เขียนว่าทำไมหน้าตาเฉย ๆ ไม่ยิ้มแย้มดีใจที่ได้กลับบ้าน ผู้เขียนกล่าวว่าจะยิ้มและดีใจได้อย่างไรเพราะยังมีคนที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวอีกมาก!!! เป็นอันว่าจบเรื่องไปตอนหนึ่ง ต้องถือโอกาสขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้ความเป็นห่วงปัญหาความปลอดภัยของแกนนำทุกท่าน แต่ว่าจริง ๆ เราเป็นห่วงความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนมากกว่า ดังนั้นความลำบากหรืออิสรภาพในช่วงเวลาสั้น ๆ นี้ไม่เท่ากับความห่วงใยซึ่งกันและกันของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกคน ขอบคุณและยังไม่รู้ว่าจะมีเรื่องทำนองนี้ให้เล่าในเวลาต่อไปอีกหรือเปล่า. รักและห่วงใยพี่น้องทุกคนธิดา ถาวรเศรษฐ13 มิ.ย. 57   ที่มา: เฟซบุ๊ก ธิดา ถาวรเศรษฐ [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/34384
2011-05-04 16:58
“สุเทพ” ไล่ “ฮิวแมนไรต์ วอตช์” กลับไปสอบคดีฆ่าจอห์น เอฟ เคนเนดี้
รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงไม่พอใจหลัง “ฮิวแมนไรต์ วอตซ์” เปิดตัวรายงานกล่าวหาทหารฆ่าเสื้อแดง ชี้ตอนเกิดเรื่องฆ่าตัดตอนองค์กรนี้ไม่รู้อยู่ที่ไหน ก่อนไล่ให้กลับไปทำคดีลอบสังหารเคนเนดี้ ลั่นไทยมีคณะกรรมการค้นหาข้อเท็จจริงชุด “คณิต ณ นคร” ที่มีความเป็นกลางแล้ว ทำไมต้องไปฟังฝรั่งมังค่าที่มากล่าวหาประเทศไทย ตามที่เมื่อวานนี้ (3 พ.ค. 54) ที่นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการองค์กรฮิวแมนไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch) ได้แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ย่านชิดลม เพื่อเปิดตัวรายงาน “Descent into Chaos: Thailand’s 2010 Red Shirts Protest and the Government Crackdown” เกี่ยวกับกรณีการสลายการชุมนุมทางการเมืองในเดือนเมษายน-พฤษภาคมปีที่แล้ว โดยตอนหนึ่งระบุว่าการตาย 91 ศพ ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นการกระทำของฝ่ายทหารโดยการใช้อาวุธ (อ่านข่าวย้อนหลัง ที่นี่ | อ่านรายงาน ที่นี่) ล่าสุดเช้าวันนี้ (4 พ.ค. 54) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ได้ตอบโต้นายแบรด อดัมส์ ว่าเห็นข่าวแล้วมีความเสียใจว่าองค์กรนี้ควรจะเป็นกลางและปฏิบัติให้ถูกต้อง ไม่เอนเอียง แต่ว่าก่อนที่จะพูดอะไรออกไปให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือภาพลักษณ์ของประเทศโดยส่วนรวม ควรจะต้องตรวจสอบข้อมูลให้ดีเสียก่อน น่าเสียดายตอนที่มีคดีอุ้มฆ่า ร่วม 3,000 ศพ องค์กรนี้ไม่รู้อยู่ที่ไหนไม่เคยได้ยินเสียง “ผมคิดว่าองค์กรพวกนี้ต้องไปดูที่ประเทศของตนเอง ตอนประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ถูกยิงตาย จนขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน หากประเทศไทยเกิดมีความยากลำบากในการทำหน้าที่ แล้วทำไมจะต้องลงโทษกัน ก็ยังทำหน้าที่ในการค้นหาข้อเท็จจริงกันอยู่ คณะกรรมการที่ค้นหาข้อเท็จจริงที่เป็นกลางเขาก็ทำหน้าที่ เช่น คณะของอาจารย์คณิต ณ นคร เป็นต้น ทำไมเราไม่ฟังคนอย่างอาจารย์คณิต ณ นคร หละ ทำไมเราต้องไปฟังฝรั่งมังค่าที่มากล่าวหาประเทศไทยล่ะครับ” นายสุเทพ กล่าว
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/53685
2014-05-31 16:56
เตรียม 38 กองร้อยรับมือ 8 จุดพรุ่งนี้ ปิดแยกราชประสงค์ 4 ด้าน BTS งดจอด 3 สถานี หลายห้างปิด 1 วัน
31 พ.ค. 2557 สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ [1]รายงานว่าพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มต่อต้านการควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีกระแสข่าวว่า จะรวมตัวกัน 8 จุด ในวันพรุ่งนี้ ได้แก่   1. บริเวณแยกราชประสงค์ 2. อนุเสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช 3. สี่แยกเทพารักษ์ 4. อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 5. อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย 6. อนุเสาวรีย์ปราบกบฏหลักสี่ 7. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา 8. ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์   โดย พลตำรวจเอกสมยศ กล่าวว่า จะใช้กำลังตำรวจ-ทหาร รวม 38 กองร้อย ดูแลทั้ง 8 จุด พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว หากมีการชุมนุมในจุดอื่น ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่จะปิดการจราจรแยกราชประสงค์ทั้ง 4 ด้าน คือ แยกเฉลิมเผ่า แยกเพลินจิต แยกหน้า Big C ราชดำริ และ แยกหน้า AUA ราชดำริ ส่วนประชาชนที่จะสัญจรผ่านย่านราชประสงค์ จะต้องแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ ยกเว้น แขกที่จะเข้าพักโรงแรม ให้จัดเจ้าหน้าที่ของโรงแรมประจำจุดตรวจ คอยอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าพัก และปิดการสัญจรบน Skywalk ตั้งแต่ เวลา 09.00 น. จนเสร็จสิ้นภารกิจ    ส่วนรถไฟฟ้า BTS งดจอดสถานีชิดลม เพลินจิต และราชดำริ ขณะที่ ห้างสรรพสินค้าอัมรินทร์พลาซ่า ประกาศปิดทำการ 1 วัน   ศูนย์การค้าย่านราชประสงค์แจ้งเวลาให้บริการ   ด้านสำนักข่าวไทย [2]รายงานว่าศูนย์การค้าเกษร ศูนย์การค้าอัมรินทร์ พลาซ่า และศูนย์การค้าเอราวัณ แบงค็อก แจ้งปิดศูนย์การค้าในวันพรุ่งนี้ 1 วัน และเปิดให้บริการปกติในวันที่ 2 มิ.ย. ส่วนศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เปิดให้บริการในวันพรุ่งนี้ ระหว่างเวลา 14.00-22.00 น. ส่วนเดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์ ยังเปิดให้บริการตามเวลาปกติในวันจันทร์ อังคาร พฤหัสบดี ศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น. และวันพุธ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 08.00-20.00 น. ติดตามข้อมูลได้ที่ www.facebook.com/heartofbangkok และ Instagram : Ratchaprasong
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/42888
2012-09-28 18:41
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: บทเรียนทักษิณ ชินวัตรกับปรีดี พนมยงค์
กรณีของปัญหาเริ่มจากการที่ นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้กล่าวในวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ว่า  เขาได้เขียนบันทึกส่วนตัวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ถ้าอยากเป็นรัฐบุรุษ ต้องรู้จักคำว่าเสียสละ แม้ว่าจะไม่กลับประเทศ ก็สามารถเป็นรัฐบุรุษได้เช่นกัน เหมือนนายปรีดี พนมยงค์ ที่ทำงานเพื่อประเทศโดยที่ไม่เคยกลับประเทศ เพียงเพราะอยากให้บ้านเมืองสงบ    ข้อเสนอของนายคณิต ได้รับการวิจารณ์ทันทีว่า เป็นข้อเสนอที่มาจากความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาด และยังไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงของสังคมไทย ส่วนหนึ่ง ก็มาจากทัศนะของนายคณิตเอง ที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น แต่นี่เป็นทัศนะแบบด้านเดียว เพราะปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย และกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนการรัฐประหาร ก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกด้านหนึ่งเช่นกัน ยิ่งกว่านั้น ในรายงานของ คอป.เอง ก็ระบุว่า สังคมไทยมีปัญหารากฐานในทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมาก เช่น ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ ปัญหาความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยทางการเมือง ฯลฯ กรณีเหล่านี้ คงแก้ไม่ได้ด้วยการเสียสละของ พ.ต.ท.ทักษิณ   แต่ที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์นั้น นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางออกจากประเทศ เพราะถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ ในครั้งนั้น กำลังของฝ่ายรัฐประหารได้ใช้รถถังบุกทำเนียบท่าช้างอันเป็นที่พำนักของนายปรีดี ทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยออกจากประเทศ หลังจากนั้น นายปรีดีก็ได้พยายามที่จะกลับประเทศหลายครั้ง ครั้งสำคัญ ก็คือ ได้เดินทางกลับมาเพื่อที่จะยึดอำนาจคืนในกรณี "ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒" แต่ล้มเหลว ถูกปราบปรามอย่างหนัก ซึ่งกรณีนี้จะรู้จักกันนามว่า "กบฏวังหลวง" นายปรีดีต้องหลบซ่อนอยู่ในบ้านแถวฝั่งธนฯ ๖ เดือน แล้วจึงหลบหนีออกไปได้ แล้วจึงไม่ได้กลับมาเมืองไทยได้อีกเลย   ประเด็นสำคัญต่อมา ก็คือ นายปรีดีถูกฝ่ายอนุรักษ์นิยมสร้างคดีใส่ร้ายป้ายสีว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ ๘ และใช้ศาลเป็นเครื่องมือ ในการตัดสินประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ ๓ คน คือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายเฉลียว ปทุมรส เพื่อเป็นการข่มขู่ไม่ให้นายปรีดีกลับประเทศ   ความจริงแล้วเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของนายปรีดี พนมยงค์ ก็มีบทเรียนอันอุดม จากการที่นายปรีดีนั้นมีพื้นฐานเป็นลูกชาวนา แต่อาศัยความสามารถทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสจนได้ไปศึกษาต่างประเทศ และกลายเป็นคนแรกของประเทศไทยที่สำเร็จถึงขั้นปริญญาเอกวิชากฎหมายจากประเทศฝรั่งเศส แต่นายปรีดีมิได้มุ่งที่จะนำเอากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจชนชั้นนำสถาบันหลัก และทำร้ายประชาชนเหมือนนักกฎหมายจำนวนมากในยุคปัจจุบัน หากแต่ต้องการที่จะใช้กฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม และในสมัยที่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย นายปรีดีก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร ซึ่งกลายเป็นสมาคมที่มีบทบาทนำในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕   หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายปรีดี พนมยงค์ ก็ยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอีกหลายประการในการสร้างระบอบใหม่ ตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญที่ใช้กันต่อมา มีส่วนในการปฏิรูปกฎหมายให้ประเทศไทยมีความทันสมัย และมีระบอบนิติรัฐอย่างแท้จริง จากนั้น ก็เป็นผู้ผลักดันหลักการปกครองท้องถิ่นเพื่อการกระจายอำนาจ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศที่เดินทางไปเจรจาเลิกสัญญาไม่เป็นธรรมกับมหาประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์ เป็นผู้ผลักดันการปฏิรูปปฏิรูปเศรษฐกิจ สร้างเศรษฐกิจชาตินิยม สร้างระบบภาษีใหม่ให้มีความเป็นธรรม และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ เป็นต้น   ต่อมา เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัชกาลที่ ๘ และกลายเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยรอดพ้นจากฐานะที่จะเป็นผู้แพ้ในสงครามโลก เป็นผู้ผลักดันให้การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๘ เป็นต้นมา และเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ เสด็จนิวัติพระนครก็ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐบุรุษอาวุโส และเป็นนายกรัฐมนตรี จึงสรุปได้ว่า นายปรีดี พนมยงค์ได้มีบทบาทสำคัญ และสร้างคุณูปการให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมาก   ความเป็นนักประชาธิปไตยของนายปรีดี พนมยงค์ ยังเห็นได้จากความพยายามในการประนีประนอมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยการนิรโทษกรรมให้นักโทษการเมืองฝ่ายนิยมเจ้าเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ และยังเปิดให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมออกหนังสือพิมพ์เพื่อเผยแพร่แนวคิดของตน และให้ตั้งพรรคการเมืองลงแข่งขันในการเลือกตั้ง โดยหวังว่าจะใช้กติกาประชาธิปไตยเข้ามาคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง หมายถึงว่า ถ้าพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้รับความนิยมจากประชาชนด้วยคะแนนเสียงที่มากเพียงพอ ก็สามารถที่จะเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลได้เช่นกัน   แต่กรณีนี้กลายเป็นความผิดพลาด เพราะกลุ่มอนุรักษ์นิยมนั้น มิได้มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เมื่อเปิดทางให้ฝ่ายนี้มีบทบาททางการเมือง กลุ่มอนุรักษ์นิยมก็ใช้การเมืองแบบใส่ร้ายป้ายสี เพื่อทำลายภาพลักษณ์ของนายปรีดีและรัฐบาลพลเรือน โดยเฉพาะการสร้างกระแสใส่ร้ายเรื่องกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ จากนั้น ก็ได้สนับสนุนให้ฝ่ายทหารก่อรัฐประหาร เพื่อทำลายคณะราษฎร ฉีกรัฐธรรมนูญ และทำลายประชาธิปไตย และผลจากการรัฐประหารนี้เอง ที่ทำให้ปรีดี พนมยงค์ต้องลี้ภัยต่างประเทศดังที่กล่าวมา   ดังนั้น ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะรับบทเรียนจากนายปรีดี พนมยงค์ คงไม่ใช่เรื่องการลี้ภัยต่างประเทศโดยไม่กลับ ตามที่นายคณิต ณ นคร นำเสนอ แต่เป็นเรื่องที่ต้องสรุปว่า พวกอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตยนั้น ไม่มีแนวคิดประชาธิปไตย ชอบสนับสนุนรัฐประหาร เข่นฆ่าประชาชน และไว้ใจไม่ได้ คนเหล่านี้ ชอบอ้างสถาบันหลักเพื่อใส่ร้ายทำลายผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น ถ้าหากต้องการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จะต้องอาศัยการสนับสนุนจากประชาชนไปดำเนินการ การประนีประนอมอ่อนน้อมต่อฝ่ายกระแสหลักนั้น ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด   บทเรียนในระยะ ๖ ปี สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เองก็บอกความข้อนี้ เพราะถ้าหากไม่มีการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนคนเสื้อแดงแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณก็คงหมดบทบาทไปแล้ว คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็คงไม่สามารถที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ กลุ่มชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตยก็คงมีอำนาจนำได้อย่างสมบูรณ์ การตื่นตัวและการต่อสู้ของประชาชน จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญแห่งอนาคต ที่จะทำให้สังคมไทยก้าวหน้าต่อไป
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/7371
2006-02-18 06:58
สำนักปลัดสำนักนายกฯ สอบสัดส่วนผู้ถือหุ้นไอทีวีหลังชินคอร์ปถูกขายไปเกือบเดือน
ประชาไท—18 ก.พ. 2549 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า แหล่งข่าวจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) กล่าวว่า ขณะนี้ สปน.กำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ว่า มีการกระทำผิดตามสัญญาร่วมการงานระหว่าง สปน. กับ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือไม่ โดยส่วนหนึ่งจะพิจารณาจากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ พร้อมกับทำหนังสือถึงไอทีวีให้ชี้แจงข้อเท็จจริงมาด้วย ว่าสัดส่วนการถือหุ้นในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร คาดว่าภายในสัปดาห์หน้านี้ พิจารณาสรุปกันอีกครั้งเดือนมีนาคม      ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ หรือไอทีวี ฉบับลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 ทำขึ้นในสมัยที่นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ เป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการแก้ไข เพื่อให้ไอทีวี เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยสัญญาข้อ 1.2 ระบุว่า ผู้เข้าร่วมงานจะต้องดำเนินการหรือจัดให้มีการดำเนินการควบคุมให้ผู้เข้าร่วมงานมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและต้องมีบุคคลสัญชาติไทย และหรือนิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าว ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียน    แหล่งข่าว กล่าวว่า ในสัญญาข้อ 13 หากมีการปฏิบัติใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามสัญญา สปน.จะมีวิธีปฏิบัติ โดยให้คู่สัญญาไปแก้ไขให้ถูกต้อง โดยให้เวลาอันสมควร หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนด สปน.จึงจะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือบอกเลิกสัญญาได้    ดร. เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า กรณีการขายหุ้นครั้งนี้ ให้ต่างชาติ ถือว่าผิดกฎหมายแน่นอน โดยเฉพาะกรณีของไอทีวี ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชนในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การคาดว่ากรณีไอทีวี ก็คงเช่นเดียวกับกรณีของ บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด คือมีการตั้งบริษัทตัวแทนที่เป็นคนไทยเข้ามาซื้อหุ้นคืน ซึ่งอยากตั้งข้อสังเกตว่าการขายหุ้นครั้งนี้เป็นการตบตาหรือเปล่า เป็นการขายแบบหลอกๆ    ขณะที่น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เปิดเผยว่า หลังจากคลี่คลายปัญหาเรื่องคดีฟ้องร้องระหว่างชิน คอร์ปอเรชั่นกับตนเองได้แล้ว คาดว่าในสัปดาห์จะเริ่มวางแผนรณรงค์ในเรื่องการนำสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกลับมาเป็นของประชาชนอีกครั้ง   ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/26657
2009-11-18 01:51
ทุนใหญ่หวนคืนชายแดนใต้ ผุด ‘ปัตตานีเพลส’ โปรเจ็กต์ 500 ล้าน
สัญญาณดี ทุนใหญ่หวนคืนชายแดนใต้ ผุด”ปัตตานีเพลส” ศูนย์การค้า ศูนย์กลางการศึกษา โรงแรม หอพัก โปรเจ็กส์มูลค่า 500ล้าน บนถนนสาย ม.อ. ระดมทุนจากสถาบันการเงินมุสลิม หวังช่วยด้านการศึกษาเด็กชายแดนใต้   นายทวีศักดิ์ มหามะ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ บริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (DRS DEVELOPMENT CO., LTD) ในฐานะกรรมการ(บอร์ด) บริหารโครงการปัตตานีเพลส เปิดเผยว่า บริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด มีแผนที่จะลงทุดก่อสร้างโครงการปัตตานีเพลส มูลค่า 500 ล้านบาท ขึ้นบนพื้นที่ 10 ไร่ ริมถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ห่างจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ( ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี ประมาณ 200 เมตร นายทวีศักดิ์ มหามะ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ บริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด   นายทวีศักดิ์ เปิดเผยต่อว่า โครงการปัตตานีเพลส คือการก่อสร้างศูนย์การค้าShopping Mall และศูนย์กลางการศึกษาขนาดใหญ่ใจกลางเมืองปัตตานี ประกอบด้วย IEC หรือ International Education Center เป็นอาคารสูง 5 ชั้นสำหรับบริการด้านการศึกษานานาชาติแห่งใหม่ในภาคใต้ ประกอบด้วย สถาบันทดสอบทางภาษา เช่น TOEFL, IELT และศูนย์ของมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ   นอกจากนั้นยังมีโรงแรมระดับ 4 ดาวชื่อ Pattani Hotel ขนาด 60 ห้อง พร้อมห้องสัมมนาขนาดใหญ่ มี Condotel หรือคอนโดมีเนียมจำนวน 4 อาคาร เพื่อบริการที่พักสำหรับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ทั้งยังมีโฮมออฟฟิศอีก 13 ยูนิต สำหรับเป็นสถานที่ให้บริการของสถาบันกวดวิชา ร้านค้าอุปกรณ์ทางการศึกษา (Stationary) และอื่นๆ พร้อมด้วย Hall Outdoor หรือลานกลางแจ้งสำหรับจัดกิจกรรมทางการศึกษา นิทรรศการ และงานแสดงสินค้าอีกด้วย   นายทวีศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า โครงการดังกล่าวคาดว่า จะเริ่มลงมือก่อสร้างได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 โดยเงินลงทุน 500 ล้านบาทดังกล่าว มาจากเงินของบริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เอง และจากการระดมทุนจากสถาบันการเงินต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันการเงินอิสลามหลายแห่งในภาคใต้ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์อัศศิดดีก จำกัด เป็นต้น   นายทวีศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การลงทุนดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งกำลังเกิดเหตุการณ์ไม่สงบอยู่นั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องลำบาก เนื่องจากนายอิบรอเฮง เจ๊ะอาหลี ประธานกรรมการบริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด มีประสบการณ์และมีงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขาดแคลนแรงงานฝีมือนั้น ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา เนื่องจากบริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ได้เตรียมความพร้อมในส่วนนี้อยู่แล้ว   “แม้เกิดเหตุไม่สงบใครๆ ก็ไม่กล้ามาลงทุน แต่เรื่องการพัฒนาก็ไม่ใช่ ว่าชาวปัตตานีไม่ต้องการ ซึ่งก่อนจะทำโครงการ เราก็มีการวิเคราะห์และวิจัยโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์แล้ว” นายทวีศักดิ์ กล่าว   นายทวีศักดิ์ กล่าวเสริมว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้นักลงทุนตัดสินใจร่วมลงทุนโครงการ Pattani Place เพราะตั้งอยู่บนทำเลทองใจกลางเมืองปัตตานีและราคาที่เป็นธรรม นอกจากนี้ ทางบริษัทฯได้วางกรอบแนวคิดในโครงการที่ประกอบด้วย Moral, Education, และ CSR (Corporate Social Responsibility) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนสิ่งแวดล้อม   “โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบทางด้านสังคม หรือ CSR นั้น บริษัทฯ ไม่ได้คำนึงเพียงเรื่องการสนับสนุนทางด้านการบริจาคหรือช่วยเหลือสังคมที่ ด้อยโอกาสจากผลกำไรในการประกอบการที่จะได้รับ หรือ เรื่องการจ่ายซากาต (ทานบังคับตามหลักศาสนาอิสลาม) แต่ยังคำนึงถึงความรับผิดชอบที่ไม่ละเมิดต่อ ผู้บริโภค ลูกค้า และคู่แข่งในทางกฎหมายเป็นประเด็นสำคัญ” นายทวีศักดิ์ กล่าว     โมเดลของ Pattani Place มูลค่า 500 ล้านบาท บนถนนสาย ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี ที่กำลังจะมีขึ้นเร็วๆนี้     นายทวีศักดิ์ เปิดเผยด้วยว่า สำหรับศูนย์การค้านั้น ทางบริษัทฯ ต้องการให้เป็นศูนย์การค้าฮาลาล หรือ ได้รับอนุญาตตามหลักการศาสนาอิสลามให้มากที่สุด โดยจะมีสถานที่ละมาด มีเสียงอาซาน(การประกาศเวลาละหมาด) ทุกครั้งเมื่อถึงเวลา เป็นต้น ส่วนที่พักสำหรับนักศึกษานั้น มีความต้องการสูงมาก เนื่องจากนักศึกษา ม.อ.วิทยาเขตปัตตานีมีจำนวนมาก ขณะเดียวกันหอพักที่มีอยู่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของผู้ปกครอง โดยเฉพาะผู้ปกครองนักศึกษามุสลิมที่ต้องการให้อยู่ในหอพักที่เหมาะสมสำหรับมุสลิม   นายทวีศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า บริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอป์เมนท์ จำกัด มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาอาสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะศูนย์การค้าที่ครบวงจร นอกจากนี้ยังมีทีมงานและทีมที่ปรึกษาที่มีความรู้และเข้าใจทางด้านการพัฒนาการศึกษาที่เป็นมืออาชีพ เข้ามาบริหารจัดการทางด้านการศึกษา เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยเฉพาะ เช่นการติว การอบรม และอื่นฯที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษา โดยจะมีอาคารศูนย์การศึกษานานาชาติที่ทางบริษัทฯได้ผนวกเข้าไปในโครงการอีกด้วย   สำหรับถนนสายดังกล่าว เป็นถนนสายเดียวในจังหวัดปัตตานี รวมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังคงมีความคึกคักมากทั้งกลางวันและกลางคืนท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้   ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2552 บริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ได้จัดเสวนาและนำเสนอโครงการ พร้อมแนะนำผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ไปแล้ว ที่ห้องประชุมเช็คอะหมัด-อัลฟาฏอนีย์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   โดยครั้งนั้น นายทวีศักดิ์ ได้เปิดเผยกับโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศราว่า ตนมักมองวิกฤติให้เป็นโอกาส และนั่นคือการตัดสินใจครั้งสำคัญด้วยการลงทุนครั้งใหญ่ที่ปัตตานี   “ผมเป็นนักธุรกิจ วันนี้พี่น้องในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในมุมมองของสื่อที่ได้เสนอออกไป ทำให้พื้นที่ตรงนี้ดูไม่น่าลงทุน เพราะมันน่ากลัว แต่ผมอยากขอเชิญชวนพี่น้องที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยให้มาเยี่ยมปัตตานี ถ้าถามว่าวันนี้ปัตตานีเป็นอย่างไร คำตอบคือเท่าที่ผมได้มาสัมผัส มันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เป็นข่าว”   นายทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่า ก่อนจะตัดสินใจลงทุน ได้ทำการศึกษาวิจัยเป็นอย่างดีแล้ว เพราะทราบดีถึงปัญหาในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สิ่งแรกที่ต้องดู คือ ทำเลที่ตั้ง ซึ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีศักยภาพ แต่สิ่งที่ทำให้เด็กขาดศักยภาพคือโอกาส ขาดโอกาสที่จะเติมเต็ม จึงหวังที่จะเพิ่มพูนความรู้ให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการต่อไป   “บนถนนเจริญประดิษฐ์ หรือถนนสาย ม.อ.นั้น สามทุ่มยังมีคนพลุกพล่าน ตรงนี้เองที่เรามองว่าดีมานด์สูง (หมายถึงความต้องการซื้อ) แต่ตัวซัพพลาย (ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ) กลับยังไม่มี เราไม่ใช่คู่แข่งขององค์กรอื่นๆ ในภาคธุรกิจ แต่เราพยายามเติมเต็มในส่วนที่ขาดมากกว่า” นายทวีศักดิ์ กล่าว   “ในปัตตานีเพลสจะมี ไออีซี หรือศูนย์การศึกษาในระดับนานาชาติ ซึ่งต่อไปนี้เด็กในพื้นที่สามจังหวัด หากต้องการศึกษาต่อ ก็ไม่ต้องเดินทางไปกรุงเทพฯแล้ว เพราะที่นี่จะเปิดเป็นสถานที่ทดสอบภาษาอังกฤษ และมีติวเตอร์เพื่อต่อยอดเรื่องการศึกษาในต่างประเทศด้วย” นายทวีศักดิ์ กล่าว   “ปัจจุบันเด็กไทยจบปริญญาตรีเยอะ แต่สาเหตุที่ไม่สามารถพัฒนาหรือเพิ่มมูลค่าเมื่อไปประกอบอาชีพได้ นั่นก็คือภาษาที่สอง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ โลกปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องใช้ติดต่อกันทั่วโลก ฉะนั้นถ้าเราทิ้งตรงนี้ก็เท่ากับขาดโอกาส รัฐบาลเองต้องกล้าที่จะสนับสนุน และกล้าท้าทายกับสภาพที่เป็นอยู่ วันนี้ปัตตานีเพลสเกิดขึ้นมาแล้ว รัฐบาลต้องมาขอบคุณและสนับสนุนพวกเรา ภายใต้ความกลัวนั้นยังมีโอกาสอยู่ ถ้าเราไม่ได้เติมเต็มในสิ่งที่ขาด ทุกอย่างก็จบเลย” นายทวีศักดิ์ กล่าว   ผศ.นิฟาริศ ระเด่นอาหมัด รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรม ม.อ.ปัตตานี ในฐานะที่ปรึกษาด้านวิชาการของโครงการ กล่าวว่า แรกเริ่มได้รับข้อเสนอจากนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความคิดจะทำธุรกิจเรื่องการศึกษา ส่วนตัวคิดว่าน่าจะช่วยได้ เพราะทราบปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างดีว่ามาตรฐานของเด็กในพื้นที่ต่ำกว่าที่อื่นๆ มาก ทำให้บางส่วนที่ทางบ้านมีฐานะการเงินดี จะส่งไปเรียนเพิ่มเติมที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และกรุงเทพ ฯ ทำให้เด็กต้องอยู่ไกลบ้าน อาจจะเสียผู้เสียคน ขณะที่เงินที่ต้องส่งเสียก็สูงขึ้น   “ผมเคยทำโครงการติวข้อสอบให้เด็กก่อนเอนทรานซ์ (การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในอดีต) มาหลายปี โดยเดินสายติวในพื้นที่สามจังหวัด ยกทีมจาก ม.อ.ร่วม 20 คนไปติว จะเห็นได้ว่าสมัยที่เราติวเด็กกันอย่างเข้มข้น เด็กในพื้นที่ของเราก็สู้ที่อื่นได้ แต่ช่วงหลังพอผมมาเป็นผู้บริหารก็ไม่มีเวลา ทำให้เลิกไป เพราะฉะนั้นความคิดของนักธุรกิจกลุ่มนี้ที่อยากสร้างศูนย์การศึกษาในพื้นที่ก็ตรงกับสิ่งที่ผมคิดเอาไว้นานแล้ว และผมน่าจะมีประสบการณ์ช่วยเหลือได้ จึงเข้ามาร่วมงาน”   “ผมคิดว่าปัตตานีเพลสจะเป็นศูนย์กลางเรื่องพัฒนาการศึกษาของภาคใต้ เราเองก็อยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์และอยู่ท่ามกลางปัญหามา 5 ปีแล้ว ยังไม่เคยเจอทางออกที่ดีแบบเลย ฉะนั้นอย่างน้อยถ้าเราบอกว่าเราอยู่ได้และไม่มีอะไรที่น่ากลัว เราสามารถพัฒนาคนได้ ธุรกิจก็เดินหน้า ก็เท่ากับว่าเราได้นับหนึ่งใหม่ โจทย์ในพื้นที่ที่เราต้องแก้ในวันนี้คือโอกาสทางธุรกิจ และโอกาสทางการศึกษา ถ้าเราเริ่มต้นโครงการได้ก็ถือว่าสามารถจุดประกายอะไรได้บางอย่าง และจะเป็นตัวนำไปสู่ความสงบของภาคใต้ได้อีกทางหนึ่ง”   “ในด้านของผู้ปกครองและตัวเด็กนั้น เมื่อไหร่ที่เด็กมีที่พักสะดวกสบาย และผู้ปกครองเด็กก็รู้สึกมั่นใจว่าเด็กไม่เหลวไหล ไม่หนีออกไปหาแสงสียามค่ำคืน ผมคิดว่าตรงนี้คือคำตอบ ผู้ปกครองจะได้ไม่ต้องส่งลูกไปเรียนถึงหาดใหญ่ ผมเองก็ส่งลูกไปเรียนที่หาดใหญ่ เพราะคิดว่าปัจจุบันถ้าเราไม่เติมความรู้เข้าไป เด็กจะเสียเปรียบแล้วไปสอบสู้คนอื่นไม่ได้เลย ขนาดการเปิดติวที่นำนักวิชาการจากส่วนกลางลงมาในพื้นที่ก็ยังไม่มากพอ เพราะเวลาที่ติวให้เด็กยังน้อยเกินไป”   ผศ.นิฟาริศ กล่าวอีกว่า วงการการศึกษาไทยต้องปรับตัวให้ทันกับสภาพสังคม ยกตัวอย่างเช่นยาที่หมอให้เรารับประทานนั้น ส่วนใหญ่จะมีรสขม ฉะนั้นยาบางตัวถึงต้องเคลือบน้ำตาลเพื่อให้รับประทานได้ง่าย ถามว่าน้ำตาลมีประโยชน์ไหม คำตอบคือไม่มีประโยชน์ แต่ก็เคลือบเอาไว้เพื่อให้เราทานได้ เหมือนกับการศึกษากับความสนุกสนานต้องเดินไปด้วยกัน   “ผมยังชอบคำของฝรั่งที่เอาคำว่า education (การศึกษา) กับคำว่า entertainment (บันเทิง) มารวมกัน และได้คำว่า Edutainment เพราะทุกคนต้องการเรียนรู้และบันเทิงไปด้วย แต่ความบันเทิงนั้นต้องอยู่ในกรอบที่เราสามารถคุมได้ ไม่ใช่เตลิดเปิดเปิงถึงขึ้นไร้สาระจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาที่มีอยู่”
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/54440
2014-07-06 14:50
ทนายสิทธิ จี้ คสช.ยกเลิกกฎอัยการศึก ปล่อยตัวธนาพล หยุดส่งพลเรือนขึ้นศาลทหาร
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นต่อกรณีการควบคุมตัว  นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการ สนพ.ฟ้าเดียวกัน โดยทหาร โดยอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึกว่าเป็นการจำกัดสิทะิเสรีภาพของประชาชน ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ชี้การจับกุมขาดความโปร่งใสและขาดซึ่งกระบวนทาง กม.ที่น่าเชื่อถือ การจำกัดเสรีภาพสื่อออนไลน์ที่ไม่มีการแสดงความเห็นที่ขัดต่อกฎหมายและการควบคุมตัวผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวซ้ำอีกครังเป็นการกระทำที่ขาดความชอบธรรม ในแถลงการณ์ ศูนย์ทนายสิทธิฯ ได้เรียกร้องให้ คณะรัฐประหาร คสช.ยกเลิกกฎอัยการศึกและการเควบคุมตัวหรือเรียกให้มารายงานตัวตามกฎอัยการศึกรวมถึงการยกเลิกการส่งตัวพลเรือนขึ้นพิจารณาคดีในศาลทหาร ๐๐๐๐   แถลงการณ์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนกรณีการควบคุมตัวนายธนาพล อิ๋วสกุล ซ้ำเป็นครั้งที่ 2อ้างโพสต์ข้อความออนไลน์ขัดเงื่อนไขการปล่อยตัว  6 กรกฎาคม 2557 สืบเนื่องจากนายธนาพล อิ๋วสกุล เป็นผู้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/ 2557 และได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาโดยต้องลงนามในเงื่อนไขท้ายประกาศคณะรักษาความสงบที่ 39/2557 เพื่อให้ได้รับการปล่อยตัว ต่อมาเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งไม่ยอมแจ้งชื่อและตำแหน่งได้ขอนัดหมายกับนายธนาพลฯ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2557 ในสถานที่สาธารณะแห่งหนึ่ง โดยนายธนพลฯ ได้ให้ความร่วมมืออย่างดี แต่กลับปรากฏว่า นายธนาพลฯ ถูกควบคุมตัวและนำตัวไปค่ายทหารโดยรถยนต์ซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นรถหรือยานพาหนะของราชการ อีกทั้งผู้ที่ทำการควบคุมตัวนายธนาพลฯ ก็ไม่ได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จับกุมตามกฎอัยการศึกแต่อย่างใด จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 18.30 น. ได้มีการนำตัวนายธนาพลฯ ไปยังกองบังคับการปราบปรามโดยยังไม่การแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ แต่มีการอ้างถึงการโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ของนายธนาพลฯ หลังการได้รับการปล่อยตัวว่าอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนเงื่อนไขของการได้รับการปล่อยตัวตามประกาศดังกล่าวข้างต้น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวและกรณีอื่นซึ่งได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวท้ายประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 39/2557 กรณีผู้ไปรายงานตัว และฉบับที่ 40/2557 กรณีผู้ถูกกักตัวตามกฎอัยการศึก ซึ่งให้ผู้ถูกปล่อยตัวระบุที่พักอาศัย ห้ามออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาต และห้ามเคลื่อนไหวหรือประชุมทางการเมืองใดๆ เป็นเงื่อนไขที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในการเดินทาง และเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม การจำกัดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องเป็นกรณียกเว้นที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และต้องกระทำอย่างพอสมควรแก่เหตุ โดยต้องไม่เป็นการห้ามหรือจำกัดเสรีภาพไปเสียในทุกกรณีจนเป็นการทำลายเสรีภาพนั้นเสีย อีกทั้งยังต้องมีมาตรการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามเงื่อนไขท้ายประกาศดังกล่าวกลับกำหนดมาตรการจำกัดเสรีภาพให้มีผลบังคับเป็นการทั่วไปในทุกกรณีและยังไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกปล่อยตัวโต้แย้งแสดงเหตุผลในการคัดค้านเงื่อนไขอันเป็นผลร้ายต่อบุคคล ไม่มีกำหนดระยะเวลา และหากไม่ลงนามก็จะไม่ได้รับการปล่อยตัว การยินยอมลงนามท้ายเงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นไปด้วยความสมัครใจ 2. การดำเนินการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลและดำเนินการตามอำนาจกฎอัยการศึกในลักษณะดังกล่าวไม่โปร่งใส่และขาดซึ่งกระบวนการทางกฎหมายที่เชื่อถือได้ อาจเป็นการล่วงเกินสิทธิเสรีภาพจนเกินขอบเขต เช่น การไม่แนะนำตัวและตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งอาจทำให้ประชาชนรู้สึกไม่มีความมั่นคงและปลอดภัยในการดำเนินชีวิต เนื่องจากไม่ทราบว่าการถูกควบคุมตัวของตนนั้นกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรืออาชญากร 3. การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งยังไม่ปรากฎว่าการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวขัดต่อกฎหมายหรือเป็นการยั่วยุให้นำไปสู่ความรุนแรง โดยอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก นำไปสู่การกักตัวบุคคล เป็นการใช้จำกัดสิทธิเสรีภาพโดยไม่มีเหตุอันควร เกินความจำเป็น ไม่ได้สัดส่วน และถือเป็นการใช้อำนาจโดยอำเภอใจและส่งผลเป็นการละเมิดเสรีภาพของบุคคล 4. การอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึกเพื่อกำหนดเงื่อนไขของการปล่อยตัวโดยห้ามมิให้บุคคลแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองอย่างสิ้นเชิงและเพื่อใช้ดุลพินิจควบคุมตัวบุคคลซ้ำอีก 7 วันเป็นครั้งที่สองในกรณีดังกล่าวนี้ จึงเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลแบบเหวี่ยงแห (blanket derogation) ซึ่งเป็นการใช้อำนาจเพื่อจำกัดหรือส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกินสมควร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งฝ่ายกฎหมายหมายจึงควรทบทวนเงื่อนไขและวิธีการที่ใช้บังคับตามกฎอัยการศึก โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพ เช่น การกักตัว การเรียกให้มารายงานตัว การติดตาม ติดต่อ การเยี่ยม การขอพบปะบุคคล ตลอดจนการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ซึ่งเป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางโดยปราศจากมาตรการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจ และนำไปสู่การใช้อำนาจโดยอำเภอใจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะแม้จะอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก แต่ความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของเจ้าหน้าที่ยังต้องอยู่ภายใต้หลักความพอสมควรแก่เหตุ ความโปร่งใส และการตรวจสอบถ่วงดุลโดยฝ่ายตุลาการ ด้วยเหตุดังกล่าวศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติปล่อยตัวนายธนาพล อิ๋วสกุล จากการควบคุมตัวโดยปราศจากเงื่อนไข และยืนยันข้อเสนอเดิมตามรายงาน 1 เดือนหลังรัฐประหารของศูนย์ทนายความฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอดังต่อไปนี้ 1. ให้ยุติการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก โดยยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีเหตุให้ใช้กฎอัยการศึกอีกต่อไปแล้ว และให้ใช้กฎหมายตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ 2. ให้ยุติการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกและยุติการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมโดยสงบหรือแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต รวมทั้งให้ยกเลิกประกาศห้ามชุมนุม 3. ให้ยกเลิกการบังคับให้บุคคลมารายงานตัว และการใช้อำนาจควบคุมตัวบุคคลโดยโดยอำเภอใจ 4. ให้ยกเลิกการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหารตามประกาศเรื่องความผิดที่อยู่ในอำนาจดำเนินคดีของศาลทหาร ด้วยความเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/3999
2005-05-16 00:02
เลี่ยงเมืองหางดง-สันป่าตอง แก้วิกฤติคอขวดสาย 108
ทางหลวงชนบทศึกษาลดวิกฤตจราจรทางหลวง 108 หวังแก้ย่างหางดง-สันป่าตองวิ่งฉลุย สร้างถนนเลี่ยงเมืองหางดง-สันป่าตอง เปิดประชาพิจารณ์ชาวบ้าน คาดเริ่มสร้างปี 49 สืบเนื่องมาจากปัญหาจราจรบนทางหลวงหมายเลข 108 ช่วงจากบ้านทุ่งเสี้ยว-ชุมชนบริเวณอำเภอสันป่าตอง-ชุมชนบริเวณอำเภอหางดง ซึ่งมีลักษณะคอขวดจากพื้นผิวการจราจรที่มีน้อยและไม่สามารถขยายได้ ก่อปัญหาต่อการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนเป็นอย่างมาก ทางหลวงชนบทจึงได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองฯ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรบริเวณดังกล่าวและขยายโครงข่ายระบบจราจรบริเวณตัวเมืองเชียงใหม่และการประชุมรับฟังความคิดเห็น เนื่องจากโครงการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองหางดง-สันป่าตอง(ตอนที่1)เป็นโครงการสาธารณูปโภคที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งแนวทางดำเนินโครงการมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาประเด็นด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อลดผลกระทบต่างๆที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในพื้นที่ระหว่างชุมชนและหน่วยงานรัฐได้ โดยได้จัดการประชุมสัมมนาครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการและรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นจากภาคประชาชน เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ โดยมีนายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธาน หลังจากนั้นจะเป็นการประชุมย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ชุมชนต่างๆที่ได้รับผลกระทบ นายมนูญ แสงเพลิง วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแทนกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ชี้แจงถึงรายละเอียดโครงการฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ กม.34+175 ของทางหลวงหมายเลข 108 และสิ้นสุดโครงการที่ กม.13+560 บนถนนเลียบคลองชลประทาน บริเวณที่ทำการฝายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 สำนักชลประทานที่ 1 โครงการแม่แตง รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 18 กิโลเมตร ส่วนตอนที่ 2 เป็นการพัฒนาถนนเลียบคลองชลประทานไปเชื่อมกับถนนวงแหวน จากการศึกษาได้วางแนวเส้นทางโดยหลีกเลี่ยงเขตชุมชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ได้วางแนวเส้นทางผ่านเป็นพื้นที่เกษตรกรรม อย่างไรก็ตามมีเขตชุมชนบางแห่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะชุมชนบ้านร่องขุ้ม สำหรับรายละเอียดด้านวิศวกรรมของถนนช่วงตัดใหม่จะมีความกว้างรวมทั้งสิ้น 40 เมตร มีพื้นผิวจราจรด้านละ 7 เมตร ไหล่ทางด้านละ 2.5 เมตร และเกาะกลางถนนกว้าง 4.2 เมตร ส่วนการพัฒนาถนนเลียบคลองชลประทานจะมีความกว้างรวมทั้งสิ้น 60 เมตร พื้นผิวจราจรด้านละ 7 เมตร และไหล่ทางด้านละ 2.5 เมตร เส้นทางทั้งหมดตัดผ่านที่ดินชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 5 และไม่ผ่านพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ส่วนบริเวณที่ตัดผ่านเส้นทางเดินของน้ำจะมีการออกแบบช่องทางน้ำผ่านให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา นายอภินันท์ โปราณานนท์ ทางหลวงชนบทจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของถนนเลียบคันคลองชลประทานว่าได้รับทราบจากกรมชลประทานว่าไม่มีงบประมาณในการดูแลรักษาถนนส่วนนั้น จึงอยากให้กรมทางหลวงชนบทรับไปดูแล จึงเป็นที่มาของโครงการนี้ด้วยส่วนหนึ่ง สำหรับแผนการในปี 2549 จะมีโครงการสร้างถนนเลียบคันคลองจากแยกสะเมิงไปถึงอำเภอสันป่าตอง ส่วนแผนการที่คาดหวังไว้ในอนาคตคือการสร้างเชื่อมกับถนนคลองชลประทานผ่านไปทางอำเภอแม่ริมถึงอำเภอแม่แตง ซึ่งจะทำให้สามารถเดินทางจากด้านอำเภอสันป่าตองไปด้านอำเภอแม่แตงได้โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ โครงการนี้จึงไม่เพียงลดปัญหาจราจรบนทางหลวงหมายเลข 108 โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงอำเภอหางดงซึ่งในชั่วโมงเร่งด่วนมีอัตราความหนาแน่นจราจรสูงถึง 2,200 คัน/ชั่วโมง แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางคมนาคมเพื่อรองรับการเติบโตของเชียงใหม่ในอนาคตอีกด้วย การศึกษาโครงการฯจะใช้เวลาทั้งสิ้น 7 เดือน โดยจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม 2548 โดยจะมีการปักธงขาวแสดงแนวพื้นที่ที่จะถูกเวนคืน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบรับทราบและเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างไรก็ตามในส่วนของการเวนคืนที่ดิน เมื่อกำหนดเขตพื้นที่ที่จะถูกเวนคืนแน่นอนแล้ว จะต้องผ่านเรื่องเพื่อออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นกระทรวงคมนาคมจะตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการจ่ายเงินชดเชย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการอีกระยะหนึ่ง ในส่วนของตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมประชุมจากระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ ประกอบด้วยตัวแทนจาก ตำบลน้ำแพร่ ตำบลหางดง และตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง ตำบลสันกลาง ตำบลน้ำบ่อหลวง ตำบลบ้านแม ตำบลยุหว่า ตำบลทุ่งสะโตก ตำบลแม่ก๊า ตำบลท่าวังพร้าว และตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง ตำบลยางคราม และตำบลสันติสุข กิ่งอำเภอดอยหล่อ ตำบลบ้านกาด ตำบลดอนเปา ตำบลทุ่งรวงทอง และตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งความคิดเห็นโดยรวมจากตัวแทนชุมชนเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือเห็นด้วยกับโครงการฯ เพราะเล็งเห็นว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรที่ติดขัด รองรับการคมนาคมในอนาคต เป็นประโยชน์ต่อการค้า การท่องเที่ยว รวมทั้งการขนส่งผลผลิตเกษตรกรรม ทั้งยังได้ร่วมกันเสนอแนะพัฒนาเส้นทางคมนาคมอื่นๆในชุมชนที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูง อย่างไรก็ตาม กำนันตำบลท่าวังพร้าวกล่าวว่าในอดีตที่ผ่านมาพื้นที่ชุมชนของตนได้รับผลกระทบจากการสร้างทางหลวงหมายเลข 108 มาแล้ว โดยประสบปัญหาน้ำท่วมขังจากการที่ถนนตัดทับทางเดินน้ำ สำหรับโครงการฯนี้ชาวบ้านในพื้นที่ก็ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด เพียงแต่อยากวอนขอให้มีการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ โดยเฉพาะช่องทางน้ำไหลผ่านบริเวณที่โครงการฯตัดกับทางเดินน้ำ ซึ่งในชุมชนของตนได้แก่ลำห้วยแม่ขาน การดำเนินการต่อไปจะเป็นการรับฟังความคิดเห็นย่อยในพื้นที่ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ โดยจะเริ่มต้นที่ อบต.หางดงเป็นแห่งแรก หากไม่มีปัญหาอะไรคาดว่าจะเห็นความคืบหน้าของโครงการฯภายในไม่เกินสิ้นปี 2549
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/70165
2017-02-19 15:31
SEAPA: สื่อกับการกำกับกันเองในสังคมที่แตกแยก
แวดวงสื่อสารมวลชนรู้กันดีว่าระบบการกำกับดูแลกันเองของสือมวลชนมีปัญหา ไม่สามารถควบคุมจริยธรรมกันเองได้ ทำให้ประชาชนขาดความเชือถือและมองข้ามความสำคัญของสือในฐานะที่เป็นกระจกส่องสังคมและหมาเฝ้าบ้าน อีกทั้งพัฒนาการด้านเทคโนโลยืการสื่อสารทำให้เกิดสื่อที่หลากหลายขึ้นบนพื้นที่ออนไลน์และสือสังคม (social media) บทบาทดั้งเดิมของสื่อในฐานะเป็นผู้ส่งสารจึงถูกลดทอนความสำคัญลงไปเพราะประชาชนมีทางเลือกเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและหลากหลายช่องทาง ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาทั่วโลก ขณะนี้จึงมีความพยายามหลายระดับเพื่อหาแนวทางปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลกันเองของสื่อให้ทำหน้าที่ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมและภูมิทัศน์สื่่อที่เปลี่ยนไป เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา สถานทูตสวีเดนและสถานทูตฟินแลนด์ ร่วมกับ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) จัดงานฉลองครบรอบ 250ปีกฎหมายสื่อมวลชน (พ.ศ.2309) ของสองประเทศ (ก่อนฟินแลนด์จะแยกตัวออกไปในปีพ.ศ. 2352) เพื่อให้เห็นความสำคัญของเสรีภาพสื่อมวลชนในระบอบประชาธิปไตย โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกที่่รับรองเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน ยกเลิกการเซ็นเซอร์สื่อ และให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางราชการ ทั้งสองประเทศยังเป็นต้นแบบของการกำกับดูแลกันเองของสื่อทีี่มีประสิทธิภาพ โดยสภาการหนังสื่อพิมพ์ของสวีเดนมีอายุครบ100 ปีเมือพ.ศ. 2559 และฟินแลนด์ฉลองครบรอบ 50 ปีในพ.ศ. 2561 งานดังกล่าวมีเวทีสาธารณะในหัวข้อ “จะพิทักษ์เสรีภาพสื่ออย่างไรในสังคมที่แตกแยก” และเวทีเฉพาะเรื่องการกำกับดูแลกันเองของสื่อจากประเทศสแกนดิเนเวียและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความเห็นจากสือมวลชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลกันเอง และนักเคลื่อนไหว ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศไทย อินโดนีเซีย เมียนมาร์ สวีเดน และฟินแลนด์ ที่่น่าจะใช้เป็นแนวคิดเพื่อปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนได้   ตัวอย่างการกำกับดูแลตัวเองจากนานาประเทศการกำกับดูแลกันเองจะมีประสิทธิภาพได้ต้องมี่องค์ประกอบสำคัญสามประการคือ หนึ่ง สิ่งแวดล้อมทางกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อ สอง กลไกการกำกับดูแลกันเองทีี่อยู่บนหลักการของความน่าเชือถือ ความโปรงใส และเป็นประชาธิปไตย และสาม การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและประชาชน องค์ประกอบดังกล่าวจะตอบคำถามว่า ทำไมการกำดับดูแลกันเองของประเทศสวีเดนและฟินแลนด์จึงมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีระบบกฎหมายที่่คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน และเสรีภาพของสืออย่างเต็มที่ ประชาชนทุกคนมีสิทธิเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างไม่มีการปิดกั้น แต่ถ้าไปละเมิดใครก็จะถูกจัดการตามกรอบกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกคนเท่าๆกัน นอกจากนี้กลไกสภาการหนังสือพิ่มพ์เป็นที่นิยมของประชาชนเพราะ เป็นระบบที่รวดเร็ว ไม่แพง น่าเชื่อถื่อ และโปร่งใส ตัวอย่างหนึ่งในกรณีฟินแลนด์คือ สภาสื่อทั้งในฟินแลนด์และสวีเดนเปิดให้การเป็นสมาชิกของสภาการหนังสื่อพิมพ์เป็นไปโดยสมัครใจ โดยสร้างแรงจูงใจให้สื่อที่เป็นสมาชิกได้รับความคุุ้มครองจากการถูกฟ้องร้องคดีที่ไม่เป็นธรรมเท่านั้น สภาสื่อฟินแลนด์ไม่ได้ใช้วิธีลงโทษสื่อที่ถูกร้องเรียนว่าละเมิดจริยธรรมด้วยวิธีการปรับหรือเพิกถอนใบอนุญาต แต่สามารถบังคับให้สื่อลงคำขอโทษหรือแก้ไขขัอมูลให้ถูกต้อง และในขณะที่ข้อร้องเรียนยังไม่มีการไต่สวน ก็มีการเปิดเผยข้อมูลด้วยการลงข่าวให้ประชาชนรับทราบและถือเป็นสถิติเพื่อให้เห็นความสำคัญของกลไกและสร้างการเรียนรู้เท่าทันสื่อไปในตัว เมื่อย้อนกลับมาดููประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบมีปัญหาทั้งสามส่วน หลายประเทศยังมีกฎหมายหลายฉบับที่ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ กลไกการกำกับดูแลที่ยังไม่มีประสิทธิภาพและน่าเชือถือ และภาคประชาชนที่ยังไม่เชื่อในบทบาทและการทำหน้าที่ของสื่อและมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่อน้อย ทั้งยังนิยมใช้ช่องทางศาลฟ้องร้องสื่อ กรณีของประเทศไทย ขณะที่สื่อถููกวิพากษ์ ความบกพร่องของสื่อก็กลายเป็นข้ออ้างให้รัฐเข้ามาจัดการปัญหาด้วยการผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งขัดกับหลักการพื้นฐานที่กำหนดว่า กลไกกำกับดูแลสื่อต้องสอดคล้องกับกระบวนการตามครรลองประชาธิปไตย ไม่ใช่ใช้อำนาจรัฐเข้าจัดการ เพราะนอกจากจะทำให้การปฏิรูปสื่อที่เคยริเริ่มไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 เสียเปล่า หรือถอยหลังไป 20 ปี มันยังสวนทางกับการกลับเข้าสู่สังคมประชาธิปไตยซึ่งรัฐบาลรัฐประหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาใช้อ้างอยู่เสมอ บางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย กลุ่มสื่อวิชาชีพเป็นฝ่ายผลักดันให้มีกฎหมายเพื่อรับรองการมีอยู่ของกลไกการกำกับดูแลกันเอง (legal entity) ซึ่งยังคงรูปแบบให้สื่อดูแลกันเอง (self regulatory body) ผ่านสภาการหนังสือพิมพ์ ไม่มีตัวแทนภาครัฐหรือแต่งตั้งจากภาครัฐอยู่ในสภาการหนังสือพิมพ์ สื่อเป็นผู้กำหนดมาตรฐานกลางทางจริยธรรมและวิชาชีพสื่อ คอยตรวจสอบว่าเพื่อนร่วมวิชาชีพทำตามมาตรฐานเหล่านั้นหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนทีได้รับความเสียหายจากการทำหน้าที่ของสื่อได้รับความเป็นธรรม และมีหน้าทีส่งเสริมและคุุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อ   ทั้งนี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากอินโดนีเซียแล้ว เมียนมาร์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีกฎหมายกำหนดให้มีการกำกับดูแลกันเอง กฎหมายกำหนดให้มีสภาวิชาชีพสื่อเพื่อบังคับให้กระบวนการไต่สวนคำร้องเรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจัง ส่วนฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่ใช้วิธีกำกับดูแลกันเองแบบสมัครใจโดยไม่มีกฎหมายรับรอง ตามด้วยประเทศไทย ความมีเสถียรภาพและความเป็นอิสระทางการเงิน (fiscal autonomy) จะช่วยให้การทำงานของสภาวิชาชีพสื่อเป็นอิสระและป้องกันการแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน บางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย เมียนมาร์ และติมอร์ตะวันออก มีกฎหมายระบุให้รัฐจัดสรรเงินเพื่ออุดหนุนการบริหารงานสภาวิชาชีพสื่อ แต่เงินจำนวนนั้นอาจไม่ครอบคลุมการทำงาน ยังต้องอาศัยการลงขันจากธุรกิจสื่อและประชาสังคมเพื่อให้เงินอุดหนุนสภาสื่อในการทำหน้าที่   สื่อจริง สื่อปลอม ระบบสมาชิกและใบอนุญาตหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มใช้การ “จัดระเบียบ” ด้วยการใช้ระบบ “ออกใบอนุญาต” สำหรับวิชาชีพสื่อ เช่นในอินโดนีเซียที่สภาการหนังสือพิมพ์่สามารถออกใบรับรองว่า คนทำงานคนหนึ่งเป็นสื่อที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานทางวิชาชีพ (professional standard) หรือเป็นผู้สื่อข่าวที่ผ่านการทดสอบความสามารถทางวิชาชีพ (competency test) ระบบนี้คล้ายกับสภาการหนังสือพิมพ์ของติมอร์ตะวันออกซึ่งเป็นน้องใหม่่ล่าสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สภาสื่อจะออกใบรับรองการเป็นสือมวลชน (ID card) โดยกำหนดให้นักข่าวต้องผ่านการฝึกงานเป็นเวลา6-18 เดือนก่อนจึงจะสามารถสอบขอใบอนุญาตได้ อย่างไรก็ตาม การระบุว่าใครเป็นสื่อหรือไม่ ก็เป็นอันตรายต่อการใช้เสรีภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน เพราะผู้ทำหน้าที่สื่อไม่ว่าจะอยู่บนแพลทฟอร์มไหน ย่อมต้องได้รับความคุ้มครองบนมาตรฐานเดียวกัน และทำงานภายใต้หลักจริยธรรมสื่อที่ไม่ต่างกัน แต่ในสังคมที่ยังอยู่กับความขัดแย้ง มักมีการกล่าวหาว่าการทำงานสื่อนั้นๆ อาจสมประโยชน์กับซีกการเมืองเพียงแค่บางกลุ่ม แต่เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในโลกเสรี ดังกรณีของฟินเลนด์ที่สื่อการเมืองเข้ามาเป็นสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ได้ เพียงทุกคนต้องยึดมาตรฐานทางจริยธรรมเดียวกัน   คดีฟ้องสื่อ เรื่องคลาสสิคที่เกิดขึ้นทั่วโลกในประเด็นของการฟ้องคดีต่อสื่อ ที่สวีเดนมีกฎหมายห้ามนายกรัฐมนตรีและบริษัททางธุรกิจฟ้องร้องสื่อ เพราะถือว่าสื่อมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล และช่วยกำจัดปัญหาคอร์รัปชั่นในราชการและธุรกิจ ซึ่งสื่อมวลชนที่ปฎิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรมก็จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ในกรณีของสวีเดนและฟินแลนด์ ถ้าผู้ร้องเรียนสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์มีหน้าที่พิจารณา และจะมีการทำความตกลงกันก่อนว่าจะไม่ไปฟ้องร้องคดึในศาล ในกรณีของอินโดนี่เซียก็เช่นกัน สภาการหนังสื่อพิมพเป็นองค์กรที่กฎหมายรับรอง แต่มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที มีการพัฒนาและปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลกันเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นมีการลงนามในข้อตกลงร่วมกับตำรวจที่ว่า หากมีคดีฟ้องสื่อ ก็ให้โอนมาให้สภาการหนังสื่อพิมพ์เป็นผู้พิจารณาไกล่เกลี่ย มีการออกจริยธรรมของสื่อออนไลน์ ส่วนกรณีของพม่า ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์ตั้งขึ้นได้ไม่ถึงสองปี และกำลังถูกท้าทายจากอำนาจรัฐ โดยกฎหมายสื่อมวลชนของเมียนมาร์ไม่ได้ระบุุชัดให้ใช้ช่องทางเดียวในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้เสียหายกับสื่อ จึงเปิดโอกาสให้มีการฟ้องร้องในศาลได้อีกทาง ซึ่งเมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการศาล แล้ว สภาการหนังสือพิมพ์จะเข้าไปยุ่งเก่ี่ยวไม่ได้ อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า อัตราการฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ในอินโดนีเซียเพิ่มสููงขึ้นทุกๆ ปี โดยคดีส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับคนทั่วไปที่ใช้สื่อ ไม่ใช่สื่ออาชีพ คล้ายกันที่เมียนมาร์ซึ่งมีคดีมากขึ้น หลังพรรคเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้งเมื่อปีเดือนพย. ปีพ.ศ.2558 และมีกรณีหนังสือพิมพ์ทีมีกรอบออนไลน์ถูกฟ้องเพิ่มสูงขึ้นโดยใช้กฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่ที่ควบคุมเนื้อหาที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต และมีบทลงโทษสูง  เฮทสปีช ข่าวปลอม ความท้าทายของสื่อสมัยใหม่การกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตยทั่วโลกล้วนประสบปัญหาในการคุุ้มครองเสรีภาพสื่อบนความรับผิดชอบและจริยธรรม และเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ท่ามกลางสภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่มีข้อจำกัดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐและนักการเมืองจ้องหาโอกาสที่จะใช้ข้ออ้างความมั่่นคง การรักษาความสงบและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพื่อเข้ามาควบคุมสื่อ ในฟินแลนด์ มีกระแสการต่อต้านผู้อพยพและคนเข้าเมืองโดยใช้พื้นที่ออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสาร และสร้างเฮทสปีช (hate speech) มีเว็บไซต์ “ข่าวปลอม” เพิ่มมากขึ้น อีเลน่า กรุนสตรัม (Elina Grundström)ประธานสภาการหนังพิมพ์ของฟินแลนด์กล่าวว่า แทนที่จะไปตามปิด ต้องทำให้สื่อมวลชนเข้มแข็งในเรืองจริยธรรม มีการตรวจสอบข่าวข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพก่อนออกข่าว ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความน่าเชือถือ ส่วนเนื้อหาเหล่านั้นก็ไม่ต้องไปให้ความสนใจ อิเลน่ายังกล่าวด้วยว่า จริยธรรมสื่อเป็นเรืองที่ต้องบ่มเพาะมาจากจิตสำนึกข้างในของผูัสื่อข่าว ถ้าผู่้สื่อข่าวปฎิบัตหน้าที่ิโดยชอบจะเป็นเกราะป้องกันตนเอง ท่ามกลางสังคมที่ไม่สนใจข้อเท็จจริง และกรณีของสวีเดน อูเล เวสต์เปอรี (Olle Wästberg) อดีตบรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์ Expresssen และอดีตผู้อำนวยการสถาบัน Swedish Instituteกล่าวว่า ต้องทำให้ประชาชนเห็นชัดว่า การทำหน้าที่สืออย่างเคร่งครัดนั้้นแตกต่างจากการการใช้เสรีภาพออนไลน์ทั่วไปของบุุคคลทั่วไป และการไปตามปิดช่องทางการสื่อสารต่าง ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และรัฐก็คงไม่สามารถไปตามปิดได้ท้ั้งหมด ด้านสตัฟฟาน แฮร์สเติร์ม (Staffan Herrström) เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย เห็นว่า แม้ในยุคที่หัวข้อข่าวถูกครอบงำโดยข่าวของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แต่หลักพื้นฐานอย่างเรื่องสิทธิในการเผยแพร่ข่าวสาร สิทธิในการรับรู้ข่าวสาร การต่อต้านการเซ็นเซอร์ รวมถึงหลักพื้นฐานที่ห้ามไม่ให้เอาตัวนักข่าวไปดำเนินคดี ยังคงเป็นหลักสำคัญที่ต้องยึดถือเสมอทั้งนี้ ต้องส่งเสริมให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเองอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการกำกับดูแลกันเองไม่ใช่การเซ็นเซอร์ตัวเอง “สื่ออาจจะดีหรือแย่ ก็ยังต้องมีเสรีภาพ เพราะถ้าไม่มีเสรีภาพสื่อ สังคมก็จะไม่เหลืออะไรเลยนอกจากเรื่องแย่ๆ” ทูตสวีเดนกล่าว     หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ https://www.seapa.org/protectingmediaindividedworld/ [1]
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/35851
2011-07-05 02:01
ใจ อึ๊งภากรณ์: ประชาชนปฏิเสธเผด็จการมือเปื้อนเลือดอย่างชัดเจน
การเลือกตั้งครั้งนี้พิสูจน์อย่างเถียงไม่ได้เลยว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่มีวุฒิภาวะและอุดมการณ์ประชาธิปไตย เพียงพอที่จะปฏิเสธเผด็จการมือเปื้อนเลือดของอำมาตย์ และสิ่งที่น่ามหัศจรรย์คือ มันเป็นชัยชนะของพรรคเพื่อไทยภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะฝ่ายอำมาตย์ปิดกั้นสื่อและกลั่นแกล้งสร้างอุปสรรค์ให้กับเพื่อไทยและคนเสื้อแดงมาตลอด แต่คำถามสำคัญหลังการเลือกตั้งคือ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะมีวุฒิภาวะและอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เท่าเทียมกับประชาชนผู้เลือกหรือไม่ และจะเดินหน้าพัฒนาสิทธิเสรีภาพกับประชาธิปไตย หรือจะประนีประนอมแบบสกปรกกับฝ่ายเผด็จการ ผลการเลือกตั้งครั้งนี้พิสูจน์ว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ก่อตั้งในค่ายทหารหลังการยุบพรรคพลังประชาชน ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่เลย และประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนขบวนการเสื้อแดงมาตลอด มันพิสูจน์อีกว่าพวกชนชั้นกลาง สื่อมวลชน เอ็นจีโอเหลือง และพวกพันธมิตรฯ โกหกเวลาพยายามแสวงหาความชอบธรรมกับการทำรัฐประหาร 19 กันยา ภายใต้อคติหลอกลวงว่า “มีการโกงการเลือกตั้งในอดีตโดยไทยรักไทย” หรือ “ประชาชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงข้อมูลและไม่เข้าใจประชาธิปไตย” สรุปแล้ว พวกที่สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยา สนับสนุนพันธมิตรฯ สนับสนุนการปราบปรามคนเสื้อแดง หรือสนับสนุนการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญปี 2540 ล้วนแต่เป็นคนส่วนน้อยที่โกหกบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับสังคมไทย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนชั้นสูง ซึ่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับผลประโยชน์ของประชาชนคนจน นอกจากนี้ การเลือกตั้งพิสูจน์ว่าประชาชนปฏิเสธพวกนายพลเผด็จการอย่างประยุทธ์ จันทร์โอชา อนุพงษ์ เผ่าจินดา หรือสนธิ บุณยรัตกลิน ที่แทรกแซงการเมือง ทำลายประชาธิปไตย และเข่นฆ่าคนเสื้อแดง ดังนั้นมันถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะต้องมาทบทวนบทบาทของกองทัพ และปลดนายพลที่แทรกแซงการเมืองออกจากตำแหน่ง รัฐบาลของอภิสิทธิ์ที่พึ่งแพ้การเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่เคยชนะการเลือกตั้งเลย แต่แย่กว่านั้น ผลงานของรัฐบาลนี้มีแต่สิ่งเลวร้ายคือ ปกปิดข้อมูลและเซ็นเซอร์สื่ออย่างรุนแรง เพิ่มจำนวนนักโทษการเมืองในคดี 112 อย่างสุดขั้ว เข่นฆ่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยเกือบ 90 ศพด้วยทหารสไนเปอร์ และสร้างความตึงเครียดที่ชายแดนเขมรจนเกิดการยิงกันอย่างไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิง สรุปแล้วรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ลากสังคมไทยให้ถอยหลังลงคลองอย่างเดียว และโกหกเพื่อหลอกลวงประชาชนไทยและชาวโลกอีกด้วย.... แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกหลอกแต่อย่างใด การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการกู้ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพกลับมา... อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งอย่างเดียวแก้วิกฤตไทยไม่ได้ และที่สำคัญคือ การแก้วิกฤตจะไม่สำเร็จถ้ามีการ “ปรองดอง” หรือ “ประนีประนอม” กับฝ่ายเผด็จการ เพราะภาระสำคัญของชาวประชาธิปไตย คือการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ผ่านการรื้อถอนพิษภัยของเผด็จการทั้งหมด ในเรื่องนี้ผมไม่ได้เสนอให้ “แก้แค้น” ใคร แต่เราต้องไม่ปล่อยให้คนที่กระทำความผิดลอยนวล และปล่อยให้มีการละเมิดเสรีภาพเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ดังนั้นภาระเร่งด่วนของชาวประชาธิปไตยคือ 1. ต้องปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนทันที และการยกเลิกคดีการเมือง อันนี้รวมถึงการปล่อยนักโทษเสื้อแดงในทุกจังหวัด และนักโทษคดี 112 อีกด้วย 2. ต้องปลด ผบ.ทบ. ประยุทธ์ ออกจากตำแหน่ง ในฐานะที่แทรกแซงการเมืองในช่วงหาเสียง และในฐานะที่ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านนโยบายของพรรคเพื่อไทย เพราะ ผบ.ทบ. ต้องไม่มีอำนาจพิเศษ ต้องรับใช้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว ตามกติกาประชาธิปไตยสากล 3. ต้องนำนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ นายประยุทธ์ และนายอนุพงษ์ ขึ้นศาลในคดีฆ่าประชาชนที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ 4. ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ของทหาร และนำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้ชั่วคราว ก่อนที่จะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ 5. ต้องยกเลิกการเซ็นเซอร์สื่อมวลชน อินเตอร์เน็ด และวิทยุชุมชนทันที เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน 6. ต้องยกเลิกกฏหมาย 112 และ พรบ. คอมพิวเตอร์ เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และในระยะยาว สังคมไทยจะต้องเริ่มกระบวนการปฏิรูปกองทัพอย่างถอนรากถอนโคน เพื่อลดงบประมาณทหาร นำกองทัพออกจากสื่อ และลดบทบาทกองทัพในการแทรกแซงการเมือง นอกจากนี้ต้องทบทวนและปฏิรูประบบยุติธรรมที่มีปัญหาสองมาตรฐานมาตลอด และต้องมีการพัฒนาสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการในรูปแบบ “ถ้วนหน้า-ครบวงจร-ผ่านการเก็บภาษีจากคนรวย” เพื่อเพิ่มความเท่าเทียมและความเป็นธรรมทางสังคม สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้วัดความจริงใจและอุดมการณ์ประชาธิปไตยของรัฐบาลใหม่ เพราะแค่การหมุนนาฬิกากลับไปก่อนรัฐประหาร 19 กันยา และการ “ลืม” อาชญากรรมของฝ่ายอำมาตย์ จะต้องถือว่าเป็นความล้มเหลว ภาระทั้งหมดอันสำคัญเหล่านี้ เราคงเดาได้ว่าพรรคเพื่อไทยคงจะไม่มีเจตตนาในการผลักดันหรือกระทำแต่อย่างใด ดังนั้นขบวนการเสื้อแดงจะต้องรวมตัวกันและเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดัน หรือ “ช่วย” ให้รัฐบาลกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เสื้อแดงสำคัญอย่างยิ่งในช่วงนี้ เพราะเราจะต้องไม่ปล่อยให้คนเสื้อแดงที่เสียสละและออกมาสู้เพื่อประชาธิปไตยโดนทอดทิ้งหรือถูกหักหลัง
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/68645
2016-11-02 17:05
สภา อบต. เขาหลวงปิดประชุมสภา ชะลอการพิจารณาต่ออายุทำเหมืองในที่ป่า ในช่วงเวลาโศกเศร้า
ประธานสภา อบต. เขาหลวง ขอใช้อำนาจปิดการประชุม ชะลอการพิจารณาเอกชนขอต่ออายุใช้พื้นที่ป่า และพื้นที่ ส.ป.ก. ทำเหมืองทอง ชี้ยังเป็นช่วงเวลาของการไว้อาลัย และไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย 2 พ.ย. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.30 น. ที่ อบต.เขาหลวง อ.วังสะวัง จ.เลย ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้านประมาณ 100 คน ได้เดินทางมาถึง อบต.เขาหลวง เนื่องจากทราบว่าวันนี้จะมีการเปิดประชุมสภาเพื่อพิจารณาเรื่องการต่ออายุให้บริษัทเอกชนใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ปฎิรูปเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) เพื่อดำเนินการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีการเลื่อนวันประชุมเดิมจากวันที่ 16 พ.ย. 2559 มาเป็นวันนี้แทน ชาวบ้านจึงได้นัดรวมตัวกันมาเพื่อสังเกตการณ์ประชุม ต่อมาเวลา 08.20 น. เจ้าหน้าที่ทหารนำโดย พ.ต.อุไร เปอร์ดี ได้เข้ามาพูดคุยกับชาวบ้านวึ่งรวมตัวกันอยู่บริเวณใต้อาคารสำนักงานว่า ขอให้ชาวบ้านติดตามสถานการณ์การประชุมอย่างสงบ พร้อมทั้งระบุว่าอำนาจในการตัดใจพิจารณาต่ออายุการใช้ปะโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ ส.ป.ก. นั้น เป็นอำนาจการตัดสินใจของสภา อบต. จากนั้นในเวลา 10.50 น. เมื่อสภา อบต. ได้พิจารณาวาระแรกเรื่องแผนงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นเสร็จแล้ว สมัย ภักดิ์มี ประธานสภา อบต.เขาหลวง ได้ใช้อำนาจในการปิดการประชุม โดยระบุว่า ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาของการไว้อาลัย และเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย จึงขอใช้อำนาจในการปิดประชุมสภาในวันนี้ อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า วีระพล กัตติยะ สมาชิกสภา อบต. เขาหลวง ได้พยายามยกมือเพื่อจะคัดค้านการปิดประชุมสภา และต้องการให้มีการประชุมต่อไป ซึ่งมีญัตติเรื่องการต่ออายุใบอนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้และ ส.ป.ก. เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำ แต่ประธานสภา ระบุว่า ตนได้กล่าวปิดการประชุมไปแล้ว พร้อมเดินออกจากห้องประชุมพร้อมสมาชิก สภาอบต. คนอื่นๆ พร้อมชี้แจงการประชุมให้ชาวบ้านซึ่งรออยู่ด้านนอกให้รับทราบ ทั้งนี้การประชุมสภาอบต. ยังคงมี 3 ครั้ง คือ วันที่ 4, 9, 16 พ.ย. 2559  ซึ่งชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน ยังมีความกังวลใจอยู่ว่าอาจจะมีการนำญัตติเรื่องการต่ออายุใบอนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้และ ส.ป.ก. เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำ เข้ามาพิจารณาในที่ประชุมอีกครั้ง โดยไม่แจ้งให้ชาวบ้านทราบ
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/26267
2009-10-20 01:28
เวทีคู่ขนาน วิพากษ์รัฐอาเซียน เมินส่งเสริมสิทธิพลเมือง
วันที่ 19 ต.ค. 52 ที่ห้องประชุมเพชรบุรีแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมฮอลลิเดย์อินน์ รีเจนท์ ชะอำ จ.เพชรบุรี  มีการจัดเวทีหารือประเด็นสังคมและวัฒนธรรมในหัวข้อ “สิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน” ในเวทีมหกรรมประชาชนอาเซียน ครั้งที่ 2 และการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน ครั้งที่ 5 โดยมีนายอัษฎา ชัยนาม ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศตัวแทนนายกษิต ภิรมย์ เข้าร่วมอภิปรายร่วมกับตัวแทนจากภาคประชาชนหลายฝ่าย ติงอาเซียนเพิกเฉยข้อเรียกร้องภาคประชาสังคม นางสาวสมคิด มหิสยา ตัวแทนจากมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) กล่าวว่า อาเซียนต้องทบทวนว่าภายหลังจากภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์ไปเมื่อต้นปี 52 อาเซียนได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง โดยสิ่งที่ไม่ได้รับความสนใจจากอาเซียน คือเรื่องสิ่งแวดล้อม การศึกษา และสาธารณสุข นางสาวสมคิด เรียกร้องต่ออาเซียนว่า อาเซียนยังไม่ได้จัดงบประมาณทางด้านการศึกษา ส่วนงบประมาณทางด้านสาธารณสุขก็ยังไม่เพียงพอ การจัดการในเรื่องความช่วยเหลือด้านมหันตภัยในต่างประเทศ อย่างกรณีนาร์กีสก็ยังไม่เป็นระบบ อาเซียนควรจัดหน่วยงานด้านบรรเทาภัยธรรมชาติในกรณีฉุกเฉิน และร่วมกันช่วยเหลือเพื่อนมนุษยชนอย่างโปร่งใส นอกจากนี้ในด้านการศึกษา ทุกคนต้องเข้าถึงการศึกษา ควรมีการวางแผนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน “อาเซียนควรสนับสนุนให้การศึกษาเข้าถึงทุกคน มีแผนการระดับภูมิภาค มีการศึกษาทางเลือก มีการช่วยเหลือแบบพหุภาคี ยอมรับในความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม มีความเท่าเทียมกันทางเพศ” นางสาวสมคิดกล่าวและแสดงความหวังว่า หลังจากภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์แล้ว จะได้รู้ความคืบหน้าต่อไป   กษิตหาย อัษฎาสวมบทสตั๊นแมน ชี้อาเซียนต่างกับอียู สำเร็จยาก นายอัษฎา กล่าวว่า“รู้สึกเหมือนสตั้นแมนหรือนักแสดงแทน เมื่อมีฉากเสี่ยงตายมักจะใช้ตัวแสดงแทนดารา เป็นตัวแทนของนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากท่านติดภารกิจต้องเดินทางไปยังต่างประเทศ ซึ่งการมาในครั้งนี้เปรียบเสมือนการกลับบ้านมาเจอเพื่อนเก่าๆ ในอดีต” นายอัษฎา กล่าวถึงสาเหตุที่ประชุมอาเซียนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรว่า อาเซียนและยุโรปแตกต่างกันในหลายๆ ด้านตั้งแต่การรับประเทศเข้าเป็นสมาชิก ประเทศที่เข้าร่วมสหภาพยุโรปหรืออียู ต้องเป็นประชาธิปไตย มีระบบการค้าขายแบบทุน ทำให้มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้มากกว่าประชาคมอาเซียนที่มีความหลากหลายในด้านสังคมวัฒนธรรม ส่วนปัญหาทางด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนั้น นายอัษฎา กล่าวว่า ทำได้ยาก คนรวยก็รวย ส่วนคนจนก็จน เป็นกันหมดทั้งโลก ซึ่งเราควรตระหนักถึงเรื่องนี้ด้วย ผู้พิการจวกอาเซียนไม่ส่งเสริมสิทธิ นางสาวสุพัฒนาพร ธนะนิคม ตัวแทนจากสมาคมคนพิการนานาชาติเอเชีย – แปซิฟิก (Disabled People International-Asian- Pacific Forum: DPI-AP) กล่าวว่า ตลอดเวลา 40 ปีที่อาเซียนก่อตั้งขึ้นมา อาเซียนไม่ได้ใส่ใจปัญหาของคนพิการเลย ทั้งทางด้านสิทธิความเท่าเทียม เสรีภาพ ความเสมอภาคในการดำรงชีวิต อาเซียนควรจะส่งเสริมการอาชีพอย่างเพียงพอและเหมาะสมให้ประกอบอาชีพอย่างมีศักด์ศรีและเคารพถึงสิทธิมนุษยชน ผู้พิการนั้นจะต้องพบอุปสรรคในการดำรงชีวิต ทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ทัศนคติ การเข้าถึงเทคโนโลยี ความยากจน และการคมนาคมที่ยากลำบาก อาเซียนจึงควรจะตระหนักในประเด็นปัญหานี้ นาวสาวสุพัฒนาพร ฝากถึงการประชุมอาเซียนในปีหน้าว่า อยากให้มีตัวแทนของผู้พิการนำเสนอปัญหาวิถีชีวิต วัฒนธรรมต่างๆ และวิธีการในการแก้ไขปัญหาต่อไป เยาวชนแนะตั้งกองทุนการศึกษาอาเซียน นางสาวเช แอนด์ ตัวแทนเยาวชนอาเซียนประเทศกัมพูชา กล่าวว่า เยาวชนควรมีสิทธิเทียบเท่าผู้ใหญ่ ควรให้โอกาสให้เยาวชนเข้าไปร่วมตัดสินใจในนโยบาย การศึกษาเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานไม่ใช่อภิสิทธิ์ เยาวชนต้องเข้าถึง และควรมีการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนการศึกษาซึ่งเป็นกองทุนจากทุกประเทศเพื่อการศึกษาของคนไร้สัญชาติ ส่วนสาธารณสุขยังมีไม่เพียงพอและไม่เข้าถึงเยาวชน ประกันสังคมถูกครอบงำโดยรัฐบาล  นางสาวเช แอนด์ เรียกร้องว่า ควรตั้งศูนย์หรือพื้นที่ของเยาวชนเพื่อให้ได้แสดงออกแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วัฒนธรรม รวมถึงอาเซียนควรออกกฎบัตรเยาวชนอาเซียนด้วย ถามอาเซียนส่งออกแรงงานหรือวัวควาย นายซามีดูไร สินาปัน ตัวแทนจาก Task Force on ASEAN Migrant Workers (TF-AMW) กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติเป็นปัญหาสำคัญ และสาเหตุที่แรงงานเลือกข้ามพรมแดนก็เพราะไม่มีงานทำ “อาเซียนมีประชาชน 570 ล้านคน แต่มีแค่ 270 ล้านคน ที่มีงานทำ การส่งออกแรงงานของอาเซียนเหมือนวัวควาย แต่นี่เราไม่ได้พูดถึงวัวควายเราพูดถึงคน คนเดินออกจากประเทศเพราะในประเทศไม่มีงานทำ เพราะความยากจน ความหิวโหย มีคนฆ่ากันตาย พวกเขาทนไม่ได้จึงต้องอพยพออกมา เมื่อ 40 ปีก่อนอาเซียนเป็นองค์กรที่ออกกฎหมายได้ ออกข้อตกลงต่างๆ ได้ แต่ทำไมถึงไม่มีการช่วยเหลือผู้คนเหล่านี้” นายซามี กล่าวต่อว่า แรงงานควรได้รับสวัสดิการที่ดีและรายได้ที่เป็นธรรม โดยประชาชนอาเซียนต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อโน้มน้าวรัฐบาลให้จัดตั้งสหภาพแรงงานจัดตั้งภาคีเพื่อหาข้อสรุปของปัญหาทั้งหมด จวก!รัฐลอยแพชนเผ่าพื้นเมือง นายเจน คาร์ลิ่ง ตัวแทนจาก Asian Indigenous People’s Pact (AIPP) กล่าวว่าคนพื้นเมืองหรือกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอาเซียน ชาวเขา ชนเผ่าต่างๆ กว่า 1,000 ชาติพันธุ์ มีความแตกต่างทั้งทางภาษา และวัฒนธรรม มากกว่าในแถบภูมิภาคอื่น ประเด็นสำคัญคือพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับ พวกเขาไม่ได้รับสิทธิใดๆ จากภาครัฐ ไม่มีสิทธิถือครองที่ดินทำกิน ถูกละเมิดสิทธิ ขณะเดียวกันวัฒนธรรมของพวกเขาก็ถูกมองว่าเป็นวัฒนธรรมที่ป่าเถื่อน อาเซียนจึงควรส่งเสริมความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และยอมรับในความหลากหลายของชาติพันธุ์
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/35262
2011-06-04 15:23
โรคลึกลับระบาดในฟาร์มเลี้ยงสุกรในย่างกุ้ง
มีรายงานว่า นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบสุกรเป็นจำนวนมากในฟาร์มเลี้ยงและที่เลี้ยงกันตามครัวเรือนในเมืองอินเส่ง หล่ายตายา และในเมืองเลกู่ ในเขตกรุงย่างกุ้งตายไม่ทราบสาเหตุ โดยการสืบสวนเบื้องต้น เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ของพม่ารายงานว่า สุกรตายเพราะเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ด้าน ดร.โซวิน หัวหน้ากรมปศุสัตว์ในย่างกุ้งอ้างตามผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่า สุกรไม่ได้ตายจากโรคหูสีฟ้า หรือโรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) แต่พบว่าติดเชื้อแบคทีเรีย ขณะที่เมื่อเร็วๆนี้พบว่า เกิดการระบาดโรคหูสีฟ้าในเขตพะโคซึ่งติดกับย่างกุ้ง ทั้งนี้ ทางการได้ห้ามขนย้ายสุกรออกจากเขตพะโคนับตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ระมัดระวังและป้องกันตัวเอง อย่างไรก็ตาม ดร.โซวิน กล่าวเพิ่มเติมว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่มียารักษาโรคหูสีฟ้าในพม่า ในอีกด้านหนึ่ง ชาวบ้านในเขตพะโดได้เปิดเผยกับสำนักข่าวดีวีบีว่า ขณะนี้ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มรู้สึกกังวลว่าจะเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ เนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรบางส่วนไม่สามารถจัดการกับสุกรเป็นจำนวนมากที่ตายลง จึงทิ้งซากหมูที่ตายแล้วตามถนนและตามท่อระบายน้ำ และขณะนี้ยังพบว่า สุนัข แมวและวัวในพื้นที่ก็พบว่าติดโรคและกำลังป่วยเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคำเตือนจากทางการให้ระวังโรคระบาด แต่กลับพบว่าผู้เลี้ยงสุกรบางส่วนยังคงนำเนื้อสุกรที่ติดโรคไปชำแหละและขายในท้องตลาดตามปกติ แม้ราคาเนื้อสุกรจะลดลงในช่วงนี้ก็ตาม ซึ่งเรื่องนี้กำลังสร้างความกังวลให้กับผู้บริโภค ในขณะที่กรมปศุสัตว์ของพม่าและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations-FAO) ยังไม่สามารถเข้ามาจัดการกับเรื่องนี้อย่างจริงจังได้ ส่วนโรคหูสีฟ้าก่อนหน้านี้ได้ระบาดหนักในหลายพื้นที่เช่น จังหวัดมัณฑะเลย์และในกรุงเนปีดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่มาแล้ว (Mizzima / DVB 2 มิถุนายน 54) แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ \สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน\"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost"
0neg
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/59741
2015-06-11 20:47
ถกร่าง พ.ร.บ.กสทช. ชี้ยังไม่ตอบโจทย์ ปัญหาเพียบทั้งเชิงโครงสร้าง-คุ้มครองผู้บริโภค
เปิดเวทีเสวนาประเด็น พ.ร.บ.กสทช. ถกช่องโหว่ ร่าง พ.ร.บ. 2558 ผู้เชี่ยวชาญชี้ ควรแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งในส่วนขององค์กร การจัดสรรคลื่นความถี่และการคุ้มครองผู้บริโภค 11 มิ.ย.2558  ส่วนงานเลขานุการ กสนทช. และส่วนงาน กสทช. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดเวทีเสวนา NBTC Public Forum 2/2558 เรื่อง “พระราชบัญญัติ กสทช. : สิ่งที่อยากเห็นและควรเป็น ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ พร้อมกับวิทยากรรับเชิญ ดังนี้ ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะผู้ยกร่าง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับคณะกรรมมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สปช. บรรยายในหัวข้อ “แนวคิดและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (2ฉบับ) โดย ปิยะบุตร เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาของ กสทช. ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. กสทช. 2553 และร่าง พ.ร.บ. กสทช. 2558 ที่ร่างโดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน ฉบับเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา ในวันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2558 ปิยะบุตร กล่าวถึงโครงสร้างปัจจุบันของ กสทช. ในภาพรวมที่เป็นปัญหานั้นมีอยู่ห้าประการ ได้แก่ การขาดผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ที่เกี่ยวข้อง, การขาดธรรมาภิบาลและการทำหน้าที่นอกกรอบอำนาจ, ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับการทำงาน ไม่นำความคิดเห็นผู้บริโภคไปพิจารณา, ไม่ดำเนินการบนพื้นฐานของการศึกษาและงานวิจัย และไม่คุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดปัญหาคอขวดเรื่องการร้องเรียน แก้ปัญหาได้ช้า ไม่ทันการ ปิยะบุตรยังกล่าวถึงข้อสรุปของคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์กิจการโทรคมนาคมและเศรษฐกิจดิจิทัล ว่ายุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปจะมีคลื่นความถึ่ซึ่งเป็นทรัพยากร สาธารณะเป็นแกนกลาง และวางภารกิจการปรับปรุงแก้ไขไว้สี่ส่วน ได้แก่ พ.ร.บ. กสทช, การกำกับดูแลวิชาชีพสื่อ, การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการคุ้มครองผู้บริโภค และยังแสดงข้อสังเกตจากคณะอนุกรรมาธิการฯ เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในประเด็นต่างๆ ดังนี้ คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและจำนวนที่ต้องการ ที่ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว พยายามลดความเคร่งครัดในเรื่องของจำนวนที่ต้องการ เป็นรายตำแหน่ง เป็นจำนวนเบ็ดเสร็จทั้งสิ้นเจ็ดคน รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นมา ไม่ได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องการขาดผู้เชี่ยวชาญที่ขาดความรู้ความสามารถที่เพียบพร้อม เช่นการได้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมแต่เข้าใจเรื่องธุรกิจ กระบวนการสรรหา กสทช. ไม่ควรดำเนินการโดยตัวแทนจากองค์กรอิสระที่มีภารกิจในการตรวจสอบ เช่น ป.ป.ช. คตง. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน อีกทั้งการโอนหน้าที่ธุรการของการสรรหามาไว้กับกับสำนักงาน กสทช. ซึ่งแต่เดิมเป็นของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภานั้น ไม่เหมาะสม เพราะหวั่นว่าจะมีข้อยุ่งยากในฐานะที่สำนักงาน กสทช. เองเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อผลลัพธ์การสรรหา ในหัวข้อความเป็นอิสระของ กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลภายใต้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นั้น ปิยะบุตร ได้กล่าวว่า ไม่ควรให้คณะกรรมการฯ ไม่ควรมีอำนาจในการปรับเปลี่ยนแผนและนโยบายของ กสทช. เพราะขัดกับคำจำกัดความขององค์กรอิสระ ถ้าจะทำเช่นนั้น ก็ขอให้ใช้มาตรการทางกฎหมายในการเอาผิดซึ่งสามารถทำได้ การประมูลแก้ไขคลื่นความถี่ที่ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุว่าไม่ให้คำนึงถึงราคาแต่เพียงอย่างเดียวนั้น ถือเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด สามารถแทนที่ด้วยการกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขเสียตั้งแต่ก่อนการประมูล การจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นมา และได้รับเงินจากกองทุนของ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ไม่มีการเน้นย้ำเรื่องภารกิจการให้บริการอย่างทั่วถึงเหมือนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. 2553 ที่สำคัญก็คือ ควรให้กองทุนดิจิทัลฯ ดำเนินการตามวิธีงบประมาณจากรายได้แผ่นดินตามวิธีปรกติ กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. (กตป.) ควรเป็นหน่วยงานประเมินจากภายนอก ร่วมกับกลุ่มวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะที่ผ่านมาการประเมินจากภายใน กสทช.ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทั้งนี้ การประเมินโดยผู้แทนจาก ป.ป.ช. สตง. ไม่ควรทำการประเมิน เพราะเป็นหน้าที่ซ้ำซ้อนจากภารกิจหลักของตนที่เป็นผู้ตรวจสอบอยู่แล้ว การคุ้มครองผู้บริโภค คณะอนุกรรมาธิการฯ ชี้ว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่ได้ปรับปรุงเรื่องปัญหาความล่าช้าของการแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียน เสนอให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่เฉพาะเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคได้ด้วยตัวเอง ไม่รวมเอาไว้กับ กสทช. อาจจะกลับไปใช้สถาบันคุ้มครองผู้บริโภค หรือมอบหมายหน้าที่ให้กับ กสทช. คนใดคนหนึ่งก็ได้ ท้ายสุด ยังมีประเด็นเบ็ดเตล็ดอีกสองประเด็น ได้แก่ ประเด็นการปรับเปลี่ยนถ้อยคำต่างๆ ที่ทำให้เป็นภาระที่ไม่จำเป็นในการปรับแก้ และบทบัญญัติที่เหมือนจะเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลบางกลุ่ม จากนั้น จึงเป็นการเสวนาโดยวิทยากรรับเชิญทั้ง 6 ท่าน โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่การพิจารณาเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.กสทช. 2558 ในประเด็นของการคัดสรรบุคลากร, การจัดการลักษณะโครงสร้างและการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ กสทช. และแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค กมธ.ยกร่างรธน. แนะตรวจสอบไม่เว้นเลขาฯ กสทช. เสนอวิธีจับฉลากคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ สุภัทรา นาคะผิว กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งคำถามถึงกระบวนการสรรหา กสทช. ว่า จะสามารถคัดสรรบุคคลที่มีคุณภาพจริงๆ และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่ถูกคัดสรรเข้ามาหรือไม่ พร้อมเสนอว่าหลักการกำกับผู้เชี่ยวชาญใน พ.ร.บ. 2553 ดีกว่าเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ปัจจุบัน ทั้งยังเสนอวิธีการสรรหาผู้เชี่ยวชาญในขั้นสุดท้ายด้วยวิธีการจับฉลาก ภายหลังกระบวนการคัดสรรผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเท่าๆ กันแล้ว เพื่อป้องกันการซื้อตำแหน่งและตัดปัญหาการเกิดพฤติกรรมต่างตอบแทนในอนาคต ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน สุภัทรา กล่าวว่า กระบวนการประเมินควรจะประเมินผู้บริหาร และเลขาธิการของ กสทช.ด้วยเพิ่มเติมจากการประเมินสำนักงาน สุภัทรา เสนอว่า ในการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานที่รับเรื่องร้องเรียนที่ปัจจุบันอยู่ในสำนักงาน กสทช.ควรแยกออกจากกัน เพื่อให้หน้าที่การคุ้มครองผู้บริโภคและการรับเรื่องร้องเรียนเป็นไปอย่างอิสระ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นหลักประกันให้ผู้ร้องเรียนมั่นใจว่าเมื่อร้องเรียนแล้วจะได้รับการดำเนินการต่อ ได้รับการคุ้มครอง และยังทิ้งท้ายว่า การแก้ไขเนื้อหาตามร่าง พ.ร.บ. 2558 นอกจากจะไม่ตอบโจทย์ปัญหาที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังเป็นการเอื้อประโยชน์กับคนบางกลุ่ม และทำให้ปัญหาขยายตัวมากกว่าเดิม สปช. มองโลกหมุนเร็วกว่าแผนงาน เปรยเจ้าพนักงานยึดติดภาพระบบราชการ พนา ทองมีอาคม กรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สปช. ให้ความเห็นในภาพกว้างว่า กสทช. มีอุปสรรคในการจัดทำแผนกำกับตรวจสอบ อันมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว โครงข่ายและปริมาณข้อมูลในระบบสารสนเทศที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลา อันสั้น ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน อย่างไรก็ตาม สภาพตลาดที่มีการแข่งขันสูง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ กสทช. จะต้องมีความเป็นกลางทางเทคโนโลยี ไม่ชี้ขาดให้เทคโนโลยีชนิดใดชนิดหนึ่งมีความได้เปรียบในตลาด พนา ยังกล่าวถึงปัญหาการบริหารองค์กรว่า วิธีการสรรหากรรมการมาบริหารไม่เปิดกว้าง ลักลั่น ไม่สามารถหาผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ความคิดเห็นในการบริหารไม่อยู่ในหลักวิชาการและความเป็นเหตุเป็นผล ก่อให้เกิดการตัดสินใจตามกระแสแทนที่จะเป็นไปตามความรู้ความสามารถ การจัดโครงสร้างองค์กรของ กสทช. เอง ก็ไม่เอื้อต่อการบังคับใช้กฎหมาย การละเมิดกฎหมายมีอยู่ทั่วไป การกระจายบุคลากรตามเครือข่ายในพื้นที่ต่างๆ ไม่ได้สอดรับกับภาระหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งๆ ที่มีบุคลากรเยอะ มีงบประมาณเยอะกว่าบางกระทรวง อีกทั้งเจ้าหน้าที่จำนวนมากยังเคยชินกับการทำงานในระบบราชการ อำนาจหน้าที่เลยไปกระจุกอยู่ที่เลขาธิการ ท้ายที่สุดทำให้เกิดภาวะคอขวดในการบริหารและการตัดสินใจ พนา มีความเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคว่า กสทช.ยังทำได้น้อย ด้วยฐานคิดที่ยึดติดกับระบบราชการ ดำเนินการช้า ปัญหาที่ร้องเรียนจึงหมักหมม รับเรื่องไว้แล้วไม่นำไปดำเนินการต่อ ทั้งนี้ยังได้ทิ้งท้ายว่า หัวใจสำคัญในการแก้ไขโครงสร้างคือการจัดสรรอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบอย่างลงตัว อ.เศรษฐศาสตร์ชี้แก้ปัญหาจากภาพรวม เห็นต่างจับฉลากเลือก กสทช. นวลน้อย ตรีรัตน์ รองศาสตราจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันเป็นเพียงการปะทะระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบการซึ่งมีการแก้เป็นรายๆ การแก้ไขปัญหาควรแก้ในภาพรวมใหญ่ๆ เธอเชื่อว่า การแข่งขันอย่างเป็นธรรมในท้ายที่สุดจะยังประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค คำถามที่ว่า ราคาการประมูลส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคหรือไม่นั้น จะต้องคำนึงถึงการกำกับดูแลด้านต้นทุนควบคู่ไปด้วย เพื่อนำไปออกแบบกติกาการกำกับดูแลต่อไป นวลน้อยยังกล่าวว่า กสทช. ในปัจจุบันมีปัญหาในการทำให้ผลที่กำหนดไว้ในทางกฎหมายเกิดขึ้นจริง เช่นปัญหามาตรฐานการให้บริการต่างๆ ภายใต้ใบอนุญาตของ กสทช. ที่ไม่สามารถกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐานที่วางเอาไว้ แม้กระทั่งการทำงานของ กสทช. เองก็ไม่เปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด และร่าง พ.ร.บ.ปัจจุบันไม่ได้มุ่งจะแก้ไขปัญหานี้แต่อย่างใด นวลน้อย เห็นต่างจากสุภัทราในเรื่องของการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิว่า ในความเป็นจริงแล้วการตั้งเกณฑ์คุณสมบัติขึ้นมา ทรัพยากรบุคคลที่ได้มาจะไม่น้อยและคล้ายคลึงกันถึงขนาดที่จะเลือกจับฉลากได้ แล้วทุกคนสามารถทำงานในระดับคุณภาพที่เท่าๆ กัน ซึ่งอาจจะเกิดการนำคนที่ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ และกรรมการตรวจสอบไม่ควรอยู่ในกระบวนการคัดเลือกใดๆ ทั้งสิ้นเพราะหน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่ต้องตรวจตราอยู่แล้ว การตรวจตราผู้ที่ตนเลือกมาเองจะมีคำถามเรื่องความโปร่งใส ศาลเองก็ไม่ควรเข้ามามีส่วนในการจัดหาบุคลากร เพราะมีภารกิจของตนเองมากเกินพอแล้ว แต่ในแง่ของการบริหารจัดการ กสทช. แต่ละท่านสามารถจัดตั้งผู้ช่วยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะมาช่วยงานอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะทำหรือไม่ทำเท่านั้น นวลน้อย มองว่ารายได้จากการประมูลคลื่นความถี่นั้นควรนำเข้าไปเป็นรายได้ของแผ่นดิน เพราะมีมูลค่าสูง ส่วนกองทุนดิจิทัลฯ นั้น ยังรอดูโครงสร้างการบริหารต่อไป ในส่วนงานคณะกรรมการประเมินผลนั้น นวลน้อยเห็นว่าควรตั้งคณะกรรมการประเมิน เพราะการประเมินต้องใช้กำลังคนมาก และเห็นด้วยกับสุภัทราที่ว่าเลขาธิการก็ควรได้รับการประเมินเช่นกัน แต่เห็นเพิ่มเติมว่าคณะประเมินผลไม่ควรส่งรายงานให้ กสทช.เพื่อจะส่งให้หน่วยเหนือต่อไป เพราะว่าอาจเกิดการปิดบังข้อมูลความผิดพลาดของตนเอง ส่วนในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ควรออกกฎระเบียบออกมากำกับโครงสร้างการดำเนินการ แทนที่จะแก้ปัญหาเป็นรายๆ ไป และการคุ้มครองผู้บริโภคควรมีกระบวนการดำเนินงานที่คล่องตัว เอื้อจิตหวั่นร่าง พ.ร.บ. 2558 ทำเสียของทั้งการเงิน, การงาน, การคุ้มครองผู้บริโภค เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เห็นว่าการแก้กฎหมายต้องตอบสนองเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อให้ได้ ซึ่งในข้อนี้ผู้ที่เข้าไปทำงานใน กสทช. มีผู้ที่เข้าใจน้อยมาก และที่ผ่านมาองค์กรไม่มีการตั้งพันธกิจ มีเพียงแต่การเอากฎหมายมาตีเป็นข้อๆ ไป ทั้งยังเสนอว่า รัฐต้องไม่ถือครองสื่อเอาไว้ ควรแบ่งประเภทสื่อออกเป็นสื่อที่แสวงผลกำไร และสื่อที่ไม่แสวงผลกำไร แต่การที่ภาครัฐ โดยเฉพาะกองทัพ ไม่ยอมวางมือจากสื่อ ทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นมีปัญหา เอื้อจิต เสนอว่า กสทช.ควรเป็นอิสระจากกระทรวงดิจิทัลฯ เงินส่วนที่ได้ในการประมูลคลื่นนั้นควรเอาไปใช้ในการพัฒนา หากจะตั้งกระทรวงใหม่ก็ควรที่จะตั้งงบประมาณจากส่วนกลางเอาเอง เอื้อจิต เห็นด้วยกับเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เห็นด้วยกับจำนวนเจ็ดคน และเห็นด้วยกับการระบุความเชี่ยวชาญ แต่ว่ากังวลเกี่ยวกับการจำกัดความคำว่า ‘ความเชี่ยวชาญ’ ในกฎหมาย ว่าจะไม่สามารถครอบคลุมและไม่เอื้อให้บรรลุหลักการที่ตั้งเอาไว้ และไม่เห็นด้วยกับการสรรหาโดยคณะกรรมการจากภาครัฐ ควรจะเกิดจากภาคส่วนวิชาชีพ ผู้ประกอบการและภาคความเชี่ยวชาญ และตัวแทนของภาคประชาชนไม่ว่าจะมาจากผู้บริโภคและกลุ่มที่ทำงานในประเด็นต่างๆ ในด้านของการทำงานของ กสทช. เอื้อจิต ชี้ว่า ควรออกระเบียบภายในที่เกี่ยวกับการบริหารองค์กรให้ทำงานเชิงนโยบายที่กำหนด ทิศทางระดับประเทศ ส่วนในสำนักงาน เสนอว่า ควรออกระเบียบที่ยกคุณค่าของการใช้ความรู้และผลการศึกษาและวิจัยเป็นสำคัญ และทิ้งคำถามว่า ทำอย่างไรให้ กสทช. มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจขององค์กร ในประเด็นของการคุ้มครองผู้บริโภค เอื้อจิตเห็นว่า ควรยึดหลักผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ควรมีบุคลากรที่มีความมุ่งมั่น เอาใจใส่ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ปัจจุบัน กระบวนการรับเรื่องร้องเรียน หน่วยงานมีหน้าที่เพียงเป็นตัวกลางระหว่างผู้ร้องเรียนและผู้ประกอบการ ส่วนการชดเชย การแก้ปัญหาเป็นไประหว่างคู่กรณีเท่านั้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้ขาดมาตรฐานในการแก้ไขปัญหา และควรตั้งอนุกรรมการดูแลเรื่องนี้โดยคัดบุคคลที่มีความสามารถ ไม่ใช่การใช้ระบบอุปถัมภ์ เอื้อจิต ไม่เห็นด้วยที่จะให้ กตป. เป็นกรรมาธิการในวุฒิสภา แต่ต้องการให้ กตป. ที่ถูกคัดเลือกมาเป็นอย่างดี สามารถส่งรายงานการประเมินถึงวุฒิสภาได้เลยโดยไม่ต้องผ่าน กสทช. และสามารถแจ้งบอกสาธารณะได้ ทั้งยังทิ้งท้ายว่า ทั้งกลไกของ กตป. และกสทช. ต้องได้รับการปฏิรูปให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เจ้าพนักงานของกรมประชาสัมพันธ์และกองทัพ ไม่ควรอยู่ในระบบการสรรหาเพื่อลดความเกี่ยวพันในเชิงเครือข่ายและผลประโยชน์ TDRI แย้งใช้ม.44 เปลี่ยนมือผู้ถือครองคลื่น ส่งผลเกิดปั่นราคา สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) แสดงความกังวลว่า ร่าง พ.ร.บ. ที่รัฐบาลปัจจุบันได้ร่างขึ้นมา จะทำให้ประเด็นการเงิน, การจัดสรรคลื่น, การปฏิรูป กสทช. และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ สมเกียรติย้ำในประเด็นการเงินว่า เม็ดเงินที่มาจากรายได้ของ กสทช. มาจากผู้บริโภค ร่างกฎหมายเศรษฐกิจและดิจิทัลที่จะนำเม็ดเงินนี้มาใช้ในกองทุนดิจิทัลฯ ที่โดยหลักประกอบไปด้วยรายได้จากการจัดสรรคลื่นความถี่ 25 เปอร์เซ็นต์, รายได้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจาก กสทช. และกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ทั้งกองที่เอามาได้ครั้งเดียว ซึ่งรวมๆ แล้วในปีนี้มีมูลค่าสูงถึง 17,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมูลค่าไปมากกว่า 20,000 ล้านบาทในปีหน้า แต่ทั้งหมดนี้เป็นเงินนอกงบประมาณ แต่กลับนำไปให้ส่วนราชการ [กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลฯ] แสดงให้เห็นว่าขาดวินัยด้านการคลังและมีวี่แววของความไม่โปร่งใส ควรทำร่างงบประมาณและเสนองบประมาณผ่านรัฐสภา เพื่อให้สำนักงบประมาณตรวจสอบถึงความจำเป็นในการใช้งบประมาณและตัดสินว่าจะจัดสรรงบประมาณให้มากน้อยเพียงใดตามความสำคัญ ในเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ ที่จะประมูลคลื่นความถี่โดยไม่ยึดตัวราคา หรืออาจจะไม่จัดประมูล ผนวกกับการเรียกร้องให้ใช้มาตรา 44 กำหนดให้มีการเปลี่ยนมือผู้ถือครองคลื่นได้ จะส่งผลให้มีผู้ที่ได้คลื่นความถี่มาในราคาถูก และนำไปขายต่อในราคาที่สูงกว่า สมเกียรติยังเสนอในประเด็นการปฏิรูปธรรมาภิบาลของ กสทช. ในประเด็นการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไม่โปร่งใส ควรแก้ด้วยการลดงบประมาณที่มีมากเกินไป และการใช้จ่ายใดๆ จะต้องเข้าระบบสภาหรือการตรวจสอบเสียก่อน ส่วนในด้านการตรวจสอบการทำงานของผู้ปฏิบัติงานใน กสทช. และตัวสำนักงานเอง สมเกียรติเสนอว่า รายงานการตรวจสอบความโปร่งใสซึ่งจัดทำโดย สตง. ควรเป็นเอกสารสาธารณะ เพราะพฤติกรรมนี้จะสะท้อนให้สังคมเห็นด้วยว่า เมื่อ กสทช.ได้รับแรงกดดันก็จะนำไปสู่การปรับปรุงตัว ส่วน สตง. ก็จะเป็นที่ประจักษ์ว่ามีผลงาน ส่วนในด้านการทำงาน กสทช.ที่ตามกฎหมายระบุว่ามีหน้าที่เพียงแค่ส่งรายงานการติดตามประเมินผลของ กตป. ให้รัฐสภา กลับไม่เปิดเผยเอกสารบ้าง ทำให้กลไกการตรวจสอบขาดประสิทธิภาพ องค์กรตรวจสอบและประเมินควรมีความเป็นอิสระจาก กสทช. ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค สมเกียรติเห็นว่า หัวใจของการคุ้มครองผู้บริโภคมีอยู่สองส่วน ได้แก่ ตัวองค์กรที่จะมาจัดการเรื่องร้องเรียน อีกเรื่องคือการกำกับดูแล ซึ่งในประเทศไทย ไม่ค่อยใส่ใจกับการกำกับดูแล ซึ่งเขาเห็นว่า เป็นปัญหาของระบบราชการไทยทั้งระบบ ที่ไม่อยากใช้อำนาจในการกำกับดูแลเพราะกลัวจะเกิดข้อขัดแย้งกับผู้ประกอบการ แนะว่าสภาต้องขยันขันแข็งในการพิจารณารายงานประจำปีจากหน่วยงานกำกับดูแลที่ส่งมานั้น ได้คุ้มครองผู้บริโภคถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และถ้าไม่ ผู้บริโภคจะต้องร้องเรียนว่าองค์กรไม่ได้ทำตามหน้าที่ เสนอให้มีกลไกการลงโทษองค์กรที่ไม่ดูแลผู้บริโภคด้วยการฟ้องร้อง เพื่อให้กฎหมายมีอำนาจบังคับในทางปฏิบัติ
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/77494
2018-06-20 14:29
องค์กรแรงงานอังกฤษขอนายจ้างอะลุ่มอล่วยให้พนักงานมีโอกาสชมฟุตบอลโลกนัดสำคัญ
สภาสหภาพแรงงานอังกฤษ (TUC) ขอนายจ้างอะลุ่มอล่วยให้พนักงานมีโอกาสชมฟุตบอลโลกนัดสำคัญ จัดพื้นที่ชมการแข่งขันระหว่างการทำงาน, อนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้านได้, อนุญาตให้พนักงานเข้างานเร็วหรือสายกว่าปกติ และมีความยืดหยุ่นในกรณีการขอลาพักร้อนประจำปี 20 มิ.ย. 2561 เมื่อช่วงก่อนพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ฟรานเซส โอเกรดี (Frances O’Grady) เลขาธิการองค์กรสภาสหภาพแรงงานอังกฤษ (TUC) ได้ออกมาขอร้องให้นายจ้างให้อะลุ่มอล่วยให้กับพนักงาน โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานที่เป็นแฟนฟุตบอลสามารถชมการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญๆ ระหว่างการทำงาน โอเกรดียังระบุว่านายจ้างไม่ควรมุ่งเป้าหมายทางธุรกิจอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงความสุขในการทำงานของพนักงาน นอกจากนี้ยังได้เสนอแนวทางที่นายจ้างสามารถดำเนินการอำนวยความสะดวกแก่พนักงานที่เป็นแฟนฟุตบอลในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก อาทิเช่น จัดพื้นที่ชมการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญๆ ระหว่างการทำงาน อนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้านได้ อนุญาตให้พนักงานเข้างานเร็วหรือสายกว่าปกติ มีความยืดหยุ่นในกรณีการขอลาพักร้อนประจำปีของพนักงาน ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วการถ่ายทอดสดการแข่งขันในอังกฤษจะเริ่มในเวลา 11.00 น. ซึ่งตรงกับเวลาทำงาน ส่วนในรายงานข่าวของ BBC ระบุว่าสำหรับประเทศอื่นๆ ที่ปรับเวลาการทำงานให้มีความยืดหยุ่นในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้คือ ‘บราซิล’ โดยพนักงานในองค์กรรัฐจะมีการปรับเปลี่ยนเวลาทำงานจากปกติในวันที่ 22 และ 27 มิ.ย. เนื่องจากทีมชาติบราซิลจะลงเตะกับทีมชาติคอสตาริกาและทีมชาติเซอร์เบีย อนึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงฟุตบอลโลก หลายประเทศมักจะมีนโยบายอำนวยความสะดวกให้คนทำงานในประเทศได้รับชมการแข่งขัน อย่างในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล ประเทศ 'เยอรมนี' (ซึ่งเป็นแชมป์ในครั้งนั้น) สหภาพนายจ้างของเยอรมนีอนุญาตให้พนักงานสามารถมาทำงานสายได้ เพื่อสนับสนุนบุคลากรในองค์กรให้มีส่วนร่วมกับฟุตบอลโลก ส่วนที่จีนเมื่อฟุตบอลโลก 2014 ถึงกับมีธุรกิจออกใบรับรองแพทย์ปลอมไว้ให้สำหรับพนักงานลางานเพื่อชมการแข่งขันฟุตบอลโลกได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งยังมีนายจ้างบางส่วนเอาใจพนักงานโดยการให้พนักงานลางานได้ 3 วันโดยไม่ถูกหักเงินช่วงบอลโลกด้วย   ที่มาเรียบเรียงจากLet footie fans work flexibly to watch the World Cup, says TUC (TUC, 12/6/2018) [1]Unions in World Cup match plea to bosses (BBC, 14/6/2018) [2]
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/31082
2010-09-14 08:02
ศอฉ.ปิด “เรดนิวส์” ยุคมืดแห่ง “สื่อ” ตอกย้ำ“รัฐเผด็จการสุดขั้ว”
บทความโดยวรางคณา โกศลวิทยานันต์ กับการรุก คุกคามสื่อ ด้วยวาทกรรมซ้ำๆ แต่ทรงพลัง ในยุคเสื่อมที่สุดของคนทำสื่อ “บก.เรดนิวส์โวย ศอฉ. ยึดแท่นพิมพ์เสียหายกว่า 10 ล้าน ลั่นทำต่อที่เชียงใหม่” เป็นข้อความที่ได้รับผ่านโทรศัพท์มือถือจากสำนักข่าว Voice News ระหว่างกินสุกี้กับลูกๆ ในวันหยุดที่ผ่านมา (12 กันยายน 2553 เวลา 15.58น.)   ล่าสุดนายกฯ พร้อมประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เชียงใหม่ตามคำร้องของพื้นที่   แหม...อะไรมันจะเหมาะเจาะพอดิบพอดีทันการณ์ทันเกมกันซะขนาดนั้นท่านนายกฯ ดิฉันละทึ่งจริงๆ    นับเป็นความคืบหน้าล่าสุดภายหลังเหตุการณ์วันศุกร์ที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจนำโดย พ.ต.ท.ธนพัฒน์ นิลบดี รองผู้กำกับการสืบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเมืองนนทบุรี ร่วมกับ พ.ต.ท.สุนทร ชื่นชิด พนักงานสืบสวน สภ.นนทบุรีนำหมายศาลเจ้าตรวจค้นบริษัท โกลเด้น เพาเวอร์ พรินติ้ง ซึ่งรับจ้างพิมพ์นิตยสาร “เรดพาวเวอร์” ซึ่งมีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยเป็นบรรณาธิการ ทั้งนี้ก่อนหน้านั้น 10 วันคือวันที่ 31 สิงหาคม 2553 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ.ได้แถลงว่ามีสื่อสิ่งพิมพ์บางฉบับเสนอข้อมูลบิดเบือนจากข้อเท็จจริง ทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวล มีความแบ่งแยก หรือเสนอข่าวในลักษณะหมิ่นเหม่จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทาง ศอฉ.ได้ติดตามพฤติกรรมมาโดยตลอด และจะมีการแจ้งคดีความดังกล่าวกับสื่อสิ่งพิมพ์นั้น   ผลคือเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ายึดแท่นพิมพ์ทั้ง 11 แท่นที่พิมพ์นิตยสารดังกล่าว และสั่งปิดนิตยสารในทันที แต่ยังอนุญาตให้บริษัทพิมพ์หนังสืออื่นๆ ได้   ดิฉันมองว่าการปิดนิตยสารเรดนิวส์นั้นมีการวางแผน และติดตามความเคลื่อนไหวมานานแล้ว เพราะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของ “คนเสื้อแดง” ที่รัฐบาลเห็นว่า เป็น “ฝ่ายตรงข้าม” อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน   เริ่มตั้งแต่การรวมตัวกันครั้งแรกในชื่อ นปช.หลังเหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 (ซึ่งจะครบ 4 ปี เร็วๆ นี้ ) อันเป็นจุดเริ่มต้นให้สังคมได้รู้จัก “คนเสื้อแดง” ชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ครั้งที่มีการรวมตัวกันจนสามารถชิงพื้นที่ข่าวในสื่อได้มากอย่างเห็นได้ชัดในเวลาต่อมา   ตลอดจนคนเสื้อแดงเองก็ได้ผลิตสื่อของตัวเองออกมาเป็นรูปเป็นร่างภายใต้ชื่อ “พีเพิลชาแนล” ซึ่งได้ดำเนินกิจการออกอากาศทางโทรทัศน์ดาวเทียมมุ่งนำเสนอข่าวสารของคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นเสนอสาระภายใต้อุดมการณ์ของกลุ่มซึ่งมีคนเป็นจำนวนมากเข้าร่วม    สังเกตได้จากยอดสั่งซื้อจานดาวเทียมจากตัวแทนจำหน่ายและติดตั้งจานดาวเทียมชั้นนำทั้งหลาย โดยเฉพาะที่ร้านของดิฉัน   “ติดไว้ดูข่าวเสื้อแดง” นี่เป็นคำตอบส่วนมากของลูกค้าที่เลือกมาใช้บริการที่ร้าน โทรทัศน์ดาวเทียมนับว่าเป็นเป็นสื่อที่มีอิทธิพลมาก ชาวบ้านละแวกที่ดิฉันอาศัยอยู่เข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงด้วยการรับรู้ข่าวสารผ่านช่องทางนี้   และในทุกๆ ครั้งที่รัฐบาลเห็นท่าจะไม่ดีในเชิงรุกจึงสั่งปิดสื่อของคนเสื้อแดงโดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบของประเทศ วาทกรรมซ้ำๆ แต่ทรงพลังเหลือเกินในการลุแห่งอำนาจเบ็ดเสร็จเช่นนั้น   เริ่มตั้งแต่เผด็จการทางความคิด ใครเห็นแตกต่างต้องถูกกำจัดทิ้งให้สิ้นซาก ยกระดับขึ้นเป็นเผด็จการทางการเมือง ประชาชนกลุ่มใดเห็นแย้งหรือไม่เอารัฐบาลนี้แม้แต่เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองยังถูกปราบปราม นี่เรากำลังอยู่ในยุคไหนกันนี่    ...หรือว่าเรากำลังย้อนกลับไปสู่ยุคที่มีสโลแกนสวยหรูว่า “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย” นี่ดิฉันต้องใส่หมวกออกจากบ้านหรือเปล่านี่ เรากำลังกลับไปสู่ยุคที่มีนิยายประโลมโลกเกิดขึ้นมากมายเหมือนในยุคที่ผู้นำห้ามนักคิดนักเขียนเสนอข้อเขียนและวิจารณ์ทางการเมือง ใครเขียนเป็นโดนติดคุกลืมแน่   ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วละก็ ดิฉันออกจะรู้สึกสลดหดหู่อย่างมากหรับวิชาชีพสื่อในขณะนี้ ที่หากไม่ถูกเซ็นเซอร์โดยตรงก็โดยอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการสะกิดเตือนนายทุนสื่อให้ละเว้นการเสนอข่าวบางข่าวที่กระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล แลกกับการลงประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกลายเป็นรายได้สำคัญของสื่อในภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด ข้าวยากหมากแพงเช่นนี้    ตัวอย่างที่ดิฉันมองเห็นและขอถือโอกาสนำมาวิพากย์คือสื่อกระแสหลักที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ซึ่งเดิมทีก็นำเสนอข่าวหลายมิติและรอบด้านจริงๆ เริ่มด้วยผู้บริหารช่องที่ดูดนักข่าวจากช่องอื่นๆ มามากมาย ระดับหัวกะทิกันทั้งนั้น แต่สาระข่าวที่ถ่ายทอดออกมากลับเป็นแค่หางๆ สะท้อนปรากฏการณ์ธรรมดา ข่าวบางข่าวน่าตามประเด็นต่อ น่าสืบสาวเจาะหาเซ็นเซอร์ตัวเองไปซะงั้น    ดิฉันเฝ้าสังเกตดูรายการข่าวดังหลังละครช่องนั้นมาตลอด 4 เดือนให้หลังเหตุการณ์ “พฤษภาอำมหิต” เพราะอยากรับรู้ความเป็นไปของคนเสื้อแดงบ้างในฐานะเป็นมวลชนส่วนหนึ่งของคนไทย โดยเฉพาะการติดตามความคืบหน้าของคนไทย 91 ศพซึ่งเป็นเรื่องใหญ่โต ส่งกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้ เรื่องราวของคนเสื้อคล้ายหายเข้ากลีบเมฆ เรื่องราวเหล่านั้นถูกลบจากรายการข่าวเจาะช่องนั้นราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น    ดิฉันเชื่อว่ามีอำนาจพิเศษบางอย่างสำแดงพลังและสั่งตรงมายังเจ้าของทุนสื่อและเจ้าของรายการให้ละเว้นการเสนอข่าวคนเสื้อแดง ทั้งๆ ที่เคยเป็นข่าวเจาะเพียงช่องเดียวที่กล้าเสนอความจริงที่ในเชิงข่าวที่รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนเสื้อเหลือง เสื้อหลากสี หรือเสื้อแดง ฯลฯ ส่วนใครจะคิดเห็นประการใดก็ใช้วิจารณญาณไตร่ตรองตามข้อมูลที่เสพเข้ามามากน้อยต่างกันไปแต่ละคน   น่าเสียดายจริงๆ สื่อกระแสหลักเพียงรายการเดียวที่ดิฉันเคยมองว่าเป็นกลางในการนำเสนอ และติดตามมาตลอด ดิฉันเกิดความเบื่อหน่ายและออกจะผิดหวังอยู่มาก ดังนั้นพอละครจบตอนนี้ไม่เสียดายที่จะปิดโทรทัศน์นอนทันที ตอนเช้าค่อยติดตามข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์ดาวเทียม ไม่ก็สื่อออนไลน์ที่ “กล้า” มากกว่าที่จะวิพากษ์วิจารณ์บ้านเมืองในมุมที่แตกต่าง   ทั้งนี้การเกิดสื่อของกลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์เฉพาะตนมิใช่มีเฉพาะของคนเสื้อแดง ก่อนหน้านี้ในช่วงม็อบเสื้อเหลือง ก็มีเอเอสทีวีผู้จัดการเป็นสื่อในมือที่คนเสื้อเหลืองโดยมีคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเป็นแกนนำคนสำคัญตลอดจนเป็นเจ้าของสื่อเสียด้วยซ้ำ   ดิฉันในฐานะของคนที่เคยทำสื่อ (สิ่งพิมพ์) มองว่าเป็นเรื่องปกติมากๆ ของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแล้ว (เท่านั้น) ที่จะเกิดสื่อมากมายหลายหลากเพื่อรับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ และไม่จำเป็นต้องมีความคิดเห็นที่สอดคล้องหรือเห็นไปในทางเดียวกับรัฐบาลเสียทุกเรื่อง เป็นการแสดงถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการเขียนและตีพิมพ์ ซึ่งทุกรัฐธรรมนูญของไทยก็ให้การรับรองเสรีภาพดังกล่าว เว้นแต่จะไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งจะกระทำไม่ได้   ย้อนกลับมากรณี ศอฉ.ปิดนิตยสารเรดนิวส์ โดยทางนายกฯอภิสิทธิ์ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ในว่าไม่ได้สั่งปิด แต่ทำตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ยันรัฐไม่ปิดกั้นสื่อ (ข้อความที่ส่งเข้ามือถือของสำนักข่าว Voice New เวลา 18.48 น.วันที่ 10 กันยายน 2553)   ฟังดูทะแม่งๆ นะคะแต่มีเหตุผลรองรับเสมอตามสไตล์ท่านนายกฯ มาร์ค   คำถามคือพระราชบัญญัติดังกล่าวเขียนโดยใคร และเขียนโดยมีวัตถุประสงค์เช่นไร ดิฉันมีความเชื่อโดยส่วนตัวว่าคนเขียนกฎหมายคือผู้ที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายนั้นๆ ตราบใดที่รัฐไทยไม่เคยฟังเสียงประชาชนเลยก่อนลงมือเขียน กฎหมายดังกล่าวย่อมอิงประโยชน์ของคนส่วนน้อยเท่านั้น ไม่ใช่ให้ประโยชน์กับปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง   เพราะ....จะว่าไปตั้งแต่รัฐบาลประกาศขอคืนพื้นที่โดยใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สี่แยกราชประสงค์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่รัฐใช้ความรุนแรงจนสื่อต่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหู   ความรุนแรงครั้งนั้นยากจะลืมเลือนสำหรับผู้สูญเสียชีวิตไม่ว่าจะเป็นฝ่ายคนเสื้อแดงหรือฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจซึ่งต้องปฏิบัติภารกิจนี้ตามคำสั่งของรัฐบาล และแม้ว่าจะมีแกนนำเสื้อแดงบางส่วนมอบตัว และถูกตีตรวนเป็นภาพอื้อฉาวไปทั่วสำหรับการกระทำกับ “ผู้ต้องหา” ทั้งๆ ที่ยังไม่มีกระบวนการสืบสวนที่แน่ชัดว่ากระทำผิดจริงๆ ซึ่งต้องสืบพยานอีกหลายปาก พวกเขาเหล่านั้นถูกพิพากษาจากสังคมให้เป็นนักโทษการเมืองไปโดยปริยาย เช่นนี้แล้วความยุติธรรมมีนัยยะเช่นไรกันแน่   นอกจากนี้รัฐบาลก็ยังตามไล่ล่าแกนนำคนเสื้อแดงคนอื่นๆ อีกมากมาย หนึ่งในนั้นดิฉันรู้จักในฐานะเพื่อนนักเขียน (แต่ไม่ขอลงรายละเอียด) ปฏิบัติการปราบปรามประชาชนที่มีความคิดแตกแถวดำเนินมาตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลต้องการกำจัดคนเสื้อแดงให้พ้นหูพ้นตา จึงมีการขึ้นแบล็คลิสต์บุคคลต่างๆ และอนุมัติหมายจับมากมาย   การกระทำของรัฐบาลออกจะเป็นยุทธวิธีที่ “ล้าหลัง” มากๆ คะ ถ้าเทียบกับยุคเหตุการณ์นองเลือด 14 ตุลาคม 16 และ 6 ตุลาคม 19 ซึ่งทำให้ทำให้นักศึกษาต่างหนีเข้าป่าเป็นจำนวนมาก เพราะกลัวข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์   หลังจากนั้นไม่นานสมัยที่ประเทศไทยมีประชาธิปไตยครึ่งใบในยุคที่มี พล.เอกเปรมเป็นนายกฯ โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุติ เป็นกุนซือสำคัญนำนโยบาย 66/23 มาใช้ ทำให้นักศึกษาจำนวนมากออกจากป่าสู่เมือง คือใช้การเมืองนำการทหาร แม้จะมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างก็สามารถมีพื้นที่ยืนได้ในแผ่นดินไทยอย่างเสมอภาค   หลักของนโยบาย 66/23 ก็คือการยุติสงครามกลางเมืองด้วยการขยายเสรีภาพของบุคคล แก้ปัญหาความไม่มั่นคงของรัฐบาลด้วยการขยายอำนาจอธิปไตยของปวงชน เพราะอำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อย หรือระบอบเผด็จการรัฐสภาเป็นต้นเหตุของความไม่มั่นคงของรัฐ ซึ่งมีเงื่อนไขให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทำสงครามกลางเมืองเพื่อทำลายอำนาจรัฐ (ทำลายกองทัพแห่งชาติ)   นโยบาย 66/23 เป็นการส่งเสริมการต่อสู้อย่างสันติเพื่อประชาธิปไตยของปวงชนชาวไทย มิได้ขัดขวางประชาชน ดังเช่นเรียกผู้เคยต่อสู้แนวรุนแรงด้วยอาวุธมาต่อสู้สันติว่า “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย”    การร่วมพัฒนาชาติไทยคือการพัฒนาทางการเมืองที่สามารถทำได้ เพราะยุติสงครามกลางเมืองแล้ว รูปธรรมคือการร่วมสร้างสรรค์ประชาธิปไตยด้วยการให้เสรีภาพบุคคลบริบูรณ์ และทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนอันเป็นภารกิจสูงสุดของกองทัพ   ในกรณีของการปิดนิตยสารเรดนิวส์ เป็นการกระทำของรัฐบาลที่มิแยแสต่อประวัติศาสตร์เลยสักนิดเมื่อเทียบเคียงกันแล้ว เพราะเป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางความของบุคคลอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการคุกคามสื่ออย่างเห็นได้ชัดซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นตามมารังแต่จะสร้างความเก็บกด ความคับข้องใจให้เกิดขึ้นกับประชาชนและนำไปสู่ปัญหาความรุนแรงอีหรอบเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนทำสื่อที่ถูกปิดกั้นถึงขั้นสั่งปิด   ทำไมท่านไม่ปล่อยให้พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสิ่งพิมพ์นั้นเล่า อย่างน้อยรัฐก็ได้รู้ ได้ทราบความเคลื่อนไหวว่าฝ่ายตรงข้ามว่าคิดเห็นประการใด เพื่อจะกำหนดยุทธวิธีที่ตรงจุด ซึ่งก็ดีกว่าตามล่าบุคคลที่รัฐบาลตราหน้าว่าเป็นพวก “ใต้ดิน” ซึ่งยิ่งปราบก็ยิ่งโต ไม่ต่างอะไรกับ “ตายสิบเกิดแสน” ของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เบ่งบานสุดๆ ในยุคหนึ่ง   การกระทำเช่นนี้ยิ่งสร้างความเจ็บปวดเจ็บแค้นให้กับกองบรรณาธิการนิตยสารดังกล่าว ปิดได้ ก็เปิดใหม่ได้ เอาซิ...ดูท่าจะเป็นเช่นนี้   แม้รัฐบาลจะอ้างหลักกฎหมาย(ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าเป็นกฎหมายที่คนส่วนมากหรือคนส่วนน้อยบัญญัติ) ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารล้นทะลักเช่นนี้ ดิฉันมองว่าการปิดสื่อครั้งนี้เป็นเรื่องที่ “สิ้นคิด” อย่างรุนแรงของรัฐบาลเสมือนเป็นการ “ฆ่าตัวตายทางการเมือง” คำถามคือนี่หรือ “ประชาธิปไตย” ในแบบของท่าน   สำหรับดิฉันแล้วนี่มัน “เผด็จการสุดขั้ว” ต่างหาก    ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์คงมิอาจลืมวาทกรรมของตนที่เคยพูดไว้ว่า “แม้เพียงเสียงเดียวก็ต้องฟัง”    แต่....นี่มิใช่เสียงเดียวนะคะ การจัดตั้งเป็นกองบรรณาธิการหนังสือเล่มหนึ่งๆ ต้องประกอบด้วยคนไม่ต่ำกว่าสิบคนเป็นแน่    ดิฉันยังเชื่อในหลักเสรีภาพคะ (แม้ใครจะพยายามใส่สีให้ดิฉันก็ตามเถอะ ดิฉันไม่สนเพราะสิ่งที่พูดและเขียนในตั้งอยู่บนจุดยืนของคนที่เคยทำสื่อ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพของสื่อมวลชน   การละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสื่อไม่ว่าจะเป็นการเซ็นเซอร์สื่อถึงขั้นสั่งปิด และยึดแท่นพิมพ์ทั้งหมดของนิตยสารเรดนิวส์ ตลอดจนข้อกล่าวหาว่าด้วยเรื่องการเสนอข้อมูลที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง หรือเป็นไปในลักษณะหมิ่นเหม่จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นข้อหาที่รุนแรงมาก รัฐบาลเอาอะไรมาพิสูจน์ความจริงเหล่านั้น หลักฐานก็ไม่ได้หนาแน่นหนักหน่วงพอที่จะฟันธงเช่นนั้น เป็นเพียงข้อกล่าวหาลอยๆ แต่ทรงอำนาจยิ่งนัก   ความคิดเห็นที่แตกต่างของ “เรดนิวส์” ไม่ใช่ข้อสรุปตามข้อกล่าวหาทั้งหมดที่จะพบบทสรุปเช่นนั้น   แต่.....มันคือเสรีภาพในการนำเสนอสื่อตามอุดมการณ์ทางการเมืองของประชาชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากความคิดเห็นของรัฐบาลก็เท่านั้น จะว่าเป็น “สื่อแตกแถว” ก็คงใช่   ดิฉันคิดว่ามันคือการ “คุกคามสื่อ” และเป็นยุคเสื่อมที่สุดของคนทำสื่อเลยก็ว่าได้ การยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายต่างหากเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรทำเวลานี้ ไม่ต้องไปจ้างดารามารับโทรศัพท์เหมือนที่ผ่านมาเพื่อประมวลปัญหาของประชาชนหรอกคะ แค่อ่านและดูสื่อทั้งกระแสหลักและสื่อทางเลือกเช่นสื่อออนไลน์ ซึ่งตอนนี้มีอิทธิพลมาก แล้วนำมาประมวลเป็นนโยบายเพื่อประชาชนจะดีเสียกว่า   การปิดเว็บไซต์ การปิดสื่อมิได้เป็นผลดีต่อรัฐบาลเลยแม้แต่น้อย เพราะการโจมตีในที่แจ้งย่อมดีกว่าการเคลื่อนไหวใต้ดินแบบกองโจรเป็นไหนๆ
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13309
2007-07-02 08:12
ดาวกระจายไม่ถึงฝั่ง ตำรวจตรึงสกัด ได้แค่เฉียดบ้านป๋า
ที่มาของภาพ Kerek Wongsa/Reuters [1]   ประชาไท, 2 ก.ค. 50 ความเคลื่อนไหวของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) วานนี้ (1 ก.ค.)นั้น กลุ่มผู้ชุมนุมได้ดำเนินการตาม "แผนดาวกระจาย" โดยผู้ชุมนุมเริ่มตั้งเวทีที่สนามหลวงตั้งแต่เวลา 12.00 น. โดยแกนนำอาทิ นายจตุพร พรหมพันธ์, นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ, นพ.เหวง โตจิราการ ได้ขึ้นเวทีปราศรัยต่อฝูงชนนับหมื่นคน โดยอ้างถึงการกระทำรัฐประหารที่ผ่านมาว่า มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการกระทำดังกล่าว   จักรภพฟุ้งใกล้ถึงยอดเขา ตะโกนลั่นไล่เปรม โดยเฉพาะนายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวปราศรัยว่า ขณะนี้พวกเรากำลังจับมือเดินขึ้นเชิงเขา ณ วันนี้ใกล้จะถึงยอดเขาแล้ว เราจะตอบคำถามประชาชนทั่วประเทศได้จากที่มีการบอกว่า เราไม่รู้จักที่ต่ำที่สูงเรียกร้องให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ลาออก   "ขอบอกว่าความจริงที่สูงคือราชบัลลังก์ ส่วน พล.อ.เปรมต่างหากที่เป็นที่ต่ำ และหลังจากที่เราแจ้งจับ พล.อ.เปรม เราก็แยกบทบาทได้ว่า พล.อ.เปรม ไม่ได้เป็นประธานองมนตรีและรัฐบุรุษ เพราะช่วงหลังทำตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง วันนี้เปรมทำลายตัวเอง ลืมตัวลืมตน คิดว่าตัวเองเป็นราชวงศ์ ไปไหนก็ต้องมีคนมาคอยต้อนรับ" นายจักรภพกล่าว   นายจักรภพกล่าวอีกว่า มี 2 ประเด็นในการไปบ้านสี่เสาเทเวศร์ ข้อแรกคือ พล.อ.เปรมไม่ใช่เจ้า แต่เป็นสามัญชนที่ลืมตัว ข้อ 2 ถ้า พล.อ.เปรมพ้นจากอำนาจ ประชาธิปไตยไทยจะเจริญเอง ข้อ 3 ประเทศไทยวันนี้รู้สายสนกลในเล่ห์กระเท่ห์ เพราะ พล.อ.เปรมที่อ้างพระราชดำรัสเพื่อเพิ่มอำนาจให้ตัวเอง เพราะฉะนั้น วันนี้เปรมจึงไม่ใช่ทั้งรัฐบุรุษและองคนตรี แต่เป็นผู้ต้องหา เป็นผู้หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   จากนั้น นายจักรภพนำผู้ชุมนุมตะโกนว่า "คมช.ออกไป" และตะโกนว่า "เปรมออกไป"   เคลื่อนออกสนามหลวง นำโดยกลุ่มสันติวิธี ด้านนายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ แกนนำ นปก.ได้ประกาศบนเวทีว่าจะไม่ใช้เส้นทางพระอาทิตย์ผ่านสำนักงานผู้จัดการ-เอเอสทีวี เพื่อเคลื่อนขบวนไปยังบ้านพัก พล.อ.เปรม เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดการปะทะกัน และไม่ต้องการจะเสียกำลังไปกับคนของเอเอสทีวี เพราะเตรียมกำลังจะไปสู้กับ พล.อ.เปรม เต็มที่ จึงต้องการบุกไปที่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ เพื่อใช้กำลังขับไล่ พล.อ.เปรมให้เต็มที่   จากนั้นเวลา 14.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนนขบวนออกมาจากท้องสนามหลวง โดยมี นพ.เหวง โตจิราการ นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ และพระทรงศักดิ์ จิตสังวโร จากวัดท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ และอาสาสมัครที่เรียกตัวเองว่า "หน่วยสันติวิธี" ประกอบด้วย เด็ก ผู้หญิง คนชรา กว่า 300 คน เป็นด่านแรก และใช้ถนนราชดำเนินกลาง เป็นเส้นทางการเดินขบวนตามด้วยรถแกนนำพีทีวีเดิม และการ์ดรักษาความปลอดภัยเดินมาตามถนนราชดำเนิน   อย่างไรก็ตามเวลา 15.05 น. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรีและรัฐบุรุษ ได้นั่งรถโฟล์คตู้ ออกจากบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ พร้อมมีมอเตอร์ไซค์นำขบวน 1 คัน ตามด้วยรถกระบะประกบท้าย ผ่านถนนราชดำเนินเลี้ยวขวาสี่แยก จ.ป.ร. แล้ววิ่งไปตามเส้นทางสะพานพระราม 8 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับขบวนผู้ชุมนุม นปก. กำลังจะเคลื่อนตัวเรียกร้องให้พล.อ.เปรมลาออกจำตำแหน่ง ทั้งนี้ตำรวจและทหารนับพันนายได้นำรั้วเหล็กมาปิดกั้นตั้งแต่หน้าสน.นางเลิ้ง สี่แยก จ.ป.ร.ไว้แล้ว ทั้งนี้บริเวณหน้าบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ มีตำรวจ หลายสิบนายคอยประจำการอยู่   ตำรวจตรึงหน้า ส.ป.ก. ร้องให้หยุดหน้ามัฆวานรอขบวนเสด็จ ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า เมื่อผู้ชุมนุมเดินผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเผชิญกับจุดสกัดจุดแรกที่หน้าสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนำแผงเหล็กมากั้นพร้อมกำลังตำรวจ 20 นาย   โดยมี พล.ต.ต.พงษ์สันต์ เจียมเอี่ยม รองผบช.น. ผู้ที่ดูแลจัดดังกล่าวได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าด่านจุดนี้เป็นด่านเตือนสติและเพื่อเจรจาต่อรองกับผู้ชุมนุม โดยมี พล.ต.ต.นิพนธ์ ภูมรินทร์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้เจรจากับ น.พ.เหวง ซึ่งภายหลังการเจรจา นพ.เหวง กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจขอให้หยุดขบวนชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพราะจะมีขบวนเสด็จในเวลาประมาณ 16.00 น. ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมยอมรับเงื่อนไข   จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เปิดเส้นทางให้เดินขบวนไปยังสี่แยก จ.ป.ร. แต่ที่บริเวณ สี่แยก จ.ป.ร. มีเจ้าหน้าตำรวจกว่า 400 คน ได้ตั้งแผงเหล็กมากั้นเส้นทาง และมีรถขนขยะจำนวน 4 คัน ตั้งเป็นด่านขวางไม่ให้ขบวนผู้ชุมนุมผ่านได้ โดยมี พ.ต.อ.เสนาะ อ่อนศรี รอง ผบก.น.3 เป็นผู้ควบคุมด่านสกัดจุดที่สองซึ่ง นพ.เหวง และ นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ แกนนำ ก็ได้เข้าเจรจากับ พล.ต.ต.อภิชาติ เชื้อเทศ ผบก.น.6 ซึ่งระหว่างการเจรจาทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยื่นข้อเสนอขอให้ขบวนเสด็จผ่านไปก่อนจึงจะเปิดทางให้ผ่านไปได้ แต่ทาง นพ.เหวง กล่าวอย่างมีอารมณ์ พร้อมยื่นข้อแลกเปลี่ยนให้เวลา 10 นาทีเท่านั้น แต่ทางเจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับข้อตกลง จึงทำให้การเจรจายืดเยื้อไปนานกว่า 30 นาที   วุ่นจตุพรสั่งรถแกนนำแซงกลุ่มสันติวิธี หมอเหวงรีบโดดเปลี่ยนรถ จากจุดนี้ ทำให้แกนนำฝ่ายพีทีวี คือ นายณัฐวุฒิ ได้กล่าวปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงเรียกร้องให้กลุ่มผู้ชุมตะโกนขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้พยายามลุกฮือที่จะเข้าไปปะทะกับเจ้าหน้าที่ แต่ทาง นพ.เหวง และหน่วยสันติวิธี ได้ห้ามปราบไว้และขอให้อยู่ในความสงบจนกว่าจะถึงเวลาที่ขบวนเสด็จผ่านไป   แต่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้กล่าวบนรถผ่านเครื่องขยายเสียงว่า เราจะนำขบวนเดินคู่ขนานและนำประชาชนเดินต่อไป โดยเมื่อรถคันใหญ่ของนายจตุพรเคลื่อนที่แซงรถของ นพ.เหวง จากนั้น นพ.เหวงก็ลงจากรถทีมสันติวิธีไปขึ้นรถคันเดียวกับนายจตุพร นายณัฐวุฒิ และนายจักรภพ ที่หน้าสำนักงานสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรถนำขบวนโดยปริยาย แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านวัดมกุฏกษัตริยาราม ไปปักหลักที่บริเวณสะพานเทเวศร์นฤมิตร   "วีระ" เดินหน้าดาวกระจายแยกเข้าวิสุทธิ์กษัตริย์มุ่งสี่เสา ขณะเดียวกันท้ายขบวนชุมนุม นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปก.ได้นำขบวนแยกออกไปที่แยกวิสุทธิ์กษัตริย์ และกำลังมุ่งหน้าไปบ้านสี่เสาเทเวศร์เช่นกันโดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งการเคลื่อนขบวนดังกล่าว จึงได้ส่งกำลังไปรักษาความปลอดภัยเพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนถึงบ้านสี่เสาฯ   ทั้งนี้ มีรายงานว่ากลุ่มของนายวีระ ได้เคลื่อนขบวนหลบจุดสกัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจออกสู่ถนนด้านหลังกองทัพบก เพื่อเข้าสู่ทางสะพานวิศสุกรรมนฤมาณ แยกประชาเกษม ถนนราชสีมา มุ่งไปยังบ้านสี่เสาเทเวศร์ เจ้าหน้าที่ใช้กำลัง 2 กองร้อย พร้อมนำรถเก็บขยะของ กทม. 2 คัน แผงเหล็กและลวดหนามมากั้นเพื่อไม่ให้กลุ่มดังกล่าวผ่านไปได้   สุดท้ายสองขบวนไปสมทบกันที่ตลาดเทเวศร์ ขณะที่หัวขบวน นายณัฐวุฒิ แกนนำ นปก. ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า มีอยู่ 2 วิธี ที่จะไปนำขบวนกลุ่มผู้ชุมไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ คือ ใช้รถบรรทุกชนฝ่าแผงเหล็ก หรือ เปลี่ยนเส้นทางไปเป็นถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษม ด้าน นพ.เหวงได้ขอร้องให้ใช้สันติวิธี โดยใช้เส้นทางถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษมแทน เพื่อที่จะได้ไปสมทบกับกลุ่มที่นายวีระพาไปก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้ชุมนุมจึงได้เปลี่ยนเส้นทาง อย่างไรก็ตามยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยสกัดอยู่ตลอดเส้นทาง   จากนั้นเมื่อเวลา 17.00 น. ขบวนผู้ชุมนุมได้เดินทางมาถึงสี่แยกเทเวศร์ แต่ก็ไม่สามารถเดินทางไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ที่เป็นบ้านพักของพล.อ.เปรมได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนำแผงเหล็กและรถขนขยะมากั้นไว้ ซึ่งแกนนำได้ยึดถนนบริเวณสี่แยก เชิงสะพานเทเวศนฤมิตรเป็นที่ปราศรัยชุมนุมโจมตีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และพล.อ.เปรม ขณะที่บริเวณบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลกว่า 200 นาย คอยดูแลรักษาความปลอดภัย   คนรักป๋ารวมตัวประณามไทยรักไทย-พีทีวี และบริเวณหน้าวัดเทวราชกุลชรวรวิหาร ได้มีประชาชนกว่า 20 คน มากำลังใจ พล.อ.เปรม พร้อมถือป้ายโจมตีพรรคไทยรักไทย และกลุ่มพีทีวี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในวันนี้ได้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจจากนครบาล ตำรวจท้องที่ และหน่วยปราบจลาจล กว่า 3,000 นาย เพื่อป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับเตรียมรถดับเพลิงจำนวน 2 คัน จอดเตรียมการเพื่อสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณวัดเทวราชกุลชรวรวิหาร และหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ด้วย   นปก.ปักหลักปราศรัยตลาดเทเวศร์ก่อนกลับสนามหลวง หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมถูกสกัดอยู่บริเวณสะพานเทเวศร์ ริมคลองผดุงกรุงเกษม และได้ปักหลักปราศรัยโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และ คมช.อยู่บริเวณดังกล่าว โดย นพ.เหวงกล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่าระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนไทยทุกคน รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจึงมีอำนาจบริหารชาติบ้านเมืองไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้กับประชาชน หากไม่มีประชาธิปไตย ประเทศจะหายนะ พร้อมกล่าวที่ไปหน้าบ้านป๋าวันนี้ เพราะป๋าเองมีข้อบกพร่องมากมาย พวกเราจึงไปบ้านป๋า   จนกระทั่งเวลา 19.45 น.กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งเหลือประมาณพันคนเศษจึงได้สลายตัวเดินทางกลับไปยังท้องสนามหลวง โดยนายณัฐวุฒิกล่าวว่า "ป๋าครับ กลับแล้วนะครับป๋า บ้ายบาย กลับวันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มาอีกนะครับ วันหลังมา หนูขอเข้าไปถึงบ้านเลยนะครับป๋า"   นายณัฐวุฒิยังปราศรัยทักทายแม่ค้าระหว่างเดินขบวนว่า "แม่ค้าข้าวแกงขายดีไหมจ๊ะ ถ้าขายดี ว่างๆ จะมาเดินแถวนี้ใหม่นะจ๊ะ"   ทั้งนี้ ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนมายังถนนราชดำเนินนั้น ปรากฏว่ามีรถบรรทุกหกล้อขับมาเพื่อเลี้ยวไปยังวัดมกุฏกษัตริยาราม ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจเข้าไปรุมล้อม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาคลี่คลายเหตุการณ์ไว้ได้ จึงไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นและผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนต่อไป   หลังจากที่กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปถึงสนามหลวงแล้ว ได้มีการเปิดเวทีปราศรัยต่อ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ได้ประกาศว่า นปก.ได้รับชัยชนะแล้ว โดยนายณัฐวุฒิอ้างว่า การเคลื่อนขบวนวันนี้เป็นไปแบบอหิงสา และไม่มีความรุนแรงหลังจากนั้นนายณัฐวุฒิได้นัดผู้ชุมนุมให้มารวมตัวกันใหม่ที่ท้องสนามหลวงวันพรุ่งนี้เช่นเดิม และจะมีการเคลื่อนขบวนไปยังบ้านพักของพล.อ.เปรมเพื่อกดดันให้ลาออกทุกวันอาทิตย์ หลังจากนั้นนายณัฐวุฒิได้ประกาศสลายการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น.ที่ผ่านมา   ท่านผู้หญิงบุษบา กิตติยากร มาสังเกตการณ์ม็อบ ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์รายงานว่า ในช่วงที่ผู้ชุมนุมเดินขบวน ท่านผู้หญิงบุษบา กิตติยากร พร้อมสวามี ได้ขับรถกอล์ฟมาสังเกตการณ์บริเวณหน้าวัดนรนาถสุนทริการาม ประมาณ 5 นาทีด้วย   ขณะที่ในช่วงเช้า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.และประธานคณะมนตรีความมั่นแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงกลุ่ม นปก.ที่จะเคลื่อนขบวนไปบ้านสี่เสาร์เทเวศร์ว่า "ไม่ห่วงๆ เมื่อเช้าก็ฟังท่านแม่ทัพภาคที่ 1 (พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) พูดแล้ว ผมก็ไม่กังวล"   เลขา ครป.ติง นปก.หยาบคาย ลั่นจะร่วมกลุ่ม "พลังเงียบ" 22 ก.ค. ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปก.ที่ใช้ยุทธศาสตร์ "ดาวกระจาย" เช่นเดียวกับที่พันธมิตรฯ เคยใช้มาก่อนว่า แม้เป็นยุทธการแบบเดียวกันแต่รูปแบบต่างกัน โดยพันธมิตรฯ มีพลังประชาชนกดดันในส่วนกลาง แล้วกระจายการเคลื่อนไหวไปรอบนอก ขณะที่ นปก.ปิดเวทีใหญ่ในส่วนกลางและไม่มีพลังกดดัน จึงต้องขยายแนวร่วม แต่การเลือกใช้วิธีการเปิดโปงถือว่าได้ผลระดับหนึ่ง   "ส่วนตัวไม่อยากให้เกิดการเผชิญหน้า หรือความแตกแยกเหมือนเช่นเหตุการณ์ที่สยามพารากอน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งตรงนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนและต้องระมัดระวัง ขณะเดียวกันอยากขอร้องให้เลิกใช้ถ้อยคำปราศรัยที่หยาบคายไม่สุภาพ ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความสะอิดสะเอียน"   โดยนายสุริยะใสกล่าวว่าจะเข้าร่วมการชุมนุมวันที่ 22 ก.ค.เพื่อแสดงจุดยืนว่าเป็นคนหนึ่งที่ต้องการความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง   ทั้งนี้ "กลุ่มพลังเงียบ" ประกอบด้วย กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มมวลชนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลได้ประกาศผ่านรายการยามเฝ้าแผ่นดิน เมื่อศุกร์ที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมาว่าจะนัดชุมนุมพร้อมกันในวันที่ 22 ก.ค. ที่บริเวณศาลากลางทุกจังหวัด ส่วนที่ กทม.นัดชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คัดค้านการชุมนุมของกลุ่ม นปก. เรียกร้องทุกฝ่ายเข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อความสมานฉันท์   เรียกร้อง คมช.-รัฐบาล กำหนดเลือกตั้งปีนี้ลดความขัดแย้ง นอกจากนี้ นายสุริยะใส กตะศิลา ยังเรียกร้องให้รัฐบาลและคมช. ให้กำหนดวันเลือกตั้งภายในปีนี้เพื่อลดความขัดแย้งทางการเมืองลง เนื่องจากเห็นหากเลื่อนการเลือกตั้งออกไปเป็นต้นปีหน้าจะยิ่งทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อประเด็นการสืบทอดอำนาจ และเห็นว่าการจัดงานเฉลิมฉลอง 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรวมถึงการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันซีเกมส์ มีเจ้าภาพที่รับผิดชอบจัดงานล่วงหน้าแล้ว จึงไม่ใช่ประเด็นที่ คมช. ควรนำมาอ้าง   ทั้งนี้ เลขาธิการ ครป.เรียกร้อง คมช.ประกาศสัญญาประชาคมว่า หากการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน จะนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาใช้ ซึ่งเห็นว่าไม่เป็นการทำลายความชอบธรรมของตัวเอง เพราะเห็นว่าสามารถแก้ไขข้อการเฉพาะบางส่วนได้   และขอเรียกร้องให้ รัฐบาล คมช.สนช. สสร.และ กกต. จัดประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อยุติในการกำหนดวันเลือกตั้ง รวมทั้งจัดทำปฏิทินทางการเมือง โดยคลอบคลุมช่วงเวลา ตั้งแต่วันลงประชามติ ช่วงเวลาประกาศรัฐธรรมนูญฉบับสำรองหากประชามติไม่ผ่าน การจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ วันเลือกตั้ง สส. และวันเลือกตั้ง ส.ว.  นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ คมช.ประกาศสัญญาประชาคมต่อประชาชนว่าหากประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน จะนำรัฐธรรมนูญฉบับใด  มาบังคับใช้ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนว่าต้องการรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใด ทั้งนี้คมช.ต้องประกาศอย่างน้อย 10 วันก่อนมีการลงประชามติ   นายสุริยะใสกล่าวว่า รัฐบาล คมช. สนช. และ สสร.ควรเป็นเจ้าภาพ เปิดเวทีให้มีการถกเถียง แลกเปลี่ยน วิพากษ์วิจารณ์ เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ว่ามีกลไกใหม่ใดบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน พร้อมทั้ง เร่งเผยแพร่สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อแตกต่างและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เพื่อแจกแจงและให้ข้อมูลกับประชาชนว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวดีจริงหรือไม่   เผย ครป. เตรียมประชุมเครือข่ายสัปดาห์พิจารณา รธน.50 ก่อนรณรงค์รับ-ไม่รับ "แม้จะมีบางกลุ่มกำลังดำเนินขบวนการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ในขั้นตอนลงประชามติ เช่น กลุ่มอำนาจเก่าและ นปก. หรือกลุ่มนักวิชาการบางส่วน และองค์กรภาคประชาชนบางส่วน แต่ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่าย รวมทั้งกลุ่มพระสงฆ์และองค์กรชาวพุทธ พิจารณาภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มากกว่าพิจารณาเฉพาะเป็นรายประเด็น หรือรายมาตรา ซึ่งการกำหนดจุดยืนไม่ควรตั้งอยู่บนเงื่อนไขของความพอใจหรือไม่พอใจ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง" นายสุริยะใส กล่าว นายสุริยะใสกล่าวว่า ครป.จะจัดประชุมร่วมกับเครือข่ายในสัปดาห์หน้าเพื่อพิจารณาและแสดงท่าทีต่อร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับ โดยไม่ว่าที่ประชุมมีมติรับหรือไม่รับร่าง ครป.ก็จะรณรงค์ต่อประชาชนว่า มีเหตุผลใดที่ประชาชนควรรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่อไป   วอร์รูมถล่ม ประณามแค่ม็อบท่อน้ำเลี้ยง ด้านนายประสาร มฤคพิทักษ์ ประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ในประเทศ (วอร์รูม) กล่าวว่า ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพีทีวีและคนรักทักษิณ เป็นการต้องการสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นภายในประเทศ และการสร้างสถานการณ์เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์สร้างความวุ่นวาย เพื่อทำลายเศรษฐกิจประเทศและนำไปสู่การขยายผลสู่นานาประเทศ   "จากพฤติกรรมดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่ขบวนการเคลื่อนไหวต่างต้องสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง ให้เข้าตาหัวจ่ายท่อน้ำเลี้ยงที่โยนเศษเงินให้ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายและภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศชาติต่อสายตาชาวโลก" นายประสารกล่าว   คนโคราชโผล่ชูจุดยืนรักป๋า ต้านม็อบ นปก. วันเดียวกัน เวลา 09.30 น. ที่หน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 50 คน เดินถือป้ายเขียนข้อความโจมตีแกนนำม็อบสนามหลวง อาทิ นายจักรภพ นายวีระ นพ.เหวง และป้ายให้กำลังใจ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยใช้ชื่อในนาม "คนโคราชรักเปรม" พร้อมกับสวมเสื้อเหลืองกันทุกคน โดยการนำของนายไพบูลย์ พฤกษ์พนาเวศ ประธานชมรมคนโคราชรักป๋าเปรม พร้อมออกแจกจ่ายแถลงการณ์   โดยแถลงการณ์ระบุว่า กลุ่มคนโคราชรักป๋าเปรมเป็นกลุ่มเฉพาะกิจที่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจต่อการกระทำของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ทำการจาบจ้วงต่อ พล.อ.เปรม ซึ่งเป็นบุคคลที่คนทั่วไปให้ความเคารพรัก ชาวโคราชและชาวจังหวัดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในโคราช จึงรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้กลุ่มคนดังกล่าวหยุดการกระทำที่ไม่บังควร โดยเฉพาะนายจักรภพ เพ็ญแข ที่ไปแจ้งความดำเนินคดีป๋าเปรมข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งคนทั่วไปรู้ดีว่าป๋าเปรมมีความจงรักภักดีต่อในหลวงและสถาบันพระมหากษัตริย์มากเพียงใด   นายไพบูลย์กล่าวว่า ขอประณามการกระทำของกลุ่มคนเหล่านี้ที่เต็มไปด้วยความไร้เดียงสาทางสังคม มีปัญหาทางจิต คิดล้มระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขอให้พวกที่คิดการชั่วร้ายเหล่านี้จงประสบแต่ภัยพิบัติทั้งชีวิต จากนี้ไปให้พบแต่ความทุกข์ทรมานตามกฎแห่งกรรม และกลุ่มคนโคราชรักป๋าเปรมจะลุกขึ้นมาสู้ทุกครั้งที่กลุ่มคนเหล่านี้ออกมาจาบจ้วงป๋าเปรมอันเป็นที่รักและเคารพของเรา   นอกจากนี้ กลุ่มคนโคราชรักป๋าเปรม ได้มีการล่าลายชื่อเพื่อนำคนไปให้กำลังใจ พล.อ.เปรม และเป็นการไปร่วมทำบุญประเทศครั้งใหญ่ โดยมีการจัดรถบัสโดยสารไว้จำนวน 4 คัน เพื่อเดินทางไปทำบุญประเทศที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และจะเดินทางไปให้กำลังใจ พล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ในวันที่ 22 ก.ค.นี้โดยพร้อมเพรียงกัน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/5947
2005-10-03 22:16
กรมพลังงานชูไฟฟ้าต้นทุนต่ำ ดันเขื่อนพลังน้ำโขงแสนล้าน
เขื่อนมานวาน เขื่อนแห่งแรกบน แม่น้ำโขง   www.searin.org [1] ประชาไท - 3 ต.ค.48        พพ.ระดมความเห็นโครงการเขื่อนไฟฟ้าแสนล้านากั้นลำน้ำโขง เตรียมของบศึกษาเพิ่มเติม 100 ล้าน ขณะที่เอ็นจีโอประณามโครงการไดโนเสาร์หาเรื่องของบศึกษาวิจัย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ( พพ.) กระทรวงพลังงาน จัดเวทีระดมความคิดเห็น "โครงการศึกษาศักยภาพการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแบบขั้นบันได้ในแม่น้ำโขง" ซึ่งทำการศึกษาเบื้องต้นโดยบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท มหานคร คอนซัลแตนท์ จำกัด   นายชูลิต วัชรสิทธุ์ วิศวกรวางแผนโครงการ และกรรมการบริหารบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้นำเสนอโครงการนำร่องคือ เขื่อนบ้านกุ่มตอนบน บริเวณอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ชายแดนไทย-สปป.ลาว กำลังการผลิตกว่า 2,050 เมกะวัตต์ อาคารระบายน้ำล้นมีประตูระบายน้ำ 19 บาน ช่อง ทางเดินเรือ 2 ระดับอยู่ทางฝั่งขวาของโรงไฟฟ้าซึ่งตั้งอยู่ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของอาคารระบายน้ำ นอก จากนี้ในการออกแบบยังสร้างบันไดปลาโจนไว้ทางฝั่งขวาของโรงไฟฟ้าด้วย   โดยโครงการนี้มีการคำนวณงบประมาณค่าก่อสร้างจำนวน 97,072 ล้านบาท และจะได้ผลประโยชน์เฉลี่ยปีละ 17,777 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาคืนทุน 9 ปี ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น ควรให้สัมปทานเอกชนเป็นผู้ลงทุนในรูปแบบ BTO (Build-Operate-Transfer)   ทั้งนี้ โครงการเขื่อนบ้านกุ่มนี้เป็น 1 ใน 7 โครงการที่ทางบริษัทฯ ได้คัดเลือกมาทำการศึกษาความเป็นไปได้ จากการศึกษาเดิมของคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง (MRC) ที่จัดทำไว้ 10 แห่ง นอกจากนี้โครงการก่อ สร้างเขื่อนบ้านกุ่ม ยังมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบ้านกุ่มตอนล่างและตอนบน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า พื้นที่บ้านกุ่มตอนล่างจะกระทบกับประชาชนราว 118 ครัวเรือนใน 2 หมู่บ้าน ขณะที่บ้านกุ่มตอนบนจะกระทบกับประชาชนเพียง 40 ครัวเรือนใน 1 หมู่บ้าน เนื่องจากพื้นที่เก็บกักน้ำ 90% นั้นท่วมในลำน้ำ     นายชูลิต อธิบายด้วยว่า ลำน้ำโขงมีความยาวราว 4,800 กม. เกิดจากที่ราบสูงในทิเบต พื้นที่ตอนบนของลำน้ำโขงกว่า 1,800 กม.อยู่ในประเทศจีน มีพื้นที่รับน้ำฝนเพียง 23% แต่มีโครงการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 8 เขื่อน สร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 2 เขื่อน ขณะที่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างไหลผ่าน 4 ประ เทศคือ ลาว เวียดนาม ไทย กัมพูชา นั้น มีพื้นที่รับน้ำฝนถึง 76% ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างจริงจัง   อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมตลอดทั้งลุ่มน้ำโขงตอนล่างนั้น บริษัทฯ ได้ทำการศึกษาศักยภาพของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำรวมทั้งสิ้นจำนวน 7 แห่งที่มีความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมและสิงแวดล้อม คือ เขื่อนบ้านกุ่ม ขนาด 2,050 เมกะวัตต์ เขื่อนคอนฟอล (สปป.ลาว) ขนาด 240 เมกะวัตต์ เขื่อนผามอง ขนาด 1,482 เมกะวัตต์ เขื่อนหลวงพระบาง ขนาด 1,240 เมกะวัตต์ เขื่อนไชยบุรี ขนาด 1,012 เมกะวัตต์ เขื่อนปากเบง ขนาด 972 เมกะวัตต์ เขื่อนสามบอ ขนาด 2,625 เมกะวัตต์   นายอดุลย์ ฉายอรุณ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพลังงาน ระบุว่า โครงการนี้เกิดขึ้นท่ามกลางปัญหาเชื้อ เพลิงในการผลิตไฟฟ้าทั้งน้ำมัน และถ่านหินมีราคาแพง ดังนั้น การสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลำน้ำโขงจะรองรับกับความต้องการไฟฟ้าของประเทศได้เป็นอย่างดี โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการไฟฟ้า 10,700 เมกกะวัตต์ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 34,000 เมกกะวัตต์ ภายใน 10 ปี   ทั้งนี้ ทาง พพ.จะมีการขออนุมัติงบประมาณอีกกว่า 100 ล้านจากงบประมาณของกรมฯ ในปี 2550 หรือจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในทำการศึกษาในรายละเอียดความคุ้มทุนของโครงการ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุน   พล.ร.ท.โรจน์ วิภัติภูมิประเทศ อดีตประธานกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เสนอว่า ควรหลีก เลี่ยงการใช้คำว่า "เขื่อนขั้นบันได" และใช้คำว่า "ฝายขั้นบันได" แทน  เนื่องจากคณะกรรมาธิการการ ทหาร ซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นโครงการนี้กับคณะทำงานของศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ได้นำเสนอโครงการนี้แก่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกระทรวงพลังงานตั้งแต่ต้นปี 2547 โดยใช้คำว่า ฝาย เพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านจากบรรดาองค์กรพัฒนาเอกชน นอกจากนี้ทางพพ. ควรศึกษาพลังงานทางเลือกจากสายลม และแสงแดด ควบคู่กันไปด้วย   ด้านนายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ เลขาธิการมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวว่า โครงการสร้างเขื่อนตลอดลำน้ำโขงนี้ เคยถูกเสนอมาตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งได้ข้อสรุปมาโดยตลอดว่าไม่สามารถเป็นไปได้ ครั้งนี้ทางพพ.ก็โหนกระแสราคาน้ำมันแพงนำเสนอเรื่องเหล่านี้อีก ทั้งที่ปัญหาพลังงานนั้นเกิดขึ้นจากระบบที่ไร้ประสิทธิภาพและการรวมศูนย์ผูกขาดการผลิต อีกทั้งการแก้ปัญหานั้นก็มีทางเลือกอีกมากมายที่ไม่มีผลกระทบมหาศาลอย่างการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำสำคัญของนานาชาติ   "โครงการนี้เหมือนการขุดสร้างไดโนเสาร์ขึ้นมาใหม่ โดยอ้างน้ำมันแพง และการสร้างเขื่อนของจีน ซึ่งในกรณีของจีนเขาทำได้เพราะใช้อำนาจเผด็จการ ท่ามกลางการเพ่งเล็งและประณามจากชาติต่างๆ เรื่องนี้ศึกษากันมามาก ใช้งบประมาณมากมาย และครั้งนี้ก็เช่นกันที่จะต้องทำเรื่องของบประมาณในการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่โครงการปากมูลก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ โครงการโขง ชี มูล ก็ยังไม่มีคำตอบ"นายวิฑูรย์กล่าว
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/10669
2006-11-26 01:28
336 โรงเรียนในปัตตานี ปิดไม่มีกำหนด เริ่มจันทร์นี้ ผู้ว่าปัตตานีแถลงประณามผู้ก่อความไม่สงบ
ประชาไท—26 พ.ย. 2549 วานนี้สมาพันธ์ครูจังหวัดปัตตานีมีมิเห็นพ้องให้หยุดการเรียนการสอนทั้งจังหวัดตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 27 พ.ย.เป็นต้นไป หลังเกิดเหตุยิงถล่มและเผาผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านเก่า พร้อมทั้งมีเหตุลอบวางเพลิงโรงเรียนหลายแห่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยวานนี้ (25 พ.ย.) นายบุญสม ทองศรีพลาย ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดปัตตานี พร้อมตัวแทนครู ได้ร่วมประชุมที่สำนักงานสหกรณ์ครูจังหวัดปัตตานี ถึงสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เพิ่มและขยายความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยคนร้ายได้ก่อเหตุมุ่งทำร้ายและฆ่าครูเพิ่มขึ้น โดยหวังสร้างสถานการณ์ให้เลวร้ายลง เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัยทั้งทรัพย์สิน และชีวิตครู ทางสมาพันธ์ครูจังหวัดปัตตานี จึงได้มีมติเห็นพ้องกันให้หยุดการเรียนการสอนโดยจะปิดโรงเรียนทั้ง 336 แห่ง ทั้งจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไปอย่างไม่มีกำหนด     ด้านนายภานุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย พล.ต.ต.ก่อ เกียรติ วงศ์วรชาติ ผบก.ภจว.ปัตตานี นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานกรรมการอิสลาม จ.ปัตตา นีและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ได้เปิดแถลงกล่าวแสดง ความไม่พอใจต่อกรณีที่คนร้ายก่อเหตุทำร้ายครูโดยเฉพาะกรณีล่าสุดที่คนร้ายมีการ ยิงแล้วเผา นายนนท์ ชัยสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า อ.สายบุรี ถือว่าเป็น การกระทำที่ทารุณและโหดเหี้ยมพร้อมกับวิงวอนขอให้ยุติการกระทำดังกล่าว   ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ ได้สร้างความหวั่นวิตกแก่ประชาชน มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่ง เป็นการกระทำของผู้ก่อเหตุความรุนแรง โดยเฉพาะการทำร้ายครูและนักเรียน ซึ่งวันนี้ได้มีการเผาศพนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ที่ถูกคนร้ายยิงเมื่อวัน ที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา ในส่วนของครูขณะนี้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีครูเสียชีวิตไป แล้ว 59 ราย รายล่าสุด ที่ จ.ปัตตานี นายนนท์ ชัยสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า อ.สายบุรี เป็นการฆ่าแล้วเผาศพต่อหน้าครู นักเรียน และชาวบ้าน ห่างจาก โรงเรียนไม่ถึง 100 เมตร ถือว่าเป็นการกระทำที่ทารุณโหดเหี้ยม   ผู้ว่าราชการปัตตานี กล่าวอีกว่า ได้รับแจ้งจากสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคในจันทร์ที่ 27 พ.ย. นี้โรงเรียน 800 กว่าแห่งจะหยุดเรียนโดยไม่มีกำหนด เพื่อแสดงเพื่อแสดงความไม่พอใจที่ทางผู้ก่อเหตุกระทำความเหี้ยมโหด ซึ่งรายนี้ไม่ใช่เป็นครูรายแรก ถ้ายังปล่อยให้คนร้ายกระทำอย่างนี้อีก คงทำให้เหมือนกับว่าเราไม่มีการโต้ตอบ ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่จะแสดงความรู้สึกเป็นห่วงใยครู รวมทั้งผู้นำศาสนา องค์กรต่างๆ ประชาชนมุสลิมทั้งหลายไม่พอใจด้วย เราจึงออกแถลงเพื่อแสดงจุดยืนและสิ่งหนึ่งที่เรารับไม่ได้ คือ นอกจากจะทำร้ายผู้บริสุทธิ์แล้ว คือ การราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาซึ่งทางคณะกรรมการอิสลามยืนยัน ว่านอกจากจะผิดในมนุษยธรรมในหลักการศาสนาก็ผิดด้วย   สำหรับเหตุการณ์ในพื้นที่การดูแลขวัญกำลังใจครู ได้มีการประสานผู้บริหาร โรงเรียนให้เอาบทบาทของคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนซึ่งเป็นองค์กรเอกชน ประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาร่วมดูแลครูด้วยรวมทั้งทุกโรงเรียนมีลูกจ้าง 4,500 เป็น เพื่อน ในส่วนของการดูแลระหว่างการเดินทางมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเต็มที่อยู่แล้ว   นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานกรรมการอิสลาม จ.ปัตตานี กล่าวว่า ขอแสดงความ เสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้นำศาสนารู้สึกเสียใจ ถ้ามองใน แง่ศาสนาผิดหลักศาสนา การกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งที่เรารับไม่ได้ ผิดหลักสากลและหลักศาสนา ขอให้ผู้ที่ก่อความไม่สงบได้กลับใจ ทำอะไรให้นึกถึงหลักศาสนา อย่าใช้อารมณ์ อย่าใช้ความแค้น โดยเฉพาะครูเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญที่จะให้ความรู้กับบุตรหลานของเรา ถ้าขาดบุคคลเหล่านี้ บุตรหลานจะอยู่ตรงไหน ใครจะมา อบรมสั่งสอน อย่างไปทำลายผู้หญิง เด็กคนชรา หรือ ทรัพย์สิน ที่ชัดเจนในคำสอนที่เป็นวาจนะ ของท่านศาสดา ว่า อย่างเชลยศึกถ้าเราจับมาต้องดูแลอย่างเต็มที่เหมือนบุตรหลาน ของเราอย่าไปฆ่า อย่างไปทำลายและข่มแหง   พล.ต.ต.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ ผบก.ภจว.ปัตตานี กล่าว ถึงการติดตามจับกุมคนร้ายว่ามีแนวทางในการสืบสวนติดตาม โดยพยานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น จากอาวุธปืน กล้องวงจรปิด ขณะนี้พื้นที่ อ.ยะรัง อ.หนองจิก มีแนวทางที่จะ สืบคนร้ายได้ ส่วนพื้นที่ อ.สายบุรี เนื่องจากใช้พยานบุคคลเป็นหลัก และพยานทาง วิทยาศาสตร์ คือ กระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ต้องรอเวลาสักระยะ ในวันนี้ชุดสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดได้ร่วมกับชุดสืบสวน ตร.ภูธรส่วนหน้าเข้าได้ พยานที่จะชี้เบาะแสคนร้ายให้ทางเจ้าหน้าที่สืบจับได้ และคาดว่าจะสามารถติดตาม คนร้ายที่ประทุษร้ายทหารและก่อเหตุระเบิด 2 ครั้ง ในพื้นที่ อ.ปะนาเระ อ. สายบุรี ขณะนี้มีหลักฐานชัดเจนเชื่อว่าแป็นกลุ่มเดียวกันสามารถโยงเครื่อข่ายได้ เมื่อติดตามบุคคลที่มีหลักฐานทางบัตรประชาชนปลอม จะขยายเครือข่ายได้ทั้งหมด ซึ่งเชื่อว่าจะจับได้     เรียบเรียงจาก ผู้จัดการออนไลน์และเว็บไซต์ข่าวเนชั่น
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/52351
2014-03-20 09:45
ความเป็นไปได้ในการปฏิรูปองค์กรตำรวจภายใต้รัฐเดี่ยวมองผ่านองค์กรตำรวจฝรั่งเศส
ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นครั้งแรกที่องค์กรตำรวจถูกท้าทายเป็นอย่างมากจากฝั่งผู้ชุมนุมที่เรียกตนเองว่า " คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข " หรือ กปปส. ที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปองค์กรตำรวจโดยให้โอนกิจการตำรวจไปสังกัดท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี[1]  แน่นอนว่าทางฝั่งตำรวจเองย่อมเกิดแรงต้านต่อข้อเสนอนี้เพราะเป็นการจัดการโครงสร้างใหม่ของตำรวจแบบสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามข้อเสนอของผู้ชุมนุมนี้ไม่ได้เลื่อนลอยเกินจากความเป็นจริงเพราะในหลายประเทศก็มีตำรวจที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “แต่” ข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมนี้หากฟังดูแล้วจะเห็นว่าเป็นการถอดรื้อโครงสร้างที่ไม่มีรัฐใดสามารถทำได้ เพราะกิจการตำรวจนั้นภือเป็นบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและการยุติธรรม ดังนั้นอำนาจในการบังคับบัญชาจึงตกอยู่กับส่วนกลางเป็นหลักในการดำเนินการบริหารจัดการเพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพในการรักษาความสงบเรียบร้อยของรัฐ ในประเทศที่มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเต็มรูปแบบเช่นประเทศ อิตาลี สเปน หรือการกระจายอำนาจแบบเกือบเต็มรูปแบบเช่นประเทศฝรั่งเศส นั้น กิจการตำรวจจะแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันได้แก่ตำรวจแห่งชาติ (police nationale) และตำรวจของเทศบาล (police municipale) ซึ่งมีเขตอำนาจที่แตกต่างกันตามแต่กฎหมายจะระบุไว้ ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างของกิจการตำรวจของประเทศฝรั่งเศสเพื่อเปรียบเทียบกับข้อเสนอของผู้ชุมนุมว่าเป็นไปได้มากน้อยหรือไม่เพียงใด[2] ในประเทศฝรั่งเศสภายหลังจากการล่มสลายของระบอบเก่า (ancien régime) คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองปี 1789 ข้อ 12 ได้ระบุถึงการจัดตั้งกองกำลังที่ใช้อำนาจมหาชนเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิเสรีภาพของพลเมืองไว้ เราอาจกล่าวได้ว่านี่เป็นกฎหมายแรกในการจัดจะตั้งกองกำลังที่ใช้อำนาจมหาชนเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของฝรั่งเศสภายหลังระบอบเก่า ปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสแบ่งกิจการตำรวจออกเป็น 3 ประเภทหลักๆได้แก่ 1. ตำรวจแห่งชาติที่เป็นข้ารัฐการพลเรือน (police nationale) 2.ตำรวจของท้องถิ่นที่เป็นข้ารัฐการพลเรือน (police municipale) และ 3. ตำรวจแห่งชาติที่มีสถานะทางทหาร (gendarmerie nationale) ซึ่งตำรวจประเภทที่1 นั้นสังกัดโดยตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน ส่วนตำรวจประเภทที่3 จะสังกัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการป้องกันประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในที่ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาร่วมกันเฉพาะส่วนที่เป็นกิจการของตำรวจเท่านั้น ในส่วนของตำรวจประเภทที่2นั้นจะขึ้นตรงต่อนากยกเทศมนตรี (Maire) ในแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการแบ่งประเภทของตำรวจข้างต้นเป็นเพียงการแบ่งตามลักษณะของต้นสังกัดเท่านั้นหากแต่ในความเป็นจริงแล้วการใช้อำนาจของตำรวจในประเทศฝรั่งเศสเองสามารถแบ่งได้เป็น2ลักษณะได้แก่ 1. การใช้อำนาจตำรวจตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา (police judiciaire) และ 2.การใช้อำนาจตำรวจทางปกครอง (police administrative) การใช้อำนาจของตำรวจทั้งสองประเภทนั้นมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะของการใช้อำนาจและองค์กรตำรวจที่ใช้อำนาจ กล่าวคือ การใช้่อำนาจตำรวจตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญานั้นมีลักษณะของการใช้อำนาจเพื่อการแก้ไขหรือปราบปราม (répressive) ในทางตรงข้าม การใช้อำนาจตำรวจทางปกครองจะมีลักษณะของการป้องกัน (préventif) สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อมาคืออำนาจตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญานั้นได้มอบให้แก่ตำรวจระดับชาติทั้งสถานะพลเรือนและกลาโหม แต่กฎหมายเองก็ไม่ได้ตัดสิทธิตำรวจของท้องถิ่นในการเข้ามาดำเนินกิจการทางอาญา โดยในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญามาตรา 21-2 ได้กำหนดให้ตำรวจของท้องถิ่นมีหน้าที่ในการเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานทางอาญา (APJA)[3] และจะเป็นกรณียกเว้นที่อำนาจของตำรวจของท้องถิ่นถูกโอนไปไว้กับผู้บังคับบัญชาของตำรวจแห่งชาติที่รับผิดชอบคดีนั้นเป็นการชั่วคราว โดยหลักแล้วการใช้อำนาจตำรวจตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญานั้นจะมีลักษณะที่เหมือนกับตำตวจของประเทศไทยทั้งรูปแบบปละเนื้อหา สิ่งที่น่าสนใจคือการใช้อำนาจตำตวจทางปกครองและการจัดโคงสร้างขององค์กรตำรวจของท้องถิ่นว่าสามารถนำไปปรับใช้หรือเป็นรูปแบบในการปฏิรูปได้มากน้อยเพียงใด 1.การใช้อำนาจตำรวจทางปกครอง การใช้อำนาจตำรวจทางปกครองจะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับอำนาจของตำรวจจามประมวลกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาคดีอาญา เนื่องจากการใช้อำนาจตำรวจทางปกครองนั้นแทบจะไม่มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญาแต่จะเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายปกครองและข้อบัญญัติอื่นๆที่ออกโดยรัฐมนตรี ผู้แทนของรัฐในระดับdépartement และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การใช้อำนาจตำรวจทางปกครองนั้นจะให้น้ำหนักไปที่การรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงสาธารณะและสุขอนามัยสาธารณะ การใช้อำนาจตำรวจทางปกครองนั้นไม่มีความจำเป็นที่ผู้ใช้อำนาจจะต้องเป็นตำรวจเสมอไปเช่น ผู้แทนของรัฐในระดับdépartement สามารถใช้อำนาจตำรวจทางปกครองได้ผ่านการออกกฎ หรือ ข้อบังคับต่างๆเพื่อใช้ในการรักษาความสงบเรียบร้อยได้ การใช้อำนาจตำรวจทางปกครองนั้นอาจมีกรณีที่คาบเกี่ยวกับการใช้อำนาจตำรวจตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาได้ในกรณีที่มีการใช้อำนาจเพื่อป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยของสาธารณะชนหากปรากฎว่ามีการละเมิดข้อกำหนดที่ได้กำหนดไว้ย่อมเป็นอำนาจของตำรวจที่ใช้อำนาจตามกฎหมายอาญาที่จะต้องมารับช่วงในการดำเนินคดีต่อไป โดยทั่วไปแล้วการใช้อำนาจตำรวจทางปกครองจะถูกใช้โดยนายกเทศมนตรี (maire) ซึ่งมีอำนาจตามประมวลกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (CGCT) ในมาตรา L.2212-2 โดยจะเรียกกันว่าเป็นอำนาจตำรวจของนายกเทศมนตรี 2. การจัดรูปแบบและโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของตำรวจท้องถิ่น เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของท้องถิ่นและสุขอนามัยสาธารณะของท้องถิ่นได้รับการปกป้องประมวลกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดให้นายกเทศมนตรีสามารถจัดตั้งตำรวจท้องถิ่นได้ยกเว้นในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถจัดตั้งตำรวจของท้องถิ่นได้กฎหมายให้นายกเทศมนตรีสามารถตั้ง ผู้พิทักษ์ชนบท (Garde champêtre) เพื่อทำหน้าที่แทนตำรวจของท้องถิ่นได้ แต่การจัดตั้งผู้พิทักษ์ชนบทนี้มีข้อแม้คือต้องใช้อำนาจร่วมกับ ตำรวจแห่งชาติที่มีสถานะทางทหาร อำนาจทั่วไปของตำรวจท้องถิ่นถูกกำหนดไว้ในมาตรา L.2212-5 ของประมวลกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดให้ตำรวจท้องถื่นมีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย การดูแลเพื่อให้มีการปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่น การดูแลความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายการจราจร การดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมืองเป็นต้น ในการจัดโครงสร้างองค์กรของตำรวจท้องถิ่นนั้นสามารถแบ่งลำดับชั้นของตำรวจท้องถิ่นออกเป็น3ระดับได้แก่ 1.ตำรวจท้องถิ่นประเภทC หรือชั้นประทวน โดยคุณสมบัติทั่วไปของตำรวจในลำดับชั้นนี้ได้แก่ มีอายุ18ปี เป็นคนในกำกับของรัฐบาลฝรั่งเศส ,ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือรัฐที่มีความตกลงกันระดับพหุภาคี และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (bac) หรือเทียบเท่า โดยที่ตำรวจท้องถิ่นประเภท C สามารถสอบเลื่อนระดับไปสู่ชั้นสัญญาบัตรได้หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนด 2. ตำรวจท้องถิ่นประเภท B หรือชั้นสัญญาบัตร คุณสมบัติทั่วไปไม่ต่างจากตำรวจท้องถิ่นประเภท C 3. ตำรวจท้องถิ่นประเภท A หรือผู้บัญชาการตำรวจท้องถิ่น (directeur de police municipale) คุณสมบัติของตำรวจประเภทนี้ที่เพิ่มเข้ามาคือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาชั้น2ที่ได้รับการับรอง การจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาของตำรวจท้องถิ่นนั้นเป็นอำนาจเด็ดขาดของนายกเทศมนตรีที่จะรับสมัครแต่งตั้งหรือปลดตำรวจท้องถิ่นออกจากหน้าที่ จากอำนาจหน้าที่และการจัดโครงสร้างองค์กรของตำรวจที่ได้กล่าวมาไว้ข้างต้นจะพบว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการโอนย้ายข้าราชการตำรวจให้ไปสังกัดท้องถิ่นภายใต้เงื่อนไขของความเป็นรัฐเดี่ยวเพราะการบังคับใช้กฎหมายควรเป็นไปอย่างเสมอภาคกันทั่วประเทศ ความเป็นไปได้ในการปฏิรูปองค์กรตำรวจของไทยในปัจจุบันนี้คงจะเป็นการจัดตั้งและปฏิรูปอำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่มีอยู่เช่นเทศกิจเพื่อยกระดับให้เป็นตำรวจท้องถิ่นในอนาคต [1]     http://www.isranews.org/isranews-news/item/27966-policereform.html [2]  เหตุที่ผู้เขียนยกฝรั่งเศสเป็นโมเดลเนื่องจากรูปแบบของการกระจายอำนาจของฝรั่งเศสมีความคล้ายคลึงกับของไทยมากกว่าอิตาลีและสเปนที่รัฐธรรมนูญรับรองให้ท้องถื่นมีความสามารถในการตรากฎหมายได้อย่างอิสระเท่าที่ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ [3] Les agents de police judiciaire adjoints
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/53526
2014-05-25 22:36
ม.มหาสารคามประกาศห้ามบุคลากรนิสิตนักเรียนอาจารย์โพสต์ข้อความเป็นภัยความมั่นคง
22 พ.ค. 2557 เว็บไซต์มติชนออนไลน์ [1] รายงานว่า รองศาสตราจารย์  ดร.ศุภชัย  สมัปปิโต  ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้ลงนามในประกาศขอความร่วมมือคณาจารย์  บุคลากร นิสิต  และนักเรียนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ห้ามเขียนใบปลิว  ป้าย  หรือข้อความใด ๆ ผ่านทางสังคมออนไลน์  ที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ  โดยมีข้อความว่า  ตามที่คณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ได้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2557  เรื่องขอความร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์  และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ 18/2557  การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ  เพื่อให้เป็นไปตามประกาศทั้งสองฉบับนี้    มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงขอประกาศห้ามคณาจารย์  บุคลากร  นิสิต  และนักเรียน  ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เขียนใบปลิว ป้าย  แขวนตามสถานที่ต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย  หรือการเขียนข้อความใด ๆ ผ่านทางสังคมออนไลน์  ที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติในเชิงปลุกระดม  ยั่วยุ  สร้างความรุนแรง   ความไม่น่าเชื่อถือและไม่เคารพกฎหมาย  ตลอดจนต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและบุคคลที่เกี่ยวข้อง  การกระทำใด ๆ ของท่านจะถือเป็นความผิดส่วนบุคคล  และต้องได้รับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง  จึงประกาศให้ทราบทั่วกันและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2557
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/29226
2010-05-01 00:47
บทความดิ อิโคโนมิสท์ "ตัวต่อตัว : การพยายามหลีกเลี่ยงปะทะนองเลือด"
บทวิเคราะห์ล่าสุดจาก ดิ อิโคโนมิสต์วิพากษ์กระแสรอยัลลิสต์และขบวนการรอยัลลิสต์ที่นำทีมโดยจำลอง ศรีเมือง ซึ่งถูกดึงมาใช้อย่างสุดโต่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเข้ามาเป็นอีกปัจจัยแทรกต่อการหาทางลงให้กับวิกฤตการเมืองไทยรอบนี้ 000 จำลอง ศรีเมือง เป็นรอยัลลิสท์ตัวป่วนทางการเมืองที่นาน ๆ ครั้งจะพูดอะไรมีเหตุผล แต่ในตอนที่เขาอธิบายว่าประเทศไทย "เหมือนไม่มีรัฐบาล ทหาร หรือตำรวจ" เขาก็มีส่วนถูกอยู่ เมื่อมีผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวนมากยึดครองพื้นที่ส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ อยู่มามากกว่า 6 สัปดาห์แล้ว ธุรกิจซบเซาลง การโจมตีด้วยระเบิดในวันที่ 22 เม.ย. ที่ทำอันตรายให้กับฝ่ายที่ชุมนุมนับสนุนรัฐบาล จนทำให้ต่างประเทศต้องออกมาเตือนนักท่องเที่ยว ในวันที่ 28 เม.ย. เหตุปะทะกันทำให้มีทหารเสียชีวิต 1 ราย และแน่นอนว่าสาเหตุมาจาก "การยิงโดนพวกเดียวกันเอง" (friendly fire) มีความไม่สงบขยายตัวไปยังหลายจังหวัดจากการที่เสื้อแดงพยายามหยุดตำรวจ-ทหาร ไม่ให้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ จำลอง เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้การชุมนุมจบลงโดยไม่เลือกวิธีการ การปะทะกันครั้งใหญ่ระหว่างผู้ชุมนุมกับทหารในวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 25 ราย และมีราว 800 ได้รับบาดเจ็บ รัฐบาลบอกว่ามีคนที่ยิงใส่ทหารเป็นไอ้โม่งดำที่เป็น "ผู้ก่อการร้าย" ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นทหารที่อยู่อีกฝ่าย ขณะที่ฝ่ายแกนนำปฏิเสธในเรื่องมือปืน ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าหากมีการโจมตีฐานที่มั่นของเสื้อแดงใจกลางกรุงเทพฯ พวกเขาก็จะถูกตอบโต้ในลักษณะใกล้เคียงกันและยิ่งทำให้เกิดการสูญเสียมากขึ้นไปอีก ส่วน พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา ดูจะต้องการให้มีการประนีประนอมทางการเมืองมากกว่าการปราบปรามการชุมนุม มาจนถึงตอนนี้ยังไม่มีท่าทีว่าผลลัพธ์จะไปในทางใดเลย ในวันที่ 23 เม.ย. แกนนำเสื้อแดงลดข้อเสนอของตัวเองลงโดยเสนอเส้นตายให้มีการยุบสภาภายใน 3 เดือน อภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อเสนอนี้โดยทันที และบอกว่าการยุบสภาจะไม่ช่วยแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองไทย ทั้งสองฝายเริ่มแข็งกร้าวต่อกันอีกครั้ง แต่ประตูสู่การเจรจายังคงเปิดอยู่ และความเป็นไปได้คือข้อเสนอที่จะให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน แต่สำหรับเสื้อแดงเดนตายทั้งหลายแล้วนั่นเป็นข้อเสนอที่ถอยหลังเข้าคลองโดยสิ้นเชิง และมันยังเป็นข้อเสนอที่ไมน่าได้รับการยอมรับจากพรรคร่วมของอภิสิทธิ์ด้วย เนื่องจากพวกเขากลัวถูกครอบงำโดยเสื้อแดง แต่มันก็เป้นข้อเสนอที่น่าจะทำให้ประเทศไทยถอยกลับออกมาจากการปะทะกันอย่างรุนแรง อภิสิทธิ์ อาจจะพูดถูกที่ว่าการเลือกตั้งอย่างเดียวไม่ได้ช่วยแก้ไขวิกฤติการเมืองที่ฝังรากลึก และอาจทำให้ม็อบผู้โกรธแค้นถูกดำเนินคดีอย่างเลวร้าย แต่เมื่อลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2008 ตอนที่จำลองและกลุ่มเสื้อเหลืองพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดสนามบิน นั่นคือสิ่งที่ทำให้อภิสิทธิ์เข้าสู่อำนาจ ในตอนนี้เขาเองก็ดูจะเผยธาตุแท้ออกมาเรื่อยๆ ชาวกรุงเทพฯ เริ่มเบื่อหน่ายกับการชุมนุมและคิดถึงห้างสรรพสินค้าของพวกเขา มีกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันรายวันเพื่อร้องเพลงแสดงความรักชาติและตะโกนด่าทอเสื้อแดงว่าเป็นชาวนาโง่ๆ จากบ้านนอก ภายใต้การประกาศ พรก. ฉุกเฉิน นี้รัฐบาลสามารถสั่งห้ามการชุมนุมอย่างการชุมนุมของกลุ่มเสื้อหลากสีได้ แต่แทนที่จะทำเช่นนั้น พวกเขากลับสนับสนุนอยู่เงียบ ๆ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเสื้อแดงก็เป็นแค่หนึ่งในกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งเท่านั้น มาจนถึงตอนนี้พันธมิตรฯ ยังคงไม่ลงมาบนท้องถนน แต่พวกเขาก็คงคัน ๆ อยากจะลงมาเต็มที พวกเขาแสร้งทำให้วิกฤติการเมืองนี้กลายเป็นเรื่องการต่อสู้เพื่อสถาบันจากอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่ยังคงเป็นฮีโร่สำหรับเสื้อแดงหลาย ๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงานหรือคนในชนบท ต่างจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่อยู่ในลำดับชั้น 'ผู้ดี' การแสดงออกเกินพอดี (hysteria) ของรอยัลลิสท์เป็น 'นามบัตร' ของพันธมิตรฯ มานานแล้ว น่าเป็นห่วงว่ามันถูกดึงขึ้นมาโดยอภิสิทธิ์และหัวหน้ากองรักษาความสงบของเขา ในวันที่ 26 เม.ย. โฆษกของหน่วยงานกลางอ้างว่าพวกเขาได้ขุดคุ้ยถึงแผนการต่อต้านสถาบันจากแกนนำเสื้อแดงและผู้ต่อต้านต้านรัฐบาลคนอื่น ๆ มีการปฏิเสธกลับอย่างรวดเร็วและอย่างแข็งกร้าวรวมไปถึงการเตือนว่า 'การใส่ความ' ดังกล่าวอาจเป็นข้ออ้างหาความชอบธรรมในการใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม เช่นเดียวกับที่เกิดในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฎกรรมจากการปะทะขึ้นอีก ทั้งสองฝ่ายควรจะคอยควบคุมพวกหัวแข็งของตัวเองไว้ให้ดี ที่มา Head to head : Trying to avert another bloody showdown, The Economist, 29-04-2010http://www.economist.com/world/asia/displayStory.cfm?story_id=16015331&source=hptextfeature [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/8404
2006-05-18 00:18
วาสนายื้อผลสอบยุบ ทรท. อีก 7 วัน
ประชาไท—18 พ.ค. 2549 วันที่ 17 พ.ค. พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง  (กกต.)  เปิดเผยผลการประชุม กกต.ว่าได้นำรายงานผลการสืบสวนสอบสวนของคณะอนุกรรมการกรณีพรรคใหญ่จ้างพรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม เป็นประธาน เข้าพิจารณา โดยที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าในภาพรวมของการสืบสวนสอบสวนยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่ได้สอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องจนครบทุกปาก และมีบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน จึงให้อนุกรรมการไปดำเนินการสอบสวนเพิ่มให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน        ส่วนกรณีที่ กกต.สอบปากคำพรรคเล็กและได้ข้อมูลว่าพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กเพื่อล้มการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการร้องเรียนจากพรรคไทยรักไทยให้ กกต.ดำเนินการเอาผิดพรรคประชาธิปัตย์นั้น พล.ต.อ.วาสนา กล่าวว่า ได้มอบให้เลขาธิการ กกต.ไปดำเนินการ ว่าจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนหรือดำเนินการอย่างใดหรือไม่   ส่วนกระแสกดดันต่างๆให้ลาออกขณะนี้นั้น ความจริงก็เบื่อหลายๆ อย่า ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก แต่ที่ยังไม่ลาออกขณะนี้ก็เพราะยังติดเรื่องของการจัดทำคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นและการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ แม้ศาลจะสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ แต่ กกต.ได้ประกาศรับรองไปแล้ว และก่อนการประกาศรับรองก็ได้พิจารณาคำร้องต่างๆ  ซึ่งต้องเขียนคำวินิจฉัย โดยทั้งหมดค้างอยู่ประมาณ 500 เรื่อง ซึ่งคาดจะแล้วเสร็จไม่เกิน 1 เดือน        นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวกรณีมีข่าวว่ารัฐบาลขอเลื่อนการกำหนดวันเลือกตั้งที่เดิมกำหนดไว้ในวันที่ 22 ต.ค.ว่า ไม่ใช่ว่ารัฐบาลขอไป เรื่องนี้เป็นอำนาจของ กกต.ที่พูดในช่วงเช้าว่าหากกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 22 ต.ค.อาจมีปัญหาได้ เพราะตรงกับวันถือบวชของชาวมุสลิม หากมีการจัดเลี้ยงงานถือบวช ก็จะขัดกฎหมายเลือกตั้งได้ และในวันเลือกตั้งต้องใช้มัสยิดเป็นหน่วยเลือกตั้งด้วย และขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินการอะไรเกี่ยวกับการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดวันเลือกตั้งทั้งสิ้น   ด้านวุฒิสภา หลังจากที่คณะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ได้มีข้อสรุปกันว่าจะทำการยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าวุฒิสภาจะสามารถดำเนินการสรรหา กกต. ที่ว่างลง 2 ตำแหน่งตามแนวทางของรัฐธรรมนูญมาตรา 138 (3) ที่เปิดช่องให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง กกต.ได้หรือไม่  และนายสุชนได้ประสานไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปรากฎว่าทางตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นด้วย     โดยระบุว่าหากส่งเรื่องมาศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มที่จะไม่รับสูง เนื่องจากไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบกับท่าทีของที่ประชุมประธาน 3 ศาลที่เห็นตรงกันว่าไม่ยอมรับบทบาทของ กกต.ที่เหลืออีก 3 คน จึงไม่ต้องการส่งคนเข้าไปเพิ่มให้ครบ 5 คน แต่ต้องการให้ กกต. 3 คนออกจากตำแหน่งไปก่อน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/20355
2009-03-14 22:46
"มาร์ก" ลั่นไม่ยอมให้เสียงข้างมากหักล้างความโปร่งใส ถาม "ใจ" ไม่ได้หนี แล้วมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร
14 มี.ค. 52 - เวลา 09.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 7 ชั่วโมง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ไปปาฐกถาหัวข้อ "การจัดการความท้าทายในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย"  ที่  St. John"s College OXFORD  ให้กับคณาจารย์ และนักศึกษาอ็อกซ์ฟอร์ดที่สนใจ โดยช่วงแรกเป็นการบรรยายถึงความเป็นมาของประชาธิปไตยในไทย ตั้งแต่ 14 ตุลา 2516 จนถึงการปฏิวัติครั้งสุดท้าย และยืนยันว่า ประชาธิปไตยในไทยจะยังมีชีวิตอยู่ และอยู่ได้ดี เพราะกว่าจะได้มาแลกกับการสูญเสียไปมากมาย   นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประชาธิปไตยในไทยเริ่มที่จะเข้มแข็ง ด้วยการปฏิรูปการเมือง ในปี 2540 รัฐธรรมนูญต้องการสร้างความเข้มแข็งให้พรรคการเมืองบนพื้นฐานการตรวจสอบและถ่วงดุล โดยคิดไม่ถึงว่านักการเมืองจะบิดเบือน นำเสียงส่วนใหญ่ที่ได้มา มาหักล้างความโปร่งใส นำนโยบายประชานิยมมาใช้ ก่อให้เกิดการคอร์รัปชั่น ทำให้หลักนิติธรรมสั่นคลอน เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากมาย ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับรูปแบบประชาธิปไตย ที่ไทยควรเดินหน้าไปสู่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ว่านโยบายประชานิยม จะทำให้คนในชนบทตื่นตัว แต่เมื่อการใช้อำนาจบิดเบือน ทำให้มีการออกมาประท้วงบนท้องถนน  ทหารกลับเข้ามาอีกครั้ง โดยได้รับการชื่นชมจากประชาชน และคืนอำนาจให้ได้ภายใน 1 ปี ทำให้ไทยกลับสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง แต่การเลือกตั้ง เสียงส่วนใหญ่ยังคงเลือกพรรคที่ถูกปฏิวัติไป ทำให้ทหารปฏิเสธที่จะเข้ามามีอำนาจ "เป็นธรรมชาติของการเมืองไทย พอจะก้าวหน้า ก็ต้องถอยหลัง แต่ก็พิสูจน์ได้ว่า การก้าวหน้าของประชาธิปไตย โดยเสียงส่วนใหญ่ ที่ปราศจากประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนได้ ผมจะไม่ยอมแลกความโปร่งใส ธรรมาภิบาล กับการได้มาซึ่งเสียงส่วนใหญ่ และจะใช้หลักการนี้ นำไปสู่การปฏิรูปการเมือง ที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ภายใต้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นายกรัฐมนตรี กล่าว   นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คนชั้นกลางทั่วไป ประชาธิปไตยไม่มีความหมาย ถ้าไม่สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รัฐบาลนี้จึงต้องนำนโยบายประชานิยมมาใช้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพื่อเกิดความเป็นธรรมกับทุกคนในสังคม และไม่ต้องสงสัยว่า ไทยจะยึดมั่นประชาธิปไตยแค่ไหน เพราะเราสร้างประชาธิปไตยมาด้วยความยากลำบาก ประสบการณ์ของไทยคงเป็นบทเรียนที่ดี สำหรับประเทศที่จะพัฒนาประชาธิปไตย   "ผมไม่สามารถตอบได้ว่า ประชาธิปไตยในไทยจะเดินหน้าได้เร็วแค่ไหน แต่ถ้าย้อนดูประสบการณ์ในตะวันตก ก็ใช้เวลาเป็นศตวรรษ สิ่งสำคัญที่สุด ประชาธิปไตยในไทยจะไม่ถอยหลังแล้ว  คนไทยขณะนี้เหมือนอยู่บนทางแยก แต่ขอให้มั่นใจว่า ประชาชนได้เลือกถูกทางแล้ว ที่จะเดินหน้าต่อไป แม้มีอุปสรรคบ้างก็ตาม" นายกรัฐมนตรี กล่าว   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้ยกคำขวัญของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดมาปิดท้ายว่า "อ็อกซ์ฟอร์ดไม่ใช่ให้แสดงสว่างแค่ส่องทาง แต่ทำให้ผมทำทุกอย่างอย่างถูกต้อง สำหรับตัวเองและประเทศชาติ" ทำให้ได้รับเสียงปรบมือกึกก้อง และเมื่อเปิดโอกาสให้ซักถาม นายใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ซึ่งใส่เสื้อสีแดงมาร่วมฟังปาฐกถา ได้ลุกขึ้นถามเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นสถาบัน โดยระบุว่า รัฐบาลนำมาใช้เป็นเครื่องมือปกป้องตัวเองและทหาร นายกรัฐมนตรี ตอบว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ก็เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาทของคนไทยทั่วไป ที่ต้องรักษาสิทธิ ไม่ให้กล่าวหาใครโดยไม่มีหลักฐาน ประเทศในยุโรปก็มีกฎหมายนี้   "ผมเป็นนายกฯ คนแรก ที่ดำเนินการอย่างจริงจัง ในการกำหนดความชัดเจนในการพิจารณาคดีหมิ่นสถาบัน"นายกรัฐมนตรี กล่าวและว่า ที่ผ่านมา ก็ถูกฟ้องร้องในหลายคดี และได้เข้าไปต่อสู้ในชั้นศาล ไม่ได้หนีหน้าไปไหน ทำให้นายใจ ตะโกนสวนว่า "ผมก็ไม่ได้หนี" นายกรัฐมนตรี จึงย้อนว่า "ไม่ได้หนี แล้วมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร" ทำให้ได้เสียงปรบมือจากผู้ฟังในห้องประชุม จากนั้นผู้เข้าฟังปาฐกถาคนอื่นได้ถามคำถาม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาเซียน สิทธิมนุษยชนในไทย และปัญหาชาวโรฮิงญา   ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะขึ้นปาฐกถา ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้แนะนำประวัตินายกรัฐมนตรี  ซึ่งภายในห้องประชุมได้ปรบมือเป็นการให้เกียรติ ยกเว้นนายใจ ที่ชูตีนตบขึ้นมา   ที่มา: สำนักข่าวไทย, มติชนออนไลน์, เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/3387
2005-03-29 10:37
คนลุ่มน้ำโขงกระทบหนักหลังจีนปิด-เปิดเขื่อนน้ำโขง
ศูนย์ข่าวภาคเหนือ-28 มี.ค.48 เผยคนลุ่มน้ำโขงได้รับผลกระทบหนักหลังจากที่จีนเปิด-ปิดเขื่อนกั้นน้ำโขงตอนบน ทำให้ระบบนิเวศสูญเสีย ปริมาณน้ำในฤดูแล้งที่ลดลงและการผันผวนของระดับน้ำขึ้นลงผิดปกติ ชาวบ้านไม่สามารถหาปลาได้ดังเดิม นายสุมาตร์ ภูลายยาว เจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มรักษ์เชียงของเปิดเผยว่า หลังจากที่ทางจีนได้ทำการเปิดเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนบนเป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่เรือขนาด 300 ตัน จากประเทศจีนลงมาที่เชียงแสน ก่อนจะทำการปิดเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำไว้เป็นเวลา 1 วัน จากการเปิด-ปิดเขื่อนเช่นนี้ ทำให้ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงสูญเสียเป็นอย่างมาก "สังเกตได้ว่า ในช่วงนี้ ชาวบ้านไม่สามารถทำการหาปลาได้เหมือนแต่ก่อน อีกทั้งพืชไกที่ต้องอาศัยความสมดุลทางธรรมชาติกลับลดลง จนทำให้ชาวบ้านในเขตลุ่มน้ำโขงตอนล่างต้องได้รับผล กระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตมาโดยตลอด" นายสุมาตร์ กล่าว นายสุมาตร์ กล่าวอีกว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา ทางกลุ่มรักษ์เชียงของได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) มาร่วมเวทีเสวนา เรื่องผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนบนของจีน ซึ่งได้เสนอปัญหาจากการวิจัยว่าส่งผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงอย่างไรบ้าง ซึ่งทาง สมช. รับปากว่า จะนำเรื่องดังกล่าวไปประสานงานกับทางจีนต่อไป รายงานแจ้งว่า ปริมาณน้ำในฤดูแล้งที่ลดลงและการผันผวนของระดับน้ำขึ้นลงผิดปกติ ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์และชุมชนสองฝั่งแม่น้ำโขงทางตอนล่าง นับตั้งแต่แม่น้ำโขงบริเวณพรมแดนพม่า-ไทย แม่น้ำโขงบริเวณพรมแดนไทย-ลาว และแม่น้ำโขงทางตอนล่างลงไป รวมทั้งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ซึ่งทำให้คนหาปลาหลายพื้นที่ในลุ่มแม่น้ำโขง ระบุตรงกันว่า นอกจากน้ำลดต่ำผิดปกติแล้ว น้ำยังขึ้นลงไม่ปกติด้วย ทำให้ปลาไม่เคลื่อนย้าย หรืออพยพจากแม่น้ำโขงตอนล่าง ขึ้นไปหากินหรือวางไข่ทางตอนบนได้ และได้ส่งผลกระทบต่อคนหาปลา เพราะเป็นแหล่งรายได้หลักของครอบครัว ทั้งนี้ ปัจจุบัน จีนได้สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเสร็จไปแล้ว 2 เขื่อน โดยเขื่อนแรก คือ เขื่อนมานวาน สร้างเสร็จเมื่อปี 2539 และกำลังก่อสร้างอีก 2 เขื่อน คือ เขื่อนเชี่ยวหลานและเขื่อนจิงหง ซึ่งโครง การพัฒนาแม่น้ำโขงตอนบนทั้ง 2 โครงการ ได้สะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาในลุ่มน้ำนานาชาติ ได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์แม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรส่วนรวมที่ชุมชนสองฝั่งโขงใช้ร่วมกันมานาน องอาจ เดชา
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/14402
2007-10-04 17:46
รายงาน : เขื่อนราษีไศล - เขื่อนหัวนา บาดแผลจากโครงการโขง ชี มูล ที่รอเยียวยา (จบ)
ห่างไปไม่กี่ร้อยกิโลเมตรจากกรุงเทพฯ แต่เรื่องราวของที่นั่นดูเหมือนห่างไกลยิ่งกว่านั้นมากนัก ชาวบ้านราษีไศล ชาวบ้านหัวนา จ.ศรีสะเกษ กำลังต่อสู้ดิ้นรนในเรื่องที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ หลายคนไม่เคยสนใจ เรื่องที่มีประวัติความ (เดือดร้อน) เป็นมายาวนาน เรื่องที่กลไกต่างๆ ยังคงแก้ปัญหาไม่ได้มาจนปัจจุบัน หากชีวิตไม่เร่งรีบจนเกินไป รายงานชิ้นนี้จะเปิดโลกของท่านไปสู่ดินแดนไกลโพ้น เพื่อทำความรู้จักและทำความเข้าใจปัญหาว่า ทำไมชาวบ้านต้องบุกยึดเขื่อน (อันที่จริงแค่เพียงยึดข้างเขื่อน) เหมือนที่แล้วมา และถึงเวลาหรือยังที่จะสรุปบทเรียนว่าด้วยโครงการพัฒนาที่มีชื่อว่า "เขื่อน"     000000   สนั่น ชูสกุล   2.  โครงการเขื่อนหัวนา   เขื่อนหัวนาเป็นเขื่อนคอนกรีต ขนาด 14 บานประตู กั้นแม่น้ำมูนที่บริเวณบ้านกอก   ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ ก่อนที่แม่น้ำชีจะไหลบรรจบกับแม่น้ำมูนที่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นเขื่อนตัวท้ายสุดของโครงการ โขง ชี มูล และเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโครงการ โขง ชี มูล มีระดับเก็บกักน้ำที่  115  ม.รทก.ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำทอดยาวตามแม่น้ำมูนระยะทาง 90 กิโลเมตร ท้ายน้ำจรดบานประตูเขื่อนราษีไศล และทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาด 18.11 ตร.กม. มีปริมาตรความจุ 115.62 ล้านลูกบาศก์เมตร วัตถุประสงค์การก่อสร้างโครงการเพื่อจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร มีพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 154,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 61 หมู่บ้านในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลฯ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมด 2,531.74 ล้านบาท    ส่วนพื้นที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ที่ผ่านมาไม่เคยถูกระบุไว้ในเอกสารของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (โดยในเวทีเปิดเผยข้อมูลโครงการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2543 ณ ศาลาประชาคม จังหวัดศรีสะเกษ นายช่างหัวหน้าโครงการเขื่อนหัวนาชี้แจงว่ายังไม่ทราบพื้นที่ผลกระทบที่แท้จริง)   เขื่อนหัวนาเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2535 ก่อนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการโขง ชี มูล จะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2536 ส่วนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เดิมกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ประเด็นการศึกษาไม่ครอบคลุมตามที่กฎหมายกำหนด สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จึงให้นำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป                ปัจจุบันเขื่อนหัวนา อยู่ระหว่างการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ที่มีมติให้ยุติการดำเนินการใดๆ โดยเฉพาะการถมแม่น้ำมูนจนกว่าจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมทั้งตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎร แต่การดำเนินการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม มีเพียงการแต่งตั้งคณะกรรมการ ฯ ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ สำหรับการตรวจสอบทรัพย์สินอยู่ในระหว่างการดำเนินการ อย่างไรก็ตามระหว่างรอการศึกษาผลกระทบตามมติคณะรัฐมนตรี ได้มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องของชาวบ้านในพื้นที่อำเภอกันทรารมย์ ให้ทำคันดินกั้นแม่น้ำมูนเดิมโดยไม่มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม ส่วนกรมชลประทานเสนอให้เก็บกักน้ำในระดับ 114 ม.รทก. โดยไม่มีการศึกษาผลกระทบเช่นเดียวกัน         2.1 ผลประโยชน์จากเขื่อนหัวนา   โครงการเขื่อนหัวนา ระบุว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค เกษตรชลประทาน มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์โดยตรง 61 หมู่บ้านของจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลฯ มีการเก็บกักน้ำสองระยะคือ ระยะแรกเก็บน้ำที่ระดับ 114.00 ม.รทก. (ใช้น้ำภายในประเทศ) ระยะที่สองเก็บกักน้ำที่ ระดับ 115.00 ม.รทก. (เมื่อมีการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามา) สามารถสูบน้ำช่วยเกษตรกรรมในพื้นที่เพื่อเพาะปลูกในระยะแรกได้ประมาณ 77,300ไร่ ในฤดูแล้ง และ 154,000 ไร่ ในฤดูฝน   2.2  ผลกระทบจากโครงการเขื่อนหัวนา               โครงการเขื่อนหัวนา นอกจากเขื่อนขนาด 14 บานประตู ซึ่งสร้างกั้นลำน้ำมูนที่บ้านกอก ต.หนองแก้ว และพนังกั้นน้ำ ที่เสริมตลิ่งและปิดกั้นลำน้ำสาขาที่จะไหลลงแม่น้ำมูนแล้วยังรวมถึงการดำเนินการของราชการที่ต้องการขับเคลื่อนให้โครงการเขื่อนหัวนาบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นผลกระทบของโครงการเขื่อนหัวนา ที่จะกล่าวถึงจะครอบคลุมความหมายที่กล่าวถึงข้างต้นทั้งหมด เมื่อชาวบ้านเริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ์ มักถูกตั้งคำถามว่า " เขื่อนยังสร้างไม่เสร็จ จะเดือดร้อนอะไร?"  เป็นคำถามที่ทิ่มแทงใจชาวบ้านตลอดมา จากการศึกษาพบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการเขื่อนหัวนา แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นและส่งผลเสียหายแล้วกับผลกระทบทางด้านจิตใจที่ต้องวิตกกังวลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต               2.3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นและส่งผลเสียหายแล้ว   (1) การสูญเสียที่ดินจากการสร้างเขื่อนและพนังกั้นน้ำ                           การสร้างหัวงานโครงการเขื่อนหัวนา กรมพัฒนาฯ ได้จ่ายค่าทดแทนที่ดินบริเวณหัวงาน ทั้งหมด 293 ไร่ แบ่งเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.จำนวน 68 ไร่ ที่ดิน ส.ค.1 จำนวน 220 ไร่ และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์แต่มีตอฟาง (ร่องรอยการทำประโยชน์) จำนวน 5 ไร่ เป็นที่ดินทั้งหมด 29 แปลง ของชาวบ้าน 27 ครอบครัว ยังมีที่ดินอีกจำนวน 31 แปลง จำนวน 350 ไร่ ที่ยังไม่ได้รับค่าทดแทน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์และมีสภาพเป็นหัวไร่ปลายนา และเป็นพื้นที่ทาม รวมพื้นที่ที่สูญเสียจากการก่อสร้างหัวงานทั้งหมดประมาณ 700 ไร่ นอกจากการสร้างหัวงานแล้วในช่วงปี 2536 กรมพัฒนาฯ ได้ก่อสร้างพนังกั้นน้ำ เพื่อเสริมตั้งและปิดกั้นลำน้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำมูน บริเวณบ้านหนองบัว บ้านโพนทราย บ้านอีปุ้ง บ้านโนนสังข์ บ้านหนองโอง บ้านหนองเทา บ้านเหม้า บ้านเปือย บ้านหนองแก้ว โดยอ้างว่าเป็นการลดผลกระทบของโครงการ การก่อสร้างพนังกั้นน้ำมีลักษณะเดียวกันกับพื้นที่หัวงานคือจ่ายค่าชดเชยเฉพาะที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มีตอฟางเท่านั้น โดยที่ชาวบ้านไม่มีโอกาสต่อรองค่าทดแทน แต่ปัญหาที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ ที่บ้านหนองโอง ต.โนนสังข์ บริษัทรับเหมาไปขุดดินในที่สาธารณะของหมู่บ้านมาทำพนังกั้นน้ำ เมื่อชาวบ้านร้องเรียนกรมพัฒนาฯ ก็ปฏิเสธความรับผิดชอบโดยอ้างว่าเป็นเรื่องของบริษัทรับเหมา                            (2) การไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ตามปรกติ การสร้างพนังกั้นน้ำของโครงการเขื่อนหัวนา ทางโครงการได้ชี้แจงให้ชาวบ้านทราบว่าเป็นการลดพื้นที่ผลกระทบไม่ให้น้ำจากเขื่อนทะลักเข้าที่นาชาวบ้าน แต่เนื่องจากแม่น้ำคือจุดศูนย์รวมของน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่แม่น้ำ แต่เมื่อไหลลงมาติดพนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำของพนังกั้นน้ำไม่สามารถระบายได้ทัน ทำให้เกิดน้ำเอ่อขังในที่นาของชาวบ้าน  โดยมากสถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดประมาณเดือนสิงหาคม - กันยายน  หลังจากชาวบ้านดำนาเสร็จแล้ว ทำให้ชาวบ้านต้องทำนาสองครั้งแต่ได้เก็บเกี่ยวครั้งเดียว                         ในปี 2543 ในฤดูน้ำหลาก พนังกั้นน้ำบริเวณ บ้านโนนสังข์ ต.โนนสังข์  ได้พังลงทำให้น้ำท่วมเอ่อเข้ามาในที่นาของชาวบ้าน ทำให้ข้าวของชาวบ้านได้รับความเสียหาย ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เคยได้รับการศึกษาตรวจสอบหรือแก้ไขใดๆ จากโครงการ                           (3)  การสูญเสียสิทธิในที่ดิน ช่วงปี 2531 - 2536 กรมที่ดินร่วมกับสภาตำบลหนองแค ต.เมืองคง บัวหุ่ง หนองอึ่ง ส้มป่อย อ.ราษีไศล และสภาตำบลรังแร้ง อุทุมพรพิสัย ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) ในพื้นที่ทาม สองฝั่งแม่น้ำมูน ต่อมาในปี 2542 จึงมีการแจ้งแก่ชาวบ้านว่า ที่ดินดังกล่าวกรมที่ดินได้ส่งมอบให้กรมพัฒนาฯ สร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนหัวนาแล้ว                           การออก นสล. มีการซอยพื้นที่เป็นแปลงย่อยแล้วทยอยออกเป็นแปลง แต่เมื่อนำมาทาบในระวางของกรมที่ดิน จะเห็นว่าเป็นแปลงต่อกันครอบคลุมพื้นที่ทามแทบทั้งหมด ในพื้นที่ 6 ตำบล นายจันทร์ เข็มโคตร เล่าว่า  "ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ในพื้นที่ แอบนำนายช่างกรมที่ดินออกไปรางวัดแนวเขต นสล. บางแปลงแอบไปวัดกันตอนกลางคืน" ทำให้ที่ทำกินของชาวบ้านที่ได้ถือครองใช้ในการทำกินมาอย่างยาวนาน ทั้งที่ที่ดินบางส่วนมีเอกสารหลักฐานรับรองสิทธิ์ในลักษณะต่างๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน อยู่ในแนวเขตของ นสล. (หมายเหตุ-อ่านล้อมกรอบ)                         หลังจากการออก นสล. ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำกินได้ตามปรกติ โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลรังแร้ง องค์การบริหารส่วนตำบล ประกาศห้ามชาวบ้านไม่ให้เข้าไปทำกินในพื้นที่สาธารณะ และคัดค้านไม่ให้คณะทำงานตรวจสอบทรัพย์สินสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนหัวนา อ.อุทุมพรฯ รังวัดพื้นที่ของชาวบ้าน                           (4) ผลกระทบด้านจิตใจที่เกิดจากความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดในอนาคต   ผลกระทบดังกล่าวเกิดจากการบิดเบือนข้อมูลและปิดกั้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บวกกับประสบการณ์ทั้งที่เกิดขึ้นกับในพื้นที่ตนเองและพื้นที่ใกล้เคียง ความวิตกกังวลของชาวบ้านมีดังต่อไปนี้                         - ความกังวลว่าจะต้องถูกอพยพโยกย้ายบ้านเรือนของชาวบ้านหนองโอง                         ตามที่นายนรินทร์ ทองสุข นายช่างโครงการเขื่อนหัวนา ได้เข้ามาประชุมชาวบ้านบ้านหนองโอง ต.โนนสังข์ ในปี 2542 โดยแจ้งให้ชาวบ้านยุติการสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้านไว้ก่อน เพราะการสร้างเขื่อนหัวนาจะทำให้น้ำท่วมต้องอพยพชาวบ้านประมาณ 30 หลังคา แต่ชาวบ้านไม่ยอมรับและยืนยันว่าชาวบ้านอยู่กันเป็นชุมชน ถ้าย้ายก็ต้องย้ายด้วยกัน หลังจากนั้นเรื่องก็เงียบหายไปกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมชลประทาน จังหวัดศรีสะเกษไม่มีหน่วยงานใดติดต่อกับชาวบ้านเรื่องการอพยพโยกย้ายอีกเลย สร้างความวิตกกังวลให้กับชาวบ้าน โดยเฉพาะในช่วงปี 2447 นายเจียง  จันทร์แจ้ง เล่าว่า "นายถนอม ส่งเสริม ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ไปชี้แจงกับชาวบ้านที่บ้านหนองหวาย ต.โนนสังข์ ว่าตนจะขอให้คณะรัฐมนตรีมอบอำนาจให้ทางจังหวัด ดำเนินการโครงการเขื่อนหัวนาต่อ และจะทำให้เสร็จภายใน 3 เดือนก่อนเกษียณ" ชาวบ้านยิ่งวิตกกังวลเพิ่มขึ้น   -           ความกังวลว่าจะต้องสูญเสียที่ดินทำกินของชาวบ้าน 2 ฝั่งแม่น้ำมูน                           การสูญเสียที่ดินเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับชาวนา ที่สำคัญการสูญเสียที่ดินจากการสร้างเขื่อนหัวนา ชาวบ้านไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่าจะได้รับค่าทดแทนหากที่ดินถูกน้ำท่วมเสียหาย ความกังวลในข้อนี้คือ สาเหตุสำคัญที่ชาวบ้านลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ หากพิจารณาข้อเรียกร้องตั้งแต่เริ่มแรกจะเห็นได้ว่าวนเวียนอยู่ในเรื่องที่ดิน ตั้งแต่การเรียกร้องให้เปิดเผยพื้นที่ผลกระทบ การปักหลักที่ระดับเก็บกักน้ำ การเรียกร้องให้ศึกษาผลกระทบ ล้วนแล้วแต่ต้องการจะรู้ว่าที่ของตนจะได้รับผลกระทบหรือไม่ สุดท้ายจึงเรียกร้องให้มีการรังวัดพื้นที่ ที่ชาวบ้านคาดว่าจะได้รับผลกระทบเพื่อเป็นหลักประกันไว้ตั้งแต่ก่อนเขื่อนกักเก็บน้ำ               สิ่งที่เพิ่มความกังวลให้กับชาวบ้านคือ ท่าทีของทางราชการ อธิบดีกรมพัฒนาฯ บอกว่ายังไม่สามารถระบุพื้นที่ผลกระทบได้ ชาวบ้านจึงต้องเรียกร้องให้ปักหลักระดับน้ำ แต่หลังจากปักระดับน้ำแล้ว ชาวบ้านตรวจสอบในฤดูน้ำหลากพบว่าไม่สามารถเชื่อถือได้ จึงเปลี่ยนให้มารังวัดพื้นที่ ระหว่างการรังวัดก็มีข่าวตลอดว่า เขื่อนจะปิดน้ำ อีกส่วนหนึ่งของความกังวลในประเด็นดังกล่าวมาจากประสบการณ์ของเขื่อนราษีไศล ที่จนถึงวันนี้ยังจ่ายค่าชดเชยไม่เสร็จ และยังมีปัญหาการทับซ้อน และการพิสูจน์การครอบครองและทำประโยชน์ที่ไม่มีทีท่าว่าจะได้ข้อยุติ   -           ความกังวลว่าจะสูญเสียพื้นที่บุ่งทาม               การหาอยู่หากินในบุ่งทาม คือ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำมูนตอนกลาง สืบสานมาจากบรรพบุรุษ  เป็นวิถีชีวิตที่ควบคู่กับการทำการเกษตร  ดังนั้น หากสูญเสียพื้นที่ทาม ในการหาอยู่หากิน เป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง เห็นได้จาก การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ชาวบ้านทำการศึกษาหัวข้อป่าทาม เป็นหัวข้อแรกที่ชาวบ้านทำการศึกษา และจากการสำรวจเบื้องต้น พบว่าในพื้นที่เขื่อนหัวนา พบพืชทามประเภทไม้พุ่มจำนวน  32 ชนิด  ได้แก่ ไม้กระโดนต้น ไม้ค้าริ้น ฯลฯ  ประเภทไม้เครือพบ  จำนวน  25 ชนิด  ได้แก่  เครือหมากพิพ่วน  เครือเบ็นน้ำ เครือหางนาค  ฯลฯ   ประเภทต้นไผ่พบ   4 ชนิด  ได้แก่ ไผ่ป่า  ไผ่โจด  ไผ่น้อย  ไผ่หวาน  ประเภทหัวพบ  4 ชนิด  ได้แก่ มันแซง มันนก กลอย เผือก  หญ้าพบ จำนวน 24 ชนิด  ได้แก่  หญ้าแห้วหมู  หญ้าหวาย  ฯลฯ  เห็ดพบจำนวน 48 ชนิด  ได้แก่ เห็ดเผิ่งทราย  เห็ดปลวกจิก  เห็ดเผิ่งทาม  เห็ดน้ำหมาก  ฯลฯ พืชที่ใช้เป็นผักพบจำนวน  51  ชนิด ได้แก่  ผักกูด  ผักเม็ก ผักล่าม  ฯลฯ  ประเภทพืชผักในน้ำพบ  31  ชนิด ได้แก่ ผักบักกระจับ ผักอีฮีน ฯลฯ ประเภทพืชผลิตหัตถกรรม  เช่น กก  ผือ  ผักตบชวา พื้นที่ป่าดิบแล้งพบไม้ยืนต้นจำนวน 16 ชนิดได้แก่ ต้นแดง ต้นขี้เหล็ก สะเดา ฯลฯ               สัตว์ป่าในพื้นที่ทามมี ประเภทสัตว์ปีกจำพวกนกรวบรวมได้ถึง 34 ชนิด ได้แก่ นกเหลืองอ่อน  นกกระสา  นกกาบบัว  ฯลฯ  สัตว์จำพวกแมลง  รวบรวมได้ถึง 38 ชนิด ได้แก่  แมลงจี่นูนช้าง จักจั่น แมลงคาม  ฯลฯ ประเภทสัตว์บก รวบรวมได้ถึง 11 ชนิด  ได้แก่  เห็นอ้มเห็นหางก้าน กระต่าย ฟางฟอน ฯลฯ  สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวบรวมได้ถึง 17 ชนิด  ได้แก่   ตระกวด แลน เฮี้ย เต่า กบ เขียด ฯลฯ  สัตว์เลื้อยคลาน  รวบรวมได้ถึง 11 ชนิด  ได้แก่  งูเห่า  งูจงอาง งูทำทาน    ฯลฯ   -           ความกังวลว่าจะเกิดการแพร่กระจายของดินเค็มน้ำเค็ม                           คลองชลประทานและสถานีสูบน้ำที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ เป็นหลักฐานยืนยันว่าชาวบ้านมีประสบการณ์การแพร่กระจายของดินเค็มน้ำเค็มเป็นอย่างดี สถานีสูบน้ำบ้านหลุบโมก ต.เมืองคง สถานีสูบน้ำบ้านท่า ต.ส้มป่อย  อ.ราษีไศล สถานีสูบน้ำบ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ.กันทรารมย์ ล้วนเป็นสถานีสูบน้ำที่เคยเกิดปัญหาดินเค็มน้ำเค็ม ตั้งแต่หลังเปิดใช้ได้ เพียง 2 -3 ปีเท่านั้น ยังมีเพียงสถานีสูบน้ำบ้านท่า อ.ราษีไศล ที่มีการสูบน้ำขึ้นมาใช้ในฤดูฝน ช่วงฝนทิ้งช่วงเท่านั้น                           นอกจากประสบการณ์ตรงของชาวบ้านเองแล้ว การแพร่กระจายของดินเค็มน้ำเค็มจากการสร้างเขื่อนราษีไศล ที่บ้านเหล่าข้าว ต.ยางคำ อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด จนทำให้คณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ต้องสั่งเปิดเขื่อนราษีไศล เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ความกังวลของชาวบ้านไม่ใช่เป็นความไร้เหตุผล เพราะเป็นหนึ่งในประเด็นที่คณะผู้ชำนาญการของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมได้ท้วงติงโครงการ โขง ชี มูลไว้เช่นกัน      -           ความกังวลว่าจะสูญเสียแหล่งดินปั้นหม้อ               ดินปั้นหม้อ เป็นดินที่มีลักษณะพิเศษ ต่างจากดินทั่วไป คือต้องมีช่วงที่ถูกน้ำท่วม และโผล่พ้นน้ำ ที่สำคัญคือ ดินดังกล่าวจะเกิดการสร้างตัวขึ้นใหม่ตลอดแม้ว่าในฤดูแล้ง ชาวบ้านขุดมาปั้นหม้อ แต่ถึงช่วงฤดูน้ำหลากดินก็จะสร้างตัวขึ้นใหม่แทนที่ดินที่ถูกขุดไป ตลอดความยาวของแม่น้ำมูนที่จะเป็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนหัวนา ระยะทาง 90 กิโลเมตร พบแหล่งดินปั้นหม้อ 3 แห่ง คือ บ้านโพนทราย ต.หนองบัว อ.กันทรารมย์ บ้านโก  ต.ส้มป่อย อ.ราษีไศล  บ้านโนน ต.รังแร้ง อ.อุทุมพร แต่ชาวบ้านที่ปั้นหม้อยังมีที่บ้านโพนทรายกับบ้านโกเท่านั้น ที่บ้านโนน ก็เคยมีการปั้นแต่เลิกทำไปนานแล้ว                  อาชีพปั้นหม้อเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้อย่างดีอาชีพหนึ่ง ที่บ้านโพนทราย มีชาวบ้านที่ปั้นหม้อเป็นอาชีพ โดยที่ไม่มีนา จำนวน 20  ครอบครัว  ในช่วงฤดูที่ตีหม้อได้ คือเดือนพฤศจิกายน - เมษายน  มีรายได้เฉลี่ยครอบครัว ละ 8,000 - 10,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความขยันและแรงงานของแต่ละครอบครัว ในช่วงที่มีการรังวัดที่ดินที่บ้านโพนทราย ชาวบ้านที่ปั้นหม้อยิ่งมีความกังวลเนื่องจาก แหล่งดินปั้นหม้อเป็นของส่วนรวมที่คนปั้นหม้อลงหุ้นกันซื้อมาเป็นพื้นที่ส่วนรวม ชาวบ้านกังวลว่าถ้าน้ำเขื่อนท่วมจะประกอบทำมาหากินอะไรต่อไป                           นอกจากความกังวลในประเด็นดังกล่าวข้างต้นแล้ว ชาวบ้านยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายของแหล่งโบราณวัตถุ โนนบักค้อ ที่บ้านโนนสัง การแพร่ระบาดของไมยราพยักษ์  การสูญเสียอาชีพประมง การสูญเสียอาชีพหัตถกรรมกกผือของบ้านหนองกก อ.ราษีไศล การสูญเสียพื้นที่เลี้ยงวัวควาย การสูญเสียประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาเกี่ยวกับทาม และผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นแล้วที่เขื่อนราษีไศล       หมายเหตุ แม้ว่า นสล. ไม่ใช่หนังสือสำคัญสำหรับแสดงกรรมสิทธิ์เหมือนอย่างโฉนดที่ดินเป็นแต่หนังสือที่ออกให้เพื่อแสดงแนวเขตที่ดินของทางราชการเท่านั้น แต่พื้นที่ดินที่อยู่ในเขต นสล. ก็คือพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304  บัญญัติว่า สาธารณะสมบัติของแผ่นดินนั้นรวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ซึ่งมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2509 พิจารณาตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า "ที่ดินที่น้ำยังคงท่วมทุกปีในฤดูน้ำ ต้องถือเป็นที่ชายตลิ่ง อันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ผู้ใดหามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่   อ่านย้อนหลัง รายงาน : เขื่อนราษีไศล - เขื่อนหัวนา บาดแผลจากโครงการโขง ชี มูล ที่รอเยียวยา (1) [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/52279
2014-03-15 08:50
ขอขอบคุณ TU Spirit ที่ทำให้ประชาชนรู้ว่าธรรมศาสตร์ตายแล้ว
กาลเวลาผันไป ใจคนก็เปลี่ยนแปลง เป็นไปได้หรือที่เราจะห้ามกระแสลมของสังคมที่ปลิวไสวไปด้วยตัวธรรมชาติของตัวมันเอง แต่ผู้ที่ฝืนธรรมชาติ ฝืนความคิดผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วนั้น จะยังคงแช่แข็งตนเองอยู่แบบเดิมได้เช่นไร ? หากโลกกำลังจะหมุนไปแต่ไฉนต้องหยุดมัน การทำความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะความคิดและทัศนคติของผู้คนที่แตกต่างกันไปต่างหากที่จะทำให้โลกนี้หมุนและเดินต่อไปร่วมกันอย่างสันติได้ แต่ในความจริงไซร้นั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ ความสังเวชใจอย่างสุดซึ้งที่ทำให้ผู้เขียนอดที่จะสื่อสารแสดงความขอบคุณกลุ่มนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มาในนามว่า “TU Spirit” ผู้ปลูกเสกจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ที่น่าจะตายไปนานแล้วกลับมาหลอกหลอนสังคมไทยและที่สำคัญคือการกลับมาของ ผีธรรมศาสตร์ตัวใหม่นี้กำลังคุกคาม “เสรีภาพทางวิชาการ” ของคนในประชาคมธรรมศาสตร์เอง การแสดงออกซึ่งความกระอักกระอ่วนใจของนักศึกษากลุ่มนี้ที่อ้างนามธรรมศาสตร์เป็นสิทธิที่พึงมีพึงชอบที่เราควรสนับสนุนให้มีความหลากหลายทางความคิดเกิดขึ้นในสังคมประชาธิปไตยและในสังคมแห่งความหลอกลวงอย่างสังคมไทยนี้เองที่เราต้องการพื้นที่อย่างมากในการแลกเปลี่ยนความคิดกันด้วยเหตุผล แต่ทว่าเมื่อได้พิจารณาข้อเขียนของนักศึกษากลุ่มนี้ที่ได้รับความนิยมในสังคมผู้เสพอุดมการณ์ราชาชาตินิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตาแล้วนั้น เราจะพบว่าการใช้เสรีภาพของพวกท่านทั้งหลายนั้นไม่ต่างจากการใช้เสรีภาพของประเทศเผด็จการอาทิเช่น เกาหลีเหนือที่ออกกฎห้ามวิจารณ์ ห้ามพูด ห้ามเขียน ห้ามแสดงออกในทางที่ไม่ดีต่อท่านผู้นำ หรือประเทศอย่างซูดานที่ใช้เสรีภาพในการออกกฎหมายปราบปรามคนรักเพศเดียวกัน เพียงแค่เปลี่ยนผู้ถูกกระทำอย่างอยุติธรรมกลุ่มนี้มาเป็นนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพตอแหลแห่งนี้ ต้องขอขอบคุณนักศึกษากลุ่มนี้จริงๆ ที่นอกจากจะทำให้อุดมการณ์ “เสมอภาค” ของธรรมศาสตร์กลายเป็นภาพมายาไปฉับพลันด้วยการสถาปนาระบบอาวุโส (seniority) ด้วยการเรียกหารุ่นพี่ธรรมศาสตร์ทุกคน และแทนตนเองเป็นเสียงจาก “รุ่นน้อง” ธรรมศาสตร์ ที่นอกจากจะทำให้อุดมการณ์ คำขวัญนี้พังทลายไป ยังสะท้อนการดูหมิ่นศักยภาพของตนเองที่ไม่สามารถพึ่งการใช้เหตุผลในการโต้เถียงได้จึงต้องไปตามล่าหารุ่นพี่ให้คอยมาปกป้องนักศึกษาที่เปรียบเหมือนผ้าขาวอย่างที่พวกเขาได้จินตนาการกันในบทความ อันเป็นการผลิตซ้ำมายาคติความเป็นเด็ก (childhood) ที่สะท้อนว่าเด็กจะคิดเองไม่เป็นต้องรอผู้ใหญ่ผู้มีความรู้และประสบการณ์มาคอยปกปกป้องแต่งเติมสีสันให้ อันเป็นวิธีคิดที่ดูถูกสติปัญญาของเพื่อนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่คิดเอง ตัดสินใจเองเป็น นอกจากความน่าเวทนาที่พวกเขาได้ดูถูกศักยภาพความเป็นมนุษย์ในตัวเขาและเพื่อนนักศึกษาคนอื่นแล้วนั้น นักศึกษากลุ่มนี้ยังคงปิดหูปิดตาไม่รับฟังข้อมูลที่นอกเหนือการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดยการใส่ร้ายโดยที่ไม่สามารถพิสูจน์ข้อครหาที่ตนเองกล่าวหาว่ามีอาจารย์หลายคนใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ใส่ร้ายสถาบันกษัตริย์ โดยที่ตนเองไม่มีข้อมูลหลักฐาน และการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (historical methods) ในการอธิบายข้อกล่าวหาเหล่านี้ได้ มีเพียงแต่อคติที่สะท้อนออกมาผ่านตัวอักษร และคำถามที่เขาควรจะตอบและอธิบายให้ได้คือ คุณจะรู้ คุณจะทราบได้เช่นไรว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนั้นประเสริฐจริง หากคุณรับฟังแต่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ด้านเดียวและปิดรับข้อมูลจากฝั่งอื่น และเลือกที่จะไม่ใช้เหตุผลในการวิพากษ์หลักฐานเหล่านี้ หากแค่เห็นแล้วก็บอกว่าปลอมขอบอกเลยว่านี้ไม่ต่างจากอาการสมาทานไปเองของบรรดาผู้คลั่งเจ้าทั้งหลาย และข้อเรียกร้องของนักศึกษากลุ่มนี้เองนั้นก็ยังทำให้นึกถึงธรรมศาสตร์หลังปี 2519 ที่เผด็จการเข้ามาควบคุมมหาวิทยาลัย การสถาปนาระบบอำนาจนิยมที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยที่นอกจากจะมีการสังหารหมู่นักศึกษาในวันที่ 6 ตุลา 2519 และจับนักศึกษากว่า 3094 คนไปฝากขังด้วยการใส่ร้ายต่างๆ นาๆ ของกลุ่มขวาอนุรักษ์นิยมไทย ณ ตอนนั้นก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวออกมา และหลังจากนั้นการคุกคามงานวิชาการในยุคนั้นๆ ก็เกิดขึ้นมีการเผาตำรา กำจัดหนังสือที่เกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยม ใครที่คิดแตกต่างจากรัฐจะถูกข้อหาเป็นภัยสังคม[1] อันเป็นข้อกล่าวหาเดียวกับที่กลุ่ม TU Spirit กล่าวหาผู้มีความคิดวิพากษ์วิจารณ์สถาบันในธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ด้วยความคิดเผด็จการเช่นนี้ทำให้คนอย่างอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ที่เคารพต้องหนีลี้ภัยไปต่างประเทศและถูกนายสล้าง บุนนาค ตบหน้าที่สนามบินดอนเมือง อยากถามด้วยจิตสำนึกแล้วว่าพวกคุณอยากจะเป็นเผด็จการทางความคิดเช่นนั้นหรือ ? ไม่ละอายใจที่ยกอ้างจิตวิญาณธรรมศาสตร์เลยหรือ ? แล้วการแสดงออกในข้อเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยออกกฎว่าด้วยประเทศไทยมีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข สะท้อนความตกต่ำในเรื่ององค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์เบื้องต้นอย่างยิ่ง และที่สำคัญความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่หารู้ไม่ว่าระบอบที่ชื่อยาวๆ นี้ถือกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญเผด็จการ 2492[2] ทั้งที่จริงๆ แล้วคำๆ นี้มาจากคำว่า Constitutional Monarchy หรือระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญที่กฎคุ้มครองระบอบนี้ถูกระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้วไม่จำเป็นต้องมาพูดเรื่อยเปื่อย นอกจากนี้แล้วนั้นหากจะเรียกร้องต่อไปให้เลิกมีการพูด การเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับระบบการปกครองหรือวิพากษ์ข้อดีข้อเสียของระบอบการปกครองทุกรูปแบบอันรวมถึงระบอบ Constitutional Monarchy ก็ขอให้เสนอยุบคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ทิ้งสะ เพราะคุณไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ถึงการศึกษาและพูดถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละระบอบการปกครอง เว้นแต่อยู่ในประเทศเผด็จการที่คนเราจะมีสิทธิพูด เห็น ได้รับความรู้ด้านเดียวมาตั้งแต่เกิดถึงจะไม่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้อะไรอย่างอื่น และความคิดเผด็จการสูงสุดของข้อเสนอของพวกเขาคือหากพบว่าอาจารย์ท่านใดเข้าข่ายสร้างอันตรายต่อสถาบันขอให้ทางมหาวิทยาลัยไล่ออกทันที ทำให้ดิฉันคิดว่า ณ ตอนนี้หากเราไม่มีสมคิด เลิศไพฑูร เป็นอธิการ เราก็คงมีท่านผู้นำคิมจองอึนเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งชุมนุมกองทุนเพื่อปลูกจิตสำนึก ปลูกจิตวิญาณธรรมศาสตร์ให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน ไม่ใช่จงรับใช้ประชาชนตามที่ตอแหลกันมานานพอควร ด้วยเหตุนี้แล้วเราจึงควรลืมรากเหง้าปรัชญาของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนองต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย และหันมาจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการจงรักภักดีต่อสถาบันฯ ที่อาจจะถูกจัดตั้งขึ้นในเร็ววัน เพื่อสนองต่อผู้เสพอุดมการณ์ราชาชาตินิยมให้ได้ชื่นใจกันโดยเร็ว   ด้วยประการฉะนี้แล้วดิฉันและเพื่อนนักศึกษาบางกลุ่มบางท่านในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของธรรมศาสตร์แบบเดิมๆ ที่ดันเกิดมาเพื่อรับใช้ประชาธิปไตยของประชาชน และขอแสดงความยินดีกับเพื่อนนักศึกษากลุ่ม TU Spirit ที่ปลูกเสกซอมบี้ธรรมศาสตร์ตัวใหม่ให้ขึ้นมาหลอกหลอนผู้คนที่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะแก่อาจารย์ที่เคารพหลายท่านที่ต้องถูกวิญญาณร้ายเหล่านี้คอยจองล้างจองผลาญเพียงเพราะพวกท่านต้องการนำเสนอข้อมูล และความรู้ให้แก่นักศึกษาได้ไปคิด วิเคราะห์ หาใช่การปลูกเสกความจำแบบที่เป็นๆ กันมาในระบบการศึกษาไทย ขอไว้อาลัยไว้ ณ ที่นี้ [1การกวาดล้างฝ่ายซ้ายและหัวก้าวหน้าภายหลังเหตุการณ์เดือนตุลาคม_พ.ศ.2519[2] อ่านเพิ่มเติมใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2551). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย. กรุงเทพ:พี.เพรส. น.69-70
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/62181
2015-10-30 00:24
วิษณุ แจงเร่งรัดคดีจำนำข้าว เพราะต้องฟ้องคดีเอกชนอีกหลายราย
29 ต.ค. 2558 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง ผลสอบของคณะกรรมการชุดกระทรวงการคลัง ในคดีจำนำข้าว ว่า ได้ส่งมาบางส่วนแล้ว ทางคณะกรรมการได้ขอขยายเวลาให้พยานมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม จากเดิมมีกำหนดถึงวันที่ 30 ตุลาคม แต่ผู้ถูกกล่าวหา ขอเพิ่มเติมพยาน จึงต้องขยายเวลาให้  แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังไม่เดินทางมาให้ข้อมูล นายวิษณุ กล่าวว่า สำหรับผลสอบของคณะกรรมการชุดกระทรวงพาณิชย์ จะส่งไปให้กรรมการชุดที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน ไม่จำเป็นต้องรอผลสอบของกระทรวงการคลัง การดำเนินการดังกล่าวมีเหตุผล เพราะคดีมีอายุความกำหนดไว้ ต้องทำภายใน 2 ปี ไม่เร่งทำคงไม่ได้  แม้ว่าฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาจะตั้งข้อสังเกตว่าเร่งรัดจนเหมือนถูกกลั่นแกล้ง ก็ตาม แต่ยืนยันว่าไม่ได้กลั่นแกล้งเพราะต้องเดินไปตามเวลาที่กำหนด  และกำชับให้เกิดความเป็นธรรม จึงขยายเวลาการรับฟังพยาน จนเกือบเป็นที่พอใจของผู้ถูกกล่าวหา นายวิษณุ กล่าวว่า ในกรณีของกระทรวงพาณิชย์  จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกับเอกชนอีกหลายราย ในกรณีขายข้าวจีทูจี แต่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเอกชนมีอายุความสั้นเพียง 1 ปีเท่านั้น ซึ่งจะหมดอายุความในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559  แต่จนถึงวันนี้ยังดำเนินการอะไรไม่ได้ เพราะต้องรอผลของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดเสียก่อน จึงจะได้นำมาคิดกับความรับผิดของเอกชน  จึงจำเป็นต้องเร่งทำเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เสร็จก่อน  จะนำไปฟ้องเอกชน   แต่สำหรับกรณีของ ของอดีตนายกยิ่งลักษณ์ ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกชน ที่มา : สำนักข่าวไทย [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/1213
2004-11-15 00:21
การปฏิบัติตนเพื่อรับมือการระบาดไข้หวัดนก
ในช่วงที่มีการระบาด ไม่ใช่มือเปล่าสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ต้องสวมถุงยางมือ สวมผ้าปิดปากจมูกและอ้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้ง สัตว์ปีกที่ป่วยตาย ให้เผาหรือฝัง โดยขุดหลุมลึกอย่างน้อย 1 เมตร ก่อนกลบดินให้ราดด้วยน้ำคลอรีนหรือโรคปูนขาวก่อนทำการฝังกลบดินให้แน่น ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ย้ายและขายสัตว์ปีก หรือ ผู้ที่สัมผัสซากสัตว์ปีก ถ้าป่วยหรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอแห้งๆ และอาจมีตาแดงด้วย ให้รีบไปพบแพทย์แล้วบอกประวัติการสัมผัสสัตว์ปีก หรือเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยปอดบวมรายอื่น ๆ ในรอบ 10 วันก่อนมีอาการให้แพทย์ทราบทันที ในช่วงที่มีโรคระบาดในสัตว์ปีกหรือมีไก่ เป็ดตายมากผิดปกติ ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองเอาใจใส่ระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เตือนไม่ให้เด็กอุ้มไก่หรือจับต้องซากสัตว์ปีที่ตาย และให้เด็กหมั่นล้างมือบ่อย ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ นอกจากนั้นต้องดูแลร่ายกาย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที รับประทานอาหารให้ครบถ้วน รวมทั้งผัก ผลไม้ งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา หากพบว่า ในพื้นที่มีสัตว์ปีกตายจำนวนมากผิดปกติ ให้แจ้งปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2653-4930 หรือ 0-2653-4444 ต่อ 5012 , 5013 หรือแจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่กระทรวงสาธารณ สุข หมายเลข 0-2590-3333 ในเขตกรุงเทพฯ แจ้งที่ หมายเลข 0 - 2472 - 4286 หรือศูนย์ไข้หวัดนกกรมปศุสัตว์หมายเลข 0-2653-5501-4 ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/2763
2005-02-16 10:17
นายกฯ ฟิตจัดทำงานไม่รอตั้งครม.
กรุงเทพฯ-14 ก.พ.48 นายจักรภพ เพ็ญแข โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกรัฐมนตรีจะเรียกประชุมหน่วยงานต่างๆ จนกว่าจะจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น เพื่อสามารถเริ่มทำงานได้ทันทีเมื่อจัดตั้งคณะรัฐมนตรี โดยในวันนี้นายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุมหน่วยงานเรื่องการจัดระบบภาษี และเวลา 16.00 น. จะเรียกประชุมหน่วยงานด้านการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้กับปัญหาด้านความมั่นคง นอกจากนี้ในสัปดาห์หน้า นายกรัฐมนตรีจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทรัพยากรน้ำตลอด จนระบบชลประทานที่ยังขาดแคลน และการจัดระบบน้ำเสีย เพื่อเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี ระบุด้วยว่า ในสัปดาห์หน้า นายกรัฐมนตรีจะเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องไข้หวัดนกหารือเพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก เพราะขณะนี้ รัฐบาลยังไม่มีการตัดสินใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน แต่แนวทางการควบคุมและการป้องกันที่ทำอยู่ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมีการหารือ ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/50301
2013-12-09 18:32
กสทช.ส่งรถหาคลื่นกวนสัญญาณดาวเทียมไทยคม ชี้โทษถึงประหาร
เลขาธิการ กสทช. สั่งการสำนักงาน กสทช. เขตทั้ง 14 เขตทั่วประเทศ ส่งรถตรวจสอบและหาทิศทางสัญญาณรบกวน 20 คันออกตรวจคลื่นรบกวนช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม พร้อมประกาศให้ผู้ดำเนินการรบกวนยุติการส่งสัญญาณรบกวนทันที ฝ่าฝืนจะดำเนินการตามกฎหมายโดยเด็ดขาดโทษถึงประหารชีวิต 9 ธ.ค.556 สำนักงาน กสทช. ส่งใบแถลงข่าวระบุ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เผยผลการประชุมร่วมกับบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กรณีมีผู้ดำเนินการส่งคลื่นรบกวนช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคมว่า บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้รายงานถึงรายละเอียดของการรบกวนว่า การรบกวนดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพ.ย. 2556 มีการส่งสัญญาณคลื่นรบกวนช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งให้เช่าช่องสัญญาณเพื่อให้บริการออกอากาศและแพร่ภาพแก่โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเกือบ 20 ช่อง อาทิ Asia Update Blue Sky รวมถึงฟรีทีวีที่ออกอากาศให้รับชมผ่าน Set Top Box ในระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (ช่อง 3, 5, 7, 9, ThaiPBS) โดยช่วงแรกของการรบกวน เป็นการส่งคลื่นสั้นๆ ขึ้นลงตลอด เมื่อตรวจสอบการรบกวนดังกล่าวพบว่าไม่ได้มาจากแหล่งเดียวกัน เนื่องจากคลื่นที่กวนมีลักษณะแตกต่างกัน โดยพบว่าการส่งสัญญาณรบกวนจะมีมากในช่วงหัวค่ำ ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่มีกิจกรรมการปราศรัย หรือแถลงทางการเมือง ฐากร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ก็ได้มีการประสานและรายงานเรื่องการรบกวนของสัญญาณดังกล่าวต่อสำนักงาน กสทช. มาตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. และสำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการตรวจสอบการส่งสัญญาณรบกวนดังกล่าวพร้อมทั้งสั่งการบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ดำเนินการตรวจสอบพร้อมทั้งรายงานการรบกวนให้สำนักงานทราบอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ ซึ่งปัจจุบันพบว่าการรบกวนดังกล่าวยังคงมีอยู่ สำนักงานฯ จึงได้สั่งการให้สำนักงาน กสทช. เขตทั้ง 14 เขต ทั่วประเทศส่งรถตรวจสอบและหาทิศทางสัญญาณรบกวน 20 คันออกตรวจคลื่นรบกวนช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคมจนกว่าจะมีคำสั่งให้หยุดดำเนินการ และขอแจ้งไปยังผู้ดำเนินการส่งคลื่นรบกวนรบกวนให้หยุดการกระทำดังกล่าวทันที หากตรวจสอบพบจะดำเนินการตามกฎหมายโดยเด็ดขาด “ในสถานการณ์ขณะนี้ การกระทำดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนเกิดการเข้าใจผิดในสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ และหากการกระทำนั้น กระทำเพื่อสร้างความปั่นป่วน ทำให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 ที่บัญญัติให้ผู้ซึ่งกระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบโทรคมนาคม หากการกระทำดังกล่าวมีเจตนาเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ผู้นั้นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย จะต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท นอกจากความผิดที่มีอยู่แล้วตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ที่กำหนดให้การกระทำดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งหากการกระทำเช่นว่านั้นได้มี การนำเข้าหรือใช้เครื่องวิทยุคมนาคมหรือตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยแล้ว ย่อมมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งจำทั้งปรับ  ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันด้วยอีกกระทงหนึ่ง” ฐากร กล่าว ทั้งนี้ หากประชาชนพบปัญหาในเรื่องคุณภาพการบริการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในการรับชม รับฟังข้อมูลข่าวสาร สามารถแจ้ง และร้องเรียนมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 ได้ทันที
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/1296
2004-11-20 01:02
ถก ร่างพรบ.ทรัพยากรน้ำ เน้นประชาชนมีส่วนร่วม
ประชาไท -- 19 พ.ย. 2547 -- กรมทรัพยากรน้ำจัดประชุมระดมความเห็น ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำรอบที่ 2 เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน รศ.ดร. อำนาจ วงศ์บัณฑิต หัวหน้าโครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างพระราช บัญญัติทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า เนื้อหาของร่างฯ เน้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ โดยจะแบ่งการใช้น้ำออกเป็น 3 ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ ขนาดเล็ก ไม่มีการควบคุม เพื่อไม่ให้ประชาชน เกษตรกร ผู้ใช้น้ำเดือดร้อน ขนาดกลางจะมีการควบคุม เพราะมีผลกระทบต่อการใช้น้ำในภาพรวมของประเทศ โดยให้ประชาชนในลุ่มน้ำบริหารจัดการกันเอง ส่วนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นระดับชาติ ซึ่งจะมีผลกระทบหลายลุ่มน้ำนั้น จะมีคณะกรรมการระดับชาติมาควบคุม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ หรือการแย่งชิงน้ำ ระหว่างลุ่มน้ำ รวมถึงการปรับปรุงองค์กรทั้งในระดับชาติ และระดับลุ่มน้ำด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการระดับชาติ ประชาชน และภาคราชการ จะมีบทบาทเท่ากัน ส่วนคณะกรรมการระดับลุ่มน้ำท้องถิ่น มีการกระจายอำนาจให้คณะกรรมการลุ่มน้ำในแต่ละลุ่มน้ำ รับฟังความคิดเห็นกันเองว่าประกอบด้วยใครบ้าง และสามารถออกกฎระเบียบบริหารจัดการลุ่มน้ำของตนเอง การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นที่โรงแรมวังคำ จังหวัดเชียงราย โดยกรมทรัพยากรน้ำได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษา ครั้งนี้เป็นการประชุมรอบที่ 2 หลังจากมีการประชุมในรอบแรกซึ่งจัดขึ้น 9 ครั้ง เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนใน 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ สำหรับการจัดการประชุมรอบที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังและทบทวนความคิดเห็นของประชาชนโดยจะนำไปปรับปรุงร่าง ฯ ต่อไป สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คนจากองค์กรภาคประชาชนในลุ่มน้ำจังหวัดเชียงราย ลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำโขง ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/77995
2018-07-25 23:32
ชำนาญ จันทร์เรือง: การเมืองหลังเลือกตั้งปี 62
ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญฯปี 60 จะต้องเกิดขึ้น เพราะหากไม่มีการเลือกตั้งหรือยืดขยายออกไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนหลังจาก พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.มีผลบังคับใช้ ย่อมทำให้บ้านเมืองอยู่ในสภาวะที่พังพินาศอย่างแน่นอน ซึ่งผู้มีอำนาจรู้ดี ประเด็นอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกนี้และจัดตั้งรัฐบาลให้ได้อีก จากการประเมินทางวิชาการและผลสำรวจโพลต่างๆทั้งทางลับและทางแจ้งต่างก็ไม่สามารถชี้ชัดไปได้ว่าใครจะเป็นฝ่ายกำชัยโดยเด็ดขาด แม้จะดูเหมือนว่าพรรคเพื่อไทยน่าจะได้เสียงที่มากโขอยู่ แต่เมื่อพิจารณาถึงระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วน (ที่มีใช้ในประเทศเดียวในโลก) ก็ไม่แน่นักว่าจะเป็นเช่นนั้น อีกทั้งหัวแถวของพรรคก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร มิหนำซ้ำยังเกิดคู่แข่งขันทางการเมืองที่ไม่มีใครคาดคิดขึ้นมาคือพรรคอนาคตใหม่ซึ่งดูเหมือนว่าจะดีวันดีคืน ซึ่งก็ไม่แน่อีกเหมือนกันว่าเสียงดีแล้วคะแนนจะเป็นไปตามนั้นด้วยหรือไม่ ซึ่งอาจจะน้อยสุดๆ หรือมากสุดๆ ไปเลยก็เป็นได้ทั้งนั้น ส่วนฝั่งฟากของพรรคที่ประกาศตัวหนุนรัฐบาลคสช.ต่างระดมกันใช้สรรพกำลังจูงใจให้อดีตส.ส.ย้ายค่ายมาสังกัดพรรคตน แต่ก็อีกนั่นแหละจากอดีตที่ผ่านมาย้ายมาก็ไม่แน่ว่าจะได้รับการเลือกตั้งเสมอไป อาจเกิดอาการตายยกรังเหมือนคราวที่แล้วก็เป็นได้ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้นก็ออกอาการกั๊กๆ เพราะก็ไม่รู้ว่าหากมีการเปิดประชุมพรรคได้ หัวหน้าพรรคจะยังเป็นคนเดิมอยู่หรือเปล่า เพราะหัวหน้าปัจจุบันบอกว่าไม่เอาคสช.แต่หากลูกพรรคจะเอาคสช.ก็คงต้องเปลี่ยนหัวหน้าเป็นคนอื่น สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คะแนนของพรรคต่างๆที่ได้หลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจะไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งได้เสียงข้างมากเกิน 250 เสียงอย่างแน่นอน และพรรคที่ได้เสียงมากที่สุดก็อาจไม่ได้เป็นนายกฯ หรือจัดตั้งรัฐบาลเพราะตาม มาตรา 272 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญฯ ปี 60 ต้องใช้เสียงรวมกันถึง 375+1 เสียงจึงจะมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสองสภารวมกัน (สส.500+สว.250) จึงจะตั้งนายกฯได้ ซึ่งผมจะแยกเป็นกรณีๆ ดังนี้ 1.กรณีที่ใช้รายชื่อนายกฯจากสามรายชื่อของพรรคการเมือง (ก็อกแรก) ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าคุณประยุทธ์จะตัดสินใจลงรายชื่อพรรคไหน หรืออาจจะถอดใจโบกมือบ๊ายบายไปเลยซึ่งเดือนกันยายนนี้รู้กัน ผมเชื่อว่าจากเสียง สว.250 แล้วหาเสียงจาก สส.อีก125+1 คงไม่ยากนักในการที่จะได้นายกฯ มาตั้งรัฐบาล แต่จะเป็นรัฐบาลที่อายุสั้นที่สุดเพราะเมื่อมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือเสนอร่างกฎหมายสำคัญๆ เช่น พ.ร.บ.งบประมาณ ฯลฯ ก็จะถูกคว่ำกลางสภาผู้แทนราษฎรโดยที่ สว.ไม่สามารถยื่นมือมาช่วยได้เลย 2.กรณีที่จะไม่ใช้รายชื่อจากพรรคการเมืองแต่จะไปเอานายกฯคนนอก(ก็อกสอง)ซึ่งตามมาตรา272วรรคสองของรัฐธรรมนูญปี60 จะต้องได้เสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 จากทั้งสองสภาซึ่งก็คือ 500 นั้นเป็นไปได้ยากเพราะจะต้องเอาเสียง สว.250 ไปรวมกับเสียง สส.อีก250 จึงจะได้คะแนนที่ว่า ซึ่งหากเกิดกรณี สส.ต่างก็พากันนั่งเฉยๆหรือ “กอดอก”ไม่ยอมยกมือให้ กรณีที่ 2 นี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ จึงจะเกิดภาวะที่เรียกว่าเดดล็อก ก็เป็นหน้าที่ที่นายกฯ ในขณะนั้นจะต้องต้องยุบสภาฯ ให้ประชาชนตัดสินใจใหม่ รัฐบาล คสช.ก็จะยืดอายุออกไปอีก เพราะ คสช.จะสิ้นสภาพไปก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ ปี 60 เท่านั้น และหากยุบสภาฯ แล้วก็ยังตั้งรัฐบาลอีกไม่ได้ก็จะวนอยู่อย่างนี้เรื่อยไป 3.กรณีเกิดฟลุ๊กพรรคที่ได้เสียงข้างมากสามารถรวมกันได้ 375+1 ตั้งนายกฯและฟอร์มรัฐบาลขึ้นมาได้โดยไม่ต้องง้อ สว. (ซึ่งเป็นไปได้ยากมากๆ ถึงยากที่สุด แต่ก็เป็นไปได้หากเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินถล่มหรือที่เรียกว่าแลนด์สไลด์แบบมาเลเซียโน่นแหละครับ) ซึ่งสิ่งตามมาก็คือการทำประชามติสอบถามประชาชนว่าเห็นควรแก้ไขรัฐธรรมนูญฯปี 60 หรือไม่ จะแก้บางประเด็นก่อนหรือทั้งฉบับไปเลย ฯลฯ เมื่อได้คำตอบแล้วก็เข้าสู่กระบวนการแก้ไขตามรัฐธรรมนูญฯต่อไป ซึ่งหากถึงตอนนั้น สว.ที่จะต้องใช้ 1 ใน 3 ก็คงยากที่จะฝืนแล้ว ในที่นี้ก็หมายความรวมถึงกฎหมายยุทธศาสตร์ 20 ปี ที่จะต้องถูกแก้หรือถูกยกเลิกอย่างแน่นอน แล้วเราควรจะทำอย่างไร ไหนๆเราก็ไม่ได้เลือกตั้งกันมาตั้งแต่ปี 54 ถ้านับถึงปีหน้าก็จะเป็น 8 ปีพอดี และเป็นการเลือกตั้งหลังการรัฐประหารที่คนในประเทศมีทั้งชอบและไม่ชอบ พรรคการเมืองต่างๆก็ควรที่จะประกาศกันออกมาให้ชัดเจนไปเลยว่าจะอยู่ฝ่ายเอาหรือไม่เอาการสืบทอดอำนาจของ คสช. แล้วรณรงค์กันอย่างเต็มที่ คสช.เองก็จะได้รู้ตัวเองว่าเมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วคนชอบหรือไม่ชอบตนเองมากกว่ากันแน่ หากมัวแต่ทำกึกๆกั๊กๆ ล็อกก็ไม่ยอมปลด ใครขยับอะไรนิดอะไรหน่อยก็แจ้งข้อหา หรือไม่ก็ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปปรามขั้วตรงข้ามกับตนหรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัย หากจะได้ชัยชนะมาก็คงไม่ใช่สิ่งที่น่าภาคภูมิใจอะไร แรงต้านก็จะยิ่งหนักกว่าเดิมทั้งจากในและนอกประเทศแบบเดียวกับการเลือกตั้งของเขมร และในทางกลับกันหากแม้ว่าทำทุกอย่างหรือทำทุกวิถีทางแล้วยังแพ้อีก ก็ถอยกลับเข้าไปกรมกองตลอดกาลไปเลยเพราะแสดงว่าการรัฐประหารไม่ได้รับการยอมรับนั่นเอง หากปล่อยอิสระเสรีในการรณรงค์หาเสียงกันอย่างเต็มที่แล้ว มีการเลือกตั้งอย่างสุจริตยุติธรรม ไม่มีการโกงกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลการเลือกตั้งออกมาแล้วฝ่ายที่หนุนคสช.ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก็ให้เป็นอันยอมรับกันว่าประชาชนเขาจะเอาอย่างนี้ คราวหน้าก็แก้ตัวใหม่รณรงค์กันใหม่ก็เท่านั้นเอง ประชาธิปไตยที่แท้จริงมันสวยงามอย่างนี้ จริงอยู่ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีข้อบกพร่อง แต่มันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์คิดขึ้นมาได้ การแก้ไขข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยก็คือการทำให้เป็นประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้นไปอีกนั่นเอง อยากให้วันเลือกตั้งมาถึงเร็วๆจังเลยครับ       หมายเหตุ  เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2561
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/9039
2006-07-20 01:47
พันธมิตรฯ เผยไม่สนสมานฉันท์ในห้องลับ
ประชาไท--20 ก.ค. 2549 ภายหลังการประชุมกำหนดทิศทางเคลื่อนไหวทางการเมืองของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้ง 5 คน นายสนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ พยายามสร้างความสมานฉันท์ด้วยการนัดคุยกับนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยว่า ที่ผ่านมาเป็นการสมานฉันท์ทางการเมืองเท่านั้น ล่าสุดจะสมานฉันท์ระหว่างทักษิณ กับนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นการสมานฉันท์ของคนสองคนถ้าตกลงกันได้ก็เป็นผลประโยชน์ที่สองคนได้รับร่วมกัน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศไม่ได้รับอะไรทั้งสิ้น   "ถ้าจะสมานฉันท์ทำไมไม่เอาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และภาคประชาชน รวมทั้งพรรคการเมืองทุกพรรคมาเสนอความสมานฉันท์ในที่สาธารณะแล้วถ่ายทอดสด อย่าไปใช้วิธีปิดประตูลับคุยกัน เมื่อไม่มีใครเล่นด้วยก็ไปหาคุณบรรหาร ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกับทักษิณ อย่างแน่นอนที่สุด เนื่องจากเป็นนักการเมืองด้วยกันจึงอยากให้มีการเลือกตั้ง เมื่อมีการเลือกตั้งคุณบรรหารจะเป็นคนที่ได้เปรียบที่สุดจึงอาสามาเป็นคนกลาง แต่คุณบรรหารลืมนึกไปว่ายังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคชาติไทย ดังนั้น คุณบรรหารจะทำอะไรขอให้ระวัง ผมไม่อยากให้คุณบรรหารเสียผู้เสียคนตอนอายุมาก" นายสนธิ กล่าว   ทั้งนี้ นายสนธิ กล่าวว่า กำลังตรวจสอบกระบวนการเก็บภาษีของรัฐบาลให้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ไม่ถึงขั้นจะให้ประชาชนใช้วิธีอารยะขัดขืนโดยไม่จ่ายภาษี ด้านนายพิภพ ธงไชย แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ยังคงมีจุดยืนเดิมคือ เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ปัญหาต่างๆ ในบ้านเมืองยุติ   ทั้งนี้ ยืนยันที่จะจัดชุมนุมครั้งใหญ่ด้วยสันติ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอาการดีขึ้น เพื่อเป็นการแสดงความเข้มแข็งของภาคประชาชนที่จะแก้ไขวิกฤตของประเทศชาติ   อนึ่ง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 10/2549 เรื่อง สามัคคีประชาชน ต่อต้านรัฐบาลเถื่อน ต้านการทำหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการที่เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/30180
2010-07-02 19:02
องค์กรเอกชนกัมพูชาเตรียมจัดงานแสดงความโกรธแค้นไทย กรณีรุกพื้นที่พิพาทเขาพระวิหารเมื่อ 2 ปีก่อน
องค์กรเอกชนของกัมพูชาเผยต้องการแสดงออกให้ไทยรู้ว่าชาวกัมพูชาไม่พอใจที่ไทย "รุกราน" อธิปไตย ในเหตุการณ์ส่งกองกำลังทหารเข้าประชิดพื้นที่พิพาทใกล้เขาพระวิหาร เมื่อ 15 ก.ค. 2551 เอกอัครราชทูตไทยเชื่อไม่มีผลกระทบเพราะหน่วยงานที่จัดเป็นหน่วยงานเอกชน เว็บไซต์พนมเปญโพสต์ รายงานเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า สภาเฝ้าระวังกัมพูชา (The Cambodia Watchdog Council-CWC) มีแผนการที่จะจัดการชุมนุมขึ้นในวันที่ 15 ก.ค. นี้เพื่อแสดงความโกรธแค้นต่อประเทศไทยที่ "รุกราน" เข้ามายังพื้นที่พิพาทใกล้เขาพระวิหารเมื่อ 2 ปีก่อน โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ปี 2551   ทางการไทยได้ส่งกองกำลังทหารเข้ามาในพื้นที่พิพาทใกล้กับบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ให้หลังจากที่คณะกรรมการมรดกโลกรับเอกสารขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกจากทางกัมพูชา ประธานขององค์กรดังกล่าวระบุว่า จุดประสงค์ของการรวมตัวกันครั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้ไทยรู้ว่าชาวกัมพูชานั้นไม่พอใจต่อการ "รุกราน" อธิปไตยของกัมพูชา ด้านนายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา อนุญาตให้องค์กรภาคเอกชน หรือ เอ็นจีโอ ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จัดงานวันแห่งความโกรธแค้นไทยในวันที่ 15 ก.ค. นี้ ว่าคิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรและไม่น่าจะมีผลกระทบอไะรกับประเทศไทยเพราะเป็นกิจการภายในประเทศและหน่วยงานที่จัดก็เป็นภาคเอกชน  ในอดีต กัมพูชาเคยจัดงานลักษณะนี้มาแล้ว คืองานเฉลิมฉลองที่ศาลโลกตัดสินใหักัมพูชาได้ครอบครองปราสาทพระวิหารและงานฉลองที่งค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก  ที่มาข่าวบางส่วนจาก พนมเปญโพสต์ [1]
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73623
2017-10-10 17:06
วันชาติสาธารณรัฐจีนปีที่ 106 'ไช่อิงเหวิน' ย้ำนโยบายมุ่งลงใต้-ร่วมมือเพื่อนบ้าน
ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีฉลองวันชาติปีที่ 106 ย้ำพันธะของไต้หวันมีบทบาทสำคัญที่ขาดไม่ได้ต่อสันติภาพ ความมั่นคง และความรุ่งเรืองในเอเชียแปซิฟิก จะยืนอยู่บนพื้นฐานประชาธิปไตยและเสรีภาพ ผลักดันนโยบายมุ่งลงใต้อย่างเต็มที่ เชื่อมโยงและรักษาสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน ชี้มูลค่าการค้ากับชาติในทะเลใต้เพิ่มขึ้น 20% ที่มาของภาพประกอบ: Flickr/ทำเนียบประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน [1] ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินแห่งไต้หวัน สาธารณรัฐจีนได้เอ่ยถึงการผลักดันนโยบายมุ่งสู่ใต้ครั้งใหม่ขณะที่ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีฉลองวันชาติสาธารณรัฐจีนปีที่ 106  ในช่วงเช้าวันที่ 10 ตุลาคมศกนี้ว่า วันนี้เราได้มาอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากับบรรดามิตรจากทั่วโลก ข้าพเจ้าจึงต้องขอย้ำอีกครั้งว่า เราคือผู้รักในสันติภาพ เรามีเจตจำนงค์และมีความสามารถเพียงพอที่จะอุทิศคุณูปการต่อสังคมโลกให้มากยิ่งขึ้น โดยในสุนทรพจน์ของไช่อิงเหวินกล่าวด้วยว่าเจตจำนงของประชาชนในรอบ 20 ปีมานี้ต้องการเห็น "ไต้หวันที่ดีขึ้น" ซึ่งเธอจะยึดมั่นต่อเจตจำนงนี้ด้วยการทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ได้เน้นย้ำ 3 ข้อ ได้แก่ 1. จะทำให้บรรลุตามพันธสัญญาที่ตั้งไว้และเร่งการปฏิรูป 2. ปกป้องประชาธิปไตยและเสรีภาพของไต้หวัน 3. มุ่งหาตำแหน่งแห่งที่ของไต้หวันตามระเบียบโลกใหม่ (อ่านสุนทรพจน์) [2] ที่มาของภาพประกอบ: Flickr/ทำเนียบประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน [3] ตามรายงานของ สถานีวิทยุ RTI [4] ไช่อิงเหวินกล่าวย้ำว่า ไต้หวันเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ขาดไม่ได้ต่อสันติภาพ ความมั่นคงและความรุ่งเรืองในเอเชียแปซิฟิก พวกเราจะร่วมมือกับประเทศข้างเคียงที่มีแนวความคิดเหมือนกันอย่างแนบแน่น ยืนอยู่บนพื้นฐานประชาธิปไตยและเสรีภาพ เราจะเร่งผลักดันนโยบายมุ่งใต้ใหม่อย่างเต็มที่ เพื่อเชื่อมโยงและรักษาสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน มูลค่าการค้ากับประเทศนโยบายมุ่งใต้ใหม่ เพิ่มขึ้นเกือบ 20%  เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว  เป็นผลสำเร็จที่ประจักษ์ต่อหน้าพี่น้องร่วมชาติ พวกเราส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านบุคลากร ปัจจุบันจำนวนเยาวชนที่เข้าร่วมหลักสูตรเทคนิคเฉพาะด้านในต่างประเทศกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักศึกษาที่มีประสบการณ์ข้ามประเทศเหล่านี้ถือเป็นบุคลากรส่งเสริมความรุ่งเรืองในภูมิภาคในอนาคต พวกเราส่งเสริมความร่วมมือการผลิต กระทรวงเศรษฐการจัดตั้งหน่วยงานการลงทุนของไต้หวัน เพื่อให้บริการสองฝ่ายในด้านการลงทุนและการให้คำปรึกษาใน เวียดนาม ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ไทย และอินเดีย พวกเราดำเนินการจัดตั้งกลไกด้านสินเชื่อในต่างประเทศ เพื่อให้ SMEs ที่ต้องการไปลงทุนในเอเชียอาคเนย์ เช่น การค้ำประกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการไต้หวันและประเทศนโยบายมุ่งใต้ พัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ เป็นการเชื่อมห่วงโซ่การผลิตอนุเคราะห์กันเพื่อการชนะสองฝ่าย จุดประสงค์ของการดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ เป็นการแสวงหายุดยืนที่เป็นประโยชน์ต่อไต้หวันในสังคมนานาชาติอีกครั้ง และถือโอกาสนี้บอกต่อเพื่อนทั่วโลกว่า การเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเอเชียแปซิฟิก ไต้หวันเตรียมความพร้อมและแสดงบทบาทสำคัญเพื่อความสงบมั่นคงและความรุ่งเรืองในภูมิภาค
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/60940
2015-08-20 23:22
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ขอเชิญสื่อมวลชนส่งผลงานเข้าประกวด "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2558
เนื่องด้วยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยซึ่งทำงานสื่อสารสาธารณะกับสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป  จึงได้จัดประกวดเพื่อมอบ “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2558 (Media Awards 2015) เพราะเล็งเห็นว่าสื่อมวลชนเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง สื่อทำหน้าที่เป็นครูที่ดีในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น  จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้สื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบผลงานรางวัลสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษชน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป              การประกวด“รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2558 ( Media  Awards 2015) มีทั้งหมด 5 รางวัล ทุกรางวัลจะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ สำหรับผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเผยแพร่หรือตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 เท่านั้น และสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ตุลาคม 2558  โดยแบ่งประเภทการประกวดดังต่อไปนี้ • ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับชาติ • ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น• ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)• ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบเคเบิลท้องถิ่น (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)• ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ชิงเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเผยแพร่หรือตีพิมพ์  ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2558 ส่งผลงานตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2558 ส่งผลงานตัวจริงพร้อมสำเนา 5 ชุดมาที่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย 90/24 ลาดพร้าว ซ. 1 จอมพล จตุจักร กรุงเทพ 10900สอบถามเพิ่มเติม 02-513-8745, 02-513-8754,  089-922-9585อีเมล media@amnesty.or.th [1]เว็บไซด์ www.amnesty.or.th [2] เอกสารที่เกี่ยวข้อง:   รายละเอียดการประกวดรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2558 [3]
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13385
2007-07-09 03:00
บทความศูนย์เฝ้าระวังฯ - วิกฤติสื่อไทย ในสถานการณ์ความไม่สงบภาคใต้
ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้ [1]                 ถือว่าสะเทือนความรู้สึกพอสมควรสำหรับ "คนทำสื่อ" เมื่อผลวิจัยของ "เครือข่ายรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้" ชี้เปรี้ยงว่า "สื่อไทย" โดยเฉพาะ "หนังสือพิมพ์" ติดกลุ่มองค์กรหรือสถาบันที่ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ไว้วางใจมากที่สุด (อ่าน "ทัศนคติประชาชนและผู้นำในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน" [2] ประกอบ)             ทำไมและอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น?   สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยมหิดล วิเคราะห์ว่า สาเหตุสำคัญประการหนึ่งน่าจะมาจากอารมณ์การ "พาดหัวข่าว" ของหนังสือพิมพ์ที่อาจจะทำให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกไม่สบายใจ ขณะเดียวกัน ผลวิจัยที่ออกมายังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่น่าจะห่างเหินมากพอสมควรระหว่างนักข่าวในพื้นที่กับชาวบ้าน           "คนสามจังหวัดคงคิดว่าสื่อหนังสือพิมพ์ไม่ใช่ตัวแทนของพวกเขา และไม่มีพื้นที่สำหรับพวกเขามากเพียงพอ โดยเฉพาะในแง่ของการทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น" สุภิญญา บอก             แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าผลวิจัยในความเห็นของเลขาธิการ คปส. ก็คือ บทบาทการเป็น "ตัวแทน" ของหนังสือพิมพ์               "คนที่อ่านหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่คือคนชั้นกลางกับคนเมือง และบทบาทของหนังสือพิมพ์ก็จะเป็นตัวแทนของคนกลุ่มนี้ ดิฉันจึงเกรงว่าการปฏิเสธสื่อหนังสือพิมพ์ของคนในจังหวัดภาคใต้อาจเป็นการสะท้อนว่าเขาปฏิเสธคนเมืองกับคนชั้นกลางด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็น่าวิตก"             อย่างไรก็ดี ปัญหาการพาดหัวข่าวและรูปแบบการนำเสนอข่าวความรุนแรงในวาระภาคใต้ที่ สุภิญญา พูดถึงนั้น ที่ผ่านมาสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้จัดทำโครงการโต๊ะข่าวภาคใต้ หรือที่รู้จักกันในนาม  "ศูนย์ข่าวอิศรา" เพื่อเปิดพื้นที่ข่าวสารด้านอื่นๆ ในดินแดน 3 จังหวัดมาแล้ว แต่ สุภิญญา ก็ยังมองว่าการขับเคลื่อนของโครงการน่าจะส่งผลน้อยเกินไป             "จริงๆ แนวคิดการตั้งศูนย์ข่าวอิศราเป็นเรื่องที่ดี และข่าวที่นำเสนอก็มีคุณภาพมาก แต่ปัญหาก็คือข่าวของศูนย์อิศราได้รับการเผยแพร่ในสื่อกระแสหลักมากขนาดไหน และมากพอที่จะเปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้านหรือไม่" เธอตั้งคำถาม             สุภิญญา บอกอีกว่า ผลวิจัยที่พบว่าประชาชนในพื้นที่ไว้วางใจสื่อมาเลเซียมากกว่าสื่อไทย สะท้อนให้เห็นความรู้สึกแปลกแยกในใจของชาวบ้านที่ฝังแน่นมานาน และสาเหตุที่ชื่นชอบสื่อมาเลเซียมากกว่าก็เนื่องจากมาเลย์มีสภาพสังคมและอัตลักษณ์ใกล้เคียงกับคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในบางแง่มุมก็น่าจะมีวาระทางการเมืองปะปนอยู่บ้างเช่นเดียวกัน               "เหมือนกับคนที่ต่อต้านทักษิณ ก็อาจจะเลือกอ่านหนังสือพิมพ์ผู้จัดการหรือเนชั่น ตรงนี้เป็นการสะท้อนวาระทางการเมืองในใจ ฉะนั้นถึงแม้ว่าศูนย์ข่าวอิศราจะช่วยลดช่องว่างระหว่างสื่อกระแสหลักกับคนในพื้นที่ลงได้บ้าง แต่มันก็ยังเล็กเกินไปสำหรับปัญหาที่มีโจทย์ใหญ่และซับซ้อนเช่นนี้ ที่สำคัญยังเป็นโจทย์ที่มีปัญหาสังคมกับการเมืองคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง การแก้ปัญหาจึงต้องทำในหลายมิติพร้อมกัน จะทำเฉพาะมิติของสื่ออย่างเดียวคงไม่สำเร็จ"   ด้าน ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ผู้อำนวยการสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้สัมภาษณ์ในฐานะผู้หนึ่งที่ติดตามข่าวสารทั้งจากสื่อไทยและสื่อต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง ระบุสาเหตุว่าน่าจะมาจาก "บริบทสังคม" ของประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่ "คาดหวัง" กับสื่อไทยไว้ค่อนข้างสูง   เมื่อไม่สามารถสะท้อนสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ดีกว่าการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากฝ่ายทางการฝ่ายเดียว พวกเขาจึงหมดความเชื่อถือ   ผศ.ดร.วรวิทย์ อธิบายเพิ่มว่า ประชาชนในพื้นที่คาดหวังว่านักข่าวไทยน่าจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ได้ดี และน่าจะนำเสนอข้อมูลได้มากกว่าข่าวปกติ ยกตัวอย่าง "โรงเรียนปอเนาะ" ซึ่งสื่อต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความจำเป็นของโรงเรียนปอเนาะในลักษณะเห็นใจ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการการศึกษาตามระบบได้ แต่สื่อไทยเอง ทั้งๆ ที่เป็นคนประเทศเดียวกัน กลับมีแต่ข่าวที่มีลักษณะ "เหมารวม" นำเสนอออกไป เช่นว่า "ปอเนาะเป็นที่บ่มเพาะความคิดก่อการร้าย"   "หรืออย่างมีข่าวว่า ภาครัฐจะจัดระเบียบปอเนาะ ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นข้อเท็จจริงตามข้อมูลที่ได้จากทางการ ไม่ได้บิดเบือนอะไร แต่ชาวบ้านเขากลับเกิดความรู้สึกว่า ทำไมภาครัฐมองว่าปอเนาะคือตัวปัญหา ขณะที่ตัวสื่อไทยเองก็นำเสนอข่าวนั้นทื่อๆ ไม่ได้อธิบายข้อมูลอีกด้าน ทำให้ถูกมองว่าเป็นฝ่ายเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐ" เขาอธิบาย   ผอ.สถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ความเห็นอีกว่า ประเด็นเรื่อง "มิติทางภาษา" ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้สื่อไทยไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนในพื้นที่   "มันมีบริบทในประโยคของข่าวที่ให้ความรู้สึกต่างกันอยู่ ยกตัวอย่างการจัดการศึกษา พวกเขาจะมองว่า นี่คือสิทธิของประชาชนในพื้นที่นี้จะพึ่งได้ แต่พอถูกนำเสนอในสื่อไทย มันออกมาในลักษณะที่ว่า เป็นผลงานของรัฐที่เข้ามาจัดการให้ หรือการจับกุม "ผู้ต้องสงสัย' ถ้าเป็นสื่อมาเลย์ที่ใช้คำอังกฤษว่า suspect  หรืออาจจะใช้ภาษารูมีว่า yang di syaki ซึ่งต่างจากสื่อไทยที่ใช้คำว่า "ผู้ต้องหา' ทำให้เกิดความรู้สึกว่ากลายเป็นผู้ต้องหาที่กระทำความผิดไปแล้ว ญาติคนที่ถูกจับไปก็เกิดความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม มันให้อารมณ์ว่าต้องถูกซ้อมหรือถูกทำร้ายในการสอบสวน เป็นการถูกรัฐรังแก คือในเชิงลึกของภาษามันให้ความรู้สึกที่ต่างกันอยู่"   ผศ.ดร.วรวิทย์ได้อธิบายด้วยว่า ที่ผ่านมา ความนึกคิดหรือความเห็นของประชาชนในพื้นที่เหมือนถูกกดทับมานาน ไม่ได้รับการสื่อสารออกไป เมื่อสื่อต่างชาติซึ่งมีประวัติศาสตร์ใกล้ชิดกัน ใช้ภาษาเดียวกัน และสามารถสื่อสารได้ตรงตามความหมายที่แท้จริงอย่างที่เขาต้องการได้ดีกว่า ทำให้เขาอยากจะสื่อสารกับสื่อต่างชาติมากกว่า   โดยเฉพาะทุกวันนี้ ประชาชนในพื้นที่เขาสามารถอ่านข่าวจากต่างประเทศได้ง่ายขื้น ไม่ใช่เฉพาะแต่สื่อมาเลเซียเท่านั้น แต่รวมถึงข่าวจากตะวันออกกลาง ข่าวอาหรับ หรืออัลจาซีร่า เป็นต้น ฯลฯ   เขาวิเคราะห์ต่อว่า หากมองตามเนื้อข่าวทั้งของสื่อไทยและสื่อต่างชาติ ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันมาก มีการนำเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชนิดตามติดเหมือนๆ กัน บางครั้งสื่อไทยสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้ดีกว่าด้วยซ้ำ แต่ก็มีบางครั้งที่สื่อต่างชาติโดยเฉพาะมาเลเซีย ซึ่งรู้ว่าประเด็นไหนเซ็นซิทีฟหรือมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกของประชาชน เขาก็อาจจะเลี่ยง แต่สื่อไทยจะนำเสนอตามนั้นเลย มันจึงกระทบความรู้สึกในด้านลบ ทั้งนี้ ข่าวส่วนใหญ่ที่ได้ก็มาจากรัฐ ต้องยอมรับว่ามันมีความหมายในเชิงการเมืองอยู่ มันมีความรู้สึกไม่ชอบซ่อนอยู่   ผศ.ดร.วรวิทย์แนะด้วยว่า ควรจะมีสื่อท้องถิ่นของไทยที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษามาลายูได้อย่างชำนาญ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นสื่อสารมวลชนอย่างแท้จริงด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำความคิดเห็นและความจริงจากพื้นที่ ส่งกระจายให้คนทั่วประเทศรับทราบ ตลอดจนสื่อสารกับคนในพื้นที่ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน   ด้าน สุวัตน์ จามจุรี ประธานกลุ่มสื่อฟาลิฮีน (ปัตตานี) อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มาลายู "ทางนำ" วิเคราะห์สาเหตุสำคัญว่า น่าจะมาจากบทบาทของผู้ที่ทำหน้าที่สื่อในพื้นที่ ซึ่งไม่สามารถเป็นปากเสียงแทนประชาชนได้อย่างแท้จริง   "ที่ผ่านมา ชาวบ้านจะสะท้อนให้ฟังว่า สิ่งที่เขาพูดกับผู้สื่อข่าวกับสิ่งที่ถูกนำเสนอออกไปมันไม่ตรงกัน ถูกตัดหรือถูกดัดแปลง ประเด็นนี้ทำให้เขาไม่อยากที่จะพูดกับสื่อไทย ประกอบกับสื่อมวลชนในพื้นที่ก็มีความใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการเกินไป ส่งผลให้หน้าหนังสือพิมพ์ค่อนข้างจะมีข้อมูลที่มาจากภาครัฐมากกว่า เสียงประชาชนในพื้นที่มีน้อยมาก กลายเป็นปัญหาเรื่องความสมดุล"   อดีต บก. "ทางนำ" ชี้ว่า นักข่าวท้องถิ่นที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ส่วนมาก ประสบการณ์ยังน้อย และดูเหมือนจะไม่ได้มีความรู้สึกที่อยากจะพูดแทนชาวบ้านอย่างแท้จริง เห็นได้จากข่าวที่จะมีแต่การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐ หรือแค่รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งน่าเป็นห่วง เนื่องจากได้กลายเป็นการขยายภาพว่าเกิดแนวร่วมขึ้นมากมายในทุกๆ พื้นที่ จนประชาชนในจังหวัดภาคใต้จะกลายเป็นผู้ก่อการร้ายกันหมด ทั้งๆ ที่มีอยู่แค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์   สุวัตน์เสริมว่า จริงๆ แล้ว คนที่ควรจะสื่อเรื่องภาคใต้ได้ดีที่สุด ก็คือคนในพื้นที่ ซึ่งก็พอเข้าใจได้ว่าสื่อในพื้นที่เองก็อาจจะอยากนำเสนอข้อมูลให้เกิดความสมดุล แต่ก็ติดเงื่อนไขเรื่องพื้นที่ข่าวของสื่อส่วนกลาง ข่าวจึงออกมาในลักษณะนี้ ในขณะที่นักข่าวส่วนกลางเองก็ขาดภูมิหลัง (background) ของพื้นที่ ทั้งบางเรื่องเกี่ยวเนื่องกับประเด็นวัฒนธรรม ทำให้มองข้าม ไม่ได้นำเสนอบางประเด็นที่สำคัญไป    "อย่างคดีฆ่าข่มขืนเร็วๆ นี้ ถ้ามองในมุมของชาวบ้าน เขาก็ไม่อยากให้แพทย์มองเห็นศพในสภาพที่ไม่งาม ศพจึงอาจจะมองเหมือนไม่ได้ถูกข่มขืนก็ได้ มันเป็นความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม ซึ่งเรื่องเหล่านี้สื่อไทยไม่ได้ถูกนำเสนอออกไป แต่กลับไปฟันธงว่าไม่ได้ถูกข่มขืน ประกอบข้อมูลที่นำเสนอไปมันก็ยังไม่สามารถไปสู้กับความคิดหรือความเชื่ออย่างนั้นของชาวบ้านได้" เขายกตัวอย่างประกอบ   ประเด็นที่น่าสนใจที่ อดีต บก. "ทางนำ" วิเคราะห์ปัญหาก็คือ ปัจจุบันไม่มีคนรุ่นใหม่ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ที่จะอยากเข้ามาทำหน้าที่สื่อสารมวลชน ทั้งๆ ตัวเองมีความเข้าใจในมิติทางภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรมดีกว่านักข่าวส่วนกลาง ประการหนึ่งก็คือเกรงอันตราย เสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวร่วม หรือกลายเป็นพวกเดียวกับฝ่ายทางการ แต่อย่างไรก็ดี จำเป็นที่จะต้องพลักดันให้เกิดสื่อท้องถิ่นที่มีความเป็นสื่อจริงๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในสังคม ทั้งในพื้นที่และทั่วประเทศ   "จะต้องพลักดันให้เกิดสถานีข่าวภาคประชาชน เพื่อนำเสนอ "ข้อมูลคู่ขนาน" จากชาวบ้านจริงๆ ตอนนี้ ไม่เฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ แม้กระทั่งในสื่อทีวี ไม่มีใครพูดถึงสันติวิธี เห็นมีแต่อยากให้แตกหัก มีการเสนอภาพบ้านชาวบ้านถูกค้น จนถูกมองว่าเป็นบ้านแนวร่วมกันไปหมด ทั้งที่บางคนก็ไม่รู้อีโหน่อีแหน่ แต่ก็ถูกมองเป็นผู้ก่อการร้าย จนปัจจุบันชาวบ้านไม่อยากจะเปิดรับข่าวสารจากสื่อไทยกันอยู่แล้ว" สุวัตน์ให้ความเห็นตอนท้าย     เห็นได้ชัดว่า วิกฤติสื่อไทยภายใต้สถานการณ์ภาคใต้วันนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือในการที่จะปฏิรูปการทำงานอย่างจริงๆ จังๆ ทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่ เพราะที่สุดแล้ว ประเด็นเหล่านี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาสนทนาหารือหลายครั้งหลายครา แต่ผลที่ออกกลับมาทำไมคล้ายถอยหลังเข้าคลอง !!!
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/16111
2008-03-20 02:26
สัมภาษณ์พิเศษ : จับตาขบวนการภาคประชาชน: เมื่อภาคประชาชนก้าวสู่ระบบเลือกตั้ง
วิทยากร บุญเรือง สัมภาษณ์   จับตาขบวนการภาคประชาชน เป็นรายงานชุดที่พยายามจะนำเสนอมุมมอง วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค ที่เกิดขึ้นกับมวลหมู่ที่เราเรียกว่า "ภาคประชาชนไทย"   โดยในประเด็นแรกที่จะนำเสนอก็คือ "เมื่อภาคประชาชนก้าวสู่ระบบเลือกตั้ง" ซึ่งได้พูดคุยกับ "เจษฎา โชติกิจภิทวาทย์" แห่งกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ (ปรส.) เอ็นจีโอธรรมดาสามัญ ที่ได้ทำงานคลุกคลีกับทั้ง NGO's นักวิชาการ รวมถึงลงพื้นที่ทำงานมวลชนกับชาวบ้านรากหญ้า เกษตรกร และ แรงงาน อย่างจริงจังในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา และล่าสุดในตำแหน่ง บก.จุลสารเสมอภาค [1] ที่เขาหมายมั่นปั้นมือที่จะให้เป็นสื่อปลุกระดมทางความคิดแก่กลุ่มคนจนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี   Q: ยินดีด้วยไหม ที่เพื่อนๆ NGO's ลงเล่นการเมือง? ผมคิดว่าการเล่นการเมืองของ NGO's ในที่นี้หมายถึงการเมืองในระบบ เช่น สมัครผู้แทนราษฎร สมัคร ส.ว. สมัครเป็นกรรมการสิทธิ์  องค์กรอิสระต่างๆ มิใช่สิ่งที่ผิดแต่อย่างใด เพียงแต่ใครเป็นคนเลือกคุณ  ถ้าประชาชนเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา ก็คุณมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้ แสดงว่าอย่างน้อยคุณมีความคิดว่ารากฐานคุณต้องเชื่อมกับประชาชนที่เขาควรมีสิทธิเลือกตัวแทนซึ่งเป็นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา   ซึ่งแบบนี้ผมเห็นด้วย และแน่นอนว่าการได้รับการเลือกตั้งของคุณ คุณก็ต้องมีการเคลื่อนไหว มีกลยุทธ์ต่างๆ ในการทำให้ประชาชนเลือกในการสร้างความยอมรับว่าคุณจะทำหน้าที่เพื่อประชาชน เช่น การเป็นนักรณรงค์ประเด็นต่างๆ ที่ประชาชนผู้เลือกตั้งยอมรับในตัวคุณแล้วก็เลือกคุณ ซึ่งไม่ต่างจากนักการเมืองทั่วไปที่ได้รับการเลือกตั้งที่พูดกันว่า คนนี้มีผลงานจึงเลือก แม้ว่าการสร้างผลงานของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน  บางคนอาจจะเคยช่วยลักษณะเชิงสังคมสงเคราะห์  บางคนอาจจะผลักดันกฎหมายนโยบาย    แต่ทุกคนประชาชนเป็นผู้เลือก มิใช่มาจากการสรรหา จากการเลือกของอรหันต์ไม่กี่คน หรือจากคณะรัฐประหารหยิบมือเดียว   Q: ในที่สุดพวกเขาก็ได้พบสัจธรรมว่าคุณต้องมีอำนาจทางการเมืองเท่านั้น คุณถึงจะเคลื่อนไหวประเด็นของคุณได้? ผมคิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งนะ หมายถึงการเมืองมันมีทั้งในระบบและนอกระบบ สำคัญทั้งสองส่วนสำหรับภาคประชาชน แต่ผมคิดว่า ที่สำคัญมากกว่าคือคุณเล่นการเมืองเพื่อใคร เพื่อคนส่วนน้อย เพื่อคนส่วนใหญ่ เพื่อคนได้เปรียบ หรือเพื่อคนเสียเปรียบ    อย่างไรก็ตามแต่ NGO's ที่จะเล่นการเมืองนั้น ถึงที่สุดแล้วใครเสนอเขาให้ลงสมัครเลือกตั้ง เพื่อนเขา องค์กรของเขา ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรประชาชนเสนอเลยก็ได้ แต่ก็ลำบากหน่อยสำหรับองค์กรประชาชน ก็ในเมื่อคนที่จะสมัคร ส.ว.ได้ต้องจบปริญญาตรี แล้วถ้าองค์กรประชาชนจะเสนอ พ่อหลวงจอนิ โอโดเชา ผู้นำปกาเกอญอ คุณสมศักดิ์ โยอินชัย ผู้นำเกษตรกร นายอนุชา มีทรัพย์ ผู้นำสหภาพแรงงานลำพูน บุคคลเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ลงสมัคร นี้คือข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญที่กีดกันสิทธิพื้นฐานของชนชั้นล่างใช่ไหมครับ?   ที่น่าแปลกมากอีกเรื่องหนึ่งก็คือ คนจากภาคประชาชนบางคนที่ลงเล่นการเมือง (เช่น คุณรสนา) ลงสมัคร ส.ว. แต่ชอบพูดว่า นักการเมืองเลว  ผมถามคำหนึ่งว่า ส.ว. ไม่ใช่นักการเมืองหรือ  การลงเล่นการเมืองก็ควรยอมรับว่าตัวเองเป็นนักการเมือง แต่จะเป็นนักเมืองที่ดีหรือไม่ ก็เป็นบทบาทใหม่ จะสอดคล้อง เชื่อมโยงกับความต้องการของภาคประชาชนหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์    ความเป็นภาคประชาชนไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด อยู่ที่การกระทำ อยู่ที่ผลงาน อยู่ที่แนวคิด  ความเป็นตัวแทนภาคประชาชนไม่ใช่อ้างว่า ทำเพื่อส่วนรวมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำเพื่อชนชั้นล่าง เพื่อคนด้อยโอกาสในสังคม และต้องปกป้องประชาธิปไตยแบบรัฐสภาด้วย ถ้าไม่ทำเพื่อชนชั้นล่างแล้ว ก็ไม่น่าแปลกว่าทำไมพวกเขาไม่สามารถแข่งขันกับนโยบายประชานิยมของนักการเมืองแบบคุณทักษิณได้  และความคิดเรื่องนักการเมืองเลวในสังคมไทยก็ผลิตมาจากชนชั้นนำนอกระบบรัฐสภา ซึ่งได้ผล ในวันนี้ แม้แต่คนที่ลงเลือกตั้งเองก็ยังนำมาใช้   กลับมาเรื่องเอ็นจีโอกับภาคประชาชน เอาเข้าจริงบางครั้งองค์กร NGO's กับองค์กรประชาชนก็มีโครงสร้างการจัดองค์กรที่ไม่ได้รวมอยู่ที่เดียวกันด้วย องค์กรประชาชนผู้นำองค์กรอาจจะมาจาการเลือกตั้งของสมาชิกที่เป็นประชาชน แต่ผู้นำ NGO's อาจจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกที่เป็น NGO's ด้วยกันเองไม่ใช่ประชาชนนะครับ เช่น กป.อพช. เป็นต้น     Q: ในทางหนึ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งดีไม่ใช่หรือ ที่กลุ่ม NGO's ลงเล่นการเมือง เหมือนเขาเข้าใจได้ลึกซึ้งมากกว่าการประท้วงเคลื่อนไหวบนท้องถนนอย่างเดียว? เพราะการเป็นนักการเมืองคุณต้องถูกรับเลือก (ยกเว้นพวกถูกแต่งตั้ง) คุณต้องเอาใจประชาชน? ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญ แต่การประท้วงเคลื่อนไหวบนท้องถนนขององค์กรประชาชนก็ต้องมีต่อไปภายใต้ยุคทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ที่รัฐไทยมักมีนโยบายแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ทำทุกอย่างเป็นสินค้า ส่งเสริมการลงทุนโดยมีแรงงานราคาถูกรองรับ การประท้วงจึงเป็นอาวุธที่สำคัญของประชาชนที่ยากจนในด้านต่างๆ เพื่อบอกกล่าวถึงตัวตน สิทธิ  การต่อรอง การเสนอทางออก ซึ่งเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตยใช่ไหมที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมทุกระดับ   องค์กรประชาชน ไม่สามารถฝากผีฝากไข้ให้กับ NGO's ที่ได้รับการเลือกตั้งได้อย่างเดียว อาจจะไม่ใช่ตัวแทนขององค์กรประชาชนที่เคลื่อนไหวในเรื่องราวต่างๆ ได้ทุกเรื่องก็ได้ เขาอาจจะไม่ได้มีความรู้ความสามารถในบางเรื่อง แต่บางเรื่องเขาอาจจะเป็นผู้ช่วยเสนอความเห็นสนับสนุนเรื่องขององค์กรประชาชนได้ และผมเข้าใจว่า องค์กรประชาชนหลายองค์กรมีบทเรียนการฝากความหวังในการแก้ไขปัญหาบางเรื่องให้กับชนชั้นนำ แม้ชนชั้นนำเหล่านั้นอาจจะเป็น NGO's นักวิชาการ นักการเมืองสังกัดพรรค ปลัดกระทรวง ทบวงกรมต่างๆ NGO's ที่เป็น ส.ว. มาจากรัฐประหารที่ผ่านมา หรือเคยเรียนรู้ หรือบอกว่าเข้าใจปัญหา ทำนองฉันจะจัดการให้… แต่ผลปรากฏว่าล้มเหลว ทำไม่ได้จริง หรือเกิดผลในทางตรงกันข้าม สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนด้วยซ้ำ พูดอีกอย่างเราไม่อาจแก้ปัญหาโดยวิธีการกระบวนล็อบบี้อย่างเดียว เพราะผิดหวังมีบทเรียนกันมามากแล้ว มิหนำซ้ำทำให้องค์กรประชาชนอยู่ใต้วิธีคิดแบบอุปถัมภ์อยู่ร่ำไปไม่ว่าผู้อุปถัมป์จะเป็นใครก็ตามใช่ไหม? ประชาชนจึงต้องกำหนดชะตากรรมชีวิตของตนเอง    นอกจากนี้แล้วเราก็ไม่รู้เหมือนกัน ท่ามกลางการช่วงชิงอำนาจของกลุ่มทักษิณกับพวกไม่เอาทักษิณ พันธมิตรประชาธิปไตย NGO's เขาจะไปฝั่งไหนกัน เขาสรุปบทเรียนจริงๆ กันอย่างไร     องค์กรประชาชนก็ต้องตรวจสอบ มีความคิดที่เป็นอิสระจากเขาเหล่านั้น สร้างความเข้มแข็งของตนเอง คัดค้านการรัฐประหารที่ปิดกั้นเสรีภาพในการเคลื่อนไหว แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ลดบทบาททั้ง "พรรคการเมืองนายทุน" "ระบอบอำนาจนิยมทหาร" "ขุนนางอำมาตยาธิปไตย" นอกจากเคลื่อนไหวประเด็นต่างๆ แล้วต้องเสนอนโยบายใหม่ ที่สำคัญ เช่น รัฐสวัสดิการ ที่เป็นสิทธิพื้นฐานทางสังคมที่ควรจะเป็น ให้ไปไกลกว่าประชานิยมสังคมสงเคราะห์   Q: ที่น่าเกลียดไปหน่อยสำหรับการเลือกตั้ง สว. ที่ผ่านมา ตัวแทน NGO's ที่ลงรับสมัคร มีส่วนเข้าไปร่วมร่าง รธน.50 มีส่วนสนับสนุนการรัฐประหาร มองมันเป็นประเด็นเอื้อประโยชน์ให้ตัวเองรึเปล่า? แบบว่าไปปูทางให้ตัวเองเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองได้ง่ายขึ้น? ต่างจากที่ทักษิณและพวกเคยถูกกล่าวหาในอดีตหรือไม่? นั้นนะสิ! ไม่เข้าใจเหมือนกัน ทำไมจึงชอบ การสรรหา การเลือกของอรหันต์ไม่กี่คน ซึ่งถ้าลงเล่นการเมืองมาจากการสรรหานี้ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ผมไม่เชื่อคนดีมาจากสรวงสวรรค์  ใครจะดีไม่ดีเรื่องอะไร ผมไม่รู้ อะไรคือคนดีไม่เข้าใจ ต้องเป็นแบบพระหรือเปล่า? ต้องพูดจาไพเราะ?  ต้องใช้จ่ายประหยัด? ต้องแต่งตัวแบบไทยๆ หรือเปล่า? ต้องทำตัวดูลุ่มลึกเคร่งขรึมหรือเปล่า?  ต้องไม่ดื่มเหล้าสูบบุหรี่? คนดีมีความรู้ความสามารถมีจุดยืนเพื่อประชาชนหรือเปล่า? มีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่หรือเปล่า? สร้างภาพความเป็นคนดีหรือไม่?  ผมไม่รู้   แต่ที่สำคัญ ต้องให้ประชาชนเป็นผู้เลือก ประชาชนต้องสร้างกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลกันสำหรับคนที่มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนด้วยเช่นกัน แม้แต่องค์กร NGO's องค์กรภาคประชาชนที่ควรจะเป็น ก็ต้องสร้างองค์กรที่เป็นประชาธิปไตย ผู้นำมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก ต้องมีผู้นำเป็นกลุ่มการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ก็ต้องมีกติการ่วมกันที่ชัดเจน สมาชิกต้องมีส่วนร่วม สมาชิกต้องตรวจสอบถ่วงดุลผู้นำได้ในหลายๆ ด้านด้วย องค์กรประชาชนจึงจะเข้มแข็งอย่างแท้จริง มิใช่ชื่มชมผู้นำนักพูด นักเขียนโครงการ มีผลประโยชน์ส่วนตน แต่ห่างเหินสมาชิก สมาชิกไม่ยอมรับ และก็จะไม่มีพลังจริง   Q: สถานการณ์ภาคประชาชนไทย คุณลองประเมินดูว่าาขณะนี้มีปัญหา โอกาส อุปสรรค อย่างไรบ้าง? บ่อยครั้งคำว่า "ภาคประชาชน" มันดูเป็นคำที่มีความหมายกว้างนะ แล้วแต่ใครจะตีความก็ได้ แล้วแต่ใครจะสื่อก็ได้  มันแล้วแต่ใครหยิบฉวยหรือไม่? พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย และ นปก.  ทั้งคู่ก็อ้างว่าเป็นภาคประชาชนเวลาเขาเคลื่อนไหวใช่ไหม?  อีกอย่างผมก็ไม่เข้าใจสื่อมวลชนไทยเหมือนกันว่าเขานิยามภาคประชาชนอย่างไร? จากวิธีคิดอะไร? เขามองนิยามผู้นำภาคประชาชนอย่างไร? มาจากไหน?   ถ้าผมบอกว่าเวลาที่คุณสุทธิชัย หยุ่น พูด คุณสนธิ ลิ้มทองกุล พูด เป็นความคิดเห็นของภาคสื่อ ได้ไหม? เนื่องจากทั้งคู่เป็นผู้นำสื่อ เป็นเจ้าของสื่อ เมื่อเปรียบเทียบกับคำว่าภาคประชาชน หรือในอีกส่วนหนึ่งสมาคมนักข่าว แถลงข่าวเรื่องใดๆ เราสามารถบอกได้ไหมว่า เป็นตัวแทนนักข่าวทั้งประเทศ อันนี้ไม่รู้เหมือนกัน?   แต่สำหรับผมมองภาคประชาชนนั้น ไม่ใช่ภาครัฐและภาคทุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ต้องเป็นชนชั้นล่าง เป็นหลัก เช่น กรรมกร เกษตรกรรายย่อย  ประมงพื้นบ้าน กลุ่มชาติ พันธุ์ต่างๆ  คนจนในเมือง  แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ วิทยุชุมชนต่างๆ ล้วนเป็นคนยากจน ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกลิดรอนสิทธิ   รวมทั้ง นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ NGO's สื่อมวลชนที่ก้าวหน้า ซึ่งเป็นปัญญาชนนอกระบบ ไม่ว่ารัฐไทยจะเป็นอำมาตยาธิปไตยครองเมือง หรือพรรคการเมืองนายทุนครองอำนาจ และก็ต้องต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า    เพียงแต่ในภววิสัยปัจจุบัน ถ้าทหารอำมาตยาธิปไตย ครองเมือง การใช้อำนาจนิยมที่ปราศจากการตรวจสอบมีสูง เสรีภาพในการเคลื่อนไหวถูกปิดกั้น การต่อรองลำบากมาก     แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าพรรคการเมืองเป็นใหญ่แล้วทุกอย่างจะราบรื่นนะ ก็ต้องต่อสู้กัน ไม่เชื่อลองไปคุยพี่น้องปากมูนดูได้เลย ดังนั้นเราจึงต้องคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและการเคลื่อนไหวทำนองเทียบเชิญคณะรัฐประหาร แต่เราต้องไม่สยบยอมพรรคการเมืองนายทุน พร้อมๆ กับปกป้องระบอบประชาธิปไตยรัฐสภาที่ก้าวหน้ากว่า และคิดถึงอนาคตที่ก้าวพ้น
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/51235
2014-01-18 08:38
ประวัติศาสตร์ลิขสิทธิ์ (2): จากกูเตนเบิร์กถึงแค็กซ์ตัน: การผลิตหนังสือในอังกฤษยามเมื่อแท่นพิมพ์ไปถึง
บทความตอน 2 ของซีรีส์ชุด “ประวัติศาสตร์ลิขสิทธิ์” ของอธิป จิตตฤกษ์ ย้อนไปดูจุดเริ่มต้นและบริบทของการเกิด “ลิขสิทธิ์” ที่มาจากการเกิดแท่นพิมพ์แห่งแรกในอังกฤษ   ผู้เขียนต้องสารภาพว่าการเริ่มเรื่องราวของ “ประวัติศาสตร์ลิขสิทธิ์” นั้นไม่ใช่สิ่งง่ายๆ เลยแม้ว่าผู้เขียนจะได้อ่าน “ประวัติศาสตร์ลิขสิทธิ์” ของคนอื่นมาเป็นสิบๆ ชิ้น ถ้าผู้อ่านอยากได้คำตอบสั้นๆ ว่าลิขสิทธิ์เริ่มมาอย่างไร งานน่าจะแทบทุกชิ้นจะตอบตรงกันว่ามันเริ่มเมื่อสภาอังกฤษผ่านกฎหมายที่ชื่อว่า Statue of Anne มาในปี 1709 ซึ่งนับกันว่าเป็นเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลก จบ อยากรู้ว่ากฎหมายนี้มีรายละเอียดอย่างไรไปค้นวิกิพีเดียเอาก็ได้ ไม่ได้ยากเย็นอะไร อย่างไรก็ดี ปัญหาที่ผู้เขียนพบกับตัวเองก็คือ การรู้เพียงแค่นี้มันไม่ได้ทำให้เข้าใจที่มาที่ไปของลิขสิทธิ์เลย ไม่เข้าใจว่าอังกฤษยุคก่อนมีลิขสิทธิ์ คนทำหนังสือ คนเขียนหนังสือมันอยู่กันอย่างไร? ทำไม “บิดาแห่งทรัพย์สิน” อย่าง John Locke ที่คนยุคหลังชอบยกแนวคิดมาปกป้อง “ความเป็นทรัพย์สิน” ของลิขสิทธิ์ซ้ำๆ นั้นกลับเป็นคนที่แย้ง “กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลก” สุดตัวเมื่อเขาอยู่ในสภา? ทำไมสิ่งที่เรียกกันว่า Piracy ถึงมีมาก่อนลิขสิทธิ์? ฯลฯ แน่นอนว่าวิธีการแก้ปัญหาความไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้แบบครอบจักรวาลคือ “ต้องเข้าใจบริบท” ปัญหาคือ อะไรคือบริบทที่ต้องเข้าใจบ้าง? ถ้าจะย้อนท้าวความ ต้องย้อนแค่ไหน?  เน้นตรงไหน? ผู้เขียนเห็นว่าการย้อนท้าวความควรจะย้อนดูประวัติของสิ่งที่เป็นแก่นหลักของประเด็น ในกรอบนี้ผู้เขียนจึงอยากจะเสนอว่าประวัติศาสตร์ลิขสิทธิ์ควรจะเริ่มเมื่อแทนพิมพ์อันแรกไปโผล่ที่อังกฤษ ซึ่งในเวลาต่อมาไม่นาน มันนำมาสู่การควบคุมแท่นพิมพ์โดยรัฐ เพราะสุดท้ายกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ใช่อะไรนอกจากกฎหมายรองรับการผูกขาดการพิมพ์โดยเอกชนอันเป็นผลจากการยกเลิกอำนาจรัฐในการผูกขาดการพิมพ์ และการที่รัฐเริ่มเข้ามาควบคุมการพิมพ์ในตอนแรกสุดก็เกี่ยวพันกับการปรากฏตัวของแท่นพิมพ์ในอังกฤษ ซึ่งเท่ากับการเริ่มต้นการปฏิวัติการพิมพ์ในอังกฤษโดยตรง อย่างไรก็ดีเราก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเมื่อแท่นพิมพ์ที่เข้าไปในอังกฤษนั้น ธุรกิจหนังสือก็มีอยู่แล้ว และธุรกิจหนังสือที่มีอยู่ดังกล่าวก็ปรับตัวไปตามแท่นพิมพ์อันเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโฉมหน้าการผลิตหนังสือ นี่ทำให้เราต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่เรียกว่า Stationer คืออะไร และไอ้ Stationer นี่เองที่เป็นตัวละครสำคัญที่จะพาเราเดินทางไปจากแท่นพิมพ์แรกในอังกฤษไปสู่กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลก ในยุคก่อนที่การพิมพ์แพร่หลายในยุโรป การผลิตหนังสือก็มีอยู่แล้ว โดยกระบวนการผลิตหนังสือนั้นไม่ได้เหมือนสมัยนี้ที่ส่งไฟล์ไปโรงพิมพ์แล้วโรงพิมพ์ก็จะจัดการให้เรียบร้อย การผลิตหนังสือในยุคก่อนที่อังกฤษจะมีแท่นพิมพ์มันต้องอาศัยนายช่างหลายกลุ่มด้วยกันที่ทำงานแยกกัน นายช่างแรกคือช่างคัดที่ทำหน้าที่คัดเนื้อความจากเอกสารต้นฉบับลงในกระดาษ พอได้กระดาษที่มีเนื้อความมาแล้ว ปกหนังสือคือสิ่งที่ต้องทำตามมา ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของช่างทำปกหนังสือ แน่นอนว่าหนังสือสมัยนั้นเป็นของมีมูลค่าสูงมากๆ เพราะผลิตได้ยาก ปกก็ย่อมจำเป็นต้องแข็งแรงเป็นธรรมดาและก็จะมีนายช่างเฉพาะที่ทำปก ปกโดยทั่วไปก็จะต้องมีกระบวนการลงเลื่อมมันๆ สะท้อนแสงเพื่อความสวยงามซึ่งคล้ายๆ การลงรักของช่างไทย นี่ก็เป็นกระบวนการที่ต้องการช่างเฉพาะ และสุดท้ายเมื่อได้ปกและเนื้อในหนังสือมาแล้ว ช่างที่จะทำให้หนังสือสมบูรณ์คือช่างที่จะทำการเข้าเล่ม ก่อนที่หนังสือจะมาวางเป็นสินค้าอยู่ในร้านของพ่อค้าหนังสือในท้ายที่สุด ผู้คนทั้งหมดในกระบวนการทำหนังสือตั้งแต่ช่างคัดถึงพ่อค้าหนังสือเรียกโดยรวมว่า Stationer ซึ่งความหมายมันมีรากเดียวกับคำว่า Station ซึ่งสื่อว่าพวกนี้ทำงานอยู่กับที่  อย่างไรก็ดีเวลาคนนอกพูดถึง Stationer ส่วนใหญ่ก็มักจะหมายถึงพ่อค้าหนังสือหรือเจ้าของร้านหนังสือเพราะคนกลุ่มนี้มักจะเป็นผู้ประสานงานกระบวนการของเหล่า Stationer ทั้งหมดเพื่อให้ได้มาซึ่งหนังสือเล่มหนึ่งๆ และคนพวกนี้เป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทที่สุดในสมาคม Stationer (ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปี 1403) กล่าวคือแม้ว่าสมาคม Stationer จะประกอบไปด้วยสารพัดช่างทำหนังหนังสือ แต่ผู้ที่มีบทบาทที่สุดในสมาคมก็คือพวกพ่อค้าหนังสือซึ่งเป็นเจ้าของร้านหนังสือด้วย อย่างไรก็ดีที่เรียกว่า “ร้านหนังสือ” ในยุคนั้นจริงๆ ก็มักจะขายของอย่างอื่นด้วย ดังที่คำว่า Stationer คือรากของคำว่า Stationery ในสมัยนี้ที่แปลว่า “ร้านขายเครื่องเขียน” นั่นเอง Stationery ในศตวรรษที่ 16 ขายทั้งหนังสือและเครื่องเขียนสารพัด อันที่จริงสินค้าหลักอย่างหนึ่งของ Stationer ก็คือกระดาษ ซึ่งกระดาษที่ว่านี้ก็เป็นกระดาษเดียวกับที่ทางร้านหนังสือส่งให้ช่างคัดนำไปคัดเพื่อเริ่มกระบวนการทำหนังสือนั่นเอง ดังนั้นในแง่นี้ร้านหนังสือนอกจากจะเป็นผู้ประสานงานกับพวกช่างในการทำหนังสือและขายหนังสือแล้ว ร้านหนังสือก็ยังเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบทำหนังสือให้พวกช่างด้วย การปฏิวัติการพิมพ์ในยุโรปน่าจะเริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อ Johannes Gutenberg ได้พิมพ์ไบเบิลภาษาละตินออกมากลางทศวรรษที่ 1450 และในปี 1476 William Caxton ชาวอังกฤษผู้ไปฝึกวิชาการพิมพ์มาจากภาคพื้นทวีปยุโรปหลังการปฏิวัติการพิมพ์ของ Gutenberg ก็ได้นำความรู้กลับมาที่อังกฤษและสร้างโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในลอนดอน และการพิมพ์ก็ค่อยๆ ขยายตัวมาเรื่อยๆ หลังจากนั้น Caxton ตายไปในปี 1492 แต่สิ่งที่เขาได้บุกเบิกไว้ก็คือการรวบบทบาทของช่างพิมพ์ (Printer) ไว้กับพ่อค้าหนังสือ [1] ดังที่กล่าวมาแล้วว่า พ่อค้าหนังสือนั้นดั้งเดิมคือผู้เริ่มกระบวนการผลิตหนังสือและผู้ขายหนังสือเมื่อเสร็จสิ้นอยู่แล้ว เมื่อแท่นพิมพ์เข้ามาในอังกฤษ พ่อค้าหนังสือจึงสามารถรวบบทบาทที่เคยเป็นหน้าที่ของช่างคัดไว้กับตัวเองได้ พูดง่ายๆ คือ ภายใต้เทคโนโลยีการพิมพ์ กระบวนการส่งกระดาษให้ช่างคัดก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะกระบวนการนี้ ร้านหนังสือจะจัดการเอง (แต่กระบวนการทำปก เข้าเล่มก็ยังต้องพึ่งพาช่างอื่นๆ) ดังนั้นหากจะพูดในภาษาร่วมสมัยแล้วหลังมีแท่นพิมพ์ ร้านหนังสือจึงมีบทบาททั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ไปพร้อมกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หลังจากมีการพิมพ์ การพูดถึง Stationer จึงมีความหมายถึง กลุ่มคนที่เป็นร้านหนังสือ สำนักพิมพ์ และโรงพิมพ์ไปพร้อมๆ กัน เพราะคนกลุ่มนี้แทบจะรวบอำนาจเหนือการผลิตและขายหนังสือไว้ได้เกือบหมดหลังการปฏิวัติการพิมพ์ อย่างไรก็ดี การปฏิวัติการพิมพ์ในอังกฤษก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่เป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป พวกร้านหนังสือค่อยๆ พ่วงบทบาทช่างพิมพ์ไปอย่างต่อเนื่องหลัง Caxton บุกเบิกรูปแบบใหม่ของความเป็น Stationer ที่ประสานโรงพิมพ์เข้ากับร้านหนังสือเป็นที่เดียวกัน ซึ่งในที่สุด Stationer Company หรือสมาคม Stationer ได้กลายเป็นกลไกการเซ็นเซอร์ของราชสำนักอังกฤษ ในปี 1557 และกลายเป็นสมาคมช่างพิมพ์ผู้ค้าหนังสือไปเรียบร้อยไปแล้ว นี่เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์อันน่ารังเกียจกว่าร้อยปีของอำนาจการผูกขาดการพิมพ์ทั่วราชอาณาจักรแต่เพียงผู้เดียวของ Stationer Company ที่ในที่สุดก็เป็นสิ่งที่การปฏิวัติอังกฤษต้องกำจัดทิ้งไปในกระบวนการลดอำนาจกษัตริย์ และพฤติกรรมอันน่ารังเกียจของ Stationer Company ในการหากินกับอำนาจผูกขาดการพิมพ์ของกษัตริย์ก็เป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากต่อต้านการเกิดขึ้นของลิขสิทธิ์ เพราะจากประสบการณ์ของพวกเขา เขาไม่ต้องการการ “ผูกขาด” การพิมพ์อีกแล้วไม่ว่ามันจะเป็นการผูกขาดโดยผู้ใด แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เราคงต้องย้อนมาดูกันก่อนว่ากระบวนการ “เซ็นเซอร์” ของราชสำนักอังกฤษมีพัฒนาการมาอย่างไร? และเป็นไปเพื่อเป้าประสงค์แบบใด? โปรดติดตามต่อไปในสัปดาห์หน้า อ้างอิง: John Feather, A History of British Publishing, Second Edition, (London: Routledge, 2006), pp. 15-16
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/2064
2005-01-01 12:47
คนงานพม่าหนีซึนามิกลับประเทศ
ประชาไท-31 ธ.ค.47 เจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิต จ.พังงา คนหนึ่ง กล่าวถึงความคืบหน้าในพื้นที่ จ.พังงา หลังจากถูกคลื่นยักษ์ซึนามิถล่มว่า ในส่วนของแรงงานข้ามชาติจนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิต โดยกำลังอยู่ระหว่างการประสานกับทางจังหวัด ซึ่งในวันพรุ่งนี้คาดว่าจะทราบรายละเอียดในเบื้องต้น "มีแรงงานจำนวนมากต้องการเดินทางกลับ แต่มีนายจ้างมารับและไม่ยอมให้กลับโดยให้เหตุผลกับทางเจ้าหน้าที่ว่าได้จ่ายค่าขึ้นทะเบียนไปแล้ว บางคนบอกว่าจ่ายค่าแรงล่วงหน้าแล้ว เราจึงประสานส่งต่อให้จังหวัดระนอง ซึ่งผู้ว่าราชการ จ.ระนองได้มาดูแลในเรื่องนี้เอง" เจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิต จ.พังงา กล่าว เจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิต จ.ระนอง คนหนึ่ง กล่าวว่าขณะนี้มีแรงงานพม่าจาก จ.พังงา มารอการส่งกลับอยู่ที่ จ.ระนอง จำนวน 400 กว่าคน และจะเดินทางมาอีกในคืนนี้ประมาณ 200 กว่าคน โดยอยู่ในความดูแลของจังหวัด และคาดว่าจะสามารถส่งกลับได้วันละประมาณ 150 คน ซึ่งพื้นที่รองรับก็เริ่มจะมีปัญหา "สิ่งที่กังวลตอนนี้คือค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคนงาน เพราะความดูแลของไทยจะส่งถึงเกาะสองเท่านั้นส่วนการเดินทางจากนั้นคนงานต้องดูตนเอง ซึ่งมีบางคนที่ยังไม่สามรถติดต่อทางบ้านในพม่าได้ และไม่มีเงิน ทางจังหวัดจึงพยายามชะลอการส่งกลับ โดยถามความพร้อมก่อนส่งกลับ" เจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิต จ.ระนอง กล่าว เจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิต จ.ระนอง กล่าวต่อว่านอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่เองก็ยังกังวลว่าจะมีขบวน การค้ามนุษย์มาฉวยโอกาสระหว่างการส่งกลับ ซึ่งจะส่งผลถึงฝ่ายเราด้วยจึงพยายามให้แน่ใจว่าคนงานจะสามารถเดินทางกลับถึงบ้านจริง และที่ทราบจากแรงงานจังหวัดคือคนงานที่มีเลข 13 หลัก สามารถเดินทางกลับมาทำงานได้ ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้จะทำให้ขาดแคลนแรงงานในการฟื้นฟูหากคนงานเดินทางกลับจำนวนมาก ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/37643
2011-10-27 23:07
"คนหนุ่มสาว 3 ยุคในขบวนประชาธิปไตย" จากหลัง 6 ตุลาฯ ถึงพฤษภา 53
ประเดิมเปิดร้านหนังสือและพื้นที่สังสรรค์ทางความคิด BooK Re:public ด้วยเสวนาคนหนุ่มสาวในขบวนการประชาธิปไตย จากเรื่องราวและความเห็นจองวิทยากร 3 ยุคสมัย ตั้งแต่ยุคหลัง 6 ตุลาฯ ข้ามมายุคพฤษภาฯ 35 ที่มีการขยายพื้นที่ของกลุ่มภาคประชาชน มาจนถึง พฤษภาฯ 53 ยุคที่ เมื่อนักศึกษาเห็นว่าบ้านเมืองเรามีอะไรผิดปกติ เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่ผ่านมา ในงานเปิดตัวร้านหนังสือ Book Re:public และโครงการ Café Democracy ที่ จ.เชียงใหม่ ในชื่อกิจกรรม “อ่านออกเสียง ครั้งที่ 1” มีการจัดเสวนาหัวข้อ “คนหนุ่มสาวสามยุคในขบวนการประชาธิปไตย” ตามกำหนดการเวลา 17.00 น. โดยมีวิทยากรคือ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สืบสกุล กิจนุกร นักวิจัยอิสระ และ สุลักษณ์ หลำอุบล อดีตนักกิจกรรม สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย อรรถจักร เล่าถึงอดีตของตนในสมัยช่วงเป็นนักศึกษา ว่าตนเคยทำงานเป็นการ์ดให้กับนักศึกษา เหมือนเป็นจิ๊กโก๋ธรรมดา แต่ก็อ่านหนังสือฝ่ายซ้ายมามาก จากนั้นจึงชวนเสวนาว่า เราจะเข้าใจนักศึกษาช่วงหลังยุค 6 ต.ค. 2519 ได้อย่างไร “มีคนพยายามเรียกพวกเราว่าเป็นช่วงยุคแสวงหาครั้งที่ 2” อรรถจักรกล่าว โดยบอกอีกว่าแกนนำนักศึกษาในสมัยนั้นคือ ม.มหิดล และที่ต้องเรียกว่ายุคแสวงหาครั้งที่ 2 เพราะมีความพยายามต้องการให้การทำงานกลับไปเป็นแบบฝ่ายซ้ายเดิม “ซึ่งท้ายสุดแล้วมันล้มเหลว มันไม่เกิดการแสวงหา” อรรคจักรกล่าว ยามเมื่อยังยึดติดกับซ้ายเก่า อรรถจักรกล่าวต่อว่า หากลบคำว่ายุคแสวงหาครั้งที่ 2 ออกไป เราก็สามารถเรียกยุคนี้ได้ว่ายุคปลาย พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) เนื่องจากขบวนการนักศึกษายุคนี้ส่วนใหญ่ถูกจัดตั้งโดย พคท. ดังนั้นการเคลื่อนไหวถึงออกไปในแนวทางที่ พคท. เสนอมา เช่น การเคลื่อนไหว ‘ปลดปล่อยนกพิราบ’ ในช่วง 2520 เคลื่อนไหวเรื่องรื้อฟื้นสโมสรนักศึกษา ซึ่งเป็นรูปแบบเดิมกับการเคลื่อนไหวของนักศึกษาก่อนหน้านี้ อรรถจักรเล่าต่อว่า การเคลื่อนไหวจัดตั้งองค์กรนักศึกษา สำเร็จในปี 2522 ก็สร้างแบบแผนวัฒนธรรมขบวนการนักศึกษาเดิม คือร้องเพลงฝ่ายซ้าย มีดนตรีเพื่อชีวิตเกิดขึ้นมา เช่น วงฟ้าสาง ซอมพอ ลุกทุ่งมุสลิม-แฮมเมอร์ ดังขึ้นมา แต่ที่ดังที่สุดคือลูกทุ่งเปลวเทียน “ลูกทุ่งเปลวเทียนของ มช. ได้สร้างความตื่นเต้นมากๆ ให้กับธรรมศาสตร์ ด้วยการมีมาร์ช พคท. โบกธงเหมือนเหมาเลย” อรรถจักรกล่าว อรรถจักรบอกว่า กลุ่มนักศึกษาเหล่านี้ได้เคลิ่อนไหวในแบบฝ่ายซ้ายอย่างเข้มข้น แต่กลับขยายตัวไม่ออก ค่อยๆ เล็กลง ขยายการจัดตั้งได้น้อยลง จนกระทั่งถึงปี 2523-2524 เมื่อ พคท. ล่ม ขบวนการนักศึกษาเหล่านี้ก็สลายหายไป เนื่องจากเหตุการณ์ 6 ต.ค. ทำให้นักศึกษาฝ่ายซ้ายถูกมองในภาพลบ หลังปี 2520 มีนักศึกษาจำนวนไม่มากนักที่โดดเข้ามาสู่การเคลื่อนไหวเพื่อสังคม เป็นจุดที่ทำให้นักศึกษาผูกพันกับสังคมน้อยลงจนถึงปัจจุบัน อรรถจักรเล่าต่อว่า เหลืออยู่ที่เดียวที่ยังผูกพันกับสังคม นั่นคือที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เนื่องจากมีสายจัดตั้งเข้าไปที่รามฯ เยอะสายมากจนกระทั่งมั่วไปหมด แม้การเลือกตั้งสโมสรนักศึกษาครั้งแรกฝ่ายซ้ายจะชนะเกือบทั้งหมดแต่ก็เคลื่อนอะไรไม่ค่อยได้ ที่สำคัญที่สุดคือช่วงปลาย พคท.คือ การขึ้นมาของ พลเอกเปรม ตินสูลานนท์ หลังปีพ.ศ.2520 เกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่ ที่ถูกค้ำจุนโดย ‘เปรมาธิปไตย’ ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นจากสมัย พลเอกเปรม และเรื่องนี้ยังไม่มีใครศึกษาอย่างจริงจัง เมื่อซ้ายเก่าล่ม แนวคิดจิตวิญญาณเข้ามาแทนที่ “ขบวนการนักศึกษาที่ผมเข้าไปร่วมด้วยเป็นแค่ส่วนเสี้ยวของขบวนการนักศึกษาทั้งหมด แต่บังเอิญว่า ไอ้พวกส่วนเสี้ยวนี้มันทะลึ่ง คิดว่าตัวเองเป็นกองหน้าประชาชนแบบเดิม ดังนั้นพวกนี้ก็จะแตกแยกกับตัวเองมากขึ้นๆ” อรรถจักรกล่าว จากนั้นยังบอกอีกว่า ข่าวเรื่องการที่แกนนำ พคท. นำเงินไปใช้เป็นส่วนตัว ยิ่งทำให้ความศรัทธาใน พคท. หายไป หลังจากนั้นจึงเกิดกระแสฝ่ายขวาขึ้นมา อย่างไรก็ตาม อรรถจักรกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงช่วงนี้สำคัญตรงที่มันเปิดโลกให้กว้างขวางกว่าเดิม หลังจากขบวนการนักศึกษาล่มไปในยุคนั้นพร้อมกับ พคท. มันทำให้เกิดแนวคิดเรื่องจิตวิญญาณขึ้นมาในสังคมไทย เกิดหนังสือปรัชญาเต๋า ปรัชญาเซน นักศึกษาถือหนังสือพวกนี้เป็นว่าเล่น เพราะมันได้ตอบปัญหาให้กับนักศึกษาในช่วงนั้น รวมถึงมีกระแสสันติอโศกโผล่ขึ้นมา อรรถจักรเล่าว่า “นักศึกษาที่เป็นฝ่ายบู๊ในยุคนั้นโดดเข้าไปอยู่สันติอโศกเยอะมาก ครั้งหนึ่งเคยเป็นการ์ดให้นักศึกษา ต่อมาโดดเข้าไปกินมังสวิรัต ใส่เสื้อไม่รีดอะไรทำนองนี้ คนที่พยายามจะสู้อยู่ก็ส่งคนไปดึงกลับ ปรากฏว่าคนที่ส่งไปกลายเป็นสันติอโศกหมดเลย” อรรถจักรเล่าต่อว่า นิตยสาร ‘โลกหนังสือ’ ก็ขยายตัวในช่วงนั้น นักศึกษาอ่านเป็นจำนวนมาก ส่วนนักศึกษาที่ยังผูกพันอยู่กับสังคม ก็ทำให้เกิดอีกหนึ่งขบวนการคือ คอส. (มอส. หรือ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ในปัจจุบัน) เอ็นจีโอ และบัณฑิตอาสาของธรรมศาสตร์ หนทางที่จะทำเพื่ออุดมคติของตัวเองเหลือแต่ทางนี้ “ช่วงนั้นก็เจ็บ ก็เฮิร์ท กันมาก...” อรรถจักรกล่าว “...ความใฝ่ฝันที่จะทำมันมี แต่สุดท้ายมันก็ฝืนกระแสไม่ได้ เราก็เดินออกมาแบบนี้” ไม่ใช่ในนามนักศึกษา แต่เป็นในนามพลเมืองคนหนึ่ง อรรถจักรบอกอีกว่าหลังปี 2525 มีปัจจัยต่างๆ คือการขยายตัวของรัฐ อุดมการณ์ของรัฐใหม่ การขยายตัวของเศรษฐกิจที่ทำให้คนมีงานทำมากขึ้น ร่ำรวยมากขึ้น ทั้งหมดนี้เข้าไปสู่ขบวนการนักศึกษาทำให้ความผูกพันระหว่างนักศึกษากับสังคมลดลง “ในปัจจุบันนี้การเคลื่อนของนักศึกษาแบบที่เป็นขบวนมันไม่มีทางเกิดขึ้น” อรรถจักร กล่าว “แต่มันจะมีหน่ออิสระ หน่ออิสระเหล่านี้จะสร้างมูฟเมนท์ได้หรือไม่ก็ต้องมาเชื่อมกับพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ดังนั้นกระบวนการตรงนี้เขาไม่ได้สร้างมาในฐานะนักศึกษา แต่เป็นในฐานะเป็นพลเมืองคนหนึ่ง นี่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แตกต่างจากยุคผมโดยสิ้นเชิง” ทำไมมีแต่คนพูดถึง 14 ตุลาฯ ด้านสืบสกุล กิจนุกร นักวิจัยอิสระเริ่มต้นกล่าวว่า พอพูดคำว่านักศึกษา เป็นคำที่มีความหมายทรงพลังมากในเมืองไทย และมันถูกสร้างความหมายขึ้นมาเปลี่ยนไปตามบริบทวัฒนธรรมไทย เช่น หากเราพูดถึงยุค 14 ตุลา เราก็จะคิดถึง ‘พลังบริสุทธิ์’ เร่งเร้าให้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง คิดถึงคำว่าสามประสาน ‘นักศึกษา–กรรมกร–ชาวนา’ สืบสกุลตั้งข้อสังเกตว่า เวลาเราพูดถึงนักศึกษา เรามักจะนึกถึงแต่เหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 เท่านั้นใช่หรือไม่ ในฐานะชัยชนะของการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่เหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ยังจินตนาการไม่ออกว่าเราให้ความหมายกับการต่อสู้ของนักศึกษาสมัยนั้นอย่างไรบ้าง สืบสกุลกล่าวว่าเวลาเราพูดถึงนักศึกษาในยุคนี้ เราจะนึกถึง “ผู้บริโภคในระบบทุนนิยมตัวยง” และชวนตั้งคำถามว่าคำว่านักศึกษาหมดความหมายไปตั้งแต่ 14 ต.ค. แล้วจริงหรือไม่ จากนั้นสืบสกุลจึงเล่าประสบการณ์สมัยตนเป็นนักศึกษาช่วงเหตุการณ์พฤษภา 35 ว่า ในยุคนั้น พคท. เลิกต่อสู้แล้ว เรามีนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง มีเศรษฐกิจเฟื่องฟู แต่แล้วก็มีการรัฐประหารในปี 2534 ทำให้ในปี 2535 มีการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย นักศึกษาก็เข้าไปร่วมในนาม สนนท. “แต่ว่านักศึกษาไม่ใช่หัวหอกการต่อสู้ทางการเมืองอีกต่อไปแล้ว” สืบสกุลกล่าว ยุคของเอ็นจีโอ “ผมคิดต่อจากอาจารย์อรรถจักร์ว่า แล้วใครล่ะที่เป็นนักแสดงตัวใหม่...ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากเอ็นจีโอ” สืบสกุลกล่าว เขาเสริมว่านักกิจกรรมเหล่านี้ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากนักศึกษา 14 ตุลาฯ - 6 ตุลาฯ สืบสกุลกล่าวต่อว่า หลังจากแนวคิดเอ็นจีโอเริ่มลงหลักปักฐานในไทย ก็มีสื่อมวลชนและนักวิชาการขึ้นมามีบทบาทสำคัญในสังคมมากขึ้น แต่ประเด็นที่ถกเถียงกันไม่ใช่เรื่องว่าเราจะเป็นสังคมนิยมหรือทุนนิยม หันมาพูดถึงเรื่องผลกระทบจากปัญหาที่เกิดจากการพัฒนา เรากำลังพูดถึงเรื่องการมีส่วนร่วมในการพัฒนามากกว่า บทบาทของสื่อและวงการวิชาการก็เปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านได้มาพูดถึงปัญหาของตัวเอง และนำมาสู่เรื่องใหม่ๆ เช่นเรื่อง ป่าชุมชน เป็นต้นแบบต่อมาของงานวิจัยไทยบ้าน งานวิจัยท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน สืบสกุลบอกว่า หลังพฤษภาทมิฬมีแนวคิดชนชั้นกลางขึ้นมาอธิบายอีกชุดหนึ่งว่า เป็นผู้ต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย นักศึกษาหายไปแน่นอน คนหนุ่มสาวหายไปแน่นอน แต่นักศึกษาจะไปอยู่เป็นกลุ่มชมรม มีกลุ่มที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่นไปคัดค้านเรื่องเขื่อน มีกลุ่ม คจก. ที่ทำเรื่องการจัดการทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม การทำลายธรรมชาติ โดยนักศึกษาจะเข้าไปร่วมขบวนการผ่านการเข้าร่วมกับเอ็นจีโอ สืบสกุลให้ความเห็นว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่อสู้ทางการเมืองในระดับรัฐ หรือการต่อสู้ทางชนชั้นอีกต่อไปแล้ว แต่หันมาจับการเมืองเรื่องการพัฒนา “นักศึกษาในยุคผมตั้งแต่ 2535 เป็นต้นมา เราไม่ได้เป็นพระเอก ไม่ได้เป็นตัวเอก ฉะนั้นการคาดหวังให้นักศึกษาเป็นหัวเอก หัวหอก กองหน้า ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะได้จริงหรือเปล่า” จากนั้นสืบสกุลจึงตั้งข้อสังเกตว่า บทบาทของนักศึกษาในปัจจุบันมีการถกเถียงทางการเมืองมากกว่ายุคเขา ซึ่งมีการเข้าร่วมขบวนการทางการเมืองทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง “ตอนสมัยพฤษภา 35 เราก็พูดว่าทหารกลับกรมกองไปแล้ว ซึ่งปรากฏว่าเราคาดการณ์ผิด ตอน 19 กันยาฯ 49 มันก็โผล่มาอีกรอบหนึ่ง ก็ได้แต่หวังว่านักสังคมวิทยา นักประวัติศาสตร์ รวมถึงนักมานุษยวิทยา จะคาดการณ์ผิดว่านักศึกษาหมดพลังไปแล้ว” สืบสกุลกล่าว องค์กรนักศึกษาหมดพลังในการนำ แต่ยังมีนักศึกษาสนใจการเมือง ส่วน สุลักษณ์ หลำอุบล หรือฝ้าย อดีตนักกิจกรรมสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เล่าว่า เมื่อตนเข้ามาเรียนเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ก็เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยาฯ 49 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีผลทางความคิดต่อนักศึกษาที่ร่วมทำกิจกรรมด้วยหลายคน เรียกว่าหลายคนตาสว่างจากเหตุการณ์นี้ “เราโตมากับเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน เราโตมาจากเฟสบุ๊ค เราโตมาจากสมศักดิ์ เจียมฯ สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้คนรุ่นฝ้าย หรือคนที่สนใจการเมืองในรุ่นฝ้ายเติบโตขึ้นมา” สุลักษณ์กล่าว “ถึงจะมีความหลากหลาย แต่ก็มีจุดร่วมกันอยู่” สุลักษณ์กล่าวต่อว่า เราไม่ได้เติบโตมาจากการจัดตั้งของสายต่างๆ เช่นในอดีต ทำให้อยู่ในเงื่อนไขต่างจากในอดีต มีการใช้โซเชียลมีเดียในการถกเถียงเรื่องราวต่างๆ ขณะเดียวกันการใช้อินเตอร์เน็ตก็ทำให้ดูเป็นปัจเจกมากขึ้น ไม่ได้รวมตัวในรูปแบบที่มี เอ็นจีโอหรือ พคท. จัดตั้งลงมา วิธีการทำกิจกรรมนักศึกษาแบบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกค่าย การร้องเพลงค่าย หนังสือรับน้องใหม่เชิงปลุกใจก็จะไม่ค่อยมีในรุ่นนี้ สุลักษณ์เล่าต่อว่า รัฐประหาร 19 ก.ย. มีผลทำให้คนในรุ่นเธอจำนวนมากเข้ามาทำกิจกรรม การที่ไม่มีการจัดตั้งแนวความคิดก็ค่อนข้างกระจัดกระจาย โดยตัวสุลักษณ์เองเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมาเรื่อยๆ ตั้งแต่กลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊กในจุฬาฯ มาจนถึงสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. ตัวสนนท. เองก็ไม่ใช่องค์กรนำที่แข็งแรงอะไรมาก แต่เขาก็พยายามที่จะยื่นมือออกไปหาเพื่อนนักศึกษาที่สนใจการเมือง สุลักษณ์มองว่า กลุ่มหัวหอกนักศึกษาต่างๆ หมดประสิทธิภาพในการนำไปแล้ว แต่ก็ยังมีนักศึกษาที่สนใจทำกิจกรรมทางการเมืองอยู่ ก็จะกลายเป็นกลุ่มอิสระเล็กๆ น้อยๆ ตามมหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้มีอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายอะไรชัดเจน “การที่นักศึกษาไม่ได้ดำรงอยู่ในภาพใหญ่ มันอาจจะโยงไปได้ถึงขบวนการฝ่ายซ้าย หรือความสามารถของฝ่ายซ้ายในการอธิบายสังคมว่ามีอยู่แค่ไหน ไม่ใช่แค่ในสังคมไทย แต่ในมุมมองสากล” สุลักษณ์กล่าว “ฉะนั้นขบวนการแบบสามประสานในสมัยก่อนที่ยึดโยงมาจากฝ่ายซ้ายมันก็อ่อนลงไปแล้ว ” เพราะบ้านเมืองนี้มีอะไรผิดปกติ สุลักษณ์มองว่าอุดมการณ์ของนักศึกษาสมัยนี้จะออกไปในเชิง ‘ลิเบอรัล’ (เสรีนิยม) มากกว่า การเกิดรัฐประหารทำให้พวกเขาเห็นความผิดเพี้ยนของสถาบันทางการเมืองหลายๆ แห่ง ซึ่งอาจจะเรียกว่าผิดเพี้ยนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย “สังคมที่คนรุ่นฝ้ายอยากจะเห็น มันไม่ใช่สังคมที่เป็นซ้ายแบบซ้ายคอมมิวนิสต์ หรือซ้ายสังคมนิยมแบบแต่ก่อน แต่เราต้องการประชาธิปไตยที่ไม่มีอำนาจนอกระบบแทรกแซงเท่านั้นเอง” สุลักษณ์กล่าว สุลักษณ์กล่าวต่ออีกว่า นักศึกษาเห็นขบวนการเสื้อแดงเป็นขบวนการที่เป็นประชาธิปไตยสำหรับรุ่นเรา นักศึกษาทีโตมากับรุ่นนี้ก็จะมีความเห็นใจหรือสนับสนุนเสื้อแดงไม่มากก็น้อย ส่วนประเด็นที่ว่า แรงบันดาลใจให้นักศึกษารุ่นนี้เข้ามาทำกิจกรรมคืออะไร สุลักษณ์บอกว่า นักศึกษารุ่นนี้อาจจะมีชีวิตความเป็นอยู่สุขสบาย ต้องยอมรับว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง ไม่ต้องดิ้นรนมาก แต่การที่นักศึกษาเข้ามาร่วมกิจกรรมทางการเมือง มีสาเหตุ คือการเห็นเหตุการณ์ฆาตกรรมใจกลางเมืองมหานครอย่างกรุงเทพฯ ในปี 2552-2553 เราเห็นคนจำนวนมากถูกปราบปราม มีคนจำนวนมากเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม มีคนถูกจับเข้าคุกด้วยกฎหมายหมิ่นฯ หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ “เด็กรุ่นฝ้ายอาจจะไม่ได้อ่านจิตร ภูมิศักดิ์ ไม่ได้อ่านเช กูวาร่า หรืออ่านหนังสืออะไรที่เป็นแรงบันดาลใจขนาดนั้น” สุลักษณ์กล่าว “แต่เหตุการณ์ทางการเมืองที่มันเห็นอยู่ชัดๆ ว่าบ้านเมืองเรามีอะไรผิดปกติ” สุลักษณ์ สุลักษณ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ผลสะเทือนของกิจกรรมอาจไม่ได้มาจากปริมาณของนักศึกษา แต่สิ่งที่จะสามารถเกิดผลสะเทือน คือความแหลมคมที่นำเสนอต่อสังคม เช่นเดียวกับกรณีของกลุ่มนิติราษฎร์ อยู่ที่ว่านักศึกษาจะฝึกตัวเองเป็นปัญญาชนที่สามารถสร้างผลสะเทือนทางความคิดในแง่นั้นได้อย่างไร
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/36554
2011-08-19 16:39
สมาคมพุทธประทีปแจงข้อเท็จจริงส่งศพไปฝังที่ระยอง
นายกสมาคมพุทธประทีปหลังสวนแจง 165 ศพ ส่งไปร่วมทำบุญกุศลป่าช้าใน จ.ระยอง ไม่เกี่ยวเหตุการณ์ม็อบแดง และการส่งศพปฏิบัติกันมาตามประเพณีหลายปี มีหลักฐานเก็บไว้ชัดเจน 19 ส.ค. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่า นายสงวน นิลรัตโนทัย นายกสมาคมพุทธประทีปหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร ชี้แจงกรณีมีข่าวพบศพนับร้อยที่จังหวัดระยองมาจาก จ.ชุมพรว่า ศพดังกล่าวถูกนำไปฝังไว้เพื่อเตรียมงานพิธีล้างป่าช้าที่จะมีขึ้นปี 2555 ของสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ใน จ.ระยอง ซึ่งเป็นสมาคมเครือข่ายกับสมาคมพุทธประทีปหลังสวน หรือที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นสมาคมพี่และสมาคมน้อง ที่ผ่านมามีประเพณีปฏิบัติสืบทอดกัน ถ้าจะจัดการล้างป่าช้า หรือกรณีจำนวนศพที่จะล้างป่าช้าในช่วงปีนั้นมีน้อยก็จะนำศพไร้ญาติจากสมาคมในเครือข่ายไปร่วมพิธีด้วยเพื่อสร้างบุญกุศล และเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ใน จ.ระยอง ได้ติดต่อมายังสมาคมพุทธประทีปหลังสวนที่จัดตั้งหน่วยกู้ภัยเก็บศพที่เกิดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งอุบัติภัยธรรมชาติ โดยมีทั้งศพชาวต่างด้าวและบุคคลไม่ทราบชื่อกลายเป็นศพไร้ญาติจำนวน 165 ศพ ที่เคลื่อนย้ายไปที่ จ.ระยอง นายสงวน กล่าวว่า ช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีศพจำนวนมากเก็บไว้ภายในสุสานของสมาคมพุทธประทีปหลังสวน เพื่อรอญาติหรือรอการดำเนินคดีกรณีมีญาติมาขอตรวจสอบ และเมื่อไม่มีญาติ พอได้ระยะเวลาจะล้างป่าช้า โดยจะแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ทางราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเผาศพตามพิธีทางศาสนา แล้วจะเก็บเถ้ากระดูกไว้ รวมถึงบันทึกภาพถ่ายรายละเอียดศพไว้ครบถ้วน อีกทั้งขณะนี้สถานที่เก็บศพของสมาคมพุทธประทีปหลังสวนเริ่มเต็ม จึงนำศพส่วนหนึ่งไปร่วมกับสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ที่ระยอง ซึ่งขนย้ายไปเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา และเป็นข่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยได้ชี้แจงกับสื่อจนเป็นที่เข้าใจกันเรียบร้อยแล้ว นายสงวน กล่าวว่า กรณีที่มีการนำศพไร้ญาติไปร่วมในพิธีล้างป่าช้า ตามคำขอของสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ที่ระยองนั้น สมาคมพุทธประทีปหลังสวนได้ขออนุญาตจากทางราชการ และบันทึกภาพถ่ายของศพไร้ญาติเหล่านั้นไว้ทุกศพ ซึ่งเป็นศพที่มีอายุการเก็บยาวนานมาก บางศพเกือบ 10 ปี เรียกได้ว่าแทบจะเหลือ แต่โครงกระดูกแล้ว เป็นศพที่เก็บได้จากหลายสถานที่ เช่น เสียชีวิตกลางทะเลกรณีเกิดภัยธรรมชาติ แต่ไม่ใช่ช่วงเกิดพายุเกย์ เพราะศพจากพายุเกย์ได้ผ่านการล้างป่าช้าไปหลายปีแล้ว ขอยืนยันว่าเป็นศพไร้ญาติเพื่อรอการล้างป่าช้าในปี 2555 เท่านั้น ทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริงที่มีเอกสารยืนยันได้ ไม่ใช่เป็นศพใหม่ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง หรือ นปช. ทั้งสิ้น ด้าน พ.ต.อ.สุพจน์ บุญชูดวง ผกก.สภ.สวี อ.สวี จ.ชุมพร อดีต ผกก.สภ.หลังสวน กล่าวว่า เดือนสิงหาคม 2553 ช่วงขนย้ายศพไร้ญาตินั้น ทางสมาคมพุทธประทีปหลังสวน ได้มีหนังสือขออนุญาตนำโครงกระดูกของศพไม่มีญาติ ไปบำเพ็ญกุศลที่จังหวัดทางภาคตะวันออก แต่จำไม่ได้ว่ามีจำนวนทั้งหมดกี่ศพ และได้ตรวจสอบแล้วก็พบว่าเป็นโครงกระดูกจริง และมีหนังสือขออนุญาตถูกต้องตามระเบียบจึงลงนามในหนังสืออนุญาตให้ขนย้ายไปได้ “ทราบจากคณะกรรมการสมาคมพุทธประทีปหลังสวนว่า โครงกระดูกทั้งหมดเป็นศพไม่มีญาติที่ถูกฝังไว้ในป่าช้าจำนวนหลายศพ ตามหาญาติไม่พบจนคดีสิ้นสุดอายุความแล้วบ้าง เป็นศพของแรงงานต่างด้าวบ้าง แต่รายละเอียดคิดว่าคงต้องสอบถามที่สมาคมพุทธประทีปหลังสวน เพราะตอนนี้ผมย้ายมาเป็น ผกก.สวีแล้ว จึงไม่มีรายละเอียดอยู่ในมือ” สำหรับสุสานสมาคมพุทธประทีปหลังสวน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหลังสวน เนื้อที่ราว 15 ไร่ ส่วนหนึ่งเป็นสุสานที่ใช้ฝังศพคนไทยเชื้อสายจีนที่เก็บศพบรรพบุรุษไว้ในฮวงจุ้ย อีกส่วนหนึ่งไว้เก็บศพไร้ญาติที่มาจากพื้นที่ต่าง ๆ
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/27792
2010-02-19 02:53
นศ.ใต้ แถลงประณามมือสังหารโหดแม่ลูก ‘กูจิงลือปะ’
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ออกแถลงการณ์ประณามคนร้ายสังหารโหดสองแม่ลูกที่กูจิงลือปะ ลูกชายของนางบาราตี อายุ 3 ปี 6 เดือน ส่วนลูกสาวอีกคน อายุ 1 ปี 3 เดือน พิธีฝังศพผู้เสียชีวิตทั้งสองคน 18 ก.พ. 2553 สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ออกแถลงการณ์ประณามคนร้ายสังหารโหดสองแม่ลูก “เสียชีวิต” ที่ กูจิงลือปะ โดยแถลงการณ์ระบุว่า เมื่อเวลา 07:00 น. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 มีคนร้ายไม่ทราบฝ่ายแต่งชุดไอ้โม่ง ประมาณ 5-6 คน ได้ดักซุ่มยิงสองแม่ลูกในสวนยางบนเชิงเขาลูโบ๊ะบาเดาะ เทือกเขาเมาะแต บ้านกูจิงลือปะ ประมาณ 20 นัด ทำให้สองแม่ลูกเสียชีวิตทันทีในสวนยางพารา ในสภาพใส่ชุดที่กำลังจะไปกรีดยาง ซึ่งสองแม่ลูกที่เสียชีวิตคือ นางเจ๊ะแมะ หะแย อายุ 50 ปี และน.ส.บัลดาตี ลาบอ อายุ 25 ปี เลขที่ 55 บ้านกูจิงลือปะ ม.4 ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ ยังได้รายงานผลการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงของกรรมการบริหารสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) (SFST) และเครือข่ายส่งเสริมสิทธิและเข้าถึงความยุติธรรม (HAP) จนทราบความว่า นางเจ๊ะแมะ หะแย ผู้เป็นแม่นั้น มีหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากเจ้าหน้าที่ กรณีเหตุการณ์รุมประชาทัณฑ์ครูจูหลิงจนเสียชีวิต ซึ่งทางครอบครัวได้บอกว่า ในวันนั้นนางเจ๊ะแมะไม่ได้อยู่บ้าน เพราะไปทำธุระข้างนอก แต่พอกลับมาบ้านก็มีหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากเจ้าหน้าที่, หลังจากเหตุการณ์ครูจูหลิงนั้น ชาวบ้านเกือบทั้งหมู่บ้านถูกหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และหมายจับของเจ้าหน้าที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงในหมู่บ้านกูจิงลือปะ แต่ลูกสาวคือ น.ส.บัลดาตี ลาบอ ไม่มีหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการสอบถามชาวบ้าน ยังทราบอีกว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์คนร้ายกราดยิงสองแม่ลูกเสียชีวิต 3 วัน มีรอยรองเท้าเต็มไปหมดในสวนยางพาราของสองแม่ลูก ซึ่งสันนิษฐานว่า คนร้ายมาดักรอและเฝ้าดูสถานการณ์ นอกจากนี้ยังมีชายฉกรรจ์ประมาณ 20 คน ขึ้นไปบนเชิงเขา เพื่อหาหมูป่าบนเทือกเขาเมาะแต เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความสะเทือนใจต่อชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์เป็นอย่างมาก สร้างความเคลือบแคลงใจต่อประชาชนทั่วไป และยังสร้างความไม่มั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ “ทางสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอร่วมประณาม คนร้ายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตามที่สังหารโหดสองแม่ลูกจนเสียชีวิตกลางสวนยาง และขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือทหาร เร่งจับกุมผู้ก่อเหตุมาดำเนินตามกฎหมายเพื่อสร้างความกระจ่างชัดกับกรณีที่เกิดขึ้น และขอเรียกร้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ โดยให้คำนึงถึง หลักนิติรัฐและความยุติธรรมภายใต้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้เสียชีวิตเป็นสตรีผู้บริสุทธิ์” “ถึงเวลาหรือยังกับการทบทวนนโยบายและแนวทางการแก้ปัญหาชายแดนใต้เพื่อหยุดยั้งเลือดหยดต่อไป” แถลงการณ์ระบุ
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/34495
2011-05-11 06:55
เสวนา “คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน” ชี้สื่อถูกทำให้กลัว คนไทยไม่รู้ตัวว่าไร้เสรีภาพ
“ประวิตร” หนุนการจัดอันดับให้สื่อไทย “ไม่เสรี” ตั้งคำถามสังคมไทยตระหนักถึงเสรีภาพสื่อมากแค่ไหน “บก.ประชาไท” เผยกรณีจับสมยศ คือจับกุมตัวกลาง จวกสื่อหลักนิ่งเฉย “วัฒน์ วรรลยางกูร” ชี้ความเป็นเผด็จการเข้าไปกินสมองทั้ง สื่อ-นักข่าว-นักเขียน     สืบเนื่องจากกรณีการจับกุมสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการนิตยสาร voice of taksin เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ด้วยข้อหากระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 และล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พ.ค.53 ศาลอาญาพิจารณาคำร้องให้ฝากขังนายสมยศต่อที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยให้เหตุผลว่าคดีมีอัตราโทษสูงเกรงว่าจำเลยจะหลบหนีอีกทั้งยังเป็นคดี เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันสูงสุดของชาติและจำเลยถูกจับกุมได้ขณะกำลังพยายามจะ เดินทางออกนอกประเทศ   วันนี้ (10 พ.ค.53) ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว กลุ่มสื่อประชาชนในนาม Thailand Mirror [1] จัดเสวนา "คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน" กรณีจับสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร voice of taksin โดยมีชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไทนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่นวัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด และทอม ดันดี หรือนายพันทิวา ภูมิประเทศ นักร้องแนวเพลงเพื่อชีวิต ร่วมพูดคุย ดำเนินรายการโดย จิตรา คชเดช ผู้ประสานงานกลุ่มคนงานไทรอาร์ม   ชูวัส กล่าวว่า กรณีที่เว็บไซต์ประชาไทถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ ถือว่าโชคดีกว่าอีกหลายๆ กรณีที่ถูกข้อหาหมิ่นฯ ตามมาตรา112 ซึ่งมักจะมีมาตรฐานที่ไม่ได้รับประกันตัว แต่กรณีของคุณจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ถือว่าอยู่ในสถานะที่ดีกว่า เนื่องจากไม่ได้โดนมาตรา 112 แต่มีคดีเนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 15 ในสถานะตัวกลาง จากกรณีมีการโพสต์ข้อความลงในเว็บบอร์ดซึ่งประชาไทเป็นผู้ให้บริการ หรืออยู่ในฐานะตัวกลางที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นนั้นเลย   อย่างไรก็ตาม กรณีการเอาผิดกับตัวกลางนั้นเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันจบไปเมื่อกว่า 40-50 ปีมาแล้วในวงการสื่อ ซึ่งการเป็นเพียงเวทีเผยแพร่ความคิดเห็นแม้ความคิดเห็นนั้นจะพิสูจน์ได้ว่า มีลักษณะหมิ่นประมาทหรือไม่ก็ตาม ความผิดควรจำกัดอยู่แค่ข้อเขียนนั้น ไม่ควรถูกโยงไปที่ตัวกลาง เล่นที่ตัวบรรณาธิการ ยึดแท่นพิมพ์หรือปิดสื่อเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา และคุณจีรนุชเองก็อาจจะเป็นคนแรกๆ ที่ถูกดำเนินคดี หลังการรัฐประหาร 2549 ในฐานะตัวกลาง   บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไทกล่าวด้วยว่า โดยปกติการนำเสนอข่าวของประชาไทถูกบังคับให้ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองใน 3 เรื่องคือ เรื่องเกี่ยวกับจ้าว เรื่องเกี่ยวกับศาสนา เรื่องเกี่ยวกับชาติพันธุ์ เชื้อชาติที่จะไม่หมิ่นแคลนกัน แต่เมื่อพิจารณาข้อความที่ก่อให้เกิดการฟ้องร้องแล้วก็พบว่าบางข้อความเพียง แสดงความคิดเห็นต่าง เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่ได้หมิ่นแคลน แต่การตีความอย่างกว้างขวางของรัฐทำให้คุณจีรนุชโดนข้อหาไปด้วยในฐานะผู้รับ ผิดชอบ ซึ่งความคืบหน้าคดี ขณะนี้อยู่ในชั้นศาล และในเดือนตุลาคมนี้จะเข้าสู่การพิจารณาคดีอีกครั้งหนึ่ง        ชูวัส กล่าวต่อมาถึงกรณีสมยศว่า ไม่ว่าจะอย่างไรคุณสมยศอยู่ในฐานะสื่อสารมวลชน และถือว่าอยู่ในฐานะตัวกลาง สำหรับบทความที่ถูกกล่าวหานั้นส่วนตัวคิดว่าคุณสมยศไม่ได้เขียนเอง แต่อยู่ในฐานะบรรณาธิการจึงโดนคดีนี้ ซึ่งเรื่องนี่เป็นเรื่องที่สื่อสารมวลชนกระแสหลักจะต้องตระหนักเป็นอย่างดี แต่สถานการณ์ที่ผ่านมากลับเงียบกริบ ซึ่งสาเหตุของความเงียบนี้อาจเนื่องมาจากสื่อต่างๆ อยู่ด้วยความกลัว และสำคัญกว่าความกลัวก็คือความชินชา สำคัญกว่าความชินชาคือการที่สื่อได้หมดวิญญาณจากความเป็นสื่อแล้ว โดยส่วนตัวมองว่า เริ่มมาจากปี 2548 จากแถลงการณ์เรื่องสื่อแท้-สื่อเทียมของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ซึ่งสำหรับเขาถือว่าเป็นแถลงการณ์ที่เลวร้ายที่สุดขององค์กรวิชาชีพสื่อ   แถลงการณ์ดังกล่าวได้แสดงท่าทีอย่างเป็นทางการในการแบ่งแยกสื่อในกลุ่ม วิชาชีพที่เป็นสื่อกระแสหลักว่าเป็นสื่อแท้ ขณะเดียวกันก็กีดกันคนอื่นๆ ออกไป จากสถานการณ์ในขณะนั้นที่โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม PTV โดยทุนของคุณเนวิน ชิดชอบ ซึ่งยังเข้ากับคุณทักษิณ ชินวัตร อยู่ในช่วงเริ่มก่อตั้ง ทำให้ PTV ไม่ถูกจัดว่าเป็นสื่อ จึงไม่แปลกที่คุณสมยศ ที่เป็นบรรณาธิการนิตยสาร voice of taksin จะไม่ถูกจัดเป็นสื่อ และสื่อสารมวลชนที่ยังมีบทบาทในการครอบงำความรู้ความคิดคนจึงไม่นำเสนอ เพราะพวกเขาไม่ได้มองว่าคุณสมยศเป็นสื่อ   “ประเด็นสื่อแท้สื่อเทียมกับโลกที่มันเปลี่ยนไป อินเตอร์เน็ตที่เข้ามา มันกีดกันผู้คนออกไปหมดเลย ทำให้สื่ออยู่ในสถานะที่ไม่ฟังชั่นอีกแล้ว หรือในภาษาเดิมคือสื่อสารมวลชนบ้านเราตายไปแล้ว คือมันไม่มีประโยชน์ ไม่ได้มีหน้าที่อะไรที่จะสนองอะไรกับสังคมได้อีกแล้ว” ชูวัสให้ความเห็น   บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไทกล่าวด้วยว่า ต่อไปคือหน้าที่ของพวกเราพลเมืองเองที่จะต้องผลิตข่าวสารขึ้นมา และทำให้น่าเชื่อถือ จนกระทั่งมีพลังพอที่จะขยายต่อไปยังสื่ออย่างเคเบิลทีวีซึ่งมีกลุ่มคนดูเกิน ครึ่งของประเทศ   ชูวัส เสนอแนะถึงแนวทางการรณรงค์ด้วยว่า กรณีของคุณสมยศ คุณสุรชัย แซ่ด่าน คุณดา ตอปิโด และผู้ต้องหาคดีความทางความคิดคนอื่นๆ ควรถูกผลักดันให้เป็นประเด็นรณรงค์ปลดปล่อยนักโทษการเมืองที่ต่อสู้กับอำนาจ ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม เพื่อขยายกลุ่มแนวร่วมในการเคลื่อนไหวให้กว้างขวางขึ้นในระดับนานาประเทศ ดังเช่นกรณีนักโทษการเมืองในพม่า และจีน อีกทั้ง การขับเคลื่อนในแนวทางวรรณกรรมและดนตรีของคนเสื้อแดงซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตัวควรถูกบันทึกและเผยแพร่ต่อไปในวงกว้าง ให้เป็นเหมือนกับที่เคยเกิดเป็นกระแสของวรรณกรรมเดือนตุลาฯ ขึ้นมาอีกครั้ง   นอกจากนั้นสำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึง ชูวัส กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า อย่าปล่อยให้นักการเมืองหักหลังคนเสื้อแดง เพราะไม่แน่ว่าหลังจากนี้หากพรรคเพื่อไทยได้รับเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล แล้วจะไม่หวนกลับมาให้กฎหมายที่คุกคามเสรีภาพมาไล่จับคนเสื้อแดงอีก   ส่วนประวิตร กล่าวถึงเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศไทยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการรางงานข่าวถึงการจัดอันดับเสรีภาพสื่อในปี 2011 โดยองค์กรสิทธิมนุษยชนชั้นนำของอเมริกา “ฟรีดอมเฮาส์” ให้ประเทศไทยที่จากเดิมมีเสรีภาพของสื่ออยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี” เข้ากลุ่ม “ไม่เสรี” เทียบกับเกาหลีเหนือ พม่า จีน ทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างมากในวงการสื่อ โดยเขายกตัวอย่างถึงบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ 7 พ.ค. [2]ที่ ผ่านมา ซึ่งแสดงความเห็นแย้งกับฟรีดอมเฮาส์ โดยระบุว่าสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และอ้างผลการสำรวจความเห็นคนไทยจากสวนดุสิตโพลล์ที่ระบุว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าไทยมีเสรีภาพมากขึ้น แต่ต้องมีเสรีภาพที่มาพร้อมความรับผิดชอบที่มากขึ้นด้วย    ประวิตร แสดงความเห็นว่า ถ้าเราเชื่อโพลล์มันจะกลายเป็นตลกร้ายอย่างหนึ่งที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง ในสังคมไทย แล้วคำว่าความรับผิดชอบของสื่อยักษ์ใหญ่คือจะรับผิดชอบใคร ทั้งนี้สื่อกระแสหลักที่เรียกตัวเองว่าสื่อแท้จะต้องมีความรับผิดชอบต่อคน ส่วนใหญ่หรือว่าคนส่วนน้อยในสังคมไทย   “สังคมไทยยังไม่ได้เรียนรู้ว่า แม้คนอื่นจะแสดงความเห็นแตกต่าง แต่เราก็ต้องยอมรับได้ ซึ่งเป็นปัญหามาก เลยทำให้สื่อไทยมักจะร้องหาความรับผิดชอบ” ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่นกล่าว   ประวิตร ตั้งคำถามด้วยว่า สังคมไทยโดยรวมตระหนักดีแค่ไหนว่าสื่อไทยมีเสรีภาพเพียงใด เอาเข้าจริงแล้วไทยอาจจะแย่กว่าสิงคโปร์หรือจีนด้วยซ้ำ เพราะประชาชนในประเทศเหล่านั้นยังรู้ว่าสื่อในประเทศตัวเองขาดเสรีภาพ และตอนนี้ไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประเทศเหล่านั้นจากการจัดโดยฟรีดอมเฮาส์ ขณะที่คนบางกลุ่มยังหลงคิดว่าไทยมีเสรีภาพทางสื่ออยู่ อย่างไรก็ตามส่วนตัวเขาคิดว่าไทยมีกรอบของเสรีภาพอยู่ ทำให้สื่อจำนวนมากยึดติด และทุกวันนี้สื่อกระแสหลักจำนวนมากไม่กล้านำเสนอข่าว   ประวิตร ยกตัวอย่างถึงผู้ที่ถูกขังอันเนื่องจากมาตรา 112 ว่า ถึงตอนนี้ยังไม่รู้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และทางการไทยไม่เคยเปิดเผยข้อมูลเลย ซึ่งนอกเหนือจากบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างคุณสุรชัย แซ่ด่าน คุณสมยศแล้ว คนอื่นๆ อย่าง ดา ตอร์ปิโด ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงจะต้องทำลายความเชื่อผิดๆ ที่ว่าเมืองไทยมีเสรีภาพ และถ้าหากเมืองไทยมีเสรีภาพ เวทีการเสวนานี้คงไม่จำเป็น   ประวิตร กล่าวด้วยว่า จากการได้พูดคุยกับคุณสมชาย หอมละออ กรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ในฐานะสิทธิมนุษยชน ที่ได้ออกแถลงการณ์ถึงสถานการณ์ขณะนี้ที่กฎหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกใช้จับคน จำนวนมาก ซึ่งจะเป็นการนำสถาบันเข้าสู่การเมือง และได้ส่งแถลงการณ์นี้ไปยังสื่อต่างๆ แต่ไม่มีสื่อไหนที่ตอบรับเลยนอกจากทางประชาไทที่ยอมลงแถลงการณ์ให้ ซึ่งคุณสมชายได้ตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับสื่อมวลชนไทย แต่สำหรับเขานี่ไม่ใช่เรื่องที่เกินจะคาดเดาได้ โดยเขามองว่าสื่อไม่กล้าตั้งคำถาม อีกทั้งยังอยู่ในสังคมที่ปฏิเสธความจริง   นอกจากนั้นในกรณีที่สื่อทางเลือกถูกปิดกันก็อาจไม่แปลกที่สื่อกระแส หลักจะไม่ออกมาเคลื่อนไหว เพราะเขาจะไม่ถูกแย่งสัดส่วนของคนอ่านไป อย่างไรก็ตามสื่อบางคนก็มีอาจมีความเชื่อว่าการใช้กฎหมายในการควบคุมสื่อ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง อีกทั้งบางครั้งสื่อกระแสหลักก็ได้ประโยชน์บางอย่างจากการเป็นเด็กดีอยู่ภาย ใต้รัฐ เขาจึงไม่อยากเปลี่ยนการนำเสนอข่าวไปจากเดิม หรือถ้าเปลี่ยนแล้วมีคนอ่านน้อยลง รายได้ก็จะน้อยไปด้วย   ขณะที่ วัฒน์ กล่าวว่า กรณีคุณสมยศนั้น คุณสมยศเคยบอกไว้ว่าเขาไม่ใช่คนสุดท้าย ยิ่งสังคมยังคงเป็นเผด็จการอยู่ ก็จะต้องมีคนต่อไป ซึ่งคราวหน้าอาจจะเป็นคุณชูวัส คุณประวิตร หรือตนเองก็ได้ มันมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่พูดความจริงหรือแค่พูดธรรมดา และการช่วยเหลือของนักสิทธิมนุษยชนทั้งหลายนั้น วันก่อนได้พบปะกับ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ก็ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไม Human Right Watch เพิ่งออกมาเคลื่อนไหวเรื่องกรณี 6 ศพวัดปทุมวนาราม หรือ 91 ศพ จากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปครบปี เหตุผลก็คือว่าองค์กรสิทธิมนุษยชนสากลรอฟังข้อมูลจากองค์กรสิทธิมนุษยชนของ ไทย และที่ช้าเพราะคนที่ตายนั้นเป็นพวกคุณทักษิณ องค์กรสิทธิมนุษยชนก็เลยเกิดการลังเลที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยว   กรณีต่อมาคือหมวดเจี๊ยบ (ร.ท.หญิง สุนิสา เลิศภควัต) ไปสัมภาษณ์คุณทักษิณ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาตีพิมพ์เป็นพ็อคเกตบุ๊ก  แล้วถูกหน่วยงานเจ้าสังกัดสอบสวนนั้น เขาได้นำไปตั้งคำถามเมื่อครั้งไปเป็นวิทยากรอบรมนักข่าวรุ่นใหม่ของสมาคมนัก ข่าวฯ แล้วพบว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมแล้วที่หมวดเจี๊ยบถูกบีบ ซึ่งก็มีการถกเถียงกัน และเขาได้ให้ความเห็นว่าหมวดเจี๊ยบก็เป็นนักข่าวเหมือนกัน มีสิทธิที่จะนำเสนอข้อมูลของเธอ   วัฒน์ แสดงความเห็นว่า เหล่านี้คือความเป็นจริงของสังคมไทย ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าความเป็นเผด็จการไม่ได้มาจากอำนาจรัฐอย่างเดียว แต่มันเข้าไปกินสมองสื่อ นักข่าว และแม้กระทั่งเพื่อนนักเขียนด้วยกันเอง รวมทั้งเข้าไปกินสมองของคณะกรรมการรางวัลรางวัลพานแว่นฟ้าซึ่งมีจุดหมาย เพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย แต่ปรากฏว่ากรรมการบางคนกลับเห็นด้วยกับการรัฐประหาร   วัฒน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับเขาสื่อยังหมายรวมไปถึงเพลง บทกวี ละคร นักเขียน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ในอดีตมีความกล้าเขียนวิพากษ์วิจารณ์สังคมมากกว่าสมัย นี้ นี่แสดงให้เห็นว่าเวลาที่ผ่านไปสังคมไทยในเรื่องของความกล้าและเสรีภาพมันหด ลงจนมืดมน ทั้งนี้ ปัจจุบันการจับสื่อแบบยกพวกไม่มี มีแต่เป็นรายๆ เพราะยุคหลังมานี้พวกที่มีอำนาจในสังคมไทยสามารถควบคุมสื่อไว้ได้ ด้วยสร้างความความกลัวทำให้สื่อต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง ส่วนนักเขียนก็ควบคุมด้วยระบบรางวัล ที่ถูกพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณกรรมที่มีความคิดความเชื่อแบบอนุรักษ์ นิยม   ด้าน ทอม ดันดี ขึ้นเวทีปลุกเร้าคนเสื้อแดงให้เดินหน้าสู้ต่อไป พร้อมระบุว่าการต่อสู้ยังไม่จบ คนเสื้อแดงจะต้องสู้ต่อ และการตายอาจต้องเกิดขึ้นอีก แต่คนเสื้อแดงจะสู้จนกว่าจะชนะ และยังแนะแนวทางต่อสู้ด้วยการดึงสหภาพแรงงานเข้าร่วม โดยยกตัวอย่างการต่อสู้ของฝรั่งเศสที่มีกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอย่าง การไฟฟ้า การประปา ที่นัดหยุดงานเพื่อร่วมต่อสู้จนได้รับชัยชนะ อีกทั้งยังได้จัดแถลงข่าวคอนเสิร์ต "ทอม ดันดี ขยี้บัลลังก์เหี้ย" ที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 มิ.ย.54 ณ ตลาดคลองถม บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ด้วย   คลิปวีดิโอโดย: MrPrainn [3]
1pos
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/71648
2017-05-26 14:03
กสท. ปรับ 5 หมื่น รายการตื่นมาคุย หลังถูกร้องกระทบต่อศีลธรรมอันดี-ทำจิตใจปชช.เสื่อมทราม
สำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือ ช่อง 8,ไทยรัฐทีวี, เวิร์คพอยท์ ระวังเสนอรายการใบ้หวยและไสยศาสตร์  ปรับ 5 หมื่น รายการตื่นมาคุย-ยิ่งศักดิ์ ยิ่งแซบ-ทุบโต๊ะข่าว หลังถูกร้องมีเนื้อหา 'ใบ้หวย' และรายการคันปากฯ กระทบต่อศีลธรรมอันดีใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย   เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา สำนักสื่อสารองค์กร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) แจ้งว่า ภักดี มะนะเวศ รองเลขาธิการ กสท. กล่าวว่า ที่ประชุม กสท. วันที่ 25 พ.ค. 60 มีมติปรับทางปกครองผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เนื่องจากมีการร้องเรียนเนื้อหารายการเกี่ยวกับการใบ้หวย สถานีละ 5 หมื่นบาท คือ 1. “รายการตื่นมาคุย” และ “รายการยิ่งศักดิ์ ยิ่งแซบ” ช่อง MCOT HD และ 2. “รายการทุบโต๊ะข่าว” ช่อง Amarin TV HD ขณะเดียวกัน มีมติปรับทางปกครอง ช่อง MCOT HD หลังมีการร้องเรียน “รายการตื่นมาคุย” กรณีเนื้อหารายการส่งผลกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือมีผลต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจของประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นเงิน 5 หมื่นบาท และปรับ ช่อง ไบร์ท ทีวี หลังมีการร้องเรียน “รายการคันปากอยากคุย” ออกอากาศโดยใช้ถ้อยคำที่หยาบคายในเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ขัดต่อจารีตประเพณีไทย เป็นเงิน 5 หมื่นบาท ซึ่งทั้งหมดเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 37 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. ได้ขอความร่วมมือไปยัง ช่อง 8  ช่องไทยรัฐทีวี และช่องเวิร์คพอยท์ ให้ระมัดระวังการนำเสนอรายการที่อาจเป็นการโน้มน้าว ทำให้เชื่อ หรือที่มีลักษณะในการใบ้หวย และรายการที่นำเสนอทางด้านไสยศาสตร์
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/70347
2017-03-01 14:31
คนติดเกมส์ได้ดี ชี้เกมส์มักถูกโยนบาปเมื่อเด็กเสียคน ทั้งที่เป็นเพียงปลายเหตุ
เด็กหลังห้อง [1] รายงาน วงเสวนา Blognone รวมพลคนติดเกมส์แต่ก็ยังได้ดี ผู้ก่อตั้งกระปุกแนะควรแบ่งเวลา ชี้เกมส์ไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นที่ตัวคน นักเล่น E-Sport ระบุเกมส์เมอร์ไทยมีเพียง 5% ถึง 10% ที่จะสามารถหารายได้เลี้ยงชีพได้จากเกมส์ 28 ก.พ. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ก.พ ที่ผ่านมาได้มีการจัดเสวนา Blognoneหัวข้อ‘ติดเกมส์แต่ก็ยังได้ดี’ ที่Hangar Coworking Space dtac Accelerateชั้น2 จามจุรีสแควร์ MRT สามย่านโดยปัจจัยหลักของการเสวนาครั้งนี้คือ เกมส์เป็นผู้ร้ายหรือเป็นพระเอกของสังคมและการเลี้ยงลูกที่เล่นเกมส์ควรทำอย่างไรและผู้เล่นเกมส์ที่ประสบความสำเร็จในด้านการงานในระดับหนึ่งซึ่งในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีประเด็นการเสวนาเกี่ยวกับเกมส์ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ไตร อัครวิเนค ผู้เป็นทั้งประกอบอาชีพด้านเกมส์และ E-Sport รวมทั้งกัปตันทีม Eagleseye.Gigabyte เล่าถึงแรงบันดาลใจในการเล่นเกมว่าเริ่มต้นแข่งขันเกมส์ตั้งแต่อายุ 20 คิดอย่างเดียวว่าจะแข่งได้อันดับหนึ่งของประเทศได้หรือไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะถึงตรงนั้นได้หรือเปล่า ก็เลยสร้างทีมเป็นของตัวเอง และก็เดินทางแข่งในตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา   สำหรับรายได้ในอาชีพ e-sportนั้นไตร กล่าวว่าส่วนมากจะเป็นเงินรางวัล ซึ่งอยู่ที่ว่าจะลงแข่งมากน้อยขนาดไหน แต่ละรายการแข่งขันมีเงินรางวัลมากขนาดไหน แล้วก็เงินจากสปอนเซอร์และการถ่ายทดสดให้คนดูบริจาคหรือได้จากยอดวิว ดังนั้นเลยคิดว่าไม่สามารถเป็นนักแข่งเกมส์ได้ไปตลอดชีวิตพอถึงช่วงอายุที่ต้องเลิกแข่งหรืออาจจะมีเด็กที่เก่งกว่าขึ้นมาแทน ก็เลยต้องคิดปลูกฝั่งให้ตัวเองฝึกทำงานเกี่ยวกับเกมส์ ทำโปรดักชั่นจัดการแข่งขัน E-Sport สร้างเนื้อหาที่เกี่ยวกับเกมส์หรืออะไรที่ชอบ   สำหรับความสามารถเลี้ยงตัวเองได้ของเกมส์เมอร์นั้น ไตร กล่าวว่า เกมส์เมอร์ไทยทั่วประเทศจะมีจำนวนมากแต่จะมีเพียง 5% ถึง 10% ที่จะสามารถหารายได้เลี้ยงชีพได้ซึ่งต้องเป็นอันดับ 1 2 3 4   ขณะที่ นพ.ฉัตรชัย อิ่มอารมย์ กุมารแพทย์ประจำศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดีกล่าวว่า ไม่ใช้เรื่องเกมส์อย่างเดียว ทุกเรื่องในชีวิตพ่อแม่ควรที่จะดูแลเด็กในเรื่องการเอาใจใส่ มีเวลาให้กับลูก ว่างกฎระเบียบด้วยกัน เรื่องเกมส์เป็นปลายทางซึ่งจริงแล้วการควบคุมระเบียบวินัยของเด็กควรจะทำในทุกเรื่อง กิน นอน เป็นเวลา ทำการบ้านเป็นเวลา เล่นเกมส์เป็นเวลา ดูแลในทุกด้านของลูก ซึ่งที่เจอเยอะสุดคือการที่พ่อแม่อาจจะไม่มีเวลาดูแลเลยใช้เกมส์ทีวีเลี้ยงลูก ต้องมีระเบียบวินัยในทุกเรื่องของลูกไม่ใช่แค่เรื่องเกมส์อย่างเดียว   “พ่อแม่ควรเปลี่ยนมุมมอง ซึ่งการเลี้ยงลูกหนึ่งคนเป็นเรื่องที่ซับซ้อน การคุยกับเด็กเหล่านั้นพ่อแม่ต้องเข้าใจ แล้วต้องมีส่วนร่วมตรงนั้นไม่ใช่แค่พ่อแม่อย่างเดียวทุกคนต้องมีส่วนร่วมในตรงนั้น พ่อแม่ต้องเข้าใจลูกก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วหาทางออกรวมกันเคารพลูก ซึ่งปัญหาความแตกต่างของพ่อแม่กับลูกมันมากมายจริงๆ สำหรับประเทศไทย" นพ.ฉัตรชัย กล่าว   สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม  ตัวแทนผู้ปกครองที่สนับสนุนให้ลูกเล่นเกมส์ กล่าวว่า เกมส์เป็นปลายทางเป็นตัวบาปที่เราโยนให้ว่าเด็กเสียเพราะเกมส์ จริงแล้วเด็กไม่ได้เสียเพราะเกมส์แต่เสียเพราะหลายอย่างในบ้าน ซึ่งตนได้ตั้งกฎเกณฑ์ไว้ว่า ต้องทำการบ้านใหเสร็จก่อน และต้องเรียนรู้ไปกับเด็กว่าธรรมชาติของเด็กเป็นยังไง พ่อแม่บางคนไม่รู้พอเด็กเล่นเกมส์สัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง พอบอกให้เลิกก็จะเกิดอาการหงุดหงิดโมโหร้าย ซึ่งเกมส์เป็นเหตุปลายทางที่สำคัญที่สุดคือความใกล้ชิดของผู้ปกครองและเด็กแนะนำเพราะนอกจากเกมส์มีสิ่งที่อันตรายยิ่งกว่าเกมส์คืออินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ต่างๆ   ปรเมศวร์ มินศิริ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ชื่อดังของไทยอย่าง kapook.com ในฐานะคนเล่นเกมประสบความสำเร็จกับการทำงานกล่าวว่า เกมส์มันมีหลายรูปแบบ ซึ่งกฎกติกาของเกมส์ทำให้เราใช้เวลาไปกับมันเยอะมาก บางเกมส์โหดร้ายมากโดยคุณต้องเติมเงินเพื่อที่จะไปต่อ การเล่นเกมส์ใครบอกว่าฝึกทักษะตนคิดว่ามันเป็นเรื่องรองอย่างแรกที่สำคัญคือเราต้องสนุกก่อน เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สนุกกับมันทุกอย่างก็จบ แต่ถ้าเราสนุกไปกับมันจะมีปัญหาเรื่องเวลาควรแบ่งเวลาเพราะเวลาเป็นเรื่องสำคัญเกมส์ไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นที่ตัวคนมากกว่า
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/79267
2018-10-23 10:21
ใบตองแห้ง: ถ้าเพื่อไทยแยกพรรค
2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวว่าเพื่อไทยจะแยกพรรค จัดตั้งพรรคเครือข่าย โดยใช้คณิตศาสตร์เลือกตั้ง ทำให้ได้ ส.ส.เพิ่มขึ้น ซึ่งมีคำถามมากมาย ทำได้จริงหรือ คำตอบคือ ทำได้จริงครับ แม้ยังไม่แน่ว่าควรทำจริงไหม เพราะมีข้อเสียหลายอย่าง แต่ในทางทฤษฎี ทำได้ ระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสมของมีชัย อธิบายคร่าว ๆ ว่า หลังเลือกตั้ง ส.ส. 350 เขตแล้ว ให้นำคะแนนทั้งประเทศมารวมกัน คิดจำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงได้ สมมติมีผู้มาใช้สิทธิ 35 ล้านคน ก็เอา 500 หาร เป็นสัดส่วน 70,000 คะแนน ได้ ส.ส. 1 คน แล้วสมมติเพื่อไทยได้คะแนนทั้งประเทศ 14 ล้านเสียง ก็จะได้ ส.ส. 200 คน แต่ถ้าได้ ส.ส.เขตแล้ว 190 คน ก็จะได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มเพียง 10 คน ความคิดแยกพรรคมาจากสมมติฐานที่ว่า ส.ส.เขตเพื่อไทยส่วนใหญ่จะได้คะแนนไม่ถึง 70,000 เพราะดูฐานคะแนนปี 2554 ส่วนใหญ่ได้คะแนนไล่เลี่ย 50,000 มีไม่กี่คนชนะล้นหลาม ประกอบสถานการณ์การเมือง 4 ปี ที่รัฐแย่งชิงมวลชนอย่างหนัก ก็ประเมินหยาบ ๆ ได้ว่า ส.ส.ส่วนใหญ่น่าจะชนะด้วยคะแนนประมาณนี้ ดังนั้น ถ้าตั้งตุ๊กตาว่าแยกอีกพรรค รวบรวมเฉพาะ ส.ส.เขตที่มั่นใจว่าชนะแน่ในภาคอีสาน ภาคเหนือตอนบน สมมติตัวเลขกลม ๆ 175 คน พวกมีความเสี่ยงไม่ต้องไป คุณก็จะเห็นพรรคการเมืองอีกพรรค ซึ่งชนะ 175 เขต แต่คะแนนรวมประเทศ อาจได้แค่ 10.5 ล้านเสียง เพราะชนะแค่คนละ 5-6 หมื่นคะแนน คำนวณตามระบบควรได้ ส.ส.แค่ 150 คน แต่รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ได้ ส.ส.เขตเท่าไหร่ ก็ถือว่าได้ไปเลย 175 คน ส่วนพรรคที่สอง รวบรวมคนที่มีลุ้น ได้ก็ดี แพ้ก็ไม่เป็นไร คนที่จะได้ที่ 2 ที่ 3 ทั่วประเทศ อาจชนะ ส.ส.เขตบ้าง ส่วนใหญ่ไม่ชนะ แต่คะแนนรวมประเทศ จะได้ราว 3.5 ล้านเสียง ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณตามระบบจัดสรรปันส่วนผสม แม้การที่พรรคแรกมี ส.ส.เขตล้น จะทำให้ระบบคำนวณปั่นป่วน ต้องใช้ตัวหารสูงขึ้น จนพรรคที่สองได้ ส.ส.ไม่ถึง 50 คน แต่อย่างไรก็ได้มากกว่า 25 คน โดยอาจได้ถึง 40 คน จาก 200 ก็ขยายเป็น 215 ด้วยประการฉะนี้ แต่แน่ละ นี่เป็นทฤษฎีคณิตศาสตร์ล้วน ๆ ซึ่งความเป็นจริงทางการเมือง ไม่สามารถล็อกเป๊ะ ๆ ได้ เช่น ไม่สามารถแยกคะแนน 14 ล้านเป็น 10.5 และ 3.5 ล้านได้ดังใจ การแยกหลายพรรคลงสมัครจะทำให้มวลชนสับสนจนตัดคะแนนกันเองหรือไม่ ฯลฯ (แต่ความสับสนเรื่องเบอร์ ไม่เป็นไร เพราะระบบมีชัยต่างเขตต่างเบอร์ทำสับสนอยู่แล้ว) ยิ่งกว่านี้ การแยกพรรคจะทำให้มีปัญหา “ธงนำ” การมีพรรคหนึ่งมุ่ง ส.ส.เขต อีกพรรคมุ่งกวาดปาร์ตี้ลิสต์ทั่วประเทศ (ซึ่งน่าจะเป็นเพื่อไทยเดิม เพราะหาเสียงง่ายกว่า) ในทางการตลาด ถามว่าพรรคไหนคือแบรนด์เนม พรรคไหนจะชูเป้าเป็นพรรคอันดับหนึ่ง ชิงความชอบธรรมจัดตั้งรัฐบาล เพราะอย่าลืมว่าที่ประชาชนจะเลือกเพื่อไทย ไม่ใช่แค่ต้านเผด็จการ หากยังหวังให้เป็นรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แม้ครั้งนี้เป็นไปได้ยากมาก เพราะรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.แต่งตั้งร่วมเลือกนายกฯ ก็ไม่ควรยกธงขาวก่อน การที่เพื่อไทยจะมีพรรคสำรองเพราะกลัวถูกยุบ เป็นที่เข้าใจได้ แต่ไปถึงแยกพรรค โดยอาจถึงขั้นทิ้งเพื่อไทยเป็นพรรครอง แม้เป็นไอเดียที่เซียนคณิตศาสตร์ยังทึ่ง ก็ต้องคำนึงถึงผลดีผลเสียทางการเมืองให้รอบด้านก่อน   เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวหุ้นธุรกิจ www.kaohoon.com [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73526
2017-10-03 18:54
กวีประชาไท: ทึ่สุดแล้วเพียงเราเถ้าธุลี
เราต่างมา ต่างไป ในพิภพเราล้วนมี จุดจบ ที่ไม่ต่างลมหายใจ ยังอยู่ สู้ทุกทางเห็นทุกข์สุข ทุกอย่าง ระหว่างวัย เราผ่านร้อน ผ่านหนาว หลายคราวนักทั้งหน่วงหนัก นักหนา ถาโถมใส่คิดทำสิ่ง ดีงาม ท่ามเป็นไปอุดมการณ์ ยิ่งใหญ่ เพื่อมวลชน เห็นทุกข์แค้น เคืองเข็ญ ของผู้อื่นเป็นทุกข์ตน ปลุกตื่น หมื่นแสนหนถมทุกข์แทน มวลมหา ประชาชนเห็นทุกข์ปน ล้นทุกข์ อุกระอา เห็นบ้านเมือง ในมือ ผู้ปกครองกุมอำนาจ สนอง กิเลสหนาเห็นเหลื่อมล้ำ ย่ำเกียรติ เบียดบีฑาเสรีสิทธิ อิสรา คว้าเพียงเงา เราต่างมา ต่างไป น้อมใจรับเรามิอาจ ย้อนกลับ ไปทางเก่าเก็บทรงจำ ย้ำเยือน เตือนจิตเกลาที่สุดแล้ว เหลือเพียงเรา เถ้าธุลี... อำลาอาลัยแด่ คุณลุง 'อุดร ทองน้อย' ผู้วายชนม์30 กันยายน 2560
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/8571
2006-06-01 23:03
ครูจูหลิงโอกาสรอดยังริบหรี่-มอบตัวอีก 3 คดีรุมทำร้าย 2 ครู
ประชาไท—2 มิ.ย. 2549 เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 1 มิถุนายน 2549 ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะแพทย์ได้ออกแถลงการณ์แจ้งอาการบาดเจ็บของ นางสาวจูหลิง ปงกันมูล ครูสอนศิลปะโรงเรียนกูจิงลือปะ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ที่ถูกชาวบ้านจับกุมเป็นตัวประกันและทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส สรุปภาพรวมโดยทั่วไปครูจูหลิงมีอาการคงที่ใกล้เคียงกับเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและยาควบคุมความดันตลอดเวลา ยังไม่สามารถรับรู้ได้ ไม่หายใจเอง ม่านตายังไม่ตอบสนอง ได้ใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยยังมีไข้เล็กน้อย ได้ให้ยาปฏิชีวนะคุณภาพสูงเพื่อป้องกันและรักษาอาการปอดติดเชื้อ ส่วนยอดบริจาคเงินช่วยเหลือครอบครัว "ปงกันมูล" รวมจำนวน 226,910.50 บาท   ต่อมาเวลา 10.30 น. วันเดียวกัน พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 เข้าเยี่ยมอาการของครูจูหลิงในห้องไอซียู พร้อมเปิดเผยว่า ขณะนี้ทราบตัวผู้กระทำผิดแล้วประมาณ 40 คน มีทั้งผู้ที่ปลุกระดมชาวบ้านให้ล้อมจับกุมครูเป็นตัวประกัน และผู้ลงมือทำร้ายครู 5 คน จับกุมตัวได้แล้ว 9 ราย ทางตำรวจจะหาหลักฐานเพิ่มเติมก่อนจะอนุมัติหมายจับเพิ่มอีก ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวบ้านในพื้นที่   ส่วนที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อเวลา 10.00 น. กองกำลังตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้เข้าไปยังพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านกูจิงลือปะ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ ประกาศให้ผู้ต้องสงสัยออกมามอบตัวต่อ โดยยืนยันปลอดภัยอย่างดีและจะให้ความเป็นธรรมต่อทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ทำให้มีชาวบ้าน 3 คน ได้แก่นางสาวหะนา สาและ อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 4 นางสาวนเจ๊ะปิ สาแมง อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 81/2 หมู่ที่ 4 และนางสาวฮามีเนาะ ตีโมมาเยาะ อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 81 หมู่ที่ 4 เช่นกัน ออกมามอบตัว โดยทั้ง 3 คนถูกซัดทอดว่าเป็นผู้ที่ร่วมกันนำท่อนไม้ขวางถนน เพื่อกดดันและขัดขวางกองกำลังเจ้าหน้าที่รัฐที่จะเข้าไปช่วย 2 ครูสาว
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/68136
2016-09-29 23:32
'เนติวิทย์-พริษฐ์-วริษา-นลธวัช' ร่วมถกต้องการกิจกรรมแบบไหน ในสถาบันการศึกษา?
รายงานเสวนากะลาแลนด์ “ต้องการกิจกรรมแบบไหน ในสถาบันการศึกษา?” พร้อมประเมินกิจกรรมในสถาบันการศึกษากับการมีส่วนร่วมของนักเรียน/นักศึกษา เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มลานยิ้ม ร่วมกับ กลุ่มพลเรียน กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทและศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย จัดงานเสวนาหัวข้อ "เราต้องการกิจกรรมแบบไหนใน สถาบันการศึกษา?" ในงานศิลปกับสังคม ครั้งที่ 21 เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ครั้งที่ 9 (รำลึก 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519) ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ทองหล่อ) ชวนคุยเสนอความคิดเห็นโดย นลธวัช มะชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักกิจกรรมเคลื่อนไหวประเด็นการศึกษา วริษา สุขกำเนิด เลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท โดยมี ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ กิจกรรมในสถาบันการศึกษากับการมีส่วนร่วมของนักเรียน/นักศึกษา ประเด็นแรกที่พูดคุยกัน อ.อรรถพล ให้ทั้ง 4 คน ได้แลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในการทำกิจกรรม คำถามแรกเวลาที่เราพูดถึงสถาบันการศึกษากับกิจกรรมที่ให้นักเรียนหรือให้นักศึกษามีส่วนร่วมได้นั้น กิจกรรมที่มีอยู่เป็นอย่างไร และมีประสบการณ์ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยผ่านกิจกรรมแบบไหนกันมาบ้าง แล้วก็เราตั้งคำถามหรือมุมมองต่อกิจกรรมอย่างไร วริษา กล่าวว่า กิจกรรมในโรงเรียนทั้งประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย ก็จะมีกิจกรรมที่เห็นได้ชัด 2 อย่าง คือ กิจกรรมบังคับ และกิจกรรมไม่บังคับ กิจกรรมบังคับ หรือบางทีอาจจะใช้คำว่าขอ “ความร่วมมือ” ทำเพื่อกลุ่ม ทำเพื่อห้อง ซึ่งทำให้ทุกคนต้องเข้าร่วม แต่ถามว่าเราเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมนั้นไหม ก็ไม่ กิจกรรมที่โรงเรียนยังขาดก็คือกิจกรรมที่นักเรียนเป็นคนสร้างเอง หรือกิจกรรมที่เด็กอยากสร้างเอง แต่กิจกรรมก็จะไม่สามารถจัดได้ ถ้าผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน ส่วนในเรื่องของการเสวนาในโรงเรียน นักเรียนไม่ค่อยสนใจ ดังนั้น หัวข้อในการจัดก็คงจะต้องคำนึงถึงผู้ฟัง ต้องเป็นหัวข้อปลายเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าฟังได้ ถ้าจะจัดหัวข้อเสวนาในโรงเรียนก็ต้องคิดก่อนว่าผู้ฟังอยากฟังเรื่องอะไร พริษฐ์ ชี้ให้เห็นถึงบทบาทการใช้อำนาจของครูในโรงเรียน ส่วนมากกิจกรรมจะไม่ได้ออกมาในแนวครูใช้เด็กเป็นแรงงาน แต่ส่วนมากจะเป็นในลักษณะของครูที่อยู่หลังม่านอีกที อุปสรรคของการทำงานในโรงเรียนมีอยู่ 2 แง่ คือ hard power และ soft power จากการทำกิจกรรมกับองค์กรมาพบว่าองค์กรที่เรื่องมากเรื่องเอกสารมากที่สุดคือโรงเรียน ปัญหาที่คาดว่าน่าจะมีทุกที่รวมถึงกิจกรรมนอกโรงเรียนด้วย ก็คือกิจรรมนี้ไม่ได้ in great ผู้เข้าร่วม ผู้ร่วมไม่ได้เป็น factor ที่สำคัญ เช่น กิจกรรมบรรยาย ผู้เข้าร่วมอยากให้กิจกรรมมันออกมาลักษณะไหนไม่ได้มีผล เพราะมันถูกกำหนดไว้แล้ว ซึ่งพออำนาจในการจัดกิจกรรมมันอยู่กับองค์กรไม่กี่องค์กรมันกลายเป็นว่าวัฒนธรรมบางมันเกิดขึ้นเอง อันนี้เลยทำให้การเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนมันยาก ทีนี้ถามว่าการจัดกิจกรรมในสถานศึกษามันแย่จนไม่มีข้อดีเลยไหม อย่าลืมว่าสถานศึกษาเป็นแหล่งผู้ฟังที่ดีที่สุด ที่มีเยอะที่สุด การจัดกิจกรรมที่เราหันหลังให้โรงเรียนหรือระบบเลย ก็คงจะไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร พริษฐ์เปรียบตัวเองเหมือนกบที่ยันกะลาอยู่ ถ้าเราเลือกจะทิ้งมันไปแต่คนอื่นก็ยังอยู่ในกรอบเดิม ก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ และการไปทำงานนอกโรงเรียน หรือนอกสถาบันก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคเพียงแต่โจทย์มันคนละแบบกัน เนติวิทย์ กล่าวว่า ตนอยู่ในโรงเรียน ตนไม่ได้หันหลังให้ระบบของโรงเรียน ตนเลือกที่จะต่อสู้ตั้งแต่ ม.3 ถ้าไม่สู้ในโรงเรียน อุดมการณ์ของเราเรื่องการเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่เราคิดไว้ มันก็เป็นเหมือนการที่ “ตัวเองดูดี แต่ในเชิงความจริงมันไม่เปลี่ยนแปลง” ตนได้รับแรงบันดาลใจมากว่าทำไมถึงเลือกที่จะสู้ในโรงเรียน มันมาจากสิ่งที่ตนค้นพบก็คือ ครูในโรงเรียนหลายๆ คน เมื่อเขาเขียนบทความมาให้ในวารสารที่ตนทำ พบว่าข้อเขียนเหล่านั้นมันดีมากเลย มันสวยมาก มันเลยเกิดความคิดว่า ทำไมครูก็ไม่เห็นเขียนหนังสือเลย เห็นแต่สอนอย่างเดียว แต่มีความสามารถมากขนาดนี้ อย่างการแนะนำหนังสือให้ตนอ่านซึ่งมันเป็นการศึกษาทางเลือกทางหนึ่งมันทำให้รู้ว่าโรงเรียนเรามีคนที่มีความสามารถเยอะมีคนที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆมากมายแต่เขาเหล่านั้นไม่วามารถที่จะนำศักยภาพของเขาออกมาใช้ได้ ตนรู้สึกว่ามันน่าเสียดาย แล้วโรงเรียน ก็ทำตามนโยบายบางอย่างโดยไม่ฟังเสียงคนในโรงเรียน ทั้งๆ ที่มันมีคนมีความสามารถแบบนี้เยอะแยะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตนทำก็คือการพยายามนำคนเหล่านี้มาสนทนากันก็คือการจัดเสวนา เช่นจัดเสวนาภาพยนตร์ โดยมีนักเรียนเป็นผู้ดำเนินรายการก็ผ่านมาได้ซึ่งค่อนข้างประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แน่นอนว่ามันก็มีปัญหาอยู่หลายๆเรื่อง เช่น ฝ่ายบริหารไม่เข้าใจเราและก็มีระบบครูที่ปรึกษาอีก ซึ่งครูที่ปรึกษาส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีความคาดหวังเท่าไหร่ เลือกที่จะอยู่เงียบๆ ดีกว่ามาคลุกคลีกับพวกเรา เพราะมันอาจจะทำให้ภาพลักษณ์เสีย หรือครูบางคนเห็นใจเรา เขาก็จะสนับสนุน แต่เขาก็จะไม่เข้ากับฝ่ายบริหารสักเท่าไหร่เพราะฝ่ายบริหารก็จะไม่ชอบเขา ตนรู้สึกดีใจที่ได้เจอครูที่หลากหลายมากนอกจากนี้ตนยังเขียนจดหมายถึงผู้อำนายการโรงเรียน มากกว่า 20 ฉบับ เราต้องลองคุยกับเขา ตนเชื่อว่าการเสวนาในโรงเรียนมันเป็นไปได้ แต่มันต้องมีความพยายามเกิดขึ้นก่อน มันต้องมีการประสานกัน เราอย่าไปแยกตัวอิสระเสียทีเดียว ข้างนอกทำก็ดี แต่ข้างในมันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ที่ถูกมองข้ามไปในรอบหลายปีที่ผ่านมา  นลธวัช กล่าวว่า หนังตะลุงเป็นตัวแทนของประชาชนในการวิพากษ์การเมืองและอำนาจ เราก็เลยใช้วัฒนธรรมชุมชนบางอย่างในการศึกษาหาข้อมูลในชุมชนแล้วมันสะท้อนออกมา เรานิยามตัวเองว่าเป็นนักกิจกรรมไม่ใช่เด็กกิจกรรมเพราะเราจัดกิจกรรมเอง ตอนนั้นเรามีไฟมากแล้วหวังว่าเข้าไปในมหาวิทยาลัยแล้วเราจะได้ต่อยอดมัน แต่พอเข้าไปอยู่ในมหาวิทยาลัย  เราไม่ได้ทำอะไรเลยไม่ได้ใช้ศักยภาพของเราเลย  พอเข้ามหา’ลัยแล้วเราต้องเริ่มนับ 0 ใหม่ ซึ่งมันทำให้ความฝันเราดับไปเลยนะ เรามาเจอบรรยากาศที่เราต้องเดินไปด้วยกัน เป็นระบบที่เกิดจากความหวังดี เอาความหวังดีมาเป็นข้ออ้างในการในการให้คนมาเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งมันเกิดความกดทับ มีคำถามว่าถ้าไม่ทำแบบนี้แล้วจะทำยังไง เป็นคำถามที่ถามส่งๆ ไป คือปัดความรับผิดชอบ ไม่มีการตั้งคำถามว่าถ้าเราจะออกจากตรงนี้เราต้องทำตัวยังไง มันกลายเป็นกรอบบางอย่างที่ทำให้เราไม่เติบโต หลายคนถูกแช่แข็งความคิดตอนอยู่ปี 2 พอมีอำนาจ เราคิดว่าเราเติบโตเต็มที่แล้ว และก็จะหยุดอยู่แค่นั้นไปจนจบปี 4 คือความรู้พอเพียง “รุ่นพี่ที่ถามว่าไม่ทำแบบนี้แล้วจะทำอย่างไร ยังไม่น่ากลัวเท่ารุ่นน้องถามว่าไม่ทำแบบนี้แล้วจะทำอย่างไร” รุ่นน้องเองก็วิ่งหาระบบอุปถัมภ์เหมือนกันเพราะคิดว่าฉันจะมีโอกาสเติบโตทางมหาวิทยาลัยมากขึ้น เปาโล แฟร์ บอกว่าเรากลัวอิสรภาพ ซึ่งมันจริงมาก กิจกรรมส่วนใหญ่ในโรงเรียนจะออกแบบมาเพื่อผู้รับ ครูจะออกแบบกิจกรรมไว้สวยหรูตอบโจทย์ตัวชี้วัดได้อย่างดี และนักเรียนเป็นผู้รับ เพราะความหวังดี พอเราขึ้นมหาวิทยาลัย ความหวังดีหรือสายตาของความสงสาร ของการให้ มันติดไปมหาวิทยาลัย พอเด็กมหา’ลัยไปลงชุมชน เด็กมหา’ลัยมองพวกเขาน่าสงสาร ต้องเข้าไปช่วย ฉันคือผู้ประเสริฐที่จะเข้าไปช่วยคุณ ไม่ได้มองในสายตาที่ว่าเราจะเข้าไปแลกเปลี่ยนอะไรกับชุมชนบ้าง เราไปศึกษาชุมชน แต่จริงๆ แล้วมันใช่รึเปล่า? เรากลัวการวิพากษ์และนักศึกษากลัวความวุ่นวายมากในมหาวิทยาลัย ซึ่งมันทำให้เราไม่เติบโต ในบางวิชาที่เพื่อนคนหนึ่งตอบคำถามอาจารย์ได้หมดแล้ว แต่เขาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ไม่ได้ เพราะมันยังไม่ถึงเวลาที่จะแสดงความคิด อุปสรรค คือ ความหวังดีที่เกิดจากการอธิบาย และการอธิบายก็มักมาจากผู้บริหารเสมอๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความวุ่นวายเกิดขึ้นในคณะ กิจกรรมก็จะถูกสั่งให้หยุดเพราะต้องไปเคลียร์ปัญหาเหล่านั้นก่อน มันกลายเป็นว่าคุณรอมีอำนาจเหนือกว่า คุณถึงจะเข้าถึงองค์ความรู้ได้ ถ้าเราไม่สามารถก้าวข้ามข้อนี้ได้ กิจกรรมจะไม่สามารถเกิดแบบใหม่ได้ ผู้บริหารต้องการนักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรม แต่เขาไม่ชอบนักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรม อันนี้น่าคิด ต้องการกิจกรรมแบบไหนในสถาบันการศึกษา อรรถพล ตั้งคำถามต่อว่าอยากเห็นกิจกรรมแบบไหนในสถาบันการศึกษา แล้วคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้เราได้ใช้งานหรือตอบโจทย์สิ่งที่เราเชื่อหรืออยากทำแล้วหรือยัง วริษา กล่าวว่า อยากเห็นกิจกรรมที่นักเรียนเป็นคนคิด เป็นคนเริ่มต้นเอง เป็นกิจกรรมที่นักเรียนตั้งใจทำด้วยตัวเอง ไม่ใช่ครูสั่งมาหรือใครสั่งมาและอยากให้มีความสร้างสรรค์ พริษฐ์ กล่าวว่า ตนรู้สึกว่าถ้าบอกว่ากิจกรรมอะไรก็ที่นักเรียนเป็นคนจัดเองมันจะมีปัญหานิดหนึ่ง เพราะว่าการว้ากน้องนี่ก็นักเรียนจัด คือรู้สึกว่ามันต้องไม่ไปหนักหัวคนจัด แล้วก็ต้องไม่หนักหัวคนร่วมด้วย ต้องไม่ใช่ลักษณะไปเกณฑ์เขามาหรือไปกดทับอะไรบางอย่างเขา อีกอย่างคือต้องให้ความยุติธรรม สุดท้ายคืออยากให้เป็นกิจกรรมที่ทุกส่วนเข้ามามีส่วนร่วม สึกว่าทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้าอยู่กับโรงเรียนแล้วมันลำบากก็อย่าไปพึ่งโรงเรียนมาก เนติวิทย์ กล่าวว่า จริงๆ เรียนปีเดียวก็ได้ ยัดๆ ไปให้จบ ไม่ต้องเสียเวลาขนาดนี้ ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องมีเป้าหมายสำหรับเด็ก โรงเรียนไม่สามารถตอบโจทย์ได้จึงต้องมาคิดว่าแล้วโรงเรียนมีภารกิจอะไร มีหน้าที่อะไรตอนนี้ โรงเรียนน่าจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ และทดลองอะไรใหม่ๆ อีกส่วนที่สำคัญมากและขาดหายไป คือ นักเรียนกลัวการมีส่วนร่วม คนในโรงเรียนไม่ค่อย active หรือตรวจสอบกัน อย่าละเลยการสนทนาในโรงเรียน และอย่าประมาทกับความคิดของคนที่อยู่ในสารระบบว่าเขาคิดอะไรอยู่ ที่เขายอม เขามองกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนอย่างไร สองคือโรงเรียนกำลังทำให้ตัวเองหมดความสำคัญลงด้วยการไม่ทำหน้าที่ของตัวเองที่จะทำให้การสร้างสรรค์มันเกิดขึ้นได้ โรงเรียนควรมีพื้นที่ที่จะทำให้ครูและนักเรียนพัฒนาตัวเองได้ หากโรงเรียนทำหน้าที่เป็นโรงสอนมากกว่าโรงเรียน คำว่าโรงเรียนก็จะหมดความหมายลง นลธวัช กล่าวว่า จากการลงชุมชน เราพบว่าเด็กมีประกายเยอะมากในการที่อยากรู้ เพราะเด็กไม่รู้ แต่แว่นที่เขามองอยู่มันถูกระบายสี ถึงสีมันจะสวยงาม แต่มันคือสีจากผู้ใหญ่ที่ทับถมกันจนมืดดำไปแล้ว ตอนนี้เด็กหลายคนต้องการแว่นใหม่ที่ใส แต่เราไม่ให้แว่นใหม่เขาสักที เราควรให้แว่นที่อิสระและเปิดกว้าง อนุญาตหรือไม่นั่นอีกเรื่อง แต่ควรให้เด็กลองวางกระบวนการและมีพื้นที่ในการเสนอก่อน เพราะฉะนั้นถ้าเราแก้ไขระบบได้เด็กพวกนี้ก็จะเติบโตได้ มหาวิทยาลัยพยายามทำให้เราเหมือนกัน ทั้งระบบวิธีการคิดที่เขาลดความเป็นปัจเจกเราทุกๆ อย่าง พยายามสร้างความเป็นหนึ่งเดียว ความกลมเกลียวกัน สิ่งเหล่านี้คือข้ออ้างที่ทำให้ความเป็นปัจเจกของนักศึกษามันลดลง เพราะฉะนั้นสำหรับตนมันต้องมีกิจกรรมที่ไม่ลดความเป็นปัจเจก ปัจเจกต้องคงอยู่ การวิพากษ์วิจารณ์จะเกิดขึ้นต่อไปเมื่อปัจเจกคงอยู่เพราะแต่ละคนมีปัจเจกและศักยภาพที่แตกต่างกัน กิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่วางไว้หลวมๆ วางเพียงเป้าหมายร่วมไว้ก็พอ อย่าลืมว่าเป้าหมายของกิจกรรมมันมีพลวัต ส่วนกระบวนการก็ค่อยเป็นไป เป็นกิจกรรมที่คิดเดือนต่อเดือนเลยก็ได้ นักศึกษานิ่งเฉยกับประเด็นทางสังคม เพราะมันถูกทำให้คิดเป็นปี คิดไกลมาก ความไกลบางอย่างมันทำให้เราไม่สามารถพูดคุยประเด็นทางสังคมในขณะนั้นๆได้ อันที่สองคือพื้นที่ เราต้องการพื้นที่  ครูต้องพังทลายกรอบความเป็นครูให้ได้ อย่ามองครูเป็นผู้ให้ เป็นผู้ประสาทสอนวิชา เป็นผู้ให้เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นกิจกรรมควรเป็นการให้นักเรียนกลับไปหาข้อมูลเอง เด็กสมัยนี้ไม่อยากทำอะไรมากกว่าที่เขาให้ เพราะไม่อยากให้วุ่นวาย บางทีการศึกษาไม่ได้กดทับเรานะ แต่เป็นเราที่กดทับตัวเองเอาไว้ ผู้ใหญ่ไม่ยอมให้แว่นตาใหม่เราสักที อรรถพล กล่าวว่า ผู้ใหญ่ไม่ยอมให้แว่นตาใหม่เราสักที ตนมีคำถามต่อว่าเขาไม่ให้หรือเขาไม่มี ดังนั้นแล้วกิจกรรมควรมีความยืดหยุ่นสูงเพื่อให้มันสามารถตอบโจทย์หรือโยงให้คนทำงานกับสังคมได้ แต่ปัญหาคือผู้ใหญ่ยังมองตัวเองในบทบาทฐานะของผู้ให้อยู่  ในช่วงท้ายของการเสวนา ก็ได้ให้ผู้เข้าร่วมการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “ต้องการกิจกรรมแบบไหนในสถาบันศึกษา” ซึ่งมีหลากหลายมุมมองต่างกันไป อาทิ เราต้องการกิจกรรมแบบไหนเหนือสิ่งอื่นใด การศึกษาไทยต้องกระตุ้นให้เด็กคิดก่อน ควรมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับสังคม หรือให้ประโยชน์กับสังคมได้บ้าง ไม่ใช่เรียนรู้อยู่แต่ภายในมหาวิทยาลัย ให้ใช้สังคมเป็นสนามทดลองที่ใหญ่ขึ้น แล้วสังคมจะสะท้อนกลับมาเองว่า มหาวิทยาลัยควรมีกิจกรรมแบบไหน ที่มันจะสอดคล้องกับสังคมได้ ควรปลูกฝังวัฒนธรรมทางการคิดก่อน แล้วกิจกรรมจะเกิดหลังความคิดเอง และการห่วงภาพลักษณ์มากไปจนทำให้ไม่เกิดสิ่งใหม่เป็นข้อผูกมัดที่ทำให้เราคิดไม่ได้ ที่สำคัญคือเปิดพื้นที่ให้นักเรียน นักศึกษาได้แสดงออก กระตุ้นให้เด็กคิดแล้วรู้วิธีนำเสนอต่อสังคม และครูเป็นเพียงอาจารย์ที่ปรึกษาเท่านั้น หรือระบบการศึกษาไม่ได้เอื้อให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ควรให้เด็กได้ถูกอบรมสั่งสอนให้มีความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่ชั้นประถมเป็นต้นมา เนติวิทย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปลดปล่อยปัจเจกชน ต้องมีพื้นที่เสรีชนให้ปัจเจกชนในสถาบันการศึกษา เป็นที่ที่ให้เขาคิดได้ แต่อย่าลืมว่าประชาธิปไตย ส่วนสำคัญคือทุกคนต้องมีส่วนร่วม ส่วนนี้ถูกละเลยไปมาก การมารวมตัวกันได้ถือเป็นเรื่องดีที่จะไปต่อยอดดังนั้นภราดรภาพต้องมี อีกอย่างคือเราต้องรู้ว่าเราไม่ได้กำลังต่อสู้กับเป้าหมายอะไรที่มันกำลังอยู่นิ่ง แต่เป็นเป้าหมายที่มีพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราต้องไม่ทำตัวให้นักเรียนเป็นเด็กไร้เดียงสา เราต้องมองเขาด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน และสุดท้ายคือจัดกิจกรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรม
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/15127
2007-12-13 02:15
13 องค์กรเสนอนโยบายชาติดับไฟใต้ต่อ 4 พรรคเต็งในสนามชายแดน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวัน 13 ธันวาคม 2550 ที่โรงแรมซีเอส.ปัตตานี กลุ่มสถาบันทางวิชาการ องค์กรสื่อและองค์กรพัฒนาเอกชนในภาคใต้ จะร่วมกันเสนอนโยบายแห่งชาติเพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตความรุนแรงชายแดนใต้ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้รับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ชาติไทย พลังประชาชน และเพื่อแผ่นดิน พร้อมทั้งร่วมทำสัญญาประชาคมรับข้อเสนอนโยบายดังกล่าวด้วย โดยมีนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นสักขีพยาน     นโยบายแห่งชาติเพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้   เสนอโดย   สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สถาบันข่าวอิศรา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 สมาคมวิทยุโทรทัศน์ไทย สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้ เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้ เครือข่ายรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ (ครต.) เครือข่ายและกลุ่มภาคประชาสังคมภาคใต้       ๑. การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่ ๑.๑ การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการของ ศอบต. ให้เป็นองค์กรอิสระ ขึ้นตรงกับ นายกรัฐมนตรี        โดยเป็นองค์กรที่มีคุณลักษณะดังนี้ ·         มีอำนาจในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาและการวางแผนพัฒนา ·         มีอำนาจเบ็ดเสร็จในเรื่องงบประมาณ ·         มีอำนาจในการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐทุกสังกัด ที่มาปฏิบัติงานในพื้นที่ พิจารณาการย้ายข้าราชการเข้ามาในพื้นที่และการเสนอย้ายข้าราชการที่มีพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมออกนอกพื้นที่ รวมทั้งการจัดอบรม  ปฐมนิเทศ การให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ข้าราชการที่มีผลงานดีเด่น ·         ใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เช่น สัดส่วนของคณะกรรมการบริหารองค์กรให้มีคนในพื้นที่มากกว่าคนนอกพื้นที่ ·         คณะกรรมการบริหารองค์กรต้องเป็นที่ยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ ๑.๒ การใช้วิถีมุสลิมบูรณาการกับการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดให้มีสมัชชาประชาชน หรือ สภาชุมชนที่ใช้กระบวนการซูรอ เป็นกระบวนการในการพัฒนาการเมืองแบบมีส่วนร่วม   ๒. การปฏิรูประบบความยุติธรรม   ๒.๑ การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความยุติธรรมในพื้นที่ ขึ้นตรงกับ นายกรัฐมนตรี         โดยเป็นองค์กรที่มีคุณลักษณะดังนี้ ·         มีระบบการร้องเรียน ร้องทุกข์เพื่อความเป็นธรรมเป็นภาษาถิ่น ·         มีระบบการร้องเรียนโดยเฉพาะเรื่องการเยียวยา ·         บูรณาการและเชื่อมประสานกับระบบยุติธรรมของรัฐ ๒.๒ การตั้งผู้พิพากษาศาลซารีอะห์ในระบบยุติธรรมคดีครอบครัวและมรดก ๒.๓ การตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ในชายแดนภาคใต้   ๓. การปฏิรูประบบการศึกษา ๓.๑ การคงความหลากหลายของการจัดการศึกษาในพื้นที่ ๓.๒ พัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสามัญศึกษา ศาสนศึกษา  อิสลามศึกษา  และอาชีพ ในโรงเรียนของรัฐ  โรงเรียนเอกชน  โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่   ทั้งด้านหลักสูตร  และครูผู้สอน          ให้มีความเป็นเลิศ ๓.๓ การพัฒนาเป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษาและอาหรับศึกษา ๓.๔ การจัดหลักสูตรในทุกระดับให้มีการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ๓.๕ การจัดการศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ๓.๖ การจัดตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดกับครู การหยุดเรียนของนักเรียน ๓.๗ เสนอให้วันศุกร์วันเสาร์เป็นวันหยุดเรียนของโรงเรียนทุกประเภทในพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเป็นจุดเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายของการจัดการด้านต่างๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   ๔. การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ๔.๑ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อขจัดความยากจน เช่น ·       การฟื้นฟูนาร้าง ·       การยกเลิกเรืออวนรุน อวนลาก เรื่อปั่นไฟปลากะตะ การมีพรบ.ประมง ใหม่ ·       การแก้ปัญหาที่ทำกินที่บูโด สุไหงปาดี ๔.๒ การพัฒนาฝีมือแรงงานไทยในพื้นที่ให้มีความสามารถ มีทักษะ และส่งเสริมให้ไปทำงานในต่างประเทศ รวมถึงการดูแลแรงงานไทยในต่างประเทศ ๔.๓ การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล การเป็นครัวโลก ๔.๔ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และส่งเสริมการค้าไทย-มาเลเซีย   ๕. การปฏิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ๕.๑ การจัดสวัสดิการสังคมภายใต้ ระบบซากาต ๕.๒ การพัฒนาให้เป็นพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ความเป็นพหุวัฒนธรรมและความสมานฉันท์ ๕.๓ สนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านศาสนาของชุมชน ๕.๔ การพัฒนาการสื่อสารสาธารณะ ให้อยู่บนฐานของความรู้ที่สังเคราะห์จากความเป็นจริงในพื้นที่
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/53615
2014-05-28 20:33
หนุ่มวิศวกรเน็ตยืนเดียวถือป้าย ‘QR code’ บันได BTS ประท้วงรัฐประหารวันที่ 2
เมื่อช่วงเย็นวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา บริเวณบันไดทางเชื่อมต่อระหว่าง BTS อโศก กับ MRT สุขุมวิท มีชายวิศวกรเครือข่าย อายุ 35 ปี (สงวนชื่อและนามสกุล) ยืนเดี่ยวถือป้าย ‘QR code’ ประท้วงการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ผู้ประท้วงให้เหตุผลที่ยืนชูป้ายว่า “ผมทนไม่ได้กับการรัฐประหาร เพราะคิดว่ามันไม่ใช่แนวทางที่โลกนี้ยอมรับ ทนไม่ได้ที่จะมีใครใช้กระบอกปืนแล้วมารวบอำนาจการตัดสินใจของประชาชนไปแต่ผู้เดียว” โดยเขาเสนอทางออกสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันว่า ต้องมีการเจรจากันระหว่างคู่ขัดแย้ง แต่ต้องห้ามมีคนถือปืนในการเจรจา เพราะการเจรจานั้นแต่ละฝ่ายต้องมีอำนาจเท่ากัน หากปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเจราจาไปพร้อมกับการถืออาวุธจะทำให้ได้เปรียบ จึงทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ และจากนั้นต้องมีการเดินหน้าเลือกตั้งโดยเร็ว สำหรับ code ด้านหนึ่งที่ลิงค์ไปยังเรื่องราวของ “จิตร ภูมิศักดิ์(คลิกเพื่อดูหน้าเพจดังกล่าว [1])” นั้น เขากล่าวว่า หลังจากได้ยินประโยคหนึ่งในกลอนของจิตรที่ว่า “แม้คนพันบัญชาชี้หน้าเย้ย จงขวางคิ้วเย็นชาเฉยเถิดสหาย” นั้น ตนมองว่าเป็นการบอกว่าอย่าให้ใครมาบังคับหรือขู่เข็ญ อย่าให้ใครริดรอนสิทธิเสรีภาพของคุณไป จึงถือว่าเข้ากับสถานการณ์ในขณะนี้ สำหรับการใช้ป้าย QR code ในการประท้วงนั้น ผู้ประท้วงกล่าวว่า เพราะต้องการส่งข้อความให้คนที่สนใจจริงเข้าไปดูว่าตนนั้นต้องการสื่ออะไร โดยสถานการณ์ตอนนี้แม้ชูมือเปล่าก็คิดว่าคนก็จะเข้าใจว่ากำลังประท้วงแล้ว รวมทั้งตนก็อยากต้องการสื่อไปกับคนกลางๆ เพื่อให้เขาได้เปิดใจ แม้ข้อความที่ตนสื่อสารอาจเป็นเพียงเรื่องเล่าที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน แต่ก็อาจให้ผู้อ่านได้ใคร่ครวญบ้าง ภาพยืนเดี่ยววันที่ 2 (28 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าวันนี้(28 พ.ค.) เขายังเดินทางมายืนเดี่ยวประท้วงในจุดเดิมอีก และเขายืนยันว่าจะใช้เวลาหลังเลิกงานมาชูป้ายต่อไป ซึ่งวันนี้ code ด้านหนึ่งเป็นข้อความ ว่า "ห้ามฉันพูด ฉันก็จะพิมพ์ ห้ามฉันพิมพ์ ฉันก็จะเขียน ห้ามฉันเขียน ฉันก็จะยังคิด หากจะห้ามฉันคิด ก็ต้องห้ามลมหายใจฉัน" บก.ลายจุด 2553 ขณะอีกด้านหนึ่งเป็นลิงค์ไปยังบทความชื่อ “ทำไมต้องมาพูดเรื่องการต้านรัฐประหารอีกครั้ง?” [2] Code วันที่ 2
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/78232
2018-08-10 21:07
ไปให้ไกลกว่าเขื่อนแตก: เสวนาสะท้อนทุน การเมือง ความจำเป็นกรณีเซเปียน-เซน้ำน้อย
ตัวแทนนานาชาติร่วมถอดบทเรียนเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกที่ลาว ชี้ กระบวนการสร้างเขื่อนน่าสงสัยตั้งแต่ร่วมทุนถึงกระบวนการก่อสร้าง กฟผ. มีบริษัทลูกเป็นคู่ค้าถึง 9 จาก 11 โครงการทั่วลาว เปิดสถิติการใช้ไฟฟ้าไทย ผลิตได้มากกว่าที่ใช้สูงสุดหลายพันเมกะวัตต์ รายงานกรรมาธิการน้ำโขงเผย อีก 22 ปี เขื่อนให้ประโยชน์แค่นายทุน ประมง กสิกรรมเสียหายหนัก ภาพจากสำนักข่าวสารประเทศลาว [1] เหตุการณ์เขื่อนของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมากกลายถูกสปอตไลท์ของประชาคมโลกสาดส่องในฐานะแท่นบูชายัญของโครงการพัฒนาของประเทศที่หวังจะเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย ที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตของประชาชนในประเทศ แม้สายธารของความช่วยเหลือทั้งเรื่องปัจจัยยังชีพและการกู้ภัยจะมีจำนวนมาก แต่ปมปัญหาที่ต้องสะสางเพื่อไปให้ไกลกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วยการไปกู้ภัยและช่วยเหลือทุกครั้งคือกระบวนการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานและข้อกังขาเรื่องการร่วมทุนของบริษัท ไปจนถึงคำถามในทางหลักการว่า เอาจริงๆ แล้วเขื่อนผลิตไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยไปแล้วหรือยัง เพราะนับจากปี 2479 ที่เขื่อนผลิตไฟฟ้าแห่งแรกกำเนิดขึ้นที่สหรัฐฯ (เขื่อนฮูเวอร์) มาถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 82 ปีแล้ว เมื่อ 9 ส.ค. 2561 มีการจัดเวทีเสวนาประชาชนหัวข้อ “เขื่อนในลาว (แต่) ไม่ใช่เขื่อนลาว บริษัทเกาหลี การไฟฟ้าไทย และเงินช่ว่ยเหลือข้ามชาติในธุรกิจเขื่อนที่แตกพัง” โดยกลุ่มเครือข่ายประชาชนจับตาการลงทุนในเขื่อนลาว (Laos Dam Investment Monitor [LDIM]) ได้มีการพูดถึงเส้นทางการเงินและการรวมกลุ่มทางธุรกิจในระดับรัฐและเอกชนและส่งผลกระทบมายังประชาชนใต้เขื่อนในท้ายที่สุด และผลกระทบบนแม่น้ำนานาชาตินั้นส่งผลกระทบข้ามพรมแดนแบบไม่ต้องกรอกวีซ่าผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ซ้ายไปขวา: เปรมฤดี ดาวเรือง สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี วิทูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ โซยอนคิม นิวัฒน์ ร้อยแก้ว เมียด เมียน เวทีเสวนาได้เชิญเมียด เมียน นักเคลื่อนไหวที่ลงพื้นที่ในลุ่มน้ำเซกอง เซซานและสเรป็อกในกัมพูชา หนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตก นิวัฒน์ ร้อยแก้ว กลุ่มรักเชียงของ ผศ.โซยอน คิม สถาบันโซกังเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออก มหาวิทยาลัยโซกัง เกาหลีใต้ วิทูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEE Net) และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักข่าวอาวุโส สำนักพิมพ์เดอะเนชั่น เป็นวิทยากร โดยมีจากประชาสังคมทั้งจากไทยและลาว ผู้แทนสถานทูต ผู้แทนบริษัทเอกชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย เส้นทางการเงินไทย-เกาหลีใต้สู่ลาว จากโครงการพัฒนาสู่วินาศกรรม  โซยอนคิม นำเสนอประเด็นเงินสนับสนุนจากเกาหลีที่ไปลงทุนในเขื่อนลาวว่า ปัจจัยหลักที่เน้นย้ำมีสามประการ หนึ่ง โครงการพัฒนาเหล่านี้เกิดไม่ได้ถ้าไม่มีเงิน แนวนโยบายของเกาหลีที่ต้องการเปิดตลาดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคำถามสุดท้ายคือ วินาศภัยที่เกิดขึ้นนั้นเป็นธุระของเกาหลีจริงหรือ เธอเล่าต่อไปว่า เงินทุนสร้างเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยมาจากการร่วมทุนระหว่างสี่บรรษัทได้แก่ เอสเค เอนจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชัน จำกัด บริษัทโคเรียเวสเทิร์นพาวเวอร์ จำกัด บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัทรัฐวิสาหกิจลาว จดทะเบียนภายใต้กิจการร่วมค้าชื่อบริษัทพลังงานเซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด (The Xe-Pian Xe-Namnoy Power Co., Ltd. - PNPC) แผนภาพจากสไลด์ของโซยอนคิม เกาหลีใต้เริ่มให้เงินสนับสนุนโครงการพัฒนาในต่างประเทศในฐานะเครื่องมือทางการทูตผ่านการช่วยเหลือธุรกิจของเกาหลีในต่างชาติมาตั้งแต่ปี 2541 สมัยประธานาธิบดีลีมุงบัก และต่อด้วยประธานาธิบดีปักกึนเฮ  โดยสัดส่วนเงินที่เกาหลีใต้สนับสนุนโครงการเงินสนับสนุนการพัฒนา (Official Development Assistance - ODA) ในธุรกิจพลังงานที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นเงินลงทุนจากเกาหลีที่ไปลงกับกิจการพลังงานคิดเป็นร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับการลงทุนในชนิดเดียวกันทั้งหมด โซยอนคิมยังตั้งข้อสังเกตว่า มีความพยายามลดเวลาก่อสร้างให้น้อยลงด้วยการลดขั้นตอนการก่อสร้างบางอย่าง ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องมาตรฐานการก่อสร้าง มีรายงานข่าวว่าเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยที่จะสร้างแล้วเสร็จตามแผนในปีหน้ากลับถูกกักเก็บน้ำไว้แล้ว ทั้งที่ควรจะต้องทดสอบความปลอดภัยก่อน โดยคิดว่าสาเหตุที่ต้องรีบเก็บน้ำเพราะว่าเวลาที่จะใช้เก็บน้ำก่อนที่จะเริ่มผลิตไฟฟ้าจะต้องใช้เวลา 2-3 ปี การเร่งรัดเก็บน้ำก่อนก็เพื่อจะให้ได้กำไรมากขึ้น โปร่งใส? จาก 11 โครงการที่ กฟผ. ซื้อไฟฟ้า มี 9 โครงการที่บริษัทลูกเข้าร่วมทุน วิทูรย์กล่าวว่า การลงทุนในเขื่อนแม่น้ำโขงเกิดขึ้นในช่วงที่มีการโปรโมทเรื่องการลงทุนภาคเอกชน หรือ IPP ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รัฐบาลลาวเป็นผู้ให้สัมปทาน เอกชนต้องหาผู้ซื้อไฟฟ้า ซึ่งในที่นี้คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เริ่มต้นจากรัฐบาลลาวเป็นผู้ให้สัมปทานกับบริษัท ซึ่งกรณีนี้บริษัทเอสเค เอนจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชัน จำกัดเป็นผู้ที่รับสัมปทาน เมื่อรับมาแล้วก็จะพัฒนาโครงการออกแบบทางเทคนิคและหาผู้ร่วมทุนทั้งในหุ้นและกิจการร่วมค้า จึงมีการหาอีกสามบริษัทมาร่วมทุน จากสัมปทานก็มีการสร้าง JV หนึ่งในนั้นก็คือบริษัทลาว โฮลดิ้ง คอมปานี นำไปสู่การร่วมทุนขั้นต้น ทางเกาหลีให้เงินกู้กับรัฐบาลลาวในส่วนที่เป็นทุนประเดิมเพื่อให้มาร่วมทุน หลังจากได้รับสัมปทานก็มีกิจการร่วมค้าสี่ราย บริษัทที่รับสัมปทานก็ต้องตั้งชื่อกันใหม่เหมือนตั้งชื่อกลุ่ม เป็นบริษัทจำกัดที่จะดูแลโครงการ หมายความว่าบริษัทแม่สี่บริษัทจะไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกินกว่ามูลค่าที่ร่วมทุนจดทะเบียน หลังจากนั้นก็ต้องหาผู้ซื้อไฟฟ้าซึ่งในที่นี้ คือ กฟผ. ทำข้อตกลงซื้อไฟฟ้าที่เรียกว่า PPA (Power Purchase Agreement) การได้มาซึ่ง PPA เป็นใบที่ทำให้ธนาคารในไทยสี่แห่งให้กู้เงินอีก 3 เท่าของเงินต้นที่ร่วมทุนกัน เนื่องจากธนาคารมั่นใจว่าปล่อยกู้ไปแล้วจะได้รับชำระจากทาง กฟผ. ที่จะจ่ายเงินคืนในรูปแบบของเงินบาท ตัวละครอีกตัว คือราชบุรี โฮลดิ้ง เป็นบริษัทลูกของ กฟผ. และเมื่อค้นดูก็พบว่าโครงการที่ กฟผ. เป็นคู่สัญญาซื้อไฟก็จะมีบริษัทลูกของตัวเองเป็นคู่สัญญาขายไฟ ใน 11 โครงการที่อยู่ในลาว มีบริษัทลูกของ กฟผ. เป็น JV ถึง 9 โครงการ หากอธิบายในทางที่ดีคือมีบริษัทลูกก็ดีเพราะคุยกันได้ ไม่มีช่องว่าง ทุกอย่างเป็นประโยชน์ของไทย แต่อีกด้านคือ การที่ กฟผ. เป็นคู่สัญญาแทนประชาชนไทยในการรับซื้อไฟฟ้า แต่กลับไปมีบริษัทลูกในโครงการที่ตัวเองซื้อไฟฟ้า แล้วเราจะไว้วางใจได้อย่างไรว่า กฟผ. จะไม่มีลับลมคมใน ไม่มีความโปร่งใส การกระทำแบบนี้ถือเป็นการขัดกันของผลประโยชน์หรือไม่ จึงต้องทบทวนการลงทุนแบบคู่สัญญาในเชิงผลประโยชน์ที่อาจขัดกัน โครงสร้างที่มีลักษณะอัฐยายซื้อขนมยายแบบนี้ทำให้ธุรกิจและธนาคารกลายเป็นตัวขับที่แท้จริงมากกว่าความต้องการไฟฟ้าในไทยที่เราเคยเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการสร้างเขื่อน ถ้าโครงสร้างการลงทุนยังไม่เอื้อให้เกิดธรรมาภิบาลแบบนี้ ประชาชนก็ยังต้องรับเคราะห์กรรมหรือแบกรับภาระบนวิถีชีวิตที่บริษัทเอาผลกำไรสูงสุดมาเป็นตัวตั้ง วิทูรย์ยังตั้งข้อสังเกตว่า ความเสียหายที่ลาวอาจส่งผลกับชาวไทยได้ หากการทำ PPA วางระบบกำหนดราคาซื้อไฟฟ้าไว้ว่าเป็นระบบต้นทุนบวกกำไร ก็จะสามารถใส่ค่าใช้จ่ายอะไรที่คิดว่าเป็นต้นทุนลงไปก็ได้ เช่น ถ้าโดนค่าเสียหาย 100 ล้านบาท บริษัทก็เจรจากับ กฟผ. ว่า สามารถใส่ค่าเสียหายเป็นหนึ่งในต้นทุนได้หรือไม่ ถ้าได้ค่าเสียหายก็จะไปอยู่ในค่า FT หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ถ้าเป็นแบบนั้นคนที่รับผิดชอบกับความเสียหายก็คือผู้จ่ายค่าไฟฟ้า แล้วบริษัทจะแคร์อะไรถ้ามีคนจ่ายให้ เปิดสถิติใช้ไฟฟ้าไทยผลิตเกินใช้ ท่าทีลาวต่อ ‘แบตเตอรี่เอชีย’ เปลี่ยนคือสัญญาณความตายของเขื่อนไฟฟ้า? สุภลักษณ์ กล่าวว่า บทเรียนเขื่อนแตกในครั้งนี้เข้าทำนองว่า โครงการพัฒนามากเกินไปทำให้การเติบโตของลาวพัง ลาวมีพื้นที่น้อย เต็มไปด้วยภูเขาและแม่น้ำ จึงสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าเกินที่ตัวเองใช้เพื่อขายไฟฟ้าให้ประเทศรอบบ้านที่อุปสงค์สูงทั้งไทย เวียดนาม กัมพูชา ปัจจุบันล่วงเลยไปถึงมาเลเซียแล้วผ่านการขายต่อของไทย ทั้งนี้ ลาวส่งให้ไทย 2-3 พันเมกะวัตต์ จากที่ตั้งเป้าไว้ 9 พัน เมกะวัตต์ ความแตกต่างนี้ทำให้ตนตั้งข้อสังเกตว่าการใช้ภูมิประเทศตัวเองผลิตพลังงานให้ทั้งภูมิภาคอาจเป็นจินตนาการที่เป็นจริงยาก หลังเขื่อนแตก เมื่อวันอังคารได้มีประชุมพิเศษ ครม. ลาว และมีมติที่ให้ทบทวนความปลอดภัยของเขื่อนทั่วประเทศ โดยสาระสำคัญมีสามเรื่อง หนึ่ง ตรวจเขื่อนทั้งหมดทั้งที่สร้างแล้วและกำลังก่อสร้าง สอง สั่งระงับหรือแขวนการลงทุนใหม่ในโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้า สาม รัฐบาลลาวจะทบทวนยุทธศาสตร์ และแผนงานเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตว่าด้วยการเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญของนายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิด แม้ปฏิบัติการบนภาคพื้นดินจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่นายกฯ ก็ลงพื้นที่เร็วในแบบที่ตนไม่เคยเห็นจากรัฐบาลลาวชุดก่อนๆ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาของลาวควรต้องเปลี่ยน ลาวควรจะหยุดสร้างเขื่อนเพราะจำนวนที่มีอยู่ก็พอที่จะใช้ในประเทศและขายให้ไทยได้แล้ว จำนวนการเติบโตของอุปสงค์การใช้ไฟฟ้าไทยตาม กฟผ. ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องก็อาจไม่จริงเพราะเศรษฐกิจขึ้นๆ ลงๆ การพึ่งพาพลังงานจากเขื่อนก็ไม่ใช่สิ่งที่แน่นอนเพราะต้องอิงกับสภาวะอากาศ สร้างเขื่อนเท่าใดก็ไม่เพียงพอ นอกจากนั้น ในการสร้างเขื่อนที่ผ่านมาก็ไม่เคยนำต้นทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมและผลกระทบข้ามพรมแดนมาเป็นปัจจัยในการคิด แต่ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลลาวต้องคิดคำนึง ลาวต้องกลับมาคิดว่าจะขายอะไรมากไปกว่าไฟฟ้า ต้องมีการลงทุนเรื่องใหม่ๆ ลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์ให้คิดนวัตกรรมได้ ลงทุนกับเรื่องที่มีอยู่แล้ว เช่นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น สุภลักษณ์ยังวิเคราะห์ในด้านการเมืองระหว่างประเทศที่จีนมีอิทธิพลกับลาวสูงเพราะเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลายด้าน โดยกล่าวว่า การทบทวนจุดยืนของลาวเรื่องการเป็นแบตเตอรี่ของเอเชียถ้าทำได้สักครึ่งของที่คิดไว้ก็ดีแล้ว เพราะเพราะทุนจีนที่มีอยู่ในโครงการเขื่อนหลายโครงการก็มีกำลังในการบังคับลาวได้อยู่ ส่วนความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง ล้านช้าง แม่โขง (Lancang Mekong Initiative - LMC) ที่ริเริ่มโดยจีน ก็มีเรื่องว่าด้วยสิ่งแวดล้อม  ที่กรุงปักกิ่งก็มีสถาบันว่าด้วยสิ่งแวดล้อมจัดตั้งอยู่ แม้ขอบเขตของการดูแลอาจจะยังไม่ชัดเจนแต่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าจีนตระหนักถึงเรื่องนี้มากขึ้น หน้าที่พวกเราก็คือต้องตีประเด็นขึ้นมาว่ามีความเสียหายให้ลาวและจีนขยับได้ วิทูรย์กล่าวถึงสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในไทยว่า ตอนนี้ไทยสามารถจัดหาไฟฟ้าด้วยกำลังผลิตในระบบได้ 42,299 เมกะวัตต์ กฟผ. ผลิตเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer : IPP) ร้อยละ 36 ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ร้อยละ 18 และนำเข้าร้อยละ 9 ในวันที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด (พีค) ของปี 2560 อยู่ที่ 34,101 เมกะวัตต์ แต่ว่ายอดพีคการใช้ไฟฟ้าจาก กฟผ. ลดลงจากปี 2559 ร้อยละ 3.5 พีคของทั้งระบบลดลงร้อยละ 2.2 สะท้อนว่ามีการใช้พลังงานอื่น ลดการพึ่งพิงการไฟฟ้ามากขึ้น เช่น โซลาร์เซลล์ สนามบินสุวรรณภูมิมีโรงไฟฟ้าขนาด 140 มว. เป็นของตัวเอง หรือโรงงานน้ำตาลที่มีโรงไฟฟ้าชีวมวลของตัวเอง ที่มาภาพ: สไลด์ของวิทูรย์/ กระทรวงพลังงาน หากดูจากเป้าหมายในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) จะพบว่าในปี 2560 พลังงานไฟฟ้าทางเลือกที่ผลิตได้มีจำนวน 10,013.29 เมกะวัตต์ จากเป้าหมายทั้งหมด 19,684.40 เมกะวัตต์ ถ้าสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ก็เท่ากับว่าไทยจะสามารถผลิตพลังงานได้รวมทั้งสิ้นราวหกหมื่นเมกะวัตต์ ก็ไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าหรือเขื่อนใดๆ เพิ่มอีก กรรมาธิการน้ำโขงคาด อีก 22 ปี เขื่อนทำพิษประมง กสิกรรม ระบบนิเวศหนัก แนะ ผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีอื่น วิทูรยังได้นำเสนอผลการศึกษาการจัดการอย่างยั่งยืนและการพัฒนาแม่น้ำโขง รวมถึงผลกระทบจากโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่สร้างบนแม่น้ำโขงสายหลัก (The Study on Sustainable Management and Development of the Mekong River including Impacts of Mainstream Hydropower Projects) ที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission - MRC) ที่ประกอบขึ้นจากรัฐบาลอาเซียนสี่ประเทศลุ่มน้ำโขง ผลการศึกษารายงานว่า การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก แม้มีผลดีกับการสร้างกำลังผลิตไฟฟ้า แต่จะมีผลกระทบกับภาคส่วนอื่นๆ อย่างมาก เมื่อเทียบกับปีฐาน (พ.ศ. 2540) การศึกษาพบว่าเขื่อนบนลำน้ำสายหลักทั้งหมด 11 เขื่อนจะมีอิทธิพลถึงร้อยละ 50 จากทั้งหมดผลผลิตของภาคเกษตรบริเวณลุ่มน้ำโขงลดลงราว 0.6-1 ตัน/เฮกตาร์ ผลผลิตในส่วนที่ห่างไปจากแม่น้ำโขงกระแสหลักลดลงกว่า 0.5 ตัน/เฮกตาร์ การศึกษาคาดการณ์ว่า ในปี 2583 กระแสน้ำที่ไหลมากขึ้นในหน้าแล้งและภาวะดินเค็มที่ลดลงจะทำให้ผลผลิตนาปรังเพิ่มขึ้นสูงสุดราว 0.2 ตัน/เฮกตาร์ แต่ในบางพื้นที่จะเสียจำนวนผลผลิตลงสูงสุด 2.4 ตัน/เฮกตาร์ เนื่องจากประสบปัญหาการไหลของกระแสน้ำที่ซับซ้อน และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ตะกอนดินต่างๆ ที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเพาะปลูกถูกกั้นไว้โดยเขื่อนตั้งแต่ที่จีน ถ้ายังสร้างเขื่อนถึงปี 2040 จะเหลือแค่ ร้อยละสามเท่านั้นที่จะไหลถึงปากแม่น้ำโขง นอกจากนั้นปลาในแม่โขง ปลาธรรมชาติจะสูญพันธุ์ จะมีปลานอกท้องถิ่นเข้ามาแทนที่ เมื่อคำนวณประโยชน์จากหลายๆ ด้านก็พบว่าผลกระทบด้านเกษตรกับประมงจะทำให้ประชาชนไม่ได้ผลประโยชน์ซึ่งกระจุกอยู่กับผู้ลงทุน ตัวรายงานจึงแนะนำให้ประเทศสมาชิก MRC หาเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าอื่นๆ มาแทนที่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ วิทูรทิ้งท้ายว่า รายงานชุดนี้ใช้งบประมาณราว 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 140 ล้านบาทในการจัดทำ แต่ทางการไทยและสื่อไทยกลับไม่นำมาเผยแพร่ การใช้ปี 2540 เป็นปีฐานเนื่องจากเป็นปีก่อนที่โครงการเขื่อนไซยะบุรีบนลำน้ำสายหลักจะเกิดขึ้น และการคาดการณ์ก็มองไปในปี 2563 จะมีโครงการไซยะบุรี ดอนสะโฮง และคาดการณ์ต่อไปจนถึงปี 2583 ในเงื่อนไขว่าโครงการเขื่อนเหล่านั้นปฏิบัติการไปตามปกติ นิวัฒน์กล่าวว่าเขื่อนเป็นการผลิตพลังงานที่ตกยุคตกสมัยแล้ว สมัยก่อนคนยังน้อย ทรัพยากรยังเยอะ แต่ตอนนี้เขื่อนเยอะ คนก็เยอะขึ้น ทรัพยากรที่หาอยู่หากินน้อยลง เขื่อนทำลายวิถีชีวิต แต่สร้างเขื่อนทำเงินได้เยอะจึงมักถูกสร้าง ทั้งที่ท้ายประชาชนมากที่สุดในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐศาสตร์นิเวศ ส่วนรัฐบาลลาวก็คิดแต่เรื่องเงิน พลังงานในลาวใช้นิดเดียว เขื่อนในลาวที่ไปดูก็อันตราย เพราะอยู่ในภูเขา ถ้าฝนตกเยอะมากๆ มีปัญหาแน่นอน หลายที่ก็เป็นเขื่อนดิน ส่วนบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง ตอนเขื่อนแตกไม่นานก็ได้ออกมาบอกว่าเขื่อนตัวนี้เป็นตัวเล็ก สามารถสร้างเขื่อนต่อไปได้ ทั้งๆ ที่คนตายไปต่อหน้าต่อตา แบบนี้แย่ที่สุด อย่ามาพูดเรื่องธรรมาภิบาล แบบนี้คนที่อยู่กับเขื่อนจะคิดอย่างไร ถ้ารัฐบาลลาวยังให้สร้างอยู่ก็ถือว่าเป็นรัฐบาลของบริษัท รัฐบาลต้องออกมาพูดว่าจะฟื้นฟูทั้งชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติที่เสียหายไปด้วย  ธนาคารเองก็ต้องสอบถามการกู้เงินจากบริษัทเหล่านี้ด้วยถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อน แถมเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยยังไม่เสร็จก็เก็บน้ำแล้ว แบบนี้มาตรฐานการก่อสร้างมีไหม แบบนี้คืออันตรายต่อเพื่อร่วมโลก การบอกว่าเขื่อนผลิตไฟฟ้าแก้ปัญหาน้ำท่วม ก็ไม่ใช่ ในอดีตเขื่อนจิ่งหงในจีนปล่อยน้ำออกมาครั้งเดียวน้ำโขงสูงขึ้นเกือบหนึ่งเมตร นอกจากนั้น การใช้เหตุผลของอธิปไตยมาสร้างเขื่อนของใครของมันนั้นไม่ควรทำแล้ว เพราะแม่น้ำเป็นของที่ใช้ร่วมกัน การกั้นน้ำหนึ่งที่ส่งผลกับอีกที่ ความเสียหายที่ข้ามพรมแดน: เล่าเรื่องลงพื้นที่กัมพูชา คาด ประชาชนลำบากไปอีก 1-2 ปี เมียด เมียน เล่าว่าบ้านตามลำน้ำเซกองที่กัมพูชาที่เมืองเซียงปาง เมืองต่อเขตกับแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว มีประมาณ 4 กลุ่มหมู่บ้านชนเผ่าที่ถูกกระทบ เมื่อเขื่อนแตก ภาครัฐทั้งลาวและกัมพูชาไม่ได้มีการแจ้งเตือนมา แต่ชาวบ้านได้รับข่าวด้วยโทรศัพท์และเฟซบุ๊กและบอกต่อกัน ตอนน้ำมาถึงเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ก็มาแบบรุนแรง ใช้เวลาไม่นาน ชาวบ้านไม่ได้เตรียมตัว ส่งผลให้ปศุสัตว์ การเกษตรเสียหาย คนไม่ตายเพราะหนีขึ้นที่สูงทัน แต่โคลนที่มากับน้ำและข้าวของเครื่องใช้ก็ทำให้พื้นที่ริมน้ำเซกองเสียหาย กลุ่มชนเผ่าต่างๆ ได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากเข้าไม่ถึงบริการรักษาสุขภาพ แถมของที่ปลูกมาก็เสียหายหมด ไม่มีเก็บ อาจจะส่งผลกับปากท้องไปอีก 1-2 ปี เมียด ยังระบุว่าอยากให้กัมพูชามีระบบเตือนภัย และให้ลาวรับรู้ไว้ว่าการใช้แม่น้ำเดียวกันกับกัมพูชานั้น จะตัดสินใจทำอะไรคนเดียวในเรื่องโครงการพัฒนาไม่ได้เพราะผลกระทบนั้นข้ามพรมแดน
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/66833
2016-07-12 11:31
ญาตินักข่าวอเมริกันฟ้องเรียกค่าเสียหายรัฐบาลซีเรีย กรณีถูกสังหารในเมืองฮอม
ญาติของ มารี โคลวิน นักข่าวอเมริกันที่ถูกสังหารในซีเรียเมื่อ 4 ปีที่แล้วฟ้องร้องรัฐบาลซีเรียที่นำโดยประธานาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด โดยที่ศูนย์เพื่อความยุติธรรมและความรับผิดชอบเป็นตัวแทนญาติของโคลวินยื่นฟ้องต่อศาลสหรัฐฯ เรียกร้องค่าเสียหายและค่าชดเชยจากรัฐบาลซีเรีย 11 ก.ค. 2559 โคลวินเป็นนักข่าวอายุ 56 ปี เธอถูกสังหารโดยอาวุธปืนใหญ่ของฝ่ายรัฐบาลขณะรายงานข่าวจากพื้นที่ยึดครองโดยกลุ่มกบฏในย่านบับอัมร์ของเมืองฮอมเมื่อปี 2555 ในช่วงที่เธอเป็นนักข่าวให้กับซันเดย์ไทม์ของอังกฤษเธอเคยรายงานว่ากองกำลังของรัฐบาลอัสซาดใช้อาวุธระเบิดยิงถล่มพื้นที่อย่างไร้ความปราณีโดยไม่สนใจชีวิตของพลเรือนและลอยนวลไม่ต้องรับผิด โคลวินยังเคยกล่าวต่อสื่อซีเอ็นเอ็นว่ารัฐบาลซีเรียโกหกในเรื่องที่พวกเขาอ้างว่าปราบปรามผู้ก่อการร้าย กองทัพใช้อาวุธระเบิดยิงถล่มเมืองที่มีพลเรือนกำลังอดอยากและเหน็บหนาว ครอบครัวของโคลวินกล่าวว่าหน่วยข่าวกรองซีเรียทราบตำแหน่งของเธอจากโทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียมที่เธอใช้พบว่าเธออยู่ที่ศูนย์สื่อของย่านบับอัมร์ สก็อต กิลมอร์ หนึ่งในทีมทนายกล่าวว่ามีการดักข้อมูลเพื่อทำให้ทราบตำแหน่งของโคลวินและก่อนหน้านี้ก็มีการวางเครือข่ายหน่วยข่าวกรองเพื่อค้นหานักข่าวในพื้นที่เมืองฮอมนักข่าวคนใดก็ตามที่อยู่ในเมืองขณะนั้นก็อาจจะตกเป็นเป้าหมายได้ ญาติของโคลวินบอกว่าในพื้นที่โดยรอบศูนย์สื่อของเมืองฮอมนั้น "ไม่มีเป้าหมายโดยชอบธรรมทางการทหาร" ในการถูกโจมตี ทางด้าน พอล คอนรอย ช่างภาพของโคลวินผู้มีประสบการณ์ในหน่วยปืนใหญ่ของกองทัพอังกฤษมาก่อนกล่าวว่ารัฐบาลซีเรียโจมตีศูนย์สื่ออย่างจงใจ ไม่ได้โจมตีแบบสุ่ม ในการโจมตีครั้งนั้นทำให้คอนรอยได้รับบาดเจ็บพร้อมกับนักกิจกรรมชาวซีเรียชื่อ วาเอล อัล โอมาร์ และนักข่าวฝรั่งเศส อีดิธ บูวิเยร์ เหตุการณ์ในครั้งนั้นยังส่งผลให้นักข่าวฝรั่งเศสอีกรายหนึ่งชื่อ เรมี โอชลิค เสียชีวิต ญาติพี่น้องของโคลวินกล่าวว่าเธอภูมิใจที่ได้ฟ้องร้องในเรื่องนี้ เธอรู้ว่าคนที่สังหารมารีเป็นใคร เธอต้องการนำพวกเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ต้องการให้พวกเขารับผิดชอบ เธอบอกอีกว่าเธอรู้สึกอ่อนไหวต่อความทุกข์ของชาวซีเรีย ไม่ใช่เธอคนเดียวที่ต้องสูญเสียญาติพี่น้องเธอจึงต้องการนำผู้สังหารเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อเป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชนชาวซีเรียว่าพวกเราไม่ได้ลืมพวกเขา ในสำนวนฟ้องของครอบครัวโคลวินระบุว่าโคลวินถูกสังหารโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลซีเรียโดยที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนดังกล่าวได้รถเป็นรางวัลจากครอบครัวอัสซาด โคลวินเป็นนักข่าวที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเยล เธอเสียตาข้างซ้ายไปเพราะโดนสะเก็ดระเบิดจากการทำข่าวความขัดแย้งในศรีลังกาช่วงปี 2544 ทำให้เธอต้องสวมที่ปิดตา เธอเป็นผู้สื่อข่าวที่รายงานความเจ็บปวดที่ประชาชนชาวซีเรียได้รับจากสงครามในพื้นที่รวมถึงเด็กที่เสียชีวิตจากการถูกยิงโดยกระสุนสไนเปอร์ เรียบเรียงจาก Slain war correspondent Marie Colvin's relatives sue Syrian regime, UPI, 10-07-2016http://www.upi.com/Top_News/World-News/2016/07/10/Slain-war-correspondent-Marie-Colvins-relatives-sue-Syrian-regime/6401468173478/ [1] Marie Colvin's family sues Syria over death in Homs, BBC, 10-07-2016http://www.bbc.com/news/world-us-canada-36757154 [2]
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/8196
2006-04-26 01:17
ตราไว้ในดวงจิต : พระบรมราโชวาท "นายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่ประชาธิปไตย"
วันที่ 25 เมษายน 2549 เวลา 17.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ถึงการเลือกตั้ง ส.ส.และการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี ความบางตอนว่า 000 "...ในเวลาถ้าจะให้พูด ศาลเองมีสิทธิที่จะพูดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะเลือกตั้งของผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง 20% แล้วก็เขาเลือกตั้งคนเดียว ซึ่งมีความสำคัญ คือว่าถ้าไม่ถึง 20% แล้วก็มีคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบ ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้ แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณไว้เมื่อกี้นี้ก็เป็นหมัน ที่บอกว่าจะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้ ท่านก็เลยทำงานไม่ได้ ถ้าท่านทำงานไม่ได้ ท่านก็อาจจะต้องลาออก แต่ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหา ฉะนั้นต้องหาทางแก้ไขได้ เขาก็จะบอกว่า ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าไม่ใช่เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยวข้อง ก็เลยขอร้องท่าน อย่าไปทอดทิ้งการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการไปได แล้วก็อีกข้อหนึ่ง คือการที่จะบอกว่าจะมีการยุบสภา และต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน ถูกต้องหรือไม่...ไม่พูดถึง ไม่พูดเลย ถ้าไม่ถูกก็จะต้องแก้ไข แล้วก็อาจจะให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ ซึ่งท่านจะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควรหรือไม่ควร ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้ในการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งขึ้นพรรคเดียวคนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป มีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตย เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็ควรคิดว่า ต้องดูว่าเกี่ยวข้องกับศาลปกครองหรือไม่ ขอฝากอย่างดีที่สุดถ้าท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไปดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ ตั้งแต่ฟังวิทยุเมื่อเช้านี้ กรณีเกิดที่กิ่ง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อันนั้นไม่ใช่แห่งเดียว ที่อื่นมีหลายแห่งที่จะทำให้บ้านเมืองล่มจม บ้านเมืองไม่สามารถที่จะรอดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ถูกหลัก ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านไปศึกษาว่า เกี่ยวข้องหรือไม่ ท่านเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้อง ท่านลาออกดีกว่า ท่านเป็นผู้ที่ได้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ที่ต้องทำให้บ้านเมืองดำเนินได้ หรือมิฉะนั้นต้องไปปรึกษากันกับผู้พิพากษาที่จะเข้ามา คือผู้พิพากษาศาลฎีกา ท่านก็เกี่ยวข้องเหมือนกัน ก็ปรึกษากัน ก็เป็นจำนวนหลายคนที่มีความรู้ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ที่มีหน้าที่ที่จะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป ฉะนั้นขอฝาก ไม่อย่างนั้นยุ่ง เพราะถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย ของเรามีศาลหลายชนิดมากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และทุกแบบจะต้องเข้ากัน ปรองดองกันและคิดทางที่จะแก้ไขได้ ที่พูดอย่างนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้ ก็เพราะไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้อง มาตรา 7 มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่า มาตรา 7 ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่ มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินได้ ทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำเขาก็จะว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งจริงๆ ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ก็อ้างถึงก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่มีทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีสภา มีประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ ทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญ นายกฯ พระราชทานหมายความว่า ตั้งนายกฯ โดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์ อาจารย์สัญญา ได้รับตั้งเป็นนายกฯ เป็นนายกฯ ที่มีคนรับสนองพระบรมราชโองการ คือรองประธานสภานิติบัญญัติ ดังนั้น ไปทบทวนประวัติศาสตร์มาใหม่ ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบว่ามีกฎเกณฑ์ที่รองรับ แล้วก็งานอื่นๆ ก็มี แม้จะที่เรียกว่าที่สภาสนามม้า เขาหัวเราะกัน สภาสนามม้า แต่ไม่ได้ผิดกฎหมาย เพราะว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับสนองพระบรมราชโองการ ก็สบายใจว่าทำอะไรแบบถูกต้องตามครรลองของรัฐธรรมนูญ แต่ครั้งนี้จะให้ทำอะไรผิด ใครเป็นคนบอกก็ไม่ทราบนะ แต่ว่าเขาจะให้ทำ ฉะนั้นขอให้ช่วยปฏิบัติอะไร คิดอะไร ไม่ให้ผิดกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นสิ่งที่เป็นอุปสรรคและมีความเจริญรุ่งเรืองได้ ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทความว่า ฝ่ายที่เป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกา ปัจจุบันนี้มีปัญหาตามกฎหมายที่สำคัญ คือว่าถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามที่ปฏิญาณไว้...แบบประชาธิปไตย คือเวลานี้มีการเลือกตั้งเพื่อให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยนั่นเอง แต่ถ้าไม่มีสภาที่ครบถ้วน ก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ฉะนั้นก็ขอไปปรึกษากัน เมื่อก่อนมีอย่างเดียวมีศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา เดี๋ยวนี้มีศาลหลายอย่าง เมื่อมีก็ต้องไปดำเนินการก็ขอให้ไปปรึกษากับศาลอื่นๆ ด้วย จะทำให้บ้านเมืองปกครองแบบประชาธิปไตยได้ อย่าไปคอยที่จะให้ขอนายกฯ พระราชทาน เพราะขอนายกฯ พระราชทานไม่ได้เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองประชาธิปไตยกลับไปอ่าน มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างที่ผิด อ้างไม่ได้ มาตรา 7 มี 2 บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้ นายกฯ พระราชทานเป็นต้น จะขอนายกฯ พระราชทานไม่ใช่เรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว แบบไม่มีเหตุมีผล สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่แจ่มใส สามารถกลับไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ คือ ปกครองต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ว่าไม่ได้ แต่อาจจะต้องหาวิธีที่ตั้งสภาที่ไม่ครบถ้วน แบบตำนานได้ แต่ก็มั่ว ขอโทษอีกทีนะ ใช้คำมั่วไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดแบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จ ถ้าทำไม่ได้ก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอีก เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ที่จะไป ก็เลยต้องมาขอร้องฝ่ายศาลให้คิดและช่วยกันคิด เดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่นๆ ก็ยังมองว่าศาลฎีกามีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล มีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา พิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดีๆ ประเทศจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มีสมาชิกสภาถึง 500 คน ทำงานไม่ได้ก็ต้องพิจารณาดูว่าจะทำยังไงจะพลิกตำนานได้ จะมาขอให้พระมหากษัตริย์ตัดสิน เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์เป็นคนพระปรมาภิไธยจริง ในหลวงลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน แต่ว่าในมาตรา 7 ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่าถ้าไม่มีการบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์สั่งการได้ แล้วก็ขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอให้มีพระราชทาน นายกฯ พระราชทาน ไม่เคยมี มีนายกฯ แต่รับสนองพระบรมราชโองการอย่างถูกต้องทุกครั้ง มีคนที่เขาอาจจะมาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทำตามใจชอบ ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบตั้งแต่เป็นมา รัฐธรรมนูญเป็นมาหลายฉบับหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบเวลาถ้าเขาทำตามที่เขาขอ เขาก็ต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำตามใจชอบ ซึ่งไม่ใช่กลัวถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ อยู่ที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นสำคัญที่จะ ศาลอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไรไม่มีข้อที่จะอ้างได้มากกว่าศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะมีสิทธิที่จะพูด ที่จะตัดสินก็ขอให้ท่านได้กลับไปพิจารณา ไปปรึกษาผู้พิพากษาศาลแผนกอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าควรทำอย่างไรไม่ต้องรีบทำ ไม่งั้นบ้านเมืองล่มจม ดูทีวีเบื่อ ไอ้หมื่นตันโดนพายุจมลงไปลึกกว่า 4 พันเมตรทะเล เขายังต้องดูว่าเรือนั้นลงไปได้อย่างไร เมืองไทยจะจมลงไปลึกกว่า 4 พันเมตร กู้ไม่ได้ กู้ไม่ขึ้น ฉะนั้นท่านเองก็เท่ากับจมลงไป ประชาชนทั่วไปที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ก็จะจมลงไปในมหาสมุทร ตอนนี้เป็นเวลาที่วิกฤติที่สุดในโลก ฉะนั้นท่านต้องมีหน้าที่ปฏิบัติปรึกษากับคนที่มีความรู้ พวกที่เขาเรียกว่ากู้ชาติ เอะอะอะไรก็กู้ชาติ กู้ชาติ กู้ชาติเดี๋ยวนี้ไม่ได้ล่มจม แต่ป้องกันไม่ให้จมลงไป แล้วเราจะต้องกู้ชาติ ประชาชนกู้ชาติไม่ได้ เพราะจมไปแล้ว ดังนั้นต้องไปพิจารณาดูว่าจะทำอะไร ถ้าทำได้ ปรึกษาหารือกันได้ ประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนทั่วโลกจะอนุโมทนา อาจจะเห็นว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาในเมืองไทยยังมีน้ำยา เป็นคนที่มีความรู้ ตั้งใจที่จะกู้ชาติจริงๆ ถ้าถึงเวลา ขอขอบใจท่านที่ตั้งอกตั้งใจที่จะทำหน้าที่ดีๆ อย่างนี้ บ้านเมืองก็รอดพ้น และไม่ต้องกลัว ขอขอบใจที่ท่านพยายามปฏิบัติโดยดี แล้วประชาชนจะอนุโมทนา ขอบใจแทนประชาชนทั่วทั้งประเทศที่มีผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เข้มแข็ง ขอบใจ ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงานมาดี มีพลานามัยแข็งแรงต่อสู้เพื่อความดี ขอบใจผู้ที่ทำให้ประเทศ"
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13100
2007-06-15 04:12
2 ปีกับมรณกรรมของ "พระสุพจน์ สุวโจ": แม้แต่พระยังต้องสังเวยต่ออำนาจทุนนิยม (3)
ตอนที่ 3 การสะสางคดีสังหารพระสุพจน์ "วนพายเรือในอ่าง"?พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ รายงาน เจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ วางเครื่องหมายบริเวณจุดที่ค้นพบหลักฐานในที่เกิดเหตุ ระหว่างการเข้าไปค้นหาหลักฐานที่มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ร่วมกับดีเอสไอ เมื่อ 7 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา 1. คืนวันที่ 17 มิถุนายน 2548 มีกลุ่มคนจำนวนมากเข้ามาทำร้ายพระสุพจน์ สุวจโน จนถึงแก่มรณภาพ 18 มิถุนายน 2548 มีผู้พบพระสุพจน์ สุวโจ เสียชีวิตบริเวณพงหญ้าริมทางเดินเล็กๆ ในเขตสถานปฏิบัติธรรม สวนเมตตาธรรม ในเบื้องต้นพบว่าพระสุพจน์ สุวโจ ถูกทำร้ายกระทั่งถึงแก่มรณภาพด้วยของมีคมไม่ทราบชนิด อย่างเหี้ยมโหด แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถค้นหาอาวุธ หลักฐาน หรือวัตถุพยานใดๆ ระดับบ่งชี้บุคคล ได้ในที่เกิดเหตุ ทั้งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำร้าย เพราะไม่มีประจักษ์พยาน ตลอดจนไม่สามารถประมวลข้อมูลที่มี-ที่ทราบ เพื่อนำไปสู่การค้นหาตัวผู้ต้องสงสัยใดๆ ได้แม้แต่คนเดียว ความตายของพระสุพจน์ สุวโจ ยังคงทำให้ถูกเป็นปริศนา ในช่วงแรกของการเสียชีวิต พ.ต.ท.สมชาย อินทวงศ์ สวส.สส.สภ.อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า จากการตรวจสอบบริเวณพยานแวดล้อม พบว่าห่างจากศพประมาณ 10 เมตร มีร่องรอยของการตัดไม้ไผ่ที่ถูกตัดกองไว้อยู่สองลำ สันนิษฐานว่าการมรณภาพของพระรูปดังกล่าวน่าจะเกิดจากการเข้าไปห้ามปราม หรือต่อว่าชาวบ้านที่เข้ามาตัดไม้ หรืออีกกรณีอาจเป็นไปได้ว่ามีการว่าจ้างคนงานให้ไปตัดไม้แล้วมีปัญหาเรื่องค่าจ้าง อาจเป็นเหตุให้ชาวบ้านไม่พอใจและลงมือสังหารได้ แต่พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ ประธานกลุ่มเสขิยธรรมระบุว่า การมรณภาพไม่น่าจะใช่ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของชาวบ้านที่เข้าไปตัดไม้ไผ่ หาหน่อไม้ เพราะสถานปฏิบัติธรรมสวนเมตตาธรรมอนุญาตให้ชาวบ้านเก็บหน่อไม้หากินอยู่กับป่าได้ อีกทั้งพระสุพจน์เป็นพระที่เคร่งครัดจริยวัตรปฏิบัติ จนเป็นที่เคารพของชาวบ้านในละแวกนั้นเป็นอย่างมาก และทั้งที่เกิดเหตุยังห่างจากกุฏิเพียง 300 เมตร และผ้าสบงยังแช่น้ำเตรียมซักอยู่ จึงเชื่อว่าจะถูกหลอกให้ออกไป โดยคนร้ายอ้างว่ามีเหตุสำคัญให้ออกไปดูก่อนลงมือสังหารพระสุพจน์ ทำให้พระสุพจน์รีบออกไปโดยไม่ได้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ และจากบาดแผลน่าจะเป็นการฟันซ้ำให้ตาย อีกทั้งสุนัขที่พระสุพจน์เลี้ยงไว้ก็ถูกฟันที่สะโพกเช่นกัน พระกิตติศักดิ์กล่าวว่าการมรณภาพน่าจะเกิดจากผู้มีอิทธิพลในท้องที่ และเชื่อมโยงกับนักการเมืองระดับชาติ เพราะก่อนหน้านี้มีกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ซึ่งทราบว่าเป็นน้องของ ส.ส.พรรคไทยรักไทย รวมทั้งเจ้าที่รัฐบางคน เข้ามาข่มขู่เพื่อหวังจะฮุบเอาที่ดินไปใช้ประโยชน์ตัวเอง โดยอ้างว่าพื้นที่สถานปฏิบัติธรรมมีเอกสารสิทธิไม่ถูกต้อง ทั้งที่ความจริงนั้นมีเอกสารสิทธิถูกต้อง โดยได้รับบริจาคจากชาวบ้านที่ค่อนข้างมีฐานะมอบให้ใช้ปฏิบัติธรรม ต่อมาทางมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ได้ดำเนินการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีพระสุพจน์เป็นพยานสำคัญ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามที่จะบ่ายเบี่ยงไม่รับแจ้งความ จนต้องทำเรื่องไปถึงรัฐบาล ตำรวจถึงจะยอมรับแจ้งความ และล่าสุดอัยการแจ้งมาว่าเรื่องจะขึ้นสู่ศาลในวันที่ 30 มิถุนายน 2548   มรณกรรมของ "พระสุพจน์" กับความสิ้นหวังของสังคมไทย... พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณหนังสือพิมพ์ประชาไท, วันที่ 9 สิงหาคม 2548 [1] ๑. พระสุพจน์ สุวโจ ถูกพบว่าเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ ๐๙.๓๐ น. ของวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๘ บริเวณพงหญ้าริมทางเดินเล็กๆ ในเขตสถานปฏิบัติธรรม "สวนเมตตธรรม" ร่างของท่านทอดยาวไปกับผืนดิน หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้ๆ กอไผ่แนวเขตอาราม ซึ่งไม่ห่างจากถนนระหว่างหมู่บ้านเท่าใดนัก แต่ไกลจากกุฏิที่พักกว่า ๓๐๐ เมตรเศษ โดยมีทางน้ำไหลเล็กๆ และสระน้ำใหญ่ ตลอดจนลำห้วย และลานไผ่ที่ใช้จัดกิจกรรมต่างๆ ของสถานปฏิบัติธรรมคั่นอยู่เป็นระยะ ทางเดินเล็กๆ สายนั้นมีหญ้าขึ้นรกท่วมเข่าและท่วมเอวในบางจุด ทั้งเพราะฝนชุกตามฤดูกาล และเพราะแทบไม่มีใครใช้ทางนั้น เข้า-ออก ตามปกติ นางคำ เหล้าหวาน หญิงไทยใหญ่ คนงานหนึ่งในสองครอบครัวที่อาศัยอยู่ในอาณาเขต "สวนเมตตาธรรม" ผู้พบศพคนแรกเล่าว่า นางได้ลำไยมาจากสวนอื่นซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก จึงตั้งใจจะนำไปถวายพระสุพจน์ ที่ระหว่างนั้นพักอยู่ในสถานปฏิบัติธรรมเพียงรูปเดียว เนื่องจากเพื่อนภิกษุอีก ๒ รูป อยู่ระหว่างทำภารกิจในกรุงเทพมหานคร วูบแรกที่นางเห็นคือปลายเท้าและและปลีน่องอันขาวซีด เท่านั้นก็ทำให้นางหยุดชะงัก ต่อเมื่อเหลือบมองขึ้นไปจนเห็นหน้าที่มีบาดแผลเหวอะหวะ ตลอดจนสบงอังสะซึ่งเปียกชุ่มไปด้วยเลือด ก็ทำให้หญิงวัยสามสิบเศษผู้นี้ถึงกับเข่าอ่อน ต้องทรุดตัวลงนั่งอย่างทันทีทันใด เพราะจำได้ทันทีที่เห็น ว่านั่นคือ "อาจารย์สุพจน์" หรือ "ตุ๊เจ้าใส่แว่น" ที่นางตั้งใจนำผลไม้ไปถวายนั่นเอง... เวลาจะผ่านไปเท่าใดไม่แน่ชัด กระทั่งสติสัมปชัญญะกลับคืนมา นางจึงกระหืดกระหอบออกเดินจากจุดนั้น แล้วบังเอิญพบกับอดีตสามี ซึ่งแต่เดิมเป็นคนงานในสวนเมตตาธรรม กำลังขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมาจึงพากันไปหา นายพงค์ โถแก้ว คนงานอีกคนหนึ่ง ที่บ้านซึ่งห่างออกไปกว่า ๔๐๐ เมตร ความตายของ "พระ" ทำให้คนเหล่านี้ตื่นตระหนกตกใจ แต่นั่นยังไม่เท่ากับความกริ่งเกรง ที่จะต้องไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ซึ่งคนเหล่านี้พบเสมอ ว่าพร้อมที่จะขู่กรรโชก หรือกระทำสิ่งใดๆ ต่อพวกเขา(และเธอ) ในนามของระเบียบและกฎหมาย ตลอดจนอำนาจรัฐ ซึ่งคนใช้แรงงานเช่นพวกเขาและเธอไม่เคยมีความรู้ กว่าที่จะได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ที่บ้านของอดีตนายตำรวจระดับสูงซึ่งอยูใกล้ๆ สถานปฏิบัติธรรม เวลาจึงผ่านไปแล้วกว่า ๑ ชั่วโมง หรือมากไปกว่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง นอกเหนือจาก "ความตาย" จะพราก "พระสุพจน์ สุวโจ" ไปจากเพื่อนภิกษุ, ญาติ และมวลมิตร "ความตาย" ของพระสุพจน์ ก็ยังได้ "พราก" เอาหลายสิ่งหลายอย่างที่เคยมีอยู่และเป็นอยู่ "ตามปกติ" ไปจากชีวิตของคนสิ้นไร้ไม้ตอกเหล่านี้ด้วย... ๒. พวกเขา(และเธอ)เล่าว่า หลังจากการชันสูตรศพในที่เกิดเหตุ พวกตนก็ถูกนำตัวไปสถานีตำรวจ มีการสอบปากคำ หรือซักถามโดยเจ้าหน้าที่หลายคน หลายครั้ง และหลายต่อหลายเรื่องราว ซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างยืดเยื้อและยาวนาน แต่คำถามนั้นค่อนข้างจำกัด และวนเวียนอยู่กับไม่กี่ประเด็นที่ตำรวจต้องการ เช่น เรื่องคนตัดไม้ เรื่องที่ว่าทำไมพวกตนจึงไม่อยู่ในสวนเมื่อวันเกิดเหตุ พวกตนมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นใช่ไหม ตลอดจนเรื่องความเป็นอยู่ของพระภิกษุเหล่านั้น ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร วันและคืนนั้นหลังพบศพและต่อเนื่องมาอีกหลายวัน นางคำและนายพงค์ถูกสอบปากคำครั้งแล้วครั้งเล่า รวมแล้วหลายสิบชั่วโมง... แต่นายต่อโชคร้ายยิ่งกว่านั้น เพราะถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็น "ผู้ร้าย" ในคดีนี้เลยทีเดียว ต่อเมื่อผลพิสูจน์ร่องรอยบนเสื้อ และคราบยางไม้บนขวานออกมาได้ ว่าไม่มีคราบเลือดใดๆ อยู่เลยนั่นแหละ นายต่อจึงค่อยห่างออกมาจากวงล้อมของ "ความไม่ไว้วางใจ" ได้บ้าง ๓. พระสุพจน์ สุวโจ ถูกทำร้ายกระทั่งถึงแก่มรณภาพด้วยของมีคมไม่ทราบชนิด เพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถค้นหาอาวุธ หลักฐาน หรือวัตถุพยานใดๆ ระดับบ่งชี้บุคคล ได้ในที่เกิดเหตุ ทั้งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำร้าย เพราะไม่มีประจักษ์พยาน ตลอดจนไม่สามารถประมวลข้อมูลที่มี-ที่ทราบ เพื่อนำไปสู่การค้นหาตัวผู้ต้องสงสัยใดๆ ได้แม้แต่คนเดียว กระนั้นก็ใช่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่มีข้อสังเกต ข้อสันนิษฐาน หรือสมมติฐานเอาเสียเลย... กับบาดแผลและร่องรอยฉกรรจ์เกินกว่าสิบ มีทั้งที่ยาวกว่า ๑๕ เซนติเมตร ลึก ๕ เซนติเมตรเศษ ๑ ใน ๓ แผลบริเวณท้ายทอย หรือบาดแผลความยาวกว่า ๑๕ เซนติเมตร บริเวณลำคอด้านซ้ายและด้านหน้า ๑ ใน ๔ แผล ที่ตัดหลอดเลือดแดงใหญ่เกือบขาดและตัดหลอดเลือดดำใหญ่จนขาดสะบั้น ทั้งยังตัดผ่านกล่องเสียงและหลอดลม ตลอดจนกระดูกลำคอ อันเป็นร่องรอยการเชือดหรือฟันขนาดใหญ่ที่เป็นเหตุให้เสียชีวิตเกือบจะทันทีที่ถูกกระทำ ตามความเห็นของฝ่ายนิติวิทยาศาสตร์ หรือบาดแผลบนมือขวา ที่ถูกตัดฟันจนเกือบขาด หรือบาดแผลบนแก้มซ้าย บนแขนซ้าย ฯลฯ ที่พบบนร่างกายสูงใหญ่ประมาณ ๑๗๐ เซนติเมตรเศษของพระภิกษุวัย ๓๙ ปี อดีตนักกีฬาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งบวชมาแล้ว ๑๓ พรรษา กลับทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสรุปได้เพียงสั้นๆ และง่ายๆ ว่า พระสุพจน์ ถูกคนตัดไม้ไผ่(ลำเดียว) ซึ่งบันดาลโทสะเพราะพระมาห้ามมิให้ตัดไม้ ทำร้ายจนถึงแก่ความตายไปอย่างง่ายดายและแทบไร้เหตุผลในที่สุด ไม่นำพาปรารมภ์ต่อข้อสังเกตของพระร่วมสำนัก ที่พยายามอธิบายทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายกรรมหลายวาระ ว่าน่าจะมีผู้มีอิทธิพล และกรณีการบุกรุกที่ดินซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างสืบเนื่องและยาวนานเข้ามาเกี่ยวข้อง ต่อเมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายมากๆ เข้า ตำรวจระดับสูงบางนายจึงเบี่ยงประเด็น ไปเป็นว่า อาจมีคนร้ายเข้ามาขโมยไม้จากยุ้งข้าวเก่าบริเวณใกล้เคียงที่พบศพ เมื่อสุนัขที่พระสุพจน์เลี้ยงไว้มาพบและเห่าเสียงดัง ก็ทำร้ายเอาจนสุนัขส่งเสียงร้อง พระสุพจน์ได้ยิน จึงออกเดินจากที่พักมาต่อว่าด่าทอ จึงบันดาลโทสะทำร้ายพระสุพจน์จนถึงแก่ชีวิต มิไยที่ญาติมิตร พระสุพจน์ สุวโจ จะทักท้วงและโต้แย้ง ว่าอุปนิสัยของพระรูปนี้มิได้เป็นไปเช่นนั้น หรือที่หลายคนอธิบายว่า การออกมาระยะไกลในที่รกเรื้อเป็นเรื่องผิดวิสัย เมื่อประกอบกับการไม่ปิดคอมพิวเตอร์ ไม่ปิดประตูกุฏิ ทั้งยังแช่สบงอังสะทิ้งไว้ที่ริมห้วยใกล้กุฏิที่พักด้วยแล้ว คน "รู้จัก" พระสุพจน์ แม้ไม่นานนักก็ยากจะเชื่อไปได้ ว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้น จะมีสาเหตุเพียงเพราะไม้ไผ่ ๑ ลำ หรือไม้กระดานเก่าๆ ไม่กี่แผ่นที่ว่ามานั้นเลย ๔. ท่ามกลางความโศกเศร้าและสลดใจของญาติผู้เกี่ยวข้อง ในระหว่างงานศพจนถึงวันทำบุญเอาอัฏฐิพระสุพจน์เข้าสถูป สังคมไทยจึงกลายเป็น "สังคมคู่ขนาน" ไปในที่สุด กล่าวคือ ด้านหนึ่งมีผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคม ที่สนใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องการเผยแผ่และประยุกต์ใช้ศาสนธรรม และความยุติธรรมอันพึงมีพึงได้ของคนด้อยโอกาส ได้พากันมาเคารพศพและแสดงความเสียใจกับญาติมิตรของผู้จากไปอย่างล้นหลาม ขณะที่อีกด้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือต้องรับผิดชอบกับชีวิต และความเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หรือตามหน้าที่ในสายงาน ต่างก็พากันดาหน้าออกมาปฏิเสธความรับผิด ชนิดปัดภาระให้พ้นตัว บางคนบางฝ่ายที่ไร้มโนธรรมสำนึกอย่างหนักหน่วงและรุนแรง ก็ถึงกับออกปาก "ว่าร้าย" โจมตีให้พระผู้มรณภาพกับเพื่อนภิกษุกลายเป็น "คนผิด" ไปเสียเอง เพื่อบอกกล่าวในทางอ้อมต่อสังคม ว่ามี "คนผิด" ยิ่งไปกว่าตัว ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบกับชีวิตและความตายของ "คนไม่ถูกต้อง" ดังกล่าวนั้น นี่ออกจะเป็นเรื่องเลวร้ายและโหดร้าย ไม่น้อยไปกว่าการลงมือเข่นฆ่า พระสุพจน์ "โดยตรง" แต่อย่างใด... อีกทั้งการเพิกเฉยไม่ยินดียินร้ายของคณะสงฆ์และผู้บริหารราชการแผ่นดินอีกเล่า จะกล่าวได้หรือไม่ ว่าเป็นทารุณกรรม "ซ้ำเติม" ทั้งผู้ตายและผู้ยังอยู่หนักขึ้นไปอีก เพราะนอกจากจะไม่ป้องกันแก้ไข ไม่หาทางออกแล้ว ยังปล่อยให้ผู้ตาย ญาติผู้ตายและผู้เกี่ยวข้อง ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ อย่างโดดเดี่ยวและสิ้นหวัง ๕. ถึงวันนี้ นางคำ นายพงค์ นายต่อ และคนยากจนข้นแค้นอีกหลายต่อหลายคน ยังตกเป็นผู้ต้องสงสัย หรือถูกกระทำในฐานะจำเลยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในหลายสถานที่ ต่างกรรมต่างวาระ เช่นเดียวกับคนอย่าง "พระสุพจน์" ที่วันร้ายคืนร้าย ก็ต้องตกตายไปอย่างเจ็บปวด โดยการเข่นฆ่าอย่างทารุณ ของนายทุน คนของรัฐ หรือผู้มีอิทธิพลระดับต่างๆ อย่างแทบมิอาจเรียกร้องความเป็นธรรมใดๆ ได้ ขณะที่ "ผู้กระทำ" หรือ "ผู้รับผิดชอบ" ต่อ "อาชญากรรม" ประเภทนี้ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ยังเชิดหน้าชูคออยู่ในสังคมได้อย่างสูงเกียรติ ห่มคลุมและประดับประดาตน ไว้ด้วย "ยศ" และ "ตำแหน่งหน้าที่" ระดับสูง ชนิดที่ "นางคำ" หรือ "นายพงค์" หรือ "ญาติพระสุพจน์" นับแสนนับล้านคนแทบจะต้องคุกเข่าคืบคลานเข้าไปหา เพื่อร้องขอเศษเสี้ยวแห่งความเป็นธรรม มรณกรรมของ "พระสุพจน์" มิใช่รายแรก และคงมิใช่รายสุดท้าย หาก "สังคมไทย" ยังมีสภาพเช่นนี้ และ "คนไทย" ยัง "ยินดี" หรือ "ยอมรับ" การมี "วิถีชีวิต" เช่นที่ว่ามาข้างต้นนี้ โดยมิได้ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ.   2. หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถติดตามจับกุมคนร้ายได้ ทำให้เอ็นจีโอสายสิ่งแวดล้อมและเครือข่ายพระนักพัฒนา ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้เร่งดำเนินคดี ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ ส่วนตำรวจได้โอนคดีให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นผู้ดำเนินการต่อและเรื่องได้เงียบหายไป กระทั่งมีการเปลี่ยนรัฐบาลและดีเอสไอชุดใหม่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบคดีในครั้งนี้ แม้จะมีการโอนคดีจากตำรวจท้องที่ไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แต่ก็เช่นเดียวกับคดีสังหารนักสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนทั้งหลายที่ไม่มีความคืบหน้าของรูปคดี กระทั่งหลายฝ่ายรวมทั้งองค์การภาคประชาสังคมต่างๆ ต้องออกมากระตุ้นการทำงานของดีเอสไอบ่อยครั้ง และเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2549 นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีคำสั่งย้าย พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาช่วยงานที่กระทรวงยุติธรรม ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม สลับกับนายไกรสร บารมีอวยชัย รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รอให้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสุนัย มโนมัยอุดม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ มาเป็นอธิบดีดีเอสไอต่อไป ต่อมา พล.ต.อ.สมบัติ ได้กลับเข้ามารับตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งตำแหน่งดังกล่าว เป็นตำแหน่งใหม่ที่เพิ่งมีขึ้น หลังการเปลี่ยนแปลงอธิบดีดีเอสไอนี้เอง ได้มีการรื้อฟื้นคดีสำคัญๆ มาพิจารณากันอีกครั้ง ทั้งคดีอุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม การรื้อฟื้นคดีฆ่าตัดตอน ฯลฯ คดีสังหารพระสุพจน์ก็เช่นกัน ทีมเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ นำโดยพันตำรวจโท กฤษฎา ริบรวมทรัพย์ นักนิติวิทยาศาสตร์ 8 ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนเมตตาธรรม ต.สันทราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6-7 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติมในคดีดังกล่าว 3. โดยในการสืบสวนหาพยานหลักฐานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 มีการตรวจสอบหาหลักฐานของคนร้ายในกุฏิพระสุพจน์ มีการเก็บหลักฐานไปตรวจสอบหลายชิ้น อย่างไรก็ตามระหว่างการหาหลักฐานเจ้าหน้าที่ดีเอสไอและสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชน ผู้เกี่ยวข้องและญาติของผู้เสียชีวิต เข้าไปบริเวณกุฏิ ส่วนช่วงบ่ายได้มีการหาหลักฐานเพิ่มเติมบริเวณที่พระสุพจน์ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต ซึ่งปัจจุบัน จุดที่พระสุพจน์เสียชีวิตได้มีการตั้งศาลและบริเวณโดยรอบมีสภาพเป็นป่าไผ่ มีหญ้าขึ้นรกและเป็นที่น่าสังเกตว่า สวนส้มของอีกฝั่งถนนซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับจุดทีพระสุพจน์เสียชีวิตก็ได้มีการตั้งศาลขึ้นเช่นกัน ทางเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้ใช้เครื่องตรวจจับวัตถุโลหะช่วยค้นหาหลักฐานประเภทของมีคมที่อาจหลงเหลือบริเวณที่เกิดเหตุ และบริเวณป่าไผ่ ป่าหญ้ารอบๆ เป็นบริเวณกว้างด้วย โดยระหว่างการค้นหาหลักฐานของทีมสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ปรากฏว่าเครื่องตรวจจับวัตถุโลหะดังกล่าวส่งสัญญาณเป็นระยะๆ โดยสื่อมวลชนที่เกาะติดทำข่าวคดีสังหารพระสุพจน์ตั้งข้อสังเกตว่าการค้นหาพยานหลักฐานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์มีความละเอียดและมีการใช้เครื่องมือค้นหาที่ทันสมัยมากอย่างเครื่องตรวจจับวัตถุโลหะ ซึ่งแตกต่างจากทีมค้นหาหลักฐานชุดก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นทีมของตำรวจท้องที่ หรือจากดีเอสไอก่อนหน้านี้ การค้นหาช่วงบ่ายกินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ทีมจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์จึงยุติการค้นหา โดยได้หลักฐานจากที่เกิดเหตุเพิ่มเติมหลายประเภท ทั้งขวดแก้ว รองเท้า กรอบแว่นตา เลนส์แว่นตาที่ญาติสงสัยว่าจะเป็นของพระสุพจน์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษและสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่ลงพื้นที่หาหลักฐานครั้งนี้ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใดๆ กับผู้สื่อข่าว   4. ในวันที่มีการค้นหานี้ ผู้เป็นบิดามารดาของพระสุพจน์ที่ได้มรณภาพ คือ นายกิตติพัฒน์และนางดาวเรือง ด้วงประเสริฐ ได้เดินทางจากภูมิลำเนาคือ จ.นนทบุรี ขึ้นมายังสวนป่าเมตตาธรรม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เพื่อเฝ้าติดตามการค้นหาหลักฐานของทีมนิติวิทยาศาสตร์ด้วย นายกิตติพัฒน์ผู้เป็นบิดาได้กล่าวหลังสิ้นสุดการค้นหาหลักฐานกับ "ประชาไท" ว่า ตั้งแต่เปลี่ยนรัฐบาลก็มีความหวังกับคดีนี้ขึ้นมาเล็กน้อย และการค้นหาวันนี้ทำให้เริ่มมีความหวังระดับหนึ่ง แต่จะได้สักแค่ไหนตนต้องดูก่อน ที่เห็นวันนี้ก็รู้สึกว่าทีมค้นหาหลักฐานก็มาทำจริงจัง ซึ่งถ้าเขามาทำตั้งแต่ทีแรก ตั้งแต่พระท่านมรณภาพใหม่ๆ สัก 2-3 วันแรก ก็อาจจะมีผล แต่นี่มันช้าไป หลักฐานต่างๆ อาจจะหาย ความจริงหลักฐานที่เจอ ควรจะเป็นหลักฐานที่ตำรวจเจอไปก่อนแล้ว ช่วงที่พระมรณะภาพใหม่ๆ เขาน่าจะเก็บหลักฐานไปแล้ว แต่ปล่อยปละละเลย ไม่มาเก็บหลักฐานให้ละเอียดถี่ถ้วน ผู้เป็นบิดากล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นบิดาของพระสุพจน์ยังคงมีความหวังกับการสะสางคดีนี้ โดยกล่าวว่า "คล้ายๆ ว่าจะสายไปแล้ว เพราะมันจะ 2 ปีอยู่แล้ว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนแรกสัก 10 วัน 20 วัน มันก็ยังไม่สายเท่าไหร่ แต่นี่มันเกือบ 2 ปี มันช้าไปนิด แต่ยังมีความหวังอยู่นะ ว่าเขาคงจะทำให้ ก็บอกเขาว่าความหวังคงจะมีขึ้นนะ เพราะทุกครั้งที่เขาเปลี่ยนชุดมา รู้สึกว่าครั้งนี้เขาพามาหมดเลย" ด้านพระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ เจ้าอาวาสสวนป่าเมตตาธรรม มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และประธานเครือข่ายเสขิยธรรมกล่าวถึงที่มาของการค้นหาหลักฐานคดีพระสุพจน์เพิ่มเติมครั้งนี้ว่า ได้รับแจ้งจากดีเอสไอว่าจะมีการนำเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์มาตรวจที่เกิดเหตุ มาตรวจในกุฏิท่านสุพจน์ เพื่อหาหลักฐานต่างๆ เพิ่มเติม โดยพระกิตติศักดิ์กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงคดีว่าล่าสุดที่ดีเอสไอบอกก็คือเรื่องนี้ไม่ใช่การบันดาลโทสะหรือการก่อเหตุซึ่งหน้า และคดีนี้มีการบงการ "อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดกันตรงไปตรงมา มันจะเรียกว่าความคืบหน้าไม่ได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่ควรจะทำตั้งแต่ 18 เดือนที่แล้ว" พระกิตติศักดิ์กล่าว "ถึงวันนี้ อย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือการกลับมาพิสูจน์สมมติฐานที่เราตั้งไว้ ซึ่งเราพูดตั้งแต่พระสุพจน์มรณภาพมาได้วันสองวัน ว่าน่าจะเป็นเช่นนี้ แต่เราถูกปฏิเสธมาตลอด และพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าสมมติฐานที่เขาตั้งไว้ถูกต้อง คือเสียเวลาไปปีหนึ่งในการพยายามพิสูจน์ว่า คดีนี้เป็นเรื่องของการก่อเหตุซึ่งหน้า เป็นเรื่องของชาวบ้านมาตัดไม้ เรื่องนี้ไม่มีเบื้องหลังไม่มีการเมือง" พระกิตติศักดิ์กล่าว พระกิตติศักดิ์เปรียบเทียบการทำคดีของดีเอสไอว่า "ก็เหมือนกับว่ามีคนชี้ว่าควรจะเดินไปทางนี้ ทางทิศตะวันออก เพื่อจะไปให้ถึงหมู่บ้านข้างหน้า แต่คุณไม่ฟัง คุณพยายามจะเดินไปทางทิศเหนือ คุณพยายามจะเดินไปทางทิศได้ คุณพยายามจะเดินไปทางทิศตะวันตก สุดท้ายคุณเดินไปทุกทิศ คุณไม่เจอหมู่บ้าน คุณก็บอกว่าใช่ น่าจะไปทางทิศตะวันออกนี่แหละ" "ถามว่ามันเป็นความคืบหน้าไหม มันไม่ใช่ ถ้าคุณเดินตั้งแต่ทีแรกก็จบ ทีนี้ถ้าสันนิษฐานว่ามันมีเหตุผลอะไร ที่เขาไม่เดินทีแรก ถ้ามองในด้านร้าย กลัวว่าจะถึงผู้ที่เขาไม่อยากให้ไปถึง สอง เขาไม่มีประสิทธิภาพ สาม มันทำให้เท่ากับยอมรับความคิดเห็นของพวกเรา กลายเป็นว่าที่เขาทำงาน เป็นการทำตามที่พวกเราเสนอ เขาไม่ยอม พอไม่ยอมก็เสียหาย พอเสียหายแล้วใครรับผิดชอบ" พระกิตติศักดิ์กล่าว ขณะที่ พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวถึงกรณีส่งทีมงานร่วมเดินทางไปกับดีเอสไอครั้งนี้ผ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 ว่า เป็นไปเพื่อร่วมเก็บพยานหลักฐานตามที่มีการร้องขอ พร้อมทั้งจะเข้ารับฟังข้อมูลจากพนักงานสอบสวน แต่ทั้งนี้ยอมรับว่าการหาพยานหลักฐานอาจเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นมานานจนกระทั่งพนักงานสอบสวนท้องที่ได้โอนคดีไปให้ดีเอสไอ ส่วนคดีนี้ตำรวจเป็นผู้ดำเนินการเองตั้งแต่แรกแต่ก็เงียบหายไปนาน กระทั่งมาให้ความสำคัญในตอนนี้จึงอาจดูเหมือนเป็นการสร้างกระแส ส่วนการทำงานร่วมกันของดีเอสไอกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ก็เป็นไปตามขั้นตอน แต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาโดยเนื้องานแล้ว ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำงานร่วมกัน คดีพระสุพจน์ จึงดูคล้ายกับคดีทนายความสมชาย นีละไพจิตร ที่อยากจะเรียกมาทำก็เรียกมาตามใจชอบ แต่ผลที่ตามมาคือเรียกมาช้าทำให้พยานหลักฐานแทบจะไม่มีเหลือ พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์กล่าว 5. ขณะที่ ใกล้ห้วงเวลาครบรอบ 2 ปี การมรณภาพของพระสุพจน์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อวันที่ 27 เม.ย. นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้ลงนามคำสั่ง ย้ายข้าราชการระดับผู้บัญชาการสำนักคดี (ผบ.) ในดีเอสไอ 5 ราย ได้แก่ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ จาก ผบ.สำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ไปเป็น ผบ.สำนักคดีการเงิน การธนาคาร, พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน จาก ผบ.สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ เป็น ผบ.เทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลและการตรวจสอบ, พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ จาก ผบ.สำนักเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลและการตรวจสอบ เป็น ผบ.สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ในจำนวนนี้ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย จาก ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ ซึ่งรับผิดชอบคดีสังหารพระสุจน์ และคดีการหายตัวไปทนายสมชาย นีละไพจิตร ได้ย้ายไปเป็น ผบ.สำนักกิจการต่างประเทศ และคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ขณะที่ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ จากผู้เชี่ยวชาญด้านคดีพิเศษและอดีตโฆษกดีเอสไอ ขยับขึ้นเป็น ผบ. สำนักคดีอาญาพิเศษ แทน นายสุนัย กล่าวว่า การสลับสับเปลี่ยนตำแหน่ง ผบ.สำนักคดีครั้งนี้ต้องการให้เกิดการหมุนเวียนการทำงานภายในกรม เนื่องจาก ผบ.สำนักคดีหลายคนดำรงตำแหน่งมานาน ทำให้บางสำนักแทบจะแยกตัวเป็นกรมใหม่เอง สำหรับ สำนักคดีอื่นๆ ที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งในเร็วๆ นี้ เนื่องจากนายยงยุทธ ศรีสัตยาชน ผบ.สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทำเรื่องขอย้ายกลับสำนักงานอัยการสูงสุด ในส่วนของผู้อำนวยการส่วนคดี ระดับ 8 อาจจะยังไม่ปรับเปลี่ยน แต่จะกำหนดภารกิจและขอบเขตงานคดีให้ชัดเจน เพราะที่ผ่านมายังไม่มีบทบาทชัดเจน "การปรับย้ายผู้บัญชาการสำนักคดีเพื่อสลายขั้วอำนาจให้มีการหมุนเวียนภายในกรม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะอยู่ที่เดิมจนเกษียณ ส่วน พ.อ. ปิยะวัฒก์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ อาจเป็นเพราะปลัดกระทรวงยุติธรรม เห็นฝีมือและความตั้งใจจริงในการทำงาน โดยที่ผ่านมา พ.อ.ปิยะวัฒก์ ได้มีผลงานการสอบสวนคดีสำคัญให้เห็นอย่างชัดเจน" อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวทิ้งท้าย ก่อนหน้านี้ พ.อ.ปิยะวัฒก์ ได้รับการคาดหมายว่าจะได้ขยับขึ้นเป็น ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษมาตั้งแต่ต้น เพราะระยะหลังได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีสำคัญให้รับผิดชอบ อาทิ คดีอุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร คดีฆ่าตัดตอนในช่วงสงครามยาเสพติด และคดีซ้อมผู้ต้องหาคดีปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 โดยมีการส่งสำนวนให้ (ป.ป.ช.) สอบสวนกรณีมีการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาให้รับสารภาพ และเมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ทาง กระทรวงยุติธรรม เพิ่งจะมีคำสั่งโยกย้าย พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไปเป็นรองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้เหตุผลว่าเพื่อให้งานด้านยาเสพติดมีความแปลกใหม่และเห็นผลงานมากขึ้น มีรายงานว่า การเริ่มทยอยปรับย้ายอดีตนายตำรวจอาจมีผลมาจากนโยบายปรับเกลี่ยอัตรากำลัง เนื่องจากภายในกรมสอบสวนคดีพิเศษในช่วงของรัฐบาลก่อนได้มีนายตำรวจฝีมือดีจำนวนมากโอนย้ายมาสังกัดอยู่เกือบครึ่งกรมฯ ซึ่งขัดต่อกฎหมายที่ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษรับโอนอัตรากำลังจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้ไม่เกินสัดส่วน 1 ใน 3 ซึ่งต้องเฝ้าจับตาการเปลี่ยนแปลงผู้บังคับบัญชาในดีเอสไอต่อไป ว่าจะทำให้คดีสังหารพระสุพจน์ สุวโจ และคดีสังหารนักสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ เช่น คดีสังหารเจริญ วัดอักษร และคดีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร มีความคืบหน้าหรือไม่ หรือจะเป็นแค่การพายเรือในอ่างซ้ำๆ ปีแล้ว ปีเล่า ต่อไป?   (โปรดติดตาม "2 ปีกับมรณกรรมของ "พระสุพจน์ สุวโจ" ตอนที่ 4)   "รำลึกการจากไปและร่วมเรียกร้องความเป็นธรรม"กรณีฆาตกรรม พระสุพจน์ สุวโจ, เจริญ วัดอักษร และอุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตรในวันอาทิตย์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ณ ห้องประชุม อาคารใหม่ อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา ๑๖ สี่แยกคอกวัว กรุงเทพฯ๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. พิธีกรรมทางศาสนา พุทธ คริสต์ และอิสลาม๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. ร่วมรับประทานอาหาร๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. แถลงความไม่คืบหน้าของคดี และความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมโดย พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ นางกรณ์อุมา พงษ์น้อย และนางอังคณา นีละไพจิตรตลอดจน แถลงข่าวการก่อตั้งมูลนิธิพระสุพจน์ สุวโจ เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้ศาสนธรรม กับการแก้ปัญหาสังคมสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ประสานงานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ๐๘๖ ๗๕๗๕ ๑๕๖     บทความย้อนหลัง 2 ปีกับมรณกรรมของ "พระสุพจน์ สุวโจ": แม้แต่พระยังต้องสังเวยต่ออำนาจทุนนิยม ตอนที่ 1 : ความตายของพระนักพัฒนา: "พื้นที่ - ผลประโยชน์ - อิทธิพล" โดย วิทยากร บุญเรือง, [2]ประชาไท, 13 มิถุนายน 2550 ตอนที่ 2: เบื้องหลัง "อำเภอฝาง ... สวรรค์ของนายทุน" โดย   วิทยากร บุญเรือง, [3] ประชาไท, 14 มิถุนายน 2550
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/70926
2017-04-06 16:38
แอมเนสตี้ฯ ขอรัฐบาลไทยยกเลิกการดำเนินคดี ต่อนักปกป้องสิทธิฯ หลัง รธน.ใหม่ประกาศใช้
ผอ.สนง.ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ฯ ชี้รัฐธรรมนูญใหม่ต้องไม่ถูกใช้เป็นม่านปกปิดการปฏิบัติที่มิชอบอย่างต่อเนื่อง ขอรัฐบาลไทยปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิฯ ยกเลิกการดำเนินคดี ต่อนักปกป้องสิทธิฯ และผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบ 6 เม.ย. 2560 วันนี้ (6 เม.ย.60) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรได้เตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในพระราชพิธีที่กรุงเทพฯ รายงานข่าวจาก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แจ้งว่า แชมพา พาเทล (Champa Patel) ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญใหม่ของไทยมีเงื่อนไขที่นำไปสู่การจัดเลือกตั้งทั่วไป และกำหนดแนวทางเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพต่างๆ ถึงกระนั้นก็แทบไม่มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่กำลังเกิดขึ้นอย่างร้ายแรงในประเทศ รัฐบาลทหารของไทยยังคงมีอำนาจอย่างกว้างขวางในการปกครอง จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง อีกทั้งรัฐบาลใหม่ก็ได้รับอำนาจอย่างเสรีในการจำกัดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลมาจากข้อบัญญัติต่างๆ ที่กำกวม แชมพา พาเทล กล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญใหม่กำหนดให้ประกาศและมีคำสั่งมากมาย บังคับใช้โดยรัฐบาลทหารมาตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป โดยประกาศและคำสั่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุม โดยมีการนำไปสู่การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ทางการไทยได้ประกาศแล้วว่า จะไม่มีการผ่อนปรนข้อห้ามต่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ความหวังที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงในอนาคตคงเป็นไปได้อยาก “เราเรียกร้องรัฐบาลไทยให้เปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ และยอมรับที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของตน ทางการควรยกเลิกการดำเนินคดีอาญาใด ๆ ที่มีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบ และให้ยกเลิกกฎหมายจำนวนมากที่คุกคามต่อเสรีภาพอย่างไม่หยุดยั้งนับแต่รัฐประหารปี 2557” แชมพา พาเทล กล่าว
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/11031
2006-12-22 22:07
ความคืบหน้า FTA ในอาเซียน : ญี่ปุ่น - บรูไน เตรียมบรรลุข้อตกลง FTA
หลังข้อตกลง FTA ญี่ปุ่น-บรูไน จะทำให้ประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจของเอเชียมีเสถียรภาพทางด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้น ภาพจาก : AFP     ประชาไท - 21 ธ.ค. 2006 สำนักข่าว AFP และสำนักข่าว Kyodo รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลบรูไน บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นของการทำเขตการค้าเสรีระหว่างสองประเทศ (liberalize bilateral trade) ซึ่งเป็นความพยายามสำคัญในการหาแหล่งพลังงานป้อนให้แก่ญี่ปุ่น ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นสนใจแหล่งพลังงานในภูมิภาคอาเซียนเพราะมีข้อดีเรื่องความคุ้มค่าและด้านการขนส่ง   โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลบรูไนบรรลุในข้อตกลงเบื้องต้นของการทำเขตสัญญาการค้าเสรีระหว่างสองประเทศ (liberalize bilateral trade) หลังจากที่การเจรจาการค้าเสรีระดับโลกล้มเหลวลงหลายครั้ง (collapse of global liberalization)   บรูไนเป็นชาติที่ 8 ที่ได้บรรลุข้อตกลงหลักการเบื้องต้นกับญี่ปุ่น ต่อจากชิลี อินโดนีเซีย เม็กซิโก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย ซึ่งเสร็จสิ้นการเจรจาไปตั้งแต่ต้นปี เหลือเพียงการลงนาม   หลังผ่านหลักการเบื้องต้นนี้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในครึ่งปีแรกของปีหน้า หลังจากที่มีการเจรจามา 6 เดือนก่อนจะบรรลุข้อตกลง ซึ่งถือเป็นการเจรจาที่ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นเคยเจรจาข้อตกลง FTA กับประเทศต่างๆ ที่ได้กล่าวไป ในปี ค.ศ. 2005 การส่งออก-นำเข้า ระหว่างญี่ปุ่นและบรูไนมีมูลค่าสูงถึง 263.9 พันล้านเยน (ประมาณ 2 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าผู้นำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของประเทศบรูไน ส่วนบรูไนนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์จากญี่ปุ่นถึง 70 % ภายใต้ข้อตกลง FTA นี้บรูไนจะต้องลดพิกัดอัตราภาษีของผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ให้เหลือ 0 % ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยทั้งสองประเทศกำลังเตรียมที่จะจัดคณะเจรจา ภายใต้ข้อตกลงในเรื่องที่เกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งจะหารือกันในขั้นต่อไป ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า การเจรจาภายใต้ข้อตกลงนี้ พลังงานจากบรูไนจะเป็นตัวช่วยให้ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของเอเชียมีเสถียรภาพทางด้านพลังงานมากขึ้น และคาดว่าข้อตกลงนี้จะเป็นตัวเร่งให้ญี่ปุ่นสามารถบรรลุข้อตกลงข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐต่อรัฐกับกลุ่มประเทศ ASEAN ได้ทั้งหมด ภายในปีหน้า       .................................................................................................................................. แหล่งข้อมูล : http://asia.news.yahoo.com/061221/kyodo/d8m4v9o00.html [1] http://au.news.yahoo.com/061221/19/11ul5.html [2]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/26377
2009-10-28 17:18
ฎีกาถอดถอน พล.อ.เปรม: บทพิสูจน์แกนนำคนเสื้อแดง !!!
หลายครั้งที่มวลชนคนเสื้อแดงไม่เข้าใจว่า แกนนำของพวกเขา จะมียุทธศาสตร์อย่างไร ? จะพาพวกเขาไปทางไหน ? จะเอาพลังของพวกเขาไปทำอะไร ? ...แต่พวกเขาก็พร้อมจะเดินตาม. ถามว่า; มวลชนคนเสื้อแดง ต้องการอะไร ในการต่อสู้ครั้งนี้ ? - เอา “ทักษิณ” กลับมา. - เอา “ประชาธิปไตยแบบกินได้” กลับมา. - สถาปนา “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” ให้เกิดขึ้น. คำตอบคงมีอยู่ประมาณนี้. แต่เมื่อเวลาผ่านไป – จากประสบการณ์การมีส่วนร่วม ทำให้ “คนเสื้อแดง”(ระดับมวลชน) เริ่มใช้ความคิดว่ายุทธศาสตร์การต่อสู้ เพื่อให้บรรลุสิ่งที่ต้องการ คือ ชัยชนะนั้น “ยุทธวิธี” ของแกนนำใช่หรือเปล่า - ถูกต้องหรือเปล่า ? เพราะหลายต่อหลายครั้ง คำตอบของคำถามนี้มักจะไปหยุดอยู่ที่ “มันเป็น (ยุทธศาสตร์) ของแกนนำ” … 60 กว่าวันแล้วที่ “ฎีการ้องทุกข์” (เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2552) เพื่อร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมของคนเสื้อแดง ยังถูกรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เก็บไว้ โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายชื่อ. "มวลชนคนเสื้อแดง" จะทำอย่างไร - ต่อกรณี “ฎีการ้องทุกข์” ในครั้งนั้น !!! ทั้งๆ ที่ ก่อนหน้านั้น พวกเขาก็พอจะคาดเดาได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับ “ฎีการ้องทุกข์” ในครั้งนั้น !!! ยังไม่นับถึงพฤติกรรมของเหล่าทาสลูกสมุนอำมาตย์ ตั้งแต่นักการเมือง นักวิชาการ ราชบัณฑิต สื่อมวลชน ที่ออกมาคัดค้านการยื่นฎีกาของคนเสื้อแดง อย่างเอาเป็นเอาตาย. และปฏิบัติการของ “รัฐ” - กระทรวงมหาดไทยที่ตั้งโต๊ะให้ประชาชนลงรายชื่อ “คัดค้าน” การถวายฎีกา. ทั้งหมดนั้น "มวลชนคนเสื้อแดง" ก็พร้อมที่จะยอมเจ็บปวด, ต้องยอมทำทุกอย่างที่แกนนำร้องขอมา. ... วันที่ 15 ต.ค. 2552 ที่สโมสรกองทัพบก พล.อ.เปรม ให้สัมภาษณ์กรณี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ โดยได้กล่าวตอนหนึ่งว่า “...ก่อนที่จิ๋วจะไปสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทย ตนได้ให้คนไปบอกว่า จะทำอะไรขอให้คิดให้รอบคอบ ไตร่ตรองให้รอบคอบ มิฉะนั้นจะกลายเป็นการกระทำที่เป็นการ “ทรยศชาติ” !!! ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ พล.อ.เปรม กระทำตนผิดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 14 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “องคมนตรีจะต้องวางตัวเป็นกลางในทางการเมือง - ไม่ฝักใฝ่การเมือง”. "มวลชนคนเสื้อแดง" รู้ – ใครก็รู้ – วิญญูชนย่อมรู้ ว่าการกระทำของ พล.อ.เปรม ผิดถูก อย่างไร.!!! คำถามคือ แล้ว “แกนนำคนเสื้อแดง" คิดอย่างไรต่อกรณีคำกล่าว “ทรยศชาติ” ของพล.อ.เปรม ? ... ถ้าจะต้อง “ถวายฎีการ้องทุกข์” อีกครั้ง. ความเหมาะสม, ความมีเหตุมีผล เป็นเรื่องสมควรหรือไม่ ดูจะมีความสำคัญ มีความชัดเจน และมีน้ำหนักมากกว่า การถวายฎีการ้องทุกข์เมื่อเดือนสิงหา ที่ผ่านมา. แล้วทำไม “แกนนำ” จึงเงียบ! ทำไมไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ!!! เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่ท้าทายอุดมการณ์ของ “แกนนำคนเสื้อแดง”, ว่าจะมีท่าทีต่อ "มวลชนคนเสื้อแดง" (ผู้รักประชาธิปไตยที่แท้จริง) อย่างไร? จะมีท่าทีต่อผู้นำคนใหม่ (พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ) อย่างไร? และมีความศรัทธาต่ออุดมการณ์ของ "มวลชนคนเสื้อแดง" จริงจังขนาดไหน!!!
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/860
2004-10-19 21:09
ปูตินหนุนบุชรั้งปธน.สหรัฐ
มอสโก-19 ต.ค.47 นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย แสดงท่าทีสนับสนุนประธานาธิบดีบุช ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอีกสมัย โดยเชื่อว่า หากไม่ได้รับเลือก จะทำให้กลุ่มก่อการร้ายกระจายตัวไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าว โดยระบุว่า ประธานาธิบดีปูติน กล่าวสนับสนุนประธานาธิบดีบุชระหว่างการประชุม สุดยอดองค์กรความร่วมมือแห่งเอเชียกลาง ทั้งยังเชื่อมโยงปฎิบัติการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นเพียงเพื่อขัดขวางการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีบุชอีกสมัย ประธานาธิบดีปูตินเสนอว่า ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงชาวอเมริกันควรใช้วิจารณญานในการเลือกไม่เพียงแค่เรื่องสงครามอิรักเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี รัสเซียก็เคารพกับการตัดสินใจของชาวอเมริกัน ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/4098
2005-05-23 22:58
มิส และ มิสเตอร์จักรวาล ที่อันดามัน
ช่วงนี้ ถ้าดูให้ดี จะเห็นว่ามีคนสาวคนหนุ่มชาวต่างชาติ เดินทางเข้ามาทำกิจกรรมในประเทศไทยของเราอยู่ 2 กลุ่ม น่าเสียดาย คนในประเทศส่วนใหญ่ อาจจะได้รับรู้ข่าวคราวผ่านหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน เฉพาะก็แต่การเดินทางเข้ามาร่วมกิจกรรมประกวดนางงามบริษัทมิสยูนิเวิร์สของกลุ่มสาวงามนานาชาติ เพราะมีการโหมกระพือข่าวด้วยกลวิธีโฆษณาต่างๆ นานา จัดงานเลี้ยงโอ่อ่า หรูหรา ปูพรมแดงเลียนแบบฮอลลีวู้ด มีนักเรียนนายทหารเรือใส่ชุดขาวคอยเดินควงแขนรับเข้างาน มีการให้ไปโพสต์ท่าถ่ายรูปบนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา สวมใส่ชุดบิกีนี คาดผ้าผืนเล็กสองชิ้น โชว์ส่วนเว้าส่วนโค้ง โดยยึดเอาวัดอรุณราชวรารามเป็นฉากหลัง สงสัยจะไม่แปลก เพราะคณะรัฐมนตรีก็ไปยึดปราสาทหินเขาพนมรุ้งเป็นฉากทางการเมืองเหมือนกัน สิ่งที่น่าสนใจ นอกจากกลุ่มสาวงามนานาชาติแล้ว ขณะเดียวกัน ก็ยังมีคนสาวคนหนุ่มชาวต่างชาติอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เดินทางเข้ามาทำกิจกรรมในแถบภาคใต้ของเรา คนกลุ่มหลังนี้ ไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าว เข้ามาเงียบๆ ทำกิจกรรมอยู่เงียบๆ ฝังตัวในพื้นที่มานาน กระทั่งเมื่อกลุ่มสาวงามนานาชาติเดินทางลงไปทำกิจกรรมในพื้นที่ท่องเที่ยวแถบอันดามัน เห็นข่าวสาวงามใส่บิกีนีกระโดดน้ำทะเล ดำผุดดำว่าย แต่คนไทยทั่วไปก็ยังไม่ค่อยจะมีโอกาสได้รับรู้ "การดำรงอยู่" ของคนสาวคนหนุ่มชาวต่างชาติอีกกลุ่มหนึ่งที่ปักหลักอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุสึนามินั้นสักเท่าใด คนสาวคนหนุ่มชาวต่างชาติ 2 กลุ่มนี้ มีความแตกต่างอยู่ในความเหมือน โดยส่วนตัว ผมไม่ได้เข้าไปร่วมกิจกรรม ร่วมแนวคิดกับกลุ่มสาวงามนานาชาติแห่งบริษัทมิสยูนิเวร์ส แต่เข้าใจว่าเป็นเรื่องของธุรกิจ ผลประโยชน์ ความงามของเรือนร่าง มากกว่าสิ่งอื่นใด ซึ่งผมไม่มีแรงจูงใจให้เข้าไปสัมผัส เพราะมีวิธีคิดแตกต่างกัน จึงไม่ได้ไปซื้อโต๊ะร่วมรับประทานอาหารกับนางงาม แต่ที่ผมสนใจเป็นพิเศษ เพราะเกี่ยวข้องกับการทำงาน ทำให้มีโอกาสลงไปสัมผัสโดยตรง คือ กิจกรรมของคนสาวคนหนุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาทำกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ คราวที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา เดินทางลงพื้นที่เพื่อไปตรวจสอบและช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากภิบัติภัยสึนามิ ช่วยชาวบ้านให้สามารถช่วยตัวเองต่อไป จำได้ว่า ที่ชุมชนชาวบ้านบนเกาะพีพี และที่ จ.พังงา ชาวบ้านพาผมเดินออกจากชุมชนไปทางชายทะเล แลออกไปเห็นแนวหาดทรายทอดตัวยาว ภาพที่ปรากฏ คือ คนสาวคนหนุ่มกลุ่มหนึ่ง กำลังเดินๆ หยุดๆ ก้มๆ เงยๆ อยู่บนชายหาด ใส่เสื้อผ้าทะมัดทะแมง ตามเนื้อตัวมีเม็ดทรายเกาะอยู่ ทุกคนสวมถุงมือ มือข้างหนึ่งถือถุงพลาสติกใหญ่และภาชนะ มืออีกข้างกำลังเขี่ย คุ้ย หยิบจับเศษวัสดุสิ่งของใส่ลงในถุง ท่าทางของหนุ่มสาวกลุ่มนี้ ดูแล้วไม่ต่างจากอาการของเยาวชนนักศึกษาลูกหลานของเรา ยามที่ไปออกค่าย ไปช่วยชาวบ้านทำนาทำไร่ เห็นตั้งใจทำงาน แม้จะยังดูไม่จัดเจน ดูเก้ๆ กังๆ เห็นแล้วอดยิ้มไม่ได้ ผมจึงเดินเข้าไปพูดคุยทักทาย ตามประสาอาจารย์มหาวิทยาลัยเก่า ที่สนับสนุนให้เด็กหนุ่มสาวทำกิจกรรมเพื่อสังคม พูดคุยจนได้ทราบว่า คนสาวคนหนุ่มนานาชาติกลุ่มนี้ ได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาเพื่อเป็นอาสาสมัคร ทำงานช่วยเหลือฟื้นฟูธรรมชาติและชุมชนจากวิบัติภัยสึนามิ ต่างคนต่างมา จ่ายค่าเครื่องบินมากันเอง มาโดยไม่ได้นัดหมาย ไม่มีสปอนเซอร์ ไม่มีอามิสสินจ้าง จ่ายค่าที่พักกันเอง มาจากหลายชาติ อาทิ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ยุโรปประเทศต่างๆ สหรัฐอเมริกา รวมถึงชาติเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เดินคุยพลางลอบสังเกตการทำงานพลาง เห็นว่า คนสาวคนหนุ่มกลุ่มนี้ มีกันอยู่เกือบร้อยคน ต่างคนต่างแยกย้ายกันทำงาน กระจายอยู่บนชายหาด และบริเวณอาคารสิ่งปลูกสร้างที่พังราบ ค่อยๆ คุ้ยเขี่ยหาเศษซากวัสดุ สิ่งของที่เสียหายจากคลื่นสึนามิ บ้างนั่งปักหลักค่อยๆ คุ้ยเขี่ยพื้นทรายในจุดที่พบสิ่งของเครื่องใช้เกลื่อนอยู่ เช่น พาสปอร์ต หมวก นาฬิกา ผ้าเช็ดหน้า เครื่องประดับ รองเท้า ฯลฯ เพื่อกอบเก็บสิ่งของที่อาจจะมีคุณค่าทางใจสำหรับญาติพี่น้องของผู้สูญเสีย บ้างก็ใช้ตะแกงร่อนทรายเพื่อแยกเศษเล็กเศษน้อยของสิ่งของที่แตกกระจาย ทั้งเศษแก้ว เศษกระจก เศษพลาสติก เพื่อคัดแยกเอาวัตถุสิ่งของที่เสียหายออกจากธรรมชาติ เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้น ถามว่า ทำไมพวกเขาถึงไม่หาเครื่องจักรมาช่วยทำงานให้เร็วขึ้น เหนื่อยน้อยลง พวกเขาบอกว่า อยากทำด้วยมือ เพราะสองตาจะได้ช่วยสองมือในการมองหา เลือกสรร สิ่งเล็กๆ ที่อาจจะหล่นหาย แต่เป็นสิ่งของที่มีความสำคัญทางใจของคนที่ยังอยู่ ซึ่งถ้าใช้เครื่องจักรอาจจะถูกกลบหายไปหมด ไม่ว่าจะเป็นล๊อคเก็ตห้อยคอ หนังสือเดินทาง รูปถ่าย ฯลฯ เพื่อส่งให้ญาติพี่น้องของผู้สูญเสีย ดูและฟังแล้ว ก็เข้าใจว่า คนหนุ่มคนสาวที่ทำงานด้วยใจเหล่านี้ เขาใช้ชีวิตจิตใจร่วมไปในการทำงาน โดยคิดถึงชีวิตจิตใจของผู้เกี่ยวข้องเป็นหลัก คิดฟื้นฟูธรรมชาติของโลก ของจักรวาล ทั้งคิดถึงชีวิตที่ยังอยู่ของญาติพี่น้องผู้สูญเสีย และเป็นห่วงชีวิตของชาวบ้านที่อาจจะเดินเหยียบเศษแก้ว พวกเขาเดินทางเข้ามาโดยไม่เป็นข่าว ทำกิจกรรมโดยไม่ขอเป็นข่าว มองเห็นชาวบ้านเป็นเพื่อนมนุษย์ที่มนุษย์ด้วยกันต้องช่วยเหลือเมื่อมีภัย ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา มองเห็นธรรมชาติที่สวยงามในภาคใต้เป็นทรัพยากรของโลก เมื่อเสียหายก็เดินทางมาเพื่อช่วยฟื้นฟูรักษา เป็นคนที่มีสำนึกในความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของโลก ของจักรวาล โดยไม่ต้องโฆษณาว่าตนเป็นมิสเตอร์ หรือมิสส์จักรวาล คนหนุ่มคนสาวกลุ่มนี้ กินอยู่ในชุมชน จ่ายค่าที่พักให้ชาวบ้านแทนการจ่ายให้โรงแรมใหญ่ๆ กินตามมีตามจะจัดหามาได้ โดยลงขันรวมกลุ่มกันจัดทำโรงครัว มีคนไทยมาช่วยทำอาหาร ใครจะมากินด้วยก็ได้ ผมก็ร่วมกินข้าวกับพวกเขา กินเสร็จเขาจะมีกล่องให้บริจาคเงินค่าอาหารตามอัธยาศัย ทำให้มีโอกาสสมทบค่าอาหารที่อิ่มด้วยใจไปเหมือนกัน ไม่แปลกใจ เมื่อเกิดกรณีปัญหานายทุนเลวๆ ฉวยโอกาสใช้คลื่นสึนามิไล่รื้อที่ดินริมหาด เมื่อบ้านเรือนชาวบ้านพังทลาย นายทุนก็บุกเข้ายึดที่ดินที่ชาวบ้านเคยอาศัยอยู่เดิม ใช้อำนาจ อิทธิพลข่มขู่ ส่งมือปืนลูกสมุนไปยิงปืนขู่บ้านชาวบ้าน ล้อมรั้วห้ามไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้าไปในที่ดินของตัวเอง เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่สนใจ ยิ่งนักการเมืองที่เคยชุกชุมเมื่อก่อนเลือกตั้งก็หายหัว คงมีแต่คนหนุ่มคนสาวชาวต่างชาติที่ร่วมช่วยเหลืองานเป็นเพื่อนชาวบ้าน ลงมือลงแรงปลูกเพิง มัดเหล็ก โดยไม่เกรงกลัวภยันตราย ที่น่าสมเพชเวทนาที่สุด คือ บริษัทธุรกิจที่ไล่ที่ชาวบ้านที่หาดแหลมป้อม บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา เป็นบริษัทของนักการเมืองใหญ่พรรครัฐบาล มีตำแหน่งใหญ่โตกร่างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร บริษัทเอกชนกดดันข่มขู่ จนถึงกับมีชาวบ้านผู้ถูกกระทำ ตกอยู่ในความเครียด ผูกคอตายหนีความเจ็บปวดไปแล้ว! นักการเมืองผู้อยู่เบื้องหลังอิทธิพลของบริษัทนี้ เป็นคนไทยเชื้อสายจีน แต่กลับมีสำนึกความเป็นเพื่อนมนุษย์ต่ำกว่าคนไทยเชื้อสายจีนทั่วไป มิหนำซ้ำ ยัง "หยาบ" ถึงขนาดลงมือฉวยโอกาส หาผลประโยชน์บนซากความทุกข์ของพี่น้องร่วมชาติ ขัดกันกับหนุ่มสาวชาวต่างชาติที่หยิบยื่นความช่วยเหลือให้โดยไม่หวังผลตอบแทน น่ายินดี เมื่อทราบว่า ยังมีกลุ่มคนสาวคนหนุ่มชาวต่างชาติเข้ามาทำกิจกรรมในลักษณะนี้อยู่ในพื้นที่พิบัติภัยสึนามิไม่น้อย มีการดำน้ำเพื่อลงไปเก็บเศษวัสดุที่ติดอยู่ใต้น้ำด้วย นอกจากที่พีพีแล้ว ยังมีที่อื่นๆ ที่มีกลุ่มคนสาวคนหนุ่มไปทำประโยชน์ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่เกาะพีพี ก็ได้ค้นพบศพของผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ใต้น้ำ น่ายินดี ในช่วงหลังๆ นี้ คนไทยในพื้นที่เอง ได้เริ่มเห็นประโยชน์ และเข้ามามีบทบาททำงานในลักษณะเดียวกับคนสาวหนุ่มฝรั่งเหล่านั้นบ้างแล้ว น่าเสียดาย ภาครัฐบาลไม่เคยเหลียวแลจะสนับสนุนงบประมาณและความช่วยเหลือแก่คนหนุ่มคนสาวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำประโยชน์ให้แผ่นดินไทยด้วยชีวิตและจิตใจ จึงไม่ต้องไปคาดหวังถึงการขยายวงไปสนับสนุนให้หนุ่มสาวคนไทยได้ไปทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในลักษณะนี้บ้าง เห็นเอาแต่ทุ่มเททรัพยากรและสนับสนุนเงินงบประมาณให้แก่กลุ่มสาวงามนานาชาติที่มาประกวดเรือนร่าง จำนวนเงินกว่า 260 ล้านบาท ถึงขนาดคนเป็นรัฐมนตรีก็คอย "เกาะกระแส" เกาะขาอ่อนหาเสียงไปกับนางงาม ลงทุนกดปุ่มเตือนภัยสึนามิโชว์นางงาม ทำเอาชาวบ้านแตกตื่นจ้าละหวั่น ยิ่งกว่านั้น ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองในรัฐบาลนั่นเอง ที่ถาโถมโหมกระหน่ำลงพื้นที่เฉพาะตอนก่อนเลือกตั้ง จ่ายเงินให้ชาวบ้านคนละ 2,000 บาท หลังเลือกตั้งก็หายหัว เกิดปัญหารุนแรงในพื้นที่ก็ไม่โผล่ ความต่างในความเหมือนของคนสาวคนหนุ่ม 2 กลุ่ม ที่เข้ามาทำกิจกรรมในประเทศไทยขณะนี้ จึงสำคัญที่ว่า กลุ่มสาวงามนานาชาติบริษัทมิสยูนิเวร์ส อาจจะช่วยให้ชื่อของประเทศไทยผ่านหูผ่านตาชาวโลก ในฐานะ "ฉาก" ของการโชว์เรือนร่างประกวดสาวงาม ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อเงิน เพื่อผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง แต่การเข้ามาทำกิจกรรมของกลุ่มคนสาวคนหนุ่มชาวต่างชาติ ที่ทำงานฟื้นฟูชุมชนและธรรมชาติ ปกป้อง หวงแหน ห่วงใย เพื่อนมนุษย์ ธรรมชาติ ดั่งว่าเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน กลับได้ช่วยในการมองเห็นและสร้างแรงบันดาลใจ ทำให้ผู้พบเห็นได้ตระหนักในสำนึกถึงความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของจักรวาล เวไนยสัตว์ย่อมมองเห็นจักรวาลได้ ดูแลจักรวาลได้ เป็นเจ้าของจักรวาลได้ โดยไม่ต้องประกวด มิส หรือ มิสเตอร์จักรวาล จบ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/57483
2015-01-20 17:23
ประวิทย์–สุภิญญา เสนอบรรจุวาระ พ.ร.บ.ดิจิทัลเข้าที่ประชุม กสทช.
วาระ กสทช.นัดแรกของปี ประวิทย์-สุภิญญา สอง กสทช.เสียงข้างน้อย เสนอบรรจุวาระซีรีส์กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลเข้าที่ประชุมพรุ่งนี้ เพื่อรวบรวมความเห็นส่งกฤษฎีกา-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ลุ้นการคิดค่าบริการเป็นวินาทีนำกลับมาบรรจุในร่างประกาศฯ 20 ม.ค. 2558 สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (พุธที่ 21 ม.ค. 58) ที่ประชุมบอร์ด กสทช. ครั้งแรก ประจำปี 2558 มีวาระการประชุมน่าจับตา ได้แก่ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ. ... ซึ่งร่างประกาศฉบับนี้เป็นร่างที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม เสนอให้มีการนำเรื่องการคิดค่าบริการเป็นวินาทีใส่เข้ามาด้วย ในการยกร่างต่อๆ มาจนถึงฉบับล่าสุด ซึ่ง กสทช. สามารถนำเรื่องการคิดค่าบริการเป็นวินาทีมาบรรจุในร่างประกาศฉบับนี้ได้ ก่อนนำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และถือเป็นการปกป้องผลประโยชน์ผู้บริโภคด้วย นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ตนเอง และนายประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา ได้ทำหนังสือเรียนถึง ประธาน กสทช. เรื่อง ขอให้บรรจุเรื่องการแก้ไข พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และร่างกฎหมายดิจิทัลที่เกี่ยวข้องรวมทั้งหมด 10 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. … ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ... ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. . ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. . ร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. . ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นวาระการประชุม กสทช.ด้วย เพื่อให้กรรมการได้ร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับร่างกฎหมายเหล่านี้ อย่างน้อยเพื่อทราบและเตรียมรับสถานการณ์ ตลอดจนเพื่อรวบรวมความคิดเห็น กสทช. สำหรับนำส่งอย่างเป็นทางการต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาในการปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ.เหล่านี้ต่อไป
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/57851
2015-02-09 23:59
กวีประชาไท: อีกกี่ครั้ง จึงจักจำ
เขากล่าวหาว่าหนูเป็นขบถเป็นแม่มดเป็นมารต้องผลาญเผาเขาย่ำเหยียดเกลียดโกรธโจษจันเราว่าโฉดเขลาเบาสมองตรองตรึกตราร้องให้ล้างเลือนหายมลายสิ้นร้องให้เผาให้ดับดิ้นสิ้นกังขาร้องให้ลบ"ธรรมศาสตร์"ลงอีกคราร้องอ้างว่าเพื่อชาติประชาชนเราคิดต่างสร้างฝันด้วยสันติด้วยดำริด้วยปัญญาทุกแห่งหน"ธรรมที่แท้"คืออำนาจบันดาลดลมิใช่คน"ครองอำนาจ"บันดาลธรรมต้องหลั่งเลือดอีกกี่หยดจึงหมดอยากต้องมีซากอีกกี่ศพให้กลบกล้ำคาวเลือดคลุ้งฟุ้งฟู่มิรู้จำสังคมไทยจึงหยุดย่ำซ้ำรอยตน   จักรพันธ์ ยาคู, สิงห์แดง 57, รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์นศ.ป.โท โครงการชนบทศึกษาและการพัฒนา ส.บอ.มธ.
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/56588
2014-11-20 13:07
กรรมการสิทธิฯ แถลงกรณียุบ-ควบรวม รร.ขนาดเล็ก ชี้นโยบายละเมิดสิทธิ นร.
20 พ.ย. 2557 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติออกแถลงการณ์ เรื่อง สิทธิเด็กอันเกี่ยวเนื่องกับความเสมอภาคทางการศึกษา กรณีคัดค้านนโยบายยุบ ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยต้องจัดงบประมาณเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาร่วมกับชุมชน กระทรวงศึกษาธิการควรปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาโดยเน้นเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร วิธีการสอน รวมทั้งระดมบุคลากรที่มีศักยภาพ เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชนในแต่ละพื้นที่ รวมถึงเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับการศึกษาของเด็ก แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเรื่อง สิทธิเด็กอันเกี่ยวเนื่องกับความเสมอภาคทางการศึกษากรณีคัดค้านนโยบายยุบ ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก                            ตามที่มีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คัดค้านนโยบายยุบ ควบรวม โรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน ตามคำร้องที่ 270/2554 และคำร้องที่ 59/2556 นั้น                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบโดยรับฟังคำชี้แจงจากหน่วยงาน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ การลงพื้นที่ และจัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว มีความเห็นและมติในการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน) ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ว่านโยบายยุบ ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการเป็นนโยบายที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน เนื่องจากตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 3 และข้อ 28 และหลักการตามรัฐธรรมนูญ ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก เด็กต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรม และจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กได้พัฒนาในมิติที่รอบด้านดังกล่าว เป็นเรื่องของรัฐที่จะต้องดำเนินการและลงทุน                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงได้กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาต่อกระทรวงศึกษาธิการ ให้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่จำเป็น และไม่คุ้มค่ากับการลงทุน กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยต้องจัดงบประมาณเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาร่วมกับชุมชน กระทรวงศึกษาธิการควรปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาโดยเน้นเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร วิธีการสอน รวมทั้งระดมบุคลากรที่มีศักยภาพ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชนในแต่ละพื้นที่                            การจัดการศึกษาต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ชุมชนและภาคประชาสังคม ภายใต้แนวคิดรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านความสัมพันธ์กับครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรมในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในมิติที่รอบด้านและนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และนอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย  การจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับการรวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และพิจารณาทบทวนแก้ไขมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับการศึกษาของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557                          ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยจะดำเนินการตามข้อเสนอและมาตรการดังกล่าว              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ20 พฤศจิกายน  2557
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/32417
2010-12-24 01:10
สมัชชาคนจนเตรียมจัดเวที 20 ปีเขื่อนปากมูล ระดมแนวทางพัฒนาแม่น้ำมูนอย่างบูรณาการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 24 – 25 ธ.ค.นี้ จะมีการจัดเวทีสาธารณะ “2 ทศวรรษปากมูน บนเส้นทาง การต่อสู้ของคนหาปลา สู่การปลดปล่อยอิสรภาพให้แม่น้ำมูน” ที่ห้องประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี และที่แก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพื่อเป็นการระดมแนวทางการพัฒนาแม่น้ำมูนอย่างบูรณาการ สำหรับนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากเขื่อนปากมูลในอนาคต     จากสถานการณ์ปิด-เปิดเขื่อนปากมูลครั้งล่าสุด การประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้น เมื่อวันที่ 4 พ.ย.53 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการเปิดเขื่อนถาวรและฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกับการกำหนดกลไกการแก้ไขปัญหาขึ้นมาใหม่ คือ คณะอนุกรรมการเปิดเขื่อน และอนุกรรมการฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แต่เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2553 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ทำการปิดเขื่อนปากมูลทั้งแปดบาน ทำให้ในวันเดียวกันนั้น สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ "ปฏิบัติการเพื่อรักษาอิสรภาพของแม่น้ำมูน ครั้งที่ 2" หยุดพฤติกรรมสองมาตรฐาน ในการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนปากมูล   แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมติ ครม.วันที่ 17 ก.ค.2550 ทันที โดยมติดังกล่าวระบุให้มีการแต่งตั้งกรรมการบริหารจัดการน้ำ ที่มีผู้ว่าราชการอุบลราชธานีเป็นประธาน และให้มีอำนาจในการพิจารณาเปิดปิดประตูเขื่อน ตามสภาพธรรมชาติและความเป็นจริง และเน้นการมีส่วนร่วม อีกทั้งมีข้อเรียกร้องให้เรียกประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ภายใน 3 วัน และให้รัฐบาลดำเนินการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเปิดเขื่อน และคณะอนุกรรมการจ่ายค่าชดเชย ภายใน 3 วัน โดยในระหว่างนั้นได้มีการรวมตัวรอคำตอบ ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดอุบล ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.เป็นต้นมา    ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา เขื่อนปากมูลได้ยกบานประตูขึ้น จนขณะนี้ระดับน้ำได้เข้าสู่สภาพปกติแล้ว แต่บานประตูก็ยกขึ้นในระดับปริ่มน้ำ ดังนั้นจึงพอเรียกได้ว่า ระดับน้ำด้านเขื่อนกับท้ายเขื่อนเท่ากันแล้ว เพียงแต่ประตูที่ถูกยกขึ้นนั้น ไม่ยกให้สุดบาน ซึ่งชาวบ้านกำลังประเมินสถานการณ์ เพื่อกำหนดท่าทีเรื่องนี้อีกครั้ง       แถลงการณ์สมัชชาคนจน "ปฏิบัติการเพื่อรักษาอิสรภาพของแม่น้ำมูน ครั้งที่ ๒" หยุดพฤติกรรมสองมาตรฐาน     เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี แล้ว ที่เขื่อนปากมูลได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน รวมทั้งความเสียหายต่อระบบนิเวศแม่น้ำมูน ที่สำคัญเขื่อนปากมูลได้ทำให้ปลาขนาดใหญ่และจำนวนมากหายไปจากแม่น้ำมูน ขณะที่กระแสไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อนปากมูลก็ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก   ที่ผ่านมาได้มีข้อสรุปและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากเขื่อนปากมูลมาแล้วหลายครั้ง เช่นการศึกษาของ ม.อุบลฯ เมื่อปี ๒๕๒๕ ที่เสนอให้เปิดเขื่อนปากมูลถาวร แต่รัฐบาลทักษิณกลับตัดสินใจให้เขื่อนปากมูล เปิดประตูปีละ ๔ เดือน ปิด ๘ เดือน อันเป็นการตัดสินใจที่บิดเบือนข้อมูล   ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาจ่ายเงินให้กับแม่ไฮ ที่ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูน และในวันดังกล่าวชาวบ้านได้ยื่นข้อเรียกให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ และต่อมา ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้น และคณะกรรมการชุดดังกล่าว ก็ได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า ๑ ปี ซึ่งในการประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการเปิดเขื่อนถาวรและฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกับการกำหนดกลไกการแก้ไขปัญหาขึ้นมาใหม่ คือ คณะอนุกรรมการเปิดเขื่อน และอนุกรรมการฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมที่ไร้ข้อโต้แย้ง ซึ่งไม่เคยมีในประวัติศาสตร์การแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล (การไฟฟ้าฯและตัวแทนจังหวัดอุบลฯที่เป็นกรรมการและอยู่ในที่ประชุมด้วยก็ไม่ได้โต้แย้ง)   แต่วันนี้ (๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓) การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เจ้าของเขื่อนปากมูลกลับทำการปิดเขื่อนปากมูลทั้งแปดบาน ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนชาวบ้านเก็บกู้เครื่องมือหาปลาไม่ทัน และที่สำคัญการปิดเขื่อนครั้งนี้ เป็นการดำเนินการที่ท้าทายอำนาจการบริหารงานของรัฐบาล หรือเป็นการดำเนินการแบบสองมาตรฐาน ด้านหนึ่งแสร้งจริงใจตั้งกรรมการจัดประชุมกรรมการและมีมติแต่ไม่ปฏิบัติ ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็หาโอกาสสมคบคิดเพื่อหักหลังชาวบ้าน   พวกเราเครือข่ายขบวนการประชาชนไม่อาจยอมจำนนต่อพฤติกรรมสองมาตรฐานนี้ได้ พวกเราขอประณามการตัดสินใจปิดเขื่อนปากมูลในครั้งนี้ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการ ดังนี้   ๑.         ยกเลิกมติ ครม. วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ทันที ๒.         ให้เรียกประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ภายใน ๓ วัน ๓.         ให้รัฐบาลดำเนินการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเปิดเขื่อน และคณะอนุกรรมการจ่ายค่าชดเชย ภายใน ๓ วัน   ระหว่างนี้ พวกเราจะรอคำตอบที่เป็นรูปธรรมอย่างสันติ ที่ศาลากลางจังหวัดอุบล ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป   ด้วยจิตคารวะ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓     สมัชชาคนจน(สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.) เครือข่ายสลัม ๔ ภาค เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามัน กลุ่มเพื่อนประชาชน (Fop) กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด คณะทำงานคดีคนจน     ที่มา: เสียงคนอีสาน [1]
0neg
1pos
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/41582
2012-07-16 19:25
“ภาคประชาชนใต้” จัดเวทีเรียนรู้ “กระบวนการยุติธรรม” กับการต่อสู้เพื่อ “สิทธิชุมชน”
กป.อพช.ใต้ ร่วมศูนย์ข้อมูลชุมชน จัดสัมมนาอาสาสมัครพิทักษ์สิทธิมนุษยชนภาคใต้ เรียนรู้ “กระบวนการยุติธรรมกับการต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรภาคใต้” แลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาละเมิดสิทธิ     เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 15 กรกฎาคม 2555 ที่โรงแรมไดอิชิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) และศูนย์ข้อมูลชุมชน จัดเวทีสัมมนาอาสาสมัครพิทักษ์สิทธิมนุษยชนภาคใต้ เรียนรู้ “กระบวนการยุติธรรมกับการต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรภาคใต้” เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนและการใช้กระบวนการยุติธรรมในภาคใต้   การเสวนา ตัวแทนเครือข่ายองค์กรชาวบ้านและภาคประชาชน เข้าร่วมประมาณ 100 คน อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา เครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก – หินกรูด เครือข่ายคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เครือข่ายรักษ์ละแม เครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง ฯลฯ ร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์การถูกละเมิดสิทธิชุมชนและการใช้กระบวนการยุติธรรมกับการต่อสู้   นอกจากนั้นตัวแทนจากครือข่ายต่างๆ ยังร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาการต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน เช่น กรณีการต่อสู้คัดค้านท่อส่งก๊าซ-โรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย มีคดีความที่ผู้ชุมนุมเป็นโจทก์ฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมยังสืบพยานอยู่ในชั้นศาลทั้งที่ฟ้องมายาวนานเป็นเวลา 10 ปีแล้ว กรณีชาวบ้านเทือกเขาบรรทัดโดนฟ้องในข้อหาทำให้โลกร้อน ชาวบ้านที่เกาะยาว จ.พังงา ต้องถูกฟ้องคดีข้อหาบุกรุก ทั้งที่เป็นผู้ปกป้องป่าสงวนแห่งชาติ และการถูกฟ้องศาลแพ่งเป็นเงิน 64 ล้านของเครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหาทั้งที่ปกป้องภูเขาที่เป็นสาธารณสมบัติ     จากนั้น ช่วงบ่ายเป็นการแลกเปลี่ยนอภิปรายปัญหาและทางออก “กระบวนการยุติธรรมกับการต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร” โดย นางจินตนา แก้วขาว ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด-บางสะพาน นายถาวร เกียรติทับทิว รองอธิบดีศาลปกครองสงขลา นายนิตสิต ระเบียบธรรม อธิบดีอัยการ ภาค 9 ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ม.มหิดลและอนุกรรมการด้านสิทธิในที่ดินและป่า และนายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ   ในการเสวนามีการเสนอมุมมองและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้พิทักษ์ทรัพยากรในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเห็นว่าปัญหาใหญ่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่พัฒนาประเทศในรูปแบบที่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายทุน มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องไม่สนใจการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งผลต่อทัศนคติในการจัดการปัญหาในกระบวนการยุติธรรมในทุกระดับ โดยตัวแทนผู้พิพากษาได้ให้ความเห็นว่าประเทศไทยมีกฎหมายและกลไกทุกอย่างครบแล้ว ขาดแต่การทำให้กฎหมายนั้นถูกบังคับใช้ได้จริง ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมกันทำให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นบรรทัดฐานของสังคม   ผู้เข้าร่วมสัมมนาให้ความเห็นว่า การพิจารณาคดีควรคำนึงถึงสาเหตุการกระทำของประชาชนผู้ตกเป็นจำเลยโดยเฉพาะการกระทำที่มีเจตนาเพื่อประโยชน์สาธารณะของประเทศชาติ เช่น การดูแลบ้านเกิด การปกป้องป่าสงวน ให้แตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป ไม่ตัดตอนพิจารณาเพียงเฉพาะเหตุการณ์นั้นๆ หรืออาจแยกเฉพาะเป็นศาลคดีป่าไม้-ที่ดิน รวมทั้งไม่สืบพยานเพียงในห้องพิจารณาคดีแต่เข้าไปสืบในที่เกิดเหตุเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงของปัญหา   นางจินตนา แก้วขาว ตัวแทนบ้านกรูด ยกตัวอย่างความแตกต่างของคำพิพากษากรณี “ล้มโต๊ะจีน” ซึ่งถูกโรงไฟฟ้าเป็นโจทก์ฟ้องว่า จากคำพิพากษาแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นคำนึงถึงการปกป้องสิทธิชุมชนซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกากลับมีความเห็นเหมือนหน่วยงานรัฐทั่วไป นั่นคือเห็นว่าการดูแลปกป้องบ้านเกิดของจำเลยไม่ใช่ประเด็นสาระสำคัญ ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยทั้งๆ ที่จำเลยยกประเด็นนี้มาต่อสู้อย่างชัดเจนจึงพิพากษาจำคุกจำเลยโดยไม่รอลงอาญา   ทั้งนี้ ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 มีการจัดสัมมนาต่อ เรื่องการสร้างอาสาสมัครพิทักษ์สิทธิชุมชนภาคใต้ โดยจะให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ร่วมเป็นอาสาสมัครในการปกป้องพิทักษ์สิทธิชุมชน ทำงานร่วมกับกรรมการสิทธิมนุษย์ชนในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป
0neg
1pos
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/62580
2015-11-23 08:58
‘ขอพื้นที่ปลอดภัยให้ฉันได้เติบโต’ A Beautiful Children Rights Day@PATANI
ภาพงาน “A BEAUTIFUL CHILDREN RIGHTS DAY” วันสิทธิเด็กปาตานี/ชายแดนใต้ ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กในพื้นที่ขัดแย้งตระหนักถึงสิทธิเด็ก 4 ประการ ร่วมเปล่งเสียงร้อง“ขอเมืองที่ดีงามให้ฉันได้เติบโต”   A BEAUTIFUL CHILDREN RIGHTS DAY ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับการจัดงาน “วันสิทธิเด็กปาตานี” หรือ A BEAUTIFUL CHILDREN RIGHTS DAY ในโครงการรณรงค์เรื่องสิทธิเด็กในพื้นที่ขัดแย้ง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา ที่อาคารเอนกประสงค์สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัตตานี โดยมีเด็ก เยาวชนและผู้ปกครองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานีเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คนโดยมีนายสมนึก พรมเขียว นายอำเภอเมืองปัตตานีมาเป็นประธานเปิดงาน งานนี้กลุ่มด้วยใจจัดขึ้นร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ 14 องค์กร มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กและรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิเด็กในพื้นที่ที่มีสถานการณ์ความขัดแย้ง โดยไม่ให้มีการละเมิดหรือก้าวล่วงในสิทธิเด็กทุกๆ ด้าน อีกทั้งเพื่อสร้างพื้นที่ให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมรู้ถึงการปกป้องตนเอง ดำรงตนเป็นพลเมืองดีของประเทศที่ตั้งอยู่บนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพให้เกิดขึ้นได้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ งานนี้ไม่เพียงแต่ปลอดภัยอย่างเดียว ยังมีความสนุกสนานและของขวัญมอบให้เด็กทุกคนด้วยในงานจึงมีกิจกรรมต่างๆ มากมายราวกับว่าเป็นงานวันเด็กอีกวันหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ อาทิเช่น การแสดงปันจะซีละลิเกฮูลู อานาซีด ละครเร่จากกลุ่มข้าวยำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี แงแปะ ดิเกบุตรี รองเง็ง ซึ่งสามารถสร้างรอยยิ้มและความสนุกสนามแก่เด็กๆเป็นอย่างมากนอกจากนี้ยังซุ้มกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ ด้วยเช่นศูนย์สุขภาพจิตที่12ปัตตานี กลุ่มด้วยใจ สภาเยาวชนเทศบาลยะลา กลุ่มลูกเหรียง ศูนย์ฟ้าใส เครือข่ายเยาวชน จ.ยะลาศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)เป็นต้น   “ขอเมืองที่ดีงามให้ฉันได้เติบโต” งานวันสิทธิเด็กปาตานีปิดท้ายด้วย การอ่านแถลงการณ์ร่วมกันของเหล่าเด็กๆในพื้นที่ ใช้ชื่อแถลงการณ์ว่า “ขอเมืองที่ดีงามให้ฉันได้เติบโต” “จังหวัดชายแดนใต้ เราอาศัยอยู่ร่วมกันของผู้คนที่มีความหลากหลายทั้งอายุ เพศ อาชีพ ภาษาและศาสนา แม้ว่าการอยู่ร่วมกันบางครั้งมีความไม่ลงรอยกัน แต่อย่างไรก็ดี พวกเราไม่ต้องการจากบ้านที่รักไปไหน” เราอยากให้ทุกผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เราอยากให้สังคมเราน่าอยู่สำหรับทุกคน เราไม่อยากให้พ่อแม่จากไปไหน เราไม่อยากสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เราไม่อยากถูกพรากจากพ่อ แม่ พี่ น้อง เราไม่อยากกลายเป็นคนพิการ เราไม่อยากกลายเป็นเด็กกำพร้า เราไม่อยากให้โรงเรียนถูกเผา เราไม่อยากให้ครูถูกทำร้ายไม่ว่าจะเป็นครูพุทธหรืออุสตาซ เราไม่อยากถูกจุบกุมคุมขัง เราอยากไปไหนทุกที่อย่างปลอดภัย เราไม่อยากให้มีความเกลียดชัง “คนเราทุกคนต่างมีความหวังและความฝันของตัวเอง พวกเราจึงหวังว่าความฝันทั้งหมดของพวกเราจะเป็นจริงได้ ขอผู้ใหญ่ทุกท่าน ร่วมสร้างจากโลกแห่งความฝันนำไปสู่โลกของความจริงร่วมกับพวกเรา และร่วมก้าวไปด้วยกัน เรามาร่วมสร้างและก้าวไปด้วยกัน”   สิทธิของเด็ก 4 ประการ นายฮัมดี ขาวสะอาด เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)บอกว่า งานนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กได้รู้ถึงสิทธิของเด็ก4 ประการ ได้แก่ 1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด คือได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย 2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา คือมีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม 3.สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง คือ ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การถูกล่วงละเมิด การถูกทอดทิ้ง และการแสวงประโยชน์ในทุกรูปแบบ 4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม คือในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรที่ทำงานทางด้านสิทธิเด็กในพื้นที่ได้ร่วมกันวางแผนการทำงานในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos